พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ชาดก
เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๖
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เอกาทสนิบาตชาดก
๑. มาตุโปสกชาดก
ว่าด้วยเรื่องพญาช้างเลี้ยงมารดา
[๑๔๙๓] ไม้อ้อยช้าง ไม้มูกมัน ไม้ช้างน้าว
หญ้างวงช้าง ข้าวฟ่าง และลูกเดือย งอกงามขึ้นแล้ว
เพราะพญาช้างนั้นพลัดพรากไป อนึ่ง ต้นกรรณิการ์
ทั้งหลายที่เชิงเขาก็เผล็ดดอกบาน.
[๑๔๙๔] พระราชาหรือพระราชกุมาร ประทับ
นั่งบนคอพญาช้างใด ซึ่งไม่มีความสะดุ้ง ย่อมกำจัด
เสียซึ่งปัจจามิตรทั้งหลาย อิสรชนผู้ประดับด้วยอาภรณ์
อันงดงามผู้หนึ่ง ย่อมเลี้ยงดูพญาช้างนั้นด้วยก้อนข้าว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 2
[๑๔๙๕] ดูก่อนพญาช้างตัวประเสริฐ เชิญพ่อ
รับเอาคำข้าวเถิด อย่าผ่ายผอมเลย ราชกิจมีเป็นอัน
มาก ท่านจะต้องทำราชกิจเหล่านั้น.
[๑๔๙๖] นางช้างนั้นเป็นกำพร้า ตาบอด ไม่มี
ผู้นำทาง คงจะสะดุดตอไม้ล้มลงตรงภูเขาจัณโฑรณะ
เป็นแน่.
[๑๔๙๗] ดูก่อนพญาช้าง นางช้างตาบอดหาผู้นำ
ทางมิได้ คงจะสะดุดตอไม้ล้มลงตรงภูเขาจัณโฑรณะ
นั้นเป็นอะไรกับท่านหรือ.
เมื่อพราหมณ์เดินทางยืนขออยู่ บัณฑิตทั้งหลาย
ไม่กล่าวว่าควรไป.
[๑๔๙๘] ข้าแต่พระมหาราชา นางช้างตาบอด
ไม่มีผู้นำทาง คงจะสะดุดตอไม้ล้มลงตรงภูเขาชื่อ
จัณโฑรณะนั้น เป็นมารดาของข้าพระองค์.
[๑๔๙๙] พญาช้างนี้ย่อมเลี้ยงดูมารดา ท่าน
ทั้งหลายจงปล่อยพญาช้างนั้นเสียเถิด พญาช้างตัว
ประเสริฐจงอยู่ร่วมกับมารดา พร้อมด้วยญาติทั้งหลาย
เถิด.
[๑๕๐๐] พญาช้างอันพระเจ้ากาสีทรงปล่อยแล้ว
พอหลุดพ้นจากเครื่องผูก พักอยู่ครู่หนึ่ง ได้ไปยังภูเขา
จากนั้นเดินไปสู่สระบัวอันเย็นที่เคยซ่องเสพมา แล้ว
ดูดน้ำด้วยงวงมารดมารดา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 3
[๑๕๐๑] ฝนอะไรนี้ไม่ประเสริฐเลย ย่อมตก
โดยกาลที่ไม่ควรตก บุตรเกิดในตนของเราเป็นผู้บำรุง
เรา ไปเสียแล้ว.
[๑๕๐๒] เชิญท่านลุกขึ้นเถิด จะมัวนอนอยู่
ทำไม ฉันเป็นลูกของแม่มาแล้ว พระเจ้ากาสีผู้ทรง
พระปรีชาญาณ มีบริวารยศใหญ่หลวงทรงปล่อยมา
แล้ว.
[๑๕๐๓] พระราชาพระองค์ใดทรงปล่อยลูกของ
เราตัวประพฤติอ่อนน้อมต่อบุคคลผู้เจริญทุกเมื่อ ขอ
พระราชาพระองค์นั้นจงทรงพระชนม์ยืนนาน ทรง
บำรุงแคว้นกาสีให้เจริญรุ่งเรืองเถิด.
จบมาตุโปสกชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 4
อรรถกถาเอกาทสนิบาต
อรรถกถามาตุโปสกชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ-
ปรารภภิกษุผู้เลี้ยงมารดา จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ตสฺส
นาคสฺส วิปฺปวาเสน ดังนี้.
เรื่องปัจจุบัน เสมือนกับเรื่องสามชาดกนั่นเอง. ก็พระศาสดาตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ายกโทษภิกษุนี้เลย
โปราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้บังเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พรากจากมารดา
ซูบซีดไป เพราะอดอาหาร ๗ วัน แม้ได้โภชนะอันสมควรแก่พระราชา คิดว่า
พวกเราเว้นจากมารดาเสีย จักไม่บริโภค พอเห็นมารดา ก็ยึดถือเอาอาหาร
ดังนี้แล้ว อันภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนา จึงนำอดีตนิทานมาว่า
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยพระราชสมบัติ ในกรุง
พาราณสี ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดช้าง ในหิมวันตประเทศ
ได้เป็นสัตว์เผือกปลอด มีรูปงาม น่าชม น่าเลื่อมใส สมบูรณ์ด้วยลักษณะ
กระทำความเจริญโดยลำดับ มีช้าง ๘๐,๐๐๐ เชือกเป็นบริวาร. ส่วนมารดา
ของท่านเป็นช้างบอด. แต่ท่านได้ให้ผลไม้ มีรสอร่อยแก่ช้างทั้งหลาย แล้ว
ส่งไปยังสำนักของมารดา ช้างทั้งหลายไม่ได้ให้แก่มารดาเลย เคี้ยวกินด้วย
ตนเอง. ท่านกำหนดรู้เรื่องนั้น คิดว่า เราจักละโขลงแล้ว เลี้ยงแต่มารดา
เท่านั้น ครั้นถึงส่วนแห่งราตรี เมื่อช้างเหล่าอื่นไม่รู้อยู่ จึงพามารดาไปยัง
เชิงเขา ชื่อว่า จัณโฑรณะ แล้วพักมารดาไว้ที่ถ้ำแห่งภูเขา ซึ่งอยู่ติดแถบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 5
อีกข้างหนึ่งแล้วเลี้ยงดู. ลำดับนั้น พรานไพรชาวกรุงพาราณสีคนหนึ่ง เป็น
คนหลงทาง เมื่อไม่อาจกำหนดทิศได้ จึงร้องไห้ด้วยเสียงอันดังลั่น. พระ-
โพธิสัตว์ได้ยินเสียงของพรานไพรนั้น คิดว่า บุรุษนี้เป็นคนไร้ที่พึ่ง ข้อที่เขา
พึงพินาศไปในที่นี้ เมื่อเรายังอยู่ ไม่สมควรแก่เราเลย ดังนี้แล้ว จึงไปหาเธอ
เห็นเธอกำลังหนีไปด้วยความกลัว จึงถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านไม่มีภัย
เพราะอาศัยเรา ท่านอย่าหนีไปเลย เพราะเหตุไร ท่านจึงเที่ยวร้องไห้ร่ำไร
อยู่เล่า เมื่อเขากล่าวว่า ข้าแต่นาย กระผมเป็นคนหลงทาง วันนี้เป็นวันที่ ๗
สำหรับผม จึงกล่าวว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านอย่ากลัวเลย เราจักวางท่าน
ไว้ในถิ่นมนุษย์ ดังนี้แล้ว ให้เขานั่งบนหลังตน นำออกจากป่าแล้วกลับไป.
ฝ่ายเขาเป็นคนชั่วคิดว่า เราไปยังนครแล้วจักทูลแก่พระราชา ดังนี้แล้ว จึงทำ
ต้นไม้เป็นเครื่องหมาย ทำภูเขาเป็นเครื่องหมาย ได้ออกไปยังกรุงพาราณสี.
ในกาลนั้น ช้างมงคลของพระราชาได้ทำกาละไป. พระราชาตรัสสั่งให้ตีกลอง
ร้องประกาศว่า ถ้าใคร ๆ เห็นช้างตัวเหมาะ ที่ส่งเสียงร้องในที่ใดที่หนึ่ง
ผู้นั้นจงบอก. บุรุษนั้นเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้ว ทูลว่า ข้าแต่สมมุติเทพ
ข้าพระองค์ได้เห็นพญาช้าง ตัวมีสีเผือกปลอด เหมาะเพื่อจะทำการฝึก
ข้าพระองค์จักแสดงหนทาง ขอพระองค์ จงส่งนายหัตถาจารย์ พร้อมกับข้า-
พระองค์ ไปให้จับช้างนั้นเถิด. พระราชาตรัสรับคำแล้วจึงตรัสว่า พวกเธอ
จงทำผู้นี้ให้เป็นผู้นำทาง ไปยังป่านำพญาช้างที่บุรุษนี้พูดไว้ ดังนี้แล้ว พร้อม
ด้วยบุรุษนั้น จึงส่งนายหัตถาจารย์ พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก. นาย
หัตถาจารย์ไปกับบุรุษนั้น เห็นช้างพระโพธิสัตว์ กำลังเข้าไปยังที่ซ่อนเร้น
กำลังถือเอาอาหาร. ฝ่ายพระโพธิสัตว์เห็นนายหัตถาจารย์แล้วอธิษฐานว่า ภัยนี้
ไม่ได้เกิดขึ้นจากผู้อื่น ชะรอยจักเกิดขึ้นจากสำนักบุรุษชั่วนี้นั้น ฝ่ายเราแล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 6
เป็นผู้มีกำลังมาก และสามารถจะกำจัดช้างได้ตั้ง ๑,๐๐๐ เชือก ครั้นโกรธแล้ว
สามารถจะนำพาหนะของนายทัพ พร้อมทั้งแว่นแคว้นให้พินาศไปได้ เพราะ
ฉะนั้น วันนี้เขาเอาหอกตอกศีรษะเรา เราก็ไม่โกรธ ดังนี้แล้ว จึงน้อมศีรษะลง
ได้ยืนนิ่งเฉย. นายหัตถาจารย์ลงสู่สระปทุม เห็นความสมบูรณ์แห่งลักษณะ
ของพระโพธิสัตว์นั้น จึงกล่าวว่า มาเถอะพ่อ แล้วจับงวงอันเสมือนกับพวงเงิน
ในวันที่ ๗ จึงถึงกรุงพาราณสี. ฝ่ายมารดาพระโพธิสัตว์ เมื่อบุตรยังไม่มา
จึงคร่ำครวญว่า ชะรอยว่า พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา นำเอา
บุตรของเราไป บัดนี้ หมู่ป่าไม้นี้จักเจริญ เพราะอยู่ปราศจากช้างนั้น ดังนี้
จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
ไม้อ้อยช้าง ไม้มูกมัน ไม้ช้างน้าว หญ้างวงช้าง
ข้าวฟ่าง และลูกเดือย งอกงามขึ้นแล้วเพราะพญาช้าง
นั้นพลัดพรากไป อนึ่ง ต้นกรรณิการ์ทั้งหลายที่เชิงเขา
ก็เผล็ดดอกบาน.
พระราชาหรือพระราชกุมาร ประทับนั่งบนคอ
พญาช้างใด ซึ่งไม่มีความสะดุ้ง ย่อมกำจัดเสียซึ่ง
ปัจจามิตรทั้งหลาย อิสรชนผู้ประดับด้วยอาภรณ์อัน
งดงามผู้หนึ่ง ย่อมเลี้ยงดูพญาช้างนั้นด้วยก้อนข้าว.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า วิรุฬฺหา ได้แก่ ชื่อว่าความเจริญ
ท่านกล่าวด้วยอำนาจความหวังว่า ในข้อนี้ไม่มีความสงสัยเลย. บทว่า
สลฺลกิโย จ กุฏฺชา ได้แก่ ไม้อ้อยช้าง และไม้มูกมัน. บทว่า กุรุวินฺท-
กรวรา ภิสสาม ความว่า ไม้ช้างน้าว หญ้างวงช้าง ข้าวฟ่าง และลูกเดือย.
นางช้างคร่ำครวญว่า ก็หมู่ป่าไม้ทั้งหมดนี้ จักเจริญในบัดนี้. บทว่า นิวาเต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 7
ได้แก่ ที่เชิงภูเขา. บทว่า ปุปฺผิตา ท่านอธิบายไว้ว่า กิ่งไม้ทั้งหลายที่ไม่
ได้ถูกบุตรของเราหักเคี้ยวกิน และต้นกรรณิการ์ก็จักผลิดอกบาน. บทว่า
โกจิเทว ได้แก่ ในที่ใดที่หนึ่ง จะเป็นบ้านหรือพระนครก็ตาม. บทว่า
สุวณฺณกายุรา ได้แก่ พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา ผู้มีเครื่อง
ประดับทำด้วยทองคำ. บทว่า ภรนฺติ ปิณฺเฑน ความว่า ในวันนี้ จัก
เลี้ยงพญาช้างตัวเลี้ยงมารดา ด้วยปิณฑะที่เจริญดีด้วยโภชนะอันสมควรแก่
พระราชา. บทว่า ยตฺถ ความว่า พระราชาประทับนั่งบนหลังพญาช้างเชือกใด.
บทว่า กวจมภิเหสฺสติ ความว่า พระราชาหรือพระราชกุมาร จักเข้าไปสู่
สงคราม กำจัด ทำลายเกราะของหมู่ข้าศึก. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า พระราชา
หรือพระราชกุมาร ประทับนั่งในที่ใด คือ บนหลังลูกของเรา ไม่มีความ
สะดุ้งกลัว จักทำลายเกราะของหมู่ข้าศึก วันนี้พวกเขามีอาภรณ์อันล้วนด้วย
ทองคำ ย่อมเลี้ยงพญาช้างของเรานั้นด้วยก้อนข้าว.
ฝ่ายนายหัตถาจารย์ ดำเนินไปในระหว่างทาง ส่งสาส์นไปถึงพระราชา
พระราชาตรัสสั่งให้ตบแต่งพระนคร. ฝ่ายนายหัตถาจารย์ นำพระโพธิสัตว์
ที่เขาประพรมด้วยของหอม ประดับตกแต่งเข้าไปยังโรงช้าง ให้ล้อมด้วยม่าน
อันวิจิตร ให้ผูกเพดานอันวิจิตรไว้ข้างบน แล้วให้กราบทูลแด่พระราชา.
พระราชาทรงนำโภชนะ มีรสอันเลิศต่าง ๆ มาให้แก่พระโพธิสัตว์. พระ-
โพธิสัตว์คิดว่า เราเว้นมารดาเสีย จักไม่ยอมรับอาหาร ดังนี้แล้ว จึงไม่รับ
อาหาร. ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะทรงอ้อนวอนพระโพธิสัตว์ จึงตรัสคาถา
ที่ ๓ ว่า
ดูก่อนพญาช้างตัวประเสริฐ เชิญพ่อรับเอาคำ
ข้าวเถิด อย่าได้ผ่ายผอมเลย ราชกิจมีเป็นอันมาก
ท่านจักต้องทำราชกิจเหล่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 8
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า
นางช้างนั้น เป็นกำพร้า ตาบอด ไม่มีผู้นำทาง
คงจะสะดุดตอไม้ล้มลงตรงภูเขาจัณโฑรณะเป็นแน่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สา นูน สา แปลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
นางช้างนั้น เป็นกำพร้าแน่นอน. บทว่า กปฺปณิกา ได้แก่ เป็นกำพร้า
เพราะพลัดพรากจากบุตร. บทว่า ขาณุ ได้แก่ ท่อนไม้ที่โค่นล้มลงในที่นั้น ๆ.
บทว่า ฆฏฺเฏติ ความว่า นางช้างร่ำไรรำพัน จึงได้สะดุดตรงที่นั้น ๆ เป็นแน่.
บทว่า จณฺโฑรณ ปติ ความว่า นางช้างเดินบ่ายหน้าสู่ภูเขาชื่อว่า จัณโฑรณะ
คร่ำครวญอยู่ที่เชิงเขา.
ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะตรัสถามพระโพธิสัตว์ จึงตรัสคาถาที่ ๕ ว่า
ดูก่อนพญาช้าง นางช้างตาบอดหาผู้นำทางมิได้
คงจะสะดุดตอไม้ล้มลงตรงภูเขาจัณโฑรณะนั้น เป็น
อะไรกับท่านหรือ ?
พระโพธิสัตว์ กล่าวคาถาที่ ๖ ว่า
ข้าแต่พระมหาราชา นางช้างตาบอดไม่มีผู้นำทาง
คงจะสะดุดตอไม้ล้มลงตรงภูเขา ชื่อ จัณโฑรณะนั้น
เป็นมารดาของข้าพระองค์.
พระราชา ทรงสดับเนื้อความแห่งคาถาที่ ๖ นั้น เมื่อจะให้ปล่อยไป
จึงตรัสคาถาที่ ๗ ว่า
พญาช้างนี้ ย่อมเลี้ยงดูมารดา ท่านทั้งหลายจง
ปล่อยพญาช้างนั้นเสียเถิด พญาช้างตัวประเสริฐจงอยู่
ร่วมกับมารดา พร้อมด้วยญาติทั้งหลายเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 9
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยย ภรติ ความว่า พญาช้างนี้ กล่าวว่า
ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์เลี้ยงมารดาตาบอด เว้นข้าพระองค์เสีย
มารดาของข้าพระองค์ ก็จักถึงความสิ้นชีวิต เว้นมารดาเสีย ข้าพระองค์ไม่มี
ความต้องการด้วยความเป็นใหญ่เลย วันนี้ เมื่อมารดาของข้าพระองค์ไม่ได้
อาหารเป็นวันที่ ๗ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงปล่อยพญาช้างที่เลี้ยงมารดานี้
พญาช้างนั้นจงมาอยู่ร่วมกับมารดา พร้อมด้วยญาติทั้งหมด.
อภิสัมพุทธคาถาที่ ๘ และที่ ๙ มีดังนี้
พญาช้าง อันพระเจ้ากาสีทรงปล่อยแล้ว พอ
หลุดพ้นจากเครื่องผูก พักอยู่ครู่หนึ่ง ได้ไปยังภูเขา
จากนั้นเดินไปสู่สระบัวอันเย็น ที่เคยส้องเสพมา แล้ว
ดูดน้ำด้วยงวงมารดมารดา.
ได้ยินว่า พญาช้างนั้นพ้นจากเครื่องผูก พักอยู่หน่อยหนึ่ง แล้ว
แสดงธรรมแก่พระราชา ด้วยทศพิธราชธรรมคาถาแล้วให้โอวาทว่า ข้าแต่
พระมหาราชา ขอพระองค์จงอย่าเป็นผู้ประมาทเลย อันมหาชนบูชาอยู่ด้วย
เครื่องสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ออกจากพระนคร ถึงสระปทุมนั้น
ในขณะนั้นนั่นเอง คิดว่า เราไม่ให้มารดาของเรารับเอาอาหาร เราเองก็จัก
ไม่รับ ดังนี้แล้ว จึงถือเอารากเหง้าบัวเป็นอันมาก จึงใช้งวงดูดน้ำจนเต็ม
ออกจากที่เร้นในถ้ำ ไปยังสำนักมารดา ตัวนอนอยู่ที่ประตูถ้ำ รดน้ำบนศีรษะ
เพื่อให้ร่างของมารดาได้สัมผัส เพราะอดอาหารมาตั้ง ๗ วัน. พระศาสดา
เมื่อจะทรงทำให้แจ้งซึ่งความนั้น จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถาเหล่านี้. ฝ่ายมารดา
ของพระโพธิสัตว์ จึงว่ากล่าวเธอด้วยความสำคัญว่า ฝนตก แล้วกล่าวคาถา
ที่ ๑๐ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 10
ฝนอะไรนี้ ไม่ประเสริฐเลย ย่อมตกโดยกาล
ที่ไม่ควรตก บุตรเกิดในตนของเรา เป็นผู้บำรุงเราไป
เสียแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺรโช ได้แก่ เกิดในตน.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ เมื่อจะให้มารดาสบายใจ จึงกล่าวคาถา
ที่ ๑๑ ว่า
เชิญท่านลุกขึ้นเถิด จะมัวนอนอยู่ทำไม ฉันเป็น
ลูกของแม่มาแล้ว พระเจ้ากาสีผู้ทรงพระปรีชาญาณ
มีบริวารยศใหญ่หลวง ทรงปล่อยมาแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาคโต ตฺยาห ตัดเป็น อาคโต เต
อห. บทว่า เวเทเหน ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยญาณ. บทว่า ยสสฺสินา ได้แก่
มีบริวารมาก. อธิบายว่า ฉันถูกพระราชานั้น แม้จับโดยความที่ฉันเป็นช้าง
มงคลพ้นแล้ว บัดนี้ ฉันมายังสำนักของแม่ แม่จงลุกขึ้น รับอาหารเถิด.
นางช้างดีใจ เมื่อจะทำอนุโมทนาแด่พระราชา จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า
พระราชาพระองค์ใด ทรงปล่อยลูกของเรา ตัว
ประพฤติอ่อนน้อมต่อบุคคลผู้เจริญทุกเมื่อ ขอ
พระราชาพระองค์นั้น จงทรงพระชนม์ยืนนาน ทรง
บำรุงแคว้นกาสีให้เจริญรุ่งเรืองเถิด.
ครั้งนั้น พระราชาทรงเลื่อมใสในพระคุณของพระโพธิสัตว์ ทรง
รับสั่งให้สร้างโรงช้างไม่ไกลแต่เมืองนิลีนิ จึงทรงเริ่มตั้งภัตตาหารไว้เนืองนิตย์
เพื่อพระโพธิสัตว์ และมารดา. ครั้นภายหลัง พระโพธิสัตว์ เมื่อมารดาทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 11
กาละแล้ว ได้ทำการบริหารร่างกายของมารดาแล้ว ไปสู่อาศรมชื่อ กรัณฑกะ
ก็ในที่นั้น ฤาษีจำนวน ๕๐๐ ลงจากภูเขาหิมพานต์มาอยู่. พระโพธิสัตว์ได้
ถวายปวัตตทานนั้นแด่ฤาษีเหล่านั้น. พระราชาทรงรับสั่งให้สร้างรูปปฏิมา
อันสำเร็จด้วยศิลามีรูปเท่าพระโพธิสัตว์แล้ว ได้ให้มหาสักการะเป็นไป. ประ-
ชาชนชาวชมพูทวีป ประชุมกันเป็นประจำปี ได้ทำการฉลองช้าง.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงประกาศสัจจะ
ทั้งหลาย ประชุมชาดกว่า พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์
บุรุษชั่วได้เป็นพระเทวทัต นายหัตถาจารย์ได้เป็นพระสารีบุตร นางช้าง
นั้นได้เป็นพระนางมหามายาเทวี ส่วนช้างเชือกประเสริฐ ซึ่งเลี้ยงดู
มารดา คือเรานั่นเอง ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
จบอรรถกถามาตุโปสกชาดก
๒. ชุณหชาดก
ว่าด้วยการคบบัณฑิตและคบคนพาล
[๑๕๐๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน ขอ
พระองค์ทรงสดับคำของข้าพระองค์ ข้าพระองค์มาถึง
ในที่นี้ด้วยประโยชน์ในพระเจ้าชุณหะ ข้าแต่พระองค์
ผู้ประเสริฐว่าสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย เมื่อพราหมณ์
เดินทางไกลยืนอยู่ บัณฑิตทั้งหลายไม่ควรพูดว่า
พระราชาควรเสด็จเลยไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 12
[๑๕๐๕] ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ากำลังรอฟัง
อยู่ ท่านมาถึงในที่นี้ด้วยประโยชน์อันใด จงบอก
ประโยชน์อันนั้น หรือว่าท่านปรารถนาประโยชน์
อะไรในข้าพเจ้าจึงมาในที่นี้ เชิญท่านพราหมณ์บอก
มาเถิด.
[๑๕๐๖] ขอพระองค์โปรดพระราชทานบ้านส่วย
๕ ตำบลแก่ข้าพระองค์ ทาสี ๑๐๐ คน โค ๗๐๐
ทองเนื้อดี ๑,๐๐๐ แท่ง ขอได้ทรงโปรดประทานภรรยา
ผู้พริ้มเพราแก่ข้าพระองค์ ๒ คน.
[๑๕๐๗] ดูก่อนพราหมณ์ ตบะอันมีกำลังกล้า
ของท่านมีอยู่หรือ หรือว่ามนต์ขลังของท่านมีอยู่ หรือ
ว่ายักษ์บางพวกผู้เชื่อฟังถ้อยคำของท่านมีอยู่ หรือว่า
ท่านยังจำได้ถึงประโยชน์ที่ท่านทำแล้วแก่เรา.
[๑๕๐๘] ตบะของข้าพระองค์มิได้มี แม้มนต์
ของข้าพระองค์ก็มิได้มี ยักษ์บางพวกผู้เชื่อฟังถ้อยคำ
ของข้าพระองค์ก็ไม่มี อนึ่ง ข้าพระองค์ก็จำไม่ได้ถึง
ประโยชน์ ที่ข้าพระองค์ทำแล้วแก่พระองค์ ก็แต่ว่า
เมื่อก่อนได้มีการพบปะกันเท่านั้นเอง.
[๑๕๐๙] ข้าพเจ้ารู้อยู่ว่า การเห็นนี้เป็นการเห็น
ครั้งแรก นอกจากนี้ ข้าพเจ้าจำไม่ได้ถึงการพบกันใน
ครั้งใดเลย ข้าพเจ้าถามถึงเรื่องนั้น ขอท่านจงบอก
แก่ข้าพเจ้าว่า เราได้เคยพบกันเมื่อไรหรือที่ไหน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 13
[๑๕๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์
และข้าพระองค์ได้อยู่กันมาแล้วในเมืองตักกศิลา อัน
เป็นเมืองที่รื่นรมย์ของพระเจ้าคันธารราช พระองค์
กับข้าพระองค์ได้กระทบไหล่กันในความมืด มี
หมอกทึบในนครนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอม-
ประชาชน พระองค์และข้าพระองค์ยืนกันอยู่ในที่
ตรงนั้น เจรจาปราศรัยด้วยคำอันให้ระลึกถึงกันที่ตรง
นั้นแล เป็นการพบกันแห่งพระองค์และข้าพระองค์
ภายหลังจากนั้นมิได้มี ก่อนแต่นั้นก็ไม่มี.
[๑๕๑๑] ดูก่อนพราหมณ์ การสมาคมกับสัป-
บุรุษย่อมมีในหมู่มนุษย์บางครั้งบางคราว บัณฑิต
ทั้งหลายย่อมไม่ทำการพบปะกัน ความสนิทสนม หรือ
คุณที่กระทำไว้แล้วในกาลก่อนให้เสื่อมสูญไป.
[๑๕๑๒] ส่วนคนพาลทั้งหลาย ย่อมทำการพบ
ปะกัน ความสนิทสนม หรือคุณที่เขาทำไว้ในกาลก่อน
ให้เสื่อมสูญไป คุณที่ทำไว้ในคนพาลทั้งหลาย ถึงจะ
มากมายก็ย่อมเสื่อมไปหมด เพราะว่าคนพาลทั้งหลาย
เป็นคนอกตัญญู.
[๑๕๑๓] ส่วนนักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมไม่ทำ
การพบปะกัน ความสนิทสนม หรือคุณที่เขาทำไว้ใน
กาลก่อนให้เสื่อมสูญไป คุณที่ทำไว้ในนักปราชญ์
ทั้งหลาย ถึงจะน้อยก็ย่อมไม่เสื่อมหายไป เพราะว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 14
นักปราชญ์ทั้งหลายเป็นผู้ความกตัญญูดี ข้าพเจ้าจะ
ให้บ้านส่วย ๕ ตำบลแก่ท่าน ทาสี ๑๐๐ คน โค ๗๐๐
ทองเนื้อดี ๑,๐๐๐ แท่ง และภรรยาผู้พริ้มเพรา ๒ คน
มีชาติและตระกูลเสมอกัน แก่ท่าน.
[๑๕๑๔] ข้าแต่พระราชา การสมาคมกับสัตบุรุษ
ย่อมเป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในกาสิกรัฐ
ข้าพระองค์บริบูรณ์ไปด้วยสมบัติ มีบ้านส่วยเป็นต้น
เหมือนพระจันทร์ตั้งอยู่ท่ามกลางแห่งหมู่ดาวทั้งหลาย
ฉะนั้น การสังคมกับพระองค์นั่นแล เป็นอันว่าข้า-
พระองค์ได้แล้วในวันนี้เอง.
จบชุณหชาดกที่ ๒
อรรถกถาชุณหชาดก
พระศาสดา เมื่อทรงประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภพรที่พระอานนทเถระได้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า สุโณหิ มยฺห วจน ชนินฺท ดังนี้.
ดังจะกล่าวโดยพิสดาร ในปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้
มีอุปัฏฐากประจำตลอด ๒๐ ปี. บางคราวพระนาคสมาลเถระ ก็อุปัฏฐาก
พระผู้มีพระภาคเจ้า บางคราวพระนาคิตะ บางคราวพระอุปวาณะ บางคราว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 15
พระสุนักขัตตะ บางคราวพระจุนทะ บางคราวพระสาคตะ บางคราวพระ-
เมฆิยะ.
ภายหลังวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส
ว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราเป็นผู้แก่แล้ว ภิกษุบางพวก เมื่อเรากล่าวว่า
จะไปทางนี้ แล้วพากันไปเสียทางอื่น บางพวกทิ้งบาตรและจีวรของเราไว้ที่
พื้นดิน พวกเธอจงรู้ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้จะเป็นอุปัฏฐากประจำตัวเรา ทรงห้าม
พระสารีบุตรเถระเป็นต้น ที่พากันลุกขึ้นกระทำอัญชลีด้วยเศียรเกล้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ จักอุปัฏฐาก ข้าพระองค์ จักอุปัฏฐาก ดังนี้
ด้วยพระดำรัสว่า ความปรารถนาของพวกเธอ ถึงที่สุดแล้วพอละ. ลำดับนั้น
ภิกษุทั้งหลาย จึงกล่าวกะท่านพระอานนทเถระว่า อาวุโส ท่านจงวิงวอนการ
อุปัฏฐากเถิด. พระเถระขอพร ๘ ประการ คือ ปฏิเสธ ๔ และข้อวิงวอน ๔
เหล่านี้คือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จักไม่ประทานจีวร
ที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์ จักไม่ให้บิณฑบาต จักไม่ให้อยู่ในพระคันธกุฎี
เดียวกัน จักไม่พาข้าพระองค์ไปยังที่ที่นิมนต์ ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จักไป
ยังที่นิมนต์ ที่ข้าพระองค์รับไว้ ถ้าข้าพระองค์จักได้เพื่อให้บริษัทที่มา จาก
นอกแว่นแคว้น นอกชนบท เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอให้ได้เข้าเฝ้าใน
ขณะที่มาแล้วทีเดียว ขอให้ข้าพระองค์จักได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ในขณะที่
ข้าพระองค์เกิดความสงสัย ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอันใด ในที่
ลับหลังข้าพระองค์กลับมาแล้ว ขอได้แสดงธรรมนั้น แก่ข้าพระองค์อีก ด้วย
อาการอย่างนี้ ข้าพระองค์จึงจักอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. ฝ่ายพระผู้มี
พระภาคเจ้า ก็ได้ประทานแก่เธอแล้ว. ตั้งแต่นั้นมา พระอานนทเถระก็ได้
เป็นอุปัฏฐากประจำ เป็นเวลา ๒๕ ปี. พระเถระได้รับสถาปนาในเอตทัคคะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 16
ในฐานะ ๕ ประกอบด้วยสัมปทา ๗ เหล่านี้ คือ อาคมสัมปทา อธิคม-
สัมปทา ปุพพเหตุสัมปทา อัตถัตถปริปุจฉาสัมปทา ติฏฐวาสสัมปทา
โยนิโสมนสิการสัมปทา และพุทธุปนิสสยสัมปทา ได้รับมรดกคือพร
๘ ประการ ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ปรากฏชัดในพระพุทธศาสนา
ได้ปรากฏเหมือนพระจันทร์ลอยเด่นในท้องฟ้า. ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
สนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโส พระตถาคตได้ให้พระอานนท์เถระ
อิ่มหนำด้วยการประทานพร. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ให้ทรงทราบ จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้อย่างเดียวเท่านั่นเอง แม้ใน
กาลก่อน เราก็ให้พระอานนท์อิ่มหนำด้วยพรแล้ว ในกาลก่อนนั่นเอง เราก็
ได้ให้สิ่งที่เธอขอร้องเหมือนกัน ดังนี้แล้ว จึงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ในกรุงพาราณสี
พระโพธิสัตว์ได้เป็นพระราชโอรสของท้าวเธอ ทรงพระนามว่า ชุณหกุมาร
ทรงศึกษาศิลปะในกรุงตักกศิลา ให้การประกอบเนือง ๆ แก่อาจารย์ ในเวลา
มืดค่ำตอนกลางคืน ออกจากเรือนของอาจารย์ รีบไปที่อยู่ของตน เมื่อไม่
เห็นพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ผู้เที่ยวภิกษาจารไปยังที่อยู่ของตน จึงตีตุ่มภัตร
ของพราหมณ์นั้นแตกไป. พราหมณ์ล้มลงร้องไห้. กุมารกลับได้ความกรุณา
จึงจับมือพราหมณ์นั้นให้ลุกขึ้น. พราหมณ์กล่าวว่า เธอมาทำลายภาชนะภิกษา
องเราทำไม จงให้ค่าภัตตาหารแก่เรา. กุมารกล่าวว่า พราหมณ์ บัดนี้ เรา
ไม่อาจจะให้ค่าภัตตาหารนั้นแก่ท่านได้ ก็เราแลเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี มี
นามว่า ชุณหกุมาร เมื่อเราดำรงอยู่ในรัชสมบัติ ท่านพึงมาขอทรัพย์เราได้
จบการศึกษาแล้ว ไหว้อาจารย์แล้วไปยังกรุงพาราณสี แสดงศิลปะแก่พระบิดา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 17
พระบิดาทรงคิดว่า เราเมื่อยังมีชีวิตอยู่ได้เห็นบุตรแล้ว เราจักเห็นบุตรนั้น
ได้เป็นพระราชา ดังนี้แล้ว จึงอภิเษกไว้ในรัชสมบัติ. พระองค์เป็นพระราชา
มีพระนามว่า ชุณหะ ครองราชสมบัติโดยธรรม, พราหมณ์ทราบเรื่องนั้นแล้ว
จึงคิดว่า บัดนี้เราจักให้พระราชานำค่าภัตตาหารมาแก่เรา จึงไปยังกรุงพาราณสี
มองเห็นพระราชากำลังทำประทักษิณพระนครที่ตบแต่งไว้นั่นแล จึงยืนอยู่ใน
ที่สูงแห่งหนึ่งแล้ว เหยียดมือออกไปให้ชัยชนะ. พระราชาเสด็จเลยไป โดย
ไม่เหลียวดูเลย. พราหมณ์รู้ว่าท้าวเธอมิได้เห็น เมื่อจะยกเรื่องขึ้น จึงกล่าว
คาถาที่ ๑ ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน ขอพระองค์
จงทรงสดับคำของข้าพระองค์ ข้าพระองค์มาถึงในที่นี้
ด้วยประโยชน์ในพระเจ้าชุณหะ ข้าแต่พระองค์ผู้
ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าทั้งหลาย เมื่อพราหมณ์เดิน
ทางไกลยืนอยู่ บัณฑิตทั้งหลายไม่ควรพูดว่า พระราชา
ควรเสด็จเลยไป.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ชุณฺหมฺหิ พราหมณ์ย่อมแสดงว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ มาถึงในที่นี้ด้วยประโยชน์อันหนึ่ง ในท่านผู้
ชื่อว่า ชุณหะ มิได้มาโดยไร้เหตุผล. บทว่า อิทฺธิเก ได้แก่ มาสิ้นระยะ
กาลนาน. บทว่า คนฺตพฺพ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย ไม่ได้กล่าวมาแล้ว
และย่อมไม่กล่าวว่า พระราชาควรเสด็จเลยไป โดยไม่เหลียวแลดูพราหมณ์ผู้
เดินทางไกล คือ ผู้มาสิ้นระยะกาลนานขอร้องอยู่.
พระราชา ทรงสดับคำของเธอแล้ว จึงเอาขอเพชรข่มช้าง ได้ตรัส
คาถาที่ ๒ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 18
ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ากำลังรอฟังอยู่ ท่าน
มาถึงในที่นี้ด้วยประโยชน์อันใด จงบอกประโยชน์
อันนั้น หรือว่าท่านปรารถนาประโยชน์อะไร ใน
ข้าพเจ้าจึงมาในที่นี้ เชิญท่านพราหมณ์บอกมาเถิด.
ศัพท์ว่า อีฆ ในคาถานั้น เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า ประท้วง.
ต่อแต่นั้น จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือด้วยอำนาจคำโต้ตอบ ของพราหมณ์กับ
พระราชาว่า
ขอพระองค์โปรดพระราชทานบ้านส่วย ๕ ตำบล
แก่ข้าพระองค์ ทาสี ๑๐๐ คน โค ๗๐๐ ตัว ทองเนื้อดี
๑,๐๐๐ แท่ง ขอได้ทรงโปรดประทานภรรยาผู้พริ้มเพรา
แก่ข้าพระองค์ ๒ คน.
ดูก่อนพราหมณ์ ตบะอันมีกำลังกล้าของท่านมี
อยู่หรือ หรือว่ามนต์ขลังของท่านมีอยู่ หรือว่ายักษ์
บางพวกผู้เชื่อฟังถ้อยคำของท่านมีอยู่ หรือว่าท่านยัง
จำได้ถึงประโยชน์ที่ท่านทำแล้วแก่เรา.
ตบะของข้าพระองค์มิได้มี แม้มนต์ของข้า-
พระองค์มิได้มี ยักษ์บางพวกผู้เชื่อฟังถ้อยคำของ
ข้าพระองค์ก็ไม่มี อนึ่ง ข้าพระองค์ก็จำไม่ได้ถึง
ประโยชน์ ที่ข้าพระองค์ทำแล้ว แก่พระองค์ ก็แต่ว่า
เมื่อก่อนได้มีการพบปะกันเท่านั้นเอง.
ข้าพเจ้ารู้อยู่ว่า การเห็นนี้เป็นการเห็นครั้งแรก
นอกจากนี้ ข้าพเจ้าจำไม่ได้ถึงการพบกันในครั้งใดเลย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 19
ข้าพเจ้าถามถึงเรื่องนั้น ขอท่านจงบอกแก่ข้าพเจ้าว่า
เราได้เคยพบกันเมื่อไรหรือที่ไหน.
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์และข้า-
พระองค์ได้อยู่กันมาแล้วในเมืองตักกศิลา อันเป็น
เมืองที่รื่นรมย์ของพระเจ้าคันธารราช พระองค์กับข้า
พระองค์ได้กระทบไหล่กัน ในความมืด มีหมอกทึบ
ในนครนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน
พระองค์และข้าพระองค์ยืนกันอยู่ในที่ตรงนั้น เจรจา
ปราศรัยด้วยคำอันให้ระลึกถึงกันที่ตรงนั้นแล เป็นการ
พบกันแห่งพระองค์เเละข้าพระองค์ ภายหลังจากนั้น
มิได้มี ก่อนแต่นั้นก็ไม่มี.
ดูก่อนพราหมณ์ การสมาคมกับสัปบุรุษย่อมมี
ในหมู่มนุษย์บางครั้งบางคราว บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่
ทำการพบปะกัน ความสนิทสนม หรือคุณที่กระทำไว้
แล้วในกาลก่อน ให้เสื่อมสูญไป.
ส่วนคนพาลทั้งหลาย ย่อมทำการพบปะกัน
ความสนิทสนม หรือคุณที่เขาทำไว้ในกาลก่อน ให้
เสื่อมสูญไป คุณที่ทำไว้ในคนพาลทั้งหลาย ถึงจะมาก
มายก็ย่อมเสื่อมไปหมด เพราะว่าคนพาลทั้งหลาย เป็น
คนอกตัญญู.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 20
ส่วนนักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมไม่ทำการพบปะกัน
ความสนิทสนม หรือคุณที่เขาทำไว้ในกาลก่อน ให้
เสื่อมสูญไป คุณที่ทำไว้ในนักปราชญ์ทั้งหลาย ถึงจะ
น้อยก็ย่อมไม่เสื่อมหายไป เพราะว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
เป็นผู้มีความกตัญญูดี ข้าพเจ้าจะให้บ้านส่วย ๕ ตำบล
แก่ท่าน ทาสี ๑๐๐ คน โค ๗๐๐ ตัว ทองเนื้อดี ๑,๐๐๐
แท่ง และภรรยาผู้พริ้มเพรา ๒ คน มีชาติและตระกูล
เสมอกัน แก่ท่าน.
ข้าแต่พระราชา การสมาคมกับสัตบุรุษ ย่อมเป็น
อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในกาลิกรัฐ ข้าพระ-
องค์บริบูรณ์ไปด้วยสมบัติ มีบ้านส่วยเป็นต้น เหมือน
พระจันทร์ตั้งอยู่ท่ามกลางแห่งหมู่ดาวทั้งหลาย ฉะนั้น
การสังคมกับพระองค์นั่นแล เป็นอันว่าข้าพระองค์
ได้แล้วในวันนี้เอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาทิสี ความว่า ขอพระองค์จงทรง
ประทานภริยาผู้พริ้งพร้อมด้วยรูป ผู้มีผิวพรรณ มีชาติตระกูล และประเทศ
นั้นนั่นแล ผู้มียศใหญ่สองนาง ผู้เป็นเช่นเดียวกันกับข้าพระองค์. บทว่า
ภีสรูโป ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ ตบกรรมอันได้แก่คุณแห่งศีลและอาจาระ
ของท่าน มีเรี่ยวแรงหรืออย่างไร. บทว่า มนฺตา นุ เต ความว่า หรือ
มนต์อันขลังยิ่งนัก อันให้สำเร็จประโยชน์ทุกอย่างของท่านมีอยู่. บทว่า
อสฺสกา ความว่า พวกยักษ์ผู้กระทำตามถ้อยคำ ผู้ให้สิ่งที่ท่านมุ่งมาด
ปรารถนา บางจำพวกของท่านมีอยู่. บทว่า กตฺต ความว่า ท่านถามว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 21
ท่านยังนึกถึงประโยชน์อะไร ๆ ที่ท่านทำไว้แก่ข้าพเจ้า. บทว่า สงฺคติมตฺต
ความว่า พราหมณ์กราบทูลว่า เหตุเพียงการมาพบกันกับพระองค์ ได้มีแก่
ข้าพระองค์ในครั้งก่อน. บทว่า ชานโต เม ความว่า นี้เป็นการเห็นครั้ง
แรกของท่านกับข้าพเจ้าผู้รู้อยู่. บทว่า น ตาภิชานามิ ความว่า เราไม่รู้
จักท่าน. บทว่า ติมิสฺสทาย ได้แก่ กลางคืนอันมืดมิด. บทว่า เต ตตฺถ
ตฺวาน ความว่า เราเหล่านั้น ยืนอยู่ในที่ที่ไหล่ต่อไหล่กระทบกันนั้น. บทว่า
วีติสาริมฺห ตตฺถ ความว่า พราหมณ์กราบทูลว่า ในที่ตรงนั้นนั่นแหละ พวก
เราได้ยังถ้อยคำอันควรที่จะพึงระลึกให้หลั่งไหล คือ ข้าพระองค์กราบทูลว่า
ภาชนะภิกษาของข้าพระองค์ อันพระองค์ทุบแตกแล้ว ขอพระองค์จงประทาน
ค่าภัตตาหารแก่ข้าพระองค์ พระองค์ตรัสว่า บัดนี้ ข้าพเจ้าไม่สามารถจะใช้ค่า
ภัตตาหารแก่ท่านได้ แต่ข้าพเจ้าเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี ชื่อว่า
ชุณหกุมาร เมื่อข้าพเจ้าดำรงอยู่ในราชสมบัติ ท่านค่อยมาทวงทรัพย์กับ
ข้าพเจ้า สาราณียกถานี้ พวกเราได้กระทำกันได้แล้ว. บทว่า สาเยว โน
สงฺคติมตฺตมาสิ ความว่า พราหมณ์แสดงว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
พวกเรามีเพียงได้พบปะระหว่างกันและกัน คือได้พบกันเพียงครู่เดียว. บทว่า
ตโต ความว่า ภายหลังหรือก่อนแต่นั้น คือ จากมิตรภาพชั่วครู่นั้น
ที่จะเรียกได้ว่าเป็นการพบปะของพวกเรา ไม่เคยมีครั้งไหนเลย. บทว่า
น ปณฺฑิตา ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ อันท่านผู้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมไม่ทำให้การพบปะเพียงชั่วครู่นั้นหรือ หรือการคุ้นเคยกันตลอดกาลนาน
คุณที่ท่านทำไว้ในกาลก่อนอะไรๆ เสื่อมสูญไป. บทว่า พหุปิ แปลว่า
แม้มากมาย. บทว่า อกตญฺญุรูปา ความว่า เพราะเหตุที่พวกคนพาล มี
สภาวะเป็นคนอกตัญญู ฉะนั้น อุปการคุณที่ท่านทำไว้ในพวกคนพาลนั้น ถึงจะ
มีมากก็ย่อมเสื่อมสูญไป. บทว่า สุกตญฺรูปา คือ มีสภาวะรู้อุปการคุณที่ท่าน
ทำแล้วด้วยดี. หิ อักษรในคำว่า ตถา หิ ทั้งในที่นี้ ทั้งในที่นั้น มีการณะเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 22
อรรถ. บทว่า ททามิ เต ความว่า พระราชาเมื่อพระราชทานตามที่พราหมณ์
ทูลขอ จึงได้ตรัสว่าอย่างนั้น. พราหมณ์เมื่อทำอนุโมทนาแด่พระราชาจึงได้
กราบทูลคาถาว่า เอว สต เป็นอาทิ คือ ชื่อว่า การร่วมสมาคม ได้แก่
การพบปะกับสัตบุรุษ คือท่านผู้เป็นคนดีทั้งหลายแม้เพียงครั้งเดียวก็ย่อมเป็น
อย่างนี้. ริว อักษรในบทว่า นกฺขตฺตราชาริว เป็นเพียงนิบาต. บทว่า
ตารกาน ได้แก่ ในท่ามกลางแห่งดวงดาวทั้งหลาย. พราหมณ์ทูลพระราชาว่า
กาสิปติ อธิบายว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ผู้เป็นใหญ่ในกาสีรัฐ ดวง-
จันทร์สถิตอยู่ในท่ามกลางแห่งหมู่ดาว คือมีกลุ่มแห่งดวงดาวแวดล้อมย่อม
เปล่งปลั่ง จำเดิมแต่วันปาฏิบทจนถึงวันเพ็ญ ฉันใด แม้ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น
วันนี้กำลังเปี่ยมด้วยบ้านส่วยเป็นต้นที่พระองค์พระราชทานให้. บทว่า ตยา
หิ เม ความว่า การสังคมกับพระองค์ แม้ข้าพระองค์ได้แล้วในครั้งก่อน
ก็เป็นเหมือนกับไม่ได้ แต่ในวันนี้ เพราะมโนรถของข้าพระองค์สำเร็จ การ
สังคมกับพระองค์ เป็นอัน ชื่อว่าอันข้าพระองค์ได้แล้วทั้งนั้น พราหมณ์ทูลว่า
ผลแห่งไมตรีจิตกับพระองค์ของข้าพระองค์สำเร็จแล้ว.
พระโพธิสัตว์ ได้ประทานยศใหญ่แก่พราหมณ์นั้น.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน เราก็เคยให้พระอานนท์
อิ่มเอิบด้วยพรเหมือนกัน ดังนี้แล้ว จึงประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในกาลนั้น
ได้เป็นพระอานนท์ ส่วนพระราชาได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาชุณหชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 23
๓. ธรรมเทวปุตตชาดก
ว่าด้วยเรื่องธรรมชนะอธรรม
[๑๕๑๕] ดูก่อนอธรรมเทพบุตร ฉันเป็นผู้สร้าง
ยศ สร้างบุญ สรณะและพราหมณ์สรรเสริญทุกเมื่อ
อธรรมเอ๋ย ฉันชื่อว่าเป็นฝ่ายธรรม อันเทวดาและมนุษย์
บูชาแล้ว คู่ควรแก่หนทาง ท่านจงให้หนทางแก่ฉันเถิด.
[๑๕๑๖] ดูก่อนธรรมเทพบุตร เราชื่อว่าอธรรม
ขึ้นสู่ยานแห่งอธรรมอันมั่นคง ไม่เคยกลัวใคร มีกำลัง
เข้มแข็ง ธรรมเอ๋ย เราจะพึงให้ทางที่ไม่เคยให้ใคร
แก่ท่านในวันนี้ เพราะเหตุอะไรเล่า.
[๑๕๑๗] ธรรมแลปรากฏก่อน ภายหลังอธรรม
จึงเกิดขึ้นในโลก เราเป็นผู้เจริญกว่า ประเสริฐกว่า
ทั้งเก่ากว่า ขอจงให้ทางแก่เราเถิด น้องเอ๋ย.
[๑๕๑๘] เราจะไม่ให้หนทางแก่ท่าน เพราะการ
ขอร้องหรือเพราะความเป็นผู้สมควร ในวันนี้เรา
ทั้งสองจงมารบกัน แล้วหนทางเป็นของผู้ชนะใน
การรบ.
[๑๕๑๙] เราผู้ชื่อว่าธรรม เป็นผู้ลือชาปรากฏไป
ทั่วทุกทิศ มีกำลังมาก มียศประมาณไม่ได้ ไม่มีผู้เสมอ
เหมือน ประกอบด้วยคุณทั้งปวง อธรรมเอ๋ย ท่านจัก
ชนะได้อย่างไร.
[๑๕๒๐] เขาเอาฆ้อนเหล็กตีทองอย่างเดียว หา
ได้เอาทองตีเหล็กไม่ ถ้าหากว่าเราผู้ชื่อว่าอธรรม ฆ่า
ท่านผู้ชื่อว่าธรรมในวันนี้ได้ เหล็กจะน่าดู น่าชม
เหมือนทองคำ ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 24
[๑๕๒๑] ดูก่อนอธรรมเทพบุตร ถ้าหากว่าท่าน
เป็นผู้มีกำลังในการรบไซร้ ผู้หลักผู้ใหญ่และครูของ
ท่านมิได้มี เราจะย่อมให้หนทางอันเป็นที่รักด้วยอาการ
อันไม่เป็นที่รักของท่าน ทั้งจะขออดทนถ้อยคำชั่ว ๆ
ของท่าน.
[๑๕๒๒] อธรรมเทพบุตรได้ฟังคำนี้แล้ว ก็เป็น
ผู้มีศีรษะลงเบื้องต่ำ มีเท้าขึ้นเบื้องสูง ตกลงจากรถ
รำพันเพ้อว่าเราปรารถนาจะรบก็ไม่ได้รบ อธรรมเทพ
บุตรถูกตัดรอนเสียแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
[๑๕๒๓] ธรรมเทพบุตรผู้มีขันติเป็นกำลัง มีจิต
เที่ยงตรง มีกำลังมาก มีความบากบั่นอย่างแท้จริง
ชำนะกำลังรบ ได้ฆ่าอธรรมเทพบุตรฝั่งเสียในแผ่นดิน
แล้ว ขึ้นสู่รถของตนไปโดยหนทางนั่นเทียว.
[๑๕๒๔] มารดาบิดาและสมณพราหมณ์ ไม่ได้
รับความนับถือในเรือนของชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น
ครั้นทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ ตายไปแล้วย่อมต้อง
พากันไปสู่นรก เหมือนอธรรมเทพบุตรผู้มีศีรษะลงใน
เบื้องต่ำตกไปแล้ว ฉะนั้น.
[๑๕๒๕] มารดา บิดา และสมณพราหมณ์ ได้รับ
ความนับถือเป็นอย่างดีในเรือนของชนเหล่าใด ชน
เหล่านั้น ครั้นทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ตายไปแล้ว
ย่อมพากันไปสุคติ เหมือนธรรมเทพบุตรขึ้นสู่รถของ
ตนไปสู่เทวโลก ฉะนั้น.
จบธรรมเทวปุตตชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 25
อรรถกถาธรรมเทวปุตตชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ
ปรารภถึงการที่แผ่นดินสูบพระเทวทัต จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า ยโสกโร ปุญฺกโรหมสฺมิ ดังนี้.
ความย่อว่า ในครั้งนั้นพวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโส
ทั้งหลาย พระเทวทัตกลับเกรี้ยวกราดกับพระตถาคตเจ้า เลยถูกแผ่นดินสูบ
เสียแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่ง
สนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบ จึง
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัตให้การ
ประหารในชินจักรของเรา ถูกแผ่นดินสูบ แม้ในกาลก่อน เธอก็เคยให้ประหาร
ในธรรมจักร ถูกแผ่นดินสูบบ่ายหน้าไปสู่อเวจีมหานรก ดังนี้แล้ว จึงได้นำ
อดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ในกรุงพาราณสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นเทพบุตรนามว่า ธรรม ในกามาวจรเทวโลก. ส่วน
พระเทวทัตเป็นเทพบุตร ชื่อว่า อธรรม. ในเทวบุตรที่ ๒ องค์นั้น ธรรม
เทพบุตรประดับด้วยเครื่องอลังการอันเป็นทิพย์ ทรงรถทิพย์อันประเสริฐ
สนทนากันอย่างสบาย ที่ประตูเรือนของตน ๆ ก็สถิตอยู่ในอากาศ ณ คาม
นิคม ชนบทและราชธานี ในวันเพ็ญอันเป็นวันอุโบสถ ชวนหมู่ชนให้ถือมั่น
ซึ่งกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการว่า ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากอกุศลกรรมบถ
๑๐ ประการ มีปาณาติบาตเป็นต้น พากันบำเพ็ญธรรม คือการบำรุงมารดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 26
ิดา ทั้งสุจริตธรรม ๓ ประการทั่วกันเถิด เมื่อบำเพ็ญอยู่อย่างนี้ จักมีสวรรค์
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เสวยยศอันยิ่งใหญ่ ดังนี้ จึงกระทำประทักษิณชมพูทวีป.
ฝ่ายอธรรมเทพบุตร ชักชวนให้ถืออกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ โดยนัยมีอาทิว่า
พวกเธอจงฆ่าสัตว์กันเถิด ดังนี้แล้ว จึงกระทำการเวียนซ้ายชมพูทวีป ลำดับนั้น
รถของเทพบุตรเหล่านั้น ได้มาพบกันในอากาศ. ต่อมาพวกบริษัทของเทพบุตร
เหล่านั้น ต่างถามกันว่า พวกท่านเป็นฝ่ายไหน พวกท่านเป็นฝ่ายไหนกัน.
ต่างตอบกันว่า พวกเราเป็นฝ่ายธรรมเทพบุตร พวกเราเป็นฝ่ายอธรรม
เทพบุตร จึงต่างพากันแยกทางหลีกเป็น ๒ ฝ่าย. ฝ่ายธรรมเทพบุตร เรียก
อธรรมเทพบุตรมากล่าวว่า สหายเอ๋ย เธอเป็นฝ่ายอธรรม ฉันเป็นฝ่ายธรรม
หนทางสมควรแก่ฉัน เธอจงขับรถของเธอหลีกไป จงให้ทางแก่ฉันเถิด แล้ว
กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า
ดูก่อนอธรรมเทพบุตร ฉันเป็นผู้สร้างยศเป็น
ผู้สร้างบุญ สมณะและพราหมณ์พากันสรรเสริญ
ทุกเมื่อ อธรรมเอ๋ย ฉันชื่อว่าเป็นฝ่ายธรรม เป็นผู้
สมควรแก่หนทาง เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์พากัน
บูชา ท่านจงให้หนทางแก่ฉันเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโสกโร ได้แก่ ฉันเป็นผู้สร้างยศให้
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า
สทตฺถุโต คือ ได้รับความชื่นชมทุกเมื่อ สรรเสริญอยู่เป็นนิตย์.
ลำดับนั้น อธรรมเทพบุตรกล่าวว่า
ดูก่อนธรรมเทพบุตร เราผู้ชื่อว่าอธรรม ขึ้นสู่
ยานแห่งอธรรม อันมั่นคงไม่เคยกลัวใคร กำลัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 27
เข้มแข็ง ธรรมเอ๋ย เราจะพึงให้ทางที่ไม่เคยให้ใคร
แก่ท่านในวันนี้ เพราะเหตุอะไรเล่า.
ธรรมแลปรากฏก่อน ภายหลังอธรรมจึงเกิดขึ้น
ในโลก เราเป็นผู้เจริญว่า ประเสริฐกว่า ทั้งเก่ากว่า
ขอจงให้ทางแก่เราเถิด น้องเอ๋ย.
เราจะไม่ให้หนทางแก่ท่าน เพราะการขอร้อง
หรือเพราะความเป็นผู้สมควร ในวันนี้เราทั้งสองจงมา
รบกัน แล้วหนทางจะเป็นของผู้ชนะในการรบ.
เราผู้ชื่อว่า ธรรม เป็นผู้ลือชาปรากฏไปทั่วทุกทิศ
มีกำลังมาก มียศประมาณไม่ได้ ไม่มีผู้เสมอเหมือน
ประกอบด้วยคุณทั้งปวง อบรมเอ๋ย ท่านจะชนะได้
อย่างไร.
เขาเอาค้อนเหล็กตีทองอย่างเดียว หาได้เอาทอง
มาตีเหล็กไม่ ถ้าหากว่าเราผู้ชื่อว่า อธรรม ฆ่าท่าน
ผู้ชื่อว่าธรรม ในวันนี้ได้ เหล็กจะน่าดูน่าชมเหมือน
ทองคำฉะนั้น.
ดูก่อนอธรรมเทพบุตร ถ้าหากว่าท่านเป็นผู้มี
กำลังในการรบไซร้ ผู้หลักผู้ใหญ่และครูของท่าน
มิได้มี เราจะยอมให้ทนทางอันเป็นที่รักด้วยอาการ
อันไม่เป็นที่รักของท่าน ทั้งจะอดทนถ้อยคำชั่ว ๆ
ของท่าน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 28
คาถาทั้ง ๖ นี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถเป็นคำโต้ตอบของเทพบุตร
เหล่านั้นนั่นแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ส กิสฺส เหตุมฺหิ ตวชฺชทชฺช ความว่า
ก็แล ข้าพเจ้านั้นชื่อว่า อธรรม ขึ้นรถอันเป็นยานของอธรรมแล้ว ไม่เคย
กลัวต่อใคร มีกำลัง ธรรมเอ๋ย เหตุไรในวันนี้ ข้าพเจ้าจะให้ทางที่ไม่เคยให้
ใคร ๆ แก่เจ้าเล่า. บทว่า ปุพฺเพ ความว่า ธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
ปรากฏแล้วในโลกนี้ก่อนทีเดียว ในกาลเริ่มปฐมกัป อธรรมเกิดขึ้นภายหลัง.
ด้วยบทว่า เชฏฺโ จ นี้ ธรรมกล่าวว่า เพราะความที่ธรรมบังเกิดก่อน
ฉันจึงเจริญกว่า ประเสริฐกว่า เก่ากว่า ส่วนเธอเป็นน้อง เหตุนั้น เธอจง
หลีกทางไป. บทว่า นปิ ปาฏิรูปา ความว่า ข้าพเจ้าจะไม่ขอยอมให้หนทาง
แก่เจ้าเด็ดขาด จะด้วยคำขอร้อง ด้วยคำที่พูดสมควร ด้วยเหตุที่ควรให้หนทาง
ทั้งนั้นแหละ. บทว่า อนุสโฏ ความว่า ฉันมีชื่อเสียงแผ่ไปแล้ว เลื่องลือ
ไปแล้ว ปรากฏเด่นทั่วทุกทิศ คือ ในทิศใหญ่ ๔ ทิศ ในทิศน้อย ๔ ทิศ.
บทว่า โลเหน ได้แก่ ด้วยค้อนเหล็ก. บทว่า หญฺติ แปลว่า จักฆ่าเสีย
ให้ได้. บทว่า ยุทฺธหโล อธมฺม ความว่า ถ้าเธอเป็นผู้มีกำลังในการรบ.
บทว่า วุฑฺฒา จ คุรู จ ความว่า ถ้าท่านเหล่านี้ เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ท่าน
เหล่านี้เป็นครู เป็นบัณฑิตของท่าน อย่างนี้ย่อมมีไม่ได้. บทว่า ปิยาปฺปิเยน
ความว่า ฉันเมื่อจะให้ทั้งด้วยอาการอันเป็นที่รัก ทั้งด้วยอาการอันไม่เป็นที่รัก
ก็จะให้ทางอันเป็นที่รักแก่เธอ ด้วยอาการอันเป็นที่รัก.
ก็แล ในขณะที่พระโพธิสัตว์ กล่าวคาถานี้จบลงนั่นเอง อธรรมก็ไม่
อาจจะดำรงอยู่บนรถได้ หกคะเมนตกลง ณ เบื้องปฐพี ครั้นปฐพีเปิดช่องให้
ก็ไปบังเกิดในอเวจีมหานรกนั่นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงทราบเนื้อ
ความนี้แล้ว ได้เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ได้ตรัสคาถาที่เหลือ ดังนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 29
อธรรมเทพบุตรได้ฟังคำนี้แล้ว ก็เป็นผู้มีศีรษะ
ลงเบื้องต่ำ มีเท้าขึ้นเบื้องสุดตกลงจากรถ รำพันเพ้อว่า
เราปรารถนาจะรบก็ไม่ได้รบ อธรรมเทพบุตรถูก
ตัดรอนเสียแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
ธรรมเทพบุตร ผู้มีขันติเป็นกำลัง มีจิตเที่ยงตรง
มีกำลังมาก มีความบากบั่นอย่างแท้จริง ชำนะกำลังรบ
ได้ฆ่าอธรรมเทพบุตร ฝังเสียในแผ่นดินแล้ว ขึ้นสู่รถ
ของตน ไปโดยหนทางนั่นแล.
มารดาบิดาและสมณพราหมณ์ ไม่ได้รับความ
นับถือในเรือน ของชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น ครั้น
ทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ ตายไปแล้วย่อมต้องพา
กันไปสู่นรก เหมือนอธรรมเทพบุตร มีศีรษะลงใน
เบื้องต่ำ ตกไปแล้ว ฉะนั้น.
มารดาบิดาและสมณพราหมณ์ ได้รับความนับถือ
เป็นอย่างดีในเรือนของชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น ครั้น
ทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ตายไปแล้ว ย่อมพากันไป
สู่สุคติ เหมือนธรรมเทพบุตรขึ้นสู่รถของตนไปสู่
เทวโลก ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยุทฺธตฺถิโก เว ได้แก่ เขามีความบ่นเพ้อ
ดังนี้. ได้ยินว่า เขากำลังบ่นเพ้ออยู่นั่นแล ตกจมแผ่นดินไปแล้ว. บทว่า
เอตฺตาวตา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อธรรมจมแผ่นดินไปเพียงใด
อธรรมชื่อว่าถูกกำจัดแล้วเพียงนั้น. บทว่า ขนฺติพโล ความว่า ดูก่อนภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 30
ทั้งหลาย อธรรมเทพบุตรจมแผ่นดินไปอย่างนี้แล้ว ธรรมเทพบุตรเป็นผู้มี
กำลังคืออธิวาสนขันติ ชำนะพลรบฆ่าแล้วฝังไว้ในแผ่นดิน ให้ตกไป มีจิต
แน่นอน เพราะเกิดความคิดขึ้น จึงขึ้นสู่รถของตน มีความบากบั่นอย่างแท้จริง
ได้ไปตามหนทางนั่นแล. บทว่า อสมฺมานิตา แปลว่า อันเขาไม่สักการะ.
บทว่า สรีรเทห ความว่า ได้ทอดทิ้งกายกล่าวคือสรีระในโลกนี้เอง. บทว่า
นิรย วชนฺติ ความว่า ชนเหล่านั้น ผู้สมควรแก่สักการะ อันคนชั่วใดไม่
สักการะในเรือน เหล่าคนชั่วเห็นปานนั้น ย่อมหกคะเมนลงสู่นรก เหมือน
อธรรมเทพบุตร เอาศีรษะตกลงไปเบื้องต่ำ ฉะนั้น. บทว่า สุคตึ วชนฺติ
ความว่า เหล่าบัณฑิตผู้เป็นเช่นนั้น อันผู้ใดสักการะแล้ว ผู้นั้นย่อมไปสู่สุคติ
เหมือนธรรมเทพบุตรขึ้นสู่รถรบไปเทวโลก ฉะนั้น.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่ในบัดนี้อย่างเดียวเท่านั้น แม้ในกาลก่อน พระเทวทัต
ก็กราดเกรี้ยวโต้กับเรา ถูกแผ่นดินสูบไปแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า อธรรม
เทพบุตรในกาลนั้น ได้เป็นพระเทวทัต แม้บริษัทของอธรรมเทพบุตรนั้น
ก็ได้เป็นบริษัทของพระเทวทัต ส่วนธรรมเทพบุตร ก็คือเราตถาคตนั่นเอง
ส่วนบริษัท ได้มาเป็นพุทธบริษัทนี้นั่นแล.
จบอรรถกถาธรรมเทวปุตตชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 31
๔. อุทยชาดก
ว่าด้วยบารมี ๑๐ ทัศ
[๑๕๒๖] ดูก่อนพระนาง ผู้มีพระวรกายงามหาที่
ติมิได้ มีช่วงพระเพลากลมกลึงผึ่งผาย ทรงวัตถาภรณ์
อันสะอาด เสด็จขึ้นสู่ปราสาทประทับนั่งอยู่พระองค์
เดียว ดูก่อนพระนางผู้มีพระเนตรงามดังเนตรกินนร
หม่อมฉันขอวิงวอนพระนาง เราทั้งสองควรอยู่ร่วมกัน
ตลอดคืนหนึ่งนี้.
[๑๕๒๗] นครนี้มีคูรายรอบ มีป้อมแลซุ้มประตู
มั่นคง มีหมู่ทหารถือกระบี่รักษา ยากที่ใครๆ จะเข้าได้
ทหารนักรบหนุ่มก็ไม่มีเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่าน
ปรารถนามาพบข้าพเจ้าด้วยเหตุอะไรหนอ.
[๑๕๒๘] ดูก่อนพระนางผู้เลอโฉม หม่อมฉัน
เป็นเทพบุตรมาในตำหนักของพระนาง ดูก่อนพระนาง
ผู้เจริญ เชิญพระนางชื่นชมกับหม่อมฉันเถิด หม่อมฉัน
จะถวายถาดทอง อันเต็มด้วยเหรียญทองแก่นาง.
[๑๕๒๙] นอกจากเจ้าชายอุทัยแล้ว ข้าพเจ้าไม่
พึงปรารถนาเทวดา ยักษ์ หรือมนุษย์ผู้อื่นเลย ดูก่อน
เทพบุตรผู้มีอานุภาพมาก ท่านจงไปเสียเถิด อย่ากลับ
มาอีกเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 32
[๑๕๓๐] ความยินดีอันใดเป็นที่สุดของผู้บริโภค
กาม สัตว์ทั้งหลายประพฤติไม่สมควรเพราะเหตุแห่ง
ความยินดีอันใด พระนางอย่าพลาดความยินดี ในทาง
อันสะอาดของพระนางนั้นเลย หม่อมฉันขอถวายถาด
เงินอันเต็มด้วยเหรียญเงินแก่พระนาง.
[๑๕๓๑] ธรรมดาชายหมายจะให้หญิงเอออวย
ด้วยทรัพย์ ย่อมประมูลราคาขึ้นจนให้พอใจ ของท่าน
ตรงกันข้าม ท่านประมูลราคาโดยลดลงดังที่เห็น
ประจักษ์อยู่.
[๑๕๓๒] ดูก่อนพระนางผู้มีพระวรกายงาม อายุ
และวรรณะของหมู่มนุษย์ในมนุษยโลกย่อมเสื่อมลง
ด้วยเหตุนั้นแล แม้ทรัพย์สำหรับพระนางก็จำต้องลดลง
เพราะวันนี้พระนางชราลงกว่าวันก่อน ดูก่อนพระราช
บุตรีผู้มีพระยศ เมื่อหม่อมฉันกำลังเพ่งมองอยู่อย่างนี้
พระฉวีวรรณของพระนางย่อมเสื่อมไป เพราะวันคืน
ล่วงไป ๆ ดูก่อนพระราชบุตรผู้มีปรีชา เพราะเหตุนั้น
พระนางพึงประพฤติพรหมจรรย์เสียวันนี้ทีเดียว จะได้
มีพระฉวีวรรณงดงามยิ่งขึ้นอีก.
[๑๕๓๓] เทวดาทั้งหลายไม่แก่เหมือนมนุษย์หรือ
เส้นเอ็นในร่างกายของเทวดาเหล่านั้นไม่มีหรือ ดูก่อน
เทพบุตร ข้าพเจ้าขอถามท่านผู้มีอานุภาพมาก ร่างกาย
ของเทวดาเป็นอย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 33
[๑๕๓๔] เทวดาทั้งหลายไม่แก่เหมือนมนุษย์
เส้นเอ็นในร่างกายของเทวดาเหล่านั้นไม่มี ฉวีวรรณ
อันเป็นทิพย์ของเทวดาเหล่านั้น ผุดผ่องยิ่งขึ้นทุก ๆ วัน
และโภคสมบัติก็ไพบูลย์ขึ้น.
[๑๕๓๔] หมู่ชนเป็นอันมากในโลกนี้ กลัวอะไร
เล่า จึงไม่ไปเทวโลกกัน ก็หนทางไปเทวโลกบัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวไว้หลายด้าน ดูก่อนเทพบุตรผู้มีอานุภาพ
มาก ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า บุคคลตั้งอยู่ในหนทางไหน
จึงจะไม่กลัวปรโลก.
[๑๕๓๖] บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจไว้โดยชอบ ไม่
กระทำบาปด้วยกาย อยู่ครองเรือนอันมีข้าวและน้ำมาก
เป็นผู้มีศรัทธา อ่อนโยน จำแนกแจกทาน รู้ความ
ประสงค์ ชอบสงเคราะห์ มีถ้อยคำกลมกล่อม อ่อน
หวาน ผู้ตั้งอยู่ในคุณธรรมดังกล่าวมานี้ ไม่พึงกลัว
ปรโลก.
[๑๕๓๗] ข้าแต่เทพบุตร ท่านพร่ำสอนข้าพเจ้า
เหมือนมารดาบิดา ข้าแต่ท่านผู้มีผิวพรรณงามยิ่ง ข้าพ-
เจ้าขอถาม ท่านเป็นใครหนอ จึงมีร่างกายสง่างามนัก.
[๑๕๓๘] ดูก่อนพระนางผู้เลอโฉม ข้าพเจ้าเป็น
พระเจ้าอุทัย มาในที่นี้เพื่อต้องการจะเปลื้องข้อผูกพัน
ข้าพเจ้าบอกพระนางแล้ว จะขอลาไป ข้าพเจ้าพ้นจาก
ข้อผูกพันของพระนางแล้ว.
[๑๕๓๙] ข้าแต่พระลูกเจ้า ถ้าพระองค์เป็น
พระเจ้าอุทัยเสด็จมา ณ ที่นี้ เพื่อต้องการจะเปลื้องข้อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 34
ผูกพันไซร้ ข้าแต่พระราชบุตร ขอเชิญพระองค์จง
โปรดพร่ำสอนหม่อมฉัน ด้วยวิธีที่เราทั้งสองจะได้พบ
กันใหม่อีกเถิด เพค๊ะ.
[๑๕๔๐] วัยล่วงไปเร็วยิ่งนัก ขณะก็เช่นนั้น
เหมือนกัน ความตั้งอยู่ยั่งยืนไม่มี สัตว์ทั้งหลายย่อม
จุติไปแน่แท้ สรีระไม่ยั่งยืน ย่อมเสื่อมถอย ดูก่อน
พระนางอุทัย เธออย่าประมาท จงประพฤติธรรม
พื้นแผ่นดินทั้งสิ้นเต็มไปด้วยทรัพย์ ถ้าพึงเป็นของของ
พระราชาพระองค์เดียว ไม่มีผู้อื่นครอบครอง ถึง
กระนั้น ผู้ที่ยังไม่ปราศจากความกำหนัดก็ต้องทิ้ง
สมบัตินั้นไป ดูก่อนพระนางอุทัย เธออย่าประมาท
จงประพฤติธรรม มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาว
น้องสาว ภรรยาและสามีพร้อมทั้งทรัพย์ แม้เขาเหล่า
นั้นต่างก็จะละทิ้งกันไป ดูก่อนพระนางอุทัย เธออย่า
ประมาท จงประพฤติธรรม ดูก่อนพระนางอุทัย เธอ
พึงทราบว่า ร่างกายเป็นอาหารของสัตว์อื่น ๆ พึง
ทราบว่า สุคติและทุคติในสงสารเป็นที่พักชั่วคราวเธอ
อย่าประมาท จงประพฤติธรรมเถิด.
[๑๕๔๑] เทพบุตรพูดดีจริง ชีวิตของสัตว์ทั้ง
หลายน้อย ทั้งลำเค็ญ ทั้งนิดหน่อย ทั้งประกอบไป
ด้วยทุกข์ หม่อมฉันจักสละสุรุนธนนคร แคว้นกาสี
ออกบวชอยู่ลำพังผู้เดียว.
จบอุทยชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 35
อรรถกถาอุทยชาดก
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภภิกษุผู้เบื่อหน่าย ได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า เอกา
นิสินฺนา ดังนี้. เรื่องจักมีแจ้งในกุสชาดกข้างหน้า.
ก็พระศาสดา ตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ จริงหรือที่ว่าเธอเป็น
ผู้เบื่อหน่ายแล้ว เมื่อเธอกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เหตุไรเล่า เธอบรรพชาในพระศาสนา อันเป็นที่นำสัตว์ออกจากทุกข์เห็นปานนี้
ยังเป็นผู้เบื่อหน่ายด้วยอำนาจกิเลส แม้แต่บัณฑิตในปางก่อน เสวยราชสมบัติ
ณ สุรุนธนนคร มีบริเวณได้ ๑๒ โยชน์ อันมั่งคั่ง ถึงจะอยู่ร่วมห้องกับหญิง
ผู้เทียบเท่านางเทพอัปสร ตลอด ๗๐๐ ปี ก็ยังมิได้ทำลายอินทรีย์ แลดูด้วย
อำนาจความโลภเลย ดังนี้แล้ว จึงทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้ากาสีเสวยราชสมบัติ ณ สุรุนธนนคร
แคว้นกาสี. พระองค์ไม่เคยมีพระโอรสหรือพระธิดาเลย. พระองค์ตรัสกับ
พระเทวีทั้งหลายของพระองค์ว่า พวกเธอจงพากันปรารถนาบุตรเถิด. พระราช
เทวี รับพระราชดำรัสแล้ว ได้ทรงกระทำเช่นนั้น. ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์
จุติจากพรหมโลก ถือปฏิสนธิในพระอุทรแห่งพระอัครมเหสีของพระราชา.
ลำดับนั้น พระประยูรญาติ ทรงขนานพระนามพระราชกุมารนั้นว่าอุทัยภัทร
เพราะทรงบังเกิดทำให้หทัยของมหาชนจำเริญ. ในกาลที่พระราชกุมารทรง
ย่างพระบาทไปได้ สัตว์ผู้อื่นจุติจากพรหมโลก บังเกิดเป็นกุมาริกา ในพระ
อุทรของพระเทวี พระองค์ใดพระองค์หนึ่งของพระราชาพระองค์นั้นแล. พระ
ประยูรญาติ ทรงขนานพระนามพระราชกุมารีนั้นว่า อุทัยภัทรา. พระราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 36
กุมารทรงจำเริญวัย จบการศึกษาศิลปศาสตร์ทั้งหมด แต่ทรงเป็นพรหมจารี
โดยกำเนิด ไม่ทรงทราบเรื่องเมถุนธรรมแม้ด้วยความฝัน. พระทัยของ
พระองค์ มิได้พัวพันในกิเลสทั้งหลายเลย. พระราชาทรงพระประสงค์จะอภิเษก
พระราชโอรส ทรงส่งข่าวสาสน์ไปว่า พ่อลูกชาย บัดนี้เป็นกาลที่จะเสวย
ความสุขในราชสมบัติของลูกละ พ่อจักให้ราชสมบัติทั้งหมดแก่ลูก พระโพธิ-
สัตว์เจ้ากราบทูลห้ามเสียว่า ข้าพระองค์ มิได้มีความต้องการด้วยราชสมบัติเลย
จิตของข้าพระองค์ มิได้พัวพันในกองกิเลสเลย เมื่อได้รับพระราชดำรัสเตือน
บ่อย ๆ เข้า จึงให้ช่างสร้างรูปสตรี สำเร็จด้วยทองคำชมพูนุทอันเปล่งปลั่ง
แล้วทรงส่งข่าวสาสน์ถวายแด่พระราชบิดาและพระราชมารดาว่า ถ้าข้าพระองค์
ได้พบเห็นผู้หญิงงามเห็นปานนี้ไซร้ ก็จักขอรับมอบราชสมบัติ. พระราชบิดา
และพระราชมารดาให้อำมาตย์พาเอารูปทองคำนั้น ตระเวนไปทั่วชมพูทวีป
เมื่อไม่ได้ผู้หญิงงามเช่นนั้น จึงตบแต่งพระนางอุทัยภัทรา ให้ประทับอยู่ใน
วังของพระราชกุมารนั้น . พระนางทรงข่มรูปทองคำนั้นเสียหมดสิ้น. ครั้งนั้น
พระราชบิดาและพระราชมารดา ทรงอภิเษกพระโพธิสัตว์เจ้า กระทำพระ
น้องนางต่างพระชนนีอุทัยภัทราราชกุมารี ให้เป็นอัครมเหสี ทั้ง ๆ ที่พระ
ราชกุมาร และพระราชกุมารี ทั้ง ๒ พระองค์นั้นมิได้ปรารถนาเลย. แต่ทั้ง ๒
พระองค์นั้น ก็ทรงประทับอยู่ด้วยการอยู่อย่างพระพฤติพรหมจรรย์นั่นแล.
ครั้นกาลต่อมา พระราชบิดาและพระราชมารดาล่วงลับไป พระโพธิสัตว์จึง
ครอบครองราชสมบัติ. แม้ทั้ง ๒ พระองค์ จะประทับร่วมห้องกัน ก็มิได้
ทรงทำลายอินทรีย์ ทอดพระเนตรกันด้วยอำนาจความโลภเลย ก็แต่ว่า ทรง
กระทำข้อผูกพันกันไว้ว่า ในเราทั้ง ๒ ผู้ใดสิ้นพระชนม์ไปก่อน ผู้นั้นต้อง
มาจากที่ที่เกิดแล้วบอกว่า ฉันเกิดในสถานที่โน้นดังนี้ เท่านั้น. ต่อมาล่วงได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 37
๗๐๐ ปี นับแต่เวลาได้อภิเษก พระโพธิสัตว์เจ้าก็สวรรคต. ผู้อื่นที่จะเป็น
พระราชาหามีไม่ พระนางอุทัยภัทรา พระองค์เดียวทรงสำเร็จราชการแทน.
หมู่อำมาตย์ร่วมกันปกครองราชสมบัติ ฝ่ายพระโพธิสัตว์เจ้านั้น ในขณะที่ทรง
จุติ ทรงถึงความเป็นท้าวสักกะในดาวดึงส์พิภพ เพราะทรงมียศใหญ่ยิ่ง ไม่
สามารถจะทรงอนุสรณ์ได้ตลอดสัปดาห์. ดังนั้นเป็นอันล่วงไปถึง ๗๐๐ ปี
ด้วยการนับปีของมนุษย์ ท้าวเธอจึงทรงระลึกได้ ทรงพระดำริว่า เราจักทดลอง
พระราชธิดาอุทัยภัทรา ด้วยทรัพย์ แล้วเปล่งสีหนาทแสดงธรรม เปลื้อง
ข้อผูกพันแล้ว จึงมา. ได้ยินว่า ครั้งนั้นเป็นเวลาที่มนุษย์มีอายุได้ ๑๐,๐๐๐ ปี
คืนวันนั้นเอง พระราชธิดาพระองค์เดียวเท่านั้น ประทับนั่งมิได้ทรงไหวติง
ทรงนึกถึงศีลของพระองค์อยู่ ในห้องอันทรงพระสิริ อันอลงกต ณ พื้นชั้น
สูงสุดแห่งพระมหาปราสาท ๗ ชั้น ในเมื่อราชบุรุษ ปิดพระทวารแล้ว
วางพระองค์เรียบร้อยแล้ว. ครั้งนั้นท้าวสักกเทวราช ทรงถือเอาถาดทองคำ
๑ ใบ บรรจุเหรียญมาสกทองคำจนเต็ม ไปปรากฏพระกาย ในห้องพระบรรทม
ทีเดียว ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. เมื่อพระโพธิสัตว์จะตรัสปราศรัยกับ
พระนาง จึงตรัสพระคาถาที่ ๑ ว่า
ดูก่อนพระนาง ผู้มีพระวรกายอันงดงามหาที่ติมิ
ได้ มีช่วงพระเพลากลมกลึงผึ่งผาย ทรงวัตถาภรณ์อัน
สะอาด เสด็จสู่ปราสาท ประทับนั่งอยู่เพียงพระองค์-
เดียว ดูก่อนพระนางผู้มีพระเนตรอันงดงาม ดังเนตร
กินนร หม่อมฉันขอวิงวอนพระนางเจ้า เราทั้ง ๒ ควร
อยู่ร่วมกัน ตลอดคืน ๑ นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 38
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุจิ แปลว่า ทรงผ้าอันสะอาด. บทว่า
สฺตูรุ ท่านอธิบายว่า มีพระเพลาทั้ง ๒ ข้าง ประดิษฐานอยู่ด้วยดี
พระนางทรงหยุดการเคลื่อนไหว ทรงพระภูษาอันสะอาด ประทับนั่งลำพัง
เพียงพระองค์เดียว. บทว่า อนินฺทิตงฺคี ความว่า พระนางมีพระวรกาย
หาที่ตำหนิมิได้ ตั้งแต่ปลายพระบาทจรดปลายพระเกศา คือมีพระสรีระอันทรง
พระเสาวภาคย์เป็นเยี่ยม. บทว่า กินฺนรเนตฺตจกฺขุ ความว่า พระนางทรง
มีพระเนตรทั้งคู่ เปรียบได้กับดวงเนตรของกินนร เพราะงดงามด้วยมณฑล
ทั้ง ๓ และประสาททั้ง ๕. บทว่า อิเมกรตฺตึ ความว่า หม่อมฉันขอวิงวอน
ตลอดราตรี ๑ นี้ คือคืนวันนี้ เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันในห้องพระบรรทมอัน
อลงกตนี้.
ลำดับนั้น พระราชธิดา ได้ตรัสพระคาถา ๒ พระคาถาว่า
พระนครนี้ มีคูรายรอบ มีป้อมและซุ้มประตู
มั่นคง มีหมู่ทหารถือกระบี่รักษา ยากที่ใคร ๆ จะเข้า
มาได้ ทหารนักรบหนุ่ม ก็ไม่ได้มีมาเลย เมื่อเป็น
เช่นนี้ ท่านปรารถนามาพบข้าพเจ้าด้วยเหตุอะไรหนอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกิณฺณนฺตรปริกฺข ความว่า บุรี
อันมีนามว่า สุรุนธนะนี้ มีบริเวณกว้าง ๑๒ โยชน์ มีคูรายรอบคั่นเป็นระหว่าง
เพราะเรียงรายด้วยคูเป็นชั้น ๆ คือคูน้ำ คูตม และคูแห้ง. บทว่า ทฬฺหมณฺ-
ฑาลโกฏฺก ความว่า ประกอบด้วยป้อมและซุ้มประตู อย่างแข็งแรงครบครัน.
บทว่า ขคฺคหตฺเถหิ ความว่า มีทหารนับหมื่น ล้วนถืออาวุธเฝ้าล้อมแน่นหนา.
บทว่า ทุปฺปเวสมิท ปุร ความว่า บุรีทั้งสิ้นนี้ก็ดี พระราชวังอันเป็นที่อยู่
ของข้าพเจ้า ที่สร้างไว้ภายในบุรีนั้นก็ดี ทั้ง ๒ แห่ง ใคร ๆ ไม่อาจที่จะเข้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 39
ไปได้. บทว่า อาคโม จ ความว่า อนึ่งเล่า ในพระนครนี้ ในเวลานี้
ขึ้นชื่อว่า การมาถึงของผู้เป็นนักรบผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง ผู้หนุ่ม หรือผู้กำลัง
รุ่นหนุ่ม หรือของผู้อื่น ที่น้อมนำบรรณาการดังมากมายมา ก็มิได้มี. บทว่า
สงฺคม ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านแอบเข้ามาพบข้าพเจ้าได้ ในเวลานี้
ด้วยเหตุอะไรเล่า.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช จึงตรัสพระคาถาที่ ๔ ว่า
ดูก่อนพระนางผู้เลอโฉม หม่อมฉันเป็นเทพบุตร
มาในตำหนักของพระนาง ดูก่อนพระนางผู้เจริญ
เชิญพระนางชื่นชมกับหม่อมฉันเถิด หม่อมฉันจัก
ถวายถาดทองคำ อันเต็มเปี่ยมด้วยเหรียญทองคำแด่
พระนาง.
คำอันเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า ดูก่อนพระนางผู้เลอโฉม คือจะพิศไหน
ก็งามพร้อม หม่อมฉันเป็นเทพบุตรผู้หนึ่ง มาถึงพระตำหนักนี้ได้ด้วยเทวตา-
นุภาพ วันนี้ เชิญพระองค์ทรงชื่นชมยินดีกับกระหม่อมฉันเถิด หม่อมฉันจะ
ถวายถาดทองคำ อันเต็มเปี่ยมด้วยเหรียญมาสกทองคำนี้แด่พระนาง.
พระราชธิดาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสพระคาถาที่ ๕ ว่า
นอกจากเจ้าชายอุทัยแล้ว ข้าพเจ้าไม่พึงปรารถนา
เทวดา ยักษ์ หรือมนุษย์ผู้อื่นเลย ดูก่อนเทพบุตรผู้มี
อานุภาพมาก ท่านจงไปเสียเถิด อย่ากลับมาอีกเลย.
คำแห่งคาถานั้นมีอธิบายว่า ดูก่อนเทวราช พ้นเสียจากพระอุทัยแล้ว
ข้าพเจ้าไม่ต้องการผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเทวดา เป็นยักษ์ หรือเป็นมนุษย์
เชิญท่านนั้นไปเสียเถิด อย่าขืนอยู่ที่นี่เลย ข้าพเจ้าไม่ต้องการบรรณาการที่ท่าน
นำมาดอกนะ ครั้นท่านไปแล้วอย่าได้กลับมาที่นี่อีกเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 40
ท้าวสักกะ ทรงสดับพระสุรสีหนาทของพระนางแล้ว ทำท่าคล้ายจะ
ไม่อยู่ไปแล้ว ได้หายวับไปทรงที่นั้นนั่นเอง. รุ่งขึ้นในเวลานั้นแหละ ท้าวเธอ
ถือถาดเงินเต็มเปี่ยมด้วยเหรียญมาสกทองคำมา เมื่อจะทรงสนทนากับพระนาง
จึงตรัสพระคาถาที่ ๖ ว่า
ความยินดีอันใดอันเป็นที่สูงสุดของผู้บริโภคกาม
สัตว์ทั้งหลายประพฤติไม่สมควร เพราะเหตุแห่งความ
ยินดีอันใด พระนางอย่าพลาดจากความยินดี ในทาง
อันสะอาดของพระนางนั้นเลย หม่อมฉันขอถวายถาด
เงิน อันเต็มไปด้วยเหรียญเงินแด่พระนาง.๑
คำอันเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า ข้าแต่พระราชธิดา ผู้ทรงพระเจริญ
บรรดาความยินดีของฝูงสัตว์ผู้บริโภคกาม ชื่อว่าความยินดีในกรรมคือเมถุน
เป็นสูงสุด ความยินดีอันสูงสุดนี้ใดเล่า เพราะเหตุแห่งความยินดีใดเล่านะ
ฝูงสัตว์จึงพากันประพฤติธรรม อันปราศจากความเหมาะสม มีกายทุจริตเป็นต้น
พระนางผู้ทรงพระเจริญ ขอพระนางโปรดอย่าพลาดจากความยินดีนั้น ในทาง
ที่สะอาดของพระนางเสียเลย แม้จะเป็นการเสมอด้วยพระนามก็ตามที. แม้
หม่อมฉันเมื่อมา ก็มิได้มามือเปล่า วันวานนำถาดทองคำเต็มด้วยเหรียญมาสก
มา วันนี้ก็นำถาดเงินเต็มด้วยเหรียญทองคำมา หม่อมฉันขอถวายถาดเงิน
เต็มด้วยเหรียญทองนี้แด่พระนาง.
พระราชธิดาทรงพระดำริว่า เทพบุตรนี้ เมื่อได้การสนทนาปราศรัย
คงมาบ่อย ๆ คราวนี้เราจะไม่พูดกะเขาละ. พระนางไม่ได้ตรัสคำอะไร ๆ เลย.
ท้าวสักกเทวราชทรงทราบความที่พระนางไม่ตรัส ก็เลยหายวับไปตรงที่นั้น
นั่นเอง วันรุ่งขึ้น พอถึงเวลานั้น ก็ถือถาดโลหะเต็มด้วยเหรียญกระษาปณ์มา
อรรถกถาว่า สุวณฺณมาสกปูร เต็มด้วยเหรียญทองคำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 41
ตรัสว่า พระนางผู้ทรงพระเจริญ เชิญพระนางโปรดปรนปรือหม่อมฉันด้วย
ความยินดีในกามเถิด หม่อมฉันจะถวายถาดโลหะเต็มด้วยเหรียญกระษาปณ์
แด่พระนาง วันนั้นพระราชธิดาตรัสพระคาถาที่ ๗ ว่า
ธรรมดาว่า ชายหมายจะให้หญิงเอออวยด้วย
ทรัพย์ ย่อมประมูลราคาขึ้น จนให้ถึงความพอใจ
ของท่านตรงกันข้าม ท่านประมูลราคาลดลง ดังที่เห็น
ประจักษ์อยู่.
คำอันเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านช่างโง่ อันธรรมดา
ชายหมายจะให้หญิงเอออวยปลงใจตกลงด้วยทรัพย์ เพราะเหตุแห่งความยินดี
ด้วยอำนาจกิเลส ย่อมประมูล พรรณนา ชมเชย ประเล้าประโลมด้วยทรัพย์
ที่มากกว่า จนเป็นที่จุใจนาง แต่เทวสภาพนี้ ของท่านตรงกันข้ามเลย เพราะ
ท่านนำทรัพย์มาลดลงเรื่อย ๆ ดังที่ประจักษ์แก่ข้าพเจ้า คือวันก่อนนำถาดทอง
เต็มด้วยเหรียญทองมา วันที่สองนำถาดเงินเต็มด้วยเหรียญทอง วันที่สามนำ
ถาดโลหะเต็มด้วยเหรียญกระษาปณ์มา.
ท้าวสักกเทวราชได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนพระนาง-
ราชกุมารีผู้ทรงพระเจริญ หม่อมฉันเป็นพ่อค้าผู้ฉลาด ย่อมไม่ยังประโยชน์
ให้เสื่อมเสียไปโดยไร้ประโยชน์ ถ้าพระนางพึงจำเริญด้วยพระชนมายุ หรือ
ด้วยพระฉวีวรรณไซร้ หม่อมฉันก็พึงนำบรรณาการมาเพิ่มแด่พระนาง แต่
พระนางมีแต่จะเสื่อมไปถ่ายเดียว เหตุนั้น หม่อมฉันจำต้องลดจำนวนทรัพย์ลง
ดังนี้แล้ว ทรงภาษิตคาถา ๓ คาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 42
ดูก่อนพระนางผู้มีพระวรกายอันงดงาม อายุและ
วรรณะของหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก ย่อมเสื่อมลง ด้วย
เหตุนั้นแล แม้ทรัพย์สำหรับพระนางก็จำต้องลดลง
เพราะวันนี้พระนางชราลงกว่าวันก่อน.
ดูก่อนพระราชบุตรีผู้ทรงพระยศ เมื่อหม่อมฉัน
กำลังเพ่งมองอยู่อย่างนี้ พระฉวีวรรณของพระนาง
ย่อมเสื่อมไป เพราะวันคืนล่วงไป ๆ ดูก่อนพระราช-
บุตรีผู้มีพระปรีชา เพราะเหตุนั้น พระนางพึงประพฤติ
พรหมจรรย์เสียแต่วันนี้ทีเดียว จะได้มีพระฉวีวรรณ
งดงามยิ่งขึ้นอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิหิยฺยติ ความว่า ก็แลอายุและวรรณะ
ของหมู่มนุษย์ ย่อมเสื่อมถอยไป เหมือนดังน้ำที่ลาดลงในผ้ากรองน้ำ. แท้จริง
หมู่สัตว์ในมนุษยโลก พากันเสื่อมอยู่เรื่อย ๆ โดยฐานะมีชีวิตผิวพรรณ
ประสาทจักษุเป็นต้นทุก ๆ วัน. บทว่า ชิณฺณตราสิ ความว่า พระชนมายุ
ของพระนาง ที่เป็นไปในวันที่หม่อมฉันมาครั้งแรก ยังไม่ถึงอายุวันวาน
พระชนมายุที่เป็นไปในวันที่หม่อมฉันมาคราวแรก ดับไปแล้วในวันนั้นเอง
เหมือนถูกตัดด้วยจอบ ถึงพระชนมายุที่เป็นไปแล้วในวันวานเล่า ก็ยังไม่ถึง
วันนี้ คงดับไปในวันวานนั่นแหละ เหมือนตัดเสียด้วยจอบในวันวานทีเดียว
เพราะเหตุนั้น ในวันนี้ พระนางย่อมทรงชราไปกว่าที่เห็นในวันวาน. บทว่า
เอว เม ความว่า เมื่อหม่อมฉันเห็นอยู่ในวันวาน เพ่งมองดูในวันนี้เล่า
พระฉวีวรรณเสื่อมไปกว่าวันนั้นเป็นไหน ๆ. บทว่า อโหรตฺตานมจฺจเย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 43
ความว่า ตั้งแต่บัดนี้ไป เมื่อคืนวันล่วงไป เพราะล่วงไปหลายวันหลายคืน
พระฉวีวรรณจักต้องเป็นภาวะหาบัญญัติมิได้ทีเดียว. บทว่า อิมินาว ความว่า
ดูก่อนพระนางผู้ทรงพระเจริญ เหตุนั้น ถ้าพระนางพึงพระพฤติจริยธรรมอัน
ประเสริฐ คือ ทรงถือบวชบำเพ็ญสมณธรรม ด้วยวัยนี้ทีเดียว คือ ในเมื่อ
พระสรีระอันมีวรรณะเพียงดังทองนี้ ยังไม่ถูกชราปล้นไปเสียก่อน. บทว่า
ภิยฺโย วณฺณวตี สิยา ความว่า ก็พระนางพึงมีพระฉวีวรรณยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เถิด.
ลำดับนั้น พระราชธิดาตรัสพระคาถาต่อไปว่า
เทวดาทั้งหลาย ไม่แก่เหมือนมนุษย์หรือไร
เส้นเอ็นในร่างกายของเทวดาเหล่านั้นไม่มีหรือไร
ดูก่อนเทพบุตร ข้าพเจ้าขอถามท่านผู้มีอานุภาพมาก
ร่างกายของเทวดาเป็นอย่างไรเล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สรีรเทโห ความว่า ร่างกายคือสรีระ
พระราชธิดาตรัสว่า สรีระของทวยเทพย่อมไม่แก่ชราได้อย่างไร ข้าพเจ้าขอ
ถามท่านในข้อนี้.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะตรัสบอกแก่พระนาง จึงตรัส
พระคาถาต่อไปว่า
เทวดาทั้งหลาย ไม่แก่ชราเหมือนพวกมนุษย์
เส้นเอ็นในร่างกายของเทวดาเหล่านั้นไม่มี ฉวีวรรณ
อันเป็นทิพย์ของเทวดาเหล่านั้น ผุดผ่องยิ่งขึ้นทุก ๆ
วัน และโภคสมบัติก็ไพบูลย์ขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 44
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา มนุสฺสา ความว่า หมู่มนุษย์
พากันแก่ชราเสื่อมทรุดโทรมด้วยรูป ด้วยผิวพรรณ ด้วยโภคะ ด้วยประสาท
มีจักษุประสาทเป็นต้น ฉันใด ทวยเทพไม่เสื่อมไปฉันนั้น เพราะว่า ในตัว
ของทวยเทพเหล่านั้น แม้แต่เส้นเอ็นก็ไม่มีเลย สรีระจึงมีวรรณะเพียงดัง
แท่งทองที่มีแต่เกลี้ยงเกลาถ่ายเดียว. บทว่า สุเว สุเว คือ ทุก ๆ วัน. บทว่า
ภิยฺยตโรว ความว่า ผิวพรรณอันเป็นทิพย์ และโภคะทั้งหลายของทวยเทพ
เหล่านั้น นับวันแต่จะยิ่งเปล่งปลั่งและไพบูลย์ถ่ายเดียว. แท้จริงในหมู่มนุษย์
ความเสื่อมถอยทางรูป เป็นประจักษ์พยานว่าเกิดแล้วมานาน ในหมู่ทวยเทพ
รูปสมบัติที่ยิ่งขึ้น และบริวารสมบัติที่มากขึ้น เป็นประจักษ์พยานว่าเกิดแล้ว
มานาน. เทวโลกนั้นได้นามว่า มีความไม่เสื่อมถอยเป็นธรรมดา ด้วยประการ
ฉะนี้ เหตุนั้น พระนางจึงยังไม่ถึงความชราทีเดียว จงเสด็จออกผนวชเสียเถิด
ครั้นจุติจากมนุษยโลก อันมีแต่ความเสื่อมถอยเป็นสภาวะเช่นนี้แล้ว จักเสด็จ
ไปสู่เทวโลก อันมีแต่สิ่งที่ไม่รู้จักเสื่อมถอยเป็นสภาวะ เห็นปานฉะนี้.
พระนางได้ทรงสดับพระดำรัสพรรณนาถึงเทวโลก ดังนี้แล้ว เมื่อจะ
ตรัสถามถึงทางไปเทวโลกนั้น จึงตรัสพระคาถาต่อไปว่า
หมู่ชนเป็นอันมากในโลกนี้ กลัวอะไรเล่า จึง
ไม่ไปเทวโลกกัน ก็หนทางไปยังเทวโลก บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวไว้หลายด้าน ดูก่อนเทพบุตรผู้มีอานุภาพ
มาก ข้าพเจ้าขอถามท่าน บุคคลตั้งอยู่ในหนทางไหน
จึงไม่กลัวปรโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 45
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กีสูธ ภีตา นี้ พระราชธิดาตรัส
ถามว่า ข้าแต่เทวราชเจ้า ข้าพเจ้าขอถามท่าน หมู่ชนต่างโดยกษัตริย์เป็นต้นนี้
มิใช่เล็กน้อยเลย พากันกลัวอะไรเสียเล่า คือ เพราะหวาดกลัวอะไรกันเล่า
จึงไม่พากันไปสู่เทวโลก จากมนุษยโลกอันมีแต่สิ่งที่จะพึงเสื่อมถอยเป็นสภาวะ.
บทว่า มคฺโค ได้แก่ หนทางที่จะไปยังเทวโลก. ก็ในข้อนี้ ใคร ๆ พึงตั้ง
ปัญหาว่า ใครนำอะไรมา บัณฑิตทั้งหลายกล่าวจำแนกความนี้ไว้ ด้วยอำนาจ
เป็นแดนต่อคือลัทธิมิใช่น้อย ทางแห่งเทวโลกที่แน่นอน ท่านกล่าวอธิบายว่า
เป็นทางอะไร. บทว่า กตฺถ ิโต ความว่า ผู้จะไปยังปรโลก ดำรงอยู่
ในทางไหน จึงจะไม่หวาดกลัว.
ลำดับนั้น เมื่อท้าวสักกเทวราชจะตรัสบอกแก่พระนาง จึงได้ตรัส
พระคาถาต่อไปว่า
บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจไว้โดยชอบ ไม่ทำบาป
ด้วยกาย อยู่ครองเรือนอันมีข้าวและน้ำมาก เป็นผู้มี
ศรัทธา อ่อนโยน จำแนกแจกทาน รู้ความประสงค์
ชอบสงเคราะห์ มีวาจาน่าคบเป็นสหาย มีวาจาอ่อน-
หวาน ผู้ตั้งอยู่ในคุณธรรมดังกล่าวมานี้ ไม่พึง
หวาดกลัวปรโลกเลย.
คำเป็นคาถานั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ดูก่อนพระนางผู้ทรงพระเจริญ
บุคคลใดตั้งวาจาและใจไว้โดยชอบ แม้ด้วยทั้งกายก็มิได้กระทำบาปต่าง ๆ คือ
มาประพฤติยึดมั่นซึ่งกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเหล่านี้ เมื่ออยู่ครองเรือนอันมี
ข้าวและน้ำมากมาย คือ มีไทยธรรมเพียงพอ ประกอบด้วยความเชื่อมั่นว่า
วิบากแห่งทานมีอยู่ มีจิตอ่อนโยน ได้นามว่า ผู้จำแนกแจกจ่าย เพราะการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 46
จำแนกทานได้นามว่าผู้รู้ถ้อยคำ เพราะทราบถึงการให้ปัจจัย แก่เหล่าบรรพชิต
ผู้ท่องเที่ยวไปเพื่อภิกษาพากันกล่าวไว้ หมายความว่า เพราะทราบวาทะนี้
ชอบสงเคราะห์กันด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ ได้นามว่าผู้มีวาจาน่าคบหาเป็น
สหาย เพราะเป็นผู้พูดแต่วาจาที่น่ารัก ได้นามว่า ผู้พูดอ่อนหวาน เพราะ
กล่าววาจาที่เป็นประโยชน์ บุคคลนั้นดำรงอยู่ในกองแห่งคุณธรรมนี้ คือนี้
ประมาณเท่านี้ เมื่อจะไปยังปรโลก ก็ไม่ต้องหวาดกลัวเลย.
ลำดับนั้น พระราชธิดาได้ทรงสดับถ้อยคำของท้าวเธอแล้ว เมื่อจะ
ทรงทำการชมเชย จึงตรัสพระคาถาสืบไปว่า
ข้าแต่เทพบุตร ท่านพร่ำสอนข้าพเจ้าเหมือนดัง
มารดาบิดา ข้าแต่ท่านผู้มีผิวพรรณงดงามยิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถาม ท่านเป็นใครกันหนอ จึงมีร่างกายสง่างามนัก.
คำเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า มารดาบิดาพร่ำสอนลูกน้อย ฉันใด
ท่านก็พร่ำสอนข้าพเจ้า ฉันนั้น. ข้าแต่ท่านผู้มีผิวพรรณงดงามยิ่งนัก คือผู้
ทรงรูปโฉมอันถึงความเป็นผู้งดงาม ท่านเป็นใครกันเล่าหนอ จึงมีร่างกาย
สง่างามอย่างนี้.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงตรัสพระคาถาต่อไปว่า
ดูก่อนพระนางเจ้าผู้เลอโฉม ข้าพเจ้าเป็นพระเจ้า
อุทัยมายังที่นี่ เพื่อต้องการจะเปลื้องข้อผูกพัน ข้าพเจ้า
บอกพระนางแล้ว จะขอลาไป ข้าพเจ้าพ้นจากข้อ
ผูกพันของพระนางแล้ว.
คำเป็นคาถานั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ดูก่อนพระนางผู้พิศดูน่างดงาม
ข้าพเจ้าในภพก่อนนั้นได้เป็นสามีของเธอ นามว่าอุทัย บังเกิดเป็นท้าวสักก-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 47
เทวราชในดาวดึงส์พิภพ มาในที่นี้ มิใช่มาด้วยอำนาจกิเลส แต่ดำริว่าจัก
ทดลองเธอดู แล้วจักเปลื้องข้อผูกพัน เป็นอันมาตามข้อผูกพัน คือ ตามข้อ
ตกลงที่ทำกันไว้ในกาลก่อน บัดนี้ข้าพเจ้าได้บอกเธอแล้ว จะขอลาไป ข้าพเจ้า
พ้นจากข้อผูกพันของท่านแล้ว.
พระราชธิดา ทรงดีพระทัย ทรงเปล่งพระราชเสาวนีย์ว่า ทูลกระหม่อม
พระองค์คือพระเจ้าอุทัยภัทร ดังนี้ พลางก็มีพระกระแสพระอัสสุชลหลั่งไหล
ตรัสว่า หม่อมฉันไม่สามารถจะอยู่ห่างพระองค์ได้ โปรดทรงพร่ำสอนหม่อมฉัน
ตามที่หม่อมฉันจะอยู่ใกล้ชิดพระองค์ได้เถิดเพคะ ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถา
ต่อไปว่า
ข้าแต่พระราชสวามี ถ้าพระองค์เป็นพระเจ้าอุทัย
เสด็จมา ณ ที่นี้ เพื่อต้องการจะปลดเปลื้องข้อผูกพัน
แล้วไซร้ ข้าแต่พระราชสวามี ขอเชิญพระองค์จง
โปรดพร่ำสอนหม่อมฉัน ด้วยวิธีที่เราทั้ง ๒ จะได้พบ
กันใหม่อีกเถิดเพคะ.
ลำดับนั้น เมื่อพระมหาสัตว์เจ้าจะทรงพร่ำสอนพระนาง จึงได้ตรัส
พระคาถา ๔ พระคาถาว่า
วัยล่วงไปรวดเร็วยิ่งนัก ขณะก็เช่นนั้นเหมือนกัน
ความตั้งอยู่ยั่งยืนไม่มี สัตว์ทั้งหลายย่อมจุติไปแน่แท้
สรีระไม่ยั่งยืน ย่อมเสื่อมถอย ดูก่อนพระนางอุทัยภัทรา
เธออย่าประมาท จงประพฤติธรรมเถิด พื้นแผ่นดิน
ทั้งหมดเต็มไปด้วยทรัพย์ ถ้าจะพึงเป็นของของ
พระราชาแต่เพียงพระองค์เดียว ไม่มีผู้อื่นครอบครอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 48
ถึงกระนั้น ผู้ที่ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ก็ต้อง
ทิ้งสมบัตินั้นไป ดูก่อนพระนางอุทัยภัทรา เธอจงอย่า
ประมาท จงประพฤติธรรมเถิด มารดา บิดา พี่ชาย
น้องชาย พี่สาว น้องสาว ภริยาและสามี พร้อมทั้ง
ทรัพย์ แม้เขาเหล่านั้น ต่างก็จะละทิ้งกันไป ดูก่อน
พระนางอุทัยภัทรา เธออย่าประมาท จงประพฤติ
ธรรมเถิด ดูก่อนพระนางอุทัยภัทรา เธอพึงทราบว่า
ร่างกายเป็นอาหารของสัตว์อื่น ๆ พึงทราบว่าสุคติและ
ทุคติ ในสงสารเป็นที่พักพิงชั่วคราว ขอเธอจงอย่า
ประมาท จงประพฤติธรรมเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิปตติ ความว่า วัยย่อมล่วงไปรวดเร็ว
เหลือเกิน คือผ่านไปโดยพลัน. บทว่า วโย ได้แก่ แม้วัยทั้ง ๓ มีปฐมวัย
เป็นต้น. บทว่า ขโณ ตเถว ได้แก่ ทั้งอุปปาทขณะ ฐิติขณะ และภังคขณะ
ย่อมพลันล่วงไปเช่นนั้นเหมือนกัน ด้วยบททั้งสองดังว่ามานี้ ท้าวสักกเทวราช
แสดงว่า ขึ้นชื่อว่า อายุสังขารของสัตว์เหล่านี้ เป็นสภาวะแตกสลาย ชื่อว่า
ย่อมล่วงไปโดยพลัน เพราะเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วยิ่งนักประดุจแม่น้ำมีกระแส
อันเชี่ยว ฉะนั้น . บทว่า าน นตฺถิ ความว่า ขึ้นชื่อว่า ความหยุดอยู่
แห่งวัยและขณะทั้งสองนั้น ไม่มีเลย แม้ด้วยความปรารถนาว่า สังขารทั้งหลาย
ที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่แตกสลาย ดำรงอยู่ดังนี้ ก็ไม่เป็นไปได้ สัตว์แม้ทั้งปวง
ตั้งต้นแต่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ย่อมเคลื่อนไปแน่นอน คือโดยส่วนเดียว
เท่านั้น ท้าวสักกเทวราช ทรงบ่งถึงว่า เธอจงเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า ความ
ตายแน่นอน ความเป็นอยู่ไม่แน่นอนเลย. บทว่า ปริชียติ ความว่า สรีระ
อันมีพรรณะเพียงดังทองคำนี้ คร่ำคร่าทั้งนั้นแล เธอจงรู้อย่างนี้เถิด. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 49
มา ปมาท ความว่า ดูก่อนแม่อุทัยภัทรา เหตุนั้น เธออย่าถึงความประมาท
เลย จงเป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเถิด.
บทว่า กสิณา แปลว่า ทั้งสิ้น. บทว่า เอกสฺเสว ความว่า ถ้าว่าเป็นของ
พระราชาพระองค์เดียวเท่านั้น แม้จะเป็นอดีต อนาคต ก็เป็นอยู่ ในพระราชา
พระองค์นั้นพระองค์เดียว. บทว่า ต วา วิชหติ อวีตราโค ความว่า
บุคคลผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหา คงไม่อิ่มด้วยยศแม้เพียงเท่านี้เลย จะต้อง
ทอดทิ้งแผ่นดินนั้นไป ทั้ง ๆ ที่ยังไม่หมดรักเลย ในเวลาตาย ท้าวสักกเทวราช
ระบุถึงว่า เธอจงรู้ว่าตัณหาเป็นธรรมชาติที่ไม่รู้จักเต็ม ด้วยอาการอย่างนี้เถิด.
บทว่า เตวาปิ ความว่า บุคคลแม้เหล่านั้น ย่อมทอดทิ้งกันไป คือ ย่อม
พลัดพรากจากกันไป มารดาบิดาย่อมทิ้งบุตร บุตรทิ้งมารดาบิดา ภริยาทิ้งสามี
สามีทิ้งภริยา ท้าวสักกเทวราชระบุว่า เธอจงทราบว่า หมู่สัตว์ต้องพลัดพราก
จากกัน ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ปรโภชน ความว่า เธอพึงทราบเถิดว่า
กายเป็นอาหารของหมู่สัตว์เหล่าอื่น ต่างด้วยชนิดมีกาเป็นต้น. บทว่า อิตร-
วาโส ความว่า เธอพึงทราบเถิดว่า ในสงสารนี้ สุคติคือที่เกิดของมนุษย์
และทุคติคือที่เกิดของสัตว์ดิรัจฉานนี้ใด แม้ทั้งสองนั้น เป็นที่พักชั่วคราว
แล้ว จงไปประพฤติธรรม อย่าประมาทเสียนะ การมาจากที่ต่าง ๆ แล้วพบ
กันในที่แห่งเดียวกันของสัตว์เหล่านั้น เป็นการนิดหน่อย สัตว์เหล่านี้ อยู่ร่วม
กันชั่วกาลมีประมาณเล็กน้อยเท่านั้น เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
พระมหาสัตว์เจ้า ได้ประทานโอวาทแก่พระนาง ด้วยประการฉะนี้แล.
ฝ่ายพระนางทรงเลื่อมใส ในธรรมกถาของท้าวเธอ เมื่อจะทำการ
ชมเชย จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า
เทพบุตร ช่างพูดดีจริง ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย
น้อยนัก ทั้งลำเค็ญ ทั้งนิดหน่อย ประกอบไปด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 50
ความทุกข์ หม่อมฉันจักสละสุรุนธนนคร แคว้นกาสี
ออกบวช อยู่โดยลำพังแต่ผู้เดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ แปลว่า งามจริง. บทว่า อปฺป
มจฺจานชีวิต ความว่า เทวราชนี้เมื่อจะตรัส ย่อมตรัสว่า ชีวิตของหมู่สัตว์
เป็นของน้อยนิด ช่างตรัสดีจริง ๆ เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ชีวิตนี้
ลำเค็ญเป็นทุกข์ ปราศจากความยินดี ทั้งเป็นของนิดหน่อย คือ ไม่มาก
เป็นของชั่วคราว ก็ถ้าชีวิตทั้ง ๆ ที่ลำเค็ญ จะพึงเป็นไปได้ตลอดกาลนาน ก็
เป็นอันว่า ทั้ง ๆ ที่เป็นของนิดหน่อย จะพึงมีความสุขได้ ก็แต่ว่า ชีวิตนี้
เป็นทั้งลำเค็ญ ทั้งนิดหน่อยประกอบไว้ คือพร้อมร่วมกันกับด้วยวัฏทุกข์
ทั้งสิ้น. บทว่า สาห ตัดเป็น สา อห. บทว่า สุรุนฺธน ความว่า พระนาง
ตรัสว่า หม่อมฉันนั้น จักทิ้งพระนครสุรุนธนะ และแคว้นกาสีไปผนวชแต่
โดยลำพังผู้เดียว.
พระโพธิสัตว์เจ้า ประทานพระโอวาทแด่พระนางแล้ว เสด็จไปสู่ที่อยู่
ของพระองค์ตามเดิม. ฝ่ายพระนางพอรุ่งขึ้น ก็ทรงมอบราชสมบัติให้พวก
อำมาตย์รับไว้ ทรงผนวชเป็นฤาษิณี ในพระราชอุทยานอันน่ารื่นรมย์ ภายใน
พระนครนั่นเอง ทรงประพฤติธรรม ในที่สุดพระชนมายุ ก็บังเกิดเป็นบาท-
บริจาริกา ของพระโพธิสัตว์เจ้าในดาวดึงส์พิภพ.
พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ
ทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้เบื่อหน่ายได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ทรง
ประชุมชาดกว่า พระราชธิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระมารดาของพระ-
ราหุล ส่วนท้าวสักกเทวราช ก็คือเราตถาคตนั่นแล.
จบอรรถกถาอุทยชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 51
๕. ปานียชาดก
ว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
[๑๕๔๒] อาตมภาพเป็นมิตรของชายคนหนึ่ง
ได้บริโภคน้ำของมิตรที่เขาไม่ได้ให้ เพราะเหตุนั้น
ภายหลังอาตมภาพรังเกียจว่า เราทำบาปนั้นไว้แล้ว
อย่าได้กระทำบาปอีกเลย เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึง
ออกบวช.
[๑๕๔๓] ความพอใจบังเกิดขึ้นแก่อาตมภาพ
เพราะเห็นภรรยาของผู้อื่น เพราะเหตุนั้น ภายหลัง
อาตมภาพรังเกียจว่า เราได้ทำบาปนั้นไว้แล้ว อย่าได้
กระทำบาปนั้นอีกเลย เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึง
ออกบวช.
[๑๕๔๔] ขอถวายพระพรมหาบพิตร โจร
ทั้งหลายจับโยมบิดาของอาตมภาพไว้ในป่า อาตมภาพ
ถูกโจรเหล่านั้นถาม รู้อยู่ได้แกล้งพูดถึงโยมบิดานั้น
เป็นอย่างอื่นไป เพราะเหตุนั้น ภายหลังอาตมภาพ
รังเกียจว่า เราได้ทำบาปนั้นไว้แล้ว อย่าได้ทำบาปนั้น
อีกเลย เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงออกบวช.
[๑๕๔๕] เมื่อพลีกรรมชื่อโสมยาคะปรากฏขึ้น
แล้ว มนุษย์ทั้งหลายก็พากันกระทำปาณาติบาต
อาตมภาพได้ยอมอนุญาตให้แก่พวกเขา เพราะเหตุนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 52
ภายหลังอาตมภาพรังเกียจว่า เราได้ทำบาปนั้นไว้แล้ว
อย่าได้ทำบาปนั้นอีกเลย เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึง
ออกบวช.
[๑๕๔๖] ในกาลก่อน ชนทั้งหลายในหมู่บ้าน
ของอาตมภาพ สำคัญสุราและเมรัยว่าเป็นน้ำหวานจึง
ได้พากันดื่มน้ำเมา เพื่อความฉิบหายแก่ชนเป็นอันมาก
อาตมภาพยอมอนุญาตให้แก่เขา เพราะเหตุนั้น ภาย
หลังอาตมภาพรังเกียจว่า เราได้ทำบาปนั้นไว้แล้ว อย่า
ได้ทำบาปนั้นอีกเลย เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึง
ออกบวช.
[๑๕๔๗] น่าติเตียนแท้ ซึ่งกามเป็นอันมาก มี
กลิ่นเหม็น มีเสี้ยนหนามมาก เราส้องเสพอยู่ ไม่ได้
รับความสุขเช่นนั้น.
[๑๕๔๘] กามทั้งหลายมีความพอใจมาก สุขอื่น
ยิ่งกว่ากามไม่มี ชนเหล่าใดส้องเสพกามทั้งหลาย ชน
เหล่านั้นย่อมเข้าถึงสวรรค์.
[๑๕๔๙] กามทั้งหลายมีความพอใจน้อย ทุกข์
อื่นยิ่งกว่ากามไม่มี ชนเหล่าใดซ่องเสพกามทั้งหลาย
ชนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรก.
[๑๕๕๐] เหมือนดาบสที่ลับคมดีแล้วเชือด เหมือน
กระบี่ที่ขัดดีแล้วแทง เหมือนหอกที่พุ่งปักอก (เจ็บ
ปานใด ) กามทั้งหลายเป็นทุกข์ยิ่งกว่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 53
[๑๕๕๑] หลุมถ่านเพลิงลุกโพลงแล้ว ลึกกว่า
ชั่วบุรุษ ผาลที่เขาเผาร้อนอยู่ตลอดวัน (ร้อนปานใด)
กามทั้งหลายเป็นทุกข์ยิ่งกว่านั้น.
[๑๕๕๒] เหมือนยาพิษชนิดร้ายแรง น้ำมันที่
เดือดพล่าน ทองแดงที่กำลังละลายคว้าง (ร้อนปานใด)
กามทั้งหลายเป็นทุกข์ยิ่งกว่านั้น.
จบปานียชาดกที่ ๕
อรรถกถาปานียชาดก
พระศาสดา เมื่อทรงประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ
ปรารภถึงการข่มกิเลส จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า มิตฺโต
มิตฺตสฺส ดังนี้.
ดังจะกล่าวโดยพิสดาร สมัยหนึ่ง คฤหัสถ์ผู้เป็นสหายกันชาวกรุง
สาวัตถี ประมาณ ๕๐๐ คน ฟังพระธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้วบรรพชา
ถึงอุปสมบท พากันอยู่ภายในโกฏฐิสัณฐาคาร ถึงเวลาเที่ยงคืน ต่างก็ตรึกถึง
กามวิตก. เรื่องทั้งหมดบัณฑิตพึงให้พิสดาร โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง
นั่นแล. แปลกแต่ว่า ครั้นท่านพระอานนท์ให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกัน โดยอาณัติ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระศาสดาประทับนั่งเหนืออาสนะที่จัดถวาย
ทรงกระทำมิให้เป็นการเจาะจง ไม่ตรัสว่า พวกเธอพากันตรึกถึงกามวิตกแล้ว
ตรัสด้วยสามารถเป็นพระดำรัสสงเคราะห์ แก่ภิกษุทั้งปวงว่า ดูก่อนภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 54
ทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่ากิเลส เป็นของเล็กน้อยไม่มีเลย ธรรมดาว่าภิกษุต้องข่ม
กิเลสที่เกิดแล้ว ๆ เสีย บัณฑิตครั้งก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ
ต่างก็ข่มกิเลสทั้งหลายเสียได้ บรรลุปัจเจกพุทธญาณ ดังนี้แล้ว จึงทรงนำ
อดีตนิทานมาตรัส ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ในกรุงพาราณสี
สหาย ๒ คน ในบ้านน้อยตำบลหนึ่ง ในแคว้นกาสี พากันถือกระออมน้ำดื่ม
ไปสู่ไร่ในป่า วางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วฟันไร่ ในเวลากระหายน้ำก็พากัน
มาดื่มน้ำ. ในคน ๒ คนนั้น คนหนึ่งเมื่อมาก็เก็บน้ำดื่มของตนไว้เสีย ดื่มน้ำ
จากกระออมของอีกคนหนึ่ง ตอนเย็นออกจากป่าแล้ว ยืนอาบน้ำสำรวจดูว่า
วันนี้เราได้ทำบาปอะไร ๆ ไว้ ด้วยกายทวารเป็นต้นบ้าง มีหรือไม่ เห็นการ
ที่ขโมยน้ำของเพื่อนกันดื่ม ถึงความสลดใจคิดว่า ตัณหานี้ เมื่อเจริญคงโยน
เราเข้าไปในอบายทั้งหลายเป็นแน่แท้ เราจักข่มกิเลสอันนี้เสียให้ได้ กระทำ
การขโมยน้ำของเพื่อนกันดื่มนั้นให้เป็นอารมณ์ เจริญวิปัสสนา ทำปัจเจก-
พุทธญาณให้บังเกิดได้แล้ว ยืนนึกถึงคุณที่ตนได้รับอยู่. ลำดับนั้น อีกคนหนึ่ง
อาบน้ำแล้วขึ้นมากล่าวกะเขาว่า มาเถิดสหาย เราพากันไปเรือนเถิด. เขาตอบว่า
เธอไปเถิด ฉันไม่มีจิตคิดถึงเรือน เราเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว. เขากล่าวว่า
อันว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่เป็นอย่างท่านดอก. ลำดับนั้น ท่านจึง
ถามเขาว่า เป็นเช่นไรเล่า. เขาตอบว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีผม
เพียง ๒ องคุลี ครองผ้าย้อมน้ำฝาด พากันอยู่ ณ เงื้อมเขานันทมูลกะ ใน
ป่าหิมพานต์ตอนเหนือ. ท่านลูบศีรษะ ในบัดดลนั้นเอง เพศคฤหัสถ์ของท่าน
ก็อันตรธานหายไป กลับกลายเป็นครองผ้า ๒ ชั้นที่ย้อมแล้ว คาดรัดประคด
เช่นกับสายฟ้า มีจีวรเฉวียงบ่า มีสีเพียงดังแผ่นครั่ง ห่มเฉวียงบ่าไว้ข้างหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 55
มีผ้าบังสุกุล จีวรสีเมฆ พาดอยู่บนบ่าเบื้องขวา มีบาตรดินสีเหมือนแมลงภู่
คล้องอยู่ที่บ่าเบื้องซ้าย. ท่านสถิตอยู่ในอากาศ แสดงธรรมแล้วเหาะไปลงที่
เงื้อมเขานันทมูลกะทันที. ยังมีกุฎุมพีคนหนึ่งในกาสิกคามนั่นเอง นั่งอยู่ที่ตลาด
เห็นชายผู้หนึ่ง พาภริยาของตนเดินไป ทำลายอินทรีย์เสีย มองดูหญิงผู้เลอโฉม
นั้น หวนคิดไปอีกว่า ความโลภนี้แหละ เมื่อมันเจริญจักโยนเราเข้าไปใน
อบายทั้งหลายได้ มีใจสลดเจริญวิปัสสนา บรรลุปัจเจกพุทธญาณ สถิตใน
อากาศแสดงธรรม เหาะไปเงื้อมเขานันทมูลกะเช่นกัน. ยังมีบิดากับบุตรคู่หนึ่ง
เป็นชาวกาสิกคามเหมือนกัน เดินทางไปร่วมกัน. พวกโจรป่าพากันซุ่มอยู่ที่
ปากดง พวกโจรเหล่านั้นจับบิดากับบุตรได้ ยึดบุตรไว้ปล่อยบิดาไป ด้วยสั่ง
ว่า เจ้าจงไปนำทรัพย์มาไถ่บุตรของท่านเถิด จับพี่น้อง ๒ คนได้ ก็ยึดน้องชาย
เอาไว้ ปล่อยพี่ชายไป จับอาจารย์กับอันเตวาสิกได้ ยึดเอาอาจารย์ไว้ ปล่อย
อันเตวาสิกไป. อันเตวาสิกต้องไปนำทรัพย์มาไถ่ตัวอาจารย์ไป ด้วยความโลภ
ในศิลปะ. ลำดับนั้น บิดาและบุตรนั้น รู้ว่า พวกโจรซุ่มอยู่ที่ตรงนั้น จึงทำ
กติกากันไว้ว่า เจ้าอย่าเรียกข้าว่าพ่อนะ ถึงข้าก็จะไม่เรียกเองว่าลูก ในเวลาถูก
พวกโจรจับได้ ถูกถามว่าแกเป็นอะไรกัน ต่างคนก็ต่างพูดมุสาวาท ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่
แล้วแกล้งตอบว่า เราไม่ได้เป็นอะไรกัน. เมื่อทั้งคู่ออกพ้นจากดง ไปยืนอาบน้ำ
อยู่ในเวลาเย็น บุตรชายชำระศีลของตน เห็นมุสาวาทนั้น คิดว่า บาปนี้เมื่อเจริญ
จักโยนเราไปในอบายทั้งหลายได้ เราจักข่มกิเลสนี้ให้ได้ ดังนี้ เจริญวิปัสสนา
ทำปัจเจกพุทธญาณให้เกิดขึ้นแล้ว สถิตอยู่ในอากาศแสดงธรรมแก่บิดา เหาะ
ไปสู่เงื้อมเขานันทมูลกะเหมือนกัน. ยังมีอีกผู้หนึ่ง เป็นนายอำเภอคนหนึ่ง ใน
กาสิกคามนั่นแล บังคับให้คนฆ่าสัตว์. ครั้นในเวลากระทำพลีกรรม มหาชน
ประชุมกันกล่าวกะเขาว่า เจ้านายขอรับ พวกเราต้องฆ่าเนื้อและสุกรเป็นต้น
กระทำพลีกรรมแก่หมู่ยักษ์บ้างเถิดขอรับ กาลนี้เป็นกาลแห่งพลีกรรม ก็กล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 56
ว่า พวกท่านจงกระทำตามแบบอย่างทีเคยกระทำมาในครั้งก่อนนั่นแล. พวก
มนุษย์ได้ทำปาณาติบาตมากมาย. เขามองเห็นปลาและเนื้อเป็นอันมาก
รำคาญใจว่า มนุษย์เหล่านี้ ที่ฆ่าสัตว์มีประมาณเท่านี้ จักฆ่าตามคำของเรา
ผู้เดียวเท่านั้น ดังนี้แล้ว จึงยืนพิงช่องหน้าต่าง เจริญวิปัสสนา ทำปัจเจก
พุทธญาณให้เกิดแล้ว สถิตในอากาศแสดงธรรม เหาะไปเงื้อมเขานันทมูลกะ
เหมือนกัน. ยังอีกผู้หนึ่ง เป็นนายอำเภอในแคว้นกาสิกะเหมือนกัน ห้ามการ
ซื้อขายน้ำเมาไว้อย่างกวดขัน ถูกมหาชนพากันถามว่า เจ้านายขอรับ เมื่อก่อน
เวลานี้เป็นเวลางาน เรียกชื่อว่าสุราฉัณ (สุราที่ดื่มกันในวันมีมหรสพ) พวก
กระผมจะทำอย่างไรขอรับ จึงกล่าวว่า พวกท่านจงทำตามแบบอย่างเก่าก่อน
นั่นแล. พวกมนุษย์พากันกระทำการมหรสพ ดื่มสุราเมาแล้ว ทะเลาะกัน
จนมือเท้าแตกหัก ศีรษะแตก หูฉีกขาด ถูกจองจำด้วยสินไหมเป็นอันมาก.
นายอำเภอเห็นพวกคนนั้นแล้ว คิดว่า เมื่อเราไม่อนุญาต คนเหล่านี้ก็ไม่ต้อง
ได้ประสบทุกข์กัน. เขาทำความรำคาญใจ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ยืนพิงช่อง-
หน้าต่างอยู่ เจริญวิปัสสนา บรรลุปัจเจกพุทธญาณแล้ว สถิตอยู่ในอากาศ
แสดงธรรมว่า พวกท่านจงอย่าเป็นผู้ประมาทเถิด แล้วเหาะไปยังเงื้อมเขา
นันทมูลกะเหมือนกัน.
จำเนียรกาลนานมา พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ต่างเหาะ
มาลงที่ประตูกรุงพาราณสี เพื่อภิกขาจาร ล้วนนุ่งห่มผ้าเรียบร้อยเที่ยว
โปรดสัตว์ ด้วยอิริยาบถมีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น อันน่าเลื่อมใส
จนไปถึงประตูวัง. พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นพระคุณเจ้าเหล่านั้น ทรงมี
จิตเลื่อมใส นิมนต์ให้เข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ ล้างเท้า ทาด้วยน้ำมันหอม
อังคาสด้วยขาทนียและโภชนียะอันประณีต ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ตรัส
ถามว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย การบรรพชาในปฐมวัยของพระคุณเจ้า
ทั้งหลาย ดูช่างงดงามจริง เมื่อจะบรรพชาในวัยนี้ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ต่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 57
เห็นโทษในกามทั้งหลาย อย่างไรกันนะ อะไรเป็นอารมณ์ของพระคุณเจ้าเล่า.
เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น จะทูลแด่พระราชานั้น จึงทูลเป็นคาถาองค์ละ
๑ คาถา ดังต่อไปนี้
อาตมภาพ เป็นมิตรของชายคนหนึ่ง ได้ดื่มน้ำ
ของมิตรที่เขามิได้ให้ เพราะเหตุนั้น ภายหลัง
อาตมภาพจึงรังเกียจว่า เราทำบาปนั้นไว้แล้ว อย่าได้
กระทำบาปต่อไปอีกเลย เพราะเหตุนั้น อาตมภาพ
จึงออกบวช.
ความพอใจ บังเกดขึ้นแก่อาตมภาพ เพราะเห็น
ภริยาของผู้อื่น เพราะเหตุนั้น ภายหลังอาตมภาพจึง
รังเกียจว่า เราได้ทำบาปนั้นไว้แล้ว อย่าได้กระทำ
บาปนั้นต่อไปอีกเลย เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึง
ออกบวช.
ขอถวายพระพรมหาบพิตร โจรทั้งหลายจับโยม
บิดาของอาตมภาพไว้ในป่า อาตมภาพถูกโจรเหล่านั้น
ถาม ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ ได้แกล้งพูดถึงโยมบิดานั้น เป็น
อย่างอื่นไป เพราะเหตุนั้น ภายหลังอาตมภาพจึง
รังเกียจว่า เราได้ทำบาปนั้นไว้แล้ว อย่าได้ทำบาปนั้น
ต่อไปอีกเลย เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงออกบวช.
เมื่อพลีกรรม ชื่อว่าโสมยาคะ ปรากฏแล้วมนุษย์
ทั้งหลาย ก็พากันกระทำปาณาติบาต อาตมภาพได้
ยอมอนุญาตให้แก่พวกเขา เพราะเหตุนั้น ภายหลัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 58
อาตมภาพจึงรังเกียจว่า เราได้ทำบาปนั้นไว้แล้ว อย่า
ได้ทำบาปนั้นต่อไปอีกเลย เพราะเหตุนั้น อาตมภาพ
จึงได้ออกบวช.
ในกาลก่อน ชนทั้งหลายในหมู่บ้านของอาตม-
ภาพ สำคัญสุราและเมรัยว่าเป็นน้ำหวาน จึงได้พากัน
ดื่มน้ำเมา เพื่อความฉิบหายแก่ชนเป็นอันมาก
อาตมภาพจึงยอมอนุญาตให้แก่พวกเขา เพราะเหตุนั้น
ภายหลังอาตมภาพจึงรังเกียจว่า เราได้ทำบาปนั้นไว้
แล้ว อย่าได้ทำบาปนั้นต่อไปอีกเลย เพราะเหตุนั้น
อาตมภาพจึงได้ออกบวช.
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ภาษิตคาถาทั้ง ๕ เหล่านี้ โดยลำดับ.
ฝ่ายพระราชาทรงสดับคำพยากรณ์ของพระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละองค์แล้วได้
ทรงสดุดีว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย บรรพชานี้เหมาะสมแก่พระคุณเจ้า
ทั้งหลายทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺโต มิตฺตสฺส ความว่า มหาบพิตร
อาตมภาพเป็นเพื่อนคนหนึ่ง บริโภคน้ำดื่มของเพื่อนกัน โดยทำนองนี้. บทว่า
ตสฺมา ความว่า เพราะอาตมภาพไม่กระทำบาปกรรมซ้ำอีก เหมือนอย่าง
พวกปุถุชนกระทำกันอยู่. บทว่า ปาป ความว่า อาตมภาพกระทำบาปนั้น
ให้เป็นอารมณ์แล้วบวช. บทว่า ฉนฺโท ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร เพราะ
เห็นภริยาของผู้อื่น โดยทำนองนี้ ความพอใจในกามจึงเกิดขึ้นแก่อาตมภาพ
แล้ว. บทว่า อคณฺหิ แปลว่า ได้รุมกันจับ . บทว่า ชาน ความว่า อาตมภาพ
ถูกพวกโจรนั้น ถามว่า ผู้นี้เป็นอะไรของแก ทั้ง ๆ ที่ทราบอยู่นั่นแหละ จึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 59
ตอบไปเสียอย่างอื่นว่า ไม่ได้เป็นอะไรกัน. บทว่า โสมยาเค ความว่า เมื่อ
งานมหรสพใหม่ปรากฏขึ้นแล้ว พวกมนุษย์พากันกระทำพลีกรรมแก่ยักษ์ ชื่อว่า
พิธีโสมยาคะ ครั้นพิธีนั้นปรากฏแล้ว อาตมภาพก็พิจารณาอนุญาต. บทว่า
สุราเมรยมธุกา ความว่า ฝูงชนที่สำคัญอยู่ซึ่งสุรามีสุราเจือด้วยแป้งเป็นต้น
และเมรัยมีน้ำดองดอกไม้เป็นต้นว่าเป็นเหมือนน้ำผึ้ง. บทว่า เย ชนา ปมาสุ
โน ความว่า ฝูงชนที่เป็นเช่นนี้ มีแล้ว ได้มีก่อนในบ้านของพวกเรา. บทว่า
พหุนฺน เต ความว่า พวกเหล่านั้น เมื่อถึงงานมหรสพคราวหนึ่ง ได้มีการ
ดื่มน้ำเมา เพื่อความฉิบหายแก่ชนเป็นอันมากในวันหนึ่ง.
พระราชา ทรงสดับพระธรรมเทศนาของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น
ทรงมีจิตเลื่อมใส ทรงถวายผ้าจีวรและเภสัช ทรงส่งพระปัจเจกพุทธเจ้าไป
แล้ว. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็ทำอนุโมทนาแก่ท้าวเธอได้พากัน
ไป ณ ที่นั้นนั่นแล. ตั้งแต่นั้นมา พระราชาทรงเบื่อหน่าย ไม่ยินดีในวัตถุกาม
ทั้งหลาย ทรงเสวยพระกระยาหารอันมีรสเลิศต่าง ๆ ก็มิได้ทรงเรียก มิได้ทรง
ทอดพระเนตรพวกสตรี ทรงมีจิตเบื่อหน่าย เสด็จเข้าห้องอันทรงสิริ ประทับ
นั่งกระทำกสิณบริกรรมที่ข้างฝาอันมีสีขาว ทรงทำฌานให้บังเกิดขึ้นแล้ว.
พระองค์ทรงบรรลุฌานแล้ว เมื่อจะทรงติเตียนกามทั้งหลาย จึงตรัสพระคาถาว่า
น่าติเตียนแท้ ซึ่งถามเป็นอันมาก มีกลิ่นเหม็น
มีเสี้ยนหนามมาก เราส้องเสพอยู่ ไม่ได้รับความสุข
เช่นนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุกณฺฏเก ได้แก่ มีหมู่ปัจจามิตร
มากมาย. บาลีว่า โย จ นั้น ที่จริงก็คือ โย อห แปลว่า เราใด อีกอย่าง
บาลีก็ว่า โย จ อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ตาทิส ได้แก่ ความสุขในฌาน
เช่นนั้น คือเว้นจากกิเลส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 60
ลำดับนั้น พระอัครมเหสีของพระองค์ทรงดำริว่า พระราชาพระองค์
นี้ ทรงสดับธรรมกถาของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ทรงมีท่าทางเบื่อ
หน่าย มิได้ตรัสกับพวกเราเลย เสด็จเข้าพระตำหนักอันทรงสิริ เราจักคอย
จับพระองค์ดูก่อน ดังนี้แล้ว เสด็จไปสู่พระทวารตำหนักอันทรงสิริ ประทับ
ยืนที่พระทวารทรงสดับพระอุทาน ของพระราชาผู้กำลังทรงติเตียนกามทั้งหลาย
จึงตรัสว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม พระองค์ทรงติเตียนกาม ความสุขที่เช่นกับ
กามสุข ไม่มีละหรือ เมื่อจะทรงพรรณนาถึงความสุขในกาม จึงตรัสพระคาถา
ต่อไปว่า
กามทั้งหลายมีรสอร่อยมาก สุขอื่นยิ่งไปกว่า
กามไม่มี ชนเหล่าใด ซ่องเสพกามทั้งหลาย ชนเหล่า
นั้น ย่อมเข้าถึงสวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหสฺสาทา ความว่า ข้าแต่พระทูล
กระหม่อม ธรรมดาว่า กามเหล่านั้นมีความแช่มชื่นมาก ความสุขชนิดอื่นที่ยิ่ง
ไปกว่านี้ ไม่มีเลย เพราะผู้เสพกามเป็นปกติ จะไม่เข้าถึงอบายทั้งหลาย จะพา
กันไปบังเกิดในสวรรค์แล.
พระโพธิสัตว์เจ้า ทรงได้สดับพระราชเสาวนีย์นั้นแล้ว เมื่อจะ
ทรงติเตียนว่า จงย่อยยับเสียเถิด เจ้าคนถ่อย เจ้าพูดอะไร ขึ้นชื่อว่าความสุข
ในกามทั้งหลาย มีที่ไหนกันเล่า เพราะกามเหล่านี้เป็นวิปริณามทุกข์ทั้งนั้น
แหละ จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาที่เหลือว่า
กามทั้งหลาย มีรสอร่อยน้อย ทุกข์อื่นยิ่งไป
กว่ากามไม่มี ชนเหล่าใด ส้องเสพกามทั้งหลาย ชน
เหล่านั้น ย่อมเข้าถึงนรก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 61
เหมือนดาบที่ลับคมดีแล้วเชือด เหมือนกระบี่
ที่ขัดดีแล้วแทง เหมือนหอกที่พุ่งไปปักอก กามทั้ง
หลาย เป็นทุกข์ยิ่งไปกว่านั้น.
หลุมถ่านเพลิงลุกขึ้นโพลงแล้ว ลึกกว่าชั่วบุรุษ
ผาลที่เขาเผาร้อนอยู่จนตลอดวัน กามทั้งหลายเป็น
ทุกข์ยิ่งไปกว่านั้น.
เหมือนยาพิษชนิดร้ายแรง น้ำมันที่เดือดพล่าน
ทองแดงที่กำลังละลายคว้าง กามทั้งหลายเป็นทุกข์ยิ่ง
ไปกว่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนตฺตึโส เท่ากับ เนตฺติโส. คำว่า
เนตฺตึโส แม้นี้เป็นชื่อของพระขรรค์ชนิดนั้น. บทว่า ทุกฺขตรา ความว่า
ความทุกข์อันใด ที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคล เพราะอาศัยหลุมถ่านเพลิงที่ลุกโพลง
หรือตาข่ายเหล็กที่ถูกย่างไว้ตลอดวันอย่างนี้ กามทั้งหลายนั่นแหละ ยังเป็น
ทุกข์ยิ่งกว่าความทุกข์แม้นั้น. ในคาถาต่อ ๆ ไปมีเนื้อความว่า ยาพิษเป็น
ต้นเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะนำทุกข์มาให้ฉันใด แม้กามทั้งหลายก็เป็น
ทุกข์ฉันนั้น แต่ความทุกข์นั้น เป็นทุกข์ยิ่งกว่าความทุกข์ที่เหลือ.
พระมหาสัตว์ ทรงแสดงธรรมแก่พระเทวีอย่างนี้แล้ว ได้ทรงให้พวก
อำมาตย์ประชุมกัน แล้วตรัสว่า ดูก่อนอำมาตย์ผู้เจริญทั้งหลาย พวกเธอจง
รับราชสมบัติไว้เถิด ฉันจักบวช ทั้ง ๆ ที่มหาชนพากันร้องไห้คร่ำครวญอยู่
นั่นแล เสด็จลุกขึ้นไปประทับในอากาศ ประทานพระโอวาท เสด็จไปสู่ป่า
หิมพานต์ตอนเหนือ ทางอากาศนั่นเอง ทรงให้สร้างอาศรม ณ ประเทศที่น่า
รื่นรมย์ ผนวชเป็นฤาษี ในที่สุดแห่งพระชนมายุ ได้เสด็จไปสู่พรหมโลกแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 62
พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่ากิเลสที่เป็นของเล็กน้อย ไม่มีเลย ถึงจะมีประมาณน้อย
บัณฑิตทั้งหลาย ก็พากันข่มเสียได้ทั้งนั้น ดังนี้แล้ว จึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย
(เมื่อจบสัจจะภิกษุ ๕๐๐ รูป ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล) ทรงประชุมชาดกว่า
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายในครั้งนั้น ปรินิพพานแล้ว พระเทวี ได้กลับ
มาเป็นพระมารดาของพระราหุล ส่วนพระเจ้าพาราณสี ก็คือเราตถาคต
นั่นแล.
จบอรรถกถาปานียชาดก
๖. ยุธัญชัยชาดก
ว่าด้วยการผนวชของเจ้าชายยุธัญชัยและยุธิฏฐิละ
[๑๕๕๓] หม่อมฉันขอถวายบังคมพระองค์
ผู้เป็นจอมทัพ มีมิตรและอำมาตย์แวดล้อมแน่นขนัด
ข้าแต่พระทูลกระหม่อม หม่อมฉันจักบวช ขอได้
โปรดทรงพระอนุญาตเถิด.
[๑๕๕๔] ถ้าเธอยังบกพร่องด้วยกามทั้งหลาย
ฉันจะเพิ่มเติมให้เต็ม ผู้ใดเบียดเบียนเธอ ฉันจักห้าม
ปราม พ่อยุธัญชัยอย่าเพิ่งบวชเลย.
[๑๕๕๕] หม่อมฉันมิได้บกพร่องด้วยกามทั้ง-
หลายเลย ไม่มีใครเบียดเบียนหม่อมฉัน แต่หม่อมฉัน
ปรารถนาจะทำที่พึ่ง ที่ชราครอบงำไม่ได้ พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 63
[๑๕๕๗] พระโอรสกราบทูลวิงวอนพระราชบิดา
พระราชบิดาหรือ ก็ทรงวิงวอนพระราชโอรส พ่อเอ๋ย
ชาวนิคมพากันวิงวอนว่า ข้าแต่พระยุธัญชัย อย่าทรง
ผนวชเลย.
[๑๕๕๗] ข้าแต่พระราชบิดาผู้เป็นจอมทัพ
พระองค์อย่าทรงห้ามหม่อมฉันผู้จะบวชเลย อย่าให้
หม่อมฉันมัวเมาอยู่ด้วยกามทั้งหลาย เป็นไปตามอำ-
นาจชราเลย พระเจ้าข้า.
[๑๕๕๘] ลูกเอ๋ย แม่ขอร้องเธอ แม่ขอห้ามเธอ
แม่ปรารถนาจะเห็นเธอนาน ๆ อย่าบวชเสียเลยนะ
พ่อยุธัญชัย.
[๑๕๕๙] น้ำค้างบนยอดหญ้า พระอาทิตย์ขึ้นก็
ตกไปฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ขอทูล
กระหม่อมแม่อย่าห้ามฉันเลย พระเจ้าข้า.
[๑๕๖๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเสนา ขอได้
โปรดรีบตรัสให้พระมารดาเสด็จขึ้นสู่ยานนี้เสียเถิด
พระมารดาอย่าได้ทรงทำอันตรายแก่หม่อมฉันผู้กำลัง
รีบด่วนเสียเลย.
[๑๕๖๑] ท่านทั้งหลายจงช่วยวิ่งเต้นด้วยเถิด ขอ
ความเจริญจงมีแก่ท่านเถิด รัมมนครจักเปล่าเปลี่ยว
เสียแล้ว พ่อยุธัญชัย พระเจ้าสัพพทัตทรงอนุญาตแล้ว
ละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 64
[๑๕๖๒] เจ้าชายองค์ใดเป็นผู้ประเสริฐกว่า
มนุษย์ทั้งหลาย ยังกำลังหนุ่มแน่น เปล่งปลั่งดังทอง
ธรรมชาติ เจ้าชายองค์นั้นมีกำลังแข็งแรงมีผ้านุ่งห่ม
ย้อมน้ำฝาดบวชแล้ว.
[๑๕๖๓] เจ้าชายทั้งสององค์ คือยุธัญชัยกับ
ยุธิฏฐิละทรงละทั้งพระราชมารดาและพระราชบิดา
แล้ว ทรงตัดเครื่องข้องแห่งมัจจุราชเสด็จออกผนวช
แล้ว.
จบยุธัญชัยชาดกที่ ๖
อรรถกถายุธัญชัยชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ-
ปรารภการออกมหาภิเนษกรมณ์ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
มิตฺตมจฺจปริพฺยุฬฺห ดังนี้.
ความพิสดารว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในโรงธรรมสภา
กล่าวถ้อยคำสรรเสริญพระคุณของพระศาสดาว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าว่า
พระทศพลจักเสด็จครองเรือนไซร้ ก็จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ใน
ห้องสกลจักรวาล มีรัตนะ ๗ ประการอย่างครบครัน ทรงสำเร็จฤทธิ์ทั้ง ๔
มีพระโอรสกว่าพันเป็นบริวาร พระองค์ ทรงสละพระราชสมบัติ อันทรงสิริ
เห็นปานนี้ ทรงเห็นโทษในกามทั้งหลาย ทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะเป็นสหาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 65
ออกจากพระนครในเวลาเที่ยงคืน ทรงผนวช ณ ฝั่งแม่น้ำนที มีนามว่า
อโนมา ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาตลอด ๖ พระพรรษา จึงได้ทรงบรรลุ
พระสัมมาสัมโพธิญาณได้ดังพระประสงค์. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้น
กราบทูลให้ทรงทราบ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น
ที่ตถาคตออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ แม้ในกาลก่อน ก็เคยละราชสมบัติในกรุง
พาราณสี อันมีประมาณเนื้อที่ ๑๒ โยชน์ ออกบวชแล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว
จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล ได้มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า สัพพทัต
ณ พระนครรัมมะ. ที่จริง กรุงพาราณสีนี้ ในอุทยชาดก มีนามว่า สุรุนธนะ
ในจุลลสุตตโสมชาดก มีนามว่า สุทัศนะ ในโสณนันทชาดก มีนามว่า
พรหมวัฑฒนะ ในกัณฐหาลชาดก มีนามว่า ปุปผวดี แต่ในยุธัญชัยชาดกนี้
ได้มีนามว่า รัมมะ นามของพระนครนี้ ได้เปลี่ยนไปในกาลบางคราว ด้วย
ประการฉะนี้. ณ พระนครรัมมะนั้น พระเจ้าสัพพทัตได้มีพระราชโอรสพัน
พระองค์ ทรงพระราชทานสถาปนาพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ทรงพระนาม
ว่า ยุธัญชยะ เป็นที่พระอุปราช. พระอุปราชนั้น ได้ทรงบำเพ็ญมหาทาน
ทุก ๆ วัน. ครั้นกาลล่วงไปอย่างนี้ วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ทรงรถอันประเสริฐ
แต่เช้าตรู่ เสด็จไปสู่กีฬาในพระราชอุทยาน ด้วยพระสิริสมบัติอันใหญ่ยิ่ง
ทอดพระเนตรหยาดน้ำค้าง อันติดอยู่อย่างกับตาข่าย ที่ทำด้วยเส้นด้าย ณ ที่
ต่าง ๆ มียอดไม้ ยอดหญ้า ปลายกิ่งไม้ และใยแมลงมุมเป็นต้น จึงตรัสถามว่า
แน่ะสารถีผู้สหายเอ๋ย นี่เขาเรียกว่าอะไรกัน ได้ทรงสดับว่า ขอเดชะ เหล่านี้
เขาเรียกกันว่าหยาดน้ำค้าง อันตกลงในฤดูหิมะ พระเจ้าข้า ทรงเล่นในพระราช
อุทยานตลอดวัน เสด็จกลับก็ต่อเมื่อเวลาสายัณห์ มิได้ทรงเห็นหยาดน้ำค้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 66
เหล่านั้นเลย ตรัสถามว่า สารถีผู้สหายเอ๋ย หยาดน้ำค้างเหล่านี้ ไปไหนหมด
บัดนี้ฉันไม่เห็นมันเลย ทรงสดับว่า ขอเดชะ หยาดน้ำค้างเหล่านั้น เมื่อ
ดวงอาทิตย์ขึ้นไปอยู่ ก็ละลายตกลงเหนือแผ่นดินหมดเลย พระเจ้าข้า ดังนี้แล้ว
ทรงสลดพระทัยดำริว่า แม้ชีวิตและสังขารแห่งสัตว์เหล่านี้ ก็เป็นเสมือน
หยาดน้ำค้างบนปลายยอดหญ้า เรายังไม่ถูกชรา พยาธิ และมรณะเบียดเบียน
เลยทีเดียว ควรจะอำลาพระมารดา พระราชบิดาไปบวชดังนี้แล้ว จึงทรง
กระทำหยาดน้ำค้างนั่นแล ให้เป็นอารมณ์ ทรงเห็นภพทั้ง ๓ ประดุจมีเพลิงลุก
ทั่วไป เสด็จมาถึงพระตำหนักของพระองค์แล้ว ก็ทรงดำเนินไปยังพระตำหนัก
พระราชบิดา ผู้ประทับนั่งอยู่ ณ วินิจฉัยศาลา อันตกแต่งประดับประดาดีแล้ว
ถวายบังคมพระราชบิดา ประทับยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อจะทูลขออนุญาต
บรรพชา จึงตรัสพระคาถาที่ ๑ ว่า
หม่อมฉัน ขอถวายบังคมพระองค์ ผู้เป็นจอมทัพ
มีมิตรและอำมาตย์แวดล้อมแน่นขนัด ข้าแต่พระทูล-
กระหม่อม หม่อมฉันจักบวช ขอได้โปรดทรงอนุญาต
เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริพฺยุฬฺห แปลว่า แวดล้อมแล้ว. บทว่า
ต เทโว ความว่า ขอพระทูลกระหม่อม ทรงโปรดได้อนุญาตการบรรพชา
แก่กระหม่อมฉันนั้นเถิด.
ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะทรงห้ามท่าน จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า
ถ้าเธอยังบกพร่องด้วยกามทั้งหลาย ฉันจักเพิ่ม
เติมให้เต็มครบ ผู้ใดเบียดเบียนเธอ ฉันจักห้ามปราม
พ่อยุธัญชัยเอ๋ย อย่าเพิ่งบวชเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 67
พระราชกุมาร ทรงได้สดับพระราชดำรัสนั้นแล้ว จึงตรัสพระคาถา
ที่ ๓ ว่า
หม่อมฉันมิได้บกพร่องด้วยกามทั้งหลายเลย ไม่
มีใครเบียดเบียนหม่อมฉัน แต่หม่อมฉันปรารถนาจะ
ทำที่พึ่ง ที่ชราครอบงำไม่ได้ พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทีปญฺจ ความว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม
ความบกพร่องด้วยกามทั้งหลาย ของหม่อมฉันมิได้มีเลยทีเดียว ใคร ๆ ที่จะ
ข่มเหงหม่อมฉันเล่า ก็ไม่มี แต่หม่อมฉันปรารถนาจะสร้างที่พึ่งของหม่อมฉัน
เพื่อการไปยังปรโลก. บทว่า ย ชรา นาภิกีรติ ความว่า หม่อมฉันปรารถนา
จะกระทำเกาะที่ชราจะครอบงำไม่ได้ จะกำจัดไม่ได้ คือ จะแสวงหาอมตมหา-
นิพพาน หม่อมฉันไม่ต้องการด้วยกามทั้งหลาย ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอ
พระองค์โปรดทรงอนุญาตให้หม่อมฉันบวชเถิด พระเจ้าข้า.
พระกุมารทูลขอบรรพชาเรื่อย ๆ ด้วยประการฉะนี้. พระราชาตรัส
ห้ามว่า อย่าบวชเลยพ่อคุณเอ๋ย. พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น
จึงตรัสกึ่งพระคาถาว่า
พระโอรสกราบทูลวิงวอนพระราชบิดา พระ-
ราชบิดาหรือก็ทรงวิงวอนพระราชโอรส.
วาอักษรในพระคาถานั้น เป็นสัมปิณฑนัตถะ (มีการประมวลมาเป็น
อรรถ). ข้อนี้มีพุทธาธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระโอรสก็วิงวอนพระ-
ราชบิดา และพระราชบิดาก็ทรงวิงวอนพระราชโอรส.
พระราชาตรัสกึ่งพระคาถาที่เหลือว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 68
พ่อเอ๋ย ชาวนิคมพากันอ้อนวอนว่า ข้าแต่
พระยุธัญชัย พระองค์อย่าทรงผนวชเลย.
คำแห่งคาถานั้น มีอธิบายว่า พ่อเอ๋ย มหาชนชาวนิคมนี้ พากัน
อ้อนวอนลูก ถึงชนชาวนครเล่าก็พากันอ้อนวอนเหมือนกันว่า พระองค์อย่า
บวชเลย.
พระกุมารตรัสพระคาถาที่ ๕ ว่า
ข้าแต่พระราชบิดาผู้ทรงเป็นจอมทัพ พระองค์
อย่าทรงห้ามหม่อมฉันผู้จะบวชเลย อย่าให้หม่อมฉัน
ได้มัวเมาอยู่ด้วยกามทั้งหลาย เป็นไปในอำนาจแห่ง
ชราเลย พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสมนฺวคู ความว่า หม่อมฉันอย่าเป็น
คนหมกมุ่นด้วยกามทั้งหลาย ได้นามว่า ดำเนินไปสู่อำนาจของชราเลย. อธิบาย
ว่า ก็แลทูลกระหม่อม โปรดทรงทอดพระเนตรหม่อมฉัน โดยฐานะที่จะเป็น
ผู้ยังวัฏทุกข์ให้สิ้นไปแล้ว ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณเถิด พระเจ้าข้า.
เมื่อพระโพธิสัตว์ ได้กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาได้ทรงยอมจำนน
ฝ่ายพระราชมารดาของพระโพธิสัตว์นั้น ทรงสดับว่า ข้าแต่พระเทวี พระโอรส
ของพระนาง กำลังกราบทูลให้พระราชบิดาทรงอนุญาตการบรรพชาอยู่ เจ้าคะ
ตรัสว่า พวกเจ้าพากันพูดเรื่องอะไรกัน ทั้ง ๆ ที่พระพักตร์ก็มิได้ผัด ประทับ
นั่งเหนือพระวอทอง รีบเสด็จไปสู่สถานที่วินิจฉัย เมื่อจะตรัสวิงวอน จึงตรัส
คาถาที่ ๖ ว่า
ลูกเอ๋ย แม่ขอร้องเจ้า แม่ขอห้ามเจ้า แม่ปรารถนา
จะเห็นเจ้านาน ๆ เจ้าอย่าบวชเลยนะ พ่อยุธัญชัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 69
พระราชกุมาร ได้สดับพระราชเสาวนีย์นั้นแล้ว จึงตรัสคาถาที่ ๗ ว่า
น้ำค้างบนยอดหญ้า พระอาทิตย์ขึ้นก็เหือดแห้ง
ไป ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น ขอทูล
กระหม่อมแม่ อย่าทรงห้ามฉันเลย พระเจ้าข้า.
คำแห่งคาถานั้น มีอธิบายว่า ข้าแต่ทูลกระหม่อมแม่ หยาดน้ำค้าง
บนยอดหญ้า พอพระอาทิตย์ขึ้นไปก็สลายแห้งหายไป มิอาจจะดำรงอยู่ได้ คือ
ตกลงดินหมด ฉันใด ชีวิตของหมู่สัตว์เหล่านั้น ก็ฉันนั้น เป็นของนิดหน่อย
เป็นไปชั่วกาล มิได้ตั้งอยู่นานเลย ในโลกสันนิวาสเห็นปานนี้ พระองค์จะ
ทรงเห็นหม่อมฉันนาน ๆ ได้อย่างไรเล่า พระเจ้าข้า โปรดอย่าทรงห้าม
หม่อมฉันเลย.
แม้เมื่อพระโพธิสัตว์ กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระนางก็คงตรัสอ้อนวอน
แล้ว ๆ เล่า ๆ อยู่นั่นเอง. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้า เมื่อจะกราบทูลเตือน
พระราชบิดา จึงตรัสพระคาถาที่ ๘ ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเสนา ขอได้โปรดรีบ
ตรัสให้พระราชมารดาเสด็จขึ้นสู่ยานนี้เสียเถิด พระ
มารดาอย่าได้ทรงกระทำอันตราย แก่หม่อมฉัน ผู้
กำลังรีบด่วนเสียเลย.
คำเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อมผู้เป็นจอมรถ
โปรดตรัสให้คนรีบเชิญพระมารดาของหม่อมฉันนี้ เสด็จขึ้นสู่พระยาน คือ
พระวอทอง พระมารดาอย่าได้ทรงทำอันตรายแก่หม่อมฉัน ผู้กำลังจะข้ามก้าว
ล่วงแดนกันดารคือ ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะเสียเลย.
พระราชาทรงได้สดับพระดำรัสของพระโอรสแล้ว ตรัสว่า นางผู้เจริญ
ขอได้ไปเสียเถิด จงประทับนั่งเหนือวอของเธอ ขึ้นสู่ปราสาทอันยังความยินด๊
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 70
ให้เจริญเลยทีเดียวเถิด. พระนางทรงสดับพระราชดำรัสของพระราชานั้น เมื่อ
มิอาจจะประทับอยู่ได้ ทรงแวดล้อมไปด้วยหมู่นารี เสด็จไปสู่พระปราสาท
ได้ประทับยืนทอดพระเนตรสถานวินิจฉัย ด้วยหมายพระทัยว่า ลูกรักจักเป็น
ไปอย่างไรเล่าหนอ. ฝ่ายพระโพธิสัตว์เจ้า เมื่อพระมารดาเสด็จไปแล้ว ทรง
อ้อนวอนพระราชบิดาอีก. พระราชา เมื่อมิทรงอาจจะห้ามได้ ก็ทรงอนุญาต
ว่า พ่อเอ๋ย ถ้าเช่นนั้น จงทำใจของเธอให้ถึงที่สุดเถิด พ่อจงผนวชเถิด.
