พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ชาดก
เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๔
ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ติกนิบาตชาดก
๑. สังกัปปวรรค
๑. สังกัปปราคชาดก
ว่าด้วยลูกศรคือกิเลส
[๓๕๒] อาตมภาพอันลูกศรที่อาบด้วยราคะดำริ
อันลับด้วยกามวิตก อันนายช่างศรไม่ได้ตก-
แต่งขัดเกลาและเหลาเสี้ยมแทงเข้าแล้ว.
[๓๕๓] อาตมาภาพมิได้ถูกลูกศรที่เขายกคันขึ้นยิง
มาหรือที่ติดพู่หางนกยูงเสียบแทงเลย แต่
อาตมาภาพถูกลูกศร คือ กิเลสเครื่องเผา
อวัยวะทั้งปวงให้เร่าร้อน เสียบแทงที่หทัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 2
[๓๕๔] แต่อาตมภาพไม่เห็นรอยแผล ไม่เห็น
โลหิตไหลออกจากรอยแผลนั้น จิตที่ไม่มี
อุบายอันแยบคาย ถูกลูกศรตรึงไว้แล้วอย่าง
มั่นคง อาตมภาพนำความทุกข์มาให้แก่ตนเอง.
จบ สังกัปปราคชาดกที่ ๑
อรรถกถาชาดก
ติกนิบาต
อรรถกถาสังกัปวรรคที่ ๑
อรรถกถาสังกัปปราคชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้กระสัน จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า สงฺกปฺปราคโธเตน ดังนี้.
ได้ยินว่า มีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง บวชถวายชีวิตได้เห็น
ศาสนาของพระศาสดา วันหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตไปในเมืองสาวัตถีได้เห็น
หญิงคนหนึ่งตกแต่งประดับประดาสวยงาม เกิดความกำหนัดรักใคร่ไม่
ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ อาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้น ได้เห็นอาการ
ดังนั้น จึงถามถึงเหตุที่ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ครั้นทราบว่าเธอ
มีความประสงค์จะสึก จึงพากันกล่าวว่า นี่แน่ะคุณ ธรรมดาว่าพระ-
บรมศาสดาทรงสังหารกิเลสมีราคะเป็นต้น ทรงทรมานแล้วประกาศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 3
อริยสัจ ประทานโสดาปัตติมรรคเป็นต้น มาเถิดคุณ พวกเราจะพาไป
เฝ้าพระศาสดาแล้วได้พาไป และเมื่อพระบรมศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพาภิกษุผู้ไม่มีแก่ใจมาทำไมหรือ จึงพากันกราบ
ทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ. พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ได้ยินว่าเธอ
กระสันจะสึกจริงหรือภิกษุ ? เมื่อเธอกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึง
ตรัสถามว่า เพราะเหตุไร ? ภิกษุนั้นจึงกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ.
ลำดับนั้น พระบรมศาสดา จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ธรรมดาว่าสตรี
ทั้งหลายนี้ ได้เคยทำความเศร้าหมองให้เกิดแม้แก่สัตว์ผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย
ผู้ที่ข่มกิเลสได้ด้วยกำลังฌาน เหตุไฉนจักไม่ทำบุคคลผู้ไร้คุณสมบัติเช่น
เธอให้เศร้าหมองเล่า ท่านผู้บริสุทธิ์ยังเศร้าหมองได้ทั้งท่านผู้พรั่งพร้อม
ด้วยอุดมยศก็ยังถึงความเสื่อมยศได้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงผู้ไม่บริสุทธิ์
เล่า ลมที่พัดภูเขาสิเนรุให้หวั่นไหว ไฉนจักไม่พัดขยะใบไม้เก่าให้
กระจัดกระจายเล่า กิเลสนี้ยังก่อกวนสัตว์ผู้นั่งอยู่ที่โคนต้นโพธิ์ กำลัง
จะตรัสรู้ได้ ไฉนจักไม่ก่อกวนคนเช่นเธอเล่า ครั้นตรัสดังนี้แล้ว
ภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลมี
ทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ ครั้นเจริญวัยแล้วไปเล่าเรียนศิลปะทั้งปวงใน
เมืองตักกศิลา เมื่อเรียนสำเร็จแล้ว ก็กลับมายังเมืองพาราณสี
อยู่ครองเรือนมีบุตรภรรยา ครั้นบิดามารดาล่วงลับไป ก็ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 4
กระทำกิจเกี่ยวกับการตายของบิดามารดา เมื่อกระทำการตรวจตราใน
ข้อที่ลี้ลับ จึงรำพึงว่า ทรัพย์ที่บิดามารดารวบรวมไว้ยังปรากฎอยู่
แต่บิดามารดาไม่ปรากฏ จึงมีความสลดใจ เหงื่อไหลออกจากร่างกาย
เขาอยู่ครองเรือนเป็นเวลานาน ได้ให้ทานมากมายละกามทั้งหลาย ละ
หมู่ญาติผู้มีหน้านองด้วยน้ำตา เข้าป่าหิมพานต์สร้างบรรณศาลาอยู่
ในที่อันน่ารื่นรมย์ เที่ยวแสวงหารากไม้และผลไม้ในป่าเลี้ยงชีพ ไม่
นานเท่าไรก็ทำอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้น เล่นฌานอยู่มาช้านาน
จึงคิดได้ว่า เราไปยังถีนมนุษย์จักได้เสพรสเค็มและรสเปรี้ยว เมื่อ
เป็นเช่นนั้น ร่างกายของเรา จักแข็งแรง และจักใด้เป็นการพักผ่อน
ของเราไปด้วย ทั้งชนเหล่าใดจักให้ภิกษาหรือจักกระทำการอภิวาท
เป็นต้นแก่ผู้มีศีลเช่นกับเรา ชนเหล่านั้นจักได้ไปเกิดบนสวรรค์
ครั้นคิดแล้วจึงออกจากป่าหิมพานต์ เที่ยวจาริกไปโดยลำดับจนถึงเมือง
พาราณสี ในเวลาใกล้ค่ำ จึงเที่ยวเลือกหาที่พักอาศัย แลเห็นพระ-
ราชอุทยานจึงคิดว่า ที่นี้สมควรแก่การหลีกเร้น เราจักพักอยู่ในที่นี้
ครั้นคิดแล้วจึงเข้าไปยังพระราชอุทยาน นั่งอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่งทำ
เวลาราตรีให้หมดไปด้วยความสุขในฌาน วันรุ่งขึ้นเวลาเช้า ชำระ
สรีระกายแล้ว จัดแจงผูกชฎาห่มหนังเสือและนุ่งผ้าเปลือกไม้ ถือ
ภาชนะสำหรับภิกขาจาร สำรวมอินทรีย์สงบระงับ สมบูรณ์ด้วย
อิริยาบถ ทอดจักษุดูไปชั่วแอก มีรูปสิริของตนสมบูรณ์ด้วยอาการ
ทั้งปวง อาจดึงเอาสายตาของชาวโลกให้และ เดินเข้าพระนคร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 5
เที่ยวภิกขาจารไปจนถึงประตูพระราชนิเวศน์. พระราชากำลังเสด็จ
ดำเนินอยู่ที่ห้องพระโรง ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ทางช่องพระ
แกล ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถของเธอ ทรงพระดำริว่า ถ้าธรรมอัน
สงบระงับมีอยู่ ก็คงจะมีในภายในจิตของท่านผู้นี้ จึงดำรัสสั่งอำมาตย์
ผู้หนึ่งว่า เจ้าจงไปนำพระดาบสนั้นมา. อำมาตย์นั้นไปไหว้แล้วขอรับ
เอาภาชนะสำหรับภิกขาจารแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า. พระราชา
รับสั่งนิมนต์ท่าน พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่านผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่
พระราชาไม่ทรงรู้จักกับอาตมา อำมาตย์จึงเรียนว่า ถ้ากระนั้น ขอ
นิมนต์พระคุณเจ้ายับยั้งอยู่ที่นี้จนกว่ากระผมจะกลับมา แล้วกลับไป
กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชารับสั่งว่า พระดาบสรูปอื่น
ผู้ที่จะเข้าไปยังราชตระกูลของเรายังไม่มี เจ้าจงไปนิมนต์พระดาบสนั้น
มา. ฝ่ายพระองค์เองก็ทรงเหยียดพระหัตถ์ออกไหว้ทางช่องพระแกล
ตรัสว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอนิมนต์มาทางพระราชนิเวศน์นี้เถิด.
พระโพธิสัตว์จึงมอบภาชนะสำหรับภิกขาจารให้อำมาตย์ถือไปแล้วก็เดิน
ขึ้นสู่ท้องพระโรง. ลำดับนั้น พระราชาทรงไหว้พระโพธิสัตว์นั้นแล้ว
นิมนต์ให้นั่งบนราชบัลลังก์ แล้วอังคาลเลี้ยงดูด้วยข้าวยาคู ของขบ-
เคี้ยว และภัตตาหารที่เจ้าพนักงานจัดไว้สำหรับพระองค์ พระโพธิสัตว์
ฉันเสร็จแล้ว จึงตรัสถามปัญหา ทรงพอพระราชหฤทัยการพยากรณ์
ปัญหาของพระโพธิสัตว์ยิ่งนักจึงนมัสการแล้วตรัสถามว่า พระคุณเจ้า
ผู้เจริญ พระคุณเจ้าอยู่ที่ไหน และมาจากไหน พระโพธิสัตว์จึงทูลว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 6
มหาบพิตร อาตมาภาพอยู่ป่าหิมพานต์ และมาจากป่าหิมพานต์ จึง
ตรัสถามอีกว่า มาเพราะเหตุอะไร จึงทูลว่า มหาบพิตร ในฤดูกาล
ฝนควรจะได้การอยู่ประจำที่ ทรงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นขอนิมนต์พระ-
คุณเจ้าพักอยู่ในพระราชอุทยาน พระคุณเจ้าจักไม่ลำบากด้วยปัจจัย
ทั้ง ๔ และโยมก็จักได้บุญอันจะนำตนให้ไปเกิดในสวรรค์ ครั้นทรง
ทำความตกลงแล้ว และเสวยพระกระยาหารแล้ว ได้เสด็จไปพระ-
ราชอุทยานพร้อมกับพระโพธิสัตว์ รับสั่งให้ให้สร้างบรรณศาลา สร้าง
ที่จงกรม จัดเสนาสนะที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันเป็นต้น ให้
พร้อมเสร็จ แล้วมอบถวายบริขารสำหรับบรรพชิต แล้วตรัสว่า ขอ
พระคุณเจ้าจงอยู่โดยความสุขสำราญเถิด แล้วมอบนายอุทยานบาลให้
ดูแล. ตั้งแต่นั้นมา พระโพธิสัตว์ได้อยู่ในพระราชอุทยานนั้น
เป็นเวลา ๑๒ ปี. ต่อมาภายหลัง ประเทศชายแดนของพระราชาเกิด
การกำเริบ พระราชามีพระประสงค์จะเสด็จไประงับเหตุการณ์นั้น
ที่ตรัสเรียกพระเทวีมาแล้วตรัสว่า น้องนางผู้เจริญ เจ้าควรยับยั้งอยู่
ยังพระนครก่อน. พระเทวีทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ เพราะอาศัย
เหตุอะไร พระองค์จึงตรัส อย่างนี้ พระราชา เพราะอาศัยพระ-
ดาบสผู้มีศีล ซิน้องนางผู้เจริญ. พระเทวีทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพหม่อม-
ฉันจักไม่ประมาทในพระดาบสนั้น การปรนนิบัติพระผู้เป็นเจ้าของ
พระองค์เป็นภาระของหม่อมฉัน ขอพระองค์อย่าทรงกังวล จะเสด็จ
เถิด. พระราชาจึงเสด็จออกไป. ฝ่ายพระเทวีก็ตั้งใจอุปัฎฐากพระโพธิ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 7
สัตว์เหมือนอย่างเดิม. ฝ่ายพระโพธิสัตว์หลังจากพระราชาเสด็จไปแล้ว
ก็มิได้ไปตามเวลาที่เคยมา ได้ไปยังพระราชนิเวศน์กระทำภัตตกิจตาม
เวลาที่ตนชอบใจ. อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพระโพธิสัตว์ชักช้าอยู่ยังไม่มา
พระราชเทวีจัดแจงขาทนียโภชนายาหารทุกอย่างเสร็จแล้ว จึงโสรจ
สรงพระองค์ประดับพระวรกาย แล้วให้นางพนักงานแต่งเตียงห้อย
บรรทมคอยดูการมาของพระโพธิสัตว์ โดยทรงนุ่งพระภูษาเนื้อเกลี้ยง
อย่างหย่อน ๆ. ฝ่ายพระโพธิสัตว์กำหนดว่าได้เวลาแล้ว ก็ถือภิกขา-
ภาชนะเหาะมาจนถึงช่องพระแกลใหญ่. พระเทวีได้ทรงสดับ
เสียงผ้าเปลือกไม้กรองของพระโพธิสัตว์ก็เสด็จลุกขึ้นโดยพลัน พระ-
ภูษาเนื้อเกลี้ยงที่ทรงนุ่งนั้นก็หลุดลุ่ยลงทันที พระโพธิสัตว์ได้เห็น
วิสภาคารมณ์มิได้สำรวมอินทรีย์ ตลึงแลดูด้วยสามารถแห่งความงาม.
ลำดับนั้น กิเลสของพระโพธิสัตว์ซึ่งสงบนิ่งด้วยกำลังฌานก็กำเริบขึ้น
เหมือนอสรพิษที่ถูกขังอยู่ในข้อง พอออกจากข้องได้ก็แผ่พังพาน
ขึ้นฉะนั้น. พระโพธิสัตว์ได้เป็นผู้มีอาการเหมือนเวลาที่ต้นยางถูกกรีด
ด้วยมืดฉะนั้น. องค์ฌานทั้งหลายเสื่อมไปพร้อมกับระยะที่กิเลสเกิด
ขึ้น. อินทรีย์ทั้งหลายก็มิได้บริบูรณ์ ตนเองได้มีสภาพเหมือนกาปีก
ขาดฉะนั้น. พระโพธิสัตว์นั้นมิอาจที่จะนั่งกระทำภัตตกิจเหมือนแต่
ก่อนได้ แม้พระเทวีจะตรัสบอกให้นั่งก็ไม่นั่ง. ลำดับนั้น พระเทวี
จึงทรงใส่ขาทนียะ โภชนียาหารทุกอย่างลงในภิกขาภาชนะของพระ-
โพธิสัตว์. ก็วันนั้น พระโพธิสัตว์ไม่อาจไปเหมือนในวันก่อน ๆ ซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 8
กระทำภัตตกิจแล้วก็เหาะออกไปทางสีหบัญชร ได้แต่รับภัตตาหารแล้ว
เดินลงทางบันใดใหญ่ไปยังพระราชอุทยาน แม้พระเทวีก็ทรงทราบ
ว่าพระดาบสมีจิตปฏิพัทธ์ในพระองค์. พระโพธิสัตว์นั้นไปถึงพระ-
ราชอุทยานแล้วไม่บริโภคภัตตาหารเลย เอาวางไว้ใต้เตียง นอน
รำพรรณว่า พระหัตถ์เห็นปานนี้ของพระเทวีงาม พระบาทก็งาม
นั้นพระองค์เห็นปานนี้ ลักษณะของพระอูรุเห็นปานนี้ ดังนี้เป็นต้น
นอนบ่นเพ้ออยู่ถึง ๗ วัน ภัตตาหารบูด มีหมู่แมลงวันหัวเขียวตอมกัน
สะพรั่ง. ฝ่ายพระราชาทรงระงับปัจจันตชนบทได้แล้วก็เสด็จกลับมา
ทรงกระทำประทักษิณพระนครซึ่งชาวเมืองตกแต่งประดับประดาไว้รับ
เสด็จ แต่หาได้เสด็จไปยังพระราชนีเวศน์ไม่ ได้เสด็จไปยังพระราช-
อุทยานด้วยหวังพระทัยว่าจักเยี่ยมพระโพธิสัตว์ ได้ทอดพระเนตร
เห็นอาศรมบทรกรุงรังด้วยหยากเยื่อ ทรงสำคัญว่าพระดาบสจักหนี
ไปแล้ว จึงทรงเปิดประตูบรรณศาลา เสด็จเข้าไปข้างใน ทอดพระ-
เนตรเห็นดาบสนั้นนอนอยู่ จึงทรงดำริว่า ชรอยจะมีความไม่ผาสุก
บางประการ จึงรับสั่งให้ทิ้งภัตตาหารบูดชำระปัดกวาดบรรณศาลา
แล้วตรัสถามว่า พระคุณเจ้า ท่านไม่สบายไปหรือ ? พระดาบสทูล
ตอบว่า มหาบพิตร อาตมาภาพถูกลูกศรเสียบแทง. พระราชาเข้า
พระทัยว่า ชะรอยพวกปัจจามิตรของเราไม่ได้โอกาสในตัวเรา จึงมา
ยิงพระดาบสนี้ โดยคิดว่า จักทำฐานะอันเป็นที่รักของพระราชานั้น
ให้ทุรพลภาพ จึงทรงพลิกร่างกายตรวจดูรอยที่ถูกยิง ก็ไม่เห็นรอย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 9
ที่ยิง จึงตรัสถามว่า ท่านถูกเขายิ่งที่ไหนหรือ พระคุณเจ้า. พระ-
โพธิสัตว์ตรัสว่า มหาบพิตร อาตมาภาพมิได้ถูกคนอื่นยิง แต่
อาตมาภาพยิงตัวของตัวเองแหละที่หัวใจ ครั้นทูลแล้วจึงลุกขึ้นนั่ง
กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
อาตมาภาพถูกแทงที่หัวใจ ด้วยลูก
ศรนั้น อันกำชับด้วยราคะเกิดจากความดำริ
อันลับด้วยวิตกคือความดำริ อันนายช่างมิได้
ตกแต่งให้เรียบร้อย อันนายช่างศรมิได้ทำ
ยังไม่พ้นหมวกหู ทั้งยังไม่ติดขนนกยูง แต่
ทำความเร่าร้อนให้ทั่วสรรพางค์กาย อาตมา-
ภาพไม่เห็นรูแผลที่เลือดไหลออก ลูกศรนั้น
แทงจิตที่ไม่แยบได้มั่นเหมาะ ความทุกข์นี้
อาตมาภาพนำมาด้วยตนเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺกปฺปราคโธเตน ความว่า
กำซาบด้วยราคะอันประกอบพร้อมด้วยความดำริตริตรึกในกาม. บทว่า
วิตกฺกนิสิเตน ความว่า อันลับด้วยหินคือความดำริ ด้วยน้ำคือราคะ
นั้นนั่นแหละ บทว่า เนวาลงฺกตภทฺเรน ความว่า อันนายช่างมิ
ได้ทำให้เกลี้ยงเกลา. บทว่า น อุสุการกเตน จ ความว่า แม้
ช่างศรทั้งหลายก็ยังมิได้ดัด. บทว่า น กณฺณายตมุตฺเตน ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 10
ยังไม่ดึงสายมาให้พ้นหมวกหูขวาเป็นกำหนด. บทว่า น ปิ โมรุป-
เสวินา ความว่า ยังมิได้ทำการติดขนปีกนกยูง และขนปีกนกแร้ง
เป็นต้น. บทว่า เตนมฺหิ หทเย วิทฺโธ ความว่า ถูกลูกศรคือ
กิเลสนั้นเสียบแทงที่หัวใจ. ด้วยบทว่า สพฺพงฺคปริฬาหินา นี้
ท่านแสดงว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมาภาพถูกแทงที่หัวใจ ด้วยลูก-
ศรคือกิเลสนั้น อันสามารถทำให้อวัยวะทั้งปวงเร่าร้อน ตั้งแต่เวลา
ที่อาตมาภาพถูกลูกศรนั้นแทงแล้ว อวัยวะทุกส่วนของอาตมาภาพเร่า-
ร้อน เหมือนไฟติดไปทั่วฉะนั้น. บทว่า อาเวธญฺจ น ปสฺสามิ
ความว่า อาตมาภาพไม่เห็นที่ที่ลูกศรแทง. บทว่า ยโต รุหิรมสฺสเว
ความว่า เลือดของอาตมาภาพไหลออกจากรูแผลใด อาตมาภาพไม่
เห็นแผลนั้น. ศัพท์ว่า ยาว ในบทว่า ยาว อโยนิโส จิตฺต นี้
เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่ามั่นคง. อธิบายว่า ลูกศรแทงจิตที่คิดโดยไม่
แยบคายได้อย่างมั่นเหมาะเหลือเกิน. บทว่า สย เม ทุกฺขมาภต
ความว่า อาตมาภาพนำทุกข์มาให้แก่ตนด้วยตนเองทีเดียว.
พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงธรรมแก่พระราชาด้วยคาถา ๓ คาถา
นี้ อย่างนี้แล้ว จึงทูลให้พระราชาเสด็จออกประทับภายนอกบรรณ-
ศาลา แล้วกระทำกสิณบริกรรมทำฌานที่เสื่อมให้เกิดขึ้นแล้ว ออก
จากบรรณศาลาเหาะขึ้นไปนั่งอยู่กลางอากาศ โอวาทพระราชาเสร็จ
แล้วทูลว่า มหาบพิตร อาตมาภาพจักไปอยู่ป่าหิมพานต์ตามเดิม แม้
พระราชาจะตรัสว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ อย่าไปเลย ก็ทูลชี้แจงว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 11
มหาบพิตร เพราะอาตมาภาพอยู่ในที่นี้จึงได้รับอาการอันผิดแผกเห็น
ปานนี้ บัดนี้ ไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ต่อไป ทั้ง ๆ ที่พระราชาทรงอ้อน-
วอนอยู่นั่นเอง ก็เหาะไปป่าหิมพานต์ดำรงอยู่จนตลอดอายุ ในเวลา
สิ้นสุดอายุก็ได้ไปเกิดในพรหมโลก.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจกถา ภิกษุผู้
กระสันจะสึกก็ได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต. บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน
บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี. พระ-
ราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนดาบสคือเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสังกัปปราคชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 12
๒. ติลมุฏฐิชาดก
การเฆี่ยนตีเป็นการสั่งสอน
[๓๕๕] การที่ท่านให้จับแขนเราไว้แล้วเฆี่ยนตี
เราด้วยซีกไม้ไผ่เพราะเหตุเมล็ดงากำมือหนึ่ง
นั้น ยังฝังอยู่ในใจของเราจนทุกวันนี้.
[๓๕๖] ดูก่อนพราหมณ์ ชะรอยท่านจะไม่ยินดี
ในชีวิตของตนแล้วสินะ จึงได้มาจับแขน
แล้วเฆี่ยนตีเราถึง ๓ ครั้ง วันนี้ท่านจะได้
เสวยผลของกรรมนั้น.
[๓๕๗] อารยชนใด ย่อมข่มขี่คนที่ไม่ใช่อารย-
ขึ้นผู้ทำกรรมชั่วด้วยอาชญากรรมของอารยชน
นั้น เป็นการสั่งสอนหาใช่เป็นเวรไม่ บัณฑิต
ทั้งหลายรู้ชัดข้อนั้นอย่างนี้แล.
จบ ติลมุฏฐิชาดกที่ ๒
อรรถกถาติลมุฏฐิชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้มักโกรธรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อชฺชปิ เม
ต มนสิ ดังนี้.
ได้ยินว่า มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้มักโกรธมากไปด้วยความคับ
แค้นใจ ถูกใครว่าอะไรแม้เพียงนิดเดียวก็โกรธ ข้องใจ กระทำความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 13
โกรธ ความประทุษร้าย และความน้อยใจให้ปรากฏ. อยู่มาวันหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
รูปโน้นเป็นคนโกรธง่าย มากไปด้วยความคับแค้นใจ เที่ยวทำเสียง
เอะอะเหมือนเกลือที่เขาใส่ในเตาไฟ เป็นผู้บวชในศาสนาที่สอน
มิให้โกรธเห็นปานนี้ แม้แต่ความโกรธเท่านั้น ก็ไม่อาจข่มได้. พระ-
ศาสดาทรงตรัสถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น จึงทรงสั่งภิกษุรูปหนึ่งให้ไป
เรียกภิกษุรูปนั้นมา แล้วตรัสถามว่า ข่าวว่าเธอเป็นผู้โกรธง่ายจริง
หรือ ? เมื่อภิกษุรูปนั้นรับเป็นสัตย์แล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุนี้ก็ได้เป็นคนมักโกรธเหมือน
กัน ภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุง
พาราณสี โอรสของพระเจ้าพรหมทัต นั้นได้มีนามว่า พรหมทัตต-
กุมาร. แท้จริงพระราชาครั้งเก่าก่อน แม้จะมีอาจารย์ทิศาปาโมกข์ใน
นครของตน ก็ย่อมส่งพระราชโอรสของตน ๆ ไปเรียนศิลปะยังภาย
นอกรัฎฐะในที่ไกล ด้วยหวังใจว่า เมื่อกระทำอย่างนี้ พระราชโอรส
เหล่านั้น จักเป็นผู้ขจัดความเย่อหยิ่งด้วยมานะ ๑ จักเป็นผู้อดทนต่อ
ความหนาวและความร้อน ๑ จักได้รู้จารีตประเพณีของชาวโลก ๑
เพราะฉะนั้น พระราชาแม้พระองค์นั้น จึงมีรับสั่งให้หาพระราชาโอรส
ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษามา แล้วพระราชทานฉลองพระบาทชั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 14
เดียวคู่ ๑ ร่มใบไม้คันหนึ่ง และทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ พลาง
ตรัสว่าลูกรัก เจ้าจงไปยังเมืองตักกศิลา ร่ำเรียนเอาศิลปะมา แล้ว
ทรงส่งไป. พระราชโอรสรับพระราชโองการแล้วถวายบังคมพระ-
ชนกชนนี้แล้วเสด็จออกไป บรรลุถึงเมืองตักกศิลาโดยลำดับ ได้ไป
ถามหาบ้านอาจารย์ก็ในเวลานั้น อาจารย์สอนศิลปะแก่พวกมาณพ
เสร็จแล้วลุกขึ้นมานั่ง ณ ที่ข้างหนึ่งที่ประตูเรือน. พระราชโอรสนั้น
ไปที่บ้านอาจารย์นั้น ได้เห็นอาจารย์นั่งอยู่ในที่นั้น ครั้นแล้วจึงถอด
รองเท้าตรงที่นั้นแหละ ลดร่ม ไหว้อาจารย์แล้วยืนอยู่ อาจารย์นั้น
รู้ว่าพระราชโอรสนั้นเหน็ดเหนื่อยมาจึงให้กระทำอาคันตุกสงเคราะห์.
พระกุมารเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว พักผ่อนอยู่ครู่หนึ่ง จึงเข้าไป
หาอาจารย์ไหว้แล้วยืนอยู่ เมื่ออาจารย์ทิศาปาโมกข์ถามว่า เธอมา
จากไหนน่ะพ่อ จึงกล่าวตอบว่า มาจากเมืองพาราณสี. เธอเป็นลูก
ใคร ? เป็นโอรสของพระเจ้าพาราณสี. พระองค์เสด็จมาด้วยประสงค์
อะไร ? ท่านอาจารย์ข้าพเจ้ามาเพื่อต้องการเรียนศิลปะ พระองค์นำ
ทรัพย์อันเป็นส่วนของอาจารย์มาด้วยหรือเปล่า หรือพระองค์จะเป็น
ธัมมันเตวาสิก. พระราชกุมารนั้นกล่าวว่า ทรัพย์อันเป็นส่วนของ
อาจารย์ข้าพเจ้านำมาด้วยแล้ว ว่าแล้วก็วางถุงทรัพย์พันกหาปณะลงที่
ใกล้เท้าของอาจารย์แล้วก็ไหว้. อันศิษย์ที่เป็นธัมมันเตวาสิก เวลา
กลางวันต้องทำการงานให้อาจารย์ กลางคืนจึงจะได้เรียน ศิษย์ที่ให้
ทรัพย์อันเป็นส่วนของอาจารย์ เป็นเหมือนบุตรคนโตในเรือน เรียน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 15
แต่ศิลปะเท่านั้น. เพราะฉะนั้น อาจารย์แม้นั้น พอมีฤกษ์งามยามดี
แล้ว จึงเริ่มสอนศิลปะแก่พระกุมารโดยพิสดาร. ฝ่ายพระราชกุมาร
ก็เรียนเอาศิลปะด้วยความตั้งใจ วันหนึ่ง ได้ไปอาบน้ำพร้อมกับ
อาจารย์. ครั้งนั้นมีหญิงชราคนหนึ่ง ขัดสีเมล็ดงาให้หมดเปลือกแล้ว
เอามาแผ่ตากไว้ นั่งเฝ้าอยู่. พระกุมารเห็นเมล็ดงาที่ตากไว้ ก็อยาก
จะเสวย จึงหยิบเมล็ดงามาหนึ่งกำมือแล้วเคี้ยวเสวย. หญิงชราคิดว่า
มาณพนี้คงอยากกิน จึงนิ่งเสียมิได้กล่าวประการใด. แม้ในวันรุ่งขึ้น
พระกุมารนั้นก็ได้ทำเหมือนอย่างนั้น ในเวลานั้น. แม้หญิงชรานั้นก็
ไม่กล่าวอะไรกะพระราชกุมารนั้น. แม้ในวันที่ ๓ พระราชกุมารก็ใช้
ทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. คราวนั้น หญิงชราเห็นเข้าจึงประคอง
แขนทั้งสองร้องคร่ำครวญว่า อาจารย์ทิศาปาโมกข์ ใช้ให้พวกศิษย์ของ
ตนปล้นเรา. อาจารย์หันกลับมาถามว่า นี่อะไรกันแน่ หญิงชรา
กล่าวว่า นาย ศิษย์ของท่านเคี้ยวกินเมล็ดงาอ่อนที่ข้าพเจ้าทำไว้ วันนี้
กำมือหนึ่ง เมื่อวานกำมือหนึ่ง เมื่อวันซืนกำมือหนึ่ง ก็เมื่อศิษย์
ของท่านเคี้ยวกินอยู่อย่างนี้ เมล็ดงาที่มีอยู่สองดิฉันเท่าไร ๆ ก็จักหมด
สิ้นไปมิใช่หรือ. อาจารย์ทิศาปาโมกข์กล่าวว่า แม่ อย่าร้องไห้ไปเลย
ฉันจักให้มูลค่าแก่ท่าน. หญิงชรากล่าวว่า ดิฉันไม่ต้องการมูลค่าดอก
นาย ดิฉันขอให้ท่านสั่งสอน โดยอย่าให้กุมารนี้กระทำอย่างนี้อีก
ต่อไป. อาจารย์กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น จงคอยดูนะแม่ แล้วให้มาณพ ๒
คนจับพระราชกุมารนั้นที่แขนทั้ง ๒ ข้างไว้ จึงเอาซีกไม้ไผ่มาเฆี่ยนที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 16
กลางหลัง ๓ ครั้งพร้อมกับสอนว่า เธออย่าได้ทำอย่างนี้อีกต่อไป
พระราชกุมารโกรธอาจารย์ ท่านัยน์ตาแดงมองดูตั้งแต่หลังเท้าจนถึง
ปลายผม. แม้อาจารย์นั้นก็รู้ว่า พระราชกุมารนั้นมองดูเพราะโกรธ
เคือง. พระราชกุมารเรียนศิลปะจบแล้วทำการฝึกซ้อม เก็บโทษที่
อาจารย์นั้นกระทำไว้ในหทัย โดยอาฆาตว่า เราต้องฆ่าอาจารย์ผู้นี้
ครั้นเวลาจะไป จึงไหว้อาจารย์ ทำที่มีความสิเนหาอย่างสุดซึ้งรับเอา
ปฏิญญาว่า ท่านอาจารย์ เมื่อใด ข้าพเจ้าได้ราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี แล้วส่งข่าวมาถึงท่าน เมื่อนั้น ขอให้ท่านพึงมาหา
ข้าพเจ้า กล่าวดังนี้แล้วก็จากไป. ครั้นไปถึงพระนครพาราณสีแล้ว
ถวายบังคมพระชนกชนนี แล้วแสดงศิลปะให้ทอดพระเนตร. พระ-
ราชาตรัสว่า เรามีชีวิตอยู่ทันเห็นบุตรเราขณะมีชีวิตอยู่นี้แหละ จักได้
เห็นความสง่าในราชสมบัติแห่งบุตรของเรา จึงทรงสถาปนาพระราช-
โอรสไว้ในราชสมบัติ. เมื่อพระราชโอรสได้ครอบครองศิริราชสมบัติ
ก็ระลึกถึงโทษที่อาจารย์ได้กระทำไว้ ก็ทรงพระพิโรธ จึงทรงส่งทูตไป
ถึงอาจารย์เพื่อให้มาเฝ้าด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักฆ่าอาจารย์นั้น. ท่าน
อาจารย์คิดว่า ในเวลาที่เขายังหนุ่มแน่นเราจักไม่อาจใช้พระราชานั้น
เข้าใจได้ จึงมิได้ไป ในเวลาที่พระราชานั้นล่วงเข้ามัชฌิมวัย คิดว่า
บัดนี้เราจักอาจทำให้พระราชานั้นเข้าใจได้ จึงได้เดินทางไปยืนอยู่ที่
ประตูพระราชวัง ให้กราบทูลว่าอาจารย์จากเมืองตักศิลามาแล้ว.
พระราชาทรงโสมนัสยินดีรับสั่งให้เรียกพราหมณ์มา พอเห็นอาจารย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 17
นั้นมาเฝ้าพระองค์เท่านั้น ทรงพระพิโรธจนพระเนตรทั้งสองข้างแดง
ตรัสเรียกอำมาตย์ทั้งหลายมาว่า แน่ะผู้เจริญที่ที่อาจารย์เฆี่ยนยังเสียด
แทงเรา อยู่จนทุกวันนี้ อาจารย์บากหน้าพาเอาความตายมาโดยไม่
รู้ว่า เราจักตายวันนี้ อาจารย์ผู้นั้นจะไม่มีชีวิตแล้ว จึงได้ตรัสคาถา ๒
คาถา อันมีในเบื้องต้นว่า :-
การที่ท่านให้จับแขนเราไว้แล้วเฆี่ยน
ตีเราด้วยซีกไม้ไผ่ เพราะเหตุเมล็ดงากำมือ
หนึ่งนั้น ยังฝังใจเราอยู่จนทุกวันนี้. ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านไม่ใยดีในชีวิตของท่านแล้ว
หรือ จึงมาหาเราถึงที่นี่ ผลที่ท่านให้จับแขน
ทั้งสองของเราแล้วเฆี่ยนตีเราถึง ๓ ที่นั้น
จักสนองท่านในวันนี้.
ทุติยาวิภัติในบททั้งสองว่า ย ม และ พาทาย ม ใน
คาถานั้น เพ่งถึงการเฆี่ยนตีและการจับ. ในบทนี้มีอธิบายดังนี้ว่า
ข้อที่ท่านเฆี่ยนตีเรา เพราะเมล็ดงากำมือหนึ่ง และเมื่อเฆี่ยนตียังได้
จักแขนเราแล้วเฆี่ยนตีนั้น ยังฝังใจเราอยู่แม้ทุกวันนี้. บทว่า นนุ
ชีวิเต น รมสิ ความว่า ท่านเห็นจะไม่ยินดีในชีวิตของตน. บทว่า
เยนาสิ พฺราหฺมณาคโต ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุที่ท่าน
มาหาเราในที่นี้. บทว่า ย ม พาหา คเหตฺวาน ความว่า ข้อที่
จับแขนทั้งสองของเรา อธิบายว่า จับที่แขนดังนี้ก็มี. บทว่า ติกฺขตฺตุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 18
อนุตาลยิ ความว่า ท่านเฆี่ยนตีเราด้วยซีกไม้ไผ่ถึง ๓ ครั้ง วันนี้
แหละ ท่านจะได้รับผลแห่งการเฆี่ยนตีเรานั้น. พระราชาเอาความ
ตายมาขู่อาจารย์ดังนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น.
อาจารย์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
อริยชนใดย่อมเกียดกันอนารยชน ผู้
กระทำชั่วด้วยการลงโทษ กรรมของอริยชน
นั้นเป็นการสั่งสอนหาใช่เป็นเวรไม่ บัณฑิต
ทั้งหลายย่อมรู้ชัดข้อนั้นอย่างนี้แล.
บทว่า อริโย ในคาถานั้น เป็นชื่อของผู้สอน. ก็อริยชนนี้
นั้นมี ๔ ประเภท คือ อาจารอริยชน อริยชนผู้มีอาจาระ ๑ ทัสสน-
อริยชน อริยชนที่ควรแลดู ๑ ลิงคอริยชน อริยชนผู้ถือเพศ ๑
ปฏิเวธอริยชน อริยชนผู้รู้แจ้งแทงตลอด ๑ ในอริยชน ๔ ประเภท
นั้น อริยชนผู้ตั้งอยู่ในมารยาทอันประเสริฐ จะเป็นมนุษย์หรือสัตว์
ดิรัจฉานก็ตาม ชื่อว่าอาจารอริยชน. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
ข้าพเจ้าขอสละภัสดาผู้ประพฤติเยี่ยง
อริยชนคนโกง เชิดชูบิณฑะ ที่พามาได้นั้น
แก่ท่าน ขอท่านทั้งสองจงไปตามสบายเถิด.
ส่วนอริยชนผู้ประกอบด้วยรูปและอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส น่าดู
ชื่อว่าทัสสนอริยชน. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 19
ท่านผู้เจริญ ท่านมีนัยน์ตาผ่องใส่ มี
ท่าทางอันประเสริฐ ออกบวชจากตระกูล
อะไร จิตของท่านสละโภคทรัพย์ได้ละหรือ
ผู้มีปัญญาเท่านั้นจึงจะออกจากเรือนบวชได้.
อริยชนผู้เป็นคล้ายสมณะ โดยถือเพศด้วยการนุ่งห่มเที่ยวไป
อยู่ แม้จะเป็นผู้ทุศีล ก็ชื่อว่าลิงคอริยชน ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า :-
บุคคลผู้ทำการนุ่งห่มเหมือนผู้มีพรต
อันงามทั้งหลาย มักเอาหน้า ประทุษร้าย
ตระกูล เป็นคนคะนอง เป็นคนเจ้าเล่ห์ ไม่
สำรวม เป็นคนพร่ำเพ้อ ประพฤติโดยอาการ
เทียม ชื่อว่าเป็นผู้ทำลายหนทาง.
ฝ่ายพระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ชื่อว่าปฏิเวธ-
อริยชน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระพุทธเจ้า พระปัจเจก-
พุทธเจ้า และพุทธสาวกทั้งหลาย เรียกว่า พระอริยะ. บรรดาอริยชน
เหล่านั้น ในที่นี้ พราหมณ์ประสงค์เอาอาจารอริยชนอย่างเดียว.
บทว่า อนริย ได้แก่ ผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก. บทว่า กุพฺพ ได้แก่
ผู้กระทำกรรมของผู้ทุศีล ๕ อย่าง มีปาณาติบาตเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง
อรรถบทนี้เป็นอย่างเดียวกันว่า บุคคลผู้กระทำกรรมอันเป็นเวรและ
ภัย ๕ อันไม่ประเสริฐ คือ เลวทราม ลามก บทว่า โย ความว่า
ก็บรรดากษัตริย์เป็นต้น คนใดคนหนึ่งนั้น บทว่า ทณฺเฑน ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 20
ด้วยเครื่องประหารอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า นิเสธติ ความว่า เฆี่ยนตี
ห้ามปรามว่า อย่าทำกรรมเห็นปานนี้อีกต่อไป. บทว่า สาสน ต น
ต เวร ความว่า ข้าแต่มหาราช ชื่อว่าการเฆี่ยนติกัดกันบุตรธิดา
หรือศิษย์ผู้กระทำสิ่งไม่ควรทำด้วยอาการอย่างนี้ เป็นการสั่งสอนใน
โลกนี้ คือ เป็นการพร่ำสอน เป็นโอวาท หาใช่เป็นการก่อเวรไม่
บทว่า อิติ น ปณฺฑิตาวิทู ความว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้ชัดข้อนั้น
อย่างนี้ทีเดียว. ข้าแต่มหาราช เพราะฉะนั้น แม้พระองค์ก็โปรด
ทรงทราบอย่างนี้ พระองค์ไม่ควรก่อเวรในฐานะเห็นปานนี้ ถ้าแม้
ข้าพระองค์จักไม่ได้ให้พระองค์ทรงสำเนียกอย่างนี้แล้ว ต่อไปภาย
หน้า พระองค์ลักขนม น้ำตาลกรวด แลผลไม้เป็นต้น ติดในโจรกรรม
ทั้งหลาย จะทำการตัดช่องย่องเบา ฆ่าตนในหนทางและฆ่าชาวบ้าน
เป็นต้น โดยลำดับ ถูกจับพร้อมทั้งของกล่าวว่า โจรผู้ผิดต่อพระราชา
แล้วะแสดงต่อพระราชา จักได้รับภัยคืออาญา โดยพระดำรัสว่า พวก
ท่านจงไปลงอาญาอันสมควรแก่โทษของโจรนี้ สมบัติเห็นปานนี้ จัก
ได้มีแก่พระองค์มาแต่ไหน พระองค์ได้ความเป็นใหญ่โดยเรียบร้อย
เพราะอาศัยข้าพระองค์มิใช่หรือ อาจารย์ได้ทำให้พระราชายินยอม
ด้วยประการดังกล่าวมานี้.
ฝ่ายอำมาตย์ทั้งหลายผู้ยินห้อมล้อมอยู่ ได้ฟังถ้อยคำของ
อาจารย์นั้นแล้วจึงกราบทูลว่า ขอเดชะ คำที่อาจารย์กล่าวนั้นเป็น
ความจริง ความเป็นใหญ่นี้เป็นไปของท่านอาจารย์ของพระองค์ ขณะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 21
พระราชาทรงกำหนดได้ถึงคุณของอาจารย์จึงพากล่าวว่า ท่านอาจารย์
ข้าพเจ้าให้ความเป็นใหญ่นี้แก่ท่าน ขอท่านจงรับราชสมบัติเถิด.
อาจารย์ปฏิเสธว่า ข้าพระองค์ไม่ต้องการราชสมบัติ. พระราชาทรง
ส่งข่าวไปยังเมืองตักกศิลา ให้นำบุตรและภรรยาของอาจารย์มา แล้ว
ประทานอิสริยศใหญ่ ทรงตั้งอาจารย์นั้นนั่นแล ให้เป็นปุโรหิต
แล้วตั้งไว้ในฐานเป็นบิดา ตั้งอยู่ในโอวาทของอาจารย์นั้น บำเพ็ญบุญ
ทั้งหลาย มีทานเป็นต้น ได้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประกาศ
อริยสัจ ๔ ทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบอริยสัจ ภิกษุผู้มักโกรธ
ดำรงในอนาคามิผล คนอื่น ๆ ได้เป็นพระโสดาบันและพระสกทาคามี.
พระราชาในคราวนั้น ได้เป็นภิกษุผู้มักโกรธในบัดนี้ ส่วนอาจารย์ใน
คราวนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาติลมุฏฐิชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 22
๓. มณิกัณฐชาดก
ว่าด้วยขอสิ่งที่ไม่ควรขอ
[๓๕๘] ข้าวและน้ำอันไพบูลย์ยิ่งย่อมเกิดขึ้น
แก่ข้าพเจ้าเพราะเหตุแก้วมณีดวงนี้ ข้าพเจ้า
จักให้แก้วมณีดวงนั้นแก่ท่านไม่ได้ ท่านก็
ยิ่งขอหนักขึ้น ใช่แต่เท่านั้น ข้าพเจ้าจักไม่
มาสู่อาศรมของท่านอีกด้วย.
[๓๕๙] ท่านขอแก้วมณีอันเกิดจากหินดวงนี้
ย่อมทำให้ข้าพเจ้าหวาดเสียว เหมือนกับ
ชายหนุ่มมีมือถือดาบอันลับแล้วที่แผ่นหิน
มาทำให้ข้าพเจ้าหวาดเสียว ฉะนั้น ข้าพเจ้า
จักให้แก้วมณีดวงนั้นแก่ท่านไม่ได้ ท่านก็
ยิ่งขอหนักขึ้น ใช้แต่เท่านั้น ข้าพเจ้าจักไม่
มาสู่อาศรมของท่านอีกด้วย.
[๓๖๐] บุคคลรู้ว่าสิ่งของอันใดเป็นที่รักของเขา
ก็ไม่ควรขอสิ่งที่อันนั้น บุคคลย่อมเป็น
ที่เกลียดชังเพราะขอจัด พระยานาคถูก
พราหมณ์ขอแก้วมณี ตั้งแต่นั้นก็มิได้มาให้
พราหมณ์นั้นเห็นอีกเลย.
จบ มณิกัณฐชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 23
อรรถกถามณิกัณฐชาดกที่ ๓
พระศาสดาเมื่ออาศัยเมืองอาฬวีประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์
ทรงปรารภกุฎิการสิกขาบท จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า มมนฺนปาน
ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุชาวเมืองอาฬวีพากันสร้างกุฏิ ด้วยการ
เที่ยวขอ มากด้วยการขอ มากด้วยการทำวิญญัติการขอร้อง พูดคำ
เป็นต้นว่า ท่านทั้งหลายจงให้คน ท่านทั้งหลายจงให้คนชี้แจงแนะนำ
พวกมนุษย์ถูกเบียดเบียนด้วยการขอ ถูกเบียดเบียนด้วยการขอร้อง
เห็นภิกษุเข้าก็หวาดเสียวสะดุ้งตกใจหลีกหนีไป. ครั้งนั้น ท่าน
พระมหากัสสป เข้าไปจนถึงเมื่องอาฬวีแล้วเข้าไปบิณฑบาต. พวก
มนุษย์เห็นแม้แต่พระเถระก็พากันหวาดกลัวเหมือนอย่างนั้น. พระ-
เถระกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตตาหารแล้วจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ถามว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อก่อน เมืองอาฬวีนี้หาภิกษาหารได้ง่าย
เพราะเหตุไร บัดนี้จึงหาภิกษาหารได้ยาก ครั้นได้เหตุการณ์นั้น
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จมาเมืองอาฬวี ประทับอยู่ที่
อัคคาฬวเจดีย์ แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ ในเพราะ
เหตุนั้น พระศาสดาจึงรับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์แล้วทรงสอบถาม
พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี จริงหรือที่มีข่าวว่า พวกเธอให้เขาสร้าง
กุฏิด้วยการเที่ยวขอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 24
จึงทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อ
ว่าการขอนี้ ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของพวกนาคทั้งปวงผู้อยู่ในนาค-
พิภพอันบริบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ จะป่วยกล่าวไปใยถึงพวกมนุษย์ผู้ทำ
ทรัพย์ให้เกิดขึ้นสัก ๑ กหาปณะ ก็ยังยาก เป็นประหนึ่งทำ
เนื้อให้เกิดขึ้นจากหินดังนี้แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดัง
ต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ซึ่งมีทรัพย์
สมบัติมาก. แม้ในเวลาพระโพธิสัตว์นั้นเที่ยววิ่งเล่นได้ สัตว์ผู้มีบุญ
อีกผู้หนึ่งก็บังเกิดในครรภ์มารดาของพระโพธิสัตว์นั้น. พี่น้องทั้งสอง
นั้นเจริญวัยแล้ว มารดาบิดาก็ทำกาลกิริยา จึงมีความสังเวชสลดใจ
พากันบวชเป็นฤๅษีสร้างบรรณศาลาอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา บรรดาฤๅษี
ทั้งสองนั้น บรรณศาลาของฤๅษีผู้พี่ชายอยู่เหนือแม่น้ำคงคา บรรณ-
ศาลาของฤๅษีผู้น้องชายอยู่ใต้แม่น้ำคงคา. อยู่มาวันหนึ่ง พระยานาค
นามว่ามณิกัฏฐะออกจากนาคพิภพ จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยเที่ยวไป
ตามฝั่งแม่น้ำคงคา ไปถึงอาศรมของฤๅษีผู้น้อง จึงไหว้แล้วนั่ง
ณ ส่วนข้างหนึ่ง ต่างกระทำสัมโมทนียกถาได้เป็นผู้สนิทสนมคุ้นเคย
กัน. ไม่อาจเว้นว่างห่างกัน. มณิกัณฐนาคมายังสำนักของพระดาบส
ผู้น้องแล้วนั่งสนทนาปราศัยกันเมื่อเวลาจะไป ด้วยความสิเนหา
พระดาบส จึงเปลี่ยนแปลงอัตตภาพแล้วเอาขนดหางตระหวัดรัดรอบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 25
พระดาบส แล้วแผ่พังพานใหญ่ไว้เหนือศีรษะ. นอนพักอยู่หน่อยหนึ่ง
พอบรรเทาความสิเนหานั้นแล้วจึงคลายร่างไหว้พระดาบแล้วกลับไป
นาคพิภพของตน. เพระความกลัวพระยานาคนั้น พระดาบสจึงซูบ-
ผอมเศร้าหมอง ผิวพรรณไม่ผ่องใส เกิดเป็นโรคผอมเหลือง มีเนื้อตัว
สะพรั่งไปด้วยแถวเส้นเอ็น. วันหนึ่ง จึงไปหาดาบสผู้พี่ชาย. ลำดับ
นั้น ดาบสผู้พี่ชายจึงได้ถามดาบสผู้น้องชายนั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ
เพราะเหตุไรท่านจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณทราม เกิดเป็น
โรคผอมเหลือง เนื้อตัวสะพรั่งด้วยแถวเส้นเอ็น. ดาบสผู้น้องชายจึง
บอกเรื่องราวนั้นแก่ดาบสผู้พี่ชาย ผู้อันดาบสผู้พี่ชายถามว่า ท่าน
ผู้เจริญ ก็ท่านไม่ต้องการให้พระยานาคนั้นมาหรือ จึงตอบว่า ไม่ต้อง
การ เมื่อดาบสผู้พี่ชายกล่าวว่า ก็พระยานาคนั้น เมื่อมายังสำนัก
ของท่านประดับเครื่องประดับอะไรมา จึงกล่าวตอบว่า ประดับ
แก้วมณีมา. ดาบสผู้พี่ชายกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เมื่อพระยานาคนั้นมา
ไหว้ท่านแล้วยังไม่ทันนั่ง จงรีบขอว่า ท่านจงให้แก้วมณี เมื่อขอ
อย่างนั้น พระยานาคนั้นจักไม่รัดท่านด้วยขนดเลย จักไปทันที
วันรุ่งขึ้นพระยานาคนั้นมายืนที่ประตูอาศรมบทยังไม่ทันเข้าไป ท่าน
พึงขอ ในวันที่ ๓ ท่านจงไปยืนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา พอพระยานาคนั้น
ผุดขึ้นจากน้ำ พึงร้องขอทันที เมื่อเป็นอย่างนี้ พระยานาคนั้นจักไม่
มาหาท่านอีกต่อไป. พระดาบสรับคำแล้วกลับไปบรรณศาลาของตน
วันรุ่งขึ้น พระยานาคพอมายืนเท่านั้น ก็ร้องขอว่า ท่านจงให้แก้วมณี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 26
เครื่องประดับตนลูกนั้นแก่เราเถิด. พระยานาคนั้น ไม่นั่ง หนีไปเลย.
ครั้นวันที่สอง พระยานาคนั้นมายืนอยู่ที่ประตูอาศรมบทเท่านั้น
ก็กล่าวว่า เมื่อวานท่านยังไม่ได้ให้แก้วมณีแก่เรา แม้วันนี้ ท่านก็
จงให้ในบัดนี้เถิด. เมื่อเป็นเช่นนั้น พระยานาคนั้นก็มิได้เข้าไปยัง
อาศรมบท รีบหนีไป. ในวันที่สาม พอพระยานาคนั้นโผล่ขึ้นจากน้ำ
เท่านั้นพระดาบสก็กล่าวว่า เมื่อเราร้องขออยู่วันนี้เป็นวันที่สามแล้ว
บัดนี้ ท่านจงให้แก้วมณีดวงนั้นแก่เราเถิด. พระยานาคแม้อยู่ในน้ำ
เมื่อจะห้ามดาบสนั้นมิให้ขอ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
ข้าวและน้ำอันไพบูลย์ยิ่ง ย่อมเกิด
ขึ้นแก่ข้าพเจ้า เพราะเหตุแก้วมณีดวงนี้
ข้าพเจ้าจักให้แก้วมณีดวงนั้นแก่ท่านไม่ได้
ท่านก็ยิ่งขอหนักขึ้น ทั้งข้าพเจ้าก็จักไม่มาสู่
อาศรมของท่านอีกด้วย. เมื่อท่านขอแก้วมณี
อันเกิดแต่หินดวงนี้ ย่อมทำให้ข้าพเจ้าหวาด
เสียว เหมือนชายหนุ่มมีมือถือดาบอันลับ
แล้วที่หิน มาทำให้ข้าพเจ้าหวาดเสียวฉะนั้น
ข้าพเจ้าจักให้แก้วมณีดวงนั้นแก่ท่านไม่ได้
ท่านก็ยิ่งขอหนักขึ้น ทั้งตัวข้าพเจ้าก็จักไม่
มาสู่อาศรมของท่านอีกต่อไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 27
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มมนฺนปาน ได้แก่ โภชนะ
อันเป็นทิพย์มีข้าวยาคูและภัตเป็นต้น. และน้ำดื่มอันเป็นทิพย์มีน้ำ
ปานะ ๘ ชนิด ของข้าพเจ้า. บทว่า วิปุล แปลว่า มาก. บทว่า
อุฬาร ได้แก่ ประเสริฐ คือ ประณีต. บทว่า ตนฺเต ได้แก่
เราจักไม่ให้แก้วมณีดวงนั้นแก่ท่าน. บทว่า อติยาจโกสิ ความว่า
ท่านขอแก้วมณีอันเป็นที่รักที่ชอบใจของข้าพเจ้า สิ้น ๓ วัน เข้าวันนี้
ล่วงกาลและล่วงกำหนดประมาณ ชื่อว่าเป็นผู้ขอเกินไป. บทว่า
น จาปิ เต ความว่า เราจักไม่ให้อย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ แม้
อาศรมของท่านเราก็จักไม่มา. บทว่า. สุสู ยถา ได้แก่ เหมือน
มนุษย์หนุ่ม. บทว่า สกฺขรโธตปาณี แปลว่า ผู้มีฝ่ามือล้างแล้ว
ด้วยน้ำตาลกรวด อธิบายว่า มีมือถือดาบอันลับแล้วที่หินประกอบด้วย
น้ำมัน บทว่า ตาเสสิมา เสล ยาจมาโน ความว่า ท่านเมื่อขอ
แก้วมณีดวงนี้ ทำให้หวาดเสียว เหมือนบุรุษหนุ่มชักดาบมีด้าม
คร่ำทองแล้วกล่าวขู่ว่า จะตัดศีรษะท่าน. พระยานาคนั้นครั้นกล่าว
อย่างนี้แล้วจึงดำน้ำลงไปยังนาคพิภพทีเดียว แล้วไม่กลับมาอีกต่อไป.
ต่อมา พระดาบสนั้นกลับเป็นผู้ซูบผอม เศร้าหมอง ผิวพรรณ
ไม่งดงาม เกิดเป็นโรคผอมเหลือง มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยแถวเส้นเอ็น
นักยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนเพราะไม่ได้เห็นพระยานาคผู้น่าดูตนนั้น. ฝ่าย
ดาบสผู้พี่ชายคิดว่าจักรู้เรื่องราวของดาบสผู้น้องชาย จึงไปยังสำนัก
ดาบสนั้น ได้เห็นดาบสผู้น้องชายนั้นมีโรคผอมเหลืองหนักกว่าเดิม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 28
จึงกล่าวว่า ผู้เจริญ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงเกิดโรคผอมเหลือง
ยิ่งกว่าเดิม ครั้นได้สดับว่า เพราะไม่ได้พบพระยานาคผู้น่าดูตนนั้น
จึงกำหนดได้ว่า ดาบสนี้ไม่อาจเหินห่างพระยานาคได้ จึงกล่าว
คาถาที่ ๓ ว่า :-
บุคคลรู้ว่าสิ่งใดเป็นที่รักของเขาก็ไม่
ควรขอสิ่งนั้น บุคคลย่อมเป็นที่เกลียดชัง
เพราะขอจัด พระยานาคถูกพราหมณ์ขอ
แก้วมณีตั้งแต่นั้นมา พระยานาคก็มิได้มาให้
พราหมณ์นั้นเห็นอีกเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ต ยาเจ ความว่า ไม่พึงขอ
สิ่งนั้น. บทว่า ยสฺส ปิย ชิคึเส ความว่า พึงรู้ว่า สิ่งใดเป็น
ที่รักของบุคคลนั้น. บทว่า เทสฺโส โหติ แปลว่า ย่อมไม่เป็น
ที่รัก. บทว่า อติยาจนาย ได้แก่ เมื่อขอสิ่งของเกินประมาณนั้นแล
ชื่อว่า เพราะขอจัดนั้น. บทว่า อทสฺสนเยว ตทชฺฌคมา ได้แก่
ตั้งแต่นั้นมาก็ไปไม่เห็นอีกเลย.
ก็ดาบสผู้พี่ชายครั้นกล่าวกะดาบสน้องชายอย่างนั้นแล้วจึง
ปลอบโยนว่า ผู้เจริญ ตั้งแต่บัดนี้ไปท่านอย่าเศร้าโศกเสียใจเลย
แล้วกลับไปยังอาศรมของตน. ครั้นในกาลต่อมาอีกดาบสพี่น้องทั้ง
สองนั้นทำฌานและสมาบัติให้บังเกิดแล้ว ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า. พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 29
การขอ ไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของพวกนาคที่อยู่ในนาคพิภพอันสมบูรณ์
ด้วยรัตนะทั้ง ๗ ประการ จะป่วยกล่าวไปใยถึงมนุษย์ทั้งหลายเล่า
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า ดาบสน้องชายในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ส่วน
ดาบสผู้พี่ชายคือเราตถาคต ฉะนี้แล
จบ อรรถกถามณิกัณฐชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 30
๔. กุณฑกกุจฉิสินธวชาดก
รู้ว่าเขาดีก็ต้องเลี้ยงให้สมดี
[๓๖๑] ท่านเคยบริโภคหญ้าที่เป็นเดน เคย
บริโภครำและข้าวตังมาแล้วจนเติบโต นี่เคย
เป็นอาหารของท่านมาแล้ว เพราะเหตุไร
บัดนี้ท่านจึงไม่บริโภคเล่า.
[๓๖๒] ข้าแต่ท่านมหาพราหมณ์ ในที่ใดชน
ทั้งหลายไม่รู้จักสัตว์ โดยชาติ หรือโดยวินัย
ในที่นั้นรำและข้าวดังมีเป็นอันมาก.
[๓๖๓] ก็ท่านรู้จักข้าพเจ้าดีแล้วว่า ม้าตัวนี้เป็น
ม้าอุดมเช่นไร ข้าพเจ้ารู้สึกตนอยู่เพราะอาศัย
ท่านผู้รู้ จึงไม่บริโภครำของท่าน.
จบ กุณฑกกุจฉิสนธวชาดกที่ ๔
อรรถกถากุณฑกกุจฉิสินธวชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระสารีบุตรเถระ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ภุตฺวา ติณปริฆาส
ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 31
ได้ยินว่า สมัยหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ใน
พระนครสาวัตถี ออกพรรษาแล้วเสด็จเที่ยวจาริกแล้วเสด็จกลับมาอีก.
คนทั้งหลายคิดกันว่า จักกระทำอาคันตุกสักการะ จึงถวายมหาทาน
แก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พากันตั้งภิกษุผู้ประกาศ
ธรรมรูปหนึ่งไว้ในพระวิหาร. ภิกษุนั้นจัดภิกษุให้แก่ทายกเท่าจำนวน
ที่ต้องการ. ครั้งนั้น มีหญิงแก่เข็ญใจคนหนึ่ง ได้จัดแจงส่วนทาน-
วัตถุไว้เฉพาะส่วนเดียว เมื่อพระธรรมโฆษกจัดภิกษุให้แก่คนเหล่านั้น
แล้ว ในเวลาสายนางจึงไปยังสำนักของพระธรรมโฆษกแล้วกล่าวว่า
ขอท่านจงจัดภิกษุให้แก่ดิฉันรูปหนึ่งเถิด. พระธรรมโฆษกกล่าวว่า
อาตมาจักภิกษุให้ไปหมดแล้ว แต่พระสารีบุตรเถระยังอยู่ในวิหาร
ท่านจงถวายภิกษาหารแก่ท่านเถิด. หญิงชรานั้นดีใจ. ยืนอยู่ที่ซุ้ม
ประตูพระเชตวันในเวลาพระเถระมา จึงไหว้แล้วรับบาตรจากมือนำ
ไปเรือนนิมนต์ให้นั่งในบ้าน. พวกตระกูลที่มีศรัทธาเป็นอันมากได้
ข่าวว่า หญิงชราคนหนึ่งนิมนต์พระธรรมเสนาบดีให้นั่งในเรือนของ
ตน. ในบรรดาชนเหล่านั้นพระเจ้ากับเสนทิโกศลได้ทรงสดับเหตุนั้น
จึงทรงส่งภัตรและโภชนะพร้อมกับผ้าสาฏก และถุงทรัพย์หนึ่งพันไป
ให้หญิงชรา โดยตรัสสั่งว่า หญิงชราเมื่อจะอังคาสพระผู้เป็นเจ้าของ
เรา จงนุ่งห่มผ้าสาฎกนี้แล้วใช้จ่ายกหาปณะเหล่านี้อังคาสพระเถระ
เถิด. ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านจุลลอนาถบิณฑิกเศรษฐี แม้
นางวิสาขามหาอุบาสิกาก็ส่งไปเหมือนตัวที่พระราชาทรงส่งไป ส่วน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 32
ตระกูลอื่น ๆ ก็ส่งกหาปณะไปตามควรแก่กำลังของตน ๆ คนละร้อย
สองร้อยเป็นต้น. โดยวิธีอย่างนี้ หญิงชราคนนั้นได้ทรัพย์ประมาณ
หนึ่งแสนเพียงวันเดียวเท่านั้น. ฝ่ายพระเถระดื่มยาคูเฉพาะที่หญิง
ชรานั้นถวาย และฉันเฉพาะของเคี้ยว และเฉพาะภัตรที่สุกแล้วที่หญิง
ชรานั้นกระทำ แล้วกล่าวอนุโมทนา ให้หญิงชรานั้นดำรงอยู่ใน
โสดาปัตติผล แล้วได้ไปยังวิหารทีเดียว. ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนาถึง
คุณของพระเถระในโรงธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระธรรม
เสนาบดีได้เป็นที่พึงช่วยปลดเปลื้องหญิงชราผู้เป็นแม่เรือนให้พ้นจาก
ความเข็ญใจ ไม่รังเกียจอาหารที่นางถวาย ฉันได้. พระศาสดาเสด็จ
มาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วย
เรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นที่พึ่งอาศัยของหญิงชราคนนี้ ใน
บัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ ทรงมิได้รังเกียจบริโภคอาหารที่นางถวายใน
บัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้บริโภคเหมือนกัน ดังนี้
แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในเมือง
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพาณิช ในอุตตราปถชนบท.
พ่อค้าม้า ๕๐๐ คน จากอุตตราปถชนบทนำม้ามาขายยังเมืองพาราณสี.
พ่อค้าม้าอีกคนหนึ่ง นำม้า ๕๐๐ ตัวเดินทางไปเมืองพาราณี. ใน
ระหว่างทางมีหมู่บ้านนิคมหนึ่งอยู่ในที่ไม่ไกลเมืองพาราณสี. เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 33
ก่อนได้มีเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติมากอยู่ในหมู่บ้านนั้น นิเวศน์ของ
เขาใหญ่โต แต่ตระกูลนั้นได้ถึงความเสื่อมสลายไปโดยลำดับ. เหลือ
แต่หญิงชราผู้เดียวเท่านั้น. หญิงชราคนนั้นอาศัยอยู่ในนิเวศน์นั้น.
ครั้งนั้น พ่อค้าม้าคนนั้นไปถึงหมู่บ้านนั้นแล้วพูดกะหญิงชราว่า ฉัน
จะให้ค่าเช่าแก่ท่าน แล้วจับจองการอยู่อาศัยในนิเวศน์ของหญิงชรา
นั้น พักม้าทั้งหลายไว้ ณ ส่วนสุดด้านหนึ่ง. ในวันนั้นเองแม่ม้า
อาชาไนยตัวหนึ่งของพ่อค้านั้นตกลูกออกมา. พ่อค้านั้นพักอยู่ ๒-๓
วัน พอให้ม้าทั้งหลายมีกำลัง จึงกล่าวว่า ฉันจักไปเฝ้าพระราชา จึง
พาม้าทั้งหลายไป. ลำดับนั้น หญิงชราได้พูดกับพ่อค้านั้นว่า ท่าน
จงให้ค่าเช่าบ้าน เมื่อพ่อค้ากล่าวว่า ดีล่ะแม่ฉันจะให้ นางจึงกล่าวว่า
ดูก่อนพ่อ เมื่อท่านจะให้ค่าเช่าบ้านแก่ฉัน จงให้ลูกม้าตัวนี้ โดย
หักกับค่าเช่าบ้าน พ่อค้านั้นได้กระทำเหมือนอย่างนั้นแล้วก็หลีกไป.
หญิงชรานั้นเข้าไปตั้งความเป็นเสน่หาในลูกม้านั้นประหนึ่งบุตร เมื่อเป็น
อย่างนั้น ได้ให้ภัตรที่เป็นข้าวตังและหญ้าที่เป็นเดนแก่ลูกม้านั้น
ปรนนิบัติอยู่. ครั้นกาลต่อมาอีก พระโพธิสัตว์พาม้า ๕๐๐ ตัวไป
จับจองการอยู่อาศัยในเรือนนั้น พอได้กลิ่นจากที่ที่ลูกม้าสินธพกินรำ
อยู่ แม้ม้าสักตัวเดียวก็ไม่อาจเข้าไปยังลานของเรือนนั้น. พระโพธิ-
สัตว์จึงถามหญิงชรานั้นว่า ดูก่อนแม่ ในเรือนี้มีม้าบ้างไหม ? หญิง
ชรากล่าวว่า ดูก่อนพ่อ ชื่อว่าม้าตัวอื่นไม่มี แต่เราปรนนิบัติลูกม้า
ตัวหนึ่งเหมือนอย่างลูก ลูกม้าตัวนั้นมีอยู่ในเรือนนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 34
พ่อค้ากล่าวว่า ดูก่อนแม่ ลูกม้าตัวนั้นอยู่ที่ไหน. หญิงชรา
ตอบว่า ไปเที่ยวหากินจ้ะพ่อ. พ่อค้าว่า เวลาใดจักมาล่ะแม่. หญิงชรา
ตอบว่า ต่อเวลาจวนค่ำนั่นแหละ จึงจะมานะพ่อ. พระโพธิสัตว์เมื่อ
จะคอยการมาของลูกม้าสินธพนั้น จึงพักม้าทั้งหลายไว้ภายนอกแล้ว
นั่งอยู่. ฝ่ายลูกม้าสินธพเที่ยวหากินแล้ว ต่อเวลาจวนค่ำนั้นแล จึง
ได้กลับมา. พระโพธิสัตว์เห็นลูกม้าสินธพมีท้องเปื้อนรำ พิจารณา
ลักษณะทั้งหลายแล้วคิดว่า ม้าสินธพตัวนี้มีค่ามาก เราจะให้มูลค่า
แก่หญิงชราแล้ว ถือเอาลูกม้าสินธพจึงจะควร. ฝ่ายลูกม้าสินธพก็
เข้าเรือนยินอยู่ในที่อยู่ของตนเท่านั้น. ขณะนั้น ม้าเหล่านั้นไม่อาจ
เข้าไปยังเรือน. พระโพธิสัตว์พักอยู่ ๒-๓ วัน ทำม้าทั้งหลายให้อิ่ม
หน้าแล้ว เมื่อจะไปจึงกล่าวว่า แม่ท่านจงเอามูลค่าแล้วให้ลูกม้าตัวนี้
แก่ฉัน. หญิงชราว่า ท่านพูดว่าอะไรพ่อ ขึ้นชื่อว่าบุตร คนที่จะขาย
ย่อมไม่มี. พ่อค้าว่า แม่ ท่านให้ลูกม้าตัวนี้กินอะไรปรนนิบัติอยู่.
หญิงชราว่า ดูก่อนพ่อ เราให้กินรำข้าว ข้าวตังและหญ้าที่เป็นเดน
และให้ดื่มข้าวยาคูต้มด้วยรำข้าวปรนนิบัติอยู่. พ่อค้าว่า ดูก่อนแม่
ฉันได้ลูกม้าตัวนี้แล้วจักให้บริโภคโภชนะมีรสอร่อยทั้งก้อน แล้วขึง
เพดานผ้าตรงที่ที่เขายืน แล้วให้ยืนตั่งที่ลาดไว้. หญิงชราว่า ดูก่อนพ่อ
เมื่อเป็นอย่างนั้น บุตรของเราจงเสวยสุขอันเกิดจากโภคะ ท่านจงพา
เอาไปเถิด. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงวางถึงทรัพย์หกพัน โดยเป็น
มูลค่าของเท้าทั้ง ๔ เท้า หางและศีรษะของลูกม้านั้น แห่งละพัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 35
แล้วให้หญิงชรานุ่งห่มผ้าใหม่ ตกแต่งแล้วให้ยืนอยู่ข้างหน้าลูกม้า-
สินธพ. ลูกม้าสินธพนั้นลืมตาดูมารดาหลั่งน้ำตา. ฝ่ายหญิงชราลูบ
หลังลูกม้าอาชาไนยนั้นแล้วกล่าวว่า เราได้ทำการเลี้ยงดูเหมือนดังลูก
เจ้าจงไปเถิดพ่อ. ขณะนั้น ลูกม้าสินธพนั้นได้ไปแล้ว วันรุ่งขึ้น
พระโพธิสัตว์จัดแจงโภชนะมีรส สำหรับลูกม้านั้น คิดว่า เราจัก
ทดลองลูกม้านั้นดูก่อน ลูกม้านั้นจะรู้กำลังของตนหรือไม่ จึงให้
เทข้าวยาคูที่ต้มด้วยรำลงในรางแล้วให้กิน. ลูกม้าสินธพนั้นคิดว่า
เราจักไม่กินโภชนะนี้ จึงไม่ปรารถนาจะดื่มข้าวยาคูนั้น. พระโพธิสัตว์
เมื่อจะทดลองลูกม้าสินธพนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ท่านกินหญ้าที่เป็นเดน กินข้าวตัง
และรำ นี้เป็นอาหารของท่าน บัดนี้ เพราะ
เหตุไรท่านจึงไม่มีโภค.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุตฺวา ติณปริฆาส ความว่า
เมื่อก่อน ท่านกินหญ้าที่เป็นเดน คือเดนหญ้าที่เหลือจากม้าทั้งหลาย
นั้น ๆ กิน ที่หญิงชราให้จนเติบโต. ในบทว่า ภุตฺวา อาจามกุณฺฑก
นี้ ข้าวสุกสุดท้ายที่ติดก้นหม้อ เรียกว่าข้าวตัง รำนั่นแหละ
เรียกว่ากุณฑกะ. ท่านแสดงว่า ท่านกินข้าวตังและรำนั่นจนเติบโต.
บทว่า เอต เต ความว่า ข้าวตังและรำนั่นเป็นโภชนะของท่านใน
กาลก่อน. บทว่า กสฺมาทานิ น ภุญฺชสิ ความว่า เพราะเหตุไร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 36
บัดนี้ ท่านจึงไม่กินข้าวตังและรำนั้น.
ลูกม้าสินธนได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา นอกนี้ว่า :-
ข้าแต่ท่านมหาพราหมณ์ ในที่ใดชน
ทั้งหลายไม่รู้จักสัตว์เลี้ยง โดยชาติ หรือ
โดยวินัย ในที่นั้น รำและข้าวตังมีอยู่เป็น
อันมาก. ท่านก็รู้จักข้าพเจ้าดีแล้วว่า ม้าตัว
นี้เป็นม้าสูงส่งเพียงไร ข้าพเจ้ารู้สึกตัว เพราะ
อาศัยท่านผู้รู้ จึงไม่บริโภครำของท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺถ แปลว่า ในที่ใด. บทว่า
โปส แปลว่า สัตว์. บทว่า ชาติยา วินเยน วา ความว่า
ชนทั้งหลายย่อมรู้อย่างนี้ว่า ม้าตัวนี้สมบูรณ์ด้วยชาติหรือไม่ หรือ
ว่าประกอบด้วยมารยาทหรือไม่. ม้าสินธพเมื่อจะเรียกจึงกล่าวการ
เรียกอย่างเคารพว่า ข้าแต่ท่านมหาพราหมณ์. บทว่า ยาทิโสย ตัด
เป็น ยาทิโส อย แปลว่า ม้านี้เป็นม้าเช่นใด. ม้าสินธพกล่าว
หมายถึงตน. บทว่า ชานนฺโต ชานมาคมฺม ความว่า ข้าพเจ้า
รู้กำลังของตน เพราะอาศัยท่านผู้รู้อยู่นั่นแหละ จึงไม่กินรำใน
สำนักของท่าน ก็ท่านให้ทรัพย์ ๖ พันแล้วพาเอาข้าพเจ้ามา เพราะ
ประสงค์จะให้กินรำ ก็หามิได้.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงปลอบโยนลูกม้าสินธพนั้นว่า
เราทำดังนั้นเพื่อจะทดลองเจ้าอย่าโกรธเลย แล้วให้บริโภคโภชนะดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 37
พาไปพระลานหลวง กันม้า ๕๐๐ ตัวไว้ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่ง แวดวง
ด้วยม่านอันวิจิตร ลาดเครื่องลาดข้างล่าง เบื้องบนดาดเพดานผ้า
ให้ลูกม้าสินธนยืนอยู่ในนั้น. พระราชาเสด็จมาทอดพระเนตรดู
ฝูงม้า ตรัสถามว่า เหตุไฉน ม้าตัวนี้จึงแยกไว้ต่างหาก ได้ทรง
สดับว่า ม้าตัวนี้เป็นม้าสินธพ ถ้าไม่แยกไว้ในฝูงม้าเหล้านี้ก็จักหลุด
หนีไป จึงตรัสถามว่า พ่อมหาจำเริญ ม้าสินธพงดงามว่องไวหรือ ?
พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า งดงามว่องไวดี พระเจ้าข้า. เมื่อพระองค์
ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเราจะดูความว่องไวของม้าสินธพตัวนี้ จึงผูกม้า
นั้นแล้วขึ้นขี่ พลางกราบทูลว่า ขอเดชะ ขอพระองค์โปรดทอด
พระเนตร แล้วให้พวกมนุษย์หลีกออกไปแล้วควบขับไปในพระลาน
หลวง พระลานหลวงทั้งหมดได้เป็นเหมือนแถวม้าติดกันไปหมด.
พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอเดชะ ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตร
กำลังเร็วของลูกม้าสินธพพระเจ้าข้า แล้วปล่อยออกไปอีก แม้คน
สักคนหนึ่งก็แลไม่เห็นมาลูกม้าสินธพนั้น. จึงเอาแผ่นผ้าแดงผูกที่ท้อง
แล้วปล่อยออกไปอีก. พวกมหาชนเห็นแต่แผ่นผ้าแดงที่เขาผูกไว้ที่
แล้วของลูกม้าสินธพนั้นเท่านั้น. ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์จึงปล่อยม้า
สินธพนั้นบนหลังน้ำสระโบกขรณีแห่งหนึ่ง ภายในพระนคร. เมื่อ
ม้าสินธพนั้นบนหลังน้ำในสระโบกขรณีแห่งหนึ่ง ภายในพระนคร. เมื่อ
ม้าสินธพนั้นวิ่งไปบนหลังพื้นน้ำในสระโบกขรณีนั้น แม้แต่ปลายกีบ
ก็ไม่เปียก เมื่อวิ่งควบไปบนใบบัวอีกครั้งหนึ่ง แม้ใบบัวสักใบหนึ่ง
ก็มิได้จมลงในน้ำ. พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงสมบัติแห่งความรวดเร็ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 38
ของลูกม้าสินธพนั้นอย่างนี้แล้ว จึงลง ปรบมือยื่นฝ่ามือเข้าไป. ม้า
กระโดดขึ้นไปยืนบนฝ่ามือ กระทำเท้าทั้งสี่ให้รวมอยู่ในที่เดียวกัน.
ลำดับนั้น มหาสัตว์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช เมื่อข้า-
พระองค์แสดงกำลังเร็วของอัศวโปดกตัวนี้โดยอาการทุกอย่าง เมื่อ
จะทรงเก็บไว้ในแว่นแคว้นอันมีสมุทรเป็นขอบเขต ก็ย่อมไม่เพียงพอ
ที่จะเก็บไว้. พระราชาทรงดีพระทัย ได้ประทานตำแหน่งอุปราช
แก่พระมหาสัตว์ ได้อภิเษกลูกม้าสินธพแล้วตั้งให้เป็นม้ามิ่งมงคล.
ลูกม้าสินธพนั้นได้เป็นที่รักใคร่โปรดปรานของพระราชา. แม้สัก-
การะก็ได้มีเป็นอันมากแก่ลูกม้าสินธพนั้น. แม้ที่อยู่ของลูกม้าสินธพ
นั้น ได้เป็นดุจห้องเรือนอบที่พระราชาทรงตกแต่งประดับประดาไว้
ได้ทำการฉาบทาพื้นด้วยความหอมมีชาติ ๔ ให้ห้อยพวงของหอมและ
พวงดอกไม้ เบื้องบนมีเพดานผ้าวิจิตรงดงามด้วยดาวทอง. ได้แวดวง
ม่านอันวิจิตรไว้รอบด้าน. ตามประทีปน้ำมันหอมไว้เป็นนิตย์. ให้
ตั้งกระถางทองไว้ในที่ที่ลูกม้าสินธพนั้นถ่ายอุจจาระปัสสาวะ บริโภค
โภชนะของเสวยสำหรับพระราชาเป็นนิตย์ทีเดียว. จำเดิมแต่ลูกม้า
สินธพนั้นมาอยู่ ราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ได้อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์
ของพระราชาทั้งนั้น. พระราชาทรงดำรงอยู่ในโอวาทของพระโพธิ-
สัตว์ ทรงบำเพ็ญบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ได้มีสวรรค์เป็นที่ไป
ในเบื้องหน้า.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-
กาศสัจจะประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็นอันมากได้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 39
พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี. หญิงชราในกาล
นั้น ได้เป็นหญิงชราคนนี้แหละ. ม้าสินธพในกาลนั้น ได้เป็น
พระสารีบุตร. พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้
ส่วนพ่อค้าม้า คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากุณฑกกุจฉิสินธวชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 40
๕. สุกชาดก
โทษของการไม่รู้ประมาณ
[๓๖๔] ลูกนกแขกเต้าตัวนั้น รู้ประมาณในการ
บริโภคอยู่เพียงใด ก็ได้สืบอายุและได้เลี้ยง
มารดาบิดาอยู่เพียงนั้น.
[๓๖๕] อนึ่ง ในกาลใด ลูกนกแขกเต้านั้น
กลืนกินโภชนะมากเกินไป ในกาลนั้น ก็ได้
ชื่อว่าไม่รู้จักประมาณในการบริโภค จึงได้
จมลงในมหาสมุทรนั้นเทียว.
[๓๖๖] เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
ความไม่หลงติดอยู่ในโภชนะ เป็นความดี
ด้วยว่าบุคคลไม่รู้จักประมาณ ย่อมจมลงใน
อบายทั้ง ๔ บุคคลผู้รู้จักประมาณแล ย่อม
ไม่จมลงในอบาย ๔.
จบ สุกชาดกที่ ๕
อรรถกถาสุกชาดกที่ ๕
พระศาสดาเมื่อประทับ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
ภิกษุรูปหนึ่งผู้มรณภาพเพราะฉันมากเกินไปจนอาหารไม่ย่อย จึงตรัส
เรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยาว โส มตฺตมญฺาสิ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 41
ได้ยินว่า เมื่อภิกษุนั้นมรณภาพไปอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย
นั่งสนทนากันถึงโทษมิใช่คุณของภิกษุรูปนั้นในโรงธรรมสภาว่า ผู้มี
อายุทั้งหลาย ภิกษุโน้นไม่รู้ประมาณท้องของตน บริโภคมากเกินไป
ไม่สามารถทำอาหารให้ย่อยถึงมรณภาพ. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถาม
ว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่อง
อะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุนี้ก็ตายเพราะ
บริโภคมากเป็นปัจจัย ดังนี้แล้วจึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนกแขกเต้าในประเทศหิม-
พานต์ ได้เป็นพระยาของนกแขกเต้าหลายพัน อยู่ในหิมวันตประเทศ
อันเลียบไปตามมหาสมุทร. พระโพธิสัตว์นั้นมีลูกอยู่ตัวหนึ่ง เมื่อ
ลูกนกนั้นเจริญวัย พระโพธิสัตว์ก็มีจักษุทุรพล. ได้ยินว่า นกแขกเต้า
ทั้งหลายมีกำลังบินเร็ว ด้วยเหตุนั้นในเวลานกแขกเต้าเหล่านั้นแก่
ตัวลง จักษุนั่นแลจึงทุรพลไปก่อน ลูกนกแขกเต้าตัวนั้น ให้บิดา
มารดาอยู่เฉพาะในรัง แล้วนำอาหารมาเลี้ยงดู. วันหนึ่ง ลูกนก
แขกเต้านั้นไปยังที่หากินแล้วจับอยู่บนยอดเขา มองดูสมุทรเห็นเกาะๆ
หนึ่ง. ก็ที่เกาะนั้น มีป่ามะม่วง มีผลหวาน มีสีเหมือนทอง. วัน
รุ่งขึ้น ได้เวลาหากิน ลูกนกแขกเต้านั้นบินไปลงที่ป่ามะม่วงนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 42
ดื่มรสมะม่วงแล้วได้คาบเอาผลมะม่วงสุกมาให้บิดามารดา พระโพธิ-
สัตว์กินผลมะม่วงนั้นแล้วจำรสได้จึงกล่าวว่า ลูกเอ๋ย นี้ผลมะม่วงสุก
ในเกาะโน้นมิใช่หรือ เมื่อลูกนกแขกเต้ารับว่าใช้จ้ะพ่อ จึงกล่าวว่า
ลูกเอ๋ย พวกนกแขกเต้าที่ไปยังเกาะนั้น ชื่อว่าจะรักษาอายุให้ยืนยาว
ได้ไม่มีเลย เจ้าอย่าได้ไปยังเกาะนั้นอีกเลย ลูกนกแขกเต้านั้นไม่เชื่อ
คำของพระโพธิสัตว์นั้น คงไปอยู่อย่างนั้น. ครั้นวันหนึ่ง ลูกนก
แขกเต้าดื่มรสมะม่วงเป็นอันมาแล้วคาบเอามะม่วงสุกมาเพื่อบิดา
มารดาเมื่อบินมาถึงกลางมหาสมุทร เพราะบินเร็วเกินไป ร่างกายก็
เหน็จเหนื่อยถูกความง่วงครอบงำ ทั้งที่หลับอยู่ก็ยังบินมาอยู่นั่นแหละ.
ส่วนมะม่วงสุกที่คาบมาด้วยจงอยปากก็หลุดล่วงไป. ลูกนกแขกเต้า
นั้นได้ละทางที่เคยมาเสียโดยลำดับ จึงตกลงในน้ำ เขาลอยมาตาม
พื้นน้ำจึงจมลงในน้ำ. ที่นั้น ปลาตัวหนึ่งคาบลูกนกแขกเต้านั้น
กินเสีย. เมื่อลูกนกแขกเต้านั้นไม่มาตามเวลาที่เคยมา พระโพธิสัตว์
ก็รู้ได้ว่า เห็นจะตกมหาสมุทรตายเสียแล้ว. ครั้งนั้น เมื่อบิดามารดา
ของเขาไม่ได้อาหารจึงซูบผอมตายไป.
พระศาสดาครั้นทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธกแล้ว ทรงเป็นผู้
ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
ลูกนกแขกเต้าตัวนั้น รู้ประมาณใน
การบริโภคอยู่เพียงใด ก็ได้สืบอายุ และ
ได้เลี้ยงดูบิดามารดาอยู่เพียงนั้น. อนึ่ง ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 43
กาลใด ลูกนกแขกเต้านั้นกลืนกินโภชนะ
มากเกินไป ในกาลนั้น ก็ได้ชื่อว่าไม่รู้จัก
ประมาณในการบริโภค จึงจมลงในมหาสมุทร
นั่นเอง. เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้รู้ประมาณ
ความไม่หลงติดในโภชนะเป็นความดี. ด้วย
ว่า บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณ ย่อมจมลงใน
อบายทั้ง ๔ บุคคลผู้รู้จักประมารเท่านั้น
ย่อมไม่จมลงในอบาย ๔.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว โส ความว่า นกนั้นได้รู้
ประมาณในโภชนะอยู่เพียงใด. บทว่า ตาว อทฺธานมาปาทิ
ความว่า ให้ถึงความเป็นอยู่นาน คือได้อายุ ตลอดกาลเพียงนั้น.
บทว่า มาตรญฺจ นี้เป็นเพียงหัวข้อเทศนา. อธิบายว่า ได้เลี้ยงดู
บิดามารดา. บทว่า ยโต จ โข แปลว่า ก็ในกาลใดแล. บทว่า
โภชน อชฺฌวาหริ ความว่า กลืนกินรสมะม่วง. บทว่า ตโต
แปลว่า ในกาลนั้น. บทว่า ตตฺเถว สสีทิ ความว่า จมลง คือ
ดำลงในสมุทรนั้นนั่นแหละ ถึงความเป็นอาหารของปลา. บทว่า
ตสฺมา มตฺตญฺญุตา สาธุ ความว่า เพราะเหตุที่นกแขกเต้าไม่รู้
ประมาณในโภชนะ จึงตกมหาสมุทรตาย เพราะฉะนั้น ความเป็น
ผู้รู้จักประมาณ กล่าวคือความเป็นผู้ไม่ติดในโภชนะเป็นความดี
อธิบายว่า การรู้ประมาณเป็นความดี. อีกอย่างหนึ่งแม้ความเป็นผู้รู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 44
ประมาณก็เป็นความดี ซึ่งท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุพิจารณา
โดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา ฯลฯ
ด้วยการอยู่อย่างผาสุก และว่า :-
ภิกษุบริโภคของสดหรือของแห้งไม่
ควรให้อิ่มเกินไป เป็นผู้มีท้องพร่อง รู้จัก
ประมาณในอาหาร มีสติพึงงดเว้นเสีย ยังอยู่
๔-๕ คำ ก็จะอิ่ม อย่าบริโภค พึงดื่มน้ำ
แทน เป็นการเพียงพอเพื่อจะอยู่อย่าง
ผาสุก สำหรับภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่น. เวทนา
ของภิกษุนั้นผู้เป็นมนุษย์มีสติอยู่ทุกเวลา ผู้
ได้โภชนะแล้วรู้จักประมาณ ย่อมเป็นเวทนา
ที่เบา อาหารที่บริโภคย่อมค่อย ๆ ย่อยไป
เลี้ยงอายุ.
มีความเป็นผู้ไม่ติดก็เป็นความดี ซึ่งท่านพรรณนาไว้อย่าง
นี้ว่า :-
บุคคลไม่ติดรส ย่อมกลืนกินอาหาร
เพื่อต้องการยังอัตภาพให้เป็นไปเหมือน
บริโภคเนื้อบุตรในหนทางกันดาร เหมือนใช้
น้ำมันหยอดเพลารถฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 45
แต่ในบาลีท่านเขียนว่า อคิทฺธิตา ปาฐะในอรรถกถานี้ไพเราะ
กว่าพระบาลีนั้น. บทว่า อมตฺตญฺญู หิ สีทนฺติ ความว่า ด้วยว่า
บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ กระทำกรรมอันลามกด้วยอำนาจ
ความอยากในรส ย่อมจมลงในอบายทั้ง ๔. บทว่า มตฺตญฺญูว
น สีทเร ความว่า ส่วนชนเหล่าใดย่อมรู้จักประมาณในโภชนะ
ชนเหล่านั้นย่อมไม่จมลงทั้งในทิฏฐธรรม ทั้งในสัมปรายภพ.
พระศาสดาครั้นทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกแล้ว ทรง
ประกาศอริยสัจ ๔ แล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบอริยสัจ ชนเป็น
อันมากได้เป็นพระโสดาบันบ้าง พระสกทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง
พระอรหันต์บ้าง. ภิกษุผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะได้เป็นลูกของพระยา
นกแขกเต้าในกาลนั้น ส่วนพระยานกแขกเต้า คือเราตถาคตฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุกชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 46
๖. ชรูทปานชาดก
ขุดบ่อได้ทรัพย์กลับพินาศเพราะขุดเกิน
[๓๖๗] พ่อค้าทั้งหลายมีความต้องการด้วยน้ำ
พากันขุดบ่อน้ำเก่าได้แร่เหล็ก แร่ทองแดง
ดีบุก ตะกั่ว แก้วมณี เงิน ทอง แก้วมุกดา
และแก้วไพฑูรย์ เป็นอันมาก
[๓๖๘] แต่พวกพ่อค้าเหล่านั้น ไม่ได้ยินดีด้วย
ทรัพย์นั้น ได้พากันขุดให้ลึกยิ่งขึ้น ๆ ในบ่อ
น้ำนั้นมีพระยานาคมีพิษร้ายแรงมีเดช ได้ฆ่า
พวกพ่อค้าเหล่านั้นเสียด้วยเดชแห่งพิษ.
[๓๖๙] เพราะฉะนั้น บุคคลพึงขุดบ่อน้ำเถิดแต่
ไม่ควรขุดให้ลึกเกินไป เพราะว่าบ่อที่ขุดลึก
เกินไปเป็นของลามก ทรัพย์ที่พวกพ่อค้าได้
แล้วด้วยการขุด และชีวิตก็พินาศไปเพราะ
การที่ขุดลึกเกินไป.
จบ ชรูทปานชาดกที่ ๖
อรรถกถาชรูทปานชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พ่อค้าชาวเมืองสาวัตถี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ชรูทปาน
ขณมานา ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 47
ได้ยินว่า พ่อค้าเหล่านั้นซื้อสินค้าในเมืองสาวัตถีบรรทุกเกวียน
ในเวลาจะไปเพื่อต้องการค้าขาย ได้นิมนต์พระตถาคตมาแล้ว ถวาย
มหาทานรับสรณะตั้งอยู่ในศีล ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพพระองค์ทั้งหลายจักเดินทางไกลไปค้าขาย
จำหน่ายสินค้าหมดแล้ว สำเร็จเสร็จการไป ได้กลับมาโดยปลอดภัย
จักถวายบังคมพระองค์อีก ครั้นกราบทูลแล้วก็ออกเดินทางไป. พ่อค้า
เหล่านั้น ได้พบบ่อน้ำเก่าในหนทางกันดาร จึงกล่าวกันว่า ในบ่อนี้
ไม่มีน้ำดื่ม และพวกเราก็กระหายน้ำ จักขุดบ่อนั้น ว่าแล้วก็พากัน
ขุดได้เหล็ก โลหะ และแก้วไพฑูรย์โดยลำดับ พ่อค้าเหล่านั้นเป็น
ผู้สันโดษด้วยทรัพย์นั้นเท่านั้น เอารัตนะเหล่านั้นบรรทุกจนเต็ม
เกวียน กลับมาพระนครสาวัตถีโดยปลอดภัย. พ่อค้าเหล่านั้นเก็บ
ทรัพย์ที่ได้มาแล้วคิดกันว่า พวกเราเดินทางสำเร็จเรียบร้อยแล้วจัก
ถวายทาน จึงนิมนต์พระตถาคต ถวายทาน ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ
ส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลถึงเหตุที่ตนได้ทรัพย์แด่พระศาสดา. พระศาสดา
ตรัสว่า ท่านทั้งหลายแลเป็นอุบาสก สันโดษด้วยทรัพย์นั้น จึงได้
ทรัพย์และชีวิต เพราะความเป็นผู้รู้ประมาณ ส่วนพวกเก่าเป็นผู้ไม่
สันโดษ ไม่รู้จักประมาณ ไม่กระทำตามคำของบัณฑิตทั้งหลาย จึง
ถึงความสิ้นชีวิตไป อันพ่อค้าเหล่านั้นอ้อนวอนอาราธนาแล้ว จึงทรง
นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 48
ราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพ่อค้าในนครพาราณสี พอเจริญ
วัยก็ได้เป็นหัวหน้าพ่อค้าเกวียน พระโพธิสัตว์นั้น ซื้อสินค้าในนคร
พาราณสีบรรทุกเกวียน พาพวกพ่อค้าเป็นอันมากเดินไปทางกันดาร
นั้นเหมือนกัน ได้เห็นบ่อน้ำเหมือนกัน. ณ ที่นั้น พ่อค้าเหล่านั้น
กล่าวกันว่าจักดื่มน้ำ จึงขุดบ่อนั้น ได้ทรัพย์มีแก้วไพฑูรย์เป็นต้น
มากมายโดยลำดับ. พ่อค้าเหล่านั้นได้รัตนะแม้มากมาย ก็ยังไม่สันโดษ
คือยินดีเท่าที่ได้รัตนะนั้น พากันขุดบ่อนั้นหนักยิ่งขึ้นด้วยหมายใจว่า
ในบ่อนี้ จักมีสิ่งแม้อื่นที่ดีกว่ารัตนะแม้นี้. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์
จึงกล่าวกะพ่อค้าเหล่านั้นว่า พ่อค้าทั้งหลายผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่าความโลภ
นี้เป็นมูลแห่งความพินาศ พวกท่านให้ทรัพย์มากแล้ว จงสันโดษด้วย
ทรัพย์มีประมาณเท่านี้เถิด อย่าขุดเกินไปนัก. พ่อค้าเหล่านั้นแม้จะ
ไว้. ลำดับนั้น พระยานาคผู้อยู่ภายใต้บ่อน้ำนั้น เมื่อวิมานของตนถูก
ทำลาย เมื่อก้อนดินและผู้อายุตกใส่ก็โกรธใช้ลมจมูกเป่าพ่อค้าทั้งหมด
ให้ถึงความสิ้นชีวิตไม่มีเหลือ เว้นไว้แต่พระโพธิสัตว์ แล้วออกจาก
นาคพิภพให้เทียมเกวียนบรรทุกรัตนะทั้ง ๗ จนเต็ม ให้พระโพธิสัตว์
นั่งในยานน้อยอันสบาย พวกนาคมาณพขับเกวียนนำพระโพธิสัตว์
ไปยังนครพาราณสี เข้าไปยังเรือนเก็บทรัพย์แล้วก็ไปสู่นาคพิภพ
ของตนตามเดิม. พระโพธิสัตว์จ่ายทรัพย์นั้น กระทำให้ชมพูทวีป
ทั้งสิ้นไม่ต้องไถนา ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ในเวลาสิ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 49
ชีวิตได้ไปเกิดในสวรรค์.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว เป็นผู้ตรัสรู้
ยิ่งเอง ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-
พ่อค้าทั้งหลายผู้มีความต้องการน้ำ
พากันขุดบ่อน้ำเก่า ได้แร่เหล็ก แร่ทองแดง
ดีบุก ตะกั่ว แก้วมณี เงินทอง แก้วมุกดา
และแก้วไพฑูรย์ เป็นอันมาก แต่พ่อค้า
เหล่านั้นไม่ได้ยินดีด้วยทรัพย์นั้น พากันขุด
ลึกยิ่งขึ้น ๆ ในบ่อน้ำมัน มีพระยานาคมีพิษ
ร้ายแรง มีเดช ได้ฆ่าพ่อค้าเหล่านั้นเสียด้วย
เดชเเห่งพิษ. เพราฉะนั้น บุคคลพึงขุดบ่อ
น้ำเถิด แต่ไม่ควรขุดให้ลึกเกินไป เพราะบ่อ
ที่ขุดลึกเกินไปเป็นของลามก ทรัพย์ที่พวก
พ่อค้าได้แล้วด้วยการขุดก็พินาศไป เพราะ
การขุดลึกเกินไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อย ได้แก่ โลหะสีดำ (เหล็ก).
บทว่า โลห ได้แก่ โลหะสีแดง (ทองแดง) บทว่า มุตฺตา ได้แก่
แก้วมุกดาเป็นต้น. บทว่า เต จ เตน อสนฺตุฏฺา ความว่า ก็พ่อค้า
เหล่านั้นไม่ได้ยินดีด้วยทรัพย์นั้น. บทว่า เต ตตฺถ ได้แก่ พ่อค้า
เหล่านั้น ในบ่อน้ำนั้น. บทว่า เตชสี ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 50
เดชแห่งพิษ. บทว่า เตชสา หนิ ได้แก่ ฆ่าด้วยเดชแห่งพิษ บทว่า
อติกฺขาเตน นาสิต ความว่า เพราะขุดลึกเกินไป ทรัพย์สละชีวิต
นั้น จึงพินาศไป.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พระยานาคในกาลนั้น ได้เป็นพระสารีบุตรในบัดนี้
ส่วนหัวหน้าพ่อค้าเกวียนคือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาชรูทปานชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 51
๗. คามณิจันทชาดก
ลิงเป็นสัตว์ไม่รู้จักเหตุ
[๓๗๐] สัตว์ตัวนี้ไม่ฉลาดที่จะทำเรือน มีปกติ
หลุกหลิก หนังที่หน้าย่น พึงประทุษร้ายของ
ที่เขาทำไว้แล้ว ตระกูลสัตว์นี้มีอย่างนั้นเป็น
ธรรมดา.
[๓๗๑] ขนอย่างนี้ ไม่ใช่ขนของสัตว์ที่มีความ
คิดฉลาด ลิงตัวนี้จะทำให้ผู้อื่นปลอดโปร่งใจ
ไม่ได้ พระราชบิดาของเราทรงพระนามว่าชน-
สันธนะ ได้ตรัสสอนไว้ว่า ธรรมดาลิงย่อม
ไม่รู้จักเหตุอันใดอันหนึ่ง.
[๓๗๒] สัตว์เช่นนี้ จะพึงเลี้ยงดูมารดาบิดา
หรือพี่ชายพี่สาวของตนไม่ได้เลย คำสอนนี้
พระราชบิดาของเราได้ทรงสั่งสอนไว้อย่างนี้.
จบ คามณิจันทชาดกที่ ๗
อรรถกถาคามณิจันทชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การสรรเสริญปัญญา จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า นาย ฆราน
กุสโล ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 52
ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายนั่งสรรเสริญพระปัญญาของพระทศพล
ในโรงธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีพระปัญญามาก
มีพระปัญญาหนา มีพระปัญญารื่นเริง มีพระปัญญาไว มีพระปัญญา
กล้าแข็ง มีพระปัญญาชำแรกกิเลส ก้าวล่วงโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
ด้วยพระปัญญา พระศาสดาเสร็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายบัดนี้
พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้น
กราบทูลให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น
แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็มีปัญญาเหมือนกัน แล้วทรงน่าเอาเรื่องใน
อดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่า ชนสันธะ ครองราช-
สมบัติอยู่ในนครพาราณสี. พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของ
พระอัครมเหสีของพระราชานั้น. หน้าของพระโพธิสัตว์นั้น เกลี้ยง
เกลา บริสุทธิ์ดุจพื้นแว่นทองคำ ถึงความงามอันเลิศยิ่ง. ด้วยเหตุนั้น
ในวันตั้งชื่อ ญาติทั้งหลายจึงตั้งชื่อของพระโพธิสัตว์นั้นว่า อาทาส-
มุขกุมาร. ภายใน ๗ ปีเท่านั้น พระชนกให้กุมารนั้นศึกษาพระเวท
ทั้ง ๓ และสิ่งทั้งปวงที่จะพึงทำในโลก แล้วได้สวรรคตในเวลาที่พระ-
กุมารนั้นมีอายุ ๗ ขวบ อำมาตย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระศพ
ของพระราชาด้วยบริวารใหญ่โต แล้วถวายทานเพื่อผู้ตาย ในวันที่ ๗
ประชุมกันที่พระลานหลวงหารือกันว่า พระกุมารยังเด็กเกินไป ไม่
อาจอภิเษกให้ครองราชย์ได้ พวกเราจักทดลองพระกุมารนั้นแล้วจึง
ค่อยอภิเษก. วันหนึ่ง อำมาตย์เหล่านั้นให้ตกแต่งพระนคร จัดแจง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 53
สถานที่วินิจฉัย ให้แต่งตั้งบัลลังก์แล้วไปเฝ้าพระกุมารทูลว่า ขอเดชะ
ควรเสด็จไปยังสถานที่วินิจฉัย (ตัดสินความ). พระกุมารรับคำแล้ว
เสด็จไปด้วยบริวารเป็นอันมาก ประทับนั่งบนบัลลังก์. ในเวลาที่พระ-
กุมารนั้นประทับนั่งแล้ว อำมาตย์เหล่านั้นให้เอาลิงตัวหนึ่งซึ่งเดิน ๒
เท้าได้ ให้แต่งเป็นเพศอาจารย์ผู้มีวิชาดูที่ แล้วนำไปยังสถานที่วินิจฉัย-
ความ ทูลว่า ขอเดชะ บุรุษผู้นี้เป็นอาจารย์รู้วิชาดูที่ ในสมัยของ
พระชนกผู้มหาราช ย่อมรู้คุณ-โทษในที่มีรัตนะ ๗ ภายในพื้นดิน
ด้วยวิชาอันคล่องแคล่ว สถานที่ตั้งวังของราชตระกูล บุรุษผู้นี้แหละ
จัดการ ขอพระองค์จงสงเคราะห์บุรุษผู้นี้ โปรดสถาปนาไว้ในฐานันดร
เถิด. พระกุมารแลดูลิงนั้นทั้งเบื้องล่างและเบื้องบนก็ทรงทราบว่า ผู้นี้
ไม่ใช่มนุษย์ ผู้นี้เป็นลิง แล้วทรงดำริว่า ธรรมดาลิงย่อมรู้แต่จะ
ทำลายสิ่งที่เขาทำไว้ ย่อมไม่รู้จะทำหรือจัดสิ่งที่เขายังไม่ได้ทำ จึงกล่าว
คาถาแรกแก่พวกอำมาตย์ว่า :-
สัตว์ตัวนี้ไม่ฉลาดที่จะทำเรือนมีปกติ
หลุกหลิก หนังที่หน้าย่น พึงประทุษร้ายของ
ที่เขาทำไว้แล้ว ตระกูลสัตว์นี้ มีอย่างนี้เป็น
ธรรมดา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาย ฆราน ภุสโล ความว่า
สัตว์นี้ไม่ฉลาดเรื่องบ้านเรือน คือไม่เฉลียวฉลาดเพื่อจะจัดหรือทำ
เรือน. บทว่า โลโล แปลว่า มีกำเนิดโลเล. บทว่า วลีมุโข
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 54
ความว่า ชื่อว่ามีหน้าย่น เพราะมีรอยย่นที่หน้า. บทว่า เอวธมฺมมิท
กุล ความว่า ธรรมดาตระกูลลิงนี้ มีสภาวะอย่างนี้คือประทุษร้ายสิ่ง
ที่เขาทำไว้ให้พินาศ.
อำมาตย์ทั้งหลาย ทูลว่า ขอเดชะ จักเป็นดังพระดำรัสอย่างนั้น
แล้วนำลิงนั้นออกไป พอล่วงไปวันสองวัน ก็ประดับลิงตัวนั้นแหละ
อีกแล้วนำไปยังที่วินิจฉัยอรรถคดี กราบทูลว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็น
อำมาตย์ผู้วินิจฉัยอรรถคดี เมื่อครั้งพระชนกผู้มหาราช กระบวนการ
วินิจฉัยของท่านผู้นี้เป็นไปเรียบร้อยดี ควรที่พระองค์จะทรงอนุ-
เคราะห์ท่านผู้นี้ ให้ทำหน้าที่วินิจฉัยอรรถคดีต่อไป. พระกุมารแลดู
แล้วรู้ว่าคนที่เป็นมนุษย์สมบูรณ์ มีความคิดย่อมไม่มีขนเห็นปานนี้
แม้ผู้นี้คงเป็นลิงที่ไม่มีความคิด จักไม่สามารถทำกิจในการวินิจฉัย
อรรถคดีได้ จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-
ขนอย่างนี้ ไม่ใช่ขนของสัตว์ที่มี
ความคิด ลิงตัวนี้จะทำให้ผู้อื่นปลอดโปร่งใจ
ไม่ได้ พระราชบิดาของเราทรงพระนามว่า
ชนสันธะ ได้ตรัสสอนไว้ว่า ธรรมดาลิง
ย่อมไม่รู้จักเหตุอันใดอันหนึ่ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นยิท จิตฺตวโต โลม ความว่า
ขนหยาบในสรีระของสัตว์นี้ มิได้มีแก่ผู้มีความคิดอันประกอบด้วย
ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ก็ธรรมดาสัตว์เดรัจฉาน ชื่อว่าไม่มีความคิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 55
ด้วยความคิดตามปกติย่อมไม่มี. บทว่า นาย อสฺสาสิโก ความว่า
สัตว์นี้ชื่อว่าทำผู้อื่นให้ปลอดโปร่งใจไม่ได้ เพราะไม่สามารถเป็นที่พึ่ง
อาศัยหรือทำการพร่ำสอนให้ผู้อื่นเบาใจได้. บทว่า มิโค แปลว่า
ลิง. ด้วยบทว่า สตฺถ เม ชนสนฺเธน นี้ แสดงว่า ข้อนี้ พระเจ้า
ชนสันธะ ผู้พระชนกของเราสอนไว้ คือ ตรัสไว้ ได้แก่ ประทาน
อนุศาสนีไว้อย่างนี้ว่า ธรรมดาลิงย่อมไม่รู้เหตุและมิใช่เหตุ. บทว่า
นาย กิญฺจิ วิชานติ ความว่า เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ พึงตกลงได้ว่า
ธรรมดาว่าวานรนี้ย่อมไม่รู้เหตุการณ์อะไร ๆ แต่ในบาลีเขียนไว้ว่า
นาย กิญฺจิ น ทูสเย แปลว่า ลิงนี้ไม่พึงประทุษร้ายอะไร ๆ หามิได้.
คำนั้นไม่มีในอรรถกถา.
อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังพระดำรัส แม้นี้แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ
จักเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วนำลิงนั้นออกไป วันหนึ่ง ประดับ
ประดาลิงตัวนั้นแหละ แล้วนำมายังสถานที่วินิจฉัยอรรถคดีอีก
กราบทูลว่า ขอเดชะ เมื่อครั้งพระชนกผู้มหาราช บุรุษผู้นี้ได้บำเพ็ญ
หน้าที่บำรุงบิดามารดา เป็นผู้กระทำความอ่อนน้อมต่อผู้เจริญใน
ตระกูล พระองค์สมควรอนุเคราะห์บุรุษผู้นี้. พระกุมารมองดูลิง
ตัวนั้นออกแล้วทรงดำริว่า ธรรมดาลิงทั้งหลายมีจิตใจกลับกลอก ไม่
สามารถทำการงานเห็นปานนี้ได้ จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
สัตว์เช่นนั้น จะพึงเลี้ยงดู บิดามารดา
หรือพี่ชายพี่สาวของตนไม่ได้ คำสอนนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 56
พระเจ้าทศรกผู้ชนกของเราสั่งสอนไว้.
บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า ภาตร ภคินึ สก ได้แก่ พี่ชายหรือ
พี่สาวของตน. แต่ในบาลีเขียนว่า สข ก็คำนั้น ในอรรถกถาท่าน
วิจารณ์ไว้ว่า เมื่อกล่าวว่า สภ ย่อมกินความถึงพี่ชายและพี่สาวของตน
เมื่อกล่าวว่า สข ได้ความหมายเฉพาะสหาย. บทว่า ภเรยฺย แปลว่า
พึงพอกเลี้ยง. บทว่า ตาทิโส โปโส ความว่า สัตว์ชาติลิงที่เห็น
กันอยู่เช่นนั้น พึงเลี้ยงดูไม่ได้ บทว่า สิฏฺ ทสรเถน เม ความว่า
พระชนกของเราทรงสั่งสอนไว้อย่างนี้. จริงอยู่พระชนกของพระกุมาร
นั้น เขาเรียกว่า พระเจ้าชนสันธะ เพราะทรงสงเคราะห์ชนด้วย
สังคหะวัตถุ ๔ ประการ เรียกว่า พระเจ้าทศรถ เพราะทรงกระทำกิจ
ที่จะพึงกระทำด้วยรถ ๑๐ คัน ด้วยรถของพระองค์เพียงคันเดียว
เท่านั้น. เพราะได้สดับโอวาทเห็นปานนั้นจากสำนักของพระชนก
พระองค์นั้น พระกุมารจึงตรัสอย่างนั้น.
อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า จักเป็นดังพระดำรัสอย่างนั้น
พระเจ้าข้า แล้วนำลิงนั้นออกไป ได้ตกลงกันว่า พระกุมารเป็นบัณฑิต
จักสามารถครองราชสมบัติได้ จึงอภิเษกพระโพธิสัตว์ให้ครองราช
สมบัติ แล้วให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องไปในพระนครว่า เป็นอาณาจักร
ของพระเจ้าอาทาสมุขแล้ว. จำเดิมแต่นั้นมา พระโพธิสัตว์ทรงครอง
ราชสมบัติโดยธรรม โดยสม่ำเสมอ แม้ความที่พระเจ้าอาทาสมุขนั้น
เป็นบัณฑิตเฉลียวฉลาดก็แพร่ไปตลอดทั่วชมพูทวีป. ก็เพื่อจะแสดง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 57
ความที่พระองค์เป็นบัณฑิต ได้นำเอาเรื่อง ๑๔ เรื่องนี้มากล่าวไว้ คือ:-
เรื่องโค ๑ เรื่องบุตร ๑ เรื่องม้า ๑
เรื่องช่างสาน ๑ เรื่องนายบ้านส่วย ๑ เรื่อง-
หญิงแพศยา ๑ เรื่องหญิงรุ่นสาว ๑ เรื่องงู ๑
เรื่องเนื้อ ๑ เรื่องนกกระทา ๑ เรื่องรุกข-
เทวดา ๑ เรื่องพระยานาค ๑ เรื่องดาบส
มีตบะ ๑ เรื่องพราหมณ์มาณพ ๑
ในนิทาน ๑๔ เรื่องนั้น มีเรื่องราว ตามลำดับดังต่อไปนี้
เมื่อพระโพธิสัตว์อภิเษกอยู่ในราชสมบัตินั้น บุรุษผู้หนึ่งชื่อ
คามณิจันท์ ผู้เคยเป็นบาทมูลิกาของพระเจ้าชนสันธะ คิดอย่างนี้ว่า
ธรรมดาว่าความเป็นพระราชานี้ ย่อมจะงดงามกับคนผู้มีวัยเสมอกัน
ส่วนเราเป็นคนแก่จักไม่เหมาะที่จะบำรุงพระกุมารหนุ่ม เราจักทำ
กสิกรรมเลี้ยงชีวิตอยู่ในชนบท. เขาจึงออกจากพระนครไปยังที่ไกล
ประมาณ ๓ โยชน์ สำเร็จการอยู่ในบ้านแห่งหนึ่ง แต่เขาไม่มีแม้แต่
โคสำหรับจะทำกสิกรรม. เมื่อฝนตกเขาจึงขอยืมโค ๒ ตัว กับสหาย
คนหนึ่งไถนาอยู่ ตลอดทั้งวันแล้วให้โคกินหญ้าแล้วได้ไปยังเรือนเพื่อ
จะมอบโคทั้ง ๒ ตัวให้กับเจ้าของ. ขณะนั้น เจ้าของโคกำลังนั่งบริโภค
อาการอยู่กลางบ้านพร้อมกับภรรยา. ฝ่ายโคทั้งสองตัวก็เข้าไปยังบ้าน
ด้วยความคุ้นเคย. เมื่อโคเหล่านั้นเข้าไป สามียกถาด ภรรยาเอาถาด
ออกไป. นายคามณิจันท์มองดูด้วยคิดว่าสามีภรรยาทั้งสองนี้จะเชื้อเชิญ
เรารับประทานข้าว จึงยังไม่มอบโคให้รีบกลับไปเสีย. ในเวลา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 58
กลางคืน พวกโจรตัดคอกลักโคเหล่านั้นแหละไปเสีย. เจ้าของโคเข้าไป
ยังคอกโคแต่เช้าตรู่ ไม่เห็นโคเหล่านั้น แม้จะรู้อยู่ว่าถูกพวกโจรลักไป
ก็เข้าไปหานายคามณิจันท์นั้นด้วยตั้งใจว่า จักปรับเอาสินไหมแก่นาย
คามณิจันท์จึงกล่าวว่า ผู้เจริญ ท่านจงมอบโคทั้งสองให้เรา นาย
คามณิจันท์ว่า โคเข้าบ้านไปแล้วมิใช่หรือ. เจ้าของโคว่า ท่านมอบโค
เหล่านั้นแก่เราแล้วหรือ. นายคามณิจันท์ว่า ยังไม่ได้มอบ. เจ้าของโค
กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นเรื่องนี้เป็นความอาญาสำหรับท่านๆ จงมา จริงอยู่
ในชนบทเหล่านั้นเมื่อใคร ๆ ยกเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นจะเป็นก้อนกรวด
หรือชิ้นกระเบื้องก็ตาม แล้วกล่าวว่า นี้เป็นความอาญาสำหรับท่าน
ท่านจงมา ดังนี้ ผู้ใดไม่ไปก็ย่อมลงอาญาแก่ผู้นั้น เพราะฉะนั้นนาย
คามณิจันท์นั้น พอได้ฟังว่าเป็นความอาญา ก็ออกไปทันที. เขาไปยัง
ราชสกุลกับเจ้าของโคนั้น ไปถึงบ้านอันเป็นที่อยู่ของสหาย เข้าบ้าน
หนึ่ง จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าหิวจัด ท่านจงรออยู่ที่นี้แหละ
จนกว่าจะเข้าไปยังบ้าน รับประทานอาหารแล้วกลับมา ว่าแล้วก็ได้
ไปยังบ้านของสหาย. ส่วนสหายของเขาไม่อยู่บ้าน หญิงสหายเป็นเข้า
ก็กล่าวว่า นายอาหารที่หุงต้มสุกไม่มี ท่านจงรอสักครู่ดิฉันจักหุงให้
ท่านเดี๋ยวนี้แหละ แล้วรีบขึ้นฉางข้าวสารทางพะอง จึงพลัดตกไปที่
พื้นดิน. ครรภ์ของนางพอดีได้ ๗ เดือนก็ตกไปในขณะนั้นนั่นเอง
ขณะนั้น สามีของนางกลับมาเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า ท่านประหาร
ภรรยาของเราทำให้ครรภ์ตก นี้เป็นความอาญาของท่าน นางจงมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 59
แล้วพานายคามณิจันท์นั้นออกไป. จำเดิมแต่นั้น คนทั้งสองเดินไป
ให้นายคามณิจันท์อยู่กลาง. ครั้งนั้น ที่ประตูบ้านแห่งหนึ่ง คนเลี้ยงม้า
ผู้หนึ่งไม่สามารถต้อนม้าให้กลับบ้าน. ฝ่ายม้