พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ชาดก
เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๗
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
วีสตินิบาตชาดก
๑. มาตังคชาดก
ว่าด้วยอานุภาพของมาตังคฤๅษี
[๒๐๓๓] ท่านมีปกตินุ่งห่มไม่สมควร ดุจปีศาจ
เปรอะเปื้อนด้วยฝุ่นละออง สวมใส่ผ้าขี้ริ้ว ที่ได้จาก
กองขยะไว้ที่คอ มาจากไหน ท่านเป็นใคร เป็นผู้
ไม่ควรแก่ทักษิณาทานเลย.
[๒๐๓๔] ข้าวน้ำนี้จัดไว้เพื่อท่านผู้เรืองยศ
พราหมณ์ทั้งหลายย่อมขบเคี้ยวบริโภค และดื่มข้าวน้ำ
ของท่านนั้น ท่านรู้จักข้าพเจ้าว่า เป็นผู้อาศัยโภชนะ
ที่ผู้อื่นให้เลี้ยงชีวิต แม้ถึงจะเป็นคนจัณฑาล ก็ขอจง
ได้ก้อนข้าวบ้างเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 2
[๒๐๓๕] ข้าวน้ำของเรานี้เราจัดไว้เพื่อพราหมณ์
ทั้งหลาย ทานวัตถุนี้ เราเชื่อว่าย่อมเป็นไปเพื่อประ-
โยชน์แก่ตน ท่านจงหลีกไปเสียจากที่นี่ จะมายืนอยู่
ที่นี่เพื่ออะไร เจ้าคนเลว คนอย่างเราย่อมไม่ให้ทาน
แก่เจ้า.
[๒๐๓๖] ชาวนาทั้งหลายเมื่อหวังผลในข้าวกล้า
ย่อมหว่านพืชพันธุ์อาหาร ลงในที่ดอนบ้าง ในที่
ลุ่มบ้าง ในที่เสมอไม่ลุ่มไม่ดอนบ้าง ฉันใด ท่านจง
ให้ทานแก่ปฏิคาหกทั้งหลาย ทั่วไปด้วยศรัทธา ฉันนั้น
เมื่อท่านให้ทานอยู่อย่างนี้ ไฉนจะพึงได้ทักขิเณยย-
บุคคล ที่น่ายินดีเล่า.
[๒๐๓๗] เราย่อมตั้งไว้ซึ่งพืชทั้งหลาย ในเขต
เหล่าใด เขตเหล่านั้น เรารู้แจ้งแล้วในโลก พราหมณ์
เหล่าใดสมบูรณ์ด้วยชาติและมนต์ พราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าเป็นเขต มีศีลเป็นที่รักในโลกนี้.
[๒๐๓๘] กิเลสทั้งหลายเหล่านี้คือ ชาติมทะ
ความเมาเพราะชาติ ๑ อติมานะ ความดูหมิ่นท่าน ๑
โลภะ ความโลภอยากได้ของเขา ๑ โทสะ ความคิดประ-
ทุษร้าย๑มทะ ความประมาทมัวเมา ๑โมหะ ความหลง
๑ ทั้งหมดเป็นโทษ มิใช่คุณ ย่อมมีในเขตเหล่าใด
เขตเหล่านั้น ไม่ใช่เขตอันดีมีศีลเป็นที่รัก ในโลกนี้.
กิเลสทั้งหลายเหล่านี้คือ ชาติมทะ อติมานะ โลภะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 3
โทสะ มทะ และโมหะ ทั้งหมดเป็นโทษมิใช่คุณไม่มี
ในเขตเหล่าใด เขตเหล่านั้น จัดว่าเป็นเขตดีมีศีลเป็นที่
รักในโลกนี้.
[๒๐๓๙] คนเฝ้าประตูทั้งสาม คือ อุปโชติยะ
อุปวัชฌะ และภัณฑกุจฉิ ไปไหนกันเสียหมดเล่า
ท่านทั้งหลายจงลงอาญาและเฆี่ยนตีคนจัณฑาลนี้ แล้ว
ลากคอคนลามกนี้ไสหัวไปให้พ้น.
[๒๐๔๐] ผู้ใดบริภาษฤาษี ผู้นั้นชื่อว่าขุดภูเขา
ด้วยเล็บ ชื่อว่าเคี้ยวกินก้อนเหล็กด้วยฟัน ชื่อว่าพยา-
ยามกลืนกินไฟ.
[๒๐๔๑] มาตังคฤาษี ผู้มีสัจจะเป็นเครื่องก้าว
ไปในเบื้องหน้าเป็นสภาพ ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว
เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายแลดูอยู่ได้เหาะหลีกผ่านไปใน
อากาศ.
[๒๐๔๒] ศีรษะของลูกเรา บิดกลับไปอยู่เบื้อง
หลัง แขนเหยียดตรงไปไม่ไหวติง นัยน์ตาขาวเหมือน
คนตาย ใครมาทำบุตรของเราให้เป็นอย่างนี้.
[๒๐๔๓] สมณะรูปหนึ่ง มีปกตินุ่งห่มไม่สมควร
สกปรกดุจปีศาจ เปรอะเปื้อนด้วยฝุ่นละออง สวมใส่
ผ้าขี้ริ้ว ที่ได้จากกองขยะไว้ที่คอ ได้มา ณ ที่นี้ สมณะ
รูปนั้น ได้ทำบุตรของท่านให้เป็นอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 4
[๒๐๔๔] ดูก่อนมาณพทั้งหลายสมณะผู้มีปัญญา
เสมอด้วยแผ่นดิน ได้ไปแล้วสู่ทิศใด ท่านทั้งหลาย
จงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา เราจักไปยังสำนักของท่าน
ขอให้ท่านอดโทษนั้นเสีย ไฉนหนอ เราจะพึงได้ชีวิต
บุตรคืนมา.
[๒๐๔๕] ฤๅษีผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดินได้ไป
แล้วในอากาศวิถี ราวกะว่าพระจันทร์ในวันเพ็ญ ๑๕
ค่ำ อันอยู่ท่ามกลางระหว่างอากาศ อนึ่ง พระฤๅษี
ผู้มีปฏิญาณ มั่นในสัจจะทรงคุณธรรมอันดีงามนั้น
ได้ไปทางทิศบูรพา.
[๒๐๔๖] ศีรษะของลูกเรา บิดกลับไปอยู่เบื้อง-
หลัง แขนเหยียดตรงไม่ไหวติง นัยน์ตาขาวเหมือน
คนตาย ใครมาทำบุตรของเราให้เป็นอย่างนี้.
[๒๐๔๗] ยักษ์ทั้งหลาย ผู้มีอานุภาพมากมีอยู่แล
ยักษ์เหล่านั้น พากันติดตามพระฤๅษีมีคุณธรรมมาแล้ว
รู้ว่าบุตรของท่านมีจิตคิดประทุษร้าย ก็โกรธเคืองจึง
ทำบุตรของท่านให้เป็นอย่างนี้แล.
[๒๐๔๘] ถ้ายักษ์ทั้งหลายได้ทำบุตรของดิฉันให้
เป็นอย่างนี้ ขอท่านผู้เป็นพรหมจารีเท่านั้น อย่าได้
โกรธบุตรดิฉันเลย ดิฉันขอถึงฝ่าเท้าของท่านนั่นแหละ
เป็นที่พึ่ง ข้าแต่ท่านผู้เป็นภิกษุ ดิฉันตามมาก็เพราะ
ความเศร้าโศกถึงบุตร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 5
[๒๐๔๙] ในคราวที่บุตรของท่านด่าเราก็ดี และ
เมื่อท่านมาอ้อนวอนอยู่ ณ บัดนี้ก็ดี จิตคิดประทุษร้าย
แม้หน่อยหนึ่ง มิได้มีแก่เราเลย แต่บุตรของท่านเป็น
คนประมาท เพราะความมัวเมาว่า เรียนจะไตรเพท
แม้ถึงจะเรียนจบไตรเพทแล้ว ก็ยังไม่รู้จักสิ่งที่เป็น
ประโยชน์.
[๒๐๕๐] ข้าแต่ท่านผู้เป็นภิกษุ ความจำของ
บุรุษ ย่อมเลื่อนลืมได้ โดยครู่เดียวเป็นแน่แท้ ท่าน
ผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน ขอได้โปรดยกโทษ
สักครั้งเถิด บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ไม่มีความ
โกรธเป็นกำลัง.
[๒๐๕๑] มัณฑัพยมาณพ บุตรของท่าน ผู้มี
ปัญญาน้อย จงบริโภคก้อนข้าวที่เราฉันเหลือนี้เถิด
ยักษ์ทั้งหลายจะไม่พึงเบียดเบียนบุตรของท่านเลย อนึ่ง
บุตรของท่านจะหายโรคในทันที.
[๒๐๕๒] พ่อมัณฑัพยะ เจ้ายังเป็นคนโง่เขลา
มีปัญญาน้อย เจ้าเป็นผู้ไม่ฉลาดในเขตบุญทั้งหลาย
ได้ให้ทานในหมู่ชนผู้ประกอบด้วยกิเลส ดุจน้ำฝาด-
ใหญ่ มีกรรมเศร้าหมองไม่สำรวม บรรดาทักขิเณยย-
บุคคลของเจ้าบางพวกเกล้าผมเป็นเซิง นุ่งห่มหนังเสือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 6
ปากรกรุงรังไปด้วยหนวดเครา ดังปากบ่อน้ำเก่ารกไป
ด้วยกอหญ้า เจ้าจงดูหมู่ชนที่มีรูปร่างน่าเกลียดนี้ การ
เกล้าผมผูกเป็นเซิง หาผู้ป้องกันผู้มีปัญญาน้อยได้ไม่
ท่านเหล่าใด สำรอก ราคะ โทสะ และอวิชชาแล้ว
หรือเป็นพระอรหันต์ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ทานที่บุคคล
ถวายในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก.
[๒๐๕๓] เมื่อพระเจ้าเมชฌราช เข้าไปทำลาย
ชีวิต ท่านมาตังคบัณฑิต ผู้ยิ่งยศ วงศ์กษัตริย์ เมชฌ-
ราช พร้อมด้วยราชบริษัท ก็ได้ขาดสูญลงตั้งแต่นั้นมา.
จบมาตังคชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 7
อรรถกถาวีสตินิบาต
อรรถกถามาตังคชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
อุเทนราชวงศ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า กุโต นุ อาคจฺฉสิ
ทุมฺมวาสี ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในกาลครั้งนั้น ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ
เหาะมาจากพระเชตวันมหาวิหารทางอากาศ ไปสู่พระราชอุทยานของพระเจ้า
อุเทน ในเมืองโกสัมพี เพื่อพักผ่อนในเวลากลางวันโดยมาก. ได้ยินว่า
ในภพก่อน ๆ พระเถรเจ้าเคยเสวยราชย์ ครอบครองสมบัติมีบริวารเป็นอันมาก
ในพระราชอุทยานนั้นตลอดกาลนาน. ด้วยบุรพจรรยาที่ได้เคยสั่งสมมา พระ-
เถระจึงมักไปนั่งพักผ่อนกลางวันในพระราชอุทยานนั้นเสมอมา ในกาลเวลา
ล่วงไป ด้วยสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติโดยมาก วันหนึ่ง เมื่อพระเถระไปนั่งพักผ่อน
อยู่ที่โคนต้นรังอันมีดอกบานสะพรั่งดี ในพระราชอุทยานนั้น พระเจ้าอุเทน
ทรงพระดำริว่า เราจักดื่มน้ำจัณฑ์ฉลองใหญ่ แล้วเล่นอุยยานกีฬา ตลอด
๗ วัน แล้วจึงเสด็จไปยังพระราชอุทยาน พร้อมด้วยราชบริพารเป็นอันมาก
ทรงซบพระเศียรลงบนตักของนางสนมคนหนึ่ง บนแท่นมงคลศิลาอาสน์ แล้ว
ทรงนิทราหลับสนิท เพราะความเมามายในการเสวยน้ำจัณฑ์ เหล่านางสนม
ที่นั่งขับกล่อม ต่างวางเครื่องดุริยางคดนตรีไว้แล้ว เข้าไปสู่พระราชอุทยาน
กำลังเลือกเก็บดอกไม้ และผลไม้เป็นต้นอยู่ เห็นพระเถระแล้ว พากันไป
กราบไหว้แล้วนั่งอยู่. พระเถระจึงนั่งแสดงธรรมกถาแก่หญิงเหล่านั้น. ฝ่าย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 8
นางสนม ที่นั่งให้พระเจ้าอุเทนหนุนตัก จึงสั่นพระเพลาให้กระเทือน เตือน
พระราชาให้ตื่นบรรทม เมื่อพระองค์ตรัสถามว่า หญิงถ่อยเหล่านั้นไปไหน
กันหมด ? จึงกราบทูลว่า หญิงเหล่านั้นไปนั่งล้อมสมณะรูปหนึ่งอยู่. ท้าวเธอ
สดับดังนั้น ก็ทรงพระพิโรธ เสด็จไปด่า บริภาษพระเถระ แล้วตรัสว่า เอาเถิด
เราจักให้มดแดงรุมต่อยสมณะรูปนี้ แล้วตรัสสั่งให้เอารังมดแดง มาแกล้งทำ
ให้กระจายลงที่ร่างกายพระเถระ ด้วยอำนาจแห่งความพิโรธ. พระเถระเหาะขึ้น
ไปยืนในอากาศ ให้โอวาทพระราชา แล้วเหาะลอยไปลงตรงประตูพระคันธกุฏี
ที่พระเขตวันนั่นเอง เมื่อพระตถาคตเจ้าตรัสถามว่า เธอมาจากไหนจึงกราบทูล
เนื้อความนั้นให้ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภารทวาชะ พระเจ้า
อุเทนเบียดเบียนบรรพชิตทั้งหลาย แต่ในชาตินี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน
ก็เบียดเบียนมาแล้วเหมือนกัน พระปิณโฑลภารทวาชะทูลอาราธนา จึงทรงนำ
อดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ พระนคร-
พาราณสี พระมหาสัตว์บังเกิดในกำเนิดตระกูลคนจัณฑาลภายนอก
พระนคร. มารดาบิดาขนานนามเขาว่า มาตังคมาณพ. ในเวลาต่อมา
มาตังคมาณพ เจริญวัยแล้ว ได้มีนามปรากฏว่ามาตังคบัณฑิต. ในกาลนั้น
ธิดาเศรษฐีในเมืองพาราณสี ชื่อ ทิฏฐมังคลิกา เมื่อถึงวาระเดือนหนึ่ง หรือ
กึ่งเดือน ก็พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก จะไปยังอุทยานเพื่อเล่นสนุกสนาน
กัน. อยู่มาวันหนึ่ง พระมหาสัตว์มาตังคบัณฑิต เดินทางเข้าไปยังพระนคร
ด้วยกิจธุระบางประการ ได้เห็นนางทิฎฐมังคลิกา ระหว่างประตู จึงหลบไป
ยืนแอบอยู่ ณ เอกเทศหนึ่ง. นางทิฏฐมังคลิกา มองดูตามช่องม่าน เห็น
พระโพธิสัตว์จึงถามว่า นั่นเป็นใคร ? เมื่อบริวารชนตอบว่า ข้าแต่แม่เจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 9
ผู้นั้นเป็นคนจัณฑาล จึงคิดว่า เราเห็นคนที่ไม่สมควรจะเห็นแล้วหนอ ดังนี้
แล้ว จึงล้างตาด้วยน้ำหอม กลับแค่นั้น. ส่วนมหาชนที่ออกไปกับธิดาของ
ท่านเศรษฐี บริภาษว่า เฮ้ยไอ้คนจัณฑาลชาติชั่ว เพราะอาศัยเจ้าแท้ ๆ วันนี้
พวกเราจึงไม่ได้ลิ้มสุราและกับแกล้มที่ไม่ต้องซื้อหา อันความโกรธครอบงำ
แล้ว จึงรุมซ้อมมาตังคบัณฑิต ด้วยมือและเท้า จนถึงสลบแล้วหลีกไป.
มาตังคบัณฑิตสลบไปชั่วครู่ กลับฟื้นขึ้นรู้ตัว คิดว่า บริวารชนของนาง
ทิฏฐมังคลิกา โบยตีเราผู้ไม่มีความผิด โดยหาเหตุมิได้ เราได้นางทิฏฐมังคลิกา
เป็นภรรยาแล้วนั่นแหละ. จึงจะยอมลุกขึ้น ถ้าไม่ได้จักไม่ยอมลุกขึ้นเลย
ครั้นตั้งใจดังนี้แล้ว จึงเดินไปนอนที่ประตูเรือนบิดาของนางทิฏฐมังคลิกานั้น.
เมื่อเศรษฐีผู้บิดาของนางทิฎฐมังคลิกา มาถามว่า เพราะเหตุไร เจ้าจึงมานอน
ที่นี่ ? มาตังคบัณฑิตจึงตอบว่า เหตุอย่างอื่นไม่มี แต่ข้าพเจ้าต้องการนาง
ทิฏฐมังคลิกาเป็นภรรยา. ล่วงมาได้วันหนึ่ง เศรษฐีนั้นก็มาถามอีก พระ-
โพธิสัตว์ก็ตอบยืนยันอยู่อย่างนั้น จนล่วงมาถึงวันที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และ
ที่ ๖ พระโพธิสัตว์ก็ยังคงนอนและตอบยืนยันอย่างนั้น. ธรรมดาว่าการ
อธิษฐานของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมสำเร็จ เพราะเหตุนั้น เมื่อครบ ๗ วัน
คนทั้งหลายมีท่านเศรษฐีเป็นต้น จึงนำนางทิฏฐมังคลิกามามอบให้มาตังค-
บัณฑิต. ลำดับนั้น นางทิฏฐมังคลิกา กล่าวกะมาตังคบัณฑิตว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เป็นสามี เชิญท่านลุกขึ้นเถิด เราจะไปเรือนของท่าน. มาตังคบัณฑิตจึง
กล่าวว่า นางผู้เจริญ เราถูกบริวารชนของเจ้าโบยตีเสียยับเยิน จนทุพลภาพ
เจ้าจงยกเราขึ้นหลังแล้วพาไปเถิด. นางก็ทำตามสั่ง เมื่อชาวพระนครกำลัง
มองดูอยู่นั่นแล ก็พามาตังคบัณฑิตออกจากพระนครไปสู่จัณฑาลคาม.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ มิได้ล่วงเกินนางให้ผิดประเพณีแห่งเผ่าพันธุ์
วรรณะ ให้นางพักอยู่ในเรือนสอง-สามวัน แล้วคิดว่า เมื่อตัวเราจักกระทำให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 10
นางถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภยศ จำต้องบวชเสียก่อน จึงจักสามารถกระทำได้
นอกจากนี้แล้วไม่มีทาง. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงเรียกนางมากล่าวว่า
ดูก่อนนางผู้เจริญ เมื่อเรายังไม่ได้นำอะไร ๆ ออกมาจากป่า การครองชีพ
ของเราทั้งสองย่อมเป็นไปไม่ได้ เจ้าอย่ากระสันวุ่นวายไปจนกว่าเราจะกลับมา
เราจักเข้าไปสู่ป่าดังนี้แล้ว กล่าวเตือนบริวารว่า แม้พวกเจ้าผู้อยู่เฝ้าเรือน
ก็อย่าละเลย ช่วยดูนางผู้เป็นภรรยาของเราด้วย ดังนี้ แล้วก็เข้าไปสู่ป่าบรรพชา
เพศเป็นสมณะ มิได้ประมาทมัวเมา บำเพ็ญสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้
เกิดขึ้นในวันที่ ๗ คิดว่า บัดนี้เราจักสามารถเป็นที่พึ่ง แก่นางทิฏฐมังคลิกาได้
จึงเหาะมาด้วยฤทธิ์ไปลงตรงประตูจัณฑาลคาม แล้วได้เดินไปสู่ประตูเรือนของ
นางทิฏฐมังคลิกา. นางได้ยินข่าวการมาของมาตังคบัณฑิตแล้วจึงออกจากเรือน
แล้วร้องไห้คร่ำครวญว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นสามี เหตุไฉนท่านจึงไปบวช ทิ้ง
ฉันไว้ไร้ที่พึ่งเล่า. ลำดับนั้น มาตังคดาบสจึงปลอบโยนนางว่า ดูก่อนน้องนาง
ผู้เจริญ เจ้าอย่าเสียใจไปเลย คราวนี้เราจักกระทำให้เจ้ามียศใหญ่ยิ่งกว่ายศที่
มีอยู่เก่าของเจ้า ก็แต่ว่า เจ้าจักสามารถประกาศแม้ข้อความเพียงเท่านี้ ใน
ท่ามกลางบริษัทได้ไหมว่า มาตังคบัณฑิตไม่ใช่สามีของเรา ท้าวมหาพรหม
เป็นสามีของเรา ดังนี้. นางรับคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นสามี ดิฉันสามารถ
ประกาศได้. มาตังคดาบสจึงกล่าวว่า คราวนี้ถ้ามีผู้ถามว่า สามีของเธอไปไหน?
ก็จงตอบว่า ไปพรหมโลก เมื่อเขาถามว่าเมื่อไรจักมา จงบอกเขาว่า นับแต่
วันนี้ไปอีก ๗ วัน ท้าวมหาพรหมผู้เป็นสามีของเราจักแหวกพระจันทร์มาใน
วันเพ็ญ. ครั้นมหาสัตว์เจ้ากล่าวกะนางอย่างนี้แล้ว ก็เหาะกลับไปสู่หิมวันต
ประเทศทันที ฝ่ายนางทิฏฐมังคลิกาก็เที่ยวไปยืนประกาศข้อความตามที่
พระโพธิสัตว์สั่งไว้ ในที่ทุกหนทุกแห่งท่ามกลางมหาชน ในพระนครพาราณสี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 11
มหาชนชาวพาราณสีพากันเชื่อว่า ท้าวมหาพรหมของเรามีอยู่จริง จะยังไม่ได้
เป็นอะไรกันกับนางทิฏฐมังคลิกา ข้อนั้นจักเป็นความจริงอย่างนี้แน่.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ครั้นถึงวัน บุรณมีดิถีเพ็ญ ๑๕ ค่ำ ในยามเมื่อ
พระจันทร์ตั้งอยู่ท่ามกลางทิฆัมพร ก็เนรมิตอัตภาพเป็นท้าวมหาพรหม
บันดาลแว่นแคว้นกาสิกรรัฐทั้งสิ้น ซึ่งมีอาณาเขต กว้างยาว ๑๒ โยชน์ ให้
รุ่งโรจน์สว่างไสวเป็นอันเดียวกัน แล้วแหวกมณฑลแห่งพระจันทร์ เหาะลง
มาเวียนวนเบื้องบน พระนครพาราณสี ๓ รอบ เมื่อมหาชนบูชาอยู่ ด้วยเครื่อง
สักการะ มีของหอม และระเบียบดอกไม้เป็นต้น ได้บ่ายหน้าไปหมู่บ้าน
จัณฑาลคาม. บรรดาประชาชนที่นับถือพระพรหม ก็ประชุมกัน พากันไป
ยังหมู่บ้านจัณฑาลคาม ช่วยกันเอาผ้าขาวที่บริสุทธิ์สะอาด ปิดบังเรือนของ
นางทิฏฐมังคิกา แล้วไล้ทาพ่นเรือนด้วยของหอมจตุรชาติ โปรยดอกไม้
เรี่ยรายไว้ จัดแจงปักไม้ดาดเพคานเบื้องบน แต่งตั้งที่นอนใหญ่ไว้แล้วจุดตาม
ประทีปด้วยน้ำมันหอม แล้วช่วยกันขนทรายขาวราวกับแผ่นเงินมาโปรยไว้ที่
ประตูเรือน แล้วแขวนพวงดอกไม้ ผูกธงทิวปลิวไสวงดงาม. เมื่อมหาชน
ตกแต่งบ้านเรือนอย่างนี้เสร็จแล้ว พระมหาสัตว์เจ้าจึงเลื่อนลอยลงจากนภากาศ
เข้าไปภายใน แล้วนั่งบนที่นอนหน่อยหนึ่ง. ในกาลนั้น นางทิฏฐมังคลิกา
กำลังมีระดู. ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ เอาหัวแม่มือเบื้องขวาลูบคลำนาภีของนาง.
นางตั้งครรภ์ทันที ต่อมาพระมหาสัตว์ จึงเรียกนางมาบอกว่า น้องนางผู้เจริญ
เจ้าตั้งครรภ์แล้ว จักคลอดบุตรเป็นชาย ทั้งตัวเจ้าและบุตรจักเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยลาภยศอันเลิศล้ำ น้ำสำหรับล้างเท้าของเจ้าจักเป็นน้ำอภิเษก สรง ของ
พระราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้น สำหรับน้ำอาบของเจ้า จักเป็นโอสถอมตะ ชน
เหล่าใดนำน้ำอาบของเจ้าไปรดศีรษะ ชนเหล่านั้นจักหายจากโรคทุก ๆ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 12
ทั้งปราศจากเสนียดจัญไร กาลกรรณี อนึ่ง ผู้คนที่วางศีรษะลงบนหลังเท้า
ของเจ้า กราบไหว้อยู่ จักให้ทรัพย์พันหนึ่ง ผู้ที่ยืนไหว้ในระยะทางที่ฟังเสียง
ได้ยิน จักให้ทรัพย์แก่เจ้าหนึ่งร้อย ผู้ทียืนไหว้ในชั่วคลองจักษุ จักให้ทรัพย์
หนึ่งกหาปณะ เจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาท ครั้นให้โอวาทนางแล้ว ก็ออกจากเรือน
เมื่อมหาชนกำลังมองดูอยู่นั่นเทียว ก็เหาะลอยเข้าไปสู่จันทรมณฑล.
ประชาชนที่นับถือพระพรหม ต่างยืนประชุมกันอยู่จนเวลารัตติกาล
ผ่านไป ครั้นเวลาเช้า จึงเชิญนางทิฏฐมังคลิกา ขึ้นสู่วอทอง แล้วยกขึ้นด้วย
เศียรเกล้า พาเข้าไปสู่พระนคร. มหาชนต่างพากันหลั่งไหลเข้าไปหานาง ด้วย
สำคัญว่าเป็นภรรยาของท้าวมหาพรหม แล้วบูชาด้วยเครื่องสักการะ มีของ
หอมระเบียบดอกไม้เป็นต้น. คนทั้งหลายผู้ได้ซบศีรษะ บนหลังเท้า กราบ
ไหว้ ได้ให้ถุงกหาปณะพันหนึ่ง ผู้ที่ยืนไหว้อยู่ในระยะโสตสดับเสียงได้ยิน
ให้ร้อยกหาปณะ ผู้ที่ยืนไหว้ ในชั่วระยะคลองจักษุ ให้หนึ่งกหาปณะ ประ-
ชาชนผู้พานางทิฏฐมังคลิกา เที่ยวไปในพระนครพาราณสี อันมีอาณาเขต ๑๒
โยชน์ ได้ทรัพย์นับได้ ๑๘ โกฏิ ด้วยอาการอย่างนี้. ลำดับนั้น ประชาชน
ทั้งหลาย ครั้นพานางทิฏฐมังคลิกา เที่ยวไปรอบพระนครแล้ว จึงนำเอาทรัพย์
นั้นมาสร้างมหามณฑปใหญ่ท่ามกลางพระนคร แวดวงด้วยม่าน ปูลาดที่นอน
ใหญ่ไว้ แล้วเชิญนางทิฏฐมังคลิกา ให้อยู่อาศัยในมณฑปนั้น ด้วยสิริโสภาค
อันใหญ่ยิ่ง แล้วเริ่มจัดการก่อสร้างปราสาท ๗ ชั้น มีประตูซุ้มถึง ๗ แห่ง ไว้
ณ ที่ใกล้มหามณฑปนั้น การก่อสร้างอย่างมโหฬารได้มีแล้วในครั้งนั้น. นาง
ทิฎฐมังคลิกา ก็คลอดบุตรในมณฑปนั่นเอง. ต่อมาในวันที่จะตั้งชื่อกุมาร
พราหมณ์ทั้งหลายจึงมาประชุมกันขนานนามกุมารว่า มัณฑัพยกุมาร
เพราะเหตุที่คลอดในมณฑป. แม้ปราสาทนั้น ก็สร้างสำเร็จ โดยเวลา ๑๐
เดือน พอดี จำเดิมแต่นั้นมา นางก็อยู่ในปราสาทนั้น ด้วยยศบริวารเป็นอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 13
มาก. แม้มัณฑัพยกุมาร ก็เจริญวัย พรั่งพร้อมด้วยหมู่บริวารเป็นอันมาก.
ในเวลาที่มัณฑัพยกุมาร มีอายุได้ ๗ - ๘ ปี อาจารย์ผู้อุดมด้วยวิทยาการทั้ง
หลาย ในพื้นชมพูทวีป จึงประชุมกันให้กุมารนั้น เรียนไตรเพท ๓ พระ-
คัมภีร์. มัณฑัพยมาณพนั้นนับแต่ อายุครบ ๑๖ปีบริบูรณ์ ก็เริ่มตั้งนิตยภัตสำหรับ
พวกพราหมณ์ทั้งหลาย. พราหมณ์หมื่นหกพันคน ก็ได้บริโภคอาหารในสำนัก
ของมัณฑัพยมาณพเป็นประจำ เขาถวายทานแก่พราหมณ์ทั้งหลายที่ซุ้มประตู
ที่ ๔. ต่อมาในวันประชุมใหญ่คราวหนึ่ง มัณฑัพยมาณพให้จัดเตรียมข้าวปายาส
ไว้ในเรือนเป็นอันมาก. พราหมณ์ทั้งหมื่นหกพัน ก็นั่ง ณ ซุ้มประตูที่ ๔
บริโภคข้าวปายาสอันปรุงดีแล้ว ด้วยเนยข้น เนยใส และน้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด
ที่เขาจัดมาถวาย ด้วยถาดทองคำ. แม้มัณฑัพยมาณพ ก็ประดับประดาตกแต่ง
ด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง สวมรองเท้าทอง มือถือไม้เท้าทอง เที่ยวตรวจ
ตราการเลี้ยงดู สั่งบริวารชนว่า ท่านทั้งหลายจงให้เนยใสในสำรับนี้ จงให้
น้ำผึ้งที่สำหรับนี้ ดังนี้.
ขณะนั้น มาตังคบัณฑิต นั่งอยู่ที่อาศรมบท ในหิมวันตประเทศ
ตรวจดูว่า ความประพฤติแห่งบุตรของนางทิฏฐมังคลิกา เป็นอย่างไร ? เห็น
การกระทำของเขา โน้มเอียง ไปในลัทธิอันไม่สมควร แล้วคิดว่า วันนี้แหละ
เราจักไปทรมานมาณพ ให้บริจาคทาน ในเขตที่บุคคลให้แล้วมีผลมาก แล้ว
จึงจักกลับมา ดังนี้แล้ว เหาะไปสู่สระอโนดาตโดยทางอากาศ ทำกิจวัตรมีการ
ล้างหน้าเป็นต้นแล้ว ยืนอยู่ที่พื้นมโนศิลา ครองจีวรสองชั้น คาดรัดประคด
มั่น แล้วห่มผ้าสังฆาฏิ อันเป็นผ้าบังสุกุล เสร็จแล้วถือเอาบาตรดินเหาะมาทาง
อากาศ เลื่อนลอยลงตรงโรงทานที่ซุ้มประตูที่ ๔ แล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง
มัณฑัพยมาณพกำลังตรวจตราดูแลทางโน้นทางนี้อยู่ แลเห็นพระดาบสนั้นแต่
ไกล คิดว่า บรรพชิตรูปนี้ มีรูปร่างคล้ายยักษ์ปีศาจ เปื้อนฝุ่น เห็นปานนี้ มาสู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 14
ที่นี่ ท่านมาจากที่ไหนหนอ ดังนี้แล้ว เมื่อจะสนทนา ปราศรัยกับมาตังคดาบส
นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า
ท่านมีปกตินุ่งห่มไม่สมควร ดุจปีศาจเปรอะ
เปื้อนด้วยฝุ่นละออง สวมใส่ผ้าขี้ริ้วที่ได้จากกองขยะ
ไว้ที่คอ มาจากไหน ท่านเป็นใคร เป็นผู้ไม่สมควร
แก่ทักษิณาทานเลย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุมฺมวาสี ความว่า ท่านเป็นผู้นุ่งห่ม
ผ้าเก่าขาดเป็นรอยต่อ ไม่ได้ซักชำระสะสางเลย. บทว่า โอคลฺลโก ความว่า
เป็นผู้สกปรกลามก ครองผ้าเห็นเส้นด้ายมากมาย หลุดลุ่ยห้อยย้อยลง. บทว่า
ปสุปีสาจโกว ความว่า คล้ายกับปีศาจยืนอยู่ที่กองขยะ. บทว่า สงฺการโจฬ
ได้แก่ ผ้าท่อนเก่าที่เก็บได้ในกองหยากเยื่อ. บทว่า ปฏิมุญฺจ แปลว่า
สวมใส่. บทว่า อทกฺขิเณยฺโย ความว่า ท่านเป็นผู้ไม่สมควรแก่ทักษิณาทาน
มาสู่สถานที่นั่งของพระทักขิเณยยบุคคลชั้นเยี่ยมเหล่านั้น แต่ที่ไหนเล่า ?
พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้น เมื่อจะสนทนากับมัณฑัพยมาณพ ด้วยจิต
ที่เยือกเย็นอ่อนโยน จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ความว่า
ข้าวน้ำนี้ท่านจัดไว้เพื่อท่านผู้เรืองยศ พราหมณ์
ทั้งหลาย ย่อมขบเคี้ยวบริโภค และดื่มข้าวน้ำของท่าน
นั้น ท่านรู้จักข้าพเจ้าว่า เป็นผู้อาศัยโภชนะที่ผู้อื่นให้
เลี้ยงชีวิต แม้ถึงจะเป็นคนจัณฑาล ก็ขอจงได้ก้อน
ข้าวบ้างเถิด ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกต แปลว่า จัดแจงไว้. บทว่า ยสสฺสิน
แปลว่า สมบูรณ์ด้วยบริวาร. บทว่า ต ขชฺชเร ความว่า พราหมณ์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 15
ขบเคี้ยว บริโภค และ ดื่มกิน ของนั้นอยู่ทีเดียว เพราะเหตุไร ท่านจึงโกรธ
เคืองข้าพเจ้า.
บทว่า อุตฺติฏฺปิณฺฑ ได้แก่ก้อนข้าว อันจำต้องยืนขอจึงได้ หรือ
ก้อนข้าว อันคนทั้งหลายลุกขึ้นยืนให้ จะพึงได้ ก็เพราะยืนอยู่ข้างหลัง.
บทว่า ลภต สปาโก ความว่า แม้จะเป็น สปากจัณฑาล ก็ขอ
จึงได้ เพราะว่าพราหมณ์ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ ย่อมได้โภชนะทุกแห่งหน แต่
สำหรับสปากจัณฑาลเล่า ใครเขาจักให้ ข้าพเจ้าหาปิณฑะได้อย่างแร้นแค้น
เพราะฉะนั้น ดูก่อนกุมาร ท่านจงบอกให้โภชนะแก่เรา เพื่อเป็นเครื่องยัง
ชีพให้เป็นไปเถิด.
ลำดับนั้น มัณฑัพยกุมารจึงกล่าวคาถา ความว่า
ข้าวน้ำของเรานี้ เราจัดไว้เพื่อพราหมณ์ทั้งหลาย
ทานวัตถุนี้ เราเชื่อว่า ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่
ตน ท่านจงหลีกไปเสียจากที่นี่ จะมายืนอยู่ที่นี่เพื่อ
อะไร เจ้าคนเลว คนอย่างเราย่อมไม่ให้ทานแก่เจ้า
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตตฺถาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่
ความเจริญของตน. บทว่า อเปหิ เอโต ความว่า ท่านจงหลีกไปเสียจาก
ที่นี่. บทว่า น มาทิสา ความว่า ดูก่อนท่านผู้มีเชื้อชาติเลวทราม คน
เช่นเราย่อมถวายทานแก่พราหมณ์อุทิจจโคตรทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ
ย่อมไม่ให้ทานแก่ท่านผู้เป็นคนจัณฑาล ท่านจงไปเสียเถิด.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ กล่าวคาถาความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 16
ชาวนาทั้งหลายเมื่อหวังผลในข้าวกล้า ย่อม
หว่านพืชพันธุ์ธัญญาหารลงในที่ดอนบ้าง ในที่ลุ่มบ้าง
ในที่เสมอไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ บ้างฉันใด ท่านจงให้ทาน
แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย ด้วยศรัทธานี้ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อให้ทานอยู่อย่างนี้ ไฉนจะพึงได้ทักขิเณยบุคคล
ที่น่ายินดีเล่า ดังนี้.
คาถานั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ ดูก่อนกุมาร ชาวนาทั้งหลาย เมื่อ
หวังผลข้าวกล้า ย่อมหว่านพืชพันธุ์ธัญญาหารลงในเนื้อที่นา แม้ทั้ง ๓ อย่าง
ในกาลที่ฝนตกมากเกินไป ข้าวกล้าในนาดอนนั้น ย่อมสำเร็จผล ข้าวกล้าใน
นาลุ่มย่อมเสียหาย ส่วนข้าวกล้าที่อาศัยแม่น้ำและพึงกระทำในที่เสมอ ไม่ลุ่ม
ไม่ดอน ย่อมถูกห้วงน้ำพัดไปเสีย ในเมื่อฝนตกเล็กน้อย ข้าวกล้าในนาดอน
ย่อมเสียหายไม่ได้ผล ข้าวกล้าในนาลุ่มย่อมได้ผลเล็กน้อย ส่วนข้าวกล้าในนา
ที่ไม่ลุ่มไม่ดอน คงได้ผลดีทีเดียว ในกาลที่ฝนตกสม่ำเสมอไม่มากไม่น้อย
ข้าวกล้าในนาดอนได้ผลเล็กน้อย แต่ข้าวกล้าในนานอกนี้ ย่อมได้ผลบริบูรณ์
ดี เพราะฉะนั้น ชาวนาทั้งหลาย เมื่อหวังผลข้าวกล้า ย่อมเพาะหว่านในเนื้อ
นาทั้ง ๓ อย่างฉันใด แม้ท่านก็จงบริจาคทานแก่ปฏิคาหกทั้งหลายผู้มาแล้ว ๆ
ทั้งหมด ด้วยศรัทธาคือผลนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อท่านบริจาคทานอยู่อย่างนี้
ไฉนเล่าจะพึงให้ยินดี คือได้ทักขิเณยบุคคลที่ดี ดังนี้.
ลำดับนั้น มัณฑัพยมาณพจึงกล่าวคาถาต่อไปความว่า
เราย่อมตั้งไว้ ซึ่งพืชทั้งหลายในเขตเหล่าใด
เขตเหล่านั้นเรารู้แจ้งแล้วในโลก พราหมณ์เหล่าใด
สมบูรณ์ด้วยชาติแลมนต์ พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าเป็น
เขต มีศีลเป็นที่รักในโลกนี้ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 17
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยสาห ตัดบทเป็น เยสุ อห. บทว่า
ชาติมนฺตูปนฺนา ความว่า พราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้เข้าถึง ด้วยชาติและมนต์
ทั้งหลาย.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ คือ ชาติมทะ ความเมา
เพราะชาติ ๑ อติมานะ ความดูหมิ่นท่าน ๑ โลภะ
ความโลภอยากได้ของเขา ๑ โทสะ ความคิดประทุษ-
ร้าย ๑ มทะ ความประมาทมัวเมา ๑ โมหะ ความหลง ๑
ทั้งหมดเป็นโทษมิใช่คุณ ย่อมมีในเขตเหล่าใด เขต
เหล่านั้นไม่ใช่เขตอันดีมีศีลเป็นที่รักในโลกนี้ กิเลส
ทั้งหลายเหล่านี้คือ ชาติทะ อติมานะ โลภะ โทสะ
มทะ และโมหะ ทั้งหมดเป็นโทษมิใช่คุณ ไม่มีใน
เขตเหล่าใด เขตเหล่านั้นจัดว่าเป็นเขตมีศีล เป็นที่รัก
ในโลกนี้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มโท ได้แก่ความเมาเพราะชาติอันบังเกิด
ขึ้นแล้วอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ.
บทว่า อติมานตา ได้แก่ ความประพฤติดูหมิ่นว่าคนอื่นที่จะเสมอ
กับเราโดยชาติเป็นต้นไม่มี. กิเลสทั้งหลายมีความโลภเป็นต้น เป็นเพียงความ
อยากได้ ความคิดประทุษร้าย ความมัวเมา และความหลงเท่านั้น.
บทว่า อเปสลานิ ความว่า ก็บุคคลทั้งหลายเห็นปานนี้ เป็นผู้มิใช่
มีศีลเป็นที่รัก ราวกะว่าจอมปลวกอันเต็มไปด้วยอสรพิษฉะนั้น ทานที่บุคคล
ให้แล้วแก่บุคคลเห็นปานนี้ ย่อมไม่มีผลมาก เพราะฉะนั้น ท่านอย่าสำคัญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 18
ความที่ชนทั้งหลายผู้มิใช่มีศีลเป็นที่รักเหล่านั้นว่า เป็นเขตอันดี เพราะว่า
พราหมณ์ ผู้มีชาติและมนต์มิใช่ผู้จะไปสวรรค์ได้ ส่วนชนเหล่าใด เป็นอริยชน
เว้นจากการถือชาติและมานะเป็นต้นได้ อริยชนเหล่านั้น เป็นเขตอันดีมีศีล
เป็นที่รัก ทานที่บุคคลให้แล้วในอริยชนเหล่านั้นมีผลมาก ทั้งอริยชนเหล่านั้น
ย่อมเป็นผู้ให้ไปสวรรค์ได้ ดังนี้.
เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวอยู่บ่อย ๆ เช่นนี้ มัณฑัพยมาณพนั้น ขุ่นเคือง
จึงพูดว่า ดาบสผู้นี้พูดเพ้อเจ้อมากเกินไป คนรักษาประตูเหล่านี้ ไปไหนหมด
จงมานำเอาคนจัณฑาลนี้ออกไป แล้วกล่าวคาถา ความว่า
คนเฝ้าประตูทั้งสามคือ อุปโชติยะ อุปวัชฌะ
และภัณฑกุจฉิ ไปไหนกันเสียหมดเล่า ท่านทั้งหลาย
จงลงอาญา และเฆี่ยนตีคนจัณฑาลนี้ แล้วลากคอคน
ลามกนี้ไสหัวไปให้พ้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กวตฺถ คตา มีอธิบายว่าโทวาริกบุรุษ
ทั้ง ๓ คือ อุปโชติยะ อุปวัชฌะ และภัณฑกุจฉิซึ่งยืนเฝ้าประตูทั้ง ๓ อยู่นี้
ไปไหนกันเสียหมดเล่า.
ฝ่ายคนเฝ้าประตูเหล่านั้น ได้ยินถ้อยคำของมัณฑัพยมาณพแล้วก็รีบมา
ไหว้แล้ว กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐจะสั่งให้พวกผมทำอะไร ? มัณฑัพย-
มาณพจึงบอกว่า ท่านทั้งหลายเห็นคนจัณฑาลชาติชั่วคนนี้ที่ไหน ? พวกนาย
ประตูกล่าวว่า ท่านผู้ประเสริฐ พวกกระผมไม่เห็นเลย จึงไม่รู้ว่า เขามาจาก
ที่ไหน ? เขาดำริว่า ชะรอยมันจะเป็นนักเล่นกล หรือโจรวิชาธรบางคนเป็นแน่
ดังนี้ กล่าวสำทับพวกนายประตูว่า บัดนี้พวกเจ้ายังจะยืนเฉยอยู่ทำไม ? นาย
ประตูทั้งสามจึงถามว่า ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ จะโปรดให้พวกผมทำอะไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 19
มัณฑัพยมาณพ ตอบว่า พวกท่านจงโบยตี ตบ ต่อย ปากเจ้าคนถ่อยจัณฑาล
ผู้นี้ทีเดียว แล้วเอาเรียวไม้ไผ่สำหรับลงอาญา. โบยถลกหนังมันขึ้น แล้วฆ่า
มันเสียจับคอลากเจ้าคนลามกนี้ไป ให้พ้นจากที่นี่ เมื่อนายประตูทั้ง ๓ ยังไม่
ทันมาใกล้ชิด พระมหาสัตว์ก็เหาะลอยในไปยืนอยู่บนอากาศกล่าวคาถาความว่า
ผู้ใดบริภาษฤาษี ผู้นั้นชื่อว่าขุดภูเขาด้วยเล็บ
ชื่อว่าเคี้ยวกินก้อนเหล็กด้วยฟัน ชื่อว่าพยายามกลืนกิน
ไฟ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาตเวท ปทหสิ ความว่า ย่อม
พยายามเพื่อจะกลืนกินซึ่งไฟ.
ก็แล ครั้นพระมหาสัตว์กล่าวดังนี้แล้ว เมื่อมาณพและพราหมณ์ทั้งหลาย
กำลังแลดูอยู่ นั่นแล ได้แล่นลอยไปในอากาศ.
เมื่อจะประกาศความข้อนี้ พระศาสดาจึงตรัสว่า
มาตังคฤาษี ผู้มีสัจจะเป็นเครื่องก้าวไปเบื้องหน้า
เป็นสภาพ ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว เมื่อพราหมณ์ทั้งหลาย
แลดูอยู่ ได้เหาะหลีกผ่านไปในอากาศ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจปรกฺกโม ความว่า มีความบากบั่น
มุ่งก้าวไปข้างหน้าเป็นสภาพ.
มาตังคดาบสนั้นแล บ่ายหน้ามุ่งสู่ทิศปราจีน เหาะไปลง ณ ถนน
สายหนึ่ง แล้วอธิษฐานว่า ขอรอยเท้าของเราจงปรากฏ แล้วบิณฑบาตใกล้
ประตูด้านทิศปราจีน รวบรวมอาหารที่เจือปนกัน แล้วไปนั่งฉันภัตตาหาร
ที่เจือปนกัน ณ ศาลาแห่งหนึ่ง. เทพยดาผู้รักษาพระนครทั้งหลาย กล่าวกันว่า
มัณฑัพยกุมารผู้นี้ พูดก้าวร้าวเบียดเบียนพระผู้เป็นเจ้าของเราทั้งหลาย ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 20
อดทนไม่ได้ จึงมาประชุมกัน ลำดับนั้น ยักขเทวดาผู้เป็นหัวหน้า ก็พากัน
จับคอของมัณฑัพยกุมารบิดกลับเสีย. เทวดาที่เหลือ ก็พากันจับคอของพราหมณ์
ที่เหลือทั้งหลาย บิดกลับเสียอย่างนั้นเหมือนกัน แต่เพราะเทวดาเหล่านั้น
มีจิตอ่อนน้อมในพระโพธิสัตว์ จึงไม่ฆ่ามัณฑัพยมาณพเสีย ด้วยคิดว่าเป็น
บุตรของพระโพธิสัตว์ เพียงแต่ทำให้ทรมานลำบากอย่างเดียวเท่านั้น. ศีรษะ
ของมัณฑัพยมาณพ บิดกลับไป มีหน้าอยู่เบื้องหลัง มือและเท้าเหยียดตรง
แข็งทื่อตั้งอยู่ กระดูกทั้งหลายก็กลับกลายเป็นเหมือนกระดูกของคนที่ตายแล้ว.
เขามีร่างกายแข็งกระด้างนอนแซ่วอยู่. ถึงพราหมณ์ทั้งหลายก็สำรอกน้ำลายไหล
ออกทางปาก กระเสือกกระสนไปมา. คนทั้งหลายรีบไปแจ้งเรื่องราวแก่นาง
ทิฎฐมังคลิกาว่า ข้าแต่แม่เจ้า บุตรของท่านเกิดเป็นอะไรไปไม่ทราบได้ ?
นางทิฏฐมังคลิการีบมาโดยเร็ว เห็นบุตรแล้วกล่าวว่า นี่อะไรกัน ? แล้ว กล่าว
คาถาความว่า
ศีรษะของลูกเรา บิดกลับไปอยู่เบื้องหลัง แขน
เหยียดตรงไม่ไหวติง นัยน์ตาขาวเหมือนคนตาย ใคร
มาทำบุตรของเราให้เป็นอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาเวลิต แปลว่า บิดกลับไป. ลำดับนั้น
คนผู้ยืนอยู่ในที่นั้น เพื่อจะแจ้งให้นางทราบ จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า
สมณะรูปหนึ่ง มีปกตินุ่งห่มไม่สมควรสกปรก
ดุจปีศาจ เปรอะเปื้อนด้วยฝุ่นละออง สวมใส่ผ้าขี้ริ้ว
ที่ได้จากกองขยะไว้ที่คอ ได้มา ณ ที่นี้ สมณะรูปนั้น
ได้ทำบุตรของท่านให้เป็นอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 21
นางทิฎฐมังคลิกาได้ฟังคำนั้นแล้ว คิดว่า นี้ไม่ใช่พลังของผู้อื่น คงจัก
เป็นมาตังคบัณฑิตสามีของเราโดยไม่ต้องสงสัย ก็แต่ว่า ท่านมาตังคบัณฑิตนั้น
เป็นนักปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยเมตตาภาวนา คงจักทรมานคนพวกนี้ให้ลำบาก
แล้วไปเสีย และท่านจักไปทิศไหนเล่าหนอ. แต่นั้น เมื่อนางจะถามถึงมาตัง-
คบัณฑิต จึงกล่าวคาถาความว่า
ดูก่อนมาณพทั้งหลาย สมณะผู้มีปัญญาเสมอด้วย
แผ่นดิน ได้ไปแล้วสู่ทิศใด ท่านทั้งหลายจงบอก
เนื้อความนั้นแก่เรา เราจักไปยังสำนักของท่าน ขอให้
ท่านอดโทษนั้นเสีย ไฉนหนอ เราจะพึงได้ชีวิตบุตร
คืนมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺตฺวาน ความว่า ไปสู่สำนักของ
ดาบสนั้น. บทว่า ต ปฏิกเรมุ อจฺจย ความว่า เราจักกระทำคืน คือ
แสดงโทษนั้น ได้แก่ ขอให้ท่านอดโทษนั้นให้. บทว่า ปุตฺต ลเภมุ ความว่า
ชื่อแม้ไฉน เราพึงได้ชีวิตบุตรคืนมา.
ลำดับนั้น มาณพทั้งหลาย ผู้ยืนอยู่ในที่นั้น เมื่อจะบอกความนั้น
แก่นาง ได้กล่าวคาถา ความว่า
ฤาษีผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน ได้ไปแล้วใน
อากาศวิถี ราวกะว่าพระจันทน์ในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ
อันตั้งอยู่ท่ามกลางระหว่างอากาศ อนึ่ง พระฤๅษีผู้มี
ปฏิญาณมั่นในสัจจะ ทรงคุณธรรมอันดีงามนั้น ได้ไป
ทางทิศบูรพา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 22
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปถทฺธุโน ความว่า ดุจพระจันทร์ใน
วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ ตั้งอยู่ท่ามกลางระหว่างอากาศ กล่าวคือทางสัญจรใน
อากาศ. บทว่า อปิจาปิ โส ความว่า ก็อีกประการหนึ่งแล พระฤาษีนั้น
ไปสู่ทิศบูรพา.
นางทิฏฐมังคลิกานั้น สดับคำของมาณพเหล่านั้นแล้ว จึงคิดว่า
เราจักไปค้นหาสามีของเรา จึงใช้ให้ทาสีถือเอาน้ำเต้าทองคำกับขันน้ำทองคำ
แวดล้อมด้วยหมู่ทาสี เดินไปจนถึงสถานที่ที่พระโพธิสัตว์อธิษฐานเหยียบ
รอยเท้าไว้ จึงเดินตามรอยเท้านั้นไป เมื่อพระโพธิสัตว์กำลังนั่งฉันภัตตาหาร
อยู่บนตั่งที่ศาลานั้น นางจึงเดินเข้าไปสู่ที่ใกล้พระมหาสัตว์ ทำความเคารพ
แล้วยืนอยู่. พระโพธิสัตว์เห็นนางแล้ว จึงเหลือข้าวสุกไว้ในบาตรหน่อยหนึ่ง.
นางทิฎฐมังคลิกาจึงถวายน้ำ แก่พระโพธิสัตว์ด้วยน้ำเต้าทอง. พระโพธิสัตว์
จึงล้างมือบ้วนปากลงในบาตรนั้นเอง. ลำดับนั้น นางทิฏฐมังคลิกา เมื่อจะถาม
พระโพธิสัตว์ว่า ใครกระทำบุตรของตนให้ถึงอาการอันแปลกประหลาดนั้น
จึงกล่าวคาถาความว่า
ศีรษะของลูกเราบิดกลับไปอยู่เบื้องหลัง แขน
เหยียดตรงไม่ไหวติง นัยน์ตาขาวเหมือนคนตาย
ใครมาทำบุตรของเราให้เป็นอย่างนี้.
ชื่อว่าคาถาอันเป็นคำถามและคำตอบของชนทั้งสอง ที่ยิ่งไปกว่านั้น
มีดังนี้ พระโพธิสัตว์ได้สดับแล้ว จึงตอบนางทิฏฐมังคลิกา โดยคาถาว่า
ยักษ์ทั้งหลายผู้มีอานุภาพมากมีอยู่แล ยักษ์
เหล่านั้น พากันติดตามพระฤาษี มีคุณธรรม มาแล้ว
รู้ว่าบุตรของท่าน มีจิตคิดประทุษร้าย โกรธเคือง
จึงทำบุตรของท่านให้เป็นอย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 23
นางทิฏฐมังคลิกา กล่าวว่า
ถ้ายักษ์ทั้งหลายได้ทำบุตรของดิฉันให้เป็นอย่างนี้
ขอท่านผู้เป็นพรหมจารีเท่านั้น อย่าได้โกรธบุตร
ดิฉันเลย ดิฉันขอถึงฝ่าเท้าของท่านนั่นแหละเป็นที่พึ่ง
ข้าแต่ท่านผู้เป็นภิกษุ ดิฉันตามมาก็เพราะความ
เศร้าโศกถึงบุตร.
พระมหาสัตว์ มาตังคบัณฑิต กล่าวตอบว่า
ในคราวที่บุตรของท่านด่าเราก็ดี และเมื่อท่าน
มาอ้อนวอนอยู่ ณ บัดนี้ ก็ดี จิตคิดประทุษร้ายแม้
หน่อยหนึ่งมิได้มีแก่เราเลย แต่บุตรของท่านเป็นคน
ประมาท เพราะความมัวเมา ว่าเรียนจบไตรเพท แม้จะ
เรียนจบไตรเพทแล้ว ก็ยังไม่รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์.
นางทิฏฐมังคลิกา ได้สดับดังนั้นแล้ว จึงกล่าวต่อไปว่า
ข้าแต่ท่านผู้เป็นภิกษุ ความจำของบุรุษ ย่อม
หลงลืมได้โดยครู่เดียวเป็นแน่แท้ ท่านผู้มีปัญญาเสมอ
ด้วยแผ่นดิน ขอได้โปรดอดโทษสักครั้งเถิด บัณฑิต
ทั้งหลาย ย่อมไม่เป็นผู้มีความโกรธเป็นกำลัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยกฺขา ได้แก่ ยักษ์ทั้งหลายผู้รักษา
พระนคร. บทว่า อนฺวาคตา ความว่า ยักษ์ทั้งหลาย มาแล้วรู้อย่างนี้ว่า
พระฤาษีทั้งหลาย มีคุณธรรมดี ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ. บทว่า เต ความว่า
ยักษ์เหล่านั้น ครั้นรู้คุณความดีของพระฤาษีแล้ว ก็รู้แจ้งซึ่งบุตรของท่าน
อันเป็นผู้กำเริบจิตคิดประทุษร้าย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 24
บทว่า ตวญฺเว เม ความว่า ถ้าหากว่ายักษ์ทั้งหลายโกรธเคือง
แล้ว ได้กระทำอย่างนี้ ก็จงทำเถิด ขึ้นชื่อว่าเทวดาทั้งหลาย ใคร ๆ อาจทำ
ให้สงบระงับ (หายโกรธ) ได้ด้วยดี ด้วยวิธีสักว่าเอาน้ำจอกหนึ่งให้ดื่ม เพราะ
เหตุนั้น ดิฉันจึงไม่กลัวเทวดาเหล่านั้น ขออย่างเดียวท่านเท่านั้น ซึ่งเป็นผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ อย่าโกรธเคืองบุตรชายของดิฉันเลย. บทว่า อนฺวาคตา
ความว่า ดิฉันเป็นผู้ติดตามมา. นางทิฎฐมังคลิกาเรียกพระมหาสัตว์ว่า ภิกษุ
วิงวอนขอร้องให้ไว้ชีวิตบุตร.
บทว่า ตเทว ความว่า ดูก่อนนางทิฏฐมังคลิกา ในกาลเมื่อบุตร
ของท่านด่าเราอยู่ในคราวนั้นก็ดี และเมื่อท่านมาอ้อนวอนขอโทษ อยู่ในคราว
นี้ก็ดี โทสจิตคิดประทุษร้ายมิได้มีแก่เราเลย. บทว่า เวทมเทน ความว่า
เพราะความเมา ว่าเราเรียนจบไตรเพทแล้ว. บทว่า อธิจฺจ ความว่า แม้จะ
เรียนจบไตรเพทแล้ว ก็ยังไม่รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์.
บทว่า มุหุตฺตเกน ความว่า เรียนวิชาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมหลงลืมได้
โดยครู่เดียวเท่านั้น
พระมหาสัตว์ ผู้อันนางทิฏฐมังคลิกา อ้อนวอนขอโทษบุตรชายอยู่
อย่างนี้ จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นเราจักให้อมฤตโอสถไปเพื่อขับไล่ยักษ์ทั้งหลาย
เหล่านั้น ให้หนีไป แล้วกล่าวคาถา ความว่า
มัณฑัพยมาณพ บุตรของท่านผู้มีปัญญาน้อย
จงบริโภคก้อนข้าวที่เราฉันเหลือนี้เถิด ยักษ์ทั้งหลาย
จะไม่พึงเบียดเบียนบุตรของท่านเลย อนึ่ง บุตรของ
ท่านจะหายโรคในทันที.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺติฏฺปิณฺฑ ได้แก่ ก้อนข้าวที่ฉัน
เหลือ. ปาฐะเป็น อุจฺฉิฏฺปิณฺฑ ดังนี้ก็มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 25
นางทิฏฐมังคลิกา ฟังถ้อยคำของมหาสัตว์แล้ว จึงน้อมขันทองเข้าไป
กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นสามี ท่านได้โปรดให้อมฤตโอสถเถิด. พระมหาสัตว์
จึงเทข้าวสุกที่ฉันเหลือกับน้ำล้างมือลงในขันทองนั้น แล้วสั่งว่า ท่านจงหยอด
น้ำครึ่งหนึ่งจากส่วนนี้ ใส่ในปากบุตรของท่านก่อนทีเดียว ส่วนที่เหลือจงเอา
น้ำผสมใส่ไว้ในตุ่มให้หยอดลงในปากพราหมณ์ที่เหลือทั้งหลาย ชนเหล่านั้น
ทั้งหมด ก็จะเป็นผู้หายโรคภัยไข้เจ็บทันที ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ก็เหาะลอย
กลับไปสู่หิมวันตประเทศในทันที. ฝ่ายนางทิฏฐมังคลิกา ก็เอาศีรษะทูนขันทอง
นั้น กล่าวว่า เราได้อมฤตโอสถแล้ว รีบไปยังนิเวศน์ของตน หยอดน้ำข้าว
ล้างมือใส่ในปากบุตรชายของตนก่อน. ยักษ์ผู้เป็นหัวหน้ารักษาพระนคร
ก็หนีไป มัณฑัพยมาณพ ลุกขึ้นปัดฝุ่นที่เปื้อนกายแล้วถามว่า ข้าแต่คุณแม่
นี่อะไรกัน นางจึงกล่าวกะบุตรชายว่า เจ้านั่นแหละจักรู้สิ่งที่ตนทำไว้ มาเถิด
พ่อคุณ เจ้าจงไปดูความวิบัติแห่งทักขิเณยยชนของเจ้าบ้าง. มัณฑัพยมาณพ
เห็นพราหมณ์เหล่านั้น เสือกสนสลบอยู่. ก็ได้เป็นผู้มีวิปฏิสาร เดือดร้อนใจ
ลาดับนั้น นางทิฏฐมังคลิกา ผู้มารดาจึงกล่าวกะมัณฑัพยมาณพว่า พ่อมัง-
ฑัพยกุมาร เจ้าเป็นคนโง่เขลา ไม่รู้จักสถานที่จะให้ทานมีผลมาก ขึ้นชื่อว่า
ทักขิเณยยบุคคลทั้งหลาย มิใช่ผู้มีสภาพเห็นปานนี้ ต้องเป็นเช่นกับมาตังค-
บัณฑิต นับแต่นี้ต่อไป เจ้าอย่าให้ทานแก่คนทุศีลจำพวกนี้เลย จงให้ทาน
แก่ผู้มีศีลทั้งหลายเถิด ดังนี้ แล้วกล่าวคาถาความว่า
พ่อมัณฑัพยะ เจ้ายังเป็นคนโง่เขลามีปัญญาน้อย
เจ้าเป็นผู้ไม่ฉลาดในเขตบุญทั้งหลาย ได้ให้ทานใน
หมู่ชนผู้ประกอบด้วยกิเลส ดุจน้ำฝาดใหญ่ มีกรรม
เศร้าหมอง ไม่สำรวม บรรดาทักขิเณยยบุคคลของเจ้า
บางพวกเกล้าผมเป็นเซิง นุ่งห่มหนังเสือ ปากรกรุงรัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 26
ไปด้วยหนวดเครา ดังปากบ่อน้ำเก่ารกไปด้วยกอหญ้า
เจ้าจงดูหมู่ชนที่มีรูปร่างน่าเกลียดนี้ การเกล้าผมผูก
เป็นเซิง หาป้องกันผู้มีปัญญาน้อยได้ไม่ ท่านเหล่าใด
สำรอก ราคะ โทสะ และอวิชชาแล้ว หรือเป็นพระ-
อรหันตผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ทานที่บุคคลถวายในท่าน
เหล่านั้น ย่อมมีผลมาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหกฺกสาเวสุ ความว่า ในบรรดาหมู่ชน
ผู้ประกอบด้วยกิเลส ดุจน้ำฝาดใหญ่ทั้งหลายได้ให้ทาน ในบุคคลผู้ประกอบ
ด้วยกิเลสดุจน้ำฝาด มีราคะเป็นต้นใหญ่.
บทว่า ชฏา จ เกสา ความว่า ดูก่อนพ่อมัณฑัพยะ ในทักขิเณยย-
บุคคลทั้งหลายของเจ้า บางเหล่าก็เกล้าผมผูกเป็นเซิง. บทว่า อชินา นิวตฺถา
ความว่า นุ่งผ้าหนังเสือระคายปลายขนแหลม. บทว่า ชรูทปาน ว ความว่า
ปากรกรุงรัง เพราะมีหนวดเครายาว ราวกะปากบ่อน้ำเก่า รกรุงรังด้วยกอหญ้า.
บทว่า ปช อม ความว่า เจ้าจงพิจารณาดูหมู่ชน ผู้มีรูปร่างหน้าเกลียด
ยินดีประดับเพศตน ด้วยเครื่องอันเศร้าหมองนี้ คือเห็นปานฉะนี้.
บทว่า ชฏาชิน ความว่า การที่มุ่นเกล้าทำเป็นชฎาเห็นปานนี้ ไม่
อาจเป็นที่พึ่งต้านทานบุคคลผู้มีปัญญาน้อยได้ กุศลกรรม คือ ศีล ญาณ แล
ตบะเท่านั้น จึงจะเป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์เหล่านั้นได้. บทว่า เยส ความว่า
กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น อันมีความยินดียินร้าย และความหลงเป็นภาพ
และอวิชชามีวัตถุ ๘ ประการเหล่านี้ แห่งทักขิเณยยบุคคลทั้งหลายเหล่าใดไป
ปราศแล้ว หรือทักขิเณยยบุคคลเหล่าใด ได้นามว่าเป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะ
เพราะกิเลสเหล่านั้นไปปราศแล้ว ทานที่บุคคลให้แล้วในทักขิเณยยบุคคล
เหล่านั้น มีผลมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 27
นางทิฏฐมังคลิกากล่าวต่อไปว่า ดูก่อนลูกรัก เพราะเหตุนั้น จำเดิม
แต่นี้ไป เจ้าอย่าได้ให้ทานแก่บุคคลผู้ทุศีลเห็นปานนี้ จงให้ทานแก่สมณ-
พราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้ได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ และแก่พระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งหลายซึ่งมีอยู่ในโลกเหล่านั้น มาเถิดลูกรัก เราจักให้พวกพราหมณ์
ทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้คุ้นเคยชอบพอของเจ้า ดื่มอมฤตโอสถแล้วทำให้หายโรค
เสียให้หมด ดังนี้แล้ว จึงให้เอาข้าวสุกที่เป็นเดนเทใส่ลงในตุ่มน้ำ แล้วให้
หยอดลงในปากของพราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งหมื่นหกพันคน. พราหมณ์แต่ละคน
ได้สติลุกขึ้นปัดฝุ่นที่กายของตน ๆ. ลำดับนั้น พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าอื่น
พากันติเตียนว่า พราหมณ์เหล่านี้พากันดื่มกินน้ำเดนเหลือของคนจัณฑาล
แล้วยกโทษทำไม่ให้เป็นพราหมณ์ต่อไป. พราหมณ์เหล่านั้น มีความละอาย
จึงออกจากพระนครพาราณสี ไปสู่แคว้นเมชฌรัฐ แล้วพำนักอยู่ในสำนักของ
พระเจ้าเมชฌราช. ส่วนมัณฑัพยมาณพ ยังคงอยู่ในพระนครพาราณสี
นั้นต่อไปตามเดิม.
ในครั้งนั้น มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ ชาติมันต์ บวชเป็นดาบสอยู่ที่
ริมฝั่งน้ำเวตตวตีนที อาศัยเวตตวตีนครเป็นแหล่งโคจร อาศัยชาติเป็นเหตุ
ก่อเกิดมานะยิ่งใหญ่. พระมหาสัตว์มาตังคบัณฑิต คิดว่า เราจักทำลายมานะ
ของพราหมณ์นี้ จึงไปยังสถานที่นั้น อาศัยอยู่ด้านเหนือน้ำ ใกล้สำนักของ
ชาติมันตดาบส. อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์เคี้ยวไม้สีฟันแล้วอธิษฐานว่า
ไม้สีฟันนี้จงลอยไปติดอยู่ที่ชฎาของดาบสชาติมันต์ ดังนี้แล้วทิ้งไม้สีฟันนั้นลง
ไปในแม่น้ำ. ไม้สีฟันก็ลอยไปติดอยู่ที่ชฎาของชาติมันตดาบส ผู้กำลังอาบน้ำ
ชำระกายอยู่. ชาติมันตดาบสเห็นดังนั้น ก็กล่าวบริภาษว่า คนฉิบหาย คน
วายร้าย แล้วคิดว่า ไอ้คนกาลกรรณีนี้ มันมาจากไหน เราต้องไปตรวจดู
จึงเดินไปตามฝั่งเหนือน้ำ พบพระมหาสัตว์แล้วถามว่า ท่านเป็นชาติอะไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 28
พระมหาสัตว์ตอบว่า เราเป็นชาติจัณฑาล. ชาติมันตดาบสถานมา ท่านทิ้งไม้
สีฟันลงไปในแม่น้ำใช่ไหม ? พระมหาสัตว์ตอบว่าใช่ ข้าพเจ้าทิ้งไปเอง.
ชาติมันตดาบสจึงบริภาษว่า คนฉิบหาย คนวายร้าย คนจัณฑาล คนกาลกรรณี
เจ้าอย่าอยู่ในสถานที่นี้เลย จงไปอยู่เสียที่ฝั่งใต้น้ำทางโน้น เมื่อพระมหาสัตว์
ไปอยู่ฝั่งใต้นที ทิ้งไม้สีฟันลงไปในแม่น้ำ ไม้สีฟันนั้น กลับลอยทวนน้ำขึ้น
ไปติดอยู่ในชฎาของดาบสนั้นอีก ชาติมันตดาบสโกรธ กล่าวว่าไอ้คนฉิบหาย
ไอ้คนถ่อย ถ้าเจ้ายังอยู่ในที่นี้ ศีรษะของเจ้าจักแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง ภายใน
เจ็ดวัน. พระมหาสัตว์ดำริว่า ถ้าเราจักโกรธดาบสผู้นี้ ศีลของเราจักขาดไม่
เป็นอันรักษา เราจะทำลายมานะของดาบสด้วยอุบายวิธี ครั้นถึงวันที่ ๗ จึง
บันดาลฤทธิ์ ห้ามมิให้พระอาทิตย์ขึ้น. มนุษย์ทั้งหลายพากันวุ่นวาย เข้าไป
หาชาติมันตดาบส ถามว่า ท่านขอรับ ท่านห้ามมิให้พระอาทิตย์ขึ้นหรือ ?
ดาบสตอบว่า กรรมนั้นไม่ใช่ของเรา แต่มีดาบสจัณฑาลผู้หนึ่งอาศัยอยู่ที่
ริมฝั่งนที ชะรอยกรรมนี้จักเป็นของดาบสจัณฑาลผู้นั้น . มนุษย์ทั้งหลายพา
กันเข้าไปหาพระมหาสัตว์เจ้าถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านไม่ให้พระอาทิตย์
อุทัยขึ้นหรือ ? พระมหาสัตว์รับว่า ใช่ เราห้ามไม่ให้ขึ้นไปเอง. พวกมนุษย์จึง
ถามว่า เพราะเหตุอะไร ? พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า พระดาบสผู้คุ้นเคยใน
ตระกูลของท่านทั้งหลายได้สาปแช่งข้าพเจ้า ผู้หาความผิดมิได้ เมื่อดาบสผู้นั้น
มาหมอบลงแทบเท้าของข้าพเจ้าเพื่อขอขมาโทษ ข้าพเจ้าจึงจักปล่อยพระอาทิตย์
ให้อุทัยขึ้น. มนุษย์เหล่านั้นพากันไปฉุดลากชาติมันตดาบสนำมา บังคับให้
หมอบลงแทบเท้าของพระมหาสัตว์ให้ขอขมาโทษ แล้วจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ท่านโปรดปล่อยพระอาทิตย์ให้อุทัยขึ้นเถิด. พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า
เรายังไม่อาจที่จะปล่อยได้ ถ้าหากว่า เราจักปล่อยพระอาทิตย์ขึ้นไซร้ ศีรษะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 29
ของดาบสผู้นี้จักแตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง. ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายจึงถามว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้นข้าพเจ้าทั้งหลายจะทำอย่างไร? พระมหาสัตว์
จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงนำเอาก้อนดินเหนียวมา ครั้นให้นำมาแล้ว สั่งว่า
จงเอาดินเหนียววางไว้บนศีรษะของดาบสนี้ แล้วบังคับให้ลงไปยืนในน้ำ
แล้วจึงปล่อยพระอาทิตย์ให้อุทัยขึ้น. ก็เมื่อพระอาทิตย์อุทัยขึ้นไปกระทบเข้า
เท่านั้น ก้อนดินเหนียวก็แตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง. ดาบสก็ดำลงไปในน้ำ. ครั้น
พระมหาสัตว์เจ้าทรมานดาบสนั้นแล้ว จึงใคร่ครวญว่า พราหมณ์หมื่นหกพัน
เหล่านั้นไปอยู่ ณ ที่แห่งใดหนอ? ทราบว่า ไปอยู่ในสำนักของพระเจ้าเมชฌราช
คิดว่า เราจักไปทรมานพราหมณ์เหล่านั้น แล้วเหาะไปด้วยฤทธิ์ลงที่ใกล้
พระนคร ถือบาตรสัญจรไปเพื่อบิณฑบาตในเวตตวตีนคร.
พราหมณ์ทั้งหลายเห็นพระมหาสัตว์แล้ว คิดว่า แม้เมื่อพระดาบสนี้
มาอยู่ในที่นี้ เพียงวันสองวัน ก็จักทำให้เราทั้งหลายไม่มีทีพึ่ง จึงพากันไปยัง
ราชสำนักโดยเร็ว กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า มีวิชาธรนักเล่น
กล ตนหนึ่งเป็นโจร มาอาศัยอยู่ในพระนครนี้ ขอพระองค์โปรดตรัสสั่งให้จับ
มันเถิด. พระราชาก็ตรัสรับรองว่า ดีละ เราจะจัดการ. พระมหาสัตว์ได้มิสสกภัต
แล้ว จึงนำมานั่งบนตั่ง พิงฝาแห่งหนึ่งฉันอยู่. ลำดับนั้น ราชบุรุษที่พระราชา
ส่งมา ติดตามมา เอาดาบฟันคอพระมหาสัตว์ ซึ่งกำลังบริโภคอาหารอยู่ มิได้
ระมัดระวังตัว ให้ถึงชีพิตักษัย. พระมหาสัตว์นั้นทำกาลกิริยาแล้วไปเกิดใน
พรหมโลก. ได้ยินว่า ในชาดกนี้พระโพธิสัตว์ได้เป็นผู้ทรมานโกณฑพราหมณ์
แล้ว และถึงซึ่งชีพิตักษัย เพราะเป็นผู้ขวนขวายที่จะทรมานผู้อื่นเท่านั้น.
เทพยดาทั้งหลายพากัน โกรธเคือง จึงบันดาลให้ฝนเถ้ารึงอันร้อนตกลงใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 30
เมชฌรัฐทั้งสิ้น ทำให้แว่นแคว้นพินาศไปสิ้น. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า
เมื่อพระเจ้า เมชณราช เข้าไปทำลายชีวิต ท่าน
มาตังคบัณฑิต ผู้ยงยศ วงศ์กษัตริย์ เมชฌราช
พร้อมด้วยราชบริษัท ก็ได้ขาดสูญในกาลครั้งนั้น.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า มิใช่
แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน พระเจ้าอุเทนราช ก็ทรงเบียดเบียน
บรรพชิตเหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า มัณฑัพยกุมาร ในครั้งนั้น
ได้มาเป็นพระเจ้าอุเทน ส่วนมาตังคบัณฑิต ได้มาเป็นเราผู้สัมมาสัม-
พุทธเจ้า นี้แล.
จบอรรถกถามาตังคชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 31
๒. จิตตสัมภูตชาดก
ว่าด้วยผลของกรรม
[๒๐๕๔] กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว
ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะเล็กน้อย ที่
จะไม่ให้ผลเป็นไม่มี เราได้เห็นตัวของเรา ผู้ชื่อว่า
สัมภูตะ มีอานุภาพมาก อันบังเกิดขึ้นด้วยผลบุญ
เพราะกรรมของตนเอง กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสม
ไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรมแม้จะเล็ก
น้อย ที่จะไม่ให้ผลเป็นไม่มี มโนรถของเราสำเร็จ
แม้ฉันใด มโนรถแม้ของจิตตบัณฑิต พระเชษฐาของ
เรา ก็คงสำเร็จแล้วฉันนั้น กระมังหนอ.
[๒๐๕๕] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ กรรมทุก
อย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อ
ว่ากรรมแม้จะเล็กน้อย ที่จะไม่ให้ผลเป็นอันไม่มี
มโนรถของพระองค์สำเร็จแล้ว แม้ฉันใด ขอพระองค์
โปรดทราบเถิดว่า มโนรถของจิตตบัณฑิต ก็สำเร็จ
แล้ว ฉันนั้น เหมือนกัน.
[๒๐๕๖] เจ้าหรือคือจิตตะ เจ้าได้ฟังคำนี้มา
จากคนอื่น หรือว่าใครบอกเนื้อความนี้แก่เจ้า คาถานี้
เจ้าขับดีแล้ว เราไม่มีความสงสัย เราจะให้บ้านส่วย
ร้อยตำบลแก่เจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 32
[๒๐๕๗] ข้าพระพุทธเจ้า หาใช่จิตตะไม่ ข้า-
พระพุทธเจ้าฟังคำนี้มาจากคนอื่น และฤาษีได้บอกเนื้อ
ความนี้แก่ข้าพระพุทธเจ้า แล้วสั่งว่า เจ้าจงไปขับคาถา
นี้ถวายตอบพระราชา พระราชาทรงพอพระทัยแล้ว
จะพึงพระราชทานบ้านส่วยให้แก่เจ้าบ้างกระมัง.
[๒๐๕๘] ราชบุรุษทั้งหลายจงเทียมรถของเรา
จัดแจงให้ดี ผูกรัดจัดสรรให้งดงามวิจิตร จงผูกรัด
สายประคนมงคลหัตถี นายหัตถาจารย์ขึ้นประจำคอ
จงนำเอาเภรีตะโพนสังข์มาตระเตรียม เจ้าหน้าที่ทั้ง
หลายจงเทียมยานพาหนะโดยเร็ว วันนี้แล เราจักไป
เยี่ยมเยียนพระฤาษี ซึ่งนั่งอยู่ ณ อาศรมสถานให้ถึงที่
ทีเดียว.
[๒๐๕๙] ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ลาภดีแล้วหนอ คาถา
อันข้าพเจ้าขับดีแล้วในท่ามกลางบริษัท ข้าพเจ้าได้พบ
พระฤาษีผู้สมบูรณ์ด้วยศีลพรต เป็นผู้มีความชื่นชม
ยินดีปีติโสมนัสยิ่งนัก.
[๒๐๖๐] ขอเชิญท่านผู้เจริญ โปรดรับอาสนะ
น้ำ และรองเท้าของข้าพเจ้าทั้งหมดเถิด ข้าพเจ้ายินดี
ต้อนรับท่านผู้เจริญ ในสิ่งของอันมีราคาคู่ควรแก่การ
ต้อนรับ ขอท่านผู้เจริญเชิญรับสักการะ อันมีค่าของ
ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 33
[๒๐๖๑] ขอเชิญพระเชษฐาทรงสร้างปรางค์-
ปราสาท อันเป็นที่อยู่น่ารื่นรมย์ สำหรับพระองค์เถิด
จงทรงบำรุงบำเรอด้วยหมู่นารีทั้งหลาย โปรดให้
โอกาสเพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด แม้เราทั้ง
สองก็จะครอบครองอิสริยสมบัตินี้ร่วมกัน.
[๒๐๖๒] ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ทรงเห็น
ผลแห่งสุจริตอย่างเดียว ส่วนอาตมาภาพเห็นผลแห่ง
สุจริตที่สั่งสมไว้แล้ว เป็นวิบากใหญ่ จึงสำรวมตน
เท่านั้น มิได้ปรารถนาบุตรปศุสัตว์ หรือทรัพย์ ชีวิต
ของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ มีกำหนดร้อยปีเป็นอย่าง
มาก ไม่เกินกำหนดนั้น ย่อมจะเหือดแห้งไป เหมือน
ไม้อ้อที่ถูกตัดแล้ว มีแต่จะเหี่ยวแห้งไปฉะนั้น
จะมัวเพลิดเพลินไปไย จะมัวเล่นคึกคะนองไปทำไม
ความยินดีจะเป็นประโยชน์อะไร ประโยชน์อะไรด้วย
การแสวงหาทรัพย์ จะมีประโยชน์อะไรด้วย บุตรและ
ภรรยาสำหรับอาตมา ดูก่อนมหาบพิตร อาตมาพ้น
แล้วจากเครื่องผูก อาตมารู้ชัดอย่างนี้ว่า มัจจุราช
จะไม่รังควานเราเป็นไม่มี เมื่อบุคคลถูกมัจจุราชครอบ
งำแล้ว ความยินดีจะเป็นประโยชน์อะไร จะมีประ-
โยชน์อะไรด้วยการแสวงหาทรัพย์ ดูก่อนมหาบพิตร
ผู้เป็นจอมนระ ชาติกำเนิดของคนเราไม่สม่ำเสมอกัน
กำเนิดแห่งคนจัณฑาลจัดว่าเลวทรามในระหว่างมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 34
เมื่อชาติก่อน เราทั้งสองได้อยู่ร่วมกันในครรภ์แห่ง
นางจัณฑาลี เพราะกรรมอันชั่วช้าของตน เราทั้งสอง
ได้เกิดเป็นคนจัณฑาล ในกรุงอุชเชนี อวันตีชนบท
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นเนื้อสองตัวพี่
น้อง อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ครั้นจุติจากอัตภาพนั้น
แล้ว ไปเกิดเป็นนกเขาสองตัวพี่น้อง อยู่ฝั่งน้ำรัมมทา-
นที ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว คราวนี้ อาตมาภาพ
เกิดเป็นพราหมณ์ มหาบพิตรทรงสมภพเป็นกษัตริย์.
[ ๒๐๖๓] ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรานำเข้า
ไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย
เมื่อนรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้ต้าน
ทาน ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำ
ตามคำของอาตมา อย่าทรงทำกรรมทั้งหลายอันมีทุกข์
เป็นกำไรเลย ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรานำเข้า
ไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย
เมื่อนรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้
ต้านทาน ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจง
ทรงทำตามคำของอาตมาภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้ง
หลาย อันมีทุกข์เป็นผลเลย ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย
ถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็น
ของน้อย เมื่อนรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อม
ไม่มีผู้ต้านทาน ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตร
จงทรงทำตามคำของอาตมาภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 35
หลาย อันมีศีรษะเกลือกกลั้วไปด้วยธุลี ชีวิตของสัตว์
ทั้งหลายอันชรานำเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้ง
หลายเป็นของน้อย ชราย่อมกำจัดวรรณะของนรชนผู้
แก่เฒ่า ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทำ
ตามคำของอาตมาภาพ อย่าทรงทำกรรมที่ให้เข้าถึง
นรกเลย.
[๒๐๖๔] ข้าแต่ภิกษุ ถ้อยคำของพระคุณเจ้านี้
เป็นคำจริงแท้ทีเดียว พระฤาษีกล่าวไว้ฉันใด คำนี้ก็
เป็นฉันนั้น แต่ว่า กามทั้งหลายของข้าพเจ้ายังมีอยู่มาก
กามเหล่านั้น คนเช่นข้าพเจ้าสละได้ยาก. ช้างจมอยู่
ท่ามกลางหล่มแล้ว ย่อมไม่อาจถอนตนไปสู่ที่ดอนได้
ด้วยตนเอง ฉันใด ข้าพเจ้าจมอยู่ในหล่มคือกามกิเลส
ก็ยังไม่สามารถปฏิบัติตนตามทางของภิกษุได้ ฉันนั้น.
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ อนึ่ง บุตรจะมีความสุขได้
ด้วยวิธีใด มารดาบิดาก็พร่ำสอนบุตรด้วยวิธีนั้น ฉันใด
ข้าพเจ้าละจากโลกนี้ไปแล้ว จะพึงเป็นผู้มีความสุขยืน
นานด้วยวิธีใด ขอพระคุณเจ้าโปรดพร่ำสอนข้าพเจ้า
ด้วยวิธีนั้น ฉันนั้นเถิด.
[๒๐๖๕] ดูก่อนมหาบพิตรผู้จอมนรชน ถ้า
มหาบพิตรไม่สามารถจะละกามของมนุษย์เหล่านี้ได้
ไซร้ มหาบพิตรจงทรงเริ่มตั้งพลีกรรมอันชอบธรรม
เถิด แต่การกระทำอันไม่เป็นธรรม ขออย่าได้มีใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 36
รัฐสีมาของมหาบพิตรเลย. ทูตทั้งหลายจงไปยังทิศทั้ง
๔ นิมนต์สมณพราหมณ์ทั้งหลายมา มหาบพิตร จง
ทรงทะนุบำรุงสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ด้วยข้าว น้ำ
ผ้า เสนาสนะ และคิลานปัจจัย มหาบพิตรจงเป็นผู้
มีกมลจิตอันผ่องใส ทรงอังคาสสมณพราหมณ์ ให้
อิ่มหนำสำราญ ด้วยข้าวน้ำ ได้บริจาคทานตามสติ
กำลัง และทรงเสวยแล้ว เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ไม่ติเตียน จงเสด็จเข้าถึงสวรรคสถานเถิด.
ดูก่อนมหาบพิตร ก็ถ้าความเมาจะพึงครอบงำ ซึ่งมหา-
บพิตร ผู้อันหมู่นารีทั้งหลายแวดล้อมอยู่ มหาบพิตร
จงทรงมนสิการคาถานี้ไว้ แล้วพึงตรัสคาถานี้ในท่าม
กลางบริษัทว่า เมื่อชาติก่อนเราเป็นคนนอนอยู่กลาง
แจ้ง อันมารดาจัณฑาล เมื่อจะไปป่า ให้ดื่มน้ำนม
มาแล้ว นอนคลุกคลีอยู่กับสุนัขทั้งหลายจนเติบโต
มาบัดนี้ คนนั้นใคร ๆ เขาเรียกกันว่า " พระราชา."
จบ จิตตสัมภูตชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 37
อรรถกถาจิตตสัมภูตชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
ภิกษุสองรูป ซึ่งอยู่ร่วมรักกันสนิทเป็นสัทธิงวิหาริก ของท่านพระมหากสัสปะ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สพฺพ นราน สผล สุจิณฺณ ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุสองรูปนั้น ใช้สอยสมณบริขารร่วมกันมีความคุ้นเคย
สนิทกันอย่ายิ่ง แม้เมื่อเที่ยวบิณฑบาตก็ไปร่วมกัน ไม่สามารถที่จะพรากจาก
กันได้. ภิกษุทั้งหลายนั่งสรรเสริญความคุ้นเคยกันของภิกษุทั้งสองรูปนั้นแหละ
ในธรรมสภา พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่ภิกษุสองรูปนี้เป็นผู้
คุ้นเคยกันในอัตภาพนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เลย ก็โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้ถึง
จะท่องเที่ยวไประหว่างสามสี่ภพ ก็ไม่ละทิ้งความสนิทสนมกันฐานมิตรเลย
เหมือนกันแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล พระเจ้าอวันตีมหาราช เสวยราชสมบัติในกรุงอุช-
เชนี แคว้นอวันตี ในกาลนั้น ด้านนอกกรุงอุชเชนีมีหมู่บ้านคนจัณฑาล
ตำบลหนึ่ง. พระมหาสัตว์เจ้าบังเกิดในหมู่บ้านนั้น ต่อมา คัพภเสยยกสัตว์
แม้อื่น ก็มาเกิดเป็นบุตรแห่งน้าหญิงของพระมหาสัตว์นั้นเหมือนกัน . ในกุมาร
ทั้งสองนั้นคนหนึ่งซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ ชื่อจิตตกุมาร คนหนึ่งซึ่งเป็นบุตร
น้าสาวชื่อสัมภูตกุมาร. กุมารแม้ทั้งสองเหล่านั้น ครั้นเจริญวัยแล้ว เรียน
ศิลปศาสตร์ ชื่อว่า จัณฑาลวังสโธวนะ วันหนึ่งชักชวนกัน ว่า เราทั้งสอง
จักแสดงศิลปศาสตร์ ที่ใกล้ประตูพระนครอุชเชนี คนหนึ่งแสดงศิลปะที่ประตู
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 38
ด้านทิศเหนือ อีกคนหนึ่งแสดงศิลปะที่ประตูด้านทิศใต้. ก็ในพระนครนั้น
ได้มีนางทิฏฐมังคลิกาสองคน คนหนึ่งเป็นธิดาของท่านเศรษฐี อีกคนหนึ่ง
เป็นธิดาของท่านปุโรหิตาจารย์. นางทั้งสองได้ให้บริวารชน ถือเอาของขบเคี้ยว
และของบริโภคทั้งระเบียบดอกไม้และของหอมเป็นต้นเป็นอันมากไป ด้วยคิดว่า
จักเล่นในอุทยาน คนหนึ่งออกทางประตูด้านทิศเหนือ อีกคนหนึ่งออกทาง
ประตูด้านทิศใต้. นางทิฎฐมังคลิกากุมารีทั้งสองนั้น เห็นบุตรของคนจัณฑาล
สองพี่น้องแสดงศิลปะอยู่ จึงถามว่าคนเหล่านี้เป็นใคร ๆ ได้ฟังว่าเป็นบุตรของ
คนจัณฑาล จึงคิดว่า เราทั้งหลายได้เห็นบุคคลที่ไม่สมควรจะเห็นแล้วหนอ
แล้วเอาน้ำหอมล้างตาพากันกลับ. มหาชนที่ไปด้วยพากันโกรธ กล่าวว่า เฮ้ย
ไอ้คนจัณฑาลชาติชั่ว เพราะอาศัยเจ้าทั้งสอง พวกเราจึงไม่ได้ดื่มสุราและ
กับแกล้มที่ไม่ต้องซื้อหา แล้วพากันโบยตีพี่น้องแม้ทั้งสองเหล่านั้น ให้ถึงความ
บอบช้ำย่อยยับ พี่น้องทั้งสองเหล่านั้นกลับได้สติฟื้นขึ้นมา จึงลุกขึ้นเดินไปยัง
สำนักของกันแลกัน มาพร้อมกัน ณ สถานที่แห่งหนึ่ง แล้วบอกเล่าความทุกข์
ที่เกิดขึ้นนั้นสู่กันฟัง ต่างร้องไห้คร่ำครวญ ปรึกษากันว่า เราทั้งสองจักทำ
อย่างไรกันดี แล้วพูดกันว่า เพราะอาศัยชาติกำเนิด ความทุกข์นี้จึงเกิดแก่เรา
ทั้งสอง พวกเราไม่สามารถจะกระทำงานของคนจัณฑาลได้จึงตกลงกันว่า เรา
ทั้งสองปกปิดชาติกำเนิดแล้ว ปลอมแปลงเพศเป็นพราหมณ์มาณพ ไปสู่เมือง
ตักกศิลา เล่าเรียนศิลปวิทยากันเถิด ดังนี้แล้ว เดินทางไปในพระนครตักกศิลา
นั้น เป็นธัมมันเตวาสิกเริ่มเรียนศิลปศาสตร์ ในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์
เล่าลือกันไปทั่วชมพูทวีปว่า ได้ยินว่า คนจัณฑาลสองพี่น้อง ปกปิดชาติกำเนิด
หนีไปเรียนศิลปศาสตร์.
ในพี่น้องทั้งสองคนนั้น จิตตบัณฑิตเล่าเรียนศิลปศาสตร์สำเร็จ แต่
สัมภูตกุมารยังเรียนไม่สำเร็จ อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณ์ชาวบ้านผู้หนึ่ง มาเชิญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 39
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ว่า ข้าพเจ้าจักกระทำการสวดมนต์ (ในพิธีมงคล) ในคืน
วันนั้นเอง ฝนตกเอ่อล้นซอกมุมเป็นต้นในหนทาง. อาจารย์จึงเรียกจิตตบัณฑิต
มาแต่เช้าตรู่ ส่งไปแทนตนโดยสั่งว่าพ่อมหาจำเริญ เราไม่สามารถจะไปได้
เธอจงไปสวดมงคลกถาพร้อมด้วยมาณพทั้งหลาย บริโภคอาหารส่วนที่พวกเธอ
ได้รับ แล้วนำอาหารส่วนที่เราได้มาให้ด้วย จิตตบัณฑิตรับคำอาจารย์แล้วพา
มาณพทั้งหลายมาแล้ว. คนทั้งหลายคดข้าวปายาสตั้งไว้ หมายว่า กว่ามาณพ
ทั้งหลายจะอาบน้ำล้างหน้าเสร็จ ก็จะเย็นพอดี เมื่อข้าวปายาสยังไม่ทันเย็น
มาณพทั้งหลายพากันมานั่งในเรือนแล้ว. มนุษย์ทั้งหลายจึงให้น้ำทักษิโณทก
ยกสำรับมาตั้งไว้ข้างหน้าของมาณพเหล่านั้น. สัมภูตมาณพ เป็นเหมือนคนมี
นิสัยละโมบในอาหาร รีบตักก้อนข้าวปายาสใส่ปาก ด้วยสำคัญว่าเย็นดีแล้ว
ก้อนข้าวปายาสซึ่งร้อนระอุเหมือนเหล็กแดง ก็ลวกปากของเขา. เขาสะบัดหน้า
สั่นไปทั้งร่าง ตั้งสติไม่อยู่ มองดูจิตตบัณฑิตเผลอกล่าวเป็นภาษาจัณฑาลไป
อย่างนี้ว่า " ขลุ ขลุ " ฝ่ายจิตตบัณฑิต ก็ตั้งสติไว้ไม่ได้เหมือนกัน ส่งภาษา
จัณฑาลตอบไปอย่างนี้ว่า " นิคคละ นิคคละ " มาณพทั้งหลายต่างมองหน้า
แล้วพูดกันว่า นี้ภาษาอะไรกัน ? จิตตบัณฑิตกล่าวมงคลกถาอนุโมทนาแล้ว.
มาณพทั้งหลาย จึงออกไปภายนอก แล้วนั่งวิพากย์วิจารภาษากันอยู่ในที่นั้น ๆ
เป็นพวก ๆ พอรู้ว่าเป็นภาษาจัณฑาลแล้วจึงด่าว่า เฮ้ย ! ไอ้คนจัณฑาลชาติชั่ว
พวกเจ้าหลอกลวงว่าเป็นพราหมณ์มาตลอดเวลามีประมาณเท่านี้ แล้วช่วยกัน
โบยตีมาณพทั้งสอง.
ลำดับนั้น สัตบุรุษผู้หนึ่งจึงห้ามว่า ท่านทั้งหลายจงหลีกไป แล้วกัน
สองมาณพออกมา แล้วส่งไปโดยพูดว่า นี้เป็นโทษแห่งชาติกำเนิดของท่าน
ทั้งสอง จงพากันไปบวชเลี้ยงชีพ ณ ประเทศแห่งใดแห่งหนึ่งเถิด มาณพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 40
ทั้งหลายกลับมาแจ้งเรื่องที่มาณพทั้งสองเป็นจัณฑาลให้อาจารย์ทราบทุกประการ
แม้มาณพทั้งสอง ก็เข้าป่า บวชเป็นฤาษี ต่อมาไม่นานนัก ก็จุติจากอัตภาพ
นั้นไปบังเกิดในท้องของแม่เนื้อ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา จำเดิมแต่คลอดจาก
ท้องแม่เนื้อแล้ว มฤคโปดกทั้งสองพี่น้องก็เที่ยวไปด้วยกัน ไม่อาจพรากจาก
กันได้. วันหนึ่ง นายพรานผู้หนึ่ง มาเห็นมฤคโปดกทั้งสอง คาบเหยื่อกลับมา
แล้วยืนเอาหัวต่อหัว เอาเขาต่อเขา เอาปากต่อปากจรดติดชิดกัน ยืนขนชัน
ตั้งอยู่ ณ ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงพุ่งหอกไปที่สัตว์ทั้งสองให้สิ้นชีวิต ด้วยการ
ประหารทีเดียวเท่านั้น. ครั้นมฤคโปดกทั้งคู่จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปบังเกิด
ในกำเนิดนกเขา อยู่ที่ริมฝั่งน้ำ รัมมทานที. แม้ในอัตภาพนั้นก็มีนายพราน
ดักนกผู้หนึ่งมาเห็นลูกนกเขาทั้งสองเหล่านั้นซึ่งเจริญวัยแล้ว ไปเที่ยวคาบเหยื่อ
แล้วมายืนเอาหัวซบหัว เอาจะงอยปากต่อจะงอยปากแนบสนิทชิดเรียงยืนเคียง
กัน จึงเอาข่ายครอบฆ่าให้ตายด้วยการประหารทีเดียวเท่านั้น. ก็ครั้นจุติจาก
อัตภาพนี้แล้ว จิตตบัณฑิตเกิดเป็นบุตรของปุโรหิตในพระนครโกสัมพี. สัม-
ภูตบัณฑิตไปเกิดเป็นโอรสของพระเจ้าอุตตรปัญจาลราช. จำเดิมแต่กาลที่ถึง
วันขนานนาม กุมารเหล่านั้น ก็ระลึกชาติหนหลังของตน ๆ ได้. สัมภูตบัณฑิต
ราชกุมาร ไม่สามารถระลึกชาติในระหว่างได้ คงระลึกได้เฉพาะชาติที่ ๔ ซึ่ง
เกิดเป็นคนจัณฑาลเท่านั้น ส่วนจิตตบัณฑิตกุมาร ระลึกได้ตลอด ๔ ชาติ
โดยลำดับ. ในเวลาที่มีอายุได้ ๑๖ ปี จิตตบัณฑิตออกจากเรือนเข้าไปสู่หิมวัน-
ต์ประเทศ บวชเป็นฤาษี ยังฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วย
ความสุขอันเกิดแต่ฌาน. ฝ่ายสัมภูตราชกุมารเมื่อพระชนกสวรรคตแล้ว ให้
ยกเศวตฉัตรขึ้นเสวยราชสมบัติแทน ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถา ด้วยความ
เบิกบานพระราชหฤทัย การทำให้เป็นเพลงขับเฉลิมฉลองมงคล ท่ามกลาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 41
มหาชน ในวันเฉลิมฉัตรมงคลนั่นเอง. นางสนมกำนัลก็ดี นักฟ้อนรำทั้งหลาย
ก็ดี ได้สดับคาถาเพลงขับนั้นแล้ว คิดว่า ได้ยินว่า นี้เป็นเพลงขับเฉลิมฉลอง
เนื่องในวันมงคล ของพระราชาของเราทั้งหลาย จึงพากันขับร้องบทเพลง
พระราชนิพนธ์นั้นทั่วกัน ประชาชนชาวพระนครแม้ทั้งหมดทราบว่า เพลงขับนี้
เป็นที่โปรดปราน พอพระราชหฤทัยของพระราชา ก็พากันขับร้องบทพระราช
นิพนธ์นั่นแหละ ต่อ ๆ กันไปโดยลำดับ. ฝ่ายพระจิตตบัณฑิตดาบส อยู่ใน
หิมวันตประเทศนั่นแล ใคร่ครวญพิจารณาดูว่า สัมภูตบัณฑิตผู้น้องชายของ
เรา ได้ครอบครองเศวตฉัตรแล้วหรือว่ายังไม่ได้ครอบครอง ทราบว่าได้
ครอบครองแล้ว จึงคิดว่า บัดนี้เรายังไม่สามารถเพื่อจะไปสั่งสอนพระราชา
ซึ่งได้เสวยราชสมบัติใหม่ ให้ทรงรู้แจ้งซึ่งธรรมวิเศษได้ก่อน เราจักเข้าไปหา
ท้าวเธอในเวลาที่ทรงพระชราภาพ กล่าวธรรมกถา แล้วชักนำให้บรรพชา
ดังนี้แล้วจึงมิได้เสด็จไปตลอดคระยะเวลา ๕๐ ปี ในเวลาที่พระราชาทรงเจริญ
ด้วยพระโอรสและพระธิดาแล้ว จึงเหาะมาทางอากาศด้วยฤทธานุภาพ ลงที่
พระราชอุทยาน นั่งพักอยู่บนแท่นมงคลศิลาอาสน์ราวกับพระปฏิมาทองคำ.
ขณะนั้นมีเด็กคนหนึ่ง ขับเพลงบทพระราชนิพนธ์ เก็บฟืนอยู่. จิตตบัณฑิต
ดาบสเรียกเด็กนั้นมา เด็กก็มาไหว้พระดาบสแล้วยืนอยู่. ทีนั้นพระจิตตบัณฑิต
ดาบส จึงกล่าวกะเด็กนั้นว่า ตั้งแต่เช้ามา เจ้าขับเพลงขับบทเดียวนี้เท่านั้น
ไม่รู้จักเพลงอย่างอื่นบ้างเลยหรือ ? เด็กตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมรู้
บทเพลงแม้อย่างอื่น เป็นอันมาก แต่บทเพลงทั้งสองบทนี้ เป็นบทที่พระราชา
ทรงโปรดปราน พอพระราชหฤทัย เพราะฉะนั้น กระผมจึงขับร้องเฉพาะ
เพลงบทนี้เท่านั้น พระดาบสถานต่อไปว่า ก็มีใคร ๆ ขับร้องเพลงขับตอบบท
พระราชนิพนธ์บ้างหรือไม่ ? เด็กตอบว่า ไม่มีเลยขอรับ. พระดาบสจึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 42
ก็เจ้าเล่า จักสามารถเพื่อจะขับบทเพลงตอบอยู่หรือ ? เด็กตอบว่า เมื่อกระผมรู้
ก็จักสามารถ. พระดาบสกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เมื่อพระราชาทรงขับบทเพลง
พระราชนิพนธ์ทั้งสองแล้ว เจ้าจงจำเอาบทเพลงขับที่สามนี้ไปร้องขับตอบเถิด
แล้วสอนเพลงขับนั้นให้เด็กส่งไป พร้อมกับสั่งว่า เจ้า ไปขับร้องในสำนักของ
พระราชา พระราชาทรงเลื่อมใสจักพระราชทานยศยิ่งใหญ่แก่เจ้า. เด็กนั้นรีบ
ไปยังสำนักของมารดาให้ช่วยประดับตกแต่งตนแล้ว ไปยังประตูพระราชนิเวศน์
สั่งราชบุรุษให้กราบทูลพระราชาว่า ได้ยินว่า มีเด็กคนหนึ่งจักมาขับร้อง
บทเพลงตอบกับด้วยพระองค์ ครั้นเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วจึงเข้า
ไปถวายบังคม อันพระราชาตรัสถามว่า พ่อเด็กน้อย เขาว่าเจ้าจักมาร้องเพลง
ตอบกับเราหรือ ? ก็กราบทูลว่า ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า เป็นความจริง
พระเจ้าข้า แล้วกราบทูลให้พระราชามีพระราชโองการ ให้ราชบริษัททั้งหลาย
มาประชุมกัน เมื่อราชบริษัทประชุมพร้อมกันแล้ว จึงกราบทูลพระราชาว่า
ขอพระองค์โปรดทรงขับร้องเพลงบทพระนิพนธ์ของพระองค์ก่อนเถิด ข้าพระ-
พุทธเจ้าจักขับบทเพลงถวายตอบทีหลัง. พระราชาได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถา
ความว่า
กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผล
เสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะเล็กน้อยที่จะไม่ให้ผล
เป็นไม่มี เราได้เห็นตัวของเรา ผู้ชื่อว่า สัมภูตะ มี
อานุภาพมาก อันบังเกิดขึ้นด้วยผลบุญ เพราะกรรม
ของตนเอง กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อม
มีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรมแม้จะเล็กน้อยที่จะไม่ให้
ผลเป็นไม่มี มโนรถของเราสำเร็จแล้ว แม้ฉันใด
มโนรถแม้ของจิตตบัณฑิต พระเชษฐาของเรา ก็คง
สำเร็จแล้วฉันนั้น กระมังหนอ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 43
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น กมฺมุนา กิญฺจน โมฆมตฺถิ นี้
พระราชาตรัสหมายถึง อปราปรเวทนียกรรม ว่าในกรรมที่บุคคลทำแล้วทั้งดี
และชั่ว กรรมแม้เล็กน้อยเพียงอย่างเดียว ที่จะชื่อว่าเป็นโมฆะไม่มี คือจะไร้
ผลเสียเลย หามิได้ ต้องให้ผลก่อน จึงจักพ้นไปได้. บทว่า สมฺภูต ความว่า
พระเจ้าสัมภูตบัณฑิต ตรัสเรียกพระองค์เองว่า เราเห็นตัวเองซึ่งมีชื่อว่า
สัมภูตะ. บทว่า สกมฺมุนา ปุญฺผลูปปนฺนา ความว่า ข้าพเจ้าเห็นตัว
ข้าพเจ้า ผู้บังเกิดขึ้นด้วยผลแห่งบุญ เพราะกรรมของตน คือบังเกิดขึ้นด้วย
ผลแห่งบุญ เพราะอาศัยกรรมของตนเป็นเหตุเป็นปัจจัย.
บทว่า กจฺจินุ จิตฺตสฺสปิ ความว่า แท้จริง เราทั้งสองได้รักษาศีล
ร่วมกันมา ไม่นานนักข้าพเจ้าก็ถึงซึ่งยศใหญ่ ด้วยผลแห่งศีลนั่นเองก่อน
ฉันใด มโนรถแม้แห่งจิตตเชษฐาพระภาดาของเรา จะสำเร็จสมความมุ่งหมาย
ฉันนั้นเหมือนกัน ดังมโนรถของเราหรือไม่หนอ.
เมื่อพระเจ้าสัมภูตะขับเพลงคาถาสองบทจบลง กุมารเมื่อจะขับเพลง
ตอบถวาย จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ กรรมทุกอย่างที่
นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรม
แม้จะเล็กน้อยที่จะไม่ให้ผลเป็นอันไม่มี มโนรถของ
พระองค์สำเร็จแล้ว แม้ฉันใด ขอพระองค์โปรดทราบ
เถิดว่า มโนรถของจิตตบัณฑิต ก็สำเร็จแล้วฉันนั้น
เหมือนกัน.
พระราชาทรงสดับคาถานั้นแล้ว จึงตรัสพระคาถาที่ ๔ ความว่า
เจ้าหรือคือจิตตะ เจ้าได้ฟังคำนี้มาจากคนอื่น
หรือว่าใครบอกเนื้อความนี้แก่เจ้า คาถานี้เจ้าขับดีแล้ว
เราไม่มีความสงสัย เราจะให้บ้านส่วยร้อยตำบลแก่เจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 44
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุตมญฺโต เม ความว่า ถ้อยคำที่ว่า
เชษฐาภาดาของพระเจ้าสัมภูตะ นามว่า จิตตบัณฑิตนี้ เจ้าได้ยินมาแต่สำนัก
จิตตบัณฑิตคนนั้น ผู้กล่าวอยู่หรือ ? บทว่า โกจิ น ความว่า หรือว่าใคร
บอกเนื้อความนี้แก่เจ้าว่า จิตตบัณฑิตผู้พระภาดาของพระเจ้าสัมภูตราชเราเห็น
แล้ว. บทว่า สุคีตา ความว่า คาถานี้เจ้าขับดีแล้ว แม้โดยประการทั้งปวง
เราไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยในเพลงขับนี้. บทว่า คามวร สตญฺจ ความว่า
พระเจ้าสัมภูตราชตรัสว่า เราจะให้บ้านส่วยร้อยตำบลเป็นรางวัลแก่เจ้า.
ลำดับนั้น กุมารจึงกล่าวคาถาที่ ๕ ความว่า
ข้าพระพุทธเจ้าหาใช่จิตตะไม่ ข้าพระพุทธเจ้า
ฟังคำนี้มาจากคนอื่น และฤาษีได้บอกเนื้อความนี้
แก่ข้าพระพุทธเจ้าแล้วสั่งว่า เจ้าจงไปขับคาถานี้ ตอบ
ถวายพระราชา พระราชาทรงพอพระทัยแล้ว จะพึง
พระราชทานบ้านส่วยให้แก่เจ้าบ้างกระมัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตมตฺถ ความว่า พระฤาษีรูปหนึ่ง
นั่งอยู่ในพระอุทยานของพระองค์ บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้า.
พระเจ้าสัมภูตราชทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า ชะรอย
พระดาบสนั้น จักเป็นจิตตบัณฑิตผู้เชษฐภาดาของเรา เราจักไปพบพระเชษฐ-
ภาดาของเรานั้น เมื่อจะตรัสใช้ให้ราชบุรุษเตรียมกระบวน จึงตรัสพระคาถา
สองคาถา ความว่า
ราชบุรุษทั้งหลาย จงเทียมราชรถของเรา
จัดแจงให้ดี ผูกรัดจัดสรรให้งดงามวิจิตร จงผูกรัด
สายประคนมงคลหัตถี นายหัตถาจารย์จงขึ้นประจำคอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 45
จงนำเอาเภรีตะโพนสังข์มาตระเตรียม เจ้าหน้าที่
ทั้งหลายจงเทียมยานพาหนะโดยเร็ว วันนี้แลเราจักไป
เยี่ยมเยียนพระฤาษี ซึ่งนั่งอยู่ ณ อาศรมสถานให้ถึงที่
ทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หญฺนฺตุ แปลว่า จงนำมาเตรียมไว้.
บทว่า อสฺสมนฺต ตัดบทเป็น อสฺสม ต แปลว่า ยังอาศรมบทนั้น.
พระเจ้าสัมภูตราช ครั้นดำรัสสั่งอย่างนี้แล้ว เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่ง
เสด็จไปโดยพลัน จอดราชรถไว้ที่ประตูพระราชอุทยาน แล้วเสด็จเข้าไปหา
พระดาบสจิตตบัณฑิตนมัสการแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มี
พระราชหฤทัยชื่นชมโสมนัส ตรัสพระคาถาที่ ๘ ความว่า
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ลาภดีแล้วหนอ คาถาอันข้าพเจ้า
ขับดีแล้วในท่ามกลางบริษัท ข้าพเจ้าได้พบพระฤาษี
ผู้สมบูรณ์ด้วยศีลพรต เป็นผู้มีความชื่นชมยินดี ปีติ-
โสมนัสยิ่งนัก.
พระคาถานี้มีอรรถาธิบายว่า คาถาที่ข้าพเจ้าขับกล่อมในท่ามกลาง
บริษัท ในวันฉัตรมงคลของข้าพเจ้านั้น เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าได้พบพระฤาษี
ผู้เข้าถึงศีลและพรตแล้ว ถึงความปีติโสมนัสหาที่เปรียบมิได้ นับว่าข้าพเจ้า
ได้ลาภอันดียิ่งทีเดียว.
จาเดิมแต่ได้พบพระจิตตบัณฑิตดาบสแล้ว พระเจ้าสัมภูตราช ทรง
ชื่นชมโสมนัสยิ่ง เมื่อจะมีพระราชดำรัสตรัสสั่ง ซึ่งราชกิจมีอาทิว่า ท่าน
ทั้งหลายจงลาดบัลลังก์เพื่อเชษฐภาดาของเรา จึงตรัสคาถาที่ ๙ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 46
ขอเชิญท่านผู้เจริญ โปรดรับอาสนะ น้ำ และ
รองเท้าของข้าพเจ้าทั้งหมดเถิด ข้าพเจ้ายินดีต้อนรับ
ท่านผู้เจริญ ในสิ่งของอันมีราคาคู่ควรแก่การต้อนรับ
ขอท่านผู้เจริญ เชิญรับสักการะอันมีค่าของข้าพเจ้า
ทั้งหลายด้วยเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺเฆ ความว่า ข้าพเจ้าขอต้อนรับ
ท่านผู้เจริญ ในสิ่งของอันมีราคาควรเพื่อการต้อนรับแขก. บทว่า กุรุเต โน
ความว่า ขอเชิญท่านผู้เจริญจงรับประเคน สิ่งอันมีค่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย
ด้วยเถิด.
ครั้นพระเจ้าสัมภูตบัณฑิต ทรงทำการปฏิสันถาร ด้วยพระดำรัสอัน
อ่อนหวานอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแบ่งราชสมบัติถวายกึ่งหนึ่งจึงตรัสพระคาถา
นอกนี้ ความว่า
ขอเชิญพระเชษฐาทรงสร้างปรางค์ปราสาท อัน
เป็นที่อยู่น่ารื่นรมย์สำหรับพระองค์เถิด จงทรงบำรุง
บำเรอด้วยหมู่นารีทั้งหลาย โปรดให้โอกาสเพื่ออนุ-
เคราะห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด แม้เราทั้งสองก็จะครอบ
ครองอิสริยสมบัตินี้ร่วมกัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิม อิสฺสริย ความว่า เราจะเป็นกษัตริย์
กันทั้งสององค์ แบ่งราชสมบัติกันคนละครึ่ง แล้วเสวยราชย์ครอบครองอยู่
ในอุตตรปัญจาลนคร แคว้นกปิลรัฐ.
พระจิตตบัณฑิตดาบสฟังพระดำรัส ของพระเจ้าสัมภูตราชแล้ว
เมื่อจะแสดงธรรมเทศนาถวาย จึงกล่าวคาถา ๖ คาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 47
ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ทรงเห็นผลแห่งสุจริต
อย่างเดียว ส่วนอาตมาภาพเห็นผลแห่งสุจริต และ
ทุจริตที่สั่งสมไว้แล้ว เป็นวิบากใหญ่จึงสำรวมตน
เท่านั้น มิได้ปรารถนาบุตร ปศุสัตว์หรือทรัพย์ ชีวิต
ของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ มีกำหนดร้อยปีเป็นอย่าง
มาก ไม่เกินกำหนดนั้นไปได้เลย ย่อมจะเหือดแห้งไป
เหมือนไม้อ้อที่ถูกตัดแล้ว มีแต่จะเหี่ยวแห้งไปฉะนั้น
ในช่วงชีวิตอันจะต้องเหือดแห้งไปนั้น จะมัวเพลิด-
เพลินไปไย จะมัวเล่นคึกคะนองไปทำไม ความยินดี
จะเป็นประโยชน์อะไร ประโยชน์อะไรด้วยการแสวง
หาทรัพย์ จะมีประโยชน์อะไรด้วยบุตรและภรรยา
สำหรับอาตมา ดูก่อนมหาบพิตร อาตมาพ้นแล้วจาก
เครื่องผูก อาตมารู้ชัดอย่างนี้ว่า มัจจุราชจะไม่รังควาน
เราเป็นอันไม่มี เมื่อบุคคลถูกมัจจุราชครอบงำแล้ว
ความยินดีจะเป็นประโยชน์อะไร จะมีประโยชน์อะไร
ด้วยการแสวงหาทรัพย์ ดูก่อนมหาบพิตร ผู้เป็น
จอมนระ ชาติกำเนิดของตนเราไม่สม่ำเสมอกัน
กำเนิดแห่งคนจัณฑาลจัดว่าเลวทรามในระหว่างมนุษย์
เมื่อชาติก่อนเราทั้งสองได้อยู่ร่วมกัน ในครรภ์แห่ง
นางจัณฑาล เพราะกรรมอันชั่วช้าของตน เราทั้งสอง
ได้เกิดเป็นคนจัณฑาล ในกรุงอุชเชนีอวันตีชนบท
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นเนื้อสองตัว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 48
พี่น้อง อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ครั้นจุติจากอัตภาพ
นั้นแล้ว ได้เกิดเป็นนกเขาสองตัวพี่น้อง อยู่ฝั่ง
รัมมทานที ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว คราวนี้
อาตมาภาพเกิดเป็นพราหมณ์ มหาบพิตรทรงสมภพ
เป็นกษัตริย์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุจฺจริตสฺส ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร
พระราชสมภาร พระองค์ทรงเห็นแต่ผลแห่งสุจริตอย่างเดียว ส่วนอาตมาภาพ
เห็นทั้งผลแห่งทุจริตและสุจริตทีเดียว ด้วยว่าเราทั้งสองได้บังเกิดในกำเนิดคน
จัณฑาล ในอัตภาพที่ ๔ แต่อัตภาพนี้ ด้วยผลแห่งทุจริต พากันรักษาศีลอยู่ใน
อัตภาพนั้นไม่นาน ด้วยผลแห่งศีลอันสุจริตนั้น พระองค์ทรงบังเกิดในตระกูล
กษัตริย์ อาตมาภาพเกิดในตระกูลพราหมณ์ เพราะอาตมาภาพเห็นผลแห่ง
ทุจริตและสุจริตอันเคยสั่งสมดีแล้ว ว่าเป็นวิบากใหญ่อย่างนี้ จึงจักสำรวมตน
เท่านั้น ด้วยความสำรวมคือศีล จะปรารถนาบุตร ปศุสัตว์ หรือธนสารสมบัติ
ก็หามิได้.
บทว่า ทเสวิมา วสฺสทสา ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า เพราะ
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลกนี้ มีกำหนดสิบปีสิบหน คือร้อยปีเท่านั้น
ด้วยสามารถแห่งหมวดสิบเหล่านี้ คือ มันททสกะ สิบปีแห่งความเป็นเด็กอ่อน
๑ ขิฑฑาทสกะ สิบปีแห่งการเล่นคึกคะนอง ๑ วัณณทสกะ สิบปีแห่งความ
สวยงาม ๑ พลทสกะ สิบปีแห่งความมีกำลังสมบูรณ์ ๑ ปัญญาทสกะ สิบปี
แห่งความมีปัญญารอบรู้ ๑ หานิทสกะ สิบปีแห่งความเสื่อม ๑ ปัพภารทสกะ
สิบปีแห่งความมีกายเงื้อมไปข้างหน้า ๑ วังกทสกะ สิบปีแห่งความมีกายคดโกง
๑ โมมูหทสกะ สิบปีแห่งความหลงเลอะเลือน ๑ สยนทสกะ สิบปีแห่งการ
นอนอยู่กับที่ ๑. ชีวิตนี้ย่อมไม่ถึงขั้นลำดับทสกะเหล่านี้ครบทั้งหมด ตามที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 49
กำหนดไว้. โดยที่แท้ยังไม่ทันถึงเขตที่กำหนดนั้นเลย ก็ซูบซีดเหี่ยวแห้งไป
ดังไม้อ้อที่ถูกตัดแล้วฉะนั้น ถึงแม้สัตว์เหล่าใดมีอายุอยู่ได้ครบ ๑๐๐ ปีบริบูรณ์
รูปธรรมและอรูปธรรมของสัตว์แม้เหล่านั้น อันเป็นไปในมันททสกะถูกตัดแล้ว
ย่อมผันแปรเหือดแห้งอันตรธานไป ในระยะมันททสกะนั่นเอง ดุจไม้อ้อที่เขา
ตัดแล้วตากไว้ที่แดดฉะนั้น. ที่จะล่วงเลยกำหนดนั้น จนถึงขั้นขิฑฑาทสกะ
หามิได้ วัณณทสกะเป็นต้น อันเป็นไปแล้วในขิฑฑาทสกะเป็นต้นก็อย่างเดียว
กัน.
บทว่า ตตฺถ ความว่า เมื่อชีวิตนั้นต้องซูบซีดเหี่ยวแห้งไปด้วยอาการ
อย่างนี้ ความเพลิดเพลินยินดีเพราะอาศัยเบญจกามคุณ จะมีประโยชน์อะไร ?
การเล่นคึกคะนองด้วยสามารถแห่งการเล่นทางกายเป็นต้น จะมีประโยชน์อะไร
ความยินดีด้วยสามารถแห่งความโสมนัส จะมีประโยชน์อะไร ? การแสวงหา
ธนสารสมบัติจะมีประโยชน์อะไร ? ประโยชน์อะไร ด้วยลูก ด้วยเมียของ
อาตมาภาพ อาตมาภาพหลุดพ้นแล้วจากเครื่องผูกคือบุตรและภรรยานั้น.
บทว่า อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส ความว่า อันมฤตยูผู้กระทำที่สุดแห่ง
ชีวิตครอบงำแล้ว. บทว่า ทฺวิปทกนิฏฺา ความว่า (กำเนิดคนจัณฑาล)
นับเป็นกำเนิดต่ำต้อย ในระหว่างมวลมนุษย์ผู้มีสองเท้าด้วยกัน. บทว่า
อวสิมฺหา ความว่า เราแม้ทั้งสองคนได้เคยอยู่ร่วมกันมา.
บทว่า จณฺฑลาหุมฺหา ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า เมื่อก่อน
นับถอยหลังจากนี้ไป ๔ ชาติ เราทั้งสองได้เกิดเป็นคนจัณฑาลอยู่ในพระนคร
อุชเชนี แคว้นอวันตีรัฐ เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว เราแม้ทั้งสอง ได้เกิด
เป็นมฤคโปดก อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรานที มีนายพรานผู้หนึ่งฆ่าเราแม้ทั้งสอง
ซึ่งยืนพิงกันอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรานั้น จนสิ้นชีวิต
เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วไปเกิดเป็นนกเขา อยู่ร่วมกันที่ฝั่งน้ำ "รัมมทานที"
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 50
มีเนสาทผู้หนึ่งดักข่ายทำลายเราให้ถึงตายด้วยการประหารคราวเดียวเท่านั้น ครั้น
เคลื่อนจากอัตภาพนั้น มาในชาตินี้ เราทั้งสองเกิดเป็นพราหมณ์ และกษัตริย์
คือ อาตมาภาพเกิดในตระกูลพราหมณ์ในพระนครโกสัมพี พระองค์เกิดเป็น
กษัตริย์ในพระนครนี้ ครั้นพระโพธิสัตว์ ประกาศชาติกำเนิดอันลามกต่ำต้อย
ที่ผ่านมาแล้ว แก่พระเจ้าสัมภูตราชนั้น ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล้วแสดงว่า
อายุสังขาร แม้ในชาตินี้มีเวลาเล็กน้อย ให้พระเจ้าสัมภูตราชทรงเกิดอุตสาหะ
ในบุญกุศลทั้งหลาย ได้กล่าวคาถา ๔ คาถา ติดต่อกันไป ความว่า
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรานำเข้าไปสู่ความ
ตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย เมื่อนรชน
ถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้ต้านทาน ดู-
ก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำ
ของอาตมาภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้งหลายมีทุกข์เป็น
กำไรเลย ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรานำเข้าไปสู่
ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย เมื่อ
นรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้ต้านทาน
ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำ
ของอาตมภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้งหลาย อันมีทุกข์
เป็นผลเลย ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรานำเข้าไปสู่
ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลาย เป็นของน้อย เมื่อ
นรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้ต้านทาน
ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำ
ของอาตมภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้งหลาย อันมีศีรษะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 51
เกลือกกลั้วด้วยกิเลสธุลี ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรา
นำเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของ
น้อย ชราย่อมกำจัดวรรณะของนรชนผู้แก่เฒ่า ดูก่อน
พระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำของ
อาตมาภาพ อย่าทรงทำกรรมที่ให้เข้าถึงนรกเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปนียติ ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า
ชีวิตแม้นี้ ย่อมเข้าไปใกล้ความตาย เพราะอายุของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นนี้
มีน้อย ชื่อว่า นิดหน่อยเพราะแล่นไปได้น้อยบ้าง เพราะดำรงอยู่ได้น้อยบ้าง
เป็นเช่นเดียวกับหยาดน้ำค้างที่ติดอยู่ปลายหญ้า อันเหือดแห้งด้วยแสงพระ-
อาทิตย์อุทัยฉะนั้น.
บทว่า น สนฺติ ตาณา ความว่า เพราะว่าเมื่อนรชนอันชรานำ
เข้าไปใกล้ความตายแล้ว ปิยชนทั้งหลายมีบุตรเป็นต้น จะเป็นผู้ที่ต้านทาน
ป้องกันไว้ได้ ก็หามิได้. บทว่า มเมว วากฺย ความว่า ซึ่งถ้อยคำของ
อาตมาภาพนี้. บทว่า มากาสิ ความว่า อย่าได้ถึงความประมาทมัวเมา
เพราะเหตุแห่งกามคุณมีรูปเป็นต้น แล้วกระทำกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไรอันเป็น
เครื่องให้เจริญด้วยทุกข์ในอบายมีนรกเป็นต้น. บทว่า ทุกฺขผลานิ ได้แก่
กรรมที่มีทุกข์เป็นผล. บทว่า รชสฺสิรานิ ได้แก่ กรรม อันเป็นเหตุให้
ศีรษะเกลือกกลั้วด้วยธุลี คือกิเลส. บทว่า วณฺณ ความว่า ชราย่อมกำจัด
วรรณะแห่งสรีระของนรชน ผู้เสื่อมวัยทรุดโทรม บทว่า นิรยูปปตฺติยา
ความว่า อย่าได้สร้างกรรมเพื่อจะไปบังเกิดในนรก อันหาความยินดีมิได้เลย.
เมื่อพระมหาสัตว์เจ้ากล่าวอยู่อย่างนี้ พระเจ้าสัมภูตราชทรงรู้สึกพระ-
องค์ แล้วตรัสพระคาถา ๓ คาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 52
ข้าแต่ภิกษุ ถ้อยคำของพระคุณเจ้านี้เป็นคำจริง
แท้ทีเดียว พระฤาษีกล่าวไว้ฉันใด คำนี้ก็เป็นฉันนั้น
แต่ว่ากามทั้งหลายของข้าพเจ้ายังมีอยู่มาก กามเหล่า
นั้น คนเช่นข้าพเจ้าสละได้ยาก ช้างจมอยู่ท่ามกลาง
หล่มแล้ว ย่อมไม่อาจถอนตนไปสู่ที่ดอนได้ด้วยตนเอง
ฉันใด ข้าพเจ้าจมอยู่ในหล่มคือกามกิเลส ก็ยังไม่
สามารถปฏิบัติตนตามทางของภิกษุได้ฉันนั้น ข้าแต่
พระคุณเจ้าผู้เจริญ อนึ่ง บุตรจะมีความสุขได้ด้วยวิธีใด
มารดาบิดาพร่ำสอนบุตรด้วยวิธีนั้นฉันใด ข้าพเจ้าละ
จากโลกนี้ไปแล้วจะพึงเป็นผู้มีความสุขอื่นนานได้ด้วย
วิธีใด ขอพระคุณเจ้าโปรดพร่ำสอนข้าพเจ้า ด้วยวิธี
นั้น ฉันนั้นเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนปฺปรูปา ความว่า กามกิเลสทั้งหลาย
ของข้าพเจ้า ยังมีชาติมิใช่นิดหน่อย คือมากมาย หาประมาณมิได้. บทว่า
เต ทุจฺจชา มาทิสเกน ความว่า ข้าแต่ภิกษุผู้เชษฐภาดา ท่านละกิเลส
ทั้งหลายดำรงตนอยู่ได้แล้ว ส่วนข้าพเจ้ายังจมอยู่ในเปือกตม คือ กามกิเลส
เพราะเหตุนั้น คนเช่นข้าพเจ้าละกามกิเลสเหล่านั้นได้ยากยิ่ง.
ด้วยบทว่า นาโค ยถา นี้ พระเจ้าสัมภูตราชทรงแสดงถึงความที่
พระองค์จมลงในเปลือกตมคือกามกิเลส. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยสนฺโน
ความว่า ข้าพเจ้าจมลงแล้ว คือ ลื่นไหลลงแล้ว ได้แก่ ถลำลงไปแล้ว.
อีกอย่างหนึ่งปาฐะ ก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า มคฺค ได้แก่ มรรคาแห่ง
โอวาทานุสาสนีของท่าน. บทว่า นานุพฺพชามิ ความว่า ข้าพเจ้าไม่สามารถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 53
จะบรรพชาได้ ขอท่านจงโปรดให้โอวาทแก่ข้าพเจ้าผู้ดำรงอยู่ในฆรวาสวิสัยนี้.
เท่านั้นเถิด. บทว่า อนุสาสเร แปลว่า ย่อมพร่ำสอน.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะพระเจ้าสัมภูตราชนั้นว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ผู้จอมนรชน ถ้ามหาบพิตร
ไม่สามารถละกามของมนุษย์เหล่านี้ได้ไซร้ มหา-
บพิตรจงทรงเริ่มตั้งพลีกรรมอันชอบธรรมเถิด แต่การ
กระทำอันไม่เป็นธรรมขออย่าได้มีในรัฐสีมาของมหา-
บพิตรเลย ทูตทั้งหลายจงไปยังทิศทั้ง ๔ นิมนต์สมณะ
พราหมณ์ทั้งหลายมา มหาบพิตรจงทรงบำรุงสมณะ
พราหมณ์ทั้งหลายด้วยข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัย มหาบพิตรจงเป็นผู้มีกมลจิตอันผ่องใส
ทรงอังคาสสมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ
ได้ทรงบริจาคทานตามสติกำลัง และทรงเสวยแล้ว
เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายไม่ติเตียน จงเสด็จ
เข้าถึงสวรรคสถานเถิด. ดูก่อนมหาบพิตร ก็ถ้าความ
เมาจะพึงครอบงำมหาบพิตรผู้อันหมู่นารีทั้งหลายแวด-
ล้อมอยู่ มหาบพิตรจงทรงมนสิการคาถานี้ไว้ แล้วพึง
ตรัสคาถานี้ในท่ามกลางบริษัทว่า เมื่อชาติก่อนเราเป็น
คนนอนอยู่กลางแจ้ง อันมารดาจัณฑาลเมื่อจะไปป่า
ให้ดื่มน้ำนม มาแล้ว นอนคลุกคลีอยู่กับสุนัขทั้งหลาย
จนเติบโต มาบัดนี้ คนนั้นใคร ๆ เขาก็เรียกกันว่า
พระราชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 54
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น อุตฺสาหเส ความว่า ถ้าหาก
พระองค์จะไม่สามารถ. บทว่า ธมฺมพลึ ความว่า จงยึดเหนี่ยวเอาธรรมิกพลี
อย่าให้บกพร่องโดยธรรมสม่ำเสมอ. บทว่า อธมฺมถาโร เต ความว่า
อย่าทำลายวินิจฉัยธรรมอันโบราณกษัตริย์ทั้งหลายตั้งไว้ ประพฤติธรรมจรรยา.
บทว่า นิมนฺติตา ความว่า เชื้อเชิญอาราธนาสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่
ในธรรมมา. บทว่า ยถานุภาว ความว่า ตามสติกำลังของตน. บทว่า
อิมเมว คาถ พระโพธิสัตว์กล่าวหมายถึงข้อความคาถาที่จะกล่าวต่อไป ณ
บัดนี้.
ในคาถานั้น มีอธิบายดังนี้ ดูก่อนมหาราชเจ้า ถ้าหากความมัวเมา
จะพึงครอบงำพระองค์ คือ ถ้าหากความมานะถือตัว ปรารภกามคุณมีรูป
เป็นต้น หรือปรารภความสุขเกิดแต่ราชสมบัติจะพึงบังเกิดขึ้นแก่พระองค์ ผู้
ห้อมล้อมด้วยหมู่สนมนารีทั้งหลายไซร้ ทันทีนั้นพระองค์พึงทรงจินตนาการว่า
ในชาติปางก่อนเราเกิดในกำเนิดจัณฑาล ได้หลับนอนในที่ซึ่งเป็นอัพโภกาส
กลางแจ้ง เพราะไม่มีแม้เพียงกระท่อมมุงด้วยหญ้ามิดชิด ก็แลในกาลนั้น
นางจัณฑาลีผู้เป็นมารดาของเรา เมื่อจะไปสู่ป่า เพื่อหาฟืนและผักเป็นต้น
ให้เรานอนกลางแจ้งท่ามกลางหมู่ลูกสุนัข ให้เราดื่มนมของตนแล้วไป เรานั้น
แวดล้อมไปด้วยลูกสุนัข ดื่มนมแห่งแม่สุนัข พร้อมด้วยลูกสุนัขเหล่านั้น จึง
เจริญวัยเติบโต เราเป็นผู้มีเชื้อชาติต่ำช้ามาอย่างนี้ แต่วันนี้เกิดเป็นผู้ที่ประชาชน
เรียกว่ากษัตริย์ ดูก่อนมหาราชเจ้า เพราะเหตุนี้แล เมื่อพระองค์จะทรงสอน
ตนเองด้วยเนื้อความนี้ พึงตรัสคาถาว่า ในชาติปางก่อนเราเป็นสัตว์นอนอยู่ใน
อันโภกาสกลางแจ้ง เมื่อนางจัณฑาลีผู้มารดาไปสู่ป่า เที่ยวไปทางโน้นบ้าง
ทางนี้บ้าง เป็นผู้อันแม่สุนัขสงสาร ให้ดื่มนม คลุกคลีอยู่กับพวกลูก ๆ จึงเจริญ
เติบโตมาได้ แต่วันนี้ เรานั้นอันใคร ๆ เขาเรียกกันว่าเป็นกษัตริย์ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 55
พระมหาสัตว์ครั้นให้โอวาทแก่พระเจ้าสัมภูตราชอย่างนี้แล้วจึงกล่าวว่า
อาตมาภาพถวายโอวาทแก่พระองค์แล้ว บัดนี้พระองค์จงทรงผนวชเสียเถิด
อย่าทรงเสวยวิบากแห่งกรรมของตนด้วยตนเลย แล้วเหาะขึ้นไปในอากาศยังละออง
ธุลีพระบาทให้ตกเหนือเศียรเกล้าของพระราชา แล้วเหาะไปยังหิมวันตประเทศ
ทันที ฝ่ายพระราชาทอดพระเนตรดูพระดาบสนั้นไปแล้ว เกิดความสังเวช
สลดพระทัย ยกราชสมบัติให้แก่ราชโอรสองค์ใหญ่ ตรัสสั่งให้พลนิกายกลับ
ไปแล้ว บ่ายพระพักตร์เสด็จไปยังหิมวันตประเทศ (เพียงองค์เดียว) พระ-
มหาสัตว์เจ้า ทรงทราบการเสด็จมาของพระราชาแล้ว แวดล้อมด้วยหมู่ฤาษี
เป็นบริวาร มาต้อนรับพระราชาให้ทรงผนวชแล้วสอนกสิณบริกรรม. พระ-
สัมภูตดาบส บำเพ็ญฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว. พระดาบสทั้งสองแม้เหล่านั้น
ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ด้วยประการฉะนี้.
พระศาสดาครั้นนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ-
ทั้งหลาย โปราณกบัณฑิต แม้จะท่องเที่ยวไป ๓-๔ ภพ ก็ยังเป็นผู้มีความ
คุ้นเคยรักใคร่สนิทสนม มั่นคงอย่างนี้โดยแท้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า สัมภูต-
ดาบสในครั้งนั้นได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วนจิตตบัณฑิตดาบส ได้มาเป็น
เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาจิตตสัมภูตชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 56
๓. สีวิราชชาดก
ว่าด้วยการให้ดวงตาเป็นทาน
[๒๐๖๖] ข้าพระพุทธเจ้า เป็นคนชราไม่แลเห็น
ในที่ไกล มาเพื่อจะทูลขอพระเนตร ข้าพระพุทธเจ้า
มีนัยน์ตาข้างเดียว ข้าพระพุทธเจ้า ทูลขอแล้ว ขอ
พระองค์ได้โปรดพระราชทานพระเนตรข้างหนึ่ง แก่
ข้าพระพุทธเจ้าเถิด.
[๒๐๖๗] ดูก่อนวณิพก ใครเป็นผู้แนะนำท่าน
ให้มาขอดวงตาเรา ณ ที่นี้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
ดวงตาใด ว่ายากที่บุรุษจะสละได้ ท่านมาขอดวงตา
นั้น อันเป็นอวัยวะเบื้องสูง ยากที่จะสละได้ง่าย ๆ.
[๒๐๖๘] ในเทวโลกเขาเรียกผู้ใดว่า สุชัมบดี
ในมนุษยโลกเขาเรียกท่านผู้นั้นว่า " มฆวา " ข้าพระ-
พุทธเจ้าเป็นวณิพก ท่านผู้นั้นแนะนำให้มาขอ
พระเนตร ณ ที่นี้ ข้าพระพุทธเจ้าเป็นวณิพก การขอ
ของข้าพระพุทธเจ้าไม่มีสิ่งใดจะยิ่งไปกว่า ขอพระองค์
ทรงพระราชทานพระเนตร แก่ข้าพระพุทธเจ้าผู้มาขอ
เถิด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า ดวงตาใดยากที่บุรุษจะ
สละได้ ขอพระองค์โปรดพระราชทานดวงพระเนตร
นั้น ที่ไม่มีสิ่งอื่นจะยิ่งกว่า แก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 57
ท่านมาด้วยประโยชน์อันใด ปรารถนาประโยชน์
สิ่งใด ความดำริเหล่านั้น เพื่อประโยชน์นั้น ๆ ของ
ท่านจงสำเร็จเถิด ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงได้ดวงตา
เถิด เมื่อท่านขอข้างเดียว เราจะให้ทั้งสองข้าง ขอ
ท่านจงมีจักษุด้วยจักษุของเราไปเถิด ท่านปรารถนา
สิ่งใดจากเราผู้มุ่งหมายอยู่ สิ่งนั้นจงสำเร็จแก่ท่าน
เถิด.
[๒๐๖๙] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประ-
เสริฐ ของข้าพระองค์ทั้งหลาย พระองค์อย่าทรง
พระราชทานดวงพระเนตรเลย อย่าทรงทอดทิ้งข้า
พระพุทธเจ้าทั้งปวงเลย ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอ
พระองค์ทรงพระราชทานทรัพย์เถิด แก้วมุกดา แก้ว
ไพฑูรย์มีเป็นอันมาก ข้าแต่มหาราชเจ้าผู้ทรงพระคุณ
อันประเสริฐ พระองค์จงทรงพระราชทานรถที่เทียม
แล้ว ม้าอาชาไนย ช้างตัวประเสริฐที่ตบแต่งแล้ว ที่อยู่
และเครื่องบริโภคที่ทำด้วยทองคำเถิด ข้าแต่พระองค์
ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์จงทรงพระราชทานเหมือนกับ
ชาวสีพีทั้งปวง ที่มีเครื่องใช้สอย มีรถแวดล้อม
พระองค์อยู่โดยรอบทุกเมื่อ ฉะนั้นเถิด.
[๒๐๗๐] ผู้ใดแลพูดว่าจักให้ แล้วมากลับใจว่า
ไม่ให้ ผู้นั้นเหมือนกับสวมบ่วงที่ตกลงยังพื้นดินไว้ที่
คอ ผู้ใดแลพูดว่าจักให้ แล้วมากลับใจว่าไม่ให้ ผู้นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 58
เป็นคนลามกยิ่งกว่าผู้ที่ลามก ทั้งจะต้องเข้าถึงสถานที่
ลงอาญาของพญายม ความจริงผู้ขอได้ขอสิ่งใดไว้
ผู้ให้ก็ควรจะให้สิ่งนั้นแหละ ผู้ขอยังไม่ได้ขอสิ่งใดไว้
ผู้ให้ก็อย่าพึงให้สิ่งนั้น พราหมณ์ได้ขอสิ่งใดไว้กะเรา
เราก็จะให้สิ่งนั้นนั่นแหละ.
[๒๐๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชา พระ-
องค์ทรงปรารถนา พระชนมายุ วรรณะ สุขะ และพละ
อะไรหรือ จึงทรงพระราชทานพระเนตร พระองค์
ทรงเป็นพระราชาแห่งชาวสีพี ไม่มีใครประเสริฐยิ่ง
ไปกว่า ทรงพระราชทานพระเนตร เพราะเหตุปรโลก
หรืออย่างไร ?.
[๒๐๗๒] เราให้ดวงตาเป็นทานนั้น เพราะยศก็
หาไม่ เราจะได้ปรารถนาบุตร ทรัพย์หรือแว่นแคว้น
เพราะผลแห่งการให้ดวงตานี้ก็หาไม่ อีกประการหนึ่ง
ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ท่านได้เคยประพฤติกันมา
แล้วแต่โบราณ เพราะเหตุนี้แหละ ใจของเราจึงยินดี
ในทาน.
[๒๐๗๓] ดวงตาทั้งสองข้างจะได้เป็นที่เกลียดชัง
ของเราก็หาไม่ ตนของตนเองก็หาได้เป็นที่เกลียดชัง
ของเราไม่ พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา
เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้ดวงตา
[๒๐๗๔] ดูก่อนสีวิกะ ท่านเป็นมิตรสหายของ
เรา ท่านเป็นคนศึกษามาดีแล้ว จงกระทำตามคำของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 59
เราให้ดี จงควักดวงตาทั้งสองของเรา ผู้ปรารถนาอยู่
แล้ววางลงในมือของพราหมณ์วณิพกเถิด.
[๒๐๗๕] พระเจ้าสีวิราช ทรงเตือนให้หมอ
สีวิกะ กระทำตามพระราชดำรัส หมอสีวิกะควักดวง
พระเนตรของพระราชาออกแล้ว ทรงพระราชทานแก่
พราหมณ์ พราหมณ์ก็เป็นคนตาดี พระราชาก็เข้าถึง
ความเป็นคนตาบอด.
[๒๐๗๖] นับแต่นั้นมาสองสามวัน เมื่อพระ-
เนตรทั้งสองมีเนื้องอกขึ้นเต็มแล้ว พระราชาผู้บำรุง
สีพีรัฐ จึงตรัสเรียกนายสารถีผู้เข้าเฝ้าอยู่นั้นว่า ดูก่อน
สารถี ท่านจงเทียมยานเถิด เสร็จแล้วจงบอกให้เรา
ทราบ เราจะไปยังอุทยาน จะไปยังสระโบกขรณี และ
ราวป่า พอพระเจ้าสีวิราชเจ้าไปประทับนั่งขัดสมาธิ
ริมขอบสระโบกขรณีแล้ว ท้าวสุชัมบดีสักกเทวราช
ก็เสด็จมาเฝ้าท้าวเธอ.
[๒๐๗๗] หม่อมฉันเป็นท้าวสักกะจอมแห่งเทพ
มาในสำนักของพระองค์แล้ว ข้าแต่พระราชาฤาษี ขอ
พระองค์จงทรงเลือกเอาพร ตามที่พระทัยปรารถนา
เถิด.
[๒๐๗๘] ข้าแต่ท้าวสักกเทวราช ทรัพย์ก็ดี กำลัง
ก็ดี ของหม่อมฉันมีเพียงพอแล้ว อนึ่ง คลังของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 60
หม่อมฉันก็มีเป็นอันมาก บัดนี้ หม่อมฉันเป็นคน
ตาบอด พอใจความตายเท่านั้น.
[๒๐๗๙] ดูก่อนบรมกษัตริย์ ผู้เป็นจอมนรชน
พระองค์จงตรัสถ้อยคำที่เป็นสัจจะ เมื่อพระองค์ตรัส
แต่ถ้อยคำที่เป็นสัจจะ พระเนตรจักเกิดขึ้นอีก.
[๒๐๘๐] บรรดาวณิพกทั้งหลาย ผู้มีโคตรต่าง ๆ
กัน มาขอหม่อมฉัน แม้วณิพกคนใดมาขอหม่อมฉัน
แม้วณิพกนั้นก็เป็นที่รักแห่งใจของหม่อมฉัน ด้วยการ
กล่าวคำสัตย์นี้ ขอจักษุจงบังเกิดแก่หม่อมฉันเถิด.
[๒๐๘๑] พราหมณ์ผู้ใดมาขอหม่อมฉันว่า ขอ
พระราชทานพระเนตรเถิด หม่อมฉันได้ให้ดวงตา
ทั้งสอง แก่พราหมณ์ผู้นั้นซึ่งเป็นวณิพก ปีติและ
โสมนัสเป็นอันมากเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันยิ่งนัก ด้วยการ
กล่าวคำสัตย์นี้ ขอจักษุจงบังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันเถิด.
[๒๐๘๒] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบำรุงสีพีรัฐ
พระองค์ตรัสพระคาถาแล้วโดยธรรม พระเนตรทั้งสอง
ของพระองค์ จะปรากฏเป็นตาทิพย์เห็นได้ทะลุภาย
นอกฝา ภายนอกกำแพงและภูเขา ตลอดร้อยโยชน์
โดยรอบ.
[๒๐๘๓] ใครหนอในโลกนี้ ถูกขอทรัพย์อันน่า
ปลื้มใจแล้ว แม้จะเป็นของพิเศษ แม้จะเป็นของที่รัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 61
อย่างดี ของตนจะไม่พึงให้ เราขอเตือนท่านทั้งหลาย
ผู้เป็นชาวแคว้นสีพีทุก ๆ คน ที่มาประชุมกัน จงดู
ดวงตาทั้งสองอันเป็นทิพย์ของเราในวันนี้ ตาทิพย์
ของเราได้เห็นทะลุภายนอกฝา ภายนอกกำแพง และ
ภูเขา ตลอดร้อยโยชน์โดยรอบ ในโลกอันเป็นที่อยู่
อาศัยของสัตว์ทั้งหลายนี้ ไม่มีอะไรที่จะยิ่งไปกว่าการ
บริจาคทาน เราได้ให้จักษุที่เป็นของมนุษย์แล้ว กลับ
ได้จักษุทิพย์ ดูก่อนชาวแคว้นสีพีทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายเห็นจักษุทิพย์ที่เราได้นี้แล้ว จงให้ทานเสีย
ก่อน จึงค่อยบริโภคเถิด บุคคลผู้ให้ทานและบริโภค
แล้ว ตามอานุภาพของตนไม่มีใครจะติเตียนได้ ย่อม
เข้าถึงสุคติสถาน.
จบสีวิราชชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 62
อรรถกถาสีวิราชชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
อสทิสทาน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทูเร จ วส เถโร ว
ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันนิทานนั้น ได้กล่าวไว้พิสดารแล้ว ในสีวิราชชาดก ใน
อัฎฐกนิบาตนั้นเอง.
ก็ในกาลนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงถวายบริขารครบทุกอย่างใน
วันที่ ๗ แล้วทูลขออนุโมทนา. พระศาสดาไม่ได้ตรัสอะไรเลย เสด็จหลีก
ไปแล้ว. พระราชาเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว เสด็จไปยังพระวิหาร ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงทำอนุโมทนา พระ-
ศาสดาตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร เพราะบริษัทไม่บริสุทธิ์ แล้วทรงแสดง
พระธรรมเทศนาโดยพระคาถาว่า น หเว กทริยา เทวโลก วชนฺติ เป็นต้น
แปลว่า คนตระหนี่ทั้งหลาย ย่อมไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย ดังนี้. พระราชา
ทรงเลื่อมใส ทรงบูชาพระตถาคตด้วยผ้าอุตราสงค์ สีเวยยกพัสตร์มีราคาแสนหนึ่ง
แล้วเสด็จกลับพระนคร. ในวันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภา
ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าโกศลราชทรงถวายอสทิสทาน แล้วยังไม่อิ่มด้วย
การถวายทานแม้ขนาดนั้น เมื่อพระทศพลทรงแสดงธรรมแล้ว ได้ถวายผ้า
สีเวยยกพัสตร์อันมีค่าแสนหนึ่งอีก อาวุโสทั้งหลาย ตลอดเวลาที่ท้าวเธอทรง
ถวายทาน ยังไม่รู้สึกอิ่มพระทัยเลย พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายขึ้นชื่อว่า พาหิรภัณฑ์ บุคคลจะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 63
ให้ได้ง่ายก็หาไม่ โปราณกบัณฑิตทั้งหลาย กระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้เป็น
เนินสูงแล้ว ให้ทานบริจาคทรัพย์ วันละหกแสนทุก ๆ วัน ยังไม่อิ่มด้วย
พาหิรกทานเลย ผู้ให้ของรักย่อมได้ของรัก ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลาย จึงได้
ควักดวงตาทั้งสองให้ทานแก่ยาจกผู้มาถึงเฉพาะหน้า แล้วทรงนำอดีตนิทานมา
แสดงดังต่อไปนี้
ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าสีวิมหาราช เสวยราชสมบัติในอริฎฐปุร-
นคร แคว้นสีวีรัฐ พระมหาสัตว์เจ้าบังเกิดเป็นพระราชโอรส ของท้าวเธอ.
พระประยูรญาติทั้งหลายขนานพระนามของพระกุมารนั้นว่า สีวิราชกุมาร.
พระราชกุมารเจริญวัยแล้วไปยังพระนครตักกศิลา ศึกษาศิลปศาสตร์จบแล้ว
กลับมาแสดงศิลปศาสตร์ถวายพระชนกทอดพระเนตร จนได้รับพระราชทาน
ยศเป็นมหาอุปราช ในเวลาต่อมา เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคตแล้วก็ได้เป็น
พระราชา ละการลุอำนาจแก่อคติเสีย ไม่ยังทศพิธราชธรรมให้กำเริบ เสวย
ราชสมบัติโดยธรรม ให้สร้างศาลาโรงทานไว้ ๖ แห่งคือ ที่ประตูพระนคร ๔
แห่ง ท่ามกลางพระนคร ๑ แห่ง และที่ประตูพระราชนิเวศน์อีก ๑ แห่ง
แล้วทรงยังมหาทานให้เป็นไป ด้วยทรงบริจาคทรัพย์วันละ ๖ แสนทุก ๆ วัน
และในวันอัฏฐมี จาตุททสี และปัณณรสี คือวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ
ท้าวเธอเสด็จลงสู่โรงทาน ตรวจตราการให้ทานเป็นราชกรณีกิจประจำ.
คราวหนึ่งเป็นวันปูรณมี ดิถีที่ ๑๕ ค่ำ เวลาเช้าพระเจ้าสีวิราช
ประทับเหนือราชบัลลังก์ ภายใต้สมุสสิตเศวตฉัตร ทรงรำพึงถึงทานที่พระองค์
ทรงบริจาค มิได้ทอดพระเนตรเห็นพาหิรวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ชื่อว่าพระองค์ยัง
ไม่เคยบริจาค จึงทรงพระดำริว่า พาหิรวัตถุที่ชื่อว่า เรายังไม่เคยบริจาค
ไม่มีเลย พาหิรกทานหาได้ยังเราให้ยินดีไม่ เราประสงค์จะให้อัชฌัตติกทาน
โอหนอ เวลาที่เราไปในโรงทานวันนี้ ยาจกคนใดอย่าได้ขอพาหิรวัตถุเลย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 64
พึงเอ่ยออกชื่อขอแต่อัชฌัตติกทานเถิด ก็ถ้าหากว่าใคร ๆ จะเอ่ยปากขอดวง-
หทัยของเราไซร้ เราจะเอาหอกแหวะอุรประเทศนำดวงหทัย ซึ่งมีหยาดโลหิต
ไหลอยู่ออกให้ ดุจถอนปทุมชาติทั้งก้านขึ้นจากน้ำอันใสฉะนั้น ถ้าหากว่าใคร
เอ่ยปากขอเนื้อในสรีรกายของเรา เราจะเถือเนื้อในสรีระให้ ดุจคนขูดจันทน์
แดงด้วยศาสตราสำหรับขูดฉะนั้น ถ้าหากว่าใครเอ่ยปากขอโลหิต เราจะวิ่ง
เข้าไปในปากแห่งยนต์ ให้คนนำภาชนะเข้าไปรองรับจนเต็มแล้วจึงจักให้โลหิต
หรือว่าถ้าใครจะพึงพูดกะเราว่า การงานในเรือนของเราไม่เรียบร้อย ท่านจง
เป็นทาสทำการงานในเรือนของเราดังนี้ เราจักละเพศกษัตริย์เสีย กระทำตน
ให้อยู่นอกตำแหน่ง แล้วประกาศตนทำการงานของทาส ถ้าใครเอ่ยปากขอ
ดวงตาของเรา เราจักควักดวงตาทั้งคู่ออกให้เหมือนดังควักจาวตาลฉะนั้น.
ท้าวเธอทรงดำริต่อไปว่า
วัตถุทานซึ่งเป็นของมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่
เรายังไม่ได้บริจาคไม่มีเลย แม้ยาจกคนใดจะพึงขอ
ดวงตากะเรา เราจะไม่หวั่นไหวให้ดวงตาแก่ยาจกนั้น
ทีเดียว
ดังนี้แล้ว ทรงสรงสนานด้วยหม้อน้ำหอม ๑๖ หม้อทรงประดับตกแต่ง
องค์ด้วยเครื่องสรรพอลังการ เสวยพระกระยาหารที่มีรสอันเลิศต่าง ๆ แล้ว
เสด็จประทับเหนือคอมงคลหัตถีอันประดับตกแต่งแล้ว ได้เสด็จไปสู่โรงทาน.
ท้าวสักกะทรงทราบอัธยาศัยของพระองค์ จึงทรงดำริว่า วันนี้พระเจ้า
สีวิราชทรงพระดำริว่า จักควักดวงพระเนตรออกพระราชทานแก่ยาจกผู้มาถึง
ท้าวเธอจักอาจเพื่อพระราชทานหรือหาไม่หนอ เมื่อจะทดลองพระเจ้าสีวิราช
จึงทรงแปลงเป็นพราหมณ์ แก่ชรา ตาบอด ในเวลาที่พระราชาเสด็จไปสู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 65
โรงทาน ได้ไปยืนอยู่ที่เนินแห่งหนึ่ง ยื่นพระหัตถ์ออกถวายชัยมงคล. พระราชา
ทรงไสช้างพระที่นั่งมุ่งเข้าไปหาพราหมณ์นั้น แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนพราหมณ์
ท่านพูดว่ากระไร ? ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสกะท้าวเธอว่า ข้าแต่
มหาราชเจ้า โลกสันนิวาลทั้งสิ้น กึกก้องด้วยเสียงแซ่ซ้องสาธุการ อาศัยพระอัธ-
ยาศัยอันน้อมไปในทานของพระองค์ ฟุ้งขจรอยู่เป็นนิตย์ ส่วนข้าพระองค์เป็น
คนตาบอด พระองค์มีพระเนตรสองข้าง ดังนี้แล้ว เมื่อจะทูลขอดวงพระเนตร
จึงตรัส พระคาถาที่ ๑ ความว่า
ข้าพระพุทธเจ้าเป็นคนชรา ไม่แลเห็นในที่ไกล
มาเพื่อจะทูลขอพระเนตร ข้าพระพุทธเจ้ามีนัยน์ตา
ข้างเดียว ข้าพระพุทธเจ้าทูลขอแล้ว ขอพระองค์ได้
โปรดพระราชทานพระเนตรข้างหนึ่ง แก่ข้าพระพุทธ-
เจ้าเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูเร ความว่า อยู่ไกลจากที่นี่. บทว่า
เถโร ความว่า เป็นดุจผู้เฒ่าผู้เข้าถึงความคร่ำคร่าเพราะชรา. บทว่า เอกเนตฺตา
ความว่า ขอพระองค์จงทรงพระราชทานพระเนตรข้างหนึ่งแก่ข้าพระพุทธเจ้า
ด้วยเถิด ข้าพระพุทธเจ้าผู้มีนัยน์ตาข้างเดียว จักมีสองข้างได้ด้วยวิธีนี้.
พระมหาสัตว์เจ้าทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว ทรงดำริว่า เรานั่งนึกอยู่ใน
ปราสาท มาเดี๋ยวนี้ทีเดียว เป็นลาภใหญ่ของเรา มโนรถของเราจักถึงที่สุด
ในวันนี้ทีเดียว เราจักบริจาคทานที่ยังไม่เคยบริจาค แล้วทรงมีพระหฤทัย
ชื่นชมโสมนัส ตรัสพระคาถาที่ ๒ ความว่า
ดูก่อนวณิพก ใครเป็นผู้แนะนำท่านให้มาขอ
ดวงตาเรา ณ ที่นี้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวดวงตาใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 66
ว่ายากที่บุรุษจะสละได้ ท่านมาขอดวงตานั้น อันเป็น
อวัยวะเบื้องสูง ยากที่จะสละได้ง่าย ๆ.
ในพระคาถานั้น พระเจ้าสีวิราช ตรัสเรียกท้าวสักกเทวราชว่า
"วณิพก". บทว่า จกฺขุปถานิ นี้เป็นชื่อของจักษุทั้งสองข้าง. บทว่า ยมาหุ
ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวดวงตาใด อันบุรุษสละได้โดยยาก.
เบื้องหน้าแต่นี้ไป พึงทราบสัมพันธคาถาง่าย ๆ โดยนัยอันมาแล้วใน
พระบาลีดังต่อไปนี้ พราหมณ์ทูลตอบว่า
ในเทวโลกเขาเรียกท่านผู้ใดว่า สุชัมบดี ใน
มนุษยโลกเขาเรียกท่านผู้นั้นว่า "มฆวา" ข้าพระพุทธ-
เจ้าเป็นวณิพก ท่านผู้นั้นแนะนำให้มาขอพระเนตร ณ
ที่นี้ ข้าพระพุทธเจ้าเป็นวณิพก การขอของข้าพระ-
พุทธเจ้าไม่มีสิ่งใดจะยิ่งไปกว่า ขอพระองค์ทรงพระ
ราชทานพระเนตรแก่ข้าพระพุทธเจ้าผู้มาขอเถิด บัณ-
ฑิตทั้งหลายกล่าวว่า ดวงตาใดยากที่บุรุษจะสละได้ ขอ
พระองค์โปรดพระราชทานดวงเนตรนั้นที่ไม่มีสิ่งอื่น
จะยิ่งกว่าแก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด.
พระเจ้าสีวิราชทรงสดับแล้ว ตรัสตอบว่า
ท่านมาด้วยประโยชน์อันใดปรารถนาประโยชน์
สิ่งใด ความดำริเหล่านั้น เพื่อประโยชน์นั้น ๆ ของ
ท่านจงสำเร็จเถิด ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงได้ดวงตา
เถิด เมื่อท่านขอข้างเดียว เราจะให้ทั้งสองข้าง ขอ
ท่านจงมีจักษุด้วยจักษุของเราไปเถิด ท่านปรารถนา
สิ่งใดจากเราผู้มุ่งหมายอยู่ ขอสิ่งนั้นจงสำเร็จแก่ท่าน
เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 67
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วนิพฺพโก ได้แก่ ยาจก บทว่า
ยาจโต ความว่า แก่ข้าพระองค์ผู้มาขออยู่. บทว่า วณึ แปลว่า การขอ.
บทว่า เต ความว่า ความมุ่งหมายคือความดำริเพื่อต้องการสิ่งนั้นของท่าน
เหล่านั้น (จงสำเร็จ).
บทว่า สจกฺขุมา ความว่า ท่านนั้นจงเป็นผู้มีจักษุด้วยจักษุของเรา
ไปเถิด. บทว่า ยทจฺฉสิ ตฺว ต เต สมิชฺฌตุ ความว่า ท่านยังปรารถนา
สิ่งใดจากสำนักของเรา ขอสิ่งนั้นจงสำเร็จแก่ท่านเถิด.
พระราชาตรัสเพียงเท่านี้แล้วทรงพระดำริว่า การที่เราจักควักนัยน์ตา
ให้แก่พราหมณ์ในที่นี้ทีเดียว เป็นการไม่เหมาะสมจึงพาพราหมณ์ไปสู่ภายใน
พระราชฐาน แล้วประทับบนราชอาสน์ตรัสสั่งให้เรียกหมอชื่อว่าสีวิกะมาตรัสว่า
เจ้าจงชาระนัยน์ตาของเราให้สะอาด. ได้มีเสียงเอิกเกริกโกลาหลเป็นอันเดียวกัน
ทั่วทั้งพระนครว่า ได้ยินว่า พระราชาของพวกเรา มีพระราชประสงค์จะควัก
พระเนตรทั้งสอง พระราชทานแก่พราหมณ์ ลำดับนั้น ข้าราชการมีเสนาบดี
เป็นต้น ราชวัลลภ ชาวพระนครและนางสนมทั้งหลาย มาประชุมพร้อมกัน
เมื่อจะกราบทูลทัดทานพระราชา ได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ของ
ข้าพระองค์ทั้งหลาย พระองค์อย่าทรงพระราชทาน
ดวงพระเนตรเลย อย่าทรงทอดทิ้งข้าพระพุทธเจ้าทั้ง-
ปวงเลย ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์พระราช-
ทานทรัพย์เถิด แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ มีเป็นอันมาก
ข้าแต่มหาราชเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระองค์
จงทรงพระราชทานรถทั้งหลายที่เทียมแล้ว ม้าอาชา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 68
ไนย ช้างตัวประเสริฐที่ตบแต่งแล้ว ที่อยู่และเครื่อง
บริโภคที่ทำด้วยทองคำเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
ขอพระองค์จงทรงพระราชทานเหมือนกับชาวสิพีทั้ง-
ปวง ที่มีเครื่องใช้สอย มีรถเฝ้าแหนพระองค์อยู่โดย
รอบ ทุกเมื่อฉะนั้นเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรกฺกริ แปลว่า ทอดทิ้ง. อธิบายว่า
ชาวสีพีทั้งหลายพากันกราบทูล ด้วยความประสงค์อย่างเดียวเท่านั้นว่า ก็เมื่อ
พระองค์พระราชทานดวงพระเนตรแล้ว พระองค์จักครอบครองราชสมบัติ
ไม่ได้ คนอื่นจักเป็นพระราชาแทน เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จักชื่อว่าเป็นผู้ถูกพระองค์ทรงสละเสียแล้ว. บทว่า ปริกเรยฺยุ แปลว่า พึง
แวดล้อม.
บทว่า เอว เทหิ ความว่า ชาวสีพีทั้งหลายจะพึงได้เฝ้าแหนพระองค์
ผู้มีพระเนตรไม่บกพร่องอยู่ตลอดกาลนาน โดยวิธีใด พระองค์จงทรงพระราช-
ทานโดยวิธีนั้นเถิด คือพระองค์จงทรงพระราชทานแต่เพียงทรัพย์แก่พราหมณ์
เท่านั้น อย่าได้ทรงพระราชทานคู่พระเนตรเลย เพราะเมื่อพระองค์ทรงพระ-
ราชทานคู่พระเนตรไปแล้ว ประชาชนชาวสีพีทั้งหลาย จักไม่ได้เฝ้าแหนพระ
องค์ต่อไป.
ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถา ความว่า
ผู้ใดแลพูดว่าจักให้ แล้วมากลับใจว่าไม่ให้ ผู้นั้น
เหมือนกับสวมบ่วงที่ตกลงยังพื้นดินไว้ที่คอ ผู้ใดแล
พูดว่าจักให้ แล้วมากลับใจว่าไม่ให้ ผู้นั้นเป็นคนลามก
ยิ่งกว่าผู้ที่ลามก ทั้งจะต้องเข้าถึงสถานที่ลงอาญาของ
พญายม ความจริงผู้ขอได้ขอสิ่งใดไว้ ผู้ให้ก็ควรจะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 69
ให้สิ่งนั้นแหละ ผู้ขอยังไม่ได้ขอสิ่งใดไว้ ผู้ให้ก็อย่า
พึงให้สิ่งนั้น พราหมณ์ได้ขอสิ่งใดไว้กะเรา เราก็จัก
ให้สิ่งนั้นนั่นแหละ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิมุญฺจติ แปลว่า สวมใส่. บทว่า
ปาปา ปาปตโร ความว่า ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ที่เลวทรามกว่าผู้ที่เลวทราม.
บทว่า สมฺปตฺโต ยมสาธน ความว่า ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าถึงอุสสุทนรก อัน
เป็นสถานที่ลงอาญาแห่งพญายมโดยแท้. บทว่า ย หิ ยาเจ ความว่า
พระเจ้าสีวิราชตรัสว่า ก็ยาจกขอสิ่งใด แม้ทายกก็ต้องให้สิ่งนั้นทีเดียว ก็
พราหมณ์ผู้นี้ขอจักษุกะเรา หาใช่ขอทรัพย์เช่นแก้วมุกดาเป็นต้นไม่ เรานั้น
จักให้จักษุแก่เขาเท่านั้น.
ลำดับนั้น เมื่ออำมาตย์ทั้งหลาย จะทูลถามท้าวเธอว่า พระองค์จะ
พระราชทานพระจักษุ เพราะทรงปรารถนาอะไร จึงกล่าวคาถา ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชา พระองค์ทรง
ปรารถนา พระชนมายุ วรรณะ สุขะ และพละอะไร
หรือ จึงทรงพระราชทานพระเนตร พระองค์ทรงเป็น
ราชาแห่งชาวสีพี ไม่มีใครประเสริฐยิ่งไปกว่า ทรง
พระราชทานพระเนตร เพราะเหตุปรโลกหรืออย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรโลกเหตุ ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเช่นพระองค์ จำต้องละอิสริยยศส่วนปัจจุบันแล้ว พระราช-
ทานดวงพระเนตร เพราะเหตุแห่งปรโลกหรืออย่างไร ?
ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะตรัสตอบอำมาตย์เหล่านั้น จึงตรัสพระคาถา
ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 70
เราให้ดวงตาเป็นทานนั้น เพราะยศก็หาไม่
เราจะได้ปรารถนาบุตร ทรัพย์หรือแว่นแคว้น เพราะ
ผลแห่งการให้ดวงตานี้ก็หาไม่ อีกประการหนึ่ง ธรรม
ของสัตบุรุษทั้งหลาย ท่านได้ประพฤติกันมาแล้วแต่
โบราณ เพราะเหตุนี้แหละ ใจของเราจึงยินดีในทาน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นวาห ตัดบทเป็น น เว อห. บทว่า
ยสสา ความว่า เพราะเหตุแห่งยศอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ก็หามิได้.
บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉ ความว่า ใช่ว่าเราอยากจะได้บุตร ทรัพย์สมบัติ
แว่นแคว้น เพราะผลแห่งการให้จักษุเป็นทานนี้ก็หามิได้ ก็แต่ว่าข้อนี้ ชื่อว่า
เป็นโบราณมรรค คือเป็นการบำเพ็ญบารมี อันสัตบุรุษคือบัณฑิตได้แก่
พระโพธิสัตว์ผู้สัพพัญญูสั่งสมมาดีแล้ว ด้วยว่าพระโพธิสัตว์ไม่บำเพ็ญบารมี
ให้เต็มแล้ว ชื่อว่าจะมีความสามารถที่จะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิ-
บัลลังก์ก็หามิได้ อนึ่ง เราบำเพ็ญบารมีไว้ ก็ใคร่จะเป็นพระพุทธเจ้า. บทว่า
อิจฺเจว ทาเน นิรโต มโน ความว่า เพราะเหตุนี้ใจของเราจึงได้ยินดี
เฉพาะในทานบริจาค.
แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงแสดงจริยาปิฎก แก่พระ
ธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ เพื่อจะทรงแสดงว่า พระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น
เป็นที่รักกว่าดวงตาแม้ทั้งสองของเรา จึงตรัสว่า
ดวงตาทั้งสองข้างจะได้เป็นที่เกลียดชังของเราก็
หาไม่ ตนของตนเองก็หาได้เป็นที่เกลียดชังของเราไม่
พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้น
เราจึงได้ให้ดวงตา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 71
ก็เมื่ออำมาตย์ทั้งหลาย ได้ฟังพระดำรัสของพระมหาสัตว์แล้ว ไม่อาจ
จะทูลทัดทาน จำต้องนิ่งเฉยอยู่ พระมหาสัตว์เจ้าได้ตรัสกำชับสีวิกแพทย์
ด้วยพระคาถาว่า
ดูก่อนสีวิกะ ท่านเป็นมิตรสหายของเรา ท่าน
เป็นคนศึกษามาดีแล้ว จงกระทำตามคำของเราให้ดี
จงควักดวงตาทั้งสองของเราผู้ปรารถนาอยู่ แล้ววาง
ลงในมือของพราหมณ์วณิพกเถิด.
พระคาถานั้นมีอรรถกถาอธิบายว่า ดูก่อนสีวกแพทย์ผู้สหาย เธอเป็น
ทั้งสหายและมิตรของเรา ได้ศึกษามาในศิลปะของแพทย์เป็นอย่างดีโดยแท้
จงทำตามคำของเราให้สำเร็จประโยชน์ เมื่อเราปรารถนาพิจารณาแลดูนั่นแล
เธอจงควักดวงตาทั้งคู่ของเราออกดังถอนหน่อตาล แล้ววางไว้ในมือของยาจก
ผู้นี้เถิด ดังนี้.
ลำดับนั้น สีวกแพทย์ ทูลเตือนท้าวเธอว่า ขึ้นชื่อว่าการให้จักษุ
เป็นทาน เป็นกรรมหนัก ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์จงใคร่ครวญ
ให้ดี. พระราชาตรัสว่า ดูก่อนสีวิกแพทย์ เราใคร่ครวญดีแล้ว ท่านอย่ามัว
ชักช้าร่ำไรอยู่เลย อย่าพูดกับเราให้มากเรื่องไปเลย. สีวิกแพทย์คิดว่า การที่
นายแพทย์ผู้ศึกษามาดีเช่นเรา จะเอาศาสตราคว้านพระเนตรของพระราชา
ไม่สมควร. เขาจึงบดโอสถหลายขนาน แล้วเอาผลตัวยาอบดอกอุบลเขียว
แล้วถวายให้ทรงถูพระเนตรเบื้องขวา. พระเนตรพร่า เกิดทุกขเวทนาเป็น
กำลัง เขากราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงกำหนด
พระทัยดูเถิด การทำพระเนตรให้เป็นปกติ เป็นภาระของข้าพระพุทธเจ้า.
พระราชาตรัสว่า พ่อหมอ เธอจงหลีกไป อย่ามัวทำช้าอยู่เลย. เขาจึงปรุง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 72
โอสถน้อมเข้าไปให้ทรงถูพระเนตรซ้ำอีก พระเนตรก็หลุดออกจากหลุมพระเนตร
บังเกิดทุกขเวทนาเหลือประมาณ. เขากราบทูลว่า ขอเดชะมหาราชเจ้า ขอ
พระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด การทำพระเนตรให้เป็นปกติ เป็นภาระ
ของข้าพระพุทธเจ้า. พระราชาตรัสว่า หลีกไปเถอะพ่อหมอ อย่าทำชักช้า
อยู่เลย. ในวาระที่ ๓ เขาปรุงโอสถให้แรงขึ้นกว่าเดิม น้อมเข้าไปถวาย. ด้วย
กำลังพระโอสถ พระเนตรก็หมุนหลุดออกจากเบ้าพระเนตร ลงมาห้อยอยู่ด้วย
เส้นเอ็น. เขาจึงกราบทูลซ้ำอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมนรชน ขอพระองค์
จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด การทำพระเนตรให้เป็นปกติ เป็นภาระของข้า
พระพุทธเจ้า. พระราชาตรัสว่า เธออย่าทำการชักช้าอยู่เลย. ทุกขเวทนา
บังเกิดขึ้น เหลือที่จะประมาณ พระโลหิตก็ไหลออก. พระภูษาทรงเปียกชุ่ม
ไปด้วยพระโลหิต นางสนมและหมู่อำมาตย์ทั้งหลาย หมอบเฝ้าอยู่แทบบาทมูล
ของพระราชา ต่างพากันปริเทวนาการพิไรรำพันอึงคะนึงว่า ขอเดชะ พระองค์
ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ขอพระองค์อย่าทรงพระราชทานดวงพระเนตรเลย.
พระราชาทรงอดกลั้นทุกขเวทนา ตรัสว่า พ่อหมอ เธออย่าทำการชักช้าอยู่เลย.
เขารับพระบรมราชโองการแล้ว ประคองพระเนตรด้วยมือซ้าย จับศาสตรา
ตัดเอ็นที่ติดพระเนตรด้วยมือขวา แล้วรับพระเนตรไปวางไว้ในพระหัตถ์ของ
พระมหาสัตว์. พระองค์ทอดพระเนตรเบื้องขวา ด้วยพระเนตรเบื้องซ้าย ทรง
อดกลั้นทุกขเวทนา ตรัสเรียกพราหมณ์ว่า มาเถิดพราหมณ์ แล้วตรัสว่า
สัพพัญญุตญาณเท่านั้น เป็นที่รักกว่านัยน์ตาของเรานี้ ตั้งร้อยเท่า พันเท่า
แสนเท่า ผลที่เราบริจาคดวงตานี้ จงเป็นปัจจัยแก่พระสัพพัญญุคญาณนั้นเถิด
แล้วได้พระราชทานดวงพระเนตรนั้นแก่พราหมณ์ไป. พราหมณ์รับพระเนตร
นั้น ประดิษฐานไว้ในดวงตาของตน. ด้วยอานุภาพของพระเจ้าสีวิราชนั้น
ดวงพระเนตรก็ประดิษฐานอยู่ เป็นเหมือนดอกอุบลเขียวที่แย้มบาน. พระ-
มหาสัตว์เจ้า ทอดพระเนตรดูนัยน์ตาของพราหมณ์นั้น ด้วยพระเนตรเบื้องซ้าย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 73
แล้วทรงดำริว่า โอ อักขิทาน เราได้ให้ดีแล้ว ทรงเสวยปีติอันซ่านไปภายใน
พระหฤทัยหาระหว่างมิได้ จึงได้พระราชทานพระเนตรเบื้องซ้ายนอกนี้อีก.
ท้าวสักกเทวราช ทรงประดิษฐาน แม้พระเนตรเบื้องซ้ายนั้นไว้ในดวงพระเนตร
ของพระองค์ แล้วเสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ เมื่อมหาชนกำลังแลดูอยู่
นั่นแล ได้ออกจากพระนครไปสู่เทวโลกทันที.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาหนึ่ง
คาถาครึ่ง ความว่า
พระเจ้าสีวิราชทรงเตือนให้หมอสีวิกะ กระทำ
ตามพระราชดำรัสแล้ว หมอสีวิกะควักดวงพระเนตร
ของพระราชาออกแล้ว ทรงพระราชทานแก่พราหมณ์
พราหมณ์เป็นคนตาดี พระราชาก็เข้าถึงความเป็น
คนตาบอด.
ไม่สู้นานนัก มังสะพระเนตรทั้งคู่ของพระราชาก็งอกขึ้น. และเมื่อ
งอกขึ้นก็หาถึงความเป็นหลุมไม่ ได้เต็มบริบูรณ์ด้วยก้อนพระมังสะอันนูนขึ้น
เหมือนปมผ้ากัมพล หลุมพระเนตรทั้งสองเป็นเหมือนภาพนัยน์ตาอันนายช่าง
จิตรกรจัดทำ. ทุกขเวทนาก็เสื่อมหายขาดไปสิ้น ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ประทับ
อยู่บนปราสาทสอง-สามวัน ทรงดำริว่า ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติแก่คน
ตาบอด เพราะฉะนั้น เราจักมอบราชสมบัติแก่อำมาตย์ทั้งหลาย ไปสู่พระราช
อุทยาน บวชบำเพ็ญสมณธรรม ดังนี้แล้ว ตรัสสั่งให้อำมาตย์ทั้งหลายมาเฝ้า
ตรัสบอกเนื้อความนั้นแก่อำมาตย์เหล่านั้น แล้วตรัสสั่งว่า กัปปิยการกคนหนึ่ง
สำหรับให้สิ่งของ มีน้ำบ้วนปากเป็นต้น จักอยู่ในสำนักของเรา ท่านทั้งหลาย
จงผูกรางไว้ในที่กระทำสรีรกิจของเราเถิด แล้วตรัสเรียกนายสารถีมาตรัสสั่งว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 74
เจ้าจงเทียมรถ. ส่วนอำมาตย์ทั้งหลาย ไม่ให้พระองค์เสด็จด้วยรถ นำเสด็จ
ไปด้วยพระสุวรรณสีวิกา แล้วให้ประทับอยู่ใกล้ฝั่งสระโบกขรณี จัดแจงวาง
กำลังพิทักษ์รักษาแล้วจึงหลีกไป. พระราชาประทับนั่งบนบัลลังก์ ทรงรำพึง
ถึงทานของพระองค์. ขณะนั้นได้ร้อนไปถึงอาสนะของท้าวสักกเทวราช ท้าว
สักกะทรงรำพึงดู เห็นเหตุการณ์นั้นแล้ว ทรงดำริว่า เราจักให้พรแก่พระเจ้า
สีวิมหาราช แล้วทำพระเนตรให้เป็นปกติ ดังนี้แล้วจึงเสด็จมาที่ฝั่งสระโบกขรณี
นั้น เสด็จดำเนินไป ๆ มา ๆ ไม่ไกลพระมหาสัตว์เจ้า.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
นับแต่นั้นมาสองสามวัน เมื่อพระเนตรทั้งสอง
มีเนื้องอกขึ้นเต็มแล้ว พระราชาผู้บำรุงสีพีรัฐ จึงตรัส
เรียกนายสารถีผู้เฝ้าอยู่นั้นว่า ดูก่อนสารถี ท่านจง
เทียมยานเถิด เสร็จแล้วจงบอกให้เราทราบ เราจะ
ไปยังอุทยาน จะไปยังสระโบกขรณี และราวป่า พอ
พระเจ้าสีวิราชเข้าไปประทับนั่งขัดสมาธิ ริมขอบสระ
โบกขรณีแล้ว ท้าวสุชัมบดีสักกเทวราชก็เสด็จมาเฝ้า
ท้าวเธอ.
ฝ่ายท้าวสักกเทวราช อันพระมหาสัตว์เจ้าทรงสดับเสียงแห่งพระบาท
แล้วตรัสถามว่า นั่นใคร ? จึงตรัสพระคาถาความว่า
หม่อมฉันเป็นท้าวสักกะจอมแห่งเทพ มาใน
สำนักของพระองค์แล้ว ข้าแต่พระราชฤาษี ขอพระ-
องค์จงทรงเลือกเอาพรตามที่พระทัยปรารถนาเถิด.
เมื่อท้าวสักกเทวราชตรัสอย่างนี้แล้ว พระราชาจึงตรัสพระคาถา
ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 75
ข้าแต่ท้าวสักกเทวราช ทรัพย์ก็ดี กำลังก็ดี ของ
หม่อมฉันมีเพียงพอแล้ว อนึ่ง คลังของหม่อมฉันก็มี
เป็นอันมาก บัดนี้ หม่อมฉันเป็นคนตาบอด พอใจ
ความตายเท่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มรณญฺเว รุจฺจติ ความว่า ข้าแต่
เทวราช บัดนี้ ความตายอย่างเดียวเท่านั้น ที่ข้าพเจ้าพอใจเพราะความเป็นคน
ตาบอด ขอพระองค์จงให้ความตายแก่ข้าพเจ้าเถิด.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสกะท้าวเธอว่า ดูก่อนพระเจ้าสีวิราช
ก็พระองค์ทรงพระประสงค์จะสิ้นพระชนม์เอง จึงอยากสิ้นพระชนม์ หรือว่า
อยากสิ้นพระชนม์เพราะเป็นคนตาบอด พระเจ้าสีวิราชทูลตอบว่า ข้าพเจ้า
อยากสิ้นพระชนม์เพราะเป็นคนตาบอด. ท้าวสักกเทวราช ตรัสข้อสนทนาต่อ
ไปว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า ขึ้นชื่อว่าทานจะให้ผลในสัมปรายภพอย่างเดียวเท่านั้น
ก็หามิได้ ย่อมเป็นปัจจัยแม้เพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน ก็พระองค์อันยาจกทูล
ขอพระเนตรข้างเดียว ได้พระราชทานเสียทั้งสองข้าง เหตุนั้น พระองค์โปรด
ทำสัจจกิริยาเถิด แล้วตรัสว่า
ดูก่อนบรมกษัตริย์ผู้เป็นจอนนรชน พระองค์จง
ตรัสถ้อยคำที่เป็นสัจจะ เมื่อพระองค์ตรัสแต่ถ้อยคำที่
เป็นสัจจะ พระเนตรจักเกิดขึ้นอีก.
พระมหาสัตว์เจ้าทรงสดับเช่นนั้นแล้ว ตรัสว่า ข้าแต่ท้าวสักกเทวราช
แม้หากว่าพระองค์ทรงพระประสงค์จะพระราชทานจักษุแก่ข้าพเจ้า ขออย่าต้อง
ให้อุบายอย่างอื่นเลย ดวงจักษุจงเกิดขึ้นด้วยผลแห่งทานของข้าพเจ้าเถิด
เมื่อท้าวสักกะตรัสว่า เราเป็นท้าวสักกเทวราชไม่สามารถจะให้จักษุแก่คนอื่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 76
ได้ จักษุจักเกิดขึ้นด้วยกำลังแห่งทาน อันพระองค์บริจาคอย่างเดียว จึงตรัสว่า
ถ้าเช่นนั้นทานอันข้าพเจ้าบริจาคด้วยดีแล้ว ดังนี้ เมื่อจะทรงทำสัจจกิริยา จึง
ตรัสพระคาถาความว่า
บรรดาวณิพกทั้งหลาย ผู้มีโคตรต่าง ๆ กัน มา
ขอหม่อมฉัน แม้วณิพกคนใดมาขอหม่อมฉัน แม้
วณิพกนั้น ก็เป็นที่รักแห่งใจของหม่อมฉัน ด้วยการ
กล่าวคำสัตย์นี้ ขอจักษุจงบังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสปิ เม ความว่า วณิพกเหล่าใดมา
ขอเรา วณิพกเหล่านั้น ก็เป็นที่รักของเรา เมื่อพวกเขาพากันมาขอ ผู้ใดขอ
จักษุเรา ถึงผู้นั้นก็เป็นที่รักใคร่ด้วยใจของเรา. บทว่า เอเตน ความว่า
ถ้าคำว่า ยาจกทั้งมวลล้วนเป็นที่รักของเรา นี้เป็นสัจจวาจาอันเรากล่าวแล้ว
ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอจักษุข้างหนึ่งของเราจงเข้าถึงคือจงบังเกิดขึ้นเถิด.
ลำดับนั้น พระจักษุอันเป็นปฐมก็เกิดขึ้นในระหว่างแห่งพระดำรัสของพระราชา
นั่นเอง แต่นั้นเพื่อจะให้พระจักษุข้างที่สองเกิดขึ้น ท้าวเธอจึงตรัสหมวดสอง
แห่งคาถา ความว่า
พราหมณ์ผู้ใดมาขอหม่อมฉัน ว่าขอพระราชทาน
พระเนตรเถิด หม่อมฉันได้ให้ดวงตาทั้งสองแก่
พราหมณ์ผู้นั้นซึ่งเป็นวณิพก ปีติ และโสมนัสเป็น
อันมากเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันยิ่งนัก ด้วยการกล่าวคำสัตย์
นี้ ขอจักษุจงบังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันเถิด ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย ม ความว่า พราหมณ์ใดมาขอเรา.
บทว่า โส ความว่า พราหมณ์นั้นมีจักษุพิการมาขอเราว่า ขอพระองค์โปรด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 77
พระราชทาน แก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด. บทว่า วนิพฺพโต ความว่า แก่พราหมณ์
ผู้มาขอ. บทว่า ภิยฺโย ม อาวิสิ ความว่า ครั้นให้จักษุทั้งสองแก่พราหมณ์
แล้ว นับแต่นั้นมาก็เป็นคนตาบอด แต่ในเวลาตาบอดนั้น หาได้คำนึงถึง
ทุกขเวทนาเห็นปานนั้นไม่ ปีติอันยิ่งเกิดแผ่ซ่านไป คือ เข้าสู่ดวงหทัยของเรา
ผู้พิจารณาเห็นว่า โอ เราได้ให้ทานด้วยดีแล้ว ทั้งความโสมนัสก็เกิดขึ้นแก่เรา
หาประมาณมิได้. บทว่า เอเตน ความว่า ถ้าหากปีติโสมนัสมิใช่น้อยเกิดขึ้น
แก่เราในกาลนั้นไซร้ นี้เป็นสัจจวาจาอันเรากล่าวแล้ว ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้
จักษุแม้ข้างที่สองจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด.
ในทันใดนั้นเอง พระเนตรดวงที่สองก็เกิดขึ้น. แต่พระเนตรของ
พระเจ้าสีวิราชนั้น จะว่าเป็นพระเนตรปกติก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นพระเนตรทิพย์ก็
ไม่ใช่ เพราะพระเนตรของพระองค์ทรงพระราชทานแก่สักกพราหมณ์แล้ว
ทั้งสักกพราหมณ์ก็ไม่สามารถทำพระเนตรให้เป็นปกติเหมือนของเดิมได้ อนึ่ง
ธรรมดาพระเนตรทิพย์ จะเกิดขึ้นแก่จักษุ ซึ่งมีที่ตั้งอันถอนเสียแล้ว หามิได้
ฉะนั้น พระเนตรเหล่านั้น ของพระเจ้าสีวิราช ต้องเรียกว่า สัจจปารมิตาจักษุ
คือจักษุที่เกิดขึ้นเพราะสัจจบารมีของพระองค์ ในกาลที่พระเนตรเหล่านั้นเกิดขึ้น
พร้อมกันนั่นเอง ราชบริษัททั้งปวงต่างก็มาประชุมพร้อมกันด้วยอานุภาพของ
ท้าวสักกเทวราช. ลำดับนั้น เมื่อท้าวสักกเทวราช จะทรงทำการชมเชย
พระเจ้าสีวิราชในท่ามกลางมหาชนนั่นเอง จึงตรัสพระคาถาสองคาถา ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบำรุงสีพีรัฐ พระองค์ตรัส
พระคาถาแล้วโดยธรรม พระเนตรทั้งสองของพระองค์
ปรากฏเป็นตาทิพย์เห็นได้ทะลุภายนอกฝา ภายนอก
กำแพงและภูเขาตลอดร้อยโยชน์ โดยรอบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 78
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน ภาสิตา ความว่า ข้าแต่
มหาราช คาถาเหล่านี้พระองค์ตรัสแล้วตามธรรม คือ ตามสภาพ. บทว่า
ทิพฺยานิ ความว่า ประกอบด้วยอานุภาพอันเป็นทิพย์. บทว่า ปฏิทิสฺสเส
แปลว่า จักปรากฏ. บทว่า ติโรกุฑฺฑ ความว่า ข้าแต่มหาราช พระเนตร
เหล่านั้นของพระองค์ จงเสวยผล คือ ผ่องใส ทอดพระเนตรเห็นรูปได้ทะลุ
ล่วงนอกฝานอกกำแพง และแม้ภูเขาอย่างใดอย่างหนึ่ง ราวกะว่าจักษุแห่งเหล่า
เทพยดา ตลอด ๑๐๐ โยชน์ทั่วสิบทิศโดยรอบ.
ท้าวสักกเทวราช ประทับยืนขึ้นบนอากาศ ตรัสพระคาถาเหล่านี้
ในท่ามกลางมหาชนแล้ว ทรงโอวาทพระมหาสัตว์เจ้าว่า ขอพระองค์จงอย่า
ประมาท แล้วเสด็จไปยังเทวโลกทันที.
ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้าแวดล้อมด้วยมหาชนเสด็จเข้าสู่พระนคร ด้วย
สักการะใหญ่ แล้วเสด็จขึ้นประทับ ณ สุจันทกปราสาท. ความที่ท้าวเธอได้
พระเนตรทั้งคู่กลับคืนมา ปรากฏแพร่สะพัดไปตลอดทั่วสีรีรัฐสีมามณฑล.
ลำดับนั้น ประชาชนชาวสีวีรัฐทั้งสิ้น ต่างถือเอาเครื่องบรรณาการมาถวาย
เป็นอันมาก เมื่อต้องการจะเข้าเฝ้าชมพระบารมี พระเจ้าสีวิราช พระมหา-
สัตว์เจ้าทรงดำริว่า เมื่อมหาชนนี้ประชุมกันแล้ว เราจักพรรณนาทานของเรา
จึงตรัสสั่งให้สร้างมณฑปใหญ่ ที่ประตูพระราชนิเวศน์ ประทับนั่งบนราชบัล-
ลังก์ ภายใต้ สมุสสิตเศวตรฉัตร ตรัสให้ตีกลองประกาศในพระนคร ตรัสสั่ง
ให้เสนาข้าราชการทั้งมวลประชุมกันแล้วตรัสว่า ดูก่อนประชาชนชาวสีวีรัฐ
ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นพระเนตรทิพย์ของเราเหล่านี้แล้ว จำเดิม
แต่นี้ไป ยังไม่ได้ให้ทานก่อน แล้วอย่าเพิ่งบริโภค เมื่อจะทรงแสดงธรรม
ได้ตรัสพระคาถา ๔ คาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 79
ใครหนอในโลกนี้ ถูกขอทรัพย์อันน่าปลื้มใจ
แล้ว แม้จะเป็นของพิเศษ แม้จะเป็นของที่รักอย่างดี
ของตน จะไม่พึงให้ เราขอเตือนท่านทั้งหลายผู้เป็น
ชาวแคว้นสีพีทุก ๆ คน ที่มาประชุมกัน จงดูดวงตา
ทั้งสองอันเป็นทิพย์ของเราในวันนี้ ตาทิพย์ของเรา
เห็นได้ทะลุภายนอกฝา ภายนอกกำแพง และภูเขา
ตลอด ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ ในโลกอันเป็นที่อยู่ของ
สัตว์ทั้งหลายนี้ ไม่มีอะไรที่จะยิ่งไปกว่าการบริจาคทาน
เราได้ให้จักษุที่เป็นของมนุษย์แล้ว กลับได้จักษุทิพย์
ดูก่อนชาวแคว้นสีพีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้เห็นจักษุ
ทิพย์ที่เราได้นี้แล้ว จงให้ทานเสียก่อน จึงค่อยบริโภค
เถิด บุคคลผู้ให้ทานและบริโภคแล้วตามอานุภาพของ
ตน ไม่มีใครจะติเตียนได้ ย่อมเข้าถึงสุคติสถานดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนีธ ตัดบทเป็น โก นุ อิธ แปลว่า
ใครหนอในโลกนี้. บทว่า อปิ วิสิฏฺ ความว่า แม้จะเป็นของสูงสุด. บทว่า
จาคมตฺตา ความว่า ขึ้นชื่อว่าจักษุอื่นที่จะยอดเยี่ยมกว่า ประมาณการบริจาค
ไม่มี. บทว่า อิธ ชีวิเต ความว่า ในชีวโลกนี้. ปาฐะว่า อิธ ชีวิต ดังนี้ก็มี.
ความก็ว่า เป็นอยู่ในชีวโลกนี้. บทว่า อมานุสึ ความว่า จักษุทิพย์อันเรา
ได้แล้วด้วยเหตุนี้จึงควรทราบความข้อนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่จะสูงสุดกว่าการบริจาค
ไม่มี. บทว่า เอตปี ทิสฺวา ความว่า ท่านทั้งหลายแม้เห็นแล้วซึ่งจักษุอัน
เป็นทิพย์ อันเราได้แล้วนี้ (จงให้ทานก่อนจึงบริโภค).
ครั้นพระเจ้าสีวิราช ทรงแสดงธรรมด้วยคาถา ๔ คาถาเหล่านี้ด้วย
ประการฉะนี้แล้ว จำเดิมแต่นั้นมา ในวันกึ่งเดือนและวันปัณณรสีอุโบสถ ก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 80
รับสั่งให้มหาชนประชุมกัน ทรงแสดงธรรมด้วยคาถาเหล่านี้เป็นประจำ มหาชน
สดับธรรมนั้นแล้ว พากันทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ได้ไปสู่เทวโลกเต็ม
บริบูรณ์ทั่วกัน.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อน ไม่ยินดีด้วยทานในภายนอก ได้ควัก
ดวงตาทั้งสองของตนบริจาคทานแก่ยาจกผู้มาถึงเฉพาะหน้าด้วยอาการอย่างนี้
แล้วทรงประกาศจตุราริยสัจ ประชุมชาดกว่า สีวิกแพทย์ในครั้งนั้นได้มาเป็น
พระอานนท์ ท้าวสักกเทวราชได้มาเป็นพระอนุรุทธะ ราชบริษัทที่เหลือ
ได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนพระเจ้าสีวิราช ได้มาเป็นเราผู้ตถาคตฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสีวิราชชาดก
๔. สิริมันทชาดก
ว่าด้วยปัญญาประเสริฐ
[๒๐๘๔] ท่านอาจารย์เสนก เราขอถามเนื้อความ
นี้ บรรดาคนสองจำพวกคือ คนผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา
แต่เสื่อมจากสิริ กับคนที่มียศแต่ไร้ปัญญา นักปราชญ์
กล่าวคนไหนว่าประเสริฐ.
[๒๐๘๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาราษฎร์
คนฉลาดหรือคนโง่ คนบริบูรณ์ด้วยศิลปะ หรือคน
หาศิลปะมิได้ แม้จะมีชาติสูง ก็ย่อมเป็นคนรับใช้ของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 81
ชนผู้มีชาติต่ำ แต่มียศ ข้าพระพุทธเจ้า เห็นความดังนี้
จึงขอกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมี
สิริแลเป็นคนประเสริฐ พระเจ้าข้า.
[๒๐๘๖] ดูก่อนมโหสถผู้มีปัญญาไม่ทราม ผู้เห็น
ธรรมสิ้นเชิง เราถามเจ้าในคนสองจำพวก คือคนพาล
ผู้มียศ กับบัณฑิตผู้ไม่มีโภคะ นักปราชญ์กล่าวคน
ไหนว่าประเสริฐ.
[๒๐๘๗] คนพาลกระทำกรรมอันชั่วช้า ก็สำคัญ
ว่าสิ่งนี้เท่านั้น ประเสริฐ เห็นแต่เพียงโลกนี้ ไม่เห็น
โลกหน้า ต้องได้รับเคราะห์ร้ายในโลกทั้งสอง ข้าพระ-
พุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญา
เท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร
พระเจ้าข้า.
[๒๐๘๙] ศิลปะนี้ก็ดี พวกพ้องก็ดี ร่างกายก็ดี
หาได้จัดโภคสมบัติมาให้ไม่ มหาชนย่อมคบหามหา-
โควินทเศรษฐีผู้มีน้ำลายไหล ออกจากคางทั้งสองข้าง
ผู้ได้รับความสุข มีสิริต่ำช้า ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อ
ความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม
คนมีสิริเท่านั้น เป็นคนประเสริฐ พระเจ้าข้า.
[๒๐๘๙] คนมีปัญญาน้อย ได้รับความสุขแล้ว
ย่อมมัวเมา แม้ถูกความทุกข์กระทบแล้ว ย่อมถึงความ
หลง อันสุขทุกข์ที่จรมากระทบเข้าแล้ว ย่อมหวั่นไหว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 82
ดุจปลาที่ดิ้นรนอยู่ในที่ร้อน ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
เห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้น
ประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.
[๒๐๙๐] ฝูงนกย่อมพากันบินเร่ร่อนไปมา โดย
รอบต้นไม้ที่มีผลดีในป่า ฉันใด คนเป็นอันมาก ย่อม
คบหาผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์ มีโภคสมบัติ เพราะเหตุต้อง
การทรัพย์ ก็ฉันนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้
จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริ
เท่านั้นเป็นคนประเสริฐ พระพุทธเจ้าข้า.
[๒๐๙๑] คนโง่ถึงจะมีกำลัง ก็หายังประโยชน์
ให้สำเร็จไม่ ได้ทรัพย์มาด้วยกรรมอันร้ายแรง นาย
นิรยบาลทั้งหลาย ย่อมฉุดคร่าเอาคนโง่ ผู้ไม่ฉลาด
คร่ำครวญอยู่ไปสู่นรกอันร้ายกาจ ข้าพระพุทธเจ้าเห็น
ข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้น
ประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.
[๒๐๙๒] แม่น้ำแห่งใดแห่งหนึ่ง ย่อมไหลไปสู่
แม่น้ำคงคา แม่น้ำเหล่านั้นทั้งหมดเทียว ย่อมละทิ้ง
ชื่อและถิ่นเดิม แม่น้ำคงคาไหลไปถึงมหาสมุทร ย่อม
ไม่ปรากฏฉันใด คนในโลกนี้ที่มีฤทธิ์ยิ่งก็ไม่ปรากฏ
ฉันนั้นแล ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบ
ทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริเท่านั้น
ประเสริฐ พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 83
[๒๐๙๓] ข้าพระพุทธเจ้า จะกล่าวแก้ปัญหาที่
ท่านอาจารย์กล่าว แม่น้ำทั้งหลายย่อมไหลไปสู่ทะเล
ใหญ่ไม่ได้ตลอดกาลทั้งปวง ทะเลนั้นมีกำลังมากเป็น
นิตย์ มหาสมุทรย่อมไม่ล่วงเลยฝั่งไปได้ ฉันใด
กิจการที่คนโง่ประสงค์ก็ฉันนั้น คนมีสิริย่อมไม่ล่วงเลย
คนมีปัญญาไปได้ ไม่ว่าในกาลไหน ๆ ข้าพระพุทธเจ้า
เห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้น
ประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร.
[๒๐๙๔] ถ้าแม้คนมียศไม่สำรวมแล้ว ผู้อยู่ในที่
วินิจฉัยกล่าวข้อความแก่ชนเหล่าอื่น คำพูดของคนนั้น
ย่อมเจริญงอกงามในท่ามกลางญาติ คนมีปัญญายังคน
ผู้มีสิริต่ำช้าให้ทำตามคำของตนไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้า
เห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคน
เลวทราม คนมีสิริเท่านั้นเป็นคนประเสริฐ พระเจ้าข้า.
[๒๐๙๕] คนโง่หาปัญญามิได้ ย่อมกล่าวมุสา
เพราะเหตุแห่งบุคคลอื่นหรือแม้แห่งตน คนโง่นั้น
ย่อมถูกนินทาในท่ามกลางบริษัท แม้ภายหลังเขาก็
ต้องไปทุคติ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึง
กราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมี
ยศจะประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.
[๒๐๙๖] ถ้าคนมีปัญญาดังแผ่นดิน ไม่มีที่อยู่
อาศัย ไม่มีทรัพย์ เป็นคนเข็ญใจกล่าวข้อความ คำพูด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 84
ของเขานั้นย่อมไม่เจริญงอกงามในท่ามกลางบริษัท
อนึ่ง สิริของคนมีปัญญาย่อมไม่มี ข้าพระพุทธเจ้า
เห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคน
เลวทราม คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ พระเจ้าข้า.
[๒๐๙๗] คนผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ย่อมไม่กล่าว
คำเหลาะแหละ เพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือแม้แห่งตน
บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้อันมหาชน บูชาในท่ามกลางที่
ประชุม แม้ภายหลังเขาก็จะไปสุคติ ข้าพระพุทธเจ้า
เห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้น
ประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไรพระเจ้าข้า.
[๒๐๙๘] ช้าง ม้า โค แก้วมณี กุณฑล และ
นารีทั้งหลาย ผู้เกิดในตระกูลที่มั่งคั่ง สิ่งทั้งปวงนั้น
ย่อมเป็นเครื่องอุปโภคของตนที่มั่งคั่ง คนทั้งหลายผู้
ไม่มั่งคั่ง ก็ย่อมเป็นเครื่องอุปโภคของคนที่มั่งคั่ง
ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คน
มีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
พระเจ้าข้า.
[๒๐๙๙] สิริย่อมละคนโง่ ผู้ไม่จัดแจงการงาน
ไม่มีความคิด มีปัญญาทราม เหมือนงูละทิ้งคราบเก่า
ไปฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบ
ทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะ
ประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 85
[๒๑๐๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า
ทั้ง ๕ คนเป็นบัณฑิต ทุกคนกราบไหว้บำรุงพระองค์
พระองค์เป็นอิสระ ครอบงำข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ดุจท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งหมู่สัตว์ ฉะนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบ
ทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริเท่านั้น
ประเสริฐ พระเจ้าข้า.
[๒๑๐๑] คนโง่ถึงจะมียศ ก็เป็นทาสของคนมี
ปัญญา เมื่อกิจการต่าง ๆ เกิดขึ้น คนฉลาดย่อมจัดแจง
กิจอันละเอียดใด คนโง่ย่อมถึงความหลงใหลในกิจนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คน
มีปัญญานั้นแลประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐ
อะไร พระเจ้าข้า.
[๒๑๐๒] แท้จริงสัตบุรุษทั้งหลาย สรรเสริญ
ปัญญาเท่านั้น สิริเป็นที่ใคร่ของคนโง่ เพราะมนุษย์
ทั้งหลายยินดีในโภคสมบัติ ก็ความรู้ของท่านผู้รู้
ทั้งหลาย ใคร ๆ ชั่งไม่ได้ในกาลไหน ๆ คนมีสิริ
ย่อมไม่ล่วงเลยคนมีปัญญาไปได้ ไม่ว่าในกาลไหน ๆ.
[๒๑๐๓] ดูก่อนมโหสถผู้เห็นธรรมทั้งสิ้น เรา
ได้ถามปัญหาข้อใดกะเจ้า เจ้าได้ประกาศปัญหาข้อนั้น
แก่เราแล้ว เรายินดีด้วยการแก้ปัญหาของเจ้า เราให้
โคพันหนึ่ง โคอุสุภราช ช้าง รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย
๑๐ ตัว และบ้านส่วย ๑๖ ตำบลแก่เจ้า
จบสิริมันทชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 86
อรรถกถาสิริเมณฑกชาดก
สิริเมณฑกปัญหานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปญฺายุเปต สิริยา วีหีน
จักมีแจ้งในมหาอุมมังคชาดก.
จบอรรถกถาสิริเมณฑกชาดก
๕. โรหนมิคชาดก
ว่าด้วยความรักในสายเลือด
[๒๑๐๔] ดูก่อนน้องจิตตกะ ฝูงเนื้อเหล่านี้
กลัวความตาย จึงพากันหนีกลับไป ถึงเธอก็จงไปเสีย
เถิด อย่าห่วงพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเธอ.
[๒๑๐๕] พี่โรหนะ ฉันไม่ไป ถึงใครจะมาคร่า
เอาหัวใจของฉันไป ฉันก็จักไม่ทิ้งพี่ไป ฉันจักยอม
สละชีวิตอยู่ในที่นี้.
ก็มารดาบิดาทั้งสองของเรานั้น ท่านตาบอด
เมื่อไม่มีผู้ปรนนิบัตินำทาง จักต้องตายแน่ เธอจงไปเถิด
อย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเธอ.
พี่โรหนะฉันไม่ยอมไป ถึงใครจักมาคร่าเอา
ดวงใจของฉันไป ฉันก็จักไม่ทิ้งพี่ผู้ถูกมัดไป ฉันจัก
ยอมทิ้งชีวิตไว้ในที่นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 87
[๒๑๐๖] เจ้าเป็นผู้ขลาดจงหนีไปเสียเถิด พี่ติด
อยู่ในหลักเหล็ก เธอจงไปเสียเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย
เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่กับเธอ.
[๒๑๐๗] พี่โรหนะ ฉันจะไม่ไป ถึงใครจะมา
ฆ่าเอาหัวใจของฉันไป ฉันก็จะไม่ละทิ้งพี่ ฉันจะยอม
ทิ้งชีวิตไว้ในที่นี้.
ก็มารดาบิดาทั้งสองของเรานั้น ท่านตาบอด
ขาดผู้ปรนนิบ่ตินำทาง จักต้องตายแน่ เธอจงไปเถิด
อย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่กับเธอ.
พี่โรหนะ ฉันจะไม่ไป ถึงใครจะมาคร่าเอาหัวใจ
ของฉันไป ฉันจะไม่ละทิ้งพี่ผู้ถูกมัด ฉันจักยอมทิ้ง
ชีวิตไว้ในที่นี้แหละ.
[๒๑๐๘] วันนี้นายพรานคนใด จักฆ่าเราด้วย
ลูกศรหรือหอก นายพรานคนนี้นั้น มีรูปร่างร้ายกาจ
ถืออาวุธเดินมาแล้ว.
[๒๑๐๙] นางสุตตนามฤคี ถูกภัยบีบคั้น คุกคาม
หนีไปครู่หนึ่ง แล้วย้อนกลับมา เผชิญหน้ามฤตยู ถึง
จะมีขวัญอ่อน ก็ได้กระทำกรรมที่ทำได้แสนยาก.
[๒๑๑๐] เนื้อทั้งสองนี้เป็นอะไรกับท่านหนอ
พ้นไปแล้วยังย้อนกลับมาหาเครื่องผูกอีก ไม่ปรารถนา
จะละทิ้งท่านไป แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต.
[๒๑๑๑] ดูก่อนนายพราน เนื้อทั้งสองนี้เป็น
น้องชายน้องสาวของข้าพเจ้า ร่วมท้องมารดาเดียวกัน
ไม่ปรารถนาละข้าพเจ้าไป แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 88
[๒๑๑๒] ข้าแต่นายพราน มารดาบิดาทั้งสอง
ของเราเหล่านั้น ท่านตาบอด หาผู้ปรนนิบัตินำทาง
มิได้ คงต้องตายแน่แท้ โปรดให้ชีวิตแก่พวกเราทั้ง ๕
เถิด โปรดปล่อยพี่ชายเสียเถิด.
[๒๑๑๓] ข้าพเจ้าจะปล่อยเนื้อผู้เลี้ยงมารดาบิดา
แน่นอน มารดาบิดาได้เห็นพญาเนื้อ หลุดจากบ่วง
แล้ว ก็จงยินดีเถิด.
[๒๑๑๔] ข้าแต่นายพราน ท่านจงยินดีเพลิด-
เพลินกับพวกญาติทั้งปวง เหมือนข้าพเจ้าเห็นพญาเนื้อ
ที่หลุดจากบ่วงแล้ว ชื่นชมยินดีในวันนี้ ฉะนั้น.
[๒๑๑๕] ลูกรัก เมื่อชีวิตเจ้าย่างเข้าใกล้ความ
ตายแล้ว เจ้าหลุดมาได้อย่างไร ไฉนนายพรานจึง
ปล่อยจากบ่วงเหล็กมาเล่า.
[๒๑๑๖] น้องจิตตกะ กล่าววาจาไพเราะหูเป็น
ที่จับใจ ดื่มด่ำในหฤทัย ช่วยให้ข้าพเจ้าหลุดมาได้
ด้วยวาจาสุภาษิต.
น้องสุตตนาได้กล่าววาจาไพเราะหู จับใจ ดื่มด่ำ
ในหฤทัย ช่วยข้าพเจ้าให้หลุดมาได้ด้วยวาจาสุภาษิต.
นายพรานได้ฟังวาจาไพเราะหู เป็นที่จับใจ
ดื่มด่ำในหฤทัย แล้วปล่อยข้าพเจ้า เพราะฟังวาจา
สุภาษิต ของน้องทั้งสองนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 89
[๒๑๑๗] ก็เราทั้งหลายเห็นลูกโรหนะมาแล้ว
พากันชื่นชมยินดี ฉันใด ขอนายพรานพร้อมด้วยลูก
เมีย จงชื่นชมยินดี ฉันนั้นเถิด.
[๒๑๑๘] แน่ะนายพราน เจ้าได้บอกไว้ว่า จะนำ
เนื้อหรือหนังมามิใช่หรือ เออก็เหตุไรเล่า เจ้าจึงไม่นำ
เอาเนื้อหรือหนังเนื้อมา.
[๒๑๑๙] เนื้อนั้นได้มาติดบ่วงเหล็ก ถึงมือแล้ว
แต่มีเนื้อสองตัวไม่ได้ติดบ่วง มายืนอยู่ใกล้เนื้อตัวนั้น
ข้าพระองค์ได้เกิดความสังเวชใจ ความอัศจรรย์ใจ
ขนพองสยองเกล้าว่า ถ้าเราฆ่าเนื้อตัวนี้ เราจักต้อง
ทิ้งชีวิต ในสถานที่นี้แหละ ในวันนี้ทีเดียว.
[๒๑๒๐] ดูก่อนนายพราน เนื้อนั้นเป็นเช่นไร
เป็นเนื้อมีธรรมอย่างไร มีสีอย่างไร มีศีลอย่างไร
ท่านจึงได้สรรเสริญเนื้อเหล่านั้นนัก.
[๒๑๒๑] เนื้อเหล่านั้นมีเขาขาว ขนสะอาด หนัง
เปรียบด้วยทองคำ เท้าแดง ตาสุกสะกาว เป็นที่
น่ารื่นรมย์ใจ.
[๒๑๒๒] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เนื้อเหล่า
นั้นเป็นเช่นนี้ เป็นเนื้อมีธรรมเช่นนี้ เป็นเนื้อเลี้ยง
มารดาบิดา ข้าพเจ้าจึงมิได้นำเนื้อเหล่านั้นมาถวาย
พระองค์ พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 90
[๒๑๒๓] ดูก่อนนายพราน เราให้ทองคำ ๑๐๐
แท่ง กุณฑลแก้วมณีอันมีค่ามาก เตียง ๔ เหลี่ยม
มีสีคล้ายดอกสามหาว และภรรยาผู้ทัดเทียมกันสองคน
กับโค ๑๐๐ ตัวแก่ท่าน เราจักปกครองราชสมบัติโดย
ธรรม ท่านเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก ดูก่อนนายพราน
ท่านจงเลี้ยงดูบุตรและภรรยาด้วยกสิกรรม พาณิชย-
กรรม การให้กู้หนี้และด้วยการประพฤติเลี้ยงชีพ
โดยสัมมาอาชีวะเถิด อย่าได้กระทำบาปอีกเลย.
จงโรหนมิคชาดกที่ ๕
อรรถกถาโรหนมิคชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
การเสียสละชีวิตของท่านพระอานนท์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
เอเต ยูเถ ปฏิยนฺติ ดังนี้.
ก็การเสียสละชีวิตของท่านพระอานนท์นั้น จักปรากฏชัดเจนในเรื่อง
ทรมานช้างชื่อว่าธนบาล ในจุลลหังสชาดก อสีตินิบาต. เมื่อท่านพระอานนท์
นั้นสละชีวิตเพื่อป้องกันพระศาสดาอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงสนทนากันใน
โรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย ท่านพระอานนท์เป็นเสกขบุคคล บรรลุปฏิสัม-
ภิทา ยอมสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่พระทศพล. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัส
ถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 91
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่
ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในปางก่อน อานนท์ก็เคยสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่เรา
เหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้
ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติ ณ พระนคร-
พาราณสี พระองค์มีอัครมเหสีทรงพระนามว่า " เขมา " ในครั้งนั้น
พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในกำเนิดมฤคชาติ มีผิวพรรณเหมือนสีทอง อยู่ใน
หิมวันตประเทศ แม้เนื้อน้องชายของพระโพธิสัตว์ชื่อจิตตมิคะ ก็เป็นสัตว์
ถึงความเป็นเยี่ยมด้วยความงาม มีผิวพรรณเสมอด้วยสีทองเหมือนกัน แม้เนื้อ
น้องสาวของพระโพธิสัตว์ ที่ชื่อว่า สุตตนานั้น ก็เป็นสัตว์มีผิวพรรณปาน
ทองคำเหมือนกัน. ส่วนพระมหาสัตว์ได้เป็นพญาเนื้อ ชื่อโรหนมฤคราช
พญาเนื้อนั้น มีเนื้อแปดหมื่นเป็นบริวาร สำเร็จนิวาสถานอยู่อาศัยสระชื่อโรหนะ
ระหว่างชั้นที่ ๓ เลยเทือกเขาสองลูกไปในหิมวันตประเทศ. พญาเนื้อโรหนะ
เลี้ยงดูมารดาบิดา ผู้ชรา ตาบอด.
ครั้งนั้น มีบุตรพรานคนหนึ่ง อยู่ในเนสาทคามไม่ห่างจากพระนคร
พาราณสีนัก เขาเข้าไปสู่หิมวันตประเทศพบมหาสัตว์เจ้า แล้วกลับมาบ้าน
ของตน ต่อมาเมื่อจะทำกาลกิริยาจึงบอกแก่บุตรชายว่า พ่อคุณ ในที่ชื่อโน้น
ณ ภาคนี้สถานที่ทำกินของพวกเรา มีเนื้อสีทองอาศัยอยู่ ถ้าพระราชาตรัสถาม
พึงกราบทูลให้ทรงทราบ.
อยู่มาวันหนึ่ง พระนางเขมา บรมราชเทวี ทรงพระสุบินในเวลา
ใกล้รุ่ง. พระสุบินนั้น ปรากฏอย่างนี้ว่า
มีพญาเนื้อสีเหมือนทอง ยืนอยู่บนแท่นทอง แสดงธรรมแด่พระเทวี
ด้วยเสียงอันไพเราะ เหมือนบุคคลเคาะกระดิ่งทอง พระนางประทานสาธุการ
แล้วสดับพระธรรมเทศนาอยู่. เมื่อธรรมกถายังไม่ทันจบ เนื้อทองนั้นก็ลุกเดิน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 92
ไปเสีย. ส่วนพระนางเทวีก็มีพระเสาวนีย์ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงช่วยกันจับเนื้อ
ท่านทั้งหลายจงช่วยกันจับเนื้อดังนี้ อยู่จนตื่นพระบรรทม. พวกนางสนมได้ยิน
เสียงพระนาง พากันขบขันว่า ประหน้าต่างห้องบรรทมก็ปิดหมดแล้ว แม้คน
ก็ไม่มีโอกาสจะเข้าไปได้ พระแม่เจ้ายังรับสั่งให้จับเนื้อในเวลานี้ได้ ขณะนั้นพระ
เทวีทรงรู้พระองค์ว่า นี้เป็นความฝัน จึงทรงพระดำริว่า ถ้าเราจักกราบทูลพระ-
ราชาว่า เราฝันเห็นดังนี้ พระองค์ก็จักไม่ทรงสนพระทัย แต่เมื่อเรากราบทูลว่า
แพ้พระครรภ์ พระองค์ก็จักช่วยแสวงหามาให้ด้วยความสนพระทัยเราจักได้ฟัง
ธรรมของพญามฤคตัวมีสีเหมือนทอง พระนางจึงทรงบรรทม ทำมายาว่า
ประชวร.
พระราชาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนพระนางผู้มีพักตร์อันเจริญ
เธอไม่สบาย เป็นอะไรไปหรือ ? พระเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรง
พระคุณอันประเสริฐ โรคอย่างอื่นไม่มีดอกเพคะ แต่กระหม่อมฉันเกิด
แพ้ท้อง. พระราชาตรัสถามว่า เธออยากได้อะไร ? พระนางจึงกราบทูลว่าขอ
เดชะ กระหม่อมฉันปรารถนาจักฟังธรรมของพญาเนื้อมีสีเหมือนทองพะยะค่ะ
พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพระนางผู้มีพักตร์อันเจริญ สิ่งใดไม่มี เจ้าก็เกิดแพ้
ท้องต้องประสงค์สิ่งนั้นหรือ ขึ้นชื่อว่าเนื้อสีทองไม่มีดอก. พระนางกราบทูลว่า
ถ้าไม่ได้หม่อมฉันจักนอนตายในที่นี้แหละ แล้วผินเบื้องพระปฤษฏางค์ให้พระ-
ราชา ทรงบรรทมเฉยเสีย พระราชาทรงปลอบโยนว่า ถ้าหากมีอยู่เจ้าก็จักได้
แล้วประทับนั่งท่ามกลางบริษัท ตรัสถามพวกอำมาตย์และพวกพราหมณ์ ตาม
นัยที่กล่าวแล้วในโมรชาดกนั่นเอง ทรงสดับว่า เนื้อที่มีสีเหมือนทองมีอยู่จึงมี
พระบรมราชโองการให้พวกนายพรานประชุมกัน ตรัสถามว่า เนื้อสีเหมือนทอง
เห็นปานนี้ ใครเคยเห็น เคยได้ยินมาบ้าง ? เมื่อบุตรนายเนสาทกราบทูล
โดยทำนองที่ตนได้ยินมาจากสำนักบิดาแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนสหาย เมื่อเจ้านำ
เนื้อนั้นมาได้ เราจักทำสักการะใหญ่แก่เจ้า ไปเถิด จงไปนำเนื้อนั้นมา พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 93
ราชทานเสบียงแล้ว ทรงส่งเขาไป. ฝ่ายบุตรนายเนสาทก็กราบทูลว่า ขอเดชะ
พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ถ้าหากข้าพระพุทธเจ้าไม่สามารถจะนำ
เนื้อทองนั้นมาถวายได้ ข้าพระพุทธเจ้าจักนำหนังของมันมาถวาย เมื่อไม่อาจ
นำหนังมาถวายได้ ก็จักนำแม้ขนของมันมาถวาย ขอพระองค์อย่าทรงวิตกเลย
แล้วไปเรือนมอบเสบียงแก่ลูกและเมีย แล้วไปที่หิมวันตประเทศนั้นพบพญา
เนื้อนั้นแล้ว ดำริว่า เราจะดักบ่วง ณ ที่ไหนหนอจึงจักสามารถจับเนื้อนี้ได้
เมื่อพิจารณาไปจึงเห็นช่องทางที่ท่าน้ำ เขาจึงฟั่นเชือกหนังทำเป็นบ่วงให้มั่นคง
แล้วปักหลักดักบ่วงไว้ในสถานที่พระมหาสัตว์เจ้าลงดื่มน้ำ.
ในวันรุ่งขึ้น พระมหาสัตว์พร้อมด้วยเนื้อบริวารแปดหมื่น เที่ยวไป
แสวงหาอาหาร คิดว่า เราจักดื่มน้ำที่ท่าเดิมนั่นแหละ จึงไปที่ท่านั้น พอก้าวลง
ไปเท่านั้นก็ติดบ่วง พระมหาสัตว์ดำริว่า ถ้าหากเราจักร้องว่าติดบ่วงเสียใน
บัดนี้ทีเดียว หมู่ญาติของเราจักไม่ดื่มน้ำ จักพากันตกใจกลัวแตกหนีไป จึง
แอบหลัก เบี่ยงไว้ข้างตัว ทำทีเหมือนดื่มน้ำอยู่ ครั้นเวลาที่เนื้อทั้งแปดหมื่น
ดื่มน้ำขึ้นไปแล้ว คิดว่า เราจักตัดบ่วงให้ขาด จึงกระชากมา ๓ ครั้ง ในวาระ
แรกหนังขาดไป วาระที่สองเนื้อหลุด วาระที่สามเอ็นขาด บ่วงบาดลึก
จดแนบกระดูก. เมื่อพระมหาสัตว์ไม่สามารถจะตัดให้ขาดได้ จึงร้องขึ้นว่า
เราติดบ่วง. หมู่เนื้อทั้งหลายตกใจกลัว พากันแยกหลบหนีไปเป็น ๓ ฝูง
จิตตมฤคไม่เห็นพระมหาสัตว์ ในระหว่างฝูงเนื้อทั้ง ๓ แล้วจึงคิดว่า เมื่อภัย
นี้เกิด คงจักเกิดแก่พี่ชายของเรา จึงมายังสำนักของพญาเนื้อนั้น เห็นพระ-
มหาสัตว์ติดบ่วงอยู่.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เห็นจิตตมฤค จึงพูดว่า พ่อน้องชาย เธออย่า
มายืนอยู่ที่นี่ สถานที่นี้น่ารังเกียจ เมื่อจะส่งกลับไป จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 94
ดูก่อนน้องจิตตกะ ฝูงเนื้อเหล่านี้ กลัวความตาย
จึงพากันหนีกลับไป ถึงเธอก็จงไปเสียเถิด อย่าห่วง
พี่เลย เนื้อทั้งหลาย จักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเธอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอเต พญาเนื้อกล่าวหมายถึงฝูงเนื้อที่
หนีล่วงคลองจักษุของตนไปไกล. บทว่า ปฏิยนฺติ แปลว่า กลับไป อธิบายว่า
แตกหนีไป. พระโพธิสัตว์เรียกเนื้อน้องชายว่า " จิตตกะ ". บทว่า ตยา สห
ความว่า (พระโพธิสัตว์) กล่าวว่า จิตตกะ เธอจงเป็นราชาแห่งเนื้อเหล่านั้น
ดำรงอยู่ในตำแหน่งแทนพี่ เนื้อเหล่านี้ จักอยู่ร่วมกับเจ้าต่อไป.
ต่อจากนั้น เป็นคาถาที่เนื้อทั้งสองสนทนาโต้ตอบกัน รวม ๓ คาถา
เป็นลำดับกันดังต่อไปนี้
พี่โรหนะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักมาคร่าเอาหัวใจ
ของฉันไป ฉันก็จักไม่ทิ้งพี่ไป ฉันจักยอมสละชีวิตอยู่
ในที่นี้.
ก็มารดาบิดาทั้งสองเรานั้น ท่านตาบอดเมื่อไม่มี
ผู้นำจักต้องตายแน่ เธอจงไปเถิดอย่าห่วงใยพี่เลย
เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเธอ.
พี่โรหนะ ฉันไม่ยอมไป ถึงใครจักมาคร่าเอา
ดวงใจของฉันไป ฉันจักไม่ทิ้งพี่ผู้ถูกมัดไป ฉันจัก
ยอมสละชีวิตไว้ในที่นี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โรหน ความว่า จิตตมฤคเรียกพระ-
มหาสัตว์โดยชื่อว่า " โรหนะ." บทว่า อวกสฺสติ ความว่า ใคร ๆ จะมาฉุด
คือคร่าเอาดวงใจไป หรือดวงใจถูกความโศกฉุดคร่าไป. บทว่า เต หิ นูน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 95
ความว่า มารดาบิดาของเราเหล่านั้น เมื่อเราทั้งสองต้องตายรวมกันอยู่ในที่นี้
จะขาดผู้ช่วยเหลือนำทาง เมื่อไม่มีใครปฏิบัติ ก็จักซูบผอมตายไป เพราะฉะนั้น
น้องจิตตกะเจ้าจงไปเสียเถิด เนื้อทั้งหลายเหล่านั้น จักได้มีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า.
บทว่า อิธ เหสฺสามิ ความว่า ฉันจักทิ้งชีวิตไว้ในสถานที่นี้ทีเดียว.
ครั้นจิตตมฤคกล่าวดังนี้แล้ว ก็เดินไปยืนพิงแนบข้างเบื้องขวาของพระ-
โพธิสัตว์ ปลอบโยนให้ดำรงกาย สบายใจ ฝ่ายนางสุตตนามฤคี หนีไปไม่เห็น
พี่ชายทั้งสองในระหว่างฝูงเนื้อ คิดว่า ภัยนี้จักเกิดแก่พี่ชายทั้งสองของเรา จึง
หวนกลับมายังสำนักของเนื้อทั้งสองนั้น พระมหาสัตว์เห็นนางสุตตนามฤคีกาลัง
เดินทางจึงกล่าวคาถาที่ ๕ ความว่า
เจ้าเป็นผู้ขลาด จงหนีไปเสียเถิด พี่ติดอยู่ใน
หลักเหล็ก เธอจงไปเสียเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อ
ทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่กับเธอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภีรุ ความว่า ขึ้นชื่อว่ามาตุคามย่อมกลัว
แม้ด้วยเหตุเพียงเล็กน้อย ด้วยเหตุนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะน้องสาวอย่างนี้.
บทว่า กูเฏ ได้แก่ บ่วงที่เขาปกปิดไว้. บทว่า อายเส ความว่า ก็บ่วงนั้น
เขาวางซี่เหล็กไว้ภายในน้ำ แล้วผูกหลักไม้แก่นดักแช่ไว้ในน้ำนั้น เพราะเหตุนั้น
พระมหาสัตว์จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า ตยา สห ความว่า เนื้อทั้งแปดหมื่น
เหล่านั้น จักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า.
เบื้องหน้าแต่นั้น มีคาถา ๓ คาถา ซึ่งเนื้อสองพี่น้องโต้ตอบกันโดย
นัยก่อนนั่นแหละ ดังนี้.
พี่โรหนะ ฉันจะไม่ไป ถึงใครจะมาคร่าเอา
หัวใจของฉันไป ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ ฉันจักยอมทิ้ง
ชีวิตไว้ในที่นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 96
ก็มารดาบิดาทั้งสองของเรานั้น ท่านตาบอด
ขาดผู้ปรนนิบัตินำทาง จักต้องตายแน่ เธอจงไปเถิด
อย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่กับเธอ.
พี่โรหนะ ฉันจะไม่ไป ถึงใครจะมาคร่าเอาหัวใจ
ของฉันไป ฉันจะไม่ละทิ้งพี่ผู้ถูกมัด ฉันจักยอมทิ้ง
ชีวิตไว้ในที่นี้แหละ.
บรรดาบทเหล่านั้น แม้ในบทว่า เต หิ นูน นี้ พระโพธิสัตว์
กล่าวไว้หมายถึง มารดาบิดาเท่านั้น.
แม้นางสุตตนามฤคีนั้น ครั้นปฏิเสธอย่างนั้นแล้ว ไปยืนพิงข้างเบื้อง
ซ้ายของพระมหาสัตว์ผู้พี่ชายปลอบใจอยู่ ฝ่ายนายพรานเห็นเนื้อเหล่านั้นหนีไป
และได้ยินเสียงร้องแห่งเนื้อที่ติดบ่วง คิดว่าพญาเนื้อคงจักติดบ่วง แล้วนุ่งผ้า
หยักรั้งมั่นคง ถือหอกสำหรับฆ่าเนื้อ วิ่งมาโดยเร็ว พระมหาสัตว์เห็นนายพราน
กำลังวิ่งมาจึงกล่าวคาถาที่ ๙ ความว่า
วันนี้นายพรานคนใด จักฆ่าเราด้วยลูกศรหรือ
หอก นายพรานคนนี้นั้น มีรูปร่างร้ายกาจ ถืออาวุธ
เดินมาแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลุทฺทรูโป แปลว่า เหี้ยมโหดทารุณ.
บทว่า สตฺติยามปิ ความว่า นายพรานคนใดจักประหัตประหารฆ่าเราด้วย
ลูกศรก็ดี ด้วยหอกก็ดี นายพรานนั้นมีรูปร่างเหี้ยมโหดทารุณ ถืออาวุธมา
เพราะเหตุนั้น เจ้าทั้งสองจงพากันหนีไป ก่อนที่เขายังมาไม่ถึง.
จิตตมฤคแม้เห็นพรานนั้นแล้วก็มิได้หนีไป ส่วนนางสุตตนามฤคี
ไม่อาจดำรงอยู่โดยภาวะของตนได้ มีความกลัวต่อมรณภัย หนีไปหน่อยหนึ่ง
แล้วกลับคิดว่า เราจักทิ้งพี่ชายทั้งสองคนหนีไปไหน จึงยอมสละชีวิตของตน
กล้ำกลืนความกลัวตาย ย้อนกลับมาใหม่ ยืนอยู่เคียงข้างซ้ายพี่ชายของตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 97
เมื่อจะประกาศความนั้น พระศาสดาจึงตรัสพระคาถาที่ ๑๐ ความว่า
นางสุตตนามฤคีนั้น ถูกภัยบีบคั้นคุกคามหนี
ไปครู่หนึ่ง แล้วย้อนกลับมาเผชิญหน้ามฤตยู ถึงจะมี
ขวัญอ่อนก็ได้กระทำกรรมที่ทำได้แสนยาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มรณายูปนิวตฺตถ แปลว่า ย้อน
กลับมาเพื่อเผชิญหน้าความตาย.
ฝ่ายนายพรานเห็นสัตว์ทั้ง ๓ ยืนเผชิญหน้ากันอยู่ก็เกิดเมตตาจิต มี
ความสำคัญประหนึ่งว่า เป็นพี่น้องเกิดร่วมท้องเดียวกัน จึงคิดว่า พญาเนื้อ
ติดบ่วงเราก่อน แต่เนื้อทั้งสองนี้ คิดอยู่ด้วยหิริโอตตัปปะ สัตว์ทั้งสองนี้เป็น
อะไรกันกับพญาเนื้อนี้หนอ ครั้นคิดดังนี้แล้ว เมื่อจะถามเหตุนั้นจึงกล่าวคาถา
ความว่า
เนื้อทั้งสองนี้เป็นอะไรกับท่านหนอ พ้นไปแล้ว
ยังย้อนกลับมาหาเครื่องผูกอีก ไม่ปรารถนาจะละทิ้ง
ท่านไป แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺนุ เตเม ตัดบทเป็น กึ นุ เต อิเม
แปลว่า เนื้อทั้งสองนี้เป็นอะไรกับท่านหนอ. บทว่า อุปาสเร แปลว่า ยัง
เข้าไปใกล้.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงบอกแก่นายพรานว่า
ดูก่อนนายพราน เนื้อทั้งสองนี้ เป็นน้องชาย
น้องสาวของข้าพเจ้า ร่วมท้องมารดาเดียวกัน ไม่
ปรารถนาละข้าพเจ้าไป แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต.
นายพรานได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์แล้ว เป็นผู้มีจิตอ่อนลงไปเป็น
อันมาก. จิตตมฤคราชรู้ว่านายพรานมีจิตอ่อนแล้ว จึงกล่าวว่า ดูก่อนนายพราน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 98
ผู้สหาย ท่านอย่าสำคัญพญาเนื้อนี้ว่า เป็นเพียงเนื้อสามัญเท่านั้น แท้จริง
พญาเนื้อนี้ เป็นราชาแห่งเนื้อแปดหมื่น ถึงพร้อมด้วยศีลและมรรยาท มีจิต
อ่อนโยนในสรรพสัตว์ มีปัญญามาก เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้ชราตาบอด ถ้าหาก
ท่านฆ่าเนื้อผู้ตั้งอยู่ในธรรมเห็นปานนี้ให้ตายลง ชื่อว่าฆ่าพวกเราให้ตายถึง ๕
ชีวิต คือ มารดาบิดาของเรา ตัวเรา และน้องสาวของเราทีเดียว แต่เมื่อท่าน
ให้ชีวิตแก่พี่ชายของเรา เป็นอันได้ชื่อว่าให้ชีวิตแก่พวกเราแม้ทั้ง ๕ แล้ว
กล่าวคาถาความว่า
ข้าแต่นายพราน มารดาบิดาของเราเหล่านั้น
ตาบอด หาผู้ปรนนิบัตินำทางไม่ได้ คงจักต้องตาย
แน่แท้ โปรดให้ชีวิตแก่พวกเราทั้ง ๕ เถิด โปรดปล่อย
พี่ชายเสียเถิด.
นายพรานได้ฟังธรรมกถาของจิตตมฤคแล้ว มีจิตเลื่อมใสแล้วกล่าวว่า
ท่านอย่ากลัวเลย แล้วกล่าวคาถาเป็นลำดับไปว่า
ข้าพเจ้าจะปล่อยเนื้อผู้เลี้ยงมารดาบิดาแน่นอน
มารดาบิดาได้เห็นพญาเนื้อหลุดจากบ่วงแล้ว จงยินดี
เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โว เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ทิสฺวา
ความว่า เห็นพญาเนื้อหลุดแล้วจากบ่วง.
ก็แลนายพรานครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงคิดว่า ยศที่พระราชาพระ-
ราชทานแล้ว จักช่วยอะไรเราได้ ถ้าหากเราจักฆ่าพญาเนื้อนี้เสีย แผ่นดินนี้
จักแยกออกให้ช่องแก่เรา หรือสายอสนีบาตจักฟาดลงบนกระหม่อมของเรา
เราจักปล่อยพญาเนื้อนั้น. เขาจึงเข้าไปหาพระมหาสัตว์เจ้า แล้วกล่าวว่า
ข้าพเจ้าจักโยกหลักบ่วงให้ล้มลง แล้วตัดเชือกหนังออกดังนี้แล้ว ประคอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 99
พญาเนื้อให้นอนลงที่ชายน้ำ ค่อย ๆ แก้บ่วงออกด้วยมุทิตาจิต ทำเส้นเอ็น
ให้ประสานกับเส้นเอ็น เนื้อให้ประสานกับเนื้อ หนังให้ประสานกับหนัง แล้ว
เอาน้ำล้างเลือด ลูบคลำไปมาด้วยมุทิตาจิต. ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาจิตของ
นายพราน และด้วยอานุภาพแห่งบารมีที่พระมหาสัตว์ได้บำเพ็ญมา เอ็น หนัง
และเนื้อทั้งหมด ก็สมานติดสนิทดังเดิม. เท้าก็ได้มีหนังและขนปกปิดสนิทดี
ในอวัยวะที่มีแผลเก่าไม่ปรากฏว่า มีแผลติดอยู่เลย. พระมหาสัตว์ถึงความสบาย
ปลอดภัยลุกขึ้นยืนแล้ว จิตตมฤคเห็นดังนั้นแล้ว เกิดความโสมนัสเมื่อจะทำ
อนุโมทนาต่อนายพราน จึงกล่าวคาถาความว่า
ข้าแต่นายพราน ท่านจงยินดีเพลิดเพลินกับ
พวกญาติทั้งปวง เหมือนข้าพเจ้าเห็นพญาเนื้อที่หลุด
จากบ่วงแล้ว ชื่นชมยินดีในวันนี้ ฉะนั้น.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าคิดว่า นายพรานนี้เมื่อจะจับเรา จับโดย
งานอาชีพของตน หรือว่าจับโดยการบังคับของผู้อื่น จึงถามเหตุที่จับ. บุตร
นายพรานตอบว่า ดูก่อนพญาเนื้อ ข้าพเจ้าจะมีกิจกรรมเกี่ยวกับท่านก็หามิได้
แต่พระอัครมเหสีของพระราชา ซึ่งมีพระนามว่า พระนางเขมาราชเทวี มี
พระประสงค์จะฟังธรรมกถาของท่าน ท่านจึงถูกข้าพเจ้าจับโดยพระราชโองการ
เพื่อประโยชน์แก่พระเทวีนั้น. พระมหาสัตว์กล่าวว่า สหายเอ๋ย เมื่อเป็นเช่นนั้น
ท่านปล่อยเราเสีย ชื่อว่าทำสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง มาเถิด จงนำเราไปแสดงแก่
บรมกษัตริย์เถิด เราจักแสดงธรรมถวายพระนางเทวี. นายพรานกล่าวว่า
ดูก่อนพญาเนื้อ ธรรมดาพระราชาทั้งหลายมีพระเดชานุภาพร้ายกาจ ใครจักรู้
ว่า จักมีอะไรเกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยินดียศศักดิ์ที่ทรงพระราชทานดอก เชิญ
ท่านไปตามสบายของท่านเถิด. พระมหาสัตว์คิดว่า พรานนี้เมื่อปล่อยเราไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 100
ชื่อว่าทำกิจที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง เราจักทำอุบายให้พรานนั้นได้รับยศศักดิ์ แล้ว
จึงกล่าวว่า ดูก่อนสหาย ท่านจงเอามือลูบหลังเราก่อนเถิด. นายพรานจึงเอา
มือลูบหลังพญาเนื้อ มือของเขาก็เต็มไปด้วยขนมีสีเหมือนทองคำ. เขาจึงถามว่า
ดูก่อนพญาเนื้อ ข้าพเจ้าจักทำอย่างไรกับขนเหล่านี้ พญาเนื้อจึงบอกว่า
ดูก่อนสหาย ท่านจงเอาขนเหล่านั้นไปถวายแด่พระราชา และพระราชเทวี ทูลว่า
นี้เป็นขนของสุวรรณมฤคนั้น ดังนี้ ตั้งอยู่ในฐานะตัวแทนของเรา แสดง
ธรรมถวายพระบรมราชเทวี ด้วยคาถาเหล่านี้ การแพ้พระครรภ์ของพระนาง
ก็จักสงบ เพราะทรงสดับธรรมกถานั้นแล ดังนี้แล้ว ให้นายพรานเรียน
ราชธรรมคาถา ๑๐ คาถา มีอาทิว่า ธมฺมญฺจร มหาราช ซึ่งแปลว่า ข้าแต่
มหาราชเจ้า พระราชาพึงประพฤติธรรมดังนี้แล้วให้เบญจศีล กล่าวสอนด้วย
ความไม่ประมาทแล้วส่งไป.
บุตรของนายพราน ยกย่องพระมหาสัตว์ไว้ในตำแหน่งอาจารย์ กระทำ
ประทักษิณสามครั้ง แล้วไหว้ในฐานะสี่ เอาใบบัวห่อขนทองทั้งหลายแล้วลา
หลีกไป. เนื้อทั้งสามตามไปส่งนายพรานหน่อยหนึ่ง แล้วเอาปากคาบอาหาร
และน้ำ พากันกลับไปยังสำนักของมารดาบิดา. มารดาบิดาทั้งสองเมื่อจะถามว่า
โรหนะลูกรัก ได้ยินว่า เจ้าติดบ่วง แล้วพ้นมาได้อย่างไร จึงกล่าวคาถา
ความว่า
ลูกรัก เมื่อชีวิตเข้าไปใกล้ความตายแล้ว เจ้า
หลุดมาได้อย่างไร ไฉนนายพรานจึงปล่อยจากบ่วง
เหล็กมาเล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปนีตสฺมิ ความว่า เมื่อชีวิตสถิตอยู่
เฉพาะหน้ามฤตยู เจ้ารอดตายมาได้อย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 101
พระโพธิสัตว์ฟังคำนั้นแล้ว กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
น้องจิตตกะกล่าววาจาไพเราะหู เป็นที่จับใจ
ดื่มด่ำในหฤทัย ช่วยให้ข้าพเจ้าหลุดมาได้ ด้วยวาจา
สุภาษิต น้องสุตตนาได้กล่าววาจาไพเราะหู จับใจ
ดื่มด่ำในหฤทัย ช่วยข้าพเจ้าให้หลุดมาได้ด้วยวาจา
สุภาษิต นายพรานได้ฟังวาจาไพเราะหู เป็นที่จับใจ
ดื่มด่ำในหฤทัย แล้วปล่อยข้าพเจ้า เพราะฟังวาจา
สุภาษิตของน้องทั้งสองนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภณ แปลว่า กล่าวอยู่. บทว่า หทยงฺค
แปลว่า ดื่มด่ำในหฤทัย. บทว่า ภณ ในคาถาที่ ๒ เท่ากับ ภณมานา แปลว่า
เมื่อน้องนางสุตตนากล่าวอยู่. บทว่า สุตฺวา ความว่า นายพรานนั้นฟังวาจา
ของเนื้อทั้งสองเหล่านั้นแล้ว.
ลำดับนั้น เมื่อมารดาบิดาพระโพธิสัตว์จะอนุโมทนา จึงกล่าวว่า
ก็เราทั้งหลายเห็นลูกโรหนะมาแล้ว พากันชื่นชม
ยินดี ฉันใด ขอนายพรานพร้อมด้วยลูกเมีย จงชื่นชม
ยินดี ฉันนั้นเถิด.
ฝ่ายนายพรานออกจากป่าแล้วไปสู่ราชตระกูล ถวายบังคมพระราชา
แล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. พระราชาเห็นเขาแล้วตรัสพระคาถาว่า
แน่ะนายพราน เจ้าได้บอกไว้ว่า จะนำเนื้อหรือ
หนังเนื้อมามิใช่หรือ เออก็เหตุอะไรเล่า เจ้าจึงไม่นำ
เอาเนื้อหรือหนังเนื้อมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคจมฺมานิ ได้แก่ เนื้อหรือหนัง. บทว่า
อาหรึ แปลว่า จักนำมา. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ดูก่อนพ่อพรานผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 102
เจ้าได้กล่าวไว้อย่างนี้มิใช่หรือว่า เมื่อไม่สามารถจะนำเนื้อมา ก็จะนำหนังมา
หรือเมื่อไม่สามารถจะนำหนังมา ก็จักนำขนมา ด้วยเหตุไร เจ้าจึงมิได้นำเนื้อ
หรือหนังของมันมาเลย.
นายพรานได้ฟังพระดำรัสแล้วกล่าวคาถา ความว่า
เนื้อนั้นได้มาติดบ่วงเหล็กถึงมือแล้ว แต่มีเนื้อ
สองตัวไม่ได้ติดบ่วง มายืนอยู่ใกล้เนื้อตัวนั้น ข้า-
พระองค์ได้เกิดความสังเวชใจ ความอัศจรรย์ใจ
ขนพองสยองเกล้าว่า ถ้าเราฆ่าเนื้อตัวนี้ เราจักต้อง
ละทิ้งชีวิต ในสถานที่นี้แหละในวันนี้ทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาคม ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ก็
เนื้อนั้นมาสู่เงื้อมมือ ทั้งมาสู่บ่วงที่ข้าพระพุทธเจ้าดักไว้ด้วย ได้ติดอยู่ในบ่วง
นั้น. บทว่า ตญฺจ มุตฺตา อุปาสเร ความว่า แต่ว่าเนื้อสองตัวพ้นบ่วง
ไปแล้ว คือไม่ได้เข้ามาติดบ่วงเลย ได้เข้ามายืนพิงเนื้อนั้นปลอบใจอยู่. บทว่า
อพฺภูโต แปลว่า ไม่เคยเป็นมาก่อนเลย. บทว่า อิมญฺจาห ตัดบทเป็น
อิม อห แปลว่า ก็ข้าพระองค์นั้น. อธิบายว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพระองค์
ผู้มีความสังเวชสลดใจ ได้มีความปริวิตกนี้ว่า ถ้าเราจักฆ่าเนื้อนี้เสีย เราจัก
ต้องละทิ้งชีวิตในสถานที่นี้แหละในวันนี้ทีเดียว.
พระราชาสดับคำนั้นแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนนายพราน เนื้อนั้นเป็นเช่นไร เป็นเนื้อ
มีกรรมอย่างไร มีสีสรรอย่างไร มีศีลอย่างไร ท่าน
จึงได้สรรเสริญเนื้อเหล่านั้นนัก.
พระราชาตรัสถามเช่นนี้บ่อย ๆ ด้วยสามารถทรงพิศวงพระทัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 103
นายพรานได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว กล่าวคาถาความว่า
เนื้อเหล่านั้นมีเขาขาว ขนสะอาด หนังเปรียบ
ด้วยทองคำ เท้าแดง ตาสุกสะกาว เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอทาตสิงฺคา ความว่า เนื้อเหล่านั้น
มีเขาเช่นเดียวกับพวงเงิน. บทว่า สุจิพาลา ความว่า ประกอบด้วยขนอ่อน
สะอาดเช่นกับขนจามรี. บทว่า โลหิตกา ความว่า เช่นเดียวกับปลาโลมา
และปลาวาฬแดง. บทว่า ปาทา ได้แก่ ปลายกีบเท้า. บทว่า อญฺชิตกฺขา
ความว่า ประกอบด้วยนัยน์ตามีประสาททั้ง ๕ หมดจด เหมือนไล้ทาไว้.
เมื่อนายพรานกราบทูลอยู่อย่างนี้แล ได้วางโลมชาติทั้งหลายมีสี
เหมือนทองของพระโพธิสัตว์ ไว้ในพระหัตถ์ของพระราชา เมื่อจะประกาศสีกาย
แห่งเนื้อเหล่านั้น จึงกล่าวคาถา ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เนื้อเหล่านั้นเป็น
เช่นนี้ เป็นเนื้อมีธรรมเช่นนี้ เป็นเนื้อเลี้ยงมารดาบิดา
ข้าพระพุทธเจ้า จึงมิได้นำเนื้อเหล่านั้นมาถวาย
พระองค์ พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาตาเปติภรา ความว่า เนื้อเหล่านั้น
ช่วยกันเลี้ยงมารดาบิดาแก่ชราตาบอด จึงชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรมเช่นนี้. บทว่า
น เต โส อภิหารยุ ความว่า พญาเนื้อนั้น ใคร ๆ ไม่อาจจะนำมาเพื่อ
เป็นเครื่องบรรณาการแก่พระองค์ได้. ปาฐะว่า อภิหารยึ ดังนี้ก็มี. ความก็ว่า
ข้าพระพุทธเจ้าหาได้นำพญาเนื้อนั้นมาถวาย เพื่อเป็นบรรณาการแก่พระองค์
ไม่ คือมิได้นำมาเลย.
นายพรานกล่าวพรรณนาคุณความดี ของพระโพธิสัตว์จิตตมฤค
และนางมฤคีโปติกาชื่อสุตตนา ด้วยประการฉะนี้แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 104
มหาราชเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าอันพญาเนื้อนั้นให้ขนของตนมาแล้ว ให้ศึกษา
บทธรรมสั่งบังคับว่า ท่านพึงตั้งอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเรา แสดงธรรม
ถวายพระราชเทวี ด้วยคาถาราชธรรมจรรยา ๑๐ ประการเถิด.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสสั่งให้นายพรานนั่งเหนือราชบัลลังก์
อันขจิตด้วยรัตนะ ๗ ประการ พระองค์เองกับพระบรมราชเทวี ประทับนั่ง
บนพระราชอาสน์ที่ต่ำ ณ ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง ทรงประคองอัญชลี เชื้อ
เชิญนายพราน.
เมื่อนายพรานนั้นจะแสดงธรรมถวาย จึงทูลว่า
ข้าแต่บรมขัตติยมหารา ขอพระองค์จงทรง
ประพฤติให้เป็นธรรม ในพระราชมารดาบิดา ข้าแต่
องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว
จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่บรมขัตติยมหาราช ขอพระองค์จงทรง
ประพฤติให้เป็นธรรม ในพระราชบุตร และพระราช
ชายาทั้งหลาย ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ประพฤติ
ธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่บรมขัตติยมหาราช ขอพระองค์จงทรง
ประพฤติให้เป็นธรรม ในมิตรและอำมาตย์ทั้งหลาย
ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ประพฤติธรรมในโลกนี้
แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่บรมขัตติยมหาราช ขอพระองค์จงทรง
ประพฤติให้เป็นธรรมในพาหนะ และพลทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 105
ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้
แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ให้เป็นธรรมในบ้านและนิคมทั้งหลาย ข้าแต่องค์
ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว
จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประ-
พฤติธรรม ในแว่นแคว้นและชนบททั้งหลาย ข้าแต่
องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว
จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรง
ประพฤติให้เป็นธรรม ในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย
ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลก
นี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ให้เป็นธรรม ในหมู่มฤคและปักษีทั้งหลาย ข้าแต่องค์
ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จัก
ได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม เพราะธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำ
สุขมาให้ ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติ
ธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 106
ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม พระอินทร์ เทพยเจ้าทั้งหลายพร้อมทั้งพระ-
พรหม ได้เสวยทิพยสมบัติ เพราะธรรมอันประพฤติ
ดีแล้ว ข้าแต่องค์ราชันย์ ขอพระองค์อย่าได้ทรง
ประมาทธรรม ธรรมเหล่านั้นเป็นวัตตบทในทศราช
ธรรมนั่นเอง ข้อนี้แล เป็นอนุสาสนีที่พร่ำสอนกันมา
กัลยาณชนมาซ่องเสพผู้มีปัญญา พระองค์ทรงประพฤติ
อย่างนี้แล้ว จะได้ไปสู่ไตรทิพยสถาน ด้วยประการ
ฉะนี้.
บุตรนายพรานแสดงธรรมด้วยพุทธลีลา โดยนิยามอันพระมหาสัตว์
ทรงแสดงแล้วนั่นเอง เหมือนเทวดาผู้วิเศษยังแม่น้ำในอากาศ ให้ตกลงมา
ฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้. มหาชนยังสาธุการให้เป็นไปนับเป็นพัน ความแพ้
พระครรภ์ของพระบรมราชเทวีก็ระงับไป เพราะทรงสดับธรรมกถานั่นเอง.
พระราชาทรงดีพระทัย เมื่อจะทรงปูนบำเหน็จชุบเลี้ยงบุตรนายพราน ด้วย
ยศใหญ่ ได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถาความว่า
ดูก่อนนายพราน เราให้ทองคำ ๑๐๐ แท่ง
กุณฑลแก้วมณีอันมีค่ามาก เตียงสี่เหลี่ยมมีสีคล้าย
ดอกสามหาว และภรรยาผู้ทัดเทียมกันสองคน กับ
โค ๑๐๐ ตัวแก่ท่าน เราจักปกครองราชสมบัติโดยธรรม
ท่านเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามา ดูก่อนนายพราน ท่าน
จงเลี้ยงดูบุตรและภรรยาด้วยกสิกรรม พาณิชยกรรม
การให้กู้หนี้ และด้วยการประพฤติเลี้ยงชีพโดยสัมมา
อาชีวะเถิด อย่าได้กระทำบาปอีกเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 107
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ถูล ความว่า เราจักให้เครื่องประดับ
คือมณีและแก้วกุณฑลมีค่ามาก แก่ท่าน. บทว่า จตุรสฺส ได้แก่ บัลลังก์สูง
สี่เหลี่ยม อธิบายว่า มีด้านศีรษะสูงสี่เหลี่ยม. บทว่า อุมฺมารปุปฺผ สิรินฺนิภ
ได้แก่ บัลลังก์ที่สำเร็จด้วยไม้แก่นสีดำ ประกอบด้วยโอภาส มีรัศมีเช่นเดียว
กับดอกสามหาว เพราะลาดด้วยเครื่องลาดสีเขียว. บทว่า สาทิสิโย ความว่า
ทัดเทียมกันด้วยรูปสมบัติ และโภคสมบัติ. บทว่า อุสภญฺจ คว สต ความว่า
และเราจะให้โคฝูงร้อยตัว มีโคผู้เป็นหัวหน้าแก่ท่าน.
บทว่า กาเรสฺส ความว่า เราจะไม่ยังทศพิธราชธรรมให้กำเริบ
จักเสวยราชสมบัติโดยธรรมเท่านั้น. บทว่า พหุกาโร เมสิ ความว่า
แม้ท่านก็ชื่อว่าเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามากเพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นตัวแทน
แห่งพญาเนื้อตัวมีสีเหมือนทอง แล้วแสดงธรรมแก่เรา เราเป็นผู้อันท่านให้
ประดิษฐานอยู่ในเบญจศีล โดยนิยามดังพญาเนื้อกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า กสิวณิชฺชา ความว่า ดูก่อนนายพรานผู้สหาย เรามิได้เห็น
พญาเนื้อ ฟังแต่ถ้อยคำของพญาเนื้อเท่านั้น ยังตั้งอยู่ในเบญจศีลได้ แม้ท่าน
ก็จงเป็นคนมีศีลตั้งแต่บัดนี้ไป จงกระทำกสิกรรม และพาณิชยกรรม และ
อิณทานกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า อุญฺฉาจริยา ความว่า อันเป็นหลัก
ของการครองชีพ อธิบายว่า ท่านจงเลี้ยงดูบุตรภรรยาของท่าน ด้วยกสิกรรม
และพาณิชยกรรมเป็นต้นนี้ อันเป็นสัมมาอาชีวะเถิด อย่าได้กระทำบาปอีกเลย.
นายพรานฟังพระดำรัสของพระราชาแล้ว กราบทูลว่าข้าพระพุทธเจ้า
ไม่มีความประสงค์จะอยู่ครอบครองเรือน ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตการ
บรรพชา แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด ครั้นได้พระบรมราชานุญาตแล้ว ก็มอบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 108
ทรัพย์สมบัติที่พระราชาทรงพระราชทานแก่ตน แก่บุตรภรรยา แล้วเข้าไปสู่
หิมวันตประเทศ บวชเป็นฤาษี ยังสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด เป็นผู้มีพรหมโลก
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ฝ่ายพระราชาทรงดำรงอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์เจ้า
แล้วทรงบำเพ็ญทางแห่งสวรรค์ให้เต็มบริบูรณ์ โอวาทของพระมหาสัตว์นั้น
ก็ดำเนินติดต่อมาเป็นเวลาพันปี.
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้วตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในชาติก่อน พระอานนท์ก็ได้สละชีวิต เพื่อประโยชน์
แก่เรา ด้วยประการอย่างนี้เหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า นายพราน
ในครั้งนั้นได้มาเป็นพระฉันนะในบัดนี้ พระราชาได้มาเป็นพระสารีบุตร
พระเทวี ได้มาเป็นเขมาภิกษุณี มารดาบิดาได้มาเป็นตระกูลมหาราช
สุตตนามฤคีได้มาเป็นอุบลวรรณาเถรี จิตตมฤคได้มาเป็นพระอานนท์
เนื้อแปดหมื่นได้มาเป็นหมู่สากิยราช ส่วนพญาเนื้อได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาโรหนมิคชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 109
๖. หังสชาดก
ว่าด้วยหงส์สุมุขะผู้ภักดี
[๒๑๒๔] ฝูงหงส์เหล่านั้น มีผิวกายอร่าม งาม
เรืองรองดังทองคำ ถูกภัยคุกคามแล้ว มีตัวงอบินหนี
ไป ดูก่อนสุมุขะ ท่านจงหลบหลีกไปตามใจปรารถนา
เถิด.
หมู่ญาติทั้งหลายละทิ้งเราผู้ติดบ่วงไว้ผู้เดียว ไม่
ห่วงใย พากันบินหนีไป ท่านผู้เดียว จะมัวห่วงอยู่
ทำไม.
ดูก่อนสุมุขะผู้ประเสริฐ จะมัวพะวงอยู่ทำไม
ท่านควรบินหนีเอาตัวรอด เพราะความเป็นสหายใน
เราผู้ติดบ่วงไม่มี ท่านหลบหลีกไปเสียเถิด อย่ายังความ
เพียรให้เสื่อมเสีย เพราะความไม่มีทุกข์เลย จงรีบบิน
หนีไปตามใจปรารถนาเถิด.
[๒๑๒๕] ข้าแต่ท้าวธตรฐมหาราช ถึงพระองค์
จะถูกทุกข์ภัยครอบงำ ข้าพระพุทธเจ้าก็จักไม่ละทิ้ง
พระองค์ไป จักเป็นหรือตายข้าพระพุทธเจ้าก็จักอยู่
ร่วมกับพระองค์.
[๒๑๒๖] ดูก่อนสุมุขเสนาบดี ท่านกล่าวคำใด
คำนั้น เป็นคำดีงามของพระอริยเจ้า อนึ่ง เราเมื่อจะ
ทดลองท่านดู จึงพูดว่าจงหลบไปเสีย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 110
[๒๑๒๗] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ สูงสุดกว่า
หงส์ทั้งหลาย วิสัยปักษีทิชากร สัญจรไปในอากาศ
ย่อมบินไปสู่ทาง โดยที่มิใช่ทางได้ พระองค์ไม่ทรง-
ทราบบ่วงแต่ที่ไกลดอกหรือ.
[๒๑๒๘] คราวใดจะมีความเสื่อม คราวนั้นเมื่อ
ถึงคราวจะสิ้นชีพ สัตว์แม้จะติดบ่วงติดข่ายก็ย่อมไม่
รู้สึก.
[๒๑๒๙] ฝูงหงส์เหล่านั้นมีกายอร่าม งามเรือง
รอง ดังทองคำ ถูกภัยคุกคามแล้ว มีตัวงอ พากันบิน
หนีไป ท่านเท่านั้น ที่มัวพะวงอยู่.
หงส์เหล่านั้นกินและดื่มแล้ว ก็พากันบินหนีไป
มิได้มีความห่วงใย บินไปสิ้น ก็ตัวท่านผู้เดียวเท่านั้น
เฝ้าพะวักพะวน.
หงส์ตัวนี้ เป็นอะไรกับท่านหนอ ท่านพ้นแล้ว
จากบ่วง ทำไมจึงมาเป็นห่วงหงส์ผู้ติดบ่วงอยู่เล่า หงส์
ทั้งหลายต่างพากันทอดทิ้งไป ไยเล่าท่านผู้เดียว จึง
มัวพะวงอยู่.
[๒๑๓๐] หงส์ตัวนั้น เป็นราชาของเรา เป็นมิตร
สหายเสมอด้วยชีวิตของเรา เราจักไม่ทอดทิ้งท่านไป
จนตราบเท่าวันตาย.
[๒๑๓๑] ท่านปรารถนาจะสละชีวิต เพราะเหตุ
แห่งสหาย เราก็จักปล่อยสหายของท่านไป ขอพญา
หงส์จงไปตามความประสงค์ของท่านเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 111
[๒๑๓๒] ดูก่อนนายพราน วันนี้ข้าพเจ้าได้เห็น
พญาหงส์ผู้เป็นใหญ่ ในหมู่ทิชาชาติพ้นจากบ่วงแล้ว
ย่อมชื่นชมยินดี ฉันใด ขอท่านพร้อมกับหมู่ญาติทั้งปวง
จงชื่นชมยินดี ฉันนั้นเถิด.
[๒๑๓๓] (พญาหงส์ทูลว่า) พระองค์ผู้ทรงพระ-
เจริญทรงเกษมสำราญดีหรือ โรคพยาธิมิได้เบียดเบียน
พระองค์หรือ รัฐสีมาอาณาจักรของพระองค์นี้ สมบูรณ์
ดีหรือ พระองค์ทรงปกครองประชาราษฎร์ โดยธรรม
หรือ.
[๒๑๓๔] (พระราชาตรัสตอบว่า) ดูก่อนพญา-
หงส์ เราเกษมสำราญดี ทั้งโรคพยาธิก็มิได้เบียดเบียน
รัฐสีมาอาณาจักรของเรานี้ ก็สมบูรณ์ดี เราปกครอง
ราษฎร์โดยธรรม.
[๒๑๓๕] (พญาหงส์ทูลว่า) โทษผิดบางประการ
ในหมู่อำมาตย์ราชเสวกทั้งหลายของพระองค์ ไม่มีอยู่
หรือ หมู่ศัตรูห่างไกลจากพระองค์เหมือนเงาที่ไม่-
เจริญด้านทิศทักษิณอยู่หรือ.
[๒๑๓๖] (พระราชาตรัสตอบว่า) โทษผิดบาง
ประการในหมู่อำมาตย์ราชเสวกทั้งหลายของเรา แม้
น้อยหนึ่งไม่มีเลย อนึ่ง หมู่ศัตรูห่างไกลจากเรา
เหมือนเงาย่อมไม่เจริญทางด้านทิศทักษิณ ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 112
[๒๑๓๗] (พญาหงส์ทูลว่า) พระมเหสีของพระ-
องค์ มิได้ทรงประพฤติล่วงละเมิดพระทัย ทรงเชื่อฟัง
ทรงปราศรัยน่ารัก พรักพร้อมไปด้วยบุตรสมบัติ รูป
สมบัติ และยศสมบัติ ยังเป็นที่โปรดปรานของพระ-
องค์อยู่หรือประการใด.
[๒๑๓๘] (พระราชาตรัสตอบว่า) พระมเหสี
ของเราเป็นเช่นนั้น ทรงเชื่อฟัง มิได้คิดนอกใจ
ทรงปราศัยน่ารัก พรักพร้อมไปด้วยบุตรสมบัติ รูป
สมบัติ และยศสมบัติ เป็นที่โปรดปรานของเราอยู่.
[๒๑๓๙] (พญาหงส์ทูลว่า) พระราชโอรสของ
พระองค์มีจำนวนมาก ทรงอุบัติมาเป็นศรีสวัสดิ์ ใน
รัฐสีมาอันเจริญ ทรงสมบูรณ์ด้วยปรีชา เฉลียวฉลาด
ต่างพากันบันเทิงรื่นเริงพระทัย แต่ที่นั้นๆอยู่แลหรือ.
[๒๑๔๐] (พระราชาตรัสตอบว่า) ดูก่อนพญา-
หงส์ธตรฐ เราชื่อว่า มีบุตรมากถึง ๑๐๑ องค์
ขอท่านได้โปรดชี้แจงกิจที่ควรแก่บุตรเหล่านั้นด้วยเถิด
เธอเหล่านั้น จะไม่ดูหมิ่นโอวาทคำสอนของท่านเลย.
[๒๑๔๑] แม้ถ้าว่า กุลบุตรเป็นผู้เข้าถึงชาติกำ-
เนิด หรือวินัย แต่กระทำความเพียรในภายหลัง เมื่อ
ธุรกิจเกิดขึ้น ย่อมต้องจมอยู่ในห้วงอันตราย.
ช่องทางรั่วไหลแห่งโภคสมบัติเป็นต้น ก็จะเกิด
ขึ้นอย่างใหญ่หลวง กับกุลบุตรผู้มีปัญญาอ่อนง่อนแง่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 113
นั้น กุลบุตรนั้นย่อมเห็นได้แต่รูปที่หยาบ ๆ เหมือน
ความมืดในราตรีฉะนั้น.
กุลบุตรผู้ประกอบความเพียรในสิ่งอันไม่เป็น
สาระ ว่าเป็นสาระ ย่อมไม่ประสบความรู้เลยทีเดียว
ย่อมจะจมลงในห้วงอันตรายอย่างเดียว เหมือนกวางวิ่ง
โลดโผนไปในซอกผาตกจมเหวลงไปในระหว่างทาง
ฉะนั้น.
ถึงหากว่านรชนจะเป็นผู้มีชาติเลวทราม แต่เป็น
ผู้มีความขยันหมั่นเพียร มีปัญญาประกอบด้วยอาจาระ
และศีล ย่อมรุ่งเรืองสุกใส เหมือนกองไฟในยาม
ราตรีฉะนั้น.
ขอพระองค์ทรงทำข้อนั้นนั่นแลให้เป็นข้อเปรียบ
เทียบ แล้วจงให้พระโอรสดำรงอยู่ในวิชา กุลบุตรผู้มี
ปัญญาย่อมงอกงามขึ้น ดังพืชในนางอกงามขึ้น เพราะ
น้ำฝนฉะนั้น.
จบหังสาชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 114
อรรถกถาหังสชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
การสละชีวิตของพระอานนทเถระนั่นแล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า เอเต หสา ปกฺกมนฺติ ดังนี้.
ความพิสดารว่า แม้ในครั้งนั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวสรรเสริญคุณ
ของพระอานนทเถระอยู่ ณ โรงธรรมสภา พระบรมศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น
ก็หามิได้ แม้ในชาติปางก่อน อานนท์ก็เคยสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่เรา
เหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาแสดง ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล มีพระราชาทรงพระนามว่า พหุปุตตกะ เสวยราชสมบัติ
อยู่่ในพระนครพาราณสี. พระนางเทวีทรงพระนามว่า เขมา ได้เป็นพระ-
อัครมเหสีของพระองค์. กาลครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าบังเกิดในกำเนิดพญา
หงส์ทอง มีหงส์เก้าหมื่นเป็นบริวาร อาศัยอยู่ ณ จิตตกูฏบรรพ. แม้ใน
คราวนั้น พระบรมราชเทวีก็ทรงพระสุบินนิมิต โดยนัยที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
จึงกราบทูลการที่จะทรงสดับธรรมเทศนาของพญาหงส์ทอง และความแพ้
พระครรภ์แก่พระราชา. แม้พระราชาก็ตรัสถามเสวกามาตย์ว่า ชื่อว่าหงส์ทองมี
อยู่ที่ไหน ก็แลครั้นทรงสดับว่า อยู่ที่จิตตกูฏบรรพ จึงมีพระบรมราชโองการ
ให้ขุดสระขึ้น ขนานนามว่า เขมาโบกขรณี แล้ว เพาะพันธุ์ธัญชาติ สำหรับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 115
เป็นอาหารแห่งสุวรรณหงส์มีประการต่างๆ ให้ประกาศโฆษณาพระราชทานอภัย
แก่ฝูงหงส์ทั้งหลาย ในมุมสระทั้ง ๔ แล้ว แต่งบุตรนายพรานคนหนึ่งไว้ให้คอย
จับหงส์ทั้งหลาย. ก็แลอาการที่พระเจ้าพหุปุตตกะทรงแต่งตั้งนายพรานไว้ดัก
หงส์ก็ดี สภาวะที่นายพรานคอยต้อนหงส์ให้ลงสระนั้นก็ดี อาการที่กำหนดดัก
บ่วงไว้ในเวลาที่พญาหงส์ทองมา แล้วกราบทูลให้พระราชาทรงทราบก็ดี อาการ
ที่กำหนดพระมหาสัตว์ติดบ่วงก็ดี กิริยาที่สุมุขหงส์เสนาบดี ไม่เห็นมหาสัตว์มา
ในฝูงหงส์ทั้ง ๓ เหล่านั้นแล้วย้อนกลับไปดูก็ดี ข้อความทั้งปวงนี้ จักมีแจ้ง
ในมหาหังสชาดก แม้ในชาดกนี้ พระมหาสัตว์เจ้าครั้นติดบ่วงคันแร้ว จึงทอด
ตัวลงกับหลักบ่วงนั่นเอง ชูคอแลดูทางที่หมู่หงส์บินไป ได้เห็นสุมุขหงส์เสนาบดี
บินกลับมา จึงดำริว่า ในเวลาที่สุมุขหงส์มาถึงแล้ว เราจักลองใจดู เมื่อ
สุมุขหงส์เสนาบดีมาถึงแล้ว จึงกล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
ฝูงหงส์เหล่านั้น มีผิวกายอร่ามงามเรืองรอง
ดังทองคำ ถูกภัยคุกคามแล้ว มีตัวงอบินหนีไป ดูก่อน
สุมุขะ ท่านจงหลบหลีกไปตามใจปรารถนาเถิด.
หมู่ญาติทั้งหลายละทิ้งเราผู้ติดบ่วงไว้ผู้เดียว ไม่
ห่วงใย พากันบินหนีไป ท่านผู้เดียว จะมัวห่วงอยู่
ทำไม.
ดูก่อนสุมุขะ ผู้ประเสริฐ จะมัวพะวงอยู่ทำไม
ท่านควรบินหนีเอาตัวรอด เพราะความเป็นสหายใน
เราผู้ติดบ่วงไม่มี ท่านหลบหลีกไปเสียเถิด อย่ายัง
ความเพียรให้เสื่อมเสีย เพราะความไม่มีทุกข์เลย จง
รีบบินหนีไปตามใจปรารถนาเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 116
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภยเมริตา ความว่า อันภัยเผชิญหน้า
คือถูกภัยคุกคาม และหวั่นไหวเพราะภัย.
พระมหาสัตว์เรียกฝูงหงส์นั้นแหละ แม้ด้วยคำทั้งสองว่า หริตฺตจ
เหมวณฺณ. ด้วยบทว่า กาม นี้ พระมหาสัตว์กล่าวหมายความว่า ดูก่อน
สุนทรมุขเสนาบดี ผู้มีผิวงามดังทองคำ ท่านจงหลบหลีกเอาตัวรอดไปเถิด
ประโยชน์อะไรด้วยการหวนย้อนกลับมาในที่นี้. บทว่า โอหาย ความว่า
ละทิ้งเราไว้ผู้เดียวไม่เหลียวแล บินหนีไป. บทว่า อนเปกฺขมานา ความว่า
หมู่ญาติของเราแม้เหล่านั้น ไม่สนใจเหลียวแลดูเราเลย บินหนีไป บทว่า
ปเตว แปลว่า โดดหนีไปทีเดียว. บทว่า มา อนีฆาย ความว่า ท่าน
ไปจากที่นี่แล้ว อย่าละเลยความเพียรเสีย เพราะเหตุที่ท่านได้เป็นผู้นิราศ
ปราศจากทุกข์ อันจะพึงถึงนี้เลย.
ลำดับนั้น หงส์สุมุขเสนาบดี จับอยู่ที่หลังเปลือกตม กล่าวคาถา
ความว่า
ข้าแต่ท้าวธตรฐมหาราช ถึงพระองค์จะถูก
ทุกข์ภัยครอบงำ ข้าพระพุทธเจ้าก็จักไม่ละทิ้งพระองค์
ไป จักเป็นหรือตาย ข้าพระพุทธเจ้า ก็จักอยู่ร่วมกับ
พระองค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขปเรโต ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ถึงแม้พระองค์จะมีมรณทุกข์คุกคามอยู่เฉพาะหน้า ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่ละทิ้ง
พระองค์ไปเสียแม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เท่านั้น. เมื่อหงส์สุขุมเสนาบดี เปล่ง
สีหนาทอย่างนี้แล้ว ท้าวธตรฐมหาราช กล่าวคาถาความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 117
ดูก่อนสุมุขเสนาบดี ท่านกล่าวคำใด คำนั้น
เป็นคำดีงามของพระอริยเจ้า อนึ่ง เราเมื่อจะทดลอง
ท่านดู จึงพูดว่า จงหลบไปเสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตทริยสฺส ความว่า ท่านกล่าวคำใดว่า
จะไม่ทิ้งเราไป คำนั้นเป็นคาดี อุดมสมเป็นคำของพระอริยเจ้า ผู้ถึงพร้อม
ด้วยอาจาระ. บทว่า ปตฺเต ต ความว่า อนึ่ง เราได้กล่าวอย่างนี้ ใช่ว่ามีความ
ประสงค์จะละทิ้งท่านก็หามิได้ ที่แท้ต้องการจะทดลองใจท่าน จึงได้แกล้งพูด
คำว่า ไปเสียเถิด อธิบายว่า ได้กล่าวคำว่า ท่านจงบินไปเสีย.
เมื่อหงส์ทั้งสองเหล่านั้น กำลังสนทนากันอยู่นั่นเอง บุตรของนาย
พรานถือไม้วิ่งมาโดยเร็ว. สุมุขเสนาบดี จึงพูดปลอบใจท้าวธตรฐมหาราช
พลางผินหน้าไปหานายพราน บินไปทำความเคารพ แล้วกล่าวสรรเสริญคุณ
ของพญาหงส์. ทันใดนั้นเอง บุตรนายพรานได้มีจิตอ่อนลง หงส์สุมุขเสนาบดี
รู้ว่า บุตรนายพรานมีจิตอ่อนลงแล้ว จึงบินกลับไปยืนปลอบใจพญาหงส์อยู่.
ฝ่ายบุตรนายพราน เข้าไปหาพญาหงส์ แล้วกล่าวคาถาที่ ๖ ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสูงสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย
วิสัยปักษีทิชากร สัญจรไปในอากาศ ย่อมบินไปสู่ทาง
โดยที่มิใช่ทางได้ พระองค์ไม่ทรงทราบบ่วงแต่ที่ไกล
ดอกหรือ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปเทน ปท ความว่า ดูก่อนมหาราช
ทิชาชาติ สัญจรไปในอากาศเช่นท่าน ย่อมนำทางในอากาศ อันมิใช่ทาง
บินไปได้. บทว่า น พุชฺฌิ ความว่า บุตรนายพรานถามว่า ท่านมีสภาพ
เห็นปานนี้ ไยจึงไม่เฉลียวใจ คือไม่รู้ว่ามีบ่วงนี้แต่ที่ไกลเล่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 118
พระมหาสัตว์ตอบว่า.
คราวใดจะมีความเสื่อม คราวนั้นเมื่อถึงคราวจะ
สิ้นชีพ สัตว์แม้จะติดบ่วงติดข่าย ก็ย่อมไม่รู้สึก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา ปราภโว ความว่า ดูก่อนนายพราน
ผู้สหาย ความเสื่อมคือความไม่เจริญ ได้แก่ความพินาศ จะมีในกาลใด กาลนั้น
เมื่อถึงคราวสิ้นชีวิต แม้สัตว์จะติดข่าย ติดบ่วง ก็ย่อมจะรู้ไม่ได้.
นายพรานชื่นชมยินดีถ้อยคำของพญาหงส์ เมื่อจะสนทนากับหงส์
สุมุขเสนาบดี จึงกล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
ฝูงหงส์เหล่านั้น มีกายอร่ามงามเรืองรองดัง
ทองคำ ถูกภัยคุกคามแล้ว มีตัวงอพากันบินหนีไป
ท่านเท่านั้นมัวพะวงอยู่.
หงส์เหล่านั้นกินและดื่มแล้ว ก็พากันบินหนีไป
มิได้มีความห่วงใยบินไปสิ้น ก็ตัวท่านผู้เดียวเท่านั้น
เฝ้าพะวักพะวน.
หงส์ตัวนี้เป็นอะไรกับท่านหนอ ท่านพ้นแล้ว
จากบ่วง ทำไมจึงมาเป็นห่วงหงส์ผู้ติดบ่วงอยู่เล่า หงส์
ทั้งหลายต่างพากันทอดทิ้งไป ไยเล่าท่านผู้เดียว จึง
มัวพะวงอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวญฺเจน ความว่า นายพรานถามว่า
ไยท่านจึงมัวพะวงอยู่กับพญาหงส์. บทว่า อุปาสสิ แปลว่า ยังจะเข้าไปใกล้.
หงส์สุมุขเสนาบดีกล่าวว่า
หงส์ตัวนั้นเป็นราชาของเรา เป็นมิตรสหาย
เสมอด้วยชีวิตของเรา เราจักไม่ทอดทิ้งท่านไป จน
ตราบเท่าวันตาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 119
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว กาลสฺส ปริยาย ความว่า
ดูก่อนบุตรนายพราน เราจักไม่ทอดทิ้งพญาหงส์นั้นเลย จนกว่าจะถึงที่สุด
กาลสิ้นชีวิต.
นายพรานได้ฟังดังนั้น มีจิตเลื่อมใส คิดว่า ถ้าเราจักประพฤติผิดใน
หงส์ทองผู้สมบูรณ์ด้วยศีลเหล่านั้นอย่างนี้ แม้แผ่นดินก็จะพึงให้ช่องแก่เรา
ประโยชน์อะไรด้วยยศศักดิ์ ทรัพย์สมบัติที่เราจักได้จากสำนักพระราชา เรา
จักปล่อยพญาหงส์นั้นไป ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาความว่า
ท่านปรารถนาจะสละชีวิต เพราะเหตุแห่งสหาย
เราก็จักปล่อยสหายของท่านไป ขอพญาหงส์จงไปตาม
ความประสงค์ของท่านเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย จ ตฺว เท่ากับ โย นาม ตฺว
แปลว่า ขึ้นชื่อว่า ท่านผู้ใด. บทว่า โส โยค อห แปลว่า เรานั้น. อธิบาย
ว่า พญาหงส์นี้ จะเป็นไปตามอำนาจความประสงค์ของท่าน คือจงอยู่ในสถานที่
แห่งเดียวกับท่านเถิด.
ก็แล นายพรานครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ปลดท้าวธตรฐออกจาก
หลักบ่วง นำไปยังขอบสระ แก้บ่วงออกแล้วชำระล้างโลหิต ด้วยจิตอ่อนโยน
ไปด้วยกรุณา แล้วจัดแจงตบแต่งเส้นเอ็นเป็นต้น ให้เรียบร้อยเป็นอันดี
ด้วยอำนาจมุทุจิตของนายพราน และด้วยอานุภาพแห่งบารมี ที่พระมหาสัตว์
บำเพ็ญมา เท้าที่มีบาดแผล ก็มีหนังและขนงอกขึ้นในขณะนั้น. แม้ริ้วรอย
ที่บ่วงผูกพัน ก็ไม่ปรากฏ. หงส์สุมุขเสนาบดีแลดูพระโพธิสัตว์แล้วมีจิตยินดี
เมื่อจะกระทำอนุโมทนา จึงกล่าวคาถาความว่า
ดูก่อนนายพราน วันนี้ข้าพเจ้าได้เห็นพญาหงส์
ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ทิชาชาติ พ้นจากบ่วงแล้ว ย่อมชื่นชม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 120
ยินดี ฉันใด ขอท่านพร้อมกับหมู่ญาติทั้งปวง จงชื่น
ชม ยินดี ฉันนั้นเถิด.
นายพรานได้ฟังดังนั้นแล้ว กล่าวว่า ข้าแต่เจ้า เชิญท่านทั้งสองไปเถิด.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงถามนายพรานนั้นว่า ดูก่อนสหาย ท่านมาดักเรา
เพื่อประโยชน์ของตัว หรือมาดักโดยอาณัติของผู้อื่น เมื่อนายพรานบอกเหตุ
นั้นแล้ว จึงไตร่ตรองทบทวนดูว่า เราจากที่นี้ไปยังจิตตกูฏบรรพตทีเดียวดี
หรือว่าไปสู่พระนครดี ดังนี้แล้ว ตกลงใจว่า เมื่อเราไปพระนคร แม้บุตร
นายพรานก็จะได้ทรัพย์สมบัติ แม้ความแพ้พระครรภ์ของพระเทวีก็จะระงับ
มิตรธรรมของสุมุขเสนาบดีก็จักปรากฏ กำลังแห่งญาณของเราก็จักปรากฏ
เหมือนกัน ทั้งเราจักได้สระเขมาโบกขรณี เป็นที่ให้อภัยแก่ปักษีทั้งหลาย
การที่เราไปสู่พระนครของพระเจ้าพาราณสีนั้นดีแน่ ดังนี้แล้ว จึงกล่าวกะ
นายพรานว่า ดูก่อนนายพราน ท่านจงเอาเราทั้งสองใส่หาบ นำไปเฝ้ายัง
สำนักของพระราชาเถิด ถ้าหากว่าพระราชาจะทรงพระเมตตาโปรดปล่อยพวกเรา
ไซร้ พระองค์ก็จักโปรดปล่อยพวกเราไปเอง. นายพรานกล่าวชี้แจงว่า ข้าแต่
ท่านผู้เป็นเจ้า ขึ้นชื่อว่าพระราชาทั้งหลายร้ายกาจนัก ท่านทั้งสองจงไปเสียเถิด
พญาหงส์กล่าวว่า แม้นายพรานเช่นท่าน พวกเรายังทำให้ใจอ่อนลงได้ อัน
การที่จะให้พระราชาทรงโปรดปราน เป็นภารธุระของข้าพเจ้า สหาย จงนำ
พวกเราไปเฝ้าเถิด. นายพรานก็ได้ทำตามนั้นทุกประการ. พระราชาทอดพระ-
เนตรเห็นหงส์ทั้งสองเท่านั้น ก็เกิดความชื่นชมโสมนัส โปรดให้หงส์ทั้งสอง
พักจับอยู่ที่ตั่งทอง พระราชทานข้าวตอกคลุกน้ำผึ้งให้ดื่มน้ำเจือด้วยน้ำผึ้งแล้ว
ทรงประคองอัญชลีตรัสวิงวอนขอให้แสดงธรรมกถา พญาหงส์รู้ชัดว่า พระเจ้า
พาราณสีทรงยินดีใคร่จะทรงธรรม จึงมีความยินดีไดทำปฏิสันถารขึ้นก่อน.
คาถาสนทนาโต้ตอบระหว่างพญาหงส์กับพระราชา มีลำดับดังต่อไปนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 121
(พญาหงส์ทูลว่า) พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ
ทรงเกษมสำราญดีหรือ โรคาพยาธิมิได้เบียดเบียน
พระองค์หรือ รัฐสีมาอาณาจักรของพระองค์นี้ สมบูรณ์
ดีหรือ พระองค์ทรงปกครองประชาราษฎรโดยธรรม
หรือ.
(พระราชาตรัสตอบว่า) ดูก่อนพญาหงส์ เรา
เกษมสำราญดี ทั้งโรคาพยาธิก็มิได้เบียดเบียน รัฐสีมา
อาณาจักรของเรานี้ ก็สมบูรณ์ดี เราปกครองราษฏร
โดยธรรม.
(พญาหงส์ทูลว่า) โทษผิดบางประการในหมู่อำ-
มาตย์ราชเสวกทั้งหลายของพระองค์ ไม่มีอยู่หรือ หมู่
ศัตรูห่างไกลจากพระองค์ เหมือนเงาที่ไม่เจริญด้าน
ทิศทักษิณอยู่แลหรือ.
(พระราชาตรัสตอบว่า) โทษผิดบางประการใน
หมู่อำมาตย์ราชเสวกทั้งหลายของเราแม้น้อยหนึ่งไม่มี
เลย อนึ่ง หมู่ศัตรูก็ห่างไกลจากเรา เหมือนเงาย่อม
ไม่เจริญทางด้านทิศทักษิณฉะนั้น.
(พญาหงส์ทูลว่า) พระมเหสีของพระองค์ มิได้
ทรงประพฤติล่วงละเมิดพระทัย ทรงเชื่อฟัง ทรง
ปราศรัยน่ารัก พรักพร้อมไปด้วยบุตรสมบัติ รูปสมบัติ
และยศสมบัติ ยังเป็นที่โปรดปรานของพระองค์อยู่
หรือประการใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 122
(พระราชาตรัสตอบว่า) พระมเหสีของเราเป็น
เช่นนั้น ทรงเชื่อฟังมิได้คิดนอกใจ ทรงปราศรัยน่ารัก
พรักพร้อมไปด้วยบุตรสมบัติ รูปสมบัติ และยศสมบัติ
เป็นที่โปรดปรานของเราอยู่.
(พญาหงส์ทูลว่า) พระราชโอรสของพระองค์
มีจำนวนมาก ทรงอุบัติมาเป็นศรีสวัสดิ์ในรัฐสีมาอัน
เจริญ ทรงสมบูรณ์ด้วยปรีชาเฉลียวฉลาด ต่างพากัน
บันเทิง รื่นเริงพระทัย แต่ที่นั้น ๆ อยู่แลหรือ.
(พระราชาตรัสตอบว่า) ดูก่อนพญาหงส์ธตรฐ
เราชื่อว่า มีบุตรมากถึง ๑๐๑ องค์ ขอท่านได้โปรด
ชี้แจงกิจที่ควรแก่บุตรเหล่านั้นด้วยเถิด เธอเหล่านั้น
จะไม่ดูหมิ่นโอวาทคำสั่งสอนของท่านเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสล ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่มีโรค.
บทว่า อนามย นี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า กุสล นั่นแหละ. บทว่า ผีต
ความว่า พญาหงส์ทูลถามว่า (พระโรคมิได้เบียดเบียนหรือ) แว่นแคว้น
ี้ของพระองค์กว้างขวาง มีภิกษาหาได้ง่าย ทั้งพระองค์ทรงอนุศาสน์พร่ำสอน
ชาวแว่นแคว้นโดยธรรมบ้างหรือ ? บทว่า โทโส แปลว่า ความผิด.
บทว่า ฉายา ทุกฺขิณโตริว ความว่า เงามีหน้าตรงต่อทิศทักษิณ
ย่อมไม่เจริญฉันใด พวกอมิตรไพรีของพระองค์ย่อมไม่เจริญฉันนั้น หรือ
ประการใด ? บทว่า สาทิสี ความว่า ก็พระมเหสีของพระองค์ผู้ทัดเทียมกัน
ด้วยชาติสมบัติ โภคสมบัติ และโคตรตระกูล ประเทศเห็นปานนี้ มิได้ทรง
ประพฤตินอกพระทัย. บทว่า อสฺสวา แปลว่า เชื่อถ้อยฟังคำ. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 123
ปุตฺตรูปยสูเปตา ความว่า พรักพร้อมด้วยบุตรสมบัติ รูปสมบัติ และยศ
สมบัติ.
บทว่า ปญฺาชเวน ความว่า พญาหงส์ทูลถามว่า พระราชโอรส
ทรงยังปัญญา ให้แล่นไป ด้วยกำลังปัญญาแล้วสามารถเพื่อจะวินิจฉัยกิจการ
นั้น ๆ ได้. บทว่า สมฺโมทนฺติ ตโต ตโต ความว่า พระราชโอรสเหล่านั้น
ยังพากันทรงบันเทิงอยู่ในที่ประกอบกิจการนั้น ๆ หรือประการใด.
บทว่า มยา สุตา ความว่า พระราชตรัสตอบว่า โอรสทั้งหลาย
ปรากฏแล้วเพราะเรา ทั้งโลกก็เรียกเราว่า พระเจ้าพหุปุตตกราช คือพูดกันว่า
โอรสเหล่านั้นเป็นผู้มีกิตติศัพท์ฟุ้งขจรไป เพราะเราว่า อาศัยเราแพร่หลายเกิด
ปรากฏด้วยประการฉะนี้. บทว่า เตส ตฺว กิจฺจมกฺขาหิ ความว่า ท่าน
โปรดชี้แจงกิจที่ควรทำแก่โอรสเหล่านั้นของเราด้วยว่า ราชโอรสทั้งหลายจงทำ
สิ่งนี้ ๆ. บทว่า นาวรุชฌนฺติ นี้พระราชาตรัสโดยพระประสงค์ว่า จงให้
โอวาทแก่โอรสของเราเหล่านั้น ดังนี้ทีเดียว.
พระมหาสัตว์ทรงสดับพระดำรัสนั้นแล้ว เมื่อจะถวายโอวาทแก่พระ-
โอรสเหล่านั้น ได้กล่าวคาถา ๕ คาถา ความว่า
แม้ถ้าว่ากุลบุตรเป็นผู้เข้าถึงชาติกำเนิดหรือวินัย
แต่กระทำความเพียรในภายหลัง เมื่อธุรกิจเกิดขึ้น
ย่อมต้องจมอยู่ในห้วงอันตราย.
ช่องทางรั่วไหลแห่งโภคสมบัติเป็นต้น ก็จะเกิด
ขึ้นอย่างใหญ่หลวง กับกุลบุตรผู้มีปัญญาง่อนแง่นนั้น
กุลบุตรนั้นย่อมมองเห็นได้แต่รูปที่หยาบ ๆ เหมือน
ความมืดในราตรีฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 124
กุลบุตรผู้ประกอบความเพียรในสิ่งอันไม่เป็น
สาระว่าเป็นสาระ ก็ย่อมไม่ประสบความรู้เลยทีเดียว
ย่อมจะจมลงในห้วงอันตรายอย่างเดียว เหมือนกวาง
วิ่งโลดโผนไปในซอกผา ตกจมเหวลงไปในระหว่าง
ทางฉะนั้น.
ถึงหากว่า นรชนจะเป็นผู้มีชาติเลวทราม แต่
เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร มีปัญญา ประกอบด้วย
อาจาระและศีล ย่อมจะรุ่งเรือง สุกใสเหมือนกองไฟ
ในยามราตรี ฉะนั้น.
ขอพระองค์ทรงทำข้อนั้นนั่นแลให้เป็นข้อเปรียบ
เทียบ แล้วจงให้พระโอรสดำรงอยู่ในวิชา กุลบุตรผู้มี
ปัญญาย่อมงอกงามขึ้น ดังพืชในนางอกงามขึ้นเพราะ
น้ำฝน ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วินเยน วา ได้แก่อาจาระ. มรรยาท.
บทว่า ปจฺฉา กุรุเต โยค ความว่า หากว่ากุลบุตรใดไม่ทำการประกอบ
คือความเพียรในการศึกษาศิลปวิทยาที่ควรศึกษา ในเวลาที่ยังเป็นเด็ก ทำการ
ศึกษาต่อภายหลังคือเมื่อเวลาแก่ กุลบุตรเห็นปานนี้นั้น ย่อมจมลงในทุกข์หรือ
อันตรายเห็นปานนั้นในภายหลัง คือไม่สามารถเพื่อจะช่วยเหลือตนเองได้.
บทว่า ตสฺส สหีรปญฺสฺส ความว่า เพราะกุลบุตรนั้นไม่ได้รับการศึกษา
แต่นั้น (ความเสื่อมโภคสมบัติจึงเกิด) แก่เขาผู้มีปัญญาไม่แน่นอน มีความรู้
ไม่มั่นคง. บทว่า วิวโร ได้แก่ ช่องคือความเสื่อมแห่งโภคสมบัติเป็นต้น.
บทว่า รตฺติมนฺโธ ได้แก่ ความมืดบอดในราตรี. ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 125
ความมืดในราตรี คือความมืดบอดในราตรี ย่อมเห็นได้แต่รูปหยาบ ๆ อย่าง-
เดียว โดยแสงพระจันทร์เป็นต้นในราตรี ไม่สามารถจะเห็นรูปละเอียด ๆ ได้
ฉันใด กุลบุตรผู้ไม่ได้รับการศึกษา มีปัญญาง่อนแง่นฉันนั้น เมื่อภัยอย่างใด
อย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่สามารถจะเห็นกิจการอันละเอียดสุขุมได้ เห็นได้
เฉพาะกิจการที่หยาบๆ ฉะนั้น เพราะฉะนั้นควรที่จะโปรดให้พระโอรสทั้งหลาย
ของพระองค์ เล่าเรียนศึกษา ในเวลาที่พระโอรสยังทรงพระเยาว์ทีเดียว.
บทว่า อสาเร ได้แก่ ในเวทสมัยอันติดต่อในโลก อันไร้สาระ.
บทว่า สารโยคฺญู ความว่า สำคัญว่า ลัทธิสมัยนี้ประกอบด้วยสาระ.
บทว่า มตึ นเตฺวว วินฺทติ ความว่า แม้จะศึกษามากมาย ย่อมไม่ได้ปัญญา
ความรอบรู้เลย. บทว่า คิริทุคฺคสฺมึ ความว่า เปรียบเหมือนกวางเดินทาง
มาสู่สถานที่อยู่ของตน สำคัญที่อันไม่ราบเรียบว่าราบเรียบ วิ่งโลดโผนไปใน
ซอกผาโดยกำลังเร็ว ย่อมตกห้วงเหวจมลงไปในระหว่าง หาถึงที่อยู่ไม่ ฉันใด
กุลบุตรผู้เห็นปานนี้นั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เล่าเรียนลัทธิพระเวทย์อันเนื่องใน
โลกอันไร้สาระด้วยความสำคัญว่าเป็นสาระ ย่อมจะถึงความพินาศใหญ่ เพราะ
ฉะนั้น พระองค์โปรดให้พระโอรสทั้งหลายของพระองค์ศึกษาประกอบในกิจ
ทั้งหลายอันเนื่องด้วยประโยชน์ นำความเจริญมาให้.
บทว่า นิเส อคฺคีว ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า คนเราแม้จะเกิดใน
กำเนิดต่ำทราม แต่เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ มีความขยันหมั่นเพียรเป็นต้น
ย่อมสว่างไสวได้เหมือนกองไฟ ในราตรีฉะนั้น. บทว่า เอต เว ความว่า
พระองค์โปรดทำการเปรียบเทียบความมืดในราตรี กับกองไฟที่ข้าพเจ้ากราบ-
ทูลมา แล้วให้โอรสทั้งหลายของพระองค์ดำรงอยู่ในวิชาความรู้ คือ โปรดให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 126
ประกอบในสิกขาทั้งหลาย อันควรแก่การศึกษาเถิด เพราะกุลบุตรผู้ประกอบ
ด้วยวิชาอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มีปัญญาเครื่องทรงจำ ย่อมงอกงาม คือเจริญด้วย
เกียรติยศและโภคสมบัติ เหมือนพืชย่อมงอกงามขึ้นในนาอันดีทั้งหลาย เพราะ
น้ำฝนฉะนั้น.
พระมหาสัตว์แสดงธรรมถวายพระราชาอยู่อย่างนี้จนตลอดคืนยังรุ่ง
ความแพ้พระครรภ์ของพระเทวีก็สงบระงับ. ในเวลารุ่งอรุณนั้นเอง พระ-
มหาสัตว์ ให้พระราชาดำรงอยู่ในศีล ถวายโอวาทด้วยอัปปมาทกถา แล้วทูล
ลาออกไปสู่จิตตกูฏบรรพตนั่นแหละ โดยสีหบัญชรด้านทิศอุดร พร้อมกับหงส์
สุมุขเสนาบดี.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
แม้ในกาลก่อน อานนท์นี้ ก็ได้สละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่เราอย่างนี้เหมือนกัน
แล้วทรงประชุมชาดกว่า นายพรานในครั้งนั้นได้มาเป็นพระฉันนะ พระ-
ราชาได้มาเป็นพระสารีบุตร พระเทวี ได้มาเป็นนางเขมาภิกษุณี หมู่
หงส์ได้มาเป็นหมู่ศากยราช หงส์สุมุขเสนาบดี ได้มาเป็นพระอานนท์
ส่วนพญาหงส์ ได้มาเป็นเราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาหังสชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 127
๗. สัตติคุมพชาดก
ว่าด้วยพี่น้องก็ยังต่างใจกัน
[๒๑๔๒] พระมหาราชาผู้เป็นจอมชนแห่งชาว
ปัญจาลรัฐ เป็นดุจพรานเนื้อเสด็จออกมาสู่ป่าพร้อม
ด้วยเสนา พลัดจากหมู่เสนาไป.
ท้าวเธอได้ทอดพระเนตรเห็นกระท่อม ที่เขาทำ
ไว้เป็นที่อาศัยของโจรทั้งหลายในป่านั้น สุวโปดก
ออกจากกระท่อมนั้นไปแล้ว กลับมาพูดแข็งขันกับ
พ่อครัวว่า มีบุรุษหนุ่มน้อย มีรถม้าเป็นพาหนะ มี
กุณฑลเกลี้ยงเกลาดี มีกรอบหน้าแดง งดงามเหมือน
พระอาทิตย์ ส่องแสงสว่างในกลางวัน ฉะนั้น.
เมื่อถึงเที่ยงวันพระราชากำลังทรงบรรทมหลับ
กับนายสารถี (สุวโปดกป่าวร้องว่า) เอาซิพวกเรา จง
รีบไปชิงเอาทรัพย์ทั้งหมดของท้าวเธอเสีย เวลานี้ก็
เงียบสงัดดุจยามค่ำคืน พระราชากำลังทรงบรรทมหลับ
พร้อมกับนายสารถี พวกเราจงไปแย่งเอาผ้าและ
กุณฑลแก้วมณี แล้วฆ่าเสีย เอากิ่งไม้กลบไว้.
[๒๑๔๓] ดูก่อนสุวโปดกสัตติคุมพะ เจ้าเป็นบ้า
ไปกระมัง จึงได้พูดอย่างนั้น เพราะว่าพระราชา
ทั้งหลายถึงจะเสด็จมาแต่ไกล ก็ย่อมทรงเดชานุภาพ
เหมือนดังไฟสว่างไสว ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 128
[๒๑๔๔] ดูก่อนนายปติโกลุมพะ ท่านเมาแล้ว
ย่อมเก่งกาจสามารถมิใช่หรือ เมื่อมารดาของเรา
เปลือยกาย ไฉนท่านจึงเกลียดการโจรกรรมหนอ.
[๒๑๔๕] ดูก่อนนายสารถีผู้เพื่อนยาก เจ้าจงลุก
ขึ้นเทียมรถ เราไม่ชอบใจนก เราจงไปอาศรมอื่น
กันเถิด.
[๒๑๔๖] ข้าแต่พระมหาราชา ราชรถได้เทียม
แล้ว และม้าราชพาหนะมีกำลัง ก็ได้จัดเทียมแล้ว
เชิญพระองค์เสด็จขึ้นประทับเถิด จะได้เสด็จไปยัง
อาศรมอื่น พระเจ้าข้า.
[๒๑๔๗] พวกโจรภายในอาศรมนี้ พากันไป
เสียที่ไหนหมดเล่า พระเจ้าปัญจาลราชนั้นหลุดพ้นไป
ได้ เพราะพวกโจรเหล่านั้นไม่เห็น ท่านทั้งหลายจง
จับเกาทัณฑ์ หอก และโตมร พระเจ้าปัญจาลราช
กำลังหนีไป ท่านทั้งหลายอย่าได้ปล่อยให้มีชีวิตอยู่ได้
เลย.
[๒๑๔๘] ขณะนั้น ปุปผกสุวโปดก ตัวมีจะงอย
ปากแดงงาม ยินดีต้อนรับพระราชาว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง พระองค์ไม่
ได้เสด็จมาร้าย พระองค์ผู้ทรงอิสรภาพเสด็จมาถึง
แล้วโดยลำดับ ของสิ่งใดที่มีอยู่ในอาศรมนี้ ขอ
พระองค์จงทรงเลือกเสวยของสิ่งนั้น ผลมะพลับ ผล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 129
มะหาด ผลมะซาง ผลหมากเม่า อันเป็นผลไม้มี
รสหวานเล็กน้อย ขอพระองค์จงเลือกเสวยแต่ที่ดี ๆ
ข้าแต่พระมหาราชา น้ำนี้เย็นนำมาแต่ซอกภูเขา ขอ
เชิญพระองค์ทรงดื่มถ้าทรงปรารถนา ฤาษีทั้งหลายใน
อาศรมนี้ พากันไปป่าเพื่อแสวงหาผลาผล เชิญเสด็จ
ลุกขึ้นไปทรงเลือกหยิบเอาเองเถิด เพราะข้าพระองค์
ไม่มีมือที่จะทูลถวายได้.
[๒๑๔๙] นกแขกเต้าตัวนี้ เจริญดีหนอ ประกอบ
ด้วยคุณธรรมอย่างยิ่ง ส่วนนกแขกเต้าตัวโน้น พูด
ถ้อยคำหยาบคายว่า จงจับมัดพระราชานี้ฆ่าเสีย อย่า
ให้รอดชีวิตไปได้เลย เมื่อนกแขกเต้านั้นรำพันเพ้ออยู่
อย่างนี้ เราได้มาถึงอาศรมนี้ โดยสวัสดี.
[๒๑๕๐] ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์ทั้ง
สองเป็นพี่น้องร่วมท้องมารดาเดียวกัน ได้เจริญเติบโต
ที่ต้นไม้เดียวกัน แต่ต่างพลัดกันไปอยู่คนละเขตแดน
สัตติคุมพะเจริญอยู่ในสำนักของพวกโจร ส่วนข้า-
พระองค์เจริญอยู่ในสำนักของฤาษีในอาศรมนี้ สัตติ
คุมพะนั้น เข้าอยู่ในสำนักของอสัตบุรุษ ข้าพระองค์
อยู่ในสำนักของสัตบุรุษ ฉะนั้น ข้าพระองค์ทั้งสอง
จึงต่างกันโดยธรรม.
[๒๑๕๑] การฆ่าก็ดี การจองจำก็ดี การหลอกลวง
ด้วยของปลอมก็ดี การหลอกลวงด้วยอาการตรง ๆ ก็ดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 130
การปล้นฆ่าชาวบ้านก็ดี การกระทำกรรมอันแสน
สาหัสก็ดี มีอยู่ในที่ใด สัตติคุมพะนั้นย่อมศึกษาสิ่ง
เหล่านั้นในที่นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ภารตวงศ์ ในอาศรม
ของฤาษีนี้มีแต่สัจจธรรม ความไม่เบียดเบียน ความ
สำรวม และความฝึกอินทรีย์ ข้าพระองค์เป็นผู้เจริญ
แล้ว บนตักของฤาษีทั้งหลาย ผู้มีปกติให้อาสนะ
และน้ำ.
[๒๑๕๒] ข้าแต่พระราชา บุคคลคบคนใด ๆ
เป็นสัตบุรุษ อสัตบุรุษ มีศีล หรือไม่มีศีล เขาย่อม
ตกอยู่ใต้อำนาจของบุคคลนั้นนั่นแหละ บุคคลคบคน
เช่นใดเป็นมิตร หรือเข้าไปซ่องเสพคนเช่นใด ก็ย่อม
เป็นเช่นคนนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันเป็นเช่นนั้น
อาจารย์คบอันเตวาสิกย่อมทำอันเตวาสิก ผู้ยังไม่
แปดเปื้อนให้แปดเปื้อนได้ อาจารย์ถูกอันเตวาสิกพา
แปดเปื้อนแล้ว พาอาจารย์อื่นให้เปื้อนอีก เหมือน
ลูกศรที่เปื้อนยาพิษแล้ว ย่อมทำแล่งลูกศรให้เปื้อน
ฉะนั้น นักปราชญ์ไม่พึงมีสหายลามกเลยทีเดียว
เพราะกลัวแต่การแปดเปื้อน ด้วยบาปธรรม นรชนใด
ห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้ใบหญ้าคาของนรชน
นั้น ย่อมมีกลิ่นเน่าฟุ้งไป ฉันใด การเข้าไปคบหา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 131
คนพาลก็เช่นนั้นเหมือนกัน นรชนใดห่อกฤษณาด้วย
ใบไม้ แม้ใบไม้ของนรชนนั้น ก็ย่อมหอมฟุ้งไป
ฉันใด การเข้าไปคบหานักปราชญ์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตรู้ความเปลี่ยนแปลงของตน
ดุจห่อใบไม้แล้ว ไม่ควรเข้าไปคบหาพวกอสัตบุรุษ
ควรคบหาแต่พวกสัตบุรุษ ด้วยว่าอสัตบุรุษย่อมนำไป
สู่นรก สัตบุรุษย่อมพาให้ถึงสุคติ.
จบสัตติคุมพชาดกที่ ๗
อรรถกถาสัตติคุมพชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระคทายวิหาร ใกล้ถ้ำมัททกุจฉิ
ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโท
มหาราช ดังนี้.
ความย่อว่า เมื่อพระเทวทัตกลิ้งศิลา สะเก็ดแตกมากระทบพระบาทของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เกิดทุกขเวทนาเป็นกำลัง. ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก
มาประชุมกันเพื่อเฝ้าเยี่ยมพระตถาคตเจ้า. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทอด
พระเนตรเห็นพุทธบริษัทมาประชุมกันแล้ว มีพระดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
เสนาสนะนี้คับแคบนัก จักมีการประชุมใหญ่ พวกเธอจงนำเราขึ้นคานหามไป
ที่ถ้ำมัททกุจฉิเถิด. ภิกษุทั้งหลาย พากันกระทำตามพุทธดำรัส. หมอชีวกโก-
มารภัจ ได้จัดการรักษาพระบาทของพระตถาคตเจ้าให้ผาสุก. ภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 132
นั่งประชุมสนทนากันในสำนักของพระศาสดาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัต
แม้ตนเองก็ลามก แม้บริษัทของเธอก็ลามก พระเทวทัตนั้นเป็นคนลามก
มีบริวารลามกอยู่อย่างนี้ พระศาสดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอประชุม
สนทนาอะไรกัน ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ใช่แต่ในชาตินี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระเทวทัตก็เป็น
คนลามก มีบริวารลามกเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า ปัญจาละ เสวยราชสมบัติอยู่ใน
อุตตรปัญจาลนคร กาลนั้น พระมหาสัตว์บังเกิดเป็นลูกพญานกแขกเต้า
ตัวหนึ่ง สองตัวพี่น้องอยู่ที่สิมพลีวันใกล้สานุบรรพตแห่งหนึ่ง ในแนวป่า.
ก็ในด้านเหนือของภูเขาลูกนั้น มีบ้านโจรเป็นที่อยู่อาศัยของโจร ๕๐๐ ในด้าน
ใต้เป็นอาศรมสถานที่อยู่ของหมู่ฤาษี ๕๐๐ ตน. ในกาลเมื่อสุวโปดกสองพี่น้อง
นั้นกำลังสอนบิน บังเกิดลมหัวด้วนขึ้น สุวโปดกตัวหนึ่ง ถูกลมพัดไปตก
ระหว่างอาวุธของพวกโจรในโจรคาม เพราะสุวโปดกตกลงในระหว่างกองอาวุธ
พวกโจรจับได้จึงตั้งชื่อว่า " สัตติคุมพะ ". ส่วนสุวโปดกตัวหนึ่งลมพัดไปตก
ในระหว่างกองดอกไม้ ที่เนินทรายใกล้อาศรมพระฤาษี เพราะสุวโปดกนั้น
ตกลงในระหว่างกองดอกไม้ พระฤาษีทั้งหลายจึงพากันตั้งชื่อนกนั้นว่า " ปุปฺผ-
กะ ".
สัตติคุมพสุวโปดก เจริญเติบโตในระหว่างพวกโจร. บุปผกสุวโปดก
เจริญเติบโตในระหว่างพระฤาษีทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าปัญจาลราช
ประดับตกแต่งองค์ด้วยเครื่องสรรพาลังการ เสด็จทรงรถพระที่นั่งอันประเสริฐ
เสด็จสู่ชายป่าอันเป็นรมณียสถานมีดอกไม้ผลไม้ผลิดอกออกผลงามดี ณ ที่
ใกล้พระนคร โดยทรงประสงค์จะล่ามฤค พร้อมด้วยบริวารเป็นจำนวนมาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 133
แล้วทรงประกาศว่า มฤคหนีออกได้โดยด้านหน้าที่ของผู้ใด อาชญาจะพึงมี
แก่ผู้นั้น แล้วเสด็จลงจากราชรถ ทรงธนูศรประทับยืนซ่อนพระองค์อยู่ในซุ้ม
ที่ราชบุรุษจัดทำถวาย. เมื่อพวกราชบุรุษพากันตีเคาะที่ละเมาะพุ่มไม้ เพื่อที่จะ
ให้มฤคทั้งหลายลุกขึ้น เนื้อทรายตัวหนึ่ง ลุกขึ้น แลดูทางที่จะไป เห็นสถานที่
ด้านพระราชาประทับยืนอยู่สงัดเงียบ จึงบ่ายหน้าตรงทิศนั้นเผ่นหนีไป. อำ-
มาตย์ทั้งหลายร้องถามกันว่า มฤคหนีไปทางด้านหน้าที่ของใคร รู้ว่าทางด้าน
หน้าที่ของพระราชาแล้ว พากันทำการยิ้มเยาะพระราชา. พระเจ้าปัญจาลราช
ทรงกลั้นการเย้ยหยันของเหล่าอำมาตย์ไม่ได้ ด้วยอัสมิมานะ. เสด็จขึ้นสู่รถ-
พระที่นั่งตรัสสั่งว่า เราจักจับมฤคนั้นให้ได้เดี๋ยวนี้ แล้วตรัสสั่งบังคับนายสารถี
ว่า จงขับรถไปโดยเร็ว เสด็จไปตามทางที่มฤคหนีไป. ราชบริษัทไม่สามารถ
จะติดตามรถพระที่นั่งซึ่งกำลังวิ่งไปโดยเร็วได้ พระราชาสองคนกับนายสารถี
เสด็จไปจนถึงเวลาเที่ยงวัน ไม่พบเนื้อ จึงเสด็จกลับมา ทอดพระเนตรเห็น
ลำธารอันเป็นรมณียสถานใกล้โจรคามนั้น แล้วเสด็จลงจากราชรถทรงเสวยแล้ว
เสด็จขึ้น. ลำดับนั้น นายสารถีจึงเลิกเครื่องปูรถ แต่งให้เป็นที่บรรทมที่ภายใต้
ร่มไม้. พระราชาทรงบรรทม ณ ที่นั้น ฝ่ายนายสารถีก็นั่งถวายงานนวด
พระบาทยุคลของพระราชาอยู่. พระราชาทรงบรรทมหลับ ๆ ตื่น ๆ ในระยะ
ติด ๆ กัน. ฝ่ายพวกโจรชาวโจรคามเข้าป่าเพื่อถวายอารักขาพระราชากันหมด.
ในโคจรคามจึงเหลืออยู่แต่สัตติคุมพสุวโปดก กับบุรุษพ่อครัวชื่อปติโกลุมพะ
สองคนเท่านั้น. ขณะนั้น สัตติคุมพสุวโปดกบินออกจากบ้านไปเห็นพระราชา
จึงคิดว่า เราจักฆ่าพระราชาผู้กำลังหลับนี้เสีย เก็บเอาเครื่องประดับไปเสีย แล้ว
บินกลับไปยังสำนักของนายปติโกลุมพะ แจ้งเหตุนั้นให้ทราบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 134
พระศาสดาเมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๕ คาถา
ความว่า
พระมหาราชา ผู้เป็นจอมแห่งชนชาวปัญจาลรัฐ
เป็นดุจนายพรานเนื้อ เสด็จออกมาสู่ป่าพร้อมด้วยเสนา
พลัดจากหมู่เสนาไป.
ท้าวเธอได้ทอดพระเนตรเห็นกระท่อม ที่เขาทำ
ไว้เป็นที่อาศัย ของโจรทั้งหลายในป่านั้น สุวโปดก
ออกจากกระท่อมนั้นไปแล้ว กลับมาพูดแข็งขันกับ
พ่อครัวว่า มีบุรุษหนุ่มน้อย มีรถม้าเป็นพาหนะ มี
กุณฑลเกลี้ยงเกลาดี มีกรอบหน้าแดง งดงามเหมือน
พระอาทิตย์ ส่องแสงสว่างในกลางวัน ฉะนั้น.
เมื่อถึงเที่ยงวัน พระราชากำลังบรรทมหลับ
พร้อมกับนายสารถี (สุวโปดกป่าวร้องว่า) เอาซิพวก
เรา จงรีบไปชิงเอาทรัพย์ทั้งหมดของท้าวเธอเสีย เวลา
นี้ก็เงียบสงัดดุจกลางคืน พระราชากำลังบรรทมหลับ
พร้อมกับนายสารถี พวกเราจงไปแย่งเอาผ้าและกุณ-
ฑลแก้วมณี แล้วฆ่าเสียเอากิ่งไม้กลบไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคลุทฺโท ความว่า พระเจ้าปัญจาลราช
มีพระอาการดุจนายพรานเนื้อ เพราะทรงแสวงหาเนื้อเหมือนนายพราน. บทว่า
โอคโณ ความว่า ทรงล้าหลัง พลัดไปจากหมู่เสนา. บทว่า ตกฺการาน
กุฏีกต ความว่า พระราชานั้นได้ทอดพระเนตรเห็นหมู่บ้าน ซึ่งเขาทำไว้เป็น
ที่อยู่อาศัยของพวกโจรในป่านั้น. บทว่า ตสฺส ความว่า ออกจากกระท่อม
ของโจรนั้น. บทว่า ลุทฺทานิ ภาสติ ความว่า นกสุวโปดกกล่าวถ้อยคำ
หยาบคายกับพ่อครัวชื่อปติโกลุมพะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 135
บทว่า สมฺปนฺนวาหโน แปลว่า มีม้าเป็นพาหนะอันสมบูรณ์.
บทว่า โลหิตุณฺหีโส ความว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยกรอบหน้าอันแดง งดงาม.
บทว่า สมฺปติเก ได้แก่ บัดเดี๋ยวนี้ คือบัดนี้ ได้แก่ ในเวลาที่พระอาทิตย์
ตั้งอยู่ในท่ามกลาง. บทว่า สหสา ความว่า สุวโปดกกล่าวว่า พวกเรามา
ช่วยกันทำอาการข่มขู่. แย่งชิงเอาโดยเร็วพลัน.
บทว่า นิสฺสิเวปิ รโหทานิ ความว่า แม้บัดนี้เป็นที่ลับเหมือน
ค่ำคืน คือ นกสุวโปดกกล่าวคำนี้ว่า ในเวลาค่ำคืน คือในสมัยกึ่งรัตติกาล
มนุษย์ทั้งหลายเล่นหัวอยู่ย่อมพากันนอน ย่อมชื่อว่าเป็นที่ลับได้ฉันใด บัดนี้
คือในเวลาที่พระอาทิตย์ตั้งอยู่ในท่ามกลางเห็นปานนี้ ย่อมเป็นฉันนั้นเหมือนกัน.
บทว่า หนฺตฺวาน ความว่า ครั้นพวกเราปลงพระชนม์พระราชา ถือเอา
ผ้าผ่อนอาภรณ์พรรณ์แล้ว แต่นั้นจึงฉุดพระบาทท้าวเธอลากมา เอากิ่งไม้ปิด
บังหมกไว้ในที่ส่วนข้างหนึ่ง.
สัตติคุมพสุวโปดกนั้น ครั้นบินออกไปโดยเร็วครั้งหนึ่งแล้วก็บินกลับ
ไปยังสำนักของนายปติโกลุมพะ อีกครั้งหนึ่งด้วยประการฉะนี้. พ่อครัวปติโก-
ลุมพะ ได้ฟังถ้อยคำของสุวโปดกนั้นแล้ว จึงออกไปดูรู้ว่าเป็นพระราชาแล้ว
ก็สะดุ้งตกใจกลัวกล่าวคาถา ความว่า
ดูก่อนสุวโปดกสัตติคุมพะ เจ้าเป็นบ้าไปกระมัง
จึงได้พูดอย่างนั้น เพราะว่าพระราชาทั้งหลาย ถึงจะ
เสด็จมาแต่ไกล ก็ย่อมทรงเดชานุภาพเหมือนดังไฟ
สว่างไสว ฉะนั้น.
ลำดับนั้น สุวโปดกได้กล่าวตอบพ่อครัวปติโกลุมพะ โดยวจนประพันธ์
คาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 136
ดูก่อนปติโกลุมพะ ท่านเมาแล้วย่อมเก่งกาจมาก
มิใช่หรือ เมื่อมารดาของเราเปลือยกายอยู่ ไยท่านจึง
เกลียดการโจรกรรมเล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อถ ตฺว มีความเท่ากับ นนุ ตฺว.
บทว่า มตฺโต ความว่า เมื่อก่อนท่านได้ดื่มสุราเหลือเดนของพวกโจรเมาแล้ว
ย่อมเก่งกาจคุกคามมากมิใช่หรือ ? สุวโปดกกล่าว. บทว่า ภรรยา หมายเอา
ภรรยาหัวหน้าโจร. ได้ยินว่า ครั้งนั้นภรรยาหัวหน้าโจรนั้น นุ่งผ้ากรองด้วย
กิ่งไม้เที่ยวอยู่. บทว่า วิชิคุจฺฉเส ความว่า เมื่อมารดาของเราเปลือยกายอยู่
บัดนี้ไยท่านจึงรังเกียจการโจรกรรม คือไม่อยากทำโจรกรรมเล่า.
พระเจ้าปัญจาลราชทรงตื่นพระบรรทม ได้ทรงสดับคำของสุวโปดก
กล่าวกับพ่อครัว โดยภาษามนุษย์ ทรงดำริว่า สถานที่นี้มีภัยเฉพาะหน้า
เมื่อจะทรงปลุกนายสารถีให้ลุกขึ้น จึงตรัสพระคาถา ความว่า
ดูก่อนนายสารถี เพื่อนยาก จงลุกขึ้นเทียมรถ
เราไม่ชอบใจนก เราจงไปอาศรมอื่นกันเถิด.
ฝ่ายนายสารถีก็ลุกขึ้นโดยด่วน เทียมราชรถแล้ว กล่าวคาถา กราบ-
ทูลว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ราชรถได้เทียมแล้ว และม้า
ราชพาหนะมีกำลัง ก็ได้จัดเทียมแล้ว เชิญพระองค์
เสด็จขึ้นประทับเถิด จะได้เสด็จไปยังอาศรมอื่นพระ-
เจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลวาหโน ได้แก่ พาหนะที่มีกำลัง
คือม้าที่สมบูรณ์ด้วยกำลังมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 137
เมื่อพระเจ้าปัญจาลราชเสด็จขึ้นประทับบนราชรถเท่านั้น ม้าสินธพ
ทั้งคู่ก็วิ่งไปโดยเร็วดังลมพัด. สัตติคุมพสุวโปดก เห็นราชรถกำลังวิ่งไป ถึง
ความเคียดแค้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
พวกโจรในอาศรมนี้ พากันไปเสียที่ไหนหมดเล่า
พระเจ้าปัญจาลราชนั้นหลุดพ้นไปได้ เพราะพวก
โจรเหล่านั้นไม่เห็น ท่านทั้งหลายจงจับเกาทัณฑ์ หอก
และโตมร พระเจ้าปัญจาลราชกำลังหนีไป ท่านทั้ง-
หลายอย่าได้ปล่อยให้มีชีวิตอยู่ได้เลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนุเม เท่ากับ กุหึ นุ อิเม แปลว่า
โจรในอาศรมนี้ไปไหนเสียหมดเล่าหนอ. บทว่า อสฺมึ ความว่า ในอาศรมนี้.
บทว่า ปริจาริกา ได้แก่ โจรทั้งหลาย. บทว่า อทสฺสนา ความว่า
พระเจ้าปัญจาลราชหนีพ้นไปได้ เพราะพวกโจรเหล่านั้นไม่ได้เห็น. บทว่า
เอส คจฺฉติ ความว่า พระเจ้าปัญจาลราชหนีรอดเงื้อมมือพวกโจรเหล่านั้น
เสด็จไปได้ เพราะไม่เห็น. บทว่า ชีวิต ความว่า เมื่อพวกท่านยังมีชีวิตอยู่
อย่าได้ปล่อยไปเสีย ทุกคนจงจับอาวุธ วิ่งตามไปจับพระราชาให้ได้.
เมื่อสัตติคุมสุวโปดกนั้น ร้องพลางบินตามพระราชาไปอยู่อย่างนี้
พระราชาก็เสด็จถึงอาศรมของฤาษีทั้งหลาย ขณะนั้นหมู่ฤาษีไปแสวงหาผลาผล
มีปุปผกสุวโปดกตัวเดียวเท่านั้นอยู่ในอาศรม. มันเห็นพระราชาแล้ว บิน
ออกมารับเสด็จ ได้ทำการปฏิสันถาร.
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๔
คาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 138
ขณะนั้น ปุปผกสุวโปดก ตัวมีจะงอยปากแดง
งาม ยินดีต้อนรับพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชา
พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง พระองค์มิได้เสด็จมาร้าย
พระองค์ผู้ทรงอิสรภาพ เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ
ของสิ่งใดมีอยู่ในอาศรมนี้ ขอพระองค์ทรงเลือกเสวย
ของสิ่งนั้น ผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง ผล
หมากเม่า อันเป็นผลไม้มีรสหวานเล็กน้อย ขอพระ-
องค์จงเลือกเสวยแต่ที่ดี ๆ ข้าแต่พระมหาราชา น้ำนี้
เย็นนำมาแต่ซอกภูเขา ขอเชิญพระองค์ทรงดื่มถ้าทรง
ปรารถนา ฤาษีทั้งหลายในอาศรมนี้ พากันไปป่า
เพื่อแสวงหาผลาผล เชิญพระองค์เสด็จลุกขึ้นไปทรง
เลือกหยิบเอาเองเถิด เพราะข้าพระองค์ไม่มีมือจะทูล
ถวายได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏินนฺทิตฺถ ความว่า พอเห็นพระราชา
แล้ว ก็ชื่นชมยินดี. บทว่า โลหิตตุณฺฑโก แปลว่า มีจะงอยปากแดง
คือถึงส่วนแห่งความงาม. บทว่า มธุเก ได้แก่ ผลาผลที่มีรสหวาน. บทว่า
กาสมาริโย ความว่า ขอพระองค์โปรดเสวยผลมะพลับ ผลมะหาด ผล-
มะซาง และผลหมากเน่า ซึ่งมีชื่ออย่างนี้ ๆ. บทว่า ตโต ปิว ความว่า
โปรดทรงดื่มน้ำ จากโรงน้ำดื่มนั้นเถิด.
บทว่า เย อสฺมึ ปริจาริกา ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระฤาษี
เหล่าใดเที่ยวไปอยู่ในอาศรมนี้ พระฤาษีเหล่านั้นไปสู่ป่าเพื่อแสวงหาผลาผล.
บทว่า คณฺหวโห ความว่า พระองค์โปรดหยิบเอาผลาผลน้อยใหญ่. บทว่า
ทาตเว แปลว่า เพื่อจัดถวาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 139
พระราชาทรงเลื่อมใสในการปฏิสันถารของปุปผกสุวโปดก เมื่อจะทรง
ทำการชมเชย จึงตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า
นกแขกเต้าตัวนี้ เจริญดีหนอ ประกอบด้วย
คุณธรรมอย่างยิ่ง ส่วนนกแขกเต้าตัวโน้น พูดคำ
หยาบคายว่า จงจับมัดพระราชานี้ ฆ่าเสียอย่าให้รอด
ชีวิตไปได้เลย เมื่อนกแขกเต้าตัวนั้น รำพันเพ้ออยู่
อย่างนี้ เราได้มาถึงอาศรมนี้ โดยสวัสดี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตโร ได้แก่ นกแขกเต้าในบ้านโจร.
บทว่า อิจฺเจว ความว่า ส่วนเรา เมื่อนกแขกเต้าตัวนั้นเพ้อรำพันอยู่อย่างนี้
มาถึงอาศรมนี้แล้ว โดยสวัสดี.
ปุปผกสุวโปดก ฟังพระดำรัสของพระราชาแล้ว ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา
ความว่า
ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์ทั้งสองเป็น
พี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ได้เจริญเติบโตที่ต้นไม้
เดียวกัน แต่ต่างพลัดกันไปอยู่คนละเขตแดน สัตติ-
คุมพะเจริญอยู่ในสำนักของพวกโจร ส่วนข้าพระองค์
เจริญอยู่ในสำนักของฤาษีในอาศรมนี้ สัตติคุมพะนั้น
เข้าอยู่ในสำนักของอสัตบุรุษ ข้าพระองค์อยู่ในสำนัก
ของสัตบุรุษ ฉะนั้น ข้าพระองค์ทั้งสองจึงต่างกัน
โดยธรรม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาตโรสฺมา ความว่า ข้าแต่พระมหา-
ราชเจ้า สัตติคุมพะนั้น กับข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองเป็นพี่น้องกัน บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 140
โจราน ความว่า สัตติคุมพะนั้น เจริญในสำนักพวกโจร ข้าพระพุทธเจ้า
เจริญในสำนักพวกฤาษี. บทว่า อสต โส สต อห ความว่า สัตติคุมพะ
เข้าอยู่สำนักอสัตบุรุษผู้ทุศีล ข้าพระพุทธเจ้าเข้าอยู่สำนักสัตบุรุษผู้มีศีล. บทว่า
เตน ธมฺเมน โน วินา ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โจรทั้งหลาย
แนะนำสั่งสอนสัตติคุมพะนั้น ด้วยธรรมของโจร และกิริยาโจร พระฤาษี
ทั้งหลายแนะนำสั่งสอนข้าพระพุทธเจ้าด้วยธรรมของฤาษี และอาจาระมรรยาท
ของฤาษี เพราะเหตุนั้น แม้สัตติคุมพะนั้นจึงแตกต่างจากข้าพระพุทธเจ้า
โดยโจรธรรมนั้น ส่วนข้าพระพุทธเจ้า ก็แตกต่างจากเขาโดยอิสิธรรม.
บัดนี้ ปุปผกสุวโปดก เมื่อจะจำแนกธรรมนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา
ความว่า
การฆ่าก็ดี การจองจำก็ดี การหลอกลวงด้วย
ของปลอมก็ดี การหลอกลวงด้วยอาการตรง ๆ ก็ดี
การปล้นฆ่าชาวบ้านก็ดี การกระทำกรรมอันแสน
สาหัสก็ดี มีอยู่ในที่ใด สัตติคุมพะนั้นย่อมศึกษาสิ่ง
เหล่านั้นในที่นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ภารตวงศ์ ใน
อาศรมของฤาษีนี้มีแต่สัจจธรรม ความไม่เบียดเบียน
ความสำรวมและความฝึกอินทรีย์ ข้าพระองค์เป็นผู้
เจริญแล้วบนตักของฤาษีทั้งหลาย ผู้มีปกติให้อาสนะ
และน้ำ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกตี ได้แก่ การหลอกลวงด้วยของ
ปลอม. บทว่า วญฺจนานิ ได้แก่ การหลอกลวงกันตรง ๆ (ซึ่ง ๆ หน้า).
บทว่า อาโลปา ได้แก่ การปล้นฆ่าชาวบ้านในเวลากลางวัน. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 141
สหสาการา ได้แก่ การเข้าไปสู่เรือนแล้วจับเจ้าทรัพย์ ทำให้บอบช้ำแสน
สาหัส โดยคุกคามขู่เข็ญด้วยความตาย.
บทว่า สจฺจ ได้แก่ สภาวธรรม. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สุจริตธรรม.
บทว่า อหึสา ได้แก่ ความไม่เบียดเบียน มีเมตตาธรรมเป็นบุรพภาค.
บทว่า สยโม ได้แก่ ความสำรวมระวังในศีล. บทว่า ทโม ได้แก่ การ
ทรมานอินทรีย์.
บทว่า อาสนูทกทายีน ความว่า แห่งพระฤาษีทั้งหลายผู้มีปกติ
ให้อาสนะและอุทกวารี แก่ชนทั้งหลายผู้มาถึงเฉพาะหน้า. ปุปผกสุวโปดก
เรียกพระราชาว่า " ภารตา ".
บัดนี้ เมื่อปุปผกสุวโปดก จะแสดงธรรมแก่พระราชาสืบไป ได้กล่าว
คาถาเหล่านี้ ความว่า
ข้าแต่พระราชา บุคคลคบคนใด ๆ เป็นสัตบุรุษ
อสัตบุรุษ มีศีล หรือไม่มีศีล บุคคลนั้นย่อมไปสู่อำนาจ
ของบุคคลนั้นนั่นแล บุคคลคบคนเช่นใดเป็นมิตร หรือ
เข้าไปซ่องเสพคนเช่นใด ก็ย่อมเป็นเช่นคนนั้น เพราะ
การอยู่ร่วมกันเป็นเช่นนั้น อาจารย์คบอันเตวาสิกย่อม
ทำอันเตวาสิกผู้ยังไม่แปดเปื้อนให้แปดเปื้อนได้ อาจารย์
ถูกอันเตวาสิกพาแปดเปื้อนแล้ว ย่อมพาอาจารย์อื่น
ให้เปื้อนอีก เหมือนลูกศรที่เปื้อนยาพิษแล้ว ย่อมทำ
แล่งลูกศรให้เปื้อน ฉะนั้น นักปราชญ์ไม่พึงมีสหาย
ลามกเลยทีเดียว เพราะกลัวแต่การแปดเปื้อนด้วย
บาปธรรม นรชนใดห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 142
ใบหญ้าคาของนรชนนั้น ก็ย่อมมีกลิ่นเน่าฟุ้งไป ฉันใด
การเข้าไปเสพคนพาลก็ฉันนั้นเหมือนกัน นรชนใด
ห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ของนรชนนั้น ก็ย่อม
หอมฟุ้งไปฉันใด การเข้าไปเสพนักปราชญ์ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น บัณฑิตรู้ความเปลี่ยนแปลง
ของตน ดุจห่อใบไม้แล้ว ไม่ควรเข้าไปเสพอสัตบุรุษ
ควรเสพแต่สัตบุรุษ ด้วยว่า อสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก
สัตบุรุษย่อมพาให้ถึงสุคติ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺต วา ยทิ วา อส ความว่า
จะเป็นสัตบุรุษ หรืออสัตบุรุษก็ตาม. บทว่า เสวมาโน เสวมาน ความว่า
เมื่ออาจารย์คบหาอันเตวาสิก ย่อมทำอันเตวาสิกผู้ที่ตนคบ. บทว่า สมฺผุฏฺโ
ความว่า อาจารย์ถูกอันเตวาสิกพาแปดเปื้อนแล้ว. บทว่า สมฺผุส ปร
ความว่า อันเตวาสิกไปแตะต้องอาจารย์คนอื่นเข้า. บทว่า อลิตฺต ความว่า
อาจารย์นั้นย่อมทำอันเตวาสิกนั้น ผู้ยังไม่แปดเปื้อนด้วยบาปธรรมให้แปดเปื้อน
ได้ เหมือนลูกศรที่เปื้อนยาพิษแล้ว ย่อมทำแล่งลูกศรที่เหลือให้แปดเปื้อน
ฉะนั้น. บทว่า เอว พาลูปเสวนา ความว่า แท้จริง ผู้ชอบคบหาคนพาล
แม้จะไม่ได้กระทำความชั่วเลย ย่อมได้รับคำติเตียน และความเสื่อมเสียชื่อเสียง
เหมือนห่อปลาเน่าไว้ด้วยใบหญ้าคา (ย่อมมีกลิ่นเน่าฟุ้งไป) ฉะนั้น.
บทว่า ธีรูปเสวนา ความว่า บุคคลผู้คบหาธีรชนก็ย่อมเป็นเหมือน
ใบไม้อันห่อคันธชาติ มีกฤษณาเป็นต้นฉะนั้น ถึงยังไม่อาจเป็นบัณฑิตได้
ก็ยังได้รับเกียรติคุณว่า คบกัลยาณมิตร. บทว่า ปตฺตปูฏสฺเสว ความว่า
เหมือนดังใบไม้ที่ห่อของมีกลิ่นเหม็นและกลิ่นหอมฉะนั้น. บทว่า สมฺปาก-
มตฺตโน ความว่า บัณฑิตรู้ความที่ญาณของตนแก่กล้า คือสุกงอมแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 143
ด้วยอำนาจการเกี่ยวข้องกับกัลยาณมิตร. บทว่า ปาเปนฺติ สุคตึ ความว่า
ปุปผกสุวโปดกนั้น ยังเทศนาให้ถึงอนุสนธิตามลำดับว่า สัตบุรุษคือสัมมาทิฏฐิ
บุคคลทั้งหลาย ย่อมยังหมู่สัตว์ที่อาศัยตน ให้ถึงสวรรค์อย่างเดียว ด้วย
ประการฉะนี้.
พระเจ้าปัญจาลราชทรงเลื่อมใส ในธรรมกถาของปุปผกสุวโปดกนั้น.
ฝ่ายหมู่พระฤาษีกลับมาจากป่า. พระราชาทรงนมัสการพระฤาษีทั้งหลายแล้ว
ตรัสว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อพระคุณเจ้าทั้งหลายจะอนุเคราะห์ข้าพเจ้า
โปรดพากันไปอยู่ในสถานที่อยู่ของข้าพเจ้าเถิด ทรงรับปฏิญญาของฤาษี
ทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว เสด็จไปพระนคร ได้พระราชทานอภัยแก่สุวโปดก
ทั้งหลาย. ฝ่ายพวกฤาษี ก็ได้พากันไปในพระนครนั้น พระราชาทรงนิมนต์
หมู่พระฤาษีให้อยู่ในพระราชอุทยาน ทรงอุปัฏฐากบำรุงตลอดพระชนมายุ
แล้วเสด็จสู่สวรรคาลัย. ฝ่ายพระราชโอรสของท้าวเธอ โปรดให้ยกเศวตฉัตร
เสวยราชสมบัติสืบต่อมา ทรงปฏิบัติหมู่พระฤาษี เสมือนพระราชบิดา. ใน
ราชสกุลต่อมานั้น ได้ยังทานให้เป็นไปแก่หมู่พระฤาษี ชั่วพระราชาเจ็ดพระองค์
พระมหาสัตว์เมื่ออยู่ในอรัญประเทศตามสมควร ก็ไปตามยถากรรมของตน.
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในชาติก่อนพระเทวทัตก็เป็นคนลามก มีบริวารลามก
เหมือนกันอย่างนี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า สัตติคุมพสุวโปดก ในครั้งนั้น
ได้มาเป็นพระเทวทัตนี้ โจรทั้งหลายได้มาเป็นบริษัทบริวารของพระเทวทัต
พระราชาได้มาเป็นพระอานนท์ หมู่แห่งฤาษีได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วน
ปุปผกสุวโปดกได้มาเป็นเราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสัตติคุมพชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 144
๘. ภัลลาติย๑ชาดก
ว่าด้วยอายุของกินนร
[๒๑๕๓] ได้มีพระราชาทรงพระนามว่า ภัลลา
ติยะ ทรงละรัฐสีมา เสด็จประพาสป่า ล่ามฤค
ท้าวเธอเสด็จไปถึงคันธมาทน์วรคิรี มีพรรณดอกไม้
บานสะพรั่ง ซึ่งกินนรเลือกเก็บอยู่เนือง ๆ กินนร
สองผัวเมีย ยืนคลึงเคล้ากันอยู่ ณ ที่ใด ท้าวเธอ
ประสงค์จะตรัสถาม จึงทรงห้ามหมู่สุนัข และเก็บ
แล่งธนูเสีย แล้วเสด็จเข้าไปใกล้ ณ ที่นั้น ดำรัสว่า
ล่วงฤดูเหมันต์แล้ว ไยเล่าเจ้าทั้งสองจึงมายืนกระซิบ
กระซาบกันอยู่เนือง ๆ ที่ริมฝั่งเหมวดีนทีนี้ เราขอ
ถามเจ้าทั้งสองผู้มีเพศเหมือนร่างมนุษย์ ชนทั้งหลาย
ในมนุษยโลก รู้จักเจ้าทั้งสอง ว่าเป็นอะไร.
[๒๑๕๔] ข้าแต่ท่านพรานผู้สหาย เราทั้งสอง
เป็นมฤค มีเพศพรรณปรากฏเหมือนมนุษย์ เที่ยวอยู่
ตามแม่น้ำเหล่านี้ คือ มาลาคิรีนที ปัณฑรกนที ติกูฏนที
ซึ่งมีน้ำใสเย็นสนิท ชาวโลกรู้จักเราทั้งสองว่าเป็น
กินนร.
[๒๑๕๕] เจ้าทั้งสองเหมือนได้รับความทุกข์ร้อน
เสียเหลือเกิน ปริเทวนาการอยู่ เจ้าทั้งสองรักกัน
ได้สวมกอดกัน สมความรักแล้ว ดูก่อนกินนรทั้งสอง
๑ อรรถกถาเป็น ภัลลาติกะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 145
ผู้มีเพศพรรณเหมือนกายมนุษย์ เราขอถามเจ้าทั้งหลาย
เหตุไรเจ้าทั้งสองจึงร้องไห้อยู่ในป่านี้ ไม่สร่างซาเลย
เจ้าทั้งสองเหมือนได้รับความทุกข์ร้อนเสียเหลือเกิน
ปริเทวนาการอยู่ เจ้าทั้งสองรักใคร่กัน ก็ได้สวมกอด
กัน สมความรักแล้ว ดูก่อนกินนร ผู้มีเพศพรรณเหมือน
กายมนุษย์ เราขอถามเจ้าทั้งหลาย เหตุไรเจ้าทั้งสองจึง
มาบ่นเพ้ออยู่ในป่านี้ ไม่สร่างซาเลย เจ้าทั้งสองเหมือน
ได้รับความทุกข์ร้อนเสียเหลือเกิน ปริเทวนาการอยู่
เจ้าทั้งสองรักใคร่กัน ก็ได้สวมกอดกันสมความรักแล้ว
ดูก่อนกินนร ผู้มีเพศพรรณเหมือนกายมนุษย์ เราขอ
ถามเจ้าทั้งหลาย เหตุไรเจ้าทั้งสองจึงเศร้าโศกอยู่ใน
ป่านี้ไม่สร่างซาเลย.
[๒๑๕๗] (นางกินรีทูลตอบว่า) ข้าแต่ท่านนาย
พราน เราทั้งสองไม่อยากจะจากกัน ก็ต้องจากกัน
แยกกันอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง เมื่อมาระลึกถึงกันและกัน
เดือดร้อนเศร้าโศกถึงกันตลอดราตรีหนึ่ง ที่ล่วงไป
นั้นว่า ราตรีนั้นจักไม่มีอีก.
[๒๑๕๗] (พระราชาดำรัสถามว่า) เจ้าทั้งสอง
คิดถึงทรัพย์ที่หายไปหรือ หรือว่าคิดถึงมารดาบิดาผู้
ล่วงลับไปแล้ว จึงได้เดือดร้อนอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง เรา
ขอถามเจ้าทั้งสอง ผู้มีเพศพรรณดังกายมนุษย์ เหตุไร
เจ้าทั้งสองจึงต้องจากกันไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 146
[๒๑๕๘] (นางกินรีทูลว่า) ท่านเห็นนทีนี้แห่งใด
มีกระแสเชี่ยว ไหลมาในระหว่างหุบผา ปกคลุมไป
ด้วยหมู่ไม้นานาพรรณ ในฤดูฝนกินนรสามีสุดที่รัก
ของดิฉัน ได้ข้ามแม่น้ำนั้นไปด้วยสำคัญว่า ดิฉันจะ
ติดตามมาข้างหลัง.
ส่วนดิฉันมัวเลือกเก็บดอกปรู ดอกลำดวน
ดอกมะลิซ้อน และดอกคัดค้าวที่บานสล้าง ด้วยคิดว่า
สามีของเราจักได้ทัดทรงดอกไม้ ส่วนเราก็จักได้สอด
แซมดอกไม้ เข้าไปนอนแนบสามีที่รักนั้น
อนึ่ง ดิฉันมัวเลือกเก็บดอกบานไม่รู้โรย ดอก-
ราชพฤกษ์ ดอกแคฝอย ดอกย่านทราย ด้วยคิดว่า
สามีที่รักของเรา จักทัดทรงดอกไม้ ส่วนเราก็จักได้
สอดแซมดอกไม้ เข้าไปนอนแนบสามีที่รักนั้น.
อนึ่ง ดิฉันมัวเลือกเก็บดอกสาลพฤกษ์ ซึ่งกำลัง
บานสล้าง ร้อยเป็นพวงมาลัย ด้วยคิดว่า สามีที่รัก
ของเราจักสวมใส่พวงมาลัย ส่วนเราก็จักได้สวมใส่
พวงมาลัย เข้าไปนอนแนบสามีที่รักนั้น.
อนึ่ง ดิฉันมัวเลือกเก็บดอกสาลพฤกษ์ ซึ่งกำลัง
บานสล้าง แล้วร้อยทำเป็นพวงมาลัย ด้วยคิดว่า คืน
วันนี้ เราทั้งสองจะอยู่ ณ ที่ใด พวงมาลัยที่ทำไว้
นี้แหละจักเป็นเครื่องปูลาด สำหรับเราทั้งสอง ณ
ที่นั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 147
อนึ่ง ดิฉันมัวเลินเล่อ บดกฤษณาดำ และ
จันทน์แดงด้วยศิลา ด้วยคิดว่า สามีที่รักของเราจักได้
ประพรมร่างกาย ส่วนเราประพรมร่างกายแล้ว จะเข้า
ไปนอนแนบชิดสามีที่รักนั้น.
ครั้งนั้น กระแสน้ำเชี่ยวไหลมา พัดเอาดอก
สาลพฤกษ์ ดอกสน ดอกกรรณิการ์ ที่ดิฉันเก็บมา
วางไว้ไปหมดสิ้น โดยกาลประมาณครู่เดียวเท่านั้น
น้ำก็ขึ้นเต็มฝั่ง ถึงเวลาเย็น ดิฉันก็ข้ามไปไม่ได้.
คราวนั้น เราทั้งสองอยู่กันคนละฝั่งน้ำ มอง
เห็นหน้ากันก็หัวเราะครั้งหนึ่ง มองไม่เห็นหน้ากันก็
ร้องไห้อีกครั้งหนึ่ง คืนนั้น ได้ผ่านเราทั้งสองไป
โดยยาก.
ข้าแต่นายพราน เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า
เราทั้งสองข้ามแม่น้ำอันยุบแห้ง มาสวมกอดกันแลกัน
ร้องไห้อยู่คราวหนึ่ง หัวเราะอยู่คราวหนึ่ง.
ข้าแต่นายพรานผู้ภูมิบาล เมื่อครั้งก่อนเราทั้งสอง
ได้พรากกันอยู่นาน ถึง ๖๙๗ ปี ชีวิตของท่านนี้มีกำหนด
เพียง ๑๐๐ ปี อนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าหนอ ในที่นี้
จะพึงอยู่ ปราศจากภรรยาสุดที่รักได้.
[๒๑๕๙] (พระราชาตรัสว่า) ดูก่อนสหาย อายุ
ของพวกท่านมีประมาณเท่าไร ถ้าท่านทั้งสองรู้ก็จง
บอกอายุของพวกท่านแก่เรา ขอท่านทั้งหลายอย่าได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 148
บิดพลิ้ว จงบอกอายุของพวกท่านแก่เรา ตามที่ได้ยิน
ได้ฟังมาจากวุฒบุคคล หรือจากตำรับตำรา.
[๒๑๖๐] (นางกินรีทูลตอบว่า) ข้าแต่นายพราน
อายุของเราทั้งสอง ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี อนึ่ง ใน
ระหว่างอายุนั้น โรคร้ายย่อมไม่มี มีความทุกข์น้อย
มีแต่ความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป เราทั้งสองยังรักกันไม่
จืดจาง ก็ต้องมาละทิ้งชีวิตไป.
[๒๑๖๑] พระเจ้าภัลลาติยะ ได้ทรงสดับถ้อยคำ
ของกินนรทั้งสองนี้แล้ว ทรงพระดำริว่า ชีวิตเป็น
ของน้อย จึงเสด็จกลับ ไม่เสด็จล่าเนื้อ ได้ทรง
บำเพ็ญทาน เสวยราชสมบัติสืบมา.
[๒๑๖๒] (พระบรมศาสดาตรัสว่า) มหาบพิตร
ทั้งสองทรงสดับเรื่องราวของกินนรทั้งหลาย อันมิใช่
มนุษย์นี้แล้ว จงทรงเบิกบานพระทัย อย่าได้ทรงทำ
การทะเลาะกันเลย กรรมอันเป็นโทษของตน อย่าได้
ทำให้มหาบพิตรทั้งสองต้องเดือดร้อน เหมือนกรรม
อันเป็นโทษของตน ทำให้กินนรสองสามีภรรยา
เดือดร้อนอยู่ราตรีหนึ่ง ฉะนั้น.
มหาบพิตรทั้งสอง ทรงสดับเรื่องราวของกินนร
ทั้งหลาย อันมิใช่มนุษย์นี้แล้ว จงทรงเบิกบานพระทัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 149
อย่าได้ทำความวิวาทบาดหมางกันเลย กรรมอันเป็น
โทษของตน อย่าทำให้มหาบพิตรทั้งสองต้องเดือดร้อน
เหมือนกรรมอันเป็นโทษของตน ทำให้กินนรสองสามี
ภรรยา เดือดร้อนอยู่ราตรีหนึ่ง ฉะนั้น.
[๒๑๖๓] (พระนางมัลลิกาทูลว่า) หม่อมฉันมี
ใจเลื่อมใส ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์
ที่พระองค์ทรงแสดงประกอบไปด้วยเหตุต่าง ๆ
ประกอบไปด้วยประโยชน์ พระองค์ทรงเปล่งพระ-
สุรเสียงอันไพเราะ ดับความกระวนกระวายใจของ
หม่อมฉันได้ ข้าแต่พระสมณเจ้า ผู้ทรงนำความสุข
มาให้หม่อมฉัน ขอพระองค์จงทรงมีชนมชีพยืนนาน
เถิด.
จบภัลลาติยชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 150
อรรถกถาภัลลาติกชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ
ปรารภพระนางมัลลิกาเทวี ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า ภลฺลาติโก
นาม อโหสิ ราชา ดังนี้.
ได้ยินว่า วันหนึ่งอาศัยเหตุที่พระนางมัลลิกาเทวี บรรทมร่วมกับ
พระเจ้าโกศลราช จึงเกิดวิวาทบาดหมางกันขึ้น. พระราชาทรงกริ้ว ถึงกับไม่
ทอดพระเนตรเหลียวแลพระนางมัลลิกาอัครมเหสี พระนางจึงทรงพระดำริว่า
พระตถาคตเจ้า จะไม่ทรงทราบเรื่องที่พระราชาทรงกริ้วเราหรือหนอ ? พระ-
ศาสดาทรงทราบเหตุนั้น จึงวันรุ่งขึ้น แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไป
บิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ทรงดำเนินไปถึงประตูพระราชวัง. พระราชา
จัดการรับเสด็จ ทรงรับบาตรแล้วทูลเสด็จสู่ปราสาท อาราธนาภิกษุสงฆ์ให้นั่ง
โดยลำดับแล้ว ถวายน้ำทักษิโณทก ทรงอังคาสด้วยพระกระยาหารอันประณีต
เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาตรัสถามว่า
ขอถวายพระพรมหาบพิตร เหตุไรหนอ พระนางมัลลิกาบรมราชเทวี จึงทรง
หายไปไม่ปรากฏ เมื่อท้าวเธอทูลตอบว่า เพราะพระนางเพลิดเพลินมัวเมาใน
ความสุขส่วนตัวเสีย จึงตรัสว่าดูก่อนมหาบพิตร ในชาติก่อนพระองค์ทรงบังเกิด
ในกำเนิดกินนร พลัดจากนางกินรีไปหนึ่งราตรี ต้องเที่ยวปริเทวนาการอยู่ถึง
เจ็ดร้อยปีมิใช่หรือ ? พระราชาทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัส
ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อครั้งพระเจ้าภัลลาติกราช เสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี ทรงพระดำริว่า เราจักบริโภคเนื้อย่างสุกด้วยถ่าน จึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 151
ทรงมอบราชสมบัติแก่หมู่อำมาตย์แล้วทรงสะพักราชปัญจาวุธ แวดล้อมด้วยหมู่
โกเลยยสุนัขที่ฝึกหัดดีแล้ว เสด็จออกจากพระนครไปยังหิมวันตประเทศ เสด็จ
ถึงแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่ง ไม่สามารถจะข้ามฝั่งน้ำไปได้ ทอดพระเนตรเห็น
แม่น้ำที่มีกระแสไหลผ่านลงคงคาแห่งหนึ่ง จึงพระราชดำเนินเลียบไปตามกระแส
น้ำนั้น ทรงฆ่ามฤคและสุกรเป็นต้นแล้ว เสวยเนื้อย่างสุกด้วยถ่านเพลิง พลาง
เสด็จขึ้นยังที่เนินอันสูง ณ บนที่ราบสูงนั้นมีแม่น้ำน้อย ๆ เป็นที่น่ารื่นรมย์.
ยามที่น้ำเต็มบริบูรณ์ นทีธารนั้นจะมีส่วนลึกประมาณราวนมไหลผ่านอยู่เสมอ
ในเวลาอื่น จะมีน้ำลดลงประมาณแค่แข้งและเข่า มีปลาและเต่าแหวกว่ายไปมา
อยู่ดาษดื่น. ที่ชายหาดมีทรายสะอาดขาวราวกับแผ่นเงิน สองฟากฝั่งมีพรรณ
หมู่ไม้สะพรั่ง สล้างไปด้วยดอกแลผลนานาชนิด หมู่วิหคและภมรมากมาย
ที่หลงใหลในดอกผลและรส ต่างพากันมาคลึงเคล้า ทั้งหมู่พิพิธมฤคามฤคีเล่า
ก็เข้าเสพอาศัย ร่มเงาต้นไม้ก็เย็นสนิท. ที่ฝั่งน้ำเหมวดีนทีน่ารื่นรมย์อย่างนี้
มีกินนรสองตัวผัวเมียคลอเคลียจุมพิตซึ่งกันและกัน แล้วร้องไห้คร่ำครวญ
อยู่โดยนานัปการ. เมื่อพระราชาเสด็จขึ้นภูเขาคันธมาทน์ ทางฝั่งนทีนั้น
ทอดพระเนตรเห็นกินนรเหล่านั้น แล้วทรงพระดำริว่า เพราะเหตุไรเล่าหนอ
กินนรทั้งคู่นี้จึงมาปริเทวนาการอยู่อย่างนี้ เราจักถามดู จึงดีดพระหัตถ์ ขึง
พระเนตรดูหมู่สุนัข โกเลยยสุนัขที่ฝึกหัดดีแล้วทั้งหลาย พากันวิ่งเข้าซ่อนยัง
พุ่มไม้ หมอบราบติดดินอยู่โดยสัญญานั้น พระราชาทรงทราบว่าสุนัขเหล่านั้น
แอบซ่อนแล้ว ทรงวางแล่งธนูและอาวุธอื่นพิงไว้กับต้นไม้ ไม่ทำเสียงพระบาท
ให้ดัง ค่อย ๆ เสด็จไปยังสำนักกินนรเหล่านั้น แล้วตรัสถามกินนรทั้งสองว่า
เพราะเหตุไร เจ้าทั้งสองจึงพากันร้องไห้.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถา
ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 152
ได้มีพระราชาทรงพระนามว่า ภัลลาติยะ ทรงละ
รัฐสีมา เสด็จประพาสป่า ล่ามฤค ท้าวเธอเสด็จไปถึง
คันธมาทน์วรคิรี มีพรรณดอกไม้ บานสะพรั่ง ซึ่ง
กินนรเลือกเก็บอยู่เนือง ๆ.
กินนรสองผัวเมียยืนคลึงเคล้ากันอยู่ ณ ที่ใด
ท้าวเธอประสงค์จะตรัสถามจึงทรงห้ามหมู่สุนัข และ
เก็บแล่งธนูเสีย แล้วเสด็จเข้าไปใกล้ ณ ที่นั้นตรัส
ว่า
ล่วงฤดูเหมันต์แล้ว ไยเล่าเจ้าทั้งสอง จึงมายืน
กระซิบกระซาบกันอยู่เนือง ๆ ที่ริมฝั่งเหมวดีนทีนี้
เราขอถามเจ้าทั้งสองผู้มีเพศพรรณเหมือนร่างมนุษย์
ชนทั้งหลายในมนุษยโลกรู้จักเจ้าทั้งสองว่าเป็นอะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาลูรสงฺฆ ได้แก่ หมู่แห่งสุนัข. บทว่า
หิมจฺจเย ความว่า ล่วงเดือนในฤดูเหมันต์ทั้งสี่ไปแล้ว. บทว่า เหมวตาย
ความว่า ที่ฝั่งแห่งแม่น้ำเหมวดีนี้.
กินนรได้สดับพระราชดำรัสถามแล้วก็นิ่งเสีย ฝ่ายนางกินรีจึงกราบทูล
โต้ตอบพระราชาว่า
ข้าแต่ท่านพรานผู้สหาย เราทั้งสองเป็นมฤค มี
เพศพรรณปรากฏเหมือนมนุษย์ เที่ยวอยู่ตามแม่น้ำ
เหล่านี้ คือ มาลาคิรีนที ปัณฑรกนที ติกูฏนที
ซึ่งมีน้ำใสเย็นสนิท ชาวโลกรู้จักเราทั้งสองว่าเป็น
กินนร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 153
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มลฺลคิรึ ความว่า ท่านนายพรานผู้สหาย
เราทั้งหลายเที่ยวอยู่ตามแม่น้ำเหล่านี้ คือ มัลลคิรีนที ปัณฑรกนที ติกูฏนที.
ปาฐะเป็น มาลาคิรึ ดังนี้ก็มี. บทว่า นิภาสวณฺณา ความว่า มีเพศผิวพรรณ
คือ มีอวัยวะร่างกายปรากฏ (เหมือนมนุษย์).
ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถา ความว่า
เจ้าทั้งสองเหมือนได้รับความทุกข์ร้อนเสียเหลือ-
เกิน ปริเทวนาการอยู่ เจ้าทั้งสองรักกัน ได้สวมกอด
กันสมความรักแล้ว ดูก่อนกินนรทั้งสองผู้มีเพศพรรณ
เหมือนกายมนุษย์ เราขอถามเจ้าทั้งหลาย เหตุไรเจ้า
ทั้งสองจึงร้องไห้อยู่ในป่านี้ไม่สร่างซาเลย เจ้าทั้งสอง
เหมือนได้รับความทุกข์เสียเหลือเกิน ปริเทวนาการอยู่
เจ้าทั้งสองมีความรักกัน ได้สวมกอดกัน สมความรัก
แล้ว ดูก่อนกินนรผู้มีเพศพรรณเหมือนกายมนุษย์ เรา
ขอถามเจ้าทั้งหลาย เหตุไรเจ้าทั้งสองจึงมาบ่นเพ้ออยู่
ในป่านี้ ไม่สร่างซาเลย.
เจ้าทั้งสองเหมือนได้รับความทุกข์ร้อนเสียเหลือ-
เกิน ปริเทวนาการอยู่ เจ้าทั้งสองรักใคร่กัน ก็ได้สวม
กอดกันสมความรักแล้ว ดูก่อนกินนรผู้มีเพศพรรณ
เหมือนกายมนุษย์ เราขอถามเจ้าทั้งหลาย เหตุไรเจ้า
ทั้งจึงเศร้าโศกอยู่ในป่านี้ ไม่สร่างซาเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุกิจฺฉรูป ความว่า มีอาการเหมือนมี
ทุกข์เดือดร้อนเหลือขนาด. บทว่า อาลิงฺคิโต จาสิ ปิโย ปิยาย ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 154
ความที่เจ้ารักกัน ก็เป็นอันได้สวมกอดกันสมความรักแล้ว. ปาฐะว่า อาลงฺคิโย
จาสิ ดังนี้ก็มี เนื้อความก็อย่างเดียวกันนี้. บทว่า กิมิธา วเน ความว่า
เพราะเหตุไร เจ้าทั้งสอง จึงคลึงเคล้าจุมพิตกัน กล่าววาจาน่ารักต่อกัน
ในระหว่าง ๆ แล้วพากันร้องไห้ ในป่านี้อีกมิได้สร่าง.
ต่อจากนี้ไป เป็นคาถาแสดงการปราศรัยโต้ตอบกันระหว่างพระราชา
กับนางกินรีทั้งสอง ดังต่อไปนี้
(นางกินรีทูลตอบว่า) ข้าแต่ท่านนายพราน เรา
ทั้งสองไม่อยากจะจากกัน ก็ต้องจากกัน แยกกันอยู่
สิ้นราตรีหนึ่ง เมื่อมาระลึกถึงกันและกัน ก็เดือดร้อน
เศร้าโศกถึงกันตลอดราตรีหนึ่งที่ล่วงไปนั้นว่า ราตรี
นั้นจักไม่มีอีก.
(พระราชาตรัสถามว่า) เจ้าทังสองคิดถึงทรัพย์
ที่หายไปหรือ หรือว่าคิดถึงมารดาบิดาผู้ล่วงลับไปแล้ว
จึงได้เดือดร้อนอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง เราขอถามเจ้าทั้งสอง
ผู้มีเพศพรรณดังกายมนุษย์ เหตุไรเจ้าทั้งสองจึงต้อง
จากกันไป.
(นางกินรีทูลว่า) ท่านเห็นนทีนี้แห่งใด มีกระ-
แสเชี่ยว ไหลมาในระหว่างหุบผา ปกคลุมไปด้วยหมู่
ไม้นานาพรรณ ในฤดูฝน กินนรสามีสุดที่รักของดิฉัน
ได้ข้ามแม่น้ำนั้นไปด้วยสำคัญว่า ดิฉันจะติดตามมา
ข้างหลัง.
ส่วนดิฉันมัวเลือกเก็บดอกปรู ดอกลำดวน
ดอกมะลิซ้อน และดอกคัดค้าวที่บานสล้าง ด้วยคิดว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 155
สามีของเรารักได้ทัดทรงดอกไม้ ส่วนเราก็จักได้
สอดแซมดอกไม้ เข้าไปนอนแนบสามีที่รักนั้น.
อนึ่ง ดิฉันมัวเลือกเก็บดอกบานไม่รู้โรย ดอก
ราชพฤกษ์ ดอกแคฝอย ดอกย่านทราย ด้วยคิดว่า
สามีที่รักของเราจักทัดทรงดอกไม้ ส่วนเราก็จักได้
สอดแซมดอกไม้ เข้าไปนอนแนบสามีที่รักนั้น.
อนึ่ง ดิฉันมัวเลือกเก็บดอกสาลพฤกษ์ ซึ่งกำลัง
บานสล้าง ร้อยเป็นพวงมาลัย ด้วยคิดว่า สามีที่รัก
ของเราจักสวมใส่พวงมาลัย ส่วนเราก็จักได้สวมใส่
พวงมาลัย เข้าไปนอนแนบสามีที่รักนั้น.
อนึ่ง ดิฉันมัวเลือกเก็บดอกสาลพฤกษ์ ซึ่งกำลัง
บานสล้าง แล้วร้อยทำเป็นพวงมาลัย ด้วยคิดว่า คืน
วันนี้ เราทั้งสองจะอยู่ ณ ที่ใด พวงมาลัยที่ทำไว้นี้
แหละ จักเป็นเครื่องปูลาด สำหรับเราทั้งสอง ณ ที่นั้น.
อนึ่ง ดิฉันมัวเลินเล่อ บดกฤษณาดำ และ
จันทน์แดงด้วยศิลา ด้วยคิดว่า สาทีที่รักของเราจักได้
ประพรมร่างกาย ส่วนเราประพรมร่างกายแล้ว จะเข้า
ไปนอนแนบชิดสามีที่รักนั้น.
ครั้งนั้น น้ำมีกระแสเชี่ยวไหลมา พัดเอาดอก
สาลพฤกษ์ ดอกสน ดอกกรรณิการ์ ที่ดิฉันเก็บมา
วางไว้ไปหมดสิ้น โดยกาลประมาณครู่เดียวเท่านั้น
น้ำก็ขึ้นเต็มฝั่ง ถึงเวลาเย็นดิฉันก็ข้ามไปไม่ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 156
คราวนั้นเราทั้งสองอยู่กันคนละฝั่งน้ำ มองเห็น
หน้ากัน หัวเราะครั้งหนึ่ง มองไม่เห็นหน้ากัน ก็
ร้องไห้อีกครั้งหนึ่ง คืนนั้นได้ผ่านเราทั้งสองไปโดยยาก.
ข้าแต่นายพราน เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า เรา
ทั้งสองข้ามแม่น้ำอันยุบแห้งมาสวมกอดกันและกัน
ร้องไห้อยู่คราวหนึ่ง หัวเราะอยู่คราวหนึ่ง.
ข้าแต่นายพรานผู้ภูมิบาล เมื่อครั้งก่อน เราทั้ง-
สองได้พรากกันอยู่นานถึง ๖๙๗ ปี ชีวิตของท่านนี้มี
กำหนดเพียง ๑๐๐ปี เมื่อเป็นเช่นนี้ใครเล่าหนอ ในที่นี้
จะพึงอยู่ปราศจากภรรยาสุดที่รักได้.
(พระราชาตรัสถามว่า) ดูก่อนสหาย อายุของพวก
ท่านมีประมาณเท่าไร ถ้าท่านทั้งสองรู้ ก็จงบอกอายุ
ของพวกท่านแก่เรา ขอท่านทั้งหลายอย่าได้บิดพลิ้ว
จงบอกอายุของพวกท่านแก่เรา ตามที่ได้ยินได้ฟังมา
จากวุฒบุคคล หรือจากตำรับตำรา.
(นางกินรีทูลตอบว่า) ข้าแต่นายพราน อายุ
ของเราทั้งสองประมาณ ๑,๐๐๐ ปี อนึ่ง ในระหว่าง
อายุนั้น โรคร้ายย่อมไม่มี มีความทุกข์น้อย มีแต่
ความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป เราทั้งสองยังรักกันไม่จืดจาง
ก็ต้องมาละทิ้งชีวิตไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มเยกรตฺต ตัดบทเป็น มย เอกรตฺต
ความว่า เราทั้งสองต้องจากกันชั่วราตรีหนึ่ง. บทว่า วิปฺปวสิมฺห ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 157
เราต้องพรากจากกันอยู่. บทว่า อนุตปฺปมาณา ความว่า ทั้ง ๆ ที่เรา
ทั้งสองไม่ปรารถนาจะจากกัน ราตรีหนึ่งก็ได้ผ่านพ้นไป เราทั้งสองก็เฝ้าแต่
ครุ่นคิดถึงราตรีเดียวนั้นอยู่. บทว่า ปุน น เหสฺสติ ความว่า ราตรีนั้น
จักไม่มีคือจักไม่ย่างมาอีก.
บทว่า ธนว นฏฺ ปิตรญฺจ เปต ความว่า เจ้าทั้งสองคิดถึง
ทรัพย์ที่หายไปแล้ว หรือคิดถึงมารดาบิดาที่ละโลกนี้ไปแล้ว ด้วยเหตุไร จึง
ได้แยกกันตลอดราตรีหนึ่งนั้น จงบอกเหตุนั้นแก่เราเถิด. บทว่า ยมิม ตัดบท
เป็น ย อิม แปลว่า นี้ใด. บทว่า เสลกุล ความว่า ไหลมาในระหว่าง
หุบผาทั้งสอง บทว่า วสฺสกาเล ความว่า นางกินรีกล่าวว่า ในเวลาที่เมฆ
ก้อนหนึ่งตั้งขึ้นฝนตก แม้ยามที่เราทั้งสองย่ำราตรี ท่องเที่ยวไปในไพรสณฑ์นี้
เมฆกอันหนึ่งตั้งขึ้น ลำดับนั้น กินนรผู้สามีสุดที่รักของดิฉัน สำคัญว่าดิฉัน
ตามมาข้างหลัง จึงข้ามนทีนี้ไป. บทว่า อหญฺจ ความว่า ก็ดิฉันหาได้
ทราบว่า สามีของตนข้ามไปฝั่งโน้นแล้วไม่ มัวเลือกเก็บดอกไม้ทั้งหลายมี
ดอกปรูเป็นต้น ที่บานสะพรั่งอยู่แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺตลิโยธิกญฺจ ความว่า ก็เมื่อข้าพเจ้า
เลือกเก็บดอกลำดวน และดอกมะลิซ้อน ก็ด้วยเหตุที่ว่า สามีที่รักของเราจัก
ทัดทรงระเบียบดอกไม้ ส่วนเราก็จักสอดแซมระเบียบดอกไม้นอนแนบสามีนั้น.
บทว่า อุทฺทาลกา ปาตลี สินฺธุวาริตา ความว่า นางกินรีกล่าวว่า แม้
ดอกไม้เหล่านี้ ก็เป็นอันข้าพเจ้าเลือกเก็บแล้วทีเดียว. บทว่า โอเจยฺย แปลว่า
เลือกเก็บแล้ว. บทว่า อคฺคลุ จนฺทนญฺจ ได้แก่ กฤษณาดำและจันทน์แดง.
บทว่า โรสิตงฺโค ความว่า มีสรีระร่างกายลูบไล้แล้ว. บทว่า โรสิตา แปลว่า
ประพรมสรีระแล้ว. บทว่า อชฺฌุเปสฺส ความว่า จักเข้าไปแนบชิดบน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 158
ที่นอน. บทว่า นุท สาเล สลเล กณฺณิกาเร ความว่า พัดพาเอาดอกไม้
เหล่านี้ ที่ดิฉันเลือกเก็บแล้ววางไว้ริมฝั่งไปจนหมด.
บทว่า สุทุตฺตรา ความว่า ก็ในเวลาที่นางกินรีนั้นยืนอยู่ที่ฝั่งฟากนี้
นั้นเอง น้ำในแม่น้ำท่วมท้นขึ้นมา ทั้งในขณะนั้นพระอาทิตย์ก็อัสดงคตไปแล้ว
สายฟ้าก็แลบแปลบปลาบ ธรรมดาว่า กินนรทั้งหลายย่อมกลัวน้ำ เพราะฉะนั้น
นางกินรีนั้น จึงไม่สามารถจะข้ามไปฝั่งโน้นได้ ด้วยเหตุนั้น นางจึงกล่าวว่า
ในเวลายามเย็น ข้าพเจ้าข้ามน้ำไปไม่ได้. บทว่า สมฺปสฺสนฺตา ความว่า
มองเห็นกันในเวลาฟ้าแลบ. บทว่า โรทาม ความว่า ในเวลามืดมองไม่เห็น
กันก็ร้องไห้ ในเวลาฟ้าแลบมองเห็นหน้ากันก็หัวเราะ. บทว่า สมฺพรี แปลว่า
ราตรี. บทว่า จตุกฺก แปลว่า ว่างเปล่าหรือยุบแห้ง. บทว่า อุตฺตริยาน
แปลว่า ข้ามไป. บทว่า ติหูนก ความว่า เป็นเวลาหกร้อยเก้าสิบเจ็ดปี.
บทว่า ยมิธ มย ความว่า นางกินรีกล่าวว่า เราทั้งสองต้องจาก
พรากกันอยู่ในที่นี้ ตลอดเวลาที่ผ่านมานี้นั้น เป็นเวลานานถึงเจ็ดร้อยหย่อน
สามปี. บทว่า วสฺเสกิม ตัดบทเป็น วสฺส เอก อิม ความว่า นางกินรี
กล่าวว่า ชีวิตความเป็นอยู่ของท่านนี้ มีกำหนดเพียงร้อยปีหนึ่งเท่านั้น. บทว่า
โกนีธ ความว่า นางกินรีกล่าวว่า เมื่อชีวิตความเป็นอยู่มีเล็กน้อยอย่างนี้
ใครเล่าจะพรากจากภรรยาที่รักใคร่ได้ หรือไม่บังควรที่จะพลัดพรากจากภรรยา
สุดที่รักเลย. บทว่า กีวตโก นุ ความว่า พระราชาทรงสดับถ้อยคำของ
นางกินรีแล้ว ทรงดำริว่า เราจักถามประมาณอายุของกินนรเหล่านั้น กะนาง
กินรีดู จึงตรัสถามว่า อายุของพวกท่านมีประมาณเท่าใด. บทว่า อนุสฺสวา
ความว่า ถ้าเมื่อจะมีใคร ๆ บอกกล่าวแก่พวกท่าน หรือว่าตำนับตำรา มีอยู่
ในสำนักมารดาบิดาหรือผู้เฒ่าผู้แก่ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านอย่าบิดพลิ้วเลย
จงบอกประมาณแห่งอายุ จากที่ได้ยินได้ฟังมา หรือจากตำรับตำรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 159
บทว่า น จนฺตรา ความว่า อายุของเราทั้งหลายประมาณหนึ่งพันปี
และในระหว่างนั้น โรคภัยอันเลวร้ายซึ่งจะทำอันตรายแก่ชีวิต ก็ไม่มีแก่พวก
เราเลย. บทว่า อวีตราคา ความว่า เราทั้งหลายมิใช่ผู้ปราศจากความรักใคร่
กันและกันเลย.
พระเจ้าภัลลาติกราช ทรงสดับถ้อยคำของนางกินรี แล้วทรงดำริว่า
น่าอัศจรรย์ กินนรเหล่านั้นเป็นสัตว์เดียรัจฉาน พลัดพรากจากกันชั่วราตรีเดียว
ยังเที่ยวร่ำไห้ถึงกันตลอดเวลา ๗๐๐ ปี ส่วนเราเองละเลยมหาสมบัติ ในความ
เป็นพระราชา มีอาชญาแผ่ไปถึง ๓๐๐ โยชน์ มาอยู่ในป่า น่าอนาถ เราได้
ทำกิจที่ไม่ควรทำ ดังนี้แล้ว เสด็จนิวัตน์จากอรัญประเทศนั้นสู่พระนคร
พาราณสี อันหมู่มุขอำมาตย์ทูลถามว่า ขอเดชะมหาราชเจ้า พระองค์ทรง
ทอดพระเนตรเห็นอะไร เป็นสิ่งอัศจรรย์ในหิมวันตประเทศ จึงตรัสบอกเหตุ
ทั้งปวงที่ทรงประสบมา แล้วทรงบำเพ็ญกุศลมีทานเป็นต้น เสวยราชสมบัติ
นับแต่วาระนั้นเป็นต้นมา.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเจ้าภัลลาติยะ ได้ทรงสดับถ้อยคำของกินนร
ทั้งสองนี้แล้ว ทรงพระดำรู้ว่า ชีวิตเป็นของน้อย จึง
เสด็จกลับ ไม่เสด็จล่าเนื้อ ได้ทรงบำเพ็ญทาน
เสวยราชสมบัติสืบมา.
พระบรมศาสดาครั้นตรัสพระคาถานี้แล้ว เมื่อจะทรงโอวาทซ้ำอีก
ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า
มหาบพิตรทั้งสอง ทรงสดับเรื่องราวของกินนร
ทั้งหลายมิใช่มนุษย์นี้แล้ว จงทรงเบิกบานพระทัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 160
อย่าได้ทรงทำความทะเลาะกันเลย กรรมอันเป็นโทษ
ของตน อย่าได้ทำให้มหาบพิตรทั้งสองต้องเดือดร้อน
เหมือนกรรมอันเป็นโทษของตน ทำให้กินนรสองสามี
ภรรยาเดือดร้อนอยู่ราตรีหนึ่ง ฉะนั้น.
มหาบพิตรทั้งสอง ทรงสดับเรื่องราวของกินนร
ทั้งหลายมิใช่มนุษย์นี้แล้ว จงทรงเบิกบานพระทัย
อย่าได้ทรงทำความวิวาทบาดหมางกันเลย กรรมอัน
เป็นโทษของตน อย่าได้ทำให้มหาบพิตรทั้งสองต้อง
เดือดร้อน เหมือนกรรมอันเป็นโทษของตน ทำให้
กินนรสองสามีภรรยาเดือดร้อนอยู่ราตรีหนึ่ง ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมานุสาน ได้แก่ กินนรทั้งหลาย.
บทว่า อตฺตกมฺมาปราโธ ได้แก่ กรรมโทษของตน. บทว่า กึปุริเสกรตฺต
ความว่า กรรมโทษของตนอันทำให้พรากกันราตรีหนึ่ง ทำกินนรเหล่านั้น
ให้เดือดร้อน ฉันใด กรรมโทษของตนอย่าให้มหาบพิตรทั้งสองต้องเดือดร้อน
ฉันนั้นเลย.
พระนางมัลลิกาเทวี ทรงสดับพระธรรมเทศนาของพระตถาคตจ้าแล้ว
เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ ทรงประคองอัญชลี เมื่อจะทรงชมเชยพระทศพล จึง
ตรัสคาถาสุดท้ายความว่า
หม่อมฉันมีใจเลื่อมใส ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา
ของพระองค์ ที่พระองค์ทรงแสดงประกอบไปด้วย
เหตุต่าง ๆ ประกอบไปด้วยประโยชน์ พระองค์ทรง
เปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะ ดับความกระวนกระวาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 161
ใจของหม่อมฉันได้ ข้าแต่พระสมณะเจ้า ผู้ทรงนำ
ความสุขมาให้หม่อมฉัน ขอพระองค์จงทรงมีชนมชีพ
ยืนนานเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวิธ อธิมนา สุณามิห ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กระหม่อมฉันเป็นผู้ชื่นชมยินดี มีจิตเลื่อมใส ฟัง
พระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงแสดง ประดับประดาไปด้วยเหตุต่าง ๆ. บทว่า
วจนปถ ความว่า ทานองคลองพระพุทธพจน์ ประกอบไปด้วยประโยชน์
อันพระองค์ตรัสแล้วนั้น ๆ. บทว่า มุญฺจ คิร นุทเสว เม ทร ความว่า
เมื่อพระองค์ทรงเปล่งมธุรพจน์ อันเสนาะโสต ชื่อว่าบรรเทาแล้ว คือนำไป
แล้วทีเดียว ซึ่งความกระวนกระวาย คือความเศร้าโศกในหทัยของหม่อมฉัน.
บทว่า สมณ สุขาวห ชีว เม จิร ความว่า ข้าแต่พระมหาสมณะผู้พุทธเจ้า
ผู้เจริญ ผู้ทรงนำทิพยมานุษยโลกิยสมบัติ และโลกุตรสมบัติมาให้ ผู้เป็น
เจ้าของกระหม่อมฉัน ผู้เป็นพระธรรมราชา ขอพระองค์จงทรงเจริญพระชนม-
ชีพยืนนานเถิด.
จำเดิมแต่นั้นมา พระเจ้าโกศลราชก็ทรงอยู่ร่วมสมัครสโมสร กับ
พระนางมัลลิการาชเทวี.
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า กินนรในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเจ้าโกศลราช ในบัดนี้ กินรี
ได้มาเป็นพระนางมัลลิการาชเทวี ส่วนพระเจ้าภัลลาติกราช ได้มาเป็น
เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาภัลลาติกชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 162
๙. โสมนัสชาดก
ว่าด้วยการใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงค่อยทา
[๒๑๖๕] ใครมาตี มาด่าท่านหรือ ทำไมท่าน
จึงเสียใจ น้อยใจ เศร้าโศกอยู่ วันนี้มารดาบิดาของ
ท่านมาร้องไห้รบกวน ประการใด หรือว่าวันนี้มีใคร
มารังแกท่านให้ท่านต้องนอนเหนือแผ่นดิน.
[๒๑๖๕] (ดาบสตอบว่า) ขอถวายพระพรพระ-
จอมภูมิบาล อาตมาภาพดีใจมาก ที่ได้เห็นมหาบพิตร
อาตมาภาพเข้ามาอาศัยมหาบพิตร มิได้เบียดเบียนใคร
ขอถวายพระพร อาตมาภาพถูกพระราชโอรส ของ
มหาบพิตรเบียดเบียน.
[๒๑๖๖] (พระราชาทรงพระพิโรธ ตรัสว่า)
เหวยเหล่านายทวารบาล พนักงานตำรวจดาบ และ
นายเพชรฆาตทั้งหลาย พวกเจ้าจงไปทำตามหน้าที่
ของตน ๆ จงไปยังภายในพระราชฐาน ฆ่าเจ้าโสมนัส-
สกุมารเสีย แล้วตัดเอาศีรษะมา ทูตทั้งหลายที่พระราชา
ส่งไป ได้กราบทูลพระกุมารว่า ข้าแต่พระขัตติโยรส
พระองค์เป็นผู้ที่พระอิสราธิบดี ราชบิดาทรงตัดขาด
แล้ว พระองค์ต้องโทษ ถึงประหารชีวิต พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 163
พระราชโอรส ทรงพระกันแสงอยู่ ทรงประคอง
อัญชลี ยกพระหัตถ์ทั้งสิบนิ้วขึ้นอ้อนวอนว่า ตัวเรา
อยากจะขอเข้าเฝ้าพระราชบิดา ผู้เป็นจอมประชา
ราษฎร์ ขอท่านทั้งหลาย จงนำเราผู้ยังมีชีวิตไปเฝ้า
พระราชบิดาเถิด.
ทูตทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของพระราชกุมาร
แล้ว ได้พาพระราชโอรสเข้าเฝ้าพระราชา ฝ่ายพระ-
ราชโอรส ครั้นเห็นพระราชบิดา จึงกราบทูลไปแต่
ไกลว่า
ข้าแต่พระราชบิดา ผู้เป็นจอมประชาราษฎร์
พวกนายประตู ตำรวจดาบ และเพชฌฆาตทั้งหลาย
พากันมาเพื่อจะฆ่าข้าพระพุทธเจ้าเสีย ข้าพระพุทธเจ้า
ขอกราบทูลถาม ขอได้ทรงพระกรุณาโปรดบอกเนื้อ-
ความนั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้า วันนี้ข้าพระพุทธเจ้ามี-
ความผิดในเรื่องนี้เป็นประการใดหรือ พระเจ้าข้า.
[๒๑๖๗] ทิพพจักษุดาบสผู้ไม่ประมาท ทำกิจรด-
น้ำบำเรอไฟ ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าทุกเมื่อ เหตุไรเจ้า
จึงเรียก ทิพพจักษุดาบสผู้สำรวมอินทรีย์ เป็นพรหม-
จารีเช่นนั้นว่า พราหมณ์คฤหบดี.
[๒๑๖๘] (พระกุมารทูลว่า) ขอเดชะ กุลุปก-
ดาบสผู้นี้มีของเก็บไว้หลายอย่าง คือผลสมอพิเภก
เผือกมัน และผลไม้ทั้งหลาย กุลุปกดาบสผู้นี้เป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 164
ไม่ประมาท เก็บรักษาของเหล่านั้นไว้ เพราะเหตุนั้น
ข้าพระพุทธเจ้า จึงเรียกดาบสนั้นว่า " คฤหบดี ".
[๒๑๖๙] (พระราชาตรัสว่า) ดูก่อนเจ้าโสมนัสส-
กุมาร เรื่องนี้เจ้าพูดได้จริง ดาบสผู้นี้มีของเก็บไว้
หลายอย่าง ดาบสผู้นี้เป็นผู้ไม่ประมาท เก็บรักษาสิ่ง-
ของเหล่านั้นไว้ เพราะฉะนั้น ดาบสผู้นี้ จึงชื่อว่า
พราหมณ์ คฤหบดี.
[๒๑๗๐] (พระกุมารตรัสว่า) บริษัททั้งหลาย
ทั้งชาวนิคมและชาวชนบทที่มาประชุมกันถ้วนทุกคน
ขอจงฟังข้าพเจ้า พระราชาผู้เป็นจอมประชาราษฎร์นี้
เป็นพาล ได้ฟังคำชฎิลโกงแล้ว ตรัสสั่งให้ฆ่าเราเสีย
โดยหาเหตุมิได้เลย.
[๒๑๗๑] (พระกุมารตรัสว่า) เมื่อรากยังเจริญ
งอกงามแผ่ไพศาลอยู่ ไม้ไผ่ที่แตกเป็นกอใหญ่แล้ว
ก็แสนยากที่จะถอนให้หมดสิ้นไปได้ ข้าแต่พระราช
บิดา ผู้เป็นจอมประชาราษฎร์ ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวาย
บังคมพระยุคลบาท ขอพระราชทานพระบรมราชา-
นุญาต ข้าพระพุทธเจ้าจักออกบวช พระเจ้าข้า.
[๒๑๗๒] (พระราชาตรัสว่า) โสมนัสสกุมาร
เอ๋ย เจ้าจงเสวยสมบัติอันไพบูลย์เถิด อนึ่ง บิดาจะมอบ
อิสริยยศทั้งหมดให้แก่เจ้า เจ้าจงเป็นพระราชาของชาว
กุรุรัฐเสียในวันนี้ทีเดียวเถิด อย่าบวชเลย เพราะการ
บวชเป็นทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 165
[๒๑๗๓] (พระกุมารทูลว่า) ขอเดชะ บรรดา
โภคสมบัติของพระองค์ ซึ่งมีอยู่ในราชธานีนี้ สิ่ง
ไรเล่าที่ข้าพระพุทธเจ้าควรบริโภคมีอยู่หรือ ? เมื่อ
ชาติก่อนข้าพระพุทธเจ้าเคยรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ด้วย
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะทั้งหลาย ที่น่ารื่นรมย์ใจ
ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าเคยบริโภคสมบัติมาแล้วใน
ไตรทิพย์ เคยมีหมู่นางอัปสรแวดล้อมมาแล้ว ข้าพระ-
พุทธเจ้ามารู้ว่า พระองค์เป็นพาล อันคนอื่นต้องนำไป
แล้วจะอยู่ในราชสกุลเช่นนั้นไม่ได้เลย.
[๒๑๗๔] (พระราชาตรัสว่า) ดูก่อนพ่อโสมนัสส์
ถ้าหากว่า บิดาเป็นพาลต้องอาศัยผู้อื่นจูงไปไซร้ เจ้าจง
อดโทษให้บิดาสักครั้งหนึ่งเถิด ถ้าแม้ว่าโทษเช่นนี้จะ
พึงมีอีกไซร้ เจ้าจงกระทำตามมติของตนเถิด.
[๒๑๗๕] (พระกุมารตรัสว่า) กรรมที่บุคคลใด
ไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วนเสียก่อน แล้วทำลงไป ผลชั่วร้าย
ย่อมมีแก่บุคคลนั้น เหมือนความวิบัติแห่งยาแก้โรค
ฉะนั้น.
ส่วนกรรมที่บุคคลใดพิจารณาถี่ถ้วนก่อนแล้วทำ
ลงไป ผลอันเจริญย่อมมีแก่บุคคลนั้นเหมือนความ
ถึงพร้อมแห่งยาแก้โรคฉะนั้น.
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม เป็นคนเกียจคร้านไม่ดี
บรรพชิตไม่สำรวมไม่งาม พระราชาไม่ใคร่ครวญเสีย
ก่อนแล้วทำลงไป ไม่ดี บัณฑิตมีความโกรธเป็น
เจ้าเรือน ก็ไม่ดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 166
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอธิบดีแห่งทิศ กษัตริย์ทรง
ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำ ยังไม่ได้พิจารณา
ใคร่ครวญก่อนแล้ว ไม่ควรทำกิจการอะไร พระเกียรติ-
ยศของพระราชาผู้ทรงใคร่ครวญเสียก่อนแล้ว จึงทำ
ลงไป ย่อมเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น.
ข้าแต่พระภูมิบาล อิสรชนควรพิจารณาเสียก่อน
แล้วจึงลงอาชญา กรรมที่ทำด้วยความรีบร้อนย่อม
เดือดร้อน อนึ่ง ความตั้งตนไว้โดยชอบ และประโยชน์
ของนรชน ย่อมไม่ตามเดือดร้อนในภายหลัง.
อนึ่ง ชนเหล่าใด จำแนกแจกแจงด้วยปัญญา
แล้วกระทำกรรมทั้งหลาย ที่ไม่ตามเดือดร้อนในภาย-
หลัง ในโลก กรรมของชนเหล่านั้น ท่านผู้รู้สรรเสริญ
มีความสุขเป็นกำไร พุทธาทิบัณฑิตอนุมัติแล้ว.
ขอเดชะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งประชาชน
นายประตู ตำรวจดาบ และพวกเพชฌฆาต พากัน ไป
จะฆ่าข้าพระพุทธเจ้า พวกนั้นพากันฉุดคร่าข้าพระพุทธ
เจ้า ผู้กำลังนั่งอยู่ บนพระเพลาแห่งพระราชมารดา
มาโดยพลัน.
ข้าแต่พระราชบิดา แท้จริงข้าพระพุทธเจ้า ถึง
ความหวั่นกลัวต่อมรณภัย คับแคบ ฝืดเคืองเหลือเกิน
วันนี้ข้าพระพุทธเจ้าได้มีชีวิตอันเป็นที่รัก หวานซาบ-
ซึ้งใจ รอดพ้นจากการถูกประหารมาได้แสนยาก จึง
น้อมใจไปในบรรพชาอย่างเดียว.
[๒๑๗๖] (พระราชาตรัสว่า) ดูก่อนสุธรรมาเทวี
โสมนัสสกุมารโอรสของเธอนี้ ยังรุ่นหนุ่ม น่าเอ็นดู
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 167
วันนี้เราอ้อนวอนเขาไว้ ก็ไม่ได้สมปรารถนา แม้เธอ
ก็ควรจะอ้อนวอนโอรสของเธอดูบ้าง.
[๒๑๗๗] (พระนางสุธรรมาเทวีตรัสว่า) ดูก่อน
พระลูกรัก เจ้าจงยินดีด้วยภิกขาจาริยวัตรเถิด จงใคร่-
ครวญในธรรมทั้งหลายแล้วละเว้นบรรพชาของคนมิจ-
ฉาทิฏฐิเสียเถิด เจ้าจงวางอาชญาในสรรพสัตว์ นักบวช
ละวางอาชญาในสรรพสัตว์ทั้งหลายแล้ว เป็นผู้ไม่ถูก
ติเตียน ย่อมเข้าถึงพรหมสถาน.
(พระราชาตรัสว่า) ดูก่อนสุธรรมาเทวี เธอพูดคำ
เช่นใด คำเช่นนั้น น่าอัศจรรย์จริงหนอ เราได้รับ
ทุกข์อยู่แล้ว เธอยังกลับเพิ่มทุกข์ให้อีก ฉันขอร้องเธอ
ให้ช่วยอ้อนวอนลูก เธอกลับสนับสนุนให้โสมนัสส-
กุมารเกิดอุตสาหะยิ่งขึ้น.
[๒๑๗๘] (พระนางสุธรรมาเทวีตรัสว่า) พระ-
อริยเจ้าเหล่าใดพ้นวิเศษแล้ว บริโภคปัจจัยอันหาโทษ
มิได้ ดับรอบแล้ว เที่ยวไปในโลกนี้ หม่อมฉันไม่
อาจจะห้ามโอรสผู้ดำเนินไปตามมรรคา ของพระอริย-
เจ้า เหล่านั้นได้.
[๒๑๗๙] (พระราชาตรัสว่า) ชนเหล่าใดมีปัญญา
เป็นพหูสูต ตรึกตรองเหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก พระนาง
สุธรรมาเทวีนี้ เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ปราศจาก
ความโศกเศร้า ได้สดับคำสุภาษิตของชนเหล่าใด
ชนเหล่านั้นควรจะสมาคมคบหาทีเดียว.
จบโสมนัสสชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 168
อรรถกถาโสมนัสสชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
ความที่พระเทวทัตพยายาม เพื่อจะปลงพระชนม์พระองค์ ตรัสพระธรรม
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โก ต หืสติ เหเติ ดังนี้.
ก็ในกาลครั้งนั้น พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ใน
บัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในปางก่อนพระเทวทัตนี้ ก็พยายามเพื่อจะฆ่าเราตถาคต
เหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล มีพระราชาทรงพระนามว่า เรณุราช เสวยราชสมบัติ
ในอุตตรปัญจาลนคร แคว้นกุรุ. ครั้งนั้น พระดาบสชื่อ มหารักขิตะ
มีดาบส ๕๐๐ เป็นบริวาร อยู่ในหิมวันตประเทศเที่ยวจาริกไป เพื่อจะเสพ
อาหารรสเค็มและรสเปรี้ยว จนลุถึงอุตตรปัญจาลนคร พักอยู่ในพระราชอุทยาน
รุ่งขึ้นพร้อมด้วยบริวารเที่ยวไปบิณฑบาตจนถึงราชทวาร. พระเจ้าเรณุราช
ทรงเห็นหมู่ฤาษี ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถ จึงตรัสสั่งให้นิมนต์มานั่ง ณ ท้อง
พระโรง มีพื้นกว้างใหญ่อันประดับตกแต่งแล้ว ทรงอังคาสด้วยอาหารอัน
ประณีต แล้วตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย อยู่
จำพรรษาที่อุทยานของข้าพเจ้าตลอดฤดูฝนนี้เถิด แล้วเสด็จไปพระราชอุทยาน
พร้อมด้วยดาบสเหล่านั้น ตรัสสั่งให้สร้างที่อยู่พระราชทานบรรพชิตบริขาร
ทรงนมัสการแล้วเสด็จกลับพระราชวัง. นับแต่นั้นมา ดาบสเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
ก็รับพระราชทานฉัน ในพระราชนิเวศน์เป็นประจำ. ก็พระราชามิได้มีพระ-
โอรส จึงทรงปรารถนาจะได้พระโอรส. ราชโอรสก็หาได้มาอุบัติสมพระราช
ประสงค์ไม่ ล่วงกาลฤดูฝน ๓ เดือนแล้ว ท่านมหารักขิตดาบส จึงเข้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 169
ไปถวายพระพรลาพระราชาว่า บัดนี้ ที่ป่าหิมพานต์เป็นรมณียสถาน พวก
อาตมาภาพจะไปอยู่ที่ป่าหิมพานต์นั้นตามเดิม อันพระราชาทรงกระทำการ
สักการะบูชาแล้ว จึงออกจากพระราชอุทยานไป ในเวลาเที่ยงวัน ได้แวะ
ออกจากทางเสียในระหว่างมรรคา พาบริวารนั่งอยู่ที่เนินหญ้าแพรกอ่อน ๆ
ณ ภายใต้ต้นไม้มีร่มเงาอันเยือกเย็นต้นหนึ่ง.
ดาบสเหล่านั้นนั่งประชุมสนทนากันว่า ในพระราชวังหามีพระราชโอรส
ที่จะสืบราชตระกูลไม่ ถ้าพระราชาจะพึงได้พระราชโอรส ก็จะเป็นการดีทีเดียว
จะได้สืบราชสกุลสืบไป. ท่านมหารักขิตดาบส ได้ยินถ้อยคำของดาบส
เหล่านั้นแล้ว จึงใคร่ครวญดูว่า พระราชาจักมีพระโอรสหรือไม่หนอ ทราบว่า
จักมี จึงพูดขึ้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านอย่าคิดวิตกไปเลย วันนี้
เวลาใกล้รุ่ง เทพบุตรหนึ่งองค์จักจุติลงมา ถือปฏิสนธิในครรภ์แห่งอัครมเหสี
ของพระราชา ชฎิลโกงผู้หนึ่งได้ยินดังนั้น จึงคิดว่า เราจักเป็นราชกุลุปกะ
(พระดาบสประจำราชสำนัก) เสียแต่บัดนี้ จึงในเวลาที่พวกดาบสออกเดินทาง
ไป แกล้งลวงว่าเป็นไข้แล้วนอนเสีย ถูกพวกดาบสอื่น ๆ เตือนว่า ลุกขึ้นเถิด
พวกเราจักไปกันละ. ก็ตอบว่า เราไม่สามารถจะไปได้. ท่านมหารักขิตดาบสรู้
เหตุที่ดาบสนั้นแกล้งนอน จึงกล่าวว่า ท่านสามารถจะไปได้เมื่อใด จงตามมา
เมื่อนั้นเถิด ดังนี้แล้ว พาหมู่ฤาษีเดินทางไปยังหิมวันตประเทศทีเดียว. ฝ่าย
ดาบสโกง จึงรีบย้อนกลับมาโดยเร็ว ยืนอยู่ที่ราชทวาร สั่งให้ราชบุรุษกราบทูล
พระราชาว่า ดาบสอุปัฏฐากของท่านมหารักขิตดาบสมาเฝ้า ครั้นพระราชาตรัส
สั่งให้รีบนิมนต์เข้าไปเฝ้า จึงขึ้นสู่ปราสาท นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้แล้ว. พระ-
ราชาทรงนมัสการพระดาบสแล้ว ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ตรัสถามถึง
สุขภาพอนามัยของพระฤาษีทั้งหลาย แล้วตรัสว่า พระคุณเจ้ารีบด่วนกลับมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 170
ทั้งนี้ด้วยเหตุอันใดหรือ ? ดาบสโกงถวายพระพรว่า ขอถวายพระพรถูกต้อง
ทีเดียว หมู่ฤาษีนั่งพักกันอยู่ตามสบาย ต่างสนทนาปราศรัยกันว่า ถ้าหากว่า
พระโอรสผู้สืบสันตติวงศ์ของพระราชาจะพึงเสด็จอุบัติขึ้นไซร้ ข้อนั้นจะเป็น
ความดีฉะนั้นแล้ว อาตมาภาพฟังคำสนทนานั้นแล้ว ตรวจดูด้วยทิพยจักษุว่า
มหาบพิตรจักมีพระราชโอรสหรือไม่หนอ เห็นว่า เทพบุตรผู้มีมหิทธิฤทธิ์
จักจุติมาบังเกิดในพระครรภ์ แห่งพระนางสุธรรมาอัครมเหสี จึงคิดว่า ผู้ที่
ไม่รู้ ก็จะพึงทำลายพระครรภ์ให้พินาศเสีย จำเราต้องแจ้งแก่มหาบพิตรทั้งสอง
จึงได้รีบมาเพื่อต้องการถวายพระพรให้ทรงทราบ บัดนี้ อาตมาภาพก็ได้ถวาย
พระพรให้พระองค์ทรงทราบแล้ว ขอถวายพระพรลาไป. พระเจ้าเรณุราช
ทรงโสมนัสยินดี มีพระหฤทัยเลื่อมใส ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้า
ยังไปไม่ได้ ดังนี้แล้ว นำดาบสโกงไปสู่พระราชอุทยานี้ จัดแจงสถานที่อยู่
พระราชทาน. จำเดิมแต่นั้นมา ดาบสโกงนั้น ก็พำนักอาศัยขบฉัน ในราช
ตระกูล จนได้มีนามว่า ทิพพจักษุดาบส (ดาบสผู้มีตาทิพย์) ทีเดียว.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์จุติจากดาวดึงส์พิภพ ถือปฏิสนธิในพระครรภ์
แห่งพระนางสุธรรมาราชเทวี ในพระนครนั้น. ในวันขนานพระนามพระราช-
กุมารนั้น พระราชมารดาบิดา จึงขนานพระนามว่า โสมนัสสกุมาร.
พระราชโอรสทรงเจริญพระชนมพรรษาด้วยกุมารบริหารโดยลำดับ ฝ่ายดาบส
โกงจัดแจงปลูกผักอันเกื้อกูลแก่สูปะ และวัลลิผล คือผลไม้เครือเถา มีประการ
ต่าง ๆ ด้านริมพระราชอุทยานแห่งหนึ่ง แล้วจำหน่ายขายแก่ชาวร้านตลาด
รวบรวมทรัพย์ไว้. ในกาลเมื่อพระโพธิสัตว์ มีพระชันษาได้ ๗ ปี ประเทศ
ชายแดนราชอาณาเขตกำเริบจลาจล. พระเจ้าเรณุราชตรัสสั่งว่า เจ้าอย่าประมาท
ท่านทิพพจักษุดาบส ทรงให้พระราชกุมารรับคำแล้วเสด็จไป ด้วยหวังว่า เราจัก
จัดการให้ปัจจันตชนบทสงบราบคาบ. ครั้นวันหนึ่ง พระราชกุมารคิดว่า เรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 171
จักไปเยี่ยมเยียนท่านชฎิล จึงเสด็จสู่พระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นชฎิลโกง
นุ่งผ้ากาสาวะหยักรั้งผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง สองมือถือน้ำข้างละหม้อ กำลัง
รดน้ำไร่ผักอยู่ ก็ทรงทราบว่า ชฎิลผู้นี้เป็นชฎิลโกง ไม่บำเพ็ญสมณธรรม
ของตน มัวปลูกผักทำสวนครัวเสีย จึงทรงทักทายให้ชฎิลโกงนั้นได้อายว่า
ดูก่อนคฤหบดีพ่อค้าผัก ท่านกำลังทำอะไรอยู่ ? แล้วมิได้ทรงกราบไหว้
เสด็จออกกลับไปยังพระนคร. ชฎิลโกงคิดว่า บัดนี้ พระราชกุมารนี้ เป็น
ศัตรูเราเสียแล้ว ใครรู้เข้า ความเสื่อมเสียอะไร ๆ จักมี ควรที่เราจะกำจัด
พระราชกุมารนั้น เสียแต่บัดนี้ทีเดียว ในเวลาใกล้ที่พระราชาจะเสด็จมา จึง
โยนแผ่นหินไปรวมไว้ ณ ส่วนหนึ่ง ทุบต่อยหม้อน้ำให้แตก ทั้งเกลี่ยหญ้าทิ้ง
เรี่ยราดไว้บนบรรณศาลา เอาน้ำมันทาตัว เข้าไปยังบรรณศาลา นอนคลุมโปง
อยู่บนเตียง ทำประหนึ่งว่าถึงความทุกข์ร้อนอย่างใหญ่หลวง. พระราชาครั้น
เสด็จมาแล้ว ทรงกระทำประทักษิณพระนคร ยังไม่เสด็จเข้าพระราชนิเวศน์
ทรงดำริว่า เราจักเยี่ยมเยียนท่านทิพพจักษุดาบสผู้เป็นเจ้าแห่งเราก่อน แล้ว
เสด็จไปถึงประตูบรรณศาลา ทอดพระเนตรเห็นอาการอันวิปริตเช่นนั้น ทรง
พระดำริว่า นี้เรื่องอะไรหนอ จึงเสด็จเข้าไปทอดพระเนตรเห็นชฎิลโกงนั้น
นอนอยู่ ทรงลูบคลำเท้าทั้งสองของชฎิลโกง ตรัสพระคาถาที่ ๑ ความว่า
ใครมาตี มาด่าท่านหรือ ทำไมท่านจึงเสียใจ
น้อยใจ เศร้าโศกอยู่ วันนี้มารดาบิดาของท่าน มา
ร้องไห้รบกวน ประการใด หรือว่าวันนี้ ใครมารังแก
ท่าน ให้ต้องนอนเหนือแผ่นดิน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หึสติ แปลว่า ทุบตี. บทว่า เหเติ
แปลว่า ด่าว่า. บทว่า กวชฺช เสตุ ความว่า หรือว่าวันนี้ มีใครมาเบียดเบียน
รังแก ให้ท่านต้องนอนเหนือแผ่นดิน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 172
ชฎิลโกงได้ยินพระดำรัสนั้น จึงทอดถอนหายใจลุกขึ้นกล่าวคาถาที่ ๒
ความว่า
ขอถวายพระพรพระจอมภูมิบาล อาตมาภาพ
ดีใจมากที่ได้เห็นมหาบพิตร อาตมาภาพเข้ามาอาศัย
มหาบพิตร มิได้เบียดเบียนใคร ขอถวายพระพร
อาตมาภาพถูกพระราชโอรสของมหาบพิตรเบียดเบียน.
เบื้องหน้าแต่นี้ไป พึงทราบคาถาประพันธ์ ที่พระคันถรจนาจารย์
ประพันธ์ไว้ง่าย ๆ ตามนัยวาระพระบาลีความว่า
(พระราชาทรงพระพิโรธ ตรัสว่า) เหวยเหล่า
นายทวารบาล พนักงานตำรวจดาบ และนายเพชฌฆาต
ทั้งหลาย พวกเจ้าจงไปตามหน้าที่ของตน ๆ จงไป
ยังภายในพระราชฐาน ฆ่าเจ้าโสมนัสสกุมารเสีย แล้ว
ตัดเอาศีรษะมา.
ทูตทั้งหลายที่พระราชาส่งไป ได้กราบทูลพระ-
กุมารว่า ข้าแต่พระขัตติโยรส พระองค์เป็นผู้ที่พระ
อิสราธิบดี ราชบิดาทรงตัดขาดแล้ว พระองค์ต้องโทษ
ถึงประหารชีวิต พระเจ้าข้า.
พระราชโอรส ทรงพระกันแสงอยู่ ทรงประคอง
อัญชลี ยกพระหัตถ์ทั้งสิบนิ้วขึ้นอ้อนว่า ตัวเราอยาก
จะขอเฝ้าพระราชบิดา ผู้เป็นจอมประชาราษฎร์ ขอ
ท่านทั้งหลายจงนำเราผู้ยังมีชีวิตไปเฝ้าพระราชบิดาเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 173
ทูตทั้งหลายได้ฟังพระดำรัส ของพระราชกุมาร
แล้ว ได้พาพระราชโอรสเข้าเฝ้าพระราชา ฝ่ายพระ-
ราชโอรส ครั้นเห็นพระราชบิดา จึงกราบทูลไปแต่
ไกลว่า
ข้าแต่พระราชบิดา ผู้เป็นจอมประการาษฎร์
พวกนายประตู พนักงานตำรวจดาบ และเพชฌฆาต
ทั้งหลาย พากันมาเพื่อจะฆ่าข้าพระพุทธเจ้าเสีย
ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูลถาม ขอได้ทรงพระกรุณา
โปรดตรัสบอกเนื้อความนั้น แก่ข้าพระพุทธเจ้า วันนี้
ข้าพระพุทธเจ้ามีความผิดในเรื่องนี้ เป็นประการใด
หรือ พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหึสโก ความว่า ข้าพระองค์ไม่
เบียดเบียนใคร ๆ เป็นผู้เพรียบพร้อมด้วยศีลและอาจาระ. บทว่า เรณุมนุ-
ปวิสฺส ความว่า ขอถวายพระพร พระองค์เรณุมหาราช อาตมาภาพเข้ามา
อยู่อาศัย. บทว่า เหยิโตสฺมิ ความว่า อาตมาถูกโอรสของพระองค์ พาพวก
บริวารเป็นอันมาก เข้ามากล่าวหมิ่นประมาทว่า เฮ้ยเจ้าดาบสโกง เพราะ
เหตุไร เจ้าจึงมาอยู่ในที่นี้ ดังนี้แล้ว งัดแผ่นหินโยนทิ้ง ซ้ำทุบต่อยหม้อน้ำ
แล้วมิหนำ ชกต่อยถีบเตะเบียดเบียนอาตมาภาพอีกด้วย. ดาบสนั้นกล่าวคำเท็จ
แต่งให้เป็นเหมือนจริง ทูลให้พระราชาหลงเชื่อ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อายนฺตุ ความว่า พระเจ้าเรณุราช ทรงกริ้วพระราชกุมารว่า
นับแต่กาลที่ได้ปฏิบัติผิดในพระผู้เป็นเจ้าของเราแล้ว โสมนัสสกุมารนั้น จัก
ละอายแม้ในตัวเราก็หามิได้ เมื่อจะตรัสสั่งบังคับให้สำเร็จโทษพระราชกุมาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 174
เสียจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า กสาวิยา ความว่า พระเจ้าเรณุราช ตรัสสั่งว่า
เหวย ! เหล่าชาวเพชฌฆาตทุกหมู่เหล่าผู้มีขวานอยู่ในมือ จงมาโดยวิธีการ
ของตน ๆ. บทว่า วร ความว่า จงตัดศีรษะอันประเสริฐ คือ อวัยวะเบื้องสูง
นำมาให้เรา. บทว่า ราชิโน ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทูตทั้งหลายที่
พระราชาทรงส่งไปจากราชสำนัก พากันรีบไปล้อมจับพระราชกุมาร ซึ่งพระ-
ราชมารดาทรงประดับตกแต่งแล้ว ให้ประทับเหนือพระเพลาของพระองค์
แล้วพากันกราบทูลความนั้น บทว่า อิสฺสเรน หมายถึง พระราชา. บทว่า
วิติณฺโณสิ ความว่า พระองค์เป็นผู้อันพระราชาตัดขาดแล้ว.
บทว่า ส ราชปุตฺโต ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรส
ทรงสดับถ้อยคำของทูตเหล่านั้นแล้ว สะดุ้งตกพระทัยกลัวต่อมรณภัย ผลุดลุก
จากพระเพลาของพระมารดา. บทว่า ปฏิทสฺสเยถ ความว่า ท่านทั้งหลายจงนำ
เราเข้าเฝ้า. บทว่า ตสฺส ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทูตเหล่านั้น ฟังพระดำรัส
นั้นของพระกุมารแล้ว จึงงดการประหารชีวิตไว้ และเอาเชือกมัดพระกุมาร
จูงไปเฝ้าพระราชา เหมือนดังคนจูงโคฉะนั้น ก็เมื่อพวกเพชฌฆาต กำลังนำ
พระกุมารไป พระนางสุธรรมาราชเทวี พร้อมด้วยนางนักสนม แวดล้อมด้วย
หมู่ทาสี อีกทั้งชาวพระนครทั้งหลาย ต่างพูดกันว่า พวกเราจักไม่ยอมให้
สำเร็จโทษพระกุมารผู้หาความผิดมิได้แล้วได้ตามไป พร้อมกับพระกุมารนั้น.
บทว่า อาคจฺฉุ ความว่า พวกเพชฌฆาตมายังสำนักของข้าพระพุทธเจ้า
เพื่อจะลงพระราชอาญา. บทว่า หนฺตุ มม ความว่า เพื่อจะฆ่าข้าพระพุทธเจ้า
เสีย. บทว่า โกนีธ ความว่า พระกุมารทูลถามว่า พระราชบิดาตรัสสั่งให้
ประหารชีวิตข้าพระพุทธเจ้าด้วยประการใด อะไรหนอเป็นความผิดของข้า
พระพุทธเจ้าในเรื่องนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 175
พระเจ้าเรณุราชตวาดว่า ภวัคคพรหมยังต่ำนัก โทษของเจ้าใหญ่โต
มาก เมื่อจะตรัสบอกโทษผิดของพระราชกุมาร จึงตรัสพระคาถาความว่า
ทิพพจักษุดาบสผู้ไม่ประมาท ทำกิจรดน้ำบำเรอ
ไฟ ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าทุกเมื่อ เหตุไรเจ้าจึงเรียกทิพพ-
จักษุดาบสผู้สำรวมอินทรีย์ เป็นพรหมจารีเช่นนั้นว่า
" พราหมณ์ คฤหบดี "
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทก สชาติ ความว่า ทำการลงสู่น้ำ.
บทว่า ต ตาทิส ความว่า พระเจ้าเรณุราชตรัสว่า เพราะเหตุไร เจ้าจึง
ร้องเรียกทิพพจักษุดาบสผู้เป็นเจ้าของเราเห็นปานนั้น ด้วยวาทะว่า " คฤหบดี "
เล่า.
ลำดับนั้น พระกุมารกราบทูลว่า ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า เมื่อ
ข้าพระพุทธเจ้าเรียกคฤหบดีแท้ ๆ ด้วยวาทะว่า คฤหบดี ดังนี้ จะมีโทษผิด
อะไรหรือ ดังนี้แล้วตรัสคาถาความว่า
ขอเดชะ กุลุปกดาบสผู้นี้มีของเก็บไว้หลายอย่าง
คือผลสมอพิเภก เผือกมัน และผลไม้ทั้งหลาย กุลุ-
ปกดาบสผู้นี้เป็นผู้ไม่ประมาทเก็บรักษาสิ่งของเหล่านั้น
ไว้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงเรียกดาบสนั้นว่า
" คฤหบดี ".
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มูลา ได้แก่ พืชทั้งหลายมีพืชที่เกิดจาก
รากเป็นต้น. บทว่า ผลา ได้แก่ วัลลิผลาผลนานาชนิด. บทว่า เต รกฺขติ
โคปยตปฺปมตฺโต ความว่า กุลุปกดาบสของเสด็จพ่อนี้ ทำการปลูกผัก
นั่งเฝ้าอยู่ ไม่ประมาท ทำรั้วล้อมคุ้มครองดูแล ด้วยเหตุนั้นแหละ กุลุปก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 176
ดาบสนั้น จึงจัดว่าเป็นพราหมณ์คฤหบดีของเสด็จพ่อ. บทว่า อิติ น อหมฺปิ
คหปติ ความว่า ที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลมา หากเสด็จพ่อไม่ทรงเชื่อ
โปรดตรัสสั่งให้ถามชาวร้านขายผัก ที่พระราชทวารทั้ง ๔ ทิศดูเถิด.
พระราชาจึงตรัสสั่งให้ราชบุรุษไปเรียกชาวร้านขายผักมาซักถาม ชาว-
ร้านขายผักทั้งหลายก็พากันกราบทูลว่า ขอเดชะ เป็นความจริงพระพุทธเจ้าข้า
พวกข้าพระพุทธเจ้าซื้อผักและผลไม้จากมือของท่านดาบสรูปนี้จริง. พระราช
กุมารโสมนัสส์ ตรัสสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิสูจน์สิ่งของดู ทำให้เห็นประจักษ์
ราชบุรุษของพระกุมารเข้าไปยังบรรณศาลาของดาบสนั้น แล้วค้นนำเอาห่อ
กหาปณมาสกที่ได้จากการขายผัก มาถวายยืนยัน แด่พระราชา. พระราชา
ทรงทราบว่า พระมหาสัตว์ไม่มีความผิด จึงตรัสพระคาถา ความว่า
ดูก่อนเจ้าโสมนัสสกุมาร เรื่องนี้เจ้าพูดได้จริง
ดาบสผูนี้ มีของเก็บไว้หลายอย่าง ดาบสผู้นี้เป็นผู้ไม่
ประมาท เก็บรักษาสิ่งของเหล่านั้นไว้ เพราะฉะนั้น
ดาบสผู้นี้จึงชื่อว่า พราหมณ์ คฤหบดี.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ ทรงพระดำริว่า การที่เราเข้าป่าหิมพานต์
แล้วบวชเสีย ดีกว่าอยู่ในสำนักของพระราชาผู้โง่เขลาเห็นปานนี้ แล้วแถลง
โทษของพระราชาให้แจ้งชัด ในท่ามกลางบริษัทนั่นเอง แล้วกราบทูลลาว่า
ข้าพระพุทธเจ้าจักทูลลาออกไปบรรพชาเสียวันนี้ทีเดียว. พระโพธิสัตว์ทำสักการะ
แก่บริษัทแล้ว ตรัสพระคาถาความว่า
บริษัททั้งหลาย ทั้งชาวนิคม และชาวชนบท
ที่มาประชุมกันถ้วนทุกคน ขอจงฟังข้าพเจ้า พระ-
ราชาผู้เป็นจอมประชาราษฎร์นี้ เป็นพาลได้ฟังคำชฎิล
โกงแล้วตรัสสั่งให้ฆ่าเราเสียโดยหาเหตุมิได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 177
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลาย พาลสฺส ความว่า พระราชานี้
เป็นพาลด้วยพระองค์เอง ทรงฟังถ้อยคำของชฎิลโกงผู้เป็นพาลโง่เขลาแล้ว
ตรัสสั่งให้ฆ่าข้าพเจ้าโดยหาเหตุมิได้.
ก็แลพระโพธิสัตว์เจ้า ตรัสดังนี้แล้ว ถวายบังคมพระราชบิดาให้ทรง
อนุญาตให้พระองค์ทรงบรรพชาแล้ว ตรัสพระคาถานอกนี้ความว่า
เมื่อรากยังเจริญงอกงามแผ่ไพศาลอยู่ ไม้ไผ่ที่
แตกเป็นกอใหญ่แล้ว ก็แสนยากที่จะถอนให้หมดสิ้น
ไปได้ ข้าแต่พระราชบิดาผู้เป็นจอมประการาษฎร์
เกล้ากระหม่อมฉันขอถวายบังคมพระยุคบาท ขอ
พระราชทานพระบรมราชานุญาต กระหม่อมฉันจักขอ
ออกบวช พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสเต ความว่า (ไม้ไผ่) แตกเป็นกอ
ลำใหญ่. บทว่า ทุนฺนิกฺขโย ความว่า ยากที่จะถอนให้หมดสิ้น.
ต่อแต่นี้ไป เป็นคาถาประพันธ์ โต้ตอบระหว่างพระราชากับพระราช-
โอรส.
(พระราชาตรัสว่า) โสมนัสสกุมารเอ๋ย เจ้าจง
เสวยสมบัติอันไพบูลย์เถิด อนึ่ง บิดาจะมอบอิสริยยศ
ทั้งหมดให้แก่เจ้า เจ้าจงเป็นพระราชาของชาวกุรุรัฐ
เสียในวันนี้ทีเดียวเถิด อย่าบวชเลย เพราะการบวช
เป็นทุกข์.
(พระโพธิสัตว์ทูลว่า) ขอเดชะ บรรดาโภค-
สมบัติของพระองค์ ซึ่งมีอยู่ในราชธานีนี้ สิ่งไรเล่าที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 178
ข้าพระพุทธเจ้าควรบริโภคมีอยู่หรือ เมื่อชาติก่อน
ข้าพระพุทธเจ้าเคยรื่นรมย์ อยู่ในเทวโลกด้วยรูป เสียง
กลิ่น รส และผัสสะทั้งหลายที่น่ารื่นรมย์ใจ ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า เคยบริโภคสมบัติมาแล้วในไตรทิพย์
เคยมีหมู่นางอัปสรแวดล้อมมาแล้ว ข้าพระพุทธเจ้า
มารู้ว่า พระองค์เป็นพาล อันคนอื่นต้องนำไป แล้ว
จะอยู่ในราชสกุลเช่นนั้น ไม่ได้เลย.
(พระราชาตรัสว่า) ดูก่อนพ่อโสมนัสส์ ถ้าหากว่า
บิดาเป็นพาล ต้องอาศัยผู้อื่นจูงไปไซร้ เจ้าจงอดโทษ
ให้แก่บิดาสักครั้งหนึ่งเถิด ถ้าแม้ว่าโทษเช่นนี้จะพึงมี
อีกไซร้ เจ้าจงกระทำตามมติของตนเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขา ความว่า พระราชาตรัสวิงวอน
พระโอรสว่า ลูกรัก ขึ้นชื่อว่าการบรรพชาเป็นทุกข์ เพราะต้องมีชีวิตเนื่องด้วย
ผู้อื่น เจ้าอย่าบวชเลย จงเป็นพระราชาเถิด.
บทว่า กินฺนูธ เทว ความว่า ขอเดชะ พระองค์ผู้ทรงพระคุณ
อันประเสริฐ โภคสมบัติของพระราชบิดาเหล่าใด มีอยู่ในราชธานีนี้ ในโภค
สมบัติเหล่านั้น สิ่งใดเล่า สมควรที่ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงบริโภคใช้สอยได้
มีอยู่แลหรือ.
บทว่า ปริวารโต ความว่า ข้าพระพุทธเจ้าอันนางเทพอัปสรเคย
บำรุงบำเรอมาแล้ว. อีกนัยหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
ได้ยินว่า พระญาณระลึกชาติได้เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์ เพราะเหตุนั้น
พระโพธิสัตว์เจ้าจึงตรัสอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 179
บทว่า ปรเนยฺย ความว่า (พระองค์เป็นพาล) ต้องอาศัยคนอื่น
นำไปด้วยไม้เท้า ดังคนตาบอด.
บทว่า ตาทิเส ความว่า พระโพธิสัตว์ตรัสอย่างนี้ เพื่อจะให้พระ-
ราชบิดาทรงทราบว่า บัณฑิตไม่พึงอยู่ในสำนักของพระราชาเช่นนั้น ข้าพระ-
พุทธเจ้ารอดชีวิตมาได้วันนี้ ก็ด้วยกำลังญาณของตน ข้าพระพุทธเจ้าจักอยู่ใน
สำนักของพระราชบิดา หาได้ไม่.
บทว่า ยถามตึ ความว่า พระเจ้าเรณุราชทรงขอให้พระราชโอรส
งดโทษให้ว่า ถ้าหากว่าโทษผิดเห็นปานนี้ของบิดาจะพึงมีอีกไซร้ เมื่อนั้นเจ้า
จงทำตามอัธยาศัยเถิด.
พระมหาสัตว์ เมื่อจะถวายโอวาทพระราชบิดา จึงตรัสคาถา ๘ คาถา
ความว่า
กรรมที่บุคคลใดไม่พิจารณา ให้ถี่ถ้วนเสียก่อน
แล้วทำลงไป ผลชั่วร้ายย่อมมีแก่บุคคลนั้น เหมือน
ความวิบัติแห่งยาแก้โรคฉะนั้น.
ส่วนกรรมที่บุคคลใดพิจารณาถี่ถ้วนก่อนแล้วทำ
ลงไป ผลอันเจริญย่อมมีแก่บุคคลนั้น เหมือนความ
ถึงพร้อมแห่งยาแก้โรคฉะนั้น.
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม เป็นคนเกียจคร้านไม่ดี
บรรพชิตไม่สำรวม ไม่งาม พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญ
เสียก่อนแล้วทำลงไป ไม่ดี บัณฑิตมีความโกรธเป็น
เจ้าเรือน ก็ไม่ดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 180
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอธิบดีแห่งทิศ กษัตริย์ทรง
ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำ ยังไม่ได้พิจารณา
ใคร่ครวญก่อน แล้วไม่ควรทำกิจการอะไร พระ-
เกียรติยศของพระราชาผู้ทรงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึง
ทำลงไป ย่อมเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น.
ข้าแต่พระจอมภูมิบาล อิสรชนควรพิจารณา
เสียก่อนแล้วจึงลงอาชญา กรรมที่ทำด้วยความรีบร้อน
ย่อมเดือดร้อน อนึ่ง ความตั้งตนไว้โดยชอบ และ
ประโยชน์ของนรชนย่อมไม่ตามเดือดร้อนในภายหลัง.
อนึ่ง ชนเหล่าใดจำแนกแจกแจง ด้วยปัญญา
แล้วกระทำกรรมทั้งหลาย ที่ไม่ตามเดือดร้อนในภาย
หลังในโลก กรรมของชนเหล่านั้นท่านผู้รู้สรรเสริญ
มีความสุขเป็นกำไร พุทธาทิบัณฑิต อนุมัติแล้ว.
ขอเดชะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน
นายประตู ตำรวจดาบ และพวกเพชฌฆาต พากันไป
จะฆ่าข้าพระพุทธเจ้า พวกนั้นพากันฉุดคร่า ข้าพระ-
พุทธเจ้า ผู้กำลังนั่งอยู่บนพระเพลาแห่งพระราชมารดา
มาโดยพลัน.
ข้าแต่พระราชบิดา แท้จริง ข้าพระพุทธเจ้าถึง
ความหวั่นกลัวต่อมรณภัย คับแคบ ฝืดเคืองเหลือเกิน
วันนี้ข้าพระพุทธเจ้าได้มีชีวิตอันเป็นที่รัก หวานซาบ-
ซึ้งใจ รอดพ้นจากการถูกประหารมาได้แสนยาก จึง
น้อมใจต่อบรรพชาอย่างเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 181
บรรดาบทเหล่านั้นว่า อนิสมฺม ความว่า ไม่ตรวจตราพิจารณา
คือใคร่ครวญ (ก่อนทำ). บทว่า อนวตฺถาย จินฺติต ความว่า ไม่กำหนด
คือไม่พิจารณาดำริตริตรองให้รอบคอบ. บทว่า วิปาโก โหติ ปาปโก
ความว่า จริงอยู่พิษสงคือความวิบัติแห่งยาแก้โรคเป็นฉันใด ผลลามกชั่วร้าย
ย่อมมีแก่บุคคลนั้นฉันนั้น.
บทว่า อสญฺโต ความว่า บรรพชิตผู้ไม่สำรวมด้วยกายทวาร
เป็นต้น เป็นผู้ทุศีล. บทว่า ต น สาธุ ความว่า ความโกรธของบัณฑิต
นั้นเองไม่ดี. บทว่า นานิสมฺม ความว่า ยังไม่ได้พิจารณาใคร่ครวญก่อนแล้ว
ไม่ควรกระทำกิจการอะไร. บทว่า ปณเยยฺย ความว่า พึงเริ่มตั้งคือพึงยัง
อาชญาให้เป็นไป. บทว่า เวคา ความว่า โดยเร็ว คือ โดยฉับพลันทันที.
บทว่า สมฺมาปณิธี จ ความว่า ความตั้งตนไว้โดยชอบและประโยชน์
ของนรชน ที่ทำด้วยจิตอันตั้งไว้โดยแยบคาย ย่อมเป็นของไม่ตามเดือดร้อน
ในภายหลัง. บทว่า วิภชฺช ความว่า ชนเหล่าใด จัดแจงด้วยปัญญาอย่างนี้ว่า
กิจการเหล่านี้ควรทำ เหล่านี้ไม่ควรทำ. บทว่า กมฺมายตนานิ ได้แก่
การงานทั้งหลาย. บทว่า พุทฺธานุมตานิ ความว่า การงานอันบัณฑิต
อนุมัติแล้ว ย่อมเป็นของหาโทษมิได้. บทว่า กฏุก ความว่า ขอเดชะ
ข้าแต่พระราชบิดา ข้าพระพุทธเจ้า ถึงความหวั่นกลัวต่อมรณภัย อันเผ็ดร้อน
คับแคบ ฝืดเคืองเหลือเกิน. บทว่า ลทฺธา ความว่า ได้ชีวิตคืนมาด้วย
กำลังแห่งญาณของตน. บทว่า ปพฺพชฺชเมวาภิมโนหมสฺมิ ความว่า
ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้มีจิตน้อมเฉพาะต่อบรรพชาอย่างเดียว.
เมื่อพระมหาสัตว์เจ้าแสดงธรรมอย่างนี้แล้ว พระเจ้าเรณุราชตรัสเรียก
พระราชเทวี มาเฝ้าแล้วตรัสพระคาถาความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 182
ดูก่อนสุธรรมาเทวี โสมนัสสกุมารโอรสของเธอ
นี้ ยังรุ่นหนุ่ม น่าเอ็นดู วันนี้เราอ้อนวอนเขาไว้ ก็
ไม่ได้สมปรารถนา แม้เธอก็ควรจะอ้อนวอนโอรสของ
เธอ ดูบ้าง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาจิตเว ความว่า เพื่อช่วยอ้อนวอน.
พระนางสุธรรมาเทวี กลับส่งเสริมพระโอรส เพื่อบรรพชาอย่างเดียว
ตรัสคาถาความว่า
ดูก่อนพระลูกรัก เจ้าจงยินดีด้วยภิกขาจาริยวัตร
เถิด จงใคร่ครวญในธรรมทั้งหลาย แล้วละเว้นบรรพชา
ของคนมิจฉาทิฏฐิเสียเถิด เจ้าจงวางอาชญาในสรรพ-
สัตว์ นักบวชละวางอาชญาในสรรพสัตว์ทั้งหลายแล้ว
เป็นผู้ไม่ถูกติเตียนแล้ว ย่อมเข้าถึงพรหมสถาน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิสมฺม ความว่า เมื่อเจ้าจะบวชแน่
จงใคร่ครวญดูแล้วละการบรรพชาของมิจฉาทิฏฐิกชนเสีย จงบรรพชาลัทธิ
อันเป็นธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์ ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเถิด.
ลำดับนั้น พระเจ้าเรณุราชตรัสพระคาถา ความว่า
ดูก่อนสุธรรมาเทวี เธอพูดคำเช่นใด คำเช่นนั้น
น่าอัศจรรย์จริงหนอ เราได้รับทุกข์อยู่แล้ว เธอยังกลับ
เพิ่มทุกข์ให้อีก ฉันขอร้องเธอให้ช่วยอ้อนวอนลูก เธอ
กลับสนับสนุนให้โสมนัสสกุมารเกิดอุตสาหะยิ่งขึ้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาทิสญฺจ ความว่า เธอพูดคำนี้เช่นใด
คำนั้นน่าประหลาดอัศจรรย์จริงหนอ. บทว่า ทุกฺขิต ความว่า เธอเพิ่มทุกข์
ให้ฉันซึ่งมีทุกข์อยู่แล้วโดยปกติ ให้ทุกข์หนักขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 183
พระนางเทวี ตรัสคาถาอีกความว่า
พระอริยเจ้าเหล่าใด พ้นวิเศษแล้วบริโภคปัจจัย
อันหาโทษมิได้ ดับรอบแล้วเที่ยวไปในโลกนี้ หม่อมฉัน
ไม่อาจจะห้ามโอรสผู้ดำเนินไปตามมรรคาของพระ-
อริยเจ้าเหล่านั้นได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปฺปมุตฺตา ความว่า หลุดพ้นแล้ว
จากกิเลสทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น. บทว่า ปรินิพฺพุตา ความว่า ผู้ดับแล้ว
ด้วยกิเลสปรินิพพานธาตุ. บทว่า ตมริยมคฺค ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรง
พระคุณอันประเสริฐ หม่อมฉันไม่อาจจะห้ามพระโอรสของหม่อมฉัน
ผู้เจริญรอยมรรคาอันเป็นของแห่งพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
เหล่านั้นได้.
พระราชาทรงสดับพระเสาวนีย์ ของพระนางเทวีแล้วตรัสคาถาสุดท้าย
ความว่า
ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต ตรึกตรองเหตุ-
การณ์ถี่ถ้วนมาก พระนางสุธรรมาเทวีนี้ เป็นผู้มี
ความขวนขวายน้อย ปราศจากความโศกเศร้า ได้สดับ
คำสุภาษิตของชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นควรจะสมาคม
คบหาทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุานจินฺติโน ความว่า เป็นผู้คิด
เหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นอันมาก. บทว่า เยสาย ตัดบทเป็น เยส อย. แท้จริง
พระนางสุธรรมาราชเทวีนั้น ได้ทรงสดับคำสุภาษิตของโสมนัสสกุมารนั่นเอง
จึงเกิดเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย แม้พระราชาก็ตรัสหมายถึงพระราชโอรส
นั้นเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 184
พระมหาสัตว์เจ้า ถวายบังคมพระราชมารดาบิดาแล้วกราบทูลว่า
ถ้าหากว่าโทษผิดของข้าพระพุทธเจ้ามีอยู่ไซร้ ขอพระชนกชนนี ได้โปรดทรง
พระกรุณาอดโทษด้วยเถิด แล้วประคองอัญชลีต่อมหาชน บ่ายพระพักตร์ต่อ
หิมวันตประเทศเสด็จดำเนินไป เมื่อมหาชนส่งเสด็จกลับแล้ว เทพยดาทั้งหลาย
พากันมาด้วยเพศมนุษย์ พาข้ามขุนเขา ๗ ลูก นำไปสู่ป่าหิมพานต์ทรงบรรพชา
เพศเป็นดาบส อยู่ในบรรณศาลา อันวิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตไว้ให้. เทพ-
ยดาทั้งหลายต่างอภิบาลบำรุงพระมหาสัตว์เจ้า ด้วยเพศมนุษย์ผู้อภิบาลบำรุงใน
ราชสกุล จนกระทั่งจวบกาลพระมหาสัตว์เจ้ามีพระชนมายุได้ ๑๖ ปี. ฝ่าย
มหาชนพากันโบยตีชฎิลโกงจนถึงสิ้นชีวิต. พระมหาสัตว์เจ้า ยังฌานและ
อภิญญาให้เกิดแล้ว ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในชาติก่อน พระเทวทัตนี้ ก็พยายามฆ่าเราตถาคตอย่างนี้
เหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ชฎิลโกหกในครั้งนั้นได้มาเป็น
พระเทวทัต พระมารดา ได้มาเป็นพระนางสิริมหามายา พระมหา-
รักขิตดาบส ได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนโสมนัสสกุมาร ได้มาเป็น
เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาโสมนัสสชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 185
๑๐. จัมเปยยชาดก
ว่าด้วยบำเพ็ญตบะเพื่อเกิดเป็นมนุษย์
[๒๑๘๐] ท่านเป็นใคร งามผ่องใส ดุจสายฟ้า
และอุปมาเหมือนดาวประจำรุ่ง เราไม่รู้จักท่านว่าเป็น
เทวดา หรือคนธรรพ์ หรือเป็นหญิงมนุษย์.
[๒๑๘๑] (นางสุมนาทูลว่า) ข้าแต่พระมหา-
ราชา หม่อมฉันหาใช่เทพธิดา หญิงคนธรรพ์
หรือหญิงมนุษย์ไม่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
เป็นนางนาคกัญญา อาศัยเหตุอย่างหนึ่ง จึงได้มาใน
พระนครนี้.
[๒๑๘๒] (พระราชาตรัสถามว่า) ดูก่อนนางนาค
กัญญา ท่านมีอาการเหมือนคนมีจิตฟั่นเฟือน มี
อินทรีย์อันเศร้าหมอง ดวงเนตรของท่านไหลนองไป
ด้วยหยาดน้ำตา อะไรของท่านหาย หรือว่าท่าน
ปรารถนาอะไร จึงได้มาในเมืองนี้ เชิญท่านบอก
มาเถิด.
[๒๑๘๓] (นางสุมนาทูลตอบว่า) ข้าแต่พระองค์
ผู้เป็นจอมประชาชน มหาชนชาวโลกเรียกร้อง
สัตว์ใดว่า อุรคชาติผู้มีเดชสูง ในมนุษยโลก เขา
เรียกสัตว์นั้นว่า " นาค " บุรุษคนนี้จับนาคนั้นมา เพื่อ
ต้องการเลี้ยงชีพ นาคนั้นแหละเป็นสามีของหม่อมฉัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 186
ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคนั้น เสีย
จากที่คุมขังเถิด เพค่ะ.
[๒๑๘๔] (พระราชาตรัสถามว่า) ดูก่อนนาง
นาคกัญญา นาคราชนี้ประกอบด้วยกำลังอันแรงกล้า
ไฉนจึงมาถึงเงื้อมมือ ของชายวณิพกได้เล่า เราใคร่
จะรู้ถึงการที่นาคราชถูกกระทำจนถูกจับมาได้ ขอ
ท่านจงบอกความข้อนั้นแก่เราเถิด.
[๒๑๘๕] (นางสุมนาทูลตอบว่า) แท้จริงนาค-
ราชนั้นประกอบด้วยกำลังอันแรงกล้า พึงทำแม้
นครให้เป็นภัสมธุลีไปได้ แต่เพราะนาคราชนั้น
เคารพนบนอบธรรม ฉะนั้น จึงได้บากบั่นมั่นบำเพ็ญ
ตบะ.
[๒๑๘๖] (นางสุมนาทูลว่า) ข้าแต่องค์ราชันย์
นาคราชนี้มีปกติรักษาจาตุททสีอุโบสถ และ
ปัณณรสีอุโบสถ นอนอยู่ใกล้ทางสี่แพร่ง บุรุษหมองู
จับนาคราชนั้นมา ด้วยต้องการหาเลี้ยงชีพ นาคราชนี้
เป็นสามีของหม่อมฉัน ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณา
โปรดปล่อยนาคราชนั้นจากที่คุมขังเถิด.
[๒๑๘๗] (นางสุมนาทูลว่า) สนมนารีถึง
หมื่นหกพันนาง ล้วนสวมใส่กุณฑลแก้วมณี บันดาล
ห้วงวารีทำเป็นห้องไสยาสน์ แม่สนมนารีเหล่านั้น ก็
ยึดถือเอานาคราชนั้นเป็นที่พึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 187
ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคราช
นั้นโดยธรรม ปราศจากกรรมอันสาหัส ด้วยบ้านส่วย
ร้อยบ้าน ทองร้อยแท่ง และโคร้อยตัว ขอนาคราช
ผู้แสวงบุญ จงเหยียดกายได้ตรงเที่ยวไป จงพ้นจาก
ที่คุมขังเถิด.
[๒๑๘๘] (พระราชาตรัสว่า) เราจะปล่อยนาคราช
นี้ไปโดยธรรม ปราศจากกรรมอันสาหัส ด้วยบ้านส่วย
ร้อยบ้าน ทองคำร้อยแท่ง โคร้อยตัว นาคราชผู้
แสวงบุญ จงเหยียดกายตรงเที่ยวไป จงพ้นจากที่คุมขัง.
ดูก่อนลุททกพราหมณ์ เราจักให้ทอง ๑๐๐ แท่ง
กุณฑลแก้วมณีราคามาก บัลลังก์สี่เหลี่ยม สีดังดอก
ผักตบ ภรรยารูปงามสองคน และโคอุสุภะ ๑๐๐ ตัว
แก่ท่าน ขอนาคราชผู้แสวงบุญ จงเหยียดกายตรง
เที่ยวไป จงพ้นจากที่คุมขังเถิด.
[๒๑๘๙] (ลุททกพราหมณ์ กราบทูลว่า) ข้าแต่
พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน แม้จะมิทรงพระราชทาน
สิ่งใดเลย เพียงแต่พระองค์ตรัสสั่งให้ปล่อยเท่านั้น
ข้าพระพุทธเจ้า ก็จะปล่อยนาคราชนั้น จากที่คุมขัง
ทันที ขอนาคราชผู้แสวงบุญ จงเหยียดกายตรงเที่ยว
ไป.
[๒๑๙๐] จัมเปยยนาคราช หลุดพ้นจากที่คุมขัง
แล้ว จึงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระเจ้ากาสิกราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 188
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ข้าแต่พระองค์
ผู้ทรงผดุงกาสิกรัฐให้รุ่งเรือง ข้าพระพุทธเจ้าขอถวาย
บังคมพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าขอประคองอัญชลีแด่
พระองค์ ขอเชิญเสด็จทอดพระเนตรนิเวศน์ ของ
ข้าพระพุทธเจ้าเถิด พระเจ้าข้า.
[๒๑๙๑] (พระราชาตรัสตอบว่า) ดูก่อนนาคราช
แท้จริง คนทั้งหลายเขากล่าวถึงเหตุที่มนุษย์ จะพึง
คุ้นเคยกับอมนุษย์ว่า พึงคุ้นเคยกันได้ยาก ถ้าท่านขอ
ร้องเราถึงเรื่องนั้น เราก็อยากจะไปดูนิเวศน์ของท่าน.
[๒๑๙๒] (พระยานาคราชกราบทูลว่า) ข้าแต่
พระราชา แม้ถึงว่าลมจะพัดภูเขาไปได้ก็ดี พระจันทร์
และพระอาทิตย์ จะพึงเผาผลาญแผ่นดินก็ดี แม่น้ำ
ทุกสายพึงไหลทวนกระแสก็ดี ถึงกระนั้น ข้าพระ-
พุทธเจ้า ก็จะไม่กล่าวคำเท็จเลย.
ข้าแต่พระราชา ท้องฟ้าจะทำลายไป ทะเลจะ
เหือดแห้งไป มหาปฐพีมีนามว่า ภูตธรา และพสุนธรา
จะพึงม้วนได้ เมรุบรรพตอันหนาแน่นด้วยศิลา จะ
พึงถอนไปทั้งราก ถึงกระนั้น ข้าพระพุทธเจ้า ก็จะ
ไม่กล่าวคำเท็จเลย.
[๒๑๙๓] (พระราชาตรัสว่า) ดูก่อนนาคราช
แท้จริง คนทั้งหลาย เขากล่าวถึงเหตุที่มนุษย์จะพึง
คุ้นเคยกับอมนุษย์ว่า พึงคุ้นเคยกันได้ยาก ก็ถ้าเธอ
ขอร้องเราถึงเรื่องนั้น เราก็อยากไปดูนิเวศน์ของเธอ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 189
[๒๑๙๔] (พระราชาตรัสกำชับว่า) เธอเป็นผู้มีพิษ
ร้ายแรงยิ่ง มีเดชมาก ทั้งโกรธง่าย เธอหลุดพ้น
จากที่คุมขังไปได้ ก็เพราะเหตุที่เราช่วยเหลือ เธอ
ควรจะรู้บุญคุณที่เราทำไว้แก่เธอ.
[๒๑๙๕] (นาคราชทูลว่า) ข้าพระพุทธเจ้าถูก
คุมขังอยู่ในกระโปรง เกือบจะถึงความตาย จักไม่รู้จัก
อุปาการคุณที่พระองค์ทรงกระทำแล้วเช่นนั้น ก็ขอให้
ข้าพระพุทธเจ้า จงหมกไหม้อยู่ในนรก อันแสน
ร้ายกาจ อย่าได้รับความสำราญกายสักหน่อยหนึ่งเลย.
[๒๑๙๖] (พระราซาตรัสว่า) คำปฏิญญาของ
เธอนั้น จงเป็นคำสัตย์จริง เธออย่าได้มีความโกรธ
อย่าผูกโกรธไว้ อนึ่ง ขอสุบรรณทั้งหลายจงละเว้น
นาคสกุลของท่านทั้งมวล เหมือนไฟในฤดูร้อนฉะนั้น.
[๒๑๙๗] (นาคราชทูลว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เป็น
จอมประชาชน พระองค์ทรงเอ็นดูนาคสกุล เหมือน
มารดาผู้เอ็นดูบุตรคนเดียว ผู้เป็นสุดที่รักฉะนั้น ข้า-
พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งเหล่านาค จะขอกระทำ
เวยยาวฏิกกรรม อย่างโอฬารแด่พระองค์.
[๒๑๙๘] (พระราชาตรัสสั่งว่า) เจ้าพนักงานรถ
จงตระเตรียมราชรถอันงามวิจิตร จงเทียมอัสดรอัน
เกิดในกัมโพชกรัฐ ซึ่งฝึกหัดอย่างดีแล้ว และเจ้า
พนักงานช้าง จงผูกช้างตัวประเสริฐทั้งหลาย ให้งาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 190
ไปด้วยสุวรรณหัตถาภรณ์ เราจะไปดูนิเวศน์แห่งท้าว
นาคราช.
[๒๑๙๙] พนักงานเภรี ตะโพน บัณเฑาะว์ และ
แตรสังข์ ของพระเจ้าอุคคเสนราช มาพร้อมหน้ากัน
พระราชาทรงแวดล้อมด้วยสนมนารี เสด็จไปใน
ท่ามกลาง หมู่สนมนารี งามสง่ายิ่งนัก.
[๒๒๐๐] พระเจ้ากรุงกาสีวัฒนราช ได้ทอด
พระเนตรเห็นภูมิภาคอันงดงาม วิจิตร ลาดด้วยทราย
ทอง ทั้งสุวรรณปราสาทก็ปูลาดไปด้วยแผ่นกระดาน
แก้วไพฑูรย์.
พระองค์เสด็จเข้าไปสู่นิเวศน์ของจัมเปยย-
นาคราช มีรัศมีโอภาสดังแสงอาทิตย์แรกอุทัย รุ่งเรือง
ไปด้วยรัศมี ประหนึ่งสายฟ้าในกลุ่มเมฆ.
พระเจ้ากาสิกราช ทรงทอดพระเนตรจนทั่ว
นิเวศน์ของจัมเปยยนาคราช อันดาดาษไปด้วยพฤกษ-
ชาตินานา หอมฟุ้งขจรไปด้วยทิพยสุคนธ์อบอวล
ล้วนวิเศษ.
เมื่อพระเจ้ากาสิกราช เสด็จเข้าไปในนิเวศน์
ของท้าวจัมเปยยนาคราช เหล่าทิพยดนตรี ก็ประโคม
ขับบรรเลง ทั้งนางนาคกัญญาทั้งหลาย ก็ฟ้อนรำ
ขับร้อง.
พระเจ้ากาสิกราชเสด็จขึ้นนิเวศน์ ซึ่งมีหมู่นาง
นาคกัญญาตามเสด็จ ทรงพอพระทัยประทับนั่ง ณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 191
พระสุวรรณแท่นทอง อันมีพนักงานไล้ทา ด้วย
แก่นจันทน์ทิพย์.
[๒๒๐๑] พระเจ้ากาสิกราชนั้น ครั้นเสวยสมบัติ
และทรงรื่นรมย์ประทับอยู่ ในนาคพิภพนั้นแล้ว ได้
ตรัสถามจัมเปยยนาคราชว่า วิมานอันประเสริฐของ
ท่านเหล่านี้ มีรัศมีดังพระอาทิตย์ งามผุดผาด วิมาน
เช่นนี้ไม่มีในมนุษยโลก ดูก่อนพระยานาคราช ท่าน
บำเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.
นางนาคกัญญาเหล่านั้น สวมใส่กำไลทอง
นุ่งห่มเรียบร้อย มีนิ้วมือกลมกลึง ฝ่ามือฝ่าเท้าแดง
งามยิ่งนัก ผิวพรรณงดงามไม่ทรามเลย พากันยก
ทิพยปานะ ถวายให้พระองค์ทรงเสวย สนมนารีเช่นนี้
จะมีอยู่ในมนุษยโลก ก็หามิได้ ดูก่อนพระยานาคราช
ท่านบำเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.
อนึ่ง มหานทีอันชุ่มชื่น ดาษดื่นไปด้วยปลามี
เกล็ดหนานานาชนิด มีอาทาสสกุณปักษีร่ำร้องไพเราะ
จับใจ ทั้งท่าขึ้นลงนทีธาร ก็ราบรื่นเป็นอันดี แม่น้ำ
เช่นนี้จะได้มีอยู่ในมนุษยโลกก็หาไม่ ดูก่อนพระยา-
นาคราช ท่านบำเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.
ฝูงนกกระเรียน ฝูงนกยูง ฝูงหงส์ และฝูงนก
ดุเหว่าทิพย์ ร่ำร้องเสียงไพเราะจับใจ ต่างก็โผผินบิน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 192
จับอยู่บนต้นไม้ ทิพยสกุณาเช่นนี้ จะได้มีในมนุยษโลก
ก็หาไม่ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบำเพ็ญตบธรรม
เพื่อประโยชน์อะไร.
ต้นมะม่วง ต้นสาละ ทั้งช้างน้าว อ้อยช้าง
และต้นชมพู่ ต้นคูนและแคฝอย ผลิตดอกออกผล
เป็นพวง ๆ ทิพยรุกขชาติเหล่านี้ จะได้มีอยู่ในมนุษย-
โลกก็หาไม่ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบำเพ็ญตบะ
เพื่อประโยชน์อะไร.
อนึ่ง ทิพยสุคนธ์รอบสระโบกขรณีเหล่านี้
หอมฟุ้งอยู่เป็นนิตย์ ทิพยสุคนธ์เช่นนี้ จะมีอยู่ใน
มนุษยโลกก็หามิได้ ดูก่อนพระยานาคราช ท่าน
บำเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.
[๒๒๐๒] (จัมเปยยนาคราช ทูลว่า) ข้าแต่
พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน ข้าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญ
ตบธรรม เพราะเหตุแห่งบุตร ทรัพย์ หรือแม้เพราะ
เหตุแห่งอายุก็หาไม่ แต่เพราะข้าพระพุทธเจ้าปรารถนา
กำเนิดมนุษย์ ฉะนั้น จึงได้บากบั่นมุ่งมั่นบำเพ็ญ
สมณธรรม.
[๒๒๐๓] (พระราชาตรัสว่า) ท่านมีดวงเนตร
แดง มีรัศมีส่องแสงสว่าง ประดับตกแต่งแล้ว ปลง-
เกศาและมัสสุแล้ว ประพรมด้วยจรุณจันทน์แดง
ฉายแสงไปทั่วทิศ ดังคนธรรพราชฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 193
ท่านเป็นผู้ประกอบไปด้วยเทวฤทธิ์ มีอานุภาพ
มาก เพรียบพร้อมไปด้วยสรรพกามารมณ์ ดูก่อนท่าน
นาคราช เราขอถามเนื้อความนี้กะท่าน มนุษยโลก
ประเสริฐกว่านาคพิภพด้วยเหตุไร.
[๒๒๐๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน
เว้นมนุษยโลกเสียแล้ว ความบริสุทธิ์หรือความสำรวม
ย่อมไม่มีเลย ข้าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญตบธรรมด้วยตั้งใจ
ว่า เราได้กำเนิดมนุษย์แล้ว จักทำที่สุดแห่งชาติและ
มรณะได้.
[๒๒๐๕] (พระราชาตรัสว่า) ชนเหล่าใดมี
ปัญญาเป็นพหูสูต ตรึกตรองเหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก
ชนเหล่านั้นควรคบหาแท้ทีเดียว ดูก่อนพระยานาคราช
เราได้เห็นนางนาคกัญญาทั้งหลายของท่านและตัวท่าน
แล้ว จักทำบุญให้มาก.
[๒๒๐๖] (นาคราชกราบทูลว่า) ชนเหล่าใด
มีปัญญา เป็นพหูสูต ตรึกตรองเหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก
ชนเหล่านั้นควรคบหาแท้ทีเดียว ข้าแต่พระมหาราชา
พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นนางนาคกัญญา และตัว
ข้าพระพุทธเจ้าแล้ว ขอจงบำเพ็ญกุศลให้มากเถิด.
[๒๒๐๗] กองเงินและกองทองของข้าพระพุทธ
เจ้านี้มากมาย สูงประมาณเท่าต้นตาล พระองค์จง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 194
ตรัสสั่งให้พวกราชบุรุษ ขนไปจากนาคพิภพนี้ แล้ว
จงตรัสสั่งให้สร้างพระราชวังด้วยทองคำ ให้สร้างกำ
แพงด้วยเงินเถิด.
นี้กองแก้วมุกดา อันเจือปนด้วยแก้วไพฑูรย์
ห้าพันเล่มเกวียน พระองค์จงตรัสสั่งให้ราชบุรุษขนไป
จากนาคพิภพนี้ แล้วให้ลาดลง ณ ภูมิภาคภายใน
พระราชฐาน ภูมิภาคภายในพระราชฐานก็จักสะอาด
ปราศจากเปลือกตมและละอองธุลี.
ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นราชาอันประเสริฐ ผู้ทรง
พระปรีชาอันล้ำเลิศ ขอพระองค์โปรดเสวยราชสมบัติ
ครอบครองพระนครพาราณสี อันมั่งคั่งสมบูรณ์ สง่า
ล้ำเลิศ ดุจทิพยวิมานเห็นปานฉะนี้เถิด พระเจ้าข้า.
จบจัมเปยยชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 195
อรรถกถาจัมเปยยชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
อุโบสถกรรม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กา นุ วิชฺชุริวาภาสิ
ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในกาลนั้น พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก
อุบาสิกาทั้งหลาย การที่ท่านทั้งหลายอยู่รักษาอุโบสถกรรมเป็นความดี โบรา-
ณกบัณฑิตทั้งหลาย ละนาคสมบัติแล้ว อยู่รักษาอุโบสถกรรมเหมือนกัน
อุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้น ทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า พระเจ้าอังคติราช เสวยราช-
สมบัติอยู่ในอังครัฐ ราชธานี. ในระหว่างแคว้นอังคะและมคธะต่อกัน มี
แม่น้ำชื่อจัมปานที ได้มีนาคพิภพอยู่ใต้แม่น้ำจัมปานทีนั้น. พระยานาคราชชื่อ
ว่าจัมเปยยะ ครองราชสมบัติในนาคพิภพนั้น. (โดยปกติ พระราชาแห่งแคว้น
ทั้งสอง เป็นศัตรูกระทำยุทธชิงชัยแก่กันและกันเนือง ๆ ผลัดกันแพ้ ผลัดกัน
ชนะ) บางครั้งพระเจ้ามคธราช ยึดแคว้นอังคะได้ บางครั้งพระเจ้าอังคราช
ยึดแคว้นมคธได้.
อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้ามคธราช กระทำยุทธนาการกับพระเจ้าอังคราช
ทรงปราชัยต่อยุทธสงคราม เสด็จขึ้นม้าพระที่นั่งหลบหนีไป ถึงฝั่งจัมปานที
พวกทหารพระเจ้าอังคราช ติดตามไปทันเข้า จึงทรงพระดำริว่า เราโดดน้ำ
ตายเสียดีกว่าตายในเงื้อมมือของข้าศึกดังนี้แล้ว จึงโจนลงสู่แม่น้ำ พร้อมทั้งม้า
พระที่นั่ง. ครั้งนั้น จัมเปยยนาคราช เนรมิตมณฑปแก้วไว้ภายในห้วงน้ำ
แวดล้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก ดื่มมหาปานะอยู่. ม้าพระที่นั่งกับพระเจ้า-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 196
มคธราช จมน้ำดิ่งลงไป เฉพาะพระพักตร์แห่งพระยานาคราช. พระยานาคราช
เห็นพระราชาทรงเครื่องประดับตกแต่งก็บังเกิดความสิเนหา จึงลุกจากอาสนะ
ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์อย่าทรงหวาดกลัวเลย แล้วอัญเชิญให้พระราชา
ประทับนั่งบนบัลลังก์ของตน ทูลถามถึงเหตุที่ดำน้ำลงมา. พระเจ้ามคธราช
ตรัสเล่าความตามเป็นจริง.
ลำดับนั้น จัมเปยยนาคราชปลอบโยนพระเจ้ามคธราชให้เบาพระทัย
ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์อย่าทรงหวาดกลัวเลย ข้าพระพุทธเจ้าจัก
ช่วยจัดการให้พระองค์เป็นเจ้าของทั้งสองรัฐ ดังนี้แล้ว เสวยยศอันยิ่งใหญ่อยู่
๗ วัน ในวันที่ ๘ จึงออกจากนาคพิภพ พร้อมด้วยพระเจ้ามคธราช. พระเจ้า
มคธราชทรงจับพระเจ้าอังคราชได้ด้วยอานุภาพของพระยานาคราช แล้วตรัส
สั่งให้สำเร็จโทษเสีย เสวยราชสมบัติในสองรัฐสีมามณฑล. นับแต่นั้นมา
ความวิสาสะคุ้นเคยระหว่างพระเจ้ามคธราช กับพระยานาคราชก็ได้กระชับมั่น
คงยิ่งขึ้น. พระเจ้ามคธราชให้สร้างรัตนมณฑปขึ้นที่ฝั่งจัมปานที แล้วเสด็จออก
กระทำพลีกรรมแก่พระยานาคราชด้วยมหาบริจาคทุก ๆ ปี. แม้พระยานาคราช
ก็ออกจากนาคพิภพมารับพลีกรรมพร้อมด้วยมหาบริวาร. มหาชนพากันมาเฝ้า
ดูสมบัติของพระยานาคราช.
กาลครั้งนั้น พระบรมโพธิสัตว์เกิดในตระกูลเข็ญใจ ไปที่ฝั่งน้ำ
พร้อมด้วยราชบริษัท เห็นสมบัติของพระยานาคราชนั้นแล้ว ก็เกิดโลภเจตนา
ปรารถนาจะได้สมบัตินั้น จึงทำบุญให้ทานรักษาศีล พอจัมเปยยนาคราช
ทำกาลกิริยาไปได้ ๗ วัน ก็จุติไปบังเกิดเหนือสิริไสยาสน์ ณ ห้องอันมีสิริใน
ปราสาทที่อยู่ของจัมเปยยนาคราชนั้น สรีระร่างกายของพระบรมโพธิสัตว์ได้
ปรากฏใหญ่โต มีวรรณะขาวราวกะพวงดอกมะลิสด. พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้น
ก็เกิดวิปฏิสาร คิดไปว่า อิสริยยศในฉกามาวจรสวรรค์ เป็นเสมือนข้าวเปลือก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 197
ที่เขาโกยกองเก็บไว้ในฉาง ได้มีแก่เรา ด้วยผลแห่งกุศลที่เราทำไว้ เราสิกลับมา
ถือปฏิสนธิในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนี้ ประโยชน์อะไรที่เราจะมีชีวิตอยู่ดังนี้แล้ว
เกิดความคิดที่จะตาย. ลำดับนั้น นางนาคมาณวิกา ชื่อว่า สุมนา เห็นพระ-
มหาสัตว์นั้นแล้วดำริว่า ชะรอยจักเป็นสัตว์ผู้มีอานุภาพมากมาเกิดแน่ดังนี้แล้ว
จึงให้สัญญาแก่นางนาคมาณวิกาทั้งหลาย. นางนาคมาณวิกาเหล่านั้นทั้งหมด
ต่างถือนานาดุริยสังคีต มากระทำการบำเรอขับกล่อมพระมหาสัตว์ นาคพิภพ
ที่สถิตของพระมหาสัตว์นั้น ได้ปรากฏเสมือนพิภพแห่งท้าวสักกเทวราช. มรณ-
จิต (คือจิตที่คิดอยากตาย) ของพระมหาสัตว์ก็ดับหายไป. พระมหาสัตว์เจ้า
ละเสียซึ่งสรีระของงู ทรงประดับเครื่องสรรพาลังการ ประทับเหนือพระแท่น
บรรทม. นับจำเดิมแต่นั้นมา พระอิสริยยศก็ปรากฏแก่พระมหาสัตว์เจ้ามากมาย.
เมื่อพระมหาสัตว์เจ้าเสวยนาคราชสมบัติอยู่ในนาคพิภพนั้น ในเวลาต่อมา
ก็เกิดวิปฏิสาร คิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยกำเนิดดิรัจฉานนี้แก่เรา เราจักอยู่
รักษาอุโบสถกรรม พ้นจากอัตภาพนี้ไปสู่ดินแดนมนุษย์ จักได้แทงตลอด
สัจจธรรม กระทำที่สุดแห่งทุกข์ดังนี้ นับจำเดิมแต่นั้น ก็ทรงรักษาอุโบสถกรรม
อยู่ในปราสาทนั้นทีเดียว. พวกนางมาณวิกา ตกแต่งกายงดงาม พากันไปยัง
สำนักของพระมหาสัตว์นั้น. ศีลของพระมหาสัตว์ ก็วิบัติทำลายอยู่เนือง ๆ.
จำเดิมแต่นั้น พระมหาสัตว์เจ้าจึงออกจากปราสาท ไปสู่พระอุทยาน. นางนาค-
มาณวิถาเหล่านั้น ก็ติดตามไปแม้ในพระอุทยาน อุโบสถศีลของพระมหาสัตว์
ก็แตกทำลายอยู่ร่ำไป. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าทรงจินตนาการว่า ควรที่
เราจะออกจากนาคพิภพนี้ ไปยังมนุษยโลกอยู่รักษาอุโบสถ. นับแต่นั้นมา
เมื่อถึงวันอุโบสถ พระองค์ก็ออกจากนาคพิภพไปยังมนุษยโลก (ทรงประกาศ)
สละร่างกาย ในทานมุขว่าใครจะมีความต้องการอวัยวะของเรามีหนังเป็นต้น
จงถือเอาเถิด ใครต้องการจะทำให้เราเล่นกีฬางู ก็จงกระทำเถิด แล้วคู้ขด-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 198
ขนดกายนอนรักษาอุโบสถอยู่ที่ยอดจอมปลวกใกล้มรรคา แถบปัจจันตชนบท
แห่งหนึ่ง. ชนทั้งหลายเดินผ่านไปมา ในหนทางใหญ่เห็นพระโพธิสัตว์เจ้าแล้ว
พากันบูชาด้วยเครื่องสักการะมีของหอมเป็นต้นแล้วหลีกไป. ชาวปัจจันตชนบท
ไปพบแล้วคิดว่า คงจักเป็นนาคราชผู้มีมหิทธานุภาพ จึงจัดทำมณฑปขึ้น
เบื้องบน ช่วยกันเกลี่ยทรายรอบบริเวณ แล้วบูชาด้วยสักการะมีของหอมเป็นต้น
จำเดิมแต่นั้นมา มนุษย์ทั้งหลายก็เลื่อมใสในพระมหาสัตว์เจ้า ทำการบูชา
ปรารถนาบุตรบ้าง ปรารถนาธิดาบ้าง.
แม้พระมหาสัตว์เจ้า ทรงรักษาอุโบสถกรรม ถึงวันจาตุททสี และ
ปัณณรสี ดิถี ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ก็มานอนอยู่เหนือจอมปลวก ต่อในวันปาฏิบท
แรมค่ำหนึ่ง จึงกลับไปสู่นาคพิภพ. เมื่อพระมหาสัตว์เจ้ารักษาอุโบสถอยู่อย่างนี้
เวลาล่วงไปเนิ่นนาน. อยู่มาวันหนึ่ง นางสุมนาอัครมเหสี ทูลถามพระมหา-
สัตว์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระองค์เสด็จไปยังมนุษยโลก
เข้าอยู่รักษาอุโบสถศีลนั้น ความจริง มนุษยโลกน่ารังเกียจ มีภัยรอบด้าน หากว่า
ภัยจะพึงบังเกิดแก่พระองค์ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกหม่อมฉันจะพึงรู้ได้ด้วย
นิมิตอย่างไร ขอพระองค์จงตรัสบอกนิมิตอย่างนั้น แก่พวกหม่อมฉันด้วย
เถิด. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงนำนางสุมนาเทวีไปยังขอบสระมงคลโบกขรณี
แล้วตรัสว่า ดูก่อนพระนางผู้เจริญ ถ้าหากใคร ๆ จักประหารทำให้เราลำบาก
ไซร้ น้ำในสระโบกขรณีนี้จักขุ่นมัว ถ้าพญาครุฑจับเอาไป น้ำจักเดือดพลุ่ง
ขึ้นมา ถ้าหมองูจับเอาไป น้ำจักมีสีแดงเหมือนโลหิต พระโพธิสัตว์ตรัสบอก
นิมิต ๓ ประการ แก่นางสุมนาเทวีอย่างนี้แล้ว ทรงอธิษฐานจาตุททสีอุโบสถ
เสด็จออกจากนาคพิภพไปมนุษยโลก นอนเหนือจอมปลวก ยังจอมปลวกให้
งดงามด้วยรัศมีแห่งสรีรกาย แม้สรีรกายของพระมหาสัตว์นั้น ก็ปรากฏขาวสะอาด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 199
ผุดผาดดังพวงเงิน. ท่อนพระเศียรเบื้องบนคล้ายคลุมไว้ด้วยผ้ากัมพลแดง.
อนึ่ง ในชาดกนี้ สรีรกายของพระโพธิสัตว์มีขนาดเท่าศีรษะคันไถ ในภูริ-
ทัตตชาดก มีขนาดเท่าลำขา. ในสังขปาลชาดก มีขนาดเท่าเรือโกลนลำหนึ่ง.
กาลครั้งนั้น มีมาณพชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง ไปเมืองตักกศิลา
เรียนอาลัมภายนมนต์ ในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เดินทางกลับบ้าน
ของตน โดยผ่านมรรคานั้น เห็นพระมหาสัตว์เจ้าแล้วคิดว่า เราจักจับงูนี้
บังคับให้เล่นกีฬา ในคามนิคมราชธานีทั้งหลาย ยังทรัพย์ให้เกิดขึ้นดังนี้แล้ว
จึงหยิบทิพโอสถ ร่ายทิพมนต์ ไปยังสำนักของพระมหาสัตว์เจ้า จำเดิมแต่
พระมหาสัตว์เจ้าสดับทิพมนต์แล้ว เกิดอาการเหมือนซี่เหล็กร้อนยอนเข้าไป
ในพระกรรณทั้งสอง เบื้องพระเศียรปวดร้าวราวกะถูกเหล็กสว่านไช. พระ-
มหาสัตว์เจ้าทรงรำพึงว่า นี่อย่างไรกันหนอ จึงยกพระเศียรขึ้นจากวงภายใน
ขนดแลไป ได้เห็นหมองูแล้วดำริว่า พิษของเรามากมาย ถ้าเราโกรธแล้ว
พ่นลมจมูกออกไป สรีระของหมองูนี้จักย่อยแหลกไปเหมือนกองเถ้า แต่เมื่อ
ทำเช่นนั้น ศีลของเราก็จักด่างพร้อย เราจักไม่แลดูหมองูนั้น ท้าวเธอจึง
หลับพระเนตรทั้งสอง ทอดพระเศียรไว้ภายในขนด พราหมณ์หมองูเคี้ยวโอสถ
แล้วร่ายมนต์พ่นน้ำลาย ลงที่สรีรกายของพระมหาสัตว์. ด้วยอานุภาพแห่ง
โอสถและมนต์ เรือนร่างของพระมหาสัตว์ในที่ซึ่งถูกน้ำลายรดแล้ว ๆ ปรากฏ
เป็นเสมือนพองบวมขึ้น ครั้งนั้นพราหมณ์หมองู จึงฉุดหางพระมหาสัตว์ลาก
ลงมาให้นอนเหยียดยาว บีบตัวด้วยไม้กีบแพะทำให้ทุพพลภาพ จับศีรษะให้มั่น
แล้วบีบเค้น พระมหาสัตว์จึงอ้าปากออก. ทีนั้นพราหมณ์หมองูจึงพ่นน้ำลาย
เข้าไปในปากของพระมหาสัตว์ แล้วจัดการพ่นโอสถและมนต์ ทำลายพระทนต์
จนหลุดถอน ปากของมหาสัตว์เต็มไปด้วยโลหิต. พระมหาสัตว์สู้อดกลั้นทุกข-
เวทนาเห็นปานนี้ เพราะกลัวศีลของตัวจะแตกทำลาย ทรงหลับพระเนตรนิ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 200
มิได้ทำการเหลียวมองดู. แม้พราหมณ์หมองูนั้นยังคิดว่า เราจักทานาคราช
ให้ทุพพลภาพ ดังนี้ จึงขึ้นเหยียบย่ำร่างกายของพระมหาสัตว์ตั้งแต่หางขึ้นไป
คล้ายกับจะทำให้กระดูกแหลกละเอียดไป แล้วม้วนพับอย่างผืนผ้า ขยี้กระดูก
ให้ขยายเช่นอย่างกลายเส้นด้ายให้กระจาย จับหางทบทุบเช่นอย่างทุบผ้า สกล
สรีรกายของพระมหาสัตว์แปดเปื้อนไปด้วยโลหิต พระมหาสัตว์นั้นสู้อดกลั้น
มหาทุกขเวทนาไว้. ครั้นพราหมณ์หมองูรู้ว่า พระมหาสัตว์อ่อนกำลังลงแล้ว
จึงเอาเถาวัลย์มาถักทำเป็นกระโปรง ใส่พระมหาสัตว์ลงไปในกระโปรงนั้นแล้ว
นำไปสู่ปัจจันตคามให้เล่นท่ามกลางมหาชน. พราหมณ์หมองู ปรารถนาจะให้
แสดงท่วงทีอย่างใด ๆ ในประเภทสีมีสีเขียวเป็นต้น และสัณฐานทรวดทรง
กลมหรือสี่เหลี่ยมเป็นต้น หรือขนาดเล็กใหญ่เป็นต้น พระมหาสัตว์เจ้าก็กระทำ
ท่วงทีนั้น ๆ ทุกอย่าง ฟ้อนรำทำพังพานได้ตั้งร้อยอย่าง พันอย่าง. มหาชน
ดูแล้วชอบใจ ให้ทรัพย์แก่พราหมณ์เป็นอันมาก เพียงวันเดียวเท่านั้นได้ทรัพย์
ตั้งพัน และเครื่องบริขารราคานับเป็นพัน แต่ชั้นแรก พราหมณ์หมองูคิด
ไว้ว่า เราได้ทรัพย์สักพันหนึ่งแล้วก็จักปล่อยไป แต่ครั้นได้ทรัพย์จำนวน
เท่านั้นแล้วคิดเสียว่า ในปัจจันตคามแห่งเดียว เรายังได้ทรัพย์ถึงขนาดนี้ ใน
สำนักพระราชาและมหาอำมาตย์ คงจักได้ทรัพย์มากมาย จึงซื้อเกวียนเล่มหนึ่ง
กับยานสำหรับนั่งสบายเล่มหนึ่ง บรรทุกของลงในเกวียนแล้วนั่งบนยานน้อย
พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก บังคับพระมหาสัตว์ให้เล่นในบ้านและนิคม
เป็นต้น โดยลำดับไป แล้วคิดว่า เราจักให้นาคราชเล่นถวายในสำนักของ
พระเจ้าอุคคเสนแล้วก็จักปล่อยดังนี้ แล้วก็เดินทางต่อไป พราหมณ์หมองู
ฆ่ากบนำมาให้นาคราชกินเป็นอาหาร. นาคราชรำพึงว่า พราหมณ์หมองูนี้
ฆ่ากบอยู่บ่อย ๆ เพราะอาศัยเราเป็นเหตุ เราจักไม่บริโภคกบนั้น แล้วไม่ยอม
บริโภค. เมื่อพราหมณ์หมอดูรู้ดังนั้น ได้ให้ข้าวตอกเคล้าน้ำผึ้งแก่พระมหา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 201
สัตว์ พระมหาสัตว์คิดว่า ถ้าหากเราจักถือเอาอาหารนี้ไซร้ เราคงจักตาย
ภายในกระโปรงเป็นมั่นคง จึงมิได้บริโภคอาหารแม้เหล่านั้น. พราหมณ์หมองู
ไปถึงพระนครพาราณสีแล้ว ให้พระมหาสัตว์เล่นให้คนดู ที่ใกล้ประตูเมือง
ได้ทรัพย์สินอีกเป็นจำนวนมาก. แม้พระราชา ก็ตรัสสั่งให้พราหมณ์หมองู
เข้าเฝ้า แล้วตรัสว่า เจ้าจงให้งูเล่นให้เราดูบ้าง. เขาทูลสนองพระราชโองการ
ว่าได้พะย่ะค่ะ ข้าพระพุทธเจ้าจักให้เล่นถวายพระองค์ ในวันปัณณรสี พรุ่งนี้.
พระราชาตรัสสั่งให้พนักงานเภรีตีกลองประกาศว่า พรุ่งนี้ นาคราชจักฟ้อนรำ
ที่หน้าชานชาลาหลวง มหาชนจงมาประชุมกันดูเถิด แล้วในวันรุ่งขึ้น ตรัสสั่ง
ให้ประดับตกแต่งชานชาลาหลวง และตรัสสั่งให้พราหมณ์หมองูมาเฝ้า พราหมณ์
หมองู นำพระมหาสัตว์มาด้วยกระโปรงแก้ว ตั้งกระโปรงไว้ที่พื้นลาดอันวิจิตร
นั่งคอยอยู่. ฝ่ายพระราชาเสด็จลงจากปราสาท แวดล้อมด้วยหมู่มหาชน
ประทับนั่งเหนือพระราชอาสน์. พราหมณ์หมองู นำพระมหาสัตว์ออกมาแล้ว
ให้ฟ้อนรำถวาย. มหาชนพากันดีใจ ไม่อาจดำรงตนอยู่ได้ตามปกติ พากัน
ปรบมือ โบกธงโบกผ้า แสดงความรื่นเริงนับด้วยหมื่นแสน. ฝนรัตนะเจ็ด
ประการ ก็ตกลงมาตรงเบื้องบนพระโพธิสัตว์ เมื่อพระมหาสัตว์ถูกจับมานั้น
ครบหนึ่งเดือนเต็มบริบูรณ์ ตลอดเวลาเหล่านี้ พระมหาสัตว์สู้ทน มิได้
บริโภคอาหารเลย.
ฝ่ายนางสุมนาเทวีระลึกถึงว่า สามีที่รักของเราเสด็จไปนานนักหนา
จนป่านนี้ยังไม่เสด็จมาที่นี่เลย ครบหนึ่งเดือนพอดี จักมีเหตุเภทภัยอะไรหนอ
ดังนี้แล้วจึงไปตรวจดูสระโบกขรณี เห็นมีน้ำสีแดงดังโลหิต ก็ทราบว่าชะรอย
สามีของตนจักถูกหมองูจับเอาไป จึงออกจากนาคพิภพไปตรวจดูใกล้จอมปลวก
เห็นร่องรอยที่พระมหาสัตว์ถูกหมองูจับ และทำให้ลำบาก แล้วทรงกันแสง
ร่ำไห้คร่ำครวญ ดำเนินไปยังปัจจันตคามสอบถามดู สดับข่าวความเป็นไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 202
นั้นแล้ว ติดตามไปจนถึงเมืองพาราณสี ยืนกันแสงอยู่ที่กลางอากาศ ในท่าม
กลางบริษัท ณ ประตูพระราชวัง. พระมหาสัตว์กำลังฟ้อนรำถวายพระราชา
อยู่นั่นแหละ เหลือบแลดูอากาศ เห็นนางสุมนาเทวีแล้วละอายพระทัยเลื้อย
เข้าไปนอนขดในกระโปรงเสีย. ในเวลาที่พระมหาสัตว์ เลื้อยเข้าไปสู่กระโปรง
แล้ว พระราชาทรงพระดำริว่า นี่เหตุอะไรกันเล่าหนอ ? จึงทอดพระเนตร
แลดูทางโน้นทางนี้ เห็นนางสุมนาเทวียืนอยู่บนอากาศ จึงตรัสคาถาที่ ๑
ความว่า
ท่านเป็นใคร งามผ่องใสดุจสายฟ้า และอุปมา
เหมือนดาวประจำรุ่ง เราไม่รู้จักท่านว่า เป็นเทวดา
หรือคนธรรพ์ หรือเป็นหญิงมนุษย์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ต มญฺามิ มานุสี ความว่า
เรามิได้เข้าใจว่าท่านเป็นหญิงมนุษย์ ท่านควรจะเป็นนางเทพธิดา หรือหญิง
คนธรรพ์.
บัดนี้ เป็นคาถาโต้ตอบระหว่างราชากับนางสุมนาเทวี (ซึ่งมี
ลำดับดังต่อไปนี้)
(นางสุมนาทูลว่า) ข้าแต่พระมหาราชา หม่อม-
ฉันหาใช่เทพธิดา หรือคนธรรพ์ หรือหญิง-
มนุษย์ไม่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเป็นนาง
นาคกัญญา อาศัยเหตุอย่างหนึ่ง จึงได้มาในพระนครนี้.
(พระราชาตรัสถามว่า) ดูก่อนนางนาคกัญญา
ท่านมีอาการเหมือนคนมีจิตฟั่นเฟือน มีอินทรีย์อัน
เศร้าหมอง ดวงเนตรของท่านไหลนองไปด้วยหยาด-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 203
น้ำตา อะไรของท่านหาย หรือว่าท่านปรารถนาอะไร
จึงได้มาในเมืองนี้ เชิญท่านบอกมาเถิด.
(นางสุมนาทูลตอบว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอม
ประชาชน มหาชนชาวโลกเรียกร้องสัตว์ใดว่า
อุรคชาติ ผู้มีเดชอันสูงในมนุษยโลก เขาเรียกสัตว์นั้นว่า
นาค บุรุษคนนี้จับนาคนั้นมา เพื่อต้องการเลี้ยงชีพ
นาคนั้นแหละเป็นสามีของหม่อมฉัน ขอพระองค์ได้
ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคนั้นเสียจากที่คุมขังเถิด
เพค่ะ.
(พระราชาตรัสถามว่า) ดูก่อนนางนาคกัญญา
นาคราชนี้ประกอบด้วยกำลังอันแรงกล้า ไฉนจึงมา
ถึงเงื้อมมือของชายวณิพกได้เล่า เราจะใคร่รู้ถึงการที่
นาคราชถูกกระทำจนถูกจับมาได้ ขอท่านจงบอก
ความข้อนั้นแก่เราเถิด.
(นางสุมนาทูลตอบว่า) แท้จริง นาคราชนั้น
ประกอบด้วยกำลังอันแรงกล้า พึงทำแม้นครให้เป็น
ภัสมธุลีไปได้ แต่เพราะนาคราชนั้น เคารพนบนอบ
ธรรม ฉะนั้น จึงได้บากบั่นบำเพ็ญตบะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺเถนมฺหิ ความว่า หม่อมฉันอาศัย
เหตุอย่างหนึ่ง จึงได้มาในพระนครนี้. บทว่า กุปิตินฺทฺริยา ได้แก่ เป็นผู้
มีอินทรีย์เศร้าหมอง. บทว่า วาริคณา ได้แก่ หยาดน้ำตา. บทว่า อุรโคติ
จาหุ ความว่า ก็มหาชนเรียกขานสัตว์ใดว่า อุรคชาติ. บทว่า ตมคฺคหี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 204
ปุริโส ความว่า บุรุษผู้นี้จับพระยานาคนั้นมา เพื่อต้องการเลี้ยงชีวิต. บทว่า
วนิพฺพกสฺส ความว่า พระราชาตรัสถามว่า นาคราชนี้เป็นผู้มีอานุภาพมาก
อย่างไรเล่า จึงตกมาอยู่ในเงื้อมมือของบุรุษวณิพกนี้ได้.
บทว่า ธมฺมญฺจ ความว่า นางสุมนาเทวีกราบทูลว่า นาคราชภัสดา
ของหม่อมฉันนี้ ทำความเคารพพระธรรมคือเบญจศีล และพระธรรมคือการ
อยู่รักษาอุโบสถ เพราะฉะนั้น แม้ถูกบุรุษนี้จับมา ถึงแม้พระยานาค
จะคิดว่า หากเราจะพ่นลมหายใจลงเบื้องบนบุรุษนี้ไซร้ เขาก็จักแหลกละเอียด
ไปเหมือนกองเถ้า เมื่อเป็นเช่นนั้น ศีลของเราก็จักแตกทำลาย เพราะกลัว
ศีลจะแตกทำลาย จึงสู้อุตส่าห์บากบั่นอดกลั้นความทุกข์นั้นไว้ ตั้งใจทำตบะ
คือกระทำความเพียรอย่างเดียวเท่านั้น.
พระราชาตรัสถามต่อไปอีกว่า ไฉนนาคราชจึงยอมให้บุรุษนี้จับมา
ได้เล่า ลำดับนั้น นางสุมนาเทวีเมื่อจะกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ จึง
กล่าวคาถาความว่า
ข้าแต่องค์ราชันย์ นาคราชนี้ มีปกติรักษา
จาตุททสีอุโบสถ และปัณณรสีอุโบสถ นอนอยู่ใกล้
ทางสี่แพร่ง บุรุษหมองูจับนาคราชนั้นมาด้วยต้องการ
หาเลี้ยงชีพ นาคราชนี้เป็นสามีของหม่อมฉัน ขอ
พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคราชนั้นจาก
ที่คุมขังเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุปฺปเถ ความว่า นาคราชนี้ตั้งจิต
ปรารถนาอธิษฐานธรรมอันประกอบด้วยองค์ ๔ ณ ที่จอมปลวกแห่งหนึ่ง
ในสถานที่ใกล้ทางสี่แพร่ง. บทว่า ต พนฺธนา ความว่า ขอพระองค์โปรด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 205
พระราชทานทรัพย์แก่หมองูนี้ แล้วปลดปล่อยนาคราชผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีคุณ
ความดีอย่างนี้นั้น จากที่คุมขังคือกระโปรงเสียเถิด พระเจ้าข้า.
ก็แลครั้นนางนาคกัญญาสุมนาเทวีทูลอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทูลอ้อนวอน
พระราชาซ้ำอีก ได้กล่าวคาถาสองคาถา ความว่า
สนมนารีถึงหมื่นหกพันนาง ล้วนสวมใส่กุณฑล
แก้วมณี บันดาลห้วงวารีทำเป็นห้องไสยาสน์ แม้
สนมนารีเหล่านั้น ก็ยึดถือนาคราชนั้นเป็นที่พึ่ง.
ขอพระองค์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อย
นาคราชนั้นโดยธรรม ปราศจากกรรมอันสาหัส ด้วย
บ้านส่วยร้อยบ้าน ทองร้อยแท่ง และโคร้อยตัว ขอ
นาคราชผู้แสวงบุญ จงเหยียดกายได้ตรงเที่ยวไป จง
พ้นจากที่คุมขังเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสฬสิตฺถีสหสฺสานิ ความว่า นาง
สุมนาเทวีแสดงความว่า ขอพระองค์อย่าทรงสำคัญว่า นาคราชนี้จะเป็นผู้
ขัดสนยากจน เพราะสนมนารีทั้งหลายของนาคราชนี้ ล้วนประดับตกแต่งด้วย
สรรพาลังการ ยังมีประมาณเท่านี้ สมบัติที่เหลือยากที่จะนับหาประมาณมิได้.
บทว่า วาริเคเห สยา ความว่า ทรงบันดาลห้วงวารีทำเป็นห้องไสยาสน์
บรรทมอยู่ ณ ห้วงวารีนั้น. บทว่า โอสฏฺกาโย ความว่า จงเป็นผู้มีกาย
เป็นอิสระ. บทว่า จราตุ แปลว่า จงเที่ยวไป.
ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถา ความว่า
เราจะปล่อยนาคราชนี้ไปโดยธรรม ปราศจาก
กรรมอันสาหัส ด้วยบ้านส่วยร้อยบ้าน ทองคำร้อยแท่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 206
โคร้อยตัว นาคราชผู้ต้องการบุญ จงเหยียดกายตรง
เที่ยวไป จงพ้นจากที่คุมขัง.
ดูก่อนลุททกพราหมณ์ เราจะให้ทอง ๑๐๐ แท่ง
กุณฑลแก้วมณีราคามาก บัลลังก์สี่เหลี่ยม สีดังดอก-
ผักตบ ภรรยารูปงามสองคน และโคอุสุภะ ๑๐๐ ตัว
แก่ท่าน ขอนาคราชผู้ต้องการบุญ จงเหยียดกายตรง
เที่ยวไป จงพ้นจากที่คุมขังเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลุทฺท ความว่า เพื่อจะปลดปล่อยพระยา
นาคราช พระราชาจึงตรัสเรียกพราหมณ์หมองูมา เมื่อจะแสดงไทยธรรมที่
จะพึงพระราชทานแก่เขา จึงตรัสอย่างนี้ ส่วนพระคาถาก็มีอรรถาธิบายดังกล่าว
แล้วในหนหลังนั้นแล.
ลำดับนั้น ลุททกพราหมณ์กราบทูลพระราชาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน แม้จะมิทรง
พระราชทานสิ่งไรเลย เพียงแต่ตรัสสั่งให้ปล่อยเท่านั้น
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะปล่อยนาคราชนั้นจากที่คุมขังทันที
ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงเหยียดกายตรงเที่ยวไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตว วจน ความว่า ขอเดชะ ข้าแต่
พระมหาราชเจ้า ถึงแม้พระองค์จะมิได้ทรงพระราชทานสิ่งใดเลย เพียงแต่
พระองค์ตรัสสั่งให้ปล่อยเท่านั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็จักเคารพ รับเหนือเกล้า.
บทว่า มุญฺเจมิ น ความว่า พราหมณ์หมองูกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้า
จักปล่อยพระยานาคนี้ทันที.
ก็แลครั้นลุททกพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ก็นำพระมหาสัตว์ออก
จากกระโปรง. นาคราชออกมาแล้ว เลื้อยเข้าไประหว่างกองดอกไม้ ละอัตภาพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 207
นั้นเสียแล้ว กลายเพศเป็นมาณพน้อย ตบแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับอัน
งดงาม คล้ายกับชำแรกดินออกมายืนอยู่ฉะนั้น. นางสุมนาเทวีลอยลงมาจาก
อากาศ ยืนเคียงข้างพระภัสดาของตน. นาคราชได้ยืนประคองอัญชลี นอบน้อม
พระราชาอยู่.
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา
๒ คาถา ความว่า
จัมเปยยนาคราช หลุดพ้นจากที่คุมขังแล้ว จึง
กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระเจ้ากาสิกราช ข้า-
พระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ข้าแต่พระองค์
ผู้ทรงผดุงกาสิกรัฐให้รุ่งเรือง ข้าพระพุทธเจ้าขอถวาย
บังคมพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าขอประคองอัญชลี แด่
พระองค์ ขอเชิญเสด็จทอดพระเนตรนิเวศน์ ของ
ข้าพระพุทธเจ้าเถิด พระเจ้าข้า.
(พระราชาตรัสตอบว่า) ดูก่อนนาคราช แท้จริง
คนทั้งหลายเขากล่าวถึงเหตุที่มนุษย์จะพึงคุ้นเคยกับ
อมนุษย์ว่า พึงคุ้นเคยกันได้ยาก ถ้าท่านขอร้องเราถึง
เรื่องนั้น เราก็อยากจะไปดูนิเวศน์ของท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺเสยฺย เม นิเวสน ความว่า
จัมเปยยนาคราชทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมนรชน จัมเปยยนาคพิภพ
อันเป็นนิเวศน์ของข้าพระพุทธเจ้าเป็นรมณียสถาน ควรที่จะดูจะเห็น ข้าพระ-
พุทธเจ้าประสงค์จะแสดงพิภพนั้น เพื่อทรงทอดพระเนตร ขอเชิญพระองค์
พร้อมทั้งพลพาหนะ เสด็จไปทอดพระเนตรเถิด. บทว่า ทุพฺพิสฺสาส ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 208
เป็นของคุ้นเคยได้โดยยาก. บทว่า สเจ จ ความว่า พระราชาตรัสตอบว่า
ถ้าหากเธอจะอ้อนวอนเธอเชิญเรา เราก็อยากจะเห็นนิเวศน์ของเธอ ก็แต่เรา
ยังไม่วางใจเชื่อเธอได้
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะทำสัตย์สาบาน เพื่อให้พระราชาทรง
เชื่อถือ ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า
ข้าแต่พระราชา แม้ถึงว่า ลมจะพึงพัดภูเขา
ไปได้ก็ดี พระจันทร์และพระอาทิตย์ จะพึงเผาผลาญ
แผ่นดินก็ดี แม่น้ำทุกสายพึงไหลทวนกระแสก็ดี ถึง
กระนั้น ข้าพระพุทธเจ้า ก็จะไม่กล่าวคำเท็จเลย.
ข้าแต่พระราชา ท้องฟ้าจะทำลายไป ทะเลจะ
เหือดแห้งไป มหาปฐพีมีนามว่า ภูตธราและพสุนธรา
จะพึงม้วนได้ เมรุบรรพตอันหนาแน่นด้วยศิลา จะ
พึงถอนไปทั้งราก ถึงกระนั้น ข้าพระพุทธเจ้า ก็จะ
ไม่กล่าวคำเท็จเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สวตฺเตยฺย ภูตธรา พสุนฺธรา ความว่า
มหาปฐพีอันถึงการนับว่า ภูตธรา ก็ดี วสุนธรา ก็ดีนี้ จะพึงม้วนได้ดังเสื่อ
ลำแพน. บทว่า สมูลมุพฺพเห ความว่า มหาสิเนรุบรรพตจะพึงถอนรากปลิว
ไปในอากาศได้ ดังใบไม้แห้งอย่างนี้.
เมื่อพระมหาสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาก็มิได้ทรงเชื่อ จึงตรัส
พระคาถานั้นแหละซ้ำอีกว่า
ดูก่อนนาคราช แท้จริง คนทั้งหลายเขากล่าวถึง
เหตุที่มนุษย์จะพึงคุ้นเคยกับอมนุษย์ว่า พึงคุ้นเคยกัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 209
ได้ยาก ก็ถ้าเธอขอร้องเราถึงเรื่องนั้น เราก็อยากไปดู
นิเวศน์ของเธอ ดังนี้.
เมื่อจะประกาศกำชับว่า เธอควรจะรู้จักคุณที่เราทำแล้วแก่เธอ ส่วน
ตัวเราเอง ย่อมรู้สิ่งที่ควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อได้ดังนี้ จึงตรัสพระคาถานอกนี้
ความว่า
เธอเป็นผู้มีพิษร้ายแรงยิ่ง มีเดชมาก ทั้งโกรธง่าย
เธอหลุดพ้นจากที่คุมขังไปได้ ก็เพราะเหตุที่เราช่วย
เหลือ เธอควรจะรู้บุญคุณที่เราทำไว้แก่เธอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฬารา แปลว่า ร้ายแรงอย่างยิ่ง. บทว่า
ชานิตเว แปลว่า ควรจะรู้.
พระมหาสัตว์ เมื่อจะทำสัตย์สาบาน เพื่อให้พระราชาทรงเชื่อต่อไป
จึงกล่าวคาถา ความว่า
ข้าพระพุทธเจ้าถูกคุมขังอยู่ในกระโปรงเกือบจะ
ถึงความตาย จักไม่รู้จักอุปการคุณที่พระองค์ทรงกระ-
ทำแล้วเช่นนั้น ก็ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าจงหมกไหม้อยู่
ในนรก อันแสนร้ายกาจ อย่าได้รับความสำราญกาย
สักหน่อยหนึ่งเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจต แปลว่า จงหมกไหม้. บทว่า
กมฺมกต ความว่า นาคราชกราบทูลว่า หากข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้จักอุปการคุณ
ที่บุคคลทำแล้ว เช่นพระองค์อย่างนี้ ขอข้าพระพุทธเจ้า จงมีอันเป็นเห็น
ปานนี้เถิด.
ลำดับนั้น พระราชาทรงเชื่อถ้อยคำของพระมหาสัตว์ เมื่อจะทรงชมเชย
จึงตรัสพระคาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 210
คำปฏิญาณของเธอนั้น จงเป็นคำสัตย์จริง เธอ
อย่าได้มีความโกรธ อย่าผูกโกรธไว้ อนึ่ง ขอสุบรรณ
ทั้งหลายจงละเว้นนาคสกุลของท่านทั้งมวล เหมือน
ผู้เว้นไฟในฤดูร้อนฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตวเมส โหตุ ความว่า สัจจปฏิญาณ
ของเธอนั้น จงเป็นวาจาสัตย์เที่ยงตรงเถิด. บทว่า คิมฺหาสุ วิวชฺชยนฺตุ
ความว่า มนุษย์ทั้งหลายเมื่อไม่ปรารถนาความร้อนในฤดูคิมหันต์ ย่อมเว้น
ห่างกองไฟอันลุกโพลงอยู่ฉันใด ขอสุบรรณทั้งหลาย จงเว้นว่างหลีกห่างไป
เสียให้ไกลฉันนั้น.
แม้พระมหาสัตว์เจ้า เมื่อจะชมเชยพระราชา จึงกล่าวคาถานอกนี้
ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน พระองค์
ทรงเอ็นดูนาคสกุล เหมือนมารดาผู้เอ็นดูบุตรคนเดียว
ผู้เป็นสุดที่รักฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้ากับ นาคสกุลจะขอ
กระทำเวยยาวฏิกกรรม อย่างโอฬารแด่พระองค์.
พระราชาทรงสดับคำของนาคราชแล้ว มีพระประสงค์จะเสด็จไป
นาคพิภพ เมื่อจะตรัสสั่งให้ทำการตระเตรียมพลเสนาที่จะเสด็จไป จึง
ตรัสพระคาถา ความว่า
เจ้าพนักงานรถ จงตระเตรียมราชรถอันงามวิจิตร
จงเทียมอัสดรอันเกิดในกัมโพชกรัฐ ซึ่งฝึกหัดอย่างดี
แล้ว และเจ้าพนักงานช้างจงผูกช้างตัวประเสริฐทั้ง-
หลาย ให้งามไปด้วยสุวรรณหัตถากรณ์ เราจะไปดู
นิเวศน์แห่งท้าวนาคราช.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 211
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺโพชเก อสฺสตเร สุทนฺเต
ความว่า จงเทียมอัศวพาชี อันเกิดในกัมโพชกรัฐ ที่ได้รับการฝึกหัดอย่างดี.
คาถานอกนี้ต่อไป เป็นพระคาถาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในกาล
เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ความว่า
พนักงานเภรี ตะโพน บัณเฑาะว์ และแตรสังข์
ของพระเจ้าอุคคเสนราช มาพร้อมหน้ากัน พระราชา
ทรงแวดล้อมด้วยสนมนารี เสด็จไปในท่ามกลางหมู่
สนมนารีงามสง่ายิ่งนัก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุ โสภมาโน ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พระเจ้าพาราณสี แวดล้อมด้วยเหล่าสนมนารีหมื่นหกพันนาง เป็น
บริวาร เสด็จไปสู่นาคพิภพ แต่พระนครพาราณสีท่ามกลางหมู่สนมนารีนั้น
เสด็จดำเนินไปงดงามยิ่งนัก.
ในกาลเมื่อพระเจ้าพาราณสี เสด็จออกจากพระนครไป พระมหา-
สัตว์เจ้า ทรงบันดาลนาคพิภพให้ปรากฏมีกำแพงแก้ว ๗ ประการ และประตู
ป้อมคู หอรบ แล้วนิรมิตบรรดาที่จะเสด็จไปยังนาคพิภพ ให้ประดับตกแต่ง
ด้วยเครื่องประดับงดงาม ด้วยอานุภาพของตน. พระราชาพร้อมด้วยราชบริพาร
เสด็จเข้าไปยังนาคพิภพโดยมรรคานั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นภูมิภาคและ
ปราสาทราชวัง น่ารื่นเริง บันเทิงพระทัย.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเจ้ากรุงกาสีวัฒนราช ได้ทอดพระเนตรเห็น
ภูมิภาคอันงาม วิจิตรลาดแล้วด้วยทรายทอง ทั้งสุวรรณ
ปราสาทก็ปูลาดไปด้วยแผ่นกระดานแก้วไพฑูรย์ พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 212
องค์เสด็จเข้าไปสู่นิเวศน์ ของจัมเปยยนาคราชมีรัศมี
โอภาสดังแสงอาทิตย์แรกอุทัย รุ่งเรืองไปด้วยรัศมี
ประหนึ่งสายฟ้าในกลุ่มเมฆ.
พระเจ้ากาสิกราช ทรงทอดพระเนตรจนทั่ว
นิเวศน์ ของจัมเปยยนาคราช อันดารดาษไปด้วย
พฤกษชาตินานาชนิด หอมฟุ้งขจรไป ด้วยทิพยสุคนธ์
อบอวลล้วนวิเศษ.
เมื่อพระเจ้ากาสิกราช เสด็จเข้าไปในนิเวศน์ของ
ท้าวจัมเปยยนาคราช เหล่าทิพยดนตรี ก็ประโคมขับ
บรรเลง ทั้งนางนาคกัญญาทั้งหลายก็ฟ้อนรำ ขับร้อง.
พระเจ้ากาสิกราช เสด็จขึ้นนิเวศน์ ซึ่งมีหมู่
นางนาคกัญญาตามเสด็จ ทรงพอพระทัย ประทับนั่ง
ณ พระสุวรรณแท่นทอง อันมีพนักไล้ทาด้วยแก่น-
จันทน์ทิพย์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวณฺณจิตฺตก ความว่า ลาดแล้วด้วย
ทรายทอง. บทว่า พฺยมฺห ความว่า สู่นาคพิภพอันประดับตกแต่งแล้ว.
บทว่า จมฺเปยฺยสฺส ความว่า เสด็จไปยังนาคพิภพอันประดับแล้ว ทรง
พระราชดำเนินเข้าสู่นิเวศน์ ของจัมเปยยนาคราช. บทว่า กสวิชฺชูปภสฺสร
ความว่า รุ่งเรืองไปด้วยรัศมีประหนึ่งสายฟ้าในกลุ่มเมฆ. บทว่า นานาคนฺธ-
สมีริต ความว่า หอมฟุ้งขจรไปด้วยทิพยสุคนธ์มีอย่างต่าง ๆ. บทว่า จริต
คเณน ความว่า สู่นิเวศน์นั้นอันนางนาคกัญญา ตามเสด็จไปพร้อมหน้า.
บทว่า จนฺทนสารลิตฺเต ความว่า ไล้ทาแล้วด้วยแก่นจันทน์อันเป็นทิพย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 213
เมื่อพระเจ้ากาสิกราช ประทับนั่งบนบัลลังก์แล้ว พนักงานชาว
เครื่องวิเศษ ก็เชิญเครื่องทิพย์อันสมบูรณ์ด้วยรสโอชานานาประการ น้อมเข้า
ไปถวาย และเชิญไปเลี้ยงดู เหล่าสนมนารีหมื่นหกพันนาง พร้อมทั้งราชบริษัท
ที่เหลือ. พระเจ้าพาราณสี พร้อมด้วยราชบริษัท ทรงเสวยข้าวน้ำอันเป็น
ทิพย์เป็นต้น เพลิดเพลินเจริญใจด้วยทิพยกามคุณ และประทับ ณ สุขไสยาสน์
ประมาณได้เจ็ดวัน ทรงสรรเสริญอิสริยยศของพระมหาสัตว์ แล้วตรัสถามว่า
ดูก่อนท่านนาคราช ก็เพราะเหตุไรหรือ ท่านจึงละสมบัติเห็นปานนี้ ไปนอน
อยู่รักษาอุโบสถศีล ณ จอมปลวกในมนุษยโลก ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้าก็ทูลเล่า
ถวายให้ทรงทราบ.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเจ้ากาสิกราชนั้น ครั้นเสวยสมบัติ และ
ทรงรื่นรมย์ประทับอยู่ ในนาคพิภพนั้นแล้ว ได้ตรัส
ถามจัมเปยยนาคราชว่า วิมานอันประเสริฐของท่าน
เหล่านี้ มีรัศมีดังพระอาทิตย์ งามผุดผาด วิมานเช่นนี้
ไม่มีในมนุษยโลก ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบำเพ็ญ
ตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.
นางนาคกัญญาเหล่านั้น สวมใส่กำไลทองนุ่งห่ม
เรียบร้อย มีนิ้วมือกลมกลึง ฝ่ามือฝ่าเท้าแดงงามยิ่งนัก
ผิวพรรณงดงามไม่ทรามเลย พากันยกทิพยปานะถวาย
ให้พระองค์ทรงเสวย สนมนารีเช่นนี้จะมีอยู่ในมนุษย-
โลกก็หามิได้ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบำเพ็ญตบ-
ธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 214
อนึ่ง มหานทีอันชุ่มชื่น ดาษดื่นไปด้วยปลามี
เกล็ดหนานานาชนิด มีอาทาสสกุณปักษีร่ำร้องไพเราะ
จับใจ ทั้งท่าขึ้นลงนทีธารก็ราบรื่นเป็นอันดี แม่น้ำ
เช่นนั้นจะได้มีอยู่ในมนุษยโลกก็หาไม่ ดูก่อนพระยา-
นาคราช ท่านบำเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.
ฝูงนกกระเรียน ฝูงนกยูง ฝูงหงส์ และฝูงนก
ดุเหว่าทิพย์ ร่ำร้องเสียงไพเราะจับใจ ต่างก็โผผินบิน
จับอยู่บนต้นไม้ ทิพยสกุณาเช่นนี้ จะได้มีในมนุษย-
โลกก็หาไม่ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบำเพ็ญตบธรรม
เพื่อประโยชน์อะไร.
ต้นมะม่วง ต้นสาละ ทั้งช้างน้าว อ้อยช้างและ
ต้นชมพู่ ต้นคูนและแคฝอย ผลิตดอกออกผลเป็น
พวง ๆ ทิพยรุกขชาติเช่นนี้ จะได้มีอยู่ ในมนุษยโลก
ก็หาไม่ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบำเพ็ญตบะเพื่อ
ประโยชน์อะไร.
อนึ่ง ทิพยสุคนธ์รอบ ๆ สระโบกขรณีเหล่านี้
หอมฟุ้งอยู่เป็นนิตย์ ทิพยสุคนธ์เช่นนี้ จะมีอยู่ใน
มนุษยโลกก็หามิได้ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบำเพ็ญ
ตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.
(จัมเปยยนาคราช ทูลว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอม
ประชาชน ข้าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญตบธรรมเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 215
เหตุแห่งบุตร ทรัพย์ หรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุก็หาไม่
แต่เพราะข้าพระพุทธเจ้า ปรารถนากำเนิดมนุษย์ ฉะนั้น
จึงได้บากบั่นมุ่งมั่นบำเพ็ญสมณธรรม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตา พระราชาตรัสหมายถึงนางนาคกัญญา
หมื่นหกพันนางเหล่านั้น. บทว่า กมฺพุกายูรธรา แปลว่า สวมใส่อาภรณ์
อันล้วนด้วยทอง. บทว่า วฏฺฏงฺคุลี แปลว่า มีองคุลีกลมเช่นกันหน่อแก้ว-
ประพาฬ. บทว่า ตมฺพตลูปปนฺนา ความว่า ประกอบไปด้วยฝ่ามือและ
ฝ่าเท้า แดงงดงามยิ่งนัก. บทว่า ปาเยนฺติ ความว่า พากันยกทิพยปานะ
ประคองเข้าถวาย ให้พระองค์ทรงเสวย. บทว่า ปุถุโลมมจฺฉา ความว่า
ประกอบไปด้วยปลานานาชนิด ที่มีเกล็ดหนา. บทว่า อาทาสสกุนฺตาภิสุทา
ความว่า มีนกเงือกร่ำร้องอยู่อึงมี่. บทว่า สุติตฺถา ความว่า มีท่าขึ้นลง
ราบรื่นเรียบร้อย. บทว่า ทิวิยา จ หสา ได้แก่ ฝูงหงส์ทิพย์. บทว่า
สมฺปตนฺติ ความว่า ร่ำร้องเสียงไพเราะจับใจ ต่างโผผินบินจากต้นโน้น
มาต้นนี้.
บทว่า ทิพฺยา คนฺธา ความว่า อนึ่ง ทิพยสุคนธ์ทั้งหลาย ย่อม
ฟุ้งตลบไปไม่ขาดสาย ในสระโบกขรณีทั้งหลายเหล่านั้น. บทว่า อภิปตฺถยาโน
ความว่า ปรารถนาซึ่งกำเนิดมนุษย์เที่ยวไป. บทว่า ตสฺมา ความว่า ด้วย
เหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงบากบั่น คือประคองความเพียร กระทำตบะคือ
บำเพ็ญอุโบสถศีล ได้แก่ เข้าอยู่รักษาอุโบสถ.
เมื่อพระมหาสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาเมื่อจะทรงทำการ
ชมเชย จึงตรัสพระคาถาความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 216
ท่านมีดวงเนตรแดง มีรัศมีส่องแสงสว่าง
ประดับตกแต่งแล้ว ปลงเกศาและมัสสุแล้ว ประพรม
ด้วยจุรณจันทน์แดง ฉายแสงไปทั่วทิศ ดังคนธรรพ-
ราชฉะนั้น ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยเทวฤทธิ์ มีอานุภาพ
มาก เพรียบพร้อมไปด้วยสรรพกามารมณ์ ดูก่อนท่าน
นาคราช เราขอถามเนื้อความนี้กะท่าน มนุษยโลก
ประเสริฐกว่านาคพิภพด้วยเหตุไร.
ลำดับนั้น พระยานาคราช เมื่อจะกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ จึง
กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน เว้นมนุษย-
โลกเสียแล้ว ความบริสุทธิ์ หรือความสำรวมย่อมไม่มี
เลย ข้าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญตบธรรม ด้วยตั้งใจว่า
เราได้กำเนิดมนุษย์แล้ว จักทำที่สุดแห่งชาติและ
มรณะได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทฺธิ วา ความว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า
เว้นจากมนุษยโลกแล้ว ความบริสุทธิ์กล่าวคืออมตนฤพานก็ดี ความสำรวม
ระวังในศีลก็ดี ไม่มีเลย. บทว่า อนฺต ความว่า ข้าพระพุทธเจ้ากระทำตบะ
ด้วยคิดว่า เราได้กำเนิดมนุษย์แล้ว จักกระทำที่สุดแห่งชาติและมรณะได้.
พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว ตรัสพระคาถาความว่า
ชนเหล่าใด มีปัญญาเป็นพหูสูต ตรึกตรอง
เหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก ชนเหล่านั้นควรคบหาแท้ทีเดียว
ดูก่อนพระยานาคราช เราได้เห็นนางนาคกัญญา
ทั้งหลายของท่านและตัวท่านแล้ว จักทำบุญให้มาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 217
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาริโย จ ความว่า พระราชาตรัสว่า
เราเห็นนางนาคกัญญาทั้งหลายเหล่านั้น ของท่านและตัวท่านแล้ว จักกระทำบุญ
เป็นอันมาก.
ลำดับนั้น พระยานาคราชกราบทูลพระราชาว่า
ชนเหล่าใด มีปัญญาเป็นพหูสูต ตรึกตรอง
เหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก ชนเหล่านั้นควรคบหาแท้ทีเดียว
ข้าแต่พระมหาราชา พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น
นางนาคกัญญา และตัวข้าพระพุทธเจ้าแล้ว ขอจง
บำเพ็ญบุญให้มากเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กโรหิ ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
พระองค์พึงกระทำ (บุญกุศลให้มาก ๆ เถิด).
ครั้นพระมหาสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเจ้าอุคคเสนะ ทรงมีพระ
ประสงค์จะเสด็จกลับไปยังมนุษยโลก จึงตรัสอำลาว่า ดูก่อนท่านนาคราช
เรามาอยู่ก็เป็นเวลานาน จำจักต้องลากลับไปยังมนุษยโลก.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าจึงทูลท้าวเธอว่า ขอเดชะ พระมหาราชเจ้า
ถ้าเช่นนั้นพระองค์โปรดเลือกถือเอาทรัพย์สมบัติไปตามพระประสงค์เถิด เมื่อ
จะทรงแสดงทรัพย์สมบัติ จึงกราบทูลว่า
กองเงินและกองทอง ของข้าพระพุทธเจ้านี้มาก
มาย สูงประมาณเท่าต้นตาล พระองค์จงตรัสสั่งให้
พวกราชบุรุษนี้ไปจากนาคพิภพนี้ แล้วจงตรัสสั่งให้
สร้างพระราชวังด้วยทองคำ ให้สร้างกำแพงด้วยเงิน
เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 218
นี้กองแก้วมุกดา อันเจือปนด้วยแก้วไพฑูรย์
ห้าพันเล่มเกวียน พระองค์จงตรัสสั่งให้ราชบุรุษขนไป
จากนาคพิภพนี้ แล้วให้ลาดลง ณ ภูมิภาคภายใน
พระราชฐาน ภูมิภาคภายในพระราชฐานก็จักสะอาด
ปราศจากเปลือกตมและละอองธุลี ขอเดชะพระองค์
ผู้เป็นราชาอันประเสริฐ ผู้ทรงพระปรีชาอันล้ำเลิศ
ขอพระองค์โปรดเสวยราชสมบัติ ครอบครองพระ-
นครพาราณสี อันมั่งคั่งสมบูรณ์ สง่างามล้ำเลิศ ดุจ
ทิพยวิมานเห็นปานฉะนี้เถิด พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราสิ ความว่า กองเงินกองทองประมาณ
ชั่วลำตาล มีอยู่ในที่นั้น ๆ. บทว่า โสวณฺณฆรานิ ได้แก่ พระราชวังทอง.
บทว่า นิกฺกทฺทมา ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภูมิภาคภายในพระราชฐาน
ก็จักสะอาดปราศจากเปลือกตมและละอองธุลี. บทว่า เอตาทิส ความว่า
(ครอบครองพระนครพาราณสี) อันมีกำแพงล้อมไปด้วยทองและเงิน มีภูมิภาค
ลาดแล้วด้วยแก้วมุกดา และแก้วไพฑูรย์ เห็นปานฉะนี้. บทว่า ผีต ความว่า
ขอพระองค์จงทรงอยู่ครอบครองพระนครพาราณสี อันมั่งคั่งแพร่หลายฉะนี้.
บทว่า อโนมปญฺา ความว่า มีพระปัญญาอันไม่ทราม
พระราชาทรงสดับถ้อยคำของพระมหาสัตว์แล้วก็ทรงรับไว้. พระ-
มหาสัตว์จึงให้พนักงานเภรี เที่ยวตีกลองประกาศว่า ราชบุรุษทั้งปวงจงพากัน
ขนเอาทรัพย์สมบัติ มีเงินทองเป็นต้นไปตามปรารถนาเถิด แล้วเอาเกวียน
หลายร้อยเล่มบรรทุกทรัพย์สมบัติ ส่งถวายพระราชา. พระราชาเสด็จออกจาก
นาคพิภพ กลับไปสู่พระนครพาราณสี ด้วยยศบริวารเป็นอันมาก. เล่ากันว่า
นับแต่นั้นมา พื้นชมพูทวีปจึงเกิดมีเงินมีทองขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 219
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า
โปราณกบัณฑิททั้งหลาย ละนาคสมบัติแล้ว อยู่รักษาอุโบสถศีล ด้วยอาการ
อย่างนี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า หมองูในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัต
ในบัดนี้ นางนาคกัญญาสุมนาเทวี ได้มาเป็นราหุลมารดา พระเจ้าอุคคเสนราช
ได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนจัมเปยยนาคราช ได้มาเป็นเราผู้ตถาคตฉะนี้แล.
จบอรรถกถาจัมเปยยชาดก
๑๑. มหาปโลภนชาดก
ว่าด้วยหญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์
[๒๒๐๘] เทพบุตรผู้มีฤทธิ์มาก จุติจากพรหม-
โลกแล้ว มาเกิดเป็นพระโอรสของพระเจ้ากาสี ผู้ทรง
ดำรงอยู่ในราชสมบัติ อันเพรียบพร้อมด้วยสรรพกาม.
ความใคร่ก็ดี ความสำคัญในกามก็ดี ไม่มีใน
พรหมโลกเลย พระราชกุมารนั้น จึงทรงรังเกียจกาม
ทั้งหลาย ด้วยฌานสัญญาอันบังเกิดในพรหมโลก
นั้นเอง.
พระราชบิดา ตรัสสั่งให้สร้างฌานาคารไว้ใน
ภายในพระราชฐาน สำหรับพระราชกุมารนั้นทรง
หลีกเร้น บำเพ็ญฌานในอาคารนั้น เพียงพระองค์เดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 220
พระเจ้ากาสิกราช ทรงอัดอั้นตันพระทัย ด้วย
ความเศร้าโศกถึงพระโอรส ทรงปริเทวนาการว่า
โอรสคนเดียวของเรานี้ ไม่ยินดีเสวยกามารมณ์เสียเลย.
อุบายในข้อนี้ มีอยู่อย่างไรหนอ ผู้ใดพึงประเล้า
ประโลมโอรสของเรา ให้เธอปรารถนากามได้ หรือว่า
ผู้นั้นใครเล่าจะรู้เหตุที่จะให้โอรสของเราพัวพันในกาม
ได้.
[๒๒๐๙] ภายในพระราชฐานนั่นเอง มีกุมารีคน
หนึ่ง มีฉวีวรรณงดงาม รูปสวย ฉลาดในการฟ้อนรำ
ขับร้อง และชำนาญในการดีดสีตีเป่า นางเข้าไปใน
พระราชฐานนั้นแล้ว กราบทูลความนี้กะพระราชาว่า
เกล้ากระหม่อมฉันนี้แล จะพึงประเล้าประโลมพระราช
กุมารนั้นได้ ถ้าหากพระราชกุมารนั้น จักได้เป็น
พระภัสดาของกระหม่อมฉัน.
[๒๒๑๐] พระราชาจึงตรัสกะนางกุมาริกา ผู้
กล่าวยืนยันเช่นนั้นว่า เธอจงประเล้าประโลมลูกของ
เรา ลูกของเราจักเป็นสามีของเจ้า.
[๒๒๑๑] นางกุมารีนั้น เข้าไปในพระราชฐาน
แล้ว จึงกล่าวเป็นคาถาไพเราะจับจิตจับใจ ยั่วยวน
ชวนให้รักใคร่ เปลี่ยนแปลงขับลำนำ ประกอบไป
ด้วยกามารมณ์มากมายหลายอย่าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 221
[๒๒๑๒] กามฉันทะ บังเกิดแก่พระราชกุมาร
นั้น เพราะได้ทรงสดับเสียงของนางกุมารี ผู้ขับกล่อม
อยู่ พระราชกุมารจึงตรัสถามคนใกล้เคียงว่า โอ !
นั่นเสียงใคร หรือใครมาขับร้องเสียงสูงต่ำ ไพเราะ
จับใจ น่ารักนักหนา ไพเราะหูเรานัก.
[๒๒๑๓] (พวกพระพี่เลี้ยงจึงกราบทูลว่า) ขอเดชะ
เสียงนี้น่ายินดี น่าสนุกสนานมิใช่น้อย ถ้าพระองค์
พึงบริโภคกามคุณไซร้ กามทั้งหลายจะพึงเป็นที่
โปรดปรานพระทัยของพระองค์อย่างยิ่ง.
[๒๒๑๔] (พระราชกุมารรับสั่งว่า) เชิญมาภาย
ในนี้ จงมาขับร้องใกล้ ๆ เรา เลื่อนเข้ามาขับร้อง
ใกล้ตำหนักเรา จงขับกล่อมใกล้ที่บรรทมของเรา.
[๒๒๑๕] นางกุมารีนั้น เข้าไปขับกล่อมภาย
นอกฝาห้องบรรทม แล้วเลื่อนเข้าไป ณ ตำหนัก
ฌานาคารโดยลำดับ จนผูกพระราชกุมารไว้ได้
เหมือนนายหัตถาจารย์จับคชสารป่ามัดไว้ ฉะนั้น.
[๒๒๑๖] เพราะรู้กามรสโลกีย์แห่งนางกุมารีนั้น
พระราชกุมารจึงเกิดความปรารถนาเป็นอธรรมว่า เรา
เท่านั้นพึงได้บริโภคกาม อย่าได้มีบุรุษอื่นเลย ต่อแต่
นั้น พระราชกุมารทรงถือดาบเล่มหนึ่งแล้ว เสด็จไป
เพื่อจะฆ่าบุรุษทั้งหลายเสีย ด้วยทรงดำริว่า เราจัก
บริโภคกามแต่ผู้เดียว อย่าพึงมีบุรุษอื่นอยู่เลย.
[๒๒๑๗] ต่อแต่นั้น ชาวชนบททั้งปวงจึงมา
ประชุมกัน ถวายเรื่องราวร้องทุกข์ว่า ข้าแต่พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 222
มหาราชา พระโอรสของพระองค์นี้ ทรงเบียดเบียน
ผู้หาโทษมิได้ พระเจ้าข้า.
[๒๒๑๘] พระเจ้ากาสีบรมกษัตริย์ ทรงเนรเทศ
พระราชกุมารออกไปจากรัฐสีมาของพระองค์แล้ว มี
พระราชโองการว่า อาณาเขตของเรามีอยู่เพียงใด
เจ้าอย่าอยู่ในอาณาเขตของเราเพียงนั้น เป็นอันขาด.
[๒๒๑๙] ครั้งนั้น พระราชกุมารทรงพาพระ-
ชายาไป จนบรรลุถึงสมุทรนทีแห่งหนึ่ง ทรงสร้าง
บรรณศาลาแล้ว จึงเสด็จเข้าไปสู่ป่า เพื่อแสวงหา
ผลาผล.
[๒๒๒๐] ครั้งนั้น มีฤาษีตนหนึ่ง มาถึงบรรณ
ศาลานั้น โดยทางเบื้องบนสมุทร เข้าไปยังศาลาของ
พระราชกุมาร ในเวลาที่นางกุมารีจัดแจงอาหารไว้แล้ว.
[๒๒๒๑] ชายาของพระราชกุมาร ประเล้า
ประโลมพระฤาษีนั้น ดูเถิด กรรมที่นางกุมารีทานั้น
หยาบช้าเพียงไร ฤาษีนั้นเคลื่อนจากพรหมจรรย์ เสื่อม
จากฤทธิ์.
[๒๒๒๒] ฝ่ายพระราชโอรสแสวงหาผลาผล
ในป่าได้จำนวนมากแล้ว ครั้นถึงเวลาเย็น จึงใส่หาบ
ขนเข้าไปสู่อาศรม.
[๒๒๒๓] ฝ่ายพระฤาษี พอเห็นขัตติยราชกุมาร
จึงรีบเข้าไปยังฝั่งสมุทร ด้วยตั้งใจว่า เราจักไปทาง
เวหาส แต่ต้องจมลงในมหรรณพนั่นเอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 223
[๒๒๒๔] ฝ่ายขัตติยราชกุมาร ได้ทอดพระเนตร
เห็นพระฤาษีจมลงไปในมหรรณพ จึงได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ ด้วยความอนุเคราะห์ต่อพระฤาษีนั้น ความว่า
[๒๒๒๕] ตัวท่านเองมาด้วยฤทธิ์ บนน้ำอันไม่
แตกแยก ครั้นถึงความระคนด้วยสตรีแล้ว ต้องจมลง
ในมหรรณพ ธรรมดาสตรีมีปกติหมุนเวียน มีมายา
มาก มักทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ย่อมทำนักพรตให้
จมลง ท่านรู้แจ้งฉะนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล
สตรีทั้งหลาย มีวาจาไพเราะ เจรจานุ่มนวล ถมไม่รู้
จักเต็ม เหมือนกับนทีธาร ย่อมยังนักพรตให้จมลง
ท่านรู้แจ้งฉะนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล สตรี
ทั้งหลายย่อมเข้าไปซ่องเสพบุรุษใด ด้วยความพอใจ
หรือด้วยทรัพย์ก็ตาม ย่อมพลันตามเผาผลาญบุรุษนั้น
เหมือนไฟป่าเผาสถานที่ตนเอง ฉะนั้น.
[๒๒๒๖] ความเบื่อหน่ายได้เกิดมีแก่ฤาษี เพราะ
ได้ฟังถ้อยคำของขัตติยราชกุมาร ฤาษีนั้นกลับได้ทาง
อันมีมาก่อน แล้วเหาะขึ้นไปยังเวหาส.
[๒๒๒๗] ฝ่ายขัตติยราชกุมารผู้ทรงพระปรีชา
ได้ทอดพระเนตรเห็นพระฤาษี กำลังเหาะไปยังเวหาส
จึงได้ความสลดจิต น้อมพระทัยสู่การบรรพชา ต่อ
แต่นั้น ขัตติยราชกุมารก็ทรงบรรพชา สำรอกกาม
ราคะแล้วได้เข้าถึงพรหมโลก.
จบมหาปโลภนชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 224
อรรถกถามหาปโลภชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
มาตุคามทำสัตว์ผู้บริสุทธิ์ให้เศร้าหมอง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
พฺรหฺมโลกา จวิตฺวาน ดังนี้.
เรื่องปัจจุบัน ข้าพเจ้ากล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลัง. ก็ในชาดกนี้
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่ามาตุคามนี้ ย่อมกระทำสัตว์ผู้บริสุทธิ์
ให้เศร้าหมองได้ ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้
เรื่องอดีตนิทาน บัณฑิตพึงให้พิสดารตามนัยที่กล่าวแล้ว ในจุลล-
ปโลภนชาดก ในอดีต. ก็ในครั้งนั้น พระมหาสัตว์เจ้า จุติจากพรหมโลก มาบัง
เกิดเป็นพระโอรสของพระเจ้ากาสิกราช ทรงพระนามว่า อนิตถิคันธกุมาร.
พระกุมารไม่ยอมอยู่ในมือของสตรีเลย. สตรีที่จะให้พระกุมารดื่มน้ำนมต้อง
แปลงเป็นบุรุษเพศ พระราชกุมารโปรดประทับในฌานาคาร ไม่อยากพบเห็น
สตรีเพศ.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๔ คาถา
ความว่า
เทพบุตรผู้มีฤทธิ์มาก จุติจากพรหมโลกแล้ว มา
เกิดเป็นพระโอรสของพระเจ้ากาสี ผู้ทรงดำรงอยู่ใน
ราชสมบัติ อันเพรียบพร้อมด้วยสรรพกาม.
ความใคร่ก็ดี ความสำคัญในกามก็ดี ไม่มีใน
พรหมโลกเลย พระราชกุมารนั้นจึงทรงรังเกียจกาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 225
ทั้งหลาย ด้วยฌานสัญญาอันบังเกิดในพรหมโลกนั้น
เอง.
พระราชบิดาตรัสสั่งให้สร้างฌานาคารไว้ภายใน
พระราชฐาน สำหรับพระราชกุมารนั้นทรงหลีกเร้น
บำเพ็ญฌานในอาคารนั้นเพียงพระองค์เดียว.
พระเจ้ากาสิกราช ทรงอัดอั้นตันพระทัย ด้วย
ความเศร้าโศกถึงพระโอรส ทรงปริเทวนาการว่าโอรส
คนเดียวของเรานี้ ไม่ยินดีเสวยกามารมณ์เสียเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพกามสมิทฺธิสุ ความว่า ก็เทพบุตร
องค์หนึ่ง บังเกิดเป็นพระโอรสของพระราชา ผู้ดำรงอยู่ในราชสมบัติอันมั่งคั่ง
บริบูรณ์ด้วยสรรพกามารมณ์. บทว่า สฺวาสฺสุ ความว่า พระราชกุมารนั้น.
บทว่า ตาเยว ความว่า ด้วยฌานสัญญาอันบังเกิดแล้วในพรหมโลกนั้นเอง.
บทว่า สุมาปิต ความว่า พระราชบิดาทรงสร้างฌานาคารไว้อย่างน่าพึงใจยิ่ง.
บทว่า รหสิ ฌายถ ความว่า พระกุมารหาได้สนพระทัยมองดูมาตุคามไม่.
บทว่า ปริเทเวสิ ความว่า ทรงบ่นพร่ำเพ้อ.
คาถาที่ ๕ เป็นคาถาแสดงความปริเทวนาการของพระราชา ความว่า
อุบายในข้อนี้มีอยู่อย่างไรหนอ ผู้ใดพึงประเล้า-
ประโลมโอรสของเรา ให้เธอปรารถนากามได้ หรือว่า
ผู้นั้นใครเล่าจะรู้เหตุที่จะให้โอรสของเราพัวพันในกาม
ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ โขตฺถ อุปาโย โส ความว่า
ในเรื่องนี้ จะมีอุบายให้โอรสของเราเสวยกามสมบัติได้อย่างไรหนอ. ปาฐะว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 226
โก นุโข อิธูปาโย โส อุบายในข้อนี้ มีอยู่อย่างไรหนอ ดังนี้ก็มี แต่ใน
อรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า โก นุโข ต อุปวสิตฺวา อุปลาปนการณ
ชานาติ ความว่า ใครเล่าหนอที่จะเข้าไปรู้เหตุที่ทำให้ลูกของเราเข้าไปพัวพัน
อยู่ในกามได้. บทว่า โก วา ชานาติ กิญฺจน ความว่า หรือว่าใครจะ
รู้เหตุให้โอรสของเรานี้หมกมุ่นในกามได้.
เบื้องหน้าต่อไปนี้ เป็นอภิสัมพุทธคาถาอันพระศาสดาตรัสไว้ พระ-
คาถากึ่ง ความว่า
ภายในพระราชฐานนั้นเอง มีกุมารีคนหนึ่ง มี
ฉวีวรรณงดงาม รูปสวย ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง
และชำนาญในการดีดสีตีเป่า นางเข้าไปในพระราช-
ฐานนั้นแล้ว กราบทูลความนี้กะพระราชา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
ภายในพระราชฐานนั่นเอง มีดรุณกุมารีนางหนึ่ง ในจำนวนจูฬนาฏนารีทั้งหลาย.
บทว่า ปทกฺขิณา ความว่า ได้รับการฝึกจนชำนาญ.
นางกุมาริกา กล่าวคาถากึ่งคาถาทูลพระราชา ความว่า
เกล้ากระหม่อมฉันนี้แล จะพึงประเล้าประโลม
พระราชกุมารนั้นได้ ถ้าหากพระราชกุมารนั้น จักได้
เป็นพระภัสดาของกระหม่อมฉัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ ภตฺตา ความว่า ถ้าพระราชกุมารนั้น
จักเป็นพระภัสดาของหม่อมฉัน.
พระราชาจึงตรัสกะนางกุมาริกา ผู้กล่าวยืนยัน
เช่นนั้นว่า เธอจงประเล้าประโลมลูกของเรา ลูกของ
เราจักเป็นสามีของเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 227
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตว ภตฺตา ความว่า โอรสของเรานี้
จักเป็นสามีของเจ้า และตัวเจ้าก็จักได้เป็นอัครมเหสีแห่งโอรสของเราทีเดียว
ไปเถิด เจ้าจงประเล้าประโลมล่อพระโอรส ให้ทราบซึ้งกามรส.
ครั้นพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงส่งนางกุมาริกานั้นไปมอบแก่ชาว
พนักงาน ผู้อภิบาลบำรุงพระกุมาร โดยพระราชโองการว่า เจ้าพนักงาน
ผู้อภิบาลทั้งหลาย จงเปิดโอกาสแก่นางกุมาริกานี้เถิด. ในเวลาใกล้รุ่ง นาง
กุมาริกาถือพิณไปยืนอยู่ภายนอกใกล้ห้องบรรทมของพระกุมาร แล้วเอาปลาย
เล็บดีดพิณ ขับกล่อมคลอไปด้วยเสียงอันไพเราะ ประโลมล่อพระกุมารนั้น
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัส (พระคาถา
ทั้งหลาย) ความว่า
นางกุมารีนั้น ได้เข้าไปภายในพระราชฐานแล้ว
จึงกล่าวเป็นคาถาไพเราะ จับจิตใจ ยั่วยวนชวนให้
รักใคร่ เปลี่ยนแปลงขับลำนำ ประกอบไปด้วยกามา-
รมณ์ มากมายหลายอย่าง.
กามฉันทะบังเกิดแก่พระราชกุมารนั้น เพราะได้
ทรงสดับเสียงของนางกุมารี ผู้ขับกล่อมอยู่ พระราช-
กุมารจึงตรัสถามคนที่อยู่ใกล้เคียงว่า โอ ! นั่นเสียงใคร
หรือใครมาขับร้องเสียงสูงต่ำไพเราะจับใจ น่ารักนัก-
หนา ไพเราะหูของเรานัก.
(พวกพระพี่เลี้ยงจึงกราบทูลว่า) ขอเดชะ เสียงนี้
น่ายินดี น่าสนุกสนานมิใช่น้อย ถ้าพระองค์พึงบริโภค
กามคุณไซร้ กามทั้งหลายจะพึงเป็นที่โปรดปรานพอ-
พระทัยของพระองค์อย่างยิ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 228
(พระราชกุมารรับสั่งว่า) เชิญมาภายในนี้ จงมา
ขับร้องใกล้ ๆ เรา เลื่อนเข้ามาขับใกล้ตำหนักของเรา
จงขับกล่อมใกล้ที่บรรทมของเรา.
นางกุมารีนั้น เข้าไปขับกล่อมภายนอกฝาห้อง
บรรทม แล้วเลื่อนเข้าไป ณ ตำหนักฌานาคารโดย
ลำดับ จนผูกพระราชกุมารไว้ได้ เหมือนนายหัตถา-
จารย์ จับคชสารป่า มัดไว้ฉะนั้น.
เพราะรู้กามรสโลกีย์แห่งนางกุมารีนั้น พระราช
กุมารจึงเกิดความปรารถนาเป็นอธรรมว่า เราเท่านั้น
พึงได้บริโภคกาม อย่าได้มีบุรุษอื่นเลย ต่อแต่นั้น
พระราชกุมารทรงถือดาบเล่มหนึ่งแล้ว เสด็จไปเพื่อจะ
ฆ่าบุรุษทั้งหลายเสีย ด้วยทรงดำริว่า เราจักบริโภคกาม
แต่เพียงผู้เดียว อย่าพึงมีบุรุษอื่นอยู่เลย.
ต่อแต่นั้น ชาวชนบททั้งปวงจึงมาประชุมกัน
ถวายเรื่องราวร้องทุกข์ว่า ข้าแต่พระมหาราชา พระ-
ราชโอรสของพระองค์นี้ ทรงเบียดเบียนผู้หาโทษมิได้
พระเจ้าข้า.
พระเจ้ากาสีบรมกษัตริย์ ทรงเนรเทศพระราช-
กุมารออกไปจากรัฐสีมาของพระองค์แล้ว มีพระราช
โองการว่า อาณาเขตของเรามีอยู่เพียงใด เจ้าอย่าอยู่
ในอาณาเขตของเราเพียงนั้นเป็นอันขาด.
ครั้งนั้น พระราชกุมารทรงพาพระชายาไปจน
บรรลุถึงสมุทรนทีแห่งหนึ่ง ทรงสร้างบรรณศาลา
แล้ว จึงเสด็จเข้าไปสู่ป่า เพื่อแสวงหาผลาผล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 229
ครั้งนั้น มีฤาษีตนหนึ่ง มาถึงบรรณศาลานั้น
โดยทางเบื้องบนสมุทร เข้าไปยังบรรณศาลาของพระ-
ราชกุมาร ในเวลาที่นางกุมาร จัดแจงภัตตาหารไว้แล้ว.
ชายาของพระราชกุมาร ประเล้าประโลมฤาษีนั้น
ดูเถิด กรรมที่นางกุมารีทำนั้นหยาบช้าเพียงไร ฤาษี
นั้นเคลื่อนจากพรหมจรรย์เสื่อมจากฤทธิ์.
ฝ่ายพระราชโอรสแสวงหามูลผลาผลในป่าได้
จำนวนมากแล้ว ครั้นถึงเวลาเย็น จึงใส่หาบขนเข้าไป
สู่อาศรม.
ฝ่ายพระฤาษีพอเห็นพระขัตติยราชกุมาร จึงรีบ
เข้าไปยังฝั่งสมุทร ด้วยตั้งใจว่า เราจักไปทางเวหาส
แต่ต้องจมลงในมหรรณพนั่นเอง.
ฝ่ายขัตติยราชกุมาร ได้ทอดพระเนตรเห็นฤาษี
จมลงในมหรรณพ จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ด้วย
ความอนุเคราะห์ต่อพระฤาษีนั้นว่า
ตัวท่านเองมาด้วยฤทธิ์ บนน้ำอันไม่แตกแยก
ครั้นถึงความระคนด้วยสตรีแล้วต้องจมลงในมหรรณพ
ธรรมดาสตรีมีปกติหมุนเวียน มีมายามาก มักทำ
พรหมจรรย์ให้กำเริบ ย่อมทำนักพรตให้จมลง ท่าน
รู้แจ้งฉะนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล สตรีทั้งหลาย
มีวาจาไพเราะ เจรจานุ่มนวล ถมไม่เต็มเหมือนกับ
นทีธาร ย่อมยังนักพรตให้จมลง ท่านรู้แจ้งฉะนี้แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 230
พึงเว้นเสียให้ห่างไกล สตรีทั้งหลายย่อมเข้าไปซ่อง-
เสพบุรุษใด ด้วยความพอใจหรือด้วยทรัพย์ก็ตาม ย่อม
พลันตามเผาผลาญบุรุษนั้น เหมือนไฟป่าเผาสถานที่
ตนเองฉะนั้น.
ความเบื่อหน่ายได้เกิดมีแก่ฤาษี เพราะได้ฟัง
ถ้อยคำของขัตติยราชกุมาร ฤาษีนั้นกลับได้ทางอันมี
มาก่อน แล้วเหาะขึ้นไปยังเวหาส.
ฝ่ายขัตติยราชกุมารผู้ทรงพระปรีชา ได้ทอด-
พระเนตรเห็นพระฤาษีกำลังเหาะไปยังเวหาส จึงได้
ความสลดจิต น้อมพระทัยสู่การบรรพชา ต่อแต่นั้น
ขัตติยราชกุมารก็ทรงบรรพชา สำรอกกามราคะแล้ว
ได้เข้าถึงพรหมโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺเตปุร ได้แก่ พระราชฐานอันเป็น
ที่อยู่ของพระกุมาร. บทว่า พหุ ความว่า ให้แปลก ๆ ไปมากอย่าง. บทว่า
กามูปสญฺหิต ความว่า ผลัดเปลี่ยนขับลำนำ อันมีใจความกระตุ้นกามารมณ์.
บทว่า กามจฺฉนฺทสฺส ความว่า กามฉันท์บังเกิดขึ้นแก่พระอนิตถิคันธกุมาร
นั้น. บทว่า ชน ได้แก่ ปริจาริกชนผู้อยู่ใกล้พระองค์. บทว่า อุจฺจาวจ
ได้แก่ เพลงที่มีเสียงสูงและต่ำ. บทว่า ภุญฺเชยฺย ความว่า ถ้าหากพระองค์
พึงบริโภค (กามคุณ) ไซร้. บทว่า ฉินฺเทยฺยุ ต ความว่า ขึ้นชื่อว่ากาม
ทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงเป็นที่โปรดปรานพอพระทัย ของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง.
พระราชกุมารทรงสดับว่า สมุทฺทา (คลื่นสมุทร) ดังนี้แล้วทรง
นิ่งเฉยเสีย. แม้ในวันรุ่งขึ้น นางกุมาริกาก็ขับร้องอยู่อย่างนั้น. เมื่อเป็นเช่นนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 231
พระกุมารก็เกิดมีจิตรักใคร่ เมื่อจะโปรดให้นางกุมาริกานั้นมาเฝ้า จึงตรัสเรียก
ข้าราชบริพาลทั้งหลายมาแล้วตรัสพระคาถามีคำว่า อิงฺฆ (นี่แน่ะเราจะบอกให้)
ดังนี้เป็นต้น. บทว่า ติโรกุฑฺฑมฺหิ ความว่า ภายนอกฝาห้องบรรทม. บทว่า
มา อญฺโ ความว่า ชื่อว่าบุรุษผู้บริโภคกามคนอื่น ไม่ควรมีเลย. บทว่า
หนฺตุ อุปกฺกมิ ความว่า พระกุมารเสด็จลงไปยืนขวางกลางถนน แล้ว
ปรารภจะฆ่าพวกบุรุษเสีย. บทว่า วิกฺกนฺทึสุ ความว่า เมื่อบุรุษสอง-สามคน
ถูกพระราชกุมารประหารไปแล้ว ผู้คนทั้งหลายต่างพากันวิ่งหนี หลบเข้าไป
สู่เรือน. พระราชกุมารนั้นไม่พบปะพวกบุรุษทั้งหลาย ก็สงบไปพักหนึ่ง.
ขณะนั้น ชาวพระนครก็พากันมาประชุมที่พระลานหลวง กราบทูลเรื่องราว
แด่พระราชา. บทว่า ชน เหเตฺยทูสก ความว่า ชาวเมืองกราบทูลกล่าว
โทษว่า พระโอรสของพระองค์ทรงประหารคนผู้ไร้ความผิด ขอได้โปรดให้
ทรงจับพระราชโอรสนั้น. พระราชาตรัสสั่งให้จับพระกุมารไว้ด้วยอุบาย แล้ว
ตรัสถามทวยนาครว่า ควรลงโทษกุมารนี้อย่างไร ? เมื่อทวยนาครกราบทูล
ว่า ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ไม่มีทางอื่น แต่ควรที่พระองค์
จะทรงเนรเทศพระกุมารนี้ พร้อมด้วยนางกุมาริกานั้น ไปเสียจากแว่นแคว้น
พระเจ้าข้า จึงได้ทรงทำตามนั้น.
เมื่อพระบรมศาสดาจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถา
มีอาทิว่า ตญฺจ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปาเหสิ แปลว่า ทรง
เนรเทศแล้ว. บทว่า น เต วตฺถพฺพ ตาวเท ความว่า พระราชอาณาเขต
ของเรามีอยู่เพียงใด เจ้าอย่าอยู่ในอาณาเขตของเราเพียงนั้นเป็นอันขาด. บทว่า
อุญฺฉาย ความว่า เพื่อแสวงหาผลาผล ก็เมื่อพระราชกุมารนั้นเสด็จไปป่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 232
นางกุมาริกาผู้ชายาเฝ้าอาศรมจัดแจงของควรเผาและต้ม ซึ่งมีอยู่ในอาศรมนั้น
นั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา คอยดูทางที่ภัสดาจะกลับมา. เมื่อกาลเวลาล่วงไป
อย่างนี้ วันหนึ่ง อิทธิมันตดาบสองค์หนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ที่เกาะกลางสมุทร
ออกจากอาศรมสถาน เดินบนน้ำได้เหมือนเดินบนแผ่นแก้วมณี แล้วเหาะขึ้นไป
บนอากาศ เที่ยวไปภิกษาจารจนบรรลุถึงเบื้องบนบรรณศาลานั้น แลเห็น
ควันไฟจึงคิดว่า ชะรอยในที่นี้จะมีมนุษย์อยู่อาศัย แล้วเลื่อนลอยลงมาที่ประตู
บรรณศาลา. ฝ่ายนางกุมาริกาผู้ชายาของพระกุมาร ครั้นเห็นพระดาบสแล้ว
จึงนิมนต์ให้นั่ง เกิดมีจิตปฏิพัทธ์ ได้แสดงมายาแห่งสตรีให้เห็น จนได้ประพฤติ
อนาจารร่วมกับพระดาบสนั้น. เมื่อพระศาสดาจะทรงประกาศเนื้อความนั้น
จึงตรัสพระคาถา มีอาทิว่า อเถตฺถ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิสิ มาคญฺฉิ ความว่า พระฤาษีได้
เหาะมาแล้ว. บทว่า สมุทฺทมุปรูปริ ความว่า โดยทางเบื้องบนสมุทร.
บทว่า ปสฺส ยาว สุทารุณ ความว่า ดูเถิดภิกษุทั้งหลาย กรรมอันทารุณ
หยาบช้าเพียงไร ที่นางกุมาริกานั้นกระทำแล้ว. บทว่า สาย ได้แก่ ใน
สายัณหสมัย.
บทว่า ทิสฺวา ความว่า อิทธิมันตดาบสนั้น เมื่อไม่อาจจะละนาง
กุมาริกานั้นไปได้ ก็อยู่ที่บรรณศาลานั้นจนตลอดวัน เห็นพระราชกุมารเสด็จ
มาในเวลาเย็น คิดว่า เราจักหนีไปทางอากาศ จึงกระทำอาการโลดลอยขึ้นไป
ตกจมลงในมหรรณพ. บทว่า อิสึ ทิสฺวา ความว่า พระราชกุมารนั้น
ติดตามไป จึงเห็น (พระฤาษี). บทว่า อนุกมฺหปาย ความว่า พระกุมาร
เกิดความเอ็นดูว่า ถ้าพระดาบสนี้จักมาทางพื้นดิน ก็ควรจะหนีเข้าป่าไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 233
ชะรอยจักมาทางอากาศ เพราะเหตุนั้น แม้จะตกไปในสมุทร ท่านก็ยังทำอาการ
เหมือนกับจะเหาะไป แล้วได้ตรัสพระคาถาด้วยความเอ็นดู ต่อพระดาบสนั้น
นั่นเอง. ก็เนื้อความแห่งคาถาเหล่านั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในติกนิบาตแล้ว
ทั้งนั้น. บทว่า นิพฺพิโท อหุ ความว่า ความเบื่อหน่ายในกามทั้งหลาย
เกิดแล้ว. บทว่า โปราณก มคฺค ได้แก่ ฌานวิเศษอันตนบรรลุแล้วใน
กาลก่อน. บทว่า ปพฺพชิตฺวาน ความว่า พระราชกุมารทรงพานางกุมารี
ไปส่งยังที่อยู่ของมนุษย์ แล้วเสด็จกลับมาบรรพชาเพศเป็นฤาษี อยู่ในราวป่า
ทรงสำรอกกามราคะเสียได้ ครั้นสำรอกกามราคะได้แล้ว ได้เป็นผู้มีพรหมโลก
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ด้วยประการฉะนี้.
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้สัตว์ผู้บริสุทธิ์ดีแล้วทั้งหลาย ย่อมเศร้าหมองเพราะ
อาศัยมาตุคามเป็นเหตุอย่างนี้ แล้วทรงประกาศอริยสัจจธรรม แล้วทรงประชุม
ชาดก. ในเวลาจบอริยสัจจเทศนา ภิกษุผู้กระสันได้บรรลุพระอรหัตผล. ก็
อนิตถิกุมารในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราผู้ตถาคตฉะนี้แล.
จบอรรถกถามหาปโลภนชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 234
๑๒. ปัญจบัณฑิตชาดก
ว่าด้วยความลับอันไม่ควรเปิดเผย
[๒๒๒๘] ท่านทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิตทั้ง ๕ คน
มาพร้อมกันแล้ว ท่านทั้งหลายจงพิจารณาปัญหานั้น
บุคคลควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควร
สรรเสริญ แก่ใคร.
[๒๒๒๙] ข้าแต่พระจอมภูมิบาล พระองค์จง
ตรัสเปิดเผยก่อน พระองค์เป็นผู้ชุบเลี้ยงพวกข้า
พระองค์ ทรงอดทนต่อกรณียกิจอันหนัก เชิญตรัสก่อน
ข้าแต่จอมประชาชน ข้าพระองค์ผู้เป็นนักปราชญ์ ทั้ง
๕ คน จักพิจารณาสิ่งที่พอพระทัย และเหตุที่ชอบ
พระทัยของพระองค์ แล้วจักกราบทูลในภายหลัง.
[๒๒๓๐] สามีควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน
หรือควรสรรเสริญ อันเป็นเนื้อความลับ แก่ภรรยาผู้
มีศีล ไม่ยอมให้บุรุษอื่นลักสัมผัส คล้อยตามอำนาจ
ความพอใจของสามี เป็นที่รักที่พอใจของสามี.
[๒๒๓๑] (เสนกบัณฑิตทูลว่า) บุคคลควรเปิด-
เผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็น
เนื้อความลับ แก่สหายผู้เป็นที่ระลึกเป็นคติ และเป็น
ที่พึ่งของสหาย ผู้ได้รับความทุกข์ลำบากได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 235
[๒๒๓๒] (ปุกกุสบัณฑิตทูลว่า) บุคคลควรเปิด-
เผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อัน
เป็นเนื้อความลับ แก่พี่น้องซึ่งเป็นพี่ใหญ่ พี่กลาง
หรือน้อง ถ้าเขาตั้งอยู่ในศีล มีจิตตั้งมั่น.
[๒๒๓๓] (กามินทบัณฑิตทูลว่า) บิดาควรเปิด-
เผยข้อความที่ควรติเตียน หรือความสรรเสริญอัน
เป็นเนื้อความลับ แก่บุตรผู้ดำเนินไปตามใจของบิดา
เป็นอนุญาตบุตร มีปัญญาไม่ทรามกว่าบิดา.
[๒๒๓๔] (เทวินทบัณฑิตทูลว่า) ข้าแต่พระจอม
ประการาษฎร์ ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์นิกร บุตรควร-
เปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ
อันเป็นเนื้อความลับ แก่มารดาผู้เลี้ยงดูบุตร ด้วย
ความพอใจรักใคร่.
[๒๒๓๕] (มโหสถทูลว่า) การปกปิดความลับเอา
ไว้นั่นแหละเป็นความดี การเปิดเผยความลับบัณฑิต
ไม่สรรเสริญเลย นักปราชญ์พึงอดกลั้น ในเมื่อประ-
โยชน์ยังไม่สำเร็จ เมื่อประโยชน์สำเร็จแล้ว พึงกล่าว
ตามสบาย.
[๒๒๓๖] ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ พระองค์
ทรงมีพระมนัสวิปริตไปอย่างไรหรือ ข้าแต่พระจอม-
ประชากร หม่อมฉัน ขอฟังพระดำรัสของพระองค์
พระองค์ทรงดำริอย่างไรหรือ จึงทรงโทมนัสข้าแต่
สมมติเทพ ความผิดของหม่อมฉันไม่มีเลยหรือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 236
[๒๒๓๗] มโหสถจะถูกฆ่าเพราะปัญหา เพราะ
มโหสถผู้มีปัญญาดังแผ่นดินฉันสั่งให้ฆ่าแล้ว ฉันคิด
ถึงเรื่องนั้นจึงโทมนัส ดูก่อนพระเทวี ความผิดของ
เธอไม่มีเลย.
[๒๒๓๘] เจ้าไปตั้งแต่หัวค่ำ มาเอาจนบัดนี้
ใจของเจ้ารังเกียจ เพราะได้ฟังอะไรหรือ ดูก่อนเจ้า
ผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ใครได้พูดอะไรแก่เจ้า เราจะ
ขอฟังคำของเจ้า เชิญเจ้าบอกแก่เรา.
[๒๒๓๙] มโหสถจะถูกฆ่าเพราะปัญหา ข้าแต่
พระจอมประชากร ในกาลใด พระองค์เสด็จอยู่ใน
ที่ลับ ได้ตรัสความลับกับพระอัครมเหสีเมื่อหัวค่ำ
ความลับของพระองค์นั้นได้เปิดเผยแล้ว ข้าพระบาท
ได้ฟังแล้วในกาลนั้น.
[๒๒๔๐] เสนกบัณฑิตได้ทำกรรมอันลามก อัน
ไม่ใช่กรรมของสัตบุรุษ ในสวนไม้รัง อยู่ในที่ลับแล้ว
ได้บอกเรื่องนั้นแก่สหายคนหนึ่ง กรรมอันลามกนั้น
เป็นความลับ อันเสนกบัณฑิตได้เปิดเผยแล้ว ข้า-
พระบาทได้ฟังแล้ว.
[๒๒๔๑] ข้าแต่พระจอมประชานิกร โรคเรื้อน
เกิดขึ้นแก่ปุกกุสบุรุษของพระองค์ เป็นโรคที่ไม่
สมควรจะใกล้ชิดพระราชา ปุกกุสะอยู่ในที่ลับ ได้
แจ้งเรื่องนี้แก่น้องชาย ความลับอันนั้นปุกกุสะเปิดเผย
แล้ว ข้าพระบาทได้ฟังแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 237
[๒๒๔๒] กามินท์นี้ เป็นคนอาพาธ ลามก
ถูกยักษ์ชื่อนรเทพสิงแล้ว อยู่ในที่ลับ ได้แจ้งเรื่องนี้
แก่บุตร ความลับนั้นอันกามินท์ได้เปิดเผยแล้ว
ข้าพระบาทได้ฟังแล้ว.
[๒๒๔๓] ท้าวสักกเทวราช ได้ประทานมณีรัตน์
อื่นโอฬาร มีคด ๘ คด แก่พระอัยกาของพระองค์
เดี๋ยวนี้ มณีรัตน์นั้นได้ตกถึงมือของเทวินท์แล้ว ก็
เทวินท์อยู่ในที่ลับ ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่มารดา ความลับ
นั้น อันเทวินท์ได้เปิดเผยแล้ว ข้าพระบาทได้ฟังแล้ว.
[๒๒๔๔] การปกปิดความลับเอาไว้นั่นแหละ
เป็นความดี การเปิดเผยความลับบัณฑิตไม่สรรเสริญ
เลย นักปราชญ์พึงอดกลั้นไว้ในเมื่อประโยชน์ยังไม่
สำเร็จ เมื่อประโยชน์สำเร็จแล้ว พึงกล่าวตามสบาย
ไม่ควรเปิดเผยความลับเลย ควรรักษาความลับนั้นไว้
เหมือนรักษาขุมทรัพย์ ฉะนั้น ความลับอันบุคคลผู้รู้
แจ่มแจ้ง ไม่เปิดเผยนั่นแหละเป็นความดี บัณฑิตไม่
ควรบอกความลับแก่สตรี และแก่คนที่ไม่ใช่มิตร
กับอย่าบอกความในใจแก่คนที่ถูกอามิสลากไป และ
แก่คนที่ไม่ใช่มิตร บัณฑิตย่อมอดทนคำด่า คำบริภาษ
และการประหารของตนผู้รู้ความลับ ซึ่งคนอื่นไม่รู้
เพราะกลัวจะขยายความลับที่คิดไว้ เหมือนคนที่เป็น
ทาส อดทนต่อคำด่าว่าเป็นต้นของนาย ฉะนั้น ชน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 238
ทั้งหลายผู้รู้ความลับที่ปรึกษากันของคน ๆ หนึ่ง
เพียงใด ความสะดุ้งความหวาดกลัวของคนนั้น ย่อม
เกิดขึ้นเพียงนั้น เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรเปิดเผย
ความลับเลย บุคคลจะพูดความลับในเวลากลางวัน
ควรหาโอกาสที่เงียบสงัด เมื่อจะพูดความลับในเวลา
ค่ำคืน อย่าปล่อยเสียงให้เกินขอบเขต เพราะว่า คน
แอบฟังจะได้ยินความลับที่ปรึกษากัน เพราะฉะนั้น
ความลับที่ปรึกษากัน ก็จะพลันถึงความแพร่งพราย
ทันที.
จบปัญจบัณฑิตชาดกที่ ๑๒
อรรถกถาปัญจบัณฑิตชาดก
ปัญจบัณฑิตชาดก จักมีพิสดารในมหาอุมมังคชาดก.
จบอรรถกถาปัญจบัณฑิตชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 239
๑๓. หัตถิปาลชาดก
ว่าด้วยกาลเวลาไม่คอยใคร
[๒๒๔๕] นานทีเดียวข้าพเจ้าเพิ่งได้พบเห็นผู้มี-
ผิวพรรณดังเทพเจ้า มุ่นชฎาใหญ่ ทรงไว้ซึ่งหาบคอน
ผู้ทรมานกิเลสดังเปลือกตมแล้ว ผู้ย้อมเศียรเกล้า.
นานนักหนา ข้าพเจ้าเพิ่งได้เห็น พระฤาษีผู้ยินดี
ในธรรมคุณ นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ครองผ้าคากรอง
ปกปิดโดยรอบ.
ขอท่านผู้เจริญจงรับอาสนะ น้ำ ผ้าเช็ดหน้า
และน้ำมันทาเท้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่าน
ด้วยสิ่งของมีค่ามาก ได้กรุณารับของมีค่ามากของ
ข้าพเจ้าเถิด.
[๒๒๔๖] (ปุโรหิต กล่าวว่า) หัตถิปาละลูกรัก
เจ้าจงเรียนวิชา และจงแสวงหาทรัพย์ จงปลูกฝังบุตร
และธิดา ให้ดำรงอยู่ในเรือนเสียก่อน แล้วจึงบริโภค
กลิ่น รส และวัตถุกามทั้งปวงเถิด กิจที่จะอยู่ป่า
เมื่อเวลาแก่สำเร็จประโยชน์ดี มุนีใด บวชในกาล
เช่นนี้ได้ มุนีนั้น พระอริยเจ้าสรรเสริญ.
[๒๒๔๗] (หัตถิปาลกุมารกล่าวว่า) วิชาเป็นของ
ไม่จริงและลาภคือทรัพย์ก็ไม่จริง ใคร ๆ จะห้ามความ
ชราด้วยลาภคือบุตรไม่ได้เลย สัตบุรุษทั้งหลายสอน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 240
ให้ปล่อยวางคันธารมณ์ และรสารมณ์เสีย ความอุบัติ
แห่งผลย่อมมีได้เพราะกรรมของตน.
[๒๒๔๘] (พระราชาตรัสว่า) คำของเจ้าที่ว่า
ความอุบัติแห่งผลย่อมมีได้ เพราะกรรมของตนนั้น
เป็นคำจริงแท้แน่นอน อนึ่ง มารดาบิดาของท่านนี้
แก่เฒ่าแล้ว หวังจะเห็นท่านมีอายุยืนร้อยปี ไม่มีโรค.
[๒๒๔๙] (หัตถิปาลกุมารทูลว่า) ข้าแต่พระราชา
ผู้ประเสริฐกว่านรชน ความเป็นสหาย กับความ
ตาย ความไมตรีกับความแก่ พึงมีแก่ผู้ใด หรือแม้
ผู้ใดจะพึงรู้ว่า เราจักไม่ตาย มารดาบิดาพึงเห็นผู้นั้น
มีอายุยืนร้อยปี ไม่มีโรคเบียดเบียนได้ในบางคราว.
บุรุษเอาเรือมาจอดไว้ที่ท่าน้ำ รับคนฝั่งนี้ ส่งถึง
ฝั่งโน้น แล้วย้อนกลับมารับคนฝั่งโน้น พามาส่งถึง
ฝั่งนี้ ฉันใด ชราและพยาธิ ก็ย่อมนำเอาชีวิตสัตว์
ไปสู่อำนาจแห่งมัจจุราชอยู่เนือง ๆ ฉะนั้น.
[๒๒๕๐] (อัสสปาลกุมารทูลว่า) กามทั้งหลาย
เป็นดังเปลือกตม เป็นเครื่องให้จมลง เป็นเครื่องนำ
น้ำใจสัตว์ไป ข้ามได้ยาก เป็นที่ตั้งแห่งมฤตยู สัตว์
ทั้งหลายผู้ข้องอยู่ในกามอันเป็นดังเปลือกตม เป็น
เครื่องให้จมลงนี้ เป็นสัตว์มีจิตเลวทราม ย่อมข้ามถึงฝั่ง
ไม่ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 241
เมื่อครั้งก่อน อัตภาพของข้าพระองค์นี้ ได้
กระทำกรรมอันหยาบช้า ผลแห่งกรรมนั้น อันข้า-
พระองค์ยึดไว้มั่นแล้ว ข้าพระองค์จะพ้นไปจากผล
แห่งกรรมนี้ไม่ได้เลย ข้าพระองค์จักปิดกั้นรักษาอัต-
ภาพนั้นอย่างรอบคอบ ขออัตภาพนี้ อย่าได้ทำกรรม
อันหยาบช้านี้อีกเลย.
[๒๒๕๑] (โคปาลกุมาร ทูลว่า) ขอเดชะ
พระราชาธิบดี บุรุษผู้เลี้ยงโค ไม่เห็นโคที่หายไปใน
ป่าทึบมืดฉันใด ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงพระนามว่า
เอสุการี ประโยชน์ของข้าพระพุทธเจ้า ก็หายไปแล้ว
ฉันนั้น อย่างไรเล่า ข้าพระพุทธเจ้าจักไม่แสวงหา
ต่อไป.
[๒๒๕๒] บุรุษผู้กล่าว ผัดเพี้ยนการงานที่
ควรกระทำในวันนี้ว่า ควรทำในวันพรุ่งนี้ การงาน
ที่ควรทำในวันพรุ่งนี้ ว่าควรทำในวันต่อไป ย่อม
เสื่อมจากการงานนั้น ธีรชนคนใดรู้ว่าสิ่งใดเป็น
อนาคต สิ่งนั้นไม่มีแล้ว พึงบรรเทาความพอใจที่เกิด
ขึ้นเสีย.
[๒๒๕๓] (อชปาลกุมาร ทูลว่า) ข้าพระองค์ได้
เห็นหญิงสาวคนหนึ่ง รูปร่างงามพอประมาณ มี
ดวงเนตรเหมือนดอกการะเกด มัจจุราชมาฉุดคร่าเอา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 242
หญิงสาวคนนั้น ซึ่งกำลังตั้งอยู่ในปฐมวัย ยังมิทันได้
บริโภคโภคสมบัติไป.
อนึ่ง ชายหนุ่ม มีทรงงดงาม มีใบหน้าผ่องใส
น่าดูน่าชม มีวรรณะเรืองรองดังทองคำ มีหนวดเครา
ละเอียดอ่อน ดังเกสรดอกคำฝอย แม้ชายหนุ่มเห็นปาน
นี้ก็ย่อมไปสู่อำนาจแห่งมฤตยู ขอเดชะ ข้าพระองค์จะ
ละกามละเรือนเสียแล้ว จักบวช ขอได้โปรดทรง
พระกรุณาอนุญาตข้าพระองค์บวชเถิด พระเจ้าข้า.
[๒๒๕๔] (พราหมณ์ปุโรหิต กล่าวว่า) ดูก่อน
แม่วาเสฏฐิ ต้นไม้จะได้นามโวหารว่าต้นไม้ได้ ก็เพราะ
มีกิ่งและใบ ชาวโลกเขาเรียกต้นไม้ที่ไม่มีกิ่งและใบว่า
เป็นตอไม้ ทุกวันนี้ เราเป็นผู้มีบุตรละทิ้งไปเสียแล้ว
ถึงเวลาที่เราจักบวชภิกษาจาร.
[๒๒๕๕] (นางพราหมณี กล่าวว่า) นกกระเรียน
ทั้งหลาย บินไปในอากาศได้คล่องแคล่ว ฉันใด เมื่อ
สิ้นฤดูฝนแล้ว หงส์ทั้งหลาย พึงทำลายใยที่แมลงมุม
ทำไว้ไปได้ฉันนั้น บุตรและสามีของเราพากันไปหมด
ไฉนเราจะไม่ปฏิบัติตามบุตรและสามีของเราเล่า.
[๒๒๕๖] (พระนางเทวี ตรัสว่า) ฝูงแร้งเหล่านี้
ครั้นกินเนื้อแล้ว ก็สำรอกออกเสีย จึงบินไปได้ ฝ่าย
แร้งเหล่าใด กินเนื้อแล้วไม่สำรอกเนื้อออก แร้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 243
เหล่านั้นก็ตกอยู่ในเงื้อมมือของหม่อมฉัน ข้าแต่พระ-
ราชา พราหมณ์ได้คลายกามทั้งหลายออกทิ้งแล้ว
ส่วนพระองค์นั้นกลับรับเอากามนั้นไว้บริโภคอีก บุรุษ
ผู้บริโภคสิ่งที่ผู้อื่นคายออกแล้ว ไม่พึงได้รับความ
สรรญเสริญเลย.
[๒๒๕๗] (พระราชา ตรัสว่า) ดูก่อนพระนาง
ปัญจาลีผู้เจริญ บุรุษผู้มีกำลัง ช่วยฉุดบุรุษทุพพลภาพ
ผู้จมอยู่ในเปลือกตมขึ้นได้ ฉันใด เธอก็ช่วยพยุงฉัน
ให้ขึ้นจากกามได้ ด้วยคาถาอันเป็นสุภาษิตฉันนั้นแล.
[๒๒๕๘] (พระศาสดา ตรัสว่า) พระเจ้าเอสุการี
มหาราช ผู้เป็นอธิบดีในทิศ ทรงภาษิตคาถานี้แล้ว ทรง
สละราชสมบัติออกบรรพชา อุปมาดังนาคหัตถีตัว
ประเสริฐ สลัดตัดเครื่องผูกไปได้ฉะนั้น.
[๒๒๕๙] (ชาวเมือง ทูลว่า) ก็พระราชาผู้กล้าหาญ
ประเสริฐที่สุดกว่านรชน ทรงพอพระทัยในบรรพชา-
เพศ ละรัฐสีมาไปแล้ว ขอพระนางโปรดเป็นพระราชา
แห่งข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด พระนางเจ้าอันข้า
พระพุทธเจ้าทั้งหลายคุ้มครองแล้ว โปรดทรงอนุศาสน์
เสวยราชสมบัติ เหมือนเช่นพระราชาเถิด.
[๒๒๖๐] (พระนางเทวี ตรัสว่า) ก็พระราชาผู้
กล้าหาญ ประเสริฐที่สุดกว่านรชน ทรงพอพระทัยใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 244
บรรพชาเพศ ละรัฐสีมาไปแล้ว แม้เราก็จักละกาม
ทั้งหลาย อันน่ารื่นรมย์ใจ เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.
ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐสุดกว่านรชน
ทรงพอพระทัยในบรรพชาเพศ ละรัฐสีมาไปแล้ว
แม้เราก็จักละกามทั้งหลาย อันตั้งอยู่เป็นถ่องแถวแล้ว
เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัย
ย่อมละลำดับไป แม้เราก็จักละกามทั้งหลาย อันน่า-
รื่นรมย์ใจ เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัย
ย่อมละลำดับไป แม้เราก็จักละกามทั้งหลาย อันตั้งอยู่
เป็นถ่องแถว เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัย
ย่อมละลำดับไป แม้เราก็จักเป็นผู้เยือกเย็น ก้าวล่วง
ความข้องทั้งปวง เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.
จบหัตถิปาลชาดกที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 245
อรรถกถาหัตถิปาลชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
การออกมหาภิเนษกรมณ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า จิรสฺส วต
ปสฺสาม ดังนี้.
แท้จริงในครั้งนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่
ในชาตินี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน ตถาคตก็ได้ออกสู่มหาภิเนษกรมณ์
มาแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังนี้
ในอดีตกาล มีพระราชาทรงพระนามว่า เอสุการี ได้ครองราชสมบัติ
อยู่ในพระนครพาราณสี พราหมณ์ปุโรหิตผู้หนึ่งเป็นปิยสหายของพระราชา
นั้น ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์อยู่ด้วยกัน แม้ทั้งสองนั้น หามีโอรสและบุตรผู้จะสืบสกุลไม่
ครั้นวันหนึ่งในยามที่มีความสุข พระราชากับพราหมณ์ปุโรหิต จึงปรึกษากันว่า
อิสริยยศของเราทั้งสองมีมาก โอรสหรือธิดาไม่มีเลย เราทั้งสองควรจะทำ
อย่างไรดี. ลำดับนั้น พระเจ้าเอสุการี ตรัสสั่งพราหมณ์ปุโรหิตว่า สหายรัก
ถ้าหากว่าในเรือนของท่าน จักเกิดมีบุตรขึ้นไซร้ บุตรของท่านจักเป็นเจ้าของ
ครอบครองราชสมบัติของเรา ถ้าว่าเราจักเกิดมีบุตรขึ้น บุตรของเราจักต้อง
เป็นเจ้าของครอบครองโภคสมบัติในเรือนของท่านด้วย. ทั้งสองฝ่ายต่างได้ทำ
การนัดหมายซึ่งกันแลกันไว้ด้วยอาการอย่างนี้. ต่อมาวันหนึ่ง พราหมณ์ปุโรหิต
ไปยังบ้านส่วยของตน ในเวลาจะกลับ จึงเข้าสู่พระนครทางประตูด้านทิศทักษิณ
พบสตรีเข็ญใจชื่อ พหุปุตติกะ คนหนึ่ง ในภายนอกพระนคร นางมีบุตรเจ็ด
คนทั้งหมดไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ลูกชายคนหนึ่งถือกระเบื้องอันเป็นภาชนะหุงต้ม
คนหนึ่งหอบเสื่อปูนอน คนหนึ่งเดินนำหน้า คนหนึ่งเดินตามหลัง คนหนึ่งเดิน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 246
เกาะนิ้วมือมารดาเดินไป คนหนึ่งอยู่ที่สะเอว อีกคนหนึ่งอยู่บนบ่า ลำดับนั้น
พราหมณ์ปุโรหิต ถามหญิงผู้เป็นมารดาว่า แม่มหาจำเริญ บิดาของเด็ก ๆ
เหล่านั้นอยู่ที่ไหน ? ฝ่ายหญิงเข็ญใจนั้น ก็ตอบว่า บิดาของเด็ก ๆ เหล่านี้
จะได้มีอยู่ประจำก็หามิได้. ปุโรหิตจึงถามต่อไปว่า เจ้าทำอย่างไรถึงได้ลูกชาย
มากถึงเจ็ดคนเช่นนี้ นางไม่เห็นหลักฐานอื่นเป็นเครื่องยืนยัน เห็นต้นไทร
ต้นหนึ่ง ขึ้นอยู่ใกล้ประตูพระนคร จึงตอบไปว่า ข้าแต่นาย ดิฉันบวงสรวง
ปรารถนาในสำนักของเทพยดา ซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไทร จึงได้บุตรถึงเจ็ดคน
เทพยดาที่สิงอยู่นี้ให้บุตรทั้งหมดแก่ดิฉัน.
ปุโรหิตพูดว่า ถ้าเช่นนั้นเจ้าจงไปเถิดแล้วลงจากรถตรงไปยังต้นไทร
จับกิ่งไทรเขย่า พลางขู่รุกขเทพยดาว่า เทพยดาผู้เจริญ ท่านไม่ยอมให้
โอรสแก่พระราชาบ้างเลย อะไรบ้างที่ท่านไม่ได้จากสำนักพระราชา ทุก ๆ
ปีมา พระราชาทรงสละพระราชทรัพย์ถึงพันกหาปณะ ตรัสสั่งให้ทำพลีกรรม
แก่ท่าน ท่านยังไม่ให้โอรสแก่พระองค์เลย หญิงเข็ญใจนี้ทำอุปการคุณ
อะไรแก่ท่าน เหตุไรท่านจึงให้บุตรแก่นางถึงเจ็ดคน ถ้าหากว่าท่านไม่ให้
โอรสแก่พระราชาของเรา จากนี้ไปอีก ๗ วัน เราจักให้คนฟันต้นไทร
โค่นลงทั้งราก สับให้เป็นท่อน ๆ ดังนี้แล้วก็หลีกไป พอรุ่งขึ้น ๆ ปุโรหิต
ก็ไปยังต้นไทรนั้น แล้วกล่าวขู่โดยทำนองนี้ จนครบ ๖ วัน. แต่ในวันที่ ๖
ได้จับกิ่งไทรพูดว่า ดูก่อนรุกขเทวดา เหลืออีกเพียงราตรีเดียวเท่านั้น ถ้า
ท่านไม่ยอมให้โอรสผู้ประเสริฐแก่พระราชาของเราไซร้ พรุ่งนี้เราจักให้
สำเร็จโทษท่าน. รุกขเทวดาคำนึงดูรู้เหตุผลนั้นแน่นอนแล้ว คิดว่า เมื่อ
พราหมณ์ผู้นี้ไม่ได้บุตร คงจักทำลายวิมานของเราจนพินาศ เราควรให้บุตร
แก่พราหมณ์ปุโรหิตนี้ ด้วยอุบายอย่างใดหนอ ดังนี้แล้วจึงไปยังสำนักของ
ท้าวจาตุมหาราช แจ้งเนื้อความนั้นให้ทราบ ท้าวจาตุมหาราชกล่าวปฏิเสธว่า
พวกเราไม่สามารถจะให้บุตรแก่พราหมณ์ปุโรหิตนั้นได้ รุกขเทวดาจึงไปยัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 247
สำนักของยักขเสนาบดี ๒๘ ตน แจ้งเรื่องให้ทราบ. แม้ยักขเสนาบดีเหล่านั้น
ก็กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน รุกขเทวดาจึงไปยังสำนักของท้าวสักกเทวราช
กราบทูลให้ทรงทราบ ฝ่ายท้าวสักกเทวราชทรงใคร่ครวญดูว่า พระราชาจักได้
พระราชโอรสผู้สมควรหรือหาไม่ ทอดพระเนตรเห็นเทพบุตร ๔ องค์ผู้มีบุญ
(ควรเกิดในราชตระกูล).
ได้ยินว่า ในภพก่อน ๆ เทพบุตรทั้ง ๔ นั้นเกิดเป็นช่างหูกอยู่ใน
เมืองพาราณสี แบ่งทรัพย์ที่หาได้จากการงานนั้นเป็น ๕ ส่วน บริโภคเสีย ๔
ส่วน ถือเอาส่วนที่ ๕ พร้อมกันทำบุญให้ทาน ช่างทอหูกทั้ง ๔ นั้น เคลื่อน
จากภพนั้นแล้ว บังเกิดในดาวดึงสพิภพ ต่อแต่นั้น เลื่อนขึ้นไปบังเกิดใน
พิภพยามา เที่ยวเสวยทิพยสมบัติอยู่ในเทวโลก ๖ ชั้น วนไปเวียนมาด้วย
อาการอย่างนี้ ก็คราวนั้น ถึงวาระที่เทพบุตรเหล่านั้น จะเคลื่อนจากดาวดึงส
พิภพไปเกิดยังพิภพยามา ท้าวสักกเทวราช จึงเสด็จไปยังสำนักของเทพบุตร
เหล่านั้น ตรัสเรียกมาแล้ว มีเทวบัญชาว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
ควรที่พวกท่านจักไปบังเกิดยังมนุษยโลก พวกท่านจงบังเกิดในพระครรภ์
อัครมเหสี แห่งพระเจ้าเอสุการีราชเถิด.
เทพบุตรเหล่านั้น ได้ฟังพระดำรัสแห่งท้าวสักกเทวราชแล้ว พากัน
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พะย่ะค่ะ พวกข้าพระบาทจักไปตาม
เทวโองการ แต่ว่าพวกข้าพระบาทไม่มีความต้องการราชตระกูล จักพากันไป
บังเกิดในเรือนของท่านปุโรหิต แล้วจักละกามสมบัติออกบวชในเวลาที่ยังเป็น
หนุ่มอยู่นั่นเอง. ท้าวสักกเทวราชทรงรับปฏิญญาของเทพบุตรเหล่านั้นว่า
ดีแล้ว จึงเสด็จมาบอกเนื้อความนั้นแก่รุกขเทวดา. รุกขเทวดาดีใจถวายบังคม
ท้าวสักกเทวราช แล้วตรงไปยังวิมานของตนทันที. ครั้นในวันรุ่งขึ้น พราหมณ์
ปุโรหิตมีบัญชาให้บุรุษที่ล่ำสัน มีกำลังมาประชุมกัน แล้วให้ถือมีดและขวาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 248
เป็นต้น ไปยังโคนต้นไม้ จับกิ่งไทรไว้แล้วพูดว่า ดูก่อนเทพยดาผู้เจริญ
เราเพียรขอบุตรกะท่าน ครบ ๗ วันทั้งวันนี้ บัดนี้เป็นเวลาที่จะสำเร็จโทษ
ท่านละ. ลำดับนั้น รุกขเทวดาจึงออกมาจากระหว่างต้นไทร ด้วยอานุภาพ
อันยิ่งใหญ่ เชื้อเชิญปุโรหิตนั้นมาด้วยเสียงอันไพเราะ แล้วกล่าวว่า ดูก่อน
พราหมณ์ บุตรคนเดียวจะเป็นไรไป เราจักให้บุตรแก่ท่าน ๔ คน พราหมณ์
ปุโรหิต ตอบว่า ข้าพเจ้าไม่มีความต้องการบุตร ท่านโปรดให้แก่พระราชา
ของข้าพเจ้าเถิด. รุกขเทวดากล่าวว่า เราจักให้แก่ท่านเท่านั้น พราหมณ์ปุโรหิต
ขอร้องว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงให้ข้าพเจ้าสองคน ให้พระราชาสองคนเถิด.
รุกขเทวดาตอบว่า เราจะไม่ให้พระราชา จะให้ท่านผู้เดียวเท่านั้น แม้ทั้ง ๔ คน
แต่บุตรทั้ง ๔ นั้น ท่านจักเป็นเพียงแต่สักว่าได้เท่านั้น (เพราะ) บุตรทั้ง
๔ นั้น จะไม่อยู่ครองเรือน จักพากันออกบวช แต่ในเวลาที่ยังเป็นหนุ่ม
ทีเดียว. พราหมณ์ปุโรหิตอ้อนวอนไปว่า ท่านโปรดให้บุตรแก่พระราชา
หมดทั้ง ๔ คนเถิด ส่วนเหตุที่จะไม่ให้บุตรทั้ง ๔ ออกบวช เป็นภาระของ
ข้าพเจ้าเอง. รุกขเทวดา ประทานบุตรผู้ประเสริฐ แก่พราหมณ์ปุโรหิตนั้น
แล้วเข้าไปยังพิภพของตน จำเดิมแต่นั้นมา ลาภสักการะ ก็เกิดแก่เทวดา
อย่างนองเนือง.
เชษฐกเทพบุตร จุติมาบังเกิดในครรภ์นางพราหมณีภรรยา ของ
พราหมณ์ปุโรหิต ในวันขนานนามกุมารนั้น มารดาบิดาพร้อมกัน ให้ชื่อว่า
หัตถิปาลกุมาร แล้วมอบให้นายควาญช้างรับเลี้ยงไว้ เพื่อต้องการป้องกันมิให้
กุมารนั้นบวช. หัตถิปาลกุมารนั้น เจริญเติบโตในสำนักของนายควาญช้าง.
ในกาลที่หัตถิปาลกุมารเดินไปมาได้ เทพบุตรองค์ที่สองก็จุติมาบังเกิดในครรภ์
ของนางพราหมณีอีก. กาลเมื่อกุมารนั้นเกิดแล้ว มารดาบิดาก็ขนานนามให้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 249
อัสสปาลกุมาร. อัสสปาลกุมารก็เจริญเติบโตในสำนักของคนเลี้ยงม้า. ในกาล
ที่บุตรคนที่สามเกิดแล้ว มารดาบิดาขนานนามให้ว่าโคปาลกุมาร มอบให้นาย
โคบาลเลี้ยงไว้ ในเวลาที่บุตรคนที่สี่เกิดแล้ว มารดาบิดาขนานนามให้ว่า
อชปาลกุมาร มอบให้นายอชบาลเลี้ยงไว้. อชปาลกุมารเจริญเติบโตกับพวก
อชบาล. ครั้นกุมารเหล่านั้นเจริญวัย เติบโตแล้ว ได้เป็นผู้มีรูปร่างงดงามยิ่งนัก.
ต่อมามารดาบิดาทั้งสองก็เชื้อเชิญบรรพชิตทั้งหลาย ออกไปเสียจาก
พระราชอาณาเขต เพราะกลัวกุมารเหล่านั้นจะบวช. ในแคว้นกาสิกรัฐทั้งหมด
จะมีบรรพชิตแม้องค์เดียวก็หามิได้. กุมารทั้ง ๔ เหล่านั้น เป็นผู้หยาบช้า
กล้าแข็งยิ่งนัก จะไปสู่ทิศใดก็พากันแย่งชิงเอาสิ่งของที่เขานำจากทิศนั้น ๆ.
เมื่อหัตถิปาลกุมารอายุครบ ๑๖ ปี พระราชาและพราหมณ์ปุโรหิตได้เห็น
สรีรสมบัติแล้ว จึงปรึกษากันว่า กุมารทั้ง ๔ เติบใหญ่แล้วเป็นสมัยที่จะยก
เศวตฉัตรให้ครอบครองราชสมบัติ เราควรจะจัดการกับกุมารเหล่านั้นอย่างไร
ดี แล้วคิดต่อไปว่า กุมารเหล่านั้น นับแต่ได้รับอภิเษกแล้ว คงจักหยาบช้า
สาหัสยิ่งขึ้น ถ้าบรรพชิตทั้งหลายจักมาจากที่ต่าง ๆ ในเวลานี้ กุมารเหล่านี้
เห็นเข้า ก็จักพากันบวชเสีย เวลาที่กุมารเหล่านี้บวชแล้ว ชาวชนบทก็จะ
รวนเร กำเริบ เราทั้งสองต้องทดลองดูก่อน จึงจักอภิเษกกุมารเหล่านั้น
ต่อภายหลัง แล้วทั้งสองคนต่างแปลงเพศเป็นฤาษี (ทำเป็น) เที่ยวภิกษาจารไป
จนถึงประตูนิเวศน์แห่งหัตถิปาลกุมาร หัตถิปาลกุมาร เห็นบรรพชิตจำแลง-
เหล่านั้นแล้ว ยินดี มีความเลื่อมใส เข้าไปใกล้ ถวายนมัสการแล้วกล่าว
คาถา ๓ คาถา ความว่า
นานทีเดียว ข้าพเจ้าเพิ่งได้พบเห็นผู้มีผิวพรรณ
ดังเทพยเจ้า มุ่นชฎาใหญ่ทรงไว้ซึ่งหาบคอน ผู้ทรมาน
กิเลสดังเปลือกตมแล้ว ผู้ย้อมเศียรเกล้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 250
นานนักหนา ข้าพเจ้าเพิ่งได้เห็นพระฤาษีผู้ยินดี
ในธรรมคุณ นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ครองผ้าคากรอง
ปกปิดโดยรอบ.
ขอท่านผู้เจริญจงรับอาสนะ น้ำ ผ้าเช็ดเท้าและ
น้ำมันทาเท้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านด้วย
สิ่งของมีค่ามาก ได้กรุณารับของมีค่ามากของข้าพเจ้า
เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺราหฺมณ ได้แก่ พราหมณ์ผู้ลอยบาป
แล้ว. บทว่า เทววณฺณิน ความว่า ผู้มีวรรณะอันประเสริฐ มีตบะกล้า
มีอินทรีย์ผ่องใสน่านับถือ มีอัตภาพแห่งบรรพชิตมีตบธรรมอันสูงส่ง. บทว่า
ขาริธร ความว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งขาริภารภัณฑ์. บทว่า อิสึ ความว่า ผู้แสวงหา
คุณธรรมมีกองศีลเป็นต้น ดำรงอยู่แล้ว. บทว่า ธมฺมคุเณรต ความว่า ผู้ยิน
ดียิ่งแล้วในส่วนแห่งสุจริตธรรม.
บทว่า อาสน ความว่า หัตถิปาลกุมาร แต่งตั้งอาสนะนี้ไว้ เพื่อฤาษี
เหล่านั้นนั่ง แล้วน้อมน้ำเจือด้วยน้ำหอม ผ้าเช็ดเท้า และน้ำมันสำหรับหยอดเข้า
ไปถวายแล้วกล่าวเชื้อเชิญ. บทว่า อคฺเฆ ความว่า ข้าพเจ้ามอบอาสนะเป็นต้น
อันมีค่ามาก ทั้งหมดเหล่านี้ กะท่านผู้เจริญ. บทว่า กุรุเต โน ความว่า
ขอท่านผู้เจริญจงรับอาสนะเป็นต้นอันมีค่ามากเหล่านี้ ของข้าพเจ้าด้วยเถิด.
หัตถิปาลกุมาร กล่าวเชื้อเชิญบรรดาฤาษีทั้งสองเหล่านั้นเป็นรายรูป
ต่างวาระกันอย่างนี้. ลำดับนั้น ปุโรหิตฤาษีแปลงแกล้งถามว่า แน่ะพ่อหัตถ-
ปาละ เจ้าสำคัญเราทั้งสองเป็นใครกัน จึงกล่าวอย่างนี้ หัตถิปาลกุมารตอบว่า
ข้าพเจ้าสำคัญว่า พวกท่านเป็นฤาษีผู้อยู่ในหิมวันตประเทศ ปุโรหิตแปลงจึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 251
ชี้แจงว่า พ่อคุณ พวกเรามิใช่พระฤาษี นี้คือราชาเอสุการี เราคือปุโรหิต
ผู้เป็นบิดาของเจ้า. หัตถิปาลกุมารถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร
บิดากับพระราชาจึงต้องปลอมเพศเป็นฤาษี ?. ปุโรหิตตอบว่า เพื่อจะทดลอง
เจ้าดู. หัตถิปาลกุมารถามว่า ทดลองข้าพเจ้าทำไม ? พราหมณ์ปุโรหิตจึง
กล่าวว่า ทดลองดูว่า ถ้าเจ้าเห็นพวกเราแปลงเป็นพระฤาษีแล้ว มิได้บวชไซร้
เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราจึงมาเพื่ออภิเษกเจ้าให้เสวยราชสมบัติ. หัตถิปาลกุมาร
กล่าวว่า ข้าแต่ท่านบิดา ข้าพเจ้าไม่มีความต้องการราชสมบัติเลย ข้าพเจ้า
จักบวช. ลำดับนั้น ปุโรหิตผู้บิดาจึงกล่าวชี้แจงกะหัตถิปาลกุมารว่า หัตถิปาล-
กุมารลูกรัก เวลานี้ยังไม่ใช่เวลาที่เจ้าจะบวช เมื่อจะพร่ำสอนตามอัธยาศัย
จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ความว่า
หัตถิปาละลูกรัก เจ้าจงเรียนวิชา และจงแสวง-
หาทรัพย์ จงปลูกฝังบุตรและธิดาให้ดำรงอยู่ในเรือน
เสียก่อน แล้วจงบริโภค กลิ่น รส และวัตถุกาม
ทั้งปวงเถิด กิจที่จะอยู่ป่า เมื่อเวลาแก่สำเร็จประโยชน์ดี
มุนีใด บวชในกาลเช่นนี้ได้ มุนีนั้น พระอริยเจ้า
สรรเสริญ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิจฺจ แปลว่า เล่าเรียนศึกษา. บทว่า
ปุตฺเต ความว่า จงยกเศวตฉัตรให้พวกนาฏกชนเข้าอุปัฏฐากบำรุงโดยวาระ
จนเจริญด้วยบุตรธิดา แล้วให้บุตรธิดาเหล่านั้น ครอบครองบ้านเมืองแทนตน.
บทว่า สพพ ความว่า เจ้าจงเสวยกลิ่นและรสเหล่านี้ ทั้งพัสดุกามที่เหลือ
ทั้งหมดก่อน. บทว่า อรญฺ สาธุ มุนิ โส ปสตฺโถ ความว่า ปุโรหิต
กล่าวว่า การอยู่ป่าของผู้ที่บวชในเวลาแก่ภายหลัง ย่อมได้ประโยชน์สำเร็จดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 252
ผู้ใดบวชในเวลาดังกล่าวมานี้ ผู้นั้นเป็นคนมีความคิด อันอริยชนทั้งหลายมี
พระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว.
ลำดับนั้น หัตถิปาลกุมารกล่าวคาถา ความว่า
วิชาเป็นของไม่จริง และลาภคือทรัพย์ก็ไม่จริง
ใคร ๆ จะห้ามความชราด้วยลาภ คือ บุตรไม่ได้เลย
สัตบุรุษทั้งหลาย สอนให้ปล่อยวางคันธารมณ์ และ
รสารมณ์เสีย ความอุบัติแห่งผลย่อมมีได้ เพราะกรรม
ของตน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น สจฺจา ความว่า ชนทั้งหลายกล่าว
วิทยาการอันใด ว่าเป็นสวรรค์ และเป็นมรรค แต่ก็หาใช่วิทยาการอันนั้น
ให้สำเร็จประโยชน์ไม่ วิชาทั้งหลายเป็นของเปล่าประโยชน์ไร้สาระ หาผลมิได้.
บทว่า วิตฺตลาโภ ความว่า แม้ลาภคือทรัพย์สมบัติ จะเป็นของมีสภาพเป็น
อันเดียวไปทุกอย่างก็หามิได้มี เพราะเป็นของปัญจสาธารณ์. บทว่า น ชร
ความว่า ข้าแต่ท่านบิดา ใคร ๆ จะชื่อว่าสามารถ เพื่อจะห้ามชรา หรือพยาธิ
มรณะได้ด้วยลาภคือบุตรก็มิได้มี เพราะลาภคือบุตรเป็นต้นนี้ มีทุกข์เป็นมูล
เป็นที่ตั้งแห่งอุปธิกิเลส. บทว่า คนฺเธ รเส ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย
มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมกล่าวสอนเฉพาะความปล่อยวางคันธารมณ์
รสารมณ์ และอารมณ์ที่เหลือทั้งหลายเท่านั้น. บทว่า สกมฺมุนา ความว่า
ความบังเกิดแห่งผลคือความเผล็ดผล ย่อมเกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะกรรม
อันตนทำไว้เท่านั้น ข้าแต่ท่านบิดา เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน.
พระราชาทรงสดับคำของกุมารแล้ว ตรัสพระคาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 253
คำของเจ้าที่ว่า ความอุบัติแห่งผลย่อมมีได้
เพราะกรรมของตนนั้น เป็นคำจริงแท้แน่นอน อนึ่ง
มารดาบิดาของท่านนี้ แก่เฒ่าแล้ว หวังจะเห็นท่านมี
อายุยืนร้อยปี ไม่มีโรค.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสสต อโรคฺย ความว่า พระราชา
ตรัสว่า มารดาบิดาของเจ้านั้น ประสงค์จะเห็นเจ้ามีอายุยืนร้อยปี ไม่มีโรคภัย
เบียดเบียน เมื่อเจ้ามีชีวิตอยู่ถึงร้อยปี จักได้เลี้ยงดูมารดาบิดาบ้าง.
หัตถิปาลกุมาร ฟังพระราชดำรัสแล้ว กราบทูลว่า ขอเดชะพระองค์
ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เหตุไรพระองค์จึงตรัสเช่นนี้ แล้วกล่าวคาถา
สองคาถา ความว่า
ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐกว่านรชน ความเป็น
สหายกับความตาย ความไมตรีกับความแก่พึงมีแก่
ผู้ใด หรือแม้ผู้ใดจะพึงรู้ว่า เราจักไม่ตาย มารดาบิดา
พึงเห็นผู้นั้นมีอายุยืนร้อยปี ไม่มีโรคเบียดเบียนได้ใน
บางคราว.
บุรุษเอาเรือมาจอดไว้ที่ท่าน้ำ รับคนฝั่งนี้ส่งถึง
ฝั่งโน้น แล้วย้อนกลับรับคนฝั่งโน้น พามาส่งถึงฝั่งนี้
ฉันใด ชรา และพยาธิ ก็ย่อมนำเอาชีวิตสัตว์ไปสู่
อำนาจแห่งมัจจุราชอยู่เนือง ๆ ฉันนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺขี ได้แก่ มิตรธรรม. บทว่า มรเณน
ความว่า ความเป็นมิตรกับความตายโดยสมมติว่า นายทัตตะ นายมิตตะ ตาย
ไปแล้ว. บทว่า ชราย ความว่า ก็มิตรไมตรีกับชราอันปรากฏพึงมีแก่ผู้ใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 254
อธิบายว่า มรณะนี้กับชราไม่เคยเป็นมิตรกับผู้ใดเลย. บทว่า เอเรติ เจน
ความว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า บุรุษจอดเรือไว้ที่ท่าน้ำแล้ว ให้คนที่จะ
ข้ามไปฝั่งโน้นลงเรือ ถ้าเขาเอาถ่อยัน หรือฉุดไปด้วยใจรัก ย่อมให้เรือ
หวั่นไหวติดต่อกันไป ทีนั้นก็นำผู้นั้นเข้าสู่ฝั่งโน้นได้ฉันใด ชรา และพยาธิ
ย่อมนำสัตว์ทั้งหลายเข้าไปสู่อำนาจแห่งมฤตยู อันเป็นที่สุด (ของชีวิต) เป็นนิตย์
ฉันนั้น.
ครั้นหัตถิปาลกุมาร แสดงชีวิตและสังขารแห่งสัตว์เหล่านี้ ว่าเป็น
ของนิดหน่อยอย่างนี้แล้ว จึงถวายโอวาทพระราชาว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า
ขอพระองค์ดำรงอยู่เป็นสุขเถิด ชรา พยาธิ และมรณะ ย่อมรุกรานเข้าใกล้
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้กำลังกราบทูลสนทนาอยู่กับพระองค์ทีเดียว ขอพระองค์
อย่าได้ทรงประมาทมัวเมา แล้วถวายบังคมพระราชา กราบไหว้บิดาพาบริวาร
ของตน ละทิ้งราชสมบัติในพระนครพาราณสี ออกไปด้วยตั้งใจว่า เราจัก
บรรพชา. มหาชนออกไปพร้อมกับหัตถิปาลกุมาร ด้วยคิดว่า ขึ้นชื่อว่า
บรรพชานี้ คงจะงดงามดี. ได้มีบริษัทติดตามไปประมาณหนึ่งโยชน์. หัตถิ-
ปาลกุมารไปถึงฝั่งน้ำคงคา พร้อมด้วยบริษัทนั้น เพ่งดูน้ำในแม่น้ำคงคา
เจริญกสิณบริกรรม ยังฌานให้บังเกิดแล้ว คิดว่า สมาคมนี้จักใหญ่ยิ่ง น้องชาย
ของเราสามคน มารดาบิดาของเรา พระราชาและพระราชเทวี ท่านทั้งหมด
เหล่านั้น พร้อมด้วยบริวารก็จักบวช เมืองพาราณสีจักว่างเปล่า เราจักอยู่ใน
ที่นี้แหละ จนกว่าคนเหล่านั้นจะตามมา หัตถิปาลกุมาร นั่งให้โอวาทแก่มหาชน
อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานั่นเอง.
ในวันรุ่งขึ้น พระเจ้าเอสุการี กับพราหมณ์ปุโรหิต คิดกันว่า เจ้า
หัตถิปาลราชกุมารสละราชสมบัติ พามหาชนล่วงหน้าไปก่อน ด้วยคิดว่า
จักบวช ดังนี้แล้ว นั่งพักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแล้ว เราทั้งสองต้องทดลอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 255
อัสสปาลกุมารดู จักได้อภิเษกให้ครองราชสมบัติ. คนทั้งสองจึงได้ไปยัง
ประตูเรือนของอัสสปาลกุมาร ด้วยการจำแลงเพศเป็นฤาษีเหมือนกัน. ฝ่าย
อัสสปาลกุมารครั้นเห็นแล้ว มีจิตเลื่อมใส เข้าไปใกล้แล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า
นานมาแล้วข้าพเจ้าเพิ่งจะได้เห็น แล้วปฏิบัติตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั้น. แม้
ฤาษีจำแลงเหล่านั้น ก็บอกอัสสปาลกุมารอย่างที่กล่าวมาแล้วเหมือนกัน และ
ได้แถลงเหตุที่ตนมาให้ทราบ. อัสสปาลกุมารถามว่า เมื่อหัตถิปาลกุมารพี่ชาย
ของข้าพเจ้ายังอยู่ ไยเศวตฉัตรจะมาถึงข้าพเจ้าก่อนเล่า เมื่อบิดาตอบว่า ลูกรัก
พี่ชายของเจ้าพูดว่า ไม่ต้องการราชสมบัติ จักบวช ออกไปบวชเสียแล้ว จึง
ถามต่อไปว่า เดี๋ยวนี้พี่ชายของข้าพเจ้าอยู่ที่ไหน ครั้นบิดาบอกว่า พำนักอยู่ที่
ฝั่งแม่น้ำคงคา จึงพูดว่า ข้าแต่ท่านบิดา ข้าพเจ้าไม่มุ่งหมายราชสมบัติ ซึ่ง
อุปมาดังก้อนเขฬะ อันพี่ชายของข้าพเจ้าบ้วนทิ้งแล้ว แท้จริงสัตว์ทั้งหลาย
ผู้โง่เขลาเบาปัญญา ย่อมไม่อาจจะทิ้งกิเลสนั้นได้ แต่ข้าพเจ้าจักละ เมื่อจะ
แสดงธรรมแก่พระราชาและบิดาของตน ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
กามทั้งหลายเป็นดังเปลือกตม เป็นเครื่องให้จม
ลง เป็นเครื่องนำน้ำใจสัตว์ไป ข้ามได้ยาก เป็นที่ตั้ง
แห่งมฤตยู สัตว์ทั้งหลายผู้ข้องอยู่ในกามอันเป็นดัง
เปลือกตม เป็นเครื่องให้จมลงนี้ เป็นสัตว์มีจิตเลว-
ทราม ย่อมข้ามถึงฝั่งไม่ได้.
เมื่อครั้งก่อน อัตภาพของข้าพระองค์นี้ ได้
กระทำกรรมอันหยาบช้า ผลแห่งกรรมนั้น อันข้า
พระองค์ยึดไว้มั่นแล้ว ข้าพระองค์จะพ้นไปจากผล
แห่งกรรมนี้ไม่ได้เลย ข้าพระองค์จักปิดกั้นรักษา
อัตภาพนั้นอย่างรอบคอบ ขออัตภาพนี้ อย่าได้ทำ
กรรมอันหยาบช้านี้อีกเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 256
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปงฺโก ได้แก่ เปลือกตมอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า ปลิโป ได้แก่ เปลือกตมละเอียด อันเจือด้วยทรายละเอียด. ใน
สองอย่างนั้น ท่านกล่าวว่า กามชื่อปังกะ ด้วยอรรถว่า ยังสัตว์ให้ข้อง ชื่อว่า
ปลิปะ ด้วยอำนาจยังสัตว์ให้จมลง. บทว่า ทุตฺตรา แปลว่า ก้าวล่วงได้ยาก.
บทว่า มจฺจุเธยฺยา ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งมฤตยู. เพราะว่า สัตว์ทั้งหลาย
ทั้งข้องอยู่ ทั้งเข้าไปใกล้กามเหล่านี้ ไม่สามารถจะข้ามไปได้ ย่อมถึงทั้ง
ความทุกข์และความตาย มีประการดังที่ท่านกล่าวไว้ ในทุกขักขันธปริยายสูตร
ด้วยเหตุนั้น อัสสปาลกุมารจึงกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ส่ายซ่านไปในกามปังกะ
กามปลิปะนี้แล้ว เป็นผู้มีสภาพแห่งจิตเลวทราม ย่อมข้ามฝั่งไม่ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสนฺนา ความว่า ผู้ส่ายซ่านไป. ปาฐะว่า
พฺยสนฺนา ดังนี้ก็มี ความก็อย่างเดียวกันนี้. บทว่า หีนตฺตรูปา ได้แก่
เป็นผู้มีสภาพแห่งจิตต่ำทราม. บทว่า ปาร ความว่า ย่อมไม่สามารถจะไป
สู่ฝั่งแห่งพระนิพพานได้. บทว่า อย ความว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า
อัตภาพของข้าพระพุทธเจ้านี้ เจริญเติบโตมากับพวกนายควาญม้า ได้กระทำ
บาปกรรมอันหยาบช้าสาหัสเป็นอันมาก ด้วยสามารถแห่งการปล้น แย่งชิง
เบียดเบียนมหาชนเป็นต้น. บทว่า สวาย คหิโต ความว่า วิบากแห่งกรรม
นี้นั้น ข้าพระพุทธเจ้ายึดไว้มั่นแล้ว. บทว่า น หิ โมกฺขิโต เม ความว่า
เมื่อความเป็นไปแห่งสารวัฏยังมีอยู่ ความพ้นไปจากผลแห่งอกุศลกรรมนี้
ของข้าพระพุทธเจ้า จะมีอยู่ก็หามิได้. บทว่า โอรุนฺธิยา น ปริรกฺขิสฺสามิ
ความว่า บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจักปิดกั้นกายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร
รักษาอัตภาพนั้นไว้โดยรอบคอบ เพราะเหตุไร. บทว่า มาย ปุน ลุทฺทมกาสิ
กมฺม ความว่า เพราะต่อแต่นี้ไป ข้าพระพุทธเจ้าจักไม่กระทำความชั่ว จัก
กระทำแต่ความดีอย่างเดียวเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 257
อัสสปาลกุมารให้โอวาทต่อไปว่า ขอพระองค์และท่านบิดา จงดำรง
อยู่เป็นสุขเถิด ชรา พยาธิ และมรณะย่อมรุกรานข้าพระพุทธเจ้า ผู้กำลัง
กล่าวสนทนากับท่านทั้งสองอยู่ทีเดียว แล้วพาบริษัทมีโยชน์หนึ่งเป็นกำหนด
ออกไปยังสำนักของหัตถิปาลกุมาร. หัตถิปาลกุมารนั่งอยู่บนอากาศ แสดง
ธรรมแก่อัสสปาลกุมารแล้วกล่าวว่า น้องรัก สมาคมนี้จักใหญ่ยิ่ง พวกเราจัก
อยู่ในที่นี้ก่อน. ฝ่ายอัสสปาลกุมารก็รับคำ (แล้วอยู่ในที่นั้น ). วันรุ่งขึ้น
พระราชากับราชปุโรหิต พากันไปสู่นิเวศน์ของโคปาลกุมาร ด้วยอุบายอย่างนั้น
เหมือนกัน อันโคปาลกุมารยินดีต้อนรับ เหมือนดังที่กล่าวมาแล้ว จึงแจ้งเหตุ
แห่งการมาของตนให้ทราบ. แม้โคปาลกุมารก็ปฏิเสธเหมือนอัสสปาลกุมาร
กล่าวว่า ข้าพเจ้าปรารถนาจะบวชมานานแล้ว. เที่ยวใคร่ครวญหาทางบรรพชา
ดังคนหาโคที่หายไป ข้าพเจ้าเห็นทางที่พี่ชายทั้งสองของข้าพเจ้าไปแล้ว
เหมือนคนพบรอยโคที่หายไป ฉะนั้นข้าพเจ้าเองก็จักไปตามทางนั้นเหมือนกัน
แล้วกล่าวคาถา ความว่า
ขอเดชะพระราชาธิบดี บุรุษผู้เลี้ยงโคไม่เห็นโค
ที่หายไปในป่าทึบมืด ฉันใด ขอเดชะพระองค์ผู้ทรง
พระนามว่า เอสุการี ประโยชน์ของข้าพระพุทธเจ้า
ก็หายไปแล้วฉันนั้น อย่างไรเล่า ข้าพระพุทธเจ้าจักไม่
แสวงหาต่อไป.
บรรดาบทเหล่านั้น โคปาลกุมารเรียกพระราชาว่า เอสุการี. บทว่า
มมตฺโถ ความว่า ประโยชน์กล่าวคือบรรพชาของข้าพระพุทธเจ้าหายไป
เหมือนโคหายไปในป่า. บทว่า โสห ความว่า วันนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเห็น
รอยทางแห่งบรรพชิตทั้งหลายแล้ว ไฉนจะไม่แสวงหาการบรรพชา ขอเดชะ
พระนรินทรราชเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า จักไปสู่ทางที่พี่ชายทั้งสองของข้าพระ-
พุทธเจ้าไปแล้วเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 258
ลำดับนั้น พระราชาและปุโรหิตบิดา พากันกล่าวอ้อนวอนโคปาลกุมาร
ว่า พ่อโคปาลกุมาร รออีกวันสองวันก่อนเถิด พอให้เราทั้งสองเบาใจแล้ว
ภายหลังเจ้าจักได้บวช. โคปาลกุมารกราบทูลว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า
กรรมดีควรทำในวันนี้ ไม่ควรกล่าวผัดเพี้ยนว่า จักทำในวันพรุ่งนี้ ขึ้นชื่อว่า
กรรมดีควรทำวันนี้ วันนี้เท่านั้น แล้วกล่าวคาถานอกนี้ ความว่า
บุรุษผู้กล่าวผัดเพี้ยนการงานที่ควรจะทำในวัน
นี้ว่า ควรทำในวันพรุ่งนี้ การงานที่ควรจะทำในวัน
พรุ่งนี้ว่า ควรทำในวันต่อไป ย่อมเสื่อมจากการงาน
นั้น ธีรชนคนใดรู้ว่า สิ่งใดเป็นอนาคต สิ่งนั้นไม่มี
แล้ว พึงบรรเทาความพอใจที่เกิดขึ้นเสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิยฺโย ได้แก่ ในวันพรุ่งนี้. บทว่า
ปเร ได้แก่ ในวันมะรืนนี้. มีคำอธิบายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า บุรุษใด
ผัดเพี้ยนการงานที่ควรทำในวันนี้ว่า ควรทำในวันพรุ่งนี้ การงานที่ควรทำใน
วันพรุ่งนี้ ว่าควรทำในวันมะรืนนี้ แล้วไม่ทำการงาน บุรุษนั้นย่อมเสื่อมจาก
การงานนั้น คือไม่สามารถจะทำการงานนั้นให้สำเร็จได้. โคปาลกุมารแสดง
ถึงการงานชื่อ " ภัทเทกรัตตะ " มีราตรีเดียว เจริญด้วยอาการอย่างนี้. อรรถา-
อธิบายความข้อนี้ ควรกล่าวในภัทเทกรัตตสูตร. บทว่า อนาคต เนตมตฺถิ
ความว่า บัณฑิตชนคนใดรู้ว่า สิ่งใดเป็นอนาคต สิ่งนั้นยังไม่มีไม่เป็นแล้ว
พึงบรรเทาคือนำกุศลฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วไป.
โคปาลกุมารแสดงธรรมด้วยคาถา ๒ คาถาอย่างนี้แล้วกล่าวว่า ขอ
ท่านทั้งสองจงดำรงอยู่เป็นสุขเถิด ชรา พยาธิ มรณะเป็นต้น ย่อมคุกคาม
ข้าพเจ้า ผู้กำลังกล่าวสนทนาอยู่กับท่านทั้งสองทีเดียว แล้วพาบริวารมีโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 259
หนึ่งเป็นกำหนด ออกไปยังสำนักแห่งพี่ชายทั้งสอง. หัตถิปาลกุมารจึงแสดง
ธรรมแก่โคปาลกุมาร. วันรุ่งขึ้นพระราชาและราชปุโรหิต ไปยังนิเวศน์ของ
อชปาลกุมาร โดยอุบายอย่างนั้นเหมือนกัน แม้อชปาลกุมารนั้นก็ยินดีต้อนรับ
ดังที่กล่าวมาแล้ว ท่านทั้งสองบอกเหตุที่ตนมาแล้วกล่าวว่า เราทั้งสองจะยก
เศวตฉัตรมอบให้เจ้า. อชปาลกุมารถามว่า พี่ชาย ๓ คนของข้าพเจ้าไปไหน ?
พระราชาและราชปุโรหิตตอบว่า พี่ชายของเจ้าทั้ง ๓ คนนั้น กล่าวว่าไม่มี
ความต้องการด้วยราชสมบัติ ทิ้งเศวตฉัตรไว้ แล้วพาบริวารมี ๓ โยชน์เป็น
กำหนด ออกไปบวชพำนักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา. อชปาลกุมารกล่าวว่า ข้าพเจ้า
จักเอาศีรษะทูลราชสมบัติ อันเปรียบเสมือนก้อนเขฬะ ที่พี่ชายของข้าพเจ้าทั้ง
๓ บ้วนทิ้งแล้ว เที่ยวไปอยู่หาได้ไม่ แม้ข้าพเจ้าก็จักบวช. พระราชาและ
ราชปุโรหิตกล่าววิงวอนว่า พ่ออชปาลกุมาร เจ้ายังหนุ่มนัก เป็นภาระที่เรา
ทั้งสองต้องอุ้มชู คงจักได้บวชในเวลาที่ถึงวัยอันสมควร. ลำดับนั้น อชปาล-
กุมารจึงกล่าวว่า ท่านทั้งสองพูดอย่างไร ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ย่อม
ตายในเวลาเป็นเด็กก็มี ในเวลาแก่ก็มี มิใช่หรือ ไม่มีนิมิตเครื่องหมายที่มือ
หรือที่เท้าของใครเลยว่า ผู้นี้จักตายในเวลาเป็นเด็ก ผู้นี้จักตายในเวลาแก่เฒ่า
ข้าพเจ้าเองก็ไม่รู้เวลาตายของข้าพเจ้า เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักบวชเสียเดี๋ยวนี้
ทีเดียว แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ข้าพระองค์ได้เห็นหญิงสาวคนหนึ่ง รูปร่างงาม
พอประมาณ มีดวงเนตรเหมือนดอกการะเกด มัจจุราช
มาฉุดคร่าเอาหญิงสาวคนนั้น ซึ่งกำลังตั้งอยู่ในปฐมวัย
ยังไม่ทันได้บริโภคโภคสมบัติไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 260
อนึ่ง ชายหนุ่มมีทรวดทรงงาม มีใบหน้าผ่องใส
น่าดูน่าชม มีวรรณะเรืองรองดังทองคำ มีหนวดเครา
ละเอียดอ่อนดังเกสรดอกคำฝอย แม้ชายหนุ่มเห็น
ปานนี้ ก็ย่อมไปสู่อำนาจแห่งมฤตยู ขอเดชะ ข้า-
พระองค์จะละกามละเรือนเสียแล้ว จักบวช ขอได้
โปรดทรงพระกรุณา อนุญาตให้ข้าพระองค์บวชเถิด
พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โว เป็นนิบาต. ความก็ว่าข้าพระองค์
เห็นอยู่ทีเดียว. บทว่า มตฺตูปม ความว่า สัญจรไปมา ด้วยลีลาการแย้มสรวล
เจรจาไพเราะ เปรียบได้พอประมาณ. บทว่า เกตกปุปฺผเนตฺต ความว่า
มีดวงเนตรหนากว้างคล้ายกลีบดอกการะเกด. บทว่า อภุตฺวา โภเค ความว่า
ยังไม่ทันได้บริโภคโภคสมบัติเลยทีเดียว. บทว่า วชเต ความว่า มฤตยูมา
ยึดเอาตัวนางกุมารี ผู้มีรูปทรงงดงาม กำลังตั้งอยู่ในปฐมวัย ยังไม่ทันได้
บริโภคโภคสมบัติเลยทีเดียว ไปเสียอย่างนี้ ยังความเศร้าโศกให้ตกใน
เบื้องบนมารดาบิดาอย่างใหญ่หลวง. บทว่า สุชาโต ได้แก่ มีสรีรสัณฐาน
ทรวดทรงงาม. บทว่า สุมุโข ความว่า มีพักตร์ผ่องใส ดังแว่นกรอบทอง
และพระจันทร์ในวันเพ็ญ.
บทว่า สุทสฺสโน ความว่า สมบูรณ์ด้วยรูปอันอุดมน่าทัศนา. บทว่า
สาโม ความว่า มีผิวกายเรืองรองเสมอด้วยทองธรรมชาติ. บทว่า กุสุมฺภ-
ปริกิณฺณมสฺสุ ความว่า มีหนวดเคราละเอียดงดงามคล้ายเกสรดอกคำฝอย
เพราะทั้งเรียบร้อยสนิท ทั้งละเอียดอ่อน. ด้วยบทนี้ อชปาลกุมารแสดงว่า
เยาวกุมารแม้เห็นปานนี้ ยังไปสู่อำนาจของมฤตยุราชได้ เพราะมฤตยุราชไร้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 261
ความกรุณาคร่าชีวิตแม้เยาวกุมารเห็นปานนี้ไป คล้ายกับบุคคลเพิกถอนภูเขา
สิเนรุราช ฉะนั้น. บทว่า หิตฺวาน กาเม ปฏิคจฺฉ เคห อนุชานาถ ม
ปพฺพชิสฺสามิ เทว ความว่า ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
ก็เมื่อเครื่องผูกคือบุตรและภรรยาเกิดแล้ว เครื่องผูกนั้นเป็นของตัดขาดได้ยาก
ด้วยเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจักละกามและเหย้าเรือนเสียก่อนทีเดียว แล้วบวช
เสียในบัดนี้ ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด.
ก็แหละครั้นอชปาลกุมารกล่าวอย่างนี้แล้ว กล่าวต่อไปว่า ขอท่าน
ทั้งสองจงดำรงอยู่เป็นสุขเถิด ชรา พยาธิและมรณะรุกรานข้าพเจ้า ผู้กำลังกล่าว
สนทนากับท่านทั้งสองอยู่ทีเดียว ดังนี้แล้ว ไหว้กราบลาท่านทั้งสอง พาบริวาร
มีโยชน์หนึ่งเป็นกำหนด ออกไปสู่ฝั่งแม่น้ำคงคาทีเดียว. หัตถิปาลกุมารนั่งอยู่
ในอากาศแสดงธรรม แม้แก่อชปาลกุมารนั้น แล้วพูดว่า สมาคมจักใหญ่ยิ่ง
แล้ว นั่งลงพำนักอยู่ในที่นั้นต่อไป. วันรุ่งขึ้นพราหมณ์ปุโรหิตนั่งท่ามกลาง
บัลลังก์ พลางคิดว่า บุตรทั้ง ๔ ของเราบวชแล้ว บัดนี้ เหลือแต่เราผู้เดียว
เป็นเหมือนมนุษย์ตอไม้ แม้เราก็จักบวช. เขาจึงปรึกษากับนางพราหมณี
กล่าวคาถา ความว่า
ดูก่อนแม่วาเสฏฐิ ต้นไม้จะได้นามโวหารว่า
ต้นไม้ได้ ก็เพราะมีกิ่งและใบ ชาวโลกเขาเรียกต้นไม้
ที่ไม่มีกิ่งและใบว่า เป็นตอไม้ ทุกวันนี้ เราเป็นผู้มีบุตร
ละทิ้งไปแล้ว ถึงเวลาที่เราจะบวชภิกษาจาร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลภเต สมญฺ ความว่า อนุปาทินนก-
สังขาร ได้ชื่อว่าต้นไม้. พราหมณ์ปุโรหิตเรียกนางพราหมณีว่า วาเสฏฐี.
บทว่า ภิกฺขาจริยาย ความว่า พราหมณ์ปุโรหิตกล่าวว่า แม้เราก็ถึงกาลที่
ควรจะบวช จักได้ไปสู่สำนักของบุตรทั้งสี่นั่นเทียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 262
ครั้นพราหมณ์ปุโรหิตกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเรียกพราหมณ์หมื่นหกพัน
คน มาประชุมกัน. ลำดับนั้นพราหมณ์ปุโรหิตจึงกล่าวกะพราหมณ์เหล่านั้นว่า
พวกท่านจักทำอย่างไร ? พราหมณ์เหล่านั้นย้อนถามว่า ท่านอาจารย์เล่า
จักทำอย่างไร ? พราหมณ์ปุโรหิตตอบว่า เราจักบวชในสำนักแห่งบุตรของเรา
พราหมณ์เหล่านั้นจึงกล่าวว่า นรกเป็นของร้อนเฉพาะท่านผู้เดียวก็หามิได้
แม้เราทั้งหลายก็จักบวช. พราหมณ์ปุโรหิตมอบทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ ให้แก่
นางพราหมณีผู้ภรรยาแล้ว พาพราหมณบริษัทมีโยชน์หนึ่งเป็นกำหนด ไปสู่
สำนักแห่งบุตรทั้ง ๔ ทันที. หัตถิปาลกุมารยืนอยู่ในอากาศ แสดงธรรมแก่
บริษัทแม้นั้น. ในวันรุ่งขึ้น นางพราหมณีคิดว่า บุตร ๔ คนของเราละทิ้ง
เศวตฉัตรไป ด้วยคิดว่า จักบวช แม้พราหมณ์สามีของเราก็ทิ้งสมบัติ ๘๐
โกฏิ พร้อมด้วยตำแหน่งปุโรหิต ไปสู่สำนักบุตรทั้ง ๔ เหมือนกัน เราผู้เดียว
เท่านั้น จักทำอะไรได้ เราก็จักไปตามทางที่บุตรของเราไปแล้วเหมือนกัน.
นางพราหมณี เมื่อจะนำเอาเรื่องที่ผ่านมาแล้วเป็นอุทาหรณ์ จึงกล่าวอุทาน
คาถา ความว่า
นกกระเรียนทั้งหลาย บินไปในอากาศได้คล่อง
แคล่ว ฉันใด เมื่อสิ้นฤดูฝนแล้วหงส์ทั้งหลาย พึง
ทำลายใยที่แมลงมุมทำไว้ไปได้ ฉันนั้น บุตรและสามี
ของเราพากันไปหมด ไฉนเราจะไม่ปฏิบัติตามบุตร
และสามีของเราเล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฆสฺมึ โกญฺจาว ยถา ความว่า
นกกระเรียนทั้งหลาย บินไปได้ไม่ติดอยู่ในอากาศฉันใด. บทว่า หิมจฺจเย
ความว่า เมื่อฤดูฝนล่วงไปแล้ว. บทว่า กตานิ ชาลานิ ปทาเลยฺยุ หสา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 263
ความว่า ได้ยินว่า ในอดีตกาล หงส์ทองเก้าหมื่นหกพัน พากันเก็บข้าวสาลีไว้
ในกาญจนคูหา ให้พอกินจนสิ้นฤดูฝน ไม่ออกไปภายนอก เพราะกลัวฝน
อยู่ในถ้ำทองนั้นตลอด ๔ เดือนฤดูฝน ครั้งนั้น แมลงมุมจึงขึงข่าย ดักไว้ที่
ประตูถ้ำ ของหงส์เหล่านั้น. ในหงส์เหล่านั้น ดรุณหงส์สองตัว ตัดใยให้ขาด
เป็นสองตอน. ดรุณหงส์เหล่านั้น ตัดใยได้ขาดเพราะเป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลัง
แล้ว บินไปข้างหน้าก่อนทีเดียว หงส์ที่เหลือก็บินไปตามที่ดรุณหงส์ไปแล้ว.
นางพราหมณี เมื่อจะประกาศความนั้น จึงกล่าวคาถาอย่างนี้. ท่านกล่าวอธิบาย
ไว้ดังนี้ นกกระเรียนบินไปในอากาศได้ไม่ขัดข้องฉันใด หงส์ทั้งหลายก็ฉันนั้น
เมื่อล่วงเลยฤดูฝนแล้ว ดรุณหงส์สองตัว ทำลายข่ายที่แมลงมุมทำไว้ แล้วบินไป
ทีนั้นหงส์อื่น ๆ ก็บินไปตามทางที่ดรุณหงส์นั้นไป ก็บัดนี้บุตรของเราตัดข่าย
คือกามไปแล้ว เหมือนดรุณหงส์ตัดข่ายแมลงมุมไปฉะนั้น แม้เราก็ควรจะไป
ตามทางที่บุตรเหล่านั้นของเราไปแล้ว เพราะฉะนั้น นางพราหมณีเมื่อจะไปตาม
ความตั้งใจนี้ จึงกล่าวว่า ลูกและผัวของเราพากันไปหมด ไฉนเราจะไม่พึง
คล้อยตามเล่า ดังนี้.
นางพราหมณีตกลงใจว่า เมื่อเรารู้ชัดอย่างนี้ ไฉนจักไม่ออกบวช
เราจักบวชแน่นอน ดังนี้แล้ว จึงเรียกนางพราหมณีทั้งหลายมาชี้แจง แล้ว
กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจักทำอย่างไร ? นางพราหมณีเหล่านั้น ถามว่า ข้าแต่
แม่เจ้า ท่านเล่าจักทำอย่างไร ? นางพราหมณีตอบว่า เราจักบวช. นาง-
พราหมณีพากันพูดว่า ถึงพวกข้าพเจ้าก็จักบวช นางพราหมณีจึงสละละโภค-
สมบัตินั้น พาบริษัทมีโยชน์หนึ่งเป็นกำหนดไปสู่สำนักบุตรของตนทันที หัตถิ-
ปาลกุมาร นั่งบนอากาศแสดงธรรมแก่บริษัทแม้นั้น. วันรุ่งขึ้น พระราชา
ตรัสถามราชบุรุษว่า ปุโรหิตไปไหน ? ราชบุรุษกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้สมมติเทพ ท่านปุโรหิตและนางพราหมณี ละทิ้งสมบัติทั้งหมด พาบริวาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 264
ของตนมีสองโยชน์เป็นกำหนด ไปสู่สำนักแห่งบุตรชายทั้ง ๔ แล้ว พระเจ้าข้า.
พระราชาทรงพระดำริว่า ทรัพย์สมบัติที่ไม่มีเจ้าของปกครองย่อมตกเป็นของเรา
แล้วตรัสสั่งให้ราชบุรุษ ไปขนเอาทรัพย์สมบัติมาจากเรือนของปุโรหิตทั้งหมด.
ต่อมาพระอัครมเหสีของท้าวเธอตรัสถามราชบุรุษว่า พระราชาทรงทำอะไรอยู่
เมื่อราชบุรุษกราบทูลว่า พระราชาตรัสสั่งให้ขนทรัพย์มาจากเรือนของปุโรหิต
จึงตรัสถามว่า ปุโรหิตไปไหน ? ทรงสดับข่าวว่า ปุโรหิตพร้อมด้วยภรรยา
ออกบวชเสียแล้ว จึงทรงดำริว่า พระราชสวามีของเรานี้ช่างหลงใหลด้วย
โมหจริต ให้ไปขนเอาทรัพย์สมบัติที่เป็นเหมือนคบเพลิง อันพราหมณ์ปุโรหิต
นางพราหมณีและบุตร ๔ คน ของเขาละทิ้ง และเป็นเหมือนก้อนเขฬะที่เขา
บ้วนทิ้งแล้ว เอามาบรรจุไว้ในพระคลังหลวง เราจักให้ท้าวเธอทิ้งสมบัตินั้น
เสีย ด้วยอุปมาข้อเปรียบเทียบ ดังนี้แล้ว รับสั่งให้คนไปขนเอาเนื้อสุนัขและ
โค มากองไว้ที่หน้าพระลานหลวง จัดแจงทางให้ตรงแล้วรับสั่งให้ขึงตาข่าย
ล้อมไว้โดยรอบ แร้งทั้งหลายเห็นเนื้อแต่ไกล จึงโผลงมาเพื่อจะกินเนื้อนั้น
แร้งในจำนวนนั้น พวกที่มีปัญญารู้ว่าเขาขึงตาข่ายดักไว้ คิดว่า เรากินเนื้ออิ่ม
หนักกาย ไม่อาจบินไปตรง ๆ ได้ จึงคายสำรอกเนื้อที่ตนกินแล้วออกเสีย
โผบินขึ้นไปตรงได้ หาติดข่ายไม่ ส่วนพวกที่โง่เขลาเบาปัญญา พากันกินเนื้อ
ที่แร้งเหล่านั้น คายสำรอกทิ้งไว้ จนกายหนักไม่อาจบินเหินไปตรง ๆ ได้
ก็พากันติดอยู่ในข่าย ราชบุรุษทั้งหลายจับแร้งได้ตัวหนึ่ง แล้วนำมาถวาย
พระเทวี พระนางจึงนำแร้งตัวนั้น ไปสู่สำนักพระราชาทูลว่า ขอเดชะพระ-
มหาราชเจ้า ขอเชิญเสด็จไปทอดพระเนตรกิริยาของแร้งตัวหนึ่ง ที่หน้า
พระลานหลวงเถิด แล้วทรงเปิดพระแกลทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอเชิญ
ทอดพระเนตรแร้งฝูงนี้เถิด พะย่ะค่ะ แล้วตรัสคาถา ๒ คาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 265
ฝูงแร้งเหล่านี้ ครั้นกินเนื้อแล้วก็สำรอกออกเสีย
จึงบินไปได้ ฝ่ายแร้งเหล่าใด กินเนื้อแล้วไม่สำรอก
เนื้อออก แร้งเหล่านั้นก็ตกอยู่ในเงื้อมมือของหม่อมฉัน
ข้าแต่พระราชา พราหมณ์ได้คลายกามทั้งหลายออก
ทิ้งแล้ว ส่วนพระองค์นั้น กลับรับเอากามนั้นไว้บริโภค
อีก บุรุษผู้บริโภคสิ่งที่ผู้อื่นคายออกแล้ว ไม่พึงได้รับ
ความสรรเสริญเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุตฺวา วมิตฺวา จ ความว่า กินเนื้อแล้ว
ก็สำรอกออกเสีย. บทว่า ปจฺจาวมิสฺสสิ ความว่า กลับรับเอามาบริโภค.
บทว่า วนฺตาโท ความว่า ผู้ใดเคี้ยวกินสิ่งที่ผู้อื่นคายทิ้งแล้ว. บทว่า น
ปสสิโย ความว่า ผู้นั้นเป็นคนโง่ ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหา เป็นผู้อัน
บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ไม่พึงสรรเสริญ.
พระราชาทรงสดับคำของพระเทวีแล้ว ได้เป็นผู้มีวิปฏิสาร ภพทั้ง
สามปรากฏประหนึ่งไฟลุกโพลงแล้ว ท้าวเธอเกิดความสลดพระทัย รำพึงว่า
ควรที่เราจะสละราชสมบัติบวชเสียวันนี้ทีเดียว เมื่อจะทรงชมเชยพระเทวี จึง
ตรัสพระคาถา ความว่า
ดูก่อนพระนางปัญจาลีผู้เจริญ บุรุษผู้มีกำลัง
ช่วยฉุดบุรุษทุพพลภาพ ผู้จมอยู่ในเปลือกตมขึ้นได้
ฉันใด เธอก็ช่วยพยุงฉันให้ขึ้นจากกามได้ด้วยคาถา
อันเป็นสุภาษิต ฉันนั้นแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยสนฺน แปลว่า จมลงแล้ว. ปาฐะว่า
วิสนฺน ดังนี้ก็มี. บทว่า อุทฺธเรยฺย ความว่า บุรุษผู้มีกำลังยึดบุรุษทุพพลภาพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 266
ที่ผมหรือที่มือแล้ว พยุงยกขึ้นบก. บทว่า อุทตารี ความว่า เธอก็ได้พยุง
เราให้พ้นจากเปลือกตมคือกาม. ปาฐะว่า อุทตาสิ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่าง
เดียวกันนี้. ปาฐะว่า อุทฺธตาสิ บ้าง ความก็ว่ายกขึ้นแล้ว. บทว่า ปญฺจาลี
ได้แก่ พระเทวีผู้เป็นพระราชธิดา ของพระเจ้าปัญจาละ.
ครั้นพระเจ้าเอสุการีราชตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงมีพระราชประสงค์จะ
บรรพชาทันที ในขณะนั้น จึงตรัสสั่งให้เรียกอำมาตย์ทั้งหลายมาเฝ้า ตรัสเล่า
ให้ฟังแล้วตรัสถามว่า ท่านทั้งหลายจักทำอย่างไร ? อำมาตย์ทั้งหลายก็กราบ
ทูลว่า ขอเดชะ พระองค์เล่า พระเจ้าข้า ? พระองค์ตรัสตอบว่า เราจักบวชใน
สำนักของหัตถิปาลกุมาร อำมาตย์เหล่านั้นจึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายก็จักบวช พระเจ้าข้า. พระเจ้าเอสุการีราช ทรงละทิ้งราช-
สมบัติในพระนครพาราณสี อันมีอาณาเขตถึง ๑๒ โยชน์ ทรงประกาศว่า
ผู้ใดมีความต้องการราชสมบัติ จงให้ยกเศวตฉัตรขึ้นครองราชย์เถิด แล้วทรง
แวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ราชบริพาร พาบริษัทมีประมาณ ๓ โยชน์เป็นกำหนด
เสด็จไปยังสำนักของหัตถิปาลกุมารเหมือนกัน หัตถิปาลกุมารนั่งอยู่บนอากาศ
แสดงธรรมแก่บริษัทแม้นั้น พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความเป็น
บรรพชิตของพระราชา จึงตรัสพระคาถา ความว่า
พระเจ้าเอสุการีมหาราช ผู้เป็นอธิบดีในทิศ ทรง
ภาษิตคาถานี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติออกบรรพชา
อุปมาดังนาคหัตถีปตัวประเสริฐ สลัดตัดเครื่องผูกไปได้
ฉะนั้น.
ในวันรุ่งขึ้น ประชาชนที่เหลืออยู่ในพระนคร ประชุมกันแล้วพากัน
ไปยังประตูพระราชวัง ให้กราบทูลพระราชเทวีแล้ว พากันเข้าไปในพระราช
นิเวศน์ ถวายบังคมพระราชเทวีแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กล่าว
คาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 267
ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐที่สุดกว่านรชน
ทรงพอพระทัยในบรรพชาเพศ ละรัฐสีมาไปแล้ว
ขอพระนางจงโปรดเป็นพระราชา แห่งข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเถิด พระนางเจ้าอันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
คุ้มครองแล้ว โปรดทรงอนุศาสน์ เสวยราชสมบัติ
เหมือนเช่นพระราชาเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุสาส ความว่า พระนางเจ้าเป็นผู้
ที่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถวายอารักขาแล้ว โปรดเสวยราชสมบัติโดยทศพิธ
ราชธรรม.
พระราชเทวีทรงสดับถ้อยคำของมหาชนแล้ว ได้ตรัสพระคาถาที่เหลือ
ทั้งหลาย ความว่า
ก็พระราชาผู้กล้าหาญประเสริฐที่สุดกว่านรชน
ทรงพอพระทัยในบรรพชาเพศ ละรัฐสีมาไปแล้ว แม้
เราก็จักละกามทั้งหลายอันน่ารื่นรมย์ใจ เที่ยวไปใน
โลกแต่ผู้เดียว.
ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐสุดกว่านรชน
ทรงพอพระทัยในบรรพชาเพศ ละรัฐสีมาไปแล้ว
แม้เราก็จักละกามทั้งหลาย อันตั้งอยู่เป็นถ่องแถวแล้ว
เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัย
ย่อมละลำดับไป แม้เราก็จักละกามทั้งหลายอันน่า
รื่นรมย์ใจ เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 268
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัย
ย่อมละลำดับไป แม้เราก็จักละกามทั้งหลายอันตั้งอยู่
เป็นถ่องแถว เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัย
ย่อมละลำดับไป แม้เราก็จักเป็นผู้เยือกเย็น ก้าวล่วง
ความข้องทั้งปวง เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกา ความว่า เราจักหลีกออกจาก
กิเลสสัมภาระ คือ บุตรธิดา เป็นผู้ ๆ เดียวเที่ยวไปในโลก. บทว่า กามานิ
ได้แก่ กามคุณทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น. บทว่า ยโถธิกานิ ความว่า กามคุณ
ทั้งหลายตั้งอยู่โดยถ่องแถวใด ๆ เราจักละเสียซึ่งกามคุณทั้งหลายอันตั้งอยู่โดย
ถ่องแถวนั้น ๆ อย่างนั้น คือเราจักไม่แตะต้องอะไรอีก. บทว่า อจฺเจนฺติ
กาลา ความว่า กาลทั้งหลายมีเวลาเช้าเป็นต้น ย่อมล่วงไป ๆ. บทว่า
ตรยนฺติ ความว่า ราตรีย่อมผ่านไป คือมิได้ผ่านไปเปล่า ย่อมยังอายุสังขาร
ให้สิ้นเปลืองไป เคี้ยวกินอายุสังขารไป. บทว่า วโยคุณา ความว่า
วัยทั้งสามมีปฐมวัยเป็นต้นก็ดี ส่วนแห่งหมวดสิบ มีมันททสกะเป็นต้นก็ดี
(ย่อมละลำดับไป). บทว่า อนุปุพฺพ ชหนฺติ ความว่า หาถึงโกฏฐาสคือ
ส่วนที่สูง ๆ ขึ้นไปไม่ ย่อมดับไปเสียในระหว่างนั้น ๆ นั่นเอง.
บทว่า สีติภูตา ความว่า แม้เราก็จักละกิเลสทั้งหลาย อันกระทำ
ความร้อน คือมีความร้อนเป็นสภาพ เป็นผู้เยือกเย็น. บทว่า สพฺพมติจฺจ
สงฺค ความว่า เราจักก้าวล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้องทุกอย่าง มีกิเลสเป็นเครื่อง
ข้องคือราคะเป็นต้น แล้วเป็นผู้เดียวเที่ยวไป ได้แก่จักไปสู่สำนักแห่งหัตถิ-
ปาลกุมารแล้วบวช.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 269
พระนางเทวี ทรงแสดงธรรมแก่มหาชน ด้วยคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล้ว มีรับสั่งให้เรียกภรรยาของอำมาตย์ทั้งหลายมาเฝ้า แล้วตรัส
ว่า พวกเธอจักทำอย่างไร ? เหล่าภรรยาของอำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลถามว่า
ข้าแต่พระแม่เจ้า พระองค์เล่าจักทรงทำอย่างไร ? พระนางตรัสตอบว่า เรา
จักบวช. ภรรยาของหมู่อำมาตย์ก็กราบทูลว่า แม้พวกกระหม่อมฉันก็จักบวช.
พระนางเทวีมีพระเสาวนีย์ ว่าดีแล้วละ แม่คุณทั้งหลาย ดังนี้แล้ว มีรับสั่งให้เจ้า
พนักงานเปิดประตูพระคลังทองเป็นต้นในพระราชนิเวศน์ รับสั่งให้จารึก
พระสุพรรณบัฏว่า ขุมทรัพย์ใหญ่ ฝังไว้แล้วในที่โน้นบ้าง ในที่นี้บ้าง แล้ว
ดำรัสว่า ใครมีความต้องการ ก็จงขนเอาทรัพย์ที่เราพระราชทานแล้วนี้ไปเถิด
แล้วให้ผูกสุพรรณบัฏ แขวนไว้ที่เสาต้นใหญ่ ให้พนักงานเภรีตีกลองป่าว-
ประกาศไปทั่วพระนคร แล้วทรงสละมหาสมบัติ เสด็จออกจากพระนคร.
ขณะนั้น ทวยนาครก็เดือนร้อนโกลาหลว่า พระราชาและนางเทวี
ทรงสละราชสมบัติออกทรงผนวชแล้ว พวกเราจักทำอะไรในพระนครนี้.
แต่นั้น ประชาชนทั้งหลายต่างก็ละทิ้งเคหสถาน ทั้งที่ยังมีสมบัติเต็มบริบูรณ์
จูงลูกหลานออกไป (โดยเสด็จพระราชเทวี). เรือนโรง ร้านตลาดก็มีสิ่งของ
วางอยู่เกลื่อนกลาด โดยนิยามที่วางแบแผ่ไว้ จะมีผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งจะเหลียวกลับ
มาแลดูก็มิได้มี. พระนครทั้งสิ้นว่างเปล่าปราศจากผู้คน. ฝ่ายพระนางเทวี
ทรงพาบริวารมีประมาณ ๓ โยชน์เป็นกำหนด เสด็จไปในสำนักของหัตถิปาล
กุมารนั่นแหละ. หัตถิปาลกุนารนั่งบนอากาศแสดงธรรม แม้แก่บริษัทนั้น
แล้วพาบริษัทมีประมาณ ๑๒ โยชน์นั้น บ่ายหน้าไปสู่หิมวันตประเทศ
ทวยนาครชาวกาสิกรัฐ ก็ระบือกันกระฉ่อนไปว่า ได้ยินว่า หัตถิปาลกุมาร
รวบรวมบริษัทได้ถึง ๑๒ โยชน์ กระทำพระนครพาราณสีให้ว่างเปล่า พา
มหาชนไปสู่หิมวันตประเทศ ด้วยคิดว่าจักบวช พวกเราจะอยู่ไปไยในเมืองนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 270
ในเวลาต่อมาบริษัทก็ได้เพิ่มประมาณถึง ๓๐ โยชน์. หัตถิปาลกุมารก็ไปยังป่า
หิมพานต์ พร้อมด้วยบริษัทนั้น. ท้าวสักกเทวราชทรงรำพึงดู รู้พฤติเหตุนั้น
แล้วทรงดำริว่า หัตถิปาลกุมารออกสู่มหาภิเนษกรมณ์แล้ว จักเป็นสมาคม
ใหญ่ยิ่ง ควรที่บริษัททั้งหลายจักได้ที่อยู่ จึงทรงบังคับวิสสุกรรมเทพบุตรว่า
ไปเถิดวิสสุกรรมเทพบุตร เธอจงเนรมิตอาศรม ยาว ๓๖ โยชน์ กว้าง ๑๕
โยชน์ แล้วจัดแจงบริขารของบรรพชิตไว้ให้เสร็จบริบูรณ์. วิสสุกรรมเทพบุตร
รับเทวบัญชาแล้ว ไปเนรมิตอาศรมบทขนาดยาวกว้าง ตามเทวบัญชา ไว้ใน
ภูมิภาคอันรื่นรมย์ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา แต่งตั้งอาสนะ มีอาสนะที่ลาดด้วยท่อนไม้
และใบไม้เป็นต้นไว้ แล้วเนรมิตบรรพชิตบริขาร ทั้งหมดไว้ในบรรณศาลา
และที่ประตูบรรณศาลาแต่ละแห่ง ก็เนรมิตที่จงกรมไว้ แห่งละหนึ่งที่ มีที่
พักกลางคืนและที่พักกลางวันคั่นเป็นระยะ และมีกระดานที่พิงพัก ฉาบด้วย
ปูนขาวสะอาด ในสถานที่ทุกแห่ง มีพุ่มดอกไม้ ดาดาษไปด้วยสุรภี และโกสุม
ในแนวสวนหย่อมนานาพรรณ ในที่สุดแห่งที่จงกรมแต่ละแห่ง เนรมิตบ่อน้ำ
ไว้บ่อหนึ่ง ๆ เต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำ ในที่ใกล้บ่อน้ำนั้น เนรมิตต้นไม้มีผลไว้
ต้นหนึ่ง ๆ ต้นไม้แต่ละต้นก็เผล็ดผลตกทั่วถึงกัน. ทั้งหมดนี้ ได้สำเร็จขึ้นด้วย
เทวานุภาพ. วิสสุกรรมเทพบุตร ครั้นเนรมิตอาศรมสถาน จัดตั้งบรรพชิต-
บริขารไว้ในบรรณศาลาเสร็จแล้ว จึงเอาชาดแลหรดาลจารึกอักษรไว้ที่ฝาว่า
ใคร ๆ มีความประสงค์จะบวช จงถือเอาบริขารเหล่านี้เถิด แล้วขับไล่หมู่
มฤคและปักษีที่มีเสียงน่าหวาดกลัว ทั้งหมู่อมนุษย์ที่มีรูปชั่วร้ายให้หลีกไป
ห่างไกล ด้วยอานุภาพของตน แล้วกลับไปยังทิพยวิมานสถานที่อยู่ของตนทันที.
หัตถิปาลกุมาร เข้าไปสู่อาศรมที่ท้าวสักกะประทาน โดยทางจรไป
เฉพาะตนผู้เดียวก่อน เห็นอักษรที่จารึกไว้แล้วดำริว่า ท้าวสักกเทวราชคงจัก
ทรงทราบความที่เราออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ ดังนี้แล้ว จึงเปิดประตูเข้าไปยัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 271
บรรณศาลา บรรพชาเป็นฤาษีแล้วออกสู่ที่จงกรม เดินจงกรมไปมาอยู่สอง
สามวาระแล้ว ยังหมู่ชนที่เหลือให้บรรพชา ตรวจตราดูอาศรมทั่วไป ให้
บรรณศาลาแก่สตรีแม่ลูกอ่อนอยู่ในท่ามกลาง. ถัดจากนั้นมาให้แก่สตรีชรา
ถัดออกมาให้แก่สตรีที่มีวัยปานกลาง ส่วนชั้นนอกสุด ให้บุรุษทั้งหลายอยู่
รายรอบ. ครั้งนั้นมีพระราชาองค์หนึ่งทรงทราบว่า ในพระนครพาราณสีไม่มี
พระราชาประทับอยู่ จึงเสด็จมาตรวจดูพระนคร อันประดับประดาตกแต่งไว้
ดีแล้ว เสด็จขึ้นสู่พระราชนิเวศน์ ทอดพระเนตรเห็นกองรัตนะในที่นั้น ๆ
ทรงดำริว่า จำเดิมแต่เวลาที่พระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงสละพระนครเห็นปานนี้
ออกทรงผนวช ชะรอยบรรพชาเพศนี้ จักเป็นของมีคุณค่าโอฬารยิ่ง แล้วตรัส
ถามหนทางกะพวกนักเลงสุรา เสด็จไปยังสำนักของหัตถิปาลดาบส. หัตถิปาล
ดาบสทราบว่า พระราชาพระองค์นั้นเสด็จมาถึงแนวป่า จึงเดินสวนทางไป
รับเสด็จ นั่งในอากาศแสดงธรรมแก่บริษัท แล้วนำไปสู่อาศรมบท ให้บริษัท
ทั้งหมดบรรพชา. พระราชาแม้เหล่าอื่นทรงออกบรรพชา โดยอุบายนี้ถึง ๖
พระองค์. รวมพระราชาสละโภคัยมไหศวริยสมบัติ ออกบรรพชาเป็น ๗
พระองค์. อาศรมมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์ เต็มบริบูรณ์หาที่ว่างมิได้. ดาบส
องค์ใดตรึกวิตกอย่างใดอย่างหนึ่งมีกามวิตกเป็นต้น หัตถิปาลดาบสผู้มหาบุรุษ
ก็แสดงธรรมแก่ดาบสนั้น บอกให้เจริญพรหมวิหารภาวนาบ้าง กสิณภาวนา
บ้าง. ดาบสเหล่านั้นยังฌานและอภิญญาให้เกิดแล้วโดยมาก ในสามส่วนไป
บังเกิดในพรหมโลกสองส่วน. แบ่งส่วนที่ ๓ ออกเป็น ๓ ประเภท ส่วนหนึ่ง
บังเกิดในพรหมโลก ส่วนหนึ่ง บังเกิดในฉกามาพจรสวรรค์ ส่วนหนึ่งทำการ
บำรุงบำเรอแก่ฤาษีทั้งหลาย แล้วบังเกิดในกุลสมบัติ ๓ (คือ กษัตริย์ พราหมณ์
และคฤหบดี) ในมนุษยโลก. คำสั่งสอนของหัตถิปาลดาบส ทำให้มหาชน
ปราศจากทุคติคือนรก กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ปิตติวิสัย และอสุรกาย
ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 272
สมาคมของกุททาลบัณฑิต สมาคมของมุคคผักกมหาบุรุษ สมาคม
ของจุลลสุตตโสมมหาบุรุษ สมาคมของอโยฆรบัณฑิต และสมาคมของ
หัตถิปาลดาบส ได้เป็นเช่นเดียวกับท่านที่ออกบรรพชาในภายหลังเขาทั้งหมด
ในลังกาทวีปนี้ คือ พระปฐวีจาลกธัมมคุตตเถระ พระผุสสเทวเถระผู้อยู่ใน
กตกัณฑการวิหาร พระมหาสังฆรักขิตเถระผู้อยู่ในภัคคิรีวิหาร พระมหาสิวเถระ
ผู้อยู่ในคามันตปัพภารวิหาร พระมหานาคเถระผู้อยู่ในกาฬวัลลิมหามณฑป
วิหาร. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
บุคคลพึงขวนขวายในกรรมที่ดี พึงห้ามจิตเสีย
จากความชั่ว เพราะเมื่อทำความดีช้า ใจย่อมยินดีใน
ความชั่ว คนเราจึงควรกระทำความดี โดยเร็วพลัน
ทีเดียว.
พระบรมศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในปางก่อน ตถาคตก็ออกสู่มหาภิเนษกรมณ์อย่างนี้
เหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้าเอสุการีในครั้งนั้น ได้มาเป็น
พระเจ้าสุทโธทนมหาราชในบัดนี้ พระเทวีได้มาเป็นพระนางมหามายา ปุโรหิต
ได้มาเป็นพระกัสสป นางพราหมณีได้มาเป็นนางภัททกาปิลานี อชปาลกุมาร
ได้มาเป็นพระอนุรุทธะ โคปาลกุมารได้มาเป็นพระโมคคัลลานะ อัสสปาลกุมาร
ได้มาเป็นพระสารีบุตร บริษัทที่เหลือได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนหัตถิปาล-
กุมาร ได้แก่เราผู้ตถาคตนั่นเอง ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาหัตถิปาลชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 273
๑๔. อโยฆรชาดก
ว่าด้วยอำนาจของมัจจุราช
[๒๒๖๑] (อโยฆรกุมารตรัสว่า) สัตว์ถือปฏิสนธิ
กลางคืนก็ตาม กลางวันก็ตาม ย่อมอยู่ในครรภ์มารดา
ก่อน สัตว์นั้นย่อมเกิดเพราะกำลังลม ย่อมไปสู่ความ
เป็นกลละเป็นต้น ย่อมไม่ย้อนกลับมาสู่ความเป็นกลละ
เป็นต้นอีก.
[๒๒๖๒] นรชนทั้งหลาย จะยกพลโยธายุทธ-
นาการกับชรา พยาธิ มรณะไม่ได้เลยเป็นอันขาด
เพราะว่าชีวิตของสัตว์ทั้งมวลนี้ ถูกความเกิดและความ
แก่เข้าไปประทุษร้ายเบียดเบียน เพราะเหตุนั้น ข้า-
พระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๖๓] พระราชาผู้เป็นอธิบดีในรัฐทั้งหลาย
ย่อมจะข่มขี่ราชศัตรู ผู้มีเสนาอันประกอบด้วยองค์ ๔
ล้วนมีรูปร่างน่าสะพรึงกลัว เอาชัยชนะได้ แต่ไม่
สามารถจะชนะเสนาแห่งมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๖๔] พระราชาบางพวก แวดล้อมด้วยพล-
ม้า พลรถ และพลเดินเท้า ย่อมพ้นจากเงื้อมมือของ
ข้าศึกได้ แต่ก็ไม่อาจจะพ้นจากสำนักของมัจจุราชได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 274
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประ-
พฤติธรรม.
[๒๒๖๕] พระราชาทั้งหลายผู้กล้าหาญ ย่อม
หักค่ายทำลายพระนคร แห่งราชศัตรูให้ย่อยยับได้
และกำจัดมหาชนได้ด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และ
พลเดินเท้า แต่ไม่สามารถจะหักรานเสนาแห่งมัจจุราช
ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช
ประพฤติธรรม.
[๒๒๖๖] คชสารทั้งหลายที่ตกมัน มีมันเหลว
แตกออกจากกระพอง ย่อมย่ำยีนครทั้งหลายและเข่น-
ฆ่าประชาชนได้ แต่ไม่สามารถจะย่ำยีเสนาแห่งมัจจุ-
ราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช
ประพฤติธรรม.
[๒๒๖๗] นายขมังธนูทั้งหลาย แม้มีมืออันได้
ฝึกฝนมาดีแล้ว เป็นผู้มีปัญญา สามารถยิ่งขึ้นให้ถูก
ได้ในที่ไกล ยิงได้แม่นยำไม่ผิดพลาด ก็ไม่สามารถ
จะยิ่งต่อต้านมฤตยูได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๖๘] สระทั้งหลาย และมหาปฐพี กับทั้ง
ภูเขาราวไพร ย่อมเสื่อมสิ้นไป สังขารทั้งปวงนั้น จะ
ตั้งอยู่นานสักเท่าไร ก็ย่อมเสื่อมสิ้นไป เพราะสังขาร
ทั้งปวงนั้น ครั้นถึงกาลกำหนดแล้ว ย่อมจะแตกทำลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 275
ไป เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช
ประพฤติธรรม.
[๒๒๖๙] แท้จริงชีวิตของสัตว์ทั้งมวล ทั้งที่เป็น
สตรีและบุรุษในโลกนี้ เป็นของหวั่นไหวเหมือนแผ่น
ผ้าของนักเลงสุรา และต้นไม้เกิดใกล้ฝั่ง เป็นของ
หวั่นไหว ไม่ยั่งยืนฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระ-
พุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๗๐] ผลไม้ที่สุกแล้ว ย่อมหล่นล่วง ฉันใด
สัตว์ทั้งหลาย ทั้งหนุ่มแก่ ทั้งปานกลาง ทั้งหญิงทั้ง
ชาย ย่อมเป็นผู้มีสรีระทำลายหล่นไป ฉันนั้น เพราะ
เหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติ
ธรรม.
[๒๒๗๑] พระจันทร์อันเป็นดาราแห่งดวงดาว
เป็นฉันใด วัยนี้หาเป็นฉันนั้นไม่ เพราะส่วนใดล่วง
ไปแล้ว ส่วนนั้นเป็นอันล่วงไปแล้วในบัดนี้ อนึ่ง
ความยินดีในกามคุณของคนแก่ชราแล้วย่อมไม่มี ความ
สุขจะมีมาแต่ไหน เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๗๒] ยักษ์ก็ดี ปีศาจก็ดี หรือเปรตก็ดี
โกรธเคืองแล้วย่อมเข้าสิงมนุษย์ได้ แต่ไม่สามารถจะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 276
เข้าสิงมัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๗๓] มนุษย์ทั้งหลายย่อมกระทำการบวง-
สรวงยักษ์ ปีศาจ หรือเปรตทั้งหลายผู้โกรธเคือง
แล้วได้ แต่ไม่สามารถจะบวงสรวงมัจจุราชได้เลย
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประ-
พฤติธรรม.
[๒๒๗๔] พระราชาทั้งหลายทรงทราบโทษผิด
แล้ว ย่อมลงอาชญาผู้กระทำความผิด ผู้ประทุษร้าย
ต่อราชสมบัติ และผู้เบียดเบียนประชาชน ตามสมควร
แต่ไม่สามารถลงอาชญามัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๗๕] ชนทั้งหลายผู้กระทำความผิด ฐาน
ประทุษร้ายต่อพระราชาก็ดี ผู้ประทุษร้ายต่อราชสมบัติ
ก็ดี ผู้เบียดเบียนประชาชนก็ดี ย่อมจะขอพระราชทาน
อภัยโทษได้ แต่หาทำมัจจุราชให้ผ่อนปรนกรุณาปรานี
ได้ไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะ
บวชประพฤติธรรม.
[๒๒๗๖] มัจจุราชมิได้มีความเกรงใจเลยว่า ผู้นี้
เป็นกษัตริย์ ผู้นี้เป็นพราหมณ์ ผู้นี้มั่งคั่ง ผู้นี้มีกำลัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 277
ผู้นี้มีเดชานุภาพ ย่อมย่ำยีทั่วไปหมด เพราะเหตุนั้น
ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๗๗] ราชสีห์ก็ดี เสือโคร่งก็ดี เสือเหลือง
ก็ดี ย่อมข่มขี่เคี้ยวกินสัตว์ที่ดิ้นรนอยู่ได้ แต่ไม่สามารถ
จะเคี้ยวกินมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๗๘] นักเล่นกลทั้งหลาย เมื่อทำมายากล ณ
ท่ามกลางสนาม ย่อมลวงนัยน์ตาประชาชนในที่นั้น ๆ
ให้หลงเชื่อได้ แต่ไม่สามารถจะลวงมัจจุราชให้หลง-
เชื่อได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า
จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๗๙] อสรพิษ ที่มีพิษร้าย โกรธขึ้นมาแล้ว
ย่อมขบกัดมนุษย์ให้ถึงตายได้ แต่ไม่สามารถจะขบกัด
มัจจุราชให้ตายได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๘๐] อสรพิษโกรธขึ้นแล้วขบกัดผู้ใด หมอ
ทั้งหลาย ย่อมถอนพิษร้ายนั้นได้ แต่จะถอนพิษของ
ผู้ถูกมัจจุราชประทุษร้ายหาได้ไม่ เพราะเหตุนั้น ข้า
พระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๘๑] แพทย์ผู้มีชื่อเสียงเหล่านี้คือ แพทย์-
ธรรมมนตรี แพทย์เวตตรุณะ แพทย์โภชะอาจจะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 278
กำจัดพิษพระยานาคได้ แต่แพทย์เหล่านั้นต้องทำกาล
กิริยานอนตาย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า
จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๘๒] วิชาธรทั้งหลาย เมื่อร่ายอาคมชื่อ
โฆรมนต์ ย่อมหายตัวไปได้ด้วยโอสถทั้งหลาย แต่จะ
หายตัวไม่ให้มัจจุราชเห็นไม่ได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้า
พระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๘๓] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็น
อานิสงส์ ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติ
ธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.
[๒๒๘๔] สภาพทั้งสองคือ ธรรม และอธรรม
มีวิบากไม่เสมอกัน อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรม
ย่อมยังสัตว์ให้ถึงสุคติ.
จบอโยฆรชาดกที่ ๑๔
จบวีสตินิบาตชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 279
อรรถกถาอโยฆรชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
การออกมหาภิเนษกรมณ์นั่นเอง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยเม-
กรตฺตึ ปม ดังนี้.
แท้จริงแม้ในครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า ใช่แต่ในชาตินี้
เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน ตถาคตก็เคยออกมหาภิเนษกรมณ์เหมือนกัน
แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังนี้
เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติ ณ พระนครพาราณสี พระ-
อัครมเหสีของท้าวเธอทรงพระครรภ์ ได้รับการบริหารพระครรภ์เป็นอย่างดี
จนพระครรภ์แก่แล้ว ประสูติพระราชโอรส ในระหว่างเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง
ในภพก่อนมีสตรีผู้หนึ่งร่วมสามีเดียวกันกับพระนางเทวีนั้น ตั้งความปรารถนา
ไว้ว่า ขอให้เราได้กินลูกของท่านที่คลอดแล้ว ๆ. ได้ยินว่า สตรีผู้นั้น ตนเอง
เป็นหญิงหมัน ทำความปรารถนาเช่นนั้น เพราะความโกรธสตรีที่มีบุตร
แล้วได้มาบังเกิดในกำเนิดนางยักษิณี สตรีที่มีบุตรนั้นได้มาเป็นพระอัครมเหสี
ของพระเจ้าพรหมทัต จนคลอดพระโอรสองค์นี้ คราวนั้น นางยักษิณีได้โอกาส
จึงแปลงกายมา เมื่อพระเทวีทอดพระเนตรดูอยู่นั้นแล ตรงเข้าจับทารกนั้น
แล้วหนีไป. พระนางเทวีทรงร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า นางยักษิณีจับโอรส
ของเราหนีไปแล้ว. ฝ่ายนางยักษิณี ก็กัดกินทารกทำเสียงมุรุ มุรุ เหมือนกิน
เง่าบัว แสดงท่ายกมือชี้หน้าคุกคามพระเทวี แล้วก็หลีกหนีไป พระราชาทรง
สดับพระเสาวนีย์ของพระเทวีแล้วทรงดำริว่า ไฉนนางยักษิณีจึงบังอาจการทำ
ได้แต่ทรงนิ่งเฉยเสีย. ในกาลที่พระเทวีทรงประสูติพระโอรสอีก ท้าวเธอได้ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 280
จัดการอารักขามั่นคง. พระเทวีก็ประสูติพระโอรสอีกเป็นคำรบสอง. นางยักษิณี
ก็มาเคี้ยวกินพระกุมารนั้นแล้วหนีไปอีก. ในวาระที่สาม พระมหาสัตว์เจ้าทรง
ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระเทวี พระราชาทรงมีพระโองการให้มหาชนมา
ประชุมกัน ตรัสถามว่า ยักษิณีตนหนึ่งมากินโอรสที่ประสูติจากพระเทวีของเรา
ทุกคราว ควรจะจัดการสถานใด ? ครั้งนั้นบุรุษคนหนึ่งกราบทูลว่า ขอเดชะ
ธรรมดานางยักษิณี ย่อมกลัวใบตาล ควรที่จะผูกใบตาลไว้ที่พระหัตถ์และ
พระบาททั้งสองของพระเทวี อีกคนหนึ่งทูลว่า ขอเดชะ ธรรมดานางยักษิณี
ย่อมกลัวเรือนเหล็ก ควรทำเรือนเหล็กไว้ พ่ะย่ะค่ะ. พระราชาตรัสสั่งว่าดีละ แล้ว
ตรัสสั่งให้ช่างเหล็กทั้งหลายในแว่นแคว้นของพระองค์ มาประชุมกัน ทรงบัญชา
ว่า ท่านทั้งหลายจงช่วยกันทำเรือนเหล็กให้เรา แล้วโปรดให้ราชบุรุษผู้ดูแล
คอยกำกับการ. ช่างเหล็กทั้งหลายจึงก่อสร้างพระตำหนักขึ้น ณ ภูมิภาคอัน
รื่นรมย์ภายในพระนครนั่นเอง. สัมภาระแห่งพระตำหนักทุกอย่าง ตั้งแต่เสา
เป็นต้น ล้วนแล้วไปด้วยเหล็กทั้งนั้น ตำหนักรูปทรงจตุรมุขหลังใหญ่ล้วนแล้ว
ไปด้วยเหล็ก สำเร็จลงโดยเวลาเก้าเดือน. พระตำหนักนั้นงามรุ่งเรืองเท่าเทียม
กับแสงประทีปอันโพลงอยู่เป็นนิตย์ พระราชาทรงทราบว่า พระราชเทวีทรง
พระครรภ์แก่แล้ว จึงตรัสสั่งให้ประดับตกแต่งพระตำหนักเหล็ก พาพระนางเทวี
ไปประทับยังตำหนักนั้น พระนางเทวีก็ประสูติพระราชโอรส สมบูรณ์ด้วย
ธัญบุญลักษณะ ณ พระตำหนักเหล็กนั้น. พระราชากับพระอัครมเหสี
ทรงพระราชทานนามพระราชโอรสว่า " อโยฆรกุมาร " พระราชาทรงมอบ
พระกุมารแก่พระพี่เลี้ยงนางนมแล้ว ทรงจัดแจงอารักขาใหญ่ยิ่ง พาพระราช-
เทวีกระทำประทักษิณเสด็จเลียบพระนคร แล้วเสด็จสู่พื้นอลังกตปราสาท. ฝ่าย
นางยักษิณี ถึงเวรตักน้ำ นำน้ำไปถวายท้าวเวสวัณ ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 281
พระมหาสัตว์เจ้าทรงเจริญเติบโตในพระตำหนักเหล็กนั่นเอง จนรู้
เดียงสา ทรงศึกษาศิลปวิทยาทุกอย่างในที่นั้นแหละ. พระราชาตรัสถานหมู่
อำมาตย์ว่า โอรสของเรามีพระชันษาได้เท่าไร ทรงสดับว่า พระโอรสมีพระ-
ชันษา ๑๖ แกล้วกล้า สมบูรณ์ด้วยพลานามัย สามารถต่อสู้กับยักษ์ได้แม้ตั้งพัน
จึงมีพระราชโองการว่า เราจักมอบราชสมบัติแก่โอรสของเรา ท่านทั้งหลาย
จงให้จัดการตกแต่งทั่วทั้งพระนคร แล้วเชิญพระโอรสออกจากตำหนักเหล็ก
นำมายังพระราชฐาน อำมาตย์ทั้งหลายรับพระราชโองการว่า ดีละ พระเจ้าข้า
แล้วให้พนักงานตบแต่งพระนครพาราณสี อันมีปริมณฑลได้ ๑๒ โยชน์
เสร็จแล้วนำมงคลหัตถี อันเพริศแพร้วไปด้วยสรรพาลังการ ไปยังพระตำหนัก
เหล็กนั้น ประดับตกแต่งพระราชกุมารแล้ว ทูลเชิญให้ประทับเหนือมงคลหัตถี
แล้วทูลว่า ขอเดชะพระกุมารผู้ประเสริฐ ขอเชิญพระองค์ทรงทำประทักษิณเลียบ
พระนครอันอลงกต ซึ่งเป็นมรดกแห่งราชตระกูล แล้วเสด็จไปถวายบังคม
พระเจ้ากาสิกราชผู้พระราชบิดา พระองค์จักได้เศวตฉัตรในวันนี้แหละ พะย่ะค่ะ
เมื่อพระมหาสัตว์ทำการประทักษิณพระนครอยู่ ทอดพระเนตรเห็นพระราช-
อุทยาน แนวป่า สระโบกขรณี พื้นภูมิภาคและปราสาทราชวังอันน่ารื่นรมย์
ยินดีเป็นต้นแล้ว ทรงจินตนาการว่า พระราชบิดาของเรา ให้เราอยู่ในเรือนจำ
ตลอดกาลเพียงนี้ ไม่ให้เราได้เห็นพระนครอันตกแต่งงดงามเห็นปานนี้เลย
โทษผิดของเรามีอย่างไรหนอ ดังนี้แล้ว จึงตรัสถามพวกอำมาตย์ อำมาตย์
ทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ โทษผิด
ของพระองค์ไม่มีเลย พะย่ะค่ะ แต่นางยักษิณีตนหนึ่งมาเคี้ยวกินพระเชษฐาธิราช
ของพระองค์ถึงสองพระองค์ เพราะเหตุนั้น พระราชบิดาของพระองค์ จึง
โปรดให้พระองค์อยู่ในตำหนักเหล็ก พระองค์รอดพระชนมชีพมาได้ เพราะ
พระตำหนักเหล็กแท้ ๆ พะย่ะค่ะ อโยฆรราชกุมาร ทรงสดับคำของอำมาตย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 282
กราบทูล แล้วทรงพระดำริว่า เราอยู่ในครรภ์ของพระมารดา ๑๐ เดือน
เหมือนอยู่ในโลหกุมภีนรก และคูถนรก นับแต่คลอดออกจากพระครรภ์พระ-
มารดาแล้ว ต้องอยู่ในที่คุมขังถึง ๑๖ ปี ไม่ได้โอกาสที่จะได้ดูโลกภายนอกเลย
เป็นเหมือนตกอยู่ในอุสสุทนรกฉะนั้น แม้เราจะพ้นจากเงื้อมมือของนางยักษิณี
มาได้ ใช่ว่าจะไม่แก่ไม่ตายก็หามิได้ ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติแก่เรา
นับแต่วาระที่ได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติแล้ว จะออกบรรพชาได้ยาก เราจักให้
พระราชบิดาทรงอนุญาตารบรรพชาแก่เรา แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ บวชเสีย
วันนี้ทีเดียว ครั้นพระราชกุมารทรงกระทำประทักษิณพระนครแล้ว เสด็จเข้าไป
สู่ราชตระกูล ถวายบังคมพระราชบิดาแล้วประทับยืนอยู่ พระเจ้าพรหมทัต
ทอดพระเนตรสรีรโสภาแห่งพระโอรสแล้ว ทรงเสน่หารักใคร่เป็นกำลังจึงทรง
ชำเลืองดูหมู่อำมาตย์ อำมาตย์ทั้งหลายทูลว่า ขอเดชะ จะโปรดให้พวกข้า
พระพุทธเจ้า จัดแจงอย่างไรต่อไป. ท้าวเธอจึงตรัสสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงเชิญ
โอรสของเราให้ประทับเหนือกองรัตนะ แล้วสระสรงด้วยน้ำสังข์สามอย่าง
แล้วสอดสวมกาญจนมาลา และยกเศวตฉัตรขึ้น พระมหาสัตว์เจ้าจึงถวาย
บังคมพระราชบิดาทูลคัดค้านว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความต้องการด้วยราช-
สมบัติ ข้าพระพุทธเจ้าจักบวช ขอพระองค์ได้โปรดทรงอนุญาตให้ข้าพระ-
พุทธเจ้าบวชเถิด. พระเจ้าพรหมทัตจึงตรัสว่า ลูกรัก เจ้าบอกคืนราชสมบัติ
แล้วจักบวช เพราะเหตุอะไร ? พระมหาสัตว์เจ้าทูลตอบว่า ขอเดชะพระราช
บิดาผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ข้าพระพุทธเจ้าอยู่ในพระครรภ์พระมารดา
๑๐ เดือน เหมือนอยู่ในคูถนรก ประสูติจากพระครรภ์แล้ว ต้องอยู่ในที่คุมขัง
ถึง ๑๖ ปี ไม่ได้โอกาสที่จะเห็นโลกภายนอกได้ เพราะภัยอันเกิดแต่นางยักษิณี
ได้เป็นเหมือนตกอยู่โนอุสสุทนรก ถึงพ้นจากเงื้อมมือนางยักษิณีแล้ว ใช่ว่าข้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 283
พระพุทธเจ้าจะเป็นคนไม่แก่ไม่ตายก็หามิได้ ขึ้นชื่อว่า มฤตยุราชนี้ ใคร ๆ
ไม่อาจชนะ ไม่อาจจะลวงได้ ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้เอือมระอาในภพ ข้าพระ-
พุทธเจ้าจักบวชประพฤติธรรมไปจนกว่า ชรา พยาธิ และมรณะ จะไม่มาถึง
ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ปรารถนาราชสมบัติ ขอเดชะพระราชบิดา
ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ โปรดทรงอนุญาตให้ข้าพระองค์บวชเถิด ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรงแสดงธรรมถวายพระราชบิดา จึงตรัส (พระคาถา) ความว่า
สัตว์ถือปฏิสนธิ กลางคืนก็ตาม กลางวันก็ตาม
ย่อมอยู่ในครรภ์มารดาก่อน สัตว์นั้นย่อมเกิดเพราะ
กำลังลม ย่อมไปสู่ความเป็นกลละเป็นต้น ย่อมไม่ย้อน
กลับมาสู่ความเป็นกลละเป็นต้นอีก.
นรชนทั้งหลาย จะยกพลโยธายุทธนาการกับชรา
พยาธิ มรณะไม่ได้เลยเป็นอันขาด เพราะว่าชีวิตของ
สัตว์ทั้งมวลนี้ ถูกความเกิดและความแก่เข้าไปประ-
ทุษร้ายเบียดเบียน เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
พระราชาผู้เป็นอธิบดีในรัฐทั้งหลาย ย่อมจะข่มขี่
ราชศัตรูผู้มีเสนาอันประกอบด้วยองค์ ๔ ล้วนรูปร่างน่า
สะพรึงกลัว เอาชัยชนะได้ แต่ไม่สามารถจะชนะเสนา
แห่งมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า
จะบวชประพฤติธรรม.
พระราชาบางพวก แวดล้อมด้วยพลม้า พลรถ
และพลเดินเท้า ย่อมพ้นจากเงื้อมมือของข้าศึก แต่ก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 284
ไม่อาจจะพ้นจากสำนักของมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น
ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
พระราชาทั้งหลายผู้กล้าหาญ ย่อมหักค่ายทำลาย
พระนครแห่งราชศัตรูให้ย่อยยับได้ และกำจัดมหาชน
ได้ด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า แต่
ไม่สามารถจะหักรานเสนาแห่งมัจจุราชได้ เพราะ
เหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติ-
ธรรม.
คชสารทั้งหลายที่ตกมัน มีมันเหลวแตกออกจาก
กระพอง ย่อมย่ำยีนครทั้งหลาย และเข่นฆ่าประชาชน
ได้ แต่ไม่สามารถจะย่ำยีเสนาแห่งมัจจุราชได้ เพราะ
เหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติ
ธรรม.
นายขมังธนูทั้งหลาย แม้มีมืออันได้ฝึกฝนมาดี
แล้ว เป็นผู้มีปัญญา สามารถยิงธนูให้ถูกได้ในที่ไกล
ยิงได้แม่นยำไม่ผิดพลาด ก็ไม่สามารถจะยิงต่อต้าน
มัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า
จะบวชประพฤติธรรม.
สระทั้งหลาย และมหาปฐพีกับทั้งภูเขาราวไพร
ย่อมเสื่อมสิ้นไป สังขารทั้งปวงนั้นจะตั้งอยู่นานสัก
เท่าไร ก็ย่อมเสื่อมสิ้นไป เพราะสังขารทั้งปวงนั้น
ครั้นถึงกาลกำหนดแล้วย่อมจะแตกทำลายไป เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 285
เหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติ
ธรรม.
แท้จริง ชีวิตของสัตว์ทั้งมวลทั้งที่เป็นสตรี และ
บุรุษในโลกนี้ เป็นของหวั่นไหว เหมือนแผ่นผ้าของ
นักเลงสุรา และต้นไม้เกิดใกล้ฝั่ง เป็นของหวั่นไหว
ไม่ยั่งยืนฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า
จะบวชประพฤติธรรม.
ผลไม้ที่สุกแล้ว ย่อมหล่นล่วง ฉันใด สัตว์
ทั้งหลาย ทั้งหนุ่มแก่ ทั้งปานกลาง ทั้งหญิง ทั้งชาย
ย่อมเป็นผู้มีสรีระทำลายหล่นไปฉันนั้น เพราะเหตุนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
พระจันทร์ อันเป็นราชาแห่งดวงดาวเป็นฉันใด
วัยนี้หาเป็นฉันนั้นไม่ เพราะส่วนใดล่วงไปแล้ว ส่วน
นั้นเป็นอันล่วงไปแล้วในบัดนี้ อนึ่ง ความยินดีใน
กามคุณของคนแก่ชราแล้วย่อมไม่มี ความสุขจะมีมา
แต่ไหน เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะ
บวชประพฤติธรรม.
ยักษ์ก็ดี ปีศาจก็ดี หรือเปรตก็ดี โกรธเคืองแล้ว
ย่อมเข้าสิงมนุษย์ได้ แต่ไม่สามารถจะเข้าสิงมัจจุราช
ได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช
ประพฤติธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 286
มนุษย์ทั้งหลายย่อมกระทำการบวงสรวงยักษ์
ปีศาจ หรือเปรตทั้งหลาย ผู้โกรธเคืองแล้วได้ แต่ไม่
สามารถจะบวงสรวงมัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
พระราชาทั้งหลายทรงทราบโทษผิดแล้ว ย่อม
ลงอาชญากะบุคคลผู้กระทำความผิด ผู้ประทุษร้ายต่อ
ราชสมบัติ และผู้เบียดเบียนประชาชน ตามสมควร
แต่ไม่สามารถลงอาชญามัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ชนทั้งหลายผู้กระทำความผิด ฐานประทุษร้าย
ต่อพระราชาก็ดี ผู้ประทุษร้ายต่อราชสมบัติก็ดี ผู้
เบียดเบียนประชาชนก็ดี ย่อมจะขอพระราชทานอภัย-
โทษได้ แต่หาทำมัจจุราชให้ผ่อนปรน กรุณาปรานี
ได้ไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช
ประพฤติธรรม.
มัจจุราชมิได้มีความเกรงใจเลยว่า ผู้นี้เป็น
กษัตริย์ ผู้นี้เป็นพราหมณ์ ผู้นี้มั่งคั่ง ผู้นี้มีกำลัง ผู้นี้
มีเดชานุภาพ ย่อมย่ำยีทั่วทั้งหมด เพราะเหตุนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ราชสีห์ก็ดี เสือโคร่งก็ดี เสือเหลืองก็ดี ย่อม
ข่มขี่เคี้ยวกินสัตว์ที่ดิ้นรนอยู่ได้ แต่ไม่สามารถจะเคี้ยว
กินมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า
จะบวชประพฤติธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 287
นักเล่นกลทั้งหลาย เมื่อกระทำกลมายา ณ
ท่ามกลางสนาม ย่อมลวงนัยน์ตาประชาชนในที่นั้นๆ
ให้หลงเชื่อได้ แต่ไม่สามารถจะลวงมัจจุราชให้หลง
เชื่อได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช
ประพฤติธรรม.
อสรพิษที่มีพิษร้าย โกรธขึ้นมาแล้ว ย่อมขบกัด
มนุษย์ให้ถึงตายได้ แต่ไม่สามารถจะขบกัดมัจจุราช
ให้ตายได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะ
บวชประพฤติธรรม.
อสรพิษทั้งหลายโกรธขึ้นแล้ว ขบกัดผู้ใด หมอ
ทั้งหลายย่อมถอนพิษร้ายนั้นได้ แต่จะถอนพิษของผู้
ถูกมัจจุราชประทุษร้ายหาได้ไม่ เพราะเหตุนั้น ข้า-
พระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
แพทย์ผู้มีชื่อเสียงเหล่านี้คือ แพทย์ธรรมมนตรี
แพทย์เวตตรุณะ แพทย์โภชะ อาจจะกำจัดพิษ
พระยานาคได้ แต่แพทย์เหล่านั้น ต้องทำกาลกิริยา
นอนตาย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า
จะบวชประพฤติธรรม.
วิชาธรทั้งหลาย เมื่อร่ายอาคมชื่อ โฆรมนต์
ย่อมหายตัวไปได้ด้วยโอสถทั้งหลาย แต่หายตัวไม่ให้
มัจจุราชเห็นไม่ได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 288
ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่
บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ นี้เป็น
อานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติ
ธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.
สภาพทั้งสองคือ ธรรมและอธรรม มีวิบากไม่
เสมอกัน อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมยังสัตว์
ให้ถึงสุคติ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยเมกรตฺตึ ความว่า โดยมากสัตว์
ทั้งหลายเมื่อจะถือปฏิสนธิในท้องมารดา มักถือปฏิสนธิในเวลาราตรี เพราะ
เหตุนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าจึงตรัสอย่างนี้. ในข้อนี้มีอรรถาธิบายว่า สัตว์จะถือ
ปฏิสนธิในเวลาราตรีก็ตาม ในเวลากลางวันก็ตาม ย่อมอยู่ในครรภ์คือท้อง
ของมารดาก่อน. บทว่า มาณโว ความว่า สัตว์ย่อมดำรงอยู่โดยความเป็น
กลละ. บทว่า อพฺภุฏฺิโตว โส ยาติ ความว่า เมฆหมอกกล่าวคือวลาหก
ตั้งขึ้น เกิดขึ้น ถูกกำลังพายุพัดไปฉันใด สัตว์นั้นย่อมไปสู่ความเป็นกลละก่อน
ฉันนั้นเหมือนกัน.
ข้อนี้ สมกับที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า
แรกสัตว์ถือปฏิสนธินั้น เป็นกลละคือข้นเข้า
หน่อยหนึ่ง ต่อจากกลละก็เป็นอัพพุทะ คือข้นขุ่นดัง
น้ำล้างเนื้อ ต่อจากอัพพุทะ ก็เกิดเป็นเปสิ คือชิ้นเนื้อ
อ่อน ๆ ต่อจากเปสิก็เป็นฆนะ คือก้อนแข็ง ต่อจาก
ฆนะก็เกิดเป็นสาขาอวัยวะ คือ ผมบ้าง ขนบ้าง เล็บ
บ้าง มารดาของนระนั้นบริโภคโภชนะสิ่งใด ทั้งข้าว
ทั้งน้ำ นระผู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น ย่อมเลี้ยงอัตภาพ
ด้วยโภชนะสิ่งนั้น อยู่ในครรภ์มารดานั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 289
ในคาถานั้น พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้
นระนั้นย่อมถึงความเป็นกลละเป็นต้นในครรภ์มารดานี้ และครั้นออก
จากครรภ์มารดาแล้ว ก็ถึงความเป็นมันททสกะเป็นต้น ย่อมเป็นไปติดต่อไม่
ขาดระยะ. บทว่า ส คจฺฉ น นิวตฺตติ ความว่า และเมื่อเป็นไปอย่างนี้ นระนี้
มิได้ย้อนรอยถอยกลับเข้าไปถึงความเป็นกลละจากอัพพุทะ ถึงความเป็นอัพพุทะ
เป็นต้น จากเปสิเป็นต้น เป็นมันททสกะ จากขิฑฑาทสกะ หรือถึงความเป็น
ขิฑฑาทสกะเป็นต้น จากวัณณทสกะเป็นต้น เปรียบเหมือนวลาหกอันกำลัง
ลมพัดให้กระจัดกระจาย ย่อมไม่ได้ที่จะคิดว่า เราตั้งขึ้น ณ ที่โน้น จักกลับไป
แล้วดำรงอยู่โดยปกติภาพ ณ ที่โน้นอีกทีเดียว ที่ใดอันวลาหกนั้นไปแล้ว ที่นั้น
ชื่อว่าได้ไปแล้ว ที่ใดอันตรธานไป ที่นั้นเป็นอันชื่อว่าอันตรธานไปแล้ว ฉันใด
แม้สัตว์ผู้ถือปฏิสนธิในครรภ์ก็ฉันนั้น เมื่อไปโดยความเป็นกลละเป็นต้น
ย่อมไปทีเดียว สังขารทั้งหลายในส่วนนั้น ๆ เป็นปัจจัยแห่งภาวะมีในก่อน
มิได้ถอยกลับคืนข้างหลัง ย่อมแตกทำลายไปในที่นั้น ๆ ทีเดียว สังขารทั้งหลาย
ในชรากาลย่อมไม่ได้สิ่งที่จะคิดว่า เมื่อก่อนนี้หนุ่มแน่นสมบูรณ์ด้วยกำลัง
พวกเรากระทำได้ตามต้องการ พวกเราจักให้สังขารนั้นกลับสภาพเดิม ทำได้
เหมือนก่อนนั้นอีก ดังนี้ ย่อมจะอันตรธานไปในที่นั้น ๆ นั่นแหละ.
บทว่า น ยุชฺฌมานา ความว่า นรชนทั้งหลายจะตั้งค่ายประชิดพล
ทั้งสองข้าง กระทำยุทธสงคราม (กับชรามรณะหาได้ไม่). บทว่า น พเลน
วสฺสิตา ความว่า นรชนทั้งหลายจะเข้าถึง คือประกอบด้วยกำลังกาย กำลัง
พลโยธาก็ตาม. บัณฑิตพึงนำเอา "น" อักษรข้างหน้า ในบทว่า น ชีรนฺติ
มาประกอบแล้ว ทราบเนื้อความว่า นรชนทั้งหลายแม้เห็นปานนี้ จะไม่แก่
ไม่ตายก็หามิได้. บทว่า สพฺพมฺหิ ต ความว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 290
เพราะมณฑลแห่งปาณะสัตว์ทั้งหมดนี้ ถูกชาติ และชราเบียดเบียนบีบคั้นเป็น
นิตย์ ดุจลำอ้อยถูกเครื่องยนต์ขนาดใหญ่บีบคั้น ฉะนั้น. บทว่า ต เม มตี
โหติ ความว่า แม้เพราะเหตุนั้น ความคิดของข้าพระพุทธเจ้าจึงมี คือเกิดความ
คิดขึ้นว่า จะบวชประพฤติธรรม. บทว่า จาตุรงฺคินึ ความว่า ประกอบด้วย
องค์ ๔ มีม้าเป็นต้น. บทว่า เสน สุภึสรูป ได้แก่ เสนาซึ่งมีรูปร่างน่ากลัว.
บทว่า ชยนฺติ ความว่า บางครั้งพระราชาบางจำพวกชนะ (เสนาของศัตรู)
ด้วยเสนาของตนได้. บทว่า น มจฺจุโน ความว่า แต่พระราชาแม้เหล่านั้น
ไม่อาจชนะเสนาแห่งมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ได้ คือไม่สามารถเพื่อจะย่ำยี ชรา
พยาธิ และมรณะได้.
บทว่า มุจฺจเร เอกจฺจยา ความว่า พระราชาบางพวกแวดล้อม
ด้วยพลช้างเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมพ้นจากเงื้อมมือของปัจจามิตรได้ แต่ไม่สามารถ
เพื่อจะพ้นจากสำนักของมัจจุราชได้. บทว่า ปภิญฺชนฺติ ความว่า พระราชา
ผู้แกล้วกล้า ย่อมหักหาญตีเอาพระนครของราชศัตรูได้ ด้วยพลช้างเป็นต้น
เหล่านั้น. บทว่า ปธสยนฺติ ความว่า ย่อมกำจัดย่ำยียังมหาชนให้ถึงความตาย
ได้. บทว่า น มจฺจุโน ความว่า แต่พระราชาเหล่านั้น เมื่อกาลมรณะ
มาถึงแล้ว ไม่อาจที่จะหักรานมฤตยูได้. บทว่า ภินฺนคฬา ปภินฺนา
ความว่า คชสารทั้งหลาย เป็นสัตว์มีมันเหลวแตกออกในที่ ๓ สถาน ก็เมามัน
คือมีมันเหลวไหลออก. บทว่า น มจฺจุโน ความว่า แม้คชสารเหล่านั้น
ไม่อาจย่ำยีมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ได้.
บทว่า อิสฺสาสิโน ได้แก่ นายขมังธนูทั้งหลาย. บทว่า กตหตฺถา
ความว่า ผู้ศึกษาดีแล้ว. บทว่า ทูเรปาตี ความว่า เป็นผู้สามารถยิงให้ถูกได้
ณ ที่ไกล. บทว่า อกฺขณเวธิโน ความว่า ยิงได้แม่นไม่ผิดพลาด หรือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 291
เป็นผู้สามารถยิงได้ด้วยสายฟ้าแลบ. บทว่า สรานิ ความว่า แม้สระใหญ่ๆ
ทั้งหลาย มีสระอโนดาตเป็นต้น ย่อมเสื่อมสิ้นไปเหมือนกัน. บทว่า สเสล-
กานนา ความว่า แม้มหาปฐพีพร้อมทั้งบรรพต และไพรสณฑ์ก็ดี ย่อม
เสื่อมสิ้นไป. บทว่า สพฺพ หิ ต ความว่า ธรรมชาติอันนับว่าเป็นสังขาร
ทั้งหมดนี้ แม้ตั้งอยู่ยืนนานเพียงใด ก็ย่อมจะเสื่อมสิ้นไป แม้มหาเมรุราช
ถึงไฟบัลลัยกัลป์แล้ว ย่อมจะย่อยยับไปเหมือนขี้ผึ้งใกล้เตาไฟ ย่อมละลายไป
ฉะนั้น ฝ่ายสังขารมีประมาณเล็กน้อย ไม่สามารถดำรงอยู่ได้. สังขารทั้งหมด
ถึงกาลเป็นที่สุด คือถึงวาระกาลพินาศแล้ว ย่อมจะหักละเอียด คือแตกทำลาย
ไป. เพื่อจะประกาศความนี้นั้น ควรนำสัตตสุริยสูตรมาแสดง.
บทว่า จลาจล ความว่า เป็นของจลาจล คือไม่สามารถดำรงอยู่
ตามสภาพของตนได้ มีอันเป็นไปต่าง ๆ แปลก ๆ กัน. บทว่า ปาณภุโนธ
ชีวิต ความว่า ชีวิตของปาณสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นในโลกนี้ (ก็ฉันนั้น). บทว่า
ปโฏว ธุตฺตสฺส ทุโมว กูลโช ความว่า ธรรมดานักเลงสุราเห็นสุราแล้ว
ย่อมเปลื้องผ้าคาดพุงแลกดื่มได้ทีเดียว ต้นไม้ที่เกิดใกล้ฝั่งแม่น้ำ เมื่อฝั่งพังลง
ไป ก็ย่อมโค่นล้มไป แผ่นผ้าของนักเลงสุรา และต้นไม้ใกล้ฝั่งนี้เป็นฉันใด
ขอเดชะ ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น. บทว่า ทุมฺมปฺผลาเนว ความว่า
ผลไม้ทั้งหลายที่สุกแล้วถูกลมกระทบ ย่อมหล่นจากต้นตกลงที่พื้นดิน ฉันใด
มาณพทั้งหลายเหล่านี้ ถูกลมคือชรากระทบแล้ว กลืนกินชีวิตแล้ว ย่อมล่วง
หล่นไปในแผ่นดินคือความตาย ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า ทหรา ความว่า
มาณพทั้งหลายเหล่านี้ คือคนหนุ่ม โดยที่สุดแม้ตั้งอยู่ในความเป็นกลละก็ดี.
บทว่า มชฺฌิมโปริสา ความว่า หญิงชายผู้ตั้งอยู่ในวัยกลางคน ทั้งอุภโต-
พยัญชนก และนปุงสกเพศ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 292
บทว่า ตารกราชสนฺนิโภ ความว่า พระจันทร์เป็นราชาแห่ง
ดวงดารา สิ้นแรงลงในกาฬปักษ์ข้างแรม แต่ก็แจ่มใสเต็มดวง ในชุณหปักษ์
ข้างขึ้นฉันใด วัยของสัตว์ทั้งหลายหาเป็นฉันนั้นไม่. เพราะวัยของสัตว์ทั้งหลาย
ส่วนใดล่วงไปแล้ว เป็นอันว่าส่วนนั้นล่วงไปแล้วในบัดนี้ทีเดียว ไม่มีทางที่จะ
กลับคืนไปสู่วัยนั้นได้อีก. บทว่า กุโต รติ ความว่า แม้ความยินดีในกามคุณ
ทั้งหลายของคนแก่ชราย่อมไม่มี ความสุขอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณนั้น
จะมีมาแต่ไหน. บทว่า ยกฺขา ได้แก่ ยักษ์ผู้มีมหิทธิฤทธิ์ . บทว่า ปีสาจา
ได้แก่ ปีศาจคลุกฝุ่น. บทว่า เปตา ได้แก่ สัตว์ผู้เข้าถึงเปตวิสัย. บทว่า
อสฺสสนฺติ ความว่า เข้าไปกระทบ หรือแทรกซึมเข้าไปตามลมหายใจเข้าออก.
บทว่า น มจฺจุโน ความว่า แต่แม้ยักษ์เป็นต้น แม้เหล่านั้น ไม่สามารถ
จะเข้าไปกระทบทรือแทรกซึมตามลมหายใจมฤตยูได้.
บทว่า นิชฺฌาปน กโรนฺติ ความว่า ให้อดโทษ คือให้ยินดี
ด้วยสามารถแห่งพลีกรรมได้. บทว่า อปราธเก ได้แก่ ผู้กระทำความผิด
ต่อพระราชา. บทว่า ทูสเก ได้แก่ ผู้ประทุษร้ายต่อราชสมบัติ. บทว่า
เหเก ได้แก่ ผู้เบียดเบียนชาวโลกด้วยการตัดช่องย่องเบาเป็นต้น. บทว่า
ราชิโน ได้แก่ พระราชาทั้งหลาย. บทว่า วิทิตฺวาน โทส ความว่า
พระราชาทั้งหลายทรงทราบโทษผิดแล้ว ย่อมลงอาชญา ตามสมควรแก่ความผิด.
บทว่า น มจฺจุโน ความว่า แต่พระราชาเหล่านั้น ไม่อาจลงอาชญา แก่
มฤตยุราชได้. บทว่า นิชฺฌาเปตุ ความว่า ย่อมได้เพื่อจะประกาศความเป็น
ผู้ไร้ความผิดของตนได้ ด้วยหลักฐานพยาน. บทว่า น อฑฺฒกา พลวา
เตชวาปิ ความว่า พระโพธิสัตว์เจ้าทรงแสดงว่า มัจจุราชมิได้มีความเกรงใจ
แม้อย่างนี้ว่า ชนเหล่านี้ มั่งคั่ง ผู้นี้มีกำลัง ทั้งด้วยกำลังกาย และกำลังความรู้
ผู้นี้มีเดชานุภาพ คือไม่มีความเกรงใจ รักใคร่สิเนหาในสัตวนิกายแม้แต่ผู้เดียว
ย่อมย่ำยีทั้งหมดทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 293
บทว่า ปสยฺห ความว่า ข่มขี่โดยพลการ. บทว่า น มจฺจุโน ความว่า
แม้สัตว์เหล่านั้น ก็ไม่อาจเคี้ยวกินมัจจุราชได้.
บทว่า กโรนฺตา ความว่า กระทำกลมายา. บทว่า โมเหนฺติ
ความว่า แสดงสิ่งที่ไม่จริง ทำให้เห็นเป็นจริง ลวงนัยน์ตาประชาชน. บทว่า
อุคฺคเตชา ความว่า อสรพิษทั้งหลายที่ประกอบด้วยเดชคือพิษกล้า. บทว่า
ติกิจฺฉกา ได้แก่ หมอผู้เยียวยาแก้พิษ. บทว่า ธมฺมนฺตรี เวตฺตรุโณ จ
โภโช ความว่า แพทย์ผู้มีชื่ออย่างนี้ เหล่านี้. บทว่า โฆรมธียมานา ได้แก่
ผู้ทรงไว้ซึ่งวิชาชื่อโฆระ. บทว่า โอสเธภิ ความว่า วิชาธรทั้งหลาย ครั้นร่าย
วิชา ชื่อโฆระหรือคันธะเป็นต้นแล้ว ถือโอสถไปสู่ที่ซึ่งข้าศึกทั้งหลายไม่อาจแล
เห็นได้ด้วยโอสถเหล่านั้น. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สุจริตธรรม. บทว่า รกฺขติ
ความว่า สุจริตธรรม อันบุคคลใดรักษาแล้ว สุจริตธรรมนั้นย่อมรักษาผู้นั้น
ตอบ. บทว่า สุข ความว่า ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมา
คือให้ถึงสุข ได้แก่ นำเข้าไปด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิในฉกามาพจรสวรรค์.
ครั้นพระมหาสัตว์เจ้า แสดงธรรมถวายพระราชบิดา ด้วยคาถา ๒๔
คาถา อย่างนี้แล้ว กราบทูลว่า ขอเดชะพระชนกมหาราชเจ้า ราชสมบัติของ
พระราชบิดา จงเป็นของพระราชบิดาผู้เดียวเถิด ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความ
ต้องการด้วยราชสมบัตินี้ ชรา พยาธิ และมรณะ ย่อมรุกรานข้าพระพุทธเจ้า
ซึ่งกาลังกราบทูลสนทนากับพระองค์อยู่ทีเดียว ขอพระองค์จงอยู่เป็นสุขเถิด
ดังนี้แล้ว สละกามทั้งหลายถวายบังคมลาพระชนกชนนี เสด็จออกบรรพชา
อุปมาเหมือนช้างซับมัน สลัดตัดเสียซึ่งห่วงเหล็กแล่นไป หรือดุจสีหโปดกทำลาย
กรงทองไปได้ฉะนั้น. ลำดับนั้น พระราชบิดาของพระมหาสัตว์ ทรงดำริว่า
ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติแม้แก่เรา จึงสละราชสมบัติ เสด็จออกพร้อมกับ
พระราชโอรสทีเดียว. เมื่อพระเจ้าพรหมทัตกำลังเสด็จออกไปนั้น ทั้งพระเทวี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 294
ทั้งหมู่อำมาตย์ราชบริพาร ตลอดจนชาวพระนครทั้งสิ้น มีพราหมณ์และ
คฤหบดีเป็นต้น ต่างพากันสละเคหสถานออกตามเสด็จพระเจ้าพรหมทัต ได้
เกิดเป็นมหาสมาคมใหญ่ มีบริษัทนับได้ประมาณ ๑๒ โยชน์ พระมหาสัตว์เจ้า
พาบริษัทนั้นเข้าไปสู่หิมวันตประเทศ ท้าวสักกเทวราช ทรงทราบว่า พระ-
มหาสัตว์เจ้าเสด็จออกแล้ว จึงส่งวิสสุกรรมเทพบุตร ไปเนรมิตอาศรมบทให้
ยาว ๑๒ โยชน์ กว้าง ๗ โยชน์ ทั้งให้จัดแจงบรรพชิตบริขารไว้ครบถ้วน.
ต่อจากนี้ไป การบรรพชาของพระมหาสัตว์เจ้าก็ดี การให้โอวาทก็ดี ความ
เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้าก็ดี ความไม่ไปสู่อบายของบริษัทก็ดี
พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังทั้งหมด.
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในชาติก่อน ตถาคตก็ออกสู่มหาภิเนษกรมณ์อย่างนี้
เหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระราชมารดาบิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็น
มหาราชสกุล บริษัทได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วน อโยฆรบัณฑิต ได้มาเป็น
เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนี้เลย.
จบอรรถกถาอโยฆรชาดก
จบอรรถกถา วีสตินิบาต เพียงเท่านี้
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มาตังคชาดก ๒. จิตตสัมภูตชาดก ๓. สีวิราชชาดก ๔. สิริ-
มันทชาดก ๕. โรหนมิคชาดก ๖. หังสชาดก ๗. สัตติคุมพชาดก ๘. ภัลลา-
ติยชาดก ๙. โสมนัสสชาดก ๑๐. จัมเปยยชาดก ๑๑. มหาโลภนชาดก
๑๒. ปัญจบัณฑิตชาดก ๑๓. หัตถิปาลชาดก ๑๔. อโยฆรชาดก และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 295
ติงสตินิบาตชาดก
๑. กิงฉันทชาดก
ว่าด้วยโทษที่ฉกฉวยเอาประโยชน์ของคนอื่น
[๒๒๘๕] ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมีความพอใจ
อะไร ประสงค์อะไร ปรารถนาอะไร แสวงหาอะไร
จึงมานั่งอยู่แต่ผู้เดียว ในเวลาร้อน เพราะเหตุไร ท่าน
จึงมานั่งดูแม่น้ำ.
[๒๒๘๖] หม้อน้ำใหญ่ มีรูปทรงงดงามฉันใด
ผลมะม่วงสุก อันมีสีกลีบและรสดีเยี่ยม ก็มีอุปไมย
ฉันนั้น.
เราได้เห็นผลมะม่วงนั้น อันกระแสน้ำพัดลอย
มาท่ามกลางแม่น้ำ จึงได้หยิบเอามาเก็บไว้ในเรือนไฟ.
แต่นั้น ก็วางไว้บนใบตอง ทำวิกัปด้วยมีดเอง
แล้วฉัน ความหิว และความกระหายของเราก็หายไป.
เราหมดความกระวนกระวายใจ พอมะม่วงหมด
เราต้องอดทนต่อความทุกข์ ย่อมไม่ได้ประสบความ
พอใจในผลไม้ไร ๆ อื่น.
ผลมะม่วงใดเกิดมีแก่ข้าพเจ้า ผลมะม่วงนั้น
มีรสอร่อยเป็นเลิศ เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ คงจักนำความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 296
ตายมาแก่ข้าพเจ้าแน่ เพราะซูบผอม เนื่องจากอด
อาหาร.
ข้าพเจ้าเก็บผลมะม่วงสุก อันลอยมาจากทะเล
ในห้วงมหรรณพได้ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ผลมะม่วงสุก
นั้น คงจักนำความตายมาแก่ข้าพเจ้า ต้องมานั่งอยู่ ณ
ที่นี้ เพราะเหตุใด เหตุนั้นทั้งหมดข้าพเจ้าบอกท่าน
แล้ว.
ข้าพเจ้านั่งอยู่เฉพาะแม่น้ำอันน่ารื่นรมย์ แม่น้ำ
นี้กว้างขวางมีปลาโลมาใหญ่อาศัยอยู่ น่าจะพึงมีความ
สบาย ข้าแต่ท่านผู้ยืนอยู่เฉพาะหน้าแห่งเราไม่หนีไป
ท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด.
ดูก่อนท่านผู้มีร่างกายอันสันทัดงามดี ท่านผู้มี
ร่างอันสะคราญ เช่นกับด้วยทองใบทั้งแผ่น หรือดุจ
นางพยัคฆีที่สัญจรไปตามซอกเขา ท่านเป็นใคร หรือ
ว่าท่านมาที่นี่เพื่ออะไร.
เทพนารีทั้งหลายในเทวโลก ซึ่งเป็นบริจาริกา
แห่งทวยเทพในฉกามาพจรสวรรค์ มีอยู่เหล่าใด หรือ
สตรีมีรูปงาม ในมนุษยโลกเหล่าใด เทพนารีและสตรี
ทั้งหลายเหล่านั้น ในหมู่เทวดาคนธรรพ์และมนุษย์
ไม่มีที่จะเสมอเหมือนท่านด้วยรูป ท่านผู้มีตะโพกอัน
งามประหนึ่งทอง เราถามท่านแล้ว ขอจงบอกชื่อและ
เผ่าพันธุ์เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 297
[๒๒๘๗] ดูก่อนพราหมณ์ดาบส ท่านนั่งอยู่
เฉพาะหน้าแม่น้ำโกสิกิคงคาอันน่ารื่นรมย์ใจ โกสิกิ-
คงคานั้น มีกระแสอันเชี่ยว เป็นห้วงน้ำใหญ่ ข้าพเจ้า
สิงสถิตอยู่ในวิมาน อันตั้งอยู่ที่แม่น้ำนั้น.
มีลำห้วย และลำธาร ไหลมาจากเขาหลายแห่ง
เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ไม้นานาพรรณ ย่อมไหลตรง
มารวมอยู่ที่ข้าพเจ้าทั้งนั้น.
ใช่แต่เท่านั้น ยังมีน้ำที่ไหลมาจากป่า มีกระแส
ไหลเชี่ยว สีเขียวปัดอีกมากหลาย และน้ำที่พวกนาค
กระทำให้มีสีวิจิตรต่าง ๆ ย่อมไหลมาตามกระแสน้ำ.
แม่น้ำเหล่านั้น ย่อมพัดเอาผลมะม่วง ผลชมพู่
ผลขนุนสำมะลอ ผลกระทุ่ม ผลตาล และผลมะเดื่อ
เป็นอันมากเนือง ๆ.
ผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ฝั่งทั้งสองตกลงในน้ำ
แล้ว ผลไม้นั้นย่อมเป็นไปในอำนาจแห่งกระแสน้ำ
ของข้าพเจ้า โดยไม่ต้องสงสัย.
ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์มีปัญญามาก ผู้ยิ่งใหญ่
กว่านรชน ท่านรู้อย่างนี้แล้วจงฟังข้าพเจ้า ท่านอย่า
พอใจความเกี่ยวเกาะด้วยตัณหาอย่างนี้เลย จงเลิกคิด
เสียเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 298
ดูก่อนพระราชฤาษี ผู้ยังรัฐให้เจริญ ข้าพเจ้า
ไม่เข้าใจว่า ท่านจะเจริญรุ่งเรืองไปได้อย่างไร เมื่อ
ท่านซูบผอมรอความตายอยู่.
พรหม คนธรรพ์ เทวดา และฤาษีทั้งหลายใน
โลกนี้ ผู้มีตบะอันสำรวมแล้ว เรืองตบะ เริ่มตั้งความ
เพียร ผู้เรืองยศ ย่อมรู้ความที่ท่านตกอยู่ในอำนาจ
แห่งตัณหา อย่างไม่ต้องสงสัยเลย.
[๒๒๘๘] บาปย่อมไม่เจริญแก่นรชน ผู้รู้จักศีล
และความไม่เที่ยง ดำรงอยู่เหมือนเราฉะนั้น ซึ่งรู้ธรรม
ทั้งปวง รู้ความสลาย และความจุติแห่งชีวิต ถ้านระ
นั้นไม่คิดฆ่าบุคคลอื่นผู้มีความสุข.
ดูก่อนท่านผู้อันหมู่ฤาษีรู้กันทั่วแล้ว ท่านเป็นผู้
อันชนผู้ลอยบาปรู้แจ้งแล้วว่า เป็นผู้เกื้อกูลแก่โลก
แต่ต้องปรารถนาบาปกรรมแก่ตน เพราะใช้คำบริภาษ
อันไม่ประเสริฐไพเราะ.
ดูก่อนท่านผู้มีตะโพกอันผึ่งผาย ถ้าเราจักตาย
อยู่ที่ริมฝั่งน้ำของท่าน เมื่อเราตายไปแล้ว ความ
ติเตียนก็จักมาถึงท่าน โดยไม่ต้องสงสัย.
ดูก่อนท่านผู้มีสะเอวอันกลมกลึง เพราะฉะนั้น
แล ท่านจงรักษาบาปกรรมไว้เถิด อย่าให้คนทั้งปวง
ติเตียนท่านได้ในภายหลัง ในเมื่อเราตายไปแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 299
[๒๒๘๙] เหตุนั้น ข้าพเจ้าทราบแล้ว ท่านจง
อดกลั้นไว้ก่อน ข้าพเจ้าจะยอมอุทิศตน และให้
มะม่วงแก่ท่าน เพราะท่านละกามคุณที่ละได้ยาก แล้ว
ตั้งไว้ซึ่งความสงบ และสุจริตธรรม.
บุคคลใดละสังโยชน์ในก่อนได้ แล้วภายหลัง
มาตั้งอยู่ในสังโยชน์ ประพฤติอธรรมอยู่ บาปย่อม
เจริญแก่บุคคลนั้น.
มาเถิด ข้าพเจ้าจะนำท่านไปยังสวนมะม่วง ท่าน
จงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย โดยส่วนเดียวเถิด
ข้าพเจ้าจักนำท่านไปในสวนมะม่วงอันร่มเย็น ท่าน
จงเป็นผู้ไม่ขวนขวายอยู่เถิด.
ดูก่อนท่านผู้ปราบปรามข้าศึก สวนนั้นเกลื่อน-
กล่นไปด้วยหมู่นก ที่มัวเมาอยู่ในรสดอกไม้ มีนก
กระเรียน นกยูง นกเขา ตัวมีสร้อยคออันน่าชม มีหมู่
หงส์ส่งเสียงร้องขรม ฝูงนกดุเหว่าที่ร้องปลุกสัตว์
ทั้งหลายอยู่ในสวนมะม่วงนั้น.
ผลมะม่วงในสวนนั้น ดกเป็นพวงๆดุจฟ่อนฟาง
ปลายกิ่งห้อยโน้มลงมา มีทั้งต้นคำ ต้นสน ต้นกระทุ่ม
และผลตาลสุกห้อยอยู่เรียงราย.
[๒๒๙๐] ท่านทรงทิพมาลา ผ้าโพกศีรษะ
และเครื่องอาภรณ์ล้วนแต่เป็นทิพย์ มีทองต้นแขน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 300
ลูบไล้ด้วยจุรงจันทน์ กลางคืนมีหญิง ๑๖,๐๐๐ คน
เป็นบริจาริกาบำเรอท่านอยู่ แต่กลางวันต้องเสวย
ทุกขเวทนา.
หญิงเหล่านี้ได้เป็นบริจาริกาของท่าน มีถึง
๑๖,๐๐๐นาง ท่านมีอานุภาพมากอย่างนี้ ไม่เคยมีใน
มนุษยโลก น่าขนพองสยองเกล้า.
ในภพปางก่อน ท่านทำกรรมอะไรไว้ จึงต้อง
นำทุกขเวทนามาสู่ตน ท่านทำกรรมอะไรไว้ในมนุษย-
โลก จึงต้องเคี้ยวกินเนื้อหลังของตนเองในบัดนี้.
[๒๒๙๑] ข้าพเจ้าเรียนจบไตรเพท หมกมุ่นอยู่
ในกามทั้งหลาย ได้ประพฤติเพื่อความฉิบหายใช่
ประโยชน์ แก่ชนเหล่าอื่น ตลอดกาลนาน.
บุคคลใดเป็นผู้ขูดเลือดเนื้อผู้อื่น บุคคลนั้นย่อม
ต้องควักเนื้อของตนกิน เช่นเดียวกับข้าพเจ้ากินเนื้อ
หลังของตนอยู่จนทุกวันนี้.
จบกิงฉันทชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 301
อรรถกถาติงสตินิบาต
อรรถกถากิงฉันทชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
อุโบสถกรรม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กึฉนฺโท กิมธิปฺปาโย
ดังนี้.
ความย่อว่า วันหนึ่ง พระศาสดาตรัสถามอุบาสก - อุบาสิกาเป็นอันมาก
ผู้รักษาอุโบสถ ผู้มานั่งเพื่อจะฟังพระธรรมเทศนาอยู่ที่โรงธรรมสภาว่า ดูก่อน
อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย พวกท่านรักษาอุโบสถหรือ ? เมื่อเขากราบทูลให้
ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ท่านทั้งหลายทำการรักษาอุโบสถ จัดว่าได้ทำความดี
โบราณกบัณฑิตทั้งหลายได้รับยศอันยิ่งใหญ่ ก็เพราะผลแห่งอุโบสถกรรม
กึ่งหนึ่ง อันพวกอุบาสกอุบาสิกากราบทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมา
ตรัสดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนคร
พาราณสี โดยธรรม ทรงเป็นผู้มีศรัทธา ปสาทะ ไม่ประมาทในทานศีล และ
อุโบสถกรรม. ท้าวเธอมีตรัสสั่งแม้กะชนที่เหลือ มีอำมาตย์เป็นต้น ให้ตั้งมั่น
ในกุศลจริยามีทานเป็นต้น. แต่ปุโรหิตของพระองค์ มีปกติรีดเลือดเนื้อ
ประชาชน กินสินบน วินิจฉัยอรรถคดีโดยอยุติธรรม. ในวันอุโบสถตรัสสั่ง
ให้ประชาขนมีอำมาตย์เป็นต้นมาเฝ้า แล้วตรัสสั่งว่า พวกท่านทั้งหลายจงมา
รักษาอุโบสถ. ปุโรหิตก็ไม่ยอมสมาทานอุโบสถ คราวนั้น เมื่อพระราชากำลัง
ทรงซักถามพวกอำมาตย์ว่า ท่านทั้งหลายสมาทานอุโบสถละหรือ ? จึงตรัส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 302
ถามปุโรหิตนั้น ผู้รับสินบนและตัดสินอรรถคดีโดยอยุติธรรม ในเวลากลางวัน
แล้วมาสู่ที่เฝ้าว่า ท่านอาจารย์ ท่านสมาทานอุโบสถแล้วหรือ ? ปุโรหิตนั้น
ทูลคำเท็จว่าสมาทานแล้ว พะย่ะค่ะ แล้วลงจากปราสาทไป. ครั้งนั้น อำมาตย์
ผู้หนึ่งท้วงว่า ท่านไม่ได้สมาทานอุโบสถมิใช่หรือ ? ปุโรหิตนั้นพูดแก้ตัวว่า
ข้าพเจ้าบริโภคอาหารเฉพาะในเวลาเท่านั้น และข้าพเจ้ากลับไปเรือนแล้ว
จักบ้วนปากอธิษฐานอุโบสถ ไม่บริโภคอาหารในเวลาเย็น ข้าพเจ้าจักรักษา
อุโบสถศีลในเวลากลางคืน ด้วยอาการอย่างนี้ ข้าพเจ้าก็จักมีอุโบสถกรรม
กึ่งหนึ่ง. อำมาตย์ผู้นั้นกล่าวว่า ดีละขอรับ ท่านอาจารย์ เขากลับเรือนแล้ว
ก็ได้กระทำอย่างนั้น.
อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อปุโรหิตนั้นนั่งอยู่ในศาล. สตรีผู้มีศีลคนหนึ่ง มา
ยื่นฟ้องคดี เมื่อไม่ได้โอกาสที่จะกลับไปเรือน จึงคิดว่า เราจักไม่ละเลย
อุโบสถกรรม พอใกล้เวลา นางจึงเริ่มบ้วนปาก. ขณะนั้น มีผู้นำผลมะม่วงสุก
มาให้พราหมณ์ปุโรหิตพวงหนึ่ง. พราหมณ์ปุโรหิตรู้ว่า หญิงนั้นจะสมาทาน
อุโบสถ จึงหยิบมะม่วงส่งให้ พร้อมกับพูดว่า เจ้าจงรับประทานมะม่วงสุก
เหล่านี้ก่อน แล้วจึงสมาทานอุโบสถเถิด. หญิงนั้นก็ได้กระทำตามนั้น. กุศล-
กรรมของพราหมณ์ปุโรหิตมีเพียงเท่านี้.
ในเวลาต่อมา พราหมณ์ปุโรหิตนั้นทำกาลกิริยาแล้ว ได้ไปบังเกิด
เหนือสิริไสยาสน์อันอลงกต ในวิมานทองอันงามเรืองรอง มีภูมิภาคเป็น
รมณียสถาน ในสวนอัมพวัน มีบริเวณ ๓ โยชน์ ใกล้ฝั่งน้ำโกสิกิคงคานที
ในหิมวันตประเทศ ดุจคนที่หลับแล้วตื่นขึ้น มีเรือนร่างอันประดับตกแต่ง
ดีแล้ว ทรงรูปโฉมงามสง่า แวดล้อมด้วยนางเทพกัญญาหมื่นหกพันเป็นบริวาร.
เขาได้เสวยสิริสมบัตินั้น เฉพาะในเวลากลางคืนเท่านั้น. ความจริง เทพบุตรนั้น
ได้เสวยวิบากผลสมกับกรรมที่ตนทำไว้ โดยภาวะเป็นเวมานิกเปรต. เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 303
ฉะนั้น เมื่อเวลาอรุณขึ้น เขาจะต้องไปสู่สวนอัมพวัน. ในขณะที่ย่างเข้าไปสู่
สวนอัมพวันเท่านั้น อัตภาพอันเป็นทิพย์ของเขาก็อันตรธานไป เกิดอัตภาพ
ประมาณเท่าลำตาล สูง ๘๐ ศอกแทน ไฟติดทั่วร่างกาย เป็นเหมือนดอก
ทองกวาวที่บานเต็มที่ฉะนั้น นิ้วแต่ละนิ้วที่มือทั้งสองข้าง มีเล็บโตประมาณ
เท่าจอบใหญ่. เขาเอาเล็บเหล่านั้น กรีดจิกควักเนื้อข้างหลังของตนออกมากิน
เสวยทุกขเวทนาร้องโอดครวญอยู่. เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ร่างนั้นก็
อันตรธานไป ร่างอันเป็นทิพย์ก็เกิดขึ้นแทน. เหล่านางฟ้อนอันเป็นทิพย์
ผู้ประดับตกแต่งแล้วด้วยทิพพาลังการ ต่างถือดุริยางดนตรี มาห้อมล้อมบำเรอ
เมื่อจะเสวยมหาสมบัติ ก็ขึ้นไปยังปราสาทอันเป็นทิพย์ ในสวนอัมพวันอัน
เป็นรมณียสถาน. เวมานิกเปรตนั้น ได้เฉพาะซึ่งสวนอัมพวัน อันมีปริมณฑล
๓ โยชน์ ด้วยผลแห่งการให้ผลมะม่วง แก่สตรีผู้สมาทานอุโบสถ แต่เพราะผล
แห่งการกินสินบน ตัดสินคดีโดยอยุติธรรม จึงต้องจิกควักเนื้อหลังของตนกิน
และเพราะผลแห่งอุโบสถกรรมกกึ่งหนึ่ง จึงได้เสวยยศอันเป็นทิพย์แวดล้อมด้วย
หญิงฟ้อนหมื่นหกพันเป็นบริวาร บำรุงบำเรอด้วยประการฉะนี้.
กาลนั้น พระเจ้าพาราณสี เห็นโทษในกามารมณ์ จึงเสด็จออก
ทรงผนวชเป็นดาบส ให้กระทำบรรณศาลาที่ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์ประทับ
อยู่ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอุญฉาจริยวัตร (เที่ยวภิกษาเลี้ยงชีวิต). อยู่มา
วันหนึ่ง ผลมะม่วงสุกโตประมาณเท่าหม้อเขื่อง ๆ ตกมาจากสวนอัมพวันนั้น
ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคา มาถึงตรงท่าน้ำซึ่งเป็นที่บริโภคใช้สอยของ
พระดาบสนั้น. พระดาบสกำลังล้างปากอยู่ เหลือบเห็นผลมะม่วงสุกนั้นลอย
มากลางน้ำ จึงลงว่ายน้ำเก็บมานำไปอาศรมบท เก็บไว้ในเรือนไฟ ผ่าด้วยมีด
แล้วฉันพอเป็นเครื่องประทังชีวิต ส่วนที่เหลือเอาใบตองปิดไว้ แล้วต่อมาก็ฉัน
ผลมะม่วงนั้นทุก ๆ วันจนหมด. เมื่อมะม่วงสุกผลนั้นหมดแล้ว ก็ไม่อยากฉัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 304
ผลไม้อื่น ๆ เพราติดรส จึงตั้งใจว่า จักฉันเฉพาะผลมะม่วงสุกชนิดนั้น จึง
ไปนั่งคอยดูอยู่ที่ริมแม่น้ำ ตกลงใจว่า ถ้าไม่ได้ผลมะม่วงสุกจักไม่ยอมลุกขึ้น.
ดาบสนั้นไม่ยอมขบฉัน สู้นั่งคอยดูผลมะม่วงอยู่ที่ริมน้ำนั้นถึง ๖ วัน จน
ร่างกายซูบซีดเพราะลมและแดดแผดเผา ครั้นถึงวันที่เจ็ด นางเทพธิดาผู้รักษา
แม่น้ำ พิจารณาดูรู้เหตุนั้น แล้วคิดว่า พระดาบสผู้นี้เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของ
ความอยาก สู้อดอาหารถึง ๗ วัน มานั่งคอยดูแม่น้ำคงคา การที่เราจะไม่
ถวายผลมะม่วงสุกแก่ดาบสนี้ไม่สมควรเลย เมื่อดาบสนี้ไม่ได้ผลมะม่วงสุกคง
จักมรณภาพ เราจักถวายแก่ท่าน จึงมายืนบนอากาศเหนือแม่น้ำคงคา เมื่อจะ
สนทนากับดาบสนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมีความพอใจอะไร ประสงค์
อะไร ปรารถนาอะไร แสวงหาอะไร จึงมานั่งอยู่แต่
ผู้เดียวในเวลาร้อน เพราะเหตุไร ท่านจึงมานั่งดูแม่น้ำ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ อัธยาศัย. บทว่า อธิปฺปาโย
ได้แก่ ความคิด. บทว่า สมฺมสิ ความว่า ท่านปรารถนา (อะไร) ? บทว่า
ฆมฺมนิ แปลว่า ในฤดูร้อน. บทว่า เอส แปลว่า แสวงหา.
นางเทพธิดากล่าวเรียกดาบสนั้นว่า " พราหมณ์ " เพราะบวชแล้ว.
ท่านอธิบายไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านประสงค์อะไร คิดถึงอะไร ปรารถนา
อะไร แสวงหาอะไร เพราะต้องการอะไร ท่านจึงมาแลดูแม่น้ำอยู่ที่ฝั่งคงคานี้.
พระดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๑๐ คาถา ความว่า
หม้อน้ำใหญ่ มีรูปทรงงดงามฉันใด ผลมะม่วง
สุกอันมีสีกลีบและรสดีเยี่ยม ก็มีอุปไมยฉันนั้น.
เราได้เห็นผลมะม่วงนั้น อันกระแสน้ำพัดลอย
มาท่ามกลางแม่น้ำ จึงได้หยิบเอามาเก็บไว้ในเรือนไฟ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 305
แต่นั้นก็วางไว้บนใบตอง ทำวิกัปด้วยมีดเอง
แล้วก็ฉัน ความหิวและความระหายของเราก็หายไป.
เราหมดความกระวนกระวายใจ พอมะม่วงหมด
เราต้องอดทนต่อความทุกข์ ย่อมไม่ได้ประสบความ
พอใจในผลไม้ไร ๆ อื่น.
ผลมะม่วงใดเกิดมีแก่ข้าพเจ้า ผลมะม่วงนั้นมี
รสอร่อยเป็นเลิศ เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ คงจักนำความ
ตายมาแก่ข้าพเจ้าแน่ เพราะซูบผอม เนื่องจากอด
อาหาร.
ข้าพเจ้าเก็บผลมะม่วงสุก อันลอยมาจากทะเล
ในห้วงมหรรณพได้ ข้าพเจ้าเข้าใจว่าผลมะม่วงสุกนั้น
คงจักนำความตายมาแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องมานั่งอยู่
ที่นี่เพราะเหตุใด เหตุนั้นทั้งหมดข้าพเจ้าบอกท่านแล้ว.
ข้าพเจ้านั่งอยู่ เฉพาะแม่น้ำอันน่ารื่นรมย์ แม่น้ำ
นี้กว้างขวางมีปลาโลมาใหญ่อาศัยอยู่ น่าจะพึงมีความ
สบาย ข้าแต่ท่านผู้ยืนอยู่เฉพาะหน้าแห่งเราไม่หนีไป
ท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด.
ดูก่อนท่านผู้มีร่างกายอันสันทัดงามดี ท่านผู้มี
ร่างอันงามเช่นกับด้วยทองใบทั้งแผ่น หรือดุจนาง-
พยัคฆี ที่สัญจรไปตามซอกเขา ท่านเป็นใคร หรือ
ว่าท่านมาที่นี่เพื่ออะไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 306
เทพนารีทั้งหลายในเทวโลก ซึ่งเป็นบริจาริกา
แห่งทวยเทพในฉกามาพจรสวรรค์ มีอยู่เหล่าใด หรือ
สตรีมีรูปงาม ในมนุษยโลกเหล่าใด เทพนารี และ
สตรีทั้งหลายเหล่านั้น ในหมู่เทวดาคนธรรพ์ และ
มนุษย์ ไม่มีที่จะเสมอเหมือนท่านด้วยรูป ท่านผู้มี
ตะโพกอันงามประหนึ่งทอง เราถามท่านแล้ว ขอจง
บอกชื่อและเผ่าพันธ์เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาริธโร กุมฺโภ ได้แก่ หม้อน้ำ.
บทว่า สุปรินาหวา แปลว่า มีทรวดทรงงาม. บทว่า วณฺณคนฺธรสุตฺตม
ความว่า อุดมด้วยสีกลิ่นและรสทั้งหลาย. บทว่า ทิสฺวาน เท่ากับ ทิสฺวา
แปลว่า เห็นแล้ว. บทว่า อมลมชฺฌิเม ได้แก่ ผู้มีทรวดทรงสันทัดปราศจาก
มลทิน. พระดาบสเมื่อจะสนทนาปราศรัยกับเทวดาจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า
ปาณิภิ ได้แก่ ด้วยมือทั้งสอง. บทว่า อคฺยายตนมาหรี ความว่า ได้นำ
มาสู่โรงพิธีบูชาไฟของตน. บทว่า วิกปฺเปตฺวา ได้แก่ ผ่าตัดแล้ว. ปาฐะเป็น
วิกนฺเตตฺวา ดังนี้ก็มี. ยังมีปาฐะเหลืออยู่บทหนึ่งคือบทว่า ขาทึ.
บทว่า อหาสิ เม ความว่า พอข้าพเจ้าวางมะม่วงลงที่ปลายลิ้น
เท่านั้น รสแห่งมะม่วงสุกนั้น แผ่ไปตลอดเส้นเอ็น รับรสทั้ง ๗ พัน จนบำบัด
ความหิวและความระหายของข้าพเจ้าได้. บทว่า อเปตทรโถ ความว่า
มีความกระวนกระวายทางกายและใจปราศไปแล้ว. เพราะว่า ผลมะม่วงสุกนั้น
กำจัดความกระวนกระวายของข้าพเจ้าได้ เหมือนบริโภคโภชนะอันมีรสดี.
บทว่า พยนฺตีภูโต ความว่า ผลมะม่วงนั้นเกิดหมดไป อธิบายว่า เป็นผู้มี
ผลมะม่วงสุกสิ้นไปแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 307
บทว่า ทุกฺขกฺขโม ความว่า ประกอบไปด้วยความทุกข์อันไม่น่า
ชื่นใจ คือด้วยความทนทรมานกาย และความทนทรมานจิต. พระดาบสแสดง
ความหมายว่า ก็เพราะข้าพเจ้าไม่ถึงความยินดี แม้เล็กน้อยในผลกล้วยและ
ผลขนุนเป็นต้น อย่างอื่น ผลกล้วย ผลขนุนทั้งหมด พอข้าพเจ้าวางแตะลิ้น
ก็สำเร็จความอิ่มทันที (คือเมื่อไม่อยากกิน). บทว่า โสสิตฺวา ความว่า
เพราะซูบผอมเนื่องจากอดอาหาร. บทว่า ต มม ความว่า ผลมะม่วงสุกนั้น
(คงจักนำความตาย) มาแก่ข้าพเจ้า. บทว่า ยสฺส ความว่า ผลมะม่วงใด
พึงมี คือ ผลมะม่วงย่อมมี. ท่านอธิบายว่า ผลาผลอันใดได้ยังประโยชน์ให้
สำเร็จแก่ข้าพเจ้า. บทว่า วุยฺหมาน ความว่า กำลังลอยมาในห้วงน้ำ กล่าวคือ
ลำน้ำ อันมีกระแสทังลึกทั้งกว้าง. อธิบายว่า ข้าพเจ้าเก็บผลมะม่วงสุกขึ้นจาก
ทะเลนั้น ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ผลมะม่วงสุกนั้นคงนำความตายมาให้ข้าพเจ้า เพราะ
เมื่อข้าพเจ้าไม่ได้ผลมะม่วงสุกนั้น ชีวิตคงจักไม่เป็นไปได้. บทว่า อุปวสามิ
ความว่า ข้าพเจ้าถูกความหิวระหายเบียดเบียนแล้วจึงต้องอยู่ ในที่นี้. บทว่า
รนฺม ปฏินิสินฺโนสฺมิ ความว่า ข้าพเจ้านั่งอยู่เฉพาะแม่น้ำอันน่ารื่นรมย์.
บทว่า ปุถุโลมายุตา ปุถู ความว่า แม่น้ำนี้กว้างใหญ่ไพบูลย์ อันปลาโลมา
ใหญ่อยู่อาศัย อธิบายว่า สถานที่เช่นนี้ น่าจะเป็นสถานที่ผาสุกสำหรับข้าพเจ้า
บทว่า อปาลยินี แปลว่า ไม่หนีไป. พระดาบสเรียกเทพยดานั้นว่า
มม สมฺมุขา ิเต ข้าแต่ท่านผู้ยืนอยู่เฉพาะหน้าแห่งเรา. ปาฐะว่า อปลามินี
ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า มีสรีระร่างกายหาตำหนิมิได้ดังทองที่ไล่มลทินโทษออกแล้ว.
บทว่า กิสฺส วา ความว่า พระดาบสถามว่า หรือท่านมาในที่นี้ด้วยเหตุไร.
บทว่า รูปปฏฏปฺลมตฺถีว ความว่า มีรูปร่างเกลี้ยงเกลาดังแผ่นทองใบ.
บทว่า พยคฺฆีว ความว่า ดูดุจพยัคฆราชหนุ่มงามแช่มช้อย ด้วยท่าทาง
เยื้องกราย. บทว่า เทวาน ได้แก่ เทวดาชั้นกามาพจรสวรรค์ทั้ง ๖. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 308
ยา วา มนุสฺสโลกสฺมึ ความว่า หรือสตรีมีรูปร่างในมนุษยโลกเหล่าใด.
บทว่า รูเปนนฺวาคติตฺถิโย ได้แก่ สตรีผู้สมบูรณ์ด้วยรูปสมบัติ.
บทว่า นตฺถิ ความว่า โดยที่ตนมุ่งจะสรรเสริญเทพธิดา พระดาบส
จึงกล่าวอย่างนี้. ก็พระดาบสนั้นมีความมุ่งหมายว่า (เทพนารี และสตรีทั้งหลาย
เหล่านั้น) ไม่มีที่จะเสมอเหมือนท่านด้วยรูป. บทว่า คนฺธพฺพมานุเส ความว่า
ในหมู่คนธรรพ์และมนุษยโลก ซึ่งอาศัยกลิ่นหอมที่รากเป็นต้น ประพรม.
บทว่า จารุปุพฺพงฺคี ความว่า ผู้ประกอบไปด้วยอวัยวะ ตะโพก ขาอ่อน
งามดังทอง. บทว่า นามญฺจ พนฺธเว ความว่า พระดาบสกล่าวว่าท่าน
โปรดบอก นามโคตรและเผ่าพันธุ์ของตน แก่ข้าพเจ้าเถิด.
ลำดับนั้น นางเทพธิดาได้กล่าวคาถา ๘ คาถา ความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ดาบส ท่านนั่งอยู่ เฉพาะแม่น้ำ
โกสิกิคงคาอันน่ารื่นรมย์ใด โกสิกิคงคานั้น มีกระแส
อันเชี่ยว เป็นห้วงน้ำใหญ่ ข้าพเจ้าสิงสถิตอยู่ในวิมาน
อันตั้งอยู่ที่แม่น้ำนั้น.
มีลำห้วย และลำธาร ไหลมาจากเขาหลายแห่ง
เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ไม้นานาพรรณ ย่อมไหลตรง
มารวมอยู่ที่ข้าพเจ้าทั้งนั้น.
ใช่แต่เท่านั้น ยังมีน้ำที่ไหลมาจากป่า มีกระแส
ไหลเชี่ยว สีเขียวปัด อีกมากหลาย และน้ำที่พวกนาค
กระทำให้มีสีวิจิตรต่าง ๆ ย่อมไหลมาตามกระแสน้ำ.
แม่น้ำเหล่านั้น ย่อมพัดเอาผลมะม่วงผลชมพู่
ผลขนุนสำมะลอ ผลกระทุ่ม ผลตาล และผลมะเดื่อ
เป็นอันมาก มาเนือง ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 309
ผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ฝั่งทั้งสอรตกลงในน้ำ
แล้ว ผลไม้นั้นย่อมเป็นไปในอำนาจ แห่งกระแสน้ำ
ของข้าพเจ้า โดยไม่ต้องสงสัย.
ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ มีปัญญามาก ผู้เป็นใหญ่
กว่านรชน ท่านรู้อย่างนี้แล้วจงฟังข้าพเจ้า ท่านอย่า
พอใจความเกี่ยวเกาะด้วยตัณหาอย่างนี้เลย จงเลิกคิด
เสียเถิด.
ดูก่อนพระราชฤาษี ผู้ยังรัฐให้เจริญ ข้าพเจ้า
ไม่เข้าใจว่าท่านจะเจริญรุ่งเรืองไปได้อย่างไร เมื่อท่าน
ซูบผอมรอความตายอยู่.
พรหม คนธรรพ์ เทวดา และฤาษีทั้งหลาย ใน
โลกนี้ ผู้มีตนอันสำรวมแล้ว เรืองตบะ เริ่มตั้งความ
เพียร ผู้เรืองยศ ย่อมรู้ความที่ท่านตกอยู่ในอำนาจแห่ง
ตัณหา อย่างไม่ต้องสงสัยเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกสิกึ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ดาบส
ท่านนั่งอยู่เฉพาะแม่น้ำโกสิกิคงคา อันรื่นรมย์ใด. บทว่า ภูสาลยา วุตฺถา
ความว่า ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ที่แม่น้ำนั้น ซึ่งมีกระแสอันเชี่ยว ประกอบด้วย
ห้วงน้ำใหญ่. อธิบายว่า ข้าพเจ้าสิงอยู่ที่วิมานอันตั้งอยู่ที่แม่น้ำคงคา. บทว่า
วรวาริวโหฆวา ความว่า มีน้ำไหลเชี่ยวประกอบด้วยห้วงน้ำใหญ่. บทว่า
สมฺมุขา ความว่า เทพยดาแสดงว่าห้วยละหานลำธารเขา มีประการดังกล่าว
แล้ว ย่อมบ่ายหน้าพร้อมมายังเรา เราเป็นประธานของแม่น้ำทั้งหลายเหล่านั้น.
บทว่า อภิสนฺทนฺติ แปลว่า ย่อมไหลไป. อธิบายว่า นทีธาร
ทั้งหลายอันไหลมาจากที่นั้น ๆ ย่อมเข้าไปสู่เรา คือแม่น้ำโกสิกิคงคาสิ้น. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 310
วนโตทา ความว่า ใช่แต่ห้วยละหาน ลำธาร เขา เท่านั้นก็หามิได้ ที่แท้
น้ำที่บ่ามาจากป่า คือน้ำที่ไหลมาจากป่านั้นเป็นอันมาก ย่อมไหลไป. บทว่า
นีลวาริวหินฺธรา ความว่า ทรงไว้ซึ่งห้วงน้ำ กล่าวคือกระแสน้ำอันประกอบ
ด้วยน้ำสีเขียว ดังสีแก้วมณี. บทว่า นาคจิตฺโตหา ความว่า น้ำอันประกอบ
ด้วยน้ำ กล่าวคือสี อันนาคทั้งหลายการทำให้วิจิตรก็ดี. บทว่า วารินา ความว่า
นางเทพธิดาแสดงว่า แท้จริงแม่น้ำทั้งหลาย จำนวนมากเห็นปานนี้ ย่อมไหล
ไปตามกระแสน้ำคือยังเราให้เต็มบริบูรณ์ด้วยน้ำทีเดียว. บทว่า ตา ได้แก่
แม่น้ำทั้งหลายเหล่านั้น. บทว่า อาวหนฺติ ความว่า แม่น้ำทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมพัดพาผลมะม่วงเป็นต้นเหล่านั้นเข้ามา. ก็บททั้งหลายเหล่านี้ทั้งหมด เป็น
ปฐมาวิภัติ ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตา เป็นทุติยา-
วิภัตติ พหุวจนะ.
บทว่า อาวหนฺติ ความว่า แม่น้ำเหล่านั้นย่อมพัดพาผลมะม่วง
เป็นต้นเหล่านี้เข้ามา อธิบายว่า และผลมะม่วงเป็นต้น อันถูกพัดไปอย่างนี้
ย่อมเข้าไปสู่กระแสของเรา. บทว่า โสตสฺส ความว่า ผลไม้ชนิดใดหล่นจาก
ต้นไม้ ที่เกิดอยู่ ณ ริมฝั่งทั้งสองข้าง ลอยไปในน้ำ ผลไม้ชนิดนั้นทั้งหมด
เป็นอันเข้าถึงอำนาจแห่งกระแสน้ำของเราทีเดียว ไม่มีข้อสงสัยในเรื่องนี้.
เทพธิดานั้นบอกเหตุที่ผลมะม่วงสุกนั้นลอยมาตามกระแสน้ำอย่างนี้. บททั้งสอง
คือ เมธาวี ปุถุปญฺา เป็นอาลปนะ. (คำเรียกร้อง) ทั้งนั้น. บทว่า มา โรจย
ความว่า ท่านอย่าพอใจความเกี่ยวเกาะด้วยตัณหาอย่างนี้เลย. บทว่า ปฏิเสธ
แปลว่า จงห้ามเสียเถิด. บทว่า ต ความว่า นางเทพธิดากล่าวสอนพระราชา.
บทว่า วุทฺธว ได้แก่ ความเจริญด้วยปัญญา คือความเป็นบัณฑิต. บทว่า
รฏาภิวฑฺฒน แปลว่า ท่านราชฤาษีผู้ยังรัฐมณฑลให้เจริญ. บทว่า อาจย-
มาโน ความว่า ท่านจงก่ออัตภาพ คือเจริญด้วยเนื้อและเลือด เป็นหนุ่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 311
แน่นเถิด. นางเทพธิดาเรียกพระดาบสนั้นว่า ราชิสิ (ท่านราชฤาษี) ท่านกล่าว-
อธิบายไว้ว่า ท่านยังเป็นหนุ่ม แต่ซูบผอมเพราะอดอาหาร หวังจะได้ความตาย
เพราะโลภในมะม่วง เราหาสำคัญความเป็นบัณฑิตเช่นนี้ของท่านไม่. บทว่า
ตสฺส ความว่า บุคคลใดเป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหา ย่อมรู้ความที่
บุคคลนั้นเป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหา โดยไม่ต้องสงสัย.
เมื่อนทีเทพธิดา จะให้ดาบสนั้นเกิดความสังเวชจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
พรหมผู้ที่ถึงการนับว่าเป็นบิดา คนธรรพ์พร้อมทั้งกามาวรเทพยดา และฤาษี
ผู้มีจักษุทิพย์ดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมรู้ความที่บุคคลนั้นเป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจ
ตัณหาโดยไม่ต้องสงสัย แต่ข้อที่ท่านผู้มีฤทธิ์เหล่านั้นรู้ว่า ดาบสชื่อโน้นเป็นผู้
ตกอยู่ในอำนาจของตัณหาดังนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ ถึงปริจาริกชนของฤาษีผู้เริ่ม
ดังความเพียร ผู้ยงยศเหล่านั้น ก็จะรู้เพราะฟังคำของชนเหล่านั้นพูดกันอยู่อีก
เพราะขึ้นชื่อว่า ความลับของบุคคลผู้ทำความชั่ว ย่อมไม่มี.
ลำดับนั้น พระดาบสได้กล่าวคาถา ๔ คาถา ความว่า
บาปย่อมไม่เจริญแก่นรชน ผู้รู้จักศีล และความ
ไม่เที่ยง ดำรงอยู่เหมือนเราฉะนั้น ซึ่งรู้ธรรมทั้งปวง
รู้ความสลายและความจุติแห่งชีวิต ถ้านระนั้นไม่คิด
ฆ่าบุคคลอื่นผู้มีความสุข.
ดูก่อนท่านผู้อันหมู่ฤาษีรู้กันทั่วแล้ว ท่านเป็นผู้
อันชนผู้ลอยบาปรู้แจ้งแล้วว่า เป็นผู้เกื้อกูลแก่โลก
แต่ต้องปรารถนาบาปกรรมแก่ตน เพราะใช้คำบริภาษ
อันไม่ประเสริฐไพเราะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 312
ดูก่อนท่านผู้มีตะโพกอันผึ่งผาย ถ้าเราจักตายอยู่
ที่ริมฝั่งน้ำของท่าน เมื่อเราตายไปแล้ว ความติเตียน
ก็จักมาถึงท่านโดยไม่ต้องสงสัย.
ดูก่อนท่านผู้มีสะเอวอันกลมกลึง เพราะฉะนั้น
แล ท่านจงรักษาบาปกรรมไว้เถิด อย่าให้คนทั้งปวง
ติเตียนท่านได้ในภายหลัง ในเมื่อเราตายไปแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว วิทิตฺวา ความว่า ข้าพเจ้ารู้จักศีล
และความไม่เที่ยงฉันใด บาปย่อมไม่พอกพูน คือไม่เจริญแก่นระผู้รู้แล้วดำรง
อยู่ฉันนั้น. บทว่า วิทู ได้แก่ ผู้รู้แจ้ง. บทว่า สพฺพธมฺม ได้แก่ สุจริตธรรม
ทุกอย่าง. เพราะในคาถานี้ สุจริตธรรมสามอย่าง ประสงค์เอาเป็นสรรพธรรม.
บทว่า วิทฺธสน ได้แก่ ความดับ. บทว่า จวน ได้แก่ จุติ. บทว่า ชีวิตสฺส
ได้แก่ อายุ. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า บาปย่อมไม่พอกพูน คือไม่เจริญแก่
พระผู้เป็นบัณฑิต รู้แจ้งแล้วดำรงอยู่อย่างนี้ คือรู้แจ้งซึ่งสุจริตธรรมทั้งปวง
และความไม่เที่ยงแห่งชีวิต.
บทว่า สเจ น เจเตติ วธาย ตสฺส ความว่า ถ้านระนั้นไม่คิด
คือ ไม่ดำริเพื่อจะฆ่าบุคคลอื่นผู้ถึงความสุข ได้แก่ ไม่ยังบุคคลอื่น หรือแม้
ทรัพย์มรดกของเขาให้พินาศ ก็ข้าพเจ้าไม่คิดเพื่อจะฆ่าใคร ๆ นั่งคอยดูแม่น้ำ
ทำความอาลัยในมะม่วงสุกอย่างเดียว ท่านตรวจดู ได้เห็นอกุศลกรรมอะไร
ของข้าพเจ้าบ้างเล่า ? บทว่า อิสิปูคสมญฺาเต ความว่า ผู้อันหมู่ฤาษี
รู้ทั่วแล้วด้วยดี คืออันฤาษีทั้งหลายรับรู้แล้ว. บทว่า เอว โลกฺยา ความว่า
ท่านเป็นผู้อันชนผู้ลอยบาปรู้ทั่วแล้วอย่างนี้ว่า เป็นผู้เกื้อกูลแก่โลก. บทว่า สติ
นี้ เป็นอาลปนะเรียกขานว่า ดูก่อนท่านผู้สวยงาม เลอโฉม. บทว่า อนริย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 313
ปริสภาเส ความว่า ประกอบไปด้วยคำบริภาษ อันไม่งดงาม เป็นต้นว่า
รำเลิกถึงบิดามารดาของเขา. บทว่า ชิคึสติ ความว่า แม้เมื่อบาปในตัวของ
ข้าพเจ้าไม่มีอยู่เลย ท่านก็มาบริภาษข้าพเจ้าถึงอย่างนี้ ทั้งเพ่งเล็งความตายต่อ
ข้าพเจ้า ชื่อว่าใฝ่แสวงหาบาปกรรม ทำให้เกิดขึ้นแก่ตน.
บทว่า ตีเร เต ความว่า ที่ริมฝั่งน้ำของท่าน. บทว่า ปุถุสุสฺโสณิ
ความว่า ประกอบไปด้วยตะโพก อันงดงาม ผึ่งผาย. บทว่า เปเต ความว่า
เมื่อข้าพเจ้าตายไปสู่ปรโลกแล้ว เพราะไม่ได้ผลมะม่วงสุก. บทว่า ปกฺวกฺขาสิ
ความว่า ชนทั้งปวงอย่ากล่าวร้าย ด่าว่า ติเตียน นินทา. ปาฐะว่า ปกฺขตฺถาสิ
ดังนี้ก็มี.
นางเทพธิดาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๕ คาถา ความว่า
เหตุนั้นข้าพเจ้าทราบแล้ว ท่านจงอดกลั้นไว้ก่อน
ข้าพเจ้าจะยอมตน และให้มะม่วงแก่ท่าน เพราะท่าน
ละกามคุณที่ละได้ยาก แล้วตั้งไว้ซึ่งความสงบ และ
สุจริตธรรม.
บุคคลใดละสังโยชน์ในก่อนได้ แล้วภายหลัง
มาตั้งอยู่ในสังโยชน์ ประพฤติอธรรมอยู่ บาปย่อม
เจริญแก่บุคคลนั้น.
มาเถิด ข้าพเจ้า จะนำท่านไปยังสวนมะม่วง
ท่านจงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยโดยส่วนเดียวเถิด
ข้าพเจ้าจักนำท่านไปในสวนมะม่วงอันร่มเย็น ท่านจง
เป็นผู้ไม่ขวนขวายอยู่เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 314
ดูก่อนท่านผู้ปราบปรามข้าศึก สวนนั้นเกลื่อน-
กล่นไปด้วยหมู่นก ที่มัวเมาอยู่ในรสดอกไม้ มีนก
กระเรียน นกยูง นกเขา ซึ่งมีสร้อยคออันน่าชม มี
หมู่หงส์ส่งเสียงร้องขรม ฝูงนกดุเหว่าที่ร้องปลุกสัตว์
ทั้งหลายอยู่ในสวนมะม่วงนั้น.
ผลมะม่วง ในสวนนั้น ดกเป็นพวง ๆ ดุจฟ่อนฟาง
ปลายกิ่งห้อยโน้มลงมา มีทั้งต้นคำ ต้นสน ต้นกระทุ่ม
และผลตาลสุกห้อยอยู่เรียงราย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺาตเมต ความว่า เหตุที่ท่านอ้างว่า
ความครหาจักมีแก่ท่าน กล่าวอ้างไว้เพื่อต้องการผลมะม่วงสุกนั้น ข้าพเจ้า
ทราบแล้ว. บทว่า อวิสยฺหสาหิ ความว่า ขึ้นชื่อว่าพระราชาทั้งหลายย่อม
อดกลั้นสิ่งที่อดกลั้นได้ยาก ด้วยเหตุนั้น นางเทพธิดาเมื่อปรารภถึงเหตุนั้น
จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อตฺตาน ความว่า เมื่อข้าพเจ้าโอบอุ้มท่านพาไปสู่
สวนมะม่วง ชื่อว่ายอมถวายตนแก่ท่าน และจะถวายผลมะม่วงสุกนั้นแก่ท่าน
ด้วย. บทว่า กามคุเณ ได้แก่ วัตถุกามทั้งหลาย อันประดับด้วยกาญจนมาลา
และเศวตฉัตร.
บทว่า สนฺติญฺจ ธมฺมญฺจ ได้แก่ ศีลกล่าวคือสันติอันยังความทุศีล
ให้สงบระงับ และสุจริตธรรม. บทว่า อธิฏิโตสิ ความว่า ท่านเป็นผู้
เข้าถึงคุณธรรมเหล่านี้ และเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมเหล่านี้. บทว่า ปุพฺพ-
สโยค ได้แก่ ข้อผูกพันอันมีในก่อน. บทว่า ปจฺฉาสโยชเน ได้แก่
ข้อผูกพันอันมีในภายหลัง. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ ดูก่อนดาบสผู้เจริญ ผู้ใด
สละสิริราชสมบัติอันยิ่งใหญ่ แล้วติดในรสตัณหาเพียงแค่ผลมะม่วงสุกไม่คำนึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 315
ถึงลมและแดด สู้นั่งซบเซาอยู่ที่ชายฝั่งน้ำ ผู้นั้นข้ามมหาสมุทรได้ ก็เป็นเช่น
กับบุคคลผู้จมลงในที่สุดฝั่ง บุคคลใดเป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจรสตัณหา ประพฤติ
อธรรมอย่างเดียว บาปซึ่งกระทำด้วยอำนาจรสตัณหา ย่อมเพิ่มแก่บุคคลนั้น
นางเทพธิดานั้นกล่าวตำหนิดาบสอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า กาม อปฺโปสฺสุโก ภว ความว่า ท่านต้องเป็นผู้ไม่มีอาลัย
อยู่ที่สวนมะม่วง โดยส่วนเดียวเถิด. บทว่า ตสฺมึ ความว่า ข้าพเจ้าจักเป็นผู้
นำท่านไปที่สวนมะม่วงอันเยือกเย็นนั้น. บทว่า ต ความว่า เมื่อนางเทพธิดา
กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงอุ้มดาบสขึ้นนอนแนบอก เหาะไปในอากาศ เห็นทิพ-
อัมพวันอันมีปริมณฑลได้ ๓ โยชน์ และได้สดับเสียงแห่งสกุณปักษี แล้วจึง
บอกแก่ดาบส กล่าวอย่างนี้ว่า ต เป็นต้น. บทว่า ปุปฺผรสมตฺเตหิ ความว่า
มัวเมาด้วยรสแห่งปุปผชาติ.
บทว่า วงฺกงฺเคภิ ความว่าสวนอัมพวันนั้น เซ็งแซ่ไปด้วยฝูงนก
ทั้งหลาย ตัวมีคออันคด และบัดนี้เมื่อนางเทพธิดา จะบอกชื่อนกเหล่านั้น
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า โกญฺจา (นกกระเรียน) ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ทิวิยา แปลว่า อันเป็นทิพย์. บทว่า โกยฏฺิมธุสาลิยา ความว่า นางเทพธิดา
แสดงว่า ทิพสกุณปักษีเหล่านี้คือ (นกกระเรียน นกยูง นกเขา และนก
ขุนทอง) ซึ่งมีสร้อยคออันน่าชม ย่อมอยู่ในสวนอัมพวันนี้. บทว่า กุชฺชิตา
หสูปเคภิ ความว่า มีฝูงหงส์ขันคู ส่งเสียงร้องระงม. บทว่า โกกิเลตฺถ
ปโพธเร ความว่า นกดุเหว่าทั้งหลาย อยู่ในสวนอัมพวันนั้น กู่ก้องร้องปลุก
สัตว์ทั้งหลายให้ตื่นอยู่. บทว่า อมฺเพตฺถ ความว่า มีต้นมะม่วง อยู่ในสวน
อัมพวันนั้น. บทว่า วิปฺปสูนคฺคา ความว่า ปลายกิ่งโน้มน้อมลง เพราะ
เต็มไปด้วยพวงผล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 316
บทว่า ปลาลขลสนฺนิภา ความว่า มีผลดกเช่นกับ ฟ่อนฟาง
ข้าวสาลี เพราะสั่งสมไปด้วยช่อเเละดอก. บทว่า ปกฺกตาลวิลมฺพิโน ความ
ว่า นางเทพธิดาพรรณนาถึงสวนอัมพวันว่า มีผลตาลสุกห้อยย้อยอยู่ไสว และ
ต้นไม้เห็นปานนี้ มีอยู่ในสวนอัมพวันนี้.
ก็แหละครั้นนางเทพธิดาพรรณนาแล้ว พาพระดาบสมาในสวนอัมพ-
วัน แล้วสั่งว่า ท่านโปรดขบฉันผลมะม่วงทั้งหลาย ยังความอยากของตน
ให้เต็มบริบูรณ์ ในสวนอัมพวันนี้ แล้วหลีกไป ครั้นพระดาบส ขบฉันผล
มะม่วงจนอิ่มสมอยากแล้ว พักผ่อนแล้ว จึงเที่ยวไปในสวนอัมพวัน พบเห็น
เปรตนั้นกำลังเสวยทุกข์ (แต่) ไม่สามารถจะพูดอะไรได้ แต่เมื่อพระอาทิตย์
อัสดงแล้ว เห็นเปรตนั้น มีหญิงฟ้อนแวดล้อมบำเรอ เสวยทิพยสมบัติอยู่
จึงกล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
ท่านทรงทิพมาลา ผ้าโพกศีรษะ และเครื่อง
อาภรณ์ล้วนแต่เป็นทิพย์ มีทองต้นแขน ลูบไล้ด้วย
จุรณจันทน์ กลางคืนมีหญิง๑๖,๐๐๐คน เป็นปริจาริกา
บำเรอท่านอยู่ แต่กลางวันต้องเสวยทุกขเวทนา.
หญิงเหล่านี้ได้เป็นปริจาริกาของท่าน มีถึง
๑๖,๐๐๐นาง ท่านมีอานุภาพมากอย่างนี้ ไม่เคยมีใน
มนุษยโลก น่าขนพองสยองเกล้า.
ในปุริมภพ ท่านทาบาปกรรมอะไรไว้ จึงต้อง
นำทุกขเวทนามาสู่ตน ท่านทำกรรมอะไรไว้ในมนุษย-
โลก จึงต้องเคี้ยวกินเนื้อหลังของตนเองในบัดนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลี แปลว่า ผู้ทรงมาลาทิพย์. บทว่า
ติรีฏิ แปลว่า ผู้ทรงผ้าโพกอันเป็นทิพย์. บทว่า กายุรี แปลว่า ประดับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 317
อาภรณ์ล้วนเป็นทิพย์. บทว่า องฺคที ความว่า ประกอบด้วยกำไลมือ และ
แขนอันเป็นทิพย์. บทว่า จนฺทนุสฺสโท ความว่า มีร่างกายไล้ทาด้วยจันทน์
อันเป็นทิพย์. บทว่า ทิวา ความว่า แต่ในเวลากลางวันต้องเสวยมหา-
ทุกขเวทนา. บทว่า ยา เตมา ตัดบทเป็น ยา เต อิมา แปลว่า หญิงเหล่านี้.
บทว่า อพฺภูโต ความว่า ไม่เคยมีเลยในมนุษยโลก. บทว่า โลมหสโน
ความว่า ชนเหล่าใดเห็นท่าน ขนของคนเหล่านั้นย่อมชูชัน. บทว่า ปุพฺเพ
ได้แก่ ในภพก่อน. บทว่า อตฺตทุกฺขาวห ความว่า เป็นเหตุนำทุกขเวทนา
มาสู่ตน. บทว่า มนุสฺเสสุ ความว่า ท่านทำกรรมอะไรไว้ในมนุษยโลก
จึงต้องมาเคี้ยวกินเนื้อหลังของตนในบัดนี้.
เปรตจำพระดาบสได้ จึงทูลว่า พระองค์คงจำข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้
ข้าพระพุทธเจ้า คือผู้ที่ได้เป็นปุโรหิตของพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าต้องเสวย
ความสุขในกลางคืนนี้ เพราะผลแห่งอุโบสถกึ่งหนึ่งที่ตนได้ทำมา เพราะอาศัย
พระองค์ แต่ที่ได้เสวยทุกขเวทนาในเวลากลางวัน เพราะผลแห่งบาปกรรม
ที่ทำไว้แล้วเหมือนกัน แท้จริง ข้าพระพุทธเจ้า อันพระองค์ทรงตั้งไว้ใน
ตำแหน่งผู้พิพากษา ได้ชำระคดีโดยอยุติธรรมรับสินบน ขูดเลือดเนื้อประชาชน
ทางเบื้องหลัง เพราะผลแห่งกรรมที่ทำไว้นั้น ตอนกลางวัน ข้าพระพุทธเจ้า
จึงได้เสวยทุกขเวทนานี้ แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ข้าพเจ้าเรียนจบไตรเพท หมกมุ่นอยู่ในกาม
ทั้งหลาย ได้ประพฤติเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์
แก่ชนเหล่าอื่น ตลอดกาลนาน.
บุคคลใดเป็นผู้ขูดเลือดเนื้อผู้อื่น บุคคลนั้นย่อม
ต้องควักเนื้อของตนกิน เช่นเดียวกับข้าพระพุทธเจ้า
กินเนื้อหลังของตนอยู่จนทุกวันนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 318
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺเฌนานิ ได้แก่ พระเวทย์ทั้งหลาย.
บทว่า ปฏิคฺคยฺห ความว่า เล่าเรียนทรงจำ. บทว่า อจรึ ได้แก่ ปฏิบัติ
แล้ว. บทว่า อหิตายห ความว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติความฉิบหาย
มิใช่ประโยชน์. บทว่า โย ปิฏฺิมสิโก ความว่า บุคคลใดกินเนื้อหลังของ
คนอื่น ย่อมเป็นผู้ยุยง ส่อเสียด. บทว่า อุกฺกจฺจ แปลว่า ต้องล้วง-ต้องควัก.
ก็แลครั้นเปรตกราบทูลอย่างนี้แล้ว จึงทูลถามพระดาบสว่า พระองค์
เสด็จมาในที่นี้ได้อย่างไร ? พระดาบสเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังโดยพิสดาร.
เปรตทูลถามอีกว่า ก็บัดนี้พระองค์จะประทับอยู่ในที่นี้ต่อไป หรือจักเสด็จไป
ที่อื่น ? พระดาบสตรัสตอบว่า เราหาอยู่ไม่ จักกลับไปสู่อาศรมบทนั่นเทียว.
เปรตทูลว่า ดีละพระเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจักบำรุงพระองค์ด้วยผลมะม่วงสุก
เป็นประจำ แล้วนำพระดาบสไปในอาศรมบท ด้วยอานุภาพของตน ทูลขอ
ปฏิญญาว่า ขอพระองค์อย่าได้มีความกระสัน ประทับอยู่ในที่นี้เถิด แล้ว
ทูลลาไป ตั้งแต่นั้นมา เปรตนั้นก็บำรุงพระดาบสด้วยผลมะม่วงสุกเป็นนิตย์.
พระดาบสเมื่อได้ฉันผลมะม่วงสุกนั้น ก็กระทำกสิณบริกรรม ยังฌานและ
อภิญญาให้บังเกิด แล้วได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระบรมศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแก่อุบาสกอุบาสิกา
ทั้งหลายแล้ว ทรงประกาศอริยสัจธรรม ในที่สุดแห่งอริยสัจเทศนา บางพวก
ได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระ-
อนาคามี ทรงประชุมชาดกว่า นางเทพธิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็น นางอุบล
วรรณา ส่วน ดาบส ได้มาเป็น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถากิงฉันทชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 319
๒. ภุมภชาดก
ว่าด้วยโทษของสุรา
[๒๒๙๒] (พระเจ้าสัพพมิตต์ตรัสถามว่า) ท่านเป็น
ใคร มาจากไตรทิพย์หรือ จึงเปล่งรัศมีสว่างไสว
อยู่ในนภากาศ เหมือนพระจันทร์ส่องสว่างในยาม
รัตติกาล ฉะนั้น รัศมีแผ่ซ่านออกจากตัวท่านดุจ
สายฟ้าแลบในเวหาสฉะนั้น.
ท่านเหยียบลมหนาวในอากาศได้ เดินและยืน
ในอากาศได้ ฤทธิ์ของเทวดาทั้งหลาย ผู้ไม่ต้องเดิน
ทางไกล ท่านทำให้เป็นที่ตั้ง และให้เจริญดีแล้วเป็น
ไฉน ?
ท่านเป็นใคร มายืนอยู่ในอากาศ ร้องขายหม้อ
อยู่ หรือว่าหม้อของท่านนี้ใช้ประโยชน์อะไรได้ ดูก่อน
พราหมณ์ ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด.
[๒๒๙๓] (ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า) หม้อใบนี้มิใช่
หม้อเนยใส มิใช่หม้อน้ำมัน มิใช่หม้อน้ำผึ้ง โทษ
ของหม้อใบนี้ มีอยู่มิใช่น้อย ท่านจงฟังโทษเป็น
อันมากที่มีอยู่ในหม้อใบนี้.
บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว เดินโซเซตกลงไปยัง
บ่อ ถ้ำ หลุมน้ำครำ และหลุมโสโครก พึงบริโภค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 320
ของที่ไม่ควรบริโภคแม้มากได้ ท่านจงซื้อหม้อใบนี้
ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ไม่มีกฎเกณฑ์ในใจ
เที่ยวหยำเปไป เหมือนโคกินกากสุราฉะนั้น เป็น
เหมือนขาดที่พักพิง ย่อมฟ้อนรำได้ ขับร้องได้ ท่าน
จงซื้อหม้อใบนี้ ซึงเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
บุคคลดื่มน้ำชนิดนี้แล้ว แก้ผ้าเปลือยกาย เที่ยว
ไปตามตรอก ตามนั้น ในบ้านเหมือนชีเปลือย มี
จิตลุ่มหลง นอนตื่นสาย ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็ม
ไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ลุกขึ้นโซเซ โคลง
ศีรษะ และยกแขนขึ้นร่ายรำ เหมือนหุ่นรูปไม้ฉะนั้น
ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว นอนจนถูกไฟไหม้
และกินอาหารที่เหลือเดนสุนัขได้ ย่อมถึงการถูกจอง
จำ ถูกฆ่า และถึงความเสื่อมแห่งโภคะ ท่านจงซื้อ
หม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว พูดคำที่ไม่ควรพูด นั่ง
พร่ำในที่ประชุม ปราศจากผ้าผ่อน เลอะเทอะ นอน
จมอยู่ในอาเจียนของตน มีแต่เรื่องฉิบหาย ท่านจงซื้อ
หม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 321
บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว วางมาดเป็นคนสำคัญ
นัยน์ตาขุ่นขวาง เข้าใจว่าบ้านเมืองเป็นของเราคนเดียว
พระราชาแม้มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบขัณฑสีมา ก็ไม่
เสมอเรา ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิด
นั้น.
บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ถือตัวจัด ก่อการทะเลาะ
วิวาท ยุยงส่อเสียด มีผิวพรรณน่าเกลียด เปลือยกาย
วิ่งไป อยู่อย่างนักเลงเก่า ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่ง
เต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
น้ำชนิดนี้ ทำตระกูลทั้งหลายในโลกนี้อันมั่งคั่ง
บริบูรณ์ มีเงินทองตั้งหลายพัน ให้ขาดทายาทได้
ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
ข้าวเปลือก ทรัพย์สินเงินทอง ไร่นา โค กระบือ
ในสกุลใดย่อมพินาศไป ตระกูลที่มั่งมีทั้งหลายขาดสูญ
ไป เพราะดื่มน้ำชนิดใด ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่ง
เต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
บุรุษดื่มน้ำชนิดใดแล้ว เป็นคนหยาบช้า ด่า
มารดาบิดาได้ แม้ถึงเป็นพ่อผัวก็พึงหยอกลูกสะใภ้ได้
ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
นารีดื่มน้ำชนิดใดแล้ว กลายเป็นคนกักขฬะ
หยาบช้า ด่าพ่อผัว แม่ผัว และสามีได้ แม้เป็นทาส
เป็นคนรับใช้ ก็ยอมรับเป็นสามีของตนได้ ท่านจง
ซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 322
บุรุษดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ฆ่าสมณะหรือพราหมณ์
ผู้ตั้งอยู่ในธรรมได้ พึงไปสู่อบายเพราะกรรมนั้นเป็น
เหตุ ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
ชนทั้งหลายดื่มนำชนิดใดแล้ว ประพฤติทุจริต
ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจได้ย่อมไปสู่นรกเพราะ
ประพฤติทุจริต ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วย
น้ำชนิดนั้น.
ชนทั้งหลายแม้ยอมสละเงินเป็นอันมาก มาอ้อน-
วอนบุรุษใด ซึ่งไม่เคยดื่มสุรา ให้พูดเท็จ ย่อมไม่ได้
บุรุษนั้นครั้นดื่มสุราแล้ว ย่อมพูดเหลาะแหละเหลวไหล
ได้ ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
คนรับใช้ ดื่มน้ำชนิดใดแล้ว เมื่อถูกเขาใช้ไป
ในกรณียกิจรีบด่วน ถูกซักถามก็ไม่รู้เนื้อความ ท่าน
จงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน่าชนิดนั้น.
ชนทั้งหลายดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ถึงจะเคยมีความ
ละอายใจอยู่บ้าง ก็ย่อมจะทำความไม่ละอายให้ปรากฏ
ได้ ถึงแม้จะเป็นคนมีปัญญา ก็อดพูดมากไม่ได้ ท่าน
จงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
ชนทั้งหลายดื่มน้ำชนิดใดแล้ว นอนคนเดียว
ไม่มีเพื่อน คล้ายลูกสุกรนอนเดียวดาย ด้วยขาติ
กำเนิดอันต่ำต้อยฉะนั้น อดข้าวปลาอาหาร ย่อมถึง
การนอนเป็นทุกข์อยู่กับแผ่นดิน สิ้นสง่าราศรี และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 323
ต้องครหานินทา ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วย
น้ำชนิดนั้น.
ชนทั้งหลายดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ย่อมนอนคอตก
หาเป็นเหมือนโคที่ถูกลงปฏักฉะนั้นไม่ ฤทธิ์สุราย่อม
ทำให้คนอดทนได้ ไม่กินข้าวกินน้ำ ท่านจงซื้อหม้อ
ใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเว้นดื่มน้ำชนิดใดอันเปรียบ
ด้วยงูมีพิษร้าย นรชนคนใดเล่าควรจะดื่มน้ำชนิดนั้น
อันเป็นเช่นยาพิษในโลก ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็ม
ไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
โอรสทั้งหลายของท้าวอันธกเวฑะ ดื่มสุราแล้ว
พาหญิงไปบำเรออยู่ที่ฝั่งสมุทรประหารกันและกันด้วย
สาก ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
บุรพเทพ คืออสูรทั้งหลาย ดื่มน้ำชนิดใดแล้ว
เมามาย จนจุติจากไตรทิพย์ คือดาวดึงส์เทวโลก ยัง
สำคัญตนว่าเที่ยง เป็นไปกับด้วยอสุรมายา ดูก่อน
มหาราชเจ้า บุรุษผู้ฉลาดเช่นกับพระองค์ เมื่อทราบว่า
น้ำดื่มชนิดนี้เป็นน้ำเมา หาประโยชน์มิได้ จะดื่ม
ทำไม ?
ในหม้อนี้ ไม่มีเนยข้น หรือน้ำผึ้ง พระองค์รู้
อย่างนี้แล้ว จงขายเสีย ดูก่อนท่านสัพพมิตต์ สิ่ง
ที่อยู่ในหม้อนี้ ข้าพเจ้าบอกแก่ท่านแล้วตามความเป็น
จริง อย่างนี้แหละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 324
[๒๒๙๔] ท่านมิใช่เป็นบิดาหรือมารดาของข้าพ-
เจ้า เป็นคนชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้มุ่งเกื้อกูล
อนุเคราะห์ ปรารถนาประโยชน์อย่างยิ่งแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าจักกระทำตามถ้อยคำของท่านในวันนี้.
ข้าพเจ้าจักให้บ้านส่วย ๕ ตำบล ทาสี ๑๐๐
โค ๗๐๐ และรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑๐คัน เหล่านี้
แก่ท่าน ขอท่านผู้ปรารถนาประโยชน์ จงเป็นอาจารย์
ของข้าพเจ้าเถิด.
[๒๒๙๕] ดูก่อนพระราชา ทาสี บ้านส่วย โค
และรถอันเทียมด้วยม้าอาชาไนย จงเป็นของพระองค์
ตามเดิมเถิด ข้าพเจ้าเป็นท้าวสักกะ จอมเทพ ของ
ชาวไตรทิพย์.
พระองค์เสวยพระกระยาหาร เนยใส และข้าว
ปายาส พึงเสวยขนมกุมมาสอันโอชารส ดูก่อนพระ-
องค์ผู้เป็นจอมประชาชน ขอพระองค์จงทรงยินดีใน
ธรรม ใคร ๆ ไม่ติเตียนด้วยอาการอย่างนี้แล้ว จง
เข้าถึงซึ่งสวรรคสถาน.
จบกุมภชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 325
อรรถกถากุมภชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
หญิง นักดื่มสุรา ๕๐๐ คน ผู้เป็นสหายของนางวิสาขามหาอุบาสิกา ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โก ปาตุราสิ ดังนี้.
ได้ยินว่า เมื่อเขาประกาศเรื่องมหรสพสุรา ในพระนครสาวัตถี
หญิง ๕๐๐ คนเหล่านั้น จัดเตรียมสุรามีรสเข้มไว้ เพื่อสามีที่ไปเล่นมหรสพ
แล้วปรึกษากันว่า เราทั้งหลายก็จะเล่นมหรสพ ดังนี้แล้ว ทุกคนจึงพากันไป
ยังสำนักของนางวิสาขากล่าวชักชวนว่า สหายรัก พวกเราไปเล่นมหรสพกันเถิด
เมื่อนางวิสาขาปฏิเสธว่า มหรสพนี้เป็นมหรสพสุรา เราจักไม่ดื่มสุราเลย
จึงพากันกล่าวว่า ท่านจงถวายทานแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด พวกเราจักเล่น
มหรสพกัน. นางวิสาขารับคำว่าดีแล้ว จึงส่งคนไปทูลเชิญพระบรมศาสดา
ถวายมหาทานแล้วถือเอาของหอมและระเบียบเป็นอันมาก ห้อมล้อมด้วยหญิง
เหล่านั้น ไปยังพระเชตวันมหาวิหาร เพื่อสดับพระธรรมกถา ในเวลาเย็น.
ก็หญิงเหล่านั้นดื่มสุราไปพลาง เดินทางร่วมไปกับนางวิสาขา ยืนดื่มสุราที่ซุ้ม
ประตู แล้วจึงได้เข้าไปยังสำนักพระศาสดาพร้อมกับนางวิสาขา. นางวิสาขา
ถวายบังคมพระศาสดา แล้วนั่งลง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. บรรดาหญิงเหล่านั้น
บางพวกก็ฟ้อนรำ บางพวกก็คะนองมือคะนองเท้า จนทะเลาะวิวาทกัน ใน
สำนักของพระศาสดานั่นเอง พระบรมศาสดาจึงทรงเปล่งพระรัศมี ออกจาก
ขนพระโขนงโดยพระประสงค์จะให้หญิงเหล่านั้นเกิดความสังเวช หญิงเหล่านั้น
ตกใจกลัว ถูกมรณภัยคุกคาม ด้วยเหตุนั้น หญิงเหล่านั้นจึงสร่างเมา. พระ-
ศาสดาทรงอันตรธานหายไปจากบัลลังก์ที่ประทับ ทรงยืนอยู่ ณ ยอดสิเนรุ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 326
บรรพต เปล่งพระรัศมีออกจากพระอุณาโลม เป็นประหนึ่งว่าได้มีพระจันทร์
และพระอาทิตย์อุทัยขึ้นถึงพันดวง. พระศาสดาประทับยืน ณ ยอดสิเนรุบรรพต
นั่นเอง โดยพระประสงค์จะให้หญิงเหล่านั้นเกิดความสังเวช จึงตรัสพระคาถานี้
ความว่า
ท่านทั้งหลายจะมัวร่าเริง บันเทิงกันอยู่ทำไม
ในเมื่อโลกกำลังลุกเป็นไฟอยู่เนืองนิตย์ ท่านทั้งหลาย
อันความมืดมิดหุ้มห่อแล้ว ยังไม่พากันแสวงหาประทีป
คือที่พึ่ง (อีกหรือ ?).
ในเวลาจบพระคาถา หญิงทั้ง ๕๐๐ เหล่านั้น ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
พระศาสดาเสด็จมาประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ ใต้ร่มเงาพระคันธกุฎี ลำดับนั้น
นางวิสาขา ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
น้ำดื่มที่ชื่อว่าสุราอันเป็นเครื่องทำลายหิริโอตตัปปะนี้ เกิดแล้วแต่ครั้งไร
พระเจ้าข้า. เมื่อพระศาสดาจะตรัสบอกแก่นาง จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัส
ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติใน พระนคร-
พาราณสี มีนายพรานป่าผู้หนึ่งชื่อว่า สุระ เป็นชาวแคว้นกาสี ได้ไปสู่ป่า
หิมพานต์ เพื่อต้องการแสวงหาสิ่งของ ในป่าหิมพานต์นั้น มีต้นไม้ต้นหนึ่ง
ลำต้นตั้งตรง ที่ฐานสูงประมาณชั่วบุรุษหนึ่งได้แตกออกเป็นสามค่าคบ ระหว่าง
ค่าคบ ๓ แห่งของต้นไม้นั้น ได้มีโพรงใหญ่ขนาดเท่าตุ่ม เมื่อฝนตกก็เต็มไปด้วย
น้ำ ได้มีตนเสมอ มะขามป้อม และเถาพริกไท ขึ้นล้อมรอบต้นไม้นั้น. ผลแห่ง
ต้นไม้นั้น ๆ สุกแล้วก็หลุดออกจากขั้ว ตกลงไปในโพรงนั้น. ใกล้ๆ ต้นไม้นั้น
มีข้าวสาลีเกิดขึ้นเอง และนกแขกเต้าทั้งหลายมาคาบเอารวงข้าวสาลีจากที่นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 327
แล้วก็บินไปจับกินอยู่บนต้นไม้นั้น เมื่อนกแขกเต้าพากันจิกกินอยู่ เมล็ดข้าว-
เปลือกก็ดี เมล็ดข้าวสารก็ดี หลุดหล่นลงไปในโพรงนั้น น้ำในโพรงนั้นถูก
แสงแดดแผดเผา ก็เกิดมีรส มีสีแดง ๆ ด้วยประการฉะนี้. ในฤดูร้อนฝูงนก
ทั้งหลายที่กระหายน้ำ บินมากินน้ำนั้น ก็มึนเมาพลัดตกลงไปที่โคนต้นไม้ ม่อย
ไปหน่อยหนึ่งแล้วส่งเสียงคูขันบินไป. ถึงสุนัขป่าและลิงเป็นต้น ก็มีนัยอย่าง
เดียวกันนี้. พรานป่าเห็นดังนั้นก็หลากใจคิดว่า ถ้าน้ำนี้เป็นพิษ สัตว์เหล่านี้
คงตาย แต่นี่มันม่อยไปหน่อยหนึ่งแล้วก็บินไปได้ตามสบาย น้ำนี้คงไม่มีพิษ.
เขาจึงลองดื่มเอง ก็เกิดมึนเมา และอยากจะกินเนื้อสัตว์ ลำดับนั้นเขาจึงก่อไฟ
ให้โชนขึ้น แล้วฆ่านกที่พลัดตกไปที่โคนไม้ มีนกกระทาและไก่เป็นต้นตาย
ย่างเนื้อที่ถ่านเพลิง มือหนึ่งฟ้อนรำ มือหนึ่งถือเนื้อกัดกิน อยู่ในที่นั้นวันหนึ่ง
ถึงสองวัน ก็ ณ ที่ใกล้บริเวณนั้น มีดาบสรูปหนึ่งชื่อ วรุณะ นายพรานป่า
เดินไปยังสำนักพระดาบสนั้น โดยธุระอย่างอื่น. เขาได้เกิดความคิดว่า เราจัก
ดื่มน้ำนี้ร่วมกับพระดาบส เขาจึงตักน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่อันหนึ่งจนเต็ม หิ้วไป
กับเนื้อย่าง ถึงบรรณศาลาแล้วกล่าวชวนว่า ท่านขอรับ จงลองดื่มน้ำนี้ดูเถิด
แล้วทั้งสองก็บริโภคเนื้อดื่มน้ำด้วยกัน. ด้วยประการฉะนี้ น้ำดื่มนั้นเลยเกิดมี
ชื่อว่า สุราบ้าง วรุณีบ้าง เพราะนายพรานสุระและพระวรุณดาบส พบ
เห็นเข้า.
ฝ่าย สุรพราน กับวรุณดาบส ทั้งสองคนคิดได้ว่า มีอุบายทำมาหา
กินได้อยู่ จึงตักสุราใส่กระบอกไม้ไผ่จนเต็ม แล้วพากันหาบไป จนถึงปัจจันต-
นคร ให้คนกราบทูลพระราชาว่า มีคนทำน้ำดื่มมาเฝ้า พระราชาจึงตรัสสั่งให้
คนทั้งสองเข้าเฝ้า เขาจึงนำน้ำดื่มเข้าไปถวาย พระราชาทรงเสวยได้ สอง
-สามครั้งก็ทรงมึนเมา แต่น้ำเมานั้น พอเสวยได้เพียงวัน สองวัน เท่านั้น
ต่อมาพระราชาตรัสถามคนทั้งสองว่า น้ำชนิดนี้ มีอยู่ที่อื่นบ้างไหม ? เขาพา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 328
กันกราบทูลว่า ขอเดชะมีอยู่ พระเจ้าข้า พระราชาตรัสถามว่า มีอยู่ที่ไหน ?
เขาทูลว่า ที่ป่าหิมพานต์ พระเจ้าข้า พระราชาตรัสสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นท่านทั้ง
สองจงไปเอามา ชนทั้งสองไปนำเอามาคราว สองคราว แล้วปรึกษากันว่า
พวกเราไม่อาจเอามาบ่อย ๆ ได้ จึงกำหนดจดจำเครื่องปรุงทั้งปวงไว้ แล้ว
เอาเปลือกเป็นต้น ของต้นไม้นั้นมาใส่ปนลงในเครื่องปรุงทุกอย่าง ปรุงสุราขึ้น
ในพระนคร ชาวพระนครพากันดื่มสุราจนถึงความประมาทมัวเมา เลยยากจน
เข็ญใจไปตาม ๆ กัน พระนครก็ได้เป็นเหมือนเมืองร้าง ด้วยเหตุนั้น คนทำ
น้ำดื่มทั้งสอง จึงหลบหนีออกจากพระนครนั้น ไปยังเมืองพาราณสี ให้กราบ
ทูลพระราชาว่า คนทำน้ำดื่มมาเฝ้า พระเจ้าพาราณสีตรัสสั่งให้คนทั้งสองเข้าเฝ้า
แล้วพระราชทานเสบียงแก่คนทั้งสอง เขาช่วยกันจัดการปรุงสุราขึ้น แม้ใน
พระนครพาราณสีนั้น ถึงพระนครนั้น ก็พินาศไปเช่นนั้นอีก เขาทั้งสองจึง
หนีออกจากเมืองนั้นไปเมืองสาเกต หนีออกจากเมืองสาเกตไปยังเมืองสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าสัพพมิตต์ ได้เป็นกษัตริย์ พระนครสาวัตถี ท้าวเธอทำการ
สงเคราะห์แก่คนทั้งสองนั้น แล้วตรัสถามว่า พวกเจ้าต้องการสิ่งใดบ้าง เมื่อ
เขากราบทูลว่า ต้องการรากไม้สำหรับปรุง แป้งข้าวสาลี และตุ่ม ห้าร้อย
ดังนี้ ก็ตรัสสั่งให้ประทานครบทุกอย่าง. พรานสุระ และวรุณดาบสทั้งสอง
ปรุงสุราใส่ตุ่ม ๕๐๐ ใบตั้งไว้แล้ว ประสงค์จะป้องกันโดยเกรงว่าหนูจะรบกวน
จึงผูกแมวไว้ข้าง ๆ ตุ่มใบละตัว แมวเหล่านั้น พากันดื่มสุราที่ไหลลงก้นตุ่ม
ในเวลาที่ต้มแล้วตักใส่ตุ่ม จนมึนเมาหลับไป พวกหนูมาแทะ หู จมูก
หนวด และหางแมว แล้วพากันวิ่งหนีไป พวกอายุตตกบุรุษ (คนสอดแนม)
คิดว่า แมวดื่มสุราพากันตายหมด จึงไปกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ พระ
เจ้าสัพพมิตต์ ทรงเห็นว่า ชนทั้งสองนี้ จักทำยาพิษ จึงตรัสสั่งให้ตัดศีรษะ
คนทั้งสองเสีย คนทั้งสอง พร่ำทูลขอร้องว่า ขอเดชะ ดื่มสุรามีรสอร่อย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 329
พระเจ้าข้า ดังนี้ จนขาดใจตาย ครั้นพระราชาตรัสสั่งให้ประหารชีวิตคนทั้งสอง
แล้ว มีพระราชโองการให้ทำลายตุ่มเลีย ฝ่ายแมวทั้งหลาย เมื่อฤทธิ์สุราสร่าง
จางไป ก็ลุกขึ้นวิ่งเล่นได้ พวกราชบุรุษเห็นดังนั้น จึงกราบทูลให้พระราชา
ทรงทราบ พระราชาทรงพระดำริว่า ถ้าน้ำสุราเป็นพิษ แมวคงตาย ชะรอย
จะมีรสอร่อย เราจะลองดื่มดู แล้วตรัสสั่งให้ประดับตกแต่งพระนคร ให้สร้าง
มณฑปขึ้นที่หน้าพระลาน เสร็จแล้วประทับนั่งบนราชบัลลังก์ ซึ่งยกเศวตฉัตร
ขึ้นไว้บนมณฑปที่ประดับตบแต่งแล้ว แวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ มุขมนตรี
เริ่มจะเสวยสุรา.
ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราช ทรงตรวจดูสัตวโลกว่า ชนเหล่าไหนบ้าง
หนอ ไม่ประมาทในการบำรุงมารดาบิดาเป็นต้น บำเพ็ญสุจริต ๓ ให้เต็ม
บริบูรณ์ ทอดพระเนตรเห็นพระเจ้าสัพพมิตต์นั้น ประทับนั่ง เพื่อจะดื่มสุรา
จึงทรงพระดำริว่า ถ้าพระเจ้าสัพพมิตต์นี้จะดื่มสุราไซร้ สกลชมพูทวีป จัก
พินาศฉิบหาย เราจักต้องแก้ไข โดยวิธีที่จะให้ท้าวเธองดดื่ม แล้วทรงวางหม้อ
ที่เต็มไปด้วยสุราใบหนึ่งไว้ที่พระหัตถ์ จำแลงเพศเป็นพราหมณ์ เสด็จมายืน
อยู่ในอากาศ ณ ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าสัพพมิตต์ แล้วตรัสว่า ท่านทั้ง
หลายจงซื้อหม้อใบนี้ พระเจ้าสัพพมิตตราช ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์จำ
แลง ยืนพูดอยู่บนอากาศอย่างนั้น ทรงสงสัยว่า พราหมณ์นี้มาจากไหนกัน
หนอ เมื่อจะทรงสนทนากับพราหมณ์นั้น ได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถา ความว่า
ท่านเป็นใคร มาจากไตรทิพย์หรือ จึงเปล่งรัศมี
สว่างไสวอยู่ในนภากาศ เหมือนพระจันทร์ส่องสว่าง
ในยามรัตติกาลฉะนั้น รัศมีแผ่ซ่านออกจากตัวท่าน
ดุจสายฟ้าแลบในเวหาสฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 330
ท่านเหยียบลมหนาวในอากาศได้ เดินและยืน
ในอากาศได้ ฤทธิ์ของเทวดาทั้งหลาย ผู้ไม่ต้องเดิน
ไกล ท่านทำให้เป็นที่ตั้ง และให้เจริญดีแล้วเป็นไฉน ?
ท่านเป็นใครมายืนอยู่ในอากาศ ร้องขายหม้อ
อยู่ หรือว่าหม้อของท่านนี้ ใช้ประโยชน์อะไรได้ ดู
ก่อนพราหมณ์ ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า
เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก ปาตุราสิ ความว่า ท่านเป็นใคร
มาจากไหน จึงมาปรากฏ อธิบายว่า ท่านมาจากไหน ? บทว่า ติทิวา
นภมฺหิ ความว่า พระเจ้าสัพพมิตต์ ตรัสถามว่า ท่านมาจากดาวดึงสพิภพ
หรือ จึงปรากฏในนภากาศนี้. บทว่า สวรึ แปลว่า ในรัตติกาล. บทว่า
สเตริตา ได้แก่ พระจันทร์ซึ่งมีชื่ออย่างนี้. บทว่า โส ได้แก่ ท่านนั้น.
บทว่า ฉินฺนวาต ความว่า วลาหกเทพ ย่อมก้าวเดินตามลม อันมีกระแส
พัดเยือกเย็นไปได้ ก็แม้ลมนั้นไม่มีแก่ท่านเลย ด้วยเหตุนั้น พระเจ้าสัพพมิตต์
จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า กมสิ แปลว่า ล่องลอยไป. บทว่า อฆมฺหิ ได้แก่
ในอากาศ อันไม่มีอะไรกระทบ. บทว่า วตฺถุกตา ความว่า (ฤทธิ์ของท่าน)
เป็นสิ่งที่ทำแล้ว เหมือนวัตถุ เหมือนที่ตั้งฉะนั้น. บทว่า อนทฺธคูนมสิ
เทวตาน ความว่า พระเจ้าสัพพมิตต์ ตรัสถามว่า ฤทธิ์ของท่านที่อบรมดี
แล้ว คล้ายฤทธิ์ของทวยเทพ ผู้ชื่อว่า ไม่ต้องเดินทางไกล เพราะไม่ต้องใช้
เท้าเดินไปในทางไกล. บทว่า เวหาสย กมฺมาคมฺม ความว่า ท่านเป็น
ใครหรือ จึงอาศัยการย่างเท้า เข้าไปยืนบนอากาศได้. บัณฑิตพึงเชื่อมความ
ของบาทคาถานั้น เข้าด้วยบทว่า โก วา ตุว ท่านเป็นใครหรือ ? อธิบาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 331
ว่า ท่านมายืนอยู่อย่างนี้ชื่อไรเล่า. บทว่า ยเมตมตฺถ ความว่า ท่านพูดคำ
นี้ใด ต้องเชื่อมความของบาทคาถานี้ เข้ากับบทว่า อิมสฺส กิสฺส วตาย
จึงได้ความว่า ท่านพูดคำว่า จงซื้อหม้อใบนี้ ดังนี้. อธิบายว่า ท่านพูดว่า
จงซื้อหม้อใบนี้ดังนี้ หม้อใบนี้ของท่านใช้ประโยชน์อะไรหรือ ?
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง เมื่อจะทรง
แสดงโทษของสุรา จึงตรัสว่า
หม้อใบนี้มิใช่หม้อเนยใส มิใช่หม้อน้ำมัน มิใช่
หม้อน้ำผึ้ง โทษของหม้อใบนี้มีอยู่มิใช่น้อย ท่านจง
ฟังโทษเป็นอันมากที่มีอยู่ในหม้อใบนี้.
บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว เดินโซเซตกลงไปยัง
บ่อ ถ้ำ หลุมน้ำครำและหลุมโสโครก พึงบริโภคของ
ที่ไม่ควรบริโภคแม้มากได้ ท่านจงซื้อหม้อนี้ ซึ่งเต็ม
ไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ไม่มีกฎเกณฑ์ในใจ
เที่ยวหยำเปไป เหมือนโคกินกากสุรา ฉะนั้น เป็น
เหมือนขาดที่พักพิง ย่อมฟ้อนรำได้ ขับร้องได้ ท่าน
จงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว แก้ผ้าเปลือยกาย เที่ยว
ไปตามตรอก ตามถนน ในบ้านเหมือนชีเปลือย มีจิต
ลุ่มหลง นอนตื่นสาย ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไป
ด้วยน้ำชนิดนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 332
บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ลุกขึ้นโซเซโคลงศีรษะ
และยกแขนขึ้นร่ายรำ เหมือนรูปหุ่นไม้ ฉะนั้น ท่าน
จงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว นอนจนถูกไฟไหม้
และกินอาหารที่เหลือเดนสุนัขได้ ย่อมถึงการถูกจองจำ
ถูกฆ่า และความเสื่อมแห่งโภคะ ท่านจงซื้อหม้อใบนี้
ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว พูดคำพูดที่ไม่ควรพูด
นั่งพร่ำในที่ประชุม ปราศจากผ้าผ่อน เลอะเทอะ
นอนจมอยู่ในอาเจียนของตน มีแต่เรื่องฉิบหาย ท่าน
จงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว วางมาดเป็นคนสำคัญ
นัยน์ตาขุ่นขวาง เข้าใจว่าบ้านเมืองเป็นของเราคนเดียว
พระราชาแม้มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบขัณฑสีมา ก็ไม่
เสมอเรา ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิด
นั้น.
บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ถือตัวจัด ก่อการ
ทะเลาะวิวาท ยุยงส่อเสียด มีผิวพรรณน่าเกลียด
เปลือยกายวิ่งไป อยู่อย่างนักเลงเก่า ท่านจงซื้อหม้อ
ใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
น้ำชนิดนี้ ทำตระกูลทั้งหลายในโลกนี้ อันมั่งคั่ง
บริบูรณ์ มีเงินทองตั้งหลายพันให้ขาดทายาทได้ ท่าน
จงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 333
ข้าวเปลือก ทรัพย์สิน เงินทอง ไร่ นา โค
กระบือ ในสกุลใดย่อมพินาศไป ตระกูลที่มั่งมี
ทั้งหลายขาดสูญไป เพราะดื่มน้ำชนิดใด ท่านจงซื้อ
หม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
บุรุษดื่มน้ำชนิดใดแล้ว เป็นคนหยาบช้า ด่า
มารดาบิดาได้ แม้ถึงเป็นพ่อผัวก็พึงหยอกลูกสะใภ้ได้
ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
นารีดื่มน้ำชนิดใดแล้ว กลายเป็นคนกักขฬะ
หยาบช้า ด่าพ่อผัว แม่ผัว และสามีได้ แม้เป็นทาส
เป็นคนใช้ พึงรับเป็นสามีของตนได้ ท่านจงซื้อหม้อ
ใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยนำชนิดนั้น.
บุรุษดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ฆ่าสมณะ หรือพราหมณ์
ผู้ตั้งอยู่ในธรรมได้ พึงไปสู่อบาย เพราะกรรมนั้น
เป็นเหตุ ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิด
นั้น.
ชนทั้งหลายดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ประพฤติทุจริต
ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจได้ ย่อมไปสู่นรก
เพราะประพฤติทุจริต ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไป
ด้วยน้ำชนิดนั้น.
ชนทั้งหลายแม้จะยอมสละเงินเป็นอันมาก มา
อ้อนวอนบุรุษใด ซึ่งไม่เคยดื่มสุรา ให้พูดเท็จ ย่อม
ไม่ได้ บุรุษนั้นครั้นดื่มสุราแล้วย่อมพูดเหลาะแหละ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 334
เหลวไหลได้ ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำ
ชนิดนั้น.
คนรับใช้ดื่มน้ำชนิดใดแล้ว เมื่อถูกเขาใช้ไปใน
กรณียกิจรีบด่วน ถูกซักถามก็ไม่รู้เนื้อความ ท่านจง
ซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
ชนทั้งหลายดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ถึงจะเคยมีความ
ละอายใจอยู่ ก็ย่อมจะทำความไม่ละอายให้ปรากฏได้
ถึงแม้จะเป็นคนมีปัญญาก็อดพูดมากไม่ได้ ท่านจงซื้อ
หม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
ชนทั้งหลายดื่มน้ำชนิดใดแล้ว นอนคนเดียว
ไม่มีเพื่อน คล้ายลูกสุกรนอนเดียวดาย ด้วยชาติกำเนิด
อันต่ำฉะนั้น อดข้าวปลาอาหาร ย่อมเข้าถึงการนอน
เป็นทุกข์อยู่กับแผ่นดิน สิ้นสง่าราศรี และต้องครหา
นินทา ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
ชนทั้งหลายดื่มน้ำชนิดใดแล้ว ย่อมนอนคอตก
หาเป็นเหมือนโคที่ถูกปฏักฉะนั้นไม่ ฤทธิ์สุราย่อม
ทำให้คนอดทนได้ (ไม่กินข้าวกินน้ำ) ท่านจงซื้อหม้อ
ใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเว้นดื่มน้ำชนิดใด อันเปรียบ
ด้วยงูมีพิษร้าย นรชนคนใดเล่า ควรจะดื่มน้ำชนิดนั้น
อันเป็นเช่นยาพิษมีในโลก ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่ง
เต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 335
โอรสทั้งหลายของท้าวอันธกเวณฑะ ดื่มสุรา
แล้ว พาหญิงไปบำเรออยู่ที่ริมฝั่งสมุทร ประหารกัน
และกันด้วยสาก ท่านจงซื้อหม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วย
น้ำชนิดนั้น.
บุรพเทพ คืออสูรทั้งหลาย ดื่มน้ำชนิดใดแล้ว
เมามาย จนจุติจากไตรทิพย์ คือดาวดึงสเทวโลก ยัง
สำคัญตนว่าเที่ยง เป็นไปกับด้วยอสุรมายา ดูก่อน
มหาราชเจ้า บุรุษผู้ฉลาดเช่นกับพระองค์ เมื่อทราบ
ว่าน้ำดื่มชนิดนี้เป็นน้ำเมา หาประโยชน์มิได้ จะดื่ม
ทำไม ?
ในหม้อใบนี้ ไม่มีเนยข้น หรือน้ำผึ้ง พระองค์
รู้อย่างนี้แล้ว จงซื้อเสีย ดูก่อนท่านสัพพมิตต์ สิ่ง
ที่อยู่ในหม้อนี้ ข้าพเจ้าบอกแก่ท่านแล้วตามความเป็น
จริงอย่างนี้แหละ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วชฺชานิ ได้แก่ โทษทั้งหลาย. บทว่า
คเลยฺย ความว่า เมื่อจะเดินก็เดินโซเซไปทุกย่างก้าว. บทว่า ย ปิตฺวา ปเต
ความว่า บุคคลดื่มน้ำชนิดใดแล้วพึงตกลงไป. บทว่า โสพภ ได้แก่ หลุม-
บ่อ. บทว่า จนฺทนิโยฬิคลฺล ได้แก่ หลุมเทขยะ และหลุมโสโครก.
บทว่า อโภชเนยฺย ได้แก่ ของไม่ควรเพื่อจะบริโภค. บทว่า
อเนสมาโน แปลว่า ไม่เป็นอิสระ. บทว่า โคริว ความว่า อุปมาเหมือนโค.
บทว่า ภกฺขสานี ความว่า เหมือนโคกินกากสุรา เที่ยวแสวงหาของกินใน
ที่ต่างๆ ฉันใด ไม่มีกฎเกณฑ์ในใจ ท่องเที่ยวไปฉันนั้น. บทว่า อนาถมาโน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 336
ความว่า เป็นเหมือนคนขาดที่พักพิงไร้ที่พึ่ง. บทว่า อุปคายติ ความว่า
เห็นคนอื่นเขาขับเขารำ ก็เข้าไปขับบ้าง ฟ้อนรำบ้างได้. บทว่า อเจลโกว
ความว่า เปลือยกายได้เหมือนอเจลก. บทว่า วิสิขนฺตรานิ ความว่า (เที่ยว
ซอกแซกไป) ตามตรอก ตามถนน. บทว่า อติเวลสายี ความว่า เป็นผู้มี
ปกตินอนเกินเวลา ปาฐะว่า อติเวลาจารี ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า นอนหลับ
ไปได้นาน ๆ. บทว่า ทารุกฏลฺลโกว แปลว่า เหมือนรูปหุ่นไม้. บทว่า
โภคชานิญฺจุ เปนฺติ ความว่า ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคทรัพย์. อธิบายว่า
บุคคลดื่มน้ำใดแล้ว ย่อมทำทุจริตเป็นต้นว่า ปาณาติบาต ถูกลงอาชญาแล้ว
ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์และถึงทุกข์อื่น ๆ มีถูกฆ่าและจองจำเป็นต้น.
บทว่า วนฺตคโต ความว่า จมอยู่ในอาเจียนของตน. บทว่า
พฺยสนฺโน แปลว่า ถึงความพินาศ. ปาฐะว่า วิสนฺโน ดังนี้ก็มี. ความก็ว่า
นอนจมอยู่ในกองอาเจียนนั้น. บทว่า อุกฺกฏฺโ ความว่า บุคคลดื่มน้ำ
ชนิดใดแล้วฮึกเหิม คุยโวว่า เรามีทะแกล้วทหารมาก จะมีใครเสมอกับเรา.
บทว่า อาวิลกฺโข แปลว่า มีนัยน์ตาแดง (ตาขวาง). บทว่า สพฺพปวี
แปลว่า แผ่นดินทั้งหมด. ปาฐะว่า สพฺพาปวี ดังนี้ก็มี. บทว่า จาตุรนฺโต
ความว่า เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต. บทว่า มานา
แปลว่า ก่อเกิดมานะ. แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็มีนัยนี้.
บทว่า คติ แปลว่า ปฏิปทาเครื่องดำเนินให้เกิดผล. บทว่า นิเกโต
แปลว่า อยู่ (อย่างนักเลง). บทว่า ตสฺสา ปุณฺณ ความว่า ท่านจงซื้อ
หม้อใบนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยสุราเห็นปานนั้น. บทว่า ยตฺถ วินาสยนฺติ ความว่า
ชนทั้งหลายอาศัยน้ำสุราใด ดำรงตนไว้ในการดื่มน้ำสุราใด ทำลายสมบัติ
มีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น แม้อย่างเดียว หรือแม้หลายอย่างให้พินาศได้
จนเป็นคนกำพร้า. บทว่า อิทฺธานิ แปลว่า มั่งคั่ง. บทว่า ผีตานิ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 337
มั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยวัตถาลังการ และเครื่องใช้สอยทั้งหลาย. บทว่า อุจฺฉินฺน-
ทายชฺชกตานิ ความว่า น้ำสุรานี้ย่อมทำทายาทให้ขาดสูญ พาทรัพย์สมบัติ
ให้พินาศ. บทว่า ทุฏฺรูโป เป็นคนกักขฬะหยาบคาย. บทว่า คณฺเหยฺย
ความว่า จับมือถือแขนลูกสะใภ้ ด้วยอำนาจกิเลส โดยสำคัญว่าเป็นภรรยาได้.
บทว่า ทาสปิ คณฺเห ความว่า จับมือถือแขน แม้ทาสคนรับใช้ของตนได้
ด้วยอำนาจกิเลส โดยสำคัญว่า สามีของตัว. บทว่า ปิตฺวาน แปลว่า ดื่มแล้ว.
บทว่า ทุจฺจริต จริตฺวา ความว่า กระทำอกุศลกรรมบถสิบอย่าง
ด้วยไตรทวารอย่างนี้. บทว่า ยาจมานา ความว่า ชนทั้งหลายแม้จะสละ
เงินทอง เป็นสินน้ำใจจำนวนมาก กล่าวอ้อนวอนบุรุษใด ซึ่งไม่เคยดื่มสุรา
มาก่อนว่า ท่านจงพูดเท็จดังนี้ ย่อมไม่ได้. บทว่า ปิตฺวา ความว่า คน
รับใช้ดื่มน้ำชนิดใดแล้ว. บทว่า นปฺปชานาติ วุตฺโต ความว่า ถูกซักถาม
ว่าเจ้ามาเพื่อต้องการอะไร เขาย่อมไม่รู้แม้เรื่องราวนั้น เพราะตนรับข่าวสาสน์
ไปไม่ดี. บทว่า หิริมนาปิ ความว่า แม้จะมีจิตประกอบไปด้วยหิริ. บทว่า
เอกถูปา ความว่า นอนคนเดียวไม่มีเพื่อน คล้ายลูกสุกรนอนเดียวดายด้วย
ชาติกำเนิดอันค่ำฉะนั้น. บทว่า อนาสกา แปลว่า อดอาหาร. บทว่า
ถณฺฑิล ทุกฺขเสยฺย ความว่า นอนเป็นทุกข์อยู่บนแผ่นดิน. บทว่า อายสกฺย
ได้แก่ คำครหา. บทว่า ปตฺตกฺขนฺธา ความว่า นอนคอตก. บทว่า
กูฏหตาริว ความว่า ย่อมนอนคอพับคล้ายโค อันหม้อน้ำผูกติดอยู่ที่คอ
เบียดเบียน. อธิบายว่า ย่อมนอนแซ่วเหมือนโคที่ไม่กินหญ้า กินน้ำ นอนซม
อยู่ฉะนั้น. บทว่า โฆรสมิว แปลว่า อันเปรียบด้วยงูมีพิษร้าย. บทว่า
วิสสมาน แปลว่า อันเป็นเช่นกับด้วยยาพิษ. บทว่า อนฺธกเวณฺฑปุตฺตา
ได้แก่ ราชาพี่น้องกันสิบองค์. บทว่า อุปฺกฺกมุ แปลว่า ประหารกัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 338
(ด้วยสาก). บทว่า ปุพฺพเทวา ได้แก่ อสูรทั้งหลาย. บทว่า ติทิวา ความว่า
จากดาวดึงสเทวโลก. บทว่า สสฺสติยา ความว่า ยังสำคัญตนว่าเที่ยง โดย
ความเป็นผู้มีอายุยืน อธิบายว่า จากเทวโลก อันสมมติกันว่าเที่ยงเป็นนิรันดร์.
บทว่า สมายา ความว่า เป็นไปกับด้วยอสุรมายา.
บทว่า ชาน ความว่า บุรุษผู้ฉลาดเช่นกับพระองค์ เมื่อทราบว่า
น้ำดื่มชนิดนี้ เป็นน้ำเมาหาประโยชน์มิได้เช่นนั้น จะพึงดื่มทำไมกัน. บทว่า
กุมฺภคตา มยา ความว่า สิ่งที่อยู่ในหม้ออันข้าพเจ้าบอกแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง
ปาฐะก็อย่างเดียวกันนี้. บทว่า อกฺขาตรูป ความว่า อันข้าพเจ้าบอกแล้ว
ตามความเป็นจริง.
พระเจ้าสัพพมิตต์ ทรงสดับดังนั้น ก็ทรงทราบโทษของสุรา ดีพระทัย
เมื่อจะทรงชมเชยท้าวสักกเทวราช ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า
ท่านมิใช่เป็นบิดา หรือมารดาของข้าพเจ้า เป็น
คนชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้มุ่งเกื้อกูลอนุเคราะห์
ปรารถนาประโยชน์อย่างยิ่งแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจัก
กระทำตามถ้อยคำของท่านในวันนี้.
ข้าพเจ้าจักให้บ้านส่วยห้าตำบล ทาสีหนึ่งร้อย
โคเจ็ดร้อย และรถเทียมด้วยม้าอาชาไนยสิบคันเหล่านี้-
แก่ท่าน ขอท่านผู้ปรารถนาประโยชน์จงเป็นอาจารย์
ของข้าพเจ้าเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คามวรานิ ความว่า พระเจ้าสัพพมิตต์
ตรัสว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ อาจริยภาค คือส่วนของอาจารย์ อันชื่อว่าบุคคล
ผู้เป็นอาจารย์ควรปรารถนา ข้าพเจ้าขอมอบบ้านส่วยห้าตำบล ซึ่งมีรายได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 339
ปีละหนึ่งแสนแก่ท่าน. บทว่า ทสา อิเม ความว่า และเมื่อพระเจ้าสัพพ-
มิตต์จะทรงชี้รถอันวิจิตรด้วยทอง ซึ่งจอดอยู่เฉพาะพระพักตร์สิบคัน จึงตรัส
อย่างนี้.
ท้าวสักกเทวราช ทรงสดับเช่นนั้น เมื่อจะทรงแสดงอัตภาพของ
เทพยดาให้พระเจ้าสัพพมิตต์ทรงรู้จักพระองค์ จึงประทับยืนบนอากาศ
ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า
ดูก่อนพระราชา ทาสี บ้านส่วย โค และรถ
อันเทียมด้วยม้าอาชาไนย จงเป็นของพระองค์ตามเดิม
เถิด เราเป็นท้าวสักกะจอมเทพ ของชาวไตรทิพย์.
พระองค์จงเสวยพระกระยาหาร เนยใส และ
ข้าวปายาส พึงเสวยขนมกุมมาสอันโอชารส ดูก่อน
พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน พระองค์จงทรงยินดีใน
ธรรม ใคร ๆ ไม่ติเตียนด้วยอาการอย่างนี้แล้ว จงเข้า
ถึงสวรรคสถาน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว ตุว ธมฺมรโต ความว่า เมื่อ
ท่านเสวยโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ อย่างนี้ จะเว้นการดื่มสุรา ละทุจริต ๓ อย่าง
เป็นผู้ยินดีในสุจริตธรรม ๓ ประการ อันใคร ๆ ไม่ติเตียนแล้ว จงเข้าถึง
สวรรคสถานเถิด.
ท้าวสักกะครั้นทรงประทานโอวาทแก่พระเจ้าสัพพมิตต์ ด้วยประการ
ฉะนี้แล้ว ก็เสด็จไปยังสถานวิมานของพระองค์ทันที. ฝ่ายพระเจ้าสัพพมิตต์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 340
ก็ไม่ทรงดื่มสุรา ตรัสสั่งให้ทำลายภาชนะสุราสิ้น แล้วทรงสมาทานศีล
บริจาคทาน ได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. การดื่มสุรา เกิดนิยม
กันอย่างกว้างขวาง แม้ในชมพูทวีป (ติดต่อสืบเนื่องมาจนบัดนี้).
พระบรมศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่าพระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วนท้าวสักกเทวราช
ได้มาเป็นเราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถากุมภชาดก
๓. ชัยทิสชาดก
ว่าด้วยโปริสาทกับพระเจ้าชัยทิส
[๒๒๙๖] เป็นเวลานานนักหนา นับแต่เวลาที่
เราอดอาหารมาครบ ๗วัน อาหารมากมายพึงเกิดขึ้น
แก่เราวันนี้ ท่านเป็นใคร มาจากไหน ขอเชิญท่านบอก
ชาติสกุล ตามที่รู้กันมาเถิด.
[๒๒๙๗] เราคือพระเจ้าปัญจาลราช มีนามว่า
ชัยทิส ถ้าท่านได้ยินชื่อก็คงรู้จัก เราออกมาล่าเนื้อ
เที่ยวมาตามข้างภูเขาและป่า ท่านจงกินเนื้อกวางนี้เถิด
วันนี้จงปล่อยเราไป.
[๒๒๙๘] พระองค์ถูกข้าพเจ้าเบียดเบียน กลับ
เอาของที่ตกเป็นของข้าพเจ้านั่นเอง มาแลกเปลี่ยน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 341
กวางที่พระองค์ตรัสถึงนั้น เป็นอาหารของข้าพระองค์
ข้าพระองค์กินพระองค์แล้ว อยากจะกินเนื้อกวาง ก็
จักกินได้ในภายหลัง เวลานี้มิใช่เวลาขอร้อง.
[๒๒๙๙] ถ้าความรอดพ้นของเราไม่มีด้วยการ
แลกเปลี่ยน ขอให้เราได้กลับไปยังพระนครเสียก่อน
เราผัดพราหมณ์ไว้ว่า จะให้ทรัพย์ เราจักรักษาคำสัตย์
ย้อนกลับมาหาท่านอีก.
[๒๓๐๐] ดูก่อนราชา พระองค์ใกล้จะสวรรคต
อยู่แล้ว ยังทรงเดือดร้อนถึงกรรมอะไรอยู่ ขอจงตรัส
บอกกรรมนั้นแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะอนุญาต
ให้กลับก่อนได้.
[๒๓๐๑] ความหวังในทรัพย์ เราได้ทำไว้แก่
พราหมณ์ ความผัดเพี้ยนเป็นข้อผูกมัดตัว ยังพ้นไป
ไม่ได้ เพราะเราผัดไว้ว่า จะให้ทรัพย์แก่พราหมณ์
เราจักรักษาคำสัตย์ กลับมาหาท่านอีก.
[๒๓๐๒] ความหวังในทรัพย์ พระองค์ได้ทำไว้
แก่พราหมณ์ ความผัดเพี้ยนเป็นข้อผูกมัดตัว ยังพ้น
ไปไม่ได้ เพราะได้ผัดเพี้ยนไว้แก่พราหมณ์ว่า จะ
พระราชทานทรัพย์ พระองค์จงรักษาคำสัตย์ไว้เสด็จ
กลับมาเถิด.
[๒๓๐๓] พระเจ้าชัยทิส ทรงพ้นเงื้อมมือยักษ์
แล้ว รีบเสด็จกลับไปยังพระราชมณเฑียรของพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 342
เพราะได้ทรงผัดเพี้ยนไว้แก่พราหมณ์ว่า จะพระราช-
ทานทรัพย์ ได้ตรัสให้หาพระราชโอรส พระนามว่า
อลีนสัตตุมา.
ตรัสว่า เจ้าจงอภิเษก ปกครองรัฐสีมาในวันนี้
จงประพฤติธรรมในรัฐสีมาและในประชาชนทั้งหลาย
บุคคลไม่ประพฤติธรรม อย่าได้มีในแว่นแคว้นของ
เจ้า เราจะไปสำนักแห่งยักษ์.
[๒๓๐๔] ขอเดชะ ข้าแต่พระราชบิดาผู้ทรงพระ-
คุณอันประเสริฐ ข้าพระองค์ได้ทำความไม่พอพระทัย
อะไรไว้ในใต้ฝ่าพระบาท ข้าพระองค์ปรารถนาจะได้
สดับความที่พระองค์จะให้ขึ้นครองราชสมบัติในวันนี้
เพราะข้าพระพุทธเจ้าขาดพระราชบิดาเสียแล้ว หา
ปรารถนาแม้ราชสมบัติไม่.
[๒๓๐๕] ลูกรัก พ่อไม่ได้นึกถึงความผิด ทาง
กายกรรมและวจีกรรมของเธอเลย แต่พ่อได้ทำความ
ตกลงไว้กับยักษ์ พ่อต้องรักษาคำสัตย์จึงต้องกลับ
ไปอีก.
[๒๓๐๖] ข้าพระพุทธเจ้าจักไปแทน ขอพระราช
บิดาจงประทับอยู่ ณ ที่นี้ เมื่อทางที่จะรอดชีวิตจาก
สำนักแห่งยักษ์ไม่มี ข้าแต่สมเด็จพระราชบิดา ถ้า
พระองค์มีพระประสงค์จะเสด็จให้ได้ ข้าพระพุทธเจ้า
จักตามเสด็จด้วย เราทั้งสองจะไม่ยอมอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 343
[๒๓๐๗] ลูกรัก นั่นเป็นธรรมของสัตบุรุษ โดย
แท้จริง แต่เมื่อไร ยักษ์ข่มขี่ทำลาย เผาเธอกินเสียที่
โคนไม้ นั่นเป็นความด่างพร้อยของพ่อ ข้อนี้แหละ
เป็นทุกข์ยิ่งกว่าความตายของพ่อเสียอีก.
[๒๓๐๘] ข้าพระพุทธเจ้า ขอเอาชีวิตของข้า-
พระพุทธเจ้า แลกพระชนมชีพของพระราชบิดาไว้
พระราชบิดาอย่าเสด็จไปในสำนักของยักษ์เลย ข้า
พระพุทธเจ้าจะขอเอาชีวิตของข้าพระพุทธเจ้า แลก
พระชนมชีพของพระราชบิดานี้แหละไว้ เพราะฉะนั้น
ข้าพระพุทธเจ้า ขอยอมตายแทนพระราชบิดา
พระเจ้าข้า.
[๒๓๐๙] ลำดับนั้นแล พระราชโอรสผู้ทรง
พระปรีชา ถวายบังคมพระยุคลบาท พระชนกชนนี
แล้วเสด็จไป พระชนนีของพระราชกุมารนั้น ทรง
มีทุกข์โทมนัสล้มลงเหนือปฐพี พระชนกนาถเล่า
ทรงประคองสองพระพาหา คร่ำครวญด้วยเสียงอัน
ดัง.
[๒๓๑๐] พระราชบิดา ทรงทราบชัดว่า พระ-
โอรสกำลังมุ่งหน้าเสด็จไป ทรงเบือนพระพักตร์
ประคองอัญชลีกราบไหว้เทวดาทั้งหลาย คือพระโสม
ราชา พระวรุณราช พระปชาบดี พระจันทร์และ
พระอาทิตย์ ขอเทพเจ้าเหล่านี้ ช่วยคุ้มครองโอรส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 344
ของเรา จากอำนาจแห่งยักษ์ อลีนสัตตุลูกรักขอยักษ์
นั้นจงอนุญาต ให้เจ้ากลับมาโดยสวัสดี.
[๒๓๑๑] มารดาของรามบุรุษ ผู้ไปสู่แคว้นของ
พระเจ้าทัณฑกิราช ได้คุ้มครองทำความสวัสดี แก่
รามะผู้เป็นบุตรอย่างใด แม่ขอทำความสวัสดีอย่างนั้น
แก่เจ้า ด้วยคำสัตย์นั้น ขอทวยเทพจงช่วยคุ้มครอง
ให้เจ้าได้รับอนุญาต กลับมาโดยสวัสดีเถิด ลูกรัก.
[๒๓๑๒] น้องนึกไม่ออกเลย ถึงความคิด
ประทุษร้ายในอลีนสัตตุตผู้พระเชษฐา ทั้งในที่แจ้งหรือ
ที่ลับ ด้วยความสัตย์นี้ ขอเทพยเจ้าโปรดระลึกถึง
พระเชษฐาที่เคารพ ขอพระเชษฐาจงได้รับอนุญาต
ให้กลับมาโดยสวัสดี.
[๒๓๑๓] ข้าแต่พระสวามี พระองค์ไม่เคย
ประพฤตินอกใจหม่อมฉันเลย ฉะนั้น จึงเป็นที่รักของ
หม่อมฉันด้วยใจจริง ด้วยความสัตย์นี้ ขอเทพยเจ้า
โปรดระลึกถึงพระสวามีที่เคารพ ข้าแต่พระสวามี
ขอพระองค์จงได้รับอนุญาต ให้กลับมาโดยสวัสดี.
[๒๓๑๔] ท่านผู้มีร่างกายอันสูงใหญ่ มีใบหน้า
อันงดงาม มาจากไหน ท่านไม่รู้หรือว่า เราอยู่ในป่านี้
ชะรอยจะไม่รู้ว่า เราเป็นคนดุร้าย กินเนื้อมนุษย์กระมัง
จึงได้มา ผู้ที่ไม่รู้ความสวัสดีของตนดอก จึงได้มาใน
ที่นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 345
[๒๓๑๕] เรารู้ว่าท่านเป็นคนหยาบช้า กินมนุษย์
แต่หารู้ว่าท่านอยู่ในป่านี้ไม่ เราคือโอรสของพระเจ้า
ชัยทิส วันนี้ท่านจงกินเราแทนพระชนก เพื่อปลด
เปลื้องให้พระองค์พ้นไป.
[๒๓๑๖] เรารู้ว่าท่านเป็นโอรสของพระเจ้าชัยทิส
ดูพระพักตร์และผิวพรรณ ของท่านทั้งสองคล้ายคลึง
กัน การที่บุคคลยอมตายแทน เพื่อปลดเปลื้องบิดา
ให้พ้นไปนี้ เป็นกรรมที่ทำได้ยากทีเดียว แต่ท่านก็
ทำได้.
[๒๓๑๗] มิใช่ของที่ทำได้ยากเลยในเรื่องนี้ เรา
ไม่เห็นสำคัญอะไร ผู้ใดยอมตายแทน เพื่อเปลื้องบิดา
หรือเพราะเหตุแห่งมารดา ผู้นั้นไปสู่ปรโลกแล้ว ย่อม
เป็นผู้เพรียบพร้อมด้วยสุข และอารมณ์อันงามเลิศ.
[๒๓๑๘] เราระลึกไม่ได้เลยว่า เราจะกระทำ
ความชั่วเพื่อตัวเอง ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ เพราะเรา
เป็นผู้มีชาติและมรณะ อันกำหนดไว้แล้วว่า ในโลกนี้
ของเราฉันใด โลกหน้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
เชิญท่านกินเนื้อเราในวันนี้ เสียบัดนี้เถิด เชิญ
ท่านทำกิจเถิด สรีระนี้เราสละแล้ว เราจะทำเป็น
พลัดตกมาจากยอดไม้ ท่านชอบใจเนื้อส่วนใด ๆ ก็
เชิญท่านกินเนื้อส่วนนั้น ๆ ของเราเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 346
[๒๓๑๙] ดูก่อนพระราชโอรส เรื่องนี้ท่าน
เต็มใจจริง จึงสละชีวิตเพื่อปลดเปลื้องพระชนกได้
เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านจงรีบไปหักไม้มาก่อไฟเถิด.
[๒๓๒๐] ลำดับนั้นแล พระราชโอรสผู้มีปัญญา
ได้นำเอาฟืนมาก่อไฟกองใหญ่ขึ้นแล้ว แจ้งให้ยักษ์
ทราบว่า บัดนี้ ได้ก่อไฟเสร็จแล้ว.
[๒๓๒๑] เมื่อครู่นี้ ท่านทำการขู่เข็ญว่า จะกิน
เรา ในวันนี้ทำไมจึงหวาดระแวงเรา มองดูอยู่
บ่อย ๆ เราได้ทำตามคำของท่านเสร็จแล้ว เมื่อพอใจ
จะกิน ก็เชิญกินเถิด.
[๒๓๒๒] ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม มีวาจาสัตย์ รู้ความ
ประสงค์ของผู้ขอเช่นท่าน ใครจะนำมากินเป็นภักษา-
หารได้ ผู้ใดกินผู้มีวาจาสัตย์เช่นท่าน ศีรษะของผู้นั้น
จะพึงแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง.
[๒๓๒๓] แต่จริงสสบัณฑิตนั้น สำคัญท้าว
สักกเทวราชนี้ ว่าเป็นพราหมณ์จึงได้ให้อยู่ เพื่อให้
สรีระของตนเป็นทาน ด้วยเหตุนั้นแล จันทิมเทพบุตร
จึงมีรูปกระต่ายปรากฏ สมประสงค์ของโลกอยู่จนทุก
วันนี้.
[๒๓๒๔] พระจันทร์พระอาทิตย์ พ้นจากปาก
แห่งราหูแล้ว ย่อมไพโรจน์ในวันเพ็ญฉันใด ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 347
ท่านผู้มีอานุภาพมาก ท่านก็ฉันนั้น หลุดพ้นจากเรา
ผู้กินเนื้อมนุษย์เป็นอาหารแล้ว ยังพระชนกชนนีให้
ปลื้มพระทัย จงรุ่งโรจน์ในกบิลรัฐ อนึ่ง พระประยูร-
ญาติ ของท่านจงยินดีกันทั่วหน้า.
[๒๓๒๕] ลำดับนั้นแล พระราชโอรสอลีนสัตตุ
มีพระปัญญา ทรงประคองอัญชลีไหว้ยักษ์โปริสาท
ได้รับอนุญาตแล้ว มีความสุขสวัสดี หาโรคมิได้
เสด็จกลับมายังกบิลรัฐ.
[๒๓๒๖] ชาวนิคม ชาวชนบทถ้วนหน้า ทั้ง
พลช้าง พลรถ และพลเดินเท้า ต่างพากันมาถวาย
บังคมพระราชโอรสนั้น พร้อมกับกราบทูลขึ้นว่า
ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอถวายบังคมพระองค์ พระองค์
ทรงกระทำกิจซึ่งยากที่จะกระทำได้.
จบชัยทิสชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 348
อรรถกถาชัยทิสชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
ภิกษุผู้เลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า จิรสฺส วต
เม ดังนี้.
ก็ในครั้งนั้น พระศาสดาตรัสว่า โปราณกบัณฑิตทั้งหลาย ละเศวต
ฉัตร อันประดับด้วยกาญจนมาลา แล้วเลี้ยงดูมารดาบิดา ดังนี้ อันภิกษุนั้น
ทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล มีพระราชาทรงพระนามว่า อุตตรปัญจาลราช เสวยราช
สมบัติอยู่ในกปิลรัฐ พระอัครมเหสีของท้าวเธอทรงตั้งพระครรภ์ แล้วประสูติ
พระราชโอรส ในภพก่อน หญิงคนหนึ่งร่วมสามีกับพระนาง โกรธเคืองกัน
แล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้เราสามารถเคี้ยวกินบุตรของท่านที่คลอด
แล้ว ดังนี้ แล้วได้มาเกิดเป็นนางยักษิณี คราวนั้น นางยักษิณีนั้นได้โอกาส
ทั้ง ๆ ที่พระนางเทวีทอดพระเนตรเห็นอยู่ คว้าเอาพระกุมารผู้มีวรรณะ ดุจ
ชิ้นเนื้อสดไปเคี้ยวกิน เสียงกร้วม ๆ แล้วหลบหลีกไป แม้ในวาระที่ ๒ ก็ได้
ทำอย่างนั้น แต่ในวาระที่ ๓ ในเวลาที่พระนางเทวีเสด็จเข้าไปสู่เรือนประสูติ
แล้ว พวกราชบุรุษพากันแวดล้อมตำหนัก จัดการถวายอารักขามั่นคง ใน
วันที่พระเทวีประสูติ นางยักษิณี ก็มาจับเอาทารกไปอีก พระนางเทวีจึงส่ง
พระสุรเสียงร้องขึ้นว่า นางยักษ์ ๆ ราชบุรุษทั้งหลายมีอาวุธครบมือ พากัน
วิ่งติดตามนางยักษิณี ตามสัญญาที่พระนางบอกให้ นางยักษิณีไม่ได้โอกาสเพื่อ
จะเคี้ยวกิน หนีไปจากที่นั้น เข้าไปยังท่อน้ำ ส่วนทารก อ้าปากดูดนมนาง
ยักษิณี โดยเข้าใจว่าเป็นมารดา นางยักษิณีก็เกิดความรักเหมือนบุตรของตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 349
หนีออกจากท่อน้ำได้แล้ว ไปยังสุสานสถาน ทำการประคบประหงมทารกนั้น
อยู่ในถ้ำศิลา ต่อมาเมื่อทารกนั้นเจริญเติบโตขึ้นโดยลำดับ นางยักษิณีก็นำ
เนื้อมนุษย์มาให้กินเป็นอาหาร ทั้งสองก็กินเนื้อมนุษย์อยู่ในที่นั้น ทารกไม่รู้
ตัวว่าเป็นมนุษย์ สำคัญว่าเป็นบุตรนางยักษิณี แต่ก็ไม่อาจที่จะจำแลงกายหาย
ตัวได้ ต่อมานางยักษิณีจึงให้รากไม้อย่างหนึ่ง แก่พระราชกุมาร เพื่อต้องการ
ให้หายตัวได้ ด้วยอานุภาพแห่งรากไม้ พระราชกุมารหายตัวได้ ก็เที่ยวไปกิน
เนื้อมนุษย์ นางยักษิณีไปปรนนิบัติท้าวเวสสวัณมหาราช เลยทำกาลกิริยา
เสีย ณ ที่นั้นเอง ฝ่ายพระนางเทวีประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง ในวาระที่ ๔
พระราชโอรสจึงปลอดภัย เพราะพ้นจากนางยักษิณี พระชนกชนนีและพระ
ประยูรญาติ ได้ขนานพระนาม ให้พระโอรสนั้นว่า ชัยทิสกุมาร เพราะเกิด
มาชนะนางยักษิณีผู้เป็นปัจจามิตร พระชัยทิสกุมารทรงเจริญวัยแล้ว ได้ทรง
ศึกษาศิลปวิทยาสำเร็จ แล้วให้ยกเศวตฉัตร ครองราชสมบัติสืบสันติวงศ์.
คราวนั้น พระโพธิสัตว์ บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของ
พระเจ้าชัยทิสนั้น พระชนกชนนีและพระประยูรญาติ ขนานพระนามว่า "อลีน
สัตตุกุมาร" พออลีนสัตตุกุมารเจริญวัยแล้ว ทรงเล่าเรียนศิลปศาสตร์ จน
สำเร็จ ได้เป็นอุปราช ในเวลาต่อมา กุมารผู้เป็นบุตรนางยักษิณีทำรากไม้หาย
เพราะความประมาท ไม่สามารถเพื่อจะหายตัวได้ จึงมีรูปร่างปรากฏเคี้ยวกิน
เนื้อมนุษย์อยู่ที่สุสาน คนทั้งหลายเห็นเข้าก็พากันสะดุ้งตกใจกลัว แล้วเข้ามา
ร้องทุกข์พระราชาว่า ขอเดชะ พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ มียักษ์
ตนหนึ่ง ปรากฏตนเคี้ยวกินเนื้อมนุษย์อยู่ที่สุสาน มันคงเข้ามาพระนครโดย
ลำดับ ๆ จักฆ่ามนุษย์เคี้ยวกินเป็นอาหาร ควรตรัสสั่งให้จับเสีย พระเจ้าข้า
พระราชาทรงรับทราบแล้ว มีพระราชโองการสั่งพลนิกายว่า ท่านทั้งหลายจง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 350
จับยักษ์ตนนั้น พลนิกายเหล่านั้น ไปยืนรายล้อมสุสานประเทศ กุมารบุตรนาง
ยักษิณีมีรูปร่างเปล่าเปลือย น่าสะพรึงกลัว หวาดต่อมรณภัย ร้องขึ้นด้วยเสียง
อันดัง วิ่งผ่าฝูงคนไป ผู้คนทั้งหลาย หวาดหวั่นต่อมรณภัย ร้องบอกกันว่า
ยักษ์ ๆ ดังนี้ แตกกลุ่มออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายกุมารบุตรนางยักษิณี หนีจาก
ที่นั้นได้แล้วก็เข้าไปสู่ป่า ไม่กลับมายังถิ่นมนุษย์อีก ได้ไปอาศัยดงใกล้ทาง
ใหญ่แห่งหนึ่ง คอยจับผู้คนที่เดินทางผ่านมาได้ทีละคน แล้วเข้าไปสู่ป่าฆ่า
เคี้ยวกิน พำนักอาศัยอยู่ที่โคนต้นไม้นิโครธต้นหนึ่ง.
ลำดับนั้น พราหมณ์พ่อค้าเกวียนคนหนึ่ง จ้างคนรักษาดงเป็นราคา
หนึ่งพัน เพื่อพาข้ามดง พร้อมด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม มนุษย์ยักษ์ เห็น
แล้วจึงส่งเสียงดังลั่น วิ่งมา ผู้คนทั้งหลายต่างตกใจกลัว พากันนอนราบหมด
มนุษย์ยักษ์จับพราหมณ์พ่อค้าได้แล้ว หนีไป ถูกตอไม้ตำเอาที่เท้า และเมื่อ
พวกมนุษย์รักษาดงวิ่งติดตามมา จึงทิ้งพราหมณ์วิ่งหนี เมื่อมนุษย์ยักษ์นั้น
นอนอยู่ในที่นั้น๗วัน พระเจ้าชัยทิสเสด็จออกจากพระนครล่าเนื้อ พราหมณ์ผู้
เลี้ยงดูมารดาคนหนึ่งชื่อนันทะ เป็นชาวเมืองตักกศิลา ได้เรียนสตารหคาถา
๔ บาท มาเฝ้าพระเจ้าชัยทิส ซึ่งกำลังจะเสด็จออกจากพระนคร พระเจ้าชัย
ทิส ตรัสสั่งว่า เรากลับมาแล้วจักฟัง พระราชทานบ้านพักแก่พราหมณ์นั้น
แล้วเสด็จไปล่าเนื้อ ตรัสสั่งว่า เนื้อหนีไปทางด้านผู้ใด ผู้นั้นจักต้องมีโทษ.
ลำดับนั้น กวางตัวหนึ่ง ลุกขึ้นแล้ววิ่งหนีผ่านหน้าพระราชาไป อำ-
มาตย์ทั้งหลาย ต่างพากันหัวเราะ พระราชาทรงถือพระขรรค์ ติดตามกวางไป
สิ้นระยะทาง ๓ โยชน์จึงตามทัน แล้วเอาพระขรรค์ฟันกวางนั้นขาดออกเป็น
สองท่อนทรงใส่หาบ ๆ เสด็จมาถึงสถานที่มนุษย์ยักษ์นอนอยู่ ประทับนั่งพัก
หน่อยหนึ่ง ที่ลานหญ้าแพรก แล้วเตรียมจะเสด็จต่อไป ลำดับนั้น มนุษย์ยักษ์
ลุกขึ้น กล่าวว่า หยุดนะ ! ท่านจะไปไหน ท่านตกเป็นอาหารของเราแล้ว
ยึดพระหัตถ์ไว้ กล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 351
เป็นเวลานานนักหนา นับแต่เวลาที่เราอดอาหาร
มาครบ ๗ วัน อาหารมากมาย พึ่งเกิดขึ้นแก่เราวัน
นี้ ท่านเป็นใคร มาจากไหน เชิญท่านบอก ชาติ
สกุล ตามที่รู้กันมาเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภกฺโข มหา ความว่า อาหารเป็นอัน
มาก. บทว่า สตฺตมิภตฺตกาเล ความว่า นับแต่วันปาฏิบทมา ถึงการที่
เราอดอาหารครบ ๗ วัน. บทว่า กุโตสิ ความว่า ท่านมาจากไหน ?
พระราชาทอดพระเนตรเห็นยักษ์ แล้วตกใจกลัว ถึงกับอุรประเทศ
แข็งทื่อดังเสา ไม่ทรงสามารถจะวิ่งหนีไปได้ จึงตั้งพระสติ ตรัสพระคาถาที่
๒ ความว่า
เราเป็นพระเจ้าปัญจาลราช มีนามว่าชัยทิส ถ้า
ท่านได้ยินชื่อก็คงรู้จัก เราออกมาล่าเนื้อ เที่ยวมาตาม
ข้างภูเขาและป่า ท่านจงกินเนื้อกวางนี้เถิด วันนี้จง
ปล่อยเราไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคว ปวิฏฺโ ความว่า ออกจาก
แว่นแคว้น เข้าป่า เพื่อล่าเนื้อ. บทว่า คจฺฉานิ ความว่า (เที่ยวลัดเลาะมา)
ริมภูเขาลำเนาไพร. บทว่า ปสทิม ความว่า (ท่านจงกิน) กวางนี้.
ยักษ์ได้ยินดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ความว่า
พระองค์ถูกข้าพเจ้าเบียดเบียน กลับเอาของที่ตก
เป็นของข้าพเจ้านั่นเองมาแลกเปลี่ยน กวางที่พระองค์
ตรัสถึงนั้นเป็นอาหารของข้าพระองค์ ข้าพระองค์กิน
พระองค์แล้ว อยากจะกินเนื้อกวาง ก็จักกินได้ภาย
หลัง เวลานี้มิใช่เวลาขอร้อง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 352
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสเนว ความว่า อันเป็นของ ๆ ข้าพ-
เจ้านั่นเอง. บทว่า ปณสิ ความว่า พระองค์ตรัสเอาของ ๆ ข้าพเจ้า มา
แลกเปลี่ยนตัว. บทว่า สสฺสมาโน แปลว่า ถูกข้าพเจ้าเบียดเบียนอยู่. บทว่า
ต ขาทิยาน ความว่า กินเนื้อกวางนั้น. บทว่า ชิฆญฺ ความว่า ข้าพ-
เจ้าประสงค์จะเคี้ยวกิน. บทว่า ขาทิสฺส ความว่า เพราะข้าพเจ้าจักกินเนื้อ
กวางนั้น ในภายหลัง. บทว่า น วิลาปกาโล ความว่า ยักษ์ทูลว่า พระองค์
อย่าขอร้องเลย เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะขอร้อง.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงระลึกถึงนันทพราหมณ์ได้ จึงตรัส
พระคาถาที่ ๔ ความว่า
ถ้าความรอดพ้นของเราไม่มีด้วยการแลกเปลี่ยน
ขอให้เราได้กลับไปยังพระนครเสียก่อน เราผัดพราหมณ์
ไว้ว่า จะให้ทรัพย์ เราจักรักษาคำสัตย์ ย้อนกลับมา
หาท่านอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น จตฺถิ ความว่า ถ้าว่าการหลุดพ้น
ของเราจะไม่มี แม้ด้วยการแลกเปลี่ยนแล้วไซร้. บทว่า คนฺตฺวาน ความว่า
เมื่อเป็นอย่างนี้ วันนี้ท่านจงกินเนื้อกวางตัวนี้ ขอให้เราได้กลับไปยังพระนคร
ก่อน. บทว่า ปเคเยว แปลว่า ก่อนทีเดียว. อธิบายว่า ท่านจงรับปฏิญญา
เพื่อต้องการให้เรากลับมาทันเวลาบริโภคอาหารเช้าวันพรุ่งนี้เถิด. บทว่า ต
สงฺคร ความว่า เพราะเราได้ทำความผัดเพี้ยนไว้แก่พราหมณ์ว่า จักให้
ทรัพย์แก่เขา ครั้นเราให้ทรัพย์แก่เขาแล้ว จักตามรักษาซึ่งสัจจะตามที่ข้าพเจ้า
กล่าวไว้นี้ กลับมาหาท่านอีก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 353
ยักษ์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ความว่า
ดูก่อนพระราชา พระองค์ใกล้จะถึงสวรรคตอยู่
แล้ว ยังทรงเดือดร้อนถึงกรรมอะไรอยู่ ขอจงตรัส
บอกกรรมนั้น แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะอนุญาต
ให้กลับไปก่อนได้.
กรรม ในคาถานั้น ก็ได้แก่กรรมนั่นเอง. บทว่า อนุตปฺปตี ต
ความว่า ยังจะตามร้อนใจถึงกรณียกิจอะไร ? บทว่า ปตฺต แปลว่า เข้าถึง.
บทว่า อปิ สกฺกุเณมุ ความว่า เออก็ ถ้าข้าพระเจ้าได้ฟังเหตุแห่งความเศร้า
โศกของท่านแล้ว อาจจะอนุญาตให้ท่านมาตอนเช้าตรู่ได้.
พระราชาเมื่อจะตรัสบอกเหตุนั้น จึงตรัสพระคาถาที่ ๖ ความว่า
ความหวังในทรัพย์ เราได้ทำไว้แก่พราหมณ์
ความผัดเพี้ยนเป็นข้อผูกมัดตัว ยังพ้นไปไม่ได้ เพราะ
เราผัดไว้ว่า จะให้ทรัพย์แก่พราหมณ์ เราจักรักษา
คำสัตย์ กลับมาหาท่านอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิโมกฺก น มุตฺต ความว่า ข้าพเจ้า
ตั้งความผัดเพี้ยนเป็นสัญญามัดตัว โดยปฏิญญาแก่พราหมณ์ว่า ฟังสตารห-
คาถา ๔ บาท แล้วจักให้ทรัพย์แก่เขา เพราะข้าพเจ้ายังมิได้ให้ทรัพย์แก่พราหมณ์
จึงหาพ้นไปได้ไม่.
ยักษ์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๗ ความว่า
ความหวังในทรัพย์พระองค์ได้ทำไว้แก่พราหมณ์
ความผัดเพี้ยนเป็นข้อผูกมัดตัว ยังพ้นไปไม่ได้ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 354
ได้ผัดเพี้ยนไว้แก่พราหมณ์ว่า จะพระราชทานทรัพย์
พระองค์จงรักษาคำสัตย์ไว้เสด็จกลับมาเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุนราวฏฺฏสฺสุ ความว่า จงเสด็จกลับ
มาอีก.
ก็แลครั้นยักษ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ปล่อยพระราชาไป. พระราชาอัน
ยักษ์ปล่อยแล้ว จึงตรัสว่า ท่านอย่าวิตกเลย ข้าพเจ้าจักมาแต่เช้าตรู่ทีเดียว
แล้วทรงสังเกตเครื่องหมายตามทาง เสด็จเข้าไปหาพลนิกายของพระองค์
แวดล้อมด้วยพลนิกาย เสด็จเข้าสู่พระนคร ตรัสสั่งให้หานันทพราหมณ์มาเฝ้า
เชิญให้นั่งบนอาสนะอันมีค่ามาก ทรงสดับคาถาเสร็จแล้ว พระราชทานทรัพย์
๕ พัน เชิญพราหมณ์ให้ขึ้นยานพาหนะแล้วตรัสสั่งว่า ท่านจงนำทรัพย์นี้ไปยัง
เมืองตักกศิลาเถิด ทรงมอบคนให้แล้วก็ส่งพราหมณ์ไป ทรงพระประสงค์จะ
เสด็จกลับคืนไปหายักษ์ในวันรุ่งขึ้น จึงตรัสสั่งให้หาพระโอรสมาทรงสั่งสอน
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถา
ความว่า
พระเจ้าชัยทิสทรงพ้นเงื้อมมือยักษ์แล้ว รีบเสด็จ
กลับไปยังพระราชมณเฑียรของพระองค์ เพราะได้
ทรงผัดเพี้ยนไว้แก่พราหมณ์ว่าจะพระราชทานทรัพย์ได้
ตรัสสั่งให้หาพระราชโอรสพระนามว่า อลีนสัตตุมา.
ตรัสว่า เจ้าจงอภิเษกปกครองรัฐสีมาในวันนี้
จงประพฤติธรรมในรัฐสีมาและในประชาชนทั้งหลาย
บุคคลไม่ประพฤติธรรม อย่าได้มีในแว่นแคว้นของ
เจ้า เราจะไปในสำนักแห่งยักษ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 355
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลีนสตฺตุ ได้แก่ พระราชกุมารผู้มี
พระนามอย่างนี้. แต่ในพระบาลี ท่านเขียนไว้ว่า " อลีนสัตตะ ". บทว่า
อชฺเชว รชฺช ความว่า ลูกรัก พ่อจะมอบราชสมบัติให้แก่เจ้า เจ้าจงสนาน
มุรธาภิสิตในวันนี้แหละ. บทว่า นฺเต ได้แก่ ตฺยนฺเต แปลว่า ในสำนัก.
พระราชกุมารทรงสดับดังนั้น ตรัสคาถาที่ ๑๐ ความว่า
ขอเดชะ ข้าแต่พระราชบิดาผู้ทรงพระคุณอันประ
เสริฐ ข้าพระองค์ได้ทำความไม่พอพระทัยอะไรไว้ใน
ใต้ฝ่าพระบาท ข้าพระองค์ปรารถนาจะได้สดับความ
ที่พระองค์จะให้ขึ้นครองราชสมบัติในวันนี้ เพราะข้า
พระพุทธเจ้า ขาดพระราชบิดาเสียแล้ว หาปรารถนา
แม้ราชสมบัติไม่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุพฺพ แปลว่า กระทำอยู่. บทว่า ยมชฺช
ความว่า พระราชบิดาให้ข้าพระพุทธเจ้าขึ้นครองราชสมบัติในวันนี้ เพราะ
กระทำการที่ไม่พอพระทัยอันใด. บทว่า อุทสฺสเย ความว่า พระราชบิดา
ทรงยกขึ้น คือ แต่งตั้งให้ข้าพระพุทธเจ้าดำรงอยู่ในราชสมบัติ เพราะการ
กระทำที่ไม่พอพระทัยอันใด พระองค์จงตรัสบอกการกระทำอันนั้น เพราะ
ข้าพระพุทธเจ้าขาดพระองค์เสียแล้ว ย่อมไม่ปรารถนาแม้ราชสมบัติ.
พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสพระคาถาต่อไปว่า
ลูกรัก พ่อไม่ได้เพ่งถึงความผิดทางกายกรรม
และวจีกรรมของเธอเลย แต่พ่อได้ทำความตกลงไว้
กับยักษ์ พ่อต้องรักษาคำสัตย์ จึงต้องกลับไปอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปราธิโต ความว่า เราไม่คำนึงถึง
ความผิดทางไตรทวารนี้ของเจ้าเลย. บทว่า ตุริย แปลว่า อันเป็นของเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 356
มีคำอธิบายว่า ลูกรัก พ่อมิได้คำนึงถึงความผิดอันไม่เป็นที่โปรดปรานของพ่อ
อะไร ๆ ของเจ้าทั้งทางกายและทางวาจาเลย. บทว่า สทฺธิญฺจ กตฺวา ความว่า
แต่เพราะยักษ์ตนหนึ่ง จับพ่อไว้ คราวไปป่าล่าเนื้อ จักกินเป็นอาหาร เมื่อ
เป็นเช่นนั้น พ่อจึงให้สัตยสาบานไว้กับยักษ์นั้นว่า เมื่อเราได้ฟังธรรมกถาของ
พราหมณ์ กระทำสักการะแก่เขาแล้ว จักมาให้ทันเวลาอาหารเช้า พรุ่งนี้
จึงกลับมาได้ เพราะเหตุนั้น เพื่อจะตามรักษาความสัตย์ไว้ พ่อจักต้องไปใน
ที่นั้นอีก เจ้าจงเสวยราชสมบัติเถิด.
อลีนสัตตุราชกุมาร ทรงฟังพระราชดำรัสของพระราชบิดาแล้ว ตรัส
คาถา ความว่า
ข้าพระพุทธเจ้าจักไปแทน ขอพระราชบิดาจง
ประทับอยู่ ณ ที่นี้ เมื่อทางที่จะรอดชีวิตจากสำนักแห่ง
ยักษ์ ไม่มี ข้าแต่สมเด็จพระราชบิดา ถ้าพระองค์มี
พระประสงค์จะเสด็จให้ได้ ข้าพระพุทธเจ้าก็จักตาม
เสด็จด้วย เราทั้งสองจะไม่ยอมอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิเธว ความว่า ขอพระองค์จงประทับ
อยู่ ณ ที่นี้เถิด. บทว่า ตโต ความว่า ขึ้นชื่อว่าความรอดชีวิตจากสำนัก
ของยักษ์นั้น ไม่มีทางเลย. บทว่า อุโภ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็น
อันว่าจักไม่ต้องอยู่กันทั้งสองคน.
พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสพระคาถา ความว่า
ลูกรัก นั้นเป็นธรรมของสัตบุรุษ โดยแท้จริง
แต่เมื่อไรยักษ์ข่มขี่ทำลายเผาเธอกินเสียที่โคนไม้ นั่น
เป็นความด่างพล้อยของพ่อ ข้อนี้แหละ เป็นทุกข์ยิ่ง
กว่าความตายของพ่อเสียอีก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 357
พระคาถานั้นมีอธิบายว่า นั้นเป็นธรรม คือ ธาตุแท้ของสัตบุรุษ
คือบัณฑิตทั้งหลาย โดยแน่แท้ เจ้าพูดคำที่ถูกต้องแล้ว ก็แต่ว่าจะเป็นความ
ทุกข์ยิ่งกว่าความตายของพ่อเอง ข้อนั้นจะเป็นความด่างพร้อยผูกพันพ่อ.
บทว่า ภิทารุกฺขมูเล ความว่า เมื่อยักษ์ข่มขี่ทำลายเผาเจ้ากินโดย
พลการ ที่โคนต้นไม้อันกล้าแข็ง.
พระราชกุมารทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถา ความว่า
ข้าพระพุทธเจ้า ขอเอาชีวิตของข้าพระพุทธเจ้า
แลกพระชนมชีพของพระราชบิดาไว้ พระราชบิดา
อย่าเสด็จไปในสำนักของยักษ์เลย ข้าพระพุทธเจ้าจะ
ขอเอาชีวิตของข้าพระพุทธเจ้า แลกพระชนมชีพของ
พระราชบิดานี้แหละไว้ เพราะฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
ขอยอมตายแทนพระราชบิดา พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิมิสฺส ความว่า ข้าพระพุทธเจ้าจัก
แลกชีวิตของตน กับพระชนมชีพของพระราชบิดาในคราวนี้แหละ. บทว่า
ตสฺมา ความว่า เพราะข้าพระพุทธเจ้าจักแลกพระชนมชีพ ของพระราชบิดา
ไว้ ฉะนั้น จึงเลือกเอาความตาย เพื่อต้องการให้พระราชบิดามีพระชนมชีพ
อยู่ ข้าพระพุทธเจ้าสรรเสริญความตายอย่างเดียวเท่านั้น จึงเลือกคือปรารถนา
ความตาย.
พระเจ้าชัยทิส ได้ทรงสดับดังนั้น ก็ทรงทราบกำลังของพระโอรส
จึงตรัสสั่งว่า ดีละลูกรัก เจ้าจงไปเถิด. อลีนสัตตุราชกุมาร ถวายบังคมลา
พระราชมารดาและพระราชบิดาแล้วก็เสด็จออกจากพระนคร.
เมื่อพระบรมศาสดาจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถากึ่ง
คาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 358
ลำดับนั้นแล พระราชโอรสผู้ทรงพระปรีชา
ถวายบังคมพระยุคบาท พระชนกชนนีแล้วเสด็จไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเท ความว่า ถวายบังคมพระยุคลบาท
พระชนกชนนีเสด็จไปแล้ว.
ลำดับนั้น พระชนกชนนีก็ดี พระภคินีก็ดี พระชายาก็ดี ของพระราช
กุมารนั้น พร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ และบริวารชนก็เสด็จออกไปด้วย. ครั้น
พระราชกุมารนั้นออกจากพระนครแล้ว ก็ทูลถามหนทางกะพระราชบิดากำหนด
ไว้ด้วยดีแล้ว ถวายบังคมพระชนกชนนี ประทานโอวาทแก่ชนที่เหลือ แล้ว
มิได้สะด้งตกพระทัยกลัว เสด็จขึ้นสู่ทางดำเนินไปสู่ที่อยู่ของยักษ์ ประหนึ่งว่า
ไกรสรสีหราชฉะนั้น. พระมารดาทอดพระเนตรเห็นพระกุมารกำลังทรงดำเนิน
ไป ไม่สามารถจะดำรงพระองค์อยู่ได้ ก็ล้มลง ณ พื้นปฐพี. พระราชบิดา
ก็ทรงประคองพระพาหา คร่ำครวญด้วยเสียงอันดัง.
เมื่อพระบรมศาสดาจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงทรงตรัสพระคาถา
กึ่งคาถา ความว่า
พระชนนีของพระราชกุมารนั้น ทรงมีทุกข์
โทมนัสล้มลงเหนือพื้นปฐพี พระชนกนาถเล่า ก็ทรง
ประคองสองพระพาหา คร่ำครวญด้วยเสียงอันดัง.
ครั้นตรัสกึ่งพระคาถาดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงประกาศสัจจกิริยา อัน
พระราชบิดาของพระกุมารนั้นทรงประกอบ และอันพระราชมารดาพระภคินี
และพระชายาทรงกระทำแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาต่อไปอีก ๔ คาถา ความว่า
พระราชบิดา ทรงทราบชัดว่า พระโอรสกำลัง
มุ่งหน้าเสด็จไป ทรงเบือนพระพักตร์ประคองอัญชลี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 359
กราบไหว้เทวดาทั้งหลาย คือ พระโสมราชา พระ-
วรุณราช พระปชาบดี พระจันทร์และพระอาทิตย์
ขอเทพยเจ้าเหล่านี้ ช่วยคุ้มครองโอรสของเรา จาก
อำนาจแห่งยักษ์ อลีนสัตตุลูกรัก ขอยักษ์นั้นจงอนุญาต
ให้เจ้ากลับมาโดยสวัสดี.
มารดาของรามบุรุษ ผู้ไปสู่แคว้นของพระเจ้า
ทัณฑกิราช ได้คุ้มครองทำความสวัสดี แก่รามะผู้เป็น
บุตรอย่างใด แม่ขอทำความสวัสดีอย่างนั้นแก่เจ้า
ด้วยคำสัตย์นั้น ขอทวยเทพจงช่วยคุ้มครอง ขอให้เจ้า
ได้รับอนุญาต กลับมาโดยสวัสดีเถิด ลูกรัก.
น้องนึกไม่ออกเลย ถึงความคิดประทุษร้าย ใน
อลีนสัตตุผู้พระเชษฐา ทั้งในที่แจ้งหรือที่ลับ ด้วย
ความสัตย์นี้ ขอเทพยเจ้าโปรดระลึกถึงพระเชษฐาที่
เคารพ ขอพระเชษฐาจงได้รับอนุญาตให้กลับมาโดย
สวัสดี.
ข้าแต่พระสวามี พระองค์ไม่เคยประพฤตินอกใจ
หม่อมฉันเลย ฉะนั้น จงเป็นที่รักของหม่อมฉันด้วย
ใจจริง ด้วยความสัตย์นี้ ขอเทพยเจ้าโปรดระลึกถึง
พระสวามีที่เคารพ ข้าแต่พระสวามี ขอพระองค์ จง
ได้รับอนุญาตให้กลับมาโดยสวัสดี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรมฺมุโข ความว่า พระราชบิดา
ทรงทราบชัดว่า พระโอรสของเรานี้ กำลังมุ่งหน้าเสด็จไป. บทว่า ปญฺชลีโก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 360
ความว่า ทรงเบือนพระพักตร์ประดิษฐานอัญชลีเหนือเศียรเกล้า ในกาลนั้น
ทรงไหว้วิงวอน นอบน้อมเทพยเจ้าทั้งหลาย. บทว่า โปริสาทกมฺหา ความว่า
ขอเทพเจ้าจงช่วยคุ้มครองโอรสของเราจากอำนาจแห่งยักษ์ ดูก่อนอลีนสัตตุลูก
รัก ยักษ์นั้นจงอนุญาตให้เจ้ากลับมาโดยความสวัสดี.
บทว่า รามสฺสกา ความว่า มารดาของรามบุรุษได้กระทำความ
คุ้มครอง. เล่ากันมาว่า มีบุรุษคนหนึ่งเป็นชาวเมืองพาราณสี ชื่อรามะ เป็นผู้
เลี้ยงดูมารดา ปฏิบัติมารดาบิดา คราวหนึ่งไปค้าขายถึงเมืองกุมภวดี ใน
แว่นแคว้นของพระเจ้าทัณฑกิราช เมื่อแคว้นทั้งสิ้นต้องพินาศลง ด้วยฝน
เก้าประการ เขาได้ระลึกถึงคุณของมารดาบิดา. ครั้งนั้น ด้วยผลแห่งมาตาปิตุ-
ปัฏฐานธรรม เทพยเจ้าทั้งหลายได้นำเขามามอบให้แก่มารดาด้วยความสวัสดี.
พระชนนีของอลีนสัตตุราชกุมาร ทรงนำเหตุการณ์นั้นมาตรัสอย่างนี้ ก็โดยที่
ได้ยินได้ฟังมา.
บทว่า โสตฺถาน ได้แก่ ความสวัสดี. ถึงเทพยเจ้าทั้งหลาย จะ
กระทำความสวัสดีได้ก็จริง แต่ท่านกล่าวว่า มารดาได้กระทำแล้ว เพราะเกิด
แล้วโดยอาศัยมาตาปิตุอุปัฏฐานธรรม. บทว่า ตนฺเต อห ความว่า (มารดา
ของรามบุรุษทำความสวัสดี แก่รามะผู้บุตรฉันใด) แม้แม่ก็ทำความสวัสดีนั้น
แก่เจ้าเหมือนกัน คือ เพราะอาศัยแม่ ขอความสวัสดีจงมีแก่ลูกของแม่ฉันนั้น
เหมือนกัน. อีกนัยหนึ่ง บทว่า กโรมิ แปลว่า จะไป. บทว่า เอเตน
สจฺจน ความว่า ถ้าว่ารามบุรุษนั้นเป็นผู้อันเทพยเจ้า นำมาแล้วโดยความ
สวัสดี เป็นความจริงไซร้ ด้วยอานาจคำสัตย์นั้น ขอเทพยเจ้าทั้งหลายจงระลึก
ถึงเจ้า เพื่อชนกชนนี คือขอเทพยเจ้าจงนำเจ้ามาแสดงแก่แม่ เหมือนรามบุรุษ
ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 361
บทว่า อนุญฺาโต ความว่า ลูกรัก อันยักษ์อนุญาตว่าไปได้ คือ พระชนนี
ตรัสว่า ดูก่อนลูกรัก ขอเจ้าจงกลับมาโดยสวัสดี ด้วยเทวานุภาพเถิด.
บทว่า ชาตุมลีนสตฺเต ความว่า พระกนิษฐภคินีของอลีนสัตตุราช
กุมารนั้น ได้ตั้งสัตยาธิษฐานอย่างนี้ว่า น้องระลึกไม่ได้ ซึ่งความคิดประทุษร้าย
ทั้งต่อหน้าหรือลับหลัง ในอลีนสัตตุผู้พระเชษฐา โดยส่วนเดียวเป็นแน่แท้.
บทว่า ยสฺมา จ เม อนธิมโนสิ สามิ ความว่า พระอัครมเหสีของ
อลีนสัตตุราชกุมารนั้น ได้ตั้งสัตยาธิษฐานอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระอลีนสัตตุผู้
พระสวามี พระองค์มิได้ประพฤตินอกใจหม่อมฉันเลย คือพระองค์มิได้ข่มขี่
ล่วงเกินหม่อมฉัน ถึงกับเอาพระทัยใฝ่ปรารถนาหญิงอื่นเลย. บทว่า น จาปิ
เม มนสา อปฺปิโยสิ ความว่า พระองค์จะไม่เป็นที่รัก ด้วยใจจริงของ
หม่อมฉันก็หามิได้ เราทั้งสองอยู่ร่วมกันมาด้วยความรักใคร่ทีเดียว.
พระราชกุมาร เสด็จดำเนินไปสู่ทางที่อยู่ของยักษ์ ตามคำแนะนำที่
พระราชบิดาตรัสบอก. ฝ่ายยักษ์คิดว่า ธรรมดากษัตริย์มีมายามาก ใครจะรู้ว่า
จักเกิดอะไรขึ้น จึงขึ้นต้นไม้นั่งแลดูทางที่พระเจ้าชัยทิสจะเสด็จมา เหลือบเห็น
พระกุมารกำลังดำเนินมา คิดว่า ชะรอยพระโอรสจักให้พระราชบิดากลับแล้ว
ตัวมาแทน ภัยคงไม่มีแก่เรา จึงลงจากต้นไม้นั่งผินหลังให้. พระราชกุมาร
เสด็จมาถึงแล้ว เข้าไปยืนอยู่ตรงหน้ายักษ์.
ลำดับนั้น ยักษ์กล่าวคาถา ความว่า
ท่านผู้มีร่างกายอันสูงใหญ่ มีหน้าอันงดงามมา
จากไหน ท่านไม่รู้หรือว่า เราอยู่ในป่านี้ ชะรอยจะ
ไม่รู้ว่า เราเป็นคนดุร้าย กินเนื้อมนุษย์กระมังจึงได้มา
ที่ไม่รู้ความสวัสดีของตนดอกจึงได้มาในที่นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 362
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก โสตฺถิมาชานมิธาวเชยฺย ความว่า
ดูก่อนกุมาร บุรุษไรเล่ารู้ความสวัสดีของตน เดินไปจะกล้ามาในที่นี้ ชะรอย
ท่านจะไม่รู้จึงได้มา.
พระราชกุมารทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถา ความว่า
เรารู้ว่าท่านเป็นคนหยาบช้า กินมนุษย์ แต่หารู้ว่า
ท่านอยู่ในป่านี้ไม่ เราคือโอรสของพระเจ้าชัยทิส
วันนี้ท่านจงกินเราแทนพระชนก เพื่อปลดเปลื้องให้
พระองค์พ้นไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปโมกฺขา ความว่า เพราะเหตุที่จะ
ปลดเปลื้องภาระเสีย เราจึงยอมมอบชีวิตแทนพระราชบิดามาในที่นี้ เพราะ
ฉะนั้น ท่านจงปล่อยพระชนกเราเถิด เชิญกินเราแทนพระองค์.
ลำดับนั้น ยักษ์กล่าวคาถา ความว่า
เรารู้ว่าท่านเป็นโอรสของพระเจ้าชัยทิส ดูพระ-
พักตร์และผิวพรรณ ของท่านทั้งสองคล้ายคลึงกัน
การที่บุคคลยอมตายแทน เพื่อเปลื้องบิดาให้พ้นไปนี้
เป็นกรรมที่ทำได้ยากทีเดียว แต่ท่านก็ทำได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาทิโส โว ความ ว่า พระพักตร์และ
ผิวพรรณของท่านทั้งสองคล้าย ๆ กัน คือเหมือนกันแท้. บทว่า กต ตเวท
ความว่า กรรมของท่านทั้งนี้ เป็นกรรมที่ทำได้โดยยากแท้.
ลำดับนั้น พระราชกุมารตรัสคาถา ความว่า
มิใช่ของทำยากเลยในเรื่องนี้ เราไม่เห็นสำคัญ
อะไร ผู้ใดยอมตายแทนเพื่อเปลื้องบิดา หรือเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 363
เหตุแห่งมารดา ผู้นั้นไปสู่ปรโลกแล้ว ย่อมเป็นผู้
เพรียบพร้อมด้วยสุข และอารมณ์อันงามเลิศ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิญฺจิมเหตฺถ มญฺเ ความว่า ใน
ข้อนี้ เราไม่เห็นสำคัญอะไรเลย. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า บุคคลใดปรารถนา
จะตาย เพื่อปลดเปลื้องบิดา หรือเพราะเหตุแห่งมารดา. บทว่า ปรโลกคมฺยา
ความว่า เขาไปสู่ปรโลกแล้ว. บทว่า สุเขน สคฺเคน ความว่า ย่อมเป็น
ผู้ประกอบด้วยสุขอันบังเกิดในสวรรค์. บทว่า มตฺตุมิจฺเฉ ความว่า เพราะ
ฉะนั้น ในการสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่มารดาบิดานี้ เราไม่สำคัญว่าเป็นสิ่ง
ที่ทำได้ยากอะไรเลย.
ยักษ์ฟังดังนั้นแล้วจึงถามว่า พ่อกุมาร ธรรมดาว่าสัตว์บุคคลที่จะไม่
กลัวตายไม่มีเลย เหตุไฉนท่านจึงไม่กลัวเล่า ? เมื่อพระราชกุมารจะบอก
ความแก่ยักษ์ ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
เราระลึกไม่ได้เลยว่า เราจะกระทำความชั่วเพื่อ
ตนเอง ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ เพราะว่าเราเป็นผู้มี
ชาติและมรณะ อันกำหนดไว้แล้วว่า ในโลกนี้ของเรา
ฉันใด โลกหน้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
เชิญท่านกินเนื้อเราในวันนี้ เสียบัดนี้เถิด เชิญ
ท่านทำกิจเถิด สรีระนี้เราสละแล้ว เราจะทำเป็น
พลัดตกมาจากยอดไม้ ท่านชอบใจเนื้อส่วนใด ๆ
ก็เชิญท่านกินเนื้อส่วนนั้น ๆ ของเราเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเร น ชาตุ ความว่า เราระลึกไม่ได้
เลย แม้เพียงส่วนเดียว. บทว่า สงฺขาตชาตี มรโณหมสฺมิ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 364
เรารู้ว่าสัตว์ที่เกิดมาแล้ว มีความเกิดและความตาย อันญาณกำหนดไว้แล้ว
ด้วยดี ที่จะชื่อว่ามีความไม่ตายเป็นธรรมดาไม่มี. บทว่า ยเถว เม อิธ
ความว่า ข้อนี้ญาณของเรากำหนดไว้แล้วเป็นอย่างดีทีเดียวว่า โลกนี้ของเรา
ฉันใด โลกหน้าก็ฉันนั้น โลกหน้าฉันใด แม้โลกนี้ก็ฉันนั้น ชื่อว่าการพ้น
จากความตายไม่มี. บทว่า กรสฺสุ กิจฺจานิ ความว่า ท่านจงทำกิจที่ควรทำ
ด้วยสรีระนี้ สรีระนี้เราสละแก่ท่านแล้ว. บทว่า ฉาทมาโน มยฺห ตฺวเม
เทสิ มส ความว่า เมื่อเราตกจากยอดไม้ตายแล้ว เมื่อท่านจะกิน ชอบใจ
ปรารถนาเนื้อส่วนใดจากสรีระของเรา ก็ควรบริโภคเนื้อส่วนนั้น.
ยักษ์ฟังถ้อยคำของพระกุมารแล้ว ตกใจกลัว คิดว่า เราไม่อาจที่จะ
กินเนื้อพระกุมารนี้ได้ จักต้องหาอุบายไล่ให้เธอหนีไปเสีย จึงกล่าวคาถานี้
ความว่า
ดูก่อนพระราชโอรส เรื่องนี้ท่านเต็มใจจริง จึง
สละชีวิตเพื่อปลดเปลื้องพระชนกได้ เพราะเหตุนั้น
แหละ ท่านจงรีบไปหักไม้มาก่อไฟเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชเลหิ ความว่า ท่านจงเข้าไปสู่ป่า หา
ฟืนไม้แก่น มาก่อไฟขึ้น ทำให้เป็นถ่าน ที่ปราศจากควัน เราจักปิ้งเนื้อของ
ท่านในถ่านเพลิงนั้นกิน.
อลีนสัตตุราชกุมาร ได้กระทำตามที่ยักษ์บอกทุกประการ เสร็จแล้ว
ไปยังสำนักของยักษ์ พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเหตุนั้น จึงตรัสพระ
คาถานอกนี้ ความว่า
ลำดับนั้นแล พระราชโอรสผู้มีปัญญา ได้นำ
เอาฟืนมาก่อไฟกองใหญ่ขึ้นแล้ว แจ้งให้ยักษ์ทราบว่า
บัดนี้ได้ก่อไฟเสร็จแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 365
ยักษ์มองดูพระราชกุมาร ซึ่งก่อไฟเสร็จแล้วเดินมาหา เกิดขนพอง
สยองเกล้าว่า บุรุษนี้เป็นดุจราชสีห์ ไม่กลัวความตายเลย ตลอดกาลมีประมาณ
เท่านี้ เราไม่เคยพบเห็นคนที่ไม่กลัวตายอย่างนี้เลย จึงนั่งชำเลืองดูพระกุมาร
บ่อย ๆ พระราชกุมารเห็นกิริยาของยักษ์แล้ว จึงตรัสคาถา ความว่า
เมื่อครู่นี้ ท่านทำการขู่เข็ญว่า จะกินเราในวันนี้
ทำไมจึงหวาดระแวงเกรงเรา มองดูอยู่บ่อย ๆ เราได้
ทำตามคำของท่านเสร็จแล้ว เมื่อพอใจจะกินก็เชิญ
กินได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุหุ แปลว่า บ่อย ๆ . บทว่า ตถา
ตถา ตุยฺหมห ความว่า ท่านพอใจปรารถนาจะบริโภคเคี้ยวกินเราโดยวิธีใด
เราการทำตามคำของท่านโดยวิธีนั้นแล้ว คราวนี้จักให้เราทำอย่างไร เพราะ
ฉะนั้น เชิญท่านกินเราเสียวันนี้เถิด.
ยักษ์ฟังคำของพระกุมารแล้ว กล่าวคาถา ความว่า
ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม มีวาจาสัตย์ รู้ความประสงค์
ของผู้ขอเช่นท่าน ใครจะนำมากินเป็นภักษาหารได้
ผู้ใดกินผู้มีวาจาสัตย์เช่นท่าน ศีรษะของผู้นั้น จะพึง
แตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง.
พระราชกุมารได้สดับดังนั้น จึงพูดว่า ถ้าท่านไม่ประสงค์จะกินเรา
เหตุไรจึงบอกให้เราหักฟืนมาก่อไฟ เมื่อยักษ์บอกว่า เพื่อต้องการลองดูว่า
ท่านจะหนีหรือไม่ จึงตรัสว่า ท่านจักเข้าใจเราในบัดนี้ได้อย่างไร ครั้งเรา
บังเกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ยังไม่ยอมให้ท้าวสักกเทวราชดูหมิ่นตน
ได้ จึงตรัสคาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 366
แท้จริง สสบัณฑิตนั้น สำคัญท้าวสักกเทวราชนี้
ว่าเป็นพราหมณ์ จึงได้ให้อยู่ เพื่อให้สรีระของตน
เป็นทาน ด้วยเหตุนั้นแล จันทิมเทพบุตร จึงมีรูปกระ-
ต่ายปรากฏ สมประสงค์ของโลกอยู่จนทุกวันนี้.
คาถานั้น มีอธิบายว่า สสบัณฑิตนั้น สำคัญสักกพราหมณ์ แม้
นี้ว่า ผู้นี้เป็นพราหมณ์ จึงพูดว่า วันนี้เชิญท่านเคี้ยวกินสรีระของเราในที่นี้
แห่งเดียวเถิด แล้วให้อาศัย คือให้อยู่พักเพื่อให้สรีระของตนเป็นทานอย่างนี้
และแล้วได้ให้สรีระเพื่อเป็นอาหารแก่สักกพราหมณ์นั้น ท้าวสักกเทวราช
จึงบีบเอารสอันเกิดแต่บรรพต มาเขียนเป็นภาพกระต่ายไว้ในมณฑลพระจันทร์
นับแต่นั้นมา เพราะภาพกระต่ายนั้นเอง จันทิมเทพบุตรนั้น ชาวโลกจึงรู้กัน
ทั่วว่า กระต่าย กระต่าย ดังนี้ จันทิมเทพบุตรมีรูปกระต่ายปรากฏ แจ่ม
กระจ่างอย่างนี้ สมประสงค์ คือยังความพอใจของโลกให้เจริญ รุ่งโรจน์อยู่
จนทุกวันนี้ และเรื่องนี้ ก็เป็นเรื่องอัศจรรย์ อยู่ตลอดกัป.
ยักษ์ได้ฟังดังนั้น เมื่อจะปล่อยพระราชกุมาร จึงกล่าวคาถา ความว่า
พระจันทร์ พระอาทิตย์ พ้นจากปากแห่งราหู
แล้ว ย่อมไพโรจน์ในวันเพ็ญฉันใด ดูก่อนท่านผู้มี
อานุภาพมาก ท่านก็ฉันนั้นหลุดพ้นจากเรา ผู้กินเนื้อ
มนุษย์เป็นอาหารแล้ว ยังพระชนกชนนีให้ปลื้มพระ-
ทัย จงรุ่งโรจน์ในกบิลรัฐ อนึ่ง พระประยูรญาติของ
ท่านจงยินดีกันทั่วหน้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาณุมา ได้แก่พระอาทิตย์ ท่านอธิบาย
ว่า พระจันทร์หรือพระอาทิตย์ พ้นจากปากราหูแล้วย่อมสว่างไสว ในดิถี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 367
๑๕ ค่ำฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอานุภาพมาก แม้ท่านพ้นไปจากสำนักของเรา
แล้ว ก็รุ่งโรจน์ในกบิลรัฐฉันนั้นเถิด. บทว่า นนฺทตุ ความว่า ขอพระ
ประยูรญาติทั้งหลาย จงทรงยินดี ร่าเริง.
ยักษ์กล่าวว่า ดูก่อนท่านมหาวีรเจ้า เชิญท่านไปเถิด แล้วส่งเสด็จ
พระมหาสัตว์เจ้า ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้า ครั้นทรงทำให้ยักษ์สิ้นพยศแล้วให้ศีล
๕ กำหนดดูว่า ผู้นี้จะมิใช่ยักษ์กระมัง จึงทรงพระดำริว่า ธรรมดายักษ์ย่อม
มีนัยน์ตาแดงและไม่กระพริบ เขาก็ไม่ปรากฏ เป็นผู้ดุร้าย อาจหาญ ผู้นี้
ชะรอยจะมิใช่ยักษ์ คงเป็นมนุษย์แน่ เขาเล่ากันว่า พระเชษฐาแห่งพระราช
บิดาของเรา ถูกนางยักษิณีจับไปถึงสามองค์ ในจำนวนนั้น นางยักษิณีกินเสีย
สององค์ แต่ประคบประหงมเลี้ยงดูด้วยรักใคร่เหมือนบุตรองค์เดียว ชะรอยจะ
เป็นองค์นี้แน่ เราจักนำไปทูลชี้แจง แก่พระราชบิดาของเรา ให้ท่านผู้นี้ครอง
ราชสมบัติแล้ว จึงตรัสชักชวนว่า มาเถิด ท่านผู้เจริญ ท่านไม่ใช่ยักษ์ ท่านเป็น
พระเชษฐาแห่งพระราชบิดาของเรา เชิญท่านมาไปกับเรา แล้วให้ยกเศวตฉัตร
เสวยราชสมบัติ สืบสันตติวงศ์เถิด เมื่อยักษ์ค้านว่า เราไม่ใช่มนุษย์ จึงตรัสว่า
ท่านไม่เชื่อเรา แต่มีผู้ที่ท่านพอจะเชื่อถืออยู่บ้างหรือ ? เมื่อยักษ์ตอบว่ามีอยู่
คือพระดาบสผู้มีจักษุเป็นทิพย์ ณ ที่โน้น จึงทรงพายักษ์นั้นไปสำนักพระดาบส
นั้น พระดาบสเห็นคนทั้งสองแล้ว ทักขึ้นว่า ท่านทั้งสองคือลุงกับหลาน เที่ยวทำ
อะไรอยู่ในป่า แล้วชี้แจงความที่ชนเหล่านั้นเป็นญาติกันให้ทราบ ยักษ์เชื่อ
ถ้อยคำของพระดาบส จึงกล่าวว่า พ่อหลานชาย เจ้าจงกลับไปเถิด ลุงเกิดมา
ชาติเดียวเป็นถึงสองอย่าง ลุงไม่ต้องการราชสมบัติดอก ลุงจักบวช แล้วบวช
เป็นฤาษีอยู่ในสำนักของพระดาบส. ลำดับนั้น พระอลีนสัตตุราชกุมารถวาย
บังคมลาพระเจ้าลุงแล้ว ได้เสด็จกลับไปยังพระนคร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 368
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถา
ความว่า
ลำดับนั้นแล พระราชโอรสอลีนสัตตุ ผู้มีพระ-
ปัญญา ทรงประคองอัญชลีไหว้ยักษ์โปริสาท ได้รับ
อนุญาตแล้ว มีความสุขสวัสดี หาโรคมิได้เสด็จกลับ
มายังกบิลรัฐ.
พระบรมศาสดา ครั้นตรัสพระคาถานี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงกรณียกิจ
อันชาวพระนคร และชาวนิคมเป็นต้นกระทำ จึงตรัสโอกาสคาถาความว่า
ชาวนิคม ชาวชนบท ถ้วนหน้าทั้งพลช้าง พลรถ
และพลเดินเท้า ต่างพากันมาถวายบังคมพระราช
โอรสนั้น พร้อมกับกราบทูลขึ้นว่า ข้าพระองค์ทั้ง
หลาย ถวายบังคมพระองค์ พระองค์ทรงกระทำกิจ
ซึ่งยากที่จะกระทำได้.
พระเจ้าชัยทิส ทรงสดับข่าวว่า พระราชกุมารกลับมาได้ทรงจัดการ
สมโภชต้อนรับ. พระราชกุมารแวดล้อมด้วยมหาชน ไปถวายบังคมพระราช
บิดา. ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามว่า ลูกรัก เจ้าพ้นมาจากยักษ์เช่นนั้นได้
อย่างไร. พระราชกุมารทูลว่า ขอเดชะ พระราชบิดาเจ้า ผู้นี้มิใช่ยักษ์ แต่เป็น
พระเชษฐาธิราชของพระราชบิดา ผู้นี้เป็นพระปิตุลาของข้าพระพุทธเจ้า แล้ว
กราบทูลเรื่องราวทั้งปวงให้ทรงทราบ แล้วทูลว่า ควรที่พระราชบิดาจะเสด็จ
เยี่ยมพระปิตุลาของข้าพระพุทธเจ้าบ้าง. ทันใดนั้น พระเจ้าชัยทิส จึงตรัสสั่ง
ให้พนักงานเภรีตีกลองประกาศให้ทราบทั่วกัน แล้วเสด็จไปยังสำนักแห่งดาบส
ทั้งหลาย ด้วยราชบริพารเป็นอันมาก. พระมหาดาบสจึงทรงเล่าเรื่องนางยักษิณี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 369
นำพระองค์ไปเลี้ยงดูไว้ไม่กินเสีย เรื่องที่พระองค์มิใช่ยักษ์ และเรื่องที่พระองค์
เป็นพระประยูรญาติของราชสกุลเหล่านั้น แด่พระเจ้าชัยทิสหมดทุกอย่างโดย
พิสดาร พระเจ้าชัยทิสทรงเชื้อเชิญว่า ข้าแต่พระเชษฐาธิราชเจ้า ขอเชิญ
พระองค์ เสด็จเสวยราชสมบัติเถิด พระมหาดาบส ถวายพระพรห้ามว่า อย่า
เลย มหาราชเจ้า พระเจ้าชัยทิส ตรัสเชิญชวนว่า ถ้ากระนั้น ขอเชิญพระ
เชษฐาธิราชเจ้าไปอยู่ในพระอุทยานเถิด กระหม่อมฉันจักบำรุงด้วยปัจจัย ๔
พระมหาดาบสถวายพระพรว่า อาตมาภาพจะยังไม่ไปก่อน มหาบพิตร พระ
เจ้าชัยทิส ตรัสสั่งให้ขุดคลองใหญ่ เหยียดยาวไประหว่างภูเขาลูกหนึ่ง ไม่ห่าง
จากอาศรมบท ของเหล่าพระดาบส แล้วให้หักล้างถางพงทำไร่นา โปรดให้
มหาชนพันตระกูลอพยพมาตั้งครอบครัว เป็นตำบลใหญ่ ตั้งไว้เป็นภิกขาจาร
ของพระดาบสทั้งหลาย บ้านตำบลนั้น ปรากฏชื่อว่า " จุลลกัมมาสทัมมนิคม "
ส่วนประเทศที่พระมหาสัตว์เจ้า สุตตโสมบัณฑิต ทรมานพระยาโปริสาท
พึงทราบว่า ชื่อมหากัมมาสทัมมนิคม.
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงจบแล้ว ทรง
ประกาศอริยสัจจธรรม ในเวลาจบอริยสัจจกถา พระเถระผู้เลี้ยงดูมารดา ได้
ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระราชมารดาบิดา ได้มา
เป็นตระกูลแห่งพระมหาราชเจ้า พระดาบสได้มาเป็นพระสารีบุตร ยักษ์
ได้มาเป็นพระองคุลิมาล พระกนิษฐภคินี ได้มาเป็น นางอุบลวรรณาเถรี
พระอัครมเหสี ได้มาเป็นราหุลมารดา ส่วนอลีนสัตตุราชกุมาร ได้มาเป็น
เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาชัย ทิสชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 370
๔. ฉัททันตชาดก
ว่าด้วยพญาช้างฉันทันต์
[๒๓๒๗] ดูก่อนพระน้องนาง ผู้มีพระสรีระ
อร่ามงามดังทอง มีผิวพรรณผ่องเหลืองเรืองรอง พระ-
เนตรทั้งสองแจ่มใส เหตุไรหนอ พระน้องจึงดูเศร้าโศก
ซูบไป ดุจดอกไม้ที่ถูกขยี้ ฉะนั้น
[๒๓๒๘] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หม่อมฉันแพ้
พระครรภ์ โดยการแพ้พระครรภ์เป็นเหตุให้หม่อมฉัน
ฝันเห็นสิ่งที่หาไม่ได้ง่าย.
[๒๓๒๙] กามสมบัติของมนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ในโลกนี้ และในสวนนันทนวัน กามสมบัติทั้งหมดนั้น
เป็นของเราทั้งสิ้น เราหาให้เธอได้ทั้งนั้น.
[๒๓๓๐] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ นายพราน
ป่าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในแว่นแคว้นของพระองค์ จง
มาประชุมพร้อมกัน หม่อมฉันจะแจ้งเหตุ ที่แพ้พระ
ครรภ์ของหม่อมฉัน ให้นายพรานป่าเหล่านั้นทราบ.
[๒๓๓๑] ดูก่อนเทวี นายพรานป่าเหล่านี้ ล้วน-
แต่มีฝีมือ เป็นคนแกล้วกล้า ชำนาญป่า รู้จักชนิดของ
เนื้อ ยอมสละชีวิตเพื่อประโยชน์ของเราได้.
[๒๓๓๒] ท่านทั้งหลายผู้เป็นเชื้อแถวของนาย-
พราน ที่มาพร้อมกันอยู่ ณ ที่นี้ จงฟังเรา เราฝันเห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 371
ช้างเผือกผ่อง งามีรัศมี ๖ ประการ ฉันต้องการงาช้าง
คู่นั้น เมื่อไม่ได้ ชีวิตก็เห็นจะหาไม่.
[๒๓๓๓] บิดา หรือปู่ทวด ของข้าพระองค์
ทั้งหลาย ก็ยังไม่เคยเห็น ทั้งยังไม่เคยได้ยินว่า พญา-
ช้างที่มีงามีรัศมี ๖ ประการ พระนางเจ้าทรงนิมิตเห็น
พญาช้างมีลักษณะเช่นไร ขอได้ตรัสบอกพญาช้างที่มี
ลักษณะเช่นนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า.
[๒๓๓๔] ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ เบื้องบน ๑
เบื้องล่าง ๑ ทิศทั้ง ๑๐ นี้ พระองค์ทรงนิมิตเห็น
พญาช้าง ซึ่งมีงามีรัศมี ๖ ประการ อยู่ทิศไหน
พระเจ้าข้า ?
[๒๓๓๕] จากที่นี้ตรงไปทิศอุดร ข้ามภูเขาสูง-
ใหญ่ ๗ ลูก เขาลูกสูงที่สุด ชื่อสุวรรณปัสสคิรี มี
พรรณไม้ผลิดอกออกบานสะพรั่ง มีฝูงกินนรเที่ยว
สัญจรไปมาไม่ขาด.
ท่านจงขึ้นไปบนภูเขาอันเป็นที่อยู่แห่งหมู่กินนร
แล้วมองลงมาตามเชิงเขา ทันใดนั้น จะได้เห็นต้นไทร
ใหญ่ สีเสมอเหมือนสีเมฆ มีย่านไทร๘,๐๐๐ห้อยย้อย.
ใต้ต้นไทรนั้น พญาเศวตกุญชรซึ่งมีงารัศมี ๖
ประการอยู่อาศัย ยากที่ใครอื่นจะข่มขี่จับได้ ช้าง
ประมาณ ๘,๐๐๐ มีงาเท่างอนไถ วิ่งไล่เร็วปานลมพัด
พากันแวดล้อมรักษาพญาเศวตกุญชรนั้นอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 372
ช้างเหล่านั้น ย่อมบันลือเสียงน่าหวาดกลัว
โกรธแม้แต่ลมที่พัดถูกตัว ถ้าเห็นมนุษย์ ณ ที่นั้น
เป็นต้องขยี้เสีย ให้เป็นภัสมธุลี แม้แต่ละอองก็ไม่
ถูกต้องพญาช้างได้เลย.
[๒๓๓๖] ข้าแต่พระราชเทวี เครื่องอาภรณ์ที่
แล้วไปด้วยเงิน แก้วมุกดา แก้วมณี และแก้วไพฑูรย์
มีอยู่ในราชสกุลมากมาย เหตุไร พระแม่เจ้า จึงทรง
พระประสงค์เอางาช้างมาทำเป็นเครื่องประดับเล่า พระ-
แม่เจ้าทรงปรารถนาจะให้ฆ่าพญาช้าง ซึ่งมีงามีรัศมี
๖ ประการเสีย หรือว่าจะให้พญาช้างฆ่าพวกเชื้อแถว
ของนายพรานเสียกระมัง.
[๒๓๓๗] ดูก่อนนายพราน เรามีทั้งความริษยา
ทั้งความน้อยใจ เพราะนึกถึงความหลังเข้าก็ตรอมใจ
ขอท่านจงทำตามความประสงค์ของเรา เราจักให้บ้าน
ส่วยแก่ท่าน ๕ ตำบล.
[๒๓๓๘] พญาช้างนั้นอยู่ที่ตรงไหน เข้าไปยืน
อยู่ที่ไหน ทางไหนเป็นทางที่พญาช้างไปอาบน้ำ อนึ่ง
พญาช้างนั้นอาบน้ำอย่างไร ทำไฉน ข้าพระพุทธเจ้า
จึงจะรู้คติของพญาช้างได้ ?
[๒๓๓๙] ในที่ ๆ พญาช้างอยู่นั้น มีสระอยู่
ไกล้ ๆ น่ารื่นรมย์ มีท่าราบเรียบ ทั้งน้ำก็มาก สะพรั่ง
ไปด้วยพรรณไม้ดอก มีหมู่ภมรมาเคล้าคลึง พญาช้าง
ลงอาบน้ำในสระนี้แหละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 373
พญาช้างชำระศีรษะแล้ว ทัดทรงมาลัยอุบล มี
ร่างเผือกผ่องขาวราวกะดอกบุณฑริกบันเทิงใจ ให้
มเหสีชื่อว่า สัพพสุภัททา เดินหน้า ดำเนินไปยังที่อยู่
ของตน.
[๒๓๔๐] นายพรานนั้น ยึดเอาพระเสาวนีย์ของ
พระนางสุภัททาราชเทวี ซึ่งประทับยืนอยู่ ณ ที่นั่นเอง
แล้วถือเอาแล่งลูกธนู ข้ามภูเขาใหญ่ทั้งเจ็ดลูกไป
จนถึงลูกที่ชื่อว่า สุวรรณปัสสบรรพตอันสูงโดด.
เขาขึ้นไปสู่บรรพต อันเป็นที่อยู่ของกินนรแล้ว
มองลงมายังเชิงเขา ได้เห็นต้นไทรใหญ่ สีเขียวดัง
สีเมฆ มีย่านไทร ๘,๐๐๐ ห้อยย้อย ที่เชิงเขานั้น.
ทันใดนั่นเอง ก็ได้เห็นพญาช้างเผือกขาวผ่อง
ซึ่งมีงามีรัศมี ๖ ประการ ยากที่คนเหล่าอื่นจะจับได้ มี
ช้างประมาณ ๘,๐๐๐เชือก ล้วนแต่มีงางามงอน ขนาด
งอนไถ วิ่งไล่เร็วดุจลมพัด แวดล้อมรักษาพญาช้าง
นั้นอยู่.
และได้เห็นสระโบกขรณี อันน่ารื่นรมย์อยู่ใกล้ๆ
ที่อยู่ของพญาช้างนั้น ทั้งท่าน้ำก็ราบเรียบ น้ำมากมาย
มีพรรณดอกไม้บานสะพรั่ง มีหมู่ภมรเที่ยวเคล้าคลึง
อยู่.
ครั้นเห็นทางที่พญาช้างลงอาบน้ำ จนกระทั่งที่
ซึ่งพญาช้างเดิน ยืนอยู่ และทางที่พญาช้างลงอาบน้ำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 374
ก็แลนายพรานผู้มีใจลามก ถูกพระนางสุภัททาผู้ตกอยู่
ในอำนาจจิตทรงใช้มา ก็มาจัดแจงตระเตรียมหลุม.
[๒๓๔๑] นายพรานผู้กระทำกรรมอันชั่วช้า ขุด
หลุมเอากระดานปิดเสร็จแล้ว สอดธนูไว้ เอาลูกศร
ลูกใหญ่ ยิงพญาช้างที่มายืนอยู่ข้างหลุมของตน.
พญาช้างถูกยิงแล้ว ก็ร้องก้องโกญจนาท ช้าง
ทั้งหมดพากันบันลืออื้ออึง ต่างพากันวิ่งมารอบ ๆ
ทั้ง ๘ ทิศ ทำหญ้าและไม้ให้แหลกเป็นจุณไป.
พญาช้างเอาเท้ากระชุ่นดิน ด้วยคิดว่า เราจักฆ่า
นายพรานคนนี้ แต่ได้เห็นผ้ากาสาวพัสตร์ อันเป็น
ธงชัยของพระฤาษี ก็เกิดความรู้สึกว่า ธงชัยของพระ
อรหันต์ อันสัตบุรุษไม่ควรทำลาย.
[๒๓๔๒] ผู้ใดยังไม่หมดกิเลส ปราศจากทมะ
และสัจจะ ผู้นั้นไม่ควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ.
ส่วนผู้ใด คลายกิเลสได้แล้ว ตั้งมั่นอยู่ในศีล
ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแลควรนุ่งห่มผ้า
กาสาวะ.
[๒๓๔๓] พญาช้างถูกลูกศรใหญ่ เสียบเข้าแล้ว
ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย ได้ถามนายพรานว่า เพื่อนเอ๋ย
ท่านประสงค์อะไร เพราะเหตุอะไร หรือว่าใครใช้
ให้ท่านมาฆ่าเรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 375
[๒๓๔๔] ดูก่อนพญาช้างที่เจริญ นางสุภัททา
พระมเหสีของพระเจ้ากาสิกราช อันประชาชนสักการะ
บูชาอยู่ในราชสกุล พระนางได้ทรงนิมิตเห็นท่าน
และได้โปรดให้ทำสักการะแก่ข้าพเจ้าแล้ว ตรัสบอก
ข้าพเจ้าว่า มีพระประสงค์งาทั้งคู่ของท่าน.
[๒๓๔๕] แท้จริงพระนางสุภัททา ทรงทราบ
ดีว่า งางาม ๆ แห่งบิดาและปู่ทวดของเรา มีอยู่เป็น
อันมาก แต่พระนางเป็นคนพาล โกรธเคือง ผูกเวร
ต้องการจะฆ่าเรา.
ดูก่อนนายพราน ท่านจงลุกขึ้นเถิด จงหยิบเลื่อย
มาตัดงาคู่นี้เถิด ประเดี๋ยวเราจะตายเสียก่อน ท่านจง
กราบทูลพระนางสุภัททาผู้ยังผูกโกรธว่า พญาช้างตาย
แล้ว เชิญพระนางรับงาคู่นี้ไว้เถิด.
[๒๓๔๖] นายพรานนั้นรีบลุกขึ้นจับเลื่อย เลื่อย
งาพญาช้างทั้งคู่อันงดงามวิลาส หาที่เปรียบมิได้ ใน
พื้นปฐพี แล้วรีบถือหลีกออกจากที่นั้นไป.
[๒๓๔๗] ช้างเหล่านั้นตกใจ ได้รับความเสียใจ
เพราะพญาช้างถูกยิง พากันวิ่งไปยังทิศทั้ง ๘ เมื่อไม่
เห็นปัจจามิตรของพญาช้าง ก็พากันกลับมายังที่อยู่ของ
พญาช้าง.
[๒๓๔๘] ช้างเหล่านั้น พากันคร่ำครวญ ร่ำไห้อยู่
ณ ที่นั้น ต่างเกลี่ยอังคารขึ้นบนกระพองของตน ๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 376
แล้วยกเอานางช้างสัพพภัททาตัวเป็นมเหสี ให้เป็นหัว
หน้าพากันกลับยังที่อยู่ของตนทั้งหมด.
[๒๓๔๙] นายพรานนั้นนำงาทั้งคู่ของพญาคช-
สาร อันอุดมไพศาลงดงาม ไม่มีงาอื่นในพื้นปฐพี จะ
เปรียบได้ ส่องรัศมีดุจสีทอง สว่างไสวไปทั่วทั้ง
ไพรสณฑ์ มาถึงยังพระนครกาสีแล้ว น้อมนำงาทั้งคู่
เข้าไปถวายพระนางสุภัททา กราบทูลว่า พญาช้าง
ล้มแล้ว ขอเชิญพระนางทอดพระเนตรงาทั้งคู่นี้เถิด.
[๒๓๕๐] พระนางสุภัททาผู้เป็นพาล ครั้นทอด
พระเนตรเห็นงาทั้งสองของพญาคชสารอันอุดม ซึ่ง
เป็นปิยภัสดาของตนในชาติก่อนแล้ว หทัยของพระนาง
แตกทำลาย ณ ที่นั้นเอง ด้วยเหตุนั้นแล พระนาง
จึงได้สวรรคต.
[๒๓๕๑] พระบรมศาสดาได้บรรลุพระสัมโพธิ-
ญาณแล้ว มีอานุภาพมา ได้ทรงทำการแย้มในท่าม
กลางบริษัท ภิกษุทั้งหลายผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พากัน
กราบทูลถามว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาได้ทรงทำ
การแย้มให้ปรากฏโดยไร้เหตุผลไม่.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอทั้งหลายจงดู
กุมารีสาวคนนั้น นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ประพฤติ
อนาคาริยวัตร นางกุมารีคนนั้นแล เป็นนางสุภัททา
ในกาลนั้น เราตถาคต เป็นพญาช้างในกาลนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 377
นายพรานผู้ถือเอางาทั้งคู่ ของพญาคชสารอัน
อุดม หางาอื่นเปรียบปานมิได้ในปฐพี กลับมายัง
พระนครกาสีในกาลนั้นเป็นเทวทัต.
พระพุทธเจ้าผู้ปราศจากความกระวนกระวาย
ความเศร้าโศก และกิเลสดุจลูกศร ตรัสรู้ยิ่งด้วย
พระองค์เองแล้วได้ตรัสฉัททันตชาดกนี้ อันเป็นของ
เก่า ไม่รู้จักสิ้นสูญ ซึ่งพระองค์ท่องเที่ยวไปตลอด
กาลนาน เป็นบุรพจรรยทั้งสูง ทั้งต่ำ ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คราวครั้งนั้น เราเป็นพญา-
ช้างฉัททันต์ อยู่ที่สระฉัททันต์นั้น เธอทั้งหลายจง
ทรงจำชาดกไว้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบฉันทันตชาดกที่ ๔
อรรถกถาฉัททันตชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
ภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กึ นุ โสจสิ
ดังนี้.
เล่ากันมาว่า นางภิกษุณีนั้นเป็นธิดาของตระกูลหนึ่ง ในพระนคร
สาวัตถี เห็นโทษในฆราวาสแล้วออกบวชในพระศาสนา วันหนึ่งไปเพื่อจะ
ฟังธรรม พร้อมกับพวกนางภิกษุณี เห็นพระรูปโฉมอันบังเกิดขึ้นด้วยบุญญา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 378
นุภาพหาประมาณมิได้ กอปรด้วยพระรูปสมบัติอันอุดมของพระทศพล ซึ่ง
ประทับเหนือธรรมาสน์อันอลงกต กำลังทรงแสดงพระธรรมเทศนา จึงคิดว่า
เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ ได้เคยเป็นบาทบริจาริกาของมหาบุรุษนี้หรือไม่
หนอ ? ในทันใดนั้นเอง นางก็เกิดระลึกชาติในหนหลังได้ว่า เราเคยเป็น
บาทบริจาริกาของมหาบุรุษนี้ ในคราวที่ท่านเป็นพญาช้างฉัททันต์ เมื่อนาง
ระลึกได้เช่นนั้น ก็บังเกิดปีติปราโมทย์ใหญ่ยิ่ง. ด้วยกำลังแห่งความปีติยินดี
นางจึงหัวเราะออกมาดัง ๆ แล้วหวนคิดอีกว่า ขึ้นชื่อว่าบาทบริจาริกาที่มี
อัธยาศัยมุ่งประโยชน์ต่อสามีมีน้อย มิได้มุ่งประโยชน์แลมีมาก เราได้มีอัธยาศัย
มุ่งประโยชน์ต่อบุรุษนี้ หรือหาไม่หนอ. นางระลึกไปพลางก็ได้เห็นความจริงว่า
แท้จริง เราสร้างความผิดไว้ในหทัยมิใช่น้อย ค่าที่ใช้นายพรานโสณุดรให้เอา
ลูกศรอาบด้วยยาพิษ ยิงพญาช้างฉัททันต์ สูงประมาณ ๑๒๐ ศอก ให้ถึง
ความตาย. ทันใดนั้นความเศร้าโศกก็บังเกิดแก่นาง ดวงหทัยเร่าร้อน ไม่
สามารถจะกลั้นความเศร้าโศกไว้ได้ จึงร้องไห้สะอึกสะอื้นด้วยเสียงอันดัง
พระบรมศาสดาทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ทรงแย้มให้ปรากฏ อันภิกษุสงฆ์
ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการ
ทรงทำความแย้มให้ปรากฏ จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย นางภิกษุณีสาวผู้นี้
ระลึกถึงความผิดที่เคยทำต่อเรา ในชาติก่อนเลยร้องไห้ แล้วทรงนำอดีตนิทาน
มาตรัสดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล มีช้างประมาณ ๘,๐๐๐ เชือก มีฤทธิ์เหาะไปในอากาศได้
อาศัยสระฉัททันต์ อยู่ในป่าหิมพานต์. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นลูก
ของช้างจ่าโขลง มีสีกายเผือกผ่อง ปากแลเท้าสีแดง ต่อมาเมื่อเจริญวัยขึ้น
สูงได้ ๘๘ ศอก ยาว ๑๒๐ ศอก ประกอบด้วยงวงคล้ายกับพวงเงิน ยาวได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 379
๕๘ ศอก ส่วนงาทั้งสองวัดโดยรอบได้ ๑๕ ศอก ส่วนยาว ๓๐ ศอก ประกอบ
ด้วยรัศมี ๖ ประการ. พระโพธิสัตว์นั้นเป็นหัวหน้าช้าง แห่งช้าง ๘,๐๐๐ เชือก
บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์. อัครมเหสีของพระโพธิสัตว์นั้นมีสอง ชื่อ
จุลลสุภัททา ๑ มหาสุภัททา ๑. พญาช้างนั้น มีช้างถึง ๘,๐๐๐ เชือก เป็น
บริวารอยู่ในกาญจนคูหา. อนึ่ง สระฉัททันต์นั้น ทั้งส่วนยาวส่วนกว้างประมาณ
๕๒ โยชน์ ตรงกลางลึกประมาณ ๑๒ โยชน์ ไม่มีสาหร่าย จอกแหน หรือ
เปลือกตมเลย เฉพาะน้ำขังอยู่ มีสีใสเหมือนก้อนแก้วมณี ถัดจากนั้นมีกอ
จงกลนีแผ่ล้อมรอบ กว้างได้หนึ่งโยชน์ ต่อจากกอจงกลนีนั้น มีกออุบลเขียว
ตั้งล้อมรอบกว้างได้หนึ่งโยชน์ ต่อจากนั้น ที่กว้างแห่งละหนึ่งโยชน์ มีกอ
อุบลแดง อุบลขาว ปทุมแดง ปทุมขาว และโกมุท ขึ้นล้อมอยู่โดยรอบ
อนึ่ง ระหว่างกอบัว ๗ แห่งนี้ มีกอบัวทุกชนิด เป็นต้นว่า จงกลนีสลับกันขึ้น
ล้อมรอบ มีปริมณฑลกว้างได้หนึ่งโยชน์เหมือนกัน. ถัดออกมาถึงน้ำลึกแค่
สะเอวช้าง มีป่าข้าวสาลีแดงขึ้นแผ่ไปได้โยชน์หนึ่ง ถัดออกมาถึงชายน้ำที่กว้าง
โยชน์หนึ่งเหมือนกัน มีกอตะไคร่น้ำ เกลื่อนกลาดด้วยดอกสีเขียว สีเหลือง
สีแดง สีขาว กลิ่นหอมฟุ้งขจรไป. ป่าไม้ ๑๐ ชนิดเหล่านี้ มีเนื้อที่หนึ่งโยชน์
เท่ากัน ด้วยประการฉะนี้. ต่อจากนั้นไป มีป่าแตงโม ฟักเหลือง น้ำเต้า
และฟักแฟง. ต่อจากนั้นมีป่าอ้อย ขนาดลำเท่าต้นหมาก. ต่อจากนั้นมีป่ากล้วย
ผลโตขนาดเท่างาช้าง. ต่อจากนั้นมีป่าไม้รัง ป่าขนุนหนัง ผลโตขนาดเท่าตุ่ม.
ถัดไปมีป่าขนุนสำมะลอ อันมีผลอร่อย. ถัดไปมีป่ามะขวิด. ถัดไปมีไพรสณฑ์
ใหญ่ มีพันธุ์ไม้ระคนปนกัน. ถัดไปมีป่าไม้ไผ่ นี้เป็นความสมบูรณ์แห่งสระ
ฉัททันต์ในสมัยนั้น. และในอรรถกถาสังยุตตนิกาย ท่านก็พรรณนาความ
สมบูรณ์ อันมีอยู่ในปัจจุบันนี้ไว้เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 380
อนึ่ง มีภูเขาตั้งล้อมรอบป่าไม้ไผ่อยู่ถึง ๗ ชั้น นับแต่รอบนอกไป
ภูเขาลูกที่หนึ่งชื่อ จุลลกาฬบรรพต ที่สองชื่อ มหากาฬบรรพต ที่สามชื่อ
อุทกปัสสบรรพต ที่สี่ชื่อ จันทปัสสบรรพต ที่ห้าชื่อ สุริยปัสสบรรพต ที่หกชื่อ
มณีปัสสบรรพต ที่เจ็ดชื่อ สุวรรณปัสสบรรพต.
สุวรรณปัสสบรรพตนั้น สูงถึง ๗ โยชน์ ตั้งล้อมรอบสระฉัททันต์
เหมือนขอบปากบาตร ด้านในสุวรรณปัสสบรรพตนั้นมีสีเหมือนทอง. เพราะ
ฉายแสงออกจากสุวรรณปัสสบรรพตนั้น สระฉัททันต์นั้น ดูประหนึ่งแสง-
อาทิตย์อ่อน ๆ เรืองรองแรกอุทัย. อนึ่ง ในภูเขาที่ตั้งถัดมาภายนอก ภูเขาลูก
ที่ ๖ สูง ๖ โยชน์ ที่ ๕ สูง ๕ โยชน์ ที่ ๔ สูง ๔ โยชน์ ที่ ๓ สูง ๓ โยชน์
ที่ ๒ สูง ๒ โยชน์ ที่ ๑ สูง ๑ โยชน์. ที่มุมด้านทิศอีสานแห่งสระฉัททันต์
อันมีภูเขา ๗ ชั้น ล้อมรอบอยู่อย่างนี้ มีต้นไทรใหญ่ตั้งอยู่ในโอกาสที่น้ำและลม
ถูกต้องได้. ลำต้นไทรนั้นวัดโดยรอบได้ ๕ โยชน์ สูง ๗ โยชน์ มีกิ่งยาว
๖ โยชน์ ทอดไปในทิศทั้ง ๔ แม้กิ่งที่พุ่งตรงขึ้นบน ก็ยาวได้ ๖ โยชน์
เหมือนกัน. วัดแต่โคนต้นขึ้นไปสูงได้ ๑๓ โยชน์ วัดโดยรอบปริมณฑลกิ่งได้
๑๒ โยชน์ ประดับด้วยย่านไทรแปดพัน ตั้งตระหง่าน ดูเด่นสง่าคล้ายภูเขา
มณีโล้น.
อนึ่ง ในด้านทิศปัจฉิมแห่งสระฉัททันต์ ที่สุวรรณปัสสบรรพต มี
กาญจนคูหาใหญ่ประมาณ ๑๒ โยชน์. ถึงฤดูฝน พญาช้างฉัททันต์ มีช้าง
๘,๐๐๐เป็นบริวาร จะพำนักอยู่ในกาญจนคูหา, ในฤดูร้อนก็มายืนรับลมและ
น้ำอยู่ระหว่างย่านไทร โคนต้นนิโครธใหญ่. ต่อมาวันหนึ่ง ช้างทั้งหลายมา
แจ้งว่า ป่ารังใหญ่ดอกบานแล้ว. พญาฉัททันต์คิดว่า เราจักเล่นกีฬาดอกรัง
พร้อมทั้งบริวารไปยังป่ารังนั้น เอากระพองชนไม้รังต้นหนึ่ง ซึ่งมีดอกบาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 381
สะพรั่ง. นางจุลลสุภัททายืนอยู่ด้านเหนือลม. ใบรังที่เก่า ๆ ติดกับกิ่งแห้ง ๆ
และมดแดงมดดำ จึงตกต้องสรีระของนาง. นางมหาสุภัททายืนอยู่ด้านใต้ลม
เกสรดอกไม้และใบสด ๆ ก็โปรยปรายตกต้องสรีระของนาง. นางจุลลสุภัททา
คิดว่า พญาช้างนี้ โปรยปรายเกสรดอกไม้และใบสด ๆ ให้ตกต้องบนสรีระ
ภรรยาที่ตนรักใคร่โปรดปราน ในเรือนร่างของเราสิ ให้ใบไม้เก่าติดกับกิ่ง
แห้ง ๆ ทั้งมดแดงมดดำหล่นมาตกต้อง เราจักตอบแทนให้สาสม แล้วจองเวร
ในพระมหาสัตว์เจ้า.
อยู่มาวันหนึ่ง พญาช้างพร้อมด้วยบริวาร ลงสู่สระฉัททันต์ เพื่อ
ต้องการอาบน้ำ. ขณะนั้น ช้างหนุ่ม ๒ เชือก เอางวงกำหญ้าไทรมาให้ พญาช้าง
ชำระขัดสีกาย คล้ายกับแย้งกวาดยอดเขาไกรลาสฉะนั้น. ครั้นพญาช้างอาบน้ำ
ขึ้นมาแล้ว จึงให้นางช้างทั้งสองลงอาบ ครั้นนางช้างทั้งสองขึ้นมาแล้ว พากัน
ไปยืนเคียงพระมหาสัตว์เจ้า. ต่อแต่นั้น ช้างทั้ง ๘,๐๐๐ ก็ลงสระ เล่นกีฬาน้ำ
แล้วนำเอาดอกไม้นานาชนิดมาจากสระ ประดับตบแต่งพระมหาสัตว์เจ้า
คล้ายกับประดับสถูปเงิน ฉะนั้น เสร็จแล้วประดับนางช้างต่อภายหลัง. คราวนั้น
มีช้างเชือกหนึ่ง เที่ยวไปในสระได้ดอกปทุมใหญ่ มีกลีบ ๗ ชั้น จึงนำมา
มอบแด่พระมหาสัตว์เจ้า. พญาช้างฉัททันต์เอางวงรับดอกปทุมมา โปรย
เกสรลงที่กระพอง แล้วยื่นให้แก่นางมหาสุภัททาผู้เชษฐภรรยา. นางจุลล-
สุภัททาเห็นดังนั้น จึงคิดน้อยใจว่า พญาช้างนี้ให้ดอกปทุมใหญ่ กลีบ ๗
ชั้น แม้นี้ แก่ภรรยาที่รักโปรดปรานแต่ตัวเดียว ส่วนเราไม่ให้ จึงได้ผูกเวรใน
พระมหาสัตว์ซ้ำอีก.
อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพญาช้างโพธิสัตว์ จัดปรุงผลมะซางและเผือก
มันด้วยน้ำผึ้ง ถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ ให้ฉัน นางจุลลสุภัททาได้ถวาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 382
ผลาผลที่ตนได้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ดิฉันเคลื่อนจากอัตภาพนี้ ในชาตินี้แล้ว ขอให้ได้บังเกิดในตระกูล
มัททราช และได้นามว่า สุภัททาราชกัญญา ครั้นเจริญวัยแล้ว ขอให้ได้เป็น
อัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี เป็นที่รักใคร่โปรดปรานของพระองค์ จน
สามารถทำอะไรได้ตามชอบใจ และสามารถจะทูลท้าวเธอให้ทรงใช้นายพราน
คนหนึ่ง มายิงช้างเชือกนี้ ด้วยลูกศรอาบยาพิษ จนถึงแก่ความตาย และให้
นำงาทั้งคู่อันเปล่งปลั่งด้วยรัศมี ๖ ประการมาได้. นับแต่วันนั้นมา นางช้าง
จุลลสุภัททานั้นมิได้จับหญ้า จับน้ำ ร่างกายผ่ายผอมลง ไม่นานนักก็ล้มไป
บังเกิดในพระครรภ์ แห่งพระอัครมเหสีของพระราชา ในแคว้นมัททรัฐ และ
เมื่อประสูติออกมาแล้ว ชนกชนนีพาไปถวายแด่พระเจ้าพาราณสี นางเป็นที่
รักใคร่ โปรดปรานของพระเจ้าพาราณสี จนได้เป็นประมุขแห่งนางสนม
หมื่นหกพันนาง ทั้งได้ญาณเครื่องระลึกชาติหนหลังได้. พระนางสุภัททานั้น
ทรงดำริว่า ความปรารถนาของเราสำเร็จแล้ว คราวนี้จักให้ไปเอางาทั้งคู่ของ
พญาช้างนั้นมา. แต่นั้นพระนางก็เอาน้ำมันทาพระสรีระ ทรงผ้าเศร้าหมอง
แสดงพระอาการเป็นไข้ เสด็จสู่ห้องสิริไสยาสน์ บรรทมเหนือพระแท่นน้อย
พระเจ้าพาราณสีตรัสถามว่า พระนางสุภัททาไปไหน ? ทรงทราบว่า ประชวร
จึงเสด็จเข้าไปประทับนั่งบนพระแท่น ทรงลูบคลำปฤษฎางค์ของพระนาง
แล้วตรัสพระคาถาที่ ๑ ความว่า
ดูก่อนพระน้องนาง ผู้มีพระสรีระอร่ามงาม
ดังทอง มีผิวพรรณผ่องเหลืองเรืองรอง พระเนตร
ทั้งสองแจ่มใส เหตุไรหนอ พระน้องจึงดูเศร้าโศก
ซูบไป ดุจดอกไม้ที่ถูกขยี้ ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 383
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุจฺจงฺคี ความว่า ผู้มีพระสรีระ
อร่ามงามดังทอง. บทว่า มาลาว ปริมทฺทิตา ความว่า คล้ายดอกปทุม
ถูกขยี้ด้วยมือ ฉะนั้น.
พระนางสุภัททาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาต่อไปความว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า หม่อมฉันแพ้พระครรภ์ โดย
การแพ้พระครรภ์เป็นเหตุให้หม่อมฉันฝันเห็นสิ่งที่หา
ไม่ได้ง่าย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น โส ความว่า ความแพ้พระครรภ์
อันกระหม่อมฉันฝันเห็นเช่นใดนั้น. บทว่า สุปินนฺเตนุปจฺจคา ความว่า
พระเทวีทูลว่า กระหม่อมฉันฝันเห็นเป็นนิมิต ในที่สุดแห่งการฝันจึงแพ้
พระครรภ์ สิ่งที่แพ้พระครรภ์เพราะฝันเห็นนั้น ใช่ว่าจะเป็นเหมือนสิ่งที่หา
ได้ง่าย ๆ ก็หามิได้ คือสิ่งนั้นหาได้โดยยาก แต่เมื่อหม่อมฉันไม่ได้สิ่งนั้น
คงไม่มีชีวิตอยู่ได้.
พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสพระคาถา ความว่า
กามสมบัติของมนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้
และในสวนนันทนวัน กามสมบัติทั้งหมดนั้น เป็นของ
เราทั้งสิ้น เราหาให้เธอได้ทั้งนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจุรา ความว่า ดูก่อนนางสุภัททา
ผู้เจริญ กามสมบัติอันเป็นของมนุษย์ ที่พวกมนุษย์ปรารถนากันในโลกนี้
และรัตนะเจ็ดอย่างใดอย่างหนึ่งในนันทนวัน มีมากหาได้ง่าย คือกามคุณ ๕
อย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่ในมนุษยโลก เราจะให้วัตถุกามและกิเลสกามทั้งหมด
นั้นแก่เธอ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 384
พระเทวีได้สดับดังนั้นจึงทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม ความแพ้ท้อง
ของหม่อมฉันแก้ได้ยาก หม่อมฉันจะไม่ทูลให้ทราบก่อนในบัดนี้ ก็ใน
แว่นแคว้นของทูลกระหม่อม มีพรานป่าอยู่จำนวนเท่าใด ได้โปรดให้มา
ประชุมกันทั้งหมดเถิดพะย่ะค่ะ กระหม่อมฉันจักทูลให้ทรงทราบ ในท่ามกลาง
พรานป่าเหล่านั้น แล้วตรัสคาถาในลำดับต่อไป ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ นายพรานป่าเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ในแว่นแคว้นของพระองค์ จงมาประชุม
พร้อมกัน หม่อมฉันจะแจ้งเหตุ ที่แพ้พระครรภ์ของ
หม่อมฉัน ให้นายพรานป่าเหล่านั้นทราบ.
ใคาถานั้น มีอธิบายว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม ในแคว้นของ
ทูลกระหม่อม มีนายพรานจำพวกใด ซึ่งเป็นผู้สมควรอยู่ นายพรานทั้งหมด
จำพวกนั้นจงประชุมกัน คือเรียกร้องกันมา หม่อมฉันจักบอก คือกล่าวชี้แจง
ความแพ้ท้องของหม่อมฉัน อันมีอยู่อย่างใด แก่นายพรานเหล่านั้น.
พระเจ้ากรุงพาราณสีตรัสรับคำ แล้วเสด็จออกจากห้องบรรทม ตรัสสั่ง
หมู่อำมาตย์ว่า นายพรานป่าจำนวนเท่าใด มีอยู่ในกาสิกรัฐอันมีอาณาเขต
สามร้อยโยชน์ ขอท่านจงให้ตีกลองประกาศ ให้นายพรานป่าเหล่านั้นทั้งหมด
มาประชุมกัน. อำมาตย์เหล่านั้น ก็กระทำตามพระราชโองการ. ไม่นานเท่าใด
นายพรานป่าชาวกาสิกรัฐ ต่างก็ถือเอาเครื่องบรรณาการตามกำลัง พากันมาเฝ้า
ให้กราบทูลการที่พวกตนมาถึงให้ทรงทราบ. นายพรานป่าทั้งหมด ประมาณ
หกหมื่นคน. พระราชาทรงทราบว่า พวกนายพรานมาแล้ว จึงประทับยืนอยู่
ที่พระบัญชร เมื่อจะชี้พระหัตถ์ตรัสบอกพระเทวี จึงตรัสพระคาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 385
ดูก่อนเทวี นายพรานป่าเหล่านี้ ล้วนแต่มีฝีมือ
เป็นคนแกล้วกล้า ชำนาญป่า รู้จักชนิดของเนื้อ ยอม
สละชีวิตเพื่อประโยชน์ของเราได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิเม ความว่า ดูก่อนเทวี เธอให้
นายพรานเหล่าใดมาประชุมกัน นายพรานเหล่านั้นคือพวกนี้. บทว่า กตหตฺถา
ความว่า ล้วนมีฝีมือคือฉลาด ได้รับการศึกษาจนช่ำชอง ในกระบวนการยิง
และการตัดเป็นต้น.
บทว่า วิสารทา ความว่า เป็นผู้ปลอดภัย. บทว่า วนญฺญู จ
มิคญฺญู จ ความว่า ชำนาญป่า และรู้ชนิดสัตว์. บทว่า มมตฺเถ ความว่า
อนึ่ง พวกนายพรานทั้งหมดนี้. ยอมสละชีวิตในประโยชน์ของเราได้ คือเขา
กระทำตามที่เราปรารถนาได้.
พระเทวีทรงสดับดังนั้น ตรัสเรียกพวกนายพรานมาแล้ว ตรัสคาถา
ต่อไป ความว่า
ท่านทั้งหลาย ผู้เป็นเชื้อแถวของนายพราน ที่
มาพร้อมกันอยู่ ณ ที่นี้ จงฟังเรา เราฝันเห็นช้าง
เผือกผ่อง งามีรัศมี ๖ ประการ ฉันต้องการงาช้างคู่นั้น
เมื่อไม่ได้ชีวิตก็เห็นจะหาไม่.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น ดังต่อไปนี้ พระนางเทวีตรัสว่า ท่าน
ทั้งหลายผู้เป็นเทือกเถาเหล่าพรานไพร บรรดาที่มาพร้อมกัน ณ ที่นี้ จง
ตั้งใจฟังคำของเรา.
บทว่า ฉพฺพิสาณ ได้แก่ ช้างเผือก มีงามีรัศมี ๖ ประการ. เรา
ฝันเห็นช้างเผือก มีงามีรัศมี ๖ ประการ เราฝันเห็นคชสารเห็นปานนี้ จึงมี
ความต้องการงาทั้งสองของพญาช้างนั้น เมื่อไม่ได้ชีวิตก็เห็นจะหาไม่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 386
พวกบุตรพรานป่า ได้ฟังพระเสาวนีย์เช่นนั้น พากันกราบทูลว่า
บิดาหรือปู่ทวด ของข้าพระองค์ทั้งหลาย ก็ยัง
ไม่เคยได้เห็น ทั้งยังไม่เคยได้ยินว่า พญาช้างที่มีงา
มีรัศมี ๖ ประการ พระนางเจ้าทรงนิมิตเห็นพญาช้าง
มีลักษณะเช่นไร ขอได้ตรัสบอกพญาช้างที่มีลักษณะ
เช่นนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิตูน เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่ง
ตติยาวิภัตติ. มีคำอธิบายว่า พวกนายพรานกราบทูลว่า ขอเดชะ เศวตกุญชร
งามีรัศมี ๖ ประการ ลักษณะเช่นนี้ บิดาหรือปู่ของพวกข้าพระพุทธเจ้า ก็
ไม่เคยเห็นไม่เคยได้ฟัง ไม่จำต้องพูดถึงพวกข้าพระพุทธเจ้า เพราะเหตุนั้น
พระนางเจ้าทรงนิมิตเห็นพญาช้างมีลักษณะเช่นใด ขอทรงโปรดตรัสบอก
ลักษณะอาการที่ทรงนิมิตเห็นเช่นนั้น แก่พวกข้าพระพุทธเจ้าเถิด.
พวกบุตรพรานไพร กล่าวแม้คาถาต่อไป ความว่า
ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ เบื้องบน ๔ เบื้องล่าง ๑
ทิศทั้ง ๑๐ นี้ พระองค์ทรงนิมิตเห็นพญาช้าง ซึ่งมีงา
มีรัศมี ๖ ประการ อยู่ทิศไหน พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสา ได้แก่ ในทิศทั้งหลาย. บทว่า
กตม ความว่า ในบรรดาทิศทั้งหลายเหล่านี้ พญาช้างอยู่ทิศไหน พระเจ้าข้า.
เมื่อพวกพรานทูลถามอย่างนี้แล้ว พระนางเจ้าสุภัททาราชเทวี จึงทรง
พินิจดูพรานป่าทั้งหมดในจำนวนนั้น ทรงเห็นพรานป่าคนหนึ่ง ชื่อโสณุดร
เคยเป็นคู่เวรของพระมหาสัตว์ ปรากฏเป็นเยี่ยมกว่าพรานทุกคน รูปทรงสัณฐาน
ชั่วเห็นแจ้งชัด เช่นมีเท้าใหญ่ แข้งเป็นปมเช่นก้อนภัตต์ เข่าโต สีข้างใหญ่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 387
หนวดดก เคราแดง ตาเหลือง จึงทรงดำริว่า ผู้นี้จักสามารถทำตามคำของ
เราได้ แล้วกราบทูลขอพระบรมราชานุญาต ทรงพาพรานโสณุดรขึ้นไปยัง
พื้นปราสาทชั้นที่เจ็ด ทรงเปิดสีหบัญชรด้านทิศอุดร แล้วเหยียดพระหัตถ์
ชี้ตรงไปยังป่าหิมพานต์ด้านทิศอุดร ได้ตรัสคาถา ๔ คาถา ความว่า
จากที่นี้ตรงไปทิศอุดร ข้ามภูเขาสูงใหญ่ ๗ ลูก
เขาลูกสูงที่สุดชื่อ สุวรรณปัสสคิรี มีพรรณไม้ผลิดอก
ออกบานสะพรั่ง มีฝูงกินนรเที่ยวสัญจรไปมาไม่ขาด.
ท่านจงขึ้นไปบนภูเขาอันเป็นที่อยู่แห่งหมู่กินนร
แล้วมองลงมาตามเชิงเขา ทันใดนั้น จะได้เห็นต้นไทร
ใหญ่ สีเสมอเหมือนสีเมฆ มีย่านไทร ๘,๐๐๐ ห้อยย้อย.
ใต้ต้นไทรนั้น พญาเศวตกุญชรตัวนี้งามีรัศมี
๖ ประการอยู่อาศัย ยากที่ใครอื่นจะข่มขี่จับได้ ช้าง
ประมาณ ๘,๐๐๐ มีงาเท่างอนไถ วิ่งไล่เร็วปานลมพัด
พากันแวดล้อมรักษาพญาเศวตกุญชรนั้นอยู่.
ช้างเหล่านั้น ย่อมบันลือเสียงน่าหวาดกลัว
โกรธแม้แต่ลมที่พัดถูกตัว ถ้าเห็นมนุษย์ ณ ที่นั้น
เป็นต้องขยี้เสียให้เป็นภัสมธุลี แม้แต่ละอองก็ไม่ให้ถูก
ต้องพญาช้างได้เลย.
บทว่า อิโต ความว่า ดูก่อนนายพรานผู้เจริญ เจ้าจากสถานที่นี้
ไปแล้ว. บทว่า อุตฺตราย ความว่า ท่านจงไปตรงเบื้องทิศอุดร เดินข้าม
ภูเขาสูงใหญ่เจ็ดลูก เมื่อเจ้าข้ามไปพอเลยภูเขาหกลูก ชั้นแรกไปได้แล้วจะถึง
ภูเขาชื่อสุวรรณปัสสคิรี ล้วนแพรวพราวด้วยทอง. บทว่า อุฬาโร ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 388
สูงใหญ่กว่าภูเขาหกลูกนอกนั้น. บทว่า โอโลกย ความว่า ท่านจงก้มลง
ตรวจดู. บทว่า ตตฺถจฺฉติ ความว่า ในฤดูร้อน พญาเศวตกุญชรนั้น
ยืนรับน้ำและลมอยู่ ที่โคนต้นไทรนั้น.
บทว่า ทุปฺปสโห ความว่า คนเหล่าอื่นที่ชื่อว่าสามารถ เพื่อจะ
เข้าไปทำการข่มขี่ จับเอาพญาเศวตกุญชรนั้นไม่มีเลย ฉะนั้น จึงชื่อว่า
ใครอื่นข่มขี่ได้ยาก ถึงฤดูร้อนเศวตกุญชรเห็นปานนี้ ยืนรับน้ำและลมอยู่ที่
โคนต้นไทรนั้น ดูก่อนนายพราน ช้าง ๘,๐๐๐เป็นเช่นไร ? บทว่า อีสาทนฺตา
แปลว่า มีงาเท่างอนรถ. บทว่า วาตชวปฺปหาริโน ความว่า ช้างเหล่านั้น
มีปกติวิ่งไปประหารปัจจามิตรได้เร็วปานลมพัด ช้าง ๘,๐๐๐เห็นปานนี้ เฝ้า
รักษาพญาช้างนั้นอยู่.
บทว่า ตุมูล ความว่า ช้างเหล่านั้น ยืนพ่นลมหายใจเข้าออกน่ากลัว
คือมีเสียงดังสนั่นติดต่อกันเป็นลำดับไป. บทว่า เอริตสฺส ความว่า ช้าง
เหล่านั้นย่อมโกรธ แม้แต่ลมที่มากระทบ ติดตามเสียงและต้านเสียงให้หวั่นไหว
เห็นมนุษย์มาในที่นั้น ๆ แล้ว ร้ายกาจอย่างนี้. บทว่า นาสฺส ความว่า
เมื่อมนุษย์ถูกลมหายใจนั้นแหละกำจัดทำให้เป็นภัสมธุลีแล้ว ก็ยังไม่ยอมแม้จะ
ให้ละอองตกต้องพญาช้างนั้น.
นายพรานโสณุดร ฟังพระเสาวนีย์แล้ว หวาดกลัวต่อมรณภัย กราบทูล
เป็นคาถา ความว่า
ข้าแต่พระราชเทวี เครื่องอาภรณ์ที่แล้วไปด้วย
เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี และแก้วไพฑูรย์ มีอยู่ใน
ราชสกุลมากมาย เหตุไร พระแม่เจ้าจึงทรงประสงค์
เอางาช้างมาทำเป็นเครื่องประดับเล่า พระแม่เจ้าทรง-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 389
ปรารถนาจะให้ฆ่าพญาช้าง ซึ่งมีงามีรัศมี ๖ ประการ
เสีย หรือว่าจะให้พญาช้างฆ่าพวกเชื้อแถวของนาย-
พรานเสียกระมัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิลนฺธนา ได้แก่ เครื่องอาภรณ์ทั้งหลาย.
บทว่า เวฬุริยามยา ได้แก่ เครื่องแก้วไพฑูรย์. บทว่า ฆาเฏสฺสติ ความว่า
นายพรานโสณุดร ทูลถามว่า หรือว่า พระแม่เจ้ามีพระประสงค์จะให้พญาช้าง
ฆ่าเทือกเถาเหล่านายพรานเสีย โดยยกเอาเครื่องประดับเป็นเลศอ้าง.
ลำดับนั้น พระนางเทวี ตรัสคาถา ความว่า
ดูก่อนนายพราน เรามีทั้งความริษยา ทั้งความ
น้อยใจ เพราะนึกถึงความหลังเข้าก็ตรอมใจ ขอท่าน
จงทำตามความประสงค์ของเรา เราจักให้บ้านส่วย
แก่ท่าน ๕ ตำบล.
บทว่า สา ได้แก่ สา อห แปลว่า เรานั้น. บทว่า อนุสฺสรนฺตี
ความว่า เราระลึกถึงเวรที่พญาช้างนันทำกับฉันไว้ในปางก่อนก็ตรอมใจ. บทว่า
ทสฺสามิ เต ความว่า เมื่อความต้องการข้อนี้ของเราสำเร็จลง. ฉันจักยก
บ้านส่วย ๕ ตำบล ซึ่งมีรายได้หนึ่งแสนทุก ๆ ปี เป็นรางวัลแก่เจ้า.
ก็แล ครั้นพระนางเทวีตรัสอย่างนี้แล้ว ตรัสปลอบโยนว่า สหาย
พรานเอ๋ย ในชาติก่อนเราได้ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ตั้งความ
ปรารถนาไว้ว่า ขอให้เราเป็นคนสามารถที่จะให้ฆ่าพญาช้างฉัททันต์เชือกนี้
เอางาทั้งคู่มาให้ได้ ใช่ว่าฉันจะฝันเห็นก็หามิได้ อนึ่ง ความปรารถนาที่ฉัน
ตั้งไว้ต้องสำเร็จ เจ้าไปเถิด อย่ากลัวเลย. นายพรานโสณุดรรับปฏิบัติตามพระ-
เสาวนีย์ ของพระนางเทวีว่า ตกลงพระแม่เจ้า แล้วทูลว่า ถ้าเช่นนั้น พระแม่เจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 390
โปรดชี้แจงที่อยู่ของพญาช้างฉัททันต์นั้นให้แจ่มแจ้ง เมื่อจะทูลถามต่อไป
จึงกล่าวคาถา ความว่า
พญาช้างนั้นอยู่ที่ตรงไหน เข้าไปยืนอยู่ที่ไหน
ทางไหนเป็นทางที่พญาช้างไปอาบน้ำ อนึ่ง พญาช้าง
นั้นอาบน้ำอย่างไร ทำไฉน ข้าพระพุทธเจ้าจึงจะรู้คติ
ของพญาช้างได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตฺถจฺฉติ ความว่า พญาช้างอยู่ที้
ตรงไหน. บทว่า กตฺถ มุเปติ ความว่า เข้าไปในที่ไหน ? อธิบายว่า
ยืนที่ไหน. บทว่า วีถิสฺส กา ความว่า ทางไหนเป็นทางที่พญาช้างไปอาบน้ำ
คือพญาช้างไปอาบน้ำทางไหน. บทว่า กถ วิชาเนมุ คตึ ความว่า เมื่อ
พระแม่เจ้าไม่ทรงชี้แจง ข้าพระพุทธเจ้าจักทราบถิ่นไปมาของพญาช้างนั้นได้
อย่างไร ? เพราะเหตุนั้น ขอพระแม่เจ้าโปรดตรัสบอกข้าพระพุทธเจ้าเถิด.
เมื่อพระนางเทวี จะตรัสบอกสถานที่ อันเล็งเห็นโดยประจักษ์ด้วย
ญาณเครื่องระลึกชาติได้ แก่นายพรานโสณุดร ได้ตรัสคาถา ๒ คาถา ความว่า
ในที่ ๆ พญาช้างอยู่นั้น มีสระอยู่ใกล้ ๆ น่ารื่น-
รมย์ มีท่าราบเรียบ ทั้งน้ำก็มาก สะพรั่งไปด้วยพรรณ
ไม้ดอก มีหมู่ภมรมาคลึงเคล้า พญาช้างลงอาบน้ำ
ในสระนี้แหละ.
พญาช้างชำระศีรษะแล้ว ทัดทรงมาลัยอุบล
มีร่างเผือกผ่องขาวราวกะดอกบุณฑริก บันเทิงใจ ให้
มเหสีชื่อว่า สัพพภัททา เดินหน้า ดำเนินไปยังที่อยู่
ของตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 391
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺตเถว ความว่า ในสถานที่อยู่ของ
พญาช้างนั้นเอง. บทว่า โปกฺขรณี นี้ พระนางเทวีตรัสหมายถึงสระฉัททันต์.
บทว่า สปุปฺผิตา ความว่า มีดอกโกมุทสองชนิด ดอกอุบลสามชนิด ดอกปทุม
ห้าชนิด ผลิบานอยู่โดยรอบ. บทว่า เอตฺถ หิ โส ความว่า พญาช้างนั้น
ลงอาบน้ำในสระฉัททันต์นี้. บทว่า อุปฺปลมาลธารี ความว่า ทัดทรงมาลัย
ปุปผชาติ อันเกิดในน้ำและบนบก มีอุบลเป็นต้น. บทว่า ปุณฺฑรีกตจงฺคี
ความว่า ประกอบด้วยอวัยวะขาวเผือก มีผิวหนังราวกะดอกบุณฑริก.
บทว่า อาโมทนาโน ความว่า ทั้งยินดีร่าเริง. บทว่า สนิเกต
ความว่า ไปสู่ที่อยู่ของตน. บทว่า ปุรกฺขตฺวา ความว่า พระนางเทวีตรัสว่า
พญาช้าง ทำมเหสีชื่อ สัพพภัททาไว้เบื้องหน้า แวดล้อมด้วยช้าง ๘,๐๐๐
เป็นบริวาร ไปสู่ที่อยู่ของตน.
นายพราน โสณุดร ฟังพระเสาวนีย์แล้ว ทูลรับสนองว่า ดีละพระ
แม่เจ้า ข้าพระพุทธเจ้า จักฆ่าช้างนั้นนำเอางามาถวาย ครั้งนั้นพระเทวีทรง
ชื่นชมยินดี ประทานทรัพย์แก่เขาพันหนึ่ง รับสั่งว่า เจ้ากลับไปเรือนก่อนเถิด
อีกเจ็ดวัน จึงค่อยไปที่นั้น ครั้นส่งเขาไปแล้ว รับสั่งให้ช่างเหล็กมาเฝ้า ทรง
บัญชาว่า พ่อคุณ ฉันต้องการ มีดพับ ขวาน จอบ สิ่ว ค้อน มีดตัดพุ่ม
ไผ่ เคียวเกี่ยวหญ้า มีดดาบ ท่อนโลหะแหลม เลื่อย และหลักเหล็กสาม
ง่าม พ่อจงรีบทำของทั้งหมดมาให้ฉัน แล้วรับสั่งให้ช่างหนังมาเฝ้า ทรง
บัญชาว่า พ่อคุณ พ่อควรจะจัดทำกระสอบหนัง สำหรับใส่สัมภาระหนัก
ประมาณ หนึ่งกุมภะ ให้เรา เราต้องการเชือกหนัง สายรัด ถุงมือ รอง
เท้า และร่มหนัง พ่อจงช่วยทำของทั้งหมดนี้ มาให้เราด่วนด้วย นับแต่นั้น
ช่างทั้งสองก็รีบทำของทั้งหมด นำมาถวายแด่พระเทวี พระนางจึงทรงตระ-
เตรียมเสบียงให้นายพรานโสณุดรนั้น ตั้งแต่ไม้สีไฟเป็นต้นไป บรรจุเครื่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 392
อุปกรณ์ทุกอย่าง และเสบียงมีสัตตุก้อนเป็นต้น ใส่ลงในกระสอบหนัง เครื่อง
อุปกรณ์และเสบียงทั้งหมดนั้น หนักประมาณ กุมภะหนึ่ง ฝ่ายนายพราน
โสณุดรนั้น เตรียมตัวเสร็จแล้วถึงวันที่ เจ็ด ก็มาเฝ้าถวายบังคมพระราชเทวี
ลำดับนั้น พระนางเทวี รับสั่งกะเขาว่า เครื่องอุปกรณ์ทุกอย่างของเจ้าสำเร็จแล้ว
เจ้าจงลองยกกระสอบนี้ดูก่อน ก็นายพรานโสณุดรนั้น เป็นคนมีกำลังมาก
ทรงกาลังประมาณห้าช้างสาร เพราะฉะนั้น จึงยกกระสอบขึ้นคล้ายกระสอบพลู
แล้วสะพายบ่า ยืนเฉย ดุจยืนมือเปล่า พระนางสุภัททา จึงประทานเข้าของ
แก่พวกลูก ๆ ของนายพราน แล้วกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ จัดส่ง
นายพรานโสณุดรไป.
ฝ่ายนายพรานโสณุดรนั้น ครั้นถวายบังคมลาพระราชาและพระราช
เทวีแล้ว ก็ลงจากพระราชนิเวศน์ ขึ้นรถออกจากพระนคร ด้วยบริวารเป็น
อันมาก ผ่านคามนิคมและชนบทมาตามลำดับ ถึงปลายพระราชอาณาเขตแล้ว
จึงให้ชาวชนบทกลับ เดินทางเข้าป่าไปกับชาวบ้านชายแดน จนเลยถิ่นของ
มนุษย์ จึงให้ชาวบ้านชายแดนกลับทั้งหมด แล้วเดินไปเพียงคนเดียว สิ้นระยะ
ทาง ๓๐ โยชน์ ถึงป่าชัฏ ๑๘ แห่งโดยลำดับ คือตอนแรกป่าหญ้าแพรก
ป่าเลา ป่าหญ้า ป่าแขม ป่าไม้มีแก่น ป่าไม้มีเปลือก ชัฏ ๖ แห่ง เป็น
ชัฏพุ่มหนาม ป่าหวาย ป่าไม้ต่างพรรณระคนคละกัน ป่าไม้อ้อ ป่าทึบ แม้
งูก็เลื้อยไปได้ยาก คล้ายป่าแขม ป่าไม้สามัญ ป่าไผ่ ป่าที่มีเปลือกตมแล้ว
มีน้ำล้วน มีภูเขาล้วน ครั้นเข้าไปแล้ว ก็เอาเคียวเกี่ยวหญ้าแพรกเป็นต้น
เอามีดสำหรับตัดพุ่มไม้ไผ่ ฟันป่าแขมเป็นต้น เอาขวานโคนต้นไม้ ใช้สิ่วใหญ่
เจาะทำทางเดิน ที่ป่าไผ่ก็ทำพะองพาดขึ้นไปตัดไม้ไผ่ให้ตกบนพุ่มไผ่อื่น แล้ว
เดินไปบนยอดพุ่มไม้ไผ่ ถึงที่ซึ่งมีเปลือกตมล้วน ก็ทอดไม้เลียบแห้งเดินไปตาม
นั้น แล้วทอดท่อนอื่นต่อไปอีก ยกท่อนนอกนี้ขึ้น ทอดต่อไปข้างหน้าอีก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 393
ข้ามชัฏที่มีเปลือกตมไปได้ ถึงชัฏที่มีน้ำล้วน ก็ต่อเรือโกลนข้ามไปยืนอยู่ที่เชิง
เขา เอาเชือกผูกเหล็กสามง่าม ขว้างขึ้นไปให้ติดอยู่ที่ภูเขา แล้วโหนขึ้นไป
ตามเชือกหนังจนยืนอยู่บนภูเขาได้ แล้วหย่อนเชือกหนังลงไป ยึดเชือกหนัง
ลงมาผูกที่หลักข้างล่าง แล้วไต่ขึ้นทางเชือก เอาท่อนโลหะซึ่งมีปลายแหลม
ดุจเพชร เจาะภูเขาแล้วตอกเหล็ก เสร็จแล้วยืนอยู่ที่นั้น แล้วกระตุกเหล็ก
สามง่ามออก แล้วขว้างไปติดอยู่ข้างบนอีก ยืนอยู่บนนั้น แล้วหย่อนเชือกหนัง
ลงไปผูกไว้ที่หลักข้างล่าง ไต่ขึ้นไปตามเชือก มือซ้ายถือเชือก มือขวาถือ
ค้อน แก้เชือกแล้ว ถอนหลักขึ้นต่อไปอีก โดยทำนองนี้ จนขึ้นไปถึงยอด
เขา เมื่อจะลงด้านโน้น ก็ตอกเหล็กลงที่ยอดเขาลูกแรก โดยทำนองเดิมนั่น
เอง เอาเชือกผูกกระสอบหนังพันเข้าที่หลักแล้ว ตนเองนั่งภายในกระสอบ
โรยเชือกลงคล้ายอาการที่แมลงมุมชักใย บางอาจารย์กล่าวว่า นายพรานโสณุดร
ลงจากเขาโดยร่มหนัง เหมือนนกถาปีกโฉบลงฉะนั้น.
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงทำให้แจ่มแจ้ง ซึ่งข้อที่นายพรานโสณุดร
รับเอาพระเสาวนีย์ ของพระนางสุภัททาอย่างนั้นแล้ว ออกจากพระนคร ล่วง
เลยป่าชัฏ ๑๗ แห่ง จนถึงชัฏแห่งภูเขา ข้ามเขาหกลูกในที่นั้นได้ แล้วขึ้น
สู่ยอดเขาสุวรรณปัสสบรรพต จึงตรัสพระคาถา ความว่า
นายพรานนั้น ยึดเอาพระเสาวนีย์ ของพระนาง
สุภัททาราชเทวี ซึ่งประทับยืนอยู่ ณ ที่นั่นเอง แล้ว
เอาแล่งลูกธนู ข้ามภูเขาใหญ่ทั้ง ๗ ลูกไป จน
ถึงลูกที่ชื่อว่า สุวรรณปัสสบรรพต อันสูงโดด.
เขาขึ้นไปสู่บรรพต อันเป็นที่อยู่ของกินนรแล้ว
มองลงมายังเชิงเขา ได้เห็นต้นไทรใหญ่ สีเขียวดังสี
เมฆมีย่านไทรแปดพันห้อยย้อย ที่เชิงเขานั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 394
ทันใดนั้นเอง ก็ได้เห็นพญาช้างเผือกขาวผ่อง
งามรัศมี ๖ ประการ ยากที่คนเหล่าอื่นจะจับได้ มีช้าง
ประมาณ ๘,๐๐๐ เชือก ล้วนแต่มีงางามงอน ขนาด
งอนไถวิ่งไล่เร็วดุจลมพัด แวดล้อมรักษาพญาช้างนั้น
อยู่.
และได้เห็นสระโบกขรณี อันน่ารื่นรมย์อยู่ใกล้ๆ
ที่อยู่ของพญาช้างนั้น ทั้งท่าน้ำก็ราบเรียบ น้ำมากมาย
มีพรรณไม้ดอกบานสะพรั่ง มีหมู่ภมรเที่ยวเคล้าคลึงอยู่.
ครั้นเห็นที่ที่พญาช้างลงอาบน้ำ จนกระทั่งที่
ซึ่งพญาช้างเดินยืนอยู่ และทางที่พญาช้างลงอาบน้ำ
ก็แลนายพรานผู้มีใจลามก ถูกพระนางสุภัททา ผู้ตก
อยู่ในอำนาจจิต ทรงใช้มา ก็มาจัดแจงตระเตรียมหลุม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นาย
พรานนั้น ยึดเอาพระดำรัสของพระเทวี ซึ่งประทับยืน ณ พื้นปราสาทชั้นที
๗ นั้น แล้ว ถือเอาแล่งศร และธนใหญ่ไปยังชัฏแห่งบรรพต คิดว่า ภูเขา
ลูกไหนหนอ ชื่อ สุวรรณปัสสบรรพต (ข้าม) มหาบรรพตใหญ่ทั้งเจ็ด.
บทว่า วิตุริยา ความว่า ไตร่ตรอง คือพิจารณาดูในครั้งนั้น. เมื่อกำลัง
พิจารณาทบทวนอยู่นั้น เขาเห็นภูเขาที่ชื่อว่า สุวรรณปัสสคิรี อันสูงใหญ่
จึงคิดว่า ชะรอยจักเป็นภูเขาลูกนี้.
บทว่า โอโลกยิ ความว่า เขาขึ้นไปยังบรรพตอันเป็นที่อยู่ของ
พวกกินนรแล้ว ก้มมองดูข้างล่าง ตามข้อกำหนดหมายที่พระนางสุภัททาประ-
ทานมา. บทว่า ตตฺถ ความว่า เขาจึงเห็นต้นนิโครธนั้นอยู่ใกล้ ๆ เชิง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 395
เขานั้นเอง. บทว่า ตตฺถ ความว่า ยืนอยู่ที่โคนต้นไทรนั้น. บทว่า ตตฺถ
ความว่า ภายในภูเขา ไม่ห่างต้นไทรนั้นเอง พญาช้างอาบน้ำ ณ สระฉัท-
ทันต์ใด เขาได้เห็นสระฉัททันต์นั้น. บทว่า ทิสฺวาน ความว่า ในเวลาที่
ช้างทั้งหลายไปแล้ว นายพรานนั้นก็ลงจากสุวรรณปัสสบรรพต สวมถุงมือ
และรองเท้า แล้วตรวจตราดูที่ ๆ พญาช้างนั้นไป และที่ ๆ พญาช้างอยู่
ประจำ เห็นตลอดไปหมดว่า พญาช้างเดินทางนี้ อาบน้ำตรงนี้ ครั้นอาบ
แล้วขึ้นไปยืนตรงนี้ เพราะเป็นผู้ไม่มีหิริ คือ มีใจลามก ถูกพระนางสุภัททา
ผู้ตกอยู่ในอำนาจจิตใช้มา เพราะฉะนั้น จึงมาตระเตรียมหลุม คือเดินไป
ขุดหลุมไว้.
ในเรื่องนั้น มีข้อความเรียงลำดับ ดังต่อไปนี้ เล่ากันมาว่า นาย
พรานโสณุดรนั้น มาถึงที่อยู่ของพระมหาสัตว์กำหนดได้ เจ็ดปี เจ็ดเดือน
เจ็ดวัน กำหนดดูสถานที่อยู่ของพระมหาสัตว์ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นเอง
กำหนดหมายใจไว้ว่า เราจะต้องขุดหลุมที่ตรงนี้ ยืนแอบในหลุมนั้นยิง
พญาช้างให้ถึงความตาย ดังนี้แล้ว เข้าป่าตัดต้นไม้เพื่อทำเสาเป็นต้น ตระ-
เตรียมทัพสัมภาระไว้ เมื่อช้างทั้งหลายไปอาบน้ำกันแล้ว จึงเอาจอบใหญ่
ขุดหลุมสี่เหลี่ยมจตุรัส ตรงที่อยู่ของพญาช้าง แล้วเอาน้ำราด เหมือนจะปลูก
พืชที่คุ้ยฝุ่นขึ้น ปักเสาลงบนหินซึ่งมีสัณฐานคล้ายครก ใส่ขื่อ ปูกระดาน
เลียบไว้ เจาะช่องขนาดคอลอดได้ แล้วโรยฝุ่น และเกลี่ยขยะมูลฝอยพลาง
ข้างบนด้านหนึ่ง ทำเป็นที่เข้าออกของตน เมื่อหลุมเสร็จแล้วอย่างนี้ ในเวลา
ใกล้รุ่ง จึงคลุมศีรษะ นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ถือธนูพร้อมด้วยลูกศรอันอาบ
ยาพิษ ลงไปยืนอยู่ในหลุม.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสพระคาถา
ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 396
นายพรานผู้กระทำกรรมอันชั่วช้า ขุดหลุมเอา
กระดานปิดเสร็จแล้ว สอดธนูไว้ เอาลูกศรลูกใหญ่ยิง
พญาช้างที่มายืนอยู่ข้างหลุมของตน.
พญาช้างถูกยิงแล้ว ก็ร้องก้องโกญจนาท ช้าง
ทั้งหมดพากันบันลืออื้ออึง ต่างพากันวิ่งมารอบ ๆ ทั้ง
๘ ทิศ ทำหญ้าและไม้ให้แหลกเป็นจุณไป.
พญาช้างเอาเท้ากระชุ่นดิน ด้วยคิดว่า เราจักฆ่า
นายพรานคนนี้ แต่ได้เห็นผ้ากาสาวพัสตร์ อันเป็น
ธงชัย ของพระฤาษี ก็เกิดความรู้สึกว่า ธงชัยของ
พระอรหันต์ อันสัตบุรุษไม่ควรทำลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอธาย ความว่า ผูกสอดธนูไว้. บทว่า
ปสฺสาคต ความว่า (ยิงพญาช้าง) ตัวมายืนอยู่ข้างหลุมของตน.
ได้ยินว่า ในวันที่สอง พญาช้างนั้นมาอาบน้ำ แล้วขึ้นมายืนอยู่ที่
อันเป็นลานกว้างใหญ่ ลำดับนั้น น้ำจากสรีระของพญาช้างนั้น ไหลหยดทาง
นาภีประเทศ ตกต้องตัวของนายพรานทางช่องนั้น. โดยข้อสังเกตอันนั้น
นายพรานก็ทราบว่า พระมหาสัตว์มายืนอยู่แล้ว จึงเอาลูกศรใหญ่ยิงพญาช้าง
ซึ่งมายืนอยู่ข้างหลุมของตน.
บทว่า ทุกฺกฏกมฺมการี ความว่า ชื่อว่าผู้ก่อกรรมอันชั่วช้า เพราะ
ก่อทุกข์ให้เกิดแก่พระมหาสัตว์เจ้า ทั้งกายและใจ. บทว่า โกญฺจนมนาทิ
ความว่า บันลือโกญจนาทก้องไป. นัยว่า ลูกศรนั้นทะลุไปตรงนาภีประเทศ
ของพญาช้าง ทำลายอวัยวะเช่นไตเป็นต้นให้แหลกละเอียด ตัดไส้น้อยเป็นต้น
เรื่อยไป จนทะลุออกทางเบื้องหลังของพญาช้าง แล่นเลยไปในอากาศ แผล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 397
เหวอะหวะ คล้ายถูกดมขวานฉะนั้น เลือดไหลออกทางปากแผลนองไป ดุจ
น้ำย้อมไหลออกจากหม้อ บังเกิดทุกขเวทนาเหลือกำลัง พญาช้างไม่สามารถ
จะอดกลั้นทุกขเวทนาได้ก็ร้องก้องสนั่นไปทั่วสกลบรรพต บันลือโกญจนาท
อื้ออึงถึงสามครั้ง. บทว่า สพฺเพว ความว่า ช้าง ๘,๐๐๐ ทั้งหมดได้ยินเสียงนั้น
ต่างสะดุ้งกลัวต่อมรณภัย บันลือเสียงอันพิลึกน่าสะพรึงกลัว. บทว่า รณ กโรนฺ-
ตา ความว่า ช้างทั้ง ๘,๐๐๐ ต่างส่งเสียงร้องกึกก้องน่าเกรงขาม พลางมาตามเสียง
นั้นเห็นพญาฉัททันต์ได้รับทุกขเวทนา คิดว่า พวกเราจักจับปัจจามิตรให้ได้
ต่างวิ่งหาจนหญ้าและไม้แหลกเป็นจุณ. บทว่า วธิสฺสเมต ความว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งช้างทั้งหลายหลีกไปในทิศานุทิศแล้ว เมื่อนางช้างมหาสุภัททา
เข้าไปยืนเคียงข้างเล้าโลมปลอบใจ พญาฉัททันต์ก็อดกลั้นเวทนาได้ แล้วกำหนด
ทางที่ลูกศรแล่นมาไตร่ตรองดูว่า ถ้าลูกศรนี้จักมาทางเบื้องปุรัตถิมทิศเป็นต้น
แล้ว ลูกศรจักต้องทะลุทางกระพองเป็นต้นก่อน แล้วแล่นออกทางเบื้องหาง
เป็นต้น แต่นี่เข้าทางนาภี ทะลุแล่นไปในอากาศ เพราะฉะนั้น จักมีคนที่ยืน
อยู่ใต้ดินยิงมา ประสงค์จะตรวจตราดูที่ซึ่งมีคนยืนต่อไป จึงคิดว่า ใครจะ
ล่วงรู้ว่าจักมีอะไรเกิดขึ้น ควรที่เราจะให้นางมหาสุภัททาหลีกไปเสีย แล้ว
กล่าวว่า น้องรัก ช้างทั้ง ๘,๐๐๐ ค้นหาปัจจามิตรของพี่ ต่างก็พากันวิ่งไปใน
ทิศานุทิศ เจ้ามัวทำอะไรอยู่ที่นี่เล่า ? เมื่อนางมหาสุภัททาตอบว่า ท่านเจ้าขา
ดิฉันยืนคอยพยาบาลปลอบใจท่านอยู่ ขอท่านอดโทษแก่ดิฉันด้วยเถิด แล้ว
กระทำประทักษิณ ๓ รอบ จบทำความเคารพในฐานะทั้ง ๔ แล้วเหาะไปสู่อากาศ
ฝ่ายพญาช้างก็เอาเล็บเท้ากระชุ่นพื้นดิน. กระดานกระดกขึ้น พญาช้างก้มมองดู
ทางช่อง เห็นนายพรานโสณุดร ก็เกิดโทสจิตคิดว่า เราจักฆ่ามัน จึงสอดงวง
งามราวกะพวงเงิน ลงไปลูบคลำดู ได้มองเห็นผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัย
ของพระอรหันต์ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. พญาช้างจึงยกนายพรานขึ้นมาวางไว้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 398
เบื้องหน้า. ลำดับนั้น สัญญา คือความสำนึกผิดชอบได้เกิดขึ้นแก่พระมหาสัตว์
ซึ่งได้รับทุกขเวทนาขนาดหนักดังนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า ธงชัยแห่งพระอรหันต์ไม่ควร
ที่บัณฑิตจะทำลาย ควรสักการะเคารพอย่างเดียวโดยแท้. เมื่อพระมหาสัตว์เจ้า
จะสนทนากับนายพราน จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ผู้ใดยังไม่หมดกิเลส ปราศจากทมะและสัจจะ
ผู้นั้นไม่ควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ.
ส่วนผู้ใด คลายกิเลสได้แล้ว ตั้งมั่นอยู่ในศีล
ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแลควรนุ่งห่มผ้า
กาสาวะ.
คาถานั้นมีอธิบายดังนี้ สหายพรานเอ๋ย คนใดใช่คนหมดกิเลสดุจ
น้ำฝาดมีราคะเป็นต้น ปราศจากการฝึกอินทรีย์ ทั้งวจีสัจจะ คือไม่เข้าถึง
คุณเหล่านั้น นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตว์ อันย้อมแล้วด้วยน้ำฝาด คนนั้นไม่ควร
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์นั้นเลย คือไม่สมควรกับผ้านั้น ส่วนคนใด พึงชื่อว่า
เป็นผู้ชำระกิเลสได้ เพราะคายกิเลสดุจน้ำฝาดเหล่านั้นเสียได้. บทว่า สีเลสุ
สุสมาหิโต ความว่า บุคคลใดเป็นผู้มีศีลและอาจาระตั้งมั่นด้วยดีบริบูรณ์
บุคคลนั้นชื่อว่า ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะนี้.
พระมหาสัตว์เจ้า ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ระงับความคิดที่จะฆ่านายพราน
นั้นเสีย ถามว่า สหายเอ๋ย ท่านยิงเราเพื่อต้องการอะไร เพื่อประโยชน์ของ
ตัวเอง หรือคนอื่นใช้มา.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถาความว่า
พญาช้างถูกลูกศรใหญ่ เสียบเข้าแล้ว ไม่มีจิต
คิดประทุษร้าย ได้ถามนายพรานว่า เพื่อนเอ๋ย ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 399
ประสงค์อะไร เพราะเหตุอะไร หรือว่าใครใช้ให้ท่าน
มาฆ่าเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมตฺถิย ความว่า ท่านปรารถนา
อะไรไว้ ในอนาคต. บทว่า. กิสฺส วา แปลว่า เพราะเหตุอะไร. อธิบายว่า
ด้วยเหตุอันใด คือท่านผูกเวรอะไรไว้กับเราะ บทว่า กสฺส วา ความว่า
หรือว่านี้เป็นความประสงค์ของผู้อื่น คือใครใช้ท่านมาฆ่าเรา.
เมื่อนายพรานโสณุดรจะบอกความนั้นแก่พญาช้าง จึงกล่าวคาถา
ความว่า
ดูก่อนพญาช้างที่เจริญ นางสุภัททา พระมเหสี
ของพระเจ้ากาสิกราช อันประชาชนสักการะบูชาอยู่
ในราชสกุล พระนางได้ทรงนิมิตเห็นท่าน และได้
โปรดให้ทำสักการะแก่ข้าพเจ้าแล้ว ตรัสบอกข้าพเจ้า
ว่า มีพระประสงค์งาทั้งคู่ของท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปูชิตา ความว่า อันประชาชนบูชาแล้ว
โดยฐานะเป็นพระอัครมเหสี. บทว่า อทฺทสา ความว่า นัยว่า พระนางเธอ
ทรงพระสุบินนิมิตเห็นท่าน. บทว่า อสสิ ความว่า ทั้งพระนางเจ้าโปรด
ให้ทำสักการะแก่ข้าพเจ้าแล้ว ตรัสบอกว่า ในป่าหิมพานต์ มีพญาช้างรูปร่าง
อย่างนี้ อยู่สถานที่ชื่อโน้น. บทว่า ทนฺเตหิ ความว่า พระนางเทวีได้ตรัส
บอกข้าพเจ้าว่า งาทั้งสองของพญาช้างนั้น มีรัศมี ๖ ประการรุ่งเรือง เราต้อง
การงาเหล่านั้น ประสงค์จะทำเป็นเครื่องประดับ เจ้าจงไปนำเอางาช้างนั้นมา
ให้เรา.
พระมหาสัตว์ ทรงสดับดังนั้น ก็ทราบว่า นี้เป็นการกระทำของนาง
จุลลสุภัททา สู้อดกลั้นเวทนาไว้ กล่าวว่า พระนางสุภัททานั้น ใช่จะต้องการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 400
งาทั้งสองของเราก็หามิได้ แต่เพราะประสงค์จะให้ท่านฆ่าเรา จึงได้ส่งมา เมื่อ
จะแสดงความต่อไป จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
แท้จริง พระนางสุภัททาทรงทราบดีว่า งางาม ๆ
แห่งบิดา และปู่ทวดของเรา มีอยู่เป็นอันมาก แต่
พระนางเป็นคนพาล โกรธเคือง ผูกเวร ต้องการจะ
ฆ่าเรา.
ดูก่อนนายพราน ท่านจงลุกขึ้นเถิด จงหยิบเลื่อย
มาตัดงาคู่นี้เถิด ประเดี๋ยวเราจะตายเสียก่อน ท่านจง
กราบทูลพระนางสุภัททาผู้ยังผูกโกรธว่า พญาช้างตาย
แล้ว เชิญพระนางรับงาคู่นี้ไว้เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิเม ความว่า ได้ยินว่า งาทั้งหลายครั้ง
บิดาและปู่ของพญาช้างนั้น ได้เก็บซ่อนไว้ในที่เร้นลับ ด้วยประสงค์ว่าอย่าได้
พินาศไปเสีย พญาช้างฉัททันต์หมายเอางาช้างเหล่านั้นจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า
ชานาติ ความว่า พระนางสุภัททานั้นทราบอยู่ว่า งาของช้างเป็นจำนวนมาก
เก็บซ่อนไว้ในที่นี้. บทว่า วธตฺถิกา ความว่า แต่พระนางสุภัททานั้นประสงค์
จะให้ท่านฆ่าข้าพเจ้าให้ตายอย่างเดียว ได้ผูกเวรไว้ เพราะเก็บความพยาบาท
แม้เพียงเล็กน้อยไว้ในใจ คือพระนางจะให้เราถึงที่สุด ด้วยการกระทำที่ร้ายกาจ
เห็นปานนี้. บทว่า ขร แปลว่า เลื่อย. บทว่า ปุรา มรามิ ความว่า
ตอนที่เรายังไม่ตาย. บทว่า วชฺชาสิ ความว่า ท่านพึงกราบทูล. บทว่า
หนฺท อิมสฺส ทนฺตา ความว่า ท่านพึงทูลพระนางสุภัททานั้นว่า พญาช้าง
นั้นถูกท่านฆ่าตายแล้ว มโนรถของพระองค์ถึงที่สุดแล้ว เชิญรับงาเหล่านั้นของ
พญาช้างนั้นไว้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 401
นายพรานโสณุดรได้ฟังคำของพญาช้างแล้ว ลุกขึ้นจากที่นั่งถือเลื่อย
เข้ามาใกล้ ๆ พญาช้าง คิดว่า เราจักตัดเอางาไป. ก็พญาช้างนั้นสูงประมาณ
๘๐ ศอก ยืนเด่นคล้ายภูเขาเงิน ด้วยเหตุนั้น พรานโสณุดรจึงเอื้อมเลื่อยงา
ไม่ถึง. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าจึงย่อกายนอนก้มศีรษะลงเบื้องต่ำ. ขณะนั้น
นายพรานจึงเหยียบงวงเช่นกับพวงเงินของพระมหาสัตว์ ขึ้นไปอยู่บนกระพอง
เป็นเหมือนขึ้นยืนอยู่บนเขาไกรลาส แล้วเอาเข่ากระตุ้นเนื้อ ซึ่งย้อยอยู่ที่ปาก
ยัดเข้าข้างใน ลงจากกระพองแล้ว สอดเลื่อยเข้าไปภายในปาก. นายพราน
เอามือทั้งสองเลื่อยชักขึ้นชักลง อย่างทะมัดทะแมง. ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแก่
พระมหาสัตว์เป็นกำลัง ปากเต็มไปด้วยโลหิต. เมื่อนายพรานเลื่อยชักไปชักมา
อยู่ ก็ไม่สามารถจะเอาเลื่อยตัดงาให้ขาดได้. ทีนั้นพระมหาสัตว์เจ้าจึงบ้วน
โลหิตออกจากปาก สู้อดกลั้นทุกขเวทนาได้ ถามนายพรานว่า สหายเอ๋ย
ท่านไม่สามารถจะตัดงาให้ขาดได้ละหรือ ? พรานโสณุดรตอบใช่แล้วนาย.
พระมหาสัตว์ดำรงสติมั่น กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงยกงวงของเราขึ้น ให้จับ
เลื่อยข้างบนไว้ เราเองไม่มีกำลังจะยกงวงของเราได้. นายพรานก็ปฏิบัติตาม
เช่นนั้น. พระมหาสัตว์เอางวงยึดมือเลื่อยไว้ แล้วชักขึ้นชักลง ส่วนงาทั้งสอง
ก็ขาด ประดุจตัดตอไม้ฉะนั้น. ทีนั้นพญาช้างจึงให้นายพรานนำงาเหล่านั้น
มาถือไว้ แล้วกล่าวว่า สหายพราน เราให้งาเหล่านี้แก่ท่าน ใช่ว่าเราจะไม่รัก
ของเราก็หามิได้ ทั้งเรามิได้ปรารถนาความเป็นท้าวสักกะ เป็นมาร เป็น
พรหมเลย แต่เพราะงาคือพระสัพพัญญุตญาณนั้น เรารักกว่างาคู่นี้ตั้งร้อยเท่า
พันเท่า ขอบุญนี้จงเป็นปัจจัยแห่งการได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ดังนี้แล้ว
มอบงาไป แล้วถามต่อไปว่า สหายกว่าท่านจะมาถึงที่นี่ เป็นเวลานานเท่าไร ?
เมื่อนายพรานตอบว่า เจ็ดปี เจ็ดเดือน เจ็ดวัน จึงกล่าวว่า เชิญไปเถิด
ด้วยอานุภาพแห่งงาคู่นี้ ท่านจักถึงพระนครพาราณสี ภายในเจ็ดวันเท่านั้น
ดังนี้แล้ว ทำการป้องกันแก่นายพรานนั้น ส่งเขาไปโดยตั้งสัตยาธิษฐานว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 402
เราเป็นผู้ถูกลูกศรเสียบแทงแล้ว แม้จะถูก
เวทนาครอบงำ ก็ไม่คิดประทุษร้ายในบุคคลผู้นุ่งห่ม
ผ้ากาสาวพัสตร์ ถ้าข้อนี้เป็นความจริง อันเราผู้เป็น
พญาช้างตั้งไว้ ขอพาลมฤคในไพรสณฑ์ อย่าได้มา
กล้ำกรายนายพรานนี้เลย.
ก็แลครั้นพระมหาสัตว์ส่งนายพรานไปแล้ว ก็ทำกาลกิริยาล้มลงใน
เมื่อพวกช้าง และนางมหาสุภัททายังมาไม่ถึง.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถา
ความว่า
นายพรานนั้นรีบลุกขึ้นจับเลื่อย เลื่อยงาพญาช้าง
ทั้งคู่ อันงดงามวิลาสหาที่เปรียบมิได้ ในพื้นปฐพี
แล้วรีบถือหลีกออกจากที่นั้นไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วคฺคู ความว่า งามวิลาส. บทว่า สุเภ
แปลว่า งดงาม. บทว่า อปฺปฏิเม ความว่า งดงามหางาอื่นในแผ่นดินนี้
เปรียบมิได้.
เมื่อนายพรานนั้นหลีกไปแล้ว ช้างทั้งหลายก็มาถึง ไม่ทันเห็นปัจจา-
มิตร.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถา
ความว่า
ช้างเหล่านั้นตกใจ ได้รับความเสียใจ เพราะ
พญาช้างถูกยิง พากันวิ่งไปยังทิศทั้ง ๘ เมื่อไม่เห็น
ปัจจามิตรของพญาช้าง ก็พากันกลับมายังที่อยู่ของ
พญาช้าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 403
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภยทฺทิตา ความว่า อันความกลัวต่อ
มรณภัย เข้าไปคุกคามแล้ว. บทว่า อฏฺฏา แปลว่า ถึงความทุกข์. บทว่า
คชปจฺจามิตฺต ได้แก่ บุคคลผู้เป็นศัตรูของพญาช้าง. บทว่า เยน โส
ความว่า พญาช้างนั้นทำกาลกิริยาล้มลง ณ ลานอันกว้างใหญ่ คล้ายภูเขา
ไกรลาส ช้างทั้งหลายพากันมายังสถานที่นั้น.
ฝ่ายนางมหาสุภัททา ที่มาพร้อมกับช้างเหล่านั้นก็ดี ช้าง ๘,๐๐๐
ทั้งหมดนั้นก็ดี ต่างร่ำไห้คร่ำครวญอยู่ ณ ที่นั้น แล้วพากันไปยังสำนักแห่ง
พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้กุลุปกะของพระมหาสัตว์บอกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ปัจจยทายกของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ ทำกาละเสีย
แล้ว นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายไปดูซากของปัจจยทายกนั้น ในป่าช้าเถิด.
ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๕๐๐ รูป ก็เหาะมาทางอากาศลงตรงที่ลานใหญ่.
ขณะนั้น ช้างหนุ่ม ๒ เชือก ช่วยกันเอางาเสยยกสรีระร่างของพญาช้าง ให้จบ
พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วยกขึ้นสู่จิตกาธารทำฌาปนกิจ. พระปัจเจกพุทธเจ้า
ทั้งหลาย กระทำการสาธยายธรรมอยู่ที่ป่าช้าตลอดคืนยังรุ่ง. ช้างทั้ง ๘,๐๐๐
ครั้นดับธาตุเสร็จสรงสนานแล้ว เชิญนางมหาสุภัททาเป็นหัวหน้า แห่มายัง
สถานที่อยู่ของตน ๆ.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสพระคาถา
ความว่า
ช้างเหล่านั้น พากันคร่ำครวญร่ำไห้อยู่ ณ ที่นั้น
ต่างเกลี่ยอังคารขึ้นบนกระพองของตน ๆ แล้วยกเอา
นางสัพพภัททาผู้เป็นมเหสี ให้เป็นหัวหน้า พากัน
กลับยังที่อยู่ของตนทั้งหมด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 404
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสุก ได้แก่ ฝุ่นสรีรังคารที่ป่าช้า.
ฝ่ายนายพรานโสณุดร เอางาทั้งคู่มายังไม่ถึง ๗ วัน ก็ถึงพระนคร
พาราณสี.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถา ความว่า
นายพรานนั้น นำงาทั้งคู่ของพญาคชสาร อัน
อุดม ไพศาล งดงาม ไม่มีงาอื่นในปฐพีจะเปรียบได้
ส่องรัศมีดุจสีทอง สว่างไสวไปทั่วทั้งไพรสณฑ์ มา
ถึงยังพระนครกาสีแล้ว น้อมนำงาทั้งคู่เข้าไปถวาย
พระนางสุภัททา กราบทูลว่า พญาช้างล้มแล้ว ขอ
เชิญพระนางทอดพระเนตรงาทั้งคู่นี้เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวณฺณราชีหิ ความว่า ส่องรัศมีดุจ
สีทอง. บทว่า สมนฺตโมทเร ความว่า แผ่รัศมีดุจสีทองไปรอบ ๆ ทั่ว
ตลอดทั้งไพรสฑ์. บทว่า อุปเนสิ ความว่า ฝ่ายนายพรานโสณุดร ส่งข่าว
ไปทูลพระนางเทวีว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะนำงาทั้งคู่ อันเปล่งปลั่งมีรัศมี ๖
ประการ ของพญาช้างฉัททันต์เข้ามาถวาย ขอพระองค์ได้โปรดให้ประดับ
ตกแต่งพระนคร เมื่อพระนางเทวีกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ ให้ประดับ
ตกแต่งพระนครดุจเทพนครแล้ว ก็เข้าสู่พระนคร ขึ้นไปยังปราสาทน้อมงา
ทั้งคู่เข้าไป ครั้นน้อมเข้าไปแล้ว ก็กราบทูลว่า ขอเดชะพระแม่เจ้า ได้ทราบว่า
พระแม่เจ้าก่อความขุ่นเคืองเหตุเล็กน้อย ไว้ในพระทัยต่อพญาช้างใด ข้าพระ-
พุทธเจ้าฆ่าพญาช้างนั้นตายแล้ว โปรดทรงทราบว่า พญาช้างตายแล้ว ขอ
เชิญพระแม่เจ้าทอดพระเนตร นี้ คือ งาทั้งสองของพญาช้างนั้น แล้วได้ถวาย
งาไป. พระนางสุภัททาจึงเอางวงตาลทำด้วยแก้วมณี. รับคู่งาอันวิจิตร มีรัศมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 405
๖ ประการ ของพระมหาสัตว์เจ้า มาวางไว้ที่อุรุประเทศ ทอดพระเนตรดูงา
แห่งสามีที่รักของพระองค์ในปุริมภพ พลางระลึกว่า นายพรานโสณุดรฆ่า
พญาช้างที่ถึงส่วนแห่งความงามเห็นปานนี้ ให้ถึงแก่ชีวิต ตัดเอางาทั้งคู่มา
เมื่อทรงอนุสรณ์ถึงพระมหาสัตว์ ก็ทรงบังเกิดความเศร้าโศกไม่สามารถที่จะ
อดกลั้นได้ ทันใดนั้น ดวงหทัยของพระนางก็แตกทำลายไป ได้ทำกาลกิริยา
ในวันนั้นเอง.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสพระคาถา
ความว่า
พระนางสุภัททาผู้เป็นพาล ครั้นทอดพระเนตร
เห็นงาทั้งสองของพญาคชสารอันอุดม ซึ่งเป็นปิย-
ภัสดาของตนในชาติก่อนแล้ว หทัยของพระนางก็
แตกทำลาย ณ ที่นั้นเอง ด้วยเหตุนั้นแล พระนางจึง
ได้สวรรคต.
ลำดับนั้น เมื่อพระธรรมสังคาหกเถระเจ้าทั้งหลาย จะสรรเสริญ
พระคุณแห่งพระทศพล จึงกล่าวคำเป็นคาถาอย่างนี้ ความว่า
พระบรมศาสดาได้บรรลุสัมโพธิญาณแล้ว มี
พระอานุภาพมาก ได้ทรงทำการแย้มในท่ามกลาง
บริษัท ภิกษุทั้งหลายผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พากัน
กราบทูลถามว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาได้ทรงทำ
การแย้มให้ปรากฏ โดยไร้เหตุผลไม่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 406
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอทั้งหลายจงดู
กุมารีสาวคนนั้น นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ประพฤติ
อนาคาริยวัตร นางกุมารีคนนั้นแล เป็นนางสุภัททา
ในกาลนั้น เราตถาคตเป็นพญาช้างในกาลนั้น.
นายพรานผู้ถือเอางาทั้งคู่ ของพญาคชสารอัน
อุดม หางาอื่นเปรียบปานมิได้ในปฐพี กลับมายัง
พระนครกาสีในกาลนั้น เป็นพระเทวทัต.
พระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากความกระวนกระวาย
ความเศร้าโศก และกิเลสดุจลูกศร ตรัสรู้ยิ่งด้วย
พระองค์เองแล้ว ได้ตรัสฉัททันตชาดกนี้ อันเป็น
ของเก่า ไม่รู้จักสิ้นสูญ ซึ่งพระองค์ท่องเที่ยวไปตลอด
กาลนาน เป็นบุรพจรรยาทั้งสูงทั้งต่ำว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คราวครั้งนั้นเรายังเป็น
พญาช้างฉัททันต์ อยู่ที่สระฉัททันต์นั้น เธอทั้งหลาย
จงทรงจำชาดกไว้ ด้วยประการฉะนี้แล.
คาถาเหล่านั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย สรรเสริญพระคุณของ
พระทศพล รจนาให้ปรากฏไว้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิต อกาสิ
ความว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ แล้ว
มีพระอานุภาพมาก วันหนึ่งประทับนั่งเหนือธรรมาสน์ อันอลงกต ท่ามกลาง
บริษัท ในธรรมสภาอันประดับตกแต่งแล้ว ทรงกระทำการยิ้มแย้ม. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 407
นานากรเณ ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้มหาขีณาสพ กรานทูลถามว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาทรงทำการแย้มอย่างไร้
เหตุผลไม่ ก็การแย้มพระองค์ทรงกระทำแล้ว อะไรหนอเป็นเหตุให้พระองค์
ทรงทำการแย้ม.
บทว่า ยมทฺทสาถ ความว่า อาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาถูกทูล
ถามอย่างนี้แล้ว เมื่อจะตรัสบอกเหตุที่พระองค์ทรงทำการแย้ม ทรงชี้ภิกษุณี
สาวรูปหนึ่งตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพบหรือเห็นนางกุมา-
ริกานี้ใด ซึ่งกำลังรุ่นสาว ครองผ้ากาสาวพัสตร์ เข้าถึง คือบวชประพฤติ
อนาคาริยวัตรในพระศาสนานี้ นางกุมาริกานั้น คือ พระนางสุภัททาราชกัญญา
ในคราวนั้น ซึ่งใช้นายพรานโสณุดรไปว่า เจ้าจงเอาลูกศรอาบด้วยยาพิษ ไป
ยิงฆ่าพญาช้างเสีย คราวนั้นเราเป็นพญาช้าง ผู้ซึ่งนายพรานโสณุดรไปยิงให้
ถึงสิ้นชีวิต.
บทว่า เทวทตฺโต ความว่า ภิกษุทั้งหลาย นายพรานโสณุดรในครั้ง
นั้น ได้มาเป็นพระเทวทัต ในบัดนี้. บทว่า อนาวสูร ตัดบทเป็น น
อวสูร แปลว่า ชั่วพระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคต. บทว่า จิรรตฺตสสิต ความว่า
นับแต่กาลอันยาวนานนี้ ทรงท่องเที่ยวไปแล้ว คือทรงแล่นไปแล้ว ได้แก่
ทรงประพฤติมาแล้วโดยลำดับ ในที่สุดแห่งโกฏิกัปมิใช่น้อย. ท่านกล่าวคำ
อธิบายไว้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ชื่อว่า ทรงปราศจากความ
กระวนกระวาย เพราะทรงปราศจากกิเลสมีราคะเป็นต้น ชื่อว่า ทรงปราศจาก
ความเศร้าโศก เพราะไม่มีความเศร้าโศก อันเกิดแต่ญาติและทรัพย์เป็นต้น
ชื่อว่า ปราศจากลูกศร เพราะปราศจากลูกศร มีลูกศรคือราคะเป็นต้น ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 408
รู้ชัดด้วยพระองค์เองแล้ว ได้ตรัสเรื่องนี้อันเป็นของเก่า (ชั่วพระอาทิตย์ยังไม่
อัสดงคต) นับแต่กาลอันนานนี้ แม้ที่ทรงท่องเที่ยวไป ในที่สุดแห่งโกฏิกัป
มิใช่น้อย อันชื่อว่าเป็นพระจรรยาทั้งสูงทั้งต่ำ เพราะทรงสูงด้วยสามารถแห่ง
บุรพจรรยาของพระองค์ และเพราะต่ำ ด้วยสามารถแห่งจรรยาของพระนาง
สุภัททาราชธิดา และนายพรานโสณุดร ดุจทรงระลึกได้ถึงสิ่งที่กระทำด้วย
ความหลง ด้วยปราศจากความหลง สิ่งที่กระทำเวลาเช้าได้ในตอนเย็นวันนั้น
ทีเดียว.
บทว่า โว ในบทว่า อห โว นี้เป็นเพียงนิบาต. ความก็ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลนั้น เราได้เป็นพญาช้างอยู่ที่สระฉัททันต์นั้น. บทว่า
นาคราชา ความว่า และเมื่ออยู่ในคราวนั้นใช่ว่าจะเป็นใครอื่นก็หามิได้ ที่แท้
ก็คือเราผู้เป็นพญาช้างฉัททันต์. บทว่า เอว ธาเร ความว่า เธอทั้งหลาย
จงทรงจำ คือจดจำ ได้แก่เล่าเรียนชาดกนี้ไว้ ด้วยประการฉะนี้.
ก็แลคนเป็นอันมากฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้สำเร็จเป็นพระ-
โสดาบันเป็นต้น (ส่วน) นางภิกษุณีนั้น เจริญวิปัสสนาแล้ว ภายหลังได้
บรรลุพระอรหัตผล ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาฉัททันตชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 409
๕. สัมภวชาดก
ว่าด้วยผู้รุ่งโรจน์ได้เพราะปัญญา
[๒๓๕๒] ดูก่อนท่านอาจารย์สุจีรตะ เราทั้งหลาย
ได้ราชสมบัติและความเป็นใหญ่แล้ว ยังปรารถนาอยาก
ได้ความเป็นใหญ่ยิ่งขึ้น เพื่อความปรารถนาภิเษกครอบ
ครองพื้นปฐพีนี้.
โดยธรรม มิใช่โดยอธรรม เราหาชอบใจอธรรม
ไม่ ดูก่อนท่านอาจารย์สุจีรตะ การประพฤติธรรม
เป็นกิจของพระราชาโดยแท้.
ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายจะไม่ถูกนินทา
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ด้วยเหตุใด และจะได้รับ
เกียรติยศในเทวดาและมนุษย์ด้วยเหตุใด ขอท่านจง
บอกเหตุนั้น ๆ แก่เรา.
ดูก่อนพราหมณ์ เราปรารถนาจะกระทำตาม
อรรถและธรรม เราถามท่านแล้ว ขอจงบอกอรรถ
และธรรมนั้นด้วยเถิด.
[๒๓๕๓] ขอเดชะพระขัตติยราช พระองค์ทรง
ปรารถนา จะปฏิบัติตามอรรลและธรรมใด นอกจาก
วิธุรพราหมณ์แล้ว ไม่มีใครอื่นที่จะสมควรชี้แจงอรรถ
และธรรมนั้นได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 410
[๒๓๕๔] ดูก่อนท่านอาจารย์สุจีรตะ มาเถิดท่าน
เราจะส่งท่านไปยังสำนักของวิธุรพราหมณ์ ท่านจงนำ
เอาทองคำแท่งนี้ไปมอบให้ เพื่อรับคำอธิบาย ซึ่ง
อรรถและธรรม.
[๒๓๕๕] มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น ได้
ไปถึงสำนักของวิธุรพราหมณ์แล้ว เห็นท่านพราหมณ์
กำลังบริโภคอาหารอยู่ ในเรือนของตน.
[๒๓๕๖] พระเจ้าโกรัพยราช ผู้เรืองพระยศ
ทรงส่งเราให้เป็นทูตมา พระเจ้าโกรัพยะผู้ยุธิฏฐิลโคตร
ดำตรัสถามถึงอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วดังนี้ วิธุระ
สหายรัก ท่านถูกถามถึงอรรถและธรรมนั้นแล้วกรุณา
บอกเราด้วย.
[๒๓๕๗] ดูก่อนพราหมณ์ เราคิดว่า จักกั้น
แม่น้ำคงคา แต่ไม่อาจจะกั้นแม่น้ำใหญ่นั้นได้ เพราะ
เหตุนั้น โอกาสนั้นจักมีได้อย่างไร เมื่อท่านถามถึง
อรรถและธรรม เราจึงไม่อาจจักบอกได้.
[๒๓๕๘] มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น ได้
ไปถึงสำนักของภัทรการมาณพ ได้เห็นเธอกำลังนั่งอยู่
ในเรือนของตน.
[๒๓๕๙] เราเป็นราชทูตของพระเจ้าโกรัพยราช
ผู้ยงยศทรงส่งมา พระองค์ผู้ยุธิฏฐิลโคตร ตรัสถาม
ถึงอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วอย่างนี้ ดูก่อนภัทร-
การมาณพ เธอจงบอกอรรถและธรรมนั้นแก่เราด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 411
[๒๓๖๐] ข้าพเจ้าเป็นเหมือนคนทิ้งหาบเนื้อแล้ว
วิ่งตามเหี้ยไป ถึงจะถูกถามอรรถและธรรมก็ไม่อาจจะ
บอกแก่ท่านได้ ข้าแต่ท่านพราหมณ์สุจีรตะ น้องชาย
ของข้าพเจ้าชื่อว่า สัญชย มีอยู่ เชิญท่านไปถามอรรถ
และธรรมกะเธอดูเถิด.
[๒๓๖๑] มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น ได้
ไปถึงสำนักสัญชยกุมารแล้ว ได้เห็นสัญชยกุมารนั่ง
อยู่ในนิเวศน์ของตน จึงพูดว่า
[๒๓๖๒] เราเป็นราชทูตของพระเจ้าโกรัพัยราช
ผู้ยงยศทรงส่งมา พระองค์ผู้ยุธิฏฐิลโคตร ดำรัสถาม
อรรถและธรรม ได้ตรัสว่าดังนี้ ดูก่อนสัญชยกุมารเจ้า
ถูกถามแล้ว จงบอกอรรถและธรรมนั้นเถิด.
[๒๓๖๓] ข้าแต่ท่านสุจีรตพราหมณ์ มัจจุราช
ย่อมกลืนกินข้าพเจ้า ทั้งเช้าและเย็น ถึงถูกท่านถาม
ก็ไม่สามารถจะบอก อรรถและธรรมแก่ท่านได้.
ท่านพราหมณ์สุจีรตะ น้องชายของข้าพเจ้ามีอยู่
ชื่อว่าสัมภวกุมาร เชิญท่านไปถามอรรถและธรรม
กะเธอดูเถิด.
[๒๓๖๔] ชาวเราเอ๋ย ปัญหานี้ เป็นธรรม
น่าอัศจรรย์จริง เราไม่พอใจเลย ชนทั้ง ๓ คน คือ
บิดาและบุตรสองคน ยังไม่มีปัญญารู้แจ้งธรรมนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 412
ท่านทั้งหลายถูกถามแล้ว ยังไม่สามารถบอก
อรรถและธรรนนั้นได้ เด็กเจ็ดขวบถูกถามถึงอรรถ
และธรรม จะรู้เรื่องได้อย่างไร ?
[๒๓๖๕] ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้
ถามสัภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่า เธอเป็นเด็ก ท่าน
ถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้.
พระจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศ
ย่อมสว่างไสวล่วงหมู่ดาวทั้งปวง ในโลกนี้ด้วยรัศมี
ฉันใด สัมภวกุมาร แม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์
ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้า
ใจว่า เธอเป็นเด็กท่านถามสัมภวกุมารแล้วจะพึงรู้
อรรถและธรรมได้.
ดูก่อนท่านพราหมณ์ เดือน ๕ ในคิมหันตฤดู
ย่อมสวยงามยิ่งกว่าเดือนอื่น ๆ ด้วยต้นไม้และดอกไม้
ฉันใด สัมภวกุมาร แม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์
ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่ง
เข้าใจว่าเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้
อรรถและธรรมได้.
ดูก่อนท่านพราหมณ์ หิมวันตบรรพต ชื่อว่า
คันธมาทน์ ดารดาษไปด้วยไม้ต่าง ๆ พรรณ เป็นที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 413
อยู่อาศัยแห่งทวยเทพ ย่อมสง่างามและหอมตลบไป
ทั่วทิศ ด้วยทิพยโอสถฉันใด สัมภวกุมารแม้ยังเป็น
เด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะ
ประกอบด้วยปัญญา ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่
ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่า เธอเป็นเด็ก
ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้.
ไฟป่ามีเปลวรุ่งเรือง ไหม้ลามไปในป่า ไม่อิ่ม
มีแนวดำ คุเรื่อยไปมีเปรียงเป็นอาหาร มีควันเป็นธง
ไหม้แนวไพรสูง ๆ เวลากลางคืนสว่างลุกโชน อยู่
บนยอดภูเขาฉันใด สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น
ย่อมไพโรจน์ ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบด้วย
ปัญญา ดูก่อนพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร
อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว
จะพึงรู้อรรถและธรรมได้.
ม้าดี จะรู้ได้เพราะฝีเท้า โคพลิพัทธ์จะรู้ได้
เพราะเข็นภาระไป แม่โคนมจะรู้ได้เพราะน้ำนมดี
และบัณฑิตจะรู้ได้เมื่อเจรจา ฉันใด สัมภวกุมารแม้ยัง
เป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูก่อน
ท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่ง
เข้าใจว่า เธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะ
พึงรู้อรรถและธรรมได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 414
[๒๓๖๖] มหาพราหมณ์ภารทวาชโคตรนั้น ได้
ไปยังสำนักของสัมภวกุมาร เห็นเธอกำลังเล่นอยู่นอก
บ้าน.
[๒๓๖๗] เราเป็นราชทูตของพระเจ้าโกรัพยราช
ผู้ยงยศทรงส่งมา พระองค์ผู้ ยุธิฏฐิลโคตร ดำรัส
ถามถึงอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วดังกล่าวมา ดูก่อน
สัมภวกุมาร ท่านถูกถามแล้ว ขอจงบอกอรรถและ
ธรรมนั้นเถิด.
[๒๓๖๘] เชิญนั่ง ข้าพเจ้าจักแก้ปัญหาแก่ท่าน
อย่างนักปราชญ์ อนึ่ง พระราชาย่อมทรงทราบอรรถ
และธรรมนั้นได้ แต่จักทรงทำตามหรือไม่ ไม่ทราบ
[๒๓๖๙] ข้าแต่สุจีรตพราหมณ์ บุคคลผู้ถูกพระ
ราชาตรัสถามแล้ว พึงทูลกิจที่ควรทำในวันนี้ ให้ทำ
ในวันพรุ่งนี้ พระเจ้ายุธิฏฐิละ อย่าได้ทรงทำตาม ใน
เมื่อประโยชน์เกิดขึ้น.
ข้าแต่ท่านสุจีรตะ เมื่อบุคคลพระราชาดำรัส
ถาม พึงกราบทูลธรรมภายในเท่านั้น ไม่พึงให้เสด็จ
ไปยังหนทางที่ผิด ดุจคนโง่หาความคิดมิได้ ฉะนั้น.
กษัตริย์ไม่ควรลืมพระองค์ ไม่ควรประพฤติ
อธรรม ไม่ควรข้ามไปในที่มิใช่ท่า ไม่พึงทรงขวน
ขวาย ในสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 415
อนึ่ง กษัตริย์พระองค์ใด ทรงทราบว่า ควรจะ
ทำฐานะเหล่านี้ กษัตริย์พระองค์นั้น ย่อมทรงพระ
เจริญทุกเมื่อ ดุจพระจันทร์ ในสุกปักษ์ ฉะนั้น.
กษัตริย์พระองค์นั้น ย่อมเป็นที่รักใคร่ของพระ
ประยูรญาติทั้งหลายด้วย ย่อมทรงรุ่งโรจน์ในหมู่มิตร
ด้วย ท้าวเธอมีพระปรีชา เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว ย่อม
เข้าถึงโลกสวรรค์.
จบสัมภวชาดกที่ ๕
อรรถกถาสัมภวชาดก
พระบรมศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภพระปัญญาบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า รชฺชญฺจ
ปฏิปนฺนสฺสา ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้ง ในมหาอุมมังคชาดก. ส่วนเรื่องในอดีตมีว่า
พระราชาทรงพระนามว่า ธนัญชยโกรัพยะ เสรยราชสมบัติในอินทปัตต-
นคร แคว้นกุรุ พราหมณปุโรหิต นามว่า สุจีรตะ ได้เป็นผู้กล่าวสอน
อรรถธรรมของพระองค์. พระราชาทรงบำเพ็ญบุญกุศลมีทานเป็นต้น ทรง
ครองราชสมบัติโดยทศพิธราชธรรม ครั้นวันหนึ่ง จะทรงถกปัญหาชื่อธัมม-
ยาคะ จึงเชิญสุจีรตพราหมณ์ให้นั่งบนอาสนะ ทรงทำสักการะแล้ว เมื่อจะ
ตรัสถาม ได้ตรัสคาถา ๔ คาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 416
ดูก่อนท่านอาจารย์ สุจีรตะ เราทั้งหลายได้
ราชสมบัติและความเป็นใหญ่แล้ว ยังปรารถนาอยาก
ได้ความเป็นใหญ่ยิ่งขึ้น เพื่อปราบดาภิเษกครอบครอง
พื้นปฐพีนี้.
โดยธรรมไม่ใช่โดยอธรรม เราหาชอบใจอธรรม
ไม่ ดูก่อนท่านอาจารย์สุจีรตะ การประพฤติธรรมเป็น
กิจของพระราชาโดยแท้.
ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายจะไม่ถูกนินทาทั้ง
ในโลกนี้และโลกหน้า ด้วยเหตุใด และจะได้รับ
เกียรติยศ ในเทวดาและมนุษย์ด้วยเหตุใด ขอท่านจง
บอกเหตุนั้น ๆ แก่เรา.
ดูก่อนพราหมณ์ เราปรารถนาจะกระทำตามอรรถ
และธรรม เราถามท่านแล้ว ขอจงบอกอรรถและธรรม
นั้นด้วยเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รชฺช ความว่า ดูก่อนท่านอาจารย์
เราทั้งหลายได้ราชสมบัติในอินทปัตตนครอันมีปริมณฑลถึง ๗ โยชน์นี้ และ
ได้รับความเป็นใหญ่กล่าวคืออิสรภาพในกุรุรัฐ อันมีปริมณฑลถึง๓๐๐โยชน์
แล้ว.
บทว่า ปฏิปนฺนา แปลว่า บรรลุแล้ว. บทว่า มหนฺต ความว่า
คราวนี้เรายังปรารถนาความเป็นใหญ่ยิ่งขึ้น. บทว่า วิเชตุ ความว่า เรายัง
ปรารถนาความเป็นใหญ่เพื่อปราบดาภิเษกครอบครองแผ่นดินนี้ โดยธรรม.
บทว่า กิจฺโจว ความว่า การประพฤติธรรมเป็นกิจ คือเป็นพระราชกรณีย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 417
ที่สำคัญกว่าอวเสสชน. อธิบายว่า โลกคล้อยตามพระราชา เมื่อพระราชา
มีธรรม ชาวโลกทั้งหมดก็เป็นผู้มีธรรม เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่าธรรมนี้เป็นกิจ
ของพระราชาทีเดียว.
บทว่า อิธ เจวานนฺทิตา ความว่า พระราชาตรัสถามธัมมยาคปัญหา
กะพราหมณ์ปุโรหิตว่า เราทั้งหลายจะไม่ถูกนินทาในโลกนี้และโลกหน้า ด้วย
เหตุใด. บทว่า เยน ปปฺเปมุ ความว่า เราทั้งหลายจะไม่เกิดในนรกเป็นต้น
พึงถึงยศคือความเป็นใหญ่ ได้แก่ ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความงามในเทวโลก
และมนุษยโลกด้วยเหตุใด ท่านจงบอกเหตุนั้นแก่เรา.
บทว่า โยห ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราปรารถนาจะกระทำด้วย
สมาทานแล้วประพฤติด้วย ซึ่งอรรถคือผลวิบากและธรรมคือเหตุแห่งผลนั้น
และยังอรรถธรรมนั้นให้เกิดขึ้นด้วย. บทว่า ต ตฺว ความว่า เมื่อเราปรารถนา
จะขึ้นสู่ทางอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพานโดยสะดวกแล้ว เป็นผู้หาปฏิสนธิมิได้
เมื่อท่านถูกถามถึงอรรถและธรรมนั้น จงบอกคือกล่าวกระทำให้ปรากฏเถิด.
ก็ปัญหานี้ ลึกซึ้งเป็นพุทธวิสัย ควรที่จะถามเฉพาะพระสัพพัญญู-
พุทธเจ้าเท่านั้น เมื่อพระสัพพัญญูพุทธเจ้าไม่มี ควรถามพระโพธิสัตว์ ก็เพราะ
สุจีรตปุโรหิต มิใช่พระโพธิสัตว์ จึงไม่สามารถแก้ปัญหาถวายได้ และเมื่อ
ไม่สามารถ ก็ไม่ทำการถือตนว่าเป็นบัณฑิต เมื่อจะกราบทูลความที่ตนไม่
สามารถจึงกล่าวคาถา ความว่า
ขอเดชะพระขัตติยราช พระองค์ทรงปรารถนา
จะปฏิบัติตามอรรถและธรรมใด นอกจากวิธุรพราหมณ์
แล้ว ไม่มีใครอื่นที่จะสมควรชี้แจงอรรถและธรรมนั้น
ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 418
คาถานั้นมีอธิบายดังนี้ ขอเดชะพระมหาราชเจ้า ปัญหานี้ ใช่วิสัย
ของคนเช่นข้าพระพุทธเจ้าไม่ ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นเบื้องต้น เบื้องปลายของ
ปัญหานั้นเลยทีเดียว เป็นเหมือนเข้าสู่ที่มืด แต่ราชปุโรหิตของพระเจ้าพาราณสี
ชื่อวิธุรพราหมณ์มีอยู่ เขาพึงเฉลยปัญหานั้นได้ เว้นเขาเสียแล้วใครอื่นไม่สามารถ
ที่จะแสดงอรรถและธรรมที่พระองค์ทรงปรารถนาจะกระทำได้.
พระราชาทรงสดับถ้อยคำของสุจีรตพราหมณ์แล้วตรัสสั่งว่า ท่าน-
พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงรีบไปยังสำนักของวิธุรพราหมณ์เถิด มีพระประ-
องค์จะส่งเครื่องบรรณาการไปพระราชทาน จึงตรัสพระคาถา ความว่า
ดูก่อนท่านอาจารย์ สุจีรตะ มาเถิดท่าน เราจะ
ส่งท่านไปยังสำนักของวิธุรพราหมณ์ ท่านจงนำเอา
ทองคำแท่งนี้ไปมอบให้ เพื่อรับคาอธิบาย ซึ่งอรรถ
และธรรม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปนฺติก แปลว่า สู่สำนัก. บทว่า นิกฺข
ความว่า ทองคาหนัก ๕ ชั่งเป็นนิกขะหนึ่ง แต่พระเจ้าธนัญชยโกรัพยะ พระ-
ราชทานทองคำพันลิ่มจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อิม ทชฺชา ความว่า เมื่อ
วิธุรพราหมณ์นั้นกล่าวธัมมยาคปัญหานี้แล้ว ท่านพึงนำไปทำการบูชามอบลิ่ม-
ทองคำพันหนึ่งนี้ แก่วิธุรพราหมณ์นั้น เพื่อขอรับคำอธิบายอรรถและธรรม.
พระเจ้าธนัญชยโกรัพยะ ครั้นตรัสสั่งอย่างนี้แล้ว จึงตรัสสั่งให้เอาทองคำ
ควรค่าแสนหนึ่งมาแผ่เป็นแผ่น เพื่อจะได้จารึกคำวิสัชนาปัญหา ให้จัดยาน-
พาหนะสำหรับเดินทาง จัดพลนิกายสำหรับเป็นบริวาร แลจัดเครื่องราชบรร-
ณาการเสร็จแล้ว ก็ทรงส่งไปในขณะนั้นทีเดียว ส่วนสุจีรตพราหมณ์ออกจาก
พระนครอินทปัตต์แล้ว หาได้ตรงไปยังพระนครพาราณสีทีเดียวไม่ เหล่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 419
บัณฑิตอยู่ในที่ใด ๆ ก็เข้าไปยังที่นัน ๆ จนถ้วนทั่ว ไม่ได้รับผลกล่าวคือการ
กล่าวแก้ปัญหาในชมพูทวีปทั้งสิ้น จนลุถึงพระนครพาราณสีโดยลำดับยึดเอาที่
พัก ณ ที่แห่งหนึ่ง ไปยังนิเวศน์ของวิธุรพราหมณ์พร้อมด้วยคนใช้สองสามคน
ในเวลาอาหารเช้า บอกเล่าธุระที่ตนมาให้ทราบ อันวิธุรพราหมณ์เชิญเข้าไป
เห็นวิธุรพราหมณ์กำลังรับประทานอาหารอยู่ในเรือนของตน.
เมื่อพระบรมศาสดาจะทรงประกาศ ทำเนื้อความนั้นให้ชัดขึ้นจึงตรัส
พระคาถาที่ ๗ ความว่า
มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น ได้ไปถึงสำ-
นักของวิธุรพราหมณ์แล้ว เห็นท่านพราหมณ์ กำลัง
บริโภคอาหารอยู่ในเรือนของตน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฺวาธิปฺปาคา ความว่า สุจีรตพราหมณ์
ภารทวาชโคตร. มุ่งไปคือบรรลุถึงแล้ว. บทว่า มหาพฺรหฺมา ได้แก่
มหาพราหมณ์. บทว่า อสมาน แปลว่า กำลังบริโภคอยู่.
ก็สุจีรตพราหมณ์นั้น สมัยเป็นเด็ก เป็นเพื่อนกันกับวิธุรพราหมณ์
เรียนศิลปวิทยาในสำนักอาจารย์เดียวกัน เพราะฉะนั้น จึงร่วมรับประทานอาหาร
กับท่านวิธุรพราหมณ์ทันที ในเวลารับประทานเสร็จ นั่งพักสบายแล้วถูกถามว่า
สหายรัก ท่านมาธุระอะไร ? เมื่อจะบอกเหตุที่มา จึงกล่าวคาถาที่ ๘ ความว่า
พระเจ้าโกรัพยราชผู้เรืองพระยศ ทรงส่งเราให้
เป็นทูตมา พระเจ้าโกรัพยผู้ยุธิฏฐิลโคตร ดำรัสถาม
ถึงอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วดังนี้ วิธุรสหายรัก
ท่านถูกถามถึงอรรถและธรรมนั้นแล้ว กรุณาบอกเรา
ด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 420
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รญฺโห ความว่า เราเป็นทูตของ
พระเจ้าโกรัพยะผู้ยิ่งยศ. บทว่า ปหิโต ความว่า เราถูกพระองค์ตรัสสั่งให้
เป็นทูต จึงมาที่นี่. บทว่า ปุจฺเฉสิ ความว่า พระเจ้าธนัญชยราชผู้ยุธิฏฐิล-
โคตรนั้น ตรัสถานปัญหาชื่อธัมมยาคะ เราไม่อาจจะแก้ได้ เรารู้ว่า ท่านจัก
สามารถ จึงกราบทูลพระองค์ท่านให้ทรงทราบ พระองค์พระราชทานเครื่อง-
บรรณาการ เมื่อจะทรงส่งเรามายังสำนักของท่าน เพื่อถามปัญหา ได้ตรัสสั่งว่า
เจ้าจงไปยังสำนักของวิธุรพราหมณ์ ถามถึงแนวอรรถและธรรมแห่งปัญหานี้
บัดนี้เราถามท่านแล้ว ท่านจงบอกอรรถและธรรมนั้น.
ก็ในครั้งนั้น ท่านวิธุรพราหมณ์ คิดว่า เราจักกำหนดจิตของมหาชน
ดังนี้ จึงวุ่นอยู่กับการวินิจฉัยความ คล้ายกับปิดกั้นแม่น้ำคงคา ไม่มีโอกาส
ที่จะแก้ปัญหานั้นได้ เมื่อจะบอกความข้อนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เราคิดว่าจักกั้นแม่น้ำคงคา
แต่ไม่อาจจะกั้นแม่น้ำใหญ่นั้นได้ เพราะเหตุนั้นโอกาส
นั้นจักมีได้อย่างไร เมื่อท่านถามถึงอรรถและธรรม
เราจึงไม่อาจจักบอกได้.
คาถานั้นมีอรรถาธิบายดังนี้ ดูก่อนสหายพราหมณ์ เราเกิดความกังวล
ขวนขวายว่า จักปิดกั้นแม่น้ำคงคา คือคติจิตต่าง ๆ กันของมหาชน ก็ไม่
สามารถจะกั้นเสียงอันดังนั้นได้ เพราะฉะนั้น จักมีโอกาสได้อย่างไรกัน เมื่อ
โอกาสไม่มี เราก็วิสัชนาชี้แจ้งแก่ท่านไม่ได้ เมื่อไม่ได้ความที่จิตแน่วแน่
และไม่มีโอกาส ถึงจะถูกท่านถามก็ไม่สามารถจะบอกอรรถและธรรมแก่ท่านได้.
ครั้นวิธุรพราหมณ์ กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงบอกว่า บุตรชายของเราเป็น
คนฉลาด มีปัญญาปราดเปรื่องกว่าเรา เขาจักพยากรณ์ได้ ท่านจงไปสำนัก
ของเขาเถิด ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๑๐ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 421
แต่ภัทรการะ ผู้เป็นบุตรเกิดแต่อกของเรามีอยู่
เชิญท่านไปถามอรรถและธรรมกะเธอดูเถิด ท่าน-
พราหมณ์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอรโส ได้แก่ ผู้เจริญแล้วในอก. บทว่า
อตฺรโช แปลว่า เกิดเพราะตน.
สุจีรตพราหมณ์ ฟังดังนั้น จึงออกจากเรือนของวิธุรพราหมณ์ ไปยัง
นิเวศน์ของภัทรการมาณพ ในเวลาที่เธอรับประทานอาหารเสร็จแล้ว นั่งอยู่
ท่ามกลางบริษัทของตน.
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถา
ที่ ๑๑ ความว่า
มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น ได้ไปถึง
สำนักของภัทรการะ ได้เห็นเธอกำลังนั่งอยู่ในเรือน
ของตน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวสฺมนิ แปลว่า ในเรือน.
สุจีรตพราหมณ์ไปที่นั้นแล้ว อันภัทรการมาณพจัดการต้อนรับ และ
ทำสักการะเคารพ นั่งแล้วถูกถามถึงเหตุที่มา จึงกล่าวคาถาที่ ๑๒ ความว่า
เราเป็นราชทูตของพระเจ้าโกรัพยราช ผู้ยงยศ
ทรงส่งมา พระองค์ผู้ยุธิฏฐิลโคตร ตรัสถามถึงอรรถ
และธรรม ได้ตรัสแล้วอย่างนี้ ดูก่อนภัทรการมาณพ
เธอจงบอกอรรถและธรรมนั้นแก่เราด้วย.
ลำดับนั้น ภัทรการมาณพจึงกล่าวกะ สุจีรตพราหมณ์ว่า ข้าแต่คุณพ่อ
ข้าพเจ้าเคลิบเคลิ้มอยู่ในปรทาริกกรรมทุก ๆ วัน จิตของข้าพเจ้ามัวหมอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 422
ด้วยเหตุนั้น จึงไม่สามารถจะวิสัชนาแก่ท่านได้ แต่น้องชายของข้าพเจ้า
ชื่อว่า สัญชยกุมาร มีญาณประเสริฐกว่าข้าพเจ้ายิ่งนัก เชิญท่านถามเขาเถิด
เขาจักแก้ปัญหาของท่านได้ ดังนี้แล้ว เมื่อจะส่งไปยังสำนักของน้องชาย ได้
กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ข้าพเจ้าเป็นเหมือนคนทิ้งหาบเนื้อ แล้ววิ่งตาม
เหี้ยไป ถึงจะถูกถามอรรถและธรรม ก็ไม่อาจจะบอก
แก่ท่านได้ ข้าแต่ท่านพราหมณ์สุจีรตะ น้องชายของ
ข้าพเจ้าชื่อว่า สัญชัย มีอยู่ เชิญท่านไปถามอรรถและ
ธรรมกะเธอดูเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มสกาช ความว่า บุรุษหาบก้อนเนื้อ
เดินทางไป พบลูกเหี้ยเข้าในระหว่างทาง จึงทิ้งหาบเนื้อเสีย ไล่ติดตามลูกเหี้ย
นั้น ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทอดทิ้งภรรยาผู้อยู่ในอำนาจ ใน
เรือนของตัว มัวติดพันหญิงที่ผู้อื่นรักษาคุ้มครอง เมื่อภัทรการมาณพจะแสดง
ดังนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น.
ในขณะนั้นเอง สุจีรตพราหมณ์จึงไปยังนิเวศน์ของสัญชยกุมาร อัน
สัญชยกุมารทำสักการะเคารพแล้ว ถูกถามถึงเหตุที่มา จึงแจ้งให้ทราบ.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา
๒ คาถา ความว่า
มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น ได้ไปถึงยัง
สำนักสัญชยกุมารแล้ว ได้เห็นสัญชยกุมารนั่งอยู่ใน
นิเวศน์ของตน จึงพูดว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 423
เราเป็นราชทูตของพระเจ้าโกรัพยราช ผู้ยงยศ
ทรงส่งมา พระองค์ผู้ยุธิฏฐิลโคตร ดำรัสถามอรรถ
และธรรม ได้ตรัสว่าดังนี้ ดูก่อนสัญชยกุมาร เจ้าถูก
ถามแล้วจงบอกอรรถและธรรมนั้นเถิด.
ก็ในครั้งนั้น สัญชยกุมารกำลังคบหาภรรยาของผู้อื่นอยู่ทีเดียว.
ลำดับนั้น เธอจึงบอกสุจีรตพราหมณ์ว่า พ่อคุณ ข้าพเจ้ากำลังคบหาภรรยา
ผู้อื่นอยู่ และเมื่อคบหาก็ต้องข้ามแม่น้ำไปฝั่งโน้น มฤตยูคือความตาย ย่อม
กลืนกินข้าพเจ้า ซึ่งกำลังข้ามแม่น้ำอยู่ทั้งเช้าทั้งเย็น ด้วยเหตุนั้น จิตของ
ข้าพเจ้าจึงขุ่นมัว ไม่สามารถบอกอรรถธรรมแก่ท่านได้ แต่ข้าพเจ้ามีน้องชาย
อยู่คนหนึ่ง ชื่อว่า สัมภวกุมาร แต่เกิดมาอายุได้เพียงเจ็ดปี มีญาณความรู้
เหนือข้าพเจ้า ตั้งร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า เธอจักบอกแก่ท่านได้ เชิญท่าน
ไปถามดูเถิด เมื่อจะประกาศความนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ข้าแต่ท่านสุจีรตพราหมณ์ มัจจุราชย่อมกลืนกิน
ข้าพเจ้า ทั้งเช้าและเย็นถึงถูกท่านถาม ไม่สามารถ
จะบอกอรรถและธรรมแก่ท่านได้.
ท่านพราหมณ์สุจีรตะ น้องชายของข้าพเจ้ามีอยู่
ชื่อว่า สัมภวกุมาร เชิญท่านไปถามอรรถและธรรม
กะเธอดูเถิด.
สุจีรตพราหมณ์ได้ฟังดังนั้น จึงคิดว่า ปัญหานี้จักเป็นของอัศจรรย์
ในโลกนี้ ชะรอยจะไม่มีใครที่ชื่อว่าสามารถเพื่อจะวิสัชนาปัญหานี้ แล้วได้
กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 424
ชาวเราเอ๋ย ปัญหานี้เป็นธรรม น่าอัศจรรย์จริง
เราไม่พอใจเลย ชนทั้ง ๓ คน คือ บิดาและบุตรสองคน
ยังไม่มีปัญญารู้แจ้งธรรมนี้.
ท่านทั้งหลายถูกถามแล้ว ยังไม่สามารบอก
อรรถและธรรมนั้นได้ เด็กเจ็ดขวบถูกถามถึงอรรถ
และธรรม จะรู้เรื่องได้อย่างไร ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาย ความว่า นี้เป็นปัญหาธรรมที่น่า
อัศจรรย์ ชื่อว่าคนผู้สามารถบอกปัญหาธรรมนี้ไม่มีเลย เพราะเหตุนั้น เด็ก
ที่ท่านพูดว่า จักบอกได้นี้ เราไม่พอใจเลย. สุ อักษรในบทว่า เต สุ นี้
เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า วิธุรพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี ภัทรการมาณพ
และสัญชยกุมารบุตรก็ดี รวมเป็น ๓ คนทั้งบิดาและบุตร ยังไม่รู้แจ้ง คือยัง
ไม่ทราบชัด ซึ่งธรรมนี้ด้วยปัญญาได้ คนอื่นใครเล่าจักรู้. บทว่า น น
ความว่า ท่านทั้ง ๓ คนถูกถามแล้ว ยังไม่สามารถบอกได้ เด็กอายุ ๗ ขวบ
ถูกถามแล้ว จักรู้ได้อย่างไรกัน คือ จักสามารถรู้ได้ด้วยเหตุไฉน ?
สัญชยกุมารได้ฟังดังนั้น จึงชี้แจงว่า ท่านอย่าเข้าใจว่า สัมภวกุมาร
เป็นเด็ก ถ้าท่านมีความต้องการด้วยการวิสัชนาปัญหา ท่านจงไปถามเขา
ดูเถิด เมื่อจะประกาศเกียรติคุณของกุมารน้องชาย โดยแสดงใจความให้เข้าใจ
ได้กล่าวคาถา ๑๒ คาถา ความว่า
ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถาม สัมภว-
กุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภว
กุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้.
พระจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศ
ย่อมสว่างไสวล่วงหมู่ดาวทั้งปวง ในโลกนี้ด้วยรัศมี
ฉันใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 425
สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วง
บัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูก่อนท่าน
พราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจ
ว่า เธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้วจะพึงรู้อรรถ
และธรรมได้.
ดูก่อนท่านพราหมณ์ เดือน ๕ ในคิมหันตฤดู
ย่อมสวยงามยิ่งกว่าเดือนอื่น ๆ ด้วยต้นไม้และดอกไม้
ฉันใด สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์
ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่า
เพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว
จะพึงรู้อรรถและธรรมได้.
ดูก่อนท่านพราหมณ์ หิมวันตบรรพต ชื่อว่า
คันธมาทน์ ดารดาษไปด้วยไม้ต่าง ๆ พันธุ์ เป็นที่อยู่
อาศัยแห่งทวยเทพ ย่อมสง่างามและหอมตลบไป
ทั่วทิศ ด้วยทิพยโอสถ ฉันใด สัมภวกุมารแม้ยังเป็น
เด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะ
ประกอบด้วยปัญญา ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้
ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก ท่านถาม
สัมภวกุมารแล้วจะพึงรู้อรรถและธรรมได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 426
ไฟป่ามีเปลวรุ่งเรือง ไหม้ลามไปในป่าไม่อิ่ม
มีแนวทางดำ คุเรื่อยไป มีเปรียงเป็นอาหาร มีควัน
เป็นธง ไหม้แนวไพรสูง ๆ เวลากลางคืนสว่างลุกโชน
อยู่บนยอดภูเขา ฉันใด มภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉัน
นั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบ
ด้วยปัญญา ดูก่อนพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภว-
กุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมาร
แล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้.
ม้าดีจะรู้ได้เพราะฝีเท้า โคพลิพัทธ์จะรู้ได้
เพราะเข็นภาระไป แม่โคนมจะรู้ได้เพราะน้ำนมดี
และบัณฑิตจะรู้ได้เมื่อเจรจา ฉันใด สัมภวกุมารแม้ยัง
เป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย
เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่าน
ยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก
ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชญฺา แปลว่า จักได้รู้. บทว่า จนฺโท
ได้แก่ พระจันทร์ในวันเพ็ญ. บทว่า วิมโล ความว่า ปราศจากมลทินมี
หมอกเป็นต้น. บทว่า เอวมฺปิ ทหรูเปโต ความว่า สัมภวกุมารแม้เข้าถึง
ความเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมงามเกิน คือไพโรจน์ล่วงได้แก่สว่างไสว ล่วง
บัณฑิตที่เหลือ ในพื้นชมพูทวีปทั้งสิ้น เพราะประกอบด้วยปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 427
บทว่า รมฺมโก ได้แก่ เดือน ๕. บทว่า อเตวฺเหิ ความว่า
งามกว่าเดือนทั้ง ๑๑ เดือน อื่น ๆ ยิ่งนัก. บทว่า เอว ความว่า แม้
สัมภวกุมาร ก็ฉันนั้น ย่อมงดงาม เพราะประกอบด้วยปัญญา. บทว่า หิมวา
ความว่า ภูเขา มีชื่อว่า หิมะ เพราะประกอบไปด้วยหิมะ ในสมัยหิมะตก
อนึ่ง ชื่อว่า คายหิมะ เพราะคายหิมะ ในคิมหฤดู ภูเขาชื่อว่า คันธมาทน์
เพราะย่ำยีชนผู้มาประจวบเข้าด้วยของหอม. บทว่า มหาภูตคณาลโย แปลว่า
เป็นที่อยู่อาศัยของทวยเทพ. บทว่า ทิสา ภาติ ความว่า ภูเขาคันธมาทน์
นั้นย่อมทำทิศทั้งปวงให้สว่างไสว เป็นอันเดียวกัน. บทว่า ปวาติ ความว่า
ย่อมฟุ้งไปตลอดทิศ ทั้งปวงด้วยของหอม.
บทว่า เอว ความว่า สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กฉันนั้น ย่อมสว่าง
ไสวและหอมฟุ้งไปทั่วทิศทั้งปวง เพราะประกอบด้วยปัญญา. บทว่า ยสสฺสิมา
ความว่า ไฟป่าชื่อว่า ยสสฺสิมา มีเปลว เรื่องโรจน์ เพราะถึงพร้อมด้วย
เดช. บทว่า อจฺจิมาลี ความว่า ไฟป่าประกอบไปด้วยเปลว. บทว่า ชลมา-
โน วเน คจฺเฉ ความว่า ย่อมลามไหม้ไปในป่าใหญ่ กล่าวคือ กอไม้.
บทว่า อนโล แปลว่า ไม่อิ่ม. ชื่อว่า เป็นแนวดำ เพราะทางที่ไฟไหม้ไป
แล้วดำ. ชื่อว่า มีเปรียงเป็นอาหาร เพราะกินเปรียง ด้วยสามารถแห่งเครื่อง
บูชา ในยัญพิธี. ชื่อว่า มีควันเป็นธง เพราะยังกิจแห่งธงให้สำเร็จ. บทว่า
อุตฺตมาเหวนนฺทโห ความว่า ไฟป่า ย่อมไหม้ไพรสณฑ์สูง ๆ ที่เรียก
กันว่า ป่าทึบ. บทว่า นิสฺสิเว แปลว่า ในเวลาค่ำคืน. บทว่า ปพฺพตคฺคสฺมึ
แปลว่า บนยอดภูเขา. บทว่า พหุเตโช แปลว่า มีฤทธิ์เคชมากมาย. บทว่า
วิโรจติ ความว่า ย่อมส่องสว่างทวีทิศทั้งปวง. บทว่า เอว ความว่า
สัมภวกุมารน้องชายของข้าพเจ้า แม้จะเป็นเด็ก ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วง
บัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา. บทว่า ภทฺร ความว่า ชน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 428
ทั้งหลาย รู้จักม้าอาชาไนยตัวเจริญ เพราะประกอบไปด้วยฝีเท้า มิใช่เพราะ
รูปร่าง หน้าตา. บทว่า วาหิเย ความว่า ชนทั้งหลายรู้จักโคพลิพัทธ์
ว่าโคนี้ ประเสริฐแท้ เพราะนาภาระไปได้ ในเมื่อมีภาระที่จะพึงนำไป.
บทว่า โทเหน ความว่า รู้จักแม่โคนมว่ามีน้ำนมดี เพราะถึงพร้อมด้วย
น้ำนม. ในบทว่า ภาสมาน นี้ ความว่า รู้จักว่าเป็นบัณฑิต เมื่อพูด
เรื่องราวต่าง ๆ. นักปราชญ์พึงนาสูตรว่าด้วยบัณฑิตกับคนพาลมาแสดงประกอบ.
เมื่อสัญชยกุมาร สรรเสริญสัมภวกุมารอยู่อย่างนี้ สุจีรตพราหมณ์
คิดว่า เราถามปัญหาดูแล้ว จักรู้กัน ดังนี้ แล้วจึงถามว่า ดูก่อนกุมาร
น้องชายของเจ้าอยู่ไหนเล่า ลำดับนั้น สัญชยกุมารจึงเปิดสีหบัญชร ชี้มือ
บอกสุจีรตพราหมณ์ว่า นั่น สัมภวกุมาร คนที่มีผิวพรรณผ่องใสคล้ายทองคำ
กำลังเล่นอยู่กับเพื่อนเด็ก ๆ ระหว่างถนนริมประตูปราสาท นี้คือน้องชายของ
ข้าพเจ้า เชิญท่านไปหาแล้วไต่ถามเขาดู เขาจักบอกปัญหาแก่ท่านได้ โดย
ลีลาแห่งพระพุทธเจ้า สุจีรตพราหมณ์ ฟังคำของสัญชยกุมารแล้ว ลงจาก
ปราสาท ไปยังสำนักของสัมภวกุมาร. มีคำถามสอดเข้ามาว่า ไปเวลาไหน ?
แก้ว่า ไปในเวลาที่สัมภวกุมาร ยืนเปลื้องผ้านุ่งออกพาดไว้ที่ตอ เอามือทั้งสอง
กอบฝุ่นเล่น.
เมื่อพระบรมศาสดา จะทรงกระทำเนื้อความนั้นให้แจ่มแจ้ง จึงตรัส
พระคาถา ความว่า
มหาพราหมณ์ ภารทวาชโคตร นั้นได้ไปยัง
สำนักของสัมภวกุมาร เห็นเธอกำลังเล่นอยู่นอกบ้าน.
ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้า เห็นพราหมณ์มายืนอยู่ข้างหน้า จึงถามว่า ข้า
แต่ท่านพ่อ ท่านมาด้วยประสงค์สิ่งไร เมื่อสุจีรตพราหมณ์บอกว่า พ่อกุมาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 429
เราเที่ยวไปในพื้นชมพูทวีป ก็ไม่พบผู้ที่สามารถจะแก้ปัญหาที่เราถามได้ จึง
ได้มายังสำนักของเจ้าดังนี้แล้ว จึงคิดว่า ทราบว่า ปัญหาที่ใคร ๆ วินิจฉัย
ไม่ได้ในสกลชมพูทวีป ตกมาถึงสำนักของเรา เราเป็นคนแก่ด้วยความรู้ ดังนี้
รู้สึกละอายใจ จึงทิ้งฝุ่นที่อยู่ในกำมือเสีย ดึงผ้าที่ตอมามานุ่ง แล้วปวารณา
โดย สัพพัญญุตญาณว่า เชิญถามเถิดท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าจักบอกท่านโดย
ลีลาแห่งพระพุทธเจ้า.
ลำดับนั้น สุจีรตพราหมณ์ ถามปัญหาด้วยคาถา ความว่า
เราเป็นราชทูตของพระเจ้า โกรัพยราช ผู้ยงยศ
ทรงส่งมา พระองค์ผู้ยุธิฏฐิลโคตร ดำรัสถามถึงอรรถ
และธรรม ได้ตรัสแล้วดังกล่าวมา ดูก่อนสัมภวกุมาร
ท่านถูกถามแล้ว ขอจงบอกอรรถและธรรมนั้นเถิด.
ใจความแห่งปัญหานั้นว่า เกียรติคุณแห่งสัมภวบัณฑิต ได้ปรากฏ
เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ ท่ามกลางแห่งดวงดาวฉะนั้น.
ลำดับนั้น สัมภวกุมาร จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงคอยฟัง เมื่อ
จะวิสัชนาธัมมยาคปัญหา กล่าวคาถา ความว่า
เชิญฟัง ข้าพเจ้า จักแก้ปัญหาแก่ท่าน อย่างนัก
ปราชญ์ อนึ่ง พระราชาย่อมทรงทราบอรรถ และ
ธรรมนั้นได้ แต่จักทรงทำตามหรือไม่ ไม่ทราบ.
เมื่อสัมภวกุมารยืนแสดงธรรมอยู่ระหว่างถนน ด้วยเสียงอันไพเราะ
เสียงกึกก้องไปทั่วพระนครพาราณสี ประมาณ ๑๒ โยชน์ ลำดับนั้น พระ
ราชาและอุปราชเป็นต้นทั้งหมด มาประชุมกันแล้ว พระมหาสัตว์เจ้า จึงเริ่ม
แสดงธรรมเทศนา ในท่ามกลางมหาชน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 430
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตคฺฆ เป็นคำเชิญให้สดับการพยากรณ์
ปัญหาแง่เดียว. บทว่า ยถาปิ กุสโล ความว่า พระมหาสัตว์เจ้า แสดง
ธรรมแก่สุจีรตพราหมณ์ว่า พระสัพพัญญูผู้ทรงฉลาดยิ่ง ตรัสบอกฉันใด
ข้าพเจ้าก็จักบอกแก่ท่านโดยส่วนเดียวฉันนั้น. บทว่า ราชา จ โข ต
ความว่า ข้าพเจ้าจักบอกปัญหานั้น โดยประการที่พระราชาของท่านจะทรง
ทราบได้ ยิ่งกว่านั้น พระราชา ย่อมทรงทราบอรรถธรรมนั้นได้อย่างนี้ พระ
องค์จะทรงกระทำตาม หรือไม่ทรงกระทำตามก็ตาม ปัญหานั้นจักเกิดมีแก่
ท้าวเธอ ผู้ทรงกระทำตาม หรือไม่ทรงกระทำตามทีเดียว แต่โทษผิดของเรา
ไม่มี.
ครั้นสัมภวกุมาร ปฏิญาณณการกล่าวแก้ปัญหา ด้วยคาถาอย่างนี้แล้ว
บัดนี้ เมื่อจะกล่าวธัมมยาคปัญหาต่อไป จึงกล่าวคาถา ความว่า
ข้าแต่สุจีรตพราหมณ์ บุคคลผู้ถูกพระราชา
ตรัสถามแล้ว พึงทูลกิจที่ควรทำในวันนี้ ให้ทำในวัน
พรุ่งนี้ พระเจ้ายุธิฏฐิละ อย่าได้ทรงทำตาม ในเมื่อ
ประโยชน์เกิดขึ้น.
ข้าแต่ท่านสุจีรตะ เมื่อบุคคลถูกพระราชาดำรัส
ถาม พึงกราบทูลธรรมภายในเท่านั้น ไม่พึงให้เสด็จ
ไปยังหนทางผิด ดุจคนโง่หาความคิดมิได้ฉะนั้น.
กษัตริย์ไม่ควรลืมพระองค์ ไม่ควรประพฤติ
อธรรม ไม่ควรข้ามไปในที่มิใช่ท่า ไม่พึงทรงขวนขวาย
ในสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 431
อนึ่ง กษัตริย์พระองค์ใด ทรงทราบว่า ควรจะ
ทำฐานะเหล่านี้ กษัตริย์พระองค์นั้น ย่อมทรงพระเจริญ
ทุกเมื่อ ดุจพระจันทร์ ในสุกปักษ์ ฉะนั้น.
กษัตริย์พระองค์นั้น ย่อมเป็นที่รักใคร่ของพระ-
ประยูรญาติทั้งหลายด้วย ย่อมทรงรุ่งโรจน์ในหมู่มิตร
ด้วย ท้าวเธอมีพระปรีชา เมื่อสวรรคตแล้วย่อมเข้าถึง
โลกสวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเสยฺย ได้แก่ พึงกราบทูล. ท่านกล่าว
คำอธิบายไว้ดังนี้ ข้าแต่ท่านสุจีรตะ ถ้าหากใครถูกพระราชาของท่านดำรัสถามว่า
วันนี้เราจะให้ทาน รักษาศีล กระทำอุโบสถดังนี้ไซร้ พึงกราบทูลว่า
ขอเดชะ ข้าแต่มหาราชเจ้า วันนี้พวกข้าพระพุทธเจ้าจะฆ่าสัตว์ จะบริโภคกาม
จะดื่มสุราก่อน ต่อพรุ่งนี้จึงจักทำบุญทำกุศล พระราชาผู้ยุธิฏฐิลโคตรของท่าน
ถึงจะทรงกระทำตามคำของอำมาตย์ แม้ผู้ยิ่งใหญ่นั้นแล้ว ก็อย่าได้อยู่อย่าง
ยังวันนั้นให้ล่วงไปด้วยความประมาท ในเมื่อประโยชน์เช่นนั้นเกิดขึ้น อย่า
ทรงกระทำตามคำของเขา รักษากุศลจิตที่เกิดขึ้นแล้วอย่าให้เสื่อม จงทรง
บำเพ็ญกรรมอันปฏิสังยุตด้วยกุศลอย่างเดียว ท่านควรกราบทูลคำนี้แด่พระราชา
ของท่าน.
ด้วยคาถานี้ พระมหาสัตว์เจ้า แสดงภัทเทกรัตตสูตรว่า อชฺเชว
กิจฺจมาตปฺป โกชญฺา มรณ สุเว เป็นอาทิ ความว่า ควรทำความเพียร
เสียในวันนี้ ใครเล่าจะรู้ความตายว่าจะมีในวันพรุ่งนี้ และแสดงโอวาทเกี่ยวด้วย
ความไม่ประมาทว่า อปฺปมาโท อมต ปท ปมาโท มจฺจุโน ปท
เป็นอาทิความว่า ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่ง
ความตาย ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อชฺชตญฺเญว ความว่า ท่านสุจีรตะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 432
ท่านถูกพระราชาดำรัสถามว่า สัมภวบัณฑิตถูกท่านถามในธัมมยาคปัญหา
กล่าวแก้อย่างไร ? พึงกราบทูลอัชฌัตธรรมอย่างเดียว แด่พระราชา คือ
พึงกราบทูลถึงเบญจขันธ์อันเป็นนิยกัชฌัตธรรมว่า เป็นของไม่เที่ยงโดยความ
เป็นของไม่มี.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ พระมหาสัตว์เจ้า ทรงแสดงอนิจจตาธรรมแจ่มแจ้ง
ด้วยคาถาอย่างนี้ ความว่า
เมื่อใดบัณฑิตพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ สังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความเข้าไประงับ
สังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นสุข.
บทว่า กุมฺมคฺค ความว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ อันธพาลปุถุชน
คนงมงายไม่มีความคิด ย่อมซ่องเสพทางผิดคือทิฏฐิ ๖๒ ประการฉันใด พระ-
ราชาของท่านไม่ควรซ่องเสพทางผิดฉันนั้น จงซ่องเสพเฉพาะกุศลกรรมบถ ๑๐
อันเป็นนิยยานิกธรรม ท่านควรกราบทูลพระองค์อย่างนี้. บทว่า อตฺตาน
ความว่า กษัตริย์ไม่ควรละเลยอัตภาพอันดำรงอยู่ในสุคติ ชนทั้งหลายละเลย
กุศลสมบัติ ๓ ประการในกามภพ แล้วบังเกิดในอบายเพราะกรรมใด กษัตริย์
ไม่ควรทำกรรมนั้น. บทว่า อธมฺม ความว่า ไม่ควรประพฤติอธรรมกล่าวคือ
ทุจริต ๓ อย่าง. บทว่า อติตฺเถ ความว่า ไม่ควรข้าม คือ ไม่ควรหยั่งลง
ในที่มิใช่ท่า กล่าวคือทิฏฐิ ๖๒ ประการ. ปาฐะว่า น ตาเรยฺย ดังนี้ก็มี.
ความก็ว่า ไม่ควรยังชนผู้ถึงทิฏฐานุคติของของตนให้หยั่งลง. บทว่า อนตฺเถ
ได้แก่ ในสิ่งที่มิใช่เหตุ. บทว่า น ยุโต ความว่า ไม่ควรขวนขวาย
(ในสิ่งไร้เหตุผล). ในข้อนี้มีคำอธิบายว่า ถ้าว่าพระราชาของท่านทรงประสงค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 433
จะประพฤติในธัมมยาคปัญหา ก็จงทรงประพฤติในโอวาทนี้ ท่านควรกราบทูล
ท้าวเธอด้วยประการฉะนี้.
บทว่า สทา ได้แก่ ตลอดกาลเป็นไปติดต่อ. ท่านกล่าวอธิบาย
ไว้ดังนี้ พระขัตติยราชพระองค์ใดทรงทราบเพื่อจะทำเหตุเหล่านี้ พระขัตติย-
ราชพระองค์นั้นย่อมทรงเจริญทุกเมื่อ ดุจพระจันทร์ในข้างขึ้นฉะนั้น. บทว่า
วิโรจติ ความว่า ย่อมทรงงดงามไพโรจน์ท่ามกลางมิตรและอำมาตย์ของ
พระองค์ ด้วยคุณทั้งหลายมีศีล มรรยาท และญาณ เป็นต้น.
พระมหาสัตว์เจ้า กล่าวแก้ปัญหาแก่พราหมณ์โดยลีลาแห่งพระพุทธเจ้า
ดุจยังพระจันทร์ให้ปรากฏขึ้น ณ พื้นอากาศ ด้วยอาการอย่างนี้. มหาชน
ต่างบันลือโห่ร้องตบมือ กระทำสาธุการพันครั้ง ยังการยกธงและการดีดนิ้วมือ
ให้เป็นไป ทั้งซัดไปซึ่งวัตถุมีเครื่องประดับมือเป็นต้น. ทรัพย์สินที่มหาชน
ซัดไปแล้วอย่างนี้ นับได้ถึงโกฏิ. แม้พระราชาก็ทรงโปรดปรานพระราชทาน
ยศใหญ่ แก่สัมภวกุมารนั้น ฝ่ายสุจีรตพราหมณ์ ทำการบูชาด้วยทองคำพันลิ่ม
แล้วจารึกคำวิสัชนาปัญหาลงในแผ่นทองคำด้วยชาดกับหรดาล แล้วเดินทาง
ไปยังอินทปัตตนครกราบทูลธัมมยาคปัญหาแด่พระราชา. พระราชาทรงประ-
พฤติในธรรมนั้น แล้วยังเมืองสวรรค์ให้แน่นบริบูรณ์.
พระบรมศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่าดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในปางก่อน ตถาคตก็มี
ปัญญามากเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่าพระเจ้าธนัญชยโกรัพย-
ราชในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์ สุจีรตพราหมณ์ ได้มาเป็นพระอนุ-
รุทธะ วิธุรพราหมณ์ ได้มาเป็นพระอริยกัสสป ภัทรการกุมารได้มาเป็น
พระโมคคัลลานะ สัญชยมาณพ ได้มาเป็นพระสารีบุตร สัมภวบัณฑิต
ได้มาเป็นเราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสัมภวชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 434
๖. มหากปิชาดก
ว่าด้วยผลกรรมของผู้ที่ทำร้ายผู้มีคุณ
[๒๓๗๐] พระราชาแห่งชนชาวกาสี ผู้ทรงยัง
รัฐสีมามณฑลให้เจริญ ในพระนครพาราณสี ทรง-
แวดล้อมไปด้วยมิตร และอำมาตย์ผู้มีความภักดีมั่นคง
เสด็จไปยังมิคาชินอุทยาน.
ณ ที่นั้นได้ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ ซึ่งเป็น
โรคเรื้อน ขาวพราวเป็นจุด ๆ ตามตัว มากไปด้วย
กลากเกลื้อนเรี่ยราดด้วยเนื้อที่หลุดออกมาจากปากแผล
เช่นกับดอกทองกวาวที่บานในเรือนร่างทุกแห่งมีเพียง
กระดูก ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น.
ครั้นทอดพระเนตรเห็นคนที่ตกยาก ถึงความ
ลำบากน่าสงสารยิ่งนักแล้ว ทรงหวั่นหวาดพระทัย จึง
ตรัสถามว่า ท่านเป็นยักษ์ประเภทไหน ในจำนวน
ยักษ์ทั้งหลาย.
อนึ่ง มือและเท้าของท่านขาว ศีรษะยิ่งขาว
กว่านั้น ตัวของท่านก็ด่างพร้อย มากไปด้วยเกลื้อน-
กลาก.
หลังของท่านก็เป็นปุ่ม เป็นปม ดุจเถาวัลย์อันยุ่ง
อวัยวะของท่านบ้างก็ดำ บ้างก็หงิกงอ คล้ายเถาวัลย์
มีข้อดำ ดูไม่เหมือนคนอื่น ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 435
เท้าเปรอะเปื้อนด้วยธุลี น่าหวาดเสียว ซูบผอม
สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น หิวระหาย ร่างกายซูบซีด
ท่านมาจากไหน และจะไปไหน.
แลดูน่าเกลียด รูปร่างก็อัปลักษณ์ ผิวพรรณน่าชัง
ดูน่ากลัว แม้มารดาบังเกิดเกล้าของท่าน ก็ไม่ปรารถนา
จะดูแลเจ้าเลย.
ในชาติก่อนท่านทำกรรมอะไรไว้ ได้เบียดเบียน
ที่ไม่ควรเบียดเบียนไว้อย่างไร ได้เข้าถึงทุกข์นี้ เพราะ
ทำกรรมหยาบช้าอันใดไว้.
[๒๓๗๑] ขอเดชะ ขอเชิญพระองค์ทรงสดับ
ข้าพระองค์จักราบทูลอย่างที่คนฉลาดทูล เพราะว่า
บัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมสรรเสริญคนที่พูดจริง.
เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเที่ยวตามโคที่หายไปคนเดียว
ได้หลงทางเข้าไปในป่าหิมพานต์ อันแสนจะกันดาร
เงียบสงัด อันหมู่กุญชรชาติท่องเที่ยวไปมา.
ข้าพระพุทธเจ้า หลงทางเข้าไปในป่าทึบ อันหมู่
มฤคร้ายกาจท่องเที่ยวไปมา ต้องทนหิวระหาย เที่ยว
ไปในป่านั้น ตลอดเจ็ดวัน.
ณ ป่านั้น ข้าพระพุทธเจ้า กำลังหิวจัดได้เห็น
ต้นมะพลับต้นหนึ่ง ตั้งอยู่หมิ่นเหม่เอนไปทางปากเหว
มีผลดกดื่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 436
ทีแรก ข้าพระพุทธเจ้า เก็บผลที่ลมพัดหล่นมา
กินก่อน เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากินผลที่หล่นมาเหล่านั้น
รู้สึกพอใจ ยังไม่อิ่มจึงปีนขึ้นไปบนต้น ด้วยหวังใจ
ว่าจะกินให้สบายบนต้นนั้น.
ข้าพระพุทธเจ้า กินผลที่หนึ่งเสร็จแล้ว ปรารถนา
จะกินผลที่สองต่อไป เมื่อข้าพระพุทธเจ้า เหยียดมือ
คว้าเอาผลที่ต้องการ ทันใดนั้น กิ่งไม้ที่ขึ้นเหยียบอยู่
นั้น ก็หักขาดลง ดุจถูกตัดด้วยขวานฉะนั้น.
ข้าพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยกิ่งไม้นั้น ตีนชี้ฟ้า
หัวหกตกลงไปในห้วงเหว ภูเขาอันขรุขระ ซึ่งไม่มี
ที่ยึดที่เหนี่ยวเลย.
ข้าพระพุทธเจ้าหยั่งไม่ถึง เพราะน้ำลึก ต้องไป
นอนไร้ความเพลิดเพลิน ไร้ที่พึ่ง อยู่ในเหวนั้น ๑๐
ราตรีเต็ม ๆ.
ภายหลังมีลิงตัวหนึ่ง มีหางดังหางโค เที่ยวไป
ตามซอกเขา เที่ยวไต่ไปตามกิ่งไม้ หาผลไม้กิน ได้มา
ถึงที่นั้น มันเห็นข้าพระพุทธเจ้าผอมเหลือง ได้กระทำ
ความเอ็นดูกรุณา ในข้าพระพุทธเจ้า.
จึงถามว่า พ่อชื่ออะไร ทำไมถึงมาทนทุกข์อยู่
ที่นี่อย่างนี้ เป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ขอได้โปรดแนะนำ
ตนให้ข้าพเจ้าทราบด้วย.
ข้าพระพุทธเจ้า จึงได้ประนมอัญชลี ไหว้ลิงตัว
นั้น แล้วกล่าวว่า เราเป็นมนุษย์ ถึงแล้วซึ่งหายนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 437
เราไม่มีหนทางที่จะไปจากที่นี้ได้ เพราะเหตุนั้นเราจึง
บอกให้ท่านทราบไว้ ขอท่านจงมีความเจริญ อนึ่ง
ขอท่านได้โปรดเป็นที่พำนักของข้าพเจ้าด้วย.
ลิงตัวองอาจ เที่ยวไปหาก้อนหินก้อนใหญ่ในภูเขา
มา แล้วผูกเชือกไว้ที่ก้อนหิน ร้องบอกข้าพระพุทธ-
เจ้าว่า
มาเถิดท่าน จงขึ้นมาเกาะหลังข้าพเจ้า เอามือ
ทั้งสองกอดคอไว้ เราจักพาท่านกระโดดขึ้นจากเหว
โดยเต็มกำลัง.
ข้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังคำของพญาพานรินทร์ ตัว
มีสิรินนั้นแล้ว จึงขึ้นเกาะหลัง เอามือทั้งสองโอบคอไว้.
ลำดับนั้น พญาวานร ตัวมีเดช มีกำลัง ก็พาข้า
พระพุทธเจ้า กระโดดขึ้นจากเหว โดยความยากลำบาก
ทันที.
ครั้นขึ้นมาได้แล้ว พญาวานรตัวองอาจ ได้ขอ
ร้องข้าพระพุทธเจ้าว่า แน่ะสหาย ขอท่านจงคุ้มครอง
ข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าจักงีบสักหน่อย.
ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี และเสือดาว
สัตว์เหล่านั้น พึงเบียดเบียนข้าพเจ้าซึ่งหลับไปแล้ว
ท่านเห็นพวกมัน จงป้องกันไว้.
เพราะข้าพระพุทธเจ้า ช่วยป้องกันให้อย่างนั้น
พญาวานรจึงหลับไปสักครู่หนึ่ง คราวนั้น โดยที่ข้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 438
พระพุทธเจ้าขาดความยั้งคิด กลับได้คิดความอัน
ลามกว่า
ลิงนี้ ก็เป็นอาหารของมนุษย์ทั้งหลาย เท่ากับ
มฤคอื่น ๆ ในป่านี้เหมือนกัน อย่ากระนั้นเลย เรา
ควรฆ่าวานรนี้ กินแก้หิวเถิด.
อนึ่ง อิ่มแล้ว จักถือเอาเนื้อไปเป็นเสบียงเดิน
ทาง เราจักต้องผ่านทางกันดาร เนื้อก็จักได้เป็นเสบียง
ของเรา.
ทันใดนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงได้หยิบเอาหินมา
ทุ่มศีรษะลิง การประหารของข้าพระพุทธเจ้า ผู้ลำบาก
เพราะอดอาหาร จึงมีกำลังน้อย.
ด้วยกำลังก้อนหินที่ข้าพระพุทธเจ้าทุ่มลง ลิง
นั้นผุดลุกขึ้น ทั้ง ๆ ที่ตัวอาบไปด้วยเลือด ร่ำไห้
มองดูข้าพระพุทธเจ้า ด้วยตาอันเต็มไปด้วยน้ำตา
พลางกล่าวว่า
นายอย่าทำข้าพเจ้าเลย ขอท่านจงมีความเจริญ
แต่ท่านได้ทำกรรมอันหยาบช้าเช่นนี้ และท่านก็รอด
ตายมีอายุยืนมาได้ สมควรจะห้ามปรามคนอื่น.
แน่ะท่านผู้กระทำกรรม อันยากที่บุคคลจะทำลง
ได้ น่าอดสูใจจริง ๆ ข้าพเจ้า ช่วยให้ท่านขึ้นจาก
เหวลึก ซึ่งยากที่จะขึ้นได้ เช่นนี้.
ท่านเป็นดุจข้าพเจ้านำมาจากปรโลก ยังสำคัญ
ตัวข้าพเจ้าว่า ควรจะฆ่าเสีย ด้วยจิตอันเป็นบาปกรรม
ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านคิดชั่ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 439
ถึงท่านจะไร้ธรรม เวทนาอันเผ็ดร้อน ก็อย่าได้
ถูกต้องท่านเลย และบาปกรรมก็อย่าได้ตามฆ่าท่าน
อย่างขุยไผ่ ฆ่าไม้ไผ่เลย.
แน่ะท่านผู้มีธรรมอันเลว หาความสำรวมมิได้
ความคุ้นเคยของข้าพเจ้า จะไม่มีอยู่ในท่านเลย มา
เถิด ท่านจงเดินไปห่างเรา พอมองเห็นหลังกันเท่านั้น.
ท่านพ้นจากเงื้อมมือแห่งสัตว์ร้าย ถึงทางเดิน
ของมนุษย์แล้ว ท่านผู้ไร้ธรรม นี่หนทาง ท่านจงไป
ตามสบาย โดยทางนั้นเถิด.
พญาวานรนั้น ครั้นกล่าวมาอย่างนี้แล้ว ก็ล้าง
เลือดที่ศีรษะ เช็ดน้ำตาเสร็จแล้ว ก็กระโดดขึ้นไปยัง
ภูเขา.
ข้าพระพุทธเจ้า เป็นผู้อันวานรนั้น อนุเคราะห์
แล้ว ถูกความกระวนกระวายเบียดเบียน ร้อนเนื้อตัว
ได้ลงไปยังห้วงน้ำ แห่งหนึ่งเพื่อจะดื่มกินน้ำ.
ห้วงน้ำก็เดือดพล่าน เหมือนถูกต้มด้วยไฟ นอง
ไปด้วยเลือด คล้ายกับน้ำเลือดน้ำหนองฉะนั้น ทุกสิ่ง
ทุกอย่างปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้า อย่างเห็นชัด.
หยาดน้ำตกต้องกาย ของข้าพระพุทธเจ้า มี
ประมาณเท่าใด ฝีก็ผุดขึ้นเท่านั้น มีสัณฐาน เหมือน
มะตูมครึ่งลูก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 440
ฝีก็แตกในวันนั้นเอง น้ำเลือดน้ำหนอง ของข้า-
พระพุทธเจ้า ก็ไหลออกมา มีกลิ่นเหม็นดุจซากศพ
อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้า จะเดินไปทางไหน ในบ้าน
และนิคมทั้งหลาย.
พวกมนุษย์ทั้งหญิงและชาย พากันถือท่อนไม้
ห้ามกันข้าพระองค์ผู้ฟุ้งไปด้วยกลิ่นเหม็นว่า อย่าเข้ามา
ข้างนี้นะ.
บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้เสวยทุกขเวทนา เห็น
ปานนี้ อยู่ ๗ ปี ซึ่งเป็นผลกรรมชั่วของตนในปาง
ก่อน.
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ จึงกราบทูลให้พระ
องค์ทรงทราบ ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย ที่
มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ ขอพระองค์อย่าได้ประทุษร้าย
มิตร เพราะว่า ผู้ประทุษร้ายมิตร จัดเป็นคนเลวทราม.
ในโลกนี้ ผู้ประทุษร้ายมิตร ย่อมเป็นโรคเรื้อน
เกลื้อนกลาก เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรก.
จบมหากปิชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 441
อรรถกถามหากปิชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภการกลิ้งศิลาของพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
พาราณสิย อหุ ราชา ดังนี้.
ความโดยย่อว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายพากันกล่าวติเตียนพระเทวทัต
เพราะใช้นายขมังธนู เพราะกลิ้งศิลาในเวลาต่อมา พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระเทวทัต
ก็กลิ้งศิลาเพื่อฆ่าเราเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัส ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ในพระนครพา-
ราณสี ในหมู่บ้านกาสิกคาม พราหมณ์ชาวนาผู้หนึ่ง ไถนาเสร็จแล้วปล่อยโคไป
เริ่มทำการงานขุดหญ้าพรวนดินด้วยจอบ. ฝูงโคเคี้ยวกินใบไม้ที่พุ่มไม้แห่งหนึ่ง
พลางพากันหนีเข้าไปสู่ดงโดยลำดับ. พราหมณ์นั้นคะเนว่าถึงเวลาแล้ว ก็วาง
จอบเหลียวหาฝูงโคไม่พบ เกิดความโทมนัส จึงเที่ยวค้นหาในดงเข้าไปจนถึง
ป่าหิมพานต์. พราหมณ์นั้นหลงทิศทางในป่าหิมพานต์ อดอาหารถึงเจ็ดวัน
เดินไปพบต้นมะพลับต้นหนึ่ง จึงขึ้นไปเก็บผลรับประทาน พลัดตกลงมาจาก
ต้นมะพลับ เลยตกลงไปในเหวดุจขุมนรกลึกตั้ง ๖๐ ศอก. พราหมณ์ตกอยู่ใน
เหวล่วงไปได้สิบวัน. คราวนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดวานร กำลัง
เคี้ยวกินผลาผล เหลือบเห็นบุรุษนั้นเข้า จึงผูกเชือกเข้าที่หิน ช่วยบุรุษนั้น
ขึ้นมาได้. เมื่อวานรโพธิสัตว์กำลังหลับ พราหมณ์ได้เอาหินมาทุ่มลงที่ศีรษะ.
พระมหาสัตว์เจ้ารู้การกระทำของเขาแล้ว จึงกระโดดขึ้นไปบนกิ่งไม้ กล่าวว่า
แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านจงเดินไปตามพื้นดิน ข้าพเจ้าจักเดินบอกหนทางแก่ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 442
ไปทางกิ่งไม้ แล้วพาบุรุษนั้นออกจากป่าจนถึงหนทาง จึงเข้าไปสู่บรรพต
ตามเดิม. บุรุษนั้นล่วงเกินพระมหาสัตว์เจ้าแล้วเกิดโรคเรื้อน กลายเป็นมนุษย์
เปรตในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว. เขาถูกความทุกข์เบียดเบียนอยู่เจ็ดปี เที่ยว
เร่ร่อนไปถึงมิคาชินอุทยาน เขตพระนครพาราณสี ลาดใบตองลงภายในกำแพง
นอนเสวยทุกขเวทนา. คราวนั้น พระเจ้าพาราณสีเสด็จประพาสพระราช-
อุทยาน เสด็จเที่ยวไปพบเขา ณ ที่นั้น แล้วดำรัสถามว่า เจ้าเป็นใคร ทำ
กรรมอะไรไว้ จึงต้องรับทุกข์เช่นนี้ ฝ่ายเปรตนั้นได้กราบทูลเรื่องราวทั้งมวล
โดยพิสดาร.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสพระคาถา
ความว่า
พระราชาแห่งชนชาวกาสี ผู้ทรงยังรัฐสีมา
มณฑลให้เจริญ ในพระนครพาราณสี ทรงแวดล้อม
ไปด้วยมิตรและอำมาตย์ผู้มีความภักดีมั่นคง เสด็จไป
ยังนิคาชินอุทยาน.
ณ ที่นั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ ซึ่ง
เป็นโรคเรื้อน ขาวพราวเป็นจุด ๆ ตามตัว มากไปด้วย
กลากเกลื้อน เรี่ยราดด้วยเนื้อที่หลุดออกมาจากปาก-
แผล เช่นกับดอกทองกวาวที่บาน ในเรือนร่างทุกแห่ง
มีเพียงกระดูกซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น.
ครั้นทอดพระเนตรเห็นคนที่ตกยาก ถึงความ
ลำบากน่าสงสารยิ่งนักแล้ว ทรงหวั่นหวาดพระทัย
จึงตรัสถามว่า ท่านเป็นยักษ์ประเภทไหน ในจำพวก
ยักษ์ทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 443
อนึ่ง มือและเท้าของท่านขาว ศีรษะยิ่งขาวกว่า
นั้น ตัวของท่านก็ด่างพร้อย มากไปด้วยเกลื้อนกลาก
หลังของท่านก็เป็นปุ่มเป็นปม ดุจเถาวัลย์อันยุ่ง
อวัยวะของท่านบ้างก็ดำ บ้างก็หงิกงอ คล้ายเถาวัลย์
มีข้อดำ ดูไม่เหมือนคนอื่น ๆ.
เท้าเปรอะเปื้อนด้วยธุลี น่าหวาดเสียว ซูบผอม
สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น หิวระหาย ร่างกายซูบซีด
ท่านมาจากไหน และจะไปไหน.
แลดูน่าเกลียด รูปร่างก็อัปลักษณ์ ผิวพรรณ
ชั่วช้า ดูหน้ากลัว แม้มารดาบังเกิดเกล้าของท่าน ก็ไม่
ปรารถนาจะดูแลเจ้าเลย.
ในชาติก่อน ท่านทำกรรมอะไรไว้ ได้เบียดเบียน
ผู้ที่ไม่ควรเบียดเบียนไว้อย่างไร ได้เข้าถึงทุกข์นี้
เพราะทำกรรมอันหยาบช้าอันใดไว้.
บรรดาบทเหล่านัน บทว่า พาราณสฺย ได้แก่ ในพระนครพาราณสี.
บทว่า มิตฺตามจฺจปริพฺยุฬฺโห ความว่า ทรงแวดล้อมไปด้วยมิตร และ
อำมาตย์ผู้มีความภักดีมั่นคง. บทว่า มิคาชิน ได้แก่ พระอุทยานที่มีนาม
อย่างนี้. บทว่า เสต ความว่า ได้ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์นอนอยู่ใน
ใบตอง ชื่อว่าขาว เพราะเป็นโรคเรื้อนขาว พราวเป็นจุด ๆ ชื่อว่าเป็นหิต
เพราะเป็นหิตเปื่อยแตกเยิ้ม เสวยทุกขเวทนา.
บทว่า วิทฺธสฺต โกวิลารว ความว่า เรี่ยราดไปด้วยเนื้อที่หลุด
ออกจากปากแผล เช่นกับดอกทองกวาวที่บานแล้ว. บทว่า กีส ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 444
ในบางส่วนจะมีเรือนร่างเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ผอมสะพรั่งไปด้วยแถวแห่ง
เส้นเอ็น. บทว่า พฺยมฺหิโต ความว่า พระราชาทรงหวั่นเกรง คือ หวาดหวั่น
พระทัย. บทว่า ยกฺขาน ความว่า พระราชาได้ตรัสถามว่า ในระหว่าง
พวกยักษ์ทั้งหลาย ท่านเป็นยักษ์ประเภทไหน. บทว่า วฏฺนาวลิสงฺกาสา
ความว่า ในที่ด้านหลังของท่านเป็นปุ่มเป็นปม คล้ายเถาวัลย์ที่ยุ่ง. บทว่า
องฺคา ความว่า อวัยวะทั้งหลายของท่านดำ หงิกงอ คล้ายเถาวัลย์ที่มีข้อดำ.
บทว่า นาญฺ ความว่า เราไม่เห็นคนอื่น ๆ มีลักษณะเหมือนเช่นนี้. บทว่า
อุคฺฆฏฺปาโท ได้แก่ มีเท้าเปรอะเปื้อนไปด้วยธุลี.
บทว่า อาทิตฺตรูโป ได้แก่ มีร่างกายซูบซีด. บทว่า ทุทฺทสี
ความว่า มองดูน่าเกลียด. บทว่า อปฺปกาโรสิ ความว่า มีร่างกายไร้สง่า
ราศรี คือมีรูปร่างเลวทราม. บทว่า กึ กมฺมมกรา ความว่า ในชาติก่อน
แต่ชาตินี้ ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้. บทว่า กิพฺพิสึ ได้แก่ กรรมอันหยาบช้า.
ต่อจากนั้น พราหมณ์จึงกล่าวคาถากราบทูลว่า
ขอเดชะ ขอเชิญพระองค์ทรงสดับ ข้าพระองค์
จักกราบทูลอย่างคนที่ฉลาดทูล เพราะว่าบัณฑิต
ทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมสรรเสริญคนที่พูดจริง.
เมื่อข้าพระพุทธเจ้า เที่ยวตามโคที่หายไปคนเดียว
ได้หลงทางเข้าไปในป่าหิมพานต์ อันแสนจะกันดาร
เงียบสงัด อันหมู่กุญชรชาติท่องเที่ยวไปมา.
ข้าพระองค์หลงทางเข้าไปในป่าทึบ อันหมู่มฤค
ร้ายกาจท่องเที่ยวไปมา ต้องทนหิวระหาย เที่ยวไป
ในป่านั้นตลอด ๗ วัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 445
ณ ป่านั้น ข้าพระพุทธเจ้ากำลังหิวจัด ได้เห็น
ต้นมะพลับต้นหนึ่ง ตั้งอยู่หมิ่นเหม่ เอนไปทางปากเหว
มีผลดกดื่น.
ทีแรก ข้าพระพุทธเจ้า เก็บผลที่ลมพัดหล่นมา
กินก่อน เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากินผลที่หล่นมาเหล่านั้น
รู้สึกพอใจ ยังไม่อิ่มจึงปีนขึ้นไปบนต้น ด้วยหวังใจว่า
จะกินให้สบายบนต้นนั้น.
ข้าพระพุทธเจ้ากินผลที่หนึ่งเสร็จแล้ว ปรารถนา
จะกินผลที่สองต่อไป เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเหยียดมือ
คว้าเอาผลที่ต้องการ ทันใดนั้น กิ่งไม้ที่ขึ้นเหยียบอยู่
นั้น ก็หักขาดลง ดุจถูกตัดด้วยขวานฉะนั้น.
ข้าพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยกิ่งไม้นั้น ตีนชี้ฟ้า
หัวหกตกลงไปในห้วงเหวภูเขาอันขรุขระ ซึ่งไม่มีที่
ยึดที่เหนี่ยวเลย.
ข้าพระพุทธเจ้าหยั่งไม่ถึงเพราะน้ำลึก ต้องไป
นอนไร้ความเพลิดเพลิน ไร้ที่พึ่งอยู่ในเหวนั้น ๑๐
ราตรีเต็ม ๆ.
ภายหลังมีลิงตัวหนึ่ง มีหางดังหางโค เที่ยวไป
ตามซอกเขา เที่ยวไต่ไปตามกิ่งไม้ หาผลไม้กิน ได้
มาถึงที่นั้น มันเห็นข้าพระพุทธเจ้าผอมเหลือง ได้
กระทำความเอ็นดูกรุณาในข้าพระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 446
จึงถามว่า พ่อชื่อไร ทำไมจึงมาทนทุกข์อยู่ที่นี่
อย่างนี้ เป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ขอได้โปรดแนะนำตน
ให้ข้าพเจ้าทราบด้วย.
ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้ประนมอัญชลีไหว้ลิงตัวนั้น
แล้วกล่าวว่า เราเป็นมนุษย์ถึงแล้วซึ่งหายนะ เราไม่มี
หนทางที่จะไปจากที่นี่ได้ เพราะเหตุนั้น เราจึงบอก
ให้ท่านทราบไว้ ขอท่านจงมีความเจริญ อนึ่ง ขอ
ท่านโปรดเป็นที่พำนักของข้าพเจ้าด้วย.
ลิงตัวองอาจ เที่ยวไปหาก้อนหินก้อนใหญ่ใน
ภูเขามา แล้วผูกเชือกไว้ที่ก้อนหิน ร้องบอกข้าพระ-
พุทธเจ้าว่า
มาเถิดท่าน จงขึ้นมาเกาะหลังข้าพเจ้า เอามือ
ทั้งสองกอดคอไว้ เราจักพาท่านกระโดขึ้นจากเหว
โดยเต็มกำลัง.
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำของพญาพานรินทร์ ตัวมี
สิรินั้นแล้ว จึงขึ้นเกาะหลัง เอามือทั้งสองโอบคอไว้.
ลำดับนั้น พญาวานรตัวมีเดชมีกำลัง ก็พาข้า
พระพุทธเจ้ากระโดดขึ้นจากเหว โดยความยากลำบาก
ทันที.
ครั้นขึ้นมาได้แล้ว พญาวานรตัวองอาจ ได้ขอร้อง
ข้าพระพุทธเจ้าว่า แน่ะสหาย ขอท่านจงคุ้มครอง
ข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าจักงีบสักหน่อย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 447
ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี และเสือดาว
สัตว์เหล่านั้น พึงเบียดเบียนข้าพเจ้าซึ่งหลับไปแล้ว
ท่านเห็นพวกมันจงป้องกันไว้.
เพราะข้าพระพุทธเจ้า ช่วยป้องกันให้อย่างนั้น
พญาวานรจึงหลับไปสักครู่หนึ่ง คราวนั้น โดยที่ข้า-
พระพุทธเจ้าขาดความคิด กลับได้ความเห็นอันลามกว่า
ลิงนี้ก็เป็นอาหารของมนุษย์ทั้งหลาย เท่ากับ
มฤคอื่น ๆ ในป่านี้เหมือนกัน อย่ากระนั้นเลย เรา
ควรฆ่าวานรนี้กินแก้หิวเถิด.
อนึ่ง อิ่มแล้ว จักถือเอาเนื้อไปเป็นเสบียง
เดินทาง เราจักต้องผ่านทางกันดาร เนื้อก็จักได้เป็น
เสบียงของเรา.
ทันใดนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงได้หยิบเอาหินมา
ทุ่มศีรษะลิง การประหารของข้าพระพุทธเจ้า ผู้ลำบาก
เพราะอดอาหาร จึงมีกำลังน้อย.
ด้วยกำลังก้อนหินที่ข้าพระพุทธเจ้าทุ่มลง ลิงนั้น
ผลุดลุกขึ้น ทั้ง ๆ ที่ตัวอาบไปด้วยเลือด ร่ำไห้มองดู
ข้าพระพุทธเจ้า ด้วยตาอันเต็มไปด้วยน้ำตา พลาง
กล่าวว่า นายอย่าทำข้าพเจ้าเลย ขอท่านจงมีความ
เจริญ แต่ท่านได้ทำกรรมอันหยาบช้าเช่นนี้ และท่าน
รอดตายมีอายุยืนมาได้ สมควรจะห้ามปรามคนอื่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 448
แน่ะท่านผู้กระทำกรรม อันยากที่บุคคลจะทำ
ลงได้ น่าอดสูใจจริง ๆ ข้าพเจ้าช่วยให้ท่านขึ้นจาก
เหวลึก ซึ่งยากที่จะขึ้นได้เช่นนี้.
ท่านเป็นดุจข้าพเจ้านำมาจากปรโลก ยังสำคัญ
ตัวข้าพเจ้าว่า ควรจะฆ่าเสีย ด้วยจิตอันเป็นบาปธรรม
ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านคิดชั่ว.
ถึงท่านจะไร้ธรรม เวทนาอันเผ็ดร้อนก็อย่าได้
ถูกต้องท่านเลย และบาปกรรมก็อย่าได้ตามฆ่าท่าน
ย่างขุยไผ่ ฆ่าไม้ไผ่เลย.
แน่ะท่านผู้มีธรรมอันเลว หาความสำรวมมิได้
ความคุ้นเคยของข้าพเจ้าจะไม่มีอยู่ในท่านเลย มาเถิด
ท่านจงเดินไปห่าง ๆ เรา พอมองเห็นหลังกันเท่านั้น.
ท่านพ้นจากเงื้อมมือแห่งสัตว์ร้าย ถึงทางเดิน
ของมนุษย์แล้ว ท่านผู้ไร้ธรรม นี่หนทาง ท่านจงไป
ตามสบายโดยทางนั้นเถิด.
วานรนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ล้างเลือดที่
ศีรษะ เช็ดน้ำตาเสร็จแล้วก็กระโดดขึ้นไปยังภูเขา.
ข้าพระพุทธเจ้า เป็นผู้อันวานรนั้นอนุเคราะห์
แล้ว ถูกความกระวนกระวายเบียดเบียน ร้อนเนื้อตัว
ได้ลงไปยังห้วงน้ำแห่งหนึ่งเพื่อจะดื่มกินน้ำ.
ห้วงน้ำเดือดพล่าน เหมือนถูกต้มด้วยไฟ นอง
ไปด้วยเลือด คล้ายกับน้ำเลือดน้ำหนองฉะนั้น ทุกสิ่ง
ทุกอย่างปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าอย่างเห็นชัด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 449
หยาดน้ำตกต้องกายของข้าพระพุทธเจ้ามีเท่าใด
ฝีก็ผุดขึ้นเท่านั้น มีสัณฐานเหมือนมะตูมครึ่งลูก.
ฝีก็แตกในวันนั้นเอง น้ำเลือดน้ำหนองของข้า
พระพุทธเจ้าก็ไหลออกมา มีกลิ่นเหม็นดุจซากศพ
อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าจะเดินไปทางไหน ในบ้านและ
นิคมทั้งหลาย.
พวกมนุษย์ทั้งหญิงแลชาย พากันถือท่อนไม้
ห้ามกันข้าพระองค์ ผู้ฟุ้งไปด้วยกลิ่นเหม็นว่า อย่า
เข้ามาข้างนี้นะ.
บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้เสวยทุกขเวทนา เห็น-
ปานนี้ อยู่ ๗ ปี ซึ่งเป็นผลกรรมชั่วของตนในปางก่อน.
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงกราบทูลให้พระ
องค์ทรงทราบ ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายที่มา
ประชุมกันอยู่ในที่นี้ ขอพระองค์อย่าได้ประทุษร้าย-
มิตร เพราะว่าผู้ประทุษร้ายมิตรจัดเป็นคนเลวทราม.
ในโลกนี้ ผู้ที่ประทุษร้ายมิตร ย่อมเป็นโรค
เรื้อนเกลื้อนกลาก เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสโล ความว่า ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้า
จักกราบทูลแด่พระองค์ ฉันเดียวกับคนที่ฉลาดพูดกัน. บทว่า โคคเวโส
ความว่า เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเที่ยวตามโคที่หายไป. บทว่า อจฺจสรึ ความว่า
หลงทางล่วงแดนมนุษย์เข้าไปสู่ป่าหิมพานต์.
บทว่า อรญฺเ ได้แก่ ในป่าเปลี่ยวไร้ราชาครอบครอง. บทว่า
อีริเน ความว่า แห้งแล้งกันดาร. บทว่า วิวเน แปลว่า เงียบเหงา. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 450
วิปฺปนฺนฏฺโ แปลว่า หลงทาง. บทว่า พุภุกฺขิโต ความว่า เกิดความ
หิวระหาย คือ ถูกความหิวแผดเผาแล้ว. บทว่า ปปาตมภิลมฺภนฺต ความว่า
มีลำต้นโน้มเอนไปทางปากเหว. บทว่า สมฺปนฺนผลธาริน ความว่า สะพรั่ง
ไปด้วยพวงผล อันมีรสหวาน. บทว่า วาต สีตานิ ความว่า ทีแรกข้าพระ-
พุทธเจ้าเก็บผลที่ลมพัดหล่น (มากิน) ก่อน. บทว่า ตตฺถ เหสฺสามิ ความว่า
ข้าพระพุทธเจ้าจึงปีนขึ้นไปบนต้นมะพลับนั้น ด้วยคิดว่าจักกินอยู่บนต้น
ให้สบาย.
บทว่า ตโต สา ความว่า เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเหยียดมือคว้าเอาผล
ที่ต้องการ กิ่งไม้ที่ขึ้นเหยียบอยู่นั้น ก็หักขาดลง เหมือนถูกตัดด้วยขวาน
ฉะนั้น. บทว่า อนาลมฺเพ ความว่า ไม่มีที่ซึ่งจะพึงยึดพึงเหนี่ยวได้เลย.
บทว่า คิริทุคฺคสฺมิ ได้แก่ ภูเขาที่ขรุขระ. บทว่า เสสึ ความว่า ข้าพระ-
พุทธเจ้าจำต้องนอน. บทว่า กปิ มาคญฺฉิ ความว่า มีวานรมาถึงที่นั้น.
บทว่า โคนงฺคุฏฺโ ความว่า มีหางคล้ายหางโคทั้งหลาย ปาฐะว่า นงฺคุฏฺโ
ดังนี้ก็มี. บางอาจารย์ก็กล่าวว่า โคนงฺคุลี. บทว่า อกรมฺมยิ ความว่า
ได้กระทำความเอ็นดูในข้าพระพุทธเจ้า. บทว่า อมฺโภ ความว่า ข้าแต่
มหาราชเจ้า พญาวานรนั้น ได้ยินเสียงข้าพระพุทธเจ้า ว่ายน้ำอยู่ในเหวลึกนั้น
จึงร้องทักข้าพระพุทธเจ้าว่า แน่ะท่านผู้เจริญ แล้วถามว่า ท่านเป็นใคร. บทว่า
พฺยสมฺปตฺโต แปลว่า ถึงแล้วซึ่งความฉิบหาย. ปาฐะว่า ปปาตสฺส วส
ปตฺโต ดังนี้ก็มี.
บทว่า ภทฺท โว ความว่า เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าววิงวอนท่าน
ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน. บทว่า ครุสิล ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เมื่อ
ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวอย่างนี้แล้ว พญาวานรนั้นจึงปลอบใจข้าพระพุทธเจ้าว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 451
อย่ากลัวเลย แล้วเที่ยวไปในภูเขา ผูกเชือกยึดก้อนศิลาอันหนักไว้เป็นเบื้องแรก.
บทว่า นิสโภ ความว่า จอมวานรตัวองอาจ ผูกเชือกที่ศิลาแล้ว ยืนอยู่ที่
เงื้อมภูเขา ได้กล่าวคำนี้กะข้าพระพุทธเจ้า. บทว่า พาหาหิ ความว่า ท่านจง
มาขึ้นหลังข้าพเจ้า เอาแขนทั้งสองเกาะคอข้าพเจ้าไว้ให้ดี. บทว่า เวคสา
ความว่า โดยเต็มกำลัง. บทว่า สิรีมโต ได้แก่ ผู้มีบุญ. บทว่า อคฺคหึ
ความว่า เมื่อพญวานรโดดลงมายังเหวนรก ลึก ๖๐ ศอกโดยเร็วปานลม
ข้าพระพุทธเจ้าโดดขึ้นเกาะหลังโดยเร็ว เอาแขนทั้งสองกอดคอไว้.
บทว่า วิหญฺมาโน แปลว่า ลำบาก. บทว่า กิจฺเฉน ความว่า
ด้วยความยากลำบาก อีกนัยหนึ่ง หมายความว่า บัณฑิตผู้เป็นสัตบุรุษ เมื่อหา
โอกาสช่วยเหลือ ก็ต้องเดือดร้อน. บทว่า รกฺขสฺสุ ความว่า ข้าพเจ้า
ช่วยเหลือท่านจนเหน็ดเหนื่อย จักพักผ่อนม่อยหลับสักครู่หนึ่ง ฉะนั้น ท่านจง
รักษาความปลอดภัยให้ข้าพเจ้าด้วย. บทว่า ยถา จญฺเ วเน มิคา ความว่า
(วานรนี้ก็เป็นอาหารควรกินได้ของมนุษย์) เท่ากับพวกพาลมฤคในป่านี้ นอก-
จากสัตว์ดุร้ายมีราชสีห์เป็นต้น. แต่ในพระบาลีท่านเขียนไว้ว่า อจฺฉโก
กตรจฺฉโย.
บทว่า ปริตฺตาตูน ความว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า เพราะ
พญาวานร ทำข้าพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องป้องกันไว้อย่างนี้ ขาดโยนิโสมนสิการ
จึงหลับไปครู่หนึ่ง. บทว่า ภกฺโข ความว่า ควรแก่การเคี้ยวกิน. บทว่า
อาสิโต ความว่า กินจนอิ่มหนำแล้ว. บทว่า สมฺพล ได้แก่ เสบียง.
บทว่า มตฺถก สนฺนิตาฬยึ ความว่า ทุบศีรษะของพญาวานรนั้น.
ปาฐะว่า สนฺนิตาฬย ดังนี้ก็มี. บทว่า ทุพฺพโล อหุ ความว่า ข้าพระ-
พุทธเจ้าไม่ค่อยมีกำลัง จึงทุ่มไม่ได้แรงสมความประสงค์. บทว่า เวเคน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 452
ความว่า ด้วยกำลังแห่งก้อนหินที่ข้าพระพุทธเจ้าทุ่มไปแล้ว. บทว่า อุทปฺปตฺโต
แปลว่า ผลุดลุกขึ้นแล้ว. บทว่า มายฺโย ความว่า ก้อนหินที่บุรุษผู้มัก
ประทุษร้ายมิตร ทุ่มลง ตัดหนังใหญ่ ขาดห้อยลงเลือดไหล. พระมหาสัตว์
เสวยทุกขเวทนาคิดว่า ในที่นี้ไม่มีคนอื่นเลย ภัยนี้ต้องเกิดขึ้น เพราะอาศัย
ชายคนนี้ จึงหวาดกลัวต่อมรณภัย เอามือจับหนังที่ขาดห้อยอยู่ไว้ กระโดดขึ้น
กิ่งไม้ เมื่อจะเจรจากับชายลามกนั้น จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า มายฺโย ม ท่าน
อย่าได้ทำข้าพเจ้าเลย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มายฺโย ม ภทฺทนฺเต ความว่า
พญาวานรห้ามพราหมณ์นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าได้ทำข้าพเจ้าเลย. บทว่า
ตวญฺจ นาม ความว่า ท่านอันข้าพเจ้าช่วยให้ขึ้นมาจากเหวอย่างนี้แล้ว
กระทำกรรมร้ายกาจในข้าพเจ้าเห็นปานนี้น่าอนาถ ท่านทำกรรมที่ไม่สมควรเลย.
บทว่า อโห วต ความว่า พญาวานรเมื่อจะตำหนิพราหมณ์นั้น จึงกล่าว
อย่างนี้. บทว่า ตาว ทุกฺกรการกา ความว่า แน่ะบุรุษอาธรรม์ผู้กระทำ
กรรมยากที่บุคคลจะกระทำลงได้ เพราะผิดในเรา. บทว่า ปรโลกาว ความว่า
ท่านเป็นดุจอันข้าพเจ้านำมาจากปรโลก. บทว่า ทุพฺเภยฺย (ยังเข้าใจตัว
ข้าพเจ้าว่า) ควรประทุษร้าย คือควรฆ่าเสีย.
บทว่า เวทน กฏุก ความว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ท่านเป็นผู้ไม่มีธรรม
ข้าพเจ้าต้องประสบทุกขเวทนาเช่นใด เวทนาอันเผ็ดร้อนเช่นนี้อย่าถูกต้อง
ท่านเลย บาปกรรมนั้นอย่าฆ่าท่าน ดังขุยไผ่ฆ่าไม้ไผ่เลย. ขอเดชะพระ-
มหาราชเจ้า พญาวานรเอ็นดูข้าพระพุทธเจ้าอย่างบุตรสุดที่รักด้วยประการฉะนี้.
ทีนั้น ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวกะพญาวานรว่า ข้าแต่เจ้า ท่านอย่ากระทำสิ่งที่
ข้าพเจ้ากระทำเลย ท่านอย่าให้ข้าพเจ้าผู้เป็นอสัตบุรุษ ต้องฉิบหายเสียในป่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 453
เห็นปานนี้เลย ข้าพเจ้าหลงทิศไม่รู้หนทาง โปรดอย่ายังกุศลกรรมที่ตนทำแล้ว
ให้พินาศเสีย โปรดให้ชีวิตเป็นทานแก่ข้าพเจ้า ช่วยนำข้าพเจ้าออกจากป่า
ไปดำรงอยู่ในถิ่นฐานแดนมนุษย์เถิด. เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากล่าวอย่างนี้แล้ว
พญาวานรนั้น เมื่อจะเจรจาปราศรัยกับข้าพเจ้า จึงกล่าวคาถามีคำว่า ตยิ เม
นตฺถิ วิสาโส ความคุ้นเคยในท่านไม่มีสำหรับเราดังนี้เป็นต้น. บทว่า
ตตฺถ ตยิ ความว่า นับแต่วันนี้ไป เรากับท่านไม่มีความคุ้นเคยกัน. บทว่า
เอหิ ความว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เราจะไม่เดินทางไปกับท่าน แต่ท่านจงมาเถิด
ท่านจงเดินไปพอเห็นร่างไม่ห่างจากหลังเรา เราจักเดินไปทางปลายยอดไม้
เท่านั้น. บทว่า มุตฺโตสิ ความว่า ขอเดชะมหาราชเจ้า ลำดับนั้น พญาวานร
ได้นำข้าพเจ้าออกจากป่าแล้วกล่าวว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านพ้นจากเงื้อมมือ
สัตว์ร้ายแล้ว.
บทว่า มานุสึ ปท ความว่า พญาวานรกล่าวว่า ท่านถึง คือ มาถึง
ถิ่นอันเป็นอุปจารของมนุษย์แล้ว นี่ทาง ท่านจงไปตามทางนั้นเถิด. บทว่า
คิริจโร ได้แก่ วานรมีปกติเที่ยวไปตามซอกเขา. บทว่า ปกฺขนฺลย แปลว่า
ล้างแล้ว. บทว่า เตนาภิสตฺโตสฺมิ ความว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้อันพญาวานรนั้นสงเคราะห์แล้ว เมื่อบาปกรรมนั้นสุกงอม
แล้ว สำคัญว่า อันพญาวานรอนุเคราะห์แล้ว จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อทฺทิโต
ความว่า ถูกความกระวนกระวายเบียดเบียนแล้ว. บทว่า อุปาคมึ ความว่า
ข้าพระพุทธเจ้าเข้าไปยังห้วงน้ำแห่งหนึ่ง. บทว่า สมปชฺชถ ความว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้า เป็นเห็นปานนี้. บทว่า ยาวนฺโต
ความว่า มีประมาณเท่าใด.
บทว่า คณฺฑุ ชาเยถ ความว่า ฝีก็ผุดขึ้น (มีประมาณเท่านั้น).
ได้ยินว่า มนุษย์เปรตนั้น เมื่อไม่สามารถจะทนความหิวกระหายได้ จึงยก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 454
กระพุ่มมือวักน้ำดื่มเข้าไปหน่อยหนึ่ง แล้วรดน้ำที่เหลือลงที่ศีรษะ ทันใดนั้น
เอง ฝีขนาดเท่ามะตูมสุก ก็ผุดขึ้นตามจำนวนหยาดน้ำ เพราะเหตุนั้น เขาจึง
กล่าวอย่างนั้น. บทว่า ปภินฺนา ความว่า ฝีเหล่านั้นก็แตกในวันนั้นเอง
น้ำหนองน้ำเลือดก็ไหลออกมา มีกลิ่นเหม็นดุจซากศพ. บทว่า เยน ความว่า
(ข้าพระพุทธเจ้าจะเดินไป) ทางใด ๆ . บทว่า โอกิตฺตา ความว่า ฟุ้งไป
ด้วยกลิ่นเหม็น คือมีกลิ่นเหม็นตลบอยู่รอบตัว. บทว่า มาสฺสุ โอเรน
อาคมา ความว่า พวกมนุษย์ทั้งหลาย ต่างถือท่อนไม้ห้ามกันข้าพระพุทธเจ้าว่า
เจ้าสัตว์สกปรก ออกไปให้ห่าง อย่าเข้าใกล้ข้า คืออย่าเข้ามาใกล้พวกเรา.
บทว่า สตฺตวสฺสานิ ทานิ เม ความว่า พราหมณ์กราบทูลว่า ขอเดชะ
พระมหาราชเจ้า นับแต่วันนั้นมาจนถึงบัดนี้ เป็นเวลาเจ็ดปี ข้าพระพุทธเจ้า
ต้องเสวยกรรมของตน ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ครั้นมนุษย์เปรตนั้น
พรรณนากรรม คือ การประทุษร้ายมิตรของตนให้พินาศอย่างนี้แล้ว ทูลว่า
ขอเดชะพระมหาราชเจ้า ใคร ๆ เห็นข้าพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างแล้ว ไม่
ควรทำกรรมเห็นปานนี้ แล้วกล่าวคาถามีอาทิว่า ต โว ดังนี้. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า ต เท่ากับ ตสฺมา แปลว่า เพราะเหตุนั้น. อธิบายว่า
เพราะเหตุกรรมเห็นปานนี้ มีทุกข์เป็นวิบากอย่างนี้.
พระบรมศาสดาตรัสอภิสัมพุทธคาถานี้ไว้ ความว่า
ในโลกนี้ ผู้ประทุษร้ายมิตร ย่อมเป็นโรคเรื้อน
เกลื้อนกลาก เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรก.
อธิบายว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดประทุษร้ายเบียดเบียนมิตรในโลก
นี้ บุคคลนั้น ย่อมมีสภาพเห็นปานนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 455
เมื่อบุรุษนั้น กำลังกราบทูลพระราชาอยู่ แผ่นดินก็แยกช่องให้.
เขาก็จุติไปบังเกิดในอเวจีมหานรก ในขณะนั้นเอง. พระราชาก็เสด็จออกจาก
พระราชอุทยาน เสด็จสู่พระนคร.
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแสดงจบแล้ว ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระเทวทัต
ก็กลิ้งศิลา ประทุษร้ายเราเหมือนกันแล้วทรงประชุมชาดกว่า บุรุษผู้ประทุษ
ร้ายมิตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัต พญาวานร ได้มาเป็นเราผู้
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถามหาปิกชาดก
๗. ทกรักขสชาดก
ว่าด้วยผีเสื้อน้ำ
[๒๓๗๒] ถ้าผีเสื้อน้ำแสวงหาเครื่องเซ่น ด้วย
มนุษย์ พึงจับเรือของพระนางสลากเทวี พระราชชนนี
พระนางนันทาเทวี อัครมเหสี พระติขิณกุมารราช
อนุชา ธนุเสขกุมารผู้สหาย เกวัฏพราหมณ์ปุโรหิต
มโหสถบัณฑิต และพระองค์รวมเป็น ๗ ผู้แล่นเรือ
ไปในทะเล พระองค์จะพระราชทานใครอย่างไร ให้
ตามลำดับ แก่ผีเสื้อน้ำ พระเจ้าข้า.
[๒๓๗๓] ข้าพเจ้าจะให้พระราชมารดาก่อนให้
พระมเหสี ให้กนิษฐภาดา ต่อแต่นั้นไปก็จะให้สหาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 456
ให้พราหมณ์ ปุโรหิต เป็นลำดับที่ ๕ ให้ตนเป็นที่ ๖
มโหสถไม่ให้เลย.
[๒๓๗๔] ก็พระราชชนนีของพระองค์ เป็นผู้
บำรุงเลี้ยง ทรงอนุเคราะห์ตลอดราตรีนาน เมื่อฉัพภิ
พราหมณ์ ประทุษร้ายในพระองค์ พระราชมารดาเป็น
ผู้ฉลาด ทรงเห็นประโยชน์ ทำรูปเปรียบอื่น ปลด
เปลื้องพระองค์จากการถูกปลงพระชนม์ พระองค์จะ
พระราชทานพระชนนีผู้มีน้ำพระทัยคงที่ ประทาน
พระชนมชีพ ให้ทรงพระเจริญ ณ ระหว่างพระทรวง
ทรงพระครรภ์นั้น แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
[๒๓๗๕] พระราชมารดา ทรงเป็นเหมือนหญิง
สาว ทรงเครื่องประดับ ซึ่งในสมควรจะประดับ ตรัส
สรวลเสเฮฮา กะพวกรักษาประตู และพวกฝึกหัดม้า
จนเกินเวลาอันควร อนึ่ง พระราชมารดา ย่อมสั่งทูต
ทั้งหลายถึงอริราชศัตรูเอง ข้าพเจ้าจะให้พระราช
มารดาแก่ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษอันนั้น.
[๒๓๗๖] พระนางนันทาเทวี ผู้ประเสริฐกว่า
หมู่สนมนารี มีพระเสาวนีย์น่ารักยิ่งนัก ทรงประพฤติ
ตาม ทรงมีศีลาจารวัตร ดุจเงา มีปกติไปตาม ไม่
ทรงพิโรธง่าย ๆ ทรงมีบุญบารมี เฉลียวฉลาด ทรง
เห็นประโยชน์ พระองค์จะพระราชทานพระราชเทวี
แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 457
[๒๓๗๗] พระนางนันทานั้นรู้ว่า ข้าพเจ้าถึง
พร้อมด้วยความยินดี ในการเล่นอันกระทำความพินาศ
ก็ขอทรัพย์ ที่ข้าพเจ้าให้แก่บุตรธิดาของตนและชายา
อื่น ๆ ข้าพเจ้ามีความกำหนัดมากก็ให้ทรัพย์ทั้งประ-
ณีตและทรามเป็นอันมาก ครั้นสละสิ่งที่สละได้ยาก
แล้ว ภายหลังก็เศร้าโศกเสียใจ ข้าพเจ้าจะให้นาง
อุพพรีแก่ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษนั้น.
[๒๓๗๘] พระกนิษฐภาดา ทรงบำรุงชาวชนบท
ทั้งหลาย ให้เจริญรุ่งเรือง เชิญพระองค์ผู้ประทับอยู่
ณ ประเทศอื่นมาสู่พระนครนี้ ทรงอันเคราะห์พระองค์
ครอบงำพระราชาทั้งหลาย เอาทรัพย์เป็นอันมาก มา
แต่ราชสมบัติอื่น เป็นผู้ประเสริฐกว่านายขมังธนู ทั้ง
หลาย ทรงกล้าหาญกว่าผู้มีความคิดหลักแหลมทั้ง
หลาย พระองค์จะพระราชทานพระกนิษฐภาดา แก่
ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษอะไร.
[๒๓๗๙] กนิษฐภาดาของข้าพเจ้าดูหมิ่นข้าพเจ้า
ว่า ชาวชนบททั้งหลายเจริญก็เพราะเขา ข้าพเจ้ากลับ
มาได้ก็เพราะเขา อนุเคราะห์ข้าพเจ้า ครอบงำพระ
ราชาทั้งหลาย นำทรัพย์เป็นอันมากมาแต่ราชสมบัติอื่น
เป็นเลิศกว่านายขมังธนูทั้งหลาย กล้าหาญกว่าผู้มี
ความคิดหลักแหลมทั้งหลาย สำคัญข้าพเจ้านี้เป็นพระ
ราชาเด็ก ๆ ได้ความสุขก็เพราะเขา อนึ่ง เมื่อก่อนเขามา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 458
บำรุงข้าพเจ้าแต่เช้า แต่บัดนี้เขาไม่มาอย่างก่อน ข้าพ-
เจ้าจะให้กนิษฐภาดาแก่ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษนั้น.
[๒๓๘๐] พระองค์ประสูติวันเดียวกันกับธนุเสข-
กุมาร ทั้งสองพระองค์ เป็นชาวปัญจาลนคร เกิดใน
กรุงปัญจาละ เป็นสหายมีวัยเสมอกัน ธนุเสขกุมาร
เป็นผู้ติดตามพระองค์ โดยเสด็จจาริกไปยังชนบทร่วม
สุขร่วมทุกข์กับพระองค์ ขวนขวายจัดแจง ในกิจทุก
อย่างของพระองค์ทั้งกลางวันกลางคืน พระองค์จะพระ
ราชทานพระสหายแก่ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษอะไร.
[๒๓๘๑] ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ธนุเสขกุมารนี้ เป็น
ผู้หัวเราะต่อกระซิกกับข้าพเจ้า ด้วยความประพฤติมา
แต่ก่อน แม้วันนี้ เขาก็ยังซิกซี้เฮฮาเกินเวลา ด้วยกิริยา
นั้นอีก ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าจะปรึกษาหารือกัน
ในที่ลับกับพระนางเทวีบ้าง ข้าพเจ้าไม่ทันเรียกหาก็
เข้ามา มิให้ข้าพเจ้ารู้ตัวก่อน ถึงจะได้รับอนุญาตให้
เข้าเฝ้าได้ไม่จำกัดเวลาและโอกาสก็ตาม ข้าพเจ้าจะ
ให้สหายผู้ไม่มีความละอายแก่ใจ หาความเอื้อเฟื้อไม่
ได้ แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.
[๒๓๘๒] เกวัฏปุโรหิต เป็นผู้ฉลาดในนิมิต
ทุกอย่าง รู้เสียงร้องทุกชนิด รู้จบไตรเพท เป็นผู้ฉลาด
ในจันทรุปราคาเป็นต้นที่จะเกิดขึ้น รู้ทำนายความฝัน
รู้การถอยทัพ หรือการรุกเข้าไปต่อสู้ เป็นผู้สามารถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 459
รู้โทษหรือคุณในภูมิภาคและอากาศ เป็นผู้รอบรู้ใน
โคจรแห่งนักษัตร พระองค์จะพระราชทานเกวัฏ
พราหมณ์ แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
[๒๓๘๓] ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า อาจารย์เกวัฏลืมตา
ทั้งสอง เพ่งดูข้าพเจ้าแม้ในบริษัท เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงให้อาจารย์เกวัฏผู้ร้ายกาจ ดุจมีคิ้วอันเลิก
ขึ้น แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.
[๒๓๘๔] พระองค์เป็นผู้อันอำมาตย์แวดล้อม
ทรงครอบครองพสุนธรมหิดล มีสมุทรเป็นขอบเขต
ดุจกุณฑลแห่งสาคร พระองค์มีมหารัฐซึ่งมีสมุทร ๔
เป็นขอบเขต ทรงชนะสงความเสร็จแล้ว พระกำลัง
มากเป็นเอกราชในปฐพี มีพระอิสริยยศ ถึงความ
ไพบูลย์ พระสนมนารีจากชนบทต่างๆ ๑๖,๐๐๐นาง
สวมใส่กุณฑลแก้วมณี งามดังเทพกัญญา ดูก่อน-
ขัตติยราช นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตอันสมบูรณ์
ด้วยองค์ทั้งปวง อันสำเร็จด้วยสิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่าง
อันยืนนานอย่างนี้ ของชนทั้งหลายผู้ถึงความสุข ว่า
เป็นที่รัก เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ตามรักษามโหสถ
บัณฑิตยอมทรงสละพระชนมชีพ ซึ่งแสนยากจะพึง
สละได้ ด้วยเหตุหรือว่ากรณีอะไร.
[๒๓๘๕] ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า จำเดิมแต่มโหสถมา
อยู่กับข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าไม่เห็นมโหสถผู้มีปัญญา
ทำชั่ว แม้แต่สักเล็กน้อยเลย ถ้าแม้ความตายจะพึงมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 460
แก่ข้าพเจ้าเสียก่อนในเวลาหนึ่ง มโหสถก็จะพึงยัง
เหล่าโอรส และนัดดาทั้งหลายของข้าพเจ้าให้เป็นสุข
ได้ เพราะมโหสถย่อมมองเห็นประโยชน์ทั้งปวง ทั้ง
อนาคต ปัจจุบัน และอดีตโดยไม่ผิด ด้วยเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงจะไม่ให้มโหสถผู้มีการงานอันหาความผิด
ได้ แก่ผีเสื้อน้ำ.
[๒๓๘๖] ท่านทั้งหลายชาวปัญจาลนคร จงฟัง
ราชภาษิตของพระเจ้าจุฬนีพรหมทัตนี้ พระองค์ทรง
ตามรักษามโหสถบัณฑิต ถึงกับสู้สละพระชนมชีพ
ซึ่งแสนยากที่จะสละได้ คือพระเจ้าปัญจาลราชทรง
สละชีวิตแห่งชนทั้ง ๖ คือ พระราชชนนี พระอัคร-
มเหสี พระกนิษฐภาดา พระสหาย และพราหมณ์
กับทั้งพระองค์เอง แก่ผีเสื้อน้ำ ปัญญา มีประโยชน์
อย่างใหญ่หลวง ละเอียดลออ มีปกติคิด ยังประโยชน์
ให้สำเร็จ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน
และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบทกรักขสชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 461
อรรถกถาทกรักขสชาดก
ทกรักขสชาดก มีคำเริ่มต้นว่า สเจ โว วุยฺหมาน ดังนี้ทั้งหมดนั้น
จักมีแจ้งในมหาอุมมังคชาดก.
จบอรรถกถาทกรักขสชาดก
๘. ปัณฑรกชาดก
ไม่ควรบอกความลับแก่คนอื่น
[๒๓๘๗] ภัยเกิดจากตนเอง ย่อมตามถึงบุคคล
ผู้ไร้ปัญญา พูดพล่อย ๆ ไม่ปิดบังความรู้ ขาดความ
ระมัดระวัง ขาดความพินิจพิจารณา เหมือนครุฑตาม
ถึงเราผู้ปัณฑรกนาคราชฉะนั้น.
นรชนใด ยินดีบอกมนต์ลึกลับ ที่ตนควรจะรักษา
แก่คนชั่ว เพราะความหลง ภัยย่อมตามถึงนรชนนั้น
ผู้มีมนต์อันแพร่งพรายแล้วโดยพลัน เหมือนครุฑตาม
ถึงเรา ผู้ปัณฑรกนาคราชฉะนั้น.
มิตรเทียมไม่ควรจะให้รู้เหตุสำคัญ อันลึกลับ ถึง
มิตรแท้แต่เป็นคนโง่ หรือมีปัญญาแต่ประพฤติสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ก็ไม่ควรจะให้รู้ความลับเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 462
เราได้ถึงความคุ้นเคย กับชีเปลือย ด้วยเข้าใจว่า
สมณะนี้โลกเขานับถือ มีตนอันอบรมดีแล้ว ได้บอก
เปิดเผยความลับแก่มัน จึงได้ล่วงเลยประโยชน์ ร้องไห้
อยู่ ดุจคนกำพร้าฉะนั้น.
ดูก่อนพญาครุฑผู้ประเสริฐ เมื่อก่อนเรามีวาจา
ปกปิด ไม่บอกความลับแก่มัน แต่ก็ไม่อาจจะระมัด
ระวังได้ แท้จริงภัยได้มาถึงเราจากทางชีเปลือยนั้น
เราจึงได้ล่วงเลยประโยชน์ร้องไห้อยู่ ดุจคนกำพร้า
ฉะนั้น.
นรชนได้สำคัญว่า ผู้นี้มีใจดี บอกความลับกะ
คนสกุลทราม นรชนนั้นเป็นคนโง่เขลา ทรุดโทรมลง
โดยไม่ต้องสงสัย เพราะโทสาคติ ภยาคติ หรือเพราะ
ฉันทาคติ.
ผู้ใดปากบอน นับเข้าในพวกอสัตบุรุษ ชอบ
กล่าวถ้อยคำในที่ประชุมชน นักปราชญ์ทั้งหลายเรียก
ผู้นั้นว่า ผู้มีปากชั่วร้าย คล้ายอสรพิษ ควรระมัดระวัง
คนเช่นนั้น เสียให้ห่างไกล.
เราได้ละทิ้งข้าว น้ำ ผ้าแคว้นกาสี และจุรณ-
จันทน์ สตรีที่เจริญใจ ดอกไม้และเครื่องชโลมทา
ซึ่งเป็นส่วนกามารมย์ทั้งปวงไปหมดแล้ว ดูก่อน
พญาครุฑ เราขอถึงท่านเป็นสรณะด้วยชีวิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 463
[๒๓๘๘] ดูก่อนปัณฑรกนาคราช บรรดาสัตว์
ทั้ง ๓ จำพวก คือ สมณะ ครุฑ และนาค ใครหนอ
ควรจะได้รับคำติเตียนในโลกนี้ ที่จริงตัวท่านนั่นแหละ
ควรจะได้รับ ท่านถูกครุฑจับ เพราะเหตุไร.
[๒๓๘๙] ชีเปลือยนั้นเป็นผู้มีอัตภาพ อันเรา
ยกย่องว่าเป็นสมณะ เป็นที่รักของเรา ทั้งเป็นผู้อันเรา
ยกย่องด้วยใจจริง เราจึงบอกเปิดเผยความลับแก่มัน
เราเป็นคนขาดประโยชน์แล้ว ต้องร้องไห้อยู่ ดุจคน
กำพร้าฉะนั้น.
[๒๓๙๐] แท้จริงสัตว์ที่จะไม่ตายไม่มีเลย ใน
แผ่นดิน ธรรมชาติเช่นกับปัญญาไม่ควรติเตียน คน
ในโลกนี้ ย่อมบรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้ เพราะสัจจ-
ธรรม ปัญญา และทมะ.
มารดาบิดา เป็นยอดเยี่ยมแห่งเผ่าพันธุ์ คนที่
สามชื่อว่ามีความอนุเคราะห์แก่บุตรนั้นไม่มีเลย เมื่อ
รังเกียจว่ามนต์จะแตก ก็ไม่ควรบอกความลับสำคัญ
แม้แก่มารดาบิดานั้น.
เมื่อบุคคลรังเกียจว่ามนต์จะแตก ก็ไม่ควร
แพร่งพรายความลับที่สำคัญ แม้แก่มารดา บิดา พี่สาว
น้องสาว พี่ชาย น้องชาย หรือแก่สหาย แก่ญาติ
ฝ่ายเดียวกับตน.
ถ้าภรรยาสาวพูดไพเราะ ถึงพร้อมด้วยบุตรธิดา
รูปและยศ ห้อมล้อมด้วยหมู่ญาติ จะพึงกล่าวอ้อนวอน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 464
สามีให้บอกความลับ เมื่อรังเกียจว่ามนต์จะแตก ก็ไม่
ควรแพร่งพรายความลับสำคัญ แม้แก่ภรรยานั้น.
[๒๓๙๑] บุคคลไม่ควรเปิดเผยความลับเลย
ควรรักษาความลับนั้นไว้ เหมือนรักษาขุมทรัพย์
ความลับอันบุคคลอื่นรู้เข้า ทำให้แพร่งพรายไม่ดีเลย.
คนฉลาดไม่ควรขยายความลับแก่สตรี ศัตรู
คนมุ่งอามิส และแก่คนผู้หมายล้วงดวงใจ.
คนใดให้ผู้ไม่มีความคิดล่วงรู้ความลับ ถึงแม้
เขาจะเป็นคนใช้ของตน ก็จำต้องอดกลั้นไว้ เพราะ
กลัวความคิดจะแตก.
คนมีประมาณเท่าใด รู้ความลับที่ปรึกษากันของ
บุรุษ คนมีประมาณเท่านั้น ย่อมขู่ให้บุรุษนั้นหวาด
กลัวได้ เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรขยายความลับ.
ในกลางวันก็ดี กลางคืนก็ดี ควรพูดเปิดเผย
ความลับในที่สงัด ไม่ควรเปล่งวาจาให้เกินเวลา
เพราะคนที่คอยแอบฟัง ก็จะได้ยินข้อความที่ปรึกษา
กัน เพราะเหตุนั้น ข้อความที่ปรึกษากัน ก็จะถึง
ความแพร่งพรายทันที.
[๒๓๙๒] ผู้มีความคิดลี้ลับในโลกนี้ ย่อมปรากฏ
แก่เรา เปรียบเหมือนนครอันล้วนแล้วด้วยเหล็กใหญ่โต
ไม่มีประตู เจริญด้วยเรือนโรง ล้วนแต่เหล็ก ประกอบ
ด้วยคู อันขุดไว้โดยรอบฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 465
ดูก่อนปัณฑรกนาคราช ผู้มีลิ้นชั่ว คนจำพวกใด
มีความคิดลี้ลับ ต้องไม่พูดแพร่งพราย มั่นคงใน
ประโยชน์ของตน ย่อมเว้นไกลจากอมิตรทั้งหลาย
จำพวกเหล่านั้น ดุจคนผู้รักชีวิตเว้นไกลจากหมู่อสรพิษ
ฉะนั้น.
[๒๓๙๓] อเจลกชีเปลือย ละเรือนออกบวช มี
ศีรษะโล้น เที่ยวไปเพราะเหตุแห่งอาหาร เราได้ขยาย
ความลับแก่มันซิหนอ เราจึงเป็นผู้ปราศจากประโยชน์
และธรรม.
ดูก่อนพญาครุฑ บุคคลผู้ละสิ่งที่ยึดถือว่าเป็น
ของเราแล้ว มาประพฤติเป็นนักบวช มีการกระทำ
อย่างไร มีศีลอย่างไร ประพฤติพรตอย่างไร จึงจะ
ชื่อว่าเป็นสมณะ สมณะนั้นมีการกระทำอย่างไร จึง
จะเข้าถึงแดนสวรรค์.
[๒๓๙๔] บุคคลผู้ละสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
แล้ว มาประพฤติเป็นนักบวช ต้องประกอบด้วยความ
ละอาย ความอดกลั้น ความฝึกตน ความอดทน
ไม่โกรธง่าย ละวาจาส่อเสียด จึงจะชื่อว่าเป็นสมณะ
สมณะนั้นมีการกระทำอย่างนี้ จึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์.
[๒๓๙๕] ข้าแต่พญาครุฑ ขอท่านจงปรากฏแก่
ข้าพเจ้า เหมือนมารดาที่กกกอดลูกอ่อนที่เกิดแต่ตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 466
แผ่ร่างกายทุกส่วนสัดปกป้อง หรือดุจมารดาผู้เอ็นดู
บุตรฉะนั้นเถิด.
[๒๓๙๖] ดูก่อนพญานาคราชผู้มีลิ้นชั่ว เอาเถอะ
ท่านจงพ้นจากการถูกฆ่าในวันนี้ ก็บุตรมี ๓ จำพวก
คือ ศิษย์ ๑ บุตรบุญธรรม ๑ บุตรตัว ๑ บุตรอื่นหา
มีไม่ ท่านยินดีจะเป็นบุตร จำพวกไหนของเรา.
[๒๓๙๗] พญาครุฑจอมทิชชาติ กล่าวอย่างนี้
แล้ว ก็โผลงจับที่แผ่นดิน แล้วปล่อยพญานาคไป
ด้วยกล่าวว่า วันนี้ท่านรอดพ้น ล่วงสรรพภัยแล้ว จง
เป็นผู้อันเราคุ้มครองแล้ว ทั้งทางบกทางน้ำ.
หมอผู้ฉลาดเป็นที่พึ่งของคนไข้ได้ฉันใด ห้วงน้ำ
อันเย็น เป็นที่พึ่งของคนหิวระหายได้ฉันใด สถาน
ที่พักเป็นที่พึ่งของคนเดินทางได้ฉันใด เราก็จะเป็น
ที่พึ่งของท่านฉันนั้น.
[๒๓๙๘] แน่ะท่านผู้ชลาพุชชาติ ท่านแยก-
เขี้ยวจะขบ มองดูดังจะทำกับศัตรูผู้อัณฑชชาติ ภัย
ของท่านมีมาจากไหนกัน.
[๒๓๙๙] บุคคลพึงรังเกียจในศัตรูทีเดียว แม้ใน
มิตร ไม่ควรไว้วางใจ ภัยเกิดขึ้นได้จากที่ที่ไม่มีภัย
มิตรย่อมตัดโค่นรากได้แท้จริง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 467
จะพึงไว้วางใจในบุคคลที่ทำการทะเลาะกันมา
แล้วอย่างไรได้เล่า ผู้ใดดำรงอยู่ได้ด้วยการเตรียมตัว
เป็นนิตย์ ผู้นั้นย่อมไม่ยินดีกับศัตรูของตน.
บุคคลพึงทำให้เป็นที่ไว้วางใจของคนอื่น แต่ไม่
ควรจะวางใจคนอื่นจนเกินไป ตนเองอย่าให้คนอื่น
รังเกียจได้ แต่ควรรังเกียจเขา วิญญูชนพึงพากเพียร
ไปด้วยอาการที่ฝ่ายปรปักษ์จะรู้ไม่ได้.
[๒๔๐๐] สัตว์ทั้งสองผู้มีเพศพรรณดังเทวดา
สุขุมาลชาติเช่นเดียวกัน อาจผจญได้ดี มีบุญบารมี
ได้ทำไว้ เคล้าคลึงกันไปราวกะว่าม้าเทียมรถ พากัน
เข้าไปหากรัมปิยอเจลก.
[๒๔๐๑] ลำดับนั้น ปัณฑรกนาคราช เข้าไปหา
ชีเปลือยแต่ลำพังตนเท่านั้น แล้วได้กล่าวว่า วันนี้
เรารอดพ้นความตาย ล่วงภัยทั้งปวงแล้ว คงไม่เป็น
ที่รักที่พอใจท่านเสียเลยเป็นแน่.
[๒๔๐๒] พญาครุฑเป็นที่รักของเรา ยิ่งกว่า
ปัณฑรกนาคราช อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องสงสัย
เรามีความรักใคร่ในพญาครุฑ ทั้งที่รู้ ได้กระทำ
กรรมอันลามก ไม่ใช่ทำเพราะความลุ่มหลงเลย.
[๒๔๐๓] ความถือว่า สิ่งนี้เป็นที่รักของเรา
หรือสิ่งนี้ไม่เป็นที่รักของเรา ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่บรรพชิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 468
ผู้พิจารณาเห็นโลกนี้และโลกหน้า ก็ท่านเป็นคนไม่
สำรวม แต่ประพฤติลวงโลก ด้วยเพศของผู้สำรวมดี.
ท่านไม่เป็นอริยะ แต่ปลอมตัวเป็นอริยะ ไม่ใช่
คนสำรวม แต่ทำคล้ายคนสำรวม ท่านเป็นคนชาติ
เลวทราม ไม่ใช่คนประเสริฐ ได้ประพฤติบาปทุจริต
เป็นอันมาก.
[๒๔๐๔] แน่ะเจ้าคนเลวทราม เจ้าประทุษร้าย
ต่อผู้ไม่ประทุษร้าย ทั้งเป็นคนส่อเสียด ด้วยคำสัตย์นี้
ขอศีรษะของเจ้าจงแตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง.
[๒๔๐๕] เพราะเหตุนั้นแล บุคคลไม่พึงประ-
ทุษร้ายต่อมิตร เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคน
เลวทรามที่สุด จะหาคนอื่นที่เลวกว่าเป็นไม่มี ชีเปลือย
ถูกอสรพิษกำจัดแล้วในแผ่นดิน ทั้งได้ปฏิญญาว่า
เรามีสังวร ก็ได้ถูกทำลายลง ด้วยคำของพญานาคราช.
จบปัณฑรกชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 469
อรรถกถาปัณฑรกชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
การที่พระเทวทัตทำมุสาวาทแล้วถูกแผ่นดินสูบ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า วิกิณฺณวาจ ดังนี้.
ความย่อว่า เมื่อพวกภิกษุพากันกล่าวโทษพระเทวทัต ในคราวนั้น
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้
ในชาติก่อน พระเทวทัตก็กระทำมุสาวาท ถูกแผ่นดินสูบแล้วเหมือนกันดังนี้
แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัส ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติในพระนครพา
ราณสี พ่อค้า ๕๐๐ คน แล่นสำเภาไปยังมหาสมุทร ในวันคำรบเจ็ด สำเภาอัน
อยู่ในที่ซึ่งแลไม่เห็นฝั่ง ได้แตกลงในหลังมหาสมุทร ผู้คนได้เป็นเหยื่อแห่งปลา
และเต่าหมด มีเหลือเพียงคนเดียว ก็บุรุษที่เหลือคนเดียวนั้น ด้วยกำลังลมพัด
ลอยไปถึงท่าชื่อกทัมพิยะ เขาขึ้นจากทะเลได้แล้ว เปลือยกายล่อนจ้อน เที่ยว
ขอทานตามท่านั้น. มนุษย์ทั้งหลายเห็นเขาเข้า ก็พากันสรรเสริญว่า ท่านผู้นี้
เป็นสมณะ มักน้อยสันโดษ แล้วทำสักการะบูชา. เขาคิดว่า เราได้ช่องทาง
หาเลี้ยงชีพแล้ว แม้เมื่อชนเหล่านั้นให้เครื่องนุ่งห่ม ก็มิได้ปรารถนา ชน-
เหล่านั้นเข้าใจว่า สมณะผู้มักน้อยยิ่งกว่าท่านผู้นี้ไม่มี ดังนี้แล้วพากันเลื่อมใส
ยิ่งขึ้น ช่วยกันสร้างอาศรมบทให้ชีเปลือยนั้นพำนักอยู่ที่นั้น. เขามีชื่อปรากฏว่า
กทัมพิยอเจลก เมื่อเขาอยู่ ณ ที่นั้น ลาภสักการะเกิดขึ้นมากมาย.
พญานาคราชตนหนึ่ง กับพญาครุฑตนหนึ่ง พากันมายังที่บำรุงของ
ชีเปลือยนั้น ในพญาสัตว์ทั้งสองนั้น พญานาคชื่อว่า ปัณฑรกนาคราช. อยู่มา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 470
วันหนึ่ง พญาครุฑไปยังสำนักชีเปลือยนั้น ไหว้แล้วจับอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง
กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ ญาติของกระผม เมื่อจับพวกนาคย่อมพินาศไป
เสียมากมาย เพราะพวกกระผมไม่รู้วิธีที่จะจับนาค ได้ยินว่า เหตุที่ซ่อนเร้น
ของพวกนาคเหล่านั้นมีอยู่ ท่านจะสามารถหรือหนอ เพื่อประเล้าประโลม
ถามเหตุนั้นกะพวกนาค. ชีเปลือยรับคำแล้ว ครั้นพญาครุฑไหว้แล้วลากลับไป
ในเวลาที่พญานาคมาหา จึงถามพญานาคผู้ไหว้แล้วนั่งพักอยู่ว่า พญานาคเอ๋ย
เขาว่า เมื่อพวกครุฑจับพวกท่าน ต้องพินาศไปมากมาย ทำไมเมื่อมันจะจับ
พวกท่าน จึงไม่สามารถจะจับได้ ? พญานาคตอบว่า ท่านขอรับ ข้อนี้เป็น
เหตุซ่อนเร้นลึกลับของพวกกระผม เมื่อกระผมบอกเหตุนี้แล้ว ย่อมได้ชื่อว่า
นำความตายมาให้แก่หมู่ญาติ. ชีเปลือยจึงพูดว่า อาวุโส ก็ท่านเข้าใจว่า คน
อย่างเรานี้ จักบอกแก่คนอื่นอย่างนี้หรือ เราจักไม่บอกแก่คนอื่นเลย ก็เราถาม
เนื่องด้วยตนอยากจะรู้ ท่านเชื่อเราแล้วต้องปลอดภัย จงบอกเถิด. พญานาค
ตอบว่า ท่านขอรับ กระผมบอกไม่ได้ ไหว้แล้วก็ลาหลีกไป. แม้ในวันรุ่งขึ้น
ชีเปลือยก็ถามอีก. แม้ถึงอย่างนั้น พญานาคก็ไม่ยอมบอกดุจเดิม ครั้นต่อมา
ในวันที่ ๓ ชีเปลือยจึงถามพญานาคผู้มานั่งอยู่ว่า วันนี้เป็นวันที่ ๓ เมื่อเราถาม
ทำไมท่านจึงไม่บอก ? พญานาคตอบว่า ท่านขอรับ เพราะกระผมกลัวว่า
ท่านจักบอกแก่คนอื่น. ชีเปลือยย้ำว่า เราจักไม่บอกใคร ท่านปลอดภัยแน่
จงบอกเถิด. พญานาคจึงกล่าวว่า ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ท่านโปรดอย่าบอก
คนอื่นเลย รับปฏิญญาแล้ว จึงบอกว่า ท่านขอรับ พวกกระผมกลืนกิน
ก้อนหินใหญ่เข้าไว้ ทำตัวให้หนักนอนอยู่ ในเวลาพวกครุฑมา ก็ยื่นหน้าออก
แยกเขี้ยวคอยจะขบครุฑ พวกครุฑมาถึงก็จับศีรษะของพวกกระผมไว้ เมื่อมัน
พยายามจะฉุดพวกกระผม ซึ่งเป็นเหมือนภาระหนักอึ้งนอนอยู่ขึ้น น้ำก็ท่วม
ทับมัน พวกมันก็ตายภายในน้ำนั้นเอง ด้วยเหตุนี้ พวกครุฑจึงพินาศไปเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 471
จำนวนมาก เมื่อพวกมันจะจับพวกกระผม ทำไมจะต้องจับที่ศีรษะ พวกครุฑ
โง่ ๆ จะต้องจับที่ขนดหาง ทำให้พวกกระผมมีศีรษะห้อยลงเบื้องต่ำ ให้สำรอก
อาหารที่กลืนไว้ออกทางปาก ทำตัวให้เบาแล้วอาจจะจับไปได้ พญานาค
บอกเหตุเร้นลับของตนแก่ชีเปลือยผู้ทุศีล ด้วยประการฉะนี้.
ครั้นเมื่อพญานาค ลากลับไปแล้ว ต่อมาพญาครุฑมาไหว้กทัมพิย-
อเจลกแล้วถามว่า ท่านขอรับ ท่านถามเหตุซ่อนเร้นของพญานาคแล้วหรือ ?
ชีเปลือยตอบว่า เอออาวุโส แล้วบอกความตามที่พญานาคบอกแก่ตนนั้น
ทุกประการ. พญาครุฑได้ฟังเช่นนั้นจึงคิดว่า พญานาคทำกรรมที่ไม่สมควร
เสียแล้ว ธรรมดาลู่ทางที่จะให้มวลญาติฉิบหาย ไม่ควรบอกแก่คนอื่นเลย
ถึงทีเราแล้ว วันนี้ควรที่เราจะต้องทำลมกำลังสุบรรณ จับปัณฑรกนาคราชนี้
ก่อนทีเดียว. พญาครุฑนั้นก็กระทำลมกำลังสุบรรณ จับปัณฑรกนาคราชทาง
ขนดหางทำให้มีศีรษะห้อยลง ทำให้สำรอกอาหารที่กลืนเข้าไป แล้วโผขึ้นบินไป
ในอากาศ. ปัณฑรกนาคราช เมื่อต้องห้อยศีรษะลงในอากาศ ก็ปริเทวนาการว่า
เรานำทุกข์มาให้แก่ตัวเองแท้ ๆ กล่าวคาถา ความว่า
ภัยเกิดจากตนเอง ย่อมตามถึงบุคคลผู้ไร้ปัญญา
พูดพล่อย ๆ ไม่ปิดบังความรู้ ขาดความระมัดระวัง
ขาดความพินิจพิจารณา เหมือนครุฑตามถึงเราผู้ปัณ-
ฑรกนาคราช ฉะนั้น.
นรชนใดยินดีบอกมนต์ลึกลับที่ตนควรจะรักษา
แก่คนชั่ว เพราะความหลง ภัยย่อมตามถึงนรชนนั้นผู้มี
มนต์อันแพร่งพรายแล้วโดยพลัน เหมือนครุฑตามถึง
เราผู้ปัณฑรกนาคราช ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 472
มิตรเทียมไม่ควรจะให้รู้เหตุสำคัญอันลึกลับ ถึง
มิตรแท้แต่เป็นคนโง่ หรือมีปัญญาแต่ประพฤติสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ก็ไม่ควรจะให้รู้ความลับเหมือนกัน.
เราได้ถึงความคุ้นเคยกับชีเปลือย ด้วยเข้าใจว่า
สมณะนี้โลกเขานับถือ มีตนอบรมดีแล้ว ได้บอก
เปิดเผยความลับแก่มัน จึงได้ล่วงเลยประโยชน์ร้องไห้
อยู่ดุจคนกำพร้า ฉะนั้น.
ดูก่อนพญาครุฑที่ประเสริฐ เมื่อก่อนเรามีวาจา
ปกปิด ไม่บอกความลับแก่มัน แต่ก็ไม่อาจระมัดระวัง
ได้ แท้จริง ภัยได้มาถึงเราจากทางชีเปลือยนั้น เราจึง
ได้ล่วงเลยประโยชน์ร้องไห้อยู่ดุจคนกำพร้า ฉะนั้น.
นรชนใดสำคัญว่า ผู้นี้มีใจดี บอกความลับกะ
คนสกุลทราม นรชนนั้นเป็นคนโง่เขลา ทรุดโทรมลง
โดยไม่ต้องสงสัย เพราะโทสาคติ ภยาคติ หรือเพราะ
ฉันทาคติ.
ผู้ใดปากบอนนับเข้าในพวกอสัตบุรุษ ชอบกล่าว
ถ้อยคำในที่ประชุมชน นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกผู้นั้น
ว่า ผู้มีปากชั่วร้าย คล้ายอสรพิษ ควรระมัดระวังคน
เช่นนั้นเสียให้ห่างไกล.
เราได้ละทิ้ง ข้าว น้ำ ผ้าแคว้นกาสี และจุรณ-
จันทน์ สตรีที่เจริญใจดอกไม้และเครื่องชโลมทาซึ่ง
เป็นส่วนกามารมณ์ทั้งปวงไปหมดแล้ว ดูก่อนพญาครุฑ
เราขอถึงท่านเป็นสรณะด้วยชีวิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 473
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิกิณฺณวาจ ได้แก่ ผู้มีวาจาแผ่ไปแล้ว.
บทว่า อนิคุยฺหมนฺต ได้แก่ ผู้มีความรู้ไม่ปกปิด. บทว่า อสญฺต ได้แก่
ผู้ไม่สามารถเพื่อจะรักษากายทวารเป็นต้นได้. บทว่า อปริจกฺขิตาร ความว่า
ผู้ไม่สามารถที่จะตรวจตราใคร่ครวญดูว่า ผู้นี้จักสามารถ หรือจักไม่สามารถ
ที่จะรักษามนต์ที่เราบอกแล้ว. บทว่า ภย ตมนฺเวติ ความว่า ผู้ประกอบด้วย
องค์ ๔ เหล่านี้. บทว่า อโพธ ความว่า ภัยอันตนเองนั่นแหละกระทำ
ย่อมตามถึงบุคคลผู้ไร้ปัญญา เหมือนพญาครุฑตามถึงเรา ผู้ชื่อปัณฑรกนาคราช
ฉะนั้น. บทว่า สสติ หาสมาโน ความว่า ผู้ใดยินดีบอกมนต์ลึกลับที่ตน
ควรจะรักษา แก่คนชั่วผู้ไม่สามารถจะรักษาได้. บทว่า นานุมิตฺโต ความว่า
พญาปัณฑรกนาคราช ปริเทวนาการว่า ผู้ใดเป็นมิตรเพียงแต่คอยคล้อยตาม
มิใช่เป็นมิตรด้วยหทัย ผู้นั้นไม่ควรบอกเนื้อความอันเร้นลับ.
บทว่า อสมฺพุทฺธ ความว่า เป็นคนโง่ คือไม่รู้ อธิบายว่า ไม่มี
ปัญญา. บทว่า สมฺพุทฺธ ความว่า เป็นคนฉลาด คือรู้ อธิบายว่า มีปัญญา.
มีคำอธิบายดังนี้ แม้ผู้ใดเป็นมิตรมีใจดี แม้ไม่มีปัญญาก็ตาม และผู้ใดแม้จะ
มีปัญญา แต่มีความประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์ คือมีความประพฤติที่โน้ม
เอียงไปในอนัตถะ แม้ผู้นั้นย่อมไม่ควรจะให้รู้ความลับ. บทว่า สมโณ อย
ความว่า พญานาคนั้นปริเทวนาการอยู่ว่า เราสำคัญว่า ผู้นี้เป็นสมณะด้วย
โลกเขายกย่องนับถือด้วย มีตนอันอบรมแล้วด้วย จึงถึงความคุ้นเคยในมัน.
บทว่า อกฺขึ แปลว่า บอกแล้ว. บทว่า อตีตมตฺโถ ความว่า บัดนี้เรา
ขาดประโยชน์แล้ว คือ เป็นผู้ล่วงเลยประโยชน์แล้ว ต้องร้องไห้ดุจคนกำพร้า.
บทว่า ตสฺส ความว่า แก่อเจลกนั้น.
พญานาคราชเรียกพญาครุฑว่า พรหม พญาครุฑที่ประเสริฐ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 474
บทว่า สยเมตุ ความว่า เราไม่สามารถจะรักษาวาจาอันเร้นลับ คือ
เหตุอันลึกลับนี้ได้. บทว่า ตปฺปกฺขโต หิ ความว่า พญานาคปริเทวนาการ
ว่า บัดนี้ภัยมาถึงเราแล้ว จากทางฝ่ายคือจากสำนักของชีเปลือยนั้น เราขาด
ประโยชน์แล้ว ต้องร้องไห้ดุจคนกำพร้าอยู่อย่างนี้. บทว่า สุหท ความว่า
คนใดสำคัญว่า ผู้นี้มีใจประสงค์ดีต่อเรา. บทว่า ทุกฺกุลีเน ได้แก่ผู้เกิดในสกุลชั่ว
คือสกุลต่ำ. บทว่า โทสา ความว่า ผู้ใดบอกความลับ เห็นปานนี้ ด้วยเหตุ
มีโทสาคติเป็นต้นเหล่านี้ ผู้นั้นเป็นคนโง่ ตกต่ำ หมุนไปถึงความเลวทราม
ชื่อว่าเสื่อมแล้วแน่นอน โดยไม่ต้องสงสัย. บทว่า ติโรกฺขวาโจ ผู้ใดชื่อว่า
มีวาจาไม่ปกปิด เพราะทำถ้อยคำที่ตนประสงค์จะพูดไว้ในภายนอก. บทว่า
อสต ปวิฏฺโ ความว่า นับเข้าในจำนวนอสัตบุรุษ คือนับเนื่องในพวก
อสัตบุรุษ.
บทว่า สงฺคตีสุ มุทิเร ความว่า ผู้ใดมีลักษณะอย่างนี้ คือ ได้ยิน
ความลับของคนอื่นแล้ว แพร่งพรายในท่ามกลางประชุมชนว่า สิ่งโน้นคนโน้นทำ
คำนี้คนโน้นพูด ดังนี้ นักปราชญ์เรียกคนเช่นนั้นว่า มีปากชั่ว มีปากเหม็น
คล้ายอสรพิษ ควรระมัดระวังคนเช่นนั้นแต่ไกล ๆ คือควรงด ควรเว้น
คนนั้นเสียแต่ไกล ๆ ทีเดียว. บทว่า มาลุจฺฉาทนญฺจ ความว่า เราทอดทิ้ง
ทิพยมาลา จตุคันธชาติและเครื่องชโลมทา. บทว่า โอหาย ความว่า
วันนี้เราละ คือ ทอดทิ้งกามารมณ์ทั้งหมด มีข้าวทิพย์เป็นต้นเหล่านี้ไปแล้ว.
บทว่า สุปณฺณ ปาณูปคตาว ตยมฺหา ความว่า ท่านพญาครุฑที่เจริญ
เราเข้าถึงท่านด้วยชีวิต. โปรดเป็นที่พึ่งแก่พวกเราเถิด.
ปัณฑรกนาคราช มีศีรษะห้อยลงในอากาศ ปริเทวนาการด้วยคาถา
ทั้ง ๘ อยู่อย่างนี้. พญาครุฑได้ยินเสียงปริเทวนาการ ของพญานาคราชนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 475
จึงติเตียนพญานาคราชนั้นว่า ท่านนาคราช ท่านบอกความลับของตนแก่
ชีเปลือยแล้ว ทำไมบัดนี้จึงปริเทวนาการอยู่เล่า แล้วกล่าวคาถา ความว่า
ดูก่อนปัณฑรกนาคราช บรรดาสัตว์ทั้ง ๓ จำพวก
คือ สมณะ ครุฑ และนาค ใครหนอควรจะได้รับ
คำติเตียนในโลกนี้ ที่จริง ตัวท่านนั่นแหละควรจะได้รับ
ท่านถูกครุฑจับเพราะเหตุไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนีธ ความว่า ในพวกเราทั้ง ๓
มีอยู่ ณ ที่นี้ ใครเล่า. บทว่า อิธ ในบทว่า อสฺมีธ นี้ เป็นเพียงนิบาต
ความก็ว่าในโลกนี้. บทว่า ปาณภู ได้แก่ สัตว์มีชีวิต. บทว่า อถวา ตเวว
ความว่า หรือท่านผู้เดียว.
ในคาถานี้มีอธิบายดังนี้ ในพวกเราทั้ง ๓ อย่าติเตียนชีเปลือยก่อน
เพื่อชีเปลือยนั้นถามความลับด้วยอุบาย ท่านอย่าติเตียนแม้สุบรรณ เพราะ
เราก็เป็นข้าศึกของท่านโดยตรง.
บทว่า ปณฺฑรก คหิโต ความว่า สหายปัณฑรกนาคราชเอ๋ย
ท่านลองคิดดูเถิดว่า เราถูกครุฑจับเพราะอะไร แล้วก็ติเตียนตนแต่เพียงผู้เดียว
เพราะเมื่อท่านบอกความลับ นับว่าตนเอง ทำความฉิบหายแก่ตนเอง.
ปัณฑรกนาคราช ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ความว่า
ชีเปลือยนั้น เป็นผู้มีอัตภาพอันเรายกย่องว่า
เป็นสมณะ เป็นที่รักของเรา ทั้งเป็นผู้อันเรายกย่อง
ด้วยใจจริง เราจึงบอกเปิดเผยความลับแก่มัน เราเป็น
คนขาดประโยชน์แล้ว ต้องร้องไห้อยู่ ดุจคนกำพร้า
ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 476
ลำดับนั้น พญาครุฑได้กล่าวคาถา ๔ คาถา ความว่า
แท้จริง สัตว์ที่จะไม่ตายไม่มีเลยในแผ่นดิน
ธรรมชาติเช่นกับปัญญาไม่ควรติเตียน คนในโลกนี้
ย่อมบรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้ เพราะสัจจธรรม ปัญญา
และทมะ.
มารดาบิดา เป็นยอดเยี่ยมแห่งเผ่าพันธุ์ คนที่
สามชื่อว่ามีความอนุเคราะห์แก่บุตรนั้น ไม่มีเลย เมื่อ
รังเกียจว่ามนต์จะแตก ก็ไม่ควรบอกความลับสำคัญ
แม้แก่มารดาบิดานั้น.
เมื่อบุคคลรังเกียจว่ามนต์จะแตก ก็ไม่ควรแพร่ง
พรายความลับที่สำคัญ แม้แก่บิดามารดา พี่สาว น้อง
สาว พี่ชาย น้องชาย หรือแก่สหาย แก่ญาติฝ่ายเดียว
กับตน.
ถ้าภรรยาสาวพูดไพเราะ ถึงพร้อมด้วยบุตรธิดา
รูปและยศ ห้อมล้อมด้วยหมู่ญาติ จะพึงกล่าวอ้อน
วอนสามี ให้บอกความลับ เมื่อรังเกียจว่ามนต์จะแตก
ไม่ควรแพร่งพรายความลับสำคัญ แม้แก่ภรรยานั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมโร ความว่า ขึ้นชื่อว่าสัตว์ที่จะไม่
ตาย ไม่มีเลย. น อักษรในบทว่า ปญฺาวิธา นตฺถิ ทำการเชื่อมบท
อธิบายว่า ชนิดของปัญญามีอยู่. ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ ดูก่อนนาคราช
แม้สัตว์ผู้จะไม่ตาย ไม่มีในโลกเลย ชนิดแห่งปัญญามีอยู่แท้ ชนิดแห่งปัญญา
กล่าวคือ ส่วนแห่งปัญญา ของผู้อื่นนั้น ไม่ควรนินทา เพราะเหตุชีวิตของตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 477
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปญฺาวิธา ความว่า ธรรมชาติอื่นที่ ชื่อว่า
ไม่ควรนินทา เช่นกับปัญญาไม่มี เหตุไรท่านจึงนินทาชนิดแห่งปัญญานั้น.
ปาฐะว่า เยส ปน ปญฺาวิธปิ น นินฺทิตพฺพ ดังนี้ก็มี ความก็ว่า
อนึ่ง แม้ชนิดแห่งปัญญาของคนเหล่าใด ไม่ควรนินทาชนิดแห่งปัญญา ของ
คนเหล่านั้นโดยตรงทีเดียว.
ในบททั้งหลาย มีอาทิว่า สจฺเจน นี้ มีอธิบายว่า คนในโลกนี้ย่อม
ประมวลมา คือนำมา ซึ่งคุณวิเศษ กล่าวคือสมาบัติ ๘ มรรคผลและนิพพาน
ที่ตนยังไม่ได้ คือได้ด้วยยาก ได้แก่ยังคุณวิเศษนั้นให้สำเร็จ ด้วยวจีสัจจะ ๑
สุจริตธรรม ๑ ธิติกล่าวคือปัญญา ๑ อินทริยทมะ การทรมานอินทรีย์ ๑
เพราะฉะนั้น ท่านไม่ควรติเตียนชีเปลือย จงติเตียนตัวเองผู้เดียวเถิด เพราะ
ชีเปลือยเป็นคนมีปัญญา เป็นคนฉลาดในอุบาย จึงหลอกถามความลับ คือ
มนต์อันลึกลับ ท่านได้.
บทว่า ปรมา ความว่า มารดาบิดาทั้งสองนี้ ชื่อว่า เป็นพงศ์พันธุ์
อันสูงสุดของเผ่าพันธุ์. บทว่า นาสฺส ตติโย ความว่า คนที่สามอื่นจาก
มารดาบิดา จะชื่อว่าเอื้อเอ็นดู ย่อมไม่มีสำหรับบุคคลนั้น อธิบายว่า คน
ฉลาดเมื่อรังเกียจว่า มนต์จะแตก ไม่ควรบอกความลับอันสำคัญ แม้แก่มารดา
บิดาทั้งสอง ตัวท่านเองกลับบอกความลับที่ตนมิได้บอกแก่มารดาบิดา แก่ชี
เปลือย. บทว่า สหายา วา ได้แก่ มิตรผู้มีใจดี. บทว่า สปกฺขา ได้แก่
ญาติข้างฝ่ายมารดาบิดา ลุง อา น้าหญิงเป็นต้น. ด้วยบทว่า เตสปิ
นี้ พญาครุฑ แสดงความว่า คนฉลาดไม่ควรบอกความลับ แก่ญาติและมิตร
แม้เหล่านี้ ท่านสิกลับบอกแก่ชีเปลือย ท่านจงโกรธตนของตนเองเถิด. บทว่า
ภริยา เจ ความว่า ภรรยาสาวเจรจาน่ารัก ถึงพร้อมด้วยบุตรธิดา ถึงพร้อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 478
ด้วยรูปสมบัติ และยศศักดิ์ เห็นปานนี้ หากพูดว่า ท่านจงบอกความลับของ
ท่านแก่เรา ดังนี้ คนฉลาดก็ไม่ควรบอกแม้แก่ภรรยานั้น.
พญาครุฑ กล่าวคำเป็นคาถาต่อไปอีก ความว่า
บุคคลไม่ควรเปิดเผยความลับเลย ควรรักษา
ความลับนั้นไว้ เหมือนรักษาขุมทรัพย์ ความลับอัน
บุคคลอื่นรู้เข้าทำให้แพร่งพราย ไม่ดีเลย.
คนฉลาดไม่ควรขยายความลับแก่สตรี ศัตรู คน
มุ่งอามิส และแก่คนผู้หมายล้วงดวงใจ.
คนใดให้ผู้ไม่มีความคิดล่วงรู้ความลับ ถึงแม้เขา
จะเป็นคนใช้ของตน ก็จำต้องอดกลั้นไว้ เพราะกลัว
ความคิดจะแตก.
คนมีประมาณเท่าใด รู้ความลับที่ปรึกษากันของ
บุรุษ คนประมาณเท่านั้น ย่อมขู่ให้บุรุษนั้นหวาด
กลัวได้ เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรขยายความลับ.
ในกลางวันก็ดี กลางคืนก็ดี ควรพูดเปิดเผย
ความลับในที่สงัด ไม่ควรเปล่งวาจาให้เกินเวลา
เพราะคนที่คอยแอบฟัง ก็จะได้ยินข้อความที่ปรึกษา
กัน เพราะเหตุนั้น ข้อความที่ปรึกษากัน ก็จะถึง
ความแพร่งพรายทันที.
คาถาทั้ง ๕ คาถา จักมีแจ้งในบัณฑิตปัญหา ๕ ข้อ
ในอุมมังคชาดก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 479
พญาครุฑได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ถัดนั้นไป ความว่า
ผู้มีความคิดอันลี้ลับในโลกนี้ ย่อมปรากฏแก่เรา
เปรียบเหมือนนครอันล้วนแล้ว ด้วยเหล็กใหญ่โต
ไม่มีประตู เจริญด้วยเรือนโรง ล้วนแต่เหล็กประกอบ
ด้วยคูอันขุดไว้โดยรอบ ฉะนั้น.
ดูก่อนปัณฑรกนาคราช ผู้มีลิ้นชั่ว คนจำพวกใด
มีความคิดลี้ลับ ต้องไม่พูดแพร่งพราย มั่นคงใน
ประโยชน์ของตน อมิตรทั้งหลายย่อมเว้นไกลจากคน
จำพวกนั้น ดุจคนผู้รักชีวิต เว้นไกลจากหมู่อสรพิษ
ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภณฺฑสาล ความว่า ถึงพร้อมด้วย
เรือนโรง มีร้านตลาดเป็นต้น. บทว่า สมนฺตขาตาปริขาอุเปต ความว่า
ประกอบด้วยคูอันขุดรายไว้โดยรอบ. บทว่า เอวมฺปิ เม ความว่า บุรุษ
เหล่านั้น คือทุกจำพวกทีเดียว ผู้มีความลับในที่นี้ ย่อมปรากฏแก่เราแม้ฉัน
นั้น. ท่านอธิบายความไว้ว่า เครื่องอุปโภคของประชาชน ย่อมอยู่ภายในนคร
เหล็ก อันไม่มีประตูเข้าออกเท่านั้น คนที่อยู่ภายใน ก็ไม่ออกไปข้างนอก คน
ที่อยู่ข้างนอก ก็ไม่เข้าไปข้างใน ขาดการสัญจรไปมาติดต่อกันฉันใด บุรุษ
ทั้งหลายผู้มีความคิดลี้ลับ ต้องเป็นฉันนั้น คือให้ความลับของตนจางหายไป
ภายในใจของตนผู้เดียว ไม่ต้องบอกแก่คนอื่น.
บทว่า ทฬฺหา สทตฺเถสุ ความว่า เป็นผู้มั่งคั่งในประโยชน์ของ
ตน. พญาครุฑเรียก ปัณฑรกนาคราชว่า ทุชิวฺหา ผู้มีลิ้นชั่ว. บทว่า
พฺยวชนฺติ แปลว่า ย่อมหลีกห่างไกล. บทว่า วา ในบาทคาถาว่า อาสีวิสา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 480
วาริว สตฺตสงฺฆา นี้ เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า ดุจชุมชนผู้มุ่งจะมีชีวิต
อยู่ เว้นไกลจากหมู่สัตว์ร้าย เหล่าอสรพิษฉะนั้น. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า
ศัตรูย่อมหลีกห่างไกลจากคน ผู้มีความคิดลี้ลับเหล่านั้น ดุจเหล่ามนุษย์ ผู้มุ่ง
จะมีชีวิตอยู่ ย่อมเว้นไกลจากหมู่สัตว์ร้าย เหล่าอสรพิษฉะนั้น คือไม่ได้โอกาส
ที่จะเข้าใกล้.
เมื่อพญาครุฑกล่าวธรรมอย่างนี้แล้ว ปัณฑรกนาคราชจึงกล่าวคาถา
ความว่า
อเจลกชีเปลือย ละเรือนออกบวช มีศีรษะโล้น
เที่ยวไปเพราะเหตุแห่งอาหาร เราได้ขยายความลับ
แก่มันซิหนอ เราจึงเป็นผู้ปราศจากประโยชน์และ
ธรรม.
ดูก่อนพญาครุฑ บุคคลผู้ละสิ่งที่ยึดถือว่าเป็น
ของเราแล้ว มาประพฤติเป็นนักบวช มีการทำอย่างไร
มีศีลอย่างไร ประพฤติพรตอย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็น
สมณะ สมณะนั้นมีการทำอย่างไร จึงจะเข้าถึงแดน
สวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆาสเหตุ ความว่า ชีเปลือยนั้นไม่มี
สิริ เที่ยวแสวงหาของเคี้ยว ของฉัน เพื่อให้เต็มท้อง. บทว่า อปคตฺมหา
ความว่า เราปราศจาก คือเป็นผู้เสื่อมจากอรรถและธรรมแล้ว. ครั้นพญา-
นาคราชรู้อุบายวิธีเป็นสมณะของชีเปลือยแล้ว เมื่อจะถามข้อปฏิบัติของสมณะ
จึงกล่าวคำนี้ว่า กถกโร ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสีโล ความว่า
ประกอบด้วยศีลอย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 481
บทว่า เกน วเตน ความว่า สมณะชื่อว่ามีพรต เพราะสมาทาน
พรตอย่างไร. บทว่า สมโณ จร ความว่า ผู้ที่ประพฤติบรรพชาอยู่ ต้อง
ละตัณหาที่ยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นสมณะผู้ลอยบาป
แล้ว. บทว่า สคฺค ความว่า สมณะนั้นต้องทำอย่างไร จึงจะเข้าถึงเทพนคร
อันเลิศด้วยดี.
พญาครุฑกล่าวตอบเป็นคาถา ความว่า
บุคคลผู้ละสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว มา
ประพฤติเป็นนักบวช ต้องประกอบด้วยความละอาย
ความอดกลั้น ความฝึกตน ความอดทน ไม่โกรธง่าย
วาจาส่อเสียด จึงจะชื่อว่าเป็นสมณะ สมณะนั้น
มีการกระทำอย่างนี้ จึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิริยา ความว่า แน่ะสหายนาคราช
บุคคลผู้ประกอบด้วยหิริโอตตัปปะ อันเป็นสมุฐานทั้งภายในภายนอก ด้วย
อธิวาสนขันดี กล่าวคือความอดกลั้น และประกอบด้วยการฝึกฝนทรมาน
อินทรีย์ มีปกติไม่โกรธ ละวาจาส่อเสียด และละตัณหากามารมณ์ได้แล้ว
ประพฤติบรรพชาอยู่ ย่อมชื่อว่าเป็นสมณะ สมณะผู้กระทำอย่างนี้แหละ เมื่อ
กระทำกุศล มีหิริเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมเข้าถึงสุคติสถานได้.
ปัณฑรกนาคราช ได้ฟังธรรมกถาของพญาครุฑนี้แล้ว เมื่อจะ
อ้อนวอนขอชีวิต จึงกล่าวคาถา ความว่า
ข้าแต่พญาครุฑ ขอท่านจงปรากฏแก่ข้าพเจ้า
เหมือนมารดาที่กกกอดลูกอ่อนที่เกิดแต่ตน แผ่ร่างกาย
ทุกส่วนสัดปกป้อง หรือดุจมารดาผู้เอ็นดูบุตรฉะนั้น
เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 482
คาถานั้น มีอธิบายดังนี้ มารดาเห็นบุตรอ่อนที่เกิดแต่ตัว เกิดแล้ว
ในสรีระของตน แล้วให้นอนในอ้อมอกให้ดื่มน้ำนม แผ่เรือนร่างทุกส่วนเพื่อ
ปกป้องบุตรไว้ คือมารดาไม่ไปจากบุตร บุตรก็ไม่ไปจากมารดาฉันใด ท่าน
จงปรากฏแก่เรา เหมือนฉันนั้นเถิด. บทว่า ทิชินฺท ความว่า ข้าแต่ราชา
แห่งทิชชาติ แม้ท่านก็จงโปรดเห็นแก่เรา โปรดให้ชีวิตแก่เรา ดุจมารดา
เอื้อเอ็นดูบุตร ด้วยดวงหทัยอันอ่อนโยนฉะนั้นเถิด.
ลำดับนั้น พญาครุฑเมื่อจะให้ชีวิตแก่พญานาค จึงกล่าวคาถานอกนี้
ความว่า
ดูก่อนพญานาคราชผู้มีลิ้นชั่ว เอาเถอะ ท่าน
จงพ้นจากการถูกฆ่าในวันนี้ ก็บุตรมี ๓ จำพวก คือ
ศิษย์ ๑ บุตรบุญธรรม ๑ บุตรตัว ๑ บุตรอื่นหามีไม่
ท่านยินดีจะเป็นบุตรจำพวกไหนของเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุจฺจ แปลว่า จงพ้น. อีกอย่างหนึ่ง
ปาฐะพระบาลีก็เป็นอย่างนี้แหละ. บทว่า ทุชิวฺหา ความว่า พญาครุฑเรียก
พญานาคราชนั้นว่า ทุชิวฺหา ผู้มีลิ้นชั่ว. อธิบายว่า ขึ้นชื่อบุตรที่ ๔ อื่นไม่มี.
บทว่า อนฺเตวาสี ทินฺนโก อตฺรโช จ ได้แก่ บุตรผู้เล่าเรียนศิลปะ
หรือฟังปัญหาอยู่ในสำนัก.
บทว่า ทินฺนโก ได้แก่ บุตรที่คนอื่นยกให้ว่า เด็กนี้จงเป็นลูก
ของท่าน. บทว่า รชสฺสุ แปลว่า จงยินดี ด้วยบทว่า อญฺตโร นี้
พญาครุฑแสดงความว่า ในบุตร ๓ จำพวกนั้น ท่านจงเถิดเป็นอันเตวาสี
บุตรอย่างหนึ่งของเรา. ก็แหละครั้นพญาครุฑกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ลงจากอากาศ
วางพญานาคราชลงที่แผ่นดิน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 483
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา
๒ คาถา ความว่า
พญาครุฑจอมทิชชาติ กล่าวอย่างนี้แล้ว ก็โผ
ลงจับที่แผ่นดิน แล้วปล่อยพญานาคไปด้วยกล่าวว่า
วันนี้ ท่านรอดพ้นล่วงสรรพภัยแล้ว จงเป็นผู้อันเรา
คุ้มครองแล้ว ทั้งทางบกทั้งน้ำ.
หมอผู้ฉลาดเป็นที่พึ่งของคนไข้ได้ฉันใด ห้วงน้ำ
อันเย็น เป็นที่พึ่งของคนหิวระหายได้ฉันใด สถาน
ที่พักเป็นที่พึ่งของคนเดินทางได้ฉันใด เราก็จะเป็น
ที่พึ่งของท่าน ฉันนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺเจว วากฺย ความว่า พญาครุฑ
ครั้นกล่าวคำอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็ปลดปล่อยนาคราชนั้น. บทว่า
ภุมฺย ความว่า พญาครุฑนั้น ก็ประดิษฐานบนพื้นภูมิภาค แม้ด้วยตนเอง
ปลอบโยนพญานาคราชผู้มีลิ้นชั่ว พลางกล่าวว่า วันนี้ท่านรอดพ้นแล้ว นับ
แต่วันนี้ไป ท่านล่วงพ้นภัยทั้งปวง จงเป็นผู้ที่เราคุ้มครองรักษา ทั้งทางบก
ทางน้ำเถิด. บทว่า อาตงฺกิน แปลว่า ของคนไข้. บทว่า เอวมฺปิ เต
ความว่า เราจะเป็นที่พึ่งของท่าน (ดุจหมอผู้ฉลาด เป็นที่พึ่งของคนไข้เป็นต้น)
ฉะนั้น.
พญาครุฑปล่อยนาคราชไปว่า ท่านจงไปเถิด. นาคราชนั้นก็เข้าไปสู่
นาคพิภพ. ฝ่ายพญาครุฑกลับไปสู่บรรณพิภพ แล้วคิดว่า ปัณฑรกนาคราช
เราได้ทำการสบถ ให้เชื่อปล่อยไปแล้ว จะมีดวงใจต่อเราเช่นไรหนอ เราจัก
ทดลองดู แล้วไปยังนาคพิภพ ได้ทำลมแห่งครุฑ. พญานาคราชเห็นเช่นนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 484
สำคัญว่า พญาครุฑจักมาจับเรา จึงเนรมิตอัตภาพยาวประมาณพันวา กลืน
ก้อนหินและทรายเข้าไว้ในตัวหนัก นอนแผ่พังพานไว้ยอดขนดจดหางลง
เบื้องต่ำ ทำอาการประหนึ่งว่า มุ่งจะขบพญาครุฑ. พญาครุฑเห็นอาการเช่น
นั้น จึงกล่าวคาถานอกนี้ ความว่า
แน่ะท่านผู้ชลามพุชชาติ ท่านแยกเขี้ยวจะขบ
มองดูดังจะทำกับศัตรูผู้อัณฑชชาติ ภัยของท่านมีมา
จากไหนกัน.
พญานาคราชได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
บุคคลพึงรังเกียจในศัตรูทีเดียว แม้ในมิตรก็ไม่
ควรไว้วางใจ ภัยเกิดขึ้นได้จากที่ที่ไม่มีภัย มิตรย่อม
ตัดโค่นรากได้แท้จริง.
จะพึงไว้วางใจในบุคคล ที่ทำการทะเลาะกันมา
แล้วอย่างไรได้เล่า ผู้ใดดำรงอยู่ได้ด้วยการเตรียมตัว
เป็นนิตย์ ผู้นั้นย่อมไม่ยินดีกับศัตรูของตน.
บุคคลพึงทำให้เป็นที่ไว้วางใจของคนอื่น แต่ไม่
ควรจะวางใจคนอื่นจนเกินไป ตนเองอย่าให้คนอื่น
รังเกียจได้ แต่ควรรังเกียจเขา วิญญูชนพึงพากเพียร
ไปด้วยอาการที่ฝ่ายปรปักษ์จะรู้ไม่ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภยา ความว่า ภัยบังเกิดขึ้นจากมิตร
อันน่าจะเป็นที่ตั้งแห่งความปลอดภัย ย่อมตัดก่นโค่นราก กล่าวคือชีวิตได้
แท้จริง. บทว่า ตฺยมฺหิ เท่ากับ ตสฺมึ ได้แก่ ในบุคคลนั้น. บทว่า เยนาสิ
ได้แก่ บุคคลที่เคยกระทำการทะเลาะกันมาแล้ว. บทว่า นิจฺจยตฺเตน แปลว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 485
ด้วยการเตรียมตัวเป็นนิตย์. บทว่า โส ทิสพฺภิ น รชฺชติ ความว่า ผู้ใด
ตั้งมั่น ด้วยการระมัดระวังเป็นนิตย์ ผู้นั้นย่อมไม่ยินดี ด้วยอำนาจความคุ้นเคย
กับศัตรูของตน แต่นัน กิจที่ควรทำตามประสงค์ของศัตรูเหล่านั้น ก็มีไม่ได้.
บทว่า วิสฺสาสเย ความว่า บุคคลควรให้ผูอื่นวางใจได้ในตน แต่ตนเอง
ไม่ควรวางใจเขา ตนอันผู้อื่นเขาไม่ระแวงแล้ว ตนต้องระแวงเขา. บทว่า
ภาว ปโร ความว่า บัณฑิตจะพยายามด้วยวิธีใด ๆ ก็หาทราบภาวะ (ความ
ประสงค์) ของฝ่ายปรปักษ์ได้ด้วยวิธีนั้น ๆ ไม่ เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรทำ
ความพยายามเรื่อยไป. ที่กล่าวมานี้เป็นอธิบายของพญานาคราช. ครั้นสองสัตว์
(คือพญาครุฑ และพญานาคราช) เจรจากันอย่างนี้แล้ว ก็สมัครสโมสร
รื่นเริง บันเทิงกัน พากันไปยังอาศรมชีเปลือย.
พระบรมศาสดาเมื่อจะประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
สัตว์ทั้งสอง มีเพศพรรณดังเทวดา สุขุมาลชาติ
เช่นเดียวกัน อาจผจญได้ดี มีบุญบารมีได้ทำไว้
เคล้าคลึงกันไปราวกะว่า ม้าเทียมรถ พากันเข้าไปหา
กรัมปิยอเจลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมา ความว่า สัตว์ทั้งสองมี
ทรวดทรงสัณฐาณ ทัดเทียมกัน. บทว่า สุชยา ความว่า มีวัยเป็นสุข คือ
บริสุทธิ์. ปาฐะพระบาลีก็อย่างเดียวกันนี้เหมือนกัน. บทว่า ปุญฺกฺขนฺธา
ความว่า ราวกะว่ากองบุญ เพราะมีกุศลอันกระทำไว้แล้ว. บทว่า มิสฺสีภูตา
ความว่า สัตว์ทั้งสองจับมือกันและกัน เข้าถึงความเคล้าคลึงกันด้วยกาย. บทว่า
อสฺสวาหาว นาคา ความว่า เป็นบุรุษผู้ประเสริฐ คล้ายกับอัสดรสองตัว
เทียมที่แอกนำรถไป เข้าไปยังอาศรมของชีเปลือยนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 486
ครั้นไปถึงแล้ว พญาครุฑคิดว่า พญานาคนี้คงจักไม่ให้ชีวิตแก่
ชีเปลือย เราก็จักไม่ไหว้มันผู้ทุศีล. พญาครุฑจึงยืนอยู่ข้างนอก ปล่อยให้
พญานาคเข้าไปยังสำนักชีเปลือยแต่ผู้เดียว.
พระบรมศาสดาทรงหมายเหตุนั้น จึงตรัสพระคาถานอกนี้ ความว่า
ลำดับนั้น ปัณฑรกนาคราชเข้าไปหาชีเปลือย
แต่ลำพังตนเท่านั้น แล้วได้กล่าวว่า วันนี้เรารอดพ้น
ความตาย ล่วงภัยทั้งปวงแล้ว คงไม่เป็นที่รักที่พอใจ
ท่านเสียเลยเป็นแน่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิยมฺหา ความว่า ปัณฑรกนาคราช
กล่าวบริภาษว่า เฮ้ย ! ชีเปลือยทุศีล ชอบพูดเท็จ เราคงไม่เป็นที่รักใคร่
พึงใจของท่านเลยนะ.
ลำดับนั้น ชีเปลือยจึงกล่าวคาถานอกนี้ ความว่า
พญาครุฑเป็นที่รักของเรายิ่งกว่าปัณฑรกนาคราช
อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องสงสัย เรามีความรักใคร่ใน
พญาครุฑ ทั้งที่รู้ก็ได้กระทำกรรมอันลามก ไม่ใช่ทำ
เพราะความลุ่มหลงเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑรเกน ความว่า พญาครุฑนั้น
เป็นผู้ที่เรารักกว่าท่านปัณฑรกนาคราช ข้อนี้เป็นความจริง. บทว่า โส
ความว่า เรานั้นเป็นผู้ลำเอียงเพราะรักพญาครุฑนั้น จึงได้กระทำบาปกรรมนั้น
ทั้งที่รู้ ใช่จะทำเพราะโมหาคติก็หามิได้.
พญานาคราชได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาสองคาถา ความว่า
ความถือว่า สิ่งนี้เป็นที่รักของเรา หรือสิ่งนี้
ไม่เป็นที่รักของเรา ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่บรรพชิต ผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 487
พิจารณาเห็นโลกนี้และโลกหน้า ก็ท่านเป็นคนไม่
สำรวม แต่ประพฤติลวงโลก ด้วยเพศของผู้สำรวมดี.
ท่านไม่เป็นอริยะ แต่ปลอมตัวเป็นอริยะ ไม่ใช่
คนสำรวม แต่ทำคล้ายคนสำรวม ท่านเป็นคนชาติ
เลวทราม ไม่ใช่คนประเสริฐ ได้ประพฤติบาปทุจริต
เป็นอันมาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เม ความว่า แน่ะท่านชีเปลือยทุศีล
นักพูดเท็จผู้เจริญ ความจริงสำหรับบรรพชิต ผู้เล็งเห็นโลกนี้และโลกหน้า
ย่อมไม่ถือว่า สิ่งนี้เป็นที่รักของเรา สิ่งนี้ไม่เป็นที่รักของเราเลย แต่ท่านเป็น
คนไม่สำรวม ประพฤติลวงโลกนี้ ด้วยเพศบรรพชิตของผู้มีศีลสำรวมดี. บทว่า
อริยาวกาโสสิ ความว่า มิใช่อริยะ ก็ปลอมตัวเป็นอริยะ. บทว่า อสญฺโต
ความว่า มิใช่เป็นผู้สำรวมด้วยกายเป็นต้น. บทว่า กณฺหาภิชาติโก ความว่า
เป็นคนมีสภาพเลวทราม. บทว่า อนริยรูโป ความว่า ขาดหิริความละอาย
ต่อบาป. บทว่า อจริ ได้แก่ ได้กระทำ (บาปทุจริตมากมาย).
ครั้นปัณฑรกนาคราช ติเตียนชีเปลือยอย่างนี้แล้ว เมื่อจะสาปแช่ง
จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า
แน่ะเจ้าคนเลวทราม เจ้าประทุษร้ายต่อผู้ไม่
ประทุษร้าย ทั้งเป็นคนส่อเสียด ด้วยคำสัตย์นี้ ขอศีรษะ
ของเจ้าจงแตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง.
คาถานั้น มีอธิบายว่า เฮ้ย ! เจ้าคนเลวทราม ด้วยอันกล่าวคำสัตย์
นี้ว่า เจ้าเป็นคนมักประทุษร้ายต่อมิตร ผู้ไม่ประทุษร้าย ทั้งเป็นคนส่อเสียด
ด้วย ขอศีรษะของเจ้า จงแตกออกเป็นเจ็ดภาค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 488
เมื่อพญานาคราชสาปแช่งอยู่อย่างนี้ ศีรษะของชีเปลือย ก็แตกออก
เป็นเจ็ดภาค. พื้นแผ่นดินตรงที่ชีเปลือยนั่งอยู่นั่นเอง ก็ได้แยกออกเป็นช่อง.
ชีเปลือยนั้นเข้าสู่แผ่นดิน บังเกิดในอเวจีมหานรก. พญานาคราชและพญาครุฑ
ทั้งสอง ก็ได้ไปยังพิภพของตน ๆ ตามเดิม.
พระบรมศาสดาเมื่อจะประกาศความที่ชีเปลือยนั้นถูกแผ่นดินสูบ จึง
ตรัสพระคาถาสุดท้าย ความว่า
เพราะเหตุนั้นแล บุคคลไม่พึงประทุษร้ายต่อ
มิตร เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทรามที่สุด
จะหาคนอื่นที่เลวกว่าเป็นไม่มี ชีเปลือยถูกอสรพิษ
กำจัดแล้วในแผ่นดิน ทั้งที่ได้ปฏิญญาว่า เรามีสังวร
ก็ได้ถูกทำลายลง ด้วยคำของพญานาคราช.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ผลแห่ง
กรรม คือการประทุษร้ายมิตร เป็นของเผ็ดร้อน. บทว่า อาสิตฺตสตฺโต
ความว่า ชีเปลือยถูกอสรพิษกำจัดแล้ว. บทว่า อินฺทสฺส ความว่า ด้วยคำ
ของพญานาคราช. บทว่า สวโร ความว่า อาชีวกผู้ปรากฏด้วยปฏิญญาว่า
เราเป็นผู้ตั้งอยู่ในสังวร ก็ได้ถูกทำลายลง.
พระบรมศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงจบแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระเทวทัต
ก็กระทำมุสาวาทจนถูกแผ่นดินสูบ แล้วทรงประชุมชาดกว่า ชีเปลือยได้มา
เป็นพระเทวทัต นาคราชได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนสุบรรณราช
ได้มาเป็นเราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาปัณฑรกชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 489
๙. สัมพุลาชาดก
ว่าด้วยความซื่อสัตย์ ของพระนางสัมพุลาชาดก
[๒๔๐๖] ดูก่อนแม่นาง ผู้มีช่วงขาอันอวบอัด
เธอเป็นใครมายืนสั่นอยู่ผู้เดียวที่ลำธาร ดูก่อนแม่นาง
ผู้มีลำตัวอันน่าเล้าโลมด้วยมือ เราขอถาม เธอจงบอก
ชื่อ และเผ่าพันธุ์แก่เรา.
ดูก่อนแม่นาง ผู้มีเอวอันกลมกลึง ท่านเป็นใคร
หรือว่าเป็นลูกเมียของใคร เป็นผู้มีร่างอันสะคราญ
ทำป่าเป็นที่อยู่อาศัยแห่งสีหะ และเสือโคร่ง ให้น่า
รื่นรมย์สว่างไสวอยู่ ดูก่อนนางผู้เจริญ เราคืออสูร
ตนหนึ่งขอไหว้ท่าน ขอความนอบน้อมจงมีแก่ท่าน.
[๒๔๐๗] คนทั้งหลายรู้จักโอรสของพระเจ้ากาสี
มีนามว่า โสตถิเสนกุมาร เราชื่อสัมพุลา เป็นชายา
ของโสตถิเสนกุมารนั้น ดูก่อนอสูร ท่านจงรู้อย่างนี้
ดูก่อนท่านผู้เจริญ เราชื่อสัมพุลาขอไหว้ท่าน ขอความ
นอบน้อมจงมีแก่ท่าน.
ดูก่อนท่านผู้เจริญ พระโอรสของพระเจ้าวิเทห-
ราช เดือดร้อนอยู่ในป่า เรามาพยาบาลพระองค์ผู้ถูก
โรคเบียดเบียนอยู่ตัวต่อตัว.
อนึ่ง เราเที่ยวแสวงหา รวงผึ้ง และเนื้อมฤค
เราหาอาหารอย่างใดไป พระสวามีของเรา ก็ได้เสวย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 490
อาหารอย่างนั้น วันนี้เมื่อไม่ได้อาหาร เธอคงจะหิวโหย
เป็นแน่.
[๒๔๐๘] ดูก่อนนางสัมพุลา เธอจักทำอะไรได้
กับราชบุตรผู้เดือดร้อน อมโรคอยู่ป่า เราจะเป็น
ภัสดาของเธอเอง.
ดูก่อนอสูรผู้เจริญ รูปร่างของเราผู้อาดูรด้วย
ความโศก เป็นอัตภาพยากไร้ จะงดงามอะไร ขอ-
ท่านจงแสวงหาหญิงอื่นที่มีรูปร่างงามกว่าเราเถิด.
มาเถิดเธอ เชิญขึ้นมายังภูเขานี้ เธอจงเป็นใหญ่
กว่าภรรยา ๔๐๐ คนของเรา จะสำเร็จความประสงค์
ทุกอย่าง.
ดูก่อนน้องนางผู้มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดังดวงดาว
เจ้าจักได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแน่นอน สิ่งของทั้งหมดของพี่
หาได้ง่าย เชิญเจ้ามาอภิรมย์กับเราในวันนี้เถิด.
ดูก่อนน้องนางสัมพุลา หากเจ้าไม่ยอมเป็นมเหสี
ของเรา ชะรอยเจ้าจักต้องเป็นภักษาหารของเรา ใน
เวลาเช้าพรุ่งนี้ เป็นแน่นอน.
ครั้นอสูรผู้มีชฎาเจ็ดชั้น หยาบช้า เขี้ยวออกนอก
ปาก กินคนเป็นอาหาร ได้จับแขนนางสัมพุลา ผู้มอง
ไม่เห็นที่พึ่งในป่า.
นางสัมพุลา ถูกปีศาจผู้หยาบช้า มุ่งอามิสคุกคาม
แล้ว ต้องตกอยู่ในอำนาจของศัตรู เศร้าโศกถึงพระ-
สวามีเท่านั้นรำพันว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 491
ถึงยักษ์จะเคี้ยวกินเราเสีย เราก็ไม่มีความทุกข์
ทุกข์อยู่แต่ว่า พระหฤทัยของทูลกระหม่อมของเราจัก
เคลือบแคลงเป็นอย่างอื่นไป.
เทพยเจ้าทั้งหลายคงจะไม่มีอยู่แน่นอน ท้าวโลก-
บาลก็คงไม่มีในโลกนี้เป็นแน่ เมื่อยักษ์ผู้ไม่สำรวม
ทำด้วยอาการหยาบช้า จะหาผู้ช่วยห้ามป้องกันไม่มีเลย.
[๒๔๑๐] หญิงนี้มียศประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย
สงบเสงี่ยมเรียบร้อย มีเดชฟุ้งเฟื่องดุจไฟ แน่ะรากษส
ถ้าเจ้าจะกินนาง ศีรษะของเจ้าจะแตกออกเจ็ดเสี่ยง
เจ้าอย่าทำให้นางเดือคร้อน จงปล่อยนางไปเสีย เพราะ
นางเป็นหญิงปฏิบัติสามี.
[๒๔๑๐] พระนางสัมพุลานั้น หลุดพ้นแล้วจาก
ยักษ์กินคน กลับมาสู่อาศรม ดุจแม่นกมีลูกอ่อนเป็น
อันตราย บินมายังรัง หรือดุจแม่โคนมมายังที่อยู่อัน
ว่างเปล่า จากลูกน้อย ฉะนั้น.
พระนางสัมพุลาราชบุตรีผู้มียศ เมื่อไม่เห็นพระ
สวามี ผู้เป็นที่พึ่งของตนในป่า ก็มีดวงพระเนตรพร่า
ด้วยความร้อน ทรงร่ำไห้อยู่ ณ ที่นั้น.
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็อ้อนวอนไหว้
สมณพราหมณ์ และฤๅษีทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยจรณะ
ว่า ดิฉันขอถึงท่านทั้งหลายเป็นที่พึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 492
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
ราชสีห์ เสือโคร่ง และหมู่มฤคเหล่าอื่น ในป่าว่า
ดิฉันขอถึงท่านทั้งหลายว่าเป็นที่พึง.
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
เทพยเจ้า อันเนาสถิตอยู่ที่กอหญ้าลดาชาติ และที่
เนาอยู่ ณ ภูเขาราวไพร ตลอดถึงดวงดาวในอากาศว่า
ดิฉันขอถึงท่านทั้งหลาย เป็นที่พึ่ง.
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
เทพยเจ้า ผู้มีวรรณะเสมอดอกราชพฤกษ์ ผู้ยังดวงดาว
ให้รุ่งเรือง งามในราตรีว่า ดิฉันขอถึงท่านเป็นที่พึ่ง.
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
เทพยเจ้า อันเนาสถิตอยู่ ณ แม่น้ำคงคา ชื่อภาคีรถี
อันเป็นที่รับรองแม่น้ำอื่นว่า ดิฉันขอถึงท่านเป็นที่พึ่ง.
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
เทพยเจ้าผู้เนาสถิตอยู่ ณ ขุนเขาหิมวันต์ อันล้วนแล้ว
ไปด้วยหินว่า ดิฉันขอถึงท่านเป็นที่พึ่ง.
[๒๔๑๑] ดูก่อนพระราชบุตรีผู้มียศ เธอมาเสีย
จนค่ำทีเดียวหนอ วันนี้เธอมากับใครเล่า ใครหนอ
เป็นที่รักของเธอยิ่งกว่าเรา.
[๒๔๑๒] หม่อมฉันถูกศัตรูมันจับไว้ ได้กล่าว
คำนี้ว่า ถึงยักษ์จะกินเราเสีย เราก็ไม่มีความทุกข์
ทุกข์อยู่แต่ว่า พระหฤทัยของทูลกระหม่อมของเราจะ
เคลือบแคลงเป็นอย่างอื่นไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 493
[๒๔๑๓] ความสัตย์ยากที่จะหาได้ ในหญิงโจร
ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมมากมาย ความเป็นไปของหญิงทั้งหลาย
รู้ได้ยาก เหมือนความเป็นไปแห่งปลาในน้ำฉะนั้น.
[๒๔๑๔] ขอความสัตย์ที่หม่อมฉันมิได้เคยรัก
บุรุษอื่น ยิ่งกว่าทูลกระหม่อม เป็นความจริง ด้วย
อำนาจสัจจวาจานี้ ขอพยาธิของทูลกระหม่อมจงระงับ
ดับหาย.
[๒๔๑๕] แน่ะนางผู้เจริญ กุญชรสูงใหญ่ มี
มากมายถึง ๗๐๐ มีพลโยธาถืออาวุธขี่ประจำคอยพิทักษ์
รักษาอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน และพลโยธาที่ถือธนู
ก็มีถึง ๑,๖๐๐ พิทักษ์รักษาอยู่ เธอเห็นศัตรูชนิดไหน.
[๒๔๑๖] ข้าแต่พระราชบิดา เมื่อก่อนพระลูก
เจ้า ทรงประพฤติแก่หม่อมฉันอย่างไร เดี๋ยวนี้หาเป็น
อย่างนั้นไม่ เพราะได้ทรงเห็นสนมนารีผู้ประดับตก-
แต่ง มีผิวพรรณดุจเกสรบัว รุ่นกำดัด เสียงไพเราะ
ดังเสียงหงส์.
ข้าแต่พระราชบิดา สนมนารีเหล่านั้น ทรงเครื่อง
ประดับล้วนทองคำ มีเรือนร่างเฉิดโฉม ประดับด้วย
เครื่องอลังการ นานาชนิด เพริศพริ้งดังสาวสวรรค์
เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าโสตถิเสน ล้วนมีทรวด-
ทรงหาที่ติมิได้ เป็นขัตติยกัญญาพากันปรนปรือพระ-
โอรสราชเจ้านั้นอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 494
ข้าแต่พระราชบิดา ถ้าหากพระโอรสราชเจ้า
ทรงยกย่องหม่อมฉัน ดังที่หม่อมฉัน เคยเที่ยวแสวงหา
ผลาผลในป่า มาเลี้ยงดูพระราชสวามีในกาลก่อนอีก
และจะไม่ทรงดูหมิ่นหม่อมฉันไซร้ จะประเสริฐกว่า
ราชสมบัติในพระนครพาราณสีนี้.
หญิงใดอยู่ในเรือน อันมีข้าวน้ำไพบูลย์ ตกแต่ง
ไว้เรียบร้อย มีเครื่องอาภรณ์อันวิจิตรประดับประดา
แม้จะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง แต่ไม่เป็น
ที่รักของสามี คอยแต่ประหัตประหาร ความตายของ
หญิงนั้นประเสริฐกว่า การอยู่ครองเรือน.
ถ้าแม้หญิงใด เป็นหญิงเข็ญใจไร้เครื่องประดับ
มีเสื่อรำแพนเป็นที่นอน แต่เป็นที่รักของสามี หญิงนั้น
ประเสริฐเสียกว่า หญิงผู้เพรียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ
ทุกอย่าง แต่ไม่เป็นที่รักของสามี.
[๒๔๑๗] ภรรยาผู้เกื้อกูลต่อสามี เป็นหญิงหา
ได้แสนยาก สามีผู้เกื้อกูลต่อภรรยา ก็หาได้แสนยาก
ดูก่อนเจ้าผู้จอมชน มเหสีของเจ้า เป็นผู้เกื้อกูลเจ้าด้วย
มีศีลด้วย เพราะฉะนั้น เจ้าจงประพฤติธรรม ต่อนาง
สัมพุลา.
[๒๔๑๘] ดูก่อนน้องนางสัมพุลาผู้เจริญ ถ้าเจ้า
ได้โภคสมบัติอันไพบูลย์แล้ว แต่ถูกความหึงหวง
ครอบงำ จนจะถึงซึ่งมรณะไซร้ พี่และนางราชกัญญา
เหล่านี้ทั้งหมดจะทำตามถ้อยคำของเจ้า.
จบสัมพุลาชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 495
อรรถกถาสัมพุลาชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ
ปรารภพระนางมัลลิการาชเทวี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
กา เวธมานา ดังนี้.
เรื่อง (ปัจจุบัน) ข้าพเจ้าพรรณนาไว้แล้วอย่างพิสดารในกุมมาส-
ปิณฑิกชาดก ก็พระนางมัลลิกานั้น ด้วยอานุภาพแห่งการถวายขนมกุมมาส
แด่พระตถาคตเจ้า ๓ ก้อน ได้ถึงความเป็นพระอัครมเหสี ของพระเจ้าปเสน-
ทิโกศล ในวันนั้นทีเดียว ถึงพร้อมด้วยกัลยาณธรรม ๕ ประการ มีตื่นก่อน
เป็นต้น ถึงพร้อมด้วยญาณความรู้ เป็นอุปัฏฐายิกาแห่งพระพุทธเจ้า เคารพ
ต่อพระสวามี ดังเทพยดา นั้นได้ปรากฏไปทั่วพระนคร อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุ
ทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย ข่าวว่า พระนางมัลลิกาเทวี
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร ทรงเคารพต่อพระสวามี ดุจเทพยดา พระศาสดา
เสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่อง
อะไร เมื่อภิภษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระนางมัลลิกานี้ ก็ทรงเคารพ
พระสวามี ดุจเทพยดาเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล โอรสของพระเจ้าพรหมทัตในพระนครพาราณสี ทรง
พระนามว่า โสตถิเสนกุมาร พระราชาทรงสถาปนาพระราชโอรส ผู้เจริญวัย
แล้วนั้นไว้ในตำแหน่งอุปราช. พระอัครมเหสี ของโสตถิเสนกุมารนั้น พระ
นามว่าสัมพุลา มีพระรูปโฉมงดงาม เพรียบพร้อมไปด้วยสรีระอินทรีย์เปล่ง
ปลั่ง ปรากฏเหมือนเปลวประทีปโพลงอยู่ ในที่สงัดลม ในเวลาต่อมา โรคเรื้อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 496
เกิดขึ้นในสรีระของโสตถิเสนกุมาร พวกแพทย์ ไม่สามารถจะเยียวยารักษาได้
เมื่อโรคเรื้อนแตกออก พระราชกุมาร ก็เป็นผู้อันประชาชนพึงรังเกียจถึงความ
เดือดร้อน ดำริว่า ราชสมบัติจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา เราจักไปตายอย่าง
อนาถาในป่า แล้วกราบทูลพระราชบิดาให้ทรงทราบ ละทิ้งตำหนักฝ่ายใน
เสด็จออกไปแล้ว พระนางสัมพุลาอัครมเหสี แม้อันพระราชกุมารให้กลับ
ด้วยอุบายเป็นอันมาก ก็ไม่ยอมกลับถ่ายเดียว ทูลว่า หม่อมฉันจักไปปฏิบัติ
ฝ่าพระบาทผู้พระสวามีในป่า แล้วตามเสด็จไปด้วย พระราชกุมารเข้าไปยังป่า
แล้ว สร้างบรรณศาลาขึ้น อยู่อาศัยในประเทศอันสมบูรณ์ ด้วยมูลผลาผล
ร่มเงา น้ำทำอันหาได้ง่าย ราชธิดาผู้ชายา ก็ทรงปฏิบัติบำรุงพระราชกุมาร.
พระนางปรนนิบัติอย่างไร ? คือ พระนาง ตื่นแต่เช้า แล้วกวาดอาศรมบท
ตักน้ำใช้ น้ำฉัน เข้าไปตั้งไว้ น้อมไม้สีพระทนต์ และน้ำบ้วนพระโอษฐ์
เข้าไปถวาย ครั้นบ้วนพระโอษฐ์แล้ว ก็บดยาทาแผลของพระสวามี แล้ว
ให้เสวยผลาผลมีรสหวานอร่อย เมื่อพระสวามี บ้วนพระโอษฐ์ ล้างพระหัตถ์
แล้ว ทูลว่า ข้าแต่พระสวามี ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ขอเสด็จที่โปรด
อย่ามีความประมาท ถวายบังคมแล้ว ถือกระเช้า เสียม และขอสอย เข้าป่า แสวง
หาผลาผล นำผลไม้มาเก็บไว้ที่ข้างหนึ่ง แล้วเอาหม้อตักน้ำมาสรงสนาน
โสตถิเสนราชกุมาร ผู้พระสวามี ด้วยเครื่องสนานอันเป็นผงและเป็นก้อนต่างๆ
แล้วน้อมผลาผล อันมีรสอร่อยเข้าไปถวายอีก ครั้นเสวยเสร็จแล้ว พระนางก็
น้อมน้ำดื่มที่อบไว้เข้าถวาย พระองค์เองก็บริโภคผลาผล แล้วจัดแจงไม้เรียบเป็น
พระบรรจถรณ์ เตรียมไว้ เมื่อพระสวามีบรรทมบนไม้เรียบนั้นแล้ว ก็ทรงล้าง
พระบาท ทำการนวดฟั้นคั้นพระสรีรกาย แล้วเข้าไปนอนข้างที่พระบรรทม
พระนางสัมพุลา ปรนนิบัติพระสวามี โดยอุบายนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 497
วันหนึ่ง พระนางกำลังเก็บผลไม้อยู่ในป่า เหลือบเห็นลำธารแห่งหนึ่ง
จึงยกกระเช้าลงจากศีรษะวางไว้ที่ฝั่งลำธาร คิดว่าเราจักอาบน้ำ แล้วลงไปอาบ
ขัดสรีรกายด้วยขมิ้น จนพระวรกายสะอาดดีแล้ว ขึ้นมา ยืนนุ่งห่มผ้าอันทอด้วย
เปลือกไม้ อยู่ที่ริมลำธาร ขณะนั้น รัศมีแห่งพระสรีรกายของพระนาง เป็น
เหตุให้ป่ามีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน.
ขณะนั้น อสูรตนหนึ่ง เที่ยวแสวงหาอาหารอยู่ เห็นพระนาง
สัมพุลาเข้า ก็มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ดูก่อนแม่นาง ผู้มีขาอันอวบอัด เธอเป็นใคร
มายืนสั่นอยู่ผู้เดียวที่ลำธาร ดูก่อนแม่นาง ผู้มีลำตัว
อันน่าเล้าโลมด้วยมือ เราขอถาม เธอจงบอกชื่อและ
เผ่าพันธุ์แก่เรา.
ดูก่อนแม่นาง ผู้มีเอวอันกลมกลึง ท่านเป็นใคร
หรือว่าเป็นลูกเมียของใคร เป็นผู้มีร่างอันสะคราญ ทำ
ป่าเป็นที่อยู่อาศัยแห่งสีหะและเสือโคร่ง ให้น่ารื่นรมย์
สว่างไสวอยู่ ดูก่อนนางผู้เจริญ เราคืออสูรตนหนึ่ง
ขอไหว้ท่าน ขอความนอบน้อมจงมีแก่ท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กา เวธมานา ความว่า เพราะเธอ
อาบน้ำในลำธารหนาว จึงยืนสั่นอยู่. บทว่า สญฺจิตูรุ แปลว่า แน่ะ
นางผู้มีช่วงขาอันอวบอัด. บทว่า ปาณิปเมยฺยมชฺเฌ แปลว่า ดูก่อนแม่
นางผู้มีเรือนร่าง อันน่าเล้าโลม ด้วยมือ. บทว่า กา วา ตฺว ความว่า
เธอเป็นใคร หรือว่า เป็นลูกเมียของใคร. บทว่า อภิวาเทมิ แปลว่า เรา
ขอไหว้เธอ. บทว่า ทานวาห ความว่า อสูรนั้นได้กล่าวว่า เราคืออสูรตน
หนึ่ง ขอความนอบน้อมนี้จงมีแก่เธอ เราขอประคองอัญชลีแก่เธอ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 498
พระนางสัมพุลา ได้ฟังคำของอสูรนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถา ๓ คาถา
ความว่า
คนทั้งหลาย รู้จักโอรสของพระเจ้ากาสีมีนามว่า
โสตถิเสนกุมาร เราชื่อสัมพุลา เป็นชายาของโสตถิ-
เสนกุมารนั้น ดูก่อนอสูร ท่านจงรู้อย่างนี้ ดูก่อนท่าน
ผู้เจริญ เราชื่อสัมพุลา ขอไหว้ท่าน ขอความนอบ
น้อมจงมีแก่ท่าน.
ดูก่อนท่านผู้เจริญ พระโอรสของพระเจ้าวิเทห-
ราช เดือดร้อนอยู่ในป่า เรามาพยาบาลพระองค์ผู้ถูก
โรคเบียดเบียนอยู่ตัวต่อตัว.
อนึ่ง เรามาเที่ยวแสวงหารวงผึ้ง และเนื้อมฤค
เราหาอาหารอย่างใดไป พระสวามีของเรา ก็ได้เสวย
อาหารอย่างนั้น วันนี้เมื่อไม่ได้อาหาร เธอคงจะหิว
โหยเป็นแน่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวเทหปุตฺโต ได้แก่ พระกุมาร ผู้
เวเทหราชปิโยรส. บทว่า โรคสมฺมตฺต ได้แก่ ผู้อันโรคเบียดเบียนแล้ว. บทว่า
อุปฏฺหิ ความว่า เราต้องพยาบาล คือ ปรนนิบัติท้าวเธอ. ปาฐะว่า
อุปฏฺิตา ดังนี้ก็มี. บทว่า วนมุญฺฉาย ความว่า เราเที่ยวค้นเสาะแสวง
หาของป่า. บทว่า มธุมส ความว่า (เราเที่ยวแสวงหา) ผลไม้รวงผึ้งที่ไม่
มีตัว และเนื้อมฤค อันเป็นส่วนเหลือเดนจากราชสีห์ และพยัคฆมฤค
เคี้ยวกิน. บทว่า ตภกฺโข ความว่า เรานำอาหารสิ่งใดไป พระสวามีของ
เราก็ได้อาหารสิ่งนั้นเสวย. บทว่า ตสฺส นูนชฺช ความว่า เมื่อพระสวามี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 499
ของเราไม่ได้เสวยอาหารในวันนี้ พระสรีระ คงจะเหี่ยวแห้งดังดอกปทุมที่
เขาตากแดดไว้ฉะนั้น. บทว่า นาธติ แปลว่า ซูบซีด คือ เหี่ยวแห้งไป.
ต่อจากนั้นไป เป็นคาถากล่าวโต้ตอบระหว่างอสูร และพระนางสัมพุลา
ดังต่อไปนี้
(อสูรกล่าวว่า) ดูก่อนนางสัมพุลา เธอจะทำ
อะไรได้กับราชบุตร ผู้เดือดร้อนอมโรคอยู่ในป่า เรา
จะเป็นภัสดาของเธอ.
(นางสัมพุลา ตอบว่า) ดูก่อนอสูรผู้เจริญ รูป
ร่างของเราผู้อาดูรด้วยความโศก เป็นอัตภาพยากไร้
จะงดงามอะไร ขอท่านจงแสวงหาหญิงอื่นที่มีรูปร่าง
งามกว่าเราเถิด.
(อสูรกล่าวว่า) มาเถิดเธอ เชิญขึ้นมายังภูเขานี้
เธอจงเป็นใหญ่กว่าภรรยา ๔๐๐ คนของเรา จะสำเร็จ
ความประสงค์ทุกอย่าง.
ดูก่อนน้องนาง ผู้มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดังดวง
ดาว เจ้าจะได้สั่งใดสิ่งหนึ่งแน่นอน สิ่งของทั้งหมด
ของเราหาได้ง่าย เชิญเจ้ามาอภิรมย์กับเราในวันนี้เถิด.
ดูก่อนน้องนางสัมพุลา หากเจ้าไม่ยอมเป็นมเหสี
ของเรา ชะรอยเจ้าจักต้องเป็นภักษาหารของเรา ใน
เวลาเช้าวันพรุ่งเป็นแน่นอน.
(พระศาสดาตรัสว่า) ครั้นอสูรผู้มีชฎา ๗ ชั้น หยาบ
ช้า เขี้ยวออกนอกปากกินคนเป็นอาหาร ได้จับแขน
นางสัมพุลา ผู้มองไม่เห็นที่พึ่งในป่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 500
นางสัมพุลา ถูกปีศาจผู้หยาบช้า มุ่งอามิสครอบ
งำแล้ว ต้องตกอยู่ในอำนาจของศัตรู เศร้าโศกถึงพระ
สวามีเท่านั้น รำพันว่า
ถึงยักษ์จะเคี้ยวกินเราเสีย เราก็ไม่มีความทุกข์
ทุกข์อยู่แต่ว่า พระหฤทัยของทูลกระหม่อม ของเรา
จักเคลือบแคลงเป็นอย่างอื่นไป.
เทพยเจ้าทั้งหลาย คงจะไม่มีอยู่แน่นอน ท้าว
โลกบาลก็คงไม่มีในโลกนิเป็นแน่ เมื่อยักษ์ผู้ไม่สำรวม
ทำด้วยอาการหยาบช้า จะหาผู้ช่วยห้ามป้องกันไม่มี
เลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริจิณฺเณน ความว่า เจ้าจักทำอะไร
ได้ กับราชบุตรผู้อมโรคอยู่นั้น. บทว่า โสกฏฺฏาย แปลว่า ผู้อาดูรด้วย
ความโศก. ปาฐะว่า โสกฏฺาย ดังนี้ก็มี ความก็ว่า ตั้งอยู่แล้วในความ
เศร้าโศก. บทว่า ทุรตฺตาย ความว่า เป็นอัตภาพถึงแล้วซึ่งความยากไร้
กำพร้า. บทว่า เอหิม ความว่า อสูรปลอบโยนว่า เจ้าอย่าคิดว่า ตนมี
รูปร่างเลวทรามเลย จงไปยังทิพยวิมานของเราบนยอดเขานี้ จงขึ้นสู่ภูเขานี้เถิด.
บทว่า จตูสตา ความว่า แม้ในวิมานนั้น พี่มีภรรยาอื่นถึง ๔๐๐
คน. บทว่า สพฺพนฺต ความว่า อสูรนั้นกล่าวว่า เจ้าปรารถนาเครื่องอุปโภค
บริโภค ผ้าผ่อนและเครื่องอาภรณ์เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง สิ่งนั้นทั้งหมด
สำหรับพี่มีมากมายล้นเหลือ หาได้ง่ายแท้ ฉะนั้น เจ้าอย่าคิดเสียใจว่าตนเป็น
กำพร้า มาเถิด มาร่วมอภิรมย์ยินดีกับพี่. บทว่า มเหเสยฺย ความว่า แน่ะ
นางสัมพุลาผู้เจริญ หากเจ้าไม่ยอมเป็นมเหสีของเราไซร้ เจ้าก็จงเตรียมตัว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 501
เพื่อเป็นอาหารเช้าของเรา ด้วยเหตุนั้น เราจักนำเจ้าไปสู่วิมานโดยพลการ
เมื่อเจ้าไม่สงเคราะห์เราในข้อนั้น พรุ่งนี้เจ้าจักเป็นอาหารของเราแต่เช้าตรู่
ทีเดียว. บทว่า ตญฺจ ความว่า อสูรนั้นประกอบด้วยชฎาเจ็ดชั้น ทารุณ
เขี้ยวงอกออกนอกปาก ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้จับแขนนางสัมพุลา ผู้มอง
ไม่เห็นอะไรเป็นที่พึ่งของตนได้ในป่านั้น. บทว่า อธิปนฺนา แปลว่า
ครอบงำแล้ว. บทว่า อามิสจกฺขุนา ได้แก่ เหลาะแหละโดยถูกกิเลสครอบงำ.
บทว่า ปติเมว ความว่า มิได้คิดถึงตน เศร้าโศกถึงแต่พระสวามีเท่านั้น.
บทว่า มโน เหสฺสติ ความว่า ครั้นพระองค์ทรงทราบว่า เรามัวล่าช้าอยู่
พระทัยของทูลกระหม่อมจักทรงเคลือบแคลงไปต่าง ๆ. บทว่า น สนฺติ เทวา
ความว่า นางสัมพุลาถูกอสูรจับที่แขน เมื่อจะทำการยกย่องเทวดา จึงกล่าว
คำนี้. บทว่า โลกปาลา ความว่า นางสัมพุลากล่าวปริเทวนาการว่า บรรดา
เทพยเจ้าผู้มีศีลเห็นปานนี้ ท้าวโลกบาลผู้อารักขา เห็นจะไม่มีในโลกนี้เป็น
มั่นคง.
ลำดับนั้น ด้วยเดชอำนาจของพระนาง พิภพของท้าวสักกะหวั่นไหว
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์แสดงอาการร้อนรุ่ม. ท้าวสักกเทวราชจึงทรงแลดู
ทรงทราบเหตุการณ์นั้นแล้ว ทรงถือวชิราวุธเสด็จมาโดยด่วน ประทับยืนบน
ศีรษะของอสูรยักษ์ ตรัสพระคาถานอกนี้ ความว่า
หญิงนี้มียศ ประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย สงบ-
เสงี่ยม เรียบร้อย มีเดชฟุ้งเฟื่องดุจไฟ แน่ะรากษส
ถ้าเจ้าจะกินนางนี้ ศีรษะของเจ้าจะแตกออกเจ็ดเสี่ยง
เจ้าอย่าทำให้นางเดือดร้อน จงปล่อยไปเสีย เพราะ
นางเป็นหญิงปฏิบัติสามี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 502
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตา ความว่า สงบระงับ อีกนัยหนึ่ง
หมายถึงเป็นคนฉลาด เพรียบพร้อมด้วยความรู้. บทว่า สมา ความว่า
ปราศจากความไม่สม่ำเสมอทางกายเป็นต้น. บทว่า อเทสิ แปลว่า จะเคี้ยวกิน.
บทว่า ผเลยฺย ความว่า ศีรษะของเจ้าอันเราตีด้วยอินทวชิราวุธนี้ พึงแตก
แน่นอน. บทว่า มา ตฺว ทหิ ความว่า เจ้าอย่าทำให้นางต้องเดือดร้อน.
อสูรฟังดังนั้น จึงปล่อยพระนางสัมพุลา ท้าวสักกเทวราชทรงดำริว่า
อสูรนี้ พึงกระทำเช่นนี้อีกเป็นแน่ จึงจองจำอสูรนั้นไว้ด้วยตรวนทิพย์ แล้ว
ปล่อยไว้ในภูเขาลูกที่สาม เพื่อจะมิให้มันมาอีกต่อไป แล้วทรงโอวาทราชธิดา
ด้วยอัปปมาทธรรม แล้วเสด็จสู่ทิพยสถานของพระองค์. ฝ่ายพระนางสัมพุลา-
ราชธิดา ครั้นพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ได้กลับถึงอาศรมด้วยแสงจันทร์.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๘ คาถา
ความว่า
พระนางสัมพุลานั้น หลุดพ้นแล้วจากยักษ์กินคน
กลับมาสู่อาศรม ดุจแม่นกมีลูกอ่อนเป็นอันตราย
บินมายังรัง หรือดุจแม่โคนมมายังที่อยู่ อันว่างเปล่า
จากลูกน้อยฉะนั้น.
พระนางสัมพุลาราชบุตรีผู้มียศ เมื่อไม่เห็น
พระสวามีผู้เป็นที่พึ่งของตนในป่า ก็มีดวงพระเนตร
พร่าด้วยความร้อน ทรงร่ำไห้อยู่ ณ ที่นั้น.
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
สมณพราหมณ์และฤๅษีทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยจรณะ
ว่า ดิฉันขอถึงท่านทั้งหลายเป็นที่พึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 503
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
ราชสีห์ เสือโคร่ง และหมู่มฤคเหล่าอื่นในป่าว่า ดิฉัน
ขอถึงท่านทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่ง.
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
เทพยเจ้า อันเนาสถิตอยู่ที่กอหญ้าลดาชาติ และที่เนา
อยู่ ณ ภูเขาราวไพร ตลอดถึงดวงดาวในอากาศว่า
ดิฉันขอถึงท่านทั้งหลายเป็นที่พึ่ง.
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
เทพยเจ้า ผู้มีวรรณะเสมอดอกราชพฤกษ์ ผู้ยังดวงดาว
ให้รุ่งเรืองงามในราตรีว่า ดิฉันขอถึงท่านเป็นที่พึ่ง,
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
เทพยเจ้า อันเนาสถิตอยู่ ณ แม่น้ำคงคาชื่อภาคีรถี
อันเป็นที่รับรองแม่น้ำอื่นว่า ดิฉันขอถึงท่านเป็นที่พึ่ง.
เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้
เทพยเจ้า ผู้เนาสถิตอยู่ ณ ขุนเขาหิมวันต์ อันล้วน
แล้วไปด้วยหินว่า ดิฉันขอถึงท่านเป็นที่พึ่ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิฑฺฑ ผลินสกุณีว ความว่า แม่นก
ที่ชื่อว่า สกุณีมีลูกอ่อน เพราะเป็นที่ผลิตสกุณโปดกทั้งหลาย คาบเหยื่อด้วย
จะงอยปากแล้วบินกลับมารัง เพราะอันตรายบางอย่าง ฉันใด อนึ่ง แม่โคนม
ตัวมีเยื่อใยในลูกน้อย พึงกลับมาสู่ที่อยู่อันลูกน้อยออกไปแล้ว คือโรงที่ว่างเปล่า
จากลูกน้อย ฉันใด พระนางสัมพุลานั้น ก็มาสู่อาศรมอันอ้างว้าง ฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 504
แท้จริง คราวนั้น เมื่อพระนางสัมพุลาชักช้าอยู่. โสตถิเสนกุมาร
ทรงระแวงว่า ขึ้นชื่อว่าหญิงเป็นคนเหลาะแหละ จะพึงพาแม้ปัจจามิตรของ
เรามา จึงเสด็จออกจากบรรณศาลา เข้าไปนั่งซ่อนอยู่ระหว่างกอไม้. เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวความไว้ดังต่อไปนี้.
บทว่า อุตุมตฺตกฺขา ความว่า มีดวงพระเนตรพร่าด้วยความร้อน
อันเกิดแต่กำลังของความเศร้าโศก คือฤดู. บทว่า อปสฺสนฺตี ความว่า
พระนางสัมพุลาเมื่อไม่เห็นพระสวามีผู้เป็นที่พึ่งของตน ก็ปริเทวนาการวิ่งไปมา
อยู่ในป่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมเณ พฺราหฺมเณ ได้แก่ สมณพราหมณ์
ผู้ระงับบาป ลอยบาปเสียแล้ว. บทว่า สมฺปนฺนจรเณ ความว่า และ
กราบไหว้พระฤาษี ผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะ ด้วยสามารถแห่งสมาบัติ ๘ พร้อม
ทั้งศีล. อธิบาย ครั้นพระนางสัมพุลา กล่าววิงวอนอย่างนี้แล้ว เมื่อไม่พบ
พระราชโอรส จึงปริเทวนาการว่า ดิฉันขอถึงท่านทั้งหลายเป็นที่พึ่ง ถ้าท่าน
เห็นทราบสถานที่ ซึ่งพระสวามีของดิฉันนั่งอยู่ โปรดบอกด้วยเถิด. แม้ใน
คาถาที่เหลือทั้งหลาย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ติณาลตานิ โอสโธฺย ความว่า พระนางก็ไหว้วอนเทพยเจ้า
อันเนาสถิต ณ กอหญ้าอันมีกระพี้ภายใน มีแก่นในภายนอก ไหว้วอนเทพยเจ้า
อันเนาสถิต ณ ลดาชาติ และดวงดาวในอากาศ. พระนางสัมพุลากล่าว
คาถานี้ หมายถึงเทพยดาทั้งหลาย ผู้บังเกิดแล้วในลดาชาติเป็นต้น. บทว่า
อินฺทิวรีสาม ได้แก่ เทพยเจ้าผู้มีวรรณะทัดเทียมกับดอกราชพฤกษ์. บทว่า
ตุมฺหมฺหิ ความว่า พระนางสัมพุลากล่าวว่า ตปิ อมฺหิ (ดิฉันขอถึงแม้ท่าน
ว่าเป็นที่พึ่ง) ดังนี้ หมายถึง (ดวงดาว) ยามราตรีแม้นั้น. บทว่า ภคิรสึ
ได้แก่ แม่น้ำคงคาอันมีนามโดยปริยายอย่างนี้. บทว่า วสนฺตีน ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 505
พระนางสัมพุลากล่าวไว้ หมายถึงเทพยเจ้าผู้บังเกิด ณ แม่น้ำคงคา อันเป็น
ที่รับรองแม่น้ำทั้งหลายเหล่าอื่น เป็นอันมากนั่นเอง. แม้ในเทพยเจ้าผู้เนาสถิต
ณ ป่าหิมพานต์ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
โสตถิเสนกุมาร ผู้พระสวามีทอดพระเนตรเห็นพระนางปริเทวนาการ
อยู่อย่างนี้ จึงทรงดำริว่า นางนี้ร่ำไรรำพันยิ่งนัก แต่ว่าเรายังไม่รู้ความ
เป็นไปของนาง ถ้านางทำเช่นนี้เพราะสิเนหาอาลัยในเราแล้ว น่าที่ดวงหทัย
ของนางจะแตกทำลาย เราจักทดลองนางดูก่อน แล้วเสด็จไปประทับนั่งที่ประตู
บรรณศาลา. พระนางสัมพุลาก็ร่ำไห้ดำเนินไปยังประตูบรรณศาลาไหว้พระบาท
แห่งพระสวามีแล้วทูลว่า ข้าแต่พระสวามีผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระองค์
เสด็จไปไหนมาเพค่ะ ?
ลำดับนั้น โสตถิเสนกุมารจึงรับสั่งกะพระนางว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ
ในวันอื่น ๆ เจ้าไม่เคยมาในเวลานี้เลย วันนี้เจ้ามาจนค่ำคืน เมื่อจะดำรัสถาม
จึงตรัสคาถา ความว่า
ดูก่อนพระราชบุตรีผู้มียศ เธอมาเสียจนค่ำ
ทีเดียวหนอ วันนี้เธอมากับใครเล่า ใครหนอเป็นที่รัก
ของเธอยิ่งกว่าเรา.
ลำดับนั้น พระนางสัมพุลาจึงกราบทูลพระสวามีว่า ทูลกระหม่อมเอย
เมื่อกระหม่อมฉันเก็บผลไม้เสร็จแล้ว เดินมาพบอสูรตนหนึ่ง มันมีจิตรักใคร่
ในหม่อมฉัน ยึดแขนไว้แล้วพูดว่า ถ้าเจ้าไม่ยอมทำตามคำของเรา เราจักกิน
เจ้าเป็นอาหาร เวลานั้นหม่อมฉันเศร้าโศกถึงทูลกระหม่อมแต่ผู้เดียว จึงได้
ร่ำไรรำพันอย่างนี้ แล้วกล่าวคาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 506
หม่อมฉันถูกศัตรูมันจับไว้ ได้กล่าวคำนี้ว่า ถึง
ยักษ์จะกินเราเสีย เราก็ไม่มีความทุกข์ ทุกข์อยู่แต่ว่า
พระหฤทัยของทูลกระหม่อมของเรา จะเคลือบแคลง
เป็นอย่างอื่นไป.
เมื่อพระนางจะทูลพฤติการณ์ที่เหลือต่อไป จึงทูลว่า ข้าแต่พระทูล-
กระหม่อม หม่อมฉันถูกอสูรตนนั้นจับไว้แล้ว เมื่อไม่สามารถจะให้มันปล่อย
ตัวได้ จึงทำการร่ำร้องฟ้องเทวดาขึ้น ทันใดนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงวชิราวุธ
เสด็จมาประทับยืนบนอากาศ ตวาดขู่อสูรให้มันปล่อยหม่อมฉัน แล้วจองจำ
มันไว้ด้วยตรวนทิพย์ เหวี่ยงไปในระหว่างภูเขาลูกที่สาม แล้วเสด็จหลีกไป
หม่อมฉันอาศัยท้าวสักกเทวราช รอดชีวิตมาได้ ดังทูลมาอย่างนี้.
โสตถิเสนราชกุมาร ทรงสดับเรื่องราวนั้นแล้ว จึงแสร้งตรัสว่า
แน่ะนางผู้เจริญ ข้ออ้างนั้นจงยกไว้ ขึ้นชื่อว่า ดวงใจของมาตุคามยากที่จะหา
ความสัตย์ได้ ก็ในป่าหิมพานต์มีพวกพรานไพร ดาบส วิชาธรเป็นต้น
มากมาย ใครจะเชื่อใจเจ้าได้ แล้วตรัสคาถา ความว่า
ความสัตย์ ยากที่จะหาได้ในหญิงโจร ผู้มีเล่ห์-
เหลี่ยมมากมาย ความเป็นไปของหญิงทั้งหลายรู้ได้ยาก
เหมือนความเป็นไปของปลาในน้ำ ฉะนั้น.
พระนางสัมพุลาได้ยินพระดำรัสของพระสวามี จึงทูลว่า ข้าแต่พระ-
ทูลกระหม่อม หม่อมฉันจักเยียวยาทูลกระหม่อม ผู้ไม่ทรงเชื่อ ด้วยกำลัง
ความสัตย์ของหม่อมฉันนั่นเทียว แล้วตักน้ำมาเต็มกระออม ทำสัจจกิริยา
รดน้ำลงเหนือพระเศียรพระสวามี แล้วกล่าวคาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 507
ขอความสัตย์ ที่หม่อมฉันมิได้เคยรักบุรุษอื่น
ยิ่งกว่าทูลกระหม่อมเป็นความจริง ด้วยอำนาจสัจจ
วาจานี้ ขอพยาธิของทูลกระหม่อมจงระงับดับหาย.
บรรดาบทเหล่านั้น ตถาศัพท์ บัณฑิตพึงประกอบเข้ากับบทนี้ว่า
เจ มม. มีอธิบายว่า หม่อมฉันทูลอย่างใด ถ้าเป็นความจริงของหม่อมฉัน
อย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอความจริงจงช่วยพิทักษ์รักษาหม่อมฉัน แม้ในบัดนี้
แม้ในกาลต่อไป จักช่วยพิทักษ์รักษาแม้ในกาลอนาคต บัดนี้ขอเชิญพระองค์
จงสดับถ้อยคำของหม่อมฉันเถิด. บทว่า ยถาห นาภิชานามิ ความว่า
ก็ในพระคัมภีร์ทั้งหลายท่านเขียนไว้ว่า " ตถา ม สจฺจ ปาเลมิ " คำนั้น
ไม่มีในอรรถกถา.
เมื่อพระนางสัมพุลา กระทำสัจจกิริยาอย่างนี้ แล้วรดน้ำถวายเท่านั้น
โรคเรื้อนของโสตถิเสนราชกุมาร ก็ระงับหายทันที ดุจสนิมทองแดงถูกล้าง
ด้วยน้ำส้มฉะนั้น. ทั้งสองพระองค์เสด็จอยู่ในอาศรมนั้น สอง-สามราตรีก็
ออกจากป่า ดำเนินไปถึงเมืองพาราณสี เข้าไปยังพระอุทยาน.
พระราชาทรงทราบว่า พระราชโอรสกับพระสุณิสา กลับมาจึงเสด็จ
ไปยังพระอุทยาน ตรัสสั่งให้ยกเศวตฉัตรถวายโสตถิเสนราชโอรส และให้
อภิเษกพระนางสัมพุลาไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี ในพระอุทยานนั้นเอง แล้ว
เชิญเสด็จสู่พระนคร ส่วนพระองค์เองทรงผนวชเป็นฤาษี เสด็จอยู่ ณ พระ-
ราชอุทยานนั้น และเสด็จไปเสวยในพระราชนิเวศน์นั้นแหละเป็นประจำ. ฝ่าย
พระเจ้าโสตถิเสน ได้พระราชทานเพียงตำแหน่งพระอัครมเหสี แก่พระนาง
สัมพุลาอย่างเดียว หาได้มีราชสักการะอะไร ๆ อีกไม่ มิได้สนพระทัยถึงว่า
พระนางสัมพุลานั้นมีตัวอยู่ มัวแต่อภิรมย์กับสนมอื่น ๆ เท่านั้น. ด้วยความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 508
แค้นต่อหญิงผู้ร่วมพระราชสวามี พระนางสัมพุลาได้มีพระวรกายซูบผอม
เป็นโรคผอมเหลือง มีพระวรกายสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น. วันหนึ่งพระนางได้
ไปยังสำนักพระสัสสุรดาบส ผู้เสด็จมาเสวยในพระราชวัง เพื่อต้องการจะ
บรรเทาโศกาดูร ถวายบังคมพระดาบสผู้เสวยเสร็จแล้ว ประทับ ณ ที่ส่วน
ข้างหนึ่ง.
พระสัสสุรดาบสนั้น ครั้นทอดพระเนตรเห็นพระนาง มีพระอินทรีย์
เศร้าหมอง จึงตรัสพระคาถา ความว่า
แน่ะนางผู้เจริญ กุญชรสูงใหญ่ มีมากมายถึง
๗๐๐ มีพลโยธาถืออาวุธขี่ประจำ คอยพิทักษ์รักษาอยู่
ทั้งกลางวันและกลางคืน และพลโยธาที่ถือธนู ก็มีถึง
๑,๖๐๐ พิทักษ์รักษาอยู่ เธอเห็นศัตรูชนิดไหน.
พระคาถานั้นมีอธิบายว่า พระสัสสุรดาบสดำรัสถามว่า แน่ะนาง
สัมพุลาผู้เจริญ กุญชรของเรา ๗๐๐ ประกอบไปด้วยอาวุธพร้อมสรรพ์ โดยมี
ทหารขึ้นขี่คอช้างเหล่านั้นซุ่มอยู่ ทั้งทหารธนู ๑,๖๐๐ คนอื่น ๆ อีก ก็พากัน
พิทักษ์รักษาพระนครพาราณสี อยู่ตลอดคืนตลอดวัน เมื่อพระนครมีอารักขา
ดีอย่างนี้ เจ้ายังจะเห็นศัตรูชนิดไรอยู่หรือ แน่ะนางผู้เจริญ ในเวลาที่เจ้ามา
จากป่าอันน่ารังเกียจ มีภัยรอบด้าน ดูมีสรีระเปล่งปลั่งสมบูรณ์ แต่บัดนี้
ดูเจ้าซูบซีดผิวพรรณดังเป็นโรคผอมเหลือง อินทรีย์เศร้าหมองเหลือเกิน
เจ้าเกรงสิ่งใดเล่า ?
พระนางสัมพุลาได้สดับพระดำรัส ของพระสัสสุรดาบส แล้วทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ เพราะพระราชโอรสของพระทูลกระหม่อม ไม่ทรงกรุณา
กระหม่อมฉัน ดังในกาลก่อน แล้วตรัสคาถา ๕ คาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 509
ข้าแต่พระราชบิดา เมื่อก่อนพระลูกเจ้า ทรง
ประพฤติแก่หม่อมฉันอย่างไร เดี๋ยวนี้หาเป็นอย่างนั้น
ไม่ เพราะได้ทรงเห็นสนมนารี ผู้ประดับตกแต่ง มี
ผิวพรรณดุจเกสรบัวรุ่นกำดัด เสียงไพเราะดังเสียง
หงส์.
ข้าแต่พระราชบิดา สนมนารีเหล่านั้น ทรง
เครื่องประดับล้วนทองคำ มีเรือนร่างเฉิดโฉม
ประดับด้วยเครื่องอลังการนานาชนิด เพริศพริ้งดัง
สาวสวรรค์ เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าโสตถิเสน
ล้วนมีทรวดทรงหาติมิได้ เป็นขัตติยกกัญญา พากัน
ปรนปรือพระโอรสราชเจ้านั้นอยู่.
ข้าแต่พระราชบิดา ถ้าหากพระโอรสราชเจ้า
ทรงยกย่องหม่อมฉัน ดังที่หม่อมฉันเคยเที่ยวแสวงหา
ผลาผลในป่า มาเลี้ยงดูพระราชสวามี ในกาลก่อนอีก
และไม่ทรงดูหมิ่นหม่อมฉันไซร้ จะประเสริฐกว่าราช
สมบัติ ในพระนครพาราณสีนี้.
หญิงใดอยู่ในเรือน อันมีข้าวน้ำไพบูลย์ ตกแต่ง
ไว้เรียบร้อย มีเครื่องอาภรณ์อันวิจิตรประดับประดา
แม้จะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง แต่ไม่เป็น
ที่รักของสามี คอยแต่ประหัตประหาร ความตายของ
หญิงนั้นประเสริฐกว่า การอยู่ครองเรือน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 510
ถ้าแม้หญิงใด เป็นหญิงเข็ญใจไร้เครื่องประดับ
มีเสื่อลำแพนเป็นที่นอน แต่เป็นที่รักของสามี หญิงนั้น
ประเสริฐเสียกว่าหญิงผู้เพรียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ
ทุกอย่าง แต่ไม่เป็นที่รักของสามี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทุมุตฺตรตฺตจา ความว่า พระลูกเจ้า
ทอดพระเนตรเห็นสตรีมีผิวกายงดงาม คล้ายกลีบดอกปทุม แสดงว่า มีรัศมี
สีทองเปล่งออกจากสรีรกายของทุกนาง. บทว่า วิราคิตา แปลว่า มีรูปร่าง
อ้อนแอ้น อธิบายว่า มีเรือนร่างระหง. บทว่า หสคคฺครา ความว่า ทรง
เห็นเหล่าสนมนารี มีเสียงไพเราะอ่อนหวานคล้ายเสียงหงส์. บทว่า ตาส
ความว่า เพราะทรงสดับเสียงแย้มหัวขับกล่อมเป็นต้น ของสนมนารีเหล่านั้น
บัดนี้พระโอรสราชเจ้าของพระทูลกระหม่อม จึงไม่ประพฤติต่อหม่อมฉันดัง
เช่นก่อน. บทว่า สุวณฺณสงฺกจฺจธรา ความว่า ทรงเครื่องประดับ ซึ่ง
ล้วนทองคำ. บุทว่า อลงฺกตา ความว่า ประดับด้วยเครื่องอลังการนานาชนิด.
บทว่า มานุสิยจฺฉรูปมา ความว่า เพริศพริ้งดังสาวสวรรค์ในหมู่มนุษย์.
บทว่า เสโนปิยา ความว่า เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าโสตถิเสน.
บทว่า ปฏิโลภยนฺติ น ความว่า พากันปรนปรือพระโอรสราชเจ้านั้นอยู่.
บทว่า สเจ อห ความว่า พระนางสัมพุลาผู้ทรงซูบผอม เพราะแค้นใจหญิง
ผู้ร่วมพระราชสวามี กราบทูลว่า ข้าแต่พระราชบิดา ถ้าพระราชโอรสเจ้า
ทรงนับถือหม่อมฉันอีกเหมือนในกาลก่อน ที่หม่อมฉันเคยได้ปฏิบัติบำรุงเธอ
ผู้เป็นพระสวามี ผู้เสด็จไปอยู่ป่าเพราะโรคเรื้อน ด้วยการแสวงหาผลาผล
และไม่ทรงดูหมิ่นหม่อมฉันไซร้ ป่าแห่งเดียวเท่านั้น ประเสริฐสำหรับหม่อม
ฉัน ยิ่งกว่าราชสมบัติในพระนครพาราณสีนี้. บทว่า ยมนฺนปาเน ตัดบท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 511
เป็น ย อนฺนปาเน. บทว่า โอหิเต ความว่า จัดแจงแต่งตั้งไว้แล้ว.
พระนางสัมพุลาแสดงถึงเรือน อันมีข้าวและน้ำมากมายไว้ด้วยบทนี้.
นัยว่า พระนางสัมพุลานั้นมีความมุ่งหมายดังนี้ว่า นารีใดเป็นผู้ไม่มี
บุตร อยู่คนเดียวในเรือน แม้มีข้าวน้ำไพบูลย์ มีเครื่องอาภรณ์เกลี้ยงเกลา
ประดับตกแต่งด้วยนานาลังการ เพรียบพร้อมด้วยองค์คุณทุกอย่าง แต่ไม่เป็น
ที่รักของสามี คอยแต่จะเบียดเบียน การที่หญิงนั้นเอาเถาวัลย์หรือเชือกผูก
คอตายเสียดีกว่า จะอยู่ครอบครองเรือนนั้น.
บทว่า อนาฬิยา แปลว่า ไม่มีเครื่องประดับ. บทว่า กฏาทุติยา
ได้แก่ มีแต่เสื่อลำแพนเป็นที่นอน. บทว่า เสยฺยา ความว่า แม้นางจะเป็น
หญิงกำพร้า แต่เป็นที่รักใคร่ของสามี นางนี้แหละเป็นเยี่ยม.
เมื่อพระนางสัมพุลา ทูลเหตุที่ตนซูบผอม แก่พระสัสสุรดาบสอย่างนี้
แล้ว พระสัสสุรดาบสจึงรับสั่งให้เชิญเสด็จพระราชามาตรัสว่า ดูก่อนพ่อ
โสตถิเสน เมื่อเจ้าเป็นโรคเรื้อนเข้าไปอยู่ป่า นางสัมพุลาไปกับเจ้าเฝ้าปฏิบัติ
บำรุง จนยังโรคของเจ้าให้หาย ด้วยกำลังแห่งความสัตย์ของตน ได้ช่วยกระทำ
ให้เจ้าดำรงอยู่ในราชสมบัติ แต่เจ้ามิได้ใส่ใจถึงสถานที่ยืนที่นั่งของนางเลย
เจ้าทำไม่เหมาะไม่ควร ขึ้นชื่อว่าการประทุษร้ายมิตรนั้น เป็นบาป เมื่อจะ
พระราชทานโอวาท แก่พระราชโอรส จึงตรัสพระคาถา ความว่า
ภรรยาผู้เกื้อกูลต่อสามี เป็นหญิงหาได้แสนยาก
สามีผู้เกื้อกูลต่อภรรยา ก็หาได้แสนยาก ดูก่อนเจ้า
ผู้จอมชน มเหสีของเจ้าเป็นผู้เกื้อกูลเจ้าด้วย มีศีลด้วย
เพราะฉะนั้น เจ้าจงประพฤติธรรมต่อนางสัมพุลา.
พระคาถานั้น มีอรรถาธิบายว่า หญิงผู้มีความเกื้อกูล มีจิตอ่อนโยน
ความเอื้อเอ็นดูต่อชายผู้สามีก็ดี ชายผู้สามีมีความเกื้อกูล รู้คุณความดีที่หญิง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 512
ผู้ภรรยากระทำแล้วก็ดี ทั้งสองจำพวกนี้หาได้ยากนัก ก็นางสัมพุลานี้ มีความ
เกื้อกูลต่อเจ้าด้วย ถึงพร้อมด้วยศีลด้วย เพราะฉะนั้น เจ้าต้องประพฤติธรรม
ต่อนาง ต้องสำนึกถึงบุญคุณของนาง แล้วจงมีจิตอ่อนโยน จงยังจิตของนาง
ให้สดชื่นเบิกบานเถิด.
พระราชฤาษีทรงประทานโอวาท แก่พระโอรสอย่างนี้แล้ว เสด็จ
ลุกขึ้นหลีกไปยังพระราชอุทยาน. ครั้นพระราชฤๅษีผู้พระชนกเสด็จหลีกไปแล้ว
พระเจ้าโสตถิเสน ตรัสสั่งให้พระนางสัมพุลามาเฝ้า แล้วตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ
เจ้าจงอดโทษที่เราทำผิดมาตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ตั้งแต่นี้ไป เราจักมอบ
อิสริยยศแก่เจ้าทั้งสิ้น แล้วตรัสพระคาถาสุดท้าย ความว่า
ดูก่อนแม่นางสัมพุลาผู้เจริญ ถ้าเจ้าได้โภคสมบัติ
อันไพบูลย์แล้ว แต่มีความหึงหวงครอบงำ จนจะถึง
ซึ่งมรณะไซร้ พี่และนางราชกัญญาเหล่านี้ทั้งหมด
จะทำตามถ้อยคำของเจ้า.
พระคาถานั้น มีอรรถาธิบายว่า แน่พระนางสัมพุลาผู้เจริญ ถ้าเจ้าได้
โภคสมบัติอันไพบูลย์ โดยได้รับแต่งตั้งเป็นพระอัครมเหสี เพราะทีอภิเษก
สถาปนาไว้ในกองรัตนะแล้ว ยังหยั่งลงในความฤษยา จะถึงซึ่งความตายไซร้
เราและนางราชกัญญาเหล่านั้นทั้งหมด จักเป็นผู้กระทำตามถ้อยคำของเจ้า เจ้า
จงจัดแจงราชสมบัติ ตามความประสงค์เถิด แล้วพระราชทานความเป็นใหญ่
ทั้งสิ้น แก่พระอัครมเหสี.
นับแต่นั้นมา ทั้งสองพระองค์ก็อยู่อย่างสามัคคีปรองดองกัน บำเพ็ญ
บุญกุศลมีทานเป็นต้น แล้วเสด็จไปตามยถากรรม. พระราชดาบสทำฌานและ
อภิญญาให้เกิดแล้ว ก็เป็นผู้เข้าถึงซึ่งพรหมโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 513
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระนางมัลลิกาก็
เคารพต่อสามีดุจเทพยดาเหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระนางสัมพุลา
ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระนางมัลลิกา พระเจ้าโสตถิเสนได้มาเป็นพระเจ้า-
กรุงโกศล พระดาบสผู้ราชบิดา ได้มา เป็นเราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสัมพุลาชาดก
๑๐. ภัณฑุติณฑุกชาดก
ว่าด้วยพระราชาทรงสดับฟังข่าวชาวเมือง
[๒๔๑๙] ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาท
ย่อมไม่ตาย คนประมาทเป็นเหมือนคนตายแล้ว.
เพราะมัวเมาจึงเกิดความประมาท เพราะประมาท
จึงเกิดความเสื่อม และเพราะความเสื่อมจึงเกิดโทษ
ดูก่อนท่าน ผู้มีภาระครอบครองรัฐ อย่าประมาทเลย.
เพราะกษัตริย์เป็นอันมาก หากมีความประมาท
ต้องเสื่อมประโยชน์ของแว่นแคว้น เสื่อมทั้งแว่นแคว้น
อนึ่ง ชาวบ้านประมาท ก็เสื่อมจากบ้าน บรรพชิต
ประมาท ก็เสื่อมจากอนาคาริยวิสัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 514
ดูก่อนพระองค์ ผู้เป็นมิ่งขวัญของรัฐ โภคสมบัติ
ทุกอย่างในแว่นแคว้น ของกษัตริย์ ผู้ประมาทแล้ว
ย่อมพินาศหมด ข้อนั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์
ของพระราชา.
ดูก่อนพระมหาราชเจ้า ความประมาทนี้ ไม่เป็น
ธรรมของโบราณกษัตริย์ โจรทั้งหลายย่อมกำจัดชนบท
อันมั่งคั่ง ไพบูลย์ของพระราชา ผู้ประมาทเกินขอบ
เขต.
ราชโอรส สืบสันตติวงศ์ ของพระราชานั้นจักไม่มี
เงินทอง ทรัพย์สินก็จักไม่มีเหมือนกัน เมื่อแว่นแคว้น
ถูกปล้น พระราชาผู้ประมาท ย่อมเสื่อมจากโภคะ
ทั้งปวง.
ญาติ มิตร และสหาย ย่อมไม่นับถือขัตติยราช
เสื่อมจากสรรพโภคสมบัติ ในความคิดอ่าน.
พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า ผู้พึ่ง
พระโพธิสมภารเป็นอยู่ ย่อมไม่นับถือพระราชานั้น
ในความคิดอ่าน.
ศรี คือ มิ่งขวัญ ย่อมละพระราชา ผู้ไม่จัดแจงการ
งาน โง่เขลา มีความคิดอ่านเลวทราม ไร้ปัญญา
เหมือนงูลอกคราบ อันคร่ำคร่า ฉะนั้น.
พระราชาผู้ทรงจัดการงานดี หมั่นขยันตามกาล
ไม่เกียจคร้าน โภคสมบัติทั้งปวง ย่อมเจริญยิ่งขึ้น
เหมือนฝูงโค ที่มีโคผู้ ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 515
ดูก่อนมหาราชเจ้า พระองค์จงเสด็จเที่ยวฟังเหตุ
การณ์ในแว่นแคว้น และในชนบท ครั้นได้ทอดพระ
เนตรเห็น และได้ทรงสดับแล้ว แต่นั้น ก็ปฏิบัติสิ่ง
นั้น ๆ เถิด.
[๒๔๒๐] ขอให้พระเจ้าปัญจาละ จงถูกศรเสียบ
ในสงคราม เสวยทุกขเวทนา เหมือนเราถูกหนามแทง
แล้ว เสวยทุกขเวทนาอยู่ในวันนี้.
[๒๓๒๑] ท่านเป็นคนแก่ มีจักษุมืดมัว มอง
เห็นอะไรไม่ถนัด หนามแทงท่านเอง ในเรื่องนี้ พระ
เจ้าพรทมทัต มีความผิดอะไรด้วย.
[๒๓๒๒] ดูก่อนพราหมณ์ เราถูกหนามแทง ใน
หนทางนี้ เป็นความผิดอย่างมหันต์ ของพระเจ้า
พรหมทัต เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัต
มิได้ทรงพิทักษ์รักษา ถูกพวกราชบุรุษ กดขี่ด้วยภาษี
อันไม่ชอบธรรม.
กลางคืนถูกพวกโจรปล้น กลางวันถูกราชบุรุษ
กดขี่ ในแว่นแคว้นของพระราชาโกง มีคนอาธรรม์
มากมาย.
แน่ะพ่อคุณ เมื่อภัยเช่นนี้เกิดขึ้น ประชาชนพา
กันอึดอัด เพราะกลัว ต่างพากันหาไม้ มีหนาม ใน
ป่ามาทำที่ซุกซ่อน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 516
[๒๔๒๓] ในแคว้นของพระเจ้าพรหมทัต หญิง
สาวหาผัวไม่ได้ไปจนแก่ เมื่อไรพระเจ้าพรหมทัตจัก
สวรรคตเสียที.
[๒๔๒๔] เฮ้ย ! หญิงชั่วไม่รู้จักเหตุผล แก
พูดไม่ดีเลย พระราชาเคยหาผัวให้นางกุมาริกา มีที่
ไหนกัน ?
[๒๔๒๕] พราหมณ์ เอย เราไม่ได้พูดชั่วเลย
เรารู้เหตุผล ชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์
รักษา ราษฎรถูกกดขี่ ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม.
กลางคืนถูกโจรปล้น กลางวันถูกเจ้าหน้าที่กด
ขี่ด้วยภาษี อันไม่ชอบธรรม ในแว่นแคว้นของพระ
ราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย เมื่อการครองชีพ
ลำบาก การเลี้ยงดูลูกเมียก็ลำบาก หญิงสาวจักมีผัว
ได้ที่ไหน.
[๒๔๒๖] ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จงถูกหอก
แทง ต้องนอนกลิ้งอยู่ในสงคราม เหมือนโคสาลิยะ
ถูกผาลแทง นอนอยู่ ดังคนกำพร้า ฉะนั้น.
[๒๔๒๗] เจ้าคนชาติชั่ว เจ้าโกรธพระเจ้าพรหม
ทัต โดยไม่เป็นธรรม เจ้าทำลายโคของตนเอง ไฉน
จึงมาสาปแช่ง พระราชาเล่า.
[๒๔๒๘] ดูก่อนพราหมณ์ เราโกรธพระเจ้า
พรหมทัต โดยชอบธรรม เพราะชาวชนบท พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 517
เจ้าพรหมทัต มิได้ทรงพิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่บ้าน
เมืองกดขี่ ด้วยภาษีที่ไม่เป็นธรรม.
กลางคืนถูกพวกโจรปล้น กลางวันถูกเจ้าหน้าที่
กดขี่ ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระ
ราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย.
แม่ครัวคงหุงต้มใหม่อีกเป็นแน่ จึงนำข้าวมาส่ง
ในเวลาสาย เรายังแลดูแม่ครัวมาส่งข้าวอยู่ โคสาลิยะ
จึงถูกผาลแทงเอา.
[๒๔๒๙] ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จงถูกฟัน
ด้วยดาบในสงคราม เดือดร้อนอยู่ เหมือนเราถูกแม่
โคนม ถีบในวันนี้ จนนมสดของเราหกไป ฉะนั้น.
[๒๔๓๐] การที่แม่โคนม ถีบเจ้าให้บาดเจ็บ น้ำ
นมหกไปนั้น เป็นความผิดอะไร ของพระเจ้าพรหม-
ทัต ท่านจึงติเตียนอยู่.
[๒๔๓๑] ดูก่อนพราหมณ์ พระเจ้าปัญจาละ
ควรจะได้รับความติเตียน เพราะชาวชนบท พระเจ้า
พรหมทัตมิได้พิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ด้วยภาษี
อันไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง เวลากลางคืน ก็ถูกโจรปล้น กลางวันก็ถูก
กดขี่ รีดภาษีอันไม่เป็นธรรม ในแคว้นของพระราชา
โกง มีคนอาธรรม์มากมาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 518
แม่โคเปรียว ดุร้าย เมื่อก่อนพวกเรามิได้รีดนม
มัน มาวันนี้ เราถูกพวกราชบุรุษ ผู้ต้องการน้ำนม
รีดนาทาเล้น จึงต้องรีดนมมันอยู่เดี๋ยวนี้.
[๒๔๓๒] ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จงพลัด
พรากจากราชโอรส วิ่งคร่ำครวญ เหมือนแม่โคกำพร้า
พลัดพรากจากลูก วิ่งคร่ำครวญอยู่ ฉะนั้น.
[๒๔๓๓] ในการที่แม่โคนม ของคนเลี้ยงโค
เที่ยววิ่งไปมา หรือร่ำร้องอยู่นี้ เป็นความผิดอะไร
ของพระเจ้าพรหมทัตเล่า.
[๒๔๓๔] ดูก่อนมหาพราหนณ์ ความผิดของ
พระเจ้าพรหมทัตมีแน่ เพราะชาวชนบท พระเจ้า
พรหมทัต มิได้พิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ ด้วย
ภาษีอันไม่ชอบธรรม.
กลางคืนก็ถูกโจรปล้น กลางวันก็ถูกเจ้าหน้าที่
กดขี่ ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระรา-
ชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย ลูกโคของพวกเรายัง
ดื่มนมอยู่ ก็ต้องถูกฆ่าตาย เพราะต้องการฝักดาบ
อย่างไรล่ะ.
[๒๔๓๕] ขอให้พระเจ้าปัญจาลราซ พร้อมด้วย
พระราชโอรส จงถูกประหารในสนามรบ ให้ฝูงการุม
จิกกิน เหมือนเราผู้เกิดในป่า ถูกฝูงกาชาวบ้านจิก
ในวันนี้ ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 519
[๒๔๓๖] เฮ้ยกบ ! พระราชาทั้งหลายในมนุษย-
โลก จะทรงจัดการพิทักษ์รักษาสัตว์ทั่วไปไม่ได้อยู่
เอง พระราชามิใช่เป็นอธรรมจารีบุคคล ด้วยเหตุที่ฝูง
กากินสัตว์เป็น เช่นพวกเจ้าเท่านั้น.
[๒๔๓๗] ท่านเป็นพรหมจารี ชาติอาธรรม์หนอ
จึงกล่าวยกย่องกษัตริย์อยู่ได้ เมื่อประชากรเป็นอันมาก
ถูกปล้นอยู่ ท่านยังบูชาพระราชา ผู้น่าตำหนิอย่างยิ่ง.
ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าแว่นแคว้นนี้ พึงมีพระราชา
ดี ก็จะมั่งคั่งเบิกบาน ผ่องใส ฝูงกาก็จะได้กินก้อน
ข้าวที่ดี ๆ เป็นพลี ไม่ต้องกินสัตว์เป็นเช่นพวกเรา.
จบภัณฑุติณฑุกชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 520
อรรถกถาภัณฑุติณฑุกชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
ราโชวาท ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อปฺปมาโท ดังนี้. ราโชวาท
มีพิสดารแล้วในหนหลัง.
ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่าปัญจาละ ดำรงอยู่ในอคติทรง
ประมาทเสวยราชสมบัติโดยอธรรม อยู่ในอุตตรปัญจาลนคร แคว้นกปิละ.
ครั้งนั้น อำมาตย์เป็นต้นของพระองค์ ก็เกิดเป็นคนอาธรรม์เสียทั้งหมด. ชาว
แว่นแคว้น ถูกบีบคั้นด้วยภาษีอากร ต้องพาลลูกเมียเที่ยวหลบหนี หลีกไป
ในป่า คล้ายฝูงมฤค. ในที่ที่เคยมีบ้าน ก็กลายเป็นที่มีบ้านร้าง. กลางวัน
ผู้คนไม่อาจอยู่บ้านเรือนได้ เพราะเกรงกลัวเจ้าหน้าที่บ้านเมือง พากันเอา
กิ่งหนามเป็นต้นล้อมเรือนไว้ เมื่ออรุณขึ้นก็หลบเข้าป่าไป. กลางวันเจ้าหน้าที่
ก็ริบยื้อแย่ง กลางคืนพวกโจรก็ปล้นก็ชิง.
คราวนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดา อยู่ที่ี่ภัณฑุติณฑุก-
พฤกษ์ภายนอกพระนคร. ทุกๆ ปีได้รับพลีกรรม มีราคาหนึ่งพันจากราชสำนัก.
รุกขเทวดาคิดว่า พระราชานี้ทรงประมาท เสวยราชสมบัติ สกลรัฐจักฉิบหาย
เว้นเราเสียแล้วไม่มีใครสามารถจะชักจูงให้พระราชาดำรงพระองค์ ในทางที่ถูก
ต้องได้ อนึ่ง พระองค์ก็ทรงมีอุปการะแก่เรา บูชาด้วยพลีกรรมพันหนึ่งทุกปีมา
เราจักถวายโอวาทพระองค์ท่าน. ในเวลากลางคืน รุกขเทวดาเข้าไปยังห้อง
พระบรรทมของพระราชา ยืนอยู่ข้างพระเศียร เปล่งรัศมียืนอยู่บนอากาศ.
พระราชาทอดพระเนตรเห็นเทวดารุ่งเรืองอยู่ คล้ายดวงอาทิตย์อ่อน ๆ จึง
ตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร มาที่นี่เพราะเหตุอะไร ? รุกขเทวดาได้ยินพระราช-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 521
ดำรัสแล้วทูลว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า ข้าพเจ้าคือภัณฑุติณฑุกเทพ คิดว่า
จักถวายโอวาทแด่พระองค์ จึงมาเฝ้า. พระราชาตรัสถามว่า ท่านจักให้โอวาท
อะไรหรือ ? เมื่อพระราชาตรัสถามอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงทูลว่า ดูก่อน
มหาราชเจ้า พระองค์เป็นผู้ประมาทเสวยราชสมบัติ เพราะฉะนั้น แว่นแคว้น
ทั้งสิ้นของพระองค์ จะพินาศเหมือนถูกกำจัดยื้อแย่ง ธรรมดาพระราชาเมื่อ
เสวยราชสมบัติด้วยความประมาท หาใช่เป็นเจ้าของแห่งแว่นแคว้นทั้งสิ้นไม่
ถึงความพินาศในปัจจุบันแล้ว ในภพหน้าจักต้องเกิดในมหานรกอีก อนึ่ง
เมื่อพระราชาถึงความประมาทแล้ว แม้ชนในราชสำนัก นอกราชสำนัก ย่อม
จะพากันประมาท ด้วยเหตุนั้น พระราชาไม่ควรประมาทอย่างยิ่ง ดังนี้แล้ว
เมื่อจะเริ่มตั้งธรรมเทศนา จึงกล่าวคาถา ความว่า
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย ความประมาท
เป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย คน
ประมาทเป็นเหมือนคนตายแล้ว.
เพราะมัวเมาจึงเกิดความประมาท เพราะประมาท
จึงเกิดความเสื่อม และเพราะความเสื่อมจึงเกิดโทษ
ดูก่อนท่านผู้มีภาระครอบครองรัฐ อย่าประมาทเลย.
เพราะกษัตริย์เป็นอันมาก หากมีความประมาท
ต้องเสื่อมประโยชน์ของแว่นแคว้น เสื่อมทั้งแว่นแคว้น
อนึ่ง ชาวบ้านประมาท ก็เสื่อมจากบ้าน บรรพชิต
ประมาท ก็เสื่อมจากอนาคาริยวิสัย.
ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นมิ่งขวัญของรัฐ โภคสมบัติ
ทุกอย่างในแว่นแคว้น ของกษัตริย์ผู้ประมาทแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 522
ย่อมพินาศหมด ข้อนั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์
ของพระราชา.
ดูก่อนพระมหาราชเจ้า ความประมาทนี้ไม่เป็น
ธรรมของโบราณกษัตริย์ โจรทั้งหลายย่อมกำจัดชนบท
อันมั่งคั่งไพบูลย์ ของพระราชาผู้ประมาทเกินขอบเขต.
ราชโอรสสืบสันตติวงศ์ ของพระราชานั้นจัก
ไม่มี เงินทองทรัพย์สินก็จักไม่มีเหมือนกัน เมื่อ
แว่นแคว้นถูกปล้น พระราชาผู้ประมาท ย่อมเสื่อม
จากโภคะทั้งปวง.
ญาติมิตรและสหาย ย่อมไม่นับถือขัตติยราชผู้
เสื่อมจากสรรพโภคสมบัติ ในความคิดอ่าน.
พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า ผู้พึ่ง
พระโพธิสมภารเป็นอยู่ ย่อมไม่นับถือพระราชานั้น
ในความคิดอ่าน.
ศรีคือมิ่งขวัญ ย่อมละพระราชาผู้ไม่จัดแจง
การงาน โง่เขลา มีความคิดอ่านเลวทราม ไร้ปัญญา
เหมือนงูลอกคราบอันคร่ำคร่า ฉะนั้น.
พระราชาผู้ทรงจัดแจงการงานดี หมั่นขยันตาม
กาล ไม่เกียจคร้าน โภคสมบัติทั้งปวง ย่อมเจริญยิ่งขึ้น
เหมือนฝูงโคที่มีโคผู้ ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 523
ดูก่อนมหาราชเจ้า พระองค์จงเสด็จเที่ยวฟัง
เหตุการณ์ในแว่นแคว้น และในชนบท ครั้นได้ทอด-
พระเนตรเห็น และได้ทรงสดับแล้ว แต่นั้นก็ปฏิบัติ
สิ่งนั้น ๆ เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาโท ได้แก่ ความไม่อยู่ปราศ
แห่งสติ. บทว่า อมต ปท ความว่า เป็นทางคือเป็นเหตุแห่งอมตนิพพาน.
บทว่า มจฺจุโน ปท ความว่า ความประมาทเป็นเหตุแห่งความตาย. เพราะ
คนประมาทแล้ว เจริญวิปัสสนา เมื่อไม่อาจบรรลุอัปปฏิสนธิกภาพได้ ย่อมเกิด
ย่อมตายในสงสารบ่อย ๆ เหตุนั้น ความประมาทจึงชื่อว่า เป็นทางแห่งความ
ตาย บทว่า น มียนฺติ ความว่า คนผู้ไม่ประมาทเจริญวิปัสสนา บรรลุ
อัปปฏิสนธิกภาพแล้ว ชื่อว่าย่อมไม่ตาย เพราะไม่เกิดในสงสารอีก. บทว่า
เย ปมตฺตา ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า บุคคลเหล่าใดประมาทแล้ว บุคคล
เหล่านั้นควรเห็นเหมือนคนตายแล้ว. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุที่ยังกิจให้
สำเร็จไม่ได้. แท้จริง สำหรับคนที่ตายแล้ว ย่อมไม่มีความคำนึง ความ
ปรารถนา หรือความขวนขวายว่า เราจักให้ทาน จักรักษาศีล จักทำอุโบสถ
กรรม จักบำเพ็ญคุณงามความดี เพราะเป็นผู้ปราศจากวิญญาณ. สำหรับคน
ประมาทก็ไม่มี เพราะขาดความไม่ประมาท ฉะนั้น คนตายกับคนประมาท
ทั้งสองนี้ จึงเสมอเหมือนเป็นบุคคลประเภทเดียวกัน.
บทว่า มทา ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า ขึ้นชื่อว่า ความประมาท
ย่อมเกิดเพราะความเมา ๓ ประการ คือ เมาในความไม่มีโรค เมาในวัย
และเมาในชีวิต. คนเรานั้นพอเมาแล้ว ก็ถึงความประมาท กระทำบาปกรรม
เช่นปาณาติบาตเป็นต้นได้. ทีนั้น พระราชาย่อมตรัสสั่งให้ตัดตีนตัดมือ ให้
ประหารชีวิต หรือให้ริบทรัพย์ของผู้นั้นทั้งหมด เพราะความประมาทของเขา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 524
จึงเกิดความสิ้นญาติ สิ้นทรัพย์ สิ้นชีวิตอย่างนี้. เขาถึงความสิ้นทรัพย์หรือ
สิ้นยศแล้ว เมื่อไม่สามารถเลี้ยงชีวิตได้อีก ก็ต้องทำกายทุจริตเป็นต้น เพื่อ
เลี้ยงชีพต่อไป และเพราะความสิ้นเนื้อสิ้นตัวของเขาอย่างนี้ จึงเกิดโทษผิดขึ้น
ข้าพเจ้าจึงต้องทูลเตือนพระองค์. บทว่า มา มโท ภรตูสภ ความว่า
ดูก่อนพระองค์ผู้มีภาระเป็นใหญ่ในแว่นแคว้น พระองค์อย่าทรงมัวเมา
อธิบายว่า อย่าทรงประมาท.
บทว่า อตฺถ รฏฺ ความว่า กษัตริย์เป็นอันมาก (หาก) ทรงประมาท
ความเจริญของชาวชนบท และแว่นแคว้นทั้งสิ้น ก็เสื่อมโทรมลง. เพื่อความ
แจ่มแจ้งแห่งความข้อนั้น ๆ บัณฑิตควรแสดง ขันติวาทีชาดก มาตังคชาดก
คุรุกชาดก สรภังคชาดก และเจติยชาดก. บทว่า คามิโน ความว่า แม้
นายบ้านต้องพลัดพราก เสื่อมโทรม ฉิบหายจากบ้าน ก็เพราะโทษคือความ
ประมาทมาก. บทว่า อนาคารา อคาริโน ความว่า รุกขเทวดากล่าวว่า
บรรพชิตเสื่อมจากข้อปฏิบัติของบรรพชิต ก็เพราะโทษคือประมาทมาก แม้
คฤหัสถ์ พลัดพราก เสื่อมโทรม จากการครองเรือน และธัญญาหารเป็นต้น
มากมาย ก็เพราะโทษคือประมาทมาก. บทว่า ต วุจฺจเต อย ความว่า
ดูก่อนมหาราชเจ้า ชื่อว่า ความเสื่อมยศและโภคสมบัติ ท่านกล่าวว่า นั่น
เป็นทุกข์ของพระราชา เพราะไม่มีโภคสมบัติ ยศของพระราชาผู้ไร้ทรัพย์
ย่อมเสื่อม พระราชาผู้เสื่อมยศ ย่อมได้รับทุกข์อย่างมหันต์.
บทว่า เนส ธมฺโม ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า ความประมาทนี้
ไม่ใช่ธรรมของโบราณกษัตริย์. บทว่า อิทฺธ ผีต ความว่า (โจรทั้งหลาย
ย่อมยื้อแย่ง) ชนบทอันมั่งคั่งด้วยข้าวน้ำเป็นต้น ไพบูลย์ด้วยเงินและทอง
เป็นต้น. บทว่า น เต ปุตฺตา ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า ราชโอรสผู้สืบ
สันตติวงศ์ ของพระราชาผู้ประมาทจักไม่มี. เพราะชาวแว่นแคว้นทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 525
ย่อมไม่ถวายเศวตฉัตร ด้วยคิดว่า พระโอรสของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมนี้
จักทำความเจริญอะไรแก่พวกเราได้ พวกเราจักไม่ถวายเศวตฉัตรแก่พระโอรส
นั้น พระโอรสต้องพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าไม่มี ด้วยอาการ
อย่างนี้. บทว่า ปริชิณฺณ แปลว่า เสื่อมรอบแล้ว. บทว่า ราชา น วาปิ
ความว่า แม้ถึงพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมนั้น จะเป็นพระราชา เมื่อเป็น
เช่นนั้น.
บทว่า มนฺติย ความว่า ญาติ มิตรสหายย่อมไม่สำคัญที่จะทำอาการ
นับถือด้วยจิตเคารพว่า ผู้นี้คือพระราชา. บทว่า อุปชีวนฺตา ความว่า
ชนทั้งหลายแม้ที่เข้าไปพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ก็ย่อมไม่สำคัญอาการที่ตนควร
สำคัญด้วยจิตเคารพ. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุที่พระราชาไม่ทรงตั้งอยู่ใน
ธรรม. บทว่า สิรี ได้แก่ ยศและโภคสมบัติ. บทว่า ตจ ความว่า เมื่องู
รังเกียจคราบเก่าย่อมละเสีย ไม่เหลียวแลดูอีกฉันใด สิริคือยศและโภคสมบัติ
ย่อมละพระราชา ผู้เช่นนั้น ฉันนั้น. บทว่า สุสวิหิตกมฺมนฺต ความว่า
ผู้ไม่กระทำบาปกรรมด้วยกายทวารเป็นต้น. บทว่า อภิวฑฺฒนฺติ ความว่า
ย่อมเจริญก้าวหน้า. บทว่า สอุสภามิว ความว่า ดุจฝูงโค มีโคผู้เป็น
หัวหน้าฝูง. แท้จริง โภคสมบัติทั้งหลายย่อมเจริญแก่พระราชาผู้ไม่ประมาท
แล้ว ดุจฝูงโค มีโคผู้เป็นหัวหน้าฝูงฉะนั้น.
บทว่า อุปสฺสุตึ ความว่า พระองค์จงเสด็จจาริกไปในสกลรัฐและ
ชนบทของพระองค์. บทว่า ตตฺถ ความว่า เมื่อพระองค์เสด็จไปในแว่น-
แคว้นนั้น จะได้ทอดพระเนตรสิ่งที่ควรทอดพระเนตร จะได้ทรงสดับสิ่งที่
ควรสดับ กระทำคุณานุคุณส่วนพระองค์ให้ประจักษ์แล้ว จักได้ทรงปฏิบัติ
ข้อปฏิบัติอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 526
พระมหาสัตว์ถวายโอวาทพระราชาด้วยคาถา ๑๑ คาถา ด้วยประการ
ฉะนี้แล้ว ทูลว่า พระองค์จงรีบไปสอดส่องอย่าชักช้า อย่าให้แว่นแคว้นฉิบหาย
เสียเลย ดังนี้แล้ว กลับไปยังสถานที่อยู่ของตน. ฝ่ายพระราชาทรงสดับถ้อยคำ
ของเทวดาแล้ว สลดพระทัย รุ่งขึ้นโปรดให้อำมาตย์ดูแลราชสมบัติแล้วพร้อม
ด้วยราชปุโรหิต เสด็จออกจากพระนคร ทางพระทวารด้านทิศปราจีน เสด็จ
พระราชดำเนินไป สิ้นทางประมาณหนึ่งโยชน์ ณ สถานที่นั้น ชายแก่ชาวบ้าน
ผู้หนึ่ง นำกิ่งหนามมาจากดง ล้อมกั้นปิดประตูเรือนไว้ พาบุตรภรรยาเข้าป่าไป
เวลาเย็นเมื่อพวกราชบุตรหลีกไปแล้วก็กลับมาเรือนตน ถูกหนามยอกเท้าที่
ประตูเรือน จึงนั่งกระโหย่ง บ่งหนาม พลางด่าพระราชาด้วยคาถานี้ ความว่า
ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จึงถูกลูกศรเสียบใน
สงคราม เสวยทุกขเวทนา เหมือนเราถูกหนามแทง
แล้ว เสวยทุกขเวทนาอยู่ในวันนี้.
ก็คำด่านั้นได้เป็นไปด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์นั้นเอง. ควรทราบ
ว่า ชายแก่นั้น ถูกพระโพธิสัตว์ดลใจจึงด่า. ในเวลานั้น พระราชากับราช-
ปุโรหิต ปลอมเพศยืนอยู่ใกล้ ๆ ชายแก่นั้นเอง. พอราชปุโรหิตได้ยินคำของ
ชายแก่ จึงกล่าวคาถา ความว่า
ท่านเป็นคนแก่ มีจักษุมืดมัว มองเห็นอะไร
ไม่ถนัด หนามแทงท่านเอง ในเรื่องนี้ พระเจ้า-
พรหมทัต มีความผิดอะไรด้วย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มคฺเคยฺย แปลว่า ยอกเอา มีอธิบายว่า
ถ้าท่านถูกหนามยอกเอา เพราะความซุ่มซ่ามของตนเองไซร้ ในข้อนี้ทำไมจะ
เป็นความผิดของพระราชาด้วยเล่า ท่านด่าพระราชา เพราะเหตุที่ พระราชา
มีหน้าที่ตรวจตราหนามแล้วบอกให้ท่านทราบหรือ ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 527
ชายชราได้ฟังดังนั้น ได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เราถูกหนามแทง ในหนทางนี้
เป็นความผิดของพระเจ้าพรหมทัตมากมาย เพราะ
ชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัต มิได้พิทักษ์รักษา
ถูกพวกราชบุรุษกดขี่ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม.
กลางคืนถูกพวกโจรปล้น กลางวันถูกราชบุรุษ
กดขี่ ในแว่นแคว้นของพระราชาโกง มีคนอาธรรม์
มากมาย.
แน่ะพ่อคุณ เมื่อภัยเช่นนี้เกิดขึ้น ประชาชนพากัน
อึดอัด เพราะกลัวพากันหาไม้มีหนาม ในป่ามาทำที่
ซุกซ่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พเหฺวตฺถ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์
ข้านั่งจมลงไปในทางที่มีหนาม ในเรื่องนี้พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดมากเพราะ
ความผิดของพระราชา ตลอดเวลาเท่านี้ เจ้าไม่รู้เลยว่า เราต้องดั้นด้นไปใน
ทางที่มีหนาม เพราะชนบทพระราชามิได้พิทักษ์รักษาจึงมีหนาม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขาทนฺติ ได้แก่ พวกโจรรุมกันปล้น.
บทว่า ตุณฺฑิยา ความว่า กลางวัน พวกราชบุรุษเบียดเบียนด้วยการฆ่า
การจองจำเป็นต้น เก็บภาษีอากรโดยไม่เป็นธรรม. บทว่า กูฏราชสฺส
ความว่า ในแว่นแคว้นของพระราชาผู้ลามก. บทว่า อธมฺมิโก ความว่า
คนทั้งหลายต้องมีการงานอันปกปิดเป็นอันมาก. คนแก่เรียกปุโรหิตว่า พ่อ-
พราหมณ์. บทว่า มาณวา ได้แก่ มนุษย์ทั้งหลาย. บทว่า นิลฺเลนกานิ
ได้แก่ สถานที่ซุ่มซ่อน. บทว่า วเน คเหตฺวา กณฺฏก ความว่า (ใน
เพราะภัยเช่นนี้) ประชาชนจึงนำเอาหนามมาปิดประตู ทิ้งเรือนพาลูกเมียเข้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 528
ป่าไป ทำสถานที่ซุ่มซ่อนของตน ๆ ในป่านั้น. อนึ่ง หนามชนิดใดมีในป่า
เขาก็พากันเอาหนามชนิดนั้นมาล้อมเรือนไว้ เพราะความผิดของพระราชา
อย่างนี้ เราจึงถูกหนามตำเอา ท่านอย่าเป็นผู้สนับสนุนพระราชาเช่นนี้เลย.
พระราชาทรงสดับเช่นนั้น จึงตรัสเรียกราชปุโรหิตมาตรัสสั่งว่า ท่าน
อาจารย์ ชายชราพูดถูก เป็นความผิดของเราแท้ ๆ มาเถิด เราจักกลับไป
เสวยราชสมบัติโดยธรรม. เทวดาพระโพธิสัตว์ สิงในร่างของราชปุโรหิต ทูลว่า
ขอเดชะมหาราชเจ้า จงไปสอดแนมดูข้างหน้าต่อไปอีกก่อนเถิดพระเจ้าข้า.
พระราชากับปุโรหิต จากบ้านนั้น ไปยังบ้านอื่น ได้ยินเสียงของหญิงชรา
คนหนึ่งในระหว่างทาง. นัยว่าหญิงนั้นเป็นหญิงเข็ญใจ พิทักษ์รักษาบุตรสาว
สองคนซึ่งเจริญวัยแล้ว ไม่ยอมให้ลูกสาวไปป่า ตนเองเก็บผักหักฟืนมาจากป่า
บำรุงรักษาลูกสาวทั้งสอง. วันนั้นนางขึ้นพุ่มไม้แห่งหนึ่ง กำลังเก็บผักอยู่
พลัดตกลงมา เมื่อจะด่าพระราชา โดยแช่งให้ตาย กล่าวคาถา ความว่า
ในแคว้นของพระเจ้าพรหมทัต หญิงสาวหาผัว
ไม่ได้ไปจนแก่ เมื่อไรพระเจ้าพรหมทัต จักสวรรคต
เสียที.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปฏิกา แปลว่า หาสามีมิได้. อธิบายว่า
ถ้าเขามีสามีคงจะได้เลี้ยงดูเรา ในรัชกาลของพระราชาลามก เราได้รับความทุกข์
เมื่อไรหนอ มันจักตายเสียที หญิงชราด่าพระราชาอย่างนี้ ก็ด้วยอานุภาพ
ของพระโพธิสัตว์.
เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้านนาง จึงกล่าวคาถา ความว่า
เฮ้ย ! หญิงชั่วไม่รู้จักเหตุผล แกพูดไม่ดีเลย
พระราชาเคยหาผัวให้นางกุมาริกา มีที่ไหนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 529
หญิงชราได้ยินดังนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
พราหมณ์เอย เราไม่ได้พูดชั่วเลย เรารู้เหตุผล
ชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัต มิได้พิทักษ์รักษา
ราษฎรถูกกดขี่ ด้วยภาษี อันไม่ชอบธรรม.
กลางคืนถูกโจรปล้น กลางวันถูกเจ้าหน้าที่กดขี่
ด้วยภาษี อันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระราชาโกง
มีคนอาธรรม์มากมาย เมื่อการครองชีพลำบาก การ-
เลี้ยงดูลูกเมียก็ลำบาก หญิงสาวจักมีผัวได้ที่ไหน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกวิทตฺถปทา ความว่า เราฉลาด
รู้เท่าทันในเหตุในผล ท่านอย่าสรรเสริญพระราชาลามกอย่างนี้. บทว่า ทุชฺชีเว
ความว่า เมื่อแว่นแคว้นมีการครองชีพลำบาก การเลี้ยงดูลูกเมียก็เกิดลำบาก
ผู้คนทั้งกลัวทั้งหวาดเสียว ก็หลบไปอยู่ในป่า. บทว่า กุโต ภตฺตา กุมาริยา
ความว่า หญิงสาว ๆ จักหาผัวได้ที่ไหน.
พระราชากับราชปุโรหิตฟังคำของหญิงชราแล้ว คิดว่า แกพูดถูกต้อง
จึงพากันเดินทางต่อไปข้างหน้า ได้ยินเสียงของชาวนาคนหนึ่ง ได้ยินว่า เมื่อ
ชาวนานั้นกำลังไถนา โคชื่อสาลิยะ ถูกผาลแทงจึงล้มลง. เมื่อชาวนาจะด่า
พระราชาจึงกล่าวคาถา ความว่า
ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จงถูกหอกแทง ต้อง
นอนกลิ้งอยู่ในสงคราม เหมือนโคสาลิยะ ถูกผาลแทง
นอนอยู่ดังคนกำพร้า ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา ความว่า โคชื่อสาลิยะนี้ ได้รับ
ทุกขเวทนานอนอยู่ฉันใด ขอพระเจ้าปัญจาลราชจงนอนเป็นทุกข์ฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 530
ลำดับนั้น เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้าน จึงกล่าวคาถา ความว่า
เจ้าคนชาติชั่ว เจ้าโกรธพระเจ้าพรหมทัต โดย
ไม่เป็นธรรม เจ้าทำร้ายโคของตนเอง ไฉนจึงมาสาป-
แช่งพระราชาเล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธฺมเมน ความว่า โดยไม่มีเหตุผล
คือไม่มีความจริง.
ชาวนาได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เราโกรธพระเจ้าพรหมทัตโดย
ชอบธรรม เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้
ทรงพิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองกดขี่ ด้วย
ภาษีที่ไม่เป็นธรรม
กลางคืนถูกพวกโจรปล้น กลางวันถูกเจ้าหน้าที่
กดขี่ ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระ
ราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย.
แม่ครัวคงหุงต้มใหม่อีกเป็นแน่ จึงนำข้าวมาส่ง
ในเวลาสาย เรามัวแลดูแม่ครัว มาส่งข้าวอยู่ โคสา-
ลิยะจึงถูกผาลแทงเอา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน ความว่า เราด่าโดยมีเหตุผล
ท่านอย่าเข้าใจว่า ด่าโดยไม่มีเหตุผล. บทว่า สา นูน ปุน เร ปกฺกา
วิกาเล ภตฺตมาหริ ความว่า พราหมณ์เอ๋ย เราคิดว่า หญิงแม่ครัวนำข้าว
มาส่งเรา หุงข้าวแล้วคงนำมาส่งแต่เช้าตรู่ แต่นางถูกพวกทาสของพระเจ้า
พรหมทัต พวกรีดภาษีโดยไม่เป็นธรรม เกาะกุมตัวไว้ ต้องเลี้ยงดูพวกมัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 531
แล้วจึงหุงข้าวเพื่อเราใหม่ เพราะเหตุนั้น จึงนำข้าวมาส่งในเวลาสาย วันนี้
นำมาสายนัก ดังนี้แล้ว ถูกความหิวบีบคั้น มัวแลดูคนส่งข้าว ดุว่าโค เอาปฏัก
แทงโคไม่เป็นที่ ฉะนั้น เจ้าโคสาลิยะมันยกเท้าขึ้นกระทืบผาล จึงถูกผาลบาด
เอา เหตุนั้น เจ้าอย่าเข้าใจว่า เราประหารมัน ข้อนี้ ชื่อว่า พระราชาผู้ลามก
ประหารแล้วทีเดียว ท่านอย่ามัวกล่าวพรรณนาคุณของพระราชานั้นอยู่เลย.
พระราชากับราชปุโรหิต เดินทางต่อไป แล้วพักอยู่ในบ้านแห่งหนึ่ง
รุ่งขึ้นเวลาเช้าตรู่ แม่โคนมโกงตัวหนึ่ง เอาเท้าดีดคนรีดนมโค ล้มไปพร้อม
ด้วยนมสด เมื่อคนรีดนมโคจะด่าพระเจ้าพรหมทัต จึงกล่าวคาถา ความว่า
ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จงถูกฟันด้วยดาบใน
สงคราม เดือดร้อนอยู่ เหมือนเราถูกแม่โคนม ถีบ
ในวันนี้ จนนมสดของเขาหกไป ฉะนั้น.
ราชปุโรหิต ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า
การที่แม่โคถีบเจ้าให้บาดเจ็บ น้ำนมหกไปนั้น
เป็นความผิดอะไรของพระเจ้าพรหมทัต ท่านจึงติเตียน
อยู่.
ครั้นพราหมณ์ปุโรหิตกล่าวคาถาจบ คนรีดนมโคได้กล่าวคาถาอีก ๓
คาถา ความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ พระเจ้าปัญจาละ ควรจะได้รับ
ความติเตียน เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้
พิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ ด้วยภาษีอันไม่เป็น
ธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 532
อนึ่ง เวลากลางคืนก็ถูกโจรปล้น กลางวันก็ถูก
กดขี่รีดภาษีอันไม่เป็นธรรม ในแคว้นของพระราชา
โกง มีคนอาธรรม์มากมาย.
แม่โคเปรี้ยว ดุร้าย เมื่อก่อนพวกเรามิได้รีดนม
มัน มาวันนี้ เราถูกพวกราชบุรุษผู้ต้องการน้ำนม
รีดนาทาเล้น จึงต้องรีดนมมันอยู่เดี๋ยวนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จณฺฑา แปลว่า หยาบคาย. บทว่า
อกตฺถนา แปลว่า มีปกติวิ่งหนี. บทว่า ขีรกาเมหิ ความว่า พวกเรา
ถูกเจ้าหน้าที่ของพระราชาอาธรรม์ ใช้ให้หานมสดมามาก ๆ เบียดเบียน จำ
ต้องรีด ถ้าหากพระเจ้าพรหมทัตนั้น ครองราชสมบัติโดยธรรม ภัยเห็นปาน
นี้คงไม่มาถึงพวกเรา.
พระราชาและพระราชปุโรหิต คิดว่า เจ้านี่พูดถูก จึงออกจากบ้าน
นั้น ขึ้นสู่หนทางใหญ่ มุ่งหน้าต่อพระนครกลับไปในบ้านแห่งหนึ่ง พวกนาย
อากรฆ่าลูกโคอ่อนตัวหนึ่ง เพื่อต้องการทำฝักดาบ จึงยึดเอาหนังไป แม่โค
นมที่ลูกถูกฆ่า เพราะความเศร้าถึงลูก ไม่กินหญ้า ไม่ดื่มน้ำ เที่ยวร่ำร้องหา
ลูกอยู่ เด็ก ๆ ชาวบ้านเห็นดังนั้น เมื่อจะพากันด่าพระราชา จึงกล่าวคาถา
ความว่า
ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จงพลัดพรากจากโอรส
วิ่งคร่ำครวญเหมือนแม่โคกำพร้า พลัดพรากจากลูก
วิ่งคร่ำครวญอยู่ ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริธาวติ ความว่า วิ่งร่ำร้องอยู่.
ลำดับนั้น ปุโรหิตกล่าวคาถานอกนี้ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 533
ในการที่แม่โค ของคนเลี้ยงโค เที่ยววิ่งไปมา
หรือร่ำร้องอยู่นี้ เป็นความผิดอะไร ของพระเจ้า
พรหมทัตเล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺภเมยฺย รเวยฺย วา ความว่า
(สัตว์เลี้ยง) ก็ต้องวิ่งไปมาได้ หรือร่ำร้องได้ อธิบายว่า พ่อเอย ธรรมดา
สัตว์เลี้ยง เมื่อเจ้าของพิทักษ์รักษาอยู่ มันก็วิ่งได้ ไม่กินหญ้าได้ ในข้อนี้
จะเป็นความผิดอะไรของพระราชาเล่า.
ลำดับนั้น เด็กชาวบ้าน ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ดูก่อนมหาพราหมณ์ ความผิดของพระเจ้าพรหม
ทัต มีแน่ เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้
พิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ ด้วยภาษีอันไม่ชอบ
ธรรม.
กลางคืนก็ถูกโจรปล้น กลางวันถูกเจ้าหน้าที่กด
ขี่ ด้วยภาษาอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระราชา
โกง มีคนอาธรรม์มากนาย ลูกโคของพวกเรายังดื่ม
นมอยู่ ก็ต้องถูกฆ่าตาย เพราะต้องการฝักดาบอย่าง
ไรล่ะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาพฺรเหฺม ได้แก่ มหาพราหมณ์.
บทว่า ราชิโน ได้แก่ ของพระราชา. บทว่า กถ โน ความว่า อย่าง
ไรเล่า คือ เพราะเหตุชื่อไร ? บทว่า ขีรปา หญฺเต ปชา ความว่า
เด็กทั้งหลายด่าพระราชาว่า ลูกโคที่ยังดื่มนมอยู่ ถูกพวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้นฆ่า
ด้วยอำนาจของพระราชาลามก แม่โคนมนั้นร่ำร้องหาลูกอยู่เดี๋ยวนี้ ขอพระ
ราชานั้น จงปริเทวนาการ เหมือนแม่โคนมเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 534
พระราชา และราชปุโรหิต พูดว่า ดีละ พวกเจ้าพูดได้เหตุผล แล้ว
หลีกไปเสีย ต่อมาในระหว่างทาง ฝูงกากำลังเอาจะงอยปากจิกกินกบทั้งหลายอยู่
ณ สระแห้งแห่งหนึ่ง เมื่อพระราชา และราชปุโรหิตมาถึงที่นั้น พระโพธิสัตว์
จึงบันดาลให้กบทั้งหลาย แช่งด่าพระราชาด้วยอานุภาพของตน (เป็นคาถา)
ความว่า
ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช พร้อมด้วยพระราช
โอรส จงถูกประหารในสนามรบ ให้ฝูงการุมจิกกิน
เหมือนเราผู้เกิดในป่า ถูกฝูงกาชาวบ้านจิกกินในวันนี้
ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คามเกหิ ได้แก่ กาที่อยู่ในบ้าน.
ราชปุโรหิตได้ยินดังนั้น เมื่อจะสนทนากับพวกกบ จึงกล่าวคาถา
ความว่า
เฮ้ย ! กบ พระราชาทั้งหลายในมนุษยโลก จะ
ทรงจัดการพิทักษ์รักษาสัตว์ทั่วไปไม่ได้อยู่เอง พระ
ราชามิได้เป็นอธรรมจารีบุคคล ด้วยเหตุที่ฝูงกากินสัตว์
เป็นเช่นพวกเจ้า เท่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชีว ได้แก่สัตว์ที่ยังมีชีวิต. บทว่า อเทยฺยุ
แปลว่า พึงเคี้ยวกิน. บทว่า ธงฺกา ได้แก่ กาทั้งหลาย. อธิบายว่า กา
ทั้งหลายพึงเคี้ยวกินสัตว์มีชีวิต ด้วยเหตุเพียงใด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระ
ราชาจะชื่อว่าไม่เป็นผู้ประพฤติธรรมหาได้ไม่ พระราชาจักสามารถเข้าไปยังป่า
เที่ยวรักษาเจ้าได้อย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 535
กบได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ท่านเป็นพรหมจารี ชาติอาธรรม์หนอ จึงกล่าว
ยกย่องกษัตริย์อยู่ได้ เมื่อประชากรเป็นอันมากถูกปล้น
อยู่ ท่านยังบูชาพระราชาผู้น่าตำหนิอย่างยิ่ง.
ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าแว่นแคว้นนี้ พึงมีพระราชาดี
ก็จะมั่งคั่ง เบิกบาน ผ่องใส ฝูงกาก็จะได้กินก้อนข้าว
ที่ดี ๆ เป็นพลี ไม่ต้องกินสัตว์เป็นเช่นพวกเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมจารี ความว่า เมื่อกบจะติเตียน
ปุโรหิต จึงกล่าวว่า ท่านเป็นพรหมจารี ชาติอาธรรม์หนอ. บทว่า ขตฺติยสฺส
ได้แก่ พระราชาลามกเห็นปานนี้. บทว่า วิลุมฺปมานาย ความว่า เมื่อ
ประชาชนถูกรีดนาทาเล้นอยู่ อนึ่ง ปาฐะ พระบาลี ก็อย่างเดียวกันนี้แหละ.
บทว่า ปุถุปฺปชาย ความว่า เมื่อประชาชนทั่วไปถูกเจ้าหน้าที่ ทำให้พินาศ
อยู่. บทว่า ปูเชสิ ได้แก่ ยกย่องสรรเสริญ. บทว่า สุรชฺชก ความว่า
ถ้าแว่นแคว้นนี้ อันพระราชาผู้ไม่ลุอำนาจฉันทาคติเป็นต้น ไม่ยังทศพิธราช
ธรรมให้กำเริบรักษาอยู่ เป็นแว่นแคว้นมีจอมราชดี. บทว่า ผีต ความว่า
มีข้าวกล้าสมบูรณ์ ในเมื่อฝนหลั่งกระแสธารอยู่โดยชอบ. บทว่า มาทิส
ความว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ กาทั้งหลายคงไม่กินสัตว์ อย่างเราเลยทีเดียว. การ
ด่าในฐานะ แม้ทั้ง ๖ อย่างนี้ มีได้ด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์นั่นเอง.
พระราชากับราชปุโรหิต สดับคำนั้นแล้ว ดำริว่า ชนทั้งปวงที่สุด
จนกระทั่งกบ ซึ่งเป็นสัตว์เดียรัจฉานอยู่ในป่า พากันด่าเราผู้เดียว แล้วเสด็จ
จากที่นั้นไปสู่พระนคร เสวยราชย์โดยธรรม ตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์
สร้างบุญกุศลมีทานเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 536
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแสดงแก่พระเจ้าโกศลแล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมดาพระราชาควรละการลุอำนาจอคติ เสวย
ราชสมบัติโดยธรรม แล้วทรงประชุมชาดกว่า ภัณฑุติณฑุกเทวดา ในครั้งนั้น
ได้มาเป็นเราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาภัณฑุติณฑุกชาดก
จบอรรถกถาติงสตินิบาต
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กิงฉันทชาดก ๒. กุมภชาดก ๓. ชยทิสชาดก ๔. ฉัททันต-
ชาดก ๕. สัมภวชาดก ๖. มหากปิชาดก ๗. ทกรักขสชาดก ๘. ปัณ-
ฑรกชาดก ๙. สัมพุลาชาดก ๑๐. ภัณฑุติณฑุกชาดก และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 537
จัตตาฬีสนิบาตชาดก
๑. เตสกุณชาดก
ว่าด้วยนกตอบปัญหาพระราชา
[๒๔๓๘] (พระราชาตรัสว่า) เราขอถามเจ้าเวส-
สันดร นกเอ๋ย ขอความเจริญจงมีแก่เจ้า กิจอะไรที่
บุคคลผู้ประสงค์เสวยราชสมบัติกระทำแล้ว เป็นกิจ
ประเสริฐ.
[๒๔๓๙] (นกเวสสันดรทูลว่า) นานนักหนอ
พระเจ้ากังสราช พระราชบิดาของเรา ผู้ทรงสงเคราะห์
ชาวเมืองพาราณสี เป็นผู้ประมาท ได้ตรัสถามเราผู้
บุตร ซึ่งหาความประมาทมิได้.
[๒๔๔๐] ข้าแต่บรมกษัตริย์ ธรรมดาพระราชา
ควรห้ามมุสาวาท ความโกรธ และความร่าเริงก่อนที
เดียว แต่นั้น พึงตรัสสั่งให้กระทำกิจทั้งหลาย คำที่ข้า
พระพุทธเจ้ากล่าวมานั้น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า
เป็นกิจของพระราชา.
ข้าแต่พระบิดา เมื่อก่อนพระองค์ทรงรักใคร่
และเกลียดชังแล้ว พึงทรงทำกรรมใด กรรมนั้นที่
พระองค์ทรงทำแล้ว พึงยังพระองค์ให้เดือดร้อนโดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 538
ไม่ต้องสงสัย แต่นั้นพระองค์ไม่ควรทรงกระทำกรรม
นั้นอีก.
ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงบำรุงรัฐ เมื่อกษัตริย์ประ-
มาทแล้ว โภคสมบัติทุกอย่างในแว่นแคว้นย่อมพินาศ
ข้อนั้นนักปราชญ์ กล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระ-
ราชา.
ข้าแต่พระบิดา เทพธิดาชื่อสิริ และชื่อลักขี
ถูกสุจิปริวารเศรษฐีถาม ได้ตอบว่า ข้าพเจ้าย่อมยินดี
ในบุรุษผู้มีความขยันหมั่นเพียร ไม่มีความริษยา.
ข้าแต่มหาราชเจ้า กาลกรรณี ผู้ทำลายจักร ย่อม
ยินดีในบุรุษผู้ริษยา ผู้มีใจชั่ว ผู้ประทุษร้ายการงาน.
ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์จงทรงเป็นผู้มีพระ-
ทัยดีต่อคนทั้งปวง จงทรงพิทักษ์รักษาคนทั้งปวง
จงทรงบรรเทาเสียซึ่งคนไม่มีราศี จงมีคนที่มีราศี
เป็นที่พำนักเถิด.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวกาสี บุรุษ
ผู้มีราศี สมบูรณ์ด้วยความเพียร มีอัธยาศัยใหญ่ ย่อม
ตัดโคนและยอดของศัตรูทั้งหลายได้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ของประชาชน ความ
จริง แม้ท้าวสักกะก็ไม่ทรงประมาทในความหมั่นเพียร
ท้าวเธอทรงกระทำความเพียร ในกัลยาณธรรม ตั้ง
พระทัยมั่น ในความขยันหมั่นเพียร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 539
คนธรรพ์ พรหม เทวดา เป็นผู้เป็นอยู่ อาศัย
พระราชาเช่นนั้น เมื่อพระราชาทรงอุตสาหะ ไม่ทรง
ประมาท เทวดาทั้งหลายย่อมคุ้มครองป้องกัน.
ข้าแต่พระบิดา พระองค์จงทรงเป็นผู้ไม่ประมาท
ไม่ทรงพระพิโรธ แล้วตรัสสั่งให้ทำกิจทั้งหลาย จงทรง
พยายามในกิจทั้งหลาย เพราะคนเกียจคร้าน ย่อมไม่
พบความสุข.
ข้อความที่ข้าพระองค์ กล่าวแก้แล้ว ในปัญหา
ของพระองค์นั้น ข้อนี้เป็นอนุสาสนี สามารถยังผู้เป็น
มิตรให้ถึงความสุข และยังคนผู้เป็นศัตรูให้ถึงความ
ทุกข์ได้.
[๒๔๔๑] (พระราชาตรัสว่า) ดูก่อนนางนกกุณฑ-
ลินี ตัวเป็นเผ่าพันธุ์ของนก มีบรรดาศักดิ์ เจ้าสามารถ
ละหรือ เจ้าจะเข้าใจได้หรือ กิจอะไรเล่า ที่ผู้มุ่งจะ
ครอบครองสมบัติกระทำแล้ว เป็นกิจประเสริฐ.
[๒๔๔๒] (นกกุณฑลินีทูลว่า) ข้าแต่เสด็จพ่อ
ประโยชน์ตั้งมั่นอยู่ในเหตุ ๒ ประการเท่านั้น คือ
ความได้ลาภที่ยังไม่ได้ ๑ การตามรักษาลาภที่ได้
แล้ว ๑.
ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์จงทรงทราบอำมาตย์ทั้ง
หลาย ผู้เป็นนักปราชญ์ฉลาดในประโยชน์ ไม่แพร่ง
พรายความลับ ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ทำให้เสื่อมเสีย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 540
ข้าแต่เสด็จพ่อ ก็อำมาตย์คนใดพึงรักษาพระราช
ทรัพย์ของพระองค์ ให้มีคงที่อยู่ได้ ดุจนายสารถียึด
รถไว้ พระองค์ควรทรงใช้อำมาตย์ผู้นั้น ให้กระทำ
กิจทั้งหลาย ของพระองค์.
พระราชา พึงโปรดสงเคราะห์ชนฝ่ายในด้วยดี
ตรวจตราพระราชทรัพย์ด้วยพระองค์เอง ไม่ควรจัด
การทรัพย์และการกู้หนี้ โดยทรงไว้วางพระทัยในคน
อื่น.
พระราชาควรทราบรายได้ รายจ่ายด้วยพระองค์
เอง ควรทรงทราบกิจที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำด้วย
พระองค์เอง ควรข่มคนที่ควรข่ม ควรยกย่องคนที่
ควรยกย่อง.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมพลรถ พระองค์จงทรง
พร่ำสอนเหตุผล แก่ชาวชนบทเอง เจ้าหน้าที่ผู้เก็บ
ภาษีอากร ผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม อย่ายังพระราช
ทรัพย์ และรัฐสีมา ของพระองค์ให้พินาศ.
อนึ่ง พระองค์อย่าทรงทำเอง หรืออย่าทรงใช้ให้
คนอื่นทำกิจทั้งหลายโดยฉับพลัน เพราะว่าการงาน
ที่ทำลงไปโดยฉับพลัน ไม่ดีเลย คนเขลาย่อมเดือด
ร้อนในภายหลัง.
พระองค์อย่าทรงล่วงเลยกุศล อย่าทรงปล่อย
พระทัยให้เกรี้ยวกราดนัก เพราะว่า สกุลที่มั่นคงเป็น
อันมาก ได้ถึงความไม่เป็นสกุล เพราะความโกรธ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 541
ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์อย่าทรงนึกว่า เราเป็น
ใหญ่แล้ว ยังมหาชนให้หยั่งลงเพื่อความฉิบหาย กำไร
คือความทุกข์ อย่าได้มีแก่สตรีและบุรุษของพระองค์
เลย.
โภคสมบัติทั้งปวง ของพระราชาผู้ปราศจาก
ความหวาดเสียว แส่หากามารมณ์ย่อมพินาศหมด ข้อ
นั้นนักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวว่าเป็นความทุกข์ ของ
พระราชา.
ข้อความที่หม่อมฉันกราบทูล ในปัญหาของ
พระองค์นั้น เป็นวัตรบท นี่แหละเป็นอนุสาสนี ข้าแต่
พระมหาราชา บัดนี้ พระองค์โปรดทรงบำเพ็ญบุญ
อย่าเป็นนักเลง อย่าทรงราชทรัพย์ให้พินาศ จงทรง
ศีล เพราะว่าคนทุศีล ย่อมตกต่ำ.
[๒๔๔๓] (พระราชาตรัสว่า) พ่อชัมพุกะ พ่อได้
ถามปัญหากะเจ้าโกสิยโคตร และเจ้ากุณฑลินี มาเช่น
เดียวกันแล้ว ชัมพุละลูกรัก คราวนี้ เจ้าจงบอกกำลัง
อันสูงสุดกว่ากำลังทั้งหลาย บ้างเถิด.
[๒๔๔๔] (นกชัมพุกะทูลว่า) กำลังในบุรุษผู้มี
อัธยาศัยใหญ่ในโลกนี้ มี ๕ ประการ ในกำลัง ๕
ประการนั้น กำลังแขนบัณฑิตกล่าวว่า เป็นกำลังต่ำ
ทราม ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเจริญพระชนม์ กำลังโภค
ทรัพย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นกำลังที่สอง.
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเจริญพระชนม์ กำลังอำ-
มาตย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังที่สาม กำลังคือการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 542
มีชาติยิ่งใหญ่ เป็นกำลังที่สี่โดยแท้ บัณฑิตย่อมยึด
เอากำลังทั้งหมดไว้ได้.
กำลังปัญญา บัณฑิตกล่าวว่า เป็นกำลังประเสริฐ
ยอดเยี่ยมกว่ากำลังทั้งหลาย เพราะว่า บัณฑิตอันกำลัง
ปัญญาสนับสนุนแล้ว ย่อมได้ซึ่งประโยชน์.
ถ้าบุคคลมีปัญญาทราม แม้ได้แผ่นดินอันสม-
บูรณ์ เมื่อไม่ประสงค์ คนอื่นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ก็
ข่มขี่แย่งเอาแผ่นดินนั้นเสีย.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชนชาวกาสี ถ้าบุคคล
แม้เป็นผู้มีชาติสูง ได้ราชสมบัติแล้วเป็นกษัตริย์ แต่
มีปัญญาทราม หาเป็นอยู่ด้วยราชสมบัติทุกอย่างได้ไม่.
ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยเรื่องที่ได้สดับ ปัญญา
เป็นเครื่องยังเกียรติยศ และลาภสักการะให้เจริญ คน
ในโลกนี้ ประกอบด้วยปัญญาแล้ว แม้เมื่อทุกข์เกิด
ขึ้น ก็ย่อมได้รับความสุข.
ก็คนบางคนไม่ได้ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่อาศัยผู้เป็น
พหูสูต ซึ่งตั้งอยู่ในธรรม ไม่พิจารณาเหตุผล ย่อมไม่
ได้บรรลุปัญญา.
อนึ่ง ผู้ใดรู้จักจำแนกธรรม ลุกขึ้นในเวลาเช้า
ไม่เกียจคร้าน ย่อมบากบั่นตามกาล ผลแห่งการงาน
ของบุคคลนั้น ย่อมสำเร็จ.
ประโยชน์แห่งการงาน ของบุคคลผู้มีศีลมิใช่บ่อ
เกิด ผู้คบหาบุคคลที่มิใช่บ่อเกิด ผู้มีปกติเบื่อหน่าย
ทำการงาน ย่อมไม่เผล็ดผลโดยชอบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 543
ส่วนประโยชน์แห่งการงานของบุคคล ผู้ประ-
กอบธรรม อันเป็นภายใน คบหาบุคคลที่เป็นบ่อเกิด
อย่างนั้น ไม่มีปกติเบื่อหน่ายทำการงาน ย่อมเผล็ด
ผลโดยชอบ.
ข้าแต่เสด็จพ่อ ขอพระองค์จงทรงเสวนปัญหา
อันเป็นส่วนแห่งการประกอบความเพียร เป็นเครื่อง
ตามรักษาทรัพย์ ที่รวบรวมไว้ และเหตุสองประการ
ข้างต้น ที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลแล้วนั้นเถิด อย่า
ได้ทรงทำลายทรัพย์สินเสีย ด้วยการงานอันไม่สมควร
เพราะคนมีปัญญาทราม ย่อมล่มจม ด้วยการงานอัน
ไม่สมควร ดังเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประ-
พฤติธรรม ในพระราชมารดา พระราชบิดา ครั้นทรง
ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในพระราชโอรสและพระอัครมเหสี ครั้นทรง
ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในมิตร และอำมาตย์ ครั้นทรงประพฤติธรรม
ในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในพาหนะและพลนิกาย ครั้นทรงประพฤติ
ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 544
ข้าแต่พระมหาราชา ของพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในชาวบ้าน และชาวนิคม ครั้นทรงประพฤติ
ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรง
ประพฤติธรรม ในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ครั้น
ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในเนื้อและนก ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลก
นี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรง
ประพฤติธรรม เพราะความที่ธรรมอันบุคคลประพฤติ
แล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ ครั้นพระองค์ทรงประพฤติ
ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม เพราะว่าพระอินทร์ทวยเทพพร้อมทั้งพรหม
ถึงทิพยสถานได้ด้วยธรรมอันตนประพฤติดีแล้ว ข้า-
แต่พระกษัตริย์ ขอพระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย.
ข้อความที่ข้าพระองค์กราบทูลแล้ว ในปัญหา
ของพระองค์นั้น เป็นวัตรบท ข้อนี้แล เป็นอนุสาสนี
ขอพระองค์จงทรงคบหาสมาคม กับผู้มีปัญญา จงเป็น
ผู้มีกัลยาณธรรม พระองค์ทรงทราบความข้อนั้น ด้วย
พระองค์เองแล้ว จงทรงปฏิบัติให้ครบถ้วนเถิด.
จบเตสกุณชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 545
อรรถกถาจัตตาฬีสนิบาต
อรรถกถาเตสกุณชาดก
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ ด้วยสามารถโอวาทแก่พระเจ้าโกศล มีคำเริ่มต้นว่า เวสฺส-
นฺตร ต ปุจฺฉามิ ดังนี้.
ความพิสดารว่า พระศาสดาตรัสเชิญพระราชานั้น ซึ่งเสด็จมาทรง
ธรรม มารับสั่งว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมดาพระราชาควรครองราชย์โดย
ธรรม เพราะสมัยใด พระราชาเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้น แม้ข้าราชการ
ทั้งหลาย ก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ดังนี้แล้ว ทรงโอวาทโดยนัยแห่งพระสูตรที่
มาในจตุกนิบาต และตรัสพรรณนาโทษและอานิสงส์ในการลุอำนาจอคติและ
ไม่ลุอำนาจอคติ ทรงยังโทษในกามทั้งหลายให้พิสดาร โดยนัยเป็นต้นว่า
กามทั้งหลายเปรียบได้กับความฝันแล้วตรัสว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูย่อม
ไม่มีแก่สัตว์เหล่านี้ การรับสินบนก็ไม่มี การยุทธ์
ก็ไม่มี ชัยชนะก็ไม่มี สัตว์ทั้งมวลล้วนมีความตายเป็น
เบื้องหน้า.
เมื่อสัตว์เหล่านั้นไปสู่ปรโลก เว้นกัลยาณธรรมที่ตนกระทำไว้แล้ว
ชื่อว่าที่พึ่งอย่างอื่นไม่มีเลย จาต้องละสิ่งที่ปรากฏเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างนี้ไป
แน่นอน ไม่ควรที่จะอาศัยยศทำความประมาท ชอบที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท
เสวยราชย์โดยธรรมอย่างเดียว แม้เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ได้เสด็จอุบัติ โบราณ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 546
กษัตริย์ทั้งหลายตั้งอยู่ในโอวาทของบัณฑิต เสวยราชย์โดยธรรม เสด็จไปยัง
เทพนครให้เต็มบริบูรณ์ อันพระเจ้าโกศลทรงทูลอาราธนาจึงทรงนำอดีตนิทาน
มาตรัส ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติ ในพระนคร
พาราณสี ไม่มีพระราชโอรส ถึงทรงปรารถนาอยู่ก็ไม่ได้พระโอรส หรือพระ
ธิดา วันหนึ่ง พระองค์เสด็จประพาสพระราชอุทยาน กับข้าราชบริพารจำนวน
มาก ทรงเล่นในพระราชอุทยานตลอดวัน ลาดพระที่บรรทม ณ โคนต้นมงคล
สาลพฤกษ์ บรรทมหลับไปหน่อยหนึ่ง ตื่นบรรทมแล้ว ทรงแลดูต้นรัง
ทอดพระเนตรเห็นรังนกอยู่บนต้นไม้นั้น พอทอดพระเนตรเห็นเท่านั้น ก็เกิด
พระเสน่หา จึงดำรัสเรียกมหาดเล็กคนหนึ่ง มาตรัสสั่งว่าเจ้าขึ้นต้นไม้นี้จงดู
ให้รู้ว่า ในรังนกนั้นมีอะไรอยู่หรือไม่มี. มหาดเล็กขึ้นไป เห็นฟองไข่อยู่ในรัง
นกนั้น ๓ ฟอง จึงกราบทูลให้ทรงทราบ พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้า
อย่าปล่อยลมหายใจลงบนไข่เหล่านั้น จงแผ่สำลีลงในผอบ วางฟองนกเหล่านั้น
ไว้ในผอบแล้วค่อย ๆ ลงมา ครั้นตรัสสั่งให้มหาดเล็กลงมาแล้ว ทรงรับผอบ
ด้วยพระหัตถ์ ตรัสถามพวกอำมาตย์ว่า นี่เป็นไข่นกจำพวกไหน ? อำมาตย์
ทั้งหลาย พากันกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบ พวกนายพรานคงจักรู้
พระราชาจึงตรัสสั่งให้พวกนายพรานเข้าเฝ้าแล้วตรัสถาม พวกนายพรานกราบ-
ทูลว่า ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ฟองนกเหล่านี้
ใบหนึ่งเป็นฟองนกฮูก ใบหนึ่งเป็นฟองนกสาลิกา ใบหนึ่งเป็นฟองนกแขกเต้า
ตรัสถามว่า ฟองนกทั้งสามอยู่รวมรังเดียวกันได้หรือ ? กราบทูลว่า ได้พระ-
พุทธเจ้าข้า เมื่อไม่มีอันตราย ฟองนกที่แม่กกไว้ดีแล้ว ย่อมไม่ฉิบหาย พระรา-
ชาทรงดีพระทัย ดำริว่า นกเหล่านี้จักเป็นลูกของเรา โปรดให้อำมาตย์สามคน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 547
รับฟองนกไว้คนละฟอง ตรัสสั่งว่า นกเหล่านี้จักเป็นลูกของเรา พวกท่านช่วย
ประคับประคองให้ดี เวลาลูกนกออกมาจากกระเปาะฟองจงบอกเรา.
อำมาตย์ทั้งสามต่างรักษาฟองนกเหล่านั้นเป็นอันดี ในจำนวนฟองไข่
เหล่านั้น ฟองนกฮูกแตกออกก่อน อำมาตย์จึงเรียกนายพรานคนหนึ่งมาถามว่า
แกรู้ไหมว่าตัวเมียหรือตัวผู้ ? เมื่อนายพรานนั้นพิจารณาดูแน่แล้ว บอกว่าตัวผู้
จึงเข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ โอรสของพระองค์เกิดแล้ว พระพุทธ
เจ้าข้า. พระราชาทรงปลาบปลื้ม พระราชทานทรัพย์แก่อำมาตย์นั้นเป็นอันมาก
ตรัสกำชับส่งไปว่า เจ้าจงประคับประคองลูกเราให้ดี จงตั้งชื่อว่า " เวสสันดร "
อำมาตย์นั้นได้กระทำตามพระบรมราชโองการ ล่วงมาอีกสองสามวัน ฟองนก
สาลิกาก็แตกออก อำมาตย์คนนั้น จึงให้นายพรานพิสูจน์ดู รู้ว่าเป็นตัวเมีย
จึงไปยังราชสำนักกราบทูลว่า ขอเดชะ ราชธิดาของพระองค์เกิดแล้ว พระ-
พุทธเจ้าข้า พระราชาทรงดีพระทัย พระราชทานทรัพย์แก่อำมาตย์แม้คนนั้น
มากมาย แล้วตรัสกำชับส่งไปว่า เจ้าจงประคับประคองธิดาของเราให้ดี และ
จงตั้งชื่อว่า " กุณฑลินี " แม้อำมาตย์นั้นก็กระทำตามกระแสพระราชดำรัส
ล่วงมาอีกสองสามวัน ฟองนกแขกเต้าก็แตก แม้อำมาตย์นั้นก็ให้นายพราน
พิสูจน์ดู เมื่อเขาบอกว่า ตัวผู้ จึงไปยังราชสำนัก กราบทูลว่า ขอเดชะ
โอรสของพระองค์เกิดแล้วพระพุทธเจ้าข้า. พระราชาทรงดีพระทัย พระราช-
ทานทรัพย์แก่อำมาตย์แม้นั้นเป็นอันมาก แล้วตรัสกำชับส่งไปว่า เจ้าจงจัดการ
ทำมงคลแก่ลูกของเราด้วยบริวารเป็นอันมาก แล้วตั้งชื่อเขาว่า " ชัมพุกะ "
อำมาตย์นั้นก็กระทำตามพระราชดำรัส แม้นกทั้งสาม ก็เจริญมาในเรือนของ
อำมาตย์ทั้งสามคนด้วยการบริหารอย่างราชกุมาร.
พระราชามักตรัสเรียกว่าบุตรของเรา ธิดาของเรา ดังนี้เนือง ๆ ครั้งนั้น
พวกอำมาตย์ ของพระองค์พากันยิ้มเยาะกันว่า ท่านทั้งหลายจงดู การกระทำของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 548
พระราชา เที่ยวตรัสเรียกกระทั่งสัตว์เดียรัจฉานว่า บุตรของเรา ธิดาของเรา
พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงทรงดำริว่า อำมาตย์พวกนี้ยังไม่รู้ปัญญาสัมปทาแห่ง
ลูกทั้งสามของเราจักต้องทำให้ปรากฏแก่เขา จึงตรัสใช้อำมาตย์คนหนึ่งไปหาเจ้า
เวสสันดรให้แจ้งว่า พระบิดาของท่านอยากจะตรัสถามปัญหา จะเสด็จมาถามได้
เมื่อไร ? อำมาตย์ไปไหว้เจ้าเวสสันดรแล้ว แจ้งพระกระแสรับสั่งให้ทราบ. เจ้า
เวสสันดรจึงเชิญอำมาตย์ผู้เลี้ยงดูตนมาถามว่า เขาบอกว่า พระราชบิดาของฉัน
ใคร่จะตรัสถามปัญหากะฉัน เมื่อพระองค์เสด็จมาที่นี่ ควรที่เราจะทำสักการะ จะ
ให้พระองค์เสด็จมาเมื่อไรเล่าพ่อ ? อำมาตย์ตอบว่า จากนี้ไปอีกเจ็ดวัน จึงเชิญ
เสด็จ. เจ้าเวสสันดรได้ฟังดังนั้น จึงส่งข่าวกราบทูลว่า พระราชบิดาของฉัน
เสด็จมาได้ในวันที่เจ็ดนับแต่นี้ไป. อำมาตย์นั้นกลับมาทูลแด่พระราชา. ถึงวัน
ที่เจ็ด พระราชาตรัสสั่งให้เที่ยวตีกลองประกาศ ในพระนครแล้วเสด็จไปยังที่อยู่
ของบุตร เจ้าเวสสันดรสั่งให้ทำมหาสักการะแด่พระราชา โดยที่แม้ทาสและ
กรรมกรก็ให้ทำสักการะด้วย พระราชาเสวยในเรือนของนกเวสสันดรทรงรับ
การต้อนรับสมพระเกียรติ แล้วเสด็จกลับไปพระราชนิเวศน์ ตรัสสั่งให้ทำ
มหามณฑปที่พระลานหลวง ให้เที่ยวตีกลองประกาศในพระนครแล้วประทับนั่ง
ในมณฑปอลงกต แวดล้อมไปด้วยมหาชน ทรงส่งพระราชสาสน์ไปยังสำนัก
ของอำมาตย์ว่า จงนำเจ้าเวสสันดรมาเถิด. อำมาตย์ให้เจ้าเวสสันดรจับบนตั่ง
ทองนำมาถวาย นกเวสสันดรจับบนพระเพลาพระราชบิดา เล่นหัวกับพระราช
บิดา แล้วบินไปจับบนตั่งทองนั้นตามเดิม.
ลำดับนั้น พระราชา เมื่อจะตรัสถามราชธรรมกะเจ้าเวสสันดร ใน
ท่ามกลางมหาชน จึงตรัสปฐมคาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 549
เราขอถามเจ้าเวสสันดร นกเอ๋ย ขอความเจริญ
จงมีแก่เจ้า กิจอะไรที่บุคคลผู้ประสงค์เสวยราชสมบัติ
กระทำแล้วเป็นกิจประเสริฐ.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นดังต่อไปนี้ พระราชาทรงทักทายเจ้าเวส-
สันดรนั้นว่า นกเอ๋ย.
บทว่า กึสุ ความว่า กิจอะไรที่ผู้ใคร่ครองราชย์กระทำแล้ว เป็น
ของดี คือสูงสุด พ่อเอ๋ย เจ้าจงบอกราชธรรมทั้งมวลแก่ข้าเถิด. นัยว่า พระราชา
นั้น ดำรัสถามเจ้าเวสสันดรนั้นอย่างนี้.
นกเวสสันดร ได้ฟังพระราชดำรัสแล้ว ยังไม่ทูลแก้ปัญหา เมื่อจะ
ทูลท้วงพระราชาด้วยความประมาท จึงกล่าวคาถาที่สอง ความว่า
นานนักหนอ พระเจ้ากังสราช พระราชบิดาเรา
ผู้ทรงสงเคราะห์ชาวเมืองพาราณสี เป็นผู้ประมาท
ได้ตรัสถามเราผู้บุตร ซึ่งหาความประมาทมิได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาตา ได้แก่ พระราชบิดา. บทว่า
กโส นี้ เป็นชื่อของพระราชานั้น. บทว่า พาราณสิคฺคโท ความว่า
ทรงประพฤติสงเคราะห์ชาวเมืองพาราณสี ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ. บทว่า
ปมตฺโต ความว่า เสด็จอยู่ในสำนักแห่งบัณฑิตเห็นปานนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ประมาท
แล้ว เพราะมิได้ตรัสถามปัญหา. บทว่า อปฺปมตฺต ความว่า พอกพูน
เลี้ยงเราผู้ชื่อว่าไม่ประมาทแล้ว เพราะประกอบด้วยคุณความดีมีศีลเป็นต้น.
บทว่า ปิตา ได้แก่ พระราชบิดาผู้พอกเลี้ยง. บทว่า อโจทยิ ความว่า
นกเวสสันดรกล่าวว่า พระราชบิดาถูกพวกอำมาตย์ล้อเลียนว่า ตรัสเรียกสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 550
เดียรัจฉานว่าเป็นบุตร ทรงถึงความประมาทแล้ว เพิ่งโจทย์ คือตรัสถาม
ปัญหาในวันนี้ สิ้นกาลนานนัก.
เจ้าเวสสันดรทูลท้วงด้วยคาถาอย่างนี้แล้ว ทูลว่า ขอเดชะ พระชนก
มหาราช ขึ้นชื่อว่า พระราชาควรดำรงอยู่ในธรรม ๓ ประการ เสวยราช-
สมบัติโดยธรรม เมื่อจะแสดงราชธรรม จึงกล่าวคาถา ความว่า
ข้าแต่บรมกษัตริย์ ธรรมดาพระราชาควรห้าม
มุสาวาท ความโกรธและความร่าเริงก่อนทีเดียว แต่
นั้นพึงตรัสสั่งให้กระทำกิจทั้งหลาย คำที่ข้าพระพุทธเจ้า
กล่าวมานั้น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า เป็นกิจของ
พระราชา.
ข้าแต่พระบิดา เมื่อก่อนพระองค์ทรงรักใคร่
และเกลียดชังแล้วพึงทรงทำกรรมใด กรรมนั้นที่พระ-
องค์ทรงทำแล้ว พึงยังพระองค์ให้เดือดร้อน โดยไม่
ต้องสงสัย แต่นั้นพระองค์ไม่ควรทรงกระทำกรรม
นั้นอีก.
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบำรุงรัฐ เมื่อกษัตริย์ประ-
มาทแล้ว โภคสมบัติทุกอย่าง ในแว่นแคว้นย่อมพินาศ
ข้อนั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็นความทุกข์ของพระราชา.
ข้าแต่พระบิดา เทพธิดาชื่อ สิริ และชื่อ ลักขี
ถูกสุจิปริวารเศรษฐีถาม ได้ตอบว่า ข้าพเจ้าย่อมยินดี
ในบุรุษผู้มีความขยันหมั่นเพียร ไม่มีความริษยา.
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า กาลกรรณีผู้ทำลายจักร
ย่อมยินดีในบุรุษผู้ริษยา ผู้มีใจชั่ว ผู้ประทุษร้ายการงาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 551
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์จงทรงเป็นผู้มี
พระทัยดี ต่อคนทั้งปวง จงทรงพิทักษ์รักษาคนทั้งปวง
จงทรงบรรเทาเสียซึ่งคนไม่มีราศี จงมีคนมีราศีเป็น
ที่พำนักเถิด.
ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวกาสี บุรุษ
ผู้มีราศี สมบูรณ์ด้วยความเพียร มีอัธยาศัยใหญ่ย่อม
ตัดโคนและยอดของศัตรูทั้งหลายได้.
ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นใหญ่ของประชาชน ความ
จริง แม้ท้าวสักกะก็ไม่ทรงประมาทในความหมั่นเพียร
ท้าวเธอทรงกระทำความเพียรในกัลยาณธรรม ตั้ง
พระทัยมั่น ในความขยันหมั่นเพียร.
คนธรรพ์ พรหม เทวดา เป็นผู้เป็นอยู่อาศัย
พระราชาเช่นนั้น เมื่อพระราชาทรงอุตสาหะ ไม่ทรง
ประมาท เทวดาทั้งหลายย่อมคุ้มครองป้องกัน.
ข้าแต่พระบิดา พระองค์จงทรงเป็นผู้ไม่ประมาท
ไม่ทรงพระพิโรธ แล้วตรัสสั่งให้ทำกิจทั้งหลาย จงทรง
พยายามในกิจทั้งหลาย เพราะคนเกียจคร้าน ย่อมไม่
พบความสุข.
ข้อความที่ข้าพระองค์กล่าวแก้แล้ว ในปัญหา
ของพระองค์นั้น ข้อนี้เป็นอนุสาสนี สามารถยังผู้
เป็นมิตรให้ถึงความสุข และยังคนผู้เป็นศัตรูให้ถึง
ความทุกข์ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 552
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเมเนว วิตถ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ
ธรรมดาพระราชา ควรห้ามมุสาวาทเสียแต่ตอนต้น. อธิบายว่า แว่นแคว้น
ของพระราชาผู้ตรัสมุสา ย่อมไม่มีโอชา. สิ่งสักว่า รัตนะเจ็ด ย่อมเข้าไป
ภายใต้สถานที่กระทำโอชาในแผ่นดิน. แต่นั้น ในอาหาร ในน้ำมัน น้ำผึ้ง
น้ำอ้อยเป็นต้น หรือในโอสถทั้งหลาย ย่อมหาโอชามิได้. ประชาชนบริโภค
อาหารขาดโอชา ย่อมเกิดเจ็บป่วยไข้มาก. รายได้ทั้งทางบกทางน้ำ ย่อมไม่
เกิดขึ้นในแว่นแคว้น เมื่อรายได้ไม่เกิด พระราชาก็ต้องถึงความยากลำบาก.
พระองค์ย่อมไม่ทรงสามารถสงเคราะห์เสวกามาตย์ได้. เหล่าเสวกามาตย์ มิได้
รับสงเคราะห์ ต่างก็จะไม่มองดูพระราชา ด้วยจิตเคารพยำเกรง. ข้าแต่เสด็จพ่อ
ขึ้นชื่อว่ามุสาวาทนี้ ขาดโอชาอย่างนี้. ฉะนั้น จึงไม่ควรกล่าวมุสาวาทนั้น
แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต. แต่ควรกำหนดถือเอาสุภาษิตข้อที่ว่า ความสัตย์ดีกว่า
รสทั้งหลาย ดังนี้เท่านั้น. อนึ่ง ขึ้นชื่อว่า มุสาวาทเป็นเครื่องกำจัดคุณความดี
มีความวิบัติเป็นที่สุด กระทำให้มีอเวจีเป็นเบื้องหน้าในวารจิตที่สอง. อนึ่ง
ในเนื้อความนี้ ควรแสดงเจติยชาดก มีอาทิว่า ธรรมแลอันบุคคลกำจัดแล้ว
ย่อมกำจัดเขา ดังนี้.
บทว่า โกธ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ธรรมดาพระราชาควรห้าม
แม้ความโกรธอันมีความขัดเคืองเป็นลักษณะก่อนเหมือนกัน. ข้าแต่เสด็จพ่อ
เพราะว่า ความโกรธของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่ถึงจุดเดือดรวดเร็ว แต่ของ
พระราชาย่อมถึง. ธรรมดาพระราชาทั้งหลาย มีวาจาเป็นอาวุธ กริ้วแล้ว
ย่อมยังคนอื่นให้พินาศได้ แม้ด้วยอาการเพียงทรงชำเลืองดู เพราะฉะนั้น
พระราชาอย่ามีความโกรธเกินกว่าคนอื่น ๆ ควรเพรียบพร้อมด้วยขันติคุณ
เมตตาคุณ และความเอื้อเอ็นดู แลดูพสกนิกรเหมือนโอรสที่รักของตน. ข้าแต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 553
เสด็จพ่อ ก็พระราชผู้ยิ่งด้วยความโกรธเป็นเจ้าเรือน ย่อมไม่สามารถรักษา
พระเกียรติยศที่เกิดขึ้นได้ อนึ่ง เพื่อแสดงเนื้อความนี้ ควรแสดงขันติวาทีชาดก
แลจุลลธัมมปาลชาดก. แท้จริง ในจุลลธัมมปาลชาดก พระเจ้ามหาปตาปนราช
ตรัสสั่งให้ปลงพระชนม์พระราชโอรส เมื่อพระเทวีมีพระหทัยแตกสิ้นพระชนมชีพ
เพราะเศร้าโศกถึงพระโอรสแล้ว แม้พระองค์เองก็เศร้าโศกถึงพระเทวี มี
พระหทัยแตกสวรรคตไปเหมือนกัน. ครั้งนั้น อำมาตย์ทั้งหลายต้องถวาย
พระเพลิง ณ พระเมรุมาศแห่งเดียวกัน ถึง ๓ พระศพ. เพราะฉะนั้น พระ-
ราชาควรเว้นมุสาวาทเป็นอันดับแรก อันดับที่สองควรเว้นความโกรธ.
บทว่า หาส ได้แก่ ความรื่นเริง. อนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
อธิบายว่า พระราชาควรหักห้ามความเป็นคนขี้เล่น ในราชกิจต่าง ๆ ด้วย
ความมีพระหฤทัยฮึกเหิม คือห้ามความสนุกสนานเสีย. ข้าแต่พระราชบิดา
ธรรมดาพระราชาไม่ควรจะเป็นคนขี้เล่น ไม่ควรจะเชื่อถือผู้อื่น ต้องจัดการ
ราชกิจทุกอย่าง โดยประจักษ์แจ้งแก่พระองค์เองเท่านั้น เพราะพระราชามี
พระหฤทัยฮึกเหิมแล้ว เมื่อทรงกระทำราชกิจจะไม่พินิจพิจารณา ย่อมยัง
พระอิสริยยศที่ได้แล้วให้พินาศ. อนึ่ง เนื้อความในอธิการนี้ ควรแสดงความ
ที่พระเจ้าทัณฑกีราชในสรภังคชาดก ทรงเชื่อถ้อยคำของปุโรหิต แล้วผิดใน
ท่านกีสวัจฉดาบส ขาดสูญพร้อมด้วยรัฐมณฑลบังเกิดในกุกกุลนรก ควร
แสดงความที่พระเจ้าเมชฌราช ในมาตังคชาดก ทรงเชื่อถ้อยคำของพวก
พราหมณ์ ผิดในท่านมาตังคดาบส แล้วขาดสูญไปพร้อมกับรัฐมณฑล บังเกิด
ในนรก และควรแสดงความที่ตระกูลวาสุเทพ เชื่อถือถ้อยคำของราชทารก
พี่น้องสิบคนผู้หลงงมงาย แล้วผิดในท่านกัณหทีปายนดาบส ถึงความพินาศ
ฉิบหายไปในฆฏปัณฑิตชาดก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 554
บทว่า ตโต กิจฺจานิ กาเรยฺย ความว่า ข้าแต่พระราชบิดา
พระราชาเว้นมุสาวาทเป็นอันดับแรก ความโกรธเป็นอันดับที่สอง ความ
สนุกสนานไม่เป็นธรรม เป็นอันดับที่สามแล้ว ต่อแต่นั้น จึงควรตรัสสั่งให้
กระทำราชกิจที่ควรทำต่อชาวแว่นแคว้น ในภายหลัง. บทว่า ต วต อาหุ
ขตฺติย ความว่า ข้าแต่พระขัตติยมหาราช คำใดที่ข้าพเจ้าทูลแล้ว โปราณก
บัณฑิตกล่าวคำนั้นว่า เป็นวัตรสมาทานของพระราชา. บทว่า น ต กยิรา
ความว่า ข้าแต่พระราชบิดา กรรมใดอันเป็นเครื่องทำความร้อนใจในภายหลัง
ด้วยสามารถแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น ซึ่งเป็นของที่พระองค์ทรงกระทำไว้แล้ว
ต่อกรรมที่ทำไว้ก่อนนั้นมา พระองค์ไม่ควรทำ คืออย่าทรงทำกรรมเช่นนั้นอีก.
บทว่า วุจฺจเต ความว่า นั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระราชา.
โปราณกบัณฑิตทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้.
บทว่า สิรี จ ความว่า นกเวสสันดรนำเหตุการณ์ที่เป็นไปในเมือง
พาราณสีเมื่อก่อน มากล่าวแสดงเช่นนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อพฺรวุ
ความว่า สิริเทพยเจ้าถูกสุจิปริวารเศรษฐีถาม บอกแล้ว. บทว่า อุฏฺาเน
วิริเย ความว่า สิริเทพยเจ้ากล่าวว่า คนใดตั้งมั่นอยู่ในความหมั่นขยัน และ
ให้ความเพียร ทั้งเห็นสมบัติของผู้อื่นแล้วไม่ริษยา ข้าพเจ้ารื่นรมย์ในคนผู้นั้น.
นกเวสสันดรกล่าวถึงสิริเทพยเจ้าก่อนอย่างนี้. บทว่า อุสฺสุยฺยเก ความว่า
ข้าแต่พระราชบิดา *ส่วนอลักขีเทพยเจ้าถูกถามแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้ายินดีในคน
ที่ริษยาสมบัติของคนอื่น.
บทว่า ทูหทเย ได้แก่ คนมีจิตทราม. บทว่า กมฺมทูสเก ได้แก่
คนที่ประทุษร้ายกัลยาณกรรม. อลักขีเทพยเจ้ากล่าวว่า คนใดประทุษร้าย
ไม่รักใคร่เกลียดชัง ไม่ทำกัลยาณกรรม ข้าพเจ้ายินดีในคน ๆ นั้น. ข้าแต่
* บาลีเป็น ลักขี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 555
มหาราชเจ้า กาลกรรณีผู้หักเสียซึ่งกุศลจักร มีการอยู่ในประเทศอันสมควร
เป็นต้น ย่อมยินดีอย่างนี้. บทว่า สุหทโย ความว่า ขอพระองค์จงมี
พระทัยงาม คือมีพระทัยคิดประโยชน์เกื้อกูล บทว่า นูท แปลว่า จงถอดถอน.
บทว่า นิเวสน ความว่า แต่จงเอาบุญญาธิการเป็นที่อยู่ที่พำนักเถิด.
บทว่า สลกฺขี ธิติสมฺปนฺโน ความว่า ข้าแต่มหาราชจอมชาวกาสี
บุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาและความเพียรนั้น. บทว่า มหคฺคโต ความว่า
นกเวสสันดรกล่าวว่า บุรุษผู้มีอัธยาศัยใหญ่ เมื่อจับโจรผู้เป็นปัจจัยแห่งโจร
ชื่อว่า จับโจรที่เป็นรากเหง้าของอมิตร ย่อมตัดยอดของปวงอมิตรได้.
บทว่า สกฺโก ได้แก่ พระอินทร์. นกเวสสันดรเรียกพระราชาว่า
ภูตปติ ผู้เป็นเจ้าแห่งพสกนิกร. บทว่า อุฏฺาเน ได้แก่ ผู้มีความขยัน
หมั่นเพียร. บทว่า นปฺปมชฺชติ ความว่า กระทากิจทั้งปวง.
บทว่า ส กลฺยาเณ ความว่า ท้าวเทวราชนั้น เอาพระทัยใส่ใน
ความหมั่นขยัน และความพากเพียร ไม่กระทำบาปกรรม ทำความเพียรใน
กัลยาณกรรม คือบุญกรรมอย่างเดียวไม่ประมาท ใส่ใจในความหมั่นขยัน.
อนึ่ง เพื่อแสดงภาวะแห่งการกระทำความเพียรของท้าวสักกะนั้น ควรแสดง
เรื่องเป็นต้นว่า ความที่ท้าวสักกะนั้นมาสู่กปิฏฐาราม พร้อมกับเทวดาใน
เทวโลกทั้งสอง แล้วถามปัญหาสดับธรรมในสรภังคชาดก และความที่คำ-
สั่งสอนเสื่อมถอย อันท้าวสักกะยังมหาชนให้ยินดีแล้ว บันดาลให้เป็นไปด้วย
อานุภาพของตน ในมหากัณหชาดก.
บทว่า คนฺธพฺพา ความว่า ได้ยินว่า เทวดาผู้มีกำเนิด ๔ เกิด
ภายใต้ท้าวจาตุมมหาราช ชื่อว่า คนธรรพ์. บทว่า ปิตโร ได้แก่ ท้าว-
มหาพรหม. บทว่า เทวา ได้แก่ เทวดาชั้นฉกามาพจร ด้วยสามารถแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 556
อุปัตติเทพ. บทว่า ตาทิโน ความว่า ท่านเหล่านั้นต่างมีชีพ มีชีวิตสม่ำเสมอ
หล่อเลี้ยงชีวิตไว้ เพื่อพระราชาผู้ทรงยินดีในกุศลอย่างนั้น เพราะพระราชา
เช่นนั้น เมื่อทรงกระทำบุญทานเป็นต้น ย่อมทรงอุทิศส่วนบุญแก่เทวดา
ทั้งหลาย เทวดาเหล่านั้น รับอนุโมทนาส่วนบุญนั้นแล้ว ย่อมเจริญด้วย
ทิพยยศ. บทว่า อนุติฏฺนฺติ ความว่า เมื่อพระราชาเช่นนั้นทรงทำความเพียร
ถึงความไม่ประมาทอยู่ เทวดาทังหลายย่อมพากันพิทักษ์รักษา ตามไปจัดแจง
อารักขา อันชอบธรรม.
บทว่า โส ได้แก่ โส ตฺว แปลว่า ท่านนั้น. บทว่า วายมสฺสุ จ
ความว่า เมื่อพระองค์จะทรงการทำรัฐกิจนั้น โปรดกระทำความเพียรในรัฐกิจ
นั้น ๆ ด้วยอำนาจการเทียบเคียง การหยั่งดู การกระทำอันประจักษ์เถิด.
บทว่า ตตฺเถว เต วตฺตปทา ความว่า ข้าแต่พระราชบิดา
พระองค์ตรัสถามปัญหาใด กะข้าพระพุทธเจ้าว่า ควรจะทำกิจอะไรดี ใน
ปัญหาของพระองค์นั่นเอง ข้าพระพุทธเจ้าได้ทูลคำเป็นต้นว่า ควรห้าม
มุสาวาทก่อนดังนี้แล้ว ข้อความเหล่านั้น เป็นวัตรบท เป็นวัตรโกฏฐาส
พระองค์โปรดทรงประพฤติในวัตรบทนั้น อย่างข้อความที่ข้าพระองค์ทูลแล้ว.
บทว่า เอสา ความว่า ข้อความที่ข้าพระองค์ทูลแล้ว นี้แหละเป็นอนุสาสนี
สำหรับพระองค์. บทว่า อล ความว่า เพราะว่าเมื่อพระราชาประพฤติอยู่
อย่างนี้ย่อมองอาจ สามารถเพื่อยังมวลมิตรให้มีความสุข และก่อทุกข์แก่มวล
อมิตรได้.
เมื่อนกเวสสันดร ท้วงถึงความประมาทของพระราชา ด้วยคาถาบท
หนึ่ง แล้วกล่าวธรรมด้วยคาถาสิบเจ็ดคาถาอย่างนี้ มหาชนบังเกิดความคิด
เป็นอัศจรรย์ขึ้นว่า นกเวสสันดรแก้ปัญหาด้วยลีลาแห่งพระพุทธเจ้า ดังนี้แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 557
ยังสาธุการร้อยหนึ่งให้เป็นไป พระราชาทรงโสมนัส ตรัสเรียกเหล่าอำมาตย์
มาตรัสสั่งว่า ดูก่อนอำมาตย์ผู้เจริญทั้งหลาย เพราะเจ้าเวสสันดร บุตรของเรา
กล่าวแก้ปัญหากิจเสร็จแล้วอย่างนี้ เราควรจะจัดการอย่างไร ?
พวกอำมาตย์ทูลว่า ควรจัดการโดยมอบตำแหน่งผู้บัญชาการมหาเสนา
ให้ พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เราจะให้ตำแหน่งผู้บัญชาการมหาเสนา
แก่เจ้าเวสสันดรนั้น แล้วทรงสถาปนาเจ้าเวสสันดร ไว้ในฐานันดรศักดิ์ นับ
แต่นั้นมา นกเวสสันดรนั้น ก็ดำรงอยู่ในตำแหน่งผู้บัญชาการมหาเสนา สนอง
ราชกิจพระราชบิดา ด้วยประการฉะนี้.
จบเวสสันดรปัญหา
ล่วงไปอีกสอง - สามวัน พระราชาส่งทูตไป ยังสำนักของเจ้านก
กุณฑลินี โดยทำนองเดิมนั่นเอง แล้วเสด็จไป ณ ที่นั้นในวันที่เจ็ด เสด็จ
กลับมาประทับ ณ ท่ามกลางมณฑปนั้น ตรัสสั่งให้นำเจ้านกกุณฑลินีมา เมื่อ
จะตรัสถามราชธรรม กะนางนกตัวจับอยู่บนตั่งทอง จึงตรัสคาถา ความว่า
ดูก่อนนางนกกุณฑลินี ตัวเป็นเผ่าพันธุ์ของนก
มีบรรดาศักดิ์ เจ้าสามารถละหรือ เจ้าจะเข้าใจได้หรือ
กิจอะไรเล่าที่ผู้มุ่งจะครอบครองสมบัติ กระทำแล้ว
เป็นกิจประเสริฐ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺขิ ความว่า พระราชาตรัสถามว่า
เจ้าจักสามารถแก้ปัญหาที่พ่อถามได้หรือ ? พระราชาทรงทักทาย โดยชื่อที่มา
โดยเพศของนางนกนั้นว่า แน่ะนางกุณฑลินี ได้ยินว่า ที่หลังหูทั้งสองของนาง
นกนั้น มีรอยสองแห่งสัณฐานคล้ายต่างหู ด้วยเหตุนั้น พระราชาจึงโปรด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 558
ให้ตั้งชื่อว่า " กุณฑลินี ". บทว่า มญฺสิ ความว่า พระราชาตรัสถามว่า
เจ้าจักแก้เนื้อความแห่งปัญหาที่พ่อถามได้หรือ ? พระราชาทรงทักทายนางนก
นั้นอย่างนี้ว่า " แน่ะเจ้าตัวมีเผ่าพันธุ์แห่งนกมีบรรดาศักดิ์ " ดังนี้ เพราะเป็น
น้องสาวของผู้บัญชาการมหาเสนา ผู้มีบรรดาศักดิ์.
เหตุไร พระราชาจึงไม่ตรัสถามนกเวสสันดรอย่างนี้ ตรัสถามแต่เจ้า
กุณฑลินี นี้แต่ตัวเดียว ? เพราะนางนกนี้ เป็น อิตถีเพศ. พระราชาทรงพระ
ดำริว่า ธรรมดาสตรีมีปัญญานิดหน่อย ถ้านางนกนี้สามารถก็จักถาม ถ้าไม่
สามารถก็จักไม่ถาม ดังนี้ จึงได้ตรัสถามอย่างนี้ ด้วยจะทดลองดู แล้วตรัส
ถามปัญหาเช่นนั้นเหมือนกัน.
เมื่อพระราชาตรัสถามราชธรรมอย่างนี้แล้ว นางนกกุณฑลินี
จึงทูลว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ชะรอยพระบิดาจะทดลองหม่อมฉัน ด้วยเข้าพระทัย
ว่า ขึ้นชื่อว่า สตรีแล้วจะแก้อย่างไรได้ หม่อมฉันจักกล่าวราชธรรมทั้งสิ้น
แด่พระบิดา รวมไว้ในสองบททีเดียว ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถา ความว่า
ข้าแต่เสด็จพ่อ ประโยชน์ตั้งมั่นอยู่ในเหตุ ๒
ประการเท่านั้น คือความได้ลาภที่ยังไม่ได้ ๑ การ
ตามรักษาลาภที่ได้แล้ว ๑.
ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์จงทรงทราบ อำมาตย์
ทั้งหลายผู้เป็นนักปราชญ์ ฉลาดในประโยชน์ ไม่
แพร่งพรายความลับ ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ทำให้
เสื่อมเสีย.
ข้าแต่เสด็จพ่อ ก็อำมาตย์คนใด พึงรักษาพระ
ราชทรัพย์ของพระองค์ ให้มีคงที่อยู่ได้ ดุจนายสารถี
ยึดรถไว้ พระองค์ควรทรงใช้อำมาตย์ผู้นั้น ให้กระทำ
กิจทั้งหลายของพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 559
พระราชาพึงโปรดสงเคราะห์ชนฝ่ายใน ด้วยดี
ตรวจตราพระราชทรัพย์ด้วยพระองค์เอง ไม่ควรจัด
การทรัพย์และการกู้หนี้ โดยทรงไว้วางพระทัย ใน
คนอื่น.
พระราชาควรทราบรายได้-รายจ่าย ด้วยพระ-
องค์เอง ควรทรงทราบกิจที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำ
ด้วยพระองค์เอง ควรข่มคนที่ควรข่ม ควรยกย่องคน
ที่ควรยกย่อง.
ข้าแต่พระองค์ ผู้จอมพลรถ พระองค์จงทรง
พร่ำสอนเหตุผลแก่ชาวชนบทเอง เจ้าหน้าที่ผู้เก็บภาษี
อากร ผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม อย่ายังพระราชทรัพย์
และรัฐสีมาของพระองค์ให้พินาศ.
อนึ่ง พระองค์อย่าทรงทำเอง หรืออย่าทรงใช้
คนอื่นให้ทำกิจทั้งหลายโดยฉับพลัน เพราะว่าการงาน
ที่ทำลงไปโดยฉับพลัน ไม่ดีเลย คนเขลาย่อมเดือด
ร้อนในภายหลัง.
พระองค์อย่าทรงล่วงเลยกุศล อย่าทรงปล่อย
พระทัยให้เกรี้ยวกราดนัก เพราะว่า สกุล ที่มั่นคงเป็น
อันมาก ได้ถึงความไม่เป็นสกุล เพราะความโกรธ.
ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์อย่าทรงนึกว่าเราเป็น
ใหญ่ แล้วยังมหาชนให้หยั่งลงเพื่อความฉิบหาย กำไร
คือความทุกข์ อย่าได้มีแก่สตรีและบุรุษของพระองค์
เลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 560
โภคสมบัติทั้งปวงของพระราชา ผู้ปราศจาก
ความหวาดเสียว แส่หากามารมณ์ ย่อมพินาศหมด
ข้อนั้นนักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของ
พระราชา.
ข้อความที่หม่อมฉันกราบทูล ในปัญหาของ
พระองค์นั้น เป็นวัตรบท นี่แหละเป็นอนุสาสนี ข้าแต่
พระมหาราชา บัดนี้ พระองค์โปรดทรงบำเพ็ญบุญ
อย่าเป็นนักเลง อย่าทรงราชทรัพย์ให้พินาศ จงทรง
ศีล เพราะว่าคนทุศีลย่อมตกต่ำ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทกานิ เป็นบทระบุเหตุ. บทว่า ยตฺถ
ความว่า หิตสุขอันเป็นผลเกิดแล้วทั้งหมด ตั้งมั่นอยู่ในบททั้งสองเหล่าใด.
บทว่า อลทฺธสฺส ความว่า ความได้ลาภที่ยังไม่ได้แล้วในก่อน ๑ การตาม
รักษาลาภที่ได้แล้ว ๑. อธิบายว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ขึ้นชื่อว่าการยังลาภที่ยังไม่
เกิดให้เกิดขึ้น ก็เป็นภาระ ส่วนการตามรักษาลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นภาระ
เหมือนกัน เพราะว่า คนบางคน แม้ยังยศให้เกิดขึ้นแล้ว มัวเมาในยศ เกิด
ความประมาท ทำความชั่ว มีปาณาติบาตเป็นต้น เป็นมหาโจร เที่ยวปล้น
แว่นแคว้นอยู่ ถ้าพระราชาตรัสสั่งให้จับมาได้ ต้องลงพระอาชญาให้ถึงมหา
พินาศ.
อีกอย่างหนึ่ง คนบางคน มัวเมาในกามคุณ มีรูปที่เกิดแล้ว
เป็นต้น ผลาญทรัพย์สินโดยไม่แยบคาย เมื่อสิ้นเนื้อประดาตัว ก็ต้องเป็น
คนกำพร้า นุ่งผ้าเปลือกไม้ ถือกระเบื้องเที่ยวขอทาน หรืออีกนัยหนึ่ง
บรรพชิต ยังลาภสักการะให้เกิดด้วยอำนาจคันถธุระเป็นต้น แล้วมัวเมาเวียน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 561
มาเพื่อหินเพศ บางรูปแม้เจริญปฐมฌานเป็นต้นให้เกิดแล้ว ติดอยู่ในอารมณ์
เช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน ย่อมเสื่อมจากฌานการรักษายศ
หรือรักษาตามได้ฌานเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วเป็นของยากอย่างยิ่ง อนึ่ง เพื่อ
จะแสดงความข้อนั้น ควรแสดงเรื่องของพระเทวทัต และควรแสดงเรื่องมุทุ
ลักขณชาดก โลมกัสสปชาดก หาริตชาดก และสังกัปปชาดก.
ส่วนคนบางคน ยังลาภสักการะให้เกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ในความไม่
ประมาท กระทำกรรมอันงาม ยศของบุคคลนั้นย่อมเจริญ เหมือนพระจันทร์
ในศุกลปักษ์ ฉะนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะฉะนั้น พระองค์อย่าประ-
มาท ดำรงอยู่ในปโยคสมบัติ ดำรงราชย์โดยธรรม ตามรักษาพระเกียรติยศ
ของพระองค์ที่บังเกิดขึ้นแล้วเถิด.
บทว่า ชานาหิ ความว่า เพื่อกระทำการงานมีหน้าที่ขุนคลังเป็นต้น
พระองค์จงทรงใคร่ครวญ. บทว่า อนกฺขากิตเว ความว่า โปรดตรวจดู
หมู่อำมาตย์ ที่ไม่ใช่คนเล่นเบี้ย ไม่ใช่คนโกง คือไม่ใช่นักเลงการพนัน และ
ไม่เป็นคนหลอกลวง. บทว่า อโสณฺเฑ ความว่า เป็นคนเว้นจากความเป็น
นักเลงเหล้า และนักเลงทางของหอมและระเบียบ. บทว่า อวินาสเก ความว่า
มิใช่ผู้ที่จะยังธนสาร และธัญญาหารเป็นต้น อันเป็นราชทรัพย์ให้ฉิบหาย.
บทว่า โย ได้แก่ อำมาตย์คนใด. บทว่า ยญฺเจว ความว่า
อำมาตย์ใดพึงรักษาราชทรัพย์ อันมีอยู่ในพระราชวังของพระองค์ได้. บทว่า
สูโตว ความว่า ดุจสารถีขับรถ อธิบายว่า นายสารถี เมื่อยึดม้าไว้เพื่อห้าม
ทางที่ไม่เรียบ พึงยึดรถไว้ฉันใด อำมาตย์ใดเป็นฉันนั้น สามารถเพื่อจะ
รักษาพระองค์ พร้อมด้วยโภคสมบัติได้ อำมาตย์นั้นชื่อว่าเป็นอำมาตย์ของพระ-
องค์ พระองค์ควรยึดอำมาตย์เช่นนั้นไว้ ตรัสสั่งให้กระทำราชกิจ เช่นหน้าที่
ขุนคลังเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 562
บทว่า สุสงฺคหีตนฺตชโน ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ เพราะว่า
อันใดชน และปริชนที่ใช้สอยในราชสำนักส่วนพระองค์ ของพระราชาใด
มิได้รับความสงเคราะห์ด้วยทานเป็นต้น พระราชทรัพย์เช่นเงินทองเป็นต้น
ภายในพระราชฐานของพระราชานั้น ย่อมจะพินาศลง ด้วยอำนาจแห่งมนุษย์
ที่ไม่ได้รับการสงเคราะห์เหล่านั้น ต่างก็จะพากันไปเสียภายนอก เพราะเหตุนั้น
พระองค์โปรดทรงสงเคราะห์อันโตชนด้วยดี ควรตรวจตราพระราชทรัพย์ของ
พระองค์เองให้รู้ว่า ทรัพย์ของเรามีจำนวนเท่านี้แล้ว ไม่ควรจัดการแม้กิจ
ทั้งสองอย่างว่า เราจะฝังขุมทรัพย์ไว้ในที่โน้น เราจะใช้หนี้แก่คนโน้น.
บทว่า ปรปตฺติยา ความว่า นางนกกุณฑลินีกล่าวว่า พระองค์
อย่าได้ทรงทำแม้ด้วยความไว้วางใจผู้อื่น ควรจัดการราชกิจทั้งหมด ที่ประจักษ์
แก่พระองค์เท่านั้น.
บทว่า อาย วย ความว่า พระองค์ควรจะทราบรายได้ที่เกิดจาก
ทางนั้น ๆ และควรทราบรายจ่ายที่ควรพระราชทานแก่คนต่าง ๆ ด้วยพระองค์
เองทีเดียว. บทว่า กตากต ความว่า ในสงคราม ในนวกรรม หรือใน
ราชกิจอื่น ๆ พระองค์ควรจะทราบแม้ข้อราชการนี้ด้วยพระองค์เองทีเดียวว่า
กิจนี้เราต้องทำด้วยราชทรัพย์ส่วนนี้ กิจนี้ไม่ต้องทำด้วยราชทรัพย์ โปรดอย่าได้
ไว้วางใจผู้อื่น. บทว่า นิคฺคณฺเห ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ธรรมดาพระราชา
ต้องทรงพิจารณา ชำระซึ่งคนผู้ทำการตัดที่ต่อเป็นต้น อันเป็นผู้ควรข่ม ที่เขา
นำมาแสดง ควรตรวจสอบดูตัวบทกฎหมายที่พระราชาก่อน ๆ ตราไว้ แล้วจึง
ทรงลงพระราชอาชญาตามสมควรแก่โทษ. บทว่า ปคฺคณฺเห ความว่า อนึ่ง
บุคคลใดเป็นคนควรยกย่อง จะเป็นคนทำลายกำลังของปรปักษ์ที่ใคร ๆ ทำลาย
ไม่ได้ก็ตาม จะเป็นคนที่ปลุกปลอบกำลังฝ่ายตนที่แตกแล้วก็ตาม จะเป็นคนที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 563
นำราชสมบัติที่ยังไม่ได้มาถวายก็ตาม คนที่ทำราชสมบัติอันได้มาแล้วให้ถาวร
ก็ตาม หรือว่าผู้ใดช่วยพระชนมชีพไว้ได้ พระราชาทรงยกย่องบุคคลเช่นนี้
ซึ่งเป็นคนควรยกย่องแล้ว ควรตรัสสั่งให้กระทำ สักการะ สัมมานะอย่างใหญ่
เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้คนอื่น ๆ ก็จักถวายชีวิตกระทำซึ่งกิจที่ควรทำในราชกิจของ
พระราชานั้น.
บทว่า ชานปท ทามว่า พระองค์จงทรงอนุศาสน์พร่ำสอนอรรถ-
ธรรมแก่ชาวชนบทด้วยพระองค์เอง โดยเงื่อนไขอันประจักษ์แก่พระองค์นั่นเอง.
บทว่า อธมฺมิกา ยุตฺตา ความว่า พนักงานข้าราชการผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
รับสินบนในที่นั้น ๆ แล้วกลับคำพิพากษา อย่ายังพระราชทรัพย์ และแว่นแคว้น
ของพระองค์ให้พินาศไปเลย ด้วยเหตุนี้ พระองค์อย่าประมาท จงอนุศาสน์
พร่ำสอนด้วยพระองค์เองทีเดียว.
บทว่า เวเคน ความว่า พระองค์ยังไม่ได้ทรงสอบสวน ยังไม่ได้
ทรงพิจารณา อย่าทรงกระทำหรือรับสั่งให้ทำโดยผลุนผลัน. บทว่า เวคสา
ความว่า เพราะกรรมที่มิได้พิจารณา ทำไปโดยผลุนผลัน ด้วยอำนาจฉันทาคติ
เป็นต้น ไม่ดีไม่งามเลย. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า คนโง่ทำกรรมเช่นนั้น
ภายหลังย่อมเดือดร้อนในโลกนี้ ด้วยอำนาจความวิปฏิสารและเมื่อเสวยทุกข์
ในอบายย่อมเดือดร้อนในโลกเบื้องหน้า. ก็ความข้อนี้ บัณฑิตพึงแสดงด้วย
กุรุชาดกซึ่งมีใจความ มีอาทิว่า เราได้ยินว่า พระเจ้ากุรุราชทรงทำความผิด
ต่อพระฤาษีทั้งหลายดังนี้.
บทว่า มา เต อธิสเร มุจฺจ สุพาฬฺหมธิโกปิต ความว่า
ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์อย่าทรงปล่อยพระหฤทัยให้ขุ่นเคืองโกรธกริ้วเกินไป
ในเพราะอกุศลกรรมของผู้อื่น อันล่วงเลยกุศลเป็นไป คืออย่าให้ดำรงอยู่ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 564
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ เมื่อใด พวกราชบุรุษกราบทูลแสดงโจร
ต่อพระองค์ผู้สถิตอยู่ ณ ที่วินิจฉัยว่า เจ้านี่ฆ่าคน หรือว่าเจ้านี่ตัดที่ต่อ
เมื่อนั้น โปรดอย่าปล่อยพระทัย แม้ที่ทรงขุ่นเคืองเต็มที่ ด้วยถ้อยคำของผู้อื่น
ด้วยอำนาจทรงพระพิโรธ ยังมิได้ทรงสอบสวน แล้วอย่าได้ทรงลงพระอาญา.
เพราะเหตุไร ? เพราะว่า เขาจับคนที่มิใช่โจร หาว่าเป็นโจรนำมาก็ได้ ฉะนั้น
อย่าทรงพิโรธโปรดสดับถ้อยคำของผู้ที่เป็นโจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่าย ทรงชำระ
ด้วยดี รู้ว่าเขาเป็นโจรโดยประจักษ์ด้วยพระองค์แล้ว จึงโปรดกระทำสิ่งที่ควร
กระทำ ด้วยสามารถแห่งอาชญา ที่ตราไว้ตามพระราชประเพณี ก็ถึงแม้เมื่อ
เกิดความโกรธขึ้นแล้ว พระราชายังมิได้กระทำพระทัยให้เย็นก่อน ไม่ควรทำ
การวินิจฉัย ต่อเมื่อใดพระหทัยเยือกเย็น ดับร้อน อ่อนโยน เมื่อนั้นจึงควร
ทำการวินิจฉัย เพราะเมื่อจิตหยาบคาย เหตุผลย่อมไม่ปรากฏ เหมือนเมื่อ
น้ำเดือดพล่าน เงาหน้าก็ไม่ปรากฏฉะนั้น. บทว่า โกธสา หิ ความว่า
ข้าแต่เสด็จพ่อ ราชตระกูลทังหลาย ที่มั่งคั่งมากมาย ถึงความไม่เป็นตระกูล
คือถึงความมหาพินาศทีเดียว ก็เพราะความโกรธ เพราะเหตุนั้น ก็เพื่อจะ
แสดงเนื้อความนี้ ควรกล่าวถึงขันติวาทีชาดก เรื่องพระเจ้านาฬิกีรราช และ
เรื่องท้าวอรชุนผู้มีกรพันหนึ่งเป็นต้น.
บทว่า ปตารยิ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์อย่าทรงยังมหาชน
ให้หมกมุ่น หยั่งลงสู่กายทุจริตเป็นต้น เพื่อความฉิบหาย โดยทรงนึกว่าเรา
เป็นใหญ่ในแผ่นดิน บุคคลถือเอาทุจริตอันเป็นความฉิบหาย ประพฤติฉันใด
พระองค์อย่าได้ทรงกระทำฉันนั้น. บทว่า มา เต อาสิ ความว่า ข้าแต่
เสด็จพ่อ ในแว่นแคว้นของพระองค์ ขอการได้รับทุกข์ คือความถึงซึ่งทุกข์
อย่าได้มีแก่หญิงชายเลย ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายก็ตามที. อธิบายว่า ประชาชน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 565
ในแว่นแคว้นของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม พากันกระทำกายทุจริตเป็นต้น
ย่อมเกิดในนรกฉันใด สำหรับชาวแว่นแคว้นของพระองค์อย่าได้มีฉันนั้นเลย
คือความทุกข์เช่นนั้น จะไม่มีแก่ชาวแว่นแคว้นของพระองค์โดยวิธีใด โปรด
ทรงกระทำโดยวิธีนั้นเถิด.
บทว่า อเปตโลมหสสฺส ความว่า ผู้ปราศจากภัย เพราะภัยมี
การติเตียนตนเป็นต้น. ด้วยบทนี้ นางนกกุณฑลินีแสดงความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ
พระราชาใด ทรงทำความหวังในอารมณ์อะไรแล้ว ทรงระลึกถึงแต่ความใคร่
ของพระองค์อย่างเดียว ทรงปรารถนาสิ่งใด ก็ทำสิ่งนั้นด้วยอำนาจฉันทะ
ความพอใจ เป็นเหมือนคนตาบอดทิ้งไม้เท้า และเหมือนช้างดุไม่มีขอสับ โภค-
สมบัติทั้งปวงของพระราชานั้น ผู้ปราศจากภัยเช่นการติเตียนเป็นต้น ย่อม
ฉิบหายไป ความฉิบหายของโภคะนั้น ท่านกล่าวว่า เป็นทุกข์ของพระราชา
พระองค์นั้น. คำว่า ในปัญหานั้น เนื้อความที่กราบทูลมานั้นเป็นวัตรบทดังนี้
ควรประกอบโดยนัยก่อนนั้นเถิด.
บทว่า ทุกฺขสฺสุทาทานิ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์ทรงสดับ
อนุสาสนีนี้แล้ว บัดนี้ พึงเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ทรงสร้างบุญกุศล เหตุ
บำเพ็ญบุญกุศล อย่าเป็นนักเลงสุรา เหตุบริหารด้วยสุราเป็นต้น อย่ายังพระองค์
ให้พินาศ เหตุยังประโยชน์ปัจจุบันและสัมปรายิกภพให้ฉิบหาย. บทว่า สีลวสฺสุ
ความว่า พระองค์จงเป็นผู้ทรงศีลสมบูรณ์ด้วยอาจารมรรยาท ดำรงอยู่ใน
ทศพิธราชธรรมเสวยราชสมบัติ. บทว่า ทุสฺสีโล วินิปาติโก ความว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะคนทุศีล เมื่อยังตนให้ตกไปในนรกย่อมเป็นผู้
ชื่อว่า ทำตนให้ตกไปในที่ชั่ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 566
แม้เจ้านกกุณฑลินี แสดงธรรมด้วยคาถา ๑๑ คาถาด้วยประการอย่างนี้
พระราชาทรงดีพระทัย ตรัสเรียกอำมาตย์มารับสั่งถามว่า ดูก่อนท่านอำมาตย์
ผู้เจริญทั้งหลาย เราควรทำกิจอันใดแก่เจ้ากุณฑลินี ราชธิดาของเราผู้กล่าวธรรมอยู่
อย่างนี้ ?
พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ควรกระทำโดยการมอบตำแหน่งขุนคลังให้
พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นเราจะให้หน้าที่การงานตำแหน่งขุนคลังแก่ธิดา
ของเรา แล้วทรงแต่งตั้งนางนกกุณฑลินีไว้ในฐานันดรศักดิ์. นับแต่นั้นมา
นางนกกุณฑลินี ก็ดำรงอยู่ในตำแหน่งขุนคลัง ได้ทำการสนองราชกิจของ
พระราชบิดา.
จบกุณฑลินีปัญหา
ล่วงมาอีกสองสามวัน พระราชาส่งทูตไปยังสำนักของเจ้าชัมพุกบัณฑิต
โดยนัยก่อนนั้นเอง แล้วเสด็จไปในสำนักของนกชัมพุกบัณฑิตนั้น ในวันที่เจ็ด
ทรงเสวยสมบัติแล้วเสด็จกลับมา ประทับ ณ ที่ท่ามกลางมณฑปนั้นเอง. ครั้งนั้น
อำมาตย์เชิญเจ้าชัมพุกบัณฑิต จับบนตั่งทอง แล้วเอาศีรษะทูลตั่งทองมาเฝ้า
พระราชา. เจ้าชัมพุกบัณฑิตจับบนพระเพลาของพระราชบิดา เล่นหัวแล้วจับ
ที่ตั่งทองดังเดิม.
ลำดับนั้น เมื่อพระราชาจะตรัสถามปัญหากะเจ้าชัมพุกบัณฑิต จึงตรัส
พระคาถาความว่า
พ่อชัมพุกะ พ่อได้ถามปัญหากะเจ้าโกสิยโคตร
และเจ้ากุณฑลินีมาเช่นเดียวกันแล้ว ชัมพุกลูกรัก
คราวนี้ เจ้าจงบอกกำลัง อันสูงสุดกว่ากำลังทั้งหลาย
บ้างเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 567
พระคาถานั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ แน่ะพ่อชัมพุกะ พ่อได้ถามราชธรรม
กะเจ้าเวสสันดรโกสิยโคตรผู้พี่ชายของเจ้า และนางกุณฑลินีผู้พี่สาวของเจ้า
แล้ว ทั้งสองต่างก็ตอบตามกำลังปัญญาของตน ๆ อนึ่ง พ่อถามพี่ชายและ
พี่สาวของเจ้าอย่างใด ชัมพุกะลูกรัก บัดนี้พ่อจะถามเจ้าอย่างนั้นเหมือนกัน
เจ้าจงบอกราชธรรมนั้น กับกำลังอันสูงสุดกว่ากำลังทั้งหลายด้วยเถิด.
พระราชา เมื่อตรัสถามปัญหากะพระมหาสัตว์อย่างนี้ หาได้ตรัสถาม
โดยทำนองที่ตรัสถามนกอื่น ๆ ไม่ ดำรัสถามให้พิเศษขึ้นไป. ลำดับนั้น นก
ชัมพุกบัณฑิตทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ถ้ากระนั้น ขอพระองค์จงเงี่ย
พระโสตลงสดับ ข้าพระพุทธเจ้าจักกล่าวปัญหาทั้งปวงถวายแด่พระองค์ ดังนี้
แล้วเป็นประดุจว่า บอกถุงทรัพย์พันหนึ่ง กะฝูงชนที่เหยียดมือออกรับฉะนั้น
เริ่มแสดงธรรมเป็นคาถา ความว่า
กำลังในบุรุษผู้มีอัธยาศัยใหญ่ในโลกนี้ มี ๕
ประการ ในกำลัง ๕ ประการนั้น กำลังแขน บัณฑิต
กล่าวว่า เป็นกำลังต่ำทราม ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเจริญ
พระชนม์ กำลังโภคทรัพย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นกำลัง
ที่สอง.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญชนม์ กำลังอำมาตย์บัณฑิต
กล่าวว่า เป็นกำลังที่สาม กำลังคือมีชาติยิ่งใหญ่ เป็น
กำลังที่สี่โดยแท้ บัณฑิตย่อมยึดเอากำลังทั้งหมดนี้ไว้-
ได้.
กำลังปัญา บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังประเสริฐ
ยอดเยี่ยมกว่ากำลังทั้งหลาย เพราะว่าบัณฑิตอันกำลัง
ปัญญาสนับสนุนแล้ว ย่อมได้ซึ่งประโยชน์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 568
ถ้าบุคคลมีปัญญาทราม แม้ได้แผ่นดินอัน
สมบูรณ์ เมื่อไม่ประสงค์ คนอื่นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
ก็ข่มแข่งเอาแผ่นดินนั้นเสีย.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชนชาวกาสี ถ้าบุคคล
แม้เป็นผู้มีชาติสูง ได้ราชสมบัติแล้วเป็นกษัตริย์ แต่
มีปัญญาทราม หาเป็นอยู่ด้วยราชสมบัติทุกอย่างได้ไม่.
ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยเรื่องที่ได้สดับ ปัญญาเป็น
เครื่องยังเกียรติยศ และลาภสักการะให้เจริญ คนใน
โลกนี้ประกอบด้วยปัญญาแล้ว แม้เมื่อทุกข์เกิดขึ้น
ก็ย่อมได้รับความสุข.
ก็คนบางคนไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่อาศัยผู้เป็น
พหูสูต ซึ่งตั้งอยู่ในธรรม ไม่พิจารณาเหตุผล ย่อม
ไม่ได้บรรลุปัญญา.
อนึ่ง ผู้ใดรู้จักจำแนกธรรม ลุกขึ้นในเวลาเช้า
ไม่เกียจคร้าน ย่อมบากบั่นตามกาล ผลแห่งการงาน
ของบุคคลนั้น ย่อมสำเร็จ.
ประโยชน์แห่งการงานของบุคคลผู้มีศีลมิใช่บ่อ
เกิด ผู้คบหาบุคคลที่มิใช่บ่อเกิด ผู้มีปกติเบื่อหน่าย
ทำการงาน ย่อมไม่เผล็ดผลโดยชอบ.
ส่วนประโยชน์แห่งการงานของบุคคล ผู้ประ-
กอบธรรมอันเป็นภายใน คบหาบุคคลที่เป็นบ่อเกิด
อย่างนั้น ไม่มีปกติเบื่อหน่ายทำการงาน ย่อมเผล็ดผล
โดยชอบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 569
ข้าแต่เสด็จพ่อ ขอพระองค์จงทรงเสวนปัญญา
อันเป็นส่วนแห่งการประกอบความเพียร เป็นเครื่อง
ตามรักษาทรัพย์ที่รวบรวมไว้ และเหตุสองประการ
ข้างต้น ที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลแล้วนั้นเถิด อย่าได้
ทรงทำลายทรัพย์สินเสีย ด้วยการงานอันไม่สมควร
เพราะคนมีปัญญาทราม ย่อมล่มจมด้วยการงานอันไม่
สมควร ดังเรือนไม้อ้อฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหคฺคเต ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
กำลังในบุรุษผู้มีอัธยาศัยใหญ่ ในสัตว์โลกนี้ มี ๕ อย่าง. บทว่า พาหุพล
ได้แก่ กำลังกาย. บทว่า จริม ความว่า กำลังกายนั้น แม้เป็นของยิ่งใหญ่
ก็เป็นของเลวทรามอยู่นั่นเอง. เพราะเหตุไร ? เพราะเป็นกำลังของอันธพาล.
อธิบายว่า ถ้าหากกำลังกายจะชื่อว่าเป็นใหญ่จริง กำลังของนางนกไส้ก็ย่อม
เยากว่ากำลังของช้าง แต่กำลังของช้างเป็นปัจจัยแห่งความตาย เพราะเป็น
กำลังอันธพาล นางนกไส้ยังช้างให้ถึงความสิ้นชีวิตได้ เพราะมันเป็นสัตว์
ฉลาดในความรู้. แต่ในความข้อนี้ กิจด้วยกำลังในที่ทุกสถานไม่มีเลย. ควรนำ
พระสูตรที่ว่า พล หิ พาลสฺส วธาย โหติ แปลว่า แท้จริงกำลังย่อมมีไว้
เพื่อฆ่าคนโง่ ดังนี้เป็นต้นมาแสดง.
บทว่า โภคพล ความว่า กำลังอันเกิดแต่เครื่องอุปโภคเช่นเงินทอง
เป็นต้นทั้งหมด ชื่อว่ากำลังคือโภคสมบัติ กำลังโภคสมบัตินั้น ใหญ่กว่ากำลัง
กาย ด้วยอำนาจเป็นเครื่องค้ำจุน. ความมีชมรมอำมาตย์ อันมีมนต์ไม่ทำลาย
มีความแกล้วกล้า มีหทัยดี ชื่อว่ากำลังคืออำมาตย์. กำลังคืออำมาตย์นั้น
เป็นกำลังใหญ่กว่ากำลังสองอย่างข้างต้น เพราะความที่อำมาตย์เป็นผู้แกล้วกล้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 570
ในสงคราม. ความถึงพร้อมแห่งชาติ ด้วยสามารถแห่งตระกูลกษัตริย์ ก้าวล่วง
เสียซึ่งตระกูลทั้งสาม ชื่อว่า กำลังคือความเป็นผู้มีชาติสูง. กำลังคือความเป็นผู้
มีชาติสูงนั้นใหญ่กว่ากำลังนอกนี้ เพราะว่า ชนผู้ถึงพร้อมด้วยชาติเท่านั้น
ย่อมบริสุทธิ์ ชนนอกนี้หาบริสุทธิ์ไม่.
บทว่า ยานิ เจตานิ ความว่า บัณฑิตย่อมยึดคือย่อมครอบงำ
กำลังแม้ทั้ง ๔ อย่างเหล่านี้ ได้ด้วยอานุภาพแห่งกำลังใด กำลังนั้นได้แก่
กำลังปัญญา ท่านกล่าวว่าเป็นของประเสริฐ ว่าเป็นยอดแห่งกำลังทั้งปวง. เพราะ
เหตุไร เพราะบัณฑิตอันกำลังชนิดนั้นค้ำจุน ย่อมได้ซึ่งประโยชน์ คือย่อมถึง
ซึ่งความเจริญ. เพื่อจะยังเนื้อความนั้นให้สว่างแจ่มแจ้ง ควรแสดงปุณณนที
ชาดก ที่ว่า ปุณฺณนทึ เยน จ เปยฺยนาหุ แปลว่า ก็ชนทั้งหลายกล่าว
ถึงแม่น้ำที่เต็มฝั่งว่า อันสัตว์ใดพึงดื่มได้ดังนี้เป็นต้น และพึงแสดงสิริกาฬ-
กัณณปัญหา ปัญจบัณฑิตปัญหา สัตตุภัสตชาดก สัมภวชาดก และสรภังคชาดก
เป็นต้น.
บทว่า มนฺโท ได้แก่ คนมีปัญญาทรามคือคนโง่. บทว่า ผีต
ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ บุคคลผู้มีปัญญาทราม แม้หากได้ธรณีอันอุดม
สมบูรณ์ไปด้วยรัตนะ ๗ ไซร้ เมื่อไม่ปรารถนาเลยทีเดียว บุคคลอื่นผู้สมบูรณ์
ด้วยปัญญา กระทำการข่มขู่แล้วครอบครองธรณีนั้นได้ เพราะคนมีปัญญาทราม
ย่อมไม่สามารถเพื่อจะรักษายศที่ได้แล้ว หรือว่าไม่สามารถเพื่อจะได้ราชสมบัติ
อันเป็นมรดกของตระกูล หรือที่มาถึงแล้วโดยประเพณี อันมั่งคั่งสมบูรณ์.
เพื่อจะขยายความนั้นให้แจ่มแจ้ง บัณฑิตควรแสดงปาทัญชลิชาดก ที่ว่า อทฺธา
ปาทญฺชลี สพฺเพ ปญฺาย อติโรจติ แปลว่า ปาทัญชลีราชกุมารย่อม
ไพโรจน์ล่วงเราทั้งปวง ด้วยปัญญาแน่นอน ดังนี้เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 571
บทว่า ลทฺธาน ความว่า บุคคลอาศัยชาติสมบัติแล้ว แม้จะได้
ราชสมบัติอันเป็นของตระกูล. บทว่า สพฺเพนปิ ความว่า คนมีปัญญาทราม
ย่อมเป็นอยู่ด้วยราชสมบัติทั้งสิ้นไม่ได้ คือย่อมเป็นผู้ถึงความลำบาก เพราะ
ความเป็นผู้ไม่ฉลาดในอุบาย. พระมหาสัตว์กล่าวโทษของชนผู้มีใช่บัณฑิต
โดยฐานะเท่านี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะสรรเสริญปัญญา จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
ปญฺา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุต ได้แก่ สุตปริยัติ การเล่าเรียนด้วย
การฟัง. แท้จริงปัญญานั่นเอง ย่อมวินิจฉัยสิ่งที่ได้ยินได้ฟังนั้น. บทว่า
กิตฺติสิโลกวฑฺฒนี ได้แก่ เป็นเครื่องเจริญแห่งเกียรติยศชื่อเสียง และลาภ
สักการะ. บทว่า ทุกฺเข สุขานิ วินฺทติ ความว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา
แม้เมื่อทุกข์เกิดขึ้น ย่อมเป็นผู้ปลอดภัยกลับได้ความสุข เพราะเป็นผู้ฉลาดใน
อุบาย. เพื่อจะแสดงความนั้น ควรแสดงชาดก ซึ่งเป็นคาถามีใจความมีอาทิว่า
ดูก่อนพญาวานร ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ของ
บุคคลใด เหมือนของท่านเพียงพอ ด้วยมะม่วง ชมพู่
และขนุนเหล่านี้.
บทว่า อสุสฺสาส ความว่า ไม่เข้าไปใกล้ ไม่ฟังบุคคลผู้เป็นบัณฑิต.
บทว่า พหุสฺสุต อนาคมฺม ความว่า ไม่เชื่อถ้อยคำของเขา. บทว่า ธมฺมฏฺ
ความว่า ตั้งอยู่ในสภาพเหตุผล. บทว่า อวินิพฺภช ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ
ใคร ๆ ไม่หยั่งดู คือไม่พิจารณาดูว่า เป็นประโยชน์หรือไม่เป็น มีเหตุผล
หรือไม่มี ย่อมไม่ได้ซึ่งปัญญา.
บทว่า ธมฺมวิภงฺคญฺญู ความว่า เป็นผู้ฉลาดในกุศลกรรมบถ ๑๐.
บทว่า กาลุฏฺายี ความว่า กระทำความเพียรในกาลอันควรกระทำความเพียร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 572
บทว่า อนุฏฺหติ ความว่า ย่อมกระทำซึ่งกิจนั้น ๆ ในกาลนั้น ๆ. บทว่า
ตสฺส ความว่า ผลแห่งกรรมของบุคคลนั้นย่อมสำเร็จ คือย่อมเผล็ดผล.
บทว่า อนายตนสีลสฺส ความว่า กรรมคือความเป็นผู้ทุศีล มิใช่
บ่อเกิดแห่งลาภยศและความสุข ท่านเรียกว่ากรรมมิใช่บ่อเกิด เมื่อบุคคลผู้มี
ปกติอย่างนั้น คือบุคคลผู้ประกอบด้วยกรรม คือความเป็นผู้ทุศีลนั้น คบหา
อยู่ซึ่งบุคคลผู้ทุศีล ซึ่งเป็นผู้มิใช่บ่อเกิดอย่างเดียว ในกาลเป็นที่กระทำกุศล
กรรม. บทว่า นิพฺพินฺทิยการิสฺส ความว่า ผู้เบื่อหน่าย เอือมระอาใจ
กระทำการ. อธิบายว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ประโยชน์แห่งการงานของบุคคลเห็น
ปานนี้ ย่อมไม่เผล็ดผล คือไม่สำเร็จโดยชอบ ได้แก่ไม่นำไปสู่ฉกามาพจร
สวรรค์ อันเป็นยอดแห่งสกุลทั้งสาม.
บทว่า อชฺฌตฺตญฺจ ความว่า เมื่อบุคคลประกอบซึ่งนิยกัชฌตธรรม
ของตน ด้วยสามารถแห่งความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า ตถายตน-
เสวิโน ความว่า คบหาบุคคลผู้มีปกติเช่นนั้นอย่างเดียว. บทว่า วิปจฺจติ
ความว่า ประโยชน์ของเขาย่อมสำเร็จโดยชอบ คือย่อมให้ซึ่งยศอันยิ่งใหญ่.
บทว่า โยคปฺปโยคสงฺขาต ได้แก่ ปัญญาอันเป็นส่วนแห่งการ
ประกอบ ในเหตุการณ์อันสมควรประกอบ ในเพราะความเพียร. บทว่า
สมฺภุตสฺส ความว่า จงเสพการตามรักษาทรัพย์ ที่ทำการรวบรวมไว้. บทว่า
ตานิ ตฺว ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ขอพระองค์จงเสพการตามรักษาทรัพย์
ที่ทำการรวบรวมไว้ โปรดเสพคำสอนสองข้อข้างต้นนี้ และเหตุผลทั้งหมด
ดังที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ทูลแล้ว จงกระทำโอวาทที่ทูลมาแล้วไว้ในพระหฤทัย
แล้วทรงรักษาพระราชทรัพย์ ในพระคลังของพระองค์เถิด. บทว่า มา
อกฺมฺมาย รนฺธยิ ความว่า พระองค์อย่าทรงทำลาย โดยทางอันไม่สมควร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 573
ไม่มีเหตุผล คืออย่าเผาผลาญพระราชทรัพย์นั้น ได้แก่ อย่าทรงยังพระราช
ทรัพย์นั้นให้พินาศ. เพราะเหตุไร ? บทว่า อกมฺมุนา ความว่า เพราะ
กระทำกรรมอันไม่สมควร บุคคลผู้มีปัญญาทราม ผลาญทรัพย์ของตนพินาศ
แล้ว ภายหลังตกทุกข์ได้ยาก. บทว่า นฬาคารว สีทติ ความว่า เรือนไม้อ้อ
อันเก่าคร่ำคร่า ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมล้มทลายไปตั้งแต่โคน ฉันใด คนมี
ปัญญาทราม ผลาญทรัพย์ให้พินาศโดยไม่มีเหตุผล ย่อมบังเกิดในอบายฉันนั้น.
พระโพธิสัตว์ พรรณนากำลัง ๕ อย่าง โดยฐานะมีประมาณเท่านี้
อย่างนี้แล้ว ยกกำลังคือปัญญาขึ้นกล่าว เหมือนบุคคลนำมณฑลแห่งพระจันทร์
ไป เมื่อจะถวายโอวาทแก่พระราชา ด้วยคาถาทั้ง ๑๐ ในบัดนี้ จึงกล่าวคาถา
ความว่า
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในพระราชมารดา พระราชบิดา ครั้นทรง
ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในพระราชโอรสและพระอัครมเหสี ครั้นทรง
ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในมิตรและอำมาตย์ ครั้นทรงประพฤติธรรม
ในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในพาหนะและพลนิกาย ครั้นทรงประพฤติ
ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 574
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในชาวบ้านและชาวนิคม ครั้นทรงประพฤติ
ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ครั้นทรง
ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในเนื้อและนก ครั้นทรงประพฤติธรรมใน
โลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประ-
พฤติธรรม เพราะธรรมที่บุคคลประพฤติแล้ว ย่อม
นำความสุขมาให้ ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมใน
โลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม เพราะว่า พระอินทร์ ทวยเทพพร้อมทั้งพรหม
ถึงทิพยสถานได้ด้วยธรรมอันตนประพฤติดีแล้ว ข้าแต่
บรมกษัตริย์ ขอพระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย.
ในคาถาทั้ง ๑๐ นั้น พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑ ก่อน. บทว่า อิธ
ธมฺม ความว่า ขอพระองค์จงทรงประพฤติมาตาปิตุอุปัฏฐานธรรม. พระ
มหาสัตว์กล่าวว่า พระองค์โปรดเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ แล้วจัดแจงน้ำบ้วนปาก
และไม้สีฟันเป็นต้น กระทำการบริหารสรีรกิจทุกอย่าง ยังมาตาปิตุอุปัฏฐาน
ธรรมให้เต็มบริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 575
บทว่า ปุตฺตทาเรสุ ความว่า บิดาห้ามบุตรธิดาจากความชั่วก่อน
ให้ตั้งอยู่ในกรรมอันงาม ให้เล่าเรียนศิลปวิทยา ในเวลาเจริญวัย จัดการทำ
อาวาหมงคล และวิวาหมงคล ด้วยตระกูลและวัยอันคู่ควรกัน มอบทรัพย์ให้
ในสมัย ชื่อว่าประพฤติธรรมในบุตรธิดา. สามียกย่องนับถือภรรยา ไม่ประพฤติ
นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ให้ ให้เครื่องประดับ ชื่อว่าประพฤติธรรมใน
ภรรยา.
บทว่า มิตฺตามจฺเจสุ ความว่า พระราชาสงเคราะห์มิตรและอำมาตย์
ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง ชื่อว่าประพฤติธรรม
ในมิตรและอำมาตย์เหล่านั้น.
บทว่า พาหเนสุ พเลสุ จ ความว่า พระราชาพระราชทานสิ่งที่
ควรพระราชทาน แก่พาหนะเช่นช้างม้าเป็นต้น และแก่พลนิกาย ทำการเชิดชู
ไม่ใช้ช้างม้าเป็นต้น ในการงาน ในเวลาแก่ ชื่อว่าประพฤติธรรมในพาหนะ
และพลนิกายเหล่านั้น.
บทว่า คาเมสุ นิคเมสุ จ ความว่า พระราชาเมื่อไม่เบียดเบียน
บีบคั้นชาวบ้านและชาวนิคม ด้วยอาชญาและส่วยสาอากร ชื่อว่าประพฤติธรรม
ในชาวบ้านและชาวนิคมเหล่านั้น.
บทว่า รฏฺเสุ ชนปเทสุ จ ความว่า พระราชาเบียดเบียนชาว
แว่นแคว้น และชาวชนบทให้ลำบาก โดยใช่เหตุ ไม่เข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเกื้อกูล
ชื่อว่าประพฤติอธรรมในแว่นแคว้นและชนบทนั้น ถ้าไม่เบียดเบียนบีบคั้น
แผ่ (เมตตา) ไปด้วยจิตเกื้อกูล ชื่อว่าประพฤติธรรมในแว่นแคว้นและชนบท
นั้น.
บทว่า สมเณ พฺราหฺมเณสุ จ ความว่า พระราชาเมื่อพระราชทาน
จตุปัจจัยแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่าประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 576
บทว่า มิคปกฺเขสุ จ ความว่า พระราชาเมื่อพระราชทานอภัยแก่
สัตว์สี่เท้าและนกทั้งปวง ชื่อว่าประพฤติธรรมในมฤคชาติและหมู่ปักษีเหล่านั้น.
บทว่า ธมฺโม สุจิณฺโณ ความว่า ธรรมที่ประพฤติสม่ำเสมอ
อันพระราชาประพฤติแล้ว คือ นิสัมมจริยธรรมอันพระราชาทรงประพฤติแล้ว.
บทว่า สุขาวโห ความว่า ย่อมนำมาซึ่งความสุขในกุลสมบัติ ๓ และฉกามา-
พจรสวรรค์.
บทว่า สุจิณฺเณน ความว่า เพราะกายสุจริตเป็นต้น ที่พระองค์ทรง
ประพฤติแล้วในโลกนี้ อันพระองค์ทรงประพฤติดีแล้ว. บทว่า ทิว ปตฺตา
ความว่า พระอินทร์ เทพยดาพร้อมทั้งพรหม ไปสู่ทิพยสถาน กล่าวคือ เทวโลก
และพรหมโลก ได้แก่เกิดเป็นผู้ได้ทิพยสมบัติ ในทิพยสถานนั้น. บทว่า
มา ธมฺม ราช ปมาโท ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะฉะนั้น
พระองค์แม้ถึงจะต้องสละพระชนมชีพ ก็อย่าทรงประมาทซึ่งธรรม.
พระมหาสัตว์กล่าวคาถา แสดงธรรมจรรยาสิบอย่างดังนี้แล้ว เมื่อจะ
โอวาทให้ยิ่งขึ้นไป จึงกล่าวคาถาสุดท้ายความว่า
ข้อความที่ข้าพระองค์กราบทูลแล้วในปัญหาของ
พระองค์นั้น เป็นวัตรบท ข้อนี้แลเป็นอนุสาสนี ขอ
พระองค์จงทรงคบหาสมาคม กับผู้มีปัญญา จงเป็นผู้
มีกัลยาณธรรม พระองค์ทรงทราบความข้อนั้นด้วย
พระองค์เองแล้ว จงทรงปฏิบัติให้ครบถ้วนเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺเถว เต วตฺตปทา นี้ พึงประกอบ
โดยนัยก่อนนั้นเทอญ. บทว่า สปฺปญฺเสวิ กลฺยาณี สมตฺต สาม ต วิทู
ความว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์โปรดคบหาบุคคลที่มีปัญญาเป็นนิตยกาล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 577
จงประกอบด้วยคุณอันงาม ทรงรู้แจ้งเองเต็มที่บริบูรณ์ คือทรงทราบชัด โดย
ประจักษ์ด้วยพระองค์เองแล้ว โปรดปฏิบัติโอวาทตามที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูล
แล้ว ตามที่ทูลพร่ำสอนเถิด.
พระมหาสัตว์แสดงธรรมด้วยพุทธลีลาอย่างนี้ ประหนึ่งเทพยเจ้าผู้วิเศษ
ยังอากาศคงคาให้ตกลงมาฉะนั้น มหาชน ได้กระทำมหาสักการะ แล้วให้สาธุการ
นับเป็นพัน. พระราชา ทรงดีพระทัย ตรัสเรียกอำมาตย์มาดำรัสถามว่า ดูก่อน
อำมาตย์ผู้เจริญทังหลาย เจ้าชัมพุกบัณฑิตผู้มีจะงอยปากเสมอด้วยผลชมพู่อ่อน
ซึ่งเป็นบุตรของเรา ผู้กล่าวอยู่อย่างนี้ เราควรทำการตอบแทนด้วยสิ่งใด ?
อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ ควรทำการตอบแทนด้วยตำแหน่งเสนาบดี
พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เราจักพระราชทานตำแหน่งเสนาบดี
แก่เจ้าชัมพุกะนั้น แล้วทรงแต่งตั้งนกชัมพุกโพธิสัตว์ไว้ในฐานันดรศักดิ์ นับแต่
นั้นมา นกชัมพุกโพธิสัตว์ ดำรงอยู่ในตำแหน่งเสนาบดี ได้ทำการสนอง
ราชกิจของพระราชบิดา. สักการะมากมายได้มีแก่นกทั้งสาม แม้นกทั้งสาม
ก็พากันอนุศาสน์พร่ำสอนอรรถและธรรมถวายแด่พระราชา พระราชาทรงตั้ง
อยู่ในโอวาทของมหาสัตว์ ทรงบำเพ็ญบุญกุศลมีทานเป็นต้น แล้วเป็นผู้มี
สวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. อำมาตย์ทั้งหลายพากันจัดการถวายพระเพลิง
พระบรมศพของพระราชา แล้วแจ้งแก่นกทั้งสามกล่าวว่า ข้าแต่ท่านชัมพุกะ
พระราชาได้ทรงทำราชพินัยกรรมให้ยกเศวตฉัตรแก่ท่าน. พระมหาสัตว์ตอบว่า
เราไม่ต้องการด้วยราชสมบัติ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท ปกครองเถิด
แล้วยังมหาชนให้ตั้งมั่นอยู่ในศีล แนะนำว่าพวกท่านพึงยังการวินิจฉัยธรรมให้
เป็นไปอย่างนี้ แล้วให้จารึกหลักการวินิจฉัยข้อธรรมลงในสุพรรณบัฏ แล้ว
กลับเข้าสู่ป่า โอวาทของมหาสัตว์นั้นเป็นไปชั่วสี่หมื่นปี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 578
พระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้ ด้วยสามารถแห่งโอวาทแต่
พระราชา แล้วทรงประชุมชาดกว่าพระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์
นางนกกุณฑลินี ได้มาเป็นนางอุบลวรรณา นกเวสสันดร ได้มาเป็น
พระสารีบุตร ราชอำมาตย์ได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนนกชัมพุกะ ได้มาเป็น
เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาเตสกุณชาดก
๒. สรภังคชาดก
ว่าด้วยสรภังคดาบสเฉลยปัญหา
[๒๔๔๖] (อนุสิสสดาบส ถามว่า) ท่านทั้งหลาย
ผู้ประดับแล้ว สอดใส่กุณฑล นุ่งห่มผ้างดงาม เหน็บ
พระขรรค์มีด้ามประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ และแก้ว
มุกดา เป็นจอมพลรถยืนอยู่ เป็นใครกันหนอ ชน
ทั้งหลายในมนุษยโลก จะรู้จักท่านทั้งหลายอย่างไร ?
[๒๔๔๗] (พระเจ้าอัฏฐกราช ตรัสว่า) ข้าพเจ้าเป็น
กษัตริย์ชื่ออัฏฐกะ ท่านผู้นี้คือพระเจ้าภีมรถะ ส่วน-
ท่านผู้นี้คือพระเจ้ากาลิงคราช มีพระเดชฟุ้งเฟื่อง
ข้าพเจ้าทั้งหลายมาในที่นี้ เพื่อเยี่ยมท่านฤๅษีทั้งหลาย
ผู้สำรวมด้วยดี และเพื่อจะขอถามปัญหา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 579
[๒๔๔๘] (อนุสิสสดาบส กล่าวว่า) ท่านเหาะลอย
อยู่ในอากาศเวหา ดังพระจันทร์ลอยเด่นอยู่ท่ามกลาง
ท้องฟ้า ในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ ฉะนั้น ดูก่อนเทพยเจ้า
อาตมภาพขอถามท่านผู้มีอานุภาพมาก ชนทั้งหลายใน
มนุษยโลก จะรู้จักท่านได้อย่างไร ?
[๒๔๔๙] (ท้าวสักกเทวราช ตรัสว่า) ในเทวโลก
เขาเรียกข้าพเจ้าว่า สุชัมบดี ในมนุษยโลก เขาเรียก
ข้าพเจ้าว่า ท้าวมฆวา ข้าพเจ้านั้น คือท้าวเทวราช
วันนี้มาถึงที่นี่ เพื่อขอเยี่ยมท่านฤๅษีทั้งหลาย ผู้สำรวม
แล้วด้วยดี.
[๒๔๕๐] พระฤๅษีทั้งหลายของข้าพเจ้า ผู้มีฤทธิ์
มาก เข้าถึงซึ่งอิทธิคุณ มาประชุมพร้อมกันแล้วปรากฏ
ในที่ไกล ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ขอไหว้พระคุณเจ้า
ทั้งหลาย ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ ในชีวโลกนี้.
[๒๔๕๑] (อนุสิสสดาบส ทูลว่า) กลิ่นแห่งฤๅษี
ทั้งหลาย ผู้บวชมานาน ย่อมออกจากกายฟุ้งไปตาม
ลมได้ ดูก่อนท้าวสหัสสเนตร เชิญมหาบพิตร ถอยไป
เสียจากที่นี่ ดูก่อนท้าวเทวราช กลิ่นของฤๅษีทั้งหลาย
ไม่สะอาด.
[๒๔๕๒] (ท้าวสักกเทวราช ตรัสว่า) กลิ่นแห่ง
ฤๅษีทั้งหลายผู้บวชมานาน จงออกจากกายฟุ้งไปตาม
ลมเถิด ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 580
ย่อมมุ่งหวังกลิ่นนั้น ดังพวงบุปผชาติอันวิจิตรมีกลิ่น-
หอม เพราะว่าเทวดาทั้งหลาย มิได้มีความสำคัญใน
กลิ่นนี้ ว่าเป็นปฏิกูล.
[๒๔๕๓] (อนุสิสสดาบส กล่าวว่า) ท้าวมฆวาฬ
สุชัมบดี เทวราช องค์ปุรินททะ ผู้เป็นใหญ่แห่งภูต
มีพระยศ เป็นจอมแห่งทวยเทพ ทรงย่ำยีหมู่อสูร
ทรงรอคอยโอกาส เพื่อตรัสถามปัญหา.
บรรดาหมู่ฤๅษีผู้เป็นบัณฑิตเหล่านี้ ณ ที่นี้ ใคร
เล่าหนอถูกถามแล้ว จักพยากรณ์ปัญหาอันสุขุม ของ
พระราขาทั้ง ๓ พระองค์ ผู้เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์
และของท้าววาสวะ ผู้เป็นจอมแห่งทวยเทพได้.
[๒๔๕๔] (หมู่ฤาษี กล่าวว่า) ท่านสรภังคฤๅษี
ผู้เรืองตบะนี้ เว้นจากเมถุนธรรม ตั้งแต่เกิดมา เป็น
บุตรของปุโรหิตาจารย์ ได้รับฝึกฝนมาเป็นอย่างดี
ท่านจะพยากรณ์ปัญหา ของพระราชาเหล่านั้นได้.
[๒๔๕๕] (อนุสิสสดาบส กล่าวว่า) ข้าแต่ท่าน
โกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดพยากรณ์ปัญหา ฤๅษีทั้ง
หลายผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ พากันขอร้องท่าน ข้า-
แต่ท่านโกณฑัญญะ ภาระนี้ย่อมมาถึงท่านผู้เจริญด้วย
ปัญญา ข้อนี้เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์.
[๒๔๕๖] (สรภังคดาบส ทูลว่า) มหาบพิตรผู้
เจริญทั้งหลาย อาตมาภาพให้โอกาสแล้ว เชิญตรัส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 581
ถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามพระหฤทัยปรารถนา
เถิด ก็อาตมาภาพรู้โลกนี้ และโลกหน้า ด้วยตนเอง
แล้วจักพยากรณ์ปัญหานั้น ๆ แก่มหาบพิตรทั้งหลาย.
[๒๔๕๗] ลำดับนั้น ท้าวมฆวาฬสักกเทวราช
ปุรินททะ ทรงเห็นประโยชน์ ได้ตรัสถามปัญหาอัน
เป็นปฐม ดังที่พระทัยปรารถนาว่า
บุคคลฆ่าซึ่งอะไรสิ จึงจะไม่เศร้าโศกในกาล
ไหนๆ ฤๅษีทั้งหลายย่อมสรรเสริญการละอะไร บุคคล
พึงอดทนคำหยาบ ที่ใคร ๆ ในโลกนี้กล่าวแล้ว ข้า
แต่ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดบอกความข้อนี้
แก่โยมเถิด.
[๒๔๕๘] (สรภังคดาบส ทูลว่า) บุคคลฆ่าความ
โกรธได้แล้ว จึงจะไม่เศร้าโศกในกาลไหน ๆ ฤๅษี
ทั้งหลายย่อมสรรเสริญการละความลบหลู่ บุคคลควร
อดทนคำหยาบ ที่ชนทั้งปวงกล่าว สัตบุรุษทั้งหลาย
กล่าวความอดทนนี้ว่า สูงสุด.
[๒๔๕๙] (ท้าวสักกเทวราช ตรัสว่า) บุคคลอาจจะ
อดทนถ้อยคำของคนทั้งสองจำพวกได้ คือคนที่เสมอ
กัน ๑ คนที่ประเสริฐกว่าตน ๑ จะอดทนถ้อยคำของ
คนเลวกว่า ได้อย่างไรหนอ ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ
ขอท่านได้โปรดบอกความข้อนี้แก่โยมเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 582
[๒๔๖๐] (สรภังคดาบส ทูลว่า) บุคคลพึงอดทน
ถ้อยคำของคน ผู้ประเสริฐกว่าได้เพราะความกลัว พึง
อดทนถ้อยคำของคนที่เสมอกันได้ เพราะการแข่งขัน
เป็นเหตุ ส่วนผู้ใดในโลกนี้ พึงอดทนถ้อยคำของคน
ที่เลวกว่าได้ สัตบุรุษทั้งหลาย กล่าวความอดทนของ
ผู้นั้นว่า สูงสุด.
[๒๔๖๑] ไฉนจึงจะรู้จักคนประเสริฐกว่า คน
เสมอกัน หรือคนที่เลวกว่า ซึ่งมีสภาพอันอิริยาบถ ๔
ปกปิดไว้ เพราะว่า สัตบุรุษทั้งหลายย่อมเที่ยวไปด้วย
สภาพของคนชั่วได้ เพราะเหตุนั้นแล จึงควรอดทน
ถ้อยคำของคนทั้งปวง.
[๒๔๖๒] สัตบุรุษผู้มีความอดทน พึงได้ผลคือ
แม้มาก พร้อมด้วยพระราชา เมื่อรบอยู่จะพึงได้ผล
นั้น ก็หามิได้ เวรทั้งหลาย ย่อมระงับด้วยกำลังแห่ง
ขันติ.
[๒๔๖๓] (ท้าวสักกเทวราช ตรัสว่า) ข้าพเจ้าขอ
อนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน แต่จะขอถามปัญหา
อื่น ๆ กะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวแก้ปัญญานั้น โดยมี
พระราชา ๔ พระองค์ คือ พระเจ้าทัณฑกี ๑ พระ-
เจ้านาลิกีระ ๑ พระเจ้าอัชชุนะ ๑ พระเจ้ากลาพุ ๑
ขอท่านได้โปรดบอกคติของพระราชาเหล่านั้น ผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 583
บาปกรรมอันหนัก พระราชาทั้ง ๔ องค์นั้น เบียด
เบียนพระฤๅษีทั้งหลาย พากันไปบังเกิด ณ ที่ไหน ?
[๒๔๖๔] (สรภังคดาบส ทูลว่า) ก็พระเจ้า
ทัณฑกี ได้เรี่ยรายโทษลง ในท่านกีสวัจฉดาบสแล้ว
เป็นผู้ขาดสูญมูลราก พร้อมทั้งอาณาประชาราษฎร์
พร้อมทั้งรัฐมณฑล หมกไหม้อยู่ในนรก ชื่อกุกกุละ
ถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว ย่อมตกต้องกายของพระ-
ราชานั้น.
พระเจ้านาลิกีระ พระองค์ใด ได้เบียดเบียน
บรรพชิตทั้งหลาย ผู้สำรวมแล้ว ผู้กล่าวธรรม สงบ
ระงับ ไม่ประทุษร้ายใคร สุนัขทั้งหลายในโลกหน้า
ย่อมรุมกัดกินพระเจ้านาลิกีระนั้น ผู้ดิ้นรนอยู่.
อนึ่ง พระเจ้าอัชชุนะ เป็นผู้มีพระเศียรห้อยลง
เบื้องต่ำ มีพระบาทชี้ขึ้นเบื้องสูง ตกลงในสัตติสูลนรก
เพราะเบียดเบียนอังคิรสฤๅษีผู้โดดม ผู้มีความอดทน
ตบะ ประพฤติพรหมจรรย์มานาน.
พระราชาทรงพระนามว่า กลาพุ พระองค์ใด
ได้เชือดเฉือนพระฤๅษี ชื่อ ขันติวาที ผู้สงบระงับ
ไม่ประทุษร้าย ทำให้เป็นท่อนๆ พระราชาพระนามว่า
กลาพุพระองค์นั้น ได้บังเกิดหมกไหม้อยู่ในอเวจีนรก
อันร้อนใหญ่ มีเวทนาเผ็ดร้อน น่ากลัว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 584
บัณฑิตได้ฟังนรกเหล่านี้ และนรกเหล่าอื่น อัน
ชั่วช้ากว่านี้ ในที่นี้แล้วคงประพฤติธรรม ในสมณ-
พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้กระทำอย่างนี้ ย่อมเข้าถึงแดน
สวรรค์.
[๒๔๖๕] (ท้าวสักกเทวราช ตรัสว่า) ข้าพเจ้าขอ
อนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่น
กะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวแก้ปัญหานั้นด้วย.
บัณฑิตเรียกคนเช่นไรว่า มีศีล เรียกคนเช่นไรว่า
มีปัญญา เรียกคนเช่นไรว่า สัตบุรุษ สิริย่อมไม่ละ
คนเช่นไรหนอ ?
[๒๔๖๖] (สรภังคดาบส ทูลว่า) บุคคลใดในโลก
นี้ เป็นผู้สำรวมด้วย กาย วาจา และใจ ไม่ทำบาป
กรรมอะไร ๆ ไม่พูดพล่อย ๆ เพราะเหตุแห่งตน
บัณฑิตเรียกบุคคลเช่นนั้นว่า เป็นผู้มีศีล.
บุคคลใดคิดปัญหาอันลึกซึ้ง ได้ด้วยใจ ไม่ทำ
กรรมอันหยาบช้า อันหาประโยชน์มิได้ ไม่ปิดทาง
แห่งประโยชน์อันมาถึงตามกาล บัณฑิตเรียกบุคคล
เช่นนั้น ว่ามีปัญญา.
บุคคลใดแลเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที มีปัญญา
มีกัลยาณมิตรและมีความภักดี มั่นคง ช่วยทำกิจของ
มิตรผู้ตกยาก โดยเต็มใจ บัณฑิตเรียกบุคคลเช่นนั้น
ว่า สัตบุรุษ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 585
บุคคลใด ประกอบด้วยคุณสมบัติทั้งปวงเหล่านี้
คือเป็นผู้มีศรัทธา อ่อนโยน แจกทานด้วยดี รู้ความ
ประสงค์ สิริย่อมไม่ละบุคคลเช่นนั้น ผู้สงเคราะห์
มีวาจาอ่อนหวาน สละสลวย.
[๒๔๖๗] (ท้าวสักกเทวราช ตรัสว่า) ข้าพเจ้าขอ
อนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่น
กะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวแก้ปัญหานั้นด้วย นักปราชญ์
ย่อมกล่าว ศีล สิริ ธรรมของสัตบุรุษและปัญญา ว่า
ข้อไหนประเสริฐกว่ากัน ?
[๒๔๖๘] (พระมหาสัตว์ ทูลว่า) แท้จริง ท่านผู้
ฉลาดทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า ปัญญานั่นแหละประเสริฐ
สุด ดุจพระจันทร์ประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลายฉะนั้น
ศีล สิริ และธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเป็นไปตามบุคคล
ผู้มีปัญญา.
[๒๔๖๙] (ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า) ข้าพเจ้าขออนุ-
โมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะ
ท่าน ขอเชิญท่านกล่าวแก้ปัญหานั้น บุคคลในโลกนี้
ทำอย่างไร ทำด้วยอุบายอย่างไร ประพฤติอะไร เสพ
อะไรจึงจะได้ปัญญา ขอท่านได้โปรดบอกปฏิปทาแห่ง
ปัญญา ณ บัดนี้ว่า นรชนทำอย่างไร จึงจะเป็นผู้มี
ปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 586
[๒๔๗๐] (สรภังคดาบส ทูลว่า) บุคคลควรคบ
หาท่านผู้รู้ทั้งหลาย ละเอียดลออ เป็นพหูสูต ควร
เป็นนักเรียน นักสอบถาม พึงตั้งใจฟังคำสุภาษิตโดย
เคารพ นรชนทำอย่างนี้ จึงจะเป็นผู้มีปัญญา.
ผู้มีปัญญานั้น ย่อมพิจารณาเห็นกามคุณทั้งหลาย
โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ และ
โดยความเป็นโรค ผู้เห็นแจ้งอย่างนี้ย่อมละความพอ
ใจ ในกามทั้งหลาย อันเป็นทุกข์ มีภัยใหญ่หลวง
เสียได้.
ผู้นั้นปราศจากราคะแล้ว กำจัดโทสะได้ พึง
เจริญเมตตาจิต อันหาประมาณมิได้ งดอาชญาในสัตว์
ทุกจำพวกแล้ว ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงพรหมสถาน.
[๒๔๗๑] การเสด็จมาของมหาบพิตร ผู้มีพระ-
นามว่า อัฏฐกะ ภีมรถะและกาลิงคราช ผู้มีพระเดชา-
นุภาพฟุ้งเฟื่องไป เป็นการมาอย่างมีมหิทธิฤทธิ์ทุก ๆ
พระองค์ทรงละกามราคะได้แล้ว.
[๒๔๗๒] (พระราชาทั้งหลาย ตรัสว่า) ท่านเป็นผู้
รู้จิตผู้อื่น ข้อนั้น ก็เป็นอย่างนั้นแหละ ข้าพเจ้าทุกคน
ละกามราคะได้แล้ว ขอท่านจงให้โอกาส เพื่อความ
อนุเคราะห์ ตามที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะรู้ถึงคติของท่าน
ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 587
[๒๔๗๓] (สรภังคดาบส ทูลว่า) อาตมาให้
โอกาส เพื่อความอนุเคราะห์ เพราะมหาบพิตรทั้ง
หลาย ละกามราคะได้แล้วอย่างนั้น จงยังกายให้ซาบ
ซ่าน ด้วยปีติอันไพบูลย์ ตามที่มหาบพิตรทั้งหลาย
จะทรงทราบถึงคติ ของอาตมา.
[๒๔๗๔] (พระราชาทั้งหลาย ตรัสว่า) ข้าแต่ท่าน
ผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ข้าพเจ้าทั้งหลาย จักทำตามคำ
สั่งสอนที่ท่านกล่าวทุกอย่าง ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะยัง
กายให้ซาบซ่าน ด้วยปีติอันไพบูลย์ ตามที่ข้าพเจ้า
ทั้งหลาย จะรู้ถึงคติของท่าน.
[๒๔๗๕] (สรภังคดาบส กล่าวว่า) ดูก่อนท่านผู้
เจริญทั้งหลาย ฤๅษีทั้งหลายผู้มีคุณความดี ทำการบูชา
นี้ แก่กีสวัจฉดาบสแล้ว จงพากันไปยังที่อยู่ของตน ๆ
เถิด ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ยินดีในฌาน มีจิตตั้งมั่น
ทุกเมื่อเถิด ความยินดีนี้ เป็นคุณชาติประเสริฐสุด
ของบรรพชิต.
[๒๔๗๖] (พระบรมศาสดา ตรัสว่า) ชนเหล่านั้น
ได้ฟังคาถา อันประกอบไปด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง ที่
ฤาษีผู้เป็นบัณฑิตกล่าวดีแล้ว เกิดปีติโสมนัส พากัน
อนุโมทนาอยู่ เทวดาทั้งหลายผู้มียศ ต่างก็พากันกลับ
ไปสู่เทพบุรี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 588
คาถาเหล่านี้ มีอรรถพยัญชนะดี อันฤๅษีผู้เป็น
บัณฑิตกล่าวดีแล้ว คนใดคนหนึ่ง ฟังคาถาเหล่านี้
ให้มีประโยชน์พึงได้คุณพิเศษ ทั้งเบื้องต้นและเบื้อง
ปลาย ครั้นแล้ว พึงบรรลุถึงสถานที่ อันมัจจุราช
มองไม่เห็น.
[๒๔๗๗] สาลิสสระดาบส ในครั้งนั้นได้มาเป็น
พระสารีบุตร เมณฑิสสรดาบส ได้มาเป็นพระกัสสปะ
ปัพพตดาบส ได้มาเป็นพระอนุรุทธะ เทวลดาบสได้
มาเป็นพระกัจจายนะ อนุสิสสดาบส ได้มาเป็นพระ
อานนท์ กีสวัจฉดาบส ได้มาเป็นพระโกลิตะ คือพระ
โมคคัลลานะ พระนารทดาบส ได้มาเป็นพระปุณณ-
มันตานีบุตร บริษัทที่เหลือ ได้มาเป็นพุทธบริษัท
สรภังคดาบสโพธิสัตว์ ได้มาเป็นเราตถาคต เธอทั้ง
ลายจงทรงจำชาดกไว้อย่างนี้.
จบสรภังคชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 589
อรรถกถาสรภังคชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ
ปรารภการปรินิพพาน ของพระมหาโมคคัลลานะ ตรัสพระธรรมเทศนา
นี้มีคำเริ่มต้นว่า อลงฺกตา กุณฺฑลิโน สุวตฺถา ดังนี้.
ได้ยินว่า พระสารีบุตรเถระกราบทูลให้พระตถาคตเจ้า ซึ่งประทับ
อยู่ในพระเชตวัน ทรงอนุญาตการปรินิพพานแล้ว เดินทางไปปรินิพพาน ณ
ห้องที่ตนเกิด ในนาลันทคาม. พระศาสดาทรงสดับข่าวว่า พระสารีบุตร
ปรินิพพานแล้ว จึงเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระเวฬุวันวิหาร.
คราวนั้น พระมหาโมคคัลลานเถระ อยู่ที่กาฬศิลาประเทศ ข้างภูเขาอิสิคิลิ.
ก็ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั้น เที่ยวไปยังเทวโลกบ้าง อุสสทนรกบ้าง ด้วย
ความเป็นผู้ถึงที่สุดด้วยกำลังฤทธิ์. ท่านเห็นอิสริยยศใหญ่ของพุทธสาวกใน
เทวโลก เห็นทุกข์ใหญ่หลวงของติตถิยสาวกในอุสสทนรก แล้วกลับมายัง
มนุษยโลก แจ้งแก่มนุษย์ทั้งหลายว่า อุบาสกคนโน้น และอุบาสิกาคนโน้น
บังเกิดเสวยมหาสมบัติในเทวโลกชื่อโน้น สาวกของเดียรถีย์คนโน้นกับคนโน้น
บังเกิดที่นรกเป็นต้น ในอบายชื่อโน้น. มนุษย์ทั้งหลายพากันเลื่อมใสใน
พระศาสนา ละเลยพวกเดียรถีย์เสีย. ลาภสักการะใหญ่หลวงได้มีแก่สาวกของ
พระพุทธเจ้า. ลาภสักการะของพวกเดียรถีย์ก็เสื่อมลง. พวกเดียรถีย์เหล่านั้น
จึงพากันผูกอาฆาตในพระเถระ ว่า เมื่อพระเถระนี้ยังมีชีวิตอยู่ อุปัฏฐากของ
พวกเราก็แตกแยก ทั้งลาภสักการะก็เสื่อมลง พวกเราจักฆ่าพระเถระให้ตาย.
พวกเดียรถีย์ทั้งหลาย จึงจ้างโจรชื่อสมณกุตต์ เป็นเงินพันหนึ่ง เพื่อให้ฆ่า
พระเถระ. โจรสมณกุตต์คิดว่า เราจักฆ่าพระเถระให้ตาย จึงไปยังถ้ำกาฬศิลา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 590
พร้อมด้วยสมุนโจรเป็นอันมาก. พระเถระเห็นโจรสมณกุตต์กาลังเดินมา จึง
เหาะหลบหลีกไปเสียด้วยฤทธิ์. วันนั้นโจรเห็นพระเถระเหาะไปจึงกลับเสีย
ได้มาติด ๆ กัน ทุก ๆ วันรุ่งขึ้น รวม ๖ วัน. ฝ่ายพระเถระก็หลบหลีกไป
ด้วยฤทธิ์ ดังที่เคยมา. แต่ในวันที่เจ็ด อปราปรเวทนียกรรมที่พระเถระทำไว้
ในปางก่อนได้โอกาส. ได้ยินว่า ในชาติก่อน พระเถระเชื่อถ้อยคำของภรรยา
ประสงค์จะฆ่ามารดาบิดาให้ตาย จึงนำไปสู่ป่าด้วยยานน้อย. ทำอาการดุจโจร
ตั้งขึ้น แล้วโบยตีมารดาบิดา. มารดาบิดาทั้งสองมองไม่เห็นอะไร เพราะมี
จักษุพิการ จำบุตรของตนนั้นไม่ได้ โดยสำคัญว่า นั่นเป็นพวกโจร ต่าง
ปริเทวนาการ เพื่อประโยชน์ต่อบุตรอย่างเดียวว่า ลูกเอ๋ย ให้โจรพวกโน้น
มันฆ่าพ่อฆ่าแม่เถิด เจ้าจงหลบเอาตัวรอดเถิด. บุตรชายคิดว่า มารดาบิดา
ของเราทังสองท่านนี้ แม้จะถูกเราทุบตี ก็ยังร่ำไรรำพัน เพื่อประโยชน์
แก่เราผู้เดียว เราทำกรรมอันไม่สมควรเลย. ลำดับนั้น เขาจึงปลอบโยนมารดา
บิดา แสดงอาการดุจพวกโจรหนีไป แล้วนวดฟั้นมือเท้าของท่านทั้งสองพูดว่า
คุณแม่คุณพ่ออย่ากลัวเลย พวกโจรหนีไปแล้ว แล้วนำกลับมายังเรือนของตน
ตามเดิม.
กรรมนั้นไม่ได้โอกาส ตลอดเวลามีประมาณเท่านี้ ตั้งอยู่เหมือนกอง
เพลิง ถูกเถ้ากลบไว้เฉพาะหน้า แล้ววิ่งเข้าสู่สรีระอันไม่มีที่สุดนี้. ก็กรรมนี้
ได้โอกาสในที่ใดย่อมให้ผลในที่นั้น เปรียบเหมือนสุนัขอันนายพรานพบเนื้อ
แล้วปล่อยให้ไล่ติดตามเนื้อ ทันกันในที่ใดก็กัดในที่นั้นฉะนั้น ขึ้นชื่อว่าผู้ที่จะ
พ้นจากกรรมนั้นได้ไม่มีเลย. พระเถระรู้ว่า กรรมที่ตนทำไว้หน่วงเหนี่ยว
จึงมิได้หลบหลีกต่อไป. เพราะผลของกรรมนั้น พระเถระจึงไม่สามารถจะเหาะ
ไปในอากาศได้. ฤทธิ์ของพระเถระแม้สามารถทรมานนันโทปนันทนาคราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 591
แลสามารถยังเวชยันตปราสาทให้หวั่นไหว ก็ถึงความทุรพลเพราะกำลังแห่ง
กรรม. โจรจับพระเถระได้ ทุบจนกระดูกของพระเถระ มีขนาดเท่าเมล็ด
ข้าวสารแหลกละเอียดไป เหมือนบดฟางให้เป็นแป้งฉะนั้น แล้วโยนไปที่หลัง
พุ่มไม้แห่งหนึ่ง ด้วยสำคัญว่าตายแล้ว พร้อมด้วยสมุนโจรหลีกกลับไป. ฝ่าย
พระเถระกลับได้สติ แล้วคิดว่า เราจักถวายบังคมลาพระศาสดาก่อน จึงจัก
ปรินิพพาน ดังนี้ แล้วเยียวยาอัตภาพด้วยฌานทำให้มั่นคง แล้วเหาะไปยัง
สำนักของพระศาสดาทางอากาศ ถวายบังคมพระศาสดาแล้วทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อายุสังขารของข้าพระองค์ถดถอยแล้ว ข้าพระองค์จัก
ปรินิพพาน. พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอจักปรินิพพาน
หรือ ? ทูลตอบว่า พระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตรัสถามว่า เธอ
จักไปปรินิพพานที่ไหน ทูลตอบว่า ที่แผ่นหิน ในถ้ำกาฬศิลา พระเจ้าข้า.
ตรัสว่า โมคคัลลานะ ถ้าเช่นนั้นเธอจงกล่าวธรรมแก่เราก่อน แล้วค่อยไป
เพราะบัดนี้ การที่จะได้เห็นสาวกเช่นเธอ ไม่มีอีกแล้ว. พระมหาโมคคัลลานะ
ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักกระทำตามพระพุทธดำรัส แล้ว
เหาะขึ้นไปบนอากาศ สูงชั่วต้นตาล แสดงฤทธิ์มีประการต่าง ๆ เหมือนพระ-
สารีบุตรเถระในวันที่จะปรินิพพาน กล่าวธรรมกถาถวายบังคมพระบรมศาสดา
แล้วปรินิพพาน ณ ดงเนกาฬศิลาประเทศ. ในทันใดนั้นเอง ชาวเทวโลกทั้ง
๖ ชั้น เกิดโกลาหลเป็นอันเดียวกันว่า ข่าวว่า อาจารย์ของพวกเราปรินิพพาน
แล้ว ต่างถือของหอม มาลา ธูป เครื่องอบ และจันทน์จุรณอันเป็นทิพย์
ทั้งฟืนนานาชนิดมา (ประชุมกันแล้ว). จิตกาธารแล้วด้วยจันทน์แดง สูง
๙๙ ศอก พระศาสดาประทับอยู่ใกล้ ๆ ศพพระเถระ ตรัสสั่งให้จัดการปลงศพ
ของพระเถระ. รอบ ๆ สุสาน ฝนดอกไม้โปรยตกลงมาในที่ประมาณโยชน์หนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 592
ได้มีมนุษย์อยู่ระหว่างเทวดา เทวดาอยู่ระหว่างมนุษย์. ถัดเทวดาโดยลำดับ
พวกยักษ์ยืนอยู่ ถัดพวกยักษ์มาก็เป็นพวกคนธรรพ์ ถัดจากพวกคนธรรพ์มา
เป็นพวกนาค ถัดจากพวกนาคมาเป็นพวกครุฑ ถัดจากพวกครุฑมาเป็นพวก
กินนรา ถัดจากพวกกินนรามาเป็นพวกกินนร ถัดจากพวกกินนรมาก็เป็นฉัตร
ถัดจากฉัตรออกมาเป็นสุวรรณจามร ถัดจากสุวรรณจามรออกมา เป็นธงชัย
ถัดธงชัยออกมาเป็นธงแผ่นผ้า. ผู้ที่มาประชุมทุกเหล่า บรรดามีต่างเล่นสาธุ
กีฬาอยู่ตลอดเจ็ดวัน. พระศาสดาตรัสสั่งให้เก็บธาตุของพระเถระมาทำเจดีย์
บรรจุไว้ที่ซุ้มประตู พระเวฬุวันวิหาร.
กาลนั้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย
พระสารีบุตรเถระ ไม่ได้รับความยกย่องอย่างใหญ่หลวง ในสำนักของ
พระพุทธเจ้า เพราะมิได้ปรินิพพานในที่ใกล้พระตถาคตเจ้า พระมหาโมค-
คัลลานเถระได้รับเกียรติอย่างยิ่งใหญ่ เพราะปรินิพพานในที่ใกล้พระพุทธเจ้า.
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากัน
ด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย พระโมคคัลลานะมิใช่จะได้สัมมานะจากสำนักของเรา ในชาตินี้เท่านั้น
ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน เธอก็ได้แล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมา
ตรัสดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางพราหมณี ภรรยาของ
ปุโรหิตได้สิบเดือนก็คลอดจากครรภ์มารดาในเวลาใกล้รุ่ง. ขณะนั้น อาวุธ
ทั้งปวงในพระนครพาราณสี มีอาณาเขต ๑๒ โยชน์ ก็ลุกโพลงขึ้น. ในขณะ
ที่บุตรคลอด ปุโรหิตออกมาภายนอก แลดูอากาศ เห็นนิมิตเครื่องประกอบ
นักษัตร ก็รู้ว่า กุมารนี้จักเป็นผู้เลิศกว่านายขมังธนูทั้งปวง ในชมพูทวีปทั้งสิ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 593
เพราะเป็นผู้ที่เกิดโดยนักษัตรนี้ จึงไปยังราชตระกูลแต่เช้าตรู่ กราบทูลถาม
ถึงความที่พระราชาบรรทมเป็นสุข. เมื่อพระราชาตรัสว่า ดูก่อนท่านอาจารย์
ความสุขจะมีมาแต่ไหน ในวันนี้ อาวุธในพระราชวังทั้งหมดโพลงไปหมด จึง
กราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์อย่าตกพระทัยกลัว ใช่ว่าอาวุธจะโพลงเฉพาะ
ในพระราชวังก็หามิได้ แม้ในพระนครก็โพลงไปสิ้นทุกแห่งเหมือนกัน ที่ได้
เป็นอย่างนี้ เพราะวันนี้ กุมารเกิดในเรือนของข้าพระพุทธเจ้า. พระราชา
ตรัสว่า ท่านอาจารย์กุมารที่เกิดแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างไร ? ปุโรหิตกราบ
ทูลว่า ขอเดชะ ข้าแต่มหาราชเจ้า ไม่มีอะไรดอกพระพุทธเจ้าข้า แต่ว่ากุมาร
นั้นจักได้เป็นยอดแห่งนายขมังธนู ในชมพูทวีปทั้งสิ้น. พระราชาตรัสว่า ดีละ
ท่านอาจารย์ ถ้าเช่นนั้นท่านจงประคบประหงมกุมารนั้น แล้วยกให้เราในเวลา
ที่เขาเจริญวัย ดังนี้แล้ว ตรัสสั่งให้พระราชทานทรัพย์พันหนึ่งเป็นค่าน้ำนม
ก่อน. ปุโรหิตนั้นรับทรัพย์ไปเรือนมอบให้นางพราหมณี ในวันตั้งชื่อลูกชาย
ได้ขนานนามว่า โชติปาละ เพราะในขณะที่ตลอดอาวุธโพลงทั่ว. โชติปาล-
กุมารเจริญวัย ด้วยบริวารเป็นอันมาก ในคราวอายุครบ ๑๖ ปี เป็นผู้มี
รูปทรงอุดมได้ส่วนสัด บิดาของโชติปาลกุมาร มองดูสรีรสมบัติจึงมอบทรัพย์
ให้พันหนึ่ง บอกว่า ลูกเอ๋ย เจ้าจงไปเมืองตักกศิลา เรียนศิลปศาสตร์ในสำนัก
ของอาจารย์ทิศาปาโมกข์เถิด. โชติปาลกุมารรับคำแล้ว ถือเอาทรัพย์ส่วนของ
อาจารย์ ไหว้มารดาบิดา ลาไปในเมืองตักกศิลานั้น มอบทรัพย์ให้อาจารย์
พันหนึ่งแล้ว เริ่มเรียนศิลปวิทยา ถึงความสำเร็จโดยสัปดาห์เดียวเท่านั้น
ลำดับนั้น อาจารย์ก็ยินดี จึงให้พระขรรค์แก้ว ธนูเขาแพะ แล่งธนู อัน
ประกอบต่อกัน ซึ่งเป็นของตน กับเสื้อเกราะ และกรอบหน้าของตน แล้ว
มอบมาณพทั้งห้าร้อยแก่โชติปาลกุมารนั้นว่า พ่อโชติปาละ อาจารย์แก่แล้ว บัดนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 594
เธอจงช่วยฝึกสอนมาณพเหล่านี้ด้วยเถิด. พระโพธิสัตว์รับเครื่องอุปกรณ์
ทุกอย่างแล้ว กราบลาอาจารย์ เดินทางมุ่งมายังพระนครพาราณสี เยี่ยมมารดา
บิดายืนอยู่.
ลำดับนั้น ปุโรหิตผู้บิดา จึงถามโชติปาลกุมารซึ่งไหว้แล้วยืนอยู่ว่า
ลูกรัก เจ้าเรียนศิลปวิทยาจบแล้วหรือ ? เขาตอบว่า ขอรับคุณพ่อ. ปุโรหิตบิดา
ฟังคำตอบแล้วไปยังราชตระกูล กราบทูลว่า ขอเดชะ บุตรของข้าพระพุทธเจ้า
เรียนศิลปวิทยากลับมาแล้ว เขาจะทำอะไร พระพุทธเจ้าข้า 9 พระราชาตรัสว่า
ท่านอาจารย์ เขาจงมาบำรุงเราเถิด. ทูลว่า ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า
พระองค์โปรดทรงคำนึงถึงเบี้ยเลี้ยงสำหรับบุตรของข้าพระพุทธเจ้า ตรัสว่า
เขาจะได้เบี้ยเลี้ยงพันหนึ่งทุก ๆ วัน. ปุโรหิตรับพระดำรัสแล้ว จึงไปเรือน
ให้เรียกกุมารมาสั่งว่า ลูกรัก เจ้าจงบำรุงรับใช้พระราชาเถิด. นับแต่นั้นมา
โชติปาลกุมารก็บำรุงพระราชาได้ทรัพย์วันละพันทุกวัน ข้าราชบาทมูลิกา
ทั้งหลาย พากันโพนทะนาว่า พวกเรายังไม่เห็นการงานที่โชติปาละกระทำ
แต่เขารับเบี้ยเลี้ยงวันละพันทุก ๆ วัน พวกเราอยากจะเห็นศิลปะของเขา.
พระราชาทรงสดับถ้อยคำของชนพวกนั้น จึงตรัสบอกปุโรหิต. ปุโรหิตรับสนอง
พระราชดำรัสว่า ขอเดชะ ดีแล้วพระพุทธเจ้าข้า แล้วแจ้งแก่บุตรของตน.
โชติปาลกุมารพูดว่า ดีแล้วขอรับคุณพ่อ ในวันที่เจ็ดนับแต่วันนี้ไป ผมจัก
แสดงศิลปะ อนึ่ง ขอพระราชาโปรดตรัสสั่งให้นายขมังธนู ในแว่นแคว้นของ
พระองค์มาประชุมกัน ปุโรหิตได้ฟังดังนั้น จึงไปกราบทูลเนื้อความนั้นแก่
พระราชา พระราชาโปรดให้ตีกลองเที่ยวป่าวร้องไปในพระนคร แล้วมีพระ-
ราชโองการให้นายขมังธนูมาประชุมกัน. นายขมังธนู จำนวน หกหมื่นคน
มาประชุมพร้อมกัน . พระราชาทรงทราบว่า พวกนายขมังธนูประชุมพร้อมแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 595
จึงโปรดให้ตีกลองเที่ยวประกาศว่า ชาวพระนครทั้งหลายจงไปดูศิลปะของ
โชติปาลกุมาร แล้วให้ตระเตรียมพระลานหลวง แวดล้อมไปด้วยมหาชน
ประทับนั่งเหนือบัลลังก์อันประเสริฐ แล้วทรงส่งราชบุรุษ ให้ไปเชิญโชติปาล
กุมารว่า เจ้าโชติปาลกุมารจงมาเถิด. โชติปาลกุมาร จึงซ่อนธนู แล่งธนู
เสื้อเกราะ และอุณหิสที่อาจารย์ให้ไว้ในระหว่างผ้านุ่ง ให้คนถือพระขรรค์
แล้วเดินมายังสำนักพระราชา ด้วยท่าทางปกติ ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พวกนายขมังธนูทำการนัดหมายกันว่า เขาว่าโชติปาลกุมา จะมาเพื่อแสดงศิลปะ
คือธนู แต่ไม่ถือธนูมา คงอยากจะเอาธนูจากมือของพวกเรา พวกเราอย่าให้
ธนูแก่เขา. พระราชาตรัสเรียกโชติปาลกุมารมารับสั่งว่า เจ้าจงแสดงศิลปะเถิด.
โชติปาลกุมารจึงให้กั้นม่าน แล้วยืนภายในม่าน คลี่ผ้าสาฎกออก สวมเกราะ
สอดเสื้อ แล้วสวมอุณหิสบนศีรษะ ยกสายมีวรรณะดุจแก้ว ประพาฬที่ธนูเขา-
แพะขึ้นแล้ว ผูกแล่งธนูไว้เบื้องหลัง เหน็บพระขรรค์ไว้เบื้องหน้า เอาหลัง
เล็บควงลูกธนูมีปลายดุจเพชร แหวกม่านออกมา คล้ายนาคกุมารผู้ประดับ
ตกแต่งแล้ว ชำแรกแผ่นดินออกมาฉะนั้น เดินไปแสดงความนอบน้อมแด่
พระราชายืนอยู่. มหาชนเห็นกุมารนั้นแล้ว ต่างโห่ร้องบันลือปรบมือกันอึงมี่.
พระราชาตรัสว่า ดูก่อนเจ้าโชติปาละ เจ้าจงแสดงศิลปะเถิด. โชติปาลกุมารทูล
ว่า ขอเดชะ พระอาญาไม่พ้นเกล้า บรรดานายขมังธนูของพระองค์ โปรดรับสั่ง
ให้มา ๔ คน คือคนที่ยิงไวดุจฟ้าแลบ คนที่ยิงแม่น แม้ขนทรายก็ไม่
ผิด คนที่ยิงตามเสียงที่ได้ยิน และคนที่ยิงสวนไปตามลูกศรที่ยิงมา.
พระราชาก็โปรดให้เรียกมา.
พระมหาสัตว์จัดทำมณฑปภายในที่กำหนดสี่เหลี่ยมในพระลานหลวง
ให้นายขมังธนูทั้งสี่ยืนอยู่ทั้งสี่มุม แล้วให้ลูกธนูสามหมื่นแก่นายขมังธนูคนหนึ่งๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 596
ให้คนที่จะส่งลูกธนูยืนอยู่ใกล้ๆ นายขมังธนูคนหนึ่ง ๆ แล้วตนเองถือเอาลูกธนู
มีปลายดุจเพชร ยืนอยู่ท่ามกลางมณฑป กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช
นายขมังธนูทั้งสี่เหล่านี้ จงปล่อยลูกธนูยิงข้าพระพุทธเจ้าพร้อมกันเถิด ข้าพระ-
พุทธเจ้าจักห้ามลูกธนูที่พวกเขายิงมา. พระราชาทรงรับสั่งบังคับว่า พวกท่าน
จงกระทำอย่างนี้. พวกนายขมังธนูจึงกราบทูลว่า ขอเดชะ พระมหาราชเจ้า
พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นนายขมังธนูผู้ยิงเร็วดุจฟ้าแลบ ยิงแม่น แม้ขนทรายก็ไม่
ผิด ยิงตามเสียงที่ได้ยิน และยิงสวนไปตามลูกศรที่ยิงมา โชติปาละเป็นเด็กหนุ่ม
พวกข้าพระพุทธเจ้าจักยิงหาได้ไม่. พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า ถ้าพวกท่านสามารถ
ก็เชิญยิงข้าพเจ้าได้. นายขมังธนูเหล่านั้นรับว่า ดีแล้ว จึงยิงลูกธนูไปพร้อมกัน
พระมหาสัตว์เอาลูกศรปัดลูกธนูเหล่านั้นให้ตกลงโดยแนบเนียน เหมือนแวดวง
ซุ้มโพธิพฤกษ์ ซัดดอกธนูไปตามดอกธนู ตัวลูกธนูไปตามลูกธนู พู่ลูกธนู
ไปตามพู่ลูกธนู ไม่ให้ก้าวก่ายกัน ได้กระทำดุจเป็นห้องลูกธนู จนลูกธนูของ
นายขมังธนูทั้งหมดหมดสิ้น. พระมหาสัตว์รู้ว่า ลูกธนูของพวกนายขมังธนู
หมดแล้ว ไม่ยังห้องลูกธนูให้ทลาย กระโดดขึ้นไปยืนเฝ้าอยู่ใกล้ๆ พระราชา.
มหาชนต่างโห่ร้องบันลือ ปรบมือเกรียวกราว ดีดนิ้วมือ ทำมหาโกลาหล
โยนผ้าและเครื่องอาภรณ์ขึ้นไป จนมีทรัพย์นับได้ถึง ๑๘ โกฏิ เป็นกองอยู่
อย่างนี้. ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามโชติปาลกุมารว่า ดูก่อนพ่อโชติปาละ
นี่ชื่อศิลปะอะไร ? กราบทูลว่า ขอเดชะ ชื่อสรปฏิพาหนะ เครื่องห้ามลูกศร
พระพุทธเจ้าข้า. ตรัสถามว่า คนอื่น ๆ ผู้รู้อย่างนี้มีหรือ ? ทูลว่า ขอเดชะ
เว้นข้าพระพุทธเจ้าเสียแล้ว คนอื่นในชมพูทวีปทั้งสิ้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสว่า พ่อโชติปาละ เจ้าจงแสดงศิลปะอื่นบ้าง. กราบทูลว่า ขอเดชะ
ถ้านายขมังธนูทั้งสี่นาย ยืนอยู่ที่มุมทั้งสี่ ไม่สามารถจะยิงข้าพระพุทธเจ้าได้ไซร้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 597
แต่ข้าพระพุทธเจ้าจักยิงพวกนี้ ซึ่งยืนอยู่ ณ มุมทั้งสี่ด้วยลูกธนูลูกเดียวเท่านั้น
พวกนายขมังธนูไม่กล้าพอ ที่จะยืนอยู่ได้.
พระมหาสัตว์จึงให้ปักต้นกล้วยไว้ที่มุมทั้งสี่ สี่ต้นแล้วผูกด้ายแดงที่ตัว
ลูกธนู ยิงไปหมายกล้วยต้นหนึ่ง ลูกธนูแทงกล้วยต้นที่หนึ่ง ทะลุไปถึงต้น
ที่สองที่สามที่สี่ แล้วทะลุถึงต้นแรกที่แทงแล้วออกมาตั้งอยู่ในมือตามเดิม.
ต้นกล้วยทั้งหลายอันด้ายร้อยแล้ว ยังตั้งอยู่ได้. มหาชนบันลือเสียงสนั่นหวั่น-
ไหว นับเป็นพัน. พระราชาตรัสถามว่า นี้ชื่อศิลปะอะไรพ่อ ? พระมหาสัตว์
ทูลตอบว่า ขอเดชะ. ชื่อจักกวิทธศิลปะแทงจักร พระพุทธเจ้าข้า. พระราชา
ตรัสว่า เจ้าจงแสดงศิลปะแม้อย่างอื่นเถิดพ่อ. พระมหาสัตว์จึงแสดงศิลปะชื่อ
สรลัฏฐิ คือศิลปะไม้เท้าแล้วด้วยลูกศร ชื่อสรรัชชุ คือศิลปะรูปเชือกแล้วด้วย
ลูกศร ชื่อสรเวณิ คือศิลปะมวยผมแล้วด้วยลูกศร ชื่อสรปาสาทะ คือศิลปะ
รูปปราสาทลูกศร ชื่อสรมัณฑปะ คือศิลปะรูปมณฑปลูกศร ชื่อสรโสปาณะ
คือศิลปะรูปบันไดลูกศร ชื่อสรมัณฑละ คือศิลปะรูปสนามแล้วด้วยลูกศร
ชื่อสรปาการะ คือศิลปะรูปกำแพงแล้วด้วยลูกศร ชื่อสรวนะ คือศิลปะรูปป่า
แล้วด้วยลูกศร ชื่อสรโปกขรณี คือศิลปะรูปสระโบกขรณีแล้วด้วยลูกศร ชื่อ
สรปทุมะ คือศิลปะรูปดอกบัวแล้วด้วยลูกศร ยังศิลปะชื่อสรปุปผะ คือรูป
ดอกไม้แล้วด้วยลูกศรให้บาน ยังศิลปะชื่อ สรวัสสะ คือรูปฝนแล้วด้วยลูกศร
ให้ตก. ครั้นพระมหาสัตว์แสดงศิลปะสิบสองอย่างเหล่านี้ อันไม่ทั่วไปด้วยชน
เหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว ทำลายชุมนุมใหญ่เจ็ดครั้งอันไม่ทั่วไปด้วยชนเหล่าอื่นอีก.
พระมหาสัตว์ ยิงแผ่นไม้สะแกหนา ๘ นิ้ว ยิงแผ่นไม้ประดู่หนา ๔ นิ้ว ยิง
แผ่นทองแดงหนา ๒ นิ้ว ยิงแผ่นเหล็กหนา ๑ นิ้ว ยิงแผ่นกระดาน ๑๐๐ ครั้ง
ให้ติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน แล้วยิงลูกธนูไปทางเบื้องหน้าเกวียนบรรทุกใบไม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 598
เกวียนบรรทุกทราย และเกวียนบรรทุกแผ่นกระดาน ให้ทะลุออกทางเบื้องหลัง
ยิงลูกศรไปทางเบื้องหลัง ให้ทะลุออกไปโดยทางหน้า ยิงลูกธนูไปยังที่ ๔
อุสภะในน้ำ ๘ อุสภะบนบก ยิงขนทรายในที่สุดแห่งอุสภะ ด้วยสัญญาผลมะ-
แว้งเครือ. เมื่อโชติปาลกุมาร แสดงศิลปะมีประมาณเท่านี้อยู่ พระอาทิตย์
อัสดงคตไปแล้ว ลำดับนั้น พระราชา ตรัสสั่งให้กำหนดตำแหน่งเสนาบดีแก่เขา
ตรัสว่า พ่อโชติปาละ. วันนี้ค่ำเสียแล้ว พรุ่งนี้เจ้าจักได้รับสักการะคือตำแหน่ง
เสนาบดีเจ้าจงไปตัดผม โกนหนวด อาบน้ำแล้วมาเถิด ดังนี้แล้ว. ได้พระราชทาน
ทรัพย์แสนหนึ่งเพื่อเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงไปในวันนั้น.
พระมหาสัตว์คิดว่า เราไม่มีความต้องการด้วยทรัพย์จำนวนนี้ จึงคืน
ทรัพย์จำนวน ๑๘ โกฏิ แก่พวกเจ้าของ แล้วไปอาบน้ำกับบริวารเป็นอันมาก
ให้ช่างตัด ผมโกนหนวด อาบน้ำประดับด้วยสรรพาลังการ แล้วเข้าไปยังเรือน
ด้วยสิริอันหาที่เปรียบมิได้ บริโภคโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ เสร็จแล้วขึ้นนอน
ยังที่นอนอันมีสิริ นอนตลอดสองยาม ตื่นในเวลาปัจฉิมยาม ลุกขึ้นนังคู้บัลลังก์
บนหลังที่นอน ตรวจดูเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งศิลปะของตน พลาง
รำพึงว่า การยังผู้อื่นให้ตายย่อมปรากฏแต่ตอนต้นแห่งศิลปะของเรา การบริโภค
ใช้สอยด้วยอำนาจแห่งกิเลส ปรากฏในท่ามกลาง การปฏิสนธิในนรกปรากฏ
ในที่สุด ก็ปาณาติบาตกับความประมาท เพราะมัวเมายิ่งในการบริโภคใช้สอย
ด้วยอำนาจกิเลส ย่อมให้ซึ่งปฏิสนธิในนรก พระราชาทรงพระราชทานตำแหน่ง
เสนาบดีอันยิ่งใหญ่แก่เรา เราก็จักเป็นผู้มีอิสริยยศใหญ่ ภรรยาและบุตรธิดา
ก็จักมีมากมาย ก็วัตถุอันเป็นที่ตั้งของกิเลสอันถึงความไพบูลย์แล้ว เป็นของ
ละได้โดยยาก ควรที่เราจะออกไปสู่ป่าเพียงผู้เดียว แล้วบวชเป็นฤาษีเสียใน
บัดนี้ทีเดียว จึงลุกขึ้นจากที่นอนใหญ่ ไม่ให้ใครทราบลงจากปราสาท ออก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 599
ทางประตูด้านอัครทวาร เข้าสู่ป่าลำพังผู้เดียว เดินมุ่งหน้าไปยังป่ามะขวิดใหญ่
สามโยชน์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี. ท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่า โชติปาลกุมาร
นั้นออกแล้ว จึงตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาตรัสสั่งว่า พ่อคุณ เจ้าโชติปาล-
กุมารออกอภิเนษกรมณ์จักมีสมาคมใหญ่ เธอจงไปเนรมิตอาศรมที่กปิฏฐวัน
ใกล้ฝั่งแม่น้ำโคธทรี และตระเตรียมบริขารของบรรพชิตไว้ให้เสร็จ. วิสสุ-
กรรมเทพบุตรนั้นได้กระทำตามเทวบัญชาทุกประการ.
พระมหาสัตว์ถึงสถานที่นั้นแล้ว เห็นทางมีรอยเดินได้คนเดียว คิดว่า
จะพึงมีสถานที่อยู่ของพวกบรรพชิตจึงเดินไปที่กปิฏฐวันตามทางนั้น ก็ไม่พบ
ใคร จึงเข้าไปสู่บรรณศาลา เห็นบริขารของพวกบรรพชิต คิดว่า ชะรอย
ท้าวสักกเทวราชจะทรงทราบว่า เราออกอภิเนษกรมณ์ จึงเปลื้องผ้าสาฎกออก
นุ่งห่มคากรองสีแดง กระทำหนังเสือเหลือง เฉวียงบ่าข้างหนึ่งมุ่นมณฑลชฎา
ยกหาบหนักข้างหนึ่งไว้บนบ่า ถือไม้เท้าคนแก่ ออกจากบรรณศาลา ขึ้นสู่ที่
จงกรมแล้ว จงกรมไป ๆ มาสิ้นวาระเล็กน้อย ยังป่าให้งดงามด้วยสิริคือบรรพชา
กระทำกสิณบริกรรม จำเดิมแต่กาลที่บวชแล้ว ในวันที่เจ็ดยังสมาบัติ ๘
อภิญญา ๕ ให้บังเกิด เป็นผู้มีผลหมากรากไม้ในป่าเป็นอาหาร ด้วยอุญฉา-
จาริยวัตร อยู่แต่ผู้เดียวเท่านั้น. มารดาบิดามิตรสหายเป็นต้น แม้พวกญาติ
ของโชติปาลกุมารนั้น เมื่อไม่เห็นโชติปาลกุมาร ต่างร่ำไห้ปริเทวนาการเที่ยวไป.
ลำดับนั้น พรานป่าคนหนึ่ง เข้าไปสู่ป่าพบพระมหาสัตว์ นั่งอยู่ใน
อาศรมบท ณ กปิฏฐวัน จำพระมหาสัตว์ได้ ทำการปฏิสัณฐานกับพระมหา-
สัตว์แล้ว กลับไปยังพระนคร บอกมารดาบิดาของท่านให้ทราบ. มารดาบิดา
ของพระมหาสัตว์ จึงกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ พระราชาตรัสว่า มาเถิด
เราจักไปเยี่ยมโชติปาลดาบสนั้น แล้วพามารดาบิดาของท่าน แวดล้อมด้วย
มหาชน เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ตามทางที่นายพรานแสดง. พระโพธิสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 600
มายังฝั่งแม่น้ำ นั่งบนอากาศแสดงธรรม เชิญชนทั้งหมดเข้าไปสู่อาศรมนั่งบน
อากาศนั่นแล ประกาศโทษในกามทั้งหลาย แล้วแสดงธรรมแก่ชนเหล่านั้น
แม้ในที่นั้น. ชนทั้งหมดตั้งต้นแต่พระราชาไป พากันบวชสิ้น. พระโพธิสัตว์
มีหมู่ฤๅษีเป็นบริวาร อยู่ในที่นั้นแหละ ต่อมา ข่าวที่พระดาบสพำนักอยู่ ณ
ที่นั้น ได้แพร่สะพัดไปในชมพูทวีปทั้งสิ้น. พระราชาองค์อื่น ๆ พร้อมด้วย
ชาวแว่นแคว้น ก็พากันมาบวชในสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น นับเป็นมหาสมาคม
ที่ยิ่งใหญ่ บริษัทแสนหนึ่ง มิใช่น้อยได้มีแล้วโดยลำดับ ผู้ใดตรึกกามวิตก
พยาบาทวิตกหรือวิหิงสาวิตกพระมหาสัตว์ก็ไปในที่นั้น นั่งบนอากาศแสดงธรรม
บอกกสิณบริกรรมข้างหน้าผู้นั้น. บริษัททั้งหลายตั้งอยู่ในโอวาทของพระมหา-
สัตว์ แล้วยังสมาบัติ ๘ ให้เกิดขึ้น ถึงความสำเร็จในฌาน พระมหาสัตว์ได้มี
อันเตวาสิกผู้ใหญ่ถึงเจ็ดท่านคือ สาลิสสระ ๑ เมณฑิสสระ ๑ ปัพพตะ ๑
กาลเทวละ ๑ กีสวัจฉะ ๑ อนุลิสสะ ๑ นารทะ ๑ ในเวลาต่อมา อาศรม
ในกปิฏฐวัน ก็เต็มบริบูรณ์. โอกาสที่อยู่ของหมู่ฤๅษีไม่พอเพียง.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ จึงเรียกท่านสาลิสสระ มาสั่งว่า ท่านสาลิสสระ
อาศรมนี้ไม่เพียงพอแก่หมู่ฤๅษี ท่านจงพาหมู่ฤๅษีนี้เข้าไปอาศัย ลัมพจูลกนิคม
ในแว่นแคว้นของพระเจ้าเมชฌราชอยู่เถิด.
สาลิสสระดาบสรับคำของพระมหาสัตว์ว่า สาธุ แล้วพาหมู่ฤๅษีพันเศษ
ไปอยู่ในลัมพจูลกนิคมนั้น. เมื่อมนุษย์ทั้งหลายพากันมาบวชอยู่ อาศรมก็เต็ม
บริบูรณ์อีก. พระโพธิสัตว์จึงเรียกท่านเมณฑิสสระมาสั่งว่า ท่านเมณฑิสสระ
แม่น้ำชื่อสาโตทกานที ระหว่างเขตแดนสุรัฏฐชนบทมีอยู่ ท่านจงพาหมู่ฤๅษี
นี้ไปอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำสาโตทกานทีนั้นเถิด โดยอุบายนั้นแหละ พระโพธิสัตว์
เรียกปัพพตดาบสมาในวาระที่สามส่งไปว่า ท่านปัพพตะ ภูเขาชื่ออัญชนบรรพต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 601
มีอยู่ในดงใหญ่ ท่านจงเข้าไปอาศัยอัญชนบรรพตนั้นอยู่เถิด. ในวาระที่สี่
พระโพธิสัตว์เรียกกาลเทวลดาบสมาสั่งไปว่า ท่านกาลเทวละ ในแคว้นอวันตี
ในทักขิณาชนบท มีภูเขาชื่อฆนเสลบรรพต ท่านจงเข้าไปอาศัยฆนเสลบรรพต
นั้นอยู่เถิด อาศรมในกปิฎฐวันก็เต็มบริบูรณ์อีก ในสถานที่ทั้ง ๕ แห่งได้มี
หมู่ฤาษีจำนวนแสนเศษ ส่วนกีสวัจฉดาบส อำลาพระมหาสัตว์ เข้าไปอาศัย
ท่านเสนาบดีอยู่ในพระราชอุทยาน ในกุมภวตีนคร แว่นแคว้นของพระเจ้า
ทัณฑกีราช. ท่านนารทดาบส ไปอยู่ที่เวิ้งเขาชื่ออัญชนคิรีในมัชฌิมประเทศ
ส่วนอนุสิสสดาบสคงอยู่ในสำนักของพระมหาสัตว์นั่นเอง.
กาลครั้งนั้น พระเจ้าทัณฑกีราช ทรงถอดหญิงแพศยาคนหนึ่ง ซึ่งได้
สักการะแล้วจำกตำแหน่ง นางเที่ยวไปตามธรรมดาของตน เดินไปสู่พระราช
อุทยานพบท่านกีสวจัฉดาบส คิดว่า ดาบสผู้นี้คงจักเป็นคนกาลกรรณี เราจัก
ลอยตัวกลี ลงบทสรีระของดาบสผู้นี้ อาบน้ำก่อนจึงจักไป ดังนี้แล้ว จึงเคี้ยว
ไม้สีฟัน แล้วถ่มเขฬ่ะหนา ๆ ลงบนสรีระของท่านดาบสนั้น ก่อนที่อื่นทั้งหมด
แล้วถ่มลงไประหว่างชฎา แล้วโยนไม้สีฟันไปบนศีรษะของท่านกีสวัจฉดาบส
นั้นอีก ตนเองสนานเกล้าแล้วไป. ต่อมาพระราชาทรงระลึกถึงนางแล้วจัดการ
สถาปนาไว้ตามเดิม. นางเป็นคนหลงงมงาย ได้ทำความสำคัญว่า เพราะเรา
ลอยตัวกลีไว้บนสรีระของคนกาลกรรณี พระราชาจึงทรงสถาปนาเราไว้ใน
ตำแหน่งเดิม เราจึงกลับได้ยศอีก ต่อมาไม่นานนัก พระราชาก็ทรงถอดปุโรหิต
เสียจากฐานันดรศักดิ์. ปุโรหิตนั้นจึงไปยังสำนักของหญิงคณิกานั้น ถามว่า
เพราะเหตุไรท่านจึงได้ตำแหน่งคืน. ลำดับนั้น หญิงคณิกาจึงบอกว่า เพราะดิฉัน
ลอยกลีโทษ บนสรีระของคนกาลกรรณี ในพระราชอุทยาน. ปุโรหิตจึงไป
ลอยกลีโทษ บนสรีระของท่านกีวัจฉดาบส อย่างนั้นเหมือนกัน พระราชา
ก็กลับทรงสถาปนาแม้ปุโรหิตนั้นไว้ในฐานันดรอีก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 602
ในเวลาต่อมา ปลายพระราชอาณาเขตของพระเจ้าทัณฑกีราชนั้นเกิด
จลาจล. ท้าวเธอแวดล้อมไปด้วยองคเสนา เสด็จออกเพื่อยุทธนาการ ลำดับนั้น
ปุโรหิตผู้หลงงมงาย ทูลถามพระราชาว่า ขอเดชะ พระมหาราชเจ้า พระองค์
ทรงปรารถนาชัยชนะ หรือว่าความปราชัย เมื่อพระราชาตรัสตอบว่า ปรารถนา
ชัยชนะ จึงกราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้น คนกาลกรรณีอยู่ในพระราชอุทยาน
พระองค์จงโปรดให้ลอยกลีโทษที่สรีระของคนกาลกรรณีนั้นแล้วเสด็จไปเถิด.
พระราชาเชื่อถ้อยคำของปุโรหิต ตรัสว่า ผู้ใดเมื่อจะไปกับเรา จงพากันไป
ลอยกลีโทษที่สรีระของคนกาลกรรณีเสียในพระราชอุทยาน แล้วเสด็จเข้าไปยัง
พระราชอุทยาน ทรงเคี้ยวไม้สีฟัน แล้วพระองค์เองทรงบ้วนเขฬะ และโยน
ไม้สีฟันลงในระหว่างชฎา ของท่านกีสวัจฉดาบสนั้นก่อนใคร ๆ ทั้งหมด
แล้วทรงสรงสนานเกล้า แม้พลนิกายของพระองค์ ก็ได้กระทำอย่างนั้น เมื่อ
พระราชาเสด็จหลีกไปแล้ว เสนาบดีมาพบพระดาบสแล้ว เก็บไม้สีฟันเป็นต้น
ทิ้ง ให้สรงสนานเป็นอย่างดี แล้วเรียนถามว่า ท่านขอรับ อะไรจักมีแก่พระราชา.
กีสวัจฉดาบสตอบว่า ขอเจริญพร ความคิดประทุษร้าย ไม่มีในใจอาตมา
แต่เทพยดาฟ้าดินพิโรธ นับแต่นี้ไปเจ็ดวัน จักกระทำแว่นแคว้นทั้งสิ้นให้ป่นปี้
ท่านจงหนีไปอยู่ที่อื่นโดยเร็วเถิด. เสนาบดีนั้นสะดุ้งตกใจกลัว จึงไปกราบทูล
พระราชาให้ทรงทราบ. พระเจ้าทัณฑกีราช ทรงฟังถ้อยคำเสนาบดีแล้ว ก็มิได้
ทรงเชื่อถือ เสนาบดีนั้นจึงกลับไปยังเรือนของตน พาบุตรภรรยาหนีไปสู่แคว้น
อื่น ท่านสรภังคดาบสผู้ศาสดาจารย์ รู้เหตุนั้น แล้วส่งดาบสหนุ่มไปสองรูป
ให้เอามัญจสีวิกาหามท่านกีสวัจฉดาบสมาทางอากาศ. พระราชาทรงรบจับโจร
ได้แล้วเสด็จกลับไปยังพระนครทีเดียว. เมื่อพระราชาเสด็จมาแล้ว เทพยเจ้า
ทั้งหลายจึงบันดาลฝนให้ตกลงมาก่อน เมื่อศพทุกชนิดถูกห้วงน้ำฝนพัดไปอยู่
ฝนทรายล้วนก็ตกลง ฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงบนยอดฝนทราย ฝนมาสกตกลง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 603
บนยอดฝนดอกไม้ ฝนกหาปณะตกลงบนยอดฝนมาสก ฝนทิพพาภรณ์ตกลง
บนยอดกหาปณะ. มนุษย์ทั้งหลายถึงความโสมนัส เริ่มเก็บเงินทองและเครื่อง
อาภรณ์ ลำดับนั้น ฝนอาวุธอันโชติช่วงมีประการต่าง ๆ ตกลงเหนือสรีระของ
มนุษย์เหล่านั้น. มนุษย์ทั้งหลาย ขาดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่. ลำดับนั้น
ถ่านเพลิงปราศจากเปลวใหญ่โต ก็ตกลงเบื้องบนของมนุษย์เหล่านั้น ยอด-
บรรพตที่ลุกโพลงใหญ่โตตกลงเบื้องบนของมนุษย์เหล่านั้น ฝนทรายละเอียด
อันยังที่ประมาณ ๖๐ โยชน์ให้เต็ม ตกลงเบื้องบนของมนุษย์เหล่านั้น สถานที่
๖๐ โยชน์ มิได้เป็นรัฐมณฑลด้วยอาการอย่างนี้. ความที่แว่นแคว้นนั้นพินาศ
ไปอย่างนี้ ได้แพร่สะพัดไปในชมพูทวีปทั้งสิ้น.
ครั้งนั้น พระราชา ๓ พระองค์ คือ พระเจ้ากาลิงคะ ๑ พระเจ้า
อัฏฐกะ ๑ พระเจ้าภีมรถ ๑ ซึ่งเป็นใหญ่ในแคว้นติดต่อกันกับแคว้นนั้น
ทรงคิดกันว่า ได้ยินว่า ในปางก่อน พระเจ้ากลาพุกาสิราช ในพระนครพาราณสี
ประพฤติผิดในท่านขันติวาทีดาบส แล้วถูกแผ่นดินสูบ พระเจ้านาลิกีรราช
ให้สุนัขเคี้ยวกินพระดาบส และพระเจ้าอัชชุนะ ผู้ทรงกำลังแขนถึงพัน
ประพฤติผิดในท่านอังคีรสดาบส แล้วถูกแผ่นดินสูบเหมือนกัน ได้ยินว่า คราวนี้
พระเจ้าทัณฑกีราช ผิดในท่านกีสวัจฉดาบส แล้วถึงความพินาศพร้อมด้วย
แว่นแคว้น พวกเรายังไม่รู้สถานที่เกิดของพระราชาทั้งสี่เหล่านี้ เว้นท่าน
สรภังคศาสดาเสียแล้ว คนอื่นชื่อว่าสามารถ เพื่อจะบอกเรื่องนั้นแก่เราไม่มี
พวกเราจักเข้าไปถามปัญหาเหล่านั้น กษัตริย์ทั้ง ๓ พระองค์เหล่านั้นพร้อม
ด้วยข้าราชบริพารเป็นอันมาก ต่างก็เสด็จออกเพื่อจะถามปัญหา แต่พระราชา
ทั้งสามนั้น มิได้ทรงทราบว่า แม้พระราชาองค์โน้น ก็เสด็จออกแล้ว ต่างทรง
สำคัญว่า เราไปเพียงผู้เดียวเท่านั้น สมาคมแห่งกษัตริย์เหล่านั้น ได้มีไม่ไกล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 604
จากแม่น้ำโคธาวรี พระราชาเหล่านั้น เสด็จลงจากรถแต่ละคันแล้ว เสด็จขึ้น
รถคันเดียวกันไป ทั้งสามพระองค์ถึงยังฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ขณะนั้นท้าวสักก-
เทวราชประทับนั่งเหนือพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ทรงคิดปัญหา ๗
ข้อ แล้วทรงรำพึงว่า เว้นท่านสรภังคศาสดาเสียแล้ว คนอื่นในมนุษยโลก
พร้อมทั้งเทวโลก ที่ชื่อว่าสามารถเพื่อจะแก้ปัญหานี้ไม่มี เราจักถามปัญหา
เหล่านี้กะท่านสรภังคศาสดานั้น พระราชาทั้ง ๓ องค์แม้เหล่านั้น มาถึงฝั่ง
แม่น้ำโคธาวรี ก็เพื่อจะถามปัญหากะท่านสรภังคศาสดา เราเองจักเป็นผู้ถาม
แม้ปัญหาของพระราชาเหล่านั้น อันเหล่าเทวดาในเทวโลกทั้งสองแวดล้อมแล้ว
เสด็จลงจากเทวโลก ในวันนั้นเอง ท่านกีสวัจฉดาบส ก็ได้ทำกาลกิริยาลง พระ
ฤๅษีทั้งหลายพันเศษ ในที่ทั้งสี่ ก็มาในที่นั้นเหมือนกัน เพื่อทำการปลงศพ
ของท่านกีสวัจฉดาบสนั้น แล้วให้ทำมณฑปไว้ และหมู่ฤๅษีพันเศษในที่ทั้ง ๕
ช่วยกันทำจิตกาธารด้วยไม้จันทน์ เพื่อตั้งสรีระของท่านกีสวัจฉดาบส แล้ว
ช่วยกันเผาสรีระศพ ฝนดอกโกสุมทิพย์ ตกลงในสถานที่ประมาณกึ่งโยชน์รอบ
สุสาน พระมหาสัตว์ให้จัดการเก็บสรีรธาตุ ของท่านกีสวัจฉดาบสแล้วเข้าไปสู่
อาศรม แวดล้อมไปด้วยหมู่ฤๅษีเหล่านั้นนั่งอยู่ ในกาลเมื่อพระราชาเหล่านั้น
มาถึงฝั่งนที เสียงแห่งกองทัพใหญ่ เสียงพาหนะ และเสียงดนตรีได้มีแล้ว
พระมหาสัตว์ได้สดับเสียงนั้น จึงเรียกอนุสิสสดาบสมาสั่งว่า พ่อคุณ เธอช่วย
ไปดูก่อนเถิด นั่นเป็นเสียงอะไร ? ท่านอนุสิสสดาบส จึงถือหม้อตักน้ำไป
ในที่นั้น พบพระราชาทั้ง ๓ องค์ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ โดยเป็นคำถามความว่า
ท่านทั้งหลายผู้ประดับแล้ว สอดใส่กุณฑล นุ่ง
ห่มผ้างดงาม เหน็บพระขรรค์มีด้ามประดับด้วยแก้ว
ไพฑูรย์ และแก้วมุกดา เป็นจอมพลรถยืนอยู่ เป็น
ใครกันหนอ ชนทั้งหลายในมนุษยโลก จะรู้จักท่าน
ทั้งหลายอย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 605
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬุริยมุตฺตา กรุขคฺคพนฺธา ความว่า
ประกอบไปด้วยพระขรรค์แก้ว มีด้ามประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ และพู่พวงแก้ว
มุกดา. บทว่า ติฏฺถ ความว่า ท่านทั้งหลายยืนอยู่ในรถคันเดียวกัน. บทว่า
เก นุ ความว่า พวกท่านคือใคร คนในมนุษยโลก รู้จักพวกท่านได้อย่างไร ?
กษัตริย์ทั้งสาม สดับคำของพระดาบสแล้ว เสด็จลงจากรถถวายนมัส-
การแล้ว ประทับยืนอยู่. ในกษัตริย์ทั้ง ๓ นั้น พระเจ้าอัฏฐกราช เมื่อจะ
ทรงสนทนากับท่านอนุสิสสดาบส จึงตรัสคาถาที่ ๒ ความว่า
ข้าพเจ้าเป็นกษัตริย์ ชื่ออัฏฐกะ ท่านผู้นี้ คือ
พระเจ้าภีมรถะ ส่วนท่านผู้นี้คือ พระเจ้ากาลิงคราช
มีพระเดชฟุ้งเฟื่อง ข้าพเจ้าทั้งหลายมาในที่นี้ เพื่อเยี่ยม
ท่านฤๅษีทั้งหลายผู้สำรวมด้วยดี และเพื่อจะขอถาม
ปัญหา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุคฺคโต ความว่า เป็นผู้ปรากฏขจรไป
ดุจพระจันทร์และพระอาทิตย์. บทว่า สุสญฺตาน อิสีน ความว่า (พระ-
เจ้าอัฏฐกราชตรัสว่า) ท่านขอรับ พวกข้าพเจ้า จะมาเพื่อเล่นกีฬาในป่าก็หา
มิได้ ที่แท้พวกข้าพเจ้ามาในที่นี้ ก็เพื่อจะเยี่ยมท่านฤๅษีผู้มีศีล สำรวมดีแล้ว
ด้วยกายเป็นต้น. บทว่า ปุจฺฉิตาเยนมฺห ปญฺเห ความว่า เป็นผู้มาแล้ว
เพื่อเรียนถามปัญหากะท่านสรภังคศาสดา บัณฑิตควรทราบว่า ย อักษร ทำ
การเชื่อมกับพยัญชนะ.
ลำดับนั้น ดาบส จึงทูลพระราชาเหล่านั้นว่า ขอถวายพระพร พระ
มหาราชเจ้า ดีแล้ว พระองค์ท่านทั้งหลายเป็นผู้เสด็จมาในสถานที่ ซึ่งควรมา
โดยแท้ ถ้าเช่นนั้น ขอเชิญสรงสนานแล้วเสด็จไปยังอาศร ทรงไหว้หมู่ฤๅษี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 606
แล้วตรัสถามปัญหากะท่านศาสดาเถิด ครั้นทำปฏิสัณฐานกับพระราชาเหล่านั้น
แล้ว จึงยกหม้อน้ำขึ้น เช็ดหยาดน้ำพลางแลดูอากาศ เห็นท้าวสักกเทวราช
แวดล้อมด้วยหมู่เทพยเจ้า เสด็จเหนือคอช้างเอราวัณตัวประเสริฐ กำลังเสด็จมา
เมื่อจะสนทนากับท้าวสักกเทวราชนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ความว่า
ท่านเหาะลอยอยู่ในอากาศเวหา ดังพระจันทร์
ลอยเด่นอยู่ ท่ามกลางท้องฟ้าในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำฉะนั้น
ดูก่อนเทพยเจ้า อาตมาภาพขอถามท่านผู้มีอานุภาพ
มาก ชนทั้งหลายในมนุษยโลก จะรู้จักท่านได้อย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวหาสย ความว่า ท่านเหาะขึ้นไปลอย
อยู่ในกลางหาว คือบนอากาศ. บทว่า ปถทฺธุโน ความว่า เหมือนพระ
จันทร์ อันไปสู่คลองอันไกล คือตั้งอยู่ในท่ามกลางอัมพร อันเป็นแดนไกล
ฉะนั้น.
ท้าวสักกเทวราชทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๔ ความว่า
ในเทวโลกเขาเรียกข้าพเจ้าว่า สุชัมบดี ในมนุษย-
โลกเขาเรียกข้าพเจ้าว่า ท่านมฆวา ข้าพเจ้านั้น คือ ท้าว
เทวราช วันนี้มาถึงที่นี่ เพื่อขอเยี่ยมท่านฤๅษีทั้งหลาย
ผู้สำรวมแล้ว ด้วยดี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ส เทวราชา ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า
ข้าพเจ้านั้น คือท้าวสักกเทวราช. บทว่า อิทมชฺช ปตฺโต ความว่า มาสู่
สถานที่นี้ ในบัดนี้. บทว่า ทสฺสนาย ความว่า เพื่อจะเยี่ยมเยียนกราบ
นมัสการ และเพื่อถามปัญหากะท่านสรภังคศาสดาด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 607
ลำดับนั้น ท่านอนุลิสสดาบส จึงทูลท้าวสักกเทวราชว่า ดีละพระ
มหาราชเจ้า พระองค์โปรดเสด็จมาภายหลัง ดังนี้แล้ว ถือหม้อน้ำเข้าไปสู่
อาศรม เก็บหม้อน้ำไว้แล้ว กราบเรียนความที่พระราชา ๓ พระองค์ กับ
ท้าวสักกเทวราช เสด็จมาเพื่อจะตรัสถามปัญหา แก่พระมหาสัตว์เจ้า พระ
มหาสัตว์นั้นแวดล้อมด้วยหมู่ฤๅษี นั่งอยู่ ณ โรงอันกว้างใหญ่ พระราชาทั้ง
๓ พระองค์เสด็จมาไหว้หมู่พระฤๅษี แล้วต่างประทับนั่ง ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง
ฝ่ายท้าวสักกเทวราชก็เสด็จลงมา แล้วเข้าไปหาหมู่ฤๅษี ประทับยืนประคอง
อัญชลี เมื่อทรงสรรเสริญหมู่ฤๅษี จึงถวายนมัสการ พลางตรัสคาถาที่ ๕
ความว่า
พระฤๅษีทั้งหลายของข้าพเจ้า ผู้มีฤทธิ์มาก เข้า
ถึงซึ่งอิทธิคุณ มาประชุมพร้อมกันแล้ว ปรากฏในที่
ไกล ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ขอไหว้พระคุณเจ้าทั้งหลาย
ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ ในชีวโลกนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูเร สุตา โน ความว่า เมื่อท้าวสักก
เทวราช จะทรงแสดงความนับถือ จึงตรัสอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่าน
ทั้งหลาย อันพวกข้าพเจ้าผู้สถิตอยู่ ณ เทวโลกแดนไกล ได้ยินได้ฟังแล้ว
มีคำอธิบายว่า พระฤๅษีทั้งหลายของพวกเรา ซึ่งมาประชุมกัน ณ ที่นี้ เหล่านี้
พวกข้าพเจ้าได้ยินแล้วในที่ไกล คือปรากฏระบือไปจนถึงพรหมโลก. บทว่า
มหิทฺธิกา ได้แก่ มีอานุภาพมาก. บทว่า อิทฺธิคุณูปปนฺนา ความว่า
ประกอบไปด้วยอิทธิคุณ ๕ อย่าง. บทว่า อยิเร แปลว่า ในพระคุณเจ้า.
บทว่า เย ความว่า ข้าพเจ้าขอไหว้พวกท่านซึ่งเป็นผู้ประเสริฐสุด ในหมู่
มนุษย์ ในชีวโลกนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 608
ท้าวสักกเทวราช ตรัสสรรเสริญหมู่ฤๅษีอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงหลีก
เสียซึ่งโทษแห่งการนั่ง ๖ อย่าง จึงประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น
ท่านอนุสิสสดาบส เห็นท้าวสักกเทวราช ประทับนั่ง ณ ที่ใต้ลมแห่งหมู่ฤๅษี
จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ความว่า
กลิ่นแห่งฤๅษีทั้งหลาย ผู้บวชมานาน ย่อมออก
จากกายฟุ้งไปตามลมได้ ดูก่อนท้าวสหัสสเนตร เชิญ
มหาบพิตรถอยไปเสียจากที่นี่ ดูก่อนท้าวเทวราช
กลิ่นของฤๅษีไม่สะอาด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิรทกฺขิตาน ความว่า ของผู้บวชสิ้น
กาลนาน. บทว่า ปฏิกฺกมฺม ความว่า ขอพระองค์โปรดเสด็จหลีกไป คือ
โปรดถอยไปเสีย. บทว่า สหสฺสเนตฺต นี้ เป็นอาลปนะ. แท้จริง ท้าวสักกะ
ก็องค์เดียวนั่นเอง (แต่) ทรงเห็นเนื้อความที่อำมาตย์พันคนคิดกันแล้ว ฉะนั้น
จึงเรียกว่า ท้าวสหัสสเนตร. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ท้าวสหัสสเนตร เพราะ
เป็นผู้สามารถก้าวล่วงอุปจารแห่งการเห็น ของเหล่าเทวดาผู้มีเนตรพันดวง.
บทว่า อสุจิ ความว่า ชื่อว่า มีกลิ่นเหม็น เพราะอบอยู่ด้วยเหงื่อไคล และ
มลทินเป็นต้น อนึ่ง ท่านทั้งหลายเป็นผู้ใคร่ความสะอาด ด้วยเหตุนั้น กลิ่นนี้
ย่อมจะเบียดเบียนท่านทั้งหลาย.
ท้าวสักกเทวราช ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาต่อไป ความว่า
กลิ่นแห่งฤๅษีทั้งหลายผู้บวชมานาน จงออก
จากกายฟุ้งไปตามลมเถิด ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ
ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมมุ่งหวังกลิ่นนั้น ดังพวงบุปผชาติ
อันวิจิตรมีกลิ่นหอม เพราะว่าเทวดาทั้งหลาย มิได้มี
ความสำคัญในกลิ่นนี้ ว่าเป็นปฏิกูล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 609
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คจฺฉตุ ความว่า กลิ่นของพระฤๅษี
ทั้งหลาย จงเป็นไปตามสะดวกเถิด. อธิบายว่า จงกระทบช่องจมูกของพวก
ข้าพเจ้าเถิด. บทว่า ปฏิกงฺขาม ความว่า พวกข้าพเจ้าต้องการคือปรารถนา.
บทว่า เอตฺถ ความว่า เทวดาทั้งหลายมิได้มีความสำคัญในกลิ่นนี้ว่าน่าเกลียด
เพราะพวกเทวดาทั้งหลายพากันรังเกียจคนทุศีลจำพวกเดียว หารังเกียจคนมี
ศีลไม่.
ก็แลครั้นท้าวเทวราชกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ข้าแต่ท่านอนุสิสส
ดาบสผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาด้วยอุตสาหะใหญ่ เพื่อจะถามปัญหา ท่านโปรดทำ
โอกาสแก่ข้าพเจ้าด้วย. ท่านอนุสิสสดาบส ได้ฟังพระดำรัสของท้าวสักกะแล้ว
จึงลุกขึ้นจากอาสนะ. เพื่อจะยังหมู่ฤๅษีให้ทำโอกาส จึงกล่าวคาถาสองคาถา
ความว่า
ท้าวมฆวาฬ สุชัมบดีเทวราช องค์ปุรินททะ
ผู้เป็นใหญ่แห่งภูต มีพระยศ เป็นจอมแห่งทวยเทพ
ทรงย่ำยีหมู่อสูร ทรงรอคอยโอกาส เพื่อตรัสถามปัญหา.
บรรดาฤๅษีผู้เป็นบัณฑิตเหล่านี้ ณ ที่นี้ ใคร
เล่าหนอถูกถามแล้วจักพยากรณ์ปัญหาอันสุขุม ของ
พระราชาทั้ง ๓ พระองค์ ผู้เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์ และ
ของท้าววาสวะ ผู้เป็นจอมแห่งทวยเทพได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุรินฺทโท เป็นต้น เป็นคุณนามของ
ท้าวสักกะนั่นเอง. แท้จริง เพราะท้าวสักกะนั้นให้ทานในก่อน จึงชื่อปุรินททะ
เพราะเป็นใหญ่ในหมู่ภูตนิกาย จึงชื่อ ภูตบดี เพราะถึงพร้อมด้วยบริวารจึง
ชื่อว่า มียศ เพราะเป็นอิสระยิ่ง จึงชื่อเทวานมินทะ เพราะทรงกระทำวัตรบท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 610
เจ็ดประการด้วยดี จึงชื่อสักกะ ชื่อมฆวะ ด้วยสามารถนามในชาติก่อน เพราะ
เป็นพระสวามีของนางสุชาดา อสุรกัญญา จึงชื่อสุชัมบดี เพราะยังใจของ
ทวยเทพให้ยินดี จึงชื่อเทวราช. บทว่า โกเนว ตัดบทออกเป็น โก นุ เอว
แปลว่า ก็ใครเล่าหนอ ? บทว่า นิปุเณ ได้แก่ ปัญหาอันละเอียดสุขุม.
บทว่า รญฺ ได้แก่ ของพระราชาทั้งหลาย. อธิบายว่า อนุสิสสดาบสกล่าวว่า
บรรดาท่านฤๅษีผู้เป็นบัณฑิตเหล่านี้ ใครจักยึดพระทัยของพระราชาทั้งสี่องค์
เหล่านี้ แล้วกล่าวแก้ปัญหาอันละเอียดสุขุมได้ ท่านทั้งหลายจงทราบถึงผู้ที่
สามารถเพื่อจะกล่าวแก้ปัญหาของพระราชาเหล่านั้นเถิด.
หมู่ฤๅษีได้ยินดังนั้น จึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านอนุสิสสะ ผู้นิรทุกข์
ท่านยืนพูดอยู่บนแผ่นดิน เหมือนไม่เห็นแผ่นดิน เว้นท่านสรภังคศาสดาเสีย
แล้ว คนอื่นใครเล่าจักเป็นผู้สามารถ เพื่อจะแก้ปัญหาของพระราชาเหล่านั้น
ได้ ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถา ความว่า
ท่านสรภังคฤๅษีผู้เรืองตบะนี้ เว้นจากเมถุน-
ธรรมตั้งแต่เกิดมา เป็นบุตรของปุโรหิตาจารย์ ได้รับ
ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ท่านจักพยากรณ์ปัญหาของ
พระราชาเหล่านั้นได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สรภงฺโค ความว่า พระฤๅษียิงลูกธนู
แล้ว แสดงศิลปะ เช่น สรปาการศิลปะเป็นต้นในอากาศ แล้วทำให้แยกหัก
ไป ดุจยังลูกศรเหล่านั้นให้ตกไป โดยธนูลูกเดียวอีก ฉะนั้น จึงชื่อว่า สรภังคะ.
บทว่า เมถุนสฺมา ความว่า เว้นจากเมถุนธรรม. ได้ยินว่า ท่านยังมิได้เคย
เสพเมถุนธรรม มาบวชแล้ว. บทว่า อาจริยปุตฺโต ความว่า ท่านเป็นบุตร
ของปุโรหิต ผู้เป็นอาจารย์ของพระราชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 611
ครั้นหมู่ฤๅษีกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงบอกอนุสิสสดาบสว่า ดูก่อนท่าน
ผู้นิรทุกข์ ท่านนั่นแหละจงไหว้ท่านศาสดา ขอให้ให้โอกาสเพื่อจะแก้ปัญหา
อันท้าวสักกเทวราชถาม ตามถ้อยคำของหมู่ฤๅษี. ท่านอนุสิสสดาบสรับคำแล้ว
ไหว้ท่านศาสดาเมื่อจะขอโอกาส จึงกล่าวคาถาลำดับต่อไปว่า
ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดพยากรณ์
ปัญหา ฤๅษีทั้งหลายผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ พากัน
ขอร้องท่าน ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ภาระนี้ย่อมมาถึง
ท่านผู้เจริญด้วยปัญญา ข้อนี้เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น ดังต่อไปนี้ อนุสิสสดาบสเรียกท่าน
สรภังคดาบส ว่า โกณฑัญญะ โดยโคตร. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สภาวธรรม.
บทว่า ย วุฑฺฒ ความว่า อนุสิสสดาบสกล่าวว่า ชื่อว่า ภาระคือการวิสัชนา
ปัญหานี้ ย่อมมาถึงบุรุษผู้มีปัญญาอันเจริญ นั่นเป็นสภาวธรรมในหมู่มนุษย์
เพราะฉะนั้น ท่านโปรดแก้ปัญหาของท้าวเทวราชทำให้ปรากฏ เหมือนยัง
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ให้ตั้งขึ้นพันดวงฉะนั้น.
ลำดับนั้น เมื่อพระมหาบุรุษจะกระทำโอกาส จึงกล่าวคาถาเป็นลำดับ
ต่อไป ความว่า
มหาบพิตรผู้เจริญทั้งหลาย อาตมาภาพให้โอกาส
แล้ว เชิญตรัสถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ตาม
พระหฤทัยปรารถนาเถิด ก็อาตมาภาพรู้โลกนี้และโลก
หน้าด้วยตนเองแล้ว จักพยากรณ์ปัญหานั้น ๆ แก่
มหาบพิตรทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย กิญฺจิ ความว่า ท่านสรภังคดาบส
ปวารณาซึ่งสัพพัญญูปวารณาว่า ท่านมหาบพิตรผู้เจริญทั้งหลาย เชิญตรัสถาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 612
ปัญหาที่ใจของพวกท่านปรารถนา หรือแม้ของมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก
ปรารถนากะเราเถิด เพราะเราทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้า ด้วยปัญญา
ตนเองแล้ว จักแก้ปัญหาทั้งหมดนั้น อันอาศัยโลกนี้ หรือโลกเบื้องหน้า
แก่ท่านทั้งหลาย ทั้งหมดโดยสิ้นเชิง.
เมื่อท่านสรภังคดาบสทำโอกาสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกเทวราชจึงตรัส
ถามปัญหาที่พระองค์เตรียมมา.
เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น พระศาสดาจึงตรัสพระคาถา ความว่า
ลำดับนั้น ท้าวมฆวาฬสักกเทวราชปุรินททะ
ทรงเห็นประโยชน์ ได้ตรัสถามปัญหาอันเป็นปฐม
ดังที่พระทัยปรารถนาว่า
บุคคลฆ่าซึ่งอะไรสิ จึงจะไม่โศกเศร้าในกาล
ไหน ๆ ฤๅษีทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการละอะไร
บุคคลพึงอดทนคำหยาบ ที่ใคร ๆในโลกนี้กล่าวแล้ว
ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดบอกความข้อนี้
แก่โยมเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยญฺจาสิ ความว่า ในปัญหานั้น สิ่งใด
เป็นข้อที่ทรงปรารถนาด้วยใจ ท้าวสักกเทวราชก็ตรัสถามสิ่งนั้น. บทว่า เอต
ความว่า ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า ท่านโปรดบอกเนื้อความซึ่งข้าพเจ้าถามแล้ว
แก่ข้าพเจ้าเถิด. ท้าวสักกเทวราชตรัสถามปัญหาสามข้อ ด้วยพระคาถา ๑
คาถา.
เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อพระมหาสัตว์พยากรณ์ จึงกล่าวคาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 613
บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงจะไม่เศร้าโศก
ในกาลไหน ๆ ฤๅษีทั้งหลายย่อมสรรเสริญการละ
ความลบหลู่ บุคคลควรอดทนคำหยาบที่ชนทั้งปวง
กล่าว สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนนี้ ว่าสูงสุด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกธ วธิตฺวา ความว่า บุคคลฆ่าความ
โกรธได้แล้ว. แท้จริง เมื่อคนเราจะเศร้าโศก ย่อมเศร้าโศกเพราะจิตมีปฏิฆะ
อย่างเดียว เพราะไม่มีความโกรธ ความโศกจะมีมาแต่ไหน ด้วยเหตุนั้น
ท่านสรภังคดาบสจึงกล่าวว่า ย่อมไม่เศร้าโศกในกาลทุกเมื่อ. บทว่า มกฺขปฺป-
หาน ความว่า ฤๅษีทั้งหลายสรรเสริญการละเสียซึ่งความลบหลู่ อันมีการ
ลบหลู่คุณที่ผู้อื่นทำแล้วแก่ตนเป็นลักษณะ กล่าวคือความเป็นคนอกตัญญู.
บทว่า สพฺเพส ความว่า บุคคลควรอดทนคำหยาบคาย แม้ของคนทุก
ประเภท ทั้งคนชั้นต่ำ ชั้นกลาง และชั้นสูง. บทว่า สนฺโต ความว่า
โปราณกบัณฑิตทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้.
ท้าวสักกเทวราช ตรัสถามเป็นคาถา ความว่า
บุคคลอาจจะอดทนถ้อยคำของคนทั้งสองจำพวก
ได้ คือคนที่เสมอกัน ๑ คนที่ประเสริฐกว่าตน ๑ จะ
อดทนถ้อยคำของคนเลวกว่าได้อย่างไรหนอ ข้าแต่
ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดบอกความข้อนี้แก่
โยมเถิด.
ท่านสรภังคดาบส ทูลตอบเป็นคาถา ความว่า
บุคคลพึงอดทนถ้อยคำของคนผู้ประเสริฐกว่าได้
เพราะความกลัว พึงอดทนถ้อยคำของคนที่เสมอกันได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 614
เพราะการแข่งขันเป็นเหตุ ส่วนผู้ใดในโลกนี้ พึง
อดทนถ้อยคำของคนที่เลวกว่าได้ สัตบุรุษทั้งหลาย
กล่าวความอดทนของผู้นั้นว่าสูงสุด.
คาถาสองคาถา มีอาทิดังกล่าวมาแล้วอย่างนี้ พึงทราบว่าเกี่ยวเนื่องกัน
ด้วยสามารถแห่งการถามและการตอบ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺขาหิ เม ความว่า เมื่อท้าวสักกเทวราช
จะดำรัสถาม จึงตรัสอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านโกณฑัญญโคตรผู้เจริญ ปัญหาสองข้อ
ท่านแก้ดีแล้ว ยังไม่จับใจของข้าพเจ้าอยู่ข้อเดียว คือคนเราสามารถจะอดกลั้น
ถ้อยคำของคนที่เลวกว่าตนได้อย่างไร ท่านโปรดบอกความข้อนั้นแก่ข้าพเจ้า.
บทว่า เอต ขนฺตึ ความว่า การอดทนต่อถ้อยคำของคนที่ต่ำกว่าโดยชาติ
และโคตรเป็นต้นอันใด โบราณกบัณฑิตทั้งหลายกล่าวการอดทนนั้นว่า สูงสุด.
ส่วนการอดทนต่อถ้อยคำของคนที่สูงกว่าด้วยชาติเป็นต้น เพราะกลัวต่อถ้อยคำ
ของคนเสมอกัน เพราะเห็นโทษในการแข่งดี อันมีการทำให้ยิ่งกว่าเป็นลักษณะ
นี้หาชื่อว่า อธิวาสนขันตีไม่.
เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกเทวราช จึงตรัสกะพระ-
มหาสัตว์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ทีแรกท่านพูดว่า คนเราควรอดทนคำหยาบคาย
ของคนทุกจำพวก โบราณกบัณฑิตกล่าวความอดทนนั้นว่า สูงสุดดังนี้ เดี๋ยวนี้
กลับพูดว่า ผู้ใดในโลกนี้ อดทนถ้อยคำของคนที่ต่ำกว่าได้ ท่านกล่าวความ
อดทนของผู้นั้นว่า สูงสุดดังนี้ คำของท่านที่มีในภายหลัง ไม่สมกับคำพูดที่มี
ในครั้งก่อน. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวกะท้าวสักกะว่า ดูก่อนท้าวสักกะ
คำหลังอาตมากล่าวด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้รู้ว่า ผู้นี้เป็นคนเลว แล้วอดกลั้น
คำหยาบของเขาได้ ก็เพราะความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ประเสริฐเป็นต้น ใครๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 615
ไม่สามารถจะรู้ได้เพียงเห็นรูปร่าง ฉะนั้นจึงกล่าวคำแรกไว้ เมื่อจะประกาศ
ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ประเสริฐเป็นต้น เป็นข้อรู้ได้ยาก ด้วยอาการเพียง
เห็นรูปร่าง เว้นแต่การอยู่ร่วมกันของสัตว์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถา ความว่า
ไฉนจึงจะรู้จักคนประเสริฐกว่า คนที่เสมอกัน
หรือคนที่เลวกว่า ซึ่งมีสภาพอันอิริยาบถ ๔ ปกปิดไว้
เพราะว่า สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมเที่ยวไปด้วยสภาพของ
คนชั่วได้ เพราะเหตุนั้นแล จึงควรอดทนถ้อยคำของ
คนทั้งปวง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุมฏฺรูป ได้แก่ มีสภาพอันปกปิด
ไว้ด้วยอิริยาบถ ๔. บทว่า วิรูปรูเปน ความว่า สัตบุรุษทั้งหลายผู้มีคุณ
อันสูงส่ง ย่อมเที่ยวไปโดยรูปแห่งบุคคลผู้ลามกผิดรูปได้. ก็ในความข้อนี้
ควรแสดงเรื่องของพระมัชฌันติกเถระ.
ท้าวสักกเทวราชทรงสดับดังนั้นแล้ว หมดความเคลือบแคลงสงสัย
อารธนาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านโปรดแสดงอานิสงส์แห่งความอดทนนี้
แก่พวกข้าพเจ้าเถิด. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวคาถาแก่ท้าวสักกเทวราช
ความว่า
สัตบุรุษผู้มีความอดทน พึงได้ผลคือความไม่
กระทบกระทั่ง เพราะการสงบระงับเวร เสนาแม้มาก
พร้อมด้วยพระราชาเมื่อรบอยู่ จะพึงได้ผลนั้น ก็หา
มิได้ เวรทั้งหลายย่อมระงับด้วยกำลังแห่งขันติ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตมตฺถ ได้แก่ ผลกล่าวคือความไม่
กระทบกระทั่ง เพราะยังเวรให้สงบนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 616
เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวคุณแห่งขันติอย่างนี้แล้ว พระราชาเหล่านั้น
ทรงพระดำริว่า ท้าวสักกเทวราชตรัสถามแต่ปัญหาของตน จักไม่ให้โอกาส
ถามแก่พวกเรา. ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช ทรงทราบอัธยาศัยของพระราชา
เหล่านั้น จึงงดปัญหาที่พระองค์เตรียมมาเสีย ๔ ข้อ เมื่อจะตรัสถามความสงสัย
ของพระราชาเหล่านั้น จึงตรัสคาถา ความว่า
ข้าพเจ้าขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน แต่จะ
ขอถามปัญหาอื่นๆกะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวแก้ปัญหา
นั้น โดยมีพระราชา ๔ พระองค์ คือ พระเจ้าทัณฑกี ๑
พระเจ้านาลิกีระ ๑ พระเจ้าอัชชุนะ ๑ พระเจ้ากลาพุ
๑ ขอท่านได้ไปรดบอกคติของพระราชาเหล่านั้น ผู้มี
บาปกรรมอันหนัก พระราชาทั้ง ๔ องค์นั้นเบียดเบียน
พระฤๅษีทั้งหลาย พากันบังเกิด ณ ที่ไหน ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุโมทยิมานา ความว่า ข้าพเจ้า
อนุโมทนาคำสุภาษิตนี้ของท่าน กล่าวคือการวิสัชนาปัญหา ๓ ข้อที่ข้าพเจ้า
ถามแล้ว. บทว่า ยถา อหู ความว่า พระราชาทั้ง ๔ ได้มีแล้ว (โดย
ประการใด). บทว่า กลาพุ จ ได้แก่ พระเจ้ากลาพุ ๑. บทว่า อถชฺชุโน
ได้แก่ พร ะเจ้าอัชชุนะ ๑.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะวิสัชนาปัญหาของท้าวสักกเทวราช
ได้กล่าวคาถา ๕ คาถา ความว่า
ก็พระเจ้าทัณฑกี ได้เรี่ยรายโทษลงในท่านกีส-
วัจฉดาบสแล้ว เป็นผู้ขาดสูญมูลราก พร้อมทั้งอาณา
ประชาราษฎร์ พร้อมทั้งรัฐมณฑล หมกไหม้อยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 617
นรกชื่อกุกกุละ ถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว ย่อมตก
ต้องกายของพระราชานั้น.
พระเจ้านาลิกีระพระองค์ใด ได้เบียดเบียนบรรพ-
ชิตทั้งหลาย ผู้สำรวมแล้ว ผู้กล่าวธรรม สงบระงับ
ไม่ประทุษร้ายใคร สุนัขทั้งหลายในโลกหน้า ย่อมรุม
กันกัดกินพระเจ้านาลิกีระนั้น ผู้ดิ้นรนอยู่.
อนึ่ง พระเจ้าอัชชุนะ เป็นผู้มีพระเศียรห้อยลง
เบื้องต่ำ มีพระบาทชี้ขึ้นเบื้องสูง ลงในสัตติสูนรก
เพราะเบียดเบียนอังคีรสฤๅษีผู้โคดม ผู้มีความอดทน
มีตบะ ประพฤติพรหมจรรย์มานาน.
พระราชาทรงพระนามว่า กลาพุ พระองค์ใด
ได้เชือดเฉือนพระฤๅษีชื่อขันติวาที ผู้สงบระงับ ไม่
ประทุษร้ายให้เป็นท่อนๆ พระราชาพระนามว่า กลาพุ
พระองค์นั้น ได้บังเกิดหมกไหม้อยู่ในอเวจีนรก อัน
ร่อนใหญ่ มีเวทนาเผ็ดร้อนน่ากลัว.
บัณฑิตได้ฟังนรกเหล่านี้ และนรกเหล่าอื่น อัน
ชั่วช้ากว่านี้ ในที่นี้แล้ว ควรประพฤติธรรมในสมณ-
พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้กระทำอย่างนี้ย่อมเข้าถึงแดน-
สวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กีส ความว่า สรีระของท่านดาบสชื่อกีสะ
เพราะเป็นผู้มีเนื้อและเลือดน้อย. บทว่า อวกฺรีย ความว่า พระเจ้าทัณฑกีราช
เรี่ยราย คือลอยกลีโทษลงในสรีระของท่านกีสดาบส ด้วยการถ่มเขฬะ และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 618
ทิ้งไม้สีฟันให้ตกลงไป. บทว่า อุจฺฉินฺนมูโล แปลว่า เป็นผู้ขาดสูญมูลราก.
บทว่า สชโน แปลว่า พร้อมด้วยบริษัท. บทว่า กุกฺกุลนาเม นิรยมฺหิ
ความว่าหมกไหม้อยู่ในนรกเถ้ารึง อันตั้งอยู่ในที่ประมาณสามร้อยโยชน์ตลอดกัป.
บทว่า ผุลฺลิงฺคา ได้แก่ ถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว. ได้ยินว่า
เมื่อพระเจ้าทัณฑกีราชนั้นจมลงในกุกกุลนรกอันร้อนนั้น เถ้ารึงย่อมเข้าไปทาง
ทวารทั้งเก้า ถ่านเพลิงก้อนโต ๆ ตกลงบนศีรษะ ในกาลเมื่อถ่านเพลิงตกลง
บนศีรษะของพระราชานั้น สรีระทั้งสิ้นลุกโพลงเหมือนต้นไม้ติดเพลิงฉะนั้น
ทุกขเวทนามีกำลัง ย่อมเป็นไป พระราชานั้น เมื่อไม่สามารถจะอดกลั้นได้ ก็
ร้องเอ็ดอึงไป. ท่านสรภังคศาสดาแยกแผ่นดินออก แสดงให้เห็นพระราชา ซึ่ง
หมกไหม้อยู่ในกุกกุลนรกนั้นอย่างนั้น มหาชนก็ถึงความสะดุ้งกลัว พระมหาสัตว์
รู้ว่ามหาชนกลัวยิ่งนัก จึงบันดาลให้นรกนั้นอันตรธานไป.
บทว่า ธมฺม ภณนฺเต ความว่า ผู้กล่าวธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐.
บทว่า สมเณ ได้แก่ ท่านผู้ลอยบาปแล้ว. บทว่า อทูสเก ได้แก่ ผู้ไร้ความผิด.
บทว่า นาลิกีร ได้แก่ พระราชาผู้มีพระนามอย่างนี้. บทว่า ปรตฺถ
ความว่า ผู้บังเกิดแล้วในปรโลก คือ นรก. บทว่า สงฺคมฺม ความว่า
สุนัขทั้งหลายตัวใหญ่ ๆ มาจากทางโน้น ทางนี้ ประชุมกัน กัดกินพระเจ้า-
นาลิกีรราชนั้น.
ได้ยินว่า เมื่อพระราชาพระนามว่า นาลิกีรราช เสวยราชสมบัติอยู่ใน
ทันตปุรนคร ในกาลิงครัฐนั้น พระมหาดาบสองค์หนึ่งแวดล้อมด้วยดาบสห้า
ร้อยมาจากป่าหิมพานต์ พักอยู่ในพระราชอุทยาน แสดงธรรมแก่มหาชน. พวก
อำมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ดาบสผู้มีธรรม อยู่ในพระราชอุทยาน ก็พระราชา
เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ครองราชย์โดยอธรรม. เมื่ออำมาตย์ทั้งหลายพากัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 619
สรรเสริญพระดาบส ท้าวเธอจึงทรงพระดำริว่า แม้เราก็จักฟังธรรม แล้ว
เสด็จไปยังพระราชอุทยาน ทรงไหว้พระดาบสแล้วประทับนั่งอยู่. พระดาบส
เมื่อจะทำปฏิสันฐานกับพระราชา จึงกราบทูลว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร
พระองค์ทรงครองราชย์โดยธรรมหรือ ไม่ทรงเบียดเบียนมหาชนดอกหรือ ?
พระราชาทรงกริ้วถ้อยคำของพระดาบส ทรงดำริว่า ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้
ชะรอยชฎิลโกงนี้จะกล่าวแต่โทษของเราเท่านั้น ในสำนักของทวยนาคร
ช่างเถิด เราจักทำให้สาสม แล้วตรัสนิมนต์ว่า พรุ่งนี้ นิมนต์พวกท่านมายัง
ประตูวังของข้าพเจ้าดังนี้แล้ว ในวันรุ่งขึ้น จึงตรัสสั่งให้เอาคูถเก่า ๆ บรรจุตุ่ม
จนเต็ม เมื่อพวกดาบสมาแล้ว ตรัสสั่งให้เอาคูถใส่ภิกขาภาชนะของดาบสเหล่านั้น
จนเต็ม ให้ปิดพระทวารเสีย แล้วตรัสสั่งให้คนถือสาก และท่อนเหล็กทุบศีรษะ
ของพระฤๅษีทั้งหลาย ให้จับชฎาลากมาให้สุนัขกัดกิน จึงเข้าไปสู่แผ่นดินซึ่ง
แยกออก ณ ที่นั้น บังเกิดในสุนขมหานรก. สรีระของพระราชาในนรกนั้น
ได้มีสามคาวุต. ลำดับนั้น สุนัขทั้งหลายตัวโต ๆ ขนาดเท่าช้างอย่างใหญ่
มีวรรณะ ๕ ประการ ติดตามกัดพระราชานั้น สลัดให้ล้มลง ณ แผ่นดินเหล็ก
อันลุกโพลง ประมาณเก้าโยชน์ แล้วทิ้งเอา ๆ จนเต็มปาก เคี้ยวกินพระราชา
ซึ่งดิ้นรนอยู่. พระมหาสัตว์แยกแผ่นดินออกเป็นสองภาค แล้วแสดงให้เห็น
นรกนั้น รู้ว่ามหาชนหวาดกลัว จึงบันดาลให้อันตรธานไป.
บทว่า อถชฺชุโน ได้แก่ พระราชาทรงพระนามว่า สหัสสพาหุ.
บทว่า องฺคีรส ได้แก่ ท่านอังคีรสผู้มีชื่ออย่างนี้ เพราะเปล่งรัศมีออกจาก
อวัยวะ. บทว่า เหยิตฺวา ความว่า พระราชาอัชชุนะเบียดเบียนท่าน
อังคีรส คือเอาเกาทัณฑ์อันอาบยาพิษ ยิงให้ถึงความตาย. ได้ยินว่า พระเจ้า
อัชชุนะนั้น เมื่อเสวยราชย์ในเกกราชธานี เขตมหิสกรัฐ เสด็จไปล่าเนื้อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 620
ครั้นฆ่าเนื้อได้แล้ว ก็ชอบประพฤติเสวยเนื้อสุกในถ่านเพลิง วันหนึ่ง พระองค์
ทรงทำซุ้มดักในสถานที่เนื้อจะมา ประทับยืนแลดูเนื้อทั้งหลายอยู่ คราวนั้น
ท่านอังคีรสดาบส ขึ้นอยู่บนต้นหมากเม่าต้นหนึ่งใกล้ ๆ พระราชานั้น กำลัง
เก็บผลไม้อยู่ ปล่อยกิ่งที่เก็บผลแล้วลงไป. เพราะเสียงกิ่งไม้ที่ท่านปล่อยไป
ฝูงเนื้อที่มาถึงสถานที่นั้นแล้ว จึงหนีไป. พระราชาทรงกริ้ว เอาลูกศรมียาพิษ
ยิงพระดาบส. พระดาบสตกกลิ้งลงมา ศีรษะกระแตกตอตะเคียน ทำกาลกิริยา
ลงที่ปลายหลาวแหลมนั่นเอง. ทันใดนั้น พระราชาก็เข้าไปสู่แผ่นดิน ซึ่งแยก
ออกเป็นสองภาค บังเกิดในสัตติสูลนรก. สรีระได้มีประมาณ ๓ คาวุต นาย
นิรยบาลในนรกนั้น ทุบตีด้วยอาวุธอันลุกโพลง บังคับให้ขึ้นภูเขาเหล็กอัน
ลุกโพลง. ในเวลาที่พระราชานั้นสถิตเหนือยอดบรรพต ลมย่อมประหาร.
พระราชาก็พลัดตกลงด้วยลมพัด. ขณะนั้น หลาวเหล็กอันลุกโพลง ขนาดลำตาล.
อย่างใหญ่ผุดขึ้นภายใต้แผ่นดินเหล็กอันลุกโพลงหนาเก้าโยชน์. พระราชานั้น
เอาศีรษะกระแทกยอดปลายหลาวนั่นเอง แล้วถูกหลาวเสียบตรึงไว้ ขณะนั้น
แผ่นดินก็ลุกโพลง หลาวก็ลุกโพลง สรีระของพระราชานั้นก็ลุกโพลง พระราชา
ร้องเอ็ดอึง ถูกเผาไหม้อยู่ในนรกนั้น พระมหาสัตว์บันดาลให้แผ่นดินแยกออก
เป็นสองภาค แล้วชี้ให้เห็นนรกนั้น รู้ว่ามหาชนหวาดกลัว จึงบันดาลให้
อันตรธานไป.
บทว่า ขณฺฑโส ความว่า พระเจ้ากลาพุได้ให้เชือดเฉือนมือเท้าทั้ง ๔
หูและจมูกของขันติวาทีดาบส ทำให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่. บทว่า อทูสก ได้แก่
ผู้หาความผิดมิได้. พระเจ้ากลาพุ ครั้นให้เชือดเฉือนอย่างนั้นแล้ว ตรัสสั่งให้
เฆี่ยนด้วยหวายเส้นควบสำหรับประหารพันที ให้จับชฎาดาบสคร่ามาให้นอนคู้
แล้วเอาพระปราษณีประหารที่หลัง ทำให้ถึงทุกขเวทนาใหญ่. บทว่า กลาพุวีจึ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 621
ความว่า พระเจ้ากลาพุนั้นก็เข้าถึงอเวจีนรก. บทว่า กฏุก ความว่า เข้าถึง
นรกอันมีเวทนากล้า เห็นปานนี้ ถูกเผาไหม้อยู่ในระหว่างเปลวไฟทั้ง ๖. อนึ่ง
เรื่องของพระเจ้ากลาพุ โดยพิสดาร ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในขันติวาทีชาดก
นั่นเอง.
บทว่า อญฺานิ ปาปิฏฺตรานิ เจตฺถ ความว่า กุลบุตรผู้เป็น
บัณฑิต ฟัง (นรกเหล่านั้น) และนรกอื่นอันหยาบช้ากว่านรกเหล่านี้. บทว่า
ธมฺมญฺจเร ความว่า ดูก่อนท้าวสักกเทวราช กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตรู้ชัดว่า
นรกทั้ง ๔ เหล่านี้ และพระราชา ๔ องค์เหล่านี้ บังเกิดในนรกทั้งสิ้นเท่านี้
ก็หามิได้ ที่แท้แม้นรกแม้อื่น และพระราชาแม้อื่น ก็บังเกิดแล้วในนรก
เหมือนกัน ดังนี้แล้ว พึงประพฤติธรรมในสมณพราหมณ์ คือถวายจตุปัจจัย
จัดการรักษาป้องกันโดยชอบธรรม.
เมื่อพระมหาสัตว์ แสดงสถานที่บังเกิดของพระราชาทั้งสี่อย่างนี้แล้ว
พระราชาทั้ง ๓ พระองค์ ก็สิ้นความสงสัย. ต่อแต่นั้น ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะ
ตรัสถามปัญหาที่เหลือ ๔ ข้อต่อไป จึงตรัสคาถา ความว่า
ข้าพเจ้าขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอ-
ถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวแก้ปัญหา
นั้นด้วย.
บัณฑิตเรียกคนเช่นไรว่ามีศีล เรียกคนเช่นไร
ว่ามีปัญญา เรียกคนเช่นไรว่าสัตบุรุษ สิริย่อมไม่ละคน
เช่นไรหนอ ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตวิธ โน สิริ โน ชหาติ ความว่า
สิริ อันบุคคลได้แล้วย่อมไม่ละบุรุษเช่นไรกัน ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 622
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะวิสัชนาปัญหาของท้าวสักกเทวราช
ได้กล่าวคาถา ๔ คาถา ความว่า
บุคคลใดในโลกนี้ เป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจา
และใจ ไม่ทำบาปกรรมอะไร ๆ ไม่พูดพล่อย ๆ
เพราะเหตุแห่งตน บัณฑิตเรียกบุคคลเช่นนั้นว่าเป็นผู้
มีศีล.
บุคคลใด คิดปัญหาอันลึกซึ้งได้ด้วยใจ ไม่ทำ
กรรมอันหยาบช้า อันหาประโยชน์มิได้ ไม่ปิดทางแห่ง
ประโยชน์ อันมาถึงตามกาล บัณฑิตเรียกบุคคลเช่นนั้น
ว่ามีปัญญา.
บุคคลใดแล เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที มีปัญญา
มีกัลยาณมิตร และมีความภักดีมั่นคง ช่วยทำกิจของ
มิตรผู้ตกยาก โดยเต็มใจ บัณฑิตเรียกบุคคลเช่นนั้นว่า
สัตบุรุษ.
บุคคลใดประกอบด้วยคุณสมบัติทั้งปวงเหล่านี้
คือเป็นผู้มีศรัทธา อ่อนโยน แจกทานด้วยดี รู้ความ
ประสงค์ สิริย่อมไม่ละบุคคลเช่นนั้น ผู้สงเคราะห์
มีวาจาอ่อนหวาน สละสลวย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเยน เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ด้วย
สามารถแห่งความสุจริต ทางไตรทวาร. บทว่า น อตฺตเหตุ นี้ เป็นหัวข้อ
แห่งเทศนาเท่านั้น. อธิบายว่า ไม่พูดเหลาะแหละ เพราะเหตุแห่งตน เพราะ
เหตุแห่งผู้อื่น เพราะเหตุแห่งทรัพย์ เพราะเหตุแห่งยศ เพราะเหตุแห่งลาภ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 623
หรือเพราะเหตุมุ่งอามิส. ถึงเนื้อความนี้ จะสำเร็จด้วยบทนี้ว่า สำรวมด้วย
วาจาดังนี้ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อแสดงเนื้อความให้หนัก ควรทราบว่าท่าน
กล่าวอย่างนี้อีกว่า ก็ความชั่วที่จะชื่อว่า คนผู้มักพูดเท็จไม่ทำไม่มี.
บทว่า คมฺภีรปญฺห ความว่า (บุคคลใดคิดค้น) ปัญหาอันลึกซึ้ง
ลี้ลับ กำบัง ทั้งโดยอรรถและบาลี เช่นเดียวกับปัญหาที่มา ในสัตตุภัสตชาดก
สัมภวชาดก และอุมมังคชาดก. บทว่า มนสา วิจินฺตย ความว่า บุคคล
ใด คิดค้นได้ด้วยใจ แทงตลอดเนื้อความ สามารถเพื่อจะกล่าวแก้ กระทำ
ให้ปรากฏดุจยังพระจันทร์ พระอาทิตย์ให้ตั้งขึ้นตั้งพันดวง. บทว่า นจฺจาหิต
ความว่า และบุคคลใดไม่กระทำกรรม อันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลยิ่ง คือ
ล่วงเลยประโยชน์ หยาบช้า เผ็ดร้อน สาหัส อนึ่ง เพื่อจะยังเนื้อความนี้ให้
แจ่มแจ้ง ควรกล่าวภูริปัญหาว่า
บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่สร้างบาปกรรม เพราะ
เหตุแห่งความสุขของตน สัตบุรุษทั้งหลายแม้อันทุกข์
ถูกต้อง พลั้งพลาดลง ย่อมไม่ละธรรม เพราะความ
รักและความชัง.
บทว่า กาลคต ความว่า บุคคลใดเมื่อยังทานเป็นต้นเหล่านี้ให้ถึง
พร้อม ด้วยคิดว่า กาลนี้เป็นกาลควรให้ทาน เป็นกาลที่จะรักษาศีล เป็นกาล
เข้าจำอุโบสถ เป็นกาลตั้งมั่นในสรณะ เป็นการกระทำบรรพชา เป็นกาลบำ-
เพ็ญสมณธรรม เป็นวาระที่ควรบำเพ็ญวิปัสสนา ชื่อว่าย่อมไม่ริดรอน คือ
ไม่ยังทางแห่งประโยชน์ อันมาถึงโดยกาลให้เสื่อมไป. บทว่า ตถาวิธ ความว่า
ดูก่อนท้าวสักกะ พระสัพพัญญูพุทธะก็ดี พระปัจเจกพุทธะก็ดี พระมหาสัตว์
ก็ดี เมื่อจะกล่าวถึงคนมีปัญญา ย่อมกล่าวถึงบุคคลเห็นปานนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 624
ในบทว่า โย เว นั้น มีอธิบายดังนี้ บุคคลใดรู้จักคุณ อันผู้อื่น
ทำแล้วแก่ตน ชื่อว่าเป็นผู้กตัญญู อนึ่ง ครั้นรู้อย่างนี้แล้ว ทำการตอบแทน
คุณของเขาที่ได้ทำคุณไว้แก่ตน ชื่อว่าเป็นผู้กตเวที. บทว่า ทุกฺขิตสฺส ความว่า
บุคคลใดยกความทุกข์แห่งสหายของตน ผู้ถึงทุกข์ขึ้นไว้ในตน ช่วยทำให้กิจ
อันเกิดขึ้นแก่สหายนั้น ด้วยมือของตนโดยเคารพ พระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อม
กล่าวบุคคลนั้น ผู้เห็นปานนี้ ว่าเป็นสัตบุรุษ อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาสัตบุรุษ
ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้มีความกตัญญู กตเวที เพราะฉะนั้น ควรกล่าวถึงชาดก
เช่น สตปตชาดก จุลลหังสชาดก และมหาหังสชาดกเป็นต้น.
บทว่า เอเตหิ สพฺเพหิ ความว่า ดูก่อนท้าวสักกเทวราช บุคคล
ใดเข้าถึงด้วยคุณสมบัติ มีศีลเป็นต้น ดังที่กล่าวแล้วในหนหลัง เหล่านี้ทั้งหมด.
บทว่า สทฺโธ ความว่า ประกอบด้วยโอกัปปนสัทธา (ศรัทธา คือความ
เชื่อมั่น). บทว่า มุทุ ได้แก่ เป็นผู้มีปกติพูดจาน่ารัก. บทว่า สวิภาคี
ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้จำแนกแจกทานด้วยดี เพราะความเป็นผู้ยินดียิ่ง ในการ
จำแนกศีล จำแนกทาน ชื่อว่า วทัญญู ผู้รู้ถ้อยคำ เพราะสามารถรู้ถ้อยคำของ
ยาจก แล้วจึงให้. บทว่า สงฺคาหก ความว่า ชื่อว่าผู้สงเคราะห์ เพราะ
สงเคราะห์ชนนั้น ๆ ด้วยสังคหวัตถุ ๔. ชื่อว่า มีวาจาสละสลวย เพราะ
กล่าวถ้อยคำไพเราะ. ชื่อว่า มีวาจาอ่อนหวาน เพราะมีถ้อยคำเกลี้ยงเกลา.
บทว่า ตถาวิธ โน ความว่า สิริ กล่าวคือ ยศและลาภอันเลิศที่ได้แล้ว
ย่อมไม่ละบุคคลเช่นนั้น คือ สิริของบุคคลนั้น ย่อมไม่พินาศไป.
พระมหาสัตว์เจ้า วิสัชนาปัญหา ๔ ข้อ ดุจยังพระจันทร์อันเต็มดวง
ให้ตั้งขึ้นบนพื้นท้องฟ้าฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้ ถัดจากนั้นไป เป็นปุจฉา
และวิสัชนาปัญหาที่เหลือ ท้าวสักกเทวราช ตรัสคาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 625
ข้าพเจ้าขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถาม
ปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวแก้ปัญหานั้น
ด้วย นักปราชญ์ย่อมกล่าวศีล สิริ ธรรมของสัตบุรุษ
และปัญญาว่า ข้อไหนประเสริฐกว่ากัน ?
พระมหาสัตว์ ทูลว่า
แท้จริง ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า
ปัญญานั่นแหละประเสริฐสุด ดุจพระจันทร์ประเสริฐ
กว่าดวงดาวทั้งหลายฉะนั้น ศีล สิริ และธรรมของ
สัตบุรุษ ย่อมเป็นไปตามบุคคลผู้มีปัญญา.
ท้าวสักกะตรัสถามว่า
ข้าพเจ้าขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอ
ถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวปัญหานั้น
บุคคลในโลกนี้ทำอย่างไร ทำด้วยอุบายอย่างไร ประ-
พฤติอะไร เสพอะไร จึงจะได้ปัญญา ขอท่านได้โปรด
บอกปฏิปทา แห่งปัญญา ณ บัดนี้ว่า นรชนทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้มีปัญญา.
ท่านสรภังคศาสดา ทูลว่า
บุคคลควรคบหาท่านผู้รู้ทั้งหลาย ละเอียดลออ
เป็นพหูสูต ควรเป็นนักเรียน นักสอบถาม พึงตั้งใจ
ฟังคำสุภาษิตโดยเคารพ นรชนทำอย่างนี้ จึงจะเป็นผู้
มีปัญญา.
ผู้มีปัญญานั้น ย่อมพิจารณาเห็นกามคุณทั้งหลาย
โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 626
โดยความเป็นโรค ผู้เห็นแจ้งอย่างนี้ ย่อมละความพอ
ใจในกามทั้งหลาย อันเป็นทุกข์ มีภัยใหญ่หลวงเสียได้.
ผู้นั้น ปราศจากราคะแล้ว กำจัดโทสะได้ พึง
เจริญเมตตาจิต อันหาประมาณมิได้ งดอาชญาในสัตว์
ทุกจำพวกแล้ว ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงพรหมสถาน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีล ได้แก่ อาจารศีล. บทว่า สิริ
ได้แก่ อิสริยยศ. บทว่า สตญฺจ ธมฺม ได้แก่ สัปปุริสธรรม. บทว่า
ปญฺญ ความว่า ท้าวสักกะตรัสถามว่า ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึงบรรดา
ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ อย่างนี้ว่า อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน ?
บทว่า ปญฺา หิ ความว่า พระมหาสัตว์ทูลว่า ดูก่อนท้าวสักกะ
ในธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ชื่อว่าปัญญานี้นั้น คนฉลาดทั้งหลายเช่นพระพุทธเจ้า
เป็นต้น กล่าวว่าประเสริฐสุด เหมือนดวงดาวแวดล้อมดวงจันทร์ ดวง
จันทร์นั่นแหละสูงสุดกว่าดวงดาวเหล่านั้น ฉันใด ธรรมแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้คือ
ศีล สิริ และธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ก็ฉันนั้น. บทว่า อนฺวายกา ปญฺวโต
ภวนฺติ ความว่า ย่อมเป็นไปตามบุคคลผู้มีปัญญาเท่านั้น คือเป็นบริวารของ
ปัญญานั่นเอง.
คำว่า กถกโร เป็นต้น เป็นไวพจน์ของกันและกันเท่านั้น. บทว่า
กถกโร ความว่า ท้าวสักกะตรัสถามว่า บุคคลกระทำอยู่ซึ่งกรรมอะไร
ประพฤติอะไร เสพคือคบหา ซึ่งกรรมอะไร ย่อมได้ซึ่งปัญญาในโลกนี้ทีเดียว
ท่านโปรดบอกปฏิปทาแห่งปัญญาอย่างเดียว ข้าพเจ้าใคร่จะรู้ สัตว์ผู้ต้องตาย
เป็นสภาพ ทำอย่างไร จึงจะเป็นผู้ชื่อว่า มีปัญญา.
บทว่า วุฑฺเฒ ได้แก่ บัณฑิต ผู้ถึงซึ่งความเจริญด้วยความรู้. บทว่า
นิปุเณ ความว่า ผู้สามารถรู้เหตุการณ์อันสุขุม. บทว่า เอวกโร ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 627
ท่านสรภังคศาสดาตอบว่า บุคคลใด สมาคม คบหา นั่งใกล้ซึ่งบุคคลผู้มี
ประการดังกล่าวมาแล้วอย่างนี้ ย่อมเล่าเรียนบาลี สอบถามอรรถาธิบายเนือง ๆ
เงี่ยโสตลงสดับคำสุภาษิตโดยเคารพ ดุจบุคคลจารึกรอยลงบนแผ่นหิน หรือ
ดุจเอาตุ่มทองรองรับมันเหลวของราชสีห์ ฉะนั้น บุคคลผู้กระทำอย่างนี้ นี้
ย่อมเป็นผู้มีปัญญา พระมหาสัตว์กล่าวปฏิปทาแห่งปัญญาอย่างนี้ คล้ายกับ
ยังพระอาทิตย์ให้อุทัยขึ้น จากปราจีนโลกธาตุ เมื่อจะกล่าวคุณของปัญญานั้นใน
บัดนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า บุคคลผู้มีปัญญานั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามคุเณ ความว่า บุคคลผู้มีปัญญานั้น
ย่อมเห็น คือพิจารณาส่วนแห่งกามทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เพราะ
อรรถว่า มีแล้วเหมือนไม่มี โดยความเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์
ทั้งในปัจจุบัน และสัมปรายิกภพ โดยความเป็นโรค เพราะความมีพร้อมแห่ง
โรค คือทุกข์ เก้าสิบแปดประการ อาศัยกามเกิดขึ้น. บทว่า โส เอววิปสฺสิ
ความว่า เมื่อบุคคลเล็งเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้น ของกามทั้งหลาย โดยเหตุ
เหล่านี้ รู้ชัดว่า ที่สุดแห่งทุกข์อันอาศัยกามเกิดขึ้นไม่มี การละกามอย่างเดียว
เท่านั้นเป็นสุข แล้วย่อมละเสียได้ซึ่งความพอใจ ในกามอันเป็นทุกข์ เป็น
ภัยใหญ่.
บทว่า ส วีตราโค ความว่า ดูก่อนท้าวสักกะ บุคคลนั้นปราศจาก
ราคะอย่างนี้ กำจัดซึ่งโทษอันเกิดขึ้น ด้วยอำนาจอาฆาฏวัตถุ เก้าประการเป็น
สภาพแล้ว พึงเจริญเมตตาจิต ครั้นเจริญเมตตาจิต ชื่อว่าไม่มีประมาณเพราะ
มีสัตว์หาประมาณมิได้เป็นอารมณ์แล้ว เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อม ใคร ๆ จะตำ
หนิไม่ได้ ย่อมบังเกิดในพรหมโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 628
เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวโทษแห่งกามทั้งหลายอยู่อย่างนี้ พระราชาแม้
ทั้ง ๓ องค์เหล่านั้น พร้อมด้วยพลนิกาย ต่างละความกำหนัดยินดี ในเบญจ
กามคุณได้ด้วยตทังคปหาน. พระมหาสัตว์รู้ดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาด้วย
สามารถแห่งความร่าเริงของชนเหล่านั้นว่า
การเสด็จมาของมหาบพิตร ผู้มีพระนามว่า
อัฏฐกะ ภีมรถะ และกาลิงคราช ผู้มีพระเดชานุภาพ
ฟุ้งเฟื่องไป เป็นการมาอย่างมหิทธิฤทธิ์ ทุก ๆ พระ
องค์ทรงละกามราคะได้แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหิทฺธิย ความว่า การมาอันมีมหิทธิ-
ฤทธิ์ คือกว้างขวางรุ่งเรืองใหญ่. บทว่า ตวมฏฺกา ความว่า ของพระองค์
ผู้มีพระนามว่าอัฏฐกะ. บทว่า ปหีโน ความว่า กามราคะ อันทุกพระองค์
ทรงละได้แล้ว ด้วยตทังคปหาน.
พระราชาทั้งหลาย ทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว เมื่อจะทรงชมเชย พระ
มหาสัตว์เจ้า จึงพากันตรัสคาถา ความว่า
ท่านเป็นผู้รู้จิตผู้อื่น ข้อนั้นก็เป็นอย่างนั้นแหละ
ข้าพเจ้าทุกคนละกามราคะได้แล้ว ขอท่านจงให้โอกาส
เพื่อความอนุเคราะห์ ตามที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะรู้ถึง
คติของท่านได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุคฺคหาย ความว่า พระราชาทั้งหลาย
พากันตรัสว่า ท่านโปรดกระทำโอกาสเพื่อประโยชน์ แก่การบรรพชาของ
พวกข้าพเจ้า อย่างที่พวกข้าพเจ้าบวชแล้วจะพึงตรัสรู้ คือบรรลุความสำเร็จ
ตามคติของท่าน ได้แก่พึงแทงตลอดได้ ซึ่งคุณอันท่านแทงตลอดแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 629
ลำดับนั้น เมื่อพระมหาสัตว์จะกระทำโอกาสแก่พระราชาเหล่านั้น จึง
กล่าวคาถาต่อไปความว่า
อาตมาให้โอกาสเพื่อความอนุเคราะห์ เพราะ
มหาบพิตรทั้งหลาย ละกามราคะได้อย่างนั้นแล้ว จง
ยังกายให้ซาบซ่าน ด้วยปีติอันไพบูลย์ ตามที่
มหาบพิตรทั้งหลายจะทรงทราบ ถึงคติของอาตมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผราถ กาย ความว่า ยังกายให้ซาบซ่าน
ด้วยปีติอันเกิดแต่ฌานอันไพบูลย์.
พระราชาเหล่านั้น ทรงสดับเช่นนั้น เมื่อจะทรงยอมรับ จึงตรัสคาถา
ความว่า
ข้าแต่ท่านผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ข้าพเจ้าทั้งหลาย
จักทำตามคำสั่งสอนที่ท่านกล่าวทุกอย่าง ข้าพเจ้า
ทั้งหลายจะยังกายให้ซาบซ่านด้วยปีติอันไพบูลย์ ตาม
ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายจะรู้ถึงคติของท่าน.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงให้บรรพชาแก่พระราชาเหล่านั้นพร้อมทั้ง
พลนิกาย เมื่อจะส่งหมู่ฤาษีไป จึงกล่าวคาถา ความว่า
ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ฤาษีทั้งหลายผู้มีคุณ
ความดี ทำการบูชานี้ แก่กีสวัจฉดาบสแล้ว จงพากัน
ไปยังที่อยู่ของตน ๆ เถิด ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดี
ในณาน มีจิตตั้งมั่นทุกเมื่อเถิด ความยินดีนี้ เป็น
คุณชาติประเสริฐสุดของบรรพชิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 630
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คจฺฉนฺตุ ความว่า พระมหาสัตว์กล่าวว่า
ท่านทั้งหลายจงไปยังสถานที่อยู่เป็นต้นของตน ๆ เถิด.
พระฤาษีทั้งหลายรับคำของพระมหาสัตว์แล้ว ต่างนมัสการลา ลอยขึ้น
สู่อากาศ กลับไปยังสถานที่อยู่ของตน ๆ. ฝ่ายท้าวสักกเทวราช เสด็จลุกขึ้น
จากอาสนะ ทำการชมเชยพระมหาสัตว์เจ้า ประคองอัญชลี นมัสการพระ-
มหาสัตว์ดุจนอบน้อมอยู่ซึ่งพระอาทิตย์ พร้อมด้วยเทพบริษัทเสด็จหลีกไป.
พระศาสดาทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้
ความว่า
ชนเหล่านั้น ได้ฟังคาถาอันประกอบด้วย
ประโยชน์อย่างยิ่ง ที่ฤาษีผู้เป็นบัณฑิตกล่าวดีแล้ว
เกิดปีติโสมนัส พากันอนุโมทนาอยู่ เทวดาทั้งหลาย
ผู้มียศ ต่างก็พากันกลับไปสู่เทพบุรี.
คาถาเหล่านี้ มีอรรถพยัญชนะดี อันฤาษีผู้เป็น
บัณฑิตกล่าวดีแล้ว คนใดคนหนึ่งฟังคาถาเหล่านี้ ให้
มีประโยชน์ พึงได้คุณพิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
ครั้นแล้วพึงบรรลุถึงสถานที่ อันมัจจุราชมองไม่เห็น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรมฺตถสญฺหิตา ความว่า คาถาเหล่านี้
ชื่อว่าอาศัยซึ่งพระนิพพาน เพราะแสดงถึงความไม่เที่ยงเป็นต้น. พระบรมศาสดา
เมื่อทรงสรรเสริญคำสุภาษิต อันให้ซึ่งพระนิพพาน ของท่านสรภังคศาสดา
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อิมา (คาถาเหล่านี้) ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถวตี ความว่า คาถาเหล่านี้ ชื่อว่า
อาศัยประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะอรรถว่าให้ซึ่งพระนิพพาน. บทว่า สุพฺยญฺชนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 631
แปลว่า มีพยัญชนะบริสุทธิ์. บทว่า สุภาสิตา ความว่า อันฤาษีผู้เป็น
บัณฑิตกล่าวทำให้น่าฟังด้วยดี คือกล่าวไว้ดีแล้ว. บทว่า อฏฺิกตฺวา ความว่า
บุคคลใดเป็นผู้มีความต้องการ เพราะทำความเป็นประโยชน์แก่ตน พึงฟัง
โดยเคารพ. บทว่า ปุพฺพาปริย ความว่า ปฐมฌานเป็นคุณวิเศษเบื้องต้น
ทุติยฌานเป็นคุณวิเศษเบื้องปลาย จะพึงได้คุณวิเศษอันตั้งอยู่โดยความเป็น
เบื้องต้น เบื้องปลาย ด้วยสามารถแห่งสมาบัติ ๘ ด้วยสามารถแห่งมรรค ๔
อย่างนี้. บทว่า อทสฺสน ความว่า และจะพึงได้พระอรหัตผล อันเป็น
คุณวิเศษเบื้องปลาย แล้วบรรลุพระนิพพานในที่สุด. เพราะว่า บุคคลผู้
บรรลุพระนิพพานแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าไปสู่สถานที่ ซึ่งมฤตยูราชมองไม่เห็น.
พระบรมศาสดาครั้นทรงถือเอายอดแห่งเทศนา ด้วยอรหัตผลอย่างนี้
แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในชาตินี้เท่านั้น แม้ในชาติก่อน
ฝนดอกไม้ก็ตกลงในสุสานที่เผาพระโมคคัลลานะ ดังนี้แล้ว ทรงประกาศอริยสัจ
เมื่อจะทรงประชุมชาดก จึงตรัสพระคาถา ความว่า
สาลิสสระดาบสในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระ-
สารีบุตร เมณฑิสสรดาบส ได้มาเป็นพระกัสสป
ปัพพตดาบสได้มาเป็นพระอนุรุทธะ เทวลดาบสได้มา
เป็นพระกัจจายนะ อนุสิสสดาบสได้มาเป็นพระอานนท์
กีสวัจฉดาบสได้มาเป็นพระโกลิตะ คือ พระโมค-
คัลลานะ นารทดาบสได้มาเป็นพระปุณณมันตานีบุตร
บริษัทที่เหลือ ได้มาเป็นพุทธบริษัท สรภังคดาบส
โพธิสัตว์ ได้มาเป็นเราตถาคต เธอทั้งหลายจงทรงจำ
ชาดกไว้อย่างนี้.
จบอรรถกถาสรภังคชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 632
๓. อลัมพุสาชดก
ว่าด้วยอิสิสิงคดาบส ถูกทาลายตบะ
[๒๔๗๘] (พระศาสดาตรัสว่า) ครั้งนั้น พระอินทร์
ผู้เป็นใหญ่ ผู้ทรงครอบงำวัตรอสูร เป็นพระบิดา
แห่งเทพบุตรผู้ชนะ ประทับนั่งอยู่ ณ สุธรรมเทวสภา
รับสั่งให้เรียกนางอลัมพุสาเทพกัญญาเข้ามาเฝ้า.
[๒๔๗๙] (ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า) ดูก่อนนาง
อลัมพุสา ผู้เจือปนด้วยกิเลสสามารถจะเล้าโลมฤาษีได้
เทวดาชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยพระอินทร์ ขอร้องเจ้า
เจ้าจงไปหาอิสิสิงคดาบสเถิด.
[๒๔๘๐] ดาบสองค์นี้ มีวัตรประพฤติพรหม-
จรรย์ ยินดียิ่งในนิพพานเป็นผู้เจริญ อย่าเพิ่งล่วงเลย
พวกเราไปก่อนเลย เจ้าจงห้ามมรรคของเธอเสีย.
[๒๔๘๑] (นางอลัมพุสาทูลว่า) ข้าแต่พระเทวราช
พระองค์ทรงทำอะไร ทรงมุ่งหมายแต่หม่อมฉัน
เท่านั้น รับสั่งว่า แนะเจ้าผู้อาจจะเล้าโลมฤาษีได้ เจ้า
จงไปเถิด ดังนี้ นางเทพอัปสรแม้อื่น ๆ ก็มีอยู่.
นางเทพอัปสรผู้ทัดเทียมหม่อมฉัน หรือประเสริฐ
กว่าหม่อมฉัน ก็มีอยู่ในนันทนวัน อันหาความเศร้าโศก
มิได้ วาระคือการไป จงมีแก่นางเทพอัปสรเหล่านั้น
แม้นางเทพอัปสรเหล่านั้น จงไปประเล้าประโลมเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 633
[๒๔๘๒] (ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า) เจ้าพูดจริง
โดยแท้แล นางเทพอัปสรอื่น ๆ ที่ทัดเทียมกับเจ้า
และยิ่งกว่าเจ้า มีอยู่ในนันทนวัน อันหาความโศกมิได้.
ดูก่อนนางผู้มีอวัยวะงานทุกส่วน ก็แต่ว่า นาง
เทพอัปสรเหล่านั้นไปถึงชายเข้าแล้ว ย่อมไม่รู้จักการ
บำเรออย่างที่เจ้ารู้.
ดูก่อนโฉมงาม เจ้านั่นแหละจงไป เพราะว่า
เจ้าเป็นผู้ประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย เจ้าจักนำดาบส
นั้นมาสู่อำนาจได้ ด้วยผิวพรรณ และรูปร่างของเจ้าเอง.
[๒๔๘๓] (นางอลัมพุสาทูลว่า) หม่อมฉันอัน
ท้าวเทวราชทรงใช้ จักไม่ไปหาได้ไม่ แต่หม่อมฉัน
กลัวที่จะเบียดเบียนพระดาบสนั้น เพราะท่านเป็น
พราหมณ์ มีเดชฟุ้งเฟื่อง.
ชนทั้งหลายมิใช่น้อย เบียดเบียนพระฤาษีแล้ว
ต้องตกนรก ถึงสังสารวัฏเพราะความหลง เพราะเหตุ
นั้น หม่อมฉันจึงต้องขนลุกขนพอง.
[๒๔๘๔] (พระศาสดาตรัสว่า) นางอลัมพุสา
เทพอัปสร ผู้มีวรรณะน่ารักใคร่ ผู้เจือปนด้วยกิเลส
ปรารถนาจะยังอิสิสิงคดาบสให้ผสม ครั้นกราบทูล
อย่างนี้แล้ว ก็หลีกไป.
ก็นางอลัมพุสาเทพอัปสรนั้น เข้าไปยังป่าที่
อิสิสิงคดาบสรักษา อันดาดาษไปด้วยเถาตำลึงโดยรอบ
ประมาณกึ่งโยชน์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 634
นางได้เข้าไปหาอิสิสิงคดาบส ผู้กำลังปัดกวาด
โรงไฟ ใกล้เวลาอาทิตย์อุทัย ก่อนเวลาอาหารเช้า
[๒๔๘๕] (อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า) เธอเป็นใครหนอ
มีรัศมีเหมือนสายฟ้า หรืองามดังดาวประกายพรึก
มีเครื่องประดับแขนงามวิจิตร ล้วนแก้วมุกดา แก้วมณี
และกุณฑล.
ประหนึ่งแสงพระอาทิตย์ มีกลิ่นจุรณจันทน์
ผิวพรรณดุจทองคำ ลำขางามดี มีมารยามากมาย
กำลังแรกรุ่น สะคราญโฉม น่าดูน่าชม.
เท้าของเธอไม่เว้ากลาง อ่อนละมุน แสนสะอาด
ตั้งลงด้วยดี การเยื้องกรายของเธอน่ารักใคร่ ทำใจ
ของเราให้วาบหวามได้ทีเดียว.
อนึ่ง ลำขาของเธอเรียวงาม เปรียบเสมอด้วย
งวงช้าง โดยลำดับ ตะโพกของเธอผึ่งผาย เกลี้ยงเกลา
ดังแผ่นทองคำ.
นาภีของเธอตั้งลงเป็นอย่างดี เหมือนฝักดอก-
อุบล ย่อมปรากฏแต่ที่ไกล คล้ายเกสรดอกอัญชันเขียว.
ถันทั้งคู่เกิดที่ทรวงอก หาขั้วมิได้ ซึ่งทรงไว้ซึ่ง
ขีรรสไม่หดเหี่ยว เต่งตั้งทั้งสองข้าง เสมอด้วยน้ำเต้า
ครึ่งซีก.
คอของเธอประดุจเนื้อทราย ขาวคล้ายหน้า-
สุวรรณเภรี มีริมฝีปากเรียบงดงาม เป็นที่ตั้งแห่งมนะ
ที่ ๔ คือ ชิวหา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 635
ฟันของเธอทั้งข้างบนข้างล่าง ขัดสีแล้วด้วยไม้
ชำระฟัน เกิดสองคราวเป็นของหาโทษมิได้ ดูงามดี.
นัยน์ตาทั้งสองข้างของเธอดูดำขลับ มีสีแดงเป็น
ที่สุด สีดังเม็ดมะกล่ำ ทั้งยาวทั้งกว้าง ดูงามนัก.
ผมที่งอกบนศีรษะของเธอไม่ยาวนัก เกลี้ยง-
เกลาดี หวีด้วยหวีทองคำ มีกลิ่นหอมฟุ้ง ด้วยกลิ่น
จันทน์.
กสิกรรม โครักขกรรม การค้าของพ่อค้า และ
ความบากบันของฤาษีทั้งหลาย ผู้สำรวมดีด้วยตบะ
มีประมาณเท่าใด เราไม่เห็นบุคคลมีประมาณเท่านั้น
ในปฐพีมณฑลนี้ จะเสมอเหมือนกับเธอ เธอเป็นใคร
หรือเป็นบุตรของใคร เราจะรู้จักเธอได้อย่างไร ?
[๒๔๘๖] (นางอลัมพุสากล่าวว่า) ดูก่อนท่าน
กัสสปะผู้เจริญ เมื่อจิตของท่านเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ไม่
ใช่กาลที่จะเป็นปัญหา มาเถิดท่านที่รัก เราทั้งสอง
จักรื่นรมย์กันในอาสนะของเรา มาเถิดท่าน ฉันจัก
เคล้าคลึงท่าน ท่านจงเป็นผู้ฉลาด ในกระบวนความ
ยินดี ด้วยกามคุณ.
[๒๔๘๗] (พระศาสดาตรัสว่า) นางอลัมพุสาเทพ-
อัปสร ผู้มีผิวพรรณน่ารักใคร่ ผู้เจือปนด้วยกิเลส
ปรารถนาจะให้อิสิสิงคดาบสผสม ครั้นกล่าวอย่างนี้
แล้ว ก็หลีกไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 636
[๒๔๘๘] ส่วนอิสิสิงคดาบสนั้น รีบเดินออกไป
โดยเร็ว สลัดตัดความเฉื่อยชาล่าช้าเสีย ไปทันเข้าก็
จับที่มวยผมอันอุดมของนางไว้.
นางเทพอัปสร ผู้สะคราญโฉม ก็หมุนตัวกลับมา
สวมกอดพระดาบสไว้ อิสิสิงคดาบสก็เคลื่อนจาก
พรหมจรรย์ ตามที่ท้าวสักกเทวราชทรงปรารถนา
ภายหลัง นางเทพอัปสรก็มีใจยินดี.
ระลึกถึงพระอินทร์ ผู้ประทับอยู่ในนันทนวัน
ท้าวมฆวาฬเทพกุญชร ทรงทราบความดำริของนาง
แล้ว จึงทรงส่งบัลลังก์ทอง พร้อมทั้งเครื่องบริวาร
มาโดยพลัน.
ทั้งผ้าปิดทรวง ๕๐ ผืน เครื่องลาด ๑,๐๐๐ ผืน นาง
อลัมพุสาเทพอัปสร กอดพระดาบสแนบทรวงอก
บนบัลลังก์นั้น.
นางโอบกอดไว้ถึง ๓ ปี ดูเหมือนครู่เดียวเท่านั้น
พราหมณ์ดาบสสร่างเมาแล้ว รู้สึกตัวได้ โดยล่วงไป๓ปี.
ได้เห็นหมู่ไม้เขียวชอุ่มโดยรอบเรือนไฟ ผลัด
ใบใหม่ ดอกบาน อึงมี่ด้วยเสียงแห่งนกดุเหว่า.
เธอตรวจตราดูโดยรอบแล้ว ร้องไห้น้ำตาไหลริน
ปริเทวนาการว่า เรามิได้บูชาไฟ มิได้ร่ายมนต์ อะไร
บันดาลให้การบูชาไฟต้องเสื่อมลง.
ผู้ใดใครหนอ มาประเล้าประโลมจิตของเรา
ด้วยการบำเรอในก่อน ยังฌานอันเกิดพร้อมกับเดช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 637
ของเรา ผู้อยู่ในป่าให้พินาศ ดุจบุคคลยึดเรืออันเต็ม
ไปด้วยรัตนะต่าง ๆ ในห้วงอรรณพฉะนั้น.
[๒๔๘๙] (นางอลัมพุสากล่าวว่า) ดิฉันอันท้าว-
เทวราชทรงใช้มา เพื่อบำเรอท่าน จึงได้ครอบงำจิต
ของท่าน ด้วยจิตของดิฉัน ท่านไม่รู้สึกตัว เพราะ
ประมาท.
[๒๔๙๐] (อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า) เดิมทีท่านกัสสปะ
ผู้บิดา ได้พร่ำสอนเราถึงสิ่งเหล่านี้ว่า ดูก่อนมาณพ
สตรีอันเสมอด้วยนารีมีผลอยู่ เจ้าจงรู้จักสตรีเหล่านั้น.
บิดาเราเหมือนเอื้อเอ็นดูเรา พร่ำสอนคำนี้ว่า
มาณพเอ๋ย เจ้าจงรู้จักนารีผู้มีเขาที่อก เจ้าจงรู้จัก
สตรีเหล่านี้.
เรามิได้ทำตามคำสอนของบิดาผู้รู้นั้น วันนี้เรา
ซบเซาอยู่แต่ผู้เดียว ในป่าอันหามนุษย์มิได้.
เราจักทำอย่างที่เราเป็นผู้เช่นเดิมอีก หรือจักตาย
เสีย ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตของเราที่น่าติเตียน.
[๒๔๙๑] (พระศาสดาตรัสว่า) นางอลัมพุสา
เทพกัญญา รู้จักเดช ความเพียร และปัญญาอันมั่นคง
ของพระอิสิสิงคดาบสนั้นแล้ว ก็ซบศีรษะลงที่เท้าของ
พระอิสิสิงคดาบส กล่าวว่า
ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านอย่าได้โกรธดิฉันเลย
ข้าแต่ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ขอท่านอย่าได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 638
โกรธดิฉันเลย ดิฉันได้ก่อประโยชน์อันใหญ่แล้ว เพื่อ
เทวดาชั้นไตรทศ ผู้มียศ เพราะว่า เทพบุรีทั้งหมด
อันท่านได้ทำให้หวั่นไหวแล้ว ในคราวนั้น.
[๒๔๙๒] (อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า) ดูก่อนนางผู้เจริญ
ขอทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ท้าววาสวะจอมไตรทศและ
เธอ จงมีความสุขเถิด ดูก่อนนางเทพกัญญา เชิญเธอ
ไปตามสบายเถิด.
[๒๔๙๓] (พระศาสดาตรัสว่า) นางอลัมพุสาเทพ-
กัญญา ซบศีรษะลงแทบเท้าแห่งอิสิสิงคดาบส และทำ
ประทักษิณแล้ว ประคองอัญชลีหลีกออกไปจากที่นั้น.
นางขึ้นสู่บัลลังก์ทอง พร้อมด้วยเครื่องบริวาร
เครื่องปิดทรวง ๕๐ ผืน และเครื่องลาด ๑,๐๐๐ ผืน
แล้วกลับไปในสำนัก แห่งเทวดาทั้งหลาย.
ท้าวสักกะจอมเทพ. ทรงปีติโสมนัส ปลาบปลื้ม
พระทัย ได้พระราชทานพรกะนางเทพกัญญานั้น ซึ่ง
กำลังมาอยู่ ราวกะว่าดวงประทีปอันรุ่งเรือง ราวกะ
สายฟ้าแลบฉะนั้น.
[๒๔๘๙] (นางอลัมพุสาทูลว่า) ข้าแต่ท้าวสักกะ
ผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้าพระองค์จะทรงประทาน-
พร แก่หม่อมฉันไซร้ ขออย่าให้หม่อมฉันต้องไป
เล้าโลมพระฤาษีอีกเลย ข้าแต่ท้าวสักกะ หม่อมฉัน
ขอพรข้อนี้.
จบอลัมพุสาชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 639
อรรถกถาอลัมพุสาชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ-
ปรารภการประเล้าประโลมของนางปุราณทุติยิกาตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า อถาพฺรวิ ดังนี้. เรื่องในปัจจุบัน ข้าพเจ้ากล่าวไว้อย่างพิสดาร
ในอินทริยชาดกแล้วแล.
ก็พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่าเธอเป็นผู้กระสัน
อยากสึกจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลรับเป็นคำสัตย์แล้ว ตรัสถามว่า ใครทำ
ให้เธอกระสัน เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า นางปุราณทุติยิกา จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
หญิงนี้ก่อความฉิบหายแก่เธอ เธออาศัยหญิงนี้ ยังฌานให้พินาศ เป็นผู้หลงใหล
สลบนอนอยู่สิ้น ๓ ปี ต่อเมื่อเกิดสำนึกได้ จึงเกิดปริเวทนาอย่างใหญ่หลวง แล้ว
ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ณ กาสิกรัฐ เจริญวัยแล้ว
ถึงความสำเร็จในสรรพศิลปศาสตร์แล้วบวชเป็นฤๅษี มีมูลผลาผลในป่าเป็น
อาหาร ยังอัตภาพให้เป็นไปในป่ากว้าง. ครั้งนั้น แม่เนื้อตัวหนึ่ง เคี้ยวกินหญ้า
อันเจือด้วยน้ำเชื้อ ในสถานที่ปัสสาวะของพระดาบสนั้นแล้วดื่มน้ำ. และด้วย
เหตุเพียงเท่านี้เอง มันมีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ในพระดาบส จนตั้งครรภ์ นับแต่
นั้นมาก็ไม่ยอมไปไหน เที่ยวอยู่ใกล้ ๆ อาศรมนั่นเอง. พระมหาสัตว์กำหนดดู
ก็รู้เหตุนั้นทั่วถึง ต่อมา แม่เนื้อคลอดบุตรเป็นมนุษย์. พระมหาสัตว์จึงเลี้ยง
ทารกนั้นไว้ด้วยความรักใคร่ว่าเป็นบุตร ตั้งชื่อให้ว่า อิสิสองคกุมาร. ในเวลา
ต่อมา พระมหาสัตว์ จึงให้อิสิสิงคกุมารผู้รู้เดียงสาแล้วบวช ในเวลาตนชรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 640
ลงได้พาดาบสกุมารนั้นไปสู่นารีวัน กล่าวสอนว่า ลูกรัก ขึ้นชื่อว่าสตรีเช่นกับ
ดอกไม้เหล่านี้ มีอยู่ในป่าหิมพานต์นี้ สตรีเหล่านั้นย่อมยังชนผู้ตกอยู่ในอำนาจ
ตน ให้ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวงได้ ไม่ควรที่เจ้าจะไปสู่อำนาจของสตรี
เหล่านั้นดังนี้แล้ว ครั้นในเวลาต่อมา ก็ทำกาลกิริยา เป็นผู้มีพรหมโลกเป็น
ที่ไปในเบื้องหน้า. ฝ่ายอิสิสิงคดาบส เมื่อประลองฌานกีฬาก็พักอยู่ในหิมวันต-
ประเทศ ได้เป็นผู้มีตบะกล้า เป็นผู้มีอินทรีย์อันชำนะแล้วอย่างยวดยิ่ง ครั้งนั้น
พิภพของท้าวสักกเทวราชหวั่นไหว ด้วยเดชแห่งศีลของพระดาบส ท้าวสักก-
เทวราชทรงใคร่ครวญดูก็ทราบเหตุนั้น ทรงพระดำริว่า พระดาบสนี้จะพึงยัง
เราให้เคลื่อนจากความเป็นท้าวสักกะ เราจักต้องส่งนางอัปสรคนหนึ่งให้ไป
ทำลายศีลของเธอ ดังนี้แล้ว ทรงพิจารณาเทวโลกทั้งสิ้น ในท่ามกลางเหล่า
เทพบริจาริกาจำนวนสองโกฏิครึ่งของพระองค์ มิได้ทรงเห็นใครอื่นซึ่งสามารถ
ที่จะทำลายศีลของพระอิสิสิงคดาบสได้ นอกจากนางเทพอัปสร ชื่ออลัมพุสา
ผู้เดียว จึงรับสั่งให้นางมาเฝ้าแล้วทรงบัญชาให้ทำลายศีลของพระอิสิสิงคดาบส
นั้น.
เมื่อพระบรมศาสดาจะทรงทาเนื้อความนั้นให้แจ้งจึงตรัสพระคาถาที่ ๑
ความว่า
ครั้งนั้น พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ ผู้ทรงครอบงำ
วัตรอสูร เป็นพระบิดาแห่งเทพบุตรผู้ชนะ ประทับ
นั่งอยู่ ณ สุธรรมเทวสภา รับสั่งให้เรียกนางอลัมพุสา
เทพกัญญามาเฝ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหา แปลว่า ผู้เป็นใหญ่. บทว่า
วตฺรภู ความว่า ผู้ทรงครอบงำอสูรชื่อ วัตระ. บทว่า ชยต ปิตา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 641
เป็นพระบิดาแห่งเทพบุตรที่เหลือสามสิบสามองค์ ผู้ชนะคือถึงความชำนะด้วย
ยังกิจแห่งบิดาให้สำเร็จ. บทว่า ปราเภตฺวา ความว่า เป็นประดุจสำรวจ
ตรวจสอบกายใจ จึงรู้ว่า นางอลัมพุสานี้ เป็นกาลังต่อต้านได้. บทว่า สุธมฺมาย
ความว่า ประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในสุธรรมาเทวสภา รับสั่ง
ให้เรียกนางอลัมพุสานั้นมาเฝ้า แล้วตรัสคาถานี้ ความว่า
ดูก่อนนางอลัมพุสา ผู้เจือปนด้วยกิเลส สามารถ
จะเล้าโลมฤาษีได้ เทวดาชั้นดาวดึงส์พร้อมด้วยพระ-
อินทร์ขอร้องเจ้า เจ้าจงไปหาอิสิสิงคดาบสเถิด.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นดังต่อไปนี้ ท้าวสักกเทวราชตรัสทักนาง-
อลัมพุสาเทพกัญญานั้นว่า มิสฺเส และคำนี้เป็นชื่อของนางเทพกัญญานั้น.
ก็หญิงทุกจำพวกท่านเรียกว่า มิสฺสา เพราะคลุกเคล้าระคนด้วยกิเลสใน
บุรุษ. เมื่อท้าวสักกเทวราชจะทรงทักทายด้วยคุณนามอันสาธารณ์นั้น จึงตรัส
อย่างนี้. บทว่า อิสิปโลภิเก ความว่า ดูก่อนเจ้าผู้สามารถจะเล้าโลมพระฤาษี.
บทว่า อิสิสิงฺค ความว่า ได้ยินว่า จุกสองจุกอันเกิดบนศีรษะของท่านอิสิสิงค
ดาบสนั้น โดยอาการอย่างเนื้อเขา เพราะเหตุนั้น เขาจึงเรียกกันอย่างนี้.
ด้วยประการฉะนี้ ท้าวสักกเทวราช จึงตรัสบัญชานางอลัมพุสาว่า
เจ้าจงไป จงเข้าไปหาท่านอิสิสิงคดาบส นำมาสู่อำนาจของตน แล้วทำลาย
ศีลของเธอเสีย ดังนี้แล้ว ตรัสคำเป็นคาถานี้ว่า
ดาบสองค์นี้มีวัตร ประพฤติพรหมจรรย์ ยินดียิ่ง
ในนิพพาน เป็นผู้เจริญ อย่าเพิ่งล่วงเลยพวกเราไป
ก่อนเลย เจ้าจงห้ามมรรคของเธอเสีย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 642
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุราย ความว่า พระดาบสนี้ เป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยวัตร และประพฤติพรหมจรรย์ อนึ่ง พระดาบสนั้นแลยินดียิ่งแล้ว
ในมรรคคือพระนิพพาน และเจริญแล้วด้วยคุณวุฒิ เพราะความเป็นผู้มีอายุยืน
เพราะฉะนั้น ดาบสนี้จะครอบงำพวกเราไม่ได้ คือไม่ครอบงำ ทำให้พวกเรา
เคลื่อนจากที่ได้เพียงใดเจ้าจงไปห้ามมรรคที่จะไปสู่เทวโลกของเธอเสียเพียงนั้น
ทีเดียว อธิบายว่า เธอจงทำโดยประการที่ดาบสนั้นจะมาในที่นี้ไม่ได้.
นางอลัมพุสาเทพกัญญาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ข้าแต่พระเทวราช พระองค์ทรงทำอะไร ทรง
มุ่งหมายแต่หม่อมฉันเท่านั้น รับสั่งว่า แนะเจ้าผู้อาจจะ
เล้าโลมฤาษีได้ เจ้าจงไปเถิด ดังนี้ นางเทพอัปสรแม้
อื่น ๆ มีอยู่.
นางเทพอัปสรผู้ทัดเทียมหม่อมฉันหรือประเสริฐ
กว่าหม่อมฉัน ก็มีอยู่ในนันทนวัน อันหาความเศร้าโศก
มิได้ วาระ คือ การไปจงมีแก่นางเทพอัปสรเหล่านั้น
แม้นางเทพอัปสรเหล่านั้น จงไปประเล้าประโลมเถิด.
ในบรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กิเมว ตฺว นี้ นางอลัมพุสา
เทพอัปสรแสดงความว่า พระองค์ทรงกระทำสิ่งนี้ชื่ออะไรกัน. ด้วยบทว่า
มเมว ตุว สิกฺขสิ นางอลัมพุสาเทพอัปสรกล่าวโดยมุ่งประสงค์ว่า ในเทวโลก
นี้ทั้งสิ้น ไยพระองค์ทรงสาเหนียกเฉพาะหม่อมฉันผู้เดียว ไม่ทรงแลดูผู้อื่นบ้าง.
ก็ ส อักษรในคาถานี้ ทำการเชื่อมพยัญชนะ. อธิบายว่า เพราะเหตุไรจึง
ตรัสอย่างนี้ว่า แน่ะเจ้าผู้สามารถเล้าโลมพระฤๅษี เจ้าจงไปเถิดดังนี้. บทว่า
ปวรา เจว ความว่า นางเทพธิดาผู้ยิ่งกว่าหม่อมฉัน ยังมีอยู่. บทว่า อโสเก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 643
แปลว่า ผู้ปราศจากควานเศร้าโศก. บทว่า นนฺทเน ได้แก่ ในสวนอันเป็น
ที่เกิดความยินดี. บทว่า ปริยาโย ได้แก่ วาระคือการไป.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
เจ้าพูดจริงโดยแท้แล นางเทพอัปสรอื่น ๆ ที่
ทัดเทียมกับเจ้า แลยิ่งกว่าเจ้า มีอยู่ในนันทนวันอันหา
ความโศกมิได้.
ดูก่อนนางผู้มีอวัยวะงามทุกส่วน ก็แต่ว่า นาง
เทพอัปสรเหล่านั้นไปถึงชายเข้าแล้ว ย่อมไม่รู้จักการ
บำเรออย่างที่เจ้ารู้.
ดูก่อนโฉมงาม เจ้านั่นแหละจงไป เพราะว่าเจ้า
เป็นผู้ประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย เจ้าจักนำดาบสนั้น
มาสู่อำนาจได้ ด้วยผิวพรรณและรูปร่างของเจ้าเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุม คตา ความว่า หญิงเหล่านั้น
เมื่อเข้าไปหาชาย ก็ไม่รู้จักการบำเรอ คือ การเล้าโลมชาย. บทว่า วณฺณรูเปน
ความว่า ด้วยวรรณะแห่งสรีระ และด้วยรูปสมบัติ. บทว่า วสมฺนาปยิสฺสสิ
ความว่า เจ้าจักนำดาบสนั้นมาสู่อำนาจของตน.
นางอลัมพุสาเทพกัญญาได้สดับดังนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
หม่อมฉันอันท้าวเทวราชทรงใช้ จักไม่ไปหา
ได้ไม่ แต่หม่อมฉันกลัวที่จะเบียดเบียนพระดาบสนั้น
เพราะท่านเป็นพราหมณ์ มีเดชฟุ้งเฟื่อง.
ชนทั้งหลายมิใช่น้อย เบียดเบียนพระฤๅษีแล้ว
ต้องตกนรก ถึงสังสารวัฏเพราะความหลง เพราะเหตุ
นั้นหม่อมฉันจึงต้องขนลุกขนพอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 644
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นวาห ตัดบทเป็น นเว อห. บทว่า
วิเภมิ ความว่า หม่อมฉันหวั่นเกรง. บทว่า อาสาทุ แปลว่า ทำให้ขุ่นเคือง.
ท่านกล่าวอธิบายความไว้ว่า ข้าแต่เทวะ พระองค์ทรงใช้หม่อมฉันแล้วจักไม่ไป
ก็ไม่ได้ ก็แต่ว่าหม่อมฉันกลัวที่จะต้องยึดพระอิสิสิงคดาบส เพื่อทำลายศีล
เพราะท่านเป็นผู้มีเดชสูงส่ง. บทว่า อาสาทิยา ความว่า เบียดเบียนพระฤาษี.
บทว่า โมหสสาร ความว่า สัตว์ทั้งหลาย มิใช่น้อยเบียดเบียนพระฤาษีถึง
สังสารวัฏ เพราะความหลง เล้าโลมพระฤาษีเพราะความหลงแล้วถึงสังสารวัฏ
ตั้งอยู่ในวัฏทุกข์ นับไม่ถ้วน. บทว่า ตสฺมา ความว่า ด้วยเหตุนั้นหม่อมฉัน...
บทว่า โลมานิ หสเย ความว่า หม่อมฉันจึงขนลุกขนพอง. นางอลัมพุสา
เทพกัญญาทูลว่า เมื่อหม่อมฉันคิดว่า เราจักต้องทำลายศีลของพระดาบสดังนี้
โลมชาติก็ชูชัน.
พระบรมศาสดาตรัสอภิสัมพุทธคาถาเหล่านี้ ความว่า
นางอลัมพุสาเทพอัปสร ผู้มีวรรณะน่ารักใคร่
ผู้เจือปนด้วยกิเลส ปรารถนาจะยังอิสิสิงคดาบสให้
ผสม ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้วก็หลีกไป.
ก็นางอลัมพุสาเทพอัปสรนั้น เข้าไปยังป่าที่อิสิ-
สิงคดาบสรักษา อันดาดาษไปด้วยเถาตำลึงโดยรอบ
ประมาณกึ่งโยชน์.
นางได้เข้าไปหาอิสิสิงคดาบส ผู้กำลังปัดกวาด
โรงไฟ ใกล้เวลาอาทิตย์อุทัย ก่อนเวลาอาหารเช้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกฺกามิ ความว่า นางอลัมพุสาเทพ
กัญญานั้น ทูลว่า ข้าแต่พระเทวราชเจ้า ถ้าเช่นนั้นพระองค์โปรดคำนึงถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 645
หม่อมฉัน แล้วเข้าสู่ห้องนอนของตน ประดับตกแต่ง ปรารถนาจะยังพระ-
อิสิสิงคดาบส ให้ผสมด้วยกิเลส จึงหลีกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางอัปสร
นั้นไปสู่อาศรมของอิสิสิงคดาบสแล้ว. บทว่า พิมฺพชาลรตฺดตสญฺฉนฺน ความ
ว่า อันดาดาษไปด้วยป่าตำลึง. บทว่า ปาโตว ปาตราสมฺหิ ความว่า แต่
เช้าตรู่ คือก่อนเวลาอาหารเช้าทีเดียว. ก่อนเวลาเพียงไร แค่ไหน ? บทว่า
อุทยุสมย ปฏิ ความว่า ในเวลาเช้า ใกล้เวลาพระอาทิตย์ขึ้นนั่นเอง. บทว่า
อคฺคิสาล ได้แก่ โรงไฟ. อธิบายความว่า นางอลัมพุสาเทพอัปสรนั้น เข้า
ไปหาอิสิสิงคดาบสนั้น ซึ่งประกอบความเพียรในกลางคืนแล้ว สรงน้ำแต่เช้า
ตรู่ ทำอุทกกิจเสร็จแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยฌานสุขในบรรณศาลาหน่อยหนึ่ง จึง
ออกมากวาดโรงไฟอยู่ นางยืนแสดงความงาม ของหญิงอยู่ข้างหน้าของพระ
อิสิสิงคดาบสนั้น.
ลำดับนั้น พระดาบสเมื่อจะถามนางจึงกล่าวว่า
เธอเป็นใครหนอ มีรัศมีเหมือนสายฟ้า หรืองาม
ดังดาวประกายพรึก มีเครื่องประดับแขนงามวิจิตร
ล้วนแก้วมุกดา แก้วมณี และกุณฑล.
ประหนึ่งแสงอาทิตย์ มีกลิ่นจุรณจันทน์ ผิว
พรรณดุจทองคำ ลำขางามดี มีมารยาทมากมาย กำลัง
แรกรุ่นสะคราญโฉม น่าดูน่าชม.
เท้าของเธอไม่เว้ากลาง อ่อนละมุน แสนสะอาด
ตั้งลงด้วยดี การเยื้องกายของเธอน่ารักใคร่ ทำใจของ
เราให้วาบหวามได้ทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 646
อนึ่ง ลำขาของเธอเรียวงาม เปรียบเสมอด้วย
งวงช้าง โดยลำดับ ตะโพกของเธอผึ่งผาย เกลี้ยงเกลา
ดังแผ่นทองคำ.
นาภีของเธอตั้งลงเป็นอย่างดี เหมือนฝักดอก
อุบล ย่อมปรากฏแต่ที่ไกล คล้ายเกสรดอกอัญชัน
เขียว.
ถันทั้งคู่เกิดที่ทรวงอก หาขั้วมิได้ ทรงไว้ซึ่ง
ขีรรส ไม่หดเหี่ยว เต่งตึงทั้งสองข้าง เสมอด้วยน้ำ
เต้าครึ่งซีก.
คอของเธอประดุจเนื้อทราย บางคล้ายหน้า
สุวรรณเภรี มีริมฝีปากเรียบงดงาม เป็นที่ตั้งแห่งมนะ
ที่ ๔ คือ ชิวหา.
ฟันของเธอทั้งข้างบน ข้างล่าง ขัดสีแล้วด้วยไม้
ชำระฟัน เกิดสองคราวเป็นของหาโทษมิได้ ดูงามดี.
นัยน์ตาทั้งสองข้างของเธอดำขลับ มีสีแดงเป็น
ที่สุด สีดังเม็ดมะกล่ำ ทั้งยาวทั้งกว้าง ดูงามนัก.
ผมที่งอกบนศีรษะ ของเธอไม่ยาวนักเกลี้ยงเกลา
ดี หวีด้วยหวีทองคำ มีกลิ่นหอมฟุ้งด้วยกลิ่นจันทน์.
กสิกรรม โครักขกรรม การค้าของพ่อค้า และ
ความบากบั่นของฤาษีทั้งหลาย ผู้สำรวมดีด้วยตบะ มี
ประมาณเท่าใด เราไม่เห็นบุคคล มีประมาณเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 647
ในปฐพีมณฑลนี้ จะเสมอเหมือนกับเธอ เธอเป็นใคร
หรือเป็นบุตรของใคร เราจะรู้จักเธอได้อย่างไร ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิจิตฺตหตฺถาภรณา ความว่า ถึงพร้อม
ด้วยหัตถาภรณ์อันวิจิตร. บทว่า เหมจนฺทนคนฺธินี ความว่า ลูบไล้ด้วย
กลิ่นจันทน์ มีสีตัวดังทอง. บทว่า สญฺตูรุ ความว่า ขาเป็นลำกลมกลึงดี
คือมีลักษณะขาที่สมบูรณ์. บทว่า วิลากา แปลว่า (เท้าของเธอ) ไม่เว้า
กลาง. บทว่า มุทุกา ความว่า อ่อนนุ่ม สุขุมาลชาติ. บทว่า สุทฺธา
ได้แก่ ปราศจากมลทิน. บทว่า สุปติฏฺิตา ความว่า เมื่อเหยียบต้องแผ่น
ดิน ก็เรียบเสมอ ประดิษฐานอยู่ด้วยดี.
บทว่า กมนา แปลว่า ผู้ก้าวเดินไป. บทว่า กามนียา ความว่า
เมื่อก้าวเดิน ก็ชดช้อยน่ารัก. บทว่า หรนฺติเยว เน มโน ความว่า เท้า
ทั้งสองของเจ้าผู้ก้าวเดินไป ด้วยลีลาอันงามสง่าของหญิงชั้นสูงเห็นปานนี้
เหล่านี้ ย่อมเร้าจิตของเราทีเดียว.
บทว่า วิมฏฐา แปลว่า งดงาม. บทว่า สุสฺโสณิ ได้แก่ มีตะ-
โพกผึ่งผาย งดงาม. บทว่า อกฺขสฺส ความว่า ตะโพกของเจ้าผึ่งผายงดงาม
คล้ายแผ่นกระดานทอง.
บทว่า อุปฺปลสฺเสว กิญฺชกฺขา ความว่า เหมือนกับช่อแห่งนีล-
อุบล. บทว่า กญฺหญฺชนสฺเสว ความว่า พระดาบสกล่าวอย่างนี้ เพราะ
นางเทพอัปสรนั้น เป็นผู้มีโลมชาติดาละเอียดวิจิตร. พระดาบส เมื่อจะชมถัน
ทั้งสอง จึงกล่าวคาถาว่า ทุวิธา เป็นต้น. แท้จริง ถันอันเกิดที่อกทั้งคู่นั้น
ชื่อว่าหาขั้วมิได้ เพราะไม่มีขั้ว เป็นของติดอยู่ที่อกอย่างเดียว ชื่อว่าปรากฏ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 648
ด้วยดี เพราะยื่นออกมาด้วยดี ชื่อว่าทรงไว้ซึ่งน้ำนม เพราะทรงกษีรรสไว้.
บทว่า อปฺปตีตา ความว่า ไม่ย่นหย่อน คือชื่อว่าไม่ตก เพราะ
ไม่เหี่ยว ไม่ลด หรือเพราะไม่หดเข้าข้างใน. ถันทั้งคู่ล้วนแล้วด้วยทองที่ตั้ง
ไว้บนแผ่นทอง ชื่อว่าเสมอด้วยน้ำเต้าครึ่งซีก เพราะทัดเทียมกับน้ำเต้ากลม ๆ
ครึ่งซีก.
บทว่า เอเณยฺยกา ยถา ความว่า คอแห่งเนื้อทรายทั้งยาว ทั้ง
กลม ย่อมงดงามฉันใด คอของเธอยาวนิดหน่อย ก็งามฉันนั้น. บทว่า
กมฺพุตลาภาสา ความว่า คอของเธอเรียบงามดุจพื้นสุวรรณเภรี บทว่า
ปณฺฑราวรณา ได้แก่ มีซี่ฟันสละสลวย. บทว่า จตุตฺถมนสนฺนิภา ความว่า
ชิวหาอันเป็นที่ตั้งแห่งมนะที่ ๔ ท่านเรียกว่า จตุตถมนะ พระดาบสกล่าวว่า
ริมฝีปากของเจ้า ก็เช่นเดียวกับชิวหา เพราะแดงระเรื่อน่ารัก.
บทว่า อุทฺธคคา ได้แก่ ฟันบน. บทว่า อธคฺคา ได้แก่ ฟัน
ล่าง. บทว่า ทุมคฺคปริมชฺชิตา ความว่า (ฟันทั้งข้างบนข้างล่าง) ชำระ
แล้วด้วยไม้สีฟัน จนสะอาดบริสุทธิ์. บทว่า ทุวิชา แปลว่า เกิดสองครั้ง.
บทว่า เนลสมฺภูตา ความว่า ฟันเกิดเองสองครั้งในที่สุดแห่งเนื้อคาง อัน
หาโทษมิได้.
บทว่า อปณฺฑรา หมายความว่า ดำ. บทว่า โลหิตนฺตา แปลว่า
มีขอบแดง. บทว่า ชิญฺชุกผลสนฺนิภา ความว่า ในที่ที่ควรแดงเช่นเดียว
กับผลมะกล่ำ. บทว่า สุทสฺสนา ความว่า ประกอบด้วยประสาททั้ง ๕ ชวน
ดู ชวนชม ไม่รู้อิ่ม.
บทว่า นาติทีฆา ความว่า ขนาดพอเหมาะพอดี. บทว่า สุสมฏา
ความว่า เกลี้ยงเกลาด้วยดี. บทว่า กนกพฺยา สโมจิตา ความว่า หวีทอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 649
ท่านเรียกว่า กนกัพยา เอาน้ำมันหอมมาชโลมหวีทองนั้น ตบแต่งให้งดงาม
พระดาบส แสดงถึงสัตว์ผู้มีชีวิตอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยกสิกรรม และโครักขกรรม
ด้วยบทนี้ว่า อสิโครกฺขา.
บทว่า ยา คติ ความว่า ความสำเร็จมีประมาณเท่าใด. บทว่า
ปรกฺกนฺต ความว่า ความบากบั่นของฤาษีมีประมาณเท่าใด. อธิบายว่า ฤาษี
ทั้งหลายแพร่หลายอยู่ในหิมวันตประเทศนี้ มีประมาณเท่าใด.
บทว่า น เต สมสม ความว่า ในชนทั้งหมดเหล่านั้น เราไม่
เห็นแม้คนเดียว ที่จะทัดเทียมเจ้าได้ ด้วยรูปร่างและงดงามด้วยท่วงที ลีลา
เป็นต้น เมื่อดาบสรู้ว่า นางนั้นเป็นสตรี จึงถามด้วยสามารถโวหารแห่งบุรุษ
นี้ว่า โก วา ตฺว เป็นต้น.
เมื่อพระดาบสกล่าวชมตน ตั้งแต่เท้าจนถึงผมอย่างนี้ นางอลัมพุสา
เทพกัญญานั้นก็นิ่งเสีย เมื่อสืบอนุสนธิตามลำดับ ของคำนั้นแล้ว นาง
อลัมพุสาเทพกัญญา ก็รู้ว่า พระดาบสนั้นเป็นผู้หลงใหล จึงกล่าวคาถา ความว่า
ดูก่อนท่านกัสสปะผู้เจริญ เมื่อจิตของท่านเป็น
อย่างนี้แล้ว ก็ไม่ใช่กาลที่จะเป็นปัญหา มาเถิดท่านที่
รัก เราทั้งสองจักรื่นรมย์กัน ในอาสนะของเรา มา
เถิดท่าน ฉันจักเคล้าคลึงท่าน ท่านจงเป็นผู้ฉลาดใน
กระบวนความยินดีด้วยกามคุณ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺสเปว คเต สติ ความว่า ดูก่อน
ท่านผู้กัสสปโคตร เมื่อจิตของท่านเป็นไปอย่างนี้แล้ว ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหา.
บทว่า สมฺมา นี้ เป็นคำเรียนเชิญด้วยถ้อยคำที่น่ารัก. บทว่า รตีน ความว่า
ท่านจงเป็นผู้ฉลาดกระบวนความยินดี ในเบญจกามคุณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 650
นางอลัมพุสาเทพกัญญา กล่าวอย่างนี้แล้ว คิดว่า เมื่อเรายืนเฉยอยู่
พระดาบสนี้ ก็จักไม่ยอมเข้าอ้อมแขนเรา เราจักเดิน ทำท่าทีเหมือนจะไปเสีย
นางจึงเข้าไปหาพระดาบส เพราะตนเป็นผู้ฉลาดในมารยาหญิง จึงเดินบ่ายหน้า
ไปตามทางที่มาแล้ว.
เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า
นางอลัมพุสาเทพอัปสร ผู้มีผิวพรรณน่ารักใคร่
ผู้เจือปนด้วยกิเลส ปรารถนาจะให้อิสิสิงคดาบสผสม
ครั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว ก็หลีกไป.
ลำดับนั้น พระดาบสเห็นนางกำลังเดินไป คิดว่า นางจะไปเสีย
จึงสลัดความเฉื่อยชา ล่าช้าของตนเสียแล้ว วิ่งไปโดยเร็ว เอามือลูบคลำที่
เรือนผม.
เมื่อพระบรมศาสดาจะประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถา ความว่า
ส่วนอิสิสิงคดาบสนั้น รีบเดินออกไปโดยเร็ว
สลัดตัดความเฉื่อยชาล่าช้าเสีย ไปทันเข้าก็จับที่มวยผม
อันอุดมของนางไว้.
นางเทพอัปสร ผู้สะคราญโฉม ก็หมุนตัวกลับมา
สวมกอดพระดาบสไว้ อิสิสิงคดาบสก็เคลื่อนจาก
พรหมจรรย์ ตามที่ท้าวสักกเทวราชทรงปรารถนา
ภายหลังนางเทพอัปสร ก็มีใจยินดี.
รำลึกถึงพระอินทร์ ผู้ประทับอยู่ในนันทนวัน
ท้าวมฆวานเทพกุญชรทรงทราบความดำริของนางแล้ว
จึงทรงส่งบัลลังก์ทอง พร้อมทั้งเครื่องบริวารมาโดย
พลัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 651
ทั้งผ้าปิดทรวง ๕๐ ผืน เครื่องลาด ๑,๐๐๐ ผืน นาง
อลัมพุสาเทพอัปสร กอดพระดาบสแนบทรวงอก บน
บัลลังก์นั้น.
นางโอบกอดไว้ถึง ๓ ปี ดูเหมือนครู่เดียวเท่านั้น
พราหมณ์ดาบสสร่างเมาแล้วรู้สึกตัวได้ โดยล่วงไป
๓ ปี.
ได้เห็นหมู่ไม้เขียวชอุ่มโดยรอบเรือนไฟ พลัด
ใบใหม่ดอกบาน อึงคะนึงด้วยเสียงแห่งนกดุเหว่า.
เธอตรวจตราดูโดยรอบแล้ว ร้องไห้น้ำตาไหลริน
ปริเทวนาการว่า เรามิได้บูชาไฟ มิได้ร่ายมนต์ อะไร
บันดาลให้การบูชาไฟต้องเสื่อมลง.
ผู้ใดใครหนอ มาประเล้าประโลมจิตของเรา
ด้วยการบำเรอในก่อน ยังฌานอันเกิดพร้อมกับเดช
ของเรา ผู้อยู่ในป่าให้พินาศ ดุจบุคคลยึดเรืออันเต็ม
ด้วยรัตนะต่าง ๆ ในห้วงอรรณพ ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌปฺปตฺโต ความว่า พระดาบสนั้น
มาทันเข้า.
บทว่า ตมุทาวตฺต กลฺยาณี ความว่า นางอลัมพุสาเทพกัญญา
ผู้งามชดช้อย พราวเสน่ห์ เอี้ยวตัวกลับมากอดพระฤาษีนั้น ซึ่งยืนลูบคลำผมอยู่.
บทว่า ปลสฺสชิ แปลว่า สวมกอด. บทว่า จวิ ตมฺหิ พฺรหฺมจริยา ยถา
ต อถ โตสิตา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้นเอง ฌานของ
พระฤาษีนั้น ก็อันตรธานไป เมื่อเธอเคลื่อนจากฌานพรหมจรรย์นั้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 652
ได้เป็นไปอย่างข้อที่ท้าวสักกเทวราชทรงปรารถนานั่นเอง. ลำดับนั้น นาง-
เทพกัญญา ผู้อันท้าวสักกเทวราชทรงส่งมานั้น รู้ว่าความปรารถนาของท้าว
สักกเทวราชสำเร็จแล้ว ก็เกิดปีติปราโมทย์ ด้วยการยังพรหมจรรย์ของ
พระดาบสนั้นให้พินาศ.
บทว่า มนสา อคมา ความว่า นางยืนกอดพระดาบสนั้นอยู่ ใจ
ได้ประวัติถึงพระอินทร์อย่างนี้ว่า โอ ! ท้าวสักกะควรส่งบัลลังก์มา. บทว่า
นนฺทเน ความว่า ท้าวสักกเทวราชผู้ประทับอยู่ ในดาวดึงส์พิภพ กล่าวคือ
ที่ชื่อว่า นันทนวัน เพราะสามารถให้เกิดความยินดี. บทว่า เทวกุญฺชโร
ได้แก่ เทวราชผู้ประเสริฐ.
บทว่า ปาหิณิ แปลว่า จงส่งไป. ปาฐะว่า ปหิณิ ดังนี้ก็มี. บทว่า
โสปวาทน ได้แก่ สุวรรณบัลลังก์พร้อมทั้งบริวาร.
บทว่า สอุรจฺฉทปญฺาส ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม พร้อมด้วยผ้า
สำหรับปกปิดอก ๕๐ ผืน. บทว่า สหสฺสปฏิยตฺถต ได้แก่ เครื่องลาด คือ
ผ้าโกเชาว์อันเป็นทิพย์พันหนึ่ง. บทว่า ตเมน ตตฺถ ความว่า นางนั่งบน
ทิพบัลลังก์นั้น กอดพระอิสิสิงคดาบสแนบไว้ที่อก.
บทว่า ตีณิ วสฺสานิ ความว่า นางกอดพระอิสิสิงคดาบสให้นอน
แนบอก นั่งอุ้มอยู่บนบัลลังก์นั้น สิ้นเวลา ๓ ปี โดยการนับเวลาแห่งมนุษย์
ประดุจครู่เดียว. บทว่า วิมโท ความว่า พระดาบสนั้นสร่างเมา คือความ
เป็นผู้ปราศจากการสลบ. เพราะพระดาบสนอนสลบไสลอยู่ตลอดสามปี
ภายหลังกลับได้สมปฤดีตื่นขึ้น. เมื่อพระดาบสกำลังตื่นขึ้น นางอลัมพุสาเห็น
อาการกระดิกมือเป็นต้นแล้ว ทราบว่าพระดาบสกำลังจะตื่นขึ้น จึงบันดาลให้
บัลลังก์อันตรธานไป แม้ตนเองก็ได้อันตรธานไปยืนซ่อนอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 653
บทว่า อทฺทสาสิ ความว่า พระดาบสนั้นตรวจตราดูอาศรมแล้ว
คิดว่า ใครกันหนอ ทำให้เราถึงสีลวิบัติ แล้วปริเทวนาการด้วยเสียงอันดัง
ได้มองเห็นแล้ว. บทว่า หริตรุกฺเข ความว่า ได้เห็นต้นไม้มีใบเขียวสด
ขึ้นล้อมโรงไฟ กล่าวคือกองกูณฑ์อยู่โดยรอบ. บทว่า นวปตฺตวน ความว่า
หมู่ไม้ดาดาษไปด้วยใบไม้อ่อน ๆ.
บทว่า รุท แปลว่า ปริเทวนาการอยู่. คาถาปริเทวนาการของพระ
ดาบสนั้นอย่างนี้ว่า เรามิได้บูชาไฟ มิได้บริกรรมมนต์. บทว่า ปหาปิต
ความว่า อะไรบันดาลให้การบูชาไฟต้องเสื่อมลง. ป อักษร เป็นเพียงอุปสรรค.
บทว่า ปาริจริยาย ความว่า พระดาบสปริเทวนาการว่า ก่อนแต่นี้
ใครหนอเล้าโลมจิตของเรา ด้วยการบำเรอด้วยกิเลส. ห อักษร ในบทว่า โย
เม เตชาหสภูต นี้ เป็นเพียงนิบาต ความก็ว่า อิสิสิงคดาบสปริเทวนาการว่า
ผู้ใดยึดคือ ยังฌานคุณ อันเป็นเองโดยเดชแห่งสมณะของเราให้พินาศ ดุจ
ยังเรือในห้วงมหรรณพ อันเต็มไปด้วยรัตนะต่าง ๆ ให้พินาศฉะนั้น ผู้นั้นคือ
ใครกันเล่า ? อลัมพุสาเทพกัญญาได้ยินดังนั้น ก็คิดว่า ถ้าเราไม่บอก ดาบส
นี้จักสาบแช่งเรา เอาเถอะเราจักบอกให้ท่านทราบ จึงยืนปรากฏกายกล่าวคาถา
ความว่า
ดิฉันอันท้าวเทวราช ทรงใช้มาเพื่อบำเรอท่าน
จึงได้ครอบงำจิตของท่านด้วยจิตของดิฉัน ท่านไม่
รู้สึกตัว เพราะประมาท.
พระอิสิสิงคดาบสได้ฟังถ้อยคำของนางแล้ว ระลึกถึงโอวาทที่บิดาให้ไว้
ก็ปริเทวนาการว่า เพราะเรามิได้ทำตามคำบิดา จึงถึงความพินาศอย่าง
ใหญ่หลวง ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถา ๔ คาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 654
เดิมที ท่านกัสสปะผู้บิดา ได้พร่ำสอนเราถึงสิ่ง
เหล่านี้ว่า ดูก่อนมาณพ สตรีอันเสมอด้วยนารีผลมีอยู่
เจ้าจงรู้จักสตรีเหล่านั้น.
บิดาเราเหมือนเอื้อเอ็นดูเรา พร่ำสอนคำนี้ว่า
มาณพเอ๋ย เจ้าจงรู้จักนารีผลผู้มีเขาที่อก เจ้าจงรู้จัก
สตรีเหล่านี้.
เรามิได้ทำตามคำสอนของบิดาผู้รู้นั้น วันนี้เรา
ซบเซาอยู่แต่ผู้เดียว ในป่าอันหามนุษย์มิได้.
เราจักทำอย่างที่เราเป็นผู้เช่นเดิมอีก หรือจักตาย
เสีย ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตของเราที่น่าติเตียน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิมานิ ได้แก่ ถ้อยคำเหล่านี้. บทว่า
กมลาสริสิตฺถโย ความว่า นารีผลทั้งหลายท่านเรียกว่า กมลา หญิงทั้งหลาย
ก็เช่นเดียวกับดอกแห่งนารีผลเหล่านั้น. บทว่า ตาโย พุชฺฌสิ ความว่า
คราวนั้นบิดาพร่ำสอนถ้อยคำเห็นปานนี้ กะเราว่า มาณพเอ๋ย เจ้าควรรู้จักหญิง
เหล่านั้น ครั้นรู้แล้วอย่าไปสู่แนวทางที่จะดู ควรหนีไปเสีย นัยว่า นารีผล
เหล่านั้น คือหญิงเหล่านี้.
บทว่า อุเร คณฺฑาโย ความว่า เจ้าจงรู้จักนารีผล ที่ประกอบไปแล้ว
ด้วยเขาสองข้างที่น่าอก. บทว่า ตาโย พุชฺฌเส ความว่า ดูก่อนมาณพ
เจ้าควรรู้ว่า หญิงเหล่านั้น ย่อมยังผู้ตกอยู่ในอำนาจตนให้พินาศ.
บทว่า นาก ความว่า เรามิได้กระทำตามถ้อยคำของท่าน. บทว่า
ฌายามิ ความว่า เราจึงต้องซบเซา คือ ปริเทวนาการอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 655
บทว่า ชิรตฺถุ ชีวิเตน เม ความว่า ชีวิตของเราน่าตำหนิ คือ
น่าติเตียน ประโยชน์อะไรด้วยการที่เราจะมีชีวิตอยู่. บทว่า ปุน วา ความว่า
เราจักเป็นเช่นเดิมอีก คือจักยังฌานที่เสื่อมแล้วให้เกิดขึ้น เป็นผู้ปราศจากราคะ
ด้วยประการใด จักกระทำด้วยประการนั้นหรือ หรือว่าเราจักตายเสีย.
ท่านอิสิสิงคดาบสนั้น ละกามราคะแล้ว ยังฌานให้เกิดได้อีก. ลำดับนั้น
นางอลัมพุสาเทพกัญญา เห็นเดชแห่งสมณะของพระดาบสนั้นด้วย และรู้ว่า
ท่านบำเพ็ญฌานให้เกิดได้แล้วด้วย ก็ตกใจกลัว จึงขอให้ท่านอดโทษตน.
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา
๒ คาถา ความว่า
นางอลัมพุสาเทพกัญญา รู้จักเดช ความเพียร
และปัญญาอันมั่นคง ของพระอิสิงคดาบสนั้นแล้ว ก็
ซบศีรษะลงที่เท้าของพระอิสิสิงคดาบส กล่าวว่า
ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านอย่าได้โกรธดิฉันเลย
ข้าแต่ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ขอท่านอย่าได้
โกรธดิฉันเลย ดิฉันได้บำเพ็ญประโยชน์อันใหญ่แล้ว
เพื่อเทวดาชั้นไตรทศผู้มียศ เพราะว่า เทพบุรีทั้งหมด
อันท่านได้ทำให้หวั่นไหวแล้ว ในคราวนั้น.
ลำดับนั้น พระอิสิสิงคดาบสตอบว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เราอดโทษ
ให้เธอ เธอจงไปตามสบายเถิด เมื่อจะปล่อยนางไป จึงกล่าวคาถา ความว่า
ดูก่อนนางผู้เจริญ ขอทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ท้าว
วาสวะจอมไตรทศและเธอ จงมีความสุขเถิด ดูก่อน
นางเทพกัญญา เชิญเธอไปตามสบายเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 656
นางอลัมพุสาเทพกัญญา ไหว้พระดาบสแล้ว กลับไปสู่เทพบุรีพร้อม
ด้วยบัลลังก์ทองนั้นแหละ.
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา
๓ คาถา ความว่า
นางอลัมพุสาเทพกัญญา ซบศีรษะลงแทบเท้า
แห่งอิสิสิงคดาบส และทำประทักษิณแล้ว ประคอง-
อัญชลีหลีกออกไปจากที่นั้น.
นางขึ้นสู่บัลลังก์ทอง พร้อมด้วยเครื่องบริวาร
เครื่องปิดทรวง ๕๐ ผืน และเครื่องลาด ๑,๐๐๐ ผืน
แล้วกลับไปในสำนักแห่งเทวดาทั้งหลาย.
ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงปีติโสมนัส ปลาบปลื้ม
พระทัย ได้พระราชทานพรกะนางเทพกัญญานั้น ซึ่ง
กำลังมาอยู่ ราวกะว่าดวงประทีปอันรุ่งเรือง ราวกะ
สายฟ้าแลบ ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกมิว ความว่า ดุจประทีป. ด้วยบท
มีอาทิว่า ปติโต ดังนี้ ท่านแสดงถึงอาการที่ท้าวสักกเทวราชทรงยินดี. บทว่า
อททา วร ความว่า ท้าวสักกเทวราชทรงยินดี ได้ประทานพรให้แก่นาง
อลัมพุสาเทพกัญญา ผู้มาถวายบังคมแล้วยืนอยู่.
นางอลัมพุสาเทพกัญญา เมื่อจะรับพรในสำนักของท้าวสักกเทวราช
จึงกล่าวคาถาสุดท้าย ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 657
ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้า
พระองค์จะทรงประทานพรแก่หม่อมฉันไซร้ ขออย่า
ให้หม่อมฉันต้องไปเล้าโลมพระฤาษีอีกเลย ข้าแต่
ท้าวสักกะหม่อนฉันขอพระข้อนี้.
คาถานั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ ข้าแต่ท้าวสักกเทวราช ถ้าพระองค์จะ
ทรงประทานพรแก่หม่อมฉันแล้ว หม่อมฉันขอพรข้อนี้ คือ อย่าให้หม่อมฉัน
ต้องไปเล้าโลมพระฤาษีอีก คือพระองค์อย่าทรงใช้หม่อมฉัน เพื่อประโยชน์
ข้อนี้.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแสดงแก่ภิกษุนั้นแล้ว ทรง
ประกาศอริยสัจจธรรม แล้วทรงประชุมชาดก. ในที่สุดแห่งอริยสัจจกถา
ภิกษุนั้น ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. (แล้วทรงประชุมชาดกว่า) นางอลัมพุสา
ในครั้งนั้น ได้มาเป็นนางปุราณทุติยิกา อิสิสิงคดาบส ได้มาเป็นภิกษุผู้
กระสัน ส่วนมหาฤาษีผู้บิดา ได้มาเป็นเราผู้ตถาคตฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอลัมพุสาชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 658
๔. สังขปาลชาดก
ว่าด้วยสังขปาลนาคราชบำเพ็ญตบะ
[๒๔๙๕] (พระเจ้าพาราณสี ตรัสว่า) ท่านเป็นผู้มี
รูปร่างงดงาม มีดวงตาแจ่มใส ข้าพเจ้าสำคัญว่าท่าน
ผู้เจริญคงบวชจากสกุล ไฉนหนอ ท่านผู้มีปัญญาจึง
สละทรัพย์ และโภคสมบัติ ออกบวชเป็นบรรพชิต
เสียเล่า ?
[๒๔๙๖] (อาฬารดาบส ทูลว่า) ดูก่อนมหา-
บพิตรผู้เป็นจอมนรชน อาตมาภาพได้เห็นวิมานของ
พญาสังขปาลนาคราช ผู้มีอานุภาพมาก ด้วยตนเอง
ครั้นเห็นแล้ว จึงออกบวชโดยเชื่อมหาวิบากของบุญ
ทั้งหลาย.
[๒๔๙๗] (พระเจ้าพาราณสี ตรัสว่า) บรรพชิต
ทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวคำเท็จ เพราะความรัก เพราะ
ความกลัว เพราะความชัง ข้าพเจ้าถามท่านแล้ว ขอ-
ท่านได้โปรดบอกเนื้อความนั้น แก่ข้าพเจ้า เพราะ
ข้าพเจ้าได้ฟังแล้ว จักเกิดความเลื่อมใส.
[๒๔๙๘] (อาฬารดาบส ทูลว่า) ดูก่อนมหาบพิตร
ผู้เป็นอธิบดีในรัฐมณฑล อาตมาภาพเดินทางไปค้าขาย
ได้เห็นบุตรนายพรานช่วยกันหามนาคตัวมีร่างกายใหญ่-
โต เดินร่าเริงไปในหนทาง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 659
ดูก่อนพระจอมประชานิกร อาตมาภาพมาประ-
จวบเข้ากับลูกนายพรานเหล่านั้น ก็กลัวจนขนลุกขน
พอง ได้ถามเขาว่า ดูก่อนพ่อบุตรนายพราน ท่าน
ทั้งหลายจะนำงูซึ่งมีร่างกายน่ากลัวไปไหน ท่านทั้ง-
หลายจักทำอะไรกับงูนี้ ?
(พวกบุตรนายพรานกล่าวว่า) งูใหญ่มีกายอันเจริญ
พวกเรานำไปเพื่อจะกิน เนื้อของมันมีรสอร่อย มัน
และอ่อนนุ่ม ดูก่อนท่านผู้เป็นบุตรชาววิเทหรัฐ ท่าน
ยังมิได้เคยลิ้มรส.
เราทั้งหลายไปจากที่นี่ ถึงบ้านของตนแล้ว จะ
เอามีดสับกินเนื้อกันให้สำราญใจ เพราะว่าเราทั้งหลาย
เป็นศัตรูของพวกงู.
อาตมาภาพจึงพูดว่า
ถ้าท่านทั้งหลาย จะนำงูใหญ่มีกายอันเจริญนี้ไป
เพื่อกิน เราจะให้โค ๑๖ ตัว แก่ท่านทั้งหลาย ขอให้
ปล่อยงูนี้เสียจากเครื่องผูกเถิด.
พวกเขาตอบว่า
ความจริงงูตัวนี้เป็นอาหาร ที่ชอบใจของเรา
ทั้งหลายโดยแท้และเราทั้งหลายเคยกินงูมามาก ดูก่อน
นายอาฬาระผู้เป็นบุตรชาววิเทหรัฐ เราทั้งหลายจักทำ
ตามคำของท่าน ดูก่อนท่านผู้เป็นบุตรของชาววิเทหะ
แต่ว่าท่านจงเป็นมิตรของเราทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 660
ชนเหล่านั้นแก้นาคราชออกจากเครื่องผูก นาค-
ราชได้พ้นจากเครื่องผูก ซึ่งเขาร้อยไว้ที่จมูกกับบ่วง
นั้น แล้วบ่ายหน้าตรงไปทิศปราจีน หลีกไปได้ครู่หนึ่ง
ครั้นบ่ายหน้าตรงไปทิศปราจีน ได้สักครู่หนึ่ง
มีดวงตาเต็มไปด้วยน้ำตา เหลียวมาดูอาตมาภาพ
อาตมาภาพได้ตามไปข้างหลังของนาคราชในคราวนั้น
ประคองอัญชลี ทั้ง ๑๐ นิ้ว เตือนว่า
ท่านจงรีบไปเสียโดยเร็ว ขอพวกศัตรูอย่าจับได้
อีกเลย เพราะว่าการสมาคมกับพวกพรานบ่อย ๆ เป็น
ทุกข์ ท่านจงไปสถานที่ๆพวกบุตรนายพรานจะไม่เห็น.
นาคราชนั้นได้ไปสู่ห้วงน้ำใส มีสีเขียวน่ารื่นรมย์
มีท่าราบเรียบ ปกคลุมไปด้วยไม้หว้า และย่างทราย
เป็นผู้ปลอดภัย มีปีติ เข้าไปยังนาคพิภพ.
ดูก่อนพระจอมประชานิกร นาคราชนั้น ครั้น
ข้าไปสู่นาคพิภพแล้ว ไม่ช้าก็มีบริวารทิพย์มาปรากฏ
แก่อาตมาภาพ บำรุงอาตมาภาพเหมือนบุตรบำรุงบิดา
ฉะนั้น พูดจารื่นหู จับใจว่า
ท่านอาฬาระ ท่านเป็นเหมือนมารดาบิดาของ
ข้าพเจ้า เป็นดังดวงใจเป็นผู้ให้ชีวิต เป็นสหาย
ข้าพเจ้าจึงกลับได้อิทธิฤทธิ์ของตน ข้าแต่ท่านอาฬาระ
ขอเชิญท่านไปเยี่ยมนาคพิภพของข้าพเจ้า ซึ่งมีภักษา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 661
หารมาก มีข้าวและน้ำมากมาย ดังเทพนครของท้าว
วาสวะฉะนั้น.
[๒๔๙๙] (พญานาคราช กล่าวว่า) นาคพิภพนั้น
สมบูรณ์ด้วยภูมิภาค ภาคพื้นไม่มีกรวด อ่อนนุ่ม
งดงาม มีหญ้าเตี้ย ๆ ไม่มีละอองธุลี นำมาซึ่งความ
เลื่อมใส ระงับความโศก ของผู้ที่เข้าไป.
ในนาคพิภพนั้น มีสระโบกขรณี อันไม่อากูล
เขียวชอุ่มดังแก้วไพฑูรย์ มีต้นมะม่วง น่ารื่นรมย์
ทั้ง ๔ ทิศ มีผลสุกกึ่งหนึ่ง ผลอ่อนถึงหนึ่ง เผล็ดผล
เป็นนิตย์.
[๒๕๐๐] (อาฬารดาบส กล่าวว่า) ดูก่อนมหา-
บพิตรผู้ประเสริฐกว่านรชน ในท่ามกลางสวน
เหล่านั้น มีนิเวศน์เลื่อมประภัสสร ล้วนแล้วไปด้วย
ทองคำ มีบานประตูแล้วไปด้วยเงิน งามรุ่งเรืองยิ่ง
ประหนึ่งสายฟ้ารุ่งเรืองอยู่ในกลางหาว ฉะนั้น.
ขอถวายพระพร ในท่ามกลางสวนเหล่านั้น
เรือนยอดและห้อง แล้วไปด้วยแก้วมณี แล้วไปด้วย
ทองคำ โอฬาร วิจิตร เป็นอเนกประการเนรมิตด้วยดี
ติดต่อกันเต็มไปด้วยนางนาคกัญญาทั้งหลาย ผู้ประดับ
แล้ว ล้วนทรงสายสร้อยทองคำ.
สังขปาลนาคราชนั้น มีผิวพรรณไม่ทราม ว่อง-
ไว ขึ้นสู่ปราสาท มีเสาประมาณพันต้น มีอานุภาพ
ชั่งไม่ได้ เป็นที่อยู่แห่งมเหสี ของสังปาลนาคราชนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 662
นารีหนึ่งว่องไว ไม่ต้องเตือน ยกอาสนะล้วน
ด้วยแก้วไพฑูรย์ มีค่ามาก งดงาม สมบูรณ์ด้วย
แก้วมีชาติดังแก้วมณี มาปูลาด.
ลำดับนั้น นาคราชจูงมืออาตมาภาพ ให้นั่งบน
อาสนะอันเป็นประธาน กล่าวว่า นี่อาสนะ เชิญท่าน
นั่งบนอาสนะนี้ เพราะว่าท่านเป็นที่เคารพคนหนึ่ง
ของข้าพเจ้า ในจำนวนท่านที่เคารพทั้งหลาย.
ดูก่อนพระจอมประชานิกร นารีอีกนางหนึ่งก็
ว่องไว ตักเอาน้ำมาล้างเท้าของอาตมาภาพ ดุจภรรยา
ล้างเท้าสามีที่รักฉะนั้น.
มีนารีอีกนางหนึ่งว่องไว ประคองภาชนะทองคำ
เต็มไปด้วยภัตตาหารน่าบริโภค มีสูปะหลายอย่าง
มีพยัญชนะต่าง ๆ นำมาให้อาตมา.
ขอถวายพระพร นารีเหล่านั้นรู้จักใจสามี พา
กันบำรุงอาตมาภาพ ผู้บริโภคแล้ว ด้วยดนตรีทั้งหลาย
นาคราชนั้น ก็เข้ามาหาอาตมาภาพพร้อม ด้วยกามคุณ
อันเป็นทิพย์ มิใช่น้อย ใหญ่ยิ่งกว่าการฟ้อนรำนั้น.
[๒๕๐๑] (พญานาคราช กล่าวว่า) ข้าแต่ท่านอา-
ฬาระ ภรรยาของข้าพเจ้าทั้ง ๓๐๐ นางนี้ ล้วนมีเอว
อ้อนแอ้น มีรัศมีรุ่งเรืองดังกลีบประทุม นางเหล่านี้
จักเป็นผู้บำรุงบำเรอท่าน ข้าพเจ้าขอยกนางเหล่านี้ให้
ท่าน ท่านจงให้นางเหล่านี้ บำเรอท่านเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 663
[๒๕๐๒] (อาฬารดาบส กล่าวว่า) อาตมาภาพได้
เสวยรสอันเป็นทิพย์อยู่ปีหนึ่ง คราวนั้นอาตมาภาพ ได้
ไต่ถามถึงสมบัติอันยิ่งว่า ท่านพญานาคได้สมบัตินี้
ด้วยอุบายอย่างไร ได้วิมานอันประเสริฐอย่างไร ได้
โดยมีเหตุ หรือเกิดเพราะใครน้อมมาให้แก่ท่าน ท่าน
กระทำเอง หรือเทวดาให้ ดูก่อนพญานาคราช ข้าพ-
เจ้าขอถามเนื้อความนั้นกะท่าน ท่านได้วิมานอันประ
เสริฐอย่างไร ?
[๒๕๐๓] (สังขปาลนาคราช กล่าวว่า) ข้าพเจ้าได้
วิมานนี้ มิใช่โดยไม่มีเหตุ และมิใช่เกิดเพราะใครน้อม
มาให้ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามิได้ทำเอง แม้เทวดาก็มิได้ให้
ข้าพเจ้าได้วิมานนี้ ด้วยบุญกรรมอันไม่เป็นบาปของ
ตน.
[๒๕๐๔] (อาฬารกุฎุมพี ถามว่า) พรตของท่าน
เป็นอย่างไร และพรหมจรรย์ของท่านเป็นไฉน นี้เป็น
วิบากแห่งกรรมอะไรที่ท่านประพฤติดีแล้ว ดูก่อนพญา
นาคราช ขอท่านจงบอกเนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้า ท่าน
ได้วิมานนี้มาอย่างไรหนอ ?
[๒๕๐๕] (สังขปาลนาคราช ตอบว่า) ข้าพเจ้าได้
เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ กว่าชนชาวมคธ มีนามว่า
" ทุยโยชนะ " มีอานุภาพมากได้เห็นชัดว่า ชีวิตเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 664
ของนิดหน่อยไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็น
ธรรมดา.
จึงเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ได้ให้ข้าวและน้ำ เป็นทาน
อันไพบูลย์ โดยเคารพ วังของข้าพเจ้าในครั้งนั้น เป็น
ดุจบ่อน้ำ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ก็อิ่มหนำสำราญ
ในที่นั้น.
ข้าพเจ้าได้ให้ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ประทีป ยวดยาน ที่พัก ผ้านุ่งห่ม ที่นอน และข้าว
น้ำ เป็นทานโดยเคารพ ในที่นั้น.
นั่นเป็นพรต และพรหมจรรย์ของข้าพเจ้า นี้เป็น
วิบากแห่งกรรมนั้น ที่ข้าพเจ้าประพฤติดีแล้ว ข้าพเจ้า
ได้วิมานอันมีภักษาหารเพียงพอ มีข้าวน้ำมากมาย
เพราะวัตร และพรหมจรรย์นั้นแล.
[๒๕๐๖] วิมานนี้บริบูรณ์ ด้วยการฟ้อนรำ ขับ
ร้องตั้งอยู่ช้านาน แต่เป็นของไม่เที่ยง อาตมาภาพ จึง
ถามว่า บุตรนายพรานทั้งหลาย ผู้มีอานุภาพน้อย ไม่
มีเดช ไยจึงเบียดเบียนท่านผู้มีอานุภาพมาก มีเดชได้
ดูก่อนท่านผู้มีเขี้ยวเป็นอาวุธ เพราะอาศัยอะไรหรือ
ท่านจึงถึงความเศร้าหมอง ในสำนักของบุตรนาย-
พรานทั้งหลาย ?
ความกลัวใหญ่ ตามถึงท่าน หรือว่า พิษของท่าน
ไม่แล่นไปยังรากเขี้ยว ดูก่อนท่านผู้มีเขี้ยวเป็นอาวุธ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 665
เพราะอาศัยอะไรหรือ ท่านจึงถึงความเศร้าหมอง ใน
สำนักของบุตรนายพรานทั้งหลาย ?
[๒๕๐๗] มหันตภัยมิได้ตามถึงข้าพเจ้าเลย ชน
พวกนั้น ไม่อาจทำลายเดชของข้าพเจ้าได้ แต่ว่าธรรม
ของสัตบุรุษทั้งหลาย ท่านประกาศไว้ดีแล้ว ยากที่จะ
ล่วงได้ เหมือนเขตแดนแห่งสมุทร ฉะนั้น.
ข้าแต่ท่านอาฬาระ ข้าพเจ้าเข้าจำอุโบสถ ในวัน
จาตุททสี ปัณณรสีเป็นนิตย์ ต่อมาพวกบุตรนายพราน
๑๖ คน เป็นคนหยาบช้า ถือเอาเชือกและบ่วงอัน
มั่นคงมา.
พรานทั้งหลาย ช่วยกันแทงจมูก เอาเชือกร้อย
แล้วหามข้าพเจ้าไป ข้าพเจ้าอดทนต่อทุกข์เช่นนั้น ไม่
ทำอุโบสถให้กำเริบ.
[๒๕๐๘] (อาฬารกุฎุมพีกล่าวว่า) บุตรนายพราน
เหล่านั้น ได้พบท่านผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง และผิวพรรณ
ที่ทางเดินคนเดียว ดูก่อนท่านนาคราช ท่านเป็นผู้
เจริญด้วยสิริ และปัญญา จะบำเพ็ญตบะเพื่อประโยชน์
อะไรอีกเล่า ?
[๒๕๐๙] (สังขปาลนาคราชตอบว่า) ข้าแต่ท่าน
อาฬาระ ข้าพเจ้าบำเพ็ญตบะ มิใช่เพราะเหตุแห่งบุตร
มิใช่เพราะเหตุแห่งทรัพย์ และมิใช่เพราะเหตุแห่งอายุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 666
เพราะข้าพเจ้าปรารถนากำเนิดมนุษย์ จึงบากบั่น
บำเพ็ญตบะ.
[๒๕๑๐] (อาตมาภาพถามว่า) ท่านเป็นผู้มีนัยน์ตา
แดง มีรัศมีรุ่งเรือง ประดับตกแต่งแล้ว ปลงผมและ
หนวด ชโลมทาด้วยจุรณจันทน์แดง ส่องสว่างไป
ทั่วทิศ ดุจคนธรรพราชา ฉะนั้น.
ท่านเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
พรั่งพร้อมไปด้วยกามารมณ์ทั้งปวง ดูก่อนพญานาคราช
ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน เหตุไรมนุษยโลก
จึงประเสริฐกว่านาคพิภพนี้ ?
[๒๕๑๑] (สังขปาลนาคราชตอบว่า) ข้าแต่ท่าน
อาฬาระ นอกจากมนุษยโลก ความบริสุทธิ์หรือความ
สำรวมย่อมไม่มี ถ้าข้าพเจ้าได้กำเนิดมนุษย์แล้ว จัก
กระทำที่สุดแห่งชาติและมรณะ.
[๒๕๑๒] (อาฬารกุฏุมพีกล่าวว่า) ข้าพเจ้าอยู่ใน
สำนักของท่านปีหนึ่งแล้ว เป็นผู้ที่ท่านบำรุงด้วยข้าว
ด้วยน้ำ ข้าพเจ้าขอลาท่าน ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมนาค
ข้าพเจ้าจากมนุษยโลกมาเสียนาน.
[๒๕๑๓] (สังขปาลนาคราชตอบว่า) ข้าแต่ท่าน
อาฬาระ บุตร ภรรยา และชนบริวาร ข้าพเจ้าพร่ำสอน
เป็นนิตย์ให้บำรุงท่าน ใครมิได้แช่งด่าท่านแลหรือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 667
เพราะว่าการที่ได้พบท่าน นับว่าเป็นที่พอใจของ
ข้าพเจ้า.
[๒๕๑๔] (อาฬารกุฏุมพีตอบว่า) ดูก่อนพญา-
นาคราช บุตรที่รักปฏิบัติบำรุงมารดาบิดาในเรือน
เป็นผู้ประเสริฐ แม้ด้วยประการใด ท่านบำรุงข้าพเจ้า
อยู่ในที่นี้ เป็นผู้ประเสริฐ แม้กว่าประการนั้น เพราะว่า
จิตของท่านเลื่อมใสข้าพเจ้า.
[๒๕๑๕] (สังขปาลนาคราชกล่าวว่า) แก้วมณีอัน
จะนำทรัพย์มาได้ตามประสงค์ ของข้าพเจ้ามีอยู่ ท่าน
จงถือเอามณีรัตน์อันโอฬารนั้นไป ยังที่อยู่ของตน ได้
ทรัพย์แล้วจงเก็บแก้วมณีนั้นไว้.
[๒๕๑๖] (อาฬาดาบสทูลว่า) ขอถวายพระพร
แม้กามคุณเป็นของมนุษย์ อาตมาภาพได้เห็นแล้ว
เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
อาตมาภาพเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงออกบวช
ด้วยศรัทธา.
ขอถวายพระพร ทั้งคนหนุ่มคนแก่ ย่อมมีสรีระ
ทำลายร่วงหล่นไป เปรียบเหมือนผลไม้ ฉะนั้น
อาตมาภาพเห็นคุณข้อนี้ว่า สามัญผลเป็นข้อปฏิบัติอัน
ไม่ผิด ประเสริฐจึงออกบวช.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 668
[๒๕๑๗] (พระเจ้าพาราณสีตรัสว่า) ชนเหล่าใด
เป็นพหูสูต ค้นคิดเหตุผลได้มาก ชนเหล่านั้นเป็น
คนมีปัญญา บุคคลควรคบหาโดยแท้ทีเดียว ข้าแต่ท่าน
อาฬาระ ข้าพเจ้าได้ฟังคำของพญานาคราช และของ
ท่านแล้ว จักทำบุญมิใช่น้อย.
[๒๕๑๘] (อาฬารดาบสทูลว่า) ขอถวายพระพร
ชนทั้งหลายเป็นพหูสูต ค้นคิดเหตุผลได้มาก ชน
เหล่านั้นเป็นคนมีปัญญา บุคคลควรคบหาโดยแท้
ทีเดียว ดูก่อนราชันย์ เพราะทรงสดับเรื่องราวของ
พญานาคราช และของอาตมาภาพแล้ว ขอพระองค์
โปรดทรงบำเพ็ญกุศลให้มาก.
จบสังขปาลชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 669
อรรถกถาสังขปาลชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ
ปรารภอุโบสถกรรม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อริยาวกาโสสิ
ดังนี้.
ความพิสดารว่า คราวนั้น พระบรมศาสดาทรงยังอุบาสกทั้งหลาย
ผู้รักษาอุโบสถให้ร่าเริงแล้วตรัสว่า โบราณบัณฑิตทั้งหลาย ละนาคสมบัติอัน
ใหญ่แล้ว เข้าจำอุโบสถเหมือนกัน อุบาสกเหล่านั้น ทูลอาราธนาแล้ว จึงทรง
นำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล พระเจ้าแผ่นดินมคธ เสวยราชสมบัติในพระนครราช-
คฤห์. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงบังเกิดในพระครรภ์ แห่งพระอัครมเหสีของ
พระราชานั้น. พระชนกชนนีทรงขนานพระนามว่า ทุยโยธนกุมาร เธอ
เจริญวัยแล้ว ไปเรียนสรรพศิลปศาสตร์ในเมืองตักกศิลา กลับมาแสดงศิลปะ
ถวายพระราชบิดา ต่อมาพระราชบิดาจึงอภิเษกพระกุมารไว้ในราชสมบัติ แล้ว
ผนวชเป็นพระฤาษีอยู่ในพระราชอุทยาน พระโพธิสัตว์ได้เสด็จไปยังสำนักของ
พระราชบิดาวันละ ๓ ครั้ง. ลาภสักการะใหญ่เกิดขึ้นแก่พระราชฤาษี. พระราช
ฤาษีไม่สามารถจะทำแม้เพียงกสิณบริกรรมได้ด้วยความกังวลนั้น จึงทรงดำริว่า
ลาภสักการะของเรามากมาย เราอยู่ที่นี่ไม่สามารถจะตัดรกชัฏนี้ได้ เราจักไม่
บอกลาพระโอรส ไปเสียในที่อื่น. พระราชฤาษีไม่บอกให้ใคร ๆ รู้ เสด็จ
ออกจากสวน ดำเนินล่วงมคธรัฐเข้าไปอาศัยจันทกบรรพต ทำบรรณศาลาอยู่
ณ ที่นั้น ในสถานที่พอไปมาได้ แต่แม่น้ำกัณณเวณณาอันไหลออกจากลำน้ำ
ชื่อสังขปาละ เขตมหิสกรัฐ กระทำกสิณบริกรรม ยังฌานและอภิญญาให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 670
บังเกิดแล้ว ดำรงชีพด้วยการเที่ยวขอเลี้ยงชีพ. นาคราชชื่อสังขปาละออกจาก
กัณณเวณณานทีพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก เข้าไปหาพระราชฤาษีนั้นเป็นครั้ง
คราวพระราชฤาษีก็แสดงธรรม แก่พญาสังขปาลนาคราชนั้น. ต่อมาพระราชโอ-
รสของพระราชฤาษีนั้น อยากจะทรงพบพระชนก แต่ไม่ทราบสถานที่เสด็จไป
จึงโปรดให้เที่ยวติดตาม ทรงทราบว่าประทับอยู่ในสถานที่ชื่อโน้น ก็เสด็จไป
ณ ที่นั้น พร้อมด้วยข้าราชบริพารมากมาย เพื่อทรงเยี่ยมเยียนพระราชฤาษี
รับสั่งให้ตั้งค่าย ณ ที่ส่วนหนึ่ง พร้อมด้วยอำมาตย์สองสามคน เสด็จมุ่งหน้า
ต่ออาศรมสถาน ขณะนั้น สังขปาลนาคราช กำลังนั่งฟังธรรมอยู่กับบริวาร
จำนวนมาก เหลือบเห็นพระราชาเสด็จมา จึงไหว้พระฤาษีลุกขึ้นจากอาสนะ
หลีกไป พระราชาถวายบังคมพระบิดาทรงทำปฏิสันถาร ประทับนั่งแล้ว
ทูลถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นั่นพระราชาที่ไหนเสด็จมายังสำนักของ
พระคุณท่าน ตรัสตอบว่า ลูกรัก นั่นคือพญาสังขปาลนาคราช ทรงเกิดความ
โลภในนาคพิภพ เพราะอาศัยสมบัติของพญานาคราชนั้น ประทับอยู่สองสามวัน
โปรดให้จัดภิกษาหารถวายพระราชบิดาเป็นประจำ แล้วเสด็จกลับยังพระนคร
ของพระองค์ทีเดียว โปรดให้สร้างโรงทานไว้ในทิศทั้ง ๔ ยังสกลชมพูทวีปให้
เอิกเกริก ทรงบริจาคทาน รักษาศีล ทำการรักษาอุโบสถกรรม ปรารถนา
นาคพิภพ ในที่สุดแห่งพระชนมายุ ก็ได้ไปบังเกิดเป็นพญาสังขปาลนาคราช
ในนาคพิภพ เมื่อล่วงผ่านเลยไป เธอเป็นผู้เดือดร้อนรำคาญในสมบัตินั้น
นับแต่นั้นมา ก็ปรารถนากำเนิดมนุษย์อยู่รักษาอุโบสถกรรม เมื่อพญาสังขปาล
นาคราชอยู่ในนาคพิภพคราวนั้น การอยู่รักษาอุโบสถ ไม่สำเร็จผล ย่อมถึง
ศีลพินาศ. จำเดิมแต่นั้น ท้าวเธอจึงออกจากนาคพิภพไปขดวงล้อมจอมปลวก
แห่งหนึ่ง ในระหว่างทางใหญ่ และทางเดินเฉพาะคน ๆ เดียว ไม่ห่างแม่น้ำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 671
กัณณเวณณานที อธิษฐานอุโบสถ เป็นผู้มีศีลอันสมาทานแล้ว สละตนใน
ทานมุขว่า ชนทั้งหลายผู้มีความต้องการด้วยหนังและเนื้อเป็นต้นของเรา จงนำ
หนังและเนื้อเป็นต้นไปเถิด แล้วนอนอยู่บนยอดจอมปลวก บำเพ็ญสมณธรรม
อยู่รักษาอุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ แล้วไปสู่นาคพิภพในวันปาฏิบท.
วันหนึ่ง เมื่อพญานาคราช สมาทานศีลนอนอยู่อย่างนี้ มีชาวปัจจันต-
คาม ๑๖ คน คิดกันว่า พวกเราจักไปหาเนื้อมา มีอาวุธครบมือ เที่ยวไปในป่า
เมื่อไม่ได้อะไร ก็กลับออกมา พบพญานาคราชนั้นนอนอยู่บนจอมปลวก
คิดกันว่า วันนี้พวกเราไม่ได้แม้แต่ลูกเหี้ย พวกเราจักฆ่าพญานาคราชนี้
รับประทาน แล้วคิดต่อไปว่า นาคราชนี้ใหญ่โต เมื่อถูกจับ คงจะหนีไปเสีย
จักต้องเอาหลาวแทงที่ขนดทั้ง ๆ ที่ยังนอนทีเดียว ทำให้หมดกำลังแล้วคงจับ
เอาได้ ต่างถือหลาวเป็นต้นเข้าไปใกล้ร่างกายแม้ของพระโพธิสัตว์ขนาดเท่า
เรือโกลนลำใหญ่ลำหนึ่ง เช่นเดียวกับพวงมะลิอันบุคคลวงตั้งไว้ นาคราชนั้น
ประกอบด้วยนัยน์ตาคล้ายเมล็ดมะกล่ำ ศีรษะเช่นกับดอกชัยพฤกษ์และดอกมะลิ
ย่อมงามเกินที่เปรียบได้. ด้วยเสียงฝีเท้าของคนทั้ง ๑๖ คน พญานาคจึง
โผล่ศรีษะออกจากวงขนด ลืมดวงตาอันแดงมองเห็นคนเหล่านั้น มีมือถือหลาว
เดินมา จึงคิดว่า วันนี้มโนรถของเราจักถึงที่สุด เรามอบตนในทานมุขแล้ว
จึงนอนอธิษฐานความเพียร เราจักไม่ลืมตาดูคนเหล่านี้ เอาหอกทิ่มแทงสรีระ
ของเรา ทาให้เป็นช่องน้อยช่องใหญ่ ด้วยอานาจความโกรธ เพราะกลัวศีล
ของตนจะทำลายจึงอธิษฐานมั่นคง สอดศีรษะเข้าไปในวงขนดนอนอยู่อย่างเดิม.
ครั้นคนเหล่านั้นเข้ามาใกล้แล้ว จึงจับหางพญานาค กระชากให้ตกลงภาคพื้น
เอาหลาวอันคมแทงที่ขนดแปดแห่ง สอดหวายดำมีหนามเข้าไปตามช่องที่แทง
เอาคานสอดในที่ทั้งแปดแล้ว พากันเดินทางกลับหนทางใหญ่ พระมหาสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 672
นับแต่ถูกแทงด้วยหลาว ก็มิได้ลืมตาดูคนเหล่านั้น ด้วยอำนาจความโกรธ
แม้ในที่แห่งเดียว เมื่อถูกเขาเอาคานทั้งแปดหามไป ศีรษะก็ห้อยลงกระทบพื้น
ลำดับนั้น คนเหล่านั้น พูดกันว่า ศีรษะของพญานาคห้อยลง จึงให้นอนใน
ทางใหญ่ เอาหลาวเล็กแทงที่ช่องจมูก แล้วเอาเชือกร้อย แล้วยกศีรษะพาดที่
ปลายคาน ช่วยกันยกขึ้น เดินทางต่อไปอีก.
ขณะนั้น กุฏุมพีชื่ออาฬาระ ชาวเมืองมิถิลา เขตวิเทหรัฐ นั่งบน
ยานอันสบาย พาเกวียน ๕๐๐ เล่ม เดินทางผ่านไป เห็นลูกบ้านชาวปัจจันต-
คามกำลังหามพระโพธิสัตว์เดินไปอย่างนั้น จึงให้มาสกทองคนละซองมือ กับ
โคพาหนะ ๑๖ ตัว แก่คนทั้ง ๑๖ คน และให้ผ้านุ่ง ผ้าห่ม แก่คนเหล่านั้น
ทุกคน ทั้งให้ผ้าผ่อน และเครื่องประดับ แม้แก่ภรรยาของคนเหล่านั้น ขอร้อง
ให้ปล่อยพญานาคไป. พญานาคไปยังนาคพิภพ มิได้มัวโอ้เอ้อยู่ในนาคพิภพ
เลย ออกไปหาอาฬารกุฎุมพีพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก กล่าวคุณของนาค-
พิภพแล้ว เชิญกุฎุมพีนั้นไปยังนาคพิภพ ประทานยศใหญ่พร้อมด้วยนางนาค
กัญญาสามร้อยแก่กุฎุมพีนั้น ให้อิ่มหนำสำราญด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์ อาฬาร
กุฏุมพีอยู่บริโภคกามอันเป็นทิพย์ ในนาคพิภพสิ้นเวลาประมาณหนึ่งปีแล้วบอก
พญานาคว่า สหาย เราปรารถนาจะบวช รับเอาบริขารบรรพชิตแล้วไปจาก
นาคพิภพ บวชอยู่ในหิมวันตประเทศสิ้นกาลนาน ต่อมาจึงเที่ยวจาริกไปจนถึง
เมืองพาราณสี พักอยู่ในพระราชอุทยาน รุ่งขึ้นเข้าไปยังพระนครเพื่อภิกษาจาร
ได้ไปสู่ประตูพระราชวัง ครั้งนั้นพระเจ้าพาราณสี ทอดพระเนตรเห็นอาฬาร
ดาบสนั้นแล้ว ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถ จึงรับสั่งให้นิมนต์มา ให้นั่งเหนือ
ปัญญัตตาอาสน์ ให้ฉันโภชนะมีรสเลิศต่างๆ แล้วประทับนั่งบนอาสนะตำแหน่ง
หนึ่ง ทรงนมัสการ เมื่อจะทรงปราศัยกับดาบสนั้น ตรัสคาถาที่ ๑
ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 673
ท่านเป็นผู้มีรูปร่างงดงาม มีดวงตาแจ่มใส
ข้าพเจ้าสำคัญว่า ท่านผู้เจริญคงบวชจากสกุล ไฉนหนอ
ท่านผู้มีปัญญาจึงสละทรัพย์ และโภคสมบัติออกบวช
เป็นบรรพชิตเสียเล่า ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริยาวกาโสสิ ความว่า พระเจ้า
พาราณสีตรัสถามว่า ท่านเป็นผู้มีโอกาส คือสรีระงามหาโทษมิได้ ได้แก่
เป็นผู้มีรูปงามยิ่ง. บทว่า ปสนฺนเปตฺโต ความว่า มีดวงเนตรประกอบด้วย
ประสาททั้ง ๕. บทว่า กุลมฺหา ความว่า ข้าพเจ้าสำคัญว่า ท่านคงเป็น
ผู้บวชจากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ หรือตระกูลเศรษฐี. บทว่า
กถ นุ ความว่า เพราะเหตุไรหรือท่านผู้เป็นบัณฑิต ทำอะไรเป็นอารมณ์
จึงได้สละทรัพย์และโภคสมบัติออกจากเรือนบวชเสีย. บทว่า สปญฺโ ได้แก่
บุรุษผู้เป็นบัณฑิต.
ถัดจากนั้นไป ควรทราบความเกี่ยวโยงแห่งคาถา ด้วยสามารถแห่ง
คำโต้ตอบ ระหว่างดาบส และพระราชาดังต่อไปนี้
อาฬารดาบส ทูลว่า
ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นจอมนรชน อาตมาภาพ
ได้เห็นวิมานของพญาสังขปาลนาคราช ผู้มีอานุภาพ
มากด้วยตนเอง ครั้นเห็นแล้ว จึงออกบวชโดยเชื่อ
มหาวิบากของบุญทั้งหลาย.
พระราชาตรัสว่า
บรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่กล่าวคำเท็จ เพราะ
ความรัก เพราะความกลัว เพราะความชัง ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 674
ถามท่านแล้ว ขอท่านได้โปรดบอกเนื้อความนั้นแก่
ข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าได้ฟังแล้ว จักเกิดความเลื่อมใส.
อาฬารดาบส ทูลว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ผู้เป็นอธิบดีในรัฐมณฑล
อาตมาภาพเดินทางไปค้าขาย ได้เห็นบุตรนายพราน
ช่วยกันหามนาคผู้มีร่างกายใหญ่โต เดินร่าเริงไปใน
หนทาง.
ดูก่อนพระจอมประชานิกร อาตมาภาพมาประ-
จวบเข้ากับลูกนายพรานเหล่านั้น ก็กลัวจนขนลุกขน
พอง ได้ถามเขาว่า ดูก่อนพ่อบุตรนายพราน ท่านทั้ง
หลายจะนำงูซึ่งมีร่างกายน่ากลัวไปไหน ท่านทั้งหลาย
จักทำอะไรกับงูนี้.
เขาพากันตอบว่า
งูใหญ่มีกายอันเจริญ พวกเรานำไปเพื่อจะกิน
เนื้อของมันมีรสอร่อยมัน และอ่อนนุ่ม ดูก่อนท่านผู้
เป็นบุตรชาววิเทหรัฐ ท่านยังมิได้เคยลิ้มรส.
เราทั้งหลายไปจากที่นี่ ถึงบ้านของตนแล้ว จะ
เอามีดสับกินเนื้อกันให้สำราญใจ เพราะว่าเราทั้งหลาย
เป็นศัตรูของพวกงู.
อาตมาภาพจึงพูดว่า
ถ้าท่านทั้งหลาย จะนำงูใหญ่มีกายอันเจริญนี้ไป
เพื่อกิน เราจะให้โค ๑๖ ตัว แก่ท่านทั้งหลาย ขอให้
ปล่อยงูนี้เสียจากเครื่องผูกเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 675
พวกเขาตอบว่า
ความจริง งูตัวนี้เป็นอาหารที่ชอบใจของเรา
ทั้งหลายโดยแท้และเราทั้งหลายเคยกินงูมามาก ดูก่อน
นายอาฬาระผู้เป็นบุตรชาววิเทหรัฐ เราทั้งหลายจักทำ
ตามคำของท่าน ดูก่อนท่านผู้เป็นบุตรของชาววิเทหะ
แต่ว่าท่านจงเป็นมิตรของเราทั้งหลาย.
ชนเหล่านั้นแก้นาคราชออกจากเครื่องผูก นาค-
ราชได้พ้นจากเครื่องผูกซึ่งเขาร้อยไว้ที่จมูกกับบ่วงนั้น
แล้วบ่ายหน้าตรงไปทิศปราจีน หลีกไปได้ครู่หนึ่ง.
ครั้นบ่ายหน้าตรงไปทิศปราจีน ได้สักครู่หนึ่ง
มีดวงตาเต็มไปด้วยน้ำตา เหลียวมาดูอาตมาภาพ
อาตมาภาพได้ตามไปข้างหลังของนาคราชในคราวนั้น
ประคองอัญชลีทั้ง ๑๐ นิ้ว เตือนว่า
ท่านจงรีบไปเสียโดยเร็ว ขอพวกศัตรูอย่าจับได้
อีกเลย เพราะว่าการสมาคมกับพวกพรานบ่อย ๆ เป็น
ทุกข์ ท่านจงไปสถานที่ ๆ พวกบุตรนายพรานจะไม่
เห็น.
นาคราชนั้นได้ไปสู่ห้วงน้ำใส มีสีเขียว น่ารื่น-
รมย์ มีท่าราบเรียบปกคลุมไปด้วยไม้หว้าและย่างทราย
เป็นผู้ปลอดภัย มีปีติ เข้าไปยังนาคพิภพ.
ดูก่อนพระจอมประชานิกร นาคราชนั้นครั้น
เข้าไปสู่นาคพิภพแล้ว ไม่ช้าก็มีบริวารทิพย์มาปรากฏ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 676
แก่อาตมาภาพ บำรุงอาตมาภาพเหมือนบุตรบำรุงบิดา
ฉะนั้น พูดจารื่นหู จับใจว่า
ท่านอาฬาระ ท่านเป็นเหมือนมารดาบิดาของ
ข้าพเจ้า เป็นดังดวงใจ เป็นผู้ให้ชีวิต เป็นสหาย
ข้าพเจ้าจึงกลับได้อิทธิฤทธิ์ของตน ข้าแต่ท่านอาฬาระ
ขอเชิญท่านไปเยี่ยมนาคพิภพของข้าพเจ้า ซึ่งมีภักษา
หารมาก มีข้าวและน้ำมากมาย ดังเทพนครของท้าว-
วาสวะ ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิมาน ความว่า อาตมาภาพเห็นวิมาน
กาญจนมณี เพรียบพร้อมด้วยนาฏกิตถีสมบัติร้อยเศษของพญาสังขปาลนาคราช.
บทว่า ปุญฺาน ความว่า ครั้นเห็นมหาวิบากแห่งบุญที่นาคราชนั้นมา
ข้าพเจ้าจึงออกบวชด้วยศรัทธาอันเป็นไป เพราะเชื่อกรรม เชื่อผลแห่งกรรม
และเชื่อปรโลก.
บทว่า น กามกามา ความว่า ราชาตรัสว่า บรรพชิตทั้งหลาย
ย่อมไม่พูดเท็จ เพราะวัตถุกามบ้าง เพราะกลัวบ้าง เพราะโทสะบ้าง. บทว่า
ชายิหีติ ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความเลื่อมใส โสมนัส จักเกิดแก่
ข้าพเจ้าบ้าง เพราะได้ฟังถ้อยคำของท่าน.
บทว่า วาณิชฺช ความว่า ดาบสทูลว่า เมื่ออาตมาภาพเดินทางไป
ด้วยคิดว่าจักทำการค้าขาย. บทว่า ปเถ อทฺทสาสิมฺหิ ความว่า อาตมา
นั่งไปบทยานน้อยข้างหน้าเกวียน ๕๐๐ เล่ม ได้เห็นมนุษย์ชาวชนบทในหนทาง
ใหญ่. บทว่า ปวฑฺฒกาย ความว่า ผู้มีร่างกายอ้วนพี. บทว่า อาทาย
ความว่า หาบไปด้วยคานแปดอัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 677
บทว่า อวจสฺมิ แปลว่า ได้กล่าวแล้ว. บทว่า ภีมกาโย แปลว่า
ผู้มีร่างกายอันน่ากลัว. อาฬารกุฏุมพี ร้องเรียกบุตรนายพราน ด้วยถ้อยคำที่
น่ารักว่า " พ่อบุตรพรานไพร ". พวกบุตรนายพราน พากันกล่าวตอบอาฬาร-
กุฏุมพีว่า " แน่ะเจ้าลูกชาววิเทหะ " ดังนี้ เพราะความที่อาฬารกุฎุมพีอยู่ในวิเทหรัฐ.
บทว่า วิโกฏยิตฺวา ได้แก่ สับ (หรือตัด). บทว่า มยญฺหิ โว
สตฺตโว ความว่า ก็พวกเราเป็นศัตรูของนาคทั้งหลาย. บทว่า โภชนตฺถ
ความว่า เพื่อจะบริโภค. บทว่า มิตฺตญฺจ โน โหหิ ความว่า ขอท่านจง
เป็นมิตรของพวกเรา รู้คุณที่พวกเรากระทำแล้ว. บทว่า ตทสฺสุ เต ความว่า
ดูก่อนมหาราชเจ้า ครั้นบุตรนายพรานเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมาภาพ
ได้ให้โคมีกำลัง ๑๖ ตัว เครื่องนุ่งห่ม ทรัพย์คนละร้อย ๆ ทองคำหนึ่งมาสก
แก่บุตรนายพรานเหล่านั้น และผ้ากับเครื่องประดับแก่ภรรยาทั้งหลาย ของ
บุตรนายพรานเหล่านั้น.
ลำดับนั้น บุตรนายพรานเหล่านั้นให้พญาสังขปาลนาคราชนอนลงบน
ภาคพื้น เพราะความกักขฬะของตน พากันเอาเถาหวายดำซึ่งพราวไปด้วย
หนามเกี่ยว เริ่มฉุดลากปลายหางมา ที่นั้นอาตมาภาพเห็นนาคราชลำบาก เมื่อ
จะไม่ให้ลำบาก จึงเอาดาบตัดเถาวัลย์เหล่านั้นค่อย ๆ นำออกมิให้ลำบาก โดย
ทำนองที่เด็ก ๆ คลายเกลียวจากผ้าโพกที่มุมในเวลานั้น บุตรนายพรานเหล่านั้น
สอดเครื่องผูกผ่านช่องจมูก แล้วร้อยเข้าในบ่วง เพราะฉะนั้น จึงพากันแก้
พญานาคจากเครื่องผูกนั้น. ดาบสหมายความว่า นำเชือกนั้นออกจากจมูก
ของนาคราชนั้น พร้อมกับบ่วง. บุตรนายพรานเหล่านั้น ครั้นปล่อยนาคราช
อย่างนี้แล้ว เดินไปได้หน่อยหนึ่ง ก็พากันแอบเสียด้วยคิดว่า นาคนี้ทุรพลภาพ
ในเวลามันตายแล้ว เราจักหามเอาไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 678
บทว่า ปุณฺเณหิ ความว่า ฝ่ายนาคราชนั้น บ่ายหน้าสู่ทิศปราจีน
ไปได้หน่อยหนึ่ง มีดวงตาเต็มไปด้วยน้ำตา มองดูอาตมาภาพ. บทว่า ตทสฺ-
สาห ตัดบทออกเป็น ตทา อสฺส อห ความว่า ครั้งนั้นอาตมาภาพ
ตามหลังนาคราชไป.
บทว่า คจฺเฉว ความว่า อาฬารดาบสกล่าวว่า อาตมาได้กล่าวอย่างนี้
กะพญานาคราชนั้น. บทว่า รหท ความว่า นาคราชนั้นได้ไปสู่ห้วงน้ำ
กัณณเวณณานที. บทว่า สมฺโมนต ความว่า อันโน้มน้อมไปด้วยต้นชมพู่
และต้นอโศก ที่ฝั่งทั้งสอง. บทว่า นิตฺติณฺณภโย ปตีโต ความว่า ได้ยินว่า
นาคราชนั้นกำลังดูห้วงน้ำอยู่ ได้แสดงความเคารพแต่อาฬารกุฏุมพี โผขึ้นมา
จนกระทั่งถึงหาง. สถานที่ซึ่งพญานาคนั้นดำไปๆในน้ำนั่นเอง เป็นที่ปลอดภัย
เพราะเหตุนั้น นาคราชนั้นจึงเป็นผู้ปลอดภัย พ้นภัย ได้ความร่าเริงยินดีเข้าไป.
บทว่า ปวิสฺส ความว่า ครั้นเข้าไปแล้ว. บทว่า ทิพฺเพน เม
ความว่า มิได้ถึงความประมาทในนาคพิภพ เมื่ออาตมาภาพยังไม่เลยฝั่ง
กัณณเวณณานทีไป พญานาคราชได้มาปรากฏข้างหน้าอาตมาภาพ พร้อมด้วย
ทิพยบริวาร. บทว่า อุปฏฺหิ แปลว่า เข้ามาใกล้.
บทว่า อพฺภนฺตโร ความว่า ท่านเป็นเช่นกับเนื้อหัวใจ. ท่านมี
อุปการคุณแก่ข้าพเจ้าเป็นอันมาก ข้าพเจ้าจักทำสักการะแก่ท่าน. บทว่า ปสฺส
เม นิเวสนานิ ความว่า เชิญท่านไปชมนาคพิภพของข้าพเจ้า. บทว่า
มสกฺกสาร วิย ความว่า ขุนเขาสิเนรุบรรพต ท่านเรียกว่า มสักกสาระ
เพราะมีแก่นเป็นแท่งทึบ โดยหาความยุบถอน ย่อหย่อนมิได้ นาคราชหมาย
เอาดาวดึงส์พิภพ อันตนสร้างไว้ในนาคพิภพนั่นเอง จึงกล่าวข้อนี้.
ดูก่อนมหาราช นาคราชนั้นครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อจะพรรณนา
นาคพิภพของตนให้ยิ่งขึ้นไป จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 679
นาคพิภพนั้น สมบูรณ์ด้วยภูมิภาค ภาคพื้นไม่มี
กรวด อ่อนนุ่ม งดงาม มีหญ้าเตี้ย ๆ ไม่มีละอองธุลี
นำมาซึ่งความเลื่อมใส ระงับความโศกของผู้ที่เข้าไป.
ในนาคพิภพนั้น มีสระโบกขรณีอันไม่อากูล
เขียวชอุ่มดังแก้วไพฑูรย์ มีต้นมะม่วง น่ารื่นรมย์ทั้ง
๔ ทิศ มีผลสุกกึ่งหนึ่ง ผลอ่อนกึ่งหนึ่ง เผล็ดผล
เป็นนิตย์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสกฺขรา ความว่า ภูมิภาคในนาคพิภพ
นั้น ปราศจากหินและกรวด ภูมิภาคนั้นอ่อนนุ่ม งดงาม ล้วนแล้วไปด้วย
ทองเงินและแก้วมณี เกลื่อนกล่นไปด้วยทรายคือรัตนะเจ็ด. บทว่า นีจติณา
ความว่า ประกอบไปด้วยหญ้าอันต่ำ มีสีเช่นกับหลังแมลงค่อมทอง. บทว่า
อปฺปรชา ความว่า ปราศจากฝุ่นละออง. บทว่า ยตฺถ ชหนฺติ โสก
ความว่า เป็นภูมิภาคที่เข้าไปแล้วหายเศร้าโศก.
บทว่า อนาวกุลา ความว่า ไม่อากูล คือไม่มีตอ. อีกนัยหนึ่ง
หมายความว่า ข้างบนตั้งเรียบเสมอ ปราศจากความขรุขระ. บทว่า เวฬุริยู-
ปนีลา ความว่า เขียวขจีด้วยแก้วไพฑูรย์. อธิบายว่า ในนาคพิภพนั้นมี
สระโบกขรณี ล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ สมบูรณ์ด้วยน้ำ มีสีเขียว ดาดาษ
ไปด้วยดอกบัว และอุบลหลากสี. บทว่า จตุทฺทิส ได้แก่ ในทิศทั้งสี่แห่ง
สระโบกขรณี. บทว่า ปกฺกา จ ความว่า ในสวนอัมพวันนั้น มีต้นมะม่วง
ที่มีผลสุกแล้วบ้าง สุกครึ่งผลบ้าง มีผลอ่อนบ้าง บานสะพรั่งอยู่ทีเดียว. บทว่า
นิจฺโจตุกา ความว่า ประกอบไปด้วยดอกและผล อันเหมาะสมแก่ฤดูแม้ทั้ง ๖.
อาฬารดาบส ทูลพระเจ้าพาราณสีต่อไปว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 680
ดูก่อนมหาบพิตรผู้ประเสริฐกว่านรชน ใน
ท่ามกลางสวนเหล่านั้น มีนิเวศน์เลื่อมประภัสสร
ล้วนแล้วไปด้วยทองคำ มีบานประตูแล้วไปด้วยเงิน
งามรุ่งเรืองยิ่ง ประหนึ่งสายฟ้ารุ่งเรืองอยู่ในกลางหาว
ฉะนั้น.
ขอถวายพระพร ในท่ามกลางสวนเหล่านั้น
เรือนยอดและห้อง แล้วไปด้วยแก้วมณี แล้วไปด้วย
ทองคำโอฬารวิจิตร เป็นอเนกประการ เนรมิตด้วยดี
ติดต่อกันเต็มไปด้วยนางนาคกัญญาทั้งหลาย ผู้ประดับ
แล้ว ล้วนทรงสายสร้อยทองคำ.
สังขปาลนาคราชนั้น มีผิวพรรณไม่ทราม
ว่องไว ขึ้นสู่ปราสาท มีเสาประมาณพันต้น มีอานุภาพ
ชั่งไม่ได้เป็นที่อยู่ของมเหสีแห่งสังขปาลนาคราชนั้น.
นารีนางหนึ่งว่องไว ไม่ต้องเตือน ยกอาสนะ
ล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ มีค่ามาก งดงาม สมบูรณ์
ด้วยแก้ว มีชาติดังแก้วมณีมาปูลาด.
ลำดับนั้น นาคราชจูงมืออาตมาภาพให้นั่งบน
อาสนะอันเป็นประธาน กล่าวว่า นี่อาสนะ เชิญท่าน
นั่งบนอาสนะนี้ เพราะว่าท่านเป็นที่เคารพคนหนึ่ง
ของข้าพเจ้า ในจำนวนท่านที่เคารพทั้งหลาย.
ดูก่อนพระจอมประชานิกร นารีอีกนางหนึ่งก็
ว่องไว ตักเอาน้ำมาล้างเท้าของอาตมาภาพ ดุจภรรยา
ล้างเท้าสามีที่รัก ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 681
มีนารีอีกนางหนึ่งว่องไว ประคองภาชนะทองคำ
เต็มไปด้วยภัตตาหารน่าบริโภค มีสูปะหลายอย่าง มี
พยัญชนะต่าง ๆ นำมาให้อาตมาภาพ.
ขอถวายพระพร นารีเหล่านั้นรู้จักใจสามี พากัน
บำรุงอาตมาภาพผู้บริโภคแล้ว ด้วยดนตรีทั้งหลาย
นาคราชนั้นก็เข้ามาหาอาตมาภาพ พร้อมด้วยกามคุณ
อันเป็นทิพย์มิใช่น้อย ใหญ่ยิ่งกว่าการฟ้อนรำนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิเวสน ได้แก่ ปราสาท. บทว่า
ภสฺสรสนฺนิกาส แปลว่า ดูเลื่อมประภัสสร. บทว่า รชตคฺคฬ ความว่า
มีบานประตูหน้าต่างเป็นเงิน.
บทว่า มณิยา ความว่า เรือนยอด และห้องในสงบนั้นเห็นปานนี้.
บทว่า ปริปูรา แปลว่า สมบูรณ์.
บทว่า โส สงฺขปาโล ความว่า ดูก่อนมหาราช เมื่อนาคราชนั้น
สรรเสริญนาคพิภพนั้นอยู่อย่างนี้ อาตมาภาพใคร่จะดูนาคพิภพนั้น ลำดับนั้น
สังขปาลนาคราชจึงนำอาตมาภาพไปในที่นั้น จับมือรีบด่วนขึ้นสู่ปราสาท มี
เสาพันหนึ่ง ล้วนด้วยเสาแก้วไพฑูรย์ นำไปยังสถานที่ซึ่งมเหสีของเธออยู่.
บทว่า เอกา จ ความว่า เมื่ออาตมาขึ้นสู่ปราสาทแล้ว สตรีนางหนึ่ง
นำอาสนะแก้วไพฑูรย์อันงามเข้าถึงชาติแก้วมณีแม้อื่นๆ มาปูลาด โดยนาคราช
นั้น ไม่ได้สั่งเลย. บทว่า อพฺภิหาสิ ความว่า แปลว่า นำมา อธิบายว่า
ปูลาดแล้ว.
บทว่า ปมุขอาสนสฺมึ แปลว่า บนอาสนะอันเป็นประมุข. อธิบายว่า
เชื้อเชิญให้นั่งบนอาสนะอันสูงสุด. บทว่า ครูน ความว่า นาคราชนั้นกล่าว
เชิญให้นั่งอย่างนี้ว่า ท่านเป็นเหมือนมารดาบิดาของเราคนใดคนหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 682
บทว่า วิวิธ วิยญฺชน ได้แก่ กับข้าวมีอย่างต่าง ๆ. บทว่า ภตฺต
มนญฺรูป ได้แก่ ภัตตาหารอันน่าบริโภค สังขปาลดาบสเรียกพระราชาว่า
" ภารตะ ".
บทว่า ภุตฺตภตฺต แปลว่า บริโภคเสร็จแล้ว. บทว่า อุปฏฺหุ
ความว่า นารีทั้งหลาย ทำการฟ้อนรำ บำรุงอาตมาภาพผู้บริโภคเสร็จแล้ว
ด้วยดนตรีร้อยเศษ. บทว่า ภตฺตุ มโน วิทิตฺวา ความว่า นารีทั้งหลาย
ต่างรู้จิตใจแห่งภัสดาตน. บทว่า ตตุตฺตรึ ความว่า ยิ่งกว่าการฟ้อนรำนั้น.
บทว่า ม นิปติ ความว่า นาคราชนั้น เข้ามาหาอาตมาภาพ. บทว่า มหนฺต
ทิพฺเพหิ ความว่า ด้วยกามอันเป็นทิพย์ มโหฬาร. บทว่า กาเมหิ ความว่า
ด้วยกามอันเป็นทิพย์เหล่านั้น มิใช่น้อย คือมิใช่นิดหน่อย.
ก็แลครั้นนาคราชนั้น เข้ามาหาอย่างนี้แล้วกล่าวคาถา ความว่า
ข้าแต่ท่านอาฬาระ ภรรยาของข้าพเจ้าทั้ง ๓๐๐
นี้ ล้วนมีเอวอ้อนแอ้น มีรัศมีรุ่งเรือง ดังกลีบปทุม
นางเหล่านี้ จักเป็นผู้บำรุงบำเรอท่าน ข้าพเจ้าขอยก
นางเหล่านี้ให้ท่าน ท่านจงให้นางเหล่านี้บำเรอท่าน
เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพตฺตมชฺฌา ความว่า ภรรยาของ
ข้าพเจ้าทั้งหมด มีรูปร่างอ้อนแอ้น อธิบายว่า เอวกลม ขนาดวัดได้ด้วยฝ่า
มือ แต่บาลีในอรรถกถาว่า " สุมชฺณา ". บทว่า ปทุมุตฺราภา ได้แก่
มีผิวผุดผาดดังสีแห่งดอกปทุม. อธิบายว่า มีฉวีวรรณดั่งกลีบปทุม. บทว่า
ปริจารยสฺสุ ความว่า นาคราชนั้นกล่าวว่า ท่านจงทำนางเหล่านั้น ให้
เป็นบาทบริจาริกาของตน แล้วมอบมหาสมบัติ พร้อมด้วยสตรี ๓๐๐ นาง
แก่อาตมาภาพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 683
อาฬารดาบสนั้น ทูลต่อไปว่า
อาตมาภาพ ได้เสวยรสอันเป็นทิพย์อยู่ปีหนึ่ง
คราวนั้นอาตมาภาพ ได้ไต่ถามถึงสมบัติอันยิ่งว่า ท่าน
พญานาคได้สมบัตินี้ ด้วยอุบายอย่างไร ได้วิมานอัน
ประเสริฐอย่างไร ได้โดยไม่มีเหตุ หรือเกิดเพราะใคร
น้อมมาให้แก่ท่าน ท่านกระทำเอง หรือว่าเทวดาให้
ดูก่อนพญานาคราช ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนั้นกะ
ท่าน ท่านได้วิมานอันประเสริฐอย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพรสานุภุตฺวา ความว่า อาตมาภาพ
เสวยรสแห่งกามคุณอันเป็นทิพย์แล้ว. บทว่า ตทาสฺสุห ตัดบทเป็น ตทา
อสฺสุ อห. บทว่า นาคสฺสิท ความว่า ข้าพเจ้าได้ถามนาคราชนั้น ดังนี้
ว่า สมบัติอันเกิดแล้วนี้ ของท่านสังขปาลนาคราช ผู้มีพักตร์อันเจริญ ท่าน
ทำกรรมชื่ออะไรจึงได้ ท่านได้ครอบครองวิมานอันประเสริฐนี้อย่างไรกัน ?
บทว่า อธิจฺจ ลทฺธ ความว่า ท่านได้โดยหาเหตุมิได้. บทว่า
ปริณามชนฺเต ความว่า หรือชื่อว่าเกิดแล้ว โดยการน้อมมา เพราะเป็น
ของที่ใคร ๆ น้อมมาเพื่อประโยชน์แก่ท่าน. บทว่า สย กต ความว่า สั่ง
ให้เรียกช่างมา แล้วมอบรัตนะให้กระทำ.
ลำดับต่อไป เป็นคาถากล่าวโต้ตอบระหว่างชนทั้งสอง พึงทราบดัง
ต่อไปนี้.
สังขปาลนาคราช ตอบว่า
ข้าพเจ้าได้วิมานนี้ มิใช่โดยไม่มีเหตุ และมิใช่
เกิดเพราะใคร น้อมมาให้ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามิได้ทำเอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 684
แม้เทวดาก็มิได้ให้ ข้าพเจ้าได้วิมานนี้ ด้วยบุญกรรม
อันไม่เป็นบาปของตน.
อาตมาภาพ ถามว่า
พรตของท่านเป็นอย่างไร และพรหมจรรย์ของ
ท่านเป็นไฉน นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร ที่ท่าน
ประพฤติดีแล้ว ดูก่อนพญานาคราช ขอท่านจงบอก
เนื้อความนี้ แก่ข้าพเจ้า ท่านได้วิมานนี้มาอย่างไร
หนอ ?
พญานาคราช ตอบว่า
ข้าพเจ้าได้เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ กว่าชนชาว
มคธ มีนามว่า ทุยโยธนะ มีอานุภาพมาก ได้เห็น
ชัดว่า ชีวิตเป็นของนิดหน่อยไม่เที่ยง มีความแปร
ปรวนไปเป็นธรรมดา.
จึงเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ได้ให้ข้าวและน้ำเป็นทาน
อันไพบูลย์โดยเคารพ วังของข้าพเจ้าในครั้งนั้น เป็น
ดุจบ่อน้ำ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ก็อิ่มหนำสำราญ
ในที่นั้น.
ข้าพเจ้าได้ให้ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ประทีป ยวดยาน ที่พัก ผ้านุ่งห่ม ที่นอน และข้าว
น้ำ เป็นทานโดยเคารพ ในที่นั้น.
นั่นเป็นพรต และเป็นพรหมจรรย์ของข้าพเจ้า
นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้น ที่ข้าพเจ้าประพฤติดีแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 685
ข้าพเจ้าได้วิมานอันมีภักษาหารเพียงพอ มีข้าวน้ำมาก
มาย เพราะวัตร และพรหมจรรย์นั้นแล.
วิมานนี้บริบูรณ์ ด้วยการฟ้อนรำขับร้อง ตั้งอยู่
ช้านาน แต่เป็นของไม่เที่ยง อาตมาภาพจึงถามว่า
บุตรนายพรานทั้งหลาย ผู้มีอานุภาพน้อย ไม่มีเดช
ไยจึงเบียดเบียนท่านผู้มีอานุภาพมาก มีเดชได้ ดู
ก่อนท่านผู้มีเขี้ยวเป็นอาวุธ เพราะอาศัยอะไรหรือ
ท่านจึงถึงความเศร้าหมอง ในสำนักของบุตรนาย
พรานทั้งหลาย.
ความกลัวใหญ่ ตามถึงท่าน หรือว่าพิษของท่าน
ไม่แล่นไปยังรากเขี้ยว ดูก่อนท่านผู้มีเขี้ยวเป็นอาวุธ
เพราะอาศัยอะไรหรือ ท่านจึงถึงความเศร้า ในสำนัก
ของบุตรนายพรานทั้งหลาย.
สังขปาลนาคราช ตอบว่า
มหันตภัย มิได้ตามถึงข้าพเจ้าเลย ชนพวกนั้น
ไม่อาจทำลายเดชของข้าพเจ้าได้ แต่ว่าธรรมของสัต-
บุรุษทั้งหลาย ท่านประกาศไว้ดีแล้ว ยากที่จะล่วงได้
เหมือนเขตแดนแห่งสมุทร ฉะนั้น.
ข้าแต่ท่านอาฬาระ ข้าพเจ้าเข้าจำอุโบสถ ในวัน
จาตุททสี ปัณณรสีเป็นนิตย์ ต่อมาพวกบุตรนายพราน
๑๖ คน เป็นคนหยาบช้า ถือเอาเชือกและบ่วงอันมั่น
คงมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 686
พรานทั้งหลาย ช่วยกันแทงจมูก เอาเชือกร้อย
แล้วหามข้าพเจ้าไป ข้าพเจ้าอดทนต่อทุกข์เช่นนั้น ไม่
ทำอุโบสถให้กำเริบ.
อาตมาภาพ ถามว่า
บุตรนายพรานเหล่านั้น ได้พบท่านผู้สมบูรณ์
ด้วยกำลัง และผิวพรรณ ที่ทางเดินคนเดียว ดูก่อน
ท่านนาคราช ท่านเป็นผู้เจริญด้วยสิริและปัญญา จะ
บำเพ็ญตบะเพื่อประโยชน์อะไรอีกเล่า ?
สังขปาลนาคราช ตอบว่า
ข้าแต่ท่านอาฬาระ ข้าพเจ้าบำเพ็ญตบะ มิใช่
เพราะเหตุแห่งทรัพย์ และมิใช่เพราะเหตุแห่งอายุ
เพราะข้าพเจ้า ปรารถนากำเนิดมนุษย์ จึงบากบั่น
บำเพ็ญตบะ.
อาตมาภาพ ถามว่า
ท่านเป็นผู้มีนัยน์ตาแดง มีรัศมีรุ่งเรือง ประดับ
ตกแต่งแล้ว ปลงผมและหนวด ชโลมทาด้วยจุรณ-
จันทน์แดง ส่องสว่างไปทั่วทิศ ดุจคนธรรพราชา
ฉะนั้น.
ท่านเป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
พร้อมพรั่งไปด้วยกามารมย์ทั้งปวง ดูก่อนพญานาค-
ราช ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน เหตุไรมนุษย-
โลก จึงประเสริฐกว่านาคพิภพนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 687
สังขปาลนาคราช ตอบว่า
ข้าแต่ท่านอาฬาระ นอกจากมนุษยโลก ความ
บริสุทธิ์ หรือความสำรวมย่อมไม่มี ถ้าข้าพเจ้าได้กำ-
เนิดมนุษย์แล้ว จักกระทำที่สุดแห่งชาติและมรณะ.
อาตมาภาพ กล่าวว่า
ข้าพเจ้าอยู่ในสำนักของท่านปีหนึ่งแล้ว เป็นผู้ที่
ท่านบารุงด้วยข้าวด้วยน้ำ ข้าพเจ้าขอลาท่าน ดูก่อน
ท่านผู้เป็นจอมนาถะ ข้าพเจ้าจากมนุษยโลกมาเสียนาน.
สังขปาลนาคราช ตอบว่า
ข้าแต่ท่านอาฬาระ บุตร ภรรยาและชนบริวาร
ข้าพเจ้าพร่ำสอนเป็นนิตย์ให้บำรุงท่าน ใครมิได้แช่ง
ด่าท่านแลหรือ เพราะว่าการที่ได้พบท่าน นับว่าเป็น
ที่พอใจของข้าพเจ้า.
อาตมาภาพ ตอบว่า
ดูก่อนพญานาคราช บุตรที่รักปฏิบัติบำรุงมารดา
บิดาในเรือน เป็นผู้ประเสริฐแม้ด้วยประการใด ท่าน
บำรุงข้าพเจ้าอยู่ในที่นี้ เป็นผู้ประเสริฐ แม้กว่าประการ
นั้น เพราะว่าจิตของท่านเลื่อมใสข้าพเจ้า.
สังขปาลนาคราช กล่าวว่า
แก้วมณี อันจะนำทรัพย์มาได้ตามประสงค์ของ
ข้าพเจ้ามีอยู่ ท่านจงถือเอามณีรัตน์อันโอฬารนั้นไป
ยังที่อยู่ของตน ได้ทรัพย์แล้วจงเก็บแก้วมณีนั้นไว้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 688
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺเต วต ความว่า อาตมาภาพถามว่า
อะไรเป็นวัตรสมาทานของท่าน. บทว่า พฺรหฺมจริย ความว่า อะไรเป็น
จรรยาอันประเสริฐของท่าน ?
บทว่า โอปานภูต ความว่า (นาคราชตอบว่า) คราวนั้นเรือนของ
ข้าพเจ้า เป็นเหมือนสระโบกขรณี ที่ขุดไว้ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง มีสมบัติ
อันสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม พึงบริโภคได้ ตามสบาย.
บทว่า น จ สสฺสตาย ความว่า นาคราชนั้นกล่าวแก่อาตมาภาพว่า
ความจริง วิมานนี้ แม้จะเป็นของตั้งอยู่ได้นาน ก็มิใช่เป็นของเที่ยง. อาฬาร-
ดาบส กล่าวหมายถึงบุตรพรานไพรว่า ผู้มีอานุภาพน้อย. บทว่า หนฺติ
ความว่า (อาฬาร กุฎุมพี ถามว่า) เพราะเหตุไร บุตรพรานไพรจึงเอาหลาว
แทง เบียดเบียนได้ในที่ทั้งแปดแห่ง. บทว่า กึ ปฏิจฺจ ความว่า ท่าน
ย่อมมาสู่เงื้อมมือ คือเข้าถึงอำนาจของเหล่าวณิพกในครั้งนั้น เพราะมุ่งหมาย
อะไร ? บทว่า วนิพฺพกาน ความว่า บุตรพรานไพรทั้งหลาย ท่านเรียกว่า
วณิพกในที่นี้.
บทว่า เตโช นุ เต อนฺวคต ทนฺตมูล ความว่า เดชของท่าน
เป็นอย่างไรหรือ เพราะเห็นพวกบุตรพรานในคราวนั้น ภัยใหญ่ไปตามท่านหรือ
ว่าพิษอันมีเขี้ยวเป็นมูลไม่ไปตามท่าน. บทว่า กิเลส ได้แก่ ทุกข์. บทว่า
วณิพฺพกาน ความว่า เพราะอาศัยอะไร ท่านจึงถึงทุกข์ในสำนักของบุตรพราน
ทั้งหลาย คือ เพราะอาศัยพวกบุตรนายพราน.
บทว่า เตโช น สกฺกา มม เตภิ หนฺตุ ความว่า นาคราช
ตอบว่า เดชคือพิษของเราไม่สามารถที่เบียดเบียนโดยเดชของผู้อื่น คือชน
เหล่านั้นได้. บทว่า สต ได้แก่ สัตบุรุษทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 689
บทว่า ธมฺมานิ ได้แก่ ธรรม กล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ขันติ ความเอ็นดู
และเมตตาภาวนา. บทว่า สุกิตฺติตานิ ความว่า ท่านพรรณนาไว้ดีแล้ว
คือกล่าวไว้ดีแล้ว. บทว่า กึ ความว่า ท่านทำอย่างไร ?
บทว่า สมุทฺทเวลาว ทุรจฺจยานิ ความว่า สังขปาลนาคราชกล่าวว่า
สัตบุรุษเหล่านั้น พรรณนาไว้ว่า บุคคลล่วงได้ยากแม้เพื่อชีวิต ดุจฝั่งมหาสมุทร
อันล่วงได้ยากฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ประกอบด้วยขันติ และ
เมตตา เพราะกลัวศีลจะขาด เมื่อข้าพเจ้าขุ่นเคือง ก็มิได้ให้เพื่อจะล่วงละเมิด
ที่สุดขอบเขตของศีล. ก็ด้วยธรรมเทศนาของสังขปาลนาคราชนี้ ย่อมได้บารมี
ครบ ๑๐ ทัศ คือ
๑. ความที่มหาสัตว์สละสรีระในคราวนั้นจัดเป็นทานบารมี.
๒. ความที่ศีลมิได้ทำลาย ด้วยเดชคือพิษเห็นปานนั้น จัดเป็น
สีลบารมี.
๓. การออกจากนาคพิภพ บำเพ็ญสมณธรรม จัดเป็นเนกขัมมบารมี.
๔. การจัดแจงว่า ควรทำสิ่งนี้ ๆ จัดเป็นปัญญาบารมี.
๕. ความเพียรด้วยสามารถแห่งความอดกลั้น จัดเป็นวิริยบารมี.
๖. ความอดทน ด้วยสามารถแห่งความอดกลั้น จัดเป็นขันติบารมี.
๗. การสมาทานความสัตย์ จัดเป็นสัจจบารมี.
๘. การอธิษฐานในใจว่า เราจักไม่ทำลายศีลของเรา จัดเป็นอธิฏ-
ฐานบารมี.
๙. ความเป็นผู้มีความเอ็นดู จัดเป็นเมตตาบารมี.
๑๐. ความเป็นผู้วางตนเป็นกลางในเวทนา จัดเป็นอุเบกขาบารมี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 690
บทว่า อลาคมุ ความว่า ดูก่อนท่านอาฬาระ วันหนึ่ง บุตรพรานไพร
๑๖ คน เห็นข้าพเจ้านอนอยู่บนยอดจอมปลวก พากันถือเชือกแข็ง บ่วงอัน
เหนียว และหลาว มายังสำนักของข้าพเจ้า.
บทว่า เภตฺวาน ความว่า เขาเหล่านั้นแทงสรีระของข้าพเจ้า ในที่
ทั้งแปด แล้วสอดหวายหนามเข้าไป. บทว่า นาส อติกสฺส รชฺชุ ความว่า
เดินไปได้หน่อยหนึ่ง เห็นศีรษะของข้าพเจ้าห้อยลง จึงได้ให้นอน ณ หนทาง
ใหญ่ แล้วแทงจมูกของข้าพเจ้าอีก ร้อยเชือกเกลียวคล้องที่ปลายคาง ควบคุม
รอบข้าง นำข้าพเจ้าไป.
บทว่า อทฺทสสุ ความว่า อาตมาภาพพูดว่า ดูก่อนสหายสังขปาละ
บุตรนายพรานเหล่านั้น เห็นท่านสมบูรณ์ด้วยกำลังและผิวพรรณ ในทางเท้า
ที่ไปมาได้คนเดียว แต่ท่านเจริญงอกงามด้วยสิริคืออิสริยยศและความงามเลิศ
และเจริญด้วยปัญญา ท่านเป็นผู้ (รุ่งโรจน์) เห็นปานนี้ บำเพ็ญตบะเพื่ออะไร
ท่านปรารถนาอะไร จึงเข้าจำอุโบสถ คือรักษาศีล. ปาฐะว่า อทฺทสาสึ
แปลว่า ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ข้าพเจ้าได้เห็นท่านในหนทาง
ใหญ่ ที่ไปมาได้คนเดียว.
บทว่า อภิปตฺถยมาโน แปลว่า ปรารถนาอยู่. บทว่า ตสฺมา
ความว่า นาคราชตอบว่าข้าพเจ้าปรารถนากำเนิดมนุษย์ เพราะฉะนั้นจึงบากบั่น
กระทำตบกรรมด้วยความเพียร.
บทว่า สุโรสิโต ความว่า ท่านเป็นผู้ไล้ทาแล้วด้วยดี. บทว่า อิโต
ความว่า มนุษยโลกจะมีอะไรยิ่งไปกว่านาคพิภพนี้.
บทว่า สุทฺธิ ได้แก่ วิสุทธิ กล่าวคือ มรรคผล และพระนิพพาน.
บทว่า สยโม ได้แก่ ศีล. พญานาคราชนั้น หมายเอาความบังเกิดขึ้นแห่ง
พระพุทธเจ้า และปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงกล่าวคำนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 691
บทว่า กาหามิ ความว่า พญานาคราชกล่าวต่อไปว่า เมื่อข้าพเจ้า
กระทำความไม่มีแห่งปฏิสนธิของตน จักกระทำที่สุด แห่งชาติ ชรา และ
มรณะได้. ดูก่อนมหาราชเจ้า สังขปาลนาคราชนั้น ชมเชยมนุษยโลกอย่างนี้.
บทว่า สวจฺฉโร เม ความว่า ขอถวายพระพร เมื่อนาคราชนั้น
สรรเสริญมนุษยโลกอยู่อย่างนี้ อาตมาภาพทำความเยื่อใยในบรรพชา จึงกล่าว
คำนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฏฺิโตสฺมิ ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้
อันท่านปรนปรือต้อนรับแล้วด้วยข้าวน้ำและกามคุณอันเป็นทิพย์. บทว่า ปเลมิ
ความว่า ยังระลึกถึงอยู่. (แต่) จะต้องจากไป. บทว่า จิรปฺปวุฏโสฺมิ
ความว่า ข้าพเจ้าจากมนุษยโลกมานานแล้ว.
บทว่า นาภิสสิตฺถ ความว่า พญานาคราชถามว่า ในบุตรเป็นต้น
ของข้าพเจ้า ใคร ๆ มิได้ด่า มิได้บริภาษท่านมิใช่หรือ. ปาฐะว่า นาภิสชฺเชถ
แปลว่า มิได้สาปแช่งดังนี้ก็มี อธิบายว่า มิได้ให้ขุ่นเคือง. บทว่า ปฏิวิหิโต
แปลว่า บำรุงแล้ว.
บทว่า มณิ มม ความว่า พญานาคราชกล่าวว่า ท่านสหายอาฬาระ
ถ้าท่านจะไปให้ได้ เมื่อเป็นอย่างนี้ แก้วมณีสีแดง นำทรัพย์มาให้ ให้ซึ่ง
สมบัติที่น่าใคร่ทั้งปวง ของข้าพเจ้ามีอยู่ ท่านอาฬาระท่านจงถือเอามณีรัตนะนั้น
ไปยังเรือนของท่าน ท่านได้ทรัพย์ตามปรารถนา ด้วยอานุภาพแห่งมณีรัตนะ
นี้แล้ว จงเก็บมณีรัตนะนี้เสียในเรือนนั้น และเมื่อจะเก็บ อย่าเก็บไว้ในที่อื่น
ควรเก็บไว้ในตุ่มน้ำของตน ครั้นนาคราชกล่าวดังนี้แล้ว ก็น้อมมณีรัตนะมาให้
อาตมาภาพ.
ครั้นอาฬารดาบสกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวต่อไปว่า ขอถวายพระพร
มหาบพิตร ครั้งนั้นอาตมาภาพได้กล่าวคำนี้ กะพญานาคราชว่า แน่ะสหาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 692
เรามิได้มีความต้องการด้วยทรัพย์ แต่เราปรารถนาจะบวชดังนี้แล้ว ร้องขอ
บริขารแห่งบรรพชิต ออกจากนาคพิภพพร้อมด้วยนาคราชนั้น เชิญให้พญา-
นาคราชกลับแล้ว จึงเข้าสู่หิมวันตประเทศบรรพชา ดังนี้แล้ว เมื่อจะกล่าว
ธรรมกถาถวายพระราชา จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ขอถวายพระพร แม้กามคุณเป็นของมนุษย์
อาตมาภาพได้เห็นแล้ว เป็นของไม่เที่ยง มีความ
แปรปรวนเป็นธรรมดา อาตมาภาพเห็นโทษในกามคุณ
ทั้งหลาย จึงออกบวชด้วยศรัทธา.
ขอถวายพระพร ทั้งคนหนุ่มคนแก่ ย่อมมีสรีระ
ทำลายร่วงหล่นไป เปรียบเหมือนผลไม้ฉะนั้น อาตมา-
ภาพเห็นคุณข้อนี้ว่า สามัญผลเป็นข้อปฏิบัติอันไม่ผิด
ประเสริฐ จึงออกบวช.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธาย ความว่า อาตมาภาพบวช
เพราะเชื่อกรรม เชื่อผลแห่งกรรม และเชื่อพระนิพพาน. บทว่า ทุมปฺผลาเนว
ความว่า ผลไม้ทั้งหลายสุกแล้วก็ดี ยังไม่สุกก็ดี ย่อมร่วงหล่นไปฉันใด คน
ทั้งหลาย ทั้งหนุ่มทั้งแก่ ก็ย่อมร่วงหล่นไปแม้ฉันนั้น. บทว่า อปณฺณก
ได้แก่ สามัญผลอันไม่ผิด คือเป็นนิยยานิกธรรม. บทว่า สามญฺเมว เสยฺโย
ความว่า ดูก่อนพระมหาราชเจ้า อาตมาภาพเห็นคุณแห่งบรรพชาว่า บรรพชา
นั่นเทียวเป็นของสูงสุด จึงได้บวชดังนี้
พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาเป็นอันดับต่อไป ความว่า
ชนเหล่าใดเป็นพหูสูต ค้นคิดเหตุผลได้มาก
ชนเหล่านั้นเป็นคนมีปัญญา บุคคลควรคบหาโดยแท้
ทีเดียว ข้าแต่ท่านอาฬาระ ข้าพเจ้าได้ฟังคำของนาค-
ราชและของท่านแล้ว จักทำบุญมิใช่น้อย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 693
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย พหุานจินฺติโน ความว่า ชน
เหล่าใด รู้เหตุการณ์ได้ยาก. บทว่า นาคญฺจ ความว่า เพราะได้ฟังถ้อยคำ
พญานาคราช และของท่านผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนั้น (ข้าพเจ้า
จักสร้างบุญกุศลนานัปการ).
ลำดับนั้น เมื่อดาบสจะยังพระอุตสาหะให้เกิดแก่พระราชา จึง
กล่าวคาถาสุดท้าย ความว่า
ขอถวายพระพร ชนทั้งหลายเป็นพหูสูต ค้นคิด
เหตุผลได้มาก ชนเหล่านั้น เป็นคนมีปัญญา บุคคล
ควรคบหาโดยแท้ทีเดียว ดูก่อนราชันย์ เพราะทรงสดับ
เรื่องราวของนาคราช และของอาตมาภาพแล้ว ขอ
พระองค์โปรดทรงบำเพ็ญกุศลให้มาก.
ดาบสนั้น แสดงธรรมถวายพระราชาอย่างนี้แล้ว อยู่ในพระราช
อุทยานนั้นแล ตลอด ๔ เดือนฤดูฝน แล้วกลับไปยังหิมวันตประเทศอีก
เจริญพรหมวิหาร ๔ ตราบเท่าชีวิต ได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว. ฝ่ายสังข-
ปาลนาคราชอยู่รักษาอุโบสถตลอดชีวิต ส่วนพระเจ้าพาราณสี ก็ทรงบำเพ็ญ
บุญมีทานเป็นต้น แล้วต่างไปตามยถากรรมของตน ๆ.
พระบรมศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงจบแล้ว ตรัสว่า
โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ละนาคสมบัติอยู่รักษาอุโบสถกรรมอย่างนี้ แล้วทรง
ประชุมชาดกว่าพระดาบสผู้พระราชบิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระกัสสปะ
พระเจ้าพาราณสีได้มาเป็น พระอานนท์ อาฬารดาบส ได้มาเป็นพระ-
สารีบุตร ส่วนสังขปาลนาคราช ได้มาเป็นเราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสังขปาลชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 694
๕. จุลลสุตโสมชาดก
ว่าด้วยพระเจ้าจุลลสุตโสมออกผนวช
[๒๕๑๙] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) เราขอบอกชาว
เมือง มิตร อำมาตย์ และข้าราชบริพาร ผมที่เศียร
ของเราเกิดหงอกแล้ว บัดนี้ เราพอใจในบรรพชาเพศ.
[๒๕๑๒] (อำมาตย์กราบทูลว่า) อย่างไรหนอ
พระองค์จึงรับสั่ง ความไม่เจริญ แก่ข้าพระพุทธเจ้า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ทรงปักพระแสง-
ศรที่อกของข้าพระพุทธเจ้า พระชายาของพระองค์มี
ถึง ๗๐๐ นาง พระนางเหล่านั้นของพระองค์ จักเป็น
อยู่อย่างไรหนอ ?
[๒๕๒๑] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) นางเหล่านั้นยัง
สาว จักปรากฏเอง นางเหล่านั้นจักไปพึ่งพิงพระราชา
องค์อื่นก็ได้ ส่วนเราปรารถนาสวรรค์ ด้วยเหตุดังนั้น
เราจึงจักบรรพชา.
[๒๕๒๒] (พระราชชนนีตรัสว่า) ดูก่อนพ่อสุตโสม
แม่ผู้เป็นมารดาของเจ้า ชื่อว่าได้รับความยาก เพราะ
เมื่อแม่พร่ำเพ้ออยู่เจ้าก็ไม่ห่วงใย จักบวชให้ได้.
ดูก่อนพ่อสุตโสม แม่คลอดเจ้าซึ่งเป็นผู้ที่แม่ได้
ด้วยความยากลำบาก เหตุไร เมื่อแม่พร่ำเพ้ออยู่ เจ้า
ไม่ห่วงใย จักบวชให้จงได้ ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 695
[๒๕๒๓] (พระราชบิดาตรัสว่า) ดูก่อนพ่อสุตโสม
ธรรมนั้นชื่ออะไร และการบวชชื่ออะไร เพราะว่า
เจ้าจะละทิ้งเราสองคนผู้แก่เฒ่าแล้ว ไม่ห่วงใย จะบวช
อย่างเดียว ?
[๒๕๒๔] แม้บุตรธิดาทั้งหลายของเจ้า ก็มีมาก
ยังเล็กนัก ยังไม่เป็นหนุ่มสาว กำลังฉอเลาะน่ารักใคร่
เมื่อไม่เห็นเจ้า น่าจะลำบากไปตาม ๆ กัน.
[๒๕๒๕] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) ความตั้งอยู่นาน
แล้วพลัดพรากจากกัน จากโอรสธิดาเหล่านี้ ของ
หม่อมฉัน ซึ่งกำลังเป็นเด็ก ยังไม่เจริญวัย ช่างฉอเลาะ
ก็ดี จากทูลกระหม่อมทั้งสองพระองค์ และสิ่งทั้งปวง
ไปก็ดี เป็นของเที่ยงแท้.
[๒๕๒๖] (พระชายาทั้งหลายทูลว่า) พระทัยของ
ทูลกระหม่อม จะตัดขาดเชียวหรือ หรือจะไม่ทรง
พระกรุณาหม่อมฉันทั้งหลาย ไยเล่าพระองค์จึงไม่
ทรงห่วงใย กระหม่อมฉันทั้งหลายผู้คร่ำครวญอยู่ จะ
เสด็จออกผนวชเสียให้ได้ทีเดียวหรือ เพคะ.
[๒๕๒๗] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) ใจของเรามิได้
ตัดขาด และเราก็มีความกรุณาในเธอทั้งหลาย แต่เรา
ปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น จงจักออกบวช.
[๒๕๒๘] (พระอัครมเหสีตรัสว่า) ข้าแต่พระสุตโสม
ผู้ประเสริฐ หม่อมฉันผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 696
ได้พระองค์มาด้วยความลำบาก เหตุไร เมื่อหม่อมฉัน
พร่ำเพ้ออยู่ พระองค์จึงมิได้ทรงเยื่อใย จะทรงผนวช
เสีย.
ข้าแต่พระสุตโสมผู้ประเสริฐ หม่อมฉันผู้เป็น
อัครมเหสีของพระองค์ ได้พระองค์มาด้วยความลำบาก
เหตุไร พระองค์จึงมิได้ทรงเยื่อใยสัตว์ผู้ถือปฏิสนธิ
ในครรภ์ของหม่อมฉัน จะทรงผนวชเสีย.
ครรภ์ของหม่อมฉันแก่แล้ว ขอพระองค์ทรง
รออยู่ จนกระทั่งหม่อมฉันประสูติ อย่าให้หม่อมฉัน
เป็นหม้ายอยู่แต่ผู้เดียว ต้องได้รับทุกข์ในภายหลังเลย.
[๒๕๒๙] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) ครรภ์ของเธอแก่
แล้ว ขอเชิญประสูติพระโอรส ซึ่งมีผิวพรรณไม่ทราม
เถิด ฉันจักละโอรส พร้อมทั้งเธอบวชให้จงได้.
[๒๕๓๐] ดูก่อนพระน้องนางจันทา เธออย่าร้อง
ไห้ไปเลย ดูก่อนนางผู้มีดวงตาเสมอด้วยดอกอัญชัน
เธออย่าเศร้าโศกไปเลย จงขึ้นสู่ปราสาทอันประเสริฐ
เสียเถิด เราไม่เยื่อใยจักไปบวช.
[๒๕๓๑] (พระโอรสองค์ใหญ่ทูลว่า) ข้าแต่เสด็จแม่
ใครทำให้เสด็จแม่ทรงพิโรธ เหตุไฉนเสด็จแม่จึงทรง
กันแสง และจ้องมองดูหม่อมฉันยิ่งนัก บรรดาพระ-
ประยูรญาติที่เห็นอยู่ หม่อมฉันจะฆ่าใคร ที่ควรรับสั่ง
ให้ฆ่า ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 697
[๒๕๓๒] (พระนางเทวีตรัสว่า) ลูกรัก ท่านผู้ใด
ทรงชนะในแผ่นดิน ท่านผู้นั้นเจ้าไม่อาจจะฆ่าได้เลย
พระบิดาของเจ้าได้ตรัสกะแม่ว่า ฉันไม่มีความห่วงใย
จักไปบวช.
[๒๕๓๓] (พระโอรสองค์ใหญ่ทูลว่า) เมื่อก่อนเรา
เคยไปเที่ยวสวนด้วยรถ และรบกันด้วยช้างตกมัน เมื่อ
พระราชบิดาสุตโสมทรงผนวชแล้ว คราวนี้เราจักทำ
อย่างไร ?
[๒๕๓๔] (พระโอรสองค์น้อยทูลว่า) เมื่อพระมารดา
ของหม่อมฉันทรงกันแสงอยู่ และเมื่อพระเชษฐภาดา
ไม่ทรงยินยอม หม่อมฉันก็จักยึดพระหัตถ์ทั้งสองของ
พระบิดาไว้ เมื่อหม่อมฉันทั้งหลายไม่ยินยอม พระบิดา
จะยังเสด็จไปไม่ได้.
[๒๕๓๕] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) แม่นมเอ๋ย เชิญ
แม่ลุกขึ้นเถิด แม่จงพาพระกุมารนี้ ไปเล่นให้รื่นรมย์
เสียในที่อื่น เมื่อเรากำลังปรารถนาสวรรค์ กุมารนี้
อย่าทำอันตรายแก่เราเลย.
[๒๕๓๖] (พระพี่เลี้ยงกล่าวว่า) ไฉนหนอพระราชา
จึงทรงประทานแก้วมณี อันมีแสงสว่างนี้ เราจะ
ประโยชน์อะไรด้วยแก้วมณีนี้ เมื่อพระเจ้าสุตโสม
ทรงผนวชแล้ว เราจักทำอะไรได้ กับแก้วมณีนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 698
[๒๕๓๗] (เสนาคุตตอำมาตย์ทูลว่า) พระคลังน้อย
ของพระองค์ยังไพบูลย์ และพระคลังใหญ่ของพระองค์
ก็บริบูรณ์ ปฐพีมณฑลพระองค์ก็ทรงชนะแล้ว ขอ
พระองค์จงทรงยินดีเถิด อย่าทรงผนวชเลยพระเจ้าข้า.
[๒๕๓๘] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) คลังน้อยของเรา
ก็ไพบูลย์ คลังใหญ่ของเราก็บริบูรณ์ และปฐพีมณฑล
เราก็ชนะแล้ว แต่เราจักละสิ่งนั้น ๆ ออกบวช.
[๒๕๓๙] (กุลพันธเศรษฐีทูลว่า) ขอเดชะ ทรัพย์
ของข้าพระพุทธเจ้ามีมากมาย ข้าพระพุทธเจ้าไม่
สามารถจะนับได้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายทรัพย์
ทั้งหมดนั้น แด่พระองค์ ขอพระองค์จงทรงยินดี อย่า
ทรงผนวชเลย พระพุทธเจ้าข้า.
[๒๕๔๐] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) ดูก่อนท่าน
กุลวัฒนเศรษฐี เรารู้ว่าทรัพย์ของท่านมีมาก และท่าน
ก็บูชาเรา แต่เราปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น เรา
จึงจักต้องบวช.
[๒๕๔๑] ดูก่อนพ่อโสมทัต เราเป็นผู้กระสันนัก
ความไม่ยินดีย่อมมาครอบงำเรา อันตรายมีมาก เราจัก
บวชให้ได้ในวันนี้ทีเดียว.
[๒๕๔๒] (พระอนุชาโสมทัตทูลว่า) ข้าแต่พระเจ้า
พี่สุตโสม แม้กิจนี้พระองค์ทรงพอพระทัย ขอพระองค์
ทรงผนวช ณ บัดนี้ แม้หม่อมฉันก็จักบวชในวันนี้
ทีเดียว หม่อมฉันไม่อาจอยู่ห่างพระองค์ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 699
[๒๕๔๓] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) เธอจักบวชยัง
ไม่ได้ เพราะว่าใคร ๆ ในพระนครและคามนิคม
ชนบท จะไม่พากันหุงต้ม.
[๒๕๔๔] (มหาชนพากันร่ำไห้ว่า) เมื่อพระเจ้า
สุตโสม ทรงผนวชเสียแล้ว บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย จักทำอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า ?
[๒๕๔๕] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) เราเข้าใจว่า
ชีวิตนี้ ถูกชรานำเข้าไป เป็นของนิดหน่อย ดุจน้ำ
ในโคลนฉะนั้น เมื่อชีวิตเป็นของน้อยเหลือเกินอย่างนี้
เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะประมาทเลย.
เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป เป็นของ
นิดหน่อย ดุจน้ำในโคลนฉะนั้น เมื่อชีวิตเป็นของน้อย
เหลือเกินอย่างนี้ แต่พวกคนพาล ย่อมพากันประมาท.
คนพาลเหล่านั้น อันเครื่องผูกคือตัณหาผูกไว้
แล้ว ย่อมยังนรก กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เปรตวิสัย
และอสุรกายให้เจริญ.
[๒๕๔๖] (มหาชนกล่าวว่า) กลุ่มธุลีตั้งขึ้นไม่ไกล
ปุปผกปราสาท ชะรอยพระธรรมราชาผู้เรืองยศของ
พวกเรา จะทรงตัดพระเกศาเสียแล้ว.
[๒๕๔๗] (ชาวพระนครปริเทวนาการว่า) พระราชา
ทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน เสด็จไปเที่ยวยัง
ปราสาทใด นี่คือปราสาทของพระองค์ เกลื่อนกล่น
ไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 700
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังปราสาทใด นี่คือปราสาทของพระองค์
แพรวพราวไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วย พระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังกูฏาคารใด นี่คือกูฏาคารของพระองค์
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วย หมู่พระประยูร-
ญาติ เสด็จเที่ยวไปยังกูฏาคารใด นี้คือกูฏาคารของ
พระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังสวนอโศกวันใด นี่คือสวนอโศกวัน
ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอด
กาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังสวนอโศกวันใด นี่คือสวนอโศกวัน
ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์
ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังพระราชอุทยานใด นี่คือพระราช-
อุทยานของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์
ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังพระราชอุทยานใด นี่คือพระราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 701
อุทยานของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์
ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมกำนัลใน
เสด็จเที่ยวไปยังสวนกรรณิการ์ใด นี่คือสวนกรรณิการ์
ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์
ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังสวนกรรณิการ์ใด นี่คือสวนกรรณิการ์
ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์
ตลอลกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังสวนปาฏลิวันใด นี่คือสวนปาฏลิวัน
นั้นของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์
ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ
ญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสวนปาฏลิวันใด นี่คือสวน
ปาฏลิวันของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์
ตลอดกาล.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังสวนอัมพวันใด นี่คือสวนอัมพวัน
ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์
ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังสวนอัมพวันใด นี่คือสวนอัมพวันของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 702
พระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาล
ทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังสระโบกขรณีใด นี้คือสระโบกขรณี
ของพระองค์ ดาดาษไปด้วยบุปผชาตินานาชนิด
เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงวิหก.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังสระโบกขรณีใด นี้คือสระโบกขรณี
ของพระองค์ ดาดาษไปด้วยบุปผชาตินานาชนิด
เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงวิหก.
[๒๕๔๘] (มหาชนกล่าวว่า) พระเจ้าสุตโสมทรง
สละราชสมบัตินี้แล้ว เสด็จออกทรงผนวช ทรงผ้า-
กาสาวพัสตร์ เที่ยวไปพระองค์เดียว เหมือนช้างตัว
ประเสริฐ ฉะนั้น.
[๒๕๔๙] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) ท่านทั้งหลายอย่า
ระลึกถึงความยินดีการเล่น และการร่าเริงในกาล
ก่อนเลย กามทั้งหลายอย่าทำลายท่านทั้งหลายได้เลย
จริงอยู่ สุทัสนนคร น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก ท่านทั้งหลาย
จงเจริญเมตตาจิต อันหาประมาณมิได้ ทั้งกลางวัน
และกลางคืนเถิด เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านทั้งหลายจะได้
ไปสู่เทพบุรี อันเป็นที่อยู่ของท่านผู้มีบุญกรรม.
จบจุลลสุตโสมชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 703
อรรถกถาจุลลสุตโสมชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
เนกขัมมบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อามนฺตยามิ นิคม
ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันนิทาน เช่นเดียวกับในมหานารทกัสสปชาดก. (ส่วนอดีต
นิทานมีดังต่อไปนี้)
ก็ในอดีตกาล พระนครพาราณสีได้มีชื่อว่า " สุทัสน นคร " พระ-
ราชาทรงพระนามว่าพรหมทัต เสด็จประทับอยู่ในพระนครนั้น พระโพธิสัตว์
ทรงบังเกิดในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสีของท้าวเธอ ล่วงไปได้ ๑๐ เดือน
ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ก็พระพักตร์ของพระกุมารนั้น มีสิริ
ประหนึ่งดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ด้วยเหตุนั้น พระชนกชนนีจึงทรงขนานพระ-
นามว่า " โสมกุมาร ". ราชกุมารนั้นพอรู้เดียงสาแล้ว เป็นผู้สนใจในสุตะ
มีการฟังเป็นปกติ ด้วยเหตุนั้น ชาวประชาจึงถวายพระนามว่า " สุตโสม "
ครั้นเจริญวัยแล้ว พระราชกุมาร เสด็จไปเรียนศิลปศาสตร์ในเมืองตักกศิลา
เสด็จกลับมา ก็ได้เศวตฉัตรของพระชนก เสวยราชสมบัติโดยธรรม ได้มี
พระอิสริยยศยิ่งใหญ่ พระองค์มีสนมกำนัลใน หมื่นหกพันนาง มีพระนาง-
จันทาเทวีเป็นประธาน. ในเวลาต่อมา ท้าวเธอก็เจริญด้วยพระโอรสธิดาจนไม่
ทรงยินดีด้วยฆราวาสวิสัย มีพระประสงค์ที่จะเสด็จไปสู่ป่า ทรงผนวช. วันหนึ่ง
จึงตรัสเรียกนายภูษามาลามาตรัสสั่งว่า แน่ะเจ้า เมื่อใด เจ้าเห็นผมที่เศียรของ
เราหงอกแล้ว เจ้าพึงบอกเราเมื่อนั้น. นายภูษามาลาก็รับพระราชดำรัสของ
ท้าวเธอ เวลาต่อมา ก็เห็นพระเกศาหงอกจึงกราบทูลให้ทรงทราบ เมื่อพระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 704
ราชาตรัสสั่งว่า เจ้าภูษามาลา ถ้าเช่นนั้นเจ้าจงถอนผมนั้น มาวางไว้ในมือเรา
จึงเอาแหนบทองถอนพระเกศา มาวางไว้ในพระหัตถ์. พระมหาสัตว์ทอด-
พระเนตรดูพระเกศาหงอกนั้น ก็ตกพระทัยว่า สรีระของเราถูกชราครอบงำแล้ว
จึงทรงถือเส้นพระเกศาหงอกนั้นเสด็จลงจากปราสาท ประทับนั่งบนราชบัลลังก์
ที่แต่งตั้งไว้ ณ ที่เฝ้าของมหาชน แล้วตรัสสั่งให้เรียกอำมาตย์ประมาณแปดหมื่น
มีเสนาบดีเป็นประมุข พราหมณ์หกหมื่น มีปุโรหิตเป็นประธาน และชาวแว่น
แคว้นชาวนิคมเป็นต้นอื่น ๆ มาเฝ้าเป็นจำนวนมาก แล้วตรัสว่า เกศาหงอกเกิด
ที่เศียรของเราแล้ว เราเป็นคนแก่เฒ่า ท่านทั้งหลายจงรับรู้ความที่เราจะออก
บรรพชา ดังนี้แล้ว ตรัสคาถาที่ ๑ ความว่า
เราขอบอกชาวเมือง มิตร อำมาตย์ และข้า-
ราชบริพาร ผมที่เศียรของเรา เกิดหงอกแล้ว บัดนี้
เราพอใจบรรพชาเพศ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อามนฺตยามิ ความว่า เราขอประกาศ
ให้ท่านทั้งหลายรับรู้. บทว่า โรจห ความว่า เราพอใจ ดูก่อนท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงรับรู้ว่า เรานั้นจะบรรพชา.
บรรดาชนทั้งหลายที่ได้ฟังพระราชาดำรัสเหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่ง
เป็นคนองอาจแกล้วกล้า กราบทูลคาถา ความว่า
อย่างไรหนอพระองค์จึงรับสั่งความไม่เจริญแก่
ข้าพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์
ทรงปักพระแสงศรที่อกของข้าพระพุทธเจ้า พระชายา
ของพระองค์มีถึง ๗๐๐นาง พระนางเหล่านั้นของ
พระองค์ จักเป็นอยู่อย่างไรหนอ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 705
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภุ ได้แก่ สิ่งอันไม่เป็นความเจริญ
บทว่า อุรสิ กปฺเปสิ ความว่า พระองค์ทรงยังพระศัสตราอันล้างแล้วด้วยดี
ให้ไหวใกล้ทรวงอกของข้าพระพุทธเจ้า. บทว่า สสฺตสตา นี้ อำมาตย์นั้น
กล่าวหมายถึง ขัตติยกัญญาผู้มีชาติเสมอกัน. บทว่า กถ นุ เต ตา ภวิสฺสนฺติ
ความว่า พระราชชายาของพระองค์เหล่านั้น เมื่อพระองค์ทรงผนวชเสียแล้ว
จักเป็นอนาถา หาที่พึ่งมิได้ จักอยู่ได้อย่างไร การที่พระองค์ทรงทำนางเหล่านั้น
ให้ไม่มีที่พึ่ง แล้วทรงผนวชนี้ ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสคาถาที่ ๓ ความว่า
นางเหล่านั้นยังสาว จักปรากฏเอง นางเหล่านั้น
จักไปพึ่งพิงพระราชาองค์อื่นก็ได้ ส่วนเราปรารถนา
สวรรค์ ด้วยเหตุดังนั้น เราจึงจักบรรพชา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺายนฺติ ความว่า นารีเหล่านั้นจัก
ปรากฏด้วยกิจของตน ๆ เราเป็นอะไรของนางเหล่านี้ ทุกนางล้วนยังสาว
พระราชาอื่น ๆ ก็ยังมี นารีเหล่านี้ จักไปพึ่งพระราชาอื่น ๆ นั้นได้.
อำมาตย์เป็นต้น เมื่อไม่สามารถจะทูลทัดทานพระโพธิสัตว์ได้ จึงพา
กันไปยังสำนักของพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ กราบทูลเนื้อความนั้นให้
ทรงทราบ. พระราชชนนี รีบเสด็จมาโดยด่วน ตรัสว่า ลูกรัก ข่าวว่า
เจ้าประสงค์จะบวชจริงหรือ ดังนี้แล้ว ได้ตรัสคาถา ๒ คาถา ความว่า
ดูก่อนพ่อสุตโสม แม่ผู้เป็นมารดาของเจ้า ชื่อว่า
ได้รับความยาก เพราะเมื่อแม่พร่ำเพ้ออยู่ เจ้าไม่ห่วงใย
จะบวชให้ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 706
ดูก่อนพ่อสุตโสม แม่คลอดเจ้าซึ่งเป็นผู้ที่แม่ได้
ด้วยความลำบาก เหตุไรเมื่อแม่พร่ำเพ้ออยู่ เจ้าไม่
ห่วงใย จะบวชให้จงได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุลฺลทฺธ ความว่า เจ้าชื่อว่าเป็นผู้ที่
ได้มาโดยยาก เพราะเมื่อจะได้ก็ต้องผ่าความลำบาก จึงได้เจ้าผู้เป็นบุตรมา.
บทว่า ย เม ความว่า เมื่อแม่พร่ำเพ้ออยู่โดยประการต่าง ๆ เจ้ายังปรารถนา
จะบวชให้ได้ด้วยเหตุใด เหตุนั้นการได้บุตรเช่นกับเจ้า จึงชื่อว่าแม่ได้มาด้วย
ความยากลำบาก.
พระโพธิสัตว์มิได้ตรัสอะไรกับพระราชมารดา ซึ่งทรงปริเทวนาการ
อยู่อย่างนี้. พระราชชนนีทรงกันแสงร่ำไห้ ประทับยืนอยู่ส่วนข้างหนึ่งเสียเอง
ทีเดียว ลำดับนั้น ประชาชนจึงพากันไปกราบทูลแด่พระราชบิดาของพระโพธิ-
สัตว์. พระราชบิดาเสด็จมาแล้ว ตรัสคาถาอย่างเดียวกัน ความว่า
ดูก่อนพ่อสุตโสม ธรรมนั้นชื่ออะไร และการ
บวชชื่ออะไร เพราะว่า เจ้าจะละทิ้งเราสองคนผู้
แก่เฒ่าแล้ว ไม่ห่วงใย จะบวชอย่างเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย โน อมฺเห ความว่า เจ้าเป็นบุตร
ของมารดาบิดา ไยจึงไม่ปฏิบัติมารดาบิดาซึ่งแก่ชรา ในเวลาที่ควรปฏิบัติ
ทอดทิ้งมิได้อาลัยบวชเสีย เหมือนยังกะกลิ้งศิลาลงเหวฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น
บิดาขอถามเจ้า ธรรมของเจ้านี้ชื่ออะไร ?
พระมหาสัตว์ทรงสดับดังนั้นแล้วก็นิ่งเสีย. ลำดับนั้น พระราชบิดา
จึงตรัสว่า สุตโสมลูกรัก ถ้าหากเจ้าไม่มีความสิเนหาอาลัยในมารดาบิดาแล้ว
บุตรธิดาของเจ้ายังเล็ก ๆ มีมาก ไม่อาจที่จะพลัดพรากจากเจ้าได้ ในเวลาเด็ก
เหล่านั้นเจริญวัยแล้ว เจ้าจึงค่อยบวชเถิด แล้วตรัสคาถาที่ ๗ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 707
แม้บุตรและธิดาทั้งหลายของเจ้าก็มีมาก ยังเล็ก
นัก ยังไม่เป็นหนุ่มสาว กำลังฉอเลาะน่ารักใคร่ เมื่อ
ไม่เห็นเจ้าน่าจะลำบากไปตาม ๆ กัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มญฺชู ความว่า พูดจาน่ารัก. บทว่า
นิคฺจฉนฺติ ความว่า พ่อสำคัญว่า จักพากันถึงความลำบาก คือกลับได้ทุกข์
ทั้งทางกายและทางใจ.
พระมหาสัตว์ทรงสดับพระดำรัสนั้นแล้ว ตรัสพระคาถา ความว่า
ความตั้งอยู่นานแล้วพลัดพรากจากกัน จากโอรส
ธิดาเหล่านี้ของหม่อมฉัน ซึ่งกำลังเป็นเด็ก ยังไม่เจริญวัย
ช่างฉอเลาะก็ดี จากทูลกระหม่อมทั้งสองพระองค์และ
สิ่งทั้งปวงไปก็ดี เป็นของเที่ยงแท้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพหิปิ ตุมฺเหหิ ความว่า ข้าแต่
พระทูลกระหม่อม ใช่ว่าข้าพระพุทธเจ้า จะจากโอรสธิดาเท่านั้นก็หามิได้ ที่แท้
แม้ทูลกระหม่อมทั้งสอง แม้สรรพสังขารอื่น ๆ ถึงดำรงอยู่ได้นานคือตั้งอยู่สิ้น
กาลนาน ก็เพียงที่จะพลัดพรากจากกัน คือความเป็นต่าง ๆ กัน เพราะในโลก
สันนิวาสแม้ทั้งสิ้น สังขารแม้อย่างหนึ่ง จะชื่อว่าเป็นของเที่ยงไม่มีเลย.
พระมหาสัตว์แสดงธรรมกถาแด่พระราชบิดาอย่างนี้ สมเด็จพระราช
บิดา ทรงสดับธรรมกถาของพระโพธิสัตว์แล้ว ก็ได้ทรงดุษณีภาพ ลำดับนั้น
อำมาตย์ทั้งหลาย จึงไปแจ้งแก่พระชายาที่รักทั้งเจ็ดร้อยของพระมหาสัตว์ พระ
ชายาเหล่านั้นจึงลงจากปราสาท ไปยังสำนักของพระมหาสัตว์เจ้า ต่างยึดข้อ
พระบาท ปริเทวนาการ กล่าวคาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 708
พระทัยของทูลกระหม่อม จะตัดขาดเชียวหรือ
หรือจะไม่ทรงพระกรุณาหม่อมฉันทั้งหลาย ไยเล่า
พระองค์จึงไม่ห่วงใยกระหม่อมฉันทั้งหลาย ผู้คร่ำ-
ครวญอยู่ จะเสด็จออกผนวชเสียให้ได้เทียวหรือเพคะ.
คาถานั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ ข้าแต่พระสุตโสมผู้พระสวามี พระหทัย
ในพวกกระหม่อมฉัน ของทูลกระหม่อมซึ่งกระทำพวกหม่อมฉันให้เป็นหม้าย
เสด็จไปบวช จะตัดขาดเชียวหรือหนอ เพราะไม่มีความสิเนหาแม้เพียงเล็กน้อย
หรือชื่อว่าความการุญ ของทูลกระหม่อมไม่มี เพราะไม่มีพระกรุณาจึงละทิ้ง
พวกหม่อมฉัน ซึ่งคร่ำครวญอยู่อย่างนี้ไปบรรพชา.
พระมหาสัตว์ ทรงสดับเสียงปริเทวนาการ ของเหล่าบาทบริจาริกา
เหล่านั้น ผู้กลิ้งเกลือกร่ำไรรำพันอยู่แทบบาทมูล แล้วตรัสคาถาลำดับ
ต่อไปว่า
ใจของเรามิได้ตัดขาด และเราก็มีความกรุณาใน
เธอทั้งหลาย แต่เราปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น
เราจึงจักออกบวช.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สคฺคญฺจ ความว่า พระมหาสัตว์ทรง
ปลอบใจพระชายาเหล่านั้นว่า เราปรารถนาสวรรค์ อนึ่ง ขึ้นชื่อว่าบรรพชานี้
พุทธาทิบัณฑิต สรรเสริญแล้ว เพราะเหตุนั้น เราจึงจักบวช เธอทั้งหลาย
อย่าคิดเสียใจ.
ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลาย จึงกราบทูลพระมเหสีของพระโพธิสัตว์
ให้ทรงทราบ พระอัครมเหสีนั้นมีภาระหนัก ทรงครรภ์บริบูรณ์ เสด็จมา
ถวายบังคมพระมหาสัตว์ ประทับยืน ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง ได้ตรัสคาถา ๓ คาถา
ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 709
ข้าแต่พระสุตโสมผู้ประเสริฐ หม่อมฉันผู้เป็น
อัครมเหสีของพระองค์ ได้พระองค์มาด้วยความลำบาก
เหตุไรเมื่อหม่อมฉันพร่ำเพ้ออยู่ พระองค์จึงมิได้ทรง
เยื่อใย จะทรงผนวชเสีย.
ข้าแต่พระสุตโสมผู้ประเสริฐ หม่อมฉันผู้เป็น
พระอัครมเหสีของพระองค์ ได้พระองค์มาด้วยความ
ลำบาก เหตุไร พระองค์จึงมิได้ทรงเยื่อใยสัตว์ผู้ถือ
ปฏิสนธิในครรภ์ของหม่อมฉัน จะทรงผนวชเสีย.
ครรภ์ของหม่อมฉันแก่แล้ว ขอพระองค์ทรง
รออยู่ จนกระทั่งหม่อมฉันประสูติ อย่าให้หม่อมฉัน
เป็นหม้ายอยู่แต่ผู้เดียว ต้องได้รับทุกข์ในภายหลังเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย เม ความว่า เพราะเหตุไร เมื่อ
หม่อมฉันพร่ำเพ้ออยู่ พระองค์มิได้ห่วงใยจะบวชเสีย ตำแหน่งอัครมเหสี
ที่หม่อมฉันได้จากสำนักของพระองค์นั้น หม่อมฉันได้มาด้วยยาก ในคาถา
ที่สองมีอธิบายว่า เพราะเหตุไรพระองค์จะทรงละหม่อมฉันผู้กำลังท้อง มิได้
ห่วงใย บวชเสีย ความเป็นอัครมเหสีของพระองค์ที่หม่อมฉันได้มานั้น หม่อม-
ฉันได้มาด้วยยาก. บทว่า ยาว น ความว่า ขอพระองค์จงทรงยับยั้งอยู่
จนกว่าหม่อมฉันจะประสูติก่อนเถิด.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสพระคาถา ความว่า
ครรภ์ของเธอแก่แล้ว ขอเชิญประสูติพระโอรส
ซึ่งมีผิวพรรณไม่ทรามเถิด ฉันจักละโอรส พร้อมทั้ง
เธอบวชให้จงได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 710
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺต ความว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เรารู้ว่า
เธอครรภ์แก่ แต่เมื่อเธอประสูติจักประสูติพระโอรส หาใช่ธิดาไม่ ขอเธอจง
ประสูติโอรสด้วยความสวัสดีเถิด ส่วนเราจะละบุตรกับตัวเธอ บวชให้ได้ทีเดียว.
พระนางเทวี สดับพระราชดำรัสของพระราชสวามีแล้ว ไม่สามารถ
จะอดกลั้นความโศกไว้ได้ทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม คราวนี้นับแต่วันนี้ไป
ชื่อว่าสิริของหม่อมฉันคงไม่มีเลย แล้วเอาหัตถ์ทั้งสองกุมพระหทัย หลั่งพระ
อัสสุชลพลางปริเทวนาการด้วยพระสุรเสียงอันดัง ลำดับนั้น เมื่อพระมหาสัตว์
จะทรงปลอบโยนพระนาง จึงตรัสพระคาถา ความว่า
ดูก่อนพระน้องนางจันทา เธออย่าร้องไห้ไปเลย
ดูก่อนพระนางผู้มีดวงตาเสมอด้วยดอกอัญชัน เธออย่า
เศร้าโศกไปเลย จงขึ้นสู่ปราสาทอันประเสริฐเสียเถิด
เราไม่เยื่อใยจักไปบวช.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา ตฺว จนฺเท รุทิ ความว่า ดูก่อน
พระน้องนางจันทาเทวีผู้เจริญ เธออย่าร้องไห้เศร้าโศกไปเลย. บทว่า วนติมิร-
มตฺตกฺขิ แปลว่า ผู้มีพระเนตรเสมอด้วยดอกอัญชัน แต่ในพระบาลีท่านเขียน
ไว้ว่า " โกวิลารตมฺพกฺขิ " ความก็ว่า เนตรของพระนางจันทาเทวีนั้น
แดงเหมือนดอกหงอนไก่.
พระนางจันทาเทวี สดับพระราชดำรัสแล้ว ไม่สามารถที่จะดำรงอยู่
ได้ เสด็จขึ้นสู่ปราสาทประทับนั่ง กันแสงอยู่. ลำดับนั้น พระโอรสองค์ใหญ่
ของพระโพธิสัตว์ เห็นพระมารดาทรงกันแสง จึงดำริว่า เหตุไรหนอ พระ
มารดาของเราจึงประทับนั่ง ทรงกันแสงอยู่ เมื่อจะทูลถามพระมารดาจึงตรัส
พระคาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 711
ข้าแต่เสด็จแม่ ใครทำให้เสด็จแม่ทรงพิโรธ เหตุ
ไฉนเสด็จแม่ จึงทรงกันแสง และจ้องมองดูหม่อม
ฉันยิ่งนัก บรรดาพระประยูรญาติที่เห็นอยู่ หม่อมฉัน
จะฆ่าใครที่ควรรับสั่งให้ฆ่า ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกเปสิ ความว่า ข้าแต่เสด็จแม่ ใคร
คนไหน ทำให้เสด็จแม่ต้องขุ่นเคือง คือใครได้ทำสิ่งไม่เป็นที่รักแก่เสด็จแม่.
บทว่า อเปกฺขสิ จ มีอธิบายว่า เมื่อเสด็จแม่จ้องหม่อมฉัน ทำไมจึงต้อง
ทรงพระกันแสง. บทว่า ก อวชฺฌ ฆาเฏมิ ความว่า พระราชโอรส
ทูลถามว่า หม่อมฉันจะฆ่าใครที่ควรจะให้ฆ่า สำหรับพระญาติของเสด็จแม่
ที่เห็นกันอยู่นั่นแหละ โปรดตรัสบอกแก่หม่อมฉัน.
ลำดับนั้น พระนางเทวี ตรัสพระคาถา ความว่า
ลูกรัก ท่านผู้ใดทรงชนะในแผ่นดิน ท่านผู้นั้น
เจ้าไม่อาจจะฆ่าได้เลย พระบิดาของเจ้าได้ตรัสกะแม่
ว่า ฉันไม่มีความห่วงใย จักไปบวช.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิชิตาวี ความว่า ลูกรัก ท่านผู้ใดเป็น
ผู้ชนะในแผ่นดินนี้ ทำให้แม่ขุ่นเคือง คือยังความโกรธ และความเศร้าโศก
ให้เข้าไปในหทัยของแม่ ด้วยการกล่าวคำไม่เป็นที่รัก ท่านผู้นั้น ลูกไม่อาจ
จะฆ่าได้ เพราะเป็นพระบิดาของลูกเอง พระองค์ทรงตรัสกะแม่ว่า เราจัก
สละสิริราชสมบัติ และตัวเธอ เข้าสู่ป่าแล้วบรรพชา นี้คือเหตุแห่งการกันแสง
ของแม่.
เชษฐโอรส ทรงฟังพระเสาวนีย์ของพระมารดาแล้ว ทูลว่า ข้าแต่
เสด็จแม่ เสด็จแม่ตรัสคำนี้อย่างไรกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็ตกเป็นคน
อนาถา หาที่พึ่งมิได้มิใช่หรือ ดังนี้แล้ว ทรงปริเทวนาการ ตรัสคาถา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 712
เมื่อก่อน เราเคยไปเที่ยวสวนด้วยรถ และรบกัน
ด้วยช้างตกมัน เมื่อพระราชบิดาสุตโสม ทรงผนวช
แล้ว คราวนี้ เราจักทำอย่างไร ?
คาถานั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ เมื่อก่อนเราเคยขึ้นรถ อันประดับแล้ว
ด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เทียมด้วยอาชาไนย ๔ ตัว ไปพระราชอุทยาน
สู้รบกุญชรชาติตัวเมามัน ทั้งเล่นกีฬาอื่น ๆ เช่นอัศวกีฬาเป็นต้น บัดนี้ เมื่อ
พระราชบิดาสุตโสม ทรงผนวชแล้ว เราจักทำอย่างไร ?
ลำดับนั้น โอรสองค์น้อย ผู้กนิษฐภาดาของเชษฐโอรส มีพระชนมายุ
ได้ ๗ พรรษา เห็นกษัตริย์ทั้งสองทรงกันแสงอยู่ จึงเข้าไปเฝ้าพระมารดา
ทูลถามว่า ข้าแต่เสด็จแม่ เพราะเหตุไรเสด็จแม่ กับเสด็จพี่ จึงทรงกันแสง
ทรงสดับเรื่องราวนั้นแล้ว ก็ทูลปลอบโยนท่านทั้งสองว่า ถ้ากระนั้นขอเสด็จ
แม่และเสด็จพี่อย่าทรงกันแสงเลย หม่อมฉันจักไม่ยอมให้พระบิดาทรงผนวช
ก่อน แล้วเสด็จลงจากปราสาท พร้อมด้วยพวกพี่เลี้ยง เสด็จไปยังสำนักพระ
ราชบิดา ทูลว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ข่าวว่า เสด็จพ่อตรัสสั่งว่า จะละทิ้งหม่อมฉัน
ผู้ไม่ประสงค์ให้บวช ไปบวชเสีย หม่อมฉันไม่ยอมให้เสด็จพ่อบวช ทูลแล้ว
ก็เข้าสวมกอดพระศอ พระราชบิดาไว้แน่น ตรัสคาถา ความว่า
เมื่อพระมารดา ของหม่อมฉัน ทรงกันแสงอยู่
และเมื่อพระเชษฐภาดา ไม่ทรงยินยอม หม่อมฉันก็
จักยึดพระหัตถ์ทั้งสองของพระบิดาไว้ เมื่อหม่อมฉัน
ทั้งหลายไม่ยินยอม พระบิดาจะยังเสด็จไปไม่ได้.
พระมหาสัตว์เจ้า ทรงดำริว่า โอรสของเรานี้ จะทำอันตรายแก่เรา
ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจึงจะให้เธอหลีกไปเสียได้ ลำดับนั้น พระมหาสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 713
จึงทรงแลดูพระพี่เลี้ยงตรัสว่า แน่ะพี่เลี้ยง แม่คุณเชิญเถิด นี้เป็นเครื่องประดับ
คอ คือแก้วมณี ส่วนนี้จงเป็นของเจ้า เจ้าจงช่วยพาพระโอรสไปเสีย อย่า
ทำอันตรายแก่เราเลย เมื่อพระองค์เองไม่ทรงสามารถ ที่จะจับพระหัตถ์พระ
โอรส จึงทรงคิดติดสินบนพระพี่เลี้ยง แล้วตรัสคาถา ความว่า
แม่นมเอ๋ย เชิญแม่ลุกขึ้นเถิด แม่จงพาพระ
กุมารนี้ ไปเล่นให้รื่นรมย์เสียในที่อื่น เมื่อเรากำลัง
ปรารถนาสวรรค์ กุมารนี้อย่าทำอันตรายแก่เราเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิม กุมาร ความว่า แม่นมเอ๋ย เจ้า
จงลุกขึ้น ช่วยพาพระกุมารนี้ไป แล้วมารับเอาแก้วมณีนี้ นำพระกุมารให้ไป
รื่นรมย์เสียในที่อื่น.
พระพี่เลี้ยงนั้น ได้บำเหน็จแล้ว จึงเตือนพระกุมารให้รู้สึกองค์ แล้ว
พาไปในที่อื่น พลางปริเทวนาการกล่าวคาถา ความว่า
ไฉนหนอ พระราชาจึงทรงประทานแก้วมณี อัน
มีแสงสว่างนี้ ประโยชน์อะไรของเราด้วยแก้วมณีนี้
เมื่อพระเจ้าสุตโสมทรงผนวชแล้ว เราจักทำอะไรได้
กับแก้วมณีนี้.
คาถานั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ พระพี่เลี้ยงคร่ำครวญว่า ไฉนหนอ
เราจึงรับเอาแก้วมณีนี้เพื่อเป็นค่าจ้าง พระราชาก็ทรงพระราชทานแก้วมณี
นั้น อันกระทำซึ่งรัศมี คือส่องแสงสว่างเป็นประกาย เมื่อพระเจ้าสุตโสม
บรมนรินทร์ ทรงผนวชแล้ว แก้วมณีนี้จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา. บทว่า
กึ นุ เมน กริสฺสามิ ความว่า เมื่อพระองค์ทรงผนวชแล้ว เราจักไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 714
แก้วมณีนี้ ถึงแม้จะได้ ก็จักทำอะไรกับแก้วมณีนี้ ท่านทั้งหลายจงดูการกระ-
ทำของเราเถิด.
ลำดับนั้น อำมาตย์ มหาเสนาคุตต์ คิดว่า ชะรอยพระราชานี้ จะทรง
ทำความสำคัญว่า ราชทรัพย์ในคลังของเรามีน้อย เราจักทูลความที่พระราช
ทรัพย์มีมากแด่พระองค์ เขาลุกขึ้นถวายบังคมแล้วกล่าวคาถา ความว่า
พระคลังน้อยของพระองค์ไพบูลย์ และพระคลัง
ใหญ่ของพระองค์ก็บริบูรณ์ ปฐพีมณฑล พระองค์
ก็ทรงชนะแล้ว ขอพระองค์จงทรงยินดีเถิด อย่าทรง
ผนวชเลย พระเจ้าข้า.
พระมหาสัตว์ทรงสดับเช่นนั้น จึงตรัสพระคาถา ความว่า
คลังน้อย ของเราก็ไพบูลย์ คลังใหญ่ของเราก็
บริบูรณ์ และปฐพีมณฑลเราก็ชนะแล้ว แต่เราจักละ
สิ่งนั้น ๆ ออกบวช.
เมื่อมหาเสนาคุตต์อำมาตย์ ได้ฟังพระดำรัสเช่นนั้น จึงถอยออกไป
กุลพันธนเศรษฐี จึงลุกขึ้นถวายบังคม กล่าวคาถา ความว่า
ขอเดชะ ทรัพย์ของข้าพระพุทธเจ้า มีมากมาย
ข้าพระพุทธเจ้าไม่สามารถจะนับได้ ข้าพระพุทธเจ้าขอ
ถวายทรัพย์ทั้งหมดนั้น แด่พระองค์ ขอพระองค์จง
ทรงยินดี อย่าทรงผนวชเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พระมหาสัตว์ ทรงสดับเช่นนั้น จึงตรัสพระคาถา ความว่า
ดูก่อนกุลวัฑฒนเศรษฐี เรารู้ว่าทรัพย์ของท่าน
มีมาก และท่านก็บูชาเรา แต่เราปรารถนาสวรรค์
เพราะฉะนั้น เราจึงจักต้องบวช.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 715
ครั้นกุลพันธนเศรษฐี ได้ฟังพระราชดำรัส ก็ถอยออกไป พระมหา
สัตว์ จึงตรัสเรียกพระอนุชาพระนามว่า โสมทัต มารับสั่งว่า พ่อโสมทัต
พี่กระสัน เหมือนไก่ป่าถูกขังอยู่ในกรง ความไม่ยินดี ในฆราวาสครอบงำพี่
พี่จักบวชในวันนี้ให้ได้ เธอจงครอบครองราชสมบัตินี้เถิด เมื่อจะทรงมอบ
ราชสมบัติให้จึงตรัสพระคาถา ความว่า
ดูก่อนพ่อโสมทัต เราเป็นผู้กระสันนัก ความไม่
ยินดี ย่อมมาครอบงำเรา อันตรายมีมาก เราจักบวช
ให้ได้ในวันนี้ทีเดียว.
แม้โสมทัต ทรงฟังพระราชดำรัสนั้นแล้ว ก็มีพระประสงค์จะทรง
ผนวช เมื่อจะแสดงพระประสงค์นั้น จึงตรัสคาถาต่อไป ความว่า
ข้าแต่พระเจ้าพี่สุตโสม แม้กิจนี้พระองค์ทรงพอ
พระทัย ขอพระองค์ทรงผนวช ณ บัดนี้ แม้หม่อมฉัน
ก็จักบวชในวันนี้ทีเดียว หม่อมฉันไม่อาจอยู่ห่างพระ
องค์ได้.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงห้ามพระอนุชา แล้วตรัสคาถากึ่งคาถา
ความว่า
เธอจักบวชยังไม่ได้ เพราะว่าใคร ๆ ในพระ
นคร และคามนิคมในชนบทจะไม่พากันหุงต้ม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หิ ปจฺจติ ความว่า เพราะได้ทราบ
ความประสงค์ ในการบรรพชาของพี่ในบัดนี้ ก่อนเก่านั้น ใคร ๆ ใน
สุทัสนนคร อันมีอาณาเขต ๑๒ โยชน์นี้ และในชนบททั้งสิ้น ยังไม่พา
กันหุงหาอาหาร คือยังไม่พากันยังไฟในเตาให้โพลง ถ้าเมื่อเราบวชเสียทั้งสอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 716
คน ชาวแว่นแคว้น จักว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง เพราะเหตุนั้น เธอยังบวชไม่ได้ พี่
จักบวชผู้เดียวเท่านั้น.
มหาชนได้ฟังพระราชดำรัสแล้ว พากันกลิ้งเกลือกแทบพระยุคลบาท
ของพระมหาสัตว์ ปริเทวนาการ ทูลว่า
เมื่อพระเจ้าสุตโสม ทรงผนวชเสียแล้ว บัดนี้ข้า
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักกระทำอย่างไรเล่าพระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศก
กันไปเลย ถึงเราจักดำรงอยู่ได้นาน ก็จักต้องพลัดพรากจากท่านทั้งหลาย
เพราะสังขารที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าเที่ยงไม่มี เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่มหาชน
จึงตรัสว่า
เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป เป็นของนิด
หน่อย ดุจน้ำในโคลน ฉะนั้น เมื่อชีวิตเป็นของน้อย
เหลือเกินอย่างนี้ เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะประมาทเลย.
เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป เป็นของ
นิดหน่อย ดุจน้ำในโคลนฉะนั้น เมื่อชีวิตเป็นของ
น้อยเหลือเกินอย่างนี้ แต่พวกคนพาล ย่อมพากัน
ประมาท.
คนพาลเหล่านั้น อันเครื่องผูก คือ ตัณหาผูกไว้
แล้ว ย่อมยังนรก กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เปรตวิสัย
และอสุรกายให้เจริญ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปนิยฺยติท มญฺเ ความว่า ดูก่อน
อาณาประชาราชฎร์ เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป ในสัตว์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 717
อื่น ๆ ชีวิตนี้มีอันรุกร้นเข้าไปเป็นอรรถ มีอันนำเข้าไปเป็นอรรถ แต่ในที่นี้
มีอันรวบรัดเอาเป็นอรรถ เพราะฉะนั้น ในที่นี้มีเนื้อความอย่างนี้ว่า น้ำเล็กน้อย
ใส่ลงในโคลน น้ำด่างของพวกช่างย้อม ย่อมจับด่างแห้งเร็วฉันใด แม้ชีวิตก็ฉัน
นั้น เมื่อชีวิตเป็นของน้อยเช่นนี้ ใช่กาลที่จะประมาทในบุญกิริยาของสัตว์
ทั้งหลาย ผู้ยึดอายุสังขาร เล็กน้อยนั้นไปมาอยู่ไม่ชอบที่จะทำความไม่ประมาท
อย่างเดียว.
บทว่า อถ พาลา ปมชฺชนฺติ ความว่า คนพาลทั้งหลายเป็น
เหมือนจะไม่แก่ไม่ตาย จมอยู่ในเปลือกตม คือ กามคุณ มัวเมาประมาทอยู่
ดุจสุกรจมอยู่ในโคลนคือคูถฉะนั้น. บทว่า อสุรกาย ความว่า และย่อมยัง
กำเนิดกาลกัญชิกอสุรกายให้เจริญ.
พระมหาสัตว์ทรงแสดงธรรมแก่มหาชนอย่างนี้แล้ว เสด็จขึ้นสู่ปุปผก-
ปราสาท ประทับยืนบนชั้นที่เจ็ด ทรงเอาพระขรรค์ตัดพระเมาลีแล้ว ตรัสว่า
เราไม่เป็นอะไรกันกับท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงหาพระราชาของตน แล้ว
โยนพระเมาลี ทั้งเครื่องโพกไปในระหว่างมหาชน. มหาชนรับเอาพระเมาลี
แล้ว ต่างกลิ้งเกลือกปริเทวนาการบนภาคพื้น. ละอองธุลีเป็นอันมากฟุ้งขึ้น
ในที่นั้น มหาชนที่กลับมายืนดู ได้เห็นละอองธุลีนั้น ต่างรำพันว่า พระ
เมาลีทั้งเครื่องโพกอันพระราชาทรงตัดโยนมาในระหว่างมหาชน ฉะนั้นสาย
ละอองธุลีนี้ จึงฟุ้งขึ้นในที่ใกล้ปราสาท แล้วกล่าวคาถา ความว่า
กลุ่มธุลีตั้งขึ้นไม่ไกลปุปผกปราสาท ชะรอย
พระธรรมราชาผู้เรืองยศของพวกเรา จะทรงตัด
พระเกศาแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 718
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อูหญฺเต แปลว่า ตั้งขึ้น. บทว่า รชคฺค
แปลว่า กองธุลี. บทว่า อวิทฺเร ความว่า (กองธุลีเกิดขึ้น) ไม่ห่างจากที่
พวกเรายืนอยู่นี้เลย. บทว่า ปุปฺผกมฺหิ ความว่า ใกล้ ๆ ปุปผกปราสาท.
บทว่า มญฺเ โน ความว่า พวกเราเข้าใจว่า พระธรรมราชาของพวกเรา
จักตัดพระเกศาเสียแล้ว.
ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้า ทรงใช้มหาดเล็กให้ไปนำบริขารของบรรพชิตมา
โปรดให้นายภูษามาลาปลงพระเกศาและพระมัสสุ แล้วเปลื้องเครื่องราชอลังการ
ไว้บนพระบรรจถรณ์ ตัดชายพระภูษาแดง ทรงกาสาวพัสตร์ ทรงคล้องบาตรดิน
ที่จะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย จับธารพระกร เสด็จจงกรมไปมา ณ ท้องพระโรง
แล้วเสด็จลงจากปราสาท ทรงดำเนินไปในละแวกถนน แต่ไม่มีใครจำพระองค์
ผู้เสด็จไปได้เลย ลำดับนั้น ขัตติยกัญญาเจ็ดร้อยนาง ของพระมหาสัตว์นั้น
พากันขึ้นไปยังปราสาท ไม่พบพระมหาสัตว์ พบเฉพาะห่อเครื่องอาภรณ์
ก็กลับลงมา ตรงไปยังสำนักของนางสนม หมื่นหกพันที่เหลือ ฟังข่าวว่า
พระสุตโสมมหิศร องค์ปิยราชสวามีของพวกท่าน ทรงผนวชเสียแล้ว ต่างก็
ปริเทวนาการด้วยเสียงอันดัง ออกไปภายนอก. ขณะนั้น มหาชนได้ทราบว่า
พระราชาทรงผนวชแล้ว. ชาวพระนครทั้งสิ้น ก็แตกตื่นประชุมกันที่ประตู
พระราชวังว่า ข่าวว่า พระราชาของพวกเราทรงผนวชแล้ว. มหาชน ต่างพา
กันไปยังสถานที่ ๆ เคยประทับ เช่นปราสาทเป็นต้น ด้วยคิดว่า พระราชา
จักเสด็จอยู่ที่นี่ จักเสด็จอยู่ตรงนี้ แต่ก็มิได้พบพระราชา จึงพากันเที่ยว
ปริเทวนาการด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน
เสด็จไปเที่ยวยังปราสาทใด นี่คือปราสาทของพระองค์
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 719
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังปราสาทใด นี้คือปราสาทของพระองค์
แพรวพราวไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังกูฏาคารใด นี้คือกูฏาคารของพระองค์
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังกูฏาคารใด นี้คือกูฏาคารของพระองค์
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังสวนอโศกวันใด นี้คือสวนอโศกวัน
ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอด-
กาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังสวนอโศกวันใด นี้คือสวนอโศกวัน
ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์
ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังพระราชอุทยานใด นี้คือพระราช-
อุทยานของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์
ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังพระราชอุทยานใด นี้คือพระราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 720
อุทยานของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์
ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมกำนัลใน
เสด็จเที่ยวไปยังสวนกรรณิการ์ใด นี้คือสวนกรรณิการ์
ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์
ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังสวนกรรณิการ์ใด นี้คือสวนกรรณิการ์
ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์
ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังสวนปาฏลิวันใด นี้คือสวนปาฏลิวัน
นั้นของพระองค์ มีดอกบานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์
ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังสวนปาฏลิวันใด นี้คือสวนปาฏลิวัน
ของพระองค์ มีดอกบานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาล
ทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังสวนอัมพวันใด นี้คือสวนอัมพวันของ
พระองค์ มีดอกบานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาล
ทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 721
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังสวนอัมพวันใด นี้คือสวนอัมพวันของ
พระองค์ มีดอกบานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาล
ทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังสระโบกขรณีใด นี้คือสระโบกขรณี
ของพระองค์ ดาดาษไปด้วยบุปผชาตินานาชนิด
เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงวิหก.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังสระโบกขรณีใด นี้คือสระโบกขรณี
ของพระองค์ ดาดาษไปด้วยบุปผชาตินานาชนิด
เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงวิหก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วีติกิณฺโณ ความว่า เกลื่อนกล่นไป
ด้วยสุวรรณบุปผา และนานามาลัย. บทว่า ปริกิณณฺโณ แปลว่า แวดล้อม
เป็นแวดวง. บทว่า อิตฺถาคาเรหิ ความว่า หญิงทั้งหลายนับแต่ทาสีไป
ชื่อว่าอิตถาคาร คือสนมนางใน. แม้อำมาตย์ทั้งหลาย ก็ชื่อว่า ญาติทั้งนั้น
ในบทว่า าติสงฺเฆน นี้. บทว่า กูฏาคาร ได้แก่ พระที่บรรทม และ
ห้องกูฏาคารอันวิจิตรไปด้วยรัตนะทั้งเจ็ด. บทว่า อโสกวนิกา ได้แก่ ภูมิภาค
ในอโศกวัน. บทว่า สพฺพกาลิกา ความว่า ทนต่อการใช้สอยทุกเมื่อ ทั้งบาน
เป็นนิตย์.
บทว่า อุยฺยาน ได้แก่ พระราชอุทยาน เช่นเดียวกับสวนจิตรลดา
ในนันทนวัน. บทว่า สพฺพกาลิก ความว่า ดาดาษไปด้วยไม้ดอก ไม้ผล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 722
อันบังเกิดขึ้นในฤดูกาลแม้ทั้งหก คือ ในกรรณิการ์วันเป็นต้น ก็มีดอกไม้
ผลิตดอกบานดีตลอดกาลทั้งปวงเหมือนกัน. บทว่า สญฺฉนฺนา ความว่า
ดาดาษด้วยดีด้วยดอกโกสุม อันเกิดทั้งทางน้ำทางบก มีอย่างต่าง ๆ. บทว่า
อณฺฑเชหิ วีติกิณฺณา ความว่า เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่นก.
มหาชนปริเทวนาการในที่นั้น ๆ อย่างนี้แล้ว กลับมายังพระลานหลวง
อีก กล่าวคาถา ความว่า
พระเจ้าสุตโสม ทรงสละราชสมบัตินี้แล้ว
เสด็จออกทรงผนวช ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ เที่ยวไป
พระองค์เดียว เหมือนช้างตัวประเสริฐ ฉะนั้น
ดังนี้แล้ว ต่างพากันสละสมบัติ ในเรือนของตน ๆ จูงมือบุตรธิดา
ออกไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์นั่นเอง. พระราชมารดา ราชบิดา พระชายา
พระโอรส ธิดา กับหญิงฟ้อนหมื่นหกพัน ก็ทรงปฏิบัติเช่นนั้นเหมือนกัน.
พระนครทั้งสิ้น ดูเหมือนว่างเปล่า ฝ่ายชาวชนบท ก็ได้ตามไปเบื้องหลังแห่ง
ชนเหล่านั้น. พระโพธิสัตว์ทรงพาบริษัทประมา ๑๒ โยชน์ เสด็จมุ่งตรงไป
ยังป่าหิมพานต์.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช ทรงทราบว่า พระโพธิสัตว์เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์จึงตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมารับสั่งว่า พ่อวิสสุกรรมเทพบุตร
พระเจ้าสุตโสมมหาราช เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ควรจะได้ที่ประทับทั้งสมาคม
ก็จักใหญ่หลวง เธอจงไปเนรมิตอาศรมบท ยาว ๓ โยชน์ กว้าง ๕ โยชน์
ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาในหิมวันตประเทศ. วิสสุกรรมเทพบุตร ก็บันดาลตาม
เทวบัญชาทุกประการ จัดบรรพชิตบริขารไว้ในอาศรมบทนั้น แล้วบันดาล
หนทางเดินได้คนเดียวไว้ เสร็จแล้วก็กลับไปยังเทวโลกทันที. พระมหาสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 723
เสด็จไปตามทางนั้น เสด็จเข้าสู่อาศรมบทนั้น พระองค์ทรงผนวชเองก่อนแล้ว
ให้ประชาชนที่เหลือบวชภายหลัง. ในเวลาต่อมา ชนทั้งหลายบวชมากขึ้น.
สถานที่กว้างถึง ๓๐ โยชน์ ก็เต็มบริบูรณ์. ก็กำหนดที่ท้าวสักกะทรงใช้
วิสสุกรรมเทพบุตรให้เนรมิตอาศรมบทก็ดี กำหนดที่ประชาชนบวชเป็นอันมาก
ก็ดี กำหนดที่พระโพธิสัตว์จัดอาศรมบทก็ดี พึงทราบโดยนัยที่มาแล้ว ใน
หัตถิปาลชาดกนั่นเอง. มิจฉาวิตกมีกามวิตกเป็นต้น เกิดขึ้นแก่คนใด ๆ
พระมหาสัตว์เจ้าก็เสด็จเข้าไปหาคน ๆ นั้น ณ ที่นั้น โดยทางอากาศ ประทับ
นั่งคู้บัลลังก์ในอากาศ เมื่อจะทรงโอวาท จึงตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า
ท่านทั้งหลายอย่าระลึกถึงความยินดี การเล่น
และการร่าเริงในกาลก่อนเลย กามทั้งหลายอย่าทำ
ท่านทั้งหลายได้เลย จริงอยู่ สุทัสนนคร น่ารื่นรมย์
ยิ่งนัก ท่านทั้งหลายจงเจริญเมตตาจิตอันหาประมาณ
มิได้ ทั้งกลางวันและกลางคืนเถิด เมื่อเป็นเช่นนี้
ท่านทั้งหลายจะได้ไปสู่เทพบุรี อันเป็นที่อยู่ของท่าน
ผู้มีบุญกรรม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รติกีฬิตานิ ความว่า (ท่านทั้งหลาย
อย่าระลึกถึง) ความยินดีในกาม และการเล่นอันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการ
เล่นทางกาย วาจา และใจ. บทว่า มา โว กามา หนึสุ ความว่า วัตถุกาม
และกิเลสกามอย่าเบียดเบียนพวกท่าน. บทว่า รมฺมญฺหิ ความว่า สุทัสนนคร
น่ารื่นรมย์ยินดี ท่านทั้งหลายอย่าระลึกถึงสุทัสนนครนั้น. บทว่า เมตฺต นี้
เป็นเพียงหัวข้อเทศนาเท่านั้น. ก็พระโพธิสัตว์นั้น ตรัสบอกพรหมวิหาร ๔.
บทว่า อปฺปมาณ ได้แก่ เมตตาพรหมวิหารมีสัตว์หาประมาณมิได้ เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 724
อารมณ์. บทว่า คญฺฉิตฺถ แปลว่า จักได้ไป. บทว่า เทวปุร ได้แก่
พรหมโลก.
แม้หมู่ฤาษีนั้น ตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์แล้ว ได้เป็นผู้มี
พรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ด้วยประการฉะนี้ เรื่องราวทั้งหมดควรกล่าว
โดยนัยที่มาแล้ว ในหัตถิปาลชาดกนั่นแล.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงจบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในชาตินี้เท่านั้น แม้ในชาติปางก่อน ตถาคตก็เสด็จออก
มหาภิเนษกรมณ์เหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระมารดาบิดาในครั้ง
นั้น ได้มาเป็นศากยมหาราชสกุล พระนางจันทาเทวี ได้มาเป็นราหุลมาร-
ดา เชษฐโอรส ได้มาเป็นพระสารีบุตร กนิษฐโอรส ได้มาเป็นพระราหุล
พระพี่เลี้ยง ได้มาเป็นนางขุชชุตตรา กุลพันธนเศรษฐี ได้มาเป็นพระกัส-
สป มหาเสนาคุตต์ ได้มาเป็นพระโมคคัลลานะ โสมทัตกุมาร ได้มาเป็น
พระอานนท์ บริษัทที่เหลือได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนพระเจ้าสุตโสม
ได้มาเป็นเราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาจุลลสุตโสมชาดกที่ ๕
จบอรรถกถาจัตตาลีสนิบาต เพียงเท่านี้
รวมชาดกที่มีในจัตตาฬีสนิบาตนี้ คือ
๑. เตสกุณชาดก ๒. สรภังคชาดก ๓. อลัมพุสาชาดก ๔. สังข-
ปาลชาดก ๕. จุลลสุตโสมชาดก และอรรถกถา.