ในเวลาที่พระราชาทรงอนุญาตแล้ว พระขนิษฐาของพระโพธิสัตว์เจ้า พระนาม
ว่ายุธิฏฐิลกุมาร ถวายบังคมพระราชบิดา กราบทูลขออนุญาตว่า ข้าแต่พระทูล
กระหม่อม ขอพระองค์โปรดอนุญาตการบรรพชาของหม่อมฉันด้วยเถิด. พระ
พี่น้องทั้งสองพระองค์ ถวายบังคม.พระราชบิดา ละกามทั้งหลาย มีมหาชน
แวดล้อมพากันเสด็จออกจากสถานที่วินิจฉัย. ฝ่ายพระเทวีทอดพระเนตรดูพระ
มหาสัตว์ ทรงพระกันแสงว่า เมื่อลูกฉันผนวชแล้ว รัมมนครก็จักว่างเปล่า
จึงตรัสพระคาถาทั้ง ๒ ว่า
ท่านทั้งหลาย จงช่วยวิ่งเต้นด้วยเถิด ขอความ
เจริญจงมีแก่ท่านเถิด รัมมนครจักเปล่าเปลี่ยวเสียแล้ว
พ่อยุธัญชัย พระเจ้าสัพพทัตทรงอนุญาตแล้วละ.
เจ้าชายพระองค์ใด เป็นผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์
ทั้งหลาย ยังกำลังหนุ่มแน่นเปล่งปลั่งดังทองธรรมชาติ
เจ้าชายพระองค์นั้น มีพระกำลังแข็งแรง มีผ้านุ่งห่ม
ย้อมด้วยน้ำฝาดบวชแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิธาวถ ความว่า พระนางมิได้ตรัสสั่ง
เหล่านารี ที่ยืนล้อมอยู่ทุกนางทีเดียวว่า แน่ะนางผู้เจริญทั้งหลาย สูทั้งหลายจงวิ่ง
เต้นเข้าเถิด. ด้วยบทว่า ภทฺทนฺเต พระนางตรัสว่า ความเจริญเพราะการ
ไปอย่างนั้น จงมีแก่สูเถิด. บทว่า รมฺมก พระนางตรัสหมายถึงรัมมนคร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 71
บทว่า โยหุ เสฏฺโ ความว่า พระโอรสของพระราชาผู้ประเสริฐกว่าพระ-
โอรสตั้งพ้นนั้น ทรงผนวชเสียแล้ว ทั้งนี้ พระนางตรัสหมายถึง พระมหาสัตว์
ผู้กำลังเสด็จไปเพื่อทรงผนวช ด้วยประการฉะนี้.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ยังไม่ทรงผนวชในทันที. พระองค์ทรงถวายบังคม
พระราชมารดา พระราชบิดาแล้ว ทรงชักชวนพระขนิษฐายุธิฏฐิลกุมาร เสด็จ
ออกจากพระนคร ให้มหาชนพากันกลับไปแล้ว พระพี่น้องทั้ง ๒ พระองค์
ก็เสด็จเข้าสู่ป่าหิมพานต์ ทรงสร้างอาศรม ณ สถานที่อันน่ารื่นรมย์ใจ ทรง
ผนวชเป็นฤาษี ทำฌานและอภิญญาให้บังเกิดได้แล้ว เลี้ยงชีพด้วยผลหมากราก
ไม้ ในป่าเป็นต้น จนตลอดพระชามายุ ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
แล้ว. พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า
เจ้าชายทั้ง ๒ พระองค์ คือยุธัญชัยกับยุธิฏฐิละ
ทรงละทิ้งพระราชมารดาและพระราชบิดาแล้วทรงตัด
เครื่องข้องแห่งมัจจุราช เสด็จออกผนวชแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มจฺจุโน แปลว่า แห่งมาร. มีพุทธา-
ธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระกุมารทั้ง ๒ พระองค์นั้น คือยุธัญชัยและ
ยุธิฏฐิละทรงละพระราชมารดาและพระราชบิดาเสีย ตัดเครื่องข้องของมาร
คือกิเลสเป็นเครื่องข้อง ได้แก่ ราคะ โทสะ และโมหะ พากันผนวชแล้ว.
พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้ง
หลายแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ถึงในกาลก่อน
ตถาคตก็ได้เคยละราชสมบัติผนวชแล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว จึงทรงประชุม
ชาดกว่า พระราชมารดาพระราชบิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นตระกูลมหาราชใน
บัดนี้ ยุธิฏฐิลกุมาร ได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วนยุธัญชัย ก็คือเรา
ตถาคตนั่นเองแล.
จบอรรถกถายุธัญชัยชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 72
๗. ทสรถชาดก
ว่าด้วยผู้มีปัญญาย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เสียไปแล้ว
[๑๕๖๔] มานี่แน่ะ เจ้าลักขณ์และนางสีดาทั้ง
สองจงมาลงน้ำ พระภรตนี้กล่าวอย่างนี้ว่าพระเจ้า
ทสรถสวรรคตเสียแล้ว.
[๑๕๖๕] พี่ราม ด้วยอานุภาพอะไร เจ้าพี่ไม่เศร้า
โศกถึงสิ่งที่ควรเศร้าโศก ความทุกข์มิได้ครอบงำพี่
เพราะได้ทรงสดับว่าพระราชบิดาสวรรคตเล่า.
[๑๕๖๖] คนเราไม่สามารถจะรักษาชีวิต ที่คน
เป็นอันมากพร่ำเพ้อถึง นักปราชญ์ผู้รู้แจ้งจะทำตนให้
เดือดร้อนเพื่ออะไรกัน.
[๑๕๖๗] ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งพาลทั้งบัณฑิต
ทั้งคนมั่งมีทั้งคนยากจน ล้วนบ่ายหน้าไปหามฤตยูทั้ง
นั้น.
[๑๕๖๘] ผลไม้ที่สุกแล้ว ก็พลันแต่จะหล่นลง
เป็นแน่ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็พลันแต่จะ
ตายเป็นแน่ ฉันนั้น.
[๑๕๖๙] เวลาเช้าเห็นกันอยู่มากคน พอถึงเวลา
เย็นบางคนไม่เห็นกัน เวลาเย็นเห็นกันอยู่มากคน พอ
ถึงเวลาเช้าบางคนไม่เห็นกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 73
[๑๕๗๐] ถ้าผู้ที่คร่ำครวญหลงเบียดเบียนตนอยู่
จะพึงได้รับประโยชน์สักเล็กน้อยไซร้ บัณฑิตผู้มีปรีชา
ก็จะพึงทำเช่นนั้นบ้าง.
[๑๕๗๑] ผู้เบียดเบียนตนเองตนอยู่ ย่อมซูบ
ผอมปราศจากผิวพรรณ สัตว์ผู้ละไปแล้วไม่ได้ช่วยคุ้ม
ครองรักษา ด้วยการร่ำไห้นั้นเลย การร่ำไห้ไร้
ประโยชน์.
[๑๕๗๒] คนฉลาดพึงดับไฟที่ไหม้เรือนด้วยน้ำ
ฉันใด คนผู้เป็นนักปราชญ์ได้รับการศึกษามาดีมี
ปัญญาเฉลียวฉลาด พึงรีบกำจัดความโศกที่เกิดขึ้นโดย
ฉับพลัน เหมือนลมพัดปุยนุ่นฉันนั้น.
[๑๕๗๓] คน ๆ เดียวนั้นตายไป คนเดียวเท่านั้น
เกิดในตระกูล ส่วนการคบหากันของสรรพสัตว์ มีความ
เกี่ยวข้องกันเป็นอย่างยิ่ง.
[๑๕๗๔] เพราะเหตุนั้นแล ความเศร้าโศกแม้
จะมากมายก็ไม่ทำจิตใจของนักปราชญ์ ผู้เป็นพหูสูต
มองเห็นโลกนี้และโลกหน้า รู้ทั่วถึงธรรมให้เร่าร้อนได้.
[๑๕๗๕] เราจักให้ยศ และโภคสมบัติ แก่ผู้ที่ควร
จะได้ จักทะนุบำรุงภรรยา ญาติทั้งหลาย และคนที่
เหลือ นี้เป็นกิจของบัณฑิตผู้ปรีชา.
[๑๕๗๖] พระเจ้ารามผู้มีพระศอดุจกลองทอง มี
พระพาหาใหญ่ ทรงครอบครองราชสมบัติอยู่ตลอด
๑๖,๐๐๐ ปี.
จบทสรถชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 74
อรรถกถาทสรถชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ
ปรารภกุฎุมพีผู้บิดาตายแล้วคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า เอถ ลกฺขณสีตา จ ดังนี้.
ความพิสดารว่า กุฎุมพีนั้น เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้วถูกความเศร้า
โศกครอบงำ จึงทอดทิ้งหน้าที่การงานเสียทุกอย่าง ครุ่นแต่ความเศร้าโศกอยู่
แต่ถ่ายเดียว. พระศาสดา ทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทอดพระเนตร
เห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของเขา รุ่งขึ้นจึงเสด็จโปรดสัตว์ในกรุงสาวัตถี
เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงส่งภิกษุทั้งหลายกลับ ทรงชวนไว้เป็นปัจฉา
สมณะเพียงรูปเดียว เสด็จไปยังเรือนของเขา เมื่อตรัสเรียกเขาผู้นั่งถวายบังคม
ด้วยพระดำรัสอันไพเราะ จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก เจ้าเศร้าโศกไปทำไม เมื่อ
เขากราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเศร้าโศกถึงบิดากำลัง
เบียดเบียนข้าพระองค์ จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก บัณฑิตในปางก่อน ทราบ
โลกธรรม ๘ ประการ ตามความเป็นจริง เมื่อบิดถึงแก่กรรมแล้ว ก็มิได้
ประสบความเศร้าโศก แม้สักน้อยหนึ่งเลย เขากราบทูลอาราธนา จึงทรงนำ
อดีตนิทานมาตรัสว่า
ในอดีตกาล พระเจ้าทสรถมหาราช ทรงละความถึงอคติ เสวย-
ราชสมบัติโดยธรรม ในกรุงพาราณสี พระอัครมเหสีผู้เป็นใหญ่กว่าสตรี
๑๖,๐๐๐ นางของท้าวเธอ ประสูติพระโอรส ๒ พระองค์ พระธิดา ๑ พระองค์
พระโอรสองค์ใหญ่ทรงพระนามว่า รามบัณฑิต องค์น้องทรงพระนามว่า ลัก-
ขณกุมาร พระธิดาทรงพระนามว่าสีดาเทวี. ครั้นจำเนียรกาลนานมา พระอัคร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 75
มเหสีสิ้นพระชนม์. พระราชาเมื่อพระนางสิ้นพระชนม์แล้ว ทรงถึงอำนาจแห่ง
ความเศร้าโศกตลอดกาลนาน หมู่อำมาตย์ช่วยกันกราบทูลให้ทรงสร่าง ทรงกระ
ทำการบริหารที่ควรกระทำแก่พระนางแล้ว ทรงตั้งสตรีอื่นไว้ในตำแหน่งอัครม-
เหสีพระนางเป็นที่รัก เป็นที่จำเริญพระหฤทัยของพระราชา. ครั้นกาลต่อมา แม้
พระนางก็ทรงพระครรภ์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องครรภ์บริหาร จึงประสูติ
พระราชโอรส. พระประยูรญาติขนานพระนามพระโอรสนั้นว่า ภรตกุมาร.
พระราชาตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ ฉันขอให้พรแก่เธอ เธอจงรับเถิด ด้วย
ทรงพระเสน่หาในพระโอรส. พระนางทรงเฉยเสีย ทำทีว่าทรงรับแล้ว จน
พระกุมารมีพระชนมายุได้ ๗-๘ พรรษา จึงเข้าไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า
พระทูลกระหม่อม พระองค์พระราชทานพระพรไว้แก่บุตรของกระหม่อมฉัน
บัดนี้ ขอทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระพรนั้นแก่เธอ เมื่อพระราชาตรัส
ว่ารับเอาเถิด นางผู้เจริญ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม ขอพระองค์
โปรดทรงพระกรุณาพระราชทานราชสมบัติ แก่บุตรของกระหม่อมฉันเถิด
พระเจ้าข้า. พระราชาทรงตบพระหัตถ์ตรัสขู่ว่า เจ้าจงย่อยยับเสียเถอะ นางถ่อย
บุตรของข้า ๒ คน กำลังรุ่งเรืองเหมือนกองเพลิง เจ้าจะให้ข้าฆ่าเขาทั้ง ๒ คน
เสียแล้ว ขอราชสมบัติให้ลูกของเจ้า. พระนางตกพระทัย เสด็จเข้าสู่พระ-
ตำหนักอันทรงสิริ ถึงในวันอื่น ๆ เล่า ก็คงทูลขอราชสมบัติกับพระราชาเนืองๆ
ทีเดียว. พระราชาครั้นไม่พระราชทานพระพรแก่พระนาง จึงทรงพระดำริ
ว่า ขึ้นชื่อว่ามาตุคามเป็นคนอกตัญญู มักทำลายมิตร นางนี้พึงปลอมหนังสือ
หรือจ้างคนโกง ๆ ฆ่าลูกทั้ง ๒ ข้องเราเสียได้. พระองค์จึงตรัสสั่งให้พระราช
โอรสทั้ง ๒ เข้าเฝ้า ตรัสความนั้น มีพระดำรัสว่า พ่อเอ๋ย อันตรายคงจักมี
แก่พวกเจ้า ผู้อยู่ ณ ที่นี้ เจ้าทั้งหลายจงพากันไปสู่แดนแห่งสามันตราช หรือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 76
สู่ราวป่า พากันมาก็ต่อเมื่อพ่อตายแล้ว ยึดเอาราชสมบัติของตระกูลเถิด ดังนี้
แล้ว รับสั่งให้พวกโหราจารย์เข้าเฝ้าอีก ตรัสถามกำหนดพระชนมายุของ
พระองค์ ทรงสดับว่า จักยั่งยืนไปตลอด ๑๒ ปีข้างหน้า จึงตรัสว่า พ่อเอ๋ย
โดยล่วงไป ๑๒ ปีถัดจากนี้ พวกเจ้าจงพากันมา ให้มหาชนยกฉัตรถวาย.
พระราชโอรสเหล่านั้น กราบทูลว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า พากันถวายบังคม
พระราชบิดา ทรงพระกันแสง เสด็จลงจากพระปราสาท. พระนางสีดาเทวี
ทรงพระดำริว่า ถึงเราก็จักไปกับพี่ทั้ง ๒ ถวายบังคมพระราชบิดา ทรงพระ-
กันแสงเสด็จออก. กษัตริย์ทั้ง ๓ พระองค์นั้น แวดล้อมไปด้วยมหาชน
ออกจากพระนคร ทรงให้มหาชนพากันกลับ เสด็จเข้าสู่หิมวันตประเทศโดย
ลำดับ สร้างอาศรม ณ ประเทศอันมีน้ำและมูลผลาผลสมบูรณ์ ทรงเลี้ยง
พระชนมชีพด้วยผลาผล พากันประทับอยู่แล้ว. ฝ่ายพระลักขณบัณฑิต และ
พระนางสีดา ได้ทูลขอร้องพระรามบัณฑิตรับปฏิญญาว่า พระองค์ดำรงอยู่ใน
ฐานะแห่งพระราชบิดาของหม่อมฉัน เหตุนั้นเชิญประทับประจำ ณ อาศรมบท
เท่านั้นเถิด หม่อมฉันทั้ง ๒ จักนำผลาผลมาบำรุงเลี้ยงพระองค์. จำเดิมแต่นั้น
มา พระรามบัณฑิต คงประทับประจำ ณ อาศรมบทนั้นเท่านั้น. พระลักขณ
บัณฑิต และพระนางสีดา พากันหาผลาผลมาปรนนิบัติพระองค์. เมื่อกษัตริย์
ทั้ง ๓ พระองค์นั้น ทรงเลี้ยงพระชนมชีพอยู่ด้วยผลาผลอย่างนี้ พระเจ้า
ทสรถมหาราช เสด็จสวรรคตลงในปีที่ ๙ เพราะทรงเศร้าโศกถึงพระราชโอรส.
ครั้นจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระเจ้าทสรถมหาราชเสร็จแล้ว
พระเทวีมีพระดำรัสให้พวกอำมาตย์ถวายพระเศวตฉัตร แด่พระภรตกุมารผู้
โอรสของตน. แต่พวกอำมาตย์ทูลว่า เจ้าของเศวตฉัตรยังอยู่ในป่า ดังนี้แล้ว
จึงไม่ยอมถวาย. พระภรตกุมารตรัสว่า เราจักเชิญพระรามบัณฑิต ผู้เป็น
พระภาดามาจากป่า ให้ทรงเฉลิมพระเศวตฉัตร ทรงถือเครื่องราชกกุธภัณฑ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 77
๕ อย่าง พร้อมด้วยเสนา ๔ เหล่า บรรลุถึงที่ประทับของพระรามบัณฑิตนั้น
ให้ตั้งค่ายพักแรมอยู่ ณ ที่อันไม่ไกล เสด็จเข้าไปสู่อาศรมบทกับอำมาตย์ ๒-๓
นาย ในเวลาที่พระลักขณบัณฑิต และพระนางสีดาเสด็จไปป่า เข้าเฝ้าพระราม
บัณฑิต ผู้ปราศจากความระแวง ประทับนั่งอย่างสบาย ประหนึ่งรูปทองคำที่
ตั้งไว้ ณ ประตูอาศรมบท ถวายบังคม ประทับยืน ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง
กราบทูลข่าวของพระราชาแล้ว ก็ทรงฟุบลงแทบพระบาททั้งคู่ ทรงพระ-
กันแสงพร้อมกับเหล่าอำมาตย์. พระรามบัณฑิต มิได้ทรงเศร้าโศกเลย มิได้
ทรงพระกันแสงเลย. แม้เพียงอาการผิดปกติแห่งอินทรีย์ ก็มิได้มีแก่พระองค์
เลย ก็แลในเวลาที่พระภรตะทรงพระกันแสงประทับนั่ง เป็นเวลาสายัณหสมัย
พระลักขณบัณฑิต และพระนางสีดาทั้ง ๒ พระองค์ ทรงพากันถือผลาผล
เสด็จมาถึง. พระรามบัณฑิตทรงดำริว่า เจ้าลักขณะและแม่สีดายังเป็นเด็ก
ยังไม่มีปรีชากำหนดถี่ถ้วนเหมือนเรา ได้รับบอกเล่าว่า บิดาของเธอสวรรคต
แล้วโดยรวดเร็ว เมื่อไม่อาจจะยับยั้งความเศร้าโศกไว้ได้ แม้หัวใจของเธอ
ก็อาจแตกไปได้ เราต้องใช้อุบายให้เจ้าลักขณะและแม่สีดาจงไปแช่น้ำแล้ว
ให้ได้ฟังข่าวนั้น. ลำดับนั้น ทรงชี้แอ่งน้ำแห่งหนึ่ง ข้างหน้าแห่งกษัตริย์ทั้ง
๒ พระองค์นั้น ตรัสว่า เจ้าทั้ง ๒ มาช้านัก นี่เป็นทัณฑกรรมของเจ้า เจ้าจง
ลงไปแช่น้ำยืนอยู่ ดังนี้แล้ว จึงตรัสกึ่งพระคาถาว่า
มานี่แน่ะเจ้าลักขณะ และนางสีดาทั้ง ๒ จงมา
ลงน้ำ.
คำอันเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า นานี่แน่ะเจ้าลักขณะและนางสีดา
จงพากันมา จงลงสู่น้ำทั้ง ๒ คน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 78
พระลักขณะและพระนางสีดาทั้ง ๒ พระองค์นั้น พากันเสด็จลงไป
ประทับยืนอยู่ ด้วยพระดำรัสครั้งเดียวเท่านั้น. ลำดับนั้น พระรามบัณฑิต
เมื่อจะทรงบอกข่าวแห่งพระราชบิดาแก่กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์นั้น จึงตรัสกึ่ง
คาถาที่เหลือว่า
พ่อภรตะนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า พระราชาทสรถ
สวรรคตเสียแล้ว.
พระลักขณะและพระนางสีดาทั้ง ๒ พระองค์นั้น พอได้สดับข่าวว่า
พระราชบิดาสวรรคตเท่านั้น ก็พากันวิสัญญีสลบไป. พระรามบัณฑิตตรัสบอก
ซ้ำอีก ก็พากันสลบไปอีก. หมู่อำมาตย์ช่วยกันอุ้มกษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์
อันทรงถึงวิสัญญีภาพไปถึง ๓ ครั้ง ด้วยอาการอย่างนี้ ขึ้นจากน้ำให้ประทับนั่ง
บนบก. เมื่อเธอทั้ง ๒ ได้ลมอัสสาสปัสสาสะแล้ว ทุกพระองค์ต่างก็ประทับนั่ง
ทรงพระกันแสงคร่ำครวญกันเรื่อย. ครั้งนั้น พระภรตกุมาร ทรงพระดำริว่า
พระภาดาของเรา ลักขณกุมารและพระภคินีสีดาเทวีของเรา สดับข่าวว่า
พระทสรถสวรรคตเสียแล้ว มิอาจจะยับยั้งความเศร้าโศกไว้ได้ แต่พระราม
บัณฑิต มิได้ทรงเศร้าโศก มิได้ทรงคร่ำครวญเลย อะไรเล่าหนอ เป็นเหตุ
แห่งความไม่เศร้าโศกของพระองค์ ต้องถามพระองค์ดู. เมื่อท้าวเธอจะตรัส
ถามพระองค์ จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า
พี่รามบัณฑิต ด้วยอานุภาพอะไร เจ้าพี่จึงไม่
เศร้าโศก ถึงสิ่งที่ควรเศร้าโศก ความทุกข์มิได้ครอบงำ
พี่เพราะได้สดับว่า พระราชบิดาสวรรคตเล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปภาเวน แปลว่า ด้วยอานุภาพ. บทว่า
น ต ปสหเต ทุกฺข ความว่า ความทุกข์เห็นปานนี้ เหตุไรจึงไม่บีบคั้น
พี่ได้เลย อะไรเป็นเครื่องบังคับมิให้พี่เศร้าโศกเลย โปรดแจ้งแก่หม่อมฉันก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 79
ลำดับนั้น พระรามบัณฑิต เมื่อจะแสดงเหตุที่บังคับมิให้พระองค์ทรง
เศร้าโศก แก่พระกุมารภรตะนั้น จึงตรัสว่า
คนเราไม่สามารถจะรักษาชีวิต ที่คนเป็นอันมาก
พร่ำเพ้อถึง นักปราชญ์ผู้รู้แจ้งจะทำตนเพื่อให้เดือดร้อน
เพื่ออะไรกัน.
ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งพาลทั้งบัณฑิต ทั้งคนมั่งมี
ทั้งคนยากจน ล้วนบ่ายหน้าไปหามฤตยูทั้งนั้น.
ผลไม้ที่สุกแล้ว ก็พลันแต่จะหล่นลงเป็นแน่
ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็พลันแต่จะตาย
เป็นแน่ ฉันนั้น.
เวลาเช้าเห็นกันอยู่มากคน พอถึงเวลาเย็น
บางคนก็ไม่เห็นกัน เวลาเย็นเห็นกันอยู่มากคน พอ
ถึงเวลาเช้าบางคนก็ไม่เห็นกัน.
ถ้าผู้ที่คร่ำครวญหลงเบียดเบียดตนอยู่ จะพึงได้
รับประโยชน์สักเล็กน้อยไซร้ บัณฑิตผู้มีปรีชา ก็จะ
พึงทำเช่นนั้นบ้าง.
ผู้เบียดเบียนตนของตนอยู่ ย่อมซูบผอม
ปราศจากผิวพรรณ สัตว์ผู้ละไปแล้วไม่ได้ช่วยคุ้มครอง
รักษา ด้วยการร่ำไห้นั้นเลย การร่ำไห้ไร้ประโยชน์.
คนฉลาดพึงดับไฟที่ไหม้เรือนด้วยน้ำ ฉันใด
คนผู้เป็นนักปราชญ์ ได้รับการศึกษามาดีแล้ว มีปัญญา
เฉลียวฉลาด พึงรีบกำจัดความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นโดย
พลัน เหมือนลมพัดปุยนุ่น ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 80
คน ๆ เดียวเท่านั้น ตายไป คนเดียวเท่านั้น เกิด
ในตระกูล ส่วนการคบหากันของสรรพสัตว์ มีการ
เกี่ยวข้องกันเป็นอย่างยิ่ง.
เพราะเหตุนั้นแล ความเศร้าโศกแม้จะมากมาย
ก็ไม่ทำจิตใจของนักปราชญ์ผู้เป็นพหูสูต มองเห็น
โลกนี้และโลกหน้า รู้ทั่วถึงกรรมให้เร่าร้อนได้.
เราจักให้ยศ และโภคสมบัติ แก่ผู้ที่ควรจะได้
จักทะนุบำรุงภริยา ญาติทั้งหลาย และคนที่เหลือ นี้
เป็นกิจของบัณฑิตผู้ปรีชา.
พระรามบัณฑิต ได้ประกาศถึงอนิจจตาด้วยคาถา ๖ คาถาเหล่านี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเลตุ ได้แก่ เพื่อจะรักษา. บทว่า
ลปต ได้แก่ ผู้บ่นเพ้ออยู่ ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า พ่อภรตะเอ๋ย
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย บรรดาที่พากันร่ำไห้ถึงกันมากมาย แม้สักคนเดียว
ก็มิอาจจะรักษาไว้ได้ว่า อย่าขาดไปเลยนะ บัดนี้ผู้เช่นเรานั้น รู้โลกธรรมทั้ง
๘ ประการ โดยความเป็นจริง ชื่อว่า วิญญูชน มีความหลักแหลมเป็นบัณฑิต
ในเมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีชีวิต มีความตายเป็นที่สุด ตายไปแล้ว จะยังตนให้เข้า
ไปเดือดร้อนเพื่ออะไรกัน คือเหตุไรจึงจะแผดเผาตน ด้วยความทุกข์ของตน
อันหาอุปการะมิได้. คาถาว่า ทหรา จ เป็นต้นมีอธิบายว่า พ่อภรตะเอ๋ย ขึ้น
ชื่อว่า มฤตยู นี้ มิได้ละอาย ต่อคนหนุ่มผู้เช่นกับรูปทองคำ มีขัตติยกุมารเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 81
ต้นเลย และมิได้เกรงขามย่อมหาโยธาทั้งหลาย ผู้ถึงความเจริญโดยคุณ มิได้
เกรงกลัวเหล่าสัตว์ ผู้สันดานหนาเป็นพาล มีได้ยำเกรงปวงบัณฑิต มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้น มิได้หวั่นเกรงมวลอิสริยชน มีพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น มิ
ได้อดสูต่อคนขัดสนไม่เว้นตัว ฝูงสัตว์เหล่านี้ แม้ทั้งหมดล้วนบ่ายหน้าไปหา
มฤตยู พากันย่อยยับแหลกลาญที่ปากแห่งความตายทั้งนั้นแหละ. บทว่า ปตน-
โต ได้แก่ โดยการตกไป มีอธิบายว่า ดูก่อนพ่อภรตะเอ๋ย เปรียบเหมือน
ผลไม้อันสุกแล้ว ตั้งแต่เวลาที่สุกแล้วไป ก็มีแต่จะรอเวลาร่วงหล่น ว่าจะพราก
จากขั้วหล่นลงบัดนี้ หล่นลงเดี๋ยวนี้ คือผลไม้เหล่านั้น มีแต่จะคอยระแวงอยู่
อย่างนี้ว่า ความหวั่นที่จะต้องหล่นเป็นการแน่นอนเที่ยงแท้ มีแต่เรื่องนั้น
ถ่ายเดียวเท่านั้น ฉันใด แม้ฝูงสัตว์ที่ต้องตาย ที่เกิดมาแล้ว ก็ฉันนั้น หวั่นเกรง
แต่ที่จะตายถ่ายเดียวเท่านั้น ขณะหรือครู่ที่ฝูงสัตว์เหล่านั้น จะไม่ต้องระแวง
ความตายนั้น ไม่มีเลย. บทว่า สาย แปลว่า ในเวลาเย็น. ด้วยบทว่า สาย
นี้ ท่านแสดงถึงการที่ไม่ปรากฏของผู้ที่เห็นกันอยู่ในเวลากลางวัน ในเวลา
กลางคืน และของสัตว์ผู้เห็นกันอยู่ในเวลากลางคืน ในเวลากลางวัน. บทว่า
กิญฺจิทตฺถ ความว่า ถ้าคนเราคร่ำครวญอยู่ด้วยคิดว่า พ่อของเรา ลูกของ
เรา ดังนี้เป็นต้น หลงใหลเบียดเบียนตนอยู่ ให้ตนลำบากอยู่ จะพึงนำ
ประโยชน์มาแม้สักหน่อย. บทว่า กยิรา เจ น วิจกฺขโณ ความว่า เมื่อ
เป็นเช่นนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงร่ำไห้เช่นนั้น. แต่เพราะผู้ร่ำไห้อยู่ ไม่
สามารถจะนำผู้ตายแล้วมาได้ หรือสามารถจะทำความเจริญอื่น ๆ แก่ผู้ตายแล้ว
นั้นได้ เหตุนั้นจึงเป็นกิริยาที่ไร้ประโยชน์ แก่ผู้ที่ถูกร่ำไห้ถึง บัณฑิตทั้งหลาย
จึงไม่ร่ำไห้. บทว่า อตฺตานมตฺตโน ความว่า ผู้ร่ำไห้กำลังเบียดเบียน
อัตภาพของตน ด้วยทุกข์คือความโศกและความร่ำไห้. บทว่า น เตน ความ
ว่า ด้วยความร่ำไห้นั้น ฝูงสัตว์ผู้ไปปรโลกแล้ว ย่อมจะคุ้มครองไม่ได้ จะยังตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 82
ให้เป็นไม่ได้เลย. บทว่า นิรตฺถา ความว่า เพราะเหตุนั้น การร่ำไห้ถึงฝูง
สัตว์ผู้ตายไปแล้วเหล่านั้นจึงเป็นกริยาที่หาประโยชน์มิได้. บทว่า สรณ ได้แก่
เรือนเป็นที่อยู่อาศัย ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเรือน
ถูกไฟไหม้ ก็ไม่ต้องตกใจแม้สักครู่ รีบดับเสียด้วยน้ำตั้งพันหม้อทันที ฉันใด
ธีรชนก็ฉันนั้น พึงดับความโศกที่เกิดขึ้นแล้ว โดยทันทีทีเดียว กำจัดปัดเป่า
เสียโดยวิธี ที่ความโศกจะไม่อาจตั้งอยู่ได้ เหมือนลมพัดปุยนุ่น ฉะนั้น. ใน
บทว่า เอโกว มจฺโจ มีอธิบายดังต่อไปนี้ พ่อภรตะเอ๋ย ฝูงสัตว์เหล่านี้
ชื่อว่า มีกรรมเป็นของของตน สัตว์ผู้ไปสู่ปรโลกจากโลกนี้ ผู้เดียวจากฝูงสัตว์
เหล่านั้น ล่วงไปผ่านไป แม้เมื่อเกิดในตระกูลมีกษัตริย์เป็นต้น ผู้เดียวเท่านั้น
ไปเกิด. ส่วนความร่วมคบหากันของสัตว์ทั้งปวงในที่นั้น ๆ มีการเกี่ยวข้องกัน
นั้นว่า ผู้นี้เป็นบิดาของเรา ผู้นี้เป็นมารดาของเรา ผู้นี้เป็นญาติมิตรของเรา
ดังนี้ ด้วยอำนาจที่เกี่ยวข้องกัน ทางญาติ ทางมิตร เท่านั้นเป็นอย่างยิ่ง แต่
เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ฝูงสัตว์เหล่านี้ ในภพทั้ง ๓ มีกรรมเป็นของของตนทั้งนั้น.
บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเว้นความเกี่ยวข้องทางญาติ ทางมิตร อัน
เป็นเพียงการคบหากัน ของสัตว์เหล่านี้เสียแล้ว ต่อจากนั้นย่อมเป็นอื่นไปไม่
ได้ ฉะนั้น. บทว่า สมฺปสฺสโต ได้แก่ เห็นโลกนี้และโลกหน้า อันมีความ
พลัดพรากจากกันเป็นสภาวะโดยชอบ. บทว่า อญฺาย ธมฺม ได้แก่ เพราะ
รู้โลกธรรม ๘ ประการ. บทว่า หทย มนญฺจ นี้ ทั้ง ๒ บท เป็นชื่อของจิต
นั่นเอง ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า
โปฏฐปาทะเอ๋ย ธรรมในมวลมนุษย์เหล่านี้ คือ
มีลาภ ไม่มีลาภ มียศ ไม่มียศ นินทา สรรเสริญ
สุขและทุกข์ เป็นของไม่เที่ยง เธออย่าเศร้าโศก เธอ
จะเศร้าโศกไปทำไม ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 83
ความเศร้าโศกแม้จะใหญ่หลวง ซึ่งมีบุตรที่เป็นที่รักตายไปเป็นวัตถุ
ย่อมปรากฏทางจิต ด้วยโลกธรรม ๘ ประการอย่างใดอย่างหนึ่งนี้ และย่อมไม่
แผดเผาหทัย ของธีรชนผู้ดำรงอยู่ เพราะได้รู้ถึงสภาวธรรมอันนั้นว่าเป็นของ
ไม่เที่ยง. อีกนัยหนึ่ง พึงเห็นความในข้อนี้ อย่างนี้ว่า ความเศร้าโศกแม้ว่า
จะใหญ่หลวงก็จะแผดเผาหทัยวัตถุ และใจของธีรชนไม่ได้ เพราะมาทราบโลก
ธรรม ๘ ประการนี้. บทว่า โสห ยสญฺจ โภคญฺจ ความว่า พ่อภรตะ
เอ๋ย การร้องไห้ร่ำไห้ เหมือนของพวกคนอันธพาล ไม่สมควรแก่เราเลย แต่
เราเมื่อพระราชบิดาล่วงลับไปดำรงอยู่ในฐานะของพระองค์นั่นแล จะให้ทานแก่
คนที่ควรให้ มีพวกคนกำพร้าเป็นต้น ให้ตำแหน่งแก่ผู้ที่ควรให้ตำแหน่ง ให้
ยศแก่ผู้ที่ควรจะให้ยศ บริโภคอิสริยยศ โดยนัยที่พระราชบิดาของเราทรงบริโภค
ทรงเลี้ยงหมู่ญาติ จะคุ้มครองคนที่เหลือ คือคนภายในและคนที่เป็นบริวาร
จักกระทำการปกป้องและคุ้มครองกันโดยธรรม แก่สมณะและพราหมณ์ผู้ทรง
ธรรม เพราะทั้งนี้เป็นกิจอันสมควรของผู้รู้ คือ ผู้เป็นบัณฑิต.
ฝูงชนฟังธรรมเทศนาอันประกาศความไม่เที่ยง ของพระรามบัณฑิตนี้
แล้ว พากันสร่างโศก. ต่อจากนั้น พระภรตกุมารบังคมพระรามบัณฑิตทูล
ว่า เชิญพระองค์ทรงรับราชสมบัติ ในพระนครพาราณสีเถิด. ดูก่อนพ่อ
ท่านจงพาพระลักขณ์และสีดาเทวีไปครองราชสมบัติกันเถิด. ทูลถามว่า ก็
พระองค์เล่า พระเจ้าข้า. ตรัสว่า พ่อเอ๋ย พระบิดาของฉันได้ตรัสไว้
กะฉันว่า ต่อล่วง ๑๒ ปี เจ้าค่อยมาครองราชสมบัติ เมื่อฉันจะไป ณ
บัดนี้เล่า ก็เป็นอันไม่ชื่อว่าไม่กระทำตามพระดำรัสของพระองค์ แต่ครั้น
พ้นจาก ๓ ปี อื่นไปแล้ว ฉันจักยอมไป. ทูลถามว่า ตลอดกาลเพียงนี้
ใครจักครองราชสมบัติเล่า. พวกเธอครองซี. ทูลว่า หากหม่อมฉันไม่ครอง.
ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นรองเท้าคู่นี้จักครองจนกว่าฉันไป แล้วทรงถอดฉลองพระ-
บาททำด้วยหญ้าของพระองค์ประทานให้. กษัตริย์ทั้ง ๓ พระองค์รับฉลอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 84
พระบาทบังคมพระรามบัณฑิต แวดล้อมด้วยมหาชน เสด็จไปสู่พระนคร
พาราณสี. ฉลองพระบาทครองราชสมบัติตลอด ๓ ปี. พวกอำมาตย์พากันวาง
ฉลองพระบาทหญ้าเหนือราชบังลังก์ แล้วพากันตัดสินคดี. ถ้าตัดสินไม่ดี
ฉลองพระบาทก็กระทบกัน ด้วยสัญญานั้น ต้องพากันตัดสินใหม่ เวลาที่ตัด
สินชอบแล้ว ฉลองพระบาทปราศจากเสียงและคงเงียบอยู่. ต่อนั้นสามปี พระ-
รามบัณฑิตจึงเสด็จออกจากป่าบรรลุถึงพระนครพาราณสี เสด็จเข้าสู่พระราช
อุทยาน. พระกุมารทั้งหลาย ทรงทราบความที่พระองค์เสด็จมา มีหมู่อำมาตย์
แวดล้อมเสด็จไปพระอุทยาน ทรงกระทำนางสีดาเป็นอัครมเหสีแล้วอภิเษกทั้ง
คู่. พระมหาสัตว์ทรงปราบดาภิเษกแล้ว ประทับเหนือราชรถอันอลงกต เสด็จ
เข้าสู่พระนครด้วยบริวารขบวนใหญ่ ทรงเลียบพระนครแล้วเสด็จขึ้นสู่ท้อง
พระโรง แห่งพระสุนันทนปราสาท. ตั้งแต่นั้น ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม
ตลอดหมื่นหกพันปี ในเวลาสิ้นพระชนมายุ ทรงยังเมืองสวรรค์ให้เนืองแน่น
แล้ว. อภิสัมพุทธคาถานี้ว่า
พระเจ้ารานผู้มีพระศอดุจกลองทอง มีพระพาหา
ใหญ่ ทรงครอบครองราชสมบัติอยู่ตลอด ๑๖,๐๐๐ ปี
ดังนี้ ย่อมประกาศเนื้อความนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺพุคิโว ความว่า มีพระศอ เช่นกับ
แผ่นทองคำ. จริงอยู่ ทองคำเรียกว่า กัมพุ.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ ใน
เวลาจบสัจจะ กุฎุมพีดำรงในโสดาปัตติผล ทรงประชุมชาดกว่า พระทส-
รถมหาราชครั้งนั้น ได้มาเป็นสุทโธทนมหาราช พระมารดาได้มาเป็น
พระมหามายา สีดาได้มาเป็นมารดาของราหุล เจ้าภรตะได้มาเป็น
อานนท์ เจ้าลักขณ์ ได้มาเป็นสารีบุตร บริษัทได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วน
รามบัณฑิตได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาทสรถชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 85
๘. สังวรชาดก
ว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม
[๑๕๗๗] ข้าแต่พระมหาราช พระราชาผู้เป็น
จอมแห่งชน ทรงทราบถึงพระศีลาจารวัตรของ
พระองค์ ทรงยกย่องพระกุมารเหล่านี้ มิได้สำคัญ
พระองค์ด้วยชนบทอะไรเลย.
[๑๕๗๘] เมื่อพระมหาราชาผู้สมมติเทพ ยังทรง
พระชนม์อยู่หรือทิวงคตแล้วก็ตาม พระประยูรญาติ
ผู้เห็นประโยชน์ตนเป็นสำคัญ พากันยอมรับนับถือ
พระองค์.
[๑๕๗๙] ข้าแต่พระเจ้าสังวรราช ด้วยพระศีลา-
จารวัตรข้อไหน พระองค์จึงสถิตอยู่เหนือพระเชษฐ-
ภาดาผู้ทรงร่วมกำเนิดได้ ด้วยพระศีลาจารวัตรข้อไหน
หมู่พระญาติที่ประชุมกันแล้ว จึงไม่ย่ำยีพระองค์ได้.
[๑๕๘๐] ข้าแต่พระราชบุตร หม่อมฉันมิได้
ริษยาสมณะทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง
หม่อมฉันนอบน้อมท่านเหล่านั้นโดยเคารพ ไหว้เท้า
ของท่านผู้คงที่.
[๑๕๘๑] สมณะเหล่านั้น ยินดีแล้วในคุณธรรม
ของท่านผู้แสวงหาคุณ ย่อมพร่ำสอนหม่อมฉันผู้
ประกอบในคุณธรรม ผู้พอใจฟังไม่มีความริษยา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 86
[๑๕๘๒] หม่อมฉันได้ฟังคำของสมณะ ผู้แสวง
หาคุณอันใหญ่หลวงเหล่านั้นแล้ว มิได้ดูหมิ่นสักน้อย
หนึ่งเลย ใจของหม่อมฉันยินดีแล้วในธรรม.
[๑๕๘๓] กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ
และกองพลเดินเท้า หม่อมฉันไม่ตัดเบี้ยเลี้ยงและ
บำเหน็จบำนาญของจาตุรงคเสนาเหล่านั้นให้ลด
น้อยลง.
[๑๕๘๔] อำมาตย์ผู้ใหญ่ และข้าราชการผู้มี
ปรีชาของหม่อมฉันมีอยู่ ช่วยกันบำรุงพระนคร
พาราณสีให้มีเนื้อมาก มีน้ำดี.
[๑๕๘๕] อนึ่ง พวกพ่อค้าผู้มั่งคั่งมาแล้วจากรัฐ
ต่าง ๆ หม่อมฉันช่วยจัดอารักขาให้พ่อค้าเหล่านั้น
ขอได้โปรดทราบอย่างนี้เถิด เจ้าพี่อุโบสถ.
[๑๕๘๖] ข้าแต่พระเจ้าสังวรราช ได้ยินว่า
พระองค์ทรงครอบครองราชสมบัติแห่งหมู่พระญาติ
โดยธรรม พระองค์เป็นผู้มีพระปรีชาด้วย เป็นบัณฑิต
ด้วย ทั้งทรงเกื้อกูลพระประยูรญาติด้วย.
[๑๕๘๗] ศัตรูทั้งหลายย่อมไม่เบียดเบียนพระ-
องค์ผู้แวดล้อมไปด้วยพระประยูรญาติ ทรงพร้อมมูล
ด้วยรัตนะต่าง ๆ เหมือนจอมอสูร ไม่เบียดเบียนพระ-
อินทร์ ฉะนั้น.
จบสังวรชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 87
อรรถกถาสังวรมหาราชชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภภิกษุทอดทิ้งความเพียรเสียแล้วรูปหนึ่ง ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้น
ว่า ชานนฺโต โน มหาราชา ดังนี้.
เรื่องมีว่า ภิกษุนั้นเป็นกุลบุตรชาวพระนครสาวัตถี ฟังพระธรรม
เทศนาของพระศาสดา บรรพชาได้อุปสมบทแล้ว บำเพ็ญอาจาริยวัตร และ
อุปัชฌายวัตร ท่องพระปาฏิโมกข์ทั้งสองจนคล่อง มีพรรษาครบ ๕ เรียน
กรรมฐาน ลาอาจารย์และอุปัชฌาย์ว่า ผมจักอยู่ในป่า ไปถึงบ้านชายแดน
ตำบลหนึ่ง พวกคนต่างเลื่อมใสในอิริยาบถ พากันสร้างบรรณศาลาบำรุงอยู่
ในบ้านนั้น ครั้นเข้าพรรษา ก็บำเพ็ญสืบสร้างพยายามจำเริญกรรมฐานตลอด
ไตรมาส ด้วยความเพียรอันปรารภแล้ว ไม่สามารถให้คุณแม้เพียงโอภาส
บังเกิดได้ ดำริว่า ในบุคคลสี่เหล่า ที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว เราคงเป็น
ประเภทปทปรมะเสียแน่แล้ว เราจะอยู่ป่าทำไม ไปพระเชตวัน คอยดูพระรูป
พระโฉมของพระตถาคตเจ้า สดับธรรมเทศนาอันไพเราะ ยับยั้งอยู่เถอะ.
เธอทอดทิ้งความเพียรออกจากบ้านนั้น ไปถึงพระเชตวันโดยลำดับ ถูกอาจารย์
และอุปัชฌาย์ทั้งภิกษุที่เคยรู้จักมักคุ้น รุมถามถึงเหตุที่บังคับให้มา ก็บอก
เรื่องนั้น ถูกภิกษุเหล่านั้นติเตียนว่า เหตุไรคุณจึงทำอย่างนี้ นำตัวไปสู่สำนัก
พระศาสดา เมื่อตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอพาภิกษุผู้ไม่ปรารถนามากัน
หรือ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้ทอดทิ้งความเพียรมาแล้ว
พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า ที่เขาว่าน่ะจริงหรือ เมื่อกราบทูลว่าจริง
พระเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เหตุไรจึงทอดทิ้งความเพียรเสียล่ะ ที่จริง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 88
ผลอันเลิศในพระศาสนานี้ ที่มีนามว่าอรหัตผล ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้เกียจคร้าน
ผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว จึงจะชื่นชมอธิคมธรรมได้ ก็แลในปางก่อน
เธอก็เป็นคนมีความเพียรทนต่อโอวาท ด้วยเหตุนั้นแล แม้เป็นน้องสุดท้อง
แห่งโอรส ๑๐๐ ของพระเจ้าพาราณสี ตั้งอยู่ในโอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย ก็
ถึงเศวตฉัตรได้ ทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล พระโอรสสุดท้องนี้ ได้ทรงยึดเหนี่ยวผูกน้ำใจฝูงชนผู้ถึง
พระนครพาราณสีทั่วหน้า ด้วยสังคหวัตถุนั้น ๆ ได้เป็นที่รักที่เจริญใจของคน
ทั้งปวง. กาลต่อมา พวกอำมาตย์พากันกราบทูลถามพระราชาผู้ประทับนั่ง
เหนือพระแท่นที่สวรรคตว่า ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า ฯ เมื่อ
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทสวรรคตไป พวกข้าพระพุทธเจ้าจักถวายเศวตฉัตรให้
แก่ใคร พระเจ้าข้า พระองค์ตรัสสั่งว่า พ่อเอ๋ย ลูกของฉันแม้ทั้งหมด เป็น
เจ้าของเศวตฉัตรทั้งนั้น แต่ผู้ใดจับใจพวกเธอ พวกเธอก็ให้เศวตฉัตรแก่ผู้นั้นก็
แล้วกัน ครั้นพระองค์สวรรคต พวกอำมาตย์นั้น จัดการถวายพระเพลิงพระศพ
ของพระองค์เสร็จ ประชุมกันในวันที่ ๗ ตกลงกันว่า พระราชารับสั่งไว้ว่า ผู้ใด
จับใจเธอได้ พวกเธอพึงยกเศวตฉัตรให้แก่ผู้นั้น ก็แลพระสังวรกุมารพระองค์นี้
จับใจพวกเราไว้ได้ แล้วพากันยกเศวตฉัตรกาญจนมาลา แด่พระกุมารสังวร
พระองค์นั้น พระเจ้าสังวรมหาราช ดำรงในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทรง
ครองราชสมบัติโดยธรรม พระกุมาร ๙๙ พระองค์นอกนั้นเล่า ต่างตรัสว่า
ข่าวว่า พระราชบิดาของพวกเราสวรรคตแล้วได้ยินว่า พวกอำมาตย์ยกเศวตฉัตร
ถวายแก่เจ้าสังวรกุมาร เธอเป็นน้องสุดท้อง ยังไม่ถึงเศวตฉัตรของพระบิดานั้น
พวกเราต้องยกเศวตฉัตรถวายพระพี่ใหญ่ทุกองค์มาร่วมกัน ส่งหนังสือถึง
พระเจ้าสังวรมหาราชว่า จงให้ฉัตรแก่พวกเรา หรือไม่ก็รบกัน แล้วพากัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 89
ล้อมพระนครไว้. พระราชาตรัสบอกเรื่องนั้นแก่พระโพธิสัตว์ แล้วตรัสถามว่า
คราวนี้พวกเราจะทำอย่างไร. กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ไม่
ต้องทำการรบกับพระเจ้าพี่เหล่านั้นดอก พระเจ้าข้า พระองค์ทรงแบ่งพระราช
ทรัพย์ของพระบิดาออกเป็น ๙๙ ส่วน ส่งถวายแด่พระพี่เจ้า ๙๙ พระองค์ ทรง
ส่งสาสน์ไปด้วยว่า เชิญเจ้าพี่ทั้งหลายรับส่วนพระราชทรัพย์ของพระราชบิดา
ของเจ้าพี่นี้เถิด หม่อมฉันไม่ขอรบกับเจ้าพี่ดอก. พระองค์ทรงกระทำอย่างนั้น.
ครั้งนั้นเจ้าพี่องค์ใหญ่ของพระองค์ พระนามว่าอุโบสถกุมาร ตรัส
เรียกพระเจ้าน้องที่เหลือมาตรัสว่า พ่อทั้งหลาย ผู้เป็นพระราชาก็ไม่มีผู้สามารถ
จะย่ำยีได้ อนึ่งเล่า เจ้าน้องของพวกเราองค์นี้ มิได้ตั้งตน แม้แต่จะเป็นศัตรูตอบ
ส่งพระราชสมบัติของบิดาให้พวกเรา ส่งสาส์นมาด้วยว่า ฉันไม่ขอต่อรบกับ
เจ้าพี่ ก็แลพวกเราเล่าจักยกเศวตฉัตรขึ้นในขณะเดียวกันทุกคนไม่ได้ พวกเรา
ให้เศวตฉัตรแก่เธอองค์เดียวก็แล้วกัน เจ้าน้องนี้เท่านั้นจงเป็นพระราชา
มาเถิด เธอทั้งหลาย พวกเราพากันไปพบเธอมอบราชทรัพย์ แล้วพากันไป
สู่ชนบทของพวกเราดังเดิม. ครั้งนั้นพระกุมารแม้ทั้งหมดนั้น ก็ให้เปิดประตู-
เมือง มิได้เป็นศัตรูเลย พากันเข้าสู่พระนคร ฝ่ายพระราชาตรัสสั่งให้พวก
อำมาตย์คุมสักการะ เพื่อพระกุมารเหล่านั้น ทรงส่งสวนทางไป พระกุมาร
ทรงพระดำเนินมาด้วยบริวารเป็นอันมาก ขึ้นสู่พระราชวังแสดงอาการนอบน้อม
แด่พระเจ้าสังวรมหาราช พากันประทับนั่งเหนืออาสนะต่ำ พระเจ้าสังวร
มหาราช ทรงประทับนั่งเหนือสีหาสนะภายได้เศวตฉัตร พระยศใหญ่ พระสิริ
โสภาคอันใหญ่ได้ปรากฏแล้ว สถานที่ที่ทอดพระเนตรแล้ว ๆ ระยิบระยับไป.
พระอุโบสถกุมารทอดพระเนตรเห็นสิริสมบัติของพระเจ้าสังวรมหาราชแล้ว
ทรงพระดำริว่า พระราชบิดาของพวกเรา ทรงทราบความที่สังวรกุมารได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 90
เป็นพระราชา เมื่อพระองค์ล่วงลับไป จึงประทานชนบทอื่น ๆ แก่พวกเรา
มิได้ประทานแก่สังวรกุมารนี้ เมื่อจะทรงปราศรัยกับพระเจ้าสังวรมหาราชนั้น
ได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถาว่า
มหาราชาผู้เป็นจอมแห่งชน ทรงทราบถึงพระ-
ศีลาจารวัตรของพระองค์ ทรงยกย่องพระกุมารเหล่านี้
มิได้สำคัญพระองค์ด้วยชนบทอะไรเลย.
เมื่อพระมหาราชาผู้สมมติเทพ ยังทรงพระชนม์
อยู่ หรือทิวงคตแล้วก็ตาม พระประยูรญาติผู้เห็น
ประโยชน์ตนเป็นสำคัญ พากันยอมรับนับถือพระองค์.
ข้าแต่พระเจ้าสังวรราช ด้วยพระศีลาจารวัตร
ข้อไหน พระองค์จึงสถิตอยู่เหนือพระเชษฐภาดาผู้ทรง
ร่วมกำเนิดได้ ด้วยพระศีลาจารวัตรข้อไหน หมู่
พระญาติที่ประชุมกันแล้ว จึงไม่ย่ำยีพระองค์ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชานนฺโต โน แปลว่า ทรงทราบ
แน่นอนอยู่. บทว่า ชนาธิโป ความว่า พระจอมนรชนผู้พระราชบิดาของ
พวกหม่อมฉัน. บทว่า อิเม ได้แก่ ซึ่งพระกุมาร ๙๙ พระองค์เหล่านี้.
แต่ในคัมภีร์พระบาลีทั้งหลาย ท่านเขียนไว้ว่า กุมารเหล่าอื่น. บทว่า ปูเชนฺโต
ความว่า ทรงยกย่องด้วยชนบทนั้น ๆ. บทว่า น ต เกนจิ ความว่า แต่
มิได้ทรงสำคัญพระองค์ว่า ควรจะทรงเชิดชู แม้ด้วยชนบทน้อย ๆ เลย ชะรอย
จะทรงทราบถึงพระองค์ว่า ผู้นี้เมื่อเราล่วงลับไป จักได้เป็นพระราชา จึงให้
ประทับอยู่แทบบาทมูลของตน. บทว่า ติฏฺนฺเต โน ความว่า ไม่ว่าจะเป็น
เมื่อพระมหาราชผู้สมมติเทพยังทรงพระชนม์อยู่. พระองค์ตรัสถามด้วย บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 91
นุ แปลว่า มิใช่หรือ. บทว่า อาทู เทเว ความว่า หรือว่า เมื่อพระบิดา
ของพวกเราเสด็จทิวงคต หมู่พระญาติกับชาวนิคมชาวชนบทที่เป็นข้าราชการ
เห็นประโยชน์คือความเจริญของตน ต่างยอมรับนับถือพระองค์ว่า เป็นพระราชา
เถิด ด้วยพระศีลาจารวัตรไรเล่า. บทว่า สญฺชาเต อภิติฏฺสิ ความว่า
พระองค์ทรงครอบงำพระญาติผู้มีกำเนิดเสมอกัน คือพระภาดา ๙๙ พระองค์
เสีย ประทับอยู่ได้. บทว่า นาติวตฺตนฺติ ความว่า พระญาติเหล่านั้นพา
กันครอบงำพระองค์มิได้.
พระเจ้าสังวรมหาราช ทรงสดับพระดำรัสนั้น เมื่อทรงแถลงพระคุณ
ของพระองค์ ได้ตรัสคาถา ๖ คาถาว่า
ข้าแต่พระราชบุตร หม่อมฉันมิได้ริษยาสมณะ
ทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง หม่อมฉันนอบ
น้อมท่านเหล่านั้นโดยเคารพไหว้เท้าของท่านผู้คงที่.
สมณะเหล่านั้น ยินดีแล้วในธรรมของผู้แสวงหา
คุณ ย่อมพร่ำสอนหม่อมฉันผู้ประกอบในคุณธรรม
ผู้พอใจฟัง ไม่มีความริษยา.
หม่อมฉันได้ฟังคำของสมณะ ผู้แสวงหาคุณอัน
ใหญ่หลวงเหล่านั้นแล้ว มิได้ดูหมิ่นสักน้อยหนึ่งเลย
ใจของหม่อมฉันยินดีแล้วในธรรม.
กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และกอง
พลเดินเท้า หม่อมฉันไม่ตัดเบี้ยเลี้ยงและบำเหน็จบำ-
นาญของจตุรงคเสนาเหล่านั้นให้ลดน้อยลง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 92
อำมาตย์ผู้ใหญ่ และข้าราชการผู้มีปรีชาของฉัน
มีอยู่ ช่วยกันบำรุงพระนครพาราณสีให้มีเนื้อมาก มี
น้ำดี.
อนึ่ง พวกพ่อค้าผู้มั่งคั่งมาแล้วจากรัฐต่าง ๆ
หม่อมฉันช่วยจัดอารักขาให้พ่อค้าเหล่านั้น ขอได้โปรด
ทราบอย่างนี้เถิด เจ้าพี่อุโบสถ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ราชปุตฺต ความว่า ข้าแต่พระราชบุตร
หม่อมฉันมิได้กีดกันใคร ๆ เลยว่า สมบัติอย่างนี้ จงอย่ามีแก่ผู้นี้. บทว่า
ตาทิน ความว่า หม่อมฉันกราบไหว้บาทยุคลแห่งหมู่สมณะผู้ทรงธรรม ผู้
ประกอบด้วยลักษณะอันคงที่ ได้นามว่าสมณะ เพราะท่านสงบบาปได้แล้ว
ได้นามว่า ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง เพราะท่านแสดงคุณมีศีลขันธ์เป็นต้น
อันใหญ่ ด้วยเบญจางประดิษฐ์ เมื่อจะให้ทาน และเมื่อจะจัดการคุ้มครองป้อง
กันอันชอบธรรมแด่ท่านเหล่านั้น ก็นอบน้อมท่านเหล่านั้นโดยเคารพคือบูชา
อย่างใจรักใคร่ทีเดียว. บทว่า เต ม ความว่าสมณะเหล่านั้น รู้จักหม่อมฉัน
โดยถ่องแท้ว่า กุมารนี้ขวนขวายในส่วนแห่งธรรม รับฟังด้วยดี มิได้มีความ
ริษยาก็พากันพร่ำสอนหม่อมฉัน ผู้ประกอบด้วยธรรมคุณรับฟังด้วยดี ไม่ริษยา
คือพากันให้โอวาทว่า กระทำข้อนี้ อย่ากระทำข้อนี้. บทว่า เตสาห ตัดบทเป็น
เตส อห. บทว่า หตฺถาโรหา ความว่า พวกพลช้าง คือนักรบที่ขึ้นช้าง
รบ. บทว่า อนีกฏฺา ความว่า ตั้งอยู่ในกองทัพช้างเป็นต้น. บทว่า รถิกา
ได้พลรถ (นักรบขี่รถ). บทว่า ปตฺติการกา ได้แก่ พวกพลรบเดินเท้า.
บทว่า นิพฺพิตฺถ ความว่า สินจ้างรางวัลอันใดที่พวกเหล่านั้นจัดเตรียมไว้
หม่อมฉันมิได้ลดหย่อนสิ้นจ้างรางวัลนั้น คือให้อย่างไม่ต้องลดเลย. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 93
มหามตฺตา ความว่า ข้าแต่พี่ชาย หมู่มหาอำมาตย์ ผู้มีปัญญามาก คือ ผู้
ฉลาดในมนต์ทั้งหลาย และผู้บำรุงอันมีความคิดอ่านที่เหลือ ของหม่อมฉันมี
อยู่ หม่อมพี่ไม่ได้อาจารย์ผู้สมบูรณ์ด้วยความคิดเป็นบัณฑิต แต่อาจารย์
ของหม่อมฉันเป็นบัณฑิต ฉลาดในอุบาย ท่านเหล่านั้นเกี่ยวโยงหม่อมฉัน
ไว้ด้วยเศวตฉัตร. บทว่า พาราณสี ความว่า ข้าแต่พี่ จำเดิมแต่กาลที่
ยกฉัตรถวายแก่หม่อมฉันแล้ว ท่านพวกนั้น ต่างรู้ถึงมัจฉมังสาหารที่ควร
เคี้ยวกิน และน้ำดี ๆ ก็ควรดื่ม อันจะมีในพระนครพาราณสีว่า พระราชา
ของพวกเราทรงธรรม ฝนย่อมตกทุก ๆ กึ่งเดือน ข้าวกล้าต่าง ๆ ย่อมสมบูรณ์.
ด้วยอาการอย่างนี้ ชาวพระนครก็พากันอยู่กระทำพระนครพาราณสีให้มีมัจฉมัง-
สาหารและน้ำท่ามากมาย. บทว่า ผีตา ความว่า พวกพ่อค้าผู้ไม่ถูกประทุษ
ร้าย นำช้างแก้ว ม้าแก้ว และแก้วมุกดาเป็นต้นมาทำการค้า พากันมั่งคั่งร่ำ
รวยไปตามกัน. บทว่า เอว ชานาหิ ความว่า ข้าแต่พี่อุโปสถ ด้วยเหตุ
เหล่านี้ เพียงเท่านี้ หม่อมฉันถึงจะเป็นน้องสุดท้อง ก็ครอบงำพี่ทั้งหลายของ
หม่อมฉัน ถึงเศวตฉัตรได้ โปรดทรงทราบด้วยประการฉะนี้.
ครั้นพระอุโบสถกุมารทรงสดับพระคุณของพระองค์แล้ว ได้ตรัสพระ
คาถา ๒ คาถาว่า
ข้าแต่พระเจ้าสังวรราช ได้ยินว่า พระองค์ทรง
ครอบครองราชสมบัติแห่งหมู่พระญาติโดยธรรม พระ-
องค์เป็นผู้มีพระปรีชาด้วย เป็นบัณฑิตด้วย ทั้งทรงเกื้อ
กูลพระประยูรญาติด้วย.
ศัตรูทั้งหลายย่อมไม่เบียดเบียนพระองค์ ผู้แวด
ล้อมไปด้วยพระประยูรญาติ ทรงพร้อมมูลด้วยรัตนะ
ต่าง ๆ เหมือนจอมอสูรไม่เบียดเบียนพระอินทร์ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 94
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน กิร ความว่า ข้าแต่พระสังวร-
มหาราช ได้ยินว่า พระองค์ทรงครอบงำอานุภาพแห่งญาติคือพระเชษฐภาดาทั้ง
หลายของพระองค์ ทั้ง ๙๙ คนเสีย จำเดิมแต่นี้ เชิญพระองค์นั้นแลทรงครอง
ราชสมบัติโดยธรรมเถิด พระองค์เล่า ก็ทรงหลักแหลมทั้งเป็นบัณฑิตและยัง
เกื้อกูลแก่หมู่ญาติ. บทว่า ต ต ได้แก่ ซึ่งพระองค์ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยคุณ
ต่าง ๆ อย่างนี้. บทว่า าติปริพฺยุฬฺห ความว่า ผู้อันหม่อมฉันผู้เป็นญาติ
๙๙ คน แวดล้อม. บทว่า นานารตนโมจิต ความว่า ทรงพร้อมมูลมั่งคั่ง
ด้วยนานารัตนะ คือทรงสั่งสมรัตนะไว้มากมาย. บทว่า อสุราธิโป ความว่า
เปรียบเหมือนอสุรราชไม่ย่ำยีพระอินทร์ ผู้อันเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์แวดล้อมแล้ว
ฉันใด หมู่มิตรจะไม่ย่ำยีพระองค์ ผู้อันพวกหม่อมฉันคอยป้องกันแวดล้อม
แล้ว ทรงครองราชสมบัติ ณ พระนครพาราณสี มีบริเวณ ๑๒ โยชน์ในแคว้น
กาสีอันมีอาณาเขต ๓๐๐ โยชน์ ฉันนั้น.
พระเจ้าสังวรมหาราช ทรงประทานยศใหญ่ แด่พระเจ้าพี่ทุกพระองค์.
พระเจ้าพี่เหล่านั้น ประทับอยู่ในสำนักของพระองค์ตลอดกึ่งเดือน กราบทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราช พวกหม่อมฉัน จักคอยระวังพวกโจรที่กำเริบขึ้นในชนบท
ทั้งหลาย เชิญพระองค์ทรงเสวยสุขในราชสมบัติเถิด แล้วเสด็จไปสู่ชนบทของ
ตน ๆ. พระราชาทรงดำรงในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ในที่สุดแห่งพระชนมายุ
ได้ไปเพิ่มเทพนครให้เต็ม.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสย้ำว่า ดูก่อนภิกษุ
ครั้งก่อน เธอทนต่อโอวาทเช่นนี้ บัดนี้ เหตุไรไม่กระทำความเพียร ทรง
ประกาศสัจจะ ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ทรงประชุม
ชาดกว่า สังวรกุมารผู้เป็นพระราชาในครั้งนั้นได้มาเป็นภิกษุนี้ อุโบสถ
กุมาร ได้มาเป็นสารีบุตร เจ้าพี่ที่เหลือได้เป็นเถรานุเถระ และบริษัท ได้
มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนอำมาตย์ผู้ถวายโอวาทได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาสังวรมหาราชชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 95
๙. สุปปารกชาดก
ว่าด้วยทะเล ๖ ประการ
[๑๕๘๘] พวกมนุษย์จมูกแหลมดำผุดคำว่ายอยู่
พวกข้าพเจ้าขอถามท่านสุปปารกะ ทะเลนี้ชื่ออะไร.
[๑๕๘๙] เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหา
ทรัพย์ออกจากท่าชื่อภรุกัจฉะ ครั้นเรือแล่นไปผิดทาง
มาถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกกันว่า ขุรมาลี.
[๑๕๙๐] ทะเลนี้ ปรากฏเหมือนกองไฟและ
พระอาทิตย์ ข้าพเจ้าขอถามท่านสุปปารกะ ทะเลนี้
ชื่ออะไร.
[๑๕๙๑] เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหา
ทรัพย์ออกจากท่าชื่อภรุกัจฉะ ครั้นเรือเล่นไปผิดทาง
มาถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกว่า อัคคิมาลี.
[๑๕๙๒] ทะเลนี้ปรากฏเหมือนนมส้ม และนมสด
พวกข้าพเจ้าขอถามท่านสุปปารกะ ทะเลนี้ชื่ออะไร.
[๑๕๙๓] เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหา
ทรัพย์ออกจากท่าชื่อภรุกัจฉะ ครั้นเรือแล่นไปผิดทาง
มาถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกกันว่า ทธิมาลี.
[๑๕๙๔] ทะเลนี้ปรากฏเหมือนหญ้าคาและข้าว
กล้า พวกข้าพเจ้าของถามท่านสุปปารกะ ทะเลนี้ชื่อ
อะไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 96
[๑๕๙๕] เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหา
ทรัพย์ออกจากท่าชื่อภรุกัจฉะ ครั้นเรือแล่นไปผิดทาง
มาถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกกันว่า กุสมาลี.
[๑๕๙๖] ทะเลนี้ปรากฏเหมือนไม้อ้อและไม้ไผ่
พวกข้าพเจ้าขอถามท่านสุปปารกะ ทะเลนี้ชื่ออะไร.
[๑๕๙๗] เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหา
ทรัพย์ออกจากท่าชื่อภรุกัจฉะ ครั้นเรือแล่นไปผิดทาง
ถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกกันว่า นฬมาลี.
[๑๕๙๘] เสียงน่ากลัวมาก น่าสยดสยอง ฟัง
เหมือนเสียงอมนุษย์ และทะเลนี้ปรากฏเหมือนบึงและ
เหว พวกข้าพเจ้าขอถามท่านสุปปารกะ ทะเลนี้ชื่อ
อะไร.
[๑๕๙๙] เมื่อท่านทั้งหลายผู้เป็นพ่อค้าแสวงหา
ทรัพย์ ออกจากท่าชื่อภรุกัจฉะ ครั้นเรือแล่นไปผิด
ทางมาถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกกันว่า พลวามุขี.
[๑๖๐๐] ตั้งแต่ข้าพเจ้าระลึกถึงตนได้ ถึงความ
เป็นผู้รู้เดียงสา ข้าพเจ้าไม่เคยรู้สึกแกล้งเบียดเบียน
สัตว์แม้สักตัวหนึ่งเลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอเรือจงกลับ
ได้โดยสวัสดี.
จบสุปปารกชาดกที่ ๙ จบเอกวทสนิบาต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 97
อรรถกถาสุปปารกชาดก
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระปรารภ
พระปัญญาบารมี ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุมฺมุชฺชนฺติ นิมุชฺชนฺติ ดังนี้.
เรื่องพิสดารมีว่า วันหนึ่งเพลาเย็น พวกภิกษุพากันรอพระตถาคต
เสด็จออกแสดงธรรม นั่งในธรรมสภา ต่างพรรณนาพระมหาปัญญาบารมี
ของพระทศพลว่า ผู้มีอายุทั้งหลายอัศจรรย์ยิ่งนัก พระศาสดาทรงมีพระปรีชา
มาก มีพระปรีชาหนักหนา มีพระปรีชาแจ่มใส มีพระปรีชาว่องไว มีพระ
ปรีชาคมคาย มีพระปรีชาหลักแหลม ทรงประกอบด้วยพระปรีชาอันเป็น
อุบายในกรณียะนั้น ๆ หนักหนาเสมอด้วยแผ่นดิน ลึกซึ้งประหนึ่งมหาสมุทร
กว้างขวางไม่สิ้นสุดดุจดังอากาศ ปัญหาที่ตั้งขึ้นกันในชมพูทวีป ที่จะได้นามว่า
ผ่านพ้นพระทศพลไปได้ไม่มีเลยทีเดียว เหมือนคลื่นที่ตั้งขึ้นในมหาสมุทร
พอถึงฝั่งเท่านั้นก็แตกกระจายไป ฉันใด ปัญหาอันใดอันหนึ่งที่ตั้งขึ้น ก็มิได้
ผ่านพ้นพระทศพลไปได้ ถึงบาทมูลพระศาสดาแล้ว ย่อมแตกฉานไปทีเดียว
ฉันนั้น พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้
เท่านั้น ที่ตถาคตมีปัญญา แม้ในครั้งก่อน ตถาคตก็เป็นผู้มีปัญญาด้วยญาณ
อันไม่แก่กล้า ถึงจะเป็นคนตาบอดก็ยังรู้ได้ว่า ในสมุทรตอนนี้มีรัตนะนามนี้
ด้วยการกำหนดน้ำในมหาสมุทร ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้
ในอดีตกาลพระเจ้ากุรุราช เสวยราชสมบัติ ณ แคว้นกุรุ ได้มี
บ้านอันเป็นท่าเรือนามว่า ภรุกัจฉะ เสวยราชสมบัติ ณ แคว้นกุรุ ครั้งนั้น
พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นบุตรของหัวหน้าต้นหนในบ้านกุรุกัจฉะ เป็นคน
น่าเลื่อมใส ผิวพรรณเพียงดังทอง หมู่ญาติได้ขนานนามให้ท่านว่า สุปารก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 98
กุมาร ทำจำเริญด้วยบริวารมาก ในกาลที่มีอายุ ๑๖ นั่นแล สำเร็จศิลปะของ
ต้นหนแล้ว ต่อมาพอบิดาล่วงลับไป ก็ได้เป็นหัวหน้าต้นหน ทำหน้าที่ต้นหน
ได้เป็นบัณฑิตสมบูรณ์ด้วยญาณ บรรดาเรือที่ท่านขึ้นไปแล้ว เป็นไม่มีเรื่อง
ที่เรียกว่าอับปางเลย ต่อมานัยน์ตาทั้งคู่ของท่านกระทบน้ำเค็มนัก เลยเสียไป
ตั้งแต่บัดนั้น ถึงท่านจะเป็นหัวหน้าต้นหนอยู่ ก็ทำหน้าที่ต้นหนไม่ได้ คิดว่า
เราพึ่งพระราชาเลี้ยงชีวิตเถอะ แล้วเข้าไปเฝ้าพระราชา ครั้งนั้นพระราชาทรง
แต่งตั้งท่านไว้ในหน้าที่พนักงานตีราคา ตั้งแต่บัดนั้น ท่านก็คอยประเมินราคา
ช้างแก้ว ม้าแก้ว และก้อนแก้วมุกดาแก้วมณีเป็นต้น.
ครั้งนั้น วันหนึ่ง คนทั้งหลายนำช้างตัวหนึ่ง มีสีดำเหมือนสีหน่อหิน
ทูลถวายแด่พระราชา ด้วยคิดว่าจักเป็นมงคลหัตถี พระราชาทอดพระเนตร
ช้างนั้นแล้ว ตรัสว่า เจ้าทั้งหลายจงให้ท่านบัณฑิตมาดู ครั้นพวกนั้นนำช้าง
นั้นไปสู่สำนักของท่านแล้ว ท่านใช้มือลูบสรีระของมันทั่ว ๆ ไป กล่าวว่า
ช้างตัวนี้ไม่สมควรจะเป็นมงคลหัตถี มันค่อมอยู่หน่อยที่เท้าหลังทั้งสองข้าง
เพราะแม่ช้างตกลูกช้างตัวนี้ ไม่อาจรับไว้ทันด้วยบั้นขาได้ เหตุนั้นมันเลย
ตกลงถึงแผ่นดิน ขาหลังทั้งคู่จึงค่อมไปเสีย คนเหล่านั้นพากันถามพวกที่
นำช้างนั้นมา พวกนั้นกล่าวว่าท่านบัณฑิตพูดจริง พระราชาทรงสดับเหตุนั้น
ทรงร่าเริงดีพระทัย โปรดให้พระราชทานทรัพย์แก่ท่าน ๘ กระษาปณ์.
อยู่มาอีกวันหนึ่ง มีคนนำม้าตัวหนึ่งมาทูลถวายแด่พระราชาว่า จักเป็น
ม้ามงคลได้ พระราชาทรงส่งม้านั้นไปสู่สำนักของท่าน ท่านใช้มือลูบคลำ
มันเหมือนกัน แล้วบอกว่าม้าตัวนี้ไม่สมควร จะเป็นม้ามิ่งมงคลได้ เพราะ
ในวันที่มันเกิดนั้นแล แม่มันตายเสียแล้ว เพราะเหตุนั้น มันไม่ได้นมแม่
จึงไม่เจริญเท่าที่ควร พวกมนุษย์ที่จูงม้ามา พากันกล่าวว่า ถ้อยคำของท่าน
ทั้งนั้นเป็นความจริง พระราชาทรงสดับแม้เรื่องนั้นก็ทรงดีพระทัย โปรด-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 99
พระราชทาน ๘ กระษาปณ์เหมือนกัน.
ครั้นวันหนึ่ง มีคนนำรถมาถวายแด่พระราชาว่า จักเป็นรถมงคล
พระราชาทรงส่งรถแม้นั้นไปสู่สำนักของท่าน ท่านคงใช้มือลูบคลำรถคันนั้น
ทั่วแล้ว กล่าวว่า รถคันนี้สร้างด้วยต้นไม้เป็นโพรง เหตุนั้นไม่ควรแด่
พระราชา ถ้อยคำของท่านแม้นั้นก็ได้เป็นความจริง พระราชาทรงสดับเรื่อง
แม้นั้น ก็ทรงยินดีโปรดพระราชทาน ๘ กระษาปณ์.
ครั้งนั้นมีคนนำผ้ากัมพลราคามากมาถวายพระราชาพระองค์นั้น พระ-
องค์ทรงส่งผ้านั้นไปให้แก่ท่านเหมือนกัน ท่านใช้มือลูบผ้านั้นไปทั่วผืน
กล่าวว่า ผ้าผืนนี้มีรอยหนูกัดอยู่แห่งหนึ่ง คนเหล่านั้นซักฟอกดูเห็นรอยนั้น
พากันกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นคงพระราชทาน ๘
กระษาปณ์เท่านั้น ท่านดำริว่า พระราชาองค์นี้ เห็นข้ออัศจรรย์ถึงเพียงนี้
คงประทาน ๘ กระษาปณ์ รางวัลเท่านี้ เป็นรางวัลสำหรับช่างกัลบก
พระองค์คงมีเผ่าช่างกัลบกเป็นแน่ เราจะมัวมาบำรุงพระราชาเช่นนี้ทำไมกัน
ไปสู่ที่อยู่ของตนตามเดิมดีกว่า ท่านเลยกลับท่าเรือภรุกัจฉะดังเดิม เมื่อ
ท่านพำนักอยู่ในบ้านนั้น พวกพ่อค้าจัดแจงเรือ ปรึกษากันว่า จักกระทำ
ใครให้เป็นต้นหน เห็นพ้องกันว่า เรือที่ท่านสุปารกบัณฑิตขึ้นไปแล้ว
ไม่อัปปางเลย ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตฉลาดในอุบายถึงจะเป็นคนตาบอด ท่าน
สุปารกบัณฑิตก็ยังเป็นผู้สูงสุด พากันเข้าไปหาท่านบอกว่า ขอเชิญท่าน
เป็นต้นหนของพวกข้าพเจ้า เมื่อท่านกล่าวว่า พ่อคุณทั้งหลาย ฉันเป็น
คนตาบอด จักกระทำหน้าที่ต้นหนได้อย่างไร พากันอ้อนวอนบ่อย ๆ ว่า
นายขอรับ ทั้งที่ท่านตาบอดนั้นแหละ ก็ยังสูงสุดกว่าพวกข้าพเจ้า ท่าน
รับคำว่า ตกลงพ่อคุณทั้งหลาย ฉันจักเป็นต้นหนได้ด้วยข้อกำหนดที่พวก
เธอเคยบอก แล้วขึ้นเรือของพวกนั้น พวกนั้นพากันแล่นเรือไปสู่มหาสมุทร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 100
เรือปลอดภัยไปได้ ๗ วัน ลำดับนั้น ลมมิใช่กาลบังเกิดพัดผันขึ้นแล้ว เรือ
ลอยไปเหนือสมุทรตลอด ๔ เดือนทีเดียว จึงถึงสมุทรตอนที่มีชื่อว่า ขรุมาลี
ในสมุทรตอนชื่อว่าขรุมาลีนั้น ฝูงปลามีสรีระคล้ายคน มีจมูกแหลม พากัน
ดำผุดดำว่ายอยู่ในน้ำ พวกพ่อค้าเห็นฝูงปลานั้นแล้ว เมื่อจะถามชื่อสมุทร
ตอนนั้นกะพระมหาสัตว์ กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า
พวกมนุษย์จมูกแหลมดำผุดดำว่ายอยู่ พวก
ข้าพเจ้าขอถามท่าน สุปปารกะ ทะเลนี้ชื่ออะไร.
พระมหาสัตว์ถูกพวกนั้นพากันถามอย่างนี้แล้ว เทียบทานดูตาม
ตำรับต้นหน จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์
ออกจากท่าชื่อ ภรุกัจฉะ ครั้นเรือแล่นไปผิดทางมาถึง
ทะเลตอนนี้เขาเรียกกันว่า ขุรมาลี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปยาตาน ความว่า เมื่อพวกเธอซึ่งเป็น
พ่อค้าพากันออกเรือจากท่าภรุกัจฉะ. บทว่า ธเนสิน ความว่า พวกเธอ
ผู้เป็นพ่อค้าไปแสวงหาทรัพย์. บทว่า นาวาย วิปฺปนฏฺาย ความว่า พ่อคุณ
ทั้งหลาย ครั้นเรือของพวกเธอลำนี้ถูกกรรมบังคับแล่นไปผิดประเทศ สมุทรตอน
ที่ผ่านพ้นสมุทรปกติซึ่งถึงเข้านี้ ท่านเรียกว่า ขุรมาลี บัณฑิตทั้งหลาย ท่าน
แสดงสมุทรตอนนี้ไว้อย่างนี้.
ก็แลในสมุทรตอนนั้นมีเพชรพร้อมมูล พระมหาสัตว์คิดว่า ถ้าเราบอก
แก่พวกเหล่านั้นอย่างนี้ ตอนนี้เป็นสมุทรมีเพชร พวกนี้จักพากันเอาแต่เพชรให้
มากด้วยความโลภ ถึงให้เรือจมเสียก็ได้ จะไม่ยอมบอกเลย ให้ชะลอเรือไว้
ใช้อุบายให้จับเชือกทิ้งข่ายลงไป โดยทำนองที่จะจับปลา ขนก้อนเพชรขึ้นใส่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 101
ในเรือ ให้ทิ้งข้าวของที่มีค่าน้อยเสีย เรือผ่านสมุทรตอนนั้นไปถึงตอนที่อัคคิมาลี
ถัดไป สมุทรตอนนั้นเปล่งแสงแจ่มจ้า ปรากฏเหมือนกองเพลิงที่ลุกโพลง และ
เหมือนพระอาทิตย์เมื่อยามเที่ยง พวกพ่อค้าพากันถามท่านด้วยคาถาว่า
ทะเลนี้ ปรากฏเหมือนกองไฟและพระอาทิตย์
ข้าพเจ้าถามท่านสุปปารกะ ทะเลนี้ชื่ออะไร.
ฝ่ายพระมหาสัตว์ก็บอกเรื่องนั้นแก่พวกนั้น ด้วยคาถาต่อไปว่า
เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์
ออกจากท่าชื่อ ภรุกัจฉะ ครั้นเรือแล่นไปผิดทางมา
ถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกว่า อัคคิมาลี.
ก็แลในท้องทะเลตอนนั้น มีทองมากมาย. ฝ่ายพระมหาสัตว์ ก็ให้
พวกนั้นถือเอาทองแม้จากท้องทะเลนั้นบรรทุกเรือ โดยนัยก่อนเหมือนกัน
ฝ่ายเรือแล่นพ้นท้องทะเลตอนนั้นไป ถึงท้องทะเลตอนที่เปล่งสีเหมือนนมสด
และนมส้ม อันมีชื่อ ทธิมาลี. พวกพ่อค้าพากันถามชื่อของท้องทะเลตอนนั้น
ด้วยคาถานี้ว่า
ทะเลนี้ ปรากฏเหมือนนมส้มและนมสด พวก
ข้าพเจ้าขอถามท่านสุปปารกะ ทะเลนี้ชื่ออะไร.
พระมหาสัตว์บอกแก่พวกเหล่านั้น ด้วยคาถาต่อไปว่า
เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์
ออกจากท่าชื่อว่า ภรุกัจฉะ ครั้นเรือแล่นไปผิดทาง
มาถึงทะเลตอนนี้ เขาเรียกกันว่า ทธิมาลี.
ก็แลในท้องทะเลตอนนั้น มีเงินมากมาย ครั้งนั้นท่านก็ให้พวกนั้น
ขนเงินบรรทุกเรือโดยอุบาย เรือแล่นผ่านท้องทะเลตอนนั้น บรรลุท้องทะเล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 102
สีเขียว ส่องแสงเหมือนหญ้าคาสีเขียว และเหมือนข้าวกล้าที่กำลังงอกงาม
อันมีชื่อว่า กุสมาลี. พวกพ่อค้าพากันถามชื่อท้องทะเลตอนนั้นด้วยคาถาว่า
ทะเลนี้ปรากฏเหมือนหญ้าคาและข้าวกล้า พวก
ข้าพเจ้าขอถามท่านสุปปารกะ ทะเลนี้ชื่ออะไร.
ท่านบอกด้วยคาถาต่อไปว่า
เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์
ออกจากท่าชื่อว่า ภรุกัจฉะ ครั้นเรือแล่นไปผิดทาง
มาถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกกันว่า กุสมาลี.
ก็ในทะเลตอนนั้น มีแก้วนิลมณีมากมาย แม้ท่านก็คงให้พวกนั้นขน
เอาแก้วนั้นใส่เรือด้วยอุบาย เรือคงแล่นผ่านท้องทะเลตอนนั้นไปถึงท้องทะเล
อันปรากฏเหมือนป่าอ้อและป่าไผ่ อันมีชื่อว่า นฬมาลี. พวกพ่อค้าพากันถาม
ชื่อของท้องทะเลตอนนั้นด้วยคาถาว่า
ทะเลนี้ปรากฏเหมือนไม้อ้อและไม้ไผ่ พวก
ข้าพเจ้าขอถามท่านสุปปารกะ ทะเลนี้ชื่ออะไร.
พระมหาสัตว์บอกท้องทะเลตอนนั้น ด้วยคาถาต่อไปว่า
เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์
ออกจากท่าชื่อ ภรุกัจฉะ ครั้นเรือแล่นไปผิดทางมา
ถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกกันว่า นฬมาลี.
ก็ในทะเลตอนนั้น มีมรกตและไพฑูรย์มากมาย ท่านคงให้ขนใส่เรือ
ด้วยอุบายดุจกัน.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า นโฬ คือ ไม้อ้อแมลงป่อง ไม้อ้อปูก็เรียก
ไม้อ้อชนิดนั้นมีสีแดง. ส่วนที่ว่าไม้ไผ่นั้นเป็นชื่อของแก้วประพาฬนั่นเอง และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 103
ท้องทะเลตอนนั้น มากมายด้วยแก้วประพาฬ จึงได้มีแสงแดงฉาย. เหตุนั้น
พวกพ่อค้าจึงพากันถามว่า เหมือนไม้อ้อและไม้ไผ่.
พระมหาสัตว์ คงให้พวกนั้นขนแก้วประพาฬ จากท้องทะเลตอนนั้น
พวกพ่อค้าครั้นผ่านพ้นท้องทะเลตอนนฬมาลีไปแล้ว พบท้องทะเลตอนที่ชื่อ
ว่า พลวามุข น้ำในท้องทะเลตอนนั้น เดือดพล่านพุ่งขึ้นโดยเป็นพืดตลอดไป
น้ำที่พุ่งขึ้นโดยเป็นพืดตลอดไปในท้องทะเลตอนนั้น ปรากฏเป็นเหมือนเหว
ใหญ่ใกล้หน้าผาขาดโดยส่วนทั่วไป เมื่อคลื่นพุ่งขึ้น ก็เป็นเหมือนเหวติดต่อ
กันไป เสียงน่าสะพรึงกลัวบังเกิดขึ้น ปานจะทำลายหูทั้งสองเสีย และปานจะผ่า
หทัยเสีย. พวกพ่อค้าเห็นท้องทะเลตอนนั้นแล้ว พากันกลัวสะทกสะท้าน ถาม
ชื่อของสมุทรตอนนั้นด้วยคาถาว่า
เสียงน่ากลัวมาก น่าสยดสยอง ฟังเหมือนเสียง
อมนุษย์ และทะเลนี้ปรากฏเหมือนบึงและเหว พวก
ข้าพเจ้าขอถามท่านสุปปารกะ ทะเลนี้ชื่ออะไร.
พระมหาสัตว์บอกชื่อของท้องทะเลตอนนั้นด้วยคาถาว่า
เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์
ออกจากท่าชื่อว่า ภรุกัจฉะ ครั้นเรือแล่นไปผิดทาง
มาถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกกันว่า พลวามุขี.
พระโพธิสัตว์ ครั้นบอกชื่อของท้องทะเลตอนนั้นด้วยคาถาตามลำดับ
กล่าวว่า พ่อทั้งหลาย บรรดาเรือที่ถึงท้องทะเลพลวามุขนี้ อันสามารถกลับได้
ไม่มีเลย ท้องทะเลตอนนี้ ยังเรือที่ตกเข้าไปแล้วให้จมถึงความแตกสลาย.
ก็แลพวกมนุษย์ประมาณ ๗๐๐ คนพากันขึ้นเรือนั้นไป. พวกนั้นทั้งหมดพากัน
กลัวต่อมรณภัย ต่างเปล่งเสียงโอดครวญร่ำไห้ประดังเป็นเสียงเดียวกัน เหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 104
ฝูงสัตว์ที่กำลังหมกไหม้อยู่ในอเวจีนรกฉะนั้น. พระมหาสัตว์ดำริว่า เว้นเรา
เสียแล้ว คนอื่นที่จะชื่อว่า สามารถทำลายความปลอดภัยให้แก่พวกนี้ไม่มีเลย
เราต้องตั้งสัตย์กระทำความปลอดภัยให้แก่พวกเขา เรียกพวกนั้นมากล่าวว่า
พ่อทั้งหลาย พวกเธอจงให้เราอาบน้ำด้วยน้ำหอมให้นุ่งผ้าใหม่ เตรียมถาดน้ำ
วางไว้ที่แอกเรือโดยเร็วเถิด พ่อค้าเหล่านั้นพากันทำตามนั้น. พระมหาสัตว์
ถือถาดเต็มด้วยน้ำด้วยมือทั้งสองข้าง ยืนที่แอกเรือ เมื่อกระทำสัจจกิริยาจึงกล่าว
คาถาที่สุดว่า
ตั้งแต่ข้าพเจ้าระลึกถึงตนได้ ถึงความเป็นผู้รู้
เดียงสา ข้าพเจ้าไม่เคยรู้สึกแกล้งเบียดเบียนสัตว์ แม้
สักตัวเดียวเลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอเรือจงกลับได้โดย
สวัสดี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต ความว่า ข้าพเจ้าระลึกตนได้
จำเดิมแต่กาลใด และข้าพเจ้าได้เป็นผู้บรรลุวิญญูภาพแล้วจำเดิมแต่กาลใด.
บทว่า เอกปาณปิ หึสิตุ ความว่า ในระหว่างนี้ ข้าพเจ้าไม่เคยสำนึกเลย
ที่จะแกล้งเบียดเบียนแม้สัตว์คือมดดำมดแดง เพียงตัวเดียว. บทนี้เป็นเพียง
การเทศนาเท่านั้น. ก็พระโพธิสัตว์ได้กระทำสัจจกิริยาด้วยอำนาจแห่งศีล ๕
อย่างนี้ว่า สิ่งของผู้อื่นกำหนดแม้เพียงเส้นหญ้า ก็ไม่เคยหยิบฉวยเลย ภรรยา
ของผู้อื่นก็ไม่เคยมองดูด้วยอำนาจความโลภ คำพูดเท็จก็ไม่เคยพูด น้ำเมาก็ไม่
เคยดื่มแม้แต่จะหยดด้วยอดหญ้า.
ก็แลครั้นกระทำสัจจกิริยาแล้ว ก็รดน้ำในถาดที่เต็มลงที่แอกเรือ.
เรืออันแล่นไปผิดทิศทางตลอด ๔ เดือน ก็บ่ายหัวกลับ ได้ไปถึงท่าภรุกัจฉะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 105
เพียงวันเดียวเท่านั้น ด้วยอานุภาพแห่งสัจจะ ประหนึ่งท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล
ครั้นถึงแล้วยังแล่นไปบนบกได้ประมาณ ๘ อุสภะ หยุดที่ประตูเรือนของนาย
เรือพอดี. พระมหาสัตว์แบ่งทองเงินแก้วมณีแก้วประพาฬและเพชร ให้แก่พวก
พ่อค้าเหล่านั้น ให้โอวาทแก่พวกนั้นว่า รัตนะเพียงเท่านี้ ก็เป็นการพอแล้ว
สำหรับเธอทั้งหลาย พวกเธออย่าเข้าไปสู่ท้องทะเลกันอีกเลย ทำบุญต่าง ๆ
มีให้ทานเป็นต้น จนตลอดชีพ ได้ไปเพิ่มจำนวนเมืองสวรรค์แล้ว.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสย้ำว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้ในครั้งก่อน ตถาคตก็มีปัญญามากอย่างนี้เหมือนกัน ทรงประชุม
ชาดกว่า บริษัทของท่านสุปปารกะผู้บอดในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัท
ส่วนสุปปารกบัณฑิต ได้มาเป็นเราแล.
จบอรรถกถาสุปปารกชาดก
จบอรรถกถาเอกาทสนิบาต
รวมชาดกที่มีในเอกาทสนิบาตนี้ คือ
๑. มาตุโปสกชาดก ๒. ชุณหชาดก ๓. ธรรมเทวปุตตชาดก
๔. อุทยชาดก ๕. ปานียชาดก ๖. ยุธัญชัยชาดก ๗. ทสรถชาดก ๘. สัง-
วรชาดก ๙. สุปปารกชาดก และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 106
ทวาทสนิบาตชาดก
๑. จุลลกุณาลชาดก
ว่าด้วยสิ่ง ๕ อย่างรู้ได้ยาก
[๑๖๐๑] บุรุษผู้ไม่ถูกผีสิง ย่อมไม่ควรจะเชื่อ
หญิงผู้หยาบช้าใจเบาไม่รู้จักคุณคนมักประทุษร้ายมิตร.
[๑๖๐๒] หญิงเหล่านั้นย่อมไม่รู้จักกิจที่ทำแล้ว
และกิจที่ยังไม่ได้ทำ ไม่รู้จักมารดาบิดาหรือพี่น้อง
ไม่ใช่อารยชน ก้าวล่วงธรรมเสียแล้ว ย่อมไปตาม
อำนาจจิตของตนถ่ายเดียว.
[๑๖๐๓] เมื่อมีอันตรายและเมื่อกิจเกิดขึ้น หญิง
ย่อมละทิ้งสามีนั้นแม้อยู่ร่วมกันมานาน เป็นที่รัก เป็น
ที่พอใจ เป็นผู้อนุเคราะห์ แม้เสมอด้วยชีวิต เพราะ
เหตุนั้น เราจึงไม่ไว้วางใจหญิงทั้งหลาย.
[๑๖๐๔] ความจริง จิตของหญิงเหมือนกับจิต
ของลิง ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เหมือนกับเงาต้นไม้ หัวใจของ
หญิงทั้งหลายไหวไปมา เหมือนล้อรถที่กำลังหมุนไป
ฉะนั้น.
[๑๖๐๕] คราวใด หญิงมองเห็นทรัพย์ของบุรุษ
ที่ควรจะถือเอาได้ คราวนั้น ย่อมใช้วาจาอ่อนหวาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 107
นำพาเอาบุรุษนั้นไป เหมือนชาวกัมโพชใช้สาหร่ายล่อ
ม้าไปได้ ฉะนั้น.
[๑๖๐๖] คราวใด ไม่มองเห็นทรัพย์ของบุรุษที่
ควรจะถือเอาได้ คราวนั้น ย่อมละทิ้งบุรุษนั้นไปเสีย
เหมือนบุคคลข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้ว ก็ทิ้งแพไปเสีย
ฉะนั้น.
[๑๖๐๗] หญิงเปรียบเหมือนยางรัก กินไม่เลือก
เหมือนเปลวไฟ มีมายาแรงกล้าเหมือนแม่น้ำอันมี
กระแสเชี่ยว ย่อมคบหาบุรุษทั้งที่น่ารักและไม่น่ารัก
เหมือนเรือจอดไม่เลือกว่าฝั่งข้างนี้ หรือข้างโน้น ฉะนั้น.
[๑๖๐๘] หญิงไม่ใช่ของบุรุษคนเดียวหรือสอง
คน ย่อมต้อนรับทั่วไปเหมือนร้านตลาด ผู้ใดสำคัญ
ซึ่งหญิงเหล่านั้นว่าของเรา ก็เท่ากับดักลมด้วยตาข่าย
ฉะนั้น.
[๑๖๐๙] แม่น้ำ หนทาง ร้านขายเหล้า สภา
และบ่อน้ำ มีอุปมา ฉันใด หญิงในโลกก็มีอุปไมย
ฉันนั้น เขตแดนของหญิงเหล่านั้นไม่มีเลย.
[๑๖๑๐] หญิงเหล่านั้นเสมอด้วยไฟกินเปรียง
เปรียบด้วยหัวงูเห่า เลือกหยิบเอาแต่ที่อร่อย ๆ เหมือน
โคเลือกกินหญ้าในภายนอก ฉะนั้น.
[๑๖๑๑] ไฟกินเปรียง ๑ ช้างสาร ๑ งูเห่า ๑
พระเจ้าแผ่นดินผู้ได้มูรธาภิเษก ๑ หญิงทุกคน ๑ ทั้ง ๕ นี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 108
คนพึงคบหาด้วยความระมัดระวังเป็นนิตย์ เพราะว่าสิ่ง
ทั้ง ๕ นั้นมีอัธยาศัยที่รู้ได้ยาก.
[๑๖๑๒] หญิงที่งามเกินไป ๑ หญิงที่ชายเป็น
อันมากไม่รักใคร่ (หญิงแพศยา) ๑ หญิงที่เหมือนมือ
ขวา (ชำนาญการฟ้อนการขับ ) ๑ หญิงที่เป็นภรรยา
ของคนอื่น ๑ หญิงที่เห็นแก่ทรัพย์ ๑ หญิง ๕ จำพวก
นี้ก็ไม่ควรคบหา.
จบจุลลกุณาลชาดกที่ ๑
อรรถกถาทวาทสนิบาต
จุลกุณาลชาดก
ชาดกเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ขุทฺทาน ลหุจิตฺตาน ดังนี้ จักมี
อย่างแจ่มแจ้งในกุณาลชาดก.๑
จบอรรถกถาจุลกุณาลชาดก
ดูพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๑ หน้า ๕๑๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 109
๒. ภัททสาลชาดก
ว่าด้วยการบำเพ็ญประโยชน์แก่ญาติ
[๑๖๑๓] ท่านเป็นใคร มีผ้าอันสะอาดหมดจด
มายืนอยู่บนอากาศ เพราะเหตุไร น้ำตาของท่านจึงไหล
ภัยมาถึงท่านแต่ที่ไหน.
[๑๖๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เมื่อหม่อม
ฉันได้รับการบูชาอยู่ ๖๐,๐๐๐ ปี ชนทั้งหลายรู้จัก
หม่อมฉันว่า ภัททสาละ ในแว่นแคว้นของพระองค์
นี้แล.
[๑๖๑๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระ-
ราชาพระองค์ก่อน ๆ เมื่อสร้างพระนคร อาคาร และ
ปราสาทต่าง ๆ พระราชาเหล่านั้นมิได้ดูหมิ่นหม่อมฉัน
เลย พระราชาเหล่านั้นบูชาหม่อมฉัน ฉันใด แม้
พระองค์ก็จงบูชาหม่อมฉัน ฉันนั้นเถิด.
[๑๖๑๖] ก็ข้าพเจ้ามิได้เห็นต้นไม้อื่นที่จะใหญ่โต
เหมือนท่าน โดยประมาณ ท่านเป็นไม้งามแต่กำเนิด
ด้วยย่านและปริมณฑล.
[๑๖๑๗] ข้าพเจ้าจะให้นายช่างทำปราสาทมีเสา
เดียว เป็นที่รื่นรมย์ใจ ข้าพเจ้าจะเชื้อเชิญท่านมาอยู่ที่
ปราสาทนั้น ดูก่อนเทวดา ชีวิตของท่านจักยั่งยืน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 110
[๑๖๑๘] ถ้าพระองค์ทรงดำริอย่างนี้ ก็จำต้อง
พลัดพรากจากต้นรังอันเป็นร่างกายของหม่อมฉัน
พระองค์จงตัดหม่อมฉันทำเป็นท่อน ๆ ให้มากเถิด.
[๑๖๑๙] พระองค์จงตัดปลายก่อน แล้วจงตัด
ท่อนกลาง ภายหลังจึงตัดที่โคน เมื่อหม่อมฉันถูกตัด
อย่างนี้ ถึงจะตายลงก็ไม่มีทุกข์.
[๑๖๒๐] ราชบุรุษตัดมือเเละเท้า ตัดหูและจมูก
ภายหลังจึงตัดศีรษะของโจรผู้เป็นอยู่ ความตายนั้น
ชื่อว่าตายเป็นทุกข์.
[๑๕๒๑] ดูก่อนต้นรังที่เป็นเจ้าแห่งป่า เขาตัด
เป็นท่อน ๆ เป็นสุขหรือหนอ ท่านมีเหตุอะไร มั่นใจ
อย่างไร จึงปรารถนาให้ตัดเป็นท่อน ๆ.
[๑๖๒๒] ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันยึดมั่นเหตุ
อันใด อันเป็นเหตุประกอบด้วยธรรม ปรารถนาให้
ตัดเป็นท่อน ๆ ขอพระองค์จงสดับเหตุอันนั้น.
[๑๖๒๓] หมู่ญาติของหม่อมฉัน เจริญอยู่ด้วย
ความสุข เกิดแล้วใกล้ต้นรังข้างหม่อมฉัน หม่อมฉัน
พึงเข้าไปเบียดเบียนหมู่ญาติเหล่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้
หม่อมฉันชื่อว่าเข้าไปสั่งสมสิ่งที่มิใช่ความสุขให้แก่คน
เหล่าอื่น เหตุนั้น หม่อมฉันจึงปรารถนาให้ตัดเป็น
ท่อน ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 111
[๑๖๒๔] ดูก่อนต้นรังที่เป็นเจ้าแห่งป่า ท่านย่อม
คิดสิ่งที่ควรคิด ท่านเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์แก่หมู่
ญาติ ดูก่อนสหาย ข้าพเจ้าให้อภัยแก่ท่าน.
จบภัททสาลชาดกที่ ๒
อรรถกถาภัททสาลชาดก
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภ การบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า กา ตฺว สุทฺเธหิ วตฺเถหิ ดังนี้.
เรื่องพิสดารมีว่า การฉันเป็นประจำของภิกษุ ๕๐๐ รูป เป็นไปอยู่ใน
นิเวศน์ของท่านอนาถปิณฑิกะ ณ พระนครสาวัตถี โดยทำนองนั้นในนิเวศน์
ของนางวิสาขา และในพระราชวังของพระเจ้าโกศล. ก็ในพระราชนิเวศน์นั้น
เจ้าหน้าที่ย่อมถวายโภชนะอันมีรสเลิศต่าง ๆ โดยแท้ ถึงอย่างนั้น ใคร ๆ ที่เป็น
ผู้คุ้นเคยกันของภิกษุไม่มีอยู่เลย. เหตุนั้น พวกภิกษุจึงไม่ค่อยฉันในพระราช-
นิเวศน์ ภิกษุเหล่านั้นรับภัตพากันไปสู่เรือนของท่านอนาถปิณฑิกะหรือนาง
วิสาขา หรือมิฉะนั้นก็เรือนของคนที่คุ้นเคยกันอื่น ๆ แล้วจึงฉัน. วันหนึ่ง
พระราชาทรงส่งบรรณาการที่คนนำมา ไปสู่โรงฉันว่า พวกเจ้าจงถวายแก่
พวกภิกษุ ครั้นราชบุรุษกราบทูลว่า ในโรงฉันไม่มีภิกษุ ตรัสสั่งถามว่า
ท่านไปที่ไหนเสียเล่า ทรงสดับว่า พากันไปนั่งฉันที่เรือนของคนที่คุ้นเคย
แห่งตน พระเจ้าข้า พอเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จ เสด็จไปสำนักพระศาสดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 112
ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่าโภชนะ มีอะไรเป็นยอดเยี่ยม. ถวาย-
พระพรว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร โภชนะมีความคุ้นเคยกันเป็นยอดเยี่ยม
เพราะแม้มาตรว่าจะเป็นข้าวตังข้าวปลายเกรียน ที่คนคุ้นเคยกันให้ ก็ย่อมมี
รสอร่อย. ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความคุ้นเคยของพระภิกษุ จะมี
กับคนพวกใดเล่า พระเจ้าข้า. ถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร มีได้กับหมู่ญาติ
หรือกับสกุลแห่งพระเสขะ มหาบพิตร.
ครั้งนั้นพระราชาทรงพระดำริว่า เราต้องเชิญธิดาแห่งศากยะนางหนึ่ง
มาแต่งตั้งเป็นอัครมเหสี ด้วยวิธีนี้ ความคุ้นเคยอย่างยอดเยี่ยมฉันญาติของพวก
ภิกษุกับเรา คงมีเป็นแน่ พระองค์เสด็จลุกจากอาสนะไปพระนิเวศน์ของพระ-
องค์ทรงส่งทูตไปสู่บุรีกบิลพัสดุ์ด้วยพระดำรัสว่าข้าพเจ้าขอร้อง เจ้าศากยะจง
ให้ธิดาแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการความเป็นญาติกับพวกท่าน. เจ้าศากยะ
สดับคำพูดแล้ว ประชุมปรึกษากันว่า พวกเราอยู่ในถิ่นฐานอันเป็นไปใน
อาณาของพระเจ้าโกศล ถ้าพวกเราไม่ให้ทาริกา จักมีเวรอย่างใหญ่หลวง
ถ้าให้เล่า เชื้อสายของพวกเราก็จะสลาย ควรจะทำอย่างไรดีเล่า. ครั้งนั้น
ท้าวมหานามตรัสกะพวกศากยะนั้นว่า อย่าร้อนใจกันไปเลย ธิดาของฉัน
ชื่อ วาสภขัตติยา เกิดในท้องทาสีชื่อ นาคบุณฑา อายุได้ ๑๖ ปี มีรูป
ร่างเฉิดฉาย ถึงความงามเลิศ เท่ากับเป็นเผ่ากษัตริย์ ด้วยอำนาจของบิดา พวก
เราจะส่งนางไปให้แก่พระเจ้าโกศลนั้นว่า เป็นขัตติยกัญญา. เจ้าศากยะทั้งหลาย
ต่างรับว่าดีจริง ได้เรียกพวกทูตมากล่าวว่า เป็นการดีละ พวกข้าพเจ้าจักถวาย
ทาริกา พวกท่านจงรับนางไปบัดนี้ทีเดียวเถิด. พวกทูตฟังคำนั้นแล้ว คิดกันว่า
ธรรมดาว่าศากยราชเหล่านี้ ถือตัวยิ่งนักเพราะอาศัยชาติ พึงกล่าวว่า นางนี้
เสมอกับพวกเรา แล้วให้นางที่ไม่เสมอกันก็ได้ พวกเราจักยอมรับแต่นางที่
ร่วมบริโภคกับพวกเหล่านั้นเท่านั้น ทูตเหล่านั้นพากันทูลอย่างนี้ว่า เมื่อพวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 113
ข้าพระองค์จะรับไป จักขอรับนางที่เสวยร่วมกับพระองค์ไป เจ้าศากยะทั้งหลาย
จึงให้ที่พักแก่พวกทูต คิดกันว่า จักทำอย่างไรเล่า ท้าวมหานามตรัสว่า
พวกเธออย่าร้อนใจไปเลย ฉันจักทำอุบาย ในเวลาที่ฉันกำลังบริโภค พวกเธอ
จงตกแต่งนางวาสภขัตติยาพามา พอฉันหยิบคำข้าวเพียงคำเดียวเท่านั้น พวกเธอ
ก็ส่งหนังสือให้ดู บอกว่า พระราชาพระองค์โน้น ทรงส่งหนังสือ เชิญดูสาส์นนี้
เสียก่อน พวกนั้นพากันรับคำว่าสาธุ เมื่อท้าวเธอกำลังเสวย ก็ตกแต่งกุมาริกา
ท้าวมหานามตรัสว่า พวกเธอจงพาธิดาของฉันมาเถิด นางจงบริโภคร่วมกับ
ฉันเถิด ครั้งนั้นเจ้าศากยะ พากันตกแต่งนางทำเป็นชักช้าอยู่หน่อยหนึ่ง แล้ว
พามา นางคิดว่า จักบริโภคร่วมกับพระบิดา จึงหย่อนหัตถ์ลงในถาด
เดียวกัน ท้าวมหานามทรงถือปั้นข้าวปั้นหนึ่งร่วมกับนาง แล้วทรงเปิบด้วย
พระโอฐ พอทรงเอื้อมพระหัตถ์เพื่อคำที่ ๒ พวกศากยะก็น้อมหนังสือเข้าไป
ถวายว่า ขอเดชะ พระราชาทรงพระนามโน้น ทรงส่งหนังสือมา เชิญพระองค์
ทรงสดับสาส์นนี้ก่อนเถิด พระเจ้าข้า ท้าวมหานามตรัสว่า แม่หนู เจ้าจงบริโภค
เถิด ทรงวางพระหัตถ์ขวาไว้ในถาดนั่นแล ทรงรับหนังสือด้วยพระหัตถ์
ซ้าย ทรงทอดพระเนตรหนังสือ เมื่อท้าวเธอกำลังทรงหนังสืออยู่นั้นเอง
นางก็เสวยเสร็จ เวลาที่นางบริโภคเสร็จ ท้าวเธอจึงล้างพระหัตถ์บ้วนพระโอฐ
พวกทูตเหล่านั้นเห็นแล้ว พากันปลงใจว่า นางนั้นเป็นพระธิดาแห่งท้าวมหา-
นามนี้ โดยปราศจากข้อคลางแคลงทีเดียว ต่างไม่สามารถจะรู้ความในนั้นได้
เลย ท้าวมหานามทรงส่งพระธิดาไปด้วยบริวารขบวนใหญ่ พวกทูตเหล่านั้น
ก็พานางสู่นครสาวัตถีต่างกราบทูลว่า กุมารีนี้สมบูรณ์ด้วยชาติ เป็นธิดาของ
ท้าวมหานาม.
ครั้งนั้น พระราชาทรงสดับเรื่องนั้น ทรงดีพระหฤทัย ให้ตกแต่ง
พระนครทั้งสิ้น ให้นางสถิตเหนือกองแก้ว ทรงให้อภิเษกสถาปนาใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 114
ตำแหน่งอัครมเหสี นางได้เป็นที่รักจำเริญของพระราชา. อยู่มาไม่ช้าไม่นาน
นางก็ตั้งครรภ์ พระราชาได้ประทานเครื่องบริหารครรภ์ ครบกำหนดทศมาส
นางประสูติพระราชบุตร มีผิวพรรณเพียงดังทอง. ครั้นในวันขนานพระนาม
ของพระกุมารนั้น พระราชาทรงส่งข่าวไปสู่สำนักของพระอัยกาของพระองค์ว่า
ธิดาของศากยะราชวาสภขัตติยา ประสูติพระราชบุตร จะทรงขนานนามแก่
บุตรนั้นอย่างไร. ก็อำมาตย์ผู้เชิญพระราชสาส์นนั้นไปค่อนข้างจะหูตึง เข้าไป
ถึงตำหนักนั้นแล้วกราบทูล แด่พระอัยกาของพระราชา ท้าวเธอทรงสดับพระ
ราชสาส์นนั้นเเล้ว ตรัสว่า นางวาสภขัตติยา แม้จะยังไม่คลอดพระโอรส ยัง
ครอบงำคนทั้งหมดได้ คราวนี้ละก็ต้องเป็นตัวโปรดอย่างล้นเหลือของพระราชา
อำมาตย์หูตึง ฟังคำว่า วัลลภา ไม่ชัดเจนกำหนดว่า วิฏฏุภะ ครั้นเข้าเฝ้า
พระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ ดังข้าพระพุทธเจ้าได้ยินมา ขอใต้ฝ่าละออง-
ธุลีพระบาท ทรงขนานนามพระกุมารว่าวิฏฏุภะ เถิดพระเจ้าข้า พระราชาทรง
พระดำริว่า คงเป็นชื่อที่ตระกูลให้ไว้เก่าก่อนของพวกเรา ได้ทรงขนานพระนาม
พระโอรสนั้นว่าวิฏฏุภะ.
ตั้งแต่นั้นพระกุมารก็จำเริญด้วยกุมารบริหาร ถึงคราวมีอายุได้ ๗ ขวบ
เห็นรูปช้าง และรูปม้าเป็นต้น ที่คนนำมาจากตระกูลพระเจ้ายาย ถวายแก่
พระกุมารอื่น ๆ ก็ถามมารดาว่า แม่ ของบรรณาการจากตระกูลท่านตา
คนนำมาให้เด็กอื่น ๆ ที่ฉันไม่มีผู้ส่งอะไรมาให้เลย แม่ไม่มีพระมารดา
พระบิดาหรือ ครั้งนั้นนางกล่าวลวงเขาว่า พ่อเอ๋ย บรรดาศากยราชเป็นเจ้าตา
เจ้ายายของเธอ อยู่ไกล เหตุนั้น ท่านเหล่านั้นจึงไม่ส่งอะไร ๆ มา ต่อมาถึงเวลา
มีอายุได้ ๑๖ เขากล่าวว่า แม่ฉันจะไปเยี่ยมตระกูลเจ้าตาเจ้ายาย แม้จะถูกนาง
ห้ามว่า อย่าเลย พ่อเอ๋ย เจ้าจักการทำอะไรในที่นั้น ก็คงอ้อนวอนบ่อย ๆ
ครั้งนั้นมารดาของเขา รับคำว่า ถ้าอย่างนั้นก็ไปเถิด เขากราบทูลพระบิดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 115
ออกไปด้วยบริวารมาก นางวาสภขัตติยาส่งหนังสือไปก่อนว่า หม่อมฉันอยู่
สบายดี ณ ที่นี้เจ้าข้า ข้าแต่เจ้า พระองค์โปรดอย่าทรงแสดงความในอะไร ๆ
แก่เขาพระเจ้าข้า เจ้าศากยะทั้งหลายรู้เรื่องการมาของวิฏฏุภะ คิดกันว่า พวก
เราไม่สามารถจะไหว้เขาได้ เหตุนั้น จึงพากันส่งพระกุมารเด็ก ๆ ไปสู่ชนบท
เมื่อถึงกบิลพัสดุ์ พวกศากยะพากันประชุม ณ สัณฐาคาร กุมารไปถึงสัณฐาคาร
ได้หยุดยืนอยู่ ครั้งนั้น พวกเหล่านั้นพากันกล่าวกะเขาว่า พ่อเอ๋ย ท่านผู้นี้
เป็นเจ้าตาของเธอ ท่านผู้นี้เป็นเจ้าลุงของเธอ เขาต้องเที่ยวไหว้เรื่อยไปทุกคน
เขาต้องไหว้เสียจนหลังขดหลังแข็ง ไม่เห็นผู้ไหว้ตนสักคนเดียว จึงถามว่า
ผู้ที่ไหว้ฉันทำไมไม่มีเลยเล่า พวกศากยะพากันบอกว่า พ่อเอ๋ย กุมารที่เป็น
น้อง ๆ ของเธอ พากันไปชนบทเสีย. กระทำสักการะแก่เขาอย่างขนานใหญ่
เขาพักอยู่ ๒-๓ วันแล้วกลับไปด้วยบริวารมาก.
ครั้งนั้นทาสีนางหนึ่ง ด่าว่า แผ่นกระดานนี้เป็นแผ่นกระดานที่ลูก
อีทาสีวาสภขัตติยามันนั่งไว้ แล้วล้างแผ่นกระดานที่เขานั่งในสัณฐาคารด้วย
น้ำนม บุรุษผู้หนึ่งลืมอาวุธของตน หวนกลับจะหยิบอาวุธ ได้ยินเสียง
ด่าวิฏฏุภกุมารนั้น จึงถามนางในระหว่างนั้น ทราบว่า วาสภขัตติยาเกิด
ในท้องของนางทาสี แห่งท้าวมหานามศากยราช ก็ไปเล่าแถลงแก่หมู่พล
เกิดเกรียวกราวกันขนานใหญ่ว่า ได้ยินว่า นางวาสภขัตติยาเป็นลูกทาสี
กุมารฟังคำนั้น ตั้งใจว่าปล่อยให้พวกนี้ล้างแผ่นกระดานที่กูนั่งด้วยน้ำนมไป
ก่อนเถิด คอยดูนะ พอกูเสวยราชแล้วเถอะ กูจะเอาเลือดที่คอของพวก
นี้ล้างแผ่นกระดานที่กูนั่งให้ได้ เมื่อเข้ากรุงสาวัตถี พวกอำมาตย์พากัน
กราบทูลประพฤติเหตุทั้งปวงแด่พระราชา พระราชาทรงสดับเรื่องนั้น กริ้ว
เจ้าศากยะทั้งหลายว่า ให้ธิดาทาสีแก่เราได้ ทรงตัดการบริหารที่พระราชทาน
แก่นางวาสภขัตติยา และโอรสหมดเลย พระราชทานเพียงเท่าที่พวกทาสและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 116
ทาสีจะได้รับกันเท่านั้น จากนั้นล่วงไปได้ ๒-๓ วัน พระศาสดาเสด็จไปสู่
พระนิเวศน์ประทับนั่ง พระราชาถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พวกญาติของพระองค์พากันให้ธิดานางทาสีแก่หม่อมฉันเสียได้
เหตุนั้น หม่อมฉันจำต้องตัดการบริหารของนางพร้อมทั้งลูก คงได้ให้เพียงการ
บริหารเท่าที่พวกทาสและทาสีจะพึงได้กันเท่านั้น พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร
พวกศากยะทำไม่สมควรเลยทีเดียว ธรรมดาว่า เมื่อจะให้ก็ต้องให้นางที่มีชาติ
เสมอกัน ก็แต่ว่ามหาบพิตร อาตมาขอถวายพระพรกะบพิตร นางวาสภขัตติยา
เป็นราชธิดาได้อภิเษกในพระราชวังของขัตติยราช ถึงวิฏฏุภะเล่า ก็เกิดเพราะ
อาศัยขัตติยราชเหมือนกัน ขึ้นชื่อว่าโคตรของมารดา จักกระทำอะไรได้ โคตร
ของบิดาต่างหากเป็นประมาณ บัณฑิตแต่ครั้งโบราณได้ให้ตำแหน่งอัครมเหสี
แก่หญิงเข็ญใจหาฟืน แต่กุมารที่เกิดในท้องของนาง ครองราชสมบัติ ณ
กรุงพาราณสี อันมีบริเวณ ๑๒ โยชน์ ทรงพระนามว่า กัฏฐหาริกราช แล้ว
ตรัสกัฏฐหาริกชาดก พระราชาทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดา ทรงดีพระ-
หฤทัยว่า โคตรของบิดาเท่านั้นเป็นประมาณ โปรดประทานการบริหารเช่นเดิม
แก่มารดาและโอรสทันที.
กล่าวถึงท่านเสนาบดีของพระราชา นามว่า พันธุละ ส่งภริยาของตน
ชื่อมัลลิกา ผู้เป็นหมันไปสู่กรุงกุสินาราด้วยคำว่า เธอจงไปสู่เรือนแห่งสกุลของ
เธอเถิด นางคิดว่า เราจักเฝ้าพระศาสดาแล้วจึงไป เข้าไปสู่พระวิหารเชตวัน
ถวายบังคมพระศาสดา แล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ได้รับสั่งถามว่า เธอจะ
ไปไหน กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สามีของหม่อมฉันจักส่งคืนไป
สู่เรือนแห่งสกุลเจ้า ตรัสว่า เพราะเหตุไร กราบทูลว่า หม่อมฉันเป็นหมัน
ไม่มีบุตรเจ้าค่ะ ตรัสว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็ไม่ต้องไปดอก กลับเถิด ดีใจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 117
ถวายบังคมพระศาสดา ได้ไปสู่นิเวศน์ทันที ครั้นถูกสามีถามว่า เหตุไรเธอจึง
กลับมาเล่า บอกว่า พระทศพลรับสั่งให้ดิฉันกลับนี่เจ้าค่ะ นาย ท่านเสนาบดี
กล่าวว่า พระตถาคตต้องทรงเห็นเหตุการณ์เป็นแน่ ไม่ช้าไม่นานเลย นางก็
มีครรภ์เกิดแพ้ท้อง จึงบอกว่า ดิฉันเกิดแพ้ท้องแล้วละ ถามว่า แพ้ท้อง
อย่างไรเล่า บอกว่า นายเจ้าขา ดิฉันปรารถนาจะลงอาบน้ำ ดื่มน้ำในสระโบก-
ขรณีอันเป็นมงคล ซึ่งเป็นที่อภิเษกสรงแห่งคณะราชสกุลในพระนครเวสาลี
เจ้าค่ะ ท่านเสนาบดีกล่าวว่า ดีละ ถือธนูพันแรง อุ้มนางขึ้นสู่รถ ออกจาก
พระนครสาวัตถีขับรถเข้ากรุงเวสาลี ก็ในกาลนั้น เจ้ามหาลิพระเนตรบอด
เคยเรียนศิลปะรวมอาจารย์เดียวกันกับพระเจ้าโกศล และพันธุลเสนาบดี สอน
อรรถธรรมแก่มวลเจ้าลิจฉวี ประทับอยู่ใกล้ประตูนั้นเอง ท่านทรงฟังเสียงรถ
กระแทกธรณี กล่าวว่า นั่นเสียงรถอันเป็นพาหนะ ของเจ้ามัลละนามว่า พันธุละ
วันนี้ภัยคงจักเกิดแก่มวลเจ้าลิจฉวี การระวังรักษาสระโบกขรณีแข็งแรง ทั้ง
ภายในและภายนอก ข้างบนมีตาข่ายขึง ตลอดช่องลอดแม้ของฝูงนกก็ไม่มี.
ก็ท่านเสนาบดีลงจากรถฟาดฟันฝูงคนที่เฝ้าด้วยพระขรรค์ให้หนีไป ตัด
ตาข่ายโลหะให้ภรรยาลงในสระโบกขรณีอาบดื่ม แม้ตนเองก็อาบบ้าง แล้วอุ้ม
นางมัลลิกาขึ้นใส่รถออกจากเมืองไปตามทางที่มานั้นแล พวกคนเฝ้าพากันไป
กราบทูลแด่มวลเจ้าลิจฉวี เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นพากันกริ้ว ขึ้นทรงรถ ๕๐๐ คัน
ทรงยกออกไป ด้วยทรงดำริว่า พวกเราต้องจับเจ้ามัลละชื่อพันธุละให้ได้ พากัน
ไปเล่าเรื่องนั้นแด่เจ้ามหาลิ เจ้ามหาลิกล่าวว่า พวกเธออย่าไปเลย เขาจักฆ่า
พวกเธอเสียหมดทีเดียว ฝ่ายพวกนั้นพากันกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าต้องไปให้ได้
กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นพวกเธอเห็นล้อรถจมลงไปถึงดุมละก็พากันกลับเสีย เมื่อไม่
กลับตอนนั้น จักได้ยินเสียงคล้ายฟ้าผ่าข้างหน้า พึงกลับกันจากที่นั้น เมื่อยัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 118
ไม่กลับตอนนั้น พวกเธอจักเห็นช่องในแอกรถของพวกเธอ อย่าได้พากันไป
ต่อไปเป็นอันขาด. พวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ไม่ยอมกลับตามคำของท้าวเธอ
พากันติดตามท่านพันธุละนั้นไปจนได้ นางมัลลิกาเห็นแล้วกล่าวว่า นายเจ้าขา
รถปรากฏหลายคัน ท่านพันธุละกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นเธอคอยบอกฉันในเวลาที่รถ
ปรากฏเป็นคันเดียวกัน ในเมื่อรถทุก ๆ คันปรากฏเป็นดุจคันเดียว นางมัลลิกา
จึงบอกว่า นายเจ้าขา หัวรถปรากฏแล้ว ท่านพันธุละส่งสายบังเหียนให้นาง
ว่าถ้าเช่นนั้นเธอจงถือสายบังเหียนเหล่านี้ไว้ ยืนอยู่บนรถนั้นแลโก่งธนู เสียง
ได้เป็นเหมือนเสียงฟ้าผ่า ท่านพวกนั้นไม่ยอมกลับแม้จากที่นั้น พากันกวด
ตามเรื่อยไป ท่านพันธุละยืนบนรถยิงลูกศรไปลูกหนึ่ง ลูกศรนั้นทำหัวรถทั้ง
๕๐๐ คันให้เป็นช่อง แทงทะลุที่หุ้มเกราะของพระราชาทั้ง ๕๐๐ แล้วจมดินไป
เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ไม่ทราบความที่ตนถูกยิงแล้ว คงตรัสอยู่ว่า หยุด เจ้าตัวร้าย
หยุด เจ้าตัวร้าย ติดตามเรื่อยไป ท่านพันธุละจอดรถกล่าวว่า พวกท่านเป็น
คนตายแล้ว ไม่มีธรรมเนียมเลย ที่ข้าพเจ้าจะรบกับคนตาย เจ้าลิจฉวีพากัน
ตรัสว่า ขึ้นชื่อว่าคนตายแล้วเป็นเช่นอย่างพวกเราไม่มีดอก กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น
จงเปลื้องเกราะของท่านผู้อยู่สุดท้ายเพื่อนซี เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นพากันเปลื้อง
เจ้าองค์นั้นพอเปลื้องเกราะเสร็จเท่านั้น ล้มลงสิ้นพระชนม์เลย. ครั้งนั้นท่าน
พันธุละกล่าวกะเจ้าเหล่านั้นว่า พวกท่านแม้ทั้งหมดก็เป็นรูปนั้น พวกท่าน
จงพากันไปสู่เรือนของตน ๆ จัดเตรียมการที่ควรจัดการ สั่งเสียลูกเมีย แล้ว
ค่อยเปลื้องเกราะ เจ้าเหล่านั้น พากันทำตามนั้น ถึงชีพตักษัยทุกคน.
ฝ่ายท่านพันธุละ ก็พานางมัลลิกามาสู่นครสาวัตถี นางคลอดบุตร
ชายแฝด ๑๖ ครั้ง บุตรชายแม้ทุกคนล้วนเก่งกล้า สมบูรณ์ด้วยกำลัง ต่างเรียน
สำเร็จในศิลปะทุกประการ คนหนึ่ง ๆ ได้มีบริวารพันคน ท้องพระลานหลวง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 119
แน่นขนัดไปด้วยพวกนั้น ผู้ไปสู่พระราชนิเวศน์กับบิดาทีเดียว อยู่มาวันหนึ่ง
พวกมนุษย์ที่ถูกตัดสินให้แพ้คดีอย่างโกงในที่วินิจฉัย เห็นท่านพันธุละกำลัง
เดินมา ก็ร้องเอะอะบอกการตัดสินคดีโกงของอำมาตย์ผู้ทำการวินิจฉัยแก่ท่าน
ท่านไปสู่ที่วินิจฉัย พิจารณาคดีนั้น ได้กระทำเจ้าของให้คงเป็นเจ้าของ ผู้มิใช่
เจ้าของ ก็กระทำคงเป็นผู้มิใช่เจ้าของ มหาชนพากันแซ่ซ้องสาธุการด้วยเสียง
อันดัง พระราชารับสั่งถามว่านี้เรื่องอะไรกัน ทรงสดับความนั้น ทรงยินดีตรัส
ให้ถอดอำมาตย์เหล่านั้นเสียทั้งหมด มอบการวินิจฉัยให้แก่ท่านพันธุละผู้เดียว.
จำเดิมแต่นั้นท่านตัดสินโดยชอบ ครั้งนั้นพวกผู้ตัดสินความเก่า ๆ เมื่อ
ไม่ได้สินบนต่างมีรายได้น้อย พากันยุแหย่ในราชสกุลว่า พันธุละปรารถนาราช
สมบัติ พระราชาทรงสดับถ้อยคำของพวกนั้นไม่สามารถจะข่มพระทัยได้ ทรง
ดำริว่าเมื่อเราจะให้ฆ่าพันธุละนี้ ในพระนครนี้ทีเดียวเล่า ความครหาจักบังเกิด
ได้ทรงพระดำริต่อไปว่า ต้องแต่งคนให้ไปปล้นชายแดน แล้วส่งให้ไปปราบ
พวกนั้น เวลายกกลับก็ให้คนฆ่าเสียทั้งพวกลูกในระหว่างทาง ครั้นทรงดำริ
แล้วรับสั่งให้หาท่านพันธุละมาเฝ้า ตรัสสั่งใช้ว่า ข่าวว่า ชายแดนกำเริบ ท่าน
กับบุตรของท่านจงไปจับพวกโจรทีเถิด แล้วทรงให้มหาโยธา แม้เหล่าอื่นที่
สามารถไปกับท่านพันธุละและบุตรเหล่านั้น ด้วยทรงดำรัสว่า พวกเจ้าจงตัด
ศีรษะของเขากับลูกทั้ง ๓๒ คนเสีย ณ ที่นั้นให้จงได้ แล้วนำมาเถิด ครั้นท่าน
ไปถึงชายแดนเท่านั้น พวกโจรที่แต่งไปพากันกล่าวว่า ได้ยินข่าวว่า ท่าน
เสนาบดีกำลังยกมา พากันหนีไปสิ้น ท่านจัดการให้ประเทศสงบราบคาบ ตั้ง
ชนบทได้แล้วยกกลับ ครั้งนั้นเหล่าโจรนั้น พากันตัดศีรษะของท่านกับลูก ๆ
เสียในที่ไม่ไกลจากเมือง วันนั้น นางมัลลิกานิมนต์พระอัครสาวกกับภิกษุ ๕๐๐
รูป. ตอนเช้ามีคนนำหนังสือมาให้นางว่า สามีกับบุตรถูกโยธาเหล่านั้นตัด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 120
ศีรษะเสียแล้ว นางทราบเรื่องนั้นแล้ว ไม่พูดอะไรแก่ใคร ๆ เก็บหนังสือไว้
ในชายพก คงอังคาสพระภิกษุอยู่เรื่อยไป ครั้งนั้นพวกคนใช้ของนาง ถวาย
ภัตตาหารแด่ภิกษุแล้ว ยกถาดเนยใสมา ทำถาดแตกต่อหน้าพระเถระทั้งหลาย
พระธรรมเสนาบดีกล่าวว่า อุบาสิกา สิ่งที่มีความแตกเป็นธรรมดาแตกไปแล้ว
ไม่ต้องเสียใจ นางนำหนังสือออกมาจากชายพก กราบเรียนว่า คนนำหนังสือ
นี้มาให้ดิฉัน พ่อกับลูก ๓๒ คนถูกตัดศีรษะเสียแล้ว ดิฉันแม้จะได้ฟังเรื่องนี้
ยังไม่เสียใจเลย ก็เมื่อถาดเนยใสนี้แตกไป จะต้องเสียใจทำไมเจ้าค่ะ.
พระธรรมเสนาบดีกล่าวคำมีอาทิว่า (ชีวิต มรณ) ไม่มีนิมิตไม่มีใครรู้
แสดงธรรมแล้วลุกจากอาสนะไปพระวิหาร ฝ่ายนางให้เรียกลูกสะใภ้ ๓๒ นาง
มาสั่งสอนว่า สามีของพวกเธอปราศจากความผิดต่างได้รับผลแห่งกรรมที่
ทำไว้ในปางก่อนของตน พวกเธออย่าเศร้าโศกเลย อย่ากระทำใจประทุษ
ร้ายในพระราชาเลย จารบุรุษของพระราชาฟังคำนั้น พากันกราบทูล
ความที่คนเหล่านั้น หาโทษมิได้แก่พระราชา พระราชาทรงสลดพระทัย
เสด็จไปสู่ที่อยู่ของนาง ทรงขอขมาโทษกะนางมัลลิกา และสะใภ้ของนาง
แล้วประทานพรแก่นางมัลลิกา นางกราบทูลว่า พระพรเป็นอันหม่อมฉัน
รับพระราชทานใส่เกล้าใส่กระหม่อมพะยะค่ะ เมื่อพระราชาเสด็จไปแล้ว
จัดถวายมตกภัตรสนานกายเข้าเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์
ผู้สมมุติเทพเจ้า พระองค์พระราชทานพรแก่หม่อมฉันไว้ หม่อมฉันมิได้
มีความต้องการอย่างอื่น ขอพระองค์ทรงพระกรุณาอนุญาตให้หม่อนฉันและ
สะใภ้ ๓๒ คนไปสู่ตระกูลเดิมเถิด พระเจ้าข้า พระราชาทรงรับคำของนาง
นางส่งลูกสะใภ้ ๓๒ คน ไปสู่ตระกูลของตน ๆ ตนเองก็ได้ไปสู่เรือนแห่ง
ตระกูลของตน ณ กุสินารานคร ฝ่ายพระราชาก็พระราชทานตำแหน่งเสนาบดี
แก่หลานของท่านพันธุละเสนาบดี ชื่อ ฑีฆการายนะ ส่วนเขาดำริว่า พระราชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 121
องค์นี้ฆ่าลุงของเราเสีย คอยหาช่องแก้แค้นแก่พระราชาอยู่เรื่อย พระราชา
ตั้งแต่รับสั่งให้ฆ่าท่านพันธุละผู้ปราศจากความผิดแล้ว ก็ทรงมีแต่ความเร่าร้อน
พระหฤทัย มิทรงได้รับความชื่นใจ ไม่ทรงได้ความสุขในราชสมบัติเลย
ครั้งนั้นพระศาสดาทรงอาศัยนิคมชื่อว่าเวตตนุปปันนกุละ ประทับอยู่ พระ
ราชาเสด็จไป ณ นิคมนั้น ทรงตั้งค่ายพักไม่ไกลพระอาราม เสด็จไปสู่พระวิหาร
ด้วยราชบริพารมาก ด้วยทรงพระดำริจะถวายบังคมพระศาสดา ประทาน
เบญจราชกกุธภัณฑ์แก่ทีฆการายนะ ลำพังพระองค์เดียวเท่านั้น เสด็จเข้าสู่
พระคันธกุฎี เรื่องทั้งหมดพึงทราบตามแนวธัมมเจติยสูตรนั้นแล.
ครั้น พระองค์เสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี ทีฆการายนะถือเอาราชกกุธภัณฑ์
เหล่านั้น กระทำวิฏฏุภกุมารให้เป็นพระราชา ทิ้งม้าไว้ตัวหนึ่ง หญิงที่จะ
ปรนนิบัติผู้หนึ่ง สำหรับพระราชา ได้ไปสู่พระนครสาวัตถี พระราชาทรงตรัส
ปิยกถากับพระศาสดา แล้วเสด็จออกไม่ทรงเห็นกองทหาร ตรัสถามหญิงนั้น
ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ทรงดำริว่า เราต้องไปชวนหลานเรามาจับวิฎฏุภะให้ได้
เสด็จไปสู่พระนครราชคฤห์ ถึงเวลาค่ำมืด ประตูเขาปิดหมดแล้ว ไม่ทรง
สามารถจะเข้าสู่พระนครได้ ทรงบรรทมในศาลาหลังนั้น ทรงกรากกรำด้วยลม
และแดด ตอนกลางคืนเลยสวรรคตในศาลานั้นเอง ครั้นรุ่งสว่างแล้วฝูงคน
ฟังเสียงคร่ำครวญของหญิงนั้น ผู้พร่ำรำพันอยู่ว่า โอ้ พระทูลกระหม่อม
จอมนรชนโกศลรัฐ บัดนี้พระองค์ไร้ที่พึ่งเสียแล้ว พากันกราบทูลแด่พระราชา
พระราชานั้นตรัสสั่งให้กระทำสรีรกิจของพระมาคุลาธิราช ด้วยสักการะอย่าง
ใหญ่หลวง ฝ่ายเจ้าวิฏฏุภะได้ราชสมบัติ ระลึกถึงเวรนั้น ดำริว่า กูต้องฆ่า
เจ้าศากยะให้ตายให้หมดเลย เสด็จออกด้วยแสนยานุภาพอันใหญ่โต วันนั้น
พระศาสดาทรงตรวจดูโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทอดพระเนตรเห็นความพินาศของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 122
หมู่พระญาติ ทรงพระดำริว่า ควรจะกระทำการสงเคราะห์ญาติไว้ ทรงโปรดสัตว์
ในตอนเช้า เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงสำเร็จสีหไสยาในพระคันธกุฎี
เวลาเย็นเสด็จไปทางอากาศ ประทับนั่ง ณ โคนไม้อันมีเงาห่างต้นหนึ่ง ใกล้
พระนครกบิลพัสดุ์ ณ ที่ไม่ไกลจากตรงนั้น ในรัชสีมาแห่งเจ้าวิฏฏุภะมีต้นไทร
ใหญ่เงาร่มชิด เจ้าวิฏฏุภะเห็นพระศาสดาเข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเวลาร้อนเห็นปานนี้ เหตุไรพระองค์จึงทรงประทับนั่ง
ณ โคนต้นไม้อันมีเงาห่างต้นนี้ เชิญพระองค์ประทับนั่ง ณ โคนต้นไม้มีเงา
ร่มชิดต้นหนึ่งเถิด พระเจ้าข้า ครั้นมีพระดำรัสว่า ช่างเถิดมหาบพิตร ธรรมดา
ว่าร่มเงาของหมู่ญาติเย็นสบาย ก็ดำริว่า พระศาสดาคงเสด็จมาเพื่อป้องกัน
หมู่ญาติไว้ ถวายบังคมพระศาสดา เสด็จกลับคืนสู่พระนครสาวัตถีทันที แม้
พระศาสดาก็เสด็จเหาะไปสู่พระวิหารเชตวันดุจกัน พระราชาทรงระลึกถึงโทษ
ของหมู่ศากยะได้ ก็ยกพลออกแม้ครั้งที่ ๒ คงพบพระศาสดาตรงนั้นเหมือนกัน
เสด็จกลับเสียอีก ในวาระที่ ๓ ทรงยกพลออก คงพบพระศาสดาตรงนั้น
นั่นแหละต้องกลับ.
แต่ในวาระที่ ๔ เมื่อท้าวเธอยกพลออกไป พระศาสดาทรงตรวจดู
บูรพกรรมของหมู่ศากยะ ทรงทราบความที่กรรมอันเป็นบาป คือการโปรย
ยาพิษใส่ในแม่น้ำของศากยะเหล่านั้น นั้นเป็นกรรมที่จะป้องกันมิได้ ไม่
เสด็จไปในวาระที่ ๔ ราชาวิฏฏุภะ ฆ่าเจ้าศากยะเสียทั้งหมดตั้งแต่เด็กที่
กำลังดื่มนม เอาเลือดที่คอล้างแผ่นกระดานที่ตนนั่ง แล้วเสด็จกลับมา ก็แล
เมื่อพระศาสดาเสด็จกลับจากการที่เสด็จในวาระที่ ๓ รุ่งขึ้นเสด็จไปโปรดสัตว์
เสวยเสร็จเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี ถึงเวลาเย็นพวกภิกษุประชุมกันนั่งในธรรมสภา
พากันกล่าวแถลงพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดา
ทรงแสดงพระองค์ให้พระราชากลับเสีย ทรงเปลื้องหมู่ญาติจากมรณภัย พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 123
ศาสดาทรงประพฤติประโยชน์แก่หมู่พระญาติอย่างนี้ พระศาสดาเสด็จมาตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร
เมื่อพวกภิกษุกราบทูลให้ทรงทราบแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่
ในบัดนี้เท่านั้น ที่ตถาคตประพฤติประโยชน์แก่หมู่ญาติ แม้ในครั้งก่อนก็ได้
ประพฤติแล้วเหมือนกัน ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา ทรงนำอดีตนิทาน
มาดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล ครั้งพระราชาทรงพระนามว่าพรหมทัต มิได้ทรงละเมิด
ทศพิธราชธรรม ดำรงราชย์โดยธรรมในพระนครพาราณสี วันหนึ่งทรงพระ-
ดำริว่า บรรดาพระราชาในพื้นชมพูทวีป พากันอยู่ในปรางปราสาทมีเสามาก
เหตุนั้นอันการสร้างพระปราสาทด้วยเสามาก ๆ จึงไม่เป็นข้ออัศจรรย์ ถ้ากระไร
เราลองสร้างปราสาทเสาเดียวดูบ้าง ด้วยอย่างนี้เราคงเป็นราชาผู้เลิศกว่าพระราชา
ทั้งปวงได้ ท้าวเธอจึงมีรับสั่งเรียกช่างไม้มาเฝ้า ตรัสว่า พวกเจ้าจงสร้าง
ปราสาทเสาเดียว อันถึงความงามเลิศแก่เรา ช่างไม้เหล่านั้นรับพระดำรัสว่าสาธุ
พากันเข้าป่า พบต้นไม้ทั้งตรงทั้งใหญ่ เหมาะที่จะสร้างปราสาทเสาเดียวเป็น
อันมาก คิดกันว่า ต้นไม้เหล่านี้ ใช้ได้อยู่ แต่หนทางไม่สม่ำเสมอ ไม่สามารถ
จะชักลงได้ พวกเราต้องพากันกราบทูลพระราชา ได้กระทำอย่างนั้น พระราชา
ตรัสว่า จะค่อย ๆ ชักลงมาตามแต่จะมีอุบายไม่ได้หรือ ครั้นพวกนั้นพากัน
กราบทูลว่า ขอเดชะ พระผู้สมมติเทพเจ้า จะใช้อุบายอะไร ๆ ก็สุดสามารถ
ที่จะชักลงได้ พระเจ้าข้า ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น จงสำรวจดูต้นไม้ต้นหนึ่งในอุทยาน
ของเราซิ พวกช่างไม้พากันไปสู่อุทยาน เห็นต้นรังอันเป็นมิ่งมงคล ต้นหนึ่ง
เปลาตรง ชาวบ้านชาวตำบลพากันบูชา ได้พลีกรรมแม้จากราชสกุล พากัน
ไปสู่ราชสำนักกราบทูลเนื้อความนั้น พระราชาตรัสว่า ธรรมดาต้นไม้ในอุทยาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 124
ของเรา เป็นของที่เราได้เฉพาะ ไปเถิด พากันโค่นต้นไม้นั้นเถิด ช่างไม้เหล่านั้น
พากันรับพระดำรัสว่าสาธุแล้ว ต่างคนถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปสู่
อุทยาน กระทำการเจิม ๕ นิ้ว ด้วยแป้งหอมที่ต้นไม้ วงด้ายห้อยพวงดอกไม้
จุดประทีป ทำพลีกรรม ร้องบอกกล่าวว่า ในวันคำรบ ๗ จากวันนี้ พวกเรา
จะพากันมาตัดต้นไม้ พระราชาทรงอนุมัติให้ตัดได้ เชิญเทพยดาผู้บังเกิด ณ
ต้นไม้นี้ ไป ณ ที่อื่น โทษจะไม่มีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้งนั้นเทพยดาผู้เกิด
ที่ต้นไม้นั้น ฟังถ้อยคำนั้น คิดว่า ไม่ต้องสงสัยเลย ช่างไม้เหล่านี้คงตัดต้นไม้นี้
วิมานของเราต้องฉิบหาย ก็แลชีวิตของเราเล่านะ สุดสิ้นกันที่วิมานเท่านั้นเอง
หมู่วิมานเป็นอันมาก แม้แห่งฝูงเทวดาผู้เป็นญาติของเรา ที่พากันเกิดแล้ว ณ
ต้นรังหนุ่ม ๆ อันตั้งล้อมต้นไม้นี้ จักต้องฉิบหายกัน ก็แลความวินาศของตน
จะไม่เบียดเบียนเราได้เลย เหมือนกับที่จะไม่เบียดเบียนฝูงญาติได้ เหตุนั้น
ควรที่เราจะให้ทานชีวิตแก่หมู่ญาติเหล่านั้น ครั้นเวลากลางคืน ประดับกาย
ด้วยอลังการอันเป็นทิพย์ เข้าไปสู่ห้องอันทรงสิริของพระราชา กระทำห้อง
ทุกส่วนให้สว่างจ้าเป็นอันเดียวกัน ได้ยืนร้องไห้อยู่ ณ เบื้องพระเศียร พระ-
ราชาทอดพระเนตรเห็นเทวดานั้น ทรงตระหนกพระหฤทัย เมื่อทรงปราศรัย
กับท่าน ตรัสคาถาเป็นปฐมว่า
ท่านเป็นใคร มีผ้าอันสะอาดหมดจด มายืนอยู่
บนอากาศ เพราะเหตุไร น้ำตาของท่านจึงไหล ภัยมา
ถึงท่านแต่ที่ไหน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กา ตฺว ความว่า พระราชตรัสถามว่า ใน
บรรดาอมนุษย์มีนาค ยักษ์ ครุฑและท้าวสักกะเป็นต้น ท่านชื่อว่า เป็นอะไร.
บทว่า วตฺเถหิ นี้เป็นเพียงถ้อยคำเท่านั้น. ที่จริงตรัสมุ่งหมายเอาเครื่องประดับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 125
เป็นทิพย์แม้ทั้งหมดทีเดียว. บทว่า อเฆ แปลว่า ไม่มีที่ติดขัด ได้แก่ อากาศ..
บทว่า เวหาสย นี้เป็นไวพจน์ของอากาศนั้นแล. บทว่า เกน ตยสฺสูทิ
ความว่า น้ำตาของท่านไหลหลั่งพรั่งพรูด้วยเหตุไร. บทว่า กุโต ความว่า
พระราชาตรัสถามว่า ภัยมาถึงท่านเพราะอาศัยเรื่องอะไร บรรดาอนัตถะมีความ
พลัดพรากจากญาติและความพินาศแห่งทรัพย์เป็นต้น.
เทวราชฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เมื่อหม่อมฉันได้รับ
การบูชาอยู่ ๖๐,๐๐๐ ปี ชนทั้งหลายรู้จักหม่อมฉันว่า
ภัททสาละ ในแว่นแคว้นของพระองค์นี้แล.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระราชาพระ-
องค์ก่อน เมื่อสร้างพระนคร อาคารและปราสาท
ต่าง ๆ พระราชาเหล่านั้น บูชาหม่อมฉัน ฉันใด
แม้พระองค์ก็จงบูชาหม่อมฉัน ฉันนั้นเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติฏฺโต ความว่า เทวราชแสดงว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เมื่อหม่อมฉันอันชาวกรุงพาราณสีทั่วหน้า และชาวบ้าน
ชาวนิคม ทั้งพระองค์บูชาได้รับพลีกรรมและสักการะเป็นนิตย์ ดำรงอยู่ในอุทยาน
แห่งนี้ และประมาณถึงเท่านี้ผ่านไป. บทว่า นครานิ ความว่า กระทำ
ปฏิสังขรณ์เมือง. บทว่า อคาเร จ ได้แก่ เรือนบนแผ่นดิน. บทว่า
ิทิสมฺปติ ความว่า ข้าแด่พระมหาราช ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่แห่งทิศ. บทว่า
น มนฺเต ความว่า ท่านเหล่านั้นคือพระราชาแต่ครั้งก่อนในพระนครนี้
เมื่อทรงกระทำการซ่อมพระนครเป็นต้น ไม่ทรงดูหมิ่น ไม่กล้ำกลาย คือไม่
เบียดเบียนหม่อมฉัน หมายความว่า มิได้ทรงตัดต้นไม้อันเป็นที่อยู่ของหม่อมฉัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 126
ทำกรรมของตน แต่คงกระทำสักการะแก่หม่อมฉันถ่ายเดียว นี้เป็นคำพูดเทวดา.
บทว่า ยเถว ความว่า เหตุนั้น พระราชาแต่ครั้งก่อนเหล่านั้นพากันบูชา
หม่อมฉัน แม้พระองค์เดียว ก็มิเคยรับสั่งให้ตัดต้นไม้ ฉันใด แม้พระองค์เล่า
ก็ทรงบูชา อย่าตัดต้นไม้ของหม่อมฉันเสียเลย ฉันนั้นเหมือนกัน.
ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัสคาถา ๒ คาถาว่า
ก็ข้าพเจ้ามิได้เห็นต้นไม้อื่น ๆ ที่จะใหญ่โต
เหมือนท่าน โดยประมาณ ท่านเป็นไม้งามแต่กำเนิด
ด้วยย่านและปริมณฑล.
ข้าพเจ้าจะให้นายช่างทำปราสาทมีเสาเดียวเป็นที่
รื่นรมย์ใจ ข้าพเจ้าจะเชื้อเชิญท่านมาอยู่ที่ปราสาทนั้น
ดูก่อนเทวดา ชีวิตของท่านจักยั่งยืน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเยน แปลว่า โดยประมาณ. ท่าน
กล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นต้นไม้อื่น ๆ ที่ไหนใหญ่โตโดยขนาด
เหมือนต้นนั้นของท่าน ก็แลต้นไม้ของท่านนั่นแล มีท่าทีงดงาม คือถึงส่วน
แห่งความงาม เหมาะแก่ปราสาทเสาเดียว โดยที่สูงโปร่งเปลาตลอด และโดย
ชาติคือเกิดแล้วดี มีสัณฐานกลมและตรงเป็นข้อสำคัญ เหตุนั้น ข้าพเจ้าจึง
ให้คนตัดสร้างปราสาททีเดียว ดูก่อนเทวราชผู้สหาย ก็แต่ว่าข้าพเจ้าจักเชื้อเชิญ
ท่านเข้าไปอยู่ในปราสาทนั้น. ท่านนั้น เมื่ออยู่ร่วมกับข้าพเจ้า ได้รับของหอม
และดอกไม้เป็นต้นอย่างเลิศ ร่ำรวยด้วยสักการะ จักเป็นอยู่อย่างสบาย ท่าน
อย่าร้อนใจเลยว่า ความพินาศจักมีแก่เรา เพราะไม่มีที่อยู่ ชีวิตของท่านจัก
ยืนนานไปนะท่านเป็นที่บูชา.
เทวราชฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 127
ถ้าพระองค์ทรงดำริอย่างนี้ ก็จำต้องพลัดพราก
จากต้นรังอันเป็นร่างกายของหม่อมฉัน พระองค์จงตัด
หม่อมฉันทำเป็นท่อน ๆ ให้มากเถิด.
พระองค์จงตัดปลายก่อนแล้วจงตัดท่อนกลาง
ภายหลังจึงตัดที่โคน เมื่อหม่อมฉันถูกตัดอย่างนี้ ถึงจะ
ตายลงก็ไม่เป็นทุกข์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว จิตฺต อุทปาทิ ความว่า ถ้าว่า
ความคิดอย่างนี้ เกิดแก่พระองค์แล้ว. บทว่า สริเรน วินาภาโว ความว่า
ถ้าความพลัดพรากจากสรีระของหม่อมฉันคือต้นรังงาม พระองค์ได้ทรงตั้งไว้
แก่หม่อมฉัน. บทว่า ปุถุโส ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ครั้นทรงตัดต้นรัง
งามนั้นโดยมาก. บทว่า วิกนฺเตตฺวา แปลว่า ตัดแล้ว. บทว่า ขณฺฑโส
ความว่า ครั้นตัดแล้ว โปรดทอนเป็นท่อน ๆ โดยลำดับ. บทว่า อคฺเค จ
ความว่า ครั้นตัดแล้ว จงตัดปลายก่อน ต่อแต่นั้น ตัดส่วนกลาง หลังเขา
ทั้งหมดจงตัดราก เมื่อหม่อมฉันถูกตัดอย่างนี้ ไม่พึงมีความทุกข์ถึงตาย ยังจะ
พอมีความสุขได้เป็นตอน ๆ ทั้งนี้เทวราชวิงวอน.
ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัสคาถา ๒ คาถาว่า
ราชบุรุษตัดมือและเท้า ตัดหูและจมูก ภายหลัง
จึงตัดศีรษะของโจรผู้เป็นอยู่ ความตายนั้นชื่อว่าตาย
เป็นทุกข์.
ดูก่อนต้นรังผู้เป็นเจ้าป่า เขาตัดเป็นท่อน ๆ
เป็นสุขหรือหนอ ท่านมีเหตุอะไร มั่นใจอย่างไร จึง
ปรารถนาได้ตัดเป็นท่อน ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 128
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺถปาท แปลว่า ซึ่งมือแลเท้า. บทว่า
ต ทุกฺข ความว่า เมื่อโจรถูกตัดโดยลำดับอย่างนี้ พึงมีความทุกข์แทบ
ประดาตาย. บทว่า สุข นุ ความว่า ดูก่อนไม้รังผู้สหาย โจรที่ต้องโทษ
ประหาร ปรารถนาจะตายโดยความสุขย่อมขอร้องให้ตัดศีรษะ ไม่ขอร้องให้
ตัดทีละท่อนกันเลย แต่ท่านขอร้องอย่างนี้ เหตุนั้น ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า จะ
มีสุขไฉนที่ถูกตัดทีละท่อน. บทว่า กึ เหตุ ความว่า ขึ้นชื่อว่า การตัด
ทีละท่อน ไม่มีความสุขเลย แต่ในเรื่องนี้คงมีเหตุ พระราชาเมื่อตรัสถาม
ดังนี้กะเทวราชานั้น จึงได้ตรัสอย่างนี้.
ลำดับนั้น เทพดาไม้รังงามเมื่อจะบอกแก่พระองค์ จึงกล่าวคาถา ๒
คาถาว่า
ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันยึดมั่นเหตุอันใด อัน
เป็นเหตุประกอบด้วยธรรม ปรารถนาให้ตัดเป็นท่อน ๆ
ขอพระองค์จงทรงสดับเหตุนั้น.
หมู่ญาติของหม่อมฉัน เจริญอยู่ด้วยความสุข
เกิดแล้วใกล้ต้นรังข้างหม่อมฉัน พึงเข้าไปเบียดเบียน
หมู่ญาติเหล่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ หม่อมฉันชื่อว่าเข้าไป
สั่งสมสิ่งที่มิใช่ความสุขให้แก่คนเหล่าอื่น เหตุนั้น
หม่อมฉันจึงปรารถนาให้ตัดเป็นท่อนๆ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เหตุธมฺมูปสญฺหิต ความว่า ข้าแต่
พระมหาราช หม่อมฉันยึดมั่น ปรารถนาคือมุ่งหมายเหตุอันสมควรแก่ความจริง
ทีเดียว มิใช่เพียงเหตุอันเหมาะ ทูลว่า หม่อมฉันปรารถนาจะให้ตัดทีละท่อน
เชิญพระองค์ทรงเงี่ยพระโสตสดับต้นเหตุนั้นเถิด พระเจ้าข้า. บทว่า าติ เม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 129
ความว่า หมู่เทพยดาผู้เป็นญาติของหม่อมฉัน พากันเติบโตอย่างเป็นสุขในร่ม
เงาแห่งสาลพฤกษ์อันงามของหม่อมฉัน. บทว่า มม ปสฺเส ความว่า บังเกิด
ณ สาลพฤกษ์หนุ่ม ๆ ได้ชื่อว่าเกิด ณ ที่อับลม เพราะหม่อมฉันช่วยต้านทาน
ลมไว้มีอยู่ เมื่อหม่อมฉันมีกิ่งและคาคบกว้างขวางถูกตัดที่โคนโค่นลงอยู่ พึง
รังแกพวกญาติได้ คือกระทำให้วิมานหักลู่แหลกลาญได้. บทว่า ปเรส อสุ-
โขจิต ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความไม่สุขคือความทุกข์ เป็นอันหม่อมฉัน
กอบโกยให้ เพิ่มพูนให้แก่คนอื่น คือหมู่เทพยดาผู้เป็นญาติเหล่านั้น ก็แล
หม่อมฉันมิได้ปรารถนาความทุกข์แก่พวกนั้นเลย เหตุนั้น หม่อมฉันจึงขอ
ปรารถนาให้ตัดต้นรังงามทีละท่อน พระเจ้าข้า.
พระราชาทรงสดับเทวาธิบายนั้นแล้ว ทรงยินดีว่า เทวบุตรนี้เป็น
ผู้ดำรงธรรมจริงเทียว มิได้ปรารถนาจะทำลายวิมานของหมู่ญาติ แม้เพราะ
ความพินาศแห่งวิมานของตน ประพฤติประโยชน์แก่หมู่ญาติ เราต้องให้อภัย
แก่เธอ ตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า
ดูก่อนต้นรังผู้เป็นเจ้าแห่งป่า ท่านย่อมคิดสิ่งที่
ควรคิด ท่านเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์แก่หมู่ญาติ
ดูก่อนสหาย ข้าพเจ้าให้อภัยแก่ท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เจตยรูป เจเตสิ ความว่า ดูก่อนภัททสาลผู้
สหาย ท่านคิดเรื่องที่ชื่อว่าควรคิด เพราะมีจิตอ่อนในหมู่ญาติทีเดียว. บาลีว่า
เจตยรูป เฉเทสิ ดังนี้ก็มี. คำนั้นมีอธิบายว่า เมื่อท่านปรารถนาให้ตัดทีละท่อน
เป็นอันให้ตัดถูกต้องตามที่ควรตัดทีเดียว. บทว่า อภย ความว่า พระราชาตรัส
ว่าดูก่อนสหาย ข้าพเจ้าเลื่อมใสในคุณของท่านนี้ ขอให้อภัยแก่ท่าน ข้าพเจ้า
ไม่ต้องการปราสาทละ ข้าพเจ้าจักไม่ให้เขาโค่นต้นไม้นั้นละ เชิญท่านไปเถิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 130
ขอท่านผู้มีหมู่ญาติแวดล้อม ได้รับสักการะ ได้รับเคารพ ดำรงชีพเป็นสุข ๆ
เถิด.
เทวราชแสดงธรรมถวายพระราชา แล้วได้กลับไป พระราชาดำรง
พระองค์ในโอวาทของท่าน ทรงกระทำบุญมีถวายทานเป็นต้น ทรงทำทาง
สวรรค์เต็มที่.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ตรัสย้ำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็ได้ประพฤติญาตัตถจริยาแล้วดุจกันอย่างนี้ ทรง
ประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็นอานนท์ ฝูงเทวดาผู้เกิด ณ
ไม้รังหนุ่ม ๆ ได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนภัททสาลเทวราช ได้มาเป็นเราผู้
ตถาคตแล.
จบอรรถกถาภัททชาดก
๓. สมุททวาณิชชาดก
ว่าด้วยพ่อค้าทางสมุทร
[๑๖๒๕] ชนทั้งหลายพากันไถ พากันหว่าน
เป็นมนุษย์ผู้ต้องเลี้ยงชีพด้วยผลการงาน ไม่ถึงส่วน
หนึ่งแห่งเกาะอันนี้ เกาะของเรานี้แหละดีกว่าชมพูทวีป.
[๑๖๒๖] ในวันพระจันทร์เพ็ญ ทะเลจักมีคลื่น
จัด จะท่วมเกาะใหญ่นี้ให้จมลง คลื่นทะเลอย่าฆ่าท่าน
ทั้งหลายเสียเลย ท่านทั้งหลายจงพากันไปหาที่พึ่งอาศัย
ที่อื่นเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 131
[๑๖๒๗] คลื่นทะเลจะไม่เกิดท่วมเกาะใหญ่นี้
เหตุอันนั้นเราเห็นแล้ว ด้วยนิมิตเป็นอันมาก ท่าน
ทั้งหลายอย่ากลัวเลย จะเศร้าโศกทำไม จงเบิกบาน
ใจเถิด.
[๑๖๒๘] ท่านทั้งหลายจงอยู่ยึดครองเกาะใหญ่นี้
อันมีอาหารเพียงพอ มีข้าวและน้ำมากมายเป็นที่อยู่
อาศัยเถิด เราไม่มองเห็นภัยอันใดอันหนึ่งซึ่งจะเกิดมี
แก่ท่านทั้งหลายเลย ท่านทั้งหลายจงเบิกบานใจอยู่ด้วย
บุตรหลานเถิด.
[๑๖๒๙] เทพบุตรในทิศทักษิณนี้ ย่อมคัดค้าน
ความเกษมสำราญ ถ้อยคำของเทพบุตรนั้นเป็นคำจริง
เทพบุตรในทิศอุดรไม่รู้แจ้งภัย หรือมิใช่ภัย ท่าน
ทั้งหลายอย่ากลัวเลย จะเศร้าโศกไปทำไม จงเบิกบาน
ใจเถิด.
[๑๖๓๐] เทวดาเหล่านี้ย่อมกล่าวผิดกันอย่างไร
เทวดาตนหนึ่งกล่าวว่าจะมีภัย ตนหนึ่งกล่าวว่าปลอด
ภัย ดังเราขอเตือน ท่านทั้งหลายจงฟังถ้อยคำของเรา
เถิด เราทั้งหมดอย่าฉิบหายเสียเร็วพลันเลย.
[๑๖๓๑] เราทั้งปวง จงมาช่วยกันทำเรือใหญ่ให้
มั่นคงติดเครื่องยนต์ไว้พร้อมสรรพ ถ้าเทพบุตรในทิศ
ทักษิณพูดจริง เทพบุตรในทิศอุดรก็พูดค้านเปล่า ๆ.
[๑๖๓๒] เมื่ออันตรายเกิดมีขึ้น เรือของพวกเรา
นั้นก็จักไม่เสียหาย อนึ่ง เราจะไม่ละทิ้งเกาะนี้ ถ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 132
หากว่าเทพบุตรในทิศอุดรพูดจริง เทพบุตรในทิศ
ทักษิณก็พูดค้านเปล่า ๆ.
[๑๖๓๓] เราทุกคนพึงขึ้นสู่เรือนั้นทันที ข้ามไป
ถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดีอย่างนี้ พวกเราไม่พึงเชื่อถือง่าย ๆ
ว่าคำจริงโดยคำแรก ไม่พึงเชื่อถือง่าย ๆ ซึ่งถ้อยคำที่
เทพบุตรกล่าวแล้วในภายหลังว่าเป็นจริง นรชนใดใน
โลกนี้เลือกถือเอาส่วนกลางไว้ได้ นรชนนั้นย่อมเข้าถึง
ซึ่งฐานะอันประเสริฐ.
[๑๖๓๔] กุลบุตรผู้มีปัญญากว้างขวาง แทงตลอด
ประโยชน์ในอนาคตแล้ว ย่อมไม่ให้ประโยชน์นั้น
ผ่านพ้นไปแม้แต่น้อย เหมือนพวกพ่อค้าเหล่านั้น
พากันไปในท่ามกลางทะเลโดยสวัสดี ด้วยกรรมของ
ตน.
[๑๖๓๕] ส่วนพวกคนพาลมัวหมกมุ่นอยู่ในรส
ด้วยโมหะ ไม่แทงตลอดประโยชน์อันเป็นอนาคต
เมื่อความต้องการเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ย่อมพากันล่มจม
เหมือนมนุษย์เหล่านั้น พากันล่มจมในท่ามกลางทะเล
ฉะนั้น.
[๑๖๓๖] ชนผู้เป็นบัณฑิตพึงรีบทำกิจที่ควรทำ
ก่อนเสียทีเดียว อย่าให้กิจที่ต้องทำเบียดเบียนตัวได้
ในเวลาที่ต้องการ กิจนั้นไม่เบียดเบียนบุคคลผู้รีบทำ
กิจที่ควรทำเช่นนั้นในเวลาที่ต้องการ.
จบสมุททวาณิชชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 133
อรรถกถาสมุททวาณิชชาดก
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภความที่พระเทวทัตพาสกุล ๕๐๐ เข้าไปในนรก ตรัสเรื่อง
นี้มีคำเริ่มต้นว่า กสนฺติ วปนฺติ เต ชนา ดังนี้.
เรื่องพิสดารมีว่า พระเทวทัตนั้น ครั้นพระอัครสาวกพาบริษัทหลีกไป
แล้ว ไม่สามารถจะอดกลั้นความโศกได้ เมื่อเลือดอุ่นกระอักออกมาจากปาก
ถูกเวทนาอันมีกำลังบีบคั้น หวนระลึกถึงพระคุณของพระตถาคตเจ้า คิดว่า
เราคนเดียวคิดทำลายล้างพระตถาคตเจ้า แต่พระศาสดามิได้มีจิตคิดร้ายในเรา
เลย แม้พระเถระเจ้า ๘๐ องค์ ก็มิได้มีอาฆาตในเราเลย เราเองต้องไร้ที่พึ่ง
บัดนี้ ด้วยกรรมที่เรากระทำ พระศาสดาเล่าก็ทรงทอดทิ้งเราเสีย พระมหาเถระ
ทั้งหลายเล่าก็ทอดทิ้งเราแล้ว พระราหุลเถระ ญาติผู้ประเสริฐเล่าก็ทอดทิ้งบ้าง
ถึงศากยราชสกุล ก็พากันทอดทิ้งเราเสีย เราต้องไปกราบทูลขอขมากะพระศาสดา
แล้วให้สัญญาแก่บริษัท ให้ช่วยหามตนไปด้วยเตียงค้างคืนค้างแรมไป จนลุถึง
แคว้นโกศล พระอานนทเถระเจ้า กราบทูลแด่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข่าวว่าพระเทวทัตกำลังเดินทางมาเพื่อให้พระองค์ทรงอดโทษ ตรัสว่า
ดูก่อนอานนท์ เทวทัตจักไม่ได้เห็นเรา ครั้งนั้น เมื่อพระเทวทัตบรรลุถึง
ประตูพระนครสาวัตถี พระเถรเจ้ากราบทูลอีก แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็
ทรงมีพระดำรัสอย่างนั้นทีเดียว เมื่อพระเทวทัตมาถึงที่ใกล้สระโบกขรณีเชตวัน
ใกล้ประตูพระวิหารเชตวัน บาปกรรมก็ถึงที่สุด ความร้อนบังเกิดขึ้นในร่างกาย
พระเทวทัตปรารถนาจะอาบน้ำ ดื่มน้ำ จึงกล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลายให้เราลง
จากเตียงเถิด เราจักดื่มน้ำ พอพระเทวทัตนั้น ก้าวลงเหยียบแผ่นดินเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 134
ยังไม่ทันจะได้สมใจปองเลย มหาปฐพีได้แหวกช่องให้ ทันใดนั้นเอง เปลวเพลิง
จากอเวจีก็พวยพุ่งขึ้นโอบอุ้มเอาตัวไป พระเทวทัตนั้นคิดว่า บาปกรรมของเรา
ถึงที่สุดกันแล้ว หวนรำลึกถึงพระคุณของพระตถาคตเจ้า ดำรงในสรณะด้วย
คาถานี้ว่า
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุคคลเลิศ
เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เป็นสารีแห่งคนที่ควรฝึก มี
พระจักษุเห็นรอบด้าน ทรงบุญลักษณ์นับร้อยพระองค์
นั้น ด้วยลมปราณกับกระดูกทั้งหลายเหล่านี้ ดังนี้
ได้บ่ายหน้าไปอเวจี ก็แลสกุลอุปัฏฐากของพระเทวทัต นั้นได้มีถึง ๕๐๐ ตระกูล.
แม้ตระกูลเหล่านั้นพากันเข้าข้างพระเทวทัตนั้นด่าพระทศพล พากันไปใน
อเวจีทั้งนั้นเลย. พระเทวทัตนั้นชักจูงตระกูล ๕๐๐ ไปไว้ในนรกอเวจีด้วย
ประการฉะนี้.
ครั้นวันหนึ่ง พวกภิกษุพากันยกเรื่องขึ้นสนทนาในธรรมสภาว่า ผู้มี
อายุทั้งหลาย เทวทัตคนบาป ผูกความโกรธอันมิใช่ฐานะ ในพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า เพราะหมกมุ่นในลาภสักการะ ไม่มองดูภัยในอนาคตเลย ต้องบ่ายหน้า
ไปสู่อเวจีกับสกุลทั้ง ๕๐๐ พระศาสดาเสด็จมาถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อกี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรกัน ครั้นพากันกราบทูลให้
ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่เทวทัต
หมกมุ่นในลาภและสักการะ ไม่มองดูภัยในอนาคต แม้ในกาลก่อน ก็ไม่มอง
ดูภัยในอนาคต ถึงความพินาศใหญ่หลวงกับพรรคพวก เพราะแสวงหาความสุข
เฉพาะหน้าดังนี้ แล้วทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 135
ในอดีตกาล ครั้นพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในพระนครพา-
ราณสี ณ ที่อันไม่ไกลจากพระนครพาราณสีได้มีบ้านช่างไม้หมู่ใหญ่ มีครอบ
ครัวอาศัยอยู่พันครอบครัว ในที่นั้นพวกช่างไม้พากันกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าจัก
กระทำเตียงให้แก่พวกท่าน จักกระทำตั่ง จักกระทำเรือนให้พวกท่าน ต่างกู้หนี้
เป็นอันมากจากมือของฝูงคน แล้วไม่อาจจะทำอะไร ๆ ได้เลย ฝูงคนพากันทวง
พากันเร่งเร้า กะพวกช่างไม้ที่พบเข้า ๆ พวกนั้นถูกพวกคนที่เป็นเจ้าหนี้เร่งรัด
หนักเข้า พูดกันว่า พวกเราพากันไปต่างประเทศ ไปอยู่เสีย ณ ที่ใดที่หนึ่งเถอะ
ชวนกันเข้าป่าตัดไม้ต่อเรือขนาดใหญ่ เข็นลงน้ำนำมาจอดไว้ในที่กึ่งโยชน์กับ
๑ คาวุตจากบ้าน ถึงเวลากลางคืนพากันมาบ้านรับลูกเมียไปสู่ที่เรือจอด พากัน
ขึ้นสู่เรือนั้น แล่นเข้ามหาสมุทรไปโดยลำดับ เมื่อเที่ยวไปด้วยอำนาจลม พากัน
บรรลุเกาะแห่งหนึ่งท่ามกลางมหาสมุทร ก็แลในเกาะนั้น ผลาผลต่าง ๆ หลาย
อย่าง มีข้าวสาลี อ้อย กล้วย มะม่วง ข้าว ขนุน ตาล มะพร้าว เกิดเอง
ทั้งนั้น มีอยู่ อนึ่งเล่ายังมีบุรุษเรืออับปางคนหนึ่ง ไปถึงเกาะนั้นก่อน บริโภค
ข้าวสาลี เคี้ยวกินอ้อยเป็นต้น มีร่างกายอ้วนท้วนเปลือยกาย มีผมและหนวด
งอกงาม พำนักอยู่ที่เกาะนั้น ครั้งนั้น พวกช่างไม้แม้นั้น คิดกันว่า ถ้าเกาะนี้
จักมีรากษสคุ้มครอง พวกเราแม้ทั้งหมดจะพากันถึงความพินาศ พวกเราต้อง
สำรวจดูมันก่อน ทีนั้นบุรุษ ๗-๘ คนที่กล้า มีกำลัง ผูกสอดอาวุธครบ ๕
ประการ จึงไปสำรวจเกาะ ขณะนั้นบุรุษนั้นบริโภคอาหารเช้าแล้ว ดื่มน้ำอ้อย
แสนสุขสบาย นอนหงายในร่มอันเย็นเหนือพื้นทรายเช่นกับแผ่นเงิน ใน
ประเทศอันน่ารื่นรมย์ เมื่อจะขับเพลงว่า ชาวชมพูทวีปพากันไถ พากันหว่าน
ยังไม่ได้สุขเช่นนี้เลย เกาะน้อยของเรานี้เท่านั้นประเสริฐกว่าชมพูทวีป เปล่ง
อุทานนี้. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายเมื่อจะทรงแสดงว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษเปล่งอุทานนี้ แล้วตรัสพระปฐมคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 136
ชนทั้งหลายพากันไถ พากันหว่าน เป็นมนุษย์
ผู้ต้องเลี้ยงชีพด้วยผลการงาน ไม่ถึงส่วนหนึ่งแห่งเกาะ
อันนี้ เกาะของเรานี้แหละดีว่าชมพูทวีป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ชนา คือชนชาวชมพูทวีป. บทว่า
กมฺมผลูปชีวิโน ความว่า เป็นสัตว์ที่ต้องเลี้ยงชีพอาศัยผลแห่งกรรมต่าง ๆ.
ลำดับนั้น พวกคนที่สำรวจเกาะเหล่านั้น ฟังเสียงเพลงขับของเขา
พูดกันว่า ที่พวกเราได้ยินดูเหมือนเสียงคน ต้องรู้เสียงนั้นให้ได้นะ พากัน
เดินตามกระแสเสียง เห็นบุรุษนั้นพากันกลัวว่าต้องเป็นยักษ์ ต่างสอดลูกศร
ฝ่ายบุรุษนั้นเล่า เห็นคนเหล่านั้นด้วยความกลัวจะฆ่าคนเสีย วิงวอนว่า นายเอ๋ย
ฉันไม่ใช่ยักษ์ดอกจ้า ฉันเป็นบุรุษโปรดให้ชีวิตทานแก่ฉันเถิด ครั้นพวกนั้น
กล่าวว่า ธรรมดาคนจะเป็นคนเปลือยอย่างเจ้าไม่มีเลย อ้อนวอนซ้ำแล้ว
ซ้ำเล่า ให้พวกนั้นรู้ความที่ตนเป็นมนุษย์จนได้ พวกนั้นพากันเข้าไปหาบุรุษ
นั้น ทำสัมโมทนียกถาแล้ว ถามถึงเรื่องที่บุรุษนั้นมาในเกาะนั้น แม้เขาก็
เล่าเรื่องทั้งปวงแก่พวกนั้น แล้วกล่าวว่า พวกท่านพากันมา ณ ที่นี้ด้วย
บุญสมบัติของตน เกาะนี้เป็นเกาะอุดม ในเกาะนี้คนไม่ต้องทำการงานด้วย
มือตนเลย ก็พากันเป็นอยู่ได้ ข้าวสาลีเกิดเอง และอ้อยเป็นต้นในเกาะนี้
ไม่มีที่สิ้นสุดเลย เพราะเหตุนั้น เชิญพวกท่านอยู่กันอย่างไม่ต้องกระวนกระวาย
ใจเถิด พวกเหล่านั้นต่างถามว่า ก็แม้อันตรายอย่างอื่นจะไม่มีแก่พวกเราผู้อยู่
ในเกาะนี้บ้างหรือ ตอบว่า ภัยอย่างอื่นน่ะไม่มีดอกในเกาะนี้ แต่ว่าเกาะนี้
อมนุษย์ครอบครอง พวกอมนุษย์เห็นอุจจาระ และปัสสาวะของพวกท่านแล้ว
พึงโกรธได้ เหตุนั้นเมื่อจะถ่ายอุจจาระปัสสาวะ พึงขุดทรายแล้วก็กลบเสียด้วย
ทราย ภัยในเกาะนี้มีเพียงเท่านี้อย่างอื่นไม่มี พวกท่านพึงพากันไม่ประมาท
เป็นนิตย์เทอญ พวกนั้นเข้าอาศัยอยู่ในเกาะนั้น ก็ในพันครอบครัวนั้น ได้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 137
ช่างไม้ ๒ คนเป็นหัวหน้าคนละ ๕๐๐ ครอบครัว ในหัวหน้าทั้งสองนั้น คน
หนึ่งเป็นพาลหมกมุ่นในรส คนหนึ่งเป็นบัณฑิตไม่หมกมุ่นในรสทั้งหลาย ใน
กาลต่อมา ครอบครัวเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ต่างอยู่กันอย่างสบายในเกาะนั้น พากัน
มีร่างกายอ้วนพี คิดกันว่า สุราของพวกเราห่างเหินนักล่ะ พวกเราพากันกระทำ
เมรัยด้วยน้ำอ้อยดื่มกันเถอะ พวกนั้นช่วยกันทำเมรัยดื่ม พากันร้องรำเล่น
ประมาทไปด้วยอำนาจที่เมามัน ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะไว้ในที่นั้นแล้วไม่กลบ
กระทำเกาะให้สกปรกปฏิกูล ฝูงเทวดาโกรธว่า คนพวกนี้พากันทำสนามเล่น
ของเราให้สกปรก คิดกันว่า ต้องให้น้ำทะเลท่วมท้นขึ้นทำการล้างเกาะเสียเถอะ
พากันกำหนดวันไว้ว่า วันนี้เป็นกาฬปักษ์ และสมาคมของพวกเราก็ถูกทำลาย
เสียแล้วในวันนี้ ในวันเพ็ญอุโบสถ วันที่ ๑๕ จากวันนี้ เวลาดวงจันทร์ขึ้นแล้ว
พวกเราต้องให้น้ำทะเลท่วมฆ่าพวกนี้เสียให้หมดเลยคราวนี้ ครั้งนั้นในกลุ่ม
แห่งเทวดาเหล่านั้น เทพบุตรองค์หนึ่งเป็นผู้ทรงธรรม สงสารว่า พวกเหล่านี้
จงอย่าพินาศไปทั้ง ๆ ที่เราเห็นอยู่เลย เมื่อคนเหล่านั้นบริโภคอาหารเย็น นั่ง
สนทนากันสบายที่ประตูเรือน ประดับกายด้วยอาภรณ์ทั้งปวง กระทำเกาะ
ทั้งหมดให้สว่างเป็นอันเดียวกัน ยืนอยู่บนอากาศทางทิศเหนือ กล่าวว่า ช่างไม้
พ่อเอ่ย ฝูงเทวดาพากันโกรธพวกท่าน อย่าพากันอยู่ ณ ที่นี้เลย ก็ล่วงไป
กึ่งเดือนแต่วันนี้ พวกเทวดาจักให้น้ำทะเลท่วมฆ่าพวกท่านเสียทั้งหมดทีเดียว
พวกท่านจงพากันออกจากเกาะนี้หนีไปเสียเถิด กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
ในวันพระจันทร์เพ็ญ ทะเลจักมีคลื่นจัดจะท่วม
เกาะใหญ่นี้ให้จมลง คลื่นทะเลอย่าฆ่าท่านทั้งหลาย
เสียเลย ท่านทั้งหลายจงพากันไปหาที่พึ่งอาศัยที่อื่น
เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 138
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปาวส คือนองเข้าไป ได้แก่ ท่วมท้น
เกาะนี้. บทว่า มา โว วธิ ความว่า คลื่นแห่งสาครนั้นอย่าได้กำจัดพวก
ท่านเสียเลยนะ.
เทพบุตรนั้นให้โอวาทแก่พวกนั้นอย่างนี้แล้ว ก็ไปสู่สถานของตน
ทันที เมื่อเทพบุตรองค์นั้นไปแล้ว เทพบุตรอีกองค์หนึ่งเหี้ยมโหด กักขฬะ คิด
ว่าพวกนี้พึงเชื่อถือถ้อยคำของเทพบุตรองค์นี้พากันหนีไปเสีย เราต้องการห้าม
การไปของพวกนั้นไว้ ต้องให้ถึงความพินาศทั้งหมดเลย ประดับด้วยอลังการ
อันเป็นทิพย์ กระทำบ้านทั้งหมดให้สว่างเป็นอันเดียวกัน มายืนอยู่ในอากาศ
ทางทิศทักษิณ ถามว่า เทพบุตรองค์หนึ่งมาที่นี่หรือ ครั้นพวกนั้นตอบว่า
มาเจ้าข้า กล่าวว่า เขาพูดอะไรกะเธอเล่า เมื่อพวกนั้นพากันตอบว่า เรื่องนี้
เจ้าข้า กล่าวว่า เขาไม่อยากให้พวกเธออยู่ที่นี่หรือ พูดด้วยความเคียดแค้น พวกเธอ
ไม่ต้องไปที่อื่นดอก พากันอยู่ที่นี่เช่นเดิมเถิด ได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า
คลื่นทะเลจะไม่เกิดท่วมเกาะใหญ่นี้ เหตุอันนั้น
เราเห็นแล้ว ด้วยนิมิตเป็นอันมาก ท่านทั้งหลายอย่า
กลัวเลย จะเศร้าโศกทำไม จงเบิกบานใจเถิด.
ท่านทั้งหลายจงอยู่ยึดครองเกาะใหญ่นี้ อันมี
อาหารเพียงพอ มีข้าวและน้ำมากมายเป็นที่อยู่อาศัย
เถิด เราไม่มองเห็นภัยอันใดอันหนึ่ง ซึ่งจะเกิดมีแก่
ท่านทั้งหลายเลย ท่านทั้งหลายจงเบิกบานใจอยู่ด้วย
บุตรหลานเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ชาตย ตัดเป็น น ชาตุ อย. บทว่า
มาเภถ แปลว่า อย่ากลัวเลย. บทว่า ปโมทถโวฺห ความว่า ท่านทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 139
จงพากันบันเทิง เกิดปีติโสมนัส. บทว่า อาปุตฺตปุตฺเตหิ ความว่า จง
เบิกบานใจ ชั่วลูกชั่วหลานเถิด ในที่นี้ย่อมไม่มีภัยแก่พวกท่าน. เทพบุตรนั้น
ปลอบโยนพวกเหล่านั้นด้วยคาถาสองคาถาเหล่านี้แล้วหลีกไป. ในเวลาที่
เทพบุตรนั้นกลับไปแล้ว ช่างไม้ที่เป็นพาลฟังถ้อยคำของเทพบุตร ผู้ดำรงใน
ความไม่เชื่อถือ ก็ตักเตือนช่างพวกที่เหลือว่า ชาวเราเอ๋ย เชิญฟังคำของข้าพเจ้า
แล้วกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า
เทพบุตรในทิศทักษิณนี้ ย่อมคัดค้านความเกษม
สำราญ ถ้อยคำของเทพบุตรนั้นเป็นคำจริง เทพบุตร
ในทิศอุดรไม่รู้แจ้งภัย ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย จะ
เศร้าโศกไปทำไม จงเบิกบานใจเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขิณสฺส แปลว่า ในทิศทักษิณ.
อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.
พวกช่างไม้ ๕๐๐ ผู้หมกมุ่นในรส ฟังคำนั้นแล้วเชื่อถือถ้อยคำของ
ช่างไม้พาลชนนั้น. ฝ่ายช่างไม้บัณฑิตอีกคนหนึ่ง ไม่ยอมเชื่อถือถ้อยคำของ
ช่างไม้นั้น เรียกช่างไม้เหล่านั้นมา ได้กล่าวคาถา ๔ คาถาว่า
เทพยดาเหล่านี้ ย่อมกล่าวผิดกันอย่างไร เทวดา
ตนหนึ่งกล่าวว่าจะมีภัย ตนหนึ่งกล่าวว่าปลอดภัย ดัง
เราขอเตือน ท่านทั้งหลายจงฟังถ้อยคำของเราเถิด เรา
ทั้งหมดอย่าฉิบหายเสียเร็วพลันเลย.
เราทั้งปวง จงมาช่วยกันทำเรือใหญ่ให้มั่นคงติด
เครื่องยนต์ไว้พร้อมสรรพ ถ้าเทพบุตรในทิศทักษิณ
พูดจริง เทพบุตรในทิศอุดรก็พูดค้านเปล่า ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 140
เมื่ออันตรายเกิดมีขึ้น เรือของพวกเรานั้นก็จัก
ไม่เสียหาย อนึ่ง เราจะไม่ละทิ้งเกาะนี้ ถ้าหากว่าเทพ-
บุตรในทิศอุดรพูดจริง เทพบุตรในทิศทักษิณก็พูด
ค้านเปล่า ๆ.
เราทุกคนพึงขึ้นสู่เรือนั้นทันที ข้ามไปถึงฝั่งโน้น
โดยสวัสดีอย่างนี้ พวกเราไม่พึงเชื่อถือง่าย ๆ ว่าคำจริง
โดยคำแรก ไม่พึงเชื่อถือโดยง่าย ๆ ซึ่งถ้อยคำที่
เทพบุตรกล่าวแล้วในภายหลังว่าเป็นจริง นรชนใด
ในโลกนี้ เลือกถือเอาส่วนกลางไว้ได้ นรชนนั้นย่อม
เข้าถึงฐานะอันประเสริฐ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปฺปวทนฺติ ความว่า กล่าวแย้งกัน
และกัน. บทว่า ลหุ เป็นบทแสดงถึงความก่อน. บทว่า โทณึ คือเป็นเรือ
ขนาดใหญ่ลึก. บทว่า สพฺพยนฺตูปปนฺน คือประกอบไปด้วยเครื่องยนต์
มีสายลการและถ่อเป็นต้นทุกๆ อย่าง. บทว่า สา เจว โน โหหีติ อาปทตฺถ
ความว่า เรือนั้นของพวกเรา เมื่ออันตรายเกิดขึ้นแต่ในภายหลัง ก็มิใช่จักไม่
เป็นประโยชน์ และพวกเราก็ไม่ต้องทิ้งเกาะนี้. บทว่า ตเรมุ แปลว่า พากัน
ข้ามไป. บทว่า น เว สุคณฺห คือ เป็นอันว่าพวกเรามิได้เชื่อถือโดยง่ายโดยส่วน
เดียว. บทว่า เสฏฺ คือสูงสุด แน่นอน แท้จริง. บทว่า กนิฏฺ ความว่า เทียบ
กับคำก่อนแล้วก็เป็นคำหลัง จึงชื่อว่าคำภายหลัง. แม้ในคำนี้ก็ประกอบในข้อที่
จะคล้อยตามคำว่า เป็นอันพวกเราไม่เชื่อถือง่าย ๆ ดุจกัน. ท่านอธิบายคำนี้
ไว้ว่า ดูก่อนพวกช่างไม้ผู้เจริญ คำที่เทพบุตรองค์ก่อนองค์ใดองค์หนึ่งกล่าว
แล้ว พวกเรามิได้เชื่อถือง่าย ๆ ว่า คำนี้เท่านั้นประเสริฐแน่นอนจริงจังเสีย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 141
ทีเดียว. ก็และคำนั้นฉันใด แม้คำอันเป็นภายหลัง คือคำที่เทพบุตรกล่าวทีหลัง
ก็ฉันนั้น พวกเรามิได้เชื่อถือว่า คำนี้เท่านั้นประเสริฐเที่ยงแท้จริงจัง. ก็แต่ว่า
คำใดถึงคลองแห่งโสตวิสัย บุรุษผู้เป็นบัณฑิตแห่งโลกนี้ถือเอาคำอันมาปรากฏ
นั้น แล้วเลือกเป็นคำก่อนและคำหลัง คือเลือกสรรพิจารณาเพ่งใกล้ชิด ย่อม
ถือเอาส่วนกลางได้ คือ ข้อใดเที่ยงแท้จริงจังเป็นตัวยั่งยืน ย่อมยึดเอาข้อนั้น
นั่นแลทำให้ประจักษ์ได้. บทว่า สเว น เสฏฺมุเปติ าน ความว่า นรชน
นั้นย่อมเข้าถึง บรรลุ ประสบ กลับได้ฐานะอันสูงสุด.
ก็แลครั้นกล่าวเช่นนี้แล้ว กล่าวต่อไปว่า พ่อเอย พวกเราต้องทำ
ตามคำของเทพบุตรทั้งสอง พวกเราพึงเตรียมเรือไว้ แต่นั้นถ้าคำของเทพบุตร
องค์ก่อนจักเป็นจริง พวกเราก็พากันขึ้นเรือหนีไป ครั้นคำของเทพบุตรอีก
องค์หนึ่งจักเป็นจริง พวกเราก็จอดเรือไว้ข้างหนึ่ง คงอยู่ในเกาะนี้สืบไป ครั้น
ช่างไม้ผู้บัณฑิตกล่าวอย่างนี้ ช่างไม้ผู้พาลกล่าวว่า พ่อเอย ท่านเห็นจระเข้ใน
โอ่งน้ำ ช่างหลับตาเสียนานเหลือเกิน เทพบุตรองค์แรกพูดด้วยความเคียดแค้น
ในพวกเรา องค์หลังพูดด้วยความรัก พวกเราจักพากันทอดทิ้งเกาะอันประเสริฐ
ปานฉะนี้นี่ไปไหนกันเล่า ก็ถ้าท่านอยากจะไป ก็จงควบคุมคนของท่านทำเรือ
เถิด พวกข้าพเจ้าไม่มีเรื่องที่จะใช้เรือ ช่างไม้บัณฑิตชวนบริษัทของตนเตรียม
เรือ บรรทุกเครื่องอุปกรณ์พร้อมสรรพ พร้อมทั้งบริษัทพักอยู่ในเรือ ต่อจาก
วันนั้นถึงวันเพ็ญ พอเวลาดวงจันทร์ขึ้น คลื่นก็ซัดขึ้นจากท้องทะเล มีประมาณ
เพียงเข่า ซัดไปล้างเกาะ ผู้บัณฑิตทราบความคะนองแห่งท้องทะเล ก็ปล่อยเรือ
แต่ครอบครัวทั้ง ๕๐๐ ซึ่งเป็นพวกช่างไม้พาล ต่างนั่งพูดกันเรื่อยไปว่า คลื่นจาก
ท้องทะเลซัดสาดมาเพื่อจะล้างเกาะ เพียงนี้เท่านั้น ต่อจากนั้นคลื่นในท้องทะเล
ก็ซัดสาดมาสู่เกาะน้อยเพียงเอว เพียงชั่วคน เพียงชั่วลำตาล บัณฑิตผู้ไม่ติด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 142
ในรสเพราะเป็นผู้ฉลาดในอุบาย ไปได้โดยสวัสดี ช่างไม้ผู้พาลไม่มองดูภัยใน
ภายหน้า เพราะหมกมุ่นในรสถึงความพินาศพร้อมกับครอบครัวทั้ง ๕๐๐ เเล.
อนุสาสนีต่อจากนี้ เป็นพระอภิสัมพุทธคาถา ๓ พระคาถาส่องความนั้น
ดังต่อไปนี้
กุลบุตรผู้มีปัญญากว้างขวาง แทงตลอดประ-
โยชน์ในอนาคตแล้ว ย่อมไม่ให้ประโยชน์นั้นผ่านพ้น
ไปแม้แต่น้อย เหมือนพวกพ่อค้าเหล่านั้น พากันไป
ในท่ามกลางทะเลโดยสวัสดี ด้วยกรรมของตน.
ส่วนพวกคนพาลมัวหมกมุ่นอยู่ในรสด้วยโมหะ
ไม่แทงตลอดประโยชน์อันเป็นอนาคต เมื่อความต้อง
การเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ย่อมพากันล่มจม เหมือนมนุษย์
เหล่านั้นพากันล่มจมในท่ามกลางทะเล ฉะนั้น.
ชนผู้เป็นบัณฑิตพึงรีบทำกิจที่ควรทำก่อนเสีย
ทีเดียว อย่าให้กิจที่ต้องทำเบียดเบียนตัวได้ ในเวลา
ที่ต้องการ กิจนั้นไม่เบียดเบียนบุคคลผู้รีบทำกิจที่ควร
ทำเช่นนั้น ในเวลาที่ต้องการ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกมฺเมน ความว่า ด้วยกรรมของตน
ที่กระทำเสร็จไว้ก่อน เพราะเห็นภัยในอนาคต. บทว่า โสตฺถิ วหึสุ ความว่า
พากันไปโดยความเกษม. บทว่า วาณิชา ได้แก่ กล่าวถึงพ่อค้าโดยภาวะที่
ท่องเที่ยวไปในท่ามกลางสมุทร. บทว่า ปฏิวิชฺฌิยาน ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีปัญญากว้างขวางในโลกนี้ ยังทราบปรุโปร่งถึงประโยชน์
ภายหน้าอันจะพึงทำไว้ก่อน ย่อมไม่ทำประโยชน์ของตน แม้มีประมาณน้อย
ให้คลาดไป ผ่านไป คือเสื่อมไป. บทว่า อปฺปฏิวิชฺฌิตฺวา ความว่า
คนพาลไม่หยั่งทราบปรุโปร่งถึงประโยชน์ คือไม่กระทำกิจที่ควรทำที่เสร็จก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 143
ทีเดียว. บทว่า ปจฺจุปฺปนฺน ความว่า เมื่อใดกิจอนาคตนั้น บังเกิดเป็น
ความต้องการขึ้น เมื่อนั้นย่อมพากันล่มจม ในเมื่อเกิดความต้องการขึ้นใน
ปัจจุบัน คือย่อมไม่ได้ที่พึ่งแก่ตน พากันถึงความพินาศ เหมือนพวกคนอัน
ช่างไม้พาลเหล่านั้น ที่พากันล่มจมในสมุทรฉะนั้น. บทว่า อนาคต ความว่า
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษบัณฑิต พึงเตรียมกระทำ คือพึงทำก่อนทีเดียว ซึ่งกิจ
อนาคตที่ต้องทำก่อน จะเป็นกิจอำนวยผลภายหน้า หรือกิจอำนวยผลปัจจุบัน
ก็ตามที เพราะเหตุไรเล่า เพราะอย่าให้กิจเบียดเบียนเราได้ในคราวต้องการ
ด้วยว่ากิจที่ต้องกระทำให้เสร็จก่อน เมื่อไม่ทำไว้ก่อน ตอนที่ถึงความเป็นปัจจุบัน
ในภายหลัง ย่อมเบียดเบียน ด้วยการเบียดเบียนกายจิต ในเวลาที่ตนต้องการได้
เหตุนั้น บัณฑิตพึงกระทำกิจนั้นก่อนทีเดียว. บทว่า ต ตาทิส คือ ที่ทำ
ไว้เสร็จถึงความเป็นปัจจุบันในภายหลัง ย่อมไม่เบียดเบียนบีบคั้นบุรุษผู้ดำรง
อยู่อย่างนั้น. บทว่า ปฏิกตกิจฺจการึ คือผู้รีบรัดทำกิจที่ควรทำทันที. บทว่า
ต กิจฺจ กิจฺจกาเล ความว่า กิจอนาคตที่จะต้องทำ ถึงความเป็นปัจจุบัน
ในภายหลัง ในเวลาที่กายและจิตอาพาธ ย่อมไม่เบียดเบียนบุรุษเช่นนั้น.
เพราะเหตุไร ? เพราะกระทำกิจเสร็จไว้ก่อนนั่นแล.
พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เทวทัตมัวเกี่ยวเกาะสุขปัจจุบัน
ไม่มองดูภัยในอนาคต ถึงความพินาศพร้อมทั้งบริษัท ทรงประชุมชาดกว่า
ช่างไม้ผู้พาลในครั้งนั้น ได้มาเป็นเทวัตผู้ติดสุขในปัจจุบัน เทพบุตรผู้ไม่
ดำรงธรรมที่สถิต ณ ภาคใต้ ได้มาเป็นโกกาลิกะ เทพบุตรผู้ทรงธรรม
ที่สถิตทางทิศเหนือ ได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนช่างผู้เป็นบัณฑิต
ได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาสมุททวาณิชชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 144
๔. กามชาดก
ว่าด้วยกามและโทษของกาม
[๑๖๓๗] เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่
ปรารถนาของบุคคลนั้น ย่อมสำเร็จได้ สัตว์ปรารถนา
สิ่งใดได้สิ่งนั้นแล้ว ย่อมมีใจอิ่มเอิบแท้.
[๑๖๓๘] เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่
ปรารถนาของบุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้ ครั้นสิ่งที่
ปรารถนานั้นสำเร็จ บุคคลยังปรารถนาต่อไปอีก ก็
ย่อมได้ประสบกามตัณหา เหมือนบุคคลที่ถูกลมแดด
แผดเผาในฤดูร้อน ย่อมเกิดความกระหายใคร่จะดื่มน้ำ
ฉะนั้น.
[๑๖๓๙] ตัณหาก็ดี ความกระหายก็ดี ของคน
พาลมีปัญญาน้อย ไม่รู้อะไร ย่อมเจริญยิ่งขึ้นทุกที
เหมือนขาโคย่อมเจริญขึ้นตามตัวฉะนั้น.
[๑๖๔๐] แม้จะให้ทรัพย์สมบัติ ข้าสาลี ข้าว-
เหนียว โค ม้า ข้าทาสหญิงชายหมดทั้งแผ่นดิน ก็ยัง
ไม่พอแก่คน ๆ เดียว รู้อย่างนี้แล้วพึงประพฤติธรรม
สม่ำเสมอ.
[๑๖๔๑] พระราชาทรงปราบปรามชนะทั่วแผ่น-
ดิน ทรงครอบครองแผ่นดินใหญ่มีมหาสมุทรเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 145
ขอบเขต ทรงครอบครองมหาสมุทรฝั่งนี้แล้ว มีพระ-
ทัยไม่อิ่ม ยังปรารถนาแม้มหาสมุทรฝั่งโน้นต่อไปอีก.
[๑๖๔๒] เมื่อยังระลึกถึงกามอยู่ตราบใด ก็ไม่ได้
ความอิ่มด้วยใจตราบนั้น ชนเหล่าใดบริบูรณ์ด้วย
ปัญญา มีกายและใจหลีกเว้นจากกามทั้งหลาย เห็น
โทษด้วยญาณ ชนเหล่านั้นแลชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม.
[๑๖๔๓] บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วย
ปัญญาประเสริฐ เพราะผู้อิ่มด้วยปัญญานั้น ย่อมไม่
เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย คนผู้อิ่มด้วยปัญญา ตัณหา
ย่อมกระทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้.
[๑๖๔๔] ไม่พึงสั่งสมกามทั้งหลาย พึงเป็นผู้มี
ความปรารถนาน้อย ไม่มีความละโมบ บุรุษผู้มีปัญญา
เปรียบด้วยมหาสมุทร ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกาม
ทั้งหลาย.
[๑๖๔๕] ช่างทำรองเท้าหนังเลี้ยงชีพ เมื่อประ-
กอบรองเท้า ส่วนใดควรเว้นก็เว้น เลือกเอาแต่ส่วนที่
ดี ๆ มาทำรองเท้าขายได้ราคาแล้ว ย่อมมีความสุข
ฉันใดเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว
ละทิ้งส่วนแห่งกามเสีย ย่อมถึงความสุข ถ้าพึงปรา-
รถนาความสุขทั้งปวงก็พึงละกามทั้งปวงเสีย.
[๑๖๔๖] คาถาทั้งหมด ๘ คาถา ที่ท่านกล่าวแล้ว
ขอท่านจงรับเอาทรัพย์ ๘ พันนี้เถิด คำที่ท่านกล่าวนี้
เป็นคำยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 146
[๑๖๔๗] ข้าพระบาทไม่ต้องการด้วยทรัพย์ร้อย
ทรัพย์พันหรือทรัพย์หมื่น เมื่อข้าพระบาทกล่าวคาถา
สุดท้าย ใจของข้าพระบาทไม่ยินดีในกาม.
[๑๖๔๘] มาณพใดเป็นบัณฑิต กำหนดรู้ตัณหา
อันยังความทุกข์ให้เกิดแล้ว นำออกได้ มาณพนี้เป็น
คนดี เป็นมุนีผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวง.
จบกามชาดกที่ ๔
อรรถกถากามชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กาม กามย-
มานสฺส ดังนี้.
เรื่องมีว่า พราหมณ์ชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง หักร้างป่าเพื่อต้องการทำ
เป็นไร่ พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของเขา เมื่อเสด็จเข้าไปโปรดสัตว์ใน
พระนครสาวัตถี ทรงแวะลงจากทาง กระทำปฏิสันถารกับเขา ตรัสว่า เธอทำ
อะไรเล่าพราหมณ์ ครั้นกราบทูลว่า ข้าแด่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์หักร้าง
ที่ไร่พระเจ้าข้า ตรัสว่า ดีละพราหมณ์ กระทำการงานไปเถิด แล้วเสด็จเลยไป
พระองค์ได้เสด็จไปทำปฏิสันถารกับเขาบ่อย ๆ คือในเวลาที่เขาขนต้นไม้ที่ตัด
แล้วและชำระที่ไร่ ในเวลาก่อคัน ในเวลาหว่าน โดยอุบายอย่างนี้นั้นแล
วันรุ่งขึ้นพราหมณ์นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วันนี้เป็นมงคลใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 147
การหว่านข้าวของข้าพระองค์ ข้าพระองค์จักถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มี
พระพุทธองค์เป็นประมุขในเมื่อข้าวกล้านี้สำเร็จแล้ว พระศาสดาทรงรับด้วย
ทรงดุษณีภาพ เสด็จหลีกไป รุ่งขึ้นวันหนึ่งพราหมณ์ยืนดูข้าวกล้าอยู่ พระศาสดา
เสด็จมาตรัสถามว่า พราหมณ์ เธอกำลังทำอะไรอยู่ตรงนั้น เมื่อเขากราบทูลว่า
ข้าแต่พระสมณโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์กำลังดูข้าวกล้า ตรัสว่าดี พราหมณ์
แล้วเสด็จหลีกไป ในครั้งนั้นพราหมณ์คิดว่า พระสมณโคดมมาเนือง ๆ คงมี
ความต้องการภัตรอย่างไม่ต้องสงสัย เราจักถวายภัตรแก่ท่าน ในวันที่พราหมณ์
คิดอย่างนี้แล้วไปสู่เรือน ถึงพระศาสดาก็ได้เสด็จไป ณ ที่นั้น ครั้งนั้นความ
พิศวาสเกิดขึ้นแก่พราหมณ์ล้นเหลือ ต่อมาครั้นข้าวกล้าแก่แล้ว เมื่อพราหมณ์
ตกลงใจว่า พรุ่งนี้เราจักเกี่ยวไร่แล้วนอน ฝนลูกเห็บตกตลอดคืน ทางเหนือ
ของแม่น้ำอจิรวดี ห้วงน้ำใหญ่ไหลมาพัดเอาข้าวกล้าทั้งหมดเข้าไปสู่ทะเล ไม่
เหลือไว้ให้ แม้มาตรว่าทะนานเดียว เมื่อห้วงน้ำเหือดแห้งลงแล้ว พราหมณ์
มองดูความย่อยยับแห่งข้าวแล้ว ไม่สามารถจะดำรงอยู่โดยภาวะของตนได้
ถูกความเสียใจอย่างแรงครอบงำ ยกมือตีอกคร่ำครวญไปถึงเรือน แล้วลงนอน
บ่นพร่ำ.
ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ถูกความเสียใจ
ครอบงำ ทรงดำริว่า เราต้องเป็นที่พึ่งของพราหมณ์ รุ่งขึ้นเสด็จเที่ยวโปรดสัตว์
ในพระนครสาวัตถี ภายหลังจากเสวยเสร็จเสด็จกลับจากบิณฑบาต ทรงส่ง
พวกภิกษุไปสู่พระวิหาร เสด็จไปสู่ประตูเรือนของเขากับด้วยสมณะติดตาม
พราหมณ์ได้ยินความที่พระศาสดาเสด็จมา กล่าวว่า สหายของเราคงมาเยี่ยมเยียน
ค่อยได้ความโปร่งใจ จัดแจงอาสนะไว้ พระศาสดาเสด็จเข้าไป ประทับนั่ง
เหนืออาสนะที่จัดไว้ ตรัสถามว่า ดูก่อนพราหมณ์ เหตุไรจึงเศร้าหมองไปล่ะ
ท่านไม่สบายอะไรเล่า กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 148
ทรงทราบการงานที่ข้าพระองค์กระทำ จำเดิมแต่ตัดต้นไม้ที่ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี
ข้าพระองค์เคยกราบทูลไว้ว่า เมื่อข้าวกล้านี้สำเร็จแล้ว ข้าพระองค์จักถวายทาน
แด่พระองค์ บัดนี้ห้วงน้ำใหญ่พัดข้าวกล้าของข้าพระองค์ไปสู่ทะเลเสียหมด
เกลี้ยงทีเดียว ข้าวกล้าไม่มีเหลือสักหน่อย ข้าวเปลือกประมาณ ๑๐๐ เกวียน
เสียหายหมด เหตุนั้นความโศกอย่างใหญ่โตจึงเกิดแก่ข้าพระองค์ ตรัสว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ก็เมื่อท่านเศร้าโศกอยู่ สิ่งที่เสียหายไปแล้วจะกลับคืนมาได้
หรือ กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้แน่นอน
พระเจ้าข้า ตรัสว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านเศร้าโศกเพราะเหตุไร ขึ้นชื่อว่า
ทรัพย์และข้าวเปลือกของสัตว์เหล่านี้ ถึงคราวเกิดก็บังเกิด ถึงคราวเสียหาย
ก็เสียหาย สิ่งไร ๆ ที่ถึงการปรุงแต่ง จะชื่อว่าไม่มีความเสียหายเป็นธรรมดาน่ะ
ไม่มีดอก ท่านอย่าคิดไปเลย พระศาสดาทรงปลอบเขาด้วยประการฉะนี้ เมื่อ
ทรงแสดงธรรมอันเป็นที่สบายแก่เขา ตรัสกามสูตร เมื่อพระสูตรถึงปริโยสาน
พราหมณ์ดำรงในโสดาปัตติผล พระศาสดาทรงทำให้เขาสร่างโศก เสด็จลุกจาก
อาสนะไปสู่พระวิหาร.
ชาวพระนครทั้งสิ้นรู้ทั่วกันว่า พระศาสดาทรงกระทำพราหมณ์ผู้โน้น
ผู้เพียบแปล้ด้วยโศกศัลย์ ให้สร่างโศก ให้ดำรงในโสดาปัตติผลได้ พวก
ภิกษุพากันยกเรื่องขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระทศพล
ทรงทำไมตรีกับพราหมณ์จนคุ้นเคยกัน ทรงแสดงธรรมแก่เขาผู้เพียบแปล้ไป
ด้วยความโศก ด้วยอุบายครั้งเดียว ทรงทำให้เขาสร่างโศกได้ ให้ประดิษฐาน
ในโสดาปัตติผลได้ พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า เมื่อกี้พวกเธอกำลังสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไร เมื่อพากันกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เราก็ได้กระทำให้พราหมณ์นี้
สร่างโศกแล้วเหมือนกัน ทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 149
ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัต ณ พระนครพาราณสี มีพระ-
โอรส ๒ พระองค์ ท้าวเธอประทานที่อุปราชแก่พระโอรสองค์ใหญ่ พระราชทาน
ตำแหน่งเสนาบดีแก่พระโอรสองค์เล็ก ครั้นต่อมาพระเจ้าพรหมทัตสิ้นพระชนม์
พวกอำมาตย์พากันตั้งการอภิเษกแก่พระองค์ใหญ่ ท้าวเธอตรัสว่า ฉันไม่ต้อง
การครองราชสมบัติ พวกท่านจงพากันให้แก่น้องชายของฉันเถิด แม้ได้รับคำ
ทูลวิงวอนบ่อย ๆ ก็ทรงห้ามเสีย ครั้นพวกอำมาตย์ทำการอภิเษกถวายพระเจ้า
น้องแล้ว ทรงดำริว่า เราไม่ต้องการความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ ไม่ทรงปรารถนา
แม้แต่ตำแหน่งอุปราชเป็นอาทิ ถึงเมื่อพระราชา ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เชิญเสวย
โภชนะที่มีรสดี ๆ ประทับอยู่ในพระนครนี้เถิด ตรัสว่า ฉันไม่มีเรื่องที่ต้อง
กระทำในพระนครนี้ เสด็จออกจากพระนครพาราณสี ไปสู่ชนบทปลายแดน
อาศัยสกุลเศรษฐีตระกูลหนึ่ง ทรงกระทำการงานด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง
ประทับอยู่.
ครั้นกาลต่อมา พวกเหล่านั้นรู้ความที่ท้าวเธอเป็นพระราชกุมาร
ก็พากันไม่ยอมให้ทำการงาน พากันห้อมล้อมท้าวเธอด้วยการบริหารในฐาน
เป็นพระราชกุมารทีเดียว จำเนียรกาลนานมา พวกข้าราชการพากันไปสู่ชนบท
ปลายแดน ได้ไปถึงบ้านนั้นเพื่อรังวัดเขต ท่านเศรษฐีเข้าไปเฝ้าพระราชกุมาร
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้านาย พวกข้าพระองค์พากันบำรุงเลี้ยง
พระองค์ ขอพระองค์ทรงส่งหนังสือถึงพระเจ้าน้องให้ทรงลดส่วยแก่พวก
ข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า ท้าวเธอทรงรับว่าได้ซี ทรงส่งหนังสือไปว่า
ฉันอาศัยสกุลเศรษฐีชื่อโน้นพำนักอยู่ โปรดเห็นแก่ฉันยกเว้นส่วยแก่พวก
เหล่านั้นเถิด พระราชารับสั่งว่า ดีแล้ว ทรงโปรดให้กระทำอย่างนั้น ครั้งนั้น
พวกชาวบ้านหมดบ้าง ชาวชนบทบ้าง ชาวบ้านอื่น ๆ บ้าง พากันเข้าไป
เฝ้าท้าวเธอ ทูลว่า พวกข้าพระองค์จักถวายส่วยแด่พระองค์เท่านั้น โปรดให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 150
พระราชาทรงยกเว้นแก่พวกข้าพระองค์บ้างเถิด ท้าวเธอทรงส่งหนังสือไป
เพื่อช่วยเหลือพวกเหล่านั้น ให้พระราชาทรงยกเว้นส่วยให้ ตั้งแต่บัดนั้น พวก
เหล่านั้นก็พากันถวายส่วยแก่ท้าวเธอ จึงบังเกิดลาภสักการะใหญ่แก่ท้าวเธอ
ด้วยเหตุนั้น ความอยากของท้าวเธอก็พลอยเติบใหญ่ไปด้วย กาลต่อมา ท้าวเธอ
ทูลขอชนบทนั้นแม้ทั้งหมด แล้วทูลขอราชสมบัติกึ่งหนึ่ง แม้พระเจ้าน้องก็ได้
ประทานแก่ท้าวเธอทั้งนั้น ท้าวเธอเมื่อความอยากพอกพูน ไม่ทรงพอพระทัย
ด้วยราชสมบัติเพียงกึ่งนั้น ทรงดำริจะยึดราชสมบัติแวดล้อมด้วยชาวชนบท
เสด็จไปสู่พระนครนั้น หยุดทัพอยู่ภายนอกพระนคร ทรงส่งหนังสือแก่พระเจ้า
น้องว่า จงให้ราชสมบัติแก่เรา หรือจะรบกันก็ได้.
พระเจ้าน้องทรงดำริว่าพระพี่นี้เป็นพาล เมื่อก่อนทรงห้ามราชสมบัติ
แม้กระทั่งตำแหน่งอุปราชก็ทรงห้าม คราวนี้ตรัสว่า จักยึดเอาด้วยการรบ
ก็ถ้าว่าเราจักฆ่าพระพี่นี้ให้ตาย ด้วยการรบ ความครหาจักมีแก่เราได้
เราจะต้องการอะไร ด้วยราชสมบัติ จึงทรงส่งสาส์นแด่ท้าวเธอว่า ไม่ต้อง
รบดอก เชิญทรงครองราชสมบัติเถิดพระเจ้าข้า ท้าวเธอทรงครองราช-
สมบัติประทานที่อุปราชแก่พระเจ้าน้อง จำเดิมแต่นั้น ทรงครองราชสมบัติ
ทรงตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหา มิได้ทรงพอพระหทัยด้วยราชสมบัติพระนคร
เดียว ทรงปรารถนาราชสมบัติ ๒-๓ นคร ไม่ทรงเห็นที่สุดแห่งความอยาก
เลย ครั้งนั้นท้าวสักกเทวราชทรงตรวจดูว่า ในโลก ชนเหล่าไหนบ้างล่ะ
ที่บำรุงมารดาบิดา เหล่าไหนทำบุญต่าง ๆ มีให้ทานเป็นต้น เหล่าไหน
ตกอยู่ในอำนาจตัณหา ทรงทราบความที่ท้าวเธอเป็นไปในอำนาจตัณหา
ทรงดำริว่า พระราชาองค์นี้เป็นพาล ไม่ทรงพอพระหทัยแม้ด้วยราชสมบัติ
ในพระนครพาราณสี เราต้องให้ท้าวเธอศึกษาบ้าง จำแลงเพศเป็น
มาณพประทับยืนที่พระทวารหลวง ให้กราบทูลว่า มาณพผู้ฉลาดในอุบาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 151
ผู้หนึ่ง ยืนอยู่ที่พระทวารหลวง ครั้นรับสั่งว่า เข้ามาเถิด ก็เสด็จเข้าไป
กราบทูลถวายชัยพระราชา เมื่อตรัสว่าเจ้ามาด้วยเหตุไร กราบทูลว่า ข้าแต่
พระมหาราชเจ้า ข้อที่ข้าพระองค์กราบทูลมีอยู่หน่อย ข้าพระองค์ต้องการที่
รโหฐานพระเจ้าข้า ด้วยอานุภาพท้าวสักกะ ฝูงคนพากันหลบไปหมด ทันใด
นั้นเอง ครั้งนั้นมาณพกราบทูลท้าวเธอว่า ข้าแต่พระมหาราช ข้าพระองค์
เห็นพระนคร ๓ แห่ง มั่งคั่งมีฝูงคนแออัด สมบูรณ์ด้วยพลและพาหนะ ข้า-
พระองค์จักยึดราชสมบัติทั้งสามด้วยอานุภาพของตนถวายแด่พระองค์ ควรที่
พระองค์จะไม่ทรงชักช้ารีบเสด็จไปเถอะพระเจ้าข้า พระราชานั้นทรงตกอยู่ใน
อำนาจแห่งความโลภ ทรงรับว่า ดีละ แต่ด้วยอานุภาพแห่งท้าวสักกะ มิได้
ทรงถามว่า เจ้าเป็นใคร หรือเจ้ามาจากไหน หรือว่าควรที่เจ้าจะได้สิ่งไร
ท้าวสักกะนั้นเล่าตรัสเพียงเท่านี้แล้ว ก็ได้เสด็จไปดาวดึงส์พิภพทีเดียว.
พระราชาตรัสให้พวกอำมาตย์มาเฝ้า ตรัสว่า มาณพผู้หนึ่งกล่าวว่าจักยึด
ราชสมบัติ ๓ นครให้พวกเรา พวกเธอจงเรียกมาณพนั้นมาทีเถิด จงนำกลองไป
เที่ยวตีประกาศในพระนคร เรียกประชุมพลกาย พวกเราต้องยึดครองราชสมบัติ
๓ นคร ไม่ต้องชักช้า เมื่อพวกอำมาตย์พากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ก็พระองค์ทรงกระทำสักการะแก่มาณพนั้นอย่างไร หรือทรงถามที่อยู่อาศัยของ
มาณพนั้นไว้อย่างไร ตรัสว่า เราไม่ได้ทำสักการะเลย ไม่ได้ถามที่พักอาศัยไว้
เลย พวกเธอจงพากันไปค้นหาเขาเถิด พวกอำมาตย์พากันค้น ไม่เห็นเขา กราบ
ทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์ไม่เห็นมาณพนั้นทั่วพระนคร
พระเจ้าข้า ทรงสดับคำนั้นแล้ว พระราชาทรงเกิดโทมนัส ทรงพระดำริเรื่อย ๆ
ว่า ราชสมบัติในพระนครทั้ง ๓ เสื่อมหายแล้ว เราเสื่อมเสียจากยศอันใหญ่
มาณพคงโกรธเราว่า ไม่ให้เสบียงแก่เรา แล้วก็ไม่ให้ที่อยู่อาศัยด้วย เลยไม่มา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 152
ครั้งนั้นความร้อนบังเกิดขึ้นในพระกายแห่งพระองค์ผู้ทรงตกอยู่ในอำนาจตัณหา
เมื่อสรีระทุกส่วน เร่าร้อนอยู่ กริยาที่วิ่งพล่านแห่งโลหิต ก็ทำท้อง
ให้กำเริบแล้วพลุ่งขึ้น ภาชนะอันหนึ่งเข้าอันหนึ่งออก พวกแพทย์สุดฝีมือที่จะ
ถวายการรักษาได้ครั้งนั้นการที่ท้าวเธอ ถูกความเจ็บป่วยเบียดเบียนได้เลื่องลือ
ไปทั้งพระนคร.
กาลนั้นพระโพธิสัตว์เรียนศิลปะสำเร็จจากเมืองตักกศิลา มาสู่สำนัก
บิดามารดา ในพระนครพาราณสี ฟังเรื่องของพระราชานั้น คิดว่าเราต้อง
ถวายการรักษา ไปสู่พระราชทวาร ให้กราบทูลว่า ได้ยินว่า มาณพผู้หนึ่ง
มาจะถวายการรักษาพระองค์ พระราชาตรัสว่า แม้ถึงพวกแพทย์ ผู้ทิศาปาโมกข์
ใหญ่ ๆ ยังไม่สามารถรักษาเราได้ มาณพหนุ่มจักสามารถได้อย่างไร พวกท่าน
พากันให้เสบียง แล้วปล่อยเขาไปเสียเถิด มาณพฟังพระดำรัสนั้นแล้ว กล่าวว่า
ข้าพเจ้าไม่มีเรื่องที่ต้องทำด้วยค่ากำนัลหมอเลย ข้าพเจ้าจักขอถวายการรักษา
โปรดให้เพียงค่ายาเท่านั้นแหละ พระราชาทรงสดับคำนั้น แล้วตรัสว่า ลองดูที
รับสั่งให้เรียกมาณพตรวจดูพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
พระองค์อย่าทรงกลัวเลย ข้าพระองค์จักถวายการรักษา ก็แต่ว่าพระองค์ทรง
โปรดบอกสมุฏฐานแห่งโรคแก่ข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า พระราชาทรงพอ
พระหทัยตรัสว่า เจ้าจักเอาสมุฏฐานไปทำไม จงบอกยาเท่านั้นเถิด กราบทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดาหมอทราบว่า ความเจ็บนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุนี้
ย่อมการทำยาให้ถูกต้องกับความเจ็บนั้นได้พระเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า ถูกต้อง
ละพ่อ เมื่อตรัสสมุฏฐานได้ตรัสเรื่องทั้งหมดตั้งต้นแต่ที่มาณพคนหนึ่งมาบอกว่า
จักเอาราชสมบัติในสามพระนครมาให้ แล้วตรัสว่า แน่ะพ่อ เราเจ็บคราวนี้
เพราะตัณหา ถ้าเจ้าพอจะรักษาได้ ก็จงรักษาเถิด มาณพทูลถามว่า ข้าแต่
พระมหาราช พระองค์อาจได้พระนครเหล่านั้นด้วยการเศร้าโศกหรือ ตรัสว่า
ไม่อาจดอกพ่อ กราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้น เหตุไรพระองค์จึงทรงเศร้าโศก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 153
พระเจ้าข้า ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายย่อมละร่างกายของตน เป็นต้น ตลอดถึง
สวิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณกทรัพย์ทั้งหมดไป แม้พระองค์จะยึดครองราช
สมบัติในพระนครทั้งสี่ได้ พระองค์ก็เสวยพระกระยาหารในสุวรรณภาชนะทั้งสี่
บรรทมเหนือพระที่ทั้งสี่ ทรงเครื่องประดับทั้งสี่พร้อมกันคราวเดียวไม่ได้ พระ-
องค์ไม่ควรตกอยู่ในอำนาจตัณหา เพราะตัณหานี้ เมื่อเจริญขึ้นย่อมไม่ปล่อยให้
พ้นจากอุบายทั้งสี่ไปได้. พระมหาสัตว์ ครั้นถวายโอวาทพระราชาดังนี้แล้ว
เมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชา ได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า
เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของ
บุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้ สัตว์ปรารถนาสิ่งใดได้สิ่งนั้น
แล้ว ย่อมมีใจอิ่มเอิบแท้.
เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของ
บุคคลนั้น ย่อมสำเร็จได้ ครั้นสิ่งที่ปรารถนานั้นสำเร็จ
บุคคลยังปรารถนาต่อไปอีก ก็ย่อมได้ประสบกาม
ตัณหา เหมือนบุคคลที่ถูกลมแดดแผดเผาในฤดูร้อน
ย่อมจะเกิดความกระหายใคร่จะดื่มน้ำฉะนั้น.
ตัณหาก็ดี ความกระหายก็ดี ของคนพาลมี
ปัญญาน้อย ไม่รู้อะไร ย่อมเจริญยิ่งขึ้นทุกที เหมือน
เขาโคย่อมเจริญขึ้นตามตัวฉะนั้น.
แม้จะให้สมบัติ ข้าวสาลี ข้าวเหนียว โค ม้า
ข้าทาสหญิงชายหมดทั้งแผ่นดิน ก็ยังไม่พอแก่คน
คนเดียว รู้อย่างนี้แล้วพึงประพฤติธรรมสม่ำเสมอ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 154
พระราชาทรงปราบชนะทั่วแผ่นดิน ทรงครอบ
ครองแผ่นดินใหญ่มีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ทรงครอง
มหาสมุทรฝั่งนี้แล้ว มีพระทัยไม่อิ่ม ยังปรารถนาแม้
มหาสมุทรฝั่งโน้นต่อไปอีก.
เมื่อยังระลึกถึงกามอยู่ตราบใด ก็ไม่ได้ความอิ่ม
ด้วยใจตราบนั้น ชนเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา มีกาย
และใจหลีกเว้นจากกามทั้งหลาย เห็นโทษด้วยญาณ
ชนเหล่านั้นนั่นแลชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม.
บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญา
ประเสริฐ เพราะผู้อิ่มด้วยปัญญานั้น ย่อมไม่เดือดร้อน
ด้วยกามทั้งหลาย คนผู้อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาย่อม
กระทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้.
ไม่พึงสั่งสมกามทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีความปรา-
รถนาน้อย ไม่มีความละโมบ บุรุษผู้มีปัญญาเปรียบ
ด้วยมหาสมุทร ย่อมไม่เดือดร้อนเพราะกามทั้งหลาย.
ช่างทำรองเท้าหนังเลี้ยงชีพ เมื่อประกอบรองเท้า
ส่วนใดควรเว้นก็เว้น เลือกเอาแต่ส่วนที่ดี ๆ มาทำ
รองเท้าขายได้ราคาแล้ว ย่อมมีความสุข เราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ละทิ้งส่วนแห่ง
กามเสีย ย่อมถึงความสุข ถ้าพึงปรารถนาความสุข
ทั้งปวงก็พึงละกามทั้งปวงเสีย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 155
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาม ได้แก่ ทั้งวัตถุกาม ทั้งกิเลสกาม.
บทว่า กามยมานสฺส แปลว่า ปรารถนาอยู่. บทว่า ตสฺส เจ ต สมิชฺฌติ
ความว่า สิ่งที่เขาปรารถนาย่อมสำเร็จ และย่อมเผล็ดผลแก่บุคคลนั้น. บทว่า
น ในคำว่า ตโต น อปร กาเม นี้เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อปร
เป็นบทแสดงส่วนอื่น. บทว่า กาเม เป็นพหุวจนะ ใช้ในอรรถแห่งทุติยา-
วิภัตติ. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ถ้าเมื่อเขาปรารถนากาม สิ่งที่เขาปรารถนานั้น
ย่อมสำเร็จแก่เขาสมประสงค์ เมื่อสิ่งนั้นสำเร็จแล้ว เขายังปรารถนาต่อไปอีก
บุคคลนั้นเมื่อปรารถนาอยู่ ย่อมประสบคือได้รับกามกล่าวคือตัณหา เหมือน
บุคคลที่ถูกลมแดดแผดเผาในฤดูร้อน ย่อมเกิดความอยากคือได้รับความกระ-
หายน้ำฉะนั้น. ตัณหามีรูปตัณหาเป็นต้นย่อมเจริญแก่บุคคลนั่นแล. บทว่า ควว
แปลว่า เหมือนรูปโค. บทว่า สิงคิโน ได้แก่ เขาสัตว์ที่ผ่ายอดแล้วยกขึ้น.
บทว่า มนฺทสฺส แปลว่า ผู้มีปัญญาอ่อน. บทว่า พาลสฺส ได้แก่ ผู้ประกอบ
ด้วยพาลธรรม. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เขาโคย่อมเติบโตพร้อมกับร่างของ
ลูกโคตัวกำลังเติบโค ฉันใด กามตัณหาที่ยังไม่มาถึงก็ดี ความกระหายในกาม
ที่มาถึงแล้วก็ดี ย่อมเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปสำหรับอันธพาลชน. บทว่า สาลิยวก
ได้แก่ นาข้าวสาลี และนาข้าวเหนียว. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงธัญชาติหมด
มีข้าวสาลีและข้าวเหนียวเป็นต้น. ด้วยบทที่ ๒ ท่านแสดงถึงสัตว์ ๒ เท้าและ
สัตว์ ๔ เท้า. หรือด้วยบทที่ ๑ ท่านแสดงถึงสิ่งที่ไม่มีวิญญาณทั้งหมด ด้วยบท
นอกนี้ ท่านแสดงถึงสิ่งที่มีวิญญาณทั้งสิ้น. บทว่า ทตฺวาปิ แปลว่า แม้
ให้แล้ว ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า อาณาจักรทั้ง ๓ จงยกไว้ ถ้าว่า มาณพนั้น
ให้สิ่งอื่น ๆ หรือแผ่นดินทั้งสิ้น ที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ ทั้งรัตนบุรี
แก่ใครแล้วไป สิ่งแม้มีประมาณเท่านี้ ย่อมไม่สิ้นสุดแก่บุคคล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 156
คนเดียวเท่านั้น นี้ชื่อว่าตัณหาให้เต็มได้โดยยากด้วยประการฉะนี้. บทว่า อิติ
วิทฺธา สม จเร ความว่า บุรุษเมื่อรู้อย่างนี้ เป็นผู้ไม่เป็นไปในอำนาจแห่งตัณหา
บำเพ็ญกายสุจริตเป็นต้นให้บริบูรณ์ พึงประพฤติให้สม่ำเสมอ. บทว่า โอร
ได้แก่ ถึงส่วนอันมีในภายใน. ด้วยบทนั้นบุคคลนั้นชื่อว่ายังไม่อิ่ม พึงปรารถนา
แม้ฝั่งแห่งสมุทรอีก ด้วยอาการอย่างนี้ท่านแสดงว่า ขึ้นชื่อว่า สัตว์ผู้เป็นไปใน
อำนาจแห่งตัณหา เป็นอันเต็มได้โดยยาก. บทว่า ยาว เป็นบทกำหนดนับ
ตามอนิยม. บทว่า อนุสฺสร แปลว่า ระลึกถึงอยู่. บทว่า นาชฺฌคา แปลว่า
ย่อมไม่ประสบ. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า บุรุษมีใจระลึกถึงกาม
ทั้งหลาย แม้อันหาที่สุดไม่ได้ ย่อมไม่ประสบความอิ่ม ปรารถนาจะบรรลุถึงอยู่
นั้นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ตัณหาในกามทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่นั่นเอง.
บทว่า ตโต นิวตฺตา ความว่า บุคคลเหล่าใดมีจิตและกายกลับจากวัตถุกาม
และกิเลสกามแล้ว เห็นโทษด้วยญาณนั่นแล อิ่มเอิบบริบูรณ์ด้วยปัญญา บุคคล
เหล่านั้นแลชื่อว่าย่อมอิ่ม. บทว่า ปญฺาย ติตฺตีน เสฏฺ คือความอิ่มด้วย
ปัญญานี้ ย่อมเป็นของประเสริฐเต็มที่. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า น โส กาเมหิ ตปฺปติ นี้ บาลีว่า ย่อมไม่ถูกกามทั้งหลายแผดเผา.
อธิบายว่า เพราะเหตุที่บุรุษผู้อิ่มด้วยปัญญา ย่อมไม่ถูกกามแผดเผา. บทว่า
น กุรุเต วส ความว่า เพราะตัณหาไม่อาจยังบุรุษเช่นนั้นให้อยู่ในอำนาจได้
ก็บุรุษนั้นนั่นแลเห็นโทษแห่งตัณหาแล้ว ย่อมไม่เป็นไปในอำนาจแห่งตัณหา
เหมือนวังวนแห่งสายน้ำ และเหมือนพระราชอัฑฒมาสก. บทว่า อปจิเนเถว
แปลว่า พึงกำจัดเสียเลย. บทว่า สมุทฺทมตฺโต คือมีประมาณสมุทร เพราะ
ประกอบด้วยปัญญาอันใหญ่. บุรุษนั้น ย่อมไม่เดือดร้อนคือไม่รุ่มร้อนด้วยกิเลส
กามทั้งหลาย เหมือนสมุทรไม่ร้อนแม้เพราะไฟใหญ่ฉะนั้น. บทว่า รถกาโร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 157
แปลว่า ช่างหนัง. บทว่า ปริกนฺต แปลว่า ตัดแล้ว ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า
ช่างหนังตัดรองเท้า เว้นที่ที่หนังไม่เข้าลักษณะที่ถือเอาได้ ทำให้เป็นรองเท้า
ได้ค่ารองเท้า ย่อมได้รับความสุขฉันใด บัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณา
ด้วยปัญญาอันเสมือนกับศาสตราของช่างรองเท้า พึงถึงความสุขทางกายกรรม
วจีกรรมและมโนกรรมนั้น ที่เว้นจากแดนแห่งกาม อันเป็นเหตุให้ตนละแดน
กาม ปรารถนาเฉพาะสุขมีกายกรรมเป็นต้น ทุกอย่างที่ปราศจากความเร่าร้อน
พึงเจริญกสิณยังฌานให้เกิดละกามทั้งปวงเสีย.
ก็เมื่อพระมหาสัตว์กำลังกล่าวคาถานี้อยู่ ได้เกิดฌานมีโอทาตกสิณ
เป็นอารมณ์ เพราะหน่วงเอาพระเศวตฉัตรของพระราชาเป็นอารมณ์. แม้
พระราชาก็ทรงหายจากโรค พระองค์ทรงมีความยินดี เสด็จลุกจากพระที่บรรทม
มีพระดำรัสว่า พวกแพทย์เท่านี้ยังไม่อาจรักษาได้ แต่มาณพผู้เป็นบัณฑิต
ได้ทำเราให้ปราศจากโรคด้วยญาณวิสัยของตนได้ เมื่อจะทรงปราศรัยกับพระ-
โพธิสัตว์ ได้ตรัสพระคาถาที่ ๑๐ ว่า
คาถาทั้งหมด ๘ คาถา ที่ท่านกล่าวแล้ว ขอ
ท่านจงรับเอาทรัพย์ทั้ง ๘,๐๐๐ นี้เถิด คำที่ท่านกล่าวนี้
เป็นคำยังประโยชนให้สำเร็จ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺ ได้แก่ คาถา ๘ คาถา ที่ประกอบ
ด้วยโทษแห่งกาม ตั้งต้นแต่คาถาที่ ๒ ไป. บทว่า สหสฺสิยา แปลว่า ควรแก่
๑,๐๐๐. บทว่า ปฏิคฺคณฺห ความว่า จงรับเอาทรัพย์ ๘,๐๐๐. บทว่า สาเธต
ตว ภาสิต ความว่า คำที่ท่านกล่าวนี้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
พระมหาสัตว์ ได้สดับดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๑๑ ว่า
ข้าพระบาทไม่ต้องการด้วยทรัพย์ร้อยทรัพย์พัน
หรือทรัพย์หมื่น เมื่อข้าพระบาทกล่าวคาถาสุดท้าย ใจ
ของข้าพระบาทไม่ยินดีในกาม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 158
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺฉิม นี้เป็นคาถาสุดท้ายว่า รถกาโรว
จมฺมสฺส. บทว่า กาเม เม นิรโต มโน ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
เมื่อข้าพระองค์กำลังกล่าวคาถาอยู่นั่นแล ใจไม่ยินดีทั้งในวัตถุกาม ทั้งกิเลสกาม
เพราะข้าพเจ้านั้น เมื่อกล่าวคาถายังฌานให้บังเกิดด้วยธรรมเทศนาของตนแล.
พระราชาทรงยินดีอย่างเหลือประมาณ ในเมื่อจะทรงสรรเสริญพระ-
มหาสัตว์ ได้ตรัสคาถาสุดท้ายว่า
มาณพใดเป็นบัณฑิต กำหนดรู้ตัณหา อันยัง
ความทุกข์ให้เกิดแล้ว นำออกได้ มาณพนี้เป็นคนดี
เป็นมุนีผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขชนนึ ได้แก่ ยังทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้น
ให้เกิด. บทว่า ปริชานาติ ได้แก่ กำหนดรู้แล้ว คือกำหนดตัด ตัดขาด
นำออกไป เมื่อสรรเสริญพระโพธิสัตว์จึงได้ตรัสอย่างนี้.
พระโพธิสัตว์ถวายโอวาทพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์
จงเป็นผู้ไม่ประมาทประพฤติธรรมเถิด แล้วเหาะไปยังหิมวันตประเทศ บวช
เป็นฤาษีเจริญพรหมวิหารอยู่จนตลอดชนมายุ แล้วไปเกิดในพรหมโลก.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน เราก็ได้ทำให้พราหมณ์นี้คลายความ
เศร้าโศกด้วยประการดังนี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้นได้
มาเป็นพราหมณ์นี้ ส่วนมาณพผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถากามชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 159
๕. ชนสันธชาดก
ว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน
[๑๖๔๙] พระเจ้าชนสันธะได้ตรัสอย่างนี้ว่า
เหตุที่จะทำให้จิตเดือดร้อนนั้นมีอยู่ ๑๐ ประการ บุคคล
ไม่กระทำเสียในกาลก่อนแล้ว ย่อมเดือดร้อนใน
ภายหลัง.
[๑๖๔๐] บุคคลเมื่อยังเป็นหนุ่ม ไม่ทำความ
พยายามยังทรัพย์ให้เกิดขึ้น ครั้นแก่ลงหาทรัพย์ไม่ได้
ย่อมเดือดร้อนภายหลังว่า เมื่อก่อนเราไม่ได้แสวงหา
ทรัพย์ไว้.
[๑๖๕๑] ศิลปะที่สมควรแก่ตน บุคคลใดไม่ได้
ศึกษาไว้ในกาลก่อน บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนใน
ภายหลังว่า เราไม่ได้ศึกษาศิลปะไว้ก่อน ผู้ไม่มีศิลปะ
ย่อมเลี้ยงชีพลำบาก.
[๑๖๕๒] ผู้ใดเป็นคนโกง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อน
ในภายหลังว่า เราเป็นคนโง่ ส่อเสียด กินสินบน
ดุร้าย หยาบคาย ในกาลก่อน.
[๑๖๕๓] ผู้ใดเป็นคนฆ่าสัตว์ ผู้นั้นย่อมเดือดร้อน
ในภายหลังว่า เราเป็นคนฆ่าสัตว์ หยาบช้าทุศีล
ประพฤติต่ำช้า ปราศจากขันติ เมตตาและเอ็นดูสัตว์
ในกาลก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 160
[๑๖๕๔] ผู้ใดคบชู้ในภรรยาผู้อื่น ย่อมเดือดร้อน
ในภายหลังว่า หญิงที่ไม่มีใครหวงแหนมีอยู่เป็นอัน
มาก ไม่ควรที่เราจะคบหาภรรยาผู้อื่นเลย.
[๑๖๕๕] คนตระหนี่ ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
ว่าเมื่อก่อน ข้าวและน้ำของเรามีอยู่มากมาย เราก็มิได้
ให้ทานเลย.
[๑๖๕๖] ผู้ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดา ย่อมเดือดร้อน
ในภายหลังว่า เราสามารถพอที่จะเลี้ยงดูมารดาและ
บิดาผู้แก่เฒ่าชราได้ ก็มิได้เลี้ยงดูท่าน.
[๑๖๕๗] ผู้ไม่ทำตามโอวาทบิดา ย่อมเดือดร้อน
ในภายหลังว่า เราได้ดูหมิ่นบิดาผู้เป็นอาจารย์สั่งสอน
ผู้นำรสที่ต้องการทุกอย่างมาเลี้ยงดู.
[๑๖๕๘] ผู้ไม่เข้าใกล้สมณพราหมณ์ ย่อม
เดือดร้อนในภายหลังว่า เมื่อก่อนเรามิได้ไปมาหาสู่
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีศีล เป็นพหูสูตเลย.
[๑๖๕๙] ผู้ใดไม่ประพฤติสุจริตธรรม ไม่เข้า
ไปนั่งใกล้สัตบุรุษ ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า
สุจริตธรรมที่ประพฤติแล้ว และสัตบุรุษอันเราไปมา
หาสู่แล้ว ย่อมเป็นความดี แต่เมื่อก่อนนี้เราไม่ได้
ประพฤติสุจริตธรรมไว้เลย.
[๑๖๖๐] ผู้ใดย่อมปฏิบัติเหตุเหล่านี้โดยอุบายอัน
แยบคาย ผู้นั้นเมื่อกระทำกิจที่บุรุษควรทำ ย่อมไม่
เดือดร้อนใจในภายหลังเลย.
จบชนสันธชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 161
อรรถกถาชนสันธชาดก
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร มีพระพุทธ-
ประสงค์จะประทานโอวาทแก่พระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า ทส ขลุมานิ านานิ ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในกาลครั้งหนึ่ง พระเจ้าโกศลทรงมัวเมาด้วยอิส-
ริยยศหมกมุ่นอยู่ในความสุขที่เกิดแต่กิเลส ไม่ปรารถนาจะตัดสินคดี แม้การ
บำรุงพระพุทธเจ้า ก็ทรงลืมเสีย วันหนึ่ง พระองค์ทรงระลึกถึงพระทศพล
ทรงดำริว่า จักถวายบังคมพระศาสดา พอเสวยกระยาหารเช้าแล้ว เสด็จขึ้น
พระราชยานไปพระวิหาร ถวายบังคมพระศาสดาแล้วประทับนั่ง ลำดับนั้น
พระศาสดาตรัสกะพระราชาว่า มหาบพิตร นานมาแล้ว พระองค์มิได้เสด็จมา
เพราะเหตุไร พระเจ้าโกศลทูลว่า เพราะข้าพระองค์มีราชกิจมากพระเจ้าข้า
ไม่มีโอกาสที่จะมาเฝ้าพระองค์ ตรัสว่า มหาบพิตร เมื่อพระพุทธเจ้าผู้สัพพัญญู
ผู้ให้โอวาทเช่นเรา อยู่ในวิหารที่ใกล้ ไม่ควรที่พระองค์จะประมาท วิสัย
พระราชาต้องไม่ประมาทในราชกิจทั้งหลาย ดำรงพระองค์เสมอด้วยมารดาบิดา
ของชาวแว่นแคว้น ละอคติเสียครองราชสมบัติโดยทศพิธราชธรรมจึงจะควร
เพราะเมื่อพระราชาประพฤติธรรม แม้บริษัทของพระองค์ก็ประพฤติธรรม ข้อที่
เมื่อเราตถาคตสั่งสอนอยู่ พระองค์ครองราชสมบัติโดยธรรม นั้นไม่น่าอัศจรรย์
โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้ไม่มีอาจารย์สั่งสอน ก็ยังตั้งอยู่ในสุจริตธรรม
สามประการ แสดงธรรมแก่มหาชน ตามความรู้ของตน พาบริษัทไปสวรรค์
ได้ พระเจ้าโกศลทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว พระพุทธองค์ทรงนำอดีตนิทาน
มาตรัสเล่า ดังต่อไปนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 162
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรทมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีพระเจ้าพรหมทัต
พระญาติทั้งหลายได้ถวายพระนามว่า ชนสันธกุมาร เมื่อพระโพธิสัตว์เจริญวัย
เรียนศิลปวิทยาจากเนืองตักกศิลากลับมาแล้ว พระราชามีรับสั่งให้ชำระเรือนจำ
ทั้งหมดให้สะอาด แล้วพระราชทานตำแหน่งอุปราช.
ต่อมาเมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พระโพธิสัตว์ได้ครองราชสมบัติ
รับสั่งให้สร้างโรงทานหกแห่ง คือที่ประตูพระนครทั้งสี่ด้าน ที่กลางพระนคร
และที่ประตูพระราชวัง บริจาคพระราชทรัพย์วันละหกแสน ทรงบำเพ็ญ
มหาทานจนลือกระฉ่อนไปทั่วชมพูทวีป รับสั่งให้เปิดเรือนจำไว้เป็นนิจ ให้
เคาะระฆังป่าวร้องมาฟังธรรม ทรงสงเคราะห์โลก ด้วยสังคหวัตถุสี่ รักษา
ศีลห้า อยู่จำอุโบสถ ครองราชสมบัติโดยธรรม บางครั้งบางคราวก็ให้ชาว
แว่นแคว้นมาประชุมกัน แล้วแสดงธรรมว่า ท่านทั้งหลายจงให้ทาน จง
สมาทานศีล จงประพฤติธรรม จงประกอบการงานและการค้าขายโดยธรรม
เมื่อเป็นเด็กจงเรียนศิลปวิทยา จงแสวงหาทรัพย์ อย่าคดโกงชาวบ้าน อย่า
ทำความส่อเสียด อย่าเป็นคนดุร้ายหยาบช้า จงบำรุงมารดาบิดา มีความเคารพ
อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล พระองค์ได้ทำมหาชนให้ตั้งอยู่ในสุจริตธรรม.
วันหนึ่งเป็นวันปัณรสีอุโบสถ พระโพธิสัตว์ทรงสมาทานอุโบสถศีล
แล้ว ทรงดำริว่า เราจักแสดงธรรมแก่มหาชน เพื่อประโยชน์สุขยิ่ง ๆ ขึ้น
เพื่อให้มหาชนอยู่ด้วยความไม่ประมาท รับสั่งให้ตีกลอง ป่าวร้องทั่วพระนคร
ให้ชาวพระนครทั้งหมด ตั้งต้นแต่พระสนมของพระองค์ มาประชุมกัน แล้ว
ประทับนั่งบนบัลลังก์อันประเสริฐที่ตกแต่งไว้กลางรัตนมณฑปซึ่งประดับประดา
แล้วในพระลานหลวง ตรัสว่า ชาวพระนครที่รักทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 163
ที่ร้อนบ้าง ไม่ร้อนบ้าง แก่ท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท
เงี่ยโสตสดับโดยเคารพเถิด แล้วทรงแสดงธรรม.
พระศาสดาทรงเผยพระโอฐแก้วอันอบรมแล้วด้วยอริยสัจ เมื่อจะตรัส
เทศนานั้นโดยแจ่มแจ้งแก่พระเจ้าโกศล ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ ได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า
พระเจ้าชนสันธะได้ตรัสอย่างนี้ว่า เหตุที่จะทำ
ให้จิตเดือดร้อนนั้นมีอยู่ ๑๐ ประการ บุคคลไม่ทำ
เสียในกาลก่อนแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.
บุคคลเมื่อยังเป็นหนุ่ม ไม่ทำความพยายามยัง
ทรัพย์ให้เกิดขึ้น ครั้นแก่ลงหาทรัพย์ไม่ได้ ย่อมเดือด-
ร้อนภายหลังว่า เมื่อก่อนเราไม่ได้แสวงหาทรัพย์ไว้.
ศิลปะที่สมควรแก่ตน บุคคลใดไม่ได้ศึกษาไว้ใน
กาลก่อน บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เราไม่
ได้ศึกษาศิลปะไว้ก่อน ผู้ไม่มีศิลปะย่อมเลี้ยงชีพลำบาก.
ผู้ใดเป็นคนโกง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
ว่าเราเป็นคนโกง ส่อเสียดกินสินบนดุร้าย หยาบคาย
ในกาลก่อน.
ผู้ใดเป็นคนฆ่าสัตว์ ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภาย-
หลังว่า เราเป็นคนฆ่าสัตว์ หยาบช้าทุศีล ประพฤติ
ต่ำช้า ปราศจากขันติ เมตตาและเอ็นดูสัตว์ในกาลก่อน.
ผู้ใดคบชู้ในภรรยาผู้อื่น ย่อมเดือดร้อนในภาย
หลังว่า หญิงที่ไม่มีใครหวงแหนมีอยู่เป็นอันมาก ไม่
ควรที่เราจะคบหาภรรยาผู้อื่นเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 164
คนตระหนี่ ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่าเมื่อก่อน
ข้าวและน้ำของเรามีอยู่มากมาย เราก็มิได้ให้ทานเลย.
ผู้ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดา ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
ว่า เราสามารถพอที่จะเลี้ยงดูมารดาและบิดาผู้แก่เฒ่า
ชราได้ ก็ไม่ได้เลี้ยงดูท่าน.
ผู้ไม่ทำตามโอวาทบิดา ย่อมเดือดร้อนในภาย
หลังว่า เราได้ดูหมิ่นบิดาผู้เป็นอาจารย์สั่งสอน ผู้นำ
รสที่ต้องการทุกอย่างมาเลี้ยงดู.
ผู้ไม่เข้าใกล้สมณพราหมณ์ ย่อมเดือดร้อนใน
ภายหลังว่า เมื่อก่อนเราไม่ได้ไปมาหาสู่สมณพราหมณ์
ทั้งหลายผู้มีศีล เป็นพหูสูตเลย.
ผู้ใดไม่ประพฤติสุจริตธรรม ไม่เข้าไปนั่งใกล้
สัตบุรุษ ย่อมเดือดร้อนภายหลังว่า สุจริตธรรมที่
ประพฤติแล้ว และสัตบุรุษอันเราไปมาหาสู่แล้ว ย่อม
เป็นความดี แต่เมื่อก่อนนี้เราไม่ได้ประพฤติสุจริตธรรม
ไว้เลย.
ผู้ใดย่อมปฏิบัติเหตุเหล่านี้โดยอุบายอันแยบคาย
ผู้นั้นเมื่อกระทำกิจที่บุรุษควรทำ ย่อมไม่เดือดร้อนใจ
ในภายหลังเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า านานิ ได้แก่ เหตุทั้งหลาย. บทว่า
ปุพฺเพ ความว่า ไม่กระทำไว้ก่อนเลย. บทว่า ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ
ความว่า บุคคลผู้ไม่กระทำกิจที่ควรทำไว้ก่อน ย่อมเดือดร้อน ย่อมลำบาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 165
ทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า ปจฺฉา อนุตปฺปติ ย่อมตาม
เดือดร้อนในภายหลังดังนี้ก็มี. บทว่า อิจฺจาหุ ความว่า พระเจ้าชนสันธะ
ได้ตรัสอย่างนั้น. บาลีว่า อิจฺจาสุห ดังนี้ก็มี. สุ อักษรในบทว่า อิจฺจาสุห
นั้นเป็นเพียงนิบาต. ตัดบทเป็น อิจฺจาสุ อาห เพื่อจะแสดงเหตุอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๑๐ อย่างนี้ พระโพธิสัตว์จึงมีธรรมกถา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ ความว่า บุคคลเมื่อคราวเป็น
หนุ่มครั้งแรกทีเดียว ไม่กระทำความบากบั่น ครั้นแก่ลงหาทรัพย์ไม่ได้ ต้อง
เดือดร้อนเศร้าโศก เห็นคนทั้งหลายมีความสุข ตนเองเป็นอยู่ลำบาก ย่อม
เดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราไม่ได้แสวงหาทรัพย์เอาไว้ ครั้น
แก่ลงย่อมลำบาก เพราะฉะนั้น เมื่อต้องการจะมีความสุขในเวลาแก่ ต้องทำงาน
มีกสิกรรมเป็นต้น ที่ชอบธรรม แต่เมื่อยังเป็นหนุ่มทีเดียว. บทว่า ปุเร สนฺต
ในกาลก่อนคือในเวลาที่เรายังหนุ่มไม่เข้าไปหาอาจารย์ทั้งหลาย ไม่ศึกษาศิลปะ
อะไร ๆ มีศิลปะในเพราะช้างเป็นต้นอันสมควรที่ตนจะทำ. บทว่า กิจฺฉา
ความว่า ในเวลาแก่ ผู้ไม่ศึกษาศิลปะจึงไม่สามารถเพื่อดำรงชีวิตให้พ้นจากทุกข์
ในกาลนั้นจึงควรศึกษาศิลปะ เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงว่า ท่านทั้งหลาย
ผู้ปรารถนาจะดำรงชีวิตในเวลาแก่ จงศึกษาศิลปะในเวลาเป็นหนุ่มทีเดียว.
บทว่า กูฏเวที ความว่า ผู้ใดก่อความโกงให้เกิด โกงชาวบ้าน ก่อความ
พินาศให้แก่โลก โกงด้วยสินบน. บทว่า อาสึ ความว่า ในกาลก่อนเราได้
เป็นเช่นนั้น. บทว่า ปิสุโณ แปลว่า โกงด้วยถ้อยความยุยงส่อเสียด. บทว่า
ปิฏฺมสิโก ความว่า ถือสินบนทำผู้มิใช่เจ้าของให้เป็นเจ้าของ ผู้ที่เป็นเจ้าของ
มิให้เป็นเจ้าของ กินเนื้อสันหลังของชนเหล่าอื่น. บทว่า อิติ ปจฺฉา ความว่า
นอนบนเตียงที่จะตายย่อมเดือดร้อนในภายหลังด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 166
ท่านจึงโอวาทว่า ถ้าท่านไม่อยากตกนรก ก็อย่ากระทำบาปกรรมเห็นปานนี้.
บทว่า ลุทฺโธ ความว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์เป็นทารุณสาหัส. บทว่า อนาริโย
ความว่า เป็นผู้ไม่ใช่พระอริยะ ไม่สำรวมเป็นคนทุศีล มีสมาจารต่ำช้า. บทว่า
นาวชานิสฺส ความว่า ข้าพเจ้ามิใช่เป็นผู้มีความประพฤติต่ำ ด้วยอำนาจ
ขันติ เมตตา และความเอ็นดู คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยมีในก่อนนั่นแล.
บทว่า อนาปทาสุ ความว่า การคบหากับหญิงที่ไม่มีใครหวงแหน. ชื่อว่า
อนาปทา เพราะเป็นหญิงไม่มีใครหวงแหน. อธิบายว่า ในหญิงที่คนเหล่าอื่น
ไม่ทำความหวงแหน. บทว่า อุฏฺิเต แปลว่า ปรากฏ. บทว่า น ปุพฺเพ
ความว่า เมื่อก่อนแต่นี้เรามิได้ให้ทานเลย. บทว่า ปหุสนฺโต ความว่า
เป็นผู้อาจ คือสามารถเพื่อจะเลี้ยงดูทั้งด้วยกำลังทรัพย์ทั้งด้วยกำลังกาย.
บทว่า อาจริย ความว่า บิดาในที่นี้ท่านประสงค์ว่าอาจารย์ เพราะให้
ศึกษามารยาท. บทว่า อนุสตฺถาร แปลว่า ผู้พร่ำสอน. บทว่า สพฺพกามรสา
หร ความว่า ผู้นำรสที่ต้องการทุกอย่างมาเลี้ยงดู. บทว่า อติมญฺิสฺส ความว่า
เมื่อไม่ถือเอาโอวาทของท่าน ชื่อว่าดูหมิ่นล่วงเกินท่าน. บทว่า น ปุพฺเพ ความ
ว่า เมื่อก่อนแต่นี้ ไม่ได้เข้าไปหาสมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรม ผู้เป็นไข้ ผู้ลำบาก
ไม่ปรนนิบัติโดยถวายปัจจัยมีจีวรเป็นต้น. บทว่า ตโป ได้แก่ ผู้มีความเพียร
เครื่องเผากิเลสคือสุจริต. บทว่า สนฺโต ความว่า เป็นผู้มีศีลเข้าไปสงบ
ด้วยทวารมีกายทวารเป็นต้น. ท่านกล่าวอธิบายนี้ไว้ว่า ผู้ประพฤติตบะกล่าว
สุจริต ๓ และผู้สงบเห็นปานนั้น ชื่อว่าเข้าไปนั่งใกล้ เป็นการยังประโยชน์ให้
สำเร็จคือเป็นความดี. บทว่า น ปุพฺเพ ความว่า เมื่อคราวเราเป็นหนุ่มเรา
มิได้ประพฤติพรหมจรรย์เห็นปานนี้ ภายหลังคร่ำคร่าลงเพราะชรา ถูกมรณภัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 167
คุกคาม จึงเดือดร้อนเศร้าโศกในภายหลังด้วยประการฉะนี้. ท่านกล่าวว่า ถ้า
ท่านปรารถนาจะไม่เศร้าโศกอย่างนี้ จงกระทำตปกรรมเถิด. บทว่า โย จ
เอตานิ านานิ ความว่า ผู้ใดปฏิบัติเหตุ ๑๐ ประการเหล่านี้ ด้วยอุบาย
อันแยบคายก่อนทีเดียว สมาทานประพฤติ กระทำกิจอันชอบธรรมที่บุรุษ
ทั้งหลายควรกระทำ บุรุษผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทนั้น ย่อมไม่ตามเดือดร้อน
ในภายหลัง ย่อมได้รับโสมนัสทีเดียวแล.
พระมหาสัตว์แสดงธรรมแก่มหาชนโดยทำนองนี้ ทุก ๆ กึ่งเดือนแม้
มหาชนก็ตั้งอยู่ในโอวาทของพระองค์ บำเพ็ญฐานะสิบประการเหล่านั้นบริบูรณ์
แล้วได้ไปสวรรค์.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อน
มหาบพิตร โบราณกบัณฑิต ไม่มีอาจารย์ แสดงธรรมตามความรู้ของตน
พามหาชนไปสวรรค์ได้อย่างนี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า บริษัทในครั้งนั้น
ได้มาเป็นพุทธบริษัทในครั้งนี้ ส่วนพระเจ้าชนสันธราชได้มาเป็นเราตถาคต
แล.
จบอรรถกถาชนสันธชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 168
๖. มหากัณหชาดก
ว่าด้วยคราวที่สุนัขดำกินคน
[๑๖๖๑] ดูก่อนท่านผู้มีความเพียร สุนัขตัวนี้
ดำจริง ดุร้าย มีเขี้ยวขาว มีความร้อนพุ่งออกจากเขี้ยว
ท่านผูกไว้ด้วยเชือกถึง ๕ เส้น สุนัขของท่านจะทำ
อะไร.
[๑๖๖๒] ดูก่อนพระเจ้าอุสินนระ สุนัขนี้มิได้มา
เพื่อต้องการกินเนื้อ แต่มาเพื่อจะกินมนุษย์ทั้งหลาย
เมื่อใด จักมีมนุษย์ทำความพินาศให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย
เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้ก็จะหลุดไปกินมนุษย์.
[๑๖๖๓] เมื่อใด คนทั้งหลายผู้ปฏิญาณตนว่าเป็น
สมณะมีบาตรในมือ ศีรษะโล้น คลุมผ้าสังฆาฏิจักทำ
ไร่ไถนาเลี้ยงชีพ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้ก็จะหลุดไป
กินคนเหล่านั้น.
[๑๖๖๔] เมื่อใด จักมีหญิงผู้ปฏิญาณตนว่ามีตบะ
บวชมีศีรษะโล้น คลุมผ้าสังฆาฏิเที่ยวบริโภคกามคุณ
อยู่ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินหญิงเหล่านั้น.
[๑๖๖๕] เมื่อใด ชฎิลทั้งหลายมีหนวดอันยาว
มีฟันเขลอะ มีศีรษะเกลือกกลั้วด้วยธุลีเที่ยวภิกษาจาร
รวบรวมทรัพย์ไว้ให้เขากู้ ชื่นชมยินดีด้วยดอกเบี้ย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 169
เลี้ยงชีพ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินชฎิล
เหล่านั้น.
[๑๖๖๖] เมื่อใด พราหมณ์ทั้งหลายเรียนเวทคือ
สาวิตติศาสตร์ ยัญญวิธีและยัญญสูตรแล้วรับจ้างบูชา-
ยัญ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินพราหมณ์
เหล่านั้น.
[๑๖๖๗] เมื่อใด ผู้มีกำลังสามารถจะเลี้ยงดู
มารดาบิดาได้ แต่ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าชรา
เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.
[๑๖๖๘] อนึ่ง เมื่อใด ชนทั้งหลายจักกล่าว
ดูหมิ่นมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าชราว่า เป็นคนโง่เง่า เมื่อนั้น
สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.
[๑๖๖๙] อนึ่ง เมื่อใด คนในโลกจักคบหาภรรยา
ของอาจารย์ ภรรยาเพื่อน ป้าและน้าเป็นภรรยา
เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.
[๑๖๗๐] เมื่อใด พวกพราหมณ์จักถือโล่และ
ดาบ คอยดักอยู่ที่ทางฆ่าคนชิงเอาทรัพย์ เมื่อนั้น
สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินพราหมณ์เหล่านั้น.
[๑๖๗๑] เมื่อใด นักเลงหญิงทั้งหลาย ขัดสี
ผิวกายบำรุงร่างกายให้อ้วนพี ไม่รู้จักหาทรัพย์ ร่วม
สังวาสกับหญิงหม้ายที่มีทรัพย์ ครั้นใช้สอยทรัพย์ของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 170
หญิงหม้ายนั้นหมดแล้ว ก็ทำลายมิตรภาพไปหาหญิง
อื่นต่อไป เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินนักเลง
หญิงเหล่านั้น.
[๑๖๗๒] เมื่อใด คนผู้มีมารยา ปกปิดโทษตน
เปิดเผยโทษผู้อื่น คิดให้ทุกข์ผู้อื่น มีอยู่ในโลก เมื่อนั้น
สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.
จบมหากัณหชาดกที่ ๖
อรรถกถามหากัณหชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภความประพฤติประโยชน์แก่สัตวโลก จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า กณฺโห กณฺโห จ โฆโร จ ดังนี้.
ความพิสดารมีว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งในธรรมสภาพรรณนาถึง
พระคุณของพระทศพล ที่ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกว่า ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นจำนวน
มาก ทรงละความผาสุกส่วนพระองค์เสีย ทรงประพฤติประโยชน์แก่สัตวโลก
โดยส่วนเดียว จำเดิมแต่บรรลุพระปรมาภิสัมโพธิญาณแล้ว ทรงถือบาตรจีวร
ด้วยพระองค์เอง เสด็จพุทธดำเนินทางสิบแปดโยชน์ ทรงแสดงธรรมจักรแก่
พระเถระปัญจวัคคีย์ ในดิถีที่ ๕ แห่งปักษ์ ตรัสอนัตตลักขณสูตร ประทาน
พระอรหัตแก่พระเถระปัญจวัคคีย์ทั้งหมด แล้วเสด็จไปอุรุเวลาประเทศ ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 171
แสดงพระปาฏิหาริย์สามพันห้าร้อยแก่ชฎิลสามพี่น้อง ให้บรรพชาแล้วพาไป
คยาสีสประเทศ ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร ประทานพระอรหัตแก่ชฎิล
พันหนึ่ง เสด็จไปต้อนรับพระมหากัสสประยะทางสามคาวุต ประทานอุปสมบท
ด้วยโอวาทสามข้อ ครั้งหนึ่งเวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่พระองค์เดียวล่วงมรรคา
สิบห้าโยชน์ ให้ปุกกุสาติกุลบุตรตั้งอยู่ในอนาคามิผล เสด็จไปต้อนรับมหากัปปินะ
ระยะทางยี่สิบโยชน์ ประทานพระอรหัต ครั้งหนึ่งเวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่
พระองค์เดียว ล่วงมรรคาสามสิบโยชน์ ให้พระองคุลีมาลซึ่งเป็นคนหยาบช้า
ตั้งอยู่ในพระอรหัต ครั้งหนึ่งเสด็จล่วงบรรดาสามสิบโยชน์ โปรดอาฬวกยักษ์
ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ทรงกระทำความสวัสดีแก่กุมารที่จะเป็นอาหารยักษ์
ครั้งหนึ่งเสด็จจำพรรษาในดาวดึงส์พิภพ ให้เทวดาแปดสิบโกฏิบรรลุธรรมา-
ภิสมัย แล้วเสด็จไปพรหมโลก ทำลายทิฏฐิของพวกพรหม ประทานพระอรหัต
แก่พวกพรหมหมื่นหนึ่ง เสด็จจาริกไปสามมณฑลตามลำดับปี ประทานสรณะ
และศีลแก่พวกมนุษย์ที่มีอุปนิสัยสมบูรณ์ ทรงประพฤติประโยชน์มีประการ
ต่าง ๆ แม้แก่นาคและสุบรรณเป็นต้น.
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบรรลุอภิสัมโพธิญาณแล้วประพฤติเป็นประโยชน์
แก่สัตวโลกในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ แม้ในกาลก่อนเมื่อตถาคตยังมีกิเลสมีราคะ
เป็นต้น ก็ได้ประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกมาแล้วเหมือนกัน ทรงนำ
อดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งพระศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าอุส-
สินนรราชเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี เมื่อพระกัสสปสัมมาสัม-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 172
พุทธเจ้า เปลื้องมหาชนให้พ้นจากเครื่องผูกพันคือกิเลส ด้วยจตุราริยสัจเทศนา
ทำพระนครคือพระนิพพานให้เต็มแล้วเสด็จปรินิพพาน ครั้นกาลล่วงมานาน
ศาสนาก็เสื่อม ภิกษุทั้งหลายเลี้ยงชีพด้วยการแสวงหาไม่สมควร ทำการเกี่ยวข้อง
กับพวกภิกษุณีจนมีบุตรธิดา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและพราหมณ์ ต่างละธรรม
ของตนเสียสิ้น โดยมากพวกมนุษย์ประพฤติอกุศลกรรมบถสิบ ผู้ที่ตายไป ๆ
จึงไปอัดแน่นกันอยู่ในอบาย.
ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชไม่เห็นเทวบุตรใหม่ ๆ จึงตรวจดูมนุษยโลก
ก็ทรงทราบว่า พวกมนุษยโลกไปเกิดในอบาย ทรงเล็งเห็นความที่ศาสนาของ
พระศาสดาเสื่อมโทรม ทรงดำริว่า จักทำอย่างไรดีหนอ ทรงเห็นอุบายมีอยู่
อย่างหนึ่ง จึงตกลงพระทัยว่า เราจักต้องทำให้มหาชนกลัว สะดุ้งหวาดเสียว
แล้วค่อยปลอบโยนแสดงธรรม ยกย่องพระศาสนาที่เสื่อมแล้วให้ถาวรต่อไปได้
อีกพันปี รับสั่งให้มาตลีเทพบุตรแปลงเพศเป็นสุนัขดำใหญ่เท่าม้าอาชาไนย
มีรูปร่างดุร้าย มีเขี้ยวโตเท่าผลกล้วย มีรัศมีร้อนเป็นไฟ พลุ่งออกจากเขี้ยว
ทั้งสี่ รูปพิลึกน่าสะพรึงกลัว หญิงมีครรภ์เห็นเข้าอาจแท้งลูก มีเชือกผูกอยู่ห้าแห่ง
คือที่เท้าทั้งสี่และที่คอ บนศีรษะประดับพวงดอกไม้แดง ท้าวสักกะแปลงเพศ
เป็นนายพรานป่า นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด มุ่นผมข้างหน้าไว้ข้างหลังแล้วประดับ
พวงดอกไม้แดง มือขวาถือปลายเชือกที่ผูกสุนัข มือซ้ายถือธนูใหญ่มีสาย มีสี
ดังแก้วประพาฬ กวัดแกว่งวชิราวุธด้วยพระนขา เหาะลงในที่ห่างพระนคร
โยชน์หนึ่ง ส่งเสียงขึ้นสามครั้งว่า มนุษย์ผู้เจริญทั้งหลาย โลกจักพินาศทำให้
มนุษย์ทั้งหลายหวาดเสียว แล้วไปชานพระนครส่งเสียงขึ้นอีก พวกมนุษย์เห็น
สุนัขนั้นก็หวาดเสียว พากันเข้าพระนคร กราบทูลความเป็นไปให้พระราชา
ทรงทราบ พระราชารับสั่งให้ปิดพระนครโดยด่วน ท้าวสักกะได้โดดข้ามกำแพง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 173
สูงสิบแปดศอก เข้าไปข้างในพระนครพร้อมกับสุนัข พวกมนุษย์กลัวสะดุ้ง
หวาดเสียว ต่างก็หนีเข้าเรือนปิดประตู ฝ่ายสุนัขดำใหญ่ก็วิ่งไล่พวกมนุษย์ที่
ตนได้เห็น ทำให้พวกมนุษย์หวาดเสียวไปพระราชนิเวศน์.
พวกมนุษย์ที่พระลานหลวงพากันหนีไปด้วยความกลัว เข้าพระราช-
นิเวศน์แล้วปิดพระทวาร แม้พระเจ้าอุสสินนรราชก็พานางสนมทั้งหลายขึ้น
ปราสาท สุนัขดำใหญ่ยกเท้าหน้าขึ้นเกาะบานประตูแล้วเห่าลั่น เสียงที่สุนัขเห่า
ดังสนั่นเบื้องล่างถึงอเวจี เบื้องบนถึงภวัครพรหม สกลจักรวาลสะเทือนทั่วถึง
กันหมด เสียงดังเช่นนี้ได้มีในชมพูทวีปสามครั้ง คือเสียงของพระเจ้าปุณณกราช
ในปุณณกชาดกครั้งหนึ่ง เสียงของพระยาสุทัศนนาคราช ในภูริทัตชาดก
ครั้งหนึ่ง และเสียงในมหากัณหชาดกนี้ครั้งหนึ่ง ชาวพระนครพากันกลัวสะดุ้ง
หวาดเสียว แม้บุรุษคนหนึ่งก็ไม่อาจมาเจรจากับท้าวสักกะได้.
พระราชาเท่านั้นดำรงพระสติไว้มั่นคง เยี่ยมพระแกล เรียกท้าวสักกะ
มาตรัสว่า ดูก่อนนายพรานผู้เจริญ สุนัขของท่านเห่าเพื่ออะไร ท้าวสักกะ
ตอบว่า เห่าด้วยความหิว พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เราจักให้ข้าวแก่สุนัข
แล้วรับสั่งให้ให้ข้าวที่หุงไว้สำหรับคนในราชสำนักและสำหรับพระองค์ทั้งหมด
สุนัขได้ทำข้าวทั้งหมดนั้นเหมือนกะเป็นข้าวคำเดียว แล้วก็เห่าขึ้นอีก
พระราชาตรัสถามอีก ทรงสดับว่า บัดนี้สุนัขของเรายังหิวอยู่ จึงรับสั่งให้นำ
อาหารที่หุงไว้สำหรับช้างม้าเป็นต้นทั้งหมดมาให้ สุนัขได้กินคำเดียวหมด
เหมือนกัน รับสั่งให้ให้อาหารที่หุงไว้สำหรับพระนครทั้งสิ้น สุนัขได้กินอาหาร
นั้นโดยทำนองนั้นแหละ แล้วก็เห่าขึ้นอีก พระราชาทรงตกพระทัยสะดุ้งกลัว
ทรงดำริว่า นี่เห็นจะไม่ใช่มนุษย์ ต้องเป็นยักษ์โดยไม่ต้องสงสัย เราจะถาม
เหตุที่มาของนายพรานนี้ เมื่อจะตรัสถามได้ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 174
ดูก่อนท่านผู้มีความเพียร สุนัขตัวนี้ดำจริง
ดุร้าย มีเขี้ยวขาว มีความร้อนพุ่งออกจากเขี้ยว ท่าน
ผูกไว้ด้วยเชือกถึง ๕ เส้น สุนัขของท่านจะทำอะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กณฺโห กณฺโห ความว่า เปล่งเสียง
ซ้ำด้วยอำนาจความกลัว หรือด้วยอำนาจกรรมอันมั่น. บทว่า โฆโร ได้แก่
ให้เกิดความกลัวแก่ผู้ได้พบเห็น. บทว่า ปตาปวา ความว่า มีแสงร้อน ด้วย
ความร้อนแห่งรัศมีที่พลุ่งออกมาจากเขี้ยวทั้งหลาย. บทว่า กึ วีร ความว่า
พระราชาตรัสอย่างนั้นด้วยทรงพระประสงค์ว่า ดูก่อนท่านผู้มีความเพียร สุนัข
ตัวดุร้ายของท่าน เห็นปานนี้นั้น ทำอะไร มันจับมฤคกินหรือจับอมิตรให้
ท่าน ท่านจะประโยชน์อะไรด้วยสุนัขตัวนี้ จงปล่อยมันไปเถิด.
ท้าวสักกะได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า
ดูก่อนพระเจ้าอุสินนระ สุนัขนี้มิได้มาเพื่อต้อง
การกินเนื้อ แต่เพื่อจะกินมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อใดจักมี
มนุษย์ทำความพินาศให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อนั้น
สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินมนุษย์.
คำอันเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า ก็สุนัขตัวนี้มิได้มาในที่นี้ด้วยหวังว่า
จะกินเนื้อมฤค เพราะฉะนั้น จะไม่มีประโยชน์สำหรับพวกมฤค แต่มาเพื่อจะ
กินเนื้อมนุษย์ เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะทำความฉิบหายความพินาศให้แก่มนุษย์
เหล่านั้น เมื่อใด ผู้นั้นทำพวกมนุษย์ให้ถึงความพินาศ เมื่อนั้น สุนัขดำนี้ย่อม
หลุด คือจักหลุดจากมือของเราไปกินผู้นั้น.
ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามท้าวสักกะว่า ดูก่อนนายพรานผู้เจริญ
สุนัขดำของท่านจักกินเนื้อมนุษย์ทุกคนหรือว่าจักกินแต่ผู้ที่มิใช่มิตรของท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 175
เท่านั้น ท้าวสักกะตอบว่า ดูก่อนพระราชาผู้ใหญ่ สุนัขจักกินเนื้อมนุษย์ที่มิใช่
มิตรของเราเท่านั้น. คนเช่นไร ที่มิใช่มิตรของท่านในที่นี้. คนที่ไม่ยินดีในธรรม
มีความประพฤติไม่เรียบร้อย ชื่อว่าผู้มีใช่มิตร. ขอท่านจงกล่าวลักษณะคน
เหล่านั้นให้เราทราบก่อน.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะตรัสบอกแก่พระราชา ได้ตรัส
พระคาถาสิบคาถาว่า
ผู้ที่ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะมีบาตรในมือ มี
ศีรษะโล้น คลุมผ้าสังฆาฏิ ทำไรไถนาเลี้ยงชีพ คน
เหล่านี้เป็นคนทุศีล มิใช่มิตรของเรา สุนัขของเราจัก
ฆ่ากินเนื้อได้เมื่อใด สุนัขดำจะหลุดจากเชือกห้าเส้น
ไป เมื่อนั้น.
เมื่อใด จักมีหญิงผู้ปฏิญาณตนว่ามีตบะ บวช
มีศีรษะโล้น คลุมผ้าสังฆาฏิเที่ยวบริโภคกามคุณอยู่
เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินหญิงเหล่านั้น.
เมื่อใด ชฎิลทั้งหลายมีหนวดอันยาว มีฟัน
เขลอะ มีศีรษะเกลือกกลั้วด้วยธุลีเที่ยวภิกขาจาร รวม
ทรัพย์ไว้ให้กู้ ชื่นชมยินดีด้วยดอกเบี้ยเลี้ยงชีพ เมื่อ
นั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินชฎิลเหล่านั้น.
เมื่อใด พราหมณ์ทั้งหลายเรียนเวทคือสาวิตติ
ศาสตร์ ยัญญวิธีและยัญญสูตร แล้วรับจ้างบูชายัญ
เมื่อนั้น สุนัขดำเหล่านี้จะหลุดไปกินพราหมณ์เหล่า
นั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 176
เมื่อใด ผู้มีกำลังสามารถจะเลี้ยงดูมารดาบิดาได้
แต่ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าชรา เมื่อนั้น สุนัขดำ
ตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.
อนึ่ง เมื่อใด ชนทั้งหลายจักกล่าวดูหมิ่นมารดา
บิดาผู้แก่เฒ่าชราว่า เป็นคนโง่เง่า เมื่อนั้น สุนัขดำ
ตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.
อนึ่ง เมื่อใด คนในโลกจะคบหาภรรยาของ
อาจารย์ ภรรยาเพื่อน ป้าและน้าเป็นภรรยา เมื่อนั้น
สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.
เมื่อใด พวกพราหมณ์จักถือโล่และดาบ คอย
ดักอยู่ที่ทางฆ่าคนชิงเอาทรัพย์ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะ
หลุดไปกินพราหมณ์เหล่านั้น.
เมื่อใด นักเลงหญิงทั้งหลาย ขัดสีผิวกายบำรุง
ร่างกายให้อ้วนพี ไม่รู้จักหาทรัพย์ ร่วมสังวาสกับหญิง
หม้ายที่มีทรัพย์ ครั้นใช้สอยทรัพย์ของหญิงหม้ายนั้น
หมดแล้ว ก็ทำลายมิตรภาพไปหาหญิงอื่นต่อไป เมื่อ
นั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินนักเลงหญิงเหล่านั้น.
เมื่อใด คนผู้มีมารยา ปกปิดโทษตน เปิดเผย
โทษผู้อื่น คิดให้ทุกข์ผู้อื่น มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ
อยู่ในโลก เมื่อนั้น สุนัขดำจะหลุดพ้นจากเชือก ๕ เส้น
ไปกินคนเหล่านั้นทั้งหมด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 177
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมณกา ความว่า ท้าวสักกเทวราช
ตรัสอย่างนี้โดยโวหารว่าละอายเพียงปฏิญาณตนว่า เราเป็นสมณะ. บทว่า
กสิสฺสนฺติ ความว่า คนเหล่านั้น ย่อมทำไร่ไถนาเลี้ยงชีพอย่างเดียว แม้ใน
เวลานั้น. ก็ท้าวสักกะทำเป็นเหมือนไม่รู้จึงกล่าวอย่างนี้. จริงอยู่ ท่านมีประสงค์
ดังนี้ว่า คนเหล่านี้ คือเห็นปานนี้ เป็นคนทุศีล ไม่ใช่เป็นมิตรของเรา เมื่อใด
สุนัขของเราจักฆ่ากินเนื้อคนเหล่านี้ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้ ย่อมหลุดพ้นจาก
เชือก ๕ เส้นนี้. ด้วยอุบายนี้พึงทราบประกอบอธิบายในคาถาทั้งปวง. บทว่า
ปพฺพชิตา ได้แก่ เป็นผู้บวชในพระพุทธศาสนา. บทว่า คมิสฺสนฺติ ความว่า
เที่ยวบริโภคกามคุณ ๕ ในท่ามกลางเรือน. บทว่า ทีฆุตฺตโรฏฺา ความว่า
ชื่อว่า มีริมฝีปากสูงยาว เพราะมีเขี้ยวโต. บทว่า ปงฺคทนฺตา ได้แก่ ฟันประกอบ
ด้วยมลทินดังเปือกตม. บทว่า อิณ โมทาย ความว่า รวบรวมทรัพย์
ด้วยภิกขาจารประกอบหนี้ด้วยความเจริญ ยินดีการทำเช่นนั้น เลี้ยงชีพด้วย
ทรัพย์ที่ได้มาจากภิกขาจารนั้นไปในกาลใด. บทว่า สาวิตฺตึ ได้แก่เรียนเวท
คือสาวัตติศาสตร์. บทว่า ยญฺ ตตฺรญฺจ ได้แก่ เรียนยัญญวิธี และยัญญสูตร
ในที่นั้น. บทว่า ภติกาย ความว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้นเข้าไปหาพระราชา
และราชมหาอำมาตย์ แล้วบูชายัญเพื่อต้องการค่าจ้างอย่างนี้ว่า เราจักบูชายัญ
เพื่อท่าน ท่านจงให้ทรัพย์แก่เรา. บทว่า ปหุสนฺตา ความว่า เป็นผู้สามารถ
เพื่อพอกเลี้ยง. บทว่า พาลา ตุมฺเห ความว่า คนพาลทั้งหลาย กล่าวคำ
เป็นต้นว่า ท่านทั้งหลายไม่รู้อะไร. บทว่า คมิสฺสนฺติ ความว่า จักไปด้วย
อำนาจการเสพโมกขธรรม. บทว่า ปนฺถฆาฏ ความว่า ยืนอยู่ในทางเปลี่ยว
แล้วปล้นฆ่าพวกมนุษย์ ยึดเอาสิ่งของ ๆ พวกมนุษย์เหล่านั้น. บทว่า สุกฺกจฺฉวี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 178
ความว่า นักเลงหญิงทั้งหลาย ตบแต่งด้วยการขัดสีด้วยจุณน้ำฝาดเป็นต้น มี
ผิวพรรณขาว. ในบทว่า เวธเวรา ที่ชื่อว่านักเลงหญิงเพราะอรรถว่าประพฤติ
เป็นเวรกับหญิงหม้าย คือหญิงผัวตายเหล่านั้น. บทว่า ถูลพาหุ ความว่า
มีร่างกายอ้วนพี ด้วยการบำรุงร่างกายเป็นต้น มีการนวดยำเท้าเป็นต้น.
บทว่า อปาตุภา ความว่า เพราะไม่ปรากฏ คือเพราะไม่ทำทรัพย์ให้เกิด.
บทว่า มิตฺตเภท แปลว่า ทำลายมิตร. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้
เหมือนกัน. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เมื่อใดนักเลงหญิงเห็นปานนี้คิดว่า
หญิงเหล่านั้นจักไม่ละพวกเรา จึงเข้าไปหาหญิงหม้ายผู้มีเงินร่วมสังวาสกัน เคี้ยว
กินทรัพย์ของหญิงเหล่านั้น จักทำลายมิตรกับหญิงเหล่านั้น ทำลายความคุ้นเคย
ไปหาหญิงอื่นผู้มีทรัพย์ เมื่อนั้นสุนัขดำนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้นทั้งหมด ซึ่ง
เป็นโจร. บทว่า อสปฺปุริสจินฺติกา ความว่า มีปกติคิดอย่างอสัตบุรุษ คือ
คิดทำร้ายผู้อื่น. เมื่อนั้นสุนัขดำหลุดออกฆ่าพวกเหล่านั้นหมดกัดกินเนื้อแล.
ก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะได้ตรัสว่า ดูก่อนมหาราช
คนเหล่านี้ไม่ใช่มิตรของเรา แล้วทรงแสดงสุนัขทำเป็นอยากจะวิ่งไปกัดพวก
อธรรมนั้น ๆ ขณะนั้นมหาชนมีจิตหวาดกลัว ท้าวสักกะทำเป็นฉุดเชือกรั้ง
สุนัขไว้ แล้วละเพศนายพราน เหาะขึ้นไปในอากาศดังดวงอาทิตย์แรกขึ้น
รุ่งเรืองอยู่ด้วยอานุภาพของพระองค์ แล้วตรัสว่า ดูก่อนมหาราช เราคือ
ท้าวสักกเทวราช มาด้วยเห็นว่า โลกนี้จักพินาศ เพราะเดี๋ยวนี้มหาชนพากัน
ประมาทประพฤติอธรรม ตายไป ๆ แออัดอยู่ในอบาย เทวโลกดุจว่างเปล่า ตั้ง
แต่นี้ไปเราจักรู้สิ่งที่ควรทำสำหรับผู้ไม่ประพฤติธรรม ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท
เถิดพระมหาราช แล้วทรงแสดงธรรมด้วยพระคาถาที่มีค่าตั้งร้อยสี่พระคาถา ให้
มนุษย์ทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมและศีล ทำพระศาสนาที่เสื่อมโทรมให้สามารถเป็น
ไปได้อีกพันปี แล้วพามาตลีเสด็จไปยังพิมานของพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 179
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดง แล้วตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราประพฤติประโยชน์แก่โลกแม้ในกาลก่อนอย่างนี้ แล้วทรง
ประชุมชาดกว่า มาตลีเทพบุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วน
ท้าวสักกะได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถามหากัณหชาดก
๗. โกสิยชาดก
ว่าด้วยโกสิยเศรษฐีขี้ตระหนี่
[๑๖๗๓] ข้าพเจ้าไม่ซื้อไม่ขายเลย อนึ่ง ความ
สั่งสมของข้าพเจ้าก็มิได้มีในที่นี้เลย ภัตนี้นิดหน่อย
หาได้ยากเหลือเกิน ข้าวสุกแล่งหนึ่งหาพอเพียงแก่เรา
ทั้งสองคนไม่.
[๑๖๗๔] บุคคลควรแบ่งของน้อยให้ตามน้อย
ควรแบ่งของปานกลางให้ตามของปานกลาง ควรแบ่ง
ของมากให้ตามมาก การไม่ให้เสียเลย ย่อมไม่สมควร
ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าว
กะท่าน ท่านจงขึ้นสู่ทางแห่งพระอริยะ จงให้ทานด้วย
จงบริโภคด้วย ผู้บร้โภคคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข.
[๑๖๗๕] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว บริโภคโภชนะ
แต่ผู้เดียว พลีกรรมของผู้นั้นย่อมไร้ผล ทั้งความเพียร
ที่จะหาทรัพย์ก็ไร้ประโยชน์ ดูก่อนโกสิยเศรษฐี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 180
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่
หนทางแห่งพระอริยะ จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย
ผู้บริโภคคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข.
[๑๖๗๖] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว ไม่บริโภค
โภชนะเเต่ผู้เดียว พลีกรรมผู้นั้นย่อมมีผลจริง ทั้ง
ความเพียรที่จะทาทรัพย์ก็ย่อมมีประโยชน์ด้วย ดูก่อน
โกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะท่าน
ท่านจงขึ้นสู่ทางแห่งพระอริยะ ให้ทานด้วย จง
บริโภคด้วย ผู้บริโภคคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข.
[๑๖๗๗] ก็บุรุษเข้าไปสู่สระแล้ว บูชาที่แม่น้ำ
พหุกาก็ดี ที่แม่น้ำคยาก็ดี ที่ท่าโทณะก็ดี ที่ท่าตีมพรุ
ก็ดี ที่ห้วงน้ำใหญ่มีกระแสอันเชี่ยวก็ดี พลีกรรมของ
ผู้นั้นในที่นั้น ๆ ย่อมมีผล ทั้งความเพียรที่จะหาทรัพย์
ของผู้นั้นในที่นั้น ๆ ก็ย่อมมีประโยชน์ ผู้ใด เมื่อแขก
นั่งแล้ว ไม่บริโภคโภชนะแต่ผู้เดียว ผู้นั้นย่อมได้
ความสุข ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้า
จึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางแห่งพระอริยเจ้า
จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย ผู้บริโภคแต่ผู้เดียวย่อม
ไม่ได้ความสุข.
[๑๖๗๘] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว บริโภคโภชนะ
แต่ผู้เดียว ผู้นั้นชื่อว่ากลืนกินเบ็ดอันมีสายยาวพร้อม
ทั้งเหยื่อ ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 181
จึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางแห่งพระอริยะ
จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย ผู้บริโภคคนเดียวย่อม
ไม่ได้ความสุข.
[๑๖๗๙] พราหมณ์เหล่านี้มีผิวพรรณงามจริงหนอ
แต่เหตุอะไร สุนัขของท่านนี้จึงเปล่งรัศมีมีวรรณะ
ต่าง ๆ ได้ ท่านทั้งหลายผู้เป็นพราหมณ์ใครหนอจะ
บอกข้าพเจ้าได้.
[๑๖๘๐] ผู้นี้ คือ จันทเทพบุตร ผู้นี้ คือ สุริย-
เทพบุตร ผู้นี้ คือ มาตลีเทพสารถี มาแล้วในที่นี้ เราคือ
ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาชาวไตรทศ ส่วนสุนัข
นี้แล เราเรียกว่า ปัญจสิขเทพบุตร.
[๑๖๘๑] ฉิ่ง ตะโพน และเปิงมางทั้งหลาย
ย่อมปลุกเทพบุตรผู้หลับให้ตื่น และผู้ตื่นอยู่แล้วย่อม
เพลิดเพลินใจ.
[๑๖๘๒] คนตระหนี่เหนียวแน่น มักบริภาษ
สมณพราหมณ์ ทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ตายแล้ว
ย่อมไปสู่นรก.
[๑๖๘๓] ชนเหล่าใดหวังสุคติ ตั้งอยู่แล้วในธรรม
คือความสำรวมและการจำแนกแจกทาน ทอดทิ้ง
ร่างกายไว้ในโลกนี้ ตายแล้วย่อมไปสู่สุคติ.
[๑๖๘๔] ท่านนั้นชื่อโกสิยะมีความตระหนี่ มี
ธรรมลามก เป็นญาติของเราทั้งหลายในญาติก่อน เรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 182
ทั้งหลายมาในที่นี้ เพื่อประโยชน์แต่ท่านคนเดียว
ด้วยคิดว่า โกสิยเศรษฐีนี้อย่ามีธรรมอันลามกไปนรก
เสียเลย.
[๑๖๘๕] ท่านเหล่านั้น เป็นผู้ปรารถนาประ-
โยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าโดยแท้ เพราะเหตุที่มาตาม
พร่ำสอนข้าพเจ้าอยู่เนือง ๆ ข้าพเจ้าจักทำตามที่ท่าน
ผู้แสวงหาประโยชน์ทั้งหลาย กล่าวสอนทุกอย่าง
ข้าพเจ้าจะงดเว้นความตระหนี่เสียในวันนี้ทีเดียว อนึ่ง
ข้าพเจ้าจะไม่พึงทำบาปอะไร ๆ อนึ่ง ขึ้นชื่อว่าการ
ไม่ให้อะไร ๆ จะไม่มีแก่ข้าพเจ้า อนึ่ง ข้าพเจ้ายังไม่
ได้ให้แล้ว จะไม่ดื่มน้ำ ข้าแต่ท้าววาสวะ ก็เมื่อข้าพเจ้า
ให้อยู่อย่างนี้ตลอดกาลทุกเมื่อ จนโภคะทั้งหลายจะ
หมดสิ้นไปในที่นี้ ข้าแต่ท้าวสักกะ ต่อแต่นั้น ข้าพเจ้า
จักละกามทั้งหลาย ตามที่มีอยู่อย่างไรแล้วจักออกบวช.
จบโกสิยชาดกที่ ๗
อรรถกถาโกสิยชาดก
โกสิยชาดกจักมีอย่างแจ่มแจ้งในสุธาโภชนชาดก.๑
จบอรรถกถาโกสิยชาดก
ดูพระสตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๑ หน้า ๔๔๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 183
๘. เมณฑกปัญหาชาดก
ว่าด้วยเมณฑกปัญหา
[๑๖๘๖] ความที่สัตว์เหล่าใดในโลกนี้ เป็น
สหายกันแม้จะไปด้วยกันเพียง ๗ ก้าว มิได้เคยมีมา
ในกาลไหน ๆ เลย สัตว์ทั้ง ๒ นั้นซึ่งเป็นศัตรูกัน
กลับเป็นสหายกัน ย่อมประพฤติเพื่อความคุ้นเคยกัน
เพราะเหตุอะไร.
[๑๖๘๗] ในเวลาอาหารเช้าวันนี้ ถ้าท่านทั้งหลาย
ไม่สามารถจะแก้ปัญหานี้ของเราได้ เราจักขับไล่ท่าน
ทุกคนให้ออกไปจากเเว่นแคว้นของเรา เพราะเราไม่
ต้องการคนโง่เขลา.
[๑๖๘๘] เมื่อสมาคมแห่งมหาชนอึกทึก เมื่อ
ชุมนุมชนเกิดโกลาหลอยู่ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีใจ
ฟุ้งซ่าน จิตไม่แน่วแน่ ก็ไม่สามารถจะพยากรณ์
ปัญหานั้นได้.
[๑๖๘๙] ข้าแต่พระจอมประชาชน นักปราชญ์
ทั้งหลายมีจิตมีอารมณ์อันเดียวเทียว คนหนึ่ง ๆ อยู่ใน
ที่ลับ คิดเนื้อความทั้งหลายพิจารณาอยู่ในสถานที่
เงียบสงัด ภายหลังจึงจักกราบทูลแก้เนื้อความข้อนั้น
พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 184
[๑๖๙๐] เนื้อแพะ เป็นที่รักเป็นที่พอใจแห่งบุตร
อำมาตย์และราชโอรสทั้งหลาย ชนเหล่านั้นย่อมไม่
บริโภคเนื้อสุนัข ครั้งนี้ มิตรธรรมแห่งแพะกับสุนัข
มีต่อกัน.
[๑๖๙๑] ชนทั้งหลายย่อมใช้หนึ่งแพะเป็นเครื่อง
ลาดบนหลังม้า เพราะเหตุแห่งความสุข แต่ไม่ใช้
หนังสุนัขเป็นเครื่องลาดบนหลังม้า ครั้งนี้มิตรธรรม
แห่งแพะกับสุนัขมีต่อกัน.
[๑๖๙๒] แพะมีเขาอันโค้งจริง แต่สุนัขไม่มีเขา
เลย แพะกินหญ้า สุนัขกินเนื้อ ครั้งนี้มิตรธรรมแห่ง
แพะกับสุนัขมีต่อกัน.
[๑๖๙๓] แพะกินหญ้า กินใบไม้ ส่วนสุนัขไม่
กินหญ้าไม่กินใบไม้ สุนัขจับกระต่ายหรือแมวกิน
ครั้งนี้ มิตรธรรมแห่งแพะกับสุนัขมีต่อกัน.
[๑๖๙๔] แพะมี ๔ เท้า ๘ กีบ มีกายไม่ปรากฏ
สุนัขนี้นำหญ้ามาเพื่อแพะนี้ แพะนี้ก็นำเนื้อมาเพื่อ
สุนัขโน้น.
[๑๖๙๕] นัยว่า พระผู้เป็นจอมประชานิกรผู้
ประเสริฐกว่าชาววิเทหรัฐ ประทับอยู่บนปราสาทอัน
ประเสริฐ ได้ทอดพระเนตรเห็นการนำอาหารมาแลก
กันกินโดยประจักษ์ และได้ทอดพระเนตรเห็นมิตร-
ธรรมแห่งสุนัขกับแพะด้วยพระองค์เอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 185
[๑๖๙๖] เป็นลาภของเราไม่ใช่น้อยเลย ที่มี
บัณฑิตเช่นนี้อยู่ในราชสกุล เพราะว่านักปราชญ์
ทั้งหลายย่อมแทงตลอด ซึ่งเนื้อความแห่งปัญหาอัน
ลึกซึ้ง ละเอียด ด้วยคำสุภาษิต.
[๑๖๙๗] เรามีความพอใจเป็นอย่างยิ่งด้วยคำ
สุภาษิตจะให้รถเทียมด้วยม้าอัสดรคนละหนึ่งคัน และ
บ้านส่วยอันเจริญคนละหนึ่งบ้าน แก่ท่านทั้งหลาย
ผู้เป็นบัณฑิตทุกคน.
จบเมณฑกปัญหาชาดกที่ ๘
อรรถกถาเมณฑกปัญหาชาดก
เมณฺฑกปญฺหา อุมฺมงฺคชาตเก อาวีภวสฺสตีติ เมณฑกปัญหา
จักมีอย่างแจ่มแจ้งในอุมมังคชาดก.๑
จบอรรถกถาเมณฑกปัญหาชาดก
ดูพระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๒ หน้า ๔๒๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 186
๙. มหาปทุมชาดก
ว่าด้วยมหาปทุมกุมาร
[๑๖๙๘] พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินไม่เห็น
โทษของผู้อื่นว่าน้อยหรือมากโดยประการทั้งปวงไม่
พิจารณาด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว ไม่พึงลงอาชญา.
[๑๖๙๙] กษัตริย์พระองค์ใด ยังไม่ทันพิจารณา
แล้ว ทรงลงพระราชอาชญา กษัตริย์พระองค์นั้นชื่อว่า
ย่อมกลืนกินพระกระยาหารพร้อมด้วยหนาม เหมือน
คนตาบอดกลืนกินอาหารพร้อมด้วยแมลงวัน ฉะนั้น.
[๑๗๐๐] กษัตริย์พระองค์ใด ทรงลงพระราช-
อาชญากับผู้ไม่ควรจะลงพระราชอาญา ไม่ทรงลง
พระราชอาชญากับผู้ที่ควรลงพระราชอาญา กษัตริย์
พระองค์นั้น เป็นเหมือนคนเดินทางไม่ราบเรียบ ไม่
รู้ว่าทางเรียบหรือไม่เรียบ.
[๑๗๐๑] กษัตริย์พระองค์ใด ทรงเห็นเหตุที่
ควรลงอาชญา และไม่ควรลงพระราชอาชญาและทรง
เห็นเหตุนั้น โดยประการทั้งปวงเป็นอย่างดีแล้ว ทรง
ปกครองบ้านเมือง กษัตริย์พระองค์นั้นสมควรปกครอง
ราชสมบัติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 187
[๑๗๐๒] กษัตริย์ผู้มีพระทัยอ่อนโยนโดยส่วน-
เดียว หรือมีพระทัยกล้าโดยส่วนเดียว ก็ไม่อาจที่จะ
ดำรงพระองค์ไว้ในอิสริยยศที่สูงใหญ่ได้เพราะเหตุนั้น
กษัตริย์ไม่พึงประพฤติเหตุทั้งสอง คือพระทัยอ่อน
เกินไปและกล้าเกินไป.
[๑๗๐๓] กษัตริย์ผู้มีพระทัยอ่อน ก็ถูกประชา-
ราฏร์ดูหมิ่น กษัตริย์ผู้มีพระทัยแข็งนักก็มีเวร กษัตริย์
ควรทราบเหตุทั้งสองอย่างแล้วประพฤติเป็นกลาง ๆ.
[๑๗๐๔] ข้าแต่พระราชา คนมีราคะย่อมพูดมาก
แม้คนมีโทสะก็พูดมาก พระองค์ไม่ควรจะให้ปลง
พระชนม์พระราชโอรส เพราะเหตุแห่งหญิงเลย.
[๑๗๐๕] ด้วยเหตุไป ประชาชนทั้งหมดจึงร่วม
กันเป็นพวกพ้องของเจ้าปทุมกุมาร ส่วนพระมเหสีนี้
พระองค์เดียวเท่านั้นไม่มีพวกพ้อง ด้วยเหตุนั้น เราจัก
ปฏิบัติตามคำของพระมเหสี ท่านทั้งหลายจงไป จง
โยนเจ้าปทุมกุมารลงไปในเหวทีเดียว.
[๑๗๐๖] ท่านเป็นผู้อันเราให้โยนลงในเหวอัน
ลึกหลายชั่วลำตาลเหมือนนรกยากที่จะขึ้นได้ เหตุไร
ท่านจึงไม่ตายอยู่ในเหวนั้น.
[๑๗๐๗] พญานาคผู้มีกำลังเรี่ยวแรงเกิดที่ข้าง
ภูเขา รับอาตมภาพในที่นั้นด้วยขนดหาง เพราะเหตุนั้น
อาตมภาพจึงมิได้ตายในที่นั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 188
[๑๗๐๘] ดูก่อนพระราชบุตร มาเถิด เราจักนำเจ้า
กลับไปสู่พระราชวัง จะให้เจ้าครอบครองราชสมบัติ
ขอความเจริญจงมีแก่เจ้าเถิด เจ้าจักมาทำอะไรอยู่ใน
ป่าเล่า.
[๑๗๐๙] บุรุษกลืนกินเบ็ดแล้วปลดเบ็ดที่เปื้อน
โลหิตออกได้ แล้วพึงมีความสุข ฉันใด อาตมภาพ
มองเห็นด้วยตนเอง ฉันนั้น.
[๑๗๑๐] เจ้ากล่าวอะไรหนอว่าเป็นเบ็ดเจ้ากล่าว
อะไรหนอว่าเบ็ดเปื้อนโลหิต เจ้ากล่าวอะไรหนอว่าปลด
ออกได้ เราถามแล้วขอเจ้าจงบอกความข้อนั้นแก่เรา.
[๑๗๑๑] ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพกล่าวกาม-
คุณว่าเป็นเบ็ด กล่าวช้างและม้าว่าเบ็ดเปื้อนโลหิต
กล่าวถึงการสละได้ว่าปลดออกได้ ขอมหาบพิตรจง
ทรงทราบอย่างนี้เถิด.
[๑๗๑๒] พระราชมารดา (แม่เลี้ยง) ของเรา คือ
นางจิญจมานวิกา พระราชบิดาของเรา คือ พระเทวทัต
พญานาคผู้บัณฑิตคือ พระอานนท์ เทวดา คือ พระ
สารีบุตร พระราชบุตรในกาลนั้น คือ เราตถาคต
ท่านทั้งหลายจงจำชาดกไว้อย่างนี้เถิด.
จบมหาปทุมชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 189
อรรถกถามหาปทุมชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงพระปรารภ
นางจิญจมาณวิกา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นาทิฏฺา ปรโต
โทส ดังนี้.
ความพิสดารว่า ครั้งปฐมโพธิกาล เมื่อพระสาวกของพระทศพลมี
มากขึ้น เทวดาและมนุษย์หยั่งลงสู่อริยภูมิหาประมาณไม่ได้ คุณสมุทัยของ
พระศาสดาได้แผ่ไปทั่ว ลาภสักการะได้เกิดขึ้นมามากมาย พวกเดียรถีย์เสื่อม
ลาภสักการะ เหมือนหิ่งห้อยเวลาพระอาทิตย์ขึ้น จึงพากันเที่ยวยืนในระหว่าง
ถนน ชักชวนคนทั้งหลายอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นพระพุทธเจ้าผู้เดียว
เมื่อไร แม้พวกเราก็เป็นพระพุทธเจ้า ทานที่ถวายพระสมณโคดมมีผลมาก
แม้ที่ถวายแก่พวกเราก็มีผลมากเหมือนกัน ขอท่านทั้งหลายจงทำทานแก่พวก
เราบ้าง ดังนี้ ก็ไม่ได้ลาภสักการะ จึงประชุมลับหารือกันว่า พวกเราใช้อุบาย
อย่างไรดีหนอ จึงจะสร้างความผิดของพระสมณโคดมขึ้นในหมู่มนุษย์ แล้ว
ทำลาภสักการะให้ฉิบหายได้.
ครั้งนั้น ในพระนครสาวัตถี มีนางปริพาชิกาคนหนึ่ง ชื่อจิญจมาณ-
วิกา มีรูปร่างงามเลิศดุจเทพอัปสร มีรัศมีซ่านออกจากร่างของนาง เดียรถีย์
คนหนึ่งมีความคิดกล้า ได้กล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราพึงอาศัยนางจิญจมาณวิกา
สร้างความผิดขึ้นแก่พระสมณโคดม ทำลาภสักการะให้ฉิบหาย พวกเดียรถีย์
ต่างรับว่าอุบายของท่านเข้าที ครั้งนั้นนางจิญจมาณวิกามาสู่อารามเดียรถีย์ ไหว้
แล้วยืนอยู่ พวกเดียรถีย์มิได้พูดกับนาง นางจึงคิดว่า เรามีความผิดอย่างไรหนอ
แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ดิฉันไหว้ ดังนี้ถึงสามครั้ง แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 190
กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ดิฉันมีความผิดอย่างไรหนอ เหตุไร
ท่านทั้งหลายจึงไม่พูดกับดิฉัน พวกเดียรถีย์กล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง เจ้าไม่รู้
ดอกหรือว่าพระสมณโคดมเบียดเบียนพวกเรา เที่ยวทำให้พวกเราเสื่อมลาภสักกา-
ระ ดิฉันไม่รู้ เจ้าข้า ก็ดิฉันควรจะทำอย่างไรในเรื่องนี้ ดูก่อนน้องหญิง ถ้าเจ้า
ปรารถนาหาความสุขแก่พวกเรา จงใช้ตัวของเจ้าสร้างความไม่ดีขึ้นแก่พระ-
สมณโคดม ทำลาภสักการะให้ฉิบหาย นางรับว่า ดีละเจ้าข้า เรื่องนี้เป็นภาระ
ของดิฉัน ขอท่านทั้งหลายอย่าวิตกไปเลยแล้วหลีกไป โดยที่นางเป็นผู้ฉลาด
ในมายาหญิง ตั้งแต่นั้นมา เวลาชาวพระนครสาวัตถีฟังธรรมกถาแล้วออกจาก
พระเชตวัน นางห่มผ้าสีดังแมลงค่อมทอง ถือของหอมแลดอกไม้เป็นต้น
เดินตรงไปพระเชตวัน เมื่อมีคน ถามว่า จะไปไหนเวลานี้ ก็กล่าวว่า
ประโยชน์อะไรด้วยที่เป็นที่ไปของฉันสำหรับท่าน แล้วก็เข้าอารามเดียรถีย์ซึ่ง
อยู่ใกล้ ๆ พระเชตวัน ครั้นเวลาเช้า เมื่อพวกอุบาสกออกจากพระนครเพื่อ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นางก็ทำเป็นอยู่ในพระเชตวันแล้วเข้าพระนคร
เมื่อมีใครถามว่า ท่านอยู่ที่ไหน นางก็กล่าวว่า ประโยชน์อะไรด้วยการอยู่
ของเราสำหรับท่าน ครั้นล่วงไปเดือนสองเดือน ถูกถามอีก นางก็กล่าวว่า
ฉันอยู่ร่วมคันกุฎีกับพระสมณโคดมในพระเชตวัน ได้ทำความสงสัยแก่พวก
ปุถุชนว่า นางจิญจมาณวิกาพูดนี้ จริงหรือไม่หนอ ครั้นล่วงไปสามสี่เดือน
นางก็เอาผ้าขี้ริ้วมาพันท้อง ทำเป็นหญิงมีท้อง เอาผ้าแดงคลุมข้างบน ทำให้
พวกอันธพาลเชื่อว่า มีท้องกับพระสมณโคดม ครั้นล่วงไปแปดเก้าเดือน
นางก็เอาไม้วงกลมผูกไว้ที่ท้อง เอาผ้าคลุมข้างบน ให้พวกเดียรถีย์เอาไม้คางโค
ทุบหลังมือ หลังเท้าให้บวมมีอินทรีย์ลำบาก ครั้นเวลาเย็น เมื่อพระตถาคต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 191
นั่งแสดงธรรมบนธรรมาสน์ที่ตกแต่งไว้ นางไปธรรมสภา ยืนตรงพระพักตร์
พระตถาคต เหมือนหญิงที่พยายามเอาก้อนคูถขว้างดวงจันทร์ ด่าพระตถาคต
ในท่ามกลางบริษัททีเดียวว่า แน่ะมหาสมณะ ท่านแสดงธรรมแก่มหาชน เสียง
ของท่านไพเราะ ริมฝีปากสนิทดี แต่ฉันมีท้องเพราะท่าน เวลานี้ก็ครบกำหนด
แล้ว ท่านยังไม่เตรียมเรือนคลอดแก่ฉัน เนยใสและน้ำมันเป็นต้นก็ยังไม่มี
เมื่อท่านไม่ทำเอง ก็ไม่บอกแก่อุปัฏฐากของตนคนใดคนหนึ่งเช่นพระเจ้าโกศล
อนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาอุบาสิกาวิสาขา ว่าจงช่วยทำสิ่งที่ควรทำแก่นาง
จิญจมาณวิกานี้ ท่านรู้จักแต่อภิรมย์เท่านั้น ไม่รู้จักบริหารครรภ์ พระตถาคต
ได้ทรงสดับดังนั้น จึงหยุดธรรมกถามีอาการดุจพระยาสีหะ ทรงบันลือพระ-
สุรสิงหนาทว่า น้องหญิง ฉันกับเธอสองคนเท่านั้น รู้คำที่เธอกล่าวว่า จริง
หรือไม่จริง นางจิญจมาณวิกากล่าวว่า ถูกแล้ว พระสมณะ เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะ
ท่านกับฉันรู้กัน.
ขณะนั้น ภพของท้าวสักกะได้แลดูอาการเร่าร้อน ท้าวสักกะพิจารณาดู
ก็ทรงทราบว่า นางจิญจมาณวิกาด่าพระตถาคต ด้วยเรื่องไม่เป็นจริง จึงทรง
ดำริว่า จักชำระเรื่องนี้ แล้วเสด็จมากับเทพบุตรสี่องค์ เทพบุตรเหล่านั้น
แปลงเพศเป็นลูกหนู เข้าไปกัดเชือกผูกไม้วงกลมพร้อมกัน ได้มีลมพัดเปิดผ้า
คลุมขึ้น ไม้วงกลมตกลงถูกหลังเท้านางจิญจมาณวิกา ปลายเท้าทั้งสองแตก
พวกมนุษย์เห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า อีกาลกรรณี มึงด่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และช่วยกันถ่มน้ำลายรดศีรษะ ถือก้อนดินท่อนไม้ขับออกจากพระเชตวัน พอ
นางจิญจมาณวิกาได้พ้นครองจักษุพระตถาคต แผ่นดินใหญ่เเยกเป็นช่อง
เปลวไฟพลุ่งขึ้นจากอเวจี โอบอุ้มนางจิญจมาณวิกา เหมือนกับห่มผ้ากัมพล
ที่ตระกูลให้ไว้ จมลงไปในอเวจี ลาภสักการะของอัญเดียรถีย์ทั้งหลายก็เสื่อม
ไป แต่ของพระทศพลเจริญยิ่งขึ้นเหลือประมาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 192
วันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลาย ยกเรื่องขึ้นสนทนาในธรรมสภาว่า ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย นางจิญจมาณวิกาด่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นอัครทักษิไณย-
บุคคลอันโอฬาร ด้วยเรื่องไม่จริง ถึงความพินาศใหญ่ พระศาสดาเสด็จมา
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลาย นั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่
แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่นางจิญจมาณวิกานี้ด่าเราด้วยเรื่องไม่จริงแล้วถึงความพินาศ
แม้ในกาลก่อน นางก็ด่าเราด้วยเรื่องไม่จริง แล้วถึงความพินาศเหมือนกัน
แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสเล่าดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน พระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดให้ครรภ์พระอัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตเสวย
ราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในครรภ์พระอัครมเหสีของ
พระเจ้าพรหมทัต พระญาติทั้งหลายถวายพระนามพระโพธิสัตว์ว่า ปทุมกุมาร
เพราะมีพระพักตร์แลดูเหมือนดอกบัวบาน พระโพธิสัตว์นั้นครั้นเจริญวัยแล้ว
ไปเรียนศิลปวิทยาทั้งปวงสำเร็จแล้วกลับมา ลำดับนั้น พระชนนีของพระองค์
สิ้นพระชนม์ พระราชาได้แต่งตั้งหญิงอื่นเป็นอัครมเหสี แล้วพระราชทาน
ตำแหน่งอุปราชแก่พระโอรส ต่อมา พระราชาเสด็จไปปราบปัจจันตประเทศ
ที่กำเริบขึ้น รับสั่งกะพระอัครมเหสีว่า น้องรัก เธอจงอยู่ที่นี้แหละ ฉันจะไป
ปราบปัจจันตประเทศ พระนางทูลว่า หม่อมฉัน จะไม่อยู่ที่นี่ จักขอโดยเสด็จด้วย
พระองค์ตรัสโทษในสนามรบให้ฟัง แล้วตรัสว่า เธอจงอย่ากระวนกระวาย
อยู่จนกว่าฉันจะมา ฉันจะสั่งปทุมกุมารมิให้ลืมกิจการที่ควรกระทำแก่เธอ ดังนี้
แล้วทรงกระทำตามที่ตรัส แล้วเสด็จไปขับไล่ปัจจามิตร ทำชนบทให้สงบ
ราบคาบแล้วเสด็จกลับมาตั้งค่ายพักอยู่นอกพระนคร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 193
พระโพธิสัตว์ทราบว่า พระชนกเสด็จมา จึงให้ประดับพระนคร
ตกแต่งพระราชมณเฑียร แล้วไปสำนักพระอัครมเหสีแต่พระองค์เดียว พระ-
อัครมเหสีเห็นรูปสมบัติของพระโพธิสัตว์ ก็มีจิตรักใคร่ พระโพธิสัตว์ถวาย
บังคมพระนางแล้ว ทูลถามว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระแม่เจ้าประสงค์สิ่งใด
หม่อมฉันจะทำถวาย ลำดับนั้น พระนางตรัสว่า เธออย่าเรียกฉันว่าเเม่ เสด็จ
ลุกขึ้นจูงมือพระโพธิสัตว์ตรัสว่า เธอจงขึ้นบนพระที่เถิด ทูลถามว่า เพื่ออะไร
ตรัสว่า เราทั้งสองจักรื่นรมย์ด้วยความยินดีในกิเลส ชั่วเวลาที่พระราชายังไม่
เสด็จมา ข้าแต่พระแม่เจ้า เสด็จแม่เป็นแม่ของหม่อมฉันด้วย ยังมีพระสามี
อยู่ด้วย ขึ้นชื่อว่าหญิงที่มีผู้หวงแหน หม่อมฉันไม่เคยทำลายอินทรีย์แลดูด้วย
อำนาจกิเลสเลย หม่อมฉันจักทำกรรมที่เศร้าหมองถึงเพียงนี้กับพระแม่อย่างไร
ได้ พระนางได้ตรัสถึงสองสามครั้ง เมื่อพระโพธิสัตว์ไม่ปรารถนา พระนาง
จึงตรัสว่า เจ้าจะไม่ทำตามคำของเราหรือ ทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า หม่อมฉัน
ทำไม่ได้ ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เราจักกราบทูลแด่พระราชาอย่างนี้ แล้วให้ตัด
ศีรษะของท่านเสีย พระมหาสัตว์ตรัสว่า จงทำตามชอบของพระแม่เจ้าเถิด
ได้ทำให้พระนางละอายพระทัยแล้วหลีกไป.
พระนางมีความสะดุ้งกลัว ทรงดำริว่า ถ้ากุมารนี้ไปกราบทูลพระบิดา
ก่อนเรา เราคงไม่รอดชีวิต เราจักกราบทูลเสียก่อน ทรงดำริเช่นนี้แล้ว ไม่
เสวยกระยาหาร ทรงนุ่งห่มผ้าเศร้าหมอง แสดงรอยเล็บที่พระสรีระ แล้วให้
สัญญาแก่พวกหญิงคนใช้ว่า เมื่อพระราชาตรัสถามว่า พระเทวีเสด็จไปไหน
ท่านทั้งหลายทูลว่า เป็นไข้ แล้วก็ลวงว่าเป็นไข้บรรทมอยู่ พระราชาทรงทำ
ประทักษิณพระนครแล้วเสด็จขึ้นพระราชนิเวศน์ เมื่อไม่เห็นเทวี จึงตรัสถามว่า
พระเทวีไปไหน ทรงสดับว่าเป็นไข้ จึงเสด็จเข้าห้องบรรทม ตรัสถามว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 194
แน่ะพระเทวี พระน้องไม่สบายไปหรือ พระนางทำเป็นไม่ได้ยินดำรัสพระราชา
แม้ถูกถามถึงสองสามครั้ง ก็นิ่งเสีย พระราชาตรัสถามว่า แน่ะพระเทวี เหตุไร
จึงไม่พูดกับฉัน พระนางทูลว่า บรรดาหญิงที่มีสามีแล้วไม่มีใครเขาเป็นเหมือน
หม่อมฉัน พระราชาตรัสถามว่า ใครเบียดเบียนพระน้องหรือ จงบอกพี่เร็ว
พี่จักตัดหัวมันเสีย พระนางทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช พระองค์ทรงตั้งใคร
รักษาพระนครแล้วเสด็จไป ตรัสว่า ตั้งเจ้าปทุมกุมารโอรสของเรา พระนาง
ทูลว่า ปทุมกุมารมาที่อยู่ของหม่อมฉัน แม้หม่อมฉันจะกล่าวว่า แน่ะพ่อ
เจ้าอย่าทำอย่างนี้ ฉันเป็นแม่ของเจ้า ปทุมกุมารกล่าวว่า นอกจากเรา คนอื่น
ชื่อว่าเป็นพระราชาไม่มี เราจักให้พระนางอยู่ในพระราชฐาน รื่นรมย์กันด้วย
ความยินดีแห่งกิเลส แล้วจับมวยผมของหม่อมฉันทึ้งไปมา เมื่อหม่อมฉันไม่
ยอมทำตามคำของตน ก็ทุบตีแล้วออกไป.
พระราชาไม่ทรงพิจารณาก่อน ทรงพระพิโรธดังอสรพิษรับสั่งพวก
ราชบุรุษว่า พวกเจ้าจงไปมัดปทุมกุมารนำมา พวกราชบุรุษพากันไปวังปทุม
กุมาร เหมือนอย่างกะแห่ไปเต็มเมือง จับปทุมกุมารทุบตีแล้วมัดมือไพล่หลัง
อย่างมั่นคง เอาโซ่คล้องคอกระทำเป็นนักโทษประหารชีวิต ทุบตีพลางนำไป
พลาง พระโพธิสัตว์คิดว่า นี้เป็นการกระทำของเทวี จึงเดินบ่นมาว่า ดูก่อน
บุรุษผู้เจริญ ทั้งหลาย เรามิได้ประทุษร้ายพระราชา เราไม่มีความผิดเลย ชาว
พระนครทั้งสิ้นพากันเอิกเกริกกล่าวว่า ได้ยินว่า พระราชาเชื่อคำผู้หญิงรับสั่ง
ให้ฆ่าพระมหาปทุมกุมาร ประชุมกันกลิ้งเกลือกแทบเท้าพระกุมารร่ำไรรำพัน
ด้วยเสียงดังว่า ข้าแต่นาย กรรมนี้ไม่สมควรแก่ท่านเลย ขณะนั้นพวกราชบุรุษ
นำพระกุมารไปแสดงแก่พระราชา พระราชาทอดพระเนตรแล้วไม่อาจข่ม
พระพิโรธได้ จึงมีรับสั่งว่า กุมารนี้ไม่ใช่พระราชาเลย ทำท่าทีเป็นพระราชา
เป็นโอรสของเรา ผิดในพระอัครมเหสี ไปเถิด พวกท่านจงจับกุมารทิ้งในเหว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 195
เป็นที่ทิ้งโจรให้ถึงความพินาศเสีย พระมหาสัตว์วิงวอนพระชนกว่า ข้าแต่
เสด็จพ่อ หม่อมฉันไม่มีความผิดถึงเพียงนี้เลย ขอพระองค์อย่าได้ทรงเชื่อ
คำของผู้หญิงทำให้หม่อมฉันพินาศเลย พระราชามิได้ทรงเชื่อถ้อยคำของพระ-
โพธิสัตว์ ลำดับนั้น นางสนมหมื่นหกพันพากันร้องให้เซ็งแซ่ว่า พ่อมหา
ปทุมกุมาร พ่อได้รับกรรมอันนี้ ซึ่งไม่สมควรแก่ตนเลย พวกผู้ใหญ่ทั้งหมด
มีกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น ตลอดจนอำมาตย์ราชเสวกทั้งหลาย พากันกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ พระกุมารนี้สมบูรณ์ด้วยคุณคือศีลาจารวัตรเป็นรัชทายาท
สืบสันตติวงศ์ ขอพระองค์อย่าได้ทรงเชื่อคำของผู้หญิง ไม่ทรงพิจารณาก่อน
แล้วทำพระกุมารให้พินาศเสียเลย วิสัยพระราชา ต้องใคร่ครวญก่อนจึงกระทำ
ลงไปแล้วกล่าวคาถา ๗ คาถาว่า
พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ไม่เห็นโทษของ
ผู้อื่นว่าน้อยหรือมากโดยประการทั้งปวง ไม่พิจารณา
ด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว ไม่พึงลงอาชญา.
กษัตริย์พระองค์ใด ยังไม่ทันพิจารณา แล้วทรง
ลงพระราชอาญา กษัตริย์พระองค์นั้นชื่อว่า ย่อม
กลืนกินพระกระยาหาร พร้อมด้วยหนาม เหมือนคน
ตาบอดกลืนกินอาหารพร้อมด้วยแมลงวัน ฉะนั้น.
กษัตริย์พระองค์ใด ทรงลงพระราชอาชญากับผู้
ไม่ควรจะลงพระอาญา กษัตริย์พระองค์นั้น เป็น
เหมือนคนเดินทางไม่ราบเรียบ ไม่รู้ว่าทางเรียบหรือ
ไม่เรียบ.
กษัตริย์พระองค์ใด ทรงเห็นเหตุที่ควรลงพระ-
ราชอาญา และไม่ควรพระราชอาชญา และทรงเห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 196
เหตุนั้น โดยประการทั้งปวงเป็นอย่างดีแล้ว ทรง
ปกครองบ้านเมือง กษัตริย์พระองค์นั้นสมควรปกครอง
ราชสมบัติ.
กษัตริย์ผู้มีพระทัยอ่อนโยนโดยส่วนเดียว หรือมี
พระทัยกล้าโดยส่วนเดียวก็ไม่อาจที่จะดำรงพระองค์ไว้
ในอิสริยยศที่สูงใหญ่ได้ เพราะเหตุนั้น กษัตริย์ไม่พึง
ประพฤติเหตุทั้งสอง คือพระทัยอ่อนเกินไปและกล้า
เกินไป.
กษัตริย์ผู้มีพระทัยอ่อน ก็ถูกประชาราษฎร์
ดูหมิ่น กษัตริย์ผู้มีพระทัยแข็งนักก็มีเวร กษัตริย์ควร
ทราบเหตุทั้งสองอย่างแล้วประพฤติเป็นกลาง ๆ
ข้าแต่พระราชา คนมีราคะย่อมพูดมาก แม้คนมี
โทสะก็พูดมาก พระองค์ไม่ควรจะให้ปลงพระชนม์
พระราชโอรส เพราะเหตุแห่งหญิงเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาทิฏา แปลว่า ไม่เห็น. บทว่า
ปรสฺส แปลว่า ของผู้อื่น. บทว่า สพฺพโส แปลว่า ทั้งปวง. บทว่า
อณุถูลานิ ได้แก่ โทษน้อยและใหญ่. บทว่า สาม อปฺปฏิเวกฺขิยา ความว่า
พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ละทิ้งคำของผู้อื่น ไม่กระทำให้ประจักษ์แก่ตน
ไม่ทรงปรับคือไม่ทรงเริ่มตั้งอาชญา. จริงอยู่ในรัชกาลแห่งพระเจ้าสมมติ สัตว์
ชื่อว่าผู้มีอาชญายิ่งย่อมไม่มี ชื่อว่าการพยายามในการตัดมือและเท้า ยิ่งขึ้นไป
กว่าตี การติเตียนและการขับไล่ย่อมไม่มี ภายหลังพวกอำมาตย์เหล่านั้นกล่าว
หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยแห่งพระราชผู้กักขฬะนั้นอย่างนี้ว่า การไม่
พิจารณาเห็นโทษของผู้อื่นเองโดยส่วนเดียว ไม่สมควรเลย. บทว่า โย จ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 197
อปฺปฏิเวกฺขิตฺวา ความว่า ข้าแต่พระมหาราช พระราชาใด เมื่อพิจารณา
ปรับโทษอันสมควรแก่โทษอย่างนี้ ตั้งอยู่ในการลุอคติ ไม่พิจารณาเห็นโทษ
นั้น ลงอาญามีการตัดมือเป็นต้น พระราชานั้น เมื่อก่อเหตุให้แก่ตน ชื่อว่า
กลืนพระกระยาหารพร้อมหนาม เหมือนคนตาบอดกลืนข้าวกับแมลงวันฉะนั้น.
บทว่า อทณฺฑิย ความว่า พระราชาใด ทรงลงอาญาผู้ที่ไม่ควรลงอาญา
และไม่ลงอาญาผู้ควรลงอาญา ทำตามความชอบใจของตนเท่านั้น พระราชา
นั้น เป็นดังคนตาบอด แม้เดินทางเรียบ ก็ไม่รู้ว่าทางเรียบหรือไม่เรียบเดิน
ไป เหมือนคนตาบอดลื่นลงที่แผ่นหินเป็นต้น ย่อมถึงทุกข์ใหญ่ในมหานรก
ในอบายทั้ง ๔. บทว่า เอตานิ านานิ ความว่า พระราชาใด ทรงเห็น
เหตุที่ควรลงอาญาและไม่ควรลงอาญา และทรงเห็นโทษน้อยใหญ่ ในเหตุที่
ควรลงอาญาทั้งหมดอย่างดีแล้ว ทรงปกครองบ้านเมือง พระราชาพระองค์นั้น
แลสมควรเพื่อปกครองราชสมบัติ. บทว่า อตฺต มหนฺเต เปตุ ความว่า
พระราชาผู้มีพระทัยอ่อนโยนโดยส่วนเดียว ไม่อาจยังโภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิดเห็น
ปานนั้น ทำให้เกิดขึ้นคือให้มั่นคงถาวร ตั้งตนไว้ในความเป็นใหญ่อันโอฬาร.
บทว่า มุทุ ความว่า พระราชาผู้มีหทัยอ่อนโยน เป็นที่ดูหมิ่นของชาวแว่น-
แคว้น พระองค์ถูกเขาดูหมิ่น ย่อมไม่อาจทำราชสมบัติให้ปราศโจรได้. บทว่า
เวรวา ความว่า ก็ชาวแว่นแคว้น ทั้งหมดเป็นผู้มีเวรต่อพระราชาผู้พระทัยกล้าแข็ง
เกินไป เพราะฉะนั้น พระองค์ชื่อว่าเป็นผู้มีเวร. บทว่า อนุมชฺฌ ความว่า
เป็นพระราชา พึงประพฤติเป็นกลาง คือ เป็นกลางของความอ่อนและกล้าแข็ง
คือเป็นผู้ไม่อ่อนนัก ไม่กล้าแข็งนักครองราชสมบัติ. บทว่า น อิตฺถิการณา
ความว่า ข้าแต่พระมหาราช พระองค์ไม่ควรสั่งให้ประหารพระโอรสผู้เป็นรัช-
ทายาทสืบสันตติวงศ์ เพราะอาศัยมาตุคามผู้ชั่วช้าลามก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 198
แม้อำมาตย์ราชเสวกทั้งหลาย จะพากันกราบทูลด้วยเหตุต่าง ๆ อย่างนี้
ก็ไม่อาจให้พระราชาเชื่อถ้อยคำของตนได้. แม้พระโพธิสัตว์ก็วิงวอนอยู่ก็ไม่อาจ
ให้พระราชาเชื่อถ้อยคำของตนได้. ฝ่ายพระราชาผู้เป็นอันธพาล เมื่อจะทรง
บังคับอำมาตย์ว่า ไปเถิด พวกท่านจงจับปทุมกุมารนั้นทิ้งลงในเหวทิ้งโจร ได้
ตรัสพระคาถาที่ ๘ ว่า
ด้วยเหตุใด ชาวโลกทั้งหมด จึงร่วมกันเป็นพวก
พ้องของเจ้าปทุมกุมาร ส่วนมเหสีนี้ พระองค์เดียว
เท่านั้น ไม่มีพวกพ้อง ด้วยเหตุนั้น เราจักปฏิบัติตามคำ
ของมเหสี ท่านทั้งหลายจงไป จงโยนเจ้าปทุมกุมาร
นั้นลงในเหวทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตนาห ความว่า ด้วยเหตุใด ชาวโลก
ทั้งปวง จึงร่วมเป็นผักฝ่ายแห่งพระกุมารดำรงอยู่ ส่วนพระมเหสีพระองค์เดียว
เท่านั้น ไม่มีพวกพ้อง ด้วยเหตุนั้น เราจักปฏิบัติตามคำของพระนาง ไปเถิด
ท่านทั้งหลาย จงยกปทุมกุมารนั้นขึ้นสู่ภูเขาแล้วโยนไปในเหวเถิด.
เมื่อพระราชามีพระราชโองการตรัสอย่างนี้แล้ว นางพระสนมหมื่นหก-
พันสักคนหนึ่งก็ไม่อาจดำรงภาวะของตนอยู่ได้พากันร้องไห้คร่ำครวญ ชาว
พระนครทั้งสิ้นกอดอกร้องไห้สยายผมพิลาปรำพันอยู่ พระราชาทรงดำริว่า
คนเหล่านั้นจะพึงห้ามการทิ้งกุมารลงเหว จึงพร้อมด้วยบริวารเสด็จไป เมื่อ
มหาชนกำลังคร่ำครวญอยู่นั่นแล จึงรับสั่งให้จับปทุมกุมารเอาพระบาทขึ้นเบื้อง
บน เอาพระเศียรลงเบื้องล่าง แล้วให้โยนลงไปในเหว ทันใดนั้น ด้วยอานุภาพ
เมตตาภาวนาของปทุมกุมาร เทวดาที่สิงสถิตอยู่ ณ ภูเขา ได้ปลอบโยนพระกุมาร
ว่า อย่ากลัวเลย พ่อมหาปทุม แล้วกางมือทั้งสองออกรองรับไว้ที่หทัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 199
ให้ได้สัมผัสทิพยรส แล้วพาไปประทับ ณ ห้องพังพานของพญานาคในนาคพิภพ
ซึ่งตั้งอยู่เชิงภูเขา พญานาคได้นำพระโพธิสัตว์ไปสู่นาคพิภพแล้ว แบ่งสมบัติ
ของตนให้ครองครึ่งหนึ่ง พระโพธิสัตว์อยู่นาคพิภพได้หนึ่งปี กล่าวว่า เราจัก
ไปแดนมนุษย์ พญานาคถามว่า ท่านจักไปที่ไหน เราจักไปบวช ณ หิมวันต-
ประเทศ พญานาครับว่า สาธุ แล้วพาพระโพธิสัตว์ไปส่งถึงแดนมนุษย์ ให้
บริขารบรรพชิตแล้วกลับไปที่อยู่ของตน.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์เข้าหิมวันตประเทศ บวชเป็นฤาษี ยังฌานและ
อภิญญาให้เกิด มีเผือกมันผลไม้เป็นอาหารอาศัยอยู่ในที่นั้น ครั้งนั้นนายพราน
ชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง ไปถึงที่นั้น จำพระโพธิสัตว์ได้จึงถามว่า ข้าแต่
พระองค์ ท่านคือมหาปทุมกุมารมิใช่หรือ เมื่อพระโพธิสัตว์ ตรัสว่า ถูกแล้ว
สหาย ได้นมัสการพระโพธิสัตว์ อยู่ที่นั้น สองสามวันแล้วไปเมืองพาราณสี
กราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ พระโอรสของพระองค์บวชเป็นฤาษี
อยู่ในบรรณศาลา ณ หิมวันตประเทศ ข้าพระองค์ได้อาศัยอยู่ในสำนักพระโอรส
นั้นสองสามวันแล้วลามา พระราชาตรัสถามว่า ท่านเห็นแน่ชัดแล้วหรือ
กราบทูลว่า ถูกแล้วพระองค์ พระราชาแวดล้อมด้วยพลนิกายเป็นอันมาก
เสด็จไป ณ ที่นั้น ตั้งค่ายพักพลอยู่ที่ชายป่า พระองค์แวดล้อมไปด้วยอำมาตย์
เสด็จไปบรรณศาลา ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์มีสิริรุ่งโรจน์ประดุจรูปทอง
ประทับนั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา ถวายนมัสการแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง พวกอำมาตย์นมัสการทำปฏิสันถารนั่งแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงปฏิสันถาร
พระราชาด้วยผลไม้.
ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า แน่ะพ่อ เราให้เขาโยน
ท่านลงเหวลึก อย่างไรท่านจึงมีชีวิตอยู่ได้ ได้ตรัสพระคาถาที่ ๙ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 200
เราได้ให้เขาโยนท่านไปในซอกเขา ซึ่งเหมือน
นรกลึกหลายชั่วลำตาล ยากที่จะขึ้นมาได้ เหตุไร
ท่านจึงไม่ตายในที่นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกตาเล แปลว่า ประมาณหลายชั่ว
ลำตาล. บทว่า นามริ ตัดเป็น น อมริ.
(พระกุมารทูลว่า)
พญานาคผู้มีกำลังเรี่ยวแรงเกิดที่ข้างภูเขา รับ-
อาตมภาพในที่นั้นด้วยขนดหาง เพราะเหตุนั้น อาตม-
ภาพจึงมิตายในที่นั้น.
(พระราชาตรัสว่า)
ดูก่อนพระราชบุตร มาเถิด เราจักนำเจ้ากลับ
ไปสู่พระราชวัง จะให้เจ้าครอบครองราชสมบัติ ขอ
ความเจริญจงมีแก่เจ้าเถิด เจ้าจักมาทำอะไรอยู่ในป่า
เล่า.
(พระกุมารทูลว่า)
บุรุษกลืนกินเบ็ดแล้วปลดเบ็ดที่เปื้อนโลหิตออก
ได้แล้วพึงมีความสุขฉันใด อาตมภาพมองเห็นด้วย
ตนเอง ฉันนั้น.
(พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วตรัสว่า)
เจ้ากล่าวอะไรหนอว่าเป็นเบ็ด เจ้ากล่าวอะไร
หนอว่าเบ็ดเปื้อนโลหิต เจ้ากล่าวอะไรหนอว่าปลดออก
ได้ เราถามแล้วขอเจ้าจงบอกความข้อนั้นแก่เรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 201
(ดาบสทูลว่า)
ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพกล่าวกามคุณว่าเป็น
เบ็ด กล่าวช้างและม้าว่า ติดเปื้อนโลหิต กล่าวถึง
การสละได้ว่าปลดออกได้ ขอมหาบพิตรจงทราบ
อย่างนี้เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจุคฺคหิ ความว่า พระกุมารทูลเรื่อง
ทั้งหมดว่าในกาลเมื่อข้าพระองค์ตกจากภูเขา พญานาคผู้มีกำลังเรี่ยวแรงรับข้า
พระองค์อันเทวดาประคับประคองไว้แล้วปลอบโยนด้วยสัมผัสอันเป็นทิพย์นำ
เข้าไป ก็แลครั้นรับแล้ว นำไปยังนาคพิภพให้ยศใหญ่ เมื่อข้าพระองค์กล่าวว่า
จงนำไปถิ่นมนุษย์ ก็นำข้าพระองค์มาส่งยังแดนมนุษย์ ข้าพระองค์นั้นมาบวช
อยู่ในที่นี้ ข้าพระองค์ไม่ตายในที่นั้น เพราะอานุภาพของเทวดาและพญานาคนั้น
ด้วยประการฉะนี้. บทว่า เอหิ ความว่า พระราชาทรงสดับคำของเขาแล้ว ถึง
ความโสมนัส หมอบลงที่พระบาทตรัสว่า พ่อราชบุตร เราเชื่อ เราเชื่อคำของหญิง
โดยภาวะเป็นคนเขลา เมื่อเป็นเช่นนี้ ชื่อว่าเราผิดในท่านผู้สมบูรณ์ด้วยคุณคือศีล
และอาจาระ ขอท่านจงงดโทษให้แก่เราเถิด เมื่อพระราชบุตรทูลว่า ลุกขึ้นเถิด
มหาบพิตรข้าพระองค์จะงดโทษให้แก่พระองค์ เบื้องหน้าแต่นี้ พระองค์อย่าพึง
กระทำโดยมิได้พิจารณาอย่างนี้ต่อไป จึงตรัสอย่างนี้ว่า พ่อราชบุตร ท่านจงยก
เศวตฉัตรขาวอันเป็นของตระกูลของตนแล้วครองราชสมบัติ เป็นอันชื่อว่า
พระองค์งดโทษให้เรา. บทว่า อทฺธริตฺวา ความว่า คนกลืนเบ็ดเข้าไป
อันยังไม่ถึงหทัยและม้ามเป็นต้น พึงปลดเบ็ดนั้นออกได้ชื่อว่ามีความสุข. บทว่า
อตฺตาน ความว่า ข้าแต่มหาบพิตร ข้าพระองค์แลเห็นอาตมาเหมือนบุรุษ
ผู้กลืนเบ็ดถึงซึ่งความสวัสดีอีก. บทว่า กินฺนุ ตฺว นี้ พระราชาตรัสถาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 202
เพื่อทรงสดับความนั้นโดยพิสดาร. ด้วยบทว่า กามาห นี้ เรากล่าวกามคุณ ๕
ว่าเป็นเหมือนช้างและม้าที่เปื้อนเลือด. บทว่า จตฺตาห ตัดเป็น จตฺต อห
ความว่าการสละทั้งหมดว่าเป็นการปลดออกในกาลใด ในกาลบัดนี้ ข้าพระ-
องค์กล่าวการสละทั้งหมดว่าเป็นการปลดออก.
พระมหาสัตว์ได้ถวายโอวาทแก่พระชนกว่า ข้าแต่พระมหาบพิตร กิจ
ด้วยราชสมบัติไม่มีแก่อาตมา ขอพระองค์อย่ายังทศพิธราชธรรมให้กำเริบจงละ
การลุอำนาจอคติเสีย ครองราชสมบัติโดยธรรมเถิด พระราชาทรงกันแสงคร่ำ
ครวญเสด็จกลับพระนคร ในระหว่างทางได้ตรัสถามพวกอำมาตย์ว่า เราต้อง
พลัดพรากจากบุตรที่สมบูรณ์ด้วยอาจารคุณเห็นปานนี้เพราะใคร พวกอำมาตย์
กราบทูลว่า เพราะพระอัครมเหสี พระเจ้าข้า พระราชามีรับสั่งให้จับพระ
อัครมเหสีเอาพระบาทขึ้นเบื้องบนโยนลงไปในเหวทิ้งโจร แล้วทรงครองราช-
สมบัติโดยธรรม.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน นางจิญจมาณวิกานี้ก็ด่าเราแล้วถึงความ-
พินาศมาแล้วอย่างนี้ ทรงประชุมชาดกด้วยคาถาสุดท้ายว่า
พระราชมารดา (แม่เลี้ยง) ของเราคือ นาง-
จิญจมาณวิกา พระราชบิดาของเราคือ พระเทวทัต
พญานาคผู้บัณฑิตคืออานนท์ และเทวดา คือ พระ-
สารีบุตร พระราชบุตรในกาลนั้นคือ เราตถาคต
ท่านทั้งหลายจงจำชาดก ไว้อย่างนี้เถิด.
จบอรรถกถามหาปทุมชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 203
๑๐. มิตตมิตตชาดก
ว่าด้วยลักษณะของผู้เป็นมิตรและมิใช่มิตร
[๑๗๑๓] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญา ได้เห็นและ
ได้ฟังซึ่งบุคคลผู้ทำกรรมอย่างไร จึงจะรู้ได้ว่าผู้นี้ไม่
ใช่มิตร วิญญูชนจะพึงพยายามอย่างไรจึงจะรู้ได้ว่า
ผู้นี้ไม่ใช่มิตร.
[๑๗๑๔] บุคคลผู้มิใช่มิตรเห็นเพื่อนแล้ว ไม่
ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ร่าเริงต้อนรับเพื่อนไม่แลดูเพื่อน
กล่าวคำย้อนเพื่อน.
[๑๗๑๕] บุคคลผู้มิใช่มิตร คบหาศัตรูของเพื่อน
ไม่คบหามิตรของเพื่อน ห้ามผู้ที่กล่าวสรรเสริญเพื่อน
สรรเสริญผู้ที่ด่าเพื่อน.
[๑๗๑๖] บุคคลผู้มิใช่มิตร ไม่บอกความลับแก่
เพื่อนไม่ช่วยปกปิดความลับของเพื่อน ไม่สรรเสริญ
การงานของเพื่อน ไม่สรรเสริญปัญญาของเพื่อน.
[๑๗๑๗] บุคคลผู้มิใช่มิตร ยินดีในความฉิบหาย
ของเพื่อน ไม่ยินดีในความเจริญของเพื่อน ได้อาหาร
ที่ดีมีรสอร่อยมาแล้ว ก็มิได้นึกถึงเพื่อน ไม่ยินดี
อนุเคราะห์เพื่อนว่า อย่างไรหนอ เพื่อนของเราพึงได้
ลาภจากที่นี้บ้าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 204
[๑๗๑๘] บัณฑิตได้เห็นและได้ฟังแล้วพึงรู้ว่า
ไม่ใช่มิตรด้วยอาการเหล่าใด อาการดังกล่าวมา ๑๖
ประการนี้มีอยู่ในบุคคลผู้มิใช่มิตร.
[๑๗๑๙] บัณฑิตมีปัญญา ได้เห็นและได้ฟัง
บุคคลผู้กระทำกรรมอย่างไร จึงจะรู้ได้ว่าผู้นี้เป็นมิตร
วิญญูชนจะพึงพยายามอย่างไร จึงจะรู้ได้ว่าผู้นี้เป็น
มิตร.
[๑๗๒๐] บุคคลผู้เป็นมิตรนั้น ย่อมระลึกถึง
เพื่อนผู้อยู่ห่างไกล ย่อมยินดีต้อนรับเพื่อนผู้มาหา
ถือว่าเป็นเพื่อนของเราจริง รักใคร่จริงทักทายปราศรัย
ด้วยวาจาอันไพเราะ.
[๑๗๒๑] คนที่เป็นมิตรย่อมคบหาผู้ที่เป็นมิตร
ของเพื่อน ไม่คบหาผู้ที่ไม่ใช่มิตรของเพื่อน ห้ามปราม
ผู้ที่ด่าติเตียนเพื่อน สรรเสริญผู้ที่พรรณนาคุณความดี
ของเพื่อน.
[๑๗๒๒] คนที่เป็นมิตร ย่อมบอกความลับแก่
เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน สรรเสริญการงานของ
เพื่อน สรรเสริญปัญญาของเพื่อน.
[๑๗๒๓] คนที่เป็นมิตรย่อมยินดีในความเจริญ
ของเพื่อน ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน ได้อาหาร
มีรสอร่อยย่อมระลึกถึงเพื่อน ยินดีอนุเคราะห์เพื่อนว่า
อย่างไรหนอ เพื่อนของเราจะพึงได้ลาภจากที่นี้บ้าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 205
[๑๗๒๔] บัณฑิตได้เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว พึงรู้
ว่าเป็นมิตรด้วยอาการเหล่าใด อาการดังกล่าวมา ๑๖
ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้เป็นมิตร.
จบมิตตามิตตชาดกที่ ๑๐
จบทวาทสนิบาต
อรรถกถามิตตามิตตชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภอำมาตย์ผู้ประพฤติประโยชน์ของพระเจ้าโกศล ตรัสพระ-
ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กานิ กมฺมานิ กุพฺพาน ดังนี้.
ได้ยินว่า อำมาตย์ผู้นั้นได้มีอุปการะแด่พระราชาเป็นอันมาก พระราชา
ก็ได้ประทานสักการสัมมานะแก่เขาอย่างเหลือเฟือ พวกอำมาตย์ที่เหลือทนดู
อยู่ไม่ได้ จึงพากันทูลยุยงว่า ข้าแต่พระองค์ อำมาตย์คนโน้นจะทำความพินาศ
แก่พระองค์ พระราชาทรงกำหนดพิจารณาดูอำมาตย์นั้น ก็ไม่เห็นโทษอะไร ๆ
ทรงพระดำริว่า เราไม่เห็นโทษอะไร ๆ ของอำมาตย์นี้ ทำอย่างไรหนอ เราจึง
จะสามารถรู้ว่า อำมาตย์นี้เป็นมิตรหรือมิใช่มิตร ทรงคิดได้ว่า เว้นพระตถาคต
เสียแล้ว คนอื่นไม่สามารถรู้ปัญหานี้ได้ เราจักไปทูลถาม พอเสวยพระกระ-
ยาหารเช้าเสร็จแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ทำอย่างไรหนอ คนเราจึงจะสามารถรู้ว่า ใครเป็นมิตรหรือมิใช่มิตรของตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 206
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระราชาว่า ดูก่อนมหาบพิตร แม้
บัณฑิตในครั้งก่อน ก็คิดปัญหานี้แล้วถามพวกบัณฑิตรู้ได้โดยที่บัณฑิตเหล่า
นั้นบอก เว้นพวกที่มิใช่มิตรเสีย คบแต่มิตรเท่านั้น พระราชาทูลอาราธนา
ให้ตรัสเรื่องราว พระองค์ทรงนำอดีตนิทานมา ตรัสเล่า ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์สอนอรรถธรรมแด่พระราชา
ครั้งนั้นในพระนครพาราณสี มีอำมาตย์คนหนึ่งประพฤติประโยชน์แด่พระราชา
พวกอำมาตย์ที่เหลือพากันทูลยุยงพระราชา พระราชาไม่ทรงเห็นโทษของ
อำมาตย์นั้น ทรงพระดำริว่า ทำอย่างไรหนอ เราจึงจะสามารถรู้ว่าอำมาตย์นี้
เป็นมิตรหรือมิใช่มิตร เมื่อจะตรัสถามพระมหาสัตว์ ได้ตรัสพระคาถาที่ ๑ ว่า
บุรุษผู้เป็นบัณฑิตผู้มีปัญญา ได้เห็นและได้ฟัง
ซึ่งบุคคลผู้ทำกรรมอย่างไร จึงจะรู้ได้ว่าผู้นี้มิใช่มิตร
วิญญูชนจะพึงพยายามอย่างไร จึงจะรู้ได้ว่าผู้นี้มิใช่
มิตร.
คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญา เห็นคน
ผู้กระทำการงานเช่นไร ด้วยจักษุ ได้ฟังเรื่องนั้นด้วยหู พึงรู้ว่าผู้นี้ไม่ใช่มิตร
ของเรา วิญญูชนพึงพยายามอย่างไร เพื่อรู้จักผู้นั้น.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะตรัสบอกลักษณะของผู้ที่มิใช่มิตรแก่
พระราชา ได้ตรัสพระคาถาว่า
บุคคลผู้มิใช่มิตรเห็นเพื่อน ๆ แล้ว ไม่ยิ้มแย้ม
แจ่มใส ไม่ร่าเริงต้อนรับเพื่อนไม่ดูแลเพื่อน กล่าวคำ
ย้อนเพื่อน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 207
บุคคลมิใช่มิตร คบหาศัตรูของเพื่อนไม่คบหา
มิตรของเพื่อน ห้ามผู้ที่กล่าวสรรเสริฐเพื่อน สรรเสริญ
ผู้ที่ด่าเพื่อน.
บุคคลผู้มิใช่มิตร ไม่บอกความลับแก่เพื่อน ไม่
ช่วยปกปิดความลับของเพื่อน ไม่สรรเสริญการงาน
ของเพื่อน ไม่สรรเสริญปัญญาของเพื่อน.
บุคคลผู้มิใช่มิตร ยินดีในความฉิบหายของเพื่อน
ไม่ยินดีในความฉิบหายของเพื่อน ได้อาหารที่ดีมีรส
อร่อยมาแล้ว ก็มิได้นึกถึงเพื่อน ไม่ยินดีอนุเคราะห์
เพื่อนว่า อย่างไรหนอ เพื่อนของเราพึงได้ลาภจากที่นี้
บ้าง.
บัณฑิตได้เห็นและได้ฟังแล้ว พึงรู้ว่ามิใช่มิตร
ด้วยอาการเหล่าใด อาการดังกล่าวมา ๑๖ ประการนี้
มีอยู่ในบุคคลผู้มิใช่มิตร.
พระมหาสัตว์ตรัสพระคาถา ๕ คาถาเหล่านี้แล้ว อันพระราชา
ตรัสถามถึงลักษณะของมิตรด้วยพระคาถานี้อีกว่า
บัณฑิตมีปัญญา ได้เห็นและได้ฟังผู้กระทำกรรม
อย่างไรจึงจะรู้ไว้ว่าผู้นี้เป็นมิตร วิญญูชนจะพึงพยายาม
อย่างไร จึงจะรู้ได้ว่าผู้นี้เป็นมิตร
จึงตรัสคาถาที่เหลือว่า
บุคคลผู้เป็นมิตรนั้น ย่อมระลึกถึงเพื่อนผู้อยู่
ห่างไกล ย่อมยินดีต้อนรับเพื่อนผู้มาหา ถือว่าเป็น
เพื่อนของเราจริง รักใคร่จริงทักทายปราศรัยด้วยวาจา
อันไพเราะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 208
คนที่เป็นมิตรย่อมคบหาผู้ที่เป็นมิตรของเพื่อน
ไม่คบหาผู้ที่ไม่ใช่มิตรของเพื่อน ห้ามปรามผู้ที่ด่า
ติเตียนเพื่อน สรรเสริญผู้ที่พรรณนาคุณความดีของ
เพื่อน.
คนที่เป็นมิตร ย่อมบอกความลับแก่เพื่อน ปิด
ความลับของเพื่อน สรรเสริญการงานของเพื่อน
สรรเสริญปัญญาของเพื่อน.
คนที่เป็นมิตรย่อมยินดีในความเจริญของเพื่อน
ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน ได้อาหารมีรสอร่อย
ย่อมระลึกถึงเพื่อน ยินดีอนุเคราะห์เพื่อนว่า อย่างไร
หนอ เพื่อนของเราพึงจะได้ลาภจากที่นี้บ้าง.
บัณฑิตเห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว พึงรู้ว่ามิตรด้วย
อาการเหล่าใด อาการดังกล่าวมา ๑๖ ประการนี้ มีอยู่
ในบุคคลผู้เป็นมิตร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น น อุมฺหยเต ความว่า คนที่มิใช่
มิตร เห็นมิตรปฏิรูป ไม่กระทำความยิ้มแย้ม ไม่แสดงอาหารร่าเริง. บทว่า
น จ น ปฏินนฺทติ ความว่า เมื่อรับถ้อยคำของเขาแล้ว ไม่ชื่นชม
ไม่ยินดี. บทว่า จกฺขูนิ จสฺส ททา ความว่า เมื่อเพื่อนแลดูตัว ๆ ก็ไม่
แลดูเสีย. บทว่า ปฏิโลมญฺจ ความว่า กล่าวย้อนถ้อยคำเพื่อน คือเป็นศัตรู.
บทว่า วณฺณกาเม ความว่า เมื่อกล่าวสรรเสริญคุณเพื่อน. บทว่า
นกฺขาติ ความว่า คนมิใช่มิตร ย่อมไม่บอกความลับของตนแก่เพื่อน. บทว่า
กมฺมนฺตสฺส ความว่า ย่อมพรรณนากรรมที่เพื่อนนั้นทำ. บทว่า ปญฺสฺส
ความว่าไม่สรรเสริญปัญญาของเพื่อน ไม่สรรเสริญเพื่อนผู้ที่สมบูรณ์ด้วยญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 209
บทว่า อภเว แปลว่า ไม่เจริญ. บทว่า ตสฺส นุปฺปชฺชเต ความว่า มิตรปฏิรูป
ย่อมไม่เกิดสติขึ้นว่า เราจักให้แม้แก่มิตรของเราแต่ที่นี้. บทว่า นานุกมฺปติ
ความว่า ย่อมไม่คิดด้วยจิตอ่อนโยน. บทว่า ลเภยฺยิโต ความว่า เพื่อนพึง
ได้ลาภแต่ที่นี้. บทว่า อาการา ได้แก่ เหตุการณ์. บทว่า ปวุตฺถ แปลว่า
ไปต่างถิ่น. บทว่า เกลายิโก ความว่า คนที่เป็นมิตร ย่อมรักใคร่ นับถือ
ว่าเป็นเพื่อนเรา เริ่มตั้งรักใคร่ปรารถนา. บทว่า วาจาย ความว่า เมื่อจะ
เปล่งถ้อยคำกะเพื่อนด้วยถ้อยคำอันไพเราะย่อมยินดี. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัย
เป็นปฏิปักษ์ต่อคำที่กล่าวแล้วนั่นแล.
พระราชามีพระทัยชื่นชมถ้อยคำของพระมหาสัตว์ ได้พระราชทาน
ยศอันยิ่งใหญ่แก่พระมหาสัตว์แล้ว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วตรัสว่า ดูก่อน
มหาบพิตร ปัญหานี้ได้ตั้งขึ้นแม้ในกาลก่อนอย่างนี้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึง
ปัญหานี้ว่า คนที่มิใช่มิตร และคนที่เป็นมิตร จะพึงรู้ได้ด้วยอาการสามสิบสอง
เหล่านี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในกาลนั้น ได้มาเป็นพระ-
อานนท์ ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถามิตตามิตตชาดก
จบอรรถกถาทวาทสนิบาต ประดับด้วยชาดก ๑๐ ชาดกในชาตกัฏฐกถา
ด้วยประการฉะนี้
รวมชาดกที่มีในทวาทสนิบาตนี้ คือ
๑. จุลลกุณาลชาดก ๒. ภัททสาลชาดก ๓. สมุททวาณิชชาดก
๔. กามชาดก ๕. ชนสันธชาดก ๖. มหากัณหชาดก ๗. โกสิยชาดก
๘. เมณฑกปัญหาชาดก ๙. มหาปทุมชาดก ๑๐. มิตตามิตตชาดก และ
อรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 210
เตรสนิบาตชาดก
๑. อัมพชาดก
ว่าด้วยมนต์เสื่อมเพราะลบหลู่ครูอาจารย์
[๑๗๒๕] ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่
ก่อนท่านได้นำเอาผลมะม่วงทั้งเล็กทั้งใหญ่มาให้เรา
ดูก่อนพราหมณ์ บัดนี้ ผลไม้ทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ
ด้วยมนต์เหล่านั้นของท่านเลย.
[๑๗๒๖] ข้าพระบาทกำลังคำนวณคลองแห่ง
นักขัตฤกษ์ จนเห็นขณะและครู่ด้วยมนต์ก่อน ครั้น
ได้ฤกษ์และยามดีแล้ว จักนำผลมะม่วงเป็นอันมากมา
ถวายพระองค์เป็นแน่.
[๑๗๒๗] แต่ก่อน ท่านไม่ได้พูดถึงคลองแห่ง
นักขัตฤกษ์ ไม่ได้เอ่ยถึงขณะและครู่ ทันใดนั้น ท่าน
ก็นำเอาผลมะม่วงเป็นอันมากอันประกอบด้วยสีกลิ่น
และรสมาให้เราได้.
[๑๗๒๘] ดูก่อนพราหมณ์ แม้เมื่อก่อน ผลไม้
ทั้งหลายย่อมปรากฏด้วยการร่ายมนต์ของท่าน วันนี้
แม้ท่านจะร่ายมนต์ก็ไม่อาจให้สำเร็จได้ วันนี้สภาพ
ของท่านเป็นอย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 211
[๑๗๒๙] บุตรแห่งคนจัณฑาล ได้บอกมนต์ให้
แก่ข้าพระบาทโดยธรรม และได้สั่งกำชับข้าพระบาท
ว่า ถ้ามีใครมาถามถึงชื่อและโคตรของเราแล้ว เจ้าอย่า
ปกปิด มนต์ทั้งหลายก็จะไม่ละเจ้า.
[๑๗๓๐] ข้าพระบาทนั้น ครั้นพระองค์ผู้เป็น
จอมแห่งประชาชนถามถึงอาจารย์ อันความลบหลู่
ครอบงำแล้ว ได้กราบทูลเท็จว่า มนต์เหล่านี้เป็นของ
พราหมณ์ ข้าพระบาทจึงเป็นผู้เสื่อมมนต์ เป็นเหมือน
คนกำพร้าร้องไห้อยู่.
[๑๗๓๑] บุรุษต้องการน้ำหวาน จะพึงได้น้ำ-
หวานจากต้นไม้ใด จะเป็นต้นละหุ่งก็ตาม ต้นสะเดา
ก็ตาม ต้นทองหลางก็ตาม ต้นไม้นั้นแล เป็นต้นไม้
สูงสุดของบุรุษนั้น.
[๑๗๓๒] บุรุษพึงรู้แจ้งธรรมจากผู้ใด เป็น
กษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นแพศย์ก็ตาม
เป็นศูทรก็ตาม เป็นคนจัณฑาลก็ตาม คนเทหยักเยื่อ
ก็ตาม ผู้นั้นก็จัดเป็นคนสูงสุดของบุรุษนั้น.
[๑๗๓๓] ท่านทั้งหลายจงลงอาชญาและเฆี่ยนตี
มาณพผู้นี้ แล้วจับมาณพลามกผู้นี้ไสคอออกไปเสีย
มาณพใด ได้ประโยชน์อย่างสูงสุดด้วยความยากเข็ญ
ท่านทั้งหลายจงยังมาณพนั้นให้พินาศเพราะความเย่อ-
หยิ่งจองหอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 212
[๑๗๓๔] บุคคลผู้สำคัญว่าที่เสมอ พึงตกบ่อ ถ้ำ
เหว หรือหลุมที่มีรากไม้ผุ ฉันใด อนึ่ง บุคคลตาบอด
เมื่อสำคัญว่า เชือก พึงเหยียบงูเห่า พึงเหยียบไฟ ฉัน
ใด ข้าแต่ท่านผู้มีปัญญา ท่านทราบว่าข้าพเจ้าพลาดไป
แล้วก็ฉันนั้น ขอจงให้มนต์แก่ข้าพเจ้าผู้มีมนต์อันเสื่อม
แล้วอีกสักครั้งหนึ่งเถิด.
[๑๗๓๕] เราได้ให้มนต์แก่ท่านโดยธรรม ฝ่าย
ท่านก็ได้เรียนมนต์โดยธรรม หากว่าท่านมีใจดีรักษา
ปกติไว้ มนต์ก็จะไม่พึงละทิ้งท่านผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
[๑๗๓๖] ดูก่อนคนพาล มนต์อันใดที่จะพึงได้
ในมนุษยโลก มนต์อันนั้นท่านก็จะได้ในวันนี้โดยลำ-
บาก ท่านผู้ไม่มีปัญญากล่าวคำเท็จ ทำมนต์อันมีค่า
เสมอด้วยชีวิต ที่ได้โดยยากให้เสื่อมเสียแล้ว.
[๑๗๓๗] เราจะไม่ให้มนต์เช่นนั้นแก่เจ้าผู้เป็น
พาล หลงงมงาย อกตัญญู พูดเท็จ ไม่มีความสำรวม
มนต์ที่ไหน ไปเสียเถิด เราไม่พอใจ.
จบอัมพชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 213
อรรถกถาเตรสนิบาต
๑. อัมพชาดก
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภพระเทวทัต ได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อาหาสิ
เม อมฺพผลานิ ปุพฺเพ ดังนี้.
ความพิสดารว่า พระเทวทัตบอกคืนอาจารย์ว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้า
พระสมณโคดมมิใช่อาจารย์ มิใช่พระอุปัชฌาย์ของเราเลย เสื่อมจากฌาน ทำลาย
สงฆ์ กำลังมาสู่กรุงสาวัตถีโดยลำดับ เมื่อแผ่นดินให้ช่องเข้าไปอเวจีมหานรก
ภายนอกพระวิหารพระเชตวัน. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรม
สภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระเทวทัตบอกคืนอาจารย์เสียถึงความพินาศใหญ่
บังเกิดในอเวจีมหานรก. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้
ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ใน
กาลก่อนพระเทวทัตก็บอกคืนอาจารย์เสีย ถึงความพินาศใหญ่แล้วเหมือนกัน
ดังนี้แล้วจึงทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ กรุง
พาราณสี ตระกูลแห่งปุโรหิต ของพระเจ้าพรหมทัตพระองค์นั้น พินาศไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 214
ด้วยอหิวาตกโรค. บุตรชายคนหนึ่งทำลายฝาเรือนหนีไปได้ เขาไปกรุงตักกศิลา
เรียนไตรเพทและศิลปะที่เหลือ ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ กราบลาอาจารย์
เมื่อจะออกไปคิดว่า เราต้องรู้จักขนบธรรมเนียมของประเทศ จึงเที่ยวไปถึง
เมืองชายแดนเมืองหนึ่ง. หมู่บ้านจัณฑาลหมู่ใหญ่ ได้อาศัยเมืองนั้นอยู่ ใน
กาลนั้น พระโพธิสัตว์อาศัยบ้านนั้นอยู่ เป็นบัณฑิตเฉลียวฉลาด รู้มนต์ที่จะ
ทำให้มะม่วงมีผลในเวลามิใช่ฤดูกาลได้. ท่านลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ คว้าหาบออกไป
จากบ้านนั้น เข้าไปใกล้ต้นมะม่วงต้นหนึ่งในป่า หยุดยืนอยู่ในระยะที่สุด ๗
ก้าวร่ายมนต์นั้น สาดต้นมะม่วงด้วยน้ำซองมือหนึ่ง. ในขณะนั้นนั่นเอง ใบ
แก่ ๆ ก็ร่วงหล่นลงจากต้น แตกใบอ่อน ออกดอกแล้วร่วงลง ผลมะม่วงก็มีขึ้น
โดยครู่เดียวเท่านั้นก็สุก มีโอชาหวานเช่นเดียวกับมะม่วงทิพย์ แล้วก็หล่นจาก
ต้น. พระมหาสัตว์เก็บผลเหล่านั้น เคี้ยวกินจนพอความต้องการ เก็บจนเต็ม
หาบ ไปสู่เรือนขายมะม่วงเหล่านั้นเลี้ยงลูกเมีย. พราหมณ์กุมารนั้นเห็นพระ-
มหาสัตว์ ผู้นำผลมะม่วงมาในเวลามิใช่ฤดูกาลมาขาย จึงคิดว่า ไม่ต้องสงสัยละ
อันผลมะม่วงเหล่านั้นต้องเกิดขึ้นด้วยกำลังของมนต์ อาศัยบุรุษนี้เราจักได้มนต์
อันหาค่ามิได้นี้ คอยกำหนดจับลู่ทางที่พระมหาสัตว์นำผลมะม่วงมา ก็รู้แน่นอน
เมื่อท่านยังไม่มาจากป่า ได้ไปสู่เรือนของท่าน เป็นเหมือนไม่รู้ ถามภรรยา
ของท่านว่า ท่านอาจารย์ไปไหน ครั้นภรรยาท่านตอบว่าไปป่า จึงยืนรอ
ท่านอยู่ พอเห็นท่านมาก็ต้อนรับ รับหาบจากมือนำมาวางไว้ในเรือน.
พระโพธิสัตว์มองดูเขา กล่าวกะภรรยาว่า นางผู้เจริญ มาณพนี้มา
เพื่อต้องการมนต์ แต่มนต์จะไม่ตั้งอยู่ในกำมือเขาได้ เพราะเขาเป็นอสัตบุรุษ
ฝ่ายมาณพคิดว่า เราต้องบำเพ็ญอุปการะแก่อาจารย์จึงจะได้มนต์นี้ ตั้งแต่นั้นมา
กระทำกิจทุกอย่างในเรือนของท่าน หาฟืน ซ้อมข้าว หุงข้าว ให้น้ำล้างหน้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 215
เป็นต้น ล้างเท้า. วันหนึ่งเมื่อพระมหาสัตว์กล่าวว่า พ่อมาณพ เธอจงให้เครื่อง
หนุนเท้าเตียงเถิด เขามองไม่เห็นสิ่งอื่น ก็เลยเอาเท้าเตียงวางบนขานั่งอยู่ตลอด
ราตรี. ครั้นกาลต่อมา ภรรยาของพระมหาสัตว์คลอดบุตร ได้กระทำบริกรรม
ในเวลาคลอดบุตรแก่นาง. วันหนึ่งนางจึงกล่าวแก่พระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่นาย
มาณพนี้แม้จะสมบูรณ์ด้วยชาติ ก็ยังยอมกระทำการช่วยเหลือเรา ด้วยต้องการ
มนต์ ขอมนต์จงตั้งอยู่ในกำมือของเขาหรืออย่าตั้งอยู่ก็ตามเถิด ท่านโปรดให้
มนต์แก่เขาเถิด. ท่านรับคำว่า ดีละ แล้วให้มนต์แก่เขา กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อเอ๋ย
มนต์หาค่ามิได้ ลาภสักการะอันใหญ่หลวงจักมีแก่เจ้าเพราะอาศัยมนต์นี้ ใน
เวลาที่เจ้าถูกพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาถามว่า ใครเป็นอาจารย์
ของเจ้า เจ้าอย่าข่มเราเสียนะ ถ้าหากเจ้าอดสูว่าคนจัณฑาลเป็นอาจารย์ของเรา
เราเรียนมนต์จากสำนักของคนจัณฑาลนั้น จักกล่าวเสียว่า พราหมณ์ผู้มหาศาล
เป็นอาจารย์ของเราไซร้ ผลของมนต์นี้จักไม่มีเลย เขากล่าวว่า เหตุไรผมจัก
ต้องข่มขี่เล่า ในเวลาที่ใคร ๆ ถาม ผมต้องบอกอ้างท่านเท่านั้น แล้วกราบลา
ท่านออกไปจากบ้านคนจัณฑาล ทดลองมนต์แล้ว บรรลุถึงกรุงพาราณสี
โดยลำดับ ขายมะม่วงได้ทรัพย์มาก.
ครั้นวันหนึ่งนายอุทยานบาลซื้อมะม่วงจากมือของเขาถวายแด่พระราชา.
พระราชาเสวยมะม่วงนั้นแล้ว ตรัสถามว่าน่าอัศจรรย์ อร่อยอย่างยิ่ง เจ้า
ไปได้มะม่วงชนิดนี้มาจากไหนละ เขากราบทูลว่า ขอเดชะ ใต้ฝ่าพระบาท
ปกเกล้าปกกระหม่อม มาณพผู้หนึ่งนำผลมะม่วงทะวายมาขาย ข้าพระพุทธ
เจ้าถือเอาจากมาณพนั้น พระเจ้าข้า. ทรงรับสั่งว่า จงบอกเขาว่า ตั้งแต่
บัดนี้ไป จงนำผลมะม่วงมา ณ ที่นี้. แม้นายอุทยานบาลนั้นก็กระทำตาม
ที่รับสั่งนั้น. ตั้งแต่นั้นมา มาณพก็นำผลมะม่วงทั้งหลายไปสู่ราชสกุล เมื่อ
ได้รับสั่งว่า เจ้าจงบำรุงเราเถิด ก็บำรุงพระราชา ได้รับทรัพย์เป็นอันมาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 216
ค่อยคุ้นเคยโดยลำดับ. ครั้นวันหนึ่ง พระราชาตรัสถามเขาว่า มาณพ เจ้านำ
มะม่วงอันสมบูรณ์ด้วยกลิ่นและรสเห็นปานนี้ ในสมัยมิใช่ฤดูกาลมาจากไหน
นาคครุฑหรือเทพเจ้าองค์ใดให้แก่เจ้า หรือไฉน หรือว่าทั้งนี้เป็นกำลังแห่งมนต์
เขากราบทูลว่า ขอเดชะ พระมหาราชเจ้า ใคร ๆ มิได้ให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า
แต่มนต์อันหาค่ามิได้ของข้าพระพุทธเจ้ามีอยู่ นี้เป็นกำลังแห่งมนต์นั้นพระเจ้าข้า
ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นพวกเราจะขอดูกำลังมนต์ของเจ้าสักวันหนึ่ง. เขากราบทูลว่า
ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าจักแสดง
ถวายพระเจ้าข้า.
วันรุ่งขึ้นพระราชาเสด็จไปสู่พระอุทยานกับตรัสว่า เจ้าจงแสดงเถิด.
เขารับพระดำรัสว่า สาธุ เดินเข้าไปใกล้ต้นมะม่วง ยืนในระยะ ๗ ก้าว
ร่ายมนต์วักน้ำสาดต้น. ทันใดนั้นเอง ต้นมะม่วงก็เผล็ดผลโดยนิยมดังกล่าว
แล้ว ในหนหลังนั่นแหละ ฝนคือผลมะม่วงร่วงพรั่งพรู เป็นดังมหาเมฆ
หลั่งกระแสฝน. มหาชนพากันให้สาธุการ แผ่นผ้าได้ถูกชูขึ้นสลอนไป.
พระราชาทรงเสวยผลมะม่วง ประทานทรัพย์เป็นอันมากแก่เขา แล้วตรัสถาม
ว่า มาณพ มนต์อันเป็นอัศจรรย์ของเจ้าเช่นนี้ เจ้าเรียนในสำนักของใคร.
มาณพคิดว่า ถ้าเราจักทูลว่าในสำนักคนจัณฑาล จักต้องมีความอดสู และคน
ทั้งหลายจักติเตียนได้ อย่ากระนั้นเลย มนต์ของเราคล่องแคล่วแม่นยำ คง
ไม่เสื่อมหายไปในบัดนี้ดอก เราจักอ้างอาจารย์ทิศาปาโมกข์ แล้วกระทำมุสาวาท
กล่าวว่า ข้าพระพุทธเจ้าเรียนในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักกศิลา
พระเจ้าข้า เป็นอันบอกคืนอาจารย์เสีย. ทันใดนั่นเองมนต์ก็เสื่อม. พระราชา
ทรงโสมนัส ทรงชวนเขาเข้าสู่พระนคร วันรุ่งขึ้นทรงพระดำริว่า เราจักกิน
มะม่วง จึงเสด็จสู่อุทยาน ประทับนั่งเหนือแผ่นศิลาอันเป็นมงคล ตรัสว่า
มาณพ เจ้าจงนำมะม่วงมาเถิด. เขารับพระดำรัสว่าสาธุ แล้วเข้าไปใกล้ต้นมะม่วง
ยืนในระยะ ๗ ก้าว คิดว่า เราจักร่ายมนต์ ครั้นมนต์ไม่ปรากฏ ก็ทราบว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 217
เสื่อมเสียแล้ว ยืนอดสูใจอยู่. พระราชาทรงพระดำริว่า วันก่อนมาณพนี้นำ
ผลมะม่วงมาให้เราในท่ามกลางบริษัททีเดียว ให้ฝนคือผลมะม่วงร่วงหล่น
พรั่งพรูเหมือนฝนลูกเห็บตก บัดนี้ ยืนเหมือนแข็งทื่อ เหตุอะไรกันเล่าหนอ
เมื่อจะทรงถามเขาจึงตรัสพระคาถาว่า
ิ ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อก่อนท่าน
ได้นำผลมะม่วงทั้งเล็กทั้งใหญ่มาให้เรา ดูก่อนพราหมณ์
บัดนี้ ผลไม้ทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏด้วยมนต์เหล่านั้น
ของท่านเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาหาสิ แปลว่า นำมาแล้ว. บทว่า
ทุมปฺผลานิ แปลว่า ผลแห่งต้นไม้.
มาณพฟังพระดำรัสนั้นแล้ว คิดว่า ถ้าเราจักทูลว่า วันนี้ข้าพระพุทธเจ้า
จักถือเอาผลไม้มาถวายมิได้ พระราชาจักกริ้วเรา เราจักลวงพระองค์ด้วย
มุสาวาทจึงทูลคาถาที่ ๒ ว่า
ข้าพระบาทกำลังคำนวณคลองแห่งนักขัตฤกษ์
จนเห็นขณะและครู่ ด้วยมนต์ก่อน ครั้นได้ฤกษ์และ
ยามดีแล้ว จักนำผลมะม่วงเป็นอันมากมาถวายพระองค์
เป็นแน่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทฺธา หริสฺส อมฺพผล ความว่า
เราจักนำผลมะม่วงมาแน่แท้.
พระราชา ทรงพระดำริว่า มาณพนี้ในเวลาอื่น ไม่พูดถึงคลองแห่ง
นักขัตฤกษ์เลย นี้มันเรื่องอะไรกันเล่า เมื่อจะตรัสถาม ได้ทรงภาษิตคาถา ๒
คาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 218
เมื่อก่อน ท่านไม่ได้พูดถึงคลองแห่งนักขัตฤกษ์
ได้เอ่ยถึงขณะแลครู่ ทันใดนั้น ท่านก็นำเอาผลมะม่วง
เป็นอันมาก อันประกอบด้วยสี กลิ่น และรส มาให้
เราได้.
ดูก่อนพราหมณ์ แม้เมื่อก่อนผลไม้ทั้งหลาย ย่อม
ปรากฏด้วยร่ายมนต์ของท่าน วันนี้แม้ท่านจะร่ายมนต์
ไม่อาจให้สำเร็จได้ วันนี้สภาพของท่านเป็นอย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น วาเทสิ แปลว่า ย่อมไม่อาจ. บทว่า
ชปฺปมฺปิ ความว่า ท่านจะท่องบ่นก็ดี จะร่ายมนต์ก็ดี. บทว่า อย โส
ความว่า สภาพของท่านนี้นั้น เป็นอย่างไรในวันนี้.
มาณพฟังพระดำรัสนั้นแล้ว คิดว่า เราไม่อาจจะลวงพระราชาด้วย
มุสาวาท แม้ว่าเราสารภาพความจริงแล้ว พระองค์คงไม่ลงพระราชอาญา เรา
ต้องสารภาพความจริงเสียเถอะ ดังนี้แล้ว จึงกราบทูล ๒ คาถาว่า
บุตรของคนจัณฑาล ได้บอกมนต์ให้ข้าพระบาท
โดยธรรมและได้สั่งกำชับข้าพระบาทว่า ถ้ามีใครมา
ถามถึงชื่อและโคตรของเราแล้ว เจ้าอย่าปกปิด มนต์
ทั้งหลายก็จะไม่ละเจ้า.
ข้าพระบาทนั้น ครั้นพระองค์ผู้เป็นจอมแห่ง
ประชาชนถามถึงอาจารย์ อันความลบหลู่ครอบงำแล้ว
ได้กราบทูลเท็จว่า มนต์เหล่านี้เป็นของพราหมณ์ ข้า
พระบาทจึงเป็นผู้เสื่อมมนต์ เป็นเหมือนกำพร้าร้องไห้
อยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 219
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน ความว่า ได้ให้มนต์โดยธรรม
สม่ำเสมอ โดยเหตุ โดยไม่ปกปิดเลย. บทว่า ปกติญฺจ สสิ ความว่า
บุตรของคนจัณฑาลได้กำชับถึงความเสื่อมและความปกติแห่งมนต์เหล่านั้นแก่
เราว่า ถ้าใคร ๆ มาถามถึงนามและโคตรของเรา เจ้าอย่าปกปิด ถ้าปกปิด
มนต์ของเจ้าจักเสื่อม. บทว่า พฺราหฺมณสฺส มิจฺฉา ความว่า ข้าพระองค์
ได้บอกผิดไปว่า ข้าพระองค์ได้เรียนมาจากสำนักของพราหมณ์ เพราะฉะนั้น
มนต์ทั้งหลายของข้าพระองค์จึงเสื่อม ข้าพระองค์นั้น มีมนต์อันเสื่อมแล้ว
บัดนี้ย่อมร้องไห้เหมือนคนกำพร้า.
พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงกริ้วว่า เจ้านี่ลามกมองไม่เห็นรัตนะ
เห็นปานนี้ เมื่อได้รัตนะอันสูงสุดเช่นนี้แล้ว เรื่องชาติจักกระทำอะไรให้ได้
เมื่อทรงติเตียนเขา จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
บุรุษต้องการน้ำหวาน จะพึงได้น้ำหวานจาก
ต้นไม้ใด จะเป็นต้นละหุ่งก็ตาม ต้นสะเดาก็ตาม ต้น
ทองหลางก็ตาม ต้นไม้นั่นแล เป็นต้นไม้สูงสุดของ
บุรุษนั้น.
บุรุษพึงรู้แจ้งธรรมจากผู้ใด เป็นกษัตริย์ก็ตาม
เป็นแพทย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม เป็นคนจัณฑาลก็ตาม
คนเทหยักเยื่อก็ตาม ผู้นั้นก็จัดเป็นคนสูงสุดของบุรุษ
นั้น.
ท่านทั้งหลายจงลงอาชญาและเฆี่ยนตีมาณพผู้นี้
แล้วจับมาณพลามกผู้นี้ ไสคออกไปเสีย มาณพใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 220
ได้ประโยชน์อย่างสูงสุดด้วยความยากเข็ญ ท่านทั้ง-
หลายจงยังมาณพนั้น ให้พินาศเพราะความเย่อหยิ่ง
จองหอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มธุตฺถิโก ความว่า บุรุษผู้ต้องการด้วย
น้ำหวาน ตรวจดูน้ำหวานในป่า ย่อมได้น้ำหวานของต้นไม้นั้น จากที่ใด
ต้นไม้นั้นแล จัดว่าเป็นต้นไม้สูงสุดสำหรับผู้นั้น นรชนพึงรู้ธรรม คือเหตุ
ประโยชน์ที่ควรจากบุรุษใดในบรรดากษัตริย์เป็นต้น เหมือนอย่างนั้น บุรุนั้น
จัดว่าเป็นผู้สูงสุดของนรชนนั้น. บทว่า อิมสฺส ทณฺฑญฺจ ความว่า ท่าน
ทั้งหลายจงเพิกหนังหลังของบุรุษผู้มีธรรมอันลามกนี้ด้วยชิ้นไม้ไผ่ สำหรับ
เฆี่ยนและลงอาชญาทุกอย่าง แล้วจับคอบุรุษผู้ลามกนี้ขับไสไปเสีย ลงโทษตาม
อำเภอใจแล้วขับไล่ไปเสีย จะประโยชน์อะไรด้วยบุรุษนี้ผู้อยู่ในที่นี้.
พวกราชบุรุษพากันทำตามพระราชบัญชาอย่างนั้น พากันกล่าวว่า
เจ้าไปเถิด เจ้าไปสู่สำนักอาจารย์ของเจ้า ทำให้อาจารย์ของเจ้าชื่นชมได้แล้ว
ถ้าเจ้าจักได้มนต์อีก ค่อยมาในที่นี้ ถ้าไม่ได้ก็อย่ามองดูทิศนี้เลย ได้กระทำ
เขาให้หมดอำนาจทีเดียว. เขาหมดที่พึ่งคิดว่า เว้นอาจารย์แล้ว ที่พึ่งอื่นของเรา
ไม่มี เราต้องไปหาท่าน ทำให้ท่านชื่นชมขอเรียนมนต์นั้นอีกจนได้ ร้องไห้
พลางเดินไปสู่บ้านนั้น ครั้งนั้นพระมหาสัตว์เห็นเขาเดินมา ก็เรียกภรรยามา
กล่าวว่า นางผู้เจริญ เชิญดูซิ เจ้านี่ ชั่วช้า มนต์เสื่อมหมดแล้ว กำลังกลับมา.
เขาไปหาพระมหาสัตว์ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ถูกท่านถามว่า
เหตุไรเล่าเจ้าจึงมา จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ผมทำมุสาวาทบอกคืน
ท่านอาจารย์เสีย ถึงความฉิบหายใหญ่โต เมื่อจะแสดงโทษที่ล่วงเกินแล้ว
ขอเรียนมนต์ใหม่ จึงกล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 221
บุคคลผู้สำคัญว่าที่เสมอ พึงตกบ่อ ถ้ำ เหว
หรือหลุม ที่มีรากไม้ผุฉันใด อนึ่ง บุคคลตาบอด
เมื่อสำคัญว่าเชือก พึงเหยียบงูเห่า พึงเหยียบไฟฉันใด
ข้าแต่ท่านผู้มีปัญญา ท่านทราบว่าข้าพเจ้าพลาดไปแล้ว
ฉันนั้น ขอจงให้มนต์แก่ข้าพเจ้า ผู้มีมนต์อันเสื่อม
แล้ว อีกสักครั้งหนึ่งเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา สม ความว่า บุรุษสำคัญว่า ที่นี้เป็น
ที่สม่ำเสมอ พึงตกไปสู่บ่อ ถ้ำ เหว กล่าวคือที่พลาดจากพื้น หรือรากไม้ผุ.
บทว่า ปูติปาท ความว่า ต้นไม้ใหญ่ในหิมวันตประเทศแห้งตาย เมื่อราก
ทั้งหลายของต้นไม้ใหญ่นั้น เกิดเปื่อยเน่า ในที่นั้นย่อมเป็นบ่อใหญ่ นี้เป็น
สถานที่ชื่อของบ่อใหญ่นั้น. บทว่า โชติมธิฏฺเหยฺย ความว่า พึงเหยียบไฟ.
บทว่า เอวปิ ความว่า แม้เราก็ฉันนั้น เป็นผู้บอดเพราะไม่มีจักษุคือปัญญา
ไม่รู้คุณวิเศษของท่าน พลั้งพลาดในท่าน ท่านรู้เรานั้นว่าเป็นผู้พลั้งพลาด.
บทว่า สปญฺา ความว่า ดูก่อนท่านผู้สมบูรณ์ด้วยญาณ จงให้มนต์แก่ข้าพเจ้า
ผู้เสื่อมมนต์อีก.
ลำดับนั้น อาจารย์กล่าวกะเขาว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าพูดอะไร ธรรมดาว่า
คนบอด เมื่อมีผู้ให้สัญญาแล้ว ย่อมหลบหลีกบ่อเป็นต้นได้ เราเล่าก็บอกเจ้า
แล้วแต่แรกทีเดียว คราวนี้เจ้าจะมาหาเราเพื่อประโยชน์อะไรเล่า แล้วกล่าว
คาถาเหล่านี้ว่า
เราได้ให้มนต์แก่ท่านโดยธรรม ฝ่ายท่านก็ได้
เรียนมนต์โดยธรรม หากว่าท่านมีใจดีรักษาปกติไว้
มนต์ก็จะไม่พึงละทิ้งท่านผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 222
ดูก่อนคนพาล มนต์อันใดที่จะพึงได้ในมนุษย-
โลก มนต์อันนั้นท่านก็จะได้ในวันนี้โดยลำบาก ท่าน
ผู้ไม่มีปัญญา กล่าวคำเท็จ ทำมนต์อันมีค่าเสมอด้วย
ชีวิต ที่ได้มาโดยยากให้เสื่อมเสียแล้ว.
เราจะไม่ให้มนต์เช่นนั้นแก่เจ้าผู้เป็นพาล หลง-
งมงาย อกตัญญู พูดเท็จ ไม่มีความสำรวม มนต์ที่ไหน
ไปเสียเถิด เราไม่พอใจ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน ความว่า แม้เราก็ไม่รับเงิน
หรือทองอันเป็นส่วนของอาจารย์ ยินยอมมอบให้แก่ท่านโดยธรรมแท้ทีเดียว
เเม้เจ้าเล่าก็มิได้ให้อะไร ย่อมรับเอาโดยธรรม โดยเสมอดุจกัน. บทว่า ธมฺเม
ฐิต ได้แก่ ตั้งอยู่ในธรรมของบุคคลผู้บูชาอาจารย์. บทว่า ตาทิสเก ความว่า
เราไม่ยอมให้มนต์เห็นปานนั้น คือที่จะให้มะม่วงมีผลในเวลามิใช่ฤดูกาล เจ้า
จงไป เจ้าไม่ถูกใจข้าเลย. เขาถูกอาจารย์ตะเพิดอย่างนี้ คิดว่าเราจะอยู่ไปทำไม
ดังนี้เข้าไปสู่ป่า ตายอย่างน่าอนาถ.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่
แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตก็บอกคืนอาจารย์เสีย ถึงความ
พินาศอย่างใหญ่หลวงแล้ว ดังนี้แล้วจึงทรงประชุมชาดกว่า มาณพอกตัญญู
ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัต พระราชาได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วน
บุตรคนจัณฑาล คือเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาอัมพชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 223
๒. ผันทนชาดก
ว่าด้วยการผูกเวรหมีและไม้ตะคร้อ
[๑๗๓๘] ท่านเป็นบุรุษถือขวาน มาสู่ป่ายืนอยู่
ดูก่อนสหาย เราถามท่าน ท่านจงบอกแก่เรา ท่าน
ต้องการจะตัดไม้หรือ.
[๑๗๓๙] เจ้าเป็นหมี เที่ยวอยู่ทั่วไปทั้งที่ทึบและ
ที่โปร่ง ดูก่อนสหาย เราถามเจ้า ขอเจ้าจงบอกแก่เรา
ไม้อะไรที่จะทำเป็นกงรถได้มั่นคงดี.
[๑๗๔๐] ไม้รังก็ไม่มั่นคง ไม้ตะเคียนก็ไม่มั่นคง
ไม้หูกวางจะมั่นคงที่ไหนเล่า แต่ว่าตัดต้นไม้ชื่อว่าต้น
ตะคร้อนั่นแหละ ทำเป็นกงรถมั่นคงดีนัก.
[๑๗๔๑] ต้นตะคร้อนั้นใบเป็นอย่างไร อนึ่ง
ลำต้นเป็นอย่างไร ดูก่อนสหาย เราถามเจ้า ขอเจ้า
จงบอกแก่เรา เราจะรู้จักไม้ตะคร้อได้อย่างไร.
[๑๗๔๒] กิ่งทั้งหลายแห่งต้นไม้ใด ย่อมห้อยลง
ด้วย ย่อมน้อมลงด้วยแต่ไม่หัก ต้นไม้นั้นชื่อว่าต้น
ตะคร้อ ที่เรายืนอยู่ใกล้โคนต้นนี่.
[๑๗๔๓] ต้นไม้นี้แหละชื่อว่าต้นตะคร้อ เป็น
ต้นไม้ควรแก่การงานของท่านทุกอย่าง คือ ควรแก่กำ
ล้อ ดุม งอนและกงรถ.
[๑๗๔๔] เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นตะคร้อได้กล่าวดัง
นี้ว่า ดูก่อนภารทวาชะ แม้ถ้อยคำของเรามีอยู่ เชิญ
ท่านฟังถ้อยคำของเราบ้าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 224
[๑๗๔๕] ท่านจงลอกหนังประมาณ ๔ นิ้ว จาก
คอแห้งหมีตัวนี้ แล้วจงเอาหนึ่งนั้นหุ้มกงรถ เมื่อทำ
ได้อย่างนั้น กงรถของท่านก็จะพึงเป็นของมั่นคง.
[๑๗๔๖] เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นตะคร้อ จองเวรได้
สำเร็จ นำความทุกข์มาให้แก่หมีทั้งหลาย ที่เกิดแล้ว
และยังไม่เกิด ด้วยประการนี้.
[๑๗๔๗] ไม้ตะคร้อฆ่าหมี และหมีก็ฆ่าไม้
ตะคร้อ ต่างก็ฆ่ากันและกัน ด้วยการวิวาทกัน ด้วย
ประการฉะนี้.
[๑๗๔๘] ในหมู่มนุษย์ ความวิวาทเกิดขึ้น ณ
ที่ใด มนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น ย่อมฟ้อนรำดังนกยูง
รำแพนหาง เหมือนหมีและไม้ตะคร้อ ฉะนั้น.
[๑๗๔๙] เพราะเหตุนั้น อาตมภาพขอถวาย
พระพรแก่บพิตรทั้งหลาย ขอความเจริญจงมีแก่บพิตร
ทั้งหลาย เท่าที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ขอบพิตร
ทั้งหลายจงร่วมบันเทิงใจ อย่าวิวาทกัน อย่าเป็นดังหมี
และไม้ตะคร้อเลย.
[๑๗๕๐] ขอบพิตรทั้งหลายจงศึกษาความสามัคคี
ความสามัคคีนั้นแหละ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรง
สรรเสริญแล้ว บุคคลผู้ยินดีในสามัคคีธรรมตั้งอยู่ใน
ธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะ.
จบผันทนชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 225
อรรถกถาผันทนชาดก
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำโรหิณิ ทรงพระ-
ปรารภการทะเลาะแห่งพระญาติ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
กุาริหตฺโถ ปุริโส ดังนี้.
ก็เนื้อความจักมีแจ้งในกุณาลชาดก.๑ แต่ในครั้งนั้น พระศาสดาตรัส
เรียกหมู่ญาติมาตรัสว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตรทั้งหลาย.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ กรุงพาราณสี
ได้มีบ้านช่างไม้อยู่ภายนอกพระนคร. ในบ้านนั้นมีพราหมณ์ช่างไม้ผู้หนึ่ง หา
ไม้มาจากป่า ทำรถเลี้ยงชีวิต ครั้งนั้นในหิมวันตประเทศ มีต้นตะคร้อใหญ่.
มีหมีตัวหนึ่งเที่ยวหากินแล้ว มานอนที่โคนไม้ตะคร้อนั้น. ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง
เมื่อลมระดมพัด กิ่งแห้งกิ่งหนึ่งของต้นตะคร้อหักตกถูกคอหมีนั้น. มันพอกิ่งไม้
ทิ่มคอหน่อยก็สะดุ้งตกใจลุกขึ้นวิ่งไปหวนกลับมาใหม่ มองดูทางที่วิ่งมา ไม่เห็น
อะไรคิดว่าสีหะหรือพยัคฆ์อื่น ๆ ที่จะติดตามมา มิได้มีเลย ก็แต่เทพยดาที่เกิด
ณ ต้นไม้นี้ชะรอยจะไม่ทนดูเราผู้นอน ณ ที่นี้ เอาเถิดคงได้รู้กัน แล้วผูกโกรธ
ในที่มิใช่ฐานะแล้วทุบฉีกต้นไม้ ตะคอกรุกขเทวดาว่า ข้าไม่ได้กินใบต้นไม้ของ
เจ้าเลยทีเดียว ข้าไม่ได้หักกิ่ง ที่มฤคอื่น ๆ พากันนอนที่ตรงนี้ เจ้าทนได้
ทีข้าละก็เจ้าทนไม่ได้ โทษอะไรของข้าเล่า รอสักสองสามวันต่อไปเถิด ข้าจัก
ให้เขาขุดต้นไม้ของเจ้าเสียทั้งรากทั้งโคน แล้วให้ตัดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่
จงได้ เที่ยวสอดส่องหาบุรุษผู้หนึ่งเรื่อยไป. ครั้งนั้น พราหมณ์ช่างไม้ผู้นั้น
พามนุษย์ ๒-๓ คนไปถึงประเทศตรงนั้น โดยยานน้อยเพื่อต้องการไม้ทำรถ
จอดยานน้อยไว้ ณ ที่แห่งหนึ่งถือพร้าและขวานเลือกเฟ้นต้นไม้ ได้เดินไป
ดูพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก แปล เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๑ หน้า ๕๑๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 226
จนใกล้ไม้ตะคร้อ. หมีพบเข้าแล้วคิดว่า วันนี้น่าที่เราจะได้เห็นหลังปัจจามิตร
ได้มายืนอยู่ที่โคนต้น. ฝ่ายนายช่างไม้เล่า มองดูทางโน้นทางนี้ ผ่านไปใกล้
ต้นตะคร้อ. หมีนั้นคิดว่า เราต้อง บอกเขาทันทีที่เขายังไม่ผ่านไป ดังนี้แล้ว
จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า
ท่านเป็นบุรุษถือขวาน มาสู่ป่ายืนอยู่ ดูก่อนสหาย
เราถามท่าน ท่านจงบอกแก่เรา ท่านต้องการจะตัดไม้
หรือ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุริโส ความว่า ท่านผู้เป็นบุรุษคนหนึ่ง
มือถือขวาน หยั่งลงสู่ป่านี้ยืนอยู่.
เขาฟังคำของมันแล้ว คิดว่า ผู้เจริญน่าอัศจรรย์จริง มฤคพูดภาษา
มนุษย์ เราไม่เคยพบมาก่อนจากนี้เลย เจ้านี่คงจะรู้จักไม้ที่เหมาะแก่การทำรถ
ต้องถามมันดูก่อน จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
เจ้าเป็นหมี เที่ยวอยู่ทั่วไปทั้งป่าทึบและป่าโปร่ง
ดูก่อนสหาย เราถามเจ้า ขอเจ้าจงบอกแก่เรา ไม้อะไร
ที่จะทำกงรถ ได้มั่นคงดี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อีโส ความว่า แกเล่าเป็นหมีตัวหนึ่ง
ท่องเที่ยวไปในป่า เจ้าคงรู้จักไม้ที่ควรจะทำรถได้.
หมีได้ฟังดังนั้น คิดว่า บัดนี้ มโนรถของข้าจักถึงที่สุด ดังนี้แล้ว
จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า
ไม้รังก็ไม่มั่นคง ไม้ตะเคียนก็ไม่มั่นคง ไม้หูกวาง
จะมั่นคงที่ไหนเล่า แต่ว่าต้นไม้ชื่อว่าต้นตะคร้อ
นั่นแหละ ทำเป็นกงรถมั่นคงดีนัก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 227
เขาฟังคำของมันนั้นแล้ว เกิดโสมนัสว่า วันนี้เป็นวันดีจริงเทียวละ
ที่เราเข้าป่า สัตว์ดิรัจฉานบอกไม้อันเหมาะที่จะกระทำรถแก่เรา โอ ดีนัก
เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า
ต้นตะคร้อนั้นใบเป็นอย่างไร อนึ่ง ลำต้นเป็น
อย่างไร ดูก่อนสหาย เราถามเจ้า ขอเจ้าจงบอกแก่เรา
เราจะรู้จักไม้ตะคร้อได้อย่างไร.
ลำดับนั้น หมีเมื่อจะบอกแก่เขา ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
กิ่งทั้งหลายแห่งต้นไม้ใด ย่อมห้อยลงด้วย ย่อม
น้อมลงด้วย แต่ไม่หัก ต้นไม้นั้นชื่อว่าต้นตะคร้อ
ที่เรายืนอยู่ใกล้โคนต้นนี่.
ต้นไม้นี้แหละ ชื่อว่าต้นตะคร้อ เป็นต้นไม้
ควรแก่การงานของท่านทุกอย่าง คือควรทำล้อ ดุม
งอนและกงรถ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาราน ความว่า หมีนั้นคิดว่าบางคราว
คนนี้จะไม่พึงถือเอาต้นไม้นี้ก็ได้ เราต้องบอกแม้ซึ่งคุณของต้นไม้นั้นไว้บ้าง
จึงได้กล่าวคำนี้ว่า ทำกำดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อีสานเนมิรถสฺสจ
ความว่า ต้นตะคร้อนี้ จักควรแก่การงาน คือจักเหมาะแก่การงานที่จะกระทำ
งอนรถ กงรถและเครื่องรถที่เหลือทุก ๆ อย่างของท่าน.
หมีนั้นครั้นบอกอย่างนี้แล้ว ดีใจ เดินเที่ยวไปเสียข้างหนึ่ง ช่างไม้เล่า
ก็เตรียมการที่จะตัดต้นไม้. รุกขเทวดาคิดว่าอะไร ๆ เราก็มิได้ให้ตกใส่บนตัวหมี
นั้นมันผูกอาฆาตในอันมิใช่เหตุเลย กำลังจะทำลายวิมานของเราเสีย และตัวเรา
ก็จักพลอยย่อยยับไปด้วย ต้องล้างผลาญไอ้หมีตัวนี้ด้วยอุบายอย่างหนึ่งให้ได้
จำแลงเป็นคนทำงานในป่า มาสู่สำนักของช่างไม้นั้น แล้วถามว่า บุรุษผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 228
ท่านได้ต้นไม้ที่เหมาะใจแล้ว ท่านจักตัดต้นไม้นี้ไปทำอะไร. ตอบว่า จักกระทำ
กงรถ ด้วยต้นไม้นี้ จักเป็นตัวรถก็ได้. ถามว่า ใครบอกท่าน. ตอบว่า หมี
ตัวหนึ่งบอก. รุกขเทวดาจึงกล่าวว่า ดีละดีแล้ว ที่หมีนั้นบอกรถจักงามด้วย
ไม้นี้ แต่เมื่อท่านลอกหนังคอหมีประมาณ ๔ นิ้วแล้วเอาหนังนั้นหุ้มกงรถ ดุจ
หุ้มด้วยแผ่นเหล็กกงรถก็จะแข็งแรง และท่านจักได้ทรัพย์มาก. ถามว่า ข้าพเจ้า
จักได้หนังหมีมาจากไหนเล่า ตอบว่า ท่านเป็นคนโง่ ต้นไม้นี้ตั้งต้นอยู่ในป่า
ไม่หนีหายไปดอกนะ ท่านจงไปสู่สำนักไอ้หมีตัวที่มันบอกต้นไม้นั้น หลอกมัน
ว่า นายเอ๋ย ข้าพเจ้าจะตัดต้นไม้ที่ท่านชี้ให้ตรงไหนเล่า พามันมา ขณะที่มัน
หมดระแวงกำลังยื่นจงอยปากบอกอยู่ว่า ตัดตรงนี้และตรงนั้น ท่านจงฟันเสีย
ด้วยขวานใหญ่อันคมให้ถึงสิ้นชีวิต ถลกหนังกินเนื้อที่ดี ๆ แล้วค่อยตัดต้นไม้
เป็นอันรุกขเทวดาจองเวรสำเร็จ.
พระศาสดาเมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นตะคร้อได้กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อน
ภารทวาชะ แม้ถ้อยคำของเรามีอยู่ เชิญท่านฟังถ้อยคำ
ของเราบ้าง.
ท่านจงลอกหนังประมาณ ๔ นิ้ว จากคอแห่งหมี
ตัวนี้ แล้วจงเอาหนังนั้นหุ้มกงรถ เมื่อทำได้อย่างนั้น
กงรถของท่านก็จะพึงเป็นของมั่นคง.
เทวดาผู้สิงอยู่ต้นตะคร้อ จองเวรได้สำเร็จ นำ
ความทุกข์มาให้แก่หมีทั้งหลาย ที่เกิดแล้ว และยังไม่-
เกิด ด้วยประการฉะนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภารทฺวาช เป็นคำที่เทวดาเรียกเขาโดย
โคตร. บทว่า อุปกฺขนฺขมฺหา แปลว่า จากลำคอ. บทว่า อุกฺกจฺจ แปลว่า
ตัดออก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 229
ช่างไม้ฟังคำของรุกขเทวดา คิดว่า โอ้โอ วันนี้เป็นวันมงคลของเรา
ฆ่าหมี ตัดต้นไม้ แล้วหลีกไป.
พระศาสดาเมื่อจะประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสคาถาว่า
ไม้ตะคร้อฆ่าหมี และหมีก็ฆ่าไม้ตะคร้อ ต่างก็
ฆ่ากันและกัน ด้วยการวิวาทกัน ด้วยประการฉะนี้.
ในหมู่มนุษย์ ความวิวาทเกิดขึ้น ณ ที่ใด มนุษย์
ทั้งหลายในที่นั้นย่อมฟ้อนรำดังนกยูงรำแพนเหมือน
หมีและไม้ตะคร้อ ฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้น อาตมภาพขอถวายพระพรแก่
บพิตรทั้งหลาย ขอความเจริญจงมีแก่บพิตรทั้งหลาย
เท่าที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ขอบพิตรทั้งหลายจง
ร่วมบันเทิงใจ อย่าวิวาทกัน อย่าเป็นดังหมีและไม้-
ตะคร้อเลย.
ขอบพิตรทั้งหลายจงศึกษาความสามัคคี ความ
สามัคคีนั้นแหละ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญ
แล้ว บุคคลผู้ยินดีในสามัคคีธรรม ตั้งอยู่ในธรรม
ย่อมไม่คลาดจากธรรม อันเป็นแดนเกษมจากโยคะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฆาตยุ แปลว่า ต่างฝ่ายต่างฆ่ากัน.
บทว่า มยุรนจฺจ นจฺจนฺติ ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร บรรดามนุษย์ วิวาท
เกิดมีในที่ใด ฝูงคนในที่นั้นต่างก็จะร่ายรำ เหมือนนกยูงรำแพน กระทำที่ ๆ
ควรปกปิด คือที่ ๆ ลี้ลับให้ปรากฏ ฉันใด มนุษย์นั้นก็ฉันนั้น เมื่อประกาศ
โทษแห่งกันและกัน ชื่อว่าฟ้อนรำเหมือนการรำแพนแห่งนกยูง. บทว่า ต โว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 230
ความว่า เพราะเหตุนั้น อาตมภาพขอถวายพระพรบพิตรทั้งหลาย ขอความ
เจริญจงมีแก่มหาบพิตรทั้งหลาย. บทว่า ยาวนฺเตตฺถ ความว่า เท่าที่มา
ประชุมกัน ณ ที่นี้ อย่าพากันเป็นหมีและไม้ตะคร้อเลย. บทว่า สามคฺยเมว
ความว่า บพิตรทั้งหลาย จงศึกษาความเป็นผู้พร้อมเพรียงกันอย่างเดียวเถิด นี้
เป็นข้อที่พุทธาทิบัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญแล้ว. บทว่า ธมฺมฏฺโ ความว่า
ตั้งอยู่ในสุจริตธรรม. บทว่า โยคกฺเขมา ความว่า ท่านผู้ยินดีในสามัคคีธรรม
ย่อมไม่แคล้วจากธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ คือพระนิพพาน. บทว่า
น ธสติ ความว่า ย่อมไม่เสื่อม. พระศาสดาทรงถือเอายอดแห่งเทศนาด้วย
พระนิพพาน ด้วยประการฉะนี้.
พระราชาทั้งหลาย ทรงสดับธรรมกถาของพระองค์แล้ว ต่างก็ทรง
สมัครสมานกันได้.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
ก็แลเทวดาผู้สิงอยู่ในราวป่านั้น ฟังเรื่องราวนั้น ในครั้งนั้น คือเราตถาคต
แล.
จบอรรถกถาผันทนชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 231
๓. ชวนหังสชาดก
ว่าด้วยรักกันอยู่ไกลก็เหมือนอยู่ใกล้
[๑๗๕๑] ดูก่อนหงส์ เชิญเกาะที่ตั่งทองนี้เถิด
การได้เห็นท่านชื่นใจฉันจริง ท่านเป็นอิสระในสถาน
ที่นี้ ท่านมาถึงแล้ว รังเกียจสิ่งใดที่มีอยู่ในนิเวศน์นี้
จงบอกสิ่งนั้นให้ทราบเถิด.
[๑๗๕๒] คนบางพวก ย่อมเป็นที่รักของบุคคล
บางพวกเพราะได้ฟัง อนึ่ง ความรักของบุคคลบางพวก
ย่อมหมดสิ้นไปเพราะได้เห็น คนบางพวกย่อมเป็น
ที่รักเพราะได้เห็นและเพราะได้ฟัง ท่านรักใคร่ฉัน
เพราะได้เห็นบ้างไหม.
[๑๗๕๓] ท่านเป็นที่รักของฉันเพราะได้ฟัง และ
เป็นที่รักของฉันยิ่งนัก เพราะอาศัยการเห็น ดูก่อน
พญาหงส์ ท่านน่ารักน่าดูอย่างนี้ เชิญอยู่ในสำนักของ
ฉันเถิด.
[๑๗๕๔] ข้าพระองค์ทั้งหลายได้รับการสักการ-
บูชาแล้วเป็นนิตย์ พึงอยู่ในพระราชนิเวศน์ของพระ-
องค์ แต่บางครั้งพระองค์ทรงเมาน้ำจัณฑ์แล้ว จะพึง-
ตรัสสั่งว่า จงย่างพญาหงส์ให้ฉันที.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 232
[๑๗๕๕] การดื่มน้ำเมา ซึ่งเป็นที่รักของฉัน
ยิ่งกว่าท่าน ฉันติเตียนการดื่มน้ำเมานั้น เอาเถอะ
ตลอดเวลาที่ท่านยังอยู่ในนิเวศน์ของฉัน ฉันจักไม่ดื่ม
น้ำเมาเลย.
[๑๗๕๖] ข้าแต่พระราชา เสียงของสุนัขจิ้งจอก
ทั้งหลายก็ดี ของนกทั้งหลายก็ดี รู้ได้ง่าย แต่เสียง
ของมนุษย์รู้ได้ยากกว่านั้น.
[๑๗๕๗] อนึ่ง ผู้ใดเมื่อก่อนเป็นผู้ใจดี คน
ทั้งหลายนับถือว่าเป็นญาติ เป็นมิตรหรือเป็นสหาย
ภายหลังผู้นั้นกลับกลายเป็นศัตรูไปก็ได้ ใจของมนุษย์
รู้ได้ยากอย่างนี้.
[๑๗๕๘] ใจจดจ่ออยู่ในบุคคลใด แม้บุคคลนั้น
จะอยู่ไกลก็เหมือนกับอยู่ใกล้ ใจเหินห่างจากบุคคลใด
แม้บุคคลนั้นจะอยู่ใกล้ก็เหมือนกับอยู่ไกล.
[๑๗๕๙] ถ้ามีจิตเลื่อมใสรักใคร่กัน ถึงแม้จะอยู่
คนละฝั่งสมุทร ก็เหมือนอยู่ใกล้ชิดกัน ถ้ามีจิตคิด
ประทุษร้ายกัน ถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดกัน ก็เหมือนกับ
อยู่กันคนละฝั่งสมุทร.
[๑๗๖๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ คนที่เป็น
ศัตรูกันถึงจะอยู่ร่วมกันก็เหมือนกับอยู่ห่างไกลกัน ข้า
แต่พระองค์ผู้เป็นมิ่งขวัญแห่งรัฐ คนที่รักกันถึงแม้จะ
อยู่ห่างไกลกัน ก็เหมือนกับอยู่ร่วมกันด้วยหัวใจ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 233
[๑๗๖๑] ด้วยการอยู่ร่วมกันนานเกินควร คนรัก
กันย่อมกลายเป็นคนไม่รักกันก็ได้ ข้าพระองค์ขอทูล
ลาพระองค์ไป ก่อนที่ข้าพระองค์จะกลายเป็นผู้ไม่เป็น
ที่รักของพระองค์.
[๑๗๖๒] เมื่อเราวิงวอนอยู่อย่างนี้ ถ้าท่านมิได้
รู้ถึงความนับถือของเรา ท่านก็มิได้ทำตามคำวิงวอน
ของเรา ซึ่งจะเป็นผู้ปรนนิบัติท่านเมื่อเป็นอย่างนี้ เรา
ขอวิงวอนท่านว่า ท่านพึงหมั่นมาที่นี่บ่อย ๆ นะ.
[๑๗๖๓] ข้าแต่พระมหาราชผู้เป็นมิ่งขวัญแห่ง
รัฐ ถ้าเรายังอยู่กันเป็นปกติอย่างนี้ อันตรายจักยัง
ไม่มีทั้งแก่พระองค์และแก่ข้าพระองค์เป็นอันแน่นอน
ว่า เราทั้งสองคงได้พบเห็นกัน ในเมื่อวันคืนผ่านไป
เป็นแน่.
จบชวนหังสชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 234
อรรถกถาชวนหังสชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภพระเทศนาทัฬหธัมมธนุคคหสูตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า อิเธว หส นิปต ดังนี้.
ความพิสดารว่า จำเดิมแต่วันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน นายขมังธนูมีธรรมมั่นคง ๔ นาย ฝึกฝนดี
แล้วมีมือได้ฝึกปรือแล้ว ยิงแม่นยำ ยืน ๔ ทิศ ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งมา
เราจักจับลูกศรของนายขมังธนูผู้มีธรรมมั่นคง ๔ นาย เหล่านี้ ที่ฝึกฝนดีแล้ว
มีมือได้ฝึกปรือแล้วยิงแม่นยำ ยิงไปทั้ง ๔ ทิศไม่ทันตกถึงดินเลย แล้วนำมา
ให้ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร บุรุษผู้วิ่ง
ไปด้วยความเร็ว ต้องประกอบด้วยความเร็วอย่างยอดเยี่ยม เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลรับว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเร็ว
ของบุรุษจะเป็นปานใด ความเร็วของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ยังเร็วกว่านั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเร็วของบุรุษนั้นจะเร็วปานใดเล่า อนึ่งเล่า ฝูงเทวดา
ย่อมเหาะไปข้างหน้าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ความเร็วของหมู่เทวดานั้น เร็ว
ยิ่งกว่าความเร็วของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเร็วของ
บุรุษนั้น ความเร็วของหมู่เทวดาเหล่านั้นปานใด อายุสังขารย่อมสิ้นไปเร็วกว่า
นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนั้น
อย่างนี้ว่า พวกเราต้องละความกระหายด้วยอำนาจความกำหนัดในกามทั้งหลาย
ที่บังเกิดแล้วเสียให้ได้ อนึ่ง จิตของพวกเราต้องไม่ตั้งยึดความกระหายด้วย
อำนาจความกำหนัดในกามทั้งหลายไว้เลย พวกเราต้องเป็นผู้ไม่ประมาท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องสำเหนียกอย่างนี้ทีเดียว ดังนี้ ในวันที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 235
พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาทรงดำรง
ในพุทธวิสัยของพระองค์ ทรงชี้แจงถ้วนถี่ถึงอายุสังขารของสัตว์เหล่านี้ กระทำ
ให้เป็นของชั่วประเดี๋ยว ทรพล ให้พวกภิกษุที่เป็นปุถุชนพากันถึงความสะดุ้งใจ
อย่างล้นพ้น โอ ธรรมดาพระพุทธพลอัศจรรย์นะ. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่น่าอัศจรรย์
เลย ที่เรานั้นบรรลุสัพพัญญุตญาณแล้วในบัดนี้ ชี้แจงถึงอายุสังขารในหมู่สัตว์
เป็นภาวะชั่วประเดี๋ยว แสดงธรรมให้พวกภิกษุสลดใจได้ เพราะในปางก่อน
ถึงเราจะบังเกิดในกำเนิดหงส์เป็นอเหตุกสัตว์ ก็เคยชี้แจงความที่สังขารทั้งหลาย
เป็นสภาวะชั่วคราว แสดงธรรมให้บริษัททั้งสิ้น ตั้งต้นแต่พระเจ้าพาราณสี
สลดได้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดชวนหงส์ มีหงส์เก้าหมื่นเป็นบริวาร อาศัยอยู่
ณ ภูเขาจิตตกูฏ วันหนึ่งพระโพธิสัตว์ พร้อมด้วยบริวารเคี้ยวกินข้าวสาลี
เกิดเองในสระแห่งหนึ่ง ณ พื้นชมพูทวีปบินไปสู่เขาจิตตกูฏ ด้วยการบินไปอัน
งดงามระย้าระยับ ทางเบื้องบนแห่งกรุงพาราณสีกับบริวารเป็นอันมาก
ประหนึ่งบุคคลลาดลำแพนทองไว้บนอากาศฉะนั้นทีเดียว. ครั้งนั้น พระเจ้า
พาราณสีทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์นั้น ตรัสแก่พวกอำมาตย์ว่า อันหงส์
แม้นี้คงเป็นพระราชาเหมือนเรา บังเกิดพระสิเนหาในพระโพธิสัตว์นั้น ทรง
ถือดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิว ทอดพระเนตรดูพระโพธิสัตว์นั้น
พลางรับสั่งให้ประโคมดนตรีทุกอย่าง. พระมหาสัตว์เห็นท้าวเธอทรงกระทำ
สักการะแก่ตน จึงถามฝูงหงส์ว่า พระราชาทรงกระทำสักการะเห็นปานนี้แก่เรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 236
ทรงพระประสงค์อะไรเล่า. ฝูงหงส์พากันตอบว่า ข้าแต่สมมติเทพ ทรงพระ-
ประสงค์มิตรภาพกับพระองค์พระเจ้าข้า. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น
มิตรภาพของพวกเราจงมีแก่พระราชาเถิด กระทำมิตรภาพแก่พระราชาแล้ว
หลีกไป.
อยู่มาวันหนึ่ง ในเวลาที่พระราชาเสด็จสู่พระอุทยาน พระโพธิสัตว์
บินไปสู่สระอโนดาต ใช้ปีกข้างหนึ่งนำน้ำมา ข้างหนึ่งนำผงจันทน์มา ให้
พระราชาทรงสรงสนานด้วยน้ำนั้น โปรยผงจันทน์ถวาย เมื่อมหาชนกำลังดูอยู่
นั่นแหละ ได้พาบริวารบินไปสู่เขาจิตตกูฏ. จำเดิมแต่นั้น พระราชาปรารถนา
จะเห็นพระมหาสัตว์ ก็ประทับทอดพระเนตรทางที่มา ด้วยทรงพระอาโภคว่า
สหายของเราคงมาวันนี้. ครั้งนั้น ลูกหงส์สองตัวเป็นน้องเล็กของพระมหาสัตว์
ปรึกษากันว่า เราจักบินแข่งกับพระอาทิตย์ บอกแก่พระมหาสัตว์ว่า ฉันจัก
บินแข่งกับดวงอาทิตย์. พระมหาสัตว์กล่าวว่า พ่อเอ๋ย อันความเร็วของดวง
อาทิตย์เร็วพลัน เธอทั้งสองจักไม่สามารถบินแข่งกับดวงอาทิตย์ได้ดอก จัก
ต้องย่อยยับเสียในระหว่างทีเดียว อย่าพากันไปเลยนะ. หงส์เหล่านั้นพากัน
อ้อนวอนถึงสองครั้งสามครั้ง. แม้พระโพธิสัตว์ก็คงห้ามหงส์ทั้งสองนั้นตลอด
สามครั้งเหมือนกัน หงส์ทั้งสองนั้น ดื้อดันด้วยมานะ ไม่รู้กำลังของตน ไม่
บอกแก่พระมหาสัตว์เลย คิดว่า เราจักบินแข่งกับดวงอาทิตย์ เมื่อดวงอาทิตย์
ยังไม่ทันขึ้นไปเลย พากันบินไปจับอยู่ ณ ยอดเขายุคนธร. พระมหาสัตว์
ไม่เห็นหงส์ทั้งสองนั้น ถามว่า หงส์ทั้งสองนั้นไปไหนกันเล่า ได้ฟังเรื่องนั้น
แล้วคิดว่า หงส์ทั้งสองนั้น ไม่อาจแข่งกับดวงอาทิตย์ จักพากันย่อยยับเสีย
ระหว่างทางเป็นแม่นมั่น เราต้องให้ชีวิตทานแก่หงส์ทั้งสองนั้น แม้พระ-
มหาสัตว์ก็บินไปจับอยู่ที่ยอดเขายุคนธรเช่นเดียวกัน ครั้นเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น
แล้ว หงส์ทั้งคู่ก็บินถลาขึ้นไปกับดวงอาทิตย์. ฝ่ายพระมหาสัตว์เล่าก็บินไปกับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 237
หงส์ทั้งสองนั้น. น้องเล็กแข่งไปได้เพียงเวลาสายก็อิดโรย ได้เป็นดุจเวลาที่
จุดไฟขึ้นที่ข้อต่อแห่งปีกทั้งหลาย. น้องเล็กนั้นจึงให้สัญญาแก่พระโพธิสัตว์ให้
ทราบว่า พี่จ๋า ฉันบินไม่ไหวแล้ว.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ปลอบเธอว่าอย่ากลัวเลยนะ ฉันจักให้ชีวิต
แก่เธอ ประคองไว้ด้วยอ้อมปีก ให้เบาใจไปสู่เขาจิตตกูฏ มอบไว้ท่าม
กลางฝูงหงส์ บินไปอีกทันดวงอาทิตย์ แล้วบินชลอไปกับน้องกลาง. บิน
แข่งกับดวงอาทิตย์ไปจนถึงเวลาจวนเที่ยง ก็อิดโรย. ได้เป็นดุจเวลาที่
จุดไฟขึ้นที่ข้อต่อแห่งปีกทั้งหลาย ลำดับนั้น ก็ให้สัญญาแก่พระโพธิสัตว์
ให้ทราบว่า พี่จ๋า ฉันไปไม่ไหวละ. พระมหาสัตว์ปลอบโยนหงส์แม้นั้นโดย
ทำนองเดียวกัน ประคองด้วยอ้อมปีก ไปสู่เขาจิตตกูฏ. ขณะนั้นดวงอาทิตย์
ถึงท่ามกลางฟ้าพอดี ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า วันนี้เราจักทดลองกำลัง
แห่งสรีระของเราดู แล้วบินไปด้วยความเร็วรวดเดียวเท่านั้น จับยอดเขายุคนธร
ถลาขึ้นจากนั้น ใช้กำลังรวดเดียวเหมือนกันทันดวงอาทิตย์ บางคราวก็แข่งไป
ข้างหน้า บางคราวก็ไล่หลัง ได้คิดว่า อันการบินแข่งกับดวงอาทิตย์ของเรา
ไร้ประโยชน์ เกิดประดังจากการทำในใจโดยไม่แยบคาย เราจะต้องการอะไร
ด้วยประการนี้ เราจักไปสู่พระนครพาราณสี กล่าวถ้อยคำประกอบด้วยอรรถ
ประกอบด้วยธรรม แก่พระราชาสหายของเรา. พระมหาสัตว์นั้นหันกลับ เมื่อ
ดวงอาทิตย์ยังไม่ทันโคจรผ่านท่านกลางฟ้าไปเลย บินเลียบตามท้องจักรวาล
ทั้งสิ้น โดยที่สุดถึงที่สุดลดความเร็วลง บินเลียบชมพูทวีปทั้งสิ้น โดยที่สุด
ถึงที่สุด ถึงกรุงพาราณสี. พระนครทั้งสิ้นอันมีบริเวณได้ ๑๒ โยชน์ ได้เป็น
ดุจหงส์กำบังไว้ ชื่อว่าระยะทางไม่ปรากฏเลย ครั้นความเร็วลดลงโดยลำดับ
ช่องในอากาศจึงปรากฏได้. พระมหาสัตว์ผ่อนความเร็วลง ร่อนลงจากอากาศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 238
ได้จับอยู่ ณ ที่เฉพาะช่องพระสีหบัญชร. พระราชาตรัสว่า สหายของเรามา
ตรัสสั่งให้จัดตั้งตั่งทอง เพื่อให้พระโพธิสัตว์เกาะ ตรัสว่า สหายเอ๋ย เชิญ
ท่านเข้ามาเถิด เกาะที่ตรงนี้เถิด ดังนี้ตรัสพระคาถาที่ ๑ ว่า
ดูก่อนหงส์ เชิญเกาะที่ตั่งทองนี้เถิด การได้เห็น
ท่านชื่นใจฉันจริง ท่านเป็นอิสระในสถานที่นี้ ท่าน
มาถึงแล้ว รังเกียจสิ่งใดที่มีอยู่ในนิเวศน์นี้ จงบอก
สิ่งนั้นให้ทราบเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ แปลว่า ที่ตรงนี้พระราชาตรัสหมายเอา
ตั่งทอง. บทว่า นิปต แปลว่า เชิญจับอยู่. ด้วยบทว่า อิสฺสโรสิ นี้
พระราชาตรัสว่า ท่านเป็นผู้ใหญ่ เป็นเจ้าของที่นี้มาแล้ว. บทว่า ย อิธตฺถิ
ความว่า สิ่งใดมีอยู่ในนิเวศน์นี้ ท่านไม่ต้องเกรงใจ จงบอกแก่ฉันถึงสิ่งนั้น
พระมหาสัตว์จับอยู่ที่ตั่งทอง. พระราชารับสั่งให้คนทาช่องปีกของ
พระมหาสัตว์นั้น ด้วยน้ำมันที่หุงซ้ำ ๆ ได้แสนครั้ง รับสั่งให้เอาข้าวตอกคลุก
ด้วยน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด ใส่จานทองพระราชทาน ทรงกระทำปฏิสันถาร
อันอ่อนหวาน ตรัสถามว่า สหายเอ๋ย ท่านมาลำพังผู้เดียวไปไหนมาเล่า.
พระมหาสัตว์นั้นเล่าเรื่องนั้นโดยพิสดาร. ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะพระ-
มหาสัตว์นั้นว่า สหายเอ๋ย เชิญท่านแสดงความเร็วชนิดที่แข่งกับดวงอาทิตย์
ให้ฉันดูบ้างเถิด. พระมหาสัตว์จึงทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชหม่อมฉันไม่สามารถ
ที่จะแสดงความเร็วชนิดนั้นได้. พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นเชิญเธอแสดง
เพียงขนาดที่พอเห็นสมกันแก่ฉันเถิด. พระมหาสัตว์ทูลว่า ได้ซิ มหาราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 239
หม่อมฉันจักแสดงความเร็วขนาดที่พอเห็นสมถวาย พระองค์โปรดดำรัสสั่งให้
นายขมังธนูผู้ยิงรวดเร็วประชุมกันเถิด. พระราชาทรงให้นายขมังธนูประชุม
กันแล้ว. พระมหาสัตว์คัดนายขมังธนูได้ ๔ นาย ซึ่งเป็นเยี่ยมกว่าทุก ๆ คน
ลงจากพระราชนิเวศน์ ให้ฝังเสาศิลา ณ ท้องพระลานหลวง ให้ผูกลูกศรที่คอ
ของตนจับอยู่ที่ยอดเสา ส่วนนายขมังธนูทั้ง ๔ นาย ให้ยืนพิงเสาศิลาผินหน้าไป
๔ ทิศ ทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช คน ๔ คนเหล่านี้ จงยิงลูกศร ๔ ลูก
ตรงไปทางทิศทั้ง ๔ โดยประดังพร้อมกัน หม่อมฉันจะเก็บลูกศรเหล่านั้นมา
มิให้ทันตกดินเลย แล้วทิ้งลงแทบเท้าของคนเหล่านั้น พระองค์พึงทรงทราบ
การที่หม่อมฉันไปเก็บลูกศรด้วยสัญญาแห่งเสียงลูกศร แต่หม่อมฉันจักไม่
ปรากฏเลย แล้วเก็บลูกศรที่นายขมังธนูทั้ง ๔ ยิงไปพร้อมกันทันทีหลุดพ้นไป
จากสายแล้ว มาทิ้งลงตรงใกล้ ๆ เท้าของนายขมังธนูเหล่านั้น แสดงตนจับอยู่
ณ ยอดแห่งเสาศิลานั้นเอง กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช ความเร็วของ
หม่อมฉันนี้ มิใช่ความเร็วอย่างสูงสุดดอก มิใช่ความเร็วปานกลาง เป็นความ
ขนาดเลวชั้นโหล่ ข้าแต่มหาราช ความเร็วของหม่อมฉันพึงเป็นเช่นนี้นะ
พระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระราชาทรงถามว่า สหายเอ๋ย ก็และความเร็วอย่างอื่น
ที่เร็วกว่าความเร็วของท่านน่ะ ยังมีหรือ. พระมหาสัตว์ กราบทูลว่า พระเจ้าข้า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า อายุสังขารของสัตว์เหล่านี้ ย่อมสิ้น ย่อมสลาย ย่อมถึง
ความสิ้น เร็วพลันกว่าแม้แต่ความเร็วขนาดสูงสุดของหม่อมฉัน ตั้งร้อยเท่า
พันทวีแสนทวี พระมหาสัตว์แสดงความสลายแห่งอรูปธรรมทั้งหลาย ด้วย
สามารถความดับอันเป็นไปทุก ๆ ขณะด้วยประการฉะนี้. พระราชาทรงสดับ
คำของพระมหาสัตว์ทรงกลัวต่อมรณภัย ไม่สามารถดำรงพระสติไว้ได้ ชวน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 240
พระกายล้มเหนือแผ่นดิน. มหาชนพากันถึงความสยดสยอง. พวกอำมาตย์
ต้องเอาน้ำสรงพระพักตร์พระราชา ช่วยให้พระองค์ทรงกลับฟื้นคืนพระสติ.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กราบทูลเตือนว่า ข้าแต่พระมหาราช พระองค์อย่า
ได้ทรงหวาดเกรงเลย เชิญทรงเจริญมรณสติไว้เถิด ทรงประพฤติธรรมไว้เถิด
ทรงกระทำบุญมีให้ทานเป็นต้นไว้เถิด พระองค์อย่าประมาทเถิด พระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระราชาเมื่อทรงอ้อนวอนว่า ฉันจักไม่สามารถที่จะอยู่แยกกับ
อาจารย์ผู้สมบูรณ์ด้วยญาณเช่นท่าน ชั่วระยะกาลอันใกล้ได้ ท่านไปต้องไปสู่
เขาจิตตกูฎ ชี้แจงธรรมแก่ฉัน เป็นอาจารย์ให้โอวาทอยู่ ณ ที่นี้เลยเถิดนะ
จึงตรัสพระคาถา ๒ คาถาว่า
คนบางพวก ย่อมเป็นที่รักของบุคคลบางคน
เพราะได้ฟัง อนึ่ง ความรักของบุคคลบางคน ย่อม
หมดสิ้นไปเพราะได้เห็น คนบางพวกย่อมเป็นที่รัก
เพราะได้เห็นและเพราะได้ฟัง ท่านรักใคร่ฉันเพราะได้
เห็นบ้างไหม.
ท่านเป็นที่รักของฉันเพราะได้ฟัง และเป็นที่รัก
ของฉันยิ่งนัก เพราะอาศัยการเห็น ดูก่อนพญาหงส์
ท่านน่ารักน่าดูอย่างนี้ เชิญอยู่ในสำนักของฉันเถิด.
คาถาเหล่านั้นมีอธิบายว่า ดูก่อนสหายพญาหงส์ บุคคลจำพวกหนึ่ง
ย่อมน่ารักด้วยการฟัง คือดูดดื่มใจด้วยได้ฟัง เพราะได้ยินว่า มีคุณอย่างนี้
แต่จำพวกหนึ่งพอเห็นเท่านั้น ความพอใจหมดไปเลย คือความรักหายไปหมด
ปรากฏเหมือนพวกยักษ์ที่มากันมาเพื่อกัดกิน จำพวกหนึ่งเล่า เป็นผู้น่ารักได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 241
ทั้งสถาน คือทั้งได้เห็น ทั้งได้ฟัง เหตุนั้นฉันขอถามท่าน เพราะเห็นฉัน
ท่านจึงรักฉันบ้างหรือไร คือท่านยังจะพึงใจฉันบ้างหรือไม่ แต่สำหรับฉัน
ท่านเป็นที่รักด้วยได้ยิน แน่ละ ยิ่งมาเห็นยิ่งรักนักเทียว ท่านเป็นที่รักน่าดูของ
ฉันเช่นนี้ อย่าไปสู่เขาจิตตกูฏ จงอยู่ในสำนักของฉันนี้เถิด.
พระโพธิสัตว์กราบทูลด้วยคาถาว่า
ข้าพระองค์ทั้งหลายได้รับการสักการบูชาแล้ว
เป็นนิตย์ พึงอยู่ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์ แต่
บางครั้งพระองค์ทรงเมาน้ำจัณฑ์แล้ว จะพึงตรัสสั่งว่า
จงย่างพญาหงส์ให้ฉันที.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มตฺโต จ เอกทา ความว่า ข้าแต่
พระมหาราช พวกหม่อมฉันได้รับบูชาเป็นนิตย์ ก็น่าจะอยู่ในพระราชวัง
ของพระองค์ แต่บางครั้งพระองค์ทรงเมาสุราแล้ว พึงตรัสได้ว่า จงย่าง
พญาหงส์ให้ข้าเถิด ดังนี้ เพื่อจะได้เสวยมังสะ ทีนั้นพวกข้าเฝ้าของพระองค์
ก็จะพึงฆ่าหม่อมฉันย่างเสียด้วยประการฉะนั้น ครั้งนั้นหม่อมฉันจักกระทำ
อย่างไรได้.
ลำดับนั้น พระราชาเพื่อจะประทานพระปฏิญญาแก่พระโพธิสัตว์นั้นว่า
ถ้าเช่นนั้น ฉันจักไม่ดื่มน้ำเมาเป็นเด็ดขาด จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
การดื่มน้ำเมา ซึ่งเป็นที่รักของฉันยิ่งกว่าท่าน
ฉันติเตียนการดื่มน้ำเมานั้น เอาเถอะ ตลอดเวลาที่
ท่านยังอยู่ในนิเวศน์ของฉัน ฉันจักไม่ดื่มน้ำเมาเลย.
ต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์ กล่าวคาถา ๖ คาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 242
ข้าแต่พระราชา เสียงของสุนัขจิ้งจอกทั้งหลาย
ก็ดี ของนกทั้งหลายก็ดี รู้ได้ง่าย แต่เสียงของมนุษย์
รู้ได้ยากกว่านั้น.
อนึ่ง ผู้ใดเมื่อก่อนเป็นผู้ใจดี คนทั้งหลายนับถือ
ว่าเป็นญาติ เป็นมิตร หรือเป็นสหาย ภายหลังผู้นั้น
กลับกลายเป็นศัตรูไปก็ได้ ใจของมนุษย์รู้ได้ยาก
อย่างนี้.
ใจจดจ่ออยู่ในบุคคลใด แม้บุคคลนั้นจะอยู่ไกล
ก็เหมือนกับอยู่ใกล้ ใจเหินห่างจากบุคคลใด แม้บุคคล
นั้นจะอยู่ใกล้ก็เหมือนกับอยู่ไกล.
ถ้ามีจิตเลื่อมใสรักใคร่กัน ถึงแม้จะอยู่กันคนละ
ฝั่งสมุทร ก็เหมือนอยู่ใกล้ชิดกัน ถ้ามีจิตประทุษร้ายกัน
ถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดกัน ก็เหมือนกับอยู่คนละฝั่งสมุทร.
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ คนที่เป็นศัตรูกันถึงจะ
อยู่ร่วมกัน ก็เหมือนกับอยู่ห่างไกลกัน ข้าแต่พระองค์
ผู้เป็นมิ่งขวัญแห่งรัฐ คนที่รักกันถึงแม้จะอยู่ห่างไกล
กัน ก็เหมือนกับอยู่ร่วมกันด้วยหัวใจ.
ด้วยการอยู่ร่วมกันนานเกินควร คนรักกันย่อม
กลายเป็นคนไม่รักกันก็ได้ ข้าพระองค์ขอทูลลาพระ-
องค์ไป ก่อนที่ข้าพระองค์จะกลายเป็นผู้ไม่เป็นที่รัก
ของพระองค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสิต ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
เป็นความจริง ฝูงสัตว์เดียรัจฉานมีหัวใจตรง เพราะเหตุนั้นเสียงร้องของฝูงสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 243
เดียรัจฉานนั้น จึงเข้าใจได้ง่าย แต่ฝูงคนกักขฬะ เหตุนั้นคำพูดของฝูงคนนั้น
จึงเข้าใจได้ยากกว่า. บทว่า โย ปุพฺเพ ความว่า บุคคลใด มีใจดีกันก่อน
ทีเดียว ก็พอจะนับถือกันอย่างนี้ว่า เธอเป็นญาติของฉัน เป็นมิตรของฉัน
เป็นสหายคู่ชีวิตของฉัน ภายหลังคนนั้นเองกลายเป็นผู้เกลียดชัง เป็นไพรีไป
ก็ได้ หัวใจมนุษย์เข้าใจยากเช่นนี้. บทว่า นิวิสติ ความว่า ข้าแต่พระมหาราช
ใจจอดจ่อด้วยอำนาจความรักในบุคคลใด บุคคลนั้นถึงจะอยู่ไกลสุดไกล ก็แม้น
กับอยู่ในที่ไม่ไกลเลยทีเดียว แต่ใจเหินห่างออกไปในบุคคลใด บุคคลนั้นถึงอยู่
ใกล้ ๆ ก็เหมือนอยู่ไกล. บทว่า อนฺโตปิ โส โหติ ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ผู้ใดเป็นสหาย มีจิตเลื่อมใส ผู้นั้นถึงจะอยู่คนละฝั่งทะเล ก็ย่อมเป็นเหมือน
อยู่ใกล้ชิด เพราะมีจิตประสานกัน ผู้ใดมีจิตคิดประทุษร้าย ผู้นั้นก็ชื่อว่า
อยู่คนละฝั่งทะเล เพราะจิตไม่ประสานกัน. บทว่า เย ทิสา เต ความว่า
คนเหล่าใดเป็นผู้มีเวรเป็นข้าศึกกัน ถึงจะอยู่ร่วมกัน คนเหล่านั้นก็เหมือนอยู่
ไกลกัน แต่ปวงบัณฑิตผู้สงบระงับ แม้สถิต ณ ที่ห่างไกล คำนึงถึงกันอยู่
ด้วยใจอันอบรมด้วยเมตตาก็ชื่อว่าเหมือนอยู่ ณ ที่ใกล้. บทว่า ปุรา เต คจฺฉามิ
ความว่า หม่อมฉันยังเป็นผู้น่ารักของพระองค์ตราบใด ก็จะขอบังคมลา
พระองค์ไปตราบนั้นทีเดียว.
ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะพระโพธิสัตว์นั้นว่า
เมื่อเราวิงวอนอยู่อย่างนี้ ถ้าท่านมิได้รู้ถึงความ
นับถือของเรา ท่านก็มิได้ทำตามคำวิงวอนของเรา ซึ่ง
จะเป็นผู้ปรนนิบัติท่าน เมื่อเป็นอย่างนี้ เราขอวิงวอน
ท่านว่า ท่านพึงหมั่นมาที่นี้บ่อย ๆ นะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว เจ ความว่า ดูก่อนพญาหงส์ ถ้าท่าน
จะไม่ยินยอมตามคำวิงวอน ของพวกเราผู้ประคองอัญชลีขออยู่เช่นนี้ มิได้กระทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 244
ตามถ้อยคำพองพวกเรา ผู้จะปรนนิบัติท่าน เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราจึง
ขอร้องท่านอย่างนี้. บทว่า ปุน กยิราสิ ปริยาย ความว่า ท่านพึงกำหนด
วาระแห่งการมา ณ ที่นี้ ตามกาลอันสมควร.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชาเจ้าผู้เป็นมิ่งขวัญแห่งรัฐ ถ้า
เราอยู่กันเป็นปกติอย่างนี้ อันตรายจักยังไม่มีทั้งแก่
พระองค์และแก่ข้าพระองค์ เป็นอันแน่นอนว่า เรา
ทั้งสองคงได้พบเห็นกันในเมื่อวันคืนผ่านไปเป็นแน่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว เจ โน ความว่า ข้าแต่พระมหาราช
ผู้เป็นมิ่งขวัญแห่งแคว้น พระองค์อย่าทรงเสียพระหทัยเลย เมื่อเราคงอยู่เป็น
ปกติ อันตรายแห่งชีวิตจักไม่มี อันเชื่อได้แน่นอนว่า เราทั้งสองคงต้องพบ
กันแน่ อีกนัยหนึ่ง พระองค์ทรงตั้งพระโอวาทที่หม่อมฉันถวายทั้งหมดนั้น ไว้
ในฐานะแห่งหม่อมฉัน มิได้ทรงประมาท ในโลกสันนิวาส อันมีความเป็นอยู่
ชั่วครู่เช่นนี้ ทรงกระทำบุญมีให้ทานเป็นอาทิ มิได้ทรงละเมิดทศพิธราชธรรม
ดำรงราชย์โดยธรรม เป็นอันแน่นอนว่า เมื่อพระองค์ทรงกระทำตามโอวาท
ของหม่อมฉันเช่นนี้ ก็จักเห็นหม่อมฉันเรื่อยทีเดียว.
พระมหาสัตว์ถวายโอวาทพระราชาอย่างนี้แล้ว ก็บินไปเขาจิตตกูฏแล.
พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้ในปางก่อน ถึงเราจะเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน ก็เคยชี้แจงความ
ทรพลของอายุสังขาร แสดงธรรมได้เหมือนกันด้วยประการฉะนี้ ประชุม
ชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็นอานนท์ น้องเล็ก ได้มาเป็น
โมคคัลลานะ น้องกลางได้มาเป็นสารีบุตร ฝูงหงส์ที่เหลือได้มาเป็น
พุทธบริษัท ส่วนชวนหงส์ คือเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาชวนหังสชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 245
๔. จุลลนารทกัสสปชาดก
ว่าด้วยพิษเหวเปือกตมและอสรพิษ
[๑๗๖๔] ฟืนเจ้าก็มิได้หัก น้ำเจ้าก็มิได้ตักเอามา
แม้กองไฟเจ้าก็มิได้ก่อให้ลุกโพลง เหตุไรหนอ เจ้าจึง
เป็นเหมือนคนโง่เขลานอนซบเซาอยู่.
[๑๗๖๕] ข้าแต่คุณพ่อกัสสปะ ผมอดทนอยู่ใน
ป่าไม่ได้ ผมจะขอลาคุณพ่อไป การอยู่ในป่าลำบาก
ผมปรารถนาจะไปสู่บ้านเมือง.
[๑๗๖๖] ข้าแต่คุณพ่อผู้เป็นดุจพรหม ผู้ออก
จากป่านี้ไปอยู่ ณ ชนบทใด ๆ จะพึงศึกษาขนบ-
ธรรมเนียมที่ชาวชนบทเขาประพฤติกันอย่างไร ขอ
คุณพ่อจงพร่ำสอนขนบธรรมเนียมนั้นแก่ผมด้วยเถิด.
[๑๗๖๗] ถ้าเจ้าละป่า เหง้ามันและผลไม้ในป่า
พึงพอใจอยู่ในบ้านเมือง เจ้าจงสำเหนียกจารีตของ
ชนบทนั้นของเราไว้.
[๑๗๖๘] เจ้าจงอย่าเสพของมีพิษ จงเว้นเหว
โดยเด็ดขาด อย่าจมอยู่ในเปือกตม ในที่ใกล้อสรพิษ
จงเตรียมตัวให้พร้อม.
[๑๗๖๙] ผมขอถาม คุณพ่อกล่าวอะไรว่าเป็นพิษ
เป็นเหว เป็นเปือกตม เป็นอสรพิษของพรหมจรรย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 246
ผมถามแล้ว ขอคุณพ่อโปรดบอกความข้อนั้นแก่ผม
เถิด.
[๑๗๗๐] ดูก่อนพ่อนารทะ น้ำดองในโลกเขา
เรียกชื่อว่าสุรา สุรานั้นทำใจให้ฮึกเหิม มีกลิ่นหอม
ทำให้พูดมาก มีรสหวานแหลมปานน้ำผึ้ง พระอริยะ
ทั้งหลายกล่าวสุรานั้น ว่าเป็นพิษของพรหมจรรย์.
[๑๗๗๑] ดูก่อนพ่อนารทะ หญิงในโลกย่อมย่ำยี
บุรุษผู้ประมาทแล้ว หญิงเหล่านั้นย่อมจูงจิตของบุรุษ
ไป เหมือนลมพัดปุยนุ่นที่หล่นจากต้นไป ฉะนั้น นี่
บัณฑิตกล่าวว่าเป็นเหวของพรหมจรรย์.
[๑๗๗๒] ดูก่อนพ่อนารทะ ลาภ สรรเสริญ
สักการะและการบูชาในตระกูลอื่น ๆ นี่บัณฑิตกล่าว
ว่าเป็นเปือกตมของพรหมจรรย์.
[๑๗๗๓] ดูก่อนพ่อนารทะ พระราชาผู้เป็นใหญ่
ครอบครองแผ่นดินนี้ เจ้าอย่าเข้าไปใกล้พระราชาผู้
เป็นใหญ่ เป็นจอมมนุษย์เช่นนั้น.
[๑๗๗๔] ดูก่อนพ่อนารทะ เจ้าอย่าเที่ยวไปใกล้
บาทมูลแห่งพระราชาทั้งหลาย ผู้เป็นอิสระและเป็น
อธิบดีเหล่านั้น พระราชานั้น บัณฑิตกล่าวว่าเป็น
อสรพิษของพรหมจรรย์.
[๑๗๗๕] บุคคลผู้ต้องการอาหารในเวลาอาหาร
พึงเข้าไปใกล้เรือนใด พึงรู้กุศล คือ อโคจร ๕ ที่ควร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 247
เว้นในสกุลนั้น แล้วพึงเที่ยวแสวงหาอาหารในเรือน
นั้น บุคคลเข้าไปสู่ตระกูลอื่นเพื่อปานะหรือโภชนะ
แล้ว พึงรู้จักประมาณบริโภคแต่พอควร และไม่พึง
ใส่ใจในรูปหญิง.
[๑๗๗๖] เจ้าจงเว้นให้ห่างไกลซึ่งการตั้งคอกโค
ร้านขายสุรา คนเกเร ที่ประชุมและขุมทรัพย์ทั้งหลาย
เหมือนบุคคลผู้ไปด้วยยาน เว้นหนทางอันไม่ราบเรียบ
ฉะนั้น.
จบจุลลนารทกัสสปชาดกที่ ๔
อรรถกถาจุลลนารทกัสสปชาดก
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภการประเล้าประโลมของสาวเทื้อ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า น เต กฏฺานิ ภินฺนานิ ดังนี้.
เล่ากันมาว่า ธิดาของสกุลชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่ง มีอายุประมาณ
๑๕-๑๖ ปี เป็นหญิงมีรูปเลอโฉม แต่ไม่มีใครสู่ขอนาง. ลำดับนั้น มารดา
ของนางคิดว่า ธิดาของเราเป็นสาวแล้ว แต่ไม่มีใครสู่ขอนางเลย เราต้องใช้
นางล่อประเล้าประโลมภิกษุของพระศากยะรูปหนึ่ง เหมือนล่อปลาด้วยเหยื่อ
ให้สึกเสียจนได้ แล้วจักอาศัยเธอเลี้ยงชีพ. ครั้งนั้น กุลบุตรชาวกรุงสาวัตถี
ผู้หนึ่ง บวชถวายชีวิตในพระศาสนา ตั้งแต่กาลที่อุปสมบทแล้ว ก็ละทิ้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 248
สิกขาบท เกียจคร้าน มัวแต่ประดับสรีระอยู่. มหาอุบาสิกาจัดแจงยาคูและ
ข้าว ขาทนียโภชนียะไว้ในเรือน ยืนที่ประตูเรือนใคร่ครวญบรรดาภิกษุที่
พากันเดินไปในระหว่างถนนสักรูปหนึ่ง ซึ่งมีท่าทางที่นางสามารถจะเกี้ยวได้
ด้วยรสตัณหา เมื่อขบวนพระผู้ทรงพระไตรปิEก ผู้ทรงพระอภิธรรม ผู้ทรง
พระวินัย พากันเดินไปกับบริวารเป็นอันมาก ก็ยังไม่เห็นรูปไร ๆ ในกลุ่มที่
พอจะเกาะไว้ได้ ในกลุ่มแห่งพระธรรมกถึกผู้กล่าวธรรมไพเราะก็ดี ในกลุ่ม
แห่งพระผู้สมาทานปิณฑบาตเป็นวัตร ผู้เช่นกับวลาหกอันกระจายฝอยก็ดี
ผู้เดินไปภายหลังแห่งภิกษุกลุ่มนั้น ก็คงยังไม่เห็นสักรูปหนึ่งเลย ครั้นเห็น
ภิกษุรูปหนึ่งหยอดยาตาจนถึงขอบตา นุ่งอันตรวาสกทำด้วยผ้าทุกูลพัสตร์
ห่มจีวรเนื้อเกลี้ยงเป็นมันระยับ ประคองบาตรสีเหมือนแก้วมณี กั้นร่มอัน
ชวนใจให้ยินดี ปล่อยอินทรีย์ร่างกายล่ำสันอันใหญ่โตกำลังเดินมา คิดว่า
เราอาจเกี้ยวภิกษุนี้ได้ จึงเดินไปไหว้รับบาตร กล่าวว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าข้า
พามาเรือนให้นั่งแล้วเลี้ยงดูด้วยข้าวยาคูเป็นต้น กล่าวกะภิกษุนั้น ผู้ฉันเสร็จว่า
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ตั้งแต่บัดนี้ไป พระคุณเจ้าพึงมาที่นี้เท่านั้นนะเจ้าคะ
ตั้งแต่นั้น ภิกษุนั้นก็ไปบ้านนั้นเป็นประจำ ต่อมาได้คุ้นเคยกัน.
อยู่มาวันหนึ่ง มหาอุบาสิกายืนอยู่ในระยะพอที่เธอจะได้ยิน กล่าวว่า
ในเรือนนี้มีเครื่องอุปโภคบริโภคพอประมาณ แต่ลูกชายหรือลูกเขยอย่างนั้น ที่
สามารถจะตรวจตราเหย้าเรือนไม่มีเลย เธอฟังคำของนาง คิดว่า นางพูดเพื่อ
ประโยชน์อะไรเล่านะ ได้เป็นเหมือนถูกเจาะที่หัวใจเข้าไปหน่อย. นางกล่าวกะ
ธิดาว่าเจ้าจงยั่วยวนภิกษุนี้ให้เป็นไปในอำนาจของเจ้าให้ได้เถิด. ตั้งแต่นั้นมา
นางก็ประดับกายพริ้วเพรา ยั่วยวนเธอด้วยกะบิดกระบวนสตรีต่างๆ. ก็ที่เรียก
นางสาวเทื้อนั้น ไม่พึงเห็นว่า มีร่างกายอ้วน จะอ้วนหรือผอมก็ตาม คงเรียกว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 249
สาวเทื้อได้ เพราะหนาไปด้วยราคะประกอบด้วยกามคุณ ๕ ประการ. ก็แลเธอ
ยังหนุ่ม ยังตกอยู่ในอำนาจกิเลส คิดว่า บัดนี้เราคงไม่อาจดำรงอยู่ใน
พระพุทธศาสนาได้ กล่าวว่า ฉันต้องไปวิหาร มอบบาตรและจีวรแล้ว จัก
ไปที่ตรงโน้น เธอจงส่งผ้าของฉันไปที่นั้น แล้วไปสู่วิหารมอบบาตรจีวร
กราบเรียนพระอาจารย์อุปัชฌาย์ว่า ผมจะสึกละครับ. ท่านเหล่านั้นพาเธอไป
สู่สำนักพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้จะสึกพระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่าเธอจะสึกจริงหรือ เมื่อกราบทูลให้
ทรงทราบว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า เหตุอะไรให้เธอสึก เมื่อเธอกราบทูล
ให้ทรงทราบว่า นางสาวเทื้อ พระเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ แม้ในครั้งก่อน
นางคนนี้ ก็เคยกระทำอันตรายแก่พรหมจรรย์ ก่อความเสื่อมเสียอย่างมหันต์
แก่เธอผู้อยู่ในป่า เธอยังจะอาศัยนางนี้คนเดียวกันสึกเสียอีก เพราะเหตุไรเล่า
พวกภิกษุพากันกราบทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาแสดง ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ มีสมบัติมากในแคว้นกาสี เรียนศิลปะ
สำเร็จตั้งหลักฐาน. ลำดับนั้น ภรรยาของท่านคลอดบุตรคนหนึ่ง ได้ถึงแก่กรรม
ไป. ท่านได้คิดว่า ความตายมีได้แก่ภรรยาที่รักของเรา ฉันใด ความตายจัก
ต้องมาถึงเราฉันนั้น เราจะต้องการอะไรด้วยฆราวาส บวชเถอะน่ะ ละกาม
ทั้งหลาย พาลูกชายเข้าสู่หิมพานต์ บวชเป็นฤาษีกับลูกชายนั้น ยังฌานอภิญญา
ให้เกิด ได้มีเผือกมันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่ในราวป่า. ครั้งนั้น พวก
โจรชาวปัจจันตคาม เข้าสู่ชนบทปล้นบ้าน จับคนเป็นเชลย ให้ขนข้าวของ
เดินทางไปสู่ชายแดน. ในกลุ่มเชลยนั้น หญิงสาวผู้หนึ่งงาม ประกอบด้วย
ปรีชาในเชิงล่อลวง. นางคิดว่า โจรเหล่านั้นจับพวกเราไป คงจักใช้สอยอย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 250
ใช้ทาส เราต้องหาอุบายอันหนึ่งหนีไปเสียให้ได้. นางจึงกล่าวว่า นายเจ้าข้า
ดิฉันประสงค์จะกระทำสรีรกิจ โปรดหยุดรอสักหน่อยเถิดเจ้าคะ แล้วลวงพวกโจร
หนีไป เมื่อท่องเที่ยวไปในป่า บรรลุถึงอาศรมในเวลาเช้า ตอนที่พระโพธิสัตว์
ให้ลูกชายเฝ้าอาศรมแล้วไปหาผลาผล จึงยั่วยวนดาบสเด็กนั้นด้วยการยินดีใน
กาม ทำลายศีลเขาเสีย ให้ตกอยู่ในอำนาจตนแล้ว กล่าวว่า เธอจะมาอยู่ในป่า
ทำอะไร มาเถิดนะ เราพากันไปสู่บ้าน เพราะในถิ่นบ้านนั้น กามคุณมีรูป
เป็นต้นหาได้ง่าย. ฝ่ายเขาก็รับคำว่าดี แล้วกล่าวว่า พ่อของฉันไปหาผลาผล
มาจากป่า เราทั้งสองพบท่านแล้ว ค่อยไปพร้อมกันเลย. นางคิดว่า
ดาบสนี้เป็นเด็กรุ่น ไม่รู้จักอะไร แต่บิดาของเขาคงบวชเมื่อแก่ เขามาแล้ว
คงโบยตีเราว่า มึงทำอะไรที่นี้ จักตีเราฉุดไปโยนทิ้งเสียในป่าก็ได้ เมื่อเขา
ยังไม่มานั่นแหละ เราต้องหนีไปเสีย. ครั้งนั้น นางจึงกล่าวกะเขาว่า ฉันจะ
ไปล่วงหน้า เธอพึงไปภายหลังนะ แล้วบอกที่หมายในหนทาง หลบไป. ตั้งแต่
กาลที่นางไปแล้ว เขาเกิดโทมนัส ไม่กระทำวัตรอะไรๆ เหมือนแต่ก่อน คลุม
ศีรษะซบเซาอยู่ภายในบรรณศาลา. พระมหาสัตว์นำผลาผลมาเห็นรอยเท้า
ของนาง คิดอยู่ว่า นี้เป็นรอยเท้าของมาตุคาม ศีลของลูกชายเราคงถูกทำลาย
แล้วเป็นแน่ พลางเข้าสู่บรรณศาลา วางผลาผลลงเรียบร้อย เมื่อจะถามลูกชาย
จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า
ฟืนเจ้าก็มิได้หัก น้ำเจ้าก็มิได้ตักมา แม้กองไฟ
เจ้าก็มิได้ก่อให้ลุกโพลง เหตุไรหนอ เจ้าจึงเหมือน
คนโง่เขลา นอนซบเซาอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิปิ เต น หาสิโต ความว่า ทั้ง
กองไฟเจ้าก็มิได้ก่อให้ลุกสว่าง. บทว่า มนฺโทว ความว่า เจ้าเป็นคนไม่มี
ปัญญา ซบเซาเหมือนคนโง่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 251
เขาได้ยินคำของบิดาแล้ว ลุกขึ้นกราบบิดา เมื่อจะเรียนให้ทราบเพื่อจะ
ไปสู่ที่อยู่ของมนุษย์ จากที่อยู่ในป่า ด้วยความเคารพ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
ข้าแต่คุณพ่อกัสสปะ ผมอดทนอยู่ในป่าไม่ได้
ผมจะขอลาคุณพ่อไป การอยู่ในป่าลำบาก ผมปรารถนา
จะไปสู่บ้านเมือง.
ข้าแต่คุณพ่อผู้เป็นดุจพรหม ผู้ออกจากป่านี้ไป
อยู่ ณ ชนบทใด ๆ จะพึงศึกษาขนบธรรมเนียมที่ชาว
ชนบทเขาประพฤติฉันอย่างไร ขอคุณพ่อจงพร่ำสอน
ขนบธรรมเนียมนั้นแก่ผมด้วยเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺสปามนฺตยานิ ต ความว่า ข้าแต่
คุณพ่อกัสสปะ ผมขอบอกกะคุณพ่อ. บทว่า คนฺตเว แปลว่า เพื่อจะไป.
บทว่า อาจาร ความว่า ผมอยู่ในชนบทใด เมื่ออยู่ในชนบทนั้น ต้องศึกษา
ต้องทราบ ข้อที่ต้องประพฤติ คือ แบบธรรมเนียมของชนบทอย่างใด โปรด
สั่งสอน โปรดตักเตือนธรรมนั้นเถิด.
พระมหาสัตว์กล่าวว่า ดีละพ่อ ฉันแสดงจารีตของประเทศแก่เจ้า
แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
ถ้าเจ้าละป่า เหง้ามันและผลไม้ในป่า พึงพอใจอยู่
ในบ้านเมือง เจ้าจงสำเหนียกจารีตของชนบทนั้นของ
เราไว้.
เจ้าจงอย่าเสพของมีพิษ จงเว้นเหวโดยเด็ดขาด
อย่าจมอยู่ในเปือกตม ในที่ใกล้อสรพิษ จงเตรียมตัว
ให้พร้อม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 252
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺม ความว่า ถ้าเจ้าชอบใจอยู่ใน
แว่นแคว้น เจ้าจงสำเหนียกธรรมคือจารีตของชนบท. บทว่า ยตฺโต อาสีวิเส
ความว่า เจ้าพึงประพฤติสำรวม เตรียมพร้อมเที่ยวไปใกล้อสรพิษ เมื่ออาจ
ก็พึงเว้นอสรพิษเสียให้ห่างไกล.
ดาบสกุมารเมื่อไม่รู้เนื้อความของคำที่บิดากล่าวไว้โดยย่อ จึงถามว่า
ผมขอถาม คุณพ่อกล่าวอะไรว่าเป็นพิษ เป็นเหว
เป็นเปือกตม เป็นอสรพิษ ของพรหมจรรย์ ผมถาม
แล้ว คุณพ่อโปรดบอกความข้อนั้นแก่ผมเถิด.
ฝ่ายดาบสโพธิสัตว์ ได้พยากรณ์แก่บุตรว่า
ดูก่อนนารทะ น้ำดองในโลกเขาเรียกว่า สุรา
สุรานั้น ทำใจให้ฮึกเหิม มีกลิ่นหอม ทำให้พูดมาก
มีรสหวาน แหลมปานน้ำผึ้ง พระอริยะทั้งหลายกล่าว
สุรานั้น ว่าเป็นพิษของพรหมจรรย์.
ดูก่อนนารทะ หญิงทั้งหลายในโลก ย่อมย่ำยี
บุรุษผู้ประมาทแล้ว หญิงเหล่านั้น ย่อมจูงจิตของ
บุรุษไป เหมือนลมพัดปุยนุ่นที่หล่นจากต้นไป ฉะนั้น
นี่บัณฑิตกล่าวว่า เป็นเหวของพรหมจรรย์.
ดูก่อนนารทะ ลาภ สรรเสริญ สักการะ และ
การบูชาในตระกูลอื่น นี่บัณฑิตกล่าวว่า เป็นเปือกตม
ของพรหมจรรย์.
ดูก่อนนารทะ พระราชาเป็นใหญ่ครอบครอง
แผ่นดินนี้ เจ้าอย่าเข้าไปใกล้พระราชาผู้เป็นใหญ่ เป็น
จอมแห่งมนุษย์เช่นนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 253
ดูก่อนนารทะ เจ้าอย่าเที่ยวไปใกล้บาทมูลแห่ง
พระราชาทั้งหลาย ผู้เป็นอิสระ และเป็นอธิบดีเหล่านั้น
พระราชานั้น บัณฑิตกล่าวว่าเป็นอสรพิษของพรหม-
จรรย์.
บุคคลผู้ต้องการอาหารในเวลาอาหาร พึงเข้าไป
ใกล้เรือนใด พึงรู้กุศล คืออโคจร ๕ ที่ควรเว้นในสกุล
นั้นแล้วพึงเที่ยวแสวงหาอาหารในเรือนนั้น บุคคล
เข้าไปสู่ตระกูลอื่นเพื่อปานะหรือโภชนะแล้วพึงรู้จัก
ประมาณบริโภคแต่พอควรและไม่พึงใส่ใจในรูปหญิง.
เจ้าจงเว้นให้ห่างไกลซึ่งการตั้งคอกโค ร้านขาย
สุรา คนเกเร ที่ประชุมและขุมทรัพย์ทั้งหลาย เหมือน
บุคคลผู้ไปด้วยยาน เว้นหนทางอันไม่ราบเรียบฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสโว ได้แก่ยาพิษอันเป็นเช่นกับน้ำดอง
ดอกไม้เป็นต้น. บทว่า ตทาหุ ความว่า พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสุรานั้นกล่าว
คือน้ำดองว่าเป็นพิษแห่งพรหมจรรย์. บทว่า ปมตฺต ได้แก่ ผู้มีสติหลงลืม.
บทว่า ตูลภฏฺว ความว่า เปรียบดังปุยนุ่นที่ถูกลมพัดจากต้นร่วงลงมา.
บทว่า อกฺขาโต แปลว่า อันบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นตรัสแล้ว. บทว่า
สิโลโก ได้แก่ เกียรติคุณ. บทว่า สกฺกาโร ได้แก่ กรรมมีอัญชลีกรรม
เป็นต้น. บทว่า ปูชา ได้แก่ การบูชาด้วยสักการะมีของหอมและระเบียบ
ดอกไม้เป็นต้น. บทว่า ปงฺโก ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวเปือกตม
เพราะอรรถว่า ทำให้จมลง. บทว่า มหนฺเต แปลว่า ถึงความเป็นผู้มีอานุภาพ
มาก. บทว่า น เตส ปาทโต จเร ความว่า ไม่พึงเที่ยวไปใกล้พระบาท
ของพระราชาเหล่านั้น คือไม่พึงเข้าถึงราชสกุล. จริงอยู่ พระราชาทั้งหลายทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 254
กริ้วแล้ว ย่อมให้ถึงความวอดวายโดยครู่เดียวเท่านั้น เหมือนอสรพิษ
ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบความด้วยอำนาจโทษดังกล่าวแล้วใน
การเข้าไปภายในพระราชวัง. บทว่า ภตฺตตฺโถ ความว่า เป็นผู้มีความต้องการ
ด้วยภัต. บทว่า ยนฺเตตฺถ กุสล ความว่า ในบรรดาเรือนที่เจ้าพึงเข้าไป
เรือนใดเป็นกุศล คือ ไม่มีโทษ เจ้าพึงรู้เรือนที่เว้นจากอโคจร ๕ ประการ
พึงเที่ยวแสวงหาอาหารในเรือนนั้น. บทว่า น จ รูเป มน กเร ความว่า
เจ้าพึงเป็นผู้รู้จักประมาณในตระกูล แม้เมื่อบริโภคเล่าก็อย่าไว้วางใจในรูปสตรี
ในตระกูลนั้น อย่าลืมตายึดเอานิมิตในรูปหญิง. บาลีในคัมภีร์ทั้งหลายว่า
คุฏฺ มชฺช กิราสญฺจ ดังนี้ แต่ในอรรถกถา ท่านกล่าว โคฏฺ มชฺช
กิราสญฺจ แล้วกล่าวว่า บทว่า โคฏฺ ได้แก่ ที่โคทั้งหลายพักอยู่. บทว่า
มชฺช ได้แก่ โรงสุรา. บทว่า กิราส ได้แก่ คนผู้เป็นนักเลง และคนเกเร.
บทว่า สภาธิกรณานิ จ ได้แก่ ที่ประชุม ที่ขุมทรัพย์ แห่งเงินและทอง.
บทว่า อารกา ความว่าเจ้าพึงเว้นสิ่งทั้งหมดนั้นเสียให้ห่างไกล. บทว่า ยานีว
ความว่าเหมือนบุคคลมียานอันเต็มด้วยเนยใสและน้ำมันไปสู่หนทางอันราบเรียบ
ฉะนั้น.
เมื่อบิดากำลังกล่าวสอนอยู่นั้นเอง มาณพกลับได้สติกล่าวว่า ข้าแต่พ่อ
ข้าพเจ้าไม่ควรไปแดนมนุษย์ ลำดับนั้น บิดาได้สอนวิธีเจริญเมตตาเป็นต้น
แก่ดาบสกุมาร ๆ ตั้งอยู่ในโอวาทของบิดา ยังฌานและอภิญญาให้บังเกิด โดย
ไม่นานนัก สองดาบสพ่อลูก มิได้เสื่อมจากฌาน ได้บังเกิดในพรหมโลก.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า นางกุมาริกา นี้ ได้มาเป็นนางสาวเทื้อนี้ ดาบสกุมารได้เป็น
ภิกษุผู้กระสัน ส่วนดาบสบิดา คือเราตถาคตนั่นเองแล.
จบอรรถกถาจุลลนารทกัสสปชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 255
๕. ทูตชาดก
ว่าด้วยการบอกความทุกข์แก่ผู้ที่ควรบอก
[๑๗๗๗] ดูก่อนพราหมณ์ เราส่งทูตทั้งหลายมา
เพื่อท่านผู้เพ่งอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา ทูตเหล่านั้นถาม
ท่าน ท่านก็มิได้บอกให้แจ่มแจ้ง ความทุกข์ที่เกิดขึ้น
แก่ท่านนั้น เป็นความตายของท่านมิใช่หรือ.
[๑๗๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบำรุงรัฐกาสีให้
เจริญ ถ้าความทุกข์เกิดขึ้นแก่พระองค์ ผู้ใดไม่พึง
เปลื้องพระองค์จากทุกข์ได้ พระองค์อย่าได้ตรัสบอก
ความทุกข์นั้นแก่ผู้นั้น.
[๑๗๗๙] ผู้ใดพึงเปลื้องทุกข์ของบุคคลผู้เกิด-
ทุกข์ได้ส่วนเดียวโดยธรรม พึงบอกเล่าแก่ผู้นั้นได้
โดยแท้.
[ ๑๗๘๐] ข้าแต่พระราชา เสียงของสุนัขจิ้งจอก
ก็ดี ของนกก็ดี รู้ได้ง่าย เสียงของมนุษย์รู้ได้ยากยิ่ง
กว่านั้น.
[๑๗๘๑] อนึ่ง ผู้ใดเมื่อก่อนเป็นผู้ใจดี คนทั้ง-
หลายนับถือว่าเป็นญาติ เป็นมิตรหรือเป็นสหาย ภาย
หลังผู้นั้นกลับกลายเป็นศัตรูไปก็ได้ ใจของมนุษย์รู้ได้
ยากอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 256
[๑๗๘๒] ผู้ใดถูกถามเนือง ๆ ถึงทุกข์ของตน
ย่อมบอกในกาลอันไม่ควร ผู้นั้นย่อมมีแต่มิตรผู้แสวง-
หาประโยชน์ แต่ไม่ยินดีร่วมทุกข์ด้วย.
[๑๗๘๓] บุคคลรู้กาลอันควร และรู้จักบัณฑิต
ผู้มีปัญญาว่าใจร่วมกัน แล้วพึงบอความทุกข์
ทั้งหลายแก่บุคคลผู้เป็นนั้น นักปราชญ์พึงบอกความ
ทุกข์ร้อนแก่ผู้อื่น พึงเปล่งวาจาอ่อนหวานมีประโยชน์.
[๑๗๘๔] อนึ่ง ถ้าบุคคลอดกลั้นความทุกข์ของ
ตนไม่ได้ก็พึงรู้ว่า ประเพณีของโลกนี้จะมีเพื่อถึงความ
สุขสำหรับเราผู้เดียวไม่ได้ นักปราชญ์เมื่อเพ่งเล็งหิริ
และโอตตัปปะอันเป็นของจริง พึงอดกลั้นความ
ทุกข์ร้อนไว้ผู้เดียวเท่านั้น.
[๑๗๘๕] ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์ต้อง
การจะหาทรัพย์ให้อาจารย์ จึงเที่ยวไปทั่วแว่นแคว้น
นิคม และราชธานีทั้งหลาย.
[๑๗๘๖] ขอกะคฤหบดี ราชบุรุษ และพราหมณ์
มหาศาลได้ทองคำ ๗ ลิ่ม ทองคำ ๗ ลิ่มของข้าพระองค์
นั้นหายเสียแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงเศร้าโศก
มาก.
[๑๗๘๗] ข้าแต่พระมหาบุรุษ บุรุษผู้เป็นทูตของ
พระองค์เหล่านั้น ข้าพระองค์คิดรู้ด้วยใจว่า ไม่
สามารถจะปลดเปลื้องข้าพระองค์จากทุกข์ได้ เพราะ
เหตุนั้น ข้าพระองค์จึงไม่บอกแก่บุรุษเหล่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 257
[๑๗๘๘] ข้าแต่พระมหาราชา ส่วนพระองค์
ข้าพระองค์คิดรู้ด้วยใจว่า พระองค์สามารถจะ
ปลดเปลื้องข้าพระองค์จากทุกข์ได้ เพราะเหตุนั้น
ข้าพระองค์จึงกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ.
[๑๗๘๙] พระราชาผู้บำรุงรัฐกาสีให้เจริญ มี
พระหฤทัยเลื่อมใส ได้พระราชทานทองคำ ๑๔ แท่ง
แก่พระโพธิสัตว์นั้น.
จบทูตชาดกที่ ๕
อรรถกถาทูตชาดก
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภการสรรเสริญปัญญาของพระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า ทูเต เต พฺรหฺเม ปาเหสึ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันถึงถ้อยคำปรารภพระคุณของพระศาสดาใน
โรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดูความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย
ของพระทศพลเถิด พระองค์แสดงนางอัปสรทั้งหลาย แก่นันทกุลบุตร แล้ว
ประทานพระอรหัต ทรงประทานผ้าเก่าแก่พระจุลปันถกะ แล้วประทานพระ-
อรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ทรงประทานดอกปทุมแก่นายช่างทอง แล้ว
ประทานพระอรหัต พระองค์ทรงแนะสัตว์ทั้งหลายด้วยอุบายต่าง ๆ อย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 258
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้อย่างเดียวเท่านั้น ที่ตถาคตเป็นผู้ฉลาดในอุบาย
โดยรู้อุบายว่า นี้เป็นดังนี้ แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็เป็นผู้ฉลาดในอุบายเหมือน
กัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ อยู่ในกรุง
พาราณสี ชนบทไม่มีเงินใช้ เพราะพระเจ้าพรหมทัตทรงบีบบังคับชาวชนบท
ขนเอาทรัพย์ไปหมด. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์
ณ กาสิกคาม ครั้นเจริญวัยแล้ว ได้ไปเมืองตักกศิลา กล่าวกะอาจารย์ว่า
ข้าพเจ้าจักเที่ยวขอเขาโดยธรรม แล้วจักนำเอาทรัพย์มาให้อาจารย์ภายหลัง
แล้วเริ่มเรียนศิลปศาสตร์ ครั้นเรียนสำเร็จสอบไล่ได้แล้ว จึงบอกอาจารย์ว่า
ข้าแต่ท่านอาจารย์ กระผมจักไปนำทรัพย์ค่าจ้างสอนมาให้ท่าน แล้วออกเที่ยว
ไปตามชนบทแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทองคำเจ็ดลิ่ม จึงไปด้วยคิดว่า
จักให้อาจารย์ ในระหว่างทางได้ลงสู่เรือเพื่อข้ามแม่น้ำคงคา เรือโคลงไปมาใน
แม่น้ำนั้น ทองคำของพระโพธิสัตว์ก็ตกน้ำ พระโพธิสัตว์คิดว่า เงินเป็นของ
หายาก เมื่อเราจะเที่ยวแสวงหาทรัพย์ค่าจ้างสอนตามชนบท ก็จักเนิ่นช้า
อย่ากระนั้นเลย เราควรนั่งอดอาหาร อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี่แหละ พระราชาจัก
ทรงทราบความที่เรานั่งอยู่โดยลำดับ ก็จักส่งพวกอำมาตย์มา เราจักไม่พูดจา
กับพวกอำมาตย์เหล่านั้น ลำดับนั้น พระราชาก็จักเสด็จมาเอง เราจักได้ทรัพย์
ค่าจ้างสอนในสำนักของพระราชาด้วยอุบายนี้ คิดดังนี้แล้ว ห่มผ้าสาฎกเฉวียงบ่า
เอายัญและสายสิญจน์วงไว้โดยรอบ นั่งอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ประดุจรูปปฏิมา
ทองคำบนพื้นทราย ซึ่งมีสีดังแผ่นเงินฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 259
มหาชนเห็นพระโพธิสัตว์นั่งอดอาหารอยู่ จึงถามว่า ท่านนั่งเพื่ออะไร.
พระโพธิสัตว์มิได้กล่าวแก่ใคร ๆ วันรุ่งขึ้น ผู้ที่อยู่บ้านใกล้ประตูพระนคร
ได้ฟังว่า พระโพธิสัตว์นั่งอยู่ที่นั้น จึงพากันไปถาม. พระโพธิสัตว์ก็มิได้กล่าว
แม้แก่ชนเหล่านั้น. ชนเหล่านั้นเห็นความลำบากของพระโพธิสัตว์ ก็พากัน
คร่ำครวญหลีกไป. ในวันที่ ๓ ชาวพระนครพากันมา ในวันที่ ๔ อิสรชนพา
กันมาจากพระนคร ในวันที่ ๕ ราชบุรุษพากันมา ในวันที่ ๖ พระราชา
ทรงส่งพวกอำมาตย์มา พระโพธิสัตว์ก็มิได้กล่าวแม้แก่ชนเหล่านั้น. ในวันที่
๗ พระราชาทรงกลัวภัย จึงเสด็จไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์ เมื่อจะตรัสถาม
จึงตรัสพระคาถาที่ ๑ ว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เราส่งทูตทั้งหลายมาเพื่อท่านผู้
เพ่งอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา ทูตเหล่านั้นถามท่าน ท่าน
ก็มิได้บอกให้แจ่มแจ้ง ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่ท่านนั้น
เป็นความตายของท่านมิใช่หรือ ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุยฺห มต นุ เต ความว่า ดูก่อน
พราหมณ์ ความทุกข์ซึ่งเกิดแก่ท่านนั้น เป็นความตายของท่านมิใช่หรือ ท่าน
จึงไม่บอกแก่คนอื่น.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์
จะบอกแก่ผู้ที่สามารถจะนำทุกข์ไปได้เท่านั้น ไม่บอกแก่ผู้อื่น แล้วกล่าวคาถา
๗ คาถาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบำรุงรัฐกาสีให้เจริญ ถ้า
ความทุกข์เกิดขึ้นแก่พระองค์ ผู้ใดไม่พึงเปลื้องทุกข์
จากพระองค์ได้ พระองค์อย่าได้ตรัสบอกความทุกข์
นั้นแก่ผู้นั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 260
ผู้ใดพึงเปลื้องทุกข์ของบุคคลผู้เกิดทุกข์ ได้
ส่วนเดียวโดยธรรม พึงบอกเล่าแก่ผู้นั้นได้โดยแท้.
ข้าแต่พระราชา เสียงของสุนัขจิ้งจอกก็ดี ของ
นกก็ดี รู้ได้ง่าย เสียงของมนุษย์รู้ได้ยากยิ่งกว่านั้น.
อนึ่ง ผู้ใดเมื่อก่อนเป็นผู้ใจดี คนทั้งหลายนับถือ
ว่าเป็นญาติ เป็นมิตรหรือเป็นสหาย ภายหลังผู้นั้น
กลับกลายเป็นศัตรูไปได้ ใจของมนุษย์รู้ได้ยาก
อย่างนี้.
ผู้ใดถูกถามเนือง ๆ ถึงทุกข์ของตน ย่อมบอก
ในกาลไม่ควร ผู้นั้นย่อมมีแต่มิตรผู้แสวงหาประโยชน์
แต่ไม่ยินดีร่วมทุกข์ด้วย.
บุคคลรู้กาลอันควร และรู้จักบัณฑิตผู้มีปัญญา
มีใจร่วมกันแล้ว พึงบอกความทุกข์ทั้งหลายแก่บุคคล
ผู้เช่นนั้น นักปราชญ์พึงบอกความทุกข์ร้อนแก่บุคคล
อื่น พึงเปล่งวาจาอ่อนหวานมีประโยชน์.
อนึ่ง ถ้าบุคคลอดกลั้นความทุกข์ของตนไม่ได้
ก็พึงรู้ว่า ประเพณีของโลกนี้ จะมีเพื่อถึงความสุข
สำหรับเราผู้เดียวไม่ได้ นักปราชญ์เมื่อเพ่งเล็งหิริและ
โอตัปปะอันเป็นของจริง พึงอดกลั้นความทุกข์ร้อน
ไว้ผู้เดียวเท่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปชฺเช ความว่า ถ้าความทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่พระองค์. บทว่า มา อกฺขาหิ แปลว่า จงอย่าบอก. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 261
ทุพฺพิชานคร ความว่า ถ้อยคำของมนุษย์รู้ได้ยากยิ่งกว่าถ้อยคำของสัตว์
ดิรัจฉาน เพราะเหตุนั้น คือเพราะไม่รู้โดยถ่องแท้ ไม่พึงบอกทุกข์ของตน
ซึ่งไม่สามารถจะนำไปได้. บทว่า อปิ เจ ความว่า เพราะท่านกล่าวไว้ใน
คาถาแล้ว. บทว่า อนานุปุฏฺโ แปลว่า ถูกถามบ่อย ๆ. บทว่า ปเวทเย
แปลว่า ย่อมกล่าว. บทว่า อกาลรูเป แปลว่า ในกาลอันไม่สมควร. บทว่า
กาล ความว่า ตลอดกาลที่พูดถึงความลับของตน. บทว่า ตถาวิธสฺส
ความว่า รู้จักบุรุษผู้เป็นบัณฑิต ว่าผู้ใดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับตนแล้ว
พึงบอกแก่บุคคลเช่นนั้น. บทว่า ติปฺปานิ แปลว่า ทุกข์. บทว่า สเจ
ความว่า ถ้าว่าบุคคลอดกลั้นความทุกข์ของตนไม่ได้ พึงรู้ว่าเป็นน่าที่ของตน
ในเมื่อเรี่ยวแรงแห่งชาติชายตนหรือของผู้อื่นมีอยู่. บทว่า นีติ ความว่า
ประเพณีโลกเป็นอย่างนี้ อธิบายว่า โลกธรรม ๘. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้
ว่า ถ้าประเพณีของโลกนี้ จะมีเพื่อถึงความสุขสำหรับเราเท่านั้นไม่ได้ ขึ้นชื่อว่า
ผู้จะพ้นไปจากโลกธรรมทั้ง ๘ ประการที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่มี เมื่อเป็นเช่นนี้
นักปราชญ์ผู้ปรารถนาแต่ความสุข เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ไม่พึง
ทำกรรมที่ชื่อว่ายกทุกข์ให้แก่ผู้อื่น และเราก็มีหิริและโอตตัปปะ เพราะเหตุนั้น
นักปราชญ์เมื่อเพ่งหิริโอตตัปปะในตนซึ่งเป็นของมีจริง ไม่พึงบอกแก่บุคคลอื่น
พึงนอนปรับทุกข์อยู่แต่ผู้เดียว.
พระมหาสัตว์ครั้นแสดงธรรมถวายพระราชาด้วยคาถา ๗ คาถาอย่างนี้
แล้ว เมื่อจะแสดงความที่ตนแสวงหาทรัพย์เพื่ออาจารย์ได้กล่าวคาถา ๔ คาถา
ว่า
ข้าแต่พระมหาราช ข้าพระองค์ต้องการจะหา
ทรัพย์ให้อาจารย์ จึงเที่ยวไปทั่วแว่นแคว้นนิคม และ
ราชธานีทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 262
ขอกะคฤหบดี ราชบุรุษและพราหมณ์มหาศาล
ได้ทองคำ ๗ ลิ่ม ทองคำ ๗ ลิ่มของพระองค์นั้นหาย
เสียแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงเศร้าโศกมาก.
ข้าแต่พระมหาราช บุรุษผู้เป็นทูตของพระองค์
เหล่านั้น ข้าพระองค์คิดรู้ด้วยใจว่า ไม่สามารถจะ
ปลดเปลื้องข้าพระองค์จากทุกข์ได้ เพราะเหตุนั้น
ข้าพระองค์จึงไม่บอกแก่บุรุษเหล่านั้น.
ข้าแต่พระมหาราช ส่วนพระองค์ ข้าพระองค์
คิดรู้ด้วยใจว่า พระองค์สามารถจะปลดเปลื้องข้าพระ-
องค์จากทุกข์ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงกราบทูล
ให้พระองค์ทรงทราบ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขมาโน ความว่า ขออยู่กะคฤหบดี
เป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า เต เม ความว่า เมื่อข้าพระองค์ข้ามแม่น้ำคงคา
ทองของพระองค์ ๗ ลิ่มหายเสียแล้ว คือตกไปในแม่น้ำคงคา. บทว่า ปุริสา เต
ความว่า ข้าแต่มหาราช บุรุษผู้เป็นทูตของพระองค์. บทว่า มนสานุวิจินฺติตา
ความว่า ข้าพระองค์รู้ว่าคนเหล่านั้น ไม่สามารถจะปลดเปลื้องข้าพระองค์ให้
พ้นจากทุกข์ได้. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงไม่
บอกทุกข์ของตนแก่เขาเหล่านั้น. บทว่า ปเวทยึ แปลว่า ได้แจ้งไว้แล้ว.
พระศาสดาเมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า
พระราชาผู้บำรุงรัฐกาสีใหญ่ มีพระหฤทัยเลื่อม
ใส ได้พระราชทานทองคำ ๑๔ แท่ง แก่พระโพธิสัตว์
นั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 263
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาตรูปมเย ความว่า ได้ทรงพระราชทาน
ทองคำ ๑๔ แท่งแก่พระโพธิสัตว์นั้น.
พระมหาสัตว์ถวายโอวาทแก่พระราชาแล้ว ให้ทรัพย์แก่อาจารย์บำเพ็ญ
กุศลมีทานเป็นต้น แม้พระราชากดำรงอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์ ครองราช
สมบัติโดยธรรม แล้วชนทั้งสองก็ไปตามยถากรรม.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ตถาคตเป็นผู้ฉลาดในอุบาย แม้ในกาลก่อน
ตถาคตก็เป็นผู้ฉลาดในอุบายเหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระราชา
ในครั้งนั้นได้มาเป็นพระอานนท์ อาจารย์ได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วน
มาณพ คือเราตถาคตนั่นแล.
จบอรรถกถาทูตชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 264
๖. กาลิงคโพธิชาดก
ว่าด้วยการพยากรณ์ที่อันเป็นชัยภูมิ
[๑๗๙๐] พระเจ้าจักพรรดิทรงพระนามว่ากาลิง-
คะ ได้ทรงสั่งสอนมนุษย์ทั่วแผ่นดินโดยธรรม ได้เสด็จ
ไปสู่ที่ใกล้ต้นโพธิ์ ด้วยช้างทรงมีอานุภาพมาก.
[๑๗๙๑] การทวาชปุโรหิตชาวกาลิงครัฐ พิจาร-
ณาดูภูมิภาคแล้ว จึงประคองอัญชลี กราบทูลพระเจ้า
จักรพรรดิผู้เป็นบุตรแห่งดาบสชื่อกาลิงคะว่า
[๑๗๙๒] ข้าแต่พระมหาราชา ขอเชิญพระองค์
เสด็จลงเถิด ภูมิภาคนี้อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นสมณะทรง
สรรเสริญแล้ว พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้โดยยิ่ง มี
พระคุณหาประมาณมิได้ ย่อมไพโรจน์ ณ ภูมิภาคนี้.
[๑๗๙๓] หญ้าและเครือเถาทั้งหลายในภูมิภาค
ส่วนนี้ ม้วนเวียนโดยทักษิณาวัฏ ภูมิภาคส่วนนี้
เป็นที่ไม่หวั่นไหวแห่งแผ่นดิน (เมื่อกัลป์จะตั้งขึ้น
ย่อมตั้งขึ้นก่อนเมื่อกัลป์พินาศก็พินาศภายหลัง) ข้าแต่
พระมหาราชา ข้าพระองค์ได้สดับมาอย่างนี้.
[๑๗๙๔] ภูมิภาคส่วนนี้ เป็นมณฑลแห่งแผ่นดิน
อันทรงไว้ซึ่งภูตทั้งปวง มีสาครเป็นขอบเขต ขอเชิญ
พระองค์เสด็จลง แล้วทรงกระทำการนอบน้อมเถิด
พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 265
[๑๗๙๕] ช้างกุญชรตัวประเสริฐ เกิดในตระกูล
อุโบสถย่อมไม่เข้าไปใกล้ประเทศนั้นเลย ด้วยเหตุมี
ประมาณเท่านี้.
[๑๗๙๖] ช้างตัวประเสริฐนี้ เป็นช้างเกิดแล้วใน
ตระกูลอุโบสถโดยแท้ ถึงกระนั้น ก็ไม่อาจจะเข้าไป
ใกล้ประเทศมีประมาณเท่านี้ได้ ถ้าพระองค์ยังทรง
สงสัยอยู่ ก็จงทรงไสช้างพระที่นั่งไปเถิด.
[๑๗๙๗] พระเจ้ากาลิงคะทรงสดับคำนั้นแล้ว
จึงทรงใคร่ครวญถ้อยคำของปุโรหิตผู้ชำนาญการพยา-
กรณ์ว่า เราจักรู้ถ้อยคำของปุโรหิตนี้ว่าจริงหรือไม่จริง
อย่างนี้แล้ว ทรงไสช้างพระที่นั่งไป.
[๑๗๙๘] ฝ่ายช้างพระที่นั่งนั้น ถูกพระราชา
ทรงไสไปแล้ว ก็เปล่งเสียงดุจนกกระเรียนแล้วถอย-
หลังทรุดคุกลง ดังอดทนภาระหนักไม่ได้.
[๑๗๙๙] ปุโรหิตภารทวาชะชาวกาลิงครัฐ รู้ว่า
ช้างพระที่นั่งสิ้นอายุแล้ว จึงรีบกราบทูลพระเจ้า-
กาลิงคะว่า ข้าแต่พระมหาราชา ขอเชิญเสด็จไปทรง
ช้างพระที่นั่งเชือกอื่นเถิด ช้างพระที่นั่งเชือกนี้สิ้นอายุ
แล้ว พระเจ้าข้า.
[๑๘๐๐] พระเจ้ากาลิงคะทรงสดับคำนั้นแล้ว จึง
รีบเสด็จไปทรงช้างพระที่นั่งเชือกใหม่ เมื่อพระราชา
เสด็จก้าวไปพ้นแล้ว ช้างพระที่นั่งที่ตายแล้วก็ล้มลง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 266
ณ พื้นดินที่นั้นเอง ถ้อยคำของปุโรหิต ผู้ชำนาญ
การพยากรณ์เป็นอย่างใด ช้างพระที่นั่งเป็นอย่างนั้น.
[๑๘๐๑] พระเจ้ากาลิงคะได้ตรัสกะพราหมณ์
ภารทวาชะ ชาวกาลิงครัฐอย่างนี้ว่า ท่านเป็นสัมพุทธะ
รู้เห็นเหตุทั้งปวงโดยแท้.
[๑๘๐๒] กาลิงคพราหมณ์ เมื่อไม่รับคำสรร-
เสริญนั้นจึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา ข้า
พระองค์เป็นผู้ชำนาญการพยากรณ์ชื่อว่าพุทธะผู้รู้เหตุ
ทั้งปวงก็จริง.
[๑๘๐๓] แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นพระสัพ-
พัญญูด้วย เป็นพระสัพพวิทูด้วย ย่อมรู้เหตุทั้งปวงด้วย
พระญาณเป็นเครื่องกำหนด ข้าพระองค์รู้เหตุทั้งปวง
ได้เพราะกำลังแห่งอาคม พระพุทธเจ้าทั้งหลาย รู้เหตุ
ทั้งปวงได้ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ.
[๑๘๐๔] พระเจ้ากาลิงคะ ทรงนำเอามาลาและ
เครื่องลูบไล้พร้อมด้วยดนตรีต่าง ๆ ไปบูชาพระมหา-
โพธิ์แล้ว รับสั่งให้กระทำกำแพงแวดล้อม.
[๑๘๐๕ ] รับสั่งให้เด็ดดอกไม้ประมาณหกหมื่น
เล่มเกวียนมาบูชาโพธิมณฑลอันเป็นอนุตริยะ แล้ว
เสด็จกลับ.
จบกาลิงคโพธิชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 267
อรรถกถากาลิงคชาดก*
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ-
ปรารภการบูชามหาโพธิ์ ที่พระอานนท์เถระการทำแล้ว ตรัสพระธรรม
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ราชา กาลิงฺโค จกฺกวตฺติ ดังนี้.
ความพิสดารว่า พระตถาคตเสด็จหลีกจาริกไปตามชนบท เพื่อ
ประโยชน์จะทรงสงเคราะห์เวไนยสัตว์ ชาวกรุงสาวัตถีต่างถือของหอมและ
ดอกไม้เป็นต้นไปยังพระเชตวัน ไม่ได้ปูชนียสถานอย่างอื่นไปวางไว้ที่ประตู
พระคันธกุฎี ด้วยเหตุนั้น เขาก็มีความปราโมทย์กันอย่างยิ่ง. ท่านอนาถปิณฑิก
มหาเศรษฐีทราบเหตุนั้นแล้ว จึงไปยังสำนักพระอานนท์เถระ ในเวลาที่
พระตถาคตเสด็จมาพระเชตวัน กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อพระตถาคต
เสด็จหลีกจาริกไป พระวิหารนี้ไม่มีปัจจัย มนุษย์ทั้งหลายไม่มีสถานที่บูชา
ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ขอโอกาสเถิดท่านเจ้าข้า ขอท่านจงกราบทูล
ความเรื่องนี้แด่พระตถาคต แล้วจงรู้ที่ที่ควรบูชาสักแห่งหนึ่ง.
พระอานนทเถระรับว่า ดีละ แล้วทูลถามพระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เจดีย์มีกี่อย่าง. พระศาสดาตรัสตอบว่า มีสามอย่างอานนท์.
พระอานนทเถระทูลถามว่า สามอย่างอะไรบ้างพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า
ธาตุเจดีย์ ๑ ปริโภคเจดีย์ ๑ อุทเทสิกเจดีย์ ๑. พระอานนทเถระทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จจาริกไป ข้าพระองค์อาจกระทำเจดีย์
ได้หรือ. พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ สำหรับธาตุเจดีย์ไม่อาจทำได้ เพราะ
ธาตุเจดีย์นั้น จะมีได้ในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สำหรับอุทเทสิกเจดีย์
ก็ไม่มีวัตถุปรากฏ เป็นเพียงเนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น ต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้า
บาลีเป็น กาลิงคโพธิชาดก*
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 268
อาศัยเป็นที่ตรัสรู้ ถึงพระพุทธเจ้าจะยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม ปรินิพพานแล้ว
ก็ตาม เป็นเจดีย์ได้เหมือนกัน. พระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อพระองค์เสด็จหลีกไป พระมหาวิหารเชตวันหมดที่พึ่งอาศัย มนุษย์ทั้งหลาย
ไม่ได้สถานที่เป็นที่บูชา ข้าพระองค์จักนำพืชจากต้นมหาโพธิมาปลูกที่ประตู
พระเชตวัน พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดีแล้วอานนท์ เธอจงปลูกเถิด
เมื่อเป็นเช่นนั้น ในพระเชตวันก็จักเป็นดังตถาคตอยู่เป็นนิตย์. พระอานนท์เถระ
บอกแก่พระเจ้าโกศล อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐี และนางวิสาขามหาอุบาสิกา
เป็นต้น ให้ขุดหลุม ณ ที่เป็นที่ปลูกต้นโพธิที่ประตูพระเชตวัน แล้วกล่าวกะ
พระมหาโมคคัลลานเถระว่า ท่านขอรับ กระผมจักปลูกต้นโพธิที่ประตูพระ-
เชตวัน ท่านช่วยนำเอาลูกโพธิสุกจากต้นมหาโพธิให้กระผมทีเถิด.
พระมหาโมคคัลลานเถระรับว่า ดีละ แล้วเหาะไปยังโพธิมณฑล
เอาจีวรรับลูกโพธิที่หล่นจากขั้วแต่ยังไม่ถึงพื้นดิน ได้แล้วนำมาถวายพระ-
อานนทเถระ. พระอานนทเถระได้แจ้งความพระเจ้าโกศลเป็นต้นว่า เราจัก
ปลูกต้นโพธิ์ในที่นี้. พระเจ้าโกศลให้ราชบุรุษถือเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่างเสด็จ
มาพร้อมด้วยบริวารใหญ่ในเวลาเย็น. อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐี มหาอุบาสิกา
วิสาขา และผู้มีศรัทธาอื่น ๆ ก็ได้ทำเช่นนั้น.
พระอานนทเถระ ตั้งอ่างทองใบใหญ่ไว้ในที่เป็นที่ปลูกต้นโพธิ ให้
เจาะก้นอ่างแล้วให้ลูกโพธิสุกแด่พระเจ้าโกศล ทูลว่า มหาบพิตร พระองค์
จงปลูกโพธิสุกนี้เถิด พระเจ้าโกศลทรงพระดำริว่า ความเป็นพระราชามิได้
ดำรงอยู่ตลอดไป ควรที่เราจะให้อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีปลูกต้นโพธินี้ ทรง
ดำริดังนี้ แล้วได้วางลูกโพธิสุกนั้นไว้ในมือของมหาเศรษฐี. อนาถปิณฑิก
มหาเศรษฐีรวบรวมเปือกตมที่มีกลิ่นหอมแล้ว ฝังลูกโพธิสุกไว้ในเปือกตมนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 269
พอลูกโพธิพ้นมือมหาเศรษฐี เมื่อชนทั้งปวงกำลังแลดูอยู่ ได้ปรากฏลำต้น
โพธิประมาณเท่างอนไถ สูงห้าสิบศอก แตกกิ่งใหญ่ห้ากิ่ง ๆ ละห้าสิบศอก
คือในทิศทั้งสี่และเบื้องบน ต้นโพธินั้นเป็นต้นไม้ใหญ่กว่าต้นไม้ใหญ่ในป่า
ตั้งขึ้นในทันใดนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้.
พระราชารับสั่งให้เอาหม้อทองคำและหม้อเงิน ๘๐๐ หม้อ ใส่น้ำหอม
เต็ม ประดับด้วยดอกบัวเขียว สูงขึ้นมาหนึ่งศอกเป็นต้น ตั้งเป็นแถวแวดล้อม
ต้นมหาโพธิ แล้วรับสั่งให้ทำแท่นสำเร็จด้วยรัตนะเจ็ด โปรยปรายผสมทอง
สร้างกำแพงล้อมรอบ ทำซุ้มประตูสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ เครื่องสักการะได้มีเป็น
อันมาก. พระอานนทเถระเข้าไปเฝ้าพระตถาคต กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระองค์จงประทับนั่ง ณ โคนต้นโพธิ์ที่ข้าพระองค์ปลูก เข้าสมาบัติ
ที่ข้าพระองค์เข้า ณ โคนต้นมหาโพธิ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน.
พระศาสดาตรัสว่า พูดอะไร อานนท์ เมื่อเรานั่งเข้าสมาบัติที่ได้เข้าแล้ว ณ
มหาโพธิมณฑล ประเทศอื่นก็ไม่อาจที่จะทรงอยู่ได้. พระอานนท์เถระกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน ขอพระองค์จง
ใช้สอยโคนต้นโพธิ์นั้น ด้วยความสุขเกิดแก่สมาบัติ โดยกำหนดว่าใกล้ภูมิ-
ประเทศนี้เถิด. พระศาสดาทรงใช้สอยโคนต้นโพธินั้น ด้วยความสุขเกิดแต่
สมาบัติตลอดราตรีหนึ่ง.
พระอานนท์เถระถวายพระพรแด่พระเจ้าโกศลเป็นต้น ให้ทำการฉลอง
ต้นโพธิ. และต้นโพธิ์แม้นั้น ก็ปรากฏว่า อานนท์โพธิทีเดียว เพราะเป็น
ต้นไม้ที่พระอานนท์ปลูกไว้. ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า
ท่านพระอานนท์ เมื่อตถาคตยังดำรงอยู่ ให้ปลูกต้นโพธิ์แล้วบูชาอย่างมากมาย
พระเถระมีคุณมากน่าอัศจรรย์จริง. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 270
ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูล
ให้ทรงทราบ จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน
อานนท์ก็ได้พามนุษย์ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ พร้อมด้วยทวีปบริวาร ให้นำของหอม
และดอกไม้เป็นอันมากไปกระทำการฉลองต้นโพธิ์ ณ มหาโพธิมณฑลเหมือนกัน
ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาเล่าดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล พระเจ้ากาลิงคราชเสวยราชสมบัติอยู่ในทันตปุรนคร
แคว้นกาลิงคะ. พระองค์มีพระราชโอรสของพระองค์ คือ มหากาลิงคะ
องค์หนึ่ง จุลลกาลิงคะองค์หนึ่ง ในสององค์นั้น องค์พี่ พวกโหรทำนายว่า
จักได้ครองราชสมบัติ เมื่อพระราชบิดาล่วงลับไปแล้ว แต่องค์น้องพวกโหร
ทำนายว่า จักบวชเป็นฤาษีเที่ยวภิกขาจาร แต่โอรสขององค์น้องจักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ.
ต่อมาภายหลัง เมื่อพระราชบิดาล่วงลับไป พระราชโอรสองค์พี่เป็น
พระราชา องค์น้องเป็นอุปราช. อุปราชนั้น ได้มีมานะขึ้นเพราะบุตรเป็นเหตุว่า
ได้ยินว่า ลูกของเราจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ. พระราชานั้นทรงอดทนอยู่
ไม่ได้จึงรับสั่งกะอำมาตย์รับใช้คนหนึ่งว่า เจ้าจงจับเจ้าจุลลกาลิงคะ. อำมาตย์
นั้นไปกราบทูลว่า ข้าแต่พระกุมาร พระราชาประสงค์จะจับพระองค์ ขอจง
รักษาชีวิตของพระองค์ไว้. อุปราชได้เอาของสามอย่างของพระองค์ คือ
พระราชลัญจกร ผ้ากัมพลเนื้อละเอียด และพระขรรค์ แสดงแก่อำมาตย์รับใช้
แล้วตรัสว่า ท่านทั้งหลายพึงให้ราชสมบัติแก่บุตรของเราด้วยสัญญานี้ แล้ว
เสด็จเข้าป่า สร้างอาศรมในภูมิประเทศที่รื่นรมย์ บวชเป็นฤาษีอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ.
แม้ในแคว้นมัททราช พระอัครมเหสีของพระเจ้ามัททราชในสาคลนคร
ประสูติพระธิดา. พวกโหรทำนายพระธิดาว่า พระธิดานี้จักเที่ยวภิกขาจาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 271
เลี้ยงชีพ แต่พระโอรสของพระนางจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ. พระราชา
ชาวชมพูทวีปได้สดับเหตุดังนั้น จึงมาล้อมพระนครพร้อมกัน. พระเจ้า
มัททราชทรงดำริว่า ถ้าเราให้ธิดานี้แก่พระราชาองค์หนึ่ง พระราชาที่เหลือ
ก็จักโกรธ เราจักรักษาธิดาของเราไว้ จึงพาพระธิดาและพระอัครมเหสีปลอม
พระองค์หนีเข้าป่า สร้างอาศรมอยู่ทางเหนืออาศรมของกาลิงคกุมาร เลี้ยงชีพ
ด้วยมวลผลาหารอยู่ ณ ที่นั้น. พระชนกชนนีทรงดำริว่า เราจักรักษาธิดาอยู่
ในอาศรม แล้วไปหาผลาหาร. ในเวลาที่พระชนกชนนีไป พระธิดาได้เอา
ดอกไม้ต่าง ๆ มาทำเป็นเทริดดอกไม้แล้ววางไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา จนเกิด
เป็นเหมือนคั่นบันได. ที่นั้นมีต้นมะม่วงที่งามชอุ่มอยู่ต้นหนึ่ง พระธิดาขึ้นเล่น
บนต้นมะม่วง แล้วปาเทริดดอกไม้ไป.
วันหนึ่ง เทริดดอกไม้ไปคล้องพระเศียรของกาลิงคกุมารผู้กำลัง
สรงสนานอยู่ในแม่น้ำคงคา. พระกาลิงคกุมารแลดูแล้ว ทรงพระดำริว่า เทริด
ดอกไม้นี้ หญิงคนหนึ่งกระทำ แต่ไม่ใช่หญิงแก่ทำ เป็นหญิงสาวทำ เราจัก
ตรวจตราดูก่อน จึงไปเหนือน้ำคงคาด้วยอำนาจกิเลส ได้สดับเสียงของพระธิดา
ผู้นั่งอยู่บนต้นมะม่วงร้องเพลงด้วยเสียงอันไพเราะ จึงเสด็จไปที่โคนต้นไม้
ทอดพระเนตรเห็นพระธิดา จึงตรัสถามว่า แม่นางผู้มีพักตร์อันเจริญ ท่าน
เป็นใคร. พระธิดาตอบว่า เราเป็นมนุษย์. พระกุมารตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น
ท่านจงลงมา. พระธิดาตรัสว่า นาย เราเป็นกษัตริย์ไม่อาจลงไปได้. พระกุมาร
ตรัสว่า ที่รัก ฉันเป็นกษัตริย์เหมือนกัน ท่านจงมาเถิด. พระธิดาตรัสว่า
นาย คนมิใช่เป็นกษัตริย์ได้ด้วยเหตุสักว่าถ้อยคำเท่านั้น ถ้าท่านเป็น
กษัตริย์ ขอท่านจงกล่าวมายาของกษัตริย์เถิด. ชนทั้งสองนั้นต่างกล่าวมายา
กษัตริย์กะกันและกัน. เมื่อชนทั้งสองอยู่ด้วยความรักใคร่ พระราชธิดาก็ตั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 272
ครรภ์ โดยครบ ๑๐ เดือนก็ประสูติพระราชโอรส ซึ่งสมบูรณ์ด้วยบุญลักษณะ
อันอุดม. พระชนกชนนีได้ขนานนามว่า กาลิงคะ. กาลิงคกุมารนั้นเจริญวัย
สำเร็จการศึกษาศิลปวิทยาทุกอย่าง ในสำนักของพระชนกและพระอัยกา.
ลำดับนั้น พระชนกของกาลิงคกุมารนั้น ตรวจดูดวงดาวก็ทราบว่าพี่ชายสวรรคต
แล้ว จึงบอกบุตรว่า พ่ออย่าอยู่ในป่าเลย พระเจ้ามหากาลิงคะผู้เป็นลุงของพ่อ
สวรรคตแล้ว พ่อจงไปยังทันตปุรนคร ครองราชสมบัติสืบสันตติวงศ์เถิด แล้ว
มอบพระธำมรงค์ผ้ากัมพลและพระขรรค์ ซึ่งพระองค์นำมาให้แล้วตรัสสั่งว่า พ่อ
ในทันตปุรนคร อำมาตย์ผู้ประพฤติประโยชน์ของเรามีอยู่ที่ถนนโน้น พ่อจง
เหาะลงไปที่กลางที่นอนในเรือนของเขา แล้วแสดงรัตนะสามประการนี้ แล้ว
บอกความที่เจ้าเป็นโอรสของเราแก่เขา เขาจักช่วยเจ้าให้ได้ครองราชสมบัติ.
กาลิงคกุมารนั้น กราบลาพระชนกชนนีและอัยกาแล้ว เหาะไปด้วย
บุญฤทธิ์ ลงนั่งเหนือที่นอนของอำมาตย์ ถูกถามว่า ท่านเป็นใคร จึงบอกว่า
เราเป็นบุตรของจุลลกาลิงคะ แล้วแสดงรัตนะสามนั้น. อำมาตย์จึงประกาศแก่
ราชบริษัท. อำมาตย์และราชบริษัททั้งหลายพร้อมกันประดับประดาพระนคร
นั้น อภิเษกกาลิงคกุมารให้ครองราชสมบัติ.
ลำดับนั้น ปุโรหิตชื่อว่า ภารทวาชะ ของพระเจ้ากาลิงคะได้กราบทูล
จักรพรรดิให้พระเจ้ากาลิงคะทรงทราบ. พระเจ้ากาลิงคะนั้น ทรงบำเพ็ญ
จักรวัตรนั้นให้บริบูรณ์แล้ว. ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ จักรแก้วก็มาจากที่อยู่
ของจักรแก้ว ช้างแก้วก็มาจากตระกูลอุโปสถ ม้าแก้วก็มาจากตระกูลอัศวราชวลา-
หก แก้วมณีก็มาจากเขาเวปุลลบรรพต นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว ก็บัง
เกิดปรากฏแก่พระเจ้ากาลิงคะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 273
พระเจ้าจักรพรรดิกาลิงคราช ทรงครองราชสมบัติตลอดห้องจักรวาล
วันหนึ่ง มีเสนาแวดล้อมเต็มไปในที่ประมาณ ๓๖ โยชน์ เสด็จขึ้นทรงช้างเผือก
ขาวเปรียบด้วยอดเขาไกรลาส ไปสู่สำนักพระชนกชนนีด้วยสิริวิลาสใหญ่.
ฝ่ายช้างพระที่นั่งพระเจ้าจักรพรรดินั้น ไม่อาจเหาะข้ามมหาโพธิ-
มณฑลอันเกิดแต่สะดือแผ่นดิน อันเป็นไชยมงคลของพระพุทธเจ้าทั้งปวงได้.
พระเจ้าจักรพรรดิราชทรงไสไปเนือง ๆ แต่ช้างทรงนั้นก็ไม่อาจที่จะ
ไปได้.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาที่ ๑ ว่า
พระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่า กาลิงคะ ได้
ทรงสั่งสอนมนุษย์ทั่วแผ่นดินโดยธรรม ได้เสด็จไปสู่
ที่ใกล้ต้นโพธิด้วยช้างทรงมีอานุภาพมาก.
ลำดับนั้น ปุโรหิตของพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งตามเสด็จไปด้วยคิดว่า
ธรรมดาว่าทางอากาศไม่มีเครื่องกั้น เพราะเหตุไรหนอ พระราชาจึงไม่อาจจะ
ไสช้างไปได้ เราจักตรวจตราดู แล้วลงจากอากาศตรวจตราเห็นภูมิภาคอันเป็น
มณฑลสะดือแผ่นดิน มีชัยบัลลังก์ของพระพุทธเจ้าทั้งปวง.
ได้ยินว่า ในครั้งนั้น ขึ้นชื่อว่าต้นหญ้าแม้สักเท่าหนวดกระต่ายมิได้มี
ในที่มีประมาณ ๘ กรีสนั้นเลย มีแต่ทรายอันมีสีเหมือนแผ่นเงิน เรี่ยรายอยู่
หญ้าเครือเถาไม้ใหญ่โดยรอบที่นั้น มียอดเวียนประทักษิณโพธิมณฑล แล้ว
ตั้งอยู่เฉพาะหน้าโพธิมณฑล.
ปุโรหิตตรวจดูภูมิภาคแล้ว คิดว่า แท้จริง ที่นี้เป็นที่ ๆ กำจัดกิเลส
ทั้งปวงของพระพุทธเจ้าทั้งปวง แม้ถึงใคร ๆ มีท้าวสักกะเป็นต้น ก็ไม่อาจ
ที่จะเหาะข้ามที่นี้ไปได้ จึงไปเฝ้าพระเจ้ากาลิงคราช แสดงคุณของพระโพธิ
มณฑล แล้วกราบทูลพระราชาว่า เสด็จลงเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 274
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ภารทวาชปุโรหิต พิจารณาดูภูมิภาคแล้ว จึง
ประคองอัญชลีกราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็นบุตร
แห่งดาบส ชื่อว่า กาลิงคะว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอเชิญพระองค์เสด็จลง
เถิด ภูมิภาคนี้อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นสมณะทรง
สรรเสริญแล้ว พุทธเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้โดยยิ่ง มี
พระคุณหาประมาณมิได้ ย่อมไพโรจน์ ณ ภูมิภาคนี้.
หญ้าและเครือเถาทั้งหลายในภูมิภาคส่วนนี้
ม้วนเวียนโดยรอบทักษิณาวัฏ ภูมิภาคส่วนนี้เป็นที่ไม่
หวั่นไหวแห่งแผ่นดิน ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์
สดับมาอย่างนี้.
ภูมิภาคส่วนนี้ เป็นมณฑลแห่งแผ่นดิน อัน
ทรงไว้ซึ่งภูตทั้งปวง มีสาครเป็นขอบเขต ขอเชิญ
พระองค์เสด็จลงแล้ว กระทำการนอบน้อมเถิด
พระเจ้าข้า.
ช้างกุญชรเชือกประเสริฐ เกิดในตระกูลอุโปสถ
ย่อมไม่เข้าไปใกล้ประเทศเลย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
ช้างเชือกประเสริฐ เป็นช้างเกิดในตระกูล
อุโบสถโดยแท้ ถึงกระนั้น ก็ไม่อาจจะเข้าไปใกล้
ประเทศมีประมาณเท่านี้ได้ ถ้าพระองค์ยังทรงสงสัย
อยู่ ก็จงทรงไสช้างพระที่นั่งไปเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 275
พระเจ้ากาลิงคะทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงทรง
ใคร่ครวญถ้อยคำของปุโรหิตผู้ชำนาญการพยากรณ์ว่า
เราจักรู้ถ้อยคำของปุโรหิตนี้ว่า จริงหรือไม่จริงอย่างนี้
แล้ว ทรงไสพระที่นั่งไป.
ฝ่ายช้างพระที่นั่ง ถูกพระราชาไสไปแล้ว ก็
เปล่งเสียงดุจนกกระเรียนแล้วถอยหลังทรุดคุกลง ดัง
อดทนภาระหนักไม่ได้ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมณโกลญฺ แปลว่า บุตรแห่งดาบส.
บทว่า จกฺกวตฺตยโต ความว่า ผู้มีมานะว่า เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
อธิบายว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ. บทว่า ปริคฺคเหตฺวา ความว่า ตรวจดูภูมิภาค.
บทว่า สมณุคีโต ความว่า อันพระพุทธเจ้าทั้งปวงพรรณนาแล้ว. บทว่า
อนธิวรา แปลว่า ผู้มีคุณอันชั่งมิได้ ประมาณมิได้. บทว่า วิโรจนฺติ
ความว่า ผู้กำจัดความมืดคือกิเลสทั้งปวงได้แล้ว ย่อมนั่งรุ่งเรืองอยู่ในภูมิภาค
ส่วนนี้ เหมือนพระสุริโยทัยทอแสงอ่อน ๆ ฉะนั้น. บทว่า ติณลตา ได้แก่
หญ้าและเครือเถา. บทว่า มณฺโฑ ความว่า เป็นมณฑลแห่งแผ่นดินหนาถึง
สองแสนสี่หมื่นโยชน์ เป็นสาระไม่ถูกอะไร ๆ ครอบงำได้ เป็นสถานที่ไม่
หวั่นไหว เมื่อกัปยังดำรงอยู่ก็ดำรงอยู่ก่อน เมื่อกัปพินาศก็พินาศในภายหลัง.
บทว่า อิติ โน สุต ความว่า ข้าพระองค์ได้สดับมาแล้วด้วยลักษณะมนต์
อย่างนี้. บทว่า โอโรหิตฺวา ความว่า ขอเชิญพระองค์ลงจากอากาศแล้ว
จงกระทำการนอบน้อม คือกระทำการบูชาสักการะต่อสถานที่ เป็นที่กำจัด
กิเลสของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์นี้. บทว่า เย เต ความว่า ช้าง
ประเสริฐตัวบังเกิดในตระกูลอุโบสถ กล่าวคือช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 276
บทว่า เอตฺตาวตา ความว่า ช้างเชือกประเสริฐทั้งหมดนั้น ย่อมไม่ไปใกล้
ประเทศมีประมาณเท่านี้ได้เลย แม้จะถูกตักเตือนก็ไม่เข้าไป. บทว่า อภิชาโต
ความว่า ช้างเชือกประเสริฐนี้ ในตระกูลอุโปสถ ครอบงำ ก้าวล่วง ตระกูลช้าง
ทั้ง ๘ มีโคจริยาเป็นต้น. บทว่า กุญฺชร แปลว่า ชนิดสูงสุด. บทว่า
เอตฺตาวตา ความว่า ช้างประเสริฐนี้ ไม่สามารถเข้าไปประเทศมีประมาณ
เท่านี้ได้ คือไม่อาจเข้าไปให้ยิ่งกว่านั้นไปได้ พระองค์เมื่อหวังเฉพาะจงให้
สัญญาด้วยขอเพชรแล้วไสไป. บทว่า เวยฺยญฺชนิกวโจ นิสาเมตฺวา ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นั้น ทรงตรวจตราใคร่ครวญถ้อยคำ
ของกาลิงคภารทวาชปุโรหิตนั้นเชี่ยวชาญชำนาญในการพยากรณ์ลักษณะแล้ว
ใคร่ครวญพิจารณาว่า เราจักรู้คำของผู้นี้เป็นความหรือไม่จริงดังนี้ จึงไสช้าง
พระนั่งไป. บทว่า โกญฺโจว อภินทิตฺวา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ช้างเชือกประเสริฐนั้น อันพระราชาทรงเตือนแล้วด้วยขอประดับเพชรแล้วไส
ไป จึงเปล่งเสียงร้องเหมือนเสียงนกกระเรียน ถอยไปชูงวงขึ้นน้อมคอเข้าไป
นั่งอยู่บนอากาศนั่นเอง ทำเป็นเหมือนไม่อาจจะนำภาระหนักไปได้.
ช้างพระที่นั่งนั้น เมื่อถูกพระเจ้าจักรพรรดิทิ่มแทงอยู่บ่อย ๆ ไม่อาจจะ
อดกลั้นทุกขเวทนาได้ทำกาละแล้ว.
ส่วนพระเจ้ากาลิงคะ เมื่อไม่ทราบว่าช้างทรงถึงแก่ความตาย จึงคง
ประทับอยู่ ณ ที่นั้น. ปุโรหิตภารทวาชะ ชาวกาลิงคะจึงกราบทูลว่า ข้าแต่
พระมหาราชเจ้า ช้างพระที่นั่งของพระองค์สิ้นชีวิตแล้ว ขอพระองค์ทรงก้าว
ไปสู่ช้างเชือกอื่นเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสพระคาถาที่ ๑๐ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 277
ปุโรหิตภารทวาชะกาลิงครัฐ รู้ว่าช้างพระที่นั่ง
สิ้นอายุแล้ว จึงรีบกราบทูลพระเจ้ากาลิงคะว่า ข้าแต่
พระมหาราชเจ้า ขอเชิญเสด็จไปทรงช้างพระที่นั่งเชือก
อื่นเถิด ช่างพระที่นั่งเชือกนี้สิ้นอายุแล้วพระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาโค ขณายุโก ความว่า ช้างเชือก
ประเสริฐของพระองค์ ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว เพราะเมื่อพระราชาจะทรงทำพระ-
ราชกิจอะไรๆ ไม่สามารถประทับนั่งบนหลังได้ ขอพระองค์จงทรงก้าวไปทรง
ช้างประเสริฐเชือกอื่น เพื่อเสด็จไปโดยที่สุดแห่งโพธิมณฑล.
ด้วยกำลังพระฤทธิ์ของพระเจ้ากาลิงคะ ช้างเชือกประเสริฐอื่นก็มาจาก
ตระกูลอุโปสถแล้วน้อมหลังเข้าไปใกล้พระเจ้ากาลิงคะ. พระเจ้ากาลิงคะเสด็จ
ประทับนั่งบนหลังของช้างเชือกนั้น. ขณะนั้น ช้างเชือกที่ตายก็ล้มลงไปบน
พื้นดิน.
พระศาสดา เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสพระคาถาอีกว่า
พระเจ้ากาลิงคะ ทรงสดับคำนั้นแล้วจึงรีบเสด็จ
ไปทรงช้างพระที่นั่งเชือกใหม่ เมื่อพระราชาเสด็จก้าว
ไปพ้นแล้ว ช้างพระที่นั่งที่ตายแล้วก็ล้มลง ณ พื้นดิน
ที่นั่นเอง ถ้อยคำของปุโรหิต ผู้ชำนาญการพยากรณ์
เป็นอย่างใด ช้างพระที่นั่งเป็นอย่างนั้น.
ลำดับนั้น พระเจ้ากาลิงคราชจึงเสด็จลงจากอากาศ แล้วทอดพระเนตร
ดูโพธิมณฑลเห็นปาฏิหาริย์ เมื่อจะทรงสรรเสริญปุโรหิตภารทวาชะจึงตรัสว่า
พระเจ้ากาลิงคะ ได้ตรัสกะพราหมณ์ภารทวาชะ
ชาวกาลิงครัฐ อย่างนี้ว่า ท่านเป็นสัมพุทธะ รู้เหตุ
ทั้งปวงโดยแท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 278
พราหมณ์ปุโรหิตมิได้รับคำสรรเสริญนั้น ตั้งตนไว้ในฐานะอันต่ำ
แล้วเข้าใกล้สรรเสริฐพระพุทธคุณเท่านั้น.
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
กาลิงคพราหมณ์ เมื่อไม่รับคำสรรเสริญนั้น จึง
ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์เป็นผู้
ชำนาญการพยากรณ์ชื่อว่า พุทธะ ผู้รู้เหตุทั้งปวงก็จริง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวยฺยญฺชนิกา ความว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชเจ้า ข้าพระองค์เห็นพยัญชนะแล้ว เป็นผู้สามารถเมื่อพยากรณ์ได้
ชื่อว่าสุคตพุทธะ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ก็พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้เหตุทั้งปวง
เป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง ความที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงทราบและทรงรู้แจ้งเหตุ
ทั้งปวงต่างด้วยอดีตเหตุเป็นต้น คือพระพุทธเจ้าเหล่านั้นย่อมรู้เห็นทั้งปวง
ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ โดยลักษณะ ส่วนข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นผู้สามารถ
ในอาคม (นิกายเป็นที่มา) รู้ด้วยกำลังศิลปะเท่านั้น และรู้เพียงเอกเทศเดียว
เท่านั้น ส่วนพระพุทธเจ้าทั้งหลายรู้เหตุทั้งปวงแล.
เจ้ากาลิงคะได้สดับพุทธคุณแล้วเกิดโสมนัส จึงให้ชนผู้อยู่ในสกล
จักรวาลนำของหอมเเละมาลาเป็นอันมาก มากระทำการบูชาพระมหาโพธิมณฑล
สิ้น ๗ วัน.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้นจึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถา
ว่า
พระเจ้ากาลิงคะ ทรงนำเอามาลาและเครื่องลูบ-
ไล้พร้อมด้วยดนตรีต่าง ๆ ไปบูชาพระมหาโพธิ์แล้ว
รับสั่งให้กระทำกำแพงแวดล้อมไว้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 279
รับสั่งให้เก็บดอกไม้ประมาณหกหมื่นเล่มเกวียน
มาบูชาโพธิมณฑลอันเป็นอนุตริยะ แล้วเสด็จกลับ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปายาสิ ความว่า ท้าวเธอได้เสด็จไป
ยังสำนักของพระชนกชนนีแล้ว ทรงรับสั่งให้ยกเสาทองคำ สูงประมาณ ๑๘ ศอก
ณ มหาโพธิมณฑลแล้วให้สร้างเวที แล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ ถวายพระ-
มหาโพธินั้น เกลี่ยทรายเจือด้วยแก้ว ให้สร้างกำแพงล้อมไว้ ให้สร้างซุ้ม
ประตู ให้รวบรวมดอกไม้ประมาณหกหมื่นเล่มเกวียนทุกวัน ๆ แล้วบูชา
โพธิมณฑลด้วยประการฉะนี้. แต่ในบาลีมาเพียงเท่านี้ว่า สฏฺิวาหสหสฺสานิ
ปุปฺผาน ดอกไม้ประมาณหกหมื่นเล่มเกวียน.
พระเจ้ากาลิงคะ ครั้นทรงทำการบูชาพระมหาโพธิอย่างนี้แล้ว เสด็จ
ไปหาพระชนกชนนีมาสู่เมืองทันตุปุระแล้วบำเพ็ญกุศลทั้งหลายมีทานเป็นต้น
สิ้นพระชนม์แล้วบังเกิดในดาวดึงสพิภพ.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า อานนท์
ได้ทำการบูชาโพธิมณฑลในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน อานนท์ก็ได้
กระทำการบูชาโพธิมณฑลแล้วเหมือนกัน แล้วตรัสประชุมชาดกว่า พระเจ้ากา-
ลิงคะ ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วนปุโรหิตชื่อว่าภารทวาชะ
ชาวกาลิงคะคือเราตถาคตแล.
จบอรรถกถากาลิงคชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 280
๗. อกิตติชาดก
ว่าด้วยอกิตติดาบสขอพรท้าวสักกะ
[๑๘๐๖] ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูต ทรงเห็น
อกิตติดาบสผู้ยับยั้งอยู่จึงได้ตรัสถามว่าดูก่อนพราหมณ์
ท่านปรารถนาสมบัติอะไร ถึงยับยั้งอยู่ผู้เดียวในถิ่นอัน
แห้งแล้ง.
[๑๘๐๗] ดูก่อนท้าวสักกะ การเกิดบ่อย ๆ เป็น
ทุกข์ อนึ่ง ความแตกทำลายแห่งร่างกายและความตาย
อย่างหลงใหล ก็เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น อาตมภาพ
จึงยับยั้งอยู่ ณ ที่นี้.
[๑๘๐๘] ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่
พระคุณเจ้ากล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต
โยมขอถวายพรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
[๑๘๐๙] ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้ง-
ปวง ถ้ามหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ
ชนทั้งหลายได้บุตร ภรรยา ทรัพย์ ข้าวเปลือกและ
สิ่งของอันเป็นที่รักทั้งหลาย แล้วยังไม่อิ่มด้วยความ
โลภใด ความโลภนั้นอย่าพึงมีในอาตมภาพเลย.
[๑๘๑๐] ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่
พระคุณเจ้ากล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต
โยมขอถวายพรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 281
[๑๘๑๑] ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูต
ทั้งปวง ถ้ามหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ
นา ที่ดิน เงิน โค ม้า ทาส กรรมกรย่อมเสื่อมสิ้น
ไปด้วยโทสะใด โทสะนั้นอย่าพึงมีในอาตมภาพเลย.
[๑๘๑๒] ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่
พระคุณเจ้ากล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต
โยมขอถวายพรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
[๑๘๑๓] ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูต
ทั้งปวง ถ้ามหาบพิตร จะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ
อาตมภาพไม่พึงเห็น ไม่พึงได้ฟังคนพาล ไม่พึงอยู่
ร่วมกับคนพาล ไม่ขอกระทำและไม่ขอชอบใจการ
เจรจาปราศรัยกับคนพาล.
[๑๘๑๔] ข้าแต่ท่านกัสสปะ คนพาลได้กระทำ
อะไรให้แก่ท่านหรือ ขอท่านจงบอกเหตุนั้นแก่โยม
เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ปรารถนาเห็นคนพาล.
[๑๘๑๕] คนพาลผู้มีปัญญาทรามย่อมแนะนำสิ่ง
ที่ไม่ควรจะแนะนำ ย่อมชักชวนในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ
การแนะนำชั่วเป็นความดีของเขา คนพาลนั้นถึงจะ
พูดดีก็โกรธ เขามิได้รู้วินัย การไม่เห็นคนพาลนั้นเป็น
ความดี.
[๑๘๑๖] ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่
พระคุณเจ้ากล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต
โยมขอถวายพรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 282
[๑๘๑๗] ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูต
ทั้งปวง ถ้ามหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ
อาตมภาพพึงขอเห็น ขอฟังนักปราชญ์ ขออยู่ร่วมกัน
กับนักปราชญ์ ขอกระทำและขอขอบใจการเจรจา
ปราศรัยกับนักปราชญ์.
[๑๘๑๘] ข้าแต่ท่านกัสสปะ นักปราชญ์ได้
กระทำอะไรให้แก่ท่านหรือ ท่านจงบอกเหตุนั้นแก่โยม
เพราะเหตุไร ท่านจึงปรารถนาเห็นนักปราชญ์.
[๑๘๑๙] นักปราชญ์ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ
ย่อมไม่ชักชวนในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ การแนะนำดีเป็น
ความดีของนักปราชญ์นั้น นักปราชญ์นั้น ผู้อื่นกล่าว
ชอบก็ไม่โกรธ ย่อมรู้จักวินัย การสมาคมคบหากัน
กับนักปราชญ์นั้นเป็นความดี.
[๑๘๒๐] ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่
พระคุณเจ้ากล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต
โยมขอถวายพรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
[๑๘๒๑] ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูต
ทั้งปวง ถ้ามหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ
เมื่อราตรีสว่างแจ้ง พระอาทิตย์อุทัยขึ้นแล้ว ขออาหาร
อันเป็นทิพย์และยาจกผู้มีศีลพึงปรากฏขึ้น เมื่ออาตม-
ภาพให้ทานอยู่ ขอให้ศรัทธาของอาตมภาพ ไม่พึง
เสื่อมสิ้นไป ครั้นให้ทานแล้วขอให้อาตมภาพไม่พึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 283
เดือดร้อนในภายหลัง เมื่อกำลังให้อยู่ ก็ขอให้อาตม-
ภาพพึงยังจิตให้เลื่อมใส ดูก่อนท้าวสักกะ ขอมหา-
บพิตรทรงประทานพรนี้แก่อาตมภาพเถิด.
[๑๘๒๒] ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่
พระคุณเจ้ากล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต
โยมขอถวายพรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
[๑๘๒๓] ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูต
ทั้งปวง ถ้ามหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ
มหาบพิตรอย่าพึงเข้ามาใกล้อาตมภาพอีกเลย ดูก่อน
ท้าวสักกะ ขอมหาบพิตรทรงประทานพรนี้แก่อาตม-
ภาพเถิด.
[๑๘๒๔] นรชาติหญิงชายทั้งหลาย ย่อมปรา-
รถนาจะเห็นโยม ด้วยวัตรจริยาเป็นอันมาก เพราะ
เหตุไรหนอ การเห็นโยมจึงเป็นภัยแก่ท่าน.
[๑๘๒๕] อาตมภาพเห็นเพศเทวดาเช่นพระองค์
ผู้สำเร็จด้วยสิ่งที่ต้องประสงค์ทุกอย่างแล้ว ก็จะพึง
ประมาท ทำความเพียรปรารถนาตำแหน่งท้าวสักกะ
การเห็นมหาบพิตรจึงเป็นภัยแก่อาตมภาพ.
จบอกิตติชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 284
อรรถกถาอกิตติชาดก
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภอุบาสกผู้ทานบดี ชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า อกิตฺตึ ทิสฺวาน สมฺมนฺต ดังนี้.
เล่ากันมาว่า อุบาสกนั้นนิมนต์พระศาสดา ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานตลอด ๗ วัน ในวันสุดท้าย ได้ถวายบริขารทั้งปวง
แก่พระอริยสงฆ์. ลำดับนั้น พระศาสดาประทับท่ามกลางบริษัทนั้นแหละ เมื่อ
ทรงกระทำอนุโมทนาตรัสว่า อุบาสก การบริจาคของเธอใหญ่หลวง กรรม
ที่ทำได้ยากยิ่งเธอกระทำแล้ว ธรรมดาว่าทานวงศ์นี้ เป็นวงศ์ของหมู่บัณฑิต
แต่ก่อนแท้จริง อันชื่อว่าทานไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์ ไม่ว่าเป็นบรรพชิต ควรให้
ทั้งนั้น ก็บัณฑิตแต่เก่าก่อนบวชอยู่ในป่า และแม้จะฉันใบหมากเม่านึ่งกับวัตถุ
เพียงแต่น้ำ ไม่เค็มและไร้กลิ่น ก็ยังให้แก่ยาจกที่ประจวบเหมาะ ตนเองยัง
อัตภาพให้เป็นไปด้วยปีติสุข. อุบาสกนั้นกราบทูลอาราธนาว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ การถวายบริกขารทั้งปวงนี้ ปรากฏแก่มหาชนแล้วละ พระเจ้าข้า
ข้อนี้พระองค์ตรัสยังมิได้ปรากฏ โปรดตรัสคำนั้นแก่พวกข้าพระองค์เถิด พระเจ้า
ข้า ดังนี้แล้วจึงทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ กรุงพาราณสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาล มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ บิดามารดา
ขนานนามว่า อกิตติ. เมื่อท่านเดินได้แล้ว มารดาคลอดน้องสาวคนหนึ่ง.
บิดามารดาขนานนามว่า ยสวดี. พระมหาสัตว์ได้อายุ ๑๖ ปี ไปเมืองตักกศิลา
เรียนศิลปะทั้งปวงแล้วกลับมา. ลำดับนั้น มารดาบิดาของท่านทำกาลกิริยาลง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 285
ท่านได้จัดทำเปตกิจแก่มารดาบิดาแล้ว ทำการสำรวจทรัพย์อยู่ สดับว่าท่านผู้
ชื่อโน้นสร้างสมบัติไว้เท่านี้ล่วงลับไปแล้ว. ท่านผู้โน้นสร้างสมบัติประมาณ
เท่านี้ล่วงลับไปแล้ว ก็มีใจสลด ดำริว่า ทรัพย์นี้ปรากฏแก่เรา ผู้รวบรวมทรัพย์
หาปรากฏไม่ ทุกคนทิ้งทรัพย์นี้ไปเสียทั้งนั้น. เราก็คงขนเอามันไปไม่ได้ จึง
เรียกน้องสาวมาบอกว่า เธอจงดูแลทรัพย์นี้เถิด. น้องสาวถามว่า ก็พี่มีอัธยาศัย
อย่างไรเล่าพี่. กล่าวว่าฉันอยากจะบวช น้อง. คุณพี่เจ้าคะ ดิฉันไม่ขอน้อมเศียร
รับทรัพย์ที่พี่ถ่มทิ้งไว้แล้ว ดิฉันไม่ต้องการทรัพย์นี้ดอก แม้ดิฉันก็จักบวชบ้าง.
ท่านอำลาพระราชา แล้วให้คนเที่ยวตีกลองร้องประกาศว่า เหล่าชน
ผู้มีความต้องการทรัพย์ จงพากันไปสู่เรือนของท่านอกิตติบัณฑิตเถิด ท่าน
บำเพ็ญมหาทานตลอด ๗ วัน ครั้นยังไม่สิ้นไป ก็ดำริว่า อายุสังขารของเรา
ย่อมเสื่อมไป เราจะมัวรอให้ทรัพย์หมดในรูปทำไมกัน ผู้ต้องการจงพากันถือ
เอาไป แล้วเปิดประตูนิเวศน์ประกาศว่า เราให้หมดเลย เชิญขนไปเถิด ทิ้งเรือน
อันมีเงินทองเสีย พาน้องสาวออกจากพระนครพาราณสีไป ทั้ง ๆ ที่มวลญาติ
พากันร่ำไห้ ท่านออกทางประตูใด ประตูนั้นได้นามว่า ประตูอกิตติ ท่าน
ข้ามแม่น้ำท่าใด แม้ท่านั้นก็ได้นามว่า ท่าอกิตติ ท่านเดินไปได้สองสามโยชน์
ก็สร้างบรรณศาลาในสถานอันน่ารื่นรมย์ แล้วบวชพร้อมกับน้องสาว. ตั้งแต่กาล
ท่านบวช ประชาชนชาวบ้าน ชาวตำบลและราชธานีเป็นอันมากพากันบวช จึง
ได้มีบริวารมาก เกิดลาภสักการะมากเป็นไปเหมือนครั้งพุทธุปบาทกาล.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า ลาภสักการะนี้มีมากนัก ทั้งบริวารของเราก็มี
มากมาย แต่เราควรอยู่ลำพังผู้เดียวเท่านั้น ถึงยามปลอด แม้แต่น้องสาวก็ไม่
บอกให้ทราบ ออกไปลำพังผู้เดียวเท่านั้น ไปถึงแคว้นทมิฬโดยพักอยู่ใน
อุทยานใกล้กับท่ากาจีระ ยังฌานและอภิญญาให้บังเกิดแล้ว. แม้ในที่นั้น ลาภ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 286
และสักการะมากมายก็บังเกิดแก่ท่าน ท่านรังเกียจลาภสักการะนั้น ก็ทิ้งเหาะไป
ทางอากาศ ลงที่เกาะหมากเม่า ใกล้เกาะนาค. ครั้งนั้นเกาะหมากเม่าได้นามว่า
เกาะงู ท่านสร้างบรรณศาลาชิดต้นหมากเม่าใหญ่พำนักอยู่ในเกาะงูนั้น การที่
ท่านอยู่ในเกาะนั้นไม่มีใครทราบเลย. ลำดับนั้นน้องสาวของท่านตามหาพี่ชาย
ลุถึงแคว้นทมิฬโดยลำดับ ไม่ได้พบท่าน จึงอยู่ในสถานที่ท่านเคยอยู่นั่นแหละ
แต่ไม่สามารถจะทำฌานให้เกิดได้. พระมหาสัตว์มิได้ไปที่ไหน ๆ เพราะท่าน
ปรารถนาน้อย ในเวลาที่ต้นหมากเม่านั้นมีผล ก็ฉันผลหมากเม่า เวลามีแต่ใบ
ก็เก็บมานึ่งฉัน.
ด้วยเดชแห่งศีลของท่าน บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกเทวราช
แสดงอาการร้อนแล้ว. ท้าวสักกเทวราชทรงนึกว่า ใครเล่านะประสงค์จะให้
เราเคลื่อนจากที่ ทรงเห็นอกิตติบัณฑิต ก็ทรงดำริว่า ดาบสนี้รักษาศีล
เพื่ออะไรเล่า ต้องการเป็นท้าวสักกะ หรือปรารถนาอย่างอื่น ต้องทดลอง
ท่านดู แล้วทรงดำริต่อไปว่า ดาบสนี้เลี้ยงชีวิตด้วยลำบาก ฉันใบหมาก
เม่าที่เพียงนึ่งกับน้ำ ถ้าปรารถนาความเป็นท้าวสักกะ คงจะให้ใบหมากเม่า
นึ่งแก่เรา ถ้าไม่ปรารถนาคงไม่ให้ แล้วแปลงเป็นพราหมณ์ไปสู่สำนักของท่าน
พระโพธิสัตว์นึ่งใบหมากเม่าแล้วปลงลง คิดว่า เราให้เย็นจึงจะฉัน นั่งอยู่ที่
ประตูบรรณศาลา. ลำดับนั้น ท้าวสักกะได้ยืนอยู่เฉพาะหน้าท่าน เพื่อขอภิกษา.
พระมหาสัตว์เห็นท้าวสักกะแล้วมีความโสมนัส ดำริว่า เป็นลาภเหลือหลาย
ของเราซินะ เราเห็นยาจก วันนี้ เราต้องให้ทานทำมโนรถของเราให้ลุถึงที่สุด
ถือใบหมากเม่านึ่งไปใส่ในภาชนะของท้าวเธอ มิได้เหลือไว้เพื่อตนเลยด้วยคิดว่า
ขอทานของเรานี้ จงเป็นปัจจัยแห่งพระสัพพัญญุตญาณดังนี้. พราหมณ์
ได้รับใบหมากเม่านึ่งนั้นเดินไปหน่อย ก็อันตรธานไป. ฝ่ายพระโพธิสัตว์
ครั้นให้แก่ท้าวเธอแล้ว ก็มิได้นึ่งใหม่ คงยับยั้งด้วยปีตินั่นเอง วันรุ่งขึ้น
นึ่งเสร็จ ก็นั่งที่ประตูบรรณศาลานั่นแหละ. ท้าวสักกะก็แปลงเป็นพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 287
มาอีก. พระมหาสัตว์ก็ให้แก่ท้าวเธออีก คงยับยั้งอยู่ด้วยอาการอย่างเดียว.
แม้ในวันเป็นคำรบสาม คงให้อย่างนั้นแหละ ถึงโสมนัสว่า โอ เป็นลาภ
เหลือหลายของเรา เราอาศัยใบหมากเม่าประสบบุญใหญ่โต แม้ถึงจะอิดโรย
เพราะไม่มีอาหารตลอดสามวัน ก็ยังออกจากบรรณศาลาในเวลาเที่ยงคืนได้
นั่งที่ประตูบรรณศาลารำพึงถึงทานอยู่. ท้าวสักกะทรงพระดำริว่า พราหมณ์นี้
ขาดอาหารตลอดสามวัน แม้จะอิดโรยเห็นปานนั้น ก็ยังให้ทานได้อย่างน่ายินดี
แม้ความแปรแห่งจิตก็มิได้มีเลย เรายังมิได้รู้ว่าท่านปรารถนาชื่อนี้แล้ว ให้ทาน
ต้องถามจึงจักทราบอัธยาศัยของท่าน. ท้าวเธอเสด็จมาในเวลาเที่ยงคืน ยืนอยู่
เบื้องหน้าพระมหาสัตว์ตรัสว่า เจ้าพระคุณดาบส ในเมื่อลมร้อนเห็นปาน
ฉะนี้พัดพานอยู่ พระคุณเจ้าก็คงกระทำตปกรรมอยู่ในป่าอันมีน้ำเค็มล้อมรอบ
เห็นปานนี้ เพื่ออะไรเล่าขอรับ.
พระศาสดาเมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาที่ ๑ ว่า
ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูต ทรงเห็นอกิตติดาบส
ผู้ยับยั้งอยู่ จึงได้ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านปรารถนา
สมบัติอะไร ถึงยับยั้งอยู่ผู้เดียวในถิ่นอันแห้งแล้ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ ปฏฺย ความว่า ท่านปรารถนา
มนุษย์สมบัติหรือ หรือว่าสวรรค์สมบัติเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้น และทราบว่าท้าวเธอเป็นท้าวสักกะ เพื่อ
ประกาศว่า อาตมภาพมิได้ปรารถนาสมบัติเหล่านั้นเลย แต่ปรารถนาพระ-
สัพพัญญุตญาณ จึงกระทำการบำเพ็ญตบะ ดังนี้ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
ดูก่อนท้าวสักกะ การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ อนึ่ง
ความแตกทำลายแห่งร่างกาย และความตายอย่าง
หลงใหล ก็เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงยับยั้ง
อยู่ ณ ที่นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 288
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ความว่า พระมหาสัตว์แสดงความ
ที่ท่านมีอัธยาศัยในพระนิพพานอย่างนี้ว่า การแตกทำลายขันธ์บ่อย ๆ และการ
ตายอย่างลุ่มหลง เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงปรารถนาพระนิพพาน
อันเป็นธรรมชาติไม่มีเรื่องเหล่านั้น จึงยับยั้งอยู่ ณ ที่นี้.
ท้าวสักกะสดับคำนั้นแล้ว ทรงมีพระหฤทัยยินดีว่า ข่าวว่า พระคุณเจ้า
รูปนี้ เบื่อหน่ายในภพทั้งปวงแล้ว อยู่ในป่าเพื่อต้องการพระนิพพาน เราต้อง
ถวายพระพรแก่ท่าน เมื่อจะเชิญท่านรับพร จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้า
กล่าวนี้ เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวาย
พรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยกิญฺจิ มนสิจฺฉสิ ความว่า กระผม
ขอถวายพรสุดแต่พระคุณเจ้าจะปรารถนาสิ่งใด ขอพระคุณเจ้าจงรับพรเถิด.
พระมหาสัตว์เมื่อจะรับพร จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า
ดูก่อนท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้า
มหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ ชน-
ทั้งหลายได้บุตร ภรรยา ทรัพย์ ข้าวเปลือก และสิ่ง
ของอันเป็นที่รักทั้งหลายแล้วยังไม่อิ่มด้วยความโลภใด
ความโลภนั้นอย่าพึงมีในอาตมภาพเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วรญฺเจ เม อโท ความว่า ถ้ามหาบพิตร
จะทรงประทานพรแก่อาตมภาพไซร้. บทว่า ปิยานิ จ ความว่า และสิ่งอื่นใด
อันเป็นที่รัก. บทว่า อนุตปฺเปนฺติ ความว่า ชนทั้งหลายย่อมปรารถนา
สมบัติมีบุตรเป็นต้นบ่อย ๆ ก็ยังไม่ถึงความอิ่ม. บทว่า น มยิ วเส ความว่า
ขอความโลภจงอย่าอยู่ คืออย่าเกิดในอาตมภาพเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 289
ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงยินดีต่อท่านเมื่อจะให้พรยิ่งขึ้นไป และ
พระมหาสัตว์ เมื่อจะรับพร ต่างก็กล่าวคาถาทั้งหลายว่า
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้า
กล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวายพร
แก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้า
มหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ นา ที่ดิน
เงิน โค ม้า ทาส กรรมกรย่อมเสื่อมสิ้นไปด้วยโทสะ
ใด โทสะนั้นอย่าพึงมีในอาตมภาพเลย.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้า
กล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวาย
พรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้า
มหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ อาตมภาพ
ไม่พึงเห็น ไม่พึงได้ฟังคนพาล ไม่พึงอยู่รวมกับคน
พาล ไม่ขอกระทำและไม่ขอชอบใจการเจรจาปราศรัย
กับคนพาล.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ คนพาลได้กระทำอะไรให้แก่
ท่านหรือ ขอท่านจงบอกเหตุนั้นแก่โยม เพราะเหตุไร
ท่านจึงไม่ปรารถนาเห็นคนพาล.
คนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมแนะนำสิ่งที่ไม่ควร
จะแนะนำ ย่อมชักชวนในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ การแนะนำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 290
ชั่วเป็นความดีของเขา คนพาลนั้นถึงจะพูดดีก็โกรธ
เขามิได้รู้วินัย การไม่เห็นคนพาลนั้นเป็นความดี.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้า
กล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวาย
พรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้า
มหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ อาตมภาพ
พึงขอเห็น ขอฟังนักปราชญ์ ขออยู่ร่วมกันกับ
นักปราชญ์ ขอกระทำและขอชอบใจการเจรจาปราศรัย
กับนักปราชญ์.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ นักปราชญ์ได้กระทำอะไร
ให้แก่ท่านหรือ ท่านจงบอกเหตุนั้นแก่โยม เพราะ
เหตุไร ท่านจึงปรารถนาเห็นนักปราชญ์.
นักปราชญ์ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ ย่อมไม่
ชักชวนในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ การแนะนำดีเป็นความดี
ของนักปราชญ์นั้น นักปราชญ์นั้น ผู้อื่นกล่าวชอบ
ก็ไม่โกรธ ย่อมรู้จักวินัย การสมาคมคบหากันกับ
นักปราชญ์นั้นเป็นความดี.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้า
กล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวาย
พรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 291
ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้า
มหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ เมื่อราตรี
สว่างจ้า พระอาทิตย์อุทัยขึ้นแล้ว ขออาหารอันเป็น
ทิพย์และยาจกผู้มีศีลพึงปรากฏขึ้น เมื่ออาตมภาพให้
ทานอยู่ ขอให้ศรัทธาของอาตมภาพไม่พึงเสื่อมสิ้นไป
ครั้นให้ทานแล้ว ขอให้อาตมภาพไม่พึงเดือดร้อน
ภายหลัง เมื่อกำลังให้อยู่ ก็ขอให้อาตมภาพพึงยังจิต
ให้เลื่อมใส ดูก่อนท้าวสักกะ ขอมหาบพิตรทรง
ประทานพรนี้แก่อาตมภาพเถิด.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้า
กล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวาย
พรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้า
มหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ มหาบพิตร
อย่าพึงเข้ามาใกล้อาตมภาพอีกเลย ดูก่อนท้าวสักกะ
ขอมหาบพิตรทรงประทานพรนี้แก่อาตมภาพเถิด.
นรชาติหญิงชายทั้งหลาย ย่อมปรารถนาจะเห็น
โยม ด้วยวัตรจริยาเป็นอันมาก เพราะเหตุไรหนอ
การเห็นโยมจึงเป็นภัยแก่ท่าน.
อาตมภาพเห็นเพศเทวดาเช่นพระองค์ ผู้สำเร็จ
ด้วยสิ่งที่ต้องประสงค์ทุกอย่างแล้ว ก็จะพึงประมาท
ทำความเพียรปรารถนาตำแหน่งท้าวสักกะ การเห็น
มหาบพิตรจึงเป็นภัยแก่อาตมภาพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 292
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน ชาเตน ความว่า พระมหาสัตว์
ขอว่า หมู่สัตว์มีดวงจิตใดเกิดแล้วจึงโกรธ ต้องเสื่อมจากไร่นาเป็นต้นเหล่านี้
ด้วยอำนาจราชทัณฑ์ เพราะตนทำกรรมมีฆ่าสัตว์เป็นต้น หรือด้วยการฆ่าตน
เสียด้วยวิธี มีกินยาพิษเป็นต้น โทสจิตนั้นไม่พึงอยู่ในอาตมภาพเลย. บทว่า
น สุเณ ความว่า อาตมภาพไม่พึงได้ฟังด้วยเหตุเหล่านั้นว่า คนพาลย่อมอยู่ในที่
ชื่อโน้นเป็นต้นก็ดี. บทว่า กินฺนุ เต อกร ความว่า คนพาลย่อมฆ่ามารดา บิดา
ของพระคุณเจ้าหรือ ก็หรือว่า คนพาลกระทำความพินาศอะไรให้แก่ท่านหรือ.
บทว่า อนย นยติ ความว่า คนมีปัญญาทรามย่อมยึดถือสิ่งที่มิใช่เหตุว่า
เป็นเหตุ คือย่อมคิดถึงกรรมที่ทารุณเห็นปานนี้ว่า เราจักกระทำปาณาติบาต
เป็นต้นเลี้ยงชีพ. บทว่า อธุราย ความว่า คนมีปัญญาทราม ไม่ชักชวน
ในสัทธาธุระ ศีลธุระ และปัญญาธุระ ชักชวนในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ. บทว่า
ทุนฺนโย เสยฺยโส โหติ ความว่า การแนะนำชั่วนั่นแลเป็นความดีสำหรับ
ผู้มีปัญญาทราม คือเขาย่อมยึดเอาทุศีลกรรมห้าประการแล้วประพฤตินั่นแหละ
เป็นดี อีกอย่างหนึ่ง เขาเป็นคนที่แนะนำได้ยากในทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์
เกื้อกูล เพราะใคร ๆ ไม่สามารถที่จะแนะนำได้. บทว่า สมฺมา วุตฺโต
ความว่า เขาถูกกล่าวโดยเหตุโดยการณ์ย่อมโกรธเคือง. บทว่า วินย
ความว่า เขาไม่รู้จักวินัยที่ต้องประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ เช่นว่าต้องก้าวไปอย่างนี้
เป็นอาทิ ทั้งไม่รับโอวาทด้วย. บทว่า สาธุ ตสฺส ความว่า เพราะเหตุเหล่านี้
การไม่พบเห็นเขาเสียได้นั่นแหละเป็นการดี. บทวา ยาจกา ได้แก่ ผู้รับ
โภชนะอันเป็นทิพย์นั้น. บทว่า วตฺตจารีหิ ได้แก่ ด้วยทาน ศีล และอุโบสถ
กรรม. บทว่า ทสฺสน อภิกงฺขนฺติ ความว่า เหล่านระและนารีพากันมุ่งหวัง
จะเห็นข้าพเจ้า. บทว่า ต ตาทิส ความว่าเห็นท่านผู้ประดับด้วยเครื่องประดับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 293
เห็นปานนั้น. บทว่า ปมชฺเชยฺย ความว่า อาตมภาพถึงความประมาทเสีย
คือพึงปรารถนาสิริสมบัติของท่าน ในเมื่อตบะกรรมอาตมภาพบำเพ็ญเพื่อต้อง
การพระนิพพาน มาปรารถนาตำแหน่งท้าวสักกะเสียเล่า อาตมาภาพต้องได้
นามว่าเป็นผู้ประมาท การเห็นท่านเป็นภัยแก่อาตมาภาพอย่างนี้.
ท้าวสักกเทวราชรับคำว่า ดีละ พระคุณเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ข้าพเจ้าจัก
ไม่มาสู่สำนักพระคุณเจ้าละ บังคมท่านขอสมาแล้วก็ครรไลหลีกไป พระมหาสัตว์
อยู่ ณ ที่นั้นเองตลอดชีวิต เจริญพรหมวิหารธรรมบังเกิดในพรหมโลกแล้ว.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
ท้าวสักกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอนุรุทธะ ส่วนอกิตติบัณฑิต คือ
เราตถาคตแล.
จบอรรถกถาอกิตติชาดก
๘. ตักการิยชาดก
ว่าด้วยการพูดดีเป็นศรีแก่ตัว
[๑๘๒๖] ดูก่อนพ่อตักการิยะ ฉันเองเป็นคน
โง่เขลา กล่าวคำชั่วช้าเหมือนกบในป่าร้องเรียกงูมา
ให้กินตนฉะนั้น ฉันน่าจะตกลงไปในหลุมนี้ ได้ยิน
มาว่า บุคคลที่พูดล่วงเลยขอบเขตไม่ดีเลย.
[๑๘๒๗] บุคคลที่พูดล่วงเลยขอบเขต ย่อมได้
ประสบการจองจำ การถูกฆ่า ความเศร้าโศกและความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 294
ร่ำไห้ ข้าแต่ท่านอาจารย์ ชนทั้งหลายจะฝังท่านลงใน
หลุมเพราะเหตุใด ท่านต้องติเตียนตัวท่านเองเพราะ
เหตุนั้น.
[๑๘๒๘] เราจะซักถามตุณฑิละ เพื่อประโยชน์
อะไรเล่า นางกาลีซิควรทำกะน้องชายของเขาเอง เรา
ถูกแย่งผ้าจนเป็นคนเปลือยกาย แม้เรื่องนี้ ก็เหมือน
กับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.
[๑๘๒๙] นกกะลิงตัวใด มิได้ชนกับเขาด้วย
เข้าไปจับอยู่ในระหว่างศีรษะแพะทั้งสองซึ่งกำลังชน
กันอยู่ นกกะลิงตัวนั้น ก็ถูกศีรษะแพะบดขยี้แล้ว ณ ที่
นั่นเอง แม้เรื่องนี้ก็เหมือนกับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.
[๑๘๓๐] คน ๔ คนจะป้องกันคน ๆ เดียว ช่วย
กันจับชายผ้าไว้คนละชาย คนทั้งหมดนั้นก็พากันหัว
แตกนอนตายแล้ว แม้เรื่องนี้ ก็เหมือนกับเรื่องของ
ท่านเป็นอันมาก.
[๑๘๓๑] นางแพะที่ถูกโจรทั้งหลายผูกไว้ในพุ่ม
กอไผ่ คึกคะนองเอาเท้าหลังดีดไปกระทบมีดตกลงมา
พวกโจรก็เอามีดนั้นเองเชือดคอนางแพะฉันใด แม้
เรื่องนี้ ก็เหมือนกับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.
[๑๘๓๒] พวกนี้มิใช่เทวดา มิใช่บุตรคนธรรพ์
พวกนี้เป็นเนื้อ พวกนี้ถูกนำมาด้วยอำนาจประโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 295
เจ้าทั้งหลายจงย่างมันตัวหนึ่ง สำหรับอาหารมื้อเย็น
อีกตัวหนึ่งสำหรับอาหารมื้อเช้า.
[๑๘๓๓] คำทุพภาษิตตั้งแสนคำ ก็ไม่ถึงแม้ส่วน
เสี้ยวของคำสุภาษิต กินนรรังเกียจคำทุพภาษิตจึงเศร้า
หมอง เพราะเหตุนั้น กินนรจึงนิ่งเฉยเสีย ไม่ใช่นิ่ง
เฉยเพราะความโง่เขลา.
[๑๘๓๔] กินรีตัวนี้กล่าวแก้เราได้แล้ว เจ้า
ทั้งหลาย จงปล่อยกินรีตัวนั้นไป อนึ่ง จงนำไปส่ง
ให้ถึงเขาหิมพานต์ ส่วนกินนรตัวนี้เจ้าทั้งหลาย จงส่ง
ไปให้โรงครัวใหญ่ จงย่างมันสำหรับอาหารเช้า แต่เช้า
ทีเดียว.
[๑๘๓๕] ข้าแต่พระมหาราชา ปศุสัตว์ทั้งหลาย
พึ่งฝน ประชาชนนี้ ก็พึ่งปศุสัตว์ พระองค์เป็นที่พึ่ง
ของข้าพระบาท ภรรยาของข้าพระบาท ก็พึ่งข้าพระ-
บาท ในระหว่างข้าพระบาททั้งสอง ตัวหนึ่งรู้ว่าอีก
ตัวหนึ่งตายแล้ว ตนเองพ้นแล้วจากความตาย จึงจะ
ไปสู่บรรพต.
[๑๘๓๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน ความ
นินทาทั้งหลายมิใช่จะหลีกเลี่ยงให้พ้นไปโดยง่ายดาย
ชนทั้งหลายมีฉันทะต่าง ๆ กัน ซึ่งควรจะส้องเสพ
คนหนึ่งได้รับการสรรเสริญด้วยคุณธรรมข้อใด คนอื่น
ก็ได้ความนินทา ด้วยคุณธรรมข้อนั้นเอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 296
[๑๘๓๗] โลกทั้งปวงมีจิตยิ่งด้วยจิตของคนอื่น
โลกทั้งปวงชื่อว่า มีจิตในจิตของตน สัตว์ทั้งปวง
ที่เป็นปุถุชน ต่างก็มีจิตใจต่างกัน สัตว์ทั้งหลายใน
โลกนี้ ไม่พึงเป็นไปในอำนาจแห่งจิตของใคร.
[๑๘๓๘] กินนรพร้อมด้วยกินรีผู้ภรรยา เป็น
ผู้นิ่งไม่พูด เป็นผู้กลัวภัยได้กล่าวแก้แล้วในบัดนี้
กินนรนั้นชื่อว่าพ้นแล้วในบัดนี้ เป็นผู้มีความสุข หา
โรคมิได้ เพราะว่าการเปล่งวาจาดีนำมาซึ่งประโยชน์
แก่นรชนทั้งหลาย.
จบตักการิยชาดกที่ ๘
อรรถกถาตักการิยชาดก
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภภิกษุชื่อโกกาลิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อหเมว
ทุพฺภาสิต ภาสิ พาโล ดังนี้.
ความพิสดารว่า ภายในพรรษาหนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสองท่าน
ประสงค์จะละหมู่อยู่อย่างเงียบ ๆ ทูลลาพระศาสดา ไปถึงที่อยู่ของพระโกกาลิกะ
ในโกกาลิกรัฐกล่าวเธออย่างนี้ว่า โกกาลิกะผู้มีอายุ เรากับเธอถ้อยทีถ้อยอาศัย
กัน จักอยู่เป็นผาสุกตลอดไตรมาสนี้ เราขออยู่จำพรรษา ณ ที่นี้แหละ. เธอ
ตอบว่า ผู้มีอายุ ก็ท่านอาศัยผมแล้วจักอยู่สำราญได้ไฉนเล่า. พระอัครสาวก
ตอบว่า ผู้มีอายุ ถ้าเธอไม่บอกแก่ใคร ๆ ว่า พระอัครสาวกอยู่จำพรรษาที่นี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 297
เราจะพึงอยู่สบาย นี้เราอาศัยเธออยู่เป็นผาสุก. เธอถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้
ผมอาศัยท่าน พึงอยู่เป็นผาสุกได้อย่างไร. ตอบว่า เราจักบอกธรรม จักกล่าว
ธรรมกถาแก่เธอตลอดไตรมาส นี้เธออาศัยเราอยู่เป็นผาสุก. พระโกกาลิกะ
กล่าวว่า ผู้มีอายุ เชิญท่านอยู่ตามอัธยาศัยเถิด และได้ถวายเสนาสนะที่สมควร
แก่ท่านทั้งสอง. พระอัครสาวกทั้งสองพากันอยู่สบายด้วยความสุขในผลสมาบัติ.
ใคร ๆ มิรู้การที่ท่านพากันอยู่ ณ ที่นี้. ท่านทั้งสองจำพรรษาแล้ว ปวารณา
แล้ว ก็พากันบอกพระโกกาลิกะนั้นว่า อาวุโส เราอาศัยเธออยู่กันอย่างสบายแล้ว
จักพากันไปถวายบังคมพระศาสดา เธอรับคำว่า สาธุ แล้วพาพระอัครสาวก
ทั้งสองเที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านใกล้ ๆ. พระเถระทั้งหลายกระทำภัตกิจเสร็จ
แล้ว ก็พากันออกจากบ้าน.
พระโกกาลิกะส่งพระเถระเหล่านั้นแล้วกลับไปบอกคนทั้งหลายว่า
อุบาสกทั้งหลาย พวกแกเหมือนเดรัจฉาน ช่างไม่รู้เสียเลยว่าพระอัครสาวก
ทั้งสองอยู่ในวิหารตลอด ๓ เดือน บัดนี้เล่า ท่านก็กลับไปเสียแล้ว.
คนทั้งหลายพากันกล่าวว่า เหตุไรเล่า พระผู้เป็นเจ้าจึงไม่แจ้งแก่พวกผม
ให้ทราบ แล้วพากันถือเภสัช มีเนยใสและน้ำมันเป็นต้น และเครื่องนุ่งห่ม
คือผ้าเป็นอันมาก เข้าไปหาพระเถระไหว้แล้วต่างกราบเรียนว่า ข้าแต่พระ-
คุณเจ้าผู้เจริญ โปรดอภัยแก่พวกกระผมเถิด. พระโกกาลิกะดำริว่า พระเถระ
ทั้งสองมักน้อยสันโดษ คงไม่รับผ้าเหล่านี้ด้วยตน คงให้แก่เรา จึงไปสู่พระเถระ
ทั้งหลายกับพวกอุบาสกนั่นเอง. พระเถระทั้งสองมิได้รับอะไร ๆ ไว้เพื่อตน
ทั้งไม่สั่งให้เขาถวายแก่พระโกกาลิกะ เพราะท่านมุ่งอบรมภิกษุอยู่. พวกอุบาสก
พากันอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อพระคุณเจ้าไม่รับคราวนี้ ก็
นิมนต์มาที่นี้อีกเพื่ออนุเคราะห์พวกกระผม. พระเถระเจ้ารับแล้วพากันไปสู่
สำนักพระศาสดา พระโกกาลิกะผูกอาฆาตว่า พระเถระเหล่านั้น เมื่อตนไม่รับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 298
ก็ไม่บอกให้เขาให้แม้แก่เรา. ฝ่ายพระเถระทั้งสองพักอยู่ในสำนักพระศาสดา
หน่อยหนึ่ง ก็พาภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้เป็นบริวารของตน ๆ เที่ยวจาริกไปกับภิกษุ
๑,๐๐๐ รูป จนถึงโกกาลิกรัฐ. พวกอุบาสกเหล่านั้นก็พากันต้อนรับ พาพระ-
เถระไปสู่วิหารนั้นเอง กระทำสักการะใหญ่ทุก ๆ วัน. เภสัชและเครื่องนุ่งห่ม
คือผ้าเกิดขึ้นมามากมาย. พวกภิกษุผู้ที่มากับพระเถระ พากันเลือกจีวรให้แก่
พวกภิกษุที่มากันเท่านั้น ไม่ได้ให้แก่พระโกกาลิกะ. แม้พระเถระก็มิได้บอก
ให้เธอ โกกาลิกะไม่ได้จีวรก็ด่าตัดเพ้อพระเถระว่า สารีบุตรและโมคคัลลานะ
ปรารถนาน้อย เมื่อก่อนเขาให้ลาภไม่รับ บัดนี้รับเสียจนล้นเหลือ ไม่มองดู
ผู้อื่น ๆ เลย พระเถระทั้งหลายดำริว่า โกกาลิกะประสบอกุศลเพราะอาศัย
พวกเรา พร้อมด้วยบริวารพากันออกไป แม้จะถูกหมู่ชนพากันอาราธนาว่า
พระคุณเจ้านิมนต์อยู่อีกสักสองสามวันเถิด ก็มิได้ปรารถนาจะกลับ.
ลำดับนั้นภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า อุบาสกทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายจักอยู่
ได้อย่างไร พระเถระผู้ชิดชอบของพวกท่าน ทนการอยู่ของภิกษุเหล่านั้นไม่ได้.
อุบาสกเหล่านั้นพากันไปสู่สำนักของพระโกกาลิกะนั้น กล่าวว่า พระคุณเจ้าผู้
เจริญ ได้ยินว่า พระคุณเจ้าทนการอยู่ในสำนักของพระเถระไม่ได้ นิมนต์ไปเถิด
ขอรับ จงขอให้พระเถระเจ้าทั้งสองรับขมาแล้วนิมนต์กลับมา หรือไม่เช่นนั้น
พระคุณเจ้าจงหนีไปอยู่ที่อื่นเถิด. พระโกกาลิกะจำไปอ้อนวอนพระเถระทั้งหลาย
ด้วยความกลัวพวกอุบาสก. พระเถระทั้งหลายต่างกล่าวว่า ผู้มีอายุ เธอจงไป
เสียเถิด พวกเราจักไม่กลับละ. เธอเมื่อไม่อาจนิมนต์พระเถระให้กลับได้ ก็
กลับไปวิหารนั่นแล. ลำดับนั้น พวกอุบาสกพากันถามเธอว่า พระคุณเจ้าข้า
พระคุณเจ้านิมนต์พระเถระกลับหรือ ก็กล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่
สามารถนิมนต์ให้กลับได้. ลำดับนั้น พวกอุบาสกต่างคิดว่า เมื่อภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 299
ผู้มีบาปกรรมนี้ยังอยู่ในวิหารนี้ พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักจักไม่อยู่ พวกเราต้อง
ไล่เธอไปเสีย แล้วพากันกล่าวกะเธอว่า พระคุณเจ้าข้า พระคุณเจ้าอย่าอยู่ที่นี้เลย
พระคุณเจ้าจะพึ่งพาอาศัยอะไร ๆ พวกข้าพเจ้าไม่ได้ละ. เธอถูกพวกเหล่านั้น
ชังน้ำหน้าเสียแล้ว ก็ถือบาตรจีวรไปพระเชตวัน เข้าเฝ้าพระศาสดากราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระโมคคัลลานะมีความ
ปรารถนาลามก ลุอำนาจความปรารถนาลามกเสียแล้ว. ลำดับนั้น พระศาสดา
รับสั่งกะเธอว่า โกกาลิกะ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย จงยังจิตให้เลื่อมใสใน
สารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด. ท่านโกกาลิกะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์มัวเชื่อพระอัครสาวกของพระองค์ ข้าพระองค์ได้เห็นประจักษ์แล้วว่า
พวกนี้ล้วนเลว ๆ มีลับลมคมในทุศีลทั้งนั้น แม้พระศาสดาจะตรัสห้ามถึง
สามครั้ง ก็คงกล่าวอย่างนั้น แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.
พอเธอหันไปเท่านั้นทั่วร่างก็เกิดตุ่มประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ค่อย
เจริญโดยลำดับ ถึงขนาดมะตูมสุกแล้วแตกน้ำเหลืองและเลือดไหลโทรมกาย.
เธอต้องระทดเจ็บแสบนอนอยู่ ณ ซุ่มพระทวารพระเชตวัน ถึงพรหมโลกได้
มีเรื่องเกรียวกราวกันว่า พระอัครสาวกทั้งสองถูกพระโกกาลิกะด่า. ลำดับนั้น
ตุทีพรหมอุปัชฌาย์ของเธอทราบเรื่องนั้น จึงมาดำริว่า จักให้เธอขมา
พระเถระทั้งหลายเสีย ยืนในอากาศกล่าวว่า โกกาลิกะ ท่านทำกรรม
หยาบคายนัก ท่านจงให้พระอัครสาวกเลื่อมใสเถิด. เธอถามว่า ผู้มี
อายุ ท่านเป็นใครเล่า เราชื่อว่า ตุทีพรหม เธอกลับเอ็ดเอามหาพรหม
ว่า ผู้มีอายุ ท่านนะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แล้วว่า เป็นพระอนาคา
มีมิใช่หรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า ธรรมดาว่า พระอนาคามี
มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นสภาวะ ท่านคงเป็นยักษ์ที่กองขยะเป็นแน่.
ท้าวมหาพรหมนั้น เมื่อมิอาจให้เธอเชื่อถือถ้อยคำได้ ก็กล่าวว่า ท่าน
นั้นเองจักปรากฏตามคำของท่าน แล้วไปสู่พรหมโลกชั้นสุทธาวาสทันที.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 300
ฝ่ายภิกษุโกกาลิกะก็ตายไปบังเกิดในปทุมนรก. ท้าวสหัมบดีพรหมรู้ความที่เธอ
เกิดในที่นั้นแล้ว จึงกราบทูลแด่พระตถาคต. พระศาสดาตรัสเล่าแก่พวกภิกษุ
พวกภิกษุเมื่อกล่าวถึงโทษของเธอ พากันสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ได้ยินว่า โกกาลิกภิกษุด่าพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ
บังเกิดในปทุมนรกเพราะอาศัยปากของตน. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ใน
บัดนี้เท่านั้น ที่โกกาลิกะถูกถ้อยคำกำจัดเสีย เสวยทุกข์เพราะปากของตน แม้
ในกาลก่อน ก็เสวยทุกข์เพราะปากของตนแล้วเหมือนกันดังนี้แล้ว จึงทรงนำ
อดีตนิทานมาเล่าดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี
ปุโรหิตของท้าวเธอเป็นคนตาเหลือง มีเขี้ยวงอกออกมา. นางพราหมณีของเขา
เล่นชู้กับพราหมณ์อื่น. แม้พราหมณ์ผู้เป็นชู้นั้น ก็มีลักษณะเช่นนั้นเหมือนกัน.
ปุโรหิตเฝ้าห้ามนางพราหมณีบ่อย ๆ เมื่อไม่อาจห้ามปรามกันได้. ก็คิดว่าเรา
ไม่อาจจะฆ่าไอ้ไพรีของเรานี้ด้วยมือตนได้ ต้องหาอุบายฆ่ามันเสียให้ได้. เขา
ก็เข้าเฝ้าพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช พระนครของพระองค์เป็น
พระนครชั้นเลิศในสกลชมพูทวีป พระองค์เล่าก็เป็นพระอัครราชา ประตู
พระนครด้านทักษิณของพระองค์ผู้ทรงนามว่าอัครราชาเช่นนี้ สร้างไว้ชั่ว
ไม่เป็นมงคลเลยพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสสั่งว่า ควรจะได้อะไรเล่า. เขากราบ
ทูลว่า ต้องรื้อประตูเก่าเสียหาไม้ที่ประกอบด้วยมงคลมาให้พลีแก่ฝูงภูตผู้รักษา
พระนคร แล้วตั้งพระทวารใหม่ตามมงคลฤกษ์ พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งว่า
ถ้าเช่นนั้น เชิญท่านทำอย่างนั้นเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 301
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็นมาณพ ชื่อว่าตักการิยะ
เรียนศิลปะในสำนักของเขา. ปุโรหิตให้รื้อประตูเก่าตั้งใหม่แล้วกราบทูลพระ-
ราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ประตูสำเร็จแล้ว พรุ่งนี้เป็นวันฤกษ์งาม
ต้องทำพลียกพระทวารมิให้ล่วงพ้นฤกษ์นั้นไปได้ พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งว่า
ถ้าเช่นนั้นท่านอาจารย์ควรจะได้อะไรเพื่อประกอบพิธีพลีกรรม. เขากราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระทวารมีศักดิ์ใหญ่ ต้องเชิญเทพดาผู้มีศักดิ์ให้
เข้าครอบครอง จำต้องฆ่าพราหมณ์ผู้บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย คนหนึ่งมีนัยตาเหลือง
มีเขี้ยวงอกออกมา เอาเนื้อและเลือดของเขาทำพลีกรรม แล้วเอาอ่างฝังลงไป
ใต้พระทวาร ตั้งพระทวารบนนั้น อย่างนี้จึงจักเกิดสวัสดีแก่พระองค์และแก่
พระนครพระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งว่า ดีละท่านอาจารย์ เชิญท่านฆ่าพราหมณ์
เช่นนั้นแล้วยกประตูพระนครเถิด. เขาดีใจเกิดลำพองว่า พรุ่งนี้เป็นได้เห็น
หลังปัจจามิตรละ ครั้นไปถึงเรือนของตนก็ไม่อาจรักษาปากไว้ได้ ละล่ำละลัก
บอกเมียว่า อีคนชั่ว อีคนจัณฑาล ตั้งแต่นี้มึงจะชมชื่นกับใครเล่า พรุ่งนี้
กูจะฆ่าชู้ของมึงพลีกรรมเสีย. ภรรยาเถียงว่า เขาไม่มีผิด จักฆ่าเสียเพราะเหตุ
อะไรเล่า. เขาตอบว่า พระราชารับสั่งให้กูทำพลีกรรมด้วยเนื้อและเลือดของ
พราหมณ์ที่มีเขี้ยวและตาเหลืองตั้งพระทวาร ก็ชู้ของมึงมีเขี้ยวและตาเหลือง
กูจักฆ่ามันทำพลีกรรมเสีย.
นางจึงส่งข่าวไปถึงสำนักของชู้ว่า ข่าวว่าพระราชาทรงประสงค์จะ
ฆ่าพวกพราหมณ์ผู้มีเขี้ยวและตาเหลืองทำพลีกรรม ถ้าเธออยากจะมีชีวิต
อยู่ ก็จงชักชวนพวกพราหมณ์ผู้มีลักษณะเช่นเดียวกับเธอหนีไปเสียให้ทัน
กาลทีเดียวเถิด. เขาทำตามนั้น ข่าวนั้นได้เลื่องลือไปในพระนคร. พวก
พราหมณ์ที่มีเขี้ยวและตาเหลืองทุกคนพากันหนีออกจากพระนครทุกแห่ง.
ปุโรหิตมิได้ล่วงรู้ความศัตรูหนีไปแล้ว เข้าเฝ้าพระราชาแต่เช้าตรู่ กราบทูลว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 302
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ที่โน่นมีพวกพราหมณ์ผู้มีเขี้ยวและตาเหลือง โปรด
รับสั่งจับเถิดพระเจ้าข้า. พระราชาทรงส่งพวกอำมาตย์ไป. พวกอำมาตย์เหล่านั้น
ไม่เห็นเขาก็พากันมากราบทูลว่า ข่าวว่าหนีไปเสียแล้วพระเจ้าข้า. พระราชา
ทรงรับสั่งว่า ค้นดูในที่อื่นซี. แม้จะพากันเที่ยวค้นในพระนครทุกแห่งก็มิได้
พบ เมื่อมีพระดำรัสว่า จงค้นผู้อื่นจากคนนั้นซี ก็พากราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ เว้นท่านปุโรหิตเสียแล้ว คนอื่น ๆ ไม่มีรูปเป็นอย่างนั้น
พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งว่า เราไม่อาจฆ่าปุโรหิตได้. พวกนั้นพากันกราบ
ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ประสงค์อะไรเช่นนั้น เพราะท่าน
ปุโรหิตเป็นตัวการณ์ แม้นไม่ยกพระทวารในวันนี้แล้ว พระนครก็จักเป็นอัน
ไม่ได้รับคุ้มครอง ท่านอาจารย์ก็บอกอยู่ว่า พ้นวันนี้ไปแล้วต้องรออีกปีหนึ่ง
จึงได้ฤกษ์ เมื่อพระนครไม่มีประตูตั้งปี จักเปิดโอกาสแก่พวกข้าศึกได้ พวกเรา
ต้องฆ่าพราหมณ์นี้ให้พวกพราหมณ์ผู้อื่นที่ฉลาดทำพลีกรรม ยกพระทวารเถิด
พระเจ้าข้า.
พระราชารับสั่งว่า ก็พวกพราหมณ์ผู้อื่นที่ฉลาดเหมือนท่านอาจารย์
ยังจะมีอยู่หรือ. พวกนั้นพากันกราบทูลว่า มีอยู่พระเจ้าข้า อันเตวาสิกของเขา
เองชื่อตักการิยมาณพ โปรดประทานตำแหน่งปุโรหิตแก่เขาแล้วทรงกระทำ
การมงคลเกิดพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสเรียกเขามาให้กระทำสัมมานาการแล้ว
ประทานตำแหน่งปุโรหิต ทรงสั่งเพื่อกระทำอย่างนั้น. เราได้ไปสู่ประตูพระนคร
ด้วยบริวารเป็นอันมาก. ราชบุรุษทั้งหลายพากันมัดปุโรหิต พามาด้วยอานุภาพ
แห่งพระราชา. พระมหาสัตว์ให้ขุดหลุมในที่ที่จะตั้งพระทวารให้ลงม่านล้อมรอบ
เข้าอยู่ในม่านกับอาจารย์. อาจารย์มองดูหลุมพลางทอดอาลัย ไม่ได้ใครเป็นที่
พำนักแก่ตน พึงรำพึงว่า เราเป็นผู้จัดแจงความฉิบหายทั้งนั้น เพราะเรามันโง่
ไม่อาจจะคุ้มครองปากของตนได้ รีบไปบอกแก่อีตัวร้าย ตัวของเราเองนำ
การฆ่ามาให้ตน เมื่อจะสนทนากับพระมหาสัตว์ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 303
ดูก่อนพ่อตักการิยะ ฉันเองเป็นคนโง่เขลา
กล่าวคำชั่วช้าเหมือนกบในป่า ร้องเรียกงูมาให้กินตน
ฉะนั้น ฉันจะตกลงไปในหลุมนี้ ได้ยินมาว่า บุคคลที่
พูดล่วงเลยขอบเขตไม่ดีเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุพฺภาสิต ภาสิ ความว่า เราได้กล่าวคำ
อันเป็นทุพภาษิต. บทว่า ภงฺโกว ความว่า เรานั่นแหละย่อมกล่าวแต่คำชั่ว ๆ
เหมือนกบอยู่ในป่าร้องเรียกงูให้มากัดกินคนฉะนั้น. บทว่า ตกฺการิเย ความว่า
คนโง่เรียกเขาซึ่งเพศหญิงอันเป็นชื่อของเขาจึงกล่าวอย่างนั้น.
พระมหาสัตว์ ได้ฟังดังนั้นแล้ว กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
บุคคลผู้กล่าวล่วงเลยขอบเขต ย่อมได้ประสบการ
จองจำ การถูกฆ่า ความเศร้าโศกและความร่ำไห้
ข้าแต่ท่านอาจารย์ ชนทั้งหลายจะฝังท่านลงในหลุม
เพราะเหตุใด ท่านต้องติเตียนตัวท่านเอง เพราะ
เหตุนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติเวลภาณี ความว่า คนที่พูดล่วง
เลยขอบเขต คือพูดล่วงประมาณ ไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ อธิบายว่า ไม่ดี.
บทว่า โสกปริเทวญฺจ ความว่า ดูก่อนอาจารย์ คนที่พูดล่วงเลยเวลา
อย่างนี้แหละ ย่อมถูกฆ่าและถูกจองจำ ถึงความเศร้าโศก ร่ำไห้ด้วยเสียงเอ็ดอึง
บทว่า ครหาสิ ความว่า ท่านไม่ต้องติเตียนผู้อื่นดอก พึงติเตียนตนเอง.
บทว่า เอตฺโต แปลว่า ในเพราะเหตุนี้. บทว่า อาจริย ต ความว่า
อาจารย์ ชนทั้งหลายกำลังจะฝังท่านในหลุมที่ท่านขุดไว้อยู่นั่นแหละ เพราะ
ฉะนั้น ท่านพึงติเตียนตนเองเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 304
พระมหาสัตว์ครั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ จึงกล่าวต่อไปว่า ท่านอาจารย์
ท่านไม่รักษาวาจา ถึงความทุกข์ผู้เดียวเท่านั้นก็หาไม่ แม้คนพวกอื่น ก็ถึง
ความทุกข์เหมือนกัน แล้วนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้
เล่ากันมาว่า ในกาลก่อน ในกรุงพาราณสี ได้มีหญิงแพศยาคนหนึ่ง
นามว่า กาลี น้องชายของนางชื่อว่า ตุณฑิละ. วันหนึ่ง นางกาลีรับเงิน
๑,๐๐๐ กระษาปณ์. แต่ตุณฑิละ เป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา ทั้งเป็นนักเลง
เล่นการพนัน. นางให้ทรัพย์เขา เขาเอาทรัพย์ที่ได้แล้ว ๆ ไปทำลายฉิบหาย
หมด. ถึงนางจะห้ามปรามเขาก็ไม่สามารถที่จะห้ามได้. วันหนึ่งเขาเล่นการพนัน
แพ้ ต้องจำนำผ้านุ่ง เอาเสื่อลำแพนนุ่งมาสู่เรือนของนาง. ก็พวกสาวใช้ของนาง
ต่างได้รับกำชับไว้ว่า เวลาตุณฑิละมาถึง ไม่ต้องให้อะไร จับคอเขาไล่ออก
ไปเสีย. พวกนั้นจึงพากันทำอย่างนั้น. เขาไปยืนร้องไห้อยู่ใกล้ประตู. ลำดับนั้น
ลูกชายของเศรษฐีคนหนึ่ง นำทรัพย์มาให้นางกาลีครั้งละ ๑,๐๐๐ กระษาปณ์
เป็นนิตย์ วันหนึ่งเห็นเขาก็ถามว่า ตุณฑิละเอ๋ย ร้องไห้ทำไม. ตุณฑิละ
ตอบว่า นายจ๋า ผมแพ้การพนันนั้นมาหาพี่สาวของผม พวกสาวใช้เหล่านั้น
มันพากันจับคอผมไล่ออกมา. เขาบอกว่า ถ้าเช่นนั้นรอก่อน ฉันจะช่วยบอก
พี่สาวของแกให้ แล้วก็ไปบอกนางว่า น้องชายของเธอนุ่งเสื่อลำแพนยืนอยู่ที่
ประตู ทำไมเธอถึงไม่ให้ผ้าผ่อนเขาบ้างละ. นางตอบว่า ฉันไม่ให้ละ ถ้าคุณ
มีแก่ใจ คุณก็ให้เขาซิ. ก็ในเรือนหญิงแพศยานั้นมีธรรมเนียมประพฤติติดต่อกัน
มาดังนี้ จากเงิน ๑,๐๐๐ กระษาปณ์ ๕๐๐ กระษาปณ์เป็นของหญิงแพศยา ๕๐๐
กระษาปณ์ เป็นมูลค่าของผ้าของหอมและดอกไม้ ชายที่พากันมา นุ่งผ้าที่ได้
ในเรือนนั้นอยู่ตลอดคืน รุ่งขึ้นเมื่อจะไป ก็ผลัดผ้านั้นไว้ นุ่งผ้าที่ตนนำมา
นั้นแลกลับไป เหตุนั้นลูกชายเศรษฐี จึงนุ่งผ้าที่นางให้แล้วให้ของตนแก่ตุณฑิละ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 305
เขานุ่งผ้าแล้วส่งเสียงตวาดตามประสาคนเข้าโรงเหล้า. ฝ่ายนางกาลีเล่า ก็สั่ง
พวกสาวใช้ไว้ว่า พรุ่งนี้เวลาลูกชายเศรษฐีคนนี้จะไป พวกเจ้าจงช่วยกันแย่ง
เอาไว้ พวกนั้นเวลาลูกชายเศรษฐีนั้นออกมา ก็กรูกันเข้าไปราวกับจะปล้น ช่วย
กันดึงเอาผ้าไว้เสียจนเขาต้องเปลือยกายจึงปล่อยว่า ที่นี้ไปได้ละพ่อหนุ่ม เขา
ต้องเดินออกมาทั้งเปลือย ๆ ฉะนั้นคนพากันยิ้มทั่ว เขาละอายรำพึงรำพันว่า
เราทำมันเองทีเดียว เรานั่นแหละไม่สามารถรักษาปากของตนได้ เมื่อจะแสดง
ความข้อนี้ เขาจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า
เราจะซักถามตุณฑิละ เพื่อประโยชน์อะไรเล่า
นางกาลีซิควรทำกะน้องชายของเขาเอง เราถูกแย่งผ้า
จนเป็นคนเปลือยกาย แม้เรื่องนี้ ก็เหมือนกับเรื่อง
ของท่านเป็นอันมาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุ ตาทิโสว ความว่า จริงอยู่ แม้
เศรษฐีบุตร ได้รับทุกข์เพราะกรรมที่ตนทำนั้นเอง. เพราะเหตุนั้น แม้ท่าน
ก็เป็นเสมือนเหตุที่เกิดขึ้นแห่งทุกข์นี้ เพราะเหตุมากมาย.
แม้อีกเรื่องหนึ่ง ในกรุงพาราณสี โดยความเลินเล่อของคนเลี้ยงแพะ
ทั้งหลาย เมื่อแพะสองตัวขวิดกันในที่หากิน นกกะลิงตัวหนึ่ง คิดว่า บัดนี้
เองไอ้สองตัวนี้ต้องหัวแตกตาย เราต้องห้ามมันไว้แล้วห้ามว่า ลุงอย่าขวิดกัน
เลยน่ะ เมื่อมันไม่เชื่อถ้อยคำคงขวิดกันอยู่นั่นเอง ก็โดดเกาะที่หลังบ้าง ที่หน้า
บ้าง อ้อนวอนไป เมื่อไม่สามารถจะห้ามได้ ก็พูดว่า ถ้าอย่างนั้น ก็จงฆ่ากู
เสียก่อนแล้วค่อยขวิดกัน โดดเข้าไประหว่างหัวของมันทั้งสอง มันชนกัน
โผงเดียว นกนั้นเหมือนถูกบดในหินบด ถึงความพินาศด้วยเรื่องที่ตนกระทำ
นั้นเอง เมื่อพระมหาสัตว์จะแสดงเหตุแม้อื่นอีกนี้จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 306
นกกะลิงตัวใด มิได้ชนกับเขาเลย เข้าไปจับอยู่
ในระหว่างศีรษะแพะ ทั้งสองซึ่งกำลังขวิดกันอยู่ นก
กะลิงตัวนั้น ก็ถูกศีรษะแพะบดขยี้แล้ว ณ ที่นั่นเอง
แม้เรื่องนี้ก็เหมือนกับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เมณฺฑนฺตร แปลว่า ในระหว่างแพะ
ทั้งสอง. บทว่า ปจฺจุปติ ความว่า โดดเข้าไป คือได้ตั้งอยู่ในระหว่าง คือ
ท่ามกลางแห่งศีรษะแพะทั้งสอง. บทว่า ปึสิโต แปลว่า ถูกแพะขวิดเอาแล้ว.
ฝ่ายพวกนายโคบาล ชาวกรุงพาราณสีอีกพวกหนึ่งเห็นต้นตาลเผล็ดผล
ก็ปีนขึ้นต้นหนึ่งเพื่อจะเอาผล. เมื่อกำลังปลิดผลตาลทิ้งลงมา งูเห่าดำตัวหนึ่ง
เลื้อยออกจากจอมปลวกขึ้นต้นตาล. พวกที่ยืนอยู่ข้างล่าง แม้จะช่วยกันเอาไม้
เป็นต้นตี ก็ไม่อาจห้ามมันได้. พวกนั้นจึงร้องบอกคนที่อยู่บนต้นว่า งูเลื้อย
ขึ้นต้นตาล งูเลื้อยขึ้นต้นตาล คนนั้นกลัวร้องเสียงดังลั่น. คนที่อยู่ข้างล่างเอา
ผ้านุ่งที่เหนียวแน่นมาผืนหนึ่ง ถือไว้คนละมุมทั้งสี่มุมแล้วร้องบอกว่า จงโดด
ลงมาในผ้านี้. ผู้นั้นกลั้นใจโดดลงมากลางผืนผ้าระหว่างคนทั้งสี่. ด้วยอำนาจ
การตกของผู้นั้น คนทั้ง ๔ นั้นไม่อาจทรงตัวอยู่ได้ ต่างเอาหัวชนกันหัวแตก
ตายหมด.
พระมหาสัตว์เมื่อแสดงเหตุนี้ จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า
คน ๔ คน จะป้องกันคนเดียว ช่วยกันจับชายผ้า
ไว้คนละชาย ก็เหมือนกับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โปฏฺก แปลว่า ผ้า. บทว่า สพฺเพว เต
ความว่า คนทั้ง ๔ คนนั้น ช่วยกันถือผ้าไว้ พากันศีรษะแตกนอนตายแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 307
อีกเรื่องหนึ่ง พวกโจรขโมยแพะชาวกรุงพาราณสี ร่วมกันขโมยแพะ
ได้ตัวหนึ่งในเวลากลางคืน คิดกันว่าจักกินในป่าในเวลากลางวัน แล้วช่วยกัน
มัดปากเพื่อไม่ให้มันร้อง แล้วเอาไปซ่อนไว้ในกอไผ่ รุ่งขึ้นชวนกันไปเพื่อจะ
กินมัน ต่างลืมอาวุธพากันไปแล้ว. พวกนั้นพูดกันว่า จักฆ่าแพะย่างเนื้อกิน
เอาอาวุธมาซิ ไม่เห็นอาวุธในมือแม้สักคนหนึ่ง ต่างก็พูดกันว่า ถึงแม้จะ
ปราศจากอาวุธก็ฆ่ามันได้ แต่ก็ไม่อาจแล่เนื้อได้ ปล่อยมันไปเถิดนะ บุญของมัน
ยังมีอยู่ แล้วก็ปล่อยไป. ครั้งนั้น ช่างสานคนหนึ่งถือเอาไม้ไผ่แล้วคิดว่า
จะกลับมาเอาไม้ไผ่อีก จึงซุกมีดตัดไม้ไผ่ไว้ในกองใบไผ่หลีกไป. แพะดีใจว่า
ข้าพ้นตายแล้ว คะนองเล่นอยู่ที่โคนกอไผ่ ดีดด้วยเท้าหลังทำให้มีดนั้นตกลงมา.
พวกโจรได้ยินเสียงมีด ก็ช่วยกันต้นพบมีดนั้นแล้วต่างดีใจ ฆ่าแพะกินเนื้อเสีย
แพะแม้นั้นก็ตายเพราะเรื่องที่ตนกระทำเองด้วยประการฉะนี้ เมื่อจะแสดง
เหตุนี้ จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า
นางแพะที่ถูกโจรทั้งหลายผูกมัดไว้ในพุ่มกอไผ่
คึกคะนองเอาเท้าหลังดีดไปกระทบมีดตกลงมา พวก
โจรก็เอามีดนั้นเองเชือดคอนางแพะฉันใด แม้เรื่องนี้
ก็เหมือนกับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเวกฺขิปนฺติ ความว่า แพะที่ถูกมัดไว้
ที่กอไผ่เล่นคะนองดีดเท้าหลัง.
ก็แลครั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว พระโพธิสัตว์จึงแสดงว่า ธรรมดา ผู้ที่รักษา
ถ้อยคำของตนไว้พูดพอเหมาะ ย่อมพ้นทุกข์ปางตายได้ นำเรื่องกินนรมาเล่า
ดังต่อไปนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 308
ได้ยินว่า บุตรพรานชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่งไปยังป่าหิมพานต์ ใช้อุบาย
อย่างหนึ่งจับกินนรคู่ผัวเมียมาได้ ถวายแด่พระราชา. พระราชาทอดพระเนตร
เห็นกินนร อันมิเคยทอดพระเนตร ทรงพอพระหทัย ตรัสถามว่า พ่อพราน
พวกนี้มีคุณอะไร นายพรานกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พวกเหล่านี้
ร้องเพลงไพเราะ ฟ้อนรำยวนใจ พวกมนุษย์ไม่รู้ที่จะร้องรำได้อย่างนี้เลย
พระเจ้าข้า. พระราชาประทานทรัพย์เป็นอันมากแก่นายพราน แล้วตรัสกะ
กินนรทั้งคู่ว่า ร้องรำไปซิ กินนรทั้งคู่คิดกันว่า ถ้าเราจะร้องเพลงคงไม่อาจ
ทำพยัญชนะให้บริบูรณ์ได้ การจับผิดก็จะมี ฝูงคนต้องติเตียนเรา ต้องฆ่าเรา
อนึ่ง เมื่อเรากล่าวมากไป ก็จะเป็นมุสาวาทได้ เพราะเกรงมุสาวาท แม้จะถูก
พระราชาตรัสซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็ไม่ยอมร้องรำ พระราชาทรงกริ้ว เมื่อจะทรง
สั่งให้ฆ่าเสียเอาเนื้อย่างมาถวาย จึงตรัสพระคาถาที่ ๗ ว่า
พวกนี้มิใช่เทวดา มิใช่บุตรคนธรรพ์ พวกนี้เป็น
เนื้อ พวกนี้ถูกนำมาด้วยอำนาจประโยชน์ เจ้าทั้งหลาย
จงย่างมันตัวหนึ่ง สำหรับอาหารมื้อเย็น อีกตัวหนึ่ง
สำหรับอาหารมื้อเช้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคา อิเม ความว่า ถ้าพวกเหล่านี้
เป็นเทวดา หรือคนธรรพ์ไซร้ พึงฟ้อนและพึงขับร้องได้ แต่พวกนี้เป็นเนื้อ
เป็นสัตว์เดียรัจฉาน. บทว่า อตฺถวสาภตา อิเม ความว่า พวกนี้ถูกนำ
มาสู่เงื้อมมือของเราด้วยอำนาจแห่งประโยชน์ เพราะถูกพรานผู้หวังประโยชน์
นำมา ในบรรดามันเหล่านั้น สูทั้งหลายจงย่างมันตัวหนึ่งในอาหารมื้อเย็น
อีกตัวหนึ่งในอาหารมื้อเช้าเถิด.
กินรีดำริว่า พระราชากริ้วแล้ว คงจักให้ฆ่าเสียโดยไม่ต้องสงสัย
บัดนี้ เป็นเวลาที่ต้องพูดกันละ จึงกล่าวคาถาต่อไปว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 309
คำทุพภาษิตทั้งแสนคำ ก็ไม่ถึงแม้ส่วนเสี้ยวของ
คำสุภาษิต กินนรรังเกียจคำทุพภาษิตจึงเศร้าหมอง
เพราะเหตุนั้น กินนรจึงนิ่งเฉยเสีย ไม่ใช่นิ่งเฉยเพราะ
ความโง่เขลา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺกมโน กิเลโส ความว่า บางคราว
เราเมื่อพูดก็พูดคำอันเป็นทุพภาษิต กินนร เมื่อรังเกียจคำทุพภาษิตย่อมเศร้า-
หมองคือย่อมลำบากด้วยประการฉะนี้. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะ
เหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ขับร้องให้แก่ท่าน หาใช่ขับเพราะความโง่ไม่.
พระราชาทรงโปรดกินรี จึงตรัสพระคาถาต่อไปว่า
กินรีตัวนี้กล่าวแก้เราได้แล้ว เจ้าทั้งหลายจง
ปล่อยกินรีตัวนั้นไป อนึ่ง จงนำไปส่งให้ถึงเขา
หิมพานต์ ส่วนกินนรตัวนี้ เจ้าทั้งหลาย จงส่งไปให้
โรงครัวใหญ่ จงย่างมันสำหรับอาหารเช้า แต่เช้า
ทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยา เมสา แก้เป็น ยา เมเอสา. บทว่า
เทนฺตุ ความว่า จงให้เพื่อประโยชน์โรงครัวใหญ่.
กินนรฟังพระดำรัสของพระราชาแล้วคิดว่า ท้าวเธอนี้คงให้ฆ่าเรา
ผู้ไม่กล่าวเสียเป็นแน่ บัดนี้เราควรจะพูด ดังนี้ แล้วจึงกล่าวคาถาต่อไปว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ฝูงปศุสัตว์พากันพึ่งฝน
ประชาชนนี้เล่าพากันพึ่งปศุสัตว์ พระองค์ทรงเป็นที่
พึ่งแก่ข้าพระบาท ภรรยาก็พึ่งข้าพระองค์ บรรดา
ข้าพระบาททั้งคู่ ตัวหนึ่งรู้ว่าอีกตัวหนึ่งตายแล้ว ตน
เองพ้นแล้วจากความตาย จึงจะไปสู่ภูผาได้พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 310
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปชฺชุนฺนนาถา ความว่า สัตว์เลี้ยงมีหญ้า
เป็นอาหาร ชื่อว่ามีเมฆฝนเป็นที่พึ่ง. บทว่า ปสุนาถา อย ปชา ความว่า
ประชาคือมนุษย์นี้ อาศัยโครส ๕ ชื่อว่าผู้มีปศุสัตว์เป็นที่พึ่งเป็นหลักอาศัย. บทว่า
ตฺว นาโถสิ ความว่า พระองค์เป็นที่พึ่งของข้าพระองค์. บทว่า อมฺหนาถา
มม ภริยา ความว่า ข้าพระองค์ก็เป็นที่พึ่งของภรรยานั้น. บทว่า ทวินฺนมญฺ-
ตร ตฺวา มุตฺโต คจฺเฉยฺย ปพฺพต ความว่า ในระหว่างข้าพระองค์
ทั้งคู่ ตัวหนึ่งต้องรู้ว่าตัวหนึ่งตายแล้ว ตนเองรอดตายแล้ว จึงไปสู่หิมพานต์
ภายหลัง คือเมื่อข้าพระองค์ทั้งคู่ยังมีชีวิตอยู่ ย่อมไม่ทอดทิ้งกัน เพราะฉะนั้น
แม้มาตรว่าพระองค์ทรงประสงค์จะส่งกินรีนี้ไปสู่หิมพานต์ โปรดฆ่าข้าพระองค์
เสียก่อนส่งนางไปภายหลัง.
ก็แล กินนรครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชเจ้า ข้าพระบาททั้งสอง ใช่จะนิ่งเสียเพราะปรารถนาจะขัดพระดำรัส
ของพระองค์ก็หามิได้ แต่เพราะเห็นโทษของการพูดมาก จึงมิได้กราบทูลสนอง
พระบัญชา กล่าวคาถา ๒ คาถานี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน ความนินทา
ทั้งหลายมิใช่จะหลีกให้พ้นไปโดยง่ายเลย ชนทั้งหลาย
มีฉันทะต่าง ๆ กัน ซึ่งควรจะส้องเสพ คนหนึ่งได้รับ
การสรรเสริญด้วยธรรมข้อใด คนอื่นได้ความนินทา
ด้วยคุณธรรมข้อนั้นเอง.
โลกทั้งปวงมีจิตยิ่งด้วยจิตของคนอื่น โลกทั้งปวง
ชื่อว่า มีจิตในจิตของตน สัตว์ทั้งปวงที่เป็นปุถุชน
ต่างก็มีจิตใจต่างกัน สัตว์ทั้งปวงในโลกนี้ ไม่พึงเป็น
ไปในอำนาจแห่งจิตของใคร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 311
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุปริวชฺชยาถ ความว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชเจ้า ชื่อว่า นินทา ใคร ๆ ไม่สามารถจะหลีกเสียได้ง่ายเลย. บทว่า
นานา ชนา ความว่า ฝูงชนมีความพอใจต่าง ๆ กัน. บทว่า เยนว
ความว่า คนหนึ่งได้รับยกย่องด้วยคุณมีศีลเป็นต้น อันใด ด้วยคุณข้อนั้น แหละ
คนอื่นได้รับความนินทา ความจริง เพราะกล่าวในฝูงกินนรข้าพระองค์ย่อมได้
ความยกย่อง เพราะไม่กล่าวในหมู่มนุษย์ ย่อมได้ความนินทา ด้วยอาการ
อย่างนี้ ขึ้นชื่อว่านินทา ย่อมเป็นสิ่งหลีกได้ยาก ข้าพระองค์นั้นคิดว่า เราจัก
ได้ความยกย่องจากสำนักพระองค์อย่างไรเล่า. บทว่า สพฺโพ โลโก ปรจิ-
ตฺเตน อติจิตฺโต ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ธรรมดาอสัตบุรุษมีจิตยิ่ง
ด้วยจิตมีการฆ่าสัตว์เป็นต้นสัตบุรุษมีจิตยิ่งด้วยจิตมีเจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์
เป็นต้น ชาวโลกทั้งมวล ย่อมมีจิตยิ่งด้วยจิตของคนอื่น ด้วยประการดังนี้.
บทว่า จิตฺตวาสมฺหิ จิตฺเต ความว่า ก็ชาวโลกทั้งมวล ชื่อว่า มีจิตด้วยจิต
ของตนทั้งทรามหรือประณีต. บทว่า ปจฺเจกจิตฺตา ความว่า สัตว์ทั้งหมด
มากประเภทต่างคนต่างมีจิตใจเฉพาะตน ในบรรดาสรรพสัตว์เหล่านั้น กินรี
ก็ดี อย่างข้าพระองค์ก็ดี คนอื่นก็ดี ไม่น่าประพฤติไปในความคิดอ่านของ
ใคร ๆ สักคนหนึ่ง จะเป็นของพระองค์หรือของผู้อื่นก็ตามที เพราะเหตุนั้น
พระองค์อย่าทรงพิโรธข้าพระองค์ว่า ผู้นี้ไม่ประพฤติเป็นไปในอำนาจจิตของ
เรา ด้วยสรรพสัตว์ย่อมไม่ลุอำนาจจิตของตนไปได้พระเจ้าข้า กินนรแสดง
ธรรมแก่พระราชาด้วยประการฉะนี้.
พระราชาทรงโสมนัสว่า กินนรนี้เป็นบัณฑิตกล่าวถูกต้องทีเดียวจึง
ตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า
กินนรพร้อมด้วยกันรีผู้ภรรยา เป็นผู้นิ่งไม่พูด
เป็นผู้กลัวภัย ได้กล่าวแก้แล้วในบัดนี้ กินนรนั้นชื่อว่า
พ้นแล้วในบัดนี้ เป็นผู้มีความสุขหาโรคมิได้ เพราะว่า
การเปล่งวาจาดีนำมาซึ่งประโยชน์แก่นรชนทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 312
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาจา คิเรวตฺถวตี นราน ความว่า
วาจา คือคำที่ควรเปล่งย่อมมีประประโยชน์ คือนำมาซึ่งประโยชน์แก่สัตว์
เหล่านั้น.
พระราชารับสั่งให้กินนรทั้งคู่จับอยู่ในกรงทอง รับสั่งให้หาพรานคน
นั้น และให้ปล่อยด้วยพระดำรัสว่า เจ้าจงไป ปล่อยกินนรคู่นี้ ณ ที่ที่จับได้
นั้นเถิด. .
ฝ่ายพระมหาสัตว์กล่าวว่า ท่านอาจารย์ ดูเถิด กินนรทั้งคู่รักษาวาจา
ไว้อย่างนี้ เมื่อถึงคราวตายก็รอดตายได้ด้วยสุภาษิตที่ตนกล่าวนั้นเอง ส่วนท่าน
ถึงทุกข์ใหญ่หลวง เพราะพูดชั่ว ครั้นแสดงอุทาหรณ์นี้แล้ว ก็ปลอบว่า ท่าน
อาจารย์อย่ากลัวเลย ผมจักให้ชีวิตแก่ท่าน เมื่อเขาพูดว่า ก็อีกอย่างหนึ่งเล่า พ่อ
คุณช่วยคุ้มครองฉันเถิด ก็บอกว่า ยังไม่ได้ฤกษ์ก่อนครับ รั้งรอจนตลอดวันนั้น
ในระหว่างใกล้มัชฌิมยาม จึงให้คนเอาแพะตายมาแล้วพูดว่า ท่านพราหมณ์เชิญ
ไปทำมาหากินเสียที่ไหน ๆ เถิด ไม่ให้ใคร ๆ รู้เลย ปล่อยพราหมณ์ไปเอา
เนื้อแพะทำพลีกรรมตั้งพระทวาร.
พระศาสดา ครั้นทรงนำธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่โกกาลิกะถูกวาจากำจัดตนเสีย แม้ใน
ครั้งก่อนก็ถูกกำจัดแล้วเหมือนกัน ทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์
เขี้ยวงอกตาเหลือง ในครั้งนั้นได้มาเป็นโกกาลิกะ ส่วนตักการิยบัณฑิต
คือ เราตถาคตแล.
จบอรรถกถาตักการิยชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 313
๙. รุรุมิคชาดก
ว่าด้วยน้ำใจของพญาเนื้อรุรุ
[๑๘๓๙] ใครบอกมฤค ซึ่งสูงสุดกว่ามฤคทั้งหลาย
นั้นแก่เราได้ เราจะให้บ้านส่วยและหญิงที่ประดับ
ประดาแล้วแก่ผู้นั้น.
[๑๘๔๐] ขอได้โปรดพระราชทานบ้านส่วย และ
หญิงที่ประดับประดาแล้วแก่ข้าพระองค์เถิด ข้าพระ-
องค์ จะกราบทูลมฤคซึ่งสูงสุดกว่ามฤคทั้งหลายแก่
พระองค์.
[๑๘๔๑] ณ ไพรสณฑ์นั้น มีต้นมะม่วงและต้น
รังทั้งหลาย ดอกบานสะพรั่ง พื้นที่แห่งไพรสณฑ์นั้น
ดารดาษไปด้วยติณชาติมีสีเหมือนแมลงค่อมทอง มฤค
ตัวนั้นอยู่ที่ไพรสณฑ์นั้น.
[๑๘๔๒] พระเจ้าพาราณสี ทรงโก่งธนูสอดใส่
ลูกศรไว้ เสด็จเข้าไปแล้ว ส่วนมฤคเห็นพระราชาแล้ว
ได้ร้องกราบทูลไปแต่ไกลว่า ข้าแต่พระมหาราชาผู้ประ-
เสริฐ โปรดทรงรอก่อน อย่าเพิ่งทรงยิงข้าพระบาท
เสียเลย ใครหนอได้กราบทูลความเรื่องนี้แก่พระองค์ว่า
มฤคตัวนี้อยู่ ณ ไพรสณฑ์นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 314
[๑๘๔๓] ดูก่อนสหาย บุรุษผู้มีมารยาทอันเลว
ทราม ยืนอยู่ห้าง ๆ นั่น บุรุษคนนั้นแหละ ได้บอก
ความเรื่องนี้แก่เราว่า มฤคตัวนี้อยู่ ณ ไพรสณฑ์นี้.
[๑๘๔๔] ได้ยินว่า คนบางพวกในโลกนี้ กล่าว
ความจริงไว้อย่างนี้ว่า ไม้ลอยน้ำยังดีกว่า คนบางคน
ไม่ดีเลย.
[๑๘๔๕] ดูก่อนพญามฤค เธอติเตียนพวกไหน
แน่ ติเตียนพวกมฤค พวกนก หรือพวกมนุษย์ เรามี
ความกลัวไม่น้อย เพราะได้ฟังเจ้าพูดภาษามนุษย์ได้.
[๑๘๔๖] ข้าพระองค์ช่วยยกขึ้นซึ่งบุรุษคนใด
ผู้ลอยไปในห้วงน้ำคงคา มีน้ำมากไหลเชี่ยว ภัยมาถึง
ข้าพระองค์แล้วเพราะบุรุษผู้นั้นเป็นเหตุ ข้าแต่พระ-
มหาราชา การสมาคมกับอสัตบุรุษทั้งหลาย นำทุกข์
มาให้โดยแท้.
[๑๘๔๗] เรานั้นจะปล่อยลูกศร ๔ ปีกนี้แหวกไป
ในอากาศ ให้ไปตัดตรงหัวใจ เราจะฆ่ามันผู้ประทุษร้าย
มิตร ผู้ไม่ทำกิจที่ควรทำ ไม่รู้จักผู้กระทำคุณให้เช่น
ท่าน.
[๑๘๔๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งประชาชน
สัตบุรุษทั้งหลายไม่สรรเสริญการฆ่าบัณฑิตและคนพาล
เลย คนผู้มีธรรมอันลามก จงกลับไปสู่เรือนของเขา
ตามปรารถนาเถิด อนึ่ง ขอได้โปรดพระราชทานค่าจ้าง
ตามที่พระองค์ตรัสไว้แก่เขาด้วยเถิด อนึ่ง ข้าพระองค์
ขอทำความปรารถนาของพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 315
[๑๘๔๙] ดูก่อนพญามฤค ท่านผู้ไม่ประทุษร้าย
ต่อมนุษย์ผู้ประทุษร้ายนับเป็นผู้หนึ่งในจำนวนสัตบุรุษ
ทั้งหลายเป็นแน่ คนผู้มีธรรมอันลามก จงกลับไปสู่
เรือนของตนตามความปรารถนา อนึ่ง เราจะให้ค่าจ้าง
ที่เราพูดไว้แก่เขา และเราขอให้บ้านส่วยแก่ท่าน.
[๑๘๕๐] ข้าแต่พระราชา เสียงของสุนัขจิ้งจอก
ก็ดี ของนกก็ดี รู้ได้ง่าย เสียงของมนุษย์รู้ได้ยาก
ยิ่งกว่านั้น อนึ่ง ผู้ใดเมื่อก่อนเป็นคนใจดี คนทั้งหลาย
นับถือว่าเป็นญาติเป็นมิตร หรือเป็นสหาย ภายหลัง
ผู้นั้นกลับกลายเป็นศัตรูไปก็ได้ ใจของมนุษย์รู้ได้ยาก
อย่างนี้.
[๑๘๘๑] ชาวชนบทและชาวนิคมทั้งหลาย มา
ประชุมพร้อมกันร้องทุกข์ว่า ฝูงเนื้อพากันมากินข้าว
ขอพระองค์จงตรัสห้ามฝูงเนื้อนั้นเสียบ้าง พระเจ้าข้า.
[๑๘๘๒] ชนบทอย่าได้มี แม้แว่นแคว้นจะ
พินาศไป ก็ตามทีเถิด เราให้อภัยเเก่ฝูงเนื้อและนกยูง
แล้ว ไม่ขอประทุษร้ายพญาเนื้อรุรุเป็นอันขาด.
[๑๘๘๓] ชาวชนบทของเราจะไม่มีก็ตาม ชาว
ชนบทจะไม่พูดกะเราก็ตาม เราได้ให้พรแก่พญาเนื้อ
ไว้แล้ว จะไม่พูดเท็จเป็นอันขาด.
จบรุรุมิคชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 316
อรรถกถารุรุชาดก*
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ตสฺส คามวร
ทมฺมิ ดังนี้.
เล่ากันมาว่า พระเทวทัตนั้น เมื่อพวกภิกษุพากันพูดว่า เทวทัตผู้มีอายุ
พระศาสดาทรงมีอุปการะเป็นอันมากแก่ท่าน ทั้งท่านได้บวชได้เรียนพระไตร-
ปิฎกร่ำรวยลาภสักการะ เพราะอาศัยพระตถาคตเจ้า กลับกล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย พระศาสดามิได้ทรงทำอุปการะแก่ผมแม้มาตรว่า ปลายเส้นหญ้า ผม
บวชเองทีเดียว เรียนพระไตรปิฎกก็ด้วยตนเองแหละ ร่ำรวยลาภสักการะก็ตนเอง.
ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภากล่าวโทษของพระเทวทัตนั้น ทีเดียวว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระเทวทัตเป็นผู้อกตัญญูอกตเวที. พระศาสดาเสด็จมาตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่
ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัตเป็นคนอกตัญญู แม้ในครั้งก่อนก็เป็นคนอกตัญญู
เหมือนกัน แล้วตรัสว่า แม้ในกาลก่อนพระเทวทัตนี้ แม้เมื่อเราให้ชีวิตแล้ว
ก็ยังไม่รู้แม้เพียงคุณของเราดังนี้แล้ว จึงได้นำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี
เศรษฐีมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ได้บุตรขนานนามเธอว่า มหาชนกะ คิดว่าเมื่อบุตร
เราเรียนศิลปะจักต้องลำบาก จึงไม่ยอมให้เรียนศิลปะอะไร ๆ เลย. เธอไม่รู้
อะไร ๆ นอกจากหากินอันได้มาจากการขับร้องฟ้อนรำและประโคม. เมื่อเธอ
เจริญวัยแล้ว มารดาบิดาก็จัดแจงตบแต่งให้มีภรรยาตามสมควร แล้วก็ล่วงลับ
บาลีเป็น รุรมิคชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 317
ไป. พอท่านทั้งสองล่วงลับไป เขาก็แวดล้อมไปด้วยพวกนักเลงหญิงและนักเลง
เล่นการพนันเป็นต้น ทำลายทรัพย์ทั้งหมดเสียด้วยทางฉิบหายต่าง ๆ ต้องกู้หนี้
ยืมสิน เมื่อไม่อาจใช้หนี้ทั้งหมดนั้นได้ ก็ถูกเจ้าหนี้รุมกันทวง ดำริว่า เราจะอยู่
ไยเล่า เราก็เกิดมาด้วยร่างกายอันหนึ่ง เหมือนคนอื่นๆ ตายเสียดีกว่า เมื่อถูกเจ้า
หนี้ทวงถาม ก็กล่าวว่า ทรัพย์ของตระกูลของเราที่ฝังที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ยังมีอยู่
ผมจักใช้ทรัพย์นั้นให้พวกท่าน. เจ้าหนี้เหล่านั้นก็ไปกับเขา. เขาทำเป็นเหมือน
บอกที่คุมทรัพย์ว่า ทรัพย์มีที่นี้ แล้วหนีไปด้วยคิดว่าเราจักโดดลงคงคาตายเสีย
แล้วก็โดดลงแม่น้ำคงคาไป. เขาถูกกระแสน้ำเชี่ยวพัดลอยไป ก็ร้องคร่ำครวญ
ชวนให้สงสาร.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์บังเกิดในกำเนิดรุรุมฤค ทิ้งบริวารเสียพำนักอยู่
ที่ป่ามะม่วงอันมีช่องดงาม ผสมกับดงรังอันน่ารื่นรมย์ตรงวังวนแห่งแม่น้ำคงคา
ลำพังตัวเดียวเท่านั้นเพื่อประสงค์จะกระทำการรักษาอุโบสถ. ผิวแห่งสรีระของ
พญารุรุมฤดูนั้น มีสีเหมือนแผ่นกระดาษทองที่ขัดมัน เท้าทั้งสี่มีสีประดุจดังย้อม
ด้วยน้ำครั่ง หางก็ประหนึ่งหางแห่งจามรี เขาทั้งหลายเช่นเดียวกับช่อเงิน นัยน์ตา
ทั้งคู่ประหนึ่งเม็ดทับทิมที่เจียระไนแล้ว ปากเปรียบดังลูกช่างที่หุ้มด้วยผ้ากัมพล
แดง รูปร่างของพญารุรุมฤคนั้น มีรูปเห็นปานฉะนี้. เวลากลางคืน พญารุรุมฤค
นั้นได้ยินเสียงน่าสงสารของเขา ดำริว่า เราได้ยินเสียงมนุษย์ เมื่อเรายังดำรงอยู่
อย่าตายเสียเลย เราต้องช่วยชีวิตเขาไว้ แล้วลุกจากที่นอนเดินไป ณ ฝั่งแม่น้ำ
ปลอบว่าบุรุษผู้เจริญ อย่ากลัวเลย ข้าจักช่วยชีวิตท่าน พลางว่ายตัดกระแสน้ำไป
รับเขาขึ้นหลัง พาถึงฝั่งนำไปที่อยู่ของตน ทำให้เขาโปร่งใจล่วงมาได้สองสาม
วันก็กล่าวว่า บุรุษผู้เจริญ ข้าจักพาท่านออกจากป่านี้ ส่งให้ถึงทางไปพาราณสี
ท่านจักไปโดยสวัสดี ก็แต่ขอสักอย่างหนึ่ง ท่านจงอย่าบอกเราแก่พระราชาหรือ
มหาอำมาตย์ของพระราชา เพราะเหตุมุ่งทรัพย์ว่า ณ ที่ตรงโน้น กวางทอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 318
พำนักอยู่ ดังนี้เลยนะ. เขารับคำว่าดีละ พระมหาสัตว์รับปฏิญญาของเขาแล้ว
ก็ให้เขาขึ้นหลังตนพาไปส่งถึงทางไปกรุงพาราณสีแล้วจึงกลับ. ในวันที่เขาเข้า
ไปถึงกรุงพาราณสีนั่นเอง พระอัครมเหสีของพระราชาพระนามว่า เขมาเทวี
ทรงฝันเห็นกวางทองแสดงธรรมกถาถวายพระนางในพระสุบินเมื่อใกล้รุ่ง
ทรงพระดำริว่า ถ้ามฤคเห็นปานนี้ ไม่พึงมีไซร้ เราไม่น่าฝันเห็นเขา
ได้เลย คงจักมีแน่ ต้องกราบทูลแด่พระราชา. พระนางเข้าเฝ้าพระราชา
กราบทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม หม่อมฉันปรารถนาจะเห็นกวางทอง
ประสงค์จะฟังธรรมกถาของกวางทอง ถ้าจักได้ หม่อมฉันจักคงมีชีวิตอยู่
ถ้าไม่ได้ชีวิตของหม่อมฉันจักไม่มี. พระราชาทรงปลอบพระนาง พลางตรัสว่า
ขอให้มีในมนุษยโลกเถอะน่ะ เธอต้องได้แน่ ดังนี้แล้วรับสั่งให้หาพวกพราหมณ์
มาเฝ้า ตรัสถามว่า ธรรมดามฤคที่มีสีเหมือนสีทองยังจะมีอยู่หรือ ทรงสดับว่า
ข้าแต่สมมติเทพ มีอยู่พระเจ้าข้า ก็รับส่งให้บรรจุถุงเงิน ๑,๐๐๐ กระษาปณ์
ลงในผอบทอง วางไว้ ณ คอช้างที่ประดับเสร็จแล้ว มีพระประสงค์จะประทาน
ช้างนั้นกับผอบทองที่ใส่ถุงเงิน ๑,๐๐๐ กระษาปณ์ และสิ่งของที่ยิ่งกว่านี้แก่ผู้ที่
บอกเรื่องกวางทองได้ แล้วรับสั่งให้เขียนคาถาลงในแผ่นทอง ให้หาอำมาตย์
ผู้หนึ่งมาเฝ้า มีดำรัสตรัสว่า มาเถิด เจ้าจงแจ้งคาถานี้ตามคำของเราแก่ชาว
พระนครนะพ่อ แล้วตรัสพระคาถาที่ ๑ ในชาดกนี้ว่า
ใครบอกมฤคซึ่งสูงสุดกว่ามฤคทั้งหลายนั้นแก่
เราได้ เราจะให้บ้านส่วยและหญิงที่ประดับประดาแล้ว
แก่ผู้นั้น.
อำมาตย์ ถือแผ่นทองเที่ยวป่าวร้องไปในพระนครทั่วทุกแห่ง ลำดับนั้น
แลเศรษฐีบุตรก็เข้าไปสู่กรุงพาราณสี ฟ้งถ้อยคำนั้นแล้วไปสู่สำนักอำมาตย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 319
กล่าวว่า ข้าพเจ้าจักทูลมฤคนั้นแด่พระราชา ได้เชิญแสดงข้าพเจ้าแด่พระราชา
เถิด. อำมาตย์ลงจากช้างพาเขาไปสู่สำนักของพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่
สมมติเทพ ได้ยินว่า ผู้นี้จักกราบทูลถึงมฤคนั้นได้พระเจ้าข้า. พระราชาตรัส
ถามว่า จริงหรือบุรุษผู้เจริญ เมื่อเขากราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช เป็น
ความจริงพระเจ้าข้า ขอพระองค์โปรดประทานยศนั้นแก่ข้าพระองค์เถิดพระ-
เจ้าข้า กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
ขอได้โปรดพระราชทานบ้านส่วย และหญิงที่
ประดับประดาแล้วแก่ข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์จะ
กราบทูลมฤคซึ่งสูงสุดกว่ามฤคทั้งหลายแก่พระองค์.
พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว โปรดปรานแก่ผู้ประทุษร้ายมิตรนั้น
จึงตรัสถามว่า พ่อเฮ้ย มฤคนั้นพำนักอยู่ที่ไหน เมื่อเขากราบทูลว่า ณ ที่โน้น
พระเจ้าข้า ก็ทรงกระทำเขาให้เป็นมัคคุเทศก์ เสด็จไปสู่สถานนั้นด้วยราชบริพาร
ขบวนใหญ่. ลำดับนั้น คนประทุษร้ายมิตร กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์โปรดสั่งให้เสนาหยุดได้พระเจ้าข้า เมื่อเสนา
หยุดเรียบร้อยแล้ว ก็กราบทูลเชิญเสด็จ เมื่อจะยกมือชี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้สมมติเทพ สุวรรณมฤคนั้นพำนักอยู่ ณ ที่ตรงนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า
ณ ไพรสณฑ์นั้น มีต้นมะม่วงและต้นรังทั้งหลาย
ดอกบานสะพรั่ง พื้นที่แห่งไพรสณฑ์นั้น ดารดาษ
ไปด้วยติณชาติมีสีเหมือนแมลงค่อมทอง มฤคตัวนั้น
อยู่ที่ไพรสณฑ์นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อินฺทโคปกสญฺฉนฺนา ความว่า คนผู้
ประทุษร้ายต่อมิตรนั้น กราบทูลแสดงว่า ภาคพื้นแห่งไพรสณฑ์ตรงนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 320
ดาดาษไปด้วยติณชาติมีสัมผัสเป็นสุข มีสีแดงเหมือนสีแมลงค่อมทอง อ่อนนุ่ม
ประหนึ่งข้าวกล้าอ่อน ณ ไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์นี้นั้น กวางทองนั้นพำนักอยู่
พระเจ้าข้า.
พระราชาทรงสดับคำของเขาแล้ว ตรัสสั่งหมู่อำมาตย์ว่า เธอทั้งหลาย
กับคนที่ถืออาวุธ จงพากันล้อมไพรสณฑ์ไว้โดยเร็ว มิให้มฤคนั้นหนีไปได้.
พวกเหล่านั้นได้กระทำตามพระดำรัสนั้น แล้วพากันร้องขึ้น. พระราชาประทับ
ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งกับคนสองสามคน. บุรุษนั้นก็ยืนอยู่ไม่ห่าง. พระมหาสัตว์
ฟังเสียงนั้นแล้วดำริว่า เสียงของหมู่พลกองหลวง อันภัยของเราต้องเกิดจาก
บุรุษนั้น. พระมหาสัตว์นั้นลุกขึ้นมองทั่วบริษัทเห็นสถานที่ประทับยืน
แห่งพระราชานั้นคิดว่า ความสวัสดียังจักมีแก่เราได้ ควรที่เราจะไป ณ
ที่นั้นที่เดียว แล้วเดินมุ่งหน้าเฉพาะพระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็น
มฤคนั้นกำลังเดินมา ทรงพระดำริว่า มฤคมีกำลังดังพญาช้าง น่าจะถาโถม
มาได้ ต้องสอดลูกศรไว้คอยขู่ให้มฤคนี้สะดุ้ง ถ้าหนีไป จักยิงทำให้ทรพลแล้ว
ค่อยจับเอา ทรงยกธนูขึ้นเล็งทรงพระโพธิสัตว์.
พระศาสดา เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาสองคาถาว่า
พระเจ้าพาราณสี ทรงโก่งธนูสอดใส่ลูกศรไว้
เสด็จเข้าไปแล้ว ส่วนมฤคเห็นพระราชาแล้ว ได้ร้อง
กราบทูลไปแต่ไกลว่า ข้าแต่พระมหาราชผู้ประเสริฐ
โปรดทรงรอก่อน อย่าเพิ่งทรงยิงข้าพระบาทเสียเลย
ใครหนอได้กราบทูลความเรื่องนี้แก่พระองค์ว่า มฤค
ตัวนี้อยู่ ณ ไพรสณฑ์นี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทชฺฌ ความว่า ทรงโก่งธนูพร้อมกับ
สายและลูกศรไว้. บทว่า สนฺนยฺห แปลว่า สอดไว้แล้ว. บทว่า อาคเมหิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 321
ความว่า พญามฤคกล่าวด้วยวาจาอันไพเราะว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์
จงรอก่อน จงอย่ายิงข้าพระบาทเลย จงไว้ชีวิตข้าพระบาทเถิด.
พระราชาทรงคิดพระหฤทัยในมธุรกถาของพระโพธิสัตว์นั้น ทรงลด
ธนูลงประทับยืนด้วยพระอาการอันน่าเคารพ. พระมหาสัตว์ก็เข้าไปใกล้พระราชา
ทรงกระทำมธุรปฏิสันถาร แล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายมหาชนก็พากันวาง
อาวุธทั้งปวงเสีย ต่างมาแวดล้อมพระราชา. ขณะนั้นพระมหาสัตว์กราบทูล
ถามพระราชาด้วยเสียงอันไพเราะ ประหนึ่งคนสั่นกระดิ่งทองว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โปรดทรงรอก่อน ข้าแต่
พระจอมรถ โปรดอย่าเพิ่งยิงข้าพระบาทเลย ใครหนอ
กราบทูลข้อนี้ แด่พระองค์ว่า พญามฤคนั้นพำนักอยู่
ที่นี้.
ขณะนั้นคนใจบาปถอยไปหน่อยหนึ่ง แล้วยืนอยู่ตรงนั้นเอง. พระราชา
เมื่อจะตรัสบอกว่า ผู้นี้แสดงแก่เรา จึงตรัสพระคาถาที่ ๖ ว่า
ดูก่อนสหาย บุรุษผู้มีมารยาทอันเลวทราม ยืนอยู่
ห่าง ๆ นั่น บุรุษคนนั้นแหละ ได้บอกความเรื่องนี้
แก่เราว่า มฤคตัวนี้อยู่ ณ ไพรสณฑ์นี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปจโร แปลว่า ผู้มีมารยาทเลวทราม.
พระมหาสัตว์ ครั้นติเตียนคนประทุษร้ายมิตรแล้ว เมื่อจะเจรจา
ปราศรัยกับพระราชา จึงกล่าวคาถาที่ ๗ ว่า
ได้ยินว่า คนบางพวกในโลกนี้ กล่าวความจริง
ไว้อย่างนี้ว่า ไม้ลอยน้ำยังดีกว่า คนบางคนไม่ดีเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิปาวต แปลว่า ถูกช่วยเหลือไว้. บทว่า
เอกจฺจิโย ความว่า แต่บุคคลบางคนสันดานบาป มักประทุษร้ายมิตร แม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 322
กำลังจะตายในน้ำ ได้รับการช่วยเหลือขึ้นมาได้ ก็ยังหาประเสริฐไม่. เพราะ
ท่อนไม้ยังเป็นไปเพื่ออุปการะโดยประการต่าง ๆ ส่วนคนประทุษร้ายมิตร มีแต่
จะล้างผลาญ เพราะเหตุนั้น ท่อนไม้ประเสริฐกว่าคนนั้นหนักหนา แต่ข้า-
พระบาทมิได้กระทำตามคำของท่านเหล่านั้น.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสพระคาถาต่อไปว่า
ดูก่อนพญามฤค เธอติเตียนพวกไหนแน่ ติเตียน
พวกมฤค พวกนก หรือพวกมนุษย์ เรามีความกลัว
ไม่น้อย เพราะได้ฟังเจ้าพูดภาษามนุษย์ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า มิคาน พระราชาตรัสถามว่า เธอ
ติเตียนพวกมฤคตัวใดตัวหนึ่ง หรือพวกนก หรือพวกมนุษย์. บทว่า ภย หิ
ม วนฺทติ ความว่า เธอติเตียนเราผู้กลัวอยู่ เราออกจะครั่นคร้ามอยู่ไม่น้อย.
บทว่า อนปฺปรูป ได้แก่ มาก.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะแสดงว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ข้าพระบาทมิได้ติเตียนมฤคเป็นต้น แต่ติเตียนพวกมนุษย์กล่าวคาถาที่ ๙ ว่า
ข้าพระองค์ช่วยยกขึ้นซึ่งบุรุษคนใด ผู้ลอยไปใน
ห้วงน้ำคงคา มีน้ำมากไหลเชี่ยว ภัยมาถึงข้าพระบาท
แล้ว เพราะบุรุษผู้นั้นเป็นเหตุ ข้าแต่พระมหาราชา
การสมาคมกับอสัตบุรุษทั้งหลาย นำทุกข์มาให้โดยแท้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วหเน ความว่า ในห้วงน้ำแม่น้ำคงคา
อันสามารถที่จะพัดพาผู้ที่ตกแล้ว ๆ ไปได้. บทว่า มโหทเก สลิเล ความว่า
มีน้ำมาก คือมีกระแสเชี่ยว. พระมหาสัตว์ แสดงห้วงน้ำคงคานั่นแหละ ว่ามี
น้ำมากด้วยบททั้งสอง. บทว่า ตโตนิทาน ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 323
บุคคลใดเล่าที่พระองค์ทรงชี้ให้ข้าพระบาทพูดนั้น กำลังลอยล่องไปในแม่น้ำ
คงคา ร้องไห้คร่ำครวญน่าสงสารอยู่ในเวลาเที่ยงคืน ข้าพระบาทช่วยเขาขึ้น
ไว้ได้ วันนี้ภัยมาถึงข้าพระบาท เพราะเขาเป็นต้นเหตุ ข้าแต่มหาราชเจ้า
ขึ้นชื่อว่า การสมาคมกับคนเลว ๆ ลำบาก พระเจ้าข้า.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงกริ้วเขา ทรงพระดำริว่า มันช่าง
ไม่รู้คุณของมหาสัตว์นี้ ชื่อว่ามีอุปการะมากเช่นนี้ ต้องยิงมันเสียให้ตาย แล้ว
ตรัสพระคาถาที่ ๑๐ ว่า
เรานั้นจะปล่อยลูกศร ๔ ปีกนี้แหวกไปในอากาศ
ให้ไปตัดตรงหัวใจ เราจักฆ่ามันผู้ประทุษร้ายมิตร
ผู้ไม่ทำกิจที่ควรทำ ไม่รู้จักผู้กระทำคุณให้เช่นท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุปตฺต ความว่า ประกอบด้วยลูกศร
๔ ปีก. บทว่า วิหงฺคม แปลว่า แหวกไปทางอากาศ. บทว่า คุจฺฉิท
แปลว่า เชือดเอาร่างกาย. บทว่า โอสชฺชามิ ความว่า เราจักปล่อยลูกศร
ไปตรงหัวใจเขา.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า ผู้นี้จงอย่าวอดวายเสียเพราะเราเลย
จึงกล่าวคาถาที่ ๑๑ ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งประชาชน สัตบุรุษ
ทั้งหลาย ไม่สรรเสริญการฆ่าบัณฑิตและคนพาลเลย
คนผู้มีธรรมอันลามก จงกลับไปสู่เรือนของเขาตาม
ปรารถนาเถิด อนึ่ง ขอได้โปรดพระราชทานค่าจ้าง
ตามที่พระองค์ตรัสไว้แก่เขาด้วยเถิด อนึ่ง ข้าพระองค์
ขอทำความปรารถนาของพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 324
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามา ความว่า เขาจงไปบ้านเรือน
ของตนตามปรารถนา ตามความพอใจเถิด. บทว่า ยญฺจสฺส ภตฺต ตเทตสฺส
เทหิ ความว่า โปรดจงประทานสิ่งที่พระองค์ตรัสไว้ว่า เราจักให้สิ่งนี้นั้นแก่
เขาด้วยเถิด. บทว่า กามกโร ความว่า ข้าพระองค์ขอเป็นผู้ทำตามประสงค์
คือพระองค์ทรงปรารถนาสิ่งใด ก็จงกระทำสิ่งนั้นเถิด หมายความว่า จะเสวย
เนื้อข้าพระองค์ก็ได้ จะกระทำข้าพระองค์ให้เป็นมฤคสำหรับกีฬาก็ได้ ข้า-
พระองค์จะปฏิบัติตามประสงค์ของพระองค์ทุกประการ.
พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงพอพระหฤทัย เมื่อจะทรง
ชมเชยพระมหาสัตว์ จึงตรัสพระคาถาต่อไปว่า
ดูก่อนพญามฤค ท่านผู้ไม่ประทุษร้ายต่อมนุษย์
ผู้ประทุษร้าย นับเป็นผู้หนึ่งในจำนวนสัตบุรุษทั้งหลาย
เป็นแน่ คนผู้มีธรรมอันลามก จงกลับไปสู่เรือนของ
ตนตามความปรารถนา อนึ่ง เราจะให้ค่าจ้างที่เราพูด
ไว้แก่เขา และเราขอให้บ้านส่วยแก่ท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สต โส ความว่า เธอต้องเป็นผู้หนึ่ง
ในบรรดาบัณฑิตทั้งหลายแน่นอน. บทว่า คามวร ความว่า พระราชาทรง
ประทานพรแก่พระมหาสัตว์ว่า เราเลื่อมใสในธรรมกถาของเธอ จะให้บ้านส่วย
ให้อภัยแก่ท่าน ตั้งแต่นี้ไป ขอท่านจงปลอดภัยเที่ยวไปตามความชอบใจ.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะลองหยั่งท้าวเธอดูว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ธรรมดามนุษย์ ปากพูดไปอย่างหนึ่ง กระทำไปอย่างหนึ่งได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า
ข้าแต่พระราชา เสียงของสุนัขจิ้งจอกก็ดี ของ
นกก็ดี รู้ได้ง่าย เสียงของมนุษย์รู้ได้ยาก ยิ่งกว่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 325
อนึ่ง ผู้ใดเมื่อก่อนเป็นคนใจดี คนทั้งหลายนับถือว่า
เป็นญาติ เป็นมิตรหรือเป็นสหาย ภายหลังผู้นั้นกลับ
กลายเป็นศัตรูไปก็ได้ ใจของมนุษย์รู้ได้ยากอย่างนี้.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสว่า พญามฤคอย่าได้หมิ่นฉันอย่างนี้
ฉันน่ะแม้จะละทิ้งราชสมบัติ ก็จักไม่ขอละทิ้งพรที่ให้แก่เธอเลย เชื่อเถิด
จงรับพรของฉันเถิด. พระมหาสัตว์เมื่อรับพรจากสำนักของท้าวเธอ ขอรับพร
คืออภัยทานแก่สรรพสัตว์ตั้งต้นแต่ตนไป. ฝ่ายพระราชาก็โปรดประทานพร
แล้วพาพระมหาสัตว์สู่พระนคร ตรัสสั่งให้ประดับพระนครและพระมหาสัตว์
เชิญให้แสดงธรรมแก่พระเทวี. พระมหาสัตว์แสดงธรรมแก่พระราชาและราช-
บริษัทตั้งต้นแต่พระเทวี ด้วยภาษามนุษย์อย่างไพเราะ ตักเตือนพระราชา
ด้วยทศพิธราชธรรมสั่งสอนมหาชนแล้วเข้าป่า แวดล้อมไปด้วยหมู่มฤค พำนัก
อาศัยอยู่. พระราชาทรงสั่งคนให้เที่ยวตีกลองร้องประกาศไปในพระนครว่า
เราให้อภัยแก่สรรพสัตว์ ฝูงเนื้อกินข้าวกล้าของหมู่คน ใคร ๆ ก็ไม่อาจห้าม
ได้. มหาชนพากันไปสู่ท้องพระลานหลวงร้องทุกข์ขึ้น.
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ชาวชนบทและชาวนิคมทั้งหลาย มาประชุม
พร้อมกันร้องทุกข์ว่า ฝูงเนื้อพากันมากินข้าว ขอ
พระองค์จงตรัสห้ามฝูงเนื้อนั้นเสียบ้าง พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทโว ความว่า ขอพระองค์จงตรัสห้าม
หมู่เนื้อนั้น.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสสองพระคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 326
ชนบทอย่าได้มี แม้แว่นแคว้นจะพินาศไป
ก็ตามทีเถิด เราให้อภัยแก่ฝูงเนื้อและนกยูงแล้ว ไม่
ขอประทุษร้ายพญาเนื้อรุรุเป็นอันขาด.
ชาวชนบทของเราจะไม่มีก็ตาม ชาวชนบทจะไม่
พูดกะเราก็ตาม เราได้ให้พรแก่พญาเนื้อไว้แล้ว จะไม่
พูดเท็จเป็นอันขาด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาสิ ความว่า ชาวชนบทของเราจะ
ไม่มีก็ตามที. บทว่า รุรุ ความว่า เราได้ให้พรแก่พญาเนื้อชื่อว่ารุรุ ตัวมีสีดัง
ทองคำจักไม่ประทุษร้ายต่อนกทั้งหลายเลย.
มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระราชาแล้ว เมื่อไม่อาจจะกล่าวคำอะไรๆ
ได้จึงพากันหลีกไป. ถ้อยคำนั้นได้แพร่กระจายไปแล้ว. พระมหาสัตว์ได้ฟังเรื่อง
นั้นแล้ว จึงเรียกให้ฝูงเนื้อมาประชุมกัน กล่าวสอนว่า ตั้งแต่นั้นไปเจ้าทั้งหลาย
อย่าพากันกินข้าวกล้าของพวกมนุษย์เลย แล้วบอกแก่พวกมนุษย์ว่า จงพากัน
ผูกหุ่นหญ้าไว้ในไร่นาของตน ๆ เถิด. มนุษย์เหล่านั้นพากันทำตามนั้น ด้วย
เครื่องหมายนั้น ฝูงเนื้อไม่กินข้าวกล้า จนถึงทุกวันนี้.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อนเทวทัตก็อกตัญญูเหมือนกัน
ทรงประชุมชาดกว่า เศรษฐีบุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นเทวทัต พระราชา
ได้มาเป็นอานนท์ ส่วนเนื้อรุรุคือเราตถาคตแล.
จบอรรถกถารุรุชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 327
๑๐. สรภชาดก
ว่าด้วยละมั่งทำคุณแก่พระราชา
[๑๘๕๔] บุรุษพึงหวังไว้ทีเดียว บัณฑิตไม่พึง
เบื่อหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า ปรารถนาอย่างใด ได้เป็น
อย่างนั้น.
[๑๘๕๕] บุรุษพึงหวังไว้ทีเดียว บัณฑิตไม่พึง
เบื่อหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า ได้รับความช่วยเหลือให้
ขึ้นจากน้ำสู่บกได้.
[๑๘๕๖] บุรุษพึงพยายามไว้ทีเดียว บัณฑิตไม่
พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า ปรารถนาอย่างใด
ได้เป็นอย่างนั้น.
[๑๘๕๗] บุรุษพึงพยายามร่ำไป บัณฑิตไม่พึง
เบื่อหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า ได้รับความช่วยเหลือให้
ขึ้นจากน้ำสู่บกได้.
[๑๘๕๘] นรชนผู้มีปัญญา แม้ตกอยู่ในกองทุกข์
ก็ไม่ควรตัดความหวังในอันจะมาสู่ความสุข เพราะว่า
ผัสสะอันไม่เกื้อกูลและเกื้อกูลมีมาก คนที่ไม่ใฝ่ฝันถึง
เลยก็ต้องเข้าถึงความตาย.
[๑๘๕๙] สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ย่อมมีได้บ้าง สิ่งที่คิด
ไว้ย่อมพินาศไปบ้าง โภคะทั้งหลายของสตรีหรือบุรุษ
จะสำเร็จได้ด้วยความคิดนึกไม่มีเสีย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 328
[๑๘๖๐] เมื่อก่อนพระองค์เสด็จติดตามละมั่ง
ตัวใดไปตกเหวที่ซอกเขา พระองค์ทรงพระชนม์สืบ
มาได้ ด้วยความบากบั่นของละมั่งตัวนั้น ตัวมีจิตไม่
ท้อแท้.
[๑๘๖๑] ละมั่งตัวใดพยายามเอาก้อนหินถมเหว
ช่วยพระองค์ขึ้นจากเหวลึกยากที่จะขึ้น ปลดเปลื้อง
พระองค์ ผู้เข้าถึงกองทุกข์เสียจากปากมฤตยู พระองค์
กำลังตรัสถึงละมั่งตัวนั้นซึ่งมีจิตไม่ท้อแท้.
[๑๘๖๒] ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อคราวนั้น ท่าน
ได้อยู่ในที่นั้นด้วยหรือ หรือว่าใครได้บอกเรื่องนี้แก่
ท่าน ท่านเป็นผู้เปิดเผยข้อที่เคลือบคลุม เห็นเรื่อง
ได้ทั้งปวงละสิหนอ ความรู้ของท่านมีกำลัง เห็น
ปรุโปร่งหรืออย่างไร.
[๑๘๖๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน
เมื่อคราวนั้น ข้าพระองค์หาได้อยู่ในที่นั้นไม่ และ
ใครก็มิได้บอกเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์เลย แต่ว่านัก-
ปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมนำเนื้อความแห่งบทคาถาที่
พระองค์ทรงภาษิตแล้วมาใคร่ครวญดู.
[๑๘๖๔] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระปรีชาอัน
ประเสริฐ พระองค์ทรงสอดลูกศรอันมีปีก อันจะ
กำจัดความแกล้วกล้าของปรปักษ์ได้เข้าในแล่งแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 329
จะทรงลังเลอะไรอยู่อีกเล่า ลูกศรที่ทรงยิงไปแล้วต้อง
ฆ่าละมั่งได้ทันที ละมั่งนี้คงเป็นพระกระยาหารของ
พระราชาได้โดยแท้.
[๑๘๖๕] ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราจะรู้แจ้งชัด
ความข้อนี้ว่า เนื้อเป็นอาหารของกษัตริย์ ก็แต่ว่า
เราจะบูชาคุณ ที่ละมั่งนี้ได้ทำไว้แก่เราในครั้งก่อน
เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ฆ่าละมั่งนี้.
[๑๘๖๖] ข้าแต่พระมหาราชาผู้เป็นใหญ่แห่งทิศ
นั่นมิใช่เนื้อ นั่นคือท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าอสูร
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมมนุษย์ พระองค์จงทรงฆ่า
ท้าวสักกเทวราชนั้นเสีย แล้วจะได้เป็นใหญ่ในหมู่
อมรเทพ.
[๑๘๖๗] ข้าแต่พระราชาผู้องอาจ ประเสริฐกว่า
นรชน ถ้าว่าพระองค์ยังทรงลังเลที่จะฆ่าละมั่งซึ่งเป็น
พระสหาย พระองค์พร้อมด้วยพระราชโอรส และ
พระราชชายา จักต้องไปยังเวตรณีนรกของพญายม.
[๑๘๖๘] เราชาวชนบททั้งหมด ลูกเมียและหมู่
สหาย จะพากันไปยังเวตรณีนรก ของพญายมนั้นก็
ตาม ถึงกระนั้น เราจะไม่ฆ่าผู้ที่ให้ชีวิตเราเป็นอันขาด.
[๑๘๖๙] ดูก่อนมหาพราหมณ์ ละมั่งตัวนี้ทำคุณ
แก่เราเมื่อคราวถึงความยาก ตัวคนเดียวในป่าเปลี่ยว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 330
แสนร้าย เราระลึกได้อยู่ถึงบุรพกิจเช่นนั้น ที่ละมั่ง
ตัวนี้กระทำแก่เรา รู้คุณอยู่จะพึงฆ่าอย่างไรได้เล่า.
[๑๘๗๐] ขอพระองค์ผู้ทรงโปรดปรานมิตรยิ่งนัก
จงทรงพระชนม์ชีพอยู่ยืนนานเถิด พระองค์จงทรง
ปกครองราชสมบัติในคุณธรรมเถิด จงทรงมีหมู่นารี
บำรุงบำเรอ จงทรงบันเทิงพระหฤทัยในแว่นแคว้น
เหมือนท้าววาสวะบันเทิงอยู่ในไตรทิพย์ ฉะนั้น.
[๑๘๗๑] ขอพระองค์อย่าทรงพระพิโรธ จงมี
พระหฤทัยผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ทรงกระทำสมณ-
พราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมทั้งปวงให้เป็นแขกควร
ต้อนรับ ครั้นทรงบำเพ็ญทานและเสวยบ้าง ตาม
อานุภาพแล้ว ชาวโลกไม่ติเตียนพระองค์ได้ จงเสด็จ
เข้าถึงสัคคสถานเถิด.
จบสรภชาดกที่ ๑๐
จบเตรสนิบาต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 331
อรรถกถาสรภชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ
ปรารภการพยากรณ์ปัญหา ที่พระองค์ตรัสถามโดยย่อได้อย่างพิสดารของ
พระธรรมเสนาบดี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อาสึเสเถว
ปุริโส ดังนี้.
ก็แลในครั้งนั้น พระศาสดาตรัสถามปัญหากะพระเถรเจ้าโดยย่อ
ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวในคราวเสด็จจากเทวโลกนั้นโดยสังเขป.
กล่าวความจำเดิมแต่ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ ถือเอาบาตรไม้-
จันทน์แดง ในสำนักของราชคหเศรษฐี ได้ด้วยฤทธิ์แล้ว พระศาสดาตรัสห้าม
การกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ แก่ภิกษุทั้งหลาย. ครั้งนั้น เหล่าเดียรถีย์คิดกันว่า
พระสมณโคดม ทรงห้ามการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์เสียแล้ว ที่นี้แม้ตนเองก็คง
จักกระทำไม่ได้ ครั้นถูกพวกสาวกของตนซึ่งขายหน้าไปตามกันพูดว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายถือเอาบาตรด้วยฤทธิ์ไม่ได้แล้วหรือ ก็พากันแถลงว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย นั่นมิใช่เป็นการที่พวกเราจะกระทำได้ยากเลย แต่ที่พวกเรา
ไม่ถือเอาเพราะคิดกันว่า ใครเล่าจักประกาศคุณที่ละเอียดสุขุมของตนแก่พวก
คฤหัสถ์เพื่อต้องการบาตรไม้อันเป็นประหนึ่งศพ ฝ่ายพวกสมณศากยบุตร
พากันสำแดง ถือเอาไปเพราะเป็นคนโง่ ใจโลเล พวกเธออย่าคิดเลยว่า การ
กระทำฤทธิ์เป็นเรื่องหนักของพวกเรา เพราะพวกเราน่ะพวกสาวกของสมณะ -
โคดมจงยกไว้เถิด แต่จำนงจะแสดงฤทธิ์กับพระสมณโคดม แม้นว่าพระสมณะ-
โคดมจักกระทำปฏิหาริย์อย่างหนึ่ง ฝ่ายพวกเราจักกระทำให้ได้สองเท่า. พวก
ภิกษุฟังเรื่องนั้นแล้วพากันกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 332
ข่าวว่าพวกเดียรถีย์จักพากันกระทำปฏิหาริย์. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย จงพากันกระทำเถิด แม้เราก็จักกระทำบ้าง. พระเจ้าพิมพิสารทรง
สดับเรื่องนั้น เสด็จมากราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข่าวว่าจักทรงการทำปาฏิหาริย์. ตรัสว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร . ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้วมิใช่หรือ. ตรัสว่า
มหาบพิตร นั่นอาตมาภาพบัญญัติแก่หมู่สาวก แต่สิกขาบทของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่มี มหาบพิตร เหมือนอย่างว่า ดอกไม้และผลไม้ในพระอุทยานของ
มหาบพิตร ทรงห้ามไว้แก่ชนเหล่าอื่น มิได้ทรงห้ามแก่บพิตร ฉันใด ข้อนี้
ก็พึงเห็นเทียบเคียงฉันนั้น. ทูลถามสืบไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
จักทรงกระทำปาฏิหาริย์ ณ ที่ไหนพระเจ้าข้า ตรัสว่า ณ โคนไม้คัณฑามพฤกษ์
ใกล้ประตูเมืองสาวัตถี ขอถวายพระพร ทูลถามว่า ในเรื่องนั้นพวกหม่อมฉัน
จะต้องทำอะไรบ้าง. ตรัสว่า ไม่มีอะไรเลย มหาบพิตร.
ครั้นวันรุ่งขึ้น พระศาสดาทรงกระทำภัตกิจเสร็จ ก็เสด็จจาริกไป
หมู่มนุษย์พากันถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย พระศาสดาจักเสด็จไป
ณ ที่ไหน พระเจ้าข้า พวกภิกษุบอกว่า ไปกระทำยมกปาฏิหาริย์กำราบ
เดียรถีย์ ณ โคนไม้คัณฑามพฤกษ์ ใกล้ประตูเมืองสาวัตถี. มหาชนฟัง
ถ้อยคำของพวกภิกษุเหล่านั้นแล้วคิดว่า พระปาฏิหาริย์จักมีทีท่าน่าอัศจรรย์
เป็นไฉน พวกเราต้องไปดูปาฏิหาริย์นั้น แล้วปิดประตูเรือน ไปกับ
พระศาสดาเลยทีเดียว. พวกอัญเดียรถีย์ก็พากันบอกว่าแม้พวกเราก็จักพา
กันกระทำปาฏิหาริย์ ณ สถานที่ ที่สมณโคดม กระทำปาฏิหาริย์ พากัน
ติดตามพระศาสดาไปกับพวกอุปัฏฐากเหมือนกัน. พระศาสดาเสด็จถึง
เมืองสาวัตถีโดยลำดับ พระราชาทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข่าวว่าจัก
ทรงกระทำปาฏิหาริย์หรือพระเจ้าข้า ตรัสว่า จักกระทำ ขอถวายพระพร ทูล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 333
ถามว่า เมื่อไรพระเจ้าข้า ตรัสว่าในวันที่ ๗ จากวันนี้ เป็นวันเดือนอาสาฬห
(เดือน ๘). กราบทูลว่า หม่อมฉันจะทำมณฑปพระเจ้าข้า. ตรัสว่า อย่าเลย
มหาบพิตร ท้าวสักกะจักกระทำมณฑปแก้วขนาด ๑๒ โยชน์ ในที่กระทำปาฏิ-
หาริย์ของอาตมาภาพ. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอป่าวร้อง
เรื่องนี้ในพระนคร พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ป่าวร้องเถิด มหาบพิตร.
พระราชาตรัสสั่งธรรมโฆสก (ผู้ป่าวร้องธรรม) ขึ้นเหนือหลังช้างที่
ประดับประดาแล้วทำการโฆษณาทุกๆ วันจนถึงวันที่ ๖ ว่า ได้ยินว่า พระศาสดา
จักทรงกระทำพระปาฏิหาริย์กำราบเดียรถีย์ ณ โคนไม้คัณฑามพฤกษ์ใกล้เมือง
สาวัตถีในวันที่ ๗ แต่วันนี้. พวกเดียรถีย์รู้ข่าวว่าจักทรงกระทำพระปาฏิหาริย์ ณ
โคนไม้คัณฑามพฤกษ์ ก็พากันให้ทรัพย์แก่พวกเจ้าของให้ตัดต้นมะม่วงที่ใกล้
เมืองสาวัตถีเสีย. ถึงวันเพ็ญแต่เช้าตรู่ ธรรมโฆสกป่าวร้องก้องสนั่นว่า พระ-
ปาฏิหาริย์ของพระผู้ทรงพระภาคจักปรากฏในวันนี้. ด้วยอานุภาพแห่งเทวดาได้
เป็นประหนึ่งว่า ยืนปรากฏป่าวร้องที่ประตู ชมพูทวีปทั้งสิ้น. ชนเหล่าใด ๆ
เกิดคิดจะไป ชนเหล่านั้นก็เห็นตนถึงเมืองสาวัตถีทีเดียว. ประชุมชนได้มี
ปริมณฑล ๑๒ โยชน์. พระศาสดาเสด็จเข้าสู่พระนครสาวัตถีแต่เช้าตรู่ เมื่อ
โปรดสัตว์แล้วเสด็จออก. คนเฝ้าพระอุทยานชื่อคัณฑะ กำลังนำผลมะม่วงสุก
ผลใหญ่ ขนาดหม้อสุกงอมทีเดียวไปถวายพระราชา พบพระศาสดาที่ประตู
พระนคร คิดว่า ผลมะม่วงสุกสมควรแก่พระตถาคตเจ้าแท้ ๆ จึงได้ถวาย.
พระศาสดาทรงรับประทับนั่ง ณ ส่วนหนึ่ง ใกล้ประตูพระนครนั้นเอง เสวย
เสร็จตรัสว่า อานนท์ เธอจงให้เมล็ดมะม่วงนี้แก่คนเฝ้าอุทยานเพื่อปลูกตรงนี้
ต้นมะม่วงนี้จักมีนามว่า คัณฑามพะ. พระเถระเจ้าได้กระทำตามนั้น คนเฝ้า
อุทยานคุ้ยดินแล้วปลูก. ทันใดนั้นเองรากทั้งหลายก็ชำแรกเมล็ดหยั่งลงไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 334
หน่อสีแดงขนาดเท่าหัวคันไถ ก็ตั้งขึ้น. เมื่อมหาชนกำลังดูอยู่นั่นเอง ต้นมะม่วง
มีลำต้นวัดรอบถึง ๕๐ ศอก มีกิ่งยาว ๕๐ ศอก โดยส่วนสูงเล่า ก็มีประมาณ
๑๐๐ ศอก ทันทีทันใด ต้นมะม่วงนั้นก็ออกช่อและมีผลมากมาย ต้นมะม่วง
นั้นระย้าระยับด้วยดอกและผล มีสีเหมือนสีทอง มีรสอร่อย ปรากฏประหนึ่ง
เต็มท้องฟ้า. เวลาต้องลมพัดผลสุกอันอร่อยทั้งหลายก็หล่นลง พวกภิกษุที่พา
กันมาทีหลังต่างก็มาฉัน. ถึงเวลาเย็นท้าวเทวราชทรงรำพึงทราบว่า การสร้าง
รัตนมณฑปเพื่อพระศาสดา เป็นภาระของพวกเรา ทรงส่งวิษณุกรรมเทพบุตร
ไปสร้างมณฑปแก้ว ๗ ประการ มีประมาณ ๑๒ โยชน์ ดาดาษด้วยอุบลเขียว
เทพดาในหมื่นจักวาลพากันมาประชุมด้วยประการฉะนี้.
พระศาสดาทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์กำราบเหล่าเดียรถีย์ มิใช่เป็น
เรื่องทั่วไปกับสาวก ทรงทราบความที่ชนเป็นอันมากพากันเลื่อมใส เสด็จลง
ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ ทรงแสดงธรรม ฝูงปาณชาติ ๒๐ โกฏิพากันดื่ม
น้ำอมฤต. ต่อจากนั้นทรงพระดำริว่า ก็พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน ทรงกระทำ
ปาฏิหาริย์แล้วเสด็จไป ณ ที่ไหน ทรงทราบว่า เสด็จไปสู่ดาวดึงส์พิภพ จึงเสด็จ
ลุกจากพระพุทธอาสน์ ย่างพระบาทเบื้องขวาเหยียบเขายุคนธร พระบาทซ้าย
เหยียบยอดเขาสิเนรุ แล้วเสด็จเข้าจำพรรษาเหนือบัณฑุกัมพลศิลา โคนปาริ-
ฉัตตกพฤกษ์ ภายในระยะกาล ๓ เดือน ทรงแสดงพระอภิธรรมกถาแก่ฝูง
เทวดา. ฝ่ายบริษัทเมื่อไม่ทราบสถานที่พระศาสดาเสด็จไป คิดว่า เห็นพระ-
องค์แล้วจักพากันไป เลยพากันอยู่ตรงนั้นเองตลอดไตรมาส. ครั้นใกล้ถึง
ปวารณา พระมหาโมคคัลลานเถรเจ้า จึงไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามว่า ก็เดี๋ยวนี้สารีบุตรอยู่ที่ไหน. กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เธออยู่ที่นครสังกัสสะกับพวกภิกษุ ๕๐๐ รูปที่พากันบวช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 335
เพราะเลื่อมใสในพระยมกปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า. ตรัสว่า โมคคัลลานะในวันที่
เจ็ดแต่วันนี้ เราจักลงที่ประตูนครสังกัสสะ. ฝูงชนที่ต้องการจะเห็นตถาคต จง
ชุมนุมกันที่นครสังกัสสะเถิด. พระเถรเจ้าทูลรับสั่งว่า สาธุ แล้วมาบอกแก่บริษัท
ช่วยให้บริษัททั้งสิ้นลุถึงนครสังกัสสะ อยู่ห่างนครสาวัตถี ๓๐ โยชน์ โดยเวลา
ครู่เดียวเท่านั้นเอง. พระศาสดาทรงออกพรรษาปวารณาแล้ว ตรัสแจ้งแก่
ท้าวสักกะว่า มหาบพิตร อาตมาภาพจักไปสู่มนุษยโลก.
ท้าวสักกะตรัสเรียกวิษณุกรรมเทพบุตร มาตรัสว่า เธอจงกระทำบันได
เพื่อพระทศพลเสด็จมนุษยโลกเถิด. วิษณุกรรมเทพบุตรนั้น สร้างเป็นบันได
สามอันคือท่ามกลางเป็นบันไดแก้วมณี ข้างหนึ่งเป็นบันไดเงิน ข้างหนึ่งเป็น
บันไดทอง ทุกอันหัวบันไดอยู่ยอดเขาสิเนรุ เชิงบันไดจรดประตูนครสังกัสสะ
แวดล้อมด้วยไพทีล้วนแล้วด้วยแก้วเจ็ดประการ. พระศาสดาทรงกระทำพระ
ปาฏิหาริย์เปิดโลก เสด็จลงทางบันไดแก้วมณี อันมี ณ ท่ามกลาง. ท้าวสักกะทรง
เชิญบาตรจีวร ท้าวสุยามทรงเชิญวาลวิชนี ท้าวสหัมบดีพรหมทรงเชิญฉัตร.
เทพดาในหมื่นจักรวาลพากันบูชาด้วยของหอมและมาลาอันเป็นทิพย์ พอพระ
ศาสดาเสด็จประทับ ณ เชิงบันได พระสารีบุตรเถรเจ้าถวายบังคมเป็นประถม
ทีเดียว. บริษัทที่เหลือพากันถวายบังคมทีหลัง. พระศาสดาทรงดำริในสมาคม
นั้นว่าโมคคัลลานะ ปรากฏว่ามีฤทธิ์ อุบาลีปรากฏว่าทรงพระวินัย แต่ปัญญาคุณ
ของสารีบุตรยังไม่ปรากฏเลย. ได้ยินว่า ยกเว้นเราผู้สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ผู้อื่น
ที่จะได้นามว่ามีปัญญาเสมอเหมือนเธอไม่มีเลย เราต้องกระทำปัญญาคุณของ
เธอให้ปรากฏไว้แล้วทรงตั้งต้นถามปัญหาของปุถุชนก่อน. ปุถุชนพวกเดียว
พากันกราบทูลแก้ปัญหานั้น. ต่อจากนั้นทรงถามปัญหาในวิสัยแห่งเหล่า
พระโสดาบัน. เหล่าโสดาบันเท่านั้นพากันกราบทูล แก้ปัญหานั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 336
พวกปุถุชนไม่รู้เลย. ต่อจากนั้นทรงถามปัญหา ในวิสัยพระสกทาคามี พระ-
อนาคามี พระขีณาสพ และพระมหาสาวกโดยลำดับ. ท่านที่ดำรงในชั้นต่ำ ๆ
ไม่ทราบปัญญาแม้นั้นเลย ท่านที่ดำรงในภูมิสูง ๆ เท่านั้นพากันกราบทูลแก้.
แม้ถึงปัญหาในวิสัยแห่งอัครสาวก พระอัครสาวกกราบทูลแก้ได้. พวกอื่น
ไม่รู้เลย ต่อจากนั้นตรัสถามปัญหาในวิสัยแห่งพระสารีบุตรเถรเจ้า. พระเถร-
เจ้าองค์เดียวกราบทูลแก้ได้. พวกอื่นไม่รู้เลย ฝูงคนพากันถามว่า พระเถรเจ้า
ที่กราบทูล กับพระศาสดานั้น มีนามว่าอะไร พอฟังว่า ท่านเป็นธรรม
เสนาบดีมีนามว่า สารีบุตรเถรเจ้า ต่างกล่าวว่า โอ้ โฮ มีปัญญามากจริง ๆ
ตั้งแต่บัดนั้นคุณคือปัญญาอันมากของพระเถรเจ้าก็ได้ปรากฏ ไปในกลุ่มเทพย-
ดาและมนุษย์ ครั้งนั้นพระศาสดาตรัสถามปัญหาในพุทธวิสัยกะท่านว่า
ชนเหล่าใดเล่า มีธรรมอันกำหนดได้แล้วสิ ชน
เหล่าใดเล่าที่ยังต้องศึกษา มีจำนวนมากในธรรมวินัยนี้
ดูก่อนท่านผู้ไร้ทุกข์ เธอมีปัญญารักษาตัวรอด ถูกเรา
ถาม เชิญบอกความเป็นไปแห่งชนเหล่านั้นแก่เราดังนี้
แล้วตรัสว่า สารีบุตร เธอพึงเห็นความแห่งภาษิต โดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร
อย่างไรเล่าหนอ. พระเถรเจ้าตรวจดูปัญหาแล้ว เห็นว่า พระศาสดาตรัสถาม
ปฏิปทาอันเป็นทางบรรลุ แห่งพระเสขะและพระอเสขะกะเรา เลยหมดสงสัย
คงกังขาในพระอัธยาศัยว่า อันปฏิปทาทางบรรลุอาจกล่าวแก้ได้ โดยมุขเป็น
อันมากด้วยอำนาจขันธ์เป็นต้น เมื่อเรากราบทูลแก้โดยอาการไรเล่า ถึงจัก
สามารถยึดพระอัธยาศัยของพระศาสดาได้. พระศาสดาทรงทราบว่า สารีบุตร
หมดสงสัยในข้อปัญหา แต่ยังกังขาในอัธยาศัยของเรา แม้นว่าเรายังไม่ให้นัย
เธอไม่อาจกล่าวแก้ได้ จักต้องให้นัยแก่เธอ เมื่อจะประทานนัย ตรัสว่า สารีบุตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 337
เธอจักเล็งเห็นภูตนี้. ได้ยินว่า พระองค์ทรงมีพระปริวิตกอย่างนี้ว่า เมื่อสารีบุตร
จักถืออัธยาศัยของเรากล่าวแก้ ต้องแก้ด้วยอำนาจขันธ์. พอทรงประทานนัย
ปัญหานั้นกระจ่างแก่พระเถระเจ้าตั้งร้อยนัยพันนัย. ท่านยึดตามนัยที่พระศาสดา
ประทาน กราบทูลแก้ปัญหาในพุทธวิสัยได้. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่
บริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์. ปาณชาติ ๓๐ โกฏิดื่มน้ำอมฤตแล้ว. พระศาสดา
ทรงส่งบริษัท แล้วเสด็จจาริกถึงพระนครสาวัตถีโดยลำดับ วันรุ่งขึ้นเสด็จเข้า
ไปโปรดสัตว์ในพระนครสาวัตถี เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว พวกภิกษุพากัน
แสดงวัตรเสร็จ เสด็จเข้าพระคันธกุฎี. ยามเย็นพวกภิกษุพากันนั่งในธรรมสภา
กล่าวถึงคุณกถาของพระเถระเจ้าว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสารีบุตร มีปัญญามาก
มีปัญญาหลักแหลม มีปัญญาว่องไว มีปัญญาคมคาย กราบทูลความแก้ปัญหา
ที่พระทศพลตรัสถามโดยย่อได้อย่างพิสดาร. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนาด้วยเรื่องอะไรกัน เมื่อ
พวกภิกษุพากันกราบทูลให้ทรงทราบ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ใน
บัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้แต่ในปางก่อน เธอก็เคยกล่าวแก้ความแห่งภาษิตโดยย่อ
ได้อย่างพิสดารแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรทมทัตเสวยราชสมบัติ ณ พระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดละมั่งอาศัยอยู่ในป่า พระราชาทรง
พอพระหฤทัยในการล่าเนื้อ ทรงสมบูรณ์ด้วยพระกำลัง ถึงกับไม่ทรงนับ
มนุษย์อื่นว่าเป็นมนุษย์ไปเลย. วันหนึ่ง ท้าวเธอเสด็จไปล่าเนื้อ ตรัสกับหมู่
อำมาตย์ว่า เนื้อหนีไปได้ข้างผู้ใด เราต้องลงอาชญาแก่ผู้นั้น เพราะเหตุนั้น
ทีเดียว. พวกนั้นคิดกันว่า บางครั้งเนื้ออยู่ในวงล้อมแล้วยังวิ่งกระเจิงไปได้
พวกเราต้องช่วยอันเนื้อที่ปรากฏตัวแล้ว ให้วิ่งไปทางที่พระราชาประทับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 338
ด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งจงได้ ครั้นคิดกันแล้ว ก็กระทำกติกา ให้ช่องทาง
ระหว่างถวายพระราชา. พวกเหล่านั้นพากันล้อมละเมาะใหญ่ไว้ ตีแผ่นดิน ด้วย
ไม้พลองเป็นต้น. ก่อนอื่นทีเดียวละมั่งลุกขึ้นเลาะละเมาะไปสามรอบ เมื่อจะหนี
ก็มองดูช่องที่จะหนี เห็นฝูงคนยืนถือธนูรายเรียง แขนจรดแขน ธนูจรดธนู
ในทิศอันเหลือ สถานที่พระราชาประทับยืนเท่านั้นที่เห็นเป็นช่อง. ละมั่งนั้นจึง
วิ่งไปตรงหน้าพระราชา เป็นเหมือนขวางทรายใส่ตาที่กำลังลืม. พระราชาเห็น
ละมั่งนั้นมีกำลัง ก็ปล่อยลูกศรไปผิด. ธรรมดาฝูงละมั่งย่อมเป็นสัตว์ฉลาดที่จะ
ลวง เมื่อลูกศรมาตรงหน้า ก็หมอบเสียโดยเร็วแล้วหยุดนิ่ง เมื่อลูกศรมา
ข้างหลัง ก็วิ่งไปโดยรวดเร็ว เมื่อลูกศรมาทางเบื้องบน ก็เอี้ยวหลังเสีย เมื่อ
ลูกศรมาทางข้าง ก็หลีกเสียหน่อย เมื่อลูกศรมาติด ๆ กัน ก็หมุนตัวล้มลง
เมื่อลูกศรผ่านพ้นไปแล้ว จึงวิ่งหนีด้วยกำลังเร็วประหนึ่ง วลาหกที่ถูกลมพัด
กระจายไป.
พระราชาพระองค์นั้นเล่า เมื่อละมั่งนั่นหมุนตัวล้มลง ทรงเปล่ง
พระสีหนาทว่า เรายิงละมั่งได้แล้ว ละมั่งผลุดลุกวิ่งหนีโดยเร็ว ปานลมทำลาย
วงล้อมไปได้. พวกอำมาตย์ที่ยืนอยู่ ณ ด้านทั้งสอง เห็นละมั่งกำลังหนีไป
แล้วต่างคนต่างถามเป็นเสียงเดียวกันว่า เนื้อเผ่นไปทางที่ใครยืนอยู่เล่า แล้ว
ต่างก็ตอบกันว่า ทางที่พระราชาทรงประทับยืนอยู่. พระราชาก็ตรัสว่า เรายิง
ได้แล้ว ทูลถามว่า อะไรที่พระองค์ทรงยิงได้ พวกนั้นพากันยั่วเย้ากับพระราชา
ด้วยประการต่าง ๆ เช่นว่า ชาวเราเอ๋ย พระราชาของเราทั้งหลายทรงยิงไม่มี
พลาดเลย พระองค์ทรงยิงแผ่นดินได้แล้วละ. พระราชาทรงพระดำริว่า พวกนี้
เยาะเราได้ ช่างไม่รู้ฝีมือของเราเลย เราต้องถกเขมรเดินไปทีเดียว ใช้
พระขรรค์จับละมั่งให้จงได้ แล้วทรงวิ่งไปโดยเร็ว ครั้นทรงเห็นละมั่งนั้นแล้ว
ก็ทรงติดตามไปถึงสามโยชน์. ละมั่งเข้าป่าไปแล้ว ถึงพระราชาเล่าก็เสด็จเข้าป่า
เหมือนกัน. ในป่านั้น ณ หนทางที่ละมั่งวิ่งไป มีบ่อลึกเป็นเหวประมาณ ๖๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 339
ศอกเกิดจากไม้ใหญ่ผุ. บ่อนั้นมีน้ำประมาณ ๓๐ ศอก หญ้าคลุมมิดชิด. ละมั่ง
ได้กลิ่นน้ำเข้า ก็ทราบว่ามีบ่อ จึงเลี่ยงเสียหน่อยแล้วผ่านไป. ส่วนพระราชา
เสด็จไปตรงทีเดียว เลยตกลงในบ่อนั้น. ละมั่งไม่ได้ยินเสียงฝีพระบาทของ
ท้าวเธอ เหลียวดูไม่เห็นเธอ ก็ทราบว่า คงตกลงในหลุมลึกเสียแล้ว เดินมา
มองดู เห็นท้าวเธอไม่มีที่เกาะ ลำบากอยู่ในน้ำลึก มิได้ใสใจถึงความผิดที่
ท้าวเธอทรงกระทำเลย เกิดความสงสารขึ้นมา คิดว่า พระราชาอย่าฉิบหาย
ต่อหน้าต่อตาเราเลย เราจักช่วยพระองค์ให้พ้นจากทุกข์นี้. แล้วยืนอยู่ที่ขอบบ่อ
กล่าวว่า มหาราช พระองค์อย่าทรงกลัวเลย ข้าพระองค์จักช่วยพระองค์ให้
พ้นทุกข์ เพื่อจะช่วยพระราชาให้ขึ้นจากบ่อ เหมือนบุคคลกระทำความอุตสาหะ
เพื่อช่วยลูกรักของตนฉะนั้น คิดว่า เราต้องเอาหินถมลงไปจึงจะช่วยขึ้นได้
จึงมาช่วยพระราชาขึ้นจากเหวลึก ๖๐ ศอกได้ ( ตามความคิด) ปลอบพระราชา
แล้วให้ขนหลังพาออกจากป่า ส่งลง ณ ที่ไม่ห่างเสนา ให้โอวาทแก่ท้าวเธอ
ให้ทรงดำรงในศีล ๕ ประการ.
พระราชาสุดที่จะทรงพลัดพรากจากพระมหาสัตว์ อยู่ได้ จึงตรัสว่า
ข้าแต่พญาละมั่งผู้เป็นนาย เชิญท่านมาสู่พระนครพาราณสีพร้อมกับฉัน ฉันจะ
ถวายราชสมบัติในเมืองพาราณสีมีปริมาณ ๑๒ โยชน์ให้แก่ท่าน ท่านจงครอง
ราชสมบัตินั้นเถิด. กราบทูลว่า พวกข้าพระองค์เป็นดิรัจฉาน ไม่ต้องการด้วย
ราชสมบัติ แม้พระองค์มีความไยดีในข้าพระองค์ไซร้ โปรดทรงรักษาศีลที่
ข้าพระองค์ให้ไว้ ทรงรับสั่งให้แม้ชาวแว่นแคว้นรักษากันด้วยเถิด ให้โอวาท
แล้วเข้าป่าไปเลย. ท้าวเธอมีพระเนตรนองด้วยพระอัสสุชล ทรงรำลึกถึงคุณ
ของละมั่งนั้นเรื่อยมาทีเดียว ครั้นเสนาพร้อมกระบวน แล้วทรงแวดล้อมด้วย
เสนาเสด็จไปพระนคร ตรัสให้นำธรรมเภรีไปเที่ยวตีป่าวร้องว่า ตั้งแต่นี้ไป
ชาวแว่นแคว้นทั่วหน้า จงพากันรักษาศีล ๕ เถิด แต่ไม่ทรงเล่าคุณที่พระ-
มหาสัตว์กระทำไว้ แก่พระองค์ให้ใคร ๆ ฟัง เสวยพระกระยาหารมีรสเลิศต่าง-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 340
ในเวลาเย็นเสร็จ เสด็จบรรทมเหนือพระแท่นที่บรรทมอันอลงกต เวลาใกล้รุ่ง
ทรงระลึกถึงคุณของพระมหาสัตว์ เสด็จลุกขึ้นประทับนั่งขัดบัลลังก์เหนือพระยี่ภู่
มีพระหฤทัยเปี่ยมด้วยพระปีติ ทรงเปล่งพระอุทาน ด้วยพระคาถา ๖ คาถาว่า
บุรุษพึงหวังไว้ทีเดียว บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนอยู่ว่า ปรารถนาอย่างใด ได้เป็นอย่างนั้น.
บุรุษพึงหวังไว้ทีเดียว บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนอยู่ว่า ได้รับความช่วยเหลือให้ขึ้นจากน้ำ
สู่บกได้.
บุรุษพึงพยายามไว้ทีเดียว บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนอยู่ว่า ปรารถนาอย่างใดได้เป็นอย่างนั้น.
บุรุษพึงพยายามร่ำไป บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย
เราเห็นตนอยู่ว่า ได้รับความช่วยเหลือให้ขึ้นจากน้ำ
สู่บกได้.
นรชนผู้มีปัญญา แม้ตกอยู่ในกองทุกข์ ก็ไม่ควร
ตัดความหวังในอันจะมาสู่ความสุข เพราะว่า ผัสสะ
อันไม่เกื้อกูล และเกื้อกูลมีมาก คนที่ไม่ใฝ่ฝันถึงเลย
ก็ต้องเข้าถึงความตาย.
สิ่งที่ไม่คิดไว้ย่อมมีได้บ้าง สิ่งที่คิดไว้ย่อมพินาศ
ไปบ้าง โภคะทั้งหลายของสตรีหรือบุรุษ จะสำเร็จได้
ด้วยความคิดนึกไม่ได้เลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสึเสเถว ความว่าพระเจ้าพาราณสี ระบุ
ความว่าบุคคลไม่ต้องทำการตัดรอนความหวังเสีย ต้องทำความหวังในกรรมของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 341
ตนเท่านั้น ไม่พึงหน่ายแหนงเลย. บทว่า ยถา อิจฺฉึ ความว่า จริงอยู่ ข้าพเจ้าสิ
ปรารภจะขึ้นจากเหวลึกถึง ๖๐ ศอก ข้าพเจ้านั้นก็เป็นอย่างนั้นได้ คือขึ้นจาก
เหวนั้นได้ทีเดียว. บทว่า อหิตา หิตา จ ความว่า ผัสสะที่เป็นทุกข์ก็มี
ที่เป็นสุขก็มี หมายความว่า ผัสสะเพื่อความตาย (ถูกเข้าตาย) ผัสสะเพื่อความ
เป็นอยู่ (ถูกเข้าเป็น) ดังนี้ก็มี ผัสสะเพื่อความตาย ชื่อว่าไม่เกื้อกูล เป็น
ของเหล่าสัตว์แท้จริง แม้หมู่สัตว์นั้นไม่ใฝ่ฝันคือไม่เคยคิดเลย ผัสสะเพื่อความ
ตายก็จะมาถึงได้. บทว่า อจินฺตมฺปิ ความว่า ข้าพเจ้าไม่เคยคิดเลยว่า จัก
ตกบ่อ ที่ข้าพเจ้าคิดไว้ คือ จักฆ่าละมั่ง แต่บัดนี้สิที่ข้าพเจ้าคิดไว้ก็สลายไป
ที่ไม่ได้คิดเลยนั่นแหละเกิดได้. บทว่า โภคา ความว่า ยศและบริวารเหล่านี้
มิใช่เป็นสิ่งที่สำเร็จแต่ความคิด เหตุนั้น ความเพียรอย่างเดียวที่ผู้มีความรู้ต้อง
กระทำ ด้วยว่าผู้มีความเพียรย่อมเป็นอันกระทำ แม้สิ่งที่ไม่ได้เคยคิดไว้ก็ได้
เหมือนกัน.
เมื่อท้าวเธอกำลังทรงเปล่งพระอุทานอยู่นั่นแหละ อรุณปรากฏ ท่าน
ปุโรหิตมาเฝ้าเพื่อทูลถามสุขไสยาแต่เช้าตรู่ ยืนอยู่ที่พระทวาร ได้ยินเสียง
พระอุทานของท้าวเธอ ดำริว่า เมื่อวานพระราชาเสด็จไปล่าเนื้อ คงจักยิงละมั่ง
นั้นผิด ครั้นถูกพวกอำมาตย์มายั่วเย้า ก็ทรงติดตามละมั่งนั้นด้วยขัตติยมานะ
ว่า จักฆ่าเสีย หิ้วมันมา เลยไปตกเหวลึก ๖๐ ศอก พญาละมั่งมีใจสงสาร
มิได้คิดถึงโทษของพระราชา คงจักช่วยพระราชาขึ้นได้ เห็นจะเป็นด้วยเหตุนั้น
ท้าวเธอจึงทรงเปล่งอุทาน เหตุได้ยินพระอุทานอันมีพยัญชนะบริบูรณ์ของ
พระราชา เหตุการณ์ที่พระราชาและพญาละมั่งกระทำไว้ได้ปรากฏแก่พราหมณ์
เหมือนเงาปรากฏแก่ผู้ส่องหน้าที่กระจกเจียระไนฉะนั้น. ท่านจึงเคาะประตูพระ-
ทวารด้วยเล็บ. พระราชาตรัสถามว่า ใครนั่น. เขากราบทูลว่า ข้าพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 342
ปุโรหิต พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงเปิดพระทวารแล้วตรัสว่า เชิญทางนี้
เถิด ท่านอาจารย์. ท่านเข้าไปถวายชัยพระราชาแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์ทราบเหตุการณ์ที่
พระองค์กระทำไว้ในป่า พระองค์ทรงติดตามละมั่งตัวหนึ่งไปตกเหว ครั้นแล้ว
ละมั่งนั่นทำการถมด้วยศิลาช่วยพระองค์ขึ้นจากเหวลึก พระองค์นั้นทรงรำลึกถึง
คุณของละมั่งนั้น ทรงเปล่งพระอุทานแล้ว พระเจ้าข้า พลางกราบทูลคาถา
๒ คาถาว่า
เมื่อพระองค์เสด็จติดตามละมั่งตัวใดไปตกเหวที่
ซอกเขา พระองค์ทรงพระชนม์สืบมาได้ ด้วยความ
บากบั่นของละมั่งตัวนั้น ซึ่งมีจิตไม่ท้อแท้.
ละมั่งตัวใดพยายามเอาก้อนหินถมเหวช่วยพระ-
องค์ขึ้นจากเหวลึกยากที่จะขึ้น ปลดเปลื้องพระองค์ ผู้
เข้าถึงกองทุกข์เสียจากปากมฤตยู พระองค์กำลังตรัส
ถึงละมั่งตัวนั้นซึ่งมีจิตไม่ท้อแท้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุสฺสริ แปลว่า ติดตามไป. บทว่า
วิกฺกนฺต ความว่า ได้กระทำความบากบั่นเพื่อจะถอนขึ้น. บทว่า อนุชีวสิ
ความว่า ท่านอาศัยเป็นอยู่ อธิบายว่า ท่านได้ชีวิตเพราะอานุภาพของละมั่งนั้น.
บทว่า อุทฺธริ ได้แก่ ให้ยกขึ้นแล้ว. บทว่า ตเมว วเทสิ ความว่า
พระองค์นั่งสรรเสริญเนื้อละมั่งทอง บนที่นอนอันทรงสิรินี้.
พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า พราหมณ์นี้มิได้ไป
ล่าเนื้อกับเรา รู้เรื่องทั้งหมดเลย รู้ได้อย่างไรเล่าหนอ ต้องถามท่านดู จึงตรัส
พระคาถาที่ ๙ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 343
ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อคราวนั้น ท่านได้อยู่ในที่
นั้นด้วยหรือ หรือว่าใครได้บอกเรื่องนี้แก่ท่าน ท่าน
เป็นผู้เปิดเผยข้อที่เคลือบคลุม เห็นเรื่องได้ทั้งปวงละ
สิหนอ ความรู้ของท่านมีกำลัง เห็นปรุโปร่งหรือ
อย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภึสรูป ความว่า ความรู้ของท่านน่าจะมี
เรี่ยวแรงกระมังหนา เพราะเหตุนั้นท่านจึงรู้ข้อนั้น.
พราหมณ์เมื่อจะแสดงว่า ข้าพระองค์มิใช่พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แต่
เรื่องราวของพระคาถาที่พระองค์ไม่ทรงยังพยัญชนะให้เลอะเลือนตรัสไว้ปรากฏ
แก่ข้าพระองค์ได้ พระเจ้าข้า จึงกล่าวคาถาที่ ๑๐ ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน ผู้เป็นนัก-
ปราชญ์ ครั้งนั้น ข้าพระองค์หาได้อยู่ในที่นั้นไม่
และใครก็มิได้บอกเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์เลย แต่ว่า
นักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมนำเนื้อความแห่งบทคาถาที่
พระองค์ทรงภาษิตแล้วมาใคร่ครวญดู.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภาสิตาน ความว่า บทแห่งคาถาที่
พระองค์ตรัสดีแล้วไม่ลบล้างพยัญชนะ. บทว่า อตฺถ ตทาเมนฺติ ความว่า
ย่อมนำความแห่งบทแห่งคาถานั้นมาใคร่ครวญ.
พระราชาทรงโปรดท่าน พระราชทานทรัพย์เป็นอันมาก. ตั้งแต่นั้น
ก็ได้ทรงอภิรมย์แต่การบุญมีทานเป็นต้น. ฝูงชนเล่าก็พากันอภิรมย์แต่การบุญ
ที่ตายไปแล้ว ๆ แน่นเมืองสวรรค์ทีเดียว. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทรงพระ-
ดำริว่า จักทรงยิงเป้า ตรัสชวนปุโรหิตเสด็จสู่พระอุทยาน. ครั้งนั้นท้าวสักก-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 344
เทวราช ทอดพระเนตรเห็นเทวดาและเทพกัญญาใหม่ ๆ มากมาย ทรงนึกว่า
เหตุอะไรเล่าหนอ ก็ทรงทราบเรื่องที่พระราชาขึ้นจากเหวได้เพราะละมั่ง แล้ว
ทรงชักชวนให้ประชาชนดำรงอยู่ในศีล ทรงพระดำริว่า มหาชนพากันทำบุญ
ด้วยอานุภาพของพระราชา เหตุนั้นแหละเทวโลกจึงบริบูรณ์ ก็บัดนี้พระราชา
เสด็จสู่พระอุทยานเพื่อจะทรงยิงเป้า เราจักต้องทดลองท้าวเธอดูบ้าง ให้ท้าวเธอ
เปล่งพระสุรสีหนาทประกาศคุณละมั่ง แล้วให้ทรงทราบความที่เราเป็นท้าวสักกะ
จักยืนในอากาศแสดงธรรม กล่าวถึงคุณของเมตตา และเบญจศีลแล้วกลับมา
ได้เสด็จไปสู่พระอุทยาน ฝ่ายพระราชา ทรงพระดำริว่า จักยิงเป้า ก็ทรง
โก่งธนูสอดลูกศร. ทันใดนั้นท้าวสักกะก็แสดงรูปละมั่งให้ปรากฏระหว่างพระ-
ราชาและเป้าด้วยอานุภาพของท้าวเธอ. พระราชาทรงเห็นแล้วมิได้ปล่อยลูกศร
ที่นั้นท้าวสักกะก็เข้าทรงในสรีระของปุโรหิต ได้กล่าวคาถาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระปรีชาอันประเสริฐ
พระองค์ทรงสอดลูกศรอันมีปีก อันจะกำจัดความแกล้ว
กล้าของปรปักษ์ได้เข้าในแล่งแล้ว จะทรงลังเลอะไร
อีกเล่า ลูกศรที่ทรงยิงไปแล้วต้องฆ่าละมั่งได้ทันที
ละมั่งนี้คงเป็นพระกระยาหารของพระราชาได้โดยแท้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปตฺต แปลว่า ประกอบด้วยลูกศรอันมีปีก.
บทว่า ปรวิริยฆาตึ ความว่า อันจะกำจัดความแกล้วกล้าของข้าศึกเหล่าอื่น.
บทว่า จาเป สร ความว่า พระองค์เอาลูกศรกล่าวคือปีกนั่นสอดเข้าไปใน
แล่งแล้ว บัดนี้พระองค์จะลังเลใจอะไรเล่า. บทว่า หนฺตุ ความว่า ขอลูกศรที่
พระองค์ยิงไปแล้วนั่น จงฆ่าละมั่งนี้โดยทันที. บทว่า อนฺน หิ เอต ความว่า
ข้าแต่พระมหาราชผู้มีปรีชาอันประเสริฐ ชื่อว่าละมั่งคงเป็นพระกระยาหารของ
พระราชา ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสพระคาถานี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 345
ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราจะรู้จักชัดความข้อนี้ว่า
เนื้อเป็นอาหารของกษัตริย์ ก็แต่ว่า เราจะบูชาคุณที่
ละมั่งได้ทำไว้แก่เราในครั้งก่อน เพราะเหตุนั้น เราจึง
ไม่ฆ่าละมั่งนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ กตญฺจ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์
แม้ฉันก็ทราบข้อนี้แจ่มแจ้งว่า มฤคเป็นอาหารแห่งกษัตริย์ แต่ฉันบูชาคุณที่
ละมั่งกระทำในปางก่อน เพราะเหตุนั้น เราไม่ขอฆ่าเนื้อละมั่งเป็นเด็ดขาด.
ลำดับนั้น ท้าวสุกกะตรัสคาถา ๒ คาถาว่า
ข้าแต่มหาราชเป็นใหญ่แห่งทิศ นั่นมิใช่เนื้อ
นั่นเป็นท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าอสูร ข้าแต่พระองค์
ผู้เป็นจอมแห่งมนุษย์ พระองค์จงฆ่าท้าวสักกเทวราช
นั้นเสีย แล้วจักได้เป็นใหญ่ในหมู่อมรเทพ.
ข้าแต่พระราชาผู้องอาจ ประเสริฐกว่านรชน
ถ้าว่าพระองค์ยังทรงลังเลใจไม่ฆ่าละมั่ง ซึ่งเป็นสหาย
พระองค์พร้อมด้วยพระราชโอรส และพระราชชายา
จักต้องไปยังเวตรณีนรกของพญายม.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อสุเรโส นี้ท้าวสักกะตรัสด้วยความ
ประสงค์ว่า อสูรนั่นเป็นท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าอสูร ด้วยบทว่า อมราธีโป
นี้ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านจงฆ่าท้าวสักกะนั่นแล้วเป็นท้าวสักกเทวราชเสียเอง.
ด้วยบทว่า เวตรณี ยมสฺส นี้ท้าวสักกะทำให้พระราชาทรงสะดุ้งว่า ถ้าพระองค์
ทรงคิดว่าเป็นสหายของเราแล้วไม่ฆ่าเนื้อละมั่งนั่นไซร้ พระองค์พร้อมทั้งพระ-
โอรสและพระชายาจะต้องไปนรกเวตรณีของพญายม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 346
ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาว่า
เรา ชาวชนบททั้งหมด ลูกเมียและหมู่สหายจะ
พากันไปยังเวตรณีนรก ของพญายมก็ตาม ถึงกระนั้น
เราจะไม่ฆ่าผู้ที่ให้ชีวิตเราเป็นอันขาด.
ดูก่อนพราหมณ์ ละมั่งตัวนี้ ทำคุณแก่เราเมื่อถึง
ความยาก ตัวคนเดียวในป่าเปลี่ยวแสนร้าย เราระลึก
ได้อยู่ถึงบุรพกิจเช่นนั้น ที่ละมั่งตัวนี้กระทำแก่เรา
รู้คุณอยู่จะพึงฆ่าอย่างไรได้เล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า มม ปาณทสฺส นี้พระราชาตรัสว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ใดพึงให้ชีวิตแก่เรา ผู้ใดได้ให้ชีวิตอันเป็นที่รักแก่เราแล้ว
เราถึงจะไปสู่นรก ก็ไม่พึงประหาร ไม่พึงฆ่าบุคคลนั้นเลย ผู้นั้นไม่พึงถูกฆ่า.
บทว่า เอกสฺส กตฺตา วิวนสฺมึ โฆเร ความว่า มฤคนี้เป็นสัตว์กระทำคุณ
แก่ข้าพเจ้า คราวไม่มีสหายตัวคนเดียว เข้าไปในป่าเปลี่ยวแสนร้าย คือได้ให้
ชีวิตแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้านั้นรำลึกถึงบุรพกิจเช่นนั้นที่มฤคนี้กระทำไว้ เมื่อรู้ถึง
คุณนั้น จะพึงฆ่าอย่างไรเล่า.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะออกจากสรีระท่านปุโรหิตนิรมิตอัตภาพ เป็น
ท้าวสักกะ สถิตบนอากาศ เมื่อจะทรงแสดงพระคุณของพระราชา จึงตรัส ๒
พระคาถาว่า
ขอพระองค์ผู้ทรงโปรดปรานมิตรยิ่งนัก จงทรง
พระชนม์ชีพอยู่ยืนนานเถิด พระองค์ทรงปกครองราช
สมบัติในคุณธรรมเถิด จงทรงมีหมู่นารีบำรุงบำเรอ
จงทรงบันเทิงพระหฤทัยในแว่นแคว้น เหมือนท้าว
วาสวะบันเทิงอยู่ในไตรทิพย์ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 347
ขอพระองค์อย่าทรงพระพิโรธ จงมีพระหฤทัย
ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ จงกระทำสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ใน
ธรรมทั้งปวง ให้เป็นแขกควรต้อนรับ ครั้นทรงบำเพ็ญ
ทานและเสวยบ้างตามอานุภาพแล้ว ชาวโลกไม่ติเตียน
พระองค์ได้ จงเสด็จเข้าถึงสัคคสถานเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตาภิราธิ ความว่า พระองค์เป็นผู้
โปรดปรานมิตร คือไม่ประทุษร้ายมิตร. บทว่า สพฺพาติถี ความว่า พระองค์
ทรงบำเพ็ญพระองค์ควรแก่ผู้ขอ ทรงกระทำสมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรมทั้งปวง
ให้เป็นแขกควรต้อนรับ. บทว่า อนินฺทิโต ความว่า พระองค์ทรงเป็นผู้เบิกบาน
พระหฤทัย เพราะได้บำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น และไม่ถูกชาวโลกนินทา จงเข้า
ถึงสวรรคสถานเถิด.
ท้าวสักกเทวราช ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงเตือนท้าวเธอว่า มหาราช
ข้าพเจ้ามาเพื่อกำหนดจับท่าน ท่านไม่ให้ข้าพเจ้ากำหนดจับตนได้ จงไม่ประมาท
เถิด แล้วเสด็จคืนสู่สถานแห่งตนแล.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน สารีบุตรก็ย่อมรู้ความแห่ง
ภาษิตโดยย่ออย่างพิสดารเหมือนกัน ดังนี้ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาใน
ครั้งนั้น ได้มาเป็นอานนท์ ปุโรหิตได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนเนื้อละมั่ง
คือเราผู้สัมมาสัมพุทธเจ้าแล.
จบอรรถกถาสรภชาดกที่ ๑๐
จบอรรถกถาแห่งเตรสนิบาต
อันประดับด้วยชาดก ๑๐ เรื่อง
ในคัมภีร์อรรถกถาชาดก
ด้วยประการฉะนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 348
รวมชาดกที่มีในเตรสนิบาตนี้ คือ
๑. อัมพชาดก ๒. ผันทนชาดก ๓. ชวนหังสชาดก ๔. จุลล-
นารทกสัสปชาดก ๕. ทูตชาดก ๖. กาลิงคโพธิชาดก ๗. อกิตติชาดก
๘. ตักการิยชาดก ๙. รุรุมิคชาดก ๑๐. สรภชาดกและอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 349
ปกิณณกนิบาตชาดก
๑. สาลิเกทารชาดก
ว่าด้วยนกแขกเต้าเลี้ยงพ่อแม่
[๑๘๗๒] ข้าแต่ท่านโกสิยะ นาข้าวสาลีบริบูรณ์
ดี แต่นกแขกเต้าทั้งหลายพากันมากินเสีย ข้าพเจ้า
ขอคืนนานั้นให้แก่ท่าน เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะห้าม
นกแขกเต้าเหล่านั้นได้ ก็ในนกแขกเต้าเหล่านั้น มีนก
แขกเต้าตัวหนึ่งงามกว่าทุก ๆ ตัว กินข้าวสาลีตามต้อง
การแล้วยังคาบเอาไปด้วยจะงอยปากอีก.
[๑๘๗๓] เจ้าจงดักบ่วงพอที่จะให้นกนั้นติดได้
แล้วจงจับนกนั้นทั้งยังเป็นมาให้เราเถิด.
[๑๘๗๔] ฝูงนกเหล่านั้นกินและดื่มแล้ว ย่อมพา
กันบินไป เราตัวเดียวติดบ่วง เราทำบาปอะไรไว้.
[๑๘๗๕] ดูก่อนนกแขกเต้า ท้องของเจ้าเห็นจะ
ใหญ่กว่าท้องของนกเหล่าอื่นเป็นแน่ เจ้ากินข้าวสาลี
ตามต้องการแล้ว ยังคาบเอาไปด้วยจะงอยปากอีก
ดูก่อนนกแขกเต้า เจ้าจะบรรจุฉาง ในป่าไม้งิ้วนั้นให้
เต็มหรือ หรือว่าเจ้ากับเรามีเวรกันมา สหายเอ๋ย เรา
ถามเจ้าแล้ว ขอเจ้าจงบอกแก่เราเถิด เจ้าฝังข้าวสาลี
ไว้ที่ไหน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 350
[๑๘๗๖] ข้าพเจ้ากับท่านมิได้มีเวรกัน ฉางของ
ข้าพเจ้าก็ไม่มี ข้าพเจ้านำเอาข้าวสาลีของท่านไปถึง
ยอดงิ้วแล้ว ก็เปลื้องหนี้เก่า ให้เขากู้หนี้ใหม่และฝังขุม
ทรัพย์ไว้ที่ป่างิ้วนั้น ข้าแต่ท่านโกสิยะ ขอท่านจงทราบ
อย่างนี้เถิด.
[๑๘๗๗] การให้กู้หนี้ของท่านเป็นเช่นไร และ
การเปลื้องหนี้ของท่านเป็นเช่นไร ท่านจงบอกวิธีฝัง
ขุมทรัพย์ แล้วท่านจะหลุดพ้นจากบ่วงได้.
[๑๘๗๘] ข้าแต่ท่านโกสิยะ บุตรน้อยทั้งหลาย
ของข้าพเจ้ายังอ่อน ขนปีกยังไม่ขึ้น บุตรเหล่านั้น
ข้าพเจ้าเลี้ยงมาแล้ว เขาจักเลี้ยงข้าพเจ้าบ้าง เพราะ
เหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงชื่อว่าให้บุตรเหล่านั้น กู้หนี้ มารดา
และบิดาของข้าพเจ้าแก่เฒ่าล่วงกาลผ่านวัยไปแล้ว
ข้าพเจ้าคาบเอาข้าวสาสีไปด้วยจะงอยปาก เพื่อท่าน
เหล่านั้น ชื่อว่าเปลื้องหนี้ที่ท่านทำไว้ก่อน อนึ่ง นก
เหล่าอื่นที่ป่าไม้งิ้วนั้น มีขนปีกอันหลุดหมดแล้ว เป็น
นกทุพพลภาพ ข้าพเจ้าต้องการบุญ จึงได้ให้ข้าวสาลี
แก่นกเหล่านั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการทำบุญนั้นว่า
เป็นขุมทรัพย์ การให้กู้หนี้ของข้าพเจ้าเป็นเช่นนี้ การ
เปลื้องหนี้ของข้าพเจ้าเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าบอกการฝัง
ขุมทรัพย์ไว้เช่นนี้ ข้าแต่ท่านโกสิยะ ขอท่านจงทราบ
อย่างนี้เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 351
[๑๘๗๙] นกตัวนี้ดีจริงหนอ เป็นนกมีธรรมชั้น
เยี่ยม ในมนุษย์บางพวกยังไม่มีธรรมเช่นนี้เลย เจ้า
พร้อมด้วยญาติทั้งมวล จงกินข้าวสาลีตามความต้อง
การเถิด ดูก่อนนกแขกเต้า เราขอเห็นเจ้าแม้อีกต่อไป
การที่ได้เห็นเจ้าเป็นที่พอใจของเรา.
[๑๘๘๐] ข้าแต่ท่านโกสิยะ ข้าพเจ้าได้กินและ
ดื่มแล้วในที่อยู่ของท่าน ท่านเป็นที่พึ่งพำนักของพวก
เราทุกวันคืน ขอท่านจงให้ทานในท่านที่มีอาชญาอัน
วางแล้ว และจงเลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าแล้วด้วย.
[๑๘๘๑] วันนี้ สง่าราศีเกิดขึ้นแก่เราแล้วหนอ
ที่เราได้เห็นท่านผู้เป็นยอดแห่งฝูงนก เพราะได้ฟัง
คำสุภาษิตของนกแขกเต้า เราจักทำบุญให้มาก.
[๑๘๘๒] โกสิยพราหมณ์นั้น มีใจเบิกบานร่าเริง
ผ่องใส จัดแจงข้าวและน้ำไว้แล้ว เลี้ยงดูสมณะและ
พราหมณ์ทั้งหลาย ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำ.
จบสาลิเกทารชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 352
อรรถกถาปกิณณกนิบาตชาดก
สาลิเกทารชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารเชตวัน ทรง
ปรารภภิกษุผู้เลี้ยงโยมหญิง ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สมฺปนฺน สาลิเกทาร
ดังนี้. ต้องเรื่องจักมีแจ้งในสามชาดก๑.
ก็พระศาสดาตรัสให้หาภิกษุนั้น ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่าเธอ
เลี้ยงคฤหัสถ์จริงหรือ เมื่อเธอกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นความจริง
พระเจ้าข้า ตรัสถามว่า คฤหัสถ์เหล่านั้นเป็นอะไรของเธอ ครั้นเธอกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นโยมหญิงโยมชายของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า ตรัสว่า
ดีจริง ภิกษุ ถึงเหล่าบัณฑิตแต่ก่อน เป็นสัตว์ดิรัจฉานบังเกิดในกำเนิดสกุณา
ก็ยังให้พ่อแม่ผู้แก่แล้วนอนในรัง หาอาหารมาด้วยจะงอยปาก เลี้ยงดูได้
ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้ามคธราช ครองราชสมบัติในพระนคร
ราชคฤห์. ครั้งนั้น ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจากพระนคร มีบ้านพวก
พราหมณ์ ชื่อว่า สาลินทิยะ. ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้านนั้น เป็น
ไร่ของชาวมคธ. ในที่นั้น พราหมณ์ โกสิยโคตรชาวสาลินทิยะ จับจองไร่ไว้
ประมาณ ๑,๐๐๐ กรีส หว่านข้าวสาลีไว้. ครั้นข้าวกล้างอกขึ้นแล้ว ให้คน
ทำรั้วอย่างแข็งแรง แบ่งให้บริษัทของตนนั้นแล ดูแลรักษา บางคนประมาณ
๕๐ กรีส บางคน ๖๐ กรีส จนครบพื้นที่ไร่ประมาณ ๕๐๐ กรีส ที่เหลือ
๕๐๐ กรีส กั้นรั้วให้ลูกจ้างคนหนึ่ง. ลูกจ้างปลูกกระท่อมลงตรงนั้น อยู่ประจำ
ดูพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดกแปลเล่มที่ ๔ ภาคที่ ๒ หน้า ๑๕๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 353
ทั้งกลางคืนและกลางวัน. ก็ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไร่ มีป่างิ้วใหญ่
อยู่ที่ภูเขาอันมียอดเป็นที่ราบลูกหนึ่ง. ฝูงนกแขกเต้าหลายร้อยพากันอาศัยอยู่ใน
ป่างิ้วนั้น. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นลูกของพญานกแขกเต้า ใน
ฝูงนกแขกเต้านั้น เมื่อเติบโตแล้ว มีรูปงาม สมบูรณ์ด้วยกำลัง ร่างกายใหญ่
ขนาดดุมเกวียน. ครั้นถึงเวลาบิดาแก่ บิดาของท่านได้มอบความเป็นพญาให้
ด้วยคำว่า บัดนี้ฉันไม่สามารถจะบินไปไกล ๆ ได้ เจ้าจงปกครองฝูงนกนี้เถิด.
ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น ท่านก็ไม่ยอมให้บิดามารดาไปหากิน เมื่อได้ปกครองฝูงนก
แขกเต้าก็ไปสู่ป่าหิมพานต์ จิกกินข้าวสาลีในป่า ข้าวสาลีที่เกิดเองจนอิ่ม เวลา
กลับก็คาบอาหารที่เพียงพอแก่มารดาบิดามาเลี้ยงมารดาบิดา. อยู่มาวันหนึ่ง
นกแขกเต้าพากันบอกว่า ครั้งก่อนในระยะกาลนี้ คนเคยหว่านข้าวสาลีในไร่
แคว้นมคธ บัดนี้จะยังกระทำอยู่หรืออย่างไรไม่ทราบ. พญาแขกเต้าใช้นก
แขกเต้าสองตัวไปว่า ถ้าเช่นนั้นเจ้าจงสืบดู. นกแขกเต้าทั้งสองบินไป เมื่อจะ
ร่อนลงในมคธเขต ไปร่อนลงในไร่ที่ลูกจ้างนั้นเฝ้า จิกกินข้าวสาลี แล้วคาบ
รวงข้าวสาลีรวงหนึ่ง บินกลับมาสู่ป่างิ้ว วางรวงข้าวสาลีไว้แทบเท้าของมหาสัตว์
กล่าวว่า ในที่นั้นมีข้าวสาลีเช่นนี้. วันรุ่งขึ้นพญาแขกเต้าแวดล้อมด้วยฝูงนก
แขกเต้า บินไปในที่นั้นร่อนลงในไร่ของลูกจ้างนั้น. ฝ่ายบุรุษนั้นเห็นนก
แขกเต้าทั้งหลายพากันจิกกินข้าวสาลี แม้จะวิ่งกลับไปกลับมาห้ามอยู่ ก็สุดที่จะ
ห้ามได้. นกแขกเต้าที่เหลือพากันจิกกินข้าวสาลีพออิ่ม ต่างก็บินไปปากเปล่ากัน
ทั้งนั้น. แต่พญาแขกเต้ารวบรวมข้าวสาลีเป็นอันเดียวกัน คาบด้วยจะงอยปาก
บินออกหน้ามาให้แก่มารดาบิดา. ฝูงนกแขกเต้าตั้งแต่วันรุ่งขึ้น ก็พากันจิกกิน
ข้าวสาลีในที่นั้นแห่งเดียว ครั้นบุรุษนั้นเห็นฝูงนกแขกเต้ากำลังลงจิกกินข้าว
สาลี ก็วิ่งกลับไปกลับมาห้ามปราม แต่ก็มิอาจที่จะห้ามได้จึงคิดว่า ถ้านก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 354
แขกเต้าเหล่านี้พากันลงกินอย่างนี้ สักสองสามวันเท่านั้น จักต้องไม่มีข้าวสาลี
เหลือสักน้อย พราหมณ์ต้องตีราคากระทำให้เราต้องชดใช้ก็ได้ เราต้องไปบอก
แกเสีย. เขาถือเอาบรรณาการตามมีตามได้ กับฟ่อนข้าวสาลีไปสู่สาลินทิยคาม
พบพราหมณ์แล้วให้บรรณาการ ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ถูกถามว่า
เป็นอย่างไร พ่อเอ๋ย ไร่ข้าวสาลีสมบูรณ์ดีหรือ ตอบว่า ครับ ท่านพราหมณ์
สมบูรณ์ แล้วได้กล่าวคาถา ๒ ว่า
ข้าแต่ท่านโกสิยะ นาข้าวสาลีบริบูรณ์ดี แต่นก
แขกเต้าทั้งหลายพากันมากินเสีย ข้าพเจ้าขอคืนนานั้น
ให้แก่ท่าน เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะห้ามนกแขกเต้า
เหล่านั้นได้ ก็ในนกแขกเต้าเหล่านั้น มีนกแขกเต้า
ตัวหนึ่งงามกว่าทุก ๆ ตัว กินข้าวสาลีตามต้องการแล้ว
ยังคาบเอาไปด้วยจะงอยปากอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺน ความว่า สมบูรณ์ คือ ไม่
บกพร่องเลย. บทว่า สาลิเกทาร ได้แก่ นาแห่งข้าวสาลี. บทว่า สพฺพสุนฺ-
ทโร ความว่า นกแขกเต้าตัวนั้นงามด้วยส่วนทุกส่วน จะงอยปากแดง นัยน์ตา
มีประกายเหมือนผลกระพังโหม มีเท้าแดง มีสร้อยคอสีแดง คาดรอบคอ
สามชั้น โตเท่านกยูงขนาดใหญ่ กินข้าวสาลีจนอิ่มแล้ว ยังคาบเอาสิ่งอื่นเอา
ไปด้วยจะงอยปากอีกเล่า.
พราหมณ์ฟังถ้อยความของคนเฝ้าไร่นั้น เกิดความรักในพญานกแขก
เต้าขึ้น ถามคนเฝ้าไร่ว่า พ่อเอ๋ย แกรู้จักดักแร้วไหม. ตอบว่า รู้ครับ. พราหมณ์
จึงกล่าวกับเขาด้วยคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 355
เจ้าจงดักบ่วงพอที่จะให้นกนั้นติดได้ แล้วจง
จับนกนั้นทั้งยังเป็นมาให้เราเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุชฺฌนฺตุ แปลว่า จงดัก. บทว่า
พาลปาสานิ ได้แก่ บ่วงอันสำเร็จแล้วด้วยเชือก มีขนหางม้าเป็นต้น. บทว่า
ชีวญฺจน ความว่า จงนำนกแขกเต้านั้นทั้งเป็นมาให้เรา.
คนเฝ้าไร่ฟังคำนั้นแล้ว ยินดีด้วยท่านพราหมณ์ไม่ตีราคาให้ตนต้อง
ชดใช้ รีบไปขวั้นบ่วงด้วยขนหางม้า กำหนดดูที่ร่อนลงของพญานกแขกเต้าว่า
วันนี้ต้องร่อนลงตรงนี้ วันรุ่งขึ้นไม่ทำกังหัน ทอดบ่วงไว้แต่เช้าทีเดียว
คอยดูการมาของฝูงแขกเต้า นั่งเฝ้าอยู่ในกระท่อม. ฝ่ายพญานกแขกเต้าแวดล้อม
ด้วยฝูงนกแขกเต้าบินมา ร่อนลงในที่ที่หากินเมื่อวาน เพราะมีอุปจารไม่โลเล
เท้าพอดีสอดเข้าไปในบ่วงที่วางดักไว้. พญานกแขกเต้านั้นทราบความที่ตน
ติดบ่วงแล้ว คิดว่า ถ้าเราร้องเอะอะในเวลานี้ พวกญาติของเราต้องพากัน
กลัวตาย ไม่เป็นอันหากินบินหนีไปเลย เราต้องอดกลั้นไว้จนกว่าพวกนั้นจะ
หากินกันอิ่มหนำ. ครั้นทราบว่า พวกนั้นอิ่มหนำสำราญแล้ว ความกลัวตาย
คุกคามเข้า จึงเอะอะสามครั้ง. ครั้งนั้นนกแขกเต้าทั้งปวงได้ยินแล้วพากันหนี
ไปหมดเลย. พญานกแขกเต้าเมื่อจะรำพันว่า บรรดาญาติของเรา แม้เพียง
ตัวเดียวที่จะเหลียวมาดู ก็ไม่มีเลย เราทำบาปอะไรไว้เล่าหนอ กล่าวคาถาว่า
ฝูงนกเหล่านั้นกินและดื่มแล้ว ย่อมพากันบินไป
เราผู้เดียวติดบ่วง เราทำบาปอะไรไว้.
คนเฝ้าไร่ได้ยินเสียงร้องเอะอะของพญานกแขกเต้า และเสียงฝูงนก
แขกเต้าบินไปในอากาศ ดำริว่า อะไรกันเล่าหนอ จึงลงจากกระท่อมไปที่
วางบ่วง เห็นพญานกแขกเต้าดีใจว่า เราวางบ่วงดักนกตัวใด จำเพาะติดตัว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 356
นั้นพอดีเลย ครั้นปลดพญานกแขกเต้าจากบ่วงแล้ว ผูกเท้าทั้งสองติดกันจับไว้
แน่นไปสู่สาลินทิยคาม ให้พญานกแขกเต้าแก่ท่านพราหมณ์ ท่านพราหมณ์จับ
พระมหาสัตว์ด้วยมือทั้งสองข้างอย่างแน่นแฟ้นด้วยความรักอันมีกำลัง ให้นั่ง
บนตัก เมื่อจะทักทายกับพญานกแขกเต้านั้น ได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า
ดูก่อนนกแขกเต้า ท้องของเจ้าเห็นจะใหญ่กว่า
ท้องของนกเหล่าอื่นเป็นแน่ เจ้ากินข้าวสาลีตามต้อง-
การแล้ว ยังคาบเอาไปด้วยจะงอยปากอีก ดูก่อนนก
แขกเต้า เจ้าจะบรรจุฉางในป่าไม้งิ้วนั้นให้เต็มหรือ
หรือว่าเจ้ากับเรามีเวรกันมา สหายเอ๋ย เราถามเจ้าแล้ว
เจ้าจงบอกแก่เราเถิด เจ้าฝังข้าวสาลีไว้ที่ไหน ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทร นูน ความว่า พ่อนกแขกเต้า
ท้องของเจ้าเห็นจะใหญ่ยิ่งกว่าท้องของนกเหล่าอื่นกระมังหนา. บทว่า ตตฺถ
ได้แก่ ในป่าไม้งิ้วนั้น. บทว่า ปูเรติ ความว่า เจ้าบรรจุยุ้งฉางในที่อยู่นั้น
ให้เต็ม (ในฤดูฝน) หรือ. บทว่า นิธียติ ความว่า เจ้าเก็บคือฝังข้าวสาลี
ไว้ที่ไหน ?
พญานกแขกเต้าได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๗ ด้วยภาษามนุษย์
อันไพเราะว่า
ข้าพเจ้ากับท่านมิได้มีเวรกัน ฉางของข้าพเจ้าก็
ไม่มี ข้าพเจ้านำเอาข้าวสาลีของท่านไปถึงยอดงิ้วแล้ว
ก็เปลื้องหนี้เก่า ให้เขากู้หนี้ใหม่ และฝังขุมทรัพย์ไว้ที่
ป่างิ้วนั้น ข้าแต่ท่านโกสิยะ ขอท่านจงทราบอย่างนี้เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิณ มุญฺจามิณ ทมฺมิ ความว่า
ข้าพเจ้านำข้าวสาลีของท่านไป เปลื้องหนี้เก่าบ้าง ให้หนี้ใหม่บ้าง. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 357
นิธึปิ ความว่า ข้าพเจ้าฝังขุมทรัพย์ไว้อย่างหนึ่งซึ่งเป็นเครื่องติดตามไปใน
ป่าไม้งิ้วนั้น.
ลำดับนั้น พราหมณ์จึงถามพญานกแขกเต้านั้นว่า
การให้กู้หนี้ของท่านเป็นอย่างไร และการ
เปลื้องหนี้ของท่านเป็นอย่างไร ท่านจงบอกวิธีฝังขุม-
ทรัพย์ แล้วท่านจะหลุดพ้นจากบ่วงได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิณทาน แปลว่า การให้กู้หนี้. บทว่า
นิธินิธาน แปลว่า การฝังขุมทรัพย์.
พญานกแขกเต้า ถูกพราหมณ์ถามอย่างนี้แล้ว เมื่อจะพยากรณ์ปัญหา
ได้กล่าวคาถา ๔ คาถาว่า
ข้าแต่ท่านโกสิยะ บุตรน้อยทั้งหลายของข้าพเจ้า
ยังอ่อน ขนปีกยังไม่ขึ้น บุตรเหล่านั้นข้าพเจ้าเลี้ยง
มาแล้ว เขาจักเลี้ยงข้าพเจ้าบ้าง เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
จึงชื่อว่าให้บุตรเหล่านั้นกู้หนี้ มารดาและบิดาของ
ข้าพเจ้าแก่เฒ่าล่วงกาลผ่านวัยไปแล้ว ข้าพเจ้าคาบ
ข้าวสาลีไปด้วยจะงอยปาก เพื่อท่านเหล่านั้นชื่อว่า
เปลื้องหนี้ที่ท่านทำไว้ก่อน อนึ่ง นกเหล่าอื่นที่ป่าไม้งิ้ว
นั้น มีขนปีกอันหลุดหมดแล้ว เป็นนกทุพพลภาพ
ข้าพเจ้าต้องการบุญ จึงได้ให้ข้าวสาลีแก่นกเหล่านั้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการทำบุญนั้นว่า เป็นขุมทรัพย์
การให้กู้หนี้ของข้าพเจ้าเป็นเช่นนี้ การเปลื้องหนี้ของ
ข้าพเจ้าเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าบอกการฝังขุมสมบัติไว้
เช่นนี้ ข้าแต่ท่านโกสิยะขอท่านจงทราบอย่างนี้เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 358
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หาตูน แปลว่า คาบไปแล้ว. บทว่า
ต นิธึ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวชื่อขุมทรัพย์อันติดตามตน. บทว่า
นิธินิธาน แปลว่า ฝังขุมทรัพย์ไว้ บาลีว่า นิทห ดังนี้ก็มี อีกอย่างหนึ่ง
บาลีก็เหมือนกัน.
พราหมณ์ฟังธรรมกถาของพระมหาสัตว์ มีจิตเลื่อมใส ได้กล่าวคาถา
๒ คาถาว่า
นกตัวนี้ ดีจริงหนอ เป็นนกมีธรรมชั้นเยี่ยม
ในมนุษย์บางพวกยังไม่มีธรรมเช่นนี้เลยเจ้าพร้อมด้วย
ญาติทั้งมวล จงกินข้าวสาลีตามต้องการเถิด ดูก่อน
นกแขกเต้า เราขอเห็นเจ้าแม้อีกต่อไป การที่ได้เห็น
เจ้าเป็นที่พอใจของเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภฺุช สาลึ ความว่า พราหมณ์เมื่อ
มอบให้ทรัพย์พันกรีส แก่พระมหาสัตว์นั่นแล จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ตั้งแต่นี้ไป
ท่านจงไม่มีภัยบริโภคเถิด. บทว่า ปสฺเสมุ ความว่า พวกเราพึงเห็นท่าน
แม้ในวันอื่นผู้มาตามชอบใจของตน.
พราหมณ์อ้อนวอนพระมหาสัตว์อย่างนี้แล้ว มองดูด้วยจิตอันอ่อนโยน
ประหนึ่งมองดูลูกรัก พลางแก้เชือกที่มัดออกจากเท้า ทาเท้าทั้งคู่ด้วยน้ำมันที่
หุงแล้วร้อยครั้ง ให้เกาะที่ตั่งอันงดงาม ให้บริโภคข้าวตอกคลุกน้ำผึ้งด้วย
จานทอง ให้ดื่มน้ำเจือน้ำตาลกรวด. ครั้งนั้นพญานกแขกเต้ากล่าวว่า ข้าแต่
มหาพราหมณ์ ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด เมื่อจะให้โอวาทแก่ท่านกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านโกสิยะ ข้าพเจ้าได้กินและดื่มแล้วใน
ที่อยู่ของท่าน ท่านเป็นที่พึ่งพำนักของพวกเราทุกวัน-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 359
คืน ขอท่านจงให้ทาน ในท่านที่มีอาชญาอันวางแล้ว
และจงเลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าแล้วด้วย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตวสฺสมมฺหิ ได้แก่ ในนิเวศน์ของท่าน.
พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นแล้ว ดีใจเมื่อจะเปล่งอุทาน จึงกล่าวคาถาว่า
วันนี้ สง่าราศีเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ที่เราได้เห็น
ท่านผู้เป็นยอดแห่งฝูงนก เพราะได้ฟังคำสุภาษิตของ
นกแขกเต้า เราจักทำบุญให้มาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลกฺขี ได้แก่ สิริก็มี บุญก็มี ปัญญาก็มี.
พระมหาสัตว์ได้คืนไร่ประมาณ ๑,๐๐๐ กรีสที่พราหมณ์ให้แก่ตนเสีย
ของรับไว้เพียง ๘ กรีสเท่านั้น. พราหมณ์จึงจารึกหลักมอบไร่แก่พระมหาสัตว์
แล้วบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ขอสมาเสร็จส่งไปด้วยคำว่า เชิญไป
เถิด นายเอ๋ย โปรดปลอบบิดามารดาผู้กำลังร้องไห้ฟูมฟายอยู่เถิด. พญานก
แขกเต้านั้นดีใจคาบรวงข้าวสาลีไปวางไว้ข้างหน้ามารดาบิดา พลางกล่าวว่า
คุณพ่อคุณแม่ขอรับ เชิญลุกขึ้นเถิด. มารดาบิดาทั้งสองของพญานกแขกเต้านั้น
พากันลุกขึ้นหัวเราะได้ทั้งน้ำตา. ทันใดนั้นฝูงนกแขกเต้าประชุมกัน ถามว่า
ท่านผู้ประเสริฐ ท่านรอดได้อย่างไรขอรับ. ท่านเล่าเรื่องทั้งหมดแก่พวกนั้น
โดยพิสดาร. แม้ท่านโกสิยะฟังโอวาทของพญานกแขกเต้าแล้ว ตั้งแต่บัดนั้น
ก็เริ่มตั้งมหาทานแต่สมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรม.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า
โกสิยพราหมณ์นั้น มีใจเบิกบานร่าเริงผ่องใส
จัดแจงข้าวและน้ำไว้แล้ว เลี้ยงดูสมณะและพราหมณ์
ทั้งหลาย ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 360
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตปฺปยิ ความว่า บรรจุภาชนะที่
รับไปแล้ว ๆ เลี้ยงดูให้อิ่มหนำ.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อันการเลี้ยงมารดาบิดาเป็นวงศ์ของบัณฑิตทั้งหลายด้วยประการฉะนี้
ทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย (เวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้น ดำรงในโสดาปัตติผล)
แล้วทรงประชุมชาดกว่า ฝูงนกแขกเต้าในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัท
มารดาบิดาได้มาเป็นมหาราชสกุล คนเฝ้าไร่ ได้มาเป็นฉันนะ พราหมณ์
ได้มาเป็นอานนท์ ส่วนพญานกแขกเต้าได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาสาลิเกทารชาดก
๒. จันทกินนรชาดก
ว่าด้วยนางจันทกินรี
[๑๘๘๓] ดูก่อนนางจันทา ชีวิตของพี่ใกล้จะขาด
อยู่แล้ว พี่กำลังเมาเลือด จันทาเอ๋ย พี่เห็นจะละชีวิตไป
แม้ในวันนี้ ลมปราณของพี่กำลังจะดับ ชีวิตของพี่
กำลังจะจม ความทุกข์กำลังเผาผลาญหัวใจพี่ พี่ลำบาก
ยิ่งนัก ความโศกของพี่ครั้งนี้ เป็นความโศกยิ่งใหญ่
กว่าความโศกเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่งเจ้าจันทาผู้จะ
เศร้าโศกถึงพี่โดยแท้ พี่จะเหี่ยวแห้ง เหมือนต้นหญ้า
ที่ถูกทิ้งไว้บนแผ่นหินร้อน เหมือนต้นไม่มีรากอันขาด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 361
พี่จะเหือดหายเหมือนแม่น้ำที่ขาดห้วง ความโศกของพี่
ครั้งนี้เป็นความโศกยิ่งใหญ่กว่าความโศกเหล่าอื่น
เพราะเหตุแห่งเจ้าจันทาผู้จะเศร้าโศกถึงพี่โดยแท้
น้ำตาของพี่ไหลออกเรื่อย ๆ เหมือนน้ำฝนที่ตกลงที่เชิง
บรรพต ไหลไปไม่ขาดสายฉะนั้น ความโศกของพี่
ครั้งนี้ เป็นความโศกยิ่งใหญ่กว่าความโศกเหล่าอื่น
เพราะเหตุแห่งเจ้าจันทาผู้จะเศร้าโศกถึงพี่โดยแท้.
[๑๘๘๔] พระราชบุตรใด ยิงสามีผู้เป็นที่
ปรารถนาของเรา เพื่อให้เป็นหม้ายที่ชายป่า พระ-
ราชบุตรนั้นเป็นคนเลวทรามแท้ สามีของเรานั้นถูกยิง
แล้วนอนอยู่ที่พื้นดิน พระราชบุตรเอ๋ย มารดาของ
ท่านจงได้รับสนองความโศกในดวงหทัยของข้าผู้เพ่ง
มองดูกินนรผู้สามีนี้ ชายาของท่านจงได้รับสนอง
ความโศกในดวงหทัยของข้าผู้เพ่งมองดูกินนรผู้สามีนี้
พระราชบุตรเอ๋ย ท่านได้ฆ่ากินนรผู้ไม่ประทุษร้าย
เพราะความรักใคร่ในเรา ขอมารดาของท่านอย่าได้
พบเห็นบุตรและสามีเลย ท่านได้ฆ่ากินนรผู้ไม่
ประทุษร้าย เพราะความรักใคร่ในเรา ขอชายาของ
ท่านจงอย่าได้พบเห็นบุตรและสามีเลย.
[๑๘๘๕] ดูก่อนนางจันทา ผู้มีนัยน์ตาบานดัง
ดอกไม้ในป่า เธออย่าร้องไห้อย่าเศร้าโศกเลย เธอจัก
ได้เป็นอัครมเหสีของฉัน มีเหล่านารีในราชสกุลบูชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 362
[๑๘๘๖] พระราชบุตร ถึงแม้ว่าเราจักต้องตาย
แต่เราจักไม่ขอยอมเป็นของท่าน ผู้ฆ่ากินนรสามีของ
เราผู้มิได้ประทุษร้าย เพราะความรักใคร่ในเรา.
[๑๘๘๗] แน่ะนางกินรีผู้ขี้ขลาด มีความรักใคร่
ต่อชีวิต เจ้าจงไปสู่ป่าหิมพานต์เถิด มฤคอื่น ๆ ที่
บริโภคกฤษณาและกระลำพัก จักยังรักใคร่ยินดีต่อเจ้า.
[๑๘๘๘] ข้าแต่กินนร ภูเขาเหล่านั้น ซอกเขา
เหล่านั้น และถ้ำเหล่านั้นตั้งอยู่ ณ ที่นั้น ฉันไม่เห็น
ท่านในที่นั้น ๆ จะกระทำอย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อ
ฉันไม่เห็นท่านที่เทือกเขา ซึ่งเราเคยร่วมอภิรมย์กัน
จะกระทำอย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่
แผ่นผาอันลาดด้วยใบไม้เป็นที่น่ารื่นรมย์ พวกมฤคร้าย
กล้ำกลายจะทำอย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็น
ท่านที่แผ่นผาอันลาดด้วยดอกไม้ เป็นที่น่ารื่นรมย์
พวกมฤคร้ายกล้ำกลาย จะทำอย่างไร ข้าแต่กินนร
เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ลำธารอันมีน้ำใสไหลอยู่เรื่อย ๆ มี
กระแส เกลื่อนกล่นไปด้วยดอกโกสุม จะกระทำ
อย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขา
หิมพานต์อันมีสีเขียว น่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร
ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์มี
สีเหลืองอร่าม น่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร ข้าแต่
กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์อันมี
สีแดง น่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร ข้าแต่กินนร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 363
เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์อันสูงตระหง่าน
น่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉัน
ไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์อันมีสีขาว น่าดูน่าชม
จะกระทำอย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่
ยอดเขาหิมพานต์อันงามวิจิตร น่าดูน่าชม จะกระทำ
อย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่เขาคันธ-
มาทน์อันดารดาษไปด้วยยาต่าง ๆ เป็นถิ่นที่อยู่ของหมู่
เทพเจ้า จะกระทำอย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่
เห็นท่านที่ภูเขาคันธมาทน์ อันดารดาษไปด้วยโอสถ
ทั้งหลาย จะกระทำอย่างไร.
[๑๘๘๙] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ผู้เป็นเจ้า ฉันขอ
ไหว้เท้าทั้งสองของท่านผู้มีความเอ็นดู มารดสามีผู้ที่
ดิฉันซึ่งเป็นกำพร้าปรารถนายิ่งนักด้วยน้ำอมฤต ดิฉัน
ได้ชื่อว่าเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยสามีผู้เป็นที่รักยิ่งแล้ว.
[๑๘๙๐] บัดนี้ เราทั้งสองจักเที่ยวไปสู่ลำธาร
อันมีกระแสสินธุ์อันเกลื่อนกล่นด้วยดอกโกสุม
ดารดาษไปด้วยบุบผชาติต่าง ๆ เราทั้งสองจะกล่าว
วาจาเป็นที่รักแก่กันและกัน.
จบจันทกินนรชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 364
อรรถกถาจันทกินนรชาดก
พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยกรุงกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ ณ นิโครธาราม
ทรงพระปรารภพระมารดาของพระราหุล ตรัสเรื่องนี้ในพระราชนิเวศน์
มีคำเริ่มต้นว่า อุปนียติท มญฺเ ดังนี้.
ที่จริงชาดกนี้ควรจะกล่าวตั้งแต่ทูเรนิทาน. ก็แต่นิทานกถานี้นั้น จน
ถึงพระอุรุเวลกัสสปบันลือสีหนาทในลัฏฐิวัน กล่าวไว้ในอปัณณกชาดก. ต่อ
จากนั้นจนถึงเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ จักแจ้งในเวสสันดรชาดก.
ก็แลพระศาสดาประทับนั่งในพระนิเวศน์ของพุทธบิดา ในเวลากำลัง
เสวย ตรัสมหาธัมมปาลชาดก เสวยเสร็จทรงดำริว่า เราจักนั่งในนิเวศน์ของ
มารดาราหุล กล่าวถึงคุณของเธอ แสดงจันทกินนรชาดก ให้พระราชาทรง
ถือบาตรเสด็จไปที่ประทับแห่งพระมารดาของพระราหุล กับพระอัครสาวก
ทั้งสอง. ครั้งนั้นนางระบำ ๔๐,๐๐๐ ของพระนาง พากันอยู่พร้อมหน้า. บรรดา
นางทั้งนั้นที่เป็นขัตติยกัญญาถึง ๑,๐๙๐ นาง. พระนางทรงทราบว่าพระตถาคต
เสด็จมา ตรัสบอกแก่นางเหล่านั้นว่า จงพากันนุ่งผ้าย้อมน้ำฝาดทั่วกันทีเดียว.
นางเหล่านั้นพากันกระทำอย่างนั้น พระศาสดาเสด็จมาประทับนั่งเหนือพระแท่น
ทีเตรียมไว้. ครั้งนั้นพวกนางเหล่านั้นทั้งหมด ก็พากันร้องไห้ประดังขึ้นเป็น
เสียงเดียวกันอื้ออึงไป. เสียงร่ำไห้ขนาดหนักได้มีแล้ว ฝ่ายพระมารดาของ
พระราหุลเล่า ก็ทรงกันแสง ครั้นทรงบรรเทาความโศกได้ ก็ถวายบังคม
พระศาสดา ประทับนั่งด้วยความนับถือมาก เป็นไปกับความเคารพอันมีใน
พระราชา. ครั้งนั้น พระราชาทรงพระปรารภคุณกถาของพระนาง ได้ตรัสเล่า
พรรณนาคุณของพระนางด้วยประการต่าง ๆ เช่น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สะใภ้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 365
ของโยม ฟังว่าพระองค์ทรงนุ่งกาสาวพัสตร์ ก็นุ่งกาสาวพัสตร์เหมือนกัน ฟังว่า
พระองค์เลิกทรงมาลาเป็นต้น ก็เลิกทรงมาลาเป็นต้น ฟังว่าทรงเลิกบรรทมเหนือ
พระยี่ภอันสูงอันใหญ่ ก็บรรทมเหนือพื้นเหมือนกัน ในระยะกาลที่พระองค์ทรง
ผนวชแล้ว นางยอมเป็นหญิงหม้าย มิได้รับบรรณาการที่พระราชาอื่น ๆ ส่งมา
ให้เลย นางมีจิตมิได้เปลี่ยนแปลงในพระองค์ถึงเพียงนี้. พระศาสดาตรัสว่า
มหาบพิตร ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่นางมีความรักไม่เปลี่ยนแปลงในอาตมภาพ
อย่างไม่ใยดีในผู้อื่นเลย ในอัตภาพสุดท้ายของอาตมภาพครั้งนี้ แม้บังเกิดใน
กำเนิดดิรัจฉาน ก็ยังได้มีจิตไม่เปลี่ยนแปลงในอาตมภาพอย่างไม่ไยดีในผู้อื่น
เลย แล้วทรงรับอาราธนานำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกินนร ในหิมวันตประเทศ. ภรรยา
ของเธอนามว่า จันทา ทั้งคู่เล่าก็อยู่ที่ภูเขาเงินชื่อว่า จันทบรรพต ครั้งนั้น
พระเจ้าพาราณสีมอบราชสมบัติแก่หมู่อำมาตย์ ทรงผ้าย้อมฝาดสองผืน ทรง
สอดพระเบญจาวุธ เข้าสู่ป่าหิมพานต์ลำพังพระองค์เดียวเท่านั้น. ท้าวเธอเสวย
เนื้อที่ทรงล่าได้เป็นกระยาหาร เสด็จท่องเที่ยวไปถึงลำน้ำน้อย ๆ สายหนึ่ง
โดยลำดับ ก็เสด็จขึ้นไปถึงต้นสาย ฝูงกินนรที่อยู่ ณ จันทบรรพต เวลาฤดูฝน
ก็ไม่ลงมา พากันอยู่ที่ภูเขานั่นแหละ ถึงฤดูแล้งจึงพากันลงมา. ครั้งนั้น
จันทกินนรลงมากับภรรยาของตน เที่ยวเก็บเล็มของหอมในที่นั้น ๆ กินเกษร
ดอกไม้ นุ่งห่มด้วยสาหร่ายดอกไม้ เหนี่ยวเถาชิงช้าเป็นต้น เล่นพลางขับร้อง
ไปพลาง ด้วยเสียงจะแจ้วเจื้อยจนถึงลำน้ำน้อยสายนั้น หยุดลงตรงที่เป็นคุ้ง
แห่งหนึ่ง โปรยปรายดอกไม้ลงในน้ำ ลงเล่นน้ำแล้วนุ่งห่มสาหร่ายดอกไม้ จัด
แจงแต่งที่นอนด้วยดอกไม้ เหนือหาดทรายซึ่งมีสีเพียงแผ่นเงิน ถือขลุ่ยเลาหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 366
นั่งเหนือที่นอน. ต่อจากนั้น จันทกินนรก็เป่าขลุ่ยขับร้องด้วยเสียงอันหวานฉ่ำ
จันทกินรีก็ฟ้อนหัตถ์อันอ่อนยืนอยู่ในที่ใกล้สามีฟ้อนไปบ้าง ขับร้องไปบ้าง.
พระราชานั้นทรงสดับเสียงของกินนรกินรีนั้น ก็ทรงย่องเข้าไปค่อย ๆ ยืน
แอบในที่กำบัง ทรงทอดพระเนตรกินนรเหล่านั้น ก็ทรงมีจิตปฏิพัทธ์ในกินรี
ทรงดำริว่า จักยิงกินนรนั้นเสียให้ถึงสิ้นชีวิต ถึงสำเร็จการอยู่ร่วมกินรีนี้
แล้วทรงยิงจันทกินนร. เธอเจ็บปวดรำพันกล่าวคาถา ๔ คาถาว่า
ดูก่อนนางจันทา ชีวิตของพี่ใกล้จะขาดอยู่แล้ว
พี่กำลังเมาเลือด จันทาเอ๋ย พี่เห็นจะละชีวิตไปแม้ใน
วันนี้ ลมปราณของพี่กำลังจะดับ ชีวิตของพี่กำลัง
จะจม ความทุกข์กำลังเผาผลาญหัวใจพี่ พี่ลำบากยิ่งนัก
ความโศกของพี่ครั้งนี้ เป็นความโศกยิ่งใหญ่กว่าความ
โศกเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่งเจ้าจันทาผู้จะเศร้าโศกถึง
พี่โดยแท้ พี่จะเหี่ยวแห้ง เหมือนต้นหญ้าที่ถูกทิ้งไว้
บนแผ่นหินร้อน เหมือนต้นไม้มีรากอันขาด พี่จะ
เหือดหายเหมือนแม่น้ำที่ขาดห้วง ความโศกของพี่ครั้ง
นี่เป็นความโศกยิ่งใหญ่ว่าความโศกเหล่าอื่น เพราะ
เหตุแห่งเจ้าจันทาผู้จะเศร้าโศกถึงพี่โดยแท้ น้ำตาของ
พี่ไหลออกเรื่อย ๆ เหมือนน้ำฝนที่ตกลงที่เชิงบรรพต
ไหลไปไม่ขาดสายฉะนั้น ความโศกของพี่ครั้งนี้
เป็นความโศกยิ่งใหญ่กว่าความโศกเหล่าอื่น เพราะ
เหตุแห่งเจ้าจันทาผู้จะเศร้าโศกถึงพี่โดยแท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 367
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปนียติ ความว่า ชีวิตของพี่ใกล้จะขาด
อยู่แล้ว. บทว่า อิท ได้แก่ ชีวิต. บทว่า ปาณา ความว่า ดูก่อนจันทา
ลมปราณคือชีวิตของพี่ย่อมจะดับ. บทว่า โอสธิ เม ความว่า ชีวิตของพี่
ย่อมจะจมลง. บทว่า นิตมานิ แปลว่า พี่ย่อมลำบากอย่างยิ่ง. บทว่า ตว
จนฺทิยา ความว่า นี้เป็นความทุกข์ของพี่. บทว่า น น อญฺเหิ โสเกหิ
ความว่า โดยที่แท้นี้เป็นเหตุแห่งความโศกของเธอผู้ชื่อว่าจันทีเมื่อกำลังเศร้าโศก
อยู่ เพราะเหตุที่เธอเศร้าโศก็เพราะความพลัดพรากของเรา. ด้วยบทว่า ติณมิว
มิลายามิ เธอกล่าวว่า ข้าจะเหี่ยวเฉา เหมือนต้นหญ้าที่ถูกทอดทิ้งบนแผ่นหิน
อันร้อน เหมือนป่าไม้ที่ถูกตัดรากฉะนั้น . บทว่า สเร ปาเท ความว่า
เหมือนสายฝนที่ตกบนเชิงเขาไหลซ่านไปไม่ขาดสายฉะนั้น.
พระมหาสัตว์คร่ำครวญด้วยคาถาสี่เหล่านี้ นอนเหนือที่นอนดอกไม้
นั่นเอง ชักดิ้นสิ้นสติ. ฝ่ายพระราชายังคงยืนอยู่. จันทากินรีเมื่อพระมหาสัตว์
รำพัน กำลังเพลิดเพลินเสียด้วยความรื่นเริงของตน มิได้รู้ว่าเธอถูกยิง แต่
ครั้นเห็นเธอไร้สัญญานอนดิ้นไป ก็ใคร่ครวญว่า ทุกข์ของสามีเราเป็นอย่างไร
หนอ พอเห็นเลือดไหลออกจากปากแผล ก็ไม่อาจสะกดกลั้นความโศกอัน
มีกำลังที่เกิดขึ้นในสามีที่รักไว้ได้ ร่ำไห้ด้วยเสียงดัง. พระราชาทรงดำริว่า
กินนรคงตายแล้ว ปรากฏพระองค์ออกมา. จันทาเห็นท้าวเธอหวั่นใจว่าโจร
ผู้นี้คงยิงสามีที่รักของเรา จึงหนีไปอยู่บนยอดเขา พลางบริภาษพระราชา ได้
กล่าวคาถา ๕ คาถา ดังนี้
พระราชบุตรใด ยิงสามีผู้เป็นที่ปรารถนาของเรา
เพื่อให้เป็นหม้ายที่ชายป่า พระราชบุตรนั้นเป็นคน
เลวทรามแท้ สามีของเรานั้นถูกยิงแล้วนอนอยู่ที่พื้นดิน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 368
พระราชบุตรเอ๋ย มารดาของท่านจงได้รับสนองความ
โศกในดวงหทัยของข้าผู้เพ่งมองดูกินนรผู้สามีนี้ ชายา
ของท่านจงได้รับสนองความโศกในดวงหทัยของข้าผู้
เพ่งมองดูกินนรผู้สามีนี้ พระราชบุตรเอ๋ย ท่านได้ฆ่า
กินนรผู้ไม่ประทุษร้าย เพราะความรักใคร่ในเรา ขอ
มารดาของท่านอย่าได้พบเห็นบุตรและสามีเลย ท่าน
ได้ฆ่ากินนรีผู้ไม่ประทุษร้าย เพราะความรักใคร่ในเรา
ขอชายาของท่านจงอย่าได้พบเห็นบุตรและสามีเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วรากิยา แปลว่า ผู้กำพร้า. บทว่า
ปฏิมุจฺจตุ ได้แก่ จงกลับได้ คือถูกต้องบรรลุ. บทว่า มยฺห กามาหิ
ได้แก่ เพราะความรักใคร่ในฉัน.
พระราชาเมื่อจะตรัสปลอบนางผู้ยืนร่ำไห้เหนือยอดภูเขาด้วย ๕ คาถา
จึงตรัสคาถาว่า
ดูก่อนนางจันทา ผู้มีนัยน์ตาเบิกบานดังดอกไม้
ในป่า เธออย่าร้องไห้ไปเลย เธอจักได้เป็นอัครมเหสี
ของฉันมีเหล่านารีในราชสกุลบูชา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จนฺเท ความว่า เพราะได้สดับชื่อของ
พระโพธิสัตว์เวลาคร่ำครวญ จึงได้ตรัสอย่างนั้น. บทว่า วนติมิรมตฺตกฺขิ
แปลว่า ผู้มีนัยน์ตาเสมอด้วยดอกไม้ที่มืดมัวในป่า. บทว่า ปูชิตา ความว่า
เธอจะได้เป็นอัครมเหสีผู้เป็นหัวหน้าของบรรดาหญิง ๑๖,๐๐๐ คน.
นางจันทากินรี ฟังคำของท้าวเธอแล้วกล่าวว่า ท่านพูดอะไร เมื่อจะ
บันลือสีหนาทจึงกล่าวคาถาต่อไปว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 369
ถึงแม้ว่าเราจักต้องตาย แต่เราจักไม่ขอยอมเป็น
ของท่าน ผู้ฆ่ากินนรสามีของเรา ผู้มิได้ประทุษร้าย
เพราะความรักใคร่ในเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ นูนาห ความว่า ถึงแม้เราจักต้อง
ตายอย่างแน่นอนทีเดียว.
ท้าวเธอฟังคำของนางแล้วหมดความรักใคร่ ตรัสคาถาต่อไปว่า
แน่ะนางกินรีผู้ขี้ขลาด มีความรักใคร่ต่อชีวิต
เจ้าจงไปสู่ป่าหิมพานต์เถิด มฤคอื่น ๆ ที่บริโภคกฤษ-
ณาและกระลำพัก จักยังรักใคร่ยินดีต่อเจ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ ภีรุเก แปลว่า ผู้มีชาติขลาดเป็น
อย่างยิ่ง. บทว่า ตาลิสตคฺครโภชนา ความว่า มฤคอื่น ๆ ที่บริโภคใบ
กฤษณาและใบกระลำพัก จักยังรักษาความยินดีต่อเจ้า. ท้าวเธอได้กล่าวกะนาง
ว่า เธอจงอย่าไปจากความลับในราชตระกูล.
ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้วก็เสด็จหลีกไปอย่างหมดเยื่อใย นางทราบว่า
ท้าวเธอไปแล้วก็ลงมากอดพระมหาสัตว์ อุ้มขึ้นสู่ยอดภูเขา ให้นอนเหนือยอด
ภูเขา ยกศีรษะวางไว้เหนือขาของตน พลางพร่ำไห้เป็นกำลัง จึงกล่าว
คาถา ๑๒ คาถาว่า
ข้าแต่กินนร ภูเขาเหล่านั้น ซอกเขาเหล่านั้น
และถ้ำเหล่านั้นตั้งอยู่ ณ ที่นั้น ฉันไม่เห็นท่านในที่
นั้น ๆ จะกระทำอย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็น
ท่านที่เทือกเขา ซึ่งเราเคยร่วมอภิรมย์กัน จะกระทำ
อย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่แผ่นผาอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 370
ลาดด้วยใบไม้เป็นที่น่ารื่นรมย์ พวกมฤคร้ายกล้ำ-
กลาย จะทำอย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่าน
ที่แผ่นผาอันลาดด้วยดอกไม้ เป็นที่น่ารื่นรมย์ พวก
มฤคร้ายกล้ำกลาย จะทำอย่างไร ข้าแต่กินนร
เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ลำธารอันมีน้ำใสไหลอยู่เรื่อย ๆ มี
กระแสเกลื่อนกล่นไปด้วยดอกโกสุม จะกระทำอย่างไร
ข้าแต่กินนรเมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์อันมี
สีเขียว น่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร ข้าแต่กินนร
เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์มีสีเหลืองอร่าม
น่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉัน
ไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์อันมีสีแดง น่าดูน่าชม
จะกระทำอย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่
ยอดเขาหิมพานต์อันสูงตระหง่าน น่าดูน่าชม จะ
กระทำอย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่
ยอดเขาหิมพานต์อันมีสีขาว น่าดูน่าชม จะกระทำ
อย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขา
หิมพานต์อันงามวิจิตร น่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร
ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่เขาคันธมาทน์ อัน
ดารดาษไปด้วยยาต่าง ๆ เป็นถิ่นที่อยู่ของหมู่เทพเจ้า
จะกระทำอย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่
ภูเขาคันธมาทน์ อันดารดาษไปด้วยโอสถทั้งหลาย
จะกระทำอย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 371
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ปพฺพตา ความว่า ภูเขาเหล่านั้น
ซอกเขาเหล่านั้น และถ้ำเขาเหล่านั้น ที่เราเคยขึ้นร่วมอภิรมย์ ตั้งอยู่ ณ
ที่นั้นนั่นแล บัดนี้ เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่เทือกเขานั้น เราจะทำอย่างไรเล่าเมื่อ
ฉันไม่เห็นท่านที่แผ่นผาลาดอันงดงามไปด้วยใบไม้ดอกและผลเป็นต้น ร่ำไรอยู่
ว่าเราจะอดกลั้นได้อย่างไร. บทว่า ปณฺณสณฺตา ความว่า ดารดาษด้วย
กลิ่นและใบ ของใบกฤษณาเป็นต้น. บทว่า อจฺฉา ได้แก่ มีน้ำใสสะอาด.
บทว่า นีลานิ ได้แก่ สำเร็จด้วยแก้วมณี. บทว่า ปีตานิ ได้แก่ สำเร็จ
ด้วยทองคำ. บทว่า ตมฺพานิ ได้แก่ สำเร็จด้วยมโนศิลา. บทว่า ตุงฺคานิ
ความว่า มีปลายคมสูง. บทว่า เสตานิ ได้แก่ สำเร็จด้วยเงิน. บทว่า จตฺรานิ
ได้แก่ เจือด้วยรัตนะ ๗ ประการ. บทว่า ยกฺขคณเสวิเต ความว่า อัน
ภุมเทวดาเสพแล้ว.
นางร่ำไห้ด้วยคาถาสิบสองบทด้วยประการฉะนี้แล้ว วางมือลงตรงอุระ
พระมหาสัตว์ รู้ว่ายังอุ่นอยู่ ก็คิดว่า พี่จันท์ ยังมีชีวิตเป็นแน่ เราต้องกระทำการ
เพ่งโทษเทวดา ให้ชีวิตของเธอคืนมาเถิด. แล้วได้กระทำการเพ่งโทษเทวดาว่า
เทพเจ้าที่ได้นามว่าท้าวโลกบาลน่ะ ไม่มีเสียหรือไรเล่า หรือหลบไปเสียหมดแล้ว
หรือตายหมดแล้ว ช่างไม่ดูแลผัวรักของข้าเสียเลย. ด้วยแรงโศกของนาง พิภพ
ท้าวสักกะเกิดร้อน. ท้าวสักกะทรงดำริทราบเหตุนั้น แปลงเป็นพราหมณ์ถือ
กุณฑีน้ำมาหลงรดพระมหาสัตว์. ทันใดนั้นเองพิษก็หายสิ้น. แผลก็เต็ม แม้แต่
รอยที่ว่าถูกยิงตรงนี้ก็มิได้ปรากฏ. พระมหาสัตว์สบายลุกขึ้นได้ จันทาเห็น
สามีที่รักหายโรค แสนจะดีใจ ไหว้แทบเท้าของท้าวสักกะ กล่าวคาถาเป็น
ลำดับว่า
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ผู้เป็นเจ้า ฉันขอไหว้เท้า
ทั้งสองของท่านผู้มีความเห็นดู มารดสามีผู้ที่ดิฉัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 372
ซึ่งเป็นกำพร้าปรารถนายิ่งนักด้วยน้ำอมฤต ดิฉันได้
ชื่อว่าเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยสามีผู้เป็นที่รักยิ่งแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมเตน ความว่า นางจันทากินรี
สำคัญว่า เป็นน้ำอมฤตจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า ปิยตเมน แปลว่า น่ารักกว่า
บาลีก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
ท้าวสักกะได้ประทานโอวาทแก่กินนรทั้งคู่นั้นว่า ตั้งแต่บัดนี้เธอทั้งสอง
อย่าลงจากจันทบรรพตไปสู่ถิ่นมนุษย์เลย จงพากันอยู่ที่นี้เท่านั้นนะ ครั้นแล้ว
ก็เสด็จไปสู่สถานที่ของท้าวเธอ.
ฝ่ายจันทากินรีก็กล่าวว่า พี่เจ้าเอ๋ย เราจะต้องการอะไร ด้วยสถานที่
อันมีภัยรอบด้านนี้เล่า มาเถิดค่ะ เราพากันไปสู่จันทบรรพตเลยเถิดคะ แล้ว
กล่าวคาถาสุดท้ายว่า
บัดนี้ เราทั้งสองจักเที่ยวไปสู่ลำธารอันมีกระแส
สินธุ์อันเกลื่อนกล่นด้วยดอกโกสุม ดารดาษไปด้วย
บุบผชาติต่าง ๆ เราทั้งสองจะกล่าววาจาเป็นที่รักแก่
กันและกัน.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อนนางก็ไม่ได้เอาใจออกห่างเรา
มิใช่หญิงที่ผู้อื่นจะนำไปได้เหมือนกัน ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาใน
ครั้งนั้นได้มาเป็นเทวทัต ท้าวสักกะได้มาเป็นอนุรุทธะ จันทากินรี ได้
มาเป็นมารดาเจ้าราหุล ส่วนจันทกินนรได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาจันทกินนรชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 373
๓. มหาอุกกุสชาดก
ว่าด้วยสัตว์ ๔ สหาย
[๑๘๙๑] พวกพรานชาวชนบท พากันมัดคบเพลิง
อยู่บนเกาะ ปรารถนาจะกินลูกน้อยของเรา ข้าแต่
พญาเหยี่ยว ท่านจงบอกมิตรและสหาย จงแจ้งความ
พินาศแห่งหมู่ญาติของเรา.
[๑๘๙๒] ข้าแต่พญานกออก ท่านเป็นนกที่
ประเสริฐกว่านกทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอยึดท่านเป็นที่พึ่ง
พวกพรานชาวชนบทปรารถนาจะกินลูกน้อยของ
ข้าพเจ้า ขอท่านจงช่วยให้ข้าพเจ้าได้รับความสุขเถิด.
[๑๘๙๓] บัณฑิตทั้งหลาย ผู้แสวงหาความสุข
ทั้งในกาลและมิใช่กาล ย่อมทำบุคคลให้เป็นมิตรสหาย
ดูก่อนเหยี่ยว ฉันจะกระทำประโยชน์อันนี้แก่ท่านจงได้
ที่จริง อริยชนย่อมกระทำกิจให้แก่อริยชน.
[๑๘๙๔] กิจอันใด ที่อริยชนผู้มีความอนุเคราะห์
จะพึงกระทำแก่อริยชน กิจอันนั้น ชื่อว่า อันท่าน
กระทำแล้ว ขอท่านจงรักษาตัวเถิด อย่ารีบร้อนไป
นักเลย เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่เราก็จะได้ลูกคืนมาเป็นแน่.
[๑๘๙๕] ฉันกระทำการรักษาป้องกันนั้น แม้ถึง
ตัวจะตายก็มิได้สะดุ้งเลย แท้จริงสหายทั้งหลายผู้ยอม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 374
สละชีวิต กระทำเพื่อสหายทั้งหลาย นี่เป็นธรรมดา
ของสัตบุรุษทั้งหลาย.
[๑๘๙๖] นกออกตัวนี้ซึ่งเป็นอัณฑชะ ได้กระทำ
กรรมที่ทำได้แสนยาก เพื่อประโยชน์แก่ลูกเหยี่ยว
ตั้งแต่ยามครึ่งจนถึงเที่ยงคืนไม่หยุดหย่อน.
[๑๘๙๗] แท้จริง คนบางพวก ถึงจะเคลื่อนคลาด
พลาดพลั้งจากการงานของตน ก็ยังตั้งตัวได้ด้วยความ
อนุเคราะห์ของมิตรทั้งหลาย พวกลูกทั้งหลายของ
ข้าพเจ้าเดือดร้อน ข้าพเจ้าจึงรีบมาหาท่านเพื่อขอให้
ท่านเป็นที่พึ่งอาศัย ดูก่อนเต่าผู้เป็นสหาย ขอท่าน
ช่วยบำเพ็ญประโยชน์แก่ข้าพเจ้าเถิด.
[๑๘๙๘] บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมทำบุคคลให้เป็น
มิตรสหายด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือกและด้วยตน ดูก่อน
เหยี่ยว ข้าพเจ้าจะกระทำประโยชน์นี้แก่ท่านให้จงได้
เพราะอริยชนย่อมทำกิจแก่อริยชน.
[๑๘๙๙] คุณพ่อครับ ขอคุณพ่อจงมีความขวน-
ขวายน้อยอยู่เฉย ๆ เถิด บุตรย่อมบำเพ็ญสิ่งที่เป็น
ประโยชน์เพื่อบิดา ผมเองจักป้องกันลูกทั้งหลายของ
พญาเหยี่ยว จักบำเพ็ญประโยชน์เพื่อคุณพ่อ.
[๑๙๐๐] ลูกเอ๋ย บุตรพึงบำเพ็ญสิ่งที่เป็น
ประโยชน์เพื่อบิดา นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย
โดยแท้แล พวกพรานทั้งหลายแลเห็นพ่อผู้มีกายอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 375
ใหญ่โต ที่ไหนเลยจะเบียดเบียนลูกทั้งหลายของพญา-
เหยี่ยวได้.
[๑๙๐๑] ข้าแต่พญาราชสีห์ประเสริฐด้วยความ
แกล้วกล้า สัตว์และมนุษย์เมือตกอยู่ในภัยแล้ว ย่อม
เข้าไปหาผู้ประเสริฐ พวกบุตรของข้าพเจ้าเดือดร้อน
ข้าพเจ้าจึงรีบมาหาท่านเพื่อขอให้ท่านเป็นที่พึ่งอาศัย
ท่านเป็นเจ้านายของข้าพเจ้า ขอท่านได้โปรดช่วยให้
ข้าพเจ้าได้รับความสุขด้วยเถิด.
[๑๙๐๒] ดูก่อนพญาเหยี่ยวผู้สหาย ฉันจะบำเพ็ญ
ประโยชน์นี้เพื่อท่านให้จงได้ เรามาไปด้วยกันเพื่อ
กำจัดหมู่ศัตรูของท่านนั้นเสีย วิญญูชนรู้ว่าภัยเกิดขึ้น
แก่มิตร จะไม่พยายามเพื่อคุ้มครองมิตรอย่างไรได้.
[๑๙๐๓] บุคคลพึงคบมิตรสหายและเจ้านายไว้
เพื่อได้รับความสุข เรากำจัดศัตรูได้ด้วยกำลังแห่งมิตร
เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยบุตรทั้งหลาย บันเทิงอยู่
เหมือนเกราะที่บุคคลสวมแล้ว ป้องกันลูกศรทั้งหลาย
ได้ฉะนั้น.
[๑๙๐๔] ลูกน้อยทั้งหลายของเรา เปล่งเสียงอัน
จับใจร้องรับเราผู้ร้องหาอยู่ ด้วยการกระทำของพญา
เนื้อผู้เป็นมิตรสหายของตนซึ่งมิได้หนีไป.
[๑๙๐๕] แน่ะเธอผู้ต้องการสิ่งที่น่าปรารถนา
บัณฑิตได้มิตรสหายแล้ว ย่อมปกปักรักษาบุตร ปศุสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 376
และทรัพย์ไว้ได้ ฉัน บุตร และสามีของฉันด้วย เป็น
ผู้พร้อมเพรียงกัน เพราะความอนุเคราะห์ของมิตร
ทั้งหลาย บุคคลผู้มีพระราชาและมีมิตรผู้กล้าหาญ
สามารถจะบรรลุถึงประโยชน์ได้เพราะสหายเหล่านี้
ย่อมมีแก่ผู้มีมิตรธรรมอันบริบูรณ์ บุคคลผู้มีมิตรสหาย
มียศ มีตนอันสูงส่ง ย่อมบันเทิงใจอยู่ในโลกนี้ด้วย.
[๑๙๐๖] ข้าแต่พญาเหยี่ยว มิตรธรรมทั้งหลาย
แม้ผู้ที่ยากจนก็ควรทำดูซีท่าน เราพร้อมด้วยหมู่ญาติ
เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ด้วยความอนุเคราะห์ของมิตร
นกตัวใดผูกมิตรไว้กับผู้กล้าหาญ มีกำลัง นกตัวนั้น
ย่อมมีความสุขเหมือนฉันกับเธอฉะนั้น.
จบมหาอุกกุสชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 377
อรรถกถามหาอุกกุสชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารเชตวัน ทรง
พระปรารภอุบาสกผู้ผูกมิตร ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุกฺกา มิลาจา
พนฺธนฺติ ดังนี้.
ได้ยินว่า อุบาสกนั้นเป็นบุตรแห่งตระกูลเก่าแก่ในพระนครสาวัตถี
ส่งสหายไปให้ขอกุลธิดาคนหนึ่ง. กุลธิดานั้นถามว่า ก็มิตรและสหาย
ที่สามารถแบ่งเบากิจที่เกิดขึ้นของเขามีไหมละ. ตอบว่า ไม่มี. ครั้นกุลธิดานั้น
กล่าวคำว่า ถ้าเช่นนั้น เขาต้องผูกมิตรไว้ก่อนเถิด. เขาตั้งอยู่ในคำตักเตือนนั้น
เริ่มกระทำไมตรีกับคนเฝ้าประตูทั้งสี่ก่อน แล้วได้กระทำไมตรีกับหน่วยคุ้มกัน
พระนคร และอิสรชนมีมหาอำมาตย์เป็นต้น แม้กับท่านเสนาบดีและกับพระ-
อุปราช ก็กระทำไมตรีไว้ด้วย ครั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับชนเหล่านั้นได้
ก็กระทำไมตรีกับพระราชาโดยลำดับ ต่อจากนั้น ก็ได้กระทำไมตรีกับพระ
มหาเถระ ๘๐ องค์ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้กับพระอานนท์ ก็ได้กระทำไมตรี
กับพระตถาคตเจ้า. ทีนั้นพระศาสดาก็ทรงโปรดให้เขาดำรงในสรณะและศีล.
พระราชาเล่าก็โปรดประทานอิสริยยศแก่เขา. เขาเลยปรากฏนามว่า มิตตคันถกะ
นั่นเเหละ. ครั้งนั้น พระราชาประทานเรือนหลังใหญ่แก่เขา โปรดให้กระทำ
อาวาหมงคล. มหาชนตั้งต้นแต่พระราชาส่งบรรณาการให้เขา ครั้งนั้นภรรยา
ของเขาก็ส่งบรรณาการ ที่พระราชาทรงประทาน ไปถวายแด่พระอุปราช ส่ง
บรรณาการที่พระอุปราชส่งประทานไปให้แก่เสนาบดีเป็นลำดับไป ด้วยอุบาย
นี้แหละ ได้ผูกพันชาวพระนครทั่วหน้าไว้ได้. ในวันที่เจ็ดจัดมหาสักการะ
เชิญเสด็จพระทศพลถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ประมาณ ๕๐๐ รูป มีพระพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 378
เป็นประมุข เวลาเสร็จภัตกิจ ฟังพระดำรัสอนุโมทนาที่พระศาสดาตรัส คู่สามี
ภรรยา ก็ดำรงในโสดาปัตติผล. พวกภิกษุพากันยกเรื่องขึ้นสนทนากัน
ในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย อุบาสกมิตตคันถกะ อาศัยภรรยาของตน
ฟังคำของนาง ทำไมตรีกับคนทั้งปวง ได้สมบัติมาก จากสำนักพระราชา
ทำไมตรีกับพระตถาคตเจ้า ก็ดำรงในโสดาปัตติผลทั้งคู่. พระศาสดาเสด็จมา
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้เธอนั่งสนทนาด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุ
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น
ที่อุบาสกนี้อาศัยมาตุคามถึงยศใหญ่ แม้ในครั้งก่อน เขาบังเกิดในกำเนิด
ดิรัจฉาน กระทำไมตรีกับสัตว์เป็นอันมากตามคำของนาง พ้นจากความโศก
เพราะบุตรได้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งหนึ่งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ในนคร
พาราณสี ชาวปัจจันตชนบทเหล่านั้นได้เนื้อมาก ๆ ในที่ใด ๆ ก็พากันตั้ง
บ้านขึ้นในที่นั้น ๆ แล้วพากันเที่ยวในป่าฆ่ามฤคเป็นต้น ขนเนื้อมาเลี้ยงลูกเมีย.
ในไม่ไกลจากบ้านของพวกนั้น มีสระใหญ่เกิดเองอยู่. ด้านขวาของสระนั้น
มีเหยี่ยวตัวหนึ่ง ด้านหลังมีนางเหยี่ยวตัวหนึ่ง ด้านเหนือมีราชสีห์ ด้าน
ตะวันออกมีพญานกออกอาศัยอยู่ ส่วนในที่ตื้นกลางสระ. เต่าอาศัยอยู่. ครั้งนั้น
เหยี่ยวกล่าวกับนางเหยี่ยวว่า เป็นภรรยาข้าเถิด. นางเหยี่ยวจึงกล่าวกะเขาว่า
ก็แกมีเพื่อนบ้างไหมล่ะ. ตอบว่า ไม่มีเลย. นางกล่าวว่า เมื่อภัยหรือ
ทุกข์บังเกิดแก่เรา เราต้องได้มิตรหรือสหายช่วยแบ่งเบา จึงจะควร แกต้อง
ผูกมิตรก่อนเถิด. ถามว่า นางผู้เจริญ เราจะทำไมตรีกับใครเล่า. อบว่า
แกจงทำไมตรีกับพญานกออกที่อยู่ด้านตะวันออก กับราชสีห์ที่อยู่ด้านเหนือ
กับเต่าที่อยู่กลางสระ. เขาฟังคำของนางแล้วรับคำ ได้กระทำตามนั้น. ครั้งนั้น
เหยี่ยวทั้งคู่ก็ได้จัดแจงที่อยู่ เขาพากันทำรัง อาศัยอยู่ ณ ต้นกระทุ่ม อันอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 379
บนเกาะแห่งหนึ่งในสระนั้นเอง มีน้ำล้อมรอบ. ครั้นต่อมาเหยี่ยวทั้งคู่ก็ได้ให้
กำเนิดลูกน้อยสองตัว. ขณะที่ลูกเหยี่ยวทั้งสองยังไม่มีขนปีกนั้นเอง วันหนึ่ง
ชาวชนบทเหล่านั้นพากันตระเวนป่าตลอดวัน ไม่ได้เนื้ออะไร ๆ เลย คิดกันว่า
พวกเราไม่อาจไปเรือนอย่างมือเปล่าได้ ต้องจับปลาหรือเต่าไปให้ได้ พากัน
ลงสระไปถึงเกาะนั้น นอนที่โคนต้นกระทุ่มต้นนั้น เมื่อถูกยุงเป็นต้นรุมกัด
ก็ช่วยกันสีไฟก่อไฟ ทำควันเพื่อไล่ยุงเป็นต้นเหล่านั้น. ควันก็ขึ้นไปรมนก
ทั้งหลาย. ลูกนกก็พากันร้อง ชาวชนบทได้ยินเสียงต่างกล่าวว่า ชาวเราเอ๋ย
เสียงลูกนก ขึ้นซี มัดคบเถิด หิวจนทนไม่ไหว กินเนื้อนกแล้วค่อยนอนกัน
พลางก่อไฟให้ลุกแล้วช่วยกันมัดคบ. แม่นกได้ยินเสียงพวกนั้นคิดว่า คนพวกนี้
ต้องการจะกินลูกของเรา เราผูกมิตรไว้เพื่อกำจัดภัยทำนองนี้ ต้องส่งผัวไปหา
พญานกออก แล้วกล่าวว่า ไปเถิดนายจ๋า ภัยบังเกิดแก่ลูกของเราแล้วละ จง
บอกแก่พญานกออกเถิด พลางกล่าวคาถาต้นว่า
พรานชาวชนบท พากันมัดคบเพลิงอยู่บนเกาะ
ปรารถนาจะกินลูกน้อยของเรา ข้าแต่พญาเหยี่ยว
ท่านจงบอกมิตรและสหาย จงแจ้งความพินาศแห่งหมู่
ญาติของเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิลาจา แปลว่า ชาวชนบท. บทว่า
ทีเป แปลว่า ในเกาะน้อย. บทว่า ปชา มม ได้แก่ บุตรของเรา. แม่นก
เรียกนกเสนกะโดยชื่อว่า เสนกะ. บทว่า าติพฺยสน ทิชาน ความว่า
แม่นกกล่าวว่า ท่านจงไปบอกความวอดวายของนกที่เป็นญาติของเรานี้แก่พญา
เหยี่ยวดำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 380
พ่อเหยี่ยวนั้นบินไปที่อยู่ของพญานกออกโดยเร็ว แล้วขันบอกให้รู้การ
ที่ตนมา ได้รับโอกาส ก็เข้าไปไหว้ ถูกถามว่า เจ้ามาทำไม เมื่อแสดงเหตุที่
ต้องมา กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
ข้าแต่พญานกออก ท่านเป็นนกประเสริฐกว่า
นกทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอยึดท่านเป็นที่พึ่ง พวกพราน
ชาวชนบทปรารถนาจะกินลูกน้อยของข้าพเจ้า ขอท่าน
จงช่วยให้ข้าพเจ้าได้รับความสุขเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิโช ความว่า ท่านเป็นนกที่ประเสริฐกว่า
นกทั้งหลาย.
พญานกออกปลอบเหยี่ยวว่า อย่ากลัวเลย แล้วกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า
บัณฑิตทั้งหลาย ผู้แสวงหาความสุข ทั้งในกาล
และไม่ใช่กาล ย่อมทำบุคคลให้เป็นมิตรสหาย ดูก่อน
เหยี่ยว ฉันจะกระทำประโยชน์อันนี้แก่ท่านจงได้ ที่-
จริง อริยชนย่อมกระทำกิจให้แก่อริยชน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเล อกาเล ได้แก่ ในกลางวัน
และกลางคืน. อาจาระในบทว่า อริโย นี้ท่านประสงค์เอาอริยะผู้ประเสริฐ
พญานกออกกล่าวว่า ในที่นี้อะไรเรียกว่า อริยะ จริงอยู่ผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระ
ย่อมทำกิจของผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระเท่านั้น.
ลำดับนั้น พญานกออกถามเหยี่ยวว่า พวกคนป่าพากันขึ้นต้นไม้แล้ว
หรือสหาย. ก็ตอบว่า ตอนนั้นยังไม่ได้ขึ้น กำลังพากันมัดคบเท่านั้น. บอกว่า
ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงรีบไปปลอบแม่สหายของเรา บอกถึงการมาของเราไว้เถิด.
เหยี่ยวทำอย่างนั้น. ฝ่ายพญานกออกก็บินมาจับที่ยอดไม้ต้นหนึ่ง มองดูทางขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 381
ของพวกชาวป่าไม่ไกลต้นกระทุ่ม เวลาที่ชาวป่าคนหนึ่งขึ้นต้นกระทุ่ม ใกล้
จะถึงรังก็ดำลงในสระ เอาน้ำมาด้วยปีกและด้วยปาก รดราดบนคบเสีย
คบนั้นก็ดับ. พวกชาวป่ากล่าวว่า พวกเราต้องกินเหยี่ยวตัวนี้ด้วย กินลูก
ของมันด้วยแล้วถอยลง จุดคบให้ลุก พากันปีนขึ้นไปใหม่. พญานกออกก็
เอาน้ำมาดับเสียอีก. เมื่อพญานกออกใช้อุบายนี้ดับคบที่ผูกแล้ว ๆ เวลาก็ล่วง
ไปถึงเที่ยงคืน. พญานกออกเหน็ดเหนื่อยยิ่งนัก. พังผืดภายใต้ท้องหย่อน
ตาทั้งคู่แดงก่ำ แม่เหยี่ยวเห็นแล้ว กล่าวกะผัวว่า นายจ๋า พญานกออกลำบาก
เหลือเกินแล้ว พี่ เจ้าจงไปบอกพญาเต่าเถิด เพื่อให้พญานกออกพักผ่อนได้บ้าง
พ่อเหยี่ยวฟังคำนั้นเข้าไปหาพญานกออก พลางเชื้อเชิญด้วยคาถาว่า
กิจอันใด ที่อริยชนผู้มีความอนุเคราะห์ จะพึง
กระทำแก่อริยชน กิจอันนั้น ชื่อว่าอันท่านกระทำแล้ว
ขอท่านจงรักษาตัวเถิด อย่ารีบร้อนไปนักเลย เมื่อท่าน
ยังมีชีวิตอยู่ เราก็จะได้ลูกคืนมาเป็นแน่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตยิท ตัดเป็น ตยา อิท บาลีก็
เหมือนกันแล.
พญานกออกฟังคำของเหยี่ยวนั้นแล้ว เมื่อจะบันลือสีหนาทกล่าวคาถา
ที่ ๕ ว่า
ฉันกระทำการรักษาป้องกันนั้น แม้ถึงตัวจะตาย
ก็ไม่ได้สะดุ้งเลย แท้จริงสหายทั้งหลายผู้ยอมสละชีวิต
กระทำเพื่อสหายทั้งหลาย นี่เป็นธรรมดาของสัตบุรุษ
ทั้งหลาย.
ก็พระศาสดาเป็นอภิสัมพุทธ เมื่อทรงพรรณนาคุณของพญานกออก
นั้นจึงตรัสคาถาที่ ๖ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 382
นกออกตัวนี้ซึ่งเป็นอัณฑชะ ได้กระทำกรรมที่
ทำได้แสนยากเพื่อประโยชน์แก่ลูกเหยี่ยว ตั้งแต่ยาม-
ครึ่งจนถึงเที่ยงคืนไม่หยุดหย่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุรุโร แปลว่า พญานกออก (หรือ
เหยี่ยวดำ). บทว่า ปุตฺเต ความว่า รักลูกของเหยี่ยวอยู่เพื่อประโยชน์แก่ลูก
ของเหยี่ยวเหล่านั้น. บทว่า อฑฺฒรตฺเต อนาคเต ความว่า กระทำความ
พยายามจนถึงยามที่สอง จัดว่ากระทำได้ยาก.
ฝ่ายพ่อเหยี่ยว กล่าวว่า ข้าแต่พญานกออกผู้สหาย เชิญท่านพักสัก
หน่อยเถิด แล้วไปหาเต่า ปลุกเต่าลุกขึ้น เมื่อเต่ากล่าวว่า มาทำไม เพื่อนเอ๋ย
ก็บอกว่า ภัยเห็นปานนี้บังเกิดแล้ว พญานกออกพยายามมาตั้งแต่ยามต้นจน
เหนื่อย เหตุนั้นแหละ ข้าพเจ้าจึงต้องมาหาท่าน แล้วกล่าวคาถาที่ ๗ ว่า
แท้จริง คนบางพวก ถึงจะเคลื่อนคลาด
พลาดพลั้งจากการงานของตน ก็ยังตั้งตัวได้ด้วยความ
อนุเคราะห์ของมิตรทั้งหลาย พวกลูกทั้งหลายของ
ข้าพเจ้าเดือดร้อน ข้าพเจ้าจึงรีบมาหาท่านเพื่อขอให้
เป็นที่พึ่งอาศัย ดูก่อนเต่าผู้เป็นสหาย ขอท่านช่วย
บำเพ็ญประโยชน์แก่ข้าพเจ้าเถิด.
ความแห่งคาถานั้นมีว่า นายเอ๋ย จริงอยู่ บุคคลบางพวกถึงจะคลาด-
เคลื่อนจากยศหรือจากทรัพย์ ถึงจะพลาดพลั้งจากการงานของตน ย่อมตั้งตน
ได้ด้วยความอนุเคราะห์ของเพื่อนฝูง ก็บุตรของข้าพเจ้ากำลังถูกกิน เดือดร้อน
เหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงมากระทำท่านให้เป็นคติให้เป็นที่พำนัก เชิญท่านช่วยให้
ชีวิตทานแก่บุตรของข้าพเจ้า บำเพ็ญประโยชน์แก่ข้าพเจ้าเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 383
เต่าฟังคำนั้นแล้วกล่าวคาถาต่อไปว่า
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมทำบุคคลให้เป็นมิตร สหาย
ด้วยทรัพย์ข้าวเปลือกและด้วยตน ดูก่อนเหยี่ยว
ข้าพเจ้าจะกระทำประโยชน์นี้แก่ท่านให้จงได้ เพราะ
อริยชนย่อมทำกิจแก่อริยชน.
ครั้งนั้น บุตรของเต่านอนอยู่ไม่ไกล ฟังคำบิดา คิดว่าบิดาของเรา
อย่าลำบากเลย เราจักกระทำกิจเอง กล่าวคาถาที่ ๙ ว่า
คุณพ่อครับ ขอคุณพ่อจงมีความขวนขวายน้อย
อยู่เฉย ๆ เถิด บุตรย่อมบำเพ็ญสิ่งที่เป็นประโยชน์ เพื่อ
บิดา ผมเองจักป้องกันลูกทั้งหลายของพญาเหยี่ยว จัก
บำเพ็ญประโยชน์เพื่อคุณพ่อ.
ครั้งนั้นบิดาได้กล่าวโต้ด้วยคาถาว่า
ลูกเอ๋ย บุตรพึงบำเพ็ญสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อ
บิดา นี่เป็นธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายโดยแท้แล พวก
พรานทั้งหลายแลเห็นพ่อผู้มีกายอันใหญ่โต ที่ไหน
เลยจะเบียดเบียนลูกทั้งหลายของพญาเหยี่ยวได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตเมส ธมฺโม ความว่า นี่เป็นธรรม
ของบัณฑิตทั้งหลาย. บทว่า ปุตฺตา น ความว่า พวกพรานชนบท ไม่พึง
เบียดเบียนพวกลูก ๆ ของเหยี่ยว.
เต่าใหญ่ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ส่งเหยี่ยวไปล่วงหน้า ด้วยคำว่า
เพื่อนเอ๋ย อย่ากลัว เจ้าจงไปก่อน ข้าจักไปเดี๋ยวนี้ พลางโดดลงน้ำ กวาด
เปือกตมและสาหร่ายมา ถึงเกาะแล้ว ก็ดับไฟเสียหมอบอยู่. พวกชาวป่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 384
พูดกันว่า พวกเราจะไปมัวต้องการลูกนกทำไม กลับมาฆ่าไอ้เต่าบอดตัวนี้เถิด
มันถึงจะพอแก่เราทุกคน พลางดึงเถาวัลย์เป็นสาย แก้ผ้านุ่งผูกไว้ ณ ที่นั้น ๆ
ก็ไม่อาจพลิกเต่าได้. เต่าเล่าก็พาพวกนั้นไปโดดลงน้ำตรงที่ลึก ๆ. พวกเหล่านั้น
ต่างตามไปด้วยเพราะอยากได้เต่า ต่างก็มีท้องเต็มไปด้วยน้ำ ลำบากไปตาม ๆ กัน
ครั้นผละได้แล้วพูดกันว่า พวกเราเหวย นกออกตัวหนึ่งคอยดับคบของเราเสีย
ตั้งครึ่งคืน คราวนี้โดนเต่านี้ให้ตกน้ำ ดื่นน้ำท้องกางไปตาม ๆ กัน ก่อไฟกัน
ใหม่เถอะ แม้อรุณจะขึ้นแล้ว ก็ต้องกินลูกเหยี่ยวเหล่านี้จงได้ แล้วเริ่มก่อไฟ.
แม่นกฟังคำของพวกนั้นกล่าวว่า นายเอ๋ย พวกเหล่านั้นจักต้องกินลูกของเรา
ให้ได้ในเวลาใดเวลาหนึ่ง แล้วจึงจะพากันไป เธอจงไปหาราชสีห์ที่เป็นสหาย
ของเราเถิด. เหยี่ยวนั้นไปถึงสำนักราชสีห์ทันทีทันใด เมื่อราชสีห์พูดว่า เป็น
อะไรเล่า จึงได้มาในเวลาอันไม่ควร ก็แจ้งเรื่องนั้นตั้งแต่ต้น แล้วกล่าวคาถาที่
๑๑ ว่า
ข้าแต่ราชสีห์ที่ประเสริฐด้วยความแกล้วกล้า
สัตว์และมนุษย์เมื่อตกอยู่ในภัยแล้ว ย่อมเข้าไปหาผู้
ประเสริฐ พวกบุตรของข้าพเจ้าเดือดร้อน ข้าพเจ้าจึง
รีบมาหาท่านเพื่อขอให้ท่านเป็นที่พึ่งอาศัย ท่านเป็น
เจ้านายของข้าพเจ้า ขอท่านได้โปรดช่วยให้ข้าพเจ้า
ได้รับความสุขด้วยเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ปสู เหยี่ยวนั้นกล่าวหมายเอาสัตว์
ดิรัจฉานทั้งหลาย ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ว่า ดูก่อนนาย ในบรรดาหมู่มฤค
ท่านเป็นผู้ประเสริฐกว่าด้วยความเพียร ทั้งสัตว์ดิรัจฉานทั้งมนุษย์ ทั้งหมดใน
โลกยามประสบภัย ย่อมพากันเข้าหาท่านผู้ประเสริฐ ก็แลพวกบุตรของข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 385
กำลังเดือดร้อน ข้าพเจ้านั้นจึงมาพึ่งพาท่าน ท่านเป็นราชาแห่งพวกข้าพเจ้า
ก็ขอจงเป็นเพื่อความสุขของข้าพเจ้าเถิด.
ราชสีห์ ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนพญาเหยี่ยวผู้สหาย ฉันจะบำเพ็ญประ-
โยชน์นี้เพื่อท่านให้จงได้ เรามาด้วยกันเพื่อกำจัดหมู่
ศัตรูของท่านนั้นเสีย วิญญูชนรู้ว่าภัยเกิดขึ้นแก่มิตร
จะไม่พยายามเพื่อคุ้มครองมิตรอย่างไรได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต ทิสต ได้แก่ หมู่แห่งศัตรูนั้น
อธิบายว่า หมู่แห่งศัตรูของท่านนั้น. บทว่า ปหุ ความว่า สามารถเพื่อ
กำจัดหมู่อมิตร. บทว่า สมฺปชาโน ความว่า รู้อยู่ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งภัย
ของมิตร. บทว่า อตฺตชนสฺส ได้แก่ ชนผู้เป็นมิตรผู้เสมอกับตน คือผู้เสมอ
กับอวัยวะ.
ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ราชสีห์ก็ส่งเหยี่ยวนั้นไปว่า เจ้าจงไป จง
คอยปลอบลูกไว้เถิด แล้วเดินลุยน้ำอันมีสีเหมือนแก้วมณีไป. พวกชาวป่าเห็น
ราชสีห์นั้นกำลังเดินมา พากันพูดว่า ครั้งแรกนกออกคอยดับไฟของพวกเราเสีย
เต่ามาทำพวกเรามิให้เหลือผ้านุ่ง คราวนี้ราชสีห์จักทำให้พวกเราถึงสิ้นชีวิต
ต่างกลัวตายเป็นกำลัง พากันวิ่งหนีกระเจิงไป. ราชสีห์มาถึงโคนกระทุ่มนั้น
ไม่เห็นใคร ๆ ที่โคนต้นไม้เลย. ครั้งนั้นนกออก เต่า และเหยี่ยว ก็พากัน
เข้าไปหากราบกรานราชสีห์นั้น. ราชสีห์นั้นก็กล่าวอานิสงส์แห่งมิตรแก่สัตว์
เหล่านั้นตักเตือนว่า ตั้งแต่นี้ไป เจ้าทั้งหลายจงอย่าทำลายมิตรธรรม ต่างไม่
ประมาทไว้เถิด แล้วก็หลีกไป. สัตว์แม้เหล่านั้น ก็พากันไปสู่ที่อยู่ของตน.
แม่เหยี่ยวมองดูลูกของตนแล้ว คิดว่า เพราะอาศัยหมู่มิตร เราจึงได้ลูก ๆ ไว้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 386
ครั้นถึงสมัยที่นั่งกันอยู่อย่างสบาย เมื่อจะเจรจากับพ่อเหยี่ยว จึงกล่าวคาถา
๖ คาถา มีชื่อว่าคาถาประกาศมิตรธรรมว่า
บุคคลพึงคบมิตรสหายและเจ้านายไว้ เพื่อได้รับ
ความสุข เรากำจัดศัตรูได้ด้วยกำลังแห่งมิตร เป็นผู้
พร้อมเพรียงด้วยบุตรทั้งหลาย บันเทิงอยู่เหมือนเกราะ
ที่บุคคลสวมแล้ว ป้องกันลูกศรทั้งหลายได้ ฉะนั้น.
ลูกน้อยทั้งหลายของเรา เปล่งเสียงอันจับใจ
ร้องรับเราผู้ร้องหาอยู่ ด้วยการกระทำของพญาเนื้อ
ผู้เป็นมิตรสหายของตนซึ่งมิได้หนีไป.
แน่ะเธอผู้ต้องการสิ่งที่น่าปรารถนา บัณฑิตได้
มิตรสหายแล้วย่อมปกปักรักษาบุตร ปศุสัตว์และทรัพย์
ไว้ได้ ฉัน บุตร เละสามีของฉันด้วย เป็นผู้พร้อม
เพรียงกัน เพราะความอนุเคราะห์ของมิตรทั้งหลาย
บุคคลผู้มีพระราชาและมีมิตรผู้กล้าหาญ สามารถจะ
บรรลุถึงประโยชน์ได้เพราะสหายเหล่านี้ ย่อมมีแก่ผู้
มิตรธรรมอันบริบูรณ์ บุคคลผู้มีมิตรสหายมียศ มีตน
อันสูงส่ง ย่อมบันเทิงใจอยู่ในโลกนี้ด้วย.
ข้าแต่พญาเหยี่ยว มิตรธรรมทั้งหลาย แม้ผู้ที่
ยากจนก็ควรทำ ดูซิท่าน เราพร้อมด้วยหมู่ญาติเป็นผู้
พร้อมเพรียงกัน ด้วยความอนุเคราะห์ของมิตร นก
ตัวใดผูกมิตรไว้กับผู้กล้าหาญมีกำลัง นกตัวนั้น ย่อมมี
ความสุขเหมือนฉันกับเธอ ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 387
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตญฺจ ได้แก่ มิตรของตนอย่างใด
อย่างหนึ่ง. บทว่า สุหทยญฺจ ความว่า จงกระทำการคบมิตรผู้มีใจดี ผู้มี
ตำแหน่งเป็นเจ้านายและมิตรอันสูงส่ง. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นิวตฺถโก-
โชว สเรภิหนฺตฺวา นี้ ดังต่อไปนี้ ด้วยบทว่า โกโช ท่านกล่าวเกราะ
คือเกราะที่บุคคลสวมไว้แล้ว ย่อมกำจัด คือ ย่อมห้ามลูกศรทั้งหลายเสียได้ชื่อ
ฉันใด แม้เราทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมกำจัดข้าศึกทั้งหลายด้วยกำลังแห่งมิตร บันเทิง
กับบุตรทั้งหลาย. บทว่า สกมิตฺตสฺส กมฺเมน ความว่า เพราะความบากบั่น
แห่งมิตรของตน. บทว่า สหายสฺสาปลายิโน ได้แก่ พญาเนื้อผู้เป็นสหาย
ไม่หนีหน้า. บทว่า โลมหสา ความว่า ปักษีทั้งหลายเป็นลูกน้อยของเรา
จึงเปล่งเสียงขันขานจับใจไพเราะกะเราผู้ขันเรียกอยู่ได้. บทว่า สมงฺคิภูตา
คือตั้งอยู่ในฐานะเดียวกัน. บทว่า ราชวตา สุรวตา จ อตฺโถ ความว่า
บุคคลผู้สามารถจะบรรลุประโยชน์ได้ ด้วยคุณเครื่องความเป็นพระราชา เช่น
อย่างราชสีห์ และคุณเครื่องความเป็นผู้แกล้วกล้า เช่นนกออกและเต่า
ซึ่งเป็นมิตรที่กล้าหาญ. บทว่า ภวนฺติ เหเต ความว่า และคุณเครื่อง
ความเป็นผู้กล้าหาญเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมชักนำให้เป็นสหายของผู้ที่มีเนื้อฝูง
สมบูรณ์ คือมีมิตรธรรมสมบูรณ์. บทว่า อุคฺคตตฺโต ได้แก่ ความเป็นผู้
มีมิตรมียศเฟื่องฟู ด้วยสิริเสาวภาคย์. บทว่า อิมสฺมิญฺจ โลเก ความว่า
ย่อมบันเทิงในโลกนี้ กล่าวคืออิธโลก. นางร้องเรียกสามีว่า กามกามิ ผู้ใคร่
ในกาม จริงอยู่ สามีนั้นใคร่ในกาม ชื่อว่า กามกามิ. บทว่า สมคฺคมฺหา
ความว่า เราเกิดเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน. บทว่า สาตเก ความว่า พร้อม
กับญาติและบุตรทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 388
นางเหยี่ยวแสดงคุณของมิตรธรรมด้วยคาถาทั้ง ๖ ด้วยประการฉะนี้.
แม้สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ก็คงเป็นสหายกัน ไม่ทำลายมิตรธรรม ดำรงอยู่
ตลอดอายุแล้ว ต่างไปตามยถากรรม.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อุบาสกนี้อาศัยภรรยามีความสุข แม้ในกาลก่อน
ก็มีความสุขเพราะอาศัยภรรยาแล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
พ่อเหยี่ยวแม่เหยี่ยวในครั้งนั้น ได้มาเป็นคู่สามีภรรยา ลูกเต่าได้มาเป็น
ราหุล พ่อเต่าได้มาเป็นมหาโมคคัลลานะ นกออกได้มาเป็นสารีบุตร
ส่วนราชสีห์คือเราตถาคตแล.
จบอรรถกถามหาอุกกุสชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 389
๔. อุททาลกชาดก
ว่าด้วยจรณธรรม
[๑๙๐๗] ชฎิลเหล่าใดครองหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ
ฟันเขลอะ รูปร่างเลอะเทอะ ร่ายมนต์อยู่ ชฎิลเหล่านั้น
เป็นผู้รู้การประพฤติตบะ และการสาธยายมนต์นี้ ใน
ความเพียรที่มนุษย์จะพึงทำกัน จะพ้นจากอบายได้ละ
หรือ.
[๑๙๐๘] ข้าแต่พระราชา ถ้าบุคคลเป็นพหูสูต
ไม่ประพฤติธรรม ก็จะพึงกระทำกรรมอันลามก
ทั้งหลายได้ แม้จะมีเวทตั้งพันอาศัยแต่ความเป็นพหูสูต
ยังไม่บรรลุจรณธรรม จะพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้เลย.
[๑๙๐๙] แม้บุคคลผู้มีเวทตั้งพัน อาศัยแต่ความ
เป็นพหูสูตนั้น ยังไม่บรรลุจรณธรรมแล้ว จะพ้นจาก
ทุกข์ไปไม่ได้ อาตมภาพย่อมสำคัญว่าเวททั้งหลายก็
ย่อมไม่มีผล จรณธรรมอันมีความสำรวมเท่านั้นเป็น
ความจริง.
[๑๙๑๐] เวททั้งหลายจะไม่มีผลก็หามิได้ จรณ-
ธรรมอันมีความสำรวมนั่นแลเป็นความจริง แต่บุคคล
เรียนเวททั้งหลายแล้ว ย่อมได้รับเกียรติคุณ ท่านผู้
ฝึกฝนตนด้วยจรณธรรมแล้วย่อมบรรลุถึงสันติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 390
[๑๙๑๑] บุตรที่เกิดแต่มารดาบิดาและเผ่าพันธุ์ใด
อันบุตรจะต้องเลี้ยงดูอาตมภาพเป็นคน ๆ นั้นแหละ
มีชื่อว่าอุททาลก เป็นเชื้อสายของวงศ์ตระกูลโสตถิยะ
แห่งท่านผู้เจริญ.
[๑๙๑๒] ดูก่อนท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นพราหมณ์
ได้อย่างไร เป็นพราหมณ์เต็มที่ได้อย่างไร ความดับ
รอบจะมีได้อย่างไร ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตเรียกว่า
กระไร.
[๑๙๑๓] บุคคลเป็นพราหมณ์ ต้องบูชาไฟเป็น
นิตย์ ต้องรดน้ำ เมื่อบูชายังต้องยกเสาเจว็ด ผู้กระทำ
อย่างนี้จึงเป็นพราหมณ์ผู้เกษม ด้วยเหตุนั้น ชน-
ทั้งหลายจึงได้พากันสรรเสริญว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
[๑๙๑๔] ความหมดจด ย่อมไม่มีด้วยการรดน้ำ
อนึ่ง พราหมณ์จะเป็นพราหมณ์เต็มที่ด้วยการรดน้ำก็
หาไม่ ขันติและโสรัจจะย่อมมีไม่ได้ ทั้งผู้นั้นจะเป็น
ผู้ดับรอบก็หามิได้.
[๑๙๑๕] ดูก่อนท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นพราหมณ์
ได้อย่างไร และเป็นพราหมณ์เต็มที่ได้อย่างไร ความ
ดับรอบจะมีได้อย่างไร ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิต
เรียกว่ากระไร.
[๑๙๑๖] บุคคลผู้ไม่มีไร่นา ไม่มีพวกพ้อง ไม่
ถือว่าเป็นของเรา ไม่มีความหวัง ไม่มีบาปคือความ
โลภ สิ้นความละโมบในภพแล้ว ผู้กระทำอย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 391
ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ผู้เกษม เพราะเหตุนั้น ชนทั้งหลาย
จึงได้พากันสรรเสริญว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
[๑๙๑๗] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คน
จัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม
ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุก ๆ
คนเป็นผู้เย็นแล้ว ยังจะมีคนดีคนเลวอีกหรือไม่.
[๑๙๑๘] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คน
จัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม
ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุก ๆ
คนเป็นผู้เย็นแล้ว ย่อมไม่มีคนดีคนเลวเลย.
[๑๙๑๙] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คน
จัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม
ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุก ๆ
คนเป็นผู้เย็นแล้ว ย่อมไม่มีคนดีคนเลวเลย เมื่อเป็น
อย่างนี้ ท่านชื่อว่าทำลายความเป็นเชื้อสายแห่ง
ตระกูลโสตถิยะ จะประพฤติเพศพราหมณ์ที่เขา
สรรเสริญกันอยู่ทำไม.
[๑๙๒๐] วิมานที่เขาคลุมด้วยผ้ามีสีต่าง ๆ กัน
เงาแห่งผ้าเหล่านั้นย่อมเป็นสีเดียวกันหมด สีที่ย้อมนั้น
ย่อมไม่เกิดเป็นสี ฉันใด ในมนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น
เมื่อใด มาณพบริสุทธิ์ เมื่อนั้น มาณพเหล่านั้นเป็นผู้มี
วัตรดีเพราะรู้ทั่วถึงธรรม ย่อมละชาติของตนได้.
จบอุททาลกชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 392
อรรถกถาอุททาลกชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารเชตวัน ทรง
พระปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า ขราชินา
ชฏิลา ปงฺกทนฺตา ดังนี้.
เรื่องย่อมีว่า ภิกษุนั้น แม้บวชในพระศาสนาอันมีธรรมเป็นเครื่อง
นำออกจากทุกข์ได้แล้ว ก็ยังชอบประพฤติเรื่องหลอกลวง ๓ สถาน เพื่อต้อง
การปัจจัยทั้งสี่. ครั้งนั้นพวกภิกษุเมื่อจะประกาศโทษของเธอ ตั้งเรื่องสนทนา
กันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุที่ชื่อโน้นบวชในพระศาสนา อัน
ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้แล้ว ยังจะอาศัยการ
หลอกลวงเลี้ยงชีวิตอยู่เล่า. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อกี้พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อพวกภิกษุกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อนเธอก็
หลอกลวงเหมือนกัน ทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ พระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นปุโรหิต เป็นบัณฑิตเฉลียวฉลาด.
วันหนึ่งท่านไปเล่นอุทยาน เห็นหญิงแพศยารูปงามนางหนึ่ง ติดใจ สำเร็จการ
อยู่ร่วมกับนาง. นางอาศัยท่านมีครรภ์ ครั้นรู้ว่าตนมีครรภ์ ก็บอกท่านว่า
เจ้านาย ดิฉันตั้งครรภ์แล้วละ ในเวลาเด็กเกิด เมื่อดิฉันจะตั้งชื่อ จะขนานนาม
เขาว่าอย่างไรเจ้าคะ. ท่านคิดว่า เพราะเด็กเกิดในท้องวัณณทาสีไม่อาจขนาน
นามตามสกุลได้ แล้วกล่าวว่า แม่นางเอ๋ย ต้นไม้ที่ป้องกันลมได้ต้นนี้ชื่อว่า
ต้นคูณ เพราะเราได้เด็กที่นี้ เธอควรตั้งชื่อเขาว่า อุททาลกะ (คูณ) เถิด แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 393
ได้ให้แหวนสวมนิ้วชี้ไปสั่งว่า ถ้าเป็นธิดา เธอพึงเลี้ยงดูเด็กนั้นด้วยแหวนนี้
ถ้าเป็นบุตรละก็พึงส่งตัวเขาผู้เติบโตแล้วแก่ฉัน ต่อมานางคลอดบุตรชาย ได้
ขนานนามว่า อุททาลกะ. เขาเติบโตแล้ว ถามมารดาว่า แม่จ๋า ใครเป็นพ่อ
ของฉัน. นางตอบว่า ปุโรหิต พ่อ. เขากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นฉันต้องเรียน
พระเวท แล้วรับแหวนและค่าคำนับอาจารย์จากมือมารดา เดินทางไปตักกศิลา
เรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์อยู่ เห็นคณะดาบสคณะหนึ่ง คิดว่า
ในสำนักของพวกนี้ คงมีศิลปะอันประเสริฐ เราจักเรียนศิลปะนั้นเพราะความ
โลภในศิลปะจึงบวช พอทำวัตรปฏิบัติแก่ดาบสเหล่านั้นแล้วก็ถามว่า ข้าแต่
ท่านอาจารย์ทั้งหลาย โปรดให้ข้าพเจ้าศึกษาในศิลปะที่ท่านรู้เถิด. ดาบส
เหล่านั้นก็ให้เขาศึกษาตามทำนองที่ตนรู้ บรรดาดาบสทั้ง ๕๐๐ ไม่ได้มีเลย
แม้แต่รูปเดียวที่ฉลาดยิ่งกว่าเขา. เขาคนเดี่ยวเป็นยอดของดาบสเหล่านั้นทาง
ปัญญา. ครั้งนั้นพวกดาบสเหล่านั้นจึงประชุมกันยกตำแหน่งอาจารย์ให้แก่เขา
ครั้นแล้วเขากล่าวกะดาบสเหล่านั้นว่า ผู้นิรทุกข์ พวกคุณพากันบริโภคเผือก
มันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่กันในป่า เหตุไรจึงไม่พากันไปสู่ถิ่นแดน
มนุษย์เล่า. พวกดาบสตอบว่า ผู้นิรทุกข์ ธรรมดาพวกมนุษย์ให้ทานมาก ๆ
แล้ว ก็ขอให้ทำอนุโมทนา ขอให้กล่าวธรรมกถา พากันถามปัญหา พวกเรา
ไม่ไปในถิ่นมนุษย์นั้นเพราะเกรงภัยนั้น. เขากล่าวว่า แม้ถึงว่าจักเป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ การพูดให้จับใจละก็เป็นภาระของฉัน พวกท่านอย่ากลัวเลย จึง
ท่องเที่ยวไปกับพวกดาบสนั้น ลุถึงพระนครพาราณสีโดยลำดับ พักอยู่ใน
พระราชอุทยาน พอรุ่งขึ้นก็เที่ยวภิกษาไปตามประตูบ้าน กับดาบสทั้งปวง.
พวกมนุษย์พากันให้มหาทาน รุ่งขึ้นพวกดาบสก็พากันเข้าสู่พระนคร. พวก
มนุษย์ได้พากันให้มหาทาน อุททาลกดาบสกระทำอนุโมทนา กล่าวมงคล
วิสัชนาปัญหา. พวกมนุษย์พากันเลื่อมใสได้ให้ปัจจัยมากมาย. ชาวเมือง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 394
ทั่วหน้าพากันกราบทูลแด่พระราชาว่า ดาบสผู้ทรงธรรมเป็นบัณฑิต เป็น
คณะศาสดามาถึงแล้ว. พระราชาตรัสถามว่า อยู่ที่ไหน ทรงสดับว่า ในอุทยาน
ก็ตรัสว่า ดีละ วันนี้เราจักไปพบดาบสเหล่านั้น. ยังมีบุรุษผู้หนึ่งได้ไปบอกแก่
อุททาลกะว่า ข่าวว่าพระราชาจักเสด็จมาเยี่ยมพระคุณเจ้าทั้งหลาย. เขาเรียก
คณะฤาษีบอกว่า ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ข่าวว่าพระราชาจักเสด็จมา ธรรมดาท่าน
ผู้เป็นใหญ่ ทำให้พอใจได้เสียวันหนึ่งแล้ว ก็พอใจไปตลอดชีพ. พวกดาบส
พากันถามว่า ท่านอาจารย์ครับ ก็พวกผมต้องทำอะไรกันเล่า. เขากล่าวอย่าง
นี้ว่า ในพวกท่านบางพวกจงประพฤติวัคคุลิวัตร (ข้อปฏิบัติอย่างค้างคาว)
บางพวกจงตั้งหน้านั่งกระโหย่ง บางพวกจงพากันนอนบนหนาม บางพวกจง
ผิงไฟ ๕ กอง บางพวกจงพากันแช่น้ำ บางพวกจงพากันสังวัธยายมนต์ในที่
นั้น ๆ พวกดาบสกระทำตามนั้น. ฝ่ายตนเองชวนดาบสที่ฉลาด ๆ มีวาทะ
คมคาย ๘ หรือ ๑๐ รูปไว้ วางคัมภีร์ที่สวยงามไว้บนกากะเยียที่ชวนดู แวดล้อม
ด้วยอันเตวาสิก นั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้เป็นอันดี. ขณะนั้นพระราชาตรัสชวน
ปุโรหิตเสด็จไปพระอุทยานกับบริวารขบวนใหญ่ ทอดพระเนตรเห็นดาบส
เหล่านั้นพากันประพฤติตบะผิด ๆ กันอยู่ ทรงเลื่อมใสว่า ท่านพวกนี้พ้นแล้ว
จากภัย ในอบาย เสด็จถึงสำนักอุททาลกดาบส ทรงพระปฏิสันถารประทับนั่ง
ณ ส่วนข้างหนึ่ง มีพระมนัสยินดี เมื่อตรัสสนทนากับท่านปุโรหิต ตรัสคาถา
แรกว่า
ชฎิลเหล่าใดครองหนังเสือพร้อมเล็บ ฟันเขลอะ
รูปร่างเลอะเทอะ ร่ายมนต์อยู่ ชฎิลเหล่านั้นเป็นผู้รู้การ
ประพฤติตบะและการสาธยายมนต์นี้ ในความเพียรที่
มนุษย์จะพึงทำกัน จะพ้นจากอบายได้ละหรือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 395
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขราชินา ความว่า ประกอบด้วยหนังเสือ
พร้อมด้วยเล็บ. บทว่า ปงฺกทนฺตา ความว่า มีฟันอันมลทินจับแล้ว เพราะ
ไม่เคี้ยวไม้สีฟัน. บทว่า ทุมฺมกฺขรูปา ความว่า นัยน์ตาไม่หยอดตา ร่างกาย
มิได้ประดับ มีผ้าพาดสกปรก. บทว่า มานุสเก จ โยเค ความว่า พวก
มนุษย์ควรกระทำความเพียร. บทว่า อิท วิทู ความว่า รู้อยู่ซึ่งการประพฤติ
ตบะ และการท่องมนต์นี้. บทว่า อปายา ความว่า พระราชตรัสถามว่า
อาจารย์พ้นจากอบาย ๔ เหล่านี้ ได้อย่างไรหรือ ?
ท่านปุโรหิต ได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ดำริว่า พระราชาพระองค์นี้
ทรงเลื่อมใสในฐานะอันไม่ควร เราจะนิ่งเสียไม่ได้ละ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
ข้าแต่พระราชา ถ้าบุคคลเป็นพหูสูต แต่ไม่
ประพฤติธรรม ก็จะพึงกระทำกรรมอันลามกทั้งหลาย
ได้ แม้จะมีเวทตั้งพัน อาศัยแต่ความเป็นพหูสูต ยัง
ไม่บรรลุจรณธรรม จะพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้เลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุสฺสุโต ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ถ้าบุคคลทะนงตนว่าเราเป็นพหูสูตดังนี้ แม้จะมีเวทเชี่ยวชาญ ไม่ประพฤติ
กุศลธรรมทั้ง ๑๐ ประการ ก็พึงกระทำบาปด้วยทวารทั้งสามได้เหมือนกัน
เวททั้งสามยกเสียเถิด ต่อให้มีเวทตั้ง ๑,๐๐๐ มิได้บรรลุจรณธรรม คือสมาบัติ
๘ แล้ว จะอาศัยความเป็นพหูสูตนั้น พ้นจากอบายทุกข์ไม่ได้เลย.
อุททาลกะ ได้ฟังคำของท่านดังนั้นแล้ว คิดว่า พระราชาทรงเลื่อมใส
คณะฤาษีตามพระอัธยาศัยแล้ว แต่พราหมณ์ผู้นี้มาขว้างโคที่กำลังเที่ยวไป ทิ้ง
หยากเยื่อลงในภัตที่เขาคิดไว้แล้วเสียได้ เราต้องพูดกับเขา เมื่อจะพูด จึง
กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 396
บุคคลผู้มีเวทตั้งพัน อาศัยแต่ความเป็นพหูสต
นั้น ยังไม่บรรลุจรณธรรมแล้ว จะพ้นจากทุกข์ไปไม่
ได้ อาตมภาพย่อมสำคัญว่าเวททั้งหลายก็ย่อมไม่มีผล
จรณธรรมอันมีความสำรวมเท่านั้นเป็นความจริง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อผลา ความว่า ในวาทะของท่าน เวท
ทั้งหลายและศิลปะที่เหลือ ย่อมถึงความไม่มีผล เพราะฉะนั้น จะเรียนเวท
และศิลปะเหล่านั้นไปทำไม จรณะกับการสำรวมศีลเท่านั้น จึงสำเร็จเป็นสัจจะ
อันหนึ่ง.
ลำดับนั้น ปุโรหิตกล่าวคาถาว่า
เวททั้งหลายจะไม่มีผลก็หามิได้ จรณธรรมอันมี
ความสำรวมนั้นนั่นแลเป็นความจริง แต่บุคคลเรียน
เวททั้งหลายแล้ว ย่อมได้รับเกียรติคุณ ท่านผู้ฝึกฝน
ตนด้วยจรณธรรมแล้ว ย่อมบรรลุสันติ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาเหว ความว่า เราไม่ได้กล่าวว่า
เวททั้งหลายไม่มีผล ก็แต่ว่า จรณธรรมพร้อมกันกับการสำรวม เป็นความ
จริงทีเดียว คือเป็นสภาวะอันสูงสุด เพราะเหตุนั้นแล จึงสามารถพ้น
จากทุกข์ได้. บทว่า สนฺตึ ปาปุณาติ ความว่า เมื่อบุคคลฝึกตนด้วย
จรณธรรมกล่าวคือสมาบัติ ย่อมถึงพระนิพพาน อันกระทำความสงบแห่ง
หทัย.
อุททาลกะ ได้ฟังดังนั้นแล้วคิดว่า เราไม่อาจโต้กับปุโรหิตนี้ ด้วย
อำนาจเป็นฝ่ายแย้งได้ ธรรมดาบุคคลที่จะไม่ทำความไยดีในคำที่ถูกกล่าวไม่
มีเลย เราต้องบอกความเป็นลูกแก่เขา จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 397
บุตรที่เกิดแต่มารดาบิดาและเผ่าพันธุ์ใด อันบุตร
จะต้องเลี้ยงดู อาตมภาพเป็นคน ๆ นั้นแหละ มีชื่อว่า
อุททาลกะ เป็นเชื้อสายของวงศ์ตระกูลโสตถิยะแห่ง
ท่านผู้เจริญ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภจฺจา ความว่า บิดามารดาและพวกพ้อง
ที่เหลือ เป็นผู้ได้นามว่า เป็นผู้อันบุตรต้องเลี้ยงดู อาตมภาพก็เป็นบุตร
ผู้นั้นแหละ ที่จริงตนนั้นแหละย่อมเกิดเพื่อตนได้ แม้อาตมาภาพก็เกิดแล้วที่
โคนไม้คูน เพราะท่าน ท่านกล่าวตั้งชื่อไว้แล้วทีเดียว อาตมภาพชื่ออุททาลกะ
นะท่านผู้เจริญ.
เมื่อท่านปุโรหิตถามว่า แน่หรือคุณชื่ออุททาลกะ ท่านตอบว่า แน่ซิ
ถามต่อไปว่า ข้าพเจ้าให้เครื่องหมายไว้แก่มารดาของท่าน เครื่องหมายนั้น
ไปไหนเล่า ตอบว่า นี่พราหมณ์ พลางวางแหวนลงในมือของท่าน. พราหมณ์
จำแหวนได้แต่ยังกล่าวว่า คุณเป็นพราหมณ์ตามโอกาสที่เลือกเรียน แต่จะรู้
พราหมณธรรมละหรือ เมื่อจะถามพราหมณธรรม จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า
ดูก่อนท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นพราหมณ์ได้
อย่างไร เป็นพราหมณ์เต็มที่ได้อย่างไร ความดับรอบ
จะมีได้อย่างไร เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตเรียกว่า
กระไร.
อุททาลกะเมื่อบอกแก่ท่านจึงกล่าวคาถาที่ ๗ ว่า
บุคคลเป็นพราหมณ์ ต้องบูชาไฟเป็นนิตย์ ต้อง
รดน้ำ เมื่อบูชายัญต้องยกเสาเจว็ด ผู้กระทำอย่างนี้จึง
เป็นพราหมณ์ ผู้เกษมด้วยเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงพา
กันสรรเสริญว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 398
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิร กตฺวา อคฺคิมาทาย ความว่า
บุคคลผู้เป็นพราหมณ์ต้องก่อไฟบำเรอไฟมิให้ขาดระยะ. บทว่า อาโปสิญฺจ
ยช อสฺเสติ ยูป ความว่า เมื่อกระทำการรดน้ำ เมื่อจะบูชาสัมมาปาสยัญ
ก็ดี วาจาเปยยัญก็ดี นิรัคคลยัญก็ดี ต้องให้ยกเจว็ดทองขึ้นทำ อย่างนี้จึงจะ
เป็นพราหมณ์ผู้ถึงความเกษม. บทว่า เขมี ได้แก่ ถึงความเกษม. บทว่า
อมาปยึสุ ความว่า ก็ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ชนทั้งหลาย ย่อมพากันเรียกว่า
ผู้ดำรงอยู่ในธรรม.
ปุโรหิตได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อติเตียนพราหมณ์ตามที่เขากล่าวจึงกล่าว
คาถาที่ ๘ ว่า
ความหมดจด ย่อมไม่มีด้วยการรดน้ำ อนึ่ง
พราหมณ์จะเป็นพราหมณ์เต็มที่ ด้วยการรดน้ำก็หาไม่
ขันติและโสรัจจะย่อมมีไม่ได้ ทั้งผู้นั้นจะเป็นผู้ดับรอบ
ก็หามิได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสจเนน ความว่า ปุโรหิตแสดง
พราหมณธรรมทั้งหลายที่เขากล่าวข้อเดียวคือ ด้วยการรดน้ำ ห้ามเสียทุกข้อไป
ข้อนี้มีอธิบายว่า อันความหมดจดมีไม่ได้เลย ด้วยการบำเรอไฟ ด้วยการรดน้ำ
หรือด้วยฆ่าสัตว์บูชายัญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้จะเป็นพราหมณ์ผู้บริบูรณ์สิ้นเชิง
ก็มิได้ ความอดทนคือความอดกลั้นจะมีไม่ได้ ความสงบเสงี่ยมคือศีล จะมีไม่
ได้และจะชื่อว่าเป็นผู้ดับโดยรอบเพราะความดับเสียรอบด้านซึ่งกิเลส ก็ไม่ได้
ลำดับนั้น อุททาลกะ เมื่อจะถามว่า ถ้าว่าไม่เป็นพราหมณ์ด้วยอย่างนี้
ละก็จะเป็นได้อย่างไรกัน จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 399
ดูก่อนท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นพราหมณ์ได้
อย่างไร และเป็นพราหมณ์เต็มที่ได้อย่างไร ความดับ
รอบจะมีได้อย่างไร ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตเรียกว่า
กระไร.
ฝ่ายปุโรหิต เมื่อจะกล่าวแก่เขาก็กล่าวคาถาต่อไปว่า
บุคคลผู้ไม่มีไร่นา ไม่มีพวกพ้อง ไม่ถือว่าเป็น
ของเรา ไม่มีความหวัง ไม่มีบาปคือความโลภ สิ้น
ความโลภในภพแล้ว ผู้กระทำอย่างนี้ ชื่อว่าเป็น
พราหมณ์ผู้เกษม เพราะเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงได้
พากันสรรเสริญว่าผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺเขตฺตพนฺธุ ได้แก่ ผู้ไม่มีไร่นา
ไม่มีพวกพ้อง. อธิบายว่า ท่านผู้เว้นแล้วจากครอบครองไร่นา บ้านตำบล
ชื่อว่า ผู้ไม่มีไร่นา เว้นขาดแล้วจากการปกครองพวกพ้องทางญาติ พวกพ้อง
ทางมิตร พวกพ้องทางสหาย และพวกพ้องทางศิลปะชื่อว่าผู้ไม่มีพวกพ้อง
ผู้เว้นแล้วจากการถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิในสัตว์และสังขาร
ทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ไม่ถือว่าของเรา ผู้เว้นแล้วจากความหวังในลาภ ในทรัพย์
ในบุตรและในชีวิต ชื่อว่าผู้หมดความหวัง เว้นแล้วจากความโลภอันเป็นบาป
ได้แก่ความโลภ ในฐานะอันไม่สม่ำเสมอ ชื่อว่าผู้หมดบาปคือความโลภ สิ้น
ความยินดีในภพแล้ว ชื่อว่าผู้สิ้นความโลภในภพแล้ว.
ลำดับนั้น อุททาลกะกล่าวคาถาว่า
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล
คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว
ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุก ๆ คนเป็นผู้เย็นแล้ว
ยังจะมีคนดีคนเลวอีกหรือไม่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 400
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ เสยฺโยว ปาปิโย ความว่า
อุททาลกะถามว่า กษัตริย์เป็นต้นเหล่านี้ ทุกคนย่อมมีคุณสมบัติคือความเป็น
ผู้แช่มชื่นได้ทั้งนั้น ก็เมื่อเป็นอย่างนี้กันแล้ว ความต่ำความสูงอย่างนี้ว่า ผู้นี้
ดีกว่า ผู้นี้เลวกว่า มีหรือไม่มี.
ลำดับนั้น เพื่อจะชี้แจงว่า จำเดิมแต่บรรลุพระอรหัตไป ขึ้นชื่อว่า
ความต่ำความสูงย่อมไม่มีแก่เขา พราหมณ์กล่าวคาถาว่า
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล
คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตน
แล้วย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุก ๆ คนเป็นผู้เย็น
แล้ว ย่อมไม่มีคนดีคนเลวเลย.
ลำดับนั้น เมื่ออุททาลกะจะติเตียนท่านปุโรหิตนั้น จึงกล่าวสองคาถาว่า
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล
คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว
ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุก ๆ คนเป็นผู้เย็นแล้ว
ย่อมไม่มีคนดีคนเลวเลย เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านชื่อว่า
ทำลายความเป็นเชื้อสายแห่งตระกูลโสตถิยะ จะ
ประพฤติเพศพราหมณ์ ที่เขาสรรเสริญกันอยู่ทำไม.
คาถานั้นมีอรรถาธิบายว่า แม้นว่าความพิเศษของผู้มีคุณเหล่านั้นไม่
มีเลยและย่อมเป็นวรรณะเดียวกันได้ละก็ เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านก็กำลังทำลาย
ความเป็นผู้อุภโตสุชาตเสีย ชื่อว่ากำลังประพฤติทำลายความเป็นพราหมณ์ลง
เสมอกับจัณฑาล ทำลายความเป็นเชื้อสายแห่งสกุลโสตถิยะเสียสิ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 401
ครั้งนั้นท่านปุโรหิตจะเปรียบเทียบให้เขาเข้าใจ จึงกล่าวสองคาถาว่า
วิมานที่เขาคลุมด้วยผ้ามีสีต่าง ๆ กัน เงาแห่งผ้า
เหล่านั้นย่อมเป็นสีเดียวกันหมด สีที่ย้อมนั้น ย่อมไม่
เกิดเป็นสีฉันใด ในมนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น เมื่อใด
มาณพบริสุทธิ์ เมื่อนั้นมาณพเหล่านั้นเป็นผู้มีวัตรดี
เพราะรู้ทั่วถึงธรรม ย่อมละชาติของตนได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิมาน มีอรรถาธิบายว่า วิมานหมายถึง
เรือนหรือมณฑป. บทว่า ฉายา ความว่า ที่มุงด้วยผ้าย้อมสีต่าง ๆ กัน
แสงฉายของผ้าเหล่านั้นจะเหลื่อมกันไม่ได้ สีที่ย้อมต่าง ๆ กันนั้น ย่อมไม่เป็น
สีวิจิตรไป แสงฉายทั้งหมดย่อมเป็นสีเดียวกันทั้งนั้น. บทว่า เอวเมว ความ
ว่า แม้ในหมู่มนุษย์ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน พวกพราหมณ์ไม่มีความรู้บาง
พวกร่วมกันบัญญัติวัณณะ ๔ ไว้โดยหาการกระทำมิได้เลย เธออย่าถือว่าข้อนี้มี
อยู่เลย กาลใดท่านผู้บัณฑิตในโลกนี้ผุดผ่องด้วยอริยมรรค กาลนั้นบุรุษบัณฑิต
มีวัตรดี คือ มีศีลเพราะทราบนิพพานธรรมตามที่ท่านเหล่านั้นบรรลุแล้ว
ท่านเหล่านั้นย่อมเปลื้องชาติของตนเสีย เพราะว่าตั้งแต่บรรลุพระนิพพานไป
ขึ้นชื่อว่าชาติก็หาประโยชน์มิได้เลย.
อุททาลกะไม่สามารถ จะนำปัญหามาถามอีกได้ ก็นั่งจำนน. ทีนั้น
ท่านพราหมณ์จึงกราบทูลถึงเขากะพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช พวกนี้ทั้งหมด
เป็นผู้หลอกลวง จักพากันทำลายชมพูทวีปทั้งสิ้นเสียด้วย ความหลอกลวง
เป็นแท้ พระองค์โปรดให้อุททาลกะสึกเสีย ตั้งให้เป็นปุโรหิต ที่เหลือเล่าก็
โปรดให้สึกเสีย พระราชทานโล่และอาวุธ โปรดให้เป็นเสวกเสียเถิด พระราชา
ตรัสว่า ดีละ ท่านอาจารย์ ได้ทรงกระทำอย่างนั้นแล้ว. อุททาลกะเป็นข้าเฝ้า
พระราชาไปตามยถากรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 402
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อนเธอก็เคยหลอกลวงเหมือนกัน
ทรงประชุมชาดกว่า อุททาลกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้หลอกลวง
พระราชาได้มาเป็นอานนท์ ส่วนปุโรหิตได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาอุททาลกชาดก
๕. ภิสชาดก
ว่าด้วยการลองใจฤาษี
[๑๙๒๑] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้า
บัวของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงได้ม้า วัว เงิน ทอง
และภรรยาที่น่าชอบใจ จงพร้อมพรั่งด้วยบุตรและ
ภรรยามากมายเถิด.
[๑๙๒๒] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้า
บัวของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงได้ทัดทรงระเบียบ
ดอกไม้ ลูบไล้กระแจะจันทน์ แคว้นกาสีจงเป็นผู้มาก
ไปด้วยบุตร จงกระทำความเพ่งเล็งอย่างแรงกล้า ใน
กามทั้งหลายเถิด.
[๑๙๒๓] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้า
บัวของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงเป็นคฤหัสถ์มีธัญชาติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 403
มากมาย สมบูรณ์ด้วยเครื่องกสิกรรม มียศ จงได้บุตร
ทั้งหลาย มั่งมีทรัพย์ ได้กามคุณทุกอย่าง จงอยู่
ครองเรือนอย่างไม่เห็นความเสื่อมเลย.
[๑๙๒๔] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้า
บัวของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงปราบดาภิเษกเป็น
กษัตริย์บรมราชาธิราช มีกำลัง มียศศักดิ์ จงครอบ-
ครองแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขตเถิด.
[๑๙๒๕] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้า
บัวของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงเป็นพราหมณ์มัวประกอบ
ในทางทำนายฤกษ์ยาม อย่าได้คลายความยินดีใน
ตำแหน่ง ท่านผู้เป็นเจ้าแคว้นผู้มียศ จงบูชาผู้นั้น
ไว้เถิด.
[๑๙๒๖] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้า
บัวของท่านไป ขอชาวโลกทั้งมวลจงสำคัญผู้นั้นว่า
เป็นผู้เชี่ยวชาญเวทมนต์ทั้งปวง ผู้เรืองตบะ ชาวชนบท
ทั้งหลายทราบดีแล้วจงบูชาผู้นั้นเถิด.
[๑๙๒๗] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้า
บัวของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงครอบครองบ้านส่วยอัน
พระราชาทรงประทานให้ เป็นบ้านที่มั่งคั่ง สมบูรณ์
ด้วยเหตุ ๔ ประการ ดุจท้าววาสวะพระราชทานให้
อย่าได้คลายความยินดีจนกระทั่งถึงความตายเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 404
[๑๙๒๘] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้า
บัวของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงเป็นนายบ้าน บันเทิง
อยู่ด้วยการฟ้อนรำขับร้องในท่ามกลางสหาย อย่าได้
รับความพินาศอย่างใดอย่างหนึ่งจากพระราชาเลย.
[๑๙๒๙] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หญิงใดลักเอา
เหง้าบัวของท่านไป ขอให้พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็น
เอกราช ทรงปราบปรามศัตรูได้ทั่วพื้นปฐพี ทรง
สถาปนาให้หญิงนั้นเป็นยอดสูตรจำนวนพัน ขอหญิง
นั้นจงเป็นมเหสีผู้ประเสริฐกว่านางสนมทั้งหลายเถิด.
[๑๙๓๐] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หญิงใดลักเอา
เหง้าบัวของท่านไป ขอให้หญิงนั้นจงเป็นทาสีไม่
สะดุ้งสะเทือนกินของดี ๆ ในท่ามกลางคนทั้งปวงที่มา
ประชุมกันอยู่ จงเที่ยวโอ้อวดลาภอยู่เถิด.
[๑๙๓๑] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้า
บัวของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงได้เป็นเจ้าอาวาสในวัด
ใหญ่ ๆ จงเป็นผู้ประกอบนวกรรมในเมืองกชังคละ
จงกระทำหน้าต่างตลอดวันเถิด.
[๑๙๓๒] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ช้างเชือกใดลัก
เอาเหง้าบัวของท่านไป ขอให้ช้างเชือกนั้นจงถูกคล้อง
ด้วยบ่วงบาศตั้งร้อย จงถูกนำออกจากป่าอันน่ารื่นรมย์
มายังราชธานี จงถูกทิ่มแทงด้วยปฏักและสับด้วยขอ
เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 405
[๑๙๓๓] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ลิงตัวใดลักเอา
เหง้าบัวของท่านไป ขอให้ลิงตัวนั้น มีพวงดอกไม้
สวมคอ ถูกเจาะหูด้วยดีบุก ถูกเฆี่ยนด้วยไม้เรียว เมื่อ
ฝึกหัดให้เล่นงู เข้าไปใกล้ปากงู ถูกมัดตระเวนเที่ยว
ไปตามตรอกเถิด.
[๑๙๓๔] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้ใดแกล้งกล่าว
ถึงของที่ไม่หายว่าหายก็ดี หรือผู้ใดสงสัยคนใดคน
หนึ่งก็ดี ขอให้ผู้นั้นจงได้บริโภคกามทั้งหลาย จงเข้า
ถึงความตายอยู่ในท่ามกลางเรือนเถิด.
[๑๙๓๕ ] สัตว์ทั้งหลายในโลก ย่อมพากันเที่ยว
แสวงหากามใด เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก
น่าฟูใจของสัตว์เป็นอันมากในชีวโลกนี้ เพราะเหตุไร
ฤาษีทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญกามนั้นเลย.
[๑๙๓๖] ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมภูต เพราะกาม
นั่นแล สัตว์ทั้งหลายจึงถูกประหาร ถูกจองจำ เพราะ
กามทั้งหลาย ทุกข์และภัยจึงเกิด เพราะกามทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายจึงประมาทลุ่มหลงกระทำกรรมอันเป็น
บาป สัตว์เหล่านั้นมีบาป จึงประสบบาปกรรม เมื่อ
ตายแล้วย่อมไปสู่นรก เพราะเห็นโทษในกามคุณดังนี้
ฤาษีทั้งหลาย จึงไม่สรรเสริญกาม.
[๑๙๓๗] ข้าแต่ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์
ข้าพเจ้าจะทดลองดูว่า ฤาษีเหล่านี้ยังน้อมไปในกาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 406
หรือไม่ จึงถือเอาเหง้าบัวที่ฝั่งน้ำไปฝังไว้บนบก ฤาษี
ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีบาป นี้เหง้ามันของท่าน.
[๑๙๓๘] ดูก่อนท้าวสหัสนัยน์เทวราช ฤาษี
เหล่านั้นมิใช่นักฟ้อนของท่าน และมิใช่ผู้ที่ท่านจะพึง
ล้อเล่น ไม่ใช่พวกพ้องและสหายของท่าน เพราะ
เหตุไร ท่านจึงมาดูหมิ่นล้อเล่นกับฤาษีทั้งหลาย.
[๑๙๓๙] ข้าแต่ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้มี
ปัญญากว้าง ท่านเป็นอาจารย์และเป็นบิดาของข้าพเจ้า
ขอเงาเท้าของท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าผู้พลั้งพลาด
ขอได้โปรดอดโทษครั้งหนึ่งเถิด บัณฑิตทั้งหลายย่อม
ไม่มีความโกรธเป็นกำลัง.
[๑๙๔๐] การที่พวกเราได้เห็นท้าววาสวะผู้เป็น
จอมภูต นับเป็นราตรีเอกของพวกเราเหล่าฤาษีซึ่งอยู่
กันด้วยดี ท่านผู้เจริญ ทุกคนจงพากันดีใจเถิด เพราะ
ท่านพราหมณ์ได้เหง้าบัวคืนแล้ว.
[๑๙๔๑] เราตถาคต สารีบุตร โมคคัลลานะ
กัสสปะ อนุรุทะ ปุณณะและอานนท์ เป็น ๗ พี่น้อง
ในครั้งนั้น อุบลวรรณาเป็นน้องสาว ขุชชุตตราเป็น
ทาสี จิตตคฤหบดีเป็นทาส สาตาคีระเป็นเทวดา
ปาลิเลยยกะเป็นช้าง มธุระผู้ประเสริฐเป็นวานร
กาฬุทายีเป็นท้าวสักกะ ท่านทั้งหลายจงทรงจำชาดก
ไว้ด้วยประการฉะนี้แล.
จบภิสชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 407
อรรถกถาภิงสกชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระ-
ปรารภภิกษุผู้กระสัน ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อสฺส คว รชฏ ชาตรูป
ดังนี้.
ก็เรื่องปัจจุบันจักแจ่มแจ้งในกุสราชชาดก แต่ว่าในกาลครั้งนั้น
พระศาสดาตรัสถามพระภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอเป็นผู้กระสัน
จริงหรือ ครั้นภิกษุนั้นรับว่า จริงพระเจ้าข้า ตรัสถามต่อไปว่า อาศัยอะไร
เมื่อทูลว่า กิเลสพระเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอบวชในศาสนาอันมีธรรม
เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้เห็นปานนี้ เหตุไรยังจะอาศัยกิเลสกระสันอยู่เล่า
บัณฑิตในครั้งก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติบวชในลัทธิเป็นพาเหียร ยัง
พากันปรารภถึงวัตถุกาม และกิเลสกามกระทำได้เป็นคำสบถอยู่ได้เลย ทรง
นำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ผู้มหาศาล มีสมบัติ
๘๐ โกฏิ. พวกญาติพากันขนานนามว่า มหากาญจนกุมาร. ครั้นเมื่อท่าน
เดินได้ ก็เกิดบุตรคนอื่นอีกคนหนึ่ง พวกญาติขนานนามว่า อุปกาญจนกุมาร
โดยลำดับอย่างนี้ ได้มีบุตรถึง ๗ คน. แต่คนสุดท้องเป็นธิดาคนหนึ่ง พวก
ญาติขนานนามว่า กาญจนเทวี. มหากาญจนกุมารโตแล้วเรียนศิลปะทั้งปวง
มาจากเมืองตักกศิลา. ครั้งนั้นมารดาบิดาปรารถนาจะผูกพันท่านไว้ด้วยฆราวาส
พูดกันว่า เราพึงสู่ขอทาริกาจากสกุลที่มีกำเนิดเสมอกับตนให้เจ้า เจ้าจงดำรง
ฆราวาสเถิด. ท่านบอกว่า คุณพ่อคุณแม่ครับ ข้าพเจ้าไม่ต้องการครองเรือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 408
เลย เพราะภพทั้ง ๓ ปรากฏแก่ข้าพเจ้า ว่ามีภัยน่าสะพรึงกลัวเหมือนไฟติดอยู่
ทั่ว ๆ ไป เป็นเครื่องจองจำเหมือนเรือนจำ เป็นของพึงเกลียดชังอย่างยิ่ง
เหมือนกับแผ่นดิน อันเป็นที่เทโสโครก ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเมถุนธรรมแม้แต่
ความฝัน บุตรคนอื่น ๆ ของท่านมีอยู่ โปรดบอกให้เขาครองเรือนต่อไปเถิด
แม้จะถูกอ้อนวอนบ่อย ๆ แม้จะถูกท่านบิดามารดาส่งพวกสหายไปอ้อนวอนก็
คงไม่ปรารถนาเลย. ครั้งนั้นพวกสหายพากันถามท่านว่า เพื่อนเอ๋ยก็แก
ปรารถนาอะไรเล่าจึงไม่อยากจะบริโภคกามคุณเลย. ท่านบอกอัธยาศัยในการ
ออกจากกามแก่พวกนั้น มารดาบิดาฟังเรื่องนั้นแล้วก็ขอร้องบุตรที่เหลือ. แม้
บุตรเหล่านั้นต่างก็ไม่ต้องการ. กาญจนเทวีก็ไม่ต้องการเหมือนกัน. อยู่มาไม่ช้า
มารดาบิดาก็พากันถึงแก่กรรม. มหากาญจนบัณฑิต ครั้นกระทำกิจที่ต้องทำให้
แก่มารดาบิดาแล้ว ก็ให้มหาทานแก่คนกำพร้าและคนขัดสนด้วยทรัพย์ ๘๐ โกฎิ
แล้วชวนน้องชาย ๖ คนและน้องสาว ทาสชายคนหนึ่ง ทาสหญิงคนหนึ่ง และ
สหายคนหนึ่ง ออกมหาภิเนษกรมณ์เข้าสู่ป่าหิมพานต์. ท่านเหล่านั้นอาศัยสระ
ปทุมในป่าหิมพานต์นั้นสร้างอาศรม ณ ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์แล้วพากันบวช
เลี้ยงชีพด้วยมูลผลาหารในป่า. ท่านเหล่านั้นไปป่าก็ไปร่วมกัน ผู้หนึ่งพบต้นไม้
หรือใบไม้ ณ ที่ใด ก็เรียกคนอื่น ๆ ไป ณ ที่นั้น ต่างพูดกันถึงเรื่องที่เห็น
ที่ได้ยินเป็นต้นไปพลาง เลือกเก็บผลไม้ใบไม้ไปพลาง เป็นเหมือนที่ทำงาน
ของชาวบ้าน. ดาบสมหากาญจน์ผู้อาจารย์ ดำริว่า อันการเที่ยวแสวงหาผลาผล
ด้วยอำนาจความคะนองเช่นนี้ ดูไม่เหมาะแก่พวกเราผู้ทิ้งทรัพย์ ๘๐ โกฏิมาบวช
เสียเลย ตั้งแต่นี้ไปเราคนเดียวจักหาผลไม้มา. พอถึงอาศรมแล้วท่านก็เรียก
ดาบสเหล่านั้นทุกคนมาประชุมกันในเวลาเย็น แจ้งเรื่องนั้นให้ทราบแล้ว
กล่าวว่า พวกเธอจงอยู่ทำสมณธรรมกันในที่นี้แหละ ฉันจักไปหาผลาผลมา.
ครั้งนั้นดาบสมีอุปกาญจนะเป็นต้น พากันกล่าวว่า ท่านอาจารย์ขอรับ พวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 409
ข้าพเจ้าพากันอาศัยท่านบวชแล้ว ท่านจงกระทำสมณธรรม ณ ที่นี้แหละ
น้องสาวของพวกเราก็ต้องอยู่ที่นี้เหมือนกัน ทาสีเล่าก็ต้องอยู่ในสำนักของ
น้องสาวนั้น พวกข้าพเจ้า ๘ คนจักผลัดกันไปนำผลาผลมา ท่านทั้งสามคน
เป็นผู้พันวาระ แล้วรับปฏิญญา. ตั้งแต่บัดนั้น คนทั้ง ๘ ก็ผลัดกันวาระละ
หนึ่งคน หาผลาผลมา. ที่เหลือคงอยู่ในศาลาของตนนั้นเอง ไม่จำเป็นก็ไม่
ได้รวมกัน. ผู้ที่ถึงวาระหาผลาผลมาแล้ว ก็แบ่งเป็น ๑๑ ส่วน เหนือแผ่นหิน
ซึ่งมีอยู่แผ่นหนึ่ง เสร็จแล้วตีระฆัง ถือเอาส่วนแบ่งของตนเข้าไปที่อยู่. ดาบส
ที่เหลือพากันออกมาด้วยเสียงระฆังอันเป็นสัญญา ไม่กระทำเสียงเอะอะ เดินไป
ด้วยท่าทางอันแสดงความเคารพ ถือเอาส่วนแบ่งที่จัดไว้เพื่อตน แล้วไปที่อยู่ฉัน
แล้วทำสมณธรรมต่อไป. กาลต่อมา ดาบสทั้งหลายนำเหง้าบัวมาฉัน พากันมีตบะ
รุ่งเรือง มีตบะแก่กล้า ชำนะอินทรีย์ได้อย่างยอดเยี่ยม ต่างกระทำกสิณกรรมอยู่.
ครั้งนั้น พิภพของท้าวสักกะหวั่นด้วยเดชแห่งศีลของดาบสเหล่านั้น.
ท้าวสักกะเล่าก็ยังทรงระแวงอยู่นั้นเองว่า ฤาษีเหล่านี้ยังน้อมใจไปในกามอยู่
หรือหามิได้หนอ. ท้าวเธอทรงดำริว่า เราจักคอยจับฤาษีเหล่านี้ แล้วสำแดง
อานุภาพซ่อนส่วนแบ่งของพระมหาสัตว์เสียตลอด ๓ วัน. วันแรกพระมหาสัตว์
ไม่เห็นส่วนแบ่งก็คิดว่า คงจักลืมส่วนแบ่งของเราเสียแล้ว ในวันที่สองคิดว่า
เราคงมีโทษ ชะรอยจะไม่ตั้งส่วนแบ่งไว้เพื่อเราด้วยต้องการจะประณาม ในวัน
ที่สามคิดว่า เหตุการณ์อะไรเล่านะถึงไม่ตั้งส่วนแบ่งแก่เรา ถ้าโทษของเราจักมี
เราต้องขอให้งดโทษ แล้วก็ตีระฆังเป็นสัญญาในเวลาเย็น. ดาบสทั้งหมดประชุม
กัน พูดกันว่าใครตีระฆัง. ท่านตอบว่า ฉันเอง. พ่อคุณทั้งหลายพากันถามว่า
เพราะเหตุไรเล่า ขอรับท่านอาจารย์. ตอบว่า พ่อคุณทั้งหลาย ในวันที่ ๓ ใครหา
ผลาผลมา. ดาบสท่านหนึ่งลุกขึ้นยืนกราบเรียนว่า ข้าพเจ้า ขอรับท่านอาจารย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 410
ถามว่า เมื่อเธอแบ่งส่วนที่เหลือ แบ่งส่วนเผื่อฉันหรือไม่เล่า. ตอบว่า
แบ่งครับท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าแบ่งไว้เป็นส่วนที่เจริญขอรับ. ถามว่า เมื่อ
วานเล่าเวรใครไปหามา. ท่านผู้อื่นลุกขึ้นยืนกราบเรียนว่า ข้าพเจ้าขอรับ.
ถามว่า เมื่อเธอแบ่งส่วนนึกถึงฉันหรือไม่. ตอบว่า ข้าพเจ้าตั้งส่วนอัน
เจริญไว้เผื่อท่านครับ. ถามว่า วันนี้เล่าใครหามา. อีกท่านหนึ่งลุกขึ้นยืน
กราบเรียนว่า ข้าพเจ้า. ถามว่า เมื่อเธอแบ่งส่วนได้นึกถึงฉันหรือไม่.
ตอบว่า ข้าพเจ้าตั้งส่วนที่เจริญไว้เพื่อท่านแล้วครับ. ท่านกล่าวว่า พ่อคุณ
ทั้งหลาย ฉันไม่ได้รับส่วนแบ่งสามวันทั้งวันนี้ ในวันแรกฉันไม่เห็นส่วนแบ่ง
คิดว่า ผู้แบ่งส่วนคงจักลืมฉันเสีย ในวันที่สองคิดว่า ฉันคงมีโทษอะไร ๆ ส่วน
วันนี้คิดว่า ถ้าโทษของฉันมี ฉันจักขอขมา จึงเรียกเธอทั้งหลายมาประชุมด้วย
ตีระฆังเป็นสัญญา เธอทั้งหลายต่างบอกว่า พวกเราพากันแบ่งส่วนเหง้าบัว
เหล่านี้ แล้วฉันไม่ได้ ควรจะรู้ตัวผู้ขโมยกินเหง้าบัวเหล่านั้น ขึ้นชื่อว่าการ
ขโมยเพียงเหง้าบัวก็ไม่เหมาะแก่ผู้ที่ละกามแล้วบวช. ดาบสเหล่านั้นฟังคำ
ของท่านแล้ว ต่างก็มีจิตเสียวสยองกันทั่วที่เดียวว่า โอ กรรมหนักจริง.
เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้อันใหญ่ในป่า ณ อาศรมบทนั้น ลงมาจากคาคบ
นั่งอยู่ในสำนักของดาบสเหล่านั้นเหมือนกัน. ช้างเชือกหนึ่งถูกจำปลอก ไม่
สามารถทนทุกข์ได้ ทำลายปลอกหนีเข้าป่าไป ได้เคยมาไหว้คณะฤาษีตามกาล
สมควร. แม้ช้างนั้นก็มายืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ยังมีลิงตัวหนึ่งเคยถูกให้เล่นกับงู
รอดมาได้จากมือหมองู เข้าป่าอาศัยอยู่ใกล้อาศรมนั้นเอง. วันนั้นลิงแม้นั้นก็นั่ง
ไหว้คณะฤาษีอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ท้าวสักกะดำริว่า จักคอยจับคณะฤาษีก็ไม่ได้
สำแดงกายให้ปรากฏยืนอยู่ในสำนักของดาบสเหล่านั้น. ขณะนั้นอุปกาญจน-
ดาบสน้องชายของพระโพธิสัตว์ ลุกจากอาสนะไหว้พระโพธิสัตว์แล้ว แสดง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 411
ความนอบน้อมแก่ดาบสที่เหลือถามว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่ได้ปรารถนา
สิ่งอื่นเลย จะได้เพื่อจะชำระตนเองหรือไม่. ท่านตอบว่า ได้จ๊ะ. อุปกาญจน-
ดาบสนั้น ยืนในท่ามกลางคณะฤาษี เมื่อจะกระทำสบถว่า ถ้าข้าพเจ้าฉันเหง้าบัว
ของท่านแล้ว ขอให้เป็นอย่างนี้เถิด จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้าบัวของ
ท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงได้ ม้า วัว เงิน ทอง และ
ภรรยาที่น่าชอบใจ จงพร้อมพรั่งด้วยบุตรและภรรยา
มากมายเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺส คว นี้ พึงทราบว่า เขากล่าว
ติเตียนวัตถุกามทั้งหลายว่า ปิยวัตถุมีประมาณเท่าใด ความโศกและความทุกข์
มีประมาณเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น เพราะความวิปโยคเหล่านั้น.
คณะฤาษีได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านผู้นิรทุกข์
คำสบถของท่านหนักยิ่งปานไร พากันปิดหู. ส่วนพระโพธิสัตว์กล่าวว่า
พ่อคุณเอ๋ย คำสบถของเธอหนักยิ่งนัก เธอไม่ได้ฉัน จงนั่ง ณ อาสนะสำหรับ
เธอเถิด. เมื่ออุปกาญจนดาบสทำสบถนั่งลงแล้ว น้องคนที่ ๒ ลุกขึ้นไหว้พระ-
มหาสัตว์ เมื่อจะชำระตนด้วยคำสบถ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้าบัวของท่าน
ไป ขอให้ผู้นั้นจงทัดทรงระเบียบ ดอกไม้ เครื่อง
ลูบไล้กระแจะจันทน์ แคว้นกาสี จงเป็นผู้มากไปด้วย
บุตร จงกระทำความเพ่งเล็งอย่างแรงกล้า ในกาม
ทั้งหลายเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 412
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติพฺพ ความว่า จงกระทำความเพ่งเล็ง
อย่างแรงกล้า ในวัตถุกามและกิเลสกาม. คำนี้ เขากล่าวด้วยอำนาจการปฏิเสธ
ทุกข์เท่านั้นว่า ผู้ใดมีความเพ่งเล็งอย่างแรงกล้าในวัตถุกามและกิเลสกามเหล่านั้น
ผู้นั้นย่อมได้รับทุกข์อย่างมหันต์ เพราะความวิปโยคเหล่านั้น.
เมื่อน้องชายที่ ๒ นั่งแล้ว ดาบสที่เหลือต่างก็ได้กล่าวคาถาคนละ
คาถา ตามควรแก่อัธยาศัยของตนว่า
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ได้ลักเอาเหง้าบัวของ
ท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงเป็นคฤหัสถ์มีธัญชาติมากมาย
สมบูรณ์ด้วยกสิกรรม มียศ จงได้บุตรทั้งหลาย จงมี
ทรัพย์ ได้กามคุณทุกอย่าง จงอยู่ครองเรือนอย่างไม่
เห็นความเสื่อมเลย.
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้าบัวของท่าน
ไป ขอให้ผู้นั้นจงปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์บรมราชา-
ธิราช มีกำลัง มียศศักดิ์ จงครอบครองแผ่นดินมี
มหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขตเถิด.
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเหง้าบัวของท่านไป
ขอให้ผู้นั้นจงเป็นพราหมณ์ มัวประกอบในทางทำนาย
ฤกษ์ยาม อย่าได้คลายความยินดีในตำแหน่ง ท่านผู้
เป็นเจ้าแคว้น ผู้มียศ จงบูชาผู้นั้น เถิด.
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้าบัวของท่าน
ไป ขอชาวโลกทั้งมวลจงสำคัญผู้นั้นว่า เป็นผู้เชี่ยว-
ชาญเวทมนต์ทั้งปวงผู้เรืองตบะ ชาวชนบททั้งหลาย
ทราบดีแล้ว จงบูชาผู้นั้นเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 413
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้าบัวของท่าน
ไป ขอให้ผู้นั้นจงครอบครองบ้านส่วยอันพระราชา
ทรงพระราชทานให้ เป็นบ้านที่มั่งคั่ง สมบูรณ์ด้วย
เหตุ ๔ ประการ ดุจท้าววาสวะพระราชทานให้ อย่า
ได้คลายความยินดีจนกระทั่งถึงความตายเถิด.
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้าบัวของท่าน
ไป ขอให้ผู้นั้นจงเป็นนายบ้าน บันเทิงอยู่ด้วยความ
ฟ้อนรำขับร้องในท่ามกลางสหาย อย่าได้รับความ
พินาศอย่างใดอย่างหนึ่ง จากพระราชาเลย.
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หญิงใดลักเอาเหง้าบัวของ
ท่านไป ขอให้พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นเอกราช ทรง
ปราบปรามศัตรูได้ทั่วพื้นปฐพี ทรงสถาปนาให้หญิง
นั้นเป็นยอดสตรีจำนวนพัน ขอหญิงนั้นจงเป็นมเหสี
ผู้ประเสริฐกว่านางสนมทั้งหลายเถิด.
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หญิงใดลักเอาเหง้าบัวของ
ท่านไป ขอให้หญิงนั้นจงเป็นทาส ไม่สะดุ้งสะเทือน
กินของดี ๆ ในท่ามกลางคนทั้งปวงที่มาประชุมกันอยู่
จงเที่ยวโออวดลาภอยู่เถิด.
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้าบัวของท่าน
ไป ขอให้ผู้นั้นเป็นเจ้าอาวาสในวัดใหญ่ ๆ จงเป็นผู้
ประกอบนวกรรมในเมืองกชังคละ จงกระทำหน้าต่าง
ตลอดวันเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 414
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ช้างเชือกใดลักเอาเหง้าบัว
ของท่านไป ขอให้ช้างเชือกนั้นจงถูกคล้องด้วยบ่วง
บาศตั้งร้อย จงถูกนำออกจากป่า อันน่ารื่นรมย์มายัง
ราชธานี จงถูกทิ่มแทงด้วยปฏักและสับด้วยขอเถิด.
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ลิงตัวใดลักเอาเหง้าบัว
ของท่านไป ขอให้ลิงตัวนั้นมีดอกไม้สวมคอ ถูกเจาะหู
ด้วยดีบุก ถูกเฆี่ยนด้วยไม้เรียว เมื่อฝึกหัดให้เล่นงู
เข้าไปใกล้ปากงู ถูกมัดตระเวนเที่ยวไปตามตรอกเถิด.
ในบรรดาคาถาเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๓ ที่น้องชาย
คนที่ ๓ ของพระโพธิสัตว์กล่าวเป็นคำสบถ. บทว่า กสิมา ได้แก่ กสิกรรม
ที่สมบูรณ์. บทว่า ปุตฺเต คิหี ธินิมา สพฺพกาเม ความว่า ให้ผู้นั้น
เป็นชาวนามีกสิกรรมอันสมบูรณ์ จงได้บุตรมาก มีเหย้าเรือน มีทรัพย์ มีเเก้ว
๗ ประการ ได้สิ่งที่น่าใคร่มีรูปเป็นต้นทุกประเภท. บทว่า วย อปสฺส ความว่า
จงไม่เห็นความเสื่อมของตนแม้จะสมควรแก่บรรพชาในเวลาแก่ จงครองเรือน
อันเพียบพร้อมด้วยเบญจกามคุณเรื่อยไปดังนี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่าผู้ที่เพียบ
พร้อมด้วยเบญจกามคุณนั้น ย่อมถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง ด้วยความพลัด
พรากจากกามคุณ. ในคาถาที่น้องชายคนที่ ๔ กล่าว บทว่า ราชาธิราชา ได้แก่
เป็นพระราชาผู้ยิ่งในระหว่างแห่งพระราชาทั้งหลายนี้ท่านแสดงโทษในราชสมบัติ
ว่า ธรรมดาว่าท่านผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อความยิ่งใหญ่พลัดพรากไป ย่อมเกิดทุกข์อย่าง
ใหญ่หลวง. ในคาถาที่น้องชายคนที่ ๕ กล่าว บทว่า อวีตราโค ได้แก่ ผู้มีตัณหา
ด้วยตัณหาอันเป็นที่ตั้งของปุโรหิต ทั้งนี้ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า ความเป็นปุโรหิต
ของพราหมณ์ปุโรหิตถูกมฤตยูกลืนเสียเท่านั้น ความโทมนัสใหญ่หลวงย่อมเกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 415
ในคาถาที่น้องชายคนที่ ๖ กล่าว บทว่า ตปสฺสีน ความว่า ชาวโลก
ทั้งปวงจงสำคัญเขาว่า เป็นผู้มีตบะ สมบูรณ์ด้วยศีล ท่านกล่าวทั้งนี้ด้วยสามารถ
ติเตียนลาภสักการะว่า ความโทมนัสใหญ่หลวงย่อมเกิดเพราะลาภสักการะปราศ
ไปเสีย. ในคาถาที่ดาบสผู้เป็นสหายกล่าว บทว่า จตุสฺสท ความว่า ผู้ใด
ลักเหง้าบัวของท่านไป ผู้นั้นจงครอบครองบ้านส่วยด้วยอุดมเหตุ ๔ สถาน คือ
ด้วยผู้คน เพราะเป็นผู้มีคนคับคั่ง ด้วยข้าวเปลือก เพราะข้าวเปลือกมากมาย
ด้วยฟืนหาได้ง่าย และด้วยน้ำ เพราะมีน้ำสมบูรณ์มั่งคั่ง อันพระราชาทรง
พระราชทาน. บทว่า วาสเวน ความว่า อันไม่หวั่นไหว ดุจท้าววาสวะทรง
ประทาน คือ อันพระราชานั้นพระราชทานแล้ว เพราะให้พระราชาพระองค์
นั้นทรงโปรดปราน ด้วยอานุภาพแห่งพรที่ได้จากท้าววาสวะ. บทว่า อวีตราโค
ความว่า จงมีราคะไม่ไปปราศเลย คือยังจมอยู่ในปลักกาม เหมือนสุกรเป็นต้น
จมปลักตมอยู่ฉะนั้น ตกไปสู่ความตายเถิด. ดาบสผู้สหายนั้น เมื่อแถลงโทษ
ของกามทั้งหลาย จึงกล่าวอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
ในคาถาที่ทาสกล่าว บทว่า คามณี ความว่า เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ทาสแม้นี้ก็ติเตียนกามทั้งหลายเหมือนกัน จึงกล่าวอย่างนี้. ในคาถาที่กาญจนเทวี
กล่าว บทว่า ย ได้แก่ หญิงใด. บทว่า เอกราชา คืออัครราชา. บทว่า
อิตฺถีสหสฺสาน ท่านกล่าวด้วยความสละสลวยแห่งคำอธิบายว่า ทรงตั้งไว้ใน
ตำแหน่งที่เลิศกว่าหญิง ๑๖,๐๐๐ นาง. บทว่า สีมนฺตินีน ความว่า แห่งหญิง
ผู้ประเสริฐกว่านางสนมทั้งหลาย. กาญจนเทวีนั้น แม้ดำรงอยู่ในความเป็นหญิง
ก็ติเตียนกามทั้งหลาย ดุจกองคูถที่มีกลิ่นเหม็นฉะนั้น จึงได้กล่าวอย่างนี้ด้วย
ประการฉะนี้. ในคาถาที่ทาสีกล่าว บทว่า สพฺพสมาคตาน ความว่า
ให้ผู้นั้นเป็นทาสีนั่งไม่หวั่นไหวไม่สะดุ้งสะเทือน บริโภคของมีรสดี ในท่าม-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 416
กลางคนทั้งปวงที่ประชุมกันได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่า การนั่งกินในสำนักของเจ้านาย
ทั้งหลาย เป็นเรื่องอัปรีย์ของพวกทาสี เหตุนั้น นางทาสีนั้น จึงกล่าวอย่างนี้
เพราะเป็นเรื่องอัปรีย์ของตน. บทว่า จราตุ แปลว่า จงประพฤติ บทว่า
ปรลาเภน วิกตถมานา ความว่า กระทำกรรมแห่งผู้ล่อลวงเพราะเหตุแห่ง
ลาภ ยังลาภสักการะให้เกิดขึ้นเถิด. นางแม้ดำรงอยู่ในความเป็นทาสี ก็ยัง
ติเตียนวัตถุแห่งกิเลสเหมือนกันด้วยคาถานี้.
ในคาถาที่เทวดากล่าว บทว่า อาวาสิโก ความว่า ผู้ปกกรองอาวาส.
บทว่า กชงฺคลาย ความว่า ในนครมีชื่ออย่างนั้น ได้ยินว่า ในนครนั้น
มีทัพสัมภาระหาได้ง่าย. บทว่า อาโลกสนฺธึ ทิวสา ความว่า จงกระทำ
บานหน้าต่างตลอดวันเถิด ได้ยินว่า เทวบุตรนั้น ในกาลแห่งพระพุทธกัสสป
ได้เป็นพระเถระในสงฆ์ ในมหาวิหารเก่า มีบริเวณ ๑ โยชน์ ติดกับเมือง
กชังคละ เมื่อกระทำนวกรรมในวิหารเก่านั่นแล ต้องเสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวง
เหตุนั้นจึงปรารภถึงทุกข์นั้นแล จึงได้กล่าวอย่างนี้.
ในคาถาที่ช้างกล่าว บทว่า ปาสสเตหิ ความว่า ด้วยบ่วงจำนวนมาก
บทว่า ฉพฺภิ ความว่า ในฐานะ ๖ คือ เท้า ๔ คอ ๑ ส่วนสะเอว ๑. บทว่า
คุตฺเตหิ ความว่า ด้วยปลอกเหล็กยาว มีเงี่ยงสองทาง. บทว่า ปาจเนภิ
ได้แก่ ด้วยปฏักคือด้วยขอสับ ได้ยินว่า ช้างนั้นปรารภถึงทุกข์ที่ตนเข็ดหลาบ
มาแล้วนั้นเอง จึงกล่าวอย่างนี้. ในคาถาที่วานรกล่าว บทว่า อลกฺกมาลิ
ความว่า ประกอบด้วยมาลาสวมคอที่หมองูใส่คอวางไว้ บทว่า ติปุกณฺณ-
วิทฺโธ ความว่า ถูกเจาะหูด้วยดีบุก. บทว่า ลฏฺิหโต ความว่า หมองู
ให้ศึกษากีฬางู ถูกเฆี่ยนด้วยไม้เรียว. แม้วานรนั้นได้กล่าวอย่างนี้ หมายถึง
ทุกข์ที่ตนได้เสวยในเงื้อมมือของหมองู.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 417
ก็เมื่อชนทั้ง ๑๓ สบถกันอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ดำริว่า บางทีพวก
เหล่านี้พึงกินแหนงในเราว่า ผู้นี้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่หายไปเลยว่าหายไป ดังนี้
เราต้องสบถบ้าง เมื่อทำสบถ จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้ใดแลแกล้งกล่าวถึงของ
ที่ไม่หายว่าหายก็ดี หรือผู้สงสัยคนใดคนหนึ่งก็ดี ขอ
ให้ผู้นั้นจงได้บริโภคกามทั้งหลาย จงเข้าถึงความตาย
อยู่ในท่ามกลางเรือน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โภนฺโต เป็นอาลปนะ ท่านอธิบายไว้ว่า
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้ใดเล่ากล่าวถึงส่วนที่มิได้หายไปว่าหายไปหมดแล้ว หรือ
ผู้ใดสงสัยในพวกเธอคนใดคนหนึ่ง ให้ผู้นั้นจงได้และจงบริโภคเบญจกามคุณ
อย่าได้บรรพชาอันน่ารื่นรมย์เลยเทียวนะ จงตายเสียในท่ามกลางเรือนนั่นเทียว.
ก็แลเมื่อฤาษีทั้งหลายพากันสบถแล้ว ท้าวสักกะทรงกลัว คิดว่าเรา
หมายจะทดลองพวกนี้ดู จึงทำให้เหง้าบัวหายไป พวกเหล่านี้พากันติเตียนกาม
ทั้งหลาย ประหนึ่งก้อนน้ำลายที่ถ่มทิ้ง ทำสบถกัน เราต้องถามพวกเหล่านั้น
ถึงเหตุที่ติเตียนกามคุณดู แล้วทรงสำแดงกายให้ปรากฏ ทรงไหว้พระโพธิสัตว์
เมื่อตรัสถาม ตรัสคาถาสืบไปว่า
สัตว์ทั้งหลายในโลก ย่อมพากันเที่ยวแสวงหา
กามใด เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าฟูใจ
ของสัตว์เป็นอันมากในชีวโลกนี้ เพราะเหตุใด ฤาษี
ทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญกามนั้นเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยเทสมานา มีอรรถาธิบายว่า ฝูงสัตว์
ต่างเสาะหาวัตถุกามและกิเลสกามอันใด ด้วยกรรมทั้งสมควรและไม่สมควร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 418
มีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น พากันท่องเที่ยวไปในโลก กามนั้นเป็นสิ่ง
น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก และน่าชื่นใจของสัตว์เป็นอันมาก คือของมวญ
เทพดาและมนุษย์ เหตุไรเล่า หมู่ฤาษีจึงมิได้สรรเสริญกามทั้งหลายเลย. ด้วย
บทว่ากามทั้งหลายนี้ ท้าวสักกะทรงแสดงวัตถุนั้นโดยสรุป.
ครั้งนั้น เมื่อพระมหาสัตว์จะแก้ปัญหาของท้าวเธอ ได้กล่าวคาถา ๒
คาถาว่า
ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมภูต เพราะกามนั่นแล
สัตว์ทั้งหลายจึงถูกประหาร ถูกจองจำ เพราะกาม
ทั้งหลาย ทุกข์และภัยจึงเกิด เพราะกามทั้งหลาย สัตว์
ทั้งหลายจึงประมาทลุ่มหลง กระทำกรรมอันเป็นบาป
สัตว์เหล่านั้นมีบาป จึงประสบบาปกรรม เมื่อตายแล้ว
ย่อมไปสู่นรก เพราะเห็นโทษในกามคุณดังนี้ ฤาษี
ทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญกาม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเมสุ ความว่า คนทั้งหลายย่อมกระทำ
ทุจริตทั้งหลายมีกายทุจริตเป็นต้น เพราะเหตุแห่งกาม คือ เพราะอาศัยกาม
ทั้งหลาย. บทว่า หญฺเร ความว่า ย่อมเดือดร้อนเพราะอาชญาเป็นต้น.
บทว่า พชฺฌเร ความว่า ย่อมถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือเชือกเป็นต้น.
บทว่า ทุกฺข ได้แก่ ทุกข์มิใช่ความสำราญอันเป็นไปทางกายและเป็นไปทาง
จิต. บทว่า ภย ได้แก่ ภัยทั้งปวง มีการติเตียนตนเป็นต้น. พระมหาสัตว์
เรียกท้าวสักกะว่า ภูตาธิบดี. บทว่า อาทีนว กามคุเณสุ ทิสฺวา ความว่า
เพราะเห็นโทษเห็นปานนี้ ก็โทษนี้นั้น พึงแสดงด้วยสูตรทั้งหลาย มีทุกขักขนธ-
สูตรเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 419
ท้าวสักกะทรงสดับถ้อยคำของพระมหาสัตว์มีพระมนัสสลด ตรัสคาถา
ต่อไปว่า
ข้าแต่ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ข้าพเจ้าจะ
ทดลองดูว่าฤาษีเหล่านี้ยังน้อมไปในกามหรือไม่ จึงถือ
เอาเหง้าบัวที่ฝั่งน้ำไปฝังไว้บนบก ฤาษีทั้งหลายเป็นผู้
บริสุทธิ์ ไม่มีบาป นี้เหง้าบัวของท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วีมสมาโน ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
กระผมทดลองว่า ฤาษีเหล่านี้น้อมจิตไปในกามหรือไม่. บทว่า อิสิโน ความว่า
ถือเอาเหง้าบัวอันเป็นของท่านผู้แสวงหา. บทว่า ตีเร คเหตฺวาน ความว่า
ถือเอาเหง้าบัวที่ท่านเก็บไว้ที่ฝั่งแม่น้ำแล้วฝังไว้ ณ ส่วนหนึ่งบนบก. บทว่า
สุทฺธา ความว่า บัดนี้เรารู้ถึงการกระทำสบถของท่าน ฤาษีเหล่านี้เป็นผู้บริสุทธิ์
ไม่มีบาปอยู่.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้วกล่าวว่า
ดูก่อนท้าวสหัสนัยน์เทวราช ฤาษีเหล่านี้ มิใช่
นักฟ้อนของท่านและมิใช่ผู้ที่ทานจะพึงล้อเล่น ไม่ใช่
พวกพ้องและสหายของท่าน เพราะเหตุไร ท่านจึงมา
ดูหมิ่นล้อเล่นกับฤาษีทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เต นฏา ความว่า ดูก่อนท้าวเทวราช
พวกกระผมไม่ใช่เป็นนักฟ้อนของท่านและเป็นผู้ไม่สมควรที่ใคร ๆ จะพึงล้อเล่น
ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่สหายของท่าน เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะอะไร พระองค์จึงทำการ
ดูหมิ่น เพราะอาศัยอะไร พระองค์จึงล้อเล่นกับฤาษีทั้งหลาย.
ครั้งนั้นท้าวสักกะ เมื่อจะขอขมาท่าน จึงกล่าวคาถาที่ ๒๐ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 420
ข้าแต่ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้มีปัญญาดุจ
แผ่นดิน ท่านเป็นอาจารย์และเป็นบิดาของข้าพเจ้า
ขอเงาเท้าของท่าน จงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าผู้พลั้ง-
พลาด ขอได้โปรดอดโทษสักครั้งหนึ่งเถิด บัณฑิต
ทั้งหลาย ย่อมไม่มีความโกรธเป็นกำลัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอสา ปติฏฺา ความว่า เงาแห่งเท้า
ของท่านนี้ จงเป็นที่พึ่งแห่งความพลั้งพลาดของข้าพเจ้าในวันนี้. บทว่า โกป-
พลา ความว่า ขึ้นชื่อว่าบัณฑิตทั้งหลาย ย่อมมีขันติเป็นกำลัง มิใช่เป็นผู้มี
ความโกรธเป็นกำลัง.
พระมหาสัตว์อดโทษแก่ท้าวสักกเทวราชแล้ว เมื่อจะให้คณะฤาษีอด
โทษด้วยตนเอง จึงกล่าวคาถาต่อไปว่า
การที่พวกเราได้เห็นท้าววาสวะผู้เป็นจอมภูต
นับเป็นราตรีเอกของพวกเราเหล่าฤาษีซึ่งอยู่กันด้วยดี
ท่านผู้เจริญทุกคนจงพากันดีใจเถิดเพราะท่านพราหมณ์
ได้เหง้าบัวคืนแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวาสิต อิสีน เอกรตฺตึ มีอรรถา-
ธิบายว่า เป็นราตรีเอกที่ผู้มีอายุทั้งหลายพากันอยู่ในป่านี้ เป็นอันอยู่ดีกันทั้งนั้น
เพราะเหตุไร เหตุว่าพวกเราพากันเห็นท้าววาสวะผู้เป็นเจ้าแห่งภูต ถ้าพวกเรา
อยู่ในเมืองละก็คงไม่ได้เห็น. บทว่า โภนฺโต ความว่า พ่อมหาจำเริญเอ๋ย
ทุกคนจงดีใจเถิด จงปลื้มใจเถิด จงอดโทษแก่ท้าวสักกเทวราชเถิด เพราะเหตุ
ไรเล่า เพราะท่านพราหมณ์ได้เหง้าบัวคืนแล้ว คือเหตุว่าอาจารย์ของพวกเธอ
ได้คืนเหง้าบัว.
ท้าวสักกเทวราชบังคมคณะฤาษีแล้วเสด็จไปสู่เทวโลก. ฝ่ายคณะฤาษี
พากันยังฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว ต่างได้เข้าถึงพรหมโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 421
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย โปราณกบัณฑิตพากันทำสบถละกิเลสอย่างนี้ แล้วทรงประกาศสัจจะ
เวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันดำรงในพระโสดาปัตติผล. เมื่อพระศาสดาจะทรง
ประชุมชาดก ได้ตรัสพระคาถาสุดท้ายอีก ๓ คาถาว่า
เราตถาคต สารีบุตร โมคคัลลานะ กัสสปะ
อนุรุทธะ ปุณณะและอานนท์เป็น ๗ พี่น้อง ในครั้งนั้น
อุบลวรรณาเป็นน้องสาว ขุชชุตตราเป็นทาสี จิตต-
คฤหบดีเป็นทาส สาตาคีระเป็นเทวดา ปาลิเลยยกะ
เป็นช้าง มธุระผู้ประเสริฐ เป็นวานร กาฬุทายีเป็น
ท้าวสักกะ ท่านทั้งหลายจงทรงจำชาดก ไว้ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาภึสกชาดก
๖. สุรุจิชาดก
ว่าด้วยการขอบุตร
[๑๙๔๒] ดิฉันถูกเชิญมา เป็นพระอัครมเหสี
คนแรกของพระเจ้าสุรุจิตลอดเวลาหมื่นปี พระเจ้าสุรุจิ
นำดิฉันมาผู้เดียว ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ดิฉันนั้นมิได้
รู้สึกเลยว่า ได้ล่วงเกินพระเจ้าสุรุจิผู้เป็นจอมประชาชน
ชาววิเทหรัฐ ครองพระนครมิลิลา ด้วยกาย วาจา
หรือใจ ทั้งในที่แจ้งหรือในที่ลับเลย ข้าแต่พระฤาษี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 422
ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อ
ดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง.
[๑๙๔๓] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ดิฉันเป็นที่พอใจ
ของพระภัสดา พระชนนีและพระชนกของพระภัสดา
ก็เป็นที่รักของดิฉัน พระองค์ท่านเหล่านั้นทรงแนะนำ
ดิฉัน ตลอดเวลาที่พระองค์ท่านยังทรงพระชนมชีพอยู่
ดิฉันนั้นยินดีในความไม่เบียดเบียน มีปกติประพฤติ
ธรรมโดยส่วนเดียว มุ่งบำเรอพระองค์ท่านเหล่านั้น
โดยเคารพ ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ข้าแต่
พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิด
เถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจงแตก
๗ เสี่ยง.
[๑๙๔๔] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ความริษยาหรือ
ความโกรธ ในสตรีผู้เป็นพระราชเทวีร่วมกัน ๑๖,๐๐๐
คน มิได้มีแก่ดิฉันในกาลไหน ๆ เลย ดิฉันชื่นชม
ด้วยความเกื้อกูลแก่พระราชเทวีเหล่านั้น และคนไหน
ที่จะไม่เป็นที่รักของดิฉันไม่มีเลย ดิฉันอนุเคราะห์หญิง
ผู้ร่วมพระสามีทั่วกันทุกคน ในกาลทุกเมื่อ เหมือน
อนุเคราะห์ตนฉะนี้ ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าว
คำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ
ขอศีรษะของดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง.
[๑๙๔๕] ดิฉันเลี้ยงดูทาสกรรมกร ซึ่งจะต้อง
เลี้ยงดูและชนเหล่าอื่นผู้อาศัยเลี้ยงชีวิต โดยเหมาะสม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 423
กับหน้าที่ ดิฉันมีอินทรีย์อันเบิกบานในกาลทุกเมื่อ
ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตร
จงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉัน
จงแตก ๗ เสี่ยง.
[๑๙๔๖] ดิฉันมีฝ่ามืออันชุ่มเลี้ยงดูสมณพราหมณ์
และแม้วณิพกเหล่าอื่น ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและ
น้ำทุกเมื่อ ข้าแต่พระฤาษีด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้
ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของ
ดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง.
[๑๙๔๗] ดิฉันเข้าอยู่ประจำอุโบสถ อันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดดิถีที่ ๑๔,๑๕ และดิถีที่ ๘
แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ ดิฉันสำรวมแล้ว
ในศีลทุกเมื่อ ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์
จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอ
ศีรษะของดิฉันจงแตก ๗ เสียง.
[๑๙๔๘] ดูก่อนพระราชบุตรีผู้เรืองยศงดงาม
คุณอันเป็นธรรมเหล่าใดในพระองค์ ที่พระองค์แสดง
แล้วคุณอันเป็นธรรมเหล่านั้นมีทุกอย่างพระราชโอรส
ผู้เป็นกษัตริย์ สมบูรณ์ด้วยพระชาติ เป็นอภิชาตบุตร
เรืองพระยศ เป็นพระธรรมราชาแห่งชนชาววิเทหะ
จงอุบัติแก่พระนาง.
[๑๙๔๙] ท่านผู้มีดวงตาน่ายินดี ทรงผ้าคลุกธุลี
สถิตอยู่บนเวหาอันไม่มีสิ่งใดกั้น ได้กล่าววาจาเป็นที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 424
พอใจจับใจของดิฉัน ท่านเป็นเทวดามาจากสวรรค์
เป็นฤาษีผู้มีฤทธิ์มาก หรือว่าเป็นใครมาถึงที่นี้ ขอ
ท่านจงกล่าวความจริงให้ดิฉันทราบด้วย.
[๑๙๕๐] หมู่เทวดามาประชุมกันที่สุธรรมาสภา
ย่อมกราบไหว้ท้าวสักกะองค์ใด ข้าพเจ้าเป็นท้าวสักกะ
องค์นั้น มีดวงตาพันหนึ่งมายังสำนักของท่าน หญิง
เหล่าใดในเทวโลกเป็นผู้มีปกติ ประพฤติสม่ำเสมอ
มีปัญญา มีศีล มีพ่อผัวแม่ผัวเป็นเทวดา ยำเกรงสามี
เทวดาทั้งหลายผู้มิใช่มนุษย์มาเยี่ยมหญิงเช่นนั้น ผู้มี
ปัญญา มีกรรมอันสะอาด เป็นหญิงมนุษย์ ดูก่อน
นางผู้เจริญ ท่านเกิดในราชสกุลนี้ พรั่งพร้อมไปด้วย
สิ่งที่น่าปรารถนาทุกอย่าง ด้วยสุจริตธรรมที่ท่านประ-
พฤติดีแล้ว ในปางก่อน ดูก่อนพระราชบุตรี ก็แหละ
ข้อนี้เป็นชัยชนะในโลกทั้งสองของท่าน คือ การอุบัติ
ในเทวโลกและเกียรติในชีวิตนี้ ดูก่อนพระนางสุเมธา
ขอให้พระนางจงมีสุข ยั่งยืนนาน จงรักษาธรรมไว้ใน
ตนให้ยั่งยืนเถิด ข้าพเจ้านี้ ขอลาไปสู่ไตรทิพย์ การ
พบเห็นท่าน เป็นการพบเห็นที่ดูดดื่มใจของข้าพเจ้า
ยิ่งนัก.
จบสุรุจิชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 425
อรรถกถาสุรุจิชาดก
พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ ณ ปุพพาราม
ปราสาทของมิคารมารดา ทรงพระปรารภพร ๘ ประการ ที่มหาอุบาสิกา
วิสาขาได้รับ ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า มเหสี รุจิโน ภริยา ดังนี้.
เรื่องพิสดารมีว่า วันหนึ่งนางวิสาขาฟังธรรมกถาในพระเชตวันวิหาร
แล้วกราบทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ฉันเช้า แล้วกลับเรือน.
พอล่วงราตรีนั้นมหาเมฆอันเป็นไปในทวีปทั้งสี่ยังฝนให้ตก. พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสเรียกพวกภิกษุมา ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝนตกในเชตวัน
อย่างใด ตกในทวีปทั้งสี่อย่างนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาเมฆกลุ่มสุดท้าย
พึงเปียกกายเราได้ ขณะที่ฝนกำลังตก ก็เสด็จหายไปจากพระเชตวันกับพวก
ภิกษุด้วยกำลังฤทธิ์ ปรากฏที่ซุ้มประตูของนางวิสาขา. อุบาสิกายินดีร่าเริง
บันเทิงใจว่า อัศจรรย์นัก พ่อเจ้าพระคุณเอ๋ย พิศวงนัก พ่อมหาจำเริญเอ๋ย
เพราะความที่พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มาก ทรงอานุภาพมาก ในเมื่อ
ห้วงน้ำเพียงเข่าก็มี เพียงเอวก็มีกำลังไหลไป เท้าหรือจีวรของภิกษุแม้
รูปหนึ่งที่ชื่อว่าเปียกไม่มีเลยแหละ แล้วอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธองค์
เป็นประมุข ได้กราบทูลข้อนี้ กะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเสร็จภัตกิจ
แล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพร ๘ ประการ
กะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้าข้า. ตรัสว่า วิสาขา พระตถาคตทั้งหลายผ่านพ้น
พรไปแล้วละ. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรใด ๆ ควรแก่
ข้าพระองค์ และพรใด ๆ ไม่มีโทษ ข้าพระองค์ทูลขอพรนั้น ๆ พระเจ้าข้า.
ตรัสว่า กล่าวเถิดวิสาขา. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 426
ปรารถนาเพื่อจะถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุสงฆ์ตลอดชีพ ฯลฯ เพื่อจะถวายภัต
แก่ภิกษุผู้มา ฯลฯ ภัตแก่ภิกษุผู้จะไป ฯลฯ ภัตรแก่ภิกษุไข้ ฯลฯ ภัตแก่ภิกษุ
ผู้พยาบาลไข้ ฯลฯ ยาแก่ภิกษุผู้ไข้ ฯลฯ ข้าวยาคูประจำ เพื่อจะถวายผ้าอาบ
แด่ภิกษุณีสงฆ์. พระศาสดาตรัสถามว่า วิสาขา เธอเห็นอำนาจประโยชน์
อะไรถึงขอพร ๘ ประการกะพระตถาคต เมื่อนางกราบทูลอานิสงส์ของพร ๘
ประการแล้ว ตรัสว่า ดีละ ดีละ วิสาขา เธอเห็นอานิสงส์เหล่านั้น ขอพร
๘ ประการ แล้วประทานพร ๘ ประการ ด้วยพระดำรัสว่า วิสาขา เราอนุญาต
พร ๘ ประการแก่เธอ แล้วทรงอนุโมทนาเสร็จเสด็จหลีกไป. อยู่มาวันหนึ่ง
เมื่อพระศาสดาเสด็จประทับอยู่ ณ ปุพพาราม พวกภิกษุพากันยกเรื่องขึ้น
สนทนาในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย มหาอุบาสิกาวิสาขา แม้ดำรงใน
อัตภาพมาตุคาม ก็ยังได้พร ๘ ประการจากสำนักทศพล โอ ! นางมีคุณมาก.
พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้พวกเธอสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไร เมื่อพวกภิกษุพากันกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่วิสาขาได้รับพรในสำนักของเรา
แม้ในครั้งก่อนก็เคยได้รับแล้วเหมือนกัน ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามสุรุจิเสวยราชสมบัติในพระ-
นครมิถิลา ทรงได้พระราชโอรส ก็ได้ทรงขนานพระนามพระราชโอรสนั้นว่า
สุรุจิกุมาร. พระกุมารทรงเจริญวัย ทรงดำริว่า เราจักเรียนศิลปะในเมือง
ตักกศิลา เสด็จไปประทับนั่งพักที่ศาลาใกล้ประตูพระนคร. ฝ่ายพระราช
โอรสของพระเจ้าพาราณสี ทรงพระนามพรหมทัตกุมาร ก็เสด็จไปในที่นั้น
เหมือนกัน ประทับนั่งพักเหนือแผ่นกระดาน ที่พระสุรุจิกุมารประทับนั่งนั้นแล.
พระกุมารทั้งสองทรงไต่ถามกันแล้ว มีความสนิทสนมกัน ไปสู่สำนักอาจารย์
ร่วมกันทีเดียว ทรงให้ค่าคำนับอาจารย์ ตั้งต้นเรียนศิลปะ ไม่ช้านานนัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 427
ต่างก็สำเร็จศิลปะ พากันอำลาอาจารย์ เสด็จร่วมทางกันมาหน่อยหนึ่ง ประทับ
ยืนที่ทางสองแพร่ง ทรงสวมกอดกันไว้ ต่างทรงกระทำกติกากัน เพื่อจะทรง
รักษามิตรธรรมให้ยั่งยืนไปว่า ถ้าข้าพเจ้ามีโอรส ท่านมีพระธิดา หรือท่านมี
พระโอรส ข้าพเจ้ามีธิดา เราจักกระทำอาวาหมงคล และวิวาหมงคล แก่โอรส
และธิดาของเรานั้น. ครั้นกุมารทั้งสองเสวยราชสมบัติ พระสุรุจิมหาราชมีพระ
โอรส. พระประยูรญาติขนานพระนามพระโอรสนั้นว่า สุรุจิกุมาร.
พระพรหมทัตมีพระธิดา. พระประยูรญาติขนานนามพระธิดานั้นว่า สุเมธา.
พระกุมารสุรุจิทรงจำเริญวัยเสด็จไปเมืองตักกศิลา ทรงเรียนศิลปะเสร็จเสด็จมา.
พระราชบิดามีพระประสงค์จะอภิเษกพระกุมารในราชสมบัติ ทรงพระ
ดำริว่าข่าวว่า พระเจ้าพาราณสีพระสหายของเรามีพระธิดา เราจักสถาปนานาง
นั้นแลให้เป็นอัครมเหสีของลูกเรา ทรงประทานบรรณาการเป็นอันมาก ทรงส่ง
พวกอำมาตย์ไปเพื่อต้องการพระนางนั้น. ขณะที่พวกอำมาตย์เหล่านั้นยังมา
ไม่ถึง พระเจ้าพาราณสีตรัสถามพระเทวีว่า นางผู้เจริญ อะไรเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ของมาตุคาม. พระเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม ความหึงหญิงที่
รวมผัว เป็นความทุกข์ของมาตุคามเจ้าค่ะ.. ตรัสว่า นางผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น
เราต้องช่วยกันเปลื้องสุเมธาเทวีลูกหญิงของเราจากทุกข์นั้น เราจักให้แก่ผู้ที่จัก
ครองเธอแต่นางเดียวเท่านั้น. เมื่ออำมาตย์เหล่านั้นพากันมาถึงทูลรับพระนาม
ของพระนางแล้ว ท้าวเธอจึงตรัสว่า ดูราพ่อทั้งหลาย อันที่จริง เมื่อก่อนข้าพเจ้า
กระทำปฏิญาณไว้กับพระสหายของข้าพเจ้า ถึงกระนั้นข้าพเจ้าก็มิได้ประสงค์เลย
ที่ส่งนางเข้าไปภายในกลุ่มสตรี เราประสงค์ที่ให้นางแก่ผู้ที่จะครองนางผู้เดียว
เท่านั้น. อำมาตย์เหล่านั้นพากันส่งข่าวสู่สำนักพระราชา พระราชาตรัสว่า
ราชสมบัติของเราใหญ่หลวง มิถิลานครมีอาณาเขตถึง ๗ โยชน์ กำหนดแห่ง
ราชัยถึง ๓๐๐ โยชน์ อย่างต่ำสุด ควรจะได้สตรี ๑๖,๐๐๐ นาง แล้วมิได้ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 428
บอกไป. แต่พระกุมารสุรุจิทรงสดับรูปสมบัติของพระนางสุเมธาแล้ว ก็ติดพระ
หทัยด้วยการเกี่ยวข้องโดยสดับ จึงส่งกระแสพระดำรัสถึงพระราชบิดามารดาว่า
หม่อมฉันจักครองนางผู้เดียวเท่านั้น หม่อมฉันไม่ต้องการกลุ่มสตรี โปรดเชิญ
นางมาเถิด. พระราชบิดามารดาไม่ทรงขัดพระหทัยของพระกุมาร ทรงส่ง
ทรัพย์เป็นอันมาก เชิญพระนางมาด้วยบริวารขบวนใหญ่แล้วทรงอภิเษกร่วม
กัน กระทำพระนางให้เป็นพระมเหสีของพระกุมาร. พระกุมารนั้นทรงพระนาม
ว่า สุรุจิมหาราช ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม ทรงอยู่ร่วมกับพระนางด้วย
ความรัก. ก็พระนางประทับอยู่ในพระราชวังของท้าวเธอตลอด ๑๐,๐๐๐ ปี ไม่
ทรงได้พระโอรสหรือพระธิดาเลย.
ครั้งนั้นชาวเมืองประชุมกันชวนกันร้องขานขึ้นในท้องพระลานหลวง
เมื่อท้าวเธอดำรัสว่า นี่อะไรกัน ก็กราบทูลว่า โทษของพระราชาไม่มี
พระเจ้าข้า แต่พระโอรสผู้จะสืบวงศ์ของพระองค์ยังไม่มีเลย พระองค์ทรง
มีพระเทวีพระนางเดียว ธรรมดาราชสกุลต้องมีหญิง ๑๖,๐๐๐ นาง เป็น
อย่างต่ำที่สุด พระองค์โปรดรับกลุ่มสตรีเถิดพระเจ้าข้า เผื่อบรรดาหญิง
เหล่านั้นจักมีสักคนหนึ่งที่มีบุญ จักได้พระโอรส ถูกท้าวเธอตรัสห้ามเสีย
ว่า พ่อคุณเอ๋ย พากันพูดอะไร เราได้ปฏิญาณไว้แล้วว่า จักไม่ครองหญิง
อื่นเลย จึงได้เชิญหญิงนี้มาได้ เราไม่มุสาวาทได้ เราไม่ต้องการกลุ่ม
แห่งสตรี เลยพากันหลีกไป. พระนางสุเมธาทรงสดับพระดำรัสนั้น ดำริว่า
พระราชามิได้ทรงนำสตรีอื่น ๆ มาเลย เพราะทรงพระดำรัสตรัสจริงแน่นอน
แต่เรานี่แหละจักหามาถวายแก่พระองค์ ทรงดำรงในตำแหน่งพระมเหสีเช่นพระ
มารดาของพระราชา จึงทรงนำมาซึ่งสตรี ๔,๐๐๐ นาง คือสาวน้อยเชื้อกษัตริย์
๑,๐๐๐ เชื้อขุนนาง ๑,๐๐๐ เชื้อเศรษฐี ๑,๐๐๐ นางระบำผู้ชำนาญในกระบวน
ฟ้อนรำทุกอย่าง ๑,๐๐๐ คัดที่พอพระหฤทัยของพระนาง. แม้พวกนั้นพากันอยู่
ในราชสกุลตั้ง ๑๐,๐๐๐ ปี ก็ไม่ได้พระโอรสหรือธิดาดุจกัน. พระนางคัดพวก
อื่น ๆ มาถวายคราวละ ๔,๐๐๐ ถึงสามคราว. แม้พวกนั้นก็ไม่ได้พระโอรส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 429
พระธิดา. รวมเป็นหญิงที่พระนางนำมาถวาย ๑๖,๐๐๐ นาง. เวลาล่วงไป ๔๐,๐๐๐
ปี รวมกับเวลาที่ทรงอยู่กับพระนางองค์เดียว ๑๐,๐๐๐ ปี เป็น ๕๐,๐๐๐ ปี.
ครั้งนั้นชาวเมืองประชุมชวนกันร้องขานขึ้นอีก เมื่อท้าวเธอตรัสว่า เรื่องอะไร
กันเล่า พากันกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์โปรดบังคับพระเทวี
ทั้งหลาย เพื่อปรารถนาพระโอรสเถิดพระเจ้าข้า. พระราชาทรงรับว่า ดีแล้ว
ตรัส (กะพระเทวี) ว่าพวกเธอปรารถนาบุตรเถิด. ตั้งแต่นั้นพระเทวีเหล่านั้น
เมื่อปรารถนาพระโอรส พากันนอบน้อมเทวดาต่าง ๆ พากันบำเพ็ญวัตรต่าง ๆ
พระโอรสก็ไม่อุบัติอยู่นั่นเอง.
ครั้งนั้นพระราชาตรัสกะพระนางสุเมธาว่า นางผู้เจริญ เชิญเธอ
ปรารถนาพระโอรสเถิด. พระนางรับพระดำรัสว่า สาธุแล้ว ครั้นถึงดิถี
ที่ ๑๕ ทรงสมาทานอุโบสถ ประทับนั่งเหนือพระแท่นอันสมควร ทรงระลึก
ถึงศีลทั้งหลายอยู่ในพระตำหนักอันทรงสิริ. พระเทวีที่เหลือพากันประพฤติวัตร
อย่างแพะอย่างโคต่างไปสู่พระอุทยาน. ด้วยเดชเเห่งศีลของพระนางสุเมธาพิภพ
ของท้าวสักกะหวั่นไหว. ท้าวสักกะทรงนึกว่า นางสุเมธาปรารถนาพระโอรส
เราต้องให้โอรสแก่เธอ แต่ว่าเราไม่อาจที่จะให้ตามมีตามได้ ต้องเลือกเฟ้น
โอรสที่สมควรแก่เธอ เมื่อทรงเลือกเฟ้นก็ทรงเห็นเทพบุตรนฬการ. แท้จริง
เทพบุตรนฬการนั้นเป็นสัตว์ถึงพร้อมด้วยบุญ เมื่ออยู่ในนครพาราณสี ใน
อัตภาพครั้งก่อน ถึงเวลาหว่านข้าวไปไร่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
ส่งพวกทาสและกรรมกรไปหว่านกัน ตนเองกลับพาพระปัจเจกพุทธเจ้าไปสู่
เรือน ให้ฉันแล้วนิมนต์มาที่ฝั่งคงคา ร่วมมือกันกับลูกชายสร้างบรรณศาลา
เอาไม้มะเดื่อเป็นเชิงฝา เอาไม้อ้อเป็นฝา ผูกประตู ทำที่จงกรม นิมนต์
พระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่ ณ บรรณศาลานั้นแหละตลอดไตรมาส ท่านจำพรรษา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 430
แล้ว พ่อลูกทั้งคู่ ก็นิมนต์ให้ครองไตรจีวร แล้วส่งท่านไป. ด้วยทำนองนี้เอง
ได้นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าถึง ๗ องค์ ให้อยู่ ณ บรรณศาลานั้น แล้วให้ครอง
ไตรจีวร. บางอาจารย์กล่าวว่า พ่อลูกทั้งคู่เป็นช่างจักสานกำลังขนเอาไม้ไผ่ที่
ฝั่งคงคา เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงพากันกระทำเช่นนั้น ดังนี้ก็มี. พ่อลูก
ทั้งคู่นั้น ครั้นทำกาลกิริยาบังเกิดในภพดาวดึงส์ เสวยอิสริยะแห่งเทวดาอันใหญ่
กลับไปกลับมา อยู่ในกามภพทั้ง ๖ ชั้น. เทพบุตรทั้งคู่นั้นปรารถนาจะจุติจาก
ชั้นนั้นไปบังเกิดในเทวโลกชั้นสูง.
ท้าวสักกะทรงทราบความเป็นอย่างนั้น เสด็จไปถึงประตูวิมานของ
เทพบุตรองค์หนึ่งในสององค์นั้น ตรัสกับเทพบุตรนั้นผู้มาบังคมแล้วยืนอยู่ว่า
ดูราท่านผู้นิรทุกข์ ควรที่ท่านจะไปสู่มนุษยโลก. เธอทูลว่า ข้าแต่มหาราช
โลกมนุษย์น่ารังเกียจสกปรก ฝูงชนที่ตั้งอยู่ในโลกมนุษย์นั้น ต่างทำบุญมี
ให้ทานเป็นต้น ปรารถนาเทวโลก ข้าพระองค์จักไปในโลกมนุษย์นั้นทำ
อะไร. ตรัสว่า ผู้นิรทุกข์ ท่านจักได้บริโภคทิพสมบัติที่เคยบริโภคในเทว
โลกในโลกมนุษย์ จักได้อยู่ในปราสาทแก้วสูง ๒๕ โยชน์ ยาว ๙ โยชน์
กว้าง ๘ โยชน์ เชิญท่านรับคำเถิด. เธอจึงรับ. ท้าวสักกะทรงถือปฏิญญา
ของเธอแล้ว เสด็จไปสู่อุทยานด้วยแปลงเพศเป็นฤาษี จงกรมในอากาศ
เบื้องบนสตรีเหล่านั้น ทรงสำแดงพระองค์ให้ปรากฏ ตรัสว่า อาตมภาพจะให้
โอรสผู้ประเสริฐแก่นางคนไหนเล่า นางคนไหนจักรับโอรสผู้ประเสริฐ. สตรี
๑,๐๐๐ นางต่างยอหัตถ์วิงวอนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ โปรดให้แก่ดิฉัน ๆ.
ทีนั้นท้าวสักกะก็ตรัสว่า อาตมภาพจะให้โอรสแก่หมู่สตรีที่มีศีล พวกเธอมีศีล
อย่างไร มีอาจาระอย่างไรเล่า. สตรีเหล่านั้นพากันลดมือที่ยกขึ้นลงหมดกล่าวว่า
ถ้าพระคุณเจ้าปรารถนาจะให้เเก่สตรีผู้มีศีล เชิญไปสู่สำนักของพระนางสุเมธาเถิด.
ท้าวเธอก็เหาะไปทางอากาศนั้นเอง ประทับยืนตรงช่องพระแกลใกล้พระทวาร
ปราสาทของพระนาง. ครั้งนั้นสตรีเหล่านั้นพากันกราบทูลแด่พระนางว่า ทูล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 431
กระหม่อมแม่เจ้าขา เชิญพระแม่เจ้าเสด็จมาเถิด เทวราชพระองค์หนึ่งประสงค์
จะถวายพระโอรสผู้ประเสริฐแด่พระแม่เจ้า เหาะมาทางอากาศกำลังสถิตที่ช่อง
พระแกล เจ้าข้า. พระนางเสด็จไปด้วยท่าทางอันตระหนัก ทรงเปิดพระแกลตรัส
ว่าข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ได้ยินว่า พระคุณเจ้าจะให้โอรสผู้ประเสริฐ แก่สตรี
ผู้มีศีล เป็นความจริงหรือพระเจ้าข้า. ท้าวเธอตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี ขอถวาย
พระพรเป็นความจริง. พระนางตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้าโปรดให้
แก่ดิฉัน . ตรัสถามว่า ก็ศีลของบพิตรเป็นอย่างไร เชิญตรัส ถ้าชอบใจอาตมภาพ
อาตมภาพจักถวายพระโอรสผู้ประเสริฐ. พระนางทรงสดับพระดำรัสของท้าว
เธอแล้วตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เชิญพระคุณเจ้าค่อยสดับเถิด เมื่อจะทรงแถลงศีล
คุณของตน ได้ทรงภาษิตพระคาถา ๕ คาถาว่า
ดิฉันถูกเชิญมา เป็นพระอัครมเหสีคนแรกของ
พระเจ้าสุรุจิตลอดเวลาหมื่นปี พระเจ้าสุรุจินำดิฉันมา
ผู้เดียว ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ดิฉันนั้นมิได้รู้สึกเลยว่า
ได้ล่วงเกินพระเจ้าสุรุจิผู้เป็นจอมประชาชนชาววิเทห-
รัฐครองพระนครมิถิลา ด้วย กาย วาจา หรือใจ
ทั้งในที่แจ้งหรือในที่ลับเลย ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการ
กล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าว
คำเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง.
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ดิฉันเป็นที่พอใจของพระ-
ภัสดา พระชนนีและพระชนกของพระภัสดาก็เป็นที่รัก
ของดิฉัน พระองค์ท่านเหล่านั้นทรงแนะนำดิฉัน
ตลอดเวลาที่พระองค์ท่านยังทรงพระชนมชีพอยู่ ดิฉัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 432
นั้นยินดีในความไม่เบียดเบียน มีปกติประพฤติธรรม
โดยส่วนเดียว มุ่งบำเรอพระองค์ท่านเหล่านั้นโดย
เคารพ ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ข้าแต่
พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิด
เถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจงแตก
๗ เสี่ยง.
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ความริษยาหรือความโกรธ
ในสตรีผู้เป็นราชเทวีร่วมกัน ๑๖,๐๐๐ คน มิได้มีแก่
ดิฉันในกาลไหน ๆ เลย ดิฉันชื่นชมด้วยความเกื้อกูล
แก่พระราชเทวีเหล่านั้น และคนไหนที่จะไม่เป็นที่รัก
ของดิฉันไม่มีเลย ดิฉันอนุเคราะห์หญิงผู้ร่วมสามีทั่ว
กันทุกคน ในกาลทุกเมื่อ เหมือนอนุเคราะห์ตนฉะนั้น
ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตร
จงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉัน
จงแตก ๗ เสี่ยง.
ดิฉันเลี้ยงดูทาสกรรมกร ซึ่งจะต้องเลี้ยงดูและ
ชนเหล่าอื่นผู้อาศัยเลี้ยงชีวิต โดยเหมาะสมกับหน้าที่
ดิฉันมีอินทรีย์อันเบิกบานในกาลทุกเมื่อข้าแต่พระฤาษี
ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิดเมื่อดิฉัน
กล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง.
ดิฉันมีฝ่ามืออันชุ่มเลี้ยงดูสมณพราหมณ์ และ
วณิพกเหล่าอื่น ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 433
ทุกเมื่อ ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้
ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะ
ของดิฉันจงแตกเป็น ๗ เสี่ยง.
ดิฉันเข้าอยู่ประจำอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์
๘ ประการ ตลอดดิถีที่ ๑๔, ๑๕ และดิถีที่ ๘ แห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ ดิฉันสำรวมแล้วในศีล
ทุกเมื่อ ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้
ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของ
ดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มเหสี ได้แก่ พระอัครมเหสี. บทว่า
รุจิโน ได้แก่ พระราชา. ทรงพระนามว่า สุรุจิ. บทว่า ปม ความว่า
ดิฉันได้มาเป็นอัครมเหสีคนแรกก่อนกว่าหญิงทั้งปวง บรรดาหญิง ๑๖,๐๐๐ คน.
บทว่า ย ม ความว่า จำเดิมแต่พระเจ้าสุรุจิทรงนำดิฉันมาเพื่อความอยู่ร่วมกัน
อย่างเป็นสุข ดิฉันได้เป็นหญิงผู้เดียวเท่านั้น ที่ได้อยู่ในพระตำหนักนี้ตลอด
๑๐,๐๐๐ ปี. บทว่า อติมญฺิตฺถ ความว่า ดิฉันนั้นไม่เคยทราบไม่เคยระลึก
เลยว่า ดิฉันล่วงเกินพระราชาสุรุจิแล้วทั้งต่อหน้าหรือลับหลังแม้โดยครู่เดียว.
เธอเรียกฤาษีนั้นว่า อีเส. บทวา เต ม ความว่า พระชนกและพระชนนี
ของพระภัสดาทั้งสองพระองค์นั้น ทรงโปรดนำดิฉันมา. บทว่า วิเนตาโร
ความว่า ดิฉันได้รับแนะนำจากพระองค์ท่านทั้ง ๒ แล้ว พระองค์ท่านทั้ง ๒
นั้น ยังทรงพระชนม์อยู่ตราบใด ก็คงจะทรงประทานพระโอวาทแก่ดิฉันไป
ตราบนั้น. บทว่า อหึสา รตินี ความว่า ดิฉันประกอบแล้วด้วยเจตนา
อันเป็นเหตุงดเว้น กล่าวคือความไม่เบียดเบียน หมายความว่า ดิฉันไม่เคย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 434
เบียดเบียนสัตว์อะไรตั้งต้นแต่มดดำมดแดงไปทีเดียว. บทว่า กามสา แปลว่า
มุ่งหน้าโดยส่วนเดียว. บทว่า ธมฺมจารินี ความว่า ดิฉันบำเพ็ญในกุศลกรรมบถ
๑๐ ประการ. บทว่า อุปฏฺาสึ ความว่า ดิฉันทำกิจต่าง ๆ มีการบริกรรม
พระบาทเป็นอาทิ ปรนนิบัติพระองค์ท่านทั้งสอง. บทว่า สหภริยานิ ความว่า
เป็นภรรยาแห่งสามีเดียวกันกับดิฉัน. บทว่า นาหุ ความว่า ธรรมคือความ
ริษยา หรือธรรมคือความโกรธ เพราะอาศัยกิเลส มิได้มีแก่ดิฉันเลย. บทว่า
หิเตน ความว่า กิจใดเป็นกิจเกื้อกูลแก่หญิงเหล่านั้น ดิฉันย่อมชื่นชมยินดี
ด้วยประโยชน์เกื้อกูลของหญิงเหล่านั้นแท้ ๆ ดิฉันยินดีเห็นหญิงเหล่านั้น เป็น
เหมือนบุตรธิดาในอ้อมอกฉะนั้น. บทว่า กาจิ ความว่า บรรดาหญิงเหล่านั้น
แม้เพียงคนเดียวที่จะชื่อว่าดิฉันไม่รักไม่มีเลย ดิฉันรักทุกคนทีเดียว. บทว่า
อนุกมฺปามิ ความว่า ดิฉันเอ็นดูหญิงทั้ง ๑๖,๐๐๐ นางนั้นทุกคนด้วยจิตอ่อนโยน
เหมือนเอ็นดูตนก็ปานกัน. บทว่า สห ธมฺเมน ความว่า ดิฉันเลี้ยงดูตาม
หน้าที่ที่จะมอบให้เขาทำได้ หมายความว่า ผู้ใดสามารถจะทำกรรมใด ดิฉัน
ก็ใช้ผู้นั้นในกรรมนั้น. บทว่า ปทุทิตินฺทฺริยา ความว่า เมื่อใช้เล่าก็ยิ้มแย้ม
แจ่มใสเป็นนิตย์ทีเดียว ดิฉันไม่เคยใช้ใคร ๆ อย่างกราดเกรี้ยวว่า อีทาสอีตัว
ร้าย มึงจงทำการอันนี้ซิเว้ย ดังนี้เลยในกาลไหน ๆ. บทว่า ปยตปาณินี
ความว่า เป็นผู้มีมืออันล้างแล้ว เหยียดมือออกแล้วทีเดียว. บทว่า ปาริหา-
ริยปกฺขญฺจ ความว่า ๔ วัน ด้วยอำนาจวันรับและวันส่ง คือวัน ๕ ค่ำ
วัน ๘ ค่ำ วัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ. บทว่า สทา ความว่า เป็นผู้สำรวม
ในศีล ๕ ตลอดกาลเป็นนิตย์ คือเป็นผู้มีอัตภาพอันศีลเหล่านั้นปกป้องคุ้มครอง
ไว้แล้ว.
ธรรมดาว่าการประมาณของพระนาง ซึ่งแม้จะพรรณนา ๑๐๐ คาถา
๑,๐๐๐ คาถา ก็หาเพียงพอไม่ ด้วยประการฉะนี้. ในเวลาที่พระนางพรรณนาคุณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 435
ของตนได้ด้วยพระคาถา ๑๕ เท่านั้น ท้าวสักกะก็ตัดพระดำรัสของพระนางเสีย
เพราะท้าวเธอมีกิจที่ต้องกระทำมาก เมื่อจะทรงสรรเสริญพระนางว่า คุณของ
พระนางจริงทั้งนั้น จึงตรัส ๒ คาถาว่า
ดูก่อนราชบุตรี ผู้เรืองยศงดงาม คุณอันเป็นธรรม
เหล่านั้นมีทุกอย่าง พระราชโอรสผู้เป็นกษัตริย์ สมบูรณ์
ด้วยพระชาติ เป็นอภิชาตบุตร เรืองพระยศเป็นธรรม
ราชาแห่งชนชาววิเทหะ จงอุบัติแก่พระนาง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมคุณา ได้แก่ มีคุณตามความเป็นจริง
คือมีคุณเป็นจริง. บทว่า สวิชฺชนฺติ ความว่า พระคุณเหล่าใดเล่าที่พระองค์
ตรัสแล้ว พระคุณเหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว สมบูรณ์เพียบพร้อมในพระองค์.
บทว่า อภิชาโต ความว่า พระราชโอรสผู้ทรงพระกำเนิดบริสุทธิ์ทั้ง ๒ ฝ่าย.
บทว่า ยสสฺสิมา ความว่า ทรงเพียบพร้อมด้วยสมบัติ คือ ยศและสมบัติ
คือบริวาร. บทว่า อุปฺปชฺชเต ความว่า บุตรเห็นปานนี้จักบังเกิดแต่พระองค์
และอย่าทรงวิตกไปเลย.
พระนางทรงสดับพระดำรัสของท้าวเธอแล้ว ทรงโสมนัส เมื่อจะ
ตรัสถามท้าวเธอได้ทรงภาษิต ๒ พระคาถาว่า
ท่านผู้มีดวงตาน่ายินดี ทรงผ้าคลุกธุลี สถิตอยู่
บนเวหาอันไม่มีสิ่งใดกั้น ได้กล่าววาจาอันเป็นที่พอใจ
จับใจของดิฉัน ท่านเป็นเทวดามาจากสวรรค์ เป็นฤาษี
ผู้มีฤทธิ์มาก หรือว่าเป็นใครมาถึงที่นี้ ขอท่านจงกล่าว
ความจริงให้ดิฉันทราบด้วย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุมฺหิ ความว่า พระนางตรัสเรียก
อย่างนี้ ก็เพราะท้าวสักกะทรงมีพระเนตรไม่กระพริบเลย เมื่อเสด็จมาก็เสด็จ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 436
มาด้วยเพศเป็นดาบสอันน่ายินดี โดยเป็นบรรพชิต (ท่านมาสถิตในเวหา).
บทว่า อเฆ ได้แก่ ในที่ที่ไม่มีสิ่งใดกั้น. บทว่า ย มยฺห ความว่า ท่าน
กำลังกล่าวคำอันน่าพอใจของดิฉันนี้นั้นน่ะ เป็นเทวดาจากสวรรค์มา ณ ที่นี้
หรือไม่อีกทีก็เป็นฤาษีผู้มีฤทธิ์มาก หรือในบรรดาเทพเจ้า มีท้าวสักกะเป็นต้น
ท่านเป็นเทพเจ้าองค์ไรเล่า มาปรากฏแล้ว ณ ที่นี้. บทว่า อตฺตาน เม
ปเวทยา พระนางตรัสว่า เชิญท่านบอกความจริงให้ดิฉันทราบเถิดเจ้าค่ะ.
ท้าวสักกะ เมื่อจะตรัสบอกแก่พระนาง จึงได้ตรัส ๖ พระคาถาว่า
หมู่เทวดามาประชุมกันที่สุธรรมาสภา ย่อมกราบ
ไหว้ท้าวสักกะองค์ใด ข้าพเจ้าเป็นท้าวสักกะองค์นั้น
มีดวงตาพันหนึ่งมายังสำนักของท่าน หญิงเหล่าใดใน
เทวโลกเป็นผู้มีปกติประพฤติสม่ำเสมอ มีปัญญา มีศีล
มีพ่อผัวแม่ผัว เป็นเทวดายำเกรงสามี เทวดาทั้งหลาย
ผู้มิใช่มนุษย์มาเยี่ยมหญิงเช่นนั้น ผู้มีปัญญา มีกรรม
อันสะอาด เป็นหญิงมนุษย์ ดูก่อนนางผู้เจริญ ท่าน
เกิดในราชสกุลนี้ พรั่งพร้อมไปด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา
ทุกอย่าง ด้วยสุจริตธรรมที่ท่านประพฤติดีแล้วใน
ปางก่อน ดูก่อนพระราชบุตรี ก็แหละข้อนี้เป็นชัยชนะ
ในโลกทั้งสองของท่าน คือ การอุบัติในเทวโลก และ
เกียรติในชีวิตนี้ ดูก่อนพระนางสุเมธา ขอให้พระนาง
จงมีสุข ยั่งยืนนานจงรักษาธรรมไว้ในตนให้ยั่งยืนเถิด
ข้าพเจ้านี้ ขอลาไปสู่ไตรทิพย์ การพบเห็นท่าน เป็น
การพบเห็นที่ดูดดื่มใจของข้าพเจ้ายิ่งนัก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 437
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสกฺโข ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีดวงตา
ตั้ง ๑,๐๐๐ ด้วยสามารถเล็งเห็นเรื่องที่คนตั้ง ๑,๐๐๐ คน คิดกันเพียงครู่เดียว.
บทว่า อิตฺถิโย ความว่า หญิงทั้งหลายผู้มีปกติประพฤติสม่ำเสมอ คือผู้
ประกอบด้วยการประพฤติสม่ำเสมอด้วยทวารทั้ง ๓. บทว่า ตาทิสาย แปลว่า
เห็นปานนั้น. บทว่า สุเมธาย ได้แก่ ผู้มีปัญญาดี. บทว่า อุภยตฺถ
กฏคฺคโห ความว่า ข้อนี้เป็นการยึดถือชัยไว้ได้ ของท่านทั้งในอัตภาพนี้
และในอนาคต คือ บรรดาโลกนี้และโลกหน้าเหล่านั้น ในอนาคตได้แก่การ
เข้าถึงเทวโลก ในชีวิตที่กำลังเป็นไปอยู่เล่า ก็ได้เกียรติ เหตุนั้น ข้อนี้จึงชื่อว่า
เป็นการถือเอาชัยไว้ได้ในโลกทั้งสอง สุเมธาให้นางมีสุขยืนนานเถิด จงรักษา
ธรรม (คือคุณที่มีจริงอย่างนั้น) ไว้ในตนให้ยั่งยืนเถิด ข้าพเจ้านี้ขอลาไปสู่
สรวงสวรรค์ การพบเห็นท่านเป็นการพบเห็นที่ดูดดื่มแก่ข้าพเจ้า.
ท้าวสักกะประทานโอวาทแก่พระนางว่า ก็กิจที่ต้องกระทำของข้าพเจ้า
มีอยู่ในเทวโลก เหตุนั้น ข้าพเจ้าต้องไป ท่านจงไม่ประมาทเถิดนะ แล้วเสด็จ
หลีกไป. ครั้นถึงเวลาใกล้รุ่ง นฬการเทพบุตรก็จุติถือปฏิสนธิในพระครรโภทร
ของพระนาง. พระนางทรงทราบความที่พระองค์ทรงครรภ์ กราบทูลแก่
พระราชา. พระราชาประทานเครื่องผดุงครรภ์ ถ้วนกำหนดทศมาส พระนางก็
ประสูติพระโอรส. พระประยูรญาติทรงขนานพระนามพระโอรสว่า มหาปนาท
ชาวแคว้นทั้งสอง (อังคะและมคธ) พากันทิ้งเหรียญกระษาปณ์ลงที่ท้องพระ-
ลานหลวงคนละ ๑ กระษาปณ์ เพื่อให้พระราชาทรงทราบว่า เป็นค่าน้ำนม
ของพระลูกเจ้าแห่งชาวเรา. เหรียญกระษาปณ์ได้เป็นกองใหญ่โต. แม้พระราชา
จะตรัสห้าม ก็พากันกราบทูลว่า จักได้เป็นทุนรอนในเวลาที่พระลูกเจ้าของ
พวกข้าพระองค์ทรงพระเจริญ ต่างไม่รับคืนพากันหลีกไป. พระกุมารทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 438
พระเจริญด้วยบริวารมากมาย ครั้นทรงถึงวัยมีพระชนม์ ๑๖ พรรษา ก็ทรง
ลุความสำเร็จในศิลปะทุกประการ. พระราชาทรงตรวจดูพระชนม์ของพระโอรส
แล้ว ตรัสกับพระเทวีว่า นางผู้เจริญในเวลาอภิเษกลูกของเราในราชสมบัติ
จักสร้างปราสาทอันน่ารื่นรมย์ให้เธอแล้วถึงทำการอภิเษก. พระนางรับพระ-
โองการว่า ดีแล้วพระเจ้าคะ. พระราชารับสั่งให้หาอาจารย์ในวิชาพื้นที่มา
ตรัสว่า พ่อทั้งหลาย จงคุมช่างให้สร้างปราสาทเพื่อลูกของเรา ณ ที่ไม่ห่าง
วังของเรา เราจักอภิเษกลูกของเรานั้นในราชสมบัติ. พวกอาจารย์ในวิชา
พื้นที่เหล่านั้น รับพระโองการว่า ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า
ปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอรับใส่เกล้า ฯ แล้วพากันตรวจภูมิ
ประเทศ.
ขณะนั้นพิภพของท้าวสักกะสำแดงอาการร้อน. ท้าวเธอทรงทราบ
เหตุนั้น ตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมา ตรัสสั่งว่า ไปเถิดพ่อเอ๋ย จงสร้าง
ปราสาทแก้วยาว ๙ โยชน์ กว้าง ๘ โยชน์ สูง ๒๕ โยชน์ ให้แก่มหาปนาท
ราชกุมารเถิด. วิสสุกรรมเทพบุตรแปลงเพศเป็นช่าง ไปสู่สำนักของพวกช่าง
แล้วส่งพวกช่างนั้นไปเสียด้วยคำว่า พวกคุณกินข้าวเช้าแล้วค่อยมาเ5ิด แล้ว
ประหารแผ่นดินด้วยท่อนไม้. ทันใดนั้นเอง ปราสาท ๗ ชั้น มีขนาดดังกล่าว
แล้ว ก็ผุดขึ้น. มงคล ๓ ประการ คือ มงคลฉลองปราสาท มงคลอภิเษก
สมโภชเศวตฉัตร และอาวาหมงคล ของพระกุมารมหาปนาทได้มีคราวเดียว
กันแล. ชาวแคว้นทั้งสองพากันประชุมในสถานมงคล ให้กาลเวลาล่วงไปถึง
๗ ปี ด้วยการมหรสพฉลองมงคล. พระราชามิได้ทรงบอกให้พวกนั้นเลิกงาน
เลย. สิ่งของทั้งหมดเป็นต้นว่า ผ้าเครื่องประดับของเคี้ยวของกิน ของชน
เหล่านั้น ได้เป็นสิ่งของของราชสกุลทั้งนั้นเลย. ครั้นล่วง ๗ ปี ฝูงชนเหล่านั้น
พากันร้องทุกข์ พระสุรุจิมหาราชตรัสถามว่า นี่อะไรกันเล่า ก็พากันกราบทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราช เมื่อพวกข้าพระองค์พากันสมโภชการมงคล ๗ ปีผ่านไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 439
แล้ว ที่สุดของงานมงคลจะมีเมื่อไรเล่า พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระราชาตรัสว่า
ตลอดกาลถึงเท่านี้ ลูกเราไม่เคยหัวเราะเลย เมื่อใดเธอหัวเราะ เมื่อนั้นพวกเจ้า
ทั้งหลายจงพากันไปเถิด. ครั้งนั้น มหาชนเที่ยวตีกลองป่าวร้อง เชิญนักฟ้อน
ของพระเจ้ามหาปนาทนั้นประชุม. นักฟ้อน ๖,๐๐๐ พากันมาประชุม แบ่งกัน
เป็น ๗ ส่วน พากันรำฟ้อน ก็มิอาจที่จะให้พระราชาทรงพระสรวลได้. ทั้งนี้
เพราะความที่ท้าวเธอเคยทอดพระเนตรกระบวนฟ้อนรำอันเป็นทิพย์มาช้านาน
การฟ้อนของนักฟ้อนเหล่านั้น จึงมิได้เป็นที่ต้องพระหทัย.
ครั้งนั้นจอมนักฟ้อน ๒ นาย คือ กัณฑกรรณ และปัณฑุกรรณ คิดว่า
พวกเราจะให้พระราชาทรงพระสรวลให้ได้ พากันเข้าไปในท้องพระลาน.
บรรดาจอมนักฟ้อนทั้งสองคนนั้น กัณฑกรรณให้ปลูกต้นมะม่วงใหญ่ชื่ออตุละ
ที่พระราชทวาร แล้วขว้างกลุ่มด้ายขึ้นไปให้คล้องที่กิ่งของต้นมะม่วงนั้น แล้ว
ไต่ขึ้นไปตามเส้นด้าย. ได้ยินว่า ไม้มะม่วงชื่ออตุละ เป็นต้นมะม่วงของท้าวเวส-
วัณ ครั้งนั้นพวกทาสของท้าวเวสวัณก็พากันตัดกิ่งน้อยใหญ่ของต้นมะม่วงนั้น
นั้นโค่นลงมา. นักฟ้อนที่เหลือ เก็บกิ่งเหล่านั้นกองไว้แล้วรดด้วยน้ำ.
กัณฑกรรณนั้นนุ่งห่มผ้ากรองดอกไม้ลุกขึ้นฟ้อนรำไป. พระเจ้ามหาปนาททอด
พระเนตรเห็นเขาแล้ว ก็มิได้ทรงพระสรวลเลย. ปัณฑุกรรณได้ทำเชิงตะกอน
ไม้ในท้องพระลานหลวง แล้วเดินเข้าสู่กองไฟกับบริษัทของตน. ครั้นไฟดับ
แล้ว นักฟ้อนทั้งหลายเอาน้ำรดเชิงตะกอน. ปัณฑุกรรณนั้นกับบริษัท นุ่งห่ม
ผ้ากรองดอกไม้ลุกขึ้นฟ้อนรำ. พระราชาทรงทอดพระเนตรการนั้นแล้ว คง
มิได้ทรงพระสรวลอยู่นั่นเอง. เมื่อสุดฝีมือที่จะให้พระราชาพระองค์นั้นทรง
พระสรวล ฝูงคนก็พากันระส่ำระสายด้วยประการฉะนี้. ท้าวสักกะทรงทราบ
เหตุนั้น จึงทรงส่งนักฟ้อนเทวดาไปด้วยพระเทวบัญชาว่า ไปเถิดพ่อเอ๋ย จง
ทำให้พระมหาปนาทะทรงพระสรวลเสด็จอุฎฐาการจงได้เถิด. เทพนักฟ้อนนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 440
มายืนอยู่บนอากาศในท้องพระลานหลวง แสดงขบวนฟ้อนที่เรียกว่า อุปัฑฒังคะ.
มือข้างเดียวเท่านั้น เท้าก็ข้างเดียว ตาก็ข้างเดียว แม้คิ้วก็ข้างเดียว ฟ้อนไป
ร่ายรำไป เคลื่อนไหวไป ที่เหลือคงนิ่งไม่หวั่นไหวเลย. พระเจ้ามหาปนาทะ
ทอดพระเนตรเห็นการนั้นแล้ว ทรงพระสรวลหน่อยหนึ่ง. แต่มหาชนเมื่อ
หัวเราะ ก็สุดที่จะกลั้นความขบขันไว้ สุดที่จะดำรงสติไว้ได้ ปล่อยอวัยวะ
หมดเลย ล้มกลิ้งไปในท้องพระลานหลวง. มงคลเป็นอันเลิกได้ตอนนั้น
ข้อความที่เหลือในเรื่องนี้ พรรณนาไว้ในมหาปนาทชาดกที่มีคำว่า ปนาโท
นาเมโส ราชา ยสฺส ยูโป สุวณฺณมโย เป็นต้น.
พระราชามหาปนาททรงกระทำบุญถวายทานเป็นต้น เมื่อสิ้นพระชนม์
ก็เสด็จไปสู่เทวโลกนั่นเอง.
พระศาสดาทรงนำธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
มหาปนาท ในครั้งนั้นได้มาเป็นภัททชิ สุเมธาเทวีได้มาเป็นวิสาขา
วิสสุกรรมได้มาเป็นอานนท์ ส่วนท้าวสักกะได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาสุรุจิชาดก
๗. ปัญจุโปสถิกชาดก
ว่าด้วยรักษาอุโบสถด้วยความคิดต่าง ๆ กัน
[๑๙๕๑] ดูก่อนนกพิราบ เพราะเหตุไร บัดนี้
เจ้าจึงมีความขวนขวายน้อย ไม่ต้องการอาหาร อดกลั้น
ความหิวกระหายมารักษาอุโบส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 441
[๑๙๕๒] แต่ก่อนนี้ข้าพเจ้าบินไปกับนางนก-
พิราบ เราทั้ง ๒ ชื่นชมยินดีกันอยู่ในป่าประเทศนั้น
ทันใดนั้น เหยี่ยวได้โฉบเอานางนกพิราบไปเสีย
ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะพลัดพรากจากนางไป แต่จำ
ต้องพลัดพรากจากนาง เพราะพลัดพรากจากนาง
ข้าพเจ้าได้เสวยเวทนาทางใจ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
จึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า ความรักอย่าได้กลับมาหา
เราอีกเลย.
[๑๙๕๓] ดูก่อนงูผู้ไปไม่ตรง เลื้อยไปด้วยอกมี
ลิ้น ๒ ลิ้น เจ้ามีเขี้ยวเป็นอาวุธ มีพิษร้ายแรง เพราะเหตุ
ไร เจ้าจึงอดกลั้นความหิวกระหายมารักษาอุโบสถ.
[๑๙๕๔] โคของนายอำเภอ กำลังเปลี่ยว มี
หนอกกระเพื่อม มีลักษณะงาม มีกำลัง มันได้เหยียบ
ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าโกรธจึงได้กัดมัน มันก็ถูกทุกขเวทนา
ครอบงำ ถึงความตาย ณ ที่นั้นเอง ลำดับนั้น ชน
ทั้งหลายก็พากันออกมาจากบ้าน ร้องไห้คร่ำครวญ
หาได้พากันหลบหลีกไปไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
จึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า ความโกรธอย่าได้มาถึง
เราอีกเลย.
[๑๙๕๕] ดูก่อนสุนัขจิ้งจอก เนื้อของคนที่ตาย
แล้ว มีอยู่ในป่าช้าเป็นอันมาก อาหารชนิดนี้เป็นที่
พอใจของเจ้า เพราะเหตุไร เจ้าจึงอดกลั้นความหิว
กระหายมารักษาอุโบสถ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 442
[๑๙๕๖] ข้าพเจ้าได้เข้าไปสู่ท้องช้างตัวใหญ่
ยินดีในซากศพ ติดใจในเนื้อช้าง ลมร้อนและแสงเเดด
อันกล้าได้แผดเผาทวารหนักของช้างนั้นให้แห้ง ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งผอมทั้งเหลือง ไม่มีทางจะ
ออกได้ ต่อมา มีฝนห่าใหญ่ตกลงมาโดยพลัน ชะ
ทวารหนักของช้างตัวนั้นให้เปียกชุ่ม ดูก่อนท่านผู้เจริญ
ทีนั้น ข้าพเจ้าจึงออกมาได้ ดังดวงจันทร์พ้นจากปาก
แห่งราหูฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ
ด้วยคิดว่า ความโลภอย่ามาถึงเราอีกเลย.
[๑๙๕๗] ดูก่อนหมี แต่ก่อนนี้ เจ้าขย้ำกินตัว
ปลวกในจอมปลวก เพราะเหตุไร เจ้าจึงอดกลั้น
ความหิวกระหายมารักษาอุโบสถเล่า.
[๑๙๕๘] ข้าพเจ้าดูหมิ่นถิ่นที่เคยอยู่ของตน ได้
ไปยังปัจจันตคามแคว้นมลรัฐ เพราะความเป็นผู้อยาก
มากเกินไป ครั้งนั้นชนทั้งหลายก็พากันออกจากบ้าน
รุมตีข้าพเจ้าด้วยคันธนู ข้าพเจ้าศีรษะแตกเลือดอาบ
ได้กลับมาสู่ถิ่นที่เคยอยู่อาศัยของตน เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า ความอยากมาก
เกินไปอย่าได้มาถึงเราอีกเลย.
[๑๙๕๙] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อความอันใด ท่าน
ก็ได้ถามพวกข้าพเจ้าแล้วข้าพเจ้าทั้งหมดก็ได้พยากรณ์
ข้อความอันนั้นตามที่ได้รู้เห็นมา ข้าแต่ท่านผู้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 443
วงศ์พรหมผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าจะขอถามท่านบ้างละ
เพราะเหตุไร ท่านจึงรักษาอุโบสถเล่า.
[๑๙๖๐] พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่ง ผู้ไม่แปด-
เปื้อนด้วยกิเลส นั่งอยู่ในอาศรมของฉันครู่หนึ่ง ท่าน
ได้บอกให้ฉันทราบถึงที่ไปที่มา นามโคตรและจรณะ
ทุกอย่าง ถึงอย่างนั้น ฉันก็มิได้กราบไหว้เท้าทั้ง ๒
ของท่าน อนึ่ง ฉันก็มิได้ถามถึงนามและโคตรของ
ท่านเลย เพราะเหตุนั้น ฉันจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า
มานะอย่าได้มาถึงฉันอีกเลย.
จบปัญจุโปสถิกชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 444
อรรถกถาปัญจอุโปสถชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระปรารภ
อุบาสก ๕๐๐ ผู้รักษาอุโบสถ ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า อปฺโปสฺสุโกทานิ
ตุว กโปต ดังนี้.
มีเรื่องย่อว่า ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งเหนือพระพุทธ-
อาสน์อันอลงกต ท่ามกลางบริษัทสี่ ในธรรมสภา ทอดพระเนตรดูบริษัท
ด้วยพระหฤทัยอันอ่อนโยน ทรงทราบว่า วันนี้เทศนาจักตั้งเรื่องขึ้น เพราะ
อาศัยถ้อยคำแห่งพวกอุบาสกเป็นแท้ จึงตรัสเรียกพวกอุบาสกมา ตรัสถามว่า
ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย พวกเธอพากันบำเพ็ญวัตรแห่งผู้รักษาอุโบสถหรือ
ครั้นอุบาสกเหล่านั้น กราบทูลว่าพระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตรัสว่า
พวกเธอกระทำดีแล้ว อันอุโบสถนี้เป็นเชื้อสายแห่งหมู่บัณฑิตแต่ครั้งก่อน
ที่จริงบัณฑิตแต่ครั้งก่อนพากันอยู่จำอุโบสถเพื่อข่มกิเลสมีราคะเป็นต้น อุบาสก
เหล่านั้นพากันกราบทูลอาราธนา ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ได้มีประเทศอันเป็นดงน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก อยู่ระหว่าง
พรมแดนแห่งแคว้นทั้งสาม มีเเคว้นมคธเป็นต้น. พระโพธิสัตว์บังเกิดใน
สกุลพราหมณ์มหาศาลในแคว้นมคธ เจริญวัยแล้ว ละกามทั้งหลาย ปลีกตน
เข้าไปสู่ดงนั้น สร้างอาศรมบทบวชเป็นฤาษี พำนักอาศัยอยู่. ก็ในที่ไม่ไกล
อาศรมของท่าน นกพิราบกับภรรยาอาศัยอยู่ที่เชิงแห่งหนึ่ง งูอาศัยที่จอมปลวก
จอมหนึ่ง ที่ละเมาะป่าแห่งหนึ่งหมาจิ้งจอกอาศัยอยู่ ที่ละเมาะป่าอีกแห่งหนึ่งเล่า
หมีอาศัยอยู่. ทั้งสี่สัตว์เหล่านั้น ต่างก็เข้าไปหาพระฤาษี ฟังธรรม ตามกาล
อันเป็นโอกาส. อยู่มาวันหนึ่ง นกพิราบกับภรรยาออกจากรังไปหากิน. เหยี่ยว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 445
ตัวหนึ่งจับนางนกพิราบตัวบินไปข้างหลังนกพิราบนั้นแล้วบินหนีไป. นกพิราบ
ได้ยินเสียงร้องของนางนกพิราบนั้น เหลียวกลับมองดู เห็นนางนกพิราบนั้น
กำลังถูกเหยี่ยวนั้นโฉบไป. ฝ่ายเหยี่ยวเล่าก็ฆ่านางนกพิราบนั้นทั้ง ๆ ที่กำลัง
ร้องอยู่นั่นเองตาย แล้วจิกกินเสีย. นกพิราบกลุ้มใจ เพราะพลัดพรากจากนาง
นกนั้น ดำริว่า ความรักนี้ทำให้เราลำบากเหลือเกิน คราวนี้เรายังข่มความรัก
ไม่ได้แล้ว จักไม่ขอออกไปหากิน. มันตัดขาดทางโคจรเลยไปสู่สำนักพระดาบส
สมาทานอุโบสถเพื่อข่มราคะนอนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
กล่าวถึงงู คิดจักแสวงหาเหยื่อ ออกจากที่อยู่ เที่ยวแสวงหาเหยื่อ
ในสถานเป็นที่เที่ยวไปของแม่โคในบ้านชายแดน. ครั้งนั้นโคผู้อันเป็นมงคล
ขาวปลอดของนายอำเภอ กินหญ้าแล้วก็คุกเข่าที่เชิงจอมปลวกแห่งหนึ่ง เอา
เขาขวิดดินเล่นอยู่. งูเล่าก็กลัวเสียงฝีเท้าของแม่โคทั้งหลาย เลื้อยไปเพื่อจะ
เข้าจอมปลวกนั้น. ทีนั้นโคผู้ก็เหยียบมันด้วยเท้า. มันโกรธโคนั้นจึงกัด
โคผู้ถึงสิ้นชีวิตตรงนั้นเอง. พวกชาวบ้านได้ยินข่าวว่า โคผู้ตายแล้ว ทุกคน
พากันมารวมกัน ร้องไห้บูชาโคผู้ตัวนั้นด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น พา
กันขุดหลุมฝังแล้วหลีกไป. เวลาพวกนั้นพากันกลับแล้ว งูก็เลื้อยออกมา
คิดว่า เราอาลัยความโกรธฆ่าโคผู้ตัวนี้เสีย ทำให้มหาชนพากันเศร้าโศก ที่นี้
เราข่มความโกรธนี้ไม่ได้แล้ว จักไม่ออกหากินละกลับไปสู่อาศรมนั้น นอน
สมาทานอุโบสถเพื่อข่มความโกรธ.
ฝ่ายหมาจิ้งจอกเที่ยวแสวงหาอาหาร เห็นช้างตายตัวหนึ่ง ดีใจว่า เรา
ได้เหยื่อชิ้นใหญ่แล้ววิ่งไปกัดที่งวงได้เป็นเหมือนเวลากัดเสา ไม่ได้ความยินดีที่
ตรงงวงนั้น กัดงาต่อไป ได้เป็นอย่างแกะแท่นหิน ปรี่เข้ากัดท้อง ได้เป็นอย่าง
กระด้ง ตรงเข้ากัดหาง ได้เป็นอย่างกัดสาก กรากเข้ากัดช่องทวารหนัก ได้เป็น
เหมือนกับขนมหวาน. มันตั้งหน้าขย้ำอยู่ด้วยอำนาจความโลภ เลยเข้าไปภายใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 446
ท้องเวลาหิวก็กินเนื้อในท้องนั้น เวลากระหายก็ดื่มเลือด เวลานอนก็นอนทับไส้
และปอด. มันคิดว่าทั้งข้าวทั้งน้ำมีเสร็จแล้วในที่นี้ทีเดียว กูจักทำอะไรในแห่ง
อื่นเล่า แสนรื่นรมย์อยู่ในท้องช้างนั้นแห่งเดียว ไม่ออกข้างนอกเลย คงอยู่
ในท้องช้างเท่านั้น. จำเนียรกาลต่อมา ซากช้างก็แห้งด้วยลมและแดด ช่อง
ทวารหนักก็ปิด. หมาจิ้งจอกนอนอยู่ภายในท้อง กลับมีเนื้อและเลือดน้อย
ร่างกายผ่ายผอมมองไม่เห็นทางออกได้. ครั้นวันหนึ่ง เมฆมิใช่ฤดูกาลให้ฝนตก
ช่องทวารหนักชุ่มชื้นอ่อนตัว ปรากฏช่องให้เห็น. หมาจิ้งจอกพอเห็นช่อง
คิดว่า กูลำบากนานนัก ต้องหนีออกช่องนี้จงได้ แล้วเอานิ้วดันช่องทวารหนัก.
เมื่อมันมีสรีระยุ่ยดันออกจากที่แคบโดยเร็ว ขนเลยติดอยู่ที่ช่องทวารหนัก
หมด. มันมีตัวโล้นเหมือนจาวตาลหลุดออกมาได้. มันคิดว่า เพราะอาศัย
ความโลภ กูต้องเสวยทุกข์นี้ ที่นี้กูข่มความโลภไม่ได้ จักไม่ขอหากินละ ไปสู่
อาศรมนั้น สมาทานอุโบสถ เพื่อข่มความโลภนอนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง.
กล่าวถึงหมีออกจากป่าแล้ว ถูกความอยากยิ่งครอบงำ จึงไปสู่บ้านชาย
แดนในแคว้นมัลละ. พวกชาวบ้านได้ยินว่าหมีมาแล้ว ต่างถือธนูและพลองเป็น
ต้นพากันออกไปล้อมละเมาะที่หมีนั้นเข้าไป. มันรู้ว่าถูกมหาชนล้อมไว้ จึงออก
หนี. เมื่อมันกำลังหนีอยู่นั้นเอง ฝูงชนพากันยิงด้วยธนูตีด้วยพลอง. มันหัวแตก
เลือดไหลอาบไปที่อยู่ของตน ได้คิดว่า ทุกข์นี้เกิดเพราะอำนาจความโลภ คือ
ความอยากยิ่งของกู ทีนี้กูข่มความโลภคือความอยากยิ่งนี้ไว้มิได้แล้ว จักไม่
หากินละ ไปสู่อาศรมนั้น สมาทานอุโบสถ เพื่อข่มความอยากยิ่ง หมอบอยู่
ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง. ฝ่ายดาบสเล่า ก็อาศัยชาติของตน ตกไปในอำนาจ
มานะ ไม่สามารถจะยังฌานให้บังเกิดได้. ครั้งนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
ทราบความที่ดาบสนั้นมีมานะ ดำริว่า สัตว์ผู้นี้มิใช่อื่นเลย ที่แท้เป็นหน่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 447
เนื้อแห่งพระพุทธเจ้า จักบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในกัลป์นี้เองแหละ เรา
ต้องกระทำการข่มมานะของสัตว์นี้เสียแล้ว กระทำให้สมาบัติบังเกิดจงได้ จึง
มาจากป่าหิมพานต์ตอนเหนือ ขณะเมื่อดาบสนั้นกำลังนอนอยู่ในบรรณศาลา
นั้นเอง นั่งเหนือแผ่นกระดานหินของดาบสนั้น. ดาบสนั้นออกมาเห็นพระปัจ-
เจกพุทธเจ้านั้นนั่งเหนืออาสนะของตน ก็ขุ่นใจเพราะความมีมานะ ปรี่เข้าไปหา
ท่านแล้วตบมือตวาดว่า ฉิบหายเถิด ไอ้ถ่อย ไอ้กาลกรรณี ไอ้สมณะ
หัวโล้น มึงมานั่งเหนือแผ่นกระดานของกูทำไม.
ครั้งนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นกล่าวกะท่านว่า พ่อคนดี เหตุไร พ่อ
จึงมีแต่มานะ ข้าพเจ้าบรรลุปัจเจกพุทธญาณเเล้วนะในกัลป์นี้เอง พ่อก็จัก
เป็นพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า พ่อเป็นหน่อเนื้อพระพุทธเจ้านะ พ่อบำเพ็ญ
บารมีมาแล้ว รอกาลเพียงเท่านี้ ข้างหน้าผ่านไป จักเป็นพระพุทธเจ้า
พ่อดำรงในความเป็นพระพุทธเจ้าจักมีชื่อว่า สิทธัตถะ บอกนามตระกูลโคตร
และพระอัครสาวกเป็นต้นแล้วได้ประทานโอวาทว่า พ่อยังจะมัวเอาแต่มานะ
เป็นคนหยาบคาย เพื่ออะไรเล่า นี้ไม่สมควรแก่พ่อเลย. ดาบสนั้นแม้เมื่อ
ท่านกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ยังคงไม่ไหว้ท่านอยู่นั่นเอง มิหนำซ้ำไม่ถามเสีย
ด้วยว่า ข้าจักเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อไร. ครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า
เธอไม่รู้ถึงความใหญ่หลวงแห่งชาติและความใหญ่โตแห่งคุณของเรา หากเธอ
สามารถ ก็จงเที่ยวไปในอากาศเหมือนเรา แล้วเหาะไปในอากาศ โปรย
ฝุ่นที่เท้าของตนลงในมณฑลชฎาของดาบสนั้น ไปสู่หิมพานต์ตอนเหนือดัง
เดิม. พอท่านไปแล้ว ดาบสถึงสลดใจคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นสมณะเหมือน
กัน มีสรีระหนัก ไปในอากาศได้ ดุจปุยนุ่น ที่ทิ้งไปในช่องลม เพราะ
ถือชาติเรามิได้กราบเท้าทั้งคู่ ของพระปัจเจกพุทธเจ้าเห็นปานฉะนี้ มิหนำ
ซ้ำไม่ถามเสียด้วยว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อไร ขึ้นชื่อว่าชาตินี้จักกระทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 448
อะไรได้ ศีลและจรณะเท่านั้นเป็นใหญ่ในโลกนี้ ก็แต่ว่ามานะของเรานี้แล
จำเริญอยู่ จักพาไปหานรกได้ ทีนี้เรายังข่มมานะนี้มิได้แล้วจักไม่ไปหาผลาผล
เข้าสู่บรรณศาลาสมาทานอุโบสถเพื่อข่มมานะเสีย นั่งเหนือกระดานเลียบเป็น
กุลบุตรผู้มีญาณใหญ่ ข่มมานะเสียได้ เจริญกสิณ ยังอภิญญาและสมาบัติ
๘ ให้บังเกิดได้แล้ว จึงออกไปนั่งที่แผ่นกระดานหินท้ายที่จงกรม. ครั้งนั้น
สัตว์มีนกพิราบเป็นต้น พากันเข้าไปหาท่าน ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนหนึ่ง พระมหาสัตว์จึงถามนกพิราบว่า ในวันอื่น ๆ เจ้าไม่ได้มา
เวลานี้ เจ้าคงไม่ได้หาอาหาร ในวันนี้เจ้าเป็นผู้รักษาอุโบสถหรือไฉนเล่า.
นกพิราบกราบเรียนว่า ขอรับกระผม. ครั้งนั้นเมื่อท่านจะถามมันว่าด้วยเหตุ
ไรเล่า กล่าวคาถาเป็นประถมว่า
ดูก่อนนกพิราบ เพราะเหตุไร บัดนี้ เจ้าจึงมี
ความขวนขวายน้อย ไม่ต้องการอาหาร อดกลั้น
ความหิวกระหาย มารักษาอุโบสถ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺโปสฺสุโก ได้แก่ ผู้ปราศจากความ
อาลัย. บทว่า น ตฺว ความว่า วันนี้ท่านไม่มีความต้องการด้วยโภชนะ.
นกพิราบได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าว ๒ คาถาว่า
แต่ก่อนนี้ข้าพเจ้าบินไปกับนางนกพิราบ เราทั้ง
๒ ชื่นชมยินดีกันอยู่ในป่าประเทศนั้น ทันใดนั้น
เหยี่ยวได้โฉบนางนกพิราบไปเสีย ข้าพเจ้าไม่ปรารถนา
จะพลัดพรากจากนางไป แต่จำต้องพลัดพรากจากนาง
เพราะพลัดพรากจากนาง ข้าพเจ้าได้เสวยเวทนาทางใจ
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า
ความรักอย่าได้กลับมาหาเราอีกเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 449
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รมาม ความว่า พวกเราย่อมยินดีด้วย
ความยินดีในกาม. บทว่า สากุณิโก แปลว่า นกเหยี่ยว.
เมื่อนกพิราบแถลงอุโบสถกรรมของตนแล้ว พระมหาสัตว์จึงถามงู
เป็นต้นทีละตัว ๆ. แม้สัตว์เหล่านั้นก็พากันแถลงความจริง. เมื่อจะถามงูท่าน
กล่าวว่า
ดูก่อนผู้ไปไม่ตรง เลื้อยไปด้วยอก มีลิ้น ๒ ลิ้น
เจ้ามีเขี้ยวเป็นอาวุธ มีพิษร้ายแรง เพราะเหตุไร เจ้าจึง
อดกลั้นความหิวกระหายมารักษาอุโบสถ.
งูกล่าวว่า
โคของนายอำเภอ กำลังเปลี่ยว มีหนอกกระเพื่อม
มีลักษณะงาม มีกำลัง มันได้เหยียบข้าพเจ้า ข้าพเจ้า
โกรธจึงได้กัดมัน มันก็ถูกทุกขเวทนาครอบงำ ถึง
ความตาย ณ ที่นั้น ลำดับนั้น ชนทั้งหลายก็พากัน
ออกมาจากบ้าน ร้องไห้คร่ำครวญ หาได้พากันหลบ-
หลีกไปไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้รักษาอุโบสถ
ด้วยคิดว่า ความโกรธอย่าได้มาถึงเราอีกเลย.
พระมหาสัตว์เมื่อจะถามสุนัขจิ้งจอก จึงกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนสุนัขจิ้งจอก เนื้อของคนที่ตายแล้ว อยู่
ในป่าช้าเป็นอันมาก อาหารชนิดนี้เป็นที่พอใจของเจ้า
เพราะเหตุไร เจ้าจึงอดกลั้นความกระหายมารักษา
อุโบสถ.
สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 450
ข้าพเจ้าได้เข้าไปสู่ท้องช้างตัวใหญ่ ยินดีใน
ซากศพ ติดใจในเนื้อช้าง ลมร้อนและแสงแดดอัน
กล้าได้แผดเผาทวารหนักช้างนั้นให้แห้ง ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งผอมทั้งเหลือง ไม่มีทางจะออกได้
ต่อมามีฝนห่าใหญ่ตกลงมาโดยพลัน ชะทวารหนักของ
ช้างนั้นให้เปียกชุ่ม ดูก่อนท่านผู้เจริญ ทีนั้น ข้าพเจ้า
จึงออกมาได้ดั่งดวงจันทร์พ้นจากปากราหู ฉะนั้น
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า
ความโลภอย่ามาถึงเราอีกเลย.
เมื่อจะถามหมีจึงกล่าวว่า
ดูก่อนหมี แต่ก่อนนี้ เจ้าขยี้กินตัวปลวกในจอม
ปลวก เพราะเหตุไร เจ้าจึงอดกลั้นความหิวกระหาย
มารักษาอุโบสถเล่า.
หมีกล่าวว่า
ข้าพเจ้าดูหมิ่นถิ่นที่เคยอยู่ของตน ได้ไปยัง
ปัจจันตคามแคว้นมลรัฐ เพราะความเป็นผู้อยากมาก
เกินไป ครั้งนั้นชนทั้งหลายก็พากันออกจากบ้าน รุมตี
ข้าพเจ้าด้วยคันธนู ข้าพเจ้าศีรษะแตกเลือดอาบ ได้
กลับมาอยู่ถิ่นที่เคยอยู่อาศัยของตน เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า ความอยากมาก
เกินไปอย่าได้มาถึงเราอีกเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 451
ในคาถานั้น พระมหาสัตว์เรียกงูนั้น ด้วยคำว่า อนุชฺชคามิ เป็นต้น
บทว่า จลกฺกกุโธ ความว่า โคนั้นมีหนอกกระเพื่อม. บทว่า ทุกฺขาภิตนฺโน
ความว่า โคนั้นถูกทุกข์บีบคั้นยิ่งนัก กระสับกระส่าย. บทว่า พหู แปลว่า
มาก. บทว่า ปาวิส แปลว่า เข้าไปแล้ว. บทว่า รสฺมิโย แปลว่า แสง
แห่งพระอาทิตย์ (แสงแดด). บทว่า นิกฺขมิสฺส แปลว่า ออกไปแล้ว.
บทว่า กิปิลฺลิกานิ แปลว่า ปลวกทั้งหลาย. บทว่า นิปฺโปถยนฺโต แปลว่า
ขยี้ขยำ. บทว่า อติเหฬยาโน แปลว่า ดูหมิ่น นินทา ติเตียน. บทว่า
โกทณฺฑเกน ได้แก่ ด้วยไม้คันธนูและไม้พลอง.
ครั้นสัตว์ทั้ง ๔ นั้น พรรณนาอุโปสถกรรมของตนอย่างนี้แล้ว ก็ชวน
กันลุกขึ้นไหว้พระมหาสัตว์ เมื่อจะถามบ้างว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ วัน
อิน ๆ ในเวลานี้ พระคุณเจ้าเคยไปหาผลาผล วันนี้ เหตุไร พระคุณเจ้าจึง
ไม่ไป กระทำอุโปสถกรรมอยู่ จึงกล่าวคาถาว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อความอันใด ท่านก็ได้ถาม
พวกข้าพเจ้า ข้าพเจ้าทั้งหมดก็ได้พยากรณ์ข้อความ
อันนั้นตามที่ได้รู้เห็นมา ข้าแต่ท่านผู้เป็นวงศ์พรหม
ผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าจะขอถามท่านบ้างละ เพราะ
เหตุไร ท่านจึงรักษาอุโบสถเล่า.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์นั้น ก็แถลงแก่พวกนั้นว่า
พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่ง ผู้ไม่แปดเปื้อนด้วย
กิเลส นั่งอยู่ในอาศรมของฉันครู่หนึ่ง ท่านได้บอก
ให้ฉันทราบถึงที่ไปที่มา นามโคตรและจรณะทุกอย่าง
ถึงอย่างนั้น ฉันก็มิได้กราบไหว้เท้าทั้ง ๒ ของท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 452
อนึ่ง ฉันก็มิได้ถามถึงนามและโคตรของท่านเลย
เพราะเหตุนั้น ฉันจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า มานะ
อย่าได้มาถึงฉันอีกเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย โน ความว่า ท่านไม่ได้ถามถึงความใด
กะพวกข้าพเจ้าเลย. บทว่า ยถาปชาน ความว่า พวกข้าพเจ้าได้แถลงเรื่องนั้น
ตามที่ตนได้รู้มา. บทว่า อนูปลิตฺโต ความว่า อันกิเลสทุกอย่างจะไม่เข้า
ไปไล้ทาจิตได้เลย. บทว่า โส ม อเวทิ ความว่า ท่านได้บอกให้ทราบ
ข้ารู้ แสดงแก่ข้าทุกอย่าง ถึงฐานะที่ข้าควรดำเนิน ฐานะที่ข้าดำเนินไปแล้ว
ในบัดนี้ และเรื่องนามโคตรและจรณะของข้าในอนาคตเช่นนี้ว่าเธอจักมีนาม
อย่างนี้ จักมีโคตรอย่างนี้ เธอจักมีศีลเเละจรณะเห็นปานนี้. บทว่า เอวมห
นิคฺคหึ ความว่า เมื่อท่านแสดงถึงอย่างนี้ ข้ามิได้กราบบาทยุคลของท่าน
เพราะอาศัยมานะของตน.
พระมหาสัตว์แถลงการกระทำอุโบสถของตนอย่างนี้แล้ว ตักเตือนสัตว์
เหล่านั้นส่งต่อไป กลับเข้าบรรณศาลา. สัตว์เหล่านั้นเล่าต่างพากันไปที่อยู่
ของตน พระมหาสัตว์มีฌานไม่เสื่อม ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
สัตว์พวกนั้นตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน ได้ไปสวรรค์ตาม ๆ กัน.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้ ตรัสย้ำว่า อุบาสกทั้งหลาย
อันอุโบสถนี้เป็นเชื้อแถวแห่งหมู่บัณฑิตแต่เก่าก่อนด้วยประการฉะนี้ อุโบสถ
เป็นอันควรจะบำเพ็ญ แล้วทรงประชุมชาดกว่า นกพิราบในครั้งนั้น ได้มา
เป็นอนุรุทธะ หมีได้มาเป็นกัสสปะ หมาจิ้งจอกได้มาเป็นโมคคัลลานะ
งูได้มาเป็นสารีบุตร ส่วนดาบสได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาปัญจอุโบสถชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 453
๘. มหาโมรชาดก
ว่าด้วยพญานกยูงพ้นจากบ่วง
[๑๙๖๑] ดูก่อนสหาย ก็ถ้าแหละท่านจับข้าพเจ้า
เพราะเหตุแห่งทรัพย์แล้ว ท่านอย่าฆ่าข้าพเจ้าเลย จง
จับเป็นนำข้าพเจ้าไปถวายพระราชาเถิด เข้าใจว่า ท่าน
จะได้ทรัพย์ไม่ได้น้อยเลย.
[๑๙๖๒] เราผูกสอดลูกธนูใส่เข้าในแล่ง มิได้
หมายมั่นว่าจะฆ่าท่านในวันนี้เลย แต่เราจักตัดบ่วงที่
ผูกรัดเท้าท่าน พญายูงจงไปตามสบายเถิด.
[๑๙๖๓] เหตุไร ท่านจึงเพียรดักข้าพเจ้ามาถึง
๗ ปี สู้อดกลั้นความหิวกระหายทั้งกลางคืนและกลาง
วัน เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านปรารถนาจะปลดปล่อย
ข้าพเจ้า ผู้ติดบ่วงเสียจากบ่วงเพื่ออะไร วันนี้ ท่าน
งดเว้นจากปาณาติบาตหรือ หรือว่าท่านให้อภัยในสัตว์
ทั้งปวง เหตุไร ท่านจึงปรารถนาจะปลดปล่อยข้าพเจ้า
ผู้ติดบ่วง ออกจากบ่วงเสียเล่า.
[๑๙๖๔] ดูก่อนพญายูง ขอท่านจงบอกว่า ผู้ใด
เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต และให้อภัยในสัตว์
ทั้งปวง ข้าพเจ้าขอถามความข้อนั้นกะท่าน ผู้นั้นจุติ
จากโลกนี้แล้วจะได้ความสุขอะไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 454
[๑๙๖๕] ข้าพเจ้าขอบอกว่า ผู้ใดเป็นผู้งดเว้น
จากปาณาติบาต และให้อภัยในสัตว์ทั้งปวง ผู้นั้นย่อม
ได้รับความสรรเสริญในปัจจุบัน และเมื่อตายไปย่อม
ไปสู่สวรรค์.
[๑๙๖๖] สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวว่า เทวดา
ทั้งหลายไม่ ชีพย่อมเข้าถึงความเป็นต่าง ๆ กันใน
โลกนี้ ผลของกรรมดีและกรรมชั่วก็ไม่มีเหมือนกัน
และกล่าวว่า ทานอันคนโง่บัญญัติไว้ ข้าพเจ้าเชื่อถ้อย
คำของพระอรหันต์เหล่านั้น ฉะนั้น จึงเบียดเบียนนก
ทั้งหลาย.
[๑๙๖๗] ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ เห็นกันได้
ง่าย ๆ ส่องสว่างไปในอากาศ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
ทั้ง ๒ นั้น อยู่ในโลกนี้หรือในโลกอื่น สมณพราหมณ์
เหล่านั้น กล่าวถึงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ในมนุษยโลก
อย่างไรหรือ.
[๑๙๖๘] ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ เห็นกันได้
ง่าย ๆ ส่องสว่างไปในอากาศ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
ทั้ง ๒ นั้นมีอยู่ในโลกอื่น ไม่มีในโลกนี้ สมณพราหมณ์
เหล่านั้น กล่าวถึงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ว่าเป็นเทวดา
ในมนุษยโลก.
[๑๙๖๙] สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าหา
เหตุมิได้ ไม่กล่าวถึงกรรม ไม่กล่าวถึงผลแห่งกรรมดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 455
กรรมชั่ว และกล่าวถึงทานว่าคนโง่บัญญัติไว้ สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีวาทะเลวทราม ถูกท่าน
กำจัดเสียแล้ว เพราะการพยากรณ์นี้แหละ.
[๑๙๗๐] คำของท่านนี้เป็นคำจริงแท้ทีเดียว ไฉน
ทานจะไม่พึงมีผลเล่า ผลของกรรมดีกรรมชั่วก็เหมือน
กัน ไฉนจะไม่มีผล อนึ่ง ทานนี้จะว่าคนโง่บัญญัติขึ้น
อย่างไรได้ ดูก่อนพญายูง ข้าพเจ้าจะทำอย่างไร จะทำ
อะไร ประพฤติอะไร เสพสมาคมอะไร ด้วยตบะคุณ
อะไร อย่างไรจึงจะไม่ต้องไปตกนรก ขอท่านจงบอก
เนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด.
[๑๙๗๑] มีสมณะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง นุ่งห่มผ้า
ย้อมด้วยน้ำฝาด ประพฤติเป็นผู้ไม่มีเรือน เที่ยวไป
บิณฑบาตในเวลาเช้าในกาล เว้นจากการเที่ยวไปใน
เวลาวิกาล ผู้สงบระงับ มีอยู่ในแผ่นดินนี้แน่ ท่านจง
เข้าไปหาสมณะเหล่านั้นในเวลาอันควร ณ ที่นั้น แล้ว
จงถามข้อความตามความพอใจของท่าน สมณะ-
เหล่านั้นก็จะชี้แจงประโยชน์โลกนี้และโลกหน้าให้แก่
ท่าน ตามความรู้ความเห็น.
[๑๙๗๒] ความเป็นพรานนี้ เราละได้แล้ว
เหมือนงูลอกคราบเก่าของตน หรือเหมือนต้นไม้ อัน
เขียวชอุ่ม ผลัดใบเหลืองทิ้ง ฉะนั้น วันนี้เราละ
ความเป็นพรานได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 456
[๑๙๗๓] อนึ่ง มีนกเหล่าใดที่เราขังไว้ในนิเวศน์
ประมาณหลายร้อย วันนี้เราให้ชีวิตแก่นกเหล่านั้น
ขอนกเหล่านั้นจงพ้นจากการกักขัง ไปสู่สถานที่อยู่
เดิมของตนเถิด.
[๑๙๗๔] นายพรานถือบ่วงเที่ยวไปในราวป่า
เพื่อดักพญานกยูงตัวเรืองยศ ครั้นดักพญานกยูงตัว
เรืองยศได้แล้ว ก็ได้พ้นจากทุกข์เหมือนเราพ้นแล้ว
ฉะนั้น.
จบมหาโมรชาดกที่ ๘
อรรถกถามหาโมรชาดก
พระศาสดาเสด็จประทับ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระปรารภ
ภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สเจ หิ ตฺยาห ธนเหตุ
คหิโต ดังนี้.
เรื่องย่อมีว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า จริงหรือที่ข่าวว่า เธอ
กระสันจะสึก ครั้นเธอรับสารภาพว่า จริงพระเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ความกำหนัดด้วยความสามารถชื่นใจนี้ ไฉนจักไม่ให้บุคคลอย่างเธอวุ่นวายได้
เล่า มีอย่างหรือ ลมที่จะสามารถพลิกภูเขาสุเนรุได้ ไม่ทำให้ใบไม้เก่า ๆ ใกล้ ๆ
กระจัดกระเจิงไป ในปางก่อนนั่นนะ แม้สัตว์ผู้บริสุทธิ์คอยหักห้ามความฟุ้งซ่าน
ของกิเลสในภายในอยู่ ๗๐๐ ปี ก็ยังโดนความกำหนัดด้วยสามารถความชื่นใจนี้
ทำให้วุ่นวายได้เลย ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 457
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติ ณ พระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้ถือปฏิสนธิในท้องนางนกยูงในประเทศชายแดน.
เมื่อครรภ์แก่เต็มที่แล้ว นางนกยูงผู้มารดาตกฟอง ณ ที่หากิน แล้วบินไป
ก็ธรรมดาว่าฟองไข่ เมื่อมารดาไม่มีโรค และไม่มีอันตรายอื่น ๆ เป็นต้นว่า
ทีฆชาติรบกวนย่อมไม่เสีย. เหตุนั้นฟองไข่นั้น จึงเป็นเหมือนดอกกรรณิการ์
ตูม ๆ มีสีเหมือนสีทอง เมื่อเวลาครบกำหนดก็แตกโดยธรรมดาของตน. ลูก
นกยูงมีสีเป็นทอง ออกมาแล้ว. ลูกนกยูงทองนั้น มีนัยน์ตาทั้งคู้คล้ายผล
กระพังโหม มีจะงอยปากสีเหมือนแก้วประพาฬ มีสร้อยสีแดงสามชั้นวงรอบคอ
ผ่านไปกลางหลัง. ครั้นยูงทองเจริญวัย มีร่างกายเติบใหญ่ขนาดดุมเกวียน
รูปงามยิ่งนัก. ฝูงนกยูงเขียว ๆ ทั้งหมด ประชุมกันยกให้นกยูงทองเป็นเจ้านาย
พากันแวดล้อมเป็นบริวาร. วันหนึ่งนกยูงทองดื่มน้ำในกระพังน้ำ เห็นรูปสมบัติ
ของตน คิดว่า เรามีรูปงามล้ำเลิศกว่านกยูงทั้งหมด ถ้าเราจักอยู่ในแดนมนุษย์
กับฝูงนกยูงเหล่านี้ อันตรายคงบังเกิดแก่เรา เราต้องไปป่าหิมพานต์อาศัยอยู่
ณ ที่อันสำราญลำพังผู้เดียวจึงจะดี. เมื่อฝูงนกยูงพากันแนบรังนอนในราตรีกาล
ก็มิได้บอกให้ตัวอะไรรู้เลย โผขึ้นบินเข้าป่าหิมพานต์ ผ่านทิวเขาไป ๓ ทิวถึง
ทิวที่ ๔ มีสระธรรมชาติขนาดใหญ่ดาดาษไปด้วยปทุมอยู่ในป่าตอนหนึ่ง
ไม่ไกลสระนั้น มีต้นไทรใหญ่เกิดอาศัยภูเขาลูกหนึ่ง ก็ลงเร้นกายถึงกิ่งไทรนั้น.
อนึ่งเล่า ที่ตรงกลางภูเขานั้นยังมีถ้ำอันน่าเจริญใจ. พญายูงทองมุ่งจะอยู่ในถ้ำ
นั้นจึงลงเกาะที่พื้นภูเขาตรงหน้าถ้ำนั้น. ก็แลที่ตรงนั้น ผู้อยู่ข้างล่างไม่อาจขึ้นไป
ได้เลย ผู้อยู่ข้างบนเล่าก็ไม่อาจลงไปได้ เป็นที่ปลอดภัยจาก แมว งู มนุษย์.
พญานกยูงทอง ดำริว่า ตรงนี้เป็นที่อันสำราญของเรา คงพักอยู่ตรงนั้นเอง
ตลอดวันนั้น ต่อรุ่งขึ้นก็ลุกออกจากถ้ำ เกาะที่ยอดเขา หันหน้าไปทางทิศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 458
ตะวันออก เห็นสุริยมณฑลกำลังอุทัย ก็สวดปริตรเพื่อขอความคุ้มครองป้องกัน
ตนในเวลากลางวันว่า อุเทตยญฺจกฺขุมา เอกราชา พระเจ้าองค์เอก ทรง
พระจักษุพระองค์นี้ กำลังอุทัยดังนี้เป็นต้น แล้วร่อนลง ณ ที่หากิน เที่ยวหากิน
ตอนเย็นจึงมาเกาะที่ยอดเขาบ่ายหน้าทางทิศตะวันตก เพ่งดูสุริยมณฑลอันอัสดง
สวดพระปริตรเพื่อขอความคุ้มครองป้องกันในเวลากลางคืนว่า อเปตยญฺจกฺ-
ขุมา เอกราชา พระเจ้าองค์เอก ทรงพระจักษุพระองค์นี้ กำลังเสด็จออกไป
ดังนี้เป็นต้น พำนักอยู่ด้วยอุบายนี้.
ครั้น ณ วันหนึ่ง ลูกนายพรานผู้หนึ่งท่องเที่ยวไปในราวป่า เห็น
พญายูงทองนั้นจับอยู่เหนือยอดเขา จึงมาที่อยู่ของตนเมื่อจวนจะตายบอกลูก
ไว้ว่า พ่อเอ๋ย ในราวป่าตรงทิวเขาที่ ๔ มีนกยูงทอง ถ้าพระราชาตรัสถาม
ก็กราบทูลให้ทรงทราบ. อยู่มาวันหนึ่ง พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี
ทรงพระนามว่าเขมา ทรงเห็นพระสุบินในเวลาใกล้รุ่ง พระสุบินได้มีเรื่อง
ราวอย่างนี้. นกยูงมีสีเหมือนสีทองกำลังแสดงธรรม พระนางทรงให้
สาธุการสดับธรรม นกยูงครั้นแสดงธรรมเสร็จ ก็ลุกขึ้นบินไป. พระนาง
ทอดพระเนตรเห็นพญายูงทองกำลังบินไป ก็ตรัสสั่งให้คนทั้งหลายช่วยกันจับ
พญานกยูงนั้นให้ได้ ขณะที่กำลังตรัสอยู่นั่นแหละ ทรงตื่นเสีย ครั้นทรงตื่น
แล้วจึงทรงทราบว่าเป็นความฝัน ทรงดำริต่อไปว่า ครั้นจะกราบทูลว่าฝันไป
ที่ไหนพระราชาจะทรงเอาพระหฤทัยเอื้อเฟื้อ แล้วทรงบรรทมประหนึ่งทรงแพ้
พระครรภ์. ครั้งนั้น พระราชาเสด็จเข้ามาใกล้พระนางตรัสถามว่า นางผู้เจริญใจ
เธอไม่สบายเป็นอะไรไปเล่า. กราบทูลว่า ความแพ้ครรภ์บังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉัน
พระเจ้าค่ะ. ตรัสถามว่า เธอต้องการสิ่งใดเล่าจ๊ะ นางผู้เจริญ. กราบทูลว่า
ข้าแต่ทูลกระหม่อม เกล้ากระหม่อมฉันปรารถนาจะฟังธรรมของพญานกยูงทอง
พระเจ้าค่ะ. รับสั่งว่านางผู้เจริญใจเอ๋ย ฉันจักหาพญายูงทองอย่างนี้ได้จากไหน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 459
เล่า. กราบทูลว่า ข้าแต่ทูลกระหม่อมแม้เกล้ากระหม่อมฉัน มิได้สมปรารถนา
ชีวิตของเกล้ากระหม่อมฉันเป็นอันไม่มีละ พระเจ้าค่ะ. ตรัสปลอบว่า นาง-
ผู้เจริญใจ อย่าเสียใจเลยนะ ถ้ามันมีอยู่ ณ ทีไหน เธอต้องได้แน่นอน แล้ว
เสด็จประทับนั่งเหนือพระราชอาสน์ ตรัสถามหมู่อำมาตย์ว่า แน่ะพ่อเอ๋ย เทวี
ปรารถนาจะฟังธรรมของนกยูงทอง อันนกยูงมีสีเหมือนสีทองน่ะ. มีอยู่หรือไม่.
พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ พวกพราหมณ์คงจักทราบ พระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสให้หาพวกพราหมณ์มาเฝ้าแล้ว มีพระดำรัสถาม. พวกพราหมณ์
พากันกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระมหาราช สัตว์เดียรัจฉานเหล่านั้นคือ ใน
จำพวกสัตว์น้ำ ปลา เต่า ปู ในจำพวกสัตว์บก มฤค หงส์ นกยูง นกกระทา
มีสีเหมือนสีทอง มีอยู่ แม้มนุษย์ทั้งหลายเล่า ก็มีสีเหมือนสีทองมีอยู่ ทั้งนี้
มีมาในคัมภีร์ลักษณมนต์ ของข้าพระองค์ทั้งหลาย พระเจ้าข้า.
พระราชาทรงเรียกพวกบุตรพรานในแว่นแคว้นของพระองค์มาประชุม
กัน. รับสั่งว่า นกยูงทองพวกเธอเคยเห็นบ้างไหม. คนที่บิดาเคยเล่าให้ฟังกราบ
ทูลว่า ถึงข้าพระองค์จะไม่เคยเห็น แต่บิดาของข้าพระองค์บอกไว้ว่า นกยูงทอง
มีอยู่ในสถานที่ตรงโน้น พระเจ้าข้า. ครั้งนั้นพระราชาตรัสกะเขาว่า สหายเอ๋ย
เธอจักเป็นคนให้ชีวิตแก่ฉัน และเทวีได้ละ เพราะฉะนั้น เธอจงไปที่นั้น จับมัดนก
ยูงทองนั้นนำมาเถิด ประทานทรัพย์เป็นอันมากส่งไป. เขาให้ทรัพย์แก่ลูกเมีย
แล้วไป ณ ที่นั้น เห็นพระมหาสัตว์ ก็ทำบ่วงดักรอว่า วันนี้คงติด วันนี้คงติด ก็
ไม่ติดสักที จนตายไป. พระเทวีเล่าเมื่อไม่ได้ดังพระปรารถนา ก็สิ้นพระชนม์ไป.
พระราชาทรงกริ้วว่า เพราะอาศัยนกยูงทองตัวนี้เป็นเหตุ เมียรักของเราต้อง
สิ้นพระชนม์ ทรงมีพระหฤทัยเป็นไปในอำนาจแห่งเวร ทรงให้จารึกไว้ใน
แผ่นทองว่า ที่ทิวเขาที่สี่ในป่าหิมพานต์ มีนกยูงทองอาศัยอยู่ บุคคลได้กินเนื้อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 460
ของยูงทองแล้วนั้น จะไม่แก่ไม่ตาย แล้วบรรจุหนังสือนั้นไว้ในหีบไม้แก่น
เสด็จสวรรคตไป. ครั้นกษัตริย์องค์อื่นได้เป็นพระราชาแล้ว ท้าวเธอทอด-
พระเนตรเห็นอักษร ในแผ่นทองก็ทรงดำริว่า เราจักเป็นผู้ไม่แก่ไม่ตาย
ทรงส่งให้พรานผู้หนึ่งไปเพื่อจับพญายูงทองนั้น. แม้พรานผู้นั้น ก็ตายเสียที่นั้น
ดุจกัน. โดยทำนองนี้ ล่วงไปถึง ๖ รัชกาลแล้ว ลูกพรานทั้ง ๖ ตายในป่า
หิมพานต์นั้นเอง. ถึงพรานคนที่ ๗ ซึ่งพระราชาองค์ที่ ๗ ทรงใช้ไป คิดว่า
เราจักจับนกยูงทองนั้นได้ในวันนี้ ในวันนี้แน่นอน ล่วงไปถึง ๗ ปี ก็ไม่
สามารถจะจับนกยูงทองตัวนั้นได้ ดำริว่า ทำไมเล่าหนอ บ่วงจึงไม่รูดรัดเท้า
ของพญายูงทองนี้ คอยกำหนดดูพญานกยูงทองนั้น เห็นเจริญพระปริตร
ทุกเย็นทุกเช้า ก็กำหนดได้โดยนัยว่า ในสถานที่นี้นกยูงตัวอื่นไม่มีเลย. อัน
พญายูงทองตัวนี้คงประพฤติพรหมจรรย์ด้วยอานุภาพแห่งพรหมจรรย์ และด้วย
อานุภาพแห่งพระปริตร บ่วงจึงไม่ติดเท้าของพญายูงทอง แล้วจึงไปสู่ปัจจัน-
ตชนบท ดักนางยูงได้ตัวหนึ่ง ฝึกฝนให้ขันในเวลาดีดนิ้วมือให้ฟ้อนในเวลา
ตบมือ แล้วพาไป ก่อนเวลาที่พระโพธิสัตว์จะเจริญปริตรทีเดียว ดักบ่วงไว้
ดีดนิ้วมือให้นางยูงขัน. เมื่อพญายูงทองได้ฟังเสียงของนางยูง กิเลสที่ราบเรียบ
ไปตลอดเวลา ๗๐๐ ปี ก็ฟุ้งขึ้นทันทีทันใด เป็นเหมือนอสรพิษที่ถูกตีด้วย
ท่อนไม้ แผ่พังพานฉะนั้น. เธอกระวนกระวายด้วยอำนาจกิเลส จนไม่สามารถ
จะเจริญพระปริตรได้ทีเดียว บินไปยังสำนักนางยูงโดยเร็ว ถลาลงโดยอากาศ
สอดเท้าเข้าไปในบ่วงเสียเลย. บ่วงที่ไม่เคยรูดตลอด ๗๐๐ ปี ก็รูดรัดเท้าในขณะ
นั้นแล. ทีนั้นลูกนายพรานเห็นพญายูงทองนั้นห้อยต่องแต่งอยู่ที่ปลายคันแล้ว
คิดว่า ลูกนายพราน ๖ คน ไม่สามารถที่จะดักพญายูงทองนี้ได้ ถึงตัวเราก็ไม่
สามารถดักได้ ๗ ปี. วันนี้เวลาอาหารเช้า พญายูงอาศัยนางยูงเป็นสัตว์กระวนกระ-
วายด้วยอำนาจกิเลส ถึงไม่อาจเจริญปริตร มาติดบ่วงแขวนต่องแต่งเอาหัวลงอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 461
เป็นสัตว์มีศีลเห็นปานฉะนี้ ถูกเรากระทำให้ลำบากเสียแล้ว การน้อมนำสัตว์
เช่นนี้เข้าไปเพื่อเป็นบรรณาการ แด่พระราชา ไม่ควรเลย เราจะต้องการอะไร
ด้วยสักการะที่พระราชาทรงพระราชทาน จักปล่อยเธอเสียเถอะ หวนคิดว่า
พญายูงนี้มีกำลังดังช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง เมื่อเราเข้าไปใกล้ คงคิดว่า
ผู้นี้จักมาฆ่าเรา แล้วเลยกลัวตายอย่างเหลือล้น ดิ้นรนไป ทำลายเท้าหรือปีก
เสียได้ก็ครั้นเราไม่เข้าไปใกล้ คงซุ่มตัดบ่วงให้ขาดด้วยคมศร แต่นั้นเธอก็จัก
ไปตามพอใจ โดยลำพังตนเอง. เขาคงยืนอยู่ในที่ซ่อน ยกธนูขึ้นสอดลูกศรยืน
จ้องอยู่ฝ่ายพญายูงดำริว่า พรานผู้นี้ทราบการที่ต้องทำให้เรากระวนกระวาย
ด้วยอำนาจกิเลสแล้ว จึงดักได้ง่ายดาย ไม่เห็นกระตือรือร้นเลย เขาซุ่มอยู่ตรง
ไหนเล่านะ มองดูรอบ ๆ ข้าง เห็นยืนจ้องธนูสำคัญว่า คงจักปรารถนาฆ่าเรา
ให้ตาย แล้วก็ สะดุ้งกลัวต่อความตาย เป็นล้นพ้น เมื่อจะวอนขอชีวิต จึงกล่าว
คาถาที่ ๑ ว่า
ดูก่อนสหาย ก็ถ้าแหละท่านจักข้าพเจ้าเพราะเหตุ
แห่งทรัพย์แล้ว ท่านอย่าฆ่าข้าพเจ้าเลย จงจับเป็นนำ
ข้าพเจ้าไปถวายพระราชาเถิด เข้าใจว่า ท่านจักได้
ทรัพย์มิใช่น้อยเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ หิ ตฺยาห ตัดเป็น สเจ หิ เต อห.
บทว่า อุปนฺติ เน หิ แปลว่า จงเข้าไปใกล้. บทว่า ลจฺฉสินปฺปรูป
ความว่า ท่านจักได้ทรัพย์ไม่น้อยเป็นแน่.
ลูกนายพรานได้ยินคำนั้นแล้ว ดำริว่า พญายูงคงเข้าใจว่า พรานนี้
สอดใส่ลูกศรเพื่อต้องการจะยิง ต้องปลอบเธอเถอะ เมื่อจะปลอบจึงกล่าว
คาถาที่ ๒ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 462
เราผูกสอดลูกธนูใส่เข้าในแล่ง มิได้หมายมั่น
ว่าจะฆ่าท่านในวันนี้เลย แต่เราจักตัดบ่วงที่ผูกรัดเท้าท่าน
พญายูงจงไปตามสบายเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิปาตยิสฺส แปลว่า เราจักตัด.
ลำดับนั้น พญายูงได้กล่าวสองคาถาว่า
เหตุไร ท่านจึงเพียรดักข้าพเจ้ามาถึง ๗ ปี สู้
อดกลั้นความหิวกระหายทั้งกลางคืนและกลางวัน เมื่อ
เป็นเช่นนั้น ท่านปรารถนาจะปลดปล่อยข้าพเจ้า ผู้
ติดบ่วงเสียจากบ่วง เพื่ออะไร วันนี้ ท่านงดเว้นจาก
ปาณาติบาตหรือ หรือว่าท่านให้อภัยในสัตว์ทั้งปวง
เหตุไรท่านจึงปรารถนาจะปลดปล่อยข้าพเจ้าผู้ติดบ่วง
ออกจากบ่วงเสียเล่า.
ในสองคาถานั้น บทว่า ย มีอธิบายบางบทว่า ท่านเพียรดักข้าพเจ้า
มาตลอดถึงเพียงนี้ เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอถามท่าน เมื่อเป็น
เช่นนั้นท่านยังจะปรารถนาเพื่อจะปลดปล่อยข้าพเจ้า ผู้ซึ่งท่านนำเข้าในอำนาจ
แห่งบ่วงจนได้.
บทว่า วิรโต นุสชฺช ความว่า ในวันนี้ ท่านงดเว้นจากปาณาติ-
บาตกระมัง.
บทว่า สพฺพภูเตสุ ความว่า ท่านได้ให้อภัยแก่ฝูงสัตว์ทั้งปวงได้
แล้วละซิ.
ต่อจากนี้ไป พึงทราบความสัมพันธ์แห่งการโต้ตอบ ดังนี้ นายพราน
ถามว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 463
ดูก่อนพญายูง ขอท่านจงบอกว่า ผู้ใดเป็นผู้
งดเว้นจากปาณาติบาต และให้อภัยในสัตว์ทั้งปวง
ข้าพเจ้าขอถามความนั้นกะท่าน ผู้นั้นจุติจากโลกนี้แล้ว
จะได้ความสุขอะไร.
ข้าพเจ้าขอบอกว่า ผู้ใดเป็นผู้งดเว้นจากปาณา-
ติบาต และให้อภัยในสัตว์ทั้งปวง ผู้นั้นย่อมได้รับ
ความสรรเสริญในปัจจุบัน และเมื่อตายไปย่อมไปสู่
สวรรค์.
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวว่า เทวดาทั้งหลาย
ไม่มี ชีพย่อมเข้าถึงความเป็นต่าง ๆ กันในโลกนี้ผล
ของกรรมดีและกรรมชั่วก็ไม่มีเหมือนกัน และกล่าวว่า
ทานอันคนโง่บัญญัติไว้ ข้าพเจ้าเชื่อถ้อยคำของพระ-
อรหันต์เหล่านั้น ฉะนั้น จึงเบียดเบียนนกทั้งหลาย.
คาถาที่ร้อยกรองมีความง่าย ๆ เหล่านี้ พึงทราบตามนัยแห่ง
พระบาลีนั้นนั่นแล. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺจาหุ เอเก ความว่า
สมณพราหมณ์บางพวกได้กล่าวอย่างนี้. บทว่า เตส วโจ อรหต สทฺทหาโน
ขยายความว่า ได้ยินว่า พวกชีเปลือยผู้มีวาทะว่าขาดสูญ เป็นพวกใกล้ชิด
สกุลของนายพรานนั้น พวกเหล่านั้นพากันชวนนายพรานผู้เป็นสัตว์ แม้จะ
พร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งปัจเจกโพธิญาณให้ยึดถืออุจเฉทวาทเสียได้ เพราะ
สังสรรค์กับพวกชีเปลือยนั้น นายพรานนั้นจึงยึดเอาว่า ผลแห่งกุศลและอกุศล
ไม่มี จึงฆ่าฝูงนกเสียนักหนา อันการคบหากับคนผู้มีใช่สัตบุรุษนี้ มีโทษ
ใหญ่หลวงถึงเพียงนี้. และพรานนี้สำคัญว่าพวกนั้นเท่านั้นเป็นอรหันต์ จึงกล่าว
อย่างนี้ (ข้าพเจ้าเชื่อถือถ้อยคำของพวกอรหันต์เหล่านั้น ).
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 464
พระมหาสัตว์ฟังคำนั้นแล้ว ดำริว่า เราต้องกล่าวถึงความที่ปรโลกมีอยู่
เเก่เขา ทั้ง ๆ ที่ห้อยศีรษะลงอยู่ปลายคันแล้วนั่นแหละ กล่าวคาถาว่า
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ เห็นกันได้ง่าย ๆ
ส่องสว่างไปในอากาศ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งสอง
นั้น อยู่ในโลกนี้หรือในโลกอื่น สมณพราหมณ์เหล่านั้น
กล่าวถึงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ว่าเป็นเทวดาในมนุษยโลก
อย่างไรหรือ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิมสฺส ความว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
ทั้งสองเป็นของมีอยู่ในโลกนี้หรือ หรือเป็นของมีในโลกเหล่าอื่น. คำว่า
ปรโลกสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. บทว่า กถนฺนุ เต
ความว่า พระอรหันต์นั้น กล่าวไว้อย่างไรเล่า ในวิมานเหล่านี้ ได้แก่เทวบุตร
หรือพระจันทร์และพระอาทิตย์ มีอยู่หรือไม่มีเล่า เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์เล่า.
ลูกนายพรานกล่าวคาถาว่า
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ เห็นกันได้ง่าย ๆ
ส่องสว่างไปในอากาศ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ นั้น
มีอยู่ในโลกอื่นไม่มีในโลกนี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น
กล่าวถึงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ว่าเป็นเทวดาในมนุษยโลก.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์กล่าวคาถาว่า
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าหาเหตุมิได้
ไม่กล่าวถึงกรรม ไม่กล่าวถึงผลแห่งกรรมดีกรรมชั่ว
และกล่าวถึงทานว่าคนโง่บัญญัติไว้ สมณพราหมณ์
เหล่านั้น เป็นผู้มีวาทะเลวทราม ถูกท่านกำจัดเสียแล้ว
เพราะการพยากรณ์นี้แหละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 465
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตฺเถว เต นีหตา ความว่า ถ้าพระจันทร์
พระอาทิตย์สถิตอยู่ในเทวโลก มิใช่สถิตอยู่ในมนุษยโลก และถ้าพระจันทร์
พระอาทิตย์เหล่านั้นเป็นเทวดา มิใช่เป็นมนุษย์เลยไซร้ ตอนนี้เอง คือในการ
พยากรณ์เพียงเท่านี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ที่เป็นผู้ใกล้ชิดตระกูลของท่าน
เป็นพวกมีวาทะเลว ๆ เป็นอันถูกท่านกำจัดเสียแล้ว. บทว่า อเหตุกา ความว่า
สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้ว่า กรรมอันเป็นตัวเหตุแห่งความผุดผ่อง
และความเศร้าหมองไม่มี ชื่อว่าพวกไม่มีเหตุ. บทว่า ทตฺตุปญฺตฺต ความว่า
และพวกที่กล่าวถึงทานว่า คนโง่ ๆ พากันบัญญัติไว้.
เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวเรื่อย ๆ ไป เขากำหนดได้แล้วกล่าวคาถาว่า
คำของท่านนี้เป็นคำจริงแท้ทีเดียว ไฉนทานจะ
ไม่พึงมีผลเล่า ผลของกรรมดีกรรมชั่วก็เหมือนกัน
ไฉนจะไม่มีผล อนึ่ง ทานนี้จะว่าคนโง่บัญญัติขึ้น
อย่างไรได้ ดูก่อนพญายูง ข้าพเจ้าจะทำอย่างไร จะทำ
อะไร ประพฤติอะไร เสพสมาคมอะไร ด้วยตบะคุณ
อะไร อย่างไรจึงจะต้องไม่ไปตกนรก ขอท่านจงบอก
เนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทตฺตุปญฺตฺตญฺจความว่า ทานชื่อว่า
อันคนเซอะบัญญัติแล้ว พึงมีผลอย่างไร. บทว่า กถงฺกโร ความว่า กระทำ
กรรมไฉน. บทว่า กินฺติกโร ความว่า เพราะเหตุไร เมื่อเราทำกรรม จึง
ไม่ไปสู่นรก. คำนอกนี้ เป็นไวพจน์ของคำนั้นนั่นแล.
พระมหาสัตว์ฟังคำนั้นแล้ว ดำริว่า ถ้าเราจักไม่กล่าวแก้ปัญหานี้
โลกมนุษย์จักเกิดเป็นดุจว่างเปล่า เราจักกล่าวความที่สมณพราหมณ์ผู้ทรง
ธรรมมีอยู่ในโลกมนุษย์นั่นเองแก่เขา ได้ภาษิตสองคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 466
มีสมณะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง นุ่งห่มผ้าย้อมด้วย
น้ำฝาด ประพฤติเป็นผู้ไม่มีเรือน เที่ยวไปบิณฑบาต
ในเวลาเช้าในกาล เว้นจากการเที่ยวไปในเวลาวิกาล
ผู้สงบระงับอยู่ในแผ่นดินนี้แน่ ท่านจงเข้าไปหาสมณะ
เหล่านั้นในเวลาอันควร ณ ที่นั้น แล้วจงถามข้อความ
ตามความพอใจของท่าน สมณะเหล่านั้นก็ชี้แจง
ประโยชน์ในโลกนี้ และโลกหน้าให้แก่ท่าน ตาม
ความรู้ความเห็น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺโต คือท่านบัณฑิตผู้มีบาปอันระงับ
แล้ว ได้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า. บทว่า ยถาปชาน ความว่า สมณะเหล่านั้น
จักบอกแก่ท่านตามทำนองที่ตนทราบ คือจักกล่าวคำกำจัดความสงสัยของท่าน
เสียได้. บทว่า ปรสฺส จตฺถ ความว่า สมณะเหล่านั้นจักชี้แจงประโยชน์
โลกนี้และโลกอื่นอย่างนี้ว่า ด้วยกรรมชื่อนี้ จะบังเกิดในโลกมนุษย์ ด้วยกรรม
นี้จะบังเกิดในเทวโลก ด้วยกรรมนี้ จะบังเกิดในนรกเป็นต้น เชิญถามสมณะ
เหล่านั้นเถิด.
ก็แลครั้นพญายูงกล่าวอย่างนี้แล้ว ขู่ให้กลัวภัยในนรก. ก็เขาเป็น
พระปัจเจกโพธิสัตว์ผู้มีบารมีบำเพ็ญเต็มแล้ว มีญาณอันแก่กล้าแล้วเป็นเหมือน
ดอกปทุมที่แก่แล้วชูก้านรอการถูกต้องของแสงอาทิตย์ฉะนั้น เมื่อฟังธรรมกถา
ของพญายูง ยืนอยู่ด้วยท่าเดิมนั้นแหละ กำหนดสังขารทั้งหลาย พิจารณา
ไตรลักษณ์ บรรลุปัจเจกโพธิญาณแล้ว. การบรรลุของท่านและการพ้นจาก
บ่วงของพระมหาสัตว์ ได้มีในขณะเดียวกันแล. พระปัจเจกพุทธเจ้าทำลาย
กิเลสทั้งหลายแล้ว ดำรงอยู่ ณ สุดแดนของภพทีเดียว เมื่อจะเปล่งอุทาน
จึงกล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 467
ความเป็นพรานนี้ เราละได้แล้ว เหมือนงูลอก
คราบเก่าของตน หรือเหมือนต้นไม้อันเขียวชอุ่ม
ผลัดใบเหลิองทิ้ง ฉะนั้น วันนี้เราละความเป็นพรานได้.
ความแห่งคาถานั้น มีอธิบายว่า งูลอกทิ้งหนังเก่าที่คร่ำคร่าฉันใด
และต้นไม้ที่ยังเขียวชอุ่มอยู่ ผลัดใบเหลือง ๆ ที่ติดอยู่แห่งใดแห่งหนึ่งทิ้งเสีย
ได้ฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น สละเสียได้ ซึ่งความเป็นพรานในวันนี้ ทีนี้ความ
เป็นพรานนั่นนั้นเป็นอันเราละทิ้งได้แล้ว เราสละความเป็นพรานแล้วในวันนี้.
บทว่า ชหามห ความว่า เราละเสียแล้ว.
ครั้นท่านเปล่งอุทานนี้แล้ว ดำริว่า เราพ้นจากเครื่องพัวพันคือ
กิเลสทั้งปวงได้แน่นอน แต่ในที่อยู่ของเรายังมีนกถูกกักขังอยู่มาก เราจัก
ปลดปล่อยนกเหล่านั้นได้อย่างไร จึงถามพระมหาสัตว์ว่า พญายูงเอ๋ย
ในที่อยู่ของข้าพเจ้า มีนกถูกกักขังอยู่เป็นอันมาก ข้าพเจ้าจักปลดปล่อยนก
เหล่านั้นได้อย่างไรละ. อันที่จริง ญาณในการกำหนดอุบาย ของพระสัพพัญญู
โพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมใหญ่โตกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า. เหตุนั้น พญายูงจึง
กล่าวกะท่านว่า ปัจเจกโพธิญาณที่ท่านทำลายกิเลสทั้งปวงเสีย แล้ว
บรรลุด้วยโพธิมรรคใด โปรดปรารภโพธิมรรคนั้น กระทำสัจจกิริยาเถิด
ธรรมดาสัตว์อันต้องจองจำในชมพูทวีปทั้งสิ้นก็จักไม่มี. ท่านดำรงในฐานะ
ที่พระโพธิสัตว์กล่าวแล้ว เมื่อจะทำสัจจกิริยา จึงกล่าวคาถาว่า
อนึ่ง มีนกเหล่าใดที่เรากักขังไว้ในนิเวศน์
ประมาณหลายร้อย วันนี้เราให้ชีวิตแก่นกเหล่านั้น
ขอนกเหล่านั้นจงพ้นจากการกักขัง ไปสู่สถานที่อยู่เดิม
ของตนเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 468
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โมกฺขญฺจ เต ปตฺโต ความว่า ถ้า
เราบรรลุโมกขธรรมแล้ว คือบรรลุปัจเจกโพธิญาณแล้ว ขอสงเคราะห์สัตว์
เหล่านั้น ในอันให้ชีวิตเป็นทาน ด้วยสัจจะนี้. บทว่า สก นิเกต ความว่า
ขอสัตว์แม้ทั้งปวงจงพากันไปสู่ที่อยู่ของตนเถิด.
ลำดับนั้น นกทั้งปวงก็พ้นจากที่กักขัง พอดีกันกับเวลาที่พระปัจเจกโพธิ
นั้นกระทำสัจจกิริยานั่นเอง ต่างร้องร่าเริงบินไปที่อยู่ของตนทั่วกัน. ก็แลใน
ขณะนั้น บรรดาสัตว์ในเหย้าเรือนทุกหนแห่ง ตั้งต้นแต่แมวเป็นต้น ในชมพู
ทวีปทั้งสิ้น ที่จักได้ชื่อว่าสัตว์ต้องกักขังมิได้มีเลย. พระปัจเจกพุทธเจ้ายก
มือลูบศีรษะ. ทันใดนั่นเอง เพศคฤหัสถ์ก็หายไป เพศบรรพชิต
ปรากฏแทน. ท่านเป็นเหมือนพระเถระมีพรรษา ๖๐ สมบูรณ์ด้วยมรรยาท
ทรงอัฏฐบริขาร กล่าวว่า ท่านนั้นเทียวได้เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าประคองอัญชลี
แก่พญายูงกระทำประทักษิณ เหาะขึ้นอากาศไปสู่เงื้อมผาชื่อนันทมูล. ฝ่าย
พญายูงก็โดดจากปลายคันแร้ว หาอาหาร ไปสู่ที่อยู่ของตนดังเดิม.
บัดนี้ พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความที่นายพราน แม้จะถือ
บ่วงเที่ยวไปตั้ง ๗ ปี อาศัยพญายูงพ้นจากทุกข์ได้ จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า
นายพรานถือบ่วงเที่ยวไปในราวป่า เพื่อดักพญา-
นกยูงตัวเรืองยศ ครั้นดักพญานกยูงตัวเรืองยศได้แล้ว
ก็ได้พ้นจากทุกข์ เหมือนเราพ้นแล้วฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาเธตุ แปลว่า เพื่อจะดัก บาลีก็อย่างนี้
เหมือนกัน อธิบายว่า ครั้นดักพญายูงได้แล้ว ยืนฟังธรรมกถาของพญายูงนั้น
ก็ได้ความสลดใจ. บทว่า ยถาห ความว่า นายพรานนั้นหลุดพ้นจากทุกข์ได้
เหมือนเราหลุดพ้นได้ด้วยสยัมภูญาณ ฉะนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 469
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจธรรม
เวลาจบสัจจธรรม ภิกษุผู้กระสัน ดำรงในพระอรหัต แล้วทรงประชุม
ชาดกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าในครั้งนั้นปรินิพพาน ส่วนพญายูงได้มาเป็น
เราตถาคตแล.
จบอรรถกถามหาโมรชาดก
๙. ตัจฉสูกรชาดก
ว่าด้วยหมูพร้อมใจกันสู้เสือ
[๑๙๗๕] ข้าพเจ้าเที่ยวแสวงหาหมู่ญาติใด ตาม
ภูเขาและราวป่าทั้งหลาย ค้นหาหมู่ญาติมากมาย หมู่
ญาตินั้นเราพบแล้ว รากไม้และผลไม้นี้ ก็มีมากมาย
อนึ่ง ภักษาหารนี้ก็มิใช่น้อย ทั้งห้วยละหานนี้ก็น่า
รื่นรมย์ คงเป็นที่อยู่สุขสบาย ข้าพเจ้าจักขออยู่กับ
ญาติทั้งมวล ในที่นี้แหละ จักเป็นผู้ขวนขวายน้อย
ไม่มีความระแวงภัย ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีภัยแต่
ที่ไหน ๆ.
[๑๙๗๖] ดูก่อนตัจฉะ เจ้าจงไปหาที่ซ่อนเร้น
แห่งอื่นเถิด ในที่นี้ศัตรูของพวกเรามีอยู่ มันมาในที่นี้
แล้ว ก็ฆ่าหมูแต่ล้วนตัวที่อ้วนพีเสีย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 470
[๑๙๗๗] ใครหนอเป็นศัตรูของพวกเราในที่นี้
ใครมากำจัดญาติทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน ซึ่งยากที่
จะกำจัดได้ เราถามท่านแล้ว ขอจงบอกความข้อนั้น
แก่เราเถิด.
[๑๙๗๘] ดูก่อนตัจฉะ พญาเนื้อตัวหนึ่งลาย
พาดขึ้น เป็นเนื้อมีกำลังมีเขี้ยวเป็นอาวุธ มันมาในที่นี้
แล้ว ก็ฆ่าหมูแต่ล้วนตัวที่อ้วนพีเสีย.
[๑๙๗๙] พวกเราไม่มีเขี้ยวหรือ กำลังกายไม่
พรั่งพร้อมหรือ พวกเราทั้งหมดพร้อมใจกันแล้ว ก็จะ
จับมันตัวเดียวเท่านั้นให้อยู่ในอำนาจได้.
[๑๙๘๐] ดูก่อนตัจฉะ ท่านกล่าววาจาจับอก
จับใจ เพราะหู แม้ตัวใดหนีไปเวลารบ พวกเราจัก
ฆ่ามันเสียในภายหลัง.
[๑๙๘๑] ดูก่อนพญาเนื้อที่เก่งกล้า วันนี้เจ้าคง
จะงดเว้น จากการฆ่าสัตว์ละซิหนอ ท่านให้อภัยใน
สัตว์ทั้งปวงเสียแล้วหรือ หรือเขี้ยวของเจ้าคงไม่มี
เจ้ามาถึงกลางฝูงสุกรแล้วจึงซบเซาอยู่ ดังคนกำพร้า
ฉะนั้น.
[๑๙๘๒] มิใช่ว่าเขี้ยวของข้าพเจ้าไม่มี กำลังกาย
ของข้าพเจ้าก็มีอยู่พรั่งพร้อม แต่ข้าพเจ้าเห็นสุกร
ทั้งหลายที่เป็นญาติกัน ร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 471
เหตุฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงซบเซาอยู่แต่ผู้เดียวในป่า เมื่อ
ก่อน สุกรเหล่านี้ พอข้าพเจ้าลืมตาแลดูเท่านั้น ต่างก็
กลัวตายหาที่หลบซ่อนวิ่งกระเจิดกระเจิงไปตามทิศา-
นุทิศ บัดนี้ พวกมันมาประชุมพร้อมเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน ในภูมิภาค ที่พวกมันยืนอยู่นั้น ข้าพเจ้าข่ม
พวกมันได้ยากในวันนี้ พวกมันคงมีขุนพล จึงพัก
พร้อมกัน คงเป็นเสียงเดียวกัน คงร่วมมือร่วมใจกัน
เบียดเบียนข้าพเจ้า เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่
ปรารถนาสุกรเหล่านั้น.
[๑๙๘๓] พระอินทร์องค์เดียวเท่านั้น ยังเอาชนะ
อสูรทั้งหลายได้ เหยี่ยวตัวเดียวเท่านั้น ย่อมข่มฆ่า
นกทั้งหลายได้ เสือโคร่งตัวเดียวเหมือนกัน ไปถึง
ท่ามกลางฝูงสุกรแล้ว ก็ย่อมฆ่าสุกรตัวพี ๆ ได้ เพราะ
กำลังของมันเป็นเช่นนั้น.
[๑๙๘๔] จะเป็นพระอินทร์ จะเป็นเหยี่ยว แม้
จะเป็นเสือโคร่งที่เป็นใหญ่กว่าเนื้อ ก็ทำญาติผู้พร้อม-
เพรียงกันมั่นคง ซึ่งเป็นเช่นกับเสือโคร่ง ไว้ในอำนาจ
ไม่ได้ทั้งนั้นแหละ.
[๑๙๘๕] ฝูงนกตัวน้อย ๆ มีชื่อกุมภิลกะ เป็นนก
มีพวก เที่ยวไปเป็นหมวดหมู่ ร่าเริงบันเทิงใจ โผผิน
บินร่อนไปเป็นกลุ่ม ๆ ก็เมื่อฝูงนกเหล่านั้นบินไป
บรรดานกเหล่านั้น คงมีสักตัวหนึ่งที่แตกฝูงไป เหยี่ยว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 472
ย่อมโฉบจับนกตัวนั้นได้ นี่เป็นคติของเสือโคร่ง
ทั้งหลายโดยแท้.
[๑๙๘๖] เสือโคร่งเป็นสัตว์มีเขี้ยว ถูกชฎิลผู้
หยาบช้า เห็นแก่อามิสปลุกใจให้ฮึกเหิม สำคัญว่าจะทำ
ได้เหมือนเมื่อครั้งก่อน จึงวิ่งเข้าในฝูงสุกรตัวมีเขี้ยว.
[๑๙๘๗] ญาติทั้งหลายมีมากด้วยกัน ย่อมยัง
ประโยชน์ให้สำเร็จ ถึงต้นไม้ทั้งหลายที่เกิดในป่า ก็
เหมือนกัน สุกรทั้งหลายพร้อมเพียงกันเข้า ฆ่าเสือ-
โคร่งเสียได้ เพราะประพฤติร่วมใจเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน.
[๑๙๘๘] สุกรทั้งหลายช่วยกันฆ่าพราหมณ์และ
เสือโคร่ง ทั้ง ๒ ได้แล้ว ต่างร่าเริงบันเทิงใจ พากัน
บันลือศัพท์สำเนียงเสียงสนั่น.
[๑๙๘๙] สุกรเหล่านั้นมาประชุมพร้อมกันที่โคน
ต้นมะเดื่อ อภิเษกตัจฉสูกรด้วยคำว่า ท่านเป็นราชา
เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของพวกเรา.
จบตัจฉสูกรชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 473
อรรถกถาตัจฉกสุกรชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ
ปรารภพระเถระแก่ ๒ รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ยเทสมานา วิจริมฺหา ดังนี้.
เล่ากันมาว่า พระเจ้ามหาโกศล ทรงประทานพระธิดาแก่พระเจ้า
พิมพิสาร ได้ประทานกาสิกคามแก่พระธิดาเพื่อเป็นมูลค่าเครื่องสนานกาย.
ครั้นพระเจ้าอชาตศัตรูปลงพระชนม์พระราชบิดาเสียแล้ว พระเจ้าปเสนทิก็ทรง
ชิงบ้านคืน. เมื่อพระราชาทั้ง ๒ พระองค์ ทรงรบกันเพื่อชิงบ้านนั้น คราวแรก
พระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีชัย. พระเจ้าโกศลทรงพ่ายแพ้ ตรัสถามพวกอำมาตย์ว่า
เราจะใช้อุบายอะไรเล่าหนอ ถึงจะจับอชาตศัตรูได้ พวกอำมาตย์พากันกราบ
ทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดาว่าภิกษุทั้งหลายย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ
คิดอ่าน ควรที่พระองค์จะส่งคนสอดแนมไปคอยกำหนดถ้อยคำของหมู่ภิกษุดู
พระเจ้าข้า. พระราชาทรงรับรองว่าดี แล้วตรัสใช้ราชบุรุษไปด้วยพระดำรัสว่า
มานี่ เจ้าทั้งหลาย พวกเจ้าจงพากันไปสู่พระวิหารซุ่มซ่อนตัวเสีย คอยกำหนด
เอาถ้อยคำของพระคุณเจ้าทั้งหลายมาจงได้. ในพระเชตวันวิหารเล่า ก็มีพวก
ราชบุรุษบวชอยู่เป็นอันมาก. บรรดาท่านเหล่านั้นพระเถระแก่ ๒ รูป อยู่ที่
บรรณศาลาท้ายพระวิหาร รูปหนึ่งนามว่า ธนุคคหติสสเถระ รูปหนึ่งชื่อว่า
มันตทัตตเถระ. ท่านทั้ง ๒ หลับตลอดคืน ตื่นเมื่อย่ำรุ่ง ท่านธนุคคหติสสเถระ
ก่อไฟให้ลุก กล่าวว่า พระคุณเจ้ามันตทัตตเถระผู้เจริญขอรับ. ท่านมันตทัตตเถระ
ถามว่า อะไรกันขอรับ. กลับถามว่า คุณกำลังหลับหรือ. ตอบว่า ผมไม่หลับดอก
ต้องทำอะไรล่ะครับ. กล่าวว่า คุณขอรับ พระราชาปเสนทิโกศลองค์นี้ช่างโง่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 474
จริง ๆ ทรงทราบแต่จะเสวยกระยาหารประมาณ ๑ ถาดเท่านั้นเอง. ถามว่า
นั่นมันเรื่องอะไรกันเล่าคุณ. กล่าวว่า พระราชาพ่ายแพ้ศัตรูผู้เป็นเพียงตัวหนอน
ในพระอุทรของพระองค์ก็ว่าได้. ถามว่า ก็ควรจะทรงทำอย่างไรเล่าคุณ.
ตอบว่า มันตทัตตเถระผู้เจริญ ธรรมดาว่าการรบมี ๓ ขบวน คือ สกฏพยุหะ
จักกพยุหะและปทุมพยุหะ ในขบวนรบทั้ง ๓ นั้น ต้องตั้งขบวนสกฏพยุหะจึง
จะจับได้ แล้วแถลงต่อไปว่า ช่องเขาตรงโน้น ๆ เหมาะที่จะวางพลไว้ ๒ ข้าง
(ล่อให้ตีเข้ามา) พอรู้ว่าเข้ามาภายในแล้ว ก็โห่ร้องก้องสนั่นล้อมไว้ กระทำ
ให้อยู่ในกำมือแล้วก็จับเอา เหมือนจับปลาที่เข้าไซแล้วฉะนั้น. ผู้ที่พระราชา
ทรงใช้ไปสืบ ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว พากันกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาเสด็จ
ไปด้วยกองทัพใหญ่ ทรงกระทำอย่างนั้น จับพระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงจองจำ
ด้วยโซ่ตรวน กระทำให้หายเมาอำนาจเสีย ๒-๓ วัน ตรัสปลอบว่า ต่อไป
อย่ากระทำอย่างนี้เลยนะ ทรงแก้จองจำแล้ว พระราชทานพระธิดาพระนามว่า
วชิรกุมารีแก่ท้าวเธอ ทรงปลดปล่อยไปพร้อมด้วยราชบริพารเป็นอันมาก. เรื่อง
ราวที่ว่าพระเจ้าโกศลทรงจับพระเจ้าอชาตศัตรูได้ด้วยการจัดแจงของพระธนุค-
คหติสสเถระโด่งดังไปในกลุ่มภิกษุ. พวกภิกษุพากันยกเรื่องนั้นแหละขึ้นสนท-
นาในธรรมสภา. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้พวก
เธอกำลังสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อพวกภิกษุพากันกราบทูลให้ทรงทราบ
แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ถึงในครั้งก่อน
ธนุคคหติสสเถระก็เป็นผู้ฉลาดในการจัดขบวนรบ แล้วทรงนำอดีตนิทานมา
ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ช่างไม้ผู้หนึ่งอยู่ ณ บ้านใกล้ประตูพระนครพาราณสี
เข้าไปสู่ป่าเพื่อหาไม้ของตน พบลูกหมูตัวหนึ่งตกอยู่ในหลุม จึงนำมาเลี้ยง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 475
ตั้งชื่อให้ว่า ตัจฉกสุกร. มันได้เป็นอุปการะแก่เขา เอาจะงอยปากพลิกไม้ให้
ก็ได้ เอาเส้นบรรทัดพันจมูกลากไปให้ก็ได้ เอาปากคาบขวานสิ่วค้อนมาให้ก็ได้.
มันพ่วงพีมีกำลังมาก มีร่างกายใหญ่. ฝ่ายช่างไม้เล่า รักมันเหมือนลูก คิดว่า
เมื่อมันอยู่ที่นี่เรื่อยไป คงมีใครข่มเหงมันได้เป็นแน่ เลยปล่อยเสียในป่า.
มันคิดว่า ในป่านี้เราไม่อาจอยู่ลำพังผู้เดียวได้ จำต้องเที่ยวค้นหาหมู่ญาติให้ได้
แล้วอยู่มีหมู่ญาติแวดล้อม เที่ยวเสาะหาฝูงหมูไปในป่าชัฏ พบหมูเป็นอันมาก
แล้วดีใจ กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า
ข้าพเจ้าเที่ยวแสวงหาหมู่ญาติใด ตามภูเขาและ
ราวป่าทั้งหลาย ค้นหาหมู่ญาติมากมาย หมู่ญาตินั้น
เราพบแล้ว รากไม้และผลไม้นี้ ก็มีมากมาย อนึ่ง
ภักษาหารนี้ก็มิใช่น้อย ทั้งห้วยละหานนี้ก็น่ารื่นรมย์
คงเป็นที่อยู่สุขสบาย ข้าพเจ้าจักขออยู่กับญาติทั้งมวล
ในที่นี้แหละ จักเป็นผู้ขวนขวายน้อย ไม่มีความระแวง
ภัย ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยเทสมานา ความว่า ข้าพเจ้าเที่ยว
แสวงหาหมู่ญาติใด. บทว่า อนฺเวส ความว่า เที่ยวค้นหาตลอดกาลนานหนอ.
บทว่า เตเม ตัดเป็น เต เม ญาติเหล่านั้นเราพบแล้ว. บทว่า ภิกฺโข
ความว่า อนึ่ง ภักษาหารกล่าวคือ รากไม้และผลาผล นั้นนั่นแล. บทว่า
อปฺโปสฺสุกฺโก ความว่า เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย.
พวกสุกรได้ฟังคำของมันแล้ว พากันกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า
ดูก่อนตัจฉะ เจ้าจงไปหาที่ซ่อนเร้นแห่งอื่นเถิด
ในที่นี้ศัตรูของพวกเรามีอยู่ มันมาในที่นี้แล้วก็ฆ่าหมู่
แต่ล้วนตัวที่อ้วนพีเสีย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 476
บรรดาบทเหล่านั้น มันเรียกสุกรนั้นว่า ตัจฉะ. บทว่า วรวร ความว่า
มันฆ่าสุกรแต่ล้วนที่มีร่างกายอ้วนพีเสีย.
ต่อไปนี้พึงทราบคาถาที่ร้อยกรองไว้อย่างง่ายโดยนัยพระบาลีนั่นแล.
ตัจฉกสุกรถามว่า
ใครหนอเป็นศัตรูของพวกเราในที่นี้ ใครมา
กำจัดญาติทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน ซึ่งยากที่จะกำจัด
ได้ เราถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกความข้อนั้นแก่
เราเถิด.
พวกหมู่ตอบว่า
ดูก่อนตัจฉะ พญาเนื้อตัวหนึ่งลายพาดขึ้น
เป็นเนื้อมีกำลังมีเขี้ยวเป็นอาวุธ มันมาในที่นี้แล้ว ก็
ฆ่าหมู่แต่ล้วนตัวที่อ้วนพีเสีย.
ตัจฉกสุกรถามว่า
พวกเราไม่มีเขี้ยวหรือ กำลังกายไม่พรั่งพร้อม
หรือ พวกเราทั้งหมดพร้อมใจกันแล้ว ก็จะจับมัน
ตัวเดียวเท่านั้นให้อยู่ในอำนาจได้.
พวกหมูพากันกล่าวว่า
ดูก่อนตัจฉะ ท่านกล่าววาจาจับอกจับใจ
เพราะหู แม้ตัวใดหนีไปเวลารบ พวกเราจักฆ่ามันเสีย
ในภายหลัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนมฺหาก ความว่า พอเราเห็นท่าน
คิดว่า พวกหมูเหล่านั้นมีเนื้อและโลหิตน้อย ชะรอยจะพึงมีภัยต่อพวกหมูเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 477
เพราะฉะนั้น พวกท่านจงบอกเรา ใครหนอเป็นศัตรูแก่เราในที่นี้. บทว่า
อุทฺธคฺคราชี ความว่า มาพร้อมกับพญาเนื้อลายพาดขึ้น พวกหมูกล่าว
หมายเอาเสือโคร่งนั่นเอง. บทว่า โยปิ ความว่า ในบรรดาระหว่างพวกเรา
แม้ตัวเดียวหนีไป พวกเราจักฆ่าตัวนั้นในภายหลัง.
ตัจฉกสุกร การทำพวกหมูทั้งหมดให้มีใจเดียวกัน แล้วถามว่า เสือ
จักมาเวลาไหน. พวกหมูตอบว่า วันนี้ ตอนเช้าตรู่ มันมาจับไปตัวหนึ่งแล้ว
คงมาในวันพรุ่งนี้เช้าเป็นแน่. ตัจฉกสุกรนั้นฉลาดในการรบรู้ชัยภูมิว่า ตั้งใน
ฐานนี้ไม่อาจชนะได้ เหตุนั้นจึงตรวจดูประเทศแห่งหนึ่ง ให้พวกหมูหากิน
เสียแต่กลางคืนทีเดียว พอถึงเวลาค่อนรุ่งกล่าวว่า อันขบวนรบมี ๓ อย่าง
ด้วยอำนาจขบวนรบรูปเกวียนเป็นต้น แล้วจัดแจงขบวนรบแบบดอกปทุม
ตั้งพวกลูกหมูที่กำลังดื่มน้ำนมไว้ตรงกลาง วางแม่หมูเหล่านั้นล้อมไว้ คัดนาง
หมู่รุ่นกลางล้อมแม่หมูเหล่านั้น ระหว่างนางหมูเหล่านั้นวางลูกหมูหย่านมแล้ว
ล้อมไว้ ระหว่างลูกหมูเหล่านั้นวางหมูรุ่น ๆ เขี้ยวตูม ๆ ระหว่างนั้นวางพวก
หมูเขี้ยวใหญ่ ระหว่างนั้นวางหมูที่แก่ ๆ แล้วตั้งกองกำลังแบ่งเป็นพวก ๆ
พวกละ ๑๐ ตัว ๒๐ ตัว และ ๓๐ ตัว ไว้ในที่นั้น ๆ ให้ขุดหลุมหลุมหนึ่ง
สำหรับตน ขุดหลุมอีกหลุมหนึ่งเพื่อดักเสือ กระทำให้เป็นตะพักมีสัณฐาน
เหมือนกระด้ง ระหว่างหลุมทั้ง ๒ ให้กระทำตั่งสำหรับตนอยู่. ตัจฉกสุกรนั้น
คุมพวกหมูสำหรับรบที่มีเรี่ยวแรงแข็งขัน เที่ยวปลุกใจฝูงหมูในที่นั้น ๆ. พอ
ตัจฉกจัดการเรียบร้อย พอดีพระอาทิตย์ขึ้น. ทีนั้นพญาเสือโคร่งออกจากอาศรม-
บทของชฎิลโกง ยืนสะบัดกายอยู่ที่พื้นภูเขา. พวกหมูเห็นมันแล้วพากันบอกว่า
เจ้าพ่อคุณเอ๋ย ไพรีของพวกเรามาแล้วละ. ตัจฉกสุกรบอกว่า พวกเจ้าอย่ากลัว
มันทำอาการใด พวกเจ้าจงทำอาการนั้นเป็นปฏิปักษ์กันทุกอย่าง. เสือโคร่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 478
สะบัดร่างกาย ย่อตัวลงหน่อยหนึ่ง ถ่ายปัสสาวะ พวกหมูเล่าก็กระทำอย่างนั้นบ้าง
เสือโคร่งมองดูพวกหมูแล้วคำรามเสียงดัง พวกหมูก็พากันกระทำอย่างนั้นบ้าง
เหมือนกัน. มันเห็นกริยาของพวกหมูนั้นคิดว่า หมูเหล่านี้ไม่เหมือนหมูก่อน ๆ
วันนี้พากันตั้งเป็นพวก ๆ เป็นศัตรูต่อเรา. เสนานายกของพวกมันที่เป็นผู้
สั่งการคงจะมี วันนี้เราไม่ควรไปใกล้พวกมันเลย กลัวตายขึ้นมาหันกลับไปหา
ชฎิลโกง. ครั้นชฎิลโกงนั้นเห็นมันมาเปล่า ๆ จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า
ดูก่อนพญาเนื้อที่เก่งกล้า วันนี้เจ้าคงจะงดเว้น
จากการฆ่าสัตว์ละซิหนอ ท่านให้อภัยในสัตว์ทั้งปวง
เสียแล้วหรือ หรือเขี้ยวของท่านคงไม่มี เจ้ามาถึง
กลางฝูงสุกรแล้วจึงซบเซาอยู่ดังคนกำพร้าฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺฆปฺปตฺโต ความว่า เจ้าได้อยู่ใน
หมู่แห่งสุกร ไม่ได้กินอาหารอะไร ๆ ย่อมซบเซาเหมือนคนกำพร้าฉะนั้น.
ครั้งนั้น เสือโคร่งกล่าวคาถาว่า
มิใช่ว่าเขี้ยวของข้าพเจ้าไม่มี กำลังกายของ
ข้าพเจ้าก็มีอยู่พรั่งพร้อม แต่ข้าพเจ้าเห็นสุกรทั้งหลาย
ที่เป็นญาติกันร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เหตุฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงซบเซาแต่ผู้เดียวในป่า เมื่อก่อนสุกรเหล่านี้
พอข้าพเจ้าลืมตาแลดูเท่านั้น ต่างก็กลัวตายหาที่หลบ-
ซ่อนวิ่งกระเจิดกระเจิงไปตามทิศานุทิศ บัดนี้ พวกมัน
มาประชุมพร้อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในภูมิภาคที่
พวกมันยืนอยู่นั้นข้าพเจ้าข่มพวกมันได้ยากในวันนี้
พวกมันคงมีขุนพล จึงพรักพร้อมกัน คงเป็นเสียง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 479
เดียวกัน คงร่วมมือร่วมใจกันเบียดเบียนข้าพเจ้า เพราะ
เหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ปรารถนาสุกรเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมงฺคิ เอกโต ความว่า ผู้รวมใจกัน
เป็นอันหนึ่งอันเดียว. บทว่า อิมสฺสุท ความว่า แม้ในกาลก่อน พวกหมู
เหล่านี้น่ะหรือ เพียงข้าพเจ้าลืมตาดูเท่านั้น ก็วิ่งกระเจิงไปทั่วทิศานุทิศ. บทว่า
วิสุ วิสุ แปลว่า คนละแผนก. บทว่า ยตฺถ ิตา ความว่า มาประชุม
กันอยู่ในภูมิภาคใด. บทว่า ปรินายกสมฺปนฺนา ความว่า พวกมันสมบูรณ์
ด้วยขุนพล. บทว่า ตสฺมา เตส น ปฏฺเย ความว่า เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงไม่ปรารถนาพวกนั้น.
ชฎิลโกงฟังคำนั้นแล้ว เมื่อจะยุให้มันเกิดความอาจหาญขึ้น จึงกล่าว
คาถาว่า
พระอินทร์องค์เดียวเท่านั้น ยังเอาชนะอสูร
ทั้งหลายได้ เหยี่ยวตัวเดียวเท่านั้น ย่อมข่มฆ่านก
ทั้งหลายได้ เสือโคร่งตัวเดียวเหมือนกัน ไปถึง
ท่ามกลางฝูงสุกรแล้ว ก็ย่อมฆ่าสุกรตัวพี ๆ ได้ เพราะ
กำลังของมันเป็นเช่นนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคสงฺฆปฺปตฺโต ความว่า เสือโคร่ง
ไปถึงฝูงเนื้อแล้ว ย่อมฆ่าตัวดี ๆ ได้. บทว่า พลญฺหิ ตาทิส ความว่า
เพราะกำลังของมันเป็นเช่นนั้น.
ลำดับนั้น เสือโคร่งจึงกล่าวคาถากะเขาว่า
จะเป็นพระอินทร์ จะเป็นเหยี่ยว แม้จะเป็น
เสือโคร่งผู้เป็นใหญ่กว่าเนื้อ ก็ทำญาติผู้พร้อมเพรียง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 480
กันมั่นคง ซึ่งเป็นเช่นกับเสือโคร่ง ไว้ในอำนาจไม่ได้
ทั้งนั้นแหละ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พยคฺโฆ น ความว่า เสือโคร่ง ไม่กระทำ
ฝูงสุกรที่กระทำอาการเป็นต้นว่า สะบัดร่างกาย เช่นกับเสือโคร่ง ไว้ในอำนาจ
ได้ คือ ไม่สามารถให้เป็นไปในอำนาจของตนได้.
ชฎิลเมื่อจะปลุกมันให้อาจหาญอีก จึงได้กล่าว ๒ คาถาว่า
ฝูกงนกตัวน้อย ๆ มีชื่อว่า กุมภิลกะ เป็นนกมีพวก
เที่ยวไปเป็นหมวดหมู่ ร่าเริงบันเทิงใน โผผินบินร่อน
ไปเป็นกลุ่ม ๆ ก็เมื่อฝูงนกเหล่านั้นบินไป บรรดานก
เหล่านั้น คงมีสักตัวหนึ่งที่แตกฝูงไป เหยี่ยวย่อม
โฉบจับนกตัวนั้นได้ นี่เป็นคติของเสือโคร่งทั้งหลาย
โดยแท้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุมฺภิลกา ได้แก่ ฝูงนกตัวน้อย ๆ ซึ่งมี
ชื่ออย่างนั้น. บทว่า อุปฺปตนฺติ ได้แก่ ไปเที่ยวหากิน. บทว่า อุยฺยนฺติ จ
ความว่า บินไปหากินทางอากาศ. บทว่า เอเกตฺถ อปสกฺกติ ความว่า
ในบรรดาฝูงนกเหล่านั้น มีตัวเดียวที่ล้าหลัง หรือก็บินแยกไปทางหนึ่ง. บทว่า
นิตาเลติ ความว่า เหยี่ยวย่อมโฉบเอาไปได้. บทว่า เวยฺยคฺฆิเยว สา คติ
ความว่า คตินั้นชื่อว่าเป็นทำนองเดียวกับเสือโคร่ง เพราะเป็นคติของเสือโคร่ง
นั่นเอง คือ แม้เมื่อพวกเสือโคร่ง จะไปหาฝูงสัตว์ที่อยู่ร่วมกัน ก็มีคติทำนองนี้
จึงได้ชื่อว่าเป็นคติของเสือโคร่งแท้ ๆ อันที่จริงทุก ๆ ตัว ไม่อาจจะบินไปโดย
กลุ่มเดียวกันได้ดอก เหตุนั้น ในฝูงนั้นตัวใดบินไปตัวเดียวอย่างนี้ ก็จับเอา
ตัวนั้นไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 481
ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ปลุกใจเสือโคร่งว่า พญาเสือโคร่งเอ๋ย
เจ้ามิได้รู้กำลังของตน อย่ากลัวเลยน่ะ คำรามแล้ววิ่งปรี่เข้าไปท่าเดียวเท่านั้น
พวกสุกรที่คุมกันอยู่เป็นกลุ่มได้ไม่มีเลยละ มันได้กระทำอย่างนั้น.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสว่า
เสือโคร่งเป็นสัตว์มีเขี้ยว ถูกชฎิลผู้หยาบช้า
เห็นแก่อามิส ปลุกใจให้ฮึกเหิม สำคัญจะทำได้เหมือน
เมื่อครั้งก่อน จึงวิ่งเข้าไปในฝูงสุกรที่มีเขี้ยว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทาฑิความว่า เสือโคร่งที่มีเขี้ยวเป็น
อาวุธเอง โถมเข้าไปในฝูงสุกรที่มีเขี้ยวเป็นอาวุธดุจกัน. บทว่า ยถา ปุเร
ความว่า เพราะสำคัญเสียว่าเหมือนในครั้งก่อน ๆ.
เล่ากันมาว่า เสือโคร่งนั้นไปหยุดยืนที่พื้นภูเขา. พวกหมูพากันบอก
แก่ตัจฉกสุกรว่า นายเอ๋ย ไอ้โจรมันมาอีกแล้ว. ตัจฉกสุกรปลอบใจพวกนั้น
ว่า พวกเจ้าอย่ากลัวเลย ลุกขึ้นยืนบนตั่งระหว่างหลุมทั้งสอง. เสือโคร่งจึง
เผ่นโผนโจนใส่ตัจฉกสุกร ตัจฉกสุกรหลบกลับหน้าเป็นหลัง ตกลงในหลุม
แรก. เสือโคร่งไม่ยังความเร็วไว้ได้ จึงไปตกในหลุมที่เป็นตะพักเหมือนกระด้ง
แน่นอัดเหมือนฟ่อนหญ้า. ตัจฉกสุกรลุกขึ้นโดยเร็ว เผ่นจากหลุม จดเขี้ยว
ลงตรงขั้วไส้ของมัน ขวิดขาดไปจดหทัย กินเนื้อแล้วเอาปากคาบเหวี่ยงไป
นอกหลุม บอกว่า พวกเจ้าจงพากันกินเนื้อซิ. พวกหมูที่มาก่อน ได้โอกาส
เพียงจ่อจะงอยปากลงไปครั้งเดียวเท่านั้น. ที่มาครั้งหลังไม่ได้เลย ต่างพูดกันว่า
อันเนื้อเสือโคร่งรสชาติมันเป็นอย่างไรนะ. ตัจฉกสุกร โดดขึ้นจากหลุมแล้ว
มองดูพวกหมูทั้งหลาย กล่าวว่า เอ๊ะ อย่างไรเล่า พวกเจ้าจึงไม่ดีใจกัน.
พวกหมูพากันตอบว่า นายเอ๋ย พวกเราเพียงจับเสือโคร่งได้ตัวเดียวเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 482
ก็เท่ากับพวกเราจับเสือโคร่งตัวที่ประทุษร้ายได้ตัวหนึ่ง แต่นอกจากนี้ผู้ที่จะนำ
เสือโคร่งมาได้ยังมีอยู่. ถามว่า นั่นชื่อไร. ตอบว่า ชฎิลโกงผู้คอยกินมังสะ
ที่เสือโคร่งนำมาแล้ว ๆ. กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นพากันมาเถิด พวกเราต้องจับมัน
ให้ได้ แล้ววิ่งแน่วไปกับพวกหมูเหล่านั้น. กล่าวถึงชฎิลนึกว่าเสือโคร่งมัวช้า
อยู่ มองดูทางมาของมัน เห็นพวกหมูเป็นอันมากกรูวิ่งมา คิดว่าชะรอยพวก
หมูเหล่านี้ฆ่าเสือโคร่งได้แล้ว พากันวิ่งมาเพื่อฆ่าเรา หนีขึ้นต้นมะเดื่อต้นหนึ่ง
พวกหนูพากันร้องว่า มันขึ้นต้นไม้ไปแล้ว. ตัจฉกสุกรถามว่า ต้นไม้อะไร.
ตอบว่า ต้นมะเดื่อ. ตัจฉกสุกรกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นอย่าเสียใจเลย ประเดี๋ยว
พวกเราต้องจับมันได้ พลางเรียกหมูหนุ่ม ๆ มาให้ช่วยกันคุ้ยดินออกจากโคน
ต้นไม้ ให้แม่หมูทั้งหลายไปอมน้ำมา ให้พวกหมูที่มีเขี้ยวใหญ่ ๆ ช่วยกัน
ขวิดรากโดยรอบ จนเหลือแต่รากแก้วที่หยั่งลงไปตรงรากเดียวเท่านั้น ต่อ
จากนั้นก็ร้องบอกพวกหมูที่เหลือ ๆ ว่า พวกเจ้าพากันหลบเสียเถิด แล้วคุกเข่า
เอาเขี้ยวขวิดตรงรากแก้ว ขาดไปเหมือนฟันด้วยขวาน ต้นไม้นั้นก็พลิก พอ
ชฎิลโกงตกลงมาเท่านั้น พวกหมูก็พากันรับไว้แล้วรุมกินเนื้อเสีย. รุกขเทวดา
เห็นเหตุอัศจรรย์นั้น จึงกล่าวคาถาว่า
ญาติทั้งหลายมีมากด้วยกัน ย่อมยังประโยชน์ให้
สำเร็จ ถึงต้นไม้ทั้งหลายที่เกิดในป่า ก็เหมือนกัน
สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันเข้า ฆ่าเสือโคร่งเสียได้
เพราะประพฤติร่วมใจอันหนึ่งอันเดียวกัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกายเน หโต ความว่า ฆ่าเสือโคร่ง
เสียได้ เพราะมีความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้นเอง.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความที่พวกสุกรเหล่านั้นกำจัดศัตรู
ทั้ง ๒ เสียได้จึงตรัสพระคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 483
สุกรทั้งหลายช่วยกัน ฆ่าพราหมณ์ และเสือโคร่ง
ทั้ง ๒ ได้แล้ว ต่างร่าเริงบันเทิงใจ พากันบันลือศัพท์
สำเนียงเสียงสนั่น.
ตัจฉกสุกรถามอีกว่า ศัตรูของพวกเจ้าแม้อื่น ๆ ยังมีหรือ. พวกสุกร
พากันตอบว่า ไม่มีละนายเอ๋ย ตกลงกันว่า พวกเราต้องอภิเษกท่านให้เป็น
พระราชา พากันเที่ยวหาน้ำ เห็นสังข์สำหรับตักน้ำดื่มของชฎิล สังข์นั้นเป็น
สังข์ทักษิณาวัฏ (เวียนขวา) เป็นสังขรัตนะ จึงตักน้ำมาเต็มสังข์ อภิเษก
ตัจฉกสุกร ณ โคนต้นมะเดื่อนั้นเอง แล้วพากันให้นางสุกรสรงน้ำอภิเษก
เป็นมเหสีของพญาตัจฉกสุกรนั้น ตั้งแต่ครั้งนั้น การนั่งตั่งไม้มะเดื่อ รดน้ำ
ด้วยสังข์ทักษิณาวัฏ ก็ได้รับประพฤติสืบมา.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความแม้นั้น ตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า
สุกรเหล่านั้นมาประชุมพร้อมกันที่โคนต้นมะเดื่อ
อภิเษกตัจฉกสุกรด้วยคำว่า ท่านเป็นพระราชา เป็นเจ้า
เป็นใหญ่ของพวกเรา.
พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ถึงในครั้งก่อน ธนุคคหติสสะเคยฉลาดในการ
จัดขบวนรบเหมือนกัน ทรงประชุมชาดกว่า ชฎิลโกงในครั้งนั้น ได้มาเป็น
เทวทัต ตัจฉลสุกรได้มาเป็นธนุคคหติสสะ ส่วนรุกขเทวดาได้มาเป็น
เราตถาคตแล
จบอรรถกถาตัจฉกสุกรชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 484
๑๐. มหาวาณิชชาดก
ว่าด้วยโลภมากจนตัวตาย
[๑๙๙๐] พวกพ่อค้าพากันมาจากรัฐต่าง ๆ กระทำ
การประชุมกันในเมืองพาราณสี ตั้งพ่อค้าคนหนึ่งให้เป็น
หัวหน้า แล้วพากันขนเอาทรัพย์กลับไป พ่อค้าเหล่านั้น
มาถึงแดนกันดาร ไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำ ได้เห็นต้นไทร
ใหญ่มีร่มเงาเย็นสบาย น่ารื่นรมย์ใจ ก็พากันเข้าไปนั่ง
พักที่ร่มต้นไทรนั้น พ่อค้าทั้งหลายเป็นคนโง่เขลา ถูก
โมหะครอบงำ คิดร่วมกันว่า ไม้ต้นนี้บางทีจะมีน้ำ
ไหลซึมอยู่ เชิญพวกเราเหล่าพ่อค้ามาช่วยกันตัดกิ่ง
ข้างทิศตะวันออกแห่งต้นไม้นั้นดูทีเถิด พอกิ่งนั้นถูก
ตัดขาดออก น้ำใสไม่ขุ่นมัวไหลออกมา พ่อค้าเหล่านั้น
ก็พากันอาบและดื่ม ที่สายน้ำนั้น จนสมปรารถนา
พ่อค้าทั้งหลาย ผู้โง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิด
กันเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดกิ่ง
ข้างทิศใต้แห่งต้นไม้นั้นอีกเถิด พอกิ่งนั้นถูกตัดขาด
ออก ข้าวสาลี เนื้อสุก ขนมถั่ว ซึ่งมีสีเหมือนข้าว-
ปายาสปราศจากน้ำ แกงอ่อมปลาดุก ก็ไหลออกมา
มากมาย พ่อค้าเหล่านั้นพากันบริโภคเคี้ยวกินจนสม
ปรารถนา พ่อค้าทั้งหลายผู้โง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ
ร่วมคิดกันเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 485
กิ่งข้างทิศตะวันตกแห่งต้นไม้นั้นอีกเถิด พอกิ่งนั้นถูก
ตัดขาดออก เหล่านางนารีแต่งตัวงามสมส่วน มีผ้า
และเครื่องอารมณ์อันวิจิตร ใส่ต่างหูแก้วมณี พากัน
ออกมา นารีทั้งหลายต่างแยกกันบำเรอพ่อค้า คน
ละนาง นารี ๒๕ นาง ต่างก็แวดล้อมพ่อค้า ผู้เป็น
หัวหน้าอยู่โดยรอบ ที่ร่มแห่งต้นไทรนั้น พ่อค้าเหล่านั้น
แวดล้อมด้วยนารีเหล่านั้นจนสมปรารถนา พ่อค้า
ทั้งหลายผู้โง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิดเป็นครั้ง
ที่ ๔ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดกิ่งข้างทิศเหนือแห่ง
ต้นไม้อีกเถิด พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดออก แก้วมุกดา
แก้วไพฑูรย์ เงิน ทอง เครื่องประดับมือ เครื่องปูลาด
ผ้ากาสิกพัสตร์และผ้ากัมพล ชื่ออุทธิยะ ก็พรั่งพรู
ออกมาเป็นอันมาก พ่อค้าเหล่านั้นพากันขนบรรทุก
ใส่ในเกวียนเหล่านั้นจนสมปรารถนา พ่อค่าเหล่านั้น
เป็นคนโง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิดกันเป็น
ครั้งที่ ๕ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดโคนต้นไม้นั้น
เสียทีเดียว บางทีจะได้ของมากไปกว่านี้อีก ทันใดนั้น
นายกองเกวียนจึงลุกขึ้น ประคองอัญชลีร้องขอว่า
ดูก่อนพ่อค้าทั้งหลาย ต้นไทรทำผิดอะไรหรือ (จึงพา
กันจะทำร้าย) ขอให้ท่านจงมีความเจริญเถิด ดูก่อน
พ่อค้าทั้งหลาย กิ่งทางทิศตะวันออกก็ให้น้ำ กิ่งทาง
ทิศใต้ก็ให้ข้าวและน้ำ กิ่งทางทิศตะวันตก ก็ให้นาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 486
นารี และกิ่งทางทิศเหนือก็ให้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง
ต้นไทรทำผิดอะไรหรือ (จึงพากันจะทำร้าย) ขอให้
ท่านจงมีความเจริญเถิด บุคคลพึงนั่งหรือนอนที่ร่มเงา
แห่งต้นไม้ใด ก็ไม่ควรหักรานก้านแห่งต้นไม้นั้น
เพราะประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม แต่พ่อค้า
เหล่านั้นมากด้วยกัน ไม่เชื่อถือถ้อยคำนายกองเกวียน
ผู้เดียว ต่างก็ถือขวานที่ลับแล้ว พากันเข้าไปหมายจะ
ตัดต้นไทรนั้นที่โคน.
[๑๙๙๑] ทันใดนั้น นาคทั้งหลายก็พากันออกไป
พวกสวมเกราะ ๒๕ พวกถือธนู ๓๐๐ พวกถือโล่
๖,๐๐๐.
[๑๙๙๒] ท่านทั้งหลายจงจับพวกนี้มัดฆ่าเสีย
อย่าไว้ชีวิตเลย เว้นไว้แต่นายกองเกวียนเท่านั้น
นอกนั้นจงสังหารมันทุกคนให้เป็นภัสมธุลีไป.
[๑๙๙๓] เพราะเหตุนี้แหละ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต
เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์ของตน ไม่ควรลุอำนาจแห่ง
ความโลภ พึงกำจัดใจอันประกอบด้วยความโลภเสีย
ภิกษุรู้โทษอย่างนี้ และรู้ตัณหาว่าเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์
พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีความถือมั่น พึงเป็นผู้
มีสติละเว้นโดยรอบเถิด.
จบมหาวาณิชชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 487
อรรถกถามหาวาณิชชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระปรารภ
พวกพ่อค้าชาวพระนครสาวัตถี ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า วาณิชา
สมิตึ กตฺวา ดังนี้.
เรื่องมีว่า พ่อค้าเหล่านั้นเมื่อจะไปค้าขาย ถวายมหาทานแด่พระศาสดา
ดำรงมั่นในสรณะและศีล กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกข้าพระองค์
จักไม่มีโรคกลับมาได้ จักขอบังคมพระบาทยุคลของพระองค์อีกพระเจ้าข้า ออก
เดินทางไปกับเกวียน ๕๐๐ เล่ม ถึงแดนกันดาร กำหนดหนทางไม่ได้ เลย
พากันหลงทางท่องเที่ยวไปในป่า ขาดน้ำขาดอาหาร เห็นต้นไทรซึ่งนาคยึด
ครองต้นหนึ่ง ก็ชวนกันปลดเกวียน นั่งที่โคนต้น. พวกนั้นเห็นไทรใบเขียว
ชอุ่ม ประหนึ่งตะไคร้น้ำ กิ่งไทรเล่าก็เป็นเหมือนอิ่มด้วยน้ำ จึงคิดกันว่า
ในต้นไม้นี้ ปรากฏเหมือนมีน้ำเอิบอาบ พวกเราตัดกิ่งตะวันออกของต้นไม้นี้
เถอะเพื่อจะหลั่งน้ำดื่มให้ได้ ครั้นแล้วคนหนึ่งก็ขึ้นสู่ต้นไม้ตัดกิ่งขาด. ท่อน้ำ
ขนาดลำตาลไหลพรั่ง พวกนั้นพากันอาบพากันดื่ม ณ ที่นั้น แล้วพากันตัดกิ่ง
ทางใต้. โภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ พรั่งพรูออกจากนั้น พากันบริโภค แล้วตัดกิ่ง
ตะวันตก. เหล่าสตรีผู้ตกแต่งร่างกายแล้ว พากันออกมาจากกิ่งนั้น พากัน
อภิรมย์กับหมู่สตรีนั้น แล้วตัดกิ่งทางเหนือ. แก้ว ๗ ประการหลั่งไหลออกจาก
กิ่งนั้น พากันเก็บแก้วเหล่านั้นบรรทุกเต็มเกวียนทั้ง ๕๐๐ เล่ม กลับมาสู่
พระนครสาวัตถี เก็บงำทรัพย์แล้ว ชวนกันถือของหอมและมาลาเป็นต้น ไปสู่
พระมหาวิหารเชตวัน ถวายบังคมพระศาสดาบูชาแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง
ฟังธรรมกถาแล้ว ทูลนิมนต์ถวายมหาทานในวันรุ่งขึ้น พากันให้ส่วนบุญว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 488
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ขอให้ส่วนบุญในทานครั้งนี้ แก่รุกขเทวดา
ผู้ให้ทรัพย์แก่พวกข้าพระองค์พระเจ้าข้า. พระศาสดาทรงฉันเสร็จ ตรัสถามว่า
พวกเธอให้ส่วนบุญแก่รุกขเทวดาองค์ไหน. พวกพ่อค้าพากันกราบทูลเหตุที่
พวกตนได้ทรัพย์ ในต้นไทรแด่พระตถาคต. พระศาสดาตรัสว่า พวกเธอมิได้
ลุอำนาจตัณหา เพราะเป็นผู้รู้จักประมาณดอกนะจึงได้ทรัพย์ แต่ในครั้งก่อน
พวกที่ลุอำนาจตัณหา เพราะไม่รู้จักประมาณ พากันละทิ้งเสียทั้งทรัพย์และ
ชีวิต พ่อค้าเหล่านั้นพากันกราบทูลอาราธนาทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล ทางกันดารนั้นเอง ต้นไทรก็ต้นนั้นแหละ แต่เมืองเป็น
พระนครพาราณสี พ่อค้าพ่อค้าหลงทางพบต้นไทรนั้นเหมือนกัน.
พระศาสดาตรัสรู้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงข้อความนั้น จึงตรัสพระ
คาถาทั้งหลายว่า
พวกพ่อค้าพากันมาจากรัฐต่าง ๆ กระทำการ
ประชุมฉันในเมืองพาราณสี ตั้งพ่อค้าคนหนึ่งให้เป็น
หัวหน้า แล้วพากันขนเอาทรัพย์กลับไป พ่อค้าเหล่านั้น
มาถึงแดนกันดาร ไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำ ได้เห็นต้น
ไทรใหญ่มีร่มเงาเย็นสบาย น่ารื่นรมย์ใจ ก็พากันไป
นั่งพักที่ร่มต้นไทรนั้น พ่อค้าทั้งหลายเป็นคนโง่เขลา
ถูกโมหะครอบงำ คิดร่วมกันว่า ไม้ต้นนี้บางทีจะมี
น้ำไหลซึมอยู่ เชิญพวกเราเหล่าพ่อค้ามาช่วยกันตัดกิ่ง
ข้างทิศตะวันออกแห่งต้นไม้นั้นดูทีเถิด พอกิ่งนั้นถูก
ตัดขาดออกน้ำใสไม่ขุ่นมัวไหลออกมา พ่อค้าเหล่านั้น
ก็พากันอาบและดื่ม ที่สายน้ำนั้นจนสมปรารถนาพ่อค้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 489
ทั้งหลายผู้โง่เขลา ถูกโมทะครอบงำ ร่วมคิดกันเป็น
ครั้งที่ ๒ ว่า ขอให้พวกเราด้วยกันตัดกิ่ง ข้างทิศใต้
แห่งต้นไม้นั้นอีกเถิด พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดออก ข้าว
สาลี เนื้อสุก ขนมถั่ว ซึ่งมีสีเหมือนข้าวปราศจากน้ำ
แกงอ่อม ปลาดุก ก็ไหลออกมามากมาย พ่อค้าเหล่านั้น
พากันบริโภคเคี้ยวกินจนสมปรารถนา พ่อค้าทั้งหลาย
ผู้โง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิดเป็นครั้งที่ ๓ ว่า
ขอให้พวกเราช่วยกันตัดกิ่งข้างทิศตะวันตกแห่งต้นไม้
นั้นอีกเถิด พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดออก เหล่านี้นารีแต่งตัว
งามสมส่วน มีผ้าและเครื่องอาภรณ์อันวิจิตร ใส่ต่างหู
แก้วมณี พากันออกมา นารีทั้งหลายต่างแยกกันบำเรอ
พ่อค้าคนละนาง นารี ๒๕ นางต่างก็แวดล้อมพ่อค้า
ผู้เป็นหัวหน้าอยู่โดยรอบ ที่ร่มแห่งต้นไทรนั้น พ่อค้า
เหล่านั้น แวดล้อมด้วยนารีเหล่านั้นจนสมปรารถนา
พ่อค้าทั้งหลายผู้โง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิด
เป็นครั้งที่ ๔ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดกิ่งข้างทิศ
เหนือ แห่งต้นไม้อีกเถิด พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดออก
แก้วมุกดา แล้วไพฑูรย์ เงิน ทอง เครื่องประดับ
เครื่องปูลาด ผ้ากาสิกพัสตร์และผ้ากัมพล ชื่ออุทธิยะ
ก็พรั่งพรูออกมาเป็นอันมาก พ่อค้าเหล่านั้นพากันขน
บรรทุกใส่ในเกวียนเหล่านั้นจนสมปรารถนา พ่อค้า
เหล่านั้น เป็นคนโง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 490
กันเป็นครั้งที่ ๕ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดโคนต้นไม้
นั้นเสียทีเดียว บางทีจะได้ของมากไปกว่านี้อีก ทันใด
นั้นนายกองเกวียนจึงลุกขึ้น ประคองอัญชลีร้องขอว่า
ดูก่อนพ่อค้าทั้งหลาย ต้นไทรทำผิดอะไรหรือ (จึง
พากันทำร้าย) ขอให้ท่านจงมีความเจริญเถิด ดูก่อน
พ่อค้าทั้งหลาย กิ่งทางทิศตะวันออกก็ให้น้ำ กิ่งทาง
ทิศใต้ก็ให้ข้าวและน้ำ กิ่งทางทิศตะวันตกก็ให้นารี
กิ่งทางทิศเหนือก็ให้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง ต้นไทร
ทำผิดอะไรหรือ (จึงพากันจะทำร้าย) ขอให้ท่านจง
มีความเจริญเถิด บุคคลพึงนั่งหรือนอน ที่ร่มเงาแห่ง
ต้นไม้ใด ก็ไม่ควรหักรานก้านแห่งต้นไม้นั้น เพราะ
ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม แต่พ่อค้าเหล่านั้น
มากด้วยกัน ไม่เชื่อถือคำของนายกองเกวียนผู้เดียว
ต่างก็ถือขวานที่ลับแล้ว พากันเข้าไปหมายจะตัดต้น
ไทรนั้นที่โคน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมิตึ กตฺวา ความว่า จัดเป็นสมาคม
คือมากคนรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวในกรุงพาราณสี. บทว่า ปกฺกมึสุ
ความว่า บรรทุกสิ่งของที่มีในกรุงพาราณสีด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่มเดินทางไป.
บทว่า คามณึ ความว่า ตั้งผู้มีปัญญาผู้หนึ่งให้เป็นนายกองเกวียน. บทว่า
ฉาทิยา แปลว่า ที่ร่มเงา. บทว่า อลฺลายเต คือ ปรากฏเป็นเหมือนเต็ม
ด้วยน้ำ. บทว่า ฉินฺนาว ปคฺฆรติ พระศาสดาทรงแสดงว่า ผู้ฉลาดในการขึ้น
ต้นไม้คนหนึ่ง ขึ้นไปตัดกิ่งนั้น พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดน้ำใสก็ไหลพลั่ง. แม้ข้างหน้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 491
ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อปฺโปทกวณฺเณ กุมฺมาเส คือ ขนมกุมมาส
ที่เป็นเสมือนกับข้าวปายาสที่มีน้ำน้อย. บทว่า สิงฺคิ คือแกงอ่อมมีแกงที่ใส่ขิง
เป็นต้น. บทว่า วิทลสุปิโย คือแกงถั่วเขียวเป็นต้น. บทว่า วาณิชา เอกา
คือ แก่พ่อค้าแต่ละคน พ่อค้ามีจำนวนเท่าใด ในจำนวนนั้นคนละ ๑ นาง
แต่ในสำนักของนายกองเกวียนมีอยู่ถึง ๒๕ นาง. บทว่า ปริกรึสุ ความว่า
แวดล้อม ก็แลพร้อม ๆ กันกับนางเหล่านั้น ยังมีเพดานและที่นอนเป็นต้น
เหล่านั้น ไหลออกมาด้วยอานุภาพแห่งพญานาค. บทว่า กุตฺติโย ได้แก่
ถุงมือเป็นต้น. บทว่า ปฏิยานิ จ ได้แก่ เครื่องปูลาด มีเครื่องปูลาดอัน
สำเร็จด้วยขนแกะอันฟูเป็นต้น. บางอาจารย์ท่านกล่าวว่า ผ้ากัมพลขาวก็มี.
บทว่า อุฏฺฏิยาเนว กมฺพลา คือผ้ากัมพลชนิดที่ชื่อว่าอุฏฏิยานะมีอยู่. บทว่า
เต ตตฺถ ภาเร พนฺธิตฺวา ความว่า ต้องการเท่าใดก็ขนเอาในที่นั้นเท่านั้น
บรรทุกเกวียน ๕๐๐ เล่ม. บทว่า วาณิชา ภทฺทมตฺถุ เต ความว่า
นายกองเกวียนร้องเรียกพ่อค้าแต่ละคน จึงกล่าวว่า ความเจริญจงมีแก่ท่าน
เถิด. บทว่า อนฺนปานญฺจ ความว่า ได้ให้ข้าวและน้ำ. บทว่า สพฺพกาเม จ
ความว่า ได้ให้สิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวง. บทว่า มิตฺตทุพฺโภ ความว่า
เพราะว่าผู้ทำลายมิตรทั้งหลาย คือบุรุษผู้มุ่งร้ายต่อมิตรทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นคน
ชั่วช้าลามก. บทว่า อนาทิยิตฺวา ความว่า ไม่ยึดถือ คือไม่ขอรับถ้อยคำ
ของนายกองเกวียนนั้น. บทว่า อุปกฺกมุ ความว่า เตรียมการโค่น คือ
เริ่มจะตัดเพราะโมหะ.
ครั้งนั้น พญานาคเห็นพ่อค้าเหล่านั้น พากันเข้าไปใกล้ต้นไม้ เพื่อที่จะ
ตัด ดำริว่า เราบันดาลน้ำดื่มแก่พวกนี้ผู้กำลังกระหาย จากนั้นให้โภชนะอัน
เป็นทิพย์มิหนำซ้ำยังให้ที่นอนและนางบำเรอแก่เขา จากนั้นเล่ายังให้รัตนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 492
เต็ม ๕๐๐ เล่มเกวียน แต่ว่าบัดนี้พวกนี้พูดกันว่า จักตัดต้นไม้เสียทั้งโคนเลย
ละโมบเหลือเกิน ควรที่เราจะฆ่าเสียให้หมดเว้นแต่นายกองเกวียน. พญานาค
นั้นจึงตระเตรียมเสนา สั่งว่า ทหารหุ้มเกราะจำนวนเท่านี้ จงเคลื่อนออกไป
ทหารแม่นธนูจำนวนเท่านี้ จงเคลื่อนออกไป ทหารโล่จำนวนเท่านี้ จงเคลื่อน
ออกไป.
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ต่อจากนั้น นาคทั้งหลายก็พากันออกไป พวก
สวมเกราะ ๒๕ พวกถือธนู ๓๐๐ พวกถือโล่ ๖,๐๐๐ นาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺนทฺธา คือพวกที่คลุมร่างกายด้วย
เกราะหนึ่งอันประดับด้วยทองและแก้วเป็นต้น. บทว่า ธนุคฺคหาน ติสตา
ความว่า พวกทหารที่ถือธนูอันทำด้วยเขาแกะมีประมาณ ๓๐๐. บทว่า จมฺมิโน
คือ พวกทหารที่ถือแผ่นโล่ทำด้วยหนังมีประมาณ ๖,๐๐๐ นาย.
ท่านทั้งหลายจงจับพวกนี้มัดฆ่าเสีย อย่าไว้ชีวิต
เลย เว้นไว้แต่นายกองเกวียนเท่านั้น นอกนั้นจง
สังหารมันทุกคนให้เป็นภัสมธุลีไป.
นี้เป็นคาถาที่พญานาคกล่าว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา โว มุญฺจิตฺถ ชีวิต ความว่า
ท่านทั้งหลาย อย่าปล่อยชีวิตแก่ใคร ๆ แม้สักคนเดียวเลย.
นาคทั้งหลาย กระทำตามนั้น แล้วขนเอาสิ่งของมีเครื่องปูลาดชนิดดี ๆ
เป็นต้น บรรทุกเกวียน ๕๐๐ เล่ม ชวนนายกองเกวียนพากันขับเกวียนเหล่านั้น
ด้วยตนเองไปสู่กรุงพาราณสี เก็บทรัพย์ทั้งปวงไว้ในกองเกวียนของท่านแล้ว
ชวนกันอำลาท่านไปสู่นาคพิภพของตนดังเดิม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 493
พระศาสดา ทรงทราบเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า
เพราะเหตุนั้นแหละ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อ
พิจารณาถึงประโยชน์ของตน ไม่ควรลุอำนาจแห่ง
ความโลภ พึงกำจัดใจอันประกอบด้วยความโลภเสีย
ภิกษุรู้โทษอย่างนี้และรู้ตัณหาว่าเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์
พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีความถือมั่น พึงเป็นผู้
มีสติละเว้นโดยรอบเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่พวกพ่อค้า
ที่ลุอำนาจความโลภพากันถึงความวอดวายอย่างใหญ่หลวง อธิบายว่า นายกอง
เกวียนบรรลุสมบัติอันอุดม. บทว่า หเนยฺย ทิสก มน ความว่า บัณฑิต
พึงกำจัดใจ คือ จิตที่ประกอบด้วยโลภะที่เป็นของฝูงสัตว์ผู้มีความโลภมีอย่าง
ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่ตน. บทว่า เอวนาทีนว ความว่า ภิกษุทราบโทษในความ
โลภอย่างนี้แล้ว. บทว่า ตณฺหา ทุกฺขสฺส สมฺภว ความว่า และทราบว่าตัณหา
นั้นเป็นเหตุเกิดพร้อมแห่งทุกข์มีชาติเป็นต้น คือ ทุกข์นั้นเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้
เพราะตัณหานั้น ตัณหานั่นแหละเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์อย่างนี้ ภิกษุรู้แล้ว พึง
ระลึกไว้ด้วยสติอันมาแล้วโดยมรรคเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีความยึดมั่นถือ
มั่น. บทว่า ปริพฺพเช ความว่า พึงประพฤติอิริยาบถ. พระศาสดาทรงถือ
เอายอดเทศนาด้วยพระอรหัต.
ก็และครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก
ทั้งหลาย พวกพ่อค้าที่ลุอำนาจความโลภ พากันถึงความพินาศใหญ่หลวงใน
ปางก่อนอย่างนี้ เหตุนั้น พึงเป็นผู้ไม่ลุอำนาจความโลภทั่วกัน ตรัสประกาศ
สัจจะทั้งหลาย เมื่อจบสัจจะพ่อค้าเหล่านั้นพากันดำรงในโสดาปัตติผล แล้วทรง
ประชุมชาดกว่า พญานาคในครั้งนั้นได้มาเป็นสารีบุตร ส่วนนายกองเกวียน
ได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถามหาวาณิชชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 494
๑๑. สาธินราชชาดก
ว่าด้วยพระเจ้าวิเทหราชประพาสดาวดึงส์
[๑๙๙๔] อัศจรรย์จริงหนอ ขนพองสยองเกล้า
เกิดขึ้นแล้วในโลก รถทิพย์ได้ปรากฏแก่พระเจ้า
วิเทหราชผู้เรืองยศ.
[๑๙๙๕] มาตลีเทพบุตรเทพสารถีผู้มีฤทธิ์มาก
ได้เชื้อเชิญพระเจ้าวิเทหราชผู้ครองมิถิลานครว่า ข้าแต่
พระราชาผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่ทั่วทิศ
ขอเชิญพระองค์เสด็จขึ้นทรงรถนี้เถิด ด้วยว่าทวยเทพ
ชนดาวดึงส์พร้อมด้วยสมเด็จอมรินทราธิราช ใคร่จะ
เห็นพระองค์ ทวยเทพเหล่านั้น ประชุมพร้อมกันอยู่
ณ สุธรรมาเทวสภา ลำดับนั้นแล พระเจ้าวิเทหราช
พระนามว่าสาธินะ ผู้ครองมิถิลานคร เสด็จทรงรถ
อันเทียมด้วยม้าพันหนึ่งได้เสด็จไปยังสำนักของเทวดา
ทั้งหลาย (พระมหาราชาทรงประทับยืนบนทิพยาน
อันเทียมด้วยม้าพันหนึ่ง ซึ่งม้าพาลากไป เสด็จไปอยู่
ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวสภานี้) ทวยเทพเห็นพระ-
ราชาเสด็จมาดังนั้น ก็พากันชื่นชมยินดีกระทำ
ปฏิสัณฐานเชื้อเชิญว่า ข้าแต่พระมหาราชา พระองค์
เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง ชื่อว่าพระองค์มิได้เสด็จมาร้าย
ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณใหญ่ ขอพระองค์ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 495
ประทับใกล้ ๆ กับท้าวเทวราชเสียแต่บัดนี้เถิด ฝ่าย
ท้าววาสวสักกเทวราชทรงชื่นชมยินดี เชื้อเชิญพระเจ้า
สาธินราชผู้ครองมิถิลานครด้วยทิพยกามารมณ์และ
อาสนะว่า ข้าแต่พระราชฤาษี เป็นการดีแล้วที่พระองค์
เสด็จมาถึงที่อยู่ของทวยเทพ ผู้บันดาลให้เป็นไปใน
อำนาจได้ ขอเชิญพระองค์ประทับอยู่ในหมู่ทวยเทพ
ผู้ให้สำเร็จทิพยกามารมณ์ทุกอย่าง ขอเชิญพระองค์
ทรงเสวยกามคุณ อันมิใช่ของมนุษย์ในหมู่ทวยเทพ
ชาวดาวดึงส์เถิด.
[๑๙๙๖] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าจอมเทพ
เมื่อก่อนหม่อมฉันมาถึงสวรรค์แล้ว ย่อมยินดีด้วยการ
ฟ้อนรำขับร้องและเครื่องประโคมทั้งหลาย บัดนี้
หม่อมฉันไม่ยินดีอยู่ในสวรรค์เลย จะหมดอายุ หรือ
ใกล้จะตายหรือว่าหม่อมฉันหลงใหลไป.
[๑๙๙๗] ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้ากว่านรชน
ผู้ประเสริฐ พระชนมายุของพระองค์ยังไม่หมดสิ้น
ความสิ้นพระชนม์ก็ยังห่างไกล อนึ่ง พระองค์จะได้
ทรงหลงใหลไปก็หาไม่ แต่ว่าวิบากแห่งบุญกุศลของ
พระองค์ ที่ได้ทรงเสวยในเทวโลกนี้มีน้อยไป ข้าแต่
พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่ทั่วทิศ ขอเชิญ
พระองค์ประทับอยู่ เสวยกามคุณอันมิใช่ของมนุษย์
ในหมู่ทวยเทพชาวดาวดึงส์ ด้วยเทวานุภาพต่อไปเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 496
[๑๙๙๘] ขอยืมยานเขามาขับ ขอยืมทรัพย์เขามา
ใช้ฉันใด การที่ได้เสวยความสุข เป็นความสุขที่ผู้อื่น
ยื่นให้ ก็เปรียบกันได้ฉะนั้นแล ก็แลการได้เสวย
ความสุข โดยเป็นความสุขที่ผู้อื่นยื่นให้ หม่อมฉัน
ไม่ปรารถนาเลย บุญทั้งหลายอันหม่อมฉันทำเองแล้ว
นั้น ย่อมเป็นทรัพย์อันอาจติดตามหม่อมฉันไปได้
หม่อมฉันไปในมนุษยโลกแล้ว จักได้ทำกุศลให้มาก
ที่บุคคลกระทำแล้วได้รับความสุข และไม่ต้องเดือดร้อน
ในภายหลัง ด้วยทาน ด้วยการประพฤติสม่ำเสมอ
ด้วยการสำรวม ด้วยการฝึกตน.
[๑๙๙๙] ที่ตรงนี้เป็นไร่นา ที่ตรงนี้ตรงร่องน้ำ
ตรงดี ที่ตรงนี้เป็นภูมิภาค มีหญ้าแพรกเขียวสะพรั่ง
ที่ตรงนี้เป็นแม่น้ำไหลอยู่ไม่ขาดสาย ที่ตรงนี้เป็น
สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ มีฝูงนกจักรพรากร้องเสียง
ระงม เปี่ยมไปด้วยน้ำใสสะอาด ดารดาษไปด้วยดอก
ปทุมและดอกอุบล พวกเข้าเฝ้าและนักสนมพากันยึด
ถือสถานเหล่านี้ว่าเป็นของเรา เขาเหล่านั้นพากันไป
เสียทิศทางใดหนอ ดูก่อนพ่อนารทะ ไร่นาเหล่านั้น
ภูมิภาคตรงนั้น และอุปจารแห่งสวนและป่าไม้ยังคงมี
อยู่ดังเดิม เมื่อเราไม่เห็นหมู่ชนเหล่านั้น ทิศทั้งหลาย
ก็ปรากฏว่าว่างเปล่าแก่เรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 497
[๒๐๐๐] วิมานทั้งหลายอันโอภาสทั่วทั้งสี่ทิศ
ฉันได้เห็นแล้วเฉพาะพระพักตร์ของท้าวสักกเทวราช
และเฉพาะหน้าของทวยเทพชาวไตรทศ ภพที่ฉันอยู่ก็
เป็นทิพย์ กามทั้งหลายอันมิใช่ของมนุษย์ฉันได้บริโภค
แล้ว ในทวยเทพชาวไตรทศ ภพที่ฉันอยู่ก็เป็นทิพย์
กามทั้งหลายอันมิใช่ของมนุษย์ฉันได้บริโภคแล้ว ใน
ทวยเทพชาวดาวดึงส์ ผู้ให้สำเร็จสิ่งที่น่าปรารถนา
ทุกอย่าง ฉันนั้นละสมบัติเช่นนั้นเสียแล้วมาในมนุษย-
โลกนี้ เพื่อต้องการทำบุญเท่านั้น ฉันจักประพฤติแต่
ธรรมเท่านั้น ฉันไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ
ฉันจัดดำเนินไปตามทางที่ท่านผู้ไม่มีอาชญาพากันท่อง
เที่ยวไป อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ซึ่ง
เป็นทางสำหรับไปของท่านผู้มีวัตรงามทั้งหลาย.
จบสาธินราชชาดกที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 498
อรรถกถาสาธินราชชาดก
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระปรารภ
พวกอุบาสกรักษาอุโบสถ ตรัสเรื่องนี้มีคำขึ้นต้นว่า อพฺภูโต วต โลกสฺมึ
ดังนี้.
มีเรื่องย่อว่า ครั้งนั้นพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย บัณฑิต
แต่ครั้งก่อน อาศัยอุโบสถกรรมของตน ไปสู่เทวโลกอยู่สิ้นกาลนานด้วยสรีระ
แห่งมนุษย์นั่นแล ทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามสาธินะ ทรงครองราชสมบัติโดย
ธรรม ณ พระนครมิถิลา ท้าวเธอได้สร้างโรงทานไว้ ๖ แห่ง คือ ที่ประตู
พระนครทั้ง ๔ ที่กลางพระนคร และที่ประตูราชนิเวศน์ ทรงบำเพ็ญ
มหาทาน กระทำชมพูทวีปทุกแห่งหน ให้เก็บไถได้ พระราชทานทรัพย์
ประมาณหกแสนกระษาปณ์ เป็นราชทรัพย์ที่ทรงใช้จ่ายทุก ๆ วัน ทรง
รักษาศีล ๕ ทรงถืออุโปสถ. ชาวแว่นแคว้นเล่าก็พากันตั้งอยู่ในโอวาทของท้าว
เธอ ต่างกระทำบุญมีให้ทานเป็นต้น ตายแล้ว ๆ บังเกิดในเมืองเทวดาทั้งนั้น
ฝูงเทพพากันนั่งแน่นเทวสภาชื่อสุธรรมา ต่างพรรณนาพระคุณมีศีลเป็นต้นของ
พระราชาเท่านั้น. เทพที่เหลือฟังเรื่องนั้นแล้ว ก็มีปรารถนาที่จะเห็นพระราชา
ไปตาม ๆ กัน. ท้าวสักกเทวราช ทรงทราบใจของเทพเหล่านั้น ตรัสว่า
พวกเธอปรารถนาจะเห็นพระเจ้าสาธินราชหรือ พวกเทพพากันกราบทูลว่า
พระเจ้าข้า ข้าแต่พระผู้เป็นเทพเจ้า. ท้าวเธอจึงตรัสสั่งเทพบุตรมาตลีว่า เธอ
จงไปจัดเวชยันตรถ รับพระเจ้าสาธินราชมา. เทพบุตรมาตลีรับเทวบัญชาว่า
สาธุ แล้วจัดรถไปสู่แคว้นวิเทหะ ครั้งนั้นเป็นวันเพ็ญ เวลาที่พวกมนุษย์บริโภค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 499
อาหารเย็นแล้วนั่งสนทนากันด้วยสุขกถาที่ประตูเรือน มาตลีเทพบุตรก็ขับรถ
พร้อมกับจันทรมณฑล. ฝูงชนพากันกล่าวว่า พระจันทร์ขึ้นสองดวง แต่ครั้น
เห็นทั้งรถทั้งจันทรมณฑลวิ่งมาพากันชื่นชมโสมนัสว่า นี่ไม่ใช่ดวงจันทร์ นี่เป็น
รถ ทั้งเทพบุตรก็ปรากฏ รถทิพย์เทียมด้วยสินธพมโนมัยคันนี้มารับใคร ไม่มี
คนอื่นละ ต้องเป็นพระราชาของพวกเรา เพราะว่าพระราชาของพวกเรา
ทรงธรรมเป็นพระธรรมราชา แล้วต่างยืนประครองอัญชลี กล่าวคาถาเป็น
ปฐมว่า
อัศจรรย์จริงหนอ ขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้น
แล้วในโลก รถทิพย์ได้ปรากฏแก่พระเจ้าวิเทหราชผู้
เรืองยศ.
คำอันเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า พระจอมวิเทหะผู้เรืองพระยศ ราชา
ของพวกเรานั้นเป็นผู้น่าอัศจรรย์ จริงละ ความขนพองสยองเกล้าเกิดแล้วในโลก
ตรงที่รถทิพย์ปรากฏเพื่อพระองค์.
มาตลีเทพบุตรนำรถมาถึง เมื่อฝูงชนพากันบูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น
ก็กระทำประทักษิณพระนคร ๓ รอบ แล้วไปสู่ทวารวังของพระราชากลับรถจอดไว้
ใกล้ธรณีช่องพระแกลทางส่วนด้านหลัง ยืนเตรียมรับเสด็จ วันนั้นเล่าพระราชา
ตรวจโรงทาน ตรัสสั่งว่า สูทั้งหลายจงให้ทานโดยทำนองนี้ทีเดียว ทรงสมา
ทานอุโบสถ ประทับยับยั้งอยู่ตลอดวัน มีหมู่อำมาตย์แวดล้อม ประทับนั่งผัน
พระพักตร์เฉพาะช่องพระแกลด้านตะวันออก ตรัสกถาอันประกอบด้วยธรรม
อยู่ ณ ท้องพระโรงอันอลงกต. ครั้งนั้นมาตลีเทพบุตร ก็ทูลเชิญพระองค์
เสด็จขึ้นสู่รถ พาไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 500
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
มาตลีเทพบุตรเทพสารถีผู้มีฤทธิ์มาก ได้เชื้อเชิญ
พระเจ้าวิเทหราชผู้ครองมิถิลานครว่า ข้าแต่พระราชา
ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่ทั่วทิศ ขอเชิญ
พระองค์เสด็จทรงรถนี้เถิด ด้วยว่าทวยเทพชั้นดาวดึงส์
พร้อมด้วยสมเด็จอมรินทราธิราช ใคร่จะเห็นพระองค์
ทวยเทพเหล่านั้น ประชุมพร้อมกันอยู่ ณ สุธรรมา
เทวสภา ลำดับนั้นแล พระเจ้าวิเทหราชพระนามว่า
สาธินะ ผู้ครองมิถิลานคร เสด็จทรงรถอันเทียมด้วย
ม้าพันหนึ่ง ได้เสด็จไปยังสำนักเทวดาทั้งหลาย (พระ-
มหาราชาทรงประทับยืนบนทิพยาน อันเทียมด้วยม้า
พันหนึ่งซึ่งม้าลากไป เสด็จไปอยู่ ได้ทอดพระเนตร
เห็นเทวสภานี้) ทวยเทพเห็นพระราชาเสด็จมาดังนั้น
ก็พากันชื่นชมยินดี กระทำปฏิสัณฐารเชื้อเชิญว่า ข้าแต่
พระมหาราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง ชื่อว่า
พระองค์มิได้เสด็จมาร้าย ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหา
คุณใหญ่ ขอพระองค์ทรงประทับใกล้ ๆ กับท้าวเทวราช
เสียแต่บัดนี้เถิด ฝ่ายท้าววาสวสักกเทวราวชทรงชื่นชม
ยินดี เชื้อเชิญพระเจ้าสาธินราชผู้ครองมิถิลานครด้วย
ทิพยกามารมณ์และอาสนะว่า ข้าแต่พระราชฤาษี
เป็นการดีแล้วที่พระองค์เสด็จมาถึงที่อยู่ของทวยเทพ
ผู้บันดาลให้เป็นไปในอำนาจได้ ขอเชิญพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 501
ประทับอยู่ในหมู่ทวยเทพ ผู้ให้สำเร็จทิพยกามารมณ์
ทุกอย่าง ขอเชิญพระองค์ทรงเสวยกามคุณ อันมิใช่
ของมนุษย์ในหมู่ทวยเทพชั้นดาวดึงส์เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมจฺฉเร แปลว่า ย่อมปรารถนา. บทว่า
อคา เทวาน สนฺติเก ความว่า ได้ครรไลไป ณ สำนักแห่งหมู่เทพ แท้
จริงเมื่อพระเจ้าสาธินราชเสด็จรถประทับเรียบร้อยแล้ว รถก็ออกแล่นไปสู่อากาศ
แล้วหายวับไปทั้ง ๆ ที่มหาชนกำลังแหงนดูอยู่นั่นแล เทพบุตรมาตลีนำเสด็จ
พระราชาสู่เทวโลก. หมู่เทวดาและท้าวสักกะเห็นท้าวเธอต่างร่างเริงดีใจพากัน
ลุกขึ้นรับกระทำปฏิสันถาร เพื่อแสดงความข้อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระ
คาถามีคำว่า ต เทวา เป็นอาทิ. ในพระคาถานั้น บทว่า ปฏินนฺทึสุ ความว่า
ยินดีเนือง ๆ. บทว่า อาสเนน จ ความว่า ท้าวสักกะทรงสวมกอดพระราชา
ทรงเชื้อเชิญด้วยบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะว่า เชิญประทับนั่งตรงนี้
และทรงเชื้อเชิญด้วยสิ่งน่าปรารถนาทั้งหลาย แบ่งเทวราชสมบัติให้กึ่งหนึ่ง
ให้ประทับร่วมอาสนะกัน.
เมื่อพระเจ้าสาธินราชพระองค์นั้น ทรงเสวยราชสมบัติอันท้าวสักก-
เทวราชทรงแบ่งเทพนครมีประมาณหมื่นโยชน์ และนางเทพอัปสรสองโกฏิกึ่ง
กับเวชยันตปราสาทประทานให้ครึ่งหนึ่ง กาลเวลาล่วงไปถึง ๗๐๐ ปี ด้วยการ
นับตามปีมนุษย์ พระองค์ประทับอยู่ในเทวโลกด้วยอัตภาพนั้น. เมื่อเวลา
สิ้นบุญ พระองค์เกิดเบื่อหน่าย เพราะฉะนั้น เมื่อท้าวเธอจะตรัสสนทนากับ
ท้าวสักกะ จึงตรัสพระคาถาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าจอมเทพ เมื่อ
หม่อมฉันมาถึงสวรรค์แล้ว ย่อมยินดีด้วยการฟ้อนรำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 502
ขับร้องและเครื่องประโคมทั้งหลาย บัดนี้ หม่อมฉัน
นั้นไม่ยินดีอยู่ในสวรรค์เลย จะหมดอายุ หรือใกล้
จะตาย หรือว่าหม่อมฉันหลงใหลไปเสียแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อายุนฺนุ ขีณ ความว่า พระเจ้าสาธินราช
ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าจอมนรชนและเทพทั้งหลาย ชีวิตินทรีย์
ในสรีระของหม่อมฉันสิ้นแล้วหรือไฉนเล่า หรือว่าชีวิตินทรีย์เกิดจะใกล้ต่อ
มรณะ ด้วยอำนาจกรรมอันจะตัดรอน.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะตรัสท้าวเธอว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้ากว่านรชน ผู้ประเสริฐ
พระชนมายุของพระองค์ยังไม่หมดสิ้น ความสิ้น
พระชนม์ก็ยังห่างไกล อนึ่ง พระองค์จะได้ทรงหลงใหล
ไปก็หาไม่ แต่ว่าวิบากแห่งบุญกุศลของพระองค์ ที่ได้
ทรงเสวยในเทวโลกนี้มีน้อยไป ข้าแต่พระราชาผู้
ประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่ทั่วทิศ ขอเชิญพระองค์ประทับ
อยู่ เสวยกามคุณอันมิใช่ของมนุษย์ ในหมู่ทวยเทพ
ชาวดาวดึงส์ ด้วยเทวานุภาพต่อไปเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริตฺตกานิ นี้ ท้าวสักกะทรงหมายถึง
บุญอันให้วิบากในเทวโลกด้วยอัตภาพนั้น จึงตรัสดังนี้ แต่ว่าบุญของพระ-
สาธินราชนอกจากนี้หาประมาณมิได้ ประดุจฝุ่นในแผ่นดินฉะนั้น. บทว่า
วส เทวานุภาเวน ความว่า หม่อมฉันขอแบ่งบุญทั้งหลายของตน ถวาย
แด่พระองค์ เชิญพระองค์ประทับอยู่ด้วยอานุภาพของหม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 503
ท้าวสักกะเมื่อทรงปลอบพระเจ้าสาธินราชนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
เป็นการดีนักแล ที่พระองค์เสด็จถึงที่อยู่แห่งเทพ
ผู้ทรงอำนาจ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นราชาเพียงดังฤาษี
เชิญประทับอยู่ในหมู่เทพ ผู้มีความปรารถนาทุกอย่าง
สำเร็จได้ เชิญบริโภคกามอันมิใช่ของมนุษย์ในหมู่เทพ
ชั้นดาวดึงส์เถิด.
พระมหาสัตว์ เมื่อจะทรงห้ามท้าวเธอเสียจึงตรัสพระคาถาว่า
ขอยืมยานเขามาขับ ขอยืมทรัพย์เขามาใช้ฉันใด
การที่ได้เสวยความสุข เป็นความสุขที่ผู้อื่นยื่นให้ ก็
เปรียบกันได้ฉะนั้นแล ก็แลการได้เสวยความสุข โดย
เป็นความสุขที่ผู้อื่นยื่นให้ หม่อมฉันไม่ปรารถนาเลย
บุญทั้งหลายอันหม่อมฉันทำเองแล้วนั้นย่อมเป็นทรัพย์
อันอาจติดตามหม่อมฉันไปได้ หม่อมฉันไปในมนุษย์
แล้ว จักได้ทำกุศลให้มาก ที่บุคคลกระทำแล้วได้รับ
ความสุข และไม่ต้องเดือดร้อนในภายหลัง ด้วยทาน
ด้วยการประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยการสำรวม ด้วยการ
ฝึกตน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย ปรโต ทานปจฺจยา ความว่า
สิ่งใดที่ได้เพราะผู้อื่นให้ สิ่งนั้นเป็นเช่นเดียวกันกับของที่ขอยืมนั่นเอง เพราะว่า
บุคคลย่อมให้ยืมกันได้ในเวลาที่ดีกัน ในเวลาที่โกรธกันก็ยื้อแย่งเอาไปได้
หม่อมฉันกระทำกรรมที่บุคคลการทำแล้วมีความสุขด้วย ไม่ต้องเดือดร้อนใน
ภายหลังด้วยเช่นนั้นเหมือนกัน. บทว่า สมจริยาย คือด้วยการไม่ทำบาป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 504
ด้วยกายเป็นต้น. บทว่า สยเมน คือความสำรวมในศีล. บทว่า ทเมน
คือด้วยการฝึกอินทรีย์. บทว่า ย กตฺวา ความว่า การฝึกตนที่บุคคลทำ
แล้วได้รับความสุข และไม่ตามเดือดร้อนในภายหลัง.
ครั้นท้าวสักกะทรงสดับพระดำรัสของพระเจ้าสาธินราชนั้นแล้ว ทรง
สั่งเทพบุตรมาตลีว่า ไปเถิด นำเสด็จพระเจ้าสาธินราชไปสู่มิถิลาให้เสด็จลงใน
พระอุทยาน. มาตลีเทพบุตรนั้นได้กระทำตามเทวบัญชา. พระราชาเสด็จพระ
จงกรมอยู่ในพระอุทยานนั่นเอง. ครั้งนั้นนายอุยยานบาลเห็นพระองค์แล้ว ก็ไป
กราบทูลแด่พระราชานารทะ. ฝ่ายพระเจ้านารทะนั้นทรงสดับการเสด็จมาของ
พระราชาแล้ว ตรัสว่า นายอุยยานบาล เจ้าจงล่วงหน้าไปเตรียมอุทยาน จัดตั้ง
อาสนะไว้ ๒ ที่ สำหรับพระราชานั้นที่ ๑ สำหรับเราที่ ๑ ทรงส่งนายอุยยานบาล
นั้นไป. เขาได้กระทำตามพระบัญชา ที่นั้นพระราชาจึงตรัสถามเขาว่า เจ้าจัด
ตั้งอาสนะ ๒ ที่ เพื่อใครเล่า กราบทูลว่าเพื่อพระองค์ที่ ๑ เพื่อพระราชาของ
พวกข้าพระองค์ที่ ๑ พระเจ้าข้า. ครั้งนั้นพระราชาตรัสว่า สัตว์อื่นใครเล่าจัก
นั่งเหนืออาสนะในสำนักของเรา แล้วประทับนั่งเหนืออาสนะ ๑ วางพระบาททั้งคู่
เหนืออาสนะ ๑. พระราชานารทะเสด็จมาถวายบังคมพระบาทยุคลของพระองค์
แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่อันสมควรข้างหนึ่ง. ได้ยินว่า พระเจ้านารทะเป็น
พระนัดดาของพระเจ้าสาธินราช องค์ที่ ๗ ทีเดียว ข่าวว่าครั้งนั้น พระเจ้า
นารทะทรงพระชนมายุได้ ๑๐๐ พรรษาแล้ว. แต่พระมหาสัตว์ทรงพระชนม์
ยืนนานตลอดกาลเพียงนี้ ด้วยกำลังบุญของพระองค์. พระองค์ทรงจูงพระหัตถ์
ของพระเจ้านารทะ เสด็จเที่ยวไปในพระอุทยาน ได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 505
ที่ตรงนี้เป็นไร่นา ที่ตรงนี้ ตรง ร่องน้ำตรงดี
ที่ตรงนี้เป็นภูมิภาคมีหญ้าแพรกเขียวสะพรั่ง ที่ตรงนี้
เป็นแม่น้ำไหลอยู่ไม่ขาดสายที่ตรงนี้เป็นสระโบกขรณี
อันน่ารื่นรมย์ มีฝูงนกจักรพรากร้องเสียงระงม เปี่ยมไป
ด้วยน้ำใสสะอาด ดารดาษไปด้วยดอกปทุมและดอก-
อุบล พวกข้าเฝ้าและนางสนมพากันยึดถือสถานที่
เหล่านี้ว่าเป็นของเรา เขาเหล่านั้นพากันไปเสียทางทิศ
ใดหนอ ดูก่อนพ่อนารทะ ไร่นาเหล่านั้น ภูมิภาค
ตรงนั้น และอุปจารแห่งสวนและป่าไม้ยังคงมีอยู่
ดังเดิม เมื่อเราไม่เห็นหมู่ชนเหล่านั้น ทิศทั้งหลาย
ก็ปรากฏว่าว่างเปล่าแก่เรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขตฺตานิ นี้ ตรัสหมายถึงภูมิภาค
ทั้งหลาย. บทว่า อิม นิกฺข คือที่นี้เป็นทางระบายนี้ คงเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน
บทว่า สุกุณฺฑล คือที่มีคลองหลอดอันส่งน้ำเข้าถึงโรงสูบอันงดงาม. บทว่า
หริตานุปา ความว่า ในสองฝั่งแห่งทางระบายน้ำ มีพื้นดินเป็นสนามดาดาษ
ด้วยหญ้าแพรกเขียวชอุ่ม. บทว่า ยสฺสิมานิ มมายึสุ ความว่า พ่อนารทะ
เอ๋ย บรรดาข้าเฝ้าและนักสนมของเรา ที่พากันเที่ยวเล่นกับเราด้วยยศอันใหญ่
หลวง ในอุทยานนี้ ต่างพากันยึดจองรักใคร่สถานที่เหล่านี้. บทว่า กตร นุ เต
ทิส คตา ความว่า พ่อได้ส่งคนเหล่านั้นไป ณ ที่ไหนล่ะ. บทว่า ตานิ
เขตฺตานิ ได้แก่ ที่อันเป็นที่สำหรับเพาะปลูกพืชพรรณอย่างงอกงาม. บทว่า
เต เม อารามวนูปจารา คือพื้นที่เป็นที่ตั้งแห่งที่อยู่เหล่านั้นเป็นอุปจารแห่ง
สวนและป่ายังอยู่ที่นั้นแล.
ครั้งนั้นพระเจ้านารทะกราบทูลท้าวเธอว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 506
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เมื่อพระองค์เสด็จไป
เทวโลก กำหนดได้ ๗๐๐ ปีเข้านี้แล้ว หม่อมฉันเป็น
หลานคนที่ ๗ ของพระองค์ อุปัฏฐากของพระองค์
สิ้นพระชนม์ไปหมดแล้ว ขอเชิญพระองค์เสวยราช-
สมบัติอันเป็นส่วนของพระองค์เถิด พระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสว่า พ่อนารทะเอ๋ย ฉันมาทั้งนี้ มิได้มาเพื่อต้องการ
ราชสมบัติ มาเพื่อต้องการทำบุญ ฉันจักทำบุญเท่านั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
วิมานทั้งหลายอันสว่างไสวทั้งสี่ทิศ ฉันได้เห็น
แล้วเฉพาะพระพักตร์ของท้าวสักกเทวราช และเฉพาะ
หน้าของทวยเทพชาวไตรทศ ภพที่ฉันเห็นอยู่เป็นทิพย์
กามทั้งหลายอันมิใช่ของมนุษย์ ฉันได้บริโภคแล้ว
ในทวยเทพของชาวไตรทศ ภพที่ฉันอยู่ก็เป็นทิพย์
ถามทั้งหลาย อันมิใช่ของมนุษย์ฉันได้บริโภคแล้ว
ในทวยเทพชาวดาวดึงส์ ผู้สำเร็จสิ่งที่น่าปรารถนา
ทุกอย่าง ฉันนั้นละสมบัติเช่นนั้นเสียแล้วมาในมนุษย-
โลกนี้ เพื่อต้องการทำบุญเท่านั้น ฉันจักประพฤติแต่
ธรรมเท่านั้น ฉันไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ
ฉันจักดำเนินไปตามทางที่ท่านผู้ไม่มีอาชญาพากันท่อง
เที่ยวไป อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
ซึ่งเป็นทางสำหรับไปของท่านผู้มีวัตรงามทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุตฺถ เม ภวน ทิพฺย นี้ พระเจ้า
สาธินราชตรัสหมายถึงเวชยันตปราสาท. บทว่า โสห เอตาทิส ความว่า
พ่อนารทะเอ๋ย ฉันนั้นต้องทอดทิ้งความพร้อมมูลแห่งกามคุณ ที่พระพุทธญาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 507
ไม่พึงกำหนดเห็นปานฉะนี้มา ณ ที่นี้ เพื่อต้องการทำบุญ. บทว่าอทณฺฑาวจร
ความว่า หนทางมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า ที่มวลท่านผู้ไม่มีอาชญา
วางท่อนไม้และศาสตราเสียแล้วพึงดำเนิน. บทว่า สุพฺพตา ความว่า ท่าน
ผู้มีวัตรดีงาม ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงดำเนินโดยทางใด
แม้ฉันก็จักขอนั่งเหนือพื้นแห่งโพธิ เพื่อไปถึงทิศที่ไม่เคยไป จักดำเนินไปสู่
หนทางนั้นเหมือนกัน.
พระโพธิสัตว์ตรัสคาถาเหล่านั้นใส่ไว้ในพระสัพพัญญุตญาณด้วยประการ
ฉะนี้. ครั้งนั้นพระราชานารทะกราบทูลย้ำกะพระองค์อีกว่า เชิญพระองค์ทรง
ครองราชสมบัติสืบไปเถิด พระเจ้าข้า. ตรัสว่า พ่อเอ๋ย ฉันไม่ต้องการราช-
สมบัติจะขอให้ทานฉลอง ๗๐๐ ปี เพียง ๗ วันเท่านั้นแหละ. พระราชานารทะ
ทรงรับพระดำรัสของพระองค์ว่า เชิญเถิด พระเจ้าข้า ทรงเตรียมมหาทาน.
พระราชาทรงให้มหาทานตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ สิ้นพระชนม์ บังเกิดในภพ
ชั้นดาวดึงส์นั้นเอง.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงแสดงว่า ดูก่อน
อุบาสกทั้งหลาย อันอุโบสถกรรมควรที่จะพึงบำเพ็ญ ด้วยประการฉะนี้ แล้ว
ทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย เมื่อจบสัจจะบรรดาอุบาสกผู้รักษาอุโบสถเหล่านั้น
บางพวกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล บางพวกในสกทาคามิผล บางพวกในอนาคา-
มิผล บางพวกในอรหัตผล แล้วประชุมชาดกว่า พระราชานารทะ ใน-
ครั้งนั้น ได้มาเป็นสารีบุตร เทพบุตรมาตลี ได้มาเป็นพระอานนท์ ท้าว
สักกะ ได้มาเป็นอนุรุทธะ บริษัทที่เหลือได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนพระเจ้า
สาธินราช ได้มาเป็นเราแล.
จบอรรถกถาสาธินราชชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 508
๑๒. ทสพราหมณชาดก
ว่าด้วยชาติพราหมณ์ ๑๐ ชาติ
[๒๐๐๑] พระเจ้ายุธิฏฐิละผู้ทรงฝักใฝ่ในธรรม
ได้ตรัสกะวิธูรอำมาตย์ว่า ดูก่อนวิธูระ ท่านจงแสวง
หาพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีศีลเป็นพหูสูต งดเว้นจาก
เมถุนธรรม ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนาหารของฉัน
ดูก่อนสหาย ฉันจะให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ที่ให้
ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๐๒] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พราหมณ์
ทั้งหลายผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรมที่
สมควรจะบริโภคโภชนาหารของพระองค์นั้นหาได้ยาก
ข้าเเต่พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า
ชาติพราหมณ์มี ๑๐ ชาติ ขอพระองค์จงทรงสดับการ
จำแนกแจกแจงชาติพราหมณ์เหล่านั้น ของข้าพระองค์
ชนทั้งหลายถือเอากระสอบอันเต็มไปด้วยรากไม้ปิด
เรียบร้อย ปิดสลากบอกสรรพคุณยาไว้ รดน้ำมนต์
และร่ายมนต์ ข้าแต่พระราชา ชนเหล่านั้นแม้จะเป็น
เหมือนกับหมอ ก็ยังเรียกกันว่าเป็นพราหมณ์ ข้าแต่
พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงพราหมณ์
พวกนั้น แก่พระองค์แล้ว เราจะต้องการพราหมณ์เช่น
นั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 509
[๒๐๐๓] (พระเจ้าโกรัพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูก่อน
วิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็น
พราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจง
แสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้น
จากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหารของฉัน
ดูก่อนสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ที่ให้
ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๐๔] ชนทั้งหลายถือกระดิ่ง ตีประกาศไป
ข้างหน้าบ้าง คอยรับใช้บ้าง ศึกษาในการขับรถบ้าง
ข้าแต่พระราชา ชนเหล่านั้นแม้จะเหมือนกับคนบำเรอ
ก็ยังเรียกกันว่าเป็นพราหมณ์ ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูล
ถึงพราหมณ์พวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจะต้องการ
พราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า.
[๒๐๐๕] (พระเจ้าโกรัพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูก่อน
วิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็น
พราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจง
แสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้น
จากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหารของฉัน
ดูก่อนสหาย ฉันจะให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ที่ให้
ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๐๖] พวกพราหมณ์ ถือเต้าน้ำและไม้สีฟัน
คอยเข้าใกล้พระราชาทั้งหลาย ในบ้านและนิคมด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 510
ตั้งใจว่า เมื่อคนทั้งหลายในบ้านหรือนิคมไม่ให้อะไรๆ
พวกเราจักไม่ลุกขึ้น ข้าแต่พระราชา ชนเหล่านั้น
แม้จะเหมือนกับผู้กดขี่ข่มเหง ก็ยังเรียกกันว่าเป็น
พราหมณ์ ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงพราหมณ์พวกนั้น
แก่พระองค์แล้ว เราจักต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือ
หาไม่ พระเจ้าข้า.
[๒๐๐๗] (พระเจ้าโกรัพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูก่อน
วิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็น
พราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจง
แสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้น
จากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหารของฉัน
ดูก่อนสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ที่ให้
ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๐๘] ชนทั้งหลายมีเล็บและขนรักแร้งอกยาว
ฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะเกรอะกรังด้วยฝุ่นละออง
เป็นพวกยาจกท่องเที่ยวไป ข้าแต่พระราชา ชนพวกนั้น
แม้จะเหมือนกับมนุษย์ขุดตอ ก็ยังเรียกกันว่าเป็น
พราหมณ์ ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้า
กราบทูลถึงพราหมณ์พวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจะ
ต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือไม่ พระเจ้าข้า.
[๒๐๐๙] (พระเจ้าโกรัพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูก่อน
วิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 511
พราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจง
แสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้น
จากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหารของฉัน
ดูก่อนสหาย. ฉันจักให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ ที่ให้
ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอธิบดีแห่งประ-
ชาชน ชนทั้งหลายขายสิ่งของเครื่องชำ คือ ผลสมอ
ผลมะขามป้อม มะม่วง ชมพู่ สมอพิเภก ขนุนสำมะลอ
ไม้สีฟัน มะตูม พุทรา ผลเกด อ้อยและงบน้ำอ้อย
เครื่องโบกควัน น้ำผึ้งและยาหยอดตา ข้าแต่พระราชา
ชนเหล่านั้นแม้จะเหมือนกับพ่อค้า ก็ยังเรียกกันว่า
เป็นพราหมณ์ ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์
กราบทูลถึงพราหมณ์พวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจะ
ต้องการพราหมณ์เช่นนั้น หรือหาไม่ พระเจ้าข้า.
[๒๐๑๑] (พระเจ้าโกรัพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูก่อนวิธูระ
ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็นพราหมณ์
จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจงแสวงหา
พราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจาก
เมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหารของฉัน
ดูก่อนสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ ที่ให้
ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๑๒] ชนทั้งหลาย ใช้คนให้ทำการไถและ
การค้า ใช้ให้เลี้ยงแพะเลี้ยงแกะ สู่ขอนางกุมารีทำการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 512
วิวาหมงคลและอาวาหมงคล ชนเหล่านั้นแม้จะเหมือน
กับกุฎุมพีและคฤหบดี ก็ยังเรียกกันว่าเป็นพราหมณ์
ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงชน
พวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจะต้องการพราหมณ์เช่น
นั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า.
[๒๐๑๓] (พระเจ้าโกรัพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูก่อน
วิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็น
พราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจง
แสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้น
จากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหารของฉัน
ดูก่อนสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ ที่ให้
ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๑๔] ยังอีกพวกหนึ่งเล่า เป็นปุโรหิตในบ้าน
บริโภคภิกษาที่เก็บไว้ ชนเป็นอันมากพากันถาม
ปุโรหิตบ้านเหล่านั้น พวกเหล่านั้นจักรับจ้างตอนสัตว์
แม้ปศุสัตว์ คือ กระบือ สุกร แพะ ถูกฆ่าเพราะปุโรหิต
ชาวบ้านเหล่านั้น ข้าแต่พระราชา คนเหล่านั้นแม้จะ
เหมือนกับคนฆ่าโค ก็ยังเรียกกันว่าเป็นพราหมณ์
ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงชน
พวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจักต้องการพราหมณ์
เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 513
[๒๐๑๕] (พระเจ้าโกรัพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูก่อน
วิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็น
พราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจง
แสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้น
จากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหารของฉัน
ดูก่อนสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ที่ให้
ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๑๖] อีกพวกหนึ่งเป็นพราหมณ์ถือดาบและ
โล่เหน็บกระบี่ ยืนเฝ้าอยู่ที่ย่านพ่อค้าบ้าง รับคุ้มครอง
ขบวนเกวียนบ้าง ชนเหล่านั้นแม้จะเหมือนกับคน
เลี้ยงโคและนายพราน ก็ยังเรียกกันว่าเป็นพราหมณ์
ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึง
พราหมณ์พวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจะต้องการ
พราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า.
[๒๐๑๗] (พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า) ดูก่อนวิธูระ
ชนเหล่านั้น ปราศจากคุณเครื่องความเป็นพราหมณ์
จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจงแสวงหาพราหมณ์
เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่ง
สมควรบริโภคโภชนาหารของฉัน ดูก่อนสหาย ฉัน
จักให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ที่ให้ทานแล้วจักมีผล
มาก
[๒๐๑๘] ชนทั้งหลายปลูกกระท่อมไว้ในป่า ทำ
เครื่องดักสัตว์ เบียดเบียนกระต่ายและเสือปลาตลอด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 514
ถึงเหี้ย ทั้งปลาและเต่า ข้าแต่พระราชา ชนทั้งหลาย
แม้จะเป็นผู้เสมอกับนายพราน เขาก็เรียกกันว่า
พราหมณ์ ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้า
กราบทูลถึงพราหมณ์พวกนั้นแต่พระองค์แล้ว เราจะ
ต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า.
[๒๐๑๙] (พระเจ้าโกรัพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูก่อน
วิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็น
พราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจง
แสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้น
จากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหารของฉัน
ดูก่อนสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ที่ให้
ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๒๐] อีกพวกหนึ่งย่อมนอนใต้เตียง เพราะ
ปรารถนาทรัพย์ พระราชาทั้งหลายสรงสนานอยู่
ข้างบนในคราวมีพิธีโสมยาคะ ข้าแต่พระราชา ชน
พวกนั้นแม้จะเหมือนกับคนกวาดมลทิน ก็ยังเรียกกัน
ว่าเป็นพราหมณ์ ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้า
กราบทูลถึงพราหมณ์พวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจะ
ต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า.
[๒๐๒๑] (พระเจ้าโกรัพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูก่อน
วิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็น
พราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 515
แสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้น
จากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนาหารของ
ฉัน ดูก่อนสหาย ฉันจะให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์
ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๒๒] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พราหมณ์
ทั้งหลายผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม
ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหารของพระองค์ มีอยู่แล
พราหมณ์เหล่านั้นบริโภคภัตตาหารหนเดียว และไม่
ดื่มน้ำเมา ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบ
ทูลถึงพราหมณ์เหล่านั้นแก่พระองค์แล้ว พวกเราคง
ต้องการพราหมณ์เช่นนั้นสิ พระเจ้าข้า.
[๒๐๒๓] ดูก่อนวิธูระ พราหมณ์เหล่านั้นแหละ
เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต ดูก่อนวิธูระ ท่านจงแสวงหา
พราหมณ์พวกนั้น และจงเชิญพราหมณ์พวกนั้นมา
โดยเร็วด้วยเถิด.
จบทสพราหมณชาดกที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 516
อรรถกถาทสพราหมณชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระปรารภ
อสทิสทาน ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า ราชา อโวจ วิธูร ดังนี้.
เรื่องอสทิสทานนั้นมีความพิสดารปรากฏแล้ว ในวิธูรชาดกอัฏฐนิบาต
เรื่องมีว่า ปางเมื่อพระราชาจะทรงถวายทานนั้น ทรงเลือกคัดภิกษุประมาณ
๕๐๐ รูป กระทำพระศาสดาให้ทรงเป็นประธาน และได้ทรงถวายทานแด่
พระมหาขีณาสพทั้งนั้น. ครั้งนั้นเมื่อภิกษุจะกล่าวคุณกถาของท้าวเธอ ยกเรื่อง
ขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระราชาเมื่อจะทรงถวาย
อสทิสทาน ได้ทรงเลือกถวายในภิกษุผู้เป็นที่ประดิษฐานแห่งมรรคผล. พระ-
ศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้พวกเธอกำลังสนทนา
เรื่องอะไรกัน เมื่อพวกภิกษุพากันกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่โกศลราชผู้อุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า
เช่นเรา ทรงเลือกถวายทาน ปวงบัณฑิตแต่ก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จ
อุบัติ ก็เคยเลือกถวายแล้ว ภิกษุเหล่านั้นพากันกราบทูลอาราธนา ทรงนำอดีต
นิทานมาดังต่อไปนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิลโคตร
เสวยราชสมบัติ ณ พระนคร อินทปัต แคว้นกุรุ. อำมาตย์ของพระองค์นามว่า
วิธูระ คอยถวายอรรถและธรรม. พระราชาทรงยังชมพูทวีปทุกแห่งหนให้
กระฉ่อน ทรงถวายมหาทาน. บรรดาคนที่รับทานนั้นบริโภค จะหาคนหนึ่ง
ที่รักษาศีล ๕ ก็ไม่มีเลย ทุกคนทุศีลทั้งนั้น. ทานมิได้กระทำให้พระราชาทรง
ยินดี. พระราชาเข้าพระหทัยว่า การเลือกให้ทานมีผลมาก ทรงมีพระประสงค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 517
จะให้ทานแก่ผู้มีศีล ทรงดำริว่า ต้องปรึกษากับวิธูรบัณฑิต. ท้าวเธอทรง
รับสั่งให้ท่านผู้มาสู่ที่เฝ้านั่งเหนืออาสนะ ตรัสถามปัญหา.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสกึ่งพระคาถาว่า
พระราชายุธิฏฐิลทรงปรารถนาธรรม ได้ตรัส
กะวิธูรอำมาตย์.
ต่อไปเป็นดำรัสของพระราชาและคำตอบของท่านวิธูระว่า
พระเจ้ายุธิฏฐิละผู้ทรงฝักใฝ่ในธรรม ได้ตรัสสดับ
วิธูรอำมาตย์ว่า ดูก่อนวิธูระ ท่านจงแสวงหาพราหมณ์
ทั้งหลายผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม
ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนาหารของฉัน ดูก่อนสหาย
ฉันจะให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ที่ให้ทานแล้วจักมี
ผลมาก.
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พราหมณ์ทั้งหลาย
ผู้มีศีลเป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม ที่สมควรจะ
บริโภคโภชนาหารของพระองค์นั้นหาได้ยาก ข้าแต่พระ
มหาราชา ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า ชาติพราหมณ์
มี ๑๐ ชาติ ขอพระองค์จงทรงสดับการจำแนกแจง
ชาติพราหมณ์เหล่านั้น ของข้าพระองค์ ชนทั้งหลาย
ถือเอากระสอบอันเต็มไปด้วยรากไม้เรียบร้อย ปิดสลาก
บอกสรรพคุณยาไว้ รดน้ำมนต์และร่ายมนต์ ข้าแต่
พระราชา ชนเหล่านั้นแม้จะเป็นเหมือนกับหมอ ก็ยัง
เรียกกันว่าเป็นพราหมณ์ ข้าแต่พระมหาราชา ข้า-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 518
พระพุทธเจ้ากราบทูลถึงพราหมณ์พวกนั้น แก่พระองค์
แล้ว เราจะต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่
พระเจ้าข้า.
(พระเจ้าโกรัพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูก่อนวิธูระ ชน
เหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็นพราหมณ์ จะ
เรียกว่าเป็นพราหมณ์มิได้ ท่านจงแสวงหาพราหมณ์
เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม
ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหารของฉัน ดูก่อนสหาย
ฉันจักให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ที่ให้ทานแล้วจักมี
ผลมาก.
ชนทั้งหลายถือกระดิ่ง ตีประกาศไปข้างหน้าบ้าง
คอยรับใช้บ้าง ศึกษาในการขับรถบ้าง ข้าแต่พระราชา
ชนเหล่านั้นแม้จะเหมือนกับคนบำเรอ ก็ยังเรียกกันว่า
เป็นพราหมณ์ ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงพราหมณ์
พวกนั้น แก่พระองค์แล้ว เราจะต้องการพราหมณ์
เหล่านั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า.
ดูก่อนวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง
ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
ท่านจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต
งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหาร
ของฉัน ดูก่อนสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวก
พราหมณ์ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 519
พวกพราหมณ์ ถือน้ำเต้าและไม้สีฟัน คอยเข้า
ใกล้พระราชาทั้งหลาย ในบ้านและนิคมด้วยตั้งใจว่า
เมื่อคนทั้งหลายในบ้านหรือนิคมไม่ให้อะไร ๆ พวกเรา
จักไม่ลุกขึ้น ข้าแต่พระราชา ชนเหล่านั้นแม้จะเหมือน
กับผู้กดขี่ข่มเหง ก็ยังเรียกกันว่าเป็นพราหมณ์ ข้า
พระพุทธเจ้ากราบทูลถึงพราหมณ์พวกนั้น แก่พระองค์
แล้ว เราจักต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่
พระเจ้าข้า.
ดูก่อนวิธูระ คนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง
ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
ท่านจงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้น
จากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหารของฉัน
ดูก่อนสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ที่ให้
ทานแล้วจักมีผลมาก.
ชนทั้งหลายมีเล็บและขนรักแร้งอกยาว ฟันเขลอะ
มีธุลีบนศีรษะเกรอะกรังด้วยฝุ่นละออง เป็นพวกยาจก
ท่องเที่ยวไป ข้าแต่พระราชา ชนพวกนั้นแม้จะเหมือน
กับมนุษย์ขุดตอ ก็ยังเรียกกันว่าเป็นพราหมณ์ ข้าแต่
พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงพราหมณ์
พวกนั้น แก่พระองค์แล้ว เราจะต้องการพราหมณ์
เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า.
ดูก่อนวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง
ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 520
ท่านจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต
งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหาร
ของฉัน ดูก่อนสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์
ที่ให้ทานเเล้วจักมีผลมาก.
ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นอธิบดีแห่งประชาชน
ชนทั้งหลายขายสิ่งของเครื่องชำ คือ ผลสมอ ผล
มะขามป้อม มะม่วง ชมพู่ สมอพิเภก ขนุนสำมะลอ
ไม้สีฟัน มะตูม พุทรา ผลเกด อ้อยและงบน้ำอ้อย
เครื่องโบกควัน น้ำผึ้งและยาหยอดตา ข้าแต่พระราชา
ชนเหล่านั้นแม้จะเหมือนกับพ่อค้า ก็ยังเรียกกันว่า
เป็นพราหมณ์ ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์กราบ
ทูลถึงพราหมณ์พวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจะต้อง
การพราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า.
ดูก่อนวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง
ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
ท่านจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต
งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหาร
ของฉัน ดูก่อนสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวก
พราหมณ์ ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
ชนทั้งหลายใช้คนให้ทำการไถและการค้า ใช้ให้
เลี้ยงแพะเลี้ยงแกะ สู่ขอนางกุมารีทำการวิวาหมงคล
และอาวาหมงคล ชนเหล่านั้นแม้จะเหมือนกับกุฎุมพี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 521
และคฤหบดี ก็ยังเรียกกันว่าเป็นพราหมณ์ ข้าแต่พระ-
มหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงชนพวกนั้นแก่
พระองค์แล้ว เราจะต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือหา
ไม่ พระเจ้าข้า.
ดูก่อนวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง
ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
ท่านจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต
งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหาร
ของฉัน ดูก่อนสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวก
พราหมณ์ ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
ยังอีกพวกหนึ่งเล่า เป็นปุโรหิตในบ้านบริโภค
ภิกษาที่เก็บไว้ ชนเป็นอันมากพากันถามปุโรหิตบ้าน
เหล่านั้น พวกเหล่านั้นจักรับจ้างตอนสัตว์ แม้ปศุสัตว์
คือ กระบือ สุกร แพะ ถูกฆ่าเพราะปุโรหิตชาวบ้าน
เหล่านั้น ข้าแต่พระราชา คนเหล่านั้นแม้จะเหมือน
กับคนฆ่าโค ก็ยังเรียกกันว่าเป็นพราหมณ์ ข้าแต่พระ-
มหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงชนพวกนั้นแก่
พระองค์แล้ว เราจักต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือ
หาไม่ พระเจ้าข้า.
ดูก่อนวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง
ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
ท่านจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 522
งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหาร
ของฉัน ดูก่อนสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์
ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
อีกพวกหนึ่งเป็นพราหมณ์ถือดาบและโล่เหน็บ
กระบี่ ยืนเฝ้าอยู่ที่ย่านพ่อค้าบ้าง รับคุ้มครองขบวน
เกวียนบ้าง ชนเหล่านั้นแม้จะเหมือนคนเลี้ยงโคและ
นายพราน ก็ยังเรียกกันว่าเป็นพราหมณ์ ข้าแต่พระ-
มหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงพราหมณ์พวก
นั้นแก่พระองค์แล้ว เราจักต้องการพราหมณ์เช่นนั้น
หรือหาไม่ พระเจ้าข้า.
ดูก่อนวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง
ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
ท่านจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต
งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหาร
ของฉัน ดูก่อนสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวก
พราหมณ์ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
ชนทั้งหลายปลูกกระท่อมไว้ในป่า ทำเครื่อง
ดักสัตว์ เบียดเบียนกระต่ายและเสือปลาตลอดถึงเหี้ย
ทั้งปลาและเต่า ข้าแต่พระราชา ชนทั้งหลายแม้จะ
เป็นผู้เสมอกับนายพราน เขาก็เรียกกันว่าพราหมณ์
ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึง
พราหมณ์พวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจะต้องการ
พราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 523
ดูก่อนวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง
ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
ท่านจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต
งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหาร
ของฉัน ดูก่อนสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวก
พราหมณ์ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
อีกพวกหนึ่งย่อมนอนใต้เตียง เพราะปรารถนา
ทรัพย์ พระราชาทั้งหลายสรงสนานอยู่ข้างบน ใน
คราวมีพิธีโสมยาคะ ข้าแต่พระราชา ชนพวกนั้น
แม้จะเหมือนกับคนกวาดมลทิน ก็ยังเรียกกันว่าเป็น
พราหมณ์ ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบ
ทูลถึงพราหมณ์พวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจักต้อง
การพราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า.
ดูก่อนวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง
ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกเป็นพราหมณ์ก็ไม่ได้
ท่านจงแสวงทาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต
งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนาหาร
ของฉัน ดูก่อนสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวก
พราหมณ์ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลวนฺเต ได้แก่ ท่านผู้มีศีลที่มากับ
มรรค. บทว่า พหุสฺสุเต ได้แก่ ท่านผู้เป็นพหูสูตด้วยปฏิเวธ. บทว่า
ทกฺขิณ ได้แก่ทาน. บทว่า เย ได้แก่หมู่สมณะและพราหมณ์ผู้ทรงธรรมเหล่าใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 524
ควรบริโภคทานนั้น สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น หาได้ยาก. บทว่า พฺราหฺมณ-
ชาติโย ได้แก่ ตระกูลของพราหมณ์. บทว่า เตส วิภงฺควิจย ความว่า
เชิญพระองค์ทรงสดับการจำแนกพราหมณ์เหล่านั้น อันเป็นความวิจิตรแห่ง
ปัญญาของข้าพระพุทธเจ้าโดยพิสดาร. บทว่า สวุเต ได้แก่ ผูกปากร่วมไว้.
บทว่า โอสธิกาเย คนฺเถนฺติ ความว่า ประพันธ์ฉันท์อย่างนี้ว่า ยาขนาน
นี้สำหรับโรคนี้ ขนานนี้สำหรับโรคนี้ แล้วให้ฝูงคน. บทว่า นฺหาปยนฺติ
ได้แก่ ทำน้ำที่เรียกว่าน้ำสรง (น้ำมนต์). บทว่า ชปนฺติ จ ความว่า
ร่ายวิชชัมภูต. บทว่า ติกิจฺฉกสมา คือ เสมือนด้วยแพทย์. บทว่า เตปิ
วุจฺจนฺติ ความว่า แม้พวกนั้นก็มิได้รู้เลยว่าพวกเราเป็นพราหมณ์หรือมิใช่
พราหมณ์ คงเลี้ยงชีวิตด้วยเวชกรรมเรื่อยไป ฝูงชนพากันเรียกว่า พราหมณ์
ตามโวหาร. บทว่า อกฺขาตา เต ความว่า ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึง
พวกพราหมณ์ที่ชื่อว่า พราหมณ์หมอเหล่านี้นั้นแล้ว. บทว่า นิปตามเส
ความว่า ท่านวิธูระกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระปรีชา พวกเรา
ยังจะเข้าไปหาเพื่อต้องการนิมนต์พวกพราหมณ์เช่นนั้นหรือ คือพระองค์ยังมี
ความต้องการพวกพราหมณ์เหล่านั้นอยู่หรือ.
บทว่า พฺราหมญฺา ได้แก่ พราหมณธรรม. บทว่า น เต
วุจฺจนฺติ ความว่า พวกนั้นจะเรียกว่า พราหมณ์ ตามความหมายว่า
ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้วไม่ได้. บทว่า กิงฺกิณิโย ความว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชเจ้า ยังมีพวกพราหมณ์พวกหนึ่งละทิ้งพราหมณธรรมของตนเสีย
ถือเอากังสดาลบรรเลงขับร้องไปข้างหน้าพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระ-
ราชา เพื่อต้องการเครื่องเลี้ยงชีพ. บทว่า เปสนานิปิ ความว่า
บางทีก็รับใช้เหมือนอย่างทาสและกรรมกร. บทว่า รถจริยาสุ ความว่า
ย่อมศึกษาในรถศิลปะ. บทว่า ปริจาริกสมา คือ เสมือนทาสและกรรมกร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 525
บทว่า ปงฺกทณฺฑ ได้แก่ ไม้สีฟัน. บทว่า ปจฺจุเปสฺสนฺติ ราชาโน
ความว่า พวกพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง เข้าไปคบหาใกล้ชิดพระราชาและมหา-
อำมาตย์ของพระราชา. บทว่า คาเมสุ นิคเมสุ จ ความว่า นั่งอยู่ใกล้
ประตูนิเวศน์ของท่านเหล่านั้น. บทว่า นิคฺคาหกสมา ความว่า เป็นเสมือน
ราชบุรุษผู้เก็บภาษีอากร หมายความว่า คนเหล่านั้นกล่าวว่า เก็บไม่ได้ไม่ยอม
ไป กระทำการเร่งรัดเอาจนได้ทีเดียวฉันใด ก็คิดว่า จะไปในบ้านหรือในป่า
ก็ตาม เมื่อยังไม่ได้แล้ว พวกเราจะตายก็ไม่ขอลุกขึ้น แล้วอยู่ประจำฉันนั้น.
บทว่า เตปิ ได้แก่ แม้พวกนั้นเล่าก็เป็นเสมือนพนักงานเก็บภาษีอากร มี
บาปกรรม.
บทว่า รชชลฺเลหิ ความว่า ยังอีกพวกหนึ่งโสมมด้วยละอองฝุ่น.
บทว่า ยาจกา ได้แก่ คนขอทรัพย์ เสมือนคนขุดตอ คือเป็นผู้เสมอกับ
ก่นตอไม้ในไร่ที่เผาแล้ว ได้แก่ พวกคนที่พากันขุดดินแล้วถอนตอไม้ที่ไฟไหม้
เพราะมีร่างกายสกปรก และเพราะยืนอยู่ด้วยความไม่เคลื่อนไหวด้วยตั้งใจว่า
ไม่ได้รับไม่ไป จึงเป็นเสมือนตอไม้ที่เขาขุดขึ้นวางไว้ฉะนั้น. บทว่า เตปิ
ความว่า พวกนั้นเล่าก็เก็บออมทรัพย์ที่ได้ด้วยวิธีนั้นไว้จนร่ำรวยแล้ว ยังเที่ยว
ไปอย่างนั้นอีก เป็นพราหมณ์ทุศีล. บทว่า อุจฺฉุปูฏ ได้แก่ อ้อยและน้ำอ้อยงบ.
บทว่า มธุอญฺชน ได้แก่ น้ำผึ้งและยาหยอดตา. บทว่า อุจฺจาวจานิ คือ
มีค่าน้อยและมาก. บทว่า ปณิยานิ ได้แก่ สิ่งของทั้งหลาย. บทว่า วิปเณนฺติ
ได้แก่ ย่อมซื้อขาย. บทว่า เตปิ ความว่า แม้พวกนั้นผู้ค้าขายสิ่งของเหล่านี้
เพียงเท่านี้ เลี้ยงชีพก็เป็นพราหมณ์พ่อค้า. บทว่า โปสยนฺติ คือได้เลี้ยง
เพื่อเลี้ยงชีวิตโดยทางซื้อขาย. บทว่า ปเวจฺฉนฺติ ความว่า รับเงินทองให้
ธิดาของตนแก่ผู้อื่น พวกนั้นให้แก่ผู้อื่นอย่างนี้เรียกว่า วิวาหะรับ (ธิดาของ
คนอื่น) เพื่อบุตรของตน เรียกอาวาหะ. บทว่า อมฺพฏฺเวเสหิ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 526
พวกนั้นเสมือนกับพวกกุฎุมพีและคหบดี แม้พวกนั้นก็เรียกกันว่า พราหมณ์
ด้วยอำนาจแห่งบัญญัติ. บทว่า นิกฺขิตฺตภิกฺข ได้แก่ยังอีกพวกหนึ่งนั้นเล่า เป็น
พวกปุโรหิตประจำบ้าน บริโภคภิกษาที่เขากะไว้เพื่อประโยชน์แก่ตน. บทว่า
พหู เน ความว่า ชนเป็นอันมาก พากันถามยามและการมงคลกะพวกปุโรหิต
ประจำบ้านเหล่านั้น. บทว่า อณฺฑจฺเฉทานิ ลญฺจกา ความว่า พวกเหล่านั้น
ยังรับจ้างตอนวัวเปลี่ยวเป็นต้น และรับจ้างสักอวัยวะเป็นรูปตรีศูลเป็นต้น คือ
กระทำเครื่องหมาย. บทว่า ตตฺถ ความว่า ในเรือนของพวกปุโรหิตประจำบ้าน
ฝูงสัตว์เลี้ยงเป็นต้นเหล่านั้น พากันถูกฆ่าเพื่อจำหน่ายเนื้อ. บทว่า เตปิ
ความว่า แม้พวกนั้นจะเป็นเสมือนคนฆ่าโค ก็ยังเรียกกันว่าพราหมณ์.
บทว่า อสิจมฺม ได้แก่ ดาบและเครื่องป้องกันลูกศรที่ทำด้วยหนัง.
บทว่า เวสฺสปเถสุ ได้แก่ ในทางเดินของพวกพ่อค้า. บทว่า อมฺพาหยนฺติ
ความว่า บางทีก็รับเอากระษาปณ์ ๑๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง จากมือของนายกอง
เกวียนเข้าสู่ดงย่านพวกโจรไป. บทว่า โคปนิสาเทหิ ความว่า พวกนั้นเสมือน
กับพวกนายโคบาล และพวกนายพรานคือโจรผู้ปล้นบ้าน. บทว่า เตปิ ความว่า
แม้พวกนั้นคือเห็นปานนั้นก็เรียกกันว่าพราหมณ์. บทว่า กูฏานิ การยนฺติ เต
ความว่า ยังอีกพวกหนึ่ง (สร้างกระท่อมในป่า) ก่อสร้างกลโกงต่าง ๆ มี
บ่วงแร้วเป็นต้น. บทว่า สส วิฬาร ความว่า ดักมฤคที่เที่ยวไปบนบก
ซึ่งแสดงความคำว่า กระต่ายและแมวนั้น. บทว่า อาโคธา มจฺฉกจฺฉป
ความว่า เบียดเบียนคือฆ่าเสีย ซึ่งบรรดาสัตว์ที่เกิดบนบก ที่มีชีวิตใหญ่และ
เล็ก จนถึงเหี้ยเป็นที่สุด บรรดาสัตว์เกิดในน้ำ ก็ฝูงปลาและเต่า. บทว่า เตปิ
คือ แม้พวกนั้นจะเสมือนพรานผู้ฉกาจ ก็ยังเรียกกันว่าพราหมณ์. บทว่า อญฺเ
ธนสฺส กามาหิ ความว่า ยังมีพราหมณ์พวกหนึ่ง ปรารถนาแต่จะได้ทรัพย์.
บทว่า เหฏฺา มญฺเจ ปสกฺขิตา ความว่า พวกนั้นคิดว่า พวกเราจักได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 527
กระทำกรรมคือการไล่กลี แล้วให้สร้างเตียงอันสำเร็จด้วยแก้ว มุดเข้าไปนอน
อยู่ใต้เตียงแก้วนั้น ครั้นถึงวิธีโสมยาคะของพวกนั้น พระราชาทั้งหลาย ก็ทรง
สรงในเบื้องบน ได้ยินว่า พวกนั้นครั้นพิธีโสมยาคะเสร็จแล้ว พากันมานั่ง
เหนือเตียงนั้น ลำดับนั้น พราหมณ์พวกอื่นดำริว่า พวกเราจักขับกลี ก็ให้
พวกนั้นอาบน้ำ เตียงแก้วและราชาลังการของพระราชาทุกอย่าง เป็นของผู้นอน
ใต้เตียงทั้งนั้น. บทว่า เตปิ ความว่า แม้พวกนั้นจะเสมือนกับคนกวาดมลทิน
คือคนที่เขาอาบรดก็เรียกกันว่าพราหมณ์.
พระโพธิสัตว์กราบทูลแถลงถึงพวกพราหมณ์ เพียงบัญญัติเรียกเหล่านี้
ด้วยประการฉะนี้แล้ว คราวนี้เมื่อจะทูลแถลงถึงพราหมณ์ผู้มีประโยชน์ยอดเยี่ยม
ได้กราบทูลคาถา ๒ คาถาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พราหมณ์ทั้งหลาย
ผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควร
บริโภคโภชนาหารของพระองค์ มีอยู่แล พราหมณ์
เหล่านั้นบริโภคภัตตาหารหนเดียว และไม่ดื่มน้ำเมา
ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึง
พราหมณ์เหล่านั้นแก่พระองค์แล้ว พวกเราคงต้องการ
พราหมณ์เช่นนี้ซิ พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลวนฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยอริยศีล.
บทว่า พหุสฺสุตา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็นพหูสูตเพราะปฏิเวธ.
บทว่า ตาทิเส ความว่า พวกเราคงจะเข้าใกล้พราหมณ์ คือพระปัจเจก-
พุทธเจ้า ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว เห็นปานนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 528
พระราชาทรงสดับคำของท่านแล้ว ตรัสถามว่า สหายวิธูระ ท่าน
พราหมณ์ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลเลิศเช่นนี้ อยู่ที่ไหนเล่า. กราบทูลว่า ข้าแต่
พระมหาราชเจ้า ท่านอยู่ ณ เงื้อมเขานันทมูล ในหิมวันต์ตอนเหนือ
พระเจ้าข้า. รับสั่งว่า พ่อบัณฑิต ถ้าเช่นนั้นเธอจงช่วยแสวงหาท่านพราหมณ์
พวกนั้นแก่เราด้วยกำลังของเธอเถิด ทรงดีพระฤทัยตรัสคาถาว่า
ดูก่อนวิธูระ พราหมณ์เหล่านั้นแหละเป็นผู้มีศีล
เป็นพหูสูต ดูก่อนวิธูระ ท่านจงแสวงหาพราหมณ์
พวกนั้น และจงเชิญพราหมณ์พวกนั้นมาโดยเร็วด้วย-
เถิด.
พระมหาสัตว์รับพระดำรัสของพระองค์ด้วยคำว่า สาธุ กราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ถ้าเช่นนั้นพระองค์ให้ราชบุรุษนำกลองออกไปเที่ยวตีประกาศ
ว่า ชาวพระนครทุกคนจงตกแต่งพระนครพากันให้ทาน อธิษฐานอุโบสถและ
ถือศีลจงทั่วกันเถิด แม้พระองค์ก็ทรงสมาทานอุโบสถกับชนผู้เป็นบริษัทเถิด
พระเจ้าข้า ตนเองพอรุ่งเช้าบริโภคแล้ว สมาทานอุโบสถ ตอนเย็นให้คนนำ
ผอบทองเต็มด้วยดอกไม้ตามธรรมชาติ กับพระราชาประดิษฐานเบญจางค-
ประดิษฐ์ระลึกถึงพระคุณทั้งหลาย แห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย กราบไหว้
แล้วนิมนต์ด้วยคำว่า ขอพระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณ ๕๐๐ องค์ผู้สถิตอยู่ ณ
เงื้อมเขานันทมูลกะในหิมวันตประเทศตอนเหนือ จงรับภิกษาของข้าพเจ้า
ทั้งหลายในวันพรุ่งนี้ แล้วทิ้งกำดอกไม้ ๘ กำไปในอากาศ. ครั้งนั้นพระปัจ-
เจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ อยู่ ณ ที่นั้น. ดอกไม้ทั้งหลายลอยไปตกลงใน
เบื้องบนสำนักแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น. พระคุณท่านนึกอยู่รู้เหตุนั้น
แล้วกล่าวว่า ท่านผู้มีเนียรทุกข์ทั้งหลาย ชาวเราวิธูรบัณฑิตนิมนต์แล้ว ก็แหละ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 529
ท่านผู้นี้มิใช่สัตว์พอดีพอร้าย ท่านผู้นี้เป็นหน่อเนื้อแห่งพระพุทธเจ้า จักได้
ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกัปนี้แล พวกเราต้องการทำสงเคราะห์ท่าน พากัน
รับนิมนต์. พระมหาสัตว์ทราบการที่พระปัจเจกพุทธเจ้ารับนิมนต์ ด้วยสัญญา
ที่ดอกไม้ทั้งหลายไม่คืนมา กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งหลายจักพากันมา เชิญพระองค์ทรงกระทำสักการะและสัมมานะเถิด
พระเจ้าข้า. วันรุ่งขึ้น พระราชาทรงกระทำสักการะใหญ่โต ให้ตกแต่งอาสนะ
อันควรค่ามาก ในท้องพระโรงหลวง ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น พากันกระทำ
ปรนนิบัติสรีระในสระอโนดาต เสร็จแล้วกำหนดเวลาพากันมาทางอากาศลงที่
ท้องพระลานหลวง พระราชาและพระโพธิสัตว์ มีใจเลื่อมใส รับบาตรจาก
หัตถ์แห่งพระคุณท่านเหล่านั้น เชิญขึ้นปราสาท ให้นั่งแล้ว ถวายทักษิโณทก
อังคาสด้วยขาทนียะและโภชนียะ อันประณีต ในที่สุดแห่งภัตกิจของพระคุณ-
ท่านเหล่านั้น ก็นิมนต์เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น ๆ ต่อ ๆ กันไป รวมเป็น ๗ วัน
ด้วยวิธีนี้ถวายมหาทานในวันคำรบ ๗ ได้ถวายบริขารทั้งปวง. พระคุณท่าน
เหล่านั้นกระทำอนุโมทนาแล้ว พากันไป ณ เงื้อมเขานันทมูลกะนั้นทางอากาศ.
บริขารทั้งหลายเล่า ก็ไปพร้อมกันกับพระคุณท่านทีเดียวแล.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วตรัสย้ำว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย การที่โกรัพยราชผู้อุปัฏฐากของเราถวายวิเจยยทาน (การเลือกแล้วให้)
ไม่น่าอัศจรรย์ บัณฑิตแต่ปางก่อนถึงพระพุทธเจ้า ยังไม่อุบัติ ก็ได้ถวายทาน
แล้วเหมือนกัน ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้นได้มาเป็นอานนท์
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ปรินิพพานแล้ว ส่วนวิธูรบัณฑิต ได้มาเป็น
เราตถาคตแล.
จบอรรถกถาทสพราหมณชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 530
๑๓. ภิกษุปรัมปรชาดก
ว่าด้วยการให้ทานในท่านใด มีผลมาก
[๒๐๒๔] ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นพระองค์ผู้ทรง
เป็นสุขุมาลชาติ เคยประทับในพระตำหนักอัน
ประเสริฐ ทรงบรรทมเหนือพระยี่ภู่อันใหญ่โต เสด็จ
จากแว่นแคว้นมาสู่ดง จึงได้ทูลถวายข้าวสุกอย่างดี
แห่งข้าวสาลี เป็นภัตอันวิจิตร มีแกงเนื้ออันสะอาด
ด้วยความรักต่อพระองค์ พระองค์ทรงรับภัตนั้นแล้ว
มิได้เสวยด้วยพระองค์เอง ได้พระราชทานแก่พราหมณ์
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ข้อนี้เป็นธรรม
อะไรของพระองค์.
[๒๐๒๕] พราหมณ์เป็นอาจารย์ของฉัน เป็นผู้
ขวนขวายในกิจน้อยกิจใหญ่ ทั้งเป็นครูและเป็นผู้คอย
ตักเตือน ฉันควรให้โภชนะ.
[๒๐๒๖] บัดนี้ ข้าพเจ้าขอถามท่านพราหมณ์ผู้
โคดมอันพระราชาทรงบูชา พระราชาทรงพระราช-
ทานภัต อันมีแกงเนื้ออย่างสะอาดแก่ท่าน ท่านรับ
ภัตนั้นแล้วได้ถวายโภชนะแก่ฤาษี ชะรอยท่านจะรู้ว่า
ตนมิได้เป็นเขตแห่งทาน ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแก่ท่าน
ธรรมข้อนี้เป็นธรรมอะไรของท่าน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 531
[๒๐๒๗] ข้าพเจ้ายังกำหนัดอยู่ในเรือนทั้งหลาย
ต้องเลี้ยงบุตรและภรรยา ถวายอนุศาสน์แก่พระราชา
เชิญให้เสวยกามอันเป็นของมนุษย์ ข้าพเจ้าควรถวาย
โภชนะแก่ฤาษี ผู้อยู่ในป่าสิ้นกาลนาน ผู้เรืองตบะ
เป็นวุฒิบุคคลอบรมตนแล้ว.
[๒๐๒๘] บัดนี้ ข้าพเจ้าขอถามท่านฤาษีผู้ซูบ
ผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น มีเล็บและขนรักแร้
งอกยาว ฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะ ท่านอยู่ในป่า
ผู้เดียวไม่ห่วงใยชีวิต ภิกษุที่ท่านถวายโภชนะนั้นดีกว่า
ท่าน ด้วยคุณข้อไหน.
[๒๐๒๙] อาตมภาพยังขุดเผือก มันมือเสือ
มันนก ยังเก็บข้าวฟ่าง และลูกเดือยมาตากตำ เที่ยวหา
ฝักบัว เหง้าบัว น้ำผึ้ง เนื้อสัตว์ พุทราและมะขามป้อม
มาบริโภค ความยึดถือนั้นของอาตมายังมีอยู่ เมื่อ
อาตมายังหุงต้ม ก็ควรถวายโภชนะแก่ท่านผู้ไม่หุงต้ม
ยังมีกังวลก็ควรถวายโภชนะแก่ผู้ไม่มีความห่วงใย ยัง
มีความถือมั่น ก็ควรถวายโภชนะแก่ท่านผู้ไม่มีความ
ถือมั่น.
[๒๐๓๐] บัดนี้ กระผมขอถามท่านภิกษุผู้นั่งนิ่ง
มีวัตรอันดี พระฤาษีถวายภัตตาหารอันปรุงด้วยเนื้อ
สะอาดแก่ท่านดังนั้น ท่านรับภัตตาหารนั้นแล้วนั่งนิ่ง
ฉันอยู่องค์เดียว ไม่เชื้อเชิญใคร ๆ อื่น กระผมขอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 532
นมัสการแด่พระคุณท่าน นี้เป็นธรรมอะไรของพระ-
คุณท่าน.
[๒๐๓๑] อาตมาไม่ได้หุงต้มเอง ไม่ได้ให้ใคร
หุงต้ม ไม่ได้ตัดเอง ไม่ได้ให้ใครตัด ฤาษีรู้ว่าอาตมา
ไม่มีความกังวล เป็นผู้ห่างไกลจากบาปทั้งปวง จึงถือ
ภิกษาหารด้วยมือซ้าย ถือเต้าน้ำด้วยมือขวา ถวาย
ภัตตาหารอันปรุงด้วยเนื้อสะอาดแก่อาตมา บุคคล
เหล่านี้ยังมีความห่วงใย ยังมีความยึดถือ จึงสมควร
จะให้ทาน อาตมาเข้าใจเอาว่า การที่บุคคลเชื้อเชิญ
ผู้ให้นั้นเป็นการผิด.
[๒๐๓๒] วันนี้ พระราชาผู้ประเสริฐเสด็จมา
ณ ที่นี้เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระพุทธเจ้าหนอ ข้าพระ-
พุทธเจ้าเพิ่งทราบชัดวันนี้เองว่า ทานที่ให้ในท่านผู้ใด
จะมีผลมาก พระราชาทั้งหลายทรงกังวลอยู่ใน
แว่นแคว้น พราหมณ์ทั้งหลายกังวลอยู่ในกิจน้อย
กิจใหญ่ ฤาษีกังวลอยู่ในเหง้ามันและผลไม้ ส่วนพวก
ภิกษุหลุดพ้นได้แล้ว.
จบภิกษาปรัมปรชาดกที่ ๑๓
จบปกิณณกนิบาตชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 533
อรรถกถาภิกขาปรัมปรชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระปรารภ
กุฎุมพีผู้ใดผู้หนึ่ง ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สุขุมาลรูป ดังนี้.
เรื่องมีว่า กุฎุมพีนั้นเป็นผู้มีสัทธาเลื่อมใส กระทำมหาสักการะแด่
พระตถาคตเจ้า และแด่พระสงฆ์เนือง ๆ. ครั้นวันหนึ่ง เขาได้คิดว่า เราถวาย
โภชนะอันประณีตและเนื้อละเอียด แด่พระพุทธรัตนะและพระสงฆ์กระทำ
มหาสักการะเนือง ๆ คราวนี้ต้องกระทำมหาสักการะแก่พระธรรมรัตนะบ้าง
เมื่อกระทำสักการะแก่พระธรรมรัตนะนั้นต้องทำอย่างไรเล่าหนอ. เขาถือของ
หอมและมาลาเป็นต้นมาก ไปสู่พระวิหารเชตวัน ถวายบังคมพระศาสดา
กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะกระทำ
สักการะแก่พระธรรมรัตนะนั้น ควรกระทำอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า. ครั้งนั้น
พระศาสดาตรัสกะเขาว่า ถ้าเธอปรารถนาจะกระทำสักการะแก่พระธรรมรัตนะ
ไซร้ จงกระทำสักการะแก่อานนท์ ผู้เป็นคลังพระธรรมเถิด. เขากราบทูลว่า
สาธุ นิมนต์พระเถระในวันรุ่งขึ้น นำไปสู่เรือนของตนด้วยสักการะใหญ่ ให้
ท่านนั่งเหนืออาสนะมีค่ามาก บูชาด้วยของหอมและมาลาเป็นต้น ถวายโภชนะ
มีรสเลิศต่าง ๆ แล้วได้ถวายผ้าราคาแพง พอแก่ไตรจีวร พระเถรเจ้าก็ดำริว่า
สักการะทั้งนี้กุฎุมพีการทำแก่พระธรรมรัตนะ ไม่สมควรแก่เรา สมควรแก่
พระธรรมเสนาบดี จึงนำบิณฑบาตและผ้าไปสู่พระวิหาร ถวายแด่พระสารีบุตร-
เถรเจ้า พระคุณท่านนั้นเล่า ก็ดำริว่า สักการะทั้งนี้เขากระทำแก่พระ-
ธรรมรัตนะ ควรแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเจ้าของแห่งพระธรรม
พระองค์เดียวโดยแท้ จึงถวายแด่พระทศพล พระศาสดาไม่ทรงเห็นผู้ยิ่งกว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 534
พระองค์ จึงเสวยบิณฑบาตทรงรับผ้าจีวร พวกภิกษุยกเรื่องขึ้นสนทนาใน
ธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย กุฎุมพีชื่อโน้นคิดจะการทำสักการะแก่พระ-
ธรรมรัตนะ ได้ถวายแด่พระอานนท์เถรเจ้า ผู้เป็นคลังพระธรรม พระเถรเจ้า
ดำริว่า นี้ไม่สมควรแก่ตน ได้ถวายแด่พระธรรมเสนาบดี ถึงท่านนั้นก็ดำริว่า
นี้ไม่สมควรแก่ตน ได้ถวายแด่พระตถาคต ทีนั้นพระตถาคตมิได้ทรงเห็นผู้อื่น
ที่ยิ่งกว่าพระองค์ ทรงพระดำริว่า สักการะนั้นสมควรแก่เราเท่านั้น และทรง
รับผ้าเพื่อจีวร ด้วยอาการอย่างนี้ บิณฑบาตบรรลุถึงพระบาทมูลของพระธรรม
สามีทีเดียว เพราะพระองค์เป็นผู้สมควร พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อพวกภิกษุกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้นที่
บิณฑบาต ไปต่อ ๆ กันจนถึงผู้ที่สมควรจนได้ ในครั้งก่อน แม้เมื่อพระ
พุทธเจ้ายังไม่อุบัติ ก็ได้ถึงแล้วเหมือนกัน พวกภิกษุพากันกราบทูลอาราธนา
ทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัต ทรงละการลุอคติ ไม่ให้
พระราชธรรมทั้ง ๑๐ ประการเสื่อมเสีย เสวยราชสมบัติโดยธรรม ณ พระนคร
พาราณสี เมื่อเป็นเช่นนี้ การวินิจฉัยของพระองค์ไม่ต้องมี เป็นดุจว่างเปล่า
พระราชาทรงแสวงหาโทษของพระองค์ ทรงกำหนดดูแม้ทั้งภายในพระราช
นิเวศน์เป็นต้น มิได้ทรงเห็นผู้กล่าวถึงโทษของพระองค์ ในภายในพระราชวัง
ในภายในพระนคร และในหมู่บ้านใกล้ประตูพระนคร ทรงดำริว่า จักต้อง
แสวงหาในชนบท ทรงมอบราชสมบัติให้แก่มวลอำมาตย์ ปลอมพระองค์จาริก
ไปในกาสิกรัฐกับท่านปุโรหิต ไม่ทรงพบผู้ที่กล่าวโทษของพระองค์เลยสักคน
เสด็จไปถึงนิคมหนึ่งในชายแดน ประทับนั่งที่ศาลานอกประตู ขณะนั้นกุฎุมพี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 535
ผู้มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ชาวนิคมไปสู่ท่าน้ำกับบริวารมากมาย เห็นพระราชาผู้มี
พระสรีระละเอียดอ่อน มีผิวพรรณเพียงดังทองคำ ประทับนั่งที่ศาลา เกิดความ
สิเนหา เข้าไปสู่ศาลา กระทำปฏิสันถารแล้วทูลว่า เชิญท่านอยู่ตรงนี้เท่านั้น
เถิดนะ ไปเรือนจัดแจงโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ให้บริวารมากคนถือภาชนะ
ใส่ภัตไป ขณะนั้นดาบสผู้อยู่ในหิมวันตประเทศ ได้อภิญญา ๕ มานั่ง
ณ ศาลานั้นเหมือนกัน ยังมีพระปัจเจกพุทธเจ้ามาทางอากาศ จากเงื้อมเขา
นันทมูลกะ นั่ง ณ ศาลานั้นอีกองค์หนึ่ง กุฎุมพีถวายน้ำชำระพระหัตถ์แก่
พระราชา เตรียมถาดใส่ภัตพร้อมแกงและกับมีรสเลิศต่าง ๆ พลางน้อมเข้า
ไปถวาย พระราชาทรงรับภัตนั้นแล้ว พระราชทานแก่ปุโรหิต พราหมณ์รับ
ถาดภัตนั้นแล้ว ถวายแด่ดาบส ดาบสรับถาดภัตนั้นแล้ว ไปสู่สำนัก
ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ถือถาดภัตไวด้วยหัตถ์เบื้องซ้าย ถือเต้าน้ำด้วยหัตถ์
เบื้องขวา ถวายทักษิโณทกแล้ว ใส่ภัตลงในบาตร ท่านมิได้เชื้อเชิญ มิได้
ไต่ถามใคร ๆ ฉันแล้ว ในเวลาที่ท่านเสร็จภัตกิจ กุฎุมพีดำริว่า เราถวายภัต
แก่พระราชา พระราชาพระราชทานภัตแก่ปุโรหิต ปุโรหิตถวายแด่ดาบส
ดาบสถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่ไต่ถามใครเลยทีเดียว ฉันแล้ว อะไร
เล่าหนอเป็นเหตุบังคับแห่งการให้ของท่านเหล่านี้ ผู้มีเท่านี้ อะไรเล่าเป็น
เหตุบังคับให้มิต้องไต่ถามใคร ๆ ฉันเลย ของพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ เรา
ต้องถามท่านเหล่านั้นตามลำดับ เขาเข้าไปหาทีละท่าน ไหว้แล้วถาม. แม้ท่าน
เหล่านั้นก็บอกเขา ดังต่อไปนี้
ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นพระองค์ผู้ทรงเป็นสุขุ-
มาลชาติ เคยประทับในพระตำหนักอันประเสริฐ
ทรงบรรทมเหนือพระยี่ภู่อันใหญ่โต เสด็จจากแว่น
แคว้นมาสู่ดง จึงได้ทูลถวายข้าวสุก อย่างดีแห่งข้าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 536
สาลี เป็นภัตอันวิจิตร มีแกงเนื้ออันสะอาดด้วยความรัก
ต่อพระองค์ พระองค์ทรงรับภัตนั้นแล้ว นี้ได้เสวย
ด้วยพระองค์เอง ให้พระราชทานแก่พราหมณ์ ข้าพระ-
พุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ข้อนี้เป็นธรรมอะไร
ของพระองค์.
พราหมณ์เป็นอาจารย์ของฉัน เป็นผู้ขวนขวาย
ในกิจน้อยกิจใหญ่ทั้งเป็นครู และผู้คอยตักเตือน ฉัน
ควรให้โภชนะ.
บัดนี้ ข้าพเจ้าขอถามท่านพราหมณ์ผู้โคดมอัน
พระราชาทรงบูชา พระราชาทรงพระราชทานภัต อัน
มีแกงเนื้ออย่างสะอาดแก่ท่าน ท่านรับภัตนั้นแล้วได้
ถวายโภชนะแก่ฤาษี ชะรอยท่านจะรู้ว่าตนมิได้เป็น
เขตแห่งทาน ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแก่ท่าน ธรรมข้อนี้
เป็นธรรมอะไรของท่าน.
ข้าพเจ้ายังกำหนัดอยู่ในเรือนทั้งหลาย ต้องเลี้ยง
บุตรและภรรยา ถวายอนุศาสน์แก่พระราชา เชิญให้
เสวยกามอันเป็นของมนุษย์ ข้าพเจ้าควรถวายโภชนะ
แก่ฤาษี ผู้อยู่ในป่าสิ้นกาลนาน ผู้เรืองตบะเป็นวุฒิ-
บุคคลอบรมตนแล้ว.
บัดนี้ ข้าพเจ้าขอถามท่านฤาษีผู้ซูบผอม สะพรั่ง
ไปด้วยเส้นเอ็น มีเล็บและขนรักแร้งอกยาว ฟันเขลอะ
มีธุลีบนศีรษะ ท่านอยู่ในป่าผู้เดียวไม่ห่วงใยชีวิต ภิกษุ
ที่ท่านถวายโภชนะนั้นดีกว่าท่านด้วยคุณข้อไหน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 537
อาตมภาพยังขุดเผือก มันมือเสือ มันนก ยัง
เก็บข้าวฟ่างและลูกเดือยมาตากตำ เที่ยวหาฝักบัว
เหง้าบัว น้ำผึ้ง เนื้อสัตว์ พุทรา และมะขามป้อมมา
บริโภค ความยึดถือนั้นของอาตมายังมีอยู่ เมื่ออาตมา
ยังหุงต้ม ก็ควรถวายโภชนะแก่ท่านผู้ไม่หุงต้ม ยังมี
กังวลก็ควรถวายโภชนะแก่ผู้ไม่มีความห่วงใย ยังมี
ความถือมั่น ก็ควรถวายโภชนะแก่ท่านผู้ไม่มีความ
ถือมั่น.
บัดนี้ กระผมขอถามท่านภิกษุผู้นั่งนิ่ง มีวัตร
อันดี พระฤาษีถวายภัตตาหารอันปรุงด้วยเนื้อสะอาด
แก่ท่านดังนั้น ท่านรับภัตตาหารนั้นแล้วนั่งนิ่ง ฉันอยู่
องค์เดียว ไม่เชื้อเชิญใคร ๆ อื่น กระผมขอนมัสการ
แก่พระคุณท่าน นี้เป็นธรรมอะไรของพระคุณท่าน.
อาตมาไม่ได้หุงต้มเอง ไม่ได้ให้ใครหุงต้ม ไม่
ได้ตัดเอง ไม่ได้ให้ใครตัด ฤาษีรู้ว่าอาตมาไม่มีความ
กังวล เป็นผู้ห่างไกลจากบาปทั้งปวง จึงถือภิกษาหาร
ด้วยมือซ้าย ถือเต้าน้ำด้วยมือขวา ถวายภัตตาหารอัน
ปรุงด้วยเนื้อสะอาดแก่อาตมา บุคคลเหล่านี้ยังมีความ
ห่วงใย ยังมีความยึดถือ จึงสมควรจะให้ทาน อาตมา
เข้าใจเอาว่า การที่บุคคลเชื้อเชิญผู้ให้นั้นเป็นการผิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวน ความว่า เคยเสด็จมาสู่ชายแดนนี้
อันเป็นเสมือนป่าที่หาน้ำมิได้. บทว่า กูฏาคารวรูเปต ความว่า เคยเสด็จ
เข้าไปแต่พระตำหนักอันประเสริฐ คือเคยประทับอยู่ในพระตำหนักอันประเสริฐ.
บทว่า มหาสยนมุปาสิต คือเคยเสด็จเข้าสู่พระแท่นสิริยาสน์อันตกแต่งไว้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 538
เป็นอันดี ในพระตำหนักนั้นเอง. บทว่า ตสฺส เต ความว่า ข้าพระองค์
เห็นพระองค์ผู้เห็นปานนี้. บทว่า เปมเกน ความว่า ความจงรักอันมีต่อ
พระองค์นั้น. บทว่า วฑฺฒโมทน ได้แก่ ข้าวสุกอย่างดี. บทว่า วิจิตฺต
ความว่า อันหุงด้วยข้าวสารอันงดงามปราศจากเม็ดหักและเม็ดดำ. บทว่า
อทาปยิ แปลว่า ได้ถวายแล้ว. บทว่า อตฺตาน แปลว่า ด้วยพระองค์
อีกอย่างหนึ่งบาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า อนสิตฺวานแปลว่ามิได้เสวยเเล้ว.
บทว่า โกย ธมฺโม ความว่า ข้อนี้เป็นสภาวธรรมอะไรของพระองค์
พระเจ้าข้า. บทว่า นมตฺถุ เต ความว่า ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมแด่
พระองค์ผู้มีได้เสวยด้วยตนแล้วพระราชทานแก่ผู้อื่น. บทว่า อาจริโย ความว่า
ดูก่อนกุฎุมพี พราหมณ์ผู้นี้เป็นอาจารย์ผู้ฝึกสอนอาจาระของฉัน. บทว่า ปาวโต
แปลว่า ผู้ขวนขวาย. บทว่า อามนฺตนิโก ความว่า ควรที่ฉันจะพึงเชื้อเชิญ
คือเหมาะที่จะถือเอาสิ่งที่ฉันให้. บทว่า ทาตุมรหามิ ความว่า เพราะเหตุนั้น
ฉันจึงควรให้โภชนะแก่อาจารย์เห็นปานนี้ ทั้งนี้พระราชาทรงพรรณนาคุณของ
พราหมณ์.
บทว่า อเขตฺตญฺญูสิ ความว่า ชะรอยว่าท่านจะทราบเขตของ
ทานโดยแท้ คือการให้ในตน มิใช่เขตเช่นนี้ว่า สิ่งที่ให้แล้วในเรา มิได้มี
ผลมากเลย. บทว่า อนุสาสามิ ความว่า ท่านปุโรหิตกล่าวถึงโทษในตน
อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าละทิ้งประโยชน์ตน ถวายอนุสาสน์อรรถและธรรมแด่พระ-
ราชา. บทว่า อารญฺิกสฺส คือ ปุโรหิตกล่าวคุณของพระฤาษี. บทว่า
อิสิโน ได้แก่ ผู้แสวงหาคุณมีศีลเป็นต้น. บทว่า ตปสฺสิโน คือผู้บำเพ็ญ
ตบะ. บทว่า วุฑฺฒสฺส ได้แก่ ผู้เป็นบัณฑิต เจริญด้วยคุณธรรม. บทว่า
นาวกงฺขสิ ความว่า ทั้งตนเองก็หาโภชนะได้ยาก ยังให้โภชนะเช่นนี้แก่ผู้อื่น
ไม่ห่วงใยในชีวิตของตนเลยหรือ. บทว่า ภิกฺขุ เกน คือภิกษุนี้ประเสริฐ
กว่าพระคุณด้วยคุณข้อไหน. บทว่า ขณมาลุกลมฺพานิ ความว่า อาตมา
ยังขุดเผือกมัน. บทว่า พิลาลิตกฺกลานิ จ ความว่า มันมือเสือ และมันนก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 539
บทว่า ธุนิสามากนิวาร ความว่า ยังสลัดข้าวฟ่างและลูกเดือย. บทว่า สสาทิย
ปสาทิย ความว่า เมื่อสลัดข้าวฟ่างและลูกเดือยเหล่านั้นได้ก็ผึ่งแดด แล้วซ้อมที่
แห้งแล้วอีก ฟัดด้วยกระด้ง คำเป็นข้าวสารนำมาหุงต้มบริโภค. บทว่า สาก
ได้แก่ ผักชนิดหนึ่งที่เป็นกับข้าวได้. บทว่า มส ได้แก่ เนื้อมีเนื้ออันเป็นเดน
ราชสีห์และเสือโคร่ง เป็นต้น. บทว่า ตานิ อาหตฺถ ความว่า นำผักเป็นต้น
เหล่านั้นมา. บทว่า อมมสฺส ได้แก่ ผู้หมดความห่วงใยว่าของเราด้วยอำนาจ
ตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า สกิญฺจโน ได้แก่ ยังมีความห่วงใย. บทว่า อนาทานสฺส
ได้แก่ ผู้ไม่ยึดถือ. บทว่า ทาตุมรหามิ ความว่า ย่อมควรเพื่อจะให้โภชนะที่ตน
ได้แล้วแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า เห็นปานนี้. บทว่า ตุณฺหิมาสิน คือนั่งไม่พูด
กะใคร ๆ. บทว่า อกิญฺจน คือผู้เว้นจากความห่วงใยด้วยอำนาจราคะเป็นต้น.
บทว่า อารน ได้แก่ เว้นขาดแล้ว คือละบาปทั้งปวงตั้งอยู่. บทว่า กมณฺฑลุ
ได้แก่ ลักจั่น. บทว่า เอเต หิ ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านเหยียด
มือชี้ว่า คนทั้ง ๓ มีพระราชาเป็นต้นเหล่านี้. บทว่า ทาตุมรหนฺติ ความว่า
ย่อมควรที่จะให้แก่บุคคลเช่นเรา. บทว่า ปจฺจนีก ความว่า ความจริงการ
เชื้อเชิญผู้ให้นะ เป็นปฏิปทาที่ผิด คือนี้เป็นการเลี้ยงชีวิตด้วยการแสวงหา
ปิณฑะตอบแทนบิณฑะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอเนสนา ๒๑ อย่างย่อม
ชื่อว่าเป็นมิจฉาปฏิบัติ.
กุฎุมพีฟังคำนั้นของท่านแล้วดีใจ กล่าวคาถาสุดท้าย ๒ คาถาว่า
วันนี้พระราชาผู้ประเสริฐเสด็จมา ณ ที่นี้เพื่อ
ประโยชน์แก่ข้าพระพุทธเจ้าหนอ ข้าพระพุทธเจ้าเพิ่ง
ทราบชัดวันนี้เองว่า ทานที่ให้ในท่านผู้ใดจักมีผลมาก
พระราชาทั้งหลายทรงกังวลอยู่ในแว่นแคว้น พราหมณ์
ทั้งหลายกังวลอยู่ในกิจน้อยกิจใหญ่ ฤาษีกังวลอยู่ใน
เหง้ามันและผลไม้ ส่วนพวกภิกษุหลุดพ้นได้แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 540
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รเถสโภ พระจอมรถ กุฎุมพีพูดหมายความ
ถึงพระราชา. บทว่า กิจฺจากิจฺเจสุ คือในกิจของพระราชาที่ตนพึงกระทำ
บทว่า ภิกฺขโว ความว่า แต่พระภิกษุผู้ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พ้นได้แล้ว
จากภพทั้งปวง.
พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงธรรมแก่เขาแล้ว ก็กลับไปสู่สถานแห่งตน
ทีเดียว. ดาบสก็เหมือนกัน ส่วนพระราชาทรงพักอยู่ในสำนักของเขาสอง
สามวัน แล้วเสด็จไปสู่พระนครพาราณสีเหมือนกัน.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสย้ำว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่บิณฑบาตไปถึงที่สมควรจนได้ แม้ใน
ครั้งก่อน ก็ได้ไปถึงแล้วเหมือนกัน ทรงประชุมชาดกว่า กุฎุมพีผู้บูชาธรรม
ครั้งนั้น ได้มาเป็นกุฎุมพีผู้ทำสักการะแก่พระธรรมรัตนะ พระราชา
ได้มาเป็นอานนท์ ปุโรหิตได้มาเป็นสารีบุตร พระปัจเจกพุทธเจ้าได้
ปรินิพพานแล้ว ส่วนดาบสจากหิมพานต์ได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาภิกขาปรัมปรชาดก
จบอรรถกถาปกิณณกนิบาตชาดก
รวมชาดกที่มีในปกิณณกนิบาตนี้ คือ
๑. สาลิเกทารชาดก ๒. จันทกินนรชาดก ๓. มหาอุกกุสชาดก
๔. อุททาลกชาดก ๕. ภิสชาดก ๖. สุรุจิชาดก ๗. ปัญจุโปสถิกชาดก
๘. มหาโมรชาดก ๙. ตัจฉสูกรชาดก ๑๐. มหาวาณิชชาดก ๑๑.
สาธินราชชาดก ๑๒. ทสพราหมณชาดก ๑๓. ภิกขาปรัมปรชาดก และ
อรรถกถา.