ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย ชาดก

เล่ม ๔ ภาคที่ ๒

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มหานิบาตชาดก

๑. เตมิยชาดก

ว่าด้วยพระเตมีย์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี

[๓๙๔] พ่ออย่าแสดงว่าเป็นคนฉลาด จงให้ชน

ทั้งปวงรู้กันว่าพ่อเป็นคนโง่ ชนในที่นั้นทั้งหมดจะได้

ดูหมิ่นพ่อว่าเป็นคนกาลกรรณี ความปรารถนาของ

พ่อจักสำเร็จได้ด้วยอุบายอย่างนี้.

[๓๙๕] ดูก่อนเทพธิดา ข้าพเจ้าจะทำตามคำของ

ท่าน ที่ท่านกล่าวกะข้าพเจ้า ข้าแต่แม่เทพธิดา ท่าน

เป็นผู้ใคร่ประโยชน์ เป็นผู้ใคร่เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า.

[๓๙๖] แน่ะนายสารถี ท่านจะรีบขุดหลุมไปทำไม

เราถามท่านแล้ว ท่านจงบอกแก่เราเถิดเพื่อน ท่าน

จักใช้หลุมทำประโยชน์อะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

[๓๙๗] พระโอรสของพระราชา เป็นใบ้ เป็น

หนวกเป็นง่อยเปลี้ย เหมือนไม่มีพระมนัส พระราชา

ตรัสสั่งข้าพเจ้าว่า ฝังลูกเราเสียในป่า.

[๓๙๘] ดูก่อนนายสารถี ข้าพเจ้ามิได้เป็นคน

หนวกนี้ได้เป็นคนใบ้ มิได้เป็นคนง่อยเปลี้ย มิได้มี

อินทรีย์วิกลวิการ ถ้าท่านฝังข้าพเจ้าในป่า ท่านก็ทำสิ่ง

ที่ไม่เป็นธรรม เชิญท่านดูขาและแขนของข้าพเจ้า

และเชิญฟังคำภาษิตของข้าพเจ้า ถ้าท่านฝังข้าพเจ้า

เสียในป่า ท่านก็ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม.

[๓๙๙] ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าว

สักกเทวราชผู้ให้ทานในก่อน ท่านเป็นใคร หรือเป็น

บุตรของใคร พวกเราจะรู้จักท่านได้อย่างไร.

[๔๐๐] เรามิใช่เทวดา มิใช่คนธรรพ์ มิใช่ท้าวสัก-

กะผู้ให้ทานในก่อน เราที่ท่านจะฆ่าเสียในหลุม เป็น

โอรสของพระเจ้ากาสิกราช เราเป็นโอรสของพระ-

ราชาผู้ที่ท่านพึงพระบารมีเลี้ยงชีพอยู่เสมอ แน่ะนาย

สารถี ถ้าท่านฝังเราเสียในป่า ท่านก็ทำสิ่งที่ไม่เป็น

ธรรม บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่

พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร

เป็นคนลามก พระราชาเป็นเหมือนต้นไม้ เราเป็น

เหมือนกิ่งไม้ ตัวท่านเป็นเหมือนคนอาศัยร่มเงา ถ้า

ท่านฝังเราเสียในป่า ท่านก็ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

[๔๐๑] บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร ชน

เป็นอันมากอาศัยบุคคลผู้นั้นเลี้ยงชีพ บุคคลผู้นั้นจาก

เรือนของตนไปที่ไหน ๆ ย่อมมีภักษาหารมากมาย.

บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคลผู้นั้นไปสู่

ชนบท นิคม ราชธานีใด ๆ ย่อมเป็นผู้อันหมู่ชนใน

ที่นั้น ๆ ทั้งหมดบูชา. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่า

มิตร โจรทั้งหลายไม่ข่มเหงบุคลผู้นั้น กษัตริย์ก็มิได้

ดูหมิ่นบุคคลผู้นั้น บุคคลผู้นั้นย่อมข้ามพ้นหมู่อมิตร

ทั้งปวง. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคล

ผู้นั้นจะมาสู่เรือนของตนด้วยมิได้โกรธเคืองใคร ๆ มา

ได้ความยินดีปรีดาในสภาที่ประชุม เป็นผู้สูงสุดของ

หมู่ญาติ. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคล

ผู้นั้นสักการะคนอื่น ก็จะเป็นผู้อันคนอื่นสักการะตน

เคารพคนอื่น ก็จะเป็นผู้อันคนอื่นเคารพตน ย่อมเป็น

ผู้ได้รับความยกย่องและเกียรติคุณ. บุคคลผู้ใดมิได้

ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคลผู้นั้นบูชาผู้อื่น ก็ย่อมได้

บูชาตอบ ไหว้ผู้อื่น ก็ย่อมได้ไหว้ตอบ และย่อมถึง

ยศและเกียรติ. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร

บุคคลผู้นั้น ย่อมรุ่งเรืองดุจกองเพลิง ย่อมไพโรจน์ดุจ

เทวดา มีสิริประจำตัว. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้าย

เหล่ามิตร โคทั้งหลายของบุคคลผู้นั้นย่อมเกิด พืชที่

หว่านไว้ในนาย่อมงอกงาม บุคคลผู้นั้นย่อมได้บริโภค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

ผลของพืชที่หว่านไว้. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้าย

เหล่ามิตร บุคคลผู้นั้นตกเหว ตกภูเขา หรือตกต้นไม้

ย่อมได้ที่พึ่งอาศัยไม่เป็นอันตราย. บุคคลผู้ใดมิได้

ประทุษร้ายเหล่ามิตร เหล่าอมิตรย่อมย่ำยีบุคคลผู้นั้น

ไม่ได้ ดุจต้นไทรมีรากและย่านงอกงาม พายุไม่อาจ

พัดพานให้ล้มได้ ฉะนั้น.

[๔๐๒] ขอพระองค์เสด็จมาเถิด ข้าพระบาทจักนำ

พระองค์ซึ่งเป็นพระราชโอรสกลับสู่มณเฑียรของ

พระองค์ ขอพระองค์จงครองราชสมบัติ ขอพระองค์

จงทรงพระเจริญ. พระองค์จักทรงทำอะไรในป่า.

[๔๐๓] แน่ะนายสารถี เราไม่ต้องการด้วยราช-

สมบัติที่เราจะพึงได้ด้วยการประพฤติอธรรม พร้อม

ด้วยญาติและทรัพย์.

[๔๐๔] ข้าแต่พระราชบุตร พระองค์เสด็จกลับจาก

ที่นี้ จะทำให้ข้าพระองค์ได้รางวัลเครื่องยินดี เมื่อ

พระองค์เสด็จกลับไปแล้ว พระชนกและพระชนนีจะ

พระราชทานรางวัล เครื่องยินดีแก่ข้าพระองค์. ข้าแต่

พระราชบุตร เมื่อพระองค์เสด็จกลับไปแล้ว นางสนม

กุมาร พ่อค้า และพราหมณ์เหล่านั้น จะยินดีให้

รางวัลแก่ข้าพระองค์. ข้าแต่พระราชบุตร เมื่อ

พระองค์เสด็จกลับไปแล้ว กองทัพช้าง กองทัพม้า

กองทัพรถ กองทัพราบ แม่เหล่านั้น จะยินดีให้รางวัล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

แก่ข้าพระองค์. ข้าแต่พระราชบุตร เมื่อพระองค์เสด็จ

กลับไปแล้ว ชาวชนบท ชาวนิคม ผู้มีธัญญาหารมาก

จะประชุมกันให้เครื่องบรรณาการแก่ข้าพระองค์.

[๔๐๕] พระชนกและพระชนนีและเราแล้ว ชาว

แว่นแคว้น ชาวนิคม และกุมารทั้งปวงก็สละเราแล้ว

เราไม่มีเหย้าเรือนของตน พระชนนีทรงอนุญาตเรา

แล้ว พระชนกก็ทรงสละเราจริง ๆ แล้ว เราจะบวช

อยู่ในป่าคนเดียว ไม่ปรารถนากามคุณทั้งหลาย.

[๔๐๖] ความหวังผลของเหล่าบุคคลผู้ไม่รีบร้อน

ย่อมสำเร็จแน่นอน เรามีพรหมจรรย์สำเร็จแล้ว ท่าน

จงรู้อย่างนี้เถิด นายสารถี ประโยชน์โดยชอบของ

เหล่าบุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อมให้ผลแน่นอน เรามี

พรหมจรรย์สำเร็จแล้ว ออกบวชแล้ว จะมีภัยแต่

ไหนเล่า.

[๔๐๗] พระองค์มีพระดำรัสไพเราะ และมีพระ-

วาจาสละสลวยอย่างนี้ เหตุไฉนจึงไม่ตรัสในสำนัก

แห่งพระชนกและพระชนนีในกาลนั้นเล่า.

[๔๐๘] เราเป็นง่อยเปลี้ย เพราะไม่มีเครื่องติดต่อ

ก็หาไม่ เราเป็นหนวกเพราะไม่มีช่องหูก็หาไม่ เรา

เป็นใบ้เพราะไม่มีลิ้นก็หาไม่ ท่านอย่าเข้าใจว่าเรา

เป็นใบ้ เราระลึกชาติปางก่อน ที่เราสวยราชสมบัติ

ได้ เราได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้นแล้ว ต้องไปตก-

นรกอันกล้าแข็ง เราได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

ยี่สิบปี ต้องหมกไหม้อยู่ในนรก ๘๐,๐๐๐ ปี เรากลัวจะ

ต้องเสวยราชสมบัตินั้น ขอชนทั้งหลายอย่าพึงอภิเษก

เราในราชสมบัติเลย เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่พูดใน

สำนักของพระชนกและพระชนนีในกาลนั้น พระชน

ทรงอุ้มเราให้นั่งบนพระเพลา แล้วตรัสสั่งข้อความว่า

จงฆ่าโจรคนหนึ่ง จงจองจำโจรคนหนึ่ง จงเอาหอก-

แทงโจรคนหนึ่ง แล้วเอาน้ำแสบราดแผล จงเสียบ

โจรคนหนึ่งบนหลาว ตรัสสั่งเจ้าหน้าที่นั้นอย่างนี้

เราได้ฟังพระวาจาอันหยาบคาย ที่พระชนกตรัสนั้น

จึงกลัวการเสวยราชสมบัติ เรามิได้เป็นใบ้ ก็ทำเหมือน

เป็นใบ้ มิได้เป็นง่อยเปลี้ย ก็ให้คนเข้าใจว่าง่อยเปลี้ย

แกล้งนอนเกลือกกลิ้งอยู่ในปัสสาวะและอุจจาระ

ของตน ชีวิตนั้นเป็นของลำบาก เป็นของน้อยทั้ง

ประกอบด้วยทุกข์ ใครเล่าจะอาศัยชีวิตนี้ ทำเวรด้วย

เหตุการณ์หน่อยหนึ่ง ใครเล่าจะอาศัยชีวิตนี้ ทำเวร

ด้วยเหตุการณ์หน่อยหนึ่ง เพราะไม่ได้ปัญญา เพราะ

ไม่เห็นธรรม ความหวังผลของเหล่าบุคคลผู้ไม่รีบร้อน

ย่อมสำเร็จแน่นอน เรามีพรหมจรรย์สำเร็จแล้ว ท่าน

จงรู้อย่างนี้เถิด นายสารถี ประโยชน์โดยชอบของ

เหล่าบุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อมให้ผลแน่นอน เรามี

พรหมจรรย์สำเร็จแล้ว ออกบวชแล้ว จะมีภัยแต่

ไหนเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

[๔๐๙] ข้าแต่พระราชบุตร แม้ข้าพระองค์ก็จัก

บวชในสำนักของพระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดตรัส

เรียกให้ข้าพระองค์บวชด้วยเถิด ขอพระองค์จง

ทรงพระเจริญ ข้าพระองค์ชอบบวช.

[๔๑๐] แน่ะนายสารถี ท่านจงไปมอบคืนรถแล้ว

เป็นผู้ไม่มีหนี้เถิด เพราะผู้ไม่มีหนี้จึงบวชได้ การ

บวชนั้น ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งสรรเสริญแล้ว.

[๔๑๑] ข้าพระองค์ได้ทำตามพระดำรัส ขอพระ-

องค์จงทรงพระเจริญ พระองค์ควรจะทรงทำตามคำที่

ข้าพระองค์ทูลวิงวอน ขอพระองค์จงประทับรออยู่ ณ

ที่นี้ จนกว่าข้าพระองค์จะนำพระราชาเสด็จมา อย่างไร

เสีย พระราชบิดาของพระองค์ทอดพระเนตรเห็นแล้ว

คงทรงพระปีติโสมนัสเป็นแน่.

[๔๑๒] แน่ะนายสารถี เราจะกระทำตามคำของ

ท่านที่ที่ในกล่าวกะเรา แม้ตัวเราก็อยากเห็นพระชนก

ของเราเสด็จมาในที่นี้ จงกลับไปเถิดเพื่อรัก ท่าน

จงทูลแก่พระญาติทั้งหลายด้วยก็เป็นการดี ท่านเป็นผู้

ที่เราสั่งแล้ว จงกราบทูลถวายบังคมพระชนกพระชนนี

ของเรา.

[๔๑๓] นายสารถี จับพระบาททั้งสองของพระ

กุมารและกระทำประทักษิณพระกุมารแล้ว ขึ้นรถเข้า

ไปสู่ประตูพระราชวัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

[๔๑๔] พระชนนีทอดพระเนตรเห็นรถเปล่า แต่

นายสารถีมาคนเดียว ก็มีพระเนตรทั้งสองนองไปด้วย

พระอัสสุชล ทรงกันแสดงทอดพระเนตรดูนายสารถี

นั้น ด้วยเข้าพระหฤทัยว่า นายสารถีนี้ฝังโอรสของเรา

เสียแล้ว โอรสของเรานายสารถีฝังเสียในแผ่นดิน

ถมแผ่นดินแล้วเป็นแน่ ปัจจามิตรทั้งหลายจะยินดี

ศัตรูทั้งหลายจะอิ่มใจเป็นแน่ เพราะเห็นนายสารถีมา

แล้ว เพราะฝังโอรสของเราแล้ว พระชนนีทอดพระ-

เนตรเห็นรถเปล่า นายสารถีกลับมาแต่ผู้เดียว ก็มี

พระเนตรทั้งสองนองไปด้วยพระอัสสุชล ทรงกันแสง

ตรัสสอบถามนายสารถีนั้นว่า โอรสของเราเป็นใบ้

หรือ เป็นง่อยหรือ ตรัสอะไรบ้างหรือ ในเวลาที่ถูก

ท่านฝังในแผ่นดิน จงบอกเนื้อความนั้นแก่เราเถิด

นายสารถี โอรสของเราเป็นใบ้เป็นง่อย เขากระดิก

มือเท้าอย่างไรบ้างไหม ในเมื่อถูกท่านฝังในแผ่นดิน

เราถามท่านแล้ว ท่านจงบอกความนั้นแก่เรา.

[๔๑๕] ข้าแต่พระแม่เจ้า ขอพระแม่เจ้าโปรด

ประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอกราบทูล

ตามที่ได้ฟังได้เห็นในสำนักของพระราชโอรส แด่

พระองค์.

[๔๑๖] ดูก่อนนายสารถีผู้สหาย เราให้อภัยแก่ท่าน

ท่านไม่ต้องกลัว จงกล่าวตามที่ท่านได้ฟังหรือได้เห็น

ในสำนักของพระราชโอรส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

[๔๑๗] พระราชโอรสนั้นมิได้เป็นใบ้ มิได้เป็น

ง่อยเปลี้ย พระองค์มีพระวาจาสละสลวย ได้ยินว่า

พระองค์กลัวราชสมบัติ จึงได้ทรงทำการลวงเป็นอัน

มาก พระองค์ทรงระลึกถึงชาติก่อน ที่พระองค์ได้

เสวยราชสมบัติ พระองค์เสวยราชสมบัติในกาลนั้น

แล้ว ต้องไปตกนรกอันกล้าแข็ง พระองค์เสวยราช-

สมบัติในกาลนั้น ๒๐ ปี แล้วต้องหมกไหม้อยู่ในนรก

๘๐,๐๐๐ ปี พระองค์กลัวจะต้องเสวยราชสมบัตินั้น

ทรงอธิษฐานว่า ขอชนทั้งหลายอย่าพึงอภิเษกเราใน

ราชสมบัติเลย เพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสใน

สำนักของพระชนกและพระชนนีในกาลนั้น พระราช

โอรสทรงสมบูรณ์ด้วยองคาพยพ มีพระรูปงดงาม

สมส่วน มีพระราจาสละสลวย มีพระปัญญา ทรง

ดำรงในมรรคาแห่งสวรรค์ ถ้าพระแม่เจ้ามีพระ-

ราชประสงค์จะทอดพระเนตรเห็นพระราชโอรสของ

พระองค์. ก็ขอเชิญเสด็จเถิด ข้าพระองค์จักนำเสด็จ

พระแม่เจ้าไปให้ถึงที่ที่พระเตมิยราชโอรสประทับอยู่.

[๔๑๘] เจ้าหน้าที่ทั้งหลายจงเทียมรถเทียมม้า จง

ผูกเครื่องประดับช้าง จนกระทั่งสังข์และบัณเฑาะว์

จงตีกลองหน้าเดียว จงตีกลองสองหน้า และรำมะนา

อันไพเราะ ขอชาวนิคมจงตามเรามา เราจักไปให้

โอวาทแก่ลูกชาย นางสนม กุมาร พ่อค้า และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

พราหมณ์ทั้งหลาย จงรีบเตรียมยาน เราจักไปให้

โอวาทแก่ลูกชาย พวกกองพลช้าง กองพลม้า กอง

พลรถ กองพลราบ จงรีบเตรียมยาน เราจักไปให้

โอวาทแก่ลูกชาย ชาวชนบทและชาวนิคม จงมา

ประชุมรีบเตรียมยาน เราจักไปให้โอวาทแก่ลูกชาย.

[๔๑๙] นายสารถีทั้งหลายจูงม้าที่เทียมรถและม้า-

สินธพซึ่งเป็นพาหนะว่องไว มายังประตูพระราชวัง

แล้วกราบทูลว่า ม้าทั้งสองพวกนี้เทียมเสร็จแล้ว.

[๔๒๐] ม้าอ้วนเสื่อมความว่องไว ม้าผอมเสื่อม

ถอยเรี่ยวแรง จงเร้นม้าผอมและม้าอ้วนเสีย จัดเทียม

แต่ม้าที่สมบูรณ์.

[๔๒๑] แต่นั้น พระราชรีบเสด็จขึ้นประทับบน

ม้าสินธพอันเทียมแล้ว ได้ตรัสกะนางข้างในว่า จง

ตามเราไปทุกคน เตรียมเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ คือ

พัดวาลวิชนี พระอุณหิส พระขรรค์ เศวตฉัตร และ

ฉลองพระบาททอง ให้ขนขึ้นรถไปด้วย แต่นั้น พระ

ราชาตรัสสั่งให้นายสารถีนำทาง เสด็จเคลื่อนขบวนเข้า

ไปถึงสถานที่ที่พระเตมิยราชฤๅษี ประทับอยู่โดยพลัน.

[๔๒๒] พระเตมิยราชฤๅษี ทอดพระเนตรเห็นพระ-

ราชบิดากำลังเสด็จมา ทรงรุ่งเรืองด้วยพระเดชานุภาพ

ทรงแวดล้อมไปด้วยหมู่อมาตย์ จึงถวายพระพรว่า ขอ

ถวายพระพร มหาบพิตรทรงปราศจาลพระโรคาพาธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

หรือ ทรงเป็นสุขสำราญดีหรือ ราชกัญญาของพระ

องค์ และโยมมารดาของอาตมภาพ ไม่มีพระโรคา-

พาธหรือ.

[๔๒๓] พระลูกรัก ฉันไม่มีโรคาพาธ สุขสำราญ

ดี ราชกัญญาทั้งปวงของดิฉัน และโยมมารดาของพระ

ลูกรัก หาโรคภัยนี้ได้.

[๔๒๔] ขอถวายพระพร มหาบพิตรไม่เสวยน้ำ-

จัณฑ์ไม่ทรงโปรดน้ำจัณฑ์หรือ พระหฤทัยของมหา-

บพิตรทรงยินดีในสัจจะ ในธรรมและในทานบ้างหรือ.

[๔๒๕] พระลูกรัก ดิฉันไม่ดื่มน้ำจัณฑ์ ไม่โปรด

น้ำจัณฑ์ อนึ่ง ใจของดิฉันยินดีในสัจจะ ในธรรม

และในทาน.

[๔๒๖] พาหนะมีม้าและโคเป็นต้น ของมหาบพิตร

ที่เขาเทียมในยาน ไม่มีโรคหรือ นำอะไร ๆ ไปได้หรือ

มหาบพิตร ไม่มีพยาธิที่เข้าไปแผดเผาพระสรีระหรือ.

[๔๒๗] พาหนะมีม้าและโคเป็นต้น ของดิฉันที่เขา

เทียมในยาน ไม่มีโรค อนึ่ง พาหนะนำอะไร ๆ ไป

ได้ และดิฉันไม่มีพยาธิที่เข้าไปแผดเผาสรีระ.

[๔๒๘] ปัจจันตชนบทของมหาบพิตร ยังเจริญดี

อยู่หรือ คามนิคมในท่ามกลางรัฐสีมาของมหาบพิตร

ยังเป็นปึกแผ่นดีหรือ ฉางหลวงและพระคลังของมหา

บพิตรยังบริบูรณ์ดีอยู่หรือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

[๔๒๙] ปัจจันตชนบท ของดิฉันยังเจริญดีอยู่ คาม

นิคมในท่ามกลางรัฐสีมาของดิฉัน ยังเป็นปึกแผ่นดี

อยู่ ฉางหลวงและพระคลังของดิฉันทั้งหมด ยังบริ-

บูรณ์ดีอยู่.

[๔๓๐] ขอถวายพระพร มหาบพิตรเสด็จมาดีแล้ว

พระองค์เสด็จมาไกลก็เหมือนใกล้ ราชบุรุษทั้งหลาย

จงทอดราชบัลลังก์ให้ประทับเถิด.

[๔๓๑] ขอเชิญมหาบพิตรประทับนั่ง บนเครื่อง

ปูลาดใบไม้ที่เขากำหนดลาดไว้ เพื่อพระองค์ในที่นี้

จงทรงเอาน้ำแต่ภาชนะนี้ ล้างพระบาทของมหา-

บพิตรเถิด.

[๔๓๒] มหาบพิตร ใบหมากเม่าของอาตมภาพนี้

เป็นของสุก ไม่มีรสเค็ม อมหาบพิตร ผู้เสด็จมา

เป็นแขกของอาตมภาพ จงเสวยเถิด.

[๔๓๓] ดิฉันไม่บริโภคใบหมากเม่า โภชนะของ

ดิฉันไม่ใช่อย่างนี้เลย ดิฉันบริโภคข้าวสุกแห่งข้าว

สาลีที่ปรุงด้วยมังสะอันสะอาด.

[๔๓๔] ความอัศจรรย์ย่อมแจ่มแจ้งแก่ดิฉัน เพราะ

ได้เห็นลูกรัก อยู่ในที่ลับแต่ผู้เดียว บริโภคอาหารเช่นนี้

เหตุไรจึงมีผิวพรรณผ่องใส.

[๔๓๕] มหาบพิตร อาตมภาพนอนผู้เดียวบน

เครื่องลาดใบไม้ที่ปูลาดไว้ เพราะการนอนผู้เดียวนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

ผิวพรรณของอาตมภาพจึงผ่องใส กองรักษาทางราช-

การที่ผูกเหน็บดาบของอาตมภาพไม่มี เพราะการนอน

ผู้เดียวนั้น ผิวพรรณของอาตมภาพจึงผ่องใส ขอถวาย

พระพร อาตมภาพไม่ตามเศร้าโศกถึงอารมณ์ที่ล่วง

ไปแล้ว ไม่ปรารถนาถึงอารมณ์ยังไม่มาถึง ยัง

อัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะ

เหตุนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส คนพาลทั้งหลายย่อม

เหี่ยวแห้งเพราะเหตุ ๒ อย่างนั้น คือเพราะปรารถนา

อารมณ์ที่ยังไม่มาถึง เพราะตามเศร้าโศกถึงอารมณ์

ล่วงไปแล้ว ดุจไม่อ้อที่ยังเขียวสด ถูกถอนทิ้งไว้ที่

แดด ฉะนั้น.

[๔๓๖] ลูกรัก ดิฉันขอมอบกองพลช่าง กองพลรถ

กองพลม้า กองพลราบ และกองพลผูกเกราะ ตลอด

ถึงพระราชนิเวศอันเป็นที่รื่นรมย์แก่พ่อ และขอมอบ

นางสนมกำนัลใน ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการ พร้อม

สรรพแก่พ่อ พ่อจงปฏิบัติในนางเหล่านั้น จงเป็นพระ

ราชาของดิฉันทั้งหลาย สตรี ๔ คน เป็นผู้ฉลาด

ในการฟ้อนรำและการขับร้อง ศึกษามาดีแล้ว จักทำ

ให้ลูกรื่นรมย์ในกาม พ่อจะทำอะไรในป่า ดิฉันจัก

นำราชกัญญาจากพระราชาเหล่าอื่นที่ตกแต่งแล้วมา

เพื่อพ่อ พ่อจงให้นางเหล่านั้นมีโอรสมาก ๆ แล้วจึง

ผนวชต่อภายหลัง พ่อยังเยาว์เป็นหนุ่มแน่น ตั้งอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

ปฐมวัย มีเกศาดำสนิท จงครองราชสมบัติเถิด ขอ

พ่อจงเจริญ จักทำอะไรในป่า.

[๔๓๗] คนหนุ่มควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ประ-

พฤติพรหมจรรย์ควรเป็นคนหนุ่ม การบรรพชาควร

เป็นของคนหนุ่ม ข้อนั้นท่านผู้แสวงหาคุณธรรมทั้ง-

หลายสรรเสริญแล้ว คนหนุ่มควรประพฤติพรหมจรรย์

ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ควรเป็นคนหนุ่ม อาตมภาพจัก

ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ต้องการราชสมบัติ อาตม-

ภาพเห็นเด็กชายของท่านทั้งหลาย เรียกมารดาบิดาซึ่ง

เป็นบุตรที่รัก อันได้มาโดยยาก ยังไม่ทันแก่ก็ตายเสีย

แล้ว อาตมภาพเห็นเด็กหญิงของท่านทั้งหลาย ซึ่งเป็น

เด็กหญิงที่สวยงามน่าชม สิ้นชีวิต เหมือนหน่อไม้ไผ่

ยังอ่อนที่ถูกถอนฉะนั้น จริงอยู่ นรชนจะเป็นชายหนุ่ม

หรือหญิงสาวก็ตาม ตายทั้งนั้น ใครเล่าจะพึงวางใจ

ในชีวิตว่า เรายังหนุ่มอยู่ อายุของคนเรา เป็นของ

น้อยนัก เพราะวันคืนล่วงไป ๆ เหมือนอายุของฝูง-

ปลาในน้ำน้อย ความเป็นหนุ่มสาวในวัยนั้นจักทำ

อะไรได้ สัตวโลกถูกครองงำ และถูกห้อมล้อมอยู่

เป็นนิตย์ เมื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปอยู่

มหาบพิตรจะอภิเษกอาตมภาพ ในราชสมบัติทำไม.

[๔๓๘] สัตวโลกถูกอะไรครอบงำไว้ และถูก

อะไรห้อมล้อมไว้ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์อะไรเป็นไป

อยู่ ดีฉันถามแล้ว พ่อจงบอกข้อนั้นแก่ดีฉัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

[๔๓๙] สัตว์โลกถูกความตายครอบงำไว้ ถูก

ความแก่ห้อมล้อมไว้ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ คือ คืนวัน

เป็นไปอยู่ มหาบพิตรจงทราบอย่างนี้ ขอถวายพระพร

เมื่อด้ายที่เขากำลังทอ ช่างหูกทอไปได้เท่าใด ส่วนที่

จะต้องทอ ก็ยังเหลืออยู่น้อยเท่านั้น แม้ฉันใด ชีวิต

ของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น แม่น้ำที่เต็มฝั่ง ย่อมไม่

ไหลไปสู่ที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อม

ไม่กลับไปสู่ความเป็นเด็กอีก ฉันนั้น แม่น้ำที่เต็มฝั่ง

ย่อมพัดพาเอาต้นไม้ ที่เกิดอยู่ริมฝั่งให้หักโค่นไป

ฉันใด สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชราและมรณะพัดพาไป

ฉันนั้น.

[๔๔๐] ลูกรัก ดิฉัน ขอมอบกองพลช้าง กอง

พลรถ กองพลม้า กองพลราบ และกองพลผูกเกราะ

ตลอดถึงพระราชนิเวศ อันเป็นที่รื่นรมย์แก่พ่อ และ

ขอมอบนางสนมกำนัลในผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการ

พร้อมสรรพแก่พ่อ พ่อจงปฏิบัติในนางเหล่านั้น จง

เป็นพระราชาของดีฉันทั้งหลาย สตรี ๔ คน เป็นผู้

ฉลาดในการฟ้อนรำและการขับร้อง ศึกษามาดีแล้ว

จักทำให้ลูกรื่นรมย์ในกาม พอจักทำอะไรในป่า ดีฉัน

จักนำราชกัญญาจากพระราชาเหล่าอื่น ที่ตกแต่งแล้ว

มาเพื่อพ่อ พ่อจงให้นางเหล่านั้นมีโอรสมา ๆ แล้ว

จึงผนวชต่อภายหลัง ลูกรัก ดิฉันขอให้ฉางหลวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

พระคลัง พาหนะ และกองพลทั้งหลาย ตลอดถึง

พระราชนิเวศอันเป็นที่รื่นรมย์แก่พ่อ พ่อจงแวดล้อม

ด้วยราชกัญญาอันงดงามเป็นปริมณฑล มีหมู่บริจาริกา

นารีห้อมล้อม จงครองราชสมบัติเถิด ขอพ่อจงเจริญ

จักทำอะไรในป่า.

[๔๔๑] มหาบพิตรจะให้อาตมภาพ เสื่อมไป

เพราะทรัพย์ทำไม บุคคลจะตายเพราะภริยาทำไม

ประโยชน์อะไรด้วยความเป็นหนุ่มสาวซึ่งต้องแก่ทำไม

จะต้องให้ชราครอบงำ ในโลกสันนิวาสซึ่งมีชราและ

มรณะเป็นธรรมดานั้น จะเพลิดเพลินไปทำไม จะเล่น

หัวไปทำไม จะยินดีไปทำไม จะมีประโยชน์อะไรด้วย

การแสวงหาทรัพย์ จะมีประโยชน์อะไรด้วยบุตรและ

ภริยาแก่อาตมภาพ มหาบพิตร อาตมภาพเป็นผู้พ้น

แล้วจากเครื่องผูก มัจจุราชย่อมไม่ประมาทในอาตม-

ภาพผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลเมื่อถูกมัจจุราชครอบงำ

แล้ว จะยินดีไปทำไม จะประโยชน์อะไรด้วยการ

แสวงหาทรัพย์ ผลไม้ที่สุกแล้ว ย่อมเกิดภัยแต่การ

หล่นเป็นนิตย์ ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว ย่อม

มีภัยแต่ความตายเป็นนิตย์ ฉันนั้น ชนเป็นอันมาก

เห็นกัน อยู่ในเวลาเช้า บางพวกพอตกเวลาเย็นก็ไม่

เห็นกัน ชนเป็นอันมากเห็นกันอยู่ในเวลาเย็น บาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

พวกพอถึงเวลาเช้าก็ไม่ได้เห็นกัน ภูมิประเทศที่ตั้ง

กองช้าง กองรถ กองราบ ย่อมไม่มีในสงคราม

คือมรณะนั้น ไม่อาจจะต่อสู้เอาชัยชนะต่อมฤตยู ด้วย

เวทมนต์ หรือยุทธิวิธี หรือสินทรัพย์ได้ มฤตยูมิได้

เว้นกษัตริย์ พราหมณ์ พ่อค้า ลูกจ้าง คนจัณฑาล

และคนเทหยากเยื่อไร ๆ ย่อมย่ำยีทั้งหมดทีเดียว ควร

รีบทำความเพียรในวันนี้ทีเดียว ใครเล่าจะพึงรู้ว่าตาย

พรุ่งนี้ เพราะความผัดผ่อนกับมัจจุราช ผู้มีเสนาใหญ่

นั้นไม่มีเลย โจรทั้งหลายย่อมปรารถนาทรัพย์ อาตม-

ภาพเป็นผู้พ้นจากเครื่องผูก ของถวายพระพร เชิญ

มหาบพิตรเสด็จกลับไปเถิด อาตมภาพไม่ต้องการ

ราชสมบัติ.

จบเตมิยชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

อรรถกถามหานิบาต

เตมิยชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภ

มหาภิเนกขัมมบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ว่า มา ปณฺฑิจฺจย วิภาวย

ดังนี้เป็นต้น.

ความพิสดารว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกัน อยู่ในโรงธรรมสภา

พรรณนามหาภิเนกขัมมบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระศาสดาทรงสดับ

เรื่องนั้นด้วยทิพโสต เสด็จออกจากพระคันธกุฎีมายังโรงธรรมสภา ตรัสถาม

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายประชุมเจรจากันถึงเรื่องอะไร เมื่อ

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามี

บารมีเต็มแล้ว ทั้งราชสมบัติออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เลย

เมื่อก่อน ญาณยังไม่แก่กล้า เขากำลังบำเพ็ญบารมีอยู่ ได้ทั้งราชสมบัติออก

เพื่อคุณอันยิ่งใหญ่นั้นจึงน่าอัศจรรย์ ตรัสดังนี้แล้ว ทรงดุษณีภาพอยู่ ภิกษุ

เหล่านั้นกราบทูลวิงวอนให้ทรงเล่าเรื่อง จึงทรงนำอดีตนิทานมาแสดง ดังต่อ

ไปนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า กาสิกราช

ครองราชสมบัติโดยธรรมโดยเสมอ ในกรุงพาราณสี พระองค์มีสนมนารี

ประมาณหนึ่งหมื่นหกพันคน บรรดาสนมนารีเหล่านั้น แม้สักคนหนึ่งก็ไม่มี

โอรสหรือธิดาเลย กาลนั้นชาวพระนครกล่าวกันว่า พระราชาของพวกเราไม่มี

พระโอรสแม้องค์หนึ่งที่จะสืบพระวงศ์ จึงประชุมกันที่พระลานหลวง โดยนัย

อันมาแล้วในกุสราชชาดกนั่นแล กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

พระองค์จงทรงปรารถนาพระโอรสเถิด พระราชาทรงสดับคำแห่งชาวเมืองนั้น

แล้ว ตรัสเรียกสนมนารีหนึ่งหมื่นหกพันมาในขณะนั้น แล้วมีพระราชดำรัส

สั่งว่า เจ้าทั้งหลายจงปรารถนาบุตร สนมนารีเหล่านั้น ทำกิจเป็นต้นว่า วิงวอน

และบำรุงเทวดาทั้งหลายมีพระจันทร์เป็นต้น แม้ปรารถนาก็หาได้โอรสหรือ

ธิดาไม่.

ฝ่ายอัครมเหสีของพระเจ้ากาสิกราช ผู้เป็นพระธิดาแห่งพระเจ้า-

มัททราช พระนามว่าจันทาเทวี เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสีลาจารวัตร พระราชามี

พระราชดำรัสสั่งว่า แน่ะนางผู้เจริญ แม้เธอก็จงปรารถนาพระโอรส พระเทวี

ได้สดับ พระราชดำรัสของพระราชสวามีแล้ว ทรงทูลรับ ว่า สาธุ แล้วจึงสมาทาน

อุโบสถในวันเพ็ญ เปลื้องสรรพาภรณ์ บรรทมเหนือพระยี่ภู่น้อย ทรง

อาวัชนาการถึงศีลของพระองค์ ได้ทรงกระทำสัจจกิริยาว่า ถ้าข้าพเจ้ารักษาศีล

ไม่ขาด ขอบุตรของข้าพเจ้าจงเกิดขึ้นด้วยสัจจวาจานี้.

ด้วยเดชานุภาพแห่งศีลของพระนางจันทาเทวีนั้น ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์

ของท้าวสักกเทวราชแสดงอาการร้อน ท้าวสักกะเมื่อทรงอาวัชนาการก็ทรง

ทราบเหตุนั้นว่า พระนางจันทาเทวีปรารถนาโอรส ตกลงเราจักให้โอรสแก่

พระนางนั้น ทรงพิจารณาถึงโอรสที่สมควรแก่พระนาง ก็ทรงเห็นพระ-

โพธิสัตว์ กาลนั้น พระโพธิสัตว์ครองราชสมบัติอยู่ ในกรุงพาราณสีได้ยี่สิบปี

เคลื่อนจากมนุษยโลกนั้น บังเกิดในอุสสุทนรก เสวยทุกข์อยู่ในนรกนั้น

แปดหมื่นปี เคลื่อนจากนรก บังเกิดในพิภพดาวดึงส์ ตั้งอยู่ในดาวดึงส์นั้น

ตลอดอายุ เคลื่อนจากดาวดึงส์นั้น ประสงค์จักไปเทวโลกชั้นสูง ครั้งนั้น

ท้าวสักกะเสด็จไปสู่สำนักของพระโพธิสัตว์ ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ เมื่อ

ท่านเกิดในมนุษยโลก บารมีทั้งหลายของท่านจักเต็มเปี่ยม ความเจริญจักมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

แก่ท่าน และแก่พระชนกชนนีของท่าน ด้วยว่าพระอัครมเหสีของพระเจ้า

กาสิกราช พระนามว่า จันทาเทวี ปรารถนาโอรส ทานจงอุบัติในพระครรภ์ของ

พระนางนั้น แล้วท้าวสักกะถือเอาซึ่งปฏิญญาแก่พระโพธิสัตว์นั้น และแก่

เทวบุตรทั้งหลาย ประมาณ ๕๐๐ องค์ผู้จักจุติ แล้วเสด็จกลับไปยังที่ประทับ

ของพระองค์ทีเดียว พระโพธิสัตว์นั้นรับคำว่า สาธุ แล้วจุติพร้อมกับเทวบุตร

๕๐๐ องค์ พระองค์เองถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางจันทาเทวี ส่วน

เทวบุตรประมาณ ๕๐๐ องค์นอกนี้ ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของภริยาอมาตย์

ทั้งหลาย กาลนั้น พระครรภ์ของพระนางจันทาเทวีเป็นประมาณหนึ่งเต็มไปด้วย

แก้ววิเชียร พระนางทรงทราบว่าตั้งครรภ์ จึงกราบทูลแด่พระราชา พระราชา

ทรงทราบดังนั้น จึงได้พระราชทานครรภ์บริหารแก่พระนาง พระนางมี

พระครรภ์ครบกำหนดแล้ว ก็ประสูติพระโอรสซึ่งสมบูรณ์ด้วยบุญลักษณะอัน

อุดม ภรรยาอมาตย์ทั้งหลายก็คลอดกุมาร ๕๐๐ ในเรือนอมาตย์ในวันนั้น

เหมือนกัน ขณะนั้น พระราชาประทับอยู่ในที่เสด็จออกแวดล้อมไปด้วยหมู่

อมาตย์ราชบริพาร ลำดับนั้น เจ้าหน้าที่ทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบว่า

พระราชโอรสของพระองค์ประสูติแล้วพระเจ้าข้า พระเจ้ากาสิกราชได้ทรงสดับ

คำของเจ้าหน้าที่เหล่านั้น ทรงมีความรักในพระโอรสเป็นครั้งแรกเกิดขึ้น ตัด

พระฉวีจดพระอัฐิมิญชะดำรงอยู่ เกิดพระปีติซาบซ่านภายในพระกมล แม้หทัย

ของอมาตย์ราชบริพารทั้งหลายก็เกิดเยือกเย็นทั่วกัน พระราชาตรัสถามเหล่า

อมาตย์ว่า ท่านทั้งหลายดีใจหรือ เมื่อลูกชายของเราเกิด อมาตย์เหล่านั้น

กราบทูลว่า พระองค์ตรัสถามไยพระเจ้าข้า เมื่อก่อนข้าพระองค์ไร้ที่พึ่ง

บัดนี้พวกข้าพระองค์มีที่พึ่ง ได้เจ้านายแล้ว พระเจ้ากาสิราชได้ทรงสดับคำ

ของเหล่าอมาตย์ก็เกิดพระปีติปลื้มพระทัย จึงตรัสเรียกมหาเสนาบดีมาตรัสสั่ง

ว่า ท่านมหาเสนาบดีผู้เจริญ ลูกชายของฉันควรจะได้บริวาร ท่านจงไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

ตรวจดูว่า ในเรือนอมาตย์มีทารกเกิดในวันนี้เท่านี้ มหาเสนาบดีรับพระราช-

บัญชาแล้ว ไปตรวจดูเห็นทารกในเรือนอมาตย์ ๕๐๐ คน จึงกราบทูลให้

ทรงทราบ พระราชาได้ทรงสดับคำของอมาตย์เหล่านั้นก็เกิดพระปีติ จึงมี

ตรัสสั่งให้พระราชทานเครื่องประดับสำหรับกุมาร แก่ทารกทั้ง ๕๐๐ คน และ

ให้พระราชทานนางนม ๕๐๐ คน แต่สำหรับพระมหาสัตว์ พระราชาพระ-

ราชทานนางนม ๖๔ นาง ล้วนแต่เป็นนางนมผู้เว้นโทษมีสูงนักเป็นต้น นม

ไม่ยาน น้ำนมมีรสหวาน เว้นนางนมที่มีโทษเช่นนั้น เพราะเหตุไร เพราะ

เมื่อทารกนั่งดื่มนมข้างสตรีที่สูงนัก คือทารกจักยืดยาวเกินไป เมื่อทารกนั่ง

ดื่มนมข้างสตรีเตี้ยนัก กระดูกคอทารกจักหดสั้น เมื่อทารกนั่งดื่มนมข้างสตรี

ผอมนัก ขาทั้งสองของทารกจักเสียดสีกัน เมื่อทารกนั่งดื่มนมข้างสตรีอ้วนนัก

เท้าทั้งสองของทารกจักเพลีย สตรีมีผิวดำนัก น้ำนมเย็นเกินไป สตรีมีผิว

ขาวนัก น้ำนมร้อนเกินไป เมื่อทารกดื่มนมของสตรีนมยาน จมูกจักแฟบ

สตรีเป็นโรคหืด มีน้ำนมเปรี้ยวนัก สตรีเป็นโรคมองคร่อ น้ำนมจักมีรสวิการ

ต่าง ๆ มีเผ็ดจัดเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระเจ้ากาสิกราชทรงเว้นโทษทั้งปวง

เหล่านั้น พระราชทานนางนม ๖๔ คน ที่เว้นจากโทษมีสูงนักเป็นต้น นม

ไม่ยาน น้ำนมมีรสหวาน ทรงทำสักการะให้ได้พระราชทานพร แม้แก่

พระนางจันทาเทวี พระนางรับพระพรแล้วถวายคืนไว้ก่อน ในวันขนานพระนาม

พระโพธิสัตว์ พระเจ้ากาสิกราชทรงทำสักการะเป็นอันมากแก่เหล่าพราหมณ์

ผู้รู้ลักษณะพยากรณ์ แล้วตรัสถามถึงอันตรายของพระมหาสัตว์ พราหมณ์ผู้รู้

ลักษณะพยากรณ์เหล่านั้น เห็นพระลักษณสมบัติแห่งพระโพธิสัตว์ จึงกราบทูล

ว่า พระโอรสของพระองค์สมบูรณ์ด้วยบุญลักษณะอันอุดมี อย่าว่าแต่ทวีปหนึ่ง

เลย พระโอรสของพระองค์ทรงสามารถครองราชสมบัติ ในมหาทวีปทั้ง ๔ มี

ทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร (จักรพรรดิ) อันตรายอะไร ๆ จะไม่ปรากฏแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

พระโอรสเลย พระเจ้ากาสิกราชได้ทรงสดับคำของพราหมณ์เหล่านั้น ก็ดี

พระหฤทัย เมื่อทรงขนานพระนามพระกุมาร ได้ทรงขนานพระนามว่า

เตมิยกุมาร เพราะเหตุในวันที่พระกุมารประสูติ ฝนตกทั่วกาสิกรัฐ และเพราะ

พระกุมารประสูติ เป็นเหมือนยังพระหฤทัยแห่งพระราชาและหัวใจแห่ง

หมู่อมาตย์และมหาชนให้ชุ่มชื่น ลำดับนั้น นางนมทั้งหลายยังพระโพธิสัตว์ผู้มี

พระชนม์ได้หนึ่งเดือน ให้สนานประดับองค์แล้ว นำขึ้นเฝ้าพระราชบิดา

พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระปิโยรส ทรงสวมกอดจุมพิตที่พระเศียรแล้ว

ให้ประทับบนพระเพลา ประทับนั่งรื่นรมย์อยู่ด้วยพระกุมาร ขณะนั้นพวก

ราชบุรุษนำโจร ๔ คนมาหน้าที่นั่ง พระราชาทอดพระเนตรเห็นโจรเหล่านั้น

แล้ว มีพระราชดำรัสสั่งให้ลงพระอาญาโจรเหล่านั้น ให้เอาหวายทั้งหนาม

เฆี่ยนโจรคนหนึ่ง. ๑,๐๐๐ ที ให้จำโจรคนหนึ่งด้วยโซ่ตรวนแล้วล่งเข้าเรือนจำ

ให้เอาหอกแทงที่สรีระของโจรคนหนึ่ง ให้เอาหลาวเสียบโจรคนหนึ่ง.

ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ได้ทรงฟังพระดำรัสของพระบิดา ทั้งกลัวทั้ง

สะดุ้ง ทรงจินตนาการว่า โอ พระชนกของเราอาศัยราชสมบัติทำกรรมอัน

หนักเกิน ซึ่งจะไปสู่นรกวันรุ่งขึ้น พระพี่เลี้ยงนางนมทั้งหลายให้พระมหาสัตว์

บรรทมเหนือพระแท่นที่สิริไสยาสน์ ซึ่งตกแต่งแล้วภายใต้เศวตฉัตร พระ-

โพธิสัตว์บรรทมหน่อยหนึ่ง ตื่นบรรทมลืมพระเนตรทั้งสอง ทอดพระเนตร

เศวตฉัตรเห็นสิริราชสมบัติอันยิ่งใหญ่ ลำดับนั้น ความกลัวอย่างเหลือเกินได้

เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์ ผู้ทั้งกลัวทั้งสะดุ้งอยู่เป็นปกติแล้ว พระองค์ทรงดำริว่า

เราจากที่ไหนมาสู่พระราชมณเฑียรนี้ เมื่อทรงใคร่ครวญดูก็ทรงทราบโดยทรง

ระลึกชาติได้ว่า มาจากเทวโลก เมื่อทรงทอดพระเนตรต่อจากนั้นไปอีก ก็ทอด

พระเนตรเห็นว่าไปไหม้อยู่ในอุสสุทนรก เมื่อทรงทอดพระเนตรต่อจากนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

ไปอีก ก็ทรงทราบว่า พระองค์เป็นพระราชาในพระนครนั้นเทียว เมื่อพระ

โพธิสัตว์ทรงพิจารณาอยู่ว่า เราได้ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ๒๐ ปี

แล้วไหม้อยู่ในอุสสุทนรก ๘๐,๐๐๐ ปี บัดนี้เราเกิดในเรือนหลวงดุจเรือนโจร

นี้อีก เมื่อวานนี้ เมื่อเขานำโจร ๔ คนมา พระบิดาของเราได้กล่าวผรุสวาจา

เช่นนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ตกนรก หากว่าเราครองราชสมบัติ ก็จักบังเกิดในนรก

เสวยทุกข์ใหญ่อีก ดังนี้ ได้เกิดความกลัวเป็นอันมาก พระสรีระซึ่งมีวรรณะ

ดุจทองของพระโพธิสัตว์ ได้เหี่ยวมีวรรณะเศร้าหมอง ราวกะว่าดอกปทุมที่

ถูกขยำด้วยมือ ฉะนั้น พระองค์บรรทมจินตนาการอยู่ว่า ทำอย่างไร เราจึงจะ

พ้น จากพระราชมณเฑียร ซึ่งดุจเรือนโจรนี้เสียได้.

คราวนั้น เทพธิดาผู้สิงอยู่ที่เศวตฉัตร เคยเป็นมารดาพระโพธิสัตว์

ในอัตภาพในระหว่างอัตภาพหนึ่ง ปลอบพระโพธิสัตว์ให้สบายพระทัยแล้ว

กล่าวว่า พ่อเตมิยกุมาร พ่ออย่าเศร้าโศก อย่าคิด อย่ากลัวเลย ถ้าพ่อประสงค์

จะพ้นจากพระราชมณเฑียรนี้ พ่อไม่เป็นคนง่อยเปลี้ยเลย ก็จงเป็นเหมือนคน

ง่อยเปลี้ย พ่อไม่เป็นคนหนวก ก็จงเป็นเหมือนคนหนวก พ่อไม่เป็นคนใบ้

ก็จงเป็นเหมือนคนใบ้เถิด พ่อจงอธิษฐานองค์สามเหล่านั้นอย่างนี้แล้ว อย่า

ประกาศความที่พ่อเป็นคนฉลาด เทพธิดากล่าวแล้วจึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า

พ่ออย่าแสดงว่าเป็นคนฉลาด จงให้ชนทั้งปวง

รู้กันว่าพ่อเป็นคนโง่ ชนในที่นั้น ทั้งหมดจะได้ดูหมิ่น

พ่อว่าเป็นคนกาลกรรณี ความปรารถนาของพ่อจัก

สำเร็จได้ด้วยอุบายอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา ปณฺฑิจฺจย ความว่า จงอย่า

ประกาศความเป็นบัณฑิตของตน อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า ปณฺฑิจฺจ ความก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

อย่างนี้แหละ. บทว่า พาลมโต แปลว่า รู้กันว่าเป็นคนโง่. บทว่า สพฺพ-

ปาณิน ได้แก่ อันเหล่าสัตว์ทั้งปวง คือ ชนทั้งหลาย. บทว่า สพฺโพ

ตฺชโน ได้แก่ ทั้งชนภายในทั้งชนภายนอกทั้งสิ้น. บทว่า โอจินายตุ

ได้แก่ จงเข้าใจต่ำ คือจงดูหมิ่นว่า พวกท่านจงนำคนกาลกรรณีนั้นออกไป.

พระโพธิสัตว์กลับได้ความอุ่นพระหฤทัย เพราะคำของเทพธิดานั้น

จึงกล่าวคาถาที่สองว่า

ดูก่อนเทพธิดา ข้าพเจ้าจะทำตามคำของท่าน

ที่ท่านกล่าวกะข้าพเจ้า ข้าแต่แม่เทพธิดา ท่านเป็นผู้

ใคร่ประโยชน์ เป็นผู้ใคร่เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า.

ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว พระโพธิสัตว์ได้อธิษฐานองค์สามเหล่านั้น

เทพธิดานั้นก็อันตรธานหายไป.

ลำดับนั้น พระเจ้ากาสิกราชมีพระดำริว่า ลูกควรจะได้กุมาร ๕๐๐

เหล่านั้นเป็นบริวารเพื่อเป็นที่พอใจ จึงรับสั่งให้กุมารทั้ง ๕๐๐ เหล่านั้นนั่งอยู่ใน

สำนักของพระโพธิสัตว์ ทารกเหล่านั้นร้องไห้อยากดื่มน้ำนม ส่วนพระมหาสัตว์

ถูกความกลัวนรกคุกคาม ทรงดำริว่า จำเดิมแต่วันนี้ กายของเราแม้เหือดแห้ง

ตายเสียเลย ยังประเสริฐกว่า ดำริดังนี้ จึงไม่ทรงกันแสง นางนมทั้งหลาย

กราบทูลประพฤติเหตุนั้นแด่พระนางจันทาเทวี พระนางก็กราบทูลแด่พระราชา

พระราชารับสั่งให้เรียกเหล่าพราหมณ์ผู้รู้ทำนายนิมิตมาตรัสถาม พราหมณ์

ทั้งหลายได้กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ นางนมควรจะถวายน้ำนมแด่พระ-

กุมาร ให้ล่วงเวลาตามปกติ เมื่อทำอย่างนี้ พระกุมารจะทรงกันแสง จับ

นมมั่นเสวยเองทีเดียว ตั้งแต่นั้น นางนมทั้งหลายเมื่อถวายก็ถวายน้ำนมแด่

พระโพธิสัตว์ ล่วงเวลาตามปกติ บางคราวถวายล่วงเวลาวาระหนึ่ง บางคราว

ไม่ถวายน้ำนมตลอดทั้งวัน พระโพธิสัตว์ถูกความกลัวนรกคุกคาม แม้พระกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

เหี่ยวแห้ง ก็ไม่ทรงกันแสงอยากเสวยนม ลำดับนั้น พระนางจันทาเทวีเห็น

พระโพธิสัตว์ไม่ทรงกันแสง ก็ทรงพระดำริว่า ลูกเราหิว จึงให้ดื่มน้ำพระถัน

ของพระนางเอง บางคราวนางนมทั้งหลายให้ดื่มน้ำนั้น เหล่าทารกที่เหลือต่าง

ร้องไห้ ไม่นอนในเวลาไม่ได้ดื่มน้ำนม พระโพธิสัตว์ไม่ทรงกันแสง ไม่ทรง

คร่ำครวญ ไม่บรรทม ไม่คู้พระหัตถ์และพระบาท ไม่เปล่งพระวาจา ครั้งนั้น

นางนมทั้งหลายคิดกันว่า ธรรมดามือและเท้าของคนง่อยเปลี้ยไม่เป็นอย่างนี้

ปลายคางของคนใบ้ไม่เป็นอย่างนี้ ช่องหูของคนหนวกก็ไม่เป็นอย่างนี้ จะต้อง

มีเหตุในพระกุมารนี้ พวกเราจักทดลองพระกุมาร จึงไม่ถวายน้ำนมแด่

พระโพธิสัตว์นั้นตลอดทั้งวัน ด้วยประสงค์ว่า จักทดลองพระกุมารด้วยเรื่อง

นมก่อน พระโพธิสัตว์แม้เหี่ยวแห้งก็ไม่ทรงกันแสงอยากเสวยนม ครั้งนั้น

พระชนนีของพระโพธิสัตว์ตรัสสั่งให้นางนมถวายนม ด้วยพระราชเสาวนีย์ว่า

ลูกฉันหิว จงให้น้ำนมแก่เขา นางนมเหล่านั้น แม้ทดลองไม่ถวายน้ำนมใน

ระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุณของพระโพธิสัตว์

ลำดับนั้น หมู่อมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกอายุขวบหนึ่ง

ชอบกินขนมและของเคี้ยว พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยนมและ

ของเคี้ยว กราบทูลดังนี้แล้วไห้กุมารทั้ง ๕๐๐ คนเหล่านั้น นั่งใกล้ ๆ พระราช

กุมาร นำขนมและของเคี้ยวต่าง ๆ เข้าไปวางไว้ใกล้ ๆ พระมหาสัตว์ กล่าวว่า

ท่านทั้งหลายจงถือเอาขนมและของเคี้ยวเหล่านั้นตามชอบใจ แล้วพากันยืน

แอบดูอยู่ พวกทารกที่เหลือทะเลาะยื้อแย่งกันและกัน ถือเอาขนมและของเคี้ยว

มาเคี้ยวกิน ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงโอวาทพระองค์ว่า แน่ะพ่อเตมิยกุมาร ถ้า

เจ้าประสงค์นรก ก็จงประสงค์ขนมและของเคี้ยว เป็นผู้กลัวภัยในนรก จึงไม่

ทอดพระเนตรดูขนมและของเคี้ยวเลย แม้ทดลองด้วยขนมและของเคี้ยวใน

ระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดา

ทารกสองขวบชอบผลไม้น้อยใหญ่ พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วย

ผลไม้ กราบทูลดังนี้แล้ว นำผลไม้น้อยใหญ่ต่าง ๆ เข้าไปวางไว้ใกล้ ๆ

พระโพธิสัตว์ แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาผลไม้น้อยใหญ่เหล่านั้น

ตามชอบใจเถิด แล้วพากันยืนแอบดูอยู่ เหล่าทารกที่เหลือต่างต่อสู้ทุบตีกัน

และกัน ถือเอาผลไม้เหล่านั้นเคี้ยวกินอยู่ ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็โอวาทพระองค์ว่า

แน่ะพ่อเตมิยกุมาร ถ้าเจ้าประสงค์นรก ก็จงประสงค์ผลไม้น้อยใหญ่ทั้งหลาย

เป็นผู้ถูกภัยในนรกคุกคาม ไม่ทอดพระเนตรดูผลไม้น้อยใหญ่เลย แม้ทดลอง

ด้วยผลไม้น้อยใหญ่ในระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธ

ของพระโพธิสัตว์.

แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดา

ทารกสามขวบชอบของเล่น พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยของเล่น

กราบทูลดังนี้แล้ว จึงให้ทำรูปช้างเป็นต้น สำเร็จด้วยทองเป็นต้น วางไว้ใกล้ ๆ

พระโพธิสัตว์ เหล่าทารกที่เหลือต่างแย่งกันและกันถือเอา ฝ่ายพระมหาสัตว์

ไม่ทรงทอดพระเนตรดูอะไร ๆ เลย แม้ทดลองด้วยของเล่นในระหว่าง ๆ

อย่างนี้เป็นเวลาหนึ่งปี ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์.

แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดา

ทารกสี่ขวบชอบโภชนาหาร พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยโภชนาหาร

กราบทูลดังนี้แล้ว จึงน้อมโภชนาหารต่าง ๆ เข้าถวายพระมหาสัตว์ แม้เหล่า

ทารกที่เหลือต่างก็ทำเป็นคำ ๆ บริโภค ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงโอวาทพระองค์

ว่า แน่ะพ่อเตมิยกุมาร อัตภาพของเจ้าที่ไม่ได้โภชนะบริโภคนับไม่ถ้วน

ทรงกลัวภัยนรก มิได้ทอดพระเนตรดูโภชนาหารนั้น ลำดับนั้น พระชนนีของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

พระโพธิสัตว์ เป็นผู้เหมือนมีพระหฤทัยแตกทำลาย ให้พระโอรสเสวย

โภชนาหารด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง แม้ทดลองด้วยโภชนาหารในระหว่าง ๆ

อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์.

แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ธรรมดาทารกห้าขวบย่อม

กลัวไฟ พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยไฟ กราบทูลดังนี้แล้ว ให้

ทำเรือนใหญ่มีหลายประตู ทำพระลานหลวง มุงด้วยใบตาล ให้พระมหาสัตว์

ซึ่งแวดล้อมด้วยเหล่าทารกที่เหลือ นั่งท่ามกลางทารกเหล่านั้นแล้วจุดไฟ

เหล่าทารกที่เหลือเห็นเรือนไฟลุกโพลง ทั้งกลัวทั้งสะดุ้ง ต่างร้องลั่นวิ่งหนีไป

ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงดำริว่า ความร้อนแห่งเพลิงนี้ ยังดีกว่าไหม้ด้วยไฟนรก

พระมหาสัตว์มิได้มีความหวั่นไหวเลย เหมือนพระมหาเถระผู้เข้านิโรธสมาบัติ

ครั้นเมื่อเพลิงลุกลามมา อมาตย์ทั้งหลายก็อุ้มพระโพธิสัตว์ออกไป แม้ทดลอง

ด้วยไฟในระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระ-

โพธิสัตว์.

แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดา

ทารกหกขวบย่อมกลัวช้างตกมัน พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยช้าง

ตกมัน กราบทูลดังนี้แล้ว ให้ฝึกช้างเชือกหนึ่งซึ่งฝึกอย่างดี ให้พระโพธิสัตว์

ซึ่งแวดล้อมด้วยเหล่าทารกที่เหลือ ประทับ นั่ง ณ พระลานหลวง แล้วปล่อย

ช้าง ช้างนั้นบันลือเสียงโกญจนาท เอางวงตีพื้นดินสำแดงภัยมา เหล่าทารก

ที่เหลือเห็นช้างตกมันก็กลัวมรณภัย จึงวิ่งหนีไปคนละทิศละทาง ฝ่ายพระ-

มหาสัตว์เห็นช้างตกมันนั้นมา ทรงคิดว่า เราตายเสียที่งาช้างตกมันตัวดุร้าย

ยังประเสริฐกว่าไหม้ในนรกอันร้ายกาจ พระมหาสัตว์ถูกภัยนรกคุกคาม

ประทับนั่งตรงนั้นเองไม่หวั่นไหวเลย ลำดับนั้น ช้างที่ฝึกดีแล้วนั้นแล่นเข้ามา

จับพระมหาสัตว์ เหมือนจับกำดอกไม้ วิ่งไปวิ่งมาทำให้พระมหาสัตว์ลำบากยิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

มหาชนรับ พระมหาสัตว์จากงวงช้างแล้วนำออกไป แม้ทดลองด้วยช้างตกมัน

ในระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์

พระราชาตรัสถามพวกราชบุรุษว่า พวกท่านรับพระกุมารนำออกไปในเวลามา

พระกุมารไหวมือหรือเท้าบ้างหรือไม่ ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้เลย

พระเจ้าข้า ทรงหารือว่า พวกเราจะทำอย่างไร.

แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารก

เจ็ดขวบย่อมกลัวงู พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยงู กราบทูลดังนี้

แล้ว จึงให้พระมหาสัตว์กับเหล่าทารกที่เหลือนั่งที่พระลานหลวง ปล่อยงู

ทั้งหลายซึ่งถอนเขี้ยวแล้ว เย็บปากแล้ว ในกาลที่พระโพธิสัตว์ประทับนั่ง

แวดล้อมไปด้วยเหล่าทารกที่เหลือ ทารกที่เหลือทั้งหลายเห็นงูดุร้ายเหล่านั้น

ก็ร้องลั่นวิ่งหนีไป ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงพิจารณาภัยในนรก ทรงดำริว่า

ความพินาศไปในปากของงูดุร้าย ยังดีกว่าตายในนรกอันตรายกาจ ดังนี้แล้ว

จึงทรงนิ่งเฉยเหมือนเข้านิโรธสมาบัติ คราวนั้นงูทั้งหลายก็เลื้อยมารัดพระสกล-

กายของพระมหาสัตว์ แผ่พังพานอยู่บนพระเศียรของพระมหาสัตว์ แม้ในกาล

นั้น พระมหาสัตว์ก็มิได้หวั่นไหวเลย แม้ทดลองด้วยงูในระหว่าง ๆ อย่างนี้

เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์ พระราชาตรัสถาม

พวกราชบุรุษว่า พวกท่านรับพระกุมารนำออกไปในเวลามา พระกุมารไหว

มือหรือเท้าบ้างหรือไม่ ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้เลย พระเจ้าข้า

ทรงหารือว่า พวกเราจะทำอย่างไร.

แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารก

แปดขวบย่อมชอบมหรสพฟ้อนรำ พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วย

มหรสพฟ้อนรำ กราบทูลดังนี้แล้ว ให้พระกุมารประทับนั่ง ณ พระลานหลวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

กับทารก ๕๐๐ คน แล้วให้แสดงมหรสพฟ้อนรำ เหล่าทารกที่เหลือเห็น

มหรสพฟ้อนรำแล้ว ต่างกล่าวว่า ดี ดี พากันหัวเราะเฮฮา ส่วนพระมหาสัตว์

ทรงพิจารณาภัยในนรกว่า ในเวลาที่เราบังเกิดในนรก ความรื่นเริงหรือโสมนัส

ไม่มีแม้ชั่วขณะหนึ่ง จึงนิ่งเฉยมิได้ทอดพระเนตรดูอะไร ๆ นั้นเลย แม้ทดลอง

ด้วยมหรสพฟ้อนรำในระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความ

พิรุธของพระโพธิสัตว์ พระราชาตรัสถามพวกราชบุรุษว่า พวกท่านรับพระ-

กุมารนำออกไปในเวลามา พระกุมารไหวมือหรือเท้าบ้างหรือไม่ ราชบุรุษ

ทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้เลยพระเจ้าข้า ทรงหารือว่า พวกเราจะทำอย่างไร

แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารก

เก้าขวบย่อมกลัวศัสตรา พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยศัสตรา จึง

ให้พระมหาสัตว์ประทับนั่ง พระลานหลวงกับทารก ๕๐๐ คน ในเวลาที่

ทารก ๕๐๐ คนกำลังเล่นกันอยู่ บุรุษผู้หนึ่งถือดาบมีสีดังแก้วผลึก กวัดแกว่ง

บันลือ โห่ร้อง โลดเต้น ปรบมือ ยักเยื้องท่าทาง ขู่ตวาดว่า ได้ยินว่า

ราชโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้ากาสิกราช เป็นกาลกรรณี เขาอยู่ไหน เราจัก

เอาดาบตัดศีรษะเขา วิ่งกล่าวอยู่ดังนี้ เหล่าทารกที่เหลือเห็นดังนั้น ทั้งกลัว

ทั้งสะดุ้ง ร้องลั่นวิ่งหนีไปคนละทิศละทาง ส่วนพระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาภัย

ในนรก ทรงเห็นว่า พินาศเสียในคมดาบอันร้ายกาจ ยังดีกว่ากายในอุสสุทนรก

ดังนี้ ประทับนั่งเหมือนไม่ทรงทราบ ลำดับนั้น บุรุษนั้นเอาดาบจดลงที่ศีรษะ

แล้วกล่าวกะพระมหาสัตว์ว่า เราจักตัดศีรษะท่าน แม้ทำให้พระมหาสัตว์สะดุ้ง

ก็ไม่สามารถจะให้สะดุ้งได้ จึงหลีกไป แม้ทดลองด้วยดาบในระหว่าง ๆ อย่างนี้

เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์ พระราชาตรัสถาม

พวกราชบุรุษอย่างนี้ว่า พวกท่านรับพระกุมารนำออกไปในเวลามา พระกุมาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

ไหวมือหรือเท้าบ้างหรือไม่ ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้เลย

พระเจ้าข้า ทรงหารือว่า พวกเราจะทำอย่างไร.

แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกสิบขวบ

ย่อมกลัวเสียง ควรจะใช้เสียงทดลองพระกุมารว่าหนวกหรือไม่ กราบทูลดังนี้

แล้ว จึงให้แวดวงที่บรรทมด้วยม่าน ทำช่องไว้สี่ข้าง ให้คนเป่าสังข์นั่งอยู่ใต้

ที่บรรทม ไม่ให้พระโพธิสัตว์เห็นตัว ให้เป่าสังข์ขึ้นพร้อมกัน ได้มีเสียง

กังวานพร้อมกัน นางนมทั้งหลายให้พระมหาสัตว์ บรรทมเหนือที่บรรทม อมาตย์

๔ คน ยืนอยู่ที่ข้างทั้ง ๘ แลดูอิริยาบถของพระมหาสัตว์ตามช่องม่าน มิได้

เห็นวิการแห่งพระหัตถ์พระบาท หรือเพียงกระดิกไหว อันเผลอพระสติของ

พระมหาสัตว์ แม้วันหนึ่ง พระราชาตรัสถามพวกราชบุรุษว่า ลูกของเราไหว

มือหรือเท้าบ้างหรือไม่ ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้เลย พระเจ้าข้า

ทรงหารือว่า พวกเราจะทำอย่างไร แม้ทดลองด้วยเป่าสังข์ ในระหว่าง ๆ

อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์เลย.

แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารก

สิบเอ็ดขวบย่อมกลัวเสียงกลอง ควรจะทดลองพระกุมารด้วยเสียงกลอง (เมื่อ-

ล่วงไปหนึ่งปี) อมาตย์ทั้งหลายแม้ทดลองด้วยเสียงกลองในระหว่าง ๆ อย่าง

นั้นแลเป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์.

แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารก

สิบสองขวบย่อมกลัวประทีป พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยประทีป

กราบทูลดังนี้แล้ว ให้พระโพธิสัตว์บรรทมในที่มืดเวลาราตรี คิดว่า พระ

กุมารจะยังพระหัตถ์หรือพระบาทให้ไหวหรือไม่หนอ ทำประทีปให้ลุกโพลงใน

หม้อทั้งหลาย ให้ดับประทีปอื่น ๆ เสีย ให้พระโพธิสัตว์บรรทมหน่อยหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

ในที่มืด แล้วยกหม้อประทีปน้ำมันทั้งหลายขึ้น ทำให้สว่างพร้อมกันทีเดียว

พิจารณาดูอิริยาบถของพระโพธิสัตว์ ก็มิได้เห็นแม้สักว่าความไหวพระกายของ

พระมหาสัตว์ แม้ทดลองด้วยประทีปในระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง

ก็มิได้เห็นแม้เพียงความไหวอะไร ๆ ของพระโพธิสัตว์ พระราชาตรัสถาม

พวกราชบุรุษว่า ลูกของเราไหวมือหรือเท้าบ้างหรือไม่ ราชบุรุษทั้งหลาย

กราบทูลว่า หามิได้เลย พระเจ้าข้า ทรงหารือว่า พวกเราจะทำอย่างไร.

แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารก

สิบสามขวบย่อมกลัวแมลงวัน พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยน้ำอ้อย

กราบทูลดังนี้แล้ว จึงเอาน้ำอ้อยทาทั่วพระสรีระพระโพธิสัตว์ แล้วให้บรรทม

ในสถานที่มีแมลงวันชุกชุม เลี้ยงบำรุงแมลงวันทั้งหลาย แมลงวันเหล่านั้นก็

ตอมพระสรีระทั้งสิ้นแห่งพระโพธิสัตว์ กินน้ำอ้อยดุจแทงด้วยเข็มเป็นอันมาก

พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า เราตายในปากแมลงวันทั้งหลายดีกว่าตายในนรกอเวจี

จึงอดกลั้นทุกขเวทนา ไม่หวั่นไหวเลย ดุจพระมหาเถระเข้านิโรธสมาบัติ แม้

ทดลองด้วยน้ำอ้อยในระหว่าง ๆ อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นแม้เพียง

ความไหวอะไร ๆ ของพระโพธิสัตว์ พระราชาตรัสถามพวกราชบุรุษว่า

ลูกของเราไหวมือหรือเท้าบ้างหรือไม่ ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้

เลย พระเจ้าข้า ทรงหารือว่า พวกเราจะทำอย่างไร.

แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ เมื่อเวลาทารกมี

อายุได้สิบสี่ขวบก็เป็นผู้ใหญ่แล้ว บัดนี้พระกุมารนี้เป็นผู้ใหญ่ ใคร่ของสะอาด

รังเกียจของโสโครก พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยของโสโครก

กราบทูลดังนี้แล้ว ตั้งแต่นั้นมา ไม่สรงสนานพระโพธิสัตว์ ไม่จัดให้ลงบังคน

ไม่ช่วยให้ลุกจากที่บรรทม พระโพธิสัตว์ก็ลงบังคนหนักเบาบรรทมเกลือกกลั้ว

อยู่ในที่นั้นนั่นเอง ก็เพราะกลิ่นเหม็น กาลนั้น ได้เป็นเสมือนกาลสำแดงพระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

อัธยาศัยภายในแห่งพระโพธิสัตว์ออกมาภายนอก แมลงวันทั้งหลายก็มาตอม

กินอยู่ที่พระสรีระของพระโพธิสัตว์ คราวนั้น พระชนกพระชนนีประทับนั่งล้อม

พระโพธิสัตว์ ตรัสอย่างนี้ว่า พ่อเตมิยกุมาร บัดนี้พ่อก็โตแล้ว ใครเขาจะ

ประคับประคองพ่อเสมอไป พ่อไม่ละอายหรือ พ่อนอนอยู่ทำไม ลุกขึ้นชำระ

ร่างกายซิ แล้วตรัสตัดพ้อบริภาษ พระโพธิสัตว์ แม้จมอยู่ในกองคูถซึ่ง

ปฏิกูลอย่างนั้น ก็ทรงวางพระอารมณ์เป็นกลาง เพราะทรงพิจารณาเห็นความ

มีกลิ่นเหม็นของคูถนรก ซึ่งสามารถฟุ้งตลบขึ้นในใจของผู้ที่แม้ยืนอยู่ในที่สุด

ของร้อยโยชน์ เพราะมีกลิ่นเหม็น แม้ทดลองด้วยของโสโครกในระหว่าง ๆ

อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์.

แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารก

สิบห้าขวบย่อมกลัวความร้อน พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยถ่าน

เพลิง ลำดับนั้น อมาตย์ทั้งหลายได้วางกระเบื้องเต็มด้วยไฟไว้ใต้พระแท่นของ

พระโพธิสัตว์ ด้วยคิดว่า อย่างไรเสีย พระกุมารถูกความร้อนเบียดเบียน

เสวยทุกขเวทนา เมื่ออดกลั้นทุกขเวทนาไม่ได้ ก็พึงแสดงความกระดิกไหว

พระหัตถ์หรือพระบาทบ้าง นางนมทั้งหลายให้พระมหาสัตว์บรรทมเหนือพระ

แท่นแล้วออกมาเสีย พระมหาสัตว์ถูกความร้อนเบียดเบียน เปลวไฟปรากฏ

เหมือนลุกโพลงทั่วพระสรีระของพระมหาสัตว์ แม้พระมหาสัตว์ก็ทรงโอวาท

พระองค์เองว่า แน่ะพ่อเตมิยกุมาร ความร้อนในนรกอเวจีแผ่ไปตั้งร้อยโยชน์

ทำลายนัยน์ตาของบรรดาสัตว์ที่อยู่ในที่ร้อยโยชน์ได้ ความร้อนแห่งเพลิงนี้ยัง

ดีกว่าความร้อนในนรกนั้น ตั้งร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า ดังนี้แล้วทรงอด

กลั้นความร้อนนั้นเสีย มิได้หวั่นไหวเลย เหมือนผู้เข้านิโรธสมาบัติ ลำดับ

นั้น พระชนกพระชนนีของพระโพธิสัตว์ ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

ความทุกข์เบียดเบียน ก็เป็นเหมือนพระหฤทัยจักแตก จึงแหวกฝูงชนเข้าไป

นำพระโพธิสัตว์ออกมาจากความร้อนของไฟนั้น แล้วตรัสวิงวอนพระโพธิสัตว์

ว่า พ่อเตมิยกุมาร พวกเรารู้ว่ามิใช่คนง่อยคนเปลี้ยเป็นต้น เพราะคนพิการ

เหล่านั้นมิได้มี มือ เท้า ปาก และช่องหูอย่างนี้ พ่อเป็นบุตรที่พวกเราปรารถนา

จึงได้ พ่ออย่าให้พวกเราฉิบหายเลย พ่อจงเปลื้องพวกเราจากครหาแก่สำนัก

พระราชาทั่วชมพูทวีปเถิด แม้พระชนกพระชนนี วิงวอนถึงอย่างนี้ พระ

โพธสัตว์ก็บรรทมนิ่ง เหมือนมิได้ทรงสดับพระวาจานั้น ลำดับนั้น พระชนก

พระชนนี ของพระโพธิสัตว์ก็ทรงกันแสงเสด็จหลีกไป บางคราวพระชนกของ

พระโพธิสัตว์ แต่พระองค์เดียวเสด็จเข้าไปวิงวอนพระโพธิสัตว์ บางคราวก็

พระชนนีแต่พระองค์เดียวเสด็จเข้าไปวิงวอนพระโพธิสัตว์ บางคราวทั้งสอง

พระองค์เสด็จเข้าไปวิงวอนด้วยกัน แม้ทดลองด้วยถ่านเพลิงในระหว่าง ๆ

อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์.

ลำดับนั้น กาลเมื่อพระโพธิสัตว์มีพระชนม์ได้สิบหกพรรษา หมู่

อมาตย์และพราหมณ์เป็นต้น คิดกันว่า พระกุมารเป็นง่อยเปลี้ยก็ตาม เป็น

ใบ้ก็ตาม เป็นคนหนวกก็ตาม หรือไม่เป็นก็ตาม จงยกไว้ เมื่อวัยเปลี่ยน

แปรไป บุคคลชื่อว่าไม่กำหนัดในอารมณ์ที่น่ากำหนัด ย่อมไม่มี ชื่อว่าไม่ดู

ในอารมณ์ที่น่าดู ย่อมไม่มี ชื่อว่าไม่ยินดีในอารมณ์ที่น่ายินดี ย่อมไม่มี เมื่อ

ถึงคราวแล้ว ความกำหนัดยินดีนี้ย่อมมีเป็นธรรมดา เหมือนความแย้ม บาน

ของดอกไม้ฉะนั้น พวกเราจักให้เหล่านางสนมนักฟ้อนรำบำเรอพระกุมาร

ทดลองพระกุมารด้วยนางสนมนักฟ้อนรำเหล่านั้น ลำดับนั้น พระเจ้ากาสิก

ราชมีรับสั่งให้เรียกหญิงฟ้อนรำ ทรงรูปอันอุดม สมบูรณ์ด้วยความงามดังเทพ

อัปสร ตรัสกะหญิงทั้งหลายว่า บรรดาเธอทั้งหลาย หญิงใดสามารถทำให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

พระกุมารร่าเริง หรือผูกพันไว้ด้วยอำนาจกิเลสได้ หญิงนั้นจักได้เป็นอัคร-

มเหสีของพระกุมารนั้น นางนมทั้งหลายสรงสนานพระกุมารด้วยน้ำหอม ตก

แต่งพระกุมารราวกะเทพบุตร ให้บรรทมบนพระที่สิริไสยาสน์ที่ตกแต่งไว้ดีแล้ว

ในห้องมีสิริเช่นกับเทพวิมาน ทำให้เป็นที่ลุ่มหลงเพราะกลิ่นหอมอย่างเอก

ภายในห้อง ด้วยพวงของหอม พวงระเบียบดอกไม้ พวงบุปผชาติและจุรณ์

แห่งธูปและเครื่องอบเป็นต้น แล้วหลีกไป ลำดับนั้น หญิงเหล่านั้นพากัน

แวดล้อมพระโพธิสัตว์ พยายามให้พระโพธิสัตว์อภิรมย์ด้วยการฟ้อนรำ ขับ

ร้องบ้าง ด้วยกล่าวคำไพเราะเป็นต้นบ้าง. มีประการต่าง ๆ เพราะความที่

พระโพธิสัตว์เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยพระปรีชา พระองค์จึงมิได้ทอดพระเนตรดู

หญิงเหล่านั้น ทรงอธิษฐานว่า หญิงเหล่านั้นอย่าได้ถูกต้องสรีระของเรา แล้ว

ทรงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ครั้งนั้น พระสรีระของพระโพธิสัตว์แข็งกระด้าง

หญิงเหล่านั้นเมื่อไม่ได้ถูกต้องพระสรีระของพระโพธิสัตว์ คิดว่า พระกุมารนี้

มีสรีระแข็งกระด้าง คงไม่ใช่มนุษย์ จักเป็นยักษ์ ทั้งกลัวทั้งสะดุ้ง ไม่อาจที่

จะดำรงตนอยู่ได้ จึงพากันหนีไป แม้ทดลองด้วยหญิงทั้งหลายในระหว่าง ๆ

อย่างนี้เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์ หมู่อมาตย์

พราหมณ์ พระราชา แม้ทดลองด้วยการทดลองอย่างใหญ่สิบหกครั้ง และ

ด้วยการทดลองอย่างน้อยมากครั้งอย่างนี้ ก็ไม่สามารถจะกำหนดจับพิรุธของ

พระโพธิสัตว์นั้นได้ ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามหญิงทั้งหลายว่า แม่มหา-

จำเริญทั้งหลาย ลูกของเราหัวเราะกับพวกเธอบ้างหรือไม่ หญิงทั้งหลายกราบ

ทูลว่า หามิได้เลย พระเจ้าข้า พระราชาทรงสดับคำของหญิงเหล่านั้นแล้ว

ทรงร้อนพระหฤทัย เพราะเหตุนั้นมีรับสั่งให้เรียกพวกพราหมณ์ผู้ทำนาย

ลักษณะมาตรัสว่า ท่านพราหมณ์ผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อพระกุมารประสูติ พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

ท่านบอกแก่เราว่า พระกุมารนี้สมบูรณ์ด้วยบุญลักษณะอันอุดม อันตรายไม่มี

แก่พระกุมารนี้ บัดนี้ พระกุมารนั้นเป็นทั้งง่อยเปลี้ย เป็นทั้งใบ้ทั้งหนวก

ถ้อยคำของพวกท่านไม่ทำให้เรายินดีเลย ลำดับนั้น พราหมณ์ทั้งหลายกราบ

ทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ขึ้นชื่อว่านิมิตที่อาจารย์ทั้งหลายของพวก

ข้าพระองค์ไม่เห็น ย่อมไม่มี อีกประการหนึ่ง พระกุมารนี้เป็นโอรสที่ราช

ตระกูลทั้งหลายปรารถนาจึงได้มา เมื่อพวกข้าพระองค์กราบทูลว่าเป็นกาล-

กรณี ความโทมนัสก็จะพึงมีแด่พระองค์ เพราะเหตุนั้นพวกข้าพระองค์จึงไม่

กราบทูล พระราชาตรัสถามว่า บัดนี้ควรจะทำอย่างไร พราหมณ์เหล่านั้น

กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช ถ้าเมื่อพระกุมารอยู่ในราชมณเฑียรนี้ จะ

ปรากฏอันตราย ๓ อย่าง คือ อันตรายแห่งชีวิต อันตรายแห่งเศวตฉัตร

อันตรายแห่งพระอัครมเหสี เพราะฉะนั้น ควรที่พระองค์จะชักช้าไม่ได้ โปรด

ให้จัดรถอวมงคล เทียมม้าอวมงคล ให้พระกุมารบรรทมบนรถนั้น นำออก

ทางประตูทิศตะวันตก ฝังเสียในป่าช้าผีดิบ พระราชาได้ทรงสดับคำของ

พราหมณ์เหล่านั้น ทรงกลัวภยันตราย จึงโปรดให้ทำอย่างนั้น กาลนั้นพระ

นางจันทาเทวีได้ทรงสดับประพฤติเหตุนั้น จึงรีบเสด็จเข้าเฝ้าพระราชาแต่พระ

องค์เดียว ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ พระองค์ได้พระราช

ทานพรแก่หม่อมฉันไว้ หม่อมฉันรับแล้ว ถวายฝากพระองค์ไว้ ขอพระองค์

โปรดพระราชทานพรนั้น แก่หม่อมฉันในบัดนี้ พระราชาตรัสว่า จงรับเอาซิ

พระเทวี พระนางกราบทูลว่า ขอพระองค์ โปรดพระราชทานราชสมบัติแก่

ลูกของหม่อมฉันเถิด ตรัสว่า ให้ไม่ได้ พระเทวี ทูลถามว่า เพราะเหตุไร

ตรัสว่า ลูกของเราเป็นกาลกรรณี ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ถ้าไม่พระราชทาน

ตลอดชีวิต ขอได้โปรดพระราชทานราชสมบัติเจ็ดปี ตรัสว่า ให้ไม่ได้ พระ

เทวี ทูลว่า ถ้าเช่นนั้น ขอได้โปรดพระราชทานราชสมบัติหกปี พระเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

ตรัสว่า ให้ไม่ได้ พระเทวี ทูลว่า ถ้าเช่นนั้น ขอได้โปรดพระราชทาน

ราชสมบัติห้าปี พระเจ้าข้า ตรัสว่า ให้ไม่ได้ พระเทวี พระนางจันทา-

เทวีทูลขอราชสมบัติลดเวลาลงเป็นลำดับ คือสี่ปี สามปี สองปี ปีเดียว

เจ็ดเดือน หกเดือน ห้าเดือน สี่เดือน สามเดือน สองเดือน เดือนเดียว

ครึ่งเดือน จนถึงเจ็ดวัน พระราชาจึงพระราชทานอนุญาต พระนางจึงให้ตก

แต่งพระโอรสแล้วอภิเษกว่า ราชสมบัตินี้เป็นของเตมิยกุมาร ให้ป่าวร้องทั่ว

พระนคร ให้ประดับพระนครทั้งสิ้น ให้พระโอรสประทับบนคอช้าง ให้ยก

เศวตฉัตรเบื้องบนพระเศียรพระโอรส ทำประทักษิณพระนคร ให้พระโอรส

ผู้เสด็จมาบรรทมบนพระยี่ภู่อันมีสิริ ตรัสวิงวอนตลอดคืนและวัน ถึงห้าวันว่า

พ่อเตมิยะ แม่ไม่เป็นอันหลับนอนร้องไห้อยู่ ถึงสิบหกปีเพราะพ่อ ดวงตา

ทั้งสองของแม่ฟกช้ำ หัวใจของแม่เหมือนจะแตกด้วยความโศก แม่รู้ว่าพ่อ

ไม่ใช่ง่อยเปลี้ยเป็นต้นเลย พ่ออย่าทำให้แม่หาที่พึ่งมิได้เลย ครั้นถึงวันที่หก

พระราชารับสั่งให้หานายสารถี ชื่อสุนันทะ มาตรัสสั่งว่า พ่อสุนันทสารถี

พรุ่งนี้ เจ้าจงเทียมม้าอวมงคลคู่หนึ่ง ที่รถอวมงคลแต่เช้าทีเดียว ให้พระ-

กุมารนอนบนรถนั้น นำลอกทางประตูทิศตะวันตก ประกาศว่าคนกาลกรรณี

จงขุดหลุมสี่เหลี่ยมที่ป่าช้าผีดิบ ใส่พระกุมารในหลุมนั้นแล้ว เอาสันจอบทุบ

ศีรษะให้ตาย กลบดินข้างบนทำดินให้พูนขึ้นอาบน้ำแล้วกลับมา นายสารถีทูล

รับ พระราชดำรัสว่า ดีแล้ว พระเทวีได้สดับดังนั้น ก็เป็นเหมือนพระหฤทัย

แตกทำลาย เสด็จไปสำนักพระโอรส วิงวอนพระกุมารตลอดราตรี ตรัสว่า

พ่อเตมิยะ พระเจ้ากาสิกราช พระบิดาของพ่อ มีพระราชดำรัสสั่งให้ฝังพ่อใน

ป่าช้าผีดิบในวันพรุ่งนี้ แต่เช้าทีเดียว พ่อจะตายแต่เช้าพรุ่งนี้น๊ะลูก พระมหา-

สัตว์ได้สดับดังนั้น ก็มีพระมนัสยินดี ทรงดำริว่า พ่อเตมิยะ ความพยายาม

ที่เจ้าทำมาสิบหกปี จะถึงที่สุดแห่งมโนรถของเจ้าในวันพรุ่งนี้แล้ว เมื่อพระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

มหาสัตว์ทรงดำริอยู่อย่างนี้ ก็เกิดปีติขึ้นขึ้นภายในพระกมล ส่วนพระหฤทัย

ของพระมารดาพระมหาสัตว์ ได้เป็นทุกข์เหมือนจะแตกทำลาย แม้เมื่อเป็น

เช่นนั้น พระมหาสัตว์ก็ทรงดำริว่า ถ้าเราจักพูด มโนรถของเราก็จักไม่ถึงที่

สุด ดังนี้จึงไม่ตรัสกับพระชนนีนั้น ลำดับนั้น ครั้นราตรีนั้นล่วงไปรุ่งขึ้นเช้า

พระเทวีสรงสนานพระมหาสัตว์ ตกแต่งองค์แล้วให้ประทับนั่งบนพระเพลา

ประทับนั่งสวมกอดพระมหาสัตว์นั้น ครั้งนั้น นายสุนันทสารถีเทียมรถแต่เช้า

ทีเดียว เทวดาดลใจให้เทียมม้ามงคลที่รถมงคล ด้วยอานุภาพแห่งพระมหาสัตว์

หยุดรถไว้แทบพระราชทวาร ขึ้นยังพระราชนิเวศน์ เข้าสู่ห้องอันเป็นสิริ

ถวายบังคมพระเทวีแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวี ขอพระแม่เจ้าอย่าได้กริ้ว

ข้าพระบาท ข้าพระบาทรับพระราชบัญชามา กราบทูลดังนี้แล้ว เอาหลังมือกัน

ให้พระเทวีผู้นั่งสวมกอดพระโอรสอยู่ หลีกไป อุ้มพระกุมารดุจกำดอกไม้ลง

จากปราสาท กาลนั้น พระนางจันทาเทวีสยายพระเกศา ข้อนพระทรวง ทรง

ปริเทวนาการดังสนั่นอยู่กับหมู่นางสนมในปราสาท.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นพระมารดา ทรงกันแสง

ก็เป็นเหมือนมีพระหฤทัยแตกทำลายเป็นเจ็ดเสี่ยง ทรงดำริว่า เมื่อเราไม่พูด

กับ พระชนนี พระชนนีของเราจักมีพระหฤทัยทำลายวายพระชนม์ จึงทรงใคร่จะ

พูดด้วย แต่ทรงดำริต่อไปว่า ถ้าเราจักพูดกับพระมารดา ความพยายามที่เราทำ

มาสิบหกปี ก็จักหาประโยชน์มิได้ แต่เมื่อไม่พูด เราจักเป็นประโยชน์แก่ตน

เอง แก่พระชนกพระชนนี และแก่มหาชน ทรงดำริดังนี้ จึงทรงกลั้นโศกาดูร

เสียได้ ไม่ตรัสกับพระชนนี.

ลำดับนั้น นายสุนันทสารถีให้พระมหาสัตว์ขึ้นรถแล้ว แม้คิดว่า เรา

จักขับรถตรงไปประตูทิศตะวันตก ถูกเทวดาดลใจด้วยอานุภาพแห่งพระมหา-

สัตว์ ยังรถให้กลับแล้วขับรถตรงไปประตูทิศทะวันออก ครั้งนั้น ล้อรถกระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

ทบธรณีประตู พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับเสียงนั้น ทรงดำริว่า มโนรถของ

เราถึงที่สุดแล้ว ได้มีพระมนัสแช่มชื่นเป็นอย่างยิ่ง รถแล่นออกจากพระนคร

ไปถึงสถานที่สามโยชน์ ชัฏป่าในที่ทรงนั้น ปรากฏแก่นายสารถีดุจป่าช้าผีดิบ

นายสารถีกำหนดว่า ที่นี้ผาสุก จึงแวะรถจากทางเข้าที่ข้างทาง ลงจากรถ

เปลื้องเครื่องแต่งองค์ของพระมหาสัตว์ ห่อวางไว้ แล้วถือจอบลงมือขุด

หลุมสี่เหลี่ยนในที่ไม่ไกลรถ แต่นั้น พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า กาลนี้เป็นกาลพยา-

ยามของเรา ก็เราพยายามถึงสิบหกปี ไม่ไหวมือและเท้า กำลังของเรายังมีอยู่

หรือว่าไม่มีหนอ ดังนี้แล้วลุกขึ้น ลูบมือขวาด้วยมือซ้าย ลูบมือซ้ายด้วยมือขวา

นวดพระบาททั้งสองด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง เกิดดวงจิต คิดจะลงลากรถ ขณะ

นั้นแผ่นดินได้สูงขึ้นจดท้ายรถ ตรงที่ประดิษฐานพระบาทแห่งพระมหาสัตว์

ดุจผิวฝุ่นที่เต็มด้วยลมฟุ้งขึ้นฉะนั้น. พระมหาสัตว์ เสด็จลงจากรถ ทรงดำเนิน

ไปมาสิ้นเวลาเล็กน้อย ก็ทรงทราบโดยนิยามนี้ว่า เรายังมีกำลังที่จะเดินทาง

ไกลถึงร้อยโยชน์ได้ในวันเดียว เมื่อทรงพิจารณาพระกำลังว่า หากนายสารถี

ประทุษร้ายเรา กำลังของเราที่จะต่อสู้กับนายสารถีมีอยู่หรือหนอ จึงทรงจับ

ท้ายรถยกขึ้น ประทับยืนกวัดแกว่งรถนั้น ดุจจับยานเครื่องเล่นของพวกเด็ก

ฉะนั้น เมื่อทรงกำหนดว่า กำลังที่จะต่อสู้กับนายสารถีของพระองค์ยังมีอยู่

จึงมีพระประสงค์จะได้เครื่องประดับองค์ ในขณะนั้นเองพิภพแห่งท้าวสักกเทว-

ราชได้แสดงอาการร้อน ท้าวสักกะทรงอาวัชนาการก็ทรงทราบเหตุนั้น ทรง

ดำริว่า ความปรารถนาของเตมิยกุมารถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ เธอต้องการเครื่อง

ประดับ เครื่องประดับของมนุษย์ เธอจะต้องการทำไม เราจักให้เตมิยกุมาร

ประดับองค์ด้วยเครื่องประดับทิพย์ จึงตรัสเรียกพระวิสสุกรรมเทวบุตรมามอบ

เครื่องประดับทิพย์แล้ว ทรงส่งไปโดยตรัสสั่งว่า ไปเถิด พ่อจงประดับเตมิย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

กุมารราชโอรสของพระเจ้ากาสิกราช ด้วยเครื่องประดับทิพย์. พระวิสสุกรรม

เทพบุตร ฟังคำท้าวสักกะ รับเทวโองการแล้วไปมนุษยโลก ไปยังสำนักพระ

มหาสัตว์ โพกพระเศียรพระมหาสัตว์ด้วยผ้าทิพย์หมื่นรอบ ประดับพระมหา-

สัตว์ให้เป็นเหมือนท้าวสักกะ ด้วยเครื่องประดับทั้งเป็นของทิพย์และของมนุษย์

แล้วกลับไปที่อยู่ของตน พระมหาสัตว์เสด็จไปยังที่ขุดหลุมของนายสารถีด้วย

การเยื้องกรายของท้าวสักกเทวราช ประทับยืนที่ริมหลุม เมื่อจะตรัสถามนาย

สารถีนั้น ได้ตรัสคาถาที่สามว่า

แน่ะนายสารถี ท่านจะรีบขุดหลุมไปทำไม เรา

ถามท่านแล้ว ท่านจงบอกแก่เราเถิดเพื่อน ท่านจะใช้

หลุมทำประโยชน์อะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาสุ ได้แก่ หลุมสี่เหลี่ยม นายสารถีได้

ฟังดังนั้น ขุดหลุมมิได้เงยหน้าขึ้นดู กล่าวคาถาที่สี่ทูลตอบว่า

พระโอรสของพระราชา เป็นใบ้เป็นหนวกเป็น-

ง่อยเปลี้ย เหมือนไม่มีพระมนัส พระราชาตรัสสั่ง

ข้าพเจ้าว่า ฝังลูกเราเสียในป่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกฺโข แปลว่า คนง่อยเปลี้ย ก็ด้วย

คำว่า มูโค นั่นแหละ ย่อมสำเร็จแม้ความเป็นคนหนวกของเตมิยกุมาร

เพราะต้นหนวกไม่สามารถกล่าวตอบได้. บทว่า อเจตโส ความว่า เหมือน

ไม่มีจิตใจ นายสารถีกล่าวอย่างนี้ เพราะเตมิยกุมารไม่พูดถึง ๑๖ ปี. บทว่า

สมิชฺฌิตฺโถ ความว่า พระราชามีรับสั่งส่งไปแล้ว บทว่า นิกฺขน วเน

ความว่า พึงฝังเสียในป่า.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะนายสารถีว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

ดูก่อนนายสารถี ข้าพเจ้ามิได้เป็นคนหนวก

มิได้เป็นคนใบ้ มิได้เป็นคนง่อยเปลี้ย มิได้มีอินทรีย์

วิกลวิการ ถ้าท่านฝังข้าพเจ้าในป่า ท่านก็ทำสิ่งที่ไม่

เป็นธรรม เชิญท่านดูขาและแขนของข้าพเจ้า และ

เชิญฟังคำภาษิตของข้าพเจ้า ถ้าท่านฝังข้าพเจ้าเสีย

ในป่า ท่านก็ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พธิโร ความว่า พระมหาสัตว์ตรัสอย่างนี้

พอแสดงว่า แน่ะนายสารถีเพื่อนรัก ถ้าพระราชามีรับสั่งให้ฝังพระโอรสนี้อย่าง

นั้น แต่เรามิได้เป็นอย่างนั้น. บทว่า ปิงฺคโล ได้แก่ มีอินทรีย์วิกลวิการ.

บทว่า มญฺเจ ตฺว นิกฺขน วเน ความว่า ถ้าท่านฝังเราผู้เว้นจากความ

เป็นคนหนวกเป็นต้นเห็นปานนี้เสียในป่า ท่านก็พึงทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม

เตมิยกุมารนั้นเห็นนายสารถี แม้ฟังคาถาแรกแล้วก็ไม่แลดูพระองค์เลย ทรง

ดำริว่า เราจักแสดงแก่นายสารถีนี้ว่า เราไม่หนวก ไม่ใบ้ ไม่ง่อยเปลี้ย ตก

แต่งสรีระแล้ว จึงตรัสดาถานี้ว่า อูรู เป็นต้น คาถานั้นมีเนื้อความว่า แน่ะ

นายสารถีเพื่อนรัก ท่านจงดูขาทั้งสองของเราคือของข้าพเจ้า ซึ่งเช่นกับลำต้น

กล้วยทองคำ และแขนทั้งสองของเราคือของข้าพเจ้า ซึ่งมีวรรณะดังใบกล้วย

ทองคำ และจงฟังคำอันไพเราะของเรา.

แต่นั้น นายสารถีคิดว่า นี่ใครหนอ ตั้งแต่มาก็สรรเสริญแต่ตนเท่านั้น

เขาหยุดขุดหลุมเงยหน้าขึ้นดู ได้เห็นรูปสมบัติของพระมหาสัตว์ เมื่อยังไม่รู้จัก

พระมหาสัตว์ว่า ชายคนนี้เป็นมนุษย์หรือเทวดาหนอ จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักก

เทวราชผู้ให้ทานในก่อน ท่านเป็นใคร หรือเป็นบุตร

ของใคร พวกเราจะรู้จักท่านได้อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะสำแดงตนให้แจ้งและแสดงธรรม จึง

ตรัสคาถาว่า

เรามิใช่เทวดา มิใช่คนธรรพ์ มิใช่ท้าวสักกะ

ผู้ให้ทานในก่อน เราที่ท่านจะฆ่าเสียในหลุม เป็น

โอรสของพระเจ้ากาสิกราช เราเป็นโอรสของพระ-

ราชาผู้ที่ท่านพึ่งพระบารมีเลี้ยงชีพอยู่เสมอ แน่ะนาย

สารถี ถ้าทานฝังเราเสียในป่า ทานก็ทำสิ่งที่ไม่เป็น

ธรรม บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่

พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร

เป็นคนลามก พระราชาเป็นเหมือนต้นไม้ เราเป็น

เหมือนกิ่งไม้ ตัวท่านเป็นเหมือนคนอาศัยร่มเงา ถ้า

ท่านฝังเราเสียในป่า ท่านก็ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิหญฺสิ แปลว่า จักฝังพระมหาสัตว์

แสดงว่า ท่านขุดหลุมด้วยหมายว่า จักฝังผู้ใดในที่นี้ เราคือผู้นั้น แม้เมื่อ

พระมหาสัตว์ตรัสว่า เราเป็นพระราชโอรส นายสารถีนั้นก็ยังไม่เชื่ออยู่นั่นเอง

แต่รู้ได้ด้วยมธุรกถาของพระมหาสัตว์นั้น จึงได้ยืนฟังธรรมอยู่. บทว่า มิตฺต-

ทุพฺโภ ได้แก่ คนฆ่ามิตร คือคนเบียดเบียนมิตรทั้งหลาย. บทว่า รุกฺขสฺส

ความว่า บุคคลหักราก ลำต้น ผล ใบ หรือหน่อ ของต้นไม้ที่มีร่มเงาอันตน

ได้ใช้สอยอยู่ ย่อมเป็นผู้ฆ่ามิตร คือเบียดเบียนมิตร. บทว่า ปาปโก ได้แก่

เป็นคนลามก ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้ที่ฆ่ามนุษย์. ด้วยบทว่า ฉายูปโค

พระมหาสัตว์ตรัสว่า แน่ะนายสารถี ท่านอาศัยพระราชาเลี้ยงชีพอยู่ เหมือน

คนเข้าไปสู่ร่มเงาของต้นไม้ เพื่อต้องการจะใช้สอยฉะนั้น เมื่อพระโพธสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

แม้ตรัสถึงอย่างนี้ นายสารถีก็ยังไม่เชื่ออยู่นั้นเอง ลำดับนั้น พระมหาสัตว์

ทรงดำริว่า เราจักทำให้นายสารถีนั้นเชื่อ ทรงทำป่าชัฏให้บันลือลั่นด้วยเสียง

สาธุการของเหล่าเทวดา และด้วยคำโฆษณาของพระองค์ เมื่อจะตรัสคาถาบูชา-

มิตร ๑๐ คาถา จึงตรัสว่า

๑. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร ชน

เป็นอันมากอาศัยบุคคลผู้นั้นเลี้ยงชีพ บุคคลผู้นั้น จาก

เรือนของตนไปที่ไหน ๆ ย่อมมีภักษาหารมากมาย.

๒. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคล

ผู้นั้นไปสู่ชนบท นิคม ราชธานีใด ๆ ย่อมเป็นผู้อัน

หมู่ชนในที่นั้น ๆ ทั้งหมดบูชา.

๓. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร โจร

ทั้งหลายไม่ข่มเหงบุคคลผู้นั้น กษัตริย์ก็มิได้ดูหมิ่น

บุคคลผู้นั้น บุคคลผู้นั้นย่อมข้ามพ้นหมู่อมิตรทั้งปวง.

๔. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคล

ผู้นั้น จะมาสู่เรือนของตนด้วยมิได้โกรธเคืองใคร ๆ มา

ได้ความยินดีปรีดาในสภาที่ประชุม เป็นผู้สูงสุดของ

หมู่ญาติ.

๕. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคล

ผู้นั้นสักการะคนอื่น ก็จะเป็นผู้อันคนอื่นสักการะตน

เคารพคนอื่น ก็จะเป็นผู้อันคนอื่นเคารพตน ย่อม

เป็นผู้ได้รับความยกย่องและเกียรติคุณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

๖. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคล

ผู้นั้นบูชาผู้อื่น ก็ย่อมได้บูชาตอบ ไหว้ผู้อื่น ก็ย่อม

ได้ไหว้ตอบ และย่อมถึงยศและเกียรติ.

๗. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคล

ผู้นั้นย่อมรุ่งเรืองดุจกองเพลิง ย่อมไพโรจน์ดุจเทวดา

มีสิริประจำตัว.

๘. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร โค

ทั้งหลายของบุคคลผู้นั้นย่อมเกิด พืชที่หว่านไว้ในนา

ย่อมงอกงาม บุคคลผู้นั้นย่อมได้บริโภคผลของพืชที่

หว่านไว้.

๙. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร บุคคล

ผู้นั้นตกเหว ตกภูเขา หรือตกต้นไม้ ย่อมได้ที่พึ่ง

อาศัยไม่เป็นอันตราย.

๑๐. บุคคลผู้ใดมิได้ประทุษร้ายเหล่ามิตร เหล่า-

อมิตรย่อมย่ำยีบุคคลผู้นั้นไม่ได้ ดุจต้นไทรมีรากและ

ย่อมงอกงาม พายุไม่อาจพัดพานให้ล้มได้ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุตพฺภกฺโข ได้แก่ ได้ภิกษามาง่าย.

บทว่า สกฆรา ได้แก่ จากเรือนของตน อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้แหละ.

บทว่า น ทุพฺภติ แปลว่า ไม่ประทุษร้าย. บทว่า สพฺพตฺถ ปูชิโต โหติ

นี้ พึงพรรณนาด้วยเรื่องพระสีวลี. บทว่า นาสฺส โจรา ปสหนฺติ ความว่า

พวกโจรไม่อาจทำการข่มขี่ บทนี้พึงแสดงด้วยเรื่องสังกิจจสามเณร. บทว่า

นาติมญฺเติ ขตฺติโย นี้ พึงแสดงด้วยเรื่องโชติกเศรษฐี. บทว่า ตรติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

ได้แก่ ย่อมก้าวล่วง. บทว่า สฆร เอติ ความว่า ผู้ประทุษร้ายมิตร แม้

มาเรือนของตน ก็มีจิตหงุดหงิดโกรธมา แต่ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตรนี้ ย่อมไม่

โกรธมาเรือนของตน. บทว่า ปฏินนฺทิโต ความว่า ย่อมกล่าวคุณกถาของ

ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตรในสถานที่ประชุมของตนเป็นอันมาก ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร

นั้น ย่อมเป็นผู้ชื่นชมเบิกบานด้วยเหตุนั้น. บทว่า สกฺกตฺว่า สกฺกโต โหติ

ความว่า สักการะผู้อื่นแล้ว แม้ตนเองก็เป็นผู้อันผู้อื่นทั้งหลายสักการะ. บทว่า

ครุ โหติ สคารโว ความว่า มีความเคารพในผู้อื่นทั้งหลาย แม้ตนเองก็

เป็นผู้อันผู้อื่นทั้งหลายเคารพ. บทว่า วณฺณกิตฺติภโต โหติ ความว่า ได้

รับยกย่องและสรรเสริญ คือยกคุณความดีและเสียงสรรเสริญเที่ยวป่าวประกาศ.

บทว่า ปูชโก ความว่า เป็นผู้บูชามิตรทั้งหลาย แม้ตนเองก็ย่อมได้การบูชา.

บทว่า วนฺทโก ความว่า ผู้ไหว้กัลยาณมิตรทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

ย่อมได้ไหว้ตอบในภพใหม่. บทว่า ยโสกิตฺตึ ความว่า ย่อมถึงอิสริยยศ

และบริวารยศ และเสียงสรรเสริญคุณความดี พึงกล่าวเรื่องของจิตตคฤหบดี

ด้วยคาถานี้. บทว่า ปชฺชลติ ความว่า ย่อมรุ่งเรืองด้วยอิสริยยศ และ

บริวารยศ. ในบทว่า สิริยา อชฺชหิโต โหติ นี้ ควรกล่าวเรื่องของ

อนาถบิณฑิกเศรษฐี. บทว่า อสฺนาติ แปลว่า ย่อมบริโภค. บทว่า ปติฏฺ

ลภติ พึงแสดงด้วยจุลปทุมชาดก. บทว่า วิรุฬฺหมูลสนฺตาน แปลว่า มี

รากและย่านเจริญ. ในบทว่า อมิตฺตา นปฺปสหนฺติ นี้ พึงกล่าวเรื่องโจร

เข้าเรือนของมารดาพระโสณเถระในเรือนตระกูล.

สุนันทสารถีได้ฟังดังนั้น แม้พระมหาสัตว์ทรงแสดงธรรมด้วยคาถา

มีประมาณเท่านี้ ก็ยังจำพระองค์ไม่ได้ หยุดขุดหลุมด้วยคิดว่า คนนี้ใครหนอ

แล้วลุกขึ้นเดินไปใกล้รถ ไม่เห็นพระมหาสัตว์และห่อเครื่องประดับทั้งสอง

อย่าง จึงกลับมาแลดูพระองค์ก็จำพระองค์ได้ จึงหมอบลงแทบพระบาทแห่ง

พระมหาสัตว์ ประคองอัญชลีทูลวิงวอน กล่าวคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

ขอพระองค์เสด็จมาเถิด ข้าพระบาทจักนำ

พระองค์ซึ่งเป็นพระราซโอรสกลับสู่มณเฑียรของ

พระองค์ ขอพระองค์จงครองราชสมบัติ ขอพระองค์

จงทรงพระเจริญ พระองค์จักทรงทำอะไรในป่า.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงตรัสกะนายสารถีว่า

แน่ะนายสารถี เราไม่ต้องการด้วยราชสมบัติที่

เราจะพึงได้ด้วยการประพฤติอธรรม พร้อมด้วยญาติ

และทรัพย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อล เป็นคำปฏิเสธ.

นายสารถีกราบทูลว่า

ข้าแต่พระราชบุตร พระองค์เสด็จกลับจากที่นี้

จะทำให้ข้าพระองค์ได้รางวัลเครื่องยินดี เมื่อพระองค์

เสด็จกลับไปแล้ว พระชนกและพระชนนีจะพระ-

ราชทานรางวัลเครื่องยินดีแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่

พระราชบุตร เมื่อพระองค์เสด็จกลับไปแล้ว นางสนม

กุมาร พ่อค้า และพราหมณ์เหล่านั้นจะยินดีให้รางวัล

แก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระราชบุตร เมื่อพระองค์เสด็จ

กลับไปแล้ว กองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ

กองทัพราบ แม้เหล่านั้นจะยินดีให้รางวัลแก่ข้า-

พระองค์ ข้าแต่พระราชบุตร เมื่อพระองค์เสด็จกลับ

ไปแล้ว ชาวชนบท ชาวนิคม ผู้มีธัญญาหารมาก

จะประชุมกันให้เครื่องบรรณาการแก่ข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุณฺณปตฺต ได้แก่ รางวัลเครื่องยินดี

คือของให้ที่น่ายินดี. บทว่า ทชฺชุ ความว่า พึงให้รางวัลเครื่องยินดีที่ทำให้

ความมุ่งหมายของข้าพระองค์บริบูรณ์ ดุจหลั่งฝนคือรัตนะเจ็ดประการ ฉะนั้น

นายสารถีคิดว่า อย่างไรเสีย พระกุมารนี้ก็คงเสด็จกลับเมื่ออนุเคราะห์เรา จึง

ได้กล่าวคำนี้. บทว่า เวสิยา แปลว่า พ่อค้า. บทว่า อุปยานานิ แปลว่า

เครื่องบรรณาการ.

พระมหาสัตว์ทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสว่า

พระชนกและพระชนนีสละเราแล้ว ชาว

แว่นแคว้น ชาวนิคมและกุมารทั้งปวงก็สละเราแล้ว

เราไม่มีเหย้าเรือนของตน พระชนนีทรงอนุญาตเรา

แล้ว พระชนกก็ทรงสละเราจริง ๆ แล้ว เราจะบวช

อยู่ในป่าคนเดียว ไม่ปรารถนากามคุณทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิตุ มาตุ จ แปลว่า อันพระชนก

และพระชนนี. บทว่า จตฺโต แปลว่า สละขาดแล้ว แม้ในบทนอกนี้ ก็

นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า มตฺยา ความว่า แน่ะนายสารถีเพื่อนรัก เราชื่อว่า

อันพระชนนีผู้รับพรกำหนดให้ครองราชสมบัติ ๗ วัน ทรงอนุญาตแล้ว. บทว่า

สญฺจตฺโต แปลว่า สละแล้วด้วยดี. บทว่า ปพฺพชิโต ความว่า ออกเพื่อ

ต้องการบวชอยู่ในป่า.

เมื่อพระมหาสัตว์ตรัสคุณธรรมของพระองค์อยู่อย่างนี้ พระปีติได้เกิด

ขึ้นแล้ว แต่นั้น เมื่อทรงเปล่งพระอุทานด้วยกำลังพระปีติ จึงตรัสว่า

ความหวังผลของเหล่าบุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อม

สำเร็จแน่นอน เรามีพรหมจรรย์สำเร็จแล้ว ท่านจงรู้

อย่างนี้เถิด นายสารถี ประโยชน์โดยชอบของเหล่า-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

บุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อมให้ผลแน่นอน เรามี

พรหมจรรย์สำเร็จแล้ว ออกบวชแล้ว จะมีภัยแต่

ไหนเล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผลาสาว ความว่า พระมหาสัตว์ตรัส

อย่างนี้ เพื่อแสดงว่า ผลแห่งความมุ่งหมายของเราผู้ไม่รีบร้อน สิบหกปีจึง

สำเร็จ. บทว่า วิปกฺกพฺรหฺมจริโยสฺมิ แปลว่า มีความปรารถนาถึงที่สุด

แล้ว. บทว่า สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ ความว่า ประเภทคุณวิเศษมีฌาน

เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจที่พึงทำ ย่อมสำเร็จโดยชอบ คือโดยอุบาย โดยการณ์.

นายสารถีกราบทูลว่า

พระองค์มีพระดำรัสไพเราะ และมีพระวาจา

สละสลวยอย่างนี้ เหตุไฉนจึงไม่ตรัสในสำนักแห่ง

พระชนกและพระชนนีในกาลนั้นเล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วคฺคุกโถ แปลว่า มีพระดำรัสไพเราะ

คือมีพระดำรัสอ่อนหวาน.

แต่นั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า

เราเป็นง่อยเปลี้ย เพราะไม่มีเครื่องติดต่อก็หาไม่

เราเป็นหนวกเพราะไม่มีซ่องหูก็หาไม่ เราเป็นใบ้

เพราะไม่มีลิ้นก็หาไม่ ท่านอย่าเข้าใจว่าเราเป็นใบ้

เราระลึกชาติปางก่อนที่เราเสวยราชสมบัติได้ เราได้

เสวยราชสมบัติในกาลนั้นแล้ว ต้องไปตกนรกอัน

กล้าแข็ง เราได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้นยี่สิบปี ต้อง

หมกไหม้อยู่ในนรก ๘๐,๐๐๐ ปี เรากลัวจะต้องเสวย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

ราชสมบัตินั้น ขอชนทั้งหลายอย่าพึงอภิเษกเราใน

ราชสมบัติเลย เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่พูดในสำนัก

ของพระชนกและพระชนนีในกาลนั้น พระชนกทรง

อุ้มเราให้นั่งบนพระเพลา แล้วตรัสสั่งข้อความว่า จง

ฆ่าโจรคนหนึ่ง จงจองจำโจรคนหนึ่ง จงเอาหอก

แทงโจรคนหนึ่ง แล้วเอาน้ำแสบราดแผล จงเสียบโจร

คนหนึ่งบนหลาว ตรัสสั่งเจ้าหน้าที่นั้นอย่างนี้ เราได้

ฟังพระวาจาอันหยาบคายที่พระชนกตรัสนั้น จึงกลัว

การเสวยราชสมบัติ เรามิได้เป็นใบ้ ก็ทำเหมือนเป็น

ใบ้ มิได้เป็นง่อยเปลี้ย ก็ให้คนเข้าใจว่าง่อยเปลี้ย

แกล้งนอนเกลือกกลิ้งอยู่ในปัสสาวะและอุจจาระของ

ตน ชีวิตนั้นเป็นของลำบาก เป็นของน้อย ทั้ง

ประกอบด้วยทุกข์ ใครเล่าจะอาศัยชีวิตนี้ ทำเวรด้วย

เหตุการณ์หน่อยหนึ่ง ใครเล่าจะอาศัยชีวิตนี้ ทำเวร

ด้วยเหตุการณ์หน่อยหนึ่ง เพราะไม่ได้ปัญญา เพราะ

ไม่เห็นธรรม ความหวังผลของเหล่าบุคคลผู้ไม่

รีบร้อน ย่อมสำเร็จแน่นอน เรามีพรหมจรรย์สำเร็จ

แล้ว ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด นายสารถี ประโยชน์โดย

ชอบของเหล่าบุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อมให้ผลแน่นอน

เรามีพรหมจรรย์สำเร็จแล้ว ออกบวชแล้ว จะมีภัย

แต่ไหนเล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสนฺธิตา แปลว่า เพราะไม่มีที่ต่อ.

บทว่า อโสตตา แปลว่า เพราะไม่มีโสต. บทว่า อชิวฺหตา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

เรานั้นมิได้เป็นใบ้ เพราะไม่มีลิ้นสำหรับเปลี่ยนไปมาของคำพูด. บทว่า ยตฺถ

ความว่า ได้เสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสีนั่นแลในชาติได้. บทว่า ปาปตฺถ

ความว่า พระมหาสัตว์ตรัสถึงความชั่วว่า พระองค์ได้ตกมาแล้ว. บทว่า

รชฺเชภิเสจยุ แปลว่า พึงอภิเษกในราชสมบัติ. บทว่า นิสีทิตฺวา ความว่า

ให้นั่งแล้ว. บทว่า อตฺถานุสาสติ ความว่า ตรัสสั่งข้อความผิด. บทว่า

ขาราปตจฺฉก ความว่า จงเอาหอกแทงแล้วราดน้ำแสบที่แผล. บทว่า

อุพฺเพถ แปลว่า จงยกขึ้น คือจงเสียบ. บทว่า อิจฺจสฺส อนุสาสติ

ความว่า ตรัสสั่งข้อความแก่มหาชนนั้นอย่างนี้. บทว่า ตายาห ความว่า

เราได้ฟังพระวาจาเหล่านั้น. บทว่า ปกฺขสมฺมโต ความว่า ได้เป็นผู้อันชน

ทั้งหลายเข้าใจว่าเป็นง่อยเปลี้ย คือเป็นเหมือนคนง่อยเปลี้ย. บทว่า อจฺฉาห

ความว่า อยู่แล้ว คือเราอยู่แล้ว. บทว่า สปริปลุโต ความว่า เป็นผู้

เกลือกกลิ้ง คือจมลงแล้ว. บทว่า กสิร แปลว่า เป็นทุกข์ บทว่า ปริตฺต

แปลว่า น้อย คำนี้มีอธิบายว่า แน่ะนายสารถีเพื่อนรัก ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย

ถ้าเป็นทุกข์ ก็จะพึงดังอยู่คือเป็นไปนานมาก ถ้านิดหน่อยก็จะพึงเป็นคือเป็น

ไปสบาย แต่ชีวิตนี้ ลำบากก็ตาม นิดหน่อยก็ตาม น้อยก็ตาม ย่อมประกอบ

คือเข้าไปทรงไว้พร้อมด้วยทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นทีเดียว คือ ถูกชาติ ชรา มรณะ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสย่ำยี. บทว่า โกม คัดบทเป็น

โก อิม บทว่า เวร ได้แก่ เวรห้าอย่างมีปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า เกนจิ

ได้แก่ ด้วยเหตุไร ๆ. บทว่า กยิราถ แปลว่า พึงกระทำ. บทว่า ปญฺาย

ได้แก่ วิปัสสนาปัญญา. บทว่า ธมฺมสฺส ความว่า เพราะไม่เห็นโสดา

ปัตติมรรค.

พระมหาสัตว์ได้ตรัสอุทานคาถาซ้ำอีก เพื่อประกาศความประสงค์ไม่

เสด็จกลับ ไปพระนครเป็นมั่นคง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

สุนันทสารถีได้ฟังดังนั้น คิดว่า พระกุมารนี้ ทิ้งสิริราชสมบัติเห็นปาน

นี้เหมือนทิ้งซากศพ ไม่ทำลายความตั้งใจมั่นของพระองค์ เข้าป่าด้วยหวังว่า

จักผนวช เราจะต้องการอะไรด้วยชีวิตอันไม่สมประกอบนี้ แม้เราก็จักบวช

กับด้วยพระกุมารนั้น คิดดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาว่า

ข้าแต่พระราชบุตร แม้ข้าพระองค์ก็จักบวชใน

สำนักของพระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดตรัสเรียกให้

ข้าพระองค์บวชด้วยเถิด ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ

ข้าพระองค์ชอบบวช.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตวนฺติเก แปลว่า ในสำนักของท่าน

บทว่า อวฺหยสฺสุ ความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสเรียกข้าพระองค์ว่า เจ้าจง

มาบวชเถิด.

แม้นายสารถีทูลวิงวอนอย่างนี้ พระมหาสัตว์ทรงพระดำริว่า หากเรา

ให้นายสารถีบวชในบัดนี้ทีเดียว พระชนกพระชนนีของเราก็จักไม่เสด็จมาใน

ทีนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเสื่อมจักมีแก่พระชนกและพระชนนีทั้งสอง ม้า รถ

และเครื่องประดับ เหล่านี้ ก็จักพินาศ แม้ความครหาก็จักเกิดขึ้นแก่เราว่า นาย

สารถีนั้นถูกพระราชกุมารผู้เป็นยักษ์กินเสียแล้ว ทรงพิจารณาเพื่อจะเปลื้อง

ความครหาของพระองค์ และพิจารณาถึงความเจริญแห่งพระชนกและพระชนนี

เมื่อทรงแสดงม้ารถและเครื่องประดับ ทำให้เป็นหนี้ของนายสารถีนั้น จึงตรัส

คาถาว่า

แน่ะนายสารถี ท่านจงไปมอบคืนรถ แล้วเป็น

ผู้ไม่มีหนี้เถิด เพราะผู้ไม่มีหนี้จึงบวชได้ การบวชนั้น

ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งสรรเสริญแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอต ได้แก่ การกระทำการบรรพชานั้น.

บทว่า อิสีภิ วณฺณต ความว่า ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

สรรเสริญแล้ว.

นายสารถีได้ฟังดังนั้น คิดว่า เมื่อเราไปสู่พระนคร ถ้าพระกุมารนี้

จะพึงเสด็จไปที่อื่น พระราชบิดาได้ทรงสดับข่าวนี้แล้ว เสด็จมาตรัสว่า จงแสดง

ลูกของเรา มิได้ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารนี้ จะพึงลงราชทัณฑ์แก่เรา

เพราะฉะนั้น. เราจะกล่าวคุณของตนแก่พระกุมารนี้ จักถือเอาคำปฏิญญาเพื่อ

ไม่เสด็จไปที่อื่น คิดดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

ข้าพระองค์ได้ทำตามพระดำรัส ขอพระองค์จง

ทรงพระเจริญ พระองค์ควรจะทรงทำตามคำที่ข้า-

พระองค์ทูลวิงวอน ขอพระองค์จงประทับรออยู่ ณ

ที่นี้ จนกว่าข้าพระองค์จะนำพระราชาเสด็จมา อย่าง

ไรเสีย พระราชบิดาของพระองค์ทอดพระเนตรเห็น

แล้ว คงทรงพระปีติโสมนัสเป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ความว่า ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ

พระดำรัสใดที่พระองค์ตรัสแล้ว แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้กระทำตามพระ

ดำรัสนั้นแล้ว พระองค์อันข้าพระองค์วิงวอนแล้ว ควรจะกระทำตามคำนั้น

เท่านั้น.

แต่นั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า

แน่ะนายสารถี เราจะกระทำตามคำของท่าน

ที่ท่านกล่าวกะเรา แม้ตัวเราก็อยากเห็นพระชนกของ

เราเสด็จมาในที่นี้ จงกลับไปเถิดเพื่อนรัก ท่านจงทูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

แก่พระญาติทั้งหลายด้วยก็เป็นการดี ท่านเป็นผู้ที่เรา

สั่งแล้ว จงกราบทูลถวายบังคมพระชนกพระชนนี

ของเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กโรมิ เต ต ความว่า เรากระทำตาม

คำนั้น ของท่าน. บทว่า เอหิ สมฺม นิวตฺตสฺสุ ความว่า แน่ะนายสารถี

เพื่อนรัก ท่านจงไปในที่นั้น จงรีบกลับไปจากที่นี้ทีเดียว. บทว่า วุตฺโต

วชฺชาสิ ความว่า ท่านเป็นผู้ที่เรากล่าวสั่งแล้ว พึงกราบทูลถวายบังคมของ

เราว่า เตมิยกุมารพระโอรสของพระองค์ ถวายบังคมพระบาทยุคลของพระองค์.

ครั้นตรัสดังนี้แล้ว พระมหาสัตว์ได้น้อมพระองค์ดุจลำต้นกล้วยทองคำ

ผินพระพักตร์ไปทางกรุงพาราณสี ถวายบังคมพระชนกและพระชนนี ด้วย

เบญจางคประดิษฐ์ แล้วได้ประทานข่าวสาส์นแก่นายสารถี.

นายสารถีรับข่าวสาส์นแล้วทำประทักษิณพระกุมาร ถวายบังคมแทบ

พระยุคลบาทของพระกุมาร ขึ้นรถแล้วขับตรงไปยังกรุงพาราณสี.

พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความข้อนั้น ตรัสว่า

นายสารถีจับพระบาททั้งสองของพระกุมาร

และกระทำประทักษิณพระกุมารแล้ว ขึ้นรถเข้าไปสู่

ประตูพระราชวัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส เป็นต้น ความว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นายสารถีนั้นจับที่พระบาททั้งสองของพระกุมารนั้น กระทำ

ประทักษิณแล้วขึ้นรถเข้าไปสู่ประตูพระราชวัง.

ในขณะนั้น พระนางจันทาเทวีเผยพระแกลคอยแล ดูการมาของนาย

สารถี ด้วยใคร่จะทรงทราบว่า ความเป็นไปของลูกเราเป็นอย่างไรหนอ พอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

ทอดพระเนตรเห็นนายสารถีกลับมาแต่ผู้เดียว ก็เป็นประหนึ่งพระหฤทัยจะแตก

ทำลายไป ทรงคร่ำครวญแล้ว.

พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความข้อนั้น ตรัสว่า

พระชนนีทอดพระเนตรเห็นรถเปล่า มีแต่นาย

สารถีมาคนเดียว ก็มีพระเนตรทั้งสองนองไปด้วย

พระอัสสุชลทรงกันแสง ทอดพระเนตรดูนายสารถี

นั้นด้วยเข้าพระหฤทัยว่า นายสารถีนี้ฝังโอรสของเรา

เสียแล้ว โอรสของเรานายสารถีฝังเสียในแผ่นดิน

ถมแผ่นดินแล้วเป็นแน่ ปัจจามิตรทั้งหลายจะยินดี

ศัตรูทั้งหลายจะอิ่มใจเป็นแน่ เพราะเห็นนายสารถีมา

แล้ว เพราะฝังโอรสของเราแล้ว พระชนนีทอด-

พระเนตรเห็นรถเปล่า นายสารถีกลับมาแต่ผู้เดียว

ก็มีพระเนตรทั้งสองนองไปด้วยพระอัสสุชลทรง

กันแสง ตรัสสอบถามนายสารถีนั้นว่า โอรสของเรา

เป็นใบ้หรือ เป็นง่อยหรือ ตรัสอะไรบ้างหรือในเวลา

ที่ถูกท่านฝังในแผ่นดิน จงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา

เถิด นายสารถี โอรสของเราเป็นใบ้เป็นง่อย เขา

กระดิกมือเท้าอย่างไรบ้างไหม ในเมื่อถูกท่านฝังใน

แผ่นดิน เราถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกความนั้น

แก่เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาตา ได้แก่ พระชนนีของเตมิยกุมาร

โพธิสัตว์. บทว่า ปพฺยา ภูมิวฑฺฒโน ความว่า ลูกของเรานั้น ถูกฝัง

ในแผ่นดินถมพื้นดินเป็นแน่. บทว่า โรทนฺตี น ปริปุจฺฉติ ความว่า

พระนางจันทาเทวีตรัสสอบถามนายสารถีผู้หยุดรถไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

ขึ้นปราสาทถวายบังคมพระนางแล้วยืน ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง. บทว่า กินฺนุ

ความว่า ลูกของเรานั้นเป็นใบ้และเป็นง่อยเปลี้ยจริงหรือ. บทว่า ตทา

ความว่า ในเวลาที่ท่านฝังเขาในหลุมแล้ว เอาสันจอบทุบศีรษะ. บทว่า

นิหญฺมาโน ภูมิยา ความว่า เมื่อถูกท่านฝังในพื้นดิน เขาพูดอย่างไร

บ้าง. บทว่า ต เม อกฺขาหิ ความว่า ท่านจงบอกเรื่องทั้งหมดนั้นอย่าให้

คลาดเคลื่อน. บทว่า วิวฏฺฏยิ ความว่า ลูกของเราเขาไหวมือและเท้า

พร่ำกล่าวกะท่านว่า หลีกไปสารถี ท่านอย่าฆ่าเรา ดังนี้ บ้างหรือไม่.

ลำดับนั้น นายสุนันทสารถี กราบทูลพระนางว่า

ข้าแต่พระแม้เจ้า ขอพระแม่เจ้าโปรดประทาน

อภัยแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอกราบทูลตามที่ได้

ฟังได้เห็นในสำนักพระราชโอรส แด่พระองค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทชฺชาสิ ความว่า ถ้าพระองค์จะพึง

ประทานอภัย นายสุนันทสารถี นั้นคิดว่า ถ้าเราจะกราบทูลว่า พระโอรส

ของพระองค์ไม่เป็นคนใบ้ ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย ไม่เป็นหนวก มีพระดำรัส

ไพเราะ เป็นธรรมกถึก ดังนี้ พระราชาจะพึงมีพระดำริว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น

เหตุไร ท่านจึงไม่พาลูกของเรานั้นมา พึงกริ้วสั่งลงพระราชอาญาแก่เราแน่

เราต้องขอพระทานอภัยเสียก่อน จึงกราบทูลคำนี้.

ลำดับนั้น พระนางจันทาเทวีจึงตรัสแก่นายสารถีนั้นว่า

ดูก่อนนายสารถีผู้สหาย เราให้อภัยแก่ท่าน

ท่านไม่ต้องกลัว จงกล่าวตามที่ท่านได้ฟังหรือได้เห็น

ในสำนักของพระราชโอรส.

แต่นั้นนายสารถีกราบทูลว่า

พระราชโอรสนั้นมิได้เป็นใบ้ มิได้เป็นง่อยเปลี้ย

พระองค์มีพระวาจาสละสลวย ได้ยินว่า พระองค์กลัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

ราชสมบัติ จึงได้ทรงทำการลวงเป็นอันมาก พระองค์

ทรงระลึกถึงชาติก่อน ที่พระองค์ได้เสวยราชสมบัติ

พระองค์เสวยราชสมบัติในกาลนั้นแล้ว ต้องไปตก

นรกอันกล้าแข็ง พระองค์เสวยราชสมบัติในกาลนั้น

๒๐ ปี แล้วต้องหมกไหม้อยู่ในนรก ๘๐,๐๐๐ ปี

พระองค์กลัวจะต้องเสวยราชสมบัตินั้น ทรงอธิษฐาน-

ว่า ขอชนทั้งหลาย อย่าพึงอภิเษกเราในราชสมบัติเลย

เพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสในสำนักของพระชนก

และพระชนนีในกาลนั้น พระราชโอรสทรงสมบูรณ์

ด้วยองคาพยพ มีพระรูปงดงามสมส่วน มีพระวาจา

สละสลวย มีพระปัญญา ทรงดำรงอยู่ในบรรดาแห่ง

สวรรค์ ถ้าพระแม่เจ้ามีพระราชประสงค์ จะทอดพระ

เนตรเห็นพระราชโอรสของพระองค์ ก็ขอเชิญเสด็จ

เถิด ข้าพระองค์ จะนำเสด็จพระแม่เจ้าไปให้ถึงที่ที่

พระเตมิยราชโอรสประทับ อยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสฏฺวจโน ได้แก่ มีพระดำรัส

บริสุทธิ์. บทว่า อกรา อาลเย พหู ความว่า ได้กระทำการลวงพระองค์

เป็นอันมาก. บทว่า ปญฺโ แปลว่า มีปัญญา. บทว่า สเจ ตฺว ความว่า

นายสารถีกระทำพระราชาให้เป็นธุระ กราบทูลอย่างนี้กะทั้งสองพระองค์นั้น

บทว่า ยตฺถ สมฺมติ ความว่า นายสารถีกราบทูลว่า พระโอรสของพระองค์

ทรงรับปฏิญญาไว้กับข้าพระองค์ ประทับ อยู่ ณ ที่ใด ข้าพระองค์จักพาพระ

องค์ไป ณ ที่นั้น ควรรีบเสด็จไปโดยไม่เนิ่นช้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

ฝ่ายเตมิยกุมารครั้นส่งนายสารถีไปแล้ว ใคร่จะทรงผนวช ครั้งนั้น

ท้าวสักกเทวราชทรงทราบพระหฤทัยของพระกุมารนั้น จึงตรัสสั่งพระวิสสุ-

กรรมเทพบุตรว่า พ่อวิสสุกรรม พระเตมิยกุมารใคร่จะทรงผนวช ท่านจงไป

สร้างบรรณศาลาและเครื่องบริขารแห่งบรรพชิตแก่พระกุมารนั้น พระวิสสุ-

กรรมเทพบุตรรับเทวโองการแล้วลงจากสวรรค์ เนรมิตอาศรมขึ้นในราวป่า

สามโยชน์ เนรมิตที่พักกลางคืนและกลางวัน และสระโบกขรณี ทำสถานที่

นั้น ให้สมบูรณ์ด้วยต้นไม้มีผลไม่จำกัดกาล. เนรมิตที่จงกรมประมาณ ๒๔

ศอกในที่ใกล้บรรณศาลา เกลี่ยทรายมีสีดังแก้ว ผลึกภายในที่จงกรม และเนร-

มิตเครื่องบริขาร สำหรับบรรพชิตทุกอย่าง แล้วเขียนอักษรบอกไว้ที่ฝาว่า

กุลบุตรผู้ใดผู้หนึ่งใคร่จะบวช จงถือเอาเครื่องบริขารสำหรับบรรพชิตเหล่านี้

บวชเถิด แล้วให้เนื้อและนก ใกล้อาศรมหนีไป เสร็จแล้วกลับไปยังที่อยู่ของตน.

ขณะนั้น พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นอาศรมบทนั้น ทรงอ่าน

หนังสือแล้วก็ทรงทราบว่า ท้าวสักกเทวราชประทานให้ จึงเสด็จเข้าบรรณศาลา

เปลืองภาษาของพระองค์ ทรงนุ่งผ้าเปลือกไม้สีแดง ทรงห่มผ้านั้นผืนหนึ่ง

ทำหนึ่งเสือเฉวียงพระอังสา ทรงผูกมณฑลชฎา ยกคานเหนือพระอังสา ทรง

ถือธารพระกรเสด็จออกจากบรรณศาลา เมื่อจะให้สิริแห่งบรรพชิตเกิดขึ้นจึง

เสด็จจงกรมกลับไปกลับมา ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า การบรรพชาที่เราได้แล้ว

เป็นสุข เป็นสุขยิ่งหนอ แล้วเสด็จเข้าบรรณศาลา ประทับนั่งบนที่ลาดด้วยใบไม้

ยังอภิญญาห้าและสมาบัติแปดให้เกิด เสด็จออกจากบรรณศาลาในเวลาเย็น

เก็บใบหมากเม่าที่เกิดอยู่ท้ายที่จงกรม นึ่งในภาชนะที่ท้าวสักกะประทาน

ด้วยน้ำร้อนอัน ไม่มีรสเค็ม ไม่มีรสเปรี้ยว ไม่เผ็ด เสวย ดุจบริโภคอมฤตรส

เจริญพรหมวิหารสี่สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทีนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

ฝ่ายพระเจ้ากาสิกราช ได้ทรงสดับคำของสุนันทสารถี จึงตรัสสั่งให้

เรียกมหาเสนาคุต รีบร้อนใคร่ให้ทำการตระเตรียมเสด็จ ตรัสว่า

เจ้าหน้าที่ทั้งหลายจงเทียมรถเทียมม้า จงผูก

เครื่องประดับช้าง จนกระทั่งสังข์และบัณเฑาะว์ จง

ตีกลองหน้าเดียว จงตีกลองสองหน้า และรำมะนา

อันไพเราะ ขอชาวนิคมจงตามเรามา เราจักไปให้

โอวาทแก่ลูกชาย นางสนม กุมาร พ่อค้า และ

พราหมณ์ทั้งหลาย จงรีบเตรียมยาน เราจักไปให้

โอวาทแก่ลูกชาย พวกกองพลช้าง กองพลม้า กอง

พลรถ กองพลราบ จงรีบเตรียมยาน เราจักไปให้

โอวาทแก่ลูกชาย ชาวชนบทและชาวนิคม จงมา

ประชุมรีบเตรียมยาน เราจักไปให้โอวาทแก่ลูกชาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺธริยนฺตุ ได้แก่ จงบรรเลงสนั่น.

บทว่า นทนฺตุ ได้แก่ จงเปล่งเสียง. บทว่า เอกโปกฺขรา ได้แก่ กลอง

หน้าเดียว. บทว่า สนฺนทฺธา ได้แก่ หุ้มไว้อย่างดี. บทว่า วคฺคู ได้แก่

มีเสียงไพเราะ. บทว่า คจฺฉ แปลว่า จักไป. บทว่า ปุตฺตนิวาทโก

ความว่า เราจักไปกล่าวสอน คือให้โอวาทแก่ลูกชาย พระเจ้ากาสิกราชตรัส

อย่างนี้ ด้วยมีพระราชประสงค์ว่า เราจะไปเพื่อกล่าวสอนเตมิยกุมาร ให้เธอ

ถือคำของเรา แล้วอภิเษกตั้งเขาไว้ในกองรัตนะ ณ ที่นั้นแหละแล้วนำมา.

บทว่า เนคมา ได้แก่ พวกคนมีทรัพย์. บทว่า สมาคตา ความว่า จง

ประชุมกันตามเรามา.

นายสารถีทั้งหลาย ที่พระราชาตรัสสั่งอย่างนี้แล้ว ก็เทียมม้าจอดรถ

ไว้แทบประตูพระราชวัง แล้วกราบทูลให้ทรงทราบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความข้อนั้น ตรัสว่า

นายสารถีทั้งหลาย จูงม้าที่เทียมรถและม้าสินธพ

ซึ่งเป็นพาหนะว่องไว มายังประตูประราชวัง แล้ว

กราบทูลว่า ม้าทั้งสองพวกนี้เทียมเสร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สินฺธเว ได้แก่ ม้าที่เกิดลุ่มน้ำสินธุ.

บทว่า สีฆพาหเน ความว่า จูงม้าทั้งหลายที่ถึงพร้อมด้วยความเร็ว. บทว่า

สารถี แปลว่า นายสารถีทั้งหลาย. บทว่า ยุตฺเต ได้แก่ เทียมที่รถทั้ง

หลาย. บทว่า อุปาคญฺฉุ ความว่า นายสารถีเหล่านั้นจูงม้าทั้งหลายที่เทียม

ไว้ที่รถทั้งหลายมา ครั้นมาแล้วได้กราบทูลว่า ม้าสองพวกเหล่านี้ เทียมไว้แล้ว.

แต่นั้น พระราชาตรัสว่า

ม้าอ้วนเสื่อมความว่องไว ม้าผอมเสื่อมถอยเรี่ยว

แรง จงเว้นม้าผอมและม้าอ้วนเสีย จัดเทียมแต่ม้าที่

สมบูรณ์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสฏฺา ความว่า พระราชาตรัสว่า

พวกท่านอย่าถือเอาเหล่าม้าเห็นปานนี้. บทว่า กีเส ถูเล วิวชฺชิตฺวา

ความว่า พวกท่านอย่าถือเอาเหล่าม้าผอมและเหล่ามาอ้วน. บทว่า สสฏฺา

โยชิตา หยา ความว่า เทียมม้าที่ประกอบด้วยวัย วรรณะ ความว่องไว

และกำลัง.

ลำดับนั้น พระราชาเมื่อเสด็จไปสำนักพระราชโอรส ตรัสสั่งให้

ประชุมวรรณะ ๔ เสนี ๑๘ และพลนิกายทั้งหมด ประชุมอยู่สามวัน ใหญ่

วันที่สี่ พระเจ้ากาสิกราชเสด็จออกจากพระนครพร้อมด้วยเสนา ให้เอาทรัพย์

ที่พอจะเอาไปได้ไปด้วย เสด็จถึงอาศรมแห่งเตมิยราชฤาษี ทรงยินดีกับพระ

ราชฤาษีผู้เป็นราชโอรส ทรงทำปฏิสันถารแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความข้อนั้น ตรัสว่า

แต่นั้น พระราชารีบเสด็จขึ้นประทับบนม้าสิน-

ธพอันเทียมแล้ว ได้ตรัสกะนางข้างในว่า จงตามเรา

ไปทุกคน เตรียมเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ คือ พัด

วาลวิชนี พระอุณหิส พระขรรค์ เศวตฉัตร และ

ฉลองพระบาททอง ให้ขนขึ้นรถไปด้วย แต่นั้นพระ

ราชาตรัสสั่งให้นายสารถีนำทางเสด็จเคลื่อนขบวนเข้า

ไปถึงสถานที่ที่พระเตมิยราชฤๅษีประทับอยู่โดยพลัน

พระเตมิยราชฤๅษี ทอดพระเนตรเห็นพระราชธิดา

กำลังเสด็จมา ทรงรุ่งเรื่องด้วยพระเดชานุภาพ ทรง

แวดล้อมไปด้วยหมู่อมาตย์ จึงถวายพระพรว่า ขอ

ถวายพระพร มหาบพิตรทรงปราศจากพระโรคาพาธ

หรือ ทรงเป็นสุขสำราญดีหรือ ราชกัญญาของพระองค์

และโยมมารดาของอาตมภาพ ไม่มีพระโรคาพาธ

หรือ.

พระราชาตรัสตอบว่า

พระลูกรัก ดิฉันไม่มีโรคาพาธ สุขสำราญดี

ราชกัญญาทั้งปวงของดีฉัน และโยมมารดาของ

พระลูกรัก หาโรคภัยมิได้.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ทูลถามพระราชาว่า

ขอถวายพระพร มหาบพิตรไม่เสวยน้ำจัณฑ์

ไม่ทรงโปรดน้ำจัณฑ์หรือ พระหฤทัยของมหาบพิตร

ทรงยินดีในสัจจะ ในธรรม และในทานบ้างหรือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

ลำดับนั้น พระราชาตรัสตอบว่า

พระลูกรัก ดิฉันไม่ดื่มน้ำจัณฑ์ ไม่โปรด

น้ำจัณฑ์ อนึ่ง ใจของดิฉันยินดีในสัจจะ ในธรรม

และในทาน.

พระมหาสัตว์ทูลถามว่า

พาหนะมีม้าและโคเป็นต้นของมหาบพิตร ที่เขา

เทียมในยาน ไม่มีโรคหรือ นำอะไร ๆ ไปได้หรือ

มหาบพิตรไม่มีพยาธิที่เข้าไปแผดเผาพระสรีระหรือ.

พระราชาตรัสตอบว่า

พาหนะมีม้าและโคเป็นต้นของดีฉัน ที่เขา

เทียมในยาน ไม่มีโรค อนึ่ง พาหนะนำอะไร ๆ ไปได้

และดีฉันไม่มีพยาธิที่เข้าไปแผดเผาสรีระ.

พระมหาสัตว์ทูลถามว่า

ปัจจันตชนบทของมหาบพิตรยังเจริญดีอยู่หรือ

คามนิคมในท่ามกลางรัฐสีมา ของมหาบพิตรยังเป็น

แผ่นดีหรือ ฉางหลวงและพระคลังของมหาบพิตร

ยังบริบูรณ์ดีอยู่หรือ.

พระราชาตรัสตอบว่า

ปัจจันตชนบทของดิฉันยังเจริญดีอยู่ คามนิคม

ในท่ามกลางรัฐสีมาของดิฉันยังเป็นปึกแผ่นดีอยู่

ฉางหลวงและพระคลังของดิฉัน ทั้งหมดยังบริบูรณ์

ดีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

พระมหาสัตว์ทูลถามว่า

ขอถวายพระพร มหาบพิตรเสด็จมาดีแล้ว

พระองค์เสด็จมาไกลก็เหมือนใกล้ ราชบุรุษทั้งหลาย

จงทอดราชบัลลังก์ให้ประทับเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปาที รถมารุยฺห ความว่า ชนฉลอง

พระบาททองขึ้นรถ พระราชาทรงสั่งว่า พวกท่านจงเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์

๕ อย่างไปด้วย เพื่ออภิเษกลูก ณ ที่ตรงนั้นแหละ ดังนี้ จึงตรัสบททั้งสาม

เหล่านั้น. บทว่า สุวณฺเณหิ อลงฺกตา ตรัสหมายฉลองพระบาท. บทว่า

อุปาคญฺฉิ แปลว่า ได้เสด็จเข้าไปแล้ว เวลาอะไร เวลาที่พระมหาสัตว์ทรง

นึ่งใบหมากเม่าดับไฟแล้วประทับนั่ง. บทว่า ชลนฺตมิว เตชสา ได้แก่

เหมือนรุ่งเรื่องด้วยเดชานุภาพแห่งพระราชา. บทว่า ขคฺคสฆปริพฺยุฬฺห

ความว่าแวดล้อมไปด้วยหมู่อมาตย์ผู้มีความผาสุกด้วยกล่าวถ้อยคำ. บทว่า เอต-

ทพฺรวิ ความว่าพระเตมิยราชฤๅษีทรงต้อนรับพระเจ้ากาสิกราชผู้พักกองทัพไว้

ภายนอกเสด็จมาบรรณศาลาด้วยพระบาท ถวายบังคมพระองค์แล้วประทับนั่ง

ได้ตรัสคำนี้.

พระเตมิยราชฤๅษี ตรัสถามถึงความไม่มีโรคเท่านั้น ด้วยบทแม้

ทั้งสองว่า กุสล อนามย. บทว่า กจฺจิ อมชฺชโป ตาต ความว่า พระ-

เตมิยราชฤๅษีทูลถามพระเจ้ากาสิกราชว่า พระองค์เป็นผู้ไม่เสวยน้ำจัณฑ์ จะไม่

เสวยน้ำจัณฑ์บ้างละหรือ. ปาฐะว่า อปฺปมชฺโสช ดังนี้ก็มี ความว่า ไม่

ประมาทในกุศลกรรมทั้งหลาย. บทว่า สุรมปฺปิย ความว่า การดื่มสุราไม่

เป็นที่รักของพระองค์ ปาฐะว่า สุรมปฺปิยา ดังนี้ก็มี ความว่า สุราไม่เป็น

ที่รักของพระองค์. บทว่า ธมฺเม ได้แก่ ทศพิธราชธรรม. บทว่า โยค

ความว่า พาหนะมีม้าและโคเป็นต้น ที่ควรเทียมในยานทั้งหลาย. บทว่า กจฺจิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

วหติ ความว่า ไม่มีโรคยังนำไปได้หรือ. บทว่า พาหน ได้แก่ พาหนะ

ทั้งหมดมีช้างเป็นต้น. บทว่า สรีรสฺสุปตาปิยา แปลว่า เข้าไปแผดเผาสรีระ

บทว่า อนฺตา ได้แก่ ปัจจันตชนบท. บทว่า ผิตา แปลว่า มั่งคั่ง มีภิกษา

หาได้ง่าย อยู่กันหนาแน่น. บทว่า มชฺเฌ จ ได้แก่ ท่ามกลางรัฐ. บทว่า

พหลา ความว่า ชาวคามและชาวนิคมอยู่กันเป็นปึกแผ่น. บทว่า ปฏิสณฺิต

ความว่า ปกปิดแล้ว คือคุ้มครองดีหรือบริบูรณ์. บทว่า นิสกฺกติ ความว่า

พระมหาสัตว์ตรัสว่า จงทอดบัลลังก์ซึ่งเป็นที่ที่พระราชาจักประทับนั่ง พระ-

ราชาไม่ประทับนั่งบนบัลลังก์ด้วยความเคารพพระมหาสัตว์.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า ถ้าพระราชาไม่ประทับนั่งบนบัลลังก์

ท่านทั้งหลายจงปูลาดเครื่องปูลาดใบไม้ให้ทีเถิด เมื่อทรงเชื้อเชิญพระราชาให้

ประทับ นั่งบนเครื่องปูลาดที่ปูลาดไว้นั้น ตรัสคาถาว่า

ขอเชิญมหาบพิตรประทับนั่งบนเครื่องปูลาด

ใบไม้ที่เขากำหนดลาดไว้ เพื่อพระองค์ในที่นี้ จงทรง

เอาน้ำแต่ภาชนะนี้ล้างพระบาทของมหาบพิตรเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิยเต ได้แก่ จัดตั้งไว้อย่างดี พระ-

มหาสัตว์ตรัสแสดงน้ำสำหรับบริโภค ด้วยบทว่า เอตฺโต.

ด้วยความเคารพต่อพระมหาสัตว์ พระราชามิได้ประทับนั่งบนเครื่อง

ปูลาดใบไม้ ประทับนั่ง ณ พื้นดิน พระมหาสัตว์เสด็จเข้าบรรณศาลา นำ

ใบหมากเม่านั้นออกมา เมื่อจะเชิญพระราชาให้เสวย จึงตรัสคาถาว่า

มหาบพิตร ใบหมากเม่าของอาตมภาพนี้เป็น

ของสุก ไม่มีรสเค็ม ขอมหาบพิตรผู้เสด็จมาเป็นแขก

ของอาตมภาพจงเสวยเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะพระมหาสัตว์ว่า

ดิฉันไม่บริโภคใบหมากเม่า โภชนะของ

ดีฉันไม่ใช่อย่างนี้เลย ดีฉันบริโภคข้าวสุกแห่ง

ข้าวสาลีที่ปรุงด้วยมังสะอันสะอาด.

ก็แลครั้นตรัสห้ามแล้ว พระราชาทรงสรรเสริญโภชนะของพระองค์

แล้วทรงหยิบใบหมากเม่าหน่อยหนึ่ง วางไว้ในฝ่าพระหัตถ์ ด้วยทรงเคารพใน

พระมหาสัตว์ แล้วตรัสถามว่า พ่อเสวยโภชนะอย่างนี้ดอกหรือ พระมหาสัตว์

ทูลรับว่า ใช่ มหาบพิตร พระราชาประทับนั่งรับสั่งพระวาจาเป็นที่รักกับ

พระโอรส.

ขณะนั้น พระนางจันทาเทวีแวดล้อมไปด้วยหมู่นางสนมเสด็จมา ทรง

จับ พระบาททั้งสองของพระปิโยรส ทรงไหว้แล้วกันแสง มีพระเนตรทั้งสอง

นองไปด้วยพระอัสสุชล ประทับนั่ง ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง ลำดับนั้น พระราชา

ตรัสกะพระนางว่า ที่รัก เธอจงดูโภชนาหารของลูกเธอ แล้วทรงหยิบใบ

หมากเม่าหน่อยหนึ่งวางในพระหัตถ์ของพระนาง แล้วประทานแก่นางสนม

อื่น ๆ คนละหน่อย นางสนมทั้งปวงเหล่านั้นกล่าวว่า พระองค์เสวยโภชนะ

เห็นปานนี้หรือพระเจ้าข้า แล้วรับใบหมากเม่านั้น มาวางไว้บนศีรษะของตน ๆ

กล่าวว่า พระองค์ทำสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง พระเจ้าข้า แล้วถวายนมัสการนั่งอยู่

ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะพระมหาสัตว์ว่า ลูกรัก เรื่องนี้ปรากฏเป็นอัศจรรย์

แก่ดีฉัน แล้วตรัสคาถาว่า

ความอัศจรรย์ย่อมแจ่มแจ้งแก่ดิฉัน เพราะ

ได้เห็นลูกรักอยู่ในที่ลับแต่ผู้เดียว บริโภคอาหารเช่นนี้

เหตุไรจึงมีผิวพรรณผ่องใส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกก ความว่า ลูกรัก ความอัศจรรย์

ปรากฏแก่ดีฉัน เพราะได้เห็นเธออยู่ในที่ลับแต่ผู้เดียว ยังอัตภาพให้เป็นไป

ด้วยโภชนะนี้. บทว่า อีทิส ความว่า พระราชาตรัสถามพระมหาสัตว์ว่า

ผู้บริโภคโภชนะไม่มีรสเค็ม ไม่เปรี้ยว ไม่มีการปรุงรส ผสมน้ำ เห็นปานนี้

เหตุไรจึงมีผิวพรรณผ่องใส.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะทูลตอบแด่พระราชา จึงตรัสว่า

มหาบพิตร อาตมภาพนอนผู้เดียวบนเครื่องลาด

ใบไม้ที่ปูลาดไว้ เพราะการนอนผู้เดียวนั้น ผิวพรรณ

ของอาตมภาพจึงผ่องใส กองรักษาทางราชการที่ผูก

เหน็บดาบของอาตมภาพไม่มี เพราะการนอนผู้เดียว

นั้น ผิวพรรณของอาตมภาพจึงผ่องใสขอถวายพระพร

อาตมภาพไม่ตามเศร้าโศกถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว ไม่

ปรารถนาถึงอารมณ์ที่ยังไม่มาถึง ยังอัตภาพให้เป็นไป

ด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณ

จึงผ่องใส คนพาลทั้งหลายย่อมเหี่ยวแห้ง เพราะเหตุ

๒ อย่างนั้น คือ เพราะปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มาถึง

เพราะตามเศร้าโศกถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว ดุจไม้อ้อ

ที่ยังเขียวสด ถูกถอนทิ้งไว้ที่แดดฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนตฺตึ สพนฺธา ได้แก่ ผูกเหน็บพระ-

ขรรค์. บทว่า ราชรกฺขา ได้แก่ พระราชาทรงรักษา. บทว่า ปนฺปชปฺปามิ

แปลว่า ไม่ปรารถนา. บทว่า หริโต แปลว่า มีสีเขียวสด. บทว่า ลุโต

ความว่า ราวกะว่าไม้อ้อที่ถูกถอนทิ้งไว้กลางแดด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

ลำดับนั้น พระราชามีพระดำริว่า เราจักอภิเษกลูกของเราในที่นี้แหละ

แล้วพากลับไปพระนคร เมื่อจะเชิญพระมหาสัตว์ให้ครองราชสมบัติ จึงตรัสว่า

ลูกรัก ดีฉันขอมอบกองพละช้าง กองพลรถ กอง

พลม้า กองพลราบ และกองพลผูกเกราะ ตลอดถึง

พระราชนิเวศอันเป็นที่รื่นรมย์แก่พ่อ. และขอมอบนาง

สนมกำนัลในผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ

แก่พ่อ พ่อจงปฏิบัติในนางเหล่านั้น จงเป็นพระราชา

ของดิฉันทั้งหลาย สตรี ๔ คนเป็นผู้ฉลาดในการฟ้อน-

รำและการขับร้อง ศึกษามาดีแล้ว จักทำให้ลูกรื่นรมย์

ในกาม พ่อจักทำอะไรในป่า ดิฉันจักนำราชกัญญา

จากพระราชาเหล่าอื่นที่ตกแต่งแล้วมาเพื่อพ่อ พ่อจง

ให้นางเหล่านั้นมีโอรสมาก ๆ แล้วจึงผนวชต่อภายหลัง

พ่อยังเยาว์เป็นหนุ่มแน่น ตั้งอยู่ในปฐมวัย มีเกศาดำ

สนิท จงครองราชสมบัติเถิด ขอพ่อจงเจริญ จักทำ

อะไรในป่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺถานีก ความว่า ช้างโขลงใหญ่

ตั้งแต่ ๑๐ เชือกขึ้นไป ชื่อว่ากองพลช้าง กองพลรถก็อย่างนั้น. บทว่า จมฺมิโน

ได้แก่ กองทหารกล้าตายสวมเกราะ บทว่า กุสลา แปลว่า ผู้ฉลาด.

บทว่า สุสิกฺขิตา ความว่าเป็นผู้ได้รับการศึกษาดีในหน้าที่ของหญิงแม้อื่น ๆ.

บทว่า จตุริตฺถิโย ได้แก่ หญิงงามมีเสน่ห์ ๔ คน อีกอย่างหนึ่ง หญิง

ชาวเมือง ๔ คน อีกอย่างหนึ่ง หญิงฟ้อนรำ ๔ คน. บทว่า ปฏิราชูหิ กญฺา

ความว่า ลูกรัก พ่อจักนำราชกัญญาอื่น ๆ แต่พระราชาอื่น ๆ มาให้ลูก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

บทว่า ยุวา ได้แก่ ถึงความเป็นหนุ่ม. บทว่า ทหโร แปลว่า หนุ่ม

บทว่า ปมุปฺปตฺติโต ความว่า เกิดขึ้น คือ ขึ้นต้น โดยปฐมวัย. บทว่า สุสู

ความว่า ยังหนุ่มแน่นมีเกศาดำขลับ.

ตั้งแต่นี้ไป เป็นธรรมกถาของพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์เมื่อทรง.

แสดงธรรมถวายพระราชา ตรัสว่า

คนหนุ่มควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์ควรเป็นคนหนุ่ม การบรรพชาควรเป็นของ

คนหนุ่ม ข้อนั้นท่านผู้แสวงหาคุณธรรมทั้งหลายสรร-

เสริญแล้ว คนหนุ่มควรประพฤติพรหมจรรย์ผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์ควรเป็นคนหนุ่ม อาตมภาพจักประพฤติ

พรหมจรรย์ ไม่ต้องการราชสมบัติ อาตมภาพเห็น

เด็กชายของท่านทั้งหลาย เรียกมารดาบิดาซึ่งเป็นบุตร

ที่รักอันได้มาโดยยาก ยังไม่ทันแก่ก็ตายเสียแล้วอาตม-

ภาพเห็นเด็กหญิงของท่านทั้งหลาย ซึ่งเป็นเด็กหญิง

ที่สวยงามน่าชม สิ้นชีวิต เหมือนหน่อไม้ไผ่ยังอ่อน

ที่ถูกถอนฉะนั้น จริงอยู่ นรชนจะเป็นชายหนุ่มหรือ

หญิงสาวก็ตาม ตายทั้งนั้น ใครเล่าจะพึงวางใจในชีวิต

ว่า เรายังหนุ่มอยู่ อายุของคนเราเป็นของน้อยนัก

เพราะวันคืนล่วงไป ๆ เหมือนอายุของฝูงปลาในน้ำ

น้อย ความเป็นหนุ่มสาวในวัยนั้นจักทำอะไรได้ สัตว-

โลกถูกครอบงำและถูกห้อมล้อมอยู่เป็นนิตย์ เมื่อสิ่งที่

ไม่เป็นประโยชน์เดินไปอยู่ มหาบพิตรจะอภิเษกอาตม-

ภาพในราชสมบัติทำไม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

พระราชาตรัสถามว่า

สัตวโลกถูกอะไรครอบงำไว้ และถูกอะไรห้อม

ล้อมไว้ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์อะไรเป็นไปอยู่ ดิฉัน

ถามแล้ว พ่อจงบอกข้อนั้นแก่ดิฉัน.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

สัตวโลกถูกความตายครอบงำไว้ ถูกความแก่

ห้อมล้อมไว้ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์คือคืนวันเป็นไปอยู่

มหาบพิตรจงทรงทราบอย่างนี้ ขอถวายพระพร เมื่อ

ด้ายที่เขากำลังทอ ช่างหูกทอไปได้เท่าใด ส่วนที่จะ

ต้องทอก็ยังเหลืออยู่น้อยเท่านั้น แม้ฉันใด ชีวิตของ

สัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น แม่น้ำที่เต็มฝั่ง ย่อมไม่ไหลไป

สู่ที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่กลับ

ไปสู่ความเป็นเด็กอีกฉันนั้น แม่น้ำที่เต็มฝั่ง ย่อมพัด

พาเอาต้นไม้ที่เกิดอยู่ริมฝั่งให้หักโค่นไป ฉันใด สัตว์

ทั้งปวงย่อมถูกชราและมรณะพัดพาไป ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมจารี ยุวา สิยา ความว่า

ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ควรเป็นคนหนุ่มทีเดียว. บทว่า อิสีภิ วณฺณิต

ความว่า ท่านผู้แสวงหาคุณธรรมทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้ว

คือชมเชยแล้ว. บทว่า รชฺเชนมตฺถิโก ความว่า อาตมภาพไม่ต้องการ

ราชสมบัติ. บทว่า อมฺมตาต วทนฺนร ได้แก่ ซึ่งนระผู้เรียกว่า แม่จ๋า

พ่อจ๋า. บทว่า ปลุตฺต ความว่า ถูกความตายถอนขึ้นยึดไว้. บทว่า ยสฺส

รตฺยาธิวาเสน ความว่า มหาบพิตร ตั้งแต่เวลาที่เด็กถือปฏิสนธิในครรภ์

มารดา อายุก็น้อยลงเรื่อย ๆ เพราะคืนวันล่วงไป ๆ. บทว่า โกมาริก ตหึ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

ความว่า ในวัยนั้น ความเป็นหนุ่มจักทำอะไรได้. บทว่า เกนมพฺภาหโต

ความว่า โลกนี้ถูกอะไรครอบงำไว้ พระราชาได้ทรงทราบเนื้อความของคำที่

กล่าวไว้โดยย่อ จึงตรัสถามข้อนี้. บทว่า รตฺยา แปลว่า ราตรีทั้งหลาย

มหาบพิตร ราตรีทั้งหลายย่อมทำอายุ วรรณะ และพละของสัตว์เหล่านั้นให้

สิ้นไป เป็นไปอยู่ ดังนั้นพึงทราบว่า ชื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เป็นไปอยู่.

บทว่า ย  ย เทโว ปวุยฺหติ ความว่า ในผ้าที่กำลังทออยู่ เมื่อทำส่วนที่

เหลือซึ่งจะต้องทอนั้น ๆ ให้เต็ม ย่อมเหลืออยู่น้อย ฉันใด ชีวิตของสัตว์

ทั้งหลายก็ฉันนั้น. บทว่า น ปริวตฺตติ ความว่า น้ำที่ไหลไปเรื่อย ๆ อยู่

ในขณะนั้น ย่อมไม่ไหลไปในที่สูง. บทว่า วเห รุกฺเข ปกุลเช ความว่า

พึงพัดพาต้นไม้ทั้งหลายที่เกิดใกล้ฝั่งไป.

พระราชาทรงสดับธรรมกถาของพระมหาสัตว์แล้ว ไม่ทรงคิดผูกพัน

ด้วยการครองเรือน มีพระราชประสงค์จะทรงผนวช ตรัสว่า เราจักไม่ไป

พระนครอีก จักบรรพชาในที่นี้แหละ ถ้าลูกของเราไปพระนคร เราจะให้

เศวตฉัตรแก่เขา ดังนี้ เพื่อจะทรงทดลองพระมหาสัตว์ จึงตรัสเชื้อเชิญ ด้วย

ราชสมบัติอีกว่า

ลูกรัก ดิฉันขอมอบกองพลช้าง กองพลรถ

กองพลม้า กองพลราบ. และกองพลผูกเกราะ ตลอด

ถึงพระราชนิเวศอันเป็นที่รื่นรมย์แก่พ่อ และขอมอบ

นางสนมกำนัลใน ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อม

สรรพแก่พ่อ พ่อจงปฏิบัติในนางเหล่านั้น จงเป็นพระ

ราชาของดิฉันทั้งหลาย สตรี ๔ คนเป็นผู้ฉลาด

ในการฟ้อนรำและการขับร้อง ศึกษามาดีแล้ว จักทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

ให้ลูกรื่นรมย์ในกาม พ่อจะทำอะไรในป่า ดิฉัน

จักนำราชกัญญาจากพระราชาเหล่าอื่น ที่ตกแต่งแล้ว

มาเพื่อพ่อ พ่อจงให้นางเหล่านั้นมีโอรสมาก ๆ แล้ว

จึงผนวชต่อภายหลัง ลูกรัก ดีฉันขอให้ฉางหลวง

พระคลัง พาหนะ และกองพลทั้งหลาย ตลอดถึงพระ

ราชนิเวศ อันเป็นที่รื่นรมย์แก่พ่อ พ่อจงแวดล้อม

ด้วยราชกัญญาอันงดงามเป็นปริมณฑล มีหมู่บริจาริ-

กานารีห้อมล้อม จงครองราชสมบัติเถิด ขอพ่อจง

เจริญ จักทำอะไรในป่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โคมณฺฑลปริพฺยุฬฺโห ความว่า

มีเหล่าราชกัญญาผู้สวยงามห้อมล้อมเป็นวง.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อประกาศความที่พระองค์ ไม่ต้องการ

ราชสมบัติ ตรัสว่า

มหาบพิตร จะให้อาตมภาพเสื่อมไปเพราะทรัพย์

ทำไม บุคคลจักตายเพราะภริยาทำไม ประโยชน์อะไร

ด้วยความเป็นหนุ่มสาว ซึ่งต้องแก่ ทำไมจะต้องให้

ชราครอบงำ ในโลกสันนิวาสซึ่งมีชราและมรณะเป็น

ธรรมดานั้น จะเพลิดเพลินไปทำไม จะเล่นหัวไปทำไม

จะยินดีไปทำไม จะมีประโยชน์อะไรด้วยการแสวง

หาทรัพย์ จะมีประโยชน์อะไรด้วยบุตรและภริยา

แก่อาตมภาพ มหาบพิตร อาตมภาพเป็นผู้พ้นแล้ว

จากเครื่องผูก มัจจุราชย่อมไม่ประมาทในอาตมภาพผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

รู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลเมื่อถูกมัจจุราชครอบงำแล้ว จะ

ยินดีไปทำไม จะประโยชน์อะไรด้วยการแสวงหา-

ทรัพย์ ผลไม้ที่สุกแล้ว ย่อมเกิดภัย แต่การหล่นเป็น

นิตย์ ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว ย่อมมีภัยแต่

ความตายเป็นนิตย์ ฉันนั้น ชนเป็นอันมากเห็นกันอยู่

ในเวลาเช้า บางพวกพอตกเวลาเย็นก็ไม่เห็นกัน ชน

เป็นอันมากเห็นกันอยู่ในเวลาเย็น บางพวกพอถึงเวลา

เช้าก็ไม่เห็นกัน ภูมิประเทศที่ตั้งกองช้าง กองรถ

กองราบ ย่อมไม่มีในสงความคือมรณะนั้น ไม่อาจจะ

ต่อสู่เอาชัยชนะต่อมฤตยู ด้วยเวทมนต์ หรือยุทธวิธี

หรือสินทรัพย์ได้ มฤตยูมิได้เว้นกษัตริย์ พราหมณ์

พ่อค้า ลูกจ้าง คนจัณฑาล และคนเทหยากเยื่อไร ๆ

ย่อมย่ำยีทั้งหมดทีเดียว ควรรีบทำความเพียรในวันนี้

ทีเดียว ใครเล่าจะพึงรู้ว่าตายพรุ่งนี้ เพราะความผัด

ผ่อนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ไม่มีเลย โจรทั้ง-

หลายย่อมปรารถนาทรัพย์ อาตมภาพเป็นผู้พ้นจาก

เครื่องผูก ขอถวายพระพร เชิญมหาบพิตรเสด็จกลับ

ไปเถิด อาตมภาพไม่ต้องการราชสมบัติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิยฺเยถ ความว่า มหาบพิตร พระองค์

ทรงเชื่อเชิญอาตมภาพเหตุทรัพย์ทำไม ทรัพย์ซึ่งสิ้นไปย่อมละเสียซึ่งบุคคล บาง

ที่บุคคลย่อมละเสียซึ่งทรัพย์ไป แม้สิ่งทั้งปวงก็ย่อมถึงความสิ้นไปทั้งนั้น พระ-

องค์ทรงเชื้อเชิญอาตมภาพเหตุทรัพย์ทำไม. บทว่า กึ ภริยาย มริสฺสติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

ความว่า เมื่ออาตมภาพยังดำรงอยู่ ภรรยาก็จักตาย เมื่อภรรยานั้นยังดำรงอยู่

แม้อาตมภาพก็จักตาย พระองค์จักทำอะไรด้วยภรรยานั้น. บทว่า ชิณฺเณน

ความว่า อันชราห้อมล้อมครอบงำ. บทว่า ตตฺถ ความว่า ในโลกสันนิวาส

ซึ่งมีชราและมรณะเป็นธรรมดา. บทว่า กา นนฺทิ ความว่า จะยินดีไป

ทำไม. บทว่า กา ขิฑฺฑา ความว่า จะเล่นไปทำไม. บทว่า กา รติ

ความว่า จะยินดีในกามตัณหาไปทำไม. บทว่า พนฺธนา ความว่า เพราะ

ข่มไว้ได้ด้วยฌาน พระมหาสัตว์จึงตรัสอย่างนี้ว่า มหาบพิตร อาตมภาพเป็น

ผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูกคือกาม หรือจากเครื่องผูกคือตัณหา. บทว่า มจฺจุ เม

ความว่า มัจจุราชไม่ประมาทในเรา. บทว่า นปฺปมชฺชสิ ความว่า เป็นผู้

ไม่ประมาทเพื่อจะฆ่าอาตมภาพเป็นนิจเลย. บทว่า โยห. ความว่า อาตมภาพ

ทราบอย่างนี้. บทว่า อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส ความว่า เมื่ออาตมภาพถูก

ความตายครอบงำคือหยั่งลงแล้ว จะยินดีแสวงหาทรัพย์ไปทำไม. บทว่า

นิจฺจ ความว่า ภัยแต่มรณะย่อมเกิดขึ้นในกาลทั้งปวง จำเดิมแต่กาลที่เป็น

กาลละ. บทว่า อาตปฺป ได้แก่ ความเพียรในกุศลกรรม. บทว่า กิจฺจ

แปลว่า พึงกระทำ. บทว่า โก ชญฺา มาณ สุเว ความว่า ใครจะรู้

ว่า จะเป็นจะตายในวันพรุ่งนี้ หรือวันมะรืนนี้. บทว่า สงฺคร ได้แก่

กำหนด. บทว่า มหาเสเนน ความว่า ผู้มีเสนามาก มีมหาภัย ๒๕

กรรมกรณ์ ๓๒ และโรค ๙๖ เป็นต้น. บทว่า โจรา ธนสฺส ปตฺเถนฺติ

ความว่า โจรทั้งหลายเมื่อสละชีวิตเพื่อต้องการทรัพย์ ชื่อว่าปรารถนาทรัพย์.

บทว่า ราช มุตฺโตสฺมิ ความว่า มหาบพิตร อาตมภาพพ้นแล้ว จาก

เครื่องผูกกล่าวคือความปรารถนาทรัพย์ อาตมภาพไม่ต้องการทรัพย์. บทว่า

นิวตฺตสฺสุ ความว่า ขอมหาบพิตรทรงกลับ พระหฤทัยโดยชอบตามคำของ

อาตมภาพ มหาบพิตรจงละราชสมบัติทรงผนวช ทำเนกขัมมคุณให้เป็นที่พึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

จะมีดีหรือ อนึ่ง มหาบพิตรอย่าได้มีพระราชดำริถึงเรื่องที่มหาบพิตรได้มีพระ

ราชดำริไว้นั้นว่า เราจะให้ลูกของเราคนนี้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ อาตมภาพไม่

ต้องการราชสมบัติ.

ธรรมเทศนาของพระมหาสัตว์ ชื่อว่า ยถานุสนธิ จบลงด้วยประการ

ฉะนี้.

นางสนมหมื่นหกพันคน และประชาชนมีเหล่าอมาตย์เป็นต้น นับตั้ง

แต่พระราชาและพระนางจันทาเทวีเป็นต้น ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระมหา-

สัตว์นั้นแล้ว ได้มีความประสงค์จะบรรพชาในคราวนั้น ครั้งนั้น พระราชา

โปรดให้ตีกลองประกาศในพระนครว่า ชนใด ๆ ปรารถนาจะบวชในสำนัก

ของลูกเรา ชนนั้น ๆ จงบวชเถิด และโปรดให้เปิดประตูพระคลังทองเป็นต้น

ทั้งหมด แล้วให้จารึกในแผ่นทองผูกไว้ที่เสาท้องพระโรงว่า หม้อขุมทรัพย์

ใหญ่มีอยู่ในที่โน้นด้วยในที่โน้นด้วย ผู้ที่ต้องการจงถือเอาเถิด ฝ่ายชาวพระ-

นครทั้งหลาย ก็ละทิ้งร้านตลาดตามที่เปิดเสนอขายของกัน และทิ้งบ้านเรือน

ซึ่งเปิดประตูไว้ ไปสู่สำนักแห่งพระราชา พระราชาทรงผนวชในสำนักของ

พระมหาสัตว์ พร้อมด้วยประชาชนเป็นจำนวนมาก อาศรมสถานสามโยชน์ที่ท้าว

สักกเทวราชถวาย เต็มไปหมด พระมหาสัตว์ทรงพิจารณาบรรณศาลาทั้งหลาย

ทรงมอบบรรณศาลาทั้งหลายในที่ท่ามกลางแก่เหล่าสตรี เพราะเหตุไร เพราะ

สตรีเหล่านี้ เป็นคนขลาด พระมหาสัตว์ทรงพิจารณาแล้วทรงมอบบรรณศาลา

หลังนอก ๆ แก่เหล่าบุรุษ บรรพชิตชายหญิงทั้งหมดเก็บผลไม้ ที่ต้นไม้มี

ผลทั้งหลาย อันพระวิสสุกรรมเนรมิตไว้ ซึ่งหล่นลงที่พื้นดิน ในวันรักษา

อุโบสถ มาบริโภคแล้วเจริญสมณธรรม บรรดาบรรพชิตเหล่านั้น ผู้ใดตรึก

กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก พระมหาสัตว์ทรงทราบวารจิตแห่ง

ผู้นั้น เสด็จประทับนั่งแสดงธรรมสั่งสอนในอากาศ บรรพชิตเหล่านั้นทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

ฟังพระโอวาทนั้นแล้ว ทำอภิญญาห้าและสมาบัติ (แปด) ให้เกิดพลันทีเดียว

กาลนั้น กษัตริย์สามนตราชองค์หนึ่ง ทรงสดับว่า ได้ยินว่า พระเจ้า

กาสิกราชทรงผนวชแล้ว จึงทรงคิดว่า เราจักยึดเอาราชสมบัติในกรุงพาราณสี

เสีย จึงเสด็จออกจากพระนคร (ของพระองค์) ถึงกรุงพาราณสี เสด็จเข้าสู่

พระนคร ทอดพระเนตรเห็นพระนครซึ่งตกแต่งไว้ จึงเสด็จขึ้นพระราชนิเวศ

ทอดพระเนตรดูรัตนะอันประเสริฐเจ็ดประการ ทรงจินตนาการว่า ภัยอย่าง

หนึ่งพึงมีเพราะอาศัยทรัพย์นี้ รับสั่งให้เรียกพวกนักเลงสุรามาตรัสถามว่า แน่ะ

พ่อนักดื่มทั้งหลาย ในพระนครนี้ มีภัยเกิดขึ้นแก่พระราชาผู้เป็นเจ้านายของ

พวกท่านหรือ.

พวกนักเลง. ไม่มีพระเจ้าข้า.

กษัตริย์สามนตราช. ตรัสถามว่า เพราะเหตุไร.

ก็ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ เตมิยกุมารผู้เป็นโอรส ของพระราชาของพวก

ข้าพระองค์ ทรงเห็นว่า จักครองราชสมบัติในกรุงพาราณสีทำไม มิได้เป็น

ใบ้ก็แสร้งทำเป็นใบ้ เสด็จออกจากพระนครนี้เข้าป่าทรงผนวชเป็นฤๅษี เพราะ

เหตุนั้น แม้พระราชาของพวกข้าพระองค์พร้อมด้วยมหาชน ก็ได้เสด็จออก

จากพระนครนี้ไปสำนักของเตมิยกุมาร ทรงผนวชแล้ว พระเจ้าสามนตราช

ตรัสถามว่า พระราชาของพวกเจ้าเสด็จออกทางประตูไหน เมื่อเขากราบทูลว่า

เสด็จออกทางประตูทิศตะวันออก เสด็จออกทางประตูนั้นเหมือนกัน ได้

เสด็จไปตามฝั่งแน่น้ำ.

พระมหาสัตว์ทรงทราบว่า พระเจ้าสามนตราชเสด็จมา ทรงต้อนรับ

แล้ว ประทับนั่งในอากาศแสดงธรรมแก่พระเจ้าสามนตราชนั้น พระราชา

สามนตราชนั้น พร้อมด้วยบริษัท ทรงสดับธรรมแล้วทรงผนวชในสำนักของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

พระมหาสัตว์นั้น แม้พระราชาอื่น ๆ อีกสามพระองค์ต่างก็ทรงละทิ้งราชสมบัติ

ทรงผนวชแล้วอย่างนั้นนั่นแล ด้วยประการฉะนี้ ประเทศทรงนั้นได้เป็นมหา-

สมาคม ช้างทั้งหลายก็กลายเป็นช้างป่า ม้าทั้งหลายก็กลายเป็นม้าป่า แม้รถ

ทั้งหลายก็ชำรุดทรุดโทรมไปในป่านั่นเอง ภัณฑะเครื่องใช้สอยและกหาปณะ

ทั้งหลายก็เรี่ยรายเกลื่อน ดุจทรายที่ใกล้อาศรมสถาน บรรพชิตทั้งหมดนั้น ทำ

สมาบัติแปดให้บังเกิดในที่นั่นเอง เมื่อสิ้นชีวิตได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้อง

หน้า แม้ช้างและม้าทั้งหลายซึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉาน ยังจิตให้เลื่อมใสในหมู่ฤๅษี

ทั้งหลาย ได้บังเกิดในสวรรค์ชั้นกามาพจร ๖ ชั้น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อน.

ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่เราละราชสมบัติออกบวช แม้ในกาล

ก่อน เราก็ได้ละราชสมบัติออกบวชเหมือนกัน ดังนี้แล้วทรงประกาศอริยสัจ ๔

แล้วประชุมชาดก เทพธิดาผู้สิงสถิตอยู่ที่เศวตฉัตรในกาลนั้น เป็นภิกษุณี

ชื่ออุบลวรรณาในบัดนี้ นายสุนันทสารถี เป็นพระสารีบุตร ท้าวสักกะเป็น

พระอนุรุทธ์ พระชนกและพระชนนี เป็นมหาราชสกุล บริษัทนอกนี้เป็น

พุทธบริษัท ส่วนบัณฑิตผู้ทำเป็นใบ้ ทำเป็นง่อยเปลี้ย คือเราผู้สัมมาสัม

พุทธนี่เองแล.

จบเตมิยชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

๒. มหาชนกชาดก

ว่าด้วยพระมหาชนกทรงบำเพ็ญวิริยบารมี

[๔๔๒] นี้ใคร เมื่อแลไม่เห็นฝั่งก็อุตสาหะ

พยายามว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ท่านรู้อำนาจ

ประโยชน์อะไร จึงพยายามว่ายอยู่อย่างนี้นักหนา.

[๔๔๓] ดูก่อนเทวดา เราไตร่ตรองเห็น

ปฏิปทาแห่งโลก และอานิสงส์แห่งความเพียร เพราะ

ฉะนั้น จึงจะมองไม่เห็นฝั่ง เราต้องพยายามว่ายอยู่

ในกลางมหาสมุทร.

[๔๔๔] ฝั่งมหาสมุทรลึกจนประมาณไม่ได้

ย่อมไม่ปรากฏแก่ท่าน ความพยายามอย่างลูกผู้ชาย

ของท่านก็เปล่าประโยชน์ ท่านไม่ทันถึงฝั่งก็จักตาย.

[๔๔๕] บุคคลเมื่อกระทำความเพียร แม้จะ

ตายก็ชื่อว่าไม่เป็นหนี้ในระหว่างหมู่ญาติ เทวดาและ

บิดามารดา อนึ่ง บุคคลเมื่อทำกิจอย่างลูกผู้ชาย ย่อม

ไม่เดือดร้อนในภายหลัง.

[๔๔๖] การงานอันใด ยังไม่ถึงที่สุดด้วยความ

พยายาม การงานอันนั้นก็ไร้ผล มีความลำบากเกิดขึ้น

การทำความพยายามในฐานะอันไม่สมควรใด จน

ความตายปรากฏขึ้น ความพยายามในฐานะอันใน

สมควรนั้น จะมีประโยชน์อะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

[๔๔๗] ดูก่อนเทวดา ผู้ใดรู้แจ้งว่า การงาน

ที่ทำจะไม่ลุล่วงไปได้จริง ๆ ชื่อว่าไม่รักษาชีวิตของตน

ถ้าผู้นั้นละความเพียรในฐานะเช่นนั้นเสีย ก็จะพึงรู้ผล

แห่งความเกียจคร้าน ดูก่อนเทวดา คนบางพวกใน

โลกนี้ เห็นผลแห่งความประสงค์ของตน จึงประกอบ

การงานทั้งหลาย การงานเหล่านั้น จะสำเร็จหรือไม่

ก็ตาม ดูก่อนเทวดา ท่านก็เห็นผลแห่งธรรมประจักษ์

แก่ตนแล้วมิใช่หรือ คนอื่น ๆ จมในมหาสมุทรหมด

เราคนเดียวยังว่ายข้ามอยู่ และได้เห็นท่านมาสถิตอยู่

ใกล้ ๆ เรา เรานั้นจักพยายามตามสติกำลัง จักทำ

ความเพียรที่บุรุษควรทำ ไปให้ถึงฝั่งแห่งมหาสมุทร

[๔๔๘] ท่านใดถึงพร้อมด้วยความพยายามโดย

ธรรมไม่จมลงในห้วงมหรรณพ ซึ่งประมาณมิได้เห็น

ปานนี้ด้วยกิจคือความเพียรของบุรุษ ท่านนั้นจงไปใน

สถานที่ที่ใจของท่านยินดีนั้นเถิด.

[๔๔๙] ขุมทรัพย์ใหญ่สิบหกขุมเหล่านี้ คือ

ขุมทรัพย์ที่ดวงอาทิตย์ขึ้น ขุมทรัพย์ที่ดวงอาทิตย์ตก

ขุมทรัพย์ภายใน ขุมทรัพย์ภายนอก ขุมทรัพย์ไม่ใช่

ภายในไม่ใช่ภายนอก ขุมทรัพย์ขาขึ้น ขุมทรัพย์ขาลง

ขุมทรัพย์ที่ไม้รังใหญ่ทั้งสี่ ขุมทรัพย์ในที่โยชน์หนึ่ง

โดยรอบ ขุมทรัพย์ที่ใหญ่ที่ปลายงาทั้งสอง ขุมทรัพย์

ที่ปลายขนหาง ขุมทรัพย์ที่น้ำ ขุมทรัพย์ที่ยอดไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

และธนูหนักพันแรงคนยก บัลลัง สี่เหลี่ยม หัวนอน

อยู่เหลี่ยมไหน และยังสีวลีราชเทวีให้ยินดี.

[๔๕๐] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงหวังเข้าไว้ ไม่

พึงเบื่อหน่าย เราเห็นการเป็นพระราชาสมปรารถนา

แก่ตน. บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงหวังเข้าไว้ ไม่พึงเบื่อหน่าย

เราเห็นตัว ท่านจากน้ำขึ้นสู่บก. บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึง

พยายามเรื่อยไป ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นการเป็น

พระราชาสมปรารถนาแก่ตน. บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึง

พยายามเรื่อยไป ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตัวท่าน

จากน้ำขึ้นสู่บก. นรชนผู้มีปัญญาแม้ใกล้ถึงทุกข์แล้ว

ก็ไม่พึงตัดความหวังที่จะถึงความสู่ จริงอยู่ ต้นเป็น

อันมากถูกทุกข์กระทบกระทั่ง ก็ทำสิ่งที่ไม่มีประโยชน์

ถูกสุขกระทบกระทั่ง ก็ทำสิ่งที่มีประโยชน์ คนเหล่า

นั้นไม่ตรึกถึงความข้อนี้ จึงถึงความตาย. สิ่งที่มิได้

คิดไว้ จะมีก็ได้ สิ่งที่คิดไว้ จะพินาศไปก็ได้ โภคะ

ทั้งหลายของหญิงก็ตาม ของชายก็ตาม มิได้สำเร็จ

ด้วยเพียงคิดเท่านั้น.

[๔๕๑] พระราชาผู้เป็นใหญ่ไม่เหมือนแต่ก่อน

เพราะบัดนี้ไม่ทรงตรวจตราเหล่าคนฟ้อนรำ ไม่ทรง

ใส่พระทัยเหล่าเพลงขับ ไม่ทอดพระเนตรสัตว์ทวิบท

จตุบาท ไม่ประพาสพระราชอุทยาน ไม่ทอดพระเนตร

หมู่หงส์ พระองค์เป็นประหนึ่งคนใบ้ ประทับนิ่งเฉย

ไม่ทรงว่าราชกิจอะไร ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

[๔๕๒] ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ผู้ใคร่ความ

สุข มีศีลอันปกปิดแล้ว ปราศจากเครื่องผูกคือกิเลส

หนุ่มก็ตาม แก่ก็ตาม มีตัณหาอันก้าวล่วงแล้ว อยู่ที่

ไหนในวันนี้ ขอนอบน้อมแต่ท่านผู้มีปัญญาเหล่านั้น

ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ท่านผู้มีปัญญาเหล่าใดเป็นผู้ไม่

ขวนขวาย อยู่ในโลกที่มีความขวนขวาย ท่านผู้มี

ปัญญาเหล่านั้นตัดเสียซึ่งข่ายแห่งมัจจุซึ่งขึงไว้มั่น ผู้มี

มายาทำลายเสียด้วยญาณไปอยู่ ใครพึงนำเราไปสู่ภูมิ

ที่อยู่แห่งท่านผู้มีปัญญาเหล่านั้น.

[๔๕๓] เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอัน

มั่งคั่ง ซึ่งนายช่างผู้ฉลาดจัดการสร้างจำแนกสถานที่

เป็นพระราชนิเวศเป็นต้น ปันส่วนออกเป็นประตูและ

ถนนตามส่วน ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จ

ได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง

กว้างขวางรุ่งเรืองด้วยประการทั้งปวง ออกบวช ความ

ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง มี

กำแพงและหอรบเป็นอันมาก ออกบวช ความประสงค์

นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง มี

ป้อมและซุ้มประตูมั่นคง ออกบวช ความประสงค์

นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง มี

ทางหลวงตัดไว้เรียบร้อย ออกบวช ความประสงค์

นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง มี

ร้านตลาดจัดไว้ในระหว่างอย่างดี ออกบวช ความ

ประสงค์นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง

เบียดเสียดไปด้วยรถเทียมโคและม้า ออกบวช ความ

ประสงค์นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี

ระเบียบแห่งหมู่ไม้ในที่เที่ยวสำราญ ออกบวช ความ

ประสงค์นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี

ระเบียบแห่งหมู่ไม้ในพระราชอุทยาน ออกบวช ความ

ประสงค์นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง มี

ระเบียบแห่งปราสาทอันประเสริญ ออกบวช ความ

ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง มี

ปราการสามชั้น พรั่งพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์

ซึ่งพระเจ้าวิเทหรัฐผู้ทรงยศพระนามว่า โสมนัส ทรง

สร้างไว้ ออกบวช ความประสงค์นั้น จะสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง ซึ่ง

พระเจ้าวิเทหรัฐ ทรงสะสมธัญญาหารเป็นต้น ทรง

ปกครองโดยธรรม ออกบวช ความประสงค์นั้นจัก

สำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานีอันมั่งคั่ง หมู่

ปัจจามิตรผจญไม่ได้ ทรงปกครองโดยธรรม ออกบวช

ความประสงค์นั้นจะสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละพระราชมณเฑียรสถาน อันน่า

รื่นรมย์จำแนกเป็นสถานที่ไว้สมส่วน ออกบวช ความ

ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละมณเฑียรสถานอันน่ารื่นรมย์ ซึ่ง

ฉาบทาด้วยปูนขาวและดิน ออกบวช ความประสงค์

นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละมณเฑียรสถานอันน่ารื่นรมย์ มี

กลิ่นหอมฟุ้งจรุงใจ ออกบวช ความประสงค์นั้น จัก

สำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอดอันจำแนกปัน

สมส่วน ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอดอันฉาบทาด้วย

ปูนขาวและดิน ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จ

ได้เมื่อไรหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอด อันมีกลิ่นหอม

ฟุ้งจรุงใจ ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอด อันทาสีวิเศษ

สวยสด ลาดรดประพรมด้วยแก่นจันทน์ ออกบวช

ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละบัลลังก์ทอง ซึ่งลาดอย่างวิจิตร

ด้วยหนังโค ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละบัลลังก์แก้วมณีซึ่งลาดอย่างวิจิตร

ด้วยหนึ่งโค ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละผ้าฝ้ายผ่าไหม ผ้าอันเกิดแต่โขม-

รัฐและเกิดแต่โกทุมพรรัฐ ออกบวชความประสงค์นั้น

จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ ซึ่ง

นกจากพรากร่ำร้องแล้ว ดาดาษไปด้วยพรรณไม้น้ำ

ทั้งปทุมและอุบล ออกบวช ความประสงค์นั้นจัก

สำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองช้างซึ่งประดับประดาไปด้วย

เครื่องอลังการทั้งปวง และเหล่าช้างมีสายรัดทองคำ

บริบูรณ์ด้วยเครื่องประดับศีรษะ และข่ายทองคำ เหล่า

ควาญที่ประจำ ก็ถือโตมรและของ้าว ออกบวช

ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

เมื่อไรเราจักละกองม้า ซึ่งประดับประดาด้วย

สรรพาลังการ และเหล่าสินธพชาติอาชาไนย ซึ่งเป็น

พาหนะเร็ว อันใดคนฝึกประจำถือดาบและแล่งศร

อยู่เป็นนิตย์ ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองรถซึ่งติดเครื่องรบ ชักธง

ประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับประ-

ดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำรถถือศรสวม

เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองรถทองคำ ซึ่งติดเครื่องรบ

ชักธงประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ

ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำถือศรสวม

เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละรถเงินซึ่งติดเครื่องรบ ชักธง

ประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ

ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำรถถือศรสวม

เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น จะสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองรถม้าซึ่งติดเครื่องรบ ชักธง

ประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ

ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำถือศรสวม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั่นจักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละรถเทียมอูฐซึ่งติดเครื่องรบ ชัก

ธงประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ

ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำถือศรสวม

เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองรถเทียมแพะ แกะ เนื้อ โค

ซึ่งติดเครื่องรบ ซักธงประจำ หุ้มหนังเสือเหลือง

และเสือโคร่ง ประดับประดาด้วยอลังการอันวิจิตร

มีคนประจำถือศรสวมเกราะ ออกบวช ความประสงค์

นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองฝึกช้าง ถือโตมรและขอ

ง้าว กองฝึกม้าทรงเครื่องประดับทองคำ กองพลธนู

ถือคันธนูพร้อมทั้งแล่งธนู เหล่าราชบุตรทรงเครื่อง

ประดับทองคำ ทั้งสี่เหล่านี้ล้วนประดับด้วยเครื่อง

สรรพาลังการ เป็นผู้กล้าหาญสวมเกราะมีวรรณะเขียว

และราชบุตรสวมเกราะอันวิจิตรถือกริชทอง ออกบวช

ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละหมู่พราหมณ์ผู้ครองผ้าเครื่อง

บริขารครบครัน ทาตัวด้วยแก่นจันทน์สีเหลือง ทรง

ผ้ามาแต่แคว้นกาสีอันอุดม และนางสนมกำนัล

ประมาณ ๗๐๐ คน ซึ่งประดับด้วยเครื่องสรรพาลังการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

เอวบาง สำรวมดีแล้ว เธอฟังคำสั่งพูดจาน่ารักออก

บวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละภาชนะทองคำน้ำหนักร้อยปัลละ

จำหลักลวดลายนับด้วยร้อย ออกบวช ความประสงค์

นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองช้างซึ่งประดับประดาด้วย

เครื่องอลังการทั้งปวงเป็นต้น จนถึงเหล่านางสนม

กำนัลผู้เชื่อฟังคำสั่ง พูดจาน่ารัก เป็นที่สุด ผู้ติดตาม

เราไป เขาจักไม่ติดตามเราอันใด ความที่พวกนั้น ๆ

ไม่ติดตามเรานั้น จักมีจักเป็นได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักได้ปลงผมห่มผ้าสังฆาฏิ อุ้มบาตร

เที่ยวบิณฑบาต จักทรงผ้าสังฆาฏิอันทำด้วยผ้าบังสุ-

กุลที่เขาทั้งไว้ตามถนนหนทาง เมื่อฝนตกเจ็ดวัน จัก

มีจีวรเปียกชุ่มเที่ยวบิณฑบาต จักจาริกไปตามต้นไม้

ราวป่า ทั้งกลางวันและกลางคืน เที่ยวไปโดยไม่

เหลียวแลถึงกิจการอันใดอันหนึ่ง จักละความกลัว

ความขลาดให้เด็ดขาด จักอยู่ผู้เดียวตามภูเขาและ

สถานที่อันลำบาก จักทำจิตให้ตรง ดุจคนดีดพิณ

ดีดสายทั้งเจ็ดให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ความประสงค์

นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักตัดเสียซึ่งกามสังโยชน์อันเป็นของ

ทิพย์และของมนุษย์ ดุจช่างรถตัดรองเท้าโดยรอบ

ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

[๔๕๔] พระสนมนารีเจ็ดร้อยเหล่านั้นประดับ

ด้วยสรรพาลังการ เอวบาง สำรวมดี เชื่อถ้อยฟังคำ

พูดจาน่ารัก ประคองพาหาทั้งสองกันแสงคร่ำครวญ

ว่า พระองค์ละพวกข้าพระองค์เพราะเหตุไร พระราชา

ทรงละพระสนมนารีเจ็ดร้อยเหล่านั้น ซึ่งประดับด้วย

เครื่องอลังการทั้งปวง เอวบาง สำรวมดี เชื่อถ้อยฟังคำ

พูดจาน่ารัก เสด็จไปมุ่งการผนวกเป็นสำคัญ พระราชา

ทรงละภาชนะทองคำหนักร้อยปัลละ มีลวดลายนับ

ด้วยร้อย ทรงอุ้มบาตรดินนั้นให้เป็นอันอภิเษกครั้ง

ที่สอง.

[๔๕๕] คลังทั้งหลาย คือคลังเงิน คลังทอง

คลังแก้วมุกดา คลังแก้วไพฑูรย์ คลังแก้วมณี คลัง-

สังข์ คลังไข่มุกดา คลังผ้า คลังจันทน์เหลือง คลัง

หนังเสือ คลังงาช้าง คลังพัสดุสิ่งของ คลังทองแดง

คลังเหล็กเป็นอันมาก มีเปลวไฟเสมอเป็นอันเดียวกัน

อย่างน่ากลัว แม้อยู่คนละส่วนก็ไหม้หมด ขอพระองค์

โปรดเสด็จกลับดับไฟเสียก่อน พระราชทรัพย์ของ

พระองค์นั้นอย่าได้ฉิบหายเสียเลย.

[๔๕๖] เราทั้งหลายผู้ไม่มีความกังวล มีชีวิต

เป็นสุขดีหนอ เมื่อกรุงมิถิลาถูกเพลิงเผาผลาญอยู่

ของอะไร ๆ ของเรามิได้ถูกเผาผลาญเลย.

[๔๕๗] เกิดโจรป่าขึ้นแล้ว ปล้นแว่นแคว้น

ของพระองค์ มาเถิดพระองค์ ขอพระองค์จงเสด็จ

กลับเถิด แว่นแคว้นนี้อย่าพินาศเสียเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

[๔๕๘] เราทั้งหลายผู้ไม่มีความกังวล มีชีวิต

เป็นสุขดีหนอ เมื่อแว่นแคว้นถูกโจรปล้น พวกโจร

มิได้นำอะไร ๆ ของเราไปเลย เราทั้งหลายผู้ไม่มี

ความกังวล มีชีวิตเป็นสุขดีหนอ เราทั้งหลายจักมีปีติ

เป็นภักษา เหมือนเทวดาชั้นอาภัสราฉะนั้น.

[๔๕๙] ความถูกต้องของประชุมชนใหญ่นี้

เพื่ออะไร นั่นใครหนอมากับท่าน เหมือนเล่นกันอยู่

ในบ้าน สมณะ อาตมาขอถามท่าน ประชุมชนนี้

แวดล้อมท่านเพื่ออะไร.

[๔๖๐] ประชุมชนนี้ตามข้าพเจ้าผู้ละพวกเขา

ไปในที่นี้ ข้าพเจ้าผู้ล่วงสีมาคือกิเลส ไปเพื่อถึง

มโนธรรม กล่าวคือญาณของมุนีผู้ไม่เกื้อกูลแก่เหย้า-

เรือน ผู้เจือด้วยความเพลิดเพลินทั้งหลาย ซึ่งเกิดขึ้น

ในขณะนั้น ๆ อยู่ ท่านรู้อยู่ จะถามทำไม.

[๔๖๑] พระองค์เสียงแต่ทรงสรีระนี้ จะ

สำคัญว่า เราข้ามพ้นกิเลสแล้วหาได้ไม่ กรรมคือกิเลส

นี้ จะพึงข้ามได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หาได้ไม่ เพราะยัง

มีอันตรายอยู่มาก.

[๔๖๒] ข้าพเจ้าใดปรารถนาเฉพาะซึ่งกาม

ทั้งหลาย ในมนุษยโลกอันบุคคลเห็นแล้ว ก็หาไม่เลย

ในเทวโลกอันบุคคลไม่เห็นแล้ว ก็หาไม่ อันตราย

อะไรหนอจะพึงมีแก่ข้าพเจ้านั้น ซึ่งมีปกติอยู่ผู้เดียว

อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

[๔๖๓] อันตรายมากทีเดียว คือ ความหลับ

ความเกียจคร้าน ความง่วงเหงา ความไม่ชอบใจ

ความเมาอาหาร ตั้งอยู่ในสรีระอาศัยอยู่.

[๔๖๔] ข้าแต่พราหมณ์ ท่านผู้เจริญพร่ำสอน

ข้าพเจ้าดีนักหนา ข้าพเจ้าขอถามท่านพราหมณ์นี่แหละ

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใครหนอ.

[๔๖๕] ชนทั้งหลายรู้จักอาตมาโดยนามว่า

นารทะ โดยโคตรว่า กัสสปะ ดังนี้ อาตมามาในสถาน

ใกล้พระองค์ผู้เจริญ ด้วยรู้สึกว่า การสมาคมด้วยสัต-

บุรุษทั้งหลาย ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ พระองค์จง

ทรงยินดีในบรรพชานี้ วิหารธรรมจงเถิดแก่พระองค์

กิจอันใดยังพร้องด้วยศีล การบริกรรม และฌาน

พระองค์จงทรงบำเพ็ญกิจอันนั้นให้บริบูรณ์ จง

ประกอบด้วยความอดทนและความสงบระงับ อย่าถือ

พระองค์ว่าเป็นกษัตริย์ จงทรงคลายออกเสียซึ่งความ

ยุบลงและความฟูขึ้น จงทรงกระทำโดยเคารพซึ่งกุศล

กรรมบถวิชชาและสมณธรรม แล้วบำเพ็ญพรหมจรรย์.

[๔๖๖] พระองค์ทรงละช้างม้าชาวนครและ

ชาวชนบทเป็นอันมาก ผนวชแล้วทรงยินดีในบาตร

ชาวชนบท มิตร อมาตย์ และพระญาติเหล่านั้นได้

กระทำความผิดระหว่างพระองค์ละกระมัง เหตุไร

พระองค์จึงทรงละอิสริยสุข มาชอบพระทัยซึ่งบาตร

นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

[๔๖๗] ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้ามิได้ผจญ

ซึ่งญาติไร ๆ โดยส่วนเดียวในกาลไหน ๆ โดยอธรรม

แม้ญาติทั้งหลายก็มิได้ผจญซึ่งข้าพเจ้า.

[๔๖๘] ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้าเห็น

ประเพณีของโลก เห็นโลกถูกกิเลสขบกัด ถูกกิเลส

ทำให้เป็นดังเปือกตม จึงได้ทำเหตุนี้ให้เป็นเครื่อง

เปรียบเทียบว่า ปุถุชนจมอยู่แล้วในกิเลสวัตถุใด สัตว์

เป็นอันมาก ย่อมถูกประหารและถูกฆ่าในกิเลสวัตถุ

นั้น ดังนี้จึงได้บวชเป็นภิกษุ.

[๔๖๙] ใครหนอเป็นผู้จำแนกแจกอรรถ

สั่งสอนพระองค์ คำอันสะอาดนี้เป็นคำของใคร ดูก่อน

พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เพราะพระองค์มิได้ตรัสบอก

สมณะผู้มีวัตรปฏิบัติก้าวล่วงทุกข์ นอกจากกัปปสมณะ

หรือวิชชสมณะ.

[๔๗๐] ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ถึงข้าพเจ้าจะ

เคารพสมณะหรือพราหมณ์โดยส่วนเดียวก็จริง แต่ก็

ไม่เคยเข้าใกล้ไต่ถามอะไร ๆ ในกาลไหน ๆ เลย

ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้านั้นรุ่งเรื่องด้วยสิริ ไปยัง

พระราชอุทยานด้วยอานุภาพใหญ่ เมื่อเจ้าพนักงาน

กำลังขับเพลงขับและประโคมดนตรีกันอยู่ ข้าพเจ้า

ได้เห็นมะม่วง มีผลภายนอกกำแพงพระราชอุทยาน

อันกึกก้องด้วยเสียงดนตรี พร้อมแล้วด้วยคนร้องและ

คนประโคม ข้าพเจ้าละต้นมะม่วงอันมีสิรินั้น ซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

เหล่ามนุษย์ผู้ต้องการผลฟาดตีอยู่ ลงจากคอช้างเข้าไป

ยังโคนต้นมะม่วง ซึ่งมีผลและไม่มีผล เห็นต้นมะม่วง

ที่มีผล ถูกคนเบียดเบียนกำจัดแล้ว ปราศจากใบและ

ก้าน แต่มะม่วงอีกต้นหนึ่งนี้ใบเขียวชอุ่มน่ารื่นรมย์

ศัตรูทั้งหลายจักฆ่าพวกเราผู้มีอิสระ มีศัตรูดุจหนาม

เป็นอันมาก เหมือนต้นมะม่วงมีผล ถูกคนหักโค่น

ฉะนั้น เสือเหลืองถูกฆ่าเพราะหนัง ช้างถูกฆ่าเพราะงา

คนมีทรัพย์ถูกฆ่าเพราะทรัพย์ ใครเล่าจักฆ่าผู้ไม่มี

เหย้าเรือน ผู้ไม่มีสันถวะคือตัณหา มะม่วงต้นหนึ่ง

มีผล อีกต้นหนึ่งไม่มีผล ทั้งสองต้นนั้นเป็นผู้สั่งสอน

ข้าพเจ้า.

[๔๗๑] ชนทั้งปวงคือกองช้าง กองม้า กองรถ

กองเดินเท้า ตกใจว่า พระราชาทรงผนวชเสียแล้ว

ขอพระองค์โปรดทำให้ชุมชนอุ่นใจ ตั้งความคุ้มครอง

ไว้ อภิเษกพระโอรสในราชสมบัติ แล้วจึงทรงผนวช

ต่อภายหลังเถิด.

[๔๗๒] ดูก่อนปชาบดี ชาวชนบท มิตร

อมาตย์ และพระประยูรญาติทั้งหลาย เราและแล้ว

ทีฆาวุราชกุมารผู้ยังแว่นแคว้นให้เจริญ เป็นบุตรของ

ชาววิเทหรัฐ ชาววิเทหรัฐเหล่านั้น จักให้ครองราช

สมบัติในกรุงมิถิลา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

[๔๗๓] มาเถิด อาตมาจะให้เธอศึกษาตามคำ

ที่อาตมาชอบ เมื่อเธอให้พระโอรสครองราชสมบัติ

ก็จักกระทำบาปทุจริตเป็นอันมาก ด้วยกายวาจาใจ

ซึ่งเป็นเหตุให้เธอไปสู่ทุคติ การที่เรายังอัตภาพให้เป็น

ไปด้วยก้อนข้าวที่ผู้อื่นให้ ซึ่งสำเร็จแต่ผู้อื่น นี้เป็น

ธรรมของนักปราชญ์.

[๔๗๔] คนที่ฉลาดแม้ไม่ได้บริโภคอาหาร

สี่มื้อ ราวกะว่าจะตายด้วยความอด ก็ยอมตายเสียด้วย

ความอด เขาจะไม่ยอมบริโภคก้อนเนื้อคลุกฝุ่นไม่

สะอาดเลย ข้าแต่พระมหาชนก พระองค์สิเสวยได้

ซึ่งก้อนเนื้ออันเป็นเดนสุนัข ไม่สะอาดน่าเกลียดนัก.

[๔๗๕] ดูก่อนพระนางสีวลี ก้อนเนื้อนั้นไม่

ซื่อว่าเป็นอาหารของอาตมาหามิได้ เพราะถึงจะเป็น

ของคนครองเรือนหรือของสุนัข ก็สละแล้ว ของ

บริโภคเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ ที่บุคคลได้มาแล้ว

โดยชอบธรรม ของบริโภคทั้งหมดนั้น กล่าวกันว่า

ไม่มีโทษ.

[๔๗๖] แน่ะนางกุมาริกาผู้ยังนอนกับแม่ ผู้

ประดับกำไลมือเป็นนิตย์ กำไลมือของเจ้า ข้างหนึ่ง

มีเสียงดัง อย่างหนึ่งไม่มีเสียงดัง เพราะเหตุไร.

[๔๗๗] ข้าแต่พระสมณะ เสียงเกิดแต่กำไล

สองอัน ที่สวนอยู่ในข้อมือของข้าพเจ้านี้กระทบกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

ความที่กำไลทั้งสองกระทบกันนั้นเป็นเหตุแห่งเสียง

กำไลอันหนึ่งที่สวมอยู่ในข้อมือของข้าพเจ้านี้นั้น ไม่มี

อันที่สองจึงไม่ส่งเสียง เป็นเหมือนนักปราชญ์สงบนิ่ง

อยู่ บุคคลสองคนก็วิวาทกัน คนเดียวจักวิวาทกับ

ใครเล่า ท่านผู้ใคร่ต่อสวรรค์ จงชอบความเป็นผู้อยู่

คนเดียวเถิด.

[๔๗๘] แน่ะสีวลี เธอได้ยินคาถาที่นาง

กุมาริกากล่าวแล้วหรือ นางกุมาริกาเป็นเพียงชั้นสาว

ใช้มาติเตียนเรา ความที่เราทั้งสองประพฤติ คือ

อาตมาเป็นบรรพชิต เธอเป็นสตรีเดินตามกันมา ย่อม

เป็นเหตุแห่งครหา บรรดาสองแพร่งนี้อันเราทั้งสอง

ผู้เดินทาง จงแยกกันไป เธอจงถือเอาทางหนึ่งไป

อาตมาก็จะถือเอาทางอื่นอีกทางหนึ่งไป เธออย่าเรียก

อาตมาว่าเป็นพระสวามีของเธอ และอาตมาก็จะไม่

เรียกเธอว่าเป็นมเหสีของอาตมาอีก เมื่อกษัตริย์ทั้งสอง

กำลังตรัสข้อความนี้อยู่ ได้เสด็จเข้าไปยังถูกนคร

เมื่อใกล้เวลาฉัน พระมหาสัตว์ประทับยืนอยู่ที่ซุ้ม

ประตูเรือนของช่างศร ช่างศรนั้น หลับตาข้างหนึ่ง

ใช้ตาอีกข้างหนึ่งเล็งลูกศรอันหนึ่งซึ่งคดอยู่ ดัดให้ตรง

ที่ซุ้มประตูนั้น.

[๔๗๙] ดูก่อนช่างศร ท่านจงฟังอาตมา ท่าน

หลับจักษุข้างหนึ่ง เล็งดูลูกศรอันคดด้วยจักษุข้างหนึ่ง

ด้วยประการใด ท่านเห็นความสำเร็จประโยชน์ด้วย

ประการนั้นหรือหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

[๔๘๐] ข้าแต่พระสมณะ การเล็งด้วยจักษุ

ทั้งสอง ปรากฏว่าเหมือนพร่าไปไม่ถึงที่คดข้างหน้า

ย่อมไม่สำเร็จความดัดให้ตรง ถ้าหลับจักษุข้างหนึ่ง

เล็งดูที่คดด้วยจักษุอีกข้างหนึ่ง เล็งได้ถึงที่คดเบื้องหน้า

ย่อมสำเร็จความดัดให้ตรง บุคคลสองคนก็วิวาทกัน

คนเดียวจักวิวาทกับใครเล่า ท่านผู้ใคร่ต่อสวรรค์ จง

ชอบความเป็นผู้อยู่คนเดียวเถิด.

[๔๘๑] ดูก่อนนางสีวลี เธอได้ยินคาถาที่

ช่างศรกล่าวหรือยัง ช่างศรเป็นเพียงคนใช้ยังติเตียน

เราได้ ความที่เราทั้งสองประพฤตินั้น เป็นเหตุแห่ง

ความครหา ดูก่อนนางผู้เจริญ ทางสองแพร่งนี้อันเรา

ทั้งสองผู้เดินทางมา จงแยกกันไป เธอจงถือเอาทาง

หนึ่งไป อาตมาถือเอาทางอื่นอีกทางหนึ่งไป เธอ

อย่าเรียกอาตมาว่าเป็นพระสวามีของเธอ และอาตมา

จะไม่เรียกเธอว่าเป็นมเหสีของอาตมาอีก.

จบมหาชนกชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

อรรถกถามหานิบาต

มหาชนกชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภ

มหาภิเนกขัมมบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า โก ย มชฺเฌ สมุทฺทสฺมึ

ดังนี้เป็นต้น.

ความพิสดารว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งพรรณนามหาภิเนกขัมมบารมี

ของพระตถาคต ในโรงธรรมสภา พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายประชุมเจรจากันถึงเรื่องอะไร เนื้อภิกษุเหล่านั้น

กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้

เท่านั้น ที่ตถาคตออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ แม้ในกาลก่อน เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์

อยู่ ตถาคตก็ได้ออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่เหมือนกัน ตรัสดังนี้ แล้วทรงดุษณีภาพ

อยู่ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลวิงวอนให้ทรงเล่าเรื่อง จึงทรงนำอดีตนิทานมาแสดง

ดังต่อไปนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า มหาชนก

ครองราชสมบัติในกรุงมิถิลา แคว้นวิเทหะ พระเจ้ามหาชนกราชนั้น มีพระ-

ราชโอรสสองพระองค์ คือ อริฏฐชนกพระองค์หนึ่ง โปลชนกพระองค์หนึ่ง

ในสองพระองค์นั้น พระราชาพระราชทานตำแหน่งอุปราชแก่พระราชโอรส

องค์พี่ พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่พระราชโอรสองค์น้อง กาลต่อมา

พระมหาชนกราชสวรรคต พระอริฏรชนกได้ครองราชสนบัติ ทรงตั้งพระ-

โปลชนกผู้กนิษฐภาดาเป็นอุปราช อมาตย์คนหนึ่งผู้ใกล้ชิดพระราชา ไปเฝ้า

พระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ พระอุปราชใคร่จะปลงพระชนม์พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

พระอริฏฐชนกราชทรงสดับคำบ่อย ๆ ก็ทำลายความสิเนหาพระอนุชา ให้จำ

พระโปลชนกมหาอุปราชด้วยเครื่องจองจำ ให้อยู่ในคฤหาสน์หลังหนึ่งใกล้

พระราชนิเวศ มีผู้คุมรักษา พระกุมารโปลชนกทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้า

ข้าพเจ้าก่อเวรต่อพระเชษฐา เครื่องจองจำจงอย่าหลุดจากมือและเท้าของ

ข้าพเจ้า แม้ประตูก็จงอย่าเปิด ถ้าข้าพเจ้ามิได้ก่อเวรต่อพระเชษฐา เครื่อง

จองจำจงหลุดจากมือและเท้าของข้าพเจ้า แม้ประตูก็จงเปิด เครื่องจองจำได้

หักเป็นท่อน ๆ แม้ประตูก็เปิดในทันใดนั้น ต่อนั้นพระโปลชนกก็เสด็จออก

ไปยังปัจจันตคามแห่งหนึ่ง ประทับอยู่ที่ปัจจันตคามนั้น ชาวปัจจันตคามจำ

พระองค์ได้ก็บำรุงพระองค์ ครั้งนั้น พระอริฏฐชนกราชไม่สามารถจะจับ

พระองค์ได้ พระโปลชนกนั้น ได้ทำปัจจันตชนบทให้อยู่ในอำนาจโดยลำดับ

เป็นผู้มีบริวารมาก ทรงคิดว่า เมื่อก่อนเรามีได้ก่อเวรต่อพระเชษฐาของเรา

แต่บัดนี้เราจะก่อเวรละ ทรงให้ประชุมพลนิกาย แวดล้อมไปด้วยมหาชน

ออกจากปัจจันตคามถึงกรุงมิถิลาโดยลำดับ ให้ตั้งค่ายพักแรมกองทัพอยู่นอก

พระนคร ครั้งนั้น เหล่าทหารชาวมิถิลานครทราบว่า พระโปลชนกเสด็จมา

ก็ขนยุทโธปกรณ์มีพาหนะช้างเป็นต้น มายังสำนักของพระโปลชนกนั้น โดยมาก

แม้ชาวนครคนอื่น ๆ ก็พากันมาเข้าด้วย พระโปลชนกส่งสาส์นไปถวายพระ-

เชษฐาว่า เมื่อก่อนข้าพระองค์มิได้ก่อเวรต่อพระองค์ แต่บัดนี้ ข้าพระองค์

จะก่อเวรละ พระองค์จะประทานเศวตฉัตรแก่ข้าพระองค์ หรือจะรบ พระราชา

อริฏฐชนกทรงสดับดังนั้น ปรารถนาจะรบ จึงตรัสเรียกพระอัครมเหสีมาตรัส

ว่า ที่รัก ในการรบชนะหรือแพ้ ไม่อาจจะรู้ได้ ถ้าฉันมีอันตราย เธอพึง

รักษาครรภ์ให้ดี ตรัสฉะนี้แล้วเสด็จกรีธาทัพออกจากพระนคร ครั้งนั้นทหาร

ของพระโปลชนกยังพระอริฏฐชนกราชให้ถึงชีพตักษัยในที่รบ ชาวพระนคร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

ทั้งสิ้นรู้ว่า พระราชาสวรรคตแล้ว ก็เกิดโกลาหลกันทั่วไป ฝ่ายพระเทวีทรง

ทราบว่า พระราชสวามีสวรรคตแล้ว ก็รีบเก็บสิ่งของสำคัญมีทองเป็นต้น ใส่ใน

กระเช้า เอาผ้าเก่า ๆ ปูปิดไว้แล้วใส่ข้าวสารข้างบน ทรงนุ่งภูษาเก่าเศร้าหมอง

ปลอมพระกายของพระองค์ วางกระเช้าบนพระเศียร เสด็จออกจากพระนครแต่

กลางวันทีเดียว ไม่มีใครจำพระนางได้ พระนางเสด็จออกทางประตูทิศอุดร

ไม่รู้จักมรรคา เพราะไม่เคยเสด็จไปในที่ไหน ๆ ไม่อาจกำหนดทิศ จึงประทับ

ที่ศาลาแห่งหนึ่งคอยตรัสถามว่า มีคนเดินทางไปนครกาลจัมปากะไหม เพราะ

เคยทรงสดับว่า มีนครกาลจัมปากะเท่านั้น ก็สัตว์ในครรภ์ของพระเทวีนั้น

มิใช่สัตว์สามัญ แต่เป็นพระมหาสัตว์ผู้มีพระบารมีเต็มแล้วมาบังเกิด ด้วย

เดชานุภาพแห่งพระมหาสัตว์นั้น บันดาลให้ภพของท้าวสักกเทวราชสำแดง

อาการร้อน ท้าวสักกเทวราชทรงอาวัชนาการก็ทรงทราบเหตุนั้น ทรงดำริว่า

สัตว์ที่บังเกิดในพระครรภ์ของพระเทวีมีบุญมาก เราควรจะไปในที่นั้น จึง

เนรมิตเกวียนมีเครื่องปกปิด จัดตั้งเตียงไว้ในเกวียนนั้น เนรมิตตนเหมือน

คนแก่ ขับเกวียนไปหยุดอยู่ที่ประตูศาลาที่พระเทวีประทับอยู่. ทูลถามพระเทวี

ว่า มีผู้ที่จะไปนครกาลจัมปากะบ้างไหม พระเทวีได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า

ข้าแต่พ่อ ข้าพเจ้าจักไป ท้าวสักกะตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น แม่จงขึ้นนั่งบนเกวียน

เถิด พระเทวีเสด็จออกมาตรัสว่า ข้าแต่พ่อ ข้าพเจ้ามีครรภ์แก่ ไม่อาจจะ

ขึ้นเกวียนไปได้ จักขอเดินตามพ่อไปเท่านั้น แต่พ่อช่วยรับกระเช้าของข้าพเจ้านี้

ขึ้นเกวียนไปด้วย ท้าวสักกะตรัสว่า แม่พูดอะไร คนที่รู้จักขับเกวียนเช่น

ข้าพเจ้าไม่มี แม่อย่ากลัวเลย ขึ้นนั่งบนเกวียนเถิดแม่ ด้วยอานุภาพแห่ง

พระโอรสของพระองค์ ในกาลที่พระเทวีจะเสด็จขึ้นเกวียน แผ่นดินได้นูนขึ้น

ดุจผิวละออง เต็มด้วยลมฟุ้งขึ้นฉะนั้น ตั้งจดท้ายเกวียน พระเทวีเสด็จขึ้น

บรรทมบนพระที่สิริไสยาสน์ ทรงทราบว่า นี้จักเป็นเทวดา พระนางได้

หยั่งลงสู่นิทรา เพราะได้บรรทมบนพระที่อันเป็นทิพย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงขับเกวียนถึงแม่น้ำ แห่งหนึ่ง ไกลราว

สามสิบโยชน์ จึงปลุกพระเทวีแล้วตรัสว่า แม่จงลงจากเกวียนนี้อาบน้ำในแม่

น้ำ จงนุ่งห่มผ้าคู่หนึ่ง ที่วางอยู่เหนือศีรษะนั้น จงหยิบของกินที่มีอยู่ภายใน

เกวียนนั้นมากินเถิด พระเทวีทรงทำตามอย่างนั้น แล้วบรรทมต่อไปอีก ก็ลุ

ถึงนครกาลจัมปากะในเวลาเย็น ทอดพระเนตรเห็นประตูหอรบและกำแพง

พระนคร จงตรัสถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่พ่อ เมืองนี้ชื่ออะไร ท้าวสักกะตรัส

ตอบว่า นครกาลจัมปากะ แม่ พระเทวีตรัสค้านว่า พูดอะไร พ่อ นคร-

กาลจัมปากะอยู่ห่างจากนครของพวกเราถึงหกสิบโยชน์มิใช่หรือ ท้าวสักกะ

ตรัสว่า ถูกแล้ว แม่ แต่ตารู้จักหนทางตรง ครั้งนั้นท้าวสักกเทวราชให้พระ

เทวีลงจากเกวียน ณ ที่ใกล้ประตู ด้านทิศทักษิณ ตรัสบอกว่า บ้านของตา

อยู่ข้างหน้า แต่แม่จงเข้าไปสู่นครนี้ ตรัสดังนี้แล้วเสด็จไปเหมือนไปข้างหน้า

ได้หายตัวไปยังที่ประทับของพระองค์ ส่วนพระเทวีก็ประทับนั่งอยู่ที่ศาลาแห่ง

หนึ่ง.

ขณะนั้น มีพราหมณ์ผู้เพ่งมนต์คนหนึ่งชาวนครกาลจัมปากะ เป็นทิศา-

ปาโมกข์ มาณพประมาณห้าร้อยคน แวดล้อมเดินไปเพื่ออาบน้ำ แลดูมา

แต่ไกลเห็นพระเทวีนั้น มีพระรูปงามยิ่งสมบูรณ์ด้วยความงามเป็นเลิศ ประทับ

นั่งอยู่ ณ ศาลานั้น ด้วยอานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ผู้บังเกิดในพระครรภ์ของ

พระเทวี พอเห็นเท่านั้น ก็เกิดสิเนหาราวกะว่าเป็นน้องสาวของตน จึงให้

เหล่ามาณพพักอยู่ภายนอก เข้าไปในศาลาแต่ผู้เดียวถามว่า น้องหญิง แม่เป็น

ชาวบ้านไหน พระเทวีตรัสตอบว่า ข้าแต่พ่อ ข้าพเจ้าเป็นอัครมเหสีของพระ

อริฏฐชนกราช กรุงมิถิลา พราหมณ์ถามว่า แม่มาที่นี้ทำไม พระเทวีตรัส

ตอบว่า พระอริฏฐชนกราชถูกพระโปลชนกปลงพระชนม์ เมื่อเป็นเช่นนี้

ข้าพเจ้ากลัวภัยจึงหนีมา ด้วยคิดว่า จักรักษาครรภ์ไว้ พราหมณ์ถามว่า ก็ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

พระนครนี้ มีใครที่เป็นพระญาติของเธอหรือ พระเทวีตรัสตอบว่า ไม่มี พ่อ

พราหมณ์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เธออย่าวุ่นใจไปเลย ข้าพเจ้าอุทิจจพราหมณ์

มหาศาล เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ข้าพเจ้าจักตั้งเธอไว้ ในที่เป็นน้องสาว

ปฏิบัติดูแลเธอ เธอจงกล่าวกะข้าพเจ้าว่า ท่านเป็นพี่ชาย แล้วจับที่เท้าทั้ง

สองของข้าพเจ้าคร่ำครวญเถิด พระเทวีรับคำแล้ว เปล่งเสียงดังทอดพระองค์

ลงจับเท้าทั้งสองของพราหมณ์ ทั้งสองต่างก็คร่ำครวญกันอยู่ ครั้งนั้นเหล่าอัน-

เตวาสิก ได้ยินเสียงของพราหมณ์ จึงพากันวิ่งเข้าไปยังศาลา ถามว่า ท่าน

อาจารย์ เกิดอะไรแก่ท่านหรือ พราหมณ์กล่าวว่า พ่อทั้งหลาย หญิงนี้เป็น

น้องสาวของฉัน พลัดพรากจากฉัน ไปแต่ครั้งโน้น เหล่าอันเตวาสิกกล่าวว่า

จำเดิมแก่กาลที่ท่านทั้งสองได้พบกันแล้ว ขออย่าได้วิตกเลย พราหมณ์ให้นำ

ยานที่ปกปิดมา ให้พระเทวีประทับนั่งในยานนั้น กล่าวกะเหล่ามาณพว่า เจ้า

ทั้งหลายจงบอกแก่นางพราหมณีว่า หญิงนี้เป็นน้องสาวของเรา แล้วจงบอก

นางพราหมณีเพื่อทำกิจทั้งปวงแก่นาง กล่าวฉะนี้แล้วส่งพระเทวีไปสู่เรือน

ลำดับนั้น นางพราหมณีให้พระนางสรงสนานด้วยน้ำร้อนแล้ว แต่งที่บรรทม

ให้บรรทม แม้พราหมณ์อาบน้ำแล้วก็กลับมาสู่เรือน สั่งให้เชิญพระนางมาใน

เวลาบริโภคอาหาร ด้วยคำว่า จงเชิญน้องสาวของเรามา แล้วบริโภคร่วมกับ

พระนาง ได้ปรนนิบัติพระนางในนิเวศของตน ไม่นานนักพระนางก็ประสูติ

พระโอรสมีวรรณะดังทอง พระเทวีขนานพระนามพระโอรส เหมือนพระ-

อัยกาว่า มหาชนกกุมาร พระกุมารนั้นทรงเจริญวัยก็เล่นอยู่กับพวกเด็ก

เด็กพวกใดรบกวนทำให้พระกุมารขัดเคือง พระกุมารก็จับเด็กพวกนั้นให้มั่น

แล้วตี ด้วยพระองค์มีพระกำลังมาก และด้วยความเป็นผู้กระด้างเพราะมานะ

เพราะพระองค์เกิดในตระกูลกษัตริย์ที่ไม่เจือปน พวกเด็กเหล่านั้นร้องไห้เสียง

ดัง เมื่อถูกถามว่า ใครตี ก็บอกว่า บุตรหญิงหม้ายตี พระกุมารทรงคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

พวกเด็กว่า เราเป็นบุตรหญิงหม้าย อยู่เนือง ๆ ช่างเถอะ เราจักถามมารดาของเรา

วันหนึ่ง พระกุมารจึงทูลถามพระมารดาว่า ข้าแต่พระมารดา ใครเป็นบิดาของ

ฉัน พระนางตรัสลวงพระกุมารว่า พราหมณ์เป็นบิดาของลูก วันรุ่งขึ้นพระ

กุมารตีเด็กทั้งหลาย เมื่อเด็กทั้งหลายกล่าวว่า บุตรหญิงหม้ายตี จึงตรัสว่า

พราหมณ์เป็นบิดาของเรามิใช่หรือ ครั้น พวกเด็กถามว่า พราหมณ์เป็นอะไรกับ

เธอ จึงทรงคิดว่า เด็กเหล่านั้นกล่าวว่า พราหมณ์เป็นอะไรกับเธอ มารดาของ

เราไม่บอกเหตุการณ์นี้ตามจริง ท่านไม่บอกแก่เราตามใจของท่าน ยกไว้เถิด เรา

จักให้ท่านบอกความจริงให้ได้ เมื่อพระกุมารดื่มน้ำนมพระมารดาจึงกัดพระถัน

พระมารดาไว้ ตรัสว่า ข้าแต่แม่ แม่จงบอกบิดาแก่ฉัน ถ้าแม่ไม่บอก ฉันจัก

กัดพระถันของแม่ให้ขาด พระนางไม่อาจตรัสลวงพระโอรส จึงตรัสบอกว่า พ่อ

เป็นโอรสของพระเจ้าอริฏฐมหาชนก ในกรุงมิถิลา พระบิดาของพ่อถูกพระ

โปลชนกปลงพระชนม์ แม่ตั้งใจรักษาตัวพ่อ จึงมาสู่นครนี้ พราหมณ์นี้ตั้ง

แม่ไว้ในที่เป็นน้องสาว ปฏิบัติดูแลแม่ ตั้งแต่นั้นมา แม้ใครว่าเป็นบุตรหญิง

หม้าย พระกุมารก็ไม่กริ้ว พระกุมารทรงเรียนไตรเพทและศิลปศาสตร์ทั้งปวง

ในภายในพระชนม์ ๑๖ ปี เมื่อมีพระชนม์ได้ ๑๖ ปี เป็นผู้ทรงพระรูป

โฉมอันอุดม พระองค์ทรงคิดว่า เราจักเอาราชสมบัติซึ่งเป็นของพระบิดา จึง

ทูลถามพระมารดาว่า ข้าแต่พระมารดา ทรัพย์อะไร ๆ ที่พระมารดาได้มามี

บ้างหรือไม่ ฉันจักค้าขายให้ทรัพย์เกิดขึ้นแล้วจักเอาราชสมบัติซึ่งเป็นของพระ

บิดา พระนางตรัสตอบว่า ลูกรัก แม่ไม่ได้มามือเปล่า สิ่งอันเป็นแก่นสาร

ของเรามีอยู่สามอย่าง คือ แก้วมณี แก้วมุกดา แก้ววิเชียร ในสามอย่างนั้น

แต่ละอย่างพอจะเป็นกำลังเอาราชสมบัติได้ พ่อจงรับแก้วสามอย่างนั้น คิด

อ่านเอาราชสมบัติเถิด อย่าทำการค้าขายเลย พระกุมารทูลว่า ข้าแต่พระมารดา

ขอพระมารดาจงประทานทรัพย์นั้นกึ่งหนึ่ง แก่หม่อมฉัน จะเอาไปเมือง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

สุวรรณภูมิ นำทรัพย์เป็นอันมากมาแล้วเอาราชสมบัติ ซึ่งเป็นของพระบิดา

ทูลดังนี้แล้ว ให้พระมารดาประทานทรัพย์กึ่งหนึ่ง จำหน่ายออกเป็นสินค้า

แล้วให้ขนขึ้นเรือ พร้อมกับพวกพาณิชที่จะเดินทางไปสุวรรณภูมิ แล้วกลับ

มาถวายบังคมลาพระมารดา ทูลว่า ข้าแต่พระมารดา หม่อมฉันจักไปเมือง

สุวรรณภูมิ พระนางตรัสห้ามว่า ลูกรัก ขึ้นชื่อว่ามหาสมุทร สำเร็จประโยชน์

น้อย มีอันตรายมาก อย่าไปเลย ทรัพย์ของพ่อมีมากพอประโยชน์ เอาราช

สมบัติแล้ว พระกุมารทูลว่า หม่อมฉันจักไปแท้จริง ทูลลาพระมารดาถวาย

บังคม กระทำประทักษิณ แล้วออกไปขึ้นเรือ ในวันนั้นได้เกิดพระโรคขึ้น

ในพระสรีระของพระเจ้าโปลชนกราช บรรทมแล้ว เสด็จลุกขึ้นอีกไม่ได้ พวก

พาณิชประมาณเจ็ดร้อยคนขึ้นสู่เรือ เรือแล่นไปได้เจ็ดร้อยโยชน์ ใช้เวลาเจ็ด

วัน เรือแล่นไปด้วยกำลังคลื่นที่ร้ายกาจ ไม่อาจทรงตัวอยู่ได้ แผ่นกระดานก็

แตกด้วยกำลังคลื่น น้ำเข้ามาแต่ที่นั้น ๆ เรือก็จมลงในกลางมหาสมุทร

มหาชนกลัวมรณภัย ร้องไห้คร่ำครวญกราบไหว้เทวดาทั้งหลาย แต่พระมหา-

สัตว์ไม่ทรงกันแสง ไม่ทรงคร่ำครวญ ไม่ไหว้เทวดาทั้งหลาย พระองค์ทรงทราบ

ว่าเรือจะจม จึงคลุกน้ำตาลกรวดกับเนยเสวยจนเต็มท้อง แล้วชุบผ้าเนื้อ

เกลี้ยงสองผืนด้วยน้ำมันจนชุ่ม ทรงนุ่งให้มั่น ประทับยืน เกาะเสากระโดง

บนยอดเสากระโดงเวลาเรือจม มหาชนเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า น้ำโดยรอบ

มีสีเหมือนโลหิต พระมหาสัตว์ประทับยืนที่ยอดเสากระโดง ทรงกำหนดทิศว่า

เมืองมิถิลาอยู่ทิศนี้ ก็กระโดดจากยอดเสากระโดง ล่วงพ้นฝูงปลาและเต่า ไป

ตกในที่สุด อุสภะหนึ่ง เพราะพระองค์มีพระกำลังมาก พระเจ้าโปลชนกราช

ได้สวรรคตในวันนั้นเหมือนกัน จำเดิมแต่นั้น พระมหาสัตว์เป็นไปอยู่ในคลื่น

ซึ่งมีสีดังแก้วมณี เหมือนท่อนต้นกล้วยทอง ข้ามมหาสมุทรด้วยกำลังพระพาหา

พระมหาสัตว์ทรงว่ายข้ามมหาสมุทรอยู่เจ็ดวัน เหมือนว่ายข้ามวันเดียว พระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

องค์ทรงสังเกตเวลานั้นว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ จึงบ้วนพระโอฐด้วยน้ำเค็ม

ทรงสมาทานอุโบสถศีล ก็ในกาลนั้น ท้าวโลกบาลทั้งสี่มอบให้เทพธิดา

ชื่อมณีเมขลา เป็นผู้ดูแลรักษาสัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณ มีบำรุงมารดา

เป็นต้น เป็นผู้ไม่สมควรจะตายในมหาสมุทร นางมณีเมขลามิได้ตรวจตรา

มหาสมุทรเป็นเวลาเจ็ดวัน เล่ากันว่า นางเสวยทิพยสมบัติเพลินก็เผลอสติมิได้

ตรวจตรา บางอาจารย์กล่าวว่า นางเทพธิดาไปเทพสมาคมเสีย นางคิดได้ว่า

วันนี้เป็นวันที่เจ็ดที่เรามิได้ตรวจความหาสมุทร มีเหตุอะไรบ้างหนอ เมื่อนาง

ตรวจดูก็เห็นพระมหาสัตว์ จึงคิดว่า ถ้ามหาชนกกุมารจักตายในมหาสมุทร

เราจักไม่ได้เข้าเทวสมาคม คิดฉะนั้นแล้ว ตกแต่งสรีระ สถิตอยู่ในอากาศไม่

ไกลพระมหาสัตว์ เมื่อจะทดลองพระมหาสัตว์ จึงกล่าวคาถาแรกว่า

นี้ใคร เมื่อแลไม่เห็นฝั่งก็อุตสาหพยายามว่าย

อยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ท่านรู้อำนาจประโยชน์อะไร

จึงพยายามว่ายอยู่อย่างนี้นักหนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปสฺสนฺตีร แปลว่า แลไม่เห็นฝั่งเลย.

บทว่า อายุเห ได้แก่ กระทำความเพียร.

ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า เราว่ายข้ามมหาสมุทรมาได้เจ็ดวัน

เข้าวันนี้ ไม่เคยเห็นเพื่อนสองของเราเลย นี่ใครหนอมาพูดกะเรา เมื่อแลไป

ในอากาศก็ทอดพระเนตรเห็นนางมณีเมขลา จึงตรัสคาถาที่สองว่า

ดูก่อนเทวดา เราไตร่ตรองเห็นปฏิปทาแห่งโลก

และอานิสงส์แห่งความเพียร เพราะฉะนั้น ถึงจะมองไม่

เห็นฝั่ง เราก็ต้องพยายามว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิสมฺม วตฺต โลกสฺส ความว่า

เรานั้นไตร่ตรอง คือใคร่ครวญวัตรคือ ปฏิปทาของโลกอยู่. บทว่า วายมสฺส จ

ความว่า พระมหาสัตว์แสดงความว่า เราไตร่ตรองคือเห็นอานิสงส์แห่งความ

เพียรอยู่. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเราไตร่ตรองอยู่ คือรู้ว่า ชื่อว่า

ความเพียรของบุรุษย่อมไม่เสียหาย ย่อมให้ตั้งอยู่ในความสุข ฉะนั้น แม้จะ

มองไม่เห็นฝั่งก็ต้องพยายาม คือกระทำความเพียร อธิบายว่า เราจะไม่คำนึง

ถึงข้อนั้นได้อย่างไร.

นางมณีเมขลาปรารถนาจะฟังธรรมกถาของพระมหาสัตว์ จึงกล่าวคาถา

อีกว่า

ฝั่งมหาสมุทรลึกจนประมาณไม่ได้ ย่อมไม่

ปรากฏแก่ท่าน ความพยายามอย่างลูกผู้ชายของท่าน

ก็เปล่าประโยชน์ ท่านไม่ทันถึงฝั่งก็จักตาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปตฺวา ว ความว่า ยังไม่ทันถึงฝั่งเลย

ท่านก็จักตาย.

ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ตรัสกะนางมณีเมขลาว่า ท่านพูดอะไรอย่างนั้น

เราทำความพยายาม แม้ตายก็จักพ้นครหา ตรัสฉะนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาว่า

บุคคลเมื่อกระทำความเพียร แม้จะตายก็ชื่อว่า

ไม่เป็นหนี้ในระหว่างหมู่ญาติเทวดา และบิดามารดา

อนึ่ง บุคคลเมื่อทำกิจอย่างลูกผู้ชาย ย่อมไม่เดือดร้อน

ในภายหลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อณโน ความว่า ดูก่อนเทวดา บุคคล

เมื่อกระทำความเพียร แม้จะตาย ก็ย่อมไม่เป็นหนี้ คือไม่ถูกติเตียน ในระหว่าง

ญาติทั้งหลาย เทวดาทั้งหลาย และพรหมทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

ลำดับนั้น เทวดากล่าวคาถากะพระมหาสัตว์ว่า

การงานอันใด ยังไม่ถึงที่สุดด้วยความพยายาม

การงานอันนั้นก็ไร้ผล มีความลำบากเกิดขึ้น การทำ

ความพยายามในฐานะอันไม่สมควรใด จนความตาย

ปรากฏขึ้น ความพยายามในฐานะอันไม่สมควรนั้นจะ

มีประโยชน์อะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปารเณยฺย ความว่า ยังไม่ถึงที่สุด

ด้วยความพยายาม. บทว่า มจฺจุ ยสฺสาภินิปฺผต ความว่า การทำความ.

พยายามในฐานะอันไม่สมควรใด จนมัจจุคือความตายนั่นแลปรากฏขึ้น ความ

พยายามในฐานะอันไม่สมควรนั้น จะมีประโยชน์อะไร.

เมื่อนางมณีเมขลากล่าวอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์เมื่อจะทำนางมณี

เมขลาให้จำนนต่อถ้อยคำ จึงได้ตรัสคาถาต่อไปว่า

ดูก่อนเทวดา ผู้ใดรู้แจ้งว่าการงานที่ทำ จะไม่

ลุล่วงไปได้จริง ๆ ชื่อว่าไม่รักษาชีวิตของตน ถ้าผู้นั้น

ละความเพียรในฐานะเช่นนั้นเสีย ก็จะพึงรู้ผลแห่ง

ความเกียจคร้าน ดูก่อนเทวดา คนบางพวกในโลกนี้

เห็นผลแห่งความประสงค์ของตน จึงประกอบการงาน

ทั้งหลาย การงานเหล่านั้นจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม

ดูก่อนเทวดา ท่านก็เห็นผลแห่งกรรมประจักษ์แก่ตน

แล้วมิใช่หรือ คนอื่น ๆ จมในมหาสมุทรหมด เรา

คนเดียวยังว่ายข้ามอยู่ และได้เห็นท่านมาสถิตอยู่ใกล้ ๆ

เรา เรานั้นจักพยายามตามสติกำลัง จักทำความเพียร

ที่บุรุษควรทำ ไปให้ถึงฝั่งแห่งมหาสมุทร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺจนฺต ความว่า ผู้ใครรู้แจ้งการงาน

นี้ว่า แม้ทำความเพียรก็ไม่อาจให้สำเร็จได้ ไม่ลุล่วงไปได้จริง ๆ ทีเดียว ดังนี้

ไม่นำช้างดุร้ายและช้างตกมันเป็นต้นออกไปเสีย ชื่อว่าไม่รักษาชีวิตของตน.

บทว่า ชญฺา โส ยทิ หาปเย ความว่า ถ้าผู้นั้น ละความเพียรในฐานะ

เช่นนั้นเสีย ก็จะพึงรู้ผลแห่งความเกียจคร้านนั้น คำที่ท่านกล่าวนั้น ๆ

ไร้ประโยชน์ พระมหาสัตว์ทรงชี้แจงดังนี้ ก็บทที่เขียนไว้ในบาลีว่า ชญฺา

โส ยทิ หาปเย นั้น ไม่มีในอรรถกถา. บทว่า อธิปฺปายผล ความว่า

คนบางพวกเห็นผลแห่งความประสงค์ของตน ประกอบการงานมีกสิกรรมและ

พาณิชกรรมเป็นต้น . บทว่า ตานิ อิชฺฌนฺติ วา น วา ความว่า พระมหาสัตว์

แสดงความว่า เมื่อบุคคลกระทำความเพียรทางกายและความเพียรทางใจว่า

เราจักไปในที่นี้ จักเรียนสิ่งนี้ การงานเหล่านั้น ย่อมสำเร็จทีเดียว เพราะฉะนั้น

จึงควรทำความเพียรแท้. บทว่า สนฺนา อญฺเ ตรามห ความว่า คนอื่น ๆ

จม คือ จมลงในมหาสมุทร คือเมื่อไม่ทำความเพียร ก็เป็นภักษาแห่งปลาและ

เต่ากันหมด แต่เราคนเดียวเท่านั้นยังว่ายข้ามอยู่. บทว่า ตญฺจ ปสฺสามิ

สนฺติเก ความว่า ท่านจงดูผลแห่งความเพียรของเราแม้นี้ เราไม่เคยเห็น

เทวดาโดยอัตภาพนี้เลย เรานั้นก็ได้เห็นท่านมาสถิตอยู่ใกล้ ๆ เรา โดยอัตภาพ

ทิพย์นี้. บทว่า ยาถาสติ ยถาพล ความว่า สมควรแก่สติแสะกำลังของตน

บทว่า กาส แปลว่า จักกระทำ.

เทวดาได้สดับพระวาจาอันมั่นคงของพระมหาสัตว์นั้น เมื่อจะสรรเสริญ

มหาสัตว์ จึงกล่าวคาถาว่า

ท่านใดถึงพร้อมด้วยความพยายามโดยธรรม ไม่

จมลงในห้วงมหรรณพ ซึ่งประมาณนี้ได้ เห็นปานนี้

ด้วยกิจคือความเพียรของบุรุษ ท่านนั้นจงไปในสถานที่

ที่ใจของท่านยินดีนั้นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว คเต ความว่า ในห้วงน้ำซึ่ง

ประมาณมิได้เห็นปานนี้ คือในมหาสมุทรทั้งลึกทั้งกว้าง. บทว่า ธมฺมวายาม-

สมฺปนฺโน ความว่า ประกอบด้วยความพยายามอันชอบธรรม. บทว่า กมฺมุนา

นาวสีทสิ ความว่า ท่านไม่จมลงด้วยกิจ คือความเพียรของบุรุษของตน

บทว่า ยตฺถ เต ความว่า ใจของท่านยินดีในสถานที่ใด ท่านจงไปใน

สถานที่นั้นเถิด.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว นางมณีเมขลาได้ถามว่า ข้าแต่ท่าน

บัณฑิตผู้มีความบากบั่นมาก ข้าพเจ้าจักนำท่านไปที่ไหน เมื่อพระมหาสัตว์

ตรัสว่า มิถิลานคร นางจึงอุ้มพระมหาสัตว์ขึ้น ดุจคนยกกำดอกไม้ ใช้แขน.

ทั้งสองประคองให้นอนแนบทรวง พาเหาะไปในอากาศเหมือนคนอุ้มลูก

ฉะนั้น พระมหาสัตว์มีสรีระเศร้าหมองด้วยน้ำเค็มตลอดเจ็ดวัน ได้สัมผัสทิพย-

ผัสสะก็บรรทมหลับ ลำดับนั้น นางมณีเมขลานำพระมหาสัตว์ถึงมิถิลานคร

ให้บรรทมโดยเบื้องขวาบนแผ่นศิลาอันเป็นมงคลในสวนมะม่วง มอบให้

หมู่เทพเจ้าในสวนคอยอารักขาพระมหาสัตว์แล้วไปสู่ที่อยู่ของตน.

ในกาลนั้น พระเจ้าโปลชนกราชไม่มีพระโอรส มีแต่พระธิดาองค์หนึ่ง

พระนามว่าสีวลีเทวีเป็นหญิงฉลาดเฉียบแหลม อมาตย์ทั้งหลายได้ทูลถามพระเจ้า

โปลชนกราชเมื่อบรรทมอยู่บนพระแท่นมรณมัญจอาสน์ว่า ข้าแต่พระมหาราช

เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว เหล่าข้าพระบาทจักถวายราชสมบัติแก่ใคร

พระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงมอบราชสมบัติให้แก่ท่านที่สามารถยังสีวลีเทวี

ธิดาของเราให้ยินดี หรือผู้ใดรู้หัวนอนแห่งบัลลังก์สี่เหลี่ยม หรือผู้ใดอาจยก

สหัสสถามธนูขึ้นได้ หรือผู้ใดอาจนำขุมทรัพย์ใหญ่สิบหกแห่งออกมาได้ ท่าน

ทั้งหลายจงมอบราชสมบัติให้แก่ผู้นั้น อมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ

ขอพระองค์โปรดตรัสอุทานปัญหาแห่งขุมทรัพย์เหล่านั้นแก่พวกข้าพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

พระราชาจงตรัสอุทานปัญหาของสิ่งอื่น ๆ พร้อมกับขุมทรัพย์ทั้งหลาย

ไว้ว่า

ขุมทรัพย์ใหญ่สิบหกขุมเหล่านี้ คือ ขุมทรัพย์ที่

ดวงอาทิตย์ขึ้น ขุมทรัพย์ที่ดวงอาทิตย์ตก ขุมทรัพย์

ภายใน ขุมทรัพย์ภายนอก ขุมทรัพย์ไม่ใช่ภายใน

ไม่ใช่ภายนอก ขุมทรัพย์ขาขึ้น ขุมทรัพย์ขาลง ขุม

ทรัพย์ที่ไม้รังใหญ่ทั้งสี่ ขุมทรัพย์ในที่โยชน์หนึ่งโดย

รอบ ขุมทรัพย์ใหญ่ ที่ปลายงาทั้งสอง ขุมทรัพย์ที่

ปลายหนหาง ขุมทรัพย์ที่น้ำ ขุมทรัพย์ที่ยอดไม้ และ

ธนูหนักพันแรงคนยก บัลลังก็สี่เหลี่ยมหัวนอนอยู่

เหลี่ยมไหน และยังสีวลีราชเทวีให้ยินดี.

เมื่อพระเจ้าโปลชนกราชสวรรคต ถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้ว

อมาตย์ทั้งหลายได้ประชุมปรึกษากันในวันที่เจ็ด ถึงเรื่องที่พระราชาตรัสไว้ว่า

ให้มอบราชสมบัติแก่ท่านที่สามารถให้พระธิดาของพระองค์ยินดี ก็ใครเล่าจัก

สามารถให้พระราชธิดานั้นยินดี อมาตย์เหล่านั้น เห็นกันว่า เสนาบดีเป็นผู้

สนิทชิดแห่งพระราชาจักสามารถ จึงส่งข่าวให้เสนาบดีนั้นทราบ เสนาบดีนั้น

ได้ฟังข่าว รับแล้วไปสู่ประตูพระราชวังเพื่อต้องการราชสมบัติ ให้ทูลความ

ที่ตนมาแด่พระราชธิดา พระราชธิดาทรงทราบว่า เสนาบดีนั้นมา หวังจะทรง

ทดลองเสนาบดีว่า จะมีปัญญาทรงสิริแห่งเศวตฉัตรหรือไม่ จึงรับสั่งว่าจงมา

โดยเร็ว เสนาบดีได้ฟังข่าวนั้นแล้ว ประสงค์จะให้พระราชธิดาโปรดปราน

จึงไปโดยเร็วตั้งแต่เชิงบันไดไปยืนอยู่ที่ใกล้พระราชธิดา ลำดับนั้น พระราชธิดา

เมื่อทรงทดลองเสนาบดีนั้น จึงตรัสสั่งว่า จงวิ่งไปโดยเร็วในพระตำหนัก

เสนาบดีคิดว่าจักยังพระราชธิดาให้ยินดี จึงวิ่งไปโดยเร็ว พระราชธิดารับสั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

กะเสนาบดีว่า จงมาอีก เสนาบดีก็มาโดยเร็วอีก พระราชธิดาทรงทราบว่า

เสนาบดีนั้นหาปัญญามิได้ จึงตรัสว่า จงมานวดเท้าของเรา เสนาบดีก็นั่งลง

นวดพระบาทของพระราชธิดาเพื่อให้ทรงโปรดปราน ลำดับนั้น พระราชธิดา

ก็ถีบเสนาบดีนั้นที่อกให้ล้มหงาย แล้วประทานสัญญาแก่นางข้าหลวงทั้งหลาย

ด้วยพระดำรัสว่า พวกเจ้าจงตีบุรุษไร้ปัญญาอันธพาลคนนี้ ลากคอออกไปเสีย

นางข้าหลวงทั้งหลายก็ทำตามรับสั่ง เสนาบดีนั้นใครถามว่าเป็นอย่างไร ก็

ตอบว่า พวกท่านอย่าถามเลย พระราชธิดานี้ไม่ใช่หญิงมนุษย์ จักเป็นยักขินี

แต่นั้นอมาตย์ผู้รักษาคลังไปเพื่อให้พระราชธิดาทรงยินดี พระราชธิดาก็ให้ได้

รับความอับอายขายหน้า เช่นเดียวกับเสนาบดี ได้ยังชนทั้งปวง คือเศรษฐี

เจ้าพนักงานเชิญเครื่องสูง เจ้าพนักงานเชิญพระแสง ให้ได้รับความอับอาย

ขายหน้าเหมือนกัน ครั้งนั้นมหาชนปรึกษากันแล้วกล่าวว่า ไม่มีผู้สามารถให้

พระราชธิดาโปรดปราน ท่านทั้งหลายจงมอบราชสมบัติแก่ผู้สามารถยกธนูที่มี

น้ำหนักพันแรงคนยก ใคร ๆ ก็ไม่สามารถจะยกธนูนั้นขึ้น แต่นั้นมหาชน

จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงนอบราชสมบัติแก่ผู้รู้จักหัวนอนแห่งบัลลังก์สี่เหลี่ยม

ก็ไม่มีใครรู้จักอีก แต่นั้น มหาชนจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงมอบราชสมบัติ

แก่ผู้สามารถนำขุมทรัพย์สิบหกแห่งออกมาได้ ก็ไม่มีใครสามารถอีก แต่นั้น

เสนาอมาตย์ทั้งหลายปรึกษากันว่า เราทั้งหลายไม่อาจรักษาแว่นแคว้นที่หา

พระราชามิได้ไว้ จะพึงทำอย่างไรกันหนอ ลำดับนั้น ปุโรหิตจึงกล่าวกะ

เสนามาตย์เหล่านั้นว่า พวกท่านอย่าวิตกเลย ควรจะปล่อยผุสสรถไป เพราะ

พระราชาที่เชิญเสด็จหาได้ด้วยผุสสรถเป็นผู้สามารถครองราชสมบัติในชมพู

ทวีปทั้งสิ้น เหล่าเสนามาตย์ต่างเห็นพร้อมกัน จึงให้ตกแต่งพระนคร แล้ว

ให้เทียมม้าสี่ตัวมีสีดุจดอกกุมุทในราชรถอันเป็นมงคล ลาดเครื่องลาดอันวิจิตร

เบื้องบน ให้ประดิษฐานเบญจราชกกุธภัณฑ์ แวดล้อมด้วยจตุรงคเสนา ชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

ทั้งหลายประโคมเครื่องดนตรีข้างหน้าราชรถที่พระราชาเป็นเจ้าของ ประโคม

เบื้องหลังราชรถที่ไม่มีเจ้าของ เพราะฉะนั้น ปุโรหิตจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย

จงประโคมดนตรีทั้งปวงเบื้องหลังราชรถ แล้วรดสายหนังเชือกแอก ประตัก

ด้วยพระเต้าทองคำ แล้วสั่งราชรถว่า ผู้ใดมีบุญที่จะได้ครองราชสมบัติ ท่าน

จงไปสู่สำนักของผู้นั้น แล้วปล่อยราชรถนั้นไป ลำดับนั้น ราชรถก็ทำประทักษิณ

พระราชนิเวศแล้วขึ้นสู่ถนนใหญ่แล่นไปโดยเร็ว ชนทั้งหลายมีเสนาบดี

เป็นต้น นึกหวังว่า ขอผุสสรถจงมาสู่สำนักเรา รถนั้นแล่นล่วงเลยเคหสถาน

ของชนทั้งปวงไป ทำประทักษิณพระนครแล้ว ออกทางประตูด้านตะวันออก

บ่ายหน้าตรงไปอุทยาน ครั้งนั้น ชนทั้งหลายเห็นราชรถแล่นไปโดยเร็ว จึง

กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงยังราชรถนั้นให้กลับ ปุโรหิตห้ามว่า อย่าให้กลับเลย

ถึงแล่นไปสิ้นร้อยโยชน์ก็อย่าให้กลับ รถเข้าไปสู่อุทยาน ทำประทักษิณแผ่น-

ศิลามงคลแล้ว หยุดอยู่เตรียมรับเสด็จขึ้น ปุโรหิตเห็นพระมหาสัตว์บรรทม

จึงเรียกเหล่าอมาตย์มากล่าวว่า ท่านผู้หนึ่งนอนบนแผ่นศิลามงคลปรากฏอยู่

แต่ว่าพวกเรายังไม่รู้ว่า ท่านผู้นั้นจะมีปัญญาสมควรแก่เศวตฉัตรหรือไม่มี

ถ้าว่าท่านมีปัญญา จักไม่ลุกขึ้นจักไม่แลดู ถ้าเป็นคนกาลกรรณีจักกลัวจักตกใจ

ลุกขึ้นสะทกสะท้านแลดูแล้วหนีไป ท่านทั้งหลายจงประโคมดนตรีขึ้นทั้งหมด

โดยเร็ว ชนทั้งปวงก็ประโคมดนตรีเป็นร้อย ๆ ขึ้นขณะนั้น เสียงของดนตรี

เหล่านั้น ได้เป็นเหมือนกึกก้องไปทั่วท้องสาคร พระมหาสัตว์ตื่นบรรทมด้วย

เสียงนั้น เปิดพระเศียรทอดพระเนตรเห็นมหาชนแล้ว ทรงจินตนาการว่า

เศวตฉัตรมาถึงเรา ดังนี้แล้ว คลุมพระเศียรเสียอีก พลิกพระองค์บรรทม

ข้างซ้าย ปุโรหิตเปิดพระบาทแห่งพระมหาสัตว์ตรวจดูพระลักษณะแล้วกล่าวว่า

อย่าว่าแต่ทวีปหนึ่งนี้เท่านั้นเลย ท่านผู้นี้สามารถครองราชสมบัติในมหาทวีป

ทั้งสี่ได้ กล่าวฉะนั้นแล้วให้ประโคมดนตรีอีก ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงเปิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

พระพักตร์อีก พลิกพระองค์บรรทมข้างขวา ทอดพระเนตรมหาชน ปุโรหิต

ให้บริษัทถอยออกไปแล้ว ประคองอัญชลีก้มหน้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้สมมติเทพ ขอได้โปรดเสด็จลุกขึ้นเถิด ราชสมบัติมาถึงพระองค์ ลำดับนั้น

พระมหาสัตว์ตรัสถามปุโรหิตว่า พระราชาของพวกท่านเสด็จไปไหน ครั้น

ปุโรหิตกราบทูลว่า เสด็จสวรรคต จึงตรัสถามว่า พระราชโอรสหรือพระราช-

ภาดาของพระราชานั้นไม่มีหรือ ปุโรหิตกราบทูลว่า ไม่มีพระเจ้าข้า มีแต่

พระราชธิดาองค์หนึ่ง ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงสดับคำของปุโรหิตนั้นแล้ว

จึงรับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้นก็ดีแล้ว เราจักครองราชสมบัติ ตรัสฉะนี้แล้ว เสด็จ

ลุกขึ้นประทับนั่งโดยบัลลังก์ ณ แผ่นมงคลศิลา ต่อนั้น ชนทั้งหลายมีอมาตย์

และปุโรหิตเป็นต้น ก็ถวายอภิเษกพระมหาสัตว์ ณ สถานที่นั้นทีเดียว พระ-

มหาสัตว์นั้น ได้ทรงพระนามว่า มหาชนกราช พระองค์เสด็จขึ้นสู่ราชรถอัน

ประเสริฐเข้าพระนครด้วยสิริราชสมบัติอันสิริโสภาคใหญ่ ขึ้นสู่พระราชนิเวศ

ทรงพิจารณาว่า ตำแหน่งเสนาบดีเป็นต้นนั้น ๆ ยกไว้ก่อน แล้วเสด็จขึ้น

พระที่นั่งข้างใน.

ฝ่ายพระราชธิดา ตรัสสั่งราชบุรุษคนหนึ่งเพื่อจะทรงทดลองพระ

มหาสัตว์นั้นโดยสัญญาที่มีมาก่อนว่า เจ้าจงเข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า

พระนางสีวลีเทวีรับสั่งให้หา จงรีบเสด็จไปเฝ้า อมาตย์นั้นก็ไปกราบทูล

พระราชาดังนั้น พระราชาแม้ได้ทรงฟังคำอมาตย์นั้น ก็แสร้งเป็นเหมือนไม่

ได้ยิน ตรัสชมปราสาทเสียว่า โอ ปราสาทงาม ดังนี้ เพราะความที่พระองค์

เป็นบัณฑิต ราชบุรุษนั้น เมื่อไม่อาจให้พระราชาทรงสดับคำนั้น จึงกลับมาทูล

พระราชธิดาว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระราชาไม่ทรงฟังคำของพระแม่เจ้า มัวแต่

ทรงชมปราสาท ไม่สนพระทัยพระวาจาของพระแม่เจ้า เหมือนคนไม่สนใจ

ต้นหญ้าฉะนั้น พระราชธิดาทรงคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีอัธยาศัยใหญ่ ส่งราช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

บุรุษให้เชิญเสด็จมาอีกถึงสองครั้งสามครั้งทีเดียว แม้พระราชาก็เสด็จไปโดย

ปกติ ตามความพอพระราชหฤทัยของพระองค์ ขึ้นสู่ปราสาทเหมือนพระยา

ราชสีห์เดินออกจากถ้าฉะนั้น เมื่อเสด็จใกล้เข้ามา พระสีวลีเทวีราชธิดาไม่อาจ

ดำรงพระองค์อยู่ได้ด้วยพระเดชานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ จึงเสด็จมาถวายให้

เกี่ยวพระกร พระมหาสัตว์ก็ทรงรับเกี่ยวพระกรพระราชธิดาขึ้นยัง พระที่นั่ง

ประทับ ณ ราชบัลลังก์ภายใต้พระมหาเศวตฉัตร ตรัสเรียกอมาตย์ทั้งหลาย

มารับสั่งถามว่า ดูก่อนอมาตย์ทั้งหลาย เมื่อพระราชาของพวกท่านจะเสด็จ

สวรรคต ได้ตรัสสั่งอะไรไว้บ้าง เมื่ออมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ได้ตรัส สั่ง

ไว้บ้าง จึงโปรดให้อมาตย์เล่าถวาย อมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลว่า พระราชา

ของข้าพระองค์ทั้งหลายได้ตรัสสั่งไว้ดังนี้.

๑. ให้มอบราชสมบัติแก่ท่านผู้ที่ทำให้พระราชธิดาพระนานว่าสีวลีเทวี

โปรดปรานได้.

พระราชาตรัสว่า พระนางสีวลีราชธิดาเสด็จมาถวายให้เกี่ยวพระกร

ของเธอแล้ว ข้อนี้เป็นอันว่า เราได้ให้พระราชธิดาโปรดปรานแล้ว ท่านจง

กล่าวข้ออื่นต่อไป.

๒. ให้มอบราชสมบัติแก่ท่านผู้สามารถทราบหัวนอนแห่งบัลลังก์

สี่เหลี่ยมว่าอยู่ด้านไหน.

พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า ข้อนี้รู้ยาก แต่ก็อาจรู้ได้โดยอุบาย จึงทรง

ถอดเข็มทองคำบนพระเศียร ประทานที่พระหัตถ์พระนางสีวลี มีรับสั่งว่า

เธอจงวางเข็มทองคำนี้ไว้ พระนางสีวลีราชธิดาทรงรับเข็มทองคำไปวางไว้

เบื้องหัวนอนแห่งบัลลังก์นั้น บางอาจารย์กล่าวว่า พระมหาสัตว์ประทาน

พระขรรค์ให้พระราชธิดาไปวาง พระมหาสัตว์ทรงทราบว่า ข้างนี้เป็นหัวนอน

ด้วยความหมายนั้น ทรงทำเป็นยังไม่ได้ยินถ้อยคำนั้น จึงตรัสถามว่า ท่านว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

กระไร ครั้นหมู่อมาตย์กราบทูลข้าให้ทรงทราบแล้ว จึงรับสั่งว่า การรู้จัก

หัวนอนบัลลังก์สี่เหลี่ยมไม่อัศจรรย์ ด้านนี้เป็นหัวนอน ท่านทั้งหลายจงกล่าว

ข้ออื่นต่อไป.

๓. ให้มอบราชสมบัติแก่ท่านผู้ยกธนูอันมีน้ำหนักพันแรงคนยกขึ้นได้.

พระมหาสัตว์ตรัสสั่งให้นำธนูนั้นมา แล้วประทับ ณ ราชบัลลังก์นั้น

เอง ทรงยกสหัสสถานธนูนั้นขึ้น ดุจกงดีดฝ้ายของหญิงทั้งหลายฉะนั้น แล้ว

โปรดให้เล่าข้ออื่นต่อไป.

๔. ให้มอบราชสมบัติแก่ท่านผู้นำขุมทรัพย์สิบหกแห่งออกให้ปรากฏ.

พระมหาสัตว์ตรัสถามว่า ปัญหาอะไร ๆ เกี่ยวกับขุมทรัพย์นั้น มีอยู่

หรือไม่ เมื่อพวกอมาตย์กราบทูลปัญหาเกี่ยวกับขุมทรัพย์ว่า มีขุมทรัพย์ที่

ดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นต้น พอพระองค์ได้ทรงสดับปัญหานั้นแล้ว เนื้อความก็

ปรากฏเหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญลอยเด่นอยู่ ณ ท้องฟ้าฉะนั้น ครั้นแล้ว

พระมหาสัตว์จึงตรัสว่า วันนี้หมดเวลาแล้ว พรุ่งนี้เราจักชี้ขุมทรัพย์ในที่

ทั้งหลายนั้น ๆ รุ่งขึ้นพระมหาสัตว์ให้ประชุมเหล่าอมาตย์แล้ว ตรัสถามว่า

พระราชาของพวกท่านนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าให้มาฉันบ้างหรือไม่กราบทูล

ว่า เคยนิมนต์ให้มาฉันบ้าง ขอเดชะ พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า ดวงอาทิตย์

มิใช่ดวงอาทิตย์ที่มองเห็นนี้ ดวงอาทิตย์หมายเอาพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะ

มีคุณเช่นดวงอาทิตย์ ขุมทรัพย์คงมีในสถานที่ต้อนรับพระปัจเจกพุทธเจ้า

เหล่านั้น พระมหาสัตว์จึงตรัสถามว่า เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายมา

พระราชาเสด็จไปต้อนรับตรงไหน เมื่ออมาตย์กราบทูลว่า ตรงนั้น ขอเดชะ

ก็ตรัสสั่งให้ขุดที่นั้น นำขุมทรัพย์มาได้ จึงตรัสถามต่อไปว่า เมื่อเสด็จไปส่ง

พระปัจเจกพุทธเจ้าเวลากลับ เสด็จประทับยืนตรงไหน เมื่อทรงทราบว่าที่ใด

แล้ว ก็โปรดให้ขุดที่นั้นนำขุมทรัพย์ออกมาได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

มหาชนก็โห่ร้องเซ็งแซ่ถวายสาธุการสรรเสริญพระปัญญา รู้สึกปีติ

โสมนัสว่า ชนทั้งหลายเทียวขุด ณ ทิศที่ดวงอาทิตย์ขึ้น เพราะปัญหากล่าวว่า

ที่ดวงอาทิตย์ขึ้น และเที่ยวขุดในทิศที่ดวงอาทิตย์ตก เพราะปัญหากล่าวว่าที่

ดวงอาทิตย์ตก แต่ขุมทรัพย์มีอยู่ในที่นี้เอง โอ อัศจรรย์หนอ แปลกหนอ

พระมหาสัตว์ตรัสให้ขุดนำขุมทรัพย์มาแต่ภายในกรณี แห่งพระทวารใหญ่ของ

พระราชฐานได้ เพราะปัญหาว่าขุมทรัพย์ภายใน ให้ขุดนำขุมทรัพย์มาแต่ภาย

นอกธรณีแห่งพระทวารใหญ่ของพระราชฐานได้ เพราะปัญหาว่าขุมทรัพย์ภาย

นอก ให้ขุดนำขุมทรัพย์มาแต่ข้างล่างพระธรณี แห่งพระทวารใหญ่ของพระ-

ราชฐานได้ เพราะปัญหาว่า ขุมทรัพย์ไม่ใช่ภายในได้ใช่ภายนอก ให้ขุดนำ

ขุมทรัพย์มาแต่ที่เกยทอง ในเวลาเสด็จขึ้นประทับมงคลหัตถีได้ เพราะปัญหา

ว่าขุมทรัพย์ขาขึ้น ให้ขุดนำขุมทรัพย์มาแต่ที่เสด็จลงจากคอช้างได้ เพราะ

ปัญหาว่าขุมทรัพย์ขาลง ให้ขุดนำหม้อทรัพย์ทั้งสี่หม้อมาแต่ภายใต้ต้นรังทั้งสี่

แห่ง อันเป็นเท้าพระแท่นบรรทม อันเป็นสิริซึ่งตั้งขึ้นมาแต่พื้นดินได้ เพราะ

ปัญหาว่า ขุมทรัพย์ทั้งสี่ ให้ขุดน้ำหม้อทรัพย์ทั้งหลายมาแต่ที่ประมาณชั่วแอก

โดยรอบพระที่สิริไสยาสน์ โดยวิธีนับชั่วแอกรถประมาณโยชน์หนึ่งได้ เพราะ

ปัญหาว่าขุมทรัพย์ในที่โยชน์หนึ่งโดยรอบ ให้ขุดหม้อทรัพย์ทั้งสองในสถานที่

มงคลหัตถี แต่ที่เฉพาะหน้าแห่งงาทั้งสองแห่งช้างนั้นนาได้ เพราะปัญหาว่า

ขุมทรัพย์ใหญ่ที่ปลายงาทั้งสอง ให้ขุดขุมทรัพย์ในสถานที่มงคลหัตถีแห่งที่

เฉพาะหน้าแห่งปลายหางของช้างนั้นมาได้ เพราะปัญหาว่า ขุมทรัพย์ที่ปลาย

หาง ให้วิดน้ำในสระมงคลโบกขรณีแสดงขุมทรัพย์ เพราะปัญหาว่าขุมทรัพย์

ที่น้ำ ให้ขุดหม้อขุมทรัพย์มาแต่ภายในเงาไม้รัง มีปริมณฑลเวลาเที่ยงวัน

ตรงที่โคนไม้รังใหญ่ในพระราชอุทยานได้ เพราะปัญหาว่าขุมทรัพย์ใหญ่ที่

ปลายไม้ พระราชาให้นำขุมทรัพย์ใหญ่ทั้งสิบหกมาได้แล้ว ตรัสถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

ปัญหาอื่นอะไรยังมีอีกหรือไม้ อมาตย์ทั้งหลาย กราบทูลว่า ไม่มีแล้ว พระ-

เจ้าข้า มหาชนต่างร่าเริงแล้ว ยินดีแล้วว่า โอ อัศจรรย์ พระราชาองค์นี้

เป็นบัณฑิตจริง ๆ.

ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า เราจักบริจาคทรัพย์นี้ในทานมุข จึง

โปรดให้สร้างศาลาโรงทานหกหลัง คือท่ามกลางพระนครหนึ่ง ที่ประตูพระ-

นครทั้งสี่ และที่ประตูพระราชนิเวศหนึ่ง โปรดให้เริ่มตั้งทานวัตร พระราชา

โปรดให้เชิญพระมารดาและพราหมณ์มาแต่กาลจัมปากนคร ทรงทำสักการะ

สมโภชเป็นการใหญ่ เมื่อพระมหาสัตว์ทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติ ในกาลเมื่อ

พระองค์ยังทรงเป็นดรุณราชกุมาร ชาววิเทหรัฐทั้งสิ้นเอิกเกริกกัน เพื่อจะได้

เห็นพระองค์ ด้วยคิดว่า พระราชโอรสพระเจ้าอริฏฐชนกราช ทรงพระนาม

ว่า มหาชนกราช ครองราชสมบัติเป็นพระราชาผู้บัณฑิต เฉลียวฉลาดใน

อุบาย เราทั้งหลายจักเห็นพระองค์ แต่นั้นมา ชนเป็นอันมากพร้อมกันนำ

เครื่องบรรณาการถวาย มีมหรสพใหญ่ในพระนคร ลาดเครื่องลาดที่ทำด้วย

ฝีมือเป็นต้นในพระราชนิเวศ ห้อยพวงของหอมพวงดอกไม้เป็นต้น โปรย

ปรายข้าวตอก ทำเครื่องอุปกรณ์ดอกไม้ เครื่องอบธูปและเครื่องหอม จัดตั้ง

ไว้ซึ่งน้ำและโภชนาหารมีประการต่าง ๆ ในภาชนะเงิน ภาชนะทองคำ เพื่อ

เป็นเครื่องราชบรรณาการถวายพระมหาสัตว์เจ้า ยืนแวดล้อมอยู่ในที่นั้น ๆ

หมู่อมาตย์เฝ้าอยู่ ณ ปะรำหนึ่ง หมู่พราหมณ์เฝ้าอยู่ ณ ปะรำหนึ่ง หมู่

เศรษฐีเป็นต้น ปะรำหนึ่ง เหล่านางสนมทรงรูปโฉม ปะรำหนึ่ง ฝ่ายพราหมณ์

ทั้งหลายก็พร้อมกันสาธยายมนต์ เพื่ออำนวยสวัสดี เหล่าผู้กล่าวชัยมงคลด้วย

ปากก็พร้อมกันร้อง ถวายชัยมงคลกึกก้อง เหล่าผู้ชำนาญการขับร้องเป็นต้น

ก็พร้อมกันขับเพลงถวายอยู่อึงมี่ ชนทั้งหลายก็บรรเลงดนตรีเป็นร้อย ๆ อย่าง

อยู่ครามครัน พระราชนิเวศวังสถาน ก็บันลือลั่นสนั่นศัพท์สำเนียงเป็นเสียง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

เดียวกัน ปานต้องมหาสมุทรถูกลมพัดมาแต่ขุนเขายุคนธรฟัดฟาดแล้วฉะนั้น

สถานที่ซึ่งพระมหาสัตว์ ทอดพระเนตรแล้ว ๆ ก็กัมปนาทหวั่นไหว.

พระมหาสัตว์ประทับ พระราชอาสน์ ภายใต้พระมหาเศวตฉัตร

ทอดพระเนตรสิริวิลาสอันใหญ่เพียงดังสิริของท้าวสักกเทวราช ก็ทรงอนุสรณ์

ถึงความพยายาม ที่พระองค์ได้ทรงทำในมหาสมุทร เมื่อท้าวเธอทรงอนุสรณ์

ถึงความพยายามเช่นนั้นแล้ว จึงทรงมนสิการว่า ชื่อว่าความเพียร ควรทำแท้

ถ้าเราไม่ได้ทำความเพียรในมหาสมุทร เราจักไม่ได้สมบัตินี้ เนื้อทรงอนุสรณ์

ถึงความเพียรนั้น ก็เกิดพระปีติโสมนัสซาบซ่าน จึงทรงเปล่งพระอุทานด้วย

กำลังพระปีติ ตรัสว่า

บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงหวังเข้าไว้ ไม่พึงเบื่อหน่าย

เราเห็นการเป็นพระราชาสมปรารถนาแก่ตน. บุรุษผู้เป็น

บัณฑิตพึงหวังเข้าไว้ ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตัวท่าน

จากน้ำขึ้นสู่บก. บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงพยายามเรื่อยไป

ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นการเป็นพระราชาสมปรารถนา

แก่ตน. บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงพยายามเรื่อยไป ไม่พึง

เบื่อหน่าย เราเห็นตัวท่านจากน้ำขึ้นสู่บก. นรชนผู้มี

ปัญญาแม้ใกล้ถึงทุกข์แล้ว ก็ไม่พึงตัดความหวังที่จะ

ถึงความสุข จริงอยู่ คนเป็นอันมากถูกทุกข์ กระทบ-

กระทั่ง ก็ทำสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ถูกสุขกระทบกระทั่ง

ก็ทำสิ่งที่มีประโยชน์ คนเหล่านั้นไม่ตรึกถึงความข้อนี้

จึงถึงความตาย. สิ่งที่นี้ได้คิดไว้ จะมีก็ได้ สิ่งที่คิดไว้

จะพินาศไปก็ได้ โภคะทั้งหลายของหญิงก็ตาม ของ

ชายก็ตาม มิได้สำเร็จด้วยเพียงคิดเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสึเสเถว ความว่า ไม่ตัดความหวัง

เสีย ทำความหวังการงานของตนร่ำไป. บทว่า น นิพฺพินฺเทยฺย ความว่า

พึงกระทำความเพียรไม่เบื่อหน่าย คือไม่เกียจคร้าน. บทว่า ยถา อิจฺฉึ

ความว่า เราได้เป็นพระราชาดังที่เราปรารถนาทีเดียว. บทว่า อุพฺภต ได้แก่

นำเข้าไปใกล้ คือนำเข้าไปแล้ว บทว่า ทุกฺขูปนีโตปิ ความว่า แม้ความ

ทุกข์ทางกายและทางใจถูกต้องแล้ว. บทว่า อหิตา หิตา จ ความว่า ผู้ที่

มีทุกข์สัมผัสย่อมไม่ทำสิ่งที่มีประโยชน์ ผู้ที่มีสุขสัมผัส ย่อมทำสิ่งที่มีประโยชน์.

บทว่า อวิตกฺกิตาโร ได้แก่ ไม่ตรึก คือไม่คิด ท่านอธิบายว่า บรรดา

ผัสสะเหล่านั้น เหล่าสัตว์ที่ผัสสะไม่มีประโยชน์ถูกต้อง ไม่คิดว่า แม้ผัสสะที่

มีประโยชน์ ก็มีอยู่ ผู้ทำความเพียรย่อมบรรลุผัสสะแม้นั้น ไม่คิดดังนี้จึงไม่

ทำความเพียร สัตว์เหล่านั้นไม่ตรึกคือไม่คิดเนื้อความนี้ จึงไม่ได้สัมผัสที่มี

ประโยชน์ ย่อมเข้าถึงมัจจุ คือถึงความตาย เพราะฉะนั้น ชื่อว่าความเพียร

ควรกระทำแท้. บทว่า อจินฺติตมฺปิ ความว่า แม้สิ่งที่สัตว์เหล่านี้มิได้คิดไว้

ก็ย่อมมีได้. บทว่า จินฺติตมฺปิ วินสฺสติ ความว่า ก็เรื่องที่ว่า เราจะ

ครองราชสมบัติโดยไม่ต้องรบเลยนี้ เรานี้ได้คิดไว้ เรื่องที่ว่า เราจักขนทรัพย์

แต่สุวรรณภูมิมารบแล้ว ครองราชสมบัติ นี้เราคิดไว้ แต่ทั้งสองเรื่องนั้น

บัดนี้ เรื่องที่เราคิดไว้ หายไปแล้ว เรื่องที่เรามิได้คิดไว้เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า

น หิ จินฺตามยา โภคา ความว่า ด้วยว่าโภคะของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า

สำเร็จด้วยความคิดหามิได้ เพราะมิได้สำเร็จด้วยความคิด ฉะนั้น ควรทำ

ความเพียรทีเดียว เพราะสิ่งที่มิได้คิดไว้ ย่อมมีแก่ผู้มีความเพียร.

ตั้งแต่นั้นมา พระมหาสัตว์ทรงบำเพ็ญทศพิธราชธรรม ครองราช

สมบัติโดยธรรม ทรงบำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย. กาลต่อมา พระนาง

สีวลีเทวีประสูติพระราชโอรส ซึ่งสมบูรณ์ด้วยลักษณะแห่งความมั่งคั่งและความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

มีบุญ พระชนกและพระชนนี ทรงขนานพระนามว่า ทีฆาวุราชกุมาร เมื่อ

ทีฆวุราชกุมารทรงเจริญวัย พระราชาประทานอุปราชาภิเษกแล้ว ครองราช

สมบัติอยู่เจ็ดพันปี.

วันหนึ่ง เมื่อนายอุทยานบาลนำผลไม้น้อยใหญ่ต่าง ๆ และดอกไม้

ต่าง ๆ มาถวาย พระมหาชนกราชมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นของเหล่านั้น

ทรงยินดี ทรงยกย่องนายอุทยานบาลนั้น ตรัสว่า ดูก่อนนายอุทยานบาล เรา

ใคร่จะเห็นอุทยาน ท่านจงตกแต่งไว้ นายอุทยานบาล รับพระราชดำรัสแล้ว

ตามรับสั่ง แล้วกราบทูลให้ทรงทราบ พระมหาสัตว์ประทับบนคอช้างเสด็จ

ออกจากพระนครด้วยราชบริพารเป็นอันมาก ถึงประตูพระราชอุทยาน ที่ใกล้

ประตูพระราชอุทยานนั้น มีต้นมะม่วงสองต้นมีใบเขียวชอุ่ม ต้นหนึ่งไม่มีผล

ต้นหนึ่งมีผล ผลนั้นมีรสหวานเหลือเกิน ใคร ๆ ไม่อาจเก็บผลจากต้นนั้น

เพราะผลซึ่งมีรสเลิศอันพระราชายังมิได้เสวย พระมหาสัตว์ประทับบนคอช้าง

ทรงเก็บเอาผลหนึ่งเสวย ผลมะม่วงนั้นพอตั้งอยู่ที่ปลายพระชิวหาของพระมหา

สัตว์ปรากฏดุจโอชารสทิพย์ พระมหาสัตว์ทรงคิดว่า เราจักกินให้มาก

เวลากลับ แล้วเสด็จเข้าสู่พระราชอุทยาน คนอื่น ๆ มีอุปราชเป็นต้น

จนถึงคนรักษาช้าง รักษาม้า รู้ว่าพระราชาเสวยผลมีรสเลิศแล้ว ก็เก็บเอา

ผลมากินกัน ฝ่ายคนเหล่าอื่นยังไม่ได้ผลนั้น ก็ทำลายกิ่งด้วยท่อนไม้ ทำเสีย

ไม่มีใบ ต้นก็หักโค่นลง มะม่วงอีกต้นหนึ่งตั้งอยู่งดงาม ดุจภูเขามีพรรณดัง

แก้วมณี พระราชาเสด็จออกจากพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น

จึงตรัสถามเหล่าอมาตย์ว่า นี่อะไรกัน เหล่าอมาตย์กราบทูลว่า มหาชนทราบ

ว่า พระองค์เสวยผลมีรสเลิศแล้ว ต่างก็แย่งกันกินผลมะม่วงนั้น พระราชา

ตรัสถามว่า ใบและวรรณะของต้นนี้สิ้นไปแล้ว ใบและวรรณะของต้นนอกนี้

ยังไม่สิ้นไป เพราะเหตุไร อมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ใบและวรรณะของอีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

ต้นหนึ่งไม่สิ้นไป เพราะไม่มีผล พระราชาทรงสดับดังนั้น ได้ความสังเวช

ทรงดำริว่า ต้นนี้มีวรรณะสดเขียวตั้งอยู่แล้ว เพราะไม่มีผล แต่ต้นนี้ถูกหัก

โค่นลง เพราะมีผล แม้ราชสมบัตินี้ก็เช่นกับต้นไม้มีผล บรรพชาเช่นกับ

ต้นไม้หาผลมิได้ ภัยย่อมมีแก่ผู้มีความกังวล ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีความกังวล

ก็เราจักไม่เป็นเหมือนต้นไม้มีผล จักเป็นเหมือนต้นไม่หาผลมิได้ เราจักสละ

ราชสมบัติออกบวช ทรงอธิษฐานพระมนัสมั่น เสด็จเข้าสู่พระนคร เสด็จขึ้น

ปราสาทประทับที่พระทวารปราสาท ให้เรียกเสนาบดีมาตรัสสั่งว่า จำเดิมแต่

วันนี้ ชนเหล่าอื่นนอกจากผู้บำรุงปฏิบัติผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เชิญเครื่องเสวยมา

และเป็นผู้ถวายน้ำบ้วนพระโอฐและไม้สีพระทนต์ อย่ามาหาเราเลย ท่านทั้งหลาย

จงถือตามเหล่าอมาตย์ ผู้วินิจฉัยคนเก่าว่ากล่าวราชกิจ ตั้งแต่วันนี้ไป เราจัก

เจริญสมณธรรมในพระตำหนักชั้นบน ตรัสสั่งดังนี้แล้ว เสด็จขึ้นสู่ปราสาท

เจริญสมณธรรมพระองค์เดียวเท่านั้น เมื่อกาลล่วงไปอย่างนี้ มหาชนประชุม

กันที่พระลานหลวง ไม่เห็นพระมหาสัตว์ ก็กล่าวว่า พระราชาของพวกเรา

ไม่เหมือนพระองค์เก่า แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

พระราชาผู้เป็นใหญ่ไม่เหมือนแต่ก่อน เพราะ

บัดนี้ ไม่ทรงตรวจตราเหล่าคนฟ้อนรำ ไม่ทรงใส่

พระทัยเหล่าเพลงขับ ไม่ทอดพระเนตรสัตว์ทวิบทจตุ-

บาท ไม่ประพาสพระราชอุทยาน ไม่ทอดพระเนตร

หมู่หงส์ พระองค์เป็นประหนึ่งคนใบ้ ประทับนั่งเฉย

ไม่ทรงว่าราชกิจอะไร ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิเค เป็นคำกล่าวรวมถึงสัตว์ทั้งปวง

อธิบายว่า เมื่อก่อนทรงให้ช้างชนกัน ทรงให้แพะขวิดกัน ทรงให้เหล่ามฤค

ต่อสู้กัน วันนี้ พระองค์ไม่ทอดพระเนตรสัตว์แม้เหล่านั้น. บทว่า อุยฺยาเน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

ความว่า ไม่โปรดแม้กีฬาในพระราชอุทยาน. บทว่า หเส ความว่า ไม่ทอด

พระเนตรหมู่หงส์ ในสระโบกขรณีในพระราชอุทยาน ซึ่งดาดาษไปด้วยบัว

เบญจพรรณ. บทว่า มูโคว ความว่า ได้ยินว่าพวกเขาเหล่านั้น ถามผู้เชิญ

เครื่องเสวยและผู้ปฏิบัติบำรุงว่า พระราชาทรงปรึกษาข้อความอะไร ๆ กับ พวก

ท่านบ้าง เขากล่าวว่ามิได้ทรงปรึกษาเลย เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวอย่างนี้.

พระราชาทรงมีพระมนัสไม่พัวพันในกามทั้งหลาย น้อมพระทัยไปใน

วิเวก ทรงระลึกถึงเหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้คุ้นเคยในราชสกุล ทรงดำริว่า

ใครหนอจักบอกสถานที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วยคุณมีศีล

เป็นต้น ผู้หากังวลมิได้เหล่านั้นแก่เรา แล้วทรงเปล่งอุทานด้วยคาถา ๓ คาถา

ไว้ว่า

ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ผู้ใคร่ความสุข มีศีลอัน

ปกปิดแล้ว ปราศจากเครื่องผูกคือกิเลส หนุ่มก็ตาม

แก่ก็ตาม มีตัณหาอันก้าวล่วงแล้ว อยู่ที่ไหนในวันนี้

ขอนอบน้อมแด่ท่านผู้มีปัญญาเหล่านั้น ผู้แสวงหาคุณ

ใหญ่ ท่านผู้มีปัญญาเหล่าใดเป็นผู้ไม่ขวนขวาย อยู่ใน

โลกที่มีความขวนขวาย ท่านผู้มีปัญญาเหล่านั้น ตัดเสีย

ซึ่งข่ายแห่งมัจจุซึ่งขึงไว้มั่น ผู้มีมายาทำลายเสียด้วย

ญาณไปอยู่ ใครพึงนำเราไปสู่ภูมิที่อยู่แต่งท่านผู้มี

ป่าเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขกามา ได้แก่ ผู้ใคร่ความสุข คือ

พระนิพพาน. บทว่า รโหสีลา ความว่า มีศีลอันปกปิดแล้ว คือประกาศ

คุณหาที่สุดมิได้. บทว่า วคฺคพนธา ได้แก่ เครื่องผูกคือกิเลส. บทว่า อุปารุตา

แปลว่า ไปปราศแล้ว. บทว่า ทหรา วุฑฺฒา จ แปลว่า หนุ่มก็ตาม

แก่ก็ตาม. บทว่า อจฺฉเร แปลว่า ย่อมอยู่ เมื่อพระราชาทรงอนุสรณ์ถึงคุณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

ของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น เกิดพระปีติอย่างมาก ครั้งนั้น พระราชา

เสด็จลุกจากบัลลังก์ทรงเปิดสีหบัญชรด้านทิศอุดร ผินพระพักตร์ไปทางทิศอุดร

ประดิษฐานอัญชลีไว้เหนือพระเศียร เมื่อทรงนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง-

หลายผู้ประกอบด้วยคุณอันอุดมเห็นปานนี้ จึงตรัสว่า อติกฺกนฺตวกา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติกฺกนฺตวถา ได้แก่ ผู้ละตัณหาได้แล้ว.

บทว่า มเหสิน ได้แก่ ผู้แสวงหาคุณมีสีลขันธ์เป็นต้นเป็นอันมากดำรงอยู่.

บทว่า อุสฺสุกฺกมฺหิ ได้แก่ ผู้ถึงความขวนขวายจากราคะเป็นต้น . บทว่า

มจฺจุโน ชาล ได้แก่ ข่ายคือตัณหาอันกิเลสมารขึงไว้. บทว่า ตนฺต มายาวิโน

ความว่า. ผู้มีมายายิ่งทั้งหลาย กำจัดคือทำลายด้วยญาณของตนไปอยู่. บทว่า

โก เตส คติมานเย ความว่า ใครจะพึงให้เราถึง คือพาเราไปยังนิวาสสถาน

ของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น.

เมื่อพระมหาสัตว์ทรงเจริญสมณธรรมอยู่บนประสาทนั่นแล เวลาล่วง

ไปสี่เดือน ลำดับนี้ ๆ. พระหฤทัยของพระองค์ได้น้อมไปในบรรพชาอย่างยิ่ง

พระราชนิเวศปรากฏดุจโลกันตนรก ภพทั้งสามปรากฏแก่พระองค์เหมือนถูก

ไฟไหม้ พระมหาสัตว์มีพระหฤทัยมุ่งเฉพาะต่อบรรพชา ทรงจินตนาการว่า

เมื่อไรหนอ กาลเป็นที่ละกรุงมิถิลา ซึ่งประดับตกแต่งดังพิภพแห่งท้าวสักกเทว-

ราชนี้ แล้วไปสู่ป่าหิมวันต์ทรงเพศบรรพชิต จักมีแก่เรา ทรงคิดฉะนี้แล้ว

ทรงเริ่มพรรณนากรุงมิถิลาว่า

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง ซึ่ง

นายช่างผู้ฉลาดจัดการสร้างจำแนกสถานที่เป็นพระราช

นิเวศเป็นต้น ปันส่วนออกเป็นประตูและถนนตามส่วน

ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง

กว้างขวางรุ่งเรืองด้วยประการทั้งปวง ออกบวช ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่งมี

กำแพงและหอรบเป็นอันมาก ออกบวช ความประสงค์

นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี

ป้อมและซุ้มประตูมั่นคง ออกบวช ความประสงค์

นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี

ทางหลวงตัดไว้เรียบร้อย ออกบวช ความประสงค์

นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี

ร้านตลาดในระหว่างจัดไว้อย่างดี ออกบวช ความ

ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง

เบียดเสียดไปด้วยรถเทียมโคและม้า ออกบวช ความ

ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี

ระเบียบแห่งหมู่ไม้ในที่เที่ยวสำราญ ออกบวช ความ

ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี

ระเบียบแห่งหมู่ไม้ในพระราชอุทยาน ออกบวช

ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจัก ละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี

ระเบียบแห่งปราสาทอันประเสริฐ ออกบวช ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง มี

ปราการสามชั้น พรั่งพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์

ซึ่งพระเจ้าวิเทหรัฐผู้ทรงยศ พระนามว่าโสมนัส ทรง

สร้างไว้ ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่ง ซึ่ง

พระเจ้าวิเทหรัฐทรงสะสมธัญญาหารเป็นต้น ทรงปก-

ครองโดยธรรม ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จ

ได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกรุงมิถิลาราชธานี อันมั่งคั่งอัน

หมู่ปัจจามิตรผจญไม่ได้ ทรงปกครองโดยธรรม ออก

บวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละพระราชมณเฑียรสถาน อันน่า

รื่นรมย์ จำแนกปันสถานที่ไว้สมส่วน ออกบวช ความ

ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละพระราชมณเฑียรสถาน อันน่า

รื่นรมย์ ซึ่งฉาบทาด้วยปูนขาวและดิน ออกบวช

ความประสงค์นั้นจัดสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละพระราชมณเฑียรสถาน อันน่า

รื่นรมย์ มีกลิ่นหอมฟุ้งจรุงใจ ออกบวช ความประ

สงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอดอันจำแนกปัน

สมส่วน ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอดอันฉาบทาด้วย

ปูนขาวและดิน ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จ

ได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอดอันมีกลิ่นหอม

ฟุ้งจรุงใจ ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละพระตำหนักยอดอันทาสีวิเศษ

สวยสด ลาดรดประพรมด้วยแก่นจันทน์ ออกบวช

ความประสงค์นั้นจัดสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละบัลลังก์ทอง ซึ่งลาดอย่างวิจิตร

ด้วยหนังโค ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละบัลลังก์แก้วมณี ซึ่งลาดอย่าง

วิจิตรด้วยหนังโค ออกบวช ความประสงค์นั้นจัก

สำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละผ้าฝ้ายผ้าไหม ผ้าอันเกิดแต่

โขมรัฐและเกิดแต่โกทุมพรรัฐ ออกบวช ความประ

สงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ ซึ่ง

นกจากพรากร่ำร้องแล้ว ดาดาษไปด้วยพรรณไม้น้ำ

ทั้งปทุมและอุบล ออกบวช ความประสงค์

สำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

เมื่อไรเราจักละกองช้างซึ่งประดับประดาไปด้วย

เครื่องอลังการทั้งปวง และเหล่าช้างมีสายรัดทองคำ

บริบูรณ์ด้วยเครื่องประดับศีรษะและข่ายทองคำ เหล่า

ควาญที่ประจำก็ถือโตมรและของ้าว ออกบวช ความ

ประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองม้า ซึ่งประดับประดาด้วย

สรรพาลังการ และเหล่าสินธพชาติอาชาไนย ซึ่งเป็น

พาหนะเร็ว อันเหล่าคนฝึกประจำถือดาบและแล่งศร

อยู่เป็นนิตย์ ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองรถซึ่งติดเครื่องรบ ชักธง

ประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ

ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำรถถือศร

สวมเกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองรถทองคำซึ่งติดเครื่องรบชัก

ธงประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ

ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำถือศรสวม

เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละรถเงิน ซึ่งติดเครื่องรบ ชักธง

ประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำรถถือศร

สวมเกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองรถม้า ซึ่งติดเครื่องรบชักธง

ประจำ หุ้มหนึ่งเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ

ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำถือศรสวม

เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองรถเทียมอูฐ ซึ่งติดเครื่องรบ

ชักธงประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับ

ประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคนประจำถือศรสวม

เกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองรถเทียมแพะ แกะ เนื้อ โค

ซึ่งติดเครื่องรบ ชักธงประจำ หุ้มหนังเสือเหลืองและ

เสือโคร่ง ประดับประดาด้วยอลังการอันวิจิตร มีคน

ประจำถือศรสวมเกราะ ออกบวช ความประสงค์นั้น

จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละกองฝึกช้าง ถือโตมรและของ้าว

กองฝึกม้าทรงเครื่องประดับทองคำ กองพลธนูถือ

คันธนูพร้อมทั้งแล่งธนู เหล่าราชบุตรทรงเครื่อง

ประดับทองคำ ทั้งสี่เหล่านี้ล้วนประดับด้วยเครื่อง

สรรพาลังการ เป็นผู้กล้าหาญสวมเกราะมีวรรณะเขียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

ส่วนราชบุตรสวมเกราะอันวิจิตรถือกริชทอง ออกบวช

ความประสงค์นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละหมู่พราหมณ์ผู้ครองผ้าเครื่อง

บริขารครบครัน ทาตัวด้วยแก่นจันทน์เหลือง ทรงผ้า

มาแต่แคว้นกาสีอันอุดม และนางสนมกำนัลประมาณ

๗๐๐ คน ซึ่งประดับด้วยเครื่องสรรพาลังการ เอวบาง

สำรวมดีแล้ว เมื่อฟังคำสั่ง พูดจาน่ารัก ออกบวช

ความประสงค์นั้น จักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักละภาชนะทองคำน้ำหนักร้อยปัลละ

จำหลักลวดลายนับด้วยร้อย ออกบวช ความประสงค์

นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรกองช้างซึ่งประดับประดาด้วยเครื่อง

อลังการทั้งปวงเป็นต้น จนถึงเหล่านางสนมกำนัลผู้

เชื่อฟังคำสั่ง พูดจาน่ารัก เป็นที่สุด ผู้ติดตามเราไป

เขาจักไม่ติดตามเราอันใด ความที่พวกนั้น ๆ ไม่ติด

ตามเรานั้น จักมีจักเป็นได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักได้ปลงผมห่มผ้าสังฆาฏิ อุ้มบาตร

เที่ยวบิณฑบาต จักทรงผ้าสังฆาฏิอันทำด้วยผ้าบังสุกุล

ที่เขาทิ้งไว้ตามถนนหนทาง เมื่อฝนตกเจ็ดวัน จักมี

จีวรเปียกซุ่มเที่ยวบิณฑบาต จักจาริกไปตามต้นไม้

ตามราวป่า ทั้งกลางวันและกลางคืน เที่ยวไปโดยไม่

เหลียวแลถึงกิจการอันใดอันหนึ่ง จักละความกลัว

ความขลาดให้เด็ดขาด จักอยู่ผู้เดียวตามภูเขาและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

สถานที่อันลำบาก จักทำจิตให้ตรง ดุจคนดีดพิณ

ดีดสายทั้งเจ็ดให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ความประสงค์

นั้นจักสำเร็จได้เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรเราจักตัดเสียซึ่งกามสังโยชน์ อันเป็นของ

ทิพย์และของมนุษย์ ดุจช่างรถตัดรองเท้าโดยรอบ

ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กทา เป็นบทกำหนดเวลา. บทว่า ผิต

ความว่า แพร่ คือเต็มด้วยผ้าและเครื่องประดับเป็นต้น. บทว่า วิภตฺต

ภาคโส มต ความว่า อันนายช่างผู้สร้างพระนครผู้ฉลาด แบ่งสถานที่เป็น

พระราชนิเวศเป็นต้น ปันส่วนเป็นประตูและถนน. บทว่า ต กทา สุ

ภวิสฺสติ ความว่า การละพระนครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้น จักมีได้เมื่อไร.

บทว่า สพฺพโต ปภ ความว่า ประกอบด้วยแสงสว่างแห่งเครื่องประดับ

โดยรอบ. บทว่า พหุปาการโตรณ ความว่า ประกอบด้วยกำแพงหนาแน่น

และประตูหอรบ. บทว่า ทฬฺหมฏฏาลโกฏฺก ความว่า ประกอบด้วยป้อม

และซุ้มประตูมั่นคง. บทว่า ปีฬิต ความว่า เกลื่อนกล่น. บทว่า ติปุร

ความว่า ประกอบด้วยกำแพงสามชั้น คือ มีกำแพงสามชั้น อีกอย่างหนึ่ง

ความว่า ล้อมรอบสามรอบ. บทว่า ราชพนฺธนึ ความว่า เป็นเมืองที่เต็น

ไปด้วยพระบรมวงศานุวงศ์สามชั้นทีเดียว บทว่า โสมนสฺเสน ความว่า

พระเจ้าวิเทหราชมีพระนามอย่างนี้. บทว่า นิจฺจิเต ได้แก่ สะสมธัญญาหาร

เป็นต้นอุดมสมบูรณ์. บทว่า อชฺเชยฺย ได้แก่ หมู่ปัจจามิตรเอาชนะไม่ได้.

บทว่า จนฺทนโผสิเต ได้แก่ ประพรมด้วยจันทน์แดง. บทว่า โขมโกทุมฺ-

พรานิ ได้แก่ ผ้าที่เกิดแต่โขมรัฐและโกทุมพรรัฐ. บทว่า หตฺถิคุมฺเพ

ได้แก่ โขลงช้าง. บทว่า เหมกปฺปนิวาสเส ได้แก่ ประกอบด้วยของสำเร็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

รูปกล่าวคือเครื่องประดับศีรษะล้วนแล้วไปด้วยทอง และข่ายทอง บทว่า

คามนีเยภิ ได้แก่ เหล่าหัตถาจารย์. บทว่า อาชานีเย จ ชาติเย ได้แก่

ฝูงม้าทั้งหลายเช่นนั้น ชื่ออาชาไนย เพราะรู้เหตุและมิใช่เหตุ ชื่อมีชาติ

เพราะสมบูรณ์ด้วยชาติ. บทว่า คามนีเยภิ ได้แก่ เหล่าอัศวาจารย์. บทว่า

อินฺทิยา จาปธาริภิ ได้แก่ ทรงไว้ซึ่งดาบและแล่งศร. บทว่า รถเสนิโย

ได้แก่ เวยฺยคฺเฆ บทว่า สนฺนทฺเธ ได้แก่ สวมเกราะด้วยดี. บทว่า ทีเป

อโถปิ เวยฺยคฺเฆ ได้แก่ หุ้มหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง. บทว่า คามนีเยภิ

ได้แก่ เหล่ารถาจารย์. บทว่า สชฺฌุรเถ ได้แก่ รถเงิน ประกอบรถ

เทียมแพะ รถเทียมแกะ รถเทียมเนื้อ เพื่อความงดงาม. บทว่า อริยคเฆ

ได้แก่ หมู่พราหมณ์ ได้ยินว่า พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีวาจาระประเสริฐใน

เวลานั้น เพราะเหตุนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวถึงพราหมณ์เหล่านั้นอย่างนี้

บทว่า หริจนฺทนลิตฺตงฺเค ได้แก่ มีสรีระไล้ทาด้วยจันทน์สีทอง พระ-

มหาสัตว์กล่าวว่า สตฺตสตา หมายเอาเฉพาะภริยาที่รักเท่านั้น บทว่า

สุสญฺา ได้แก่ สำรวมแล้วด้วยดี. บทว่า อสฺสวา ได้แก่ ทำตามถ้อยคำ

บทว่า สตปลฺล ได้แก่ สร้างด้วยทองคำหนักร้อยปัสละ. บทว่า กส ได้แก่

ถาด. บทว่า สตราชิก ได้แก่ ประกอบด้วยลวดลายด้านหลังร้อยลาย บทว่า

ยนฺต ม ความว่า ผู้ติดตามทั้งหลาย เมื่อไรจักไม่ติดตามเราผู้ไปไพรสณฑ์

คนเดียวเท่านั้น. บทว่า สตฺตาห เมเฆ ได้แก่ เมื่อเมฆฝนตั้งขึ้นตลอด

เจ็ดวัน ความว่า เวลาฝนตกตลอดเจ็ดวัน. บทว่า สพฺพณฺห แปลว่า

ตลอดคืนตลอดวัน. บทว่า วีณรุชฺชโก แปลว่า ผู้บรรเลงพิณ. บทว่า

กามสโยชเน ได้แก่ กามสังโยชน์. บทว่า ทิพฺเพ แปลว่า เป็นของทิพย์

บทว่า มานุเส แปลว่า เป็นของมนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

ได้ยินว่า พระมหาสัตว์บังเกิดในกาลที่คนมีอายุหมื่นปี เสวยราชสมบัติ

เจ็ดพันปี ได้ทรงผนวชในเมื่อพระชนมายุยังเหลืออยู่ประมาณสามพันปี ก็เมื่อ

จะทรงผนวช ได้เสด็จอยู่ในฆราวาสวิสัยสี่เดือน จำเดิมแต่กาลที่ได้ทอด-

พระเนตรเห็นต้นมะม่วงที่ประตูพระราชอุทยาน ทรงดำริว่า เพศแห่งบรรพชิต

ประเสริฐกว่าเพศแห่งพระราชานี้ เราจักบวช จึงตรัสสั่งราชบุรุษผู้รับใช้เป็น

ความลับว่า เจ้าจงนำผ้าย้อมฝาดและบาตรดินมาแต่ร้านตลาด อย่าให้ใคร ๆ รู้

ราชบุรุษนั้นได้ทำตามรับสั่ง พระราชาโปรดให้เรียกเจ้าพนักงานภูษามาลามา

ให้ปลงพระเกศาและพระมัสสุ พระราชทานบ้านส่วยแก่ภูษามาลาแล้วโปรดให้

กลับไป ทรงนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ทรงห่มผืนหนึ่ง ทรงพาดผืนหนึ่งที่พระ-

อังสา สวมบาตรดินในถุงคล้องพระอังสา ทรงธารพระกรสำหรับคนแก่แต่

ที่นั้น เสด็จจงกรมไปมาในปราสาทด้วยปัจเจกพุทธลีลาสิ้นวันเล็กน้อย ทรง

เปล่งอุทานว่า โอ บรรพชาเป็นสุข เป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นสุขอันประเสริฐ.

พระมหาสัตว์เสด็จประทับอยู่ในปราสาทนั้นแล ตลอดวันนั้น วัน

รุ่งขึ้นทรงปรารภจะเสด็จลงจากปราสาทในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น คราวนั้น

พระนางสีวลีเทวีตรัสเรียกสตรีคนสนิทเจ็ดร้อยเหล่านั้นมารับสั่งว่า พวกเราไม่

ได้เห็นพระราชาของเราทั้งหลาย ล่วงมาได้สี่เดือนแล้ว วันนี้เราทั้งหลายจัก

พากันไปเฝ้าท้าวเธอ ท่านทั้งหลายพึงตกแต่งด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง แสดง

เยื้องกรายมีกิริยาอาการร่าเริง เพ็ดทูล ขับร้องอย่างสตรีเป็นต้นตามกำลัง

พยายามผูกพระองค์ไว้ด้วยเครื่องผูกดือกิเลส แม้พระเทวีก็ทรงประดับตกแต่ง

พระองค์ แล้วเสด็จขึ้นปราสาทกับด้วยสตรีเหล่านั้น ด้วยทรงคิดว่า จักเฝ้า

พระราชา แม้ทอดพระเนตรเห็นพระราชาเสด็จลงอยู่ ก็ทรงจำไม่ได้ ถวาย

บังคมพระราชาแล้ว ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยทรงสำคัญว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

บรรพชิตนี้จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้ามาถวายโอวาทพระราชา ฝ่ายพระมหาสัตว์

เสด็จลงจากปราสาท ฝ่ายพระเทวีเมื่อเสด็จในรูปยังปราสาท ทอดพระเนตร

เห็นพระเกศาของพระราชามีสีดุจปีกแมลงภู่ บนหลังพระที่สิริไสยาสน์ และ

ห่อเครื่องราชาภรณ์ จึงตรัสว่า บรรพชิตนั้น ไม่ใช่พระปัจเจกพุทธเจ้า จัก

เป็นพระราชสวามีที่รักของพวกเรา มาเถิดท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายจักทูล

วิงวอนพระองค์ให้เสด็จกลับ จึงเสด็จลงจากปราสาทตามไปทันพระราชาที่หน้า

พระลาน ครั้นถึงจึงสยายเกศาเรี่ยรายเบื้องพระปฤษฎางค์ กับด้วยสตรีทั้งปวง

เหล่านั้น ข้อนทรวงด้วยพระหัตถ์ทั้งสองกราบทูลว่า พระองค์ทรงทำการ

อย่างนี้ เพราะเหตุไร พระเจ้าข้า ทรงคร่ำครวญติดตามพระราชาไปอย่าง

น่าสงสารยิ่ง.

ครั้งนั้น พระนครทั้งสิ้นก็เอิกเกริกโกลาหล ฝ่ายชาวเมืองเหล่านั้น

กล่าวว่า ได้ยินว่า พระราชาของพวกเราทรงผนวชเสียแล้ว พวกเราจักได้

พระราชาผู้ดำรงอยู่ในยุติธรรมเห็นปานนี้แต่ไหนอีกเล่า แล้วต่างร้องให้ที่ความ

พระราชาไป.

พระบรมศาสดาเมื่อทรงทำให้แจ้งซึ่งเสียงคร่ำครวญของหญิงเหล่านั้น

และความที่พระราชาทรงละหญิงแม้ที่กำลังคร่ำครวญอยู่เหล่านั้นเสีย เสด็จไป

เพราะเหตุการณ์นั้น จึงตรัสว่า

พระสนมนารีเจ็ดร้อยเหล่านั้น ประดับด้วย

สรรพาลังการ เอวบางสำรวมดี เชื่อถ้อยฟังคำ พูดจา

น่ารัก ประคองพาหาทั้งสองกันแสง คร่ำครวญว่า

พระองค์ละพวกข้าพระองค์ เพราะเหตุไร พระราชา

ทรงละพระสนมนารีเจ็ดร้อยเหล่านั้น ซึ่งประดับด้วย

เครื่องอลังการทั้งปวง เอวบางสำรวมดี เชื่อถ้อยฟังคำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

พูดจาน่ารัก เสด็จไปมุ่งการผนวชเป็นสำคัญ พระราชา

ทรงละภาชนะทองคำหนักร้อยปัลละ มีลวดลายนับ

ด้วยร้อย ทรงอุ้มบาตรดินนั้น ให้เป็นอันอภิเษกครั้ง

ที่สอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปคฺคยฺห ได้แก่ ยกขึ้นแล้ว. บทว่า

สมฺปทวี ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้ามหาชนกราชนั้นทรงทิ้ง

พระสนมนารีเจ็ดร้อยเหล่านั้นซึ่งรำพันเพ้ออยู่ว่า พระองค์ละพวกข้าพระองค์

เสด็จไปแต่ผู้เดียวทำไม ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความผิดอะไรหรือ พระองค์

มุ่งเสด็จไปดุจถูกท้วงว่า พระองค์ปราศจากสมบัติเสด็จออกผนวช. บทว่า ต

ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นั้น ทรงอุ้มบาตรดินนั้นให้

เป็นอันอภิเษกครั้งที่สอง เสด็จออกอยู่.

พระนางสีวลีเทวีแม้ทรงคร่ำครวญอยู่ก็ไม่อาจยังพระราชาให้เสด็จกลับ

ได้ ทรงคิดว่า มีอุบายอยู่อย่างหนึ่ง จึงให้เรียกมหาเสนาคุตมาเฝ้า แล้วตรัสสั่ง

ว่า ท่านจงจุดไฟเผาเรือนเก่าศาลาเก่า ในส่วนทิศเบื้องหน้าที่พระราชาเสด็จไป

จงรวบรวมหญ้าและใบไม้นำมาสุมให้เป็นควันมากในที่นั้น ๆ มหาเสนาคุตได้

ทำอย่างนั้น พระนางสีวลีเทวีเสด็จไปสู่สำนักของพระราชา หมอบแทบพระ

ยุคลบาทกราบทูลความที่ไฟไหม้กรุงมิถิลา ตรัสสองคาถาว่า

คลังทั้งหลาย คือคลังเงิน คลังทอง คลังแก้ว

มุกดา คลังแก้วไพฑูรย์ คลังแก้วมณี คลังสังข์คลัง

ไข่มุกค์ คลังผ้า คลังจันทน์เหลือง คลังหนังเสือ

คลังงาช้าง คลังพัสดุสิ่งของ คลังทองแดง คลังเหล็ก

เป็นอันมาก มีเปลวไฟเสมอเป็นอันเดียวกันอย่างน่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

กลัว แม้อยู่คนละส่วนก็ไหม้หมด ของพระองค์โปรด

เสด็จกลับดับไฟเสียก่อน พระราชทรัพย์ของพระองค์

นั้นอย่าได้ฉิบหายเสียเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เภสฺมา แปลว่า น่ากลัว. บทว่า

อคฺคิสมาชาลา ความว่า เรือนทั้งหลายของมนุษย์ นั้น ๆ อันไฟไหม้อยู่

ไฟรุ่งเรื่องด้วยเปลวเสมอเป็นอันเดียวกัน. บทว่า โกสา ได้แก่ เรือนคลัง

เงินเป็นต้น. บทว่า ภาคโส ความว่า พระนางสีวลีเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ คลังของเราทั้งหลายเหล่านั้น แม้แบ่งไว้เป็นส่วน ๆ ก็ถูกไฟไหม้

หมด. บทว่า โลห ได้แก่ ทองแดงเป็นต้น. บทว่า มา เต ต วินสฺสา

ธน ความว่า ขอทรัพย์ของพระองค์นั้นจงอย่าพินาศ อธิบายว่า มาเถิด

ขอพระองค์จงดับไฟนั้น พระองค์จะเสด็จไปภายหลัง พระองค์จักถูกครหาว่า

เสด็จออกไปโดยไม่เหลียวแลพระนครที่กำลัง ถูกไฟไหม้อยู่เลย พระองค์จักมี

ความวิปฏิสารเพราะความละอายนั้น มาเถิด พระองค์โปรดสั่งเหล่าอมาตย์ให้

ดับไฟเถิด พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสกะพระนางสีวลีว่า พระเทวี เธอตรัส

อะไรอย่างนั้น ความกังวลด้วยของเหล่าใดมีอยู่ ความกังวลนั้นด้วยของเหล่า

นั้นเพลิงเผาผลาญอยู่ แต่เราทั้งหลายหาความกังวลมิได้ เมื่อจะทรงแสดงข้อ

ความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า

เราทั้งหลายผู้ไม่มีความกังวล มีชีวิตเป็นสุขดี

หนอ เมื่อกรุงมิถิลาถูกเพลิงเผาผลาญอยู่ ของอะไร ๆ

ของเรามิได้ถูกเผาผลาญเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นตฺถิ กิญฺจน ความว่า ความกังวล

กล่าวคือกิเลสเครื่องกังวลของเราทั้งหลายเหล่าใด ไม่มี เราทั้งหลายเหล่านั้น

มีชีวิตเป็นสุข เป็นสุขดีหนอ เพราะไม่มีความกังวลนั้น ด้วยเหตุนั้น พระ

มหาสัตว์จึงตรัสว่า เมื่อกรุงมิถิลาถูกเพลิงเผาผลาญอยู่ ของอะไร ๆ ของเรา

มิได้ถูกเผาผลาญเลย ความว่า เราไม่เห็นสิ่งของส่วนตัวของเราแม้หน่อยหนึ่ง

ถูกเผาผลาญ.

ก็แลครั้น ตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ได้เสด็จออกทางประตูทิศอุดร

พระสนมกำนัลใน ทั้งเจ็ดร้อยแม้เหล่านั้นก็ออกตามเสด็จไป พระนางสีวลีเทวี

ทรงคิดอุบายอีกอย่างหนึ่ง จึงตรัสสั่งอมาตย์ทั้งหลายว่า พวกท่านจงแสดงเหตุ

การณ์ให้เป็นเหมือนโจรฆ่าชาวบ้านและปล้นแว่นแคว้น อมาตย์ได้จัดการตาม

กระแสรับสั่ง ขณะนั้น คนทั้งหลายก็แสดงพวกคนถืออาวุธวิ่งแล่นไป ๆ แต่

ที่นั้น ๆ เป็นราวกะว่าปล้นอยู่ รดน้ำครั่งลงในสรีระเป็นราวกะว่าถูกประหาร

ให้นอนบนแผ่นกระดาน เป็นราวกะว่า ตายถูกน้ำพัดไป ต่อพระราชา มหาชน

ทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช พวกโจรปล้นแว่นแคว้น ฆ่าข้าแผ่นดินของ

พระองค์ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ยังดำรงพระชนม์อยู่ แม้พระเทวี ก็ถวายบังคม

พระราชา ตรัสคาถาเพื่อให้เสด็จกลับว่า

เกิดโจรป่าขึ้นแล้ว ปล้นแว่นแคว้นของพระองค์

มาเถิด พระองค์ ขอพระองค์จงเสด็จกลับเถิด แว่น

แคว้นนี้ อย่าพินาศเสียเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏวิโย ความว่า ข้าแต่มหาราช เมื่อ

พระองค์ยังดำรงพระชนม์อยู่นี่แหละ เกิดโจรป่าขึ้นแล้ว. บทว่า รฏ ความว่า

พวกโจรทำลายแว่นแคว้นของพระองค์ อันธรรมรักษาแล้วเห็นปานนั้น มา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

เถิด พระองค์ ขอพระองค์จงเสด็จกลับเถิด แว่นแคว้นของพระองค์นี้ จง

อย่าพินาศ.

พระราชาทรงสดับ ดังนี้นั้นแล้วมีพระดำริว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ จะไม่

เกิดโจรปล้นทำลายแว่นแคว้นเลย นี้จักเป็นการกระทำของพระสีวลิเทวี เมื่อ

จะทรงทำให้พระนางจำนนต่อถ้อยคำ จึงตรัสว่า

เราทั้งหลายผู้ไม่มีความกังวล มีชีวิตเป็นสุขดี

หนอ เมื่อแว่นแคว้นถูกโจรปล้น พวกโจรมิได้นำ

อะไร ๆ ของเราไปเลย เราทั้งหลายผู้ไม่มีความกังวล

มีชีวิตเป็นสุขดีหนอ เราทั้งหลายจักมีปีติเป็นภักษา

เหมือนเทวดาชั้นอาภัสรา ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิลุมฺปมานมฺหิ ได้แก่ ถูกโจรปล้น อยู่.

บทว่า อากสฺสรา ยถา ความว่า พรหมเหล่านั้นเป็นผู้มีปีติเป็นภักษา

ยังกาลเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุขในสมาบัติ ฉันใด เราทั้งหลายจักยังเวลาให้

ล่วงไป ฉันนั้น.

แม้เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว มหาชนก็ยังติดตามพระองค์ไปอยู่

นั่นเอง พระมหาสัตว์มีพระดำริว่า มหาชนเหล่านั้นไม่ปรารถนาจะกลับ เราจักให้

มหาชนนั้นกลับ เมื่อทรงดำเนินทางไปได้กึ่งคาวุต พระองค์ จึงทรงหยุดพัก

ประทับยืนในทางใหญ่ ตรัสถามอมาตย์ทั้งหลายว่า ราชสมบัตินี้ของใครอมาตย์

ทั้งหลายกราบทูลว่า ของพระองค์ ท้าวเธอจึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย

จงลงราชทัณฑ์แก่ผู้ทำรอยขีดนี้ให้ขาด ตรัสฉะนี้แล้วทรงเอาธารพระกรลากให้

เป็นรอยขีดขวางทาง ใคร ๆ ไม่สามารถทำรอยขีด ที่พระราชาผู้มีพระเดชา-

นุภาพได้ทรงขีดไว้ให้ขาดลบเลือน มหาชนทำรอยขีดเหนือศีรษะคร่ำครวญกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

อย่างเหลือเกิน แม้พระนางสีวลีเทวีก็ไม่ทรงสามารถทำรอยขีดนั้นให้เลือนหาย

ได้ ทอดพระเนตรเห็นพระราชาหันพระปฤษฎางค์เสด็จไปอยู่ ไม่สามารถจะ

กลั้นโศกาดูร ก็ข้อนพระอุระล้มขวางทางใหญ่กลิ้งเกลือกไปมาล่วงเลยรอยขีด

นั้นเสด็จไป มหาชนเข้าใจว่า เจ้าของรอยขีดได้ทำลายเจ้าของรอยขีดแล้ว จึง

พากัน โดยเสด็จไปตามบรรดาที่พระเทวีเสด็จไป พระมหาสัตว์ทรงบ่ายพระ

พักตร์เสด็จไปหิมวันตประเทศทางทิศอุดร ฝ่ายพระนางสีวลีเทวีก็พาเสนาพล

พาหนะทั้งปวง ตามเสด็จไปด้วย พระราชาไม่อาจที่จะให้มหาชนกลับ ได้เสด็จ

ไปสิ้นทางประมาณหกสิบโยชน์.

ในกาลนั้น มีดาบสรูปหนึ่งชื่อนารทะ อยู่ที่สุวรรณดูหาในหิมวันต

ประเทศ ให้เวลาล่วงไปด้วยสุขเกิดแต่ฌานอันสัมปยุตด้วยอภิญญาห้า ล่วง

เจ็ดวันก็ออกจากสุขเกิดแต่ฌาน เปล่งอุทานว่า โอ เป็นสุข เป็นสุขอย่างยิ่ง

ดาบสนั้นตรวจดูสัตวโลกด้วยทิพยจักษุว่า ใคร ๆ ในพื้นชมพูทวีปแสวงหา

สุขนี้ มีบ้างหรือหนอ ก็เห็นพระมหาชนกผู้พุทธางกูร จึงคิดว่า พระมหา-

ชนกนั้นเป็นพระราชาออกมหาภิเนษกรมณ์ ไม่สามารถจะยังมหาชนราชบริ-

พาร มีพระนางสีวลีเทวีเป็นประมุขให้กลับพระนครได้ ข้าราชบริพารนั้นพึง

ทำอันตรายแก่พระองค์ เราจักถวายโอวาทแก่พระองค์ เพื่อให้ทรงสมาทาน

มั่น โดยยิ่งโดยประมาณ จึงไปด้วยกำลังฤทธิ์ สถิตอยู่ในอากาศตรงเบื้องพระ

พักตร์พระราชา กล่าวคาถาให้พระองค์เกิดอุทสาหะว่า

ความกึกก้องของประชุมชนใหญ่นี้ เพื่ออะไร

นั่นใครหนอมากับท่าน เหมือนเล่นกันอยู่ในบ้าน

สมณะ อาตมาขอถามท่าน ประชุมชนนี้แวดล้อมท่าน

เพื่ออะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมฺเหโส ความว่า ความกึกก้องแห่ง

ประชุมชนหมู่ใหญ่มีโขลงช้างเป็นต้นนี้ ในเพราะเหตุอะไร. บทว่า กานุ

คาเมว กีฬิยา ความว่า นั่นใครหนอมากับท่าน ราวกะว่าเล่นกีฬากันอยู่

ในบ้าน. บทว่า กตฺเถโส ได้แก่ มหาชนนี้เพื่ออะไร. บทว่า อภิสโฏ

ความว่า มหาชนประชุมกันแวดล้อมท่านมา นารทดาบสถามดังนี้.

พระราชาตรัสตอบว่า

ประชุมชนนี้ตามข้าพเจ้า ผู้ละพวกเขาไปในที่นี้

ข้าพเจ้าผู้ล่วงสีมาคือกิเลสไปเพื่อถึงมโนธรรม กล่าว

คือญาณของมุนีผู้ไม่เกื้อกูลแก่เหย่าเรือน ผู้เจือด้วย

ความเพลิดเพลินทั้งหลาย ซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ

อยู่ ท่านรู้อยู่ จะถามทำไม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มม ความว่า ข้าพเจ้าละชนไป ซึ่ง

ข้าพเจ้านั้นผู้ละไป. บทว่า เอตฺถ ความว่า มหาชนนี้ห้อมล้อมแล้ว คือ

ติดตามมาในที่นี้. บทว่า สีมาติกฺกมน ยนฺต ความว่า ทำไมท่านจึงถาม

ข้าพเจ้า ผู้ล่วงสีมาคือกิเลส ไปคือบวชเพื่อถึงมโนธรรมกล่าวคือญาณของมุนี

ผู้ไม่เกื้อกูลแก่เหย้าเรือน. บทว่า มิสฺส นนฺทีหิ คจฺฉนฺต ความว่า

ท่านรู้หรือว่าไม่รู้ว่าข้าพเจ้าบวชแล้ว จึงถามข้าพเจ้าผู้ยังไม่ละความเพลิดเพลิน

เจือด้วยความเพลิดเพลินทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ ไปอยู่ คือท่านไม่

ได้ฟังข่าวบ้างหรือว่า ได้ยินว่า พระมหาชนกทั้งวิเทหรัฐบวช.

ลำดับนั้น นารทดาบสกล่าวคาถาอีก เพื่อต้องการให้พระมหาสัตว์

สมาทานมั่น ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

พระองค์เพียงแต่ทรงสรีระนี้ จะสำคัญว่า เรา

ข้ามพ้นกิเลสแล้วหาได้ไม่ กรรมคือกิเลสนี้ จะพึง

ข้ามได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หาได้ไม่ เพราะยังมีอัน-

ตรายอยู่มา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาสฺสุ ติณฺโณ อมญฺิตฺโถ ความว่า

ท่านทรงสรีระนี้ คือ ครองบรรพชิตบริขารและผ้ากาสาวะ อย่าได้เข้าใจว่า

เราข้ามแล้ว คือ ก้าวล่วงแล้วซึ่งแดนคือกิเลส ด้วยเหตุเพียงถือเพศบรรพชิตนี้.

บทว่า อติรเณยฺยมิท ความว่า ขึ้นชื่อว่ากิเลสนี้ ไม่ใช่จะข้ามได้ด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้. บทว่า พหู หิ ปริปนฺถโย ความว่า เพราะว่าอันตรายคือ

กิเลสของท่าน ที่ตั้งกั้นทางสวรรค์ ยังมีอยู่มาก.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า

ข้าพเจ้าใดปรารถนาเฉพาะ ซึ่งกามทั้งหลาย ใน

มนุษยโลกอันบุคคลเห็นแล้ว ก็หาไม่เลย ในเทวโลก

อันบุคคลไม่เห็นแล้ว ก็หาไม่ อันตรายอะไรหนอจะ

พึงมีแก่ข้าพเจ้านั้น ซึ่งมีปกติอยู่ผู้เดียวอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย เนว ทิฏฺเ นาทิฏฺเ ความว่า

ข้าพเจ้าใดปรารถนาเฉพาะซึ่งกามทั้งหลาย ในมนุษยโลกอัน บุคคลเห็นแล้ว

ก็หามิได้เลย ในเทวโลกอันบุคคลไม่เห็นแล้ว ก็หามิได้เลย อันตรายอะไรหนอ

จะพึงมีแก่ข้าพเจ้านั้น ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียวอย่างนี้ พระมหาสัตว์ตรัสดังนี้.

ลำดับนั้น นารทดาบสเมื่อจะแสดงอันตรายทั้งหลายแก่พระมหาสัตว์

นั้น จึงกล่าวคาถาว่า

อันตรายมากทีเดียว คือ ความหลับ ความ

เกียจคร้าน ความง่วงเหงา ความไม่ชอบใจ ความ

เมาอาหาร ตั้งอยู่ในสรีระ อาศัยอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิทฺทา ได้แก่ หลับอย่างลิง. บทว่า

ตนฺทิ ได้แก่ ความเกียจคร้าน. บทว่า อรติ ได้แก่ ความกระสัน. บทว่า

ภตฺตสมฺมโท ได้แก่ ความกระวนกระวายเพราะภัตตาหาร ท่านอธิบายไว้

ดังนี้ ดูก่อนสมณะ พระองค์เป็นผู้มีพระรูปงามน่าเลื่อมใส มีผิวพรรณดุจ

ทองคำ เนื้อพระองค์รับสั่งว่า อาตมาละราชสมบัติออกทรงผนวช คนทั้งหลาย

จักถวายบิณฑบาตอันโอชาประณีตแก่พระองค์ พระองค์ทรงรับพอเต็มบาตร

เสวยพอควรแล้วเข้าสู่บรรณศาลา บรรทม ณ ที่สาดไม้ หลับกรนอยู่ตื่นในระหว่าง

พลิกกลับไปกลับมา ทรงเหยียดพระหัตถ์และพระบาท ลุกขึ้นจับราวจีวร

เกียจคร้านไม่จับ ไม้กวาดกวาดอาศรม ไม่นำน้ำดื่มมา บรรทมหลับอีก ตรึก

ถึงกามวิตก กาลนั้นก็ไม่พอพระทัยในบรรพชา ความกระวนกระวายเพราะ

ภัตตาหารจักมีแต่พระองค์ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อาวสนฺติ สรีรฏฺา

ความว่า อันตรายเหล่านั้นมีประมาณเท่านี้ ตั้งอยู่ในสรีระของท่านอาศัยอยู่ คือ

บังเกิดในสรีระของท่านนี่แหละ นารทดาบสแสดงดังนี้.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะตรัสชมนารทดาบสนั้น จึงตรัสคาถาว่า

ข้าแต่พราหมณี ท่านผู้เจริญพร่ำสอนข้าพเจ้า

ดีนักหนา ข้าพเจ้าขอถามท่านพราหมณ์นี่แหละ ข้าแต่

ท่านผู้นิรทุกะ ท่านเป็นใครหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺราหฺมณ อนุสาสสิ ความว่า

ข้าแต่พราหมณ์ ท่านพร่ำสอนข้าพเจ้าดีนักหนา.

ลำดับนั้น นารทดาบสกล่าวว่า

ชนทั้งหลายรู้จักอาตมาโดยนามว่า นารทะ โดย

โคตรว่า กัสสปะ ดังนี้ อาตมามาในสถานใกล้พระ-

องค์ผู้เจริญ ด้วยรู้สึกว่า การสมาคมด้วยสัตบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

ทั้งหลาย ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ พระองค์จงทรง

ยินดีในบรรพชานี้ วิหารธรรมจงเกิดแก่พระองค์ กิจ

อันใดยังพร่องด้วยศีล การบริกรรมและฌาน พระองค์

จงทรงบำเพ็ญกิจอันนั้นให้บริบูรณ์ จงประกอบด้วย

ความอดทนและความสงบระงับ อยู่ถือพระองค์ว่า

เป็นกษัตริย์ จงทรงคลายออกเสียซึ่งความยุบลงและ

ความฟูขึ้น จงทรงกระทำโดยเคารพซึ่งกุศลกรรมบถ

วิชชาและสมณธรรม แล้วบำเพ็ญพรหมจรรย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิทู ความว่า ชนทั้งหลายรู้จักอาตมา

โดยชื่อและโคตรว่า กัลสปะ. บทว่า สพฺภิ ความว่า ขึ้นชื่อว่าการสมาคม

กับด้วยบัณฑิตทั้งหลายเป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จ เพราะเหตุนั้น อาตมา

จึงมา. บทว่า อานนฺโท ความว่า ความเพลิดเพลิน คือความยินดี ความ

ชอบใจ ในบรรพชานี้ จงมีแก่ท่านนั้น อย่าเบื่อหน่าย. บทว่า วิหาโร

ได้แก่ พรหมวิหารธรรมสี่อย่าง. บทว่า อุปวตฺตตุ ได้แก่ จงบังเกิด.

บทว่า ยทูน ความว่า กิจด้วยศีล ด้วยกสิณบริกรรม ด้วยฌานนั้นใดยัง

หย่อน พระองค์จงยังกิจนั้นให้บริบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า

ขนฺตยา อุปสเมน จ ความว่า ท่านอย่ามีมานะว่าเราเป็นพระราชาบวช

จงเป็นผู้ประกอบด้วยอธิวาสนขันติและความสงบระงับกิเลส. บทว่า ปสารย

ความว่า อย่ายกตน อย่าถือพระองค์. บทว่า สนฺนตฺตญฺจ อุนฺนตฺตญฺจ

ความว่า จงคลายอวมานะที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า เรามีชาติตระกูลหรือ

และอติมานะที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่าเราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ. บทว่า กมฺม

ได้แก่ กุศลกรรมบถสิบ. บทว่า วิชฺช ได้แก่ ญาณที่เป็นไปในอภิญญาห้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

และสมาบัติแปด. บทว่า ธมฺม ได้แก่ สมณธรรมกล่าวคือกสิณบริกรรม

บทว่า สกฺกตฺวาน ปริพฺพช ความว่าจงทำโดยเคารพซึ่งคุณธรรมเหล่านั้นเป็น

ไปหรือจงทำโดยเคารพซึ่งคุณธรรมเหล่านี้ สมาทานให้มั่นบำเพ็ญพรหมจรรย์

คือจงรักษาบรรพชา อย่าเบื่อหน่าย.

นารทดาบสนั้นถวายโอวาทพระมหาสัตว์อย่างนี้แล้ว กลับไปที่อยู่ของ

ตนทางอากาศ.

เมื่อนารทดาบสไปแล้ว มีดาบสอีกรูปหนึ่งชื่อมิคาชินะ ออกจาก

สมาบัติตรวจดูโลกเห็นพระมหาสัตว์ จึงมาแล้วดุจกัน ด้วยคิดว่า เราจักถวาย

โอวาทพระมหาสัตว์เพื่อประโยชน์ให้มหาชนกลับพระนคร จึงสถิตอยู่ ณ

อัมพรวิถี สำแดงตนให้ปรากฏแล้วกล่าวว่า

พระองค์ทรงละช้างม้าชาวนครและชาวชนบท

เป็นอันมาก ผนวชแล้วทรงยินดีในบาตร ชาวชนบท

มิตรอมาตย์และพระญาติเหล่านั้นได้กระทำความผิด

ระหว่างพระองค์ละกระมัง เหตุไร พระองค์จึงละอิส-

ริยสุขมาชอบพระทัยซึงบาตรนั้น.

บทว่า กปลฺเล ในคาถานั้น ท่านกล่าวหมายถึงบาตรดิน มีคำ

อธิบายว่า เมื่อมิคาชินดาบสถานถึงเหตุแห่งบรรพชาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อน

มหาชนก ท่านละความเป็นใหญ่เห็นปานนี้ผนวชแล้ว ท่านยินดีในบาตรดิน

บทว่า ทูภึ ความว่า พวกเขาเหล่านั้นได้กระทำความผิดอะไร ๆ ในระหว่าง

ต่อท่านบ้างหรือ เพราะเหตุไร ท่านจึงละอิสริยสุขเห็นปานนี้ มาชอบพระ-

บาตรดินใบนี้เท่านั้น.

แต่นั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้ามิได้ผจญซึ่งญาติ

ไร ๆ โดยส่วนเดียวในกาลไหน ๆ โดยอธรรม แม้

ญาติทั้งหลายก็มิได้ผจญซึ่งข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มิคาชน ได้แก่ ข้าแต่ท่านนิคาชินะ

ผู้เจริญ. บทว่า ชาตุจฺเฉ แปลว่า โดยส่วนเดียวนั่นเทียว. บทว่า อห

กิญฺจิ ลุทาจน ความว่า ข้าพเจ้ามิได้ผจญซึ่งญาติไร ๆ ในกาลไร ๆ โดย

อธรรม แม้ญาติเหล่านั้นก็มิได้ผจญซึ่งข้าพเจ้าโดยอธรรม อธิบายว่า ไม่มี

ญาติคนไหนได้กระทำความผิดในข้าพเจ้า ด้วยประการฉะนี้.

พระมหาสัตว์ทรงห้ามปัญหาแห่งมิคาชินดาบสนั้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะทรงแสดงเหตุแห่งการทรงผนวชจึงตรัสว่า

ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้าเห็นประเพณีของ

โลก เห็นโลกถูกกิเลสขบกัด ถูกกิเลสทำให้เป็นดัง

เปือกตม จึงได้ทำเหตุนี้ให้เป็นเครื่องเปรียบเทียบว่า

ปุถุชนจมอยู่แล้วในกิเลสวัตถุใด สัตว์เป็นอันมากย่อม

ถูกประหารและถูกฆ่าในเพราะกิเลสวัตถุนั้น ดังนี้จึง

ได้บวชเป็นภิกษุ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกวตฺตนฺต ความว่า ข้าพเจ้าได้เห็น

วัตร คือ ประเพณีของสัตวโลกผู้โง่เขลา ผู้ไปตามวัฏฏะ เพราะเห็นดังนั้น

ข้าพเจ้าจึงบวช พระมหาสัตว์ทรงแสดงดังนี้. บทว่า ขชฺชนฺต กทฺทมีกต

ความว่า เห็นสัตวโลกถูกกิเลสขบกัด และถูกกิเลสเหล่านั้นแหละทำให้เป็นดัง

เปือกตม. บทว่า ยตฺถ สนฺโน ความว่า ปุถุชนจม คือ ข้อง คือ จมลง

ในกิเลสวัตถุใด สัตว์ทั้งหลายเป็นอันมากต้องอยู่ในกิเลสวัตถุนั้น ย่อมถูกฆ่าบ้าง

ย่อมคิดอยู่ในเครื่องผูกมีโซ่และเรือนจำเป็นต้นบ้าง. บทว่า เอตาห ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

หากแม้ข้าพเจ้าจักติดอยู่ในกิเลสวัตถุนี้ ข้าพเจ้าก็จักถูกฆ่าและถูกจองจำเหมือน

สัตว์เหล่านั้น ดังนั้นจึงทำเหตุการณ์นั่นแหละเป็นอุปมาแห่งคนแล้วบวชเป็นภิกษุ

พระมหาสัตว์เรียกดาบสนั้นว่า มิคาชินะ พระมหาสัตว์ทรงทราบชื่อของดาบส

นั้นได้อย่างไร ทรงทราบ เพราะทรงถามไว้ก่อนในเวลาปฏิสันถาร.

ดาบสใคร่จะฟังเหตุการณ์นั้นโดยพิสดาร จึงกล่าวคาถาว่า

ใครหนอเป็นผู้จำแนกแจกอรรถสั่งสอนพระองค์

คำอันสะอาดนี้เป็นคำของใคร ดูก่อนพระองค์ผู้เป็น

จอมทัพ เพราะพระองค์มิได้ตรัสบอกสมณะผู้มีวัตร

ปฏิบัติก้าวล่วงทุกข์ นอกจากกัปปสมณะหรือวิชชสม-

ณะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺเสต ความว่า คำอันสะอาดนี้ คือ

ที่ท่านกล่าว เป็นคำของใคร. บทว่า กปฺป ได้แก่ ดาบสผู้เป็นกรรมวาที

ผู้ได้อภิญญาสมาบัติอันสำเร็จเป็นไปแล้ว. บทว่า วิชฺช ได้แก่ พระปัจเจก-

พุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยวิชชาคืออาสวักขยญาณ ท่านอธิบายไว้ดังนี้ มิคาชิน-

ดาบสเรียกพระเจ้ามหาชนกราชว่า รเถสภ เพราะพระเจ้ามหาชนกราชมิได้

ตรัสบอกสมณะผู้มีวัตรปฏิบัติโดยประการที่ก้าวล่วงทุกข์ได้ นอกจากกัปปสมณะ

หรือวิชชสมณะ คือเว้นโอวาทของท่านเสีย ใคร ๆ ได้ฟังคำของท่านเหล่านั้น

แล้วสามารถที่จะปฏิบัติได้อย่างนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ใครหนอเป็นผู้จำแนก

แจกอรรถสั่งสอนพระองค์.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวก็ดาบสนั้นว่า

ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ถึงข้าพเจ้าจะเคารพสมณะ

หรือพราหมณ์โดยส่วนเดียวก็จริง แต่ก็ไม่เคยเข้าใกล้

ไต่ถามอะไร ๆ ในกาลไหน ๆ เลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกตฺวา ได้แก่ บูชาเพื่อต้องการจะ

ถามคุณแห่งการบรรพชา. บทว่า อนุปาวิสึ ความว่า พระมหาสัตว์ตรัสว่า

ข้าพเจ้าไม่เคยเข้าใกล้ใคร ๆ ไม่ถามสมณะไร ๆ เลย เพราะพระมหาสัตว์นี้

แม้ฟังธรรมในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่ถามคุณแห่งการ

บรรพชาโดยเฉพาะในกาลไหน ๆ เลย ฉะนั้นท่านจึงตรัสอย่างนี้.

ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงตรัสคาถาเพื่อทรงแสดง

เหตุที่ทรงผนวชตั้งแต่ต้นว่า

ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้านั้นรุ่งเรืองด้วยสิริ

ไปยังพระราชอุทยานด้วยอานุภาพใหญ่ เมื่อเจ้าพนัก-

งานกำลังขับเพลงขับและประโคมดนตรีกันอยู่ ข้าพเจ้า

ได้เห็นมะม่วงมีผลภายนอกกำแพงพระราชอุทยานอัน

กึกก้องด้วยเสียงดนตรี พร้อมแล้วด้วยคนร้องและคน

ประโคม ข้าพเจ้าละต้นมะม่วงอันมีสิรินั้นซึ่งเหล่า

มนุษย์ผู้ต้องการผลฟาดตีอยู่ ลงจากคอช้างเข้าไปโคน

ต้นมะม่วง ซึ่งมีผลและไม่มีผล เห็นต้นมะม่วงที่มีผล

ถูกคนเบียดเบียนกำจัดแล้ว ปราศจากใบและก้าน แต่

มะม่วงอีกต้นหนึ่งมีใบเขียวชอุ่มน่ารื่นรมย์ ศัตรูทั้ง-

หลายจักฆ่าพวกเราผู้มีอิสระ มีศัตรูดุจหนามเป็นอัน

มาก เหมือนต้นมะม่วงมีผล ลุกคนหักโค่นฉะนั้น

เสือเหลืองถูกฆ่าเพราะหนัง ช้างถูกฆ่าเพราะงา คน

มีทรัพย์ถูกฆ่าเพราะทรัพย์ ใครเล่าจักฆ่าผู้ไม่มีเหย้า

เรือน ผู้ไม่มีสันถวะคือตัณหา มะม่วงต้นหนึ่งมีผล

อีกต้นหนึ่งไม่มีผล ทั้งสองต้นนั้นเป็นผู้สั่งสอน

ข้าพเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วคฺคุสุ ความว่า เมื่อดนตรีมีเสียง

ไพเราะอันบุคคลประโคมอยู่. บทว่า ตุริยตาลิตสฆุฏฺเ ความว่า ในพระราช

อุทยานที่กึกก้องด้วยเสียงดนตรีทั้งหลาย. บทว่า สมฺมาตาลสมาหิเต ความว่า

ประกอบด้วยคนขับร้องและคนประโคมทั้งหลาย. บทว่า สมิคาชิน ความว่า

ข้าแต่ท่านมิคาชินะ ข้าพเจ้านั้นได้เห็นแล้ว. บทว่า ผลึ อมฺพ ความว่า

มะม่วงมีผลคือต้นมะม่วงที่ผลิตผล. บทว่า ติโรจฺฉท ความว่า ได้เห็นต้น

มะม่วงภายนอกกำแพง คือ เกิดอาศัยอยู่นอกกำแพงซึ่งตั้งอยู่ในภายในพระราช

อุทยานนั่นแหละ. บทว่า ตุทมาน แปลว่า ถูกฟาดอยู่. บทว่า โอโรหิตฺวา

ความว่า ลงจากคอช้าง. บทว่า วินลีกต แปลว่า ทำให้ปราศจากใบไร้ก้าน

บทว่า เอวเนว แปลว่าฉันนั้นนั่นเที่ยว. บทว่า ผโล แปลว่า สมบูรณ์

ด้วยผล. บทว่า อชินมฺหิ ได้แก่ เพื่อต้องการหนัง คือ มีหนึ่งเป็นเหตุ.

บทว่า ทนฺเตสุ ความว่า ถูกฆ่าเพราะงาทั้งสองของตน คือถูกฆ่าเพราะงา

เป็นเหตุ. บทว่า หนฺติ แปลว่า ถูกฆ่า. บทว่า อนิเกตมสนฺถว ความว่า

ก็ผู้ใดชื่อว่า อนิเกตะ เพราะละเหย้าเรือนบวช ชื่อว่าอสันถวะ เพราะไม่มี

สันถวะ คือ ตัณหาซึ่งเป็นวัตถุแห่งสังขารทั้งปวง อธิบายว่า ใครจักฆ่าผู้นั้น

ซึ่งไม่มีเหย้าเรือนไม่มีสันถวะ. บทว่า เตสตฺถาโร ความว่า พระมหาสัตว์

กล่าวว่า ต้นไม้สองต้นเหล่านั้นเป็นผู้สั่งสอนเรา.

มิคาชินดาบสได้ฟังดังนั้น แล้ว จึงถวายโอวาทแด่พระราชาว่า ขอพระ-

องค์จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด มหาบพิตร แล้วกลับ ไปยังที่อยู่ของตนทีเดียว.

เมื่อมิคาชินดาบสไปแล้ว พระนางสีวลีเทวีหมอบลงแทบพระยุคลบาท

ของพระราชา กราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

ชนทั้งปวงคือกองช้าง กองม้า กองรถ กอง

เดินเท้า ตกใจว่าพระราชาทรงผนวชเสียแล้ว ขอพระ-

องค์โปรดทำให้ชุมชนอุ่นใจ ตั้งความคุ้มครองไว้

อภิเษกพระโอรสในราชสมบัติแล้ว จึงทรงผนวชต่อ

ภายหลังเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺยถิโต ได้แก่ กลัว คือ หวาดสะดุ้ง.

บทว่า ปฏิจฺฉท ความว่า ตั้งกองอารักขาไว้คุ้มครองมหาชนที่สะดุ้งกลัวว่า

พระราชามิได้ทรงเหลียวแลพวกเราที่ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกปล้นบ้าง. บทว่า

ปุตฺต ความว่า ขอพระองค์ได้อภิเษกพระโอรสคือทีฆาวุกุมารไว้ในราชสมบัติ

แล้ว จึงทรงผนวชต่อภายหลังเถิด.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

ดูก่อนปชาบดี ชาวชนบท มิตรอมาตย์และพระ

ประยูรญาติทั้งหลาย เราสละแล้ว ทีฆาวุราชกุมารผู้ยัง

แว่นแคว่นให้เจริญเป็นบุตรของชาววิเทหรัฐ ชาววิเท-

หรัฐเหล่านั้นจักให้ครองราชสมบัติในกรุงมิถิลา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ ปุตฺตา ความว่า ดูก่อนพระ-

เทวีสีวลี ธรรมดาสมณะทั้งหลายย่อมไม่มีบุตร แต่ทีฆาวุกุมารเป็นบุตรของ

ชาววิเทหรัฐ ชาววิเทหรัฐเหล่านั้นจักให้ครองราชสมบัติ พระมหาสัตว์ตรัส

เรียกพระเทวีว่า ปชาปติ.

ลำดับนั้น พระนางสีวลีเทวีกราบทูลพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่พระองค์

พระองค์ทรงผนวชเสียก่อนแล้ว ก็หม่อมฉันจะการทำอย่างไร พระมหาสัตว์

จึงตรัสก็พระนางว่า ดูก่อนพระเทวี อาตมาจะให้เธอสำเหนียกตาม เธอจง

ทำตามคำของอาตมา แล้วตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

มาเถิด อาตมาจะให้เธอศึกษาตามคำที่อาตมา

ชอบ เมื่อเธอให้พระโอรสครองราชสมบัติ ก็จักกระ-

ทำบาปทุจริตเป็นอันมากด้วยกายวาจาใจ ซึ่งเป็นเหตุ

ให้เธอไปสู่ทุคติ การที่เรายังอัตภาพให้เป็นไปด้วย

ก้อนข้าวที่ผู้อื่นให้ซึ่งสำเร็จแต่ผู้อื่น นี้เป็นธรรมของ

นักปราชญ์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุว ความว่า เธอให้ยกเศวตฉัตรขึ้นแก่

พระโอรส พร่ำสอนเรื่องราชสมบัติ ด้วยคิดว่า ลูกของเราเป็นพระราชา

จักกระทำบาปเป็นอันมาก. บทว่า คจฺฉสิ ความว่า เธอจักไปสู่ทุคติด้วยบาป

เป็นอันมากที่การทำด้วยกายเป็นต้นใด. บทว่า สธีรธมฺโม ความว่า ความ

ประพฤติที่ว่าพึงยังชีวิตให้เป็นไปด้วยคำข้าวที่ได้มาด้วยลำแข้งนี้ เป็นธรรม

ของนักปราชญ์ทั้งหลาย.

พระมหาสัตว์ได้ประทานโอวาทแก่พระนางนั้นด้วยประการฉะนี้ เมื่อ

กษัตริย์ทั้งสองตรัสโต้ตอบกันและกันและเสด็จดำเนินไป พระอาทิตย์ก็อัสดงคต

พระเทวีมีพระเสาวนีย์ให้ตั้งค่ายในที่อันสมควร พระมหาสัตว์เสด็จประทับแรม

ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ประทับอยู่ ณ ที่นั้น ตลอดราตรี รุ่งขึ้นทรงทำสรีรกิจแล้ว

เสด็จไปตามมรรคา ฝ่ายพระเทวีตรัสสั่งให้เสนาตามมาภายหลัง แล้วเสด็จไป

เบื้องหลังแห่งพระมหาสัตว์ ทั้งสองพระองค์นั้นเสด็จถึงถูนนครในเวสาภิกขาจาร

ขณะนั้น มีบุรุษคนหนึ่งภายในเมือง ซื้อเนื้อก้อนใหญ่มาแต่เขียงขายเนื้อ เสียบ

หลาวย่างบนถ่านเพลิงให้สุกแล้ว วางไว้ที่กระดานเพื่อให้เย็นได้ยืนอยู่ เมื่อบุรุษ

นั้นส่งใจไปที่อื่น สุนัขตัวหนึ่งคาบก้อนเนื้อนั้นหนีไป บุรุษนั้นรู้แล้วไล่ตาม

สุนัขนั้นไปเพียงนอกประตูด้านทักษิณ เบื่อหน่ายหมดอาลัยก็กลับบ้าน พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

กับพระเทวีเสด็จมาข้างหน้าสุนัขตามทางสองแพร่ง สุนัขนั้นทิ้งก้อนเนื้อหนีไป

ด้วยความกลัว พระมหาสัตว์ทอดพระนครเห็นก้อนเนื้อนั้น ทรงจินตนาการว่า

สุนัขนี้ทิ้งก้อนเนื้อนี้ไม่เหลียวแลเลยหนีไปแล้ว แม้คนอื่นผู้เป็นเจ้าของก็ไม่

ปรากฏ อาหารเห็นปานนี้หาโทษมิได้ ชื่อว่าบังสุกุลบิณฑบาต เราจักบริโภค

ก้อนเนื้อนั้น พระองค์จึงนำบาตรดินออก ถือเอาเนื้อก้อนนั้นปัดฝุ่นแล้วใส่

ลงในบาตร เสด็จไปยังที่มีน้ำบริบูรณ์ ทรงพิจารณาแล้ว เริ่มเสวยเนื้อก้อนนั้น

ลำดับนั้น พระเทวีทรงดำริว่า ถ้าพระราชานี้มีพระราชประสงค์ราชสมบัติ จะไม่

พึงเสวยก้อนเนื้อเห็นปานนี้ ซึ่งน่าเกลียด เปื้อนฝุ่น เป็นเดนสุนัข บัดนี้

พระองค์จักมิใช่พระราชสวามีของเรา ทรงดำริฉะนี้แล้ว กราบทูลพระองค์ว่า

ข้าแต่พระมหาราชพระองค์ช่างเสวยเนื้อที่น่าเกลียดเห็นปานนี้ได้ พระมหาสัตว์

ตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี เธอไม่รู้จักความวิเศษของบิณฑบาตนี้เพราะเขลา

ตรัสฉะนี้แล้วทรงพิจารณาสถานที่ก้อนเนื้อนั้นตั้งอยู่ เสวยก้อนเนื้อนั้นดุจเสวย

อมตรส บ้วนพระโอฐล้างพระหัตถ์และพระบาทแล้ว ขณะนั้นพระเทวีเมื่อจะ

ทรงตำหนิพระราชา จึงตรัสว่า

คนที่ฉลาดแม้ไม่ได้บริโภคอาหารสี่มื้อ ราวกะ

ว่าจะตายด้วยความอด ก็ยอมตายเสียด้วยความอด เขา

จะไม่ยอมบริโภคก้อนเนื้อคลุกฝุ่นไม่สะอาดเลย ข้าแต่

พระมหาชน พระองค์สิเสวยได้ซึ่งก้อนเนื้ออันเป็น

เดนสุนัข ไม่สะอาดน่าเกลียดนัก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌุฏฺมาริว ความว่า เหมือนใกล้

จะตาย. บทว่า ลุลิต ได้แก่ คลุกฝุ่น. บทว่า อนริย ได้แก่ ไม่ดี นุ

อักษรในบทว่า นุ เสเว เป็นนิบาตลงในอรรถถามโต้ตอบ มีคำอธิบายว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

แม้ถ้าจะไม่ได้บริโภคอาหารสี่มื้อ หรือจะตายเสียด้วยความอด แม้เมื่อเป็น

อย่างนั้น คนฉลาดก็ไม่ยอมบริโภคอาหารเห็นปานนี้เลย คือไม่บริโภคอย่าง

พระองค์. บทว่า ตยิท แปลว่า นี้นั้น.

พระมหาสัตว์ ตรัสตอบว่า

ดูก่อนพระนางสีวลี ก้อนเนื้อนั้น ไม่ชื่อว่าเป็น

อาหารของอาตมาหามิได้ เพราะถึงจะเป็นของคน

ครองเรือนหรือของสุนัข ก็สละแล้ว ของบริโภค

เหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ที่บุคคลได้มาแล้วโดยชอบ

ธรรม ของบริโภคทั้งหมดนั้น กล่าวกันว่า ไม่มีโทษ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภกฺโข ความว่า บิณฑบาตนั้นจะไม่

ชื่อว่าเป็นภักษาหารของอาตมาหามิได้. บทว่า ย โหติ ความว่า ของสิ่งใด

ที่คฤหัสถ์หรือสุนัขสละแล้ว ของสิ่งนั้น ชื่อว่าบังสุกุล เป็นของไม่มีโทษเพราะ

ไม่มีเจ้าของ. บทว่า เย เกจิ ความว่า เพราะฉะนั้น โภคะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

แม้อื่น ๆ ที่ได้มาโดยชอบธรรม. บทว่า สพฺโพ โส ภกฺโข อนวโย

ความว่า ไม่มีโทษ คือแม้จะมีคนดูอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่บกพร่อง บริบูรณ์ด้วยคุณ

ไม่มีโทษ แต่ลาภที่ได้มาโดยไม่ชอบธรรม ถึงจะมีค่าตั้งแสน ก็น่าเกลียดอยู่

นั้นเอง.

เมื่อกษัตริย์สององค์ตรัสสนทนากะกันอยู่อย่างนี้ พลางเสด็จดำเนินไป

ก็ลุถึงประตูถูนนคร เมื่อทารกทั้งหลายในนครนั้นกำลังเล่นกันอยู่ มีนางกุมา-

ริกาคนหนึ่งเอากระด้งน้อยฝัดทรายเล่นอยู่ กำไลอันหนึ่งสวมอยู่ในข้อมือข้าง-

หนึ่งของนาง กำไลสองอันสวมอยู่ในข้อมือข้างหนึ่ง กำไลสองอันนั้น กระทบ

กันมีเสียง กำไลอีกอันหนึ่งไม่มีเสียง พระราชาทรงทราบเหตุนั้น มีพระดำริว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

บัดนี้ พระนางสีวลีตามหลังเรามา ขึ้นชื่อว่าสตรีย่อมเป็นมลทินของบรรพชิต

ชนทั้งหลายเห็นนางตามเรามา จักติเตียนเราว่า บรรพชิตนี้แม้บวชแล้ว ก็ยัง

ไม่สามารถจะละภรรยาได้ ถ้านางกุมารีนี้ฉลาด จักพูดถึงเหตุให้นางสีวลีกลับ

เราจักฟังถ้อยคำของนางกุมารีนี้แล้วส่งนางสีวลีกลับ มีพระดำริฉะนั้นแล้ว เสด็จ

เข้าไปใกล้นางกุมารีนั้น เมื่อจะตรัสถามจึงตรัสคาถาว่า

แน่ะนางกุมาริกาผู้ยังนอนกับแม่ ผู้ประดับกำไล

มือเป็นนิตย์ กำไลมือของเจ้าข้างหนึ่งมีเสียงดัง อีก

ข้างหนึ่งไม่มีเสียงดัง เพราะเหตุไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปเสนิเย ความว่า เข้าไปนอนใกล้

มารดา. บทว่า นิคฺคลมณฺฑิเต ความว่า พระมหาสัตว์ตรัสว่า มีปกติ

ประดับด้วยเครื่องประดับชั้นยอด. บทว่า สุณติ ได้แก่ ทำเสียง.

นางกุมาริกากล่าวว่า

ข้าแต่พระสมณะ เสียงเกิดแต่กำไลสองอันที่

สวมอยู่ในข้อมือของข้าพเจ้านี้กระทบกัน ความที่

กำไลทั้งสองกระทบกันนั้นเป็นเหตุแห่งเสียง กำไล

อันหนึ่งที่สวมอยู่ในข้อมือของข้าพเจ้านี้นั้น ไม่มีอัน

ที่สอง จึงไม่ส่งเสียง เป็นเหมือนนักปราชญ์สงบนิ่ง

อยู่ บุคคลสองคนก็วิวาทกัน คนเดียวจักวิวาทกับ

ใครเล่า ท่านผู้ใคร่ต่อสวรรค์ จงชอบความเป็นผู้อยู่

คนเดียวเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุนีวารา แปลว่า กำไลสองอัน. บทว่า

สฆฏา ความว่า เพราะกระทบกัน คือเสียดสีกัน. บทว่า คติ ได้แก่ ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

สำเร็จ ด้วยว่า กำไลอันที่สองย่อมมีความสำเร็จเห็นปานนี้. บทว่า โส ได้แก่

กำไลนั้น. บทว่า มุนิภูโตว ความว่า ราวกะว่าพระอริยบุคคลผู้ละกิเลสได้

หมดแล้ว ดำรงอยู่. บทว่า วิวาทปฺปตฺโต ความว่า ข้าแต่พระสมณะ

ขึ้นชื่อว่าคนที่สองย่อมวิวาทกัน คือ ทะเลาะกัน ถือไปต่าง ๆ กัน. บทว่า

เกเนโก ความว่า ก็คนเดียวจักวิวาทกับใครเล่า. บทว่า เอกตฺตมุปโรจต

ความว่า ท่านจงชอบความเป็นผู้อยู่คนเดียวเถิด ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว

นางกุมาริกานั้นได้กล่าวอย่างนี้อีก คือกล่าวสอนพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่พระผู้-

เป็นเจ้า ธรรมดาสมณะทั้งหลาย ย่อมจะไม่พาแม้น้องสาวเที่ยวไปเลย แต่

เหตุไร ท่านจึงพาภริยาซึ่งทรงรูปอันอุดมเห็นปานนี้เที่ยวไป ภริยานี้จักทำ

อันตรายแก่ท่าน ท่านจงนำภริยานี้ออกไปอยู่ผู้เดียวเท่านั้น บำเพ็ญสมณธรรม

ให้สมควรเถิด.

พระมหาสัตว์ได้สดับคำของกุมาริกาสาวนั้นแล้ว ทรงได้ปัจจัย เนื้อจะ

ตรัสกับพระเทวี จึงตรัสว่า

แน่ะสีวลี เธอได้ยินคาถาที่นางกุมาริกากล่าว

แล้วหรือ นางกุมาริกาเป็นเพียงชั้นสาวใช้มาติเตียนเรา

ความที่เราทั้งสองประพฤติ คืออาตมาเป็นบรรพชิต

เธอเป็นสตรีเดินตามกันมา ย่อมเป็นเหตุแห่งครหา

บรรดาสองแพร่งนี้ อันเราทั้งสองผู้เดินทางจงแยกกัน

ไป เธอจงถือเอาทางหนึ่งไป อาตมาก็จะถือเอาทาง

อื่นอีกทางหนึ่งไป เธออย่าเรียกอาตมว่าเป็นพระ-

สวามีของเธอ และอาตมาก็จะไม่เรียกเธอว่าเป็นมเหสี

ของอาตมาอีก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุมาริยา ได้แก่ ที่นางกุมาริกากล่าวแล้ว.

บทว่า เปสิยา ความว่า ถ้าเรายังครองราชสมบัติอยู่ กุมาริกาคนนี้ก็เป็น

คนใช้คือทำคามรับสั่งของเรา แม้แต่จะแลดูเรา เธอก็ไม่อาจ แต่บัดนี้เธอติเตียน

คือกล่าวสอนเราเหมือนคนใช้และเหมือนทาสของตนว่า ทุติยสฺเสว สา คติ

ดังนี้. บทว่า อนุจิณฺโณ ได้แก่ เดินตามกันไป. บทว่า ปถาวิหิ แปลว่า

ผู้เดินทาง. บทว่า เอก ความว่า เธอจงถือเอาทางหนึ่งซึ่งเป็นที่ชอบใจของ

เธอ ส่วนอาตมาก็จักถือเอาอีกทางหนึ่งที่เหลือลงจากที่เธอถือเอา. บทว่า มา

จ ม ตว ความว่า แน่ะสีวลี ตั้งแต่นี้ไป เธออย่าเรียกอาตมาว่าเป็น

พระสวามีของเราอีก และอาตมาก็จะไม่เรียกเธอว่า เป็นมเหสีของเรา.

พระนางสีวลีเทวีได้ทรงฟังพระดำรัสของพระมหาสัตว์แล้ว กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ พระองค์เป็นกษัตริย์สูงสุด จงถือเอาทางเบื้องขวา ส่วนข้า-

พระองค์เป็นสตรีชาติต่ำ จักถือเอาทางเบื้องซ้าย กราบทูลฉะนี้แล้ว ถวายบังคม

พระมหาสัตว์แล้วเสด็จไปได้หน่อยหนึ่ง ไม่สามารถจะกลั้นโศกาดูรไว้ได้ก็เสด็จ

มาอีก โดยเสด็จไปกับพระราชาเข้าถูนนครด้วยกัน.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสครึ่งคาถาว่า

กษัตริย์ทั้งสองกำลังตรัสข้อความนี้อยู่ ได้เสด็จ

เข้าไปยังถูนนคร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นครมุปาคมุ ความว่า เสด็จเข้าไปแล้ว

สู่นคร.

ก็แลครั้นเสด็จเข้าไปแล้ว พระมหาสัตว์เสด็จเที่ยวบิณฑบาต เสด็จ

ถึงประตูเรือนของช่างศร แม้พระนางสีวลีเทวีก็เสด็จตามไปเบื้องหลัง ประทับ

อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง สมัยนั้น ช่างศรกำลังลนลูกศรนั้นกระเบื้องถ่านเพลิง

เอาน้ำข้าวทาลูกศร หลับตาข้างหนึ่ง เล็งดูด้วยตาข้างหนึ่ง ดัดลูกศรให้ตรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น มีพระดำริว่า ถ้าช่างศรผู้นี้จักเป็นคน

ฉลาด จักกล่าวเหตุอย่างหนึ่งแก่เรา เราจักถามเขาดู จึงเสด็จเข้าไปหาช่างศร

แล้วตรัสถาม.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

เมื่อใกล้เวลาฉัน พระมหาสัตว์ประทับยืนอยู่ที่

ซุ้มประตูเรือนของช่างศร ช่างศรนั้นหลับตาข้างหนึ่ง

ใช้ตาอีกข้างหนึ่งเล็งลูกศรอันหนึ่งซึ่งคดอยู่ดัดให้ตรง

ที่ซุ้มประตูนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกฏฺเก ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระราชาพระองค์นั้น เมื่อใกล้เวลาเสวยของพระองค์ ได้ประทับยืนอยู่ที่ซุ้ม

ประตูของช่างศร. บทว่า ตตฺร จ ได้แก่ ที่ซุ้มประตูนั้น. บทว่า นิคฺคยฺห

แปลว่า หลับแล้ว. บทว่า ชิมฺหเมเกน ความว่า ใช้จักษุข้างหนึ่งเล็งดู.

ลูกศรที่คด.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้ตรัสกะช่างศรนั้นว่า

ดูก่อนช่างศร ท่านจงฟังอาตมา ท่านหลับจักษุ

ข้างหนึ่ง เล็งดูลูกศรอันคดด้วยจักษุข้างหนึ่ง ด้วย

ประการใด ท่านเห็นความสำเร็จประโยชน์ ด้วย

ประการนั้นหรือหนอ.

คำที่เป็นคาถานั้นมีเนื้อความว่า แน่ะเพื่อนช่างศร ท่านหลับตาข้างหนึ่ง

เล็งดูลูกศรที่คดด้วยตาข้างหนึ่ง ด้วยประการใด ท่านเห็นความสำเร็จประโยชน์

ด้วยประการนั้นหรือหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

ลำดับนั้น เมื่อช่างศรจะทูลแก่พระมหาสัตว์นั้น จึงกล่าวว่า

ข้าแต่พระสมณะ การเล็งด้วยจักษุทั้งสอง

ปรากฏว่าเหมือนพร่าไปไม่ถึงที่คดข้างหน้า ย่อมไม่

สำเร็จความดัดให้ตรง ถ้าหลับจักษุข้างหนึ่ง เล็งดูที่

คดด้วยจักษุอีกข้างหนึ่ง เล็งได้ถึงที่คดเบื้องหน้า

ย่อมสำเร็จความดัดให้ตรง บุคคลสองคนก็วิวาทกัน

คนเดียวจักวิวาทกับใครเล่า ท่านผู้ใคร่ต่อสวรรค์ จง

ชอบความเป็นผู้อยู่คนเดียวเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสาล วิย ความว่า ย่อมปรากฏเหมือน

พร่าไป. บทว่า อปฺปตฺวา ปรม ลิงฺค ความว่า ไม่ถึงที่คดข้างหน้า.

บทว่า นุชฺชุภาวาย ได้แก่ ไม่สำเร็จความดัดให้ตรง มีคำอธิบายว่า เมื่อ

ความพร่าปรากฏ ก็จักไม่ถึงที่ตรงข้างหน้า เมื่อไม่ถึงคือไม่ปรากฏ กิจด้วย

ความตรงจักไม่สำเร็จ คือไม่ถึงพร้อม. บทว่า สมฺปตฺวา ความว่า ถึง

คือเห็นด้วยจักษุ. บทว่า วิวาทปฺปตฺโต ความว่า เมื่อลืมตาที่สอง ที่คด

ย่อมไม่ปรากฏ คือแม้ที่คดก็ปรากฏว่าตรง แม้ที่ตรงก็ปรากฏว่าคด ความ

วิวาทย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฉันใด แม้สมณะมีสองรูปก็ฉันนั้น ย่อมวิวาทกัน

คือ ทะเลาะกัน ถือเอาต่าง ๆ กัน. บทว่า เกเนโก ความว่า คนเดียวจัก

วิวาทกับ ใครเล่า. บทว่า เอกตฺตมุปโรจต ความว่า ท่านจงชอบใจความ

เป็นผู้อยู่คนเดียว ธรรมดาสมณะทั้งหลาย ย่อมจะไม่พาแม้น้องสาวเที่ยวไปเลย

แต่เหตุไรท่านจึงพาภริยาซึ่งทรงรูปอันอุดมเที่ยวไป ภริยานี้จักทำอันตรายแก่

ท่าน ท่านจงนำภริยานี้ออกไปอยู่ผู้เดียวเท่านั้น บำเพ็ญสมณธรรมให้สมควร

เถิด ช่างศรกล่าวสอนพระมหาสัตว์ ด้วยประการฉะนี้ ช่างศรถวายโอวาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

แด่พระมหาสัตว์อย่างนี้แล้วก็นิ่งอยู่ พระมหาสัตว์เสด็จเที่ยวบิณฑบาต ได้

ภัตตาหารที่เจือปนแล้วเสด็จออกจากพระนคร ประทับนั่งเสวยในที่มีน้ำสมบูรณ์

พระองค์เสร็จเสวยพระกระยาหารแล้ว บ้วนพระโอฐ ล้างบาตรนำเข้าถุงแล้ว

ตรัสเรียกพระนางสีวลีมาตรัสว่า

ดูก่อนนางสีวลี เธอได้ยินคาถาที่ต่างศรกล่าว

หรือยัง ช่างศรเป็นเพียงคนใช้ยังติเตียนเราได้ ความ

ที่เราทั้งสองประพฤตินั้นเป็นเหตุแห่งความครหา

ดูก่อนนางผู้เจริญ ทางสองแพร่งนี้อันเราทั้งสองผู้เดิน

ทางมาจงแยกกันไป เธอจงถือเอาทางหนึ่งไป อาตมา

ก็จะถือเอาทางอื่นอีกทางหนึ่งไป เธออย่าเรียกอาตมา

ว่าเป็นพระสวามีของเธอ และอาตมาก็จะไม่เรียกเธอ

ว่าเป็นมเหสีของอาตมาอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุณสิ ความว่า เธอฟังคาถาหรือ

พระมหาสัตว์ตรัสพระดำรัสว่า เปสิโย ม นี้ ทรงหมายถึงโอวาทของช่าง

นั่นเอง.

ได้ยินว่า พระนางสีวลีเทวีนั้น แม้ถูกพระมหาสัตว์ตรัสว่า เธออย่า

เรียกอาตมาว่าเป็นพระสวามีของเธอดังนี้ ก็ยังเสด็จติดตามพระมหาสัตว์อยู่

นั่นเอง พระราชาก็ไม่สามารถให้พระนางสีวลีนั้นเสด็จกลับได้ แม้มหาชนก็

ตามเสด็จพระองค์อยู่นั่นเอง ก็แต่ที่นั้นมีดงแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล ลำดับนั้น

พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นแนวป่าเขียวชอุ่ม มีพระราชประสงค์จะให้

พระนางเสด็จกลับ เมื่อดำเนินไปได้ทอดพระเนตรเห็นหญ้ามุงกระต่ายในที่ใกล้

ทาง พระองค์จึงทรงถอนหญ้ามุงกระต่ายนั้น ตรัสเรียกพระเทวีมาตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

แน่ะสีวลีผู้เจริญ เธอจงดูหญ้ามุงกระต่ายนี้ ก็หญ้ามุงกระต่ายนี้จะไม่อาจสืบต่อ

ในกอนี้ได้อีก ฉันใด ความอยู่ร่วมกับเธอของอาตมา ก็ไม่อาจจะสืบต่อกัน

ได้อีก ฉันนั้น แล้วได้ตรัสกึ่งคาถาว่า

หญ้ามุงกระต่ายที่ติดกันอยู่แต่เดิม ซึ่งอาตมา

ถอนแล้วนี้ ไม่อาจสืบต่อกันไปได้อีก ฉันใด ความ

อยู่ร่วมกันระหว่างเธอกับอาตมา ก็ไม่อาจสืบต่อได้อีก

ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เธอจงอยู่ผู้เดียว อาตมาก็จะ

อยู่ผู้เดียวเหมือนกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกา ความว่า แน่ะสีวลีผู้เจริญ หญ้า

มุงกระต่ายที่ติดกันอยู่แต่เดิม อันอาตมาถอนแล้ว ไม่อาจสืบต่อได้อีก ฉันใด

การอยู่ร่วมกันระหว่างเธอกับอาตมา ก็ไม่อาจทำได้แม้ฉันนั้น เพราะฉะนั้น

เราจักอยู่ผู้เดียวน๊ะสีวลี แม้เธอก็จงอยู่ผู้เดียวเหมือนกัน พระมหาสัตว์ได้

ประทานพระโอวาทแก่พระนางสีวลีเทวี ด้วยประการฉะนี้.

พระนางได้ฟังพระดำรัสของพระมหาสัตว์แล้วตรัสว่า จำเดิมแต่นี้ไป

เราจะไม่ได้อยู่ร่วมกับ พระมหาชนกนรินทรราชอีก พระนางไม่อาจะทรงกลั้น

โศกาดูร ก็ข้อนทรวงด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง ทรงปริเทวนาการกำไรอยู่เป็นอัน

มาก ถึงวิสัญญีภาพล้มลงที่หนทางใหญ่ พระมหาสัตว์ทรงทราบว่า พระนาง

ถึงวิสัญญีภาพ ก็สาวพระบาทเสด็จเข้าสู่ป่า ขณะนั้น หมู่อมาตย์มาสรงพระสรีระ

แห่งพระนางนั้น ช่วยกันถวายอยู่งานที่พระหัตถ์และพระบาท พระนางได้สติ

เสด็จลุกขึ้นตรัสถามว่า พระราชาเสด็จไปข้างไหน หมู่อมาตย์ย้อนทูลถามว่า

พระแม่เจ้าก็ไม่ทรงทราบดอกหรือ พระนางตรัสให้เที่ยวค้นหา พวกนั้นพากัน

วิ่งไปข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง ก็ไม่พบพระราชา พระนางทรงปริเทวนาการ

มากมาย แล้วให้สร้างพระเจดีย์ตรงที่พระราชาประทับยืน บูชาด้วยของหอม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

และดอกไม้เป็นต้น แล้วเสด็จกลับกรุงมิถิลา ฝ่ายพระมหาสัตว์เสด็จเข้าป่า

หิมวันต์ ทำอภิญญาและสมาบัติให้เกิดภายในเจ็ดวัน มิได้เสด็จมาสู่ถิ่นมนุษย์

อีก ฝ่ายพระนางสีวลีเทวีเสด็จกลับแล้ว โปรดให้สร้างพระเจดีย์หลายองค์ ณ

ที่ที่พระมหาสัตว์ตรัสกับช่างศร ตรัสกะนางกุมารี เสวยเนื้อที่สุนัขทิ้ง ตรัสกับ

มิคาชินดาบส และตรัสกับนารทดาบส ทุกตำบลแล้ว บูชาด้วยของหอมและ

ดอกไม้เป็นต้น ทรงแวดล้อมไปด้วยเสนางคนิกร ภายหลังเสด็จไปถึงมิถิลานคร

ทรงอภิเษกพระราชโอรส ณ พระราชอุทยานอัมพวัน ทรงส่งพระราชโอรส

อันหมู่เสนาแวดล้อมแล้วเข้าพระนคร พระองค์เองทรงผนวชเป็นดาบสินี

ประทับอยู่ ณ พระราชอุทยานนั้น ทรงทำกสิณบริกรรมก็ได้บรรลุฌาน ไม่

เสื่อมจากฌาน เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้าในที่สุดแห่งพระชนมายุ

ฝ่ายพระมหาสัตว์ก็ไม่เสื่อมจากฌาน ได้เข้าถึงพรหมโลกเหมือนกัน.

พระศาสดาครั้น ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้ เท่านั้น ออกมหาภิเนษกรมณ์ แม้ในกาลก่อน

ตถาคตก็ออกมหาภิเนษกรมณ์เหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า ท้าวสักก-

เทวราชในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอนุรุทธะในบัดนี้ พราหมณ์ทิศาปาโมกข์ได้

มาเป็นพระกัสสปะ นางมณีเมขลาเทพธิดาผู้รักษาสมุทร ได้มาเป็นอุบลวรรณา

ภิกษุณี นารทดาบสได้นาเป็นพระสารีบุตร มิคาชินดาบสได้มาเป็นพระโมค-

คัลลานะ นางกุนาริกาได้มาเป็นนางเขมาภิกษุณี ช่างศรได้มาเป็นพระอานนท์

ราชบริษัทที่เหลือได้มาเป็นพุทธบริษัท สีวลีเทวีได้มาเป็นราหุลมารดา

ฑีฆาวุกุมารได้มาเป็นราหุล พระชนกพระชนนีได้มาเป็นมหาราชศักยสกุล

ส่วนพระมหาชนกนรินทรราช คือเราผู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้านี่เอง.

จบ มหาชนกชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

๓. สุวรรณสามชาดก

ว่าด้วยสุวรรณสามบำเพ็ญเมตตาบารมี

[๔๘๒] ใครหนอใช้ลูกศรยิงเรา ผู้ประมาทกำ-

ลังแบกหม้อน้ำ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ คนไหน

ยิงเรา ซ่อนกายอยู่ เนื้อของเราก็กินไม่ได้ หนังก็ไม่

มีประโยชน์นี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เขาเข้าใจว่าเราเป็นผู้ควร

ยิง ด้วยเหตุอะไรหนอ ท่านคือใคร หรือเป็นบุตร

ของใคร เราจะรู้จักท่านได้อย่างไร ดูก่อนสหาย เรา

ถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกเถิด ทำไมท่านจึงยิงเรา

แล้วซ่อนตัวเสีย.

[๔๘๓] เราเป็นพระราชาของชาวกาสี คนเรียก

เราว่า พระเจ้าปิลยักษ์ เราละแว่นแคว้นเที่ยวแสวงหา

มฤคเพราะความโลภ อนึ่ง เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์

ปรากฏว่าเป็นผู้แม่นยำนัก แม้ช้างมาสู่ระยะลูกศรของ

เรา ก็ไม่พึงพ้นไปได้ ท่านคือใคร หรือเป็นบุตร

ของใคร พวกเราจะรู้จักท่านได้อย่างไร ท่านจงแจ้ง

ชื่อและโคตรของบิดาท่านและของตัวท่าน.

[๔๘๔] ขอจงทรงพระเจริญ ข้าพระองค์เป็น

บุตรของนายพราน ญาติทั้งหลาย เรียกข้าพระองค์

เมื่อยังมีชีวิตอยู่ว่า สามะ วันนี้ข้าพระองค์ถึงปาก

มรณะนอนอยู่อย่างนี้ ข้าพระองค์ถูกพระองค์ยิงด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

ลูกศรใหญ่อาบยาพิษ เหมือนมฤคที่ถูกพรานป่ายิง

แล้ว ฉะนั้น ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์จงทอดพระ

เนตรข้าพระองค์ผู้นอนจมอยู่ในโลหิตของตน เชิญ

ทอดพระเนตรลูกศร อันแล่นเข้าข้างขวาทะลุออกข้าง

ซ้าย ข้าพระองค์ บ้วนโลหิตอยู่ เป็นผู้กระสับกระส่าย

ขอทูลถามพระองค์ว่า พระองค์ยิงข้าพระองค์แล้ว จะ

ซ่อนพระองค์อยู่ทำไม เสือเหลืองถูกฆ่าเพราะหนัง

ช้างถูกฆ่าเพราะงา เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์เข้าพระ

ทัยว่า ข้าพระองค์เป็นผู้ควรยิง ด้วยเหตุอะไรหนอ.

[๔๘๕] ดูก่อนสามะ มฤคปรากฏแล้ว มาสู่

ระยะลูกศร เห็นท่านเข้าก็หนีไป เพราะเหตุนั้น เรา

จึงเกิดความโกรธ.

[๔๘๖] จำเดิมแต่ข้าพระองค์จำความได้ รู้จัก

ถูกและผิด ฝูงมฤคในป่าแม้ดุร้าย ก็ไม่สะดุ้งกลัวข้า-

พระองค์ จำเดิมแต่ข้าพระองค์นุ่งผ้าเปลือกไม้ ตั้งอยู่

ในปฐมวัย ฝูงมฤคในป่าแม้ดุร้ายก็ไม่สะดุ้งกลัว

ข้าพระองค์ ข้าแต่พระราชา ฝูงกินนรผู้ขลาดอยู่ภูเขา

คันธมาทน์ เห็นข้าพระองค์ย่อมไม่สะดุ้งกลัว เราทั้ง-

หลายต่างชื่นชมต่อกันไปสู่ภูเขาและป่า เมื่อเป็นเช่นนี้

มฤคทั้งหลายจะสะดุ้งกลัวข้าพระองค์ด้วยเหตุไร.

[๔๘๗] ดูก่อนสามะ เนื้อเห็นท่านแล้วหาได้ตก

ใจไม่ เรากล่าวเท็จแก่ท่านดอก เราถูกความโกรธและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

ความโลภครอบงำแล้ว จึงยิงท่านด้วยลูกศรนั้น ดูก่อน

สามะ ท่านมาแต่ไหน หรือใครใช้ท่านมา ท่านผู้จะ

ตักน้ำจึงไปสู่แม่น้ำมิคสัมมตา แล้วกลับมา.

[๔๘๘] บิดามารดาของข้าพระองค์ตาบอด ข้า

พระองค์เลี้ยงท่านเหล่านั้นอยู่ในป่าใหญ่ ข้าพระองค์

นำน้ำมาเพื่อท่านทั้งสองนั้น จึงมาแม่น้ำมิคสัมมตา.

[๔๘๙] อาหารของบิดามารดานั้นยังพอมีอยู่เมื่อ

เป็นเช่นนี้ ชีวิตของท่านทั้งสองนั้น จักดำรงอยู่ราว

หกวัน ท่านทั้งสองนั้นตามืด เกรงจะตายเสียเพราะ

ไม่ได้ดื่มน้ำ ความทุกข์ เพราะถูกพระองค์ยิงด้วยลูก

ศรนี้ หาเป็นความทุกข์ ของข้าพระองค์นักไม่ เพราะ

ความทุกข์นี้อันบุรุษจะต้องได้ประสบ ความทุกข์ ที่

ข้าพระองค์ไม่ได้เห็นบิดามารดา เป็นความทุกข์ของ

ข้าพระองค์ ยิ่งกว่าความทุกข์ เพราะถูกพระองค์ยิง

ด้วยลูกศรนี้เสียอีก ความทุกข์เพราะถูกพระองค์ยิง

ด้วยลูกศรนี้ หาเป็นความทุกข์ของข้าพระองค์นักไม่

เพราะความทุกข์นี้อันบุรุษจะต้องได้ประสบ บิดา

มารดา ทั้งสองนั้น เป็นคนกำพร้าเข็ญใจ จะร้องไห้อยู่

ตลอดราตรีนาน จักเหือดแห้งไปในกึ่งราตรี หรือในที่

สุดราตรี ดุจแม่น้ำน้อยในคิมหฤดูจักเหือดแห้งไป ข้า

พระองค์เคยหมั่นบำรุงบำเรอนวดมือเท่า ของท่านทั้ง

สองนั้น บัดนี้ไม่เห็นข้าพระองค์ ท่านทั้งสองจักบ่น

เรียกหาว่า พ่อสาม ๆ เที่ยวอยู่ในป่าไหญ่ ลูกศรคือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

ความโศกที่สองนี้แหละ ยังหัวใจของข้าพระองค์ให้

หวั่นไหว เพราะข้าพระองค์ไม่ได้เห็นท่านทั้งสองผู้

จักษุบอด ข้าพระองค์เห็นจักละเสียซึ่งชีวิต.

[๔๙๐] ดูก่อนสามะผู้งดงามน่าดู ท่านอย่าปริ-

เทวะมากเลย เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ ปรากฏใน

ชมพูทวีปทั้งสิ้นว่าเป็นผู้แม่นยำนัก จักฆ่ามฤคและ

แสวงหามูลผลาหารป่ามา ทำการงานเลี้ยงบิดามารดา

ของท่านในป่าใหญ่ ดูก่อนสามะ ป่าที่บิดามารดาของ

ท่านอยู่ อยู่ที่ไหน เราจักเลี้ยงบิดามารดาของท่าน

ให้เหมือนท่านเลี้ยง.

[๔๙๑] ข้าแต่พระราชา หนทางที่เดินเฉพาะคน

เดียว ซึ่งอยู่ทางหัวนอนของข้าพระองค์นี้ เสด็จดำ-

เนินไปแต่ที่นี้ระหว่างกึ่งเสียงกู่ จะถึงสถานที่อยู่แต่ง

บิดามารดาของข้าพระองค์ ขอเสด็จดำเนินแต่ที่นี้ไป

เลี้ยงดูท่านทั้งสองในสถานที่นั้นเถิด.

[๔๙๒] ข้าแต่พระเจ้ากาสิราช ข้าพระบาทขอ

น้อมกราบพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ยังชาวกาสีให้

เจริญ ข้าพระบาทขอน้อมกราบพระองค์ ของพระองค์

ทรงบำรุงเลี้ยงบิดา มารดาตามืดของข้าพระองค์ในป่า

ใหญ่ ข้าพระองค์ขอประคองอัญชลีถวายบังคมพระ-

องค์ ขอพระองค์มีพระดำรัสกะบิดามารดาของข้า-

พระองค์ให้ทราบว่า ข้าพระองค์ไหว้นบท่านด้วย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

[๔๙๓] หนุ่มสามะผู้งดงามน่าดูนั้น ครั้นกล่าว

คำนี้แล้ว ถูกกำลังแห่งพิษซาบซ่าน เป็นผู้วิสัญญี

สลบไป.

[๔๙๔] พระราชานั้น ทรงคร่ำครวญน่าสงสาร

เป็นอันมากว่า เราสำคัญว่าจะไม่แก่ไม่ตาย เรารู้

เรื่องนี้วันนี้ แต่ก่อนหารู้ไม่. เพราะได้เห็นสามบัณฑิต

ทำกาลกิริยา ความไม่มาแห่งมฤตยู ย่อมไม่มี สาม-

บัณฑิตถูกลูกศรอาบยาพิษ ซึมซาบแล้วพูดอยู่กะเรา.

ครั้นกาลล่วงไปอย่างนี้ในวันนี้ ไม่พูดอะไร ๆ เลย

เราจะต้องไปสู่นรกแน่นอน เราไม่มีความสงสัยใน

ข้อนี้เลย. เพราะว่าบาปหยาบช้าอันเราทำแล้ว ตลอด

ราตรีนานในกาลนั้น เราทำกรรมหยาบช้าในบ้าน-

เมือง คนทั้งหลายจะติเตียนเรา ใคร่เล่าจะควรมากล่าว

ติเตียนเรา ในราวป่าอันหามนุษย์มิได้. คนทั้งหลาย

จะประชุมกันในบ้านเมือง โจทนาว่ากล่าวเอาโทษ

เรา ใครเล่าหนอจะโจทนาว่ากล่าวเอาโทษเรา ในป่า

อันหามนุษย์มิได้.

[๔๙๕] เทพธิดานั้น อันตรธานไปในภูเขาคันธ

มาทน์ มาภาษิตคาถาเหล่านี้ เพื่ออนุเคราะห์พระรา-

ชาว่า พระองค์ทำความผิดมาก ได้ทำกรรมอันชั่วช้า

บิดามารดาและบุตร ทั้งสามผู้หาความประทุษร้ายมิได้

ถูกพระองค์ฆ่าเสียด้วยลูกศรลูกเดียวกัน เชิญเสด็จมา

เถิด ข้าพเจ้าจะพร่ำสอนพระองค์ ด้วยวิธีที่พระองค์

จะได้สุคติ พระองค์จงเลี้ยงดูบิดามารดาทั้งสองผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

จักษุมืด โดยธรรมในป่า ข้าพเจ้าเข้าใจว่า สุคติจะ

พึงมีแก่พระองค์.

[๔๙๖] พระราชานั้นทรงคร่ำครวญ อย่างน่า-

สงสารเป็นอันมาก ทรงถือหม้อน้ำ บ่ายพระพักตร์

ทางทิศทักษิณเสด็จหลีกไปแล้ว.

[๔๙๗] นั่นเสียงฝีเท้าใครหนอ เสียงฝีเท้ามนุษย์

เดินเป็นแน่ เสียงฝีเท้าสามบุตรเรา ไม่ดัง ดูก่อน

ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใครหนอ สามบุตรเรา

เดินเบา วางเท้าเบา เสียงฝีเท้าสามบุตรเราไม่ดัง

ท่านเป็นใครหนอ.

[๔๙๘] เราเป็นพระราชาของชาวกาสี คนเรียก

เราว่า พระเจ้าปิลยักษ์ เราละแว่นแคว้นเที่ยวแสวงหา

มฤคเพราะความโลภ อนึ่ง เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์

ปรากฏว่าเป็นผู้แม่นยำนัก แม้ช้างมาสู่ระยะลูกศรของ

เรา ก็ไม่พึงพ้นไปได้.

[๔๙๙] ข้าแต่มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาดี

แล้ว อนึ่ง พระองค์เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้

พระองค์ผู้มีอิสระเสด็จมาถึงแล้ว ขอจงทรงทราบสิ่ง

ที่มีอยู่ในที่นี้ ข้าแต่มหาบพิตร เชิญเสวยผลมะพลับ

ผลมะหาด ผลมะซาง และผลหมากเม่าอันเป็นผล-

ไม่เล็กน้อย ขอได้โปรดเลือกเสวยผลที่ดี ๆ เถิด ข้า

แต่มหาบพิตร ขอจงทรงดื่มน้ำซึ่งเป็นน้ำเย็น นำมา

แต่มิคสัมมตานที ซึ่งไหลจากซอกเขา ถ้าทรงพระ

ประสงค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

[๕๐๐] ท่านทั้งสองจักษุมืดไม่สามารถจะเห็น

อะไร ๆ ในป่า ใครเล่าหนอนำผลไม้มาเพื่อท่านทั้งสอง

ความสะสมผลไม้น้อยใหญ่ไว้โดยเรียบร้อยนี้ ปรากฏ

แก่ข้าพเจ้าว่า ดูเหมือนคนตาดีสะสมไว้.

[๕๐๑] สามะหนุ่มน้อยรูปร่างสันทัดงดงามน่าดู

เกศาของเธอยาวดำ เฟื้อยลงไปปลายงอนช้อนขึ้นข้าง

บน เธอนั่นแหละนำผลไม้มาถือหม้อน้ำจากที่นี่ ไปสู่

แม่น้ำนำน้ำมา เห็นจะกลับมาใกล้แล้ว.

[๕๐๒] ข้าพเจ้าได้ฆ่าสามกุมารผู้ปฏิบัติบำรุง

ท่านเสียแล้ว ผู้เป็นเจ้ากล่าวถึงสามกุมารผู้งดงามน่าดู

ใด เกศาของสามกุมารนั้นยาวดำเฟื้อยลงไปปลายงอน

ช้อนขึ้นเบื้องบน สานกุมารนั้นข้าพเจ้าฆ่าเสียแล้ว

นอนอยู่ที่หาดทรายเปรอะเปื้อนด้วยโลหิต.

[๕๐๓] ข้าแต่ทุกูลบัณฑิต ท่านพูดกับใครซึ่ง

บอกว่า ข้าพเจ้าฆ่าสามกุมารเสียแล้ว ใจของดิฉันย่อม

หวั่นไหวเพราะได้ยินว่า สามกุมารถูกฆ่าเสียแล้ว

กิ่งอ่อนแห่งต้นโพธิ์ใบอันลมพัดให้หวั่นไหว ฉันใด

ใจของดิฉันย่อมหวั่นไหวเพราะได้ยินว่า สามกุมารถูก

ฆ่าเสียแล้ว ฉันนั้น.

[๕๐๔] ดูก่อนนางปาริกา ท่านผู้นี้คือพระเจ้า

กาสี พระองค์ทรงยิงสามกุมารด้วยลูกศร ที่มิคสัมม-

ตานที ด้วยความโกรธ เราทั้งสองอย่าปรารถนาบาป

ต่อพระองค์เลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

[๕๐๕] บุตรที่รักอันหาได้ด้วยยาก ผู้ได้เลี้ยงเรา

ทั้งสองผู้ตามืดในป่า จะไม่ยังจิตให้โกรธ ในบุคคลผู้

ฆ่าบุตรคนเดียวนั้นได้อย่างไร.

[๕๐๖] บุตรที่รักอันหาได้ด้วยยาก ผู้ได้เลี้ยงเรา

ทั้งสองผู้ตามืดในป่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ

บุคคลผู้ไม่โกรธในบุคล ผู้ฆ่าบุตรคนเดียวนั้น.

[๕๐๗] ขอผู้เป็นเจ้าทั้งสองอย่าคร่ำครวญเพราะ

ข้าพเจ้ากล่าวว่า ข้าพเจ้าฆ่าสามกุมารเสียแล้ว ไปมาก

เลย ข้าพเจ้าจักรับการงานเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้าทั้งสองใน

ป่าใหญ่ ข้าพเจ้าเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ ปรากฏว่า

เป็นผู้แม่นยำนัก ข้าพเจ้าจักรับการงานเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้า

ทั้งสองในป่าใหญ่ ข้าพเจ้าจักฆ่ามฤคและแสวงหามูล

ผลในป่า รับการงานเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้าทั้งสองในป่า

ใหญ่.

[๕๐๘] ขอถวายพระพรมหาบพิตร สภาพนั่นไม่

สมควร การทรงทำอย่างนั้นไม่ควรในอาตมาทั้งสอง

สองพระองค์เป็นพระราชาของอาตมาทั้งสอง อาตมาทั้ง-

สองขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์.

[๕๐๙] ข้าแต่ท่านผู้เชื้อชาติเนสาท ท่านกล่าว

เป็นธรรม ท่านบำเพ็ญความถ่อมตนแล้ว ขอท่านจง

เป็นบิดาของข้าพเจ้า ข้าแต่นางปาริกา ขอท่านจงเป็น

มารดาของข้าพเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

[๕๑๐] ข้าแต่พระเจ้ากาสี อาตมาทั้งสองขอ

นอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ยังชาวกาสีให้

เจริญ อาตมาทั้งสองขอนอบน้อมแด่พระองค์ อาตมา

ทั้งสองประคองอัญชลีแด่พระองค์ ขอพระองค์โปรด

พาอาตมาทั้งสองไปให้ถึงสามกุมาร อาตมาทั้งสองจะ

สัมผัสเท้าทั้งสองและดวงหน้าอันงดงามน่าดูของเธอ

แล้วทรมานตนให้ถึงกาลกิริยา.

[๕๑๑] สามกุมารถูกฆ่านอนอยู่ที่ป่าใด ดุจดวง

จันทร์ดวงอาทิตย์ตกลงเหนือแผ่นดินแล้วเกลือกเปื้อน

ด้วยฝุ่นทราย ป่านั้นเป็นป่าใหญ่ เกลือนกล่นด้วย

พาลมฤค ปรากฏเหมือนที่สุดอากาศ ผู้เป็นเจ้าทั้งสอง

จงอยู่ในอาศรมนี้แหละ.

[๕๑๒] ถ้าในป่านั้นมีพาลมฤคตั้งร้อย ตั้งพันและ

ตั้งหมื่น อาตมาทั้งสองก็ไม่มีความกลัวในพาลมฤค

ทั้งหลายในป่าไหน ๆ เลย.

[๕๑๓] ในกาลนั้น พระเจ้ากาสีทรงพาฤาษี

ทั้งสองผู้ตามืดไปในป่าใหญ่ สุวรรณสามถูกฆ่าอยู่ใน

ที่ใด ก็ทรงจูงมือฤๅษีทั้งสองไปในที่นั้น.

[๕๑๔] ดาบสดาบสินีทั้งสองเห็นสามกุมารผู้เป็น

บุตรนอนเกลือกเปื้อนฝุ่นทราย ถูกทิ้งไว้ในป่าใหญ่

ดุจดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ตกเหนือแผ่นดินก็ปริเทว-

นาการน่าสงสาร ประคองแขนทั้งสองร้องไห้ว่าสภาพ

ไม่ยุติธรรมมาเป็นไปในโลกนี้ พ่อสามผู้งามน่าดู พ่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

มาหลับเอาจริง ๆ เคลิบเคลิ้มเอามากมายดั่งคนดื่มสุรา

เข้ม ขัดเคืองใครเอาใหญ่ ถือตัวมิใช่น้อย มีใจพิเศษ

ในเมื่อกาลล่วงไปอย่างนี้ในวันนี้ พ่อไม่พูดอะไร ๆ

บ้างเลย พ่อสามนี้เป็นผู้ปฏิบัติบำรุงเราทั้งสองผู้ตามืด

มาทำกาลกิริยาเสียแล้ว บัดนี้ใครเล่าจักชำระชฎาอัน

หม่นหมองเปื้อนฝุ่นละออง ใครเล่าจักจับกราดกวาด

อาศรมของเราทั้งสอง ใครเล่าจักจัดน้ำเย็นและนำร้อน

ให้อาบ ใครเล่าจักให้เราทั้งสองได้บริโภคมูลผลาหาร

ในป่า ลูกสามะนี้เป็นผู้ปฏิบัติบำรุงเราทั้งสองผู้ตามืด

มาทำกาลกิริยาเสียแล้ว.

[๕๑๕] มารดาผู้ระทมจิตด้วยความโศกถึงบุตร

ได้เห็นสามะผู้เป็นบุตรนอนเกลือกเปื้อนด้วยฝุ่นทราย

ได้กล่าวคำสัจว่า ลูกสามะนี้ได้เป็นผู้ประพฤติธรรม

เป็นปกติ ได้เป็นผู้ประพฤติดังพรหมเป็นปกติ ได้เป็น

ผู้กล่าวคำจริงมาแต่ก่อน ได้เป็นผู้เลี้ยงบิดามารดา ได้

เป็นผู้ประพฤติยำเกรงต่อท่านผู้เจริญในสกุล เป็นผู้

เป็นที่รักยิ่งกว่าชีวิตของเราโดยความจริงใด ๆ ด้วยการ

กล่าวความจริงนั้น ๆ ขอพิษของลูกสามะจงหายไป

บุญอย่างใดอย่างหนึ่งที่ลูกสามะกระทำแล้วแก่เราและ

แก่บิดาของเธอ มีอยู่ ด้วยอานุภาพกุศลบุญนั้น ทั้งหมด

ขอพิษของลูกสามะจงหายไป.

[๕๑๖] บิดาผู้ระทมจิตด้วยความโศกถึงบุตร ได้

เห็นสามะผู้เป็นบุตรนอนเกลือกเปื้อนด้วยฝุ่นทราย ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

กล่าวคำสัจว่า ลูกสามะนี้ได้เป็นผู้ประพฤติธรรมเป็น

ปกติ ได้เป็นผู้ประพฤติดังพรหมเป็นปกติ ได้เป็นผู้

กล่าวคำจริงมาแต่ก่อน ได้เป็นผู้เลี้ยงบิดามารดา ได้

เป็นผู้ประพฤติยำเกรงต่อท่านผู้เจริญในสกุล เป็นผู้

เป็นที่รักยิ่งกว่าชีวิตของเรา โดยความจริงใด ๆ ด้วย

การกล่าวความจริงนั้น ๆขอพิษของลูกสามะจงหายไป

บุญอย่างใดอย่างหนึ่งที่ลูกสามะกระทำแล้วแก่เราและ

แก่มารดาของเธอ มีอยู่ ด้วยอานุภาพกุศลบุญนั้น

ทั้งหมด ขอพิษของลูกสามะจงหายไป.

[๕๑๗] นางพสุนธรีเทพธิดาอันตรธานไปจาก

ภูเขาคันธมาทน์ มากล่าวสัจจวาจาด้วยความเอ็นดูสาม

กุมารว่า เราอยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์ตลอดราตรีนาน

ใคร ๆ อื่นซึ่งเป็นที่รักของเรากว่าสามกุมาร ไม่มี

ของหอมล้วนแล้วด้วยไม้หอมทั้งหมด ณ คันธมาทน์

บรรพตมีอยู่ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอพิษของสามกุมารจง

หายไป เมื่อฤๅษีทั้งสองบ่นเพ้อรำพันเป็นอันมากน่า-

สงสาร สามกุมารผู้หนุ่มงดงามน่าทัศนา ก็ลุกขึ้น

เร็วพลัน.

[๕๑๘] ข้าเจ้ามีนามว่าสามะ ขอความเจริญจง

มีแก่ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าลุกขึ้นได้แล้วโดยสวัสดี

ขอท่านทั้งหลายอย่าคร่ำครวญนักเลย จงพูดกะข้าพเจ้า

ด้วยเสียงอันไพเราะเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

[๕๑๙] ข้าแต่มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาดี

แล้ว อนึ่ง พระองค์เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้ พระ-

องค์ผู้มีอิสระเสด็จมาถึงแล้ว ขอจงทรงทราบสิ่งที่มีอยู่

ในที่นี้ ข้าแต่มหาบพิตร เชิญเสวยผลมะพลับ ผล

มะหาด ผลมะซาง และผลหมากเม่า อันเป็นผลไม้

เล็กน้อย ขอได้โปรดเสือกเสวยผลพี่ดี ๆ เถิด ข้าแต่

มหาบพิตร ขอจงทรงดื่มนำซึ่งเป็นน้ำเย็น นำมาแต่

มิคสัมมตานที ซึ่งไหลมาจากซอกเขา ถ้าทรงพระ

ประสงค์.

[๕๒๐] ข้าพเจ้าหลงเอามาก หลงเอาจริง ๆ

มืดไปทั่วทิศ ข้าพเจ้าได้เห็นสามบัณฑิตนั้น ทำกาล

กิริยาแล้ว ทำไมท่านเป็นได้อีกเล่าหนอ.

[๕๒๑] ข้าแต่มหาราชเจ้า โลกย่อมสำคัญซึ่ง

บุคคลผู้ยังมีชีวิตอยู่ เสวยเวทนาอย่างหนัก มีความ

ดำริในใจเข้าไปใกล้แล้ว ยังเป็นอยู่แท้ ๆ ว่าตายแล้ว

ข้าแต่มหาราชเจ้า โลกย่อมสำคัญซึ่งบุคคลผู้ยังมีชีวิต

อยู่ เสวยเวทนาอย่างหนัก ถึงความดับสนิท ระงับ

แล้วนั้น ยังเป็นอยู่แท้ ๆ ว่าตายแล้ว.

[๕๒๒] บุคคลใดเลี้ยงดูบิดามารดาโดยธรรม

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมแก้ไขคุ้มครองบุคคลผู้

เลี้ยงบิดามารดานั้น บุคคลใดเลี้ยงดูบิดามารดาโดย

ธรรม นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญ บุคคลผู้นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

ในโลกนี้ บุคคลนั้นละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิง

อยู่ในสวรรค์.

[๕๒๓] ข้าพเจ้านี้หลงเอามากจริง ๆ มืดไปทั่ว

ทิศ ท่านสามบัณฑิต ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นสรณะ

และขอท่านจงเป็นสรณะของข้าพเจ้า.

[๕๒๔] ข้าแต่ขัตติยมหาราช ขอพระองค์ทรง

ประพฤติธรรมในพระชนกพระชนนี ในพระโอรส

และพระมเหสี ในมิตรและอมาตย์ ในพาหนะและ

พลนิกาย ในชาวบ้านและชาวนิคม ในชาวแว่นแคว้น

และชาวชนบทในสมณะและพราหมณ์ ในฝูงมฤคและ

ฝูงปักษีเถิด ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมนั้น ๆ

ในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่มหาราชเจ้า

ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมเถิด ธรรมที่พระองค์

ทรงประพฤติแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ครั้นพระองค์

ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์

ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมเถิด

พระอินทร์เทพเจ้าพร้อมทั้งพระพรหมถึงแล้วซึ่งทิพย-

สถานด้วยธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ข้าแต่พระราชา ขอ

พระองค์อย่าทรงประมาทธรรม.

จบสุวรรณสามชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

อรรถกถามหานิบาต

สุวรรณสามชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภ

พระภิกษุรูปหนึ่งผู้เลี้ยงมารดา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า โก นุ ม อุสุนา

วิชฺฌิ ดังนี้ เป็นต้น.

ดังได้สดับมา ในกรุงสาวัตถี มีกุลบุตรผู้หนึ่งเป็นบุตรคนเดียวของสกุล

เศรษฐีผู้หนึ่งซึ่งมีทรัพย์สมบัติสิบแปดโกฏิ กุลบุตรนั้นเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจ

ของบิดามารดา วันหนึ่ง เขาอยู่บนปราสาทเปิดสีหบัญชรแลดูในถนนใหญ่

เห็นมหาชนถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร เพื่อต้อง

การสดับพระธรรมเทศนา จึงคิดว่า แม้ตัวเราก็จักไปกับพวกนั้นบ้าง จึงให้

คนถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปสู่พระวิหาร ถวายผ้าเภสัชและน้ำดื่ม

เป็นต้นแด่พระสงฆ์ และบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยของหอมและดอกไม้

เป็นต้น ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนาแล้วเห็น

โทษในกามทั้งหลาย กำหนดอานิสงส์แห่งบรรพชา ครั้นบริษัทลุกไปแล้ว จึง

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลขอบรรพชา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสกะกุลบุตรนั้น อย่างนี้ว่า พระตถาคตทั้งหลายไม่ยังบุตรที่บิดามารดายังมิได้

อนุญาตให้บรรพชา กุลบุตรได้พึงรับสั่งดังนั้น จึงถวายบังคมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า กลับไปเคหสถาน ไหว้บิดามารดาด้วยความเคารพเป็นอันดีแล้วกล่าว

อย่างนี้ว่า ข้าแต่คุณพ่อคุณแม่ ข้าพเจ้าจักบวชในสำนักพระตถาคต ลำดับนั้น

บิดามารดาของกุลบุตรนั้นได้ฟังคำของเขาแล้ว ก็เป็นราวกะมีหัวใจแตกเป็น

เจ็ดเสี่ยง เพราะมีบุตรคนเดียว หวั่นไหวอยู่ด้วยความสิเนหาในบุตร ได้กล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

อย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อผู้เป็นบุตรที่รัก ผู้เป็นหน่อแห่งสกุล ผู้เป็นดั่งดวงตา

ผู้เช่นกับชีวิตของเราทั้งสอง เราทั้งสองเว้นจากเจ้าเสีย จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร

ชีวิตของเราทั้งสองเนื่องในเจ้า เราทั้งสองก็แก่เฒ่าแล้ว จักตายในวันนี้พรุ่งนี้

หรือมะรืนนี้ เจ้ายังจะละเราทั้งสองไปเสียอีก ธรรมดาว่าบรรพชาอันบุคคล

ทำได้ยากยิ่ง เมื่อต้องการเย็น ย่อมได้ร้อน เมื่อต้องการร้อน ย่อมได้เย็น

เพราะเหตุนั้น เจ้าอย่าบวชเลย กุลบุตรได้สดับคำของบิดามารดาดังนั้น ก็มี

ความทุกข์โทมนัส นั่งก้มศีรษะซบเซา ไม่บริโภคอาหารเจ็ดวัน ลำดับนั้น

บิดามารดาของกุลบุตรนั้น คิดกันอย่างนี้ว่า ถ้าบุตรของเราไม่ได้รับ อนุญาต

ให้บวชก็จักตาย เราจักไม่ได้เห็นเขาอีกเลย บุตรเราเป็นอยู่ด้วยเพศบรรพชิต

เราจักได้เห็นอีกต่อไป ครั้นคิดเห็นกันอย่างนี้แล้วจึงอนุญาตว่า ดูก่อนพ่อ

ผู้เป็นลูกรัก เราอนุญาตให้เจ้าบวช เจ้าจงบวชเถิด กุลบุตรได้ฟังดังนั้นก็มี

ได้ยินดี น้อมสรีระทั้งสิ้นลงกราบแทบเท้าบิดามารดา ลาออกจากกรุงสาวัตถี

ไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลขอบรรพชา

พระศาสดาตรัสสั่งภิกษุหนึ่งให้บวชกุลบุตรนั้น เป็นสามเณร จำเดิมแต่

สามเณรนั้นบวชแล้ว ลาภสักการะเกิดขึ้นเป็นอันมาก สามเณรนั้นยังอาจารย์

และอุปัชฌาย์ให้ยินดีอุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว เล่าเรียนธรรมอยู่ห้าพรรษา

ดำริว่า เราอยู่ในที่นี้เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ญาติเป็นต้น หาสมควรแก่เราไม่

เป็นผู้ใคร่จะบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ จึงเรียนกรรมฐานในสำนักอุปัชฌาย์ ออก

จากวิหารเชตวันไปสู่ปัจจันตคามแห่งหนึ่งอยู่ในป่าอาศัยปัจจันตคามนั้น ภิกษุ

นั้นเจริญวิปัสสนาในที่นั้น แม้เพียรพยายามอยู่ถึงสิบสองปี ก็ไม่สามารถยัง

ธรรมวิเศษให้เกิด ฝ่ายบิดามารดาของภิกษุนั้น ครั้นเมื่อกาลล่วงไปได้ขัดสน

ลง คิดเห็นว่า ก็เหล่าชนที่ประกอบการนาหรือพาณิชย์ บุตรหรือพี่น้องที่จะ

เตือนนึกถึงพาพวกเราไปไม่มีในสกุลนี้ พวกเขาถือเอาทรัพย์ตามกำลังของตน ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

หนีไปตามชอบใจ แม้ทาสกรรมกรในเรือนเป็นต้น ก็ถือเอาเงินทองเป็นต้น

หนีไป ครั้นต่อมา ชนทั้งสองจึงตกทุกข์ได้ยากเหลือเกิน ไม่ได้แม้การรดน้ำ

ในมือ ต้องขายเรือน ไม่มีเรือนอยู่ ถึงความเป็นผู้น่าสงสารอย่างยิ่ง นุ่งห่ม

ผ้าท่อนเก่า ถือกระเบื้องเที่ยวขอทานที่นี่ที่นั่น ในกาลนั้น ภิกษุรูปหนึ่งออก

จากพระเชตวันมหาวิหารไปถึงที่อยู่ของภิกษุบุตรเศรษฐีอนาถานั้น ภิกษุเศรษฐี

บุตรนั้นทำอาคันตุกวัตรแก่ภิกษุนั้นแล้ว นั่งเป็นสุขแล้วจึงถามว่า ท่านมา

แต่ไหน ภิกษุอาคันตุกะแจ้งว่ามาแต่พระเชตวัน จึงถามถึงความผาสุกแห่ง

พระศาสดาและของพระมหาสาวกเป็นต้น แล้วถามถึงข่าวคราวแห่งบิดามารดา

ว่า ท่านขอรับ สกุลเศรษฐีชื่อโน้นในกรุงสาวัตถีสบายดีหรือ ภิกษุอาคันตุกะ

ตอบว่า อาวุโส ท่านอย่าถามถึงข่าวคราวแห่งสกุลนั้นเลย ถามว่า เป็น

อย่างไรหรือท่านตอบว่า ได้ยินว่า สกุลนั้นมีบุตรคนเดียว เขาบวชในพระ-

ศาสนา จำเดิมแต่เขาบวชแล้ว สกุลนั้นก็เสื่อมสิ้นไป บัดนี้เศรษฐีทั้งสอง

เป็นกำพร้าน่าสงสารอย่างยิ่ง ถือกระเบื้องเที่ยวขอทาน ภิกษุเศรษฐีบุตรได้

ฟังคำของภิกษุอาคันตุกะแล้ว ก็ไม่อาจจะทรงตัวอยู่ได้ มีน้ำตานองหน้าเริ่ม

ร้องไห้ พระเถระเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า เธอร้องไห้ทำไม ภิกษุเศรษฐีบุตร

ตอบว่า ท่านขอรับ ชนสองคนนั้นเป็นบิดามารดาของกระผม กระผมเป็น

บุตรของท่านทั้งสองนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า บิดามารดาของเธอถึงความ

พินาศเพราะอาศัยเธอ เธอจงไปปฏิบัติบิดามารดานั้น ภิกษุเศรษฐีบุตรคิดว่า

เราแม้เพียรพยายามอยู่ถึงสิบสองปี ก็ไม่สามารถที่จะยังมรรคหรือผลให้บังเกิด

เราจักเป็นคนอาภัพ ประโยชน์อะไรด้วยบรรพชาเล่า เราจักเป็นคฤหัสถ์เลี้ยง

บิดามารดา ให้ทาน ก็เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า คิดฉะนี้แล้ว

มอบสถานที่อยู่ในป่าแก่พระเถระนั้น นมัสการะเถระแล้ว รุ่งขึ้นจึงออก

จากป่าไปโดยลำดับ ลุถึงวิหารหลังพระเชตวัน ไม่ไกลกรุงสาวัตถี ณ ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

ตรงนั้นเป็นทางสองแพร่ง ทางหนึ่งไปพระเชตวัน ทางหนึ่งไปในกรุงสาวัตถี

ภิกษุนั้นหยุดอยู่ตรงนั้น คิดว่า เราจักไปหาบิดามารดาก่อน หรือจักไปเฝ้า

พระทศพลก่อน แล้วคิดต่อไปว่า เราไม่ได้พบบิดามารดานานแล้วก็จริง แต่

จำเดิมแต่นี้ เราจักได้เฝ้าพระพุทธเจ้าได้ยาก วันนี้เราจักเฝ้าพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าแล้วฟังธรรม รุ่งขึ้นจึงไปหาบิดามารดาแต่เช้าเทียว คิดฉะนี้แล้ว ละ

บรรดาไปกรุงสาวัตถี ไปสู่บรรดาที่ไปพระเชตวัน ถึงพระเชตวันเวลาเย็น.

ก็วันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็น

อุปนิสัยแห่งภิกษุผู้เป็นบุตรแห่งสกุลรูปนี้ พระองค์จึงทรงพรรณนาคุณแห่ง

บิดามารดาด้วยมาตุโปสกสูตร ในเวลาที่ภิกษุนั้นมาถึง ก็ภิกษุนั้นยืนอยู่ในที่

สุดบริษัท สดับธรรมกถาอันไพเราะ จึงรำพึงว่า เราคิดไว้ว่าจักเป็นคฤหัสถ์

อาจบำรุงปฏิบัติบิดามารดา แต่พระศาสดาตรัสว่า แม้เป็นบรรพชิตก็ทำอุปการะ

แก่บิดามารดาได้ ถ้าเราไม่ได้มาเฝ้าพระศาสดาก่อนแล้วไป พึงเสื่อมจาก

บรรพชาเห็นปานนี้ ก็บัดนี้ เราไม่ต้องสึกเป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิตอยู่นี่แหละ

จักบำรุงบิดามารดา ภิกษุนั้นถวายบังคมพระศาสดาแล้วออกจากพระเชตวัน ไป

สู่โรงสลาก รับสั่งอาหารและยาคูที่ได้ด้วยสลาก เป็นภิกษุอยู่ป่าสิบสองปี ได้

เป็นเหมือนถึงความเป็นผู้พ่ายแพ้แล้ว ภิกษุนั้นเข้าไปในกรุงสาวัตถีแต่เช้า

ทีเดียว คิดว่าเราจักรับข้าวยาคูก่อนหรือไปหาบิดามารดาก่อน แล้วคิดว่า

การมีมือเปล่าไปสู่สำนักคนกำพร้าไม่สมควร จึงถือเอายาคูไปสู่ประตูเรือนเก่า

ของบิดามารดาเหล่านั้น ได้เห็นบิดามารดาเที่ยวขอยาคูแล้วเข้าอาศัยริมฝาเรือน

คนอื่นนั่งอยู่ ถึงความเป็นคนกำพร้าเข็ญใจ ก็มีความโศกเกิดขึ้น มีน้ำตา

นองหน้ายืนอยู่ในที่ใกล้ ๆ บิดามารดาทั้งสองนั้น บิดามารดาแม้เห็นท่านแล้ว

ก็จำไม่ได้ มารดาของภิกษุนั้นสำคัญว่า ภิกษุนั้นจักยืนเพื่อภิกขาจาร จึง

กล่าวว่า ของเคี้ยวของฉันอันควรถวายพระผู้เป็นเจ้าไม่มี นิมนต์โปรดสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

ข้างหน้าเถิด ภิกษุนั้นได้ฟังคำแห่งมารดา ก็เกิดความโศกเป็นกำลัง มีน้ำตา

นองหน้ายืนอยู่ตรงนั้นเอง เพราะได้รับความเศร้าใจ แม้มารดากล่าวเช่นนั้น

สองครั้งสามครั้ง ก็ยังยืนอยู่นั่นเอง ลำดับนั้น บิดาของภิกษุนั้น พูดกะมารดาว่า

จงไปดู นั่นบุตรของเราทั้งสองหรือหนอ นางลุกขึ้นแล้วไปใกล้ภิกษุนั้น แลดู

ก็จำได้ จึงหมอบปริเทวนาการแทบเท้าแห่งภิกษุผู้เป็นบุตร ฝ่ายบิดาไปบ้าง

ก็ร้องไห้ตรงที่นั้นเหมือนกัน น่าสงสารเหลือเกิน ฝ่ายภิกษุนั้น เห็นบิดามารดา

ก็ไม่อาจจะทรงกายอยู่ได้จึงร้องไห้ ภิกษุนั้นกลั้นความโศกแล้วกล่าวว่า ท่าน

ทั้งสองอย่าคิดเลย อาตมาจักเลี้ยงดูท่านให้ผาสุก ยังบิดามารดาให้อุ่นใจแล้ว

ให้ดื่มยาคู ให้นั่งพักในที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว นำภิกษาหารมาอีกให้บิดามารดา

บริโภค แล้วแสวงหาภิกษาเพื่อน ไปสู่สำนักบิดามารดา ถามเรื่องภัตตาหาร

อีก ได้รับตอบว่า ไม่บริโภค จึงบริโภคเอง แล้วให้บิดามารดาอยู่ในที่ควร

แห่งหนึ่ง ภิกษุนั้นได้ปฏิบัติบิดามารดาทั้งสองโดยทำนองนี้ดังแต่นั้นมา แม้ภัต

ที่เกิดในปักษ์เป็นต้นที่ตนได้มา ก็ให้แก่บิดามารดา ตนเองเที่ยวภิกษาจาร ได้

มาถึงบริโภค เมื่อไม่ได้ก็ไม่บริโภค ได้ผ้าจำพรรษาก็ตาม ผ้าอย่างใดอย่างหนึ่ง

ซึ่งเป็นอดิเรกลาภก็ตาม ก็ให้แก่บิดามารดา ซักย้อมผ้าเก่า ๆ ที่บิดามารดา

นุ่งห่มแล้ว เย็บปูนุ่งห่มเอง ก็วันที่ภิกษุนั้นได้อาหาร มีน้อยวัน วันที่ไม่ได้

มีมากกว่า ผ้านุ่งผ้าห่มของภิกษุนั้นเศร้าหมองเต็มที เมื่อภิกษุนั้น ปฏิบัติบิดา

มารดาต่อมา ก็เป็นผู้ซูบผอมเศร้าหมองไม่ผ่องใส กายเหลืองขึ้น ๆ มีตัวดาษ

ไปด้วยเส้นเอ็น ครั้งนั้นเหล่าภิกษุที่เป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกันมาเห็นภิกษุนั้น

จึงถามว่า อาวุโส แต่ก่อนสรีรวรรณะของเธองามสดใส แต่บัดนี้เธอซูบผอม

เศร้าหมองไม่ผ่องใส กายเหลืองขึ้น ๆ มีตัวดาษไปด้วยเส้นเอ็น พยาธิเกิดขึ้น

แก่เธอหรือ ภิกษุนั้นตอบว่า อาวุโส ข้าพเจ้าไม่มีพยาธิ แต่มีความกังวล

แล้วบอกประพฤติเหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวว่า อาวุโส พระศาสดาไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

ประทานอนุญาตเพื่อยังของที่เขาให้ด้วยศรัทธาให้ตกไป ก็ท่านถือเอาของที่เขา

ให้ด้วยศรัทธามาให้แก่เหล่าคฤหัสถ์ ทำกิจไม่สมควร ภิกษุนั้น ได้พึงถ้อยคำ

ของภิกษุเหล่านั้นก็ละอาย ทอดทิ้งมาตาปิตุปัฏฐานกิจเสีย ภิกษุเหล่านั้น ยังไม่

พอใจ แม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ จึงพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อโน้นยังของที่เขาให้ด้วยศรัทธาให้ตกไป

เลี้ยงดูคฤหัสถ์ พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาตรัสถามว่า แน่ะภิกษุ ได้ยินว่า

เธอถือเอาศรัทธาไทยไปเลี้ยงคฤหัสถ์ จริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลรับว่าจริง

พระเจ้าข้า เมื่อทรงใคร่จะสรรเสริญการกระทำของภิกษุนั้น และทรงใคร่จะ

ประกาศบุพจริยาของพระองค์ จึงตรัสถามว่า แน่ะภิกษุ เมื่อเธอเลี้ยงดูเหล่า

คฤหัสถ์ เลี้ยงดูคฤหัสถ์เหล่าไหน ภิกษุนั้นกราบทูลว่า บิดามารดาของข้า

พระองค์ พระเจ้าข้า เพื่อจะยังความอุตสาหะให้เกิดแก่ภิกษุนั้น พระศาสดา

ได้ทรงประทานสาธุการสามครั้งว่า สาธุ สาธุ สาธุ แล้วตรัสว่า เธอดำรง

อยู่ในทางที่เราดำเนินแล้ว แม้เราเมื่อประพฤติบุพจริยาก็ได้บำรุงเลี้ยงบิดา

มารดา ภิกษุนั้นกลับได้ความเบิกบานใจ ลำดับนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบ

ทูลวิงวอนให้ทรงประกาศบุพจริยา พระศาสดาจึงทรงนำอดีตนิทานมาแสดง

ดังต่อไปนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล ณ ที่ไม่ไกลแต่กรุงพาราณสี มีบ้าน

นายพรานบ้านหนึ่งริมฝั่งนี้แห่งแม่น้ำ และมีบ้านนายพรานอีกบ้านหนึ่งริมฝั่ง

โน้นแห่งแม่น้ำ ในบ้านแห่งหนึ่ง ๆ มีตระกูลประมาณห้าร้อยตระกูล นาย

เนสาทผู้เป็นใหญ่สองตนในบ้านทั้งสองเป็นสหายกัน ในเวลาที่ยังหนุ่มอยู่ เขา

ได้ทำกติกาสัญญากันอย่างนี้ว่า ถ้าข้างหนึ่งมีธิดา ข้างหนึ่งมีบุตร เราจักทำ

อาวาหวิวาทมงคลแก่บุตรธิดาเหล่านั้น ลำดับนั้น ในเรือนของนายเนสาท

ผู้เป็นใหญ่ในบ้านริมฝั่งนี้คลอดบุตร บิดามารดาให้ชื่อว่า ทุกูลกุมาร เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

กุมารนั้นอันญาติทั้งหลายรองรับด้วยทุกูลพัสตร์ในขณะเกิด ในเรือนของนาย

เนสาทผู้เป็นใหญ่อีกคนหนึ่งคลอดธิดา บิดามารดาให้ชื่อว่า ปาริกากุมารี

เพราะนางเกิดฝั่งโน้น กุมารกุมารีทั้งสองนี้รูปงามน่าเลื่อมใสมีผิวพรรณดัง

ทองคำ แม้เกิดในสกุลนายพรานก็ไม่ทำปาณาติบาต.

กาลต่อมา เมื่อทุกูลกุมารมีอายุได้สิบหกปี บิดามารดาพูดว่า จะนำ

กุมาริกามาเพื่อเจ้า แต่ทุกูลกุมารมาแต่พรหมโลก เป็นสัตว์บริสุทธิ์ จึงปิดหู

ทั้งสองกล่าวว่า ข้าแต่คุณพ่อคุณแม่ ฉันไม่ต้องการอยู่ครองเรือน โปรดอย่า

ได้พูดอย่างนี้ แม้บิดามารดาพูดอยู่ถึงสองครั้งสามครั้ง ก็ไม่ปรารถนา ฝ่าย

ปาริกากุมารีแม้บิดามารดาพูดว่า แนะแน่ บุตรของสหายเรามีอยู่ เขามีรูปงาม

น่าเลื่อมใสมีผิวพรรณดั่งทองคำ เราจักให้ลูกแก่เขา นางปาริกาก็กล่าวห้าม

อย่างเดียวกัน แล้วปิดหูทั้งสองเสีย เพราะนางมาแต่พรหมโลกเป็นสัตว์บริสุทธิ์.

ในคราวนั้น ทุกูลกุมารส่งข่าวลับไปถึงนางปาริกาว่า ถ้าปาริกามี

ความต้องการด้วยเมถุนธรรม ก็จงไปสู่เรือนของบุคคลอื่น ฉันไม่มีความพอ

ใจในเมถุน แม้นางปาริกาก็ส่งข่าวลับ ไปถึงทุกูลกุมารเหมือนกัน แต่บิดามารดา

ได้กระทำอาวาหวิวาหมงคล แก่กุมารกุมารีทั้งสองผู้ไม่ปรารถนาเรื่องประ-

เวณีเลย เขาทั้งสองมิได้หยั่งลงสู่สมุทรคือกิเลส อยู่ด้วยกันเหมือนมหาพรหม

สององค์ ฉะนั้น ฝ่ายทุกูลกุมารไม่ฆ่าปลาหรือเนื้อ โดยที่สุดแม้เนื้อที่บุคคล

นำมา ก็ไม่ขาย ลำดับนั้น บิดามารดาพูดกะเขาว่า แน่ะพ่อ เจ้าเกิดในสกุล

นายพราน ไม่ปรารถนาอยู่ครองเรือน ไม่ทำการฆ่าสัตว์ เจ้าจักทำอะไร

ทุกูลกุมาร กล่าวตอบอย่างนี้ว่า ข้าแต่คุณพ่อคุณแม่ เมื่อท่านทั้งสองอนุญาต

เราทั้งสองก็จักบวช บิดามารดาได้ฟังดังนั้น จึงอนุญาตว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้า

ทั้งสองจงบวชเถิด ทุกูลกุมารและปาริกากุนารีก็ยินดีร่าเริง ไหว้บิดามารดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

แล้วออกจากบ้าน เข้าสู่หิมวันตประเทศทางฝั่งแม่น้ำคงคา โดยลำดับ ละแม่

น้ำคงคามุ่งตรงไปแม่น้ำมิคสัมมตา ซึ่งไหลลงมาแต่หิมวันตประเทศถึงแม่-

น้ำคงคา.

ขณะนั้น พิภพแห่งท้าวสักกเทวราชสำแดงอาการเร่าร้อน ท้าว

สักกเทวราชทรงอาวัชนาการก็ทรงทราบการณ์นั้น จึงตรัสเรียกพระวิสสุกรรม

เทพบุตรมา ตรัสว่า แน่ะพ่อวิสสุกรรม ท่านมหาบุรุษทั้งสองออกจากบ้าน

ใคร่จะบวชเป็นฤๅษี เข้าสู่หิมวันตประเทศ ควรที่ท่านทั้งสองนั้นจะได้ที่อยู่

ท่านจงเนรมิตบรรณศาลา และบรรพชิตบริขารเพื่อท่านทั้งสองนั้น ณ ภายใน

กึ่งเสียงกู่ ตั้งแต่มิคสัมมตานที เสร็จแล้วกลับมา พระวิสสุกรรมเทพบุตรรับ

เทวบัญชาแล้ว ไปจัดกิจทั้งปวงโดยนัยทีกล่าวแล้วในมูคปักขชาดก ไล่เนื้อและ

นกที่มีสำเนียง ไม่เป็นที่ชอบใจให้หนีไป แล้วเนรมิตมรรคาเดินผู้เดียว แล้ว

กลับไปที่อยู่ของตน กุมารกุมารีทั้งสองเห็นทางนั้น แล้วก็เดินไปตามทางนั้น

ถึงอาศรมบท ทุกูลบัณฑิตเข้าสู่บรรณศาลา เห็นบรรพชิตบริขารก็ทราบสักก-

ทัตติยภาพว่า สักกะประทานแก่เรา จึงเปลื้องผ้าสาฎก ออกนุ่งผ้าเปลือก

ไม้สีแดงผืนหนึ่งห่มผืนหนึ่ง พาดหนังเสือบนบ่า ผูกมณฑลชฎาทรงเพศฤๅษี

แล้วให้นางปาริกาบวชเป็นฤๅษิณี ฤๅษีฤๅษิณีทั้งสององค์นั้น เจริญเมตตภูมิ-

กามาพจรอาศัยอยู่ในที่นั้น แม้ฝูงเนื้อและนกทั้งปวง ก็กลับได้เมตตาจิตต่อกัน

และกัน ด้วยอานุภาพเมตตาแห่งดาบสดาบสินีทั้งสองนั้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น

ไม่มีสัตว์ไร ๆ เบียดเบียนสัตว์ไร ๆ เลย ฝ่ายปาริกาดาบสินีลุกขึ้นแต่เช้า

ตั้งน้ำดื่มและของฉันแล้วกวาดอาศรมบททำกิจทั้งปวง ดาบสและดาบสินีทั้ง

สองนั้น นำผลไม้เล็กใหญ่มาฉัน แล้วเข้าสู่บรรณศาลาของตน ๆ เจริญสมณ

ธรรม สำเร็จการอยู่ในที่นั้นนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

ท้าวสักกเทวราชเสด็จมาสู่ที่บำรุงแห่งพระมุนีทั้งสองนั้น วันหนึ่งพระ

องค์ทรงพิจารณาเห็นอันตรายแห่งพระมุนีทั้งสองนั้นว่า จักษุทั้งสองข้างของ

ท่านทั้งสองนี้จักมืด จึงลงมาจากเทวโลกเข้าไปหาทุกูลบัณฑิต นมัสการแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ตรัสอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อันตรายจะปรากฏแก่

ท่านทั้งสอง ควรที่ท่านทั้งสองจะได้บุตรไว้สำหรับปฏิบัติท่าน ขอท่านทั้งสอง

จงเสพโลกธรรม ทุกูลบัณฑิตได้สดับคำของท้าวสักกเทวราชจึงกล่าวว่า ดูก่อน

ท้าวสักกะ พระองค์ตรัสอะไร เราทั้งสองแม้อยู่ท่ามกลางเรือนก็หาได้เสพโลก

ธรรมไม่ เราทั้งสองละโลกธรรมนี้ เกลียดดุจกองคูถอันเต็มไปด้วยหนอน ก็

บัดนี้ เราทั้งสองเข้าป่าบวชเป็นฤๅษี จักกระทำกรรมเช่นนี้อย่างไรได้ ท้าว

สักกเทวราชตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าไม่ต้องทำอย่างนั้น เป็น

แต่เอามือลูบท้องปาริกาดาบสินีเวลานางมีระดู ทุกูลบัณฑิตรับว่า อย่างนี้อาจ

ทำได้ ท้าวสักกเทวราช นมัสการทุกูลดาบสแล้วกลับ ไปที่อยู่ของตน ฝ่ายทุกูล

บัณฑิตก็บอกนางปรริกาให้รู้ตัว แล้วเอามือลูบท้องนาง ในเวลาที่นางมีระดู.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์จุติจากเทวโลก ถือปฏิสนธิในท้องนางปาริ-

กาฤๅษีณี กาลล่วงไปได้สิบเดือน นางคลอดบุตรมีผิวพรรณดั่งทองคำ ด้วย

เหตุนั้นเอง บิดามารดาจึงตั้งชื่อบุตรว่า สุวรรณสามกุมาร เวลาที่ปาริกาดาบ-

สินี ไปป่าเพื่อหามูลผลาผล นางกินรีทั้งหลายที่อยู่ภายในบรรพ ได้ทำหน้าที่

นางนม ดาบสดาบสินีทั้งสองสรงน้ำพระโพธิสัตว์แล้วให้บรรทมในบรรณศาลา

แล้วพากันไปหาผลไม้เล็กใหญ่ ในขณะนั้น นางกินรีทั้งหลาย อุ้มกุมารไป

สรงน้ำที่ซอกเขาเป็นต้น แล้วขึ้นสู่ยอดบรรพต ประดับด้วยบุปผชาติต่าง ๆ

แล้วฝนหรดาลและมโนศิลาเป็นต้นที่แผ่นศิลา ประให้เป็นเม็ดที่นลาตแล้วนำ

มาให้ไสยาสน์ในบรรณศาลา ฝ่ายนางปาริกากลับมาก็ให้บุตรดื่มนม กาลต่อ

มา บิดามารดาปกปักรักษาบุตรนั้น จนมีอายุได้สิบหกปี ให้นั่งอยู่ในบรรณ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

ศาลา ตนเองพากันไปป่าเพื่อหามูลผลาผลในป่า ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรง

คิดว่า อันตรายอะไร ๆ จะพึงมีแก่บิดามารดาของเรา ในกาลบางคราว จึง

ทรงสังเกตทางที่บิดามารดาไป.

อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อดาบสดาบสินีทั้งสองนำมูลผลาผลในป่ากลับมาใน

เวลาเย็น ถึงที่ใกล้อาศรมบท มหาเมฆตั้งขึ้นฝนตก ท่านทั้งสองจึงเข้าไปสู่

โคนไม้แห่งหนึ่ง ยืนอยู่บนยอดจอมปลวก อสรพิษมีอยู่ภายในจอมปลวกนั้น

น้ำฝนเจือกลิ่นเหงื่อจากสรีระของสองท่านนั้น ไหลลงเข้ารูจมูกแห่งอสรพิษนั้น

มันโกรธพ่นลมในจมูกออกนา ลมในจมูกนั้นถูกจักษุทั้งสองข้างแห่งดาบสและ

ดาบสินีนั้น ทั้งสองท่านก็เป็นคนจักษุมืดไม่เห็นกันและกัน เพราะลมนั้น

ทุกูลบัณฑิตเรียกนางปาริกามาบอกว่า ปาริกา จักษุทั้งสองของฉันมืด ฉัน

มองไม่เห็นเธอ แม้นางปาริกา ก็กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน ทั้งสองมองไม่เห็น

ทางก็ยืนคร่ำครวญอยู่ด้วยเข้าใจว่า บัดนี้ชีวิตของเราทั้งสองไม่มีละ.

ก็ดาบสและดาบสินีทั้งสองนั้น มีบุรพกรรมเป็นอย่างไร ได้ยินว่า

ท่านทั้งสองนั้นในปางก่อนเกิดในสกุลแพทย์ ครั้งนั้น แพทย์นั้นรักษาโรคใน

จักษุของบุรุษมีทรัพย์มากคนหนึ่ง บุรุษนั้นจักษุหายดีแล้ว ไม่ให้ทรัพย์ค่า

รักษาอะไร ๆ แก่แพทย์นั้น แพทย์โกรธเขา ไปสู่เรือนแจ้งแก่ภริยาของตน

ว่า ที่รัก ฉันรักษาโรคในจักษุของบุรุษนั้นหาย บัดนี้เขาไม่ให้ทรัพย์ค่ารักษา

แก่ฉัน เราจะทำอย่างไรดี ฝ่ายภริยาได้สดับสามีกล่าวก็โกรธ จึงกล่าวว่า

เราไม่ต้องการทรัพย์ที่มีอยู่ของมัน ท่านจงประกอบยาขนานหนึ่งให้มันหยอด

ทำจักษุทั้งสองของมันให้บอดเสียเลย สามีเห็นชอบด้วย จึงออกจากเรือนไป

หาบุรุษนั้น ได้กระทำตามนั้น บุรุษผู้มีทรัพย์มากคนนั้น ไม่นานนักก็กลับ

จักษุมืดไปอีก ดาบสและดาบสินีทั้งสองมีจักษุมืดด้วยบาปกรรมอันนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์คิดว่า บิดามารดาของเรา ในวันอื่น ๆ เคย

กลับเวลานี้ บัดนี้เราไม่รู้เรื่องราวของท่านทั้งสองนั้น จึงเดินสวนทางร้องเรียก

หาไป ท่านทั้งสองนั้นจำเสียงบุตรได้ก็ขานรับ แล้วกล่าวห้ามด้วยความรักใน

บุตรว่า มีอันตรายในที่นี้ อย่ามาเลยลูก พระมหาสัตว์ตอบท่านทั้งสองว่า

ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งสองจงจับปลายไม้เท้านี้มาเถิด แล้วยื่นไม้เท้ายาวให้ท่าน

ทรงลองจับ ท่านทั้งสองจับปลายไม้เท้าแล้วมาหาบุตร พระมหาสัตว์ถามว่า

จักษุของท่านทั้งสองมืดไปด้วยเหตุอะไร บิดามารดาทั้งสอง ก็เล่าให้พระมหา-

สัตว์ผู้บุตรฟังว่า ลูกรัก เมื่อฝนตก เราทั้งสองยืนอยู่บนยอดจอมปลวกที่โคน

ไม้ในที่นี้ จักษุทั้งสองมืดไปด้วยเหตุนั้น พระมหาสัตว์ได้สดับคำของบิดามารดา

ก็รู้ว่าอสรพิษมีในจอมปลวกนั้น อสรพิษนั้นขัดเคืองปล่อยลมในจมูกออกมา

พระมหาสัตว์เห็นบิดามารดาแล้วร้องไห้และหัวเราะ บิดามารดาจึงถามว่า

ทำไมถึงร้องไห้ และหัวเราะ พระมหาสัตว์ตอบว่า ข้าพเจ้าร้องไห้ ด้วยเสีย

ใจว่าจักษุของท่านทั้งสองพินาศไป ในเวลาที่ข้าพเจ้ายังเป็นเด็กอยู่ แต่ข้าพเจ้า

หัวเราะด้วยดีใจว่า ข้าพเจ้าจักได้ปฏิบัติบำรุงท่านทั้งสองในบัดนี้ ขอท่านทั้ง

สองอย่าได้คิดอะไรเลย ข้าพเจ้าจักปฏิบัติบำรุงท่านทั้งสองให้ผาสุก พระมหา-

สัตว์ปลอบโยนให้บิดามารดาทั้งสองเบาใจ แล้วนำมาอาศรมบท ผูกเชือกเป็น

ราวในที่ทั้งปวงสำหรับ บิดามารดาทั้งสองนั้น คือที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน

ที่จงกรม บรรณศาลา ที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ จำเดิมแต่นั้นมา ให้บิดามารดา

อยู่ในอาศรมบท ไปนำมูลผลาผลในป่ามาเองตั้งไว้ในบรรณศาลา กวาดที่อยู่

ของบิดามารดาแต่เช้าทีเดียว ไหว้บิดามารดาแล้ว ถือหม้อน้ำไปสู่มิคสัมมตานที่

นำน้ำดื่มมา แต่งตั้งของฉันไว้ ให้ไม้สีฟันและน้ำบ้วนปากเป็นต้น ให้

ผลาผลที่มีรสอร่อย เมื่อบิดามารดาบริโภคแลบ้วนปากแล้ว ตนเองจึงบริโภค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

ผลาผลที่เหลือ เสร็จกิจบริโภคแล้วไหว้ลาบิดามารดา มีฝูงมฤคแวดล้อมเข้า

ป่าเพื่อต้องการหาผลาผล เหล่ากินนรที่เชิงบรรพต แวดล้อมพระโพธิสัตว์

ช่วยเก็บผลาผลให้พระโพธิสัตว์ เวลาเย็นพระโพธิสัตว์กลับมาอาศรม เอาหม้อ

ตักน้ำมาตั้งไว้ ต้มน้ำให้ร้อนแล้วอาบและล้างเท้าบิดามารดาตามอัธยาศัย นำ

กระเบื้องถ่านเพลิงมาให้ผิง เช็ดมือเท้าของบิดามารดา เมื่อบิดามารดานั่งแล้ว

ให้บริโภคผลาผล ส่วนตนเองบริโภคเมื่อบิดามารดาบริโภคเสร็จแล้ว จัด

วางผลาผล ที่เหลือไว้ในอาศรมบท พระโพธิสัตว์ปฏิบัติบำรุงบิดามารดาโดย

ทำนองนี้ทีเดียว.

สมัยนั้น พระราชาพระนามว่า ปิลยักขราช เสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระองค์ทรงโลภเนื้อมฤค จึงมอบราชสมบัติให้พระชนนี

ปกครอง ผูกสอดราชาวุธห้าอย่างเข้าสู่หิมวันตประเทศ ทรงฆ่ามฤคทั้งหลาย

เสวยเนื้อ เสด็จถึงมิคสัมมตานที แล้วถึงท่าที่สุวรรณสามพระโพธิสัตว์ตักน้ำ

โดยลำดับ ทอดพระเนตรเห็นรอยเท้ามฤค ก็ทรงทำซุ้มด้วยกิ่งไม้มีสีเขียว

โก่งคันศรสอดลูกศรอาบยาพิษ ประทับนั่งเตรียมอยู่ในซุ้มนั้น ฝ่ายพระมหาสัตว์

นำผลาผลมาในเวลาเย็น วางไว้ในอาศรมบท ไหว้บิดามารดาลาไปตักน้ำ

ถือหม้อน้ำมีฝูงมฤคแวดล้อม ให้มฤคสองตัวเดินเคียงกัน วางหม้อน้ำดื่มบน

หลังมฤคทั้งสองมือประคองไปสู่ท่าน้ำ ฝ่ายพระราชาประทับอยู่ในซุ้ม ทอด

พระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ดำเนินมาทรงคิดว่า เราเที่ยวมาในหิมวันตประเทศ

ตลอดกาลถึงเพียงนี้ ยังไม่เคยเห็นมนุษย์ ผู้นี้จะเป็นเทวดาหรือนาคหนอ

ถ้าเราจักเข้าไปไต่ถามผู้นี้ ถ้าเป็นเทวดาก็จักเหาะขึ้นสู่อากาศ ถ้าเป็นนาคก็จัก

ดำดินไป แต่เราจะเที่ยวอยู่ในหิมวันตประเทศตลอดกาลทั้งปวงก็หาไม่ ถ้าเรา

จักกลับพาราณสี อมาตย์ทั้งหลายจักถามเราในการที่เราเที่ยวในหิมวันตประเทศ

นั้นว่า เมื่อพระองค์อยู่ในหิมวันตประเทศได้เคยทอดพระเนตรเห็นอะไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

อัศจรรย์บ้าง เราจักกล่าวว่าได้เคยเห็นสัตว์เช่นนี้ เขาก็จักถามว่า สัตว์นั้น

ชื่ออะไร ถ้าเราจักตอบว่า ไม่รู้จัก เขาก็จักติเตียนเรา เพราะเหตุนั้น เราจัก

ยิงผู้นี้ทำให้ทุรพลแล้ว จึงถามเรื่อง ลำดับนั้น ในเมื่อฝูงมฤคนั้นลงดื่มน้ำแล้ว

ขึ้นก่อน พระโพธิสัตว์จึงค่อย ๆ ลงราวกะพระเถระผู้มีวัตรอันเรียนแล้ว อาบ-

น้ำระงับความกระวนกระวายแล้วขึ้นจากน้ำ นุ่งผ้าเปลือกไม้สีแดงผืนหนึ่ง ห่ม

ผืนหนึ่ง เอาหนังเสือพาดเฉวียงบ่า ยกหม้อน้ำขึ้นเช็ดน้ำแล้ววางบนบ่าซ้าย

ก็ในกาลนั้น พระราชาทรงคิดว่า บัดนี้เป็นสมัยที่จะยิง จึงยกลูกศรอาบยาพิษ

นั้นขึ้นยิงพระโพธิสัตว์ถูกข้างขวาทะลุออกข้างซ้าย ฝูงมฤครู้ว่าพระมหาสัตว์

ถูกยิง ตกใจกลัวหนีไป ฝ่ายสุวรรณสามบัณฑิตแม้ถูกยิง ก็ประคองหม้อน้ำ

ไว้โดยปกติ ตั้งสติค่อย ๆ วางหม้อน้ำลง คุ้ยเกลี่ยทรายตั้งหม้อน้ำ กำหนดทิศ

หันศีรษะไปทางทิศาภาคเป็นที่อยู่ช่องบิดามารดา เป็นดุจสุวรรณปฏิมานอน

บนทรายมีพรรณดังแผ่นเงิน ตั้งสติกล่าวว่า ชื่อว่าบุคคลผู้มีเวรของเราใน

หิมวัน ประเทศนี้ย่อมไม่มี บุคคลผู้มีเวรของบิดามารดาของเราก็ไม่มี

กล่าวดังนี้แล้วถ่มโลหิตในปาก ไม่เห็นพระราชาเลย เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถา

ที่หนึ่งว่า

ใครหนอใช้ลูกศรยิ่งเราผู้ประมาทกำลังแบก

หม้อน้ำ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ คนไหนยิ่งเรา

ซ่อนกายอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมตฺต ความว่า ผู้ไม่ตั้งสติในการ

เจริญเมตตา ก็คำนี้พระโพธิสัตว์กล่าวหมายเนื้อความว่า ได้กระทำคนเป็นผู้

ประมาทในขณะนั้น. บทว่า วิทฺธา ความว่า ยิงแล้วซ่อนกายอยู่ในที่นี้

ชนชื่อไรหนอ เป็นกษัตริย์ หรือพราหมณ์ หรือแพศย์ ใช้ลูกศรอาบยาพิษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

ยิงเราผู้กำลังไปตักน้ำที่มิคสัมมตานที คือชนชื่อไรหนอยิงเราแล้วซ่อนกายอยู่

คือปกปิดตนในพุ่มไม้.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงความที่มังสะในสรีระของตน

เห็นว่าไม่เป็นภักษา จึงกล่าวคาถาที่สองว่า

เนื้อของเราก็กินไม่ได้ หนังก็ไม่มีประโยชน์นี้

เมื่อเป็นเช่นนี้ เขาเข้าใจว่าเราเป็นผู้ควรยิง ด้วยเหตุ

อะไรหนอ.

ในคาถานั้นมีความว่า ท่านมาณพผู้เจริญ เนื้อของเรา คือเนื้อใน

สรีระของเรา กินไม่ได้ คือมนุษย์ทั้งหลายไม่พึงกิน หนังของเรา คือหนัง

ในสรีระของเรา ไม่มีประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ คือแม้เมื่อ

เป็นอย่างนี้ บุรุษนี้ได้เข้าใจว่าเราเป็นผู้ควรยิง คือควรแทง คือยิงเราโดย

ไม่พิจารณาด้วยวรรณะอะไร คือด้วยเหตุอะไร.

ครั้นกล่าวคาถาที่สองแล้ว เมื่อจะถามถึงชื่อเป็นต้น พระโพธิสัตว์

จึงกล่าวคาถาว่า

ท่านคือใคร หรือเป็นบุตรของใคร เราจะรู้จัก

ท่านได้อย่างไร ดูก่อนสหาย เราถามท่านแล้ว ขอ

ท่านจงบอกเถิด ทำไมท่านยิงเราแล้วจึงซ่อนตัวเสีย

ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็ได้นิ่งอยู่.

พระราชาทรงสดับดังนั้น ทรงดำริว่า บุรุษนี้แม้ถูกเรายิงด้วยลูกศร

อาบยาพิษล้มแล้ว ก็ไม่ด่าไม่ตัดพ้อเรา เรียกหาเราด้วยถ้อยคำที่น่ารัก ดุจ

บุคคลจับฟั้นหัวใจ เราจักไปหาเขา แล้วเสด็จไปประทับยืนในที่ใกล้พระ-

โพธิสัตว์ แล้วตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

เราเป็นพระราชาของชาวกาสี คนเรียกเราว่า

พระเจ้าปิลยักษ์ เราละแว่นแคว้นเที่ยวแสวงหามฤค

เพราะความโลภ อนึ่ง เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์

ปรากฏว่าเป็นผู้แม่นยำนัก แม้ช้างมาสู่ระยะลูกศร

ของเรา ก็ไม่พึงพ้นไปได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชาหมสฺมิ ความว่า ได้ยินว่า

พระเจ้าปิลยักษ์นั้นมีพระดำริอย่างนี้ว่า เทวดาก็ตามนาคก็ตาม ย่อมพูดภาษา

มนุษย์ได้ทั้งนั้น เราไม่รู้จักผู้นี้ว่าเป็นเทวดา หรือนาค หรือมนุษย์ ถ้าเขา

โกรธ จะทำให้พินาศได้ เมื่อกล่าวถึงเราว่า เป็นพระราชา ใคร ๆ ที่ไม่กลัว

ย่อมไม่มี เพราะเหตุดังนี้นั้น เพื่อจะให้รู้ว่าพระองค์เป็นพระราชา จึงได้ตรัส

ก่อนว่า ราชาหมสฺมิ ดังนี้. ดูก่อนมาณพผู้เจริญ เราเป็นพระราชาของ

ชาวกาสี คือของชนผู้อยู่ในกาสิกรัฐ. บทว่า ม ได้แก่ ประชาชนรู้จักเรา

โดยนามว่า พระเจ้าปิลยักษ์. บทว่า วิทู ได้แก่ รู้จัก คือเรียก. บทว่า

โลภา ความว่า มอบราชสมบัติแก่พระชนนี เพราะความโลภเนื้อมฤค. บทว่า

มิคเมส ได้แก่ แสวงหา คือค้นหาเหล่ามฤค. บทว่า จรามห ความว่า

เราเที่ยวไปในป่าผู้เดียวเท่านั้น พระราชาประสงค์จะแสดงกำลังของพระองค์

จึงตรัสคาถาที่สอง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิสฺสฏฺเ ได้แก่ ในธนูศิลป์.

บทว่า ทฬฺหธมฺโม ความว่า เป็นผู้สามารถโก่งและลดซึ่งธนูอันหนัก คือ

ธนูหนักพันแรงคนยกได้ ได้ยินกันแพร่หลาย คือปรากฏไปทั่วพื้นชมพูทวีป.

บทว่า อาคโต อุสุปาตน ความว่า ช้างที่มีกำลังมาในที่ลูกศรของเราตก

ก็ไม่พ้นจากที่ไปได้ถึงเจ็ดก้าว.

พระราชาทรงสรรเสริญกำลังของพระองค์ ดังนี้แล้ว เมื่อจะตรัสถาม

ชื่อและโคตรของพระโพธิสัตว์ จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

ท่านคือใคร หรือเป็นบุตรของใคร พวกเรา

จะรู้จักท่านได้อย่างไร ท่านจงแจ้งชื่อและโคตรของ

บิดาท่านและของตัวท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเวทย แปลว่า พึงบอก.

พระมหาสัตว์ได้สดับดังนั้นแล้ว ดำริว่า ถ้าเราบอกว่า เราเป็นเทวดา

นาค ยักษ์ กินนร หรือเป็นกษัตริย์เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง พระราชานี้

ย่อมเชื่อคำของเรา เราควรกล่าวความจริงเท่านั้น ดำริฉะนี้แล้วจึงทูลว่า

ขอจงทรงพระเจริญ ข้าพระองค์เป็นบุตรฤๅษี

ผู้เป็นบุตรของนายพราน ญาติทั้งหลายเรียกข้า-

พระองค์เมื่อยังมีชีวิตอยู่ว่า สามะ วันนี้ข้าพระองค์ถึง

ปากมรณะนอนอยู่อย่างนี้ ข้าพระองค์ถูกพระองค์ยิง

ด้วยลูกศรใหญ่อาบยาพิษ เหมือนมฤคที่ถูกพรานป่า

ยิงแล้ว ฉะนั้น ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์จงทอด

พระเนตร ซึ่งข้าพระองค์ผู้นอนจมอยู่ในโลหิตของตน

เชิญทอดพระเนตรลูกศรอันแล่นเข้าข้างขวาทะลุออก

ข้างซ้าย ข้าพระองค์บ้วนโลหิตอยู่ เป็นผู้กระสับ

กระส่าย ขอทูลถามพระองค์ว่า พระองค์ยิงข้าพระองค์

แล้ว จะซ่อนพระองค์อยู่ทำไม เสือเหลืองถูกฆ่า

เพราะหนัง ช้างถูกฆ่าเพราะงา เมื่อเป็นเช่นนี้ พระ-

องค์เข้าพระทัยว่า ข้าพระองค์เป็นผู้ควรยิง ด้วยเหตุ

อะไรหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภทฺทนฺเต ความว่า ข้าแต่พระมหาราช

ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ข้าพระองค์เป็นบุตรฤๅษีผู้เป็นบุตรนายพราน.

บทว่า ชีวนฺต ความว่า ญาติทั้งหลายเมื่อเรียกขานข้าพระองค์ซึ่งยังมีชีวิตอยู่

เมื่อก่อนแต่นี้ว่า มาเถิดสามะ ไปเถิดสามะ ก็ได้เรียกกันว่า สามะ. บทว่า

สวาชฺเชวงฺคโต ความว่า วันนี้ ข้าพระองค์นั้น ไป คือถึง คือเข้าไปใน

ปากแห่งมรณะแล้วอย่างนี้. บทว่า สเย แปลว่า นอนอยู่ มฤคถูกพรานป่ายิง

ด้วยลูกศรใหญ่อาบยาพิษ ฉันใด แม้ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น คือเป็นผู้ถูกพระองค์

ทรงยิงอย่างนั้น บทว่า ปริปลุโต ความว่า นอนจม ขอพระองค์โปรด

ทอดพระเนตรข้าพระองค์ผู้นอนอยู่เห็นปานนี้. บทว่า ปฏิวามคต ความว่า

เข้าทางข้างขวาแล้วทะลุออกทางข้างซ้าย. บทว่า ปสฺส ได้แก่ โปรดทอด

พระเนตรข้าพระองค์. บทว่า ถิมฺหามิ แปลว่า บ้วนอยู่ พระมหาสัตว์นั้น

ดำรงสตินั้นไม่หวั่นไหวเลย ถ่มโลหิต ตรัสแล้วด้วยประการฉะนี้. บทว่า

อาตุโร ความว่า ข้าพระองค์เจ็บหนักขอทูลถามพระองค์. บทว่า นิลียสิ

ความว่า ประทับนั่งอยู่ในพุ่มไม้แห่งหนึ่ง. บทว่า วิทฺเธยฺย แปลว่า ควรยิง

บทว่า อมญฺถ ความว่า ได้เข้าใจว่าเหมือนมฤค.

พระราชาทรงสดับคำของพระมหาสัตว์แล้ว ไม่ตรัสบอกตามจริง เมื่อ

จะตรัสคำเท็จจึงตรัสว่า

ดูก่อนสามะ มฤคปรากฏแล้ว มาสู่ระยะลูกศร

เห็นท่านเข้าก็หนีไป เพราะเหตุนั้นเราจึงเกิดความ

โกรธ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุพฺพิชฺชิ แปลว่า หนีไป. บทว่า

อาวิสิ ได้แก่ ท่วมทับ พระราชาทรงแสดงว่า ความโกรธเกิดขึ้นแก่เรา

เพราะเหตุนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่

ขอพระองค์ตรัสอะไร ขึ้นชื่อว่ามฤคที่เห็นข้าพระองค์แล้วหนีไป ไม่มีในหิมวันต

ประเทศนี้ แล้วทูลว่า

จำเดิมแต่ข้าพระองค์จำความได้ รู้จักลูกและผิด

ฝูงมฤคในป่าแม้ดุร้าย ก็ไม่สะดุ้งกลัวข้าพระองค์

จำเดิมแต่ข้าพระองค์นุ่งผ้าเปลือกไม้ ตั้งอยู่ในปฐมวัย

ฝูงมฤคในป่าแม้ดุร้าย ก็ไม่สะดุ้งกลัวข้าพระองค์

ข้าแต่พระราชา ฝูงกินนรผู้ขลาดอยู่ภูเขาคันธมาทน์

เห็นข้าพระองค์ย่อมไม่ละดุ้งกลัว เราทั้งหลายต่าง

ชื่นชมต่อกันไปสู่ภูเขาและป่า เมื่อเป็นเช่นนี้ มฤค

ทั้งหลายจะสะดุ้งกลัวข้าพระองค์ ด้วยเหตุไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ม มิคา ความว่า ธรรมดามฤค

ทั้งหลายเห็นข้าพระองค์แล้วย่อมไม่สะดุ้งกลัว. บทว่า สาปทานิ ได้แก่

พาลมฤค. บทว่า ยโต นิธึ ความว่า จำเดิมแต่กาลที่ข้าพระองค์นุ่ง คือ

ทรงผ้าเปลือกไม้. บทว่า ภีรู กึปุริสา ราช ความว่า ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่

มฤคทั้งหลายจงยกไว้ก่อน ธรรมดากินนรทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ขลาดอย่างยิ่ง

กินนรเหล่าใดอยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์นี้ กินนรแม้เหล่านั้นเห็นข้าพระองค์แล้ว

ย่อมไม่สะดุ้งกลัว พวกเราชื่นชมต่อกันและกัน ไปตามป่าเขาลำเนาไพร

โดยแท้แล. บทว่า อุตฺราสนฺติ มิคา มม ความว่า พระมหาสัตว์แสดงความว่า

เพราะเหตุไร พระองค์จึงจักให้ข้าพระองค์เชื่อว่า มฤคทั้งหลายเห็นข้าพระองค์

แล้วสะดุ้งกลัว พระราชาได้สดับดังนั้นแล้ว ทรงดำริว่า เรายิงสุวรรณสาม

ผู้ไร้ความผิดนี้แล้ว ยังกล่าวมุสาวาทอีก เราจักกล่าวคำจริงเท่านั้น ดังนี้

แล้ว จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

ดูก่อนสามะ เนื้อเห็นท่านแล้ว หาได้ตกใจไม่

เรากล่าวเท็จแก่ท่านดอก เราถูกความโกรธและความ

โลภครอบงำแล้ว จึงยิงท่านด้วยลูกศรนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตทฺทส ความว่า เนื้อเห็นท่าน

ไม่ตกใจ. บทว่า กินฺตาห ความว่า เรากล่าวเท็จในสำนักของท่านผู้มีทัศนะ

งามอย่างนี้ดอก. บทว่า โกธโลภาภิภูตาห ความว่า เราเป็นผู้อันความโกรธ

และความโลภครอบงำแล้ว ก็เมื่อเนื้อทั้งหลายข้ามลงก่อนแล้วนั่นแล เรา

จักยิงเนื้อทั้งหลายเพราะความโกรธ เรายืนยกธนูอยู่ ภายหลังได้เห็นพระ

โพธิสัตว์ ไม่รู้ว่าพระโพธิสัตว์นั้นเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาเทวาดา

เป็นต้น จักถามพระโพธิสัตว์นั้น พระราชายังความโลภให้เกิดขึ้นด้วยประการ

ฉะนี้ ฉะนั้นจึงตรัสอย่างนี้.

ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระราชาทรงดำริว่า สุวรรณสามนี้จะ

มิได้อยู่อาศัยในป่านี้แต่ผู้เดียวเท่านั้น ญาติทั้งหลายของเขาพึงมีแน่ จักถาม

เขาดู จึงตรัสคาถาอีกว่า

ดูก่อนสามะ ท่านมาแต่ไหน หรือใครให้ท่านมา

ท่านผู้จะตักน้ำจึงไปสู่แม่น้ำมิคสัมมตา แล้วกลับมา.

บรรดาบทเหล่านั้น พระราชาตรัสเรียกพระโพธิสัตว์ ด้วยบทว่า

สาม. บทว่า อาคมฺม ความว่า จากประเทศไหนมาสู่ป่านี้. บทว่า กสฺส

วา ปหิโต ความว่า ท่านถูกใครส่งไปด้วยคำว่า จงไปสู่แน่น้ำเพื่อนำน้ำ

แก่พวกเรา ดังนี้ จึงมายังแม่น้ำมิคสัมมตานี้.

พระโพธิสัตว์ได้สดับพระดำรัสของพระราชาแล้ว กลั้นทุกขเวทนา

เป็นอันมาก บ้วนโลหิตแล้วกล่าวคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

บิดามารดาของข้าพระองค์ตาบอด ข้าพระองค์

เลี้ยงท่านเหล่านั้นอยู่ในป่าใหญ่ ข้าพระองค์นำน้ำมา

เพื่อท่านทั้งสองนั้น จึงมาแม่น้ำมิคสัมมตา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภรามิ ความว่า นำมูลผลาผลเป็นต้น

มาเลี้ยงดู.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็บ่นรำพันปรารภบิดามารดา กล่าวว่า

อาหารของบิดามารดานั้นยังพอมีอยู่ เมื่อเป็น

เช่นนี้ ชีวิตของท่านทั้งสองนั้นจักดำรงอยู่ราวหกวัน

ท่านทั้งสองนั้นตามืด เกรงจักตายเสียเพราะไม่ได้

ดื่มน้ำ ความทุกข์เพราะถูกพระองค์ยิงด้วยลูกศรนี้

หาเป็นความทุกของข้าพระองค์นักไม่ เพราะความ

ทุกข์นี้อันบุรุษจะต้องได้ประสบ ความทุกข์ที่ข้าพระ-

องค์ไม่ได้เห็นบิดามารดา เป็นความทุกข์ของข้า

พระองค์ ยิ่งกว่าความทุกข์ เพราะลูกพระองค์ยิงด้วย

ลูกศรนี้เสียอีก ความทุกข์เพราะถูกพระองค์ยิงด้วย

ลูกศรนี้ หาเป็นความทุกข์ของข้าพระองค์นักไม่

เพราะความทุกข์นี้อันบุรุษจะต้องได้ประสบ บิดา

มารดาทั้งสองนั้นเป็นกำพร้าเข็ญใจ จะร้องไห้อยู่

ตลอดราตรีนาน จักเหือดแห้งไปในกึ่งราตรีหรือใน

ที่สุดราตรี ดุจแม่น้ำน้อยในคิมหฤดูจักเหือดแห้งไป

ข้าพระองค์เคยหมั่นบำรุงบำเรอนวดมือเทาของท่าน

ทั้งสองนั้น บัดนี้ไม่เห็นข้าพระองค์ ท่านทั้งสองจัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

บ่นเรียกหาว่า พ่อสาม ๆ เที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ ลูกศร

คือความโศก ที่สองนี้แหละ ยังหัวใจของข้าพระองค์

ให้หวั่นไหว เพราะข้าพระองค์ไม่ได้เห็นท่านทั้งสอง

ผู้จักษุบอด ข้าพระองค์เห็นจักละเสียซึ่งชีวิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า. อุสามตฺต ได้แก่ พอเป็นอาหาร

ได้ยินว่า คำว่า อุสา เป็นชื่อของโภชนาหาร ความว่า บิดามารดาทั้งสอง

นั้นยังมีโภชนาหาร. บทว่า อถ สาหสฺส ชีวิต ความว่า มีชีวิต อยู่ได้

ประมาณหกวัน พระมหาสัตว์กล่าวคำนี้ หมายถึงผลาผลที่นำมาตั้งไว้ อีก

อย่างหนึ่ง บทว่า อุสา ได้แก่ ไออุ่น ด้วยบทนั้น พระมหาสัตว์แสดง

ความนี้ว่า ในร่างกายของบิดามารดาทั้งสองนั้นพอมีไออุ้นอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้

ก็จะมีชีวิตอยู่ได้หกวัน ด้วยผลาผลที่ข้าพระองค์นำมา. บทว่า มริสฺสเร

แปลว่า จักตาย ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ ความทุกข์เพราะถูกพระองค์ยิงนี้ ถึง

เป็นความทุกข์ก็จริง แต่ไม่เป็นความทุกข์ของข้าพระองค์ เพราะเหตุไรจึง

กล่าวอย่างนี้. บทว่า ปุมฺนา ได้แก่ อันบุรุษ ความว่า ความทุกข์เห็น

ปานนั้นนี้ อันบุรุษพึงได้ประสบทั้งนั้น ก็เพราะความทุกข์ที่ข้าพระองค์ไม่ได้เห็น

คุณแม่ปาริกานั้น เป็นความทุกข์ของข้าพระองค์ ยิ่งกว่าความทุกข์เพราะถูก

พระองค์ ยิงนี้ร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า. บทว่า จิร รตฺตาย รุจฺจติ ความว่า

นักร้องไห้ตลอดราตรีนาน. บทว่า อฑฺฒรตฺเต ได้แก่ ในสมัยกึ่งราตรี.

บทว่า รตฺเต วา ได้แก่ ในสุดท้ายราตรี. บทว่า อวสุสฺสติ ได้แก่ จักเหือด

แห้ง อธิบายว่า จักเหือดแห้งไปเหมือนแน่น้ำน้อยในฤดูร้อน. บทว่า อุฏาน-

ปาทจริยาย ความว่า ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ ข้าพระองค์ลุกขึ้นคืนละสองสามครั้ง

หรือวันละสองสามครั้ง ปฏิบัติรับใช้บิดามารดาทั้งสองนั้น นวดมือเท้าของท่าน

ทั้งสองนั้น ด้วยความหมั่นเพียรของข้าพระองค์ บัดนี้ ท่านทั้งสองผู้มีจักษุมืด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

นั้นไม่เห็นข้าพระองค์ จักลุกขึ้นเพื่อต้องการการปฏิบัตินั้น ๆ จักบ่นรำพันว่า

พ่อสาม พ่อสาม จักถูกหนามตำเอาเที่ยวไปในหิมวันตประเทศนี้. บทว่า

ทุติย ความว่า ลูกศรคือความโศกเพราะไม่ได้เห็นบิดามารดาทั้งสองนั้น ซึ่ง

เป็นความทุกข์ที่สองนี้ เป็นความทุกข์กว่า ถูกลูกศรอาบยาพิษยิงเอาครั้งแรก

ร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า.

พระราชาทรงฟังความคร่ำครวญของพระโพธิสัตว์ ทรงคิดว่า บุรุษ

นี้เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งอยู่ในธรรม ปฏิบัติบิดามารดาเยี่ยมยอด บัดนี้

ได้ความทุกข์ถึงเพียงนี้ ยังคร่ำครวญถึงบิดามารดา เราได้ทำความผิดในบุรุษ

ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมอย่างนี้ เราควรเล้าโลมเอาใจบุรุษนี้อย่างไรดีหนอ แล้ว

ทรงสันนิษฐานว่า ในเวลาที่เราตกนรก ราชสมบัติจักทำอะไรได้ เราจัก

ปฏิบัติบิดามารดาของบุรุษนี้ โดยทำนองที่บุรุษนี้ปฏิบัติแล้ว การกายของบุรุษ

นี้จักเป็นเหมือนไม่ตาย ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสว่า

ดูก่อนสามะผู้งดงามน่าดู ท่านอย่าปริเทวะมาก

เลย เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ ปรากฏในชมพูทวีป

ทั้งสิ้นว่าเป็นผู้แม่นยำนัก จักฆ่ามฤคและแสวงหามูล-

อาหารป่ามา ทำการงานเลี้ยงบิดามารดาของท่านใน

ป่าใหญ่ ดูก่อนสามะ ป่าที่บิดามารดาของท่านอยู่

อยู่ที่ไหน เราจักเลี้ยงบิดามารดาของท่าน ให้เหมือน

ท่านเลี้ยง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภริสสนฺเต ความว่า เราจักเลี้ยงบิดา

มารคาของท่านเหล่านั้น . บทว่า มิคาน ได้แก่ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือ

เหลืองและมฤคเป็นต้น . บทว่า วิฆาสมนฺเวส ความว่า แสวงหา คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

เสาะหาซึ่งอาหาร พระราชาตรัสว่า เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ จักฆ่ามฤค

อ้วน ๆ เลี้ยงบิดามารดาของท่าน ด้วยมังสะอันอร่อย ดังนี้ เมื่อพระโพธิ-

สัตว์ทูลว่า ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ พระองค์อย่าทำการฆ่าสัตว์เพราะเหตุพวก

ข้าพระองค์เลย ดังนี้ จึงตรัสคำนี้อย่างนี้. บทว่า ยถา เต ความว่า ท่าน

ได้เลี้ยงท่านทั้งสองนั้นอย่างใด แม้ข้าพเจ้าก็จักเลี้ยงท่านทั้งสองนั้นอย่างนั้น

เหมือนกัน.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้สดับพระวาจาของพระราชานั้นแล้วจึงทูลว่า

ดีแล้วพระเจ้าข้า ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์โปรดเลี้ยงดูบิดามารดาของข้าพเจ้า

องค์เถิด เมื่อจะชี้ทางให้ทรงทราบ จึงทูลว่า

ข้าแต่พระราชา หนทางที่เดินเฉพาะคนเดียวซึ่ง

อยู่ทางหัวนอนของข้าพระองค์นี้ เสด็จดำเนินไปแต่ที่

นี้ระหว่างกึ่งเสียงกู่ จะถึงสถานที่อยู่แห่งบิดามารดา

ของข้าพระองค์ ขอเสด็จดำเนินแต่ที่นี้ไป เลี้ยงดูท่าน

ทั้งสองในสถานที่นั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกปที แปลว่า ทางเดินเฉพาะคนเดียว

บทว่า อุสฺสีสเก ได้แก่ ในที่ด้านศีรษะของข้าพระองค์นี้. บทว่า อฑฺฒโฆส

แปลว่า ระหว่างกึ่งเสียงกู่.

พระมหาสัตว์ทูลชี้ทางแต่พระราชาอย่างนี้แล้ว กลั้นเวทนาเห็นปาน

นั้นไว้ด้วยความสิเนหาในบิดามารดาเป็นกำลัง ประคองอัญชลีทูลวิงวอนเพื่อ

ต้องการให้เลี้ยงดูบิดามารดา ได้ทูลอย่างนี้อีกว่า

ข้าแต่พระเจ้ากาสิราช ข้าพระบาทขอน้อมกราบ

พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ยังชาวกาสีให้เจริญ ข้าพระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

บาทขอน้อมกราบพระองค์ ขอพระองค์ทรงบำรุงเลี้ยง

บิดามารดาตามืด ของข้าพระองค์ในป่าใหญ่ ข้าพระ

องค์ขอประคองอัญชลีถวายบังคมพระองค์ ขอพระ-

องค์มีพระดำรัสกะบิดามารดาของข้าพระองค์ให้ทราบ

ว่า ข้าพระองค์ไหว้นบท่านด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุตฺโต วชฺชาสิ ความว่า พระมหา-

สัตว์ทูลว่า ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ พระองค์ผู้อันข้าพระองค์ กราบทูลแล้ว

โปรดตรัสบอกการกราบไหว้ให้บิดามารดาทราบ อย่างนี้ว่า สามะบุตรของ

ท่านทั้งสอง ถูกเรายิงด้วยลูกศรอาบยาพิษที่ริมฝั่งแม่น้ำ นอนตะแคงข้างขวา

เหนือหาดทรายคล้ายแผ่นเงิน ประคองอัญชลีแก่ท่าน กราบไหว้เท้าทั้งสอง

ของท่าน.

พระราชาทรงรับคำ พระมหาสัตว์ส่งการไหว้บิดามารดาแล้วก็ถึง

วิสัญญีสลบนิ่งไป.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า

หนุ่มสามะผู้งดงามน่าดูนั้น ครั้นกล่าวคำนี้แล้ว

ถูกกำลังแห่งพิษซาบซ่าน เป็นผู้วิสัญญีสลบไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมปชฺชถ ได้แก่ เป็นผู้วิสัญญี.

พระมหาสัตว์นั้น เมื่อกล่าวมาได้เพียงเท่านี้ก็ดับอัสสาสะ ไม่ได้กล่าว

ต่อไปอีกเลย ก็ในกาลนั้น ถ้อยคำที่เป็นไปอาศัยหทัยรูป ซึ่งติดต่อจิตแห่ง

พระโพธิสัตว์นั้นขาดแล้วเพราะกำลังแห่งพิษซาบซ่าน โอฐของพระโพธิสัตว์ก็

ปิด จักษุก็หลับ มือเท้าแข็งกระด้าง ร่างกายทั้งสิ้นเปื้อนโลหิต ลำดับนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

พระราชาทรงคิดว่า สุวรรณสามนี้ พูดกับเราอยู่เดี๋ยวนี้ เป็นอะไรไปหนอ

จึงทรงพิจารณาตรวจดูลมอัสสาสะปัสสาสะ ของพระโพธิสัตว์ ก็ลมอัสสาสะ-

ปัสสาสะดับแล้ว สรีระก็แข็งแล้ว พระราชาทอดพระเนตรเห็นเหตุนั้น ก็ทรง

ทราบว่า บัดนี้สุวรรณสามตายแล้วดับแล้ว ไม่ทรงสามารถที่จะกลั้นความโศก

ไว้ได้ ก็วางพระหัตถ์ไว้บนพระเศียรครวญคร่ำรำพันด้วยเสียงอันดัง.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า

พระราชานั้นทรงคร่ำครวญน่าสงสาร เป็นอัน

มากว่า เราสำคัญว่าจะไม่แก่ไม่ตาย เรารู้เรื่องนี้วันนี้

แต่ก่อนหารู้ไม่ เพราะได้เห็นสานบัณฑิตทำกาลกิริยา

ความไม่มาแห่งมฤตยูย่อมไม่มี สามบัณฑิตถูกลูกศร

อาบยาพิษ ซึมซาบแล้วพูดอยู่กะเรา ครั้นกาลล่วงไป

อย่างนี้ในวันนี้ ไม่พูดอะไร ๆ เลย เราจะต้องไปสู่

นรกแน่นอน เราไม่มีความสงสัยในข้อนี้เลย เพราะ

ว่าบาปหยาบช้า อันเราทำแล้วตลอดราตรีนานในกาล

นั้น เราทำกรรมหยาบช้าในบ้านเมือง คนทั้งหลายจะ

ติเตียนเรา ใครเล่าจะควรมากล่าวติเตียนเราในราวป่า

อันหามนุษย์นี้ได้ คนทั้งหลายจะประชุมกันในบ้าน

เมือง โจทนาว่ากล่าวเอาโทษเรา ใครเล่าหนอจะ

โจทนาว่ากล่าวเอาโทษเราในป่าอันหามนุษย์มิได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสึ ความว่า เราได้มีความสำคัญว่า

จะไม่แก่ไม่ตายมาตลอดกาลเท่านี้. บทว่า อชฺเชต ความว่า วันนี้เราได้เห็น

สามบัณฑิตนี้ทำกาลกิริยา จึงรู้ว่าทั้งตัวเราและเหล่าสัตว์อื่น ๆ ต้องแก่ต้องตาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

ทั้งนั้น. บทว่า นตฺถิ มจฺจุสฺส นาคโม ความว่า พระราชาทรงครวญคร่ำ

รำพันว่า ความมาแห่งมัจจุนั้น เรารู้ในวันนี้เอง เมื่อก่อนแต่นี้ เราไม่รู้เลย.

บทว่า สฺ วาชฺเชวงฺคเต กาเล ความว่า พระราชาทรงแสดงว่า สามบัณฑิตใด

ถูกลูกศรอาบยาพิษซึมซาบแล้วเจรจาอยู่กะเราในบัดนี้ทีเดียว สามบัณฑิตนั้น

ครั้นมรณกาลไปคือเป็นไปอย่างนี้ในวันนี้ ไม่กล่าวอะไร ๆ แม้แต่น้อยเลย.

บทว่า ตทา หิ ความว่า เราผู้ยิงสามบัณฑิตในขณะนั้นได้กระทำบาปแล้ว.

บทว่า จิร รตฺตาย กิพฺพิส ความว่า ก็บาปนั้นทารุณหยาบช้าสามารถทำ

ให้เดือดร้อนตลอดราตรีนาน. บทว่า ตสฺส ความว่า ติเตียนเรานั้น ผู้เที่ยว

ทำกรรมชั่วเห็นปานนี้. บทว่า วตฺตาโร ความว่า ย่อมติเตียน. ติเตียนที่ไหน ?

เตียนในบ้าน. ติเตียนว่าอย่างไร ติเตียนว่าเป็นผู้ทำกรรมหยาบช้า.

พระราชาทรงคร่ำครวญว่า ก็ในป่าอันหามนุษย์มิได้นี้ ใครเล่าควร

จะกล่าวติเตียนเรา ถ้าจะมี ก็พึงว่ากล่าวเรา. บทว่า สารยนฺติ ได้แก่ ใน

บ้านหรือในนิคมเป็นต้น. บทว่า สคจฺฉ มาณวา ความว่า คนทั้งหลาย

จะประชุมกันในที่นั้น ๆ จะยังกันและกัน ให้ระลึกถึงกรรมทั้งหลาย จะโจทนา

อย่างนี้ว่า แน่ะท่านผู้ฆ่าคน ท่านทำทารุณกรรม ท่านต้องได้รับโทษอย่างโน้น

แต่ในป่าอันหามนุษย์มิได้นี้ ใครเล่าจักยังพระราชานี้ให้ระลึกถึงกรรม พระ-

ราชาทรงโจทนาตนคร่ำครวญอยู่อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

กาลนั้น เทพธิดามีนามว่าพสูนธรี อยู่ภูเขาคันธมาทน์ เคยเป็นมารดา

ของพระมหาสัตว์ในอัตภาพที่เจ็ด พิจารณาดูพระโพธิสัตว์อยู่เป็นนิจ ด้วย

ความสิเนหาในบุตร ก็วันนั้นนางเสวยทิพยสมบัติ มิได้พิจารณาดูพระมหาสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

บางอาจารย์ว่า นางไปสู่เทวสมาคมเสีย ดังนี้ก็มี ในเวลาที่พระมหาสัตว์สลบ

นางพิจารณาดูว่า ความเป็นไปของบุตรเราเป็นอย่างไรบ้างหนอ ได้เห็นว่า

พระเจ้าปิลยักษ์นี้ ยิงบุตรของเราด้วยลูกศรอาบยาพิษ ให้ล้มอยู่ที่หาดทราย

ฝั่งแม่น้ำมิคสัมมตา พร่ำรำพันด้วยเสียงอันดัง ถ้าเราจักไม่ไปในที่นั้น

สุวรรณสามบุตรของเราจักพินาศอยู่ในที่นี้ แม้พระหทัยของพระราชาก็จักแตก

บิดามารดาของสามะจักอดอาหาร จะไม่ได้น้ำดื่ม จักเหือดแห้งตาย แต่เมื่อ

เราไป พระราชาจักถือเอาหม้อน้ำดื่มไปสู่สำนักบิดามารดาของสุวรรณสามนั้น

ก็แลครั้นเสด็จไปแล้วจักรับสั่งว่า บุตรของท่านทั้งสอง เราฆ่าเสียแล้ว และ

ทรงสดับคำของท่านทั้งสองนั้นแล้ว จักนำท่านทั้งสองนั้นไปสู่สำนักของ

สุวรรณสามผู้บุตร เมื่อเป็นเช่นนี้ ดาบสดาบสินีทั้งสอง และเราจักทำสัจจกิริยา

พิษของสุวรรณสามก็จักหาย บุตรของเราจักได้ชีวิตคืนมา จักษุทั้งสองข้าง

ของบิดามารดาสุวรรณสามจักแลเห็นเป็นปกติ และพระราชาจักได้ทรงสดับ

ธรรมเทศนาของสุวรรณสาม เสด็จกลับพระนคร ทรงบริจาคมหาทานครอง

ราชสมบัติโดยยุติธรรม มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะเหตุนั้น เราจะ

ไปในที่นั้น เทพธิดานั้นจึงไปสถิตอยู่ในอากาศโดยไม่ปรากฏกาย ที่ฝั่ง

มิคสัมมตานที กล่าวกับพระเจ้าปิลยักขราช.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

เทพธิดานั้นอันตรธานไปในภูเขาคันธมาทน์ มา

ภาษิตคาถาเหล่านี้ เพื่ออนุเคราะห์พระราชาว่า พระ-

องค์ทำความผิดมาก ได้ทำกรรมอันชั่วช้า บิดามารดา

และบุตรทั้งสามผู้หาความประทุษร้ายมิได้ ถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

พระองค์ฆ่าเสียด้วยลูกศรลูกเดียวกัน เชิญเสด็จมาเถิด

ข้าพเจ้าจะพร่ำสอนพระองค์ ด้วยวิธีที่พระองค์จะได้

สุคติ พระองค์จงเลี้ยงดูบิดามารดาทั้งสอง ผู้มีจักษุมืด

โดยธรรม ในป่า ข้าพเจ้าเข้าใจว่า สุคติจะพึงมีแก่

พระองค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รญฺโว แปลว่า พระราชานั่นแหละ.

บทว่า อาคุ กริ ความว่า ดูก่อนพระราชาผู้ใหญ่ พระองค์ได้ทรงกระทำ

ความผิดมากคือบาปมาก. บทว่า ทุกฺกฏ ความว่า ความชั่วใดที่พระองค์

กระทำแล้วมีอยู่ พระองค์ได้กระทำแล้วซึ่งความชั่วนั้นอันเป็นกรรมลามก.

บทว่า อทูสกา แปลว่า ผู้หาโทษมิได้. บทว่า ปิตาปุตฺตา ความว่า

ชนสามคนเหล่านั้น คือ มารดาหนึ่ง บิดาหนึ่ง บุตรหนึ่ง พระองค์ฆ่าด้วย

ลูกศรลูกเดียว ด้วยว่าเมื่อพระองค์ฆ่าสุวรรณสามนั้น แม้บิดามารดาของ

สุวรรณสามผู้ปฏิพัทธ์สุวรรณสามนั้น ย่อมเป็นอันพระองค์ฆ่าเสียเหมือนกัน.

บทว่า อนุสิกฺขามิ ความว่า จักให้ศึกษา คือ จักพร่ำสอน. บทว่า โปเส

ความว่า จงตั้งอยู่ ในฐานะสุวรรณสาม ยังความสิเนหาให้เกิดขึ้น เลี้ยงดูบิดา

มารดาทั้งสองซึ่งตาบอดนั้น ราวกะว่าสุวรรณสาม. บทว่า มญฺเห สุคตี

สิยา ความว่า ข้าพเจ้าเข้าใจว่า พระองค์จักพึงไปสุคติเท่านั้น ด้วยประการ

ฉะนี้.

พระราชาทรงสดับคำของเทพธิดาแล้วทรงเชื่อว่า เราเลี้ยงบิดามารดา

ของสุวรรณสามแล้วจักไปสู่สวรรค์ ทรงดำริว่า เราจะต้องการราชสมบัติทำไม

เราจักเลี้ยงดูท่านทั้งสองนั้น ทรงตั้งพระหฤทัยมั่น ทรงร่ำไรร่ำพันเป็นกำลัง

ทรงทำความโศกให้เบาบาง เข้าพระหฤทัยว่า สุวรรณสามโพธิสัตว์สิ้นชีพแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

จึงทรงบูชาสรีระของพระโพธิสัตว์นั้น ด้วยบุปผชาติต่าง ๆ ประพรมด้วยน้ำ

ทำประทักษิณสามรอบ ทรงกราบในฐานะทั้งสี่แล้วถือหม้อน้ำที่พระโพธิสัตว์

ใส่ไว้เต็มแล้ว ถึงความโทมนัส บ่ายพระพักตร์ทางทิศทักษิณเสด็จไป.

พระศาสดาเมื่อทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระราชานั้น ทรงคร่ำครวญอย่างน่าสงสารเป็น

อันมาก ทรงถือหม้อน้ำ บ่ายพระพักตร์ทางทิศทักษิณ

เสด็จหลีกไปแล้ว.

แม้โดยปกติพระราชาเป็นผู้มีพระกำลังมาก ทรงถือหม้อน้ำเข้าไปสู่

อาศรมบท ถึงประตูบรรณศาลาของทุกูลบัณฑิต ดุจบุคคลกระแตกอาศรมให้

กระเทือน ทุกูลบัณฑิตนั่งอยู่ภายในได้ฟังเสียงฝีพระบาทแห่งพระเจ้าปิลยักขราช

ก็นึกในใจว่า นี้ไม่ใช่เสียงแห่งฝีเท้าสุวรรณสามบุตรเรา เสียงฝีเท้าใครหนอ

เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถาสองคาถาว่า

นั่นเสียงฝีเท้าใครหนอ เสียงฝีเท้ามนุษย์เดิน

เป็นแน่ เสียงฝีเท้าสามบุตรเราไม่ดัง ดูก่อนท่านผู้

นิรทุกข์ ท่านเป็นใครหนอ สามบุตรเราเดินเบา วาง

เท้าเบา เสียงฝีเท้าสามบุตรเราไม่ดัง ท่านเป็นใครหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุสฺสสฺเสว ความว่า เสียงฝีเท้าที่มาน

ไม่ใช่ของราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง ยักษ์ และกินนรเป็นต้น เป็นเสียง

ฝีเท้าของมนุษย์แน่ แต่ไม่ใช่ของสุวรรณสาม. บทว่า สนฺต หิ ได้แก่ เงียบ.

บทว่า วชฺชติ ได้แก่ ก้าวไป. บทว่า หญฺติ ได้แก่ วาง.

พระราชาได้สดับคำถามนั้น ทรงดำริว่า ถ้าเราไม่บอกกความที่เราเป็น

พระราชา บอกว่าเราฆ่าบุตรของท่านเสียแล้ว ท่านทั้งสองนี้จักโกรธเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

กล่าวคำหยาบกะเรา เมื่อเป็นเช่นนี้ ความโกรธในท่านทั้งสองนี้ก็จักเกิดขึ้น

แก่เรา ครั้นความโกรธเกิดขึ้น เราก็จักเบียดเบียนท่านทั้งสองนั้น กรรมนั้น

จักเป็นอกุศลของเรา แต่เมื่อเราบอกว่าเราเป็นพระราชา ชื่อว่าผู้ที่ไม่เกรงกลัว

ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น เราจะบอกความที่เราเป็นพระราชาก่อน ทรงดำริ

ฉะนี้แล้ว ทรงวางหม้อน้ำไว้ที่โรงน้ำดื่ม แล้วประทับยืนที่ประดูบรรณศาลา

เมื่อจะแสดงพระองค์ให้ฤๅษีรู้จัก จึงตรัสว่า

เราเป็นพระราชาของชาวกาสี คนเรียกเราว่า

พระเจ้าปิลยักษ์ เราละแว่นแคว้นเที่ยวแสวงหามฤค

เพราะความโลภ อนึ่ง เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์

ปรากฏว่าเป็นผู้แม่นยำนัก แม้ช้างมาสู่ระยะลูกศร

ของเราก็ไม่พึงพ้นไปได้.

ฝ่ายทุกูลบัณฑิตเมื่อจะทำปฏิสันถารกับพระราชา จึงทูลว่า

ข้าแต่มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง

พระองค์เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้ พระองค์ผู้มี

อิสระเสด็จมาถึงแล้ว ขอจงทรงทราบสิ่งที่มีอยู่ในที่นี้

ข้าแต่มหาบพิตร เชิญเสวยผลมะพลับ ผลมะหาด

ผลมะซาง และผลหมากเม่า อันเป็นผลไม้เล็กน้อย

ขอได้โปรดเลือกเสวยผลที่ดี ๆ เถิด ข้าแต่มหาบพิตร

ขอจงทรงดื่มน้ำซึ่งเป็นน้ำเย็น นำมาแต่มิคสัมมตานที

ซึ่งไหลจากซอกเขา ถ้าทรงพระประสงค์.

เนื้อความของคาถานั้น ได้กล่าวไว้แล้วในสัตติคุมพชาดก แต่ในที่นี้

บทว่า คิริคพฺภรา ท่านกล่าวหมายเอามิคสัมมตานที เพราะมิคสัมมตานที

นั้นไหลมาแต่ซอกเขา จึงชื่อว่า เกิดแต่ซอกเขา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

เมื่อดาบสทำปฏิสันถารอย่างนี้แล้ว พระราชาทรงคิดว่า เราไม่ควร

จะบอกว่า เราฆ่าบุตรของท่านเสียแล้ว ดังนี้ก่อน ทำเหมือนไม่รู้ พูดเรื่อง

อะไร ๆ ไปก่อนแล้วจึงบอก ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า

ท่านทั้งสองจักษุมืดไม่สามารถจะเห็นอะไร ๆ

ในป่า ใครเล่าหนอนำผลไม้มาเพื่อท่านทั้งสอง ความ

สะสมผลไม้น้อยใหญ่ไว้โดยเรียบร้อยนี้ ปรากฏแก่

ข้าพเจ้าว่า ดูเหมือนคนตาดีสะสมไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาล ความว่า ท่านทั้งสองตามืด ไม่

สามารถจะมองเห็นอะไร ๆ ในบ้านได้. บทว่า โก นุ โว ผลมาหริ

ความว่า ใครหนอนำผลไม้น้อยใหญ่มาเพื่อท่านทั้งสอง. บทว่า นิวาโป

ความว่า การเก็บคือสะสมผลไม้น้อยใหญ่ที่บริสุทธิ์ดี ซึ่งควรที่จะรับประทาน

ที่ทำไว้อย่างเรียบร้อย คือโดยนัย โดยอุบาย โดยเหตุ นี้. บทว่า อนนฺ-

ธสฺเสว ความว่า ย่อมปรากฏ คือเข้าไปตั้งไว้ แก่เราเหมือนคนตาดีทำไว้.

ทุกูลบัณฑิตได้ฟังดังนั้น เพื่อจะแสดงว่ามูลผลาผลตนมิได้นำมา แต่

บุตรของตนนำมา จึงได้กล่าวสองคาถาว่า

สามะหนุ่มน้อยรูปร่างสันทัดงดงามน่าดู เกศา

ของเธอยาวดำ เฟื้อยลงไปปลายงอนช้อนขึ้นข้างบน

เธอนั่นแหละนำผลไม้มา ถือหม้อนำจากที่นี่ ไปสู่

แม่น้ำนำน้ำมา เห็นจะกลับมาใกล้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาติพฺรหา ความว่า ไม่สูงไป ไม่

เตี้ยไป. บทว่า สุนคฺคเวลฺลิตา ความว่า งอนขึ้นเหมือนปลายมีดเชือดเนื้อ

สำหรับสับเนื้อ กล่าวคือมีปลายงอนขึ้น. บทว่า กมณฺฑลุ ได้แก่ หม้อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

บทว่า ทูรมาคโต ความว่า เข้าใจว่า บัดนี้พ่อสุวรรณสามจักมาใกล้แล้ว

คือจักมาแล้วสู่ที่ใกล้.

พระราชาได้ทรงสดับดังนั้นแล้วจึงตรัสว่า

ข้าพเจ้าได้ฆ่าสามกุมารผู้ปฏิบัติบำรุงท่านเสีย

แล้ว ผู้เป็นเจ้ากล่าวถึงสามกุมารผู้งดงามน่าดูใด เกศา

ของสามกุมารนั้นยาวดำ เฟื้อยลงไปปลายงอนช้อนขึ้น

เบื้องบน สามกุมารนั้นข้าพเจ้าฆ่าเสียแล้ว นอนอยู่ที่

หาดทรายเปรอะเปื้อนด้วยโลหิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวธึ ความว่า ข้าพเจ้ายิงด้วยลูกศร

ยิงมฤคให้ตายแล้ว. บทว่า ปเวเทถ ได้แก่ กล่าวถึง. บทว่า เสติ ความว่า

นอนอยู่บนหาดทรายริมฝั่งมิคสัมมตานที.

ก็บรรณศาลาของปาริกาดาบสินีอยู่ใกล้ของทุกูลบัณฑิต นางนั่งอยู่ใน

บรรณศาลานั้น ได้ฟังพระดำรัสของพระราชา ก็ใคร่จะรู้ประพฤติการณ์นั้น

จึงออกจากบรรณศาลาของคน ไปสำนักทุกูลบัณฑิตด้วยสำคัญเชือกที่สำหรับ

สาวเดินไปได้กล่าวว่า

ข้าแต่ทุกูลบัณฑิต ท่านพูดกับใครซึ่งบอกว่า

ข้าพเจ้าฆ่าสามกุมารเสียแล้ว ใจของดิฉันย่อมหวั่นไหว

เพราะได้ยินว่า สามกุมารถูกฆ่าเสียแล้ว กิ่งอ่อนแห่ง

ต้นโพธิ์ใบ อันลมพัดให้หวั่นไหว ฉันใด ใจของ

ดิฉันย่อมหวั่นไหวเพราะได้ยินว่า สามกุมารถูกฆ่าเสีย

แล้ว ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาทินา ความว่า ผู้กล่าวว่า ข้าพเจ้า

ฆ่าสามกุมารเสียแล้ว. บทว่า ปวาล ได้แก่ หน่ออ่อน. บทว่า มาลุเตริต

ความว่า ถูกลมพัดให้หวั่นไหว.

ลำดับนั้น ทุกูลบัณฑิตเมื่อจะโอวาทนางปาริกาดาบสินีนั้น จึงกล่าวว่า

ดูก่อนนางปาริกา ท่านผู้นี้คือพระเจ้ากาสี พระ-

องค์ทรงยิงสามกุมารด้วยลูกศร ที่มิคสัมมตานที ด้วย

ความโกรธ เราทั้งสองอย่าปรารถนาบาปต่อพระองค์

เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคสมฺมเต ความว่า ที่หาดทรายริม

ฝั่งมิคสัมมตานที. บทว่า โกธสา ความว่า ด้วยความโกรธที่เกิดขึ้นในเพราะ

มฤคทั้งหลาย. บทว่า มา ปาปมิจฺฉิมฺหา ความว่า เราทั้งสองอย่าปรารถนา

บาปต่อพระองค์เลย.

ปาริกาดาบสินีกล่าวอีกว่า

บุตรที่รักอันหาได้ด้วยยาก ผู้ได้เลี้ยงเราทั้งสอง

ผู้ตามืดในป่า จะไม่ยังจิตให้โกรธ ในบุคคลผู้ฆ่าบุตร

คนเดียวนั้น ได้อย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆาตมฺหิ แปลว่า ในบุคคลผู้ฆ่า.

ทุกูลบัณฑิตกล่าวว่า

บุตรที่รักอันหาได้ด้วยยาก ผู้ได้เลี้ยงเราทั้งสอง

ผู้ตามืดในป่า บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญบุคคล

ผู้ไม่โกรธในบุคคลผู้ฆ่าบุตรคนเดียวนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโกธ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อม

สรรเสริญ คือกล่าวถึงบุคคลผู้ไม่โกรธนั้นว่า ขึ้นชื่อว่าความโกรธ ย่อมทำให้

ตกนรก ฉะนั้น ไม่พึงทำความโกรธนั้น พึงทำความไม่โกรธในบุคคลผู้ฆ่า

บุตรเท่านั้น.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ดาบสดาบสินีทั้งสอง ก็ข้อนทรวงด้วย

มือทั้งสอง พรรณนาคุณของพระมหาสัตว์ คร่ำครวญเป็นอันมาก.

ลำดับนั้น พระเจ้าปิลยักขราชเมื่อจะทรงเล้าโลมเอาใจดาบสทั้งสอง

นั้น จึงตรัสว่า

อยู่เป็นเจ้าทั้งสองอย่างคร่ำครวญ เพราะข้าพ-

เจ้า กล่าวว่าข้าพเจ้าฆ่าสามกุมารเสียแล้ว ไปมากเลย

ข้าพเจ้าจักรับการงานเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้า ทั้งสอง ในป่า-

ใหญ่ ข้าพเจ้าเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ ปรากฏว่า

เป็นผู้แม่นยำนัก ข้าพเจ้าจักรับการงานเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้า

ทั้งสอง ในป่าใหญ่ ข้าพเจ้าจักฆ่ามฤคและแสวงหา

มูลผลในป่า รับการงานเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้าทั้งสองในป่า

ใหญ่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาทินา ความว่า ท่านทั้งสองอย่ากล่าว

คำเป็นต้นว่า บุตรผู้ถึงพร้อมด้วยคุณอย่างนี้ของเรา ถูกท่านผู้กล่าวอยู่กับข้าพ

เจ้าว่า ฆ่าสามกุมารเสียแล้วดังนี้ ฆ่าแล้ว บัดนี้ใครจักเลี้ยงดูพวกเรา ดังนี้

คร่ำครวญมากไปเลย ข้าพเจ้าจักทำการงานแก่ท่านทั้งสอง เลี้ยงดูท่านทั้งสอง

เหมือนสามกุมาร ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระราชาได้ปลอบใจท่านทั้งสองนั้น

ว่า ขอท่านทั้งสองอย่าได้คิดเลย ข้าพเจ้าไม่ต้องการราชสมบัติ ข้าพเจ้า

จักเลี้ยงดูท่านทั้งสองตลอดชีวิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

ลำดับนั้น ฝ่ายดาบสดาบสินีทั้งสองนั้นสนทนากับพระราชา ทูลว่า

ขอถวายพระพรมหาบพิตร สภาพนั้นไม่สม

ควร การทรงทำอย่างนั้นไม่ควร ในอาตมาทั้งสอง

พระองค์เป็นพระราชาของอาตมาทั้งสอง อาตมาทั้ง

สอง ขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สภาพหรือเหตุการณ์

บทว่า เนต กปฺปติ ความว่า การกระทำการงานของพระองค์นั้น ย่อมไม่

ควร คือไม่งาม ไม่สมควรในอาตมาทั้งสอง. บทว่า ปาเท วนฺทาม เต

ความว่า ก็ดาบสดาบสินีทั้งสองนั้น ตั้งอยู่ในเพศบรรพชิต ทูลพระราชาดังนี้

เพราะความโศกในบุตรครอบงำ และเพราะไม่มีมานะ.

พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น ทรงยินดีเหลือเกิน ทรงดำริว่า โอ

น่าอัศจรรย์ แม้เพียงคำหยาบของฤๅษีทั้งสองนี้ ก็ไม่มีในเราผู้ทำความประทุษ

ร้ายถึงเพียงนี้ กลับยกย่องเราเสียอีก จึงตรัสอย่างนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เชื้อชาติเนสาท ท่านกล่าวเป็นธรรม

ท่านบำเพ็ญความถ่อมตนแล้ว ขอท่านจงเป็นบิดาของ

ข้าพเจ้า ข้าแต่นางปาริกา ขอท่านจงเป็นมารดาของ

ข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตยา ความว่า เมื่อกล่าวเป็นคน ๆ ก็

กล่าวอย่างนี้. บทว่า ปิตา เป็นต้น ความว่า ข้าแต่พ่อทุกูลบัณฑิต ตั้งแต่

วันนี้ไป ขอท่านจงตั้งอยู่ในฐานะแห่งบิดาของข้าพเจ้า ข้าแต่แม่ปาริกา แม้

ท่านก็ขอจงตั้งอยู่ในฐานะแห่งมารดา ข้าพเจ้าก็จักตั้งอยู่ในฐานะแห่งสามกุมาร

บุตรของท่าน กระทำกิจทุกอย่างมีล้างเท้าเป็นต้น ขอท่านทั้งสองจงอย่ากำหนด

ข้าพเจ้าว่าเป็นพระราชา จงกำหนดว่าเหมือนสามกุมารเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

ดาบสทั้งสองประคองอัญชลีไหว้ เมื่อจะทูลวิงวอนว่า ขอถวายพระพร

มหาบพิตร พระองค์ไม่มีหน้าที่ที่จะทำการงานแก่อาตมาทั้งสอง แต่ขอพระ

องค์จงทรงถือปลายไม้เท้าของอาตมาทั้งสองนำไปแสดงตัวสุวรรณสามเถิด จึง

กล่าวสองคาถาว่า

ข้าแต่พระเจ้ากาสี อาตมาทั้งสองขอนอบน้อม

แด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ยังชาวกาสีให้เจริญ อาต-

มาทั้งสองนอบน้อมแด่พระองค์ อาตมาทั้งสองประ-

คองอัญชลีแด่พระองค์ ขอพระองค์โปรดพาอาตมาทั้ง

สองไปให้ถึงสามกุมาร อาตมาทั้งสองจะสัมผัสเท้าทั้ง

สองและดวงหน้าอันงดงามน่าดูของเธอ แล้วทรมาน

ตนให้ถึงกาลกิริยา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว สามานุปาปย ความว่า โปรด

พาอาตมาทั้งสองไปให้ถึงที่ที่สามกุมารอยู่. บทว่า ภุชทสฺสน ความว่า สาม

กุมารผู้งามน่าดู คือมีรูปงามน่าเลื่อมใส. บทว่า สสุมฺภมานา ได้แก่ โบย.

บทว่า กาลมาคมยามฺหเส ความว่า จักกระทำ คือจักถึงกาลกิริยา.

เมื่อท่านเหล่านั้นสนทนากันอยู่อย่างนี้ พระอาทิตย์อัสดงคต ลำดับนั้น

พระราชาทรงดำริว่า ถ้าเรานำฤๅษี ทั้งสองผู้ตามืดไปในสำนักของสุวรรณสาม

ในบัดนี้ทีเดียว หทัยของฤๅษีทั้งสองจักแตกเพราะเห็นสุวรรณสามนั้น เราก็

ชื่อว่านอนอยู่ในนรก ในกาลที่ท่านทั้งสามทำกาลกิริยา ด้วยประการฉะนี้

เพราะฉะนั้น เราจักไม่ให้ฤๅษีทั้งสองนั้นไป ทรงดำริฉะนี้แล้ว จึงตรัสคาถา

สี่คาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

สามกุมารถูกฆ่านอนอยู่ที่ป่าใด ดุจดวงจันทร์

ดวงอาทิตย์ ตกลงเหนือแผ่นดินแล้ว เกลือกเปื้อน

ด้วยฝุ่นทราย ป่านั้นเป็นป่าใหญ่ เกลื่อนกล่นด้วยพาล

มฤค ปรากฏเหมือนที่สุดอากาศ ผู้เป็นเจ้าทั้งสองจง

อยู่ในอาศรมนี้แหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหา ได้แก่ สูงยิ่ง. บทว่า อากาสนฺต

ความว่า ป่านั่นแหละ เห็นกันทั่ว คือรู้กันทั่ว เป็นราวกะว่าที่สุดแห่งอากาศ.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อากาสนฺต ความว่า ทำให้เป็นรอยอยู่ คือประกาศ

อยู่. บทว่า ฉมา ได้แก่ บนแผ่นดิน คือปฐพี. ปาฐะว่า ฉม ดังนี้ก็มี

ความว่า เหมือนล้มลงบนแผ่นดิน. บทว่า ปริกุณฺิโต ความว่า เปรอะ

เปื้อน คือพัวพัน.

ลำดับนั้น ฤๅษีทั้งสองได้กล่าวคาถาเพื่อจะแสดงว่า คนไม่กลัวพาล

มฤคทั้งหลายว่า

ถ้าในป่านั้นมีพาลมฤค ตั้งร้อยตั้งพันและตั้ง-

หมื่น อาตมาทั้งสองก็ไม่มีความกลัว ในพาลมฤคทั้ง

หลายในป่าไหน ๆ เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกจิ ความว่า ในป่านี้แม้เป็นประเทศ

แห่งหนึ่งในที่ไหน ๆ อาตมาทั้งสองก็ไม่มีความกลัวในพาลมฤคทั้งหลาย.

ลำดับนั้น พระราชาเมื่อไม่อาจห้ามฤาษีทั้งสองนั้น ก็ทรงจงมือนำไป

ในสำนักสุวรรณสามนั้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

ในกาลนั้น พระเจ้ากาสีทรงพาฤๅษีทั้งสอง ผู้ตา

มืดไปในป่าใหญ่ สุวรรณสามถูกฆ่าอยู่ในที่ใด ก็ทรง

จูงมือฤๅษีทั้งสองไปในที่นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต แปลว่า ในกาลนั้น. บทว่า

อนฺธาน ได้แก่ ฤาษีทั้งสองผู้ตามืด. บทว่า อหุ แปลว่า ได้เป็นแล้ว.

บทว่า ยตฺถ ความว่า พระเจ้ากาสี ทรงนำฤๅษีทั้งสองไปในที่ที่สุวรรณสาม

นอนอยู่.

ก็แลครั้นทรงนำไปแล้ว ประทับยืนในที่ใกล้สุวรรณสามแล้วตรัส

ว่า นี้บุตรของผู้เป็นเจ้าทั้งสอง ลำดับนั้น ฤาษีผู้เป็นบิดาของพระโพธิสัตว์

ซ้อนเศียรขึ้นวางไว้บนตัก ฤๅษิณีผู้เป็นมารดาก็ยกเท้าขึ้นวางไว้บนตักของตน

นั่งบ่นรำพันอยู่.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น ตรัสว่า

ดาบสดาบสินีทั้งสองเห็นสามกุมารผู้เป็นบุตร

นอนเกลือกเปื้อนฝุ่นทราย ถูกทิ้งไว้ในป่าใหญ่ ดุจ

ดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ตกเหนือแผ่นดิน ก็ปริ-

เทวนาการน่าสงสาร ประคองแขนทั้งสองร้องไห้ว่า

สภาพไม่ยุติธรรมมาเป็นไปในโลกนี้ พ่อสามผู้งาม

น่าดู พ่อมาหลับเอาจริง ๆ เคลิบเคลิ้มเอามากมายดัง

คนดื่มสุราเข้ม ขัดเคืองใครเอาใหญ่ ถือตัวมิใช่น้อย

มีใจพิเศษ ในเมื่อกาลล่วงไปอย่างนี้ในวันนี้ พ่อไม่

พูดไร ๆ บ้างเลย พ่อสามนี้เป็นผู้ปฏิบัติบำรุงเรา

ทั้งสองผู้ตามืด มาทำกาลกิริยาเสียแล้ว บัดนี้ใครเล่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

จักชำระชฎาอันหม่นหมองเปื้อนฝุ่นละออง ใครเล่า

จักจับกราดกวาดอาศรมของเราทั้งสอง ใครเล่าจักจัด

น้ำเย็นและน้ำร้อนให้อาบ ใครเล่าจักให้เราทั้งสองได้

บริโภคมูลผลาหารในป่า ลูกสามะนี้เป็นผู้ปฏิบัติบำรุง

เราทั้งสองผู้ตามืด มาทำกาลกิริยาเสียแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปวิทฺธ ความว่า ทิ้งไว้อย่างไร้ประโยชน์.

บทว่า อธมฺโม กิร โภ อิติ ความว่า ได้ยินว่า ความอยุติธรรมกำลังเป็น

ไปในโลกนี้ในวันนี้. บทว่า มตฺโต ความว่า มัวเมา คือถึงความประมาท

ดุจดื่มสุราเข้ม. บทว่า ทิตฺโต แปลว่า วางปึ่ง. บทว่า วิมโน ความว่า

เป็นนักเลง ฤๅษีทั้งสองพูดบ่นเพ้อทั่ว ๆ ไป. บทว่า ชฏ ได้แก่ ชฎาของเรา

ทั้งสองที่มัวหมอง. บทว่า ปสุคต ความว่า จักอากูลมลทินจับในเวลาใด.

บทว่า โกทานิ ความว่า บัดนี้ ใครเล่าจักจัดตั้งชฎานั้นให้ตรง คือทำความ

สะอาด แล้วทำให้ตรงในเวลานั้น.

ลำดับนั้น ฤๅษิณีผู้มารดาแห่งพระโพธิสัตว์ เมื่อบ่นเพ้อเป็นหนักหนา

ก็เอามืออังที่อกพระโพธิสัตว์พิจารณาความอบอุ่น คิดว่า ความอบอุ่นของบุตร

เรายังเป็นไปอยู่ บุตรเราจักสลบด้วยกำลังยาพิษ เราจักกระทำสัจจกิริยาแก่

บุตรเรา เพื่อถอนพิษออกเสีย คิดฉะนี้แล้วได้กระทำสัจจกิริยา

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า

มารดาผู้ระทมจิตด้วยความโศกถึงบุตร ได้เห็น

สามะผู้เป็นบุตรนอนเกลือกเปื้อนด้วยฝุ่นทราย ได้

กล่าวคำสัจว่า ลูกสามะมิได้เป็นผู้ประพฤติธรรมเป็น

ปกติ ได้เป็นผู้ประพฤติดังพรหมเป็นปกติ ได้เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

กล่าวคำจริงมาแต่ก่อน ได้เป็นผู้เลี้ยงบิดามารดา ได้

เป็นผู้ประพฤติยำเกรงต่อท่านผู้เจริญในสกุล เป็นผู้

เป็นที่รักยิ่งกว่าชีวิตของเรา โดยความจริงใด ๆ ด้วย

การกล่าวความจริงนั้น ๆ ขอพิษของลูกสามะจงหายไป

บุญอย่างใดอย่างหนึ่งที่ลูกสามะกระทำแล้วแก่เราและ

แก่บิดาของเธอ มีอยู่ ด้วยอานุภาพกุศลบุญนั้นทั้งหมด

ขอพิษของลูกสามะจึงหายไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน สจฺเจน ได้แก่ ด้วยความจริงใด

คือด้วยสภาวะใด. บทว่า ธมฺมจารี ได้แก่ ผู้ประพฤติธรรมคือกุศลกรรมบถ

สิบ. บทว่า สจฺจวาที ความว่า. ไม่กล่าวมุสาวาท แม้ด้วยการหัวเราะ.

บทว่า มาตาเปติภโร ความว่า เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน เลี้ยงดูบิดามารดา

ตลอดคืนวัน . บทว่า กุเล เชฏฺาปจฺจายิโก ความว่า เป็นผู้กระทำสักการะ

แก่บิดาเป็นต้นผู้เจริญที่สุด.

เมื่อมารดาทำสัจจกิริยาด้วยเจ็ดคาถาอย่างนี้ สามกุมารก็พลิกตัวกลับ

นอนต่อไป ลำดับนั้น บิดาคิดว่า ลูกของเรายังมีชีวิตอยู่ เราจักทำสัจจกิริยา

บ้าง จึงได้ทำสัจจกิริยาอย่างนั้น.

พระศาสดาเพื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า

บิดาผู้ระทมจิตด้วยความโศกถึงบุตร ได้เห็น

สามะผู้เป็นบุตรนอนเกลือกเปื้อนด้วยฝุ่นทราย ได้

กล่าวคำสัจว่า ลูกสามะมิได้เป็นผู้ประพฤติธรรมเป็น

ปกติ ได้เป็นผู้ประพฤติดังพรหมเป็นปกติ ได้เป็นผู้

กล่าวคำจริงมาแต่ก่อน ได้เป็นผู้เลี้ยงบิดามารดา ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

เป็นผู้ประพฤติยำเกรงต่อท่านผู้เจริญในสกุล เป็นผู้

เป็นที่รักยิ่งกว่าชีวิตของเรา โดยความจริงใด ๆ ด้วย

การกล่าวความจริงนั้น ๆ ขอพิษของลูกสามะจงหายไป

บุญอย่างใดอย่างหนึ่งที่ลูกสามะกระทำแล้วแก่เราและ

แก่มารดาของเธอ มีอยู่ ด้วยอานุภาพกุศลบุญนั้น

ทั้งหมด ขอพิษของลูกสามะจงหายไป.

เมื่อบิดาทำสัจจกิริยาอยู่อย่างนี้ พระมหาสัตว์พลิกตัวอีกข้างหนึ่งนอน.

ต่อไป ลำดับนั้น เทพธิดาผู้มีนามว่าพสุนธรีได้ทำสัจจกิริยาลำดับที่สามแก่

พระมหาสัตว์นั้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า

นางพสุนธรีเทพธิดา อันตรธานไปจากภูเขา

คันธมาทน์ มากล่าวสัจจวาจาด้วยความเอ็นดูสามกุมาร

ว่า เราอยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์ตลอดราตรีนาน ใคร ๆ

อื่นซึ่งเป็นที่รักของเรากว่าสามกุมาร ไม่มี ของหอม

ล้วนแล้วด้วยไม้หอมทั้งหมด ณ คันธมาทน์บรรพต

มีอยู่ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอพิษของสามกุมารจงหายไป

เมื่อฤๅษีทั้งสองบ่นเพ้อรำพันเป็นอันมากน่าสงสาร

สามกุมารผู้หนุ่มงดงามน่าทัศนา ก็ลุกขึ้นเร็วพลัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพตฺยาห ตัดบทเป็น ปพฺพเต อห

ความว่า เราอยู่ ณ บรรพต. บทว่า วนมยา ได้แก่ ล้วนแล้วไปด้วยต้นไม้

มีกลิ่นหอม ที่ภูเขานั้น ไม่มีต้นไม้อะไร ๆ ที่ไม่มีกลิ่นหอมเลย. บทว่า เตส

ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อฤาษีทั้งสองนั้นบ่นเพ้อรำพันกันอยู่นั่นแล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

สามกุมารได้ลุกขึ้นเร็วพลัน ในกาลที่เทพธิดาทำสัจจกิริยาจบลง ความเจ็บป่วย

ของสามกุมารนั้นได้คลายหายไปเหมือนน้ำกลิ้งจากใบบัว ไม่ปรากฏแผลที่ถูก

ยิงว่า ถูกยิงตรงนี้ ถูกยิง ณ ที่นี้.

อัศจรรย์ทั้งปวงคือ พระมหาสัตว์หายโรค ฤาษีผู้เป็นบิดามารดาได้

ดวงตากลับเห็นเป็นปกติ แสงอรุณขึ้น และท่านั่งสี่เหล่านั้นปรากฏที่อาศรม

ได้มีขึ้นในขณะเดียวกันทีเดียว บิดามารดาทั้งสองได้ดวงตาดีเป็นปกติแล้ว

ยินดีอย่างเหลือเกินว่า ลูกสามะหายโรค ลำดับนั้น สามบัณฑิตได้กล่าวกะท่าน

เหล่านั้น ด้วยคาถานี้ว่า

ข้าพเจ้ามีนามว่าสามะ ขอความเจริญจงมีแก่

ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าลุกขึ้นได้แล้วโดยสวัสดี ขอ

ท่านทั้งหลายอย่าคร่ำครวญนักเลย จงพูดกะข้าพเจ้า

ด้วยเสียงอันไพเราะเถิด.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์แลเห็นพระราชา เมื่อจะทูลปฏิสันถาร จึง

กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ข้าแต่มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง

พระองค์เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้ พระองค์ผู้มี

อิสระเสด็จมาลงแล้ว ขอจงทรงทราบสิ่งที่มีอยู่ในที่นี้

ข้าแต่มหาบพิตร เชิญเสวยผลมะพลับ ผลมะหาด ผล

มะซาง และผลหมากเม่า อันเป็นผลไม้เล็กน้อย

ขอได้โปรดเลือกเสวยผลที่ดี ๆ เถิด ข้าแต่มหาบพิตร

ขอจงทรงดื่มน้ำซึ่งเป็นน้ำเย็น นำมาแต่มิคสัมมตานที

ซึ่งไหลจากซอกเขา ถ้าทรงพระประสงค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

ฝ่ายพระราชาทอดพระเนตรเห็นอัศจรรย์นั้น จึงตรัสว่า

ข้าพเจ้าหลงเอามา หลงเอาจริง ๆ มืดไป

ทั่วทิศ ข้าพเจ้าได้เห็นสามบัณฑิตนั้นทำกาลกิริยาแล้ว

ทำไมท่านเป็นได้อีกเล่าหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เปต ความว่า ได้เห็นสามบัณฑิตทำ

กาลกิริยาแล้ว. บทว่า โก นุ ตฺว ความว่า พระราชาตรัสถามว่า ท่าน

กลับเป็นขึ้นมาได้อย่างไรหนอ.

ฝ่ายสามบัณฑิตดำริว่า พระราชาทรงกำหนดเราว่าตายแล้ว เราจัก

ประกาศความที่เรายังไม่ตายแก่พระองค์ จึงทูลว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า โลกย่อมสำคัญซึ่งบุคคลผู้ยัง

มีชีวิตอยู่ เสวยเวทนาอย่างหนัก มีความดำริในใจ

เข้าไปใกล้แล้ว ยังเป็นอยู่แท้ ๆ ว่าตายแล้ว ข้าแต่

มหาราชเจ้า โลกย่อมสำคัญซึ่งบุคคลผู้ยังมีชีวิตอยู่

เสวยเวทนาอย่างหนัก ถึงความดับสนิทระงับแล้วนั้น

ยังเป็นอยู่แท้ ๆ ว่าตายแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ ชีว ได้แก่ ยังเป็นอยู่แท้ ๆ. บทว่า

อุปนีตมนสงฺกปฺป ได้แก่ มีจิตวาระหยั่งลงในภวังค์. บทว่า ชีวนฺต

แปลว่า ยังมีชีวิตอยู่จริง ๆ. บทว่า มญฺเต ความว่า โลกนี้ย่อมสำคัญว่า

ผู้นี้ตายแล้ว. บทว่า นิโรธคต ความว่า สามบัณฑิตกล่าวว่า โลกย่อมสำคัญ

ซึ่งบุคคลผู้ยังมีชีวิตอยู่ มีอัสสาสะปัสสาสะ ถึงความดับสนิท ระงับแล้วยัง

เป็นอยู่แท้ ๆ เช่นข้าพระองค์ ว่าตายแล้วอย่างนี้.

ก็แลครั้นทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ประสงค์จะประกอบพระราชา

ไว้ในประโยชน์ เมื่อแสดงธรรมจึงได้กล่าวคาถาอีกสองคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

บุคคลใดเลี้ยงดูบิดามารดาโดยธรรม เทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมแก้ไขคุ้มครองบุคคลผู้เลี้ยงดูบิดา

มารดานั้น บุคคลใดเลี้ยงดูบิดามารดาโดยธรรม นัก-

ปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลผู้นั้นในโลกนี้

บุคคลนั้นละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงอยู่ใน

สวรรค์.

พระราชาได้สดับคำนั้นแล้ว ทรงดำริว่า น่าอัศจรรย์หนอ แม้เทวดา

ทั้งหลายก็เยียวยาโรคที่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เลี้ยงดูบิดามารดา สามบัณฑิตนี้

งดงามเหลือเกิน ทรงดำริฉะนี้แล้ว ประคองอัญชลีตรัสว่า

ข้าพเจ้านี้หลงเอามากจริง ๆ มืดไปทั่วทิศ

ท่านสามบัณฑิต ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นสรณะ และ

ขอท่านจงเป็นสรณะของข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิยฺโย ความว่า เพราะข้าพเจ้าได้ทำผิด

ในผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมเช่นท่าน ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงหลงเอา

จริง ๆ เหลือเกิน. บทว่า ตฺวญฺจ เม สรณ ภว ความว่า ข้าพเจ้าขอ

ถึงท่านเป็นสรณะ และขอท่านจงเป็นสรณะ คือจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าผู้ขอ

ถึงสรณะ คือขอท่านจงทำข้าพเจ้าให้ไปเทวโลก.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ถ้าพระองค์

มีพระประสงค์เสด็จสู่เทวโลก มีพระประสงค์บริโภคทิพยสมบัติใหญ่ จงทรง

ประพฤติในทศพิธราชธรรมจรรยาเหล่านี้เถิด เมื่อจะถวายโอวาทแด่พระราชา

จึงได้กล่าวคาถาอันว่าด้วยการประพฤติทศพิธราชธรรมว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

ข้าแต่ขัตติยมหาราช ขอพระองค์ทรงประพฤติ-

ธรรมในพระชนกพระชนนี ในพระโอรสและ

พระมเหสี ในมิตรและอมาตย์ ในพาหนะและพล

นิกาย ในชาวบ้านและชาวนิคม ในชาวแว่นแคว้น

และชาวชนบท ในสมณะและพราหมณ์ ในฝูงมฤค

และฝูงปักษีเถิด ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรม

นั้น ๆ ในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่

มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมเถิด ธรรม

ที่พระองค์ทรงประพฤติแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้

ครั้น พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จัก

เสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรง

ประพฤติธรรมเถิด พระอินทร์ เทพเจ้าพร้อมทั้ง

พระพรหมถึงแล้วซึ่งทิพยสถาน ด้วยธรรมที่ประพฤติ

ดีแล้ว ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์อย่าทรงประมาท

ธรรม.

ก็เนื้อความของคาถาเหล่านั้น มีกล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในสกุณชาดก

นั้นแล.

พระมหาสัตว์แสดงธรรมถวายพระราชาอย่างนี้แล้ว เมื่อจะถวายโอวาท

ยิ่งขึ้น ได้ถวายเบญจศีล พระราชาทรงรับโอวาทของพระมหาสัตว์นั้นด้วย

พระเศียร ทรงไหว้พระโพธิสัตว์ ขอขมาโทษพระโพธิสัตว์แล้วเสด็จกลับกรุง

พาราณสี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมีทานเป็นต้น ทรงรักษาเบญจศีลครองราช

สมบัติโดยธรรมโดยเสมอ ในที่สุดแห่งพระชนม์ ได้มีสวรรค์เป็นที่ไปใน

เบื้องหน้า ฝ่ายพระโพธิสัตว์ปฏิบัติบำรุงบิดามารดา ยังอภิญญาและสมาบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

ให้บังเกิดพร้อมด้วยบิดามารดา มิได้เสื่อมจากฌาน ในที่สุดแห่งอายุได้เข้าถึง

พรหมโลกพร้อมด้วยบิดามารดานั้นแล.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ชื่อว่าการเลี้ยงดูบิดามารดาเป็นวงศ์ของบัณฑิตทั้งหลาย ตรัสฉะนี้

แล้ว ทรงประกาศอริยสัจสี่ประชุมชาดก ในเวลาเทศนาอริยสัจสี่จบลง ภิกษุ

นั้นบรรลุโสดาปัตติผล พระราชาปิลยักขราช ในกาลนั้นกลับชาติมาเป็นภิกษุ

ชื่ออานนท์ในกาลนี้ พสุนธรีเทพธิดาเป็นภิกษุณีชื่ออุบลวรรณา ท้าวสักก-

เทวราชเป็นภิกษุชื่ออนุรุทธะ. ทุกูลบัณฑิตผู้บิดาเป็นภิกษุชื่อมหากัสสปะ

นางปาริกาผู้มารดาเป็นภิกษุณีชื่อภัททกาปิลานี ก็สุวรรณสามบัณฑิต

คือเราผู้สัมมาสัมพุทธะนี้เองแล.

จบ สุวรรณสามชาดก

๔. เนมิราชชาดก

ว่าด้วยพระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี

[๕๒๕] เมื่อใดพระเจ้าเนมิราชผู้เป็นบัณฑิต

มีพระประสงค์ด้วยกุศล เป็นพระราชาผู้ปราบข้าศึก

ทรงบริจาคทานแก่ชาววิเทหะทั้งปวง เมื่อนั้นบุคคล

ฉลาดย่อมเกิดขึ้นในโลก ความเกิดขึ้นของท่าน

เหล่านั้นน่าอัศจรรย์หนอ เมื่อพระเจ้าเนมิราชทรง

บำเพ็ญทานนั้นอยู่ ก็เกิดพระราชดำริขึ้นว่า ทานหรือ

พรหมจรรย์อย่างไหนมีผลานิสงส์มาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

[๕๒๖] ท้าวมฆวานเทพกุญชรสหัสสเนตร

ทรงทราบพระดำริของพระเจ้าเนมิราช ทรงกำจัด

ความมืดด้วยรัศมีปรากฏขึ้น พระเจ้าเนมิราชจอม-

มนุษย์มีพระโลมชาติชูชัน ได้ตรัสกะท้าววาสวะว่า

ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกะผู้ให้

ทานในก่อน รัศมีของท่านเช่นนั้น ข้าพเจ้ายังไม่

เคยเห็นหรือได้ยินมาเลย ขอท่านจงแจ้งตัวท่านแก่

ข้าพเจ้า ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน พวกเราจะรู้จักท่าน

ได้อย่างไร ท้าววาสวะทรงทราบว่าพระเจ้าเนมิราช

มีพระโลมชาติชูชัน ได้ตรัสตอบว่า หม่อมฉันเป็น

ท้าวสักกะจอมเทพ มาสู่สำนักพระองค์ท่าน ดูก่อน

พระองค์ผู้เป็นจอมมนุษย์ พระองค์อย่าทรงสยดสยอง

เลย เชิญตรัสถามปัญหาที่ต้องพระประสงค์เถิด

พระเจ้าเนมิราชทรงได้โอกาสฉะนั้นแล้ว จึงตรัสถาม

ท้าววาสวะว่า ข้าแต่เทวราชผู้เป็นอิสระแห่งปวงภูต

หม่อมฉันขอทูลถามพระองค์ท่าน ทานหรือพรหมจรรย์

อย่างไหนมีผลานิสงส์มาก อมรินทรเทพเจ้าอันนรเทพ

เนมิราชตรัสถามดังนี้ พระองค์ทรงทราบวิบากแห่ง

พรหมจรรย์ จึงตรัสบอกแก่พระเจ้าเนมิราชผู้ยังไม่

ทรงทราบว่า บุคคลย่อมบังเกิดในขัตติยสกุลเพราะ

ประพฤติพรหมจรรย์อย่างต่ำ บุคคลได้เป็นเทพเจ้า

เพราะประพฤติพรหมจรรย์ปานกลาง บุคคลย่อมหมดจด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

วิเศษเพราะประพฤติพรหมจรรย์สูงสุด หมู่พรหม

เหล่านั้นอันใคร ๆ จะพึงได้เป็น ด้วยการประพฤติ

วิงวอนก็หาไม่ ต้องเป็นผู้ไม่มีเหย้าเรือนบำเพ็ญตบ-

ธรรม จึงจะได้บังเกิดในหมู่พรหม.

[๕๒๗] พระราชาเหล่านี้คือ พระเจ้าทุทีปราช

พระเจ้าสาครราช พระเจ้าเสลราช พระเจ้ามุจลินทราช

พระเจ้าภคีรสราช พระเจ้าอุสินนรราช พระเจ้า

อัตถกราช พระเจ้าอัสสกราช พระเจ้าปุถุทธนราช

และกษัตริย์เหล่าอื่น กับพราหมณ์เป็นอันมาก บูชายัญ

มากมาย ก็ไม่ล่วงพ้นความละโลกนี้ไป.

[๕๒๘] ชนเหล่าใดไม่มีเพื่อนสอง อยู่คนเดียว

ย่อมไม่รื่นรมย์ ย่อมไม่ได้ปีติเกิดแต่วิเวก ชนเหล่านั้น

ถึงจะมีโภคสมบัติเสมอด้วยพระอินทร์ ก็ชื่อว่าเป็นคน

เข็ญใจ เพราะได้ความสุขที่ต้องอาศัยผู้อื่น.

[๕๒๙] ฤๅษีผู้ไม่มีเหย้าเรือนเหล่านี้บำเพ็ญ

ตบธรรม ได้ก้าวล่วงกามาวจรภพแล้วโดยแท้ คือ

ฤๅษี ๗ ตน อันมีนามว่า ยามหนุฤๅษี โสมยาคฤๅษี

มโนชวฤๅษี สมุททฤๅษี มาฆฤๅษี ภรตฤๅษี และ

กาลปุรักขิตฤๅษี และฤๅษีอีก ๔ ตน คือ อังคีรสฤๅษี

ภีสสปฤๅษี กีสวัจฉฤๅษี และอกันติฤๅษี.

[๕๓๐] แม่น้ำชื่อสีทามีอยู่ทางด้านทิศอุดร

เป็นแม่น้ำลึก ข้ามยาก กาญจนบรรพตมีสีประหนึ่ง

ไฟที่ไหม้ไม้อ้อ โชติช่วงอยู่ในกาลทุกเมื่อ ที่ฝั่งแม่น้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

นั้นมีต้นกฤษณางอกงาม มีภูเขาอื่นอีก มีป่างอกงาม

แต่ก่อนมามีฤๅษีเก่าแก่ประมาณหมื่นตน อาศัยอยู่ใน

ภูมิประเทศนั้น หม่อมฉันเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยทาน

ด้วยสัญญมะและทมะ หม่อมฉันอุปัฏฐากดาบส

เหล่านั้นผู้ปฏิบัติวัตรจริยาไม่มีวัตรอื่นยิ่งกว่า ละหมู่

คณะไปอยู่ผู้เดียว มีจิตมั่นคง หม่อมฉันจักนมัสการ

นรชนผู้ปฏิบัติตรง จะมีชาติก็ตาม ไม่มีชาติก็ตาม

เป็นนิตยกาล เพราะสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็น

เผ่าพันธุ์ วรรณะทั้งปวงที่ตั้งอยู่ในอธรรม ย่อมตกนรก

เบื้องต่ำ วรรณะทั้งปวงย่อมบริสุทธิ์ เพราะประพฤติ

ธรรมสูงสุด.

[๕๓๑] องค์มฆวาสุชัมบดีเทวราชตรัสอย่างนี้

แล้ว ทรงอนุศาสน์พระเจ้าวิเทหรัฐ แล้วเสด็จหลีกไป

สู่หมู่เทพในสวรรค์.

[๕๓๒] ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

ที่มาประชุมในที่นี้มีประมาณเพียงไร จงตั้งใจสดับคุณ

ที่ควรพรรณนา ทั้งสูงทั้งต่ำเป็นอันมากนี้ ของมนุษย์

ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยธรรม อย่างพระเจ้าเนมิราชนี้

เป็นบัณฑิต มีพระราชประสงค์ด้วยกุศล พระองค์

เป็นราชาของชาววิเทหรัฐทั้งปวง ทรงปราบข้าศึก

พระราชทานไทยธรรม เมื่อพระองค์ทรงบริจาคทาน

อยู่นั้น เกิดพระดำริขึ้นว่า ทานหรือพรหมจรรย์

อย่างไหนมีผลมากหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

[๕๓๓] เกิดพิศวงขนพองขึ้นในโลกแล้วหนอ

รถทิพย์ปรากฏแก่พระเจ้าวิเทหรัฐผู้มียศ.

[๕๓๔] เทพบุตรมาตลีผู้เป็นเทพสารถีมีฤทธิ์

มาก อันเชิญเสด็จพระเจ้าวิเทหรัฐ ผู้ทรงสงเคราะห์

ชาวเมืองมิถิลาว่า ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้เป็น

ใหญ่ในทิศ ขอเชิญเสด็จมาทรงรถนี้ เทพเจ้าชาว

ดาวดึงส์พร้อมพระอินทร์ใคร่จะเห็นพระองค์ ประชุม

คอยเฝ้าอยู่ ณ เทพสภา ชื่อสุธรรมา.

[๕๓๕] ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหรัฐผู้สงเคราะห์

ชาวมิถิลา ผู้เป็นประมุข รีบเสด็จลุกจากอาสน์ขึ้นสู่รถ

มาตลีเทพสารถี ได้ทูลถามพระเจ้าวิเทหราชผู้เสด็จขึ้น

ทรงทิพยรถแล้วว่า ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้-

เป็นใหญ่ในทิศ ทางไปสถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้ทำ

บาปทางหนึ่ง ทางไปสถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้ทำบุญ

ทางหนึ่ง จะโปรดให้ข้าพระองค์นำเสด็จไปทางไหน.

[๕๓๖] ดูก่อนมาตลีเทพสารถี ท่านจงนำเรา

ไปโดยทางทั้งสอง คือทางไปที่อยู่ของผู้ทำบาป และ

ทางไปที่อยู่ของผู้ทำบุญ.

[๕๓๗] ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่

ในทิศ ทางหนึ่งไปที่อยู่ของผู้ทำบาป ทางหนึ่งไปที่อยู่

ของผู้ทำบุญ จะโปรดให้ข้าพระองค์นำเสด็จไปทาง

ไหนก่อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

[๕๓๘] เราจะดูนรกอันเป็นที่อยู่ของเหล่าสัตว์

ผู้ทำบาป สถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ ผู้มีกรรมหยาบช้า

และคติของเหล่าชนผู้ทุศีลก่อน.

[๕๓๙] มาตลีเทพสารีได้แสดงแม่น้ำเวตรณี

ซึ่งข้ามยาก ประกอบด้วยน้ำแสบเผ็ดร้อนเดือดพล่าน

เปรียบดังเปลวเพลิงแด่พระเจ้าฆนมิราช.

[๕๔๐] พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นชน

ซึ่งตกอยู่ในเวตรณีนทีภาค ซึ่งยากจะข้ามได้ จึงตรัส

กะมาตลีเทพสารถีว่า แน่ะนายสารถี ความกลัวมาก

ปรากฏแก่เรา เพราะเห็นตัว อยู่ในแม่น้ำเวตรณี

แน่ะมาตลี เราขอถามท่าน สัตว์เหล่านี้ได้ทำบาป

อะไรไว้ จึงได้ตกในเวตรณีนที.

[๕๔๑] มาตลีเทพสารถี ทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถาม ตามที่ทราบวิบาลแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แต่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ใน

มนุษยโลก เป็นผู้มีกำลังมีบาปธรรม เบียดเบียนด่า

กระทบผู้ที่หากำลังมิได้ สัตว์เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า

กระทำบาป จึงตกลงในเวตรณีนที.

[๕๔๒] พระราชาตรัสว่า สุนัขแดง สุนัขด่าง

ฝูงแร้ง ฝูงกา น่ากลัว เคี้ยวกินสัตว์นรก ความกลัว

ปรากฏแก่เราเพราะเห็นสัตว์เหล่านั้น เคี้ยวกินสัตว์นรก

เราขอถามท่าน สัตว์เหล่านี้ที่ฝูงกาเคี้ยวกิน ได้ทำบาป

อะไรไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

[๕๔๓] มาตลีเทพสารถีอันพระเจ้าเนมิราช

ตรัสถามแล้ว ได้ทูลพยากรณ์วิบากของเหล่าสัตว์ผู้ทำ

บาปตามที่ได้ทราบ แด่พระเจ้าเนมิราชผู้ไม่ทรงทราบ

ว่า สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่น

มีบาปธรรม มักบริภาษเบียดเบียนด่ากระทบสมณ-

พราหมณ์ สัตว์เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า กระทำบาป

จึงถูกฝูงกาเคี้ยวกิน.

[๕๔๔] สัตว์นรกเหล่านี้มีร่างกายลุกโพลง

เดินเหยียบแผ่นดินเหล็ก และนายนิรยบาลโบยด้วย

ท่อนเหล็กแดง ความกลัวปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็น

ความเป็นไปของสัตว์นรกเหล่านั้น ดูก่อนมาตลเทพ

สารถี เราขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ทำบาปอะไรไว้

จึงถูกเบียดเบียนด้วยท่อนเหล็กนอนอยู่.

[๕๔๕] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์ พระดำรัส

ถาม ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใด เมื่อยังอยู่ใน

มนุษยโลก เป็นผู้มีบาปธรรมเบียดเบียนด่ากระทบ

ชายหญิงผู้มีกุศลธรรม สัตว์เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า

กระทำบาปธรรมแล้ว จึงถูกเบียดเบียนด้วยท่อเหล็ก

นอนอยู่.

[๕๔๖] สัตว์อื่นร้องไห้มีกายไฟไหม้ทั่ว ดิ้นรน

อยู่ในหลุมถ่านเพลิง ความแล้วปรากฏแก่เรา เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

เห็นกิริยานี้ ดูก่อนมาตลีเทพสารถี สัตว์นรกเหล่านี้

ได้ทำบาปอะไรไว้ จึงมาร้องไห้ดิ้นรนในอยู่ในหลุมถ่าน

เพลิงนี้.

[๕๔๗] มาตลีเทพสารถีอันพระเจ้าเนมิราชตรัส

ถามแล้วได้ทูลพยากรณ์วิบากของเหล่าสัตว์ผู้ทำบาป

ตามที่ได้ทราบ แด่พระเจ้าวิเทหราชผู้ไม่ทราบว่า

สัตว์นรกเหล่านี้ยังหนี้ให้เกิด เพราะสร้างพยานโกง

เหตุแห่งทรัพย์ของประชุมชน ยังหนี้ให้เกิดแก่ประ-

ชุมชน มีกรรมหยาบช้าทำความชั่ว จึงมาร้องไห้

ดิ้นรนอยู่ในหลุมถ่านเพลิง พระเจ้าข้า.

[๕๔๘] หม้อโลหะใหญ่ไฟติดทั่วลุกโพลงโชติ

ช่วงย่อมปรากฏ ความกลัวย่อมเกิดแก่เรา เพราะได้

เห็นความเป็นไปนี้ แน่ะมาตลีเทพสารถี เราขอถาม

ท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ทำบาปอะไรไว้ จึงตกในโลห-

กุมภี.

[๕๔๙] มาตลีเทพสารถี ทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถาม ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใด เป็นผู้มี

บาปธรรม เบียดเบียนด่ากระทบสมณะ หรือพราหมณ์

ผู้มีศีล สัตว์เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า กระทำบาป-

กรรมแล้ว จึงตกในโลหกุมภี.

[๕๕๐] นายนิรยบาลผูกคอสัตว์นรกด้วยเชือก

เหล็กลุกโพลง แล้วตัดศีรษะโยนลงไปในน้ำร้อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

ความกลัวเกิดแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ ดู

ก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์เหล่านี้ได้

ทำบาปอะไรไว้ จึงมีศีรษะขาดนอนอยู่.

[๕๕๑] มาตลีเทพสารถี ทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถามตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ ผู้ทำบาปทั้งหลาย

แด่พระราชาผู้ไม่ทราบว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นจอม

ประชาชน สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก มี

บาปธรรม จับนกมาฆ่า สัตว์เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า

กระทำบาป จึงมีศีรษะขาดนอนอยู่.

[๕๕๒] แม่น้ำนี้มีน้ำมาก มีตลิ่งไม่สูง มีท่า

อันดีไหลอยู่เสมอ สัตว์นรกเหล่านั้นเร่าร้อน เพราะ

ความร้อนแห่งไฟ จะดื่มน้ำ ก็แต่เมื่อสัตว์นรกเหล่า

นั้นจะดื่ม น้ำก็กลายเป็นแกลบไป ความกลัวย่อม

ปรากฏแก่เราเพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ แน่ะมาตลี

เทพสารถี ข้าพเจ้าขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ได้

ทำบาปอะไรไว้ เมื่อจะดื่มน้ำ น้ำจึงกลายเป็นแกลบ

ไป.

[๕๕๓] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์ พระดำรัส

ถามตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใด มีการงานไม่

บริสุทธิ์ ขายข้าวเปลือกแท้เจือด้วยข้าวลีบแกลบแก่ผู้ซื้อ

เมื่อสัตว์เหล่านั้นมีความร้อนยิ่ง เพราะความร้อนแห่ง

ไฟกระหายน้ำ จะดื่มน้ำ น้ำจึงกลายเป็นแกลบไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

[๕๕๔] นายนิรยบาลแทงข้างทั้ง ๒ แห่งสัตว์

นรกผู้ร้องไห้อยู่ ด้วยลูกศร หอก โตมร ความกลัว

ปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ ดูก่อน

เทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ได้ทำ

บาปอะไรไว้ จึงถูกฆ่าด้วยหอกนอนอยู่.

[๕๕๕] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถาม ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใด เนื้อยังอยู่

ในมนุษยโลก เป็นผู้มีกรรมไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

ถือเอาของที่เจ้าของไม่ให้ คือธัญชาติ ทรัพย์ เงิน

ทอง แพะ แกะ ปสุสัตว์ และกระบือ มาเลี้ยงชีวิต

สัตว์ เหล่านั้นเป็นผู้มีกรรมหยาบช้า ทำบาป จึงถูกฆ่า

ด้วยหอกนอนอยู่.

[๕๕๖] สัตว์นรกเหล่านี้นายนิรยบาลผูกคอไว้

เพราะเหตุอะไร ยังพวกอื่นอีกพวกหนึ่ง อันนาย

นิรยบาลตัดทำให้เป็นชิ้น ๆ นอนอยู่ ความกลัวย่อม

ปรากฏแก่เราเพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ ดูก่อน

มาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ทำ

บาปอะไรไว้ จึงถูกทำให้เป็นชิ้น ๆ นอนอยู่.

[๕๕๗] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถาม ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่านี้เคยเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

ฆ่าแกะ ฆ่าสุกร ฆ่าปลา ครั้นฆ่าสัตว์ของเลี้ยง

กระบือ แพะ แกะ แล้ววางไว้ในร้านทำสัตว์ขาย

เนื้อ เป็นผู้มีกรรมหยาบช้าทำบาป จึงถูกตัดเป็นชิน ๆ

นอนอยู่.

[๕๕๘] ห้วงน้ำนี้เต็มด้วยมูตรและคูถ มีกลิ่น

เหม็น ไม่สะอาด เน่า ฟุ้งไป สัตว์นรกมีความ

หิวครอบงำก็กินมูตรและคูถนั้น ความกลัวปรากฏแก่

เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลี

เทพสารถี เราขอถามท่านสัตว์นรกเหล่านี้ได้ทำบาป

อะไรไว้ จึงมีมูตรและคูถเป็นอาหาร.

[๕๕๙] มาตลีเทพสารถี ทูลถวายพยากรณ์พระ-

ดำรัสถามตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย

แด่พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่าใด ก่อ

ทุกข์เบียดเบียนมิตรสหายเป็นต้น ตั้งมั่นอยู่ในความ

เบียดเบียนผู้อื่นทุกเมื่อ สัตว์นรกเหล่านั้นมีกรรมหยาบ

ช้า เป็นพาลประทุษร้ายมิตร จึงต้องกินมูตรและคูถ.

[๕๖๐] ห้วงน้ำนี้เต็มด้วยเลือดและหนอง มี

กลิ่นเหม็นไม่สะอาด เน่า ฟุ้งไป สัตว์นรกถูกความ

ร้อนแผดเผาแล้ว ย่อมดื่มเลือดและหนองกิน ความ

กลัวย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น

ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์นรก

เหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้ จงมีเลือดและหนองเป็น

อาหาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

[๕๖๑] มาตลีเทพสารถี ทูลถวายพยากรณ์พระ-

ดำรัสถามตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย

แด่พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่าใด เมื่อ

ยังอยู่ในมนุษยโลก ฆ่ามารดาบิดา และพระอรหันต์

ชื่อว่าต้องปาราชิกในคิหิเพศ สัตว์นรกเหล่านั้นมี

กรรมหยาบช้าทำบาป จึงมีเลือดและหนองเป็นอาหาร.

[๕๖๒] ท่านจงดูลิ้นของสัตว์นรกที่เกี่ยวด้วย

เบ็ดและหนังที่แผ่ไปด้วยขอ สัตว์นรกย่อมดิ้นรน

เหมือนปลาที่โยนไปบนบกย่อมดิ้นรน ฉะนั้น ร้องไห้

น้ำลายไหล เพราะกรรมอะไร ความกลัวย่อมปรากฏ

แก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลี

เทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ได้ทำบาป

อะไรไว้ จึงกลืนเบ็ดนอนอยู่.

[๕๖๓] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถาม ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

เป็นมนุษย์อยู่ในตำแหน่งผู้ตีราคา ยังราคาซื้อให้เสื่อม

ไปด้วยราคา ทำกรรมอันโกงด้วยความโกงเหตุโลภ-

ทรัพย์ ปกปิดไว้ ดุจคนเข้าไปใกล้ปลาเพื่อจะฆ่า เอา

เหยื่อเกี่ยวเบ็ดปิดเบ็ดไว้ฉะนั้น บุคคลจะป้องกันช่วย

คนทำความโกงผู้อันธรรมของตนหุ้มห่อไว้ ไม่มีเลย

สัตว์นรกเหล่านี้มีกรรมหยาบช้าทำบาป จึงมากลืน

เบ็ดนอนอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

[๕๖๔] หญิงนรกเหล่านั้นมีร่างกายแตกทั่ว มี

ชาติทราม มีแมลงวันตอม เปรอะเปื้อนด้วยเลือด

และหนอง มีศีรษะขาด เหมือนฝูงโคที่ศีรษะขาดบน

ที่ฆ่า ประคองแขนทั้งสองร้องไห้ หญิงนรกเหล่านั้น

จมอยู่ในภูมิภาคเพียงเอวทุกเมื่อ ภูเขาไฟตั้งมาแต่สี่

ทิศลุกโพลง กลิ้งมาบดหญิงนรกเหล่านั้นให้ละเอียด

ความกลัวปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น

ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน หญิงนรก

เหล่านั้นได้ทำบาปอะไรไว้ จึงต้องมาจมอยู่ในภาคภูมิ

เพียงเอวทุกเมื่อ ภูเขาไฟลุกโพลงตั้งมาแต่สี่ทิศบดให้

ละเอียด

[๕๖๕] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถามตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า หญิงนรกเหล่านั้นเป็น

กุลธิดา เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก มีการงานไม่บริสุทธิ์

ได้ประพฤติไม่น่ายินดี เป็นหญิงนักเลง ละสามีเสียได้

คบหาชายอื่นเพราะเหตุยินดีและเล่น หญิงเหล่านั้น

เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลกนี้ ยังจิตของตนให้ยินดีใน

ชายอื่น จึงถูกภูเขาไฟอันลุกโพลงตั้งมาแต่สี่ทิศ บด

ให้ละเอียด.

[๕๖๖] เพราะเหตุไร นายนิรยบาลทั้งหลาย จึง

จับสัตว์นรกเหล่านี้อีกพวกหนึ่งที่เท้าเอาหัวลง โยนลง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

ไปในนรก ความกลัวย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็น

ความเป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถาม

ท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้ จึงถูกให้ตก

ไปในนรก.

[๕๖๗] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์ พระดำรัส

ถามตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใด เมื่อยังอยู่ใน

มนุษยโลก เป็นผู้มีกรรมไม่ดี ล่วงเกินภรรยาทั้งหลาย

ของชายอื่น สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้ลักภัณฑะอันอุดม

เช่นนั้น จึงมาตกนรก เสวยทุกขเวทนาในนรกนั้น

สิ้นปีเป็นอันมาก บุคคลผู้ช่วยป้องกันบุคคลผู้มักทำ

บาป ผู้อันกรรมของคนหุ้มห่อไว้ ไม่มีเลยสัตว์นรก

เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้าทำบาป จึงมาตกอยู่ในนรก

[๕๖๘] สัตว์นรกเหล่านี้ทั้งน้อยใหญ่ ต่างพวก

ประกอบเหตุการณ์ มีรูปร่างพิลึก ปรากฏอยู่ในนรก

ความกลัวย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็น

ไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์

นรกเหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้ จึงได้เสวยทุกขเวทนา

อันกล้าแสงแดดร้อนมีประมาณยิ่ง.

[๕๖๙] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถามตามที่ทราบวิบากแต่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่

พระราชาไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใด เมื่อยังอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

ในมนุษยโลก เป็นผู้มีความเห็นเป็นบาป หลงทำ

กรรมอันทำด้วยความคุ้นเคย และชักชวนผู้อื่นใน

ทิฏฐิเช่นนั้น สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้มีทิฏฐิอันลามกทำ

บาป จึงต้องเสวยทุกขเวทนาอันกล้าแข็งเผ็ดร้อนมี

ประมาณยิ่ง.

[๕๗๐] ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ทรงทราบ

สถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้มีกรรมหยาบช้า และทรง

ทราบคติของเหล่าสัตว์ผู้ทุศีลแล้ว เพราะได้ทอดพระ-

เนตรเห็นนิรยาบาลอันเป็นที่อยู่ของเหล่าสัตว์นรกผู้มี

กรรมอันลามก ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง

ใหญ่ บัดนี้ขอพระองค์เสด็จขึ้นไปในสำนักของท้าว

สักกเทวราชเถิด.

[๕๗๑] วิมาน ๕ ยอดนี้ปรากฏอยู่ เทพธิดาผู้มี

อานุภาพมาก ประดับดอกไม้ นั่งอยู่กลางที่ไสยาสน์

แสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ สถิตอยู่ในวิมานนั้น ความปลื้มใจ

ปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อน

มาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน เทพธิดานี้ได้ทำ

กรรมดีอะไรไว้ จึงได้ถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.

[๕๗๒] มาตลีเทพสารถี ทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถามตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า ก็เทพธิดาที่พระองค์ทรง

หมายถึงนั้น ชื่อวรุณี* เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก เป็น

* บาลีเป็น พีรณี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

ทาสีเกิดแต่ทาสีในเรือนของพราหมณี นางรู้แจ้งซึ่ง

แขกคือภิกษุผู้มีกาลอันถึงแล้ว นิมนต์ให้นั่งในเรือน

ของพราหมณ์ ยินดีต่อภิกษุนั้นเป็นนิตย์ ดังมารดา

ยินดีต่อบุตรผู้จากไปนานกลับมาถึง ฉะนั้น นางอังคาส

ภิกษุนั้นโดยเคารพ ได้ถวายสิ่งของของตนเล็กน้อย

เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน.

[๕๗๓] วิมาน ๗ โชติช่วง อันบุญญานุภาพ

ตกแต่ง ส่องแสงสว่างดั่งดวงอาทิตย์อ่อน ๆ เทพบุตร

ในวิมานนั้นมีฤทธิ์มาก ประดับสรรพาภรณ์ อันหมู่

เทพธิดาแวดล้อมผลัดเปลี่ยนเวียนวนอยู่โดยรอบทั้ง ๗

วิมาน ความปลื้มใจปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความ

เป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน

เทพบุตรนี้ได้ทำกรรมดีอะไรไว้ จึงได้ถึงสวรรค์

บันเทิงอยู่ในวิมาน.

[๕๗๔] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถามตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีชื่อ

โสณทินนะ เป็นทานบดีให้สร้างวิหาร ๗ หลังอุทิศต่อ

บรรพชิตได้ปฏิบัติบำรุงภิกษุผู้อยู่ในวิหาร ๗ หลังนั้น

โดยเคารพ ได้บริจาคผ้านุ่งผ้าห่ม ภัตตาหารเสนาสนะ

เครื่องประทีป ในท่านผู้ซื่อตรงด้วยจิตเลื่อมใส รักษา

อุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

ที่ ๘ แห่งปักษ์ และปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวมใน

ศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน จึงมาบันเทิง

อยู่ในวิมาน.

[๕๗๕] วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งดีแล้วนี้

เกลื่อนไปด้วยหมู่อัปสรผู้ประเสริฐ รุ่งเรืองด้วยเรือน

ยอดบริบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำงดงามด้วยการฟ้อนรำขับ

ร้องเปล่งแสงสว่างจากฝาแก้วผลึก ความปลื้มใจย่อม

ปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ ดูก่อน

มาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน อัปสรเหล่ามิได้ทำ

กรรมดีอะไรไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.

[๕๗๖] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถามตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า อัปสรเหล่านั้นเมื่อยังอยู่

ในมนุษยโลก เป็นอุบาสิกาผู้มีศีลยินดีในทาน มีจิต

เลื่อมใสเป็นนิตย์ ตั้งอยู่ในสัจจะ ไม่ประมาทในการ

รักษาอุโบสถ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน จึงมา

บันเทิงอยู่ในวิมาน.

[๕๗๗] วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งแล้วนี้

ประกอบด้วยภูมิภาคน่ารื่นรมย์ จัดสรรไว้เป็นส่วน ๆ

เปล่งแสงสว่างออกจากฝาแก้วไพฑูรย์ เสียงทิพย์ คือ

เสียงเปิงมาง เสียงตะโพน การฟ้อนรำขับร้อง และ

เสียงประโคมดนตรีย่อมเปล่งออก น่าฟัง เป็นที่

รื่นรมย์ใจ เราไม่รู้สึกว่าได้เห็นหรือได้ฟังเสียงอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

เป็นไปอย่างนี้ อันไพเราะอย่างนี้ ในกาลก่อนเลย

ความปลื้มใจย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความ

เป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน

เทพบุตรเหล่านี้ได้ทำกรรมดีอะไรไว้ จึงถึงสวรรค์

บันเทิงอยู่ในวิมาน.

[๕๗๘ ] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถามตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรเหล่านี้เมื่อยังอยู่

ในมนุษยโลก. เป็นอุบาสกผู้มีศีล ได้ก่อสร้างอาราม

บ่อน้ำ สระน้ำ และสะพาน ได้ปฏิบัติ พระอรหันต์ผู้

เยือกเย็นโดยเคารพ ได้ถวายจีวร บิณฑบาต คิลาน

ปัจจัย และเสนาสนะ ในท่านผู้ซื่อตรงด้วยใจเลื่อมใส

ได้รักษาอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถีที่

๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ แห่งปักษ์ และปาฏิหาริยปักษ์ เป็น

ผู้สำรวมในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน

จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน.

[๕๗๙] วิมานอื่นบุญญานุภาพตกแต่งดีแล้วนี้

เกลื่อนไปด้วยอัปสรผู้ประเสริฐ รุ่งเรืองด้วยเรือนยอด

บริบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ งดงามด้วยการฟ้อนรำขับร้อง

ส่องแสงสว่างจากฝาแก้วผลึก มีแม่น้ำอันประกอบ

ด้วยไม้ดอกต่างๆ ล้อมรอบ ความปลื้มใจย่อมปรากฏ

แก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลี-

เทพสารถี เราขอถามท่าน เทพบุตรนี้ได้ทำกรรมดี

อะไรไว้ จึงได้ถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

[๕๘๐] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถามตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีใน

กรุงมิถิลา เป็นทานบดีได้สร้างอาราม บ่อน้ำ สระน้ำ

และสะพาน ได้ปฏิบัติและบำรุงพระอรหันต์ทั้งหลาย

ผู้เยือกเย็นโดยเคารพ ได้ถวายจีวร บิณฑบาต คิลาน-

ปัจจัย และเสนาสนะ ในท่านผู้ซื่อตรง ด้วยใจ

เลื่อมใส ได้รักษาอุโบสถศีลประกอบด้วยองค์ ๘ ใน

ดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ แห่งปักษ์ และปาฏิหาริยปักษ์

เป็นผู้สำรวมในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนก

ทาน จึงบันเทิงอยู่ในวิมาน.

[๕๘๑] วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งดีแล้วนี้

เกลื่อนไปด้วยหมู่อัปสรผู้ประเสริฐรุ่งเรืองด้วยเรือนยอด

บริบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ งดงามด้วยการฟ้อนรำขับร้อง

ส่องแสงสว่างออกจากฝาแก้วผลึก มีแม่น้ำอันประ-

กอบด้วยไม่ดอกต่าง ๆ ล้อมรอบ และมีไม้เกด ไม้

มะขวิด ไม้มะม่วง ไม้สาละ ไม้ชมพู่ ไม่มะพลับ

ไม้มะหาด เป็นอันมาก มีผลเป็นนิตย์ ความปลื้มใจ

ย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดู

ก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน เทพบุตรนี้ทำ

กรรมดีอะไรไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

[๕๘๒] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถาม ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีใน

กรุงมิถิลา เป็นทานบดี ได้สร้างอาราม บ่อน้ำ

สระน้ำ และสะพาน ได้ปฏิบัติบำรุงพระอรหันต์

ทั้งหลายผู้เยือกเย็นโดยเคารพ ได้ถวายจีวร บิณฑ-

บาต คิลานปัจจัย และเสนาสนะ ในท่านผู้ซื่อตรง

ด้วยใจเลื่อมใส ได้รักษาอุโบสถศีลประกอบด้วยองค์

๘ ในดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ แห่งปักษ์ และปาฏิหาริย-

ปักษ์ เป็นผู้สำรวมในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและ

จำแนกทาน จึงบันเทิงอยู่ในวิมาน.

[๕๘๓] วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งแล้วนี้

ประกอบด้วยภูมิภาคน่ารื่นรมย์ จัดสรรไว้เป็นส่วน ๆ

เปล่งแสงสว่างออกจากฝาแก้วไพฑูรย์ เสียงทิพย์ คือ

เสียงเปิงมาง เสียงตะโพน การฟ้อนรำขับร้อง และ

เสียงประโคมดนตรีย่อมเปล่งออก น่าฟัง เป็นที่

รื่นรมย์ใจ เราไม่รู้สึกว่าได้เห็นหรือได้ฟังเสียงอันเป็น

เป็นไปอย่างนี้ อันไพเราะอย่างนี้ ในกาลก่อนเลย

ความปลื้มใจย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความ

เป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน

เทพบุตรนี้ได้ทำกรรมดีอะไรไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิง

อยู่ในวิมาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

[๕๘๔] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถามตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีใน

กรุงพาราณสี เป็นทานบดี ได้ก่อสร้างอาราม บ่อน้ำ

สระน้ำ และสะพาน ได้ปฏิบัติบำรุงพระอรหันต์

ทั้งหลายผู้เยือกเย็นโดยเคารพได้ถวายจีวร บิณฑบาต

คิลานปัจจัย และเสนาสนะ ในท่านผู้ซื่อตรงด้วยใจ

เลื่อมใส ได้รักษาอุโบสถศีลอัน ประกอบด้วยองค์ ๘

ในดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ แห่งปักษ์ และปาฏิหาริยปักษ์

เป็นผู้สำรวมในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนก

ทาน จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน.

[๕๘๕] วิมานทองอันบุญญานุภาพตกแต่งดีนี้

สุกใสดุจดวงอาทิตย์แรกอุทัยดวงใหญ่สีแดงฉะนั้น

ความปลื้มใจย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นวิมาน

ทองนี้ ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน เทพบุตร

นี้ได้ทำธรรมดีอะไรไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ใน

วิมาน.

[๕๘๖] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถาม ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีอยู่

ในกรุงสาวัตถี เป็นทานบดี ได้สร้างอาราม บ่อน้ำ

สระน้ำ และสะพาน ได้ปฏิบัติบำรุงพระอรหันต์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

ทั้งหลาย ผู้เยือกเย็นโดยเคารพ ได้ถวายจีวร บิณฑบาต

คิลานปัจจัย และเสนาสนะ ในท่านผู้ซื่อตรงด้วยใจ

เลื่อมใส ได้รักษาอุโบสถศีลประกอบด้วยองค์ ๘ ใน

ดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ แห่งปักษ์ และปาฏิหาริยปักษ์

เป็นผู้สำรวมในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนก

ทาน จึงบันเทิงอยู่ในวิมาน.

[๕๘๗] วิมานทองเป็นอันมากเหล่านี้ อัน

บุญญานุภาพตกแต่งดีแล้ว ลอยอยู่ในนภากาศไพโรจน์

โชติช่วง ดังสายฟ้าในระหว่างก้อนเมฆ ฉะนั้น

เทพบุตรทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก ประดับสรรพาภรณ์

อันหมู่อัปสรห้อมล้อม ผลัดเปลี่ยนเวียนอยู่ในวิมาน

นั้น ๆ โดยรอบ ความปลื้มใจย่อมปรากฏแก่เรา เพราะ

ได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เรา

ขอถามท่าน เทพบุตรเหล่านี้ได้ทำความดีอะไรไว้ จึง

ถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.

[๕๘๘] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถามตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรเหล่านี้เป็นสาวก

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีศรัทธาตั้งมั่นในพระ-

สัทธรรมที่พระพุทธเจ้าให้รู้แจ้งแล้ว ได้ปฏิบัติตามคำ

สั่งสอนของพระศาสดา ข้าแต่พระราชา ขอเชิญ

พระองค์ทอดพระเนตรสถานที่สถิตของเทพบุตรเหล่า

นั้นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

[๕๘๙] ข้าแต่มหาราชเจ้า สถานที่อยู่ของผู้มี

กรรมลามก พระองค์ก็ทรงทราบแล้ว อนึ่ง สถานที่

สถิตของผู้มีกรรมอันงาม พระองค์ก็ทรงทราบแล้ว

ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ขอเชิญ

พระองค์เสด็จขึ้นไปในสำนัก ของท้าวสักกเทวราชใน

บัดนี้เถิด.

[๕๙๐] พระเจ้าเนมิมหาราชประทับอยู่บน

ทิพยานอันเทียมม้าสินธพหนึ่งพันเสด็จไปอยู่ ได้

ทอดพระเนตรเห็นภูเขาทั้งหลายในระหว่างนทีสีทันดร

ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว ได้ตรัสถามเทพทูตมาตลี

ว่า ภูเขาเหล่านี้ซื่ออะไร.

[๕๙๑] ภูเขาใหญ่ทั้ง ๗ คือ ภูเขาสุทัสสนะ

ภูเขากรวีกะ ภูเขาอิสินธระ ภูเขายุคันธระ ภูเขา

เนมินธระ ภูเขาวินตกะ และภูเขาอัสสกัณณะ ภูเขา

เหล่านี้สูงขึ้นไปโดยลำดับ อยู่ในมหาสมุทรสีทันดร

เป็นที่อยู่ของท้าวจาตุมหาราช ขอเชิญพระองค์ทอด

พระเนตรเถิด พระเจ้าข้า.

[๕๙๒] ประตูมีรูปต่าง ๆ รุ่งเรืองวิจิตรต่าง ๆ

อันรูปเช่นรูปสักรินทรเทวราชแวดล้อมรักษาดีแล้ว

ดุจป่าอันเสือโคร่งทั้งหลายรักษาดีแล้ว ฉะนั้น ย่อม

ปรากฏ ความปลื้มใจย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็น

ประตูนี้ ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน ประตู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

นี้เขาเรียกชื่อว่าอะไร เป็นประตูที่น่ารื่นรมย์ใจ เห็น

ได้แต่ไกลทีเดียว.

[๕๙๓] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถาม ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า ประตูนี้เขาเรียกว่า จิตตกูฏ

เป็นที่เสด็จเข้าออกของท้าวสักกเทวราชเพราะประตูนี้

เป็นประตูแห่งเทพนคร ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสิเนรุราช

อันงามน่าดูปรากฏอยู่ มีรูปต่าง ๆ รุ่งเรืองวิจิตรต่าง ๆ

อันรูปเช่นรูปสักรินทรเทวราชแวดล้อมรักษาดีแล้ว

ดุจป่าอันเสือโคร่งทั้งหลายรักษาดีแล้วฉะนั้น ย่อม

ปรากฏ ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ขอ

เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปทางประตูนี้ จงทรงเหยียบ

ภูมิภาคอันราบรื่นเถิด.

[๕๙๔] พระเจ้าเนมิมหาราชประทับอยู่บน

ทิพยาน อันเทียมม้าสินธพหนึ่งพันเสด็จไปอยู่ ได้

ทอดพระเนตรเห็นเทวสภานี้ วิมานอันบุญญานุภาพ

ตกแต่งแล้วนี้ ส่องแสงสว่างจากฝาแก้วไพฑูรย์ ราว

กะอากาศส่องแสงเขียวสดปรากฏในสรทกาล ฉะนั้น

ความปลื้มใจย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นวิมานนี้

ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน วิมานนี้เขา

เรียกชื่อว่าอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

[๕๙๕] มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัส

ถาม ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า วิมานนี้นั้น เป็นเทวสภา มี

นามปรากฏว่า สุธรรมา ตานที่เรียกกัน รุ่งเรื่องด้วย

แก้วไพฑูรย์งามวิจิตร อันบุญญานุภาพตกแต่งดูแล้ว

มีเสาทั้งหลาย ๘ เหลี่ยมทำไว้ดีแล้ว ล้วนแล้วด้วย

แล้วไพฑูรย์ทุก ๆ เสา รองรับไว้ เป็นที่ซึ่งเทพเจ้า

เหล่าดาวดึงส์ทั้งหมดมีพระอินทร์เป็นประมุข ประชุม

กันคิดประโยชน์ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าแต่

พระราชาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เชิญพระองค์

เสด็จเข้าไปสู่ที่เป็นที่อนุโมทนาของเทวดาทั้งหลายโดย

ทางนี้.

[๕๙๖] เทวดาทั้งหลายเห็นพระเจ้าเนมิราช

เสด็จมาถึง ก็พากันยินดีต้อนรับว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือน

ใกล้ ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ขอเชิญ

ประทับนั่งในที่ใกล้ท้าวสักกเทวราช ณ บัดนี้เถิด

ท้าวสักกเทวราชทรงยินดีต้อนรับพระองค์ผู้เป็นพระ

ราชาแห่งชาววิเทหรัฐ ผู้ทรงสงเคราะห์ชาวกรุงมิถิลา

ท้าววาสวเทวราชทรงเชื้อเชิญให้เสวยทิพยกามารมณ์

และประทับบนทิพยอาสน์ เป็นความดีแล้วที่พระองค์

เสด็จมาถึงทิพยสถานอันเป็นที่อยู่ของเทวดาทั้งหลาย

ผู้ยังสิ่งที่ตนประสงค์ให้เป็นไปได้ตามอำนาจ ขอเชิญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

ประทับอยู่ในหมู่เทวดาผู้สำเร็จด้วยทิพยกามทั้งมวล

ขอเชิญเสวยทิพยกามารมณ์ในหมู่เทพเจ้าชาวดาวดึงส์

เถิด.

[๕๙๗] สิ่งใดที่ได้มาเพราะผู้อื่นให้ สิ่งนั้น

เปรียบเหมือนยวดยาน หรือทรัพย์ที่ยืมเขามาฉะนั้น

หม่อมฉันไม่ปรารถนาสิ่งซึ่งผู้อื่นให้ บุญทั้งหลายที่

หม่อมฉันทำเอง ย่อมเป็นทรัพย์ที่จะคิดตามหม่อมฉัน

ไป หม่อมฉันจักกลับไปทำกุศลให้มากในหมู่มนุษย์

ด้วยการบริจาคทาน การประพฤติสม่ำเสมอ ความ

สำรวม และการฝึกอินทรีย์ ซึ่งทำไว้แล้วจะได้ความ

สุข ไม่เดือดร้อนในภายหลัง.

[๕๙๘] มาตลีเทพสารถีผู้เจริญ เป็นผู้มีอุปการะ

มากแก่หม่อมฉัน ได้แสดงสถานที่อยู่ ของผู้มีกรรม

อันงาม และของผู้มีกรรมอันลามก แก่หม่อมฉัน.

[๕๙๙] ผมหงอกที่งอกขึ้นบนเศียรของพ่อ เหล่า

นี้เกิดแล้วก็นำความหนุ่มไปเสีย เป็นเทวทูตปรากฏแล้ว

สมัยนี้จึงเป็นคราวที่พ่อจะบวช พระเจ้าวิเทหราชราชา

แห่งแคว้นวิเทหะ ผู้ทรงอนุเคราะห์ชาวมิถิลา ตรัส

คาถานี้แล้ว ทรงบูชายัญเป็นอันมาก ทรงเข้าถึงความ

เป็นผู้สำรวมแล้ว.

จบ เนมิราชชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

อรรถกถามหานิบาต

เนมิราชชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระราชอุทยานอัมพวัน ของพระเจ้า

มฆเทวราช ทรงอาศัยกรุงมิถิลาเป็นที่ภิกษาจาร ทรงปรารภการทำความแย้ม

พระโอฐให้ปรากฏ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อจฺเฉร วต โลกสฺมึ ดังนี้

เป็นต้น.

เรื่องย่อมีว่า วันหนึ่ง พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก เสด็จจาริก

ไปในอัมพวันนั้นในเวลาเย็น ทอดพระเนตรเห็นภูมิประเทศแห่งหนึ่งเป็นรมณี-

ยสถาน ทรงใคร่จะตรัสบุรพจริยาของพระองค์ จึงทรงแย้มพระโอฐ ท่านพระ

อานนทเถระ กราบทูลถามเหตุที่ทรงแย้มพระโอฐ จึงมีพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อน

อานนท์ ภูมิประเทศนี้เราเคยอาศัยอยู่ เจริญฌานในกาลที่เราเสวยชาติเป็นมฆ-

เทวราชา ตรัสดังนี้แล้วก็ทรงดุษณีภาพนิ่งอยู่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลวิงวอน

เพื่อให้ทรงแสดง จึงประทับนั่ง ณ บวรพุทธาสนะที่ปูลาดไว้ ทรงนำอดีต

นิทานมาแสดง ดังต่อไปนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล ณ กรุงมิถิลา แคว้นวิเทหรัฐ ได้

มีพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่ามฆเทวราช พระองค์ทรงเล่นอย่างราชกุมาร

อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ครองไอศวรรย์ ๘๔,๐๐๐ ปี เมื่อเสวยราชย์เป็นพระราชา-

ธิราชได้ ๘๔,๐๐๐ ปี มีพระราชดำรัสกะเจ้าพนักงานภูษามาลาว่า เมื่อใด

เจ้าเห็นผมหงอกในศีรษะเรา เจ้าจงบอกข้าเมื่อนั้น ครั้นกาลต่อมา เจ้าพนัก

งานภูษามาลาได้เห็นเส้นพระศกหงอก จึงกราบทูลแด่พระราชา พระองค์

ตรัสสั่งให้ถอนด้วยแหนบทองคำ ให้วางไว้ในพระหัตถ์ ทอดพระเนตรพระศก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

หงอก ทรงพิจารณาเห็นมรณะเป็นประหนึ่งว่ามาของอยู่ที่พระนลาต มีพระ-

ดำริว่า บัดนี้เป็นกาลที่จะผนวช จึงพระราชทานบ้านส่วยแก่เจ้าพนักงานภูษา

มาลา แล้วตรัสเรียกพระเชษฐโอรสมา มีพระดำรัสว่า พ่อจงรับครองราชสมบัติ

พ่อจักบวช พระราชโอรสทูลถามถึงเหตุที่จะทรงผนวช เมื่อจะตรัสบอกเหตุ

แก่พระราชโอรส จึงตรัสคาถานี้ว่า

ผมหงอกที่งอกบนศีรษะของพ่อนี้ นำความหนุ่ม

ไปเสีย เป็นเทวทูตปรากฏแล้ว คราวนี้จึงเป็นคราว

ที่พ่อจะบวช.

ครั้นตรัสดังนี้แล้วก็อภิเษกพระราชโอรสในราชสมบัติ แล้วพระราช-

ทานพระโอวาทว่า แม้ตัวเธอเห็นผมหงอกอย่างนี้แล้ว ก็พึงบวช ตรัสฉะนี้

แล้ว เสด็จออกจากพระนคร ทรงผนวชเป็นฤๅษี เจริญพรหมวิหาร ๔ ตลอด

๘๔,๐๐๐ ปี บังเกิดในพรหมโลก แม้พระราชโอรสของพระเจ้า

มฆเทวราชก็ทรงผนวชโดยอุบายนั้นแหละ ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้อง

หน้า กษัตริย์ผู้เป็นพระราชโอรสของพระราชาเป็นลำดับมานับได้ ๘๔,๐๐๐

องค์ หย่อน ๒ องค์ ทอดพระเนตรเห็นเส้นพระศกหงอกบนพระเศียร แล้ว

ทรงผนวชในพระราชอุทยานอัมพวันนี้ เจริญพรหมวิหาร ๔ บังเกิดใน

พรหมโลก บรรดากษัตริย์เหล่านั้น กษัตริย์มีพระนามว่ามฆเทวะบังเกิด

ในพรหมโลกก่อนกว่ากษัตริย์ทั้งปวง สถิตอยู่ในพรหมโลกนั่นแหละ ตรวจดู

พระวงศ์ของพระองค์ ทอดพระเนตรเห็นกษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ หย่อน ๒

องค์ ผู้บวชแล้ว ก็มีพระมนัสยินดี ทรงพิจารณาว่า เบื้องหน้าแต่นี้ วงศ์

ของเราจักเป็นไป หรือจักไม่เป็นไปหนอ ก็ทรงทราบว่าจักไม่เป็นไป จึง

ทรงคิดว่า เรานี่แหละจักสืบต่อวงศ์ของเรา ก็จุติจากพรหมโลกนั้นลงมาถือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

ปฏิสนธิในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสีของพระราชาในกรุงมิถิลา กาลล่วงไป

๑๐ เดือน ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา พระราชาตรัสเรียกพราหมณ์

ทั้งหลายผู้รู้ทำนาย มาถามเหตุการณ์ ในวันขนาน พระนามพระราชกุมาร

พราหมณ์ทั้งหลายตรวจดูพระลักษณะแล้ว กราบทูลว่า พระราชกุมารนี้สืบต่อ

วงศ์ของพระองค์เกิดแล้ว ด้วยว่าวงศ์ของพระองค์เป็นวงศ์บรรพชิต ท่อแต่

พระกุมารนี้ไปเบื้องหน้า จักไม่มี พระราชาทรงสดับดังนั้น มีพระดำริว่า

พระราชโอรสนี้สืบต่อวงศ์ของเรามาเกิด ดุจวงล้อรถ ฉะนั้น เราจักขนานนาม

พระโอรสนั้นว่า เนมิกุมาร ทรงดำริฉะนี้แล้ว จึงพระราชทานพระนาม

พระโอรสว่า เนนิกุมาร. พระเนมิกุมารนั้นเป็นผู้ทรงยินดีในการบำเพ็ญรักษา

ศีลและอุโบสถกรรม จำเดิมแค่ยังทรงพระเยาว์ ลำดับนั้น พระราชาผู้พระชนก

ของเนมิราชกุมารนั้น ทอดพระเนตรเห็นเส้นพระศกบนพระเศียรหงอก ก็

พระราชทานบ้านส่วยแก่เจ้าพนักงานภูษามาลา แล้วมอมราชสมบัติแก่พระ

ราชโอรส ทรงผนวชในพระราชอุทยานอัมพวันนั่นเอง เป็นผู้มีพรหมโลก

เป็นที่ไปในเบื้องหน้า โดยนัยหนหลังนั่นแล.

ฝ่ายพระเจ้าเนมิราชโปรดให้สร้างโรงทาน ๕ แห่ง คือ ที่ประตู

พระนคร ๔ แห่ง ท่ามกลางพระนคร ๑ แห่ง ยังมหาทานให้เป็นไปด้วยความ

เป็นผู้มีพระอัธยาศัยในทาน พระราชทานทรัพย์ที่โรงทานแห่งละ ๑๐๐,๐๐๐

ทรงบริจาคทรัพย์วันละ ๕๐๐,๐๐๐ กหาปณะ ทุก ๆ วัน ทรงเบญจศีลเป็นนิจ

ทรงสมาทานอุโบสถทุกวันปักษ์ ทรงชักชวนมหาชนในการบำเพ็ญบุญมีให้

ทานเป็นต้น ทรงแสดงธรรมสอนให้ทราบทางสวรรค์ คุกคามประชุมชนให้

กลัวนรก ประชุมชนตั้งอยู่ในพระโอวาทของพระองค์ บำเพ็ญบุญมีให้ทาน

เป็นต้น จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในเทวโลก เทวโลกเต็ม นรกเป็นดุจ

ว่างเปล่า กาลนั้นหมู่เทวดาในดาวดึงสพิภพ ประชุมกัน เทวสถาน ชื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

สุธรรมา กล่าวสรรเสริญคุณของพระมหาสัตว์ว่า โอ พระเจ้าเนมิราช

เป็นพระอาจารย์ของพวกเรา ชาวเราทั้งหลายอาศัยพระองค์ จึงได้เสวยทิพย-

สมบัตินี้ แม้พระพุทธญาณก็มิได้กำหนด แม้ในมนุษยโลก มหาชนกสรรเสริญ

คุณของพระมหาสัตว์ คุณกถาแผ่ทั่วไป ราวกะน้ำมันที่เทราดลงบนหลัง

มหาสมุทร ฉะนั้น.

พระศาสดาเนื้อตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ทรงทำเนื้อความนั้นให้แจ้งชัด จึง

ตรัสว่า

เมื่อใดพระเจ้าเนมิราชผู้เป็นบัณฑิต มีพระประ-

สงค์ด้วยกุศล เป็นพระราชาผู้ปราบข้าศึก ทรงบริจาค

ทานแก่ชาววิเทหะทั้งปวง เมื่อนั้นบุคคลผู้ฉลาดก็ย่อม

เกิดขึ้นในโลก ความเกิดขึ้นของท่านเหล่านั้น น่า

อัศจรรย์หนอ เมื่อพระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญทานนั้น

อยู่ ก็เกิดพระราชดำริขึ้นว่า ทานหรือพรหมจรรย์

อย่างไหนมีผลานิสงส์มาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา อหุ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อใดพระเจ้าเนมิราชผู้เป็นบัณฑิต มีพระประสงค์ด้วยกุศลเพื่อพระองค์ด้วย

เพื่อชนเหล่าอื่นด้วย เนื้อนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายได้กล่าวคุณกถาของ

พระเจ้าเนมิราชนั้น อย่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์หนอ ที่พุทธญาณยังไม่เกิด ก็

มีตนฉลาดสามารถยังพุทธกิจให้สำเร็จแก่มหาชนเห็นปานนี้เกิดขึ้นในโลก.

ว่า ยถา อหุ ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น มีความว่า พระเจ้าเนมิราชเป็นบัณฑิต มี

พระประสงค์ด้วยกุศลเท่านั้น ฉันใด คนฉลาดทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมเกิดขึ้น

ยังพุทธกิจให้สำเร็จแก่มหาชน การเกิดขึ้นของคนฉลาดเหล่านั้น นั้นน่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

อัศจรรย์ในโลกหนอ. พระศาสดาทรงเป็นอัจฉริยะเองทีเดียว จึงตรัสอย่างนี้

ด้วยประการฉะนี้. บทว่า สพฺพวิเทหาน ได้แก่ ชาววิเทหรัฐทั้งปวง. บทว่า

กตม สุ ความว่า บรรดาทานและพรหมจรรย์สองอย่างนี้ อย่างไหนหนอมี

ผลมาก.

ได้ยินว่า พระเจ้าเนมิราชนั้นทรงสมาทานอุโบสถศีล ในวันอุโบสถ

๑๕ ค่ำ ทรงเปลื้องราชาภรณ์ทั้งปวง บรรทมบนพระยี่ภู่มีสิริ หยั่งลงสู่

นิทรารมณ์ตลอดสองยาม ตื่นบรรทมในปัจฉิมยาม ทรงคู้บัลลังก์ขัดสมาธิ

ทรงดำริว่า เราให้ทานไม่มีปริมาณแก่ประชุมชนและรักษาศีล ผลแห่งทาน

บริจาคมีมาก หรือแห่งพรหมจริยาวาสมีผลมากหนอ ทรงดำริฉะนี้ก็ไม่ทรง

สามารถตัดความสงสัยของพระองค์ได้.

ขณะนั้น พิภพแห่งท้าวสักกเทวราชก็แสดงอาการเร่าร้อน ท้าวสักกะ

เทวราชทรงอาวัชนาการเหตุนั้น ก็ทรงเห็นพระเจ้าเนมิราชกำลังทรงปริวิตกอยู่

อย่างนั้น จึงคิดว่า เราจักตัดความสงสัยของเธอ จึงเสด็จมาโดยพลันแต่

พระองค์เดียว ทำสกลราชนิเวศน์ให้มีรังสิโยภาสเป็นอันเดียวกัน เข้าสู่ห้อง

บรรทมอันมีสิริ แผ่รัศมีสถิตอยู่ในอากาศ ทรงพยากรณ์ปัญหาที่พระเจ้าเนมิราช

ตรัสถาม.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ท้าวมฆวานเทพกุญชรสหัสสเนตรทรงทราบ

พระดำริของพระเจ้าเนมิราช ทรงกำจัดความมืดด้วย

รัศมีปรากฏขึ้น พระเจ้าเนมิราชจอมมนุษย์มีพระโลม

ชาติชูชัน ได้ตรัสกะท้าววาสวะว่า ท่านเป็นเทวดา

หรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกะผู้ให้ทานในก่อน

รัศมีของท่านเช่นนั้น ข้าพเจ้ายังไม่เคยเห็น หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

ไม่ได้ยินมาเลย ขอท่านจงแจ้งตัวท่านแก่ข้าพเจ้า ขอ

ความเจริญจงมีแก่ท่าน พวกเราจะรู้จักท่านได้อย่างไร.

ท้าววาสวะทรงทราบว่าพระเจ้าเนมิราชมีพระโลมชาติ

ชูชัน ได้ตรัสตอบว่า หย่อมฉัน เป็นท้าวสักกะจอม

เทพ มาสู่สำนักพระองค์ท่าน ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นจอม

มนุษย์ พระองค์อย่าทรงสยดสยองเลย เชิญตรัสถาม

ปัญหาที่ต้องพระประสงค์เถิด. พระเจ้าเนมิราชทรงได้

โอกาสฉะนั้นแล้ว จึงตรัสถามท้าววาสวะว่า ข้าแต่

เทวราชผู้เป็นอิสระแห่งปวงภูต หม่อมฉันขอทูลถาม

พระองค์ท่าน ทานหรือพรหมจรรย์อย่างไหนมีผลา-

นิสงส์มาก. อมรินทรเทพเจ้าอันนรเทพเนมิราชตรัส

ถามดังนี้ พระองค์ทรงทราบวิบากแห่งพรหมจรรย์

จึงตรัสบอกแก่พระเจ้าเนมิราชผู้ยังไม่ทรงทราบว่า

บุคคลย่อมบังเกิดในขัตติยสกุล เพราะประพฤติพรหม-

จรรย์อย่างต่ำ บุคคลได้เป็นเทพเจ้า เพราะประพฤติ

พรหมจรรย์ปานกลาง บุคคลย่อมหมดจดวิเศษเพราะ

ประพฤติพรหมจรรย์สูงสุด หมู่พรหมเหล่านั้น อัน

ใคร ๆ จะพึงได้เป็นด้วยการประพฤติวิงวอน ก็หาไม่

ต้องเป็นผู้ไม่มีเหย้าเรือนบำเพ็ญตบธรรม จึงจะได้

บังเกิดในหมู่พรหม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สโลมหฏฺโ ความว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พระเจ้าเนมิราชนั้นทอดพระเนตรเห็นแสงสว่าง จึงทรงแลไปใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

อากาศ ก็ทอดพระเนตรเห็นท้าวสักกเทวราชนั้น ประดับด้วยทิพยาภรณ์ มี

พระโลมชาติชูชันเพราะความกลัว จึงตรัสถามว่า ท่านเป็นเทวดาหรือ ดังนี้

เป็นต้น . บทว่า อโลมหฏฺโ ความว่า พระองค์อย่าทรงกลัว อย่าทรงมี

พระโลมชาติชูชันเลย จงถามเถิด มหาราช. บทว่า วาสว อวจ ความว่า

ทรงมีพระทัยยินดีได้ตรัสแล้ว. บทว่า ชาน อกฺขาสิชานโต ความว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราชนั้น ทรงทราบวิบากแห่งพรหมจรรย์ ซึ่ง

เคยทรงเห็นประจักษ์ด้วยพระองค์เองในอดีตภพ จึงได้ตรัสบอกแก่พระเจ้า

เนมิราชผู้ยังไม่ทรงทราบ.

ในบทว่า หีเนน เป็นต้นมีวินิจฉัยว่า ในลัทธิเดียรถีย์โดยมาก

ศีลเพียงเมถุนวิรัติ ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างต่ำ ผู้บำเพ็ญย่อมเกิดในขัตติยสกุล

ควายพรหมจรรย์อย่างต่ำนั้น การได้อุปจารฌาน ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างกลาง

ผู้บำเพ็ญย่อมเกิดเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลางนั้น ก็การให้สมาบัติ

แปดเกิด ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างสูงสุด ผู้บำเพ็ญย่อมบังเกิดในพรหมโลกด้วย

พรหมจรรย์อย่างสูงสุดนั้น ชนภายนอกพระพุทธศาสนากล่าวพรหมจรรย์อย่าง

สูงสุดนั้น ว่านิพพาน ผู้บำเพ็ญย่อมบริสุทธิ์ ด้วยนิพพานนั้น.

แต่ในพระพุทธศาสนานี้ ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปรารถนาเทพนิกาย

อย่างใดอย่างหนึ่ง พรหมจรรย์ของเธอชื่อว่าต่ำ เพราะเจตนาต่ำ เธอย่อม

บังเกิดในเทวโลกตามผลที่เธอปรารถนานั้น ก็การที่ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ยัง

สมาบัติแปดให้บังเกิด ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างกลาง เธอย่อมบังเกิดในพรหมโลก

ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลางนั้น การที่ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์เจริญวิปัสสนายัง

อรหัตมรรคให้บังเกิด ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างสูงสุด เธอย่อนบริสุทธิ์ด้วย

พรหมจรรย์อย่างสูงสุดนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

บทว่า กายา ได้แก่ หมู่พรหม. บทว่า ยาจโยเคน ได้แก่

ด้วยประกอบการขอร้อง หรือด้วยประกอบการวิงวอน อธิบายว่าด้วย

ประกอบการบูชายัญ บทนี้เป็นชื่อของผู้ให้นั่นเอง แม้ด้วยประการทั้งสอง.

บทว่า ตปสฺสิโน ได้แก่ ผู้อาศัยตบะ.

ท้าวสักกเทวราชตรัสสรรเสริญว่า ดูก่อนพระมหาราช การประพฤติ

พรหมจรรย์เป็นคุณมีผลมากกว่าทาน ร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า ด้วยประการฉะนี้

ครั้น ทรงแสดงควานที่การอยู่พรหมจรรย์เป็นคุณมิผลมากด้วยคาถาแม้ นี้แล้ว

บัดนี้จะทรงแสดงพระราชาทั้งหลายในอดีต ผู้บริจาคมหาทานแล้วไม่สามารถ

จะก้าวล่วงกามาพจรไปได้ จึงตรัสว่า

พระราชาเหล่านี้ คือ พระเจ้าทุทีปราช พระเจ้า

สาครราช พระเจ้าเสลราช พระเจ้ามุจลินทราช

พระเจ้าภคีรสราช พระเจ้าอุสินนรราช พระเจ้า

อัตถกราช พระเจ้าอัสสถราช พระเจ้าปุถุทธนราช

และกษัตริย์เหล่าอื่นกับพราหมณ์เป็นอันมาก บูชายัญ

มากมาย ก็ไม่ล่วงพ้นความละโลกนี้ไป.

คาถานั้นมีความว่า ดูก่อนมหาราช พระราชาพระนามว่า ทุทีปราช

ณ กรุงพาราณสีในกาลก่อน ทรงบริจาคทานเป็นอันมาก สวรรคตแล้วบังเกิด

ในสวรรค์ชั้นกามาพจรนั่นแล พระราชาแปดองค์มีพระเจ้าสาครราชเป็นต้น

ก็เหมือนกัน ก็พระราชามหากษัตริย์และพราหมณ์อื่น ๆ เหล่านั้นมากมาย ได้

บูชายัญเป็นอันมาก บริจาคทานมีประการไม่น้อย ก็ไม่ล่วงพ้นความละโลกนี้

กล่าวคือกามาวจรภูมิไปได้ จริงอยู่เหล่าเทพชั้นกามาพจร เรียกกัน ว่า เปตะ

เพราะสำเร็จได้โดยอาศัยผู้อื่น เพราะเหตุกิเลสวัตถุมีรูปเป็นต้น สมด้วย

พระพุทธภาษิตว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

ชนเหล่าใดไม่มีเพื่อนสอง อยู่คนเดียว ย่อมไม่

รื่นรมย์ ย่อมไม่ได้ปีติเกิดแต่วิเวก ชนเหล่านั้นถึงจะ

มีโภคสมบัติเสมอด้วยพระอินทร์ ก็ชื่อว่าเป็นคนเข็ญใจ

เพราะได้ความสุขที่ต้องอาศัยผู้อื่น.

ท้าวสักกเทวราชทรงแสดงความที่ผลแห่งพรหมจรรย์นั่นแล เป็นของ

มากกว่าผลแห่งทาน แม้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงดาบสผู้ก้าวล่วง

เปตภพด้วยการอยู่พรหมจรรย์ บังเกิดในพรหมโลก จึงตรัสว่า

ฤๅษีผู้ไม่มีเหย้าเรือนเหล่านี้บำเพ็ญตบธรรม ได้ก้าว-

ล่วงกามาวจรภพแล้วโดยแท้ คือ ฤๅษี ตน อันมี

นามว่า ยามหนุฤๅษี โสมยาคฤๅษี มโนชวฤาษี

สมุททฤๅษี มาฆฤๅษี ภรตฤๅษี และกาลปุรักตฤๅษี

และฤๅษีอีก ๔ ตน คือ อังคีรสฤๅษี กัสสปฤๅษี

กีสวัจฉฤๅษี และอกันติฤๅษี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติวตฺตึสุ ได้แก่ ก้าวล่วงกามาวจรภพ.

บทว่า ตปสฺสิโน ความว่า อาศัยตบะคือศีล และตบะคือสมาบัติแปด. บทว่า

สตฺติสโย ท่านกล่าวหมายเอาฤๅษีพี่น้องกัน ๗ ตน มียามหนุฤๅษีเป็นต้น

ฤๅษีเหล่านี้กับฤๅษี ๔ ตน มีอังคีรสฤๅษีเป็นต้น รวมเป็นฤๅษี

ท้าวสักกเทวราชตรัสสรรเสริญพรหมจริยวาสว่ามีผลมาก ตามที่ได้

สดับมาอย่างนี้ก่อน บัดนี้ เมื่อทรงนำเรื่องที่เคยทรงเห็นด้วยพระองค์เองมา

จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

แม่น้ำชื่อสีทามีอยู่ทางด้านทิศอุดร เป็นแม่น้ำลึก

ข้ามยาก กาญจนบรรพตมีสีประหนึ่งไฟที่ไหม้ไม้อ้อ

โชติช่วงอยู่ในกาลทุกเมื่อ ที่ฝั่งแม่น้ำนั้น มีต้นกฤษณา

งอกงาม มีภูเขาอื่นอีกมีป่าไม้งอกงาม แต่ก่อนมามี

ฤๅษีเก่าแก่ประมาณหมื่นตน อาศัยอยู่ในภูมิประเทศ

นั้น หม่อมฉันเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยทาน ด้วย

สัญญมะและทมะ หม่อมฉันอุปัฏฐากดาบสเหล่านั้น

ผู้ปฏิบัติวัตรจริยาไม่มีวัตรอื่นยิ่งกว่า ละหมู่คณะไปอยู่

ผู้เดียว มีจิตมั่นคง หม่อมฉันจักนมัสการนรชนผู้

ปฏิบัติตรง จะมีชาติก็ตาม ไม่มีชาติก็ตาม เป็นนิตย

กาล เพราะสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นเผ้าพันธ์

วรรณะทั้งปวงตั้งอยู่ในอธรรม ย่อมตกนรกเบื้องต่ำ

วรรณะทั้งปวงย่อมบริสุทธิ์ เพราะประพฤติธรรม

สูงสุด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺตเรน ความว่า ดูก่อนมหาราช

ในอดีตกาล มีแม่น้ำชื่อว่าสีทาไหลมาระหว่างสุวรรณบรรพตทั้งสอง ใน

หิมวันตประเทศด้านทิศอุดร เป็นแม่น้ำลึก ยานมีเรือเป็นต้นข้ามยาก เพราะ

เหตุไร เพราะแม่น้ำนั้นมีน้ำใสยิ่ง แม้เพียงแต่แววหางนกยูงตกในแน่น้ำนั้น

ก็ไม่ลอยอยู่ จมลงถึงพื้นทีเดียวเพราะน้ำใส ด้วยเหตุนั้นแหละ แม่น้ำนี้จึงมี

ชื่อว่า สีทา ก็กาญจนบรรพตเหล่านั้นใกล้ฝั่งแห่งแม่น้ำนั้นมีพรรณดุจไฟไหม้

ไม้อ้อโชติช่วง คือ สว่างอยู่ทุกเมื่อ. บทว่า ปรุฬฺหคจฺฉา ตครา ความว่า

ริมฝั่งแม่น้ำนั้นมีต้นกฤษณางอกงาม เป็นกฤษณาที่มีกลิ่นหอม. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

ปรุฬฺหคจฺฉา วนา นคา ความว่า ภูผาอื่น ๆ ในที่นั้นมีพื้นที่งอกงามไป

ด้วยหมู่ไม้ อธิบายว่า ปกคลุมไปด้วยพฤษชาติทรงดอกและผล. บทว่า ตตฺราสุ

ความว่า มีฤๅษีนับด้วยหมื่นอาศัยอยู่ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์นั้น ท่านเหล่านั้น

ทั้งหมดล้วนได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ บรรดาฤๅษีเหล่านั้น ถึงเวลาภิกษาจาร

บางพวกไปถึงอุดรกุรุทวีป บางพวกนำผลชมพู่ใหญ่มา บางพวกนำผลไม้

น้อยใหญ่ที่มีรสหวานในหิมวันตประเทศมาฉัน บางพวกไปสู่นครนั้น ๆ ใน

พื้นชมพูทวีป แม้คนหนึ่งที่ถูกตัณหาในรสครอบงำ ก็ไม่มี ท่านเหล่านั้นยัง

กาลเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุขในฌานเท่านั้น.

ครั้งนั้น มีดาบสรูปหนึ่งมาสู่กรุงพาราณสีทางอากาศ นุ่งห่มเรียบร้อย

เที่ยวบิณฑบาตถึงประตูเรือนแห่งปุโรหิต ปุโรหิตนั้นเลื่อมใสในความสงบของ

ท่าน นำท่านมาสู่ที่อยู่ของตนให้ฉันแล้ว ปฏิบัติอยู่สองสามวัน เมื่อเกิดความ

คุ้นเคยกันจึงถามว่า ผู้เป็นเจ้าอยู่ที่ไหน ท่านตอบว่าอยู่ในที่โน้น ปุโรหิต

จึงถามต่อไปว่า ผู้เป็นเจ้าอยู่ในที่นั้นรูปเดียว หรือรูปอื่น ๆ ก็มีอยู่ ท่าน

ตอบว่า พูดอะไร ฤๅษีนับด้วยหมื่นอยู่ในที่นั้น ล้วนแต่ได้อภิญญา ๕ สมาบัติ

๘ กันทั้งนั้น ปุโรหิตได้ฟังคุณสมบัติของฤๅษีเหล่านั้น จากดาบสรูปนั้น จิตก็

น้อมไปในบรรพชา จึงกล่าวกะดาบสนั้นว่า ขอผู้เป็นเจ้าโปรดพาข้าพเจ้าไป

บวชในที่นั้นเถิด ท่านกล่าวว่า เธอเป็นราชบุรุษ อาตมาไม่อาจให้บวชได้

ปุโรหิตจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น วันนี้ข้าพเจ้าจะทูลลาพระราชา พรุ่งนี้ผู้เป็นเจ้า

โปรดมาที่นี้ ดาบสนั้นรับคำ ฝ่ายปุโรหิตบริโภคอาหารเช้าแล้วเข้าเฝ้าพระราชา

กราบทูลว่า ข้าพระบาทปรารถนาจะบวช พระราชาตรัสถามว่า ท่านอาจารย์

จะบวชด้วยเหตุไร ปุโรหิตกราบทูลว่า ด้วยเห็นโทษในกามทั้งหลาย เห็น

อานิสงส์ในเนกขัมม์ พระราชาทรงอนุญาตว่า ถ้าเช่นนั้น จงบวชเถิด แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

บวชแล้วจงมาเยี่ยมเราบ้าง ปุโรหิตรับพระโองการแล้วถวายบังคมพระราชา

กลับไปสู่เรือนของตน พร่ำสอนบุตรภรรยา มอบสมบัติทั้งปวง ถือบรรพชิต

บริขารเพื่อตนนั่งคอยดาบสมา ฝ่ายดาบสมาทางอากาศเข้าภายในพระนครเข้า

เรือนของปุโรหิต ปุโรหิตนั้นอังคาสดาบสนั้นโดยเคารพแล้วแจ้งว่า ข้าพเจ้า

จะพึงปฏิบัติอย่างไร ดาบสนั้น นำปุโรหิตไปนอกเมือง ใช้มือจับนำไปที่อยู่

ของตนด้วยอานุภาพของตนให้บวชแล้ว วันรุ่งขึ้นให้พราหมณ์ผู้บวชแล้วยับยั้ง

อยู่ในที่นั้น นำภัตตาหารมาให้บริโภค แล้วบอกกสิณบริกรรม ดาบสที่บวช

ใหม่นั้น ทำอภิญญาและสมาบัติ ๘ ให้เกิดโดยวันล่วงไปเล็กน้อย ก็เที่ยวบิณฑบาต

มาฉันได้เอง.

กาลต่อมา ดาบสนั้นคิดว่า เราได้ถวายปฏิญญาเพื่อไปเฝ้าพระราชา

เราจะไปเฝ้าตามปฏิญญาไว้ จึงไหว้ดาบสทั้งหลายไปสู่กรุงพาราณสีทางอากาศ

เที่ยวบิณฑบาตลุถึงพระราชทวาร พระเจ้าพาราณสีทอดพระเนตรเห็นฤๅษีนั้น

ทรงจำได้ นิมนต์ให้เข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ ทรงทำสักการะแล้วตรัสถามว่า

ผู้เป็นเจ้าอยู่ที่ไหน ฤๅษีนั้นทูลตอบว่า อาตมาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำสีทาอันอยู่ใน

ระหว่างกาญจนบรรพตในหิมวันตประเทศ ด้านทิศอุดร พระราชาตรัสถาม

ท่านอยู่ในที่นั้นรูปเดียว หรือมีดาบสอื่น ๆ ในที่นั้นด้วย ฤๅษีนั้นทูลตอบว่า

พระองค์ตรัสอะไร ดาบสนับด้วยหมื่นรูปอยู่ในที่นั้น และท่านเหล่านั้นทั้งหมด

ล้วนได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ทั้งนั้น พระราชาทรงสดับคุณสมบัติแห่งดาบส

เหล่านั้น ทรงประสงค์จะถวายภิกษาหารแก่ดาบสทั้งหมด จึงตรัสกะดาบสนั้น

ว่า ข้าพเจ้าใคร่จะถวายภิกษาหารแก่ฤๅษีเหล่านั้น ผู้เป็นเจ้าจงนำท่านเหล่านั้น

มาในที่นี้ ดาบสนั้นทูลว่า ฤๅษีเหล่านั้นไม่ยินดีในรสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น

อาตมาไม่อาจจะนำมาในที่นี้ได้ พระเจ้าพาราณสีตรัสว่า ข้าพเจ้าจักอาศัย

เป็นเจ้าให้ฤๅษีเหล่านั้นโภค ขอผู้เป็นเจ้าจงบอกอุบายแก่ข้าพเจ้า ดาบส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

ทูลว่า ถ้าพระองค์ประสงค์จะถวายทานแก่ฤาษีเหล่านั้น จงเสด็จออกจากเมือง

นี้ไปประทับแรมอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำสีทา แล้วทรงถวายทานแก่ท่านเหล่านั้น

พระราชาทรงรับคำ โปรดให้ถืออุปกรณ์ทั้งปวงเสด็จออกจากพระนครกับด้วย

จตุรงคินีเสนา เสด็จลุถึงสุดแดนราชอาณาเขตของพระองค์ ลำดับนั้น ดาบส

จึงนำพระราชาไปที่ฝั่งสีทานทีพร้อมด้วยเสนาด้วยอานุภาพของตน ให้ตั้งค่าย

ริมฝั่งแม่น้ำ ทูลเตือนพระราชามิให้ทรงประมาท แล้วเหาะไปยังที่อยู่ของตน

กลับมาในวันรุ่งขึ้น ลำดับนั้น พระราชาให้ดาบสนั้นฉันโดยเคารพแล้วตรัสว่า

พรุ่งนี้ผู้เป็นเจ้าจงพาฤาษีหมื่นรูปมาในที่นี้ ดาบสนั้นรับพระราชดำรัสแล้วกลับ

ไป วันรุ่งขึ้นในเวลาภิกษาจาร แจ้งแก่ฤาษีทั้งหลายว่า พระเจ้าพาราณสีมี

พระราชประสงค์จะถวายภิกษาหารแก่ท่านทั้งหลาย เสด็จมาประทับอยู่แถบฝั่ง

สีทานที พระองค์อาราธนาท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงไปยังค่ายหลวงรับ

ภิกษาเพื่ออนุเคราะห์พระองค์ ฤๅษีเหล่านั้นรับคำ จึงเหาะลงมาที่ใกล้ค่ายหลวง

ลำดับนั้น พระราชาเสด็จต้อนรับฤๅษีเหล่านั้น แล้วอาราธนาให้เข้าในค่าย

หลวง ให้นั่ง ณ อาสนะที่แต่งไว้เลี้ยงดูหมู่ฤๅษีให้อิ่มหนำด้วยอาหารประณีต

ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถของฤๅษีเหล่านั้น จึงนิมนต์ให้ฉันในวันพรุ่งนี้อีก ได้

ทรงถวายทานแก่ดาบสหมื่นรูป โดยอุบายนี้ ตลอดหมื่นปี ก็แลเมื่อทรงถวาย

โปรดให้สร้างนครในประเทศนั้นทีเดียว ให้ทำกสิกรรม.

ดูก่อนมหาราช ก็พระเจ้าพาราณสีในกาลนั้น มิใช่ผู้อื่น คือหม่อมฉัน

นี่เอง หม่อมฉันเป็นผู้ประเสริฐด้วยทานในครั้งนั้นโดยแท้ เพราะว่าครั้งนั้น

หม่อมฉันนี่แหละเป็นผู้ประเสริฐด้วยทาน ได้บริจาคมหาทานนั้น ก็หาสามารถ

จะก้าวล่วงเปตโลกนี้บังเกิดในพรหมโลกไม่ แต่ฤๅษีเหล่านั้นทั้งหมดนั่นแล

บริโภคทานที่หม่อมฉันบริจาค ก้าวล่วงกามาวจรภพบังเกิดในพรหมโลก ก็

พรหมจริยวาสเป็นคุณธรรม มีผลานิสงส์มากอย่างใด ขอพระองค์ทรงทราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

อย่างนั้น ด้วยอุทาหรณ์ที่แสดงมาแล้วนี้ ท้าวสักกเทวราชประกาศความที่

พระองค์เป็นผู้ประเสริฐด้วยทานอย่างนี้แล้ว ประกาศคุณธรรมแห่งฤาษีเหล่า

นั้นด้วยบทสามบทนอกนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สญฺเมน ได้แก่ ด้วยศีล. บทว่า

ทเมน ได้แก่ ด้วยการฝึกอินทรีย์. บทว่า อนุตฺตาร ความว่า ประพฤติ

วัตรสมาทานอันอุดมเนืองนิจด้วยคุณธรรมเหล่านี้. บทว่า ปกีรจารี ความว่า

กระจัดกระจาย คือซัดไป คือละหมู่คณะ เที่ยวไปผู้เดียว คือถึงความเป็นผู้

ผู้เดียว. บทว่า สมาหิเต ได้แก่ผู้มีจิตคงมั่นด้วยอุปจารสมาธิ และอัปปนา-

สมาธิ ท้าวสักกเทวราชทรงแสดงว่า หม่อมฉันบำรุงดาบสผู้มีตบะเห็นปานนะ

บทว่า อหมุขุคต ความว่า ดูก่อนมหาราช ฤๅษีทั้งหมื่นรูปเหล่านั้น

หม่อมฉันมิได้เลือกแม้สักรูปหนึ่ง ซึ่งดำเนินตรง เพราะไม่มีคดกายเป็นต้น

โดยชาติ คือมีชาติต่ำ หรือสมบูรณ์ด้วยชาติเป็นต้น มีใจเลื่อมใสในคุณสมบัติ

ของท่านเหล่านั้น นมัสการท่านเหล่านี้ทั้งหมดเกินเวลา คือนมัสการตลอดกาล

เป็นนิจทีเดียว ท้าวสักกเทวราชตรัสดังนี้. เพราะเหตุไร. เพราะสัตว์มี

กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ อธิบายว่า เพราะเหตุว่าขึ้นชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้มี

กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย. บทว่า สพฺเพ วณฺณา พึงทราบ

ด้วยเหตุนี้นั้นแล.

ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกเทวราช ทรงโอวาทพระเจ้าเนมิ-

ราชนั้นว่า ดูก่อนมหาราช พรหมจริยวาสเป็นธรรมมีผลมากกว่าทานโดยแท้

ถึงอย่างนั้น ธรรมทั้งสองนั้นก็เป็นมหาปุริสวิตก เพราะฉะนั้น พระองค์จงอย่า

ประมาทในธรรมทั้งสอง จงทรงบริจาคทานด้วย จงทรงรักษาศีลด้วย ตรัส

ฉะนี้แล้ว เสด็จไปสู่ทิพยสถานวิมานของพระองค์นั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิม ความว่า ท่านทั้งหลายจงตั้งใจสดับ

คือจงฟังซึ่งคุณที่ควรพรรณนาสูงด้วยอำนาจศีล ต่ำด้วยอำนาจทานเป็นอันมาก

นี้ ของมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยธรรม คือผู้มีกัลยาณธรรม อันเรากล่าว

อยู่. บทว่า ยถา อย ความว่า อย่างพระเจ้าเนมิราชนี้ เป็นบัณฑิต คือ

เป็นบัณฑิตอย่างแท้จริง.

ท้าวสักกเทวราชตรัสคุณที่ควรพรรณนาของพระเจ้าเนมิราชอย่างไม่

บกพร่องด้วยประการฉะนี้.

หมู่เทวดาได้ฟังท้าวเธอตรัสดังนี้ ก็ใคร่จะเห็นพระเจ้าเนมิราช จึง

ทูลว่า ข้าแต่มหาเทวราช พระเจ้าเนมิราช เป็นพระอาจารย์ของพวกข้าพระเจ้า

พวกข้าพระเจ้าตั้งอยู่ในโอวาทของพระองค์ อาศัยพระองค์จึงได้ทิพยสมบัตินี้

ข้าพระเจ้าทั้งหลายใคร่จะเห็นพระองค์ ขอองค์มหาเทวราชเชิญเสด็จพระองค์

มา ท้าวสักกเทวราชทรงรับคำ จึงมีเทวบัญชามาตลีเทพสารถีว่า ท่านจง

เทียมเวชยันตรถไปกรุงมิถิลา เชิญเสด็จพระเจ้าเนมิราชขึ้นทิพยานนำเสด็จมา

เทวสถานนี้ มาตลีเทพบุตรรับเทพโองการแล้วเทียมเทพรถขับไป ก็เมื่อ

ท้าวสักกะมีเทพดำรัสอยู่กับเทวดาทั้งหลาย ตรัสเรียกมาตลีเทพสารถีมาตรัสสั่ง

และเมื่อมาตลีเทพสารถีเทียมเวชยันตราชรถ ล่วงไปหนึ่งเดือน โดยกำหนด

นับวันในมนุษย์. เมื่อพระเจ้าเนมิราชทรงรักษาอุโบสถศีลในวันเพ็ญ เปิด

สีหบัญชรด้านทิศตะวันออกประทับนั่งอยู่ในพระตำหนัก คณะอมาตย์แวดล้อม

ทรงพิจารณาศีลอยู่ เวชยันตราชรถนั้นปรากฏพร้อมกับจันทรมณฑลอันขึ้น

แต่ปราจีนโลกธาตุ ชนทั้งหลายกินอาหารเย็นแล้ว นั่งที่ประตูเรือนของตน ๆ

พูดกันถึงถ้อยคำอันให้เกิดความสุข ก็พูดกันว่า วันนี้พระจันทร์ขึ้นสองดวง

ลำดับนั้น เทพรถนั้นก็ได้ปรากฏแก่ประชุมชนผู้สังสนทนากันอยู่ มหาชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสว่า

องค์มฆวาสุชัมบดีเทวราชตรัสอย่างนี้แล้ว ทรง

อันศาสนาพระเจ้าวิเทหรัฐ แล้วเสด็จหลีกไปสู่หมู่เทพ

ในสวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปกฺกมิ แปลว่า หลีกไปแล้ว อธิบาย

ว่า ท้าวสักกเทวราชแสดงพระองค์แก่หมู่เทพสองหมู่ผู้นั่งอยู่ในเทวสภา ชื่อ

สุธรรมา.

ลำดับนั้น หมู่เทพยดาได้ทูลถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์

ไม่ปรากฏ เสด็จไปไหนหนอ ท้าวสักกะตรัสตอบว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์

ความกังขาอันหนึ่งเกิดขึ้นแก่พระเจ้าเนมิราช กรุงมิถิลา ข้าจึงไปกล่าวปัญหา

ทำให้เธอหายกังขาแล้วกลับมา.

ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกเทวราช เพื่อตรัสเหตุนั้นอีกด้วย

คาถา จึงตรัสว่า

ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายที่มาประชุม

ในที่นี้มีประมาณเพียงไร จงตั้งใจสดับคุณที่ควร

พรรณนา ทั้งสูงทั้งต่ำเป็นอันมากนี้ ของมนุษย์ทั้ง

หลายผู้ประกอบด้วยธรรม อย่างพระเจ้าเนมิราชนี้

เป็นบัณฑิต มีพระราชประสงค์ด้วยกุศล พระองค์

เป็นราชาของท้าววิเทหรัฐทั้งปวง ทรงปราบข้าศึก

พระราชทานไทยธรรม เมื่อพระองค์ทรงบริจาคทาน

อยู่นั้น เกิดพระดำริขึ้นว่า ทานหรือพรหมจรรย์อย่าง

ไหน ผลมากหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

กล่าวว่า นั่นไม่ใช่พระจันทร์ รถนะ ในเมื่อเวชยันตรถเทียมสินธพนับด้วย

พันมีมาตลีเทพบุตรขับ ปรากฏแล้วในขณะนั้น จึงคิดกันว่า ทิพยานนี้มา

เพื่อใครหนอ ลงความเห็นว่า ไม่ใช่มาเพื่อใครอื่น พระราชาของพวกเรา

เป็นธรรมิกราช องค์สักกเทวราชจะส่งมาเพื่อพระราชานั้นนั่นเอง เทพรถนี้

สมควรแก่พระราชาของพวกเราแท้ เห็นฉะนั้นแล้วก็ร่าเริงยินดี กล่าวคาถาว่า

เกิดพิศวงขนพองขึ้นในโลกแล้วหนอ รสทิพย์

ปรากฏแก่พระเจ้าวิเทหรัฐ ผู้มียศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อพฺภูโต ได้แก่ ไม่เคยมีแล้ว อีกอย่าง

หนึ่ง ได้แก่ อัศจรรย์ ประชาชนกล่าวอย่างนี้ด้วยความพิศวง.

ก็เมื่อประชาชนกล่าวกันอย่างนี้ มาตลีเทพบุตรมาโดยเร็ว กลับรถ

จอดท้ายรถที่พระสีหบัญชร ทำการจัดแจงให้เสด็จขึ้นแล้ว ได้เชิญพระเจ้า

เนมิราชเสด็จขึ้นทรง.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสว่า

เทพบุตรมาตลีผู้เป็นเทพสารถีมีฤทธิ์มาก อัญ-

เชิญเสด็จพระเจ้าวิเทหรัฐ ผู้ทรงสงเคราะห์ชาวเมือง

มิถิลาว่า ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่ใน

ทิศ ขอเชิญเสด็จมาทรงรถนี้ เทพเจ้าสาวดาวดึงส์

พร้อมด้วยพระอินทร์ใคร่จะเห็นพระองค์ ประชุมคอย

เฝ้าอยู่ ณ เทพสภา ชื่อสุธรรมา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิถิลคฺคห ความว่า ผู้มีปราสาท

ประดิษฐานอยู่ในกรุงมิถิลา ทรงสงเคราะห์ชาวมิถิลา ด้วยสังคหวัตถุ ๔.

บทว่า สมจฺฉเร ความว่า นั่งกล่าวสรรเสริญคุณของพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

พระเจ้าเนมิราชได้ทรงสดับคำนั้น มีพระดำริว่า เราจักได้เห็นเทวโลก

ซึ่งยังไม่เคยเห็น มาตลีเทพบุตรจักสงเคราะห์เรา เราจักไป ตรัสเรียกนางใน

และมหาชนมาตรัสว่า เราจักไปไม่นานนัก ท่านทั้งหลายอย่าได้ประมาท จง

กระทำบุญทั้งหลายมีการให้ทานเป็นต้น ตรัสขึ้นแล้ว เสด็จขึ้นทิพยรถ

พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสว่า

ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหรัฐผู้สงเคราะห์ชาวมิถิลา

ผู้เป็นประมุข รีบเสด็จลุกจากอาสน์ขึ้นสู่รถ มาตลี

เทพสารถี ได้ทูลถามพระเจ้าวิเทหราชผู้เสด็จขึ้นทรง

ทิพยรถแล้วว่า ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่

ในทิศ ทางไปสถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้ทำบาปทาง

หนึ่งทางไปสถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้ทำบุญทางหนึ่ง

จะโปรดให้ข้าพระองค์นำเสด็จไปทางไหน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมุโข ความว่า เป็นผู้สูงสุด หรือเป็น

หัวหน้าทรงหันพระปฤษฎางค์ต่อมหาชนแล้วเสด็จขึ้น. บทว่า เยน วา ความว่า

บรรดาทางเหล่านี้ คือ ทางที่บุคคลไปแล้วสามารถเห็นสถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้

ทำบาปหนึ่ง ทางที่บุคคลไปแล้วสามารถเห็นสถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้ทำบุญ

หนึ่งจะโปรดให้ข้าพระองค์นำเสด็จทางไหนก่อน มาตลีเทพสารถีนั้น แม้ท้าวสัก

กะมิได้สั่งถึงข้อนี้ ก็ทูลเพื่อแสดงถึงความวิเศษแห่งทูตของตน.

ลำดับนั้น พระราชามีพระดำริว่า สถานที่ทั้งสองเรายังไม่เคยเห็น

เราจักดูทั้งสองแห่ง จึงตรัสว่า

ดูก่อนมาตลีเทพสารถี ท่านจงนำเราไปโดยทาง

ทั้งสอง คือทางไปที่อยู่ของผู้ทำบาป และทางไปที่อยู่

ของผู้ทำบุญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

ลำดับนั้น มาตลีเทพบุตรทูลว่า ข้าพระองค์ไม่อาจจะแสดงสถานที่

ทั้งสองในขณะเดียวกัน จึงได้ทูลถามพระองค์ เมื่อจะทูลถามจึงกล่าวคาถาว่า

ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้เป็นไปในทิศ

ทางหนึ่งไปที่อยู่ของผู้ทำบาป ทางหนึ่งไปที่อยู่ของ

ทำบุญ จะโปรดให้ข้าพระองค์นำเสด็จไปทางไหน

ก่อน.

ลำดับนั้น พระราชามีพระดำริว่า เราจักไปเทวโลกแน่ แต่จักดูนรก

ก่อน จึงตรัสคาถาคิดต่อกันไปว่า

เราจะดูนรกอันเป็นที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้ทำบาป

สถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้มีกรรมหยาบช้า และคติ

ของเหล่าชนผู้ทุศีลก่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุสฺสีลาน ได้แก่ ของคฤหัสถ์ทุศีล

ของสมณะทุศีล ผู้ทำบาปด้วยอำนาจอกุศลกรรมบถสิบ. บทว่า ยา คติ

ความว่า เราจักดูที่เกิดของคนทุศีลเหล่านั้น.

ลำดับนั้น มาตลีเทพสารถีได้แสดงแม่น้ำชื่อเวตรณี แด่พระเจ้า

เนมิราชก่อน.

พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสว่า

มาตลีเทพสารถี ได้แสดงแม่น้ำเวตรณี ซึ่งข้าม

ยาก ประกอบด้วยน้ำแสบเผ็ดร้อนเดือดพล่าน เปรียบ

ดังเปลวเพลิง แด่พระเจ้าเนมิราช.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวตรณึ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มาตลีเทพสารถีได้ฟังพระราชดำรัสแห่งพระเจ้าเนมิราช จึงขับรถตรงไปนรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

แสดงแม่น้ำเวตรณีที่ตั้งขึ้นด้วยฤดูโดยกรรมปัจจัยก่อน นายนิรยบาลทั้งหลาย

ในนรกนั้นถือศัสตราวุธ มีดาบ มีด โตนร หอก และไม้ค้อนเป็นต้นอัน

ลุกโพลง ประหารแทงโบยตีสัตว์นรกทั้งหลาย สัตว์นรกเหล่านั้นทนต่อทุกข์นั้น

ไม่ได้ ก็ตกลงในเวตรณีนที.

เวตรณีนทีนั้นดาดาษไปด้วยเครือเลื้อยอันมีหนามประมาณเท่าหอก

มีเพลิงลุกโพลงข้างบน สัตว์นรกเหล่านั้นต้องอยู่ในเวตรณีนทีนั้นหลายพันปี

เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ในเพราะเถาวัลย์มีหนามแหลมมีคมอันคมกริบ มีเพลิง

ลุกโชติช่วง มีหลาวเหล็กลุกโพลงประมาณเท่าลำตาล ตั้งขึ้นภายใต้เถาวัลย์

เหล่านั้น สัตว์นรกทั้งหลายยังกาลให้ล่วงไปนานมาก พลาดจากเถาวัลย์ตกลง

ที่ปลายหลาว มีร่างกายถูกหลาวแทงไหม้อยู่ในหลาวนาน ดุจปลาที่เสียบไว้ใน

ไม้แหลมย่างไฟ หลาวทั้งหลายลุกเป็นไฟ สัตว์นรกทั้งหลายก็ลุกเป็นไฟ ก็

ภายใต้หลาวทั้งหลาย มีใบบัวเหล็กแหลมคมดุจมีดโกนลุกเป็นไฟอยู่หลังน้ำ

สัตว์นรกเหล่านั้นพลาดจากหลาวทั้งหลายตกลงในใบบัวเหล็ก เสวยทุกขเวทนา

นาน แต่นั้นสัตว์นรกเหล่านั้นก็ตกในน้ำแสบ แม้น้ำก็ลุกเป็นไฟ แม้สัตว์นรก

ทั้งหลายก็ลุกเป็นไฟ แม้ควันก็ตั้งขึ้น ก็พื้นแม่น้ำภายใต้น้ำดาดาษไปด้วยเครื่อง

ประหารอันคมกริบ สัตว์นรกเหล่านั้นจมลงในน้ำ ด้วยคิดว่าใต้น้ำจะเป็นเช่น

ไรหนอ ก็เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่เพราะเครื่องประหารอันคมกริบ สัตว์นรก

เหล่านั้นไม่สามารถจะอดกลั้นทุกข์ใหญ่นั้น ก็ร่ำร้องน่ากลัวมาก กระแสน้ำ

บางครั้งก็ไหลลอยไปตามกระแส บางครั้งก็ทวนกระแส ลำดับนั้น นายนิรยบาล

ผู้อยู่ที่ฝั่ง ก็ซัดลูกศร มีด โตมร หอก แทงสัตว์นรกเหล่านั้นดุจปลา สัตว์นรก

เหล่านั้นถึงทุกขเวทนาก็ร้องกันลั่น ลำดับนั้น นายนิรยบาลก็เอาเบ็ดเหล็กที่ลุก

เป็นไฟเกี่ยวสัตว์นรกเหล่านั้นขึ้น คร่ามาให้นอนบนแผ่นดินเหล็กที่ลุกเป็นไฟ

โชติช่วง ยัดก้อนเหล็กที่ลุกแดงเข้าปาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นเหล่าสัตว์ถูกทุกข์ใหญ่เบียดเบียน

ในเวตรณีนที ก็สะดุ้งกลัว ตรัสถามมาตลีเทพสารถีว่า สัตว์เหล่านี้ได้ทำบาป

กรรมอะไรไว้ มาตลีเทพสารถีได้ทูลถวายพยากรณ์ให้ทรงทราบ.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสว่า

พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นชนซึ่งตกอยู่

ในเวตรณีนทีภาค ซึ่งยากจะข้ามได้ จึงตรัสกะมาตลี-

เทพสารถีว่า แนะนายสารถี ความกลัวมากปรากฏ

แก่เรา เพราะเห็นสัตว์ตกอยู่ในแม่น้ำเวตรณี แน่ะ

มาตลี เราขอถามท่าน สัตว์เหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้

จึงได้ตกในเวตรณีนที.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม

ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ใน

มนุษยโลกเป็นผู้มีกำลัง มีบาปกรรมเบียดเบียน

ด่ากระทบผู้ที่หากำลังมิได้ สัตว์เหล่านั้นมีกรรม

หยาบช้ากระทำบาป จึงตกลงในเวตรณีนที.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วินฺทติ ความว่า เราไม่มีอิสระแก่ตัว

เป็นเหมือนมีความกลัว. บทว่า ทิสฺวา ความว่า เห็นเหล่าสัตว์ตกไปอยู่ คือ

เห็นสัตว์นรกเหล่านั้นตกแม่น้ำเวตรณี. บทว่า ชาน ความว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มาตลีเทพสารถีนั้นรู้อยู่เอง จึงได้ทูลบอกแด่พระเจ้าเนมิราชผู้ไม่

ทรงทราบ. บทว่า ทุพฺพเล ได้แก่ เว้นจากกำลังร่างกาย กำลังโภคะ และ

กำลังอำนาจ. บทว่า พลวนฺโต ได้แก่ ประกอบด้วยกำลังเหล่านั้น. บทว่า

หึเสนฺติ ได้แก่ ทำให้ลำบากด้วยประหารด้วยฝ่ามือเป็นต้น. บทว่า โรเสนฺติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

ได้แก่ ด่ากระทบโดยประการต่าง ๆ บทว่า ปสเวตฺวา ความว่า ให้เกิด

คือกระทำ.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์ปัญหาแด่พระเจ้าเนมิราชอย่างนี้แล้ว

พระเจ้าเนมิราชได้ทอดพระเนตรเห็นเวตรณีนรกแล้ว ก็ทำประเทศนั้น ให้

อันตรธานไปแล้วขับรถไปข้างหน้า แสดงที่เป็นที่สัตว์ มีสุนัขเป็นต้นเคี้ยวกิน

อันพระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นสถานที่นั้นแล้วก็ทรงกลัว ตรัสถามปัญหา

ได้ทูลพยากรณ์แล้ว.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสว่า

พระราชาตรัสว่า สุนัขแดง สุนัขด่าง ฝูงแร้ง

ฝูงกา น่ากลัว เคี้ยวกินสัตว์นรก ความกลัวปรากฏ

แก่เรา เพราะเห็นสัตว์เหล่านั้นเคี้ยวกินสัตว์นรก เรา

ขอถามท่าน สัตว์เหล่านี้ที่ฝูงกาเคี้ยวกิน ได้ทำบาป

อะไรไว้.

มาตลีเทพสารถีอันพระเจ้าเนมิราชตรัสถาม

แล้ว ได้ทูลพยากรณ์วิบากของเหล่าสัตว์ทำบาป

ตามที่ได้ทราบ แด่พระเจ้าเนมิราชผู้ไม่ทรงทราบว่า

สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่น มี

บาปธรรม มักบริภาษเบียดเบียนด่ากระทบสมณ

พราหมณ์ สัตว์เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้ากระทำบาป

จึงถูกฝูงกาเคี้ยวกิน.

ปัญหาอื่นจากนี้ และการพยากรณ์ก็มีนัยนี้แล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามา ได้แก่ มีสีแดง. บทว่า โสณา

แปลว่า สุนัข. บทว่า สวลา ความว่า มีสีต่าง และมีสีขาว ดำ เหลือง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

ท่านแสดงสุนัขไว้ ๕ สีอย่างนี้ ได้ยินว่า สุนัขเหล่านั้นตัวโตเท่าช้าง ไล่ติดตาม

สัตว์นรกที่แผ่นดินเหล็กอันลุกโพลง ดุจไล่เนื้อ กัดเนื้อเป็นชิ้นแล้วยังสรีระ

๓ คาวุตแห่งสัตว์นรกให้ล้มลงบนแผ่นดินเหล็กอันลุกโพลง เอาขาหน้าทั้งสอง

เหยียบอกของสัตว์นรกผู้ร้องลั่นอยู่ ทิ้งเนื้อกินให้เหลือแต่เยื่อในกระดูก แห่ง

สัตว์ผู้มีบาปธรรม. บทว่า คิชฺฌา ได้แก่ ฝูงแร้งมีจะงอยปากเป็นโลหะ

ตัวใหญ่เท่าเกวียนสินค้า แรงเหล่านั้น ทำลายกระดูกด้วยจะงอยปากเช่นกับ

ปลายทวน เคี้ยวกินเยื่อในกระดูก. บทว่า โกกาลุสงฺฆา ได้แก่ ฝูงกามี

จะงอยปากเป็นโลหะ น่ากลัวยิ่ง เคี้ยวกินสัตว์นรกที่มันเห็นแล้ว ๆ. บทว่า

เยเม ชเน ความว่า ถามว่า สัตว์นรกเหล่านี้ ที่ถูกฝูงกาเคี้ยวกิน ได้ทำ

บาปกรรมอะไรไว้. บทว่า มจฺฉริโน ได้แก่ ผู้ไม่ให้อะไรแก่ผู้อื่น ชื่อว่า

ตระหนี่. บทว่า ทรยา ได้แก่ กระด้างและตระหนี่ ห้ามผู้อื่นแม้กำลัง

บริจาคทาน. บทว่า สมณพฺราหฺมณาน ได้แก่ ผู้ระงับบาปลอยบาปแล้ว.

แต่นั้นมาตลีเทพสารถี ยังประเทศนั้นให้อันตรธานขับรถไปข้างหน้า

สัตว์นรกทั้งหลายเหยียบแผ่นดินเหล็ก ๙ โยชน์ลุกโชติช่วง นายนิรยบาลติด

ตามไป ประหารแข้งด้วยท่อนเหล็กอันลุกโพลง ประมาณเท่าลำตาลล้มลงโบย

ด้วยท่อนเหล็กนั้นให้เรี่ยรายเป็นจุรณวิจุรณ พระราชาเนมิราชทอดพระเนตร

เห็นดังนั้น ทรงสะดุ้งกลัว เมื่อจะตรัสถามมาตลีเทพสารถี จึงตรัสคาถาว่า

สัตว์นรกเหล่านี้มีร่างลายลุกโพลง เดินเหยียบ

แผ่นดินเหล็ก และนายนิรยบาลโบยด้วยท่อนเหล็ก

แดง ความกลัวปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็น

ไปของสัตว์นรกเหล่านั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เรา

ขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ทำบาปอะไรไว้ จึงถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

เบียดเบียนด้วยท่อนเหล็กนอนอยู่.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม

ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระ-

ราชาผู้ไม่ทรงทราบว่าสัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ในมนุษย-

โลก เป็นผู้มีบาปธรรมเบียดเบียนด่ากระทบชายหญิง

ผู้มีกุศลธรรม สัตว์เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า กระทำ

บาปกรรมแล้ว จึงถูกเบียดเบียนด้วยท่อนเหล็กนอนอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สญฺโชติภูตา ได้แก่ มีสรีระลุกโพลง

บทว่า ปวึ ความว่า ก้าวคือเหยียบแผ่นดินเหล็ก ๙ โยชน์ที่ลุกโพลง. บทว่า

ขนฺเธหิ จ โปถยนติ ความว่า เหล่าสัตว์นรกมีร่างกายลุกโพลง ถูกนาย

นิรยบาลติดตามประหารที่แข้งทั้งสอง ด้วยท่อนเหล็กลุกโพลงเท่าลำตาลให้ล้ม

แล้วล้อมโบยด้วยท่อนเหล็กเหล่านั้นแหละให้เรี่ยรายเป็นจุรณวิจุรณ เหมือน

ต้อนตีโคไม่เข้าคอกฉะนั้น. บทว่า สุปาปธมฺมิโน ได้แก่ เป็นผู้ธรรมอัน

ลามกด้วยดีสำหรับตน. บทว่า อปาปธมฺม ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลและ

อาจาระเป็นต้น หรือปราศจากความผิด.

มาตลีเทพสารถีขับรถไปข้างหน้า นายนิรยบาลทั้งหลายทิ่มแทง

สัตว์นรกด้วยอาวุธอันลุกโพลง สัตว์นรกเหล่านั้นก็ตกลงในหลุมถ่านเพลิง

เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นจมอยู่ในหลุมถ่านเพลิงเพียงเอว นายนิรยบาลก็เอา

กระเช้าเหล็กใหญ่ตักถ่านเพลิงโปรยลงบนศีรษะสัตว์นรกเหล่านั้น สัตว์นรก

เหล่านั้นไม่อาจรับถ่านเพลิงก็ร้องไห้ มีกายไฟไหม้ทั่วดิ้นรนอยู่ พระเจ้า

เนมิราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงตรัสคาถาว่า

สัตว์เหล่าอื่นร้องไห้มีกายไฟไหม้ทั่วดิ้นรนอยู่ใน

หลุมถ่านเพลิง ความกลัวปรากฏแก่เรา เพราะเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

กิริยานี้ ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์

นรกเหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้ จึงมาร้องไห้ ดิ้นรนอยู่

ในหลุมถ่านเพลิงนี้.

มาตลีเทพสารถีอันพระเจ้าเนมิราชตรัสถาม

แล้ว ได้ทูลพยากรณ์วิบากของเหล่าสัตว์ผู้ทำบาป

ตามที่ได้ทราบ แด่พระเจ้าเนมิราชผู้ไม่ทรงทราบ

ว่า สัตว์นรกเหล่านี้ยังหนี้ให้เกิด เพราะสร้างพยาน

โกงเหตุแห่งทรัพย์ของประชุมชน ยังหนี้ให้เกิดแก่

ประชุมชน มีกรรมหยาบช้าทำความชั่ว จึงมาร้องไห้

ดิ้นรนอยู่ในหลุมถ่านเพลิง พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า องฺคารกาสุ ความว่า แน่ะสหายมาตลี

ไฉนสัตว์บางพวกนี้จึงถูกนายนิรยบาลล้อมทิ่มแทงด้วยอาวุธอันลุกโพลง เหมือน

ต้อนโคที่ไม่เข้าคอก ตกลงในหลุมถ่านเพลิง และนายนิรยบาลทั้งหลายถือเอา

กระเช้าเหล็กใหญ่โปรยถ่านเพลิงลงบนสัตว์เหล่านั้น ที่จมอยู่ในหลุมถ่านเพลิง

แค่เอว คราวนั้นเหล่าสัตว์ไม่อาจรับถ่านเพลิงทั้งหลายได้ จึงร้องไห้มีกาย

ไฟไหม้ทั่วคร่ำครวญดิ้นรนอยู่ อธิบายว่า โปรยคือโรยถ่านเพลิงลงบนศีรษะ

ของตน ด้วยกำลังแห่งกรรมบ้าง ด้วยตนเองบ้าง. บทว่า ปูคาย ธนสฺส

ความว่า เหตุแห่งทรัพย์ซึ่งเป็นของประชุมชนที่ตนเรี่ยไรเมื่อมีโอกาสว่า พวก

เราจักถวายทานบ้าง จักทำการบูชาบ้าง จักสร้างวิหารบ้าง บทว่า ชาปยนฺติ

ความว่า ใช้จ่ายทรัพย์นั้นตามชอบใจ ตัดสินพวกหัวหน้าคณะสร้างพยานโกงว่า

พวกเราทำการขวนขวายในที่โน้นไปเท่านี้ ให้ในที่โน้นไปเท่านี้ ทำทรัพย์นั้น

ให้เสื่อมคือให้พินาศไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

มาตลีเทพสารถีขับรถไปข้างหน้า เหล่าสัตว์ถูกนายนิรยบาลที่น่ากลัว

จับเอาเท้าขึ้นบนเอาศีรษะลงล่างโยนไปตกในหม้อโลหะอันร้อนแรง พระเจ้า

เนมิราชทอดพระเนตรเห็น จึงตรัสว่า

หม้อโลหะใหญ่ไฟติดทั่วลุกโพลงโชติช่วง ย่อม

ปรากฏ ความกลัวย่อมเกิดแก่เรา เพราะได้เห็นความ

เป็นไปนี้ แน่ะมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์

นรกเหล่านี้ทำบาปอะไรไว้จึงตกในโลหกุมภี.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม

ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระ-

ราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีบาปธรรม

เบียดเบียนด่ากระทบสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีศีล สัตว์

เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า กระทำบาปกรรมแล้ว จึง

ตกในโลหลุมภี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทิตฺตา แปลว่า อันไฟติดทั่วแล้ว.

บทว่า มหตี ความว่า ประมาณเท่าภูเขาตั้งอยู่เป็นกัป เต็มไปด้วยแร่โลหะ

บทว่า อวสิรา ความว่า เหล่าสัตว์ถูกนายนิรยบาลจับเอาเท้าขึ้นบนเอาศีรษะ

ลงล่าง โยนไปตกลงในโลหกุมภีนั้น ๆ. บทว่า สีลว แปลว่า ผู้มีศีล คือ

ถึงพร้อมด้วยคุณคืออาจาระ.

มาตลีเทพสารถีขับรถไปข้างหน้า นายนิรยบาลเอาเชือกเหล็กลุกโพลง

ผูกคอสัตว์นรก ให้ก้มหน้า ดึงขึ้นมาตัดคอให้ชุ่มในน้ำร้อนแล้วโบยตี พระเจ้า

เนมิราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงตรัสคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

นายนิรยบาลผูกคอสัตว์นรกด้วยเชือกเหล็กลุก

โพลง แล้วตัดศีรษะโยนลงไปในน้ำร้อน ความกลัว

เกิดแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ ดูก่อนมาตลี

เทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์เหล่านี้ได้ทำบาป

อะไรไว้ จึงมีศีรษะขาดนอนอยู่.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่

ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระราชาผู้

ไม่ทรงทราบว่า ข้าแต่พระองค์เป็นจอมประชาชน

สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก มีบาปธรรม จับ

นกมาฆ่า สัตว์เหล่านั้นมีกรรมหยาบช้ากระทำบาป

จึงมีศีรษะขาดนอนอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลุญฺจนฺติ ได้แก่ เพิกขึ้น. บทว่า

อถ เวยิตฺวา ความว่า เอาเชือกโลหะอันลุกโพลงผูกคอให้ก้มหน้า. บทว่า

อุโณฺหทกสฺมึ ได้แก่ ในน้ำโลหะที่ตั้งมาเป็นกัป. บทว่า ปกิเลทยิตฺวา

ได้แก่ ให้ชุ่ม คือโยนลงไป มีคำอธิบายว่า แน่ะสหายมาตลี นายนิรยบาล

เหล่านี้เอาเชือกเหล็กลูกโพลงผูกคอของสัตว์เหล่าใด แล้วโน้มสรีระซึ่งมี

ประมาณสามคาวุตลง ควั่นคอต้อนไปด้วยท่อนเหล็กลุกโพลง ใส่เข้าในน้ำ

โลหะที่ลุกโพลงแห่งหนึ่ง แล้วยินดีร่าเริง และเมื่อคอนั้นขาดแล้ว มีคออื่น

พร้อมกับศีรษะเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้นอีกทีเดียว สัตว์เหล่านั้นได้กระทำกรรม

อะไรไว้ ความกลัวเกิดแก่ข้าพเจ้า เพราะเห็นสัตว์เหล่านั้น. บทว่า ปกฺขี

คเหตฺวาน วิเหยนฺติ ความว่า ข้าแต่มหาราช สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ใน

มนุษยโลก จับนกมาตัดปีกผูกคอฆ่ากินบ้าง ชายบ้าง สัตว์เหล่านั้นนั่นมีศีรษะ

ขาดอยู่ในที่นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

มาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป ได้ยินว่า ในประเทศนั้นมีแน่น้ำมีน้ำเจิ่ง

น่ารื่นรมย์ไหลอยู่โดยปกติ สัตว์นรกไม่อาจทนความกระหายเพราะเร่าร้อนด้วย

เพลิง จึงเดินย่ำแผ่นดินโลหะลุกโพลงลงสู่แม่น้ำนั้น ทันใดนั้นเองฝั่งน้ำทั้งสอง

ก็ลุกโพลงทั่ว น้ำควรดื่มก็กลายเป็นแกลบและใบไม้ลุกโพลง สัตว์นรกไม่อาจ

จะทนความกระหาย ก็เคี้ยวแกลบ และใบไม้อันลุกโพลงกินแทนดื่มน้ำ แกลบ

และใบไม้นั้นก็เผาสรีระทั้งสิ้นออกทางส่วนเบื้องต่ำ สัตว์นรกไม่สามารถจะอด

กลั้นทุกข์นั้นก็ประคองแขนทั้งสองร้องไห้ พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็น

ดังนั้น จึงตรัสคาถาว่า

แม่น้ำนี้มีน้ำมาก มีตลิ่งไม่สูง มีท่าอันดี ไหล

อยู่เสมอ สัตว์นรกเหล่านั้นเร่าร้อนเพราะความร้อน

แต่งไฟ จะดื่มน้ำ ก็แต่เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นจะดื่มน้ำ

ก็กลายเป็นแกลบไป ความกลัวย่อมปรากฏแก่เรา

เพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ แน่ะมาตลีเทพสารถี

ข้าพเจ้าขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่ามิได้ทำบาปอะไร

ไว้ เมื่อจะดื่มน้ำ น้ำจึงกลายเป็นแกลบไป.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม ตาม

ที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระราชา

ผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดมีการงานไม่บริสุทธิ์

ขายข้าวเปลือกแท้เจือด้วยข้าวลีบแกลบแก่ผู้ซื้อ เมื่อ

สัตว์เหล่านั้น มีความร้อนยิ่งเพราะความร้อนแห่งไฟ

กระหายน้ำ จะดื่มน้ำ น้ำจึงกลายเป็นแกลบไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิขาตกูลา ได้แก่ มีฝั่งไม่ลึก. บท

ว่า สุปติตฺถา ได้แก่ ประกอบด้วยท่าน้ำงาม ๆ. บทว่า ถุส โหติ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

ข้าวเปลือกกลายเป็นแกลบ. บทว่า ปานิ ได้แก่ น้ำดื่ม ได้ยินว่า ในประเทศ

นั้น มีแน่น้ำมีน้ำเจิ่งน่ารื่นรมย์ไหลอยู่เป็นปกติ สัตว์นรกเร่าร้อนเพราะความ

ร่อนแห่งไฟ ไม่อาจจะทนความกระหายได้ จึงเดินย่ำแผ่นดินโลหะที่ลุกโพลง

ลงสู่แม่น้ำนั้น ทันใดนั้นเองฝั่งน้ำทั้งสองก็ลุกโพลงทั่ว น้ำควรดื่มถูกลายเป็น

แกลบและใบไม้ลุกโพลง สัตว์นรกไม่อาจทนความกระหาย ก็เคี้ยวกินแกลบ

และใบไม้อันลุกโพลงนั้น แกลบและใบไม้นั้นแก่เผาสรีระทั้งสิ้นของสัตว์เหล่า

นั้นลุกโพลงทั่วออกทางส่วนเบื้องต่ำ สัตว์นรกเหล่านั้นไม่สามารถจะอดกลั้น

ทุกข์นั้น ก็ประคองแขนทั้งสองร้องไห้. บทว่า สุทฺธธญฺ ในคาถานั้น ได้

แก่ ธัญชาติบริสุทธิ์ ๗ อย่าง มีข้าวเปลือกเป็นต้น. บทว่า ปลาเสน

มิสฺส ความว่า เอาใบไม้บ้าง แกลบบ้าง ทรายและดินเป็นต้นบ้าง ผสม

กัน. บทว่า อสุทฺธกมฺมา ได้แก่ มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เศร้า

หมอง. บทว่า กยิโน ความว่า พูดว่าเราจักให้ข้าวเปลือกที่ดี ๆ แก่ท่าน

รับเงินแต่มือของผู้ซื้อแล้วให้ข้าวเปลือกที่ไม่ดีเห็นปานนั้น.

มาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป นายนิรยบาลทั้งหลายล้อมเหล่าสัตว์นรก

ในนิรยาบายนั้น เหมือนนายพรานล้อมฝูงมฤคในป่าไว้ แล้วทิ่มแทงข้างทั้ง ๒

แห่งสัตว์นรกเหล่านั้นด้วยอาวุธต่าง ๆ มีเครื่องประหาร คือลูกศรเป็นต้น ร่างกาย

ของสัตว์นรกเหล่านั้น ปรากฏเป็นช่องปรุไปหมดเหมือนใบไม้แก่ฉะนั้น พระ-

เจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น เนื้อจะตรัสถามมาตลีเทพสารถี จึงตรัส

คาถาว่า

นายนิรยบาลแทงข้างทั้ง ๒ แห่งสัตว์นรกผู้

ร้องไห้อยู่ ด้วยถูกศร หอก โตมร ความกลัวปรากฏ

แต่เราเพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ ดูก่อนมาตลีเทพ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

สารถี เราขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่ามิได้ทำบาป

อะไรไว้ จึงถูกฆ่าด้วยหอกนอนอยู่.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่

ทราบวิบากแห่งสัตว์ทำบาปทั้งหลาย แต่พระราชาผู้

ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใด เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก

เป็นผู้มีกรรม ไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ถือเอาของที่

เจ้าของไม่ให้ คือ ธัญชาติ ทรัพย์ เงิน ทอง แพะ

แกะ ปสุสัตว์ และกระบือ มาเลี้ยงชีวิต สัตว์เหล่านั้น

เป็นผู้มีกรรมหยาบช้าทำบาป จึงถูกฆ่าด้วยหอกนอน

อยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภยานิ ได้แก่ข้างทั้งสอง. บทว่า

ตุทนฺติ แปลว่า ย่อมแทง. บทว่า กนฺทต แปลว่า ร้องไห้อยู่ นายนิรยบาล

ผู้หยาบช้าล้อมแทงข้างทั้ง ๒ ด้วยอาวุธต่าง ๆ มีลูกศรเป็นต้น เหมือนนายพราน

ล้อมหมู่มฤคในป่า สรีระปรากฏเป็นช่องปรุเหมือนใบไม้เก่า. บทว่า อทินฺน-

มาทาย ได้แก่ สวิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณกพรัพย์ที่เป็นของผู้อื่น สัตว์

นรกเหล่านั้น ถือเอาทรัพย์นั้นด้วยการตัดที่ต่อเป็นต้น และด้วยการลวงด้วย

ประการต่าง ๆ เลี้ยงชีวิต.

มาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป แสดงนิรยาบายอื่นอีก นายนิรยบาลผูก

คอสัตว์นรกในนรกนั้นด้วยเชือกเหล็กลุกโพรงใหญ่ คร่าตัวมาให้ล้มลงบนแผ่น

ดินเหล็กลุกโพลง เที่ยวทุบตีด้วยอาวุธต่างๆ พระเจ้าเนมิราช เมื่อจะตรัสถาม

มาตลีเทพสารถีถึงเหตุนั้น จึงตรัสคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

สัตว์นรกเหล่านี้นายนิรยบาลผูกคอไว้เพราะเหตุ

อะไร ยังพวกอื่นอีกพวกหนึ่ง อันนายนิรยบาลตัดทำ

ให้เป็นชิ้น ๆ นอนอยู่ ความกลัวย่อมปรากฏแก่เรา

เพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ ดูก่อนมาตลีเทพสารถี

เราขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ทำบาปอะไรไว้ จึง

ลูกทำให้เป็นชิ้น ๆ นอนอยู่.

มาตลีเทพสารถี ทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม ตาม

ที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระราชาผู้

ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่านี้เคยเป็นผู้ฆ่าแกะ

ฆ่าสุกร ฆ่าปลา ครั้น ฆ่าสัตว์ของเลี้ยง ระบือ

แพะ แกะ แล้ววางไว้ในร้านที่ฆ่าสัตว์ขายเนื้อ เป็นผู้

มีกรรมหยาบช้าทำบาปจึงถูกตัดเป็นชิ้น ๆ นอนอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คีวาย พนฺธา ความว่า เหล่าสัตว์

นรกถูกนายนิรยบาลผูกคอด้วยเชือกเหล็กลุกโพลงใหญ่ คร่าตัวมาให้ล้มลงบน

แผ่นดินเหล็ก ทุบตีด้วยอาวุธต่าง ๆ อันลุกโพลง พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตร

เห็นสัตว์นรกเหล่านั้น จึงตรัสถาม. บทว่า อญฺเ วิกนฺตา ความว่า

สัตว์นรกเหล่าอื่นถูกตัดเป็นชิ้น ๆ. บทว่า วิลกตา ความว่า สัตว์นรกเหล่า

อื่นถูกนายนิรยบาลวางไว้บนแผ่นเหล็กลุกโพลง เอามีดเชือดเนื้อสับเหมือนสับ

เนื้อที่เป็นก้อน ๆ นอนอยู่. บทว่า มจฺฉิกา แปลว่า ฆ่าปลา. บทว่า ปสุ

ได้แก่ แม่โค. บทว่า สูเณสุ ปสารยึสุ ความว่า วางไว้ในร้านฆ่าสัตว์

ขายเนื้อ เพื่อประโยชน์แก่การขายเนื้อเลี้ยงชีพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

มาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป แสดงนิรยาบายอื่นอีก พระเจ้าเนมิราช

ทอดพระเนตรเห็นสัตว์นรกเหล่านั้นกินมูตรและคูถ เมื่อจะตรัสถามมาตลีเทพ-

สารถี จึงตรัสคาถาว่า

ห้วงน้ำนี้เต็มด้วยมูตรและคูถ มีกลิ่นเหม็น

ไม่สะอาด เน่า ฟุ้งไป สัตว์นรกมีความหิวครอบงำ

ก็กินมูตรและคูถนั้น ความกลัวปรากฏแก่เรา เพราะ

ได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เรา

ขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้ จึง

มีมูตรและคูถเป็นอาหาร.

มาตลีเทพสารถีทูลถวายพยากรณ์พระดำตรัสถาม

ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระ-

ราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่าใดก่อทุกข์

เบียดเบียนมิตรสหายเป็นต้น ตั้งมั่นอยู่ในความเบียด

เบียนผู้อื่นทุกเมื่อ สัตว์นรกเหล่านั้น มีกรรมหยาบช้า

เป็นพาลประทุษร้ายมิตร จึงต้องกินมูตรและคูถ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขุทาปเรตา มนุชา อเทนฺติ ความ

ว่า สัตว์นรกเหล่านี้อันความหิวถูกต้อง ไม่อาจอดกลั้นความหิวได้ จึงทำคูถ

เก่าซึ่งตั้งอยู่เป็นกัป เดือดพล่าน ควันอบ ลุกโพลง เป็นก้อน ๆ เคี้ยวกิน.

บทว่า การณิกา แปลว่า ก่อทุกข์. บทว่า วิโรสิกา ได้แก่ ผู้เบียดเบียน

แม้มิตรสหายเป็นต้น. บทว่า มิตฺตทฺทโน ความว่า สัตว์เหล่าใดเป็นพาล

เคี้ยวกิน คือบริโภคข้าวปลาอาหารในบ้านของตนนั้น ๆ นั่งนอนบนอาสน์ที่

เขาปูลาดไว้ ยังรับจ้างขโมยมาสกและกหาปณะอีก สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้ประทุษ

ร้ายมิตร เป็นพาล จึงเคี้ยวกินก้อนคูถเห็นปานนี้ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

มาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป ในนรกอื่น ๆ สัตว์นรกเหล่านี้อันความ

หิวถูกต้อง ไม่อาจอดกลั้นความหิวได้ จึงทำเลือดและหนองเป็นก้อน ๆ เคี้ยว

กิน พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงตรัสคาถาว่า

ห้วงน้ำนี้เต็มด้วยเลือดและหนอง มีกลิ่นเหม็น

ไม่สะอาด เน่า ฟุ้งไป สัตว์นรกถูกความร้อนแผดเผา

แล้ว ย่อมดื่มเลือดและหนองกิน ความกลัวย่อม

ปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อน

มาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ได้

ทำบาปอะไรไว้จึงมีเลือดและหนองเป็นอาหาร.

มาตลีเทพสารถีทูลถวายพยากรณ์พระดำรัสถาม

ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระ-

ราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่าใดเมื่อยังอยู่ใน

มนุษยโลกฆ่ามารดาบิดาแลพระอรหันต์ ชื่อว่าต้อง

ปาราชิกในคิหิเพศ สัตว์นรกเหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า

ทำบาปจึงมีเลือดและหนองเป็นอาหาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆมฺมาภิตตฺตา ได้แก่ ถูกความร้อน

เบียดเบียน. บทว่า ปาราชิกา ความว่า เป็นผู้พ่าย คือ ฆ่าบิดามารดา

ต้องปาราชิกในความเป็นคฤหัสถ์นั่นแล. บทว่า อรหนฺเต ได้แก่ ผู้สมควร

แก่บูชาพิเศษ. บทว่า หนนฺติ ความว่า ฆ่าบิดามารดาผู้ทำกรรมทีทำได้

ด้วยยาก อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า อรหนฺเต ท่านสงเคราะห์แม้พุทธสาวก

ทั้งหลายเข้าด้วย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

มาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป นายนิรยบาลที่อุสสุทนรกอื่นอีก เอา

เบ็ดเหล็กลุกโพลงโตเท่าลำตาลเกี่ยวลิ้นสัตว์นรก คร่ามาให้สัตว์นรกเหล่านั้น

ล้มลงบนแผ่นดินโลหะที่ลุกโพลง ให้นอนแผ่ เอาขอเหล็กสับดุจสับหนังโค

ฉะนั้น สัตว์นรกเหล่านั้น ดิ้นรนเหมือนปลาดิ้นอยู่บนบก ไม่อาจทนทุกข์นั้น

ร้องไห้เขฬะไหล พระเจ้าเนมิราชเมื่อจะแสดงแก่มาตลีเทพสารถีนั้น ได้ตรัสว่า

ท่านจงดูลิ้นของสัตว์นรกที่เกี่ยวด้วยเบ็ด และ

หนังที่แผ่ไปด้วยของสัตว์นรกย่อมดิ้นรน เหมือนปลา

ที่โยนไปบนบกย่อมดิ้นรนฉะนั้น ร้องไห้ น้ำลายไหล

เพราะธรรมอะไร ความกลัวย่อมปรากฏแก่เรา เพราะ

ได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอ

ถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้ จึงกลืน

เบ็ดนอนอยู่.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่

ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระราชา

ผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็น

มนุษย์อยู่ในตำแหน่งผู้ตีราคา ยังราคาซื้อให้เสื่อมไป

ด้วยราคา ทำกรรมอันโกงด้วยความโกง เหตุโลภ

ทรัพย์ปกปิดไว้ ดุจคนเข้าไปใกล้ปลาเพื่อจะฆ่าเอา

เหยื่อเกี่ยวเบ็ดปิดเบ็ดไว้ฉะนั้น บุคคลจะป้องกันช่วย

คนทำความโกงผู้อันกรรมของคนหุ้มห่อไว้ ไม่มีเลย

สัตว์นรกเหล่านั้นมีกรรมหยาบช้าทำบาป จึงมากลืน

เบ็ดนอนอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิเมเต ความว่า เพราะเหตุไร สัตว์นรก

เหล่านั้น. บทว่า วงฺกฆสฺตา แปลว่า กลืนเบ็ด. บทว่า สณฺานคตา

ความว่า ผู้ถึงตำแหน่งคือชอบเขต คือดำรงอยู่ในตำแหน่งตีราคาสินค้า. บทว่า

อคฺเฆน อคฺฆ ความว่า รับราคาสินค้านั้น ๆ เป็นสินบนแล้วลดราคา

วิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์นั้น ๆ มีช้างม้าเป็นต้น หรือเงินทอง

เป็นต้น. บทว่า กย ความว่า เมื่อลดราคานั้น ๆ ย่อมลดราคาซื้อจากราคา

นั้น แก่ผู้ซื้อทั้งหลาย เมื่อควรจะให้ ๑๐๐ ก็ให้แค่ ๕๐ เมื่อควรจะให้ ๕๐ บาท

ก็ให้แค่ ๒๕ ฝ่ายผู้ซื้อนอกนี้ก็แบ่งกับผู้ตีราคาเหล่านั้น ถือเอาราคานั้น. บทว่า

กูเฏน กูฏ ได้แก่ การโกงนั้น ๆ มีโกงด้วยตาชั่งเป็นต้น . บทว่า ธนโลภเหตุ

ความว่า กระทำการโกงนั้น ๆ เพราะเหตุโลภทรัพย์. บทว่า ฉนฺน ยถา วาริจร

วธาย ความว่า ก็สัตว์เหล่านั้น แม้เมื่อทำการงานนั้น ก็ปกปิดการโกงที่คน

ทำไว้อย่างนั้น ด้วยวาจาอ่อนหวาน คนเข้าไปใกล้ปลาที่ว่ายอยู่ในน้ำ เพื่อจะ

ฆ่า ก็เอาเหยื่อหุ้มเบ็ดฆ่าปลานั้น ฉันใด การปกปิดทำการงานนั้น ฉันนั้น.

บทว่า น หิ กูฏการิสฺส ความว่า ด้วยว่า ชื่อว่าการป้องกันย่อมไม่มี

แก่ผู้ที่ทำการโกง แม้สำคัญอยู่ว่า กรรมของเราที่ปกปิดไว้นั้นไม่มีใครรู้.

บทว่า สเกหิ กมฺเมหิ ปุรกฺขิตสฺส ความว่า ผู้นั้นอันกรรมของตน

หุ้มห่อไว้ ก็ไม่ได้ที่พึ่ง.

นาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป สัตว์นรกในนรกนั้น ตั้งอยู่ในหลุมใหญ่

เห็นด้วยถ่านเพลิงที่ลุกโพลง ได้ยินว่า สัตว์นรกเหล่านั้นถูกนายนิรยบาลถือ

อาวุธต่าง ๆ แทง เข้าถึงนรกนั้น เหมือนนายโคบาลแทงฝูงโคที่ไม่เข้าคอก

ฉะนั้น นายนิรยบาลจับสัตว์นรกเหล่านั้นเอาเข้าขึ้นบนโยนไปในนรกนั้น

พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นสัตว์นรกตกนรกอย่างนั้น เมื่อจะตรัสถาม

มาตลีเทพสารถี จึงตรัสคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

หญิงนรกเหล่านี้มีร่างกายแตกทั่ว มีชาติทราม

มีแมลงวันตอม เปรอะเปื้อนด้วยเลือดและหนอง มี

ศีรษะขาด เหมือนฝูงโคที่ศีรษะขาดบนที่ฆ่า ประคอง

แขนทั้งสองร้องไห้ หญิงนรกเหล่านั้นจมอยู่ในภูมิภาค

เพียงเอวทุกเมื่อ ภูเขาไฟตั้งมาแต่สี่ทิศ ลุกโพลงกลิ้ง

มาบดหญิงนรกเหล่านั้นให้ละเอียด ความกลัวปรากฏ

แก่เราเพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพ

สารถี เราขอถามท่าน หญิงนรกเหล่ามิได้ทำบาป

อะไรไว้ จึงต้องมาจมอยู่ในภูมิภาคเพียงเอวทุกเมื่อ

ภูเขาไฟลุกโพลงตั้งมาแต่สี่ทิศบดให้ละเอียด.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำตรัสถาม ตามที่

ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระราชา

ผู้ไม่ทรงทราบว่า หญิงนรกเหล่านั้นเป็นกุลธิดา เมื่อ

ยังอยู่ในมนุษยโลก มีการงานไม่บริสุทธิ์ ได้ประพฤติ

ไม่น่ายินดี เป็นหญิงนักเลง ละสามีเสียได้ คบหา

ชายอื่นเพราะเหตุยินดีและเล่น หญิงเหล่านั้นเมื่อยัง

อยู่ในมนุษยโลก ยังจิตของตนให้ยินดีในชายอื่นจึงถูก

ภูเขาไฟอันลุกโพลงตั้งมาแต่สี่ทิศ บดให้ละเอียด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นารี ได้แก่ หญิงทั้งหลาย. บทว่า

สมฺปริภินฺนคตฺตา ความว่า มีตัวแตก คือมีสรีระขาดโดยรอบด้วยดี. บทว่า

รุชจฺจา แปลว่า มีชาติทราม คือมีรูปแปลก อธิบายว่า น่าเกลียด. บทว่า

วิกนฺตา ความว่า มีตัวเปรอะเปื้อนหนองและเลือด เหมือนโคทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

ที่หัวขาด. บทว่า สทา นิขาตา ความว่า จมลงในแผ่นดินเหล็กที่ลุกโพลง

เป็นนิจเข้าไปแต่เอวตั้งอยู่เหมือนใครวางไว้. บทว่า ขนฺธาติวตฺตนฺติ ความว่า

แน่ะสหายมาตลี ภูเขาเหล่านั้นกลิ้งทับหญิงเหล่านั้น ได้ยินว่า ในเวลาที่หญิง

เหล่านั้นจมเข้าไปแค่เอวอย่างนี้ ภูเขาเหล็กลุกโพลงตั้งขึ้นทางทิศตะวันออก

คำรามดุจสายฟ้ามา เป็นราวกะว่าบดสรีระให้แหลกละเอียดไป เมื่อภูเขาลูกนั้น

กลิ้งไปตั้งอยู่ทางข้างทิศตะวันตกสรีระของหญิงเหล่านั้นก็ปรากฏขึ้นอีก หญิง

เหล่านั้นไม่อาจอดกลั้นทุกข์นั้นได้ จึงประคองแขนทั้งสองร้องไห้ แม้ภูเขาที่

ตั้งขึ้นในทิศที่เหลือทั้งหลายก็มีนัยอย่างนี้แล ภูเขาสองลูกตั้งขึ้นบดสรีระของ

หญิงเหล่านั้นเหมือนหีบอ้อยเลือดหลั่งไหลไป บางครั้งภูเขาสามลูก บางคราว

สี่ลูก ตั้งขึ้นบดสรีระของหญิงเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ขนฺธา-

ติวตฺตนฺติ.

บทว่า โกลิตฺถิยาโย ได้แก่ เป็นกุลธิดาดำรงอยู่ในตระกูล. บทว่า

อยุตฺต อจาร ความว่า ได้กระทำกรรมที่ไม่ลำรวม. บทว่า ธุตฺตรูปา

ความว่า เป็นหญิงมีรูปไม่งาม คือมีรูปชั่ว มีชาติเป็นนักเลง. บทว่า ปติ

วปฺปหาย ความว่า ละสามีของตนเสีย. บทว่า อจารุ ความว่า ได้ถึงชายอื่น.

บทว่า รติขิฑฺฑเหตุ ความว่า เหตุกามคุณห้า และเหตุเล่น. บทว่า

รมาปยิตฺวา ความว่า ยังจิตของตนให้รื่นรมย์กับเหล่าชายอื่น เกิดขึ้นในที่นี้

อธิบายว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นภูเขามีไฟลุกโชติช่วงเหล่านั้น จึงบดสรีระของหญิง

เหล่านั้นด้วยอาการอย่างนี้.

มาตลีเทพสารถีขับรถต่อไป สัตว์นรกในนรกนั้นตั้งอยู่ในบ่อใหญ่

เต็มด้วยถ่านเพลิงลุกโพลง ได้ยินว่า สัตว์นรกเหล่านั้นถูกนายนิรยบาลถืออาวุธ

ต่าง ๆ แทง เหมือนนายโคบาลแทงฝูงโคที่ไม่เข้าคอก เข้าถึงนรกนั้นด้วย

ประการนั้น ลำดับนั้น นายนิรยบาลจับสัตว์นรกเหล่านั้นให้มีเท้าขึ้นข้างบนโยน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

ลงในบ่อใหญ่นั้น พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นสัตว์นรกตกลงในนรก

อย่างนั้น เมื่อจะตรัสถามมาตลีเทพสารถี จึงตรัสคาถาว่า

เพราะเหตุไร นายนิรยบาลทั้งหลายจึงจับสัตว์

นรกเหล่านี้อีกพวกหนึ่งที่เท้าเอาหัวลงโยนลงไปใน

นรก ความกลัวย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความ

เป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน

สัตว์นรกเหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้ จึงลูกโยนให้ตกไป

ในนรก.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่

ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระราชา

ผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก

เป็นผู้มีกรรมไม่ดี ล่วงเกินภรรยาทั้งหลายของชายอื่น

สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้ลักภัณฑะอันอุดมเช่นนั้น จึงมาตก

นรก เสวยทุกขเวทนาในนรกนั้นสิ้นปีเป็นอันมาก

บุคคลผู้ช่วยป้องกันบุคคลผู้มักทำบาป ผู้อันกรรมของ

ตนหุ้มห่อไว้ ไม่มีเลย สัตว์นรกเหล่านั้นมีกรรม

หยาบช้าทำบาป จึงมาตกอยู่ในนรก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นรเก ได้แก่ ในบ่อใหญ่เต็มด้วย

ถ่านเพลิงอันลุกโพลง ได้ยินว่า สัตว์นรกเหล่านั้นถูกนายนิรยบาลถืออาวุธ

ต่าง ๆ ทิ่มแทงโบยตี ราวกะนายโคบาลแทงโคทั้งหลายที่ไม่เข้าคอกฉะนั้น

เข้าถึงนรกนั้นเห็นปานนั้น ลำดับนั้น นายนิรยบาลทั้งหลายทำสัตว์นรกเหล่านั้น

ให้มีเท้าขึ้นข้างบนมีศีรษะลงข้างล่าง แล้วโยนลงในบ่อใหญ่นั้น พระเจ้าเนมิราช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

ทอดพระเนตรเห็นเหล่าสัตว์นรกกำลังตกลงไปอย่างนั้น เมื่อจะตรัสถามจึงตรัส

อย่างนี้. บทว่า อุตฺตมภณฺฑเถนา ได้แก่ ผู้ขโมยภัณฑะอันประเสริฐที่

มนุษย์ทั้งหลายพึงรัก.

ก็แลครั้นทูลอย่างนี้แล้ว มาตลีผู้สังคาหกะได้ยังนรกนั้นให้อันตรธาน

ไป ขับรถต่อไป แสดงนรกเป็นที่หมกไหม้แห่งพวกมิจฉาทิฏฐิ ได้พยากรณ์

ข้อที่พระเจ้าเนมิราชตรัสถามว่า

สัตว์นรกเหล่านี้ ทั้งน้อยใหญ่ต่างพวกประกอบ

เหตุการณ์ มีรูปร่างพิลึก ปรากฏอยู่ในนรก ความกลัว

ย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น

ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์นรก

เหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้ จึงได้เสวยทุกขเวทนาอัน

ลำแข็งเผ็ดร้อนมีประมาณยิ่ง.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม ตาม

ที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบาปทั้งหลาย แด่พระราชา

ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดเมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก

เป็นผู้มีความเห็นเป็นบาป หลงทำกรรมอันทำด้วย

ความคุ้นเคย และชักชวนผู้อื่นในทิฏฐิเช่นนั้น สัตว์

เหล่านั้นเป็นผู้มีทิฏฐิอันลามกทำบาป จึงต้องเสวยทุกข์

เวทนาอันกล้าแข็งเผ็ดร้อน ประมาณยิ่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺจาวจาเม ได้แก่ สัตว์นรกเหล่านี้

ทั้งสูงและต่ำ อธิบายว่า ทั้งน้อยและใหญ่. บทว่า อุปกฺกมา ได้แก่ ผู้

ประกอบเหตุการณ์. บทว่า สุปาปทิฏฺิโน ความว่า เป็นผู้มีธรรมลามก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

ด้วยดี ด้วยมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ ทานที่ให้ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล

การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี มารดาไม่มี บิดา

ไม่มี สมณพราหมณ์ไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี.

บทว่า วิสฺสาสกมฺมานิ ความว่า เป็นผู้อาศัยกรรมที่ทำด้วยความคุ้นเคย

กระทำกรรมลามกมีอย่างต่าง ๆ ด้วยมิจฉาทิฏฐินั้น. บทว่า เตเม ความว่า

ชนเหล่านี้นั้น ย่อมเสวยทุกข์เห็นปานนี้.

มาตลีเทพสารถีทูลบอกนรกเป็นที่หมกไหม้ ของพวกมิจฉาทิฏฐิ

ทั้งหลาย แด่พระเจ้าเนมิราชด้วยประการฉะนี้.

แม้หมู่เทวดาในเทวโลกก็ได้นั่งประชุมกันในเทวสภาชื่อสุธรรมานั่นแล

คอยพระเจ้าเนมิราชเสด็จมา ฝ่ายท้าวสักกเทวราชทรงใคร่ครวญดูว่า ทำไม

มาตลีจึงไปช้านัก ก็ทราบเหตุนั้น จึงทรงจินทนาการว่า มาตลีเทพบุตรเที่ยว

แสดงนรกทั้งหลายว่า สัตว์เกิดในนรกโน้น เพราะทำกรรมโน้น ดังนี้ เพื่อ

แสดงความเป็นทูตพิเศษของคน แต่ชนมายุของพระเจ้าเนมิราชซึ่งมีอยู่น้อย

จะพึงสิ้นไป ชนมายุนั้นจะไม่พึงถึงที่สุดแห่งการแสดงนรก ทรงดำริฉะนี้แล้ว

จึงส่งเทพบุตรองค์หนึ่งซึ่งมีความเร็วมาก ด้วยเทพบัญชาว่า ท่านจงไปแจ้งแก่

มาตลีว่า จงเชิญเสด็จพระเจ้าเนมิราชมาโดยเร็ว เทพบุตรนั้นมาแจ้งโดยเร็ว

มาตลีเทพสารถีได้สดับคำเทพบุตรนั้นแล้ว จึงทูลพระเจ้าเนมิราชว่า ช้าไม่ได้

แล้ว พระเจ้าข้า แล้วแสดงนรกเป็นอันมากใน ๔ ทิศพร้อมกันทีเดียว แด่

พระเจ้าเนมิราช กล่าวคาถาว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ทรงทราบสถานที่อยู่

ของเหล่าสัตว์ผู้มีกรรมหยาบช้า และทรงทราบคติของ

เหล่าสัตว์ผู้ทุศีลแล้ว เพราะได้ทอดพระเนตรเห็น

นิรยาบายอันเป็นที่อยู่ของเหล่าสัตว์นรกผู้มีกรรมอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

ลามก ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ บัดนี้

ขอพระองค์เสด็จขึ้นไปในสำนักของท้าวสักกเทวราช

เถิด.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ทรงทราบสถาน

ที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้มีกรรมหยาบช้า เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นนิรยาบายอัน

เป็นที่อยู่ของเหล่าสัตว์นรกผู้มีกรรมอันลามกนี้. บทว่า ทุสฺสีลานญฺจ ยา

คติ ความว่า ความสำเร็จแม้นั้น พระองค์ก็ทรงทราบแล้ว บัดนี้ ขอเชิญ

พระองค์เสด็จขึ้นไปชมทิพยสมบัติ ในสำนักของท้าวสักกเทวราชเถิด

พระเจ้าข้า.

จบ กัณฑ์นรก

ก็แลครั้นทูลอย่างนี้แล้ว มาตลีเทพสารถีก็ขับรถมุ่งไปเทวโลก พระ-

เจ้าเนมิราชเมื่อเสด็จไปเทวโลก ทอดพระเนตรเห็นวิมานอันประดิษฐานออยู่ใน

อากาศของเทพธิดา นามว่าวรุณี มียอด ๕ ยอด แล้วไปด้วยแก้วมณี ใหญ่

๑๒ โยชน์ ประดับด้วยอลังการทั้งปวง สมบูรณ์ด้วยอุทยานและสระโบกขรณี

มีต้นกัลปพฤกษ์แวดล้อม และทอดพระเนตรเห็นเทพธิดานั้น นั่งอยู่เหนือหลัง

ที่ไสยาสน์ภายในกูฏาคาร หมู่อัปสรพันหนึ่งแวดล้อม เปิดมณีสีหบัญชรแลดู

ภายนอก จึงตรัสคาถาถามมาตลีเทพสารถี แม้มาตลีเทพสารถีนอกนี้ก็ได้

พยากรณ์แด่พระองค์

วิมาน ๕ ยอดนี้ปรากฏอยู่ เทพธิดาผู้มีอานุภาพ

มาก ประดับดอกไม้ นั่งอยู่กลางที่ไสยาสน์ แสดง

ฤทธิ์ได้ต่าง ๆ สถิตอยู่ในวิมานนั้น ความปลื้มใจ

ปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

มาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน เทพธิดามิได้ทำ

กรรมดีอะไรไว้ จึงได้ถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม ตาม

ที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชา

ผู้ไม่ทรงทราบว่า ก็เทพธิดาที่พระองค์ทรงหมายถึง

นั้น ชื่อวรุณี เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก เป็นทาสีเกิด

แต่ทาสีในเรือนของพราหมณ์ นางรู้แจ้งซึ่งแขกคือ

ภิกษุผู้มีกาลอันถึงแล้ว นิมนต์ให้นั่งในเรือนของ

พราหมณ์ ยินดีต่อภิกษุนั้นเป็นนิตย์ ดังมารดายินดี

ต่อบุตรผู้จากไปนานกลับมาถึงฉะนั้น นางอังคาส

ภิกษุนั้นโดยเคารพ ได้ถวายสิ่งของของตนเล็กน้อย

เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจ ถูป ความว่า ประกอบด้วยกูฏาคาร

๕. บทว่า มาลาปิลนฺธา ความว่า ประดับด้วยสรรพาภรณ์ มีเครื่องประดับ

และดอกไม้เป็นต้น. บทว่า ตตฺถจฺฉติ ความว่า อยู่ในวิมานนั้น. บทว่า

อุจฺจาวจ อิทฺธิวิกุพฺพมานา ความว่า แสดงเทพฤทธิ์มีประการต่าง ๆ.

บทว่า ทิสฺวา ความว่า เราผู้เห็นความเป็นไปนั้นดำรงอยู่. บทว่า วตฺตี

แปลว่า ความยินดี. บทว่า วินฺทติ ได้แก่ ย่อมได้เฉพาะ อธิบายว่า เรามี

ความปลื้มใจราวกะว่าของมีอยู่ คืออันความยินดีครอบงำแล้ว. บทว่า

อามายทาสี ความว่า เป็นทาสีเกิดในครรภ์ของทาสีในเรือน. บทว่า อหุ

พฺราหฺมณสฺส ความว่า เทพธิดานั้นได้เป็นทาสีของพราหมณ์คนหนึ่ง ใน

กาลแห่งพระกัสสปทศพล. บทว่า สา ปตฺตกาล ความว่า พราหมณ์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

ได้บริจาคสลากภัตแปดแด่พระสงฆ์ พราหมณ์นั้นไปเรือนเรียกภริยามาสั่งว่า

แน่ะนางผู้เจริญ พรุ่งนี้ เธอจงลุกขึ้นแต่เช้า จัดสลากภัตแปดทำให้มีราคา-

กหาปณะหนึ่งสำหรับภิกษุรูปหนึ่ง ๆ พราหมณีปฏิเสธว่า ข้าแต่นาย ขึ้นชื่อว่า

ภิกษุทั้งหลายเป็นนักเลง ดิฉันไม่อาจ ธิดาทั้งหลายของพราหมณ์นั้นก็ปฏิเสธ

อย่างนั้น เหมือนกัน พราหมณ์กล่าวกะทาสีว่า เจ้าอาจไหมแม่หนู ทาสีนั้น

รับคำว่า อาจเจ้าค่ะ แล้วจัดยาคูของเคี้ยวและภัตตาหารเป็นต้นโดยเคารพ

ได้สลากแล้วรู้แจ้งแขกผู้ได้เวลาซึ่งมาแล้ว นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้

ซึ่งไล้ทาด้วยโคมัยสดทำดอกไม้ยื่นไว้ข้างหน้าในเรือน. บทว่า มาตาว ปุตฺต

ความว่า ทาสีนั้นเพลิดเพลินยิ่งตลอดกาลเป็นนิตย์ อังคาสโดยเคารพ ได้ถวาย

อะไร ๆ ซึ่งเป็นของของตน เหมือนมารดาเพลิดเพลินยิ่ง ครั้งเดียวต่อบุตรผู้

จากไปนานกลับมาแล้ว ฉะนั้น. บทว่า สญฺมา สวิภาคา จ ความว่า

ทาสีนั้นได้เป็นผู้มีศีลและมีจาคะ เพราะเหตุนั้น จึงบันเทิงอยู่ในวิมานนี้

ด้วยศีลและจาคะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สญฺมา ความว่า ประกอบ

ด้วยการผูกอินทรีย์.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มาตลีเทพสารถีได้ขับรถต่อไป แสดง

วิมานทอง ๗ ของเทพบุตรชื่อโสณทินนะ พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็น

วิมานเหล่านั้น และสิริสมบัติของโสณทินนเทพบุตรนั้น จึงตรัสถามถึงกรรม

ที่เทพบุตรนั้นได้ทำไว้ แม้มาตลีเทพสารถีนอกนี้ก็ได้ทูลบอกแด่พระองค์

วิมานทั้ง ๗ โชติช่วง อันบุญญานุภาพตกแต่ง

ส่องแสงสว่างดั่งดวงอาทิตย์อ่อน ๆ เทพบุตรในวิมาน

นั้นมีฤทธิ์มาก ประดับด้วยสรรพาภรณ์ อันหมู่เทพ

ธิดาแวดล้อมผลัดเปลี่ยนเวียนวนอยู่โดยรอบ ทั้ง ๗

วิมาน ความปลื้มใจปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

เป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน

เทพบุตรนี้ได้ทำกรรมดีอะไรไว้ จึงได้ถึงสวรรค์

บันเทิงอยู่ในวิมาน.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำตรัสถามตามที่

ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชาผู้

ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีชื่อโสณทินนะ

เป็นทานบดี ให้สร้างวิหาร ๗ หลังอุทิศต่อบรรพชิต

ได้ปฏิบัติบำรุงภิกษุผู้อยู่ในวิหาร ๗ หลังนั้นโดยเคารพ

ได้บริจาคผ้านุ่งผ้าห่มภัตตาหารเสนาสนะเครื่องประ-

ทีปในท่านผู้ซื่อตรงด้วยจิตเลื่อมใส รักษาอุโบสถศีลอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ แห่งปักษ์

และปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวมในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้

สำรวมและจำแนกทาน จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ททฺทฬฺหมานา แปลว่า โชติช่วงอยู่.

บทว่า อาเภนฺติ ความว่า ส่องแสงสว่างดั่งควงอาทิตย์อ่อน ๆ. บทว่า ตตฺถ

ความว่า ในวิมาน ๗ หลังที่ตั้งเรียงรายอยู่นั้น มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อโสณ-

ทินนะ ข้าแต่มหาราชเจ้า เทพบุตรองค์นี้ เมื่อก่อน ในกาลแห่งพระกัสสป

ทศพล เป็นคฤหบดีมีนามว่า โสณทินนะ เป็นทานบดี ในนิคมแห่งหนึ่งใน

กาสิกรัฐ เขาให้สร้างกุฎีที่อยู่อุทิศบรรพชิตทั้งหลาย ปฏิบัติบำรุงภิกษุทั้งหลาย

ผู้อยู่ในวิหารกุฎีนั้น ๆ ด้วยปัจจัย ๔ โดยเคารพ และเจ้าจำอุโบสถสำรวมใน

ศีลทั้งหลายเป็นนิตย์ ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว จึงอุบัติในวิมานนี้บันเทิงอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

อนึ่ง บทว่า ปาฏิหาริยปกฺขญฺจ นี้ ในคาถานั้น ท่านกล่าวหมาย

เอาดิถีที่ ๗ และดิถีที่ ๙ อันเป็นดิถีรับและส่งแห่งอัฏฐมีอุโบสถ และดิถีที่ ๑๓

และปาฏิบทอันเป็นดิถีรับและส่งแห่งจาตุททสีอุโบสถและปัณณรสีอุโบสถ.

ครั้นกล่าวกรรมของโสณทินนเทพบุตรอย่างนี้แล้ว มาตลีเทพสารถี

ก็ขับรถต่อไป แสดงวิมานแก้วผลึก วิมานแก้วผลึกนั้นสูง ๒๕๐ โยชน์ ประกอบ

ด้วยเสาซึ่งแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการหลายร้อยต้น ประดับด้วยอดหลายร้อย

ยอด ห้อยกระดิ่งเป็นแถวรอบ มีธงที่แล้วด้วยทองและเงินปักไสว ประดับด้วย

อุทยานและวนะวิจิตรด้วยบุปผชาตินานาชนิด ประกอบด้วยสระโบกขรณี

น่ายินดี มีไพทีที่น่ารื่นรมย์ เกลื่อนไปด้วยอัปสรผู้ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง

และประโคม พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นวิมานแก้วผลึกนั้น มีพระ-

หฤทัยยินดี ตรัสถามถึงกุศลกรรมแห่งอัปสรเหล่านั้น แม้มาตลีเทพสารถีนอกนี้

ก็ได้ทูลบอกแด่พระองค์

วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งดีแล้วนี้ เกลื่อน

ไปด้วยหมู่อัปสรผู้ประเสริฐ รุ่งเรืองด้วยยอดบริบูรณ์

ด้วยข้าวและน้ำ งดงามด้วยการฟ้อนรำขับร้อง เปล่ง

แสงสว่างจากฝาแก้วผลึก ความปลื้มใจย่อมปรากฏ

แก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ ดูก่อนมาตลี-

เทพสารถี เราขอถามท่าน อัปสรเหล่ามิได้ทำกรรมดี

อะไรไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม ตาม

ที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชา

ไม่ทรงทราบว่า อัปสรเหล่านั้นเมื่อยังอยู่ในมนุษย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

โลกเป็นอุบาสิกาผู้มีศีล ยินดีในทาน มีจิตเลื่อมใส

เป็นนิตย์ตั้งอยู่ในสัจจะ ไม่ประมาทในการรักษา

อุโบสถ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน จึงมาบันเทิง

อยู่ในวิมาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยมฺห แปลว่า วิมาน มีคำอธิบายว่า

ปราสาท. บทว่า ผลิกาสุ ได้แก่ ฝาแก้วผลึก คือฝาที่แล้วด้วยแก้วมณีขาว.

บทว่า นารีวรคณากิณฺณ ได้แก่ เกลื่อนไปด้วยหมู่อัปสรผู้ประเสริฐ. บทว่า

กูฏาคารวิโรจิต ความว่า สะสม คือรวบรวม คือเจริญด้วยเรือนยอดอันประ-

เสริฐทั้งหลาย. บทว่า อุภย ความว่า งดงามด้วยการฟ้อนรำและการขับร้อง

ทั้งสองอย่าง. บทว่า ยา กาจิ นี้ ท่านกล่าวโดยไม่กำหนดก็จริง ถึงอย่างนั้น

ก็พึงทราบอัปสรเหล่านั้นว่า เป็นอุบาสิกาในกรุงพาราณสี ในกาลแห่งพระ-

กัสสปพุทธเจ้า ได้รวมกันเป็นคณะกระทำบุญทั้งหลาย ซึ่งมีประการดังกล่าว

แล้วในหนหลังเหล่านั้น จึงถึงสมบัตินั้น.

ลำดับนั้น มาตลีเทพสารถีนั้นขับรถต่อไป แสดงวิมานแก้วมณีวิมาน

หนึ่งแต่พระเจ้าเนมิราช วินานแก้วมณีนั้น ประดิษฐานอยู่ในภูมิภาคที่ราบเรียบ

สมบูรณ์ด้วยส่วนสูง เปล่งรัศมีดุจมณีบรรพต กึกก้องด้วยการฟ้อนรำขับร้อง

และประโคม เกลื่อนไปด้วยเทพบุตรเป็นอันมาก พระเจ้าเนมิราชทอด

พระเนตรเห็นดังนั้น จึงตรัสถามถึงกุศลกรรมของเทพบุตรเหล่านั้น แม้มาตลี

เทพสารถีนอกนี้ก็ได้ทูลบอกแด่พระองค์

วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งแล้วนี้ ประกอบ

ด้วยภูมิภาคน่ารื่นรมย์ จัดสรรไว้เป็นส่วน ๆ เปล่ง

แสงสว่างออกจากฝาแก้วไพฑูรย์ เสียงทิพย์ คือเสียง

เปิงมาง เสียงตะโพน การฟ้อนรำขับร้อง และเสียง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

ประโคมดนตรี ย่อมเปล่งออก น่าฟัง เป็นที่รื่นรมย์

ใจ เราไม่รู้สึกว่าได้เห็นหรือได้ฟังเสียงอันเป็นไป

อย่างนี้ อันไพเราะอย่างนี้ ในกาลก่อนเลย ความ

ปลื้มใจย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไป

นั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่านเทพบุตร

เหล่านี้ได้ทำกรรมดีอะไรไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่

ในวิมาน.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่

ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชาผู้ไม่

ทรงทราบว่า เทพบุตรเหล่านี้ เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก

เป็นอุบาสกผู้มีศีล ได้ก่อสร้างอาราม บ่อน้ำ สระน้ำ

และสะพาน ได้ปฏิบัติพระอรหันต์ผู้เยือกเย็นโดย

เคารพ ได้ถวายจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจัย และ

เสนาสนะ ในท่านผู้ซื่อตรง ด้วยใจเลื่อมใส ได้รักษา

อุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕

ที่ ๘ แห่งปักษ์และปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวมใน

ศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน จึงมาบันเทิง

อยู่ในวิมาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬฺริยาสุ ได้แก่ ฝาแก้วไพฑูรย์.

บทว่า อุเปต ภูมิภาเคหิ ความว่า ประกอบด้วยภูมิภาคน่ารื่นรมย์. บทว่า

อาลมฺพรา มุทิงฺคา จ ความว่า เครื่องดนตรีเหล่านั้น ย่อมเปล่งเสียงในวิมาน

นี้. บทว่า นจฺจคีตา สุวาทิตา ความว่า การฟ้อนรำและการขับร้องมี

ประการต่างๆ และการประโคมดนตรีแม้อื่น ๆ ย่อมเป็นไปในวิมานนี้. บท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

ว่า เอว คต ได้แก่ ถึงภาวะที่รื่นรมย์ใจอย่างนี้. บทว่า เย เกจิ แม้นี้

ท่านกล่าวโดยไม่กำหนดก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็พึงทราบเทพบุตรเหล่านั้นว่า

เป็นอุบาสกชาวพาราณสี ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รวมกัน

เป็นคณะทำบุญเหล่านี้ จึงถึงทิพยสมบัตินั้น. บทว่า ปฏิปาทยุ ในคาถานั้น

ความว่า ให้ถึง คือได้ถวายแด่พระอรหันต์เหล่านั้น. บทว่า ปจฺจย ได้เก่

คิลานปัจจัย บทว่า อทสุ ความว่า ได้ถวายทานมีประการต่าง ๆ อย่างนี้.

มาตลีเทพสารถีนั้นทูลบอกกรรมของเทพบุตรเหล่านั้น แด่พระเจ้า-

เนมิราชด้วยประการฉะนั้นแล้ว ขับรถต่อไป แสดงวิมานแก้วผลึกอีกวิมานหนึ่ง

วิมานแก้วผลึกนั้น ประดับด้วยยอดมิใช่น้อย ประดับด้วยวนะรุ่น ซึ่งปกคลุม

ไปด้วยนานาบุปผชาติ แวดล้อมไปด้วยแม่น้ำมีน้ำใสสะอาด กึกก้องไปด้วย

ฝูงวิหคต่าง ๆ ส่งเสียงร้อง มีหมู่อัปสรแวดล้อม เป็นสถานที่อยู่ของเทพบุตร

ผู้มีบุญองค์หนึ่งนั้นนั่นเอง พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นวิมานนั้น มี

พระหฤทัยยินดี จึงตรัสถามถึงกุศลกรรมของเทพบุตรนั้น แม้มาตลีเทพสารถี

นอกนี้ก็ได้ทูลบอกแด่พระองค์

วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งดีแล้วนี้ เกลื่อนไป

ด้วยหมู่อัปสรผู้ประเสริฐ รุ่งเรืองด้วยเรือนยอดบริบูรณ์

ด้วยข้าวและน้ำ งดงามด้วยการฟ้อนรำขับร้อง ส่อง

แสงสว่างจากฝาแก้วผลึก มีแม่น้ำอันประกอบด้วย

ไม้ดอกต่าง ๆ ล้อมรอบ ความปลื้มใจย่อมปรากฏแก่

เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพ-

สารถี เราขอถามท่าน เทพบุตรนี้ได้ทำกรรมดีอะไร

ไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 287

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตาม

ที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชา

ผู้ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดี ในกรุงมิถิลา

เป็นทานบดี ได้สร้างอาราม บ่อน้ำ สระน้ำ และ

สะพาน ได้ปฏิบัติบำรุงพระอรหันตทั้งหลายผู้เยือก

เย็นโดยธรรม ได้ถวายจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจัย

และเสนาสนะ ในท่านผู้ซื่อตรง ด้วยใจเลื่อมใส ได้

รักษาอุโบสถศีลประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถีที่ ๑๔ ที่

๑๕ ที่ ๘ แห่งปักษ์ และปาฏิหาริยปักษ์เป็นผู้สำรวม

ในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน จึงบันเทิง

อยู่ในวิมาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นชฺโช เป็นวจนะวิปลาส ความว่า

แม่น้ำสายหนึ่งไหลล้อมรอบวิมาน. บทว่า ทุมายุตา แม่น้ำนั้นประกอบด้วย

ต้นไม้มีดอกต่างๆ. บทว่า มิถิลาย ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เทพบุตรนี้

เป็นคฤหบดีคนหนึ่งในมิถิลานคร ในกาลแห่งพระกัสสปพุทธเจ้า ได้เป็น

ทานบดี เขากระทำกุศลกรรม มีปลูกอารามเป็นต้นเหล่านั้น จึงถึงทิพยสมบัตินี้.

ครั้นทูลบอกกรรมที่เทพบุตรนั้นกระทำ แด่พระเจ้าเนมิราชอย่างได้

แล้ว มาตลีเทพสารถีก็ขับรถต่อไป แสดงวิมานแก้วผลึกแม้อีกวิมานหนึ่ง

วิมานนั้นประกอบด้วยกอวนะรุ่น ซึ่งปกคลุมไปด้วยไม้ดอกไม้ผลนานาชนิด

ยิ่งกว่าวิมานก่อน พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นวิมานนั้น จึงตรัสถาม

บุพกรรมของเทพบุตรผู้ประกอบด้วยสมบัตินั้น แม้มาตลีเทพสารถีนอกนี้ก็ได้

ทูลบอกแด่พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 288

วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งดีแล้วนี้ เกลื่อน

ไปด้วยอัปสรผู้ประเสริฐ รุ่งเรืองด้วยยอดบริบูรณ์ด้วย

ข้าวและน้ำ งดงามด้วยการฟ้อนรำขับร้อง ส่องแสง

สว่างออกจากฝาแล้วผลึก มีแม่น้ำอันประกอบด้วย

ไม้ดอกต่าง ๆ ล้อมรอบ และมีไม้เกด ไม้มะขวิด

ไม้มะม่วง ไม้สาละ ไม้ชมพู่ ไม้มะพลับ ไม้มะหาด

เป็นอันมาก มีผลเป็นนิตย์ ความปลื้มใจย่อมปรากฏ

แก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก้อนมาตลี

เทพสารถี เราขอถามท่าน เทพบุตรนี้ทำกรรมดีอะไร

ไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่

ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชาผู้

ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีในกรุงมิถิลา

เป็นทานบดี ได้สร้างอาราม บ่อน้ำ สระน้ำ และสะพาน

ได้ปฏิบัติบำรุงพระอรหันต์ทั้งหลายผู้เยือกเย็นโดยเคารพ

ได้ถวายจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจัย และเสนาสนะ

ในท่านผู้ซื่อตรงด้วยใจเลื่อมใส ได้รักษาอุโบสถลศีล

ประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ แห่งปักษ์

และปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวมในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้

สำรวมและจำแนกทาน จึงบันเทิงอยู่ในวิมาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นชฺโช ความว่า แม่น้ำสายหนึ่ง

ไหลล้อมรอบวิมานนั้น. บทว่า ทุมายุตา ความว่า แม่น้ำนั้นประกอบด้วย

ต้นไม้มีดอกต่าง ๆ. บทว่า มิถิลาย ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เทพบุตรนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 289

เป็นคฤหบดีคนหนึ่งในมิถิลานคร วิเทหรัฐ ในกาลแห่งพระกัสสปพุทธเจ้า

ได้เป็นทานบดี เขาทำบุญกรรมเหล่านั้น จึงถึงทิพยสมบัตินี้.

ิ ครั้นทูลบอกกรรมที่เทพบุตรแม้นั้นกระทำ แด่พระเจ้าเนมิราชอย่างนี้

แล้ว มาตลีเทพสารถีก็ขับรถต่อไป แสดงวิมานแก้วไพฑูรย์อีกวิมานหนึ่ง เช่น

กับวิมานก่อนนั่นแหละ พระเจ้าเนมิราชตรัสถามถึงกรรมที่เทพบุตรผู้เสวย

ทิพยสมบัติในวิมานนั้นกระทำ แม้มาตลีเทพสารถีนอกนี้ก็ได้ทูลบอกแด่

พระองค์

วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งแล้วนี้ ประกอบ

ด้วยภูมิภาคน่ารื่นรมย์ จัดสรรไว้เป็นส่วน ๆ เปล่งแสง

สว่างออกจากฝาแก้วไพฑูรย์ เสียงทิพย์ คือเสียงเปิง

มาง เสียงตะโพน การฟ้อนรำขับร้อง และเสียง

ประโคมดนตรี ย่อมเปล่งออก น่าฟัง เป็นที่รื่นรมย์ใจ

เราไม่รู้สึกที่ได้เห็นหรือได้ฟังเสียงอันเป็นไปอย่างนี้

อันไพเราะอย่างนี้ ในกาลก่อนเลย ความปลื้มใจย่อม

ปรากฏแก่เราเพราะได้เห็นความเป็นไปนั้น ดูก่อน

มาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน เทพบุตรนี้ได้ทำ

กรรมดีอะไรไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่

ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชาผู้

ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีในกรุงพาราณ-

สี เป็นทานบดี ได้ก่อสร้างอาราม บ่อน้ำ สระน้ำ

และสะพาน ได้ปฏิบัติบำรุงพระอรหันต์ทั้งหลายผู้

เยือกเย็นโดยเคารพ ได้ถวายจีวร บิณฑบาต คิลาน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 290

ปัจจัย และเสนาสนะ ในท่านผู้ซื่อตรง ด้วยใจเลื่อมใส

ได้รักษาอุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถีที่

๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ แห่งปักษ์ และปาฏิหาริยปักษ์ เป็น

ผู้สำรวมในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน

จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน.

มาตลีเทพสารถีนั้นทูลบอกกุศลกรรมแด่พระเจ้าเนมิราชอย่างนี้แล้ว

ขับรถต่อไป แสดงวิมานทองซึ่งมีรัศมีเหมือนดวงอาทิตย์อ่อน ๆ พระเจ้า

เนมิราชทอดพระเนตรเห็นสมบัติของเทพบุตรผู้อยู่ในวิมานทองนั้น มีพระ

หฤทัยยินดี จึงตรัสถามถึงกรรมที่เทพบุตรนั้นกระทำ แม้มาตลีเทพสารถีนอก

นี้ก็ทูลบอกแด่พระองค์

วิมานทองอันบุญญานุภาพตกแต่งดีนี้ สุกใสดุจ

ดวงอาทิตย์แรกอุทัยดวงใหญ่สีแดงฉะนั้น ความปลื้ม

ใจย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นวิมานทองนี้ดูก่อน

มาตลีเทพสารถี เราขอถามท่านเทพบุตรนี้ได้ทำกรรม

ดีอะไรไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถามตามที่

ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชาผู้

ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีอยู่ในกรุง

สาวัตถี เป็นทานบดี ได้สร้างอาราม บ่อน้ำ สระน้ำ

และสะพาน ได้ปฏิบัติบำรุงพระอรหันต์ทั้งหลายผู้

เยือกเย็นโดยเคารพ ได้ถวายจีวร บิณฑบาต คิลาน-

ปัจจัย และเสนาสนะ ในท่านผู้ซื่อตรงด้วยใจเลื่อมใส

ได้รักษาอุโบสถศีล ประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถีที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 291

ที่ ๑๕ ที่ ๘ แห่งปักษ์ และปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้

สำรวมในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน

จึงบันเทิงอยู่ในวิมาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทยมาทิจฺโจ ได้แก่ ดวงอาทิตย์

แรกขึ้น. บทว่า สาวตฺถิย ความว่า เทพบุตรนั้นได้เป็นทานบดีในกรุงสาวัตถี

ในกาลแห่งพระกัสสปพุทธเจ้า.

ในเวลาที่มาตลีเทพสารถีทูลวิมาน ๘ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ท้าว-

สักกเทวราชทรงดำริว่า มาตลีประพฤติช้าเกิน จึงส่งเทพบุตรผู้ว่องไวแม้อื่น

อีกไปด้วยเทวบัญชาว่า ท่านจงไปบอกแก่มาตลีว่า ท้าวสักกเทวราชเรียกหาท่าน

เทพบุตรนั้นไปโดยเร็ว แจ้งแก่มาตลีเทพให้ทราบ มาตลีเทพสารถีได้สดับ

คำแห่งเทพบุตรนั้น ดำริว่า บัดนี้เราไม่อาจจะชักช้า จึงแสดงวิมานเป็นอันมาก

พร้อมกันทีเดียว พระเจ้าเนมิราชตรัสถามถึงกรรมของเหล่าเทพบุตรผู้เสวย

ทิพยสมบัติในวิมานนั้น ๆ มาตลีเทพสารถีได้ทูลบอกแล้ว

วิมานทองเป็นอันมากเหล่านี้ อันบุญญานุภาพ

ตกแต่งดีแล้ว ลอยอยู่ในนภากาศ ไพโรจน์โชติช่วง

ดังสายฟ้าในระหว่างก้อนเมฆฉะนั้น เทพบุตรทั้งหลาย

ผู้มีฤทธิ์มาก ประดับสรรพากรณ์ อันหมู่อัปสรห้อม-

ล้อม ผลัดเปลี่ยนเวียนอยู่ในวิมานนั้น ๆ โดยรอบ

ความปลื้มใจย่อมปรากฏแก่เรา เพราะได้เห็นความ

เป็นไปนั้น ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน

เทพบุตรเหล่ามิได้ทำความดีอะไรไว้ จึงถึงสวรรค์

บันเทิงอยู่ในวิมาน.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม ตามที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 292

ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลายแด่พระราชาผู้ไม่

ทรงทราบว่า เทพบุตรเหล่านี้เป็นสาวกของพระสัม-

มาสัมพุทธเจ้า มีศรัทธาตั้งมั่นในพระสัทธรรมที่พระ-

พุทธเจ้าให้รู้แจ้งแล้ว ได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของ

พระศาสดา ข้าแต่พระราชา ขอเชิญพระองค์ทอด

พระเนตรสถานที่สถิตของเทพบุตรเหล่านั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวหายสาเม ความว่า วิมานเหล่านั้น

ลอยอยู่ในนภากาศ พระเจ้าเนมิราชตรัสว่า วิมานที่ตั้งอยู่ในอากาศเหล่านี้

ตั้งอยู่ด้วยดีในอากาศนั่นเอง. บทว่า วิชฺชุวพฺภฆนนฺตเร ความว่า ราวกะ

ว่าสายฟ้าที่เดินอยู่ในระหว่างก้อนเมฆ. บทว่า สุวินิฏฺาย ความว่า ตั้งมั่น

ด้วยดีเพราะมาด้วยมรรค มีคำอธิบายว่า ข้าแต่มหาราช เทพบุตรเหล่านั้นบวช

ในศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้าซึ่งเป็นนิยยานิกธรรม ในกาลก่อน เป็นผู้มีศีล

บริสุทธิ์ บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ กระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ไม่อาจที่จะยัง

พระอรหัตให้บังเกิด จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในวิมานทองเหล่านี้ ข้าแต่

พระราชา สถานที่เหล่านั้นเป็นที่สถิตของสาวกของพระกัสสปพุทธเจ้าเหล่านั้น

ซึ่งพระองค์จะทอดพระเนตร ดังนั้น ขอเชิญพระองค์ทอดพระเนตรเถิด

พระเจ้าข้า.

มาตลีเทพสารถีนั้นแสดงวิมานที่ลอยอยู่ในอากาศ แต่พระเจ้าเนมิราช

อย่างนี้แล้ว เมื่อจะกระทำอุตสาหะเพื่อเสด็จไปสำนักของท้าวสักกเทวราช

จึงทูลว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า สถานที่อยู่ของผู้มีกรรมลามก

พระองค์ก็ทรงทราบแล้ว อนึ่ง สถานที่สถิตของผู้มี

กรรมอันงาม พระองค์ก็ทรงทราบแล้ว ข้าแต่พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 293

ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ขอเชิญพระองค์เสด็จขึ้นไป

ในสำนักของท่าวสักกเทวราช ในบัดนี้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาวาส ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

พระองค์ทอดพระเนตรที่อยู่ของเหล่าสัตว์นรกก่อนแล้วทรงทราบสถานที่อยู่ของ

ผู้มีกรรมลามกทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรวิมานที่ลอยอยู่ใน

อากาศเหล่านี้ ก็ทรงทราบสถานที่อยู่ของผู้มีกรรมอันงามแล้ว ขอเชิญพระองค์

เสด็จขึ้นทอดพระเนครทิพยสมบัติในสำนักของท้าวสักกเทวราชในบัดนี้เถิด.

ก็แลครั้นทูลอย่างนี้แล้ว มาตลีเทพสารถีก็ขับรถต่อไป แสดงสัตต-

ปริภัณฑบรรพต ซึ่งตั้งล้อมสิเนรุราชบรรพต พระศาสดาเมื่อจะตรัสการที่

พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นบรรพตเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามมาตลีเทพสารถี

ให้แจ้งชัด จึงตรัสว่า

พระเจ้าเนมิมหาราชประทับอยู่บนทิพยานอัน

เทียมม้าสินธพหนึ่งพันเสด็จไปอยู่ ได้ทอดพระเนตร

เห็นภูเขาทั้งหลายในระหว่างนทีสีทันดร ครั้นทอด

พระเนตรเห็นแล้ว ได้ตรัสถามเทพทูตมาตลีว่า ภูเขา

เหล่านี้ชื่ออะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสยุตฺต ความว่า เทียมด้วยม้า

สินธพพันหนึ่ง. บทว่า หยวาหึ ความว่า อันม้าทั้งหลายนำไป. บทว่า

ทิพฺพยานมธิฏฺิโต ความว่า เป็นผู้ประทับอยู่บนทิพยานเสด็จไป. บทว่า

อทฺทา แปลว่า ได้ทอดพระเนตรเห็นแล้ว. บทว่า สีทนฺตเร ได้แก่

ในระหว่างมหาสมุทรสีทันดร เล่ากันว่า น้ำในมหาสมุทรนั้นละเอียด โดยที่สุด

เพียงแววหางนกยูงที่โยนลงไป ก็ไม่อาจลอยอยู่ได้ ย่อมจมลงทีเดียว ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 294

มหาสมุทรนั้น จึงเรียกกันว่า มหาสมุทรสีทันดร ในระหว่างแห่งมหาสมุทร

สีทันดรนั้น. บทว่า นเค ได้แก่ ภูเขา. บทว่า เก นาม ความว่า

ภูเขาเหล่านี้ชื่ออะไร.

มาตลีเทพบุตรถูกพระเจ้าเนมิราชตรัสถามอย่างนี้แล้ว จึงทูลตอบว่า

ภูเขาใหญ่ทั้ง ๗ คือ ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขากรวีกะ

ภูเขาอิสินธระ ภูเขายุคันธระ ภูเขาเนมินธระ ภูเขา

วินตกะ และภูเขาอัสสกัณณะ ภูเขาเหล่านี้สูงขึ้นไป

โดยลำดับ อยู่ในมหาสมุทรสีทันดร เป็นที่อยู่ของ

ท้าวจาตุมหาราช ขอเชิญพระองค์ทอดพระเนตรเถิด

พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทสฺสโน ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

ภูเขานี้ชื่อสุทัสสนบรรพต อยู่ภายนอกภูเขาเหล่านั้นทั้งหมด ถัดภูเขาสุทัสสนะ

นั้น ชื่อภูเขากรวีกะ ภูเขากรวีกะนั้น สูงกว่าภูเขาสุทัสสนะ อนึ่ง ทะเลชื่อ

สีทันดรอยู่ในระหว่าง ๒ ภูเขานั้น ถัดภูเขากรวีกะ ชื่อภูเขาอิสินธระ ภูเขา

อิสินธระนั้นสูงกว่าภูเขากรวีกะ อนึ่ง ทะเลชื่อสีทันดรอยู่ในระหว่าง ๒ ภูเขา

นั้น ถัดภูเขาอิสินธระ ชื่อภูเขายุคันธระ ภูเขายุคันธระนั้นสูงกว่าภูเขาอิสินธระ

ทะเลชื่อสีทันดรอยู่ในระหว่าง ๒ ภูเขาแม้นั้น ถัดภูเขายุคันธระ ชื่อภูเขา

เนมินธระ ภูเขาเนนินธระนั้นสูงกว่าภูเขายุคันธระ ทะเลชื่อสีทันดรอยู่ในระหว่าง

๒ ภูเขาแม้นั้น ถัดภูเขาเนมินธระ ชื่อภูเขาวินตกะ ภูเขาวินตกะนั้นสูงกว่า

ภูเขาเนมินธระ ทะเลชื่อสีทันดรอยู่ในระหว่าง ๒ ภูเขาแม้นั้น ถัดภูเขาวินตกะ

ชื่อภูเขาอัลสกัณณะ ภูเขาอัสสกัณณะนั้นสูงกว่าภูเขาวินตกะ ทะเลชื่อสีทันดร

อยู่ในระหว่าง ๒ ภูเขาแม้นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 295

บทว่า อนุปุพฺพสมุคฺคตา ความว่า ภูเขาทั้ง ๗ เหล่านั้นสูงขึ้นไป

โดยลำดับในทะเลสีทันดร ดุจคั่นบันไดตั้งอยู่. บทว่า ยานิ ความว่า ข้าแต่

มหาราชเจ้า ขอเชิญพระองค์ทอดพระเนตรภูเขาเหล่านี้ ซึ่งเป็นที่อยู่ของ

ท้าวจาตุมหาราช (เทวดาผู้รักษาโลกประจำทิศทั้ง ๔ บางทีเรียกว่า ท้าวจตุ-

โลกบาล ได้แก่ ท้าวธตรฐ ประจำทิศบรูพา ท้าววิรุฬหก ประจำทิศทักษิณ

ท้าววิรูปักษ์ ประจำทิศประจิม ท้าวกุเวร ประจำทิศอุดร).

มาตลีเทพสารถีแสดงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชแด่พระเจ้าเนมิราชอย่าง

นี้แล้ว ขับรถต่อไป แสดงรูปเปรียบพระอินทร์ ซึ่งประดิษฐานล้อมซุ้ม

ประตูจิตตกูฏ แห่งดาวดึงสพิภพ พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นทวารนั้น

แล้วตรัสถาม แม้มาตลีเทพสารถีนอกนี้ก็ได้ทูลบอกแต่พระองค์

ประตูมีรูปต่าง ๆ รุ่งเรืองวิจิตรต่าง ๆ อันรูป

เช่นรูปสักรินทรเทวราชแวดล้อมรักษาดีแล้ว ดุจป่า

อันเสือโคร่งทั้งหลายรักษาดีแล้วฉะนั้น ย่อมปรากฏ

ความปลื้มใจย่อมปรากฏแก่เราเพราะได้เห็นประตูนี้

ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน ประตูนี้เขา

เรียกชื่อว่าอะไร เป็นประตูที่น่ารื่นรมย์ใจ เห็นได้

แต่ไกลทีเดียว.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม

ตามที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้พำบุญทั้งหลาย แด่

พระราชาผู้ไม่ทรงทราบว่า ประตูนี้เขาเรียกว่า จิตต-

กูฏ เป็นที่เสด็จเข้าออกของท้าวสักกเทวราช เพราะ

ประตูนี้เป็นประตูแห่งเทพนคร ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขา

สิเนรุราชอันงามน่าดูปรากฏอยู่ มีรูปต่าง ๆ รุ่งเรือง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 296

วิจิตรต่าง ๆ อันรูปเช่นรูปสักรินทรเทวราชแวดล้อม

รักษาดีแล้ว ดุจป่าอันเสือโคร่งทั้งหลายรักษาดีแล้ว

ฉะนั้น ย่อมปรากฏ ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณอัน

ยิ่งใหญ่ ขอเชิญพระองค์เสด็จเข้าไปทางประตูนี้ จง

ทรงเหยียบภูมิภาคอันราบรื่นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกรูป ได้แก่ มีชาติไม่น้อย. บทว่า

นานาจิตฺต ได้แก่ วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ. บทว่า ปกาสติ ความว่า

ประตูนี้ปรากฏว่าชื่ออะไร. บทว่า อากิณฺณ ความว่า แวดล้อมแล้ว. บทว่า

พฺยคฺเฆเหว สุรกฺขิต ความว่า ป่าใหญ่อันเสือโคร่งหรือราชสีห์ทั้งหลาย

รักษาดีแล้ว ฉันใด ประตูนี้อันรูปเช่นรูปพระอินทร์นั่นแลรักษาดีแล้วฉันนั้น

ก็ความที่รูปเปรียบพระอินทร์เหล่านั้นเข้าตั้งไว้เพื่อประโยชน์ในการอารักขา

พึงกล่าวในกลาวกชาดกในเอกนิบาต. บทว่า กิมภญฺมาหุ ความว่า เขาเรียก

ประตูนี้ว่าชื่ออะไร. บทว่า ปเวสน ความว่า สร้างไว้อย่างดีเพื่อประโยชน์.

เสด็จเข้าออก. บทว่า สุทสฺสนสฺส ความว่า เขาสิเนรุซึ่งงามน่าดู. บทว่า

ทฺวาร เหต ความว่า ประตูนี้เป็นประตูของเทพนคร กว้างยาวหมื่นโยชน์

ซึ่งประดิษฐานอยู่บนยอดเขาสิเนรุ. บทว่า ปกาสติ ความว่า ซุ้มประตูย่อม

ปรากฏ. บทว่า ปวิเสเตน ความว่า ขอเชิญเสด็จเข้านครทางประตูนี้. บทว่า

อรุช ภูมิ ปกฺกม ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอเชิญพระองค์ทรงเหยียบ

ทิพยภูมิภาคอันราบรื่นล้วนแล้วไปด้วยทองเงินและแก้วมณี มีบุปผชาตินานา-

ชนิดเกลื่อนกลาด ด้วยยานทิพย์

ก็แลครั้นทูลอย่างนี้แล้ว มาตลีเทพสารถีได้เชิญพระเจ้าเนมิราชเสด็จ

เข้าเทพนคร เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 297

พระเจ้าเนมิมหาราชประทับอยู่บนทิพยานอัน

เทียมม้าสินธพหนึ่งพันเสด็จไปอยู่ ได้ทอดพระเนตร

เห็นเทวสภานี้.

พระเจ้าเนมิราชนั้นประทับอยู่บนทิพยานเสด็จไป ได้ทอดพระเนตร

เห็นเทวสภาชื่อสุธรรมา จึงตรัสถามมาตลีเทพสารถี มาตลีเทพสารถีแม้นั้น

ก็ได้ทูลบอก

วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งแล้วนี้ ส่องแสง-

สว่างจากฝาแก้วไพฑูรย์ ราวกะอากาศส่องแสงเขียว

สดปรากฏในสรทกาล ฉะนั้น ความปลื้มใจย่อมปรากฏ

แต่เรา เพราะได้เห็นวิมานนี้ ดูก่อนมาตลีเทพสารถี

เราขอถามท่าน วิมานนี้เขาเรียกชื่อว่าอะไร.

มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำตรัสถาม ตาม

ที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชา

ผู้ไม่ทรงทราบว่า วิมานนี้นั้นเป็นเทวสภา มีนาม

ปรากฏว่าสุธรรมา ตามที่เรียกกัน รุ่งเรืองด้วยแก้ว

ไพฑูรย์งามวิจิตร อันบุญญานุภาพตกแต่งดีแล้ว มีเสา

ทั้งหลาย ๘ เหลี่ยมทำไว้ดีแล้ว ล้วนแล้วด้วยแก้ว

ไพฑูรย์ทุก ๆ เสา รองรับไว้ เป็นที่ซึ่งเทพเจ้าเหล่า

ดาวดึงส์ทั้งหมดมีพระอินทร์เป็นประมุข ประชุมกัน

คิดประโยชน์ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าแต่

พระราชาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ขอเชิญพระองค์

เสด็จเข้าไปสู่ที่เป็นที่อนุโมทนาของเทวดาทั้งหลาย

โดยทางนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

ฝ่ายเทวดาทั้งหลายนั่งคอยพระเจ้าเนมิราชเสด็จมา เทวดาเหล่านั้นได้

ฟังว่า พระเจ้าเนมิราชเสด็จมาแล้ว ต่างก็ถือของหอมธูปเครื่องอบและดอกไม้

ทิพย์ ไปคอยอยู่ที่ทางจะเสด็จมา ตั้งแต่ซุ้มประตูจิตตกูฏ บูชาพระมหาสัตว์

ด้วยของหอมและบุปผชาติเป็นต้น นำเสด็จสู่เทวสภาชื่อสุธรรมา พระเจ้า

เนมิราชเสด็จลงจากรถเข้าสู่เทวสภา เทวดาทั้งหลายในที่นั้นเชิญเสด็จให้

ประทับนั่งบนทิพยอาสน์. ท้าวสักกเทวราชเชิญเสด็จให้ประทับนั่งบนทิพยอาสน์

และเสวยทิพยกามสุข.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเมื่อความนั้น จึงตรัสว่า

เทวดาทั้งหลายเห็นพระเจ้าเนมิราชเสด็จมาถึง

ก็พากันยินดีต้อนรับว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์

เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้

ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ขอเชิญ

ประทับนั่งในที่ใกล้ท้าวสักกเทวราช ณ บัดนี้เถิด

ท้าวสักกเทวราช ทรงยินดีต้อนรับ พระองค์ผู้เป็นพระ.

ราชาแห่งชาววิเทหรัฐ ผู้ทรงสงเคราะห์ชาวกรุงมิถิลา

ท้าววาสวเทวราชทรงเชื้อเชิญให้เสวยทิพยกามารมณ์

เสด็จมาถึงทิพยสถาน อันเป็นที่อยู่ของเทวดาทั้งหลาย

ผู้ยังสิ่งที่ตนประสงค์ให้เป็นไปได้ตามอำนาจ ขอเชิญ

ประทับอยู่ในหมู่เทวดาผู้สำเร็จด้วยทิพยกามทั้งมวล

ขอเชิญเสวยทิพยกามารมณ์ในหมู่เทพเจ้าชาวดาวดึงส์

เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 299

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏินนฺทึสุ ความว่า ร่วมกันประพฤติ

เป็นที่รัก คือ ต่างยินดีร่าเริงต้อนรับ. บทว่า สพฺพกามสนิทฺธิสุ ได้แก่

ผู้ประกอบด้วยความสำเร็จทิพยกามารมณ์ทั้งปวง.

ท้าวสักกเทวราชเชิญเสด็จพระมหาสัตว์ให้เสวยทิพยกามารมณ์และให้

ประทับบนทิพยอาสน์อย่างนี้ พระเจ้าเนมิราชทรงสดับดังนั้น เมื่อจะดำรัสห้าม

จึงตรัสว่า

สิ่งใดที่ได้มาเพราะผู้อื่นให้ สิ่งนั้นเปรียบเหมือน

ยวดยานหรือทรัพย์ที่ยืมเขามา ฉะนั้น หม่อมฉันไม่

ปรารถนาสิ่งซึ่งผู้อื่นให้ บุญทั้งหลายที่หม่อนฉันทำเอง

ย่อมเป็นทรัพย์ที่จะติดตามหม่อมฉันไป หม่อมฉันจัก

กลับ ไปทำกุศลให้มากในหมู่มนุษย์ ด้วยการบริจาค

ทาน การประพฤติสม่ำเสมอ ความสำรวม และการ

ฝึกอินทรีย์ ซึ่งทำไว้แล้วจะได้ความสุข และไม่

เดือดร้อนในภายหลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย ปรโต ทานปจฺจยา ความว่า สิ่งใด

ที่ได้มาเพราะการให้แต่ผู้อื่น คือของผู้อื่นนั้นเป็นปัจจัย คือเพราะผู้อื่น

นั้นให้ สิ่งนั้น ย่อมเป็นเช่นกับของที่ยืมเขามา ฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่

ปรารถนาสิ่งนั้น. บทว่า สย กตานิ ความว่า ก็บุญทั้งหลายเหล่าใดที่

หม่อมฉันกระทำไว้ด้วยตน การกระทำบุญเหล่านั้นของหม่อมฉันนั้นแหละ

ไม่สาธารณะแก่คนเหล่าอื่น. บทว่า อาเวนิย ธน ได้แก่ ทรัพย์ที่ติดตามไป.

บทว่า สมจริยาย ได้แก่ ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอทางไตรทวาร. บทว่า

สญฺเมน ได้แก่ ด้วยการรักษาศีล. บทว่า ทเมน ได้แก่ ด้วยการฝึก

อินทรีย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 300

พระมหาสัตว์ทรงแสดงธรรม ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะแก่เทวดา

ทั้งหลายอย่างนี้ เมื่อทรงแสดงประทับอยู่ ๗ วัน โดยการนับในมนุษย์ ยังหมู่

เทพเจ้าให้ยินดีประทับอยู่ท่ามกลางหมู่เทวดานั่นเอง เมื่อจะทรงพรรณนาคุณ

แห่งมาตลีเทพสารถี จึงตรัสว่า

มาตลีเทพสารถีผู้เจริญ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่

หม่อมฉัน ได้แสดงสถานที่อยู่ของผู้มีธรรมอันงาม

และของผู้มีกรรมอันลามก แก่หม่อมฉัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย เม กลฺยาณกมฺมาน ปาปาน

ปฏิทสฺสยิ ความว่า มาตลีเทพสารถีนี้ได้แสดงสถานที่เป็นที่อยู่ของเทวดา

ทั้งหลายผู้มีกรรมอันงาม และสถานที่ของสัตว์นรกทั้งหลายผู้มีกรรมอันลามก

แก่หม่อมฉัน.

ลำดับนั้น พระเจ้าเนมิราชเชิญท้าวสักกเทวราชมาตรัสว่า ข้าแต่-

มหาราช หม่อมฉันปรารถนาเพื่อกลับไปมนุษยโลก ท้าวสักกเทวราชจึงมี

เทวโองการสั่งมาตลีเทพสารถีว่า ท่านจงนำพระเจ้าเนมิราชเสด็จกลับไปใน

กรุงมิถิลานั้นอีก มาตลีเทพสารถีรับเทวบัญชาแล้วได้จัดเทียมรถไว้ พระเจ้า

เนมิราชทรงบันเทิงกับหมู่เทวดาแล้วยังเหล่าเทวดาให้กลับ ตรัสอำลาแล้ว

เสด็จทรงรถ มาตลีเทพสารถีขับรถไปถึงกรุงมิถิลาทางทิศปราจีน มหาชนเห็น

ทิพยรถก็มีจิตบันเทิงว่า พระราชาของพวกเราเสด็จกลับแล้ว มาตลีเทพสารถี

ทำประทักษิณกรุงมิถิลา ยังพระมหาสัตว์ให้เสด็จลงที่สีหบัญชรนั้น แล้วทูลลา

กลับ ไปยังที่อยู่ของตนทีเดียว ฝ่ายมหาชนก็แวดล้อมพระราชาทูลถามว่า

เทวโลกเป็นเช่นไร พระเจ้า ข้าพระเจ้าเนมิราชทรงเล่าถึงสมบัติของเหล่าเทวดา

และของท้าวสักกเทวราชแล้วตรัสว่า แม้ท่านทั้งหลายก็จงทำบุญมีทานเป็นต้น

ก็จักบังเกิดในเทวโลกนั้นเหมือนกัน แล้วทรงแสดงธรรมแก่มหาชน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 301

ครั้นกาลต่อมา พระมหาสัตว์เนมิราชนั้น เมื่อภูษามาลากราบทูลความ

พี่พระเกศาหงอกเกิดขึ้น จึงทรงให้ถอนพระศกหงอกด้วยพระแหนบทองคำ

วางในพระหัตถ์ ทอดพระเนตรเห็นพระศกหงอกนั้นแล้วสลดพระหฤทัย

พระราชทานบ้านส่วยแก่ภูษามาลา มีพระราชประสงค์จะทรงผนวช จึงมอบ

ราชสมบัติแก่พระราชโอรส เมื่อพระราชโอรสทูลถามว่า พระองค์จักทรงผนวช

เพราะเหตุไร เมื่อจะตรัสบอกเหตุแก่พระราชโอรส จึงตรัสคาถาว่า

ผมหงอกที่งอกขึ้นบนเศียรของพ่อเหล่านี้ เกิด

แล้วก็นำความหนุ่มไปเสีย เป็นเทวทูตปรากฏแล้ว สมัย

นี้จึงเป็นคราวที่พ่อจะบวช.

พระเจ้าเนมิราชตรัสคาถาแล้ว เป็นเหมือนพระราชาองค์ก่อน ๆ

ทรงผนวชแล้วประทับอยู่ ณ อัมพวันนั้นนั่นเอง เจริญพรหมวิหาร ๔ มีฌาน

ไม่เสื่อม ได้เป็นผู้บังเกิดในพรหมโลก พระศาสดาเมื่อจะทรงทำให้แจ้งซึ่ง

ความที่พระเจ้าเนมิราชนั้นทรงผนวชแล้ว จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า

พระเจ้าเนมิราชราชาแห่งแคว้นวิเทหะ ผู้ทรง

อนุเคราะห์ชาวมิถิลา ตรัสคาถานี้แล้ว ทรงบูชายัญ

เป็นอันมาก ทรงเข้าถึงความเป็นผู้สำรวมแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท วตฺวา ความว่า ตรัสคาถานี้ว่า

อุตฺตมงฺครุหา มยฺห ดังนี้เป็นต้น. บทว่า ปุถุยญฺ ยชิตฺวาน ได้แก่

ถวายทานเป็นอันมาก. บทว่า สญฺม อชฺฌุปาคมิ ความว่า ทรงเข้าถึง

ความสำรวมในศีล ฝ่ายพระราชโอรสของพระเจ้าเนมิราชนั้น มีพระนามว่า

กาลารัชชกะ ตัดวงศ์นั้น (คือเมื่อถึงคราวพระศกหงอกและทราบแล้วหาทรง

ผนวชไม่).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 302

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ตถาคตออกมหาภิเนษกรมณ์ แม้ในกาล

ก่อน ตถาคตก็ออกมหาภิเนษกรมณ์เหมือนกัน ตรัสฉะนั้นแล้ว ทรงประกาศ

จตุราริยสัจ ประชุมชาดก ท้าวสักกเทวราช ในครั้งนั้น กลับชาติมาเกิดเป็น

ภิกษุชื่ออนุรุทธะในกาลนี้ มาตลีเทพสารถีเป็นภิกษุชื่ออานนท์ กษัตริย์

๘๔,๐๐๐ องค์ เป็นพุทธบริษัท ก็เนมิราช คือเราผู้สัมมาสัมพุทธะนี่เองแล.

จบ เนมิราชชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 303

๕. มโหสถชาดก

ว่าด้วยพระมโหสถบัณฑิตทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี

[๖๐๐] ดูก่อนพ่อมโหสถ พระเจ้าจุลนีพรหมทัต

เจ้ากรุงปัญจาละเสด็จยาตราทัพมาพร้อมด้วยกองทัพ

ทุกหมู่เหล่า กองทัพของพระเจ้ากรุงปัญจาละนี้นั้นพึง

ประมาณไม่ได้ มีกองช่างโยธา กองราบ ล้วนแต่

ฉลาดในสงความทั้งปวง สามารถจะนำข้าศึกมาได้

มีเสียงอื้ออึง ยังกันและกันให้รู้ด้วยเสียงกลอง และ

เสียงสังข์

มีวิทยาทางโลหธาตุ มีเครื่องประดับ มีธงเกลื่อน

กล่นด้วยช้างม้า สมบูรณ์ด้วยเหล่าคนมีศิลป์ ตั้งมั่น

ด้วยดีด้วยเหล่าทหารผู้แกล้วกล้า

กล่าวกันว่า ในกองทัพนี้ มีราชบุรุษ ๑๐ คน

เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา ประชุมปรึกษากันในที่ลับ

พระชนนีของพระเจ้าจุลนีพรหมทัต เป็นที่ ๑๑ ย่อม

ทรงสั่งสอนชาวปัญจาละนครที่นั้น บรรดาชนเหล่านี้

พระราชาร้อยเอ็ดผู้เรืองยศ ตามเสด็จพระเจ้าปัญจาล-

ราช ถูกชิงแว่นแคว้น กลัวมรณภัย ตกอยู่ในอำนาจ

ของชาวปัญจลนคร เป็นผู้ทำตามพระราชกระแสที่

ดำรัส ไม่มีความปรารถนาก็จำต้องกล่าวเป็นที่รักตาม

เสด็จพระเจ้าปัญจาลราช เป็นผู้มีอำนาจมาก่อน ไม่มี

ความปรารถนาก็ต้องอยู่ในอำนาจของพระเจ้าปัญจาล-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 304

ราช กรุงมิถิลาถูกกองทัพนั้นแวดล้อมเป็น ๓ ชั้น

ราชธานีของชาววิเทหรัฐถูกขุดเป็นคูโดยรอบ กองทัพ

ที่แวดล้อมกรุงมิถิลาโดยรอบนั้น ปรากฏเหมือนดาว

บนท้องฟ้า ดูก่อนพ่อมโหสถ พ่อจงรู้ว่า พวกเราจัก

พ้นทุกข์ได้อย่างไร.

[๖๐๑] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์

ทรงเหยียดพระยุคลบาทให้ผาสุก เชิญเสวย และรื่น

รมย์ในกามสมบัติเถิด พระเจ้าจุลนีพรหมทัตจะละ

กองทัพชาวปัญจาละหนีไป.

[๖๐๒] พระราชามีพระราชประสงค์จะทรงทำ

สันถวไมตรี จะประทานรัตนะทั้งหลายแด่พระองค์ แต่

นี้ไป ทูตทั้งหลายผู้มีวาจาไพเราะ กล่าวคำที่น่ารัก

จงมา จงกล่าววาจาอันอ่อนหวาน เป็นวาจาที่น่ายินดี

ปัญจาลรัฐและวิเทหรัฐทั้งสองนั้น จงเป็นอันหนึ่งอัน

เดียวกัน.

[๖๐๓] ดูก่อนอาจารย์เกวัฏ ท่านได้พบกับมโห-

สถเป็นอย่างไรหนอ เชิญกล่าวข้อความนั้นเถิด

มโหสถกับท่านต่างงดโทษกันแล้วกระมัง มโหสถ

ยินดีแล้วกระมัง.

[๖๐๔] ข้าแต่พระจอมประชากร บุรุษที่ชื่อ

มโหสถ เป็นคนเลว ไม่น่าชื่นชม กระด้าง มิใช่

สัตบุรุษ ไม่พูดอะไรสักคำ เหมือนคนใบ้ คล้ายคน

หนวก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 305

[๖๐๕] บทมนต์นี้เห็นได้แสนยากโดยแท้ ข้อ

ความที่ดีอันพระผู้มีความเพียรเห็นแล้ว ความจริง กาย

ของเราก็หวั่นไหว ใครจักละแคว้นของตนไปสู่เงื้อม

มือของคนอื่นเล่า.

[๖๐๖] พวกเราทั้ง ๖ คนเป็นบัณฑิต มีปัญญา

สูงสุดดุจแผ่นดิน มีมติสมอกันเป็นเอกฉันท์ทีเดียว

พ่อมโหสถ แม่เจ้าก็จงทำมติว่า ไปหรือไม่ไป หรืออยู่.

[๖๐๗] ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์ทรงทราบ

พระเจ้าจุลนีพรหมทัตทรงมีอานุภาพมาก มีพลมาก

ก็พระราชานั้นปรารถนาเพื่อปลงพระชนมชีพของพระ

องค์ ดุจนายพรานฆ่ามฤคด้วยมฤคีฉะนั้น.

ปลาอยากกินของสดคือเหยื่อ ย่อมกลืนเบ็ดที่

คดซึ่งปกปิดไว้ด้วยเนื้ออันเป็นเหยื่อ มันย่อมไม่รู้จัก

ความตายของมัน ฉันใด ข้าแต่พระราชา พระองค์

ทรงปรารถนากาม ย่อมไม่ทรงทราบพระธิดาของพระ

เจ้าจุลนี เหมือนปลาไม่รู้จักความตายของตนฉะนั้น

ข้าพระองค์เสด็จไปยังปัญจาลนคร จักต้องสละพระ-

องค์ทันที ภัยใหญ่จักถึงพระองค์ ดุจภัยมาถึงมฤคตัว

ตามไปถึงทางประตูบ้าน ฉะนั้น.

[๖๐๘] พวกเรานี่แหละเป็นคนเขลา บ้าน้ำลาย

ที่กล่าวถึงเหตุแห่งการได้รัตนะอันสูงสุด ในสำนักเจ้า

เจริญด้วยทางไถ จะรู้จักความเจริญเหมือนคนอื่นเขา

ได้อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 306

[๖๐๙] ท่านทั้งหลายจงไสคอมโหสถนี้ให้หาย

ไปเสียจากแว่นแคว้นของเรา เพราะเขาพูดเป็น

อันตรายแก่การได้รัตนะของเรา.

[๖๑๐] แต่นั้น มโหสถบัณฑิตได้หลีกไปจาก

ราชสำนักของพระเจ้าวิเทหราช ทีนั้นได้เรียกนก

สุวบัณฑิต ชื่อ มาธุระ ตัวเป็นทูตมาสั่งว่า แน่ะสหาย

ตัวมีปีกเขียว เจ้าจงมาทำการขวนขวายเพื่อเรา นาง

นกสาลิกาที่เขาเลี้ยงไว้ ณ ที่บรรทมของของพระเจ้า

ปัญจาลราชมีอยู่ ก็นางนักนั้นเป็นนกฉลาดในสิ่งทั้ง

ปวง เจ้าจงถามนางนกนั้นโดยพิสดาร นางนกนั้น

รู้ความลับทุกอย่างของพระเจ้าปัญจาลราช และของ

พราหมณ์เกวัฏผู้โกสิยโคตรทั้งสองนั้น นกสุวบัณฑิต

ชื่อมาธุระ ตัวนี้ปีกเขียวรับคำมโหสถว่า เออ แล้วได้ไป

สู่สำนักนางนกสาลิกา แต่นั้นนกสุวบัณฑิตชื่อมาธุระ

นั้น ครั้นไปถึงแล้ว ได้เรียกนางนกสาลิกาตัวมีกรงงาม

พูดเพราะ มาถามว่า เธอพออดทนอยู่ในกรงงาม

ดอกหรือ เธอมีความผาสุกในเพศดอกหรือ ข้าวตอก

กับน้ำผึ้งเธอได้ในกรงงามของเธอดอกหรือ ดูก่อน

สหายสุวบัณฑิต ความสุขมีแก่ฉัน และความสบายก็

มี อนึ่ง ข้าวตอกกับน้ำผึ้งฉันก็ได้เพียงพอ ดูก่อน

สหาย ท่านมาแต่ไหน หรือว่าใครใช้ท่านมา ก่อน

แต่นี้ฉันไม่เคยเห็นท่าน หรือไม่ได้ยินเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 307

[๖๑๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่เขาเลี้ยงไว้ในที่บรรทม

ปราสาทของพระเจ้าสีวิราช พระราชาพระองค์นั้น

เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม โปรดให้ปล่อยสัตว์ทั้งหลายที่ถูก

ขังจากที่ขังนั้น ๆ นางนกสาริกาตัวหนึ่งพูดอ่อนหวาน

เป็นภรรยาของฉัน เหยี่ยวได้ฆ่านางนกสาลิกานั้นเสีย

ในต้องที่บรรทม ต่อหน้าฉันผู้อยู่ในกรงงามซึ่งเห็น

อยู่ ฉันรักใคร่ต่อเธอจึงมาในสำนักของเธอ ถ้าเธอ

พึงให้โอกาส เราทั้งสองก็จะได้อยู่ร่วมกัน.

[๖๑๒] นกแขกเต้าก็พึงรักใคร่กับนางนกแขก

เต้า นกสาลิกาก็พึงรักใคร่กับนางนกสาลิกา การที่

นกแขกเต้าจะอยู่ร่วมกับนางนกสาลิกา ดูกระไรอยู่.

[๖๑๓] เออก็ผู้ใดใคร่ในกามกับนางจัณฑาล ผู้

นั้นทั้งหมดย่อมเป็นเช่นกับนางจัณฑาลนั้น เพราะว่า

บุคคลไม่เป็นเช่นเดียวกัน ในเพราะกามย่อมไม่มี.

พระราชมารดาของพระเจ้าสีวิ พระนามว่า

ชัมพาวดี มีอยู่ พระนางเป็นหญิงจัณฑาล ได้เป็น

พระมเหสีที่รักของพระเจ้าวาสุเทพกัณหโคตร

กินรีชื่อรัตนวดีมีอยู่ แม้นางก็ได้ร่วมรักกะดาบส

ชื่อวัจฉะ มนุษย์ทั้งหลายย่อมร่วมอภิรมย์กับมฤดีก็มี

มนุษย์และสัตว์ไม่เป็นเช่นเดียวกัน ในเพราะกามย่อม

ไม่มี เอาเถอะ แม่สาลิกาตัวพูดเพราะ ฉันจักไปละ

เพราะถ้อยคำของเธอนั้นเป็นเหตุให้รู้ประจักษ์ เธอ

ดูหมิ่นฉันนัก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 308

[๖๑๔] ดูก่อนมาธุรสุวบัณฑิต สิริย่อมไม่มีแก่

ผู้ด่วนได้ ขอเชิญท่านอยู่ ณ ที่นี้จนกว่าจะได้เห็น

พระราชา จนได้ฟังเสียงตะโพน และได้เห็นอานุภาพ

ของพระราชา.

[๖๑๕] เสียงเซ็งแซ่นี้ฉันได้ยินภายนอกชนบท

ว่า พระราชธิดาของพระเจ้าปัญจาลราชมีพระฉวี-

วรรณดังดาวประกายพรึก พระเจ้ากรุงปัญจาลราช

จักถวายพระราชธิดานั้นแก่ชาววิเทหรัฐ คือจักมีการ

อภิเษกระหว่างพระวิเทหราชกับพระราชธิดานั้น.

[๖๑๖] แน่ะมาธุระ การที่เหล่าอมิตรทำวิวาห-

มงคลเช่นนี้ เหมือนกับการที่พระเจ้าปัญจาลราชจักทำ

วิวาหมงคลพระราชธิดากับพระเจ้าวิเทหราช ขออย่า

ได้มีเลย.

พระราชาผู้เป็นจอมทัพแห่งชาวปัญจาละ จัก

ทรงนำพระเจ้าวิเทหราชมาแล้ว แต่นั้นก็จักฆ่าพระ-

เจ้าวเทหราชเสีย เพราะพระเจ้าจุลนี มิใช่สหายของ

พระเจ้าวิเทหราช.

[๖๑๗] เอาเถิด เธอจงอนุญาตให้ฉันไปสัก ๗

ราตรี เพียงให้ฉันได้กราบทูลพระเจ้าสีวิราช และ

พระมเหสีว่า ฉันได้อยู่ในสำนกของนางนกสาลิกา

แล้ว.

[๖๑๘] เอาเถิด ฉันอนุญาตให้ท่านไปประมาณ

๗ ราตรี ถ้าท่านไม่กลับมายังสำนักของฉันโดย ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 309

ราตรี ฉันจะสำคัญตัวฉันว่า หยั่งลงแล้ว สงบแล้ว

ท่านจักมาในเมื่อฉันตายแล้ว.

[๖๑๙] ลำดับนั้นแล นกมาธุรสุวบัณฑิตได้บิน

ไปแจ้งแก่มโหสถว่านี้เป็นคำของนกสาริกา.

[๖๒๐] บุคคลบริโภคสมบัติในเรือนของผู้ใด

พึงประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ผู้นั้นทีเดียว.

[๖๒๑] ข้าแต่พระจอมประชาชน เอาเถิด

ข้าพระองค์ จักไปสู่ปัญจาลบุรีที่น่ารื่นรมย์ดีก่อน เพื่อ

สร้างพระราชนิเวศน์ถวายแด่พระเจ้าวิเทหราชผู้ทรง

ยศ ข้าแต่จอมกษัตริย์ ครั้นข้าพระองค์สร้างพระ

ราชนิเวศน์ถวายแล้ว ส่งข่าวมากราบทูลพระองค์เมื่อ

ใด พระองค์พึงเสด็จไปเมื่อนั้น.

[๖๒๒] ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตได้ไปสู่บุรีที่

น่ารื่นรมย์ดี ของพระเจ้าปัญจาลราชก่อน เพื่อสร้าง

พระราชนิเวศน์ถวายพระเจ้าวิเทหราชผู้ทรงยศ มโห-

สถสร้างพระราชนิเวศน์เพื่อพระเจ้าวิเทหราชผู้ทรงยศ

เสร็จแล้ว ภายหลังจึงส่งทูตทูลพระเจ้าวิเทหราชว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอเชิญพระองค์เสด็จมาบัดนี้

พระราชนิเวศน์ที่สร้างเพื่อพระองค์สำเร็จแล้ว.

[๖๒๓] ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชพร้อมด้วย

จตุรงคเสนาเสด็จไปสู่นครอันมั่งคั่ง ที่มโหสถสร้างไว้

ในแคว้นกัปปิละ เพื่อทอดพระเนตรพาหนะอันหา

ที่สุดมิได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

[๖๒๔] ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปถึง

แคว้นกัปปิละแล้ว ทรงส่งพระราชสาสน์ไปถวายพระ

เจ้าจุลนีพรหมทัตว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หม่อมฉัน

มาเพื่อถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์ ขอพระ-

องค์โปรดพระราชทานพระราชธิดาผู้งดงามทั่วองค์

ประดับด้วยราชาลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อมล้อมด้วย

หมู่นางข้าหลวง ให้เป็นมเหสีของหม่อมฉัน ณ บัดนี้

เถิด.

[๖๒๕] ดูก่อนพระเจ้าวิเทหราช พระองค์เสด็จ

มาดีแล้วเสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้พระองค์หาฤกษ์

อาวาหมงคลไว้ หม่อมฉันจะถวายพระราชธิดาประดับ

ด้วยราชาลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อมล้อมด้วยหมู่นาง

ข้าหลวงแก่พระองค์.

[๖๒๖] ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชก็ได้ทรงหา

พระฤกษ์ ครั้นหาพระฤกษ์ได้แล้ว จึงได้ทรงส่งพระ-

สาสน์ไปถวายพระเจ้าพรหมทัตว่า ขอพระองค์โปรด

พระราชทานพระราชธิดาผู้งดงามทั่วองค์ ประดับด้วย

ราชาลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อมล้อมด้วยหมู่นางข้า-

หลวง ให้เป็นมเหสีของหม่อมฉัน บัดนี้เถิด.

[๖๒๖] หม่อมฉันจะถวายพระราชธิดาผู้งดงาม

ทั่วองค์ ประดับด้วยราชาลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อม-

ล้อมด้วยหมู่นางข้าหลวง แด่พระองค์ในบัดนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

[๖๒๘] กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ

อันเป็นกองทัพสวมเกราะตั้งอยู่ จุดคบเพลิงสว่างไสว

บัณฑิตทั้งหลายย่อมสำคัญอย่างไรกันหนอ.

[๖๒๙] กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ

อันเป็นกองทัพสวมเกราะตั้งอยู่ จุดคบเพลิงสว่างไสว

ดูก่อนมโหสถบัณฑิต พวกนั้นจักทำอะไรกันหนอ.

[๖๓๐] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระเจ้าจุลนี-

พรหมทัตมีกำลังมาก ล้อมพระองค์ไว้ ประทุษร้าย

พระองค์ รุ่งเช้าจักปลงพระชนม์พระองค์.

[๖๓๑] ใจของข้าสั่น และปากก็แห้งผาก เรา

เป็นเหมือนถูกไฟไหม้กลางแดด ไม่บรรลุถึงความ

เย็นใจ เตาของช่างทองรุ่งเรืองภายใน ไม่รุ่งเรือง

ภายนอก ฉันใด ใจของเราย่อมเร่าร้อนอยู่ภายใน

ไม่ปรากฏภายนอก ฉันนั้น.

[๖๓๒] ข้าแต่บรมกษัตริย์ พระองค์เป็นผู้

ประมาทแล้ว เป็นไปล่วงความคิด มีความคิดทำลาย

เสียแล้ว บัดนี้บัณฑิตทั้ง ๔ ผู้มีความคิดจงป้องกัน

พระองค์เถิด พระองค์ไม่ทรงทำตามคำของข้าพระองค์

ผู้เป็นอมาตย์ใคร่ประโยชน์แสวงหาความเกื้อกูล ทรง

ยินดีแล้วด้วยพระปีติอันเศร้าหมองของพระองค์ ดุจ

มฤคตกหลุมฉะนั้น ปลาอยากกินของสดคือเหยื่อย่อม

กลืนเบ็ดอันงอ ซึ่งปิดไว้ด้วยเนื้ออันเป็นเหยื่อ มันย่อม

ไม่รู้ความตายของตน ฉันใด ข้าแต่พระราชา พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 312

องค์เป็นผู้มีความปรารถนาในกาม ย่อมไม่ทรงทราบ

พระราชธิดาของพระเจ้าจุลนีผู้เป็นดุจเหยื่อ ราวกะ

ปลาไม่รู้จักเหยื่อคือความตายของตน ฉันนั้นนั่นเทียว

ถ้าพระองค์เสด็จนครปัญจาละ จักต้องสละพระองค์

ทันที ภัยใหญ่จักถึงพระองค์ ดุจภัยมาถึงมฤคตัวตาม

ไปถึงทางประตูบ้านฉะนั้น ข้าแต่พระจอมประชากร

บุรุษผู้ไม่ประเสริฐ เป็นเหมือนงูอยู่ในพกพึงกัดเอา

ผู้มีปัญญาไม่พึงทำไมตรีกับบุรุษเช่นนั้น เพราะการคบ

บุรุษชั่ว เป็นทุกข์โดยแท้ ข้าแต่พระจอมเกล้าประชากร

บุรุษผู้มีศีล เป็นพหูสูตนี้ พึงรู้คุณแห่งไมตรีใด ผู้มี

ปัญญาพึงทำไมตรีนั้นกับบุรุษนั้นนั่นเทียว เพราะการ

คบสัตบุรุษทั้งหลาย เป็นสุขโดยแท้.

[๖๓๓] ข้าแต่พระราชา พระองค์เป็นคนเขลา

บ้าน้ำลาย ที่กล่าวถึงเหตุแห่งการได้รัตนะสูงสุดใน

สำนักข้าพระองค์ ข้าพระองค์เจริญด้วยหางไถจะรู้จัก

ความเจริญเหมือนคนอื่นเขาได้อย่างไร ท่านทั้งหลาย

จงไสคอมโหสถนี้ ให้หายไปเสียจากแว่นแคว้นของเรา

เพราะเขาพูดเป็นอันตรายแต่การได้รัตนะของเรา.

[๖๓๔] ดูก่อนมโหสถ บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่

ทิ่มแทงเพราะโทษที่ล่วงไปแล้ว เจ้ามาทิ่มแทงข้าดุจ

ม้าที่เขาผูกไว้ด้วยประดับทำไม ถ้าเห็นว่าเราจะพ้นภัย

ได้ หรือเห็นว่าเราจะปลอดภัยได้ ก็จงสั่งสอนเราโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 313

ความสวัสดีนั้นแหละ เจ้าจะทิ่มแทงเราเพราะโทษที่

ล่วงไปแล้วทำไม.

[๖๓๕] ข้าแต่บรมกษัตริย์ กรรมของมนุษย์ที่

เป็นไปล่วงแล้ว ทำได้ยาก เป็นแดนเกิดที่ยินดีได้ยาก

ข้าพระองค์ไม่สามารถจะปลดเปลื้องพระองค์ได้ ขอ

พระองค์ทรงทราบเองเถิด ช้าง ม้า นก ยักษ์ ผู้มี

ฤทธิ์ มียศ สามารถไปได้ทางอากาศมีอยู่ ช้างเป็นต้น

ผู้มีอิทธานุภาพเห็นปานนั้น ที่พระองค์มีอยู่ แม้เหล่านั้น

ก็พึงพาพระองค์ไปได้ ข้าแต่บรมกษัตริย์ กรรมของ

มนุษย์ที่เป็นไปล่วงแล้ว ทำได้ยาก เป็นแดนเกิดที่

ยินดีได้ยาก ข้าพระองค์ไม่สามารถจะปลดเปลื้อง

พระองค์โดยทางอากาศได้.

[๖๓๖] บุรุษผู้ยังไม่เห็นฝั่งในมหาสมุทร ได้ที่

พำนักในประเทศใด เขาย่อมได้ความสุขในประเทศ

นั้น ฉันใด ท่านมโหสถ ขอท่านได้เป็นที่พึ่งของ

พวกเราและของพระราชา ฉันนั้น ท่านเป็นประเสริฐ

สุดกว่าพวกข้าพเจ้าเหล่ามนตรี ขอท่านช่วยปลดเปลื้อง

พวกเราจากทุกข์เถิด.

[๖๓๗] ท่านอาจารย์เสนกะ กรรมของมนุษย์

ที่เป็นไปล่วงแล้วทำได้ยาก เป็นแดนเกิดที่ยินดีได้ยาก

ข้าพเจ้าไม่สามารถจะปลดเปลื้องท่านได้ ขอท่านจง

ทราบเอาเองเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

[๖๓๘] ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็นภัย

ใหญ่นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์เสนกะ ท่าน

จะสำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.

[๖๓๙] พวกเราจงเอาไฟเผาเสียตั้งแต่ประตูหรือ

จงจับมีดฆ่ากันและกันละชีวิตเสียพลัน อย่าทันให้

พระราชาพรหมทัตฆ่าพวกเราให้ลำบากนาน.

[๖๕๐] ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็นภัย

ใหญ่นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์ปุกกุสะ

ท่านจะสำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.

[๖๕๑] พวกเราควรกินยาพิษตายละชีวิตเสีย-

พลัน อย่าทันให้พระราชพรหมทัตฆ่าพวกเราให้

ลำบากนาน.

[๖๕๒] ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็น

ภัยใหญ่นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์กามินทะ

ท่านจะสำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.

[๖๕๓] พวกเราพึงเอาเชือกผูกให้ตาย หรือโดด

ลงบ่อให้ตายเสีย อย่าทันให้พระราชาพรหมทัตฆ่า

พวกเราให้ลำบากเลย.

[๖๕๔] ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็น

ภัยใหญ่นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์เทวินทะ

ท่านจะสำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.

[๖๕๕] พวกเราจงเอาไฟเผาเสียตั้งแต่ประตู

หรือจงจับมีดฆ่ากันและกันละชีวิตเสียพลัน ถ้ามโหสถ

ไม่สามารถจะปลดเปลื้องพวกเราโดยง่าย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 315

[๖๕๖] บุคคลแสวงหาแก่นของต้นกล้วย ย่อม

ไม่ได้ฉันใด เราทั้งหลายแสวงหาอุบายเครื่องพ้นจาก

ทุกข์ ก็ย่อมไม่ประสบปัญหานั้น ฉันนั้น บุคคล

แสวงหาแก่นแห่งไม้งิ้วย่อมหาไม่ได้ฉันใด เราทั้งหลาย

แสวงหาอุบายเครื่องพ้นจากทุกข์ย่อมไม่ประสบปัญหา

นั้น ฉันนั้น การอยู่ของช้างทั้งหลายในสถานที่ไม่มี

น้ำ ชื่อว่าอยู่ในที่นี้ใช่ประเทศ เพราะว่าช้างเหล่านั้น

อยู่ในสถานที่อันไม่มีน้ำ ชื่อว่ามิใช่ประเทศ ย่อมตก

อยู่ในอำนาจของปัจจามิตรเร็วพลัน ฉันใด แม้การที่

เราทั้งหลายอยู่ในที่ใกล้ของมนุษย์ชั่ว เป็นคนพาลหา

ความรู้มิได้ ก็ชื่อว่าอยู่ในสถานที่มิใช่ประเทศ ฉันนั้น

ใจของเราสั่น และปากก็แห้งผาก เราเป็นเหมือนถูก

ไฟไหม้กลางแดด ได้บรรลุถึงความเย็นใจ เตาของ

ช่างทองรุ่งเรืองภายใน ไม่รุ่งเรืองภายนอก ฉันใด

ใจของเราย่อมเร่าร้อนอยู่ภายใน ไม่ปรากฏภายนอก

ฉันนั้น.

[๖๔๗] แต่นั้นมโหสถผู้เป็นบัณฑิตที่ปัญญาเห็น

ประโยชน์ เห็นพระเจ้าวิเทหราชถึงความทุกข์ จึงได้

กราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์

อย่าตกพระหฤทัยกลัวเลย ข้าแต่พระองค์ผู้องอาจใน

ทางรถ ขอพระองค์อย่าตกพระหฤทัยกลัวเลย ข้าพระ-

องค์จักเปลื้องพระองค์ผู้ดุจดวงจันทร์ หรือดวงอาทิตย์

อันราหูจับแล้ว หรือดุจช้างจมติดในเปือกตม หรือดุจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 316

งูติดอยู่ในกระโปรง หรือดุจนกติดอยู่ในกรง หรือ

เหล่าปลาอยู่ในข่าย ผู้มีพลและพาหนะคุมล้อมอยู่

ให้พ้นจากความลำเค็ญ ข้าพระองค์จักยังกองทัพปัญ-

จาละให้หนีไป ดุจไล่ฝูงกาด้วยก้อนดิน ข้าพระองค์

มิได้เปลื้องพระองค์ผู้เสด็จอยู่ในที่คับขันให้พ้นจาก

ทุกข์ ชื่อว่าปัญญาของข้าพระองค์นั้นจะมีประโยชน์

อะไร หรือบุคคลเป็นข้าพระองค์นั้นเป็นอมาตย์ จะมี

ประโยชน์อะไร.

[๖๔๘] แน่ะพ่อหนุ่ม ๆ พวกเจ้าจงลุกมา จง

เปิดประตูอุโมงค์ ประตูห้องติดต่อเครื่องยนต์ พระ-

เจ้าวิเทหราชพร้อมด้วยเหล่าอมาตย์ จักเสด็จไปโดย

อุโมงค์.

[๖๔๙] พวกคนรับใช้ของมโหสถบัณฑิต ได้ฟัง

คำของมโหสถแล้ว จึงเปิดประตูอุโมงค์ และเครื่อง

สลักห้ามอันประกอบด้วยยนต์.

[๖๕๐] เสนกะเดินไปก่อน มโหสถเดินไปข้าง

หลัง พระเจ้าวิเทหราชเสด็จดำเนินไปท่ามกลางพร้อม

ด้วยอมาตย์ห้อมล้อมเป็นราชบริพาร.

[๖๕๑] พระเจ้าวิเทหราช เสด็จออกจากอุโมงค์

ขึ้นสู่เรือแล้ว มโหสถรู้ว่าพระองค์ขึ้นสู่เรือแล้ว ได้

ถวายอนุศาสน์ว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระเจ้าจุลนี

พรหมทัตนี้เป็นพระสัสสุระของพระองค์ ข้าแต่พระ-

จอมประชากร พระนางนันทาเทวีนี้เป็นพระสัสสูของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

พระองค์ การปฏิบัติพระราชมารดาของพระองค์อย่าง

ใด จงมีแก่พระสัสสูของพระองค์อย่างนั้น ข้าแต่

พระราชา พระเชษฐภาดาร่วมพระอุทรพระมารดา

เดียวกันโดยตรงของพระองค์ทรงรักใคร่อย่างใด

พระปัญจาลจันทราชกุมาร พระองค์ควรทรงรักใคร่

อย่างนั้น พระนางปัญจาลจันทีนี้ เป็นพระราชบุตรี

ของพระเจ้าพรหมทัตที่พระองค์ทรงปรารถนา พระ-

องค์จงทำความใคร่ของพระองค์แก่พระนาง พระนาง

จงเป็นพระมเหสีของพระองค์.

[๖๕๒] ดูก่อนมโหสถ เจ้าจงรีบขึ้นเรือ เจ้าจะ

ยืนอยู่ริมฝั่งคงคาทำไมหนอ เราทั้งหลายพ้นจากทุกข์

แล้วโดยยาก จงไปบัดนี้เถิด.

[๖๕๓] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า การที่ข้าพระองค์

ผู้เป็นนายกแห่งเสนา มาทอดทิ้งเสนางคนิกรเสีย เอา

แต่ตัวรอด หาชอบไม่ ข้าพระองค์จักนำมา ซึ่ง

เสนางคนิกรในกรุงมิถิลาที่พระองค์ละไว้ และสิ่ง

ของที่พระเจ้าพรหมทัตประทานแล้ว.

[๖๕๔] ดูก่อนบัณฑิต เจ้าเป็นผู้มีเสนาน้อย

จักข่มพระเจ้าจุลนีผู้มีเสนามากตั้งอยู่อย่างไร เจ้าเป็น

ไม่มีกำลัง จักลำบากด้วยพระเจ้าจุลนีผู้มีกำลัง.

[๖๕๕] ถ้าบุคคลมีความคิด แม้มีเสนาน้อย

ย่อมชนะบุคคลผู้ไม่มีความคิด ที่มีเสนามากได้ พระ-

ราชาพระองค์เดียว ย่อมชนะพระราชาทั้งหลายได้ ดุจ

ดวงอาทิตย์อุทัยกำจัดความมืด ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

[๖๕๖] แน่ะเสนกาจารย์ การอยู่ร่วมด้วยเหล่า

บัณฑิตเป็นสุขดีหนอ เพราะว่ามโหสถปลดเปลื้อง

พวกเราผู้ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้อง

ฝูงนกที่ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแห ฉะนั้น.

[๖๕๗] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บัณฑิตทั้งหลาย

นำความสุขมาแท้จริงอย่างนี้ที่เดียว มโหสถปลดเปลื้อง

พวกเราผู้ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้อง

ฝูงนกที่ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแหฉะนั้น.

[๖๕๘] พระเจ้าจุลนีผู้มีกำลังมาก รักษาการ

ตลอดราตรีทั้งสิ้น ครั้นอรุณขึ้นก็เสด็จถึงอุปการนคร

พระเจ้ากรุงอุตตรปัญจาละพระนามว่าจุลนี ผู้มีกำลัง

มาก เสด็จทรงช้างที่นั่งตัวประเสริฐมีกำลังอายุ ๖๐ ปี

ได้ตรัสการทัพกะเสนาของพระองค์ พระองค์ทรงสวม

เกราะแก้วมณีพระหัตถ์จับศร ได้ตรัสกะเหล่าทวยหาญ

ผู้รับใช้ ซึ่งชำนาญในศิลป์เป็นอันมากประชุมกันอยู่.

[๖๕๙] เจ้าทั้งหลายจงไสช้างพลายมีกำลัง อายุ

๖๐ ปี ช้างทั้งหลายจงย่ำยีนครที่พระเจ้าวิเทหราชทรง

สร้างไว้ดีแล้วเสีย ลูกศรอันขาวเช่นเขี้ยวงาปลายแหลม

คม สามารถแทงกระดูกได้ เกลื้องเกลาเหล่านี้ จง

ตกลงดังห่าฝนด้วยกำลังธนูเหล่าโยธารุ่นหนุ่มสวม-

เกราะ แกล้วกล้า มีอาวุธประกอบด้วยด้ามอันวิจิตร

เหล่าช้างใหญ่แล่นมา จงหันหน้าสู่ช้างทั้งหลาย

หอกทั้งหลายที่ขัดด้วยน้ำมันแล้ว มีแสงเป็นประกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 319

วะวับรุ่งเรืองตั้งอยู่ ดังดาวประกายพรึก มีรัศมีมาก

เมื่อเหล่าโยธาของเรามีกำลัง คือ อาวุธ ทรงสังวาลคือ

เกราะ ไม่ล่าหนีในสงครามเช่นนี้ พระเจ้าวิเทหราช

จะพ้นไปได้ที่ไหน หากจะเป็นเหมือนนกบินไปทาง

อากาศ จักทำได้อย่างไร ก็โยธาของเราทั้งหมด

๓๙,๐๐๐ ซึ่งเราเที่ยวไปทั่วแผ่นดิน ไม่เห็นเทียมทัน

สามารถตัดศีรษะข้าศึกเอามาคนละศีรษะได้ อนึ่งช้าง

พลายทั้งหลายอันประดับแล้ว มีกำลัง อายุ ๖๐ ปี

เหล่าโยธาหนุ่ม ๆ มีผิวพรรณดังทองคำงดงามอยู่บน

คอ โยธาทั้งหลายมีเครื่องประดับสีเหลือง นุ่งผ้า

สีเหลือง ห่มผ้าเฉียงบ่าสีเหลือง งดงามอยู่บนคอช้าง

ดังเทพบุตรทั้งหลายในนันทนวัน ดาบทั้งหลายมีสิ่ง

ปลาสลาดขัดลูด้วยน้ำมัน แสงวะวับ อันเหล่าโยธา

ผู้วีรบุรุษทำเสร็จแล้ว มีคมเสมอ มีคมยิ่ง เงาวับ

ดาบทั้งหลายหาสนิมมิได้ ทำด้วยเหล็กกล้ามั่นคง อัน

เหล่าโยธาผู้มีกำลัง เชี่ยวชาญในวิธีประหาร ถือเป็น

คู่มือแล้ว เหล่าโยธาผู้ถึงพร้อมด้วยความงามดังทองคำ

สวมเสื้อสีแดง กวัดแกว่งดาบย่อมงดงาม ดังสายฟ้า

แวบวับอยู่ในระหว่างก่อนเมฆ เหล่าโยธาผู้กล้าหาญ

สวมเกราะ สามารถยังธงให้สะบัดในอากาศ ฉลาด

ในการใช้ดาบและเกราะถือดาบ ฝึกมาอย่างชำนาญ

สามารถจะตัดคอช้างให้ขาดตกลง (แต่กาลก่อน) ท่าน

เป็นผู้อันหมู่ชนเช่นนี้แวดล้อม แต่กาลนี้ ความพ้นภัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 320

ของท่านไม่มี เราไม่เห็นราชานุภาพของท่าน ที่จะ

เป็นเหตุให้ท่านไปกรุงมิถิลาได้เลย.

[๖๖๐] พระองค์ด่วนไสช้างที่นั่งตัวประเสริฐมา

ทำไมหนอ พระองค์มีพระหฤทัยร่าเริงแล้วเสด็จมา

คงจะเข้าพระทัยว่า ทรงเป็นผู้ได้ประโยชน์แล้ว ขอ

พระองค์ทรงลดแล่งธนูนั่นลงเสียเถิด ทรงทิ้งลูกธนู

เสียเถิด ทรงเปลื้องเกราะอันงาม โชติช่วงด้วยแก้ว

ไพฑูรย์แก้วมณีนั่นออกเสียเถิด.

[๖๖๑] เจ้าเป็นผู้มีผิวหน้าผ่องใส และกล่าว

ถ้อยคำเคยยิ้มแย้ม ความถึงพร้อมแห่งผิวพรรณเช่นนี้

ย่อมมีในเวลาใกล้ตาย.

[๖๖๒] ข้าแต่ขัตติยราช พระดำรัสที่พระองค์

ตรัสคุกคาม ไร้ประโยชน์เสียแล้ว พระองค์เป็นผู้มี

พระดำริกระจายไปทั่วแล้ว พระองค์จับพระเจ้าวิเทห-

ราชไม่ได้หรอก ดังม้าสินธพอันม้ากระจอกไล่ไม่ทัน

พระเจ้าวิเทหราชพร้อมเหล่าอมาตย์ราชบริพาร เสด็จ

ข้ามคงคาไปแล้วแต่วันวานนี้ เมื่อพระองค์จักติดตาม

ไปก็จักตก เหมือนกาบินไล่ตามพระยาหงส์ฉะนั้น.

[๖๖๓] สุนัขจิ้งจอกทั้งหลายเป็นสัตว์ต่ำช้ากว่า

มฤค เห็นดอกทองกวาวบานในรัตติกาล ก็สำคัญว่า

ชิ้นเนื้อเข้าล้อมต้นอยู่ ครั้นเมื่อราตรีล่วงไปแล้ว พระ-

อาทิตย์ขึ้น สุนัขจิ้งจอกตัวเป็นสัตว์ต่ำช้ากว่ามฤค เห็น

ดอกทองกวาวบานแล้ว หมดหวัง ฉันใด ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 321

พระราช พระองค์ทรงล้อมพระเจ้าวิเทหราชก็จักทรง

หมดหวังเสด็จไป เหมือนสุนัขจิ้งจอกทั้งหลายเห็น

ดอกทองกวาว ฉันนั้น.

[๖๖๔] เจ้าทั้งหลายจงตัดมือและเท้า หูและจมูก

ของมโหสถผู้ปล่อยพระเจ้าวิเทหราชศัตรูของข้าซึ่งอยู่

ในเงื้อมมือแล้วไปเสีย เจ้าทั้งหลายจงเสียบมโหสถผู้

ปล่อยพระเจ้าวิเทหราชศัตรูของข้าซึ่งอยู่ในเงื้อมมือ

แล้วไปเสีย ในหลาวย่างมันให้ร้อน ดุจย่างเนื้อฉะนั้น

บุคคลแทงหนังโคที่แผ่นดิน หรือเที่ยวหนึ่งราชสีห์

หรือเสือโคร่งฉุดมาด้วยขอ ฉันใด ข้าจักให้เจ้าทั้งหลาย

ทิ่มแทงมโหสถผู้ปล่อยพระเจ้าวิเทหราชศัตรูของข้าซึ่ง

อยู่ในเงื้อมมือแล้วไปเสีย แล้วฆ่าเสียด้วยหอก ฉันนั้น.

[๖๖๕] ถ้าพระองค์ตัดมือและเท้า หูและจมูก

ของข้าพระองค์ พระเจ้าวิเทหราชจักให้ตัดพระหัตถ์

เป็นอาทิแห่งพระปัญจาลจันทราโอรสพระนางปัญจาล

จันที่ราชธิดา และพระนางนันทาเทวีมเหสีของพระ-

องค์ พระเจ้าวิเทหราชจักให้ตัดพระหัตถ์เป็นต้นของ

พระราชโอรส พระราชธิดาและพระมเหสีของพระองค์

อย่างนั้นเหมือนกัน ถ้าพระองค์เสียบเนื้อข้าพระองค์

ในหลาวย่างให้ร้อน พระเจ้าวิเทหราชก็จักเสียบเนื้อ

พระปัญจาลจันทราชโอรสพระนางปัญจาลจันทีราช-

ธิดา และพระนางนันทาเทวีมเหสีของพระองค์ ย่างให้

ร้อน พระเจ้าวิเทหราชจักให้เสียบเนื้อพระราชโอรส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 322

พระราชธิดา และพระมเหสีของพระองค์ ย่างให้ร้อน

อย่างนั้นเหมือนกัน

ถ้าพระองค์จักทิ่มแทงข้าพระองค์ด้วยหอก พระ-

เจ้าวิเทหราชก็จักให้ทิ่มแทงพระปัญจาลจันทราชโอรส

พระนางปัญจาลจันทีราชธิดา และพระนางนันทาเทวี

มเหสีของพระองค์ด้วยหอก พระเจ้าวิเทหราชจักให้

ทิ่มแทงพระราชโอรสพระราชธิดา และพระมเหสีของ

พระองค์ด้วยหอกอย่างนั้นเหมือนกัน

ข้อความดังกราบทูลมาอย่างนี้ข้าพระองค์ทั้งสอง

คือพระเจ้าวิเทหราชกับพระองค์ได้ปรึกษาตกลงกันไว้

แล้วเป็นความลับ โล่หนังมีน้ำหนัก ๑๐๐ ปละ ที่ช่าง

หนังทำสำเร็จแล้วด้วยมีดของช่างหนัง ย่อมช่วย

ป้องกันตัว เพื่อห้ามกันลูกศรทั้งหลาย ฉันใด ข้า-

พระองค์เป็นผู้นำความสุข บรรเทาทุกข์ถวายพระเจ้า

วิเทหราชผู้เรื่องยศ ก็จำต้องทำลายลูกศรคือพระดำริ

ของพระองค์ ด้วยโล่หนังคือความคิดของข้าพระองค์

ฉันนั้น.

[๖๖๖] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เชิญเถิด ขอ

เชิญพระองค์ทอดพระเนตรดูภายในเมืองของพระองค์

ซึ่งว่างเปล่า นางสนมและกุมารทั้งหลายตลอดถึง

พระชนนีของพระองค์ ข้าพระองค์ให้นำออกจาก

อุโมงค์ ถวายไปแด่พระเจ้าวิเทหราชแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 323

[๖๖๗] เจ้าจงไปภายในเมืองของเรา ตรวจตรา

ดู คำของมโหสถนี้ จริงหรือเท็จอย่างไร.

[๖๖๘] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า มโหสถทูล

อย่างใด ข้อความนั้นก็เป็นอย่างนั้น พระราชนิเวศน์

ทั้งปวงว่างเปล่า ดุจที่ลงหากินแห่งกา.

[๖๖๙] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระนางนันทา-

เทวี เสด็จไปแล้วจากอุโมงค์นี้ เป็นผู้มีพระสรีราพยพ

อันงานสรรพ มีพระโสณีควรเปรียบกับแผ่นทองคำ

ธรรมชาติ มีปกติตรัสประภาษไพเราะเสนาะดังเสียง

ลูกหงส์.

ข้าแต่มหาราชเจ้า พระนางนันทาเทวี อันข้าพระ-

องค์น้ำเสด็จออกไปจากอุโมงค์นี้ เป็นผู้มีสรรพางด

งามน่าทัศนา ทรงพระภูษาโกไสยมีพระรูปอำไพดุจ

สุวรรณ สายรัดพระองค์นั้นก็งามทำด้วยกาญจนวิจิตร

มีพระบาทสดไสพระโลหิตขึ้นแดง อันแถลงเบญจ-

กัลยาณี ชี้ไว้เป็นแบบด้วยสามารถแห่งพระฉวี พระ

มังสา พระเกศา พระเส้นเอ็น และพระอัฐิงามดี มี

สายรัดพระองค์แก้วมณีแกมสุวรรณ ดวงพระเนตร

นั้นเปรียบกับตานกพิราบ มีพระสรีรภาพอันโสภา

ริมพระโอฐแดงดุจผลตำลึงสุกก็ปานกัน มีบั้นพระองค์

บางอย่างจะรวบกำรอบทีเดียว มีบั้นพระองค์เล็กเรี่ยว

ดุจเถานาคลดาเกิดแล้วดี และดุจกาญจนไพที พระศก

ของพระนางนันทาเทวียาวดำปลายช้อยเล็กน้อยดุจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 324

ปลายมีด พระนางเจ้านั้น มีดวงพระเนตรเขื่องราวกะ

ดวงตาแห่งลูกมฤคหนึ่งขวบเกิดดีแล้ว หรือดุจเปลว

เพลิงในเหมันตฤดู แม่น้ำใกล้ภูผาหรือหมู่ไม้ดาดาษ

ไปด้วยไม้ไผ่เล็ก ๆ ย่อมงดงาม ฉันใด เส้นพระโลน-

ชาติก็อ่อนงดงามฉันนั้น พระนางมีพระเพลางามดัง

งวงกุญชรงาน มีพระถันยุคลดังคู่ผลมะพลับทองงาม

เป็นที่หนึ่ง มีพระสัณฐานพึงพอดีไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก

พระโลมาของพระนางเจ้านั้น มีพองามไม่มากนัก

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพาหนะสมบูรณ์ด้วยสิริ พระองค์

ทรงยินดีด้วยการทิวงคตของพระนางเป็นแน่ ข้าพระ-

องค์และพระนางนันทาเทวี จะไปสู่สำนักยมราชเป็น

แน่.

[๖๗๐] เจ้ารู้เล่ห์กลอันเป็นทิพย์ หรือเจ้าได้ทำ

อุบายเพียงบังตา ในการที่เจ้าปล่อยพระเจ้าวิเทหราช

ผู้เป็นศัตรูของข้า ซึ่งตกอยู่ในเงื้อมมือข้าแล้ว.

[๖๗๑] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บัณฑิตทั้งหลาย

ในโลกนี้ย่อมบรรลุเล่ห์กลอันเป็นทิพย์บัณฑิตชนผู้มี

ความรู้เหล่านั้น จึงเปลื้องตนจากทุกข์ได้ เหล่าโยธา

รุ่นหนุ่มเป็นคนฉลาด เป็นทหารขุดอุโมงค์ ของข้า-

พระองค์มีอยู่ พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปกรุงมิถิลาโดย

ทางที่ทหารเหล่านี้ทำไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

[๖๗๒] เชิญเถิด พระเจ้าข้า ขอเชิญพระองค์

ทอดพระเนตรอุโมงค์ที่ได้สร้างไว้ดีแล้ว งามรุ่งเรือง

ด้วยระเบียบแห่งกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ

และกองพลราบ ซึ่งสำเร็จดีแล้วตั้งอยู่.

[๖๗๓] ดูก่อนมโหสถ บัณฑิตทั้งหลายเช่นนี้

เหล่านี้อย่างตัวเจ้า อยู่ในเรือน ในแว่นแคว้นแห่งผู้ใด

เป็นลาภของชาววิเทหรัฐ และชาวกรุงมิถิลาผู้ได้อยู่

ร่วมกับผู้นั้น.

[๖๗๔] ข้าจะให้เครื่องเลี้ยงชีพ การบริหาร

เบี้ยเลี้ยง และบำเหน็จเพิ่มขึ้น ๒ เท่า และให้โภค-

สมบัติอันไพบูลย์อื่น ๆ เจ้าจงใช้สอยสิ่งที่ปรารถนา

จงรื่นรมย์เถิด อย่ากลับไปหาพระเจ้าวิเทหราชเลย

พระเจ้าวิเทหราช จักทำอะไรได้.

[๖๗๕] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ผู้ใดสละท่านผู้

ชุบเลี้ยงตนเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ผู้นั้นย่อมถูกตนเอง

และผู้อื่นติเตียนทั้งสองฝ่าย พระเจ้าวิเทหราชยังทรง

พระชนม์อยู่เพียงใด ข้าพระองค์ไม่พึงเป็นราชบุรุษ

ของพระราชาอื่นเพียงนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ผู้ใด

สละท่านผู้ชุบเลี้ยงตนเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ผู้นั้นย่อม

ถูกตนเองและผู้อื่นติเตียนทั้งสองฝ่าย พระเจ้าวิเทห-

ราช ยังดำรงพระชนม์อยู่เพียงใด ข้าพระองค์ไม่พึง

อยู่ในแว่นแคว้นของพระราชาอื่นเพียงนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 326

[๖๗๖] ดูก่อนมโหสถบัณฑิต ข้าให้ทอง ๑,๐๐๐

นิกขะ และบ้าน ๘๐ บ้านในแคว้นกาสีแก่เจ้า ข้าให้

ทาสี ๔๐๐ คน และภรรยา ๑๐๐ คน แก่เจ้า เจ้าจง

พาเสนางคนิกรทั้งปวงไป โดยสวัสดีเถิด.

[๖๗๗] พวกเจ้าจงให้อาหารแก่ช้างและม้าเพิ่ม

ขึ้นเป็นสองเท่า เพียงใด จงเลี้ยงดูกองรถและกอง

ราบให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ เพียงนั้น.

[๖๗๘] พ่อบัณฑิต เจ้าจงพากองช้าง กองม้า

กองรถ กองราบไป ขอพระเจ้าวิเทหมหาราช จง

ทอดพระเนตรเห็นเจ้าผู้ไปถึงกรุงมิถิลา.

[๖๗๙] เสนา คือ กองช้าง กองม้า กองรถ

กองราบนั้นปรากฏมากมาย เป็นจตุรงคินีเสนาที่น่า

กลัว บัณฑิตทั้งหลายสำคัญอย่างไรหนอ.

[๖๘๐] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ความยินดีอย่าง

สูงสุด ย่อมปรากฏเฉพาะแด่พระองค์ มโหสถพากอง

ทัพทั้งปวง มาถึงแล้วโดยสวัสดี.

[๖๘๑] คน ๔ คน นำคนตายไปทิ้งไว้ในป่าช้า

แล้วกลับไปฉัน ใด พวกเราทิ้งเจ้าไว้ในกัปปิลรัฐแล้ว

กลับมาในที่นี้ ก็ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าเปลื้อง

ตนพ้นมาได้ เพราะเหตุอะไร เพราะปัจจัยอะไร หรือ

เพราะผลอะไร.

[๖๘๒] ข้าแต่พระจอมวิเทหรัฐ ข้าพระองค์

ป้องกันข้อความด้วยข้อความ ป้องกันความคิด พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 327

เจ้าข้า ใช่แต่เท่านั้น ข้าพระองค์ยังป้องกันพระราชา

ดังสาครกั้นล้อมชมพูทวีปไว้ ฉะนั้น.

พระเจ้าจุลนีพระราชทานทอง ๑,๐๐๐ นิกขะ

บ้าน ๘๐ บ้านในแคว้นกาสี ทาสี ๔๐๐ คน และภรรยา

๑๐๐ คน แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้พาเสนางคนิกร

ของข้าพระองค์ทั้งหมด มาในที่นี้โดยสวัสดี.

[๖๘๓] แน่ะเสนกาจารย์ การอยู่ร่วมด้วยเหล่า

บัณฑิตเป็นสุขดีหนอ เพราะว่ามโหสถปลดเปลื้องพวก

เราผู้ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้องฝูง

นกที่ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแหฉะนั้น.

[๖๘๔] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บัณฑิตทั้งหลาย

นำความสุขมาแท้จริงอย่างนี้ทีเดียว มโหสถปลดเปลื้อง

พวกเราผู้ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้อง

ฝูงนกที่ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแหฉะนั้น.

[๖๘๕] ชาวเมืองซึ่งนับว่าเกิดในแคว้นมคธ จง

ดีดพิณทั้งปวง จงตีกลองเล็กกลองใหญ่และมโหระทึก

จงพากันโห่ร้องบันลือเสียงให้เซ็งแซ่.

[๖๘๖] พวกฝ่ายใน พวกกุมาร พ่อค้า พราหมณ์

กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ชาวชนบท และ

ชาวนิคม ร่วมกันนำข้าวน้ำเป็นอันมากมาให้แก่มโห-

สถบัณฑิต ชนเป็นอันมากได้เห็นมโหสถบัณฑิตกลับ

มาสู่กรุงมิถิลา ก็พาลกันเลื่อมใส ครั้นมโหสถบัณฑิต

ถึงแล้ว ก็โบกผ้าอยู่ทั่วไป.

จบ มโหสถชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 328

อรรถกถามหานิบาต

มโหสถชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ

พระปัญญาบารมีของพระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ปญฺจาโล สพฺพ-

เสนาย ดังนี้เป็นต้น.

ความย่อว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในธรรมสภา เมื่อจะ

สรรเสริญพระปัญญาบารมีของพระตถาคต ได้นั่งสรรเสริญพระคุณของพระ

ศาสดาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระตถาคตเป็นผู้มีพระปัญญาใหญ่ มี

พระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญาร่าเริง มีพระปัญญาลึกซึ่ง มีพระปัญญา

ดุจแผ่นดิน มีพระปัญญาแหลม มีพระปัญญาว่องไว มีพระปัญญาแทงตลอด

ย่ำยีเสียซึ่งวาทะแห่งคนอื่น ทรงทรมานเหล่าพราหมณ์ มีกูฏทันตพราหมณ์

เป็นต้น เหล่าปริพาชกมีสัพภิยปริพาชกเป็นต้น เหล่ายักษ์มีอาฬวกยักษ์เป็น

เหล่าเทวดามีท้าวสักกเทวราชเป็นต้น เหล่าพรหมมีพกพรหมเป็นต้น และ

เหล่าโจรมีโจรองคุลิมาลเป็นต้น ด้วยพระปัญญานุภาพของพระองค์ ทรงทำ

ให้สิ้นพยศ พระองค์ทรงทรมานชนเป็นอันมากประทานบรรพชาให้ตั้งอยู่ใน

มรรคผล พระศาสดามีพระปัญญาใหญ่ ด้วยประการฉะนี้. พระศาสดาเสด็จ

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนาถึงเรื่องอะไร และ

เรื่องอะไรที่พวกเธอสนทนาค้างในระหว่าง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้

ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในกาลนี้เท่านั้น

ตถาคตมีปัญญา แม้ในอดีตกาล เมื่อญาณยังไม่แก่กล้า ยังบำเพ็ญบุรพจริยา

เพื่อประโยชน์แก่พระโพธิญาณอยู่ ก็เป็นผู้มีปัญญาเหมือนกัน ตรัสฉะนั้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

ทรงดุษณีภาพ ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนให้ทรงประกาศบุรพจริยา จึง

ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่า วิเทหะ

เสวยราชสมบัติในกรุงมิถิลา แคว้นวิเทหะ มีบัณฑิต ๔ คน ชื่อเสนกะ ๑

ปุกกุสะ ๑ กามินทะ ๑ เทวินทะ ๑ เป็นผู้ถวายอนุศาสนอรรถธรรมแด่พระ-

เจ้าวิเทหราชนั้น กาลนั้น พระเจ้าวิเทหราชทรงพระสุบินในปัจจุสสมัย ในวัน

พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิว่า ที่มุมพระลานหลวงทั้ง ๔ มุม มีกองเพลิง ๔ กอง

ประมาณเท่ากำแพงใหญ่ลุกโพลง ก็ในท่ามกลางกองเพลิงทั้ง ๔ นั้น มีกอง

เพลิงกอง ๑ ประมาณเท่าหิ่งห้อย ตั้งขึ้นลุกล่วงเลยกองเพลิงทั้ง ๔ ในขณะนั้น

เลง ตั้งขึ้นจดประมาณอกนิฏฐพรหมโลก สว่างทั่วจักรวาล สิ่งที่ตกในภาคพื้น

แม้สักเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดก็ปรากฏ โลกทั้งเทวดาทั้งมารทั้งพรหมมาบูชา

กองไฟนั้น ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น มหาชนเที่ยวอยู่ในระหว่าง

เปลวเพลิง ก็มิได้ร้อนแม้สักว่าขุมขน พระราชาทรงเห็นพระสุบินนี้แล้ว ทรง

หวาดสะดุ้งเสด็จลุกขึ้นประทับนั่ง ทรงจินตนาการอยู่จนอรุณขึ้นว่า เหตุการณ์

อะไรหนอจะพึงมีแก่เรา บัณฑิตทั้ง ๔ มาเฝ้าแต่เช้าทูลถามถึงสุขไสยาว่า ข้า-

แต่สมมติเทพ พระองค์บรรทมเป็นสุขหรือ พระราชาตรัสตอบว่า ท่านอาจารย์

ความสุขจะมีแก่เราแต่ไหน เราได้ฝันเห็นอย่างนั้น ลำดับนั้น เสนกบัณฑิตทูลว่า

ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์อย่าได้ตกพระหฤทัย พระสุบินนั้นเป็นมงคล ความ

เจริญจักมีแต่พระองค์ เมื่อมีพระราชดำรัสถามว่า เพราะเหตุไร จึงทูลว่า

ข้าแต่มหาราช บัณฑิตที่ ๕ อีกคนหนึ่งจักเกิดขึ้น ครอบงำพวกข้าพระองค์

ซึ่งเป็นบัณฑิตทั้ง ๔ ทำให้หมดรัศมี พวกข้าพระองค์ทั้ง ๔ คน เหมือน

กองเพลิง ๔ กอง บัณฑิตที่ ๕ จักเกิดขึ้น เหมือนกองเพลิงที่เกิดขึ้นใน

ท่ามกลาง ก็บัณฑิตนั้นหาผู้เสมอย่อมไม่มีในโลกทั้งเทวโลก พระเจ้าวิเทหราช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 330

ตรัสถามว่า ก็บัดนี้บัณฑิตนั้นอยู่ที่ไหน เสนกบัณฑิตทูลพยากรณ์ราวกะเห็น

ด้วยทิพยจักษุเพราะกำลังแห่งการศึกษาของตนว่า วันนี้บัณฑิตนั้นจักปฏิสนธิ

หรือจักคลอดจากครรภ์มารดา พระราชาทรงระลึกถึงคำแห่งเสนกบัณฑิตนั้น

จำเดิมแต่นั้นมา.

ก็บ้านทั้ง ๔ คือ บ้านชื่อทักขิณยวมัชฌคาม ๑ ปัจฉิมยวมัชฌคาม ๑

อุตตรยวมัชฌคาม ๑ ฝาจีนยวมัชฌคาม ๑ มีอยู่ที่ประตูทั้ง ๔ แห่งกรุงมิถิลา

ในบ้านทั้ง ๔ นั้น เศรษฐีชื่อสิริวัฒกะอยู่ในบ้านชื่อปาจีนยวมัชฌคาม ภรรยา

ของเศรษฐีนั้นชื่อสุมนาเทวี วันนั้นพระมหาสัตว์จุติจากดาวดึงส์พิภพ ถือ

ปฏิสนธิในครรภ์แห่งนางสุมนาเทวี ในเวลาที่พระราชาทรงพระสุบิน เทพบุตร

อีกพัน หนึ่งจุติจากดาวดึงส์พิภพ ถือปฏิสนธิในตระกูลแห่งเศรษฐีใหญ่น้อยใน

บ้านนั้นนั่นเอง ฝ่ายนางสุมนาเทวีคลอดบุตรมีพรรณดุจทองคำ โดยกาลล่วง

มาได้ ๑๐ เดือน.

ขณะนั้น ท้าวสักกเทวราชทอดพระเนตรดูมนุษยโลก ทรงทราบว่า

พระมหาสัตว์ตลอดจากครรภ์มารดา ทรงคิดว่า ควรเราจะทำพระพุทธางกูรนี้

ให้ปรากฏในโลกทั้งเทวโลก จึงเสด็จมาด้วยอทิสมานกายไม่มีใครเห็นพระองค์

ในเวลาที่พระมหาสัตว์คลอดจากครรภ์มารดา วางแท่งโอสถแท่งหนึ่งที่หัตถ์

แห่งพระมหาสัตว์นั้น แล้วเสด็จกลับไปยังทิพยพิมานแห่งตนทีเดียว พระ-

มหาสัตว์รับแท่งโอสถนั้นกำไว้ ก็เมื่อพระมหาสัตว์คลอดจากครรภ์นั้น ความ

ทุกข์มิได้มีแก่มารดาแม้สักหน่อยหนึ่ง คลอดง่ายคล้ายน้ำออกจากธมกรก

ฉะนั้น นางสุมนาเทวีเห็นแท่งโอสถในมือของบุตรนั้น จึงถามว่า พ่อได้อะไรมา

บุตรนั้นตอบมารดาว่า โอสถจ๊ะแม่ แล้ววางทิพยโอสถในมือมารดา กล่าวว่า

ข้าแต่แม่ แม่จงให้โอสถนี้แก่เหล่าคนเจ็บป่วยด้วยความเจ็บป่วยอย่างใดอย่าง

หนึ่ง นางสุมนาเทวีมีความร่าเริงยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงบอกแก่สิริวัฒกเศรษฐีผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 331

สามี ก็เศรษฐีนั้นป่วยเป็นโรคปวดศีรษะมา ๗ ปี มีความยินดีร่าเริง คิดว่า

กุมารนี้เมื่อเกิดแต่ครรภ์มารดา ก็ถือโอสถมา ทั้งพูดกับมารดาได้ในขณะที่เกิด

นั่นเอง โอสถที่ผู้มีบุญเห็นปานนี้ให้ จักมีอานุภาพมาก คิดฉะนี้แล้วจึงถือ

โอสถนั้นฝนที่หินบด แล้วเอาโอสถหน่อยหนึ่งทาที่หน้าผาก โรคปวดศีรษะที่

เป็นมา ๗ ปีก็หายไป ดุจน้ำหายไปจากใบบัวฉะนั้น ท่านเศรษฐีนั้นมีความ

ดีใจว่า โอสถมีอานุภาพมาก เรื่องพระมหาสัตว์ถือโอสถมา ก็ปรากฏไปในที่

ทั้งปวง บรรดาผู้เจ็บป่วยทั้งปวงนั้น พากันมาบ้านท่านเศรษฐีขอยา ฝ่ายท่าน

เศรษฐีก็ถือเอาโอสถหน่อยหนึ่งฝนที่หินบด ละลายน้ำให้แก่คนทั้งปวง เพียง

เอาทิพยโอสถทาสรีระเท่านั้น ความเจ็บป่วยทั้งปวงก็สงบ มนุษย์ทั้งหลายได้

ความสุขแล้วก็สรรเสริญว่าโอสถในเรือนท่านสิริวัฒกเศรษฐีมีอานุภาพมาก

แล้วหลีกไป.

ในวันตั้งชื่อพระมหาสัตว์ ท่านมหาเศรษฐีคิดว่า เราไม่ต้องการชื่อ

บรรพบุรุษมีปู่เป็นต้น มาเป็นชื่อบุตรของเรา บุตรของเราจงชื่อโอสถ เพราะ

เมื่อเขาเกิดถือโอสถมาด้วย แต่นั้นมาจึงชื่อพระมหาสัตว์นั้น ว่า มโหสถกุมาร

เพราะอาศัยคำเกิดขึ้นว่า โอสถนี้มีคุณมาก โอสถนี้มีคุณมาก ด้วยประการฉะนี้

ลำดับนั้น ท่านเศรษฐีได้มีความคิดว่า บุตรของเรามีบุญมาก จักไม่เกิด

คนเดียวเท่านั้น ทารกทั้งหลายที่เกิดพร้อมกับบุตรของเรานี้จะพึงมี จึงให้

ตรวจตราดู ก็ได้ข่าวพบทารกเกิดวันเดียวกัน ๑ พันคน จึงให้เครื่องประดับ

แก่กุมารทั้งหมด และให้นางนม ๑ พันคน ให้ทำมงคลแก่ทารกเหล่านั้น

พร้อมกับพระโพธิสัตว์ทีเดียว ด้วยคิดว่า ทารกเหล่านี้จักเป็นผู้ปฏิบัติบำรุง

บุตรของเรา นางนมทั้งหลายตกแต่งทารกแล้วนำมาบำเรอพระมหาสัตว์ พระ

โพธิสัตว์เล่นอยู่ด้วยทารกเหล่านั้น เจริญวัย เมื่อมีอายุได้ ๗ ขวบ มีรูปงาม

ราวกะรูปเปรียบทองคำ เมื่อพระโพธิสัตว์เล่นอยู่กับทารกเหล่านั้นในท่ามกลาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 332

บ้าน เมื่อช้างเป็นต้นมา สนามที่เล่นก็เสียหาย ทารกทั้งหลายย่อมลำบากใน

เวลาเมื่อถูกลมและแดด วันหนึ่งเมื่อเขาเหล่านั้นกำลังเล่นกันอยู่ มหาเมฆตั้งขึ้น

พระมหาสัตว์ผู้มีกำลังดุจช้างสาร เห็นเมฆตั้งขึ้นก็วิ่งเข้าสู่ศาลาหลังหนึ่ง พวก

ทารกนอกนี้วิ่งตามไปทีหลังพระสัตว์ เหยียบเท้าของกันและกันพลาดล้ม

ถึงเข่าแตกเป็นต้น พระโพธิสัตว์จึงคิดว่า ควรทำศาลาเป็นที่เล่นในสถานที่นี้

เราทั้งหลายจักไม่ลำบากอย่างนี้ จึงแจ้งแก่ทารกเหล่านั้นว่า พวกเราจักลำบาก

ด้วยลม ฝน และแดด พวกเราจักสร้างศาลาหลังหนึ่งในที่นี้ ให้พอเป็นที่ยืน

นั่ง และนอนได้ ท่านทั้งหลายจงนำกหาปณะมาคนละหนึ่งกหาปณะ ทารก

เหล่านั้นก็กระทำตามนั้น พระมหาสัตว์ให้เรียกนายช่างใหญ่มากล่าวว่า ข้าแต่พ่อ

ท่านจงสร้างศาลาในที่นี้ แล้วได้ให้กหาปณะพันหนึ่งแก่เขา นายช่างใหญ่รับ

คำรับกหาปณะพันหนึ่งแล้ว ปราบพื้นที่ให้เสมอขุดหลักตอออกแล้วขึงเชือกกะ

ที่ พระมหาสัตว์เห็นวิธีขึงเชือกของนายช่าง เมื่อจะบอกจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ

ท่านอย่าขึงเชือกอย่างนี้จงขึงให้ดี นายช่างกล่าวว่า นาย ข้าพเจ้าขึงตามเหมาะสม

แก่ศิลปะของตน อย่างอื่นนอกจากนี้ข้าพเจ้าไม่รู้ พระมหาสัตว์กล่าวว่า แม้

เพียงเท่านี้ก็ไม่รู้ ท่านจักรับทรัพย์ของพวกเราทำศาลาได้อย่างไร จงนำเชือกมา

เราจักขึงให้ท่าน ให้นำเชือกมาแล้วก็ขึงเอง เชือกที่พระมหาสัตว์ขึง ได้เป็น

ประหนึ่งพระวิสสุกรรมเทพบุตรขึง แต่นั้นพระมหาสัตว์ได้กล่าวกะนายช่างว่า

ท่านสามารถขึงเชือกได้อย่างนี้ไหม ไม่สามารถนาย ถ้าเช่นนั้น ท่านสามารถ

ทำตามความเห็นของเขาได้ไหม สามารถนาย พระมหาสัตว์จัดปันที่ศาลาให้

เป็นส่วน ๆ คือ ห้องสำหรับหญิงอนาถาคลอดบุตรห้องหนึ่ง ห้องสำหรับ

สมณพราหมณ์ผู้อาคันตุกะมาพักห้องหนึ่ง ห้องสำหรับคฤหัสถ์ผู้อาคันตุกะ

มาพักห้องหนึ่ง ห้องสำหรับเก็บสินค้าของพวกพ่อค้าผู้อาคันตุกะมาพักห้องหนึ่ง

ทำห้องเหล่านั้นทั้งหมดให้มีประตูทางหน้ามุข ให้ทำสนามเล่น ที่วินิจฉัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 333

แม้โรงธรรมอย่างนั้น ๆ เมื่อศาลาแล้วเสร็จโดยวันเล็กน้อย ให้เรียกช่างเขียน

มาเขียนให้น่ารื่นรมย์ ให้มีจิตรกรรมกว้างขวางโดยตนสั่งเอง ศาลานั้นมีส่วน

เปรียบด้วยเทวสภาชื่อสุธรรมา แต่นั้น พระมหาสัตว์ดำริว่าเพียงเท่านี้ ศาลา

ยังหางามไม่ ควรสร้างสระโบกขรณีด้วยถึงจะงาม จึงให้ขุดสระโบกขรณี ให้

เรียกช่างอิฐมา ให้สร้างสระโบกขรณีให้มีคดลดเลี้ยวนับด้วยพัน ให้มีท่าลง

นับด้วยร้อย โดยความคิดของตน สระโบกขรณีนั้นดาดาษด้วยปทุมชาติ ๕

ชนิด เป็นราวกะว่านันทนโบกขรณี ให้สร้างสวนปลูกต้นไม้ต่าง ๆ ทั้งไม้ดอก

และไม้ผลริมฝั่งสระนั้น ดุจอุทยานนันทนวัน และใช้ศาลานั้นแหละเริ่มตั้ง

ทานวัตร เพื่อสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติธรรม และผู้เดินทางที่จรมาเป็นต้น

การกระทำของพระมหาสัตว์นั้นได้ปรารถนาไปในที่ทั้งปวง มนุษย์เป็นอันมากได้

มาอาศัยศาลานั้น พระมหาสัตว์นั่งในศาลานั้น กล่าวสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ

สิ่งที่ถูกและผิด แก่ผู้ที่มาแล้ว ๆ เริ่มตั้งการวินิจฉัย กาลนั้นได้เป็นเสมือน

พุทธุปบาทกาล.

ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราช กาลล่วงไปได้ ๗ ปี ทรงระลึกได้ว่า บัณฑิต

ทั้ง ๔ กล่าวแก่เราว่า บัณฑิตที่ ๕ จักเกิดขึ้นครอบงำพวกเขา บัณฑิตที่ ๕

นั้นบัดนี้อยู่ที่ไหน โปรดให้อมาตย์ ๔ คนไปสืบเสาะหาทางประตูทั้ง ๔ ด้าน

ให้รู้สถานที่อยู่แห่งบัณฑิตนั้น อมาตย์ผู้ออกไปทางประตูอื่น ๆ ไม่พบพระ

มหาสัตว์ อมาตย์ผู้ออกไปทางประตูด้านปราจีนทิศ นั่งที่ศาลาคิดว่า ศาลาหลังนี้

ต้องคนฉลาดทำเองหรือใช้ให้คนอื่นทำ จึงถามคนทั้งหลายว่า ศาลาหลังนี้

ช่างไหนทำ คนทั้งหลายตอบว่า ศาลาหลังนี้นายช่างไม่ได้ทำเอง แต่ได้ทำ

ตามวิจารณ์ของมโหสถบัณฑิตผู้เป็นบุตรของสิริวัฒกเศรษฐี ด้วยกำลังปัญญา

แห่งตน อมาตย์ถามว่า ก็บัณฑิตอายุเท่าไร คนทั้งหลายตอบว่า ๗ ปีบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 334

อมาตย์นับปีตั้งแต่วันที่พระราชาทรงเห็นพระสุบิน ก็ทราบว่า บัณฑิตนั้น

คือผู้นี้เอง สมกับพระราชาทรงเห็นพระสุบิน จึงส่งทูตไปทูลพระราชาว่า

ขอเดชะ บุตรของสิริวัฒกเศรษฐีในบ้านปาจีนยวมัชฌคาม ชื่อมโหสถบัณฑิต

อายุได้ ๗ ปี ให้สร้างศาลา สระโบกขรณี และอุทยานอย่างนี้ ๆ ข้าพระบาท

จะพาบัณฑิตนี้มาเฝ้าหรือยัง พระราชาทรงสดับประพฤติเหตุนั้น มีพระหฤทัย

ยินดี รับสั่งให้หาเสนกบัณฑิตมาตรัสเล่าเนื้อความนั้น แล้วดำรัสถามว่า เป็น

อย่างไร ท่านอาจารย์เสนกะ เราจะนำบัณฑิตนั้นมาหรือยัง เสนกบัณฑิต

นั้นเป็นคนตระหนี่ จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต

ด้วยเหตุเพียงให้สร้างศาลาเป็นต้น ใคร ๆ ก็ให้สร้างได้ ข้อนั้นยังเป็นการ

เล็กน้อย พระราชาทรงสดับคำของเสนกบัณฑิต ทรงดำริว่า เหตุการณ์ใน

ข้อนี้จะพึงมี ทรงนิ่งอยู่ ทรงส่งทูตของอมาตย์กลับไปด้วยพระดำรัสว่า

อมาตย์จงอยู่ในที่นั้น พิจารณาดูบัณฑิตไปก่อน อมาตย์ได้ฟังพระราชดำรัสนั้น

ก็ยับยั้งอยู่ที่นั้น พิจารณาบัณฑิตต่อไป รวมหัวข้อพิจารณาในเรื่องนั้น ดังนี้

ชิ้นเนื้อ โค เครื่องประดับทำเป็นปล้อง ๆ กลุ่ม-

ด้าย บุตร คนเตี้ยชื่อโคฬกาฬ รถ ท่อนไม้ ศีรษะคน

งู ไก่ แก้วมณี ให้โคตัวผู้ตกลูก ข้าว ชิงช้าห้อย-

ด้วยเชือก ทราย สระน้ำ อุทยาน ฬา แก้วมณีบน

ลังกา (รวม ๑๙ ข้อ)

บรรดาหัวข้อเหล่านั้น หัวข้อว่าชิ้นเนื้อ มีความว่า วันหนึ่งพระ-

โพธิสัตว์ไปสู่สนามเล่น มีเหยี่ยวตัวหนึ่งโฉบเอาชิ้นเนื้อแต่เขียงฆ่าสัตว์บินมา

ทางอากาศ ทารกทั้งหลายเห็นเหยี่ยวคาบเนื้อบินมา ก็ติดตามไปด้วยคิดจะให้

เหยี่ยวทิ้งชิ้นเนื้อนั้น เด็กเหล่านั้นวิ่งไปข้างโน้นข้างนี้ แลดูเบื้องบน ไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 335

ข้างหน้าข้างหลังเหยี่ยวนั้น พลาดลงที่ตอมีแผ่นหินเป็นต้น ย่อมลำบาก ลำดับ

นั้น มโหสถบัณฑิตกล่าวกะเด็กเหล่านั้นว่า กันจะให้เหยี่ยวนั้นทิ้งชิ้นเนื้อ เด็ก

ทั้งหลายขอให้ลองดู จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น จงคอยดู มโหสถวิ่งไปด้วยกำลัง

เร็วดังลม โดยไม่แลดูข้างบน พอเหยียบเงาเหยี่ยว ก็ตบมือร้องเสียงดังลั่น

ด้วยเดชานุภาพแห่งมหาสัตว์ เสียงนั้นดุจเข้าไปก้องในท้องของเหยี่ยวนั้น

เหยี่ยวนั้นกลัวก็ทิ้งชิ้นเนื้อ พระมหาสัตว์รู้ว่าเหยี่ยวทิ้งชิ้นเนื้อแล้ว แลดูเงา

รับเอาในอากาศไม่ให้ตกพื้นดิน มหาชนเห็นการที่มหาสัตว์ทำดังนั้น เป็น

อัศจรรย์ จึงบันลือโห่ร้องตบมือทำเสียงเซ็งแซ่ อมาตย์ทราบประพฤติเหตุนั้น

จึงส่งทูตไปทูลพระราชาอีกว่า ขอเดชะ มโหสถบัณฑิตได้ยังเหยี่ยวให้ทิ้งชิ้นเนื้อ

ด้วยอุบายนี้ ขอสมมติเทพ จงทรงทราบประพฤติเหตุนี้ พระราชาทรงสดับ

ดังนั้น จึงตรัสถามเสนกบัณฑิตว่า ท่านเสนกะ เราจะนำบัณฑิตมาหรือยัง

เสนกบัณฑิตคิดว่า จำเดิมแต่เวลาที่มโหสถกุมารมาในราชสำนักนี้ พวกเรา

๔ คน จักหมดรัศมี พระราชาจักไม่ทรงทราบว่าพวกเรามีอยู่ ไม่ควรให้นำ

มโหสถกุมารนั้นมา เพราะความตระหนี่ลาภ จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช บุคคล

ไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิตเหตุเพียงเท่านี้ ข้อนั้น ยังเป็นการเล็กน้อย พระราชา

ทรงมีพระองค์เป็นกลาง จึงส่งทูตนั้นกลับไปด้วยพระราชดำรัสสั่งว่า จง

พิจารณามโหสถนั้นในที่นั้นต่อไป.

หัวข้อว่า โค มีความว่า บุรุษชาวปาจีนยวมัชฌคามคนหนึ่งคิดว่า

เมื่อฝนตก เราจักไถนา จึงชื่อโคแต่บ้านอื่นนำมาให้อยู่ในบ้าน รุ่งขึ้นนำไป

สู่ที่มีหญ้าเพื่อให้หากิน นั่งอยู่บนหลังโค เหน็ดเหนื่อย ก็ลงนั่งโคนต้นไม้

เลยหลับไป ขณะนั้นโจรคนหนึ่งมาพาโคหนีไป บุรุษเจ้าของโคนั้นตื่นขึ้นมา

ไม่เห็นโค ค้นหาโคข้างโน้นข้างนี้ เห็นโจรจึงวิ่งไล่ไปโดยเร็วกล่าวว่า แกจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 336

นำโคของข้าไปไหน โจรกล่าวตอบว่า แกพูดอะไร ข้าจะนำโคของข้าไปสู่ที่

ต้องการ มหาชนต่างมาฟังชนทั้งสองวิวาทกันจนแน่น มโหสถบัณฑิตได้ฟัง

เสียงคนทั้งหลายไปทางประตูศาลา จึงให้เรียกคนทั้งสองมา เห็นกิริยาของคน

ทั้งสองก็รู้ว่า คนนี้เป็นโจร คนนี้เป็นเจ้าของโค แต่ถึงรู้ ก็ถามว่า ท่านทั้ง

สองวิวาทกันเพราะเหตุไร เจ้าของโคกล่าวว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าซื้อโคนแต่

คนชื่อนี้แต่บ้านโน้น นำมาให้อยู่ในบ้าน นำไปสู่ที่มีหญ้าแต่เช้า ชายนี้พาโค

หนีไป เพราะเห็นข้าพเจ้าประมาทในเวลานั้น ข้าพเจ้ามองหาข้างโน้นข้างนี้

เห็นชายคนนี้ จึงติดตามไปจับตัว ชาวบ้านโน้นรู้การที่ข้าพเจ้าซื้อโคนี้มา

ฝ่ายโจรกล่าวว่า โคนี้เกิดในบ้านของข้าพเจ้า ชายนี้พูดปด ลำดับนั้น มโหสถ

บัณฑิตจึงถามชายทั้งสองว่า เราจักวินิจฉัยความของท่านทั้งสองโดยยุติธรรม

ท่านทั้งสองจักตั้งอยู่ในวินิจฉัยหรือ เมื่อคนทั้งสองรับว่าจักตั้งอยู่ คิดว่า ควร

จะถือเอาตามใจของมหาชน จึงถามว่า โคเหล่านี้ ท่านให้กินอะไรให้ดื่มอะไร

โจรตอบว่า ข้าแต่ท่านบัณฑิต ข้าพเจ้าให้โคดื่มยาคู ให้กินงา แป้ง และ

ขนมกุมมาส ต่อนั้นจึงถามเจ้าของโค เจ้าของโคตอบว่า อาหารมีข้าวยาคู

เป็นต้น คนจนอย่างข้าจะได้ที่ไหนมา ข้าพเจ้าให้กินหญ้าเท่านั้น มโหสถ-

บัณฑิตได้ฟังคำของคนทั้งสองนั้นแล้ว จึงให้คนของตนนำถาดมา ให้นำไป

ประยงค์มาตำในครก ขยำด้วยน้ำให้โคดื่ม โคก็อาเจียนออกมาเป็นหญ้า

มโหสถบัณฑิตแสดงแก่มหาชนให้เห็นแล้วถามโจรว่า เจ้าเป็นโจรหรือมิใช่

โจรรับสารภาพว่าเป็นโจร มโหสถบัณฑิตให้โอวาทว่า ถ้าอย่างนั้น จำเดิม

แต่นี้ไปเจ้าอย่าทำอย่างนี้ ฝ่ายบริษัทของพระโพธิสัตว์ก็ทุบตีโจรนั้นด้วยมือ

และเท้าทำให้บอบช้ำ ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตได้กล่าวสอนโจรนั้นว่า เจ้าจง

เห็นทุกข์ของเจ้านี้ในภพนี้เพียงนี้ แต่ในภพหน้า เจ้าจักเสวยทุกข์ใหญ่ในนรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 337

เป็นต้น จำเดิมแต่นี้ไปเจ้าจงละกรรมนี้เสีย แล้วให้เบญจศีลแก่โจรนั้น

อมาตย์ทูลประพฤติเหตุนั้นแต่พระราชาตามความเป็นจริง พระราชาตรัสถาม

เสนกบัณฑิตว่า ท่านอาจารย์เสนกะ เราควรนำบัณฑิตนั้น มาหรือยัง เมื่อ

เสนกะทูลว่า ข้าแต่มหาราช คดีเรื่องโค ใคร ๆ ก็วินิจฉัยได้ บุคคลไม่ชื่อว่า

เป็นบัณฑิตด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ขอให้ทรงรอไปก่อน พระราชาทรงวางพระ-

องค์เป็นกลาง จึงทรงส่งข่าวไปอย่างนั้นอีก นักปราชญ์พึงทราบในวิธาน

ทั้งปวงอย่างนี้ ก็เบื้องหน้าแต่นี้ จักจำแนกเพียงหัวข้อเรื่องเท่านั้นแสดง.

หัวข้อว่า เครื่องประดับทำเป็นปล้อง ๆ มีความว่า ยังมีหญิงเข็ญใจ

คนหนึ่งเปลื้องเครื่องประดับทำเป็นปล้อง ถักด้วยด้ายสีต่าง ๆ จากคอวางไว้บนผ้า

สาฎก ลงสู่สระโบกขรณีที่มโหสถบัณฑิตให้ทำไว้ เพื่ออาบน้ำ หญิงรุ่นสาว

คนหนึ่งเห็นเครื่องประดับนั้น เกิดความโลภ หยิบเครื่องประดับขึ้นชมว่า

เครื่องประดับนี้งามเหลือเกิน แกทำราคาเท่าไร แม้กันก็จักทำรูปเหล่านี้ ตาม

ควรแก่ศิลปะของคน กล่าวชมฉะนี้แล้วประดับที่คอตน แล้วกล่าวว่า กันจะ

พิจารณาประมาณของเครื่องประดับนั้นก่อน หญิงเจ้าของกล่าวว่า จงพิจารณา

ดูเถิด เพราะหญิงเจ้าของเป็นคนมีจิตชื่อตรง หญิงรุ่นสาวประดับที่คอคน

แล้วหลีกไป ฝ่ายหญิงเจ้าของเห็นดังนั้น ก็รีบขึ้นจากโบกขรณี นุ่งผ้าสาฎก

แล้ววิ่งตามไปยึดผ้าไว้กล่าวว่า เอ็งจักถือเอาเครื่องประดับของข้าหนีไปไหน

ฝ่ายหญิงขโมยกล่าวตอบว่า ข้าไม่ได้เอาของของแก เครื่องประดับคอของข้า

ต่างหาก มหาชนชุมนุมฟังวิวาทกัน ฝ่ายมโหสถบัณฑิตเล่นอยู่กับเหล่าทารก

ได้ฟังเสียงหญิงสองคนนั้นทะเลาะกันไปทางประตูศาลา ถามว่านั่นเสียงอะไร

ได้ฟังเหตุที่หญิงสองคนทะเลาะกันแล้ว จึงให้เรียกเข้ามา แม้รู้อยู่โดยอาการ

ว่า หญิงนี้เป็นขโมย หญิงนี้มิใช่ขโมย ก็ถามเนื้อความนั้นแล้วกล่าวว่า แก

ทั้งสองจักตั้งอยู่ในวินิจฉัยของข้าหรือ เมื่อหญิงทั้งสองรับว่าจักตั้งอยู่ในวินิจฉัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 338

จึงถามหญิงขโมยก่อนว่า แกย้อมเครื่องประดับนี้ด้วยของหอมอะไร หญิง

ขโมยตอบว่า ข้าพเจ้าย้อมด้วยของหอมทุกอย่าง ของหอมที่ทำประกอบด้วย

ของหอมทั้งปวงชื่อว่าของหอมทุกอย่าง ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตจึงถามหญิง

เจ้าของ นางตอบว่า เพราะข้าพเจ้าเป็นคนเข็ญใจ ของหอมทุกอย่างจะมีแต่

ไหน ข้าพเจ้าย้อมด้วยของหอมคือดอกประยงค์เท่านั้นเป็นนิตย์ มโหสถบัณฑิต

ให้คนของตนกำหนดคำของหญิงทั้งสองนั้น ไว้แล้วให้นำภาชนะน้ำมาแช่เครื่อง

ประดับน้ำในภาชนะน้ำนั้น ให้เรียกคนรู้จักกลิ่นมาสั่งว่า ท่านจงดมเครื่อง

ประดับนั้น จะเป็นกลิ่นอะไร คนรู้จักกลิ่นดมเครื่องประดับนั้นแล้วก็รู้ว่า

กลิ่นดอกประยงค์ จึงกล่าวคาถานี้ในเอกนิบาตว่า

ของหอมทุกอย่างไม่มี มีแต่กลิ่นดอกประยงค์

ล้วน หญิงนักเลงคือหญิงขโมยกล่าวคำเท็จ หญิงแก่

คือหญิงเจ้าของกล่าวคำจริง.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ยังมหาชนให้รู้เหตุการณ์นั้นแล้วถามว่า แก

เป็นขโมยหรือ แล้วให้สารภาพว่าเป็นขโมย จำเดิมแต่นั้น ความที่พระมหาสัตว์

เป็นบัณฑิตก็ปรากฏแก่มหาชน.

หัวข้อว่า ด้ายกลุ่ม มีความว่า ยังมีสตรีคนหนึ่งรักษาไร่ฝ้าย เมื่อ

เฝ้าไร่ได้เก็บฝ้ายที่บริสุทธิ์ในไร่นั้นมาปั่นให้เป็นเส้นเล็ก ๆ แล้วเอาเม็ดมะพลับ

มาไว้ข้างใน พันด้ายนั้นให้เป็นกลุ่ม เก็บไว้ในพก เมื่อจะกลับบ้าน คิดว่า

เราจักอาบน้ำในสระโบกขรณีของท่านบัณฑิต จึงวางกลุ่มด้ายนั้นไว้บนผ้าสาฎก

แล้วลงอาบน้ำ ยังมีหญิงคนหนึ่งเห็นด้ายกลุ่มนั้น ก็ถือเอาด้วยมีจิตโลภ ตบ

มือพูดว่า โอ ด้ายนี้สวยดี ท่านทำหรือ ทำเป็นเหมือนแลดู แล้วเอาใส่ใน

พกหลีกไป เรื่องที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่มีในก่อน มโหสถบัณฑิตถามหญิง

ขโมยก่อนว่า เมื่อแกทำด้ายให้เป็นกลุ่ม ได้ใส่อะไรไว้ข้างใน หญิงขโมยนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 339

ตอบว่า ข้าพเจ้าใส่ผลฝ้ายนั่นเองไว้ข้างใน ต่อนั้น มโหสถบัณฑิตจึงถามหญิง

อีกคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของ นางตอบว่า ใส่เม็ดมะพลับไว้ข้างใน มโหสถ-

บัณฑิตให้คนของตนกำหนดคำของหญิงทั้งสองไว้ แล้วให้คลี่ด้ายกลุ่มนั้นออก

เห็นเม็ดมะพลับ จึงให้หญิงขโมยนั้น รับสารภาพว่าเป็นขโมย มหาชนร่าเริง

ยินดี กล่าวว่ามโหสถบัณฑิตวินิจฉัยความดี ได้ให้สาธุการเป็นอันมาก.

หัวข้อว่า บุตร มีความว่า ยังมีสตรีคนหนึ่งพาบุตรไปสระโบกขรณี

ของมโหสถบัณฑิต เพื่อล้างหน้าเอาบุตรอาบน้ำแล้วให้นั่งบนผ้าสาฎกของตน

ตนเองลงล้างหน้า ขณะนั้นมียักขินีคนหนึ่งเห็นทารกนั้นอยากจะกิน จึงแปลง

เพศเป็นสตรีมาถามว่า แน่ะสหายทารกนี้งามหนอ เป็นบุตรของเธอหรือ

ครั้น สตรีมารดาทารกนั้น รับว่าเป็นบุตรของตน จึงกล่าวว่า ฉันจะให้ดื่มนม

เมื่อสตรีมารดาทารกอนุญาตแล้ว ก็อุ้มทารกนั้นให้เล่นหน่อยหนึ่งแล้วพาทารก

นั้นหนีไป สตรีมารดาทารกเห็นดังนั้น จึงขึ้นจากน้ำวิ่งไปโดยเร็วยึดผ้าสาฎก

ไว้กล่าวว่า เองจะพาบุตรข้าไปไหน นางยักขินีกล่าวว่า เจ้าได้บุตรมาแต่ไหน

นี้บุตรของข้าต่างหาก หญิงทั้งสองทะเลาะกันเดินไปถึงประตูศาลา มโหสถ

บัณฑิตได้ฟังเสียงนางทั้งสองทะเลาะกัน ให้เรียกเข้ามาถามว่า เรื่องเป็นอย่างไร

กัน นางทั้งสองก็แจ้งให้ทราบเรื่องนั้น มโหสถบัณฑิตฟังความนั้นแล้ว แม้

รู้ว่า หญิงนี้เป็นยักขินีอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะนัยน์ตาไม่กระพริบ นัยน์ตา

แดงและไม่มีเงา จึงกล่าวว่า แกทั้งสองจักตั้งอยู่ในวินิจฉัยของเราหรือ เมื่อ

ได้รับคำตอบว่าจักตั้งอยู่ในวินิจฉัย จึงขีดรอยทีแผ่นดิน ให้ทารกนอนกลาง

รอยขีด ให้ยักขินีจับมือทารก ให้หญิงผู้เป็นมารดาจับเท้า แล้วกล่าวว่า แก

ทั้งสองคนจงฉุดคร่าเอาไป ทารกนั้นเป็นบุตรของผู้สามารถเอาไปได้ นางทั้ง

สองก็คร่าทารกนั้น ทารกนั้นถูกคร่าไปด้วยความลำบากก็ร้องจ้า หญิงมารดา

ได้ฟังเสียงนั้น ก็เป็นเหมือนหัวใจจะแตก ปล่อยบุตรยืนร้องไห้อยู่ มโหสถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 340

บัณฑิตถามมหาชนว่า ใจของมารดาทารกอ่อน หรือว่าใจของหญิงไม่ใช่มารดา

อ่อน มหาชนตอบว่า ใจของมารดาอ่อน มโหสถบัณฑิตจึงถามมหาชนว่า

บัดนี้เป็นอย่างไร หญิงผู้คร่าทารกไปได้ยืนอยู่เป็นมารดา หรือว่านางผู้สละ

ทารกเสียยืนอยู่เป็นมารดา มหาชนตอบว่า นางผู้สละทารกยืนอยู่เป็นมารดา

มโหสถกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายรู้หรือว่านางนี้เป็นคนขโมยทารก

มหาชนตอบว่า ไม่ทราบ มโหสถจึงกล่าวว่า นางนี้เป็นยักขินีคร่าเอาทารกไป

เพื่อกิน มหาชนถามว่า รู้ได้อย่างไร มโหสถตอบว่า รู้ได้อย่างไม่ต้องสงสัย

เพราะยักขินีนัยน์ตาไม่กระพริบ นัยน์ตาแดง ไม่มีเงา และปราศจากความ

กรุณา ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ถามหญิงนั้นว่า แกเป็นใคร ยักขินีตอบว่า

ข้าพเจ้าเป็นยักขินี พระมหาสัตว์ซักต่อไปว่า เจ้าจะเอาทารกนี้ไปทำไม ยักขินี

ตอบว่า เอาไปกิน พระมหาสัตว์กล่าวว่า แน่ะนางอันธพาล ฝ่ายหญิงมารดา

ทำบาปจึงเกิดเป็นยักขินี แม้บัดนี้ก็ยังจะทำบาปอีก โอ เองเป็นคนอันธพาล

กล่าวดังนี้แล้ว ให้ยักขินีตั้งอยู่ในเบญจศีล แล้วปล่อยตัวไป ฝ่ายหญิงมารดา

ทารกกล่าวว่า จงมีอายุยืนนานเถิดนาย ชมมโหสถบัณฑิตแล้วพาบุตรหลีกไป

หัวข้อว่า คนเตี้ยชื่อโคฬกาฬ มีความว่า มีชายคนหนึ่งชื่อโคฬกาฬ

เพราะเป็นคนเตี้ยและผิวดำ เขาทำงาน ๗ ปีได้ภรรยาชื่อทีฆตาหลา วันหนึ่ง

โคฬกาฬเรียกภรรยามากล่าวว่า เจ้าจงทอดขนมควรเคี้ยว ครั้นนางถามว่า

แกจะไปไหน จึงบอกว่า ข้าจะไปเยี่ยมบิดามารดา นางห้ามว่า แกจะต้องการ

อะไรด้วยบิดามารดา โคฬกาฬก็คงสั่งให้ทอดขนมถึง ๓ ครั้ง จึงถือเอาเสบียง

และของฝากเดินทางไปกับภรรยานั้น ในระหว่างทางได้เห็นแม่น้ำ มีกระแสน้ำ

ไหลตื้น แต่สองสามีภรรยานั้นเป็นคนขลาดจึงไม่อาจลง ก็ยืนอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ

กาลนั้น มีชายเข็ญใจคนหนึ่งชื่อทีฆปิฏฐิ เดินเลียบมาตามฝั่งแม่น้ำ ถึงสถานที่

นั้น สามีภรรยาเห็นชายนั้น จึงถามว่า แม่น้ำนี้ลึกหรือตื้น นายทีฆปิฏฐิรู้อยู่ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 341

สองสามีภรรยานั้นขลาดต่อน้ำ จึงตอบว่า แม่น้ำนี้ลึกเหลือเกิน ปลาร้ายก็ชุม

สามีภรรยาจึงซักถามว่า สหายจักไปอย่างไรเล่า ชายนั้นตอบว่า เรามีความ

คุ้นเคยกับจระเข้และมังกร ฉะนั้น สัตว์ร้ายเหล่านั้นจึงไม่เบียดเบียนเรา สอง

สามีภรรยากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น สหายจงพาเราทั้งสองไป ชายนั้นรับคำ

ลำดับนั้น สองสามีภรรยาจึงให้ของเคี้ยวของบริโภคแก่ชายนั้น ชายนั้นบริโภค

อิ่มแล้วจึงถามว่า สหายจะให้เราพาใครไปก่อน นายโคฬกาฬตอบว่า จงพา

ภรรยาไปก่อนพาเราไปทีหลัง ชายนั้น รับคำแล้วให้นางทีฆตาหลาขึ้นคอ ถือ

เสบียงและของฝากทั้งหมดลงข้ามแม่น้ำ ไปได้หน่อยหนึ่งแล้วย่อตัวหลีกไป

ลำดับนั้น นายโคพกาฬยืนอยู่ที่ฝั่งคิดว่า แม่น้ำนี้ลึกแท้ คนสูงยังเป็นอย่างนี้

แต่เราเป็นไม่ได้การทีเดียว ฝ่ายนายทีฆปิฏฐิพานางทีฆตาหลาไปถึงกลางแม่น้ำ

ก็พูดเกี้ยวว่า ข้าจักเลี้ยงดูเจ้า เจ้าจักมีผ้าและเครื่องประดับบริบูรณ์ มีทาสทาสี

แวดล้อม นายโคฬกาฬตัวเตี้ยคนนี้จักทำอะไรแก่เจ้าได้ เจ้าจงทำตามคำข้า

นางทีฆตาหลาได้ฟังคำของนายทีฆปิฏฐินั้น ก็ตัดสิเนหาในสามีของตน มีจิต

ปฏิพัทธ์ในนายทีฆปิฏฐินั้นในขณะนั้นเอง จึงกล่าวตอบว่า ถ้านายไม่ทิ้งฉัน

ฉันจักทำตามคำของนาย นายทีฆปิฏฐิกล่าวว่า นางพูดอะไร ถ้านายไม่ทิ้งฉัน

คนทั้งสองนั้นไปถึงฝั่งโน้น ก็ชื่นชมต่อกันและกัน ละนายโคฬกาฬเสีย กล่าวว่า

รอก่อน รอก่อน ต่างเคี้ยวกินของควรเคี้ยว ต่อหน้านายโคฬกาฬผู้แลดูอยู่

แล้วพากันหลีกไป นายโคพกาฬเห็นดังนั้น จึงคิดว่าคนทั้งสองนี้เห็นจะร่วมกัน

ทิ้งเราหนีไป ก็วิ่งไปวิ่งมา ข้ามลงได้หน่อยหนึ่งก็กลับขึ้นเพราะความกลัว

ข้ามลงอีกหนหนึ่ง ด้วยความโกรธในคนทั้งสองนั้น โดดลงด้วยแน่ใจว่าเป็น

หรือตายก็ตามที ลงไปในแม่น้ำ จึงรู้ว่าตื้น ก็ข้ามขึ้นจากแม่น้ำติดตามไป

โดยเร็ว พอทันคนทั้งสองนั้นจึงกล่าวว่า แน่ะอ้ายโจรร้าย มึงจะพาเมียกู

ไปไหน นายทีฆปิฏฐิกล่าวตอบว่า แน่ะอ้ายถ่อยแคระเตี้ยร้าย เมียมึงเมื่อไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 342

กล่าวดังนี้แล้วก็ไสคอนายโคฬกาฬไป นายโคฬกาฬจับมือนางทีฆตาหลา กล่าวว่า

รอก่อน รอก่อน เองจะไปไหน ข้าทำงานมา ๗ ปีจึงได้เองมาเป็นเมีย เมื่อ

ทะเลาะกับนายทีฆปิฏฐิพลางมาถึงที่ใกล้ศาลาพระมหาสัตว์ มหาชนประชุมกัน

มโหสถบัณฑิตถามว่า นั่นเสียงอะไรกัน สดับความนั้นแล้วให้เรียกคนทั้งสอง

มา ได้ฟังโต้ตอบกันแล้ว จึงกล่าวว่า แกทั้งสองจักตั้งอยู่ในวินิจฉัยของเราหรือ

ครั้นคนทั้งสองยอม จึงถามนายทีฆปิฏฐิก่อนว่า แกชื่ออะไร ข้าพเจ้าชื่อ

ทีฆปิฏฐิ ก็ภรรยาของแกชื่ออะไร เมื่อไม่ทันรู้จักชื่อก็บอกชื่ออื่น บิดามารดา

ของแกชื่ออะไร ก็บอกชื่อนั้น ๆ บิดามารดาของภรรยาชื่ออะไร เมื่อยังไม่รู้

ก็บอกชื่ออื่น ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตจึงให้คนของตนกำหนดถ้อยคำไว้ แล้ว

ให้นายทีฆปิฏฐินั้นออกไป ให้เรียกนายโคฬกาฬมา ถามชื่อคนทั้งปวงโดยนัย

หนหลัง นายโคฬกาฬรู้อยู่ตามเป็นจริงก็บอกไม่ผิด พระโพธิสัตว์ให้นำนาย

โคฬกาฬออกไป ให้เรียกนางทีฆตาหลามาถามว่า แกชื่ออะไร ข้าพเจ้าชื่อ

ทีฆตาหลา ผัวแกชื่ออะไร เมื่อยังไม่ทันรู้จักชื่อกันก็บอกชื่ออื่น บิดามารดา

ของแกชื่ออะไร ก็บอกชื่อนั้น ๆ บิดามารดาของผัวแกชื่ออะไร เมื่อยังไม่

รู้จักชื่อก็บอกชื่ออื่น มโหสถบัณฑิตให้เรียกนายทีฆปิฏฐิและนายโคฬกาฬมา

แล้วถามมหาชนว่า ถ้อยคำของนางทีฆตาหลาสมกับคำของนายทีฆปิฏฐิหรือสม

กับคำของนายโคฬกาฬ มหาชนตอบว่า ถ้อยคำของนางทีฆตาหลาสมกับคำของ

นายโคฬกาฬ มโหสถบัณฑิตจึงกล่าวว่า นายโคฬกาฬเป็นผัวของนางทีฆตาหลา

นายทีฆปิฏฐิเป็นโจร ลำดับนั้น มโหสถจึงถามนายทีฆปิฏฐิว่า เจ้าเป็นโจร

หรือ นายทีฆปิฏฐิรับสารภาพว่าเป็นโจร นายโคฬกาฬได้ภรรยาของตนคืน

ด้วยวินิจฉัยของมโหสถบัณฑิต ก็ชมเชยมโหสถบัณฑิตแล้วพาภรรยาหลีกไป

มโหสถบัณฑิตกล่าวกะนายทีฆปิฏฐิว่า จำเดิมแต่นี้ไปเจ้าอย่าทำกรรมเช่นนี้อีก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 343

หัวข้อว่า รถ มีความว่า กาลนั้นยังมีบุรุษคนหนึ่งนั่งในรถออกจาก

บ้านเพื่อล้างหน้า ขณะนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงพิจารณาเห็นพระโพธิสัตว์

จึงดำริว่า เราจักทำปัญญานุภาพแห่งมโหสถผู้พุทธางกูรให้ปรากฏ จึงเสด็จมา

ด้วยเพศแห่งมนุษย์จับท้ายรถไป บุรุษเจ้าของรถถามว่า แน่ะพ่อ พ่อมาด้วย

ประโยชน์อะไร ครั้นได้ฟังว่า จะมาเพื่ออุปัฏฐากตน จึงรับว่าดีแล้ว ก็ลง

จากรถไปเพื่อทำสรีรกิจ ขณะนั้น ท้าวสักกเทวราชขึ้นรถขับไปโดยเร็ว บุรุษ

เจ้าของรถทำสรีรกิจแล้วออกมาเห็นท้าวสักกเทวราชลักรถหนีไป ก็ติดตามไป

โดยเร็ว กล่าวว่า หยุดก่อน หยุดก่อน แกจะนำรถของข้าไปไหน เมื่อท้าว

สักกะตอบว่า รถของแกคันอื่น แต่คันนี้รถของข้า ก็เกิดทะเลาะกันไปถึงประตู

ศาลา มโหสถบัณฑิตถามว่า เรื่องอะไรกัน แล้วให้เรียกคนทั้งสองนั้น มา

เห็นคนทั้งสองมาด้วยอาการนั้น ก็รู้ชัดว่า ผู้นี้เป็นท้าวสักกเทวราช เพราะ

ปราศจากความกลัวเกรง และเพราะนัยน์ตาไม่กระพริบ ผู้นี้เป็นเจ้าของรถ

แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น มโหสถก็ถามถึงเหตุแห่งการวิวาทกล่าวว่า ท่านทั้งสองจัก

ตั้งอยู่ในวินิจฉัยของเราหรือ เมื่อได้ฟังรับว่าจักตั้งอยู่ จึงกล่าวว่า เราจักขับรถ

ไป ท่านทั้งสองจงจับท้ายรถ เจ้าของรถจักไม่ปล่อย ผู้ไม่ใช่เจ้าของรถจักปล่อย

กล่าวฉะนี้แล้ว บังคับบุรุษคนหนึ่งว่าจงขับรถไป บุรุษนั้นได้ทำตามนั้น คน

ทั้งสองจับท้ายรถวิ่งตามไป เจ้าของรถไปได้หน่อยหนึ่งเหน็ดเหนื่อย จึงปล่อย

รถยืนอยู่ ฝ่ายท้าวสักกเทวราชวิ่งไปกับรถทีเดียว มโหสถบัณฑิตสั่งให้กลับรถ

แล้วแจ้งแก่มหาชนว่า บุรุษนี้ไปหน่อยหนึ่งก็ปล่อยรถยืนอยู่ แต่บุรุษนี้วิ่ง

ไปขับรถ กลับมากับรถ แม้เพียงหยาดเหงื่อและสรีระของเขาก็ไม่มี หายใจออก

หายใจเข้าก็ไม่มี หาความสะทกสะท้านมิได้ นัยน์ตาก็ไม่กระพริบ ผู้นี้คือ

ท้าวสักกเทวราช ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตถามว่า ท่านเป็นท้าวสักกเทวราช

มิใช่หรือ ครั้นได้รับตอบว่าใช่ จึงถามว่า พระองค์เสด็จมาที่นี้เพื่ออะไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 344

ครั้นได้รับตอบว่า เพื่อประกาศปัญญาของเธอนั่นแหละ จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น

พระองค์อย่าได้กระทำอย่างนี้อีก ท้าวสักกเทวราชเมื่อจะแสดงสักกานุภาพ ก็

สถิตอยู่ในอากาศ ตรัสชมเชยมโหสถบัณฑิตว่า เธอวินิจฉัยความดี เธอ

วินิจฉัยความดี แล้วเสด็จกลับยังทิพยสถานของตน กาลนั้น อมาตย์นั้นไป

เฝ้าพระเจ้าวิเทหราชด้วยตนเอง ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า ความเรื่องรถ

มโหสถกุมารวินิจฉัยดีอย่างนี้ แม้ท้าวสักกเทวราชก็ยังแพ้ เหตุไรพระองค์จึง

ไม่ทรงทราบบุรุษพิเศษเล่า ขอเดชะ พระราชาตรัสถามเสนกอาจารย์ว่า ควรนำ

บัณฑิตมาหรือยัง อาจารย์เสนกะเป็นคนตระหนี่จึงได้ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

บุคคลได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตด้วยเหตุเพียงเท่านี้ โปรดรอไปก่อน เราจักทดลอง

เขาแล้วจักรู้ พระราชาทรงดุษณีภาพ.

จบ ปัญหาของทารก ๗ ข้อ

หัวข้อว่า ท่อนไม้ มีความว่า วันหนึ่งพระเจ้าวิเทหราชทรงดำริจะ

ทดลองมโหสถบัณฑิต จึงให้นำท่อนไม้ตะเคียนมา ให้ตัดเอาเพียง ๑ คืบ

ให้ช่างกลึงกลึงให้ดีแล้ว ให้ส่งไปยังชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคาม ด้วยพระราชา

อาณัติว่า ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามจงแจ้งว่า ท่อนไม้ตะเคียนนี้ ข้างนี้ปลาย

ข้างนี้โคน ถ้าไม่มีใครรู้ จะปรับพันกหาปณะ ชาวบ้านประชุมกัน เมื่อไม่

อาจจะรู้ได้ จึงบอกแก่ท่านสิริวัฒกเศรษฐีว่า บางทีมโหสถบัณฑิตจะรู้ ขอ

ให้เรียกเขามาถาม ท่านมหาเศรษฐีให้เรียกมโหสถบัณฑิตมาแต่สนามเล่น

บอกเนื้อความนั้นแล้วถามว่า พวกเราไม่อาจจะรู้ปัญหานี้ พ่ออาจจะรู้บ้างไหม

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า พระราชาจะต้องพระประสงค์ด้วยปลาย

หรือโคนของไม้ตะเคียนท่อนนี้ก็หาไม่ ประทานไม้ตะเคียนท่อนนี้มาเพื่อจะ

ทดลองเรา จึงกล่าวว่า นำมาเถิดพ่อ ข้าพเจ้าจักรู้เรื่องนั้น ลำดับนั้น ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

เศรษฐีให้นำท่อนไม้ตะเคียนมาให้แก่มโหสถบัณฑิต พระโพธิสัตว์รับท่อนไม้

ตะเคียนนั้น ด้วยมือเท่านั้นก็รู้ได้ว่า ข้างนี้ปลาย ข้างนี้โคน แม้รู้อยู่ก็ให้นำ

ภาชนะน้ำมาเพื่อกำหนดใจของมหาชน แล้วเอาด้ายผูกตรงกลางของท่อนไม้

ตะเคียน ถือปลายด้ายไว้ วางท่อนไม้ตะเคียนบนน้ำ พอวางเท่านั้น โคนก็

เพลงก่อนเพราะหนัก แต่นั้น พระโพธิสัตว์จึงถามมหาชนว่า ธรรมดาต้นไม้

โคนหนัก หรือปลายหนัก เมื่อมหาชนตอบว่า โคนหนัก จึงกล่าวว่า ถ้า

เช่นนั้น ส่วนของไม้ตะเคียนท่อนนี้จมลงก่อน จึงเป็นโคน แล้วบอกปลาย

และโคนด้วยสัญญานี้ ชาวบ้านส่งข่าวทูลพระราชาว่า ข้างนี้ปลาย ข้างนี้โคน

พระราชาทรงยินดี ตรัสถามว่า ใครรู้ เมื่อชาวบ้านกราบทูลว่า มโหสถบัณฑิต

บุตรสิริวัฒกเศรษฐี พระเจ้าข้า ทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสถามว่า ท่าน

อาจารย์เสนกะ เราควรนำมโหสถบัณฑิตมาหรือยัง เสนกอาจารย์ทูลว่า รอ

ไว้ก่อน เราจักทดลองด้วยอุบายอื่นอีก พระราชาตรัสว่า ดีแล้ว ท่านเสนกะ.

หัวข้อว่า ศีรษะ มีความว่า อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชให้นำ

ศีรษะ ๒ ศีรษะ. คือศีรษะหญิงและศีรษะชายมา แล้วส่งไปให้ชาวบ้าน

ปาจีนยวมัชฌคามทำนายพระราชาณัติว่า ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามจงรู้ว่า นี้

ศีรษะหญิง นี้ศีรษะชาย ถ้าไม่รู้ จะปรับไหมพันกหาปณะ ชาวบ้านเมื่อไม่รู้

จึงถามพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์พอเห็นเท่านั้นก็รู้ รู้ได้อย่างไร คือ แสก

ในศีรษะชายตรง แสกในศีรษะหญิงคด มโหสถบัณฑิตแจ้งว่า นี้ศีรษะหญิง

นี้ศีรษะชาย ด้วยความรู้ยิ่งนี้ ชาวบ้านก็ส่งข่าวกราบทูลแด่พระราชาอีก ข้อ

ความที่เหลือเหมือนนัยอันมีในก่อนนั่นเอง.

หัวข้อว่า งู มีความว่า อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชให้นำงูตัวผู้

และงูตัวเมียมา ส่งไปให้ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคาม ด้วยพระราชาณัติว่า

ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามจงรู้ว่า นี้งูตัวผู้ นี้งูตัวเมีย เมื่อไม่มีใครรู้ จะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 346

ปรับไหมพันกหาปณะ ชาวบ้านเมื่อไม่รู้ จึงถามมโหสถบัณฑิต มโหสถบัณฑิต

นั้น พอเห็นเท่านั้นก็รู้ ด้วยว่า หางของงูตัวผู้ใหญ่ หางของงูตัวเมียเรียว หัว

ของงูตัวผู้ใหญ่ หัวของงูตัวเมียเรียวยาว นัยน์ตาของงูตัวผู้ใหญ่ ของงูตัวเมีย

เล็ก ลวดลายของงูตัวผิดต่อกัน ลวดลายของงูตัวเมียขาด มโหสถบัณฑิต

แจ้งแก่ชาวบ้านว่า นี้งูตัวผู้ นี้งูตัวเมีย ด้วยความรู้ยิ่งเหล่านั้น ข้อความที่เหลือ

มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

หัวข้อว่า ไก่ มีความว่า อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชส่งข่าวไป

แก่ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามว่า ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามจงส่งโคตัวผู้อัน

เป็นมงคล ขาวทั้งตัว มีเขาที่เท้า มีโหนกที่หัว ร้องไปล่วง ๓ เวลา มาแก่

เรา ถ้าไม่ส่ง จะปรับไหมพันกหาปณะ ชาวบ้านเหล่านั้นเมื่อไม่รู้ จึงถาม

มโหสถบัณฑิต มโหสถบัณฑิตกล่าวว่า พระราชาให้สั่งไก่ขาวทั้งตัวไปถวาย

นั่นเอง เพราะว่าไก่นั้นชื่อว่ามีเขาที่เท้า เพราะมีเดือยที่เท้า ชื่อว่ามีโหนกที่

หัว เพราะมีหงอนที่หัว ชื่อว่าร้องไม่ล่วง ๓ เวลา เพราะขัน ๓ ครั้ง ฉะนั้น

ท่านทั้งหลายจงส่งไก่มีลักษณะอย่างนี้ไปถวาย ชาวบ้านเหล่านั้นก็ส่งไปถวาย

แด่พระราชา พระราชาทรงยินดี.

หัวข้อว่า แก้วมณี มีความว่า ดวงแก้วมณีที่ท้าวสักกเทวราช

ประทานแก่พระเจ้ากุสราชมีอยู่ ดวงแก้วมณีนั้นมีโค้งในที่ ๘ แห่ง ด้ายเก่า

ของดวงแก้วมณีนั้นขาด ไม่มีใครจะสามารถนำด้ายเก่าออกแล้วร้อยด้ายใหม่

เข้าไป วันหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชให้ส่งข่าวไปถึงชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามว่า

ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามจงนำด้ายเก่าออกจากดวงแก้วมณีนี้ แล้วร้อยด้าย

ใหม่เข้าแทน ถ้าร้อยไม่ได้จะปรับไหมพันกหาปณะ. พวกมนุษย์ชาวบ้านไม่

สามารถจะนำด้ายเก่าออกแล้วร้อยด้ายใหม่เข้าแทนได้ เมื่อไม่สามารถจึงแจ้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 347

แก่มโหสถบัณฑิต มโหสถบัณฑิตกล่าวว่า อย่าวิตกไปเลย แล้วให้นำน้ำผึ้ง

มาทาช่องแก้วมณีทั้งสองข้าง ให้ฟั่นด้วยขนสัตว์เอาน้ำผึ้งทาปลายด้ายนั้น ร้อย

เข้าไปในช่องหน่อยหนึ่ง วางไว้ในที่มดแดงทั้งหลายจะออก เหล่ามดแดงพา

กันออกจากที่อยู่ของมันมากินด้ายเก่าในแก้วมณี แล้วไปคาบปลายด้ายขนสัตว์

ใหม่คร่าออกมาทางข้างหนึ่ง มโหสถบัณฑิตรู้ว่า ด้ายนั้นเข้าไปแล้ว ก็ให้แก่

ชาวบ้าน ให้ถวายแด่พระราชา พระราชามีพระดำรัสถามทรงสดับอุบายวิธี

ให้ด้ายนั้นเข้าไปได้ ทรงยินดี.

หัวข้อว่า ให้โคตัวผู้ตกลูก มีความว่า ได้ยินว่า วันหนึ่งพระราชา

ตรัสสั่งให้ราชบุรุษให้โคตัวผู้ เป็นมงคลเคี้ยวกินกุมมาสเป็นอันมากจนท้องโค

ให้ชำระล้างเขาทั้งสองแล้วทาด้วยน้ำมัน ให้เอาน้ำขมิ้นรดตัวส่งไปยังชาวบ้าน

นั้นด้วยพระราชาณัติว่า ได้ยินว่า พวกท่านเป็นนักปราชญ์ โคตัวผู้มงคลของ

พระราชานี้ตั้งครรภ์ ท่านทั้งหลายจงให้โคตัวผู้นี้ตกลูก แล้วส่งกลับไปพร้อม

ด้วยลูก เมื่อไม่ส่ง จะปรับไหมพันกหาปณะ พวกมนุษย์ชาวบ้านปรึกษากัน

ว่า พวกเราไม่สามารถจะทำได้อย่างนี้ จักทำอย่างไร จึงถามมโหสถบัณฑิต

มโหสถบัณฑิตคิดว่า เรื่องนี้ต้องย้อนปัญหา จึงถามว่า พวกท่านจัก

อาจหาคนที่แกล้วกล้าสามารถทูลกับพระราชาได้หรือ ชาวบ้านตอบว่า

เรื่องนั้น ไม่หนักใจเลย ท่านบัณฑิต ถ้าเช่นนั้น จงเรียกเขามา ชาวบ้าน

เหล่านั้น เรียกเขามาแล้ว ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะเขาว่า ท่านจง

สยายผมของท่านไว้ข้างหลังแล้วคร่ำครวญใหญ่มีประการต่าง ๆ ไปสู่ทวารพระ-

ราชนิเวศน์ ใครถามอย่าตอบ คร่ำครวญเรื่อยไป พระราชาตรัสเรียกมาถาม

เหตุที่เทวนาการ จงถวายบังคมแล้วทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่สมมติเทพ บิดาของ

ข้าพระองค์ไม่อาจจะคลอดบุตร วันนี้เป็นวันครบ ๗ ขอสมมติเทพทรงเป็นที่

พึ่งของข้าพระองค์ โปรดทรงทำอุบายที่จะคลอดบุตรแก่บิดาของข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 348

เมื่อพระราชาตรัสว่า คนคลั่งอะไรข้อนั้น ไม่ใช่ฐานะ ธรรมดาบุรุษคลอดบุตร

มีหรือ จงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าว่าอย่างนี้มีไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น

ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคาม จะยังมงคลอุสภให้ตกลูกได้อย่างไร บุรุษนั้นรับคำ

จะทำตามที่สั่งนั้นได้ ก็ได้ทำไปอย่างนั้น พระราชาทรงสดับคำบุรุษนั้น ตรัส

ถามว่า ย้อนปัญหานี้ใครคิด ได้ทรงทราบว่า มโหสถบัณฑิตคิด ก็โปรดปราน.

หัวข้อว่า ข้าว มีความว่า ในวันอื่นอีก พระราชาทรงดำริว่า เรา

จักทดลองมโหสถ จึงให้ส่งข่าวไปว่า ได้ยินว่า ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามเป็น

คนฉลาด ชาวบ้านนั้นจงหุงข้าวเปรี้ยวให้ประกอบด้วยองค์ ๘ มาให้เรา องค์

๘ นั้น คือ ไม่ให้หุงด้วยข้าวสาร ไม่ให้หุงด้วยน้ำ ไม่ให้หุงด้วยหม้อข้าว

ไม่ให้หุงด้วยเตาหุงข้าว ไม่ให้หุงด้วยไฟ ไม่ให้หุงด้วยฟืน ไม่ให้หญิงหรือ

ชายยกมา ไม่ให้นำมาส่งโดยทางพวกนั้น ส่งมาไม่ได้ จะปรับไหมพันกหาปณะ

พวกชาวบ้านหารู้เหตุไม่ จึงแจ้งแก่มโหสถบัณฑิต มโหสถบัณฑิตกล่าวว่า

อย่าตกใจไปเลย แล้วชี้ให้เห็นว่า ให้หุงด้วยข้าวแหลก อันไม่ชื่อว่าข้าวสาร

ให้หุงด้วยน้ำค้าง อันไม่ชื่อว่าน้ำปกติ ให้หุงด้วยภาชนะดินใหม่ อันไม่ชื่อว่า

หม้อข้าว ให้ตอกตอไม้ตั้งภาชนะนั้นหุง อันไม่ชื่อว่าหุงด้วยเตา ให้หุงด้วย

ไฟที่สีกันเกิดขึ้น อันไม่ชื่อว่าไฟปกติ ให้หุงด้วยใบไม้ อันไม่ชื่อว่าฟืน ชื่อ

ว่าหุงข้าวเปรี้ยว แล้วบรรจุในภาชนะใหม่ผูกด้วยด้ายประทับตรา อย่าให้หญิง

หรือชายยกไป ให้กระเทยยกไป ไปโดยทางน้อยละทางใหญ่. อันชื่อว่า

ไม่มาโดยทาง ส่งข้าวเห็นปานดังนี้ไปถวายพระราชา ชาวบ้านได้ทำตามนัยนั้น

พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยานั้น จึงตรัสถามว่า ปัญหานี้ใครรู้ ทรง

ทราบว่า มโหสถรู้ ก็โปรดปราน.

หัวข้อว่า ชิงช้าห้อยด้วยเชือกทราย มีความว่า ในวันนั้นอีก

พระราชาให้ส่งข่าวไปยังชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคาม เพื่อทดลองมโหสถบัณฑิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

ว่า พระราชาใคร่จะทรงเล่นชิงช้าห้อยด้วยเชือกทราย เชือกทรายเก่าในราชสกุล

ขาดเสียแล้ว ให้ชาวบ้านนั้นฟั่นเชือกทรายหนึ่งเส้นส่งมาถวาย ถ้าส่งมาถวาย

ไม่ได้ จะปรับไหมพันกหาปณะ. ชาวบ้านเหล่านั้นไม่รู้เหตุ จึงแจ้งแก่มโหสถ-

บัณฑิต มโหสถบัณฑิตคิดว่า เรื่องนี้ต้องย้อนปัญหา พูดเอาใจชาวบ้าน

ไม่ให้วิตกแล้ว เรียกคนฉลาดพูดมาสองสามคน สั่งสอนให้ไปทูลพระราชาว่า

ข้าแต่สมมติเทพ ชาวบ้านไม่ทราบประมาณแห่งเชือกนั้น ว่าเล็กใหญ่เท่าไร

ขอสมมติเทพโปรดให้ส่งท่อนแต่เชือกทรายเส้นเก่าสักหนึ่งคืบ หรือสี่นิ้วเป็น

ตัวอย่าง ชาวบ้านเห็นประมาณนั้นแล้ว จักได้ฟั่นเท่านั้น ถ้าพระราชารับสั่ง

แก่ท่านทั้งหลายว่า เชือกทรายในพระราชฐานของเราไม่เคยมีแต่ไหนมา ท่าน

ทั้งหลายจงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช เชือกทรายตัวอย่างนั้นไม่มี ชาว

บ้านปาจีนยวมัชฌคาม จักทำอย่างไรเล่า พระเจ้าว่า ชาวบ้านเหล่านั้นไป

ทำตามมโหสถแนะนำ พระราชาตรัสถามว่า ย้อนปัญหานี้ใครคิด ทรงทราบ

ว่า มโหสถคิด ก็ทรงยินดี.

หัวข้อว่า สระน้ำ มีความว่า ในวันอื่นอีก พระเจ้าวิเทหราชให้ส่ง

ข่าวแก่ชาวบ้านเหล่านั้น เพื่อจะทดลองมโหสถว่า พระราชามีพระราชประสงค์

จะทรงเล่นน้ำ ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามจงส่งสระโบกขรณีอันดาดาษด้วยบัว

เบญจพรรณมา ถ้าพวกชาวบ้านนั้นไม่ส่งมา จะปรับไหมพันกหาปณะ ชาว

บ้านเหล่านั้นแจ้งแก่มโหสถบัณฑิต มโหสถบัณฑิตคิดว่า เรื่องนี้ต้องย้อน

ปัญหา จึงสั่งให้เรียกคนผู้ฉลาดพูดมาสองสามคน สั่งสอนให้พูดแล้วส่ง

ไปให้ทูลว่า ท่านทั้งหลายจงเล่นน้ำจนตาแดง ทั้งผมทั้งผ้ายังเปียก

ตัวเปื้อนโคลน ถือเชือกก้อนดินและท่อนไม้ไปสู่ทวารพระราชนิเวศน์

ให้กราบทูลความที่มายืนคอยเฝ้าพระราชา ได้โอกาสแล้วเข้าเฝ้ากราบทูลว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะทรงส่งข่าวไปให้ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามส่ง

สระโบกขรณีมาถวาย ก็แต่สระโบกขรณีนั้น เห็นพระนครอันมีกำแพง ดู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 350

ประตู หอรบ ก็กลัว ตัดเชือกหนีเข้าป่าไป เพราะเคยอยู่ในป่า พวกข้าพระองค์

โบยตีด้วยก้อนดินและท่อนไม้ ก็ไม่สามารถจะให้กลับ ขอพระองค์โปรด

พระราชทานสระโบกขรณีเก่าของพระองค์ที่นำมาแต่ป่า พวกข้าพระองค์จักผูก

ควบเข้ากับสระโบกขรณีใหม่นำมาถวาย เมื่อพระราชารับสั่งว่า สระโบกขรณี

ของเราที่นำมาแต่ป่า ไม่เคยมีมาแต่กาลไหน ๆ เราไม่เคยส่งสระโบกขรณีไป

เพื่อผูกกับอะไร ๆ นำมาฉะนี้ จงทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าเมื่ออย่างนี้ ชาว

บ้านปาจีนยวมัชฌคาม จักส่งสระโบกขรณีมา ถวายอย่างไรได้ ชาวบ้านที่รับ

คำแน่ะนำของมโหสถ ก็ไปทำกาลทุกประการ พระราชาทรงทราบว่า มโหสถ

รู้ปัญหานี้ ก็ทรงยินดี.

หัวข้อว่า อุทยาน มีความว่า อีกวันหนึ่ง โปรดให้ส่งข่าวไปอีก

โดยพระราชาณัติว่า พระองค์ใคร่จะทรงเล่นอุทยาน ก็แต่ราชอุทยานต้นไม้

เก่าหักโค่นเสียหมด ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคาม จงส่งอุทยานใหม่ ให้ดาดาษ

ไปด้วยดรุณรุกขชาติทรงดอกบานงามเข้ามาถวาย ถ้าไม่ส่งเข้ามาตามพระราช

ประสงค์ จะปรับไหมพันกหาปณะ ชาวบ้านเหล่านั้นไม่รู้เหตุก็นำความแจ้ง

แก่มโหสถ มโหสถบัณฑิตคิดว่า เรื่องนี้ต้องย้อนปัญหา จึงเรียกคนทั้งหลาย

มาสั่งไปโดยนัย อันมีในก่อนนั่นแล คนเหล่านั้นก็ไปทำตามสั่ง พระราชา

ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสถามเสนกอาจารย์ว่า เราควรนำมโหสถบัณฑิตมาละ

กระมัง อาจารย์เสนกะกราบทูลด้วยความตระหนี่ลาภสักการะว่า บุคคลไม่ชื่อ

ว่าเป็นบัณฑิตด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ขอได้ทรงรอไปก่อน พระเจ้าวิเทหราชได้

ทรงฟังคำของเสนกบัณฑิตแล้วมีพระดำริว่า มโหสถบัณฑิตแก้ปัญหาแห่งทารก

ทั้ง ๗ ข้อถูกใจเรา การพยากรณ์ในการทดลองปัญหาลึกลับ และในการย้อน

ปัญหาเห็นปานนี้ของมโหสถนั้น เป็นดุจของพระพุทธเจ้า อาจารย์เสนกะไม่ให้

นำบัณฑิตเห็นปานนี้มาในที่นี้ เราจะต้องการอะไร ด้วยเสนกะคัดค้าน เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 351

จักนำมโหสถบัณฑิตนั้นมา พระเจ้าวิเทหราชก็เสด็จไปสู่บ้านนั้น ด้วยบริวาร

ใหญ่ เมื่อพระราชาทรงม้ามงคลเสด็จไป กีบของม้ากระทบพื้นระแหงก็แตก

พระราชาก็เสด็จกลับแต่ที่นั้นเข้าพระนคร ลำดับนั้น อาจารย์เสนกะเข้าเฝ้า

พระราชาทูลถามว่า พระองค์เสด็จไปบ้านปาจีนยวมัชฌคาม เพื่อนำมโหสถ

บัณฑิตมาหรือ พระเจ้าข้า ครั้นได้ฟังกระแสรับสั่งว่าเสด็จไป จึงทูลว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ทึกทักเอาข้าพระองค์ว่าเป็นผู้ใคร่ความพินาศ ก็

ทรงพิจารณ์เห็นหรือยัง ในเมื่อข้าพระองค์ทัดทานให้ทรงรอไว้ก่อน ก็บังเอิญ

กีบม้ามงคลรีบด่วนออกไปแตกด้วยไปครั้งแรกทีเดียว พระเจ้าวิเทหราชได้ทรง

ฟังคำของเสนกะก็ทรงดุษณีภาพ.

อีกวันหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชทรงปรึกษากับเสนกะว่า เราจะนำ

มโหสถมา เสนกะทูลว่า พระองค์อย่าเสด็จไปเอง ส่งทูตไปยังมโหสถว่า เมื่อ

พระองค์เสด็จไปสู่สำนักเธอ กีบม้าที่นั่งแตก เธอจงส่งม้าอัสดรหรือม้าประเสริฐ

กว่าม้าสามัญมา ถ้าเธอจักส่งม้าอัสดรมา เธอจงมาเอง แต่เมื่อจะส่งแต่ม้า

ประเสริฐมา จงส่งบิดาของเธอมาด้วย ปัญหาของเรานี้แหละจักถึงที่สุด พระ-

ราชาทรงเห็นชอบด้วย จึงส่งราชทูตไปดังว่านั้น มโหสถบัณฑิตได้ฟังคำ

ราชทูต จึงคิดว่า พระราชาทรงใคร่จะพบเราและบิดาของเรา จึงไปหาบิดา

ไหว้แล้วกล่าวว่า พระราชาทรงใคร่จะพบบิดาและข้าพเจ้า ขอบิดาจงพร้อมด้วย

อนุเศรษฐีพันหนึ่งเป็นบริวารไปเฝ้าก่อน เมื่อไปอย่าไปมือเปล่า จงเอาผอบ

ไม้จันทน์เต็มด้วยเนยใสใหม่ไปด้วย พระราชาจักตรัสปฏิสันถารกับบิดา ตรัส

เรียกให้นั่งว่า จงนั่งที่อาสน์อันสมควร บิดาจงรู้อาสน์อันสมควรแล้วนั่ง เมื่อ

บิดานั่งแล้ว ข้าพเจ้าจักไป พระราชาจักตรัสทักทายข้าพเจ้า ตรัสนั่งให้นั่งว่า

จงที่อาสนะอันสมควร แต่นั้นข้าพเจ้าจักแลดูบิดา บิดาจงลุกจากอาสน์ด้วย

สัญญานั้น กล่าวว่า แน่ะพ่อมโหสถ พ่อจงนั่ง ณ อาสน์นี้ ปัญหาอย่างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 352

จักถึงที่สุดในวันนี้ สิริวัฒกเศรษฐีรับจะทำตามนั้น แล้วก็ไปโดยนัยที่กล่าว

แล้ว ให้ทูลความที่คนมายืนรออยู่ที่พระทวารแด่พระราชา ครั้นได้พระราชา-

นุญาติแล้วจึงเข้าไปเฝ้า ถวายบังคมพระราชา ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง

พระราชาทรงทักทายปราศรัยตรัสถามว่า ดูก่อนคฤหบดี มโหสถบุตรของท่าน

อยู่ไหน เศรษฐีทูลตอบว่า มาภายหลัง พระราชาทรงทราบดังนี้ก็ดีพระหฤทัย

ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงดูอาสน์ควรแก่ตนนั่ง เศรษฐีนั้นก็นั่ง ณ

อาสน์ที่ควรแก่ตนในที่ส่วนหนึ่ง ฝ่ายพระโพธิสัตว์ประดับตกแต่งตัวแล้ว มีเด็ก

พันหนึ่งห้อมล้อมนั่งรถที่ประดับแล้ว เมื่อเข้าสู่พระนคร เห็นฬาตัวหนึ่งเที่ยว

อยู่ที่หลังคู บังคับบริวารที่มีกำลังว่า เจ้าจงผูกฬาตัวหนึ่งที่ปากอย่าให้ร้องได้

แล้วห่อด้วยเสื่อลำแพน ให้นอนในเครื่องลาดแบกมา บริวารเหล่านั้น ก็ทำ

ตามสั่ง พระโพธิสัตว์เข้าสู่พระนครด้วยบริวารมาก มหาชนเห็นพระโพธิสัตว์

มาดังนั้น ก็พากันชมเชยดูพระโพธิสัตว์ไม่รู้อิ่มว่า บุตรแห่งสิริวัฒกเศรษฐีนี้

ชื่อว่า มโหสถบัณฑิต เมื่อเธอเกิดมาก็ถือแท่งโอสถมาด้วย เธอรู้เปรียบเทียบ

ปัญหาที่ทดลองมีประมาณเท่านี้ได้ มโหสถไปถึงทวารพระราชฐาน ให้กราบ

ทูลพระราชาให้ทรงทราบ พระราชาทรงสดับว่ามโหสถมา ก็ทรงโสมนัสตรัสว่า

มโหสถบุตรเราจงรีบมาเถิด มโหสถพร้อมด้วยเด็กพันหนึ่งเป็นบริวาร ขึ้นสู่

ปราสาทถวายบังคมพระราชา ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง พระราชาทอดพระเนตร

เห็นมโหสถก็ทรงพระปราโมทย์ ตรัสปฏิสันถารอย่างอ่อนหวานว่า แน่ะบัณฑิต

เจ้าจงรู้อาสน์ที่สมควรนั่งเถิด กาลนั้น พระโพธิสัตว์แลดูเศรษฐีผู้บิดา ลำดับนั้น

บิดาของมโหสถก็ลุกจากอาสน์ด้วยสัญญาที่บุตรแลดูแล้ว กล่าวว่า แน่ะบัณฑิต

เจ้าจงนั่งที่อาสน์นี้ มโหสถก็นั่งที่อาสน์นั้น เสนกะ ปุกกุสะ กามินทะ เทวินทะ

และชนเหล่าอื่นผู้โฉดเขลา ก็พากันตบมือสรวลเสเฮฮาเยาะเย้ยว่า คนทั้งหลาย

พากันเรียกคนโฉดเขลาผู้นี้ว่า บัณฑิต การเรียกผู้ที่ให้บิดาลุกจากอาสน์แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 353

ตนนั่งเสียเองนี้ว่า บัณฑิต ไม่สมควร พระราชามีพระพักตร์เศร้าหมองทรง

เสียพระหฤทัย ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลถามพระราชาว่า พระองค์เสียพระราช

หฤทัยหรือพระเจ้าข้า พระราชามีพระราชดำรัสตอบว่า เออ ข้าเสียใจ เพราะ

ได้ฟังความเป็นไปของเจ้าก็เป็นที่ยินดี แต่พอได้เห็นความเป็นไปของเจ้าก็เกิด

เสียใจ เพราะว่าเจ้าให้บิดาของเจ้าลุกจากอาสน์แล้ว เจ้านั่งเสียเอง มโหสถจึง

ทูลถามว่า ก็พระองค์ทรงสำคัญว่า บิดาอุดมกว่าบุตรในที่ทั่วไปหรือ ครั้น

ตรัสตอบว่า เข้าใจอย่างนั้น จึงกราบทูลว่า พระองค์พระราชทาน

ข่าวไปว่า ให้ข้าพระบาทส่งม้าอัสดรหรือม้าประเสริฐกว่าม้าสามัญมาถวาย

ไม่ใช่หรือพระเจ้าข้า กราบทูลดังนี้แล้ว ลุกจากอาสน์ให้ที่แก่บริวารให้นำฬา

ที่นำมานั้น มาให้นอนแทบพระบาทยุคลแห่งพระเจ้าวิเทหราช แล้วกราบทูล

ถามว่า ฬานี้ราคาเท่าไรพระเจ้าข้า พระราชาตรัสตอบว่า ถ้ามันมีอุปการะ

ราคามัน ๘ กหาปณะ มโหสถทูลถามต่อไปว่า ก็ม้าอัสดรอาศัยฬานี้เกิดขึ้นท้อง

นางม้าสามัญ หรือนางฬาอันเป็นแม่ม้าอาชาไนย ราคาเล่าไรเล่า พระเจ้าข้า

ครั้นพระราชาตรัสตอบว่า หาค่ามิได้ซิ เจ้าบัณฑิต ดังนี้ จึงทูลว่า ข้าแต่

สมมติเทพ เหตุไรตรัสดังนั้น ก็พระองค์ตรัสเมื่อกี้นี้ว่า บิดาอุดมกว่าบุตร

ในที่ทุกสถานมิใช่หรือ ถ้าพระราชดำรัสนั้นจริง ฬาก็อุดมกว่าม้าอัสดรของ

พระองค์ พระองค์จงทรงรับฬานั้นไว้ ถ้าว่าม้าอัสดรอุดมกว่าฬาทั้งหลาย

พระองค์จงทรงรับม้าอัสดรนั้นไว้ ก็เป็นอย่างไร บัณฑิตทั้งหลายของพระองค์

จึงไม่สามารถจะรู้เหตุเท่านี้ พากันตบมือหัวเราะเฮฮา โอ บัณฑิตทั้งหลาย

ของพระองค์บริบูรณ์ด้วยปัญญา พวกนั้นพระองค์ได้มาแต่ไหน ทูลฉะนี้

กล่าวเยาะเย้ยบัณฑิต ๔ คน แล้วทูลพระราชาด้วยคาถาในเอกนิบาตว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 354

ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ถ้าพระองค์ทรงสำ-

คัญอย่างนี้ว่า บิดาประเสริฐกว่าบุตร ฬาของพระองค์

นี้ก็ประเสริฐกว่าม้าอัสดร เพราะว่าฬาเป็นพ่อของม้า

อัสดร.

คาถานั้นมีความว่า ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ถ้าพระองค์ทรงสำคัญ

ว่า บิดาประเสริฐกว่าบุตรในที่ทั้งปวง ฬาตัวนี้ก็ประเสริฐกว่าแม้ม้าอัสดรของ

พระองค์ เพราะเหตุไร เพราะฬาเป็นพ่อของม้าอัสดร ก็แลครั้นทูลอย่างนี้

แล้ว พระมหาสัตว์ก็กราบทูลว่า ถ้าบิดาประเสริฐกว่าบุตรทั้งหลาย ขอได้

ทรงรับบิดาของข้าพระองค์ไว้ ถ้าบุตรประเสริฐกว่าบิดา ขอได้ทรงรับข้าพระ-

องค์ไว้ เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงฟังคำนั้นก็ทรง

โสมนัส ราชบริษัททั้งปวงก็แซ่ซ้องสาธุการว่า มโหสถบัณฑิตกล่าวปัญหา

ดีแล้ว เสียงปรบมือและการยกแผ่นผ้าเป็นพัน ๆ ได้เป็นไปแล้ว บัณฑิต

คน ต่างมีหน้าเศร้าหมองซบเซาไปตาม ๆ กัน.

ปุจฉาว่า บุคคลผู้รู้คุณแห่งบิดามารดา เช่นกับพระโพธิสัตว์ย่อม

ไม่มีมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรพระโพธิสัตว์จึงทำอย่างนี้.

วิสัชนาว่า พระโพธิสัตว์นั้นได้ทำอย่างนั้น เพื่อประสงค์จะดูหมิ่น

บิดาก็หาไม่ ก็แต่พระราชาส่งข่าวไปว่า ให้ส่งม้าอัสดรหรือม้าประเสริฐกว่านี้

สามัญมาถวาย เพราะฉะนั้น จึงทำอย่างนี้ เพื่อจะทำปัญหานั้นให้แจ่มแจ้ง

เพื่อจะประกาศความที่ตนเป็นบัณฑิต และเพื่อจะทำอาจารย์ทั้ง ๔ มีเสนกะ

เป็นต้นให้หมดรัศมี.

จบ ปัญหาฬา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 355

พระเจ้าวิเทหราชทรงยินดี จับพระเต้าทองคำอันเต็มด้วยน้ำหอม

ทรงหลั่งน้ำนั้นลงในมือสิริวัฒกเศรษฐี พระราชทานให้ปกครองปาจีนยวมัชฌ-

คาม แล้วตรัสว่า เหล่าอนุเศรษฐีจงบำรุงสิริวัฒกเศรษฐี แล้วให้ส่งเครื่อง

สรรพาสังการพระราชทานแก่นางสุมนาเทวีมารดาพระโพธิสัตว์ ทรงเลื่อมใส

ในปัญหาฬา จึงตรัสกะเศรษฐีเพื่อจะทรงรับพระโพธิสัตว์ไว้เป็นราชบุตรที่รัก

ของพระองค์ว่า ดูก่อนคฤหบดีผู้เจริญ ท่านจงให้มโหสถบัณฑิตไว้เป็นราช-

บุตรแห่งเรา เศรษฐีทูลค้านว่า ข้าแต่สมมติเทพ มโหสถบุตรของข้าพระองค์

นี้ยังเด็กนัก จนถึงวันนี้ กลิ่นน้ำนมในปากของเธอยังได้กลิ่นอยู่ ต่อในกาล

เมื่อเธอเป็นผู้ใหญ่ เธอจึงอยู่ในราชสำนัก พระราชาตรัสว่า จำเดิมแต่นี้ไป

ท่านอย่าห่วงใยในมโหสถเลย มโหสถนี้จักเป็นราชบุตรของเราแต่วันนี้ไป

เราพอจะเลี้ยงบุตรของท่านได้ ท่านจงกลับบ้านเถิด ตรัสฉะนี้แล้วมีพระราชา-

นุญาตให้เศรษฐีกับบ้าน เศรษฐีถวายบังคมบรมกษัตริย์แล้วสวมกอดมโหสถ

ให้นอนแนบอก จุมพิตศีรษะ ให้โอวาทแก่มโหสถว่า แน่ะพ่อดุจดวงใจ

ดุจดวงตาอันประเสริฐ พ่อมโหสถผู้บัณฑิต พ่ออย่าทำให้บิดาหาที่พึ่งมิได้

จำเดิมแต่นี้ไป พ่อจงบำรุงพระราชาของเราทั้งหลายด้วยความไม่ประมาทเถิด

มโหสถไหว้บิดาแล้วกล่าวว่า บิดาอย่าวิตกเลย แล้วส่งให้บิดากลับเคหสถาน

แห่งตน.

พระเจ้าวิเทหราชตรัสถามมโหสถว่า เจ้าจักเป็นข้าหลวงเรือนในหรือ

ข้าหลวงเรือนนอก พระโพธิสัตว์คิดว่า บริวารของเรามีมาก ควรเราจักเป็น

ข้าหลวงเรือนนอก จึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์จักเป็นข้าหลวงเรือนนอก

ลำดับนั้น พระราชาจึงพระราชทานเคหสถานอันสมควร แล้วพระราชทานเสบียง

และเครื่องอุปโภคทั้งปวง ตลอดถึงบริวารพันหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมา มโหสถ

บัณฑิตก็บำรุงพระราชา ฝ่ายพระราชาก็ทรงใคร่จะทดลองมโหสถนั้นต่อไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 356

ก็กาลนั้น แก้วมณีได้มีอยู่ในรังกาบนต้นตาลต้น หนึ่งที่ริมฝั่งสระโบก-

ขรณี ไม่ไกลประตูเบื้องทักษิณแห่งพระนคร เงาของแก้วมณีนั้นปรากฏใน

สระโบกขรณี ชนทั้งหลายทูลแด่พระราชาว่า แก้วมณีมีอยู่ในสระโบกขรณี

พระราชาตรัสเรียกเสนกะมาตรัสถามว่า แน่ะอาจารย์เสนกะ ได้ยินว่า มณีรัตนะ

ปรากฏในสระโบกขรณี ทำอย่างไร จึงจะถือเอาแก้วมณีนั้นได้ ครั้นเสนกทูล

ว่า ควรวิดน้ำถือเอา จึงควรมอบการทำนั้นให้เป็นภาระของเสนกนั้น อาจารย์

เสนกให้คนเป็นอันมากประชุมกันวิดน้ำโกยตมออกจากสระโบกขรณี แม้ขุดถึง

พื้นก็ไม่เห็นแก้วมณี เมื่อน้ำเต็มสระโบกขรณี เงาแก้วมณีก็ปรากฏอีก เสนก

แม้ทำดังนั้นอีก ก็ไม่เห็นแก้วมณีนั้นเลย ต่อนั้นพระราชาตรัสเรียกมโหสถ-

บัณฑิตมาตรัสว่า แก้วมณีดวงหนึ่งปรากฏในสระโบกขรณี อาจารย์เสนกให้

นำน้ำและโคลนออกจากสระโบกขรณี กระทั่งขุดพื้นก็ไม่เห็นแก้วมณีนั้น เมื่อ

น้ำเต็มสระโบกขรณี เงาแก้วมณีก็ปรากฏอีก เจ้าสามารถจะให้เอาแก้วมณีนั้น

มาได้หรือ มโหสถกราบทูลสนองว่า ข้อนั้นหาเป็นการหนักไม่ พระเจ้าข้า

เชิญเสด็จเถิด ข้าพระองค์จักแสดงแก้วมณีนั้นถวาย พระเจ้าวิเทหราชได้สดับ

ดังนั้นก็ทรงดีพระหฤทัย ทรงคิดว่า วันนี้เราจักเห็นกำลังปัญญาของมโหสถ

บัณฑิต ก็เสด็จพร้อมด้วยข้าราชบริพารไปสู่ฝั่งโบกขรณี พระมหาสัตว์ยืนที่ฝั่ง

แลดูมณีรัตนะก็รู้ว่า แก้วมณีนี้ไม่มีในสระโบกขรณี มีอยู่บนต้นตาล จึง

จึงกราบทูลว่า แก้วมณีไม่มีในสระโบกขรณี พระเจ้าข้า ครั้นรับสั่งว่า แก้ว-

มณีปรากฏในน้ำไม่ใช่หรือ จึงให้นำภาชนะสำหรับขังน้ำมาใส่น้ำเต็ม แล้ว

กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์ทอดพระเนตร แก้วมณีนี้หาได้

ปรากฏในสระโบกขรณีแต่แห่งเดียวไม่ แม้ในภาชนะน้ำก็ปรากฏ ครั้นตรัส

ถามว่า เจ้าบัณฑิต ก็แก้วมณีมีอยู่ที่ไหน จึงกราบทูลสนองว่า ข้าแต่สมมติเทพ

เงาปรากฏในสระโบกขรณีบ้าง ในภาชนะน้ำบ้าง แก้วมณีไม่ได้อยู่ในสระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 357

โบกขรณี แต่แก้วมณีมีอยู่ในรังกาบนต้นตาล โปรดให้ราชบุรุษขึ้นไปนำลง

มาถวายเถิด พระราชาก็ตรัสให้ราชบุรุษขึ้นไปนำแก้วมณีลงมา มโหสถบัณฑิต

รับแก้วมณีจากราชบุรุษแล้ววางในพระหัตถ์ของพระราชา มหาชนให้สาธุการ

แก่มโหสถบัณฑิต บริภาษอาจารย์เสนก ชมเชยมโหสถว่า แก้วมณีอยู่บน

ต้นตาล เสนกโง่ให้คนมากมายขุดสระทำลายสระโบกขรณี แต่มโหสถบัณฑิต

ไม่ทำเช่นนั้น แม้พระเจ้าวิเทหราชก็ทรงโสมนัส พระราชทานสร้อยมุกดาหาร

เครื่องประดับพระศอของพระองค์แก่มโหสถ พระราชทานสร้อยมุกดาวลีแก่

เด็กผู้เป็นบริวารพันหนึ่ง ทรงอนุญาตพระโพธิสัตว์พร้อมบริวารให้ปฏิบัติ

ราชการโดยทำนองนี้.

จบปัญหา ๑๙ ข้อ

อีกวันหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปพระราชอุทยานกับ

มโหสถบัณฑิต กาลนั้น มีกิ้งก่าตัวหนึ่งอยู่ที่ปลายเสาค่าย มันเห็นพระราชา

เสด็จมาก็ลงจากเสาค่ายหมอบอยู่ที่พื้นดิน พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยา

ของกิ้งก่านั้นจึงตรัสถามว่า แน่ะบัณฑิต กิ้งก่าตัวนี้ทำอะไร มโหสถทูลตอบ

ว่า กิ้งก่าตัวนี้ถวายตัว พระเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า การถวายตัวของกิ้งก่า

อย่างนี้ ไม่มีผลก็หามิได้ ท่านจงให้โภคสมบัติแก่มัน มโหสถกราบทูลว่า

กิ้งก่านี้หาต้องการทรัพย์ไม่ ควรพระราชทานเพียงแค่ของกินก็พอ ครั้นตรัส

ถามว่า มันกินอะไร ทูลตอบว่า มันกินเนื้อ แล้วตรัสซักถามว่า มันควรได้

ราคาเท่าไร ทูลว่า ราคาราวกากณึกหนึ่ง จึงตรัสสั่งราชบุรุษหนึ่งว่า รางวัล

ของหลวงเพียงกากณึกหนึ่งไม่ควร เจ้าจงนำเนื้อราคากึ่งมาสกมาให้มัน กินเป็น

นิตย์ ราชบุรุษรับพระราชโองการ ทำดังนั้นจำเดิมแต่นั้นมา วันหนึ่งเป็น

วันอุโบสถ คนไม่ฆ่าสัตว์ ราชบุรุษนั้นไม่ได้เนื้อ จึงเจาะเหรียญกึ่งมาสกนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 358

เอาด้ายร้อยผูกเป็นเครื่องประดับที่คอมัน ลำดับนั้น ความถือตัวก็เกิดขึ้นแก่

กิ้งก่านั้น อาศัยมันมีกิ่งมาสกนั้น วันนั้น พระราชาเสด็จไปพระราชอุทยาน

กิ้งก่านั้นเห็นพระราชาเสด็จมา ก็ทำตนเสมอพระราชาด้วย เหมือนจะเข้าใจว่า

พระองค์มีพระราชทรัพย์มากหรือ ตัวเราก็มีมากเหมือนกัน ด้วยอำนาจความ

ถือตัวอันอาศัยทรัพย์กึ่งมาสกนั้นเกิดขึ้น ไม่ลงจากปลายเสาค่าย หมอบยกหัว

ร่อนอยู่ไปมาบนปลายเสาค่ายนั่นเอง พระเจ้าวิเทหราชได้ทอดพระเนตรเห็น

กิริยาของมัน เมื่อจะตรัสถามว่า แน่ะเจ้าบัณฑิต วันนี้ มันไม่ลงมาเหมือน

ในก่อน เหตุเป็นอย่างไรหรือ จึงตรัสคาถานี้ว่า

กิ้งก่านี้ไม่ลงจากปลายเสาค่ายหมอบเหมือนใน

ก่อน เจ้าจงรู้กิ้งก่ากระด้างด้วยเหตุไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น อุนฺนมติ ความว่า วันนี้กิ้งก่าไม่

ลงหมอบยกหัวร่อนอยู่ไปมาบนปลายเสาค่ายนั่นเอง ฉันใด กิ้งก่าไม่ลงมาหมอบ

อย่างในก่อนฉันนั้น. บทว่า เกน ถทฺโธ ความว่า ถึงความกระด้างด้วย

เหตุไร.

ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตรู้ว่า ในวันอุโบสถ คนไม่ฆ่าสัตว์ มัน

อาศัยกึ่งมาสกที่ราชบุรุษผูกไว้ที่คอ เพราะหาเนื้อให้กินไม่ได้ ความถือตัวของ

มันจึงเกิดขึ้น ดังนี้จึงกล่าวคาถานี้ว่า

กิ้งก่าได้กึ่งมาสกซึ่งไม่เคยได้ จึงดูหมิ่นพระเจ้า

วิเทหราช ผู้ทรงสงเคราะห์ชาวกรุงมิถิลา.

พระราชาตรัสให้เรียกราชบุรุษนั้นมาตรัสถาม ก็ได้ความสมจริง

ดังนั้น ก็ทรงเลื่อมใสในพระโพธิสัตว์เกินเปรียบ ด้วยเห็นว่า อัธยาศัยของ

กิ้งก่า มโหสถไม่ได้ถาม อะไร ๆ ก็รู้ได้ ดังพระสัพพัญญูพุทธเจ้ารู้อัธยาศัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 359

เวไนยสัตว์ นั้น จึงพระราชทานส่วยที่ประตูทั้ง ๔ แก่มโหสถบัณฑิต แต่

กริ้วกิ้งก่าทรงปรารภจะให้ฆ่าเสีย มโหสถทูลทัดทานพระราชาว่า ธรรมดา

สัตว์ดิรัจฉานหาปัญญามิได้ ขอพระองค์โปรดยกโทษให้มันเถิด ขอเดชะ.

จบ ปัญหากิ้งก่า

ครั้งนั้น มีมาณพคนหนึ่ง ชื่อปิงคุตตระเป็นชาวมิถิลา ไปกรุงตักกศิลา

เรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เรียนได้รวดเร็ว มาณพนั้น ให้ทรัพย์

เครื่องตอบคุณแล้วลาอาจารย์กลับบ้าน ก็ธรรมเนียมมีอยู่ว่า ถ้าธิดาในสกุล

นั้นเป็นผู้เจริญวัย อาจารย์ต้องยกให้แก่ศิษย์ผู้ใหญ่ อาจารย์นั้นมีธิดาอยู่คน

หนึ่ง มีรูปงามเปรียบด้วยเทพอัปสร ลำดับนั้น อาจารย์กล่าวกะปิงคุตตรมาณพ

นั้นว่า เราให้ธิดาแก่เจ้า เจ้าจงพาไปด้วย แต่มาณพนั้นไม่ใช่ผู้มีบุญ เป็น

คนกาลกรรณี ส่วนนางกุมาริกาเป็นผู้มีบุญมาก จิตของปิงคุตตรมาณพมิได้

ปฏิพัทธ์เพราะเห็นนางกุมาริกานั้น มาณพนั้น แม้ไม่ปรารถนานางกุมาริกาก็

ต้องรับด้วยคิดว่า เราจักไม่ทำลายคำของอาจารย์ พราหมณ์ทิศาปาโมกข์ได้

ให้ธิดาแก่มาณพนั้น มาณพนั้นนอน ณ ที่นอนอันมีสิริที่ตกแต่งแล้วในเวลา

ราตรี ให้ละอายใจในเพราะนางกุมารีนั้นมาขึ้นนอนด้วย ก็ลงจากที่นอน

นอนที่ภาคพื้น ฝ่ายนางกุมาริกากึ่งมานอนใกล้ ๆ มาณพนั้น มาณพก็ลุกขึ้น

ไปบนที่นอน นางกุมาริกานั้นก็ขึ้นไปยังที่นอนอีก พอนางกุมาริกาขึ้นไป

มาณพก็ลงจากที่นอน นอนที่ภาคพื้นอีก ชื่อว่ากาลกรรณีย่อมไม่ร่วมกับสิริ

นางกุมาริกานอนที่ที่นอน มาณพนั้นนอนที่ภาคพื้น มาณพนั้น ยังกาลให้ล่วง

ไปอย่างนี้สิ้นสัปดาห์หนึ่ง ก็พานางกุมาริกานั้นไหว้อาจารย์ออกจากพระนคร

ตักกศิลา ในระหว่างทางมิได้พูดจาปราศรัยกันเลย ชนทั้งสองมิได้มีความ

ปรารถนากัน ได้มาถึงกรุงมิถิลา ฝ่ายปิงคุตตรมาณพเห็นต้นไม้มะเดื่อต้นหนึ่ง

เต็มไปด้วยผลในที่ใกล้พระนคร ถูกความหิวเบียดเบียนก็ขึ้นต้นไม้นั้น เคี้ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 360

กินผลมะเดื่อ ฝ่ายนางกุมาริกานั้นก็หิวโหย จึงไปที่โคนต้นไม้กล่าวว่า ข้าแต่

นาย จงทิ้งผลลงมาให้ข้าพเจ้าบ้าง มาณพนั้นตอบว่า มือตีนของเจ้าไม่มีหรือ

เจ้าจงขึ้นมาเก็บกินเอง นางก็ขึ้นไปเก็บเคี้ยวกิน มาณพรู้ว่านางขึ้นมา ก็รีบ

ลงล้อมสะต้นมะเดื่อด้วยหนามแล้วกล่าวว่า เราพ้นจากหญิงกาลกรรณี แล้ว

หนีไป นางกุมาริกานั้น เมื่อไม่อาจลง ก็นั่งอยู่บนนั้นนั่นเอง วันนั้น พระเจ้า-

วิเทหราชเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ทรงเล่นอยู่ในพระราชอุทยานนั้น แล้ว

เนื้อประทับ นั่งบนคอช้างเสด็จเข้าพระนครในเวลาเย็น ได้ทอดพระเนตรเห็น

นางกุมาริกานั้น มีพระหฤทัยปฏิพัทธ์ในนาง จึงตรัสสั่งให้ถามว่า นางมีผู้

หวงแหนหรือหาไม่ นางแจ้งว่า สามีของนางที่สกุลตบแต่งมีอยู่ แต่เขาให้

ข้าพเจ้านั่งบนนี้ทิ้งเสียแล้วหนีไป อมาตย์กราบทูลความนั้นแด่พระราชา พระ-

ราชาทรงดำริว่า ภัณฑะไม่มีเจ้าของ ตกเป็นของหลวง จึงให้รับนางลงแล้ว

ให้ขึ้นคอช้างนำไปราชนิเวศน์ อภิเษกสถาปนาไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี

พระนางเป็นที่รัก เป็นที่ชอบพระหฤทัยแห่งพระราชา ชนทั้งหลายกำหนดรู้

พระนามของพระนางว่า อุทุมพรเทวี เพราะพระราชาได้พระนางมาแต่อุทุม-

พรพฤกษ์

อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าหน้าที่ยังชาวบ้านใกล้ประตูเมืองให้แผ้วถางทาง

เพื่อประโยชน์ในการเสด็จพระราชดำเนินสู่สวนหลวง ปิงคุตตรมาณพเมื่อทำ

การจ้าง โจงกระเบนมั่นถางทางด้วยจอบ เมื่อทางยังไม่แล้ว พระราชาประทับ

บนรถที่นั่งกับด้วยพระนางอุทุมพรเทวีเสด็จออกจากพระนคร พระนางอุทุมพร

เทวีได้ทอดพระเนตรเห็นปิงคุตตรมาณพผู้กาลกรรณีนั้น แผ้วถางอยู่ เมื่อทอด

พระเนตรมาณพนั้น ด้วยนึกในพระหฤทัยว่า บุรุษกาลกรรณีนี้ไม่สามารถจะ

ทรงสิริเห็นปานดังนี้ไว้ ก็ทรงพระสรวล พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระนาง

ทรงพระสรวลก็กริ้ว ตรัสถามว่า หัวเราะอะไร พระนางกราบทูลว่า ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 361

สมมติเทพ บุรุษผู้ถางทางนี้เป็นสามีตนเก่าของข้าพระบาท ยังข้าพระบาทให้

ขึ้นต้นมะเดื่อแล้วเอาหนามสะวงไว้แล้วไป ข้าพระบาทแลดูเขาแล้วคิดว่า บุรุษ

กาลกรรณีนี้ไม่สามารถจะทรงสิริเห็นปานดังนี้ไว้ จึงหัวเราะ พระราชาตรัสว่า

เธอกล่าวมุสา เธอเห็นอะไรอื่น เราจักฆ่าเธอ ตรัสฉะนี้แล้วทรงจับพระแสง

ดาบ พระนางมีความเกรงกลัวพระราชอาญา จึงกราบทูลว่า ขอพระองค์

ตรัสถามบัณฑิตทั้งหลายก่อน พระราชาจึงตรัสถามเสนกว่า ท่านเธอหรือ

เสนกทูลว่า ข้าพระองค์ไม่เธอ ชายอะไรจะละสตรีเห็นปานดังนี้ไปพระเจ้าข้า

พระนางอุทุมพรได้ทรงสดับคำของเสนกยิ่งกลัวพระราชอาญาเหลือเกิน ลำดับ

นั้น พระราชาทรงดำริว่า เสนกจะรู้อะไร เราจักถามมโหสถ เมื่อจะตรัสถาม

มโหสถ จึงตรัสคาถานี้ว่า

ดูก่อนมโหสถบัณฑิต สตรีรูปงาม และนาง

สมบูรณ์ด้วยอาจารมารยาท บุรุษไม่ปรารถนาสตรีนั้น

เจ้าเชื่อหรือ.

บทว่า สีลวตี ในคาถานั้น ความว่า ถึงพร้อมด้วยอาจารมรรยาท.

มโหสถบัณฑิตได้ฟังกระแสพระราชดำรัสนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์เชื่อบุรุษผู้หาบุญ

มิได้พึงมี สิริและกาลกรรณีย่อมร่วมกันไม่ได้ ไม่ว่า

ในกาลไหน ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น สเมนฺติ ความว่า ย่อมเข้าหากันไม่ได้

เหมือนฟากข้างนี้กับฟากข้างโน้นของทะเล เหมือนท้องฟ้ากับพื้นดิน.

พระราชาทรงทราบเหตุการณ์นั้น ตามคำของมโหสถ หายกริ้ว ทรง

ยินดีต่อมโหสถ ตรัสว่า แน่ะเจ้าบัณฑิต ถ้าไม่ได้เจ้า วันนี้ข้าจักเสื่อมจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 362

สตรีรัตนะเห็นปานดังนี้ ด้วยถ้อยคำของเสนกผู้โฉดเขลา ข้าได้นางนี้ไว้เพราะ

อาศัยเจ้า ตรัสชมฉะนี้แล้ว พระราชทานกหาปณะแสนหนึ่งบูชามโหสถ ฝ่าย

พระเทวีถวายบังคมพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระองค์ได้

ชีวิตเพราะอาศัยมโหสถบัณฑิต ข้าพระองค์ปรารถนาพระพรเพื่อให้มโหสถ

บัณฑิตนี้ตั้งอยู่ในที่เป็นน้องชาย ขอพระองค์โปรดประทานเถิด พระเจ้า

วิเทหราชก็พระราชทานพรแก่พระนางว่า ดีแล้วพระเทวี เธอจงรับพระองค์

ให้พรแต่เธอ พระนางจึงกราบทูลว่า ข้าแต่เทพเจ้า จำเดิมแต่วันนี้ ข้าพระองค์

จะไม่บริโภคอะไร ๆ มีรสอร่อย เว้นน้องชาย ตั้งแต่นี้ไป ข้าพระองค์จงได้

เพื่อให้เปิดประตูในเวลาหรือมิใช่เวลา ส่งของมีรสอร่อยไปให้น้องชายนั้น

ข้าพระองค์ขอรับพระพรนี้ พระเจ้าวิเทหราชตรัสว่า ดีแล้ว นางผู้เจริญ

เธอจงรับพรนี้.

จบปัญหาสิริกับกาลกรรณี

วันอื่น พระเจ้าวิเทหราชเสวยกระอาหารเช้าแล้ว เสด็จดำเนินไปมา

ระหว่างพื้นยาวแห่งปราสาท เมื่อทอดพระเนตรออกไปทางช่องพระแกล ได้ทอด

พระเนตรเห็นแพะหนึ่งสุนัขหนึ่งทำความเชยชิดเป็นมิตรกัน ได้ยินว่า แพะนั้น

กินหญ้าในโรงช้างที่เขาทอดไว้หน้าช้าง ช้างยังมิได้จับ ลำดับนั้นคนเลี้ยงช้าง

ทั้งหลายตีแพะนั้นให้ออกไป คนเลี้ยงช้างคนหนึ่งไล่ติดตามแพะนั้น ซึ่งร้อง

หนีไปโดยเร็ว เอาท่อนในตีขวางลงที่หลังแพะ แพะนั้นแอ่นหลังได้ทุกขเวทนา

ไปนอนใกล้ตั่งอาศัยฝาใหญ่ในพระราชคฤหาสน์ วันนั้นสุนัขเคี้ยวกินกระดูก

และหนังเป็นต้น ที่ห้องเครื่องหลวงจนอ้วนพี เมื่อพ่อครัวจัดภัตตาหารแล้ว

ออกไปข้างนอกผึ่งเหงื่อในสรีระ มันได้กลิ่นปลาเนื้อ ไม่อาจอดกลั้นความอยาก

ก็เข้าไปในห้องเครื่อง ยังเครื่องปิดภาชนะให้ตกลงแล้วเคี้ยวกินเนื้อ ฝ่าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

พ่อครัวได้ยินเสียงภาชนะ ก็เข้าไปทางเสียงภาชนะ เห็นสุนัขกำลังกินเนื้ออยู่

จึงปิดประตูตีสุนัขนั้นด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น สุนัขนั้นก็ทิ้งเนื้อที่เคี้ยว

กินจากปากร้องวิ่งหนีออกไป พ่อครัวรู้ว่าสุนัขหนีออกไป จึงติดตามไปตีขวาง

ที่หลังด้วยท่อนไม้ สุนัขก็แอ่นหลังยกเท้าข้างหนึ่งเข้าไปในที่แพะนอน แพะ

ถามสุนัขนั้นว่า เพื่อนแอ่นหลังยกเท้าข้างหนึ่งมาด้วยเหตุไร ลมเสียดแทง

เพื่อนหรือ ฝ่ายสุนัขก็ถามว่า เพื่อนแอ่นหลังนอนอยู่ ลมเสียดแทงเพื่อนหรือ

แพะบอกเรื่องของคนแก่สุนัข แม้สุนัขก็บอกอย่างนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น

แพะถามสุนัขว่า เพื่อนสามารถจะไปสู่โรงครัวอีกหรือ สุนัขตอบว่า ข้าไม่

สามารถแล้ว เมื่อข้าไปชีวิตจะไม่มี ก็เพื่อนสามารถจะไปสู่โรงช้างอีกหรือ

แพะตอบว่า ถึงข้าก็ไม่กล้าไปที่โรงช้างนั้น ถ้าข้าขืนไป ชีวิตก็จะไม่มี สัตว์

ทั้งสองคิดหาอุบายว่า บัดนี้เราจะเป็นอยู่ได้อย่างไรหนอ แพะจึงกล่าวกะสุนัข

ว่า ถ้าเราทั้งสองอาจอยู่ร่วมกัน อุบายก็มี คือตั้งแต่นี้ไป เจ้าจงไปโรงช้าง

พวกคนเลี้ยงช้างจักไม่สงสัยในตัวเจ้า ด้วยเห็นว่า สัตว์นี้ไม่กินหญ้า เจ้าพึง

นำหญ้ามาเพื่อข้า ส่วนข้าจักเข้าไปในโรงครัว พ่อครัวก็ไม่สงสัยในตัวข้า

ด้วยเห็นว่า สัตว์นี้ไม่กินเนื้อ ข้าก็จักนำเนื้อ เพื่อเจ้า สัตว์ทั้งสองตกลงกัน ว่า

อุบายนี้เข้าที สุนัขจึงไปโรงช้าง คาบฟ่อนหญ้านำมาวางไว้ใกล้หลังฝาใหญ่

ฝ่ายแพะไปสู่ห้องเครื่องคาบก้อนเนื้อเต็มปากนำมาวางไว้ใกล้ที่นั้นเอง สุนัขก็

เคี้ยวกินเนื้อ แพะเคี้ยวกินหญ้า สัตว์ทั้งสองนั้นพร้อมเพรียงชอบพอกัน อยู่

ใกล้หลังฝาใหญ่ พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตรเห็นความที่แพะและสุนัข

ทั้งสองนั้นชอบกันโดยเป็นเพื่อน จึงทรงจินตนาการว่า เหตุการณ์ที่เรายังไม่

เคยเห็น เราได้เห็นแล้วในวันนี้ แต่ก่อนมาสัตว์ทั้งสองนี้เป็นศัตรูกัน บัดนี้

อยู่ร่วมกันได้ เราจักจับเหตุการณ์นี้ทำเป็นปัญหาถามบัณฑิตทั้งหลาย บัณฑิต

ใดไม่รู้ปัญหานี้ เราจักขับบัณฑิตนั้นจากแคว้น แต่เราจักสักการะแก่บัณฑิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

ผู้รู้ เพราะบัณฑิตอื่นรู้อย่างนี้ไม่มี วันนี้หมดเวลาแล้ว พรุ่งนี้เราจักถาม

บัณฑิตเหล่านั้น ในเวลามาทำการในหน้าที่ รุ่งขึ้นในเมื่อบัณฑิตทั้งหลายมานั่ง

ทำการในหน้าที่ของตนแล้ว เมื่อจะถามปัญหาจึงตรัสคาถานี้ว่า

ความที่สัตว์เหล่าใดเป็นเพื่อนกันในโลกนี้ แม้

ไปด้วยกันสัก ๗ ก้าว ไม่เคยมีในกาลไหน ๆ สัตว์

ทั้งสองนั้นเป็นศัตรูกัน มาเป็นเพื่อนประพฤติเพื่อคุ้น

กันได้ เพราะเหตุอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิสนฺถาย ได้แก่ เชื่อกันและกัน

แล้วพยายาม.

ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ตรัสอย่างนี้อีกว่า

ถ้าเวลากินอาหารเช้าแล้ววันนี้ ท่านทั้งหลายไม่

สามารถกล่าวแก้ปัญหานี้ของเรา เราจักขับท่านทั้งปวง

จากแว่นแคว้น เพราะเราไม่ต้องการพวกคนเขลา.

เสนกะนั่งอยู่ต้นอาสนะ มโหสถบัณฑิตนั่งอยู่ที่สุดอาสนะ พระมหาสัตว์

พิจารณาปัญหานั้น ยังไม่เห็นเนื้อความจึงคิดว่า พระราชาองค์นี้มีพระชวนะ

เฉื่อยช้า ไม่สามารถจะทรงจับคิดปัญหานี้ พระองค์คงจักทอดพระเนตรเห็น

อะไรแน่ วันหนึ่งเมื่อเราได้โอกาสจักนำปัญหานี้ออกแสดง อาจารย์เสนกะจัก

ยังพระราชาให้งดสักวันหนึ่งในวันนี้ ด้วยอุบายอย่างหนึ่งจะได้หรือ ชนทั้งสาม

นอกนี้แลไม่เห็นอะไร ๆ เหมือนเข้าห้องมืดฉะนั้น เสนกะแลดูพระโพธิสัตว์

ด้วยมนสิการว่า ความเป็นไปของมโหสถจะเป็นอย่างไรหนอ ฝ่ายมโหสถก็

แลดูเสนก เสนกรู้ความประสงค์ของพระโพธิสัตว์ ด้วยอาการที่พระโพธิสัตว์

แลดู จึงคิดว่าปัญหานั้นยังไม่ปรากฏแก่มโหสถ เพราะเหตุนั้น มโหสถจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 365

ปรารถนาโอกาสวันหนึ่ง เราจักยังมโนรถของมโหสถให้เต็ม จึงสรวลขึ้นด้วย

วิสาสะกับพระราชา ทูลว่า พระองค์จักขับข้าพระบาทเหล่านี้ ผู้ไม่สามารถ

กล่าวแก้ปัญหาจากแคว้นจริง ๆ หรือ พระเจ้าข้า พระราชาตรัสตอบว่า

จริง ๆ ซิบัณฑิต เสนกะจึงทูลว่า พระองค์ทรงกำหนดปัญหานี้ว่า ปัญหามี

เงื่อนเดียวหรือ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่สามารถจะกล่าวแก้ปัญหานี้ในวันนี้

ขอได้ทรงงดหน่อยหนึ่ง ปัญหานี้มีเงื่อน ข้าพระองค์ทั้งหลายจักกล่าวแก้ใน

ท่ามกลางประชุมชน จะต้องนั่งคิดในที่หนึ่ง ภายหลังจักทูลแก้แด่พระองค์

ขอได้โปรดพระราชทานโอกาสแก่พวกข้าพระองค์ เสนกะกล่าวดังนี้แลดู

มโหสถแล้วกล่าว ๒ คาถานี้ว่า

ข้าแต่พระจอมประชากร ในเมื่อสมาคมแห่ง

หมู่ชนอึกทึก ในเมื่อชุมนุมแห่งชนโกลาหล ข้า-

พระองค์ทั้งหลายมีใจฟุ้งซ่าน มีจิตไม่แน่วอยู่ที่เดียว

จึงไม่สามารถจะพยากรณ์ปัญหานั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย

มีจิตมีอารมณ์เดียว คน ๆ หนึ่งอยู่ในที่ลับ คิดเนื้อความ

ทั้งหลาย พิจารณาอยู่ในสถานที่เงียบ ภายหลังจัก

กราบทูลแก้เนื้อความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมสิตฺวาน ความว่า นักปราชญ์

เหล่านี้มีจิตมีอารมณ์เดียว ตั้งอยู่ในกายวิเวกและจิตวิเวกพิจารณาปัญหานี้แล้ว

จักกล่าวเนื้อความนั้นแด่พระองค์.

พระราชาทรงสดับคำของเสนกะก็ดีพระหฤทัย ตรัสคุกคามดังนี้ว่า

ดีแล้ว ท่านทั้งหลายจงคิด เมื่อแก้ไม่ได้จักให้ขับเสีย บัณฑิตทั่ง ๔ ลงจาก

พระราชนิเวศน์ เสนกะจึงกล่าวกะบัณฑิตนอกนี้ว่า พระราชาตรัสถามปัญหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 366

สุขุม เมื่อพวกเราแก้ไม่ได้ ภัยใหญ่จักเกิดขึ้น เหตุนั้น ท่านทั้งหลายบริโภค

สบายแล้วจงพิจารณาปัญหานั้นโดยชอบ ต่างคนไปเรือนของตน ๆ ฝ่ายมโหสถ

ลุกไปสู่สำนักพระราชเทวีอุทุมพรทูลถามว่า ข้าแต่พระเทวีเจ้า วันนี้หรือวานนี้

พระราชาประทับอยู่ในที่ไหนนาน พระนางอุทุมพรรับสั่งว่า เมื่อวานนี้พระ-

ราชาเสด็จไปมา ทอดพระเนตรที่พระแกล ณ ภายในพื้นยาว แต่นั้น

พระโพธิสัตว์จึงคิดว่า พระราชาจักได้ทอดพระเนตรเห็นเหตุอะไร ๆ โดยข้าง

นี้ จึงไปในที่นั้นแลดูภายนอก ได้เห็นกิริยาแห่งแพะและสุนัข ก็ทำความ

เข้าใจว่า พระราชาทอดพระเนตรเห็นสัตว์ทั้งสองนี้ จึงทรงประพันธ์ปัญหา

จับเค้าได้ฉะนี้แล้วก็กลับไปเคหสถาน ฝ่ายบัณฑิตทั้งสามคิดแล้วไม่เห็นอะไร

จึงไปหาเสนกะ เสนกะเห็นบัณฑิตทั้งสามนั้น จึงถามว่า ท่านเห็นปัญหาแล้ว

หรือ ครั้นได้รับตอบว่ายังไม่เห็น จึงกล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น พระราชาจักขับ

ท่านทั้งหลายจากแว่นแคว้น ท่านทั้งหลายจักทำอย่างไร ครั้นบัณฑิตทั้งสาม

ย้อนถามว่า ก็ท่านเห็นหรือก็ตอบว่า แม้เราก็ยังไม่เห็น ครั้นบัณฑิตทั้งสาม

กล่าวว่า เมื่ออาจารย์ไม่เห็น ข้าพเจ้าทั้งหลายจะเห็นอะไร ก็เมื่อวานนี้เรา

ทั้งหลายบันลือสีหนาทในราชสำนักว่า จักคิดแก้แล้วมาบ้าน บัดนี้พระราชา

จักกริ้วพวกเราผู้แก้ไม่ได้ พวกเราจักทำอย่างไร จึงกล่าวว่า ปัญหานี้อันเรา

ทั้งหลายไม่อาจเห็น มโหสถจักคิดได้ทั้งหลายร้อยนัย เพราะฉะนั้น ท่าน

ทั้งหลายจงมาไปสำนักมโหสถด้วยกันกับเรา บัณฑิตทั้งสี่ไปสู่ประตูเคหสถาน

แห่งมโหสถ ให้แจ้งความที่คนมาแล้วเข้าไปสู่เรือน ปราศรัยกันแล้วนั่ง ณ

ที่ควรส่วนหนึ่ง แล้วถามมโหสถว่า บัณฑิต ท่านคิดปัญหาได้แล้วหรือ

พระโพธิสัตว์ตอบว่า ในเมื่อข้าพเจ้าคิดไม่ได้ คนอื่นใครจักคิดได้ เออ ปัญหา

นั้น ข้าพเจ้าคิดได้แล้ว ครั้นเมื่อบัณฑิตทั้งสี่กล่าวว่า ถ้ากระนั้นท่านจงบอกแก่

ข้าพเจ้าบ้าง มโหสถจึงดำริว่า ถ้าเราจักไม่บอกแก่บัณฑิตทั้งสี่นี้ พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 367

จักกริ้วบัณฑิตทั้งสี่ ขับเสียจากแคว้น พระราชทานรัตนะ ๗ แก่เรา คนเขลา

เหล่านี้อย่าได้ฉิบหายเสียเลย เราจักบอกแก่พวกนี้ ดำริฉะนี้แล้วให้บัณฑิต

ทั้งสี่นั่ง ณ อาสนะต่ำแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงพยากรณ์อย่างนี้ ในกาล

เมื่อพระราชาตรัสถามแล้วให้บัณฑิตทั้งสี่เรียนบาลีประพันธิ์เป็นคาถา ๔ คาถา

แล้วส่งให้กลับไปในวัน ที่ ๒ บัณฑิตเหล่านั้น ไปสู่ราชอุปัฏฐาน นั่ง ณ อาสน์

ปูลาดไว้ พระราชาตรัสถามเสนกะว่า ท่านรู้ปัญหาแล้วหรือ เสนกะจึงกราบ

ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เนื้อข้าพระองค์ไม่รู้ คนอื่นใครเล่าจักรู้ ครั้นรับสั่ง

ให้กล่าว จึงกล่าวคาถาโดยทำนองที่เรียนมาทีเดียวว่า

เนื้อแพะเป็นที่รักที่เจริญใจแห่งบุตรอมาตย์ และ

พระราชโอรส ชนเหล่านั้น ไม่บริโภคเนื้อสุนัข ครั้งนี้

มิตรธรรมแห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข มีต่อกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุคฺคปุตฺตราชปุตฺติยาน ความว่า

แห่งบุตรอมาตย์ทั้งหลายด้วย แห่งพระราชโอรสทั้งหลายด้วย.

แม้กล่าวคาถาแล้ว เสนกะก็หารู้เนื้อความไม่ ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราช

ทรงทราบความ เพราะปรากฏแก่พระองค์ เพราะฉะนั้นจึงตรัสถามปุกกุสะ

ต่อไป ด้วยเข้าพระหฤทัยว่า เสนกะรู้แล้ว ฝ่ายปุกกุสะจึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์

ไม่ใช่บัณฑิตหรือ แล้วกล่าวคาถาโดยทำนองที่เรียนมาทีเดียวว่า

ชนทั้งหลายใช้หนังแพะเป็นเครื่องลาดหลังม้า

เป็นเหตุแห่งความสุข ไม่ใช่หนังสุนัขเป็นเครื่องลาด

หลังม้า ครั้งนี้มิตรธรรมแห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข มี

ต่อกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 368

เนื้อความไม่ปรากฏแม้แก่ปุกกุสะ.

ฝ่ายพระราชาเจ้าพระหฤทัยว่า ปุกกุสะนี้รู้เนื้อความเพราะปรากฏแก่

พระองค์ จึงตรัสถามกามินทะต่อไป กามินทะจึงกล่าวคาถาโดยทำนองที่เรียน

มาทีเดียวว่า

แพะมีเขาอันโค้งแท้จริง แต่เขาทั้งหลายแห่ง

สุนัขไม่มีเลย แพะกินหญ้า สุนัขกินเนื้อ ครั้งนี้มิตร

ธรรมแห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข มีต่อกัน.

เนื้อความไม่ปรากฏแม้แก่กามินทะ

พระราชาเข้าพระหฤทัยว่า แม้กามินทะนี้ก็รู้เนื้อความแล้ว จึงตรัส

ถามเทวินทะต่อไป เทวินทะก็กล่าวคาถาโดยทำนองที่เรียนมาทีเดียวว่า

แพะกินหญ้า กินใบไม้ สุนัขไม่กินหญ้า ไม่กิน

ใบไม้ สุนัขจับกระต่ายหรือแมวกิน ครั้งนี้มิตรธรรม

แห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข มีต่อกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติณมาสิ ปลาสมาสิ ความว่า

กินหญ้าด้วย กินใบไม้ด้วย. บทว่า น ปลาส ความว่า ไม่เคี้ยวกินแม้

ใบไม้.

เนื้อความไม่ปรากฏแม้แก่เทวินทะ

ลำดับนั้น พระราชาเข้าพระหฤทัยว่า แม้เทวินทะนี้ก็รู้ เพราะปรากฏ

แก่พระองค์ จึงตรัสถามมโหสถว่า ดูก่อนพ่อมโหสถ แม้ตัวเจ้ารู้ปัญหา

นี้หรือ มโหสถโพธิสัตว์ทูลสนองว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ตั้งแต่อเวจีจนถึง

ภวัคคพรหม ยกข้าพระองค์เสีย คนอื่นใครจะรู้ปัญหานี้ ครั้นตรัสให้กล่าว

จึงกราบทูลว่า ขอพระองค์ทรงฟัง เมื่อจะประกาศความที่กิจนั้นปรากฏแก่ตน

จึงกล่าว ๒ คาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 369

แพะมีเท้ากึ่ง ๘ แห่งเท้า ๔ (มี ๔ เท้า) มีกีบ ๘

มีกายไม่ปรากฏ สุนัขนี้นำหญ้ามาเพื่อแพะนี้ แพะนี้

นำเนื้อมาเพื่อสุนัขนั้น พระชนินทรสมมติเทพผู้ประ

เสริฐกว่าชาววิเทหรัฐประทับอยู่ ณ ปราสาทอันประ-

เสริฐ ได้ทอดพระเนตรเห็นการนำอาหารมาแลกกัน

กินโดยประจักษ์ และได้ทอดพระเนตรเห็นมิตรธรรม

แห่งสุนัขและแพะเอง.

มิตรธรรมแห่งสุนัขและแพะเอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฑฺฒปาโท ท่านถล่าวหมายเอา

เท้า ๘ แห่งแพะ ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในพยัญชนะ. บทว่า เมณฺโฑ ได้แก่

แพะ. บทว่า อฏฺนโข นี้ท่านกล่าวตามที่เท้าแพะมีกีบเท้าละ ๒ กีบ. บทว่า

อทิสฺสมานกาโย ความว่า ไม่ปรากฏกายในเวลานำเนื้อมา. บทว่า ฉาทิย

ความว่า เครื่องมุงเรือน คือ หญ้า. บทว่า อย อิมสฺส ความว่า สุนัข

นำหญ้ามาเพื่อแพะ. บทว่า วีติหาร ได้แก่ นำมาแลกกัน. บทว่า อญฺโ-

ญฺโภชนาน ความว่า แลกกันกิน ด้วยว่าแพะนำของกินมาเพื่อสุนัข

แม้สุนัขนั้นก็แลกกับแพะนั้น สุนัขนำมาเพื่อแพะ แม้แพะก็แลกกัน. บทว่า

อทฺทกฺขิ ความว่า ได้ทอดพระเนตรเห็นสัตว์ทั้งสองนั้นแลกเปลี่ยนกันกิน

ด้วยพระเนตร์ คือ ประจักษ์แก่พระองค์. บทว่า โภภุกฺกสฺส ได้แก่

สุนัขหอน. บทว่า ปุณฺณมุขสฺส ได้แก่ แพะ อธิบายว่า พระราชาทอด

พระเนตรเห็นมิตรธรรมของสัตว์ทั้งสองนี้ด้วยพระองค์เอง.

พระราชาเมื่อไม่ทรงทราบความที่อาจารย์เหล่านั้นรู้ปัญหาเพราะอาศัย

พระโพธิสัตว์ ทรงสำคัญว่า บัณฑิตทั้ง ๕ รู้ด้วยปัญญาของตน ก็ทรง

โสมนัสตรัสคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 370

ลาภของเราไม่น้อยเลยที่มีบัณฑิตเช่นนี้อยู่ใน

ราชสกุล เพราะว่าบัณฑิตทั้งหลายแทงตลอดเนื้อความ

ของปัญหาอันลึกละเอียดด้วยเป็นสุภาษิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิวิชฺฌนฺติ ความว่า กล่าวแก้ปัญหา

ด้วยสุภาษิต.

ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า เราควรทำอาการยินดีแก่บัณฑิต

เหล่านั้นด้วยความยินดี เมื่อจะทรงทำความยินดีนั้นให้เป็นแจ้ง จึงตรัสคาถาว่า

เรามีความพอใจยิ่งด้วยปัญหาที่กล่าวไพเราะ

ให้รถเทียมม้าอัสดรรถหนึ่ง ๆ และบ้านส่วยอันเจริญ

บ้านหนึ่ง ๆ แก่ท่านทั้งปวงผู้เป็นบัณฑิต.

ครั้นตรัสฉะนั้นแล้วได้พระราชทานสิ่งทั้งปวงนั้น.

จบปัญหาแพะในทวาทสนิบาต

ฝ่ายพระราชเทวีอุทุมพรทรงทราบความที่บัณฑิตทั้ง ๔ รู้ปัญหาอาศัย

มโหสถ จึงทรงดำริว่า พระราชาพระราชทานรางวัลแก่บัณฑิตทั้ง ๕ เป็น

เหมือนคนทำถั่วเขียวกับถั่วราชมาษให้ไม่แปลกกัน จึงเสด็จไปเฝ้าพระราชา

ทูลถามว่า ใครทูลแก้ปัญหาถวาย พระราชาตรัสตอบว่า บัณฑิตทั้ง ๕

พระราชเทวีทูลว่า บัณฑิตทั้ง ๕ รู้ปัญหาของพระองค์อาศัยใคร พระราชา

ตรัสตอบว่า เราไม่รู้ พระนางอุทุมพรจึงกราบทูลว่า บัณฑิตทั้ง ๔ คน

เหล่านี้จะรู้อะไร มโหสถให้เรียนปัญหาด้วยเห็นว่า คนเขลาเหล่านี้อย่าได้

ฉิบหายเสียเลย ก็พระองค์พระราชทานรางวัลแก่บัณฑิตทั้งปวงเสมอกันนั่นไม่

สมควรเลย ควรจะพระราชทานแก่มโหสถให้เป็นพิเศษ พระราชาทรงเห็นว่า

มโหสถนี้ไม่บอกความที่บัณฑิตทั้ง ๔ รู้ปัญหาอาศัยตน ก็ทรงโสมนัส มีพระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 371

ประสงค์จะทรงทำสักการะให้ยิ่งกว่า จึงทรงคิดว่า ยกไว้เถิด เราจักถาม

ปัญหาอันหนึ่งกะบุตรของเรา และทำสักการะใหญ่ในกาลเมื่อบุตรของเรากล่าว

แก้ เมื่อพระราชาทรงคิดปัญหาอันหนึ่ง จึงทรงคิดสิริเมณฑกปัญหา (ปัญหา

ว่าปัญญากับทรัพย์อะไรจะประเสริฐกว่ากัน ) วันหนึ่ง เวลาบัณฑิตทั้ง ๕ มา

เฝ้านั่งสบายแล้ว ตรัสกะเสนกะว่า ท่านอาจารย์เสนกะ เราจักถามปัญหา

เสนกะกราบทูลรับว่า ตรัสถามเถิดพระเจ้าข้า พระราชาจึงตรัสคาถาที่หนึ่งใน

สิริเมณฑกปัญหาว่า

แน่ะอาจารย์เสนกะ เราละเนื้อความนี้กะท่าน

บรรดาคน ๒ พวก คือคนสมบูรณ์ด้วยปัญญา แต่

เสื่อมจากสิริ และคนมียศแต่ไร้ปัญญา นักปราชญ์

ยกย่องใครว่าประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กเมตฺถ เสยฺโย ความว่า บรรดาคน

๒ พวกนี้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวคนไหนว่าประเสริฐ ได้ยินว่า ปัญหานี้

สืบเนื่องมาจากวงศ์ของเสนกะ ฉะนั้นเสนกะจึงได้กราบทูลเฉลยปัญหานั้นได้

ทันทีว่า

ข้าแต่พระจอมประชาราษฏร์ คนฉลาดและคน

เขลา คนบริบูรณ์ด้วยศิลปะและหาศิลปะนี้ได้ แม้มีชาติ

สูงก็ย่อมเป็นผู้รับใช้ของคนหาชาติมิได้ แต่มียศ ข้า-

พระองค์เห็นความดังนี้จึงขอทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคน

เลวทราม คนมีสิริแลเป็นคนประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิหีโน ความว่า คนมีปัญญาเป็นคน

เลวทราม คนเป็นใหญ่นั่นแลเป็นคนประเสริฐ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 372

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของเสนกะนั้นแล้ว ไม่ตรัสถามอาจารย์

อีก ๓ คน เมื่อจะตรัสถามมโหสถบัณฑิตผู้ยังใหม่ในหมู่ซึ่งนั่งอยู่ จึงตรัสว่า

ดูก่อนมโหสถผู้มีปัญญาไม่ทราม ผู้เห็นธรรม

สิ้นเชิง เราถามเจ้า ในคน ๒ พวกนี้ นักปราชญ์

ยกย่องใคร คนพาลผู้มียศ หรือบัณฑิตผู้ไม่มีโภคะ

คนไหนว่าประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกวลธมฺมทสฺสิ แปลว่า ผู้เห็นธรรม

ทั้งปวง.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลเตือนพระราชาว่า โปรดทรงฟังเถิด พระ-

มหาราชเจ้า แล้วทูลว่า

คนพาลทำธรรมเป็นบาปก็สำคัญว่าอิสริยะของ

เราในโลกนี้ประเสริฐ คนพาลเห็นโลกนี้เป็นปกติ

ไม่เห็น โลกหน้าเป็นปกติ ก็ได้รับเคราะห์ร้ายในโลก

ทั้ง ๒ ข้าพระองค์เห็นความเหล่านี้จึงขอกราบทูลว่า

คนมีปัญญาประเสริฐแท้ คนเขลามียศจะประเสริฐ

อะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธเมว ความว่า สำคัญว่าอิสริยะ

ของเรานี้เท่านั้นในโลกนี้ประเสริฐ. บทว่า กลิมคฺคเหสิ ความว่า คนพาล

ทำกรรมเป็นบาปด้วยความเมาในอิสริยะ เกิดในนรกเป็นต้น ในปรโลก มาจาก

นรกนั้นเกิดเป็นผู้มีโภชนะเป็นทุกข์ในตระกูลต่ำในโลกนี้อีก ชื่อว่าย่อมถือเอา

ความปราชัยในโลกทั้งสอง ด้วยประการฉะนี้. บทว่า เอตมฺปิ ความว่า

ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้ จึงกล่าวว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาเท่านั้นเป็นผู้สูงสุด

ผู้โง่เขลาแม้เป็นใหญ่ก็ไม่ใช่ผู้สูงสุด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 373

เมื่อพระโพธิสัตว์ทูลดังนี้ พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตรดูเสนกะ

ตรัสว่า มโหสถสรรเสริญคนมีปัญญาว่าเป็นผู้สูงสุดมิใช่หรือ เสนกะทูลว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า มโหสถยังเด็ก แม้จนวันนี้ปากของเธอก็ยังไม่สิ้นกลิ่น

น้ำนมมิใช่หรือ เธอจะรู้อะไร ทูลฉะนี้แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า

ศิลปะนี้ หรือเผ่าพันธุ์ หรือร่างกาย ย่อมหาได้

จัดแจงโภคสมบัติให้ไม่ มหาชนย่อมคบหาโครวินท

เศรษฐีผู้มีเขฬะไหลจากคางทั้งสองข้าง ผู้ถึงความสุข

ผู้มีสิริต่ำช้า ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงทูลว่า คน

มีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริเป็นคนประเสริฐแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอฬมูค ได้แก่ มีน้ำลายไหลเลอะหน้า.

บทว่า โครวินฺท ความว่า ได้ยินว่า โครวินทะนั้นเป็นเศรษฐีมีสมบัติ ๘๐

โกฏิ ในพระนครนั้นแล มีรูปร่างแปลก ไม่มีบุตร ไม่มีธิดา ไม่รู้ศิลปะอะไร ๆ

เมื่อเขาพูด น้ำลายไหล ๒ ข้างลูกคาง มีสตรีสองคนดั่งเทพอัปสร ประดับ

ด้วยเครื่องประดับทั้งปวงถือดอกอุบลเขียวที่บานดีแล้ว ยืนอยู่สองข้างคอยรอง

รับน้ำลายด้วยดอกอุบลเขียวแล้วทั้งดอกอุบลทางหน้าต่าง ฝ่ายพวกนักเลงสุรา

เมื่อจะเข้าร้านเครื่องดื่ม มีความต้องการดอกอุบลเขียว ก็พากันไปประตูเรือน

ของเศรษฐีนั้น แล้วกล่าวว่า ข้าแต่นายโครวินทเศรษฐี ท่านเศรษฐีได้ยิน

เสียงนักเลงเหล่านั้น ยืนที่หน้าต่างกล่าวว่า อะไรพ่อ ขณะนั้นน้ำลายก็ไหล

จากปากของท่าน หญิงสองคนนั้นก็เอาดอกอุบลเขียวรองรับน้ำลายแล้วโยนทั้ง

ไปในระหว่างถนน พวกนักเลงก็เก็บดอกอุบลเหล่านั้นเอาไปล้างน้ำ แล้ว

ประดับตัวเข้าร้านเครื่องดื่ม เศรษฐีนั้นเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสิริอย่างนี้ เสนกะ

เมื่อแสดงเศรษฐีนั้นเป็นตัวอย่าง จึงกล่าวอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 374

พระราชาทรงสดับดังนั้น แล้วตรัสว่า พ่อมโหสถบัณฑิต เจ้าจะกล่าว

แก้อย่างไร มโหสถบัณฑิตกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เสนกะจะรู้อะไร

เห็นแต่ยศเท่านั้น ไม่เห็นไม้ค้อนใหญ่ซึ่งจะตกบนศีรษะ เปรียบเหมือนกาอยู่

ในที่เทข้าวสุก และเปรียบเหมือนสุนัขปรารภจะดื่มนมส้ม โปรดฟังเถิด

พระเจ้าข้า ทูลฉะนี้แล้ว ได้กล่าวคาถานี้ว่า

คนมีปัญญาน้อยได้ความสุขแล้วย่อมประมาท

อันความทุกข์ถูกต้องแล้วย่อมถึงความหลง อันสุข

หรือทุกข์ที่จรมาถูกต้องแล้วย่อมหวั่นไหว เหมือนปลา

ดิ้นรนในที่ร้อน ข้าพระองค์เห็นความอย่างนี้ จึง

กราบทูลว่า คนมีปัญญาแลประเสริฐ คนเขลามียศ

ย่อมไม่ประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลทฺธา สุข ความว่า คนเขลาได้

อิสริยสุขแล้วย่อมมัวเมาคือประมาท คนประมาทย่อมทำบาปมาก. บทว่า

ทุกฺเขน ความว่า อันความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจถูกต้องแล้ว.

บทว่า อาคนฺตุเกน ได้แก่ ที่มิได้เกิดขึ้นภายใน ด้วยว่าแม้ความสุขของสัตว์

ทั้งหลาย ก็เป็นของจรมาทั้งนั้น มิได้เป็นไปประจำ. บทว่า ฆมฺเม ความว่า

เหมือนปลาที่เขาเอาขึ้นจากน้ำนำมาโยนไปในแดด ย่อมดิ้นรน.

พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสถามเสนกะว่า ท่าน

อาจารย์จะแก้อย่างไร เสนกะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ มโหสถ

นี้จะรู้อะไร มนุษย์ทั้งหลายจงยกไว้ก่อน วิหกทั้งหลายย่อมคบหาแต่ต้นไม้ที่

เกิดในป่า ซึ่งสมบูรณ์ด้วยผลเท่านั้น ทูลฉะนี้แล้ว ได้กล่าวคาถานี้ว่า

ฝูงนกบินเร่ร่อนมาโดยรอบ สู่ต้นไม่ในป่าอันมี

ผลดีฉันใด ชนเป็นอันมากย่อมคบหาสมาคมบุคคลผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 375

มั่งคั่งมีโภคทรัพย์ เพราะความต้องการด้วยทรัพย์

ฉันนั้น ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า

คนมีปัญญาเป็นคนต่ำช้า คนมีสิริเท่านั้นเป็นคน

ประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุชฺชโน ความว่า มนุษย์เป็นอันมาก

ประชุมกันเพื่อเหตุแห่งทรัพย์.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสกะมโหสถว่า พ่อจะแก้อย่างไร

มโหสถบัณฑิตจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เสนกะท้องโตคนนี้จะรู้

อะไร โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า ทูลฉะนี้แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า

คนเขลามีกำลัง แต่หายังประโยชน์นี้ให้สำเร็จไม่

ได้ทรัพย์มาด้วยทำกิจร้ายแรง นายนิรยบาลคร่าคน-

เขลานั้นผู้ไม่ฉลาด ผู้ร้องไห้อยู่ ไปสู่นรกอันทุกข์ยิ่ง

ข้าพระองค์เห็นความอย่างนี้ จึงกราบทูลว่า คนมี

ปัญญาแลประเสริฐ คนเขลามียศย่อมไม่ประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาหส ความว่า คนเขลาทำการงานที่

ความร้ายแรงด้วยความร้ายแรง เบียดเบียนประชาชนจึงได้ทรัพย์ เมื่อเป็น

เช่นนั้น นายนิรยบาลทั้งหลายจึงคร่าคนเขลานั้นผู้ไม่ฉลาด ร้องไห้อยู่นั่นแล

ไปสู่นรกอัน มีเวทนามีกำลัง.

เมื่อพระราชาตรัสถามอีกว่า ท่านอาจารย์เสนกะ ท่านจะแก้อย่างไร

เสนกะจึงทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โปรดฟังเถิด แล้วกล่าวคาถานี้ว่า

แม่น้ำน้อยใหญ่อันใดอันหนึ่ง ย่อมไหลไปสู่

แม่น้ำคงคา แม่น้ำเหล่านั้นทั้งหมดเทียวย่อมละชื่อ

และถิ่นเสีย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร ย่อมไม่ปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 376

ชื่อ คงได้แต่ชื่อว่ามหาสมุทรเท่านั้น ฉันใด สัตวโลก

มีฤทธิ์ยิ่ง ย่อมไม่ปรากฏเหมือนแม่น้ำคงคาเข้าไปสู่

มหาสมุทร ฉันนั้น ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึง

กราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นผู้ต่ำช้า คนมีสิริเป็นผู้

ประเสริฐ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นชฺโช ได้แก่ โดยที่สุดแม้เป็นแม่น้ำ

เล็ก ๆ ทีไหลมาแต่ที่ลุ่ม. บทว่า ชหนฺติ ความว่า ย่อมนับว่าแม่น้ำคงคา

ทั้งนั้น ละชื่อและถิ่นของตนเสีย. บทว่า น ขายเต ความว่า แม่น้ำคงคานั้น

เมื่อไหลไปสู่สมุทร ก็ไม่ปรากฏ (ว่าแม่น้ำคงคา) ย่อมได้ชื่อว่ามหาสมุทรทีเดียว

แม้คนมีปัญญามากถึงคนอิสระแล้ว ย่อมไม่ปรากฏ คือไม่มีใครรู้จัก ได้เป็น

ราวกะว่าแม่น้ำคงคาไหลเข้าสู่สมุทร.

พระราชาตรัสอีกว่า พ่อบัณฑิต เจ้าจะแก้ออย่างไร มโหสถบัณฑิต

กราบทูลว่า โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า แล้วกล่าวคาถานี้ว่า

ข้าพระเจ้าจะกล่าวแก้ปัญหาที่ท่านอาจารย์กล่าว

แม่น้ำน้อยใหญ่ทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ทะเลใหญ่

ทะเลนั้นมีกำลังยิ่งเป็นนิตย์ ทะเลใหญ่นั้นแม่มีคลื่น

กระทบฝั่ง ก็ไม่ล่วงฝั่งไป ฉันใด กิจการที่คนเขลา

ประสงค์ไม่ล่วงคนฉลาดไปได้ คนมีสิริย่อมไม่ล่วง

คนมีปัญญาไปได้ ฉันนั้น ในกาลไหน ๆ ข้าพระองค์

เห็นความดังนี้ จึงทูลว่า คนมีปัญญาแลเป็นคน

ประเสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยเมตมกฺขา ความว่า ท่านบอกคือ

กล่าวปัญหาฉันใด. บทว่า อสขย แปลว่า ไม่นับ. บทว่า เวล นาจฺเจติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

ความว่า ทะเลนั้นแม้มีกำลังยิ่งยกคลื่นขึ้นเป็นพัน ๆ ก็ไม่อาจล่วงฝั่งไปได้

คลื่นทั้งหมดถึงฝั่งแล้วย่อมแตกไปแน่แท้. บทว่า เอวนฺปิ ความว่า กิจการ

ที่คนเขลาประสงค์ ย่อมไม่อาจล่วงคนมีปัญญาไปได้ ถึงคนมีปัญญานั้นแล้ว

ย่อมทำลายไปฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า ปญฺ นาจฺเจติ ความว่า ธรรมดา

คนมีสิริย่อมไม่ล่วงคนมีปัญญาไปได้ อธิบายว่า ไม่มีใครเลยที่เกิดความสงสัย

ในอัตถะและอนัตถะขึ้นแล้ว ผ่านเลยคนมีปัญญาไปแทบเท้าของคนเขลาผู้เป็น

อิสระ แต่ย่อมได้การวินิจฉัยแทบเท้าของคนมีปัญญาเท่านั้น.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสถามเสนกะ ว่าจะแก้อย่างไร

เสนกะกราบทูลว่า โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า แล้วกล่าวคาถานี้ว่า

หากว่าคนมียศผู้ไม่มีศีลอยู่ในที่วินิจฉัย กล่าว

ข้อความแก่ชนเหล่าอื่น คำของผู้นั้นย่อมเจริญงอกงาม

ในท่ามกลางบริษัท คนมีปัญญายังคนมีสิริต่ำช้า ให้

ทำตามถ้อยคำของตนหาได้ไม่ ข้าพระองค์เห็นความ

ดังนี้ จึงทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนต่ำช้า คนมีสิริ

เป็นคนประเสริฐแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสญฺโต เจปิ ความว่า ก็แม้ถ้าคน

มียศเป็นคนไม่สำรวมกายเป็นต้นคือเป็นคนทุศีล. บทว่า สณฺานคโต

ความว่า คนมียศดำรงอยู่ในที่วินิจฉัย กล่าวข้อความแก่คนเหล่าอื่น เมื่อเขา

ซึ่งแวดล้อมไปด้วยบริวารใหญ่ กล่าวมุสาทำให้เป็นเจ้าของบ้าง ให้ไม่เป็น

เจ้าของบ้าง คำของเขานั่นแลย่อมงอกงาม คนมีปัญญาย่อมยังคนมีสิริต่ำช้าให้

ทำตามถ้อยคำไม่ได้ เพราะเหตุนั้น คนมีปัญญาจึงเป็นคนต่ำช้า คนมีสิริจึง

เป็นคนประเสริฐแท้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

เมื่อพระราชาตรัสถามมโหสถอีกว่า พ่อจะแก้อย่างไร มโหสถบัณฑิต

จึงกราบทูลว่า โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า เสนกะคนเขลาจะรู้อะไร ดูอยู่แค่

โลกนี้เท่านั้น ไม่ดูไปถึงปรโลก แล้วกล่าวคาถานี้ว่า

คนเขลามีปัญญาน้อยกล่าวมุสาแก่คนอื่นบ้าง

แม้แก่ตนบ้าง คนเขลานั้นถูกติเตียนในท่ามกลางที่

ประชุม ภายหลังเขาจะไปทุคติ ข้าพระองค์เห็นความ

ดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นเป็นคน

ประเสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.

ลำดับนั้น เสนกะกล่าวคาถานี้ว่า

ถ้าคนมีปัญญาดุจแผ่นดิน ไม่มีที่อยู่ มีทรัพย์

น้อย เป็นคนเข็ญใจ กล่าวข้อความคำของเขานั้น

ย่อมไม่งอกงามในท่ามกลางญาติ และสิริย่อมไม่มีแก่

คนมีปัญญา ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า

คนมีปัญญาเป็นคนต่ำช้า คนมีสิริเท่านั้นเป็นคน

ประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถมฺปิ เจ ความว่า ถ้ากล่าวแม้

เหตุการณ์. บทว่า าติมชฺเฌ ได้แก่ ในท่ามกลางบริษัท. ด้วยบทว่า

ปญฺาณวโต อาจารย์เสนกะแสดงความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

ธรรมดาสิริแม้จะมีอยู่ตามปกติ ถึงความเป็นยอดความงามแห่งสิริ ก็ไม่มีแก่

ผู้มีปัญญานั่นแล ด้วยว่าผู้มีปัญญานั้นย่อมไม่ปรากฏในสำนักของผู้มีสิริ

ประดุจหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น.

เมื่อพระราชาตรัสถามมโหสถอีกว่า พ่อจะแก้อย่างไร มโหสถบัณฑิต

จึงกราบทูลว่า เสนกะจะรู้อะไร ดูอยู่แค่โลกนี้เท่านั้น ไม่ดูไปถึงปรโลก แล้ว

กล่าวคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 379

คนมีปัญญาดุจแผ่นดินไม่กล่าวคำเหลาะแหละ

เพื่อเหตุของผู้อื่นหรือแม้ของตน คนผู้นั้นอันมหาชน

บูชาแล้วในท่ามกลางที่ประชุม ภายหลังเขาจะไปสุคติ

ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญา

เท่านั้นเป็นคนประเสริฐ คนเขลานี้ยศหาประเสริฐไม่.

ลำดับนั้น เสนกะกล่าวคาถานี้ว่า

ช้าง โค ม้า กุณฑลแก้วมณี และนารีทั้งหลาย

เกิดในสกุลมั่งคั่ง ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นอุปโภคของ

บุรุษผู้มีอิสระ สัตว์ผู้ไม่มีอิสระก็เป็นอุปโภคของผู้มี

อิสระ ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า

คนมีปัญญาเป็นคนต่ำช้า คนมีสิริเท่านั้น เป็นคน

ประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธสฺส ได้แก่ ผู้มีอิสระ. บทว่า

อนิทฺธิมนฺโต ความว่า มิใช่แต่นารีเหล่านั้นเท่านั้นที่เป็นอุปโภค ที่แท้สัตว์

ทั้งหลายผู้ไม่มีอิสระทั้งหมดทีเดียว ย่อมเป็นอุปโภคของผู้มีอิสระนั้น.

ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตกล่าวว่า เสนกะจะรู้อะไร เมื่อจะชักเหตุ

อันหนึ่งมาแสดง จึงกล่าวคาถานี้ว่า

สิริย่อมละเสียซึ่งคนเขลาผู้ไม่จัดการงาน ผู้มี

ความคิดอย่างคนไม่มีความคิด ผู้มีปัญญาทราม

เหมือนงูละคราบเก่าเสียฉะนั้น พระองค์เห็นความ

ดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นเป็นคนประ-

เสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

เนื้อความของบทว่า สีรี ชหติ ในคาถานั้น พึงทราบตามเจติย-

ชาดก.

ลำดับนั้น ครั้นพระราชาตรัสถามเสนกะว่าจะแก้อย่างไร เสนกะ

กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มโหสถนี้ยังเป็นเด็กรุ่น จะรู้อะไร โปรดฟัง

เถิด พระเจ้าข้า ทูลฉะนี้แล้วคิดว่า เราจักทำมโหสถให้หมดปฏิภาณ จึงกล่าว

คาถานี้ว่า

ขอจงทรงพระเจริญ พวกข้าพระองค์เป็นบัณฑิต

๕ คน ทั้งหมดเคารพบำรุงพระองค์ พระองค์เป็น

อิสระครอบงำข้าพระองค์ทั้งหลาย ดุจท้าวสักกเทว-

ราชผู้เป็นเจ้าแห่งภูตทั้งหลาย ข้าพระองค์เห็นความ

ดังนี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนต่ำช้า คน

มีสิริเท่านั้น เป็นคนประเสริฐ.

ได้ยินว่า พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับคำของเสนกะนี้แล้วทรงดำริว่า

เหตุการณ์ที่เสนกะชักมาดีอยู่ บุตรของเราจักสามารถนำเหตุการณ์อื่นมาทำลาย

วาทะของเสนกะนี้ได้หรือหนอ จึงตรัสว่า พ่อบัณฑิต เจ้าจะแก้อย่างไร ได้

ยินว่า เมื่อเสนกะชักเหตุการณ์นี้มา คนอื่นเว้นพระโพธิสัตว์เสีย ที่ชื่อว่า

สามารถทำลายวาทะนั้นไม่มี เพราะฉะนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะทำลายวาทะ

แห่งเสนกะนั้น ด้วยกำลังญาณของตน จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

เสนกะนี้เป็นคนเขลา จะรู้อะไร แลดูอยู่เฉพาะยศเท่านั้น ไม่ทราบความวิเศษ

แห่งปัญญา โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า กราบทูลฉะนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า

คนเขลามียศเป็นดุจทาสของคนฉลาด ในเมื่อ

กิจต่าง ๆ เกิดมี คนฉลาดย่อมจัดกิจอันละเอียดใด คน

เขลาย่อมถึงความหลงพร้อมในกิจนั้น ข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 381

เห็นความอย่างนี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้น

เป็นคนประเสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺเถสุ ได้แก่ เมื่อกิจทั้งหลาย. บทว่า

สวิเธติ แปลว่า ย่อมจัดแจง.

พระมหาสัตว์แสดงเหตุการณ์แห่งนัยปัญญาด้วยประการฉะนี้ ราวกะผู้

วิเศษคุ้ยทรายทองขึ้นแต่เชิงเขาสิเนรุ และราวกะผู้มีฤทธิ์ยังดวงจันทร์เต็มดวง

ให้ตั้งขึ้นในท้องฟ้า ฉะนั้น เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวแสดงอานุภาพแห่งปัญญา

อยู่นั่นแล พระราชาตรัสกะเสนกะว่า เสนกะ ท่านจะแก้อย่างไร ท่านอาจ

กล่าวให้ยิ่งขึ้นหรือ เสนกะนั้นยังวิทยาคมที่เรียนมาให้สิ้นไป เป็นผู้หมด

ปฏิภาณ เป็นผู้เก้อนั่งซบเซาอยู่ เหมือนข้าวเปลือกที่เขาเก็บไว้ในฉาง ก็ถ้า

เสนกะนั้น พึงนำเหตุการณ์อื่นมาไซร้ มโหสถจะพึงเฉลยอันจัดเป็นชาดกนี้ให้

จบลงด้วยคาถาพันหนึ่ง พระมหาสัตว์เมื่อจะพรรณนาปัญญานั่นแลให้ยิ่งขึ้น

เหมือนนำห้วงน้ำลึกมาในกาลที่เสนกะนั้นหมดปฏิภาณนิ่งอยู่ จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ปัญญาเป็นที่สรรเสริฐแห่งสัตบุรุษทั้งหลาย สัต-

บุรุษทั้งหลายสรรเสริญปัญญาว่าประเสริฐแท้จริง สิริ

เป็นที่ใคร่ของพวกคนเขลา พวกคนเขลาใคร่ซึ่งสิริ

ยินดีในโภคสมบัติ ก็ความรู้ของเหล่าท่านผู้รู้ อัน

ใคร ๆ ซึ่งเปรียบด้วยอะไรไม่ได้ คนมีสิริย่อมไม่ล่วง

เลยคนมีปัญญาในกาลไหน ๆ ข้าพระองค์เห็นความ

อย่างนี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้น เป็นคนประ

เสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สต ได้แก่ สัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธ-

เจ้าเป็นต้น. บทว่า โภครตา มีเนื้อความอันบัณฑิตพึงพรรณนาตามภิงสก-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 382

ชาดกว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะมนุษย์อันธพาลเหล่านั้น ยินดีใน

โภคสมบัติ ฉะนั้น เขาเหล่านั้น จึงใคร่สิริ ชื่อว่ายศนี้ บัณฑิตทั้งหลายติเตียน

คนพาลทั้งหลายปรารถนา. บทว่า พุทฺธาน ได้แก่ ของเหล่าญาณพุทธ.

บทว่า กทาจิ ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดาคนมีสิริย่อมไม่ก้าวล่วง

คนมีความรู้ในกาลใดไหน ๆ.

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำนั้นก็ทรงโสมนัสด้วยปัญหาพยากรณ์

แห่งพระมหาสัตว์ เมื่อจะทรงบูชาพระมหาสัตว์ด้วยทรัพย์ ราวกะผู้วิเศษยัง

ฝนลูกเห็บให้ตก จึงตรัสคาถาว่า.

ดูก่อนมโหสถผู้เห็นธรรมทั้งปวง เราได้ถาม

ปัญหานั้นใดกะเจ้า เจ้าได้ประกาศเผยแผ่ปัญหานั้น

แก่เรา เรายินดีด้วยการแก้ปัญหาของเจ้า เราให้โค

พันหนึ่ง ทั้งโคอุสุภราช ช้าง รถเทียมม้าอาชาไนย

๑๐ คัน และบ้านส่วย ๑๖ ตำบลแก่เจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุสภญฺ จ นาค ความว่า เราให้ช้าง

ที่น่าขี่ซึ่งประดับตกแต่งแล้ว ทำโคอุสุภราชให้เป็นใหญ่ของโคพันหนึ่งนั้น

ด้วยดี.

จบ สิริเมณฑกปัญหา ในวีสตินิบาต

จำเดิมแต่นั้น มโหสถโพธิสัตว์ได้มียศใหญ่ พระนางอุทุมพรเทวีได้

ทรงพิจารณาปัญหานั้นทั้งหมด ในกาลเมื่อมโหสถมีอายุได้ ๑๖ ปี พระนาง

ทรงดำริว่า น้องชายของเราเป็นผู้ใหญ่แล้ว แม้ยศของเธอก็ใหญ่ เราควรจะ

ทำอาวาหมงคลแก่เธอ ทรงดำริฉะนี้แล้วได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระเจ้า-

วิเทหราช บรมกษัตริย์ได้ทรงสดับเนื้อความนั้น จึงมีพระราชดำรัสว่าดีแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 383

เธอจงให้เจ้าตัวทราบ พระนางให้มโหสถทราบความ เมื่อมโหสถรับทำ

อาวาหมงคล จึงมีพระเสาวนีย์ว่า ถ้ากระนั้น เราจะนำนางกุมาริกามาเพื่อเธอ

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์คิดว่า นางกุมาริกาที่พระนางจะนำมาบางทีจะไม่พึงชอบ

ใจเรา เราจะพิจารณาหาดูเองก่อน คิดฉะนี้แล้วจึงทูลว่า ข้าแต่พระราชเทวี

พระองค์อย่าตรัสอะไรแด่พระราชาสักสองสามวัน ข้าพระบาทจักแสวงหานาง

กุมาริกานางหนึ่งเองที่ชอบใจ แล้วจักทูลให้ทรงทราบ พระนางอุทุมพรทรง

อนุญาต มโหสถจึงถวายบังคมลาพระเทวีไปเรือนของตน ให้สัญญาแก่พวก

สหายแล้ว แปลงเพศที่ใคร ๆ ไม่รู้จัก ถือเครื่องอุปกรณ์แห่งช่างชุนผ้า ออก

ทางประตูด้านทิศอุครแต่ผู้เดียว ไปสู่บ้านอุตตรยวมัชฌคาม

ก็ในกาลนั้น มีสกุลเศรษฐีสกุลหนึ่งในบ้านนั้น เป็นสกุลเก่าแก่ ธิดา

ของสกุลนั้นนางหนึ่ง ชื่ออมราเทวี นางมีรูปงามบริบูรณ์ด้วยลักษณะดีทุกอย่าง

เป็นผู้มีบุญ วันนั้น นางต้มข้าวต้มแต่เช้า นำข้าวต้มนั้น คิดว่าจักไปสู่ที่บิดา

ไถนา จึงออกจากเรือนเดินสวนทางกับมโหสถ พระมหาสัตว์เห็นนางเดินมา

คิดในใจว่า สตรีนี้สมบูรณ์ด้วยลักษณะดีทุกอย่าง ถ้ายังไม่มีสามี นางนี้ก็ควร

เป็นภรรยาของเรา ฝ่ายนางอมราพอเห็นมโหสถ ก็คิดในใจว่า ถ้าเราได้บุรุษ

นี้เป็นสามีไซร้ เราอาจจะยังทรัพย์สมบัติให้เกิดมั่งคั่ง ลำดับนั้นพระมหาสัตว์

ดำริว่า เรายังไม่รู้ความที่สตรีนี้มีสามีหรือยังไม่มี จักถามนางด้วยวิธีใช้ใบ้

ถ้านางฉลาด ก็จักรู้เนื้อความแห่งปัญญาของเรา คิดฉะนี้แล้วยืนอยู่แต่ไกล

กำมือเข้า นางอมรารู้ความว่า บุรุษนี้ถามว่าเรามีสามีหรือยัง จึงยืนอย่างนั้น

เอง แบมือออก มโหสถรู้เหตุนั้นแล้วจึงเข้าไปใกล้นางถามว่า แน่ะนางผู้เจริญ

เธอชื่ออะไร นางอมราตอบว่า ข้าแต่นาย สิ่งใดไม่มีในอดีต ในอนาคต

หรือในปัจจุบัน สิ่งนั้น เป็นชื่อของข้าพเจ้า มโหสถกล่าวว่า แน่ะ นาง

ผู้เจริญ ชื่อว่าความไม่ตายไม่มีในโลก ฉะนั้นนางจักชื่อว่า อมรา นางอมรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 384

ตอบว่า อย่างนั้น นาย มโหสถถามว่า เธอจักนำข้าวต้มไปเพื่อใคร เมื่อ

นางอมราตอบว่า ข้าพเจ้านำไป เพื่อบุรพเทวดา มโหสถจึงกล่าวว่า บิดามารดา

ชื่อว่าบุรพเทวดา ชะรอยเธอจักนำข้าวต้มไปเพื่อบิดาของเธอ นางอมราตอบ

ว่าถูกแล้ว มโหสถถามว่า บิดาของเธอทำงานอะไร นางอมราตอบว่า บิดา

ของดิฉัน ทำสิ่งหนึ่งโดยส่วนสอง มโหสถกล่าวว่า แน่ะนางผู้เจริญ การไถนา

ชื่อว่าการทำสิ่งหนึ่งโดยส่วนสอง ชะรอยบิดาของเธอไถนา นางอมราตอบว่า

ถูกแล้ว มโหสถถามว่า บิดาของเธอไถนาอยู่ที่ไหน นางอมราตอบว่า ชน

ทั้งหลายไปในที่ใด คราวเดียวภายหลังไม่กลับมา บิดาของดิฉันไถนาในที่

นั้นแล มโหสถกล่าวว่า ป่าช้าชื่อว่าสถานที่แห่งชนทั้งหลายไปคราวเดียว

ภายหลังไม่กลับ ชะรอยบิดาของเธอจะไถนาในที่ใกล้ป่าช้า นางอมราตอบว่า

ถูกแล้ว มโหสถถามต่อไปว่า แน่ะนางผู้เจริญ วันนี้เธอจะกลับหรือไม่กลับ

นางอมราตอบว่า ข้าแต่นาย ถ้าว่ามา ดิฉันจะยังไม่กลับ ถ้าว่าไม่มา

ดิฉันจักกลับ มโหสถกล่าวว่า แน่ะนางผู้เจริญ บิดาของเธอชะรอยจักไถนา

ใกล้ฝั่งแม่น้ำ ครั้น เมื่อน้ำมา เธอจักไม่กลับ ครั้นเมื่อน้ำไม่มา เธอจักกลับ

นางอมราตอบว่า ถูกแล้ว ทั้งสองเจรจาโต้ตอบกันเท่านี้แล้ว ภายหลังนาง

อมรา เชิญมโหสถให้ดื่มข้าวต้ม พระมหาสัตว์ดำริว่า การปฏิเสธเป็นอวมงคล

จึงกล่าวรับว่าจักดื่ม นางจึงปลงหม้อข้าวต้มลง พระมหาสัตว์คิดว่า ถ้านาง

อมราไม่ล้างภาชนะ ไม่ให้น้ำล้างมือ ให้ข้าวต้ม เราจักละนางเสียในที่นี้ไป

ฝ่ายนางอมราล้างภาชนะแล้ว นำน้ำมาด้วยภาชนะให้น้ำล้างมือ ไม่วางภาชนะ

เปล่าในมือ คนหม้อที่วางไว้บนพื้นแล้วตักข้าวต้มใส่เต็มภาชนะ ก็แต่เมล็ด

ข้าวในภาชนะนั้นน้อย ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวว่า แน่ะนางผู้เจริญ น้ำ

ข้าวต้มมากเกินหรือ นางอมราตอบว่า ข้าแต่นาย ดิฉันได้น้ำแล้ว พระ-

มหาสัตว์กล่าวว่า เธอเห็นจักไม่ได้น้ำมาแต่ทุ่งนา นางอมราตอบว่า ถูกแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 385

แล้วนางแบ่งข้าวต้มไว้ให้บิดา เหลือจากนั้นให้พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ดื่ม

ข้าวต้มนั้นแล้วบ้วนปาก พูดว่า แน่ะนางผู้เจริญ เราจักไปสู่เรือนของเธอ

เธอจงบอกทางแก่เรา นางอมรากล่าวว่าดีแล้ว เมื่อจะบอกทาง จึงกล่าวคาถา

นี้ ในเอกนิบาตว่า

ร้านขายข้าวสัตตู ถัดไปร้านขายน้ำส้ม ถัดสอง

ร้าน ต้นทองหลางดอกบานมีใบสองชั้น มีอยู่โดย

ทางใด ดิฉันถือภาชนะข้าวต้มด้วยมือขวาใด ดิฉัน

บอกทางนั้นโดยมือขวานั้น ดิฉันไม่ได้ถือภาชนะข้าว

ต้มด้วยมือซ้ายใด ดิฉันไม่ได้บอกทางนั้นโดยมือซ้ายนั้น

ทางนั้นเป็นทางไปเรือนของดิฉัน ซึ่งตั้งอยู่ในบ้าน

อุตตรยวมัชฌคาม ขอท่านจงทราบทางอันปกปิดนี้.

คาถานั้นมีความว่า ข้าแต่นาย ท่านเข้าไปภายในหมู่บ้านแล้วจะเห็น

ร้านขายข้าวสัตตูร้านหนึ่ง ถัดไป ร้านขายน้ำส้ม ข้างหน้าร้านค้าสองร้านนั้น

มีต้นทองหลาง มีใบสองชั้นมีดอกบาน ฉะนั้น ท่านจงไปทางที่มีร้านขายข้าว

สัตตู ร้านขายน้ำส้ม และต้นทองหลางดอกบาน ยืนที่โคนต้นทองหลาง ถือ

เอาทางขวา ละทางซ้าย. บทว่า เอส มคฺโค ยวมชฺฌกสฺส ความว่า

นี้เป็นทางไปเรือนของพวกเรา ซึ่งตั้งอยู่ในบ้านยวมัชฌคาม ขอท่านจงทราบ

ทางปกปิด คือทางที่ปกปิด นี้คือที่ข้าพเจ้ากล่าวปกปิดอย่างนี้ หรือทางปิด

หรือเหตุที่ปกปิด. บทว่า เยนาทามิ แม้ในคาถานี้ นางกล่าวหมายเอา

มือขวาที่เราใช้ถือภาชนะข้าวต้ม นอกนี้เป็นมือซ้าย นางอมราบอกทางแก่

มโหสถอย่างนี้แล้ว ถือข้าวต้มไปส่งบิดา.

จบ ฉันนปถปัญหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 386

มโหสถโพธิสัตว์ไปสู่เรือนนั้นตามทางที่นางอมราบอก ลำดับนั้น

มารดาของนางอมราเห็นมโหสถแล้วจึงให้พระมหาสัตว์นั่ง ณ อาสนะแล้ว

กล่าวว่า จักดื่มข้าวต้มไหมนาย มโหสถตอบว่า ข้าแต่แม่ น้องหญิงอมราเทวี

ได้ให้ข้าวต้มแก่ฉันหน่อยหนึ่งแล้ว แม้มารดาของนางอมราก็รู้ว่า ชายคนนี้

คงมาเพื่อต้องการลูกสาวของเรา พระมหาสัตว์แม้จะรู้ว่าสกุลนั้น ๆ เข็ญใจ

ก็ถามว่า ข้าแต่แม่ ฉันเป็นช่างชุนผ้า มีผ้าอะไร ๆ ที่ฉันควรเย็บบ้างไหม

มารดานางอมราตอบว่า นาย ผ้านั้นมี แต่ค่าจ้างไม่มี มโหสถกล่าวว่า ข้าแต่

แม่ ฉันไม่ทำเอาค่าจ้าง แม่จงนำมา ฉันจักเย็บให้ มารดานางอมราจึงนำ

ผ้าเก่า ๆ มาให้มโหสถชุน พระโพธิสัตว์ก็ให้ผ้าที่นำมา ๆ แล้วเสร็จทั้งหมด

เพราะว่าการทำของท่านผู้มีบุญย่อมสำเร็จง่ายตาย ลำดับนั้นมโหสถแจ้งแก่

มารดานางอมราว่า แม่จงบอกกล่าวตามฟากถนน ให้นำผ้ามาจ้างชุน มารดา

นางอมราก็บอกแก่ชาวบ้านทั่วไป พระมหาสัตว์ทำการชุนผ้าวันเดียวเท่านั้น

ได้ทรัพย์พันหนึ่ง ฝ่ายมารดานางอมราหุงข้าวให้มโหสถกินเวลานั้น แล้วถามว่า

เวลาเย็นข้าจะหุงเท่าไร มโหสถตอบว่า ชนมีประมาณเท่าใดบริโภคในเรือนนี้

แม่จงหุงโดยประมาณแห่งชนเท่านั้น นางจึงหุงภัตตาหารเป็นอันมากทั้งแกง

ทั้งกับมิใช่น้อย ฝ่ายนางอมราเทวี เวลาเย็นเอามัดฟืนทูนศีรษะและกระเดียด

ใบไม้มาแต่ป่า บรรจุฟืนที่ประตูด้านตะวันออก แล้วเข้าสู่เรือนทางประตูด้าน

ตะวันตก ส่วนบิดาของนางอมรากลับบ้านเย็นกว่าธิดากลับ มโหสถบริโภค

โภชนาหารมีรสเลิศต่าง ๆ นางอมราให้บิดามารดาของตนบริโภคแล้วตนจึง

บริโภคภายหลัง แล้วชำระเท้าบิดามารดา และเท้ามโหสถโพธิสัตว์ มโหสถ

กำหนดสังเกตนางอมราอยู่ในบ้านนั้นสองสามวัน ลำดับนั้นเมื่อจะทดลองนาง

วันหนึ่งจึงกล่าวว่า แน่ะอมราเทวีผู้เจริญ เธอจงเอาข้าวสารกึ่งทะนาน ต้ม

ข้าวต้ม ทำขนม และหุงข้าวสวย เพื่อเรา ด้วยข้าวสารกึ่งทะนานนั้น นาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 387

อมรารับคำสั่งแล้วคำข้าวสารนั้น แล้วเอาข้าวสารต้นอันเป็นตัวไม่ค่อยมีเมล็ด

หักต้มเป็นข้าวต้ม เอากลางข้าวสารอันมีเมล็ดหักโดยมากหุงเป็นข้าวสวย เอา

ปลายข้าวสารอันป่นทำขนม แล้วประกอบกับข้าวให้ควรแก่ข้าวสวยข้าวต้มนั้น

ให้ข้าวต้มแก่มโหสถก่อน พอมโหสถได้ดื่มข้าวต้มถึงปาก ข้าวต้มนั้นก็แผ่ซ่าน

ไปสู่เส้น ประสาทเจ็ดพันซึ่งเป็นเส้นสำหรับรับรส มโหสถกล่าวเพื่อทดลอง

นางอมราว่า นางไม่รู้จักหุงต้ม ทำข้าวสารของเราให้เสียหายเพื่อประโยชน์

อะไร แล้วคายถ่มข้าวต้มพร้อมกับน้ำลายลงยังพื้น นางอมรามิได้โกรธกล่าวว่า

ข้าแต่นาย ถ้าข้าวต้มไม่อร่อย ท่านจงกินขนม แล้วส่งขนมให้มโหสถ มโหสถ

ก็ทำอาการอย่างนั้น แล้วกล่าวอย่างนั้นอีก นางอมราจึงกล่าวว่า ถ้าขนมไม่อร่อย

ท่านจงกินข้าวสวย แล้วให้ข้าวสวยแก่มโหสถ มโหสถก็ทำอาการอย่างนั้น และ

กล่าวดังนั้นอีก ทำเป็นเหมือนขัดเคืองขยำข้าวทั้งสามอย่างนั้น เป็นอันเดียวกัน

แล้วทาสรีระทั้งสิ้นตั้งแต่ศีรษะแห่งนาง แล้วไล่ให้นางไปยืนอยู่ที่ประตู ฝ่าย

นางอมราไม่โกรธเลย ประนมมือกล่าวว่า ดีจะนาย แล้วได้ทำตามสั่ง มโหสถ

รู้ว่านางไม่ถือตัว จึงเรียกกลับมาหา พอได้ยินเรียกคำเดียวเท่านั้น นางก็มา

นั่งลงที่ใกล้มโหสถ ฝ่ายพระมหาสัตว์เมื่อมาแต่บ้านตน หาได้มามือเปล่าไม่

เอาผ้าสาฎก ๑ ผืน กับกหาปณะ ๑ พันบรรจุในไถ้น้อยมาด้วย จึงนำผ้าสาฎก

นั้นออกจากไถ้น้อยให้แก่นางอมราแล้ว กล่าวว่า แน่ะนางผู้เจริญ นางจงอาบน้ำ

กับ พวกสหายของนาง แล้วนุ่งผ้าสาฎกนี้มา นางอมราได้ทำตามคำสั่ง มโหสถ

ให้ทรัพย์ที่เกิดขึ้นและทรัพย์ที่นำมาทั้งหมดแก่บิดามารดาของนางอมรา ยังคน

ทั้งสามให้ยินดีแล้ว ลาแม่ยายพ่อตา พานางอมรากลับไปบ้าน ก็พระมหาสัตว์

ให้ร่มและรองเท้าแก่นางอมราแล้ว พูดอย่างนี้ว่า แน่ะนางผู้เจริญ นางจงเอาร่ม

กางกันตัว สวมรองเท้าเดินไป นางอมรารับของสองอย่าง หุบร่มในคราวร้อน

ดวงอาทิตย์ในที่แจ้งเดินไป ถอดรองเท้าในที่ดอนถือไป สวมรองเท้าในเวลาถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 388

ที่มีน้ำเดินไป มโหสถเห็นเหตุนั้นจึงถามว่า แน่ะนางผู้เจริญ เป็นอย่างไร

นางไม่สวมรองเท้าในที่ดอน สวมในที่มีน้ำเดินไป เพราะเหตุอะไร นางตอบ

มโหสถว่า ข้าแต่นาย ดิฉันเห็นสิ่งประทุษร้ายร่างกายมีหนามเป็นต้น ในที่

ดอน ดิฉันไม่เห็นสิ่งประทุษร้ายร่างกายมีปลา เต่า และหนามเป็นต้น ในที่

มีน้ำ ครั้นเครื่องประทุษร้ายเข้าไปสู่เท้า ดิฉันก็พึงเสวยทุกขเวทนาใหญ่

เพราะฉะนั้นจึงสวมรองเท้าในที่มีน้ำเดินไป พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำของนาง

ก็คิดว่า นางทาริกานี้ฉลาดมากหนอ แล้วก็เดินไป ลำดับนั้น นางอมรา

เมื่อเข้าภายในป่า ก็กั้นร่มเดินไป มโหสถถามเหตุนั้นว่า แน่ะนางผู้เจริญ

ชนเหล่าอื่นกั้นร่มกันแดดในที่แจ้งเดินไป แต่นางหาทำอย่างนั้นไม่ เพราะเหตุ

อะไร นางตอบมโหสถว่า ข้าแต่นาย ดิฉันชื่อว่าเข้าสู่ภายในป่าก็จริง

แต่ทำอย่างนี้เพราะกลัวไม้แห้งท่อนไม้ตกบนศีรษะ พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำที่

นางกล่าวด้วยเหตุ ๒ อย่างก็ยินดี ลำดับนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์เดินไปกับนาง

เห็นต้นพุทราถึงพร้อมด้วยผลในที่หนึ่ง ก็หยุดนั่งใต้ต้นพุทรา ฝ่ายนางอมรา

เห็นพระมหาสัตว์นั่งใต้ต้นพุทราก็พูดขึ้นว่า ข้าแต่นาย ท่านจงขึ้นเก็บผลพุทรา

กินให้ดิฉันบ้าง มโหสถตอบว่า แน่ะนางผู้เจริญ เราเหน็ดเหนื่อยไม่อาจ

ขึ้น นางขึ้นเถิด นางได้ฟังคำของมโหสถก็ขึ้นต้นพุทรานั้นเลือกเก็บผล ฝ่าย

พระโพธิสัตว์กล่าวกะนางว่า แน่ะนางผู้เจริญนางจงให้ผลแก่เราบ้าง นางคิด

ว่า เราจักดูบุรุษนี้ฉลาดหรือโง่ จักทดลองเขาดู จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่นาย

ท่านจะกินผลร้อนหรือผลเย็น พระโพธิสัตว์แม้รู้เหตุที่นางถาม ก็ทำเป็นเหมือน

ไม่รู้ จึงกล่าวตอบอย่างนี้ เพื่อทดลองว่า แน่ะนางผู้เจริญ เราต้องการด้วย

ผลร้อน นางจึงเก็บผลโยนไปในที่พื้นดินกล่าวว่า ท่านจงกินเถิด นาย พระ-

โพธิสัตว์ก็เก็บผลมาปัดเป่าให้หมดผงแล้วเคี้ยวกิน เมื่อจะทดลองนางอีกจึง

กล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะนางผู้เจริญ นางจงให้ผลเย็นแก่เรา นางก็เก็บผลพุทรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 389

โยนไปบนพื้นหญ้า พระโพธิสัตว์ก็เก็บผลนั้น ไม่ต้องปัดเป่าเคี้ยวกินทีเดียว

รู้ว่านางทาริกานี้ฉลาดเหลือเกินก็ยินดี แล้วบอกให้นางลงจากต้นพุทรา นาง

อมราได้ฟังคำมโหสถเรียกให้ลง ก็ลงจากต้นพุทรา ถือหม้อไปแม่น้ำนำน้ำมา

ให้มโหสถ มโหสถก็ดื่มน้ำแล้วบ้วนปาก นางยืนอยู่ส่วนข้างหนึ่ง เขาทั้งสอง

ลุกขึ้นเดินไปเข้าสู่พระนคร พระมหาสัตว์ให้นางอยู่ที่เรือนคนเฝ้าประตู แล้ว

แจ้งแก่ภรรยาแห่งคนเฝ้าประตูให้ทราบ เพื่อทดลองนาง แล้วเข้าสู่เคหสถาน

ของตน เรียกชายทั้งหลายมาแจ้งว่า เราให้สตรีคนหนึ่งอยู่ที่เรือนโน้น จึงมา

บ้านนี้ เจ้าทั้งหลายจงเอาทรัพย์หนึ่งพันกหาปณะนี้ไปที่เรือนนั้น พูดเกี้ยวพาน

ลองดู สั่งฉะนั้นแล้วให้กหาปณะหนึ่งพันแล้วส่งไป บุรุษเหล่านั้นไปสู่สำนัก

นางอมรา แล้วได้ทำตามมโหสถสั่ง นางไม่ปรารถนา คิดเห็นว่าความประพฤติ

ของบุรุษเหล่านี้ไม่ถึงสักว่าละอองเท้าของสามีแห่งเรา บุรุษเหล่านั้น ก็กลับมา

บอกแก่มโหสถ ลำดับนั้น มโหสถส่งบุรุษเหล่านั้น ไปบ่อย ๆ ถึง ๓ คราว

ในวาระที่ ๔ จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าทั้งหลายจงไปจับตัวนางคร่ามา บุรุษ

เหล่านั้นก็ไปทำดังนั้น นางก็ได้มาเห็นพระมหาสัตว์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีทรัพย์

สมบัติมากก็จำไม่ได้ แลดูมโหสถแล้วหัวเราะแล้วก็ร้องไห้ มโหสถซักถามถึง

เหตุทั้งสองนั้น นางก็แจ้งแก่มโหสถว่า ข้าแต่นาย ดิฉันเห็นสมบัติของท่าน

ก็นึกในใจว่า สมบัตินี้ท่านไม่ได้ด้วยไม่มีเหตุ ก็แต่ท่านจักทำกุศลไว้ใน

ปางก่อนจึงได้สมบัตินี้ โอ ผลของบุญทั้งหลายน่าอัศจรรย์หนอ นึกในใจดังนี้

จึงได้หัวเราะ ก็เมื่อดิฉันร้องไห้ก็ร้องไห้ด้วยความกรุณาในตัวท่าน ด้วย

สงสารว่า บัดนี้ท่านมาทำร้ายในวัตถุที่คนอื่นปกครองหวงแหน ก็จักไปสู่นรก

มโหสถทดลองนางอมรารู้ความที่นางเป็นผู้บริสุทธิ์ จึงกล่าวสั่งว่า เจ้าทั้งหลาย

จงไป จงพานางไปอยู่ที่เดิม แล้วแปลงเพศเป็นช่างชุนผ้าไปแรมอยู่กับนาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 390

รุ่งเช้าก็เข้าไปสู่ราชสำนัก ทูลประพฤติเหตุนั้นแด่พระนางอุทุมพร พระนาง

นำความกราบทูลพระเจ้าวิเทหราช แล้วประดับ นางอมราเทวีด้วยเครื่องอลังการ

ทั้งปวงให้นั่งในวอใหญ่ นำมายังเคหสถานของมโหสถทำอาวาหนึ่งคลด้วยเกียรติ

อันยิ่งใหญ่ พระราชาทรงส่งทรัพย์มูลค่าพันกหาปณะเป็นบรรณาการแก่พระ-

โพธิสัตว์ ชาวพระนครทั้งสิ้นทั้งแต่คนรักษาประตู ก็ได้จัดของขวัญมาให้

ฝ่ายนางอมราเทวีก็แบ่งของที่ได้รับพระราชทานเป็นสองส่วน คืนเข้าพระคลัง

ส่วนหนึ่ง รับไว้ส่วนหนึ่ง ได้ส่งของช่วยของชาวนครทั้งสิ้นไปสงเคราะห์

ชาวนครโดยวิธีนี้ แต่นั้นมาพระมหาสัตว์ก็ได้อยู่ร่วมกับนางอมรา ได้ถวาย

อนุศาสน์อรรถธรรมแด่พระราชา.

จบการแสวงหานางอมราเทวี

อยู่มาวันหนึ่ง เสนกะเห็นปุกกุสะ กามินทะ และเทวินทะทั้งสาม

อาจารย์มาสู่สำนักตน จึงปรึกษาอาจารย์เหล่านั้นกล่าวว่า แน่ะผู้เจริญทั้งสาม

เราทั้งสี่คนไม่เทียมทันมโหสถผู้บุตรคฤหบดี ก็บัดนี้เขานำภรรยาผู้ฉลาดนักมา

เอง พวกเราพึงทำลายเขาระหว่างพระราชาเสียอย่างไรดี อาจารย์ทั้งสามตอบ

เสนกะว่า ข้าพเจ้าทั้งสามจะรู้อะไร ขอท่านดำริเถิด เสนกะจึงกล่าวว่า พวก

ท่านอย่าวิตก เรามีอุบายอยู่อย่างหนึ่ง อาจารย์ทั้งสามถามว่า อุบายอะไร

ท่านอาจารย์ เสนกะจึงแจ้งว่า เราจักลักพระจุฬามณีของพระราชามา ท่าน

ปุกกุสะจงลักสุวรรณมาลามา ท่านกามินทะจงลักคลุมบรรทมกัมพลมา ท่าน

เทวินทะจงลักฉลองพระบาททองคำมา ก็และครั้นลักราชาภรณ์ทั้งสี่อย่างมาได้

ฉะนี้แล้ว เราทั้งสี่จงยังราชาภรณ์ทั้งสี่นั้นให้เข้าไปอยู่ในเรือนของมโหสถ เรา

แม้ทั้งสี่จักลักราชาภรณ์ทั้งสี่มาด้วยอุบายแล้ว แต่นั้นจักให้เข้าไปอยู่ในเรือน

มโหสถ ทำมิให้ประชาชนสงสัยพวกเรา อาจารย์ทั้งสามรับว่าอุบายนี้งามนัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 391

เสนกะจึงนำพระจุฬามณีลงไว้ในหม้อเปรียงก่อนแล้วส่งให้ทาสีคนหนึ่งนำหม้อ

เปรียงนั้น ไปสั่งว่า เจ้าจงนำหม้อเปรียงนี้ไปเร่ขาย อย่าขายให้แก่ชนเหล่าอื่น

ผู้รับซื้อ ถ้าเมื่อชนในเรือนมโหสถรับซื้อ เจ้าจงให้เปล่าทั้งหม้อ ทาสีก็ไปสู่

ประตูเรือนมโหสถร้องขายว่า ท่านทั้งหลายจงซื้อเปรียง ๆ เดินกลับไปกลับ

กลับมาที่หน้าประตูเรือนนั้น นางอมราเทวียืนอยู่ที่ประตูเห็นกิริยาของทาสีนั้น

จึงคิดว่า หญิงนี้ไม่ไปอื่น เหตุการณ์จะพึงมีในหญิงนั้น จึงยังทาสีทั้งหลายให้

เลี่ยงไปด้วยสัญญาอันนัดกันไว้ แล้วเรียกทาสีผู้ขายเปรียงนั้นมาว่า มานี่แม่

ฉันจะซื้อเปรียง แล้วให้สัญญาแก่พวกทาสีของตนในกาลเมื่อนางขายเปรียงมา

ครั้นเมื่อพวกทาสีของตนยังไม่มา จึงให้นางผู้ขายเปรียงนั้นไปเรียกมา นาง

จึงล้วงมือลงในหม้อ พบพระจุพามณีในนั้นในกาลเมื่อนางขายเปรียงนั้นไป

พอนางขายเปรียงนั้นกลับมาจึงถามว่า แม่มาแต่สำนักใครนะ นางขายเปรียง

นั้นตอบว่า ข้าแต่แม่เจ้า ข้าเป็นทาสีของอาจารย์เสนกะ แต่นั้นนางอมราจึง

ซักถามชื่อของนาง และของบิดามารดาแห่งนาง ได้รับตอบว่า ชื่อโน้น ๆ

แล้วถามว่า เปรียงนี้แม่จะขายราคาเท่าไร ได้รับตอบว่า เท่าราคาข้าว ๔

ทะนาน จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นแม่จงขายแก่ฉัน ก็ได้รับตอบว่า เมื่อแม่เจ้า

รับซื้อ จะต้องการอะไรด้วยราคา จงรับไว้ทั้งหม้อ ไม่คิดราคา ก็ว่า ถ้าเช่นนั้น

ก็ตกลง แล้วให้นางขายเปรียงนั้นกลับไป ให้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรถือ

ไว้ มีความว่า เดือนนั้น วันนั้น อาจารย์เสนกะให้ทาสีชื่อนี้ ธิดาของทาสี

ชื่อนี้ นำพระจุฬามณีของพระราชามาขายไว้ ฝ่ายปุกกุสะวางสุวรรณมาลาใน

ผอบซึ่งบรรจุดอกมะลิ แล้วปิดสุวรรณมาลานั้นด้วยดอกมะลิแล้วส่งไป ฝ่าย

กามินทะวางคลุมบรรทมกัมพลในกระเช้าซึ่งบรรจุผักแล้วปิดด้วยผักแล้วส่งไป

ฝ่ายเทวินทะสอดฉลองพระบาททองคำภายในฟ่อนข้าวเหนียวแล้วส่งไป นาง

อมรารับสิ่งทั้งปวงนั้นไว้ บันทึกเรื่องไว้โดยนัยหนหลัง บอกแก่พระมหาสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 392

แล้วเก็บไว้ ฝ่ายบัณฑิตทั้งสี่นั้นไปสู่ราชสำนักทูลว่า พระองค์ไม่ทรงประดับ

พระจุฬามณีหรือพระเจ้าข้า พระเจ้าวิเทหราชตรัสว่า จะประดับ จงไปนำมา

อาจารย์ทั้งสี่นั้นไปดู ไม่เห็นพระจุฬามณีในสถานที่เก็บ และไม่เห็นราชาภรณ์

สามอย่างนอกนี้ จึงทูลยุยงว่า ข้าแต่สมมติเทพ ราชาภรณ์ของพระองค์อยู่ใน

เรือนของมโหสถ มโหสถใช้ราชาภรณ์เองก่อนจะเป็นศัตรูต่อพระองค์.

ลำดับนั้นคนสอดแนมเนื้อความของมโหสถนำความมาแจ้งแก่มโหสถ

มโหสถได้ฟังคำของพวกสอดแนมเนื้อความ จึงคิดว่า เราจักเฝ้าพระราชาจึงจะ

รู้เรื่อง จึงไปสู่ที่เฝ้าพระราชาพระราชากริ้วมโหสถ ไม่ให้มโหสถเห็นพระองค์

ด้วยทรงคิดถึงเหตุที่เกิดว่า เราไม่รู้มโหสถจะมาทำไมในที่นี้ มโหสถรู้ว่าพระ

ราชากริ้ว จึงกลับบ้านของตน พระราชาตรัสสั่งให้จับมโหสถ ฝ่ายมโหสถ

บัณฑิตได้ฟังคำของพวกสอดแนมเนื้อความจึงคิดว่า ควรเราจะหลบหลีกไป

จึงให้สัญญาแก่นางอมราแล้วแปลงเพศออกจากเมือง ไปสู่ทักขิณยวมัชฌคาม

ทำหม้อเลี้ยงชีพอยู่ ณ บ้านนั้น เกิดโกลาหลในพระนครว่า มโหสถบัณฑิตหนี

ไปแล้ว อาจารย์ทั้งสี่มีเสนกะเป็นต้น รู้ว่ามโหสถหนีไปแล้ว จึงกล่าวว่า ท่าน

ทั้งหลายอย่าวิตก เราทั้งหลายไม่ใช่บัณฑิตหรือ กล่าวฉะนี้แล้วไม่ยังกันและ

กันให้รู้ ส่งบรรณาการไปให้นางอมรา นางอมรารับบรรณาการที่อาจารย์ทั้งสี่

ส่งไปแล้วกล่าวว่า จงไปในเวลาโน้น แล้วคิดว่า เราจักให้ทั้งสี่คนมาหาเรา

ได้อาย จึงเรียกเหล่าทาสีมา ให้ขุดหลุมหนึ่ง ล้อมรั้วที่หลุมนั้น เทคูถกับน้ำ

ลงในหลุมนั้น แล้วให้ปิดแผ่นกระดานยนต์ที่พื้นข้างบนแห่งหลมคูถ ปกปิด

ด้วยเสื่อลำแพนมีลิ่มสลักสองข้าง แล้วแต่งเคหสถานให้ห้อยบุปผชาติเป็นต้น

ให้เป็นเหมือนน่ารื่นรมย์ให้ตั้งน้ำไว้ ยังสิ่งทั้งปวงให้แล้วเสร็จ เวลาค่ำวันนั้น

เสนกะแต่งตัว กินโภชนาหารมีรสเลิศต่าง ๆ แล้วไปสู่เรือนมโหสถ ยืนอยู่

แทบประตู ให้แจ้งการที่ตนมา ยังคนรักษาให้บอกแก่นางอมรา นางอมรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 393

ได้ฟังคำแห่งเสนกะนั้น จึงกล่าวว่ามาเถิด เสนกะก็ไปยืนอยู่ใกล้นางอมรา

นางอมราจึงกล่าวอย่างนี้กะเสนกะว่า ข้าพเจ้าตกอยู่ในอำนาจของท่านในบัดนี้

แล้ว การไม่อาบน้ำแล้วนอนไม่ควร ท่านจงไปอาบน้ำหอมนี้เสียก่อนจึงมา

เสนกะรับคำแล้วไปเหยียบแผ่นกระดานจักอาบ นางอมราทำเป็นเหมือนรดน้ำ

ให้ในกาลเมื่อเสนกะขึ้นยืนบนแผ่นกระดาน นางเหยียบที่แผ่นกระดานกล ยัง

เสนกะให้ตกลงในหลุมคูถ นางยังปุกกุสะผู้แต่งกายกินโภชนะเลิศแล้วมาใน

เวลาเย็น ให้ตกในหลุมคูถนั้น ปุกกุสะเมื่อถูกเสนกะเข้าจึงถามเสนกะว่า ท่าน

เป็นคนหรือ ก็ได้รับตอบว่า กันเป็นอาจารย์เสนกะ ฝ่ายเสนกะก็ถามปุกกุสะ

ว่า ก็ท่านเล่า เป็นคนหรือ ก็ได้รับตอบว่า กันเป็นอาจารย์ปุกกุสะ นาง

อมรายังกามินทะและเทวินทะทั้งสองผู้มาตาม ๆ กัน ให้ตกลงในหลุมคูถ โดย

ทำนองนั้นเหมือนกัน อาจารย์ทั้งสี่คนนั้นยืนอยู่ในหลุมคูถเพียงท้อง ศีรษะ

โดนกันและกัน ต่างถามกันว่า นั่นใคร ๆ ลำดับนั้น เสนกะบอกว่ากัน ครั้น

ทั้งสามอาจารย์ถามว่า จะทำอย่างไรกัน ท่านอาจารย์เสนกะจึงห้ามว่า ท่านทั้ง

หลายอย่าอึงไป ตั้งแต่นี้ไป ความอายจักมีแก่พวกเรา บัณฑิตทั้งสี่คนอยู่ใน

หลุมคูถตลอดคืน นางอมรายังอาจารย์ทั้งสี่คนให้ตกลงในหลุมคูถอันสกปรก

น่าเกลียดอย่างนี้ ครั้นรุ่งสว่าง ให้ทั้งสี่คนนั้นจับเชือกสาวขึ้นมาจากหลุมคูถ

นั้น ให้อาบน้ำพลัน ให้เอามีดโกนโกนผมและหนวดทั้งสี่อาจารย์นั้นให้โล้น

แล้วให้สีด้วยแผ่นอิฐจนเลือดออกซิบ ๆ แล้วให้เอาข้าวสารหนึ่งทะนาน ให้ชุ่ม

ด้วยน้ำตำให้ละเอียด บรรจุในภาชนะกวนให้เป็นเหมือนข้าวยาคูเป็นอันมาก

ให้ทาให้ทั่วทั้งตัวของอาจารย์ทั้งสี่ตั้งแต่ศีรษะ แล้วให้เอานุ่นย่อย ๆ โรยลงให้

ทั่วตัว ตั้งแต่ศีรษะ ให้ทั้งสี่คนถึงความลำบากมาก ให้นอนในกระชุกรุเสื่อ

ลำแพน ปิดผูกพันด้วยเชือกให้แน่น ประทับตรา แล้วให้นำรัตนะ ๔ อย่าง

กับอาจารย์ทั้งสี่ไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์ทรงรับบรรณาการทั้งหลาย

กราบทูลฉะนี้แล้ว ให้วางเสื่อสำแพนทั้งสี่แทบพระบาทมูลแห่งพระราชา ลำดับ

นั้น พระราชาให้เปิดเสื่อลำแพนนั้นออก ทอดพระเนตรเห็นบัณฑิตทั้งสี่มี

เสนกะเป็นต้น เหมือนกับวานรเผือก ก็ทรงดุษณีภาพ ฝ่ายมหาชนเห็นอาจารย์

ทั้งสี่นั้น ก็พูดกันว่า โอ วานรเผือกงามมาก ๆ เราทั้งหลายไม่เคยเห็นมาได้

เห็นแล้วพากันสรวลเฮฮาใหญ่ อาจารย์ทั้งสี่ได้ความอายมาก ลำดับนั้น นาง

อมราถวายรัตนะ ๔ อย่างกับอาจารย์ทั้ง ๔ แด่พระราชา เมื่อจะประกาศความ

ที่มโหสถสามีของตนไม่มีความผิด จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ

มโหสถบัณฑิตไม่ได้เป็นโจร แต่อาจารย์ทั้ง ๔ ของพระองค์เป็นโจร คือเสนกะ

ลักพระจุฬามณีของพระองค์ ปุกกุสะลักสุวรรณมาลา กามินทะลักคลุมบรรทม

กัมพล เทวินทะลักฉลองพระบาททองคำ รัตนะทั้ง ๔ อย่างนี้ อันอาจารย์ทั้ง

๔ ให้ทาสีชื่อนี้ เป็นลูกสาวของทาสีชื่อนี้ ส่งไปขายให้ข้าพระบาทในวันนั้น

เดือนนั้น ขอพระองค์ทอดพระเนตรหนังสือบันทึกสำคัญนี้ แล้วทรงรับไว้

เป็นของหลวง และจึงทรงรับโจรและรัตนะเหล่านั้นไว้ ยังชนทั้ง ๔ ให้ถึง

มหาวิปการอย่างนี้แล้วถวายบังคมลากลับบ้าน ลำดับนั้น พระราชาไม่ตรัส

อะไร ๆ กะชนเหล่านั้น เพราะทรงรังเกียจในพระโพธิสัตว์ เพราะพระโพธิสัตว์

หนีไปเสียแล้ว และเพราะความไม่มีชนเหล่าอื่นเป็นมนตรีผู้บัณฑิต ตรัสสั่ง

แต่ว่า ท่านทั้ง ๔ จงอาบน้ำกลับไปเคหสถานของตน.

จบ โจรลักรัตนะ ๔ คน

ณ กาลครั้งนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่เศวตฉัตรแห่งบรมกษัตริย์ไม่ได้สดับ

ธรรมเทศนาแห่งพระโพธิสัตว์ จึงพิจารณาดูก็ทราบเหตุนั้น จึงคิดว่า เราจัก

ทำให้พระโพธิสัตว์ได้กลับมาอยู่บ้านตามเดิม ครั้นเวลาราตรี จึงแหวกกำพู-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

ฉัตรออกมาถามปัญหาพระเจ้าวิเทหราช ๔ ข้อ มีคำว่า หนฺติ หตฺเถหิ

ปาเทหิ เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาอันเทวดาถามในจตุกนิบาต พระราชาได้

ทรงสดับเทวปัญหานั้น ยังไม่ทรงทราบ จึงตรัสตอบเทวดานั้นว่า ข้าพเจ้า

ยังไม่รู้ จักถามบัณฑิตอื่น ๆ ก่อน แล้วตรัสขอเทพบริหารอย่าให้ต้อง

เทวทัณฑ์สักวันหนึ่ง ครั้นรุ่งขึ้นจึงตรัสเรียกบัณฑิตทั้ง ๔ คนมาเฝ้า ครั้น

อาจารย์ทั้ง ๔ ทูลว่า พวกคนศีรษะโล้นด้วยคมมีดโกนเดินตามถนนมีความ

อาย จึงโปรดให้ส่งนาฬิกปัฏ ผืนผ้าทำรูปดุจทะนานไปพระราชทาน ให้เอา

นาฬิกปัฏนั้น ๆ สวมศีรษะมาเฝ้า ได้ยินว่า นาฬิกปัฏเกิดขึ้นแต่กาลนั้น มาจน

บัดนี้ อาจารย์ทั้ง ๔ ก็มาเข้าเฝ้า นั่ง ณ อาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้น พระ-

ราชาตรัสว่า ท่านอาจารย์เสนกะ คืนวันนี้เทวดาผู้สิงอยู่ ณ เศวตฉัตรถาม

ปัญหาเรา ๔ ข้อ เราขอผัดว่า ยังไม่รู้ จักถามพวกท่านดูก่อน ท่านเสนกะ

จงกล่าวปัญหานั้นแก่เรา ตรัสฉะนี้แล้ว จึงถามปัญหาเป็นปฐมว่า

บุคคลประหารร่างกายผู้อื่นด้วยมือทั้งสอง หรือ

ด้วยเท้าทั้งสอง และเอามือประหารปากผู้อื่น บุคคล

นั้นกลับเป็นที่รักแห่งผู้ต้องประหาร เพราะฉะนั้น

พระองค์ทรงเห็นว่า ผู้เป็นที่รักนั้นได้แก่ใคร.

เสนกะได้ฟังเทพปัญหานั้นก็ไม่รู้ความ บ่นปัญหานั้น ๆ ว่า ใคร

ประหารอะไร ๆ แลไม่เห็นที่สุดและเงื่อนแห่งเทพปัญหานั้น แม้อาจารย์อีก

๓ คนก็หมดความคิด พระราชาทรงวิปฏิสาร ครั้นในส่วนแห่งราตรี เทวดา-

ถามอีกว่า ทรงทราบปัญหาแล้วหรือ ก็ตรัสตอบว่า ข้าพเจ้าได้ถามบัณฑิต

ทั้ง ๔ แล้ว เขาก็ไม่รู้ เทวดาจึงกล่าวขู่พระราชาว่า อาจารย์ทั้ง ๔ นั้นจะรู้

อะไร เว้นมโหสถบัณฑิตเสีย ใคร ๆ อื่นจะสามารถกล่าวแก้ปัญหาเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 396

ย่อมไม่มี ถ้าพระองค์ให้เรียกมโหสถมาให้กล่าวแก้ปัญหานั้น นั่นแหละจะเป็น

การดี ถ้าไม่เรียกมโหสถมาให้กล่าวแก้ปัญหาเหล่านั้น ข้าพเจ้าจักทำลายเศียร

ของพระองค์ด้วยค้อนเหล็กอันลุกโพลงนี้ กล่าวขู่ฉะนี้แล้วทูลเตือนว่า แน่ะ

มหาราช เมื่อต้องการไฟ ไม่ควรจะเป่าหิงห้อย หรือเมื่อต้องการน้ำนม ไม่

ควรจะรีดเขาโค ชักขัชโชปนกปัญหาในปัญจกนิบาตนี้มากล่าวคาถาว่า

ใครเล่าเมื่อไฟลุกโพลงนี้อยู่ ยังเที่ยวหาไฟอีก

โดยมิใช่เหตุ บุคคลเห็นหิงห้อยในราตรีก็สำคัญว่าไฟ

เอาจุรณโคมัยอันละเอียดหรือหญ้าทำเชื้อบนหิงห้อย

แล้วเอามือสีให้เกิดไฟ ก็ไม่สามารถให้ไฟลุกโพลง

ด้วยสำคัญวิปริต ฉันใด คนอันธพาลดุจคนใบ้ แม้

แสวงหาสิ่งที่ต้องประสงค์โดยไม่ใช่อุบาย ก็ไม่ได้สิ่ง

ที่ต้องประสงค์นั้น ฉันนั้น นมโคไม่มีที่เขาโค บุคคล

รีดสมโคที่เขาโค ก็ไม่ได้นมโค ฉันใด บุคคลแสวง

หาสิ่งที่ต้องการในที่ไม่ใช่ที่จะหาได้ ก็ไม่ได้สิ่งที่

ต้องการ ฉันนั้น ชนทั้งหลายลุถึงสิ่งที่ต้องการด้วย

อุบายต่าง ๆ พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายครองแผ่นดินอัน

ชื่อพสุนธร เพราะทรงไว้ซึ่งรัตนะคือแก้ว ก็ด้วย

นิคคทะเหล่าอมิตร ปัคคหะเหล่ามิตร ได้เหล่าอมาตย์

มีเสนีเป็นประมุข และความแนะนำของอมาตย์ผู้

คุ้นเคยเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตมฺหิ ปชฺโขเต ความว่า เมื่อไฟ

มีอยู่. บทว่า อคฺคิปริเยสน จร ความว่า เที่ยวโดยมิใช่อุบาย. บทว่า

อทฺทกฺขิ แปลว่า เห็นแล้ว ครั้น เห็นแล้วก็สำคัญหิงห้อยนั้นอย่างนี้ว่า นี้จัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 397

เป็นไฟ ด้วยสำคัญว่ามีแสง. บทว่า สวาสฺส ความว่า เขาเอาจุรณโคมัย

อันละเอียดและหญ้าไร้บนหิงห้อยนั้น. บทว่า อภิมตฺถ ความว่า สีด้วยมือ

คือบุคคลนี้ชื่ออะไรโรยจุรณโคมัยและหญ้า นั่งคุกเข่าบนพื้นดิน แม้พยายาม

ด้วยความสำคัญอันวิปริตว่า เราจักเอาปากเป่าให้มันลุกโพลง ก็ไม่อาจให้

ลุกโพลงได้. บทว่า มูโค ความว่า คนอันธพาลเช่นกับคนใบ้ แม้แสวงหา

ด้วยมิใช่อุบายอย่างนี้ ย่อมไม่ได้ประโยชน์นั้น. บทว่า ยตฺถ ความว่า ย่อม

ไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เหมือนคนรีดนมโคแต่เขาโค ซึ่งไม่มีน้ำนมเลย. บทว่า

เสนีโมกฺขูปลาเภน ได้แก่ เพราะได้เหล่าอมาตย์ซึ่งมีเสนีเป็นประมุข.

บทว่า วลฺลภาน นเยน จ ได้แก่ ด้วยความแนะนำของเหล่าอมาตย์ผู้มี

ความคุ้นเคย ผู้เป็นที่รักเป็นที่เจริญใจ. บทว่า ชคตีปาลา ได้แก่ พระ-

ราชาทั้งหลายย่อมครองแผ่นดินนี้แหละซึ่งได้ชื่อว่า พสุนธร เพราะทรงไว้ซึ่ง

รัตนะทั้งหลายคือแก้ว.

เทวดากล่าวขู่พระราชาว่า ชนทั้งหลายเช่นกับพระองค์ ในเมื่อไฟ

มีอยู่แท้ ก็หาเป่าหิงห้อยไม่ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ก็พระองค์ตรัสถามอาจารย์

ทั้ง ๔ มีเสนกะเป็นต้น ก็เป็นเหมือนครั้นเมื่อไฟมีอยู่ ทรงเป่าหิงห้อย เหมือน

คนทิ้งตราชูเสียแล้วชั่งด้วยมือ และเหมือนเมื่อต้องการน้ำนมก็รีดเอาแต่เขาโค

ฉะนั้น อาจารย์ทั้ง ๔ เหล่านั้นจะรู้อะไร เพราะเขาเหล่านั้นเช่นกับหิงห้อย

มโหสถบัณฑิตเช่นกับกองเพลิงใหญ่ ย่อมรุ่งโรจน์ด้วยปัญญา ขอพระองค์

โปรดให้หามโหสถมาตรัสถามเถิด เมื่อพระองค์ไม่ทรงทราบปัญหาเหล่านั้น

พระชนมชีพของพระองค์จะไม่มี ทูลคุกคามฉะนี้แล้ว ก็อันตรธานหายไป.

จบ ปัญหาหิงห้อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 398

พระราชาถูกมรณภัยคุกคาม รุ่งขึ้นให้เรียกอมาตย์ ๔ คนมาตรัสสั่งว่า

ท่านทั้ง ๔ คนจงขึ้นรถ ๔ คัน ออกจากประตูเมืองทั้ง ๔ ประตูค้นหามโหสถ

บุตรเราอยู่ที่ใด จงทำสักการะแก่เธอในที่นั้น แล้วนำตัวมาโดยเร็ว อมาตย์

ทั้ง ๔ คนออกทางประตูคนละประตู อมาตย์ ๓ คนไม่พบมโหสถบัณฑิต แต่

อมาตย์คนหนึ่งออกทางประตูด้านทิศทักษิณ พบพระมหาสัตว์ที่บ้านทักขิณยว-

มัชฌคาม ขนดินเหนียวมา มีร่างกายเปื้อนดินเหนียว นั่งบนตั่งใบไม้หมุนจักร

ในสำนักอาจารย์ ปั้นดินเหนียวเป็นปั้น ๆ บริโภคข้าวเหนียวไม่มีแกง.

ถามว่า ก็เหตุไร มโหสถจึงทำการอย่างนี้ แก้ว่า ได้ยินว่า พระราชา

ทรงรังเกียจว่า มโหสถบัณฑิตจะชิงราชสมบัติของพระองค์โดยไม่สงสัย

มโหสถคิดว่า เมื่อพระราชาทรงทราบว่า มโหสถเลี้ยงชีพอยู่ด้วยการทำหม้อขาย

ก็จะทรงหายรังเกียจ จงได้ทำอย่างนี้.

มโหสถเห็นอมาตย์ก็รู้ว่าจะมาหาตน จึงดำริว่า วันนี้ยศของเราจักมี

เป็นปกติอีก เราจักบริโภคโภชนาหารมีรสเลิศต่าง ๆ ที่นางอมราเทวีจัดไว้รับ

คิดฉะนี้จึงทิ้งก้อนข้าวที่ถือไว้ ลุกขึ้นบ้วนปาก อมาตย์นั้นเข้าไปหามโหสถใน

ขณะนั้น แต่อมาตย์คนนั้นเป็นฝักฝ่ายเสนกะ เพราะฉะนั้น เมื่อจะสืบต่อ

ข้อความที่เสนกะกล่าวแต่หนหลัง ว่าทรัพย์ประเสริฐกว่าปัญญานั้น จึงกล่าวว่า

แน่ะท่านบัณฑิต คำของอาจารย์เสนกะเป็นจริง ในเมื่อยศของท่านเสื่อม

ท่านเป็นผู้มีปัญญามากถึงปานนี้ ก็ไม่สามารถจะเป็นที่พึ่งแก่ท่าน บัดนี้ท่านมี

ร่างกายเปรอะเปื้อนด้วยดินเหนียว นั่งที่ตั่งใบไม้กินข้าวเห็นปานนี้ กล่าวฉะนี้

แล้ว ได้กล่าวคาถาที่หนึ่งในภูริปัญหาในทสนิบาตนี้ว่า

ได้ยินว่า คำที่อาจารย์เสนกะกล่าวเป็นของจริง

แม้ท่านจะมีปัญญาดุจแผ่นดิน มีสิริ มีความเพียร

และมีความคิดเช่นนั้น ยังไม่ป้องกันความที่ท่านเข้าถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 399

อำนาจของความพินาศได้ ท่านจึงต้องกินอาหารไม่มี

แกง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจ กิร ความว่า แน่ะท่านอาจารย์

อาจารย์เสนกะกล่าวคำใด ได้ยินว่า คำนั้นเป็นคำจริงทีเดียว. บทว่า สิรี

ได้แก่ ความเป็นใหญ่. บทว่า ธิติ ได้แก่ มีความเพียรเป็นนิจ. บทว่า

ตายเต ภาววสูปนีต ความว่า ไม่รักษา คือไม่คุ้มครอง ท่านผู้เข้าถึง

อำนาจของความพินาศคือความไม่เจริญ คือไม่สามารถจะเป็นที่พึ่งของท่านได้.

บทว่า ยาวก ความว่า กินภัตตาหารจากข้าวสารเหนียวเห็นปานนี้.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวตอบอมาตย์นั้นว่า แน่ะอันธพาล เรา

ประสงค์จะทำยศนั้นให้เป็นปกติด้วยปัญญาของตนอีก จึงได้ทำอย่างนี้ แล้ว

กล่าวสองคาถานี้ว่า

เรายังความสุขให้เจริญด้วยความทุกข์ เมื่อ

พิจารณากาลและมิใช่กาล ก็หลบซ่อนอยู่ เปิดช่อง

คิดทำให้เป็นประโยชน์แก่ตน ด้วยเหตุนั้น เราจึงยินดี

ด้วยการบริโภคข้าวเหนียว ก็เรารู่จักกาลเพื่อองอาจ

ทำความเพียร ยังยศของตนให้เจริญอีก ด้วยความคิด

ของตนองอาจอยู่ ดุจความองอาจแห่งราชสีห์ที่พื้น

มโนศีลาฉะนั้น ท่านจักเห็นเราด้วยความสำเร็จนั้นอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺเขน ความว่า ยังความสุขเก่าของตน

ให้งอกงามคือเจริญด้วยทำให้กลับ เป็นปกติ ด้วยความทุกข์ทางกายและทางใจนี้.

บทว่า กาลากาล ความว่า เราเมื่อพิจารณากาลและมิใช่กาลอย่างนี้ว่า นี้เป็น

กาลที่ต้องหลบซ่อนเที่ยวไป นี้ไม่ต้องหลบซ่อน รู้ว่าในเวลาที่พระราชากริ้ว

ต้องหลบซ่อนเที่ยวไป เป็นผู้หลบซ่อนคือปิดปัง ตามความพอใจคือความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 400

ชอบใจของตน เลี้ยงชีพด้วยงานช่างหม้อ ไม่ปิดคือเปิดช่องกล่าวคือเหตุแห่ง

ประโยชน์ของตนอยู่ ด้วยเหตุนั้น เราจึงยินดีด้วยการบริโภคข้าวเหนียว บทว่า

อภิชิมฺหตาย ได้แก่ เพื่อองอาจ คือเพื่อกระทำความเพียรยิ่ง. บทว่า มนฺเตหิ

อตฺถ ปริปาจยิตฺวา ความว่า เราจักยังยศของเราให้เจริญอีก ด้วยความรู้

ของตน องอาจดุจราชสีห์องอาจที่พื้นมโนศิลา ฉะนั้น ท่านจักเห็นเราด้วย

ความสำเร็จนั้นแม้อีก.

ลำดับนั้น อมาตย์กล่าวกะมโหสถว่า แน่ะพ่อบัณฑิต เทวดาผู้สิงอยู่

ณ เศวตฉัตรถามปัญหาพระราชา พระราชาตรัสถามบัณฑิตทั้ง ๔ ใน ๔ คน

นั้น แม้คนหนึ่งก็ไม่อาจแก้ปัญหาได้ เพราะเหตุนั้น พระราชาจึงดำรัสสั่งให้

ข้าพเจ้ามาหาท่าน พระมหาสัตว์จึงกล่าวสรรเสริญอานุภาพแห่งปัญญาว่า เมื่อ

เป็นเช่นนี้ ท่านจงเห็นอานุภาพแห่งปัญญาของตน เพราะว่าอิสริยยศย่อมไม่

เป็นที่พึ่งในกาลเห็นปานดังนี้ บุคคลผู้บริบูรณ์ด้วยปัญญาเท่านั้น ย่อมเป็นที่พึ่ง

ได้ อมาตย์ได้รับพระราชบัญชามาว่า จงให้มโหสถบัณฑิตอาบน้ำนุ่งห่มในที่

ที่พบทีเดียวแล้วนำมา ก็ได้ทำตามรับสั่งแล้วให้กหาปณะพันหนึ่ง และผ้า

สำรับหนึ่ง ซึ่งเป็นของพระราชทานแก่พระมหาสัตว์ ได้ยินว่า ช่างหม้อเกิด

กลัวขึ้นเอง ด้วยคิดเห็นว่า เราใช้สอยมโหสถผู้เป็นราชบัณฑิต พระมหาสัตว์

เห็นกิริยาแห่งช่างหม้อ จึงพูดเอาใจว่า อย่ากลัวเลยท่านอาจารย์ ท่านเป็นผู้มี

อุปการะแก่ข้าพเจ้ามาก กล่าวฉะนี้แล้วให้กหาปณะพันหนึ่งแก่ช่างหม้อ แล้ว

นั่งไปในรถทั้งตัวเปื้อนดินเหนียวเข้าไปสู่พระนคร อมาตย์ให้ทูลข่าวมาของ

มโหสถแด่พระราชา รับสั่งถามว่า ท่านพบมโหสถที่ไหน จึงกราบทูลว่า

มโหสถทำหม้อขายเลี้ยงชีพอยู่ ณ บ้านทักขิณยวมัชฌคาม ทราบว่ามีรับสั่ง

ให้มาเฝ้า ก็ยังหาอาบน้ำไม่ มีร่างกายเปื้อนดินเหนียวมาทีเดียว พระเจ้า-

วิเทหราชทรงดำริว่า ถ้ามโหสถเป็นศัตรูของเรา จะพึงเที่ยวอยู่ด้วยทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 401

อิสริยศักดิ์ มโหสถนี้หาได้เป็นศัตรูของเราไม่ ทรงดำริฉะนั้นแล้วตรัสสั่งว่า

ท่านจงบอกแก่มโหสถบุตรของเราว่า จงไปเรือนของตนอาบน้ำตกแต่งกาย

แล้วมาตามทำนองเกียรติศักดิ์ที่เราให้ มโหสถได้สดับพระราชกระแส ก็ทำ

อย่างนั้นแล้วมาเฝ้า ได้พระราชานุญาตให้เข้าเฝ้าแล้ว ก็ตรงเข้าไปถวายบังคม

พระราชา แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชทรงปฏิสันถาร

มโหสถบัณฑิต เมื่อจะทรงทดลองมโหสถบัณฑิต จึงตรัสคาถานี้ว่า

ก็คนพวกหนึ่งไม่ทำความชั่ว ด้วยคิดว่าเราสบาย

อยู่แล้ว คนอีกพวกหนึ่งไม่ทำ เพราะเกรงเกี่ยวข้อง

ด้วยความติเตียน ก็เจ้าเป็นผู้สามารถ มีความคิด

เต็มเปี่ยม เหตุไรจึงไม่ทำความทุกข์แก่เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขี หิ ความว่า แน่ะบัณฑิต ก็คน

บางพวกไม่ทำความชั่วเพราะเหตุแห่งความเป็นผู้มีอิสระยิ่ง ด้วยคิดว่า พวก

เรามีความสุข สมบูรณ์ด้วยอิสริยยศ พวกเราไม่ควรทำความชั่วด้วยเหตุเท่านี้

คนบางพวกไม่ทำความชั่วเพราะเกรงเกี่ยวข้องด้วยความติเตียน ด้วยคิดว่า

คนมุ่งร้ายกล่าวติเตียนจักมีแก่เจ้านายผู้ให้ยศแก่เราเห็นปานนี้ บางคนมีปัญญา

น้อย แต่ตัวเจ้าเป็นผู้สามารถ มีความคิดเต็มเปี่ยม ถ้าต้องการก็ครองราช-

สมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้นได้ เหตุไรจึงไม่ชิงราชสมบัติ ไม่ทำความทุกข์แก่เรา.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า

บัณฑิตทั้งหลายไม่ประพฤติความชั่ว เพราะเหตุ

แห่งความสุขของตน อันความทุกข์กระทบแล้ว แม้

พลาดจากสมบัติก็สงบ ย่อมไม่ละธรรม เพราะรักและ

เพราะชัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 402

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขลิตาปิ ความว่า แม้เป็นผู้มีสภาพที่

พลาดจากสมบัติแล้วตั้งอยู่ในวิบัติ. บทว่า น ชหนฺติ ธมฺม ความว่า ย่อม

ไม่ละแม้ซึ่งธรรมคือประเพณี แม้ซึ่งธรรมคือสุจริต.

พระราชาเมื่อจะตรัสขัตติยมายาเพื่อทดลองมโหสถอีก จึงตรัสคาถา

นี้ว่า

บุคคลพึงถอนตนที่ต่ำช้า ด้วยเพศที่อ่อนหรือ

ทารุณอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ภายหลังจึงประพฤติ

ธรรมก็ได้มิใช่หรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทีน ความว่า พึงถอนตนที่ต่ำช้า คือ

เข็ญใจขึ้นตั้งไว้ในสมบัติ.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะแสดงอุปมาด้วยต้นไม้ แด่พระราชา

จึงกล่าวคาถานี้ว่า

บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึง

หักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็น

ผู้ชั่วช้า.

ก็แลครั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงความที่ตนมิใช่ผู้ประทุษร้าย

มิตรแม้ในที่ทั้งปวงว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ถ้าว่าบุคคลหักกิ่งต้นไม้ที่ตนได้

บริโภค ชื่อว่าเป็นผู้ประทุษร้ายมิตรไซร้ จะกล่าวไปทำไม บุคคลผู้นี้ก็ชื่อว่า

เป็นผู้ฆ่ามนุษย์ บิดาของข้าพระองค์ พระองค์ให้ดำรงอยู่ในอิสริยยศโอฬาร

และข้าพระองค์ พระองค์ก็ทรงอนุเคราะห์ ด้วยการอนุเคราะห์มาก เมื่อข้า-

พระองค์ทำร้ายในพระองค์ จะไม่พึงชื่อว่าเป็นผู้ประทุษร้ายมิตรได้อย่างไร

และเมื่อจะทูลท้วงโทษแห่งพระราชา จึงกล่าวคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 403

นรชนรู้แจ้งซึ่งธรรมแต่ผู่ใด และสัตบุรุษเหล่าใด

บรรเทาเสียซึ่งความสงสัยอันเกิดขึ้นแก่นรชนนั้น

กิริยาของท่านผู้นั้นเป็นดังเกาะและเป็นที่พึ่งของนรชน

นั้น ผู้มีปัญญาไม่พึงยังไมตรีกับท่านผู้นั้นให้เสื่อม

สิ้นไป.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บุรุษพึงรู้ธรรม คือ

เหตุแม้มีประมาณน้อย แต่สำนักของอาจารย์ใด และสัตบุรุษเหล่าใดบันเทา

เสียซึ่งความสงสัยอันเกิดขึ้นแก่นรชนนั้น การการทำของท่านผู้นั้นเป็นดังเกาะ

และเป็นที่พึ่งเพราะอรรถว่าเป็นที่พึ่งของนรชนนั้น บัณฑิตไม่พึงละ คือไม่

พึงยังมิตรภาพกับอาจารย์เช่นนั้นให้พินาศ.

บัดนี้ เมื่อจะถวายโอวาทพระราชา มโหสถบัณฑิตจึงกล่าว ๒ คาถา

นี้ว่า

คฤหัสถ์บริโภความเป็นคนเกียจคร้าน ไม่ดี

บรรพชิตเป็นผู้ไม่สำรวมแล้ว ไม่ดี พระราชาผู้ไม่ทรง

พิจารณาก่อนจึงทรงราชกิจไม่ดีความโกรธของบัณฑิต

ผู้มักโกรธไม่ดี กษัตริย์ควรทรงพิจารณาก่อนทรงราช-

กิจ พระเจ้าแห่งทิศไม่ทรงพิจารณาก่อนไม่พึงทรง

ราชกิจ ยศและเกียรติย่อมเจริญแก่พระราชาผู้ทรง

พิจารณาก่อนจึงทรงบำเพ็ญราชกรณียกิจเป็นปกติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น สาธุ ได้แก่ ไม่บริสุทธิ์ คือไม่งาม.

บทว่า อนิสมฺมการี ได้แก่ ผู้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่พิจารณา คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

ไม่ทำให้ประจักษ์แก่ตนแล้วกระทำ. บทว่า ต น สาธุ ความว่า ความโกรธ

กล่าวคือความกำเริบแห่งอาชญา ด้วยอำนาจการยึดสิ่งที่ไม่ใช่ฐานะ ของบุคคล

ผู้เป็นบัณฑิตคือผู้มีปัญญานั้นไม่ดี. บทว่า ยโส กิตฺติญฺจ ความว่า อิส-

ริยยศ ปริวารยศ และเกียรติคุณ ย่อมเจริญโดยส่วนเดียว.

จบ ภูริปัญหา

เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระเจ้าวิเทหราชจึงให้พระมหา-

สัตว์นั่ง ณ ราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร พระองค์เองประทับนั่ง ณ อาสนะต่ำ

ตรัสว่า พ่อบัณฑิต เทวดาผู้สิงอยู่ ณ เศวตฉัตรถามปัญหา ๔ ข้อกะเรา

แต่เราไม่รู้ปัญหา ๔ ข้อนั้น อาจารย์ ๔ คนก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น เจ้าจงกล่าว

แก้ปัญหา ๔ ข้อนั้นแก่เรา มโหสถกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เทวดา

ผู้สิงอยู่ ณ เศวตฉัตรก็ยกไว้เถิด หรือเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้น ก็ยก

ไว้เถิด ข้าพระองค์อาจกล่าวแก้ปัญหาที่ผู้ใดผู้หนึ่งถาม ขอพระองค์ตรัสปัญหา

๔ ข้อที่เทวดาถามเถิด พระเจ้าข้า ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะตรัสตามทำนอง

ที่เทวดาถาม จึงตรัสคาถาเป็นปฐมว่า

บุคคลประหารร่างกายผู้อื่นด้วยมือทั้งสอง หรือ

ด้วยเท้าทั้งสอง และเอามือประหารปากผู้อื่น บุคคล

นั้นกลับเป็นที่รักแห่งผู้ต้องประหาร เพราะฉะนั้น

พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นที่รักนั้นได้แก่ใคร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หนฺติ แปลว่า ย่อมประหาร. บทว่า

ปริสุมฺภติ แปลว่า ย่อมประหารเหมือนกัน. บทว่า สเว ราช ปิโย โหติ

ความว่า บุคคลนั้นเมื่อกระทำอย่างนั้น ย่อมเป็นที่รัก. บทว่า กนฺเตนมภิปสฺสสิ

ความว่า เพราะเหตุนั้น พระองค์ทรงเห็นบุคคลผู้เป็นที่รักได้แก่คนไหน เทวดา

ถามปัญหานั้นอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 405

พอพระมหาสัตว์ได้สดับปัญหาเท่านั้น เนื้อความแห่งปัญหานั้นก็

ปรากฏเหมือนดวงจันทร์เต็มดวงปรากฏในท้องฟ้า ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูล

เตือนพระราชาให้คอยทรงสดับแล้ว จึงกล่าวแก้เทวปัญหาทำให้ปรากฏประหนึ่ง

ผู้มีฤทธิ์ชูดวงอาทิตย์ขึ้นไปกลางหาวฉะนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อใด

เด็กน้อยนอนบนตักมารดา ก็ร่าเริงยินดีเล่นประหารมารดาด้วยมือและเท้า

ถอนผมมารดา เอามือประหารปากมารดา เมื่อนั้นมารดาก็กล่าวคำดังนี้เป็นต้น

กับบุตรนั้นด้วยอำนาจความรักว่า แน่ะอ้ายลูกประทุษร้าย อ้ายโจร เองประ-

หารข้าอย่างนี้ได้หรือ กล่าวฉะนี้แท้ก็ไม่อาจจะกลั้นความรักไว้ ก็สวมกอด

ให้นอนระหว่างกัน จูบศีรษะ บุตรนั้น เป็นที่รักแห่งมารดาในกาลนั้น ฉันใด

ก็เป็นที่รักแห่งบิดาในกาลนั้น ฉันนั้น เทวดาได้สดับอรรถาธิบายของพระ-

โพธิสัตว์ ก็เผยกำพูฉัตรออกมาสำแดงกายกึ่งหนึ่งให้ปรากฏ ให้สาธุการด้วยเสียง

อันไพเราะว่า โอ บัณฑิตกล่าวแก้ปัญหาถูกดีแล้วหนอ แล้วบูชาพระมหาสัตว์

ด้วยดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ อันบรรจุเต็มในผอบแก้ว แล้วอันตรธาน

หายไป แม้พระเจ้าวิเทหราชก็ทรงบูชาพระมหาสัตว์ด้วยบุปผชาติเป็นต้น แล้ว

ตรัสวิงวอนให้กล่าวแก้ปัญหาข้ออื่นต่อไป ครั้น ได้ทรงรับให้ตรัสถาม จึงตรัส

คาถาที่ ๒ ว่า

บุคคลด่าผู้อื่นตามความใคร่ แต่ไม่อยากให้ผู้ถูก

ด่านั้นถึงภยันตราย บุคคลผู้ถูกด่านั้นย่อมเป็นที่รักของ

ผู้ด่า เพราะเหตุนั้น พระองค์ทรงเห็นใครว่าเป็นที่รัก

แห่งผู้ด่า.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์อธิบายปัญหาที่ ๒ นั้นว่า ข้าแต่พระมหา-

ราชเจ้า มารดาสั่งบุตรอายุ ๗ - ๘ ขวบ ผู้สามารถจะทำตามสั่งได้ว่า แน่ะพ่อ

เจ้าจงไปนา เจ้าจงไปร้านตลาด ดังนี้เป็นต้น กุมารกล่าวว่า แม่จ๋า ถ้าแม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

ให้ของเคี้ยวของกินนี้ด้วย ๆ แก่ลูก ลูกจักไป ครั้นมารดากล่าวว่า เอาซิพ่อ

ก็เคี้ยวกินของกินแล้วบ้วนปาก ยืนอยู่ที่ประตูเรือน หาไปนาไม่ เล่นเสียกับ

หมู่เด็ก หาทำตามสั่งของมารดาไม่ ครั้นมารดาบังคับให้ไปก็กล่าวว่า แน่ะแม่

แม่นั่งยืนที่เงาเรือนเย็น ลูกจะทำตามคำสั่งของแม่ภายนอกอย่างไรได้ดังนี้เป็นต้น

ครั้นมารดากล่าวว่า เองลวงข้า ก็แสดงมือและปากแปลก ๆ แล้ว หนีไป มารดา

เห็นบุตรหนีก็ขัดเคือง ถือไม้ไล่ตาม เมื่อไม่ทันบุตรก็คุกคามว่า อ้ายคนชั่ว

อ้ายโจร เองกินของกินของข้าแล้วไม่ปรารถนาจะทำอะไร ๆ ที่นา หยุดก่อน ๆ

แล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า เองไปเถิดอ้ายถ่อย พวกโจรจงตัดมึงให้เป็นชิ้นน้อย

ชิ้นใหญ่ ด่าบริภาษตามความใคร่ตามอัธยาศัย ก็แต่กาลใดปากกล่าวอะไร ๆ

ออกไป กาลนั้นใจก็ไม่ปรารถนาซึ่งความมีมาแห่งภยันตรายแม้หน่อยหนึ่งแก่

บุตร ฝ่ายทารกเล่นกับพวกทารกตลอดวัน ไม่อาจจะเข้าบ้านเวลาเย็น ก็ไป

สำนักหมู่ญาติ ฝ่ายมารดาเมื่อแลดูหนทางที่บุตรจะกลับมา เห็นบุตรที่รักยังไม่

กลับบ้าน ก็มีหัวใจเต็มไปด้วยความโศกว่า ชะรอยลูกของเราจะไม่อาจเข้าบ้าน

มีน้ำตาไหลอาบหน้า ไปค้นหาที่เรือนญาติ เห็นบุตรที่รักก็สวมกอดจูบที่ศีรษะ

เอามือทั้งสองจับบุตรให้นั่งกล่าวว่า พ่อลูกรัก อย่าเอาถ้อยคำของแม่จดไว้ใน

ใจเลย กล่าวฉะนี้ก็ยังความรักให้เกิดขึ้นอย่างเหลือเกิน ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

บุตรชื่อว่าเป็นที่รักยิ่งในกาลเมื่อมารดาโกรธ ด้วยประการฉะนี้ เทวดาได้สดับ

ก็บูชาพระมหาสัตว์เหมือนคราวที่แล้วมา ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชก็ทรงบูชาพระ-

มหาสัตว์เหมือนคราวที่แล้ว แล้วตรัสวิงวอนให้กล่าวแก้ปัญหาที่ ๓ ครั้นได้

ทรงรับให้ตรัสถาม จึงตรัสคาถาที่ ๓ ว่า

บุคคลกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง แล้วท้วงกันด้วยคำ

เหลาะแหละ บุคคลนั้นย่อมเป็นที่รักแห่งกัน ด้วย

เหตุนั้น พระองค์ทรงเห็นว่า ได้แก่ใคร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลแก้ปัญหานั้นแด่พระราชาว่า ข้าแต่พระ-

มหาราชเจ้า เมื่อใดภรรยาและสามี ๒ คนอยู่ในที่ลับเล่นกันด้วยความเสนหา

ตามความยินดีของโลก แล้วกล่าวตู่กันและกันด้วยคำไม่จริงอย่างนี้ว่า ความรัก

ในเราย่อมไม่มีแก่ท่าน ได้ยินว่า ใจของท่านไปภายนอกแล้ว แล้วท้วงกันด้วย

คำเหลาะแหละ เมื่อนั้นภรรยาและสามีทั้ง ๒ นั้น ก็รักกันเหลือเกิน ขอพระองค์

ทรงทราบเนื้อความแห่งปัญหานั้น ด้วยประการฉะนี้ เทวดาได้สดับแล้วก็บูชา

พระโพธิสัตว์เหมือนดังก่อนอีก ฝ่ายพระราชาก็ทรงบูชาพระมหาสัตว์โดยนัย

หนหลัง แล้วตรัสวิงวอนให้กล่าวแก้ปัญหาข้ออื่นอีก ครั้นได้รับให้ตรัสถาม

จึงตรัสคาถาที่ ๔ ว่า

บุคคลนำข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะไปซื่อว่า

ผู้นำไปมีอยู่โดยแท้ บุคคลเหล่านั้นย่อมเป็นที่รักแห่ง

ผู้เป็นเจ้าของข้าวน้ำเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น พระองค์

ทรงเห็นว่า ได้แก่ใคร.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์อธิบายแก้เนื้อความแห่งปัญหาถวายพระราชา

ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ปัญหานี้เทวดากล่าวหมายเอาสมณะและพราหมณ์ผู้

ประพฤติธรรม จริงอยู่ สกุลทั้งหลายผู้มีศรัทธาเชื่อโลกนี้และโลกหน้าจึงบริจาค

ทานและใคร่จะให้อีก สกุลเหล่านั้นเห็นสมณะและพราหมณ์เห็นปานดังนั้น ขอ

ข้าวน้ำเป็นต้นไปก็ดี นำข้าวน้ำเป็นต้นที่ได้แล้วไปบริโภคก็ดี ก็เลื่อมใสรักใคร่

ในสมณะและพราหมณ์เหล่านั้นเหลือเกิน ด้วยเห็นว่า สมณะและพราหมณ์

เหล่านี้ขอข้าวน้ำเป็นต้นของเรา บริโภคข้าวน้ำเป็นต้นเป็นของของเราทั้งนั้น

เมื่อเป็นเช่นนี้สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายชื่อว่าเป็นผู้นำไป คือเป็นผู้ขอโดย

ส่วนเดียว แลเป็นผู้น้ำข้าวและน้ำเป็นต้นที่ได้แล้วไปโดยแท้ ชื่อว่าเป็นผู้เป็น

ที่รักของเจ้าของข้าวน้ำเป็นต้น ก็ในเมื่อปัญหานี้อันมโหสถกล่าวแล้ว เทวดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 408

ก็บูชาเหมือนอย่างนี้ แล้วกระทำสาธุการแล้วซัดผอบอันเต็มด้วยรัตนะ ๗

ประการมาแทบเท้าแห่งมโหสถแจ้งว่า ดูก่อนมโหสถบัณฑิต ท่านจงรับผอบ

เต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชโปรดปรานเลื่อมใสในมโหสถ

เป็นอย่างยิ่ง ได้พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่เขา จำเดิมแต่นั้นมา พระ-

มหาสัตว์ได้มียศใหญ่.

จบเทวปัญหา

บัณฑิตทั้ง ๔ เหล่านั้นปรึกษากันอีกว่า บัดนี้ มโหสถบุตรคฤหบดี

มียศใหญ่นัก เราจักทำอย่างไรดี ลำดับนั้น เสนกะจึงกล่าวกะบัณฑิตทั้งสามว่า

การที่เขามียศใหญ่นั้นยกไว้เถิด เราเห็นอุบายแล้ว เราทั้ง ๔ จักไปหามโหสถ

ถามว่า ควรบอกความลับแก่ใคร ถ้าเขาจักบอกว่า ไม่ควรบอกแก่ใครไซร้

เราทั้งหลายจักทูลยุยงพระราชาว่า คฤหบดีบุตรผู้มีนามว่ามโหสถเป็นข้าศึกของ

พระองค์ บัณฑิตทั้ง ๓ เห็นชอบด้วย บัณฑิตทั้ง ๔ เหล่านั้น จึงไปเรือนมโห-

สถทำปฏิสันถารแล้วกล่าวว่า แน่ะบัณฑิต เราทั้ง ๔ ใคร่จะถามปัญหาท่าน

ครั้นมโหสถให้ถาม เสนกะจึงถามว่า บุคคลผู้เป็นบัณฑิตควรทั้งอยู่ในธรรม

อะไร มโหสถตอบว่า ควรตั้งอยู่ในความจริง เสนกะถามว่า ผู้ตั้งอยู่ในความ

จริงแล้วควรทำอะไร มโหสถตอบว่า ควรให้ทรัพย์สมบัติเกิดขึ้น เสนกะถามว่า

ให้ทรัพย์สมบัติเกิดแล้ว ควรทำอะไร มโหสถตอบว่า ควรคบมิตร เสนกะ

ถามว่า คบมิตรแล้วควรทำอะไรต่อไป มโหสถตอบว่า ควรเรียนความคิดอ่าน

จากมิตร เสนกะถามว่า เรียนความคิดอ่านจากมิตรแล้วควรทำอะไรอีก มโห-

สถตอบว่า การได้ความคิดอ่านจากมิตรนั้น ถ้าเป็นความลับ ไม่ควรบอก

ความลับของตนแก่ใคร บัณฑิตทั้ง ๔ ก็รับว่าดีแล้ว แล้วลากลับ เป็นผู้มีจิต

ยินดีคิดว่า บัดนี้เราทั้ง ๔ เห็นหลังมโหสถละ แล้วไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 409

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า มโหสถเป็นกบฏต่อพระองค์ พระเจ้าวิเทหราชตรัส

ห้ามว่า เราไม่เชื่อท่านทั้งหลาย มโหสถจักไม่เป็นกบฏต่อเรา บัณฑิตทั้ง ๔

จึงกราบทูลว่า จริงนะพระเจ้าข้า ขอได้ทรงเชื่อ ก็ถ้าไม่ทรงเชื่อจงตรัสถามเขา

ดูว่า ความลับของเขา เขาไม่ควรบอกแก่ใคร ถ้าเขาจักไม่เป็นกบฏต่อพระองค์

เขาจักทูลว่า ควรบอกแก่คนชื่อนั้น ถ้าเขาจักเป็นกบฏต่อพระองค์ เขาจักทูลว่า

ไม่ควรบอกแก่ใคร ๆ ในเมื่อความปรารถนาสำเร็จจึงควรบอก ในกาลนั้น

พระองค์จักทรงเชื่อข้าพระองค์หมดสงสัย พระราชาทรงรับจะทดลอง วันหนึ่ง

เมื่อบัณฑิตทั้ง ๕ มาพร้อมกัน จึงตรัสคาถานี้ในปัญจปัณฑิตปัญหา ในวีสติ-

นิบาตว่า

ท่านทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิตทั้ง ๕ มาพร้อมกัน

แล้ว บัดนี้ปัญหาแจ่มแจ้งแก่เรา ท่านทั้งหลายจงฟัง

ปัญหานั้น บุคคลควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน

หรือควรสรรเสริญ อันเป็นข้อความลับแก่ใคร.

ครั้นพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว เสนกะคิดว่า เราจักให้พระราชา

เข้าอยู่ในพวกเราด้วย จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ข้าแต่พระภูมิบาล พระองค์จงตรัสเปิดเผยแก่

เหล่าข้าพระองค์ก่อน พระองค์เป็นผู้ชุบเลี้ยง เป็นผู้

ทรงอดทนต่อราชกรณียะอันหนัก จงตรัสก่อน ข้าแต่

พระจอมประชากร เหล่าข้าพระองค์ผู้เป็นนักปราชญ์

ทั้ง ๕ จักพิจารณาสิ่งพระองค์พอพระราชหฤทัยและ

เหตุเป็นที่ชอบด้วยพระอัธยาศัย แล้วกราบทูลภายหลัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 410

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภตฺตา ความว่า พระองค์เป็นผู้ซุบเลี้ยง

เหล่าข้าพระองค์ และเป็นผู้ทรงอดทนต่อพระราชภารกิจที่เกิดขึ้น ขอพระองค์

โปรดตรัสข้อนั้นก่อนเถิด. บทว่า ตว ฉนฺทรุจีนิ ความว่า บัณฑิต ๕ คน

เหล่านั้นพิจารณาสิ่งที่พระองค์พอพระราชหฤทัย และเหตุเป็นที่ชอบด้วยพระ-

อัธยาศัยแล้ว จักกราบทูลในภายหลัง.

ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสคาถานี้ ด้วยความเป็นผู้เป็นไปในอำนาจ

กิเลสของพระองค์ว่า

ภรรยาใดมีศีลาจารวัตร ไม่ให้ผู้อื่นลักสัมผัส

คล้อยตามอำนาจความพอใจของภัสดา เป็นที่รักเป็นที่

เจริญใจ สามีควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือ

ควรสรรเสริญ อันเป็นความลับแก่ภรรยา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนญฺเถยฺยา ความว่า อันผู้อื่นไม่พึง

จับต้องด้วยอำนาจกิเลส.

แต่นั้นเสนกะยินดีว่า บัดนี้เราทั้งหลายยังพระราชาให้เข้าในพวกเรา

ได้แล้ว เมื่อจะแสดงเหตุการณ์ที่ตนทำไว้เอง จึงกล่าวคาถานี้ว่า

สหายใดเป็นที่ระลึก เป็นที่ถึง เป็นที่พึ่งของ

บุคคลผู้ถึงความทุกข์ เดือดร้อนอยู่ บุคคลควรเปิดเผย

ข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็น

ความลับ แก่สหายนั้นเทียว.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามปุกกุสะว่า แน่ะอาจารย์ปุกกุสะ ท่านเห็น

อย่างไร ความลับของตนควรบอกแก่ใคร ปุกกุสะเมื่อจะกราบทูลจึงกล่าวคาถา

นี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 411

พี่น้องชายใด ผู้เป็นพี่ใหญ่หรือพี่กลางหรือน้อง

ถ้าว่าพี่น้องชายนั้นตั้งอยู่ในศีล เสพสิ่งที่ควรเสพ

บุคคลควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรร

เจริญ อันเป็นความลับ แก่พี่น้องชายนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ิตตฺโต ความว่า ดำรงสภาวะไว้ได้

คือเป็นผู้มีการเสพผิดออกแล้ว.

แต่นั้น พระราชาตรัสถามกามินทะว่า แน่ะอาจารย์กามินทะ ท่านเห็น

อย่างไร ความลับควรบอกแก่ใคร กามินทะเมื่อจะกราบทูลจึงกล่าวคาถานี้ว่า

บุตรใดดำเนินตามใจบิดา เป็นอนุชาตมีปัญญา

ไม่ทรามกว่าบิดา บิดาควรเปิดเผยข้อความที่ควร

ติเตียนหรือควรสรรเสริญอันเป็นความลับแก่บุตรนั้น

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปตฺถคู ได้แก่ ผู้ทำตามถ้อยคำ อธิบายว่า

บุตรที่ทำตามใจของเรา คือเป็นไปในอำนาจจิตของบิดา เป็นผู้อดทนต่อโอวาท.

บทว่า อนุชาโต ความว่า บุตรมี ๓ ประเภท คือ อภิชาต ๑ อนุชาต ๑

อวชาต ๑ บุตรผู้ยังยศที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ชื่อว่า อภิชาต บุตรที่เป็นเชื้อสาย

ของสกุล เป็นผู้ตัดวงศ์สกุล ทำทรัพย์ให้พินาศ ชื่อว่า อวชาต บุตรผู้รักษา

แบบแผนของสกุล ประเพณีของสกุลไว้ได้ ชื่อ อนุชาต อาจารย์กามินทะ

กล่าวอย่างนี้หมายถึงอนุชาตบุตรนั้น.

แต่นั้น พระราชาตรัสถามเทวินทะว่า แน่ะอาจารย์เทวินทะ ท่านเห็น

อย่างไร ความลับควรบอกแก่ใคร เทวินทะเมื่อจะกราบทูลเหตุการณ์ที่ตนทำไว้

จึงกล่าวคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 412

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ประเสริฐที่สุดแห่ง-

มนุษยนิกร มารดาใดเลี้ยงบุตรด้วยความพอใจรักใคร

บุตรควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียนหรือควรสรร-

เสริญ อันเป็นความลับ แก่มารดานั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฺวิปทชนินฺทเสฏฺ ได้แก่ จอม

ประชากรผู้ประเสริฐที่สุดของมนุษย์ทั้งหลาย. บทว่า ฉนฺทสา ปิเยน ได้แก่

ด้วยความพอใจและด้วยความรัก.

พระราชาครั้น ตรัสถามอาจารย์ ๔ คนเหล่านั้น ซึ่งกล่าวตอบไปอย่าง

นี้แล้ว จึงตรัสถามมโหสถบัณฑิตว่า เจ้าเห็นอย่างไร พ่อบัณฑิต ความลับ

ควรบอกแก่ใคร มโหสถบัณฑิตเมื่อจะกราบทูลเหตุแห่งความลับ จึงกล่าว

คาถานี้ว่า

การช่อนความลับไว้นั่นแลเป็นการดี การเปิด-

เผยความลับไม่ดีเลย บุคคลผู้มีปรีชา เมื่อความปรา-

รถนายังไม่สำเร็จก็พึงกลั้นไว้ เมื่อความปรารถนา

สำเร็จแล้วพึงกล่าวตามสบาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิปฺผนฺนาย ความว่า ได้แก่พระ-

มหาราชเจ้า สิ่งที่คนปรารถนายังไม่สำเร็จเพียงใด บัณฑิตพึงอดกลั้นไว้ ไม่พึง

แจ้งแก่ใคร ๆ เพียงนั้น.

เมื่อมโหสถบัณฑิตกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาทรงเสียพระทัย

เสนกะแลดูพระพักตร์พระราชา พระราชาก็ทอดพระเนตรหน้าเสนกะ มโหสถ

บัณฑิตเห็นกิริยาแห่งเสนกะและพระราชา ก็รู้ว่า อาจารย์ทั้ง ๔ นี้ได้ยุยงใน

ระหว่างเราและพระราชาไว้ก่อนแล้ว พระราชาตรัสถามปัญญาเพื่อทดลองเรา

เมื่อพระราชาและราชบริษัทเจรจากันอยู่ ดวงอาทิตย์อัสดงคต เจ้าหน้าที่ตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 413

ประทีป มโหสถดำริว่า ขึ้นชื่อว่าราชการเป็นของหนักย่อมไม่ปรากฏ ใครจะ

รู้เรื่อง อะไรจักมี เราควรรีบกลับเสียก่อน ดำริฉะนี้จึงลุกจากที่นั่งถวายบังคม

พระราชาออกไป คิดว่า ผู้หนึ่งกล่าวว่า ควรบอกความลับแก่สหาย ผู้หนึ่งกล่าว

ว่าควรบอกความลับแก่พี่น้องชาย ผู้หนึ่งกล่าวว่า ควรบอกความลับแก่บุตร

ผู้หนึ่งกล่าวว่า ควรบอกความลับแก่มารดา เราสำคัญว่า กิจนี้จักเป็นของตน

เหล่านี้ได้ทำแล้วแน่ คนเหล่านี้คงกล่าวถึงกิจที่ตนเห็นแล้ว จงยกไว้เถิด เรา

จักรู้เหตุนี้ ในวันนี้ ฝ่ายราชบัณฑิตทั้ง ๔ ออกจากราชสำนักแล้ว ในวัน

อื่น ๆ เคยนั่งที่หลังถังข้าวถังหนึ่งใกล้ประตูพระราชนิเวศน์ ปรึกษากันถึง

กรณียกิจแล้วจึงกลับไปบ้าน เพราะเหตุนั้น มโหสถจึงดำริว่า วันนี้ เรา

นอนอยู่ภายใต้ถังข้าว ก็สามารถจะรู้ความลับของอาจารย์ทั้ง ๔ นั้น จึงให้คน

ใช้ยกถังข้าวนั้นแล้วให้ลาดเครื่องลาด แล้วเข้าอยู่ภายใต้ถังข้าวนั้น แล้วให้

สัญญาแก่คนใช้ว่า ในเมื่ออาจารย์ทั้ง ๔ หานั่งปรึกษากันลุกไปแล้ว พวกเจ้า

จงมานำข้าวออก คนใช้เหล่านั้นรับคำสั่งแล้วหลีกไป ฝ่ายอาจารย์เสนกะทูล

พระเจ้าวิเทหราชว่า พระองค์ยังไม่ทรงเชื่อข้าพระบาทหรือ บัดนี้ข้อความนั้น

เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า พระราชาทรงสดับคำของพวกอาจารย์ผู้ยุยง ก็หาได้

ทรงพิจารณาไม่ เป็นผู้ทั้งกลัวทั้งตกพระหฤทัย จึงตรัสถามว่า แน่ะท่าน

เสนกะบัณฑิต บัดนี้เราจักทำประการไร เสนกะจึงทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

ควรที่พระองค์จะไม่ชักช้า อย่าทันให้มโหสถรู้ตัว แล้วฆ่าเสีย พระราชาตรัส

ว่า แน่ะอาจารย์เสนกะ ยกท่านเสียแล้ว คนอื่นชื่อว่าเป็นผู้ใคร่ความเจริญแก่

เราย่อมไม่มี ท่านจงชวนสหายของท่านคอยอยู่ที่ภายในประตู เมื่อมโหสถบุตร

คฤหบดีมาสู่ราชสำนักแต่เช้า จงตัดศีรษะเสียด้วยพระแสงขรรค์ ดำรัสสั่ง

ฉะนี้แล้ว พระราชทานพระแสงขรรค์รัตนะที่ทรง อาจารย์ทั้ง ๔ นั้นกราบทูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 414

ว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า ขอพระองค์อย่าทรงเกรงกลัวเลย พวกข้าพระบาทจักฆ่า

มโหสถนั้นเสียให้จงได้ ทูลฉะนี้แล้วออกมานั่งที่หลังถังข้าว รำพึงกันว่า พวก

เราเห็นหลังปัจจามิตรแล้ว แต่นั้นเสนกะจึงเอ่ยขึ้นว่า ใครจักฆ่ามโหสถ

อาจารย์ทั้ง ๓ จึงตอบว่า ท่านอาจารย์นั่นแลจักฆ่าได้ แล้วทำกิจนั้นให้เป็น

ภาระของเสนกะนั้นผู้เดียว ลำดับนั้น เสนกะจึงถามอาจารย์ทั้ง ๓ ว่า ท่าน

ทั้ง ๓ กล่าวว่า ชื่อว่าความลับควรบอกแก่บุคคลชื่อโน้น ๆ ดังนี้ กิจนั้นท่าน

ทั้ง ๓ ได้ทำแล้ว หรือเห็นแล้ว หรือได้สดับแล้วอย่างไร ลำดับนั้น อาจารย์

ทั้ง ๓ กล่าวกะเสนกะว่า ข้าแต่อาจารย์ กิจที่ท่านกล่าวว่า ความลับควรบอก

แก่สหายนั้นเป็นของปรากฏแล้ว กิจนั้นท่านทำแล้ว หรือเห็นแล้ว หรือ

ได้ฟังแล้วอย่างไรเล่า กิจนั้นเราได้ทำเอง ข้าแต่อาจารย์ ถ้ากระนั้น ท่านจง

กล่าวให้ทราบ ความลับนี้พระราชาทรงทราบแล้ว ชีวิตของเราจะไม่มี ข้า

แต่อาจารย์ ท่านอย่ากลัวเลย บุคคลผู้ทำลายความลับของเราทั้งหลายในที่นี้

ไม่มี ขอจงกล่าวให้ทราบเถิด เสนกะเอาเล็บเคาะถังข้าวว่า มโหสถอยู่ใต้ถัง

ข้าวนี้กระมัง อาจารย์ทั้ง ๓ ตอบว่า มโหสถเป็นคนเอาอิสริยยศ คงไม่เข้า

ไปอยู่ในที่เช่นนี้ บัดนี้จักเป็นคนเมายิ่งด้วยศีล ท่านเห็นซึ้งไปได้ ฝ่ายเสนกะ

เมื่อจะบอกความลับของคน จึงกล่าวว่า ท่านทั้ง ๓ รู้จักหญิงแพศยาชื่อโน้น

ในนครนี้หรือ ข้าพเจ้าทั้ง ๓ ทราบ บัดนี้นางคนนั้นยังปรากฏอยู่หรือหายไป

ไม่พบเลย ท่านอาจารย์ เสนกะจึงแจ้งว่า เราทำกิจของบุรุษกับด้วยนางคน

นั้นในสวนไม้รัง แล้วยังนางคนนั้นให้ตายด้วยโลภในเครื่องประดับ แล้วนำ

เครื่องประดับของนางนั้นมาห่อด้วยผ้าสาฎก แล้วแขวนไว้บนไม้รูปเหมือนงา

ช้างในห้องเรือนของเรา เรายังไม่อาจจะใช้เครื่องประดับนั้น เห็นความที่

เครื่องประดับนั้นเป็นของเก่า เราทำความผิดพระราชกำหนดอย่างนี้ ได้บอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 415

แก่สหายคนหนึ่ง สหายคนนั้นมิได้บอกแก่ใคร ด้วยเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า เรา

ได้บอกความลับแก่สหาย มโหสถเริ่มตั้งใจกำหนดความลับของเสนกะไว้เป็น

อย่างดี ฝ่ายปุกกุสะเมื่อจะบอกความลับของตน จึงกล่าวว่า โรคเรื้อนมีที่ขา

ของข้าพเจ้า น้องชายน้อยของข้าพเจ้าเท่านั้นรู้ ข้าพเจ้าไม่ให้ใคร ๆ รู้ ชำระ

แผลนั้นทายา พันผ้าทับแผล พระราชามีพระหฤทัยกรุณาในข้าพเจ้า ตรัส

เรียกข้าพเจ้าว่า ปุกกุสะจงมา แล้วบรรทมที่ขาของข้าพเจ้าบ่อย ๆ ก็ถ้าราชาทรง

ทราบเรื่องนี้ พึงประหารชีวิตข้าพเจ้า ยกน้องชายน้อยคนนั้นของข้าพเจ้าเสีย

คนอื่นไม่รู้เลย ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าบอกความลับแก่น้อง

ชายน้อย ฝ่ายกานินทะเมื่อจะแสดงความลับของตนจึงกล่าวว่า ในวันอุโบสถข้าง

แรม ยักษ์ชื่อนรเทวะ มาสิงข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ร้องดุจสุนัขบ้าร้อง ข้าพเจ้าได้แจ้ง

เนื้อความนี้แก่บุตร บุตรของข้าพเจ้ารู้ว่ายักษ์มาสิงข้าพเจ้า ก็ให้ข้าพเจ้านอนใน

ห้องข้างใน ปิดประตู ออกไปให้มีมหรสพที่ประตู เพื่อกลบเสียงของข้าพเจ้า

ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าบอกความลับแก่บุตร แต่นั้นอาจารย์ทั้ง

๓ จึงถามเทวินทะ เทวินทะเมื่อจะกล่าวความลับของตน จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้า

ทำการขัดสีแก้วมณี มีแก้วมณีเป็นมงคล เป็นที่เข้าอยู่แห่งสิริ เป็นของหลวง

ซึ่งท้าวสักกเทวราชประทานพระเจ้ากุสราชไว้ ข้าพเจ้าลักเอามงคลมณีรัตน์นั้น

มาให้มารดา มารดานั้นไม่ให้ใครรู้ ถึงเวลาข้าพเจ้าจะเข้าเฝ้าพระราชา ก็ให้มงคล

มณีรัตน์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ายังสิริให้อยู่ในตัวข้าพเจ้าด้วยอำนาจแห่งมงคลมณี-

รัตน์นั้น จึงเข้าไปสู่ราชสำนัก พระราชาได้ตรัสแก่ท่านทั้งหลายตรัสกับข้าพเจ้า

ก่อนกว่าใคร ๆ แล้วพระราชทานกหาปณะ ๘ กหาปณะบ้าง ๑๖ กหาปณะบ้าง

๓๒ กหาปณะบ้าง ๖๔ กหาปณะบ้าง แก่ข้าพเจ้าเพื่อเป็นเสบียงได้เลี้ยงชีพ

ทุกวัน ถ้าพระราชาทรงทราบอานุภาพมณีรัตน์นั้นไซร้ ชีวิตของข้าพเจ้าก็จะ

ไม่รอดอยู่ ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าบอกความลับแก่มารดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 416

พระมหาสัตว์ได้ทำความลับของอาจารย์ทั้ง ๔ ให้ประจักษ์ ก็อาจารย์ทั้ง ๔ นั้น

แจ้งความลับแก่กันแลกัน ราวกะบุคคลผ่าอกของตนแผ่อวัยวะภายในออกมา

ภายนอก แล้วเตือนกันว่า ท่านทั้งหลายอย่าประมาท มาช่วยกัน ฆ่ามโหสถ

บุตรคฤหบดีแต่เช้า กำชับกันดังนี้แล้วต่างลุกขึ้นหลีกไป ในกาลเมื่ออาจารย์

ทั้ง ๔ ไปแล้ว คนใช้ของมโหสถที่นัดหมายกันไว้ ก็มายกถังข้าวพาพระ-

มหาสัตว์ออกหลีกไป พระโพธิสัตว์กลับถึงเคหสถาน อาบน้ำแต่งกายบริโภค

โภชนาหารแล้วรู้ว่า วันนี้พระนางอุทุมพรเทวีผู้เชษฐภคินีของเรา คงประทาน

ข่าวมาแต่พระราชวัง จึงวางบุรุษพิเศษไว้ที่ประตูสั่งว่า เจ้าจงให้คนมาแต่

พระราชวังเข้ามา แล้วบอกแก่เราโดยเร็ว ก็แลครั้นสั่งฉะนั้นแล้ว ก็นอน ณ ที่

นอนมีสิริ.

ขณะนั้น พระเจ้าวิเทหราชบรรทม ณ ที่บรรทมอันมีสิริ ทรงอนุสรณ์

ถึงคุณของมโหสถว่า มโหสถบัณฑิตบำรุงเรามาตั้งแต่เขามีอายุได้ ๗ ปี ไม่ได้

ทำความเสียหายหน่อยหนึ่งแก่เรา เมื่อเทวดาถามปัญหา ถ้าจักไม่มีมโหสถไซร้

ชีวิตของเราก็จะไม่พึงมี เรามาถือเอาคำของปัจจามิตรผู้มีเวร แล้วกล่าวสั่งว่า

ท่านทั้งหลายจงฆ่ามโหสถผู้มีธุระหาผู้เสมอมิได้ ฉะนี้แล้วให้พระขรรค์ เป็น

อัน ว่าเราทำสิ่งที่ไม่ควรทำ บัดนี้แต่พรุ่งนี้ไป เราจักไม่ได้เห็นมโหสถอีก ทรง

รำพึงฉะนี้ก็ยังความโศกให้เกิดขึ้น พระเสโทไหลโซมพระกาย พระราชานั้น

เต็มไปด้วยความโศกก็ไม่ทรงได้ความผ่องใสแห่งพระมนัส พระนางอุทุมพร-

เทวีเสด็จไปบรรทมร่วมกับพระราชสามี ทอดพระเนตรเห็นพระอาการของ

พระราชสาม ทรงดำริว่า เป็นไฉนหนอ ความผิดอย่างไรของเรามีอยู่ หรือ

เหตุการณ์แห่งความโศกอย่างไรอื่นเกิดขึ้นแก่พระองค์ เราจักทูลพระองค์ก่อน

เมื่อจะทูลถาม จึงกล่าวคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 417

ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐที่สุด พระองค์เป็นผู้

มีพระมนัสวิปริตไปอย่างไรหรือ ข้าแต่พระจอมประ-

ชากร ข้าพระบาทจะฟังพระดำรัสข้อนั้นของพระองค์

พระองค์ทรงพระดำริอย่างไรหรือจึงทรงโสมนัส ข้า

แต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ความผิดของข้าพระบาทไม่

มีเลยหรือ พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสคาถาตอบพระนางว่า

มโหสถผู้มีปัญญาจะถูกฆ่า เพราะมโหสถผู้มี

ปัญญาดังแผ่นดิน เราบังคับสั่งเพื่อฆ่าแล้ว เราคิดถึง

เรื่องนั้น จึงเป็นผู้โทมนัส แน่พระเทวี ความผิดของ

เธอไม่มีเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาณตฺโต เม ความว่า แน่ะนางผู้เจริญ

บัณฑิตทั้ง ๔ บอกแก่เรา มโหสถบัณฑิตเป็นศัตรูของเรา เราไม่ได้พิจารณา

โดยถ่องแท้ สั่งฆ่ามโหสถผู้มีปัญญาดังแผ่นดินว่า พวกท่านจงฆ่าเขาเสีย เมื่อ

เราคิดถึงการณ์นั้น จึงมีความโทมนัสว่า เราตายเสียดีกว่ามโหสถบัณฑิตตาย.

ความโศกสักเท่าภูเขาเกิดขึ้นแก่พระนางอุทุมพร ด้วยความรักใน

พระมหาสัตว์ เพราะได้ทรงสดับพระราชาตรัสฉะนั้น แต่นั้นพระนางจึงทรง

คิดว่า เราจักยังพระราชาให้ทรงอุ่นพระหฤทัยด้วยอุบายหนึ่ง ในกาลเมื่อ

พระราชาบรรทมหลับ เราจักส่งข่าวไปยังมโหสถผู้กนิษฐภาดาของเรา ลำดับ

นั้น พระนางจึงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์

ผู้ยังมโหสถให้ดำรงอยู่ในอิสริยยศใหญ่ ภายหลังมาทรงทำการดังนี้แก่เขาจะ

เป็นไรไป แล้วทูลเล้าโลมพระราชาว่า พระองค์ทรงสถาปนามโหสถในตำแหน่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 418

เสนาบดี ได้ยินว่า บัดนี้เธอคิดกบฏต่อพระองค์ ก็บุคคลผู้ปัจจามิตร มิใช่

เป็นคนเล็กน้อยเลย พระองค์ควรประหารชีวิตเขาเสียทีเดียว ขอพระองค์อย่า

ทรงพระวิตกเลย พระราชามีความโศกเบาบางก็หยั่งลงสู่นิทรารมณ์ ขณะนั้น

พระราชเทวีเสด็จลุกขึ้นเข้าสู่ห้อง ทรงพระอักษรมีความว่า ดูก่อนมโหสถ

บัณฑิตทั้ง ๔ ทำลายเธอให้แตกกับพระราชา พระราชากริ้ว ตรัสสั่งบัณฑิต

ทั้ง ๔ ให้ฆ่าเธอที่ประตูพระราชวังเวลาพรุ่งนี้ พรุ่งนี้เธออย่ามาสู่ราชสำนัก

ถ้าจะมาก็พึงเป็นผู้สามารถทำชาวพระนคร ให้อยู่ในเงื้อมมือเธอแล้วพึงมา

ทรงพระอักษรมีความฉะนี้แล้วสอดเข้าในห่อ เอาด้ายพันห่อแล้ว วางใน

สุพรรณภาชน์ใหม่ปิดฝาประทับพระลัญจกรประทานแก่นางข้าหลวงผู้ประพฤติ

ประโยชน์ตรัสสั่งว่า เจ้าจงนำห่อนี้ไปให้แก่มโหสถบัณฑิตผู้น้องชายน้อยของ

เรา นางข้าหลวงได้ทำตามคำสั่ง อันใคร ๆ ไม่ควรคิดว่า ทำไมนางข้าหลวง

ออกจากดำหนักข้างในในเวลากลางคืนได้ เพราะว่าพระราชาพระราชทานพร

แก่พระนางไว้ก่อนแล้ว ให้พระนางใช้ใครนำของเสวยอันมีรสออกไปให้มโหสถ

ได้ตามประสงค์ เพราะฉะนั้นใคร ๆ จึงไม่ห้ามนางข้าหลวงนั้น พระโพธิสัตว์

รับพระสุพรรณภาชน์แล้วให้นางข้าหลวงนั้นกลับ นางข้าหลวงก็ลากลับมาทูล

ความที่ตนให้พระสุพรรณภาชน์แก่มโหสถแล้วแด่พระนาง ขณะนั้นพระนาง

จึงเสด็จมาบรรทมกับพระราชสามี ฝ่ายพระโพธิสัตว์แก้ห่อหนังสือออกอ่าน

รู้ความนั้นแล้ว จัดกิจที่จะพึงทำแล้วเข้านอน ฝ่ายอาจารย์ทั้ง ๔ ถือพระ-

แสงขรรค์ยืนอยู่ภายในประตูวังแต่เช้า เมื่อไม่เห็นมโหสถมาก็เสียใจ ไปเฝ้า

พระราชา ครั้นตรัสถามว่า เป็นอย่างไร ท่านทั้งหลายฆ่ามโหสถแล้วหรือ

จึงกราบทูลว่า ไม่เห็นมโหสถมา พระเจ้าข้า ฝ่ายพระมหาสัตว์พออรุณขึ้นก็

สนานกายด้วยน้ำหอม ประดับกายด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง บริโภคโภชนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 419

อันเลิศ ชำระสรีรกิจแล้ว ทำชาวพระนครให้อยู่ในเงื้อมมือแล้ว ตั้งการรักษา

ในที่นั้น ๆ เป็นผู้อันมหาชนห้อมล้อม นรกไปสู่ประตูวังด้วยยศใหญ่ ฝ่าย

พระเจ้าวิเทหราชให้เปิดพระแกลประทับยืนทอดพระเนตรอยู่ ลำดับนั้น

พระโพธิสัตว์ลงจากรถถวายบังคมบรมกษัตริย์แล้วยืนอยู่ พระราชาทอด

พระเนตรเห็นกิริยาของมโหสถทรงดำริว่า ถ้ามโหสถเป็นข้าศึกแก่เรา ที่ไหน

เขาจะพึงไหว้เรา ลำดับนั้นก็ตรัสให้เรียกมโหสถมาเฝ้า แล้วเสด็จประทับ ณ

พระราชอาสน์ ฝ่ายมโหสถถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ส่วนหนึ่ง บัณฑิตทั้ง ๔

ก็นั่งอยู่ที่นั่น ลำดับนั้น พระราชาเป็นเหมือนไม่ทรงทราบอะไร ตรัสถาม

มโหสถว่า แน่ะพ่อมโหสถ เมื่อวานนี้เจ้ากลับบ้านแต่ยามแรก เจ้าพึงมาเดี๋ยวนี้

เจ้าสละเสียอย่างนี้เพราะอะไร ตรัสฉะนี้แล้ว ได้ตรัสคาถานี้ว่า

เจ้าไปบ้านแต่หัวค่ำ มาเอาบัดนี้ ใจของเจ้า

รังเกียจเพราะได้ฟังอะไรหรือ ดูก่อนเจ้าผู้มีปัญญาดุจ

แผ่นดิน ใครได้พูดอะไรแก่เจ้า เราจะฟังเจ้าบอกเรื่อง

ของเจ้า เจ้าจงบอกเรื่องนั้นแก่เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิโทสคโต ความว่า ดูก่อนพ่อมโหสถ

บัณฑิต เมื่อวานเจ้าไปบ้านแต่หัวค่ำ คือปฐมยาม. บทว่า อิทานิ เอสิ

ความว่า บัดนี้มาด้วยอิสริยยศ. บทว่า กิมาสงฺกิเต ได้แก่ รังเกียจอะไร.

บทว่า กิมโวจ ความว่า ใคร ๆ ได้กล่าวกะเจ้าว่า อย่าไปเฝ้าพระราชาหรือ

พวกเราจะฟังคำของเจ้านั้น เชิญเจ้าบอกคือแจ้งการณ์นั้นแก่เรา.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลเตือนพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

พระองค์ถือเอาคำบัณฑิตทั้ง ๔ แล้ว มีพระราชาณัติให้ฆ่าข้าพระบาท ด้วย

เหตุนั้น ข้าพระบาทจึงยังไม่มา ทูลฉะนี้แล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 420

มโหสถผู้มีปัญญาจะถูกฆ่า ข้าแต่พระปิ่นประ

ชากร กาลใดพระองค์เสด็จอยู่ในที่ลับ ได้ตรัสข้อ

ความลับที่รับสั่งแก่อาจารย์ทั้ง ๔ กับ พระนางอุทุมพร

เมื่อหัวค่ำ ข้อความลับอย่างนั้นของพระองค์ พระ-

องค์ได้เปิดเผยแล้ว ก็ข้อความลับนั้นอันข้าพระบาท

ได้ฟังแล้วในกาลนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทิ เต ได้แก่ ๆ กาลใดพระองค์. บทว่า

มนฺตยิต ได้แก่ ตรัสแล้ว. บทว่า เทส ความว่า หัวค่ำ คือตอนกลางคืน

ถามว่า ตรัสแก่ใคร ตอบว่า แก่พระอัครมเหสี ด้วยว่าพระองค์ประทับ อยู่

ในที่ลับได้ตรัสข้อความนี้แก่พระอัครมเหสีนั้น. บทว่า คุยฺห ปาตุกต

ความว่า ความลับของพระองค์เห็นปานฉะนี้ พระองค์ทรงทำให้ปรากฏแล้ว.

บทว่า สุต มเมต ความว่า มโหสถโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ก็

ความลับนั้น ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วในขณะนั้นทีเดียว.

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของมโหสถก็ทรงพระพิโรธด้วยทรง

เห็นว่า นางอุทุมพรจักส่งข่าวไปขณะนั้นเอง จึงทอดพระเนตรพระราชเทวี

มโหสถรู้กิริยานั้น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ทรงพิโรธพระราช

เทวีทำไม ข้าพระองค์ทราบเหตุการณ์ อดีต อนาคต และปัจจุบันทั้งสิ้น

พระนางตรัสความลับของพระองค์แก่ข้าพระองค์จงยกไว้ก่อน ความลับของ

เสนกะและปุกกุสะเป็นต้น ใครแจ้งแก่ข้าพระองค์เล่า ปัญหาของกิ้งก่าใครบอก

แก่ข้าพระองค์ และปัญหาของเทวดาใครบอกแก่ข้าพระองค์เล่า ข้าพระองค์

ทราบความลับของชนเหล่านี้ก่อนแล้วทีเดียว เมื่อจะทูลความลับของเสนกะก่อน

จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 421

เสนกะได้ทำกรรมลามกไม่ใช่กรรมดีอันใด คือ

ฆ่าหญิงแพศยานางหนึ่งในสวนไม้รัง ในนครนี้เอง

แล้วถือเอาเครื่องประดับห่อด้วยผ้าสาฎกเก็บไว้ในเรือน

ของตน อยู่ในที่ลับได้แจ้งเรื่องนี้แก่สหายคนหนึ่ง

กรรมลามกอันเป็นความลับของตนเห็นปานนี้ อัน

เสนกะทำให้ปรากฏแล้ว ความลับนี้ ข้าพระองค์ได้

ฟังแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสพฺภิรูป ความว่า เสนกะได้กระทำ

อกุศลกรรมอันลามกไม่ใช่กรรมดี คือฆ่าหญิงแพศยาชื่อโน้นในสวนไม้รังใน

นครนี้เอง แล้วถือเอาเครื่องประดับท่อด้วยผ้าสาฎกของหญิงนั้นแหล่. เก็บไว้

ในที่โน้นในเรื่อนของตน. บทว่า สขิโนว รโหคโต อสสิ ความว่า ข้าแต่

พระมหาราชเจ้า ครั้งนั้น เสนกะอยู่ในที่ลับได้บอกเรื่องนั้นแก่สหายคนหนึ่ง

เรื่องแม้นั้น ข้าพระองค์ก็ได้ฟังแล้ว ข้าพระองค์มิได้คิดกบฏต่อสมมติเทพ

เสนกะนั่นแหละเป็นผู้คิดกบฏ ถ้าพระองค์มีพระราชประสงค์ด้วยคนกบฏ จง

โปรดให้จับเสนกะ.

พระราชาทอดพระเนตรดูเสนกะแล้วมีราชกระทู้ถามว่า จริงหรือ

เสนกะ ก็ได้ทรงรับกราบทูลตอบว่า จริงพระเจ้าข้า จึงรับสั่งให้จำเสนกะใน

เรือนจำ ฝ่ายมโหสถเมื่อจะกราบทูลข้อความลับของปุกกุสะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ข้าแต่พระจอมประชากร โรคเรื้อนเกิดขึ้นแก่

ปุกกุสะ เป็นโรคที่ไม่สมควรจะใกล้ชิดพระราชา

ปุกกุสะอยู่ในที่ลับได้แจ้งแก่น้องชายน้อย ความที่

ปุกกุสะเป็นโรคเรื้อน เป็นข้อความลับเห็นปานนี้ อัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 422

ปุกกุสะได้ทำให้ปรากฏแล้ว ความลับนี้ข้าพระองค์ได้

ฟังแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อราชปฺปตฺโต ความว่า ข้าแต่พระ-

มหาราชเจ้า โรคเรื้อนเกิดขึ้นแก่ปุกกุสะนั้น เป็นโรคที่ไม่สมควรจะใกล้ชิด

คือไม่ควรจะถูกต้องพระราชา พระองค์บรรทมที่ขาของปุกกุสะบ่อย ๆ ด้วยเข้า

พระหฤทัยว่า ขาของปุกกุสะอ่อน ที่แท้ขาของปุกกุสะนั้นมีสัมผัสอ่อนเพราะ

ผ้าพันแผล พระเจ้าข้า.

พระราชาทอดพระเนตรดูปุกกุสะแล้ว ตรัสถามว่า จริงหรือปุกกุสะ

ครั้นได้ทรงสดับรับสารภาพว่าจริง จึงรับสั่งให้เอาตัวเข้าเรือนจำ มโหสถ-

บัณฑิตเมื่อจะกราบทูลความลับของกามินทะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า

กามินทะอันอาพาธซึ่งลามก กล่าวคือยักษ์ชื่อ

นรเทวะสิงแล้วเป็นเหมือนสุนัขบ้าร้องอยู่ กามินทะ

อยู่ในที่ลับได้แจ้งความลับนี้แก่บุตร ความลับเห็น

ปานนี้ อันกามินทะทำให้ปรากฏแล้ว ความลับนี้ข้า

พระองค์ได้ฟังแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสพฺภรูโป ความว่า กามินทะนั้นอัน

อาพาธใดถูกต้องแล้วร้องเหมือนสุนัขบ้า อาพาธนั้นคือยักษ์นรเทวะสิงเป็น

อาพาธต่ำช้าลามก กามินทะอันอาพาธนั้นถูกต้องแล้ว ไม่สมควรเข้าไปสู่

ราชสกุล พระเจ้าข้า.

พระราชาทอดพระเนตรดูกามินทะแล้วตรัสถามว่า จริงหรือกามินทะ

กามินทะทูลรับสารภาพ จึงตรัสสั่งให้นำกามินทะเข้าสู่เรือนจำ ฝ่ายมโหสถ

บัณฑิตเมื่อจะกราบทูลความลับของเทวินทะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 423

ท้าวสักกเทวราชได้ประทานมณีรัตนะอันโอฬาร

มี ๘ คดแด่พระเจ้ากุสราชผู้เป็นพระอัยยกาของพระองค์

มณีรัตนะนั้นเดี๋ยวนี้ตกลงมือเทวินทะ ก็เทวินทะอยู่ใน

ที่ลับได้แจ้งแก่มารดา ข้อความลับเห็นปานนี้ อัน

เทวินทะทำให้ปรากฏแล้ว ความลับนี้ข้าพระองค์ได้

ฟังแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิตามหสฺส ได้แก่ พระเจ้ากุสราชผู้

เป็นพระอัยยกาของพระองค์. บทว่า ตทชฺช หตฺถ ความว่า ข้าแต่พระ-

มหาราชเจ้า มณีรัตนะซึ่งสมมติว่าเป็นมงคลนั้น เคี้ยวนี้ตกถึงมือของเทวินทะ

แล้ว.

พระราชาตรัสถามเทวินทะว่า จริงหรือเทวินทะ ครั้นเทวินทะกราบ-

ทูลสารภาพว่าจริง จึงโปรดให้ส่งเทวินทะเข้าเรือนจำ อาจารย์ทั้ง ๔ ตั้งใจจะ

ฆ่ามโหสถ กลับต้องเข้าเรือนจำเองทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.

พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์กราบทูล

ว่า อันบุคคลไม่ควรบอกความลับของตนแก่บุคคลอื่นด้วยเหตุนี้ อาจารย์ทั้ง

๔ กราบทูลว่า ควรบอก ก็ถึงความพินาศใหญ่ เมื่อจะแสดงธรรมให้ยิ่ง ได้

กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

การซ่อนความลับไว้นั่นแหละดี การเปิดเผย

ความลับไม่ประเสริฐเลย บุคคลผู้มีปัญญา ในเมื่อ

ทำความลับยังไม่สำเร็จ พึงอดทนไว้ ข้อความลับ

สำเร็จแล้ว พึงกล่าวตามสบาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 424

บุคคลไม่ควรเปิดเผยข้อความลับเผย ควรรักษา

ข้อความลับนั้นไว้ ดุจบุคคลรักษาขุมทรัพย์ ฉะนั้น

ข้อความลับอันบุคคลผู้รู้แจ้งไม่ทำให้ปรากฏนั่นแลดี.

บัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี และแก่คน

ไม่ใช่มิตร กับอย่าบอกความในใจแก่บุคคลที่อามิส

ลากไป และแก่คนไม่ใช่มิตร.

ผู้มีปรีชาย่อมอดทนต่อคำด่าคำบริภาษ และการ

ประหารแห่งบุคคลผู้รู้ข้อความลับซึ่งผู้อื่นไม่รู้ เพราะ

กลัวแต่แพร่ความลับที่คิดไว้ ประหนึ่งคนเป็นทาส

อดทนต่อคำด่าเป็นต้นแห่งนาย ฉะนั้น ชนทั้งหลาย

รู้ความลับที่ปรึกษากันของบุคคลผู้หนึ่งเพียงใด ความ

หวาดสะดุ้งของบุคคลนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพียงนั้น เพราะ

เหตุนั้น ผู้ฉลาดไม่ควรสละความลับ.

บุคคลกล่าวความลับในเวลากลางวัน พึงหา

โอกาสที่เงียบ เมื่อจะพูดความลับในเวลาค่ำคืน อย่า

ปล่อยเสียงให้เกินเขต เพราะว่าคนแอบฟังความ ย่อม

จะได้ยินความลับที่ปรึกษากัน เพราะฉะนั้น ความลับ

ที่ปรึกษากันจะถึงความแพร่งพรายทันที.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ถิยา แปลว่า แก่สตรี. บทว่า อมิตฺ-

ตสฺส จ ความว่า ไม่ควรบอกแก่ศัตรู. บทว่า สหีโร ความว่า ก็บุคคล

ใดถูกอานิสอย่างใดอย่างหนึ่งลากไป คือถึงการพูดชักชวนและสงเคราะห์ ไม่พึง

บอกความลับแก่บุคคลแม้นั้น. บทว่า หทยตฺเถ โน ความว่า ก็บุคคลใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 425

ไม่ใช่มิตร เป็นมิตรเทียม ปากพูดอย่างหนึ่ง ใจคิดอย่างหนึ่ง ไม่พึงบอก

แก่บุคคลแม้นั้น. บทว่า อสมฺพุทธ ได้แก่ อันผู้อื่นไม่รู้ ปาฐะว่า อสมฺโพธ

ก็มีความว่า ไม่ควรให้ผู้อื่นรู้. บทว่า ติติกฺขติ ความว่า ย่อมอดกลั้น

คำบ้าง คำบริภาษบ้าง การประหารบ้างเสมือนทาส. บทว่า มนฺติน ความว่า

ผู้มีความรู้ทั้งหหลายย่อมรู้ข้อที่ปรึกษากันนั้นในระหว่างผู้มีความรู้ทั้งหลายเพียง

ใด. บทว่า ตาวนฺโต ความว่า ความหวาดสะดุ้งของบุคคลนั้นเพียงนั้นนั้น

ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยผู้รู้ความลับแม้เหล่านั้น. บทว่า น วิสฺสเช ความว่า

ไม่พึงสละ คือไม่ควรให้ผู้อื่นรู้. บทว่า วิวิจฺจ ความว่าถ้าต้องการจะปรึกษา

ความลับในกลางวัน พึงปรึกษาในที่ปกปิดให้ทำโอกาสให้เงียบ บทว่า

นาติเวล ความว่า ก็เมื่อพูดความลับในราตรี ไม่พึงทำเสียงดังเปล่งเสียง

เกินเวลาคือเกินขอบเขต. บทว่า อุปสฺสูติกา ได้แก่ ชนผู้พึงเข้าไปสู่สถานที่

ปรึกษายืนอยู่ที่นอกฝาเป็นต้น. บทว่า ตสฺมา ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

ด้วยเหตุนั้น ความลับทีปรึกษากันนั้นจะถึงความแพร่งพรายทันทีทีเดียว.

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับ ถ้อยคำแห่งมโหสถก็ทรงพิโรธว่าอาจารย์

เหล่านั้นปองร้ายกันเอง มาลงเอามโหสถว่าเป็นผู้ปองร้ายเรา จึงมีพระราชดำรัส

สั่งราชบุรุษว่า พวกเจ้าจงไป จงนำอาจารย์ทั้ง ๔ นั้น ออกจากพระนคร ให้

นอนหงายบนหลาวแล้วตัดศีรษะเสีย เมื่ออาจารย์ทั้ง ๔ อัน ราชบุรุษมัดมือ

ไพล่หลัง เฆี่ยนด้วยไม้เรียวร้อยที่คราวละ ๔ คราวละ ๔ แล้วนำไปสู่ประหาร

ชีวิต มโหสถกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ อาจารย์เหล่านี้เป็นอมาตย์เก่าของ

พระองค์ ขอพระองค์ทรงงดโทษแก่อาจารย์เหล่านี้ พระราชาพระราชทาน

อนุญาต แล้วให้เรียกอาจารย์ทั้ง ๔ มา ตรัสสั่งยกให้เป็นทาสีแห่งมโหสถ ก็แต่

มโหสถทูลยกให้เป็นไทยในเวลานั้นนั่นเอง พระราชาตรัสสั่งให้ขับไล่อาจารย์

ทั้ง ๔ จากพระราชอาณาจักร มโหสถทูลขอพระราชทานโทษว่า ขอได้โปรด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 426

อดโทษแก่คนอันธพาลเหล่านั้น ขอให้ทรงยกย่องอยู่ในฐานันดรนั้น พระราชา

ทรงเลื่อมใสในมโหสถเกินเปรียบ ด้วยทรงดำริว่า มโหสถได้มีเมตตาเห็นปานนี้

ในเหล่าปัจจามิตร มโหสถจักไม่มีเมตตาเห็นปานนี้ในชนเหล่าอื่นอย่างไร

จำเดิมแต่นั้น นักปราชญ์ทั้ง ๔ เป็นผู้หมดพยศ ดุจงูถูกถอนเขี้ยวเสียแล้ว

ไม่อาจจะกล่าวอะไรอีก.

จบปัญหาบัณฑิต ๕

จบปริภินทกถา

จำเดิมแต่กาลนั้นมา มโหสถบัณฑิตถวายอนุศาสน์อรรถธรรมแด่

พระเจ้ากรุงมิถิลา มโหสถคิดว่า ก็เราดูแลเศวตฉัตรอันเป็นราชสมบัติของ

พระราชา ควรที่เราจะไม่ประมาท ดำริฉะนี้จึงให้ทำกำแพงใหญ่ในพระนคร

และให้ทำกำแพงน้อยอย่างนั้น ทั้งหอรบที่ประตูและที่ระหว่าง ๆ ให้ขุดคู ๓ คู

คือคูน้ำ คูเปือกตม คูแห้ง ให้ซ่อมแซมเรือนเก่า ๆ ภายในพระนคร ให้ขุด

สระโบกขรณีใหญ่ ให้ฝังท่อน้ำในสระนั้น ทำฉางทั้งปวงในพระนครให้เต็ม

ด้วยธัญญาหารให้นำพืชหญ้ากับแก้และกุมุทจากพวกดาบสผู้คุ้นเคยในสกุล ผู้มา

แต่หิมวันตประเทศมาปลูกไว้ ให้ชำระล้างท่อน้ำให้น้ำไหลเข้าออกสะดวก ให้

ซ่อมแซมสถานที่ทั้งหลายมีศาลาเก่าภายนอกพระนครเป็นต้น เพราะเหตุการณ์

อะไร มโหสถจึงให้ตกแต่งบ้านเมืองดังนั้น เพราะจะป้องกันภัยอันจะมาถึงใน

กาลข้างหน้า มโหสถได้ถามพวกพาณิชผู้มาแต่ประเทศนั้น ๆ ว่ามาแต่ไหน

เมื่อได้รับตอบว่า มาแต่สถานที่โน้น จึงซักถามว่า อะไรเป็นที่ชอบพระราช

หฤทัยของพระราชาแห่งพวกท่าน ได้ความแล้วก็ทำความนับถือต่อพวกนั้นแล้ว

ส่งกลับไป แล้วเรียกโยธาร้อยเอ็ดของตนมากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงรับเครื่อง

บรรณาการที่เราจะให้แล้วไปสู่ราชธานีร้อยเอ็ด ถวายบรรณาการเหล่านี้แด่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 427

พระราชาเหล่านั้น เพื่อต้องการให้พระราชาเหล่านั้นรักตน แล้วอยู่บำรุง

พระราชาเหล่านั้น ดูกิริยาหรือความคิดแห่งพระราชาเหล่านั้น ส่งข่าวมาให้

เรารู้ แล้วอยู่ในที่นั้น เราจะเลี้ยงบุตรและภรรยาของเหล่าท่าน สั่งดังนี้แล้ว

จารึกกุณฑล ฉลองพระบาทพระขรรค์และสุวรรณมาลาให้เป็นอักษรในราชา-

ภรณ์นั้น ๆ เพื่อพระราชาเหล่านั้น ๆ แล้ว ตั้งสัตยาธิษฐานว่า กิจของเรา

ย่อมมีเมื่อใด อักษรเหล่านี้ จงปรากฏเมื่อนั้น แล้วมอบให้โยธาร้อยเอ็ดเหล่านั้น

ไป โยธาเหล่านั้นไปในประเทศนั้น ๆ ถวายบรรณาการแด่พระราชาเหล่านั้น

เมื่อพระราชาเหล่านั้น ตรัสถามว่ามาธุระอะไร ก็ทูลว่ามาบำรุงพระองค์ครั้น

ตรัสถามว่า มาแต่ไหน ก็ไม่ทูลตามตรง ทูลว่า มาจากที่อื่น เมื่อทรงรับ ก็อยู่

รับราชการในภายใน.

กาลนั้นมีพระราชาองค์หนึ่งพระนามว่า สังขพลกะ ในกัมพลรัฐ ให้

เตรียมศัสตราวุธและเรียกระดมกองทัพ ทหารของมโหสถที่วางให้สดับข่าว และ

ระวังเหตุการณ์ ที่ส่งไปอยู่ ณ ราชสำนักแห่งพระเจ้าสังขพลกราชนั้น ได้ส่ง

ข่าวสาสน์มายังมโหสถว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบประพฤติเหตุในนครนี้ว่า พระเจ้า

สังขพลกราชจักทรงทำราชกิจชื่อนี้ ขอท่านจงส่งสุวบัณฑิต (นกแก้วฉลาด)

ไปทราบความเองโดยถ่องแท้ ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้ฟังข่าวนั้นจึงเรียก

สุวโปดกลูกนกแก้วมากล่าวว่า เจ้าจงไปสืบข่าวว่า พระราชาองค์หนึ่งมีพระนาม

ว่าสังขพลกะ ในกัมพลรัฐ ทำราชกิจชื่อนี้ แล้วจงเที่ยวไปในสกลชมพูทวีป

นำประพฤติเหตุมาเพื่อเรา กล่าวฉะนี้แล้วให้สุวโปดกกินข้าวตอกคลุกน้ำผึ้ง

ให้ดื่มน้ำผึ้ง แล้วเอาน้ำนั้นหุงร้อยหนหุงพันหนทาขนปีก แล้วให้จับที่หน้าต่าง

เบื้องปราจีนทิศปล่อยไป สุวบัณฑิตนั้นไปในที่นั้น รู้ประพฤติเหตุแห่งพระเจ้า

สังขพลกราชแต่สำนักทหารของมโหสถนั้นโดยแน่นอนแล้ว เมื่อจะตรวจ

ชมพูทวีปทั้งสิ้นถึงอุตรปัญจาลนครในกัปปิลรัฐ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 428

กาลนั้น พระราชามีพระนามว่าจุลนีพรหมทัต ครองราชสมบัติใน

อุตรปัญจาลนครนั้น พราหมณ์ชื่อเกวัฏเป็นนักปราชญ์ผู้ฉลาดพร่ำถวายอรรถ

ธรรมแก่พระราชานั้น ในเวลาใกล้รุ่งวันหนึ่ง ปุโรหิตนั้นตื่นขึ้นแลดูห้องประ-

กอบด้วยสิริอันประดับแล้ว เห็นยศใหญ่ของตนด้วยแสงสว่างแห่งประทีป จึงคิด

ว่ายศแห่งเรานี้ ใคร ๆ ให้เรา ก็คิดได้ว่า ไม่ใช่ของคนอื่น เป็นของพระเจ้าจุลนี

พรหมทัตพระราชทานแก่เรา ควรเราจักจัดแจงให้พระราชาผู้พระราชทานยศ

เห็นปานนี้แก่เรา ให้เป็นอัครราชาในสกลชมพูทวีป เราก็จักได้เป็นอัครปุโรหิต

ของพระองค์ คิดฉะนั้นแล้วเข้าเฝ้าพระราชาแต่เช้า ทูลถามถึงสุขไสยาตาม

ธรรมเนียมแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้อความอันข้าพระบาทจะพึงทูล

ปรึกษามีอยู่ เมื่อพระราชาทรงอนุญาตให้กราบทูล จึงกราบทูลว่า ข้าแต่

พระมหาราชเจ้า สถานที่ลับในพระนครไม่มี ขอเสด็จไปพระราชอุทยาน

พระราชาทรงเห็นชอบด้วย จึงเสด็จไปพระราชอุทยานกับปุโรหิต วางพลนิกาย

ไว้ภายนอกให้รักษา แล้วเสด็จเข้าสู่พระราชอุทยานกับพราหมณ์เท่านั้น ประ-

ทับนั่ง ณ แผ่นศิลาเป็นมงคล ครั้งนั้น สุวโปดกเห็นกิริยาของพระราชากับ

พราหมณ์ จึงคิดว่า อันเหตุการณ์พึงมีในกิริยาของพระราชากับพราหมณ์นี้

วันนี้เราจักได้ฟังอะไร ๆ ที่ควรแจ้งแก่มโหสถ คิดฉะนี้แล้วบินเข้าไปสู่พระ-

ราชอุทยาน จับเร้นอยู่ระหว่างใบไม้รังอันเป็นมงคล พระราชาตรัสให้เกวัฏ

ทูลเรื่อง พราหมณ์จึงกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอพระองค์ทรงทำไว้ในพระกรรณ

ของพระองค์แต่ที่นี้ ความคิดนี้จักชื่อว่ารู้กัน ๔ หู ถ้าพระองค์ทรงทำตามคำ

ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์จักทำพระองค์ให้เป็นอัครราชาในสกลชมพูทวีป

พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับคำของเกวัฏ ก็ทรงโสมนัสด้วยความเป็นผู้มีความ

ปรารถนาใหญ่ จึงตรัสว่า กล่าวไปเถิดอาจารย์ เราจักทำตามคำของท่าน

พราหมณ์เกวัฏจึงทูลบรรยายความคิดว่า ข้าแต่สมมติเทพ เราทั้งหลายจักเรียก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 429

ระดมกองทัพแล้วล้อมเมืองน้อยยึดเอาไว้ก่อน ข้าพระบาทจักเข้าสู่เมืองทาง

ประตูน้อยแล้วแจ้งแก่พระราชานั้นว่า กิจด้วยการรบของพระองค์ไม่มี โภค-

สมบัติเป็นของพวกข้าพระเจ้าทั้งสิ้น พระองค์จักคงเป็นพระราชาอยู่อย่างนั้น

ก็ถ้าพระองค์จักรบ ก็จะพ่ายแพ้โดยส่วนเดียว เพราะความที่พลและพาหนะ

ของพวกข้าพระเจ้ามาก ถ้าพระราชานั้นจักทำตามคำของพวกเรา พวกเราจัก

จับพระราชานั้นไว้ ถ้าพระราชานั้น จักไม่ทำตามคำของเราไซร้ พวกเราจักรบ

แล้วให้พระราชานั้นถึงความสิ้นพระชนม์ แล้วถือเอากองทัพนครนั้น เป็น

๒ ไปยึดเอาเมืองอื่นต่อไป ถือเอาราชสมบัติในสกลชมพูทวีปโดยอุบายนี้

แล้วดื่มชัยบาน พวกเรานำพระราชาร้อยเอ็ดมาสู่เมืองเรา แล้วให้ดื่มสุรา

เจือยาพิษในอุทยานแล้วยังพระราชาทั้งหมดให้สิ้นพระชนม์ แล้วทิ้งพระศพ

ของพระราชาเหล่านั้นเสียในคงคา ก็จักทำราชสมบัติในราชธานีร้อยเอ็ดอยู่ใน

เงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์ พระองค์จักเป็นอัครราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้นด้วย

ประการฉะนี้ พระราชาทรงยินดีตรัสว่า ดีแล้วอาจารย์ เราจักทำอย่างนั้น

พราหมณ์เกวัฏกราบทูลว่า ความคิดนี้ชื่อว่าความคิดรู้กัน ๔ หู เพราะว่า

บุคคลอื่นไม่อาจมาล่วงรู้ เพราะเหตุนั้น ขอพระองค์อย่าชักช้า รีบยกกองทัพ

ออกทีเดียว พระราชาได้ทรงสดับคำนั้น ก็ทรงโสมนัสรับว่า ดีแล้ว.

สุวโปดกได้ฟังเรื่องนั้นทั้งหมด ในกาลเมื่อพราหมณ์กับพระราชา

คิดการนี้จบลง จึงประหนึ่งบินลงจับกิ่งไม้รังที่ห้อย ยังมูลให้ตกลงบนศีรษะ

แห่งเกวัฏแล้วร้องขึ้นว่า นี้อะไรกัน พอเกวัฏแหงนขึ้นก็ยังมูลให้ทกลงในปาก

ร้องกิริ ๆ บินขึ้นจากกิ่งไม้รังกล่าวว่า แน่ะเกวัฏ ท่านสำคัญว่าความคิดของ

ท่านรู้กันแต่ ๔ หูหรือ บัดนี้รู้กันเป็น ๖ หูแล้ว จักรู้กันเป็น ๘ หูอีก แล้ว

จักรู้กันหลายร้อยหูทีเดียว ในเมื่อชนทั้งหลายกล่าวว่า ช่วยกันจับ ๆ ให้ได้

ดังนี้ ก็บินไปสู่กรุงมิถิลาโดยกำลังเร็วดุจลม เข้าไปสู่เคหสถานแห่งมโหสถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 430

บัณฑิต ก็ความประพฤตินี้เป็นวัตรของสุวโปดก คือถ้าว่าข่าวมาแต่ที่ไร ๆ

ควรบอกแก่มโหสถผู้เดียว ที่นั้นสุวโปดกก็ลงจับที่จะงอยป่าแห่งมโหสถ ถ้าว่า

ควรฟังแต่นางอมราเทวี สุวโปดกก็ลงจับที่ตัก ถ้าว่ามหาชนควรสดับ สุวโปดก

ก็ลงจับที่พื้นกาลนั้นสุวโปดกลงจับ ที่จะงอยป่าแห่งมโหสถด้วยสัญญานั้น มหา-

ชนก็หลีกไปด้วยรู้กันว่า ๗ ความลับ พึงมีมโหสถพาสุวโปดกขึ้นไปสู่พื้นชั้นบน

แล้วถามว่า พ่อได้เห็นได้ฟังอะไรมาหรือ ลำดับนั้น สุวโปดกจึงกล่าวกะมโหสถ

ว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าไม่เห็นภัยอะไร ๆ แต่สำนักพระราชาอื่นในสกลชมพู-

ทวีป ก็แต่พราหมณ์ชื่อเกวัฏ ผู้เป็นปุโรหิตของพระราชาจุลนีพรหมทัต พา

พระราชาไปอุทยานแล้วทูลความคิดอันรู้แต่ ๔ หู ข้าพเจ้าจับอยู่ระหว่างกิ่งไม้รัง

ยังมูลให้ตกลงในปากแห่งพราหมณ์เกวัฏแล้วมานี่ กล่าวฉะนี้แล้วบอกกิจที่ได้

เห็นที่ได้ฟังทั้งปวงแก่มโหสถ ครั้นมโหสถถามว่า ก็พระเจ้าจุลนีรับจะทำตาม

หรือไม่ สุวโปดกตอบว่ารับจะทำตาม มโหสถจึงทำกิจที่ควรทำแก่นกนั้น คือ

ให้นอนในกรงทองคำ มีเครื่องลาดอันอ่อน แล้วคิดว่า ชะรอยเกวัฏไม่รู้จัก

ความที่เราชื่อมโหสถบัณฑิต เราจักให้ถึงที่สุดแห่งความคิดที่เขาคิดกันนั้นใน

บัดนี้ จึงถ่ายสกุลเข็ญใจในเมืองออกอยู่นอกเมือง นำสกุลมีอิสริยยศซึ่งอยู่ใกล้

ประตูชนบทในแคว้นเจ้ามาอยู่ภายในเมือง ให้สะสมธัญญาหารไว้เป็นอันมาก.

ฝ่ายพระเจ้าจุลนีพรหมทัตเชื่อคำแห่งเกวัฏ อันหมู่เสนาแวดล้อมแล้ว

เสด็จไปล้อมเมืองหนึ่ง ฝ่ายเกวัฏก็ข้าไปในเมืองนั้นโดยนัยที่กล่าวแล้ว ยัง

พระราชาในเมืองนั้นให้หมายรู้แล้ว ทำเมืองนั้นให้เป็นของตน ทำกองทัพ

ทั้ง ๒ ให้เป็นกองเดียวกันไปล้อมเมืองอื่น ก็ยึดเมืองทั้งปวงได้หมดโดยลำดับ

พระเจ้าจุลนีตั้งอยู่ในโอวาทของพราหมณ์เกวัฏ ยกเสียแต่พระเจ้าวิเทหราช

นอกนั้นก็ได้พระราชาทั้งหลายในสกลชมพูทวีปอันเหลืออยู่ ให้เป็นของพระองค์

ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 431

บุรุษที่มโหสถวางไว้ก็ส่งข่าวถึงมโหสถเนืองนิตย์ว่า นครทั้งหลายมี

ประมาณเท่านี้ พระเจ้าจุลนีพรหมทัตยึดไว้ได้แล้ว ขอท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท

ฝ่ายมโหสถบัณฑิตส่งข่าวตอบไปยังบุรุษที่วางไว้เหล่านั้นว่า เราเป็นผู้มิได้

ประมาทอยู่ในที่นี้แล้ว แม้พวกเจ้าทั้งหลายก็อย่าได้วิตกถึงเรา จงเป็นผู้ไม่

ประมาทอยู่เถิด.

ฝ่ายพระเจ้าจุลนีพรหมทัตยกทัพไปยึดนครนั้น ๆ สิ้น ๗ ปี ๗ เดือน

๗ วัน ก็ได้ราชสมบัติในสกลชมพูทวีป จึงตรัสกะเกวัฏปุโรหิตว่า นครทั้ง

หลายเท่านี้ เราได้ไว้แล้ว ๆ เราจักยึดราชสมบัติของพระเจ้าวิเทหราช ณ กรุง

มิถิลา ปุโรหิตทูลค้านว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พวกเราไม่ควรจะยึดราช-

สมบัติในนครที่มโหสถอยู่ เพราะว่านโหสถนั้นเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยความรู้ และ

เป็นผู้ฉลาดในอุบายอย่างนี้ ๆ ปุโรหิตทูลห้ามพระเจ้าจุลนี พรรณนาคุณสมบัติ

ของมโหสถ ดุจบุคคลยกมณฑลแห่งดวงจันทร์ขึ้นกล่าว เพราะว่าปุโรหิตนี้

เป็นผู้ฉลาดในอุบายเอง ฉะนั้นจึงยังพระราชาให้กำหนดด้วยอุบายว่า ข้าแต่

เทพเจ้า ราชสมบัติในมิถิลานครเป็นของเล็กน้อย ราชสมบัติในสกลชมพูทวีป

เป็นของพอแก่เราทั้งหลาย ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติในนครมิถิลาแก่เรา

ทั้งหลายเล่า ฝ่ายพระราชาทั้งหลายอันเหลือก็กล่าวว่า เราทั้งหลายจักยึด

ราชสมบัติในกรุงมิถิลาแล้วดื่มชัยบาน ฝ่ายเกวัฏก็ทูลห้ามพระราชาเหล่านั้น

แล้วให้พระราชาเหล่านั้นรู้ด้วยอุบายว่า เราทั้งหลายจักยัดราชสมบัติในวิเทหรัฐ

ทำอะไร พระราชานั้นก็เป็นดุจของเราทั้งหลายขอพระองค์ทั้งหลายเสด็จกลับ

เถิด พระราชาเหล่านั้น ได้ฟังคำของเกวัฏ ต่างก็เสด็จกลับนครของตน ๆ.

เหล่าบุรุษที่วางไว้สดับเหตุการณ์ ก็ส่งข่าวแก่มโหสถว่า พระเจ้าจุลนี

พรหมทัตอันพระราชาร้อยเอ็ดแวดล้อมจะมาสู่กรุงมิถิลา แต่ก็กลับสู่เมืองของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 432

ตน ฝ่ายมหาสัตว์ก็ส่งข่าวตอบพวกบุรุษที่วางไว้ว่า จำเดิมแต่นี้ พวกเจ้าจง

คอยดูกิริยาของพระเจ้าจุลนี ฝ่ายพระจุลนีทรงปรึกษากับอาจารย์เกวัฏว่า บัดนี้

เราจักทำกิจอย่างไร ครั้นเกวัฏทูลว่า เราจักดื่มชัยบาน จึงให้ประดับอุทยาน

แล้ว ตรัสสั่งพวกราชเสวกว่า พวกเจ้าจงตระเตรียมสุราไว้ในไหสักร้อยไหพันไห

ตระเตรียมของบริโภคมีรส คือปลาและเนื้อเป็นต้น มีอย่างต่าง ๆ ไว้ให้เพียงพอ

กาลนั้นมีบุรุษที่มโหสถวางไว้ก็ส่งประพฤติเหตุนั้นให้มโหสถทราบ ก็แต่บุรุษ

ที่มโหสถวางไว้เหล่านั้นหารู้ไม่ว่า พระเจ้าจุลนีประกอบสุราด้วยยาพิษ ใคร่

จะฆ่าพระราชาร้อยเอ็ดให้สิ้นพระชนม์ชีพ ฝ่ายพระโพธิสัตว์รู้ความนั้น แต่

สุวโปดก จึงส่งข่าวตอบพวกบุรุษที่วางไว้นั้นว่า เจ้าทั้งหลายรู้วันที่จะดื่มสุรา

แน่นอนแล้วจงบอกแก่เรา บุรุษที่วางไว้นั้นก็ทำตามสั่ง มโหสถดำริว่า เมื่อ

บัณฑิตเช่นเรามีอยู่ พระราชามีประมาณเท่านี้ไม่ควรสิ้นพระชนม์ชีพ เราจัก

เป็นที่พึ่งของพระราชาเหล่านั้น คิดฉะนี้แล้วเรียกพวกทวยหาญที่เป็นบริวาร

สหชาตพันคนนั้นมาแจ้งว่า ดูก่อนสหายทั้งหลาย ได้ยินว่า พระราชาจุลนีให้

ตกแต่งพระราชอุทยาน แล้วแวดล้อมไปด้วยพระราชาร้อยเอ็ดประสงค์จะดื่ม

สุรา เจ้าทั้งหลายจงไปในที่นั้น ในเมื่ออาสน์ของพระราชาทั้งหลายเขาแต่งตั้ง

แล้ว ในเมื่อพระราชาองค์หนึ่งยังไม่นั่ง เจ้าทั้งหลายจงชิงเอาอาสน์ซึ่งตั้งอยู่

ในลำดับต่อกับอาสน์แห่งพระเจ้าจุลนี ประกาศว่า นี้เป็นราชอาสน์มีค่ามาก

แห่งพระราชาของพวกเรา ดังนี้ ในเมื่อข้าราชการฝ้ายนั้นกล่าวว่า ท่านทั้ง

หลายเป็นคนของใคร พึงกล่าวตอบว่า เป็นข้าราชการของพระเจ้าวิเทหราช

เมื่อพวกข้าราชการฝ่ายนั้นกล่าวกะพวกเจ้าว่า เราทั้งหลายเมื่อไปล้อมยึดเอา

นครนั้น ๆ ถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ก็หาเห็นพระราชาอันมีนามว่าวิเทหะ

สักวันหนึ่งไม่ พระราชาที่พวกท่านอ้างนั้น จักชื่อว่าพระราชากระไรได้ ท่าน

ทั้งหลายจงไป จงถือเอาอาสน์ในที่สุดแห่งอาสน์ เมื่อกล่าวฉะนี้แล้วก็จัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 433

ถุ้มเถียงกัน พวกเจ้าก็จงเถียงว่า พระราชาอื่นยกพระเจ้าจุลนีพรหมทัตเสียแล้ว

จะยิ่งกว่าพระราชาของเราในที่นี้ไม่มี กล่าวฉะนี้แล้ว จงถุ้มเถียงให้มากขึ้น

แล้วพูดว่า เมื่อพวกเราไม่ได้แม้ซึ่งอาสน์เพื่อพระราชาของพวกเรา พวกเรา

จักไม่ให้ท่านทั้งหลายดื่มสุราและเคี้ยวกินมัจฉมังสะ ณ บัดนี้ แล้วบันลือโห่ร้อง

ยังความสะดุ้งให้เกิดแก่ข้าราชการ ฝ่ายนั้นด้วยเสียงดัง แล้วค่อยทุบไหสุรา

ทั้งปวงเสียด้วยค้อนใหญ่ แล้วเทสาดมัจฉมังสาหารเสีย ทำให้บริโภคไม่ได้

แล้วเข้าไปสู่ระหว่างแห่งเสนาโดยเร็ว ดุจเหล่าอสูรเข้าไปสู่เทพนคร แล้วทำ

เสียงให้อึกทึกครึกโครมประกาศว่า เราทั้งหลายเป็นคนของมโหสถบัณฑิตใน

กรุงมิถิลา ถ้าท่านทั้งหลายสามารถก็จงจับพวกเรา ให้ข้าราชการเหล่านั้นรู้ความ

ที่พวกเจ้ามาแล้ว จงมาเถิด มโหสถแจ้งให้สหชาตโยธาของตนรู้ฉะนี้แล้วส่งไป

ทวยหาญสหชาตบริวารของมโหสถรับคำสั่งไหว้มโหสถแล้ว ผูกสอดอาวุธ ๕

ออกจากกรุงมิถิลาไปในราชอุทยานแห่งพระเจ้าจุลนีเข้าไปสู่พระราชอุทยานอัน

ตกแต่งแล้วดุจนันทนวันเทพอุทยานฉะนั้น เห็นสิริราชสมบัติอันประดับแล้ว

ตั้งแต่พระราชบัลลังก์พระราชาร้อยเอ็ดซึ่งมีเศวตฉัตรอันยกแล้ว ได้ทำกิจทั้งปวง

โดยนัย อันพระโพธิสัตว์กล่าวแล้ว ยังมหาชนให้เอิกเกริกแล้วบ่ายหน้ากลับ

กรุงมิถิลา ฝ่ายราชบริษัทข้างกรุงปัญจาละก็กราบทูลประพฤติเหตุแด่พระราชา

เหล่านั้น พระเจ้าจุลนีพรหมทัตทรงพิโรธว่า พวกกรุงมิถิลามาทำอันตรายแก่

สุราที่ประกอบยาพิษเห็นปานนี้ของเราเสีย ฝ่ายพระราชาร้อยเอ็ดก็พิโรธว่า พวก

กรุงมิถิลามาทำให้พวกเราไม่ได้ดื่มชัยบาน ส่วนพลนิกายก็ขัดใจว่า เราทั้งหลาย

ไม่ได้ดื่มสุราอันหามูลค่ามิได้ ฝ่ายพระเจ้าจุลนีพรหมทัตตรัสเรียกพระราชา

เหล่านั้นมา รับสั่งว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมา เรา

ทั้งหลายจักไปกรุงมิถิลา ตัดเศียรพระเจ้าวิเทหราชเสียด้วยพระขรรค์ แล้วย่ำ

เหยียบเสียด้วยบาท แล้วประชุมดื่มชัยบาน ท่านทั้งหลายจงเตรียมยกกองทัพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 434

ไป ตรัสฉะนี้แล้วเสด็จในที่ลับตรัสข้อความนี้แก่เกวัฏอีกว่า เราทั้งหลายจัก

จับปัจจามิตรผู้ทำอันตรายแก่มงคลเห็นปานนี้ของพวกเรา พวกเราจักเป็นผู้อัน

เสนา ๑๘ อักโขภิณี พร้อมด้วยพระราชาร้อยเอ็ดแวดล้อมไป ท่านอาจารย์

จงไปด้วยพราหมณ์เกวัฏ ดำริด้วยความที่คนเป็นผู้ฉลาดว่า อันเราไม่อาจจะเอา

ชนะมโหสถบัณฑิต ความละอายจะมีแก่พวกเราเป็นแน่ เราจักยังพระราชา

ให้กลับพระดำริ ลำดับนั้น เกวัฏจึงทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช นั่นหาใช่

กำลังของพระเจ้าวิเทหราชไม่ นั่นเป็นการจัดแจง นั่นเป็นอานุภาพของมโหสถ

บัณฑิต กรุงมิถิลาอันเขารักษาแล้ว ดุจทำที่ราชสีห์รักษาแล้ว อันใคร ๆ ไม่

อาจยึดเอา ความอายจักมีแก่พวกเราอย่างเดียว ไม่ควรไป ณ กรุงมิถิลา ฝ่าย

พระราชาจุลนีเป็นผู้มัวเมาด้วยความเมาในราชอิสริยยศด้วยถือพระองค์ว่าเป็น

กษัตริย์ จึงตรัสว่า มโหสถจักทำอะไรเราได้ ตรัสฉะนี้แล้วเป็นผู้อันพระราชา

ร้อยเอ็ดแวดล้อมเสด็จออกไปด้วยเสนากำหนด ๑๘ อักโขภิณี ฝ่ายอาจารย์

เกวัฏ เมื่อไม่อาจจะให้พระเจ้าจุลนีเธอคำของตน ก็โดยเสด็จไปด้วย ด้วยคิด

เห็นว่า เราไม่ควรจะประพฤติให้เป็นข้าศึกต่อพระราชา.

ฝ่ายสหชาตโยธาของมโหสถกลับถึงกรุงมิถิลาโดยราตรีเดียว แจ้งกิจที่ตน

ได้ทำแก่มโหสถ ฝ่ายเหล่าบุรุษที่มโหสถวางไว้ก็ส่งข่าวก่อนว่า พระเจ้าจุลนีเป็น

ผู้อันพระราชาร้อยเอ็ดห้อมล้อมเป็นราชบริพาร เสด็จมาด้วยทรงมุ่งจะจับพระ-

เจ้าวิเทหราช ขอท่านผู้เป็นบัณฑิตอย่าประมาท มโหสถได้รับข่าวจากเหล่าบุรุษ

ที่วางไว้เนืองนิตย์ว่า วันนี้พระเจ้าจุลนีเสด็จถึงสถานที่นั้น วันนี้ถึงสถานที่นั้น

ก็วันนี้จักเสด็จถึงกรุงมิถิลา พระมหาสัตว์ได้ทราบข่าวนั้นก็ยิ่งเป็นผู้ไม่ประมาท

ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชทรงทราบข่าวว่า พระเจ้าจุลนีพรหมทัตจักกรีธาทัพมา

ยึดเมืองเรา ก็ได้ทรงฟังเสียงกึกก้องไม่ขาดเสียง ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 435

พรหมทัตพร้อมด้วยพลนิกายถือคบเพลิงนับด้วยแสนดวง ส่องมรรคาเสด็จมา

ถึงแต่หัวค่ำ แล้วให้ล้อมเมืองมิถิลาไว้ทั้งสิ้น ลำดับนั้นแม่ทัพก็ให้ตั้งหมู่พล

ในที่นั้น ๆ ล้อมกรุงมิถิลาด้วยปราการคือช้าง ด้วยปราการคือรถ ด้วยปราการ

คือม้า เหล่าพลนิกายได้ยินบันลือลั่น ปรบมือ ผิวปาก คำรนร้องอยู่ กรุง

มิถิลากำหนดทั้งสิ้น ๗ โยชน์ ก็มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน ด้วยแสงสว่าง

ประทีปและแสงสว่างเครื่องประดับ สมัยนั้นราวกะว่าเป็นการที่ปฐพีจะแตก

สลายด้วยศัพท์สำเนียงแห่งม้ารถและดุริยางค์ดนตรีเป็นต้น นักปราชญ์ทั้ง ๔ คือ

เสนกะ ปุกกุสะ กามินทะ เทวินทะได้ยินเสียงโห่ร้องโกลาหลไม่รู้เรื่อง ก็

เข้าไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ข้าแด่พระมหาราชเจ้า เสียงโห่ร้องอื้ออึง

มาก ก็แต่ข้าพระองค์ไม่ทราบเสียงนั้นเป็นเสียงอะไร ควรที่จะทรงพิจารณ์ให้

ทราบเรื่อง พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของอาจารย์ทั้ง ๔ ก็ทรงคิดว่า

พระเจ้าพรหมทัตจักเสด็จมาแล้ว จึงเปิดพระแกลทอดพระเนตร ก็ทรงทราบว่า

เสด็จมาแล้ว ทั้งกลัวทั้งตกพระหฤทัย ทรงเห็นชัดว่า ชีวิตของเราไม่มีละ

พรุ่งนี้พระเจ้าพรหมทัตจักยังพวกเราทั้งมวลให้สิ้นชีวิต ทรงเห็นฉะนี้ก็ประทับ

นั่งตรัสอยู่กับอาจารย์ทั้ง ๔ ส่วนพระโพธิสัตว์รู้ว่า พระเจ้าจุลนีพรหมทัตเสด็จ

มาถึงแล้ว เป็นผู้ไม่ครั่นคร้ามดุจราชสีห์ จัดการรักษาในพระนครทั้งสิ้นแล้ว

คิดว่า เราจักเล้าโลมพระราชาจึงขึ้นสู่พระราชนิเวศน์ ถวายบังคมพระราชา

แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตรเห็นมโหสถมา

เฝ้าก็ค่อยสบายพระหฤทัย ทรงดำริว่า คนอื่นยกมโหสถบัณฑิตผู้บุตรของเรา

จะชื่อว่าสามารถเปลื้องเราจากทุกข์ ย่อมไม่มี เมื่อจะรับสั่งกับมโหสถ ได้ตรัส

คาถาแรกในมหาอุมมังคชาดกนี้ ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 436

ดูก่อนพ่อมโหสถ พระเจ้าจุลนีพรหมทัตเจ้ากรุง

ปัญจาละเสด็จยาตราทัพมาพร้อมด้วยกองทัพทุกหมู่

เหล่า กองทัพของพระเจ้ากรุงปัญจาละนี้นั้นพึง

ประมาณไม่ได้ มีกองช่างโยธา กองราบ ล้วนแต่

ฉลาดในสงความทั้งปวง สามารถจะนำข้าศึกมาได้ มี

เสียงอื้ออึง ยังกันและกันให้รู้ด้วยเสียงกลองและเสียง

สังข์.

มีวิทยาทางโลหธาตุ มีเครื่องประดับ มีธงเกลื่อน

กล่นด้วยช้างม้า สมบูรณ์ด้วยเหล่าคนมีศิลป์ ตั้งมั่น

ด้วยดีด้วยเหล่าทหารผู้แกล้วกล้า.

กล่าวกันว่า ในกองทัพนี้ มีราชบุรุษ ๑๐ คนเป็น

ผู้ฉลาด มีปัญญา ประชุมปรึกษากันในที่ลับ พระ

ชนนีของพระเจ้าจุลนีพรหมทัตเป็นที่ ๑๑ ย่อมทรงสั่ง

สอนชาวปัญจาลนคร.

ที่นั้น บรรดาชนเหล่านี้ พระราชาร้อยเอ็ดผู้

เรืองยศ ตามเสด็จพระเจ้าปัญจาลราช ถูกชิงแว่นแคว้น

กลัวมรณภัย ตกอยู่ในอำนาจของชาวปัญจาลนคร.

เป็นผู้ทำตามพระราชกระแสที่ดำรัส ไม่มีความ

ปรารถนาก็จำต้องกล่าวคำเป็นที่รัก ตามเสด็จพระเจ้า-

ปัญจาลราช เป็นผู้มีอำนาจมาก่อน ไม่มีความปรารถนา

ก็ต้องอยู่ในอำนาจของพระเจ้าปัญจาลราช.

กรุงมิถิลาถูกกองทัพนั้น แวดล้อมเป็น ๓ ชั้น

ราชธานีของชาววิเทหรัฐถูกขุดเป็นคูโดยรอบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 437

กองทัพที่แวดล้อมกรุงมิถิลาโดยรอบนั้นปรากฏ

เหมือนดาวบนท้องฟ้า ดูก่อนพ่อมโหสถ พ่อจงรู้ว่า

พวกเราจักพ้นทุกข์ได้อย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพเสนาย ความว่า ดูก่อนพ่อมโหสถ

ได้ยินว่า พระเจ้าจุลนีเสด็จยาตราทัพมาพร้อมด้วยกองทัพทุกหมู่เหล่า นับได้

๑๘ อักโขภิณี มีพระราชาร้อยเอ็ดเป็นผู้นำ. บทว่า ปฺจาลิยา ได้แก่

เป็นของมีอยู่ของพระเจ้าปัญจาลราช. บทว่า วิทฺธิมตี ความว่า ประกอบ

ด้วยกำลังของช่างไม้ผู้เที่ยวแบกทัพสัมภาระที่นำมาเพื่อการช่าง. บทว่า

ปตฺติมตี ได้แก่ อันบุรุษผู้ก่อเอาสิ่งประเสริฐน้อยใหญ่รักษาแล้ว. บทว่า

สพฺพสงฺคามโกวิทา ได้แก่ ผู้ฉลาดในสงความทั้งปวง. บทว่า โอหารินี

ความว่า สามารถแอบเข้าไปในกองทัพไม่มีใครเห็น ตัดศีรษะข้าศึกนำมาได้.

บทว่า สทฺทวตี ได้แก่ ไม่สงัดจากเสียง ๑๐ ประการ. บทว่า เภริสงฺ-

ขปฺปโพธนา ความว่า ในที่นั้น ไม่สามารถจะให้รู้ด้วยคำสั่งว่า จงมา จงรุก

จงรบ จงอย่าไปเป็นต้นแต่กิจเช่นนั้นจะให้รู้กันได้ในที่นี้ ด้วยเสียงกลองและ

ด้วยเสียงสังข์ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ยังกันและกันให้รู้ด้วยเสียงกลองและเสียงสังข์.

บทว่า โลหวิชฺชา ในบาทคาถาว่า โลหวิชฺชา อลงฺการา นี้นั้น เป็น

ชื่อของโล่เช่นเสื้อเกราะหมวกเกราะเป็นต้น ซึ่งประดับด้วยรัตนะ ๗ ประการ

เป็นศิลปโลหะ. บทว่า อลงฺการ ได้แก่ เป็นเครื่องประดับของพระราชา

และมหาอมาตย์ของพระราชาเป็นต้น เพราะฉะนั้น ในบาทคาถานี้จึงมีเนื้อความ

ดังนี้ว่า ชื่อว่ามีวิทยาทางโลกธาตุ มีเครื่องประดับ เพราะสว่างไสวไปด้วย

วิทยาทางโลกธาตุและด้วยเครื่องประดับ. บทว่า ธชนี ความว่า ประกอบ

ด้วยธงทั้งหลายที่ยกขึ้นบนรถเป็นต้น ซึ่งประดับด้วยทองเป็นต้น รุ่งเรืองด้วย

วัตถุต่าง ๆ. บทว่า วามโรหินี ความว่า ทหารเหล่านั้น ท่านเรียกว่า วามโรหินี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 438

เพราะเมื่อขึ้นช้างขึ้นม้า ย่อมขึ้นข้างซ้าย ประกอบด้วยทหารเหล่านั้น คือ

เกลื่อนกล่นไปด้วยช้างและม้าซึ่งประมาณมิได้. บทว่า สิปฺปิเยหิ ความว่า

สมบูรณ์ด้วยดี คือเกลื่อนกล่นด้วยเหล่าทหารที่ถึงความสำเร็จในศิลปะ ๑๘

อย่างมีหัตถีศิลปะและอัศวศิลปะเป็นต้น. บทว่า สูเรหิ ความว่า แน่ะพ่อ

ได้ยินว่า กองทัพนี้ตั้งมั่นด้วยดีด้วยเหล่าทหารผู้มีความบากบั่นเสมอด้วยราชสีห์.

บทว่า อาหุ ความว่า กล่าวกันว่าในกองทัพนี้มีบัณฑิต ๑๐ คน. บทว่า

รโหคตา ความว่า มีปกติไปในที่ลับ คือมีปกตินั่งปรึกษากันในที่ลับ เล่า

กันว่า บัณฑิตเหล่านั้นเมื่อได้คิดกันวันสองวัน ก็สามารถจะกลับเอาแผ่นดิน

ขึ้นตั้งไว้ในอากาศได้. บทว่า เอกาทสี ความว่า ได้ยินว่า. พระชนนีของ

พระเจ้าจุลนีนั้น ประกอบด้วยปัญญายิ่งกว่าบัณฑิต ๑๐ คนนั้น พระชนนีนั้น

เป็นคนฉลาดที่ ๑๑ ของบัณฑิตเหล่านั้น สั่งสอนพร่ำสอนกองทหารปัญจาละ.

เล่ากันมาว่า วันหนึ่งมีบุรุษคนหนึ่งถือข้าวสารหนึ่งทะนาน ข้าวสุก

หนึ่งห่อ และกหาปณะหนึ่งพัน คิดจะข้ามแม่น้ำ ก็ลงถึงท่ามกลางแม่น้ำ

ไม่อาจจะข้ามได้ จึงกล่าวกะชนทั้งหลายผู้ยืนอยู่ริมฝั่งอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย ข้าวสารหนึ่งทะนาน ข้าวสุกหนึ่งห่อ และกหาปณะหนึ่งพัน ของ

ข้าพเจ้ามีอยู่ในมือ บุคคลผู้สามารถยังข้าพเจ้าให้ได้ข้ามจากฝั่งนี้ ข้าพเจ้าจัก

ให้สิ่งที่ข้าพเจ้าชอบใจซึ่งมีอยู่ในมือ ลำดับนั้น มีบุรุษหนึ่งถึงพร้อมด้วยกำลัง

นุ่งผ้ามั่นแล้วข้ามลงสู่แม่น้ำ จับแขนบุรุษนั้นให้ข้ามลงไปแล้วกล่าวว่า ท่าน

จงให้สิ่งที่ควรให้แก่ข้าพเจ้า บุรุษนั้นกล่าวตอบว่า ท่านจงถือเอาข้าวสารหนึ่ง

ทะนานหรือข้าวสุกหนึ่งห่อ บุรุษผู้พาข้ามฟากจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่คิดชีวิต

พาท่านข้ามฟาก ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยของสองสิ่งนั้น ท่านจงให้กหาปณะ

แก่ข้าพเจ้า บุรุษผู้ว่าจะให้ของชอบใจนั้นจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้พูดว่า ข้าพเจ้า

จะให้สิ่งที่ชอบใจจากของ ๓ อย่างแก่ท่าน บัดนี้ ข้าพเจ้าก็ให้สิ่งที่ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 439

ชอบใจแก่ท่าน ท่านอยากได้ก็จงถือเอา บุรุษผู้พาข้ามฟากจึงพูดแก่บุคคล

ผู้หนึ่งผู้ยืนอยู่ใกล้ บุคคลผู้นั้นก็กล่าวตอบว่า บุรุษผู้ว่าจะให้ของชอบใจให้

ของที่ชอบใจแก่ท่าน ท่านรับเอาเถิด บุรุษผู้พาข้ามฟากกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่เอา

แล้วพาบุรุษผู้จะให้ของชอบใจไปสู่ที่วินิจฉัย แจ้งแก่อมาตย์ผู้วินิจฉัยทั้งหลาย

ฝ่ายอมาตย์ผู้วินิจฉัยเหล่านั้น ได้ฟังข้อความทั้งปวงก็วินิจฉัยอย่างนั้น บุรุษผู้พา

ข้ามฟากไม่ยินดีด้วยวินิจฉัยแห่งอมาตย์เหล่านั้น จึงกราบทูลพระราชา ฝ่าย

พระราชาจุลนีให้เรียกอมาตย์ผู้วินิจฉัยเหล่านั้นมา ทรงฟังคำของชนทั้ง ๒ แต่

สำนักอมาตย์ผู้วินิจฉัย เมื่อไม่ทรงทราบจะวินิจฉัยอย่างอื่น จึงทรงวินิจฉัย

ทับสัตย์ บุรุษผู้พาข้ามฟากได้ฟังพระราชวินิจฉัยดังนั้น ก็พูดขึ้นหน้าพระที่นั่งว่า

พระองค์ทำข้าพระองค์ผู้สละชีวิตลงสู่แม่น้ำให้มีโทษ ขณะนั้นพระชนนีแห่ง

พระเจ้าจุลนีมีพระนามว่าสลากเทวี ประทับนั่งอยู่ใกล้ ทรงทราบความที่พระ-

ราชาวินิจฉัยผิด จึงตรัสว่า พ่อวินิจฉัยคดีที่วินิจฉัยผิดดีแล้วหรือ พระเจ้า

จุลนีทูลพระราชมารดาว่า ข้าพระเจ้าทราบเท่านี้ ถ้าว่าพระมารดาทรงทราบ

ยิ่งกว่านี้ไซร้ ขอได้ทรงวินิจฉัยอีกเถิด พระนางสลากเทวีจึงรับสั่งว่า ดีละพ่อ

แม่จะวินิจฉัย จึงรับสั่งให้เรียกบุรุษผู้ว่าจะให้ของที่ชอบใจมาแล้วตรัสว่า

เจ้าจงมา จงวางของ ๓ อย่างที่เจ้าถืออยู่ไว้ที่ภาคพื้น แล้วตรัสถามว่า เมื่อ

เจ้าลอยอยู่ในน้ำ เจ้าพูดว่ากระไรกะบุรุษผู้พาเจ้าข้ามฟากคนนี้ ครั้นบุรุษผู้ว่า

จะให้ของที่ชอบใจทูลดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงรับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงถือ

เอาของที่เจ้าชอบใจของเจ้า ณ บัดนี้ บุรุษผู้ว่าจะให้ของที่ชอบใจจึงถือเอาถุง

กหาปณะหนึ่งพัน ลำดับนั้น พระนางจึงให้เรียกบุรุษผู้ว่าจะให้ของที่ชอบใจ

มาในกาลเมื่อเดินไปได้หน่อยหนึ่ง ตรัสถามว่า เจ้าชอบกหาปณะหนึ่งพันหรือ

ครั้นได้ทรงฟังทูลตอบว่า ชอบกหาปณะหนึ่งพัน พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า เจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 440

พูดกะบุรุษผู้พาข้ามฟากนี้ว่า เราจักให้ของที่ชอบใจจากของ ๓ อย่างนี้แก่เขา

หรือไม่ได้พูด ครั้นได้ทรงฟังตอบว่า ได้พูด จึงรับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจง

ให้กหาปณะหนึ่งพันแก่บุรุษผู้พาเจ้าข้ามฟากนี้นั่นแล บุรุษผู้ว่าจะให้ของที่ชอบ

ใจได้ฟังพระวินิจฉัยฉะนั้น ก็ร้องไห้คร่ำครวญได้ให้กหาปณะหนึ่งพันแก่บุรุษ

ผู้พาตนข้ามฟากนั้น ขณะนั้น พระเจ้าจุลนีพรหมทัตและอมาตย์ทั้งหลายยินดี

ในพระวินิจฉัยนั้นต่างแซ่ซ้องสาธุการ จำเดิมแต่นั้น ความที่พระนางเจ้าสลาก-

เทวีพระราชชนนีของพระเจ้าจุลนีเป็นผู้เป็นไปด้วยพระปัญญา ก็บังเกิดปรากฏ

ในที่ทั้งปวง พระเจ้าวิเทหราชทรงหมายเอาพระนางเจ้าองค์นี้ จึงตรัสว่า มาตา

เอกาทสี เป็นต้น.

บทว่า ขตฺยา ได้แก่ กษัตริย์ทั้งหลาย. บทว่า อจฺฉินฺนรฏฺา

ความว่า ถูกพระเจ้าจุลนีพรหมทัตชิงแว่นแคว้นยืดครอง. บทว่า พฺยถิตา

ความว่า กลัวแต่มรณภัย ไม่ทรงเห็นสิ่งอื่นที่จะพึงถือเอา. บทว่า ปญฺจาลีน

วส คตา ความว่า ตกอยู่ในอำนาจของพระเจ้าปัญจาลราชนี้ ก็บทนี้เป็น

ทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า ย วทา ตกฺกรา ความว่า

อาจกระทำตามพระราชกระแสที่ตรัส. บทว่า วสิโน คตา ความว่า เมื่อ

ก่อนมีอำนาจเอง แต่เดี๋ยวนี้อยู่ในอำนาจของพระเจ้าจุลนี. บทว่า ติสนฺธิ

ความว่า ถูกล้อมด้วยกำแพง ๔ เหล่านั้นคือ ถูกล้อมด้วยกำแพง คือ ช้างเป็น

ชั้นแรก ถัดนั้นล้อมด้วยกำแพงคือรถ ถัดนั้น ล้อมด้วยกำแพงคือม้า ถัดนั้น

ล้อมด้วยกำแพงคือพลราบ ชื่อว่าล้อม ๓ ชั้น คือระหว่างกองช้างกับกองรถ

เป็นชั้น ๑ ระหว่างกองรถกับกองม้าเป็นชั้น ๑ ระหว่างกองม้ากับกองพลราบ

เป็นชั้น ๑. บทว่า ปริกฺขญฺติ ความว่า บัดนี้ นครนี้ถูกขุดโดยรอบ

เหมือนเขาประสงค์จะยกขึ้นถือไป. บทว่า อุทฺธ ตารกชาตาว ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 441

กองทัพที่ล้อมรอบกรุงมิถิลานั้น ปรากฏด้วยอาวุธทั้งหลายมีท่อนไม้เป็นต้น

คลายร้อยหลายพัน เหมือนดาวบนท้องฟ้า. บทว่า วิชานาหิ ความว่า

ดูก่อนพ่อมโหสถ ตั้งแต่อเวจีจนถึงภวัคคพรหม คนอื่นที่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต

ผู้ฉลาดในอุบายเช่นเจ้าไม่มี อนึ่ง ชื่อว่าความเป็นบัณฑิตย่อมรู้กัน ได้ในฐานะ

เห็นปานนี้ เพราะคนอื่นเช่นเจ้าไม่มี ฉะนั้น เจ้าเท่านั้นจงรู้ว่า พวกเราจัก

พ้นความทุกข์นี้ได้อย่างไร.

พระมหาสัตว์ได้สดับพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชดังนี้แล้ว ดำริว่า

พระราชานี้ทรงกลัวมรณภัยเหลือเกิน ก็แพทย์เป็นที่พึ่งอาศัยของคนไข้

โภชนาหารเป็นที่พึ่งอาศัย องคนหิว น้ำดื่มเป็นที่พึ่งอาศัยของคนกระหาย เว้น

เราเสีย คนอื่นที่เป็นที่พึ่งอาศัยของพระราชานี้ไม่มี เราจักปลอบโยนพระองค์

ให้เบาพระหฤทัย ครั้งนั้น พระมหาสัตว์มิได้ครั่นคร้าม ดุจราชสีห์บันลือ-

สีหนาท ณ พื้นมโนศิลา กราบทูลพระเจ้าวิเทหราชว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

ขอพระองค์อย่าทรงกลัวเลย จงเสวยราชสมบัติให้เป็นสุขเถิด ข้าพระองค์จัก

ทำกองทัพซึ่งนับได้ ๑๘ อักโขภิณีนี้ ให้เป็นผู้มีใช่เจ้าของแม้แห่งผ้าสาฎกที่พัน

ท้องอยู่ให้หนีไป ดุจบุคคลเงื้อก้อนดินให้กาหนีไป และดุจบุคคลขึ้นธนูให้

ลิงหนีไปฉะนั้น กราบทูลฉะนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์ทรง

เหยียดพระยุคลบาทให้ผาสุก เชิญเสวยและรื่นรมย์ใน

กามสมบัติเถิด พระเจ้าจุลนีพรหมทัตจะละกองทัพ

ชาวปัญจาละหนีไป.

เนื้อความของคาถานั้นมีว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์

ทรงเหยียดพระยุคลบาท กล่าวคือเสวยราชย์ของพระองค์ตามสบายเถิด และเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 442

ทรงเหยียด อย่าได้คิดเรื่องการสงคราม โปรดเสวยและรื่นรมย์ในกามสมบัติ

เถิด พระเจ้าจูลนีพรหมทัตนี้จักทรงทิ้งกองทัพนี้หนีไป.

มโหสถบัณฑิตยังพระราชาให้อุ่นพระหฤทัยแล้วออกมาให้ยังกลองแจ้ง

เรื่องเล่นมหรสพเที่ยวป่าวร้องในพระนคร กล่าวกะชาวพระนครว่า ท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้วิตกเลย จงยังวัตถุทั้งหลายมีดอกไม้ของหอม

เครื่องลูบไล้ น้ำดื่มและโภชนะเป็นต้นให้ถึงพร้อมแล้วเริ่มเล่นมหรสพ มโห-

สถกล่าวกะชาวพระนครว่า ชนทั้งหลายในที่นั้น ๆ จงดื่มใหญ่ จงเล่นดีดสี

ตีเป่า จงประโคมดนตรี จงฟ้อนรำ จงโห่ร้อง จงเฮฮา จงบันลือเสียงให้

เอิกเกริก จงตบมือให้สนุก จงขับร้องตามสบาย ค่าใช้จ่ายสำหรับพวกท่าน

ทั้งหลาย เป็นของเราจัดให้ทั้งนั้น เราผู้มีนามว่ามโหสถบัณฑิต พวกท่าน

จักได้เห็นอานุภาพของเรา ยังชาวพระนครให้เบาใจแล้ว ชาวพระนครได้ทำ

ตามนั้น ชนทั้งหลายอยู่นอกเมืองย่อมได้ยินเสียงมีเสียงขับประโคมเป็นต้น

ก็พากันเข้าสู่ภายในเมืองทางประตูน้อย ผู้รักษาทั้งหลายย่อมไม่จับกุมบุคคลที่

ตนเห็นแล้ว ๆ นอกจากพวกศัตรู เพราะฉะนั้น คนเดินเข้าออกมิได้ขาด

บุคคลเข้าไปในเมืองย่อมเห็นคนเล่นมหรสพ.

ฝ่ายพระเจ้าจุลนีพรหมทัตได้ทรงสดับเสียงโกลาหลในกรุงมิถิลา จึง

ตรัสถามอมาตย์ทั้งหลายว่า ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย ในเมื่อพวกเราล้อมเมือง

ด้วยกองทัพนับด้วยอักโขภิณีตั้งอยู่แล้ว ความกลัวหรือเพียงความพรั่นพรึงย่อม

ไม่มีแก่ชาวเมือง ชาวเมืองร่าเริงปีติโสมนัส ประโคมฟ้อนรำขับโห่ร้องเกรียว

กราว ตบมือ คุกคาม มีเหตุการณ์เป็นไฉน ลำดับนั้น บุรุษที่มโหสถวางไว้

ก็ทูลมุสาแด่พระราชาว่า ข้าแต่เทพเจ้า พวกเรามีกิจอันหนึ่งเข้าไปในเมือง

ทางประตูน้อย เห็นประชาชนชาวเมืองเล่นการมหรสพ ได้ซักถามว่า พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 443

ราชาในสกลชมพูทวีปมาล้อมเมืองของท่านทั้งหลายตั้งอยู่แล้ว แต่พวกท่านเป็น

ผู้ประมาทเหลือเกิน เหตุการณ์เป็นอย่างไร ชาวเมืองเหล่านั้นกล่าวตอบว่า

พระราชาของเราทั้งหลายทรงปรารถนาอย่างหนึ่ง ได้มีในกาลเมื่อยังทรงพระ-

เยาว์ว่า ในเมื่อเมืองเราอันพระราชาในสกลชมพูทวีปล้อมแล้ว พวกเราจักเล่น

มหรสพ วันนี้ความปรารถนาของพระราชาแห่งพวกเราถึงที่สุด เพราะฉะนั้น

ทางราชการจึงป่าวร้องให้ชาวเมืองเล่นมหรสพ ดื่มใหญ่ในที่ของตน ๆ พระ-

เจ้าจุลนีพรหมทัตได้ทรงฟังถ้อยคำของพวกบุรุษที่มโหสถวางไว้ ก็ทรงขัดเคือง

ตรัสสั่งเสนาว่า ท่านทั้งหลายจงไป จงรีบถมเมืองข้างนี้ด้วยข้างนี้ด้วย จง

ทำลายคู จงทำลายกำแพง จงทำลายประตูหอรบ เข้าไปในเมือง เอาศีรษะ

ชาวเมืองมาด้วยเกวียนร้อยเล่ม ดุจเอาฟักเขียวมาฉะนั้น จงตัดเศียรพระเจ้า

วิเทหราชนำมา โยธาผู้กล้าหาญ ทั้งหลายได้ฟังพระราชดำรัสสั่ง ก็กุมอาวุธ

มีประการต่าง ๆ ไปสู่ที่ใกล้ประตูหอรบ ถูกทวยหาญของมโหสถประทุษร้าย

ด้วยการเทสาดเปือกตมระคนด้วยก้อนกรวดและเลนระคนด้วยทราย และการ

ทิ้งก้อนศิลาก็ถอยกลับลงสู่คูด้วยคิดจะทำลายกำแพง เหล่าโยธาตั้งอยู่บนประตู

เชิงเทินภายใน ก็ทำให้ข้าศึกถึงความพินาศใหญ่ ด้วยเครื่องสังหารมีลูกศร

หอกและโตมรเป็นต้น โยธาของมโหสถย่อมเบียดเบียนโยธาของพระเจ้าจุลนี

สำแดงวิการแห่งมือเป็นต้น และด่าบริภาษขู่ด้วยประการต่าง ๆ พูดยั่วให้โกรธ

ว่า พวกเจ้ามีร่างกายเหน็ดเหนื่อย จงมาดื่มเคี้ยวกินสักหน่อยซิ แล้วสาดสุรา

ทิ้งภาชนะสุราและโยนมัจฉมังสะ กับทั้งไม้เสียบมัจฉมังสะลงไป ส่วนพวก

สัตว์ก็ดื่มเคี้ยวกินเดินไปมาบนกำแพง โยธากรุงปัญจาละไม่อาจจะทำอะไรได้

ก็ไปเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ บุคคลเหล่าอื่นยก

ท่านผู้มีอานุภาพแล้ว ไม่สามารถจะเอาชัยชนะได้ พระเจ้าจุลนีประทับแรม

อยู่ ๔ - ๕ ราตรี เมื่อไม่ทรงเห็นอุบายที่จะหักเอาเมืองมิถิลาได้จึงตรัสถาม

เกวัฏว่า อาจารย์ พวกเราไม่สามารถจะยึดพระนครได้ แม้คนคนหนึ่ง ก็ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 444

สามารถจะเข้าใกล้ จะควรทำอย่างไร เกวัฏกราบทูลสนองว่า ช่างก่อนเถอะ

พระเจ้าข้า ธรรมดาเมืองมีน้ำภายนอก เราจักเอาเมืองได้ด้วยสิ้นน้ำ พวกใน

เมืองลำบากด้วยน้ำจักเปิดประตูเมืองออกมา พระราชาทรงเห็นชอบด้วยว่า

อุบายนี้ดี จำเดิมแต่นั้นมา พวกข้างกองทัพก็มิให้ใครนำน้ำเข้าไปในเมือง บุรุษ

ที่มโหสถวางไว้ก็เขียนหนังสือผูกปลายลูกศรยิงส่งข่าวเข้าไปในเมือง เพราะ

มโหสถตั้งอาณัติไว้ว่า ใครพบหนังสือที่ปลายลูกศรจงนำมาให้เราดังนี้ ครั้งนั้น

บุรุษคนหนึ่งเห็นหนังสือที่ปลายลูกศรก็เอาไปแสดงแก่มโหสถ มโหสถรู้ข่าวนั้น

จึงนึกว่า พระเจ้าจุลนีไม่รู้จักความที่เราเป็นมโหสถบัณฑิต จึงให้ผ่าไม้ไผ่ยาว

๖๐ ศอกออกเป็น ๒ ซีก รานปล้องออกหมดแล้วประกบกันเข้าอีกรัดด้วยหนัง

ทาโคลนข้างบน ให้หว่านโตนดสายบัวและพืชบัวขาว ซึ่งได้มาแต่ดาบสผู้มี

ฤทธิ์นำมาแต่หิมวันตประเทศ ในเลนใกล้ฝั่งสระโบกขรณี วางไม้ไผ่ไว้ข้างบน

กรอกน้ำลงไป คืนเดียวเท่านั้นเกิดดอกขึ้นไป ๆ ถึงปลายไม้ไผ่สูงพันราว ๑ ศอก

ลำดับนั้น มโหสถยังบุรุษทั้งหลายของตนให้ถอนสายบัวนั้น โยนให้พวกข้าศึก

ด้วยคำว่า พวกท่านจงถวายสายบัวนี้แก่พระเจ้าจุลนี เหล่าบุรุษของมโหสถทำ

สายบัวนั้นให้เป็นวลัยแล้วร้องบอกว่า แน่ะท่านทั้งหลายผู้เป็นข้าบาทของพระ-

เจ้าจุลนีพรหมทัต เหล่าท่านอย่าตายด้วยความหิวเลย จงรับเอาดอกอุบลนี้

ประดับ เคี้ยวกินสายบัวให้อิ่มหนำ ร้องบอกฉะนี้แล้วโยนลงไป บุรุษคนหนึ่ง

ที่มโหสถวางไว้จึงถือเอาสายบัวนั้น นำไปถวายพระเจ้าจุลนี กราบทูลว่า ข้าแต่

สมมติเทพ ขอได้ทอดพระเนตรสายบัวนี้ สายบัวยาวเท่านี้ เร้าทั้งหลายไม่

เคยเห็นมาแต่ก่อนจนบัดนี้ ครั้นเมื่อพระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงวัดดู

ก็วัดสายบัวอันยาว ๖๐ ศอก ทูลว่า ๘๐ ศอก ในเมื่อพระราชาตรัสถามอีกว่า

บัวนั้นเกิดในที่ไหน บุรุษคนหนึ่งที่มโหสถวางไว้กราบทูลเท็จว่า วันหนึ่ง

ข้าพระเจ้ากระหายน้ำเข้าไปในเมืองทางประตูน้อยด้วยคิดจะดื่มสุรา ได้เห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 445

สระโบกขรณีใหญ่ทั้งหลายที่ขุดไว้เพื่อประโยชน์แห่งชาวเมืองเล่นน้ำ มหาชน

นั่งในเรือเก็บดอกบัว ดอกบัวนี้เกิดริมฝั่งสระโบกขรณีนั้น ก็แต่สายบัวอันเกิด

ในที่ลึกยาวราว ๑๐๐ ศอก พระเจ้าจุลนีพรหมทัตได้สดับข้อความนั้น จึงตรัส

แก่เกวัฏว่า ดูก่อนท่านอาจารย์ พวกเราไม่อาจจะยึดเอาเมืองนี้ด้วยให้สิ้นน้ำ

ท่านเลิกความคิดนี้เสียเถิด พราหมณ์เกวัฏกราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้น จักยึดเอา

เมืองนี้ด้วยให้สิ้นข้าว เพราะธรรมดาว่านครต้องมีข้าวภายนอก พระราชาตรัส

ให้ทำอย่างนั้น มโหสถบันฑิตรู้ข่าวนั้น โดยนัยหนหลังจึงนึกว่าพราหมณ์เกวัฏ

ไม่รู้จักความที่เราเป็นมโหสถบัณฑิต จึงให้เทโคลนตามบนกำแพงเมือง แล้ว

ให้หว่านข้าวเปลือกในที่นั้น ธรรมดาความประสงค์ของพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย

ย่อมสำเร็จราตรีเดียวเท่านั้น ข้าวเปลือกก็งอกขึ้นบนกำแพงเมือง พระเจ้าจุลนี

ทอดพระเนตรเห็นต้นข้าวนั้นจึงตรัสถามว่า นั่นอะไรปรากฏเขียวอยู่บนกำแพง

เมือง บุรุษที่มโหสถวางไว้ได้ฟังพระราชกระแส ก็เป็นเหมือนคอยชิงมาแต่

พระโอฐสนองพระราชดำรัส จึงกราบทูลว่าข้าแต่เทพเจ้า ได้ยินว่า บุตรแห่ง

คฤหบดีอันมีนามว่ามโหสถบัณฑิต คิดเห็นภัยในอนาคตกาล จึงให้ขนข้าวเปลือก

แต่แคว้นขึ้นฉางหลวงไว้ แล้วเก็บงำข้าวเปลือกที่เหลือไว้ริมกำแพง ได้ยินว่า

ข้าวเปลือกเหล่านั้น แห้งไปด้วยแดด ชุ่มไปด้วยฝน และข้าวกล้าทั้งหลาย

ก็เกิดขึ้นพร้อมในที่นั้น วันหนึ่งข้าพเจ้าเข้าไปโดยประตูน้อยด้วยกิจอันหนึ่ง

เห็นกองข้าวเปลือกริมกำแพงก็หยิบข้าวเปลือกมาจากกองนั้น ทั้งไว้ริมทาง

ทีนั้นหมู่ชนเมื่อจะพูดกับข้าพระเจ้าว่าชะรอยท่านจะหิว จึงบอกว่า ท่านจงเอา

ชายผ้าห่อข้าวเปลือกไปเรือนของท่านให้ตำหุงกินซิ พระเจ้ากรุงปัญจาละได้สดับ

ดังนั้น จึงตรัสกะพราหมณ์เกวัฏว่า เราไม่อาจจะยึดเอาเมืองด้วยให้สิ้นธัญญาหาร

อุบายอื่นมีหรือ เกวัฏกราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้นเราจักยึดเอาด้วยสิ้นฟืน ขึ้นชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 446

เมืองย่อมมีฟืนภายนอก พระราชาตรัสให้ดำเนินการอย่างนั้น ฝ่ายมโหสถรู้ข่าว

นั้นดังหนหลัง ให้ทำกองฟืนประมาณเท่าภูเขา ให้ปรากฏล่วงพ้นข้าวเปลือก

บนกำแพง พวกคนของมโหสถเมื่อกล่าวเยาะเย้ยเล่นกับโยธาของพระเจ้าจุลนี

จึงกล่าวว่า ถ้าพวกท่านหิวจงหุงข้าวกินเสีย แล้วโยนฟืนใหญ่ ๆ ลงไปให้ฝ่าย

พระราชาจุลนีทอดพระเนตรเห็นฟืนเป็นอันมากกองพ้นกำแพงเมือง จึงตรัส

ถามว่า นั่นอะไร บุรุษที่มโหสถวางไว้จึงกราบทูลว่า ข้าแต่เทพเจ้า ได้ยินว่า

บุตรคฤหบดีผู้นี้นามว่ามโหสถเห็นภัยในอนาคตจึงให้ขนฟืนมากองไว้หลังเรือน

แห่งเหล่าสกุล และให้กองไว้ริมกำแพงเมืองก็มิใช่น้อย พระเจ้ากรุงปัญจาละ

ได้สดับดังนั้นจึงตรัสกะอาจารย์เกวัฏว่า เราไม่อาจจะยึดเอาเมืองด้วยสิ้นฟืน

ท่านจงเลิกอุบายนี้เสีย พราหมณ์เกวัฏทูลว่า ขอพระองค์อย่าได้ทรงวิตก

อุบายอื่นยังมี พระเจ้าจุลนีตรัสถามว่า อุบายอย่างไรอีก เรายังไม่เห็นที่สุด

อุบายของท่าน เราไม่สามารถจะยึดเอาวิเทหรัฐได้ เราจักกลับเมืองของเรา

เกวัฏจึงทูลว่า ความอายว่า พระเจ้าจุลนีพรหมทัตกับพระราชาร้อยเอ็ด ไม่

สามารถจะยึดเอาวิเทหรัฐได้ จักมีแก่พวกเรา มโหสถจักเป็นบัณฑิตอย่างไร

แม้ข้าพระองค์ก็เป็นบัณฑิตแท้จริง พวกเราจักทำเลสอันหนึ่ง พระราชาตรัสว่า

เลสอะไร เกวัฏจึงทูลสนองว่า พวกเราจักทำธรรมยุทธ์ พระราชาตรัสถามว่า

อะไรเรียกว่าธรรมยุทธ์ เกวัฏทูลตอบว่า เสนาจักไม่ต้องรบ ก็แต่บัณฑิต

ทั้งสองของพระราชาทั้งสองจักอยู่ในที่เดียวกัน ในบัณฑิตทั้งสองนั้น บัณฑิต

ใดจักไหว้ บัณฑิตนั้นจักแพ้ ก็มโหสถไม่รู้ความคิดนี้ และข้าพระองค์ก็เป็น

ผู้แก่กว่า มโหสถยังเป็นหนุ่ม เห็นข้าพระองค์ก็จักไหว้ มโหสถไหว้ข้าพระองค์

เมื่อใด ชาวแคว้นวิเทหะก็จักชื่อว่า อันพวกเราชนะแล้ว ที่นั้นพวกเราจักยัง

วิเทหรัฐให้ปราชัยแล้วยึดไว้เป็นเมืองของตน ความอายจักไม่มีแก่พวกเราด้วย

ประการฉะนี้ รบด้วยเลสนี้ชื่อว่าธรรมยุทธ์ ฝ่ายมโหสถได้ทราบรหัสเหตุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 447

เหมือนหนหลัง จึงคิดว่า ถ้าเราแพ้เกวัฏ เราก็ไม่ใช่บัณฑิต ส่วนพระเจ้าจุลนี

พรหมทัตตรัสว่า อุบายนี้งามละอาจารย์ ให้เขียนราชสาสน์ความว่า พรุ่งนี้

ธรรมยุทธ์จักมี ชนะหรือปราชัยโดยธรรมโดยเสมอจักมีแก่บัณฑิตทั้งสอง

ผู้ใดไม่ทำธรรมยุทธ์ ผู้นั้นชื่อว่าพ่ายแพ้ ดังนี้ แล้วส่งไปถวายพระเจ้าวิเทห-

รัฐทางประตูน้อย พระเจ้ากรุงมิถิลาได้ทรงสดับราชสาสน์นั้น ให้เรียกมโหสถ

มาแจ้งเนื้อความนั้น มโหสถกราบทูลว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า ขอสมมติเทพ

พระราชทานราชสาสน์ตอบไปว่า ชาวกรุงมิถิลาจักเตรียมจัดสนามธรรมยุทธ์ไว้

ทางประตูด้านปัศจิมทิศ กองทัพกรุงปัญจาละจงมาสู่สนามธรรมยุทธ์ พระเจ้า

วิเทหราชได้ทรงฟังคำของมโหสถจึงพระราชทานราชสาสน์ ตอบแก่ทูตผู้มาแล้ว

นั้นเอง มโหสถให้เตรียมจัดสนามธรรมยุทธ์ทางประตูด้านปัศจิมทิศ ด้วยคิดว่า

ปราชัยจักมีแก่เกวัฏวันพรุ่งนี้ ฝ่ายเหล่าบุรุษที่มโหสถวางไว้ร้อยเอ็ดคนก็ล้อม

เกวัฏไว้เพื่อประโยชน์แก่การรักษามโหสถด้วยคิดว่า ใครจะรู้เหตุการณ์เหตุการณ์

อะไรจักเกิดมี ส่วนพระราชาร้อยเอ็ดก็ไปสู่สนามธรรมยุทธ์ ยืนคอยดูทางปรา-

จีนทิศ พราหมณ์เกวัฏก็ไปเช่นนั้นเหมือนกัน ฝ่ายมโหสถบรมโพธิสัตว์สนาน

น้ำหอมแต่เช้าทีเดียวแล้ว นั่งผ้ามาแต่แคว้นกาสีราคานับด้วยแสนกหาปณะ

แล้วประดับเครื่องอลังการทั้งปวง บริโภคโภชนาหารมีรสเลิศต่าง ๆ ไปสู่พระ-

ทวารด้วยบริวารใหญ่ ครั้นได้พระราชานุญาตให้เข้าเฝ้าว่า บุตรของเราจงเข้ามา

ดังนี้ ก็เข้าไปถวายบังคมพระราชา ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นได้สดับ

พระราชดำรัสถามถึงเหตุที่มาเฝ้า จึงกราบทูลว่า จักไปสนามธรรมยุทธ์ครั้น

ตรัสถามว่า จะต้องการอะไร จึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์ประสงค์จะลวงเกวัฏ

ด้วยแก้วมณี ควรที่ข้าพระองค์จะได้มณีรัตนะ ๘ คด พระราชาก็ทรงอนุญาต

มโหสถรับมณีรัตนะนั้นแล้วถวายบังคมพระราชาลงจากพระราชนิเวศน์ มีโยธา

สหชาตพันหนึ่งแวดล้อม ขึ้นสู่รถอันประเสริฐเทียมด้วยม้าเศวตสินธพอันควร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 448

ค่าเก้าแสนกหาปณะถึงริมประตูเวลากินอาหารเช้า ฝ่ายเกวัฏยืนคอยดูทางมาแห่ง

มโหสถ ด้วยคิดว่ามโหสถจักมาถึงบัดนี้ ๆ เป็นเสมือนยื่นคอด้วยแลหา เหงื่อ

ไหลโซมด้วยความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ฝ่ายมโหสถเต็มไปด้วยความเป็นผู้มี

บริวารมาก ดุจมหาสมุทรท่วมทับ เป็นผู้มิได้สยดสยองมิได้พองขนดุจไกร-

สรสีหราช ให้เปิดประตูออกจากพระนคร ลงจากรถดำเนินไปโดยว่องไว

องอาจดุจพระยาราชสีห์ พระราชาร้อยเอ็ดเห็นสิริรูปแห่งพระโพธิสัตว์ ก็ยัง

ศัพท์สำเนียงเอิกเกริกสรรเสริญเกียรติพระโพธิสัตว์ให้เป็นไปว่า ได้ยินว่า

บุตรสิริวัฒกเศรษฐี ผู้มีนามว่า มโหสถบัณฑิต เป็นผู้ไม่มีสอง ไม่มีใคร

เปรียบด้วยความปรีชาในสกลชมพูทวีป ฝ่ายมโหสถมีสิริสมบัติหาที่เปรียบมิได้

คือมณีรัตนะเดินตรงไปหาพราหมณ์เกวัฏ ส่วนปุโรหิตเกวัฏเห็นมโหสถบรม-

โพธิสัตว์ ก็ไม่อาจจะทรงกายอยู่ได้ลุกขึ้นต้อนรับกล่าวว่า ท่านมโหสถบัณฑิต

เราทั้งสองเป็นบัณฑิตเหมือนกัน เมื่อพวกข้าพเจ้ามาอยู่ที่นี้นานเพราะท่าน

ท่านไม่สั่งสักว่าเครื่องบรรณาการมาบ้าง เพราะเหตุไรท่านจึงได้ทำอย่างนี้

ลำดับนั้น มโหสถกล่าวตอบเกวัฏว่า ท่านบัณฑิต ข้าพเจ้าหาบรรณาการที่

สมควรแก่ท่าน พึ่งได้มณีวันนี้เอง ท่านจงรับเอามณีรัตนะนี้ มณีรัตนะอื่น

อย่างนี้หาไม่ได้ทีเดียว เกวัฏเห็นมณีรัตนะอันรุ่งเรืองอยู่ในมือมโหสถก็คิดว่า

มโหสถจักประสงค์ให้เรา จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนี้ท่านจงให้แล้วเหยียดมือคอย

รับ มโหสถจึงกล่าวว่า ท่านคอยรับเถิดแล้วโยนไปให้ตก ณ นิ้วมือที่เหยียดรับ

ลำดับนั้น เกวัฏไม่อาจทานแก้วมณีอันมีน้ำหนักด้วยนิ้วมือ แก้วมณีก็พลาด

ตกใกล้เท้ามโหสถ เกวัฏก็น้อมกายลงแทบเท้าแห่งมโหสถ ด้วยใคร่จะถือเอา

เพราะความโลภ ลำดับนั้น มโหสถก็ไม่ให้เกวัฏลุกขึ้นได้ จับคอเกวัฏไว้ด้วย

มือข้างหนึ่ง จับชายกระเบนไว้ด้วยมือข้างหนึ่ง กล่าวว่า ลุกขึ้นซิ ท่านอาจารย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 449

ข้าพเจ้าเป็นเด็กเท่ากับหลานของท่าน ท่านอย่าไหว้ข้าพเจ้าเลย แล้ว ยังหน้า

ของเกวัฏให้สีลงที่พื้นกลับไปกลับมา จนหน้าเปื้อนด้วยโลหิตแล้วกล่าวว่า ดู

ก่อนคนอันธพาล เจ้าหวังการไหว้แต่เราหรือ กล่าวฉะนั้นแล้วจับคอซัดไป

เกวัฏไปตกลงในที่ราวหนึ่งอุสุภ ลุกขึ้นหนีไป โยธาของมโหสถก็หยิบเอา

แก้วมณีไว้ เสียงมโหสถร้องว่า ลุกขึ้นเถิด ๆ อย่าไหว้เราเลย ดังนี้ ได้ยิน

ทั่วบริษัท ส่วนบริษัทของมโหสถก็กล่าวว่า เกวัฏไหว้เท้ามโหสถแล้วโห่ร้อง

แซ่เป็นเสียงเดียวกัน พระราชาร้อยเอ็ด ตลอดพระเจ้าจุลนีก็ได้เห็นเกวัฏน้อม

กายลงแทบเท้ามโหสถ พระราชาเหล่านั้นคิดว่า บัณฑิตของพวกเราไหว้

มโหสถบัณฑิตแล้ว บัดนี้พวกเราเป็นอันพ่ายแพ้ มโหสถจักไม่ให้ชีวิตแก่

พวกเรา คิดฉะนี้แล้วต่างก็ขึ้นม้าของตน ปรารภเพื่อหนีตรงไปอุตตรปัญจาละ

บริษัทของพระโพธิสัตว์เห็นพระราชาเหล่านั้นหนีไปแล้ว จึงบอกกันว่า พระ

เจ้าจุลนีพรหมทัตพาพระราชาร้อยเอ็ดหนีไปแล้ว แล้วโห่ร้องกันอีก พระราชา

ทั้งปวงได้สดับเสียงนั้นกลัวแต่มรณภัยก็พากันแตกกองทัพหนีไป บริษัทของ

พระโพธิสัตว์ก็บันลือสำเนียงเกรียวกราวโกลาหลใหญ่ พระมหาสัตว์เป็นผู้

เสนางคนิกรแวดล้อมกลับเข้าสู่กรุงมิถิลา.

ฝ่ายกองทัพของพระเจ้าจุลนีพรหมทัตหนีไปได้ ๓ โยชน์ ฝ่ายเกวัฏก็

ขึ้นม้าแล้วเช็ดโลหิตที่หน้าผากไปถึงกองทัพ นั่งอยู่บนหลังม้ากล่าวว่า แน่ะ

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าหนีไปเลย เราไม่ได้ไหว้บุตรคฤหบดี

ผู้ชื่อว่ามโหสถดอก ท่านทั้งหลายหยุดเถิด เสนาไม่เชื่อไม่หยุดคงเดินไป พา

กันด่าขู่เกวัฏ กล่าวว่า แน่ะพราหมณ์ชั่ว ผู้มีธรรมเป็นบาป ท่านกล่าวว่า เรา

จักทำธรรมยุทธ์ แล้ว มาไหว้มโหสถผู้คราวหลาน ผู้ไม่เพียงพอจะไหว้ กิจที่

พวกข้าพเจ้าจะพึงทำแก่ท่านไม่มี กล่าวฉะนี้แล้ว ก็ไม่พึงถ้อยคำของเกวัฏ คง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 450

เดินไปนั่นเที่ยว เกวัฏไปโดยเร็วถึงกองทัพจึงกล่าวว่า ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย

พวกท่านจงเชื่อเราเถิด เราไม่ได้ไหว้มโหสถ มโหสถลวงเราด้วยแก้วมณี

ยังพระราชาทั้งปวงเหล่านั้น ให้รู้โดยอาการต่าง ๆ ให้เชื่อถ้อยคำของตน ยังกอง

ทัพอันแตกกระจัดกระจายแล้วนั้น ให้กลับควบคุมกันเป็นปกติ ก็เสนาใหญ่

ถึงเพียงนั้น หากจะถือกำฝุ่นหรือก้อนดินก้อนหนึ่งซัดไปไซร้ กองฝุ่นและดิน

ราวเท่ากำแพงเมือง พึงยังดูให้เต็ม ก็แต่ความประสงค์แห่งพระโพธิสัตว์ทั้ง

หลายย่อมสำเร็จ เพราเหตุนั้น แม้บุคคลผู้หนึ่งหันหน้าเฉพาะเมืองซัดกำฝุ่นหรือ

ก้อนดินจึงไม่มีเลย กองทัพแม้ทั้งปวงกลับถึงสถานที่ตั้งค่ายของตน พระราชา

จุลนีตรัสถามเกวัฏว่า เราจักทำอย่างไร อาจารย์ เกวัฏทูลตอบว่า เราทั้งหลาย

ไม่ให้ใคร ๆ ออกจากประตูน้อย ตัดการเข้าออกเสีย ชาวเมืองออกไม่ได้ก็จัก

เดือดร้อนเปิดประตู ทีนั้นพวกเราจักจับเหล่าปัจจามิตรได้ พระราชาตรัส

รับรองว่า อุบายนี้งาม ฝ่ายมโหสถรู้ข่าวนั้น โดยนัยหนหลังจึงคิดว่า เมื่อกองทัพ

ปัญจาลนครล้อมอยู่ในที่นี้นาน พวกเราจักไม่มีความผาสุก ควรที่จะให้กองทัพ

นั้นหนีไปด้วยอุบาย จักให้หนีไปเสียด้วยความคิด มโหสถพิจารณาหาคน

ฉลาดคิดคนหนึ่ง ก็เห็นพราหมณ์หนึ่งชื่ออนุเกวัฏ จึงให้เรียกตัวมาแจ้งว่า

แน่ะอาจารย์ ควรที่ท่านจะช่วยงานอันหนึ่งของพวกเรา อนุเกวัฏถามว่า

ข้าพเจ้าจะทำอะไร ขอให้ท่านบอก มโหสถบัณฑิตจึงชี้แจงให้อนุเกวัฏทราบว่า

ท่านอาจารย์จงขึ้นไปอยู่ตามกำแพงเมือง เมื่อเห็นกองรักษาฝ่ายเราประมาท

จงโยนขนมและปลาเนื้อเป็นต้น เพื่อพวกกองทัพของพระเจ้าจุลนีในระหว่าง ๆ

แล้วร้องบอกว่า ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านจงเคี้ยวกินสิ่งนี้ ๆ อย่ากระสัน

เดือดร้อนเลย จงพยายามอยู่สักสองสามวันเถิด ชาวเมืองมิถิลาก็เดือนร้อนดุจ

ไก่เดือดร้อนตายอยู่ในกรงฉะนั้น ไม่ช้านานก็จะเปิดประตูเมืองเพื่อพวกท่าน

ต่อแต่นั้น พวกท่านจงจับพระเจ้ากรุงมิถิลาและมโหสถผู้ดุร้าย กองรักษาของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 451

พวกเราได้ฟังถ้อยคำของท่าน ก็จักด่าคุกคามท่าน จะเป็นเหมือนจับมือและ

เท้าท่าน ประหารด้วยซีกไม้ไผ่ให้กองทัพพระเจ้าจุลนีเห็น แล้วให้ท่านลงจาก

กำแพงเมือง มุ่นผมท่านให้เป็นจุก ๕ หย่อม แล้วโรยผงอิฐลงบนศีรษะท่าน

แล้วให้ท่านทัดดอกยี่โถ แล้วตีท่านเล็กน้อยพอให้เห็นเป็นรอยที่หลังท่าน แล้ว

ให้ท่านขึ้นบนกำแพงเมือง ให้ท่านนั่งในสาแหรกเอาเชือกผูกโรยหย่อนลงไป

นอกกำแพงเมือง แล้วแสดงให้กองทัพของพระเจ้าจุลนีได้ยินว่า แน่ะอ้ายโจร

ทำลายความคิด เองจงไป พวกกองทัพของพระเจ้าจุลนีจักพาท่านไปเฝ้าพระ

เจ้าจุลนี พระเจ้าจุลนีทอดพระเนตรเห็นจักตรัสถามท่านว่า ท่านมีความผิด

อย่างไร ที่นั้นท่านควรทูลอย่างนี้แด่พระเจ้าจุลนีว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

แต่ก่อนข้าพระเจ้ามียศใหญ่ มโหสถโกรธข้าพระเจ้าว่า เป็นผู้ทำลายความคิด

จึงทูลพระเจ้าวิเทหราชแล้วชิงเอายศของข้าพระเจ้าเสียทั้งหมด ข้าพระเจ้าคิด

ว่า จักขอให้พวกพลของพระองค์ตัดศีรษะของบุตรคฤหบดีผู้ชิงยศของข้าพระ

เจ้าไป คิดฉะนี้แล้วได้เห็นโยธาของพระองค์เดือนร้อน จึงให้ของควรเคี้ยว

ควรกินแก่โยธาเหล่านั้น มโหสถใส่ใจข้าพระเจ้าผู้มีเวรเก่าไว้ด้วยเหตุมีประ

มาณเท่านี้ จึงให้ข้าพระเจ้าถึงความพินาศนี้ ชนทั้งปวงของพระองค์รู้เหตุทั้ง

หมด ท่านจงยังพระเจ้าจุลนีพรหมทัตให้เชื่อโดยประการต่าง ๆ เมื่อเกิดความ

คุ้นเคยกันแล้ว จึงทูลต่อไปว่า ข้าแต่มหาราช จำเดิมแต่กาลที่พระองค์ได้

ข้าพระบาทมาแล้ว พระองค์อย่าได้ทรงวิตกเลย บัดนี้พระชนมชีพของพระ-

เจ้าวิเทหราชและชีวิตของมโหสถจะไม่มี เพราะข้าพระเจ้ารู้สถานที่มั่นคง

สถานที่ไม่มีกำลัง และสถานที่มีหรือไม่มีสัตว์ร้ายมีจระเข้เป็นต้น ในดูแห่ง

กำแพงในเมืองนี้ ข้าพระบาทจักยึดเอาเมืองถวายพระองค์โดยกาลไม่นานเลย

ครั้นทูลอย่างนี้ พระราชาจุลนีจักทรงเชื่อประทานรางวัลแก่ท่าน แต่นั้นจะให้

ท่านปกครองกองทัพและพาหนะของพระองค์ ทีนั้นท่านจงคุมกองทัพของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 452

พระเจ้าจุสนีให้ลงในคูที่มีจระเข้ร้าย กองทัพของพระเจ้าจุลนีก็จักไม่ลงด้วยกลัว

จระเข้ กาลนั้นท่านจงทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มโหสถยุยงให้กองทัพแตกร้าว

เป็นกบฏต่อพระองค์แล้ว ใคร ๆ ตั้งแต่พระราชาร้อยเอ็ดและพราหมณ์เกวัฏ

ที่จะไม่รับสินบนมโหสถไม่มี ชนเหล่านี้ที่แวดล้อมโดยเสด็จทั้งสิ้น ล้วนแต่เป็น

พวกของมโหสถ อันเสวกามาตย์ของพระองค์มีแต่ข้าพระบาทคนเดียวเท่านั้น

ถ้าพระองค์ยังไม่ทรงเชื่อ จงมีพระราชโองการแก่พระราชาเหล่านั้นทั้งหมดว่า

เธอทั้งหลายจงแต่งองค์มาหาเรา ดังนี้ ทีนั้นพระองค์ก็จะพึงทอดพระนคร

เห็นอักษรในราชาภรณ์มีภูษาทรงเครื่องประดับและพระขรรค์เป็นต้น อัน

มโหสถจารึกนามของตนถวายไว้แก่พระราชาเหล่านั้น ก็จะพึงทรงเชื่อ ท่าน

ทูลฉะนี้ พระเจ้าจุลนีพรหมทัตก็จักทรงทำตามอย่างนั้น จักทอดพระเนตร

เห็นอักษรที่จารึกชื่อมโหสถในราชาภรณ์เหล่านั้น ก็จักทรงเชื่อและกลัวสะดุ้ง

พระหฤทัยส่งพระราชาเหล่านั้นกลับไป แล้วจักตรัสหารือท่านว่า บัดนี้เรา

จักทำอย่างไรดี ท่านบัณฑิต ท่านควรกราบทูลพระองค์ดังนี้ว่า มโหสถเป็น

คนเจ้ามายามาก ถ้าพระองค์จักประทับอยู่สิ้นวันเล็กน้อย มโหสถก็จักทรงทำ

ปวงเสนาของพระองค์ให้อยู่ในเงื้อมมือตนแล้วจับพระองค์ เราทั้งหลายอย่า

เนิ่นช้า รีบขึ้นม้าหนีไปเสียในระหว่างมัชฌิมยามวันนี้ ขอมรณภัยของพวกเรา

จงอย่ามีในคนอื่นเลย พระเจ้าจุลนีพรหมทัตได้ทรงฟังคำของท่านดังนั้นก็

จักทรงทำตาม ท่านจงกลับในเวลาที่พระเจ้าจุลนีหนีไป แล้วยังพวกโยธาของ

เราให้รู้ พราหมณ์อนุเกวัฏได้ฟังคำชี้แจงนั้น ก็กล่าวว่า ข้าแต่ท่านบัณฑิต ดี

แล้ว ข้าพเจ้าจักทำตามคำของท่าน มโหสถจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านควร

ทนต่อการประหารเล็กน้อย อนุเกวัฏกล่าวตอบว่า ข้าแต่ท่านบัณฑิต ยกเสีย

แต่ชีวิตและมือเท้าของข้าพเจ้า เหลือจากนั้น ท่านจงทำตามชอบใจของท่าน

มโหสถจึงให้สิ่งของแก่เหล่าชนในเรือนของอนุเกวัฏแล้ว ทำพราหมณ์ให้ถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 453

ประการอันแปลกโดยนัยที่กล่าวแล้ว แล้วให้นั่งในสาแหรกเอาเชือกผูกโรยลง

ไปให้แก่พวกเสวกของพระเจ้าจุลนีพรหมทัต.

ลำดับนั้น พวกเสนาก็จับอนุเกวัฏนำไปถวายพระเจ้าพรหมทัต พระ

ราชาทรงทดลองแล้ว ก็ทรงเชื่อพราหมณ์อนุเกวัฏ จึงพระราชทานรางวัลแก่

อนุเกวัฏแล้วให้ปกครองเสนา ฝ่ายอนุเกวัฏก็ยังเสนาให้ลงในสถานที่มีจระเข้ร้าย

พลนิกายถูกจระเข้ทั้งหลายขบกัด ถูกกองรักษาที่อยู่บนหอรบยิงพุ่งเอาด้วยศร

หอกและโตมร ก็ถึงความพินาศใหญ่ จำเดิมแต่นั้น ๆ ก็ไม่อาจเข้าไปใกล้ด้วย

ความกลัวอันตรายเห็นปานนั้น ลำดับนั้น อนุเกวัฏเข้าเฝ้าพระเจ้าจุลนีพรหมทัต

ทูลว่า ข้าแต่เทพเจ้า พวกคนรบเพื่อประโยชน์แก่พระองค์ไม่มี มีแต่พวกรับสิน

บนทั้งนั้น ถ้าพระองค์ไม่เชื่อ จงให้พวกเหล่านั้นมา จักทอดพระเนตรเห็นอักษร

จารึกชื่อมโหสถในเครื่องอุปโภคมีผ้านุ่งที่นุ่งอยู่เป็นต้น พระเจ้ากรุงอุตตรปัญ

จาละให้ทำอย่างนั้น ก็ทอดพระเนตรเห็นอักษรในผ้าเป็นต้นแห่งพวกนั้นทั้งหมด

ก็เข้าพระทัยแน่ว่าพวกนี้รับสินบน จึงตรัสถามอนุเกวัฏว่า บัดนี้เราควรจะทำ

อย่างไร ท่านอาจารย์ ครั้นอนุเกวัฏทูลตอบว่า กิจอื่นที่ควรทำไม่มี พระเจ้าข้า

ถ้าพระองค์ทรงรีรออยู่ มโหสถจักจับพระองค์ ส่วนอาจารย์เกวัฏ ก็สาละวนอยู่

แต่แผลที่หน้าผากเท่านั้น แต่รับสินบนเหมือนกัน เพราะแกรับมณีรัตนะ

แล้ว ยังพระองค์ให้หนีไปสิ้น ๓ โยชน์ ให้ทรงเชื่อถือแล้วให้กลับ แกนี้แหละยุยง

ให้กองทัพแตก ข้าพระองค์ไม่สมัครจะอยู่แม้สักคืนเดียว ควรจะหนีเสียใน

ระหว่างเที่ยงคืนวันนี้ ยกข้าพระองค์เสีย บุคคลอื่นจะเป็นผู้ร่วมพระหฤทัย

ไม่มี ครั้นอนุเกวัฏทูลฉะนี้ ก็ตรัสสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านอาจารย์จงผูกม้าที่

นั่งแล้วตระเตรียมยาน อนุเกวัฏรู้ความที่พระเจ้าจุลนีจะหนีโดยทรงวินิจฉัยแน่

จึงทูลให้อุ่นพระหฤทัยว่า อย่ากลัวเลย พระเจ้าข้า แล้วออกไปข้างนอกสั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 454

พวกบุรุษที่มโหสถวางไว้ว่า วันนี้พระเจ้าอุตตรปัญญาจาละจะหนี ท่านทั้งหลาย

อย่าหลับเสีย สั่งฉะนี้แล้วผูกม้าที่นั่งมั่นคง อย่างที่รั้งไว้จะให้หยุดมันยิ่งสำคัญ

ว่าวิ่งหนีตะบันไป แล้วนำมันมาไว้ในระหว่างมัชฌิมยามแล้วกราบทูลว่า ม้า

ที่นั่งเตรียมผูกไว้แล้ว พระเจ้าข้า ขอทรงทราบเวลาเสด็จ พระราชาก็ขึ้นม้า

หนีไป ฝ่ายอนุเกวัฏก็ขึ้นม้าทำเหมือนโดยเสด็จด้วยหน่อยหนึ่งก็กลับ ม้าที่นั่ง

ที่ผูกมั่นคงแม้พระราชารั้งให้หยุด ก็พาพระราชาหนีไปอย่างเดียว ฝ่ายอนุเกวัฏ

เข้าในหมู่เสนาก็ร้องอึงขึ้นว่า พระราชาจุลนีพรหมทัตเสด็จหนีไปแล้ว พวก

บุรุษที่มโหสถวางไว้ก็ร้องบอกกันกับพวกของตน ฝ่ายพระราชาร้อยเอ็ดได้

สดับเสียงนั้น ก็สำคัญว่า มโหสถเปิดประตูเมืองออกมา บัดนี้เขาจักไม่ไว้

ชีวิตพวกเรา ก็กลัวสะดุ้งตกใจ ไม่เหลียวแลเครื่องอุปโภคบริโภคพากันหนี

ไปแต่ที่นั้น ๆ ชนทั้งหลายก็ร้องเอ็ดกันขึ้นว่า แม้พระราชาร้อยเอ็ดก็เสด็จหนี

ไปแล้ว กองรักษาอยู่ ที่บนประตูหอรบได้ยินเสียงนั้น ก็โห่ร้องตบมือกันขึ้น

ขณะนั้น พระนครมิถิลาทั้งสิ้น ทั้งภายในภายนอกก็บันลือเสียงสนั่นหวั่นไหว

เป็นอันเดียวกัน เพียงดังแผ่นดินแยกออก เพียงดังท้องทะเลปั่นป่วนฉะนั้น

พลนิกาย ๑๘ อักโขภิณีกลัวแต่มรณภัย ด้วยเข้าใจว่า พระเจ้าจุลนีและ

พระราชาร้อยเอ็ดถูกมโหสถจับไว้ได้แล้ว ก็ทั้งแม้ผ้าสาฎกที่พันท้องของตน ๆ

เสียหนีไป สถานที่ตั้งกองทัพว่างเปล่า พระเจ้าจุลนีพรหมทัตพาพระราชา

ร้อยเอ็ดไปสู่นครของตน วันรุ่งขึ้นพลนิกายชาวกรุงมิถิลาเปิดประตูเมืองออก

มาแต่เช้า เห็นสิ่งของกองอยู่เป็นอันมาก จึงแจ้งแก่มโหสถว่า ข้าแต่ท่าน

บัณฑิต พวกเราจักทำอย่างไร มโหสถกล่าวว่า ทรัพย์ที่พวกข้าศึกทิ้งไว้

ตกเป็นของพวกท่าน พวกท่านจงถวายสิ่งที่เป็นของพระราชาทั้งปวงแด่พระ-

ราชาของเราทั้งหลาย จงนำสิ่งเป็นของเศรษฐีและเกวัฏมาให้แก่เรา ชาวเมือง

จงถือเอาสิ่งที่เหลือจากนี้ เมื่อชนทั้งหลายนำรัตนภัณฑ์มีค่ามากไปอยู่ กินเวลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 455

ล่วงไปถึงกึ่งเดือน ก็แต่ชนทั้งหลายนำของอันเหลือจากนั้นไป กินเวลาถึง ๔

เดือน พระโพธิสัตว์ให้รางวัลเป็นอันมากแก่พราหมณ์อนุเกวัฏ ได้ยินว่า จำเดิม

แต่นั้นมา ชาวกรุงมิถิลาก็บังเกิดมั่งคั่งมั่งมีเงินแลทอง รัตนะมีค่ามากก็เกิดมี

มากหลาย.

พระเจ้าจุลนีพรหมทัตประทับอยู่ ณ เมืองอุตตรปัญจาละกับพระราชา

ร้อยเอ็ดเหล่านั้น ล่วงไปปีหนึ่ง.

อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณ์เกวัฏแลดูหน้าด้วยกระจกก็เห็นแผลที่หน้าผาก

จึงคิดว่า นี้มโหสถทำไว้ มโหสถทำเราให้อายแก่พระราชาทั้งหลายมีประมาณ

เท่านี้ คิดฉะนี้ก็เกิดโกรธขึ้น คิดว่า เมื่อไรหนอ เราจักเป็นผู้สามารถเห็น

หลังแห่งมโหสถ ก็นึกได้ว่า อุบายมีอยู่ ลงสันนิษฐานแน่ว่า พระราชธิดาของ

พระราชาแห่งเรามีพระนามว่า ปัญจาลจันที มีพระรูปโฉมอุดมเปรียบด้วย

เทพอัปสร เราจักให้พระนางนั้นแก่พระเจ้าวิเทหราช โลมเธอด้วยกาม แล้ว

นำเธอผู้เป็นดังปลากลืนเบ็ดกับมโหสถมา ฆ่าเสียทั้งสองคนแล้วดื่มชัยบาน

ตระหนักแน่ฉะนี้แล้ว จึงเข้าเฝ้ากราบทูลแด่พระเจ้าจุลนีว่า ข้าแต่สมมติเทพ

ยังมีความคิดอีกอย่างหนึ่ง พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับคำของเกวัฏ จึงตรัสว่า

แน่ะท่านอาจารย์ พวกเราไม่เป็นเจ้าของแม้แห่งผ้าสาฎกที่พันท้อง เพราะ

อาศัยความคิดของท่าน บัดนี้ท่านจักทำอะไรอีก นิ่งเสียทีเถิด เกวัฏจึงทูลว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า อุบายอื่นเช่นอุบายนี้ไม่มี พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น

ท่านจงกล่าวให้ฟัง พราหมณ์เกวัฏทูลว่า ถ้าจะทูล ควรอยู่แต่สอง พระเจ้าข้า

พระราชาทรงเห็นชอบด้วย พราหมณ์จึงเชิญเสด็จพระราชาขึ้นบนปราสาท

ให้เสด็จเข้าไปในห้องบรรทมแล้วทูลว่า เราทั้งหลายจักโลมพระเจ้าวิเทหราช

ด้วยกิเลส แล้วเอาตัวมาฆ่าเสียพร้อมกับมโหสถ พระราชาตรัสว่า อุบายนี้งาม

แต่เราจักเล้าโลมนำเขามาอย่างไร เกวัฏทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 456

ราชธิดาของพระองค์ผู้มีพระนามว่า ปัญจาลจันที ทรงรูปโฉมงดงาม พวกเรา

จักให้จินตกวีประพันธ์รูปสมบัติอันทรงสิริ และความงามแห่งอิริยาบถสี่ของ

พระราชธิดานั้น ด้วยประพันธ์เป็นเพลงขับ แล้วให้ผู้ชำนาญขับร้องกาพย์กลอน

เหล่านั้น ในกรุงมิถิลา ให้มีใจความว่า เมื่อจอมนรินทร์ปิ่นวิเทหรัฐ ไม่ได้

นารีรัตน์เห็นปานนี้ ราชสมบัติก็ไม่มีประโยชน์อะไร ดังนี้ รู้ว่าพระเจ้า

วิเทหราชปฏิพัทธ์เกี่ยวเนื่องด้วยการฟังนั่นแล ข้าพระองค์จักไปในกรุงมิถิลา

กำหนดวันมารับพระราชธิดาอภิเษก เมื่อข้าพระองค์กำหนดวันกลับมาแล้ว

พระเจ้าวิเทหราชก็จักเป็นเหมือนปลากลืนเบ็ด พามโหสถมา ภายหลังเรา

ทั้งหลายก็จักฆ่าพระเจ้าวิเทหราชกับมโหสถเสีย พระเจ้าจุลนีได้สดับคำของ

เกวัฏแล้วทรงยินดีรับรองว่า อุบายของท่านงาม เราทั้งหลายจักทำอย่างนั้น

ก็นางนกสาลิกาที่เลี้ยงไว้ในที่บรรทมแห่งพระเจ้าจุลนีพรหมทัต ได้ฟังความติด

นั้นแล้วได้ทำให้ประจักษ์ พระเจ้าจุลนีให้เรียกพวกจินตกวีเก่ามาพระราชทาน

ทรัพย์เป็นอันมาก แล้วแสดงพระราชธิดาแก่พวกนั้น ตรัสว่า เจ้าทั้งหลายจง

ประพันธ์กาพย์กลอนอาศัยรูปสมบัติของธิดานี้ พวกจินตกวีเหล่านั้นก็ประพันธ์

เพลงขับอย่างจับใจยิ่งแล้วขับถวายพระราชา พระราชาก็พระราชทานทรัพย์

เป็นอันมากแก่พวกนั้นอีก นางฟ้อนรำทั้งหลายเรียนกาพย์กลอนแต่สำนัก

จินตกวีทั้งหลายแล้วไปขับร้องในมณฑลมหรสพ เพลงขับเหล่านั้นได้แพร่ไป

ด้วยประการฉะนี้ เมื่อเพลงขับเหล่านั้นได้แพร่ไปในหมู่ประชาชน พระเจ้า

จุลนีตรัสให้เรียกพวกกับร้องทั้งหลายมาตรัสสั่งว่า เจ้าทั้งหลายจงจับนกใหญ่

ให้มาก ขึ้นสู่ต้นไม้ในราตรี นั่งขับร้องอยู่บนต้นไม้นั้น ครั้นเวลาใกล้รุ่ง

จงผูกกังสดาลที่คอนกเหล่านั้นปล่อยขึ้นไปแล้วจึงลงจากต้นไม้ พระเจ้าจุลนี

ให้ทำดังนั้น เพื่อเหตุให้เป็นของปรากฏว่า แม้เทวดาทั้งหลายก็ขับร้อง

พรรณนาพระรูปโฉมแห่งพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงปัญจาละ พระเจ้าจุลนี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 457

ตรัสเรียกเหล่าจินตกวีนั้นมาอีกตรัสว่า บัดนี้เจ้าทั้งหลายจงพรรณนาสรรเสริญ

ว่า นางกุมาริกาเห็นปานนี้หาสมควรแก่พระราชาอื่นในพื้นชมพูทวีปไม่ นาง

สมควรแก่พระเจ้าวิเทหราชกรุงมิถิลา และอิสริยยศของนางนี้ผู้เดียวควรแก่

พระเจ้าวิเทหราช ดังนี้ ผูกให้เป็นเพลงขับ จินตกวีเหล่านั้นทำตามรับสั่งแล้ว

ขับถวายให้ทรงสดับ พระเจ้าจุลนีก็พระราชทานทรัพย์แก่พวกนั้นแล้วตรัสสั่ง

ว่า เจ้าทั้งหลายจงไปสู่กรุงมิถิลา แล้วขับโดยอุบายนี้แหละในกรุงมิถิลานั้นอีก

จินตกวีเหล่านั้นเมื่อขับเพลงขับเหล่านั้น ไปถึงกรุงมิถิลาโดยลำดับ ก็ขับ ณ

โรงมหรสพ มหาชนได้ฟังเพลงขับเหล่านั้นก็ยังเสียงโห่ร้องเกรียวกราวให้เป็น

ไป ได้ให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่พวกนั้น พวกนั้นขับบนต้นไม้ในเวลาราตรี

ครั้นใกล้รุ่งก็ผูกกังสดาลที่คอนกทั้งหลายแล้วลงจากต้นไม้ เสียงโกลาหลเป็น

อันเดียวกันว่า แม้เทวดาทั้งหลายก็ขับร้องพรรณนาพระรูปโฉมของพระราชธิดา

พระเจ้ากรุงปัญจาละ ดังนี้ ได้มีในพระนครทั้งสิ้น เพราะได้ยินเสียงกังสดาล

ในอากาศ พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับเสียงนั้น จึงให้เรียกพวกนักประพันธ์

กาพย์กลอนมาให้เล่นมหรสพในพระราชนิเวศน์แล้ว ทรงดำริว่า ได้ยินว่า

พระเจ้าจุลนีมีพระราชประสงค์จะประทานพระราชธิดาผู้ทรงรูปโฉมอันอุดมเห็น

ปานนี้แก่เรา ทรงดำริฉะนี้ก็ทรงยินดี ได้พระราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่

นักประพันธ์เหล่านั้น พวกนั้นก็กลับนำความมากราบทูลพระเจ้าจุลนีพรหมทัต

ลำดับนั้น อาจารย์เกวัฏจึงกราบทูลพระเจ้าจุสนีว่า บัดนี้ข้าพระบาทจักไปเพื่อ

กำหนดวัน พระราชาตรัสว่า ดีแล้วอาจารย์ ท่านควรจะเอาอะไรไปบ้าง

เกวัฏกราบทูลว่า ควรเอาบรรณาการบ้างเล็กน้อยไป พระเจ้าข้า ก็ทรงอนุญาต

เกวัฏก็ถือเอาเครื่องบรรณาการไปด้วยบริวารใหญ่ ถึงวิเทหรัฐเสียงโกลาหล

เป็นอันเดียวกันได้บังเกิดในกรุงมิถิลา เพราะได้ฟังการมาของเกวัฏว่า ได้ยินว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 458

พระเจ้าจุลนีกับพระเจ้าวิเทหราชจักกระทำสัมพันธไมตรีต่อกัน ฝ่ายพระเจ้า

จุลนีจักประทานพระธิดาของพระองค์ แด่พระราชาของพวกเรา ได้ยินว่า

พราหมณ์เกวัฏมาเฝ้าเพื่อกำหนดวันเสด็จไปอภิเษก พระเจ้าวิเทหราชได้ทรง

ฟังคำนั้น แม้พระมหาสัตว์ก็ได้ฟังเหมือนกัน ความปริวิตกได้มีแก่พระมหาสัตว์

ว่า การที่เกวัฏมาย่อมไม่ชอบใจเรา เราจักรู้เหตุนั้นโดยความเป็นจริง ดังนี้

เพราะได้ยินคำลือนั้น มโหสถจึงส่งข่าวไปยังบุรุษที่วางไว้ในสำนักของพระเจ้า

จุลนีว่า เจ้าจงรู้ข้อความนี้ตามความเป็นจริงส่งข่าวมาให้รู้ ลำดับนั้น พวกบุรุษ

ที่วางไว้จึงส่งข่าวตอบมาว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายไม่รู้ข้อความนี้โดยความเป็นจริง

พระเจ้าจุลนีกับเกวัฏนั่งปรึกษากันอยู่ในห้องบรรทม ก็แต่นกสาลิกาที่เลี้ยงไว้

ในที่บรรทมของพระเจ้าจุลนีรู้ความคิดอันนี้ พระมหาสัตว์ได้สดับดังนั้นแล้ว

คิดว่า เราจักไม่ให้เกวัฏเห็นบ้านเมืองที่จัดดีแล้ว จำแนกดีแล้ว อย่างที่

ปัจจามิตรไม่มีโอกาส มโหสถจึงให้ล้อมทางที่มาทั้งสองข้าง และเบื้องบนด้วย

เสื่อลำแพน ตั้งแต่ประตูพระนครจนถึงพระราชนิเวศน์ และตั้งแต่พระราช-

นิเวศน์จนถึงเรือนตน ให้เขียนภาพโปรยดอกไม้ที่พื้น ให้ตั้งหม้อน้ำมีน้ำเต็ม

และให้ปักต้นกล้วยผูกธงไว้ เกวัฏเข้าสู่พระนคร เมื่อไม่เห็นเมืองที่จำแนกดี

แล้วก็คิดว่า พระราชาให้ตกแต่งมรรคาไว้รับเรา ไม่รู้ว่า เขาทำเพื่อไม่ให้เห็น

บ้านเมือง เกวัฏไปเฝ้าถวายบังคมพระเจ้าวิเทหราช ถวายเครื่องบรรณาการ

ทูลปฏิสันถารแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชทรงทำสักการะ

สัมมานะแล้ว เมื่อจะกราบทูลถึงเหตุการณ์ที่ตนมา ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นว่า

พระราชามีพระราชประสงค์จะทรงทำสันถว-

ไมตรี จะประทานรัตนะทั้งหลายแด่พระองค์ แต่นี้ไป

ทูตทั้งหลายผู้มีวาจาไพเราะ กล่าวคำที่น่ารัก จงมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 459

จงกล่าววาจาอันอ่อนหวาน เป็นวาจาที่น่ายินดี

ปัญจาลรัฐและวิเทหรัฐทั้งสองนั้น จงเป็นอันหนึ่งอัน

เดียวกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺถวกาโม เต ความว่า ข้าแต่พระ-

มหาราชเจ้า พระราชาของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระราชประสงค์จะทรงทำ

สันถวไมตรีกับด้วยพระองค์. บทว่า รตนานิ ความว่า จะประทานรัตนะ

ทั้งหลายตั้งต้นแต่พระราชธิดาซึ่งเป็นอิตถีรัตนะแต่พระองค์. บทว่า อาคจฺ-

ฉนฺตุ ความว่า ได้ยินว่า ตั้งแต่นี้ไป ทูตทั้งหลายผู้มีวาจาไพเราะ กล่าวคำ

ที่น่ารัก คุมเครื่องบรรณาการแต่อุตตรปัญจาลนคร มาในมิถิลานครนี้ และ

แต่มิถิลานครั้น ไปในอุตตรปัญจาลนครั้นนั้น. บทว่า เอกา ภวนฺตุ ความว่า

ขอรัฐทั้งสองนั้นจงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทีเดียว ดุจน้ำในคงคาไหลร่วมกับ

น้ำในยมุนาฉะนั้น.

ก็แลครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว เกวัฏได้กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่

พระมหาราชเจ้า พระราชาของข้าพระเจ้าใคร่จะส่งมหาอมาตย์อื่นมา ก็ไม่

สามารถจะแจ้งข่าวให้เป็นที่ชอบพระราชหฤทัย เพราะฉะนั้น จึงส่งข้าพระเจ้า

มาโดยพระราชโองการว่า ท่านอาจารย์ ท่านจงยังพระเจ้าวิเทหราชให้ทรง

ทราบดีแล้วพาเสด็จมา ดังนี้ ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ขอพระองค์เสด็จ

ราชดำเนินไป จักได้พระราชธิดามีรูปงามนัก และสันถวไมตรีกับพระราชา

ของข้าพระองค์ทั้งหลายจักดำรงมั่นแด่พระองค์ พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับ

คำของเกวัฏแล้วทรงโสมนัส ข้องอยู่ด้วยอันได้ทรงฟังว่า จักได้พระราชธิดา

รูปงามที่สุด จึงตรัสว่า แน่ะอาจารย์ ได้ยินว่า ความวิวาทในเพราะธรรมยุทธ์

ได้มีแก่ท่านและมโหสถ ท่านจงไปหามโหสถบุตรเรา ท่านทั้งสองเป็นบัณฑิต

จงยังกันและกันให้ขมาโทษ ปรึกษาหารือกันแล้วจงกลับมา เกวัฏได้ฟัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 460

พระราชดำรัส ก็ไปด้วยคิดว่า เราจักพบมโหสถ ฝ่ายพระมหาสัตว์รู้ว่าเกวัฏ

จะมายังสำนักตนวันนั้น จึงคิดว่า การที่เราจะเจรจากับเกวัฏผู้มีกรรมอันลามก

เป็นธรรมดาจงอย่าได้มีเลย คิดดังนี้แล้ว จึงดื่มเนยใสหน่อยหนึ่งแต่เช้า ผู้รักษา

เรือนเอาโคมัยสดเป็นอันมากละเลงเรือนมโหสถ และเอาน้ำมันทาเสาทั้งหลาย

แต่ตั้งเตียงผ้าไว้หนึ่งเตียงสำหรับเป็นที่นอนแห่งมโหสถ นอกจากนี้ให้เก็บ

เสียสิ้นไม่ว่าเตียงหรือตั่ง มโหสถได้ให้สัญญาแก่ชนบริวารว่า เมื่อพราหมณ์

ปรารถนาจะพูดกับพวกเจ้า พวกเจ้าพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะพราหมณ์ ท่าน

อย่าพึงพูดกับท่านบัณฑิต เพราะวันนี้ท่านบัณฑิตดื่มเนยใส ในเมื่อเราทำ

อาการจะพูดกับเกวัฏ พวกเจ้าพึงห้ามเสียว่า ท่านดื่มเนยใสอย่างแรง ท่าน

อย่าพูด มโหสถจัดอย่างนี้แล้วนุ่งผ้าแดง วางคนรักษาไว้ที่ซุ้มประตูทั้ง ๗ ชั้น

แล้วนอนบนเตียงผ้า ฝ่ายเกวัฏยืนที่ซุ้มประตูที่ ๑ ของเรือนมโหสถ ถามว่า

บัณฑิตอยู่ไหน ลำดับนั้น ชนทั้งหลายก็ห้ามพราหมณ์เกวัฏว่า แน่ะพราหมณ์

ท่านอย่าส่งเสียง ถ้าท่านอยากจะมา จงนานิ่ง ๆ เพราะวันนี้ท่านบัณฑิตดื่ม

เนยใสอย่างแรง ท่านจักต้องไม่ทำเสียงอื้ออึง ชนทั้งหลายที่ซุ้มประตูนอกจากนี้

ก็กล่าวห้ามพราหมณ์อย่างนั้น เกวัฏล่วงชั้นประตูที่ ๗ ก็ถึงสำนักมโหสถ

มโหสถแสดงอาการจะพูด ลำดับนั้น ชนทั้งหลายกล่าวห้ามว่า ท่านอย่าได้พูด

เพราะท่านดื่มเนยใสอย่างแรง ประโยชน์อะไรด้วยการพูดกับพราหมณ์ร้ายนี้

เกวัฏไปสำนักมโหสถบัณฑิต ไม่ได้นั่ง ไม่ได้แม้ที่ยืนอาศัยอาสนะ ต้องยืน

เหยียบโคมัยสดอยู่ ลำดับนั้น คนใช้ของมโหสถคนหนึ่ง แลดูเกวัฏแล้วเลิก

ตาขึ้น คนหนึ่งแลดูแล้วยักคิ้ว คนหนึ่งแลดูแล้วงอศอกเงื้อ คนบางพวก

แสดงวิการมีวิการมือและเท้าเป็นต้น เกวัฏเห็นกิริยาของพวกมโหสถ ก็เก้อเขิน

กล่าวว่า แน่ะท่านบัณฑิต ข้าพเจ้าลาไปละ เมื่อคนอื่น ๆ กล่าวว่า แน่ะ

พราหมณ์ร้ายถ่อย แกอย่าส่งเสียง ถ้าว่าแกขืนส่งเสียง พวกเราจักทำลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

กระดูกแกเสีย ก็เป็นผู้ทั้งกลัวทั้งตกใจ กลับไปไม่เหลียวหลัง ลำดับนั้น

คนหนึ่งลุกขึ้นตีหลังเกวัฏด้วยซีกไม้ไผ่ คนหนึ่งประหารหลังด้วยฝ่ามือ คนหนึ่ง

ไสคอผลักไปในระหว่าง เกวัฏทั้งกลัวทั้งตกใจออกไปสู่พระราชวัง ดุจมฤคพ้น

จากปากราชสีห์ พระเจ้าวิเทหราชทรงดำริว่า วันนี้บุตรของเราได้ฟังประพฤติ

เหตุนี้แล้วจักเป็นผู้ยินดี ธรรมสากัจฉาใหญ่จะพึงมีแก่บัณฑิตทั้งสอง วันนี้

บัณฑิตทั้งสองจักยังกันและกันให้ขมาโทษ เป็นลาภของเราหนอ พระองค์

ทอดพระเนตรเห็นเกวัฏ เมื่อจะตรัสถามอาการสังสนทนากับมโหสถบัณฑิต

จึงตรัสคาถานี้ว่า

ดูก่อนอาจารย์เกวัฏ ท่านได้พบกับมโหสถ เป็น

อย่างไรหนอ เชิญกล่าวข้อความนั้นเถิด มโหสถกับ

ท่านต่างงดโทษกันแล้วกระมัง มโหสถยินดีแล้วกระมัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏินิชฺฌตฺโต ความว่า เพื่อระงับ

การทะเลาะกันที่เป็นไปในสนามธรรมยุทธ์ มโหสถได้งดโทษให้ท่าน และ

ท่านก็ได้งดโทษให้มโหสถแล้วหรือ. บทว่า กจฺจิ ตุฏโ ความว่า มโหสถ

ได้ฟังประพฤติเหตุที่พระราชาของพวกท่านส่งมา ยินดีแล้วกระมัง.

ลำดับนั้น เกวัฏทูลว่า พระองค์อย่าทรงถือมโหสถว่าเป็นบัณฑิตเลย

พระเจ้าข้า คนที่ชื่อว่าเป็นอสัตบุรุษยิ่งกว่ามโหสถไม่มี แล้วกล่าวคาถานี้ว่า

ข้าแต่พระจอมประชากร บุรุษที่ชื่อมโหสถเป็น

คนเลว ไม่น่าชื่นชม กระด้าง มิใช่สัตบุรุษ ไม่พูด

อะไรสักคำ เหมือนคนใบ้คล้ายคนหนวก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสพฺภิรูโป ได้แก่ มิใช่ชาติบัณฑิต.

บทว่า น กิญฺจิตฺถ ความว่า มโหสถไม่กล่าวข้อความอะไร ๆ กับเรา ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 462

เหตุนั้นแล เราจึงเข้าใจเขาว่าไม่ใช่บัณฑิต เกวัฏกล่าวโทษของพระโพธิสัตว์

ด้วยประการฉะนี้.

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงฟังคำของเกวัฏแล้ว ไม่ทรงยินดี ไม่ทรง

คัดค้าน โปรดให้พระราชทานเสบียงและเรือนพักอยู่แก่เกวัฏและเหล่าบริวาร

ที่มาด้วย ทรงส่งเกวัฏไปด้วยรับสั่งว่า เชิญท่านอาจารย์ไปพักผ่อน ดังนี้แล้ว

ทรงดำริว่า มโหสถบุตรของเราเป็นผู้ฉลาดในปฏิสันถาร ได้ยินว่า เขาไม่ได้

ทำปฏิสันถารกับเกวัฏเลย ไม่แสดงความยินดี เขาจักเห็นภัยอะไร ๆ ในอนาคต

ดำริฉะนี้แล้ว ก็เริ่มกถาขึ้นเองตรัสคาถานี้ว่า

บทมนต์นี้เห็นได้แสนยากโดยแท้ ข้อความที่ดี

อันนระผู้มีความเพียรเห็นแล้ว ความจริง กายของเรา

ก็หวั่นไหว ใครจักละแคว้นของตนไปสู่เงื้อมมือของ

คนอื่นเล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท ความว่า บทมนต์นี้ที่บุตรของเรา

เห็นแล้ว คนอื่นนอกนี้เห็นได้แสนยากโดยแท้. บทว่า นรวิริเยน ความว่า

ข้อความที่ดีอันนระผู้มีความเพียรจักเห็นแล้ว. บทว่า สย ความว่า ใครจัก

ละแว่นแคว้นของตนไปสู่เงื้อมมือของคนอื่นเล่า.

เมื่อพระเจ้าวิเทหราชทรงนึกถึงข้อความนั้นว่า บุตรของเราจักเห็น

โทษในการมาของพราหมณ์เกวัฏ ด้วยว่าเกวัฏนี้ เมื่อมา จักมิได้มาเพื่อต้องการ

สันถวไมตรี แต่แกคงมาเพื่อเล้าโลมเราด้วยกามคุณแล้วพาไปเมืองของตนเอา

ตัวไว้ บุตรของเราจักเห็นภัยในอนาคตนั้นแล้ว ทรงนึกอยู่อย่างนี้ ก็ทั้งกลัว

ทั้งสะดุ้งประทับนั่งอยู่ บัณฑิตทั้ง ๔ คนมาเฝ้า พระราชาตรัสถามเสนกะว่า

การที่เราจะไปอุตตรปัญจาลนครนำพระราชธิดาของพระเจ้าจุลนีมาท่านชอบใจ

อยู่หรือ เสนกะกราบทูลว่า พระองค์รับสั่งอะไร พระเจ้าข้า เพราะว่าควรที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 463

พระองค์จะนำสิริซึ่งมาถึงอย่าให้หนีไปเสีย หากพระองค์เสด็จไปกรุงปัญจาละ

ก็จักได้รับพระราชธิดามา กษัตริย์องค์อื่นยกเสียแต่พระเจ้าจุลนีพรหมทัต จัก

เป็นผู้เสมอด้วยพระองค์ย่อมไม่มีในพื้นสกลชมพูทวีป เพราะอะไร เพราะ

พระองค์ได้พระราชธิดาของพระราชาผู้เป็นใหญ่มาเป็นมเหสี จริงอยู่ พระเจ้า

จุลนีพรหมทัตเป็นพระราชาเลิศในพื้นสกลชมพูทวีป ใคร่จะยกพระราชธิดา

ผู้ทรงพระรูปโฉมอันอุดมถวายแด่พระองค์ ก็ด้วยทรงเห็นว่า พระราชานอกนี้

เป็นคนของเรา พระเจ้าวิเทหราชพระองค์เดียวเสมอเรา ขอพระองค์ทรงทำ

ตามคำของพระเจ้าจุลนีเถิด แม้พวกข้าพระองค์ก็จักได้ผ้าและเครื่องประดับ

ทั้งหลาย เพราะอาศัยพระองค์ พระเจ้าวิเทหราชตรัสถามอาจารย์อีก ๓ คน

ที่เหลือ อาจารย์เหล่านั้นก็กราบทูลเช่นเดียวกัน เมื่อพระราชากำลังรับสั่งอยู่

กับอาจารย์ทั้ง ๔ พราหมณ์เกวัฏออกจากเรือนพักรับรองมาถวายบังคมพระ

ราชาด้วยคิดว่า เราจักทูลลาพระราชากลับ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ

ข้าพระองค์ไม่อาจรอช้า จักทูลลากลับ พระราชาทรงทำสักการะแก่เกวัฏแล้ว

ทรงส่งเขากลับไป พระมหาสัตว์รู้ว่าเกวัฏกลับแล้ว จึงอาบน้ำแต่งกายไปเฝ้า

พระราชา ถวายบังคมพระราชาแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พระราชาทรง

ดำริว่า มโหสถบัณฑิตบุตรเราเป็นผู้มีความคิดมาก ถึงฝั่งแห่งมนต์ ย่อมรู้

ข้อความทั้งหลายทั้งในอดีตอนาคตและปัจจุบัน เป็นนักปราชญ์ จักรู้ว่าควร

หรือไม่ควรที่เราจะไปในกรุงปัญจาละ พระองค์มิได้ตรัสเรื่องของพระองค์ที่ทรง

คิดไว้ก่อน เป็นผู้กำหนัดยินดีเพราะราคะ หลงเพราะโมหะ เมื่อจะตรัสถาม

จึงตรัสคาถานี้ว่า

พวกเราทั้ง ๖ คน เป็นบัณฑิตมีปัญญาสูงสุดดุจ

แผ่นดิน มีมติเสมอกันเป็นเอกฉันท์ทีเดียว พ่อมโหสถ

แม้เจ้าก็จงทำมติว่า ไปหรือไม่ไป หรืออยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 464

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺน ความว่า พ่อบัณฑิต พวกเรา

๖ คน คือ พราหมณ์เกวัฏ ๑ เรา ๑ และอาจารย์ ๔ คนเหล่านั้น. บทว่า

เอกาว มติ ความว่า มีอัธยาศัยเป็นอันเดียวกัน ร่วมกันเหมือนน้ำแม่น้ำ

คงคาไหลร่วมกับน้ำแม่น้ำยมุนาฉะนั้น. บทว่า เย ความว่า พระเจ้าวิเทหราช

ตรัสว่า พวกเราทั้ง ๖ คนเป็นบัณฑิตสูงสุด มีปัญญาสูงสุดดุจแผ่นดินเหล่านั้น

ย่อมชอบใจการที่พระเจ้าจุลนีนำพระราชธิดามา. บทว่า าน ได้แก่ อยู่ใน

ที่นี้เท่านั้น. บทว่า มตึ กโรหิ ความว่า ชื่อว่าความชอบใจของพวกเรา

ยังเอาเป็นประมาณไม่ได้ แม้เจ้าก็จงแสดงความคิดว่า การที่พวกเราไปปัญ-

จาลนครเพื่อประโยชน์อาวาหมงคล หรือไม่ไปหรืออยู่ในที่นี้เท่านั้น เจ้าชอบ

อย่างไร.

พระมหาสัตว์ได้ฟังพระราชดำรัสดังนั้นจึงคิดว่า พระราชาองค์นี้เป็นผู้

ละโมบในกามารมณ์ ถือเอาคำของอาจารย์ ๔ คนเหล่านี้ ด้วยความเป็นอันธพาล

ย่อมไม่ทรงทราบโทษที่จะเสด็จไป เราจักชี้โทษในการเสด็จไป แล้วจักให้

กลับพระหฤทัยเสีย คิดฉะนั้นแล้วจึงกล่าว ๔ คาถาว่า

ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์ทรงทราบพระเจ้า-

จุลนีพรหมทัตทรงมีอานุภาพมาก มีพลมาก ก็พระ-

ราชานั้นปรารถนาเพื่อปลงพระชนมชีพของพระองค์

ดุจนายพรานฆ่ามฤคด้วยมฤคี ฉะนั้น.

ปลาอยากกินของสดคือเหยื่อ ย่อมกลืนเบ็ดที่คด

ซึ่งปกปิดไว้ด้วยเนื้ออันเป็นเหยื่อ มันย่อมไม่รู้จักความ

ตายของมัน ฉันใด ข้าแต่พระราชา พระองค์ทรง

ปรารถนากาม ย่อมไม่ทรงทราบพระราชธิดาของ

พระเจ้าจุลนี เหมือนปลาไม่รู้จักความตายของตน

ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 465

ถ้าพระองค์เสด็จไปยังปัญจาลนคร จักต้องสละ

พระองค์ทันที ภัยใหญ่จักถึงพระองค์ ดุจภัยมาถึงมฤค

ด้วยตามไปถึงทางประตูบ้าน ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราช พระมหาสัตว์เรียกพระเจ้าวิเทหราช.

บทว่า มหานุภาโว ได้แก่ มียศใหญ่. บทว่า มหพฺพโล ได้แก่ ประกอบ

ด้วยพลนับได้ ๑๘ อักโขภิณี. บทว่า มารณตฺถ ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่

ความตาย. บทว่า โอกจเรน ได้แก่ แม่เนื้อตัวล่อเหยื่อ ก็นายพรานฝึก

แม่เนื้อตัวหนึ่งแล้วเอาเชือกผูกนำไปป่า พักไว้ในที่พวกเนื้อหากิน แม่เนื้อนั้น

ต้องการนำเนื้อโง่มาสำนักตน จึงร้องดังยั่วราคะด้วยสัญญาของตน เนื้อโง่

แวดล้อมด้วยฝูงเนื้อนอนที่พุ่มไม้ในป่า ไม่ให้สัญญาในแม่เนื้อที่เหลือ ได้ฟัง

เสียงของแม่เนื้อนั้น มีใจผูกพันเพราะเกี่ยวข้อง ด้วยฟังเสียงของแม่เนื้อนั้น

ลุกออกไป ชูคอเข้าไปหาแม่เนื้อตัวนั้น ยืนให้ความสะดวกอย่างมากแก่นาย

พราน นายพรานใช้หอกคมกริบแทงเนื้อนั้นให้สิ้นชีวิตในที่นั่นเอง ในเรื่องนั้น

พระเจ้าจุลนี เหมือนนายพราน พระราชธิดาของพระองค์เหมือนแม่เนื้อล่า

เหยื่อ พราหมณ์เกวัฏเหมือนอาวุธในมือของนายพราน อธิบายว่า นายพราน

ต้องการฆ่าเนื้อด้วยเนื้อล่อเหยื่อฉันใด พระเจ้าจุลนีต้องการฆ่าพระเจ้าวิเทหราช

ด้วยพระราชธิดา ฉันนั้น. บทว่า อามคิทฺโธ ความว่า ปลาแม้อยู่ในน้ำลึก

ร้อยวาต้องการเหยื่อคือของสดที่เขาปิดที่คดของเบ็ดไว้นั้น กลืนเบ็ดเข้าไปย่อม

ไม่รู้ความตายของตน. บทว่า ธีตร ความว่า พระองค์ทรงปรารถนากาม

ย่อมไม่ทรงทราบพระราชธิดาของพระเจ้าจุลนีนั้นเป็นเช่นกับเหยื่อที่พรานเบ็ด

คือพระเจ้าจุลนีทรงวางปิดเบ็ดคือคำพูดของพราหมณ์เกวัฏไว้ เหมือนปลาไม่รู้

เหยื่อ คือความตายของมัน. บทว่า ปพฺจาล ได้แก่ อุตตรปัญจาลนคร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 466

บทว่า อตฺต ได้แก่ ตน. บทว่า ปนฺถานุปฺปนฺน ความว่า ภัยใหญ่จัก

มาถึงเนื้อตัวเดินไปตามทางที่ประตูบ้าน เมื่อพวกมนุษย์ถืออาวุธออกจากบ้าน

เพื่อต้องการเนื้อ พวกที่เห็นนั้น ๆ ย่อมฆ่าเนื้อนั้นเสีย ฉันใด มรณภัยใหญ่

จักมาถึงคือจักเข้าถึงพระองค์แม้เมื่อเสด็จอุตตรปัญจาลนคร ฉันนั้น พระมหา-

สัตว์ทูลข่มพระราชาด้วย ๘ คาถา ด้วยประการฉะนี้.

พระเจ้าวิเทหราชถูกพระมหาสัตว์ข่มอย่างเหลือเกินทีเดียว ก็ทรงพิโรธ

ว่า มโหสถนี้หมิ่นเราดุจทาสของตน ไม่สำคัญว่าเราเป็นพระราชา รู้ราช-

สาสน์ที่พระอัครราชส่งมาสำนักเราว่า จักประทานพระราชธิดาดังนี้แล้ว ไม่

กล่าวคำประกอบด้วยมงคลแม้คำหนึ่งมากล่าวกะเราว่า เป็นเหมือนเนื้อโง่

เป็นเหมือนปลากลืนเบ็ด และเป็นเหมือนเนื้อเดินตามทางถึงประตูบ้านจักถึง

ความตาย ครั้นกริ้วแล้วได้ตรัสคาถาเป็นลำดับว่า

พวกเรานี่แหละเป็นคนเขลา บ้าน้ำลายที่กล่าว

ถึงเหตุแห่งการได้รัตนะอันสูงสุดในสำนักเจ้า เจ้า

เจริญด้วยหางไถ จะรู้จักความเจริญเหมือนคนอื่นเขา

ได้อย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลามฺหเส ความว่า เป็นคนเขลา.

บทว่า เอลุมูคา ได้แก่ พวกเรานี่แหละมีปากเต็มไปด้วยน้ำลาย. บทว่า

อุตฺตมคฺถานิ ได้แก่ เหตุให้ได้นางแก้วอันอุดม. บทว่า ตยี ลปิมฺหา

ความว่า กล่าวในสำนักของท่าน. บทว่า กิเมว ความว่า เมื่อจะติเตียนเขา

จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า นงฺคลโกฏิวฑฺโฒ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชทรง

หมายเนื้อความว่า บุตรคฤหบดีย่อมเจริญด้วยถือหางไถนาตั้งแต่เป็นหนุ่ม

เท่านั้น จึงตรัสด้วยพระราชประสงค์นี้เองว่า เจ้าย่อมรู้งานของบุตรคฤหบดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 467

เท่านั้น ย่อมไม่รู้งานที่เป็นมงคลของกษัตริย์ทั้งหลาย. บทว่า อญฺเ ความว่า

คนอื่น ๆ คืออาจารย์เกวัฏหรืออาจารย์เสนกะเป็นต้น รู้จักความเจริญคือมงคล

ของกษัตริย์เหล่านั้น ฉันใด เจ้ารู้จักความเจริญเหล่านั้น ฉันนั้นละหรือ การรู้

จักกิจการของบุตรคฤหบดีนั่นแหละสมควรแก่เจ้า.

พระเจ้าวิเทหราชด่าบริภาษมโหสถแล้วตรัสว่า บุตรคฤหบดีทำ

อันตรายแห่งมงคลแก่เรา ท่านทั้งหลายจงนำเขาออกไปเสีย แล้วตรัสคาถา

เพื่อให้นำมโหสถออกไปว่า

ท่านทั้งหลายจงไสคอมโหสถนี้ให้หายไปเสียจาก

แว่นแคว้นของเรา เพราะเขาพูดเป็นอันตรายแก่การ

ได้รัตนะของเรา.

มโหสถรู้ว่า พระราชากริ้ว จึงคิดว่า หากว่าใครอื่นทำตามพระราช

ดำรัสจับมือหรือคอเรา นั่นไม่ควรแก่เรา เราจะละอายตลอดชีวิต เพราะ

ฉะนั้น เราจักออกไปเสียเอง คิดฉะนี้แล้วจึงถวายบังคมพระราชา ลุกจากที่นั่ง

กลับไปสู่เคหสถานแห่งตน ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชรับสั่งดังนั้น ด้วยอำนาจพระ-

พิโรธเท่านั้น หาได้ตรัสสั่งใคร ๆ ให้ทำดังนั้นไม่ เพราะพระองค์มีพระมนัส

เคารพในพระโพธิสัตว์ ลำดับนั้น พระมหาสัตว์คิดว่า พระราชาองค์นี้เป็น

อันธพาลเกินเปรียบ ย่อมไม่ทรงทราบประโยชน์หรือมิใช่ประโยชน์แด่พระองค์

เป็นผู้ปรารถนาในกาม ทรงทราบแต่ว่า จักได้พระราชธิดาของพระเจ้าจุลนี

หาทรงทราบภัยในอนาคตไม่ เมื่อเสด็จไปกรุงปัญจาละก็จักถึงความพินาศใหญ่

หาควรที่เราจะทำพระราชดำรัสไว้ในใจไม่ เพราะพระองค์ทรงมีพระอุปการะ

แก่เรามาก พระราชทานยศใหญ่แก่เรา ควรที่เราจะเป็นปัจจัยแห่งพระองค์

แล้วดำริต่อไปว่า เราจักส่งสุวโปดกไปก่อน รู้ความจริงแล้วไปเองภายหลัง

ดำริฉะนี้แล้ว จึงเรียกสุวโปดกมา แล้วส่งไป ณ กรุงปัญจาละนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 468

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

แต่นั้นมโหสถบัณฑิตได้หลีกไปจากราชสำนัก

ของพระเจ้าวิเทหราช ที่นั้นได้เรียกนกสุวบัณฑิตชื่อ

มาธูระ*ผู้เป็นทูตมาสั่งว่า แน่ะสหายตัวมีปีกเขียว เจ้า

จงมาทำการขวนขวายเพื่อเรา นางนกสาลิกาที่เขาเลี้ยง

ไว้ ณ ที่บรรทมของพระเจ้าปัญจาลราชมีอยู่ ก็นางนก

นั้นเป็นนกฉลาดในสิ่งทั้งปวง เจ้าจงถามนางนกนั้น

โดยพิสดาร นางนกนั้นรู้ความลับทุกอย่างของพระเจ้า

ปัญจาลราชและของพราหมณ์เกวัฏผู้โกสิยโคตรทั้งสอง

นั้น นกสุวบัณฑิตชื่อมาธูระตัวมีปีกเขียวรับคำมโหสถ

ว่า เออ แล้วได้ไปสู่สำนักนางนกสาลิกา แต่นั้น นก

สุวบัณฑิตชื่อมาธูระนั้นครั้นไปถึงแล้ว ได้เรียกนางนก

สาลิกาตัวมีกรงงาม พูดเพราะมาถามว่า เธอพออดทน

อยู่ในกรงงามดอกหรือ เธอมีความผาสุกในเพศดอก

หรือ ข้าวตอกกับน้ำผึ้งเธอได้ในกรงงามของเธอดอก

หรือ ดูก่อนสหายสุวบัณฑิต ความสุขมีแก่ฉันและ

ความสบายก็มี อนึ่งข้าวตอกกับน้ำผึ้งฉันก็ได้เพียงพอ

ดูก่อนสหาย ท่านมาแต่ไหน หรือว่าใครใช้ท่านมา

ก่อนแต่นี้ฉันไม่เคยเห็นท่าน หรือได้ยินเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หริตปกฺโข ได้แก่ มีปีกเสมอด้วย

ใบไม้เขียว. บทว่า เวยฺยาวจฺจ ความว่า มโหสถกล่าวกะนกสุวบัณฑิตซึ่ง

มาจับที่ตักในเมื่อตนกล่าวว่า มานี่สหาย เจ้าจงทำการขวนขวายของเรา

* อรรถกถาเป็น มาถูระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 469

อย่างหนึ่ง ซึ่งผู้อื่นที่เป็นมนุษย์ไม่อาจทำได้ เมื่อนกสุวบัณฑิตถามว่า ข้าพเจ้า

จะทำอะไรนาย มโหสถก็กล่าวว่า สหาย คนอื่นเว้นพระเจ้าจุลนีและพราหมณ์-

เกวัฏ ย่อมไม่รู้เหตุที่พราหมณ์เกวัฏมาโดยความเป็นทูต คนสองคนเท่านั้น

นั่งปรึกษากันในห้องบรรทมของพระเจ้าจุลนี แต่มีนางนกสาลิกาที่พระเจ้า

ปัญจาลราชนั้นเลี้ยงไว้ในที่บรรทม ได้ยินว่า นางนกสาลิกานั้นรู้ความลับนั้น

เจ้าจงไปในที่นั้น ทำความคุ้นเคยประกอบด้วยเมถุนกับนางนกสาลิกานั้น ถาม

ความลับของพระเจ้าจุลนีและพราหมณ์เกวัฏ กะนางนกสาลิกานั้น โดยพิสดาร

จงถามนางนกสาลิกานั้น ในประเทศที่มิดชิด อย่างที่ใคร ๆ อื่นจะไม่รู้เรื่องนั้น

ก็ถ้าใครได้ยินเสียงของเจ้า ชีวิตของเจ้าจะไม่มี ฉะนั้น เจ้าจงถามค่อย ๆ ใน

ที่มิดชิด. บทว่า สา เนส สพฺพ ความว่า นางนกสาลิกานั้นรู้ความลับทุก

อย่างของชนทั้งสองเหล่านั้น คือ พระเจ้าจุลนีและพราหมณ์เกวัฏผู้โกสิยโคตร.

บทว่า อาโม ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุวโปดกนั้นอันมโหสถบัณฑิต

ทำสักการะโดยนัยก่อนนั้นแลส่งไปแล้ว รับคำของมโหสถว่า เออ ไหว้พระ-

มหาสัตว์ทำประทักษิณแล้วบินออกทางสีหบัญชรที่เปิดไว้ ไปนครชื่ออริฏฐปุระ

ในแคว้นสีพี ด้วยความเร็วปานลม กำหนดประพฤติเหตุในประเทศนั้นแล้ว

ไปสำนักของนางนกสาลิกา ไปอย่างไร ก็สุวโปดกนั้นจับที่ยอดแหลมอันเป็น

ทองของพระราชนิเวศน์ ส่งเสียงอย่างไพเราะอาศัยราคะ เพราะเหตุไร นาง

นกสาลิกาได้ฟังเสียงนี้แล้ว จักส่งเสียงรับเป็นสัญญาให้รู้ว่าฉันจักไปหา แม้นาง

นกสาลิกานั้น ได้ฟังเสียงของสุวโปดกแล้ว ก็จับที่สุวรรณบัญชรใกล้ที่บรรทม

ของพระราชา มีจิตกำหนัดด้วยราคะ ส่งเสียงรับสามครั้ง สุวโปดกบินไป

หน่อยหนึ่งส่งเสียงบ่อย ๆ เกาะที่ธรณีสีหบัญชรโดยลำดับ ตามกระแสเสียงที่

นางนกสาลิกากระทำ ตรวจดูว่าไม่มีอันตราย บินไปสำนักของนางนกสาลิกา

นั้น นางนกสาลิกาได้กล่าวกะสุวโปดกในที่นี้ว่า มาเถิดสหาย จงจับที่สุวรรณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 470

บัญชร สุวโปดกก็บินไปจับ. บทว่า อามนฺตยี ความว่า สุวโปดกนั้น บินไป

อย่างนี้แล้ว ประสงค์จะทำความคุ้นเคยประกอบด้วยเมถุนจึงเรียกนางนกสาลิกา

นั้น. บทว่า สุฆร ได้แก่ กรงงาม เพราะความเป็นที่อยู่ในกรงทอง. บทว่า

เวเส ได้แก่ ประกอบด้วยเพศ คือมีชาติตามเพศ ได้ยินว่า นกสาลิกาชื่อว่า

มีชาติตามเพศในหมู่นกทั้งหลาย เหตุนั้นจึงเรียกนกสาลิกานั้นอย่างนี้. บทว่า

ตว ความว่า เรากล่าวในเรือนงามของท่าน. บทว่า กจฺจิ เต มธุนา ลาชา

ความว่า สุวโปดกถามว่า เธอได้ข้าวตอกกับน้ำผึ้งดอกหรือ. บทว่า กุโต นุ

สมฺม อาคมฺม ความว่า นางนกสาลิกาถามว่า แน่ะสหาย ท่านมาจากไหน

เข้าไปในที่นี้. บทว่า กสฺส วา ความว่า หรือว่าใครส่งท่านมาในที่นี้.

สุวโปดกได้ฟังคำของนางนกสาลิกาแล้ว คิดว่า ถ้าเราบอกว่ามาแต่

มิถิลา นางนกสาลิกานี้แม้ถึงความตาย ก็จักไม่ทำความคุ้นเคยกับเรา ก็เรา

กำหนดนครอริฏฐปุระ ในแคว้นสีพีมาแล้ว ฉะนั้นเราจกทำมุสาวาทกล่าวว่า

พระเจ้าสีวิราชทรงส่งมาแต่ที่นั้น คิดฉะนี้แล้วจึงกล่าวว่า

ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่เขาเลี้ยงไว้ในที่บรรทม บน

ปราสาทของพระเจ้าสีวิราช พระราชาพระองค์นั้นเป็น

ผู้ตั้งอยู่ในธรรม โปรดให้ปล่อยสัตว์ทั้งหลายที่ถูกขัง

จากที่ขังนั้น ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พนฺเธ ความว่า พระราชาพระองค์นั้น

โปรดให้ปล่อยสัตว์ทั้งปวงจากที่ขัง เพราะความที่พระองค์เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม

เนื้อโปรดให้ปล่อยอย่างนี้ พระองค์ตรัสว่า พวกท่านจงเชื่อเราปล่อยมันไป

ข้าพเจ้านั้นออกจากกรงทองที่เปิดไว้ ถือเอาอาหารในที่นั้น ๆ ตามที่ปรารถนา

ภายนอกปราสาทแล้วอยู่ในกรงทองนั่นเอง ไม่เหมือนเธอซึ่งอยู่ในกรงเท่านั้น

ตลอดกาลเป็นนิจอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 471

ลำดับนั้น นางนกสาลิกาให้ข้าวตอกคลุกน้ำผึ้ง ที่วางอยู่ในกระเช้าทอง

และน้ำผึ้งเพื่อตนแก่สุวโปดก แล้วถามว่า แน่ะสหาย ท่านมาแต่ที่ไกล มาใน

ที่นี้เพื่อประสงค์อะไร สุวโปดกได้ฟังคำนางนกสาลิกา ใคร่จะฟังความลับ

จึงมุสาวาทกล่าวว่า

นางนกสาลิกาตัวหนึ่งพูดอ่อนหวานเป็นภรรยา

ของฉัน เหยี่ยวได้ฆ่านางนกสาลิกานั้นเสียในห้องที่

บรรทม ต่อหน้าฉันผู้อยู่ในกรงงามซึ่งเห็นอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส เมกา ความว่า หางนกสาลิกา

ตัวหนึ่งเป็นภรรยาของฉันนั้น. บทว่า ทุติยาสิ ความว่า ได้เป็นภรรยา.

บทว่า มุญฺชุภาณิกา แปลว่า พูดไพเราะ.

ลำดับนั้น นางนกสาลิกาถามสุวโปดกว่า ก็อย่างไรเหยี่ยวจึงได้ฆ่า

ภรรยาของท่านเสีย สุวโปดกเมื่อจะบอกแก่นางนกสาลิกาจึงกล่าวว่า เธอจงฟัง

วันหนึ่งพระราชาของฉันเสด็จไปเล่นน้ำ ตรัสเรียกฉันไปตามเสด็จ ฉันจึงพา

ภรรยาไปตามเสด็จเล่นน้ำกลับมากับพระราชานั้น ขึ้นปราสาทกับพระองค์พา

ภรรยาออกมาจากกรง จับอยู่ที่โพรงตำหนักยอดเพื่อผึ่งสรีระ ขณะนั้นมีเหยี่ยว

ตัวหนึ่งบินมาเพื่อโฉบเราทั้งสองผู้ออกจากกำหนักยอด ฉันกลัวแต่ภัยคือความ

ตายบินหนีโดยเร็ว แต่นางนกสาลิกาคราวนั้นมีครรภ์แก่ เพราะฉะนั้น นางจึง

ไม่อาจหนี ทีนั้นเหยี่ยวก็ยังนางให้ตายต่อหน้าฉัน ผู้เห็นอยู่แล้วพาหนีไป

ทีนั้นพระราชาของฉันทอดพระเนตรเห็นฉันร้องไห้ด้วยความโศกถึงนาง จึง

ตรัสถามว่า เจ้าร้องไห้ทำไม ได้ทรงฟังความข้อนั้นแล้วรับสั่งว่า พอละเจ้า

อย่าร้องไห้ จงแสวงหาภรรยาอื่น เมื่อฉันได้ฟังรับสั่งจึงกราบทูลว่า ประโยชน์

อะไรด้วยภรรยาอื่น ผู้ไม่มีอาจารมรรยาท ไม่มีศีล แม้ที่นำมาแล้ว ผู้เดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 472

เที่ยวไปดีกว่า รับสั่งว่า แน่ะสหาย ข้าเห็นนางนกสาลิกาตัวหนึ่ง ถึงพร้อมด้วย

ศีลาจารวัตรเช่นกับภรรยาของเจ้า ก็นางนกสาลิกาเห็นปานนี้ เขาเลี้ยงไว้ในที่

บรรทมของพระเจ้าจุลนีมีอยู่ เจ้าจงไปในที่นั้น ถามใจของเขาดู ให้เขาทำ

โอกาส ถ้าเจ้าชอบใจเขา จงมาบอกแก่เรา ภายหลังเราหรือพระเทวีจักไปนำ

นางนั้นมาด้วยบริวารใหญ่ ตรัสฉะนี้แล้วทรงส่งฉันมาในที่นี้ ฉันจึงมาด้วย

เหตุนั้น กล่าวฉะนี้แล้วสุวโปดกจึงกล่าวว่า

ฉันรักใคร่ต่อเธอจึงมาในสำนักของเธอ ถ้าเธอ

พึงให้โอกาส เราทั้งสองก็จะได้อยู่ร่วมกัน.

นางนกสาลิกาได้ฟังคำของสุวโปดกก็ดีใจ แต่ยังไม่ให้สุวโปดกรู้ว่าตน

ปรารถนา ทำเป็นไม่ปรารถนากล่าวว่า

นกแขกเต้า ก็พึงรักใคร่กับนางนกแขกเต้า

นกสาลิกา ก็พึงรักใคร่กับนางนกสาลิกา การที่นก

แขกเต้าจะอยู่ร่วมกับนางนกสาลิกาดูกระไรอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุโว ความว่า แน่ะสหายสุวบัณฑิต

นกแขกเต้านั่นแลพึงรักใคร่นางนกแขกเต้าซึ่งมีชาติเสมอกันของตน. บทว่า

กีทิโส ความว่า ชื่อว่าการอยู่ร่วมของนกทีมีชาติไม่เสมอกัน จะเป็นอย่างไร

เพราะนกแขกเต้าเห็นนางนกแขกเต้าที่มีชาติเสมอกัน ก็จักละนางนกสาลิกาแม้

เชยชิดกันมานาน ความพลัดพรากจากของรักนั้นจักเป็นไปเพื่อทุกข์ใหญ่ ฉะนั้น

แต่ไหนแต่ไรมา ชื่อว่าการอยู่ร่วมของนกที่มีชาติไม่เสมอกัน ย่อมไม่เหมาะสม

เลย.

สุวโปดกได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า นางนกสาลิกานี้หาได้หาเราไม่ ยังทำ

การบริหารอีกด้วย คงจักปรารถนาเราเป็นแน่ เราจักให้นางนกสาลิกานี้เชื่อถือ

เราด้วยอุปมาต่าง ๆ คิดฉะนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 473

เออก็ผู้ใดใคร่ในกามกับนางจัณฑาล ผู้นั้นทั้ง

หมดย่อมเป็นเช่นกับนางจัณฑาลนั้น เพราะว่าบุคคล

ไม่เป็นเช่นเดียวกันในเพราะกามย่อมไม่มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จณฺฑาลิกามปิ ได้แก่ ซึ่งนางจัณฑาล.

บทว่า สทิโส ความว่า การอยู่ร่วมกันทุกอย่างย่อมเป็นเช่นเดียวกันทั้งนั้น

เพราะมีจิตเป็นเช่นเดียวกัน. บทว่า กาเม ความว่า เพราะในเรื่องกาม

จิตเท่านั้นเป็นประมาณ ชาติหาเป็นประมาณไม่.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว สุวบัณฑิตเมื่อจะนำเรื่องอดีตมาชี้แจง

เพื่อแสดงความต่างชาติกัน ไม่เป็นประมาณในหมู่มนุษย์ก่อน จึงกล่าวคาถา

เป็นลำดับว่า

พระราชมารดาของพระเจ้าสีวี พระนามว่า

ชัมพาวดี มีอยู่ พระนางเป็นหญิงจัณฑาล ได้เป็น

พระมเหสีที่รักของพระเจ้าวาสุเทพกัณหโคตร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชมฺพาวตี ความว่า พระชนนีของ

พระเจ้าสีพีราช พระนามว่า ชัมพาวดี ได้เป็นหญิงจัณฑาล พระนางได้เป็น

พระอัครมเหสีที่รักของพระเจ้าวาสุเทพผู้เป็นพี่ชายของพี่น้อง ๑๐ คนของ

กัณหายนโคตร.

ได้ยินว่า วันหนึ่งพระเจ้าวาสุเทพเสด็จออกจากกรุงทวารวดี ประพาส

พระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นกุมาริการูปงามคนหนึ่งเป็นจัณฑาล จาก

บ้านคนจัณฑาลเจ้าสู่พระนครด้วยธุระบางอย่าง ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง

พระองค์มีจิตปฏิพัทธ์ มีรับสั่งให้ถามว่า ชาติอะไร แม้ได้สดับว่า ชาติจัณฑาล

ก็ยังมีรับสั่งให้ถามว่ามีสามีหรือไม่ ทรงสดับว่ายังไม่มีสามี จึงพานางกุมาริกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 474

นั้นกลับจากที่นั้นทีเดียวนำไปพระราชนิเวศน์ ทรงตั้งเป็นอัครมเหสี พระนาง

นั้นประสูติพระโอรสพระนามว่า สีวี เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พระเจ้าสีวี

จึงครองราชสมบัติในกรุงทวาราวดี สุวโปดกกล่าวคำนี้ หมายเอาเจ้าสีวีนั้น.

สุวบัณฑิตนำอุทาหรณ์นี้มาอย่างนี้แล้วกล่าวว่า กษัตริย์แม้เห็นปานนี้

ยังสำเร็จสังวาสกับหญิงจัณฑาล ใครจะว่าอะไรในเราทั้งสองซึ่งเป็นสัตว์

ดิรัจฉานเล่า ความชอบใจในการร่วมประเวณีกันและกันต่างหาก เป็นข้อสำคัญ

กล่าวฉะนี้แล้ว เมื่อจะชักอุทาหรณ์อื่นมาอีก จึงกล่าวว่า

กินรีชื่อรัตนวดีมีอยู่ แม้นางก็ได้ร่วมรักกะดาบส

ชื่อวัจฉะ มนุษย์ทั้งหลายร่วมอภิรมย์กับมฤดีก็มี มนุษย์

และสัตว์ไม่เป็นเช่นเดียวกันในเพราะกามย่อมไม่มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วจฺฉ ความว่า กะดาบสผู้มีชื่ออย่างนั้น

ก็กินรีนั้นได้ร่วมรักกะดาบสนั้นอย่างไร ในอดีตกาล มีพราหมณ์คนหนึ่งเห็น

โทษในกามทั้งหลาย จึงละยศใหญ่ออกบวชเป็นฤๅษี สร้างบรรณศาลาอยู่ ณ

หินวันตประเทศ กินนรเป็นจำนวนมากอยู่ ณ ถ้าแห่งหนึ่งใกล้บรรณศาลาของ

ฤๅษีนั้น แมลงมุมตัวหนึ่งอยู่ ณ ประตูถ้ำนั้น มันได้กัดศีรษะของกินนรเหล่า

นั้นดื่มกินโลหิต ธรรมดากินนรทั้งหลายหากำลังมิได้ เป็นชาติขลาด แม้

แมลงมุมตัวนั้นก็ใหญ่โตมาก กินนรทั้งหลายไม่อาจจะทำอะไรมันได้จึงเข้าไป

หาดาบสนั้น ทำปฏิสันถารแล้วดาบสถามถึงเหตุที่มา จึงพากันบอกว่า มี

แมลงมุมตัวหนึ่งประหารชีวิตของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าไม่เห็นผู้อื่นจะเป็น

ที่พึ่งได้ ขอท่านจงฆ่ามันเสียทำความสวัสดีแก่พวกข้าพเจ้า ดาบสได้ฟังคำ

ดังนั้นก็รุกรานว่า พวกเองไปเสีย บรรพชิตทั้งหลายเช่นเราไม่ทำปาณาติบาต

บรรดากินนรเหล่านั้น มีกินรีชื่อรัตนาวดี ยังไม่มีผัว กินนรเหล่านั้นจึงตกแต่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 475

กินรีรัตนวดีนั้น แล้วพาไปหาดาบส กล่าวว่า กินรีนี้จงเป็นผู้บำเรอเท้าท่าน

ท่านจงฆ่าปัจจามิตรของพวกเราเสีย ดาบสเห็นกินรีรัตนวดีก็มีจิตปฏิพัทธ์ จึง

สำเร็จร่วมอภิรมย์กับกินรีนั้นแล้วไปยืนที่ประตูถ้ำ ตีแมลงมุมออกมาหากินด้วย

ค้อนให้สิ้นชีวิต ดาบสนั้นอยู่สมัครสังวาสกับกินรีนั้น มีบุตรธิดาแล้วทำกาลกิริยา

ณ ที่นั้นแล กินรีรัตนวดีนั้นรักใคร่ดาบสชื่อวัจฉะ ด้วยประการฉะนี้ สุวโปดก

นำอุทาหรณ์นี้มา เมื่อจะแสดงว่า วัจฉดาบสเป็นมนุษย์ยังสำเร็จสังวาสกับกินรี

นั้นผู้เป็นดิรัจฉานได้ จะกล่าวไยถึงเราทั้งสองเป็นนกเป็นดิรัจฉานด้วยกันจะ

ร่วมสังวาสกันไม่ได้เล่า จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า มนุษย์ทั้งหลายร่วมอภิรมย์ด้วย

มฤคีอยู่ ดังนี้ มนุษย์เราทั้งหลายอยู่ร่วมกับดิรัจฉานมีอยู่ คือปรากฏอยู่ ด้วย

ประการฉะนี้.

นางนกสาลิกานั้น ได้ฟังคำของสุวโปดกแล้ว กล่าวว่า ข้าแต่นาย ขึ้น

ชื่อว่าจิตจะเป็นอย่างเดียวไปตลอดกาล ย่อมไม่มี ฉันกลัวแต่ความพลัดพราก

จากท่านที่รักจะสหาย สุวบัณฑิตแม้นั้น เป็นผู้ฉลาดในมายาสตรี ฉะนั้นเมื่อจะ

ทดลองนางนกสาลิกา จึงกล่าวคาถาอีกว่า

เอาเถอะ แม่สาลิกาผู้พูดเพราะ ฉันจักไปละ

เพราะถ้อยคำของเธอนั้นเป็นเหตุให้รู้ประจักษ์ เธอดู

หมิ่นฉันนัก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจกฺขานุปท เหต ความว่า คำที่

เธอกล่าวทั้งหมดนั้นเป็นแนวทางให้รู้ประจักษ์ คือเป็นเหตุให้รู้ประจักษ์. บท

ว่า อติมญฺสิ ความว่า เธอล่วงเกินดูหมิ่นฉันแน่ว่า นกแขกเต้านี้ย่อม

ปรารถนาเท่านั้น เธอไม่รู้สารสำคัญของฉัน พระราชาก็บูชาฉัน ฉันหาภรรยา

ได้ไม่ยาก ฉันจักแสวงหานกตัวอื่นเป็นภรรยา ฉันจักไปละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 476

นางนกสาลิกาได้ฟังคำของสุวโปดก เป็นเหมือนหัวจะแตก เป็น

เหมือนถูกกามรดีที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยการเห็นสุวโปดกนั้นตามเผาผลาญอยู่ ทำที

เป็นไม่ปรารถนาด้วยมายาสตรีของตน ได้กล่าวหนึ่งคาถาครึ่งว่า

ดูก่อนมาธูรสุวบัณฑิต สิริย่อมไม่มีแก่ผู้ด่วนได้

ขอเชิญท่านอยู่ ณ ที่นี้จนกว่าจะได้เห็นพระราชา จน

ได้ฟังเสียงตะโพนและได้เห็นอานุภาพของพระราชา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น สิรี ความว่า แน่ะสหายสุวบัณฑิต

สิริย่อมไม่มีแก่ผู้ด่วนได้ งานที่ผู้ด่วนได้กระทำย่อมไม่งาม ขึ้นชื่อว่าการครอง

เรือนนั้นหนักยิ่ง ต้องคิดพิจารณาก่อนจึงทำ ขอเชิญท่านอยู่ในที่นี้ จนกว่า

จะได้เห็นพระราชาของพวกเราผู้ประกอบด้วยยศใหญ่. บทว่า โสสิ ความว่า

ท่านจักได้ฟังเสียงตะโพนเสียงขับร้องและเสียงประโคมดนตรีอื่น ๆ ที่เหล่านารี

ผู้มีรูปโฉมอุดมมีลีลาเสมอด้วยกินรีบรรเลงอยู่ในเวลาสายัณห์ และจักได้เห็น

อานุภาพและสิริโสภาคอันยิ่งใหญ่ของพระราชา ท่านจะด่วนไปทำไมเล่าสหาย

แม้ข้ออ้างท่านก็ยังไม่รู้ อยู่ก่อนเถิด ฉันจักให้รู้จักภายหลัง.

ลำดับนั้น นกทั้งสองก็กระทำเมถุนสังวาสในสายัณหสมัยนั้นเอง มี

ความสามัคคีบันเทิงอยู่ร่วมเป็นที่รักกัน ครานั้นสุวโปดกคิดว่า บัดนี้นางนก

สาลิกาจักไม่ช่อนความลับแก่เรา ควรที่เราจักถามนางแล้วไปในทำนองนี้ จึง

กล่าวว่า แน่ะสาลิกา อะไรหรือนาย ฉันอยากจะถามอะไรเจ้าสักหน่อย ถาม

เถิดนาย เรื่องนั้นงดไว้ก่อน วันนี้เป็นวันมงคลของเรา ไว้วันอื่นฉันจักรู้

นางนกสาริกากล่าวว่า ถ้าคำที่ถามประกอบด้วยมงคล ก็จงถาม ถ้ามิใช่ ก็อย่า

เพิ่งถาม สุวบัณฑิตตอบว่า กถานั้นเป็นมงคลกถา ที่รัก ถ้าเช่นนั้นก็จงถาม

เถิด ลำดับนั้นสุวบัณฑิตกล่าวว่า ถ้าเธออยากฟังเรื่องนั้น ฉันก็จักกล่าวแก่เธอ

เมื่อจะถามความลับนั้น จงกล่าวหนึ่งคาถากึ่งว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 477

เสียงเซ็งแซ่นี้ฉันได้ยินภายนอกชนบทว่า พระ-

ราชธิดาของพระเจ้าปัญจาลราชมีพระฉวีวรรณดังดาว

ประกายพรึก พระเจ้ากรุงปัญจาลราชจักถวายพระ-

ราชธิดานั้น แก่ท้าววิเทหรัฐ คือจักมีการอภิเษก

ระหว่างพระเจ้าวิเทหราชกับพระราชธิดานั้น.

เนื้อความของคาถานั้นมีว่า เสียงเซ็งแซ่นี้มาก บทว่า ติโรชนปเท

สุโต ความว่า ปรากฏคือรู้กันทั่ว คือแผ่ไปในรัฐอื่นในชนบทอื่น แผ่ไป

อย่างไร พระราชธิดาของพระเจ้าปัญจาลราชรุ่งเรื่องราวกะดาวประกายพรึก

มีพระฉวีวรรณเสมอด้วยดาวประกายพรึกนั้น มีอยู่ พระเจ้าปัญจาลราชจัก

ประทานพระราชธิดานั้นแก่ชาววิเทหรัฐ. บทว่า โส วิวาโห ภวิสฺสติ

ความว่า ฉันได้ฟังเสียงที่แผ่ไปอย่างนี้นั้น จึงคิดว่า กุมาริกานี้ทรงพระรูปโฉม

อุดม และพระเจ้าวิเทหราชก็เป็นข้าศึกของพระเจ้าจุลนี พระราชาอื่น ๆ

ที่อยู่ในอำนาจของพระเจ้าจุลนีพรหมทัตก็มีอยู่เป็นอันมาก พระเจ้าจุลนีไม่

ประทานแก่พระราชาเหล่านั้น เหตุไรจึงจะประทานพระราชธิดาแก่พระเจ้า

วิเทหราชเสีย.

นางนกสาลิกาได้ฟังคำของสุวบัณฑิตนั้นแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ว่า นาย

เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวอวมงคลในวันมงคล สุวโปดกจึงย้อนถามว่า ฉัน

กล่าวว่ามงคล เธอกล่าวว่าอวมงคล นี่อะไรกันนาย การทำมงคลเห็นปานนี้

จงอย่าได้มีแก่ชนเหล่านั้นแม้เป็นอมิตร สุวโปดกให้นางนกสาสิกาแจ้งเรื่อง

นางว่าไม่กล้าพูด สุวโปดกจึงว่า ที่รัก จำเดิมแต่กาลที่เธอบอกความลับที่เธอ

รู้แก่ฉันไม่ได้ การร่วมอภิรมย์กันฉันสามีภรรยา ก็ชื่อว่า ไม่มี นางนกสาลิกา

ถูกสุวโปดกแค่นไค้นักก็กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง แล้วกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 478

แน่ะมาธูระ การที่เหล่าอมิตรทำวิวาหมงคลเช่น

นี้เหมือนกับการที่พระเจ้าปัญจาลราชจักทำวิวาหมงคล

พระราชธิดากับพระเจ้าวิเทหราช ขออย่าได้มีเลย.

ครั้นนางนกสาลิกากล่าวคาถานี้แล้ว สุโปดกซักถามอีกว่า เพราะ

เหตุไร เธอกล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง ฉันจะ

กล่าวโทษในเรื่องนี้แก่ท่านอีก แล้วกล่าวคาถานอกนี้ว่า

พระราชาผู้เป็นจอมทัพแห่งชาวปัญจาละจักทรง

นำพระเจ้าวิเทหราชมาแล้ว แต่นั้นก็จักฆ่าพระเจ้า-

วิเทหราชเสีย เพราะพระเจ้าจุลนีมิใช่สหายของพระ

เจ้าวิเทหราช.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต น ฆาตยิสฺสติ ความว่า พระ-

เจ้าวิเทหราชจักเสด็จมาพระนครนี้ในกาลใด พระเจ้าจุลนีจักไม่ทรงทำความ

เป็นสหาย คือมิตรธรรมด้วยพระเจ้าวิเทหราชในกาลนั้น จักไม่ประทาน

พระราชธิดาแก่พระเจ้าวิเทหราชนั้น แม้เพื่อทอดพระเนตร ได้ยินว่า พระเจ้า

วิเทหราชนั้น มีอรรถธรรมานุศาสน์อยู่คนหนึ่งชื่อมโหสถบัณฑิต พระเจ้าจุลนี

จักฆ่ามโหสถนั้น พร้อมกับพระเจ้าวิเทหราช พราหมณ์เกวัฏปรึกษากับพระเจ้า

จุลนีว่า เราจักฆ่าคนทั้งสองนั้นเสียแล้ว ดื่มชัยบาน จึงไปกรุงมิถิลาเพื่อจับ

มโหสถนั้นมา.

นางนกสาลิกาบอกความลับแก่สุวบัณฑิตโดยไม่เหลือ ด้วยประการ

ฉะนี้ สุวบัณฑิตได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงกล่าวชมเกวัฏว่า อาจารย์เกวัฏเป็นคน

ฉลาดในอุบาย การฆ่าพระเจ้าวิเทหราชเสียด้วยอุบายเห็นปานนี้น่าอัศจรรย์แล้ว

กล่าวว่า ประโยชน์อะไรด้วยอวมงคลเห็นปานนี้แก่เรา นิ่งเสียนอนกันเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 479

รู้ความสำเร็จแห่งกิจที่มา อยู่กับนางนกสาลิกานั้นในราตรีนั้น แล้วกล่าวว่า

ที่รัก ฉันจักไปแคว้นสีวี ทูลความที่ฉันได้ภรรยาที่ชอบใจ แด่พระเจ้าสีวี

และพระเทวี แล้วกล่าวเพื่อให้นางนกสาลิกาอนุญาตให้ตนไปว่า

เอาเถิด เธอจงอนุญาตให้ฉันไปสัก ๗ ราตรี

เพียงให้ฉันได้กราบทูลพระเจ้าสีวิราชและพระมเหสีว่า

ฉันได้อยู่ในสำนักของนางนกสาลิกาแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มเหสีโน ได้แก่ พระมเหสีของพระ

เจ้าสีวิราชนั้น. บทว่า อาวสโถ ได้แก่ ที่เป็นอยู่. บทว่า อุปนฺติก ความว่า

ครั้งนั้นสุวโปดกกล่าวว่า ฉันจักบอกพระราชาและพระเทวีทั้งสองนั้นว่า เชิญ

เสด็จไปสำนักของนางนกสาลิกานั้น ดังนี้ ในวันที่ ๘ จักนำมาที่นี้ จักพาเธอ

ไปด้วยบริวารใหญ่ เธออย่าได้กระวนกระวายจนกว่าฉันจะมา.

นางนกสาลิกาได้ฟังดังนั้น ไม่ปรารถนาจะแยกกับสุวโปดกเลย แต่

ไม่อาจจะปฏิเสธคำของเขาได้ จึงกล่าวคาถาเป็นลำดับว่า

เอาเถิด ฉันอนุญาตให้ท่านไปประมาณ ๗ ราตรี

ถ้าท่านไม่กลับมายังสำนักของฉันโดย ๗ ราตรี ฉัน

จะสำคัญตัวฉันว่าหยั่งลงแล้ว สงบแล้ว ท่านจักมาใน

เมื่อฉันตายแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มญฺเ โอกนฺตสนฺต ความว่า

เนื้อเป็นเช่นนั้น ฉันจะกำหนดตัวฉันว่าปราศจากชีวิตแล้ว เมื่อท่านไม่มาใน

วันที่ ๘ จักมาเมื่อฉันตายแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านอย่ามัวชักช้า.

ฝ่ายสุวบัณฑิตกล่าวด้วยวาจาว่า ที่รัก เธอพูดอะไร แม้ฉันเมื่อไม่เห็น

เธอในวันที่ ๘ จะมีชีวิตอยู่ที่ไหนได้ แต่ใจคิดว่า เจ้าจะเป็นหรือตาย ก็ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 480

ประโยชน์อะไรแก่เรา บินขึ้นบ่ายหน้าไปสีวีรัฐ ไปได้หน่อยหนึ่งยังกลับมา

สำนักของนางนกสาลิกานั้นอีก กล่าวว่า ที่รัก ฉันไม่เห็นรูปสิริของเธอ ไม่

อาจจะทิ้งเธอไปได้ ฉะนั้น ฉันจึงกลับมา กล่าวฉะนั้นแล้วบินขึ้นอีก ไปกรุง

มิถิลา ลงจับที่จะงอยบ่ามโหสถบัณฑิต พระมหาสัตว์อุ้มในรูปบนปราสาทด้วย

สัญญานั้นแล้วไต่ถาม จึงแจ้งประพฤติเหตุนั้น ทั้งหมดแก่มโหสถ ฝ่ายมโหสถ

ก็ได้ให้สิ่งตอบแทนความชอบแก่สุวโปดกนั้น โดยนัยหนหลังนั่นแล.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ลำดับนั้นแล นกมาธูรสุวบัณฑิตได้บินไปแจ้ง

แก่มโหสถว่า คำนี้เป็นคำของนางนกสาลิกา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาลิกาย วจน อิท ความว่า สุว-

โปดกได้แจ้งข้อความทั้งปวงโดยพิสดารว่าคำนี้ เป็นคำของนางนกสาลิกา.

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงดำริว่า เมื่อเราไม่อยากให้เสด็จ พระราชา

ก็จักเสด็จ ครั้นเสด็จไปแล้วก็จักถึงความพินาศใหญ่ ทีนั้นเมื่อพระราชาประ-

ทานยศเห็นปานนี้แก่เรา เราจักถือตามพระราชดำรัสไว้ในใจแล้วไม่สนอง

พระเดชพระคุณของพระองค์ ความครหาก็จักมีแก่เรา เพราะฉะนั้นเราจักล่วง

หน้าไปก่อนพระองค์ แล้วเฝ้าพระเจ้าจุลนี สร้างนครเป็นที่ประทับอยู่แห่ง

พระเจ้าวิเทหราช ทำให้เป็นนครที่จำแนกดีแล้ว ให้ทำอุโมงค์เป็นทางเดิน

ยาวราว ๑ คาวุต อุโมงค์ใหญ่ราวกึ่งโยชน์ แล้วอภิเษกพระนางปัญจาลจันที

ราชธิดาของพระเจ้าจุลนีพรหมทัต ให้เป็นบาทบริจาริกาแห่งพระราชาของเรา

ในเมื่อพระราชาร้อยเอ็ดพร้อมด้วยพลนิกาย ๑๘ อักโขภิณีแวดล้อมตั้งอยู่ เรา

จักปลดเปลื้องพระราชาของเราให้พ้นไป ดุจเปลื้องดวงจันทร์จากปากอสุรินทร-

ราหูฉะนั้น แล้วพาเสด็จสู่พระนครมิถิลา ชื่อว่าราชกรณียกิจที่จะมีมาของพระ-

ราชาต้องเป็นภารธุระแห่งเรา เมื่อมโหสถดำริอย่างนี้ก็เกิดปีติในสรีระ ด้วย

กำลังแห่งความปีติ มโหสถเมื่อจะเปล่งอุทาน จึงกล่าวกึ่งคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 481

บุคคลบริโภคโภคสมบัติในเรือนของผู้ใด พึง

ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ผู้นั้นทีเดียว.

เนื้อความของกึ่งคาถานั้นมีว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตได้อิสริยยศใหญ่

บริโภคโภคสมบัติแต่สำนักของพระราชาใดพึงประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ที่

เกื้อกูล ที่เป็นความเจริญ แด่พระราชานั้นแม้จะทรงด่าบริภาษประหารจับคอ

คร่าออกไปก็ตาม ด้วยทวารทั้งสามมีกายทวารเป็นต้น บัณฑิตทั้งหลายไม่พึง

ทำกรรมคือการประทุษร้ายมิตรเลย.

ครั้นดำริดังนี้แล้ว ก็อาบน้ำแต่งตัวไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช ถวายบังคม

แล้ว ยืน ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์จักเสด็จ

ไปอุตตรปัญจาลนครหรือ พระราชาตรัสตอบว่า เออ จะไป เมื่อเราไม่ได้นาง

ปัญจาลจันที จะต้องการอะไรด้วยราชสมบัติ เจ้าอย่าทิ้งเรา จงไปกับเรา

ประโยชน์ ๒ ประการ คือเราได้นารีรัตนะและราชไมตรีของพระเจ้าจุลนีกับเรา

จักตั้งมั่น จักสำเร็จเพราะเหตุเราทั้งสองไปในกรุงปัญจาละนั้น ลำดับนั้น

มโหสถเมื่อจะทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ข้าพระองค์จักไปก่อนสร้างพระราชนิเวศน์

เพื่อพระองค์ พระองค์ควรเสด็จไปในเมื่อข้าพระองค์ส่งข่าวมากราบทูล เมื่อ

ทูลอย่างนี้แล้ว ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ว่า

ข้าแต่พระจอมประชาชน เอาเถิด ข้าพระองค์

จักไปสู่ปัญจาลบุรีที่น่ารื่นรมย์ดีก่อน เพื่อสร้างพระ-

ราชนิเวศนี้ถวายแด่พระเจ้าวิเทหราชผู้ทรงยศ ข้าแต่

บรมกษัตริย์ ครั้นข้าพระองค์สร้างพระราชนิเวศน์

ถวายแล้ว ส่งข่าวมากราบทูลพระองค์เมื่อใด พระองค์

พึงเสด็จไปเมื่อนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 482

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวเทหสฺส ได้แก่ แด่พระองค์ผู้เป็น

พระเจ้าวิเทหราช. บทว่า เอยฺยาสิ แปลว่า พึงเสด็จมา.

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับดังนั้น ก็ทั้งทรงร่าเริง ทั้งทรงโสมนัส

ด้วยเข้าพระหฤทัยว่า มโหสถไม่ทิ้งเราจึงดำรัสว่า แน่ะพ่อมโหสถ เมื่อพ่อไป

ก่อน พ่อควรจะได้อะไรไปบ้าง ครั้น มโหสถกราบทูลตอบว่า ควรได้พลและ

พาหนะไป จึงตรัสว่า พ่อปรารถนาสิ่งใด จงเอาสิ่งนั้นไป มโหสถจึงกราบ

ทูลว่า ขอพระองค์โปรดให้เปิดเรือนจำ ๔ เรือน ไห้ถอดเครื่องจำคือ โซ่ตรวน

แห่งโจรทั้งหลายส่งไปกับข้าพระองค์ ครั้นพระราชทานพระราชานุญาตให้ทำ

ตามชอบใจ จึงให้เปิดเรือนจำให้พวกโจรที่กล้าเป็นทหารใหญ่ผู้สามารถยัง

กิจการในที่ที่ไปแล้ว ๆ ให้เสร็จแล้วกล่าวว่า เจ้าทั้งหลายจงบำรุงเราแล้ว ให้

สิ่งของแก่ชนเหล่านั้น แล้วพาเสนา ๑๘ เหล่าผู้ฉลาดในศิลปะต่าง ๆ มีช่างไม้

ช่างเหล็กช่างหนังช่างศิลาช่างเขียนช่างอิฐเป็นต้นไป ให้เอาเครื่องอุปกรณ์เป็น

อันมาก มีมีดขวานจอบเสียมเป็นต้นไปด้วย เป็นผู้มีกองพลใหญ่ห้อมล้อมออก

จากนครไป.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสว่า

ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตได้ไปสู่บุรีที่น่ารื่นรมย์ดี

ของพระเจ้าปัญจาลราชก่อน เพื่อสร้างพระราชนิเวศน์

ถวายพระเจ้าวิเทหราชผู้ทรงยศ.

ฝ่ายพระมหาสัตว์เมื่อไปในที่ทั้งหลายนั้น ก็ให้สร้างบ้านบ้านหนึ่งใน

ระยะทางโยชน์หนึ่ง ๆ แล้วกล่าวกะอมาตย์คนหนึ่ง ๆ ว่า ท่านทั้งหลายจงเตรียม

จัดช้างม้าและรถไว้ในกาลเมื่อพระเจ้าวิเทหราชรับพระนางปัญจาลจันทีกลับไป

แล้วพาพระราชาเสด็จไป ห้ามเหล่าปัจจามิตรอย่าให้ประทุษร้ายได้ ให้เสด็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 483

ถึงกรุงมิถิลาโดยเร็ว สั่งฉะนี้แล้ววางอมาตย์คนหนึ่ง ๆ ไว้ ก็ครั้นมโหสถไป

ถึงฝั่งคงคาจึงเรียกอมาตย์ชื่ออานันทกุมารมาสั่งส่งไปว่า ดูก่อนอานันทะ ท่าน

จงพาช่างไม้ ๓๐๐ คนไปเหนือคงคาให้ถือเอาไม้แก่นสร้างเรือประมาณ ๓๐๐ ลำ

แล้วถากไม้ในที่นั้นนั่นแหละ บันทุกไม้เบา ๆ ในเรือเอามาโดยพลัน เพื่อ

ต้องการสร้างเมือง ส่วนมโหสถเองขึ้นเรือข้ามฟากไปฝั่งโน้น นับทางด้วยหมาย

เท้าก้าวไปจำเดิมแต่สถานที่ขึ้นจากเรือ ก็กำหนดว่า ที่นี้กึ่งโยชน์ อุโมงค์ใหญ่

จักมีในที่นี้ นครที่ตั้งพระราชนิเวศน์แห่งพระเจ้าวิเทหราชจักมีในที่นี้ จำเดิม

แต่พระราชนิเวศน์นี้ อุโมงค์เป็นทางเดินจักมีในที่ราว ๑ คาวุตจนถึงพระราช

มณเฑียร กำหนดฉะนี้แล้วเข้าไปสู่กรุงอุตตรปัญจาละ พระเจ้าจุลนีทรงสดับว่า

มโหสถมาถึงก็ทรงโสมนัสยิ่งว่า บัดนี้ความปรารถนาของเราจักสำเร็จ เราจัก

เห็นหลังแห่งเหล่าปัจจามิตร เมื่อมโหสถมา พระเจ้าวิเทหราช จักมาไม่ช้า

ทีนั้นเราจักฆ่าข้าศึกทั้งสองเสีย เสวยราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น กรุงอุตตร-

ปัญจาละทั้งสิ้นเอิกเกริกโกลาหลว่า ได้ยินว่า ผู้นี้ชื่อมโหสถบัณฑิต ได้ยินว่า

พระราชาร้อยเอ็ดอันมโหสถนี้ให้หนีไป ราวกะบุคคลไล่กาให้หนีไปด้วยก้อนดิน

พระมหาสัตว์ไปสู่พระทวารในขณะที่ชาวเมืองดูชมรูปสมบัติของตนอยู่ ให้กราบ

ทูลพระเจ้าจุลนีให้ทรงทราบ ครั้นได้รับพระราชานุญาตให้เข้าเฝ้า จึงเข้าไป

ถวายบังคมพระราชายืนอยู่ ที่ควรส่วนหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนีทรงทำปฏิสันถารตรัสถามมโหสถว่า พระราชา

ของเจ้าจักเสด็จมาเมื่อไร มโหสถทูลว่า จักเสด็จมาในกาลเมื่อข้าพระองค์

ส่งข่าวไปทูล พระเจ้าจุลนีตรัสถามว่า ก็ตัวเจ้ามาเพื่อประโยชน์อะไร

มโหสถทูลว่า มาเพื่อสร้างพระราชนิเวศน์แห่งพระราชา ของข้าพระองค์

พระเจ้าจุลนีตรัสว่า ดีแล้ว แต่นั้นก็โปรดให้พระราชทานเสบียงแก่เสนา

ของมโหสถ และพระราชทานสิ่งของเป็นอันมากและเรือนที่อยู่แก่มโหสถ

แล้วตรัสว่า แน่ะพ่อ เจ้าอย่าเดือดร้อน จงทำราชการที่ควรทำอยู่กับข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 484

จนกว่าพระราชาของเจ้าจะเสด็จมา ได้ยินว่า มโหสถขึ้นไปสู่พระราชนิเวศน์

ยืนอยู่แทบเชิงบันไดได้กำหนดว่า ประตูอุโมงค์อันเป็นทางเดินจักมีในที่นี้

ความปริวิตกได้มีแก่มโหสถว่า พระเจ้าจุลนีตรัสว่า เจ้าจงทำกิจที่ควรทำแก่

พวกเราบ้าง ดังนี้ ในเมื่อขุดอุโมงค์ ก็ควรจะให้ทำอย่างที่บันไดนี้จะไม่ทรุดลง

ลำดับนั้น มโหสถจึงกราบทูลพระเจ้าจุลนีอย่างนี้ว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อ

ข้าพระองค์เข้ามาเฝ้ายืนอยู่ที่เชิงบันได ตรวจดูนวกรรมในที่นี้ เห็นโทษที่

บันไดใหญ่ ถ้าข้อความที่กราบทูลนี้ชอบด้วยพระราชดำริ ข้าพระองค์จะเอาไม้

ทั้งหลายมาปูลาดลงให้เป็นที่พอใจ พระเจ้าจุลนีทรงอนุญาต มโหสถกำหนด

ดีแล้วว่า ช่องประตูอุโมงค์จักมีในที่นี้ จึงให้นำบันไดออกเสีย ให้ปูลาดแผ่น

กระดานเพื่อต้องการมิให้มีฝุ่นในที่ที่จะเป็นประตูอุโมงค์ แล้วพาดบันไดไว้ตาม

เดิมมิให้หวั่นไหว มิให้ทรุดลงได้ เมื่อพระราชาไม่ทรงทราบโทษที่จะพึงมี

ก็เข้าพระหฤทัยว่า มโหสถทำด้วยความภักดีในเรา มโหสถให้ทำนวกรรม

ตลอดวันนั้นอย่างนี้แล้ว รุ่งขึ้นจึงกราบทูลพระเจ้าจุลนีว่า ข้าแต่สมมติเทพ

ถ้าข้าพระองค์พึงเลือกหาสถานที่ประทับแห่งพระราชาของข้าพระองค์ ข้าพระ-

องค์พึงปฏิบัติทำให้ชอบใจ พระเจ้าจุลนีตรัสว่า ดีแล้ว พ่อบัณฑิต ยกเสียแต่

พระราชนิเวศน์ของข้า นอกนี้ในกรุงทั้งหมด เจ้าปรารถนาที่ใดเป็นพระราช-

นิเวศน์ของพระเจ้าวิเทหราช เจ้าจงเอาที่นั้น มโหสถกราบทูลว่า ข้าแต่พระ

มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์เป็นแขกมา ประชาชนคนของพระองค์ที่เป็นคน

สนิทมีมาก คนเหล่านั้นครั้นเมื่อข้าพระองค์เอาเรือนของเขา ก็จักเกิดทะเลาะ

กับพวกข้าพระองค์ เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จักทำอะไรกับพวกเหล่านั้นได้

พระเจ้าจุลนีตรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต เจ้าอย่าถือเอาคำของพวกนั้น สถานที่ใด

เจ้าชอบใจ เจ้าจงถือเอาสถานที่นั้นทีเดียว มโหสถจึงกราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 485

สมมติเทพ พวกนั้นจักมากราบทูลพระองค์บ่อย ๆ ความสำราญแห่งพระหฤทัย

ของพระองค์ และแห่งใจของข้าพระองค์จักไม่มี ก็ถ้าว่าพระองค์ทรงปรารถนา

คนรักษาประตูควรเป็นคนของข้าพระองค์ จนกว่าข้าพระองค์จักหาสถานที่เป็น

พระราชนิเวศน์แห่งพระราชาของข้าพระองค์ได้ แต่นั้น พวกนั้นเข้าประตูไม่ได้

ก็จักไม่มา เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็จักทรงพระสำราญ และข้าพระองค์ก็จัก

สบายใจ พระราชาจุลนีทรงอนุญาต พระมหาสัตว์ตั้งคนของตนไว้ในที่ทั้งปวง

คือที่เชิงบันใด หัวบันใด และประตูใหญ่ สั่งว่าพวกเจ้าอย่าให้ใคร ๆ เข้าไป.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ไปสู่ตำหนักพระราชมารดาของพระเจ้าจุลนีก่อน

แล้วสั่งคนทั้งหลายว่า เจ้าทั้งหลายจงจัดการรื้อตำหนัก คนใช้เหล่านั้นก็ปรารภ

เพื่อจะรื้ออิฐและขุดดินตั้งแต่ซุ้มประตู พระราชชนนีของพระเจ้าจุลนีได้สดับข่าว

นั้น จึงเสด็จมารับสั่งว่า พวกเจ้าจะให้รื้อตำหนักของข้าเพื่ออะไร ชนเหล่านั้นจึง

ทูลตอบว่า มโหสถให้รื้อใคร่เพื่อให้สร้างพระราชนิเวศน์แห่งพระราชาของตน

พระราชชนนีจึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น อยู่ด้วยกันในตำหนักนี้ก็แล้วกัน ชน

เหล่านั้นทูลตอบว่า พลพาหนะของพระราชาแห่งพวกข้าพระองค์มีมากตำหนัก

นี้ย่อมไม่พอกันอยู่ ข้าพระองค์จักให้สร้างที่ประทับใหม่ให้ใหญ่ พระราชชนนี

จึงรับสั่งว่า พวกเจ้าไม่รู้จักข้า ข้าเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าจุลนี ข้าจัก

ไปหาลูกข้า จักรู้กันเดี๋ยวนี้ ชนเหล่านั้นจึงทูลว่า ข้าพระองค์จักรื้อตามพระ-

ราชดำรัส ถ้าพระองค์อาจ ก็จงห้าม พระนางสลากเทวีกริ้วรับสั่งว่า ข้ารู้จัก

กิจที่ข้าพึงทำแก่พวกเจ้าเดี๋ยวนี้ ตรัสแล้วเสด็จไปประตูพระราชนิเวศน์ ลำดับ

นั้น คนเฝ้าประตูก็ห้ามพระราชมารดาว่า แกอย่าเข้าไป พระราชมารดาตรัสว่า

ข้าเป็นพระราชชนนี ชนเหล่านั้นก็ทูลว่า พวกข้าพระองค์ไม่ทราบ พระเจ้า

จุลนีตรัสสั่งไว้ว่า อย่าให้ใคร ๆ เข้าไป เพราะฉะนั้นพระองค์จงเสด็จกลับไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 486

เสีย พระนางสลากเทวีเมื่อไม่ทอดพระเนตรเห็นที่พึ่งอันพึงยึดถือ ก็เสด็จกลับ

มาทอดพระเนตรตำหนักของพระองค์ประทับยืนอยู่ ลำดับนั้น ชนผู้หนึ่งจึง

ทูลพระนางนั้นว่า แกทำอะไรในที่นี้ จงไป ๆ ว่าแล้วลุกขึ้นไสพระศอให้ล้มลง

ยังภูมิภาค พระนางเจ้าทรงดำริว่า พวกนี้พระราชาลูกเราสั่งแล้ว แน่ ใครไม่

สามารถจะทำอย่างนี้ ด้วยประการอื่น เราจักไปหามโหสถ จึงเสด็จไปหา

มโหสถ ตรัสว่า แน่ะพ่อมโหสถ ท่านให้รื้อตำหนักข้าพเจ้าเพราะอะไร มโหสถ

ไม่พูดกับพระนางเจ้า แต่บุรุษผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้ทูลว่า พระนางจะตรัสอะไรกะ

มโหสถ พระนางเจ้าจึงรับสั่งว่า มโหสถให้รื้อตำหนักข้าพเจ้าเพื่ออะไร บุรุษ

นั้นทูลว่า เพื่อทำที่ประทับแห่งพระเจ้าวิเทหราช พระราชมารดารับสั่งว่า

เมืองใหญ่ถึงเพียงนี้ ทำไมจะหาที่ทำพระราชนิเวศน์ในที่อื่นไม่ได้ เจ้าจงรับ

สินบนแสนกหาปณะนี้แล้วให้ทำพระราชนิเวศน์ในสถานที่อื่นเถิด บุรุษนั้นทูล

ตอบว่า ดีแล้ว พระแม่เจ้า ข้าพระองค์จักให้ละตำหนักของพระนาง แต่

พระนางอย่ารับสั่งการที่ข้าพระองค์รับสินบนแก่ใคร่ ๆ เพราะว่าชนเหล่าอื่นจะ

พากันให้สินบนแก่พระองค์แล้วไม่อยากละเรือนของตน พระนางสลากเทวีรับ

สั่งตอบว่า การที่ข้าพูดให้ใครรู้นั้น เป็นที่น่าอายแก่ข้าว่า พระราชมารดาได้

ให้สินบน ดังนี้ เพราะฉะนั้นข้าจักไม่บอกแก่ใคร บุรุษนั้นทูลรับว่า ดีแล้ว

แล้วรับเอากหาปณะ ๑ แสนจากพระนาง ก็ละตำหนักนั้นไปเรือนเกวัฏให้ทำ

เหมือนกับทำแก่ตำหนักพระนางสลากเทวีนั้น เกวัฏโกรธไปสู่ราชทวาร เหล่า

คนรักษาประตูก็ประหารที่หลังเกวัฏด้วยซีกไม้ไผ่ หนังที่หลังเกวัฏก็เป็นแนว

ขึ้น เกวัฏไม่เห็นจะพึ่งอะไรได้ก็กลับบ้านให้กหาปณะ ๑ แสนแก่บุรุษนั้น

มโหสถถือเอาสถานที่ตั้งเรือนในนครทั้งสิ้นด้วยอุบายนี้ รับสินบนได้กหาปณะ

ในที่นั้น ๆ ประมาณ ๙ โกฏิ พระโพธิสัตว์พิจารณาในนครทั้งสิ้นแล้วไปเฝ้า

พระเจ้าจุลนี พระราชาตรัสถามว่า เป็นอย่างไร พ่อบัณฑิต สถานที่ตั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 487

พระราชนิเวศน์เจ้าหาได้หรือยัง มโหสถกราบทูลว่า ชื่อว่าใครจะไม่ให้ ย่อม

ไม่มี แต่ครั้นเมื่อเรือนอันข้าพระองค์ถือเอา ชนเจ้าของก็ย่อมลำบาก การทำ

ความที่ชนเหล่านั้น ต้องพลัดพรากจากของรัก ไม่สมควรแก่ข้าพระองค์ เพราะ

ฉะนั้น ข้าพระองค์จักสร้างพระนครให้เป็นสถานที่ประทับแห่งพระราชาของข้า

พระองค์ ในที่โน้นระหว่างคงคากับพระนครนี้ ในที่ ๑ คาวุตแต่ที่นี้ ภายนอก

พระนครนี้.

พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับก็ยินดี ด้วยทรงเห็นว่า การรบกันภายในเมือง

เป็นการลำบาก เสนาฝ่ายเราหรือเสนาฝ่ายอื่นก็อาจรู้ยาก การทำยุทธนาการ-

ภายนอกเมืองเป็นการง่าย จักได้ไม่ต้องทุบตีกันตายในเมือง ทรงเห็นฉะนี้

จึงตรัสว่า ดีแล้วพ่อ เจ้าจงให้สร้างในสถานที่ที่เจ้ากำหนดเถิด มโหสถกราบ

ทูลว่า ข้าพระองค์จักให้ทำในที่ที่กราบทูลและขอพระราชทานอนุญาตแล้วนั้น

ชาวพระนครอย่าพึงไปสู่ที่ทำนวกรรมของข้าพระองค์ เพื่อหาฟืนและใบไม้

เพราะว่าเมื่อชาวเมืองไป จักเกิดทะเลาะวิวาทกัน ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ความ

สำราญพระราชหฤทัยจักไม่มีแด่พระองค์ และความสบายใจก็จักไม่มีแก่ข้า-

พระองค์ พระเจ้าจุลนีตรัสว่า ดีแล้ว พ่อบัณฑิต เจ้าจงห้ามไม่ให้ใครไปยัง

ประเทศนั้น มโหสถทูลต่อไปว่า ข้าแต่สมมติเทพ ช้างทั้งหลายของข้าพระองค์

ชอบเล่นน้ำ เมื่อน้ำเกิดขุ่นมัวขึ้น ถ้าชาวเมืองจักขัดเคืองพวกข้าพระองค์ว่า

จำเดิมแต่มโหสถมา พวกเราไม่ได้ดื่มน้ำใส ขอพระองค์กรุณาอดกลั้นในเรื่อง

นี้ อย่ากริ้วพวกข้าพระองค์ พระเจ้าเจ้าจุลนีตรัสว่า ช้างทั้งหลายของพวกเจ้า

พวกเจ้า จงปล่อยให้เล่นเถิด ตรัสฉะนี้แล้วให้ป่าวร้องว่า ผู้ใดออกจากที่นี้

ไปสู่ที่สร้างพระนครของมโหสถ จักปรับไหมผู้นั้นพันกหาปณะ มโหสถถวาย

บังคมลาพระเจ้าจุลนีพาพวกของตนออกจากพระนครปรารภเพื่อสร้างพระนคร

ในสถานที่กำหนดไว้ ให้สร้างบ้านชื่อคัคคลิริมฝั่งคงคาฟากโน้น ให้ช้างม้ารถ

พาหนะโคมีกำลังอยู่ในบ้านนั้น พิจารณาการสร้างพระนคร แบ่งการงานทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 488

ว่า ชนเท่านี้ทำกิจชื่อนี้ เป็นต้น และได้เริ่มการงานในอุโมงค์ ประตูอุโมงค์

ใหญ่อยู่ริมฝั่งคงคา ชนทั้งหลายราว ๖,๐๐๐ คน ขุดอุโมงค์ใหญ่ นำกรวด

ทรายที่เทลง ๆ นั้น คงคาก็ขุ่นมัวไหลไป ชาวเมืองก็พากันกล่าวว่า ตั้งแต่

มโหสถมา พวกเราไม่ได้ดื่มน้ำใส คงคาขุ่นมัวไหลไป เหตุเป็นอย่างไรหนอ

ลำดับนั้น บุรุษที่มโหสถวางไว้ก็แจ้งแก่ชาวเมืองว่า ได้ยินว่า หมู่ช้างของมโหสถ

เล่นน้ำ ทำให้น้ำในคงคาขุ่นเป็นตม เพราะเหตุนั้น คงคาจึงขุ่นมัวไหลไป

ธรรมดาว่าความประสงค์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมสำเร็จ เพราะเหตุนั้น

รากไม้ ศิลา กรวดทั้งปวงในอุโมงค์ย่อมจมหายไปในพื้นดิน ประตูแห่ง

อุโมงค์ซึ่งเป็นทางเดินอยู่ในเมืองนั้น ชนทั้งหลายราว ๓,๐๐๐ คน ขุดอุโมงค์

ซึ่งเป็นทางเดิน ให้บรรจุกรวดทรายด้วยถุงหนังไปถมในนครนั้น ให้คลุกเคล้า

ดินและทรายที่เทไว ๆ กับน้ำก่อกำแพง และทำกิจอื่น ๆ ด้วย ประตูทางเข้า

มหาอุโมงค์มีทางในเมือง ประกอบด้วยประตูเป็นคู่ มียนตร์สูง ๑๘ ศอก ก็

ในเมื่อเหยียบกดเครื่องสลักห้ามอันหนึ่งเข้า ประตูนั้นก็เปิด ก่ออิฐ ๒ ข้าง

แห่งมหาอุโมงค์แล้วให้ฉาบปูน ปูไม้บังเบื้องบนเอาดินเหนียวยาอุดช่องแล้ว

ทาขาว ก็ในอุโมงค์นั้นมีประตูทั้งหมด คือประตูใหญ่ ๘๐ ประตูน้อย ๖๔

ทุกประตูประกอบด้วยยนตร์ ในเมื่อเหยียบกดเครื่องสลักห้ามอันหนึ่งเข้า

ประตูทั้งหมดก็ปิด ในเมื่อเหยียบกดเครื่องสลักห้ามอันหนึ่งเข้า ประตูทั้งหมด

ก็เปิด โคมดวงไฟมีมากกว่าร้อย มี ๒ ข้างของมหาอุโมงค์ โคมดวงไฟทั้งสิ้น

ประกอบด้วยยนตร์ ครั้นเมื่อเปิดยนตร์อันหนึ่ง โคมดวงไฟก็เปิดสว่างพร้อม

กันหมด ครั้นเมื่อปิดยนตร์อันหนึ่ง โคมดวงไฟก็ปิดมืดพร้อมกันหมด ก็

ห้องบรรทมร้อยเอ็ดห้องสำหรับพระราชาร้อยเอ็ด มีอยู่ ๒ ข้างแห่งมหาอุโมงค์

ทอดเครื่องลาดต่าง ๆ ไว้ในห้องบรรทมทุกห้อง ที่ประทับนั่งแห่งหนึ่ง ๆ ยก

เศวตฉัตรไว้ทุกแห่ง รูปสตรีทำด้วยเส้นป่านรูปหนึ่ง ๆ งดงามยิ่ง ตั้งไว้อาศัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 489

พระราชสีหาสน์และพระราชมหาสยนะองค์หนึ่งๆ ประดิษฐานไว้แล้ว ถ้าว่า

บุคคลไม่จับต้องรูปนั้น ก็ไม่อาจรู้ว่าไม่ใช่รูปคน อนึ่ง พวกช่างเขียนผู้ฉลาด

ได้ทำจิตรกรรมเขียนอย่างวิจิตรต่าง ๆ ทั้ง ๒ ข้างแห่งมหาอุโมงค์แสดงภาพทั้ง

ปวงไว้ในอุโมงค์ แบ่งเขียนเป็นต้นว่าภาพสักกเทวราชเยื้องกรายมีหมู่เทวดา

แวดล้อมและเขาสิเนรุ เขาบริภัณฑ์ สาคร มหาสาคร ทวีป ๘ ป่าหิมพานต์

สระอโนดาต พื้นศิลา ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ สวรรค์ชั้นกามาพจรมีจาตุ

มหาราชิกาเป็นต้น และสมบัติ ๗ ประการ เกลี่ยกรวดทรายซึ่งมีสีดุจแผ่นเงินที่

ภาคพื้น แสดงดอกปทุมห้อยตามช่องเบื้องบน แสดงร้านตลาดขายของมี

ประการต่าง ๆ ทั้ง ๒ ข้าง ห้อยพวงของหอมพวงบุปผชาติเป็นต้น ในที่นั้น ๆ

ประดับอุโมงค์เป็นราวกะสุธรรมาเทพสภา ฝ่ายช่าง ๓๐๐ คนที่มโหสถให้ไป

ทำทัพสมภาระแห่งพระราชนิเวศน์และให้ต่อเรือบรรทุกมานั้น ก็ได้ท่อเรือ

๓๐๐ ลำ บรรทุกทัพสัมภาระที่แต่งเสร็จแล้วมาทางคงคาแจ้งแก่มโหสถ

มโหสถนำทัพสัมภาระเหล่านั้น ไปเป็นเครื่องประกอบใช้การในพระนคร แล้ว

ให้นำเรือทั้งหลายไปรักษาไว้ในที่ปกปิด สั่งว่า เหล่าเจ้าจงนำมาในวันที่เราสั่ง

การก่อสร้างทั้งปวงในพระนครที่แล้วเสร็จ คือคูน้ำ คูเปือกตม คูแห้ง กำแพง

สูง ๑๘ ศอก ป้อมประตูเมือง ซุ้มประตูเมือง พระราชนิเวศน์เป็นต้น โรงช้าง

เป็นต้น และสระโบกขรณี มหาอุโมงค์ ชังฆอุโมงค์ พระนครทั้งหมดนี้แล้ว

เสร็จ ๔ เดือน ด้วยประการฉะนี้.

ต่อนั้นล่วงมาได้ ๔ เดือน พระมหาสัตว์ได้ส่งทูตไปเพื่อเชิญเสด็จ

พระเจ้าวิเทหราชเสด็จมา.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า

มโหสถสร้างพระราชนิเวศน์เพื่อพระเจ้าวิเทห-

ราชผู้ทรงยศเสร็จแล้ว ภายหลังจึงส่งทูตทูลพระเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 490

วิเทหราชว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอเชิญพระองค์

เสด็จมาบัดนี้ พระราชนิเวศนี้ที่สร้างเพื่อพระองค์

สำเร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาหิณี แปลว่า ส่งไปแล้ว.

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของทูตก็ทรงโสมนัส เสด็จไปด้วย

ราชบริพารเป็นอันมาก.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า

ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชพร้อมด้วยจตุรงค-

เสนา เสด็จไปสู่นครอันมั่งคั่งที่มโหสถสร้างไว้ในแคว้น

กัปปิล เพื่อทอดพระเนตรพาหนะอันหาที่สุดมิได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนนฺตพาหน ได้แก่ พาหนะมีช้าง

และม้าเป็นต้นประมาณมิได้. บทว่า กปฺปิลิย ปุร ได้แก่ นครที่มโหสถ

บัณฑิตสร้างไว้ในแคว้นกัปปิละ.

พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปโดยลำดับถึงฝั่งคงคา ลำดับนั้นพระมหาสัตว์

ก็ไปรับเสด็จให้เข้าสู่นครที่ตนสร้าง พระราชาเสด็จไปสู่ปราสาทอันประเสริฐ

ในนครนั้น สนานพระวรกายทรงแต่งพระองค์แล้ว เสวยโภชนาหารมีรสอัน

เลิศ ทรงพักผ่อนหน่อยหนึ่งแล้ว เวลาเย็นทรงสั่งราชทูตไปยังสำนักพระเจ้า-

จุลนี เพื่อให้ทรงทราบว่าพระองค์เสด็จมาถึงแล้ว.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า

ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปถึงแคว้น

กัปปิละแล้ว ทรงส่งพระราชสาสน์ไปถวายพระเจ้า

จุลนีพรหมทัตว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หม่อมฉันมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 491

เพื่อถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์ ขอพระองค์

โปรดพระราชทานพระราชธิดาผู้งดงามทั่วองค์ประดับ

ด้วยราชาลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อมล้อมด้วยหมู่นาง

ข้าหลวง ให้เป็นมเหสีของหม่อมฉัน ณ บัดนี้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วนฺทิตุ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชมี

พระชนม์แก่กว่าพระเจ้าจุลนี พระเจ้าจุลนีไม่พอที่จะเป็นแม้เพียงพระโอรสของ

พระเจ้าวิเทหราช แต่พระเจ้าวิเทหราชหมกมุ่นไปด้วยกิเลส จึงทรงดำริว่า

พระเจ้าจุลนีเป็นพระสัสสุระที่เราผู้เป็นพระชามาตาควรถวายบังคม ไม่ทรง

ทราบความคิดของพระเจ้าจุลนี จึงทรงส่งสาสน์ถวายบังคมไป. บทว่า

ททาหิทานิ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชทรงส่งสาสน์ไปว่า พระองค์โปรด

เรียกหม่อมฉันมาว่าจะประทานพระราชธิดา ขอได้โปรดประทานพระราชธิดา

นั้นแก่หม่อมฉันในบัดนี้เถิด. บทว่า สุวณฺณปฏิจฺฉนฺน ได้แก่ ประดับ

ด้วยเครื่องประดับทองคำ.

ฝ่ายพระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับถ้อยคำของราชทูตก็ทรงโสมนัส ดำริว่า

บัดนี้ปัจจามิตรของเราจักไปข้างไหนพ้น เราจักตัดศีรษะเขาทั้งสองคนแล้วดื่ม

ชัยบาน เมื่อจะทรงแสดงพระโสมนัสส่วนเดียวให้ปรากฏ จึงพระราชทาน

รางวัลแก่ราชทูตแล้ว ตรัสคาถาเป็นลำดับมาว่า

ดูก่อนพระเจ้าวิเทหราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว

เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้ พระองค์หาฤกษ์อาวาห-

มงคลไว้ หม่อมฉันจะถวายพระราชธิดาประดับด้วย

ราชาลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อมล้อมด้วยหมู่นาง

ข้าหลวงแด่พระองค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 492

ในคาถานั้น พระเจ้าจุลนีได้สดับสาสน์ของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว ตรัส

เรียกพระเจ้าวิเทหราชนั้นดุจเสด็จอยู่เฉพาะพระพักตร์ว่า เวเทห อีกนัยหนึ่ง

ทรงสั่งให้ราชทูตไปทูลว่า พระเจ้าพรหมทัตจุลนีตรัสอย่างนี้ จึงตรัสอย่างนี้.

ราชทูตได้ฟังดังนั้น จึงไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราชกราบทูลว่า ข้าแต่

สมมติเทพ ขอพระองค์ทรงหาฤกษ์ที่สมควรแก่การพระราชพิธีอาวาหมงคล

พระเจ้าจุลนีจะถวายพระราชธิดาแด่พระองค์ พระเจ้าวิเทหราชจึงส่งราชทูตไป

อีกว่า วันนี้แหละฤกษ์ดี.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า .

ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชก็ได้ทรงหาพระฤกษ์

ครั้นหาพระฤกษ์ได้แล้วจึงได้ทรงส่งพระราชสาสน์ไป

ถวายพระเจ้าพรหมทัตว่า ขอพระองค์โปรดพระราช-

ทานพระราชธิดาผู้งดงามทั่วองค์ ประดับด้วยราชา-

ลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อมล้อมด้วยหมู่นางข้าหลวง

ให้เป็นมเหสีของหม่อมฉัน ณ บัดนี้เถิด.

ฝ่ายพระเจ้าจุลนีตรัสตอบว่า

หม่อมฉันจะถวายพระราชธิดาผู้งดงามทั่วองค์

ประดับด้วยราชาลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อมล้อมด้วย

หมู่นางข้าหลวง แด่พระองค์ในบัดนี้.

ครั้นพระเจ้าจุลนีตรัสคาถานี้แล้ว ตรัสลวงว่า จะส่งไปเดี๋ยวนี้ ๆ ดังนี้

ได้ประทานสัญญาแก่พระราชาร้อยเอ็ดว่า ท่านทั้งปวงกับเสนา ๑๘ อักโขภิณี

จงเตรียมออกรบ วันนี้เราจักตัดศีรษะข้าศึกทั้งสอง พรุ่งนี้จักได้ดื่มชัยบาน

พระราชาร้อยเอ็ดเหล่านั้นทั้งหมดก็ออกในขณะนั้นทีเดียว ฝ่ายพระเจ้ากรุง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 493

ปัญจาละเมื่อจะเสด็จออกทำการยุทธ์ ก็ยังพระนางสลากเทวี ผู้พระราชมารดา

พระนางนันทาเทวี ผู้พระมเหสี พระปัญจาลจันทะ ผู้ราชโอรส พระนาง-

ปัญจาลจันที ผู้พระราชธิดา รวม ๔ องค์ ให้อยู่ในตำหนักเดียวกันกับนาง

สนมทั้งหลาย จึงเสด็จออกสงคราม.

ฝ่ายมโหสถบรมโพธิสัตว์ทำราชสักการะเป็นนักหนา แด่พระเจ้า

วิเทหราชพร้อมพวกเสนาที่โดยเสด็จ ชนบางพวกดื่มสุรา บางพวกเคี้ยวกิน

มัจฉมังสาหาร บางพวกเหน็ดเหนื่อยก็นอน เพราะมาแต่ทางไกล ฝ่ายพระเจ้า

วิเทหราชทรงพาอาจารย์ทั้ง ๔ มีเสนกะเป็นต้น ประทับนั่ง ณ พื้นพระราช-

มณเฑียรที่ตกแต่งแล้ว ท่ามกลางราชบริพาร ฝ่ายพระเจ้าจุลนีล้อมนครที่

พระเจ้าวิเทหราชประทับ ให้ติดต่อกัน ๓ ชั้น ย่นเข้าเป็น ๔ ด้วยกองทัพ ๑๘

อักโขภิณี มีคนจุดคบเพลิงนับด้วยแสน ๆ ครั้นอรุณขึ้นก็เตรียมยึดเมืองตั้งอยู่

มโหสถรู้ความก็ส่งโยธา ๓๐๐ คนของตนไปสั่งว่า เจ้าทั้งหลายจงไปตามทาง

อุโมงค์ จับราชมารดา มเหสี ราชบุตร และราชธิดาของพระเจ้าจุลนีมาทางอุโมงค์

อย่าให้อยู่นอกประตูมหาอุโมงค์ ให้อยู่ภายในอุโมงค์ ตั้งรักษาอยู่จนกว่าข้า

จะมา จึงนำออกจากอุโมงค์ให้อยู่ในโรงกว้างใหญ่ในกาลเมื่อข้าไป ชนเหล่านั้น

รับคำสั่งมโหสถก็ไปทางอุโมงค์ เปิดไม้ลาดไว้ที่เชิงบันได แล้วมัดมือเท้าคน

รักษาในที่เชิงบันได หัวบันไดและพื้นตำหนัก และนางบำเรอมีนางค่อมแตระ

เป็นต้น แล้วปิดปากชนเหล่านั้น ให้อยู่ในที่กำบังนั้น ๆ แล้วเคี้ยวกินเครื่อง

เสวยที่จัดไว้ถวายพระเจ้าจุลนี ทิ้งของอะไร ๆ เสีย ทำลายภาชนะทำให้ป่นปี้

เสีย แล้วขึ้นสู่เบื้องบนปราสาท กาลนั้นพระนางสลากเทวีทรงสำคัญว่า ที่ไหน

จะมีใครรู้จักพระนันทาเทวี ราชบุตรราชธิดา เหตุอะไรจักเกิดมี จึงให้บรรทม

อยู่ ณ พระยี่ภู่เดียวกันกับพระองค์ โยธาเหล่านั้นยืนร้องเรียกที่ประตูห้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 494

พระนางจึงออกมาตรัสถามว่า ทำไมพ่อ โยธาเหล่านั้นจึงแสร้งทูลว่า ข้าแต่

พระเทวี พระราชาของพวกเรายังพระเจ้าวิเทหราชกับมโหสถให้ถึงความสิ้น

ชีวิตแล้ว แวดล้อมด้วยพระราชาร้อยเอ็ดเป็นเอกราชในสกลชมพูทวีป ดื่ม

ชัยบานใหญ่ด้วยพระเกียรติยศใหญ่ ส่งข้าพระองค์ทั้งหลายมาเพื่อพาเสด็จไป

ทั้ง ๔ พระองค์ พระราชมารดาเป็นต้นทรงเธอ จึงเสด็จลงจากปราสาทถึง

เชิงบันได โยธาเหล่านั้น ก็พาเสด็จไปเข้าทางอุโมงค์ พระราชมารดาเป็นต้น

ตรัสว่า ข้าอยู่ในที่นี้สิ้นกาลเท่านี้ ยังไม่เคยลงสู่ทางนี้ โยธาเหล่านั้นทูลว่า

ข้าแต่พระเทวีเจ้า ชนทั้งปวงหาได้ลงสู่ทางนี้ไม่ เพราะทางนี้เป็นทางมงคล

วันนี้พระราชาตรัสสั่งให้นำเสด็จโดยทางนี้ เพราะเป็นวันมงคล พระราชมารดา

เป็นต้นทรงเชื่อ ลำดับนั้น โยธาบางพวกพาพระราชมารดาเป็นต้น มาบ้าง

บางพวกกลับไปเปิดคลังรัตนะในพระราชนิเวศน์ ถือเอาทรัพย์ตามปรารถนา

มาบ้าง ฝ่ายพระราชมารดาเป็นต้น เบื้องหน้าแต่จะถึงมหาอุโมงค์ เห็นอุโมงค์

ราวกะเทพสภาอันประดับแล้ว ก็ทรงสำคัญว่า จัดไว้เพื่อประโยชน์แด่พระราชา

ลำดับนั้น โยธาเหล่านั้นพาพระราชมารดาเป็นต้น ไปสู่สถานที่ใกล้มหาคงคา

ให้ประทับในห้องอันตกแต่งแล้วภายในอุโมงค์ พวกหนึ่งอยู่รักษา พวกหนึ่ง

ไปแจ้งการที่ได้นำพระราชมารดาเป็นต้น มาแล้วแก่มโหสถโพธิสัตว์ มโหสถได้

ฟังคำของโยธาเหล่านั้นก็มีความโสมนัสว่า บัดนี้ความปรารถนาของเราจักถึง

ที่สุด จึงไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ฝ่ายพระเจ้า

วิเทหราชทรงดำริว่า พระเจ้าจุลนีจักนำพระราชธิดามาให้เราบัดนี้ ก็เสด็จลุก

จากราชบัลลังก์ ทอดพระเนตรทางช่องพระแกลเห็นพระนครมีแสงสว่างเป็น

อันเดียวกัน ด้วยคบเพลิงนับด้วยแสนดวงมิใช่แสนเดียว อันกองทัพใหญ่

ล้อมรอบแล้ว ก็ทรงฉงนสนเท่ห์รำพึงว่า นั่นอะไรกันหนอ เมื่อจะทรงหารือ

อาจารย์ผู้บัณฑิตทั้งหลาย จึงตรัสคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 495

กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ อันเป็น

กองทัพสวมเกราะตั้งอยู่ จุดคบเพลิงสว่างไสว บัณฑิต

ทั้งหลายย่อมสำคัญอย่างไรกันหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺนุ มญฺนฺติ ความว่า พระเจ้า

วิเทหราชตรัสถามว่า พระเจ้าจุลนีโปรดปรานหรือกริ้วพวกเรา บัณฑิตทั้งหลาย

เข้าใจกันอย่างไรหนอ.

อาจารย์เสนกะได้ฟังตรัสถามจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

ขอพระองค์อย่าทรงวิตกเลย คบเพลิงมากเหลือเกินปรากฏอยู่ ชะรอยพระเจ้า

จุลนีจะพาพระราชธิดามาถวายพระองค์ ฝ่ายอาจารย์ปุกกุสะกราบทูลว่า พระเจ้า

จุลนีจักทรงอารักขาเพื่อทรงทำอาคันตุกสักการะแด่พระองค์ บัณฑิตทั้งสี่เหล่า

นั้นชอบใจอย่างใดก็กราบทูลอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราช

เมื่อได้ทรงสดับเสียงคนในกองทัพบอกสั่งกันว่า เสนาทั้งหลายจงตั้งอยู่ในที่โน้น

ท่านทั้งหลายจงรักษาในที่โน้น อย่าประมาท และทอดพระเนตรเห็นเสนาผูก

สอดเกราะ ก็เป็นผู้อันมรณภัยคุกคาน เมื่อทรงหวังสดับถ้อยคำแห่งพระ-

มหาสัตว์ จึงตรัสคาถานอกนี้ว่า

กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ อันเป็น

กองทัพสวมเกราะตั้งอยู่ จุดคบเพลิงสว่างไสว ดูก่อน

มโหสถบัณฑิต พวกนั้น จักทำอะไรกันหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺนุ กาหนฺติ ปณฺฑิต ความว่า

พ่อบัณฑิต เจ้าคิดอย่างไรหนอ เสนาเหล่านั้นจักกระทำอะไรแก่พวกเรา.

พระมหาสัตว์ได้ฟังพระราชดำรัสดังนั้น จึงคิดในใจว่า เราจักทำ

พระราชาผู้อันธพาลนี้ให้สะดุ้งสักหน่อย ภายหลังจึงแสดงกำลังปัญญาของเรา

ให้ปรากฏทำให้พระองค์เบาพระหฤทัย คิดฉะนี้แล้ว จึงกราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 496

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระเจ้าจุลนีพรหมทัตมี

กำลังมาก ล้อมพระองค์ไว้ประทุษร้ายพระองค์ พระองค์

จักปลงพระชนม์พระองค์.

คนเหล่านั้นทั้งหมดมีพระเจ้าวิเทหราชเป็นต้นก็ตกใจกลัวตาย พระราชา

พระศอแห้ง พระเขฬะไม่มีในพระโอฐ เกิดเร่าร้อนในพระสรีระ พระองค์

ทรงกลัวต่อมรณภัย คร่ำครวญตรัสคาถา ๒ คาถาว่า

ใจของเราสั่น และปากก็แห้งผาก เราเป็นเหมือน

ถูกไฟไหม้กลางแดด ไม่บรรลุถึงความเย็นใจ เตาของ

ช่างทองรุ่งเรืองภายใน ไม่รุ่งเรืองภายนอกฉันใด ใจของ

เราย่อมเร่าร้อนอยู่ภายใน ไม่ปรากฏภายนอก ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุพฺเพธติ ความว่า แน่ะพ่อมโหสถ

ใจของข้าย่อมหวั่นไหว ราวกะว่าใบอ่อนของโพธิ์ใบต้องลมใหญ่ฉะนั้น. บทว่า

อนฺโต ฌายติ โน พหิ ความว่า หัวใจของเราย่อมเร่าร้อนอยู่ในภายใน

แต่ไม่ปรากฏในภายนอกราวกะเตาของช่างทองนั้น.

พระมหาสัตว์ได้ฟังพระเจ้าวิเทหราชทรงคร่ำครวญ คิดว่า พระราชา

นี้เป็นอันธพาล ไม่ทำตามคำของเราในวันอื่น ๆ เราจักข่มพระองค์ให้ยิ่งขึ้น

จึงทูลว่า

ข้าแต่บรมกษัตริย์ พระองค์เป็นผู้ประมาทแล้ว

เป็นไปล่วงความคิด มีความคิดทำลายเสียแล้ว บัดนี้

บัณฑิตทั้ง ๔ ผู้มีความคิดจงป้องกันพระองค์เถิด พระ-

องค์ไม่ทรงทำตามคำของข้าพระองค์ผู้เป็นอมาตย์ใคร่

ประโยชน์นี้แสวงหาความเกื้อกูล ทรงยินดีแล้วด้วย

พระปีติอันเศร้าหมองของพระองค์ ดุจมฤคตกหลุม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 497

ฉะนั้น ปลาอยากกินของสดคือเหยื่อย่อมกลืนเบ็ดอัน

งอซึ่งปิดไว้ด้วยเนื้ออันเป็นเหยื่อ มันย่อมไม่รู้ความ

ตายของตน ฉันใด ข้าแต่พระราชา พระองค์เป็นผู้มี

ความปรารถนาในกามย่อมไม่ทรงทราบพระราชธิดา

ของพระเจ้าจุลนีผู้เป็นดุจเหยื่อ ราวกะปลาไม่รู้จัก

เหยื่อคือความตายของตน ฉันนั้น นั่นเทียว ถ้าพระ-

องค์เสด็จนครปัญจาละ จักต้องสละพระองค์ทันที

ภัยใหญ่จักถึงพระองค์ดุจภัยมาถึงมฤคตัวตามไปถึงทาง

ประตูบ้าน ฉะนั้น ข้าแต่พระจอมประชา บุรุษผู้ไม่

ประเสริฐ เป็นเหมือนงูอยู่ในพกพึงกัดเอา ผู้มีปัญญา

ไม่พึงทำไมตรีกับบุรุษเช่นนั้น เพราะการคบบุรุษชั่ว

เป็นทุกข์โดยแท้ ข้าแต่พระจอมประชากร บุรุษผู้มี

ศีล เป็นพหูสูตนี้พึงรู้คุณแห่งไมตรีนั้นกับบุรุษนั้นนั่น

เที่ยว เพราะการคบสัตบุรุษทั้งหลาย เป็นสุขโดยแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมตฺโต ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

พระองค์เป็นผู้ประมาทเพราะความใคร่. บทว่า มนฺตนาตีโต ความว่า เป็น

ผู้ก้าวล่วงความคิดที่ข้าพระองค์เห็นภัยในอนาคตคิดกำหนดตัดด้วยปัญญา.

บทว่า ภินฺนมนฺโต ความว่า เป็นผู้มีความคิดทำลายเสียแล้ว คือ ความคิด

ใดที่พระองค์ทรงยึดถือร่วมกับอาจารย์เสนกะเป็นต้น ความคิดนั้นทรงทำลาย

แล้ว จึงชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดทำลายเสียแล้ว เพราะความเป็นผู้ก้าวล่วงความ

คิดนั่นแล. บทว่า ปณฺฑิตา ความว่า มโหสถแสดงว่า อาจารย์ ๔ คนมี

เสนกะเป็นต้นเหล่านั้นจงรักษาพระองค์ในบัดนี้เถิด ข้าพระองค์เห็นกำลังของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 498

อาจารย์เหล่านั้น. บทว่า อกตฺวามจฺจสฺส ความว่า ไม่ทรงทำตามคำของ

ข้าพระองค์ผู้เป็นอมาตย์สูงสุด. บทว่า อตฺตปีติรโต ความว่า เป็นผู้ทรง

ยินดียิ่งแล้ว ด้วยพระปีติอันเศร้าหมองของพระองค์. บทว่า มิโค กูเฏว

โอหโต ความว่า มฤคมาด้วยความโลภเหยื่อคิดอยู่ในบ่วงหลุม ฉันใด

พระองค์ไม่ทรงเชื่อคำของข้าพระองค์ เสด็จมาด้วยความโลภว่าจักได้พระราช

ธิดาปัญจาลจันที บัดนี้จึงทรงเป็นเหมือนมฤคที่ติดในบ่วงหลุม ฉันนั้น.

สองคาถาว่า ยถาปิ มจฺโฉ เป็นต้น มโหสถบัณฑิตกล่าวเพื่อแสดงว่า

อุปมานี้ข้าพระองค์นำมาแล้วในกาลนั้น แม้คาถาว่า สเจ คจฺฉสิ เป็นต้น

มโหสถบัณฑิตก็กล่าวเพื่อแสดงว่า ข้าพระองค์นำอุปมาแม้นี้ถวายพระองค์

มิใช่เพียงเท่านี้อย่างเดียวเท่านั้น. บทว่า อนริยรูโป ได้แก่ บุรุษผู้ไร้ความ

ละอาย มีชาติของตนชั่วเช่นพราหมณ์เกวัฏ. บทว่า น เตน เมตฺตึ ความว่า

พระองค์ไม่ควรทำมิตรธรรมกับคนเช่นนั้น แต่พระองค์ทรงมีเมตตาพราหมณ์

เกวัฏ ถือคำของเขา. บทว่า ทุกฺโข ความว่า ขึ้นชื่อว่าการสมาคมกับคน

เห็นปานนี้ ทำครั้งเดียว ก็เป็นทุกข์ เพราะนำทุกข์ใหญ่มาทั้งในโลกนี้ทั้งใน

โลกหน้า. บทว่า ย เตฺวว ตัดบทเป็น ย ตุ เอว อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะ

ก็อย่างนี้แหละ. บทว่า สุโข ความว่า เป็นสุขทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า

ทีเดียว.

ลำดับนั้น มโหสถข่มพระเจ้าวิเทหราชยิ่งขึ้น ด้วยหวังว่าพระองค์จัก

ไม่ทรงทำอย่างนี้อีก เมื่อจะนำพระดำรัสที่ตรัสไว้ในกาลก่อนมาแสดง จึงทูลว่า

ข้าแต่พระราชา พระองค์เป็นคนเขลา บ้าน้ำลาย

ที่กล่าวถึงเหตุแห่งการได้รัตนะสูงสุดในสำนักข้า-

พระองค์ ข้าพระองค์เจริญด้วยหางไถ จะรู้จักความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 499

เจริญเหมือนคนอื่นเขาได้อย่างไร ท่านทั้งหลายจง

ไสคอมโหสถนี้ให้หายไปเสียจากแว่นแคว้นของเรา

เพราะเขาพูดเป็นอันตรายแก่การได้รัตนะของเรา.

ครั้นมโหสถกล่าวคาถา ๒ คาถานี้แล้ว จึงกล่าวข่มอย่างนี้ว่า ข้าแต่

พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์เป็นบุตรคฤหบดี จักรู้จักความเจริญเหมือนคน

อื่น ๆ มีเสนกะเป็นต้น ผู้เป็นบัณฑิตของพระองค์ซึ่งรู้ความเจริญฉะนั้นได้

อย่างไร วาทะนั้นไม่ใช่โคจรของข้าพระองค์ ข้าพระองค์รู้ศิลปะแห่งคฤหบดีแท้

ข้อความนี้ปรากฏแก่เสนกะเป็นต้น คนเหล่านั้นเป็นบัณฑิต วันนี้พระองค์ถูก

กองทัพ ๑๘ อักโขภิณีล้อมไว้ คนทั้งหลายมีเสนกะเป็นต้นจงเป็นที่พึ่งของ

พระองค์ ก็พระองค์รับสั่งให้ไสคอข้าพระองค์ฉุดออกไปเสีย บัดนี้ พระองค์

ตรัสถามข้าพระองค์ทำไม พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับดังนั้น ทรงดำริว่า

มโหสถบัณฑิตกล่าวโทษที่เราทำไว้เท่านั้น เพราะเขารู้ภัยในอนาคตนี้มาก่อน

นั่นเอง เพราะเหตุนั้น เขาจึงกล่าวข่มเราเหลือเกิน แต่เราก็ไม่หยุดงาน

ตลอดกาลเท่านี้เลย มโหสถนี้จักทำความสวัสดีแก่เราแน่แท้ ลำดับนั้น พระ-

เจ้าวิเทหราชเมื่อจะยึดมโหสถเป็นที่พำนัก จึงตรัสคาถา ๒ คาถาว่า

ดูก่อนมโหสถ บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ทิ่มแทง

เพราะโทษที่ล่วงไปแล้ว เจ้ามาทิ่มแทงข้าดุจม้าที่เขา

ผูกไว้ด้วยประตักทำไม ถ้าเห็นว่าเราจะพ้นภัยได้หรือ

เห็นว่าเราจะปลอดภัยได้ ก็จงสั่งสอนเราโดยความ

สวัสดีนั้นแหละ เจ้าจะทิ่มแทงเราเพราะโทษที่ล่วงไป

แล้วทำไม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 500

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นานุวิชฺฌนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย

ย่อมไม่ถือเอาโทษที่ล่วงไปแล้วมาทิ่มแทงกันด้วยหอกคือปาก. บทว่า อสฺสว

สมฺพนฺธ ความว่า เจ้าทิ่มแทงเรา ราวกะม้าที่เขาผูกไว้อย่างดี เพราะถูก

เสนาข้าศึกล้อมไว้ทำไม. บทว่า เตเนว ม ความว่า เจ้าจงสั่งสอนเรา คือ

จงให้เราสบายใจ ด้วยความสวัสดีนั้นว่า พระองค์จักพ้นภัยด้วยอาการอย่างนี้

พระองค์จักปลอดภัยด้วยอาการอย่างนี้ ด้วยว่า เว้นเจ้าเสียแล้ว คนอื่นเป็นที่

พึ่งอาศัยของเราไม่มี.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า พระราชาองค์นี้เป็นอันธพาลเหลือเถิด

ไม่รู้จักบุรุษวิเศษ เราจักให้พระองค์ลำบากเสียหน่อยหนึ่งแล้วจักเป็นที่พึ่งของ

พระองค์ภายหลัง ดำริฉะนี้แล้ว ทูลว่า

ข้าแต่บรมกษัตริย์ กรรมของมนุษย์ที่เป็นไป

ล่วงแล้ว ทำได้ยาก เป็นแดนเกิดที่ยินดีได้ยาก ข้า

พระองค์ไม่สามารถจะปลดเปลื้องพระองค์ได้ ขอพระ-

องค์ทรงทราบเองเถิด ช้าง ม้า นก ยักษ์ ผู้มีฤทธิ์

มียศ สามารถไปได้ทางอากาศมีอยู่ ช้างเป็นต้น ซึ่งมี

อิทธานุภาพเห็นปานนั้นที่พระองค์มีอยู่ แม้เหล่านั้น

ก็พึงพาพระองค์ไปได้ ข้าแต่บรมกษัตริย์ กรรมของ

มนุษย์ที่เป็นไปล่วงแล้ว ทำได้ยาก เป็นแดนเกิดที่

ยินดีได้ยาก ข้าพระองค์ไม่สามารถจะปลดเปลื้องพระ

องค์โดยทางอากาศได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺม ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

กรรมชื่อว่าปลดเปลื้องพระองค์จากภัยนี้ ที่เหล่ามนุษย์ซึ่งเป็นมนุษย์ในอดีตพึง

ทำนี้ ชื่อว่าเป็นไปล่วงแล้ว. บทว่า ทุกฺกร ทุรภิสมฺภว ความว่า อันใคร ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 501

ไม่อาจแก้ไข ไม่อาจต่อสู้. บทว่า น ต สกฺโกมิ ความว่า ข้าพระองค์

ไม่สามารถจะปลดเปลื้องพระองค์จากภัยนี้. บทว่า ตฺว ปชานสฺสุ ขตฺติย

ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงทราบสิ่งที่ควรกระทำใน

เครื่องนี้เองเถิด. บทว่า เวทายสา ได้แก่ ช้างที่สามารถไปทางอากาศ. บทว่า

ยสฺส ได้แก่ พระราชาพระองค์ใด. บทว่า ตลาวิธา ความว่า ช้างทั้งหลาย

ที่เกิดในตระกูลฉัททันต์หรือตระกูลอุโบสถมีอยู่ ช้างเหล่านั้นพึงพาพระราชา

นั้นไป. บทว่า อสฺสา ความว่า ม้าทั้งหลายที่เกิดในตระกูลพญาม้าพลาหก.

บทว่า ปกฺขี กล่าวหมายเอาครุฑ. บทว่า ยกฺขา ได้แก่ เหล่ายักษ์มีสา-

ตาคิรยักษ์เป็นต้น. บทว่า อนฺตลิกฺเขน ความว่า ข้าพระองค์ไม่สามารถ

จะปลดเปลื้องพระองค์โดยทางอากาศ คือไม่สามารถจะพาพระองค์นำไปถึงกรุง

มิถิลาทางอากาศได้.

พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับคำของมโหสถดังนั้นก็จำนนประทับนั่งอยู่

ลำดับนั้น อาจารย์เสนกะคิดว่าบัดนี้ ยกมโหสถบัณฑิตเสีย ที่พึ่งอื่นของพระราชา

และของพวกเราไม่มี ก็พระราชาทรงฟังคำของมโหสถ ทรงครั่นคร้ามต่อ

มรณภัย ไม่ทรงสามารถจะตรัสอะไร ๆ ได้ เราจักอ้อนวอนมโหสถบัณฑิต

ให้ช่วย เมื่อเสนกะจะอ้อนวอนได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

บุรุษผู้ยังไม่เห็นฝั่งในมหาสมุทร ได้ที่พำนักใน

ประเทศใด เขาย่อมได้ความสุขในประเทศนั้น ฉันใด

ท่านมโหสถขอท่านได้เป็นที่พึ่งของพวกเรา และของ

พระราชา ฉันนั้น ท่านเป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าพวก

ข้าพเจ้าเหล่ามนตรี ขอท่านช่วยปลดเปลื้องพวกเรา

จากทุกข์เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 502

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตีรทสฺสี ความว่า ผู้เรือแตกกลางทะเล

เมื่อไม่เห็นฝั่ง. บทว่า ยตฺถ ความว่า เมื่อถูกกำลังคลื่นซัดลอยไป ได้ที่พึ่ง

ในประเทศใด. บทว่า ปโมจย ความว่า อาจารย์เสนกะอ้อนวอนว่า เมื่อก่อน

คราวกองทัพตั้งล้อมกรุงมิถิลา ท่านได้ปลดเปลื้องพวกเราให้พ้นภัย แม้บัดนี้

ก็ท่านนี่แหละจงช่วยปลดเปลื้องพวกเราให้พ้นจากทุกข์.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะข่มอาจารย์เสนกะจึงได้กล่าวด้วยคาถาว่า

ท่านอาจารย์เสนกะ กรรมของมนุษย์ที่เป็นไป

ล่วงแล้ว ทำได้ยาก เป็นแดนเกิดที่ยินดีได้ยาก ข้าพเจ้า

ไม่สามารถจะปลดเปลื้องท่านได้ ขอท่านจงทราบเอา

เองเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺว ปชานสฺสุ เสนก ความว่า

ท่านอาจารย์เสนกะ ข้าพเจ้าไม่สามารถ ท่านจงนำพระราชานี้สู่กรุงมิถิลาทาง

อากาศเถิด.

พระเจ้าวิเทหราชเมื่อไม่ทรงเห็นเครื่องยึดถือที่จะพึงทรงยึดถือ ทรง

ครั่นคร้ามต่อมรณภัย ไม่สามารถจะตรัสอะไร ๆ กับพระมหาสัตว์ได้ ทรงดำริ

ว่า บางคราวแม้เสนกะก็รู้อุบายอะไร ๆ เราจะถามเขาดูก่อนเมื่อตรัสถามจึงตรัส

คาถาว่า

ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็นภัยใหญ่

นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์เสนกะ ท่านจะ

สำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ กิจฺจ ความว่า ท่านจะสำคัญสิ่งที่

ควรทำอย่างไรในกาลนี้ พวกเราถูกมโหสถสละแล้ว ถ้าท่านรู้ ก็จงบอกแก่เรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 503

อาจารย์เสนกะได้ฟังดังนั้น คิดว่า พระราชาตรัสถามอุบายกะเรา

งามหรือไม่งาม จงยกไว้ เราจักกล่าวอุบายอย่างหนึ่งแด่พระองค์ คิดฉะนี้ เเล้ว

กล่าวคาถาว่า

พวกเราจงเอาไฟเผาเสียตั้งแต่ประตู หรือจงจับ

มีดฆ่ากันและกันละชีวิตเสียพลัน อย่าทันให้พระราชา

พรหมทัตฆ่าพวกเราให้ลำบากนาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฺวารโต ความว่า พวกเราจงปิดประตู

ก่อไฟที่ประตูนั่น. บทว่า วิกนฺตน ความว่า จงจับศัสตราห้ำหั่นกันและกัน.

บทว่า หิสฺสาม ความว่า พวกเราจักละชีวิตพลัน ปราสาทที่ตกแต่งแล้ว

นั่นแลจักเป็นจิตกาธารไม้ของพวกเรา.

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงฟังดังนั้นก็เสียพระหฤทัยจึงตรัสว่า ท่าน

อาจารย์เสนกะจงทำจิตกาธารเห็นปานนั้นแก่บุตรภรรยาของตนเถิด แล้วตรัส

ถามปุกกุสะเป็นต้น พวกนั้นก็กราบทูลด้วยถ้อยคำแสดงความเขลาตามสมควร

แก่ตน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระราชาตรัสถามปุกกุสะว่า

ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็นภัยใหญ่

นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์ปุกกุสะ ท่านจะ

สำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.

ปุกกุสะกราบทูลว่า

พวกเราควรกันยาพิษตายละชีวิตเสียพลัน อย่า

ทันให้พระราชาพรหมทัตฆ่าพวกเราให้ลำบากนาน.

พระราชาตรัสถามกามินทะว่า

ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็นภัยใหญ่

นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์กามินทะ ท่านจะ

สำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 504

กามินทะกราบทูลว่า

พวกเราพึงเอาเชือกผูกให้ตาย หรือโดดลงบ่อ

ให้ตายเสีย อย่าทันให้พระราชาพรหมทัตฆ่าพวกเรา

ให้ลำบากนาน.

พระราชาตรัสถามเทวินทะว่า

ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็นภัยใหญ่

นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์เทวินทะ ท่านจะ

สำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.

เทวินทะกราบทูลว่า

พวกเราจงเอาไฟเผาเสียตั้งแต่ประตู หรือจงจับ

มีดฆ่ากันและกันละชีวิตเสียพลัน ถ้ามโหสถไม่

สามารถจะปลดเปลื้องพวกเราโดยง่าย.

อนึ่ง บรรดาอาจารย์ทั้ง ๔ เทวินทะคิดว่า พระราชานี้ทรงทำอะไร

มาตรัสถามพวกเรา ในเมื่อไฟมีอยู่มาทรงเป่าหิงห้อย ยกมโหสถบัณฑิตเสียแล้ว

คนอื่นจะสามารถทำความสวัสดีแก่พวกเราในเวลานี้ย่อมไม่มี พระองค์ไม่ตรัส

ถามมโหสถ มาตรัสถามพวกเรา พวกเราจะรู้อะไร คิดฉะนี้แล้ว เมื่อไม่เห็น

อุบายอื่น จึงกล่าวคำที่เสนกะกล่าวแล้วนั่นเอง เมื่อจะสรรเสริญมโหสถ จึง

กล่าวบททั้ง ๒ ว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ความประสงค์ในเรื่อง

นั้นเป็นดังนี้ พวกเราทั้งหมดจะวิงวอนมโหสถนั่นแหละ

ก็ถ้าว่าแม้เมื่อวิงวอน มโหสถก็ไม่สามารถจะปลด-

เปลื้องพวกเราโดยง่าย ภายหลังพวกเราจักทำตามคำ

เสนกะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 505

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของเทวินทะดังนั้น ทรงระลึกถึงโทษ

ที่พระองค์ได้ทำแก่พระโพธิสัตว์ในกาลก่อน ก็ไม่ทรงสามารถจะตรัสกับมโหสถ

ทรงคร่ำครวญจนมโหสถได้ยินถนัด ตรัสว่า

บุคคลแสวงหาแก่นของต้นกล้วย ย่อมไม่ได้

ฉันใด เราทั้งหลายแสวงหาอุบายเครื่องพ้นจากทุกข์

ก็ย่อมไม่ประสบปัญหานั้น ฉันนั้น บุคคลแสวงหา

แก่นแห่งไม้งิ้ว ย่อมหาไม่ได้ ฉันใด เราทั้งหลาย

แสวงหาอุบายเครื่องพ้นจากทุกข์ ย่อมไม่ประสบปัญ-

หานั้น ฉันนั้น การอยู่ของต่างทั้งหลายในสถานที่

ไม่มีน้ำ ชื่อว่าอยู่ในที่มิใช่ประเทศ เพราะว่าช้าง

เหล่านั้นอยู่ในสถานที่อันไม่มีน้ำ ชื่อว่ามิใช้ประเทศ

ย่อมตกอยู่ในอำนาจของปัจจามิตรเร็วพลัน ฉันใด

แม้การที่เราทั้งหลายอยู่ในที่ใกล้ของมนุษย์ชั่ว เป็นคน

พาลหาความรู้มิได้ ก็ชื่อว่าอยู่ในสถานที่มิใช่ประเทศ

ฉันนั้น.

ใจของเราสั่น และปากก็แห้งผาก เราเป็นเหมือน

ถูกไฟไหม้กลางแดด ไม่บรรลุถึงความเย็นใจ เตา

ของช่างทองรุ่งเรืองภายใน ไม่รุ่งเรืองภายนอก ฉันใด

ใจของเราย่อมเร่าร้อนอยู่ภายใน ไม่ปรากฏภายนอก

ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กทฺทลิโน ความว่า บุรุษผู้มีความ

ต้องการด้วยแก่น แม้แสวงหาอยู่ก็ไม่ได้แก่นแต่ต้นกล้วยนั้น เพราะต้นกล้วย

ไม่มีแก่น ฉันใด เราทั้งหลายแม้แสวงหาอุบายเครื่องพ้นทุกข์นี้ ถามบัณฑิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 506

๕ คน ก็ไม่ประสบปัญหานั้น. บทว่า นาชฺฌคมามฺหเส ความว่า เรา

ทั้งหลายไม่ประสบปัญหานั้น ดุจบุคคลไม่ได้ฟังอุบายที่เราทั้งหลายถาม แม้ใน

คาถาที่สองก็นัยนี้แหละ. บทว่า กุญฺชราน วนูทเก ความว่า การอยู่ของ

ช้างทั้งหลายในที่ไม่มีน้ำ ชื่อว่าอยู่ในที่มิใช่ประเทศ เพราะว่าช้างเหล่านั้น

เมื่ออยู่ในชัฏป่าอันหาน้ำมิได้เห็นปานนั้น ชื่อว่ามิใช่ประเทศ ย่อมตกอยู่ใน

อำนาจของปัจจามิตรเร็วพลัน ฉันใด แม้การที่เราทั้งหลายอยู่ในที่ใกล้ของ

มนุษย์ชั่วเป็นคนพาลหาความรู้มิได้ ก็ชื่อว่าอยู่ในสถานที่มิใช่ประเทศ ฉันนั้น

ก็บรรดาบัณฑิตมีประมาณเท่านี้ แม้คนหนึ่งซึ่งจะเป็นที่พึ่งอาศัยของเราในบัดนี้

ก็ไม่มี พระเจ้าวิเทหราชทรงบ่นเพ้อไปต่าง ๆ ด้วยประการฉะนี้.

มโหสถบัณฑิตได้สดับดังนั้น คิดว่า พระราชาพระองค์นี้ทรงลำบาก

เหลือเกิน ถ้าเราไม่เล้าโลมพระองค์ให้สบายพระหฤทัย พระองค์จักมีพระ-

หฤทัยแตกสิ้นพระชนมชีพ จึงได้กราบทูลเล้าโลม.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า

แต่นั้น มโหสถผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญาเห็นประ-

โยชน์ เห็นพระเจ้าวิเทหราชถึงความทุกข์ จึงได้

กราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์

อย่าตกพระหฤทัยกลัวเลย ข้าแต่พระองค์ผู้องอาจใน

ทางรถ ขอพระองค์อย่าตกพระหฤทัยกลัวเลย ข้า

พระองค์จักเปลื้องพระองค์ผู้ดุจดวงจันทร์หรือดวง

อาทิตย์อันราหูจับแล้ว หรือดุจช้างจมติดในเปือกตม

หรือดุจงูติดอยู่ในกระโปรง หรือดุจนกติดอยู่ในกรง

หรือเหล่าปลาอยู่ในข่าย ผู้มีพลและพาหนะคุมล้อม

อยู่ให้พ้นจากความลำเค็ญ ข้าพระองค์จักยังกองทัพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 507

ปัญจาละให้หนีไป ดุจไล่ฝูงกาด้วยก้อนดิน ข้าพระ-

องค์มิได้เปลื้องพระองค์ ผู้เสด็จอยู่ในที่คับขันให้พัน

จากทุกข์ ชื่อว่าปัญญาของข้าพระองค์นั้นจะมี

ประโยชน์อะไร หรือบุคคลเช่นข้าพระองค์นั้นเป็น

อมาตย์จะมีประโยชน์อะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท ความว่า มโหสถเมื่อเล้าโลมพระเจ้า

วิเทหราชให้สบายพระหฤทัย ประหนึ่งทำเมฆฝนให้ตกในป่าไฟไหม้ ได้

กราบทูลคำนี้ว่า มา ตฺว ภายิ มหาราช เป็นต้น. บทว่า สนฺน ใน

คาถานั้น แปลว่า ติดอยู่. บทว่า เปฬพนฺธ ได้แก่ งูที่อยู่ภายในกระโปรง.

บทว่า ปญฺจาล ได้แก่ กองทัพปัญจาละซึ่งเป็นกองทัพของพระเจ้าปัญจาลราช

แม้ใหญ่อย่างนี้. บทว่า พาหยิสฺสามิ แปลว่า จักให้หนีไป. บทว่า อาทู

เป็นนิบาตในอรรถว่าชื่อ ความว่า ชื่อว่าปัญญาของข้าพระองค์จะมีประโยชน์

อะไร. บทว่า อมจฺโจ วาปิ ตาทิโส ความว่า หรืออมาตย์ผู้สมบูรณ์

ด้วยปัญญาเช่นนั้นเพราะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา ผู้เปลื้องพระองค์ที่ถูกความ

ตายเบียดเบียนอยู่อย่างนี้ให้พ้นจากทุกข์ไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไร ข้าแต่

พระมหาราชเจ้า พระองค์โปรดสำคัญว่า มโหสถนี้ชื่อว่ามาก่อน มาเพื่อ

ประโยชน์อะไร ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์อย่าตกพระหฤทัยกลัวเลย

ข้าพระองค์จักเปลื้องพระองค์ให้พ้นจากทุกข์นี้ มโหสถบัณฑิตเล้าโลมพระเจ้า

วิเทหราชให้สบายพระหฤทัย ด้วยประการฉะนี้.

ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของมโหสถ ก็กลับได้ความอุ่น

พระหฤทัยว่า บัดนี้เราได้ชีวิตแล้ว เมื่อพระโพธิสัตว์บันลือสีหนาท ชน

ทั้งปวงเหล่านั้นก็พากันยินดี ลำดับนั้น เสนกะถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านบัณฑิต

ท่านเมื่อพาพวกเราทั้งหมดไป จักไปได้ด้วยอุบายอย่างไร มโหสถแจ้งว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 508

ข้าพเจ้าจักนำไปทางอุโมงค์ซึ่งตกแต่งไว้ พวกท่านจงเตรียมไปเถิด เมื่อจะสั่ง

โยธาให้เปิดประตูอุโมงค์ กล่าวว่า

แน่ะพ่อหนุ่ม ๆ พวกเจ้าจงลุกมา จงเปิดประตู

อุโมงค์ ประตูห้องติดต่อเครื่องยนตร์ พระเจ้า

วิเทหราชพร้อมด้วยเหล่าอมาตย์จักเสด็จไปโดยอุโมงค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาณว เป็นชื่อเรียกคนหนุ่ม. บทว่า

มุข โสเธถ ความว่า จงเปิดประตูอุโมงค์. บทว่า สนฺธิโน ความว่า

จงเปิดประตูห้องติดต่อเครื่องยนตร์ คือจงเปิดประตูห้องนอนร้อยเอ็ดห้อง จง

เปิดประตูโคมดวงประทีปร้อยเอ็ดโคม.

คนใช้ของมโหสถเหล่านั้นลุกไปเปิดประตูอุโมงค์ อุโมงค์ทั้งสิ้นมี

แสงสว่างทั่วไป สว่างไสวประหนึ่งเทวสภาทีได้ประดับแล้ว.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า

พวกคนรับใช้ของมโหสถบัณฑิตได้ฟังคำของ

มโหสถแล้ว จึงเปิดประตูอุโมงค์และเครื่องสลักห้าม

อันประกอบด้วยยนตร์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุสาริโน ได้แก่ ผู้ทำการขวนขวาย

ช่วยเหลือ. บทว่า ยนฺตยุตฺเต จ อคฺคเฬ ได้แก่ บานประตูที่ถึงพร้อม

ด้วยลิ่มสลัก.

พวกนั้น เปิดประตูอุโมงค์แล้วแจ้งให้มโหสถทราบ มโหสถก็กราบทูล

นัดพระราชาว่า ได้เวลาแล้วพระเจ้าข้า ขอเชิญเสด็จลงจากปราสาท พระราชา

ก็เสด็จลง เสนกะเปลื้องเครื่องพันศีรษะแล้วผลัดผ้าหยักรั้ง ลำดับนั้น มโหสถ

เห็นกิริยาแห่งเสนกะ จึงถามว่า นั่นท่านอาจารย์ทำอะไร เสนกะตอบว่า

แน่ะบัณฑิต ธรรมดาทั้งหลายไปโดยอุโมงค์ ต้องเปลื้องผ้าโพกหยักรั้งไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 509

มโหสถจึงแจ้งว่า แน่ะอาจารย์เสนกะ ท่านอย่าสำคัญว่า คนเข้าอุโมงค์ต้องก้ม

คุกเข่าเข้าไป ถ้าท่านใคร่จะไปด้วยช้างจงขึ้นช้างไป ถ้าท่านใคร่จะไปด้วยม้า

จงขึ้นม้าไป เพราะอุโมงค์สูง ประตูกว้างสูง ๑๘ ศอก ท่านจงประดับตกแต่ง

ตัวตามชอบใจไปก่อนพระราชา ฝ่ายพระโพธิสัตว์จัดให้เสนกะไปก่อน ให้

พระราชาเสด็จไปท่ามกลาง ตนเองไปภายหลัง เหตุไรมโหสถจึงจัดอย่างนี้

เพราะพระเจ้าวิเทหราชจะได้ไม่ทอดพระเนตรอุโมงค์อันตกแต่งแล้ว ค่อย ๆ

เสด็จไป ข้าวต้มข้าวสวยของเคี้ยวเป็นต้นประมาณไม่ได้ มีไว้เพื่อมหาชนใน

อุโมงค์ คนเหล่านั้นเคี้ยวดื่มพลางแลชมอุโมงค์ไป ฝ่ายพระมหาสัตว์ทูลเตือน

พระเจ้าวิเทหราชว่า เชิญเสด็จไป เชิญเสด็จไป พระเจ้าข้า ตามเสด็จไป

เบื้องหลัง พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตรอุโมงค์ซึ่งเป็นดังเทวสภาอันตกแต่ง

แล้วพลางเสด็จไป.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า

เสนกะเดินไปก่อน มโหสถเดินไปข้างหลัง

พระเจ้าวิเทหราชเสด็จดำเนินไปท่ามกลางพร้อมด้วย

อมาตย์ห้อมล้อมเป็นราชบริพาร.

คนหนุ่มผู้รับใช้ของมโหสถเหล่านั้นรู้ว่า พระเจ้าวิเทหราชเสด็จมา จึง

นำพระนางสลากเทวีพระราชมารดาพระเจ้าจุลนี พระนางนันทาเทวีมเหสี

พระเจ้าจุลนี และพระปัญจาลจันทราชกุมาร พระนางปัญจาลจันทีราชกุมารี

ผู้เป็นราชโอรสราชธิดาของพระเจ้าจุลนี ออกจากอุโมงค์ให้ประทับอยู่ ณ

พลับพลากว้างใหญ่ ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชเสด็จออกจากอุโมงค์กับมโหสถ

กษัตริย์ทั้ง ๔ คือ พระนางสลากเทวี พระนางนันทาเทวี ปัญจาลจันทกุมาร

ปัญจาลจันทีกุมารี ได้ทอดทัศนาการเห็นพระเจ้าวิเทหราชกับมโหสถก็ทราบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 510

พวกเราตกอยู่ในเงื้อมมือผู้อื่นโดยไม่สงสัย เหล่าคนของมโหสถจับพวกเรามา ก็

ครั่นคร้ามต่อมรณภัย ทั้งกลัวทั้งสะดุ้งร้องอึง.

ได้ยินว่า พระเจ้าจุลนีเสด็จไปรักษาอยู่ ณ สถานที่ ๑ คาวุตใกล้ฝั่ง

คงคา ด้วยทรงเกรงพระเจ้าวิเทหราชจะหนี ก็พระเจ้าจุลนีในเมื่อราตรีเงียบสงัด

ได้ทรงฟังเสียงร้องของกษัตริย์ทั้ง ๔ เป็นผู้ใคร่จะตรัสว่า เสียงนั้นเป็นเสียง

นางนันทาเทวี แต่ก็หาได้ตรัสอย่างไรไม่ ด้วยทรงเกรงความเย้ยหยันว่า

พระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระนางนันทาเทวีที่ไหน พระมหาสัตว์เชิญให้

พระนางปัญจาลจันทีราชกุมารีประทับบนกองรัตนะแล้วอภิเษกในที่นั้น แล้ว

กราบทูลพระเจ้าวิเทหราชว่า พระองค์เสด็จมาเพราะเหตุการณ์นี้ พระราช

กุมารีนี้จงเป็นมเหสีของพระองค์ เรือ ๓๐๐ ลำได้เทียบอยู่แล้ว พระเจ้า

วิเทหราชเสด็จลงจากพลับพลากว้างขึ้นสู่เรืออันตกแต่งแล้ว แม้กษัตริย์ทั้ง ๔

ก็ขึ้นสู่เรือ.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า

พระเจ้าวิเทหราชเสด็จออกจากอุโมงค์ขึ้นสู่เรือ

แล้ว มโหสถรู้ว่าพระองค์ขึ้นสู่เรือแล้ว ได้ถวาย

อนุศาสน์ว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระเจ้าจุลนีพรทมทัตนี้

เป็นพระสัสสุระของพระองค์ ข้าแต่พระจอมประชากร

พระนางนันทาเทวีนี้เป็นพระสัสสูของพระองค์ การ

ปฏิบัติพระราชมารดาของพระองค์อย่างใด จงมีแก่

พระสัสสูของพระองค์อย่างนั้น ข้าแต่พระราชา

พระเชษฐภาดาร่วมพระอุทรพระมารดาเดียวกันโดย

ตรงของพระองค์ทรงรักใคร่อย่างใด พระปัญจาล-

จันทราชกุมาร พระองค์ควรทรงรักใคร่อย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 511

พระนางปัญจาลจันทีนี้ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้า

พรหมทัตที่พระองค์ทรงปรารถนา พระองค์จงทำ

ความใคร่ของพระองค์แก่พระนาง พระนางจงเป็น

พระมเหสีของพระองค์.

บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า อนุสาสิ ความว่า ได้ยินว่า มโหสถ

นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลบางคราว พระเจ้าวิเทหราชอาจกริ้วแล้วฆ่า

พระชนนีของพระเจ้าจุลนีเสีย พึงสำเร็จสังวาสกับพระนางนันทาเทวีผู้มีพระรูป

งดงาม พึงฆ่าพระราชกุมารเสียก็ได้ จำเราจักถือปฏิญญาของพระเจ้าวิเทหราช

ไว้ เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวถวายอนุศาสน์ด้วยคำว่า อย เต เป็นต้น. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า อย เต สสฺสุโร ความว่า พระปัญจาลจันทกุมารนี้

เป็นพระโอรสของพระเจ้าจุลนีผู้เป็นพระสัสสุระของพระองค์ เป็นพระกนิษฐ-

ภาคาของพระนางปัญจาลจันที บัดนี้พระเจ้าจุลนีเป็นพระสัสสุระของพระองค์.

บทว่า อย สสฺสุ ความว่า พระมารดาของพระนางปัญจาลจันทีนี้ พระนามว่า

นันทาเทวี เป็นพระสัสสูของพระองค์. บทว่า ยถา มาตุ ความว่า บุตร

ย่อมกระทำวัตรปฏิบัติแก่มารดา ฉันใด พระองค์จงมีการกระทำวัตรปฏิบัติแก่

พระนางนันทาเทวี ฉันนั้น ยังมาตุสัญญาซึ่งมีกำลังกว่าให้ปรากฏ อย่าทรง

แลดูพระนางนันทาเทวีด้วยโลภจิตไม่ว่าในกาลไร ๆ. บท นิยโก ความว่า

เป็นผู้เกิดภายใน คือเกิดด้วยบิดามารดาเดียวกัน. บทว่า ทยิตพฺโพ แปลว่า

พึงประพฤติเป็นที่รัก. บทว่า ภริยา ความว่า พระนางปัญจาลจันทีนี้จักเป็น

มเหสีของพระองค์ พระองค์อย่าทรงดูหมิ่นพระนางนี้ มโหสถบัณฑิตได้ถือ

ปฏิญญาของพระเจ้าวิเทหราชอย่างนี้.

พระเจ้าวิเทหราชทรงรับคำว่าดีแล้ว ก็มโหสถไม่กล่าวอะไร ๆ ปรารภ

ถึงพระราชชนนีพระเจ้าจุลนี เพราะเหตุไรจึงไม่กล่าวปรารภถึง เพราะพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 512

ราชชนนีนั้นทรงพระชราแล้ว พระโพธิสัตว์ยืนกล่าวเรื่องทั้งปวงอยู่ริมฝั่งคงคา

ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชเป็นผู้ใคร่จะเสด็จไปด้วยความพ้นจากทุกข์ใหญ่

จึงตรัสกะมโหสถว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจะยืนอยู่ริมฝั่งคงคาทำอะไร แล้วตรัส

คาถาว่า

ดูก่อนมโหสถ เจ้าจงรีบขึ้นเรือ เจ้าจะยืนอยู่

ริมฝั่งคงคาทำไมหนอ เราทั้งหลายพ้นจากทุกข์แล้ว

โดยยาก จงไปบัดนี้เถิด.

พระมหาสัตว์ได้ฟังรับสั่งจึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ การโดย

เสด็จด้วยพระองค์ยังไม่ควรแก่ข้าพระองค์ก่อน แล้วทูลว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า การที่ข้าพระองค์ผู้เป็น

นายกแห่งเสนา มาทอดทิ้งเสนางคนิกรเสีย เอาแต่

ตัวรอด หาชอบไม่ ข้าพระองค์จักนำมาซึ่งเสนางค-

นิกรในกรุงมิถิลาที่พระองค์ละไว้ และสิ่งของที่

พระเจ้าพรหมทัตประทานแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สภาวะ. บทว่า นิเวสนมฺหิ

ท่านกล่าวหมายเอาพระนคร. บทว่า ปริโมจเย แปลว่า พึงปลดเปลื้อง.

บทว่า ปริหาปิต แปลว่า ทิ้งไว้.

มโหสถกล่าวคาถาดังนี้ แล้วกราบทูลว่า ก็เมื่อเหล่าชนมาแต่ทางไกล

บางพวกเคี้ยวกิน บางพวกดื่ม บางพวกเหน็ดเหนื่อยก็นอนหลับ ไม่รู้การที่

พวกเราออกจากอุโมงค์แล้ว บางพวกเจ็บป่วย ทำงานมากับข้าพระองค์ตลอด

๔ เดือน เป็นคนมีอุปการะแก่ข้าพระองค์ ก็บรรดาชนเหล่านั้นมีมาก ข้า-

พระองค์ไม่อาจจะทิ้งแม้คนหนึ่งไป แต่ข้าพระองค์จักกลับนำมาซึ่งเสนาทั้งปวง

ของพระองค์ และทรัพย์ที่พระเจ้าจุลนีประทานมิให้เหลือไว้ ขอพระองค์อย่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 513

เฉื่อยช้าในที่ไหนรีบเสด็จ ขอพระองค์ทรงละช้างม้าพาหนะเป็นต้น ที่

ข้าพระองค์วางไว้ในหนทางเป็นระยะซึ่งเหน็ดเหนื่อยแล้ว ๆ เสีย เสด็จขึ้น

พระยานมาศที่สามารถเข้าสู่กรุงมิถิลาเสียโดยเร็วพลัน.

ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัสดาถาว่า

ดูก่อนบัณฑิต เจ้าเป็นผู้มีเสนาน้อย จักข่ม

พระเจ้าจุลนีผู้มีเสนามากตั้งอยู่อย่างไร เจ้าเป็นผู้ไม่มี

กำลัง จักลำบากด้วยพระเจ้าจุลนีผู้มีกำลัง

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิคฺคยฺห ได้แก่ ครอบงำ. บทว่า

วิหญฺิสฺสสิ แปลว่า จักลำบาก.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวคาถาว่า

ถ้าบุคคลมีความคิด แม้มีเสนาน้อย ย่อมชนะ

บุคคลผู้ไม่มีความคิดที่มีเสนามากได้ พระราชาพระองค์

เดียว ย่อมชนะพระราชาทั้งหลายได้ ดุจดวงอาทิตย์

อุทัยกำจัดความมืด ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนฺตี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความคิด

คือมีปัญญา คือฉลาดในอุบาย. บทว่า อมนฺติน ได้แก่ ผู้ไม่ฉลาดในอุบาย.

บทว่า ชินาติ ความว่า ผู้มีปัญญาย่อมชนะผู้มีปัญญาทราม. บทว่า ราชา

ราชาโน ความว่า พระราชาเห็นปานนี้แม้พระองค์เดียว ก็ย่อมชนะพระราชา

ทั้งหลายที่มีปัญญาทรามแม้มาก เหมือนอย่างอะไร. บทว่า อาทิจฺโจวุทยนฺ-

ตม ความว่า ดวงอาทิตย์อุทัยส่องแสงสว่าง กำจัดความมืด ฉันใด ผู้มี

ปัญญาย่อมชนะและย่อมไพโรจน์ราวกะดวงอาทิตย์ ฉันนั้น.

ก็แลครั้นทูลดังนี้แล้ว พระมหาสัตว์ถวายบังคมพระเจ้าวิเทหราช

กราบทูลว่า เชิญพระองค์เสด็จไปเถิด แล้วส่งเสด็จ พระเจ้าวิเทหราชทรงนึก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 514

ถึงคุณของพระโพธิสัตว์ว่า เราพ้นจากเงื้อมมือข้าศึกแล้วหนอ และความ

ประสงค์ของเราก็ถึงที่สุดแล้ว เพราะได้นางปัญจาลจันทีราชธิดาพระเจ้าพรหม-

ทัตแล้ว ก็บังเกิดพระปีติปราโมทย์ เมื่อจะตรัสสรรเสริญคุณของมโหสถแก่

เสนกะ จึงตรัสดาถาว่า

แน่ะเสนกาจารย์ การอยู่ร่วมด้วยเหล่าบัณฑิต

เป็นสุขดีหนอ เพราะว่ามโหสถปลดเปลื้องพวกเราผู้

ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้องฝูงนกที่

ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแห ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุสุข วต ความว่า การอยู่ร่วมด้วย

บัณฑิตทั้งหลาย นี้เป็นสุขยิ่ง เป็นสุขยิ่งกว่าหนอ. บทว่า อิติ เป็นนิบาต

ลงในอรรถว่า เหตุ มีคำอธิบายว่า แน่ะอาจารย์เสนกะ เพราะมโหสถปลดเปลื้อง

พวกเราที่ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า การอยู่ร่วมด้วยเหล่า

บัณฑิตอย่างนี้ นี้เป็นสุขดีหนอ.

อาจารย์เสนกะได้ฟังพระราชดำรัสดังนั้น เมื่อจะสรรเสริญคุณของ

มโหสถ จึงกล่าวว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บัณฑิตทั้งหลายนำความ

สุขมาแท้จริงอย่างนี้ทีเดียว มโหสถปลดเปลื้องพวก

เราผู้ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้องฝูง

นกที่ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแห ฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชเสด็จขึ้นจากแม่น้ำ ถึงบ้านที่มโหสถให้

สร้างไว้ทุกระยะ ๑ โยชน์ ชนทั้งหลายที่มโหสถวางไว้ในบ้านนั้น ๆ ก็จัดช้าง

พาหนะข้าวน้ำเป็นต้นถวายพระราชา พระราชายังช้างม้ารถที่เหน็ดเหนื่อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 515

แล้ว ๆ ให้กลับ เปลี่ยนสัตว์พาหนะนอกนี้ ถึงบ้านอื่นด้วยสัตว์พาหนะเหล่านั้น

ล่วงบรรดา ๑๐๐ โยชน์ด้วยอุบายนี้ รุ่งเช้าก็เสด็จเข้ากรุงมิถิลา.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ไปสู่ประตูอุโมงค์ เปลื้องดาบที่ตนเหน็บไว้ออก คุ้ย

ทรายที่ประตูอุโมงค์ฝังดาบนั้นไว้ในทรายนั้น ก็แลครั้นฝังดาบแล้วก็เข้าไปสู่

อุโมงค์แล้วออกจากอุโมงค์เข้าสู่เมืองที่สร้างไว้ ขึ้นปราสาทอาบน้ำหอมแล้ว

บริโภคโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ แล้วไปสู่ที่นอนอันประเสริฐ เมื่อนึกว่ามโนรถ

ของเราถึงที่สุดแล้วก็หลับไป ฝ่ายพระเจ้าจุลนีตรวจเสนางคนิกรแล้ว เสด็จถึง

นครนั้นโดยกาลล่วงไปแห่งราตรีนั้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า

พระเจ้าจุลนีผู้มีกำลังมากรักษาการตลอดราตรี

ทั้งสิ้น ครั้นอรุณขึ้นก็เสด็จถึงอุปการนคร พระเจ้า-

กรุงอุตตรปัญจาละพระนามว่า จุลนีผู้มีกำลังมาก

เสด็จทรงช้างที่นั่งตัวประเสริฐมีกำลัง อายุ ๖๐ ปี

ได้ตรัสการทัพกะเสนาของพระองค์ พระองค์ทรง

สวมเกราะแก้วมณี พระหัตถ์จับศร ได้ตรัสกะพวก

เหล่าทวยหาญผู้รับใช้ ซึ่งชำนาญในศิลป์เป็นอันมาก

ประชุมกันอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสิณ ได้แก่ ตลอดราตรีทั้งสิ้นไม่เหลือ.

บทว่า อุเทนฺต ได้แก่ขึ้นไปอยู่. บทว่า อุปการ ความว่า เสด็จถึงนคร

ที่ได้ชื่อว่า อุปการ เพราะพระมหาสัตว์สร้างเทียบเคียงปัญจาลนคร บทว่า

อโวจ ความว่า ได้ตรัสกะเสนาของพระองค์. บทว่า เปสิเย ได้แก่ ผู้ทำ

การรับใช้ของพระองค์. บทว่า อชฺฌภาสิตฺถ ความว่า ตรัสยิ่งแล้ว คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 516

ได้ตรัสก่อนกว่านั่นเอง. บทว่า ปุถุคุมฺเพ ความว่า ผู้ดำรงอยู่ในศิลปะเป็น

อันมาก คือรู้ศิลปะเป็นอเนก.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงข้อความเหล่านั้นโดยย่อ พระศาสดาจึงตรัสว่า

พระเจ้าจุลนีตรัสกะกองช้าง กองม้า กองรถ

กองราบ ผู้มีศิลปธนู ผู้ยิ่งแม่น ยิ่งขนทรายก็ไม่พลาด

ผู้ประชุมกันอยู่แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปาสนมฺหิ ได้แก่ ผู้ชำนาญในการยิง

ธนู. บทว่า กตหตฺเถ ได้แก่ ผู้ยิงแม่นเพราะยิงไม่ผิดพลาด.

บัดนี้ พระเจ้าจุลนีเมื่อจะตรัสสั่งให้จับเป็นพระเจ้าวิเทหราช จึงตรัสว่า

เจ้าทั้งหลายจงไสช้างพลายมีกำลัง อายุ ๖๐ ปี

ช้างทั้งหลายจงย่ำยีนครที่พระเจ้าวิเทหราชทรงสร้างไว้

ดีแล้วเสีย ลูกศรอันขาวด้วยเขี้ยวงา ปลายแหลมคม

สามารถแทงกระดูกได้ เกลี้ยงเกลา เหล่านี้จงตกลงดัง

ห่าฝนด้วยกำลังธนู เหล่าโยธารุ่นหนุ่มสวมเกราะ

แกล้วกล้า มีอาวุธประกอบด้วยด้ามอันวิจิตร เหล่า

ช้างใหญ่แล่นมา จงหันหน้าสู้ช้างทั้งหลาย หอกทั้ง

หลายที่ขัดด้วยน้ำมันแล้ว มีแสงเป็นประกายวะวับ

รุ่งเรืองตั้งอยู่ ดังดาวประกายพรึก มีรัศมีมาก เมื่อ

เหล่าโยธาต้องเรามีกำลังคืออาวุธ ทรงสังวาลคือเกราะ

ไม่ล่าหนีในสงครามเช่นนี้ พระเจ้าวิเทหราชจักพ้น

ไปได้ที่ไหน หากจะเป็นเหมือนนกบินไปทางอากาศ

ก็จักทำได้อย่างไร ก็โยธาของเราทั้งหมด ๓๙,๐๐๐ ซึ่ง

เราเที่ยวไปทั่วแผ่นดิน ไม่เห็นเทียมทัน สามารถตัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 517

ศีรษะข้าศึกเอามาคนละศีรษะได้ อนึ่ง ช้างพลายทั้ง

หลายอันประดับแล้ว มีกำลังอายุ ๖๐ ปี เหล่าโยธาหนุ่มๆ

มีผิวพรรณดังทองคำงดงามอยู่บนคอ โยธาทั้งหลายมี

เครื่องประดับสีเหลือง นุ่งผ้าสีเหลือง ห่มผ้าเฉวียง

บ่าสีเหลืองงดงามอยู่บนคอช้าง ดังเทพบุตรทั้งหลาย

ในนันทนวัน ดาบทั้งหลายมีสีดังปลาสลาด ขัดถูด้วย

น้ำมัน แสงวะวับ อันเหล่าโยธาผู้วีรบุรุษทำเสร็จแล้ว

มีคมเสมอ มีคมยิ่ง เงาวับ ดาบทั้งหลายหาสนิมมิได้

ทำด้วยเหล็กกล้ามั่นคง อันเหล่าโยธาผู้มีกำลัง เชี่ยว

ชาญในวิธีประหาร ถือเป็นคู่มือแล้ว เหล่าโยธาผู้ถึง

พร้อมด้วยความงามดังทองคำ สวมเสื้อสีแดงกวัด

แกว่งดาบย่อมงดงามดังสายฟ้าแลบวาบอยู่ในระหว่าง

ก้อนเมฆ เหล่าโยธาผู้กล้าหาญสวมเกราะ สามารถยัง

ธงให้สะบัดในอากาศ ฉลาดในการใช้ดาบและเกราะ

ถือดาบ ฝึกมาอย่างชำนาญสามารถจะตัดคอช้างใหญ่

ขาดตกลง (แต่กาลก่อน) ท่านเป็นผู้อันหมู่ชนเช่นนี้

แวดล้อม แต่กาลนี้ ความพ้นภัยของท่านไม่มี เรา

ไม่เห็นราชานุภาพของท่านที่จะเป็นเหตุให้ท่านไปกรุง

มิถิลาได้เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทนฺตี ได้แก่ มีงาสมบูรณ์. บทว่า

วจฺฉทนฺตมุขา ได้แก่ มีหน้าเช่นเหล็กสกัด. บทว่า ปนุณฺณา แปลว่า

เกลี้ยงเกลา. บทว่า สมฺปตนฺตุตรีตรา ความว่า ลูกศรเห็นปานนี้เหล่านั้น

จงตกลง คือจงมาพร้อมกันแล้ว ๆ เล่า ๆ พระเจ้าจุลนีมีพระดำรัสสั่งว่า พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 518

เจ้าจงหลั่งฝนคือลูกศร ให้เป็นเหมือนฝนลูกเห็บตก. บทว่า มาณวา ได้แก่

ทหารหนุ่ม. บทว่า จมฺมิโน ได้แก่ ถือโล่. บทว่า จิตฺตทณฺฑยุตาวุธา

ความว่า ประกอบด้วยอาวุธที่มีด้ามวิจิตร. บทว่า ปกฺขนฺทิโน ได้แก่ ผู้

แล่นเข้าสงความ. บทว่า มหานาคา ความว่า แม้เมื่อช้างใหญ่ทั้งหลายทำ

โกญจนาทมา โยธาทั้งหลายก็สามารถที่จะยืนนิ่งจับงาทั้งสองของช้างเหล่านั้น

ถอนออกเสียได้. บทว่า สตรสาว ตารกา ความว่า มีรัศมีมากราวกะ

ดาวประกายพรึก. บทว่า อาวุธพลวนฺตาน ได้แก่ ประกอบด้วยกำลัง

อาวุธ. บทว่า คุณิกายุรธาริน ความว่า เกราะท่านเรียกว่า คุณี ผู้ทรงไว้

ซึ่งเกราะทั้งหลายด้วย ซึ่งเครื่องประดับ คือกำไลแขนทั้งหลายด้วย หรือผู้ทรง

ไว้ซึ่งกำไลแขนกล่าวคือเกราะ. บทว่า สเจ ปกฺขีว กาหตุ ความว่า พระ-

เจ้าจุลนีตรัสว่า ถ้าจักบินไปได้ทางอากาศเหมือนนก แม้อย่างนั้น ก็จักพ้นไป

ได้อย่างไร. บทว่า ตึส เม ปุริสนาวุโตฺย ความว่า ท่านเรียกบุรุษ

๓๙,๐๐๐ ว่า ตึสนาวุโตฺย ดังนี้. บทว่า สพฺเพ เจเกกนิจฺจิตา ความว่า

พระเจ้าจุลนีทรงแสดงว่า โยธาของเราสามารถแย่งอาวุธจากมือคนอื่น ๆ ตัด

ศีรษะปัจจามิตรทั้งหลายได้ เป็นโยธาที่คัดเลือกเป็นคน ๆ อยู่ประจำการะ บทว่า

เกวล มหิม จร ความว่า เที่ยวไปตลอดแผ่นดินนี้ทั้งสิ้น. บทว่า เยส

สม น ปสฺสามิ ความว่า พระเจ้าจุลนีทรงแสดงว่า เราไม่เห็นโยธาเหล่านั้น

ที่เหมือนโยธาของเราซึ่งมีความสามารถเท่านี้ ทองท่านเรียกว่า จารุ ในบทว่า

จารุทสฺสนา ความว่า มีวรรณะดังทอง. บทว่า ปีตาลงฺการา ได้แก่ มี

เครื่องประดับสีเหลือง. บทว่า ปีตวสนา ได้แก่ นุ่งผ้าเหลือง. บทว่า

ปีตุตฺตรนิวาสนา ได้แก่ มีผ้าห่มเหลือง. บทว่า ปาีนวณฺณา ได้แก่

เช่นกับปลาสลาด. บทว่า เนตฺตึสา แปลว่า พระขรรค์. บทว่า นรวีเรหิ

ได้แก่ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต ผู้มีความเพียร. บทว่า สุนิสฺสิตา ได้แก่ ลับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 519

อย่างดี คมกริบ. บทว่า เวลุลาฬิโน ความว่า โชติช่วง ดังดวงอาทิตย์

เที่ยงวัน. บทว่า สกฺกายสมยา ความว่า ทำด้วยเหล็กกล้าที่ให้นกกระเรียน

เคี้ยวเจ็ดครั้งถือเอา. บทว่า สุปฺปหารปฺปหาริภิ ได้แก่ โยธามือแม่น.

บทว่า โลหิตกญฺจูปธาริตา ความว่า ประกอบด้วยเสื้อสีแดง. บทว่า ปวกา

ได้แก่ สามารถสะบัดธงในอากาศ. บทว่า อสิจมฺมสฺส โกวิทา ได้แก่

ฉลาดในการใช้ดาบและเกราะ. บทว่า ผรุคฺคหา ได้แก่ ผู้ถือดาบ. บทว่า

สิกฺขิตรา ได้แก่ ฝึกอย่างเหลือเกินในการถือดาบนั้น. บทว่า นาคกฺขนฺธ-

นิปาติโน ความว่า สามารถใช้พระขรรค์ตัดคอช้างให้ตกลง. บทว่า นตฺถิ

โมกฺโข ความว่า พระเจ้าจุลนีตรัสว่า พ่อเปรตวิเทหะ ครั้งก่อน ท่าน

รอดพ้นได้ด้วยอานุภาพมโหสถบุตรคฤหบดี แต่บัดนี้ท่านไม่มีทางรอดพ้นเลย.

บทว่า ปภาวนฺเต ความว่า บัดนี้เราไม่เห็นราชานุภาพของท่านที่เป็นเครื่อง

ให้กลับไปกรุงมิถิลาได้ วันนี้ท่านเป็นเหมือนปลาเข้าแหที่ทอดไว้.

พระเจ้าจุลนีตรัสคุกคามพระเจ้าวิเทหราชอย่างนี้แล้ว ทรงทำในพระ-

หฤทัยว่า เราจักจับเป็นพระเจ้าวิเทหราชให้ได้ในบัดนี้ จึงทรงเตือนช้างที่นั่ง

ด้วยพระแสงขออันประดับเพชร แล้วตรัสสั่งเสนาว่า พวกเจ้าจงจับ จงทำลาย

จงแทง เสด็จถึงอุปการนครประหนึ่งจะถมทับเสีย ลำดับนั้น บุรุษทั้งหลายที่

มโหสถวางไว้ ก็พาพวกของตนแวดล้อมมโหสถไว้ ด้วยคิดว่า ใครจะรู้ อะไร

จักมี ขณะนั้น พระโพธิสัตว์ลุกจากที่นอนอันเป็นสิริ ชำระร่างกายแล้ว บริโภค

อาหารเช้า ประดับตกแต่งตัวนุ่งผ้ามาแต่แคว้นกาสีราคาตั้งแสน ห่มรัตกัมพล

เฉียงอังสา ถือไม้เท้าทองที่สำหรับใช้อันหนึ่ง ซึ่งขจิตด้วยรัตนะ ๗ สวมรอง

เท้าทอง เหล่าสตรีที่ตกแต่งแล้วดุจเทพอัปสรพัดอยู่ด้วยวาลวีชนี เปิดสีหบัญชร

บนปราสาทซึ่งตกแต่งแล้ว แสดงตนแด่พระเจ้าจุลนี เดินกลับไปกลับมาด้วย

ลีลาดังท้าวสักกเทวราช.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 520

ฝ่ายพระเจ้าจุลนีทอดพระเนตรเห็นสิริรูปอันอุดมของมโหสถ ก็ไม่

สามารถจะยังพระมนัสให้เลื่อมใส เร่งไสช้างที่นั่งเข้าไปด้วยทรงคิดว่า เราจัก

จับมโหสถให้ได้ในบัดนี้ มโหสถโพธิสัตว์คิดว่า พระเจ้าจุลนีนี้ด่วนมาด้วยทรง

สำคัญว่า เราได้ตัวพระเจ้าวิเทหราชแล้วในที่นี้เอง ชะรอยจะไม่ทรงทราบว่า

เราจับพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีของพระองค์ส่งถวายแด่พระราชาของ

พวกเราแล้ว ฉะนั้น เราจักสำแดงหน้าของเราให้เช่นกับแว่นทองแล้วกล่าวกับ

พระเจ้าจุลนี พระโพธิสัตว์ยืนอยู่ที่หน้าว่างเปล่งเสียงไพเราะ เมื่อจะกล่าว

เย้ยหยันกับพระเจ้าจุลนี จึงทูลว่า

พระองค์ด่วนไสช้างที่นั่งตัวประเสริฐมาทำไม

หนอ พระองค์มีพระหฤทัยร่าเริงแล้วเสด็จมา คงจะ

เข้าพระทัยว่าทรงเป็นผู้ได้ประโยชน์แล้ว ขอพระองค์

ทรงลดแล่งธนูนั่นลงเสียเถิด ทรงทิ้งลูกธนูเสียเถิด

ทรงเปลื้องเกราะอันงามโชติช่วงด้วยแก้วไพฑูรย์ แก้ว

มณีนั่นออกเสียเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุญฺชร ได้แก่ ช้างตัวประเสริฐ. บทว่า

ปหฏฺรูโป ความว่า มีพระหฤทัยร่าเริงแล้วยินดีแล้ว คือทรงโสมนัส. บทว่า

อาคมสิ แปลว่า เสด็จมา. บทว่า ลทฺธตฺโถสฺมิ ความว่า พระองค์เข้า

พระหฤทัยว่า เรามีประโยชน์อันสำเร็จแล้ว คือความปรารถนาของเราถึงที่สุด

แล้ว. บทว่า โอหเรต ความว่า พระองค์ทรงนำลง คือเอาลง คือทิ้งธนู

กล่าวคือแล่งนั่นเสีย ประโยชน์อะไรด้วยธนูนั่นแก่พระองค์. บทว่า ปฏิสหร

ความว่า จงนำออกประทานแก่ผู้อื่น หรือเก็บไว้ในที่มิดชิด พระองค์จักใช้

ลูกธนูทำอะไร. บทว่า จมฺม ความว่า แม้เกราะนั่นก็โปรดนำออกเสีย เพราะ

เกราะนี้พระองค์ทรงสวมตั้งแต่เมื่อวาน โปรดทิ้งเสียเถิด อย่าให้มันเบียดเบียน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 521

พระวรกายของพระองค์เลย อย่าทำพระวรกายของพระองค์ให้ลำบากเลย โปรด

เสด็จเข้าพระนครของพระองค์แต่เช้าเถิด พระโพธิสัตว์ได้ทำความเย้ยหยันกับ

พระเจ้าจุลนี ดังนี้.

พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับคำของมโหสถแล้ว ตรัสว่า บุตรคฤหบดีนี้

ทำการเย้ยหยันกับเรา วันนี้เราจักรู้กิจที่จะพึงทำแก่เจ้า เมื่อทรงคุกคามมโหสถ

ตรัสว่า

เจ้าเป็นผู้มีผิวหน้าผ่องใส และกล่าวถ้อยคำเคย

ยิ้มแย้ม ความถึงพร้อมแห่งผิวพรรณเช่นนี้ ย่อมมีใน

เวลาใกล้ตาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิหิตปุพฺพญฺจ ภาสสิ ความว่า

เจ้ายิ้มแย้มก่อนแล้วกล่าวภายหลัง ชื่อว่ากล่าวถ้อยคำเคยยิ้มแย้ม เจ้าไม่นับเรา

ในเรื่องอะไร ๆ. บทว่า โหติ โข ความว่า ธรรมดาความถึงพร้อมแห่งผิว

พรรณเห็นปานนี้ ย่อมมีแก่คนในเวลาใกล้ตายเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่าน

ผ่องใส วันนี้เราจักตัดศีรษะของเจ้าแล้วดื่มชัยบาน.

ในเวลาที่มโหสถทูลกับพระเจ้าจุลนีนั้นอย่างนี้ ฝ่ายพลนิกายเป็นอัน

มากได้เห็นรูปสิริแห่งพระมหาสัตว์ จึงได้ไปสู่สำนักของพระเจ้าพรหมทัตด้วย

คิดว่า พระราชาของพวกเราทรงปรึกษามโหสถ ตรัสอะไรกันหนอ พวกเรา

จักฟังพระดำรัสและถ้อยคำแห่งพระราชาและมโหสถ ฝ่ายมโหสถบัณฑิตได้ฟัง

พระดำรัสของพระเจ้าจุลนีแล้ว คิดว่า พระเจ้าจุลนีไม่ทรงรู้จักเราว่ามโหสถ

บัณฑิต เราจักไม่ให้ฆ่าเราได้ คิดฉะนี้จึงทูลว่า ความคิดของพระองค์กระจาย

แล้ว พระเจ้าข้า เรื่องที่พระองค์และเกวัฏคิดด้วยใจ ไม่เกิดแล้ว แต่เรื่องที่

กล่าวด้วยปาก เกิดแล้ว เมื่อจะประกาศข้อความนั้น จึงทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 522

ข้าแต่ขัตติยราช พระดำรัสที่พระองค์ตรัสคุกคาม

ไร้ประโยชน์เสียแล้ว พระองค์เป็นผู้มีพระดำริกระจาย

ไปทั่วแล้ว พระองค์จับพระเจ้าวิเทหราชไม่ได้หรอก

ดังม้าสินธพอันม้ากระจอกไล่ไม่ทัน พระเจ้าวิเทหราช

พร้อมเหล่าอมาตย์ราชบริพาร เสด็จข้ามคงคาไปแล้ว

แต่วันวานนี้ เมื่อพระองค์จักติดตามไปก็จักตก เหมือน

กาบินไล่ตามพระยาหงส์ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภินฺนมนฺโตสิ ความว่า มโหสถกล่าวว่า

พระองค์อย่าได้เข้าพระหฤทัยว่า ความคิดของเราที่ปรึกษากับเกวัฏในห้องสิริ-

ไสยานั้น ไม่มีใครรู้ ความคิดนั้น ข้าพระองค์รู้แล้วก่อนทีเดียว ฉะนั้น พระองค์

จึงเป็นผู้มีพระดำริกระจายไปทั่วแล้ว. บทว่า ทุคฺคณฺโห หิ ตยา ความว่า

ข้าแต่พระมหาราช พระราชาของพวกข้าพระองค์ พระองค์ทรงจับได้ยาก

เหมือนม้าสินธพกับม้ากระจอก พระองค์เหมือนคนขี่ม้ากระจอก ไม่อาจที่จะจับ

พระราชาของพวกข้าพระองค์ซึ่งเหมือนคนขี่ม้าอาชาไนยมีกำลังเร็ว มโหสถ

แสดงว่า เกวัฏเหมือนม้ากระจอก พระองค์เหมือนคนขี่ม้ากระจอก ข้าพระองค์

เหมือนม้าสินธพมีกำลังเร็ว พระราชาของพวกข้าพระองค์เหมือนคนขี่ม้าสินธพ.

บทว่า ติณฺโณ หิยฺโย ความว่า พระเจ้าวิเทหราชพร้อมด้วยเหล่าอมาตย์

ข้าราชบริพารเสด็จข้ามน้ำไปแต่วันวานนี้แล้ว มิได้เสด็จหนีไปพระองค์เดียว

เสียด้วย. บทว่า อนุชว ความว่า ก็ถ้าพระองค์จักไล่ตาม คือจักติดตาม

พระเจ้าวิเทหราช กาบินไล่ตามพระยาหงส์ทองจักตกในระหว่างนั่นแล ฉันใด

พระองค์จักตก คือจักถึงความพินาศในระหว่างนั่นแล ฉันนั้น มโหสถทูล

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 523

บัดนี้ พระมหาสัตว์มิได้พรั่นพรึงประดุจพระยาไกรสรราชสีห์ เมื่อจะ

นำอุทาหรณ์มา จึงทูลว่า

สุนัขจิ้งจอกทั้งหลายเป็นสัตว์ต่ำช้ากว่ามฤค เห็น

ดอกทองกวาวบานในรัตติกาล ก็สำคัญว่าชิ้นเนื้อ เข้า

ล้อมต้นอยู่ ครั้นเมื่อราตรีล่วงไปแล้ว พระอาทิตย์

ขึ้น สุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์ต่ำช้ากว่ามฤค เห็นดอก

ทองกวาวบานแล้ว ก็หมดหวังฉันใด ข้าแต่พระราชา

พระองค์ทรงล้อมพระเจ้าวิเทหราช ก็จักทรงหมดหวัง

เสด็จไป เหมือนสุนัขจิ้งจอกทั้งหลายเห็นดอกทองกวาว

ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวาน ได้แก่ เห็นด้วยแสงจันทร์.

บทว่า ปริพฺยุฬฺหา ความว่า ยืนล้อมด้วยหวังว่า จักเคี้ยวกินชิ้นเนื้อแต่เช้า

ทีเดียวแล้วจักไป. บทว่า วีติวตฺตาสุ ความว่า สุนัขจิ้งจอกเหล่านั้นได้ยืนอยู่

อย่างนั้น ในราตรีใด ๆ เมื่อราตรีนั้น ๆ ล่วงไปแล้ว. บทว่า ทิสฺวา ความว่า

สุนัขจิ้งจอกทั้งหลายเห็นดอกทองกวาวแต่เช้าทีเดียว รู้ว่า นี้ไม่ใช่เนื้อ ก็หมด

หวังพากันหนีไป. บทว่า สิงฺคาลา ความว่า สุนัขจิ้งจอกทั้งหลายล้อมต้น

ทองกวาวแล้วหมดหวังไป ฉันใด แม้พระองค์ก็ฉันนั้น ทรงทราบว่าพระเจ้า

วิเทหราชไม่มีในที่นี้ ก็จักหมดหวังเสด็จไป คือจักพาเสนาหนีไป มโหสถ

แสดงดังนี้.

พระเจ้าจุลนีทรงสดับคำไม่พรั่นพรึงของมโหสถนั้น ทรงคิดว่า บุตร

คฤหบดีนี้เป็นคนกล้าเกินกล่าวแล้ว มันคงให้พระเจ้าวิเทหราชเสด็จหนีไปแล้ว

โดยไม่ต้องสงสัย ก็กริ้วเหลือเกิน ทรงรำพึงว่า เมื่อก่อน พวกเราไม่เป็น

เจ้าของแม้แห่งผ้าสาฎกที่คาดพุงเพราะมโหสถ บัดนี้ปัจจามิตรอยู่ในเงื้อมมือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 524

ของพวกเราแล้ว ก็มโหสถให้หนีไป มโหสถเป็นคนทำความฉิบหายแก่พวกเรา

มากหนอ เราจักทำโทษอันควรทำแก่คนสองคน รวมแก่มโหสถนี้คนเดียว

เมื่อจะทรงสั่งลงโทษแก่มโหสถ จึงตรัสว่า

เจ้าทั้งหลายจงตัดมือและเท้า หูและจมูกของ

มโหสถผู้ปล่อยพระเจ้าวิเทหราชศัตรูของข้า ซึ่งอยู่ใน

เงื้อมมือแล้วไปเสีย เจ้าทั้งหลายจงเสียบมโหสถผู้ปล่อย

พระเจ้าวิเทหราชศัตรูของข้า ซึ่งอยู่ในเงื้อมมือแล้วไป

เสียในกล่าวย่างมันให้ร้อน ดุจย่างเนื้อฉะนั้น บุคคล

แทงหนังโคที่แผ่นดิน หรือเกี่ยวหนังราชสีห์ หรือเสือ

โคร่งฉุดมาด้วยขอ ฉันใด ข้าจักให้เจ้าทั้งหลายทิ่มแทง

มโหสถ ผู้ปล่อยพระเจ้าวิเทหราชศัตรูของข้า ซึ่งอยู่

ในเงื้อมมือแล้วไปเสีย แล้วฆ่าเสียด้วยหอก ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาตปป ความว่า จงเสียบบุตรคฤหบดี

นี้ในหลาวย่างไฟ เหมือนเสียบเนื้อมฤคเป็นต้นที่ควรย่าง ฉะนั้น. บทว่า

สีหสฺส อโถ พฺยคฺฆสฺส ความว่า เหมือนอย่างว่า บุคคลเอาขอเกี่ยวหนัง

ราชสีห์เป็นต้น ฉุดมา ฉันใด จงทำแก่มโหสถ ฉันนั้น. บทว่า เวธยิสฺสามิ

ได้แก่ จักให้แทง.

พระมหาสัตว์ได้ฟังพระดำรัสดังนั้นก็หัวเราะ คิดว่าพระราชานี้ไม่รู้ว่า

เราส่งพระมเหสีและพระวงศานุวงศ์ของพระองค์ไปกรุงมิถิลาแล้ว เพราะฉะนั้น

จึงคิดลงกรรมกรณ์แก่เรา แต่อาจยิงเราด้วยศร หรือทำโทษอย่างอื่นตามชอบ

พระหฤทัยของพระองค์ด้วยความพิโรธ เอาเถิด เราจะแจ้งเหตุการณ์เพื่อทำให้

พระองค์โศกาดูรเสวยทุกข์ บรรทมสลบอยู่บนหลังช้างที่นั่งนั่นเอง คิดฉะนั้นแล้ว

จึงทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 525

ถ้าพระองค์ตัดมือและเท้า หูและจมูกของข้า-

พระองค์ พระเจ้าวิเทหราชจักให้ตัดพระหัตถ์เป็นอาทิ

แห่งพระปัญจาลจันทราชโอรส พระนางปัญจาลจันที

ราชธิดา และพระนางนันทาเทวีมเหสีของพระองค์

พระเจ้าวิเทหราชจักให้ตัดพระหัตถ์เป็นต้น ของพระ-

ราชโอรสพระราชธิดาและพระมเหสีของพระองค์อย่าง

นั้นเหมือนกัน ถ้าพระองค์เสียบเนื้อข้าพระองค์ในหลาว

ย่างให้ร้อน พระเจ้าวิเทหราชก็จักให้เสียบเนื้อพระ-

ปัญจาลจันทราชโอรส พระนางปัญจาลจันทีราชธิดา

และพระนางนันทาเทวีมเหสีของพระองค์ ย่างให้ร้อน

พระเจ้าวิเทหราชจักให้เสียบเนื้อพระราชโอรสพระราช

ธิดาและพระมเหสีของพระองค์ ย่างให้ร้อนอย่างนั้น

เหมือนกัน.

ถ้าพระองค์จักทิ่มแทงข้าพระองค์ด้วยหอก พระ-

เจ้าวิเทหราชก็จักให้ทิ่มแทงพระปัญจาลจันทราชโอรส

พระนางปัญจาลจันทีราชธิดา และพระนางนั้นทาเทวี

มเหสีของพระองค์ด้วยหอก พระเจ้าวิเทหราชจักทิ่ม-

แทงพระราชโอรสพระราชธิดา และพระมเหสีของ

พระองค์ด้วยหอกอย่างนั้นเหมือนกัน.

ข้อความดังกราบทูลมาอย่างนี้ ข้าพระองค์ทั้ง

สอง คือพระเจ้าวิเทหราชกับข้าพระองค์ได้ปรึกษา

ตกลงกันไว้แล้วเป็นความลับ โล่หนังมีน้ำหนัก ๑๐๐

ปละ ที่ช่างหนังทำสำเร็จแล้วด้วยมีดของช่างหนึ่งย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 526

ช่วยป้องกันตัว เพื่อห้ามกันลูกศรทั้งหลาย ฉันใด

ข้าพระองค์เป็นผู้นำความสุข บรรเทาทุกข์ถวายพระ-

เจ้าวิเทหราชผู้เรืองยศ ก็จำต้องทำลายลูกศร คือ พระ

ดำริของพระองค์ ด้วยโล่หนัง คือ ความคิดของข้า

พระองค์ ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เฉทยิสฺสติ ความว่า พระเจ้าวิเทหราช

ทรงสดับว่า ได้ยินว่า พระเจ้าจุลนีตัดมือเท้าของมโหสถบัณฑิตแล้ว ก็จักให้

ตัด. บทว่า ปุตฺต ทารสฺส ความว่า พระราชาของพวกข้าพระองค์จักให้

ตัดมือเท้าของคน ๓ คน คือพระราชโอรสพระราชธิดา ๒ และพระอัครมเหสี ๑

เพราะตัดมือเท้าของข้าพระองค์คนเดียวเป็นเหตุ. บทว่า เอว โน มนฺติต

รโห ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์และพระเจ้าวิเทหราชได้

ปรึกษาตกลงกันไว้ในที่ลับอย่างนี้ว่า พระเจ้าจุลนีรับสั่งให้กระทำกรรมใด ๆ

แก่ของพระองค์ในกรุงปัญจาละนี้ พระเจ้าวิเทหราชพึงกระทำกรรมนั้น ๆ แก่

พระราชโอรสพระราชธิดาและพระมเหสีของพระองค์ในกรุงมิถิลานั้น. บทว่า

ปลสต ความว่า หนังน้ำหนักประมาณ ๑๐๐ ปละที่ให้ขี้เถ้าเป็นอันมากกัด

ให้อ่อนนุ่ม มีดของช่างหนัง ท่านเรียกว่า โกนฺติมนฺตา ในบทว่า โกนฺติ-

มนฺตาสุนิฏฺิต โล่หนังสำเร็จด้วยดี เพราะรอยตัดทั้งหลายทำด้วยมีดของ

ช่างหนังนั้น. บทว่า ตนุตาณาย ความว่า โล่หนังนั้น เข้าถึงความป้องกัน

สรีระ เพื่อป้องกันลูกศรทั้งหลาย คือ ป้องกันลูกศรทั้งหลายรักษาสรีระไว้ได้

ฉันใด. บทว่า สุขาวโห ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า แม้ข้าพระองค์

ก็เป็นผู้นำความสุขมาถวายแด่ พระราชาของพวกข้าพระองค์โดยห้ามปัจจามิตร

ทั้งหลาย เหมือนโล่หนังสำหรับป้องกันลูกศรของพระองค์. บทว่า ทุกฺขนูโท

ความว่า ข้าพระองค์นำมาซึ่งความสุขทางกายและทางใจ บรรเทาความทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 527

บทว่า มตินฺเต ความว่า เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จักต้องทำลายความคิด

คือปัญญาของพระองค์ ด้วยความคิดของข้าพระองค์เหมือนป้องกันลูกศรด้วย

โล่หนังหนัก ๑๐๐ ปละนั้น.

พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับดังนั้นแล้วทรงพระดำริว่า บุตรคฤหบดีพูด

อย่างนี้ทำไม ได้ยินว่า เราทำกรรมกรณ์แก่เขาอย่างใด พระเจ้าวิเทหราชจัก ทรง

ทำกรรมกรณ์แก่โอรสและมเหสีของเราอย่างนั้น บุตรคฤหบดีไม่รู้ว่าเราจัดการ

อารักขาโอรสและมเหสีของเราอย่างดี บัดนี้เขาจักตายจึงบ่นเพ้อด้วยกลัวตาย

นั่นเอง เราไม่เชื่อคำของเขา มโหสถคิดว่า พระราชาสำคัญตัวเราว่า พูดด้วย

ความกลัวตาย เราจักให้พระองค์ทรงทราบเสีย จึงทูลว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เชิญเถิด ขอเชิญ พระองค์

ทอดพระเนตรดูภายในเมืองของพระองค์ซึ่งว่างเปล่า

นางสนม และกุมารทั้งหลายตลอดถึงพระชนนีของ

พระองค์ ข้าพระองค์ให้นำออกจากอุโมงค์ถวายไปแด่

พระเจ้าวิเทหราชแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุมฺมงฺคา ความว่า ข้าพระองค์สั่งคน

หนุ่ม ๆ ของข้าพระองค์ไปพาพระวงศานุวงศ์เหล่านั้นลงจากปราสาทน้ำมาทาง

อุโมงค์นั่นแล แล้วนำออกจากอุโมงค์ใหญ่ถวายแด่พระเจ้าวิเทหราชไปแล้ว.

พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับดังนั้นจึงทรงคิดว่า บุตรคฤหบดีนี้กล่าวหนัก

แน่นเหลือเกิน อนึ่ง เมื่อคืนนี้เราได้ยินเสียงเหมือนเสียงนางนันทาเทวีข้างแม่-

น้ำคงคา มโหสถนี้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก บางทีพึงกล่าวจริง ทรงคิดฉะนี้

แล้ว เกิดความโศกมีกำลัง ดำรงพระสติไว้ทำเป็นไม่โศก เมื่อจะตรัสเรียก

อมาตย์คนหนึ่งมาส่งไปให้รู้ความ จึงตรัสคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 528

เจ้าจงไปภายในเมืองของเรา ตรวจตราดูคำของ

มโหสถนี้จริงหรือเท็จอย่างไร.

อมาตย์นั้นพร้อมด้วยบริวารไปสู่พระราชนิเวศน์ เปิดพระทวารเข้าไป

ภายใน ได้เห็นเหล่าคนผู้รักษาพระราชนิเวศน์ และเหล่าบริจาริกานารีที่ค่อม

แคระเป็นต้น ถูกผูกมือและเท้าอุดปากติดกับไม้นาคทันต์ทั้งหลาย ภาชนะใน

ห้องเครื่องแตกทำลาย ขาทนียโภชนียะเกลื่อนกล่นในที่นั้น และห้องประกอบ

ด้วยสิริมีประตูเปิด มีการปล้นรัตนะ ซึ่งเหล่าปัจจามิตรเปิดประตูคลังรัตนะ

กระทำแล้ว ได้เห็นฝูงกาเข้าไปทางพระทวารและพระแกลซึ่งเปิดทิ้งไว้เที่ยวอยู่.

พระราชนิเวศน์หาสิริมิได้ เช่นกับบ้านที่ทิ้งแล้ว หรือประหนึ่งพื้นสุสาน จึง

กลับมา เมื่อจะกราบทูลแด่พระราชา จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า มโหสถทูลอย่างใด

ข้อความนั้นก็เป็นอย่างนั้น พระราชนิเวศน์ทั้งปวง

ว่างเปล่า ดุจที่ลงหากินแห่งกา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กากปตนก ยถา ความว่า เป็นราวกะ

ว่าบ้านที่ทิ้งไว้ใกล้ฝั่งทะเล เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงกา ที่มาด้วยกลิ่นหอมของ

ปลา.

พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับดังนั้นก็ทรงสะทกสะท้านด้วยความโศกเกิดแต่

ความพลัดพรากจากกษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์ก็ทรงพิโรธพระโพธิสัตว์เกินเปรียบ

ดุจงูพิษถูกตีด้วยท่อนไม้ว่า ความทุกข์ของเรานี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยบุตรคฤหบดี

มโหสถเห็นพระอาการกริ้วของพระเจ้าจุลนี จึงคิดว่า พระราชาผู้มีพระยศใหญ่

พระองค์นี้พึงเบียดเบียนเราด้วยขัตติยมานะ ด้วยสามารถแห่งความโกรธในกาล

บางคราวว่า เราจะต้องการด้วยกษัตริย์ทั้ง ๔ ไปทำไม ไฉนเราจะทำพระนาง

นันทาเทวี ให้เป็นเหมือนพระราชานี้ยังไม่เคยเห็น พึงสรรเสริญสรีรวรรณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 529

แห่งพระนางนั้น ที่นั้นพระราชาก็จะทรงระลึกถึงพระนางนั้น ก็จักไม่ทำอะไร ๆ

แก่เราด้วยทรงรักใคร่ในพระมเหสีของพระองค์ ด้วยทรงคะนึงว่า ถ้าเราฆ่า

มโหสถเสีย เราก็จักไม่ได้สตรีรัตนะเห็นปานนี้ มโหสถคิดฉะนี้แล้ว ยืนอยู่

บนปราสาทเพื่อการรักษาตัว ได้นำแขนซึ่งมีวรรณะดุจวรรณะแห่งทองคำออกใน

ระหว่างรัตกัมพลเมื่อจะสรรเสริญพระนางนั้น ด้วยสามารถแห่งอันกราบทูล

บรรดาที่พระนางนั้นเสด็จไป จึงทูลว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระนางนันทาเทวีเสด็จ

ไปแล้วจากอุโมงค์นี้ เป็นผู้มีพระสรีราพยพอันงาม

สรรพ มีพระโสณีควรเปรียบกับแผ่นทองคำธรรมชาติ

มีปกติตรัสประภาษไพเราะเสนาะดังเสียงลูกหงส์ ข้า

แต่พระมหาราชเจ้า พระนางนันทาเทวี อันข้าพระองค์

นำเสด็จออกไปจากอุโมงค์นี้ เป็นผู้มีสรรพางดงามน่า

ทัศนา ทรงพระภูษาโกไสยมีพระรูปอำไพดุจสุวรรณ

สายรัดพระองค์นั้นก็งามทำด้วยกาญจนวิจิตรมีพระบาท

สดใสพระโลหิตขึ้นแดงอันแถลงเบญจกัลยาณี ชี้ไว้

เป็นแบบด้วยสามารถแห่งพระฉวี พระมังสา พระเกศา

พระเส้นเอ็น และพระอัฐิงามดี มีสายรัดพระองค์

แก้วมณีแถมสุวรรณ ดวงพระเนตรนั้นเปรียบกับตา

นกพิราบ มีพระสรีรภาพอันโสภณ ริมพระโอฐแดง

ดุจผลตำลึงสุกก็ปานกัน มีบั้นพระองค์บางอย่างประ-

หนึ่งจะรวบกำรอบทีเดียว มีบั้นพระองค์เล็กเรียวดุจ

เถานาคลดาเกิดแล้วดี แลดุจกาญจนไพที พระศกของ

พระนางนันทาเทวียาวดำปลายช้อยเล็กน้อยดุจปลายมีด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 530

พระนางเจ้านั้น มีดวงพระเนตรเขื่องราวกะดวงตาแห่ง

ลูกมฤค ๑ ขวบเกิดดีแล้ว หรือดุจเปลวเพลิงในเหมัน-

ตฤดู แม่น้ำใกล้ภูผาหรือหมู่ไม้ดาดาษไปด้วยไม้ไผ่

เล็ก ๆ ย่อมงดงาม ฉันใด เส้นพระโลมธาตุก็อ่อน

งดงาม ฉันนั้น พระนางมีพระเพลางามดังงวงกุญชร

งาม มีพระถันยุคลดังคู่ผลมะพลับทองงามเป็นที่หนึ่ง

มีพระสัณฐานพึงพอดีไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก พระโลมา

ของพระนางเจ้านั้นมีพองามไม่มากเกิน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิโต ท่านแสดงถึงอุโมงค์. บทว่า

โกสุมฺภผลกสุสฺโสณี ความว่า มีพระโสณีงามปานแผ่นทองคำอันไพศาล.

บทว่า หสคคฺครภาณินี ความว่า ประกอบด้วยการเปล่งเสียงเสนาะไพเราะ

จับใจ คล้ายเสียงลูกหงส์ที่เที่ยวหากินอยู่. บทว่า โกเสยฺยวสนา ได้แก่

ทรงผ้าไหมขจิตด้วยทอง. บทว่า สามา ได้แก่ มีสรีระดังทอง บทว่า

ปาเรวตกฺขี ความว่า มีดวงพระเนตรเช่นกับนกพิราบในฐานอันเลิศทั้งหลาย

ในประสาททั้งห้า. บทว่า สุตนู แปลว่า มีพระสรีระงาม บทว่า พิมฺโพฏฺา

ได้แก่ มีริมพระโอฐแดงดังผลตำลึงสุก. บทว่า ตนุมชฺฌิมา ความว่า

มีบั้นพระองค์บางดังว่าจะกำได้รอบ. บทว่า สุชาตา ภุชคลฏฺีว ความว่า

มีบั้นพระองค์งามดุจหน่อไม้มีสีแดงต้องลมไหวในเวลาเมื่อทรงเยื้องกรายงาม

ไพโรจน์ดุจเถานาคลดาเกิดดีแล้ว. บทว่า เวทีว ความว่า มีบั้นพระองค์

ปานกาญจนไพที. บทว่า อีสกคฺคปเวลฺลิตา ความว่า พระเกศาช้อยที่

ปลายนิดหน่อย ชื่อว่า ปลายช้อยเล็กน้อย ช้อยดุจปลายมีด. บทว่า มิคจฺฉาปีว

ความว่า ประกอบด้วยดวงตาเขื่อง ดุจลูกมฤค ๑ ขวบเกิดที่เชิงเขา. บทว่า

เหมนฺตคฺคิสิขาริว ความว่า งามดุจเปลวไฟในฤดูหนาว เพราะมีแสงสว่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 531

บทว่า ขุทฺทเวฬุภิ ความว่า งามด้วยแถวโลมชาติบาง ๆ เหมือนอย่างแม่น้ำ

ที่ดาดาษด้วยไม้ไผ่เล็ก ๆ ย่อมงามฉะนั้น. บทว่า กลฺยาณี ความว่า ประกอบ

ด้วยความงาม ๕ อย่าง คือ งามผิว งามเนื้อ งามผม งามเส้นเอ็นและงาม

กระดูก. บทว่า ปมา ติมฺพรุตฺถนี ความว่า พระนางนันทาเทวีนั้นมี

พระยุคลถันชิดกัน สมบูรณ์ด้วยสัณฐาน ปานประหนึ่งคู่แห่งผลมะพลับทอง

ที่วางไว้บนแผ่นทองฉะนั้น งามเป็นที่หนึ่ง คือ สูงสุด.

เมื่อพระมหาสัตว์พรรณนารูปสิริของพระนางนันทาเทวีอย่างนี้แล้ว

พระนางเธอได้เป็นเหมือนพระเจ้าจุลนีไม่เคยได้ทอดพระเนตรเห็นมาก่อน

พระองค์เกิดความเสน่หามีกำลัง.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทราบว่า พระเจ้าจุลนีมีความเสน่หาเกิดขึ้นจึง

ได้กล่าวคาถาเป็นลำดับไปว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพาหนะสมบูรณ์ด้วยสิริ พระ-

องค์ ทรงยินดีด้วยการทิวงคตของพระนางนันทาเทวี

เป็นแน่ ข้าพระองค์และพระนางนันทาเทวีจะไปสู่

สำนักยมราชเป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิริพาหน ความว่า มโหสถกล่าวว่า

ข้าแต่พระมหาราชผู้มีพาหนะถึงพร้อมด้วยสิริ พระองค์ย่อมทรงยินดีด้วยการ

ทิวงคตของพระนางนันทาเทวีผู้ทรงพระรูปอันอุดมอย่างนี้แน่. บทว่า คจฺฉาม

ความว่า ก็ถ้าพระองค์จักฆ่าข้าพระองค์ พระราชาของข้าพระองค์ก็จักฆ่า

พระนางนันทาเทวีอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น พระนางนันทาเทวีและข้าพระ-

องค์ก็จักไปสำนักของยมราช ยมราชเห็นข้าพระองค์ทั้งสองแล้วก็จักให้พระนาง

นันทาเทวีแก่ข้าพระองค์เท่านั้น เมื่อข้าพระองค์แม้ตายแล้ว ก็ยังได้นางแก้ว

เช่นนั้น จักเสียประโยชน์อะไรเล่า ข้าพระองค์แลไม่เห็นความเสื่อมเพราะตัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 532

ต้องตาย พระเจ้าข้า ได้ยินว่า มโหสถกราบทูลพระเจ้าจุลนีอย่างนี้ ด้วยประการ

ฉะนี้.

พระมหาสัตว์สรรเสริญพระนางนันทาเทวีในฐานะเท่านี้ หาสรรเสริญ

กษัตริย์อีก ๓ องค์ไม่ ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุไร เพราะธรรมดาสัตว์

ทั้งหลายย่อมไม่ทำสิเนหาอาลัยในชนอื่น ๆ ดุจในภรรยาที่รัก หรือว่าชนทั้ง

หลาย เมื่อไม่ระลึกถึงมารดา ก็จักไม่ระลึกถึงบุตรและธิดา เพราะเหตุนั้น

พระโพธิสัตว์จึงสรรเสริญพระนางนันทาเทวีเท่านั้น ไม่สรรเสริญพระราช-

มารดา เพราะทรงพระชราแล้ว ในเนื้อพระมหาสัตว์สรรเสริญพระนางนันทา

เทวีด้วยเสียงอ่อนหวาน พระนางนันทาเทวีก็ได้เป็นเหมือนมาประทับอยู่หน้าที่

นั่งพระเจ้าจุลนี แต่นั้นพระเจ้าจุลนีจึงทรงคิดว่า ยกมโหสถบัณฑิตเสีย บุคคล

อื่นที่ชื่อว่าสามารถจะพามเหสีที่รักของเรามาให้แก่เรา ย่อมไม่มี ลำดับนั้น

เมื่อพระเจ้าจุลนีทรงระลึกพระนางเจ้านั้น ความโศกก็เกิดขึ้น พระโพธิสัตว์

จึงทูลเล้าโลมพระเจ้าจุลนีว่า พระองค์อย่าทรงวิตกเลย พระราชเทวี พระ-

ราชโอรส และพระราชชนนีของพระองค์ ทั้ง ๓ องค์จักเสด็จกลับมา

ข้าพระองค์กลับไปนั่นแหละเป็นกำหนดแน่ในการเสด็จกลับแห่งกษัตริย์ทั้ง ๓

องค์นั้น เพราะฉะนั้น ขอพระองค์วางพระหฤทัยเสียเถิด พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนีทรงคิดว่า เราให้ทำการพิทักษ์รักษาเมืองของ

เราเป็นอันดี แล้วมาดังล้อมอุปการนครนี้ด้วยพลพาหนะถึงเท่านี้ มโหสถยัง

นำพระเทวีโอรสธิดา และพระชนนีของเรา จากเมืองเราซึ่งรักษาดีแล้วอย่างนี้

ไปให้พระเจ้าวิเทหราชได้ และเมื่อพวกเราตั้งล้อมอยู่อย่างนี้ มโหสถยัง

พระเจ้าวิเทหราชทั้งพลพาหนะให้หนีไป แม้สักคนหนึ่งก็หามีใครรู้ไม่ มโหสถ

รู้เล่ห์กลอันเป็นทิพย์หรือ หรือเพียงอุบายบังตาหนอ เมื่อจะตรัสถามข้อความ

กะมโหสถ จึงตรัสคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 533

เจ้ารู้เล่ห์กลอันเป็นทิพย์ หรือเจ้าได้ทำอุบาย

เพียงบังตา ในการที่เจ้าปล่อยพระเจ้าวิเทหราชผู้เป็น

ศัตรูของข้า ซึ่งตกอยู่ในเงื้อมมือข้าแล้ว.

มโหสถได้พึงรับสั่งจึงทูลว่า ข้าพระองค์รู้เล่ห์กลอันเป็นทิพย์ จริงอยู่

บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียนเล่ห์กลอันเป็นทิพย์ไว้ครั้น เมื่อภัยมาถึง ก็ปลดเปลื้อง

ตนบ้าง ผู้อื่นบ้างให้พ้นทุกข์ ทูลฉะนี้แล้วทูลว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้

ย่อมบรรลุเล่ห์กลอันเป็นทิพย์ บัณฑิตชนผู้มีความรู้

เหล่านั้น จึงเปลื้องตนจากทุกข์ได้ เหล่าโยธารุ่นหนุ่ม

เป็นคนฉลาด เป็นทหารขุดอุโมงค์ ของข้าพระองค์

มีอยู่ พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปกรุงมิถิลา โดยทางที่

ทหารเหล่านี้ทำไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพมายีธ ตัดบทเป็น ทิพฺพมาย

อิธ. บทว่า มาณวปุตฺต ได้แก่ เหล่าโยธารุ่นหนุ่มผู้บำรุง. บทว่า เยส

กเตน ได้แก่ ที่พวกเขาทำไว้. บทว่า มคฺเคน ได้แก่ โดยอุโมงค์ที่

ตกแต่งไว้.

พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับคำนี้แล้ว ก็ใคร่จะทอดพระเนตรอุโมงค์โดย

ทรงคิดว่า มโหสถแจ้งว่า ได้ยินว่า พระเจ้าวิเทหราชได้เสด็จไปโดยอุโมงค์ที่

ตกแต่งไว้ อุโมงค์เป็นอย่างไรหนอ ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์รู้ว่า พระเจ้าจุลนีมี

พระราชประสงค์จะทอดพระเนตรอุโมงค์ จึงคิดว่า พระราชาใคร่จะทอดพระ-

เนตรอุโมงค์ เราจักแสดงอุโมงค์แก่พระองค์ เมื่อจะแสดง จึงได้กล่าวคาถา

นี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 534

เชิญเถิด พระเจ้าข้า ขอเชิญพระองค์ทอดพระ-

เนตรอุโมงค์ที่ได้สร้างไว้ดีแล้ว งามรุ่งเรืองด้วย

ระเบียบแห่งกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และ

กองพลราบ ซึ่งสำเร็จดีแล้วตั้งอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺถีน ความว่า ขอเชิญพระองค์ทอด

พระเนตรอุโมงค์ที่งามรุ่งเรื่องด้วยระเบียบแห่งกองพลช้างเป็นต้นเหล่านั้นที่นาย

ช่างทำด้วยโปตถกรรม (การแกะสลัก) และจิตรกรรม (การเขียนภาพ) มี

แสงสว่างเป็นอย่างเดียวกันเช่นกับเทวสภาที่ตกแต่งแล้ว.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มโหสถได้ทูลต่อไปว่า อุโมงค์ซึ่งตกแต่ง

แล้ว ข้าพระองค์ให้สร้างไว้ด้วยปัญญาของข้าพระองค์ เป็นราวกะปรากฏแล้ว

ในที่ตั้งขึ้นแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ พระองค์จงทอดพระเนตรประตูใหญ่

๘๐ ประตูน้อย ๖๔ ห้องนอน ๑๐๑ โคมดวงประทีป ๑๐๑ พระองค์จงเป็น

ผู้พร้อมเพรียงบันเทิงกับด้วยข้าพระองค์ เสด็จเข้าไปสู่อุปการนครกับด้วย

ราชบริพาร ทูลฉะนี้แล้วให้เปิดประตูเมือง พระเจ้าจุลนีพระราชาร้อยเอ็ด

แวดล้อมเสด็จเข้าสู่เมือง พระมหาสัตว์ลงจากปราสาทถวายบังคมพระเจ้าจุลนี

พาพระราชาพร้อมด้วยราชบริพารเข้าสู่อุโมงค์ พระเจ้าจุลนีทอดพระเนตรเห็น

อุโมงค์ราวกะเทวสภา เมื่อจะทรงพรรณนาคุณแห่งพระโพธิสัตว์ จึงตรัสว่า

ดูก่อนมโหสถ บัณฑิตทั้งหลายเช่นนี้ เหล่านี้

อย่างตัวเจ้า อยู่ในเรือน ในแว่นแคว้นแห่งผู้ใด เป็น

ลาภของชาววิเทหรัฐและชาวกรุงมิถิลาผู้ได้อยู่ร่วมกับ

ผู้นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิเทหาน ความว่า เป็นลาภของชาว

วิเทหะ คือของชนบทที่เป็นบ่อเกิด คือเป็นที่ตั้งขึ้นแห่งเหล่าบัณฑิตเห็นปาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 535

นี้หนอ. บทว่า ยสฺสิเม อีทิสา ความว่า บัณฑิตทั้งหลายผู้ฉลาดในอุบาย

เหล่านี้ คือเห็นปานนี้ อยู่ในเรือนเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน หรือใน

แว่นแคว้นเดียวกัน ของผู้ใดเป็นลาภของผู้นั้นหนอ. บทว่า ยถา ตฺวมสิ

ความว่า ชนทั้งหลายย่อมได้เพื่ออันอยู่ในรัฐเดียวกัน ในชนบทเดียวกัน ใน

นครเดียวกัน ในเรือนเดียวกัน กับบัณฑิตเช่นนั้นเหมือนอย่างตัวท่านนั่น

แหละ เป็นลาภของชนเหล่านั้น คือของชาววิเทหรัฐและชาวกรุงมิถิลา ผู้ได้

อยู่ร่วมกับท่าน พระเจ้าจุลนีพรหมทัตมีพระดำรัสดังนี้.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้แสดงห้องนอน ๑๐๑ ห้องแด่พระเจ้าจุลนี

ครั้นประตูห้องหนึ่งเปิด ประตูทั้งหมดก็เปิด ครั้นประตูห้องหนึ่งปิด ประ

ทั้งหมดก็ปิด เมื่อพระราชาทอดพระเนตรพลางเสด็จไปข้างหน้า มโหสถโดย

เสด็จไปข้างหลัง เสนาทั้งปวงก็เข้าไปสู่อุโมงค์ พระราชาเสด็จออกจากอุโมงค์

มโหสถรู้ว่าเสด็จออก จึงตามออกมาบ้าง ไม่ให้ชนทั้งปวงออก ปิดประตู

อุโมงค์เหยียบเครื่องสลักยนตร์ ประตูใหญ่ ๘๐ ประตูน้อย ๖๔ ประตูห้อง

นอน ๑๐๑ และโคมดวงประทีป ๑๐๑ ก็ปิดพร้อมกัน อุโมงค์ทั้งสิ้นก็มืด

ราวกะโลกันตนรก มหาชนทั้งกลัวทั้งสะดุ้งอันมรณภัยคุกคามแล้ว พระมหา-

สัตว์หยิบดาบซึ่งคนเข้าไปฝังทรายไว้เมื่อวานนี้ แล้วโดดขึ้นจากพื้นสู่อากาศสูง

๑๘ ศอก แล้วกลับลงมาจากอากาศ จับพระหัตถ์พระเจ้าจุลนีพรหมทัตไว้

เงื้อดาบให้ตกพระหฤทัยทูลถามว่า ราชสมบัติในสกลชมพูทวีปเป็นของใคร

พระราชากลัวตรัสตอบว่า เป็นของเธอ แล้วตรัสว่า เธอจงให้อภัยแก่ข้า

มโหสถทูลว่า พระองค์อย่าตกพระหฤทัยกลัวเลย พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จับ

ดาบด้วยใคร่จะปลงพระชนม์ก็หาไม่ ข้าพระองค์จับเพื่อจะสำแดงปัญญานุภาพ

ของข้าพระองค์ ทูลฉะนั้นแล้วถวายดาบนั้นต่อพระหัตถ์พระราชา ลำดับนั้น

มโหสถทูลพระราชาผู้ทรงถือดาบประทับยืนอยู่ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ถ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 536

พระองค์ทรงใคร่จะฆ่าข้าพระองค์ ก็จงฆ่าด้วยดาบเล่มนี้ ถ้าพระองค์ทรงใคร่

จะพระราชทานอภัย ก็จงพระราชทาน พระราชาตรัสตอบว่า ดูก่อนบัณฑิต

ข้าให้อภัยแก่เธอจริง ๆ เธออย่าคิดอะไรเลย พระราชาจุลนีพรหมทัตกับมโหสถ

โพธิสัตว์ทั้งสองต่างจับดาบทำสาบานเพื่อไม่ประทุษร้ายต่อกันและกัน ลำดับ

นั้น พระเจ้าจุลนีตรัสกะพระโพธิสัตว์ว่า ดูก่อนบัณฑิต เธอเป็นผู้ถึงพร้อม

ด้วยกำลังปัญญาอย่างนี้ เหตุไรไม่เอาราชสมบัติเสีย มโหสถทูลตอบว่า ถ้า

พระองค์อยากได้ ก็จะฆ่าพระราชาในสกลชมพูทวีปเสียในวันนี้แล้ว เอาราช-

สมบัติ ก็แต่การฆ่าผู้อื่นแล้วถือเอายศ นักปราชญ์ทั้งหลายไม่สรรเสริญ ลำดับ

นั้นพระราชาตรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต มหาชนออกจากอุโมงค์ไม่ได้ก็คร่ำครวญ

เธอจงเปิดประตูอุโมงค์ให้ชีวิตทานแก่มหาชน มโหสถเปิดประตูอุโมงค์

อุโมงค์ทั้งสิ้นก็มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน มหาชนกลับได้ความยินดี พระราชา

ทั้งปวงออกจากอุโมงค์กับเสนาไปสู่สำนักมโหสถ มโหสถสถิตอยู่ ณ พลับพลา

อันกว้างขวางกับพระราชาจุลนี ลำดับนั้น พระราชาเหล่านั้นตรัสกะมโหสถว่า

พวกข้าพเจ้าได้ชีวิตเพราะอาศัยท่าน ถ้าท่านไม่เปิดประตูอุโมงค์อีกครู่เดียว

ข้าพเจ้าทั้งปวงก็จักถึงความตายในอุโมงค์นั้นนั่นเอง มโหสถทูลตอบว่า ข้า

แต่มหาราชทั้งหลาย พระองค์ไม่เสียพระชนมชีพเพราะอาศัยข้าพระองค์ แต่

ในบัดนี้ก็หาไม่ แม้ในกาลก่อนพระองค์ก็ได้อาศัยข้าพระองค์จึงยังดำรงพระ-

ชนมชีพอยู่ พระราชาเหล่านั้น ตรัสถามว่า เมื่อไร บัณฑิต มโหสถบันฑิต

จึงทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์ทรงฟัง ทรงระลึกถึงกาลเมื่อพระเจ้าจุลนี

ยึดราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้นได้ ยกเสียแต่เมืองของพวกข้าพระองค์ แล้วกลับ

อุตตรปัญจาลราชธานี แล้วจัดแต่งสุราเพื่อดื่มชัยบานในสวนหลวงได้หรือไม่

พระราชาเหล่านั้นรับว่าระลึกได้ มโหสถจึงทูลว่า ในกาลนั้น พระราชาจุลนี

กับเกวัฏผู้มีความคิดชั่ว ประกอบกิจนั้นเพื่อปลงพระชนม์เหล่าพระองค์ด้วยสุรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 537

ที่ประกอบด้วยยาพิษและมัจฉมังสะเป็นต้น ทีนั้นข้าพระองค์จึงรำพึงว่า เมื่อ

เรายังมีชีวิตอยู่ เหล่าพระองค์จงอย่าได้เสียพระชนมชีพโดยหาที่พึ่งมิได้เลย

คิดในใจดังนี้จึงส่งพวกคนของข้าพระองค์ไป ให้ทำลายภาชนะทั้งปวง ทำลาย

ความคิดของพวกนั้นเสีย ได้ให้ชีวิตทานแด่พระองค์ทั้งหลาย พระราชาเหล่า

นั้นทั้งหมดได้สดับคำของมโหสถ ก็มีพระมนัสหวาดเสียว จึงทูลถามพระเจ้า

จุลนีว่า จริงหรือไม่ พระเจ้าข้า พระเจ้าจุลนีตรัสตอบว่า จริง ดีฉันเชื่อ

ถ้อยคำของอาจารย์เกวัฏได้ทำอย่างนั้น มโหสถบัณฑิตได้กล่าวจริงทีเดียว

พระราชาเหล่านั้นต่างสวมกอดพระมหาสัตว์ ตรัสว่า แน่ะบัณฑิต ท่านได้

เป็นที่พึ่งของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าได้รอดชีวิตเพราะท่าน ตรัสฉะนี้แล้ว

บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยราชาภรณ์ทั้งปวง มโหสถทูลพระเจ้าจุลนีอย่างนี้ว่า ข้า

แต่พระมหาราชเจ้า พระองค์อย่าได้ทรงคิดเลย นั่นเป็นโทษของการส้องเสพ

ด้วยมิตรลามกนั่นเอง ขอพระองค์ยังพระราชาเหล่านั้นให้งดโทษ พระราชา

พรหมทัตตรัสว่า เราได้ทำกรรมเห็นปานนี้แก่พวกท่านเพราะอาศัยคนชั่ว นั่น

เป็นความผิดของข้าพเจ้า ท่านทั้งหลายจงงดโทษแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักไม่ทำ

กรรมเห็นปานนี้อีก รับสั่งฉะนั้นแล้วให้พระราชาเหล่านั้น มาโทษ พระราชา

เหล่านั้นแสดงโทษกะกันและกัน แล้วเป็นผู้พร้อมเพรียง ชื่นชมต่อกัน ลำดับ

นั้น พระเจ้าจุลนีให้นำขาทนียะและโภชนียะเป็นอันมาก และดนตรีของหอม

ดอกไม้เป็นต้นมา เล่นอยู่ในอุโมงค์กับด้วยกษัตริย์ทั้งปวงตลอดสัปดาห์แล้ว

เข้าสู่พระนคร ให้ทำสักการะใหญ่แก่พระมหาสัตว์ แวดล้อมไปด้วยพระราชา

ร้อยเอ็ด ประทับนั่ง ณ พื้นพระราชมณเฑียรตรัสด้วยมีพระราชประสงค์จะให้

มโหสถบัณฑิตอยู่ในราชสำนักของพระองค์ ว่า

ข้าจะให้เครื่องเลี้ยงชีพ การบริหาร เบี้ยเลี้ยง

และบำเหน็จเพิ่มขึ้น ๒ เท่า และให้โภคสมบัติอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 538

ไพบูลย์อื่น ๆ เจ้าจงใช้สอยสิ่งที่ปรารถนา จงรื่นรมย์

เถิด อย่ากลับไปหาพระเจ้าวิเทหราชเลย พระเจ้า

วิเทหราชจักทำอะไรได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุตฺตึ ได้แก่ เครื่องเป็นไปแห่งชีวิตที่

อาศัยได้. บทว่า ปริหาร ได้แก่ ให้คามและนิคม. บทว่า ภตฺต ได้แก่

อาหาร. บทว่า เวตน ได้แก่ เสบียง. บทว่า โภเค ความว่า ข้าจะให้

โภคสมบัติอันไพบูลย์แม้อื่น ๆ แก่เจ้า.

ฝ่ายมโหสถบัณฑิตเมื่อจะทูลห้ามพระเจ้าจุลนี ได้ทูลว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ผู้ใดสละท่านผู้ชุบเลี้ยง

ตนเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ผู้นั้นย่อมถูกตนเองและผู้อื่น

ติเตียนทั้งสองฝ่าย พระเจ้าวิเทหราชยังทรงพระชนม์

อยู่เพียงใด ข้าพระองค์ไม่พึงเป็นราชบุรุษของพระ-

ราชาอื่นเพียงนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ผู้ใดสละ

ท่านผู้ชุบเลี้ยงตนเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ผู้นั้นย่อมถูก

ตนเองและผู้อื่นติเตียนทั้งสองฝ่าย พระเจ้าวิเทหราช

ยังดำรงพระชนม์อยู่เพียงใด ข้าพระองค์ไม่พึงอยู่ใน

แว่นแคว้นของพระราชาอื่นเพียงนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตโน จ ปรสฺส จ ความว่า บุคคล

ย่อมติเตียนตนด้วยตนว่า บาปเห็นปานนี้ อันเราผู้สละท่านผู้ชุบเลี้ยงตนเพราะ

เหตุแห่งทรัพย์กระทำแล้ว แม้ผู้อื่นก็ย่อมติเตียนด้วยเหตุนี้ว่า ผู้นี้มีธรรม

เลวทราม สละท่านผู้ชุบเลี้ยงตนมาเพราะเหตุแห่งทรัพย์ เพราะเหตุนั้น เมื่อ

พระเจ้าวิเทหราชยังดำรงพระชนม์อยู่ ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่ในแว่นแคว้น ของ

พระราชาอื่นได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 539

ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนีตรัสกะมโหสถว่า แน่ะบัณฑิต ถ้าอย่างนั้น

ท่านจงให้ปฏิญญาว่าจะมาในนครนี้ ในเมื่อพระราชาของท่านทิวงคตแล้ว

มโหสถทูลสนองว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า เมื่อข้าพระองค์ยังมีชีวิตอยู่จักมา ลำดับนั้น

พระเจ้าจุลนีพรหมทัตทรงทำมหาสักการะแก่พระโพธิสัตว์ตลอดสัปดาห์ ครั้น

ล่วงไปอีกสัปดาห์ เวลาที่มโหสถทูลลา เมื่อจะตรัสว่า แน่ะบัณฑิต ข้าให้สิ่ง

นี้ ๆ แก่เจ้า จึงตรัสคาถาว่า

ดูก่อนมโหสถบัณฑิต ข้าให้ทอง ๑,๐๐๐ นิกขะ

และบ้าน ๘๐ บ้านในแคว้นกาสีแก่เจ้า ข้าให้ทาสี

๔๐๐ คน และภรรยา ๑๐๐ คนแก่เจ้า เจ้าจงพาเสนางค-

นิกรทั้งปวงไปโดยสวัสดีเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺขสหสฺส ความว่า ๕ สุวัณณะเป็น

๑ นิกขะ ให้ทอง ๑,๐๐๐ นิกขะ. บทว่า คาเม ความว่า บ้านเหล่าใดเก็บ

ส่วยได้ปีละหนึ่งแสนกหาปณะ ข้าให้บ้านเหล่านั้นแก่เจ้า. บทว่า กาสิสุ ได้แก่

ในแคว้นของประชาชนชาวกาสี.

กาสิกรัฐนั้นอยู่ใกล้วิเทหรัฐ เพราะฉะนั้น พระเจ้าจุลนีจึงประทานบ้าน

๘๐ บ้านในกาสิกรัฐนั้นแก่มโหสถ ฝ่ายมโหสถทูลพระเจ้าจุลนีว่า พระองค์

อย่าทรงวิตกถึงพระราชวงศ์เลย ข้าพระองค์ได้ทูลพระราชาของข้าพระองค์ไว้

ในกาลเมื่อพระองค์เสด็จไปกรุงมิถิลาว่า ขอพระองค์จงตั้งพระนางนันทาเทวี

ไว้ในที่พระราชชนนี จงตั้งพระปัญจาลจันทกุมารไว้ในที่พระกนิษฐภาดา ทูล

ฉะนั้นแล้ว ได้อภิเษกพระนางปัญจาลจันทีราชธิดาของพระองค์กับพระเจ้า

วิเทหราช แล้วจึงได้ส่งเสด็จพระเจ้าวิเทหราช ข้าพระองค์จักส่งพระราชมารดา

พระนางนันทาเทวี และพระราชโอรสของพระองค์กลับมาโดยเร็วทีเดียว

พระเจ้าจุลนีพรหมทัตตรัสว่า ดีแล้ว พ่อบัณฑิต แล้วยังมโหสถให้รับฝากข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 540

ชายหญิงโคกระบือและเครื่องประดับ และทองเงินช้างม้ารถอันตกแต่งแล้ว

เป็นต้นที่พึงพระราชทานแก่พระราชธิดา ด้วยพระดำรัสว่า เจ้าพึงให้ทรัพย์

เหล่านั้นแก่พระปัญจาลจันทีราชบุตรีข้า เมื่อทรงพิจารณากิจอันควรทำแก่

เสนาพาหนะ จึงตรัสว่า

พวกเจ้าจงให้อาหารแก่ช้างและม้าเพิ่มขึ้นเป็น

สองเท่า เพียงใด จงเลี้ยงดูกองรถและกองราบให้อิ่ม

หนำด้วยข้าวและน้ำ เพียงนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว ความว่า มิใช่เพิ่มเป็นสองเท่า

อย่างเดียวเท่านั้น พระเจ้าจุลนีตรัสว่า จงให้อาหารมีข้าวเหนียวและข้าวสาลี

เป็นต้น แก่ช้างและม้าทั้งหลายจนเพียงพอ. บทว่า ตปฺเปนฺตุ ความว่า จงให้

เท่าที่ไปไม่ลำบากในระหว่างทาง ให้อิ่มหนำ.

ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เมื่อทรงส่งมโหสถบัณฑิตไป พระเจ้าจุลนี

ตรัสว่า

พ่อบัณฑิต เจ้าจงพากองช้าง กองม้า กองรถ

กองราบไป ขอพระเจ้าวิเทหมหาราชจงทอดพระเนตร

เห็นเจ้าผู้ไปถึงกรุงมิถิลา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิถิล คต ความว่า ขอพระเจ้าวิเทหราช

จงทอดพระเนตรเห็นเจ้าถึงกรุงมิถิลาโดยสวัสดี.

พระเจ้าจุลนีทรงทำสักการะใหญ่แก่มโหสถบัณฑิตแล้วทรงส่งไป ด้วย

ประการฉะนี้ แม้พระราชาร้อยเอ็ดเหล่านั้น ก็ทำมหาสักการประทานบรรณา-

การเป็นอันมาก ฝ่ายเหล่าบุรุษที่มโหสถวางไว้ในสำนักของพระราชาร้อยเอ็ด

เหล่านั้นก็แวดล้อมมโหสถ มโหสถเดินทางไปด้วยบริวารมากในระหว่างทาง

ได้ส่งคนไปเก็บส่วยแต่บ้านที่พระเจ้าจุลนีประทาน ถึงวิเทหรัฐ ฝ่ายอาจารย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 541

เสนกะได้วางคนไว้ในระหว่างทางสั่งว่า เจ้าจงดูพระเจ้าจุลนีเสด็จมาหรือไม่

เสด็จมา และบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งมา จงบอกข้า ฝ่ายคนผู้รับคำสั่งของเสนกะ

เห็นมโหสถมาแต่ไกลราว ๓ โยชน์จึงมาแจ้งแก่เสนกะว่า มโหสถมากับบริวาร

เป็นอันมาก เสนกะได้ฟังประพฤติเหตุจึงได้ไปสู่ราชสำนัก ฝ่ายพระเจ้า

วิเทหราชประทับอยู่ ณ พื้นปราสาท ทอดพระเนตรภายนอกทางพระแกล

เห็นกองทัพใหญ่ ทรงรำพึงว่า เสนาของมโหสถน้อย ก็เสนานี้ปรากฏว่ามาก

เหลือเกิน พระเจ้าจุลนีเสด็จมากระมังหนอ ทรงรำพึงดังนี้ก็ทั้งทรงกลัวทั้งทรง

สะดุ้ง เมื่อจะตรัสถามอาจารย์ทั้ง ๔ จึงตรัสว่า

เสนาคือกองช้าง กองม้า กองรถ กองราบนั้น

ปรากฏมากมาย เป็นจตุรงคินีเสนาที่น่ากลัว บัณฑิต

ทั้งหลายสำคัญอย่างไรหนอ.

ลำดับนั้น เสนกะเมื่อจะกราบทูลข้อความนั้น จึงกล่าวว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ความยินดีอย่างสูงสุด

ย่อมปรากฏเฉพาะแด่พระองค์ มโหสถพากองทัพ

ทั้งปวงมาถึงแล้วโดยสวัสดี.

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงฟังคำของเสนกะจึงตรัสว่า ดูก่อนท่านเสนกะ

เสนาของมโหสถบัณฑิตน้อย ก็แต่นี่มากมาย เสนกะทูลตอบว่า มโหสถจัก

ทำให้พระเจ้าจุลนีทรงเลื่อมใส พระเจ้าจุลนีทรงเลื่อมใสแล้วจักพระราชทาน

เสนาแก่มโหสถ พระเจ้าวิเทหราชจึงให้เอากลองตีป่าวร้องในพระนครว่า

ชาวเมืองทั้งหลายจงตกแต่งพระนครต้อนรับมโหสถบัณฑิต ชาวพระนครก็ทำ

ตามประกาศ มโหสถเข้าพระนครไปสู่ราชสำนัก ถวายบังคมพระเจ้าวิเทหราช

แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชเสด็จลุกขึ้นสวมกอด

มโหสถแล้วประทับเหนือบัลลังก์อันประเสริฐ เมื่อจะทรงทำปฏิสันถารจึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 542

คน ๔ คน นำคนตายไปทิ้งไว้ในป่าช้าแล้วกลับ

ไป ฉันใด พวกเราทิ้งเจ้าไว้ในกัปปิลรัฐแล้วกลับมา

ในที่นี้ ก็ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าเปลื้องตนพ้น

มาได้เพราะเหตุอะไร เพราะปัจจัยอะไร หรือเพราะ

ผลอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุโร ชนา ความว่า แน่ะบัณฑิต

คน ๔ คนนำคนตายไปป่าช้าด้วยเตียง ทิ้งคนตายนั้นไว้ในป่าช้านั้น ไม่เหลียว

แลไป ฉันใด พวกเราทิ้งเจ้าไว้ในกัปปิลรัฐมาที่นี้ ก็ฉันนั้น. บทว่า วณฺเณน

ได้แก่ ด้วยเหตุ. บทว่า เหตุนา ได้แก่ ด้วยปัจจัย. บทว่า อตฺถชาเตน

ได้แก่ ด้วยผล. บทว่า ปริโมจยิ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชตรัสถาม

มโหสถว่า เจ้าตกอยู่ในเงื้อมมือของข้าศึก เปลื้องตนพ้นมาได้ ด้วยเหตุอะไร

ด้วยปัจจัยอะไร ด้วยผลอะไร.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลตอบว่า

ข้าแต่พระจอมวิเทหรัฐ ข้าพระองค์ป้องกันข้อ

ความด้วยข้อความ ป้องกันความคิดด้วยความคิด

พระเจ้าข้า ใช่แต่เท่านั้น ข้าพระองค์ยังป้องกันพระ-

ราชา ดังสาครกั้นล้อมชมพูทวีปไว้ฉะนั้น.

เนื้อความของคาถานั้นว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์ป้องกัน

ข้อความที่พวกนั้นคิดไว้ ด้วยข้อความที่ข้าพระองค์คิดแล้ว ข้าพระองค์ป้องกัน

ความคิดที่พวกนั้นคิดไว้ ด้วยความคิดของข้าพระองค์ ใช่แต่เท่านั้น ข้า-

พระองค์ยังได้ป้องกัน พระราชาแม้นั้นผู้มีพระราชาร้อยเอ็ดเป็นบริวารถึงเพียงนี้

ทีเดียว ดุจสาครกั้นล้อมชมพูทวีปไว้ฉะนั้น มโหสถกล่าวกรรมที่ตนทำทั้งหมด

โดยพิสดาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 543

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับดังนั้นแล้วทรงโสมนัส ลำดับนั้น

มโหสถบัณฑิตเมื่อจะทูลถึงบรรณาการที่พระเจ้าจุลนีพระราชทานแก่ตนให้

ทรงทราบ จึงทูลว่า

พระเจ้าจุลนีพระราชทานทอง ๑,๐๐๐ นิกขะ บ้าน

๘๐ บ้านในแคว้นกาสี ทาสี ๔๐๐ คน และภรรยา

๑๐๐ คนแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้พาเสนางคนิกร

ของข้าพระองค์ทั้งหมดมาในที่นี้โดยสวัสดี.

แต่นั้น พระราชาทรงยินดีร่าเริงเหลือเกิน เมื่อจะตรัสสรรเสริญคุณ

ของพระมหาสัตว์ จึงทรงเปล่งอุทานนั้นนั่นแลว่า

แน่ะเสนกาจารย์ การอยู่ร่วมด้วยเหล่าบัณฑิต

เป็นสุขดีหนอ เพราะว่ามโหสถปลดเปลื้องพวกเรา

ผู้ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้องฝูงนก

ที่ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแห ฉะนั้น.

ฝ่ายเสนกบัณฑิตเมื่อจะรับพระราชดำรัส ได้กล่าวคาถานั้นนั่นแลว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บัณฑิตทั้งหลายนำความ

สุขมาแท้จริงอย่างนี้ทีเดียว มโหสถปลดเปลื้องพวกเรา

ผู้ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้องฝูงนี้

ที่ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแห ฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชให้ตีกลองป่าวร้องในพระนครว่า ชาว-

เมืองจงเล่นมหรสพใหญ่ตลอดสัปดาห์ คนเหล่าใดมีความรักในตัวเรา คน

เหล่านั้นทั้งหมดจงทำสักการะและสัมมานะแก่มโหสถบัณฑิตเถิด.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า

ชาวเมืองซึ่งนับว่าเกิดในแคว้นมคธ จงดีดพิณ

ทั้งปวง จงตีกลองเล็กกลองใหญ่และมโหระทึก จงพา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 544

กันโห่ร้องบันลือเสียงให้เซ็งแซ่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาหญฺนฺตุ ได้แก่ จงประโคมดนตรี.

บทว่า มาคธา สขา ความว่า นับว่าเกิดในมคธรัฐ. บทว่า ทุนฺทภี ได้แก่

กองใหญ่.

ลำดับนั้น ชาวเมืองและชาวชนบทเหล่านั้น ตามปกติก็ใคร่จะกระทำ

สักการะแก่มโหสถบัณฑิตอยู่แล้ว ครั้นได้ยินเสียงกลองป่าวร้องก็ได้ทำสักการะ

กันเหลือล้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า

พวกฝ่ายใน พวกกุมาร พ่อค้า พราหมณ์

กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ชาวชนบทและ

ชาวนิคม ร่วมกันนำข้าวน้ำเป็นอันมากมาให้แก่มโหสถ

บัณฑิต ชนเป็นอันมากได้เห็นมโหสถบัณฑิตกลับมา

สู่กรุงมิถิลา ก็พากันเลื่อมใส ครั้นมโหสถบัณฑิต

ถึงแล้ว ก็โบกผ้าอยู่ทั่วไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอโรธา จ ความว่า พวกฝ่ายในมี

พระนางอุทุมพรเทวีเป็นต้น. บทว่า อภิหารยุ ความว่า ให้นำไปยิ่ง คือ

ส่งไป. บทว่า พหุชฺชโน ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเป็นอันมาก

ทั้งชาวพระนคร ทั้งชาวบ้านสี่ประตูเมือง ทั้งชาวชนบท ได้เลื่อมใสแล้ว.

บทว่า ทิสฺวา ปณฺฑิตมาคเต ความว่า เมื่อมโหสถบัณฑิตมากรุงมิถิลา

เห็นมโหสถบัณฑิตนั้น. บทว่า ปวตฺตถ ความว่า เมื่อมโหสถบัณฑิตถึง

กรุงมิถิลา มหาชนดีใจกล่าวว่า มโหสถบัณฑิตนี้ปลดเปลื้องพระราชาของพวก

เราที่ตกอยู่ในอำนาจของปัจจามิตรให้ปลอดภัยก่อน ภายหลังยังพระราชา

ร้อยเอ็ดให้ขมาโทษกันและกันทำให้สามัคคีกัน ยังพระเจ้าจุลนีให้เลื่อมใสพา

เอายศใหญ่ที่พระเจ้าจุลนีประทานมาแล้ว ได้โบกผ้ากันอยู่ทั่วไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 545

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ไปสู่ราชสำนักในวันสุดมหรสพกราบทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ ควรที่พระองค์จะส่งพระราชมารดา พระราชเทวี และ

พระราชโอรสของพระเจ้าจุลนีไปเสียโดยเร็ว พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงฟังคำ

มโหสถก็ตรัสว่า ดีแล้วพ่อ เจ้าจงส่งไปเสีย มโหสถทำสักการะใหญ่แก่กษัตริย์

ทั่ง ๓ นั้น และทำสักการสันมานะแก่เสนาผู้มากับตน ส่งกษัตริย์ทั้ง ๓ แม้นั้น

กับพวกชนของตนไปด้วยบริวารเป็นอันมาก ส่งภรรยา ๑๐๐ คนและทาสี

๔๐๐ คน ที่พระเจ้าจุลนีพระราชทานแก่ตน มอบถวายไปกับพระนางนันทา-

เทวี และส่งแม้เสนีผู้มากับด้วยตนไปกับชนเหล่านั้น.

พระนางนันทาเทวีสวมกอดพระธิดาจุมพิตที่พระเศียรแล้วตรัสว่า แม่

ลาเจ้าละ แน่ไปละ ตรัสฉะนี้ทรงกันแสงคร่ำครวญด้วยศัพท์สำเนียงอันดัง

ฝ่ายพระนางปัญจาลจันทีผู้พระธิดาทรงกราบพระราชมารดาแล้วทรงโศกาดูรทูล

ว่า พระมารดาอย่าละทิ้งลูกก่อน กษัตริย์ทั้ง ๓ ออกจากพระนครด้วยบริวาร

เป็นอันมากถึงอุตตรปัญจาลนครโดยลำดับ ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนีพรหมทัต

ตรัสถามพระราชมารดาว่า ข้าแต่พระมารดา พระเจ้าวิเทหราชทรงทำอนุเคราะห์

แด่พระองค์อย่างไร พระนางเจ้าสลากราชชนนีตรัสตอบว่า พ่อตรัสอะไร

พระเจ้าวิเทหราชตั้งแม่ไว้ในฐานเป็นเทวดาได้ทำสักการะแก่เราดังนั้นทาเทวีไว้

ในฐานเป็นพระราชมารดา ตั้งพ่อปัญจาลจันทกุมารในฐานเป็นราชกนิษฐภาดา

พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับพระราชชนนีรับสั่งก็ทรงยินดียิ่งนัก แล้วส่งบรรณาการ

เป็นอันมากไปถวายพระเจ้าวิเทหราช จำเดิมแต่นั้นกษัตริย์เจ้าพระนครทั้ง ๒

ก็พร้อมเพรียงชื่นชมอยู่แล.

จบมหาอุมมังคกัณฑ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 546

พระนางปัญจาลจันทีได้เป็นที่รัก เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าวิเทห-

ราช ในปีที่ ๒ พระนางเจ้านั้นประสูติพระโอรส ครั้นพระราชโอรสนั้นมี

พรรษาได้ ๑๐ ปี พระเจ้าวิเทหราชผู้พระชนกสวรรคต มโหสถโพธิสัตว์ได้

ถวายราชสมบัติแด่พระกุมารนั้น แล้วทูลลาว่า ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระองค์จัก

ไปอยู่ราชสำนักพระเจ้าจุลนีพระอัยกาของพระองค์ พระราชานั้น ตรัสว่า

แน่ะบัณฑิต ท่านอย่าทิ้งข้าพเจ้าผู้ยังเด็กไปเสีย ข้าพเจ้าตั้งท่านไว้ในที่บิดา

จักทำสักการบูชา แม้พระนางเจ้าปัญจาลจันทีผู้พระชนนีก็ตรัสวิงวอนพระโพธิ-

สัตว์ว่า แน่ะบัณฑิต ในกาลเมื่อท่านไปเสียแล้ว ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี

ขอท่านอย่าไปเลย มโหสถทูลว่า ข้าพระองค์ได้ถวายปฏิญาณไว้แด่พระเจ้าจุลนี

ข้าพระองค์ไม่สามารถเพื่อจะไม่ไป เมื่อมหาชนคร่ำครวญอยู่อย่างน่าสงสาร

มโหสถก็พาพวกอุปัฏฐากของตนออกจากพระนครไปถึงอุตตรปัญจาลราชธานี

พระเจ้าจุลนีทรงทราบว่ามโหสถมาถึง ก็เสด็จต้อนรับให้มโหสถเข้าพระนคร

ด้วยบริวารเป็นอันมาก ประทานเคหสถานใหญ่ให้มโหสถอยู่ แล้วประทาน

บ้าน ๘๐ บ้านที่ประทานแล้ว แต่แรกและโภคสมบัติอื่น ๆ มโหสถก็รับราชการ

ณ ราชสำนักนั้น.

ในกาลนั้น มีปริพาชิกาคนหนึ่ง ชื่อเภรี เคยเข้าไปฉันในพระราช-

นิเวศน์ นางเป็นบัณฑิตฉลาด นางยังไม่เคยเห็นมโหสถ ได้สดับกิตติศัพท์ว่า

ได้ยินว่า มโหสถบำรุงพระราชา แม้มโหสถก็ยังไม่เคยเห็นปริพาชิกา ได้ยิน

แต่กิตติศัพท์ว่า ได้ยินว่า ปริพาชิกาชื่อเภรี ฉันในราชสถาน.

ฝ่ายพระนางนันทาเทวีไม่ชอบพระหฤทัยในพระโพธิสัตว์ว่า มโหสถ

ทำปิยวิปโยคให้เราลำบาก พระนางจึงตรัสสั่งเหล่าสตรีที่สนิทราว ๕๐๐ คนว่า

เจ้าทั้งหลายจงพยายามหาโทษของมโหสถสักอย่างหนึ่ง แล้วทูลยุยงระหว่างพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 547

ราชาให้แตกกัน สตรีเหล่านั้นเที่ยวมองหาโทษของมโหสถอยู่ วันหนึ่งปริพา-

ชิกานั้นฉันแล้วออกไป ได้เห็นพระโพธิสัตว์มาสู่ราชุปัฏฐาน ณ พระลาน พระ-

โพธิสัตว์ไหว้ปริพาชิกาแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ปริพาชิกาคิดว่า ได้ยิน

ว่า มโหสถนี้เป็นบัณฑิต เราจักรู้ความที่เธอเป็นบัณฑิตหรือไม่ใช่บัณฑิตก่อน

เมื่อจะถามปัญหาด้วยเครื่องหมายแห่งมือ จึงแลดูมโหสถแล้วแรงมือออก ได้ยิน

ว่า นางถามปัญหาด้วยใจว่า พระเจ้าจุลนีนำมโหสถมาแต่ประเทศอื่น เดี๋ยวนี้

ทรงบำรุงเช่นไรหรือไม่ได้ทรงบำรุง พระโพธิสัตว์รู้ว่า นางเภรีปริพาชิกา

ถามปัญหาเราด้วยเครื่องหมายแห่งมือ เมื่อจะแก้ปัญหาจึงกำมือ ได้ยินว่า

มโหสถแก้ปัญหาด้วยใจว่า ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า พระราชาทรงรับปฏิญาณของ

ข้าพเจ้าแล้วให้เรียกมา เดี๋ยวนี้เป็นผู้เหมือนกับกำพระหัตถ์ไว้มั่นยังไม่พระ-

ราชทานอะไร ๆ ที่พระองค์ยังไม่เคยพระราชทานแก่ข้าพเจ้า นางเภรีรู้ถ้อยคำ

ของมโหสถจึงยกมือขึ้นลูบศีรษะของตน นางแสดงข้อความนี้ด้วยกิริยานั้นว่า

แน่ะบัณฑิต ถ้าท่านลำบาก เหตุไรท่านจึงไม่บวชเหมือนอาตมาเล่า พระ-

มหาสัตว์รู้ความนั้นจึงลูบท้องของตน แสดงข้อความนี้ด้วยกิริยานั้นว่า ข้าแต่

ผู้เป็นเจ้า บุตรและภรรยาข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูมาก เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้ายังไม่

บวช นางเภรีถามปัญหาด้วยเครื่องหมายแห่งมือแล้วไปสู่อาวาสของตน ฝ่าย

มโหสถไหว้นางแล้วไปสู่ราชุปัฏฐาน.

พวกสตรีคนสนิทที่พระนางนันทาเทวีประกอบยืนอยู่ที่หน้าต่าง เห็น

กิริยานั้น จึงไปเฝ้าพระเจ้าจุลนี ทูลยุยงว่า ข้าแต่สมมติเทพ มโหสถอยู่

ในที่เดียวกับนางเภรีปริพาชิกา เป็นผู้ใคร่จะชิงราชสมบัติ ย่อมเป็นศัตรู

ของพระองค์ พระราชาได้ทรงสดับคำนั้น จึงตรัสว่าพวกเจ้าได้เห็น

หรือได้ฟังอะไร สตรีเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่มหาราช ปริพาชิกาฉันแล้วลง

จากปราสาท เห็นมโหสถ แล้วเหยียดมือออกหมายให้รู้ความว่า ท่าน

สามารถจะทำพระราชาให้เป็นดังฝ่ามือ หรือให้เป็นดังลานนวดข้าวให้เสมอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 548

แล้วทำราชสมบัติให้ถึงเงื้อมมือตน ฝ่ายมโหสถเมื่อแสดงอาการจับดาบ ได้

กำมือเข้า หมายให้รู้ว่า เราจะตัดศีรษะพระราชาโดยวันล่วงไปเล็กน้อยแล้ว

ทำราชสมบัติให้ถึงเงื้อมมือตน ปริพาชิกายกมือของตนขึ้นลูบศีรษะหมายให้รู้ว่า

ท่านจะตัดศีรษะพระราชาเท่านั้น หรือ มโหสถลูบท้อง หมายให้รู้ว่า เราจะ

ตัดกลางตัวเสียด้วย ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงไม่ประมาท ควรที่พระองค์

จะฆ่ามโหสถเสียก่อน พระเจ้าจุลนีได้ทรงฟังถ้อยคำของสตรีเหล่านั้น จึงทรง

ดำริว่า มโหสถไม่อาจจะประทุษร้ายในเรา เราจักถามปริพาชิกาก็จักรู้ความ

อีกวันหนึ่งในกาลเมื่อปริพาชิกาฉันแล้ว พระองค์เข้าไปหานางตรัสถามว่า

ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นเจ้าพบมโหสถบ้างหรือ นางทูลว่า เมื่อวานนี้อาตมะ

ฉันแล้วออกไปจากที่นี้ได้พบเธอ ตรัสถามว่าได้เจรจาสนทนาอะไรกันบ้าง

นางทูลว่า หาได้พูดอะไรกันไม่ เป็นแต่อาตมะได้ยินว่า เธอเป็นนักปราชญ์

จึงถามปัญหาเธอด้วยเครื่องหมายแห่งมือ ด้วยมนสิการว่า ถ้าเธอเป็นนักปราชญ์

เธอจักรู้ปัญหานี้ จึงได้แบมือออกให้สำคัญรู้ว่า พระราชาของท่านเป็นผู้มี

พระหัตถ์แบ หรือมีพระหัตถ์กำ คือได้ทรงสงเคราะห์อะไรท่านบ้าง หรือมิได้

ทรงสงเคราะห์ มโหสถได้กำมือให้หมายรู้ว่า พระราชารับปฏิญาณของข้าพเจ้า

ไว้แล้วตรัสเรียกมา เดี๋ยวนี้ยังไม่ได้พระราชทานอะไร ทีนั้นอาตมะจึงลูบศีรษะ

ให้หมายความว่า ถ้าท่านลำบาก ทำไมท่านไม่บวชดังอาตมะเล่าฝ่ายมโหสถ

ลูบท้องของตนให้ทราบว่า บุตรภรรยาอันข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูมีมากเกินจะต้อง

ให้เต็มท้องกันมิใช่น้อย เหตุนี้จึงยังบวชไม่ได้ พระราชาจึงตรัสถานต่อไปว่า

ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า มโหสถเป็นนักปราชญ์หรือ นางเภรีทูลว่า บุคคลอื่นชื่อว่า

เป็นนักปราชญ์เช่นมโหสถย่อมไม่มีในพื้นแผ่นดิน พระราชาได้ทรงฟังถ้อยคำ

แห่งนางเภรีแล้ว ทรงนมัสการแล้วอาราธนาให้กลับ ในกาลเมื่อนางเภรีไปแล้ว

มโหสถได้เข้าไปสู่ราชุปัฏฐาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 549

ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามมโหสถว่า ดูก่อนบัณฑิต เจ้าได้พบ

นางเภรีปริพาชิกาบ้างหรือ มโหสถกราบทูลโดยนิยมแห่งข้อความที่นางทูล

แล้วว่า เมื่อวานนี้นางออกไปจากพระราชนิเวศน์ ข้าพระองค์ได้พบนาง

นางถามปัญหาข้าพระองค์ด้วยเครื่องหมายแห่งมืออย่างนั้น แม้ข้าพระองค์

ก็ได้แก้ปัญหาของนางอย่างนั้น พระราชาทรงเลื่อมใส พระราชทานที่เสนาบดี

แก่มโหสถในวันนั้น ให้มโหสถรับราชกิจทั้งปวง มโหสถก็มีเกียรติยศ

ใหญ่ในระหว่างอิสริยยศที่ได้รับพระราชทาน มโหสถคิดว่า พระราชา

พระราชทานอิสริยยศยิ่งใหญ่ในคราวเดียว ก็แต่พระราชาทั้งหลายแม้ทรงใคร่

จะยังเราให้ตาย ก็ย่อมทรงทำอย่างนี้เอง ไฉนหนอเราจะทดลองพระราชาว่า

เป็นผู้มีพระหฤทัยดีต่อเราหรือหาไม่ ก็แต่บุคคลอื่นไม่สามารถจะรู้ได้ นางเภรี

ปริพาชิกาผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญานั้นแหละจักรู้ได้โดยอุบาย ครั้นคิดฉะนี้แล้ว

จึงถือของหอมมีดอกไม้เป็นต้น เป็นอันมากไปสู่อาวาสปริพาชิกา บูชาไหว้นาง

แล้วจึงกล่าวว่า ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ตั้งแต่วันที่ท่านกล่าวคุณกถาของข้าพเจ้าแด่

พระราชา พระราชาพระราชทานยศยิ่งใหญ่แก่ข้าพเจ้าราวกะว่าจะทับถม แต่

ข้าพเจ้าหาทราบยศที่พระราชทานนั้นไม่ว่า พระราชทานโดยปกติหรือโดยพิเศษ

ดีแล้ว ท่านพึงรู้ความที่พระราชาโปรดปรานข้าพเจ้าละหรือ โดยอุบายอันหนึ่ง

นางเภรีรับคำ.

อีกวันหนึ่งเมื่อไปสู่พระราชนิเวศน์ ได้คิดปัญหาชื่อว่า ทกรักขสปัญหา

ดังได้สดับมา ความปริวิตกอย่างนี้ได้เกิดมีแก่นางเภรีว่า เราเป็นเหมือน

คนสอดแนม จักทูลถามพระราชาโดยอุบาย ก็จักรู้ว่า พระองค์มีพระ-

หฤทัยดีต่อมโหสถหรือหาไม่ นางไปทำภัตกิจแล้วนั่งอยู่ ฝ่ายพระราชาทรง

นมัสการนางเภรีแล้วก็ประทับนั่งอยู่ ความปริวิตกได้เกิดมีแก่นางเภรีว่า ถ้า

พระราชาจักเป็นผู้มีพระหฤทัยร้ายต่อมโหสถ เราทูลถามปัญหา จักตรัสความ

ที่พระองค์มีพระหฤทัยร้ายในท่ามกลางมหาชน ข้อนั้นจะไม่สมควร เราจักต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 550

ทูลถามพระองค์ในที่ควรแห่งหนึ่ง นางจึงทูลว่า อาตมะปรารถนาที่ลับ พระราชา

จึงให้ชนทั้งหลายกลับไปเสีย ลำดับนั้น นางเภรีจึงทูลขอวโรกาสแด่พระราชาว่า

อาตมะจักทูลถามปัญหากะพระองค์ พระราชาตรัสอนุญาตว่า ถามเถิดผู้เป็นเจ้า

ข้าพเจ้ารู้ก็จักกล่าวแก้ ลำดับนั้น นางเภรีปริพาชิกาเมื่อจะทูลถามทกรักขส-

ปัญหา จึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า

ถ้าว่าผีเสื้อน้ำผู้แสวงหาเครื่องเส้นมนุษย์ จับเรือ

ของพระนางสลากเทวีพระราชชนนี พระนางนันทา

เทวีพระมเหสี พระติขิณมนตรีกุมารพระอนุชา ธนุ-

เสขกุมารพระสหาย เกวัฏพราหมณ์ราชปุโรหิตาจารย์

มโหสถบัณฑิต และพระองค์รวม ๗ ซึ่งแล่นอยู่ใน

ทะเล พระองค์จะประทานใครอย่างไรให้เป็นลำดับ

แก่ผีเสื้อน้ำ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺตนฺน ความว่า ของคน ๗ คน

เหล่านั้น คือ พระชนนีของพระองค์ ๑ พระนางนันทาเทวี ๑ ติขิณมนตรีกุมาร

ธนุเสขพระสหาย ๑ ปุโรหิต ๑ มโหสถ ๑ และพระราชา ๑. บทว่า อุทกณฺณเว

ได้แก่ ในน้ำทั้งลึกทั้งกว้าง. บทว่า มนุสฺสพลิเมสาโน ความว่า แสวงหา

เครื่องเส้นด้วยมนุษย์. บทว่า คณฺเหยฺย ความว่า ผีเสื้อน้ำถึงพร้อมด้วย

เรี่ยวแรง โผล่ขึ้นจากน้ำจับเรือนั้นไว้ ก็และครั้น จับแล้วกล่าวว่า ท่านจงให้

ชน ๗ คนเหล่านั้นแก่ข้าพเจ้าตามลำดับ ข้าพเจ้าจะปล่อยท่านไป เมื่อเป็น

อย่างนี้ พระองค์จะจัดลำดับให้อย่างไร. บทว่า มุญฺเจสิ ทกรกฺขโต

ความว่า พึงจัดลำดับคนที่หนึ่งถึงคนที่หกให้อย่างไร.

พระเจ้าจุลนีทรงสดับดังนั้น เมื่อจะทรงสำแดงตามพระราชอัธยาศัย

จึงตรัสคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 551

ข้าพเจ้าจักให้พระมารดาก่อน ให้มเหสี กนิษฐ-

ภาดา แต่นั้นให้สหาย ให้พราหมณ์ปุโรหิตเป็นที่

ให้ตนเองเป็นที่ ๖ ไม่ให้มโหสถแท้ทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉฏฺาห ความว่า เมื่อผีเสื้อน้ำเคี้ยวกิน

พราหมณ์เป็นคนที่ ๕ แล้ว ลำดับนั้นข้าพเจ้าจะกล่าวว่า พ่อผีเสื้อน้ำ จงอ้าปาก

เมื่อมันอ้าปากแล้ว ข้าพเจ้าจะพันรักแร้ให้มั่น ไม่คำนึงถึงสิริราชสมบัติ

กล่าวว่า จงเคี้ยวกินข้าพเจ้าในบัดนี้ แล้วโดดเข้าปากมัน เมื่อข้าพเจ้ายังมีชีวิต

อยู่ จะไม่ให้มโหสถบัณฑิตอย่างแน่นอน.

ปัญหานี้จบด้วยกถามรรคเท่านี้

ความที่พระราชามีพระหฤทัยดีในพระมหาสัตว์ อันปริพาชิการู้แล้ว

ด้วยประการฉะนี้ แต่คุณของมโหสถบัณฑิตได้ปรากฏด้วยกถามรรคเพียงนี้เท่า

นั้นก็หาไม่ เพราะเหตุนั้น ความปริวิตกได้มีแก่นางเภรีว่า เราจะกล่าวคุณของ

เขานั้น ๆ ในท่ามกลางมหาชน พระราชาจักแสดงโทษของเขาเหล่านั้น แล้ว

ทรงสรรเสริญคุณของมโหสถบัณฑิต คุณของมโหสถบัณฑิตก็จักปรากฏ

ดุจดวงจันทร์ในวันเพ็ญลอยเด่นในท้องฟ้าฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้

นางจึงยังมหาชนในเมืองทั้งหมดให้ประชุมกัน แล้วทูลถามปัญหานั้น

นั่นแหละก็พระราชาอีกจำเดิมแต่เบื้องต้น ครั้นพระราชาทรงแสดงอย่างนั้น

แล้ว จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์รับสั่งว่าจักประทานพระชนนีก่อน

ก็ธรรมดาว่ามารดามีคุณูปการมาก พระราชมารดาของพระองค์เช่นกับมารดา

ของชนเหล่าอื่นก็หาไม่ พระราชมารดาของพระองค์มีพระอุปการะมาก เมื่อ

จะแสดงพระคุณแห่งพระราชมารดา จึงได้กล่าวสองคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 552

พระราชชนนีของพระองค์เป็นผู้บำรุงเลี้ยง และ

ให้ประสูติ เป็นผู้อนุเคราะห์ตลอดราตรีนาน พราหมณ์

ชื่อฉัพภิ ประทุษร้ายในพระองค์ พระราชมารดาเป็น

ผู้ฉลาดเห็นประโยชน์เป็นปกติ ทำรูปเปรียบอื่นปลด

เปลื้องพระองค์จากการปลงพระชนม์ พระองค์จะ

ประทานพระชนนีผู้มีพระมนัสคงที่ ประทานพระ-

ชนมชีพ ผู้ให้ทรงเจริญระหว่างพระทรวง ทรงไว้ซึ่ง

พระครรภ์นั้นแก่ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โปเสตา ความว่าง ทรงให้อาบ ให้ดื่ม

ให้บริโภค วันละสองสามครั้ง เลี้ยงดูพระองค์ในเวลายังทรงพระเยาว์. บทว่า

ทีฆรตฺตานุกมฺปิกา ความว่า ทรงอนุเคราะห์ด้วยพระหฤทัยอ่อนตลอด

กาลนาน. บทว่า ฉพฺภิ ตยิ ปฏฺาสิ ความว่า พราหมณ์ชื่อว่าฉัพภิ ประ-

ทุษร้ายในพระองค์ ในกาลใด เมื่อพราหมณ์นั้นประทุษร้ายในพระองค์ พระ

ราชมารดานั้นเป็นผู้ฉลาดเห็นประโยชน์เป็นปกติ ได้ทำรูปอื่นเปรียบรูป

พระองค์ ปลดเปลื้องพระองค์จากการปลงพระชนม์.

ดังได้สดับมาว่า พระชนกของพระเจ้าจุลนี มีพระนามว่า มหาจุลนี

พระนางสลากเทวีเป็นพระมเหสีได้ทำชู้กับพราหมณ์อันมีชื่อว่าฉัพภินั้น ได้ปลง

พระชนม์พระเจ้ามหาจุลนียกราชสมบัติให้พราหมณ์ เป็นมเหสีแห่งพราหมณ์นั้น

ในกาลเมื่อพระเจ้าจุลนียังทรงพระเยาว์ วันหนึ่ง จุลนีราชกุมารทูลว่า ข้าแต่

พระมารดา หม่อมฉันหิว จึงให้ของควรเคี้ยวพร้อมกับน้ำอ้อยแก่พระโอรส

แมลงวันทั้งหลายตอมล้อมพระกุมารนั้น พระกุมารนั้นทรงคิดว่า เราจักเคี้ยว

กินของควรเคี้ยวนี้ไม่ให้มีแมลงวัน จึงเลี่ยงไปหน่อยหนึ่งแล้ว ยังหยาดแห่ง

น้ำอ้อยให้ตกลงยังพื้น แล้วไล่แมลงวันที่สำนักตนให้หนีไป แมลงวันเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 553

ก็พากันไปตอมน้ำอ้อยที่พื้นนั้น ราชกุมารเสวยของควรเคี้ยวไม่ให้มีแมลงวัน

แล้ว ล้างพระหัตถ์ทั้งสองบ้วนพระโอฐแล้วหลีกไป พราหมณ์ได้เห็นกิริยา

แห่งราชกุมารนั้นจึงคิดว่า กุมารนี้กินน้ำอ้อยไม่มีแมลงวันในบัดนี้ เจริญวัย

แล้วจักไม่ให้ราชสมบัติแก่เรา เราจักยังกุมารนั้นให้ตายเสียในเคี้ยวนี้ทีเดียว

พราหมณ์จึงแจ้งเนื้อความนั้นแก่พระนางสลากเทวี พระนางตรัสตอบว่า ดี

แล้ว เทพเจ้า ข้าพระเจ้ายังพระภัสดาของตนให้สิ้นพระชนม์ด้วยความรักใน

พระองค์ ต้องการอะไรด้วยกุมารนี้แก่ข้าพระเจ้า ณ บัดนี้ ข้าพระเจ้าจักมิให้

มหาชนรู้ยังกุมารให้ตายโดยความลับ ตรัสฉะนั้นแล้วลวงพราหมณ์ว่า อุบายนี้

มีอยู่ พระนางสลากเทวีเป็นผู้มีปรีชาฉลาดในอุบาย จึงให้เรียกพ่อครัวมาตรัส

ว่า บุตรของข้าจุลนีกุมารกับบุตรของเจ้าชื่อธนุเสขกุมารเกิดวันเดียวกัน เจริญ

ด้วยกุมารแวดล้อม เป็นสหายที่รักแห่งกัน เดี๋ยวนี้ฉัพภิพราหมณ์ใคร่จะยัง

บุตรของข้าให้ตาย เจ้าจงให้ชีวิตแก่บุตรของข้า ครั้นพ่อครัวทูลว่า ดีแล้ว

พระเทวี แต่ข้าพระองค์จักทำอย่างไร จึงรับสั่งว่า บุตรของข้าจึงอยู่ในเรือน

ของเจ้าทุกวัน เจ้าและบุตรของข้าและบุตรของเจ้าจงนอนในห้องเครื่อง เพื่อ

มิให้ใครสงสัย สิ้นวันเล็กน้อย แต่นั้นรู้ว่าไม่มีใครสงสัยแล้ว วางกระดูกแพะ

ไว้ในที่นอนของเจ้าทั้งสาม แล้วจุดไฟที่ห้องเครื่องในเวลามหาชนหลับ แล้ว

อย่าให้ใครรู้ พาบุตรของข้าและบุตรของเจ้าออกจากประตูน้อยไปนอกแคว้น

อย่าบอกความที่บุตรของข้าเป็นพระราชโอรส แล้วตามรักษาชีวิตบุตรของข้าไว้

พ่อครัวรับพระเสาวนีย์ว่าสาธุ ลำดับนั้น พระนางประทานธนสารแก่พ่อครัว

นั้น พ่อครัวได้ทำอย่างนั้น พาบุตรของตนและพระราชกุมารไปสู่สากลนคร

ในมัททรัฐ แล้วบำรุงพระเจ้ามัททราช พระเจ้ามัททราชให้พ่อครัวคนเก่าออก

ประทานตำแหน่งนั้น แก่พ่อครัวใหม่นั้น แม้กุมารทั้งสองนี้ก็ไปสู่พระราชนิเวศ

กับพ่อครัวนั้น พระราชาตรัสถามว่า กุมารทั้งสองนี้บุตรใคร พ่อครัว

ทูลว่า บุตรของข้าพระองค์ พระเจ้ากรุงสากลนครตรัสว่า หน้าตาไม่เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 554

กันไม่ใช่หรือ พ่อครัวทูลว่า คนละแม่พระเจ้าข้า ครั้นเมื่อกาลล่วงไป ๆ จุลนี

ราชกุมารแลธนุเสขกุมารบุตรพ่อครัวทั้งสองเป็นผู้คุ้นเคยเล่นด้วยกันกับพระ-

ธิดาของพระราชาในพระราชนิเวศน์นั่นเอง ลำดับนั้น จุลนีราชกุมารกับ

นันทาราชธิดาของพระเจ้านัททราชได้เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์กันและกัน เพราะเห็น

กันทุกวัน จุลนีราชกุมารให้ราชธิดานำลูกข่างและเชือกบ่วงมาในสถานที่เล่น

ราชกุมารตีเศียรราชธิดาผู้ไม่นำมา ราชธิดาก็กันแสง ลำดับนั้น พระราชาได้

ทรงฟังเสียงพระธิดา จึงตรัสถามว่า ใครตีธิดาของข้า นางนมทั้งหลายมาถาม

ว่า ใครตีแม่เจ้า นางกุมาริกาคิดว่า ถ้าเราจักบอกว่า ราชกุมารนี้ตีฉัน พระบิดา

ของเราจักลงราชทัณฑ์แก่เธอ คิดฉะนี้จึงไม่ตรัสว่าราชกุมารตี ด้วยความ

เสนหาในราชกุมารนั้น จึงตรัสว่า ใครไม่ได้ตีฉันดอก ลำดับนั้น พระเจ้า-

มัททราชได้ทอดพระเนตรเห็นจุลนีราชกุมารตี ก็เพราะได้ทอดพระเนตรเห็น

เอง ความปริวิตกได้มีแด่พระราชา กุมารนี้ไม่เหมือนพ่อครัว เป็นผู้มีรูปงาม

น่าเลื่อมใส เป็นผู้ไม่สะดุ้งกลัวเกินเปรียบ กุมารนี้ไม่ใช่บุตรพ่อครัว จำเดิม

แต่นั้นมา พระราชาก็ทรงสังเกตกุมารนั้น นางนมทั้งหลายนำของควรเคี้ยว

มาในที่เล่นถวายราชธิดา ราชธิดาก็ประทานแก่เด็กอื่น ๆ เด็กเหล่านั้น คุกเข่า

น้อมตัวลงรับ ฝ่ายจุลนีราชกุมารยืนแย่งเอาจากพระหัตถ์แห่งราชกุมารี แม้

พระราชาก็ได้ทอดพระเนตรเห็นกิริยานั้น ครั้งนั้น ในวันหนึ่ง ลูกข่างของจุลนี

ราชกุมารเข้าไปภายใต้ที่บรรทมน้อยของพระราชา จุลนีราชกุมารเมื่อจะหยิบ

ลูกข่างนั้น เอาไม้เขี่ยออกมาถือเอา ด้วยคิดว่า เราจักไม่เข้าภายใต้ที่บรรทม

แห่งพระราชาในปัจจันตประเทศนี้ ฝ่ายพระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยานั้น

เข้าพระหฤทัยว่า กุมารนี้ไม่ใช่บุตรแห่งพ่อครัวแน่ จึงให้เรียกพ่อครัวมา

ตรัสถามว่า กุมารทั้งสองนี้ บุตรใคร พ่อครัวทูลว่า บุตรของข้าพระองค์ทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 555

สองคน พระเจ้าข้า พระราชาตรัสคุกคามว่า ข้ารู้ว่าบุตรของเจ้าหรือไม่ใช่

บุตรของเจ้า เจ้าจงบอกแต่ความเป็นจริง ถ้าเจ้าไม่บอกความจริง ชีวิตของ

เจ้าจักไม่มี ตรัสฉะนั้นแล้วเงื้อพระแสงขรรค์ พ่อครัวกลัวแต่มรณภัยจึงทูลว่า

ข้าแข้เทพเจ้า ข้าพระองค์ต้องการที่ลับ ครั้นพระราชาประทานโอกาสแล้ว

จึงขอพระราชทานอภัยแล้วทูลตามความเป็นจริง พระราชาทรงทราบตามจริง

แล้ว จึงให้แต่งพระธิดาของพระองค์ประทานให้เป็นบาทบริจาริกาแก่จุลนี

ราชกุมาร.

ก็ในวันที่พ่อครัว จุลนีราชกุมาร และบุตรพ่อครัวหนี โกลาหลเป็น

อันเดียวได้มีในพระนครอุตตรปัญจาละทั้งสิ้นว่า พ่อครัว จุลนีราชกุมาร และ

บุตรพ่อครัว เมื่อไฟไหม้ห้องเครื่อง ได้ไหม้เสียแล้วในภายในด้วยกัน พระ-

นางสลากเทวีทรงทราบประพฤติเหตุนั้น จึงแจ้งแก่พราหมณ์ว่า ข้าแต่เทพเจ้า

ความปรารถนาของพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ได้ยินว่า พ่อครัว จุลนีราชกุมาร

และบุตรพ่อครัวทั้ง ๓ คน ไฟไหม้แล้วในห้องเครื่องนั่นเอง พราหมณ์ยินดี

ร่าเริง ฝ่ายพระนางสลากเทวีให้นำกระดูกแพะมาแสดงแก่พราหมณ์ว่า อัฐิแห่ง

จุลนีกุมาร แล้วให้ทิ้งเสีย นางเภรีประพาชิกาหมายเอาเนื้อความนี้กล่าวในคาถา

ว่า พระราชมารดาทรงทำรูปเปรียบอื่น ปลดเปลื้องพระองค์จากการปลง

พระชนม์ ก็พระราชมารดานันทรงแสดงกระดูกแพะว่ากระดูกมนุษย์ปลดเปลื้อง

พระองค์จากการปลงพระชนม์. บทว่า โอรส ความว่า ผู้ทำพระองค์ไว้ที่.

พระทรวงให้เจริญแล้วนั้น เป็นที่รักเป็นทราโปรดปราน. บทว่า คพฺภธารินึ

ความว่า พระองค์จักประทานพระราชมารดาผู้ทรงพระองค์ไว้ด้วยพระครรภ์

เห็นปานนี้นั้น แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.

พระเจ้าจุลนีพรหมทัตได้ทรงสดับคำนางเภรีปริพาชิกาดังนั้นแล้ว ตรัส

ว่า ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า คุณของพระชนนีของข้าพเจ้ามีมาก และข้าพเจ้าก็รู้ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 556

ที่พระชนนีมีอุปการะแก่ข้าพเจ้า แต่คุณของข้าพเจ้านี่แหละมีมากกว่านั้น เมื่อ

จะทรงพรรณนาโทษของพระมารดา จึงตรัสคาถา ๒ คาถาว่า

พระมารดาทรงชราแล้วก็ทำเป็นสาว ทรง

เครื่องประดับซึ่งไม่ควรประดับ ตรัสซิกซี้สรวลเส

เฮฮากะพวกรักษาประตูและพวกฝึกหัดม้าจนเกินเวลา

ยิ่งกว่านั้นพระมารดายังสั่งทูตถึงพวกเจ้าผู้ครองนคร

เสียเอง ข้าพเจ้าจึงให้พระชนนี แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษ

นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทหรา วิย ความว่า แม้ทรงชราแล้ว

ก็ยังทรงเครื่องประดับ คือแต่งพระองค์เหมือนคนสาว. บทว่า อปิลนฺธน

ได้แก่ ไม่ควรประดับ ได้ยินว่า พระนางสลากเทวีนั้นทรงประดับสายรัดเอว

ทองเต็มไปด้วยเพชร ทรงดำเนินไป ๆ มา ๆ ในเวลาที่พระราชาประทับ ณ

มหาปราสาทกับเหล่าอมาตย์ ทั่วพระราชนิเวศน์ได้ดังก้องเป็นอันเดี่ยวกันด้วย

เสียงของสายรัดเอว. บทว่า ปชคฺฆติ ความว่า ทรงเรียกพวกคนเฝ้าประตู

และพวกฝึกช้างฝึกม้าเป็นต้น ซึ่งเป็นผู้ไม่สมควรจะบริโภคแม้อาหารอันเป็น

เดนของพระนางมาสรวลเสเฮฮากับพวกเหล่นั้นจนเกินเวลา. บทว่า ปฏิรา-

ชาน ได้แก่ พวกเจ้าครองนคร. บทว่า สย ทูตานิ สาสติ ความว่า

ทรงพระอักษรเองว่าเป็นคำของข้าพเจ้าแล้วส่งทูตไปว่า พระชนนีของเราตั้ง

อยู่ในวัยที่บุคคลควรใคร่ เจ้านั้น ๆ จงมานำพระชนนีไป พวกเจ้าครองนคร

เหล่านั้นส่งราชสาสน์ตอบมาว่า พวกข้าพระองค์เป็นอุปัฏฐากของพระองค์

เหตุไรพระองค์จึงตรัสแก่พวกข้าพระองค์อย่างนี้ เมื่อเขาอ่านราชสาสน์นั้น ๆ

ในท่านกลางที่ประชุม ได้เป็นเหมือนเวลาที่ตัดเศียรของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจัก

ให้พระชนนีนั้นแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 557

นางเภรีได้ฟังพระราชดำรัสแล้วจึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์

จะประทานพระราชมารดาด้วยโทษนี้ก็สมควร แต่พระมเหสีของพระองค์เป็นผู้

มีพระคุณ เมื่อจะพรรณนาคุณของพระนางนันทาเทวีมเหสีนั้น ได้กล่าวคาถา

๒ คาถาว่า

พระนางนันทาเทวีเป็นพระมเหสีผู้ประเสริฐกว่า

หมู่บริจาริกานารี มีพระเสาวนีย์เป็นที่รักเหลือเกิน

เป็นผู้ประพฤติตามที่ชอบ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้ตามเสด็จ

ประดุจพระฉายา ไม่ทรงพิโรธง่าย ๆ เป็นผู้มีบุญ

เป็นบัณฑิต เห็นประโยชน์ พระองค์จักประทานพระ-

ราชเทวีแก่ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺถีคุมฺพสฺส ได้แก่ หมู่สตรี. บทว่า

อนุพฺพตา ความว่า จำเดิมแต่เวลาทรงพระเยาว์ เป็นผู้ประพฤติตามที่ชอบ

คือไปตามที่ควร เป็นผู้มีศีล เป็นผู้ตามเสด็จประดุจพระฉายา ก็นางเภรี

ปริพาชิกาเมื่อจะกล่าวคุณของพระนางนันทาเทวีนั้น โดยบทว่า อกฺโกธน

เป็นต้น จึงกล่าวคำนี้ว่า ในเวลาประทับอยู่ในสากลนครในมัททรัฐ พระนาง

นันทาเทวีแม้ถูกพระองค์ตี ก็ไม่ทูลฟ้องพระชนกชนนีด้วยความเสน่หาใน

พระองค์ เพราะกลัวจะลงอาญาพระองค์ พระนางนั้นเป็นผู้ไม่โกรธ มีบุญ

เป็นบัณฑิต เห็นประโยชน์อย่างนี้ ดังนี้ หมายเอาความไม่โกรธเป็นต้นใน

เวลาที่ยังทรงพระเยาว์. บทว่า อุพฺพรึ ได้แก่ พระมเหสี นางเภรีกล่าวว่า

พระองค์จักประทานพระนางนันทาเทวีผู้สมบูรณ์ด้วยคุณอย่างนี้ แก่ผีเสื้อน้ำ

ด้วยโทษอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 558

พระเจ้าจุลนีเมื่อจะทรงแสดงโทษของพระนางนันทาเทวีผู้มเหสีนั้น

ได้ตรัสคาถานี้ว่า

พระนางนันทาเทวีนั้นรู้ว่าข้าพเจ้าถึงพร้อมด้วย

ความยินดีในการเล่น ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลสผู้ทำ

ความพินาศ ก็ขอทรัพย์คือเครื่องประดับที่ข้าพเจ้าให้

แก่บุตรธิดาและชายาอื่น ๆ ซึ่งไม่ควรขอกะข้าพเจ้า

ข้าพเจ้านั้นมีความกำหนัดนักแล้ว ก็ให้ทรัพย์คือเครื่อง

ประดับทั้งประณีตทั้งทรามเป็นอันมาก ครั้นสละสิ่งที่

ไม่ควรสละแล้ว ภายหลังก็เศร้าโศกเสียใจ ข้าพเจ้า

ให้พระราชเทวีแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนตฺถวสมาคต/B> ความว่า รู้ว่าข้าพเจ้า

ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสที่ทำความพินาศ เพราะความยินดีในการเล่น คือ

กามกีฬานั้น. บทว่า สา ม ความว่า พระนางนันทาเทวีนั้นรู้ข้าพเจ้า. บทว่า

สกาน ปุตฺตาน ความว่า เครื่องประดับอันใดที่ข้าพเจ้าให้แก่บุตรธิดาและ

ภรรยาทั้งหลายของข้าพเจ้า นางขอเครื่องประดับอันนั้น ซึ่งไม่ควรจะขอ ว่า

จงให้แก่หม่อมฉัน. บทว่า ปจฺฉา โสจานิ ความว่า ในวันที่สอง พระนาง

กล่าวกะบุตรเป็นต้นของข้าพเจ้าว่า เครื่องประดับเหล่านี้ พระราชาประทานแก่

เราแล้ว ท่านทั้งหลายจงนำมาให้เรา ดังนี้ เมื่อบุตรเป็นต้นของข้าพเจ้าร้องไห้

อยู่ ก็เปลื้องเอาไป ต่อมาข้าพเจ้าเห็นบุตรเป็นต้นเหล่านั้นร้องไห้มาหาข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าก็เศร้าโศกภายหลัง พระนางนันทาเทวีนี้ทำโทษอย่างนี้ ข้าพเจ้าให้นาง

แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 559

ลำดับนั้น ปริพาชิกาเภรีเมื่อจะทูลถามพระเจ้าจุลนีว่า พระองค์จะ

ประทานพระมเหสีด้วยโทษนี้ก็สมควร แต่ติขิณกุมารพระกนิษฐภาดา มีอุปการะ

แด่พระองค์ พระองค์จักประทานเขาด้วยโทษอะไร ดังนี้ จึงกล่าวคาถาว่า

พระกนิษฐภาดาผู้มีพระนามว่าติขิณราชกุมารยัง

ชนบทให้เจริญ เชิญเสด็จพระองค์ผู้ประทับอยู่ ณ

สากลนครให้กลับมาสู่ราชธานีนี้ ทรงอันเคราะห์

พระองค์ครอบงำพระราชาทั้งหลายเสีย นำทรัพย์เป็น

อันมากมาแต่ราชสมบัติอื่น เป็นผู้ประเสริฐกว่านาย

ขมังธนูทั้งหลาย ทรงกล้าหาญกว่าผู้มีความคิดหลัก-

แหลมทั้งหลาย พระองค์จักประทานพระกนิษฐภาดา

แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยโนจิตา ได้แก่ ที่ให้เจริญแล้ว. บทว่า

ปฏิคฺคห ความว่า และที่นำพระองค์ผู้ประทับอยู่ในประเทศอื่น กลับมาสู่

พระราชมณเฑียร. บทว่า อภิฏฺาย ได้แก่ ครอบงำแล้ว. บทว่า ติขิณฺ-

มนฺติน ได้แก่ ผู้มีปัญญาแหลมคม.

ได้ยินว่า ติขิณราชกุมารนั้น ประสูติในกาลเมื่อพระราชมารดาอยู่ร่วม

กับพราหมณ์ เมื่อพระราชกุมารทรงเจริญแล้ว พราหมณ์ได้ให้พระแสงขรรค์

สั่งว่า เจ้าจงถือพระแสงขรรค์นี้เข้าหาข้าได้ พระราชกุมารนั้นก็บำรุงพราหมณ์

ด้วยสำคัญว่าเป็นพระชนกของตน ลำดับนั้น อมาตย์คนหนึ่งได้ทูลพระราช-

กุมารว่า ข้าแต่พระราชกุมาร พระองค์มิใช่เป็นพระโอรสแห่งพราหมณ์นี้ ใน

เวลาเมื่อพระองค์ยังอยู่ในพระครรภ์ พระนางสลากเทวีผู้เป็นพระราชมารดาให้

ปลงพระชนม์พระราชบิดาเสีย แล้วมอบราชสมบัติแก่พราหมณ์นี้ พระองค์

เป็นพระราชโอรสแห่งพระเจ้ามหาจุลนี พระราชกุมารได้สดับประพฤติเหตุนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 560

ก็กริ้ว ดำริว่า ช่างเถิด เราจักฆ่าพราหมณ์นั้นเสียด้วยอุบายอย่างหนึ่ง แล้ว

เข้าไปสู่ราชสำนัก ประทานพระแสงขรรค์แก่มหาดเล็กใกล้ชิดคนหนึ่ง แล้ว

ตรัสกะมหาดเล็กอีกคนหนึ่งว่า เจ้าจงยืนอยู่แทบประตูพระราชนิเวศน์ กล่าวกะ

มหาดเล็กที่ถือพระขรรค์นั้นว่า นั่นพระขรรค์ของเรา แล้วพึงก่อวิวาทกับ

มหาดเล็กคนนั้น ตรัสสั่งฉะนี้แล้วเสด็จเข้าข้างใน มหาดเล็กทั้งสองนั้นได้

ทะเลาะกัน พระราชกุมารส่งบุรุษคนหนึ่งไปเพื่อให้รู้ว่า นั่นทะเลาะอะไรกัน

บุรุษนั้นมาทูลว่า ทะเลาะกันด้วยต้องการพระขรรค์ลำดับนั้น พราหมณ์ได้ฟัง

ดังนั้นจึงถามพระราชกุมารว่า เรื่องเป็นอย่างไร พระราชกุมารกล่าวว่า ได้ยิน

ว่า พระขรรค์ที่พระองค์ประทานแก่หม่อมฉัน เป็นของคนอื่น พราหมณ์

กล่าวว่า พูดอะไรพ่อ ถ้าอย่างนั้น จงให้เขานำมา ฉันจำพระขรรค์นั้น ได้

พระราชกุมารให้นำพระขรรค์นั้นมาแล้วชักออกจากฝัก ทำเป็นให้จำได้ด้วย

คำว่า เชิญทอดพระเนตรเถิด เข้าไปใกล้พราหมณ์นั้นแล้วตัดศีรษะพราหมณ์

นั้น ให้ตกลงแทบพระบาทของคนด้วยการฟันฉับเดียวเท่านั้น ต่อแต่นั้น เมื่อ

นำศพพราหมณ์ออกจากพระราชนิเวศน์ แล้วได้จัดแต่งพระราชนิเวศน์ตกแต่ง

พระนครอภิเษกพระราชกุมารนั้น พระชนนีแจ้งว่าจุลนีราชกุมารอยู่ในมัททรัฐ

พระราชกุมารทรงสดับดังนั้น แวดล้อมด้วยเสนางคนิกรเสด็จมัททรัฐ นำ

พระเชษฐาธิราชมาให้ครองราชสมบัติ จำเดิมแต่นั้นมา ชนทั้งหลายก็รู้จัก

พระองค์ว่า ติขิณมนตรี ปริพาชิกาทูลถามว่า พระองค์จะประทานพระกนิษฐ-

ภาดาเห็นปานนี้นั้นแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.

พระราชาเมื่อจะตรัสโทษของติขิณกุมารนั้น ตรัสว่า

ติขิณราชกุมารยังชนบทให้เจริญ เชิญเราผู้อยู่

ณ สากลนครให้กลับมาสู่ราชธานีนี้อนุเคราะห์เรา

ครอบงำพระราชาทั้งหลายเสีย นำทรัพย์เป็นอันมาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 561

มาแต่ราชสมบัติอื่น เป็นผู้ประเสริฐกว่านายขมังธนู

ทั้งหลาย กล้าหาญ มีความคิดหลักแหลม แต่เธอคุย

เสมอว่า พระราชาองค์นี้มีความสุขเพราะข้าพเจ้า เธอ

สำคัญว่าฉันเป็นเด็กไป ในคราวที่มาเฝ้าเล่านะ

พระแม่เจ้า เธอไม่มาเหมือนแต่ก่อน ข้าพเจ้าจึงให้

พระกนิษฐภาดาแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรรชฺเชภิ ความว่า ติขิณราชกุมาร

คุยเสมอว่า เรานำทรัพย์เป็นอันมากมาแต่ราชสมบัติอื่นถวายแก่พระราชานี้

และเมื่อพระองค์เองประทับอยู่ในราชสมบัติอื่น เราก็นำกลับมาสู่ราชธานีนี้

เราได้ประดิษฐานพระราชานี้ไว้ในยศอันยิ่งใหญ่. บทว่า ยถาปุเร ความว่า

เมื่อก่อน เธอมาเฝ้าแต่เช้าทีเดียว แต่บัดนี้ เธอไม่มาเหมือนอย่างนั้น ข้าพเจ้า

ให้เธอแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.

ปริพาชิกาทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โทษของพระกนิษฐภาดาจง

ยกไว้ก่อน แต่ธนุเสขกุมารประกอบด้วยคุณมีความเสน่หาในพระองค์ เป็นผู้

มีอุปการะมาก เมื่อจะกล่าวคุณของธนุเสขกุมาร จึงทูลว่า

พระองค์และธนุเสขเกิดในราตรีเดียวกัน ทั้งสอง

เป็นชาวปัญจาละเกิดในพระนครนี้ เป็นสหายมีวัย

เสมอกัน มีจริยางามติดตามพระองค์ไปร่วมสุขร่วม

ทุกข์กับพระองค์ ขยันขันแข็งในกิจทั้งปวงของ

พระองค์ทั้งกลางวันและกลางคืน จงรักภักดีพระองค์

จะให้พระสหายแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 562

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนุเสขวา ความว่า ชื่อว่า ธนุเสขกุมาร

เพราะเป็นผู้ศึกษาธนุศิลป์. บทว่า เอตฺถ ได้แก่ ในพระนครนี้แหละ.

บทว่า ปญฺจาลา ความว่า ที่เรียกอย่างนี้ เพราะเกิดขึ้นอุตตรปัญจาลนคร.

บทว่า สุสมาวยา ได้แก่ มีวัยเสมอกันด้วยดี. บทว่า จริยา ต อนุพนฺ-

ธิตฺโถ ความว่า ได้ติดตามพระองค์ผู้หลีกไปเที่ยวตามชนบทในเวลายังทรง

พระเยาว์ เหมือนอะไร เหมือนเงาไม่ละพระองค์. บทว่า อุสฺสุกฺโก เต

ความว่า ขยันขันแข็ง คือเกิดความพอใจในกิจทั้งหลายของพระองค์ทั้งกลางคืน

และกลางวัน จงรักภักดีเป็นนิจ พระองค์จะให้พระสหายนั้นแก่ผีเสื้อน้ำด้วย

โทษอะไร.

ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนีเมื่อจะกล่าวโทษของธนุเสขกุมารนั้น ตรัสว่า

ข้าแต่แม่เจ้า ธนูเสขนี้ประพฤติกระซิกกระซี้

ตีเสมอข้าพเจ้า แม้วันนี้ก็หัวเราะดังเกินขอบเขตแบบ

นั้น ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าอยู่ในที่รโหฐาน ปรึกษากับ

พระเทวีของข้าพเจ้าอยู่ ไม่ได้เรียกหาก็เข้าไปและไม่

แจ้งให้ทราบก่อน เขาได้พรจากข้าพเจ้าให้เข้าพบได้

ทุกที่ทุกเวลา แต่สหายไม่มีความยำเกรงไม่มีความ

เอื้อเฟื้อเลย ข้าพเจ้าให้แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺชาปิ เตน วณฺเณน ความว่า

สหายธนุเสขนี้ เมื่อก่อนเที่ยวติดตามข้าพเจ้า ร่วมกินร่วมนอนกับ ข้าพเจ้ายาม

ตกยาก ตบมือหัวเราะลั่น ฉันใด แม้วันนี้สหายธนูเสขก็หัวเราะฉันนั้นแหละ

ยังแลดูข้าพเจ้าเหมือนเวลาตกยาก. บทว่า อนามนฺโต ความว่า เมื่อข้าพเจ้า

ปรึกษาอยู่กับพระนางนันทาเทวีในที่ลับ เขาไม่ขออนุญาตดูก่อน พรวดพราด

เข้าไป ข้าพเจ้าให้เขาผู้ไม่มีความยำเกรงไม่มีความเอื้อเฟื้อแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 563

ลำดับนั้น ปริพาชิกาทูลพระเจ้าจุลนีว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โทษ

ของพระสหายธนุเสขนี้ยกไว้ก่อน แต่ปุโรหิตเกวัฏเป็นผู้มีอุปการะแก่พระองค์

มาก เมื่อจะกล่าวคุณของปุโรหิตนั้น ทูลว่า

ท่านเกวัฏปุโรหิตาจารย์เป็นผู้ฉลาดในนิมิต

ทั้งปวง รู้เสียงร้องของสัตว์ทั้งหลายเชี่ยวชาญในคัมภีร์

พระเวท รอบรู้ในเรื่องอุบาท เรื่องสุบิน มีความ

ชำนาญในการหาฤกษ์ยกทัพและการเข้ารบ เป็นผู้บอก

ฤกษ์ล่างฤกษ์บน ฉลาดในทางแห่งดาวฤกษ์ พระองค์

ให้พราหมณ์ปุโรหิตแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพนิมิตฺตาน ความว่า เป็นผู้ฉลาด

ในนิมิตทั้งปวงอย่างนี้ว่า ด้วยนิมิตนี้สิ่งนี้จักมี ด้วยนิมิตนี้สิ่งนี้จักมี. บทว่า

รุทญฺญู ความว่า รู้เสียงร้องของสัตว์ทั้งปวง. บทว่า อุปฺปาเท ได้แก่

เรื่องอุบาทมีจันทรคราสสุริยคราส อุกกาบาตและลำพู่กันเป็นต้น. บทว่า

สุปิเน ยุตฺโต ความว่า รอบรู้ในเรื่องสุบินว่าฝันเช่นนี้จะเป็นอย่างนั้น. บทว่า

นิยฺยาเน จ ปเวสเน ความว่า รู้ว่า โดยนักษัตรนี้พึงยกทัพ โดยนักษัตรนี้

พึงเข้ารบ. บทว่า ปโ ภุมฺมนฺตลิกฺขสฺมึ ความว่า เป็นผู้ฉลาด คือ

สามารถ ได้แก่สามารถรู้โทษและคุณในพื้นดินและในอากาศ. บทว่า นกฺขตฺต-

ปทโกวิโท ความว่า เป็นผู้ฉลาดในส่วนแห่งนักษัตร ๒๘ พระองค์ให้เกวัฏ

ปุโรหิตนั้นแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.

พระราชาเมื่อจะตรัสโทษของเกวัฏปุโรหิตนั้น ตรัสว่า

ข้าแต่แม่เจ้า เกวัฏปุโรหิต แม้ในที่ประชุมก็

เลิกคิ้วแลดูข้าพเจ้า เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงให้นาย-

พรานผู้เลิกคิ้วแก่ผีเสื้อน้ำเสีย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 564

เนื้อความของคาถานั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า ปุโรหิตเกวัฏนี้เมื่อแลดู

ข้าพเจ้าในท่ามกลางบริษัท ก็ลืมตาแลดูเหมือนคนโกรธ เพราะฉะนั้นข้าพเจ้า

จึงให้นายพรานคือนักล่าสัตว์ผู้ทำเป็นเลิกคิ้ว เพราะโทษที่เลิกคิ้วนั้นแก่ผีเสื้อน้ำ.

ต่อนั้น ปริพาชิกาเมื่อจะทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์

ตรัสว่าจักให้ชน ๕ คนเหล่านั้นมีพระราชมารดาเป็นต้นแก่ผีเสื้อน้ำ และตรัสว่า

จักประทานชีวิตของพระองค์แก่มโหสถบัณฑิต โดยไม่คำนึงถึงสิริราชสมบัติ

เห็นปานนี้ พระองค์ทรงเห็นคุณของมโหสถบัณฑิตนั้นอย่างไร ดังนี้ จึงกล่าว

คาถาเหล่านั้นว่า

พระองค์ทรงปกครองแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพ-

ศาลมีสมุทรเป็นขอบเขตทุกด้าน พสุธาที่เป็นพระราช

อาณาเขต เป็นประหนึ่งกุณฑลที่อยู่ในสาคร ทรงมี

อมาตย์แวดล้อมเป็นที่เฉลิมพระราชอิสริยยศ ทรงมี

บ้านเมืองแว่นแคว้นใหญ่จดสี่คาบสมุทร ทรงพิชิตชมพู

ทวีปได้แล้ว ทั้งรี้พลของพระองค์เล่า ก็มากถึง ๑๘

กองทัพ พระองค์ทรงเป็นพระราชาเอกแห่งปฐพี

พระราชอิสริยยศของพระองค์ถึงความไพบูลย์ เหล่า

นารีของพระองค์ก็มีถึง ๑๖,๐๐๐ นาง ล้วนสำอางแต่ง

องค์ทรงเครื่องเรื่องระยับ มาจากชนบทต่าง ๆ ทั่ว

ชมพูทวีป ทรงสิริโสภาคย์เปรียบด้วยเทพกัญญา

พระชนมชีพของพระองค์เพรียบพร้อมด้วยองค์ ประ-

กอบแห่งความสุขอย่างครบครั้น ทุกสิ่งทุกอย่างใน

แผ่นดิน แม้พระองค์มีพระราชประสงค์ ก็จะสำเร็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 565

สมพระหฤทัยปรารถนาทุกประการ น่าที่พระองค์จะ

ตรัสว่าต้องการจะมีพระชนม์อยู่ยาวนาน ตามคติชีวิต

ที่นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า คนที่มีความสุขทั่ว ๆ

ไป ล้วนต้องการจะมีชีวิตอยู่นาน ๆ ชีวิตเป็นที่รักยิ่ง

นักของตนที่มีความสุข เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ทรง

ป้องกันมโหสถบัณฑิตไว้ ทรงสละพระชนม์ของพระ-

องค์ซึ่งเป็นสิ่งสละได้ยากด้วยเหตุอันใด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสมุทฺทปริสาส ได้แก่ ประกอบด้วย

เครื่องแวดล้อม คือสมุทร กล่าวคือมีสมุทรเป็นคู. บทว่า สาครกุณฺฑล

ความว่า เป็นกุณฑลแห่งสาครที่ตั้งแวดล้อมแผ่นดินนั้น. บทว่า วิชิตาวี

ได้แก่ ทรงพิชิตสงคราม. บทว่า เอกราชา ความว่า เป็นพระราชาเอก

ทีเดียว เพราะไม่มีพระราชาอื่นที่เช่นกับพระองค์. บทว่า สพฺพกามสมิทฺธิน

ความว่า ประกอบด้วยความสำเร็จแห่งวัตถุกามและกิเลสกามแม้ทุกอย่าง.

บทว่า สุขิตาน ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เหล่าสัตว์ที่มีความสุข

เห็นปานนี้ ย่อมปรารถนาชีวิตที่สมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทุกอย่างอย่างนี้

อันเป็นที่รักให้อยู่นาน ๆ ไม่ต้องการชีวิตความเป็นอยู่น้อยเลย. บทว่า ปาณ

ความว่า พระองค์ทรงป้องกันมโหสถบัณฑิต สละชีวิตของพระองค์เห็นปานนี้

เพราะเหตุไร.

ข้าแต่แม่เจ้า มโหสถบัณฑิตแม้จะมาจากบ้าน

เมืองอื่น ก็มาด้วยมุ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้า

ยังไม่ทราบถึงความชั่ว แม้สักน้อยของมโหสถผู้เป็น

ปราชญ์เลย ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะต้องตายไปก่อนใน

กาลไหน ๆ ก็ตามเถิด มโหสถก็พึงยังลูกและหลาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 566

ของข้าพเจ้าให้มีความสุข มโหสถย่อมเห็นแจ่มแจ้ง

ซึ่งความเจริญทุกอย่างทั้งอนาคตและปัจจุบัน ข้าพเจ้า

ไม่ยอมให้มโหสถบัณฑิตผู้ไม่มีความผิดเลยแก่ผีเสื้อ

น้ำ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมฺหิจิ กาเล แปลว่า ในกาลไหน ๆ

บทว่า สุขาเปยฺย ความว่า พึงให้ตั้งอยู่ในความสุขทีเดียว. บทว่า สพฺพมตฺถ

ความว่า มโหสถย่อมเห็นแจ่มแจ้งซึ่งความเจริญทุกอย่างทั้งอนาคตและปัจจุบัน

หรืออดีต ราวกะพระพุทธเจ้าผู้สัพพัญญู. บทว่า อนาปราธกมฺมนฺต

ความว่า เว้นจากความผิดทางกายกรรมเป็นต้น. บทว่า น ทชฺช ความว่า

ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าจักไม่ให้บัณฑิตผู้มีธุระไม่มีใครเสมอเหมือนอย่างนี้ แก่

ผีเสื้อน้ำ.

พระเจ้าจุลนีทรงยกเกียรติคุณของพระมหาสัตว์ขึ้นประกาศ ประหนึ่ง

ทรงยกดวงจันทร์ขึ้นฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้ ชาดกนี้มีเนื้อความคิดต่อกัน

ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น นางเภรีปริพาชิกาคิดว่า เกียรติคุณของมโหสถบัณฑิต

ปรากฏเพียงเท่านี้ ยังไม่เพียงพอ เราจักกระทำเกียรติคุณของมโหสถบัณฑิต

ให้ปรากฏในท่ามกลางชาวเมืองทั้งสิ้นทีเดียว ให้เป็นประหนึ่งว่ารดน้ำมันลง

บนผิวแม่น้ำแผ่ขยายไปฉะนั้น คิดฉะนี้แล้วจึงเชิญพระเจ้าจุลนีลงจากปราสาท

ให้ปูลาดอาสนะพระลานหลวงนั่งบนอาสนะนั้นแล้ว ประกาศให้ชาวเมืองมา

ประชุมกัน แล้วทูลถามพระเจ้าจุลนีถึงปัญหาผีเสื้อน้ำ ตั้งแต่ต้นอีกในเวลาที่

พระเจ้าจุลนีตรัสโดยนัยที่ตรัสแล้วในหนหลัง นางเภรีปริพาชิกาได้กล่าวประ-

กาศแก่ชาวเมืองว่า

ชาวปัญจาละทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงพึงพระ-

ดำรัสของพระเจ้าจุลนีนี้ พระองค์ทรงปกป้องมโหสถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 567

บัณฑิตสละพระชนม์ซึ่งสละได้ยาก พระเจ้าปัญจาละ

ทรงสละชีวิตของพระชนนี พระมเหสี พระกนิษฐ-

ภาดา พระสหาย และพราหมณ์เกวัฏ และแม่ของ

พระองค์เอง เป็น ๖ คนด้วยกัน ปัญญามีประโยชน์

ใหญ่หลวงเป็นสิ่งละเอียด เป็นเหตุให้คนเรามีความ

คิดในทางที่ดี ย่อมมีเพอประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน

และเพื่อความสุขในภายหน้า ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหตฺถิยา ความว่า ถือเอาประโยชน์

ใหญ่ตั้งอยู่. บทว่า ทิฏธมฺมหิตตฺหาย ความว่า ย่อมมีเพื่อประโยชน์

เกื้อกูลในอัตภาพนี้ทีเดียว และเพื่อประโยชน์สุขในปรโลก.

นางเภรีปริพาชิกาถือเอายอดธรรมเทศนาด้วยคุณทั้งหลายของพระ-

มหาสัตว์ ดุจถือเอายอดเรือนแก้วด้วยดวงแก้วมณีฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.

จบ ปัญหาผีเสื้อน้ำ

จบอรรถกถามหาอุมมังคชาดกโดยประการทั้งปวง

พระศาสดาครั้น ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงด้วยประการฉะนี้

แล้ว เมื่อทรงประกาศอริยสัจ ๔ ประชุมชาดก ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น ที่ตถาคตมีปัญญาย่ำยีวาทะของผู้อื่น แม้ในอดีตกาลเมื่อ

ญาณยังไม่แก่กล้า ตถาคตยังบำเพ็ญจิริยาเพื่อประโยชน์โพธิญาณอยู่ ก็มีปัญญา

เหมือนกัน ตรัสฉะนี้แล้วได้ตรัสคาถาเหล่านั้นว่า

เสนกบัณฑิตในครั้งนั้น คือกัสสปภิกษุในบัดนี้

กามินทะคือ อัมพัฏฐภิกษุ

ปุกกุสะคือ โปฏฐปาทภิกษุ

ปัญจาลจันทกุมารคือ อนุรุทธภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 568

เทวินทะ คือโสณทัณฑกภิกษุ

พราหมณ์เกวัฏ คือเทวทัตภิกษุ

พระนางสลากเทวี คือถูลนันทิกาภิกษุณี

พราหมณ์อนุเกวัฏ คือโมคคัลลานภิกษุ

พระนางปัญจาลจันที คือสุนทรีภิกษุณี

นางนกสาริกา คือพระนางมัลลิกาเทวี

พระนางอูทุมพรเทวี คือโคดมภิกษุณี

พระเจ้าวิเทหราช คือกาฬุทายีภิกษุ

นางเภรีปริพาชิกา คืออุบลวรรณาภิกษุณี

คฤหบดีผู้บิดา คือพระเจ้าสุทโธทนมหาราช

คฤหปตานีผู้มารดา คือพระสิริมหามายา

นางอมรา คือพระพิมพาผู้เลอโฉม

ติขิณกุมาร คือฉันนภิกษุ

ธนุเสข คือราหุลภิกษุ

นกสุวบัณฑิต คืออานนทภิกษุ

พระเจ้าจุลนี คือสารีบุตรภิกษุ

มโหสถบัณฑิต คือเราผู้โลกนาถ

เธอทั้งหลายจงทรงจำชาดกไว้อย่างนี้แล.

จบ มโหสถชาดกบัณฑิต

รวมชาดกที่มีในเล่มนี้ คือ

๑. เตมิยชาดก ๒. มหาชนกชาดก ๓. สุวรรณสามชาดก ๔. เนมิ-

ราชชาดก ๕. มโหสถชาดก และอรรถกถา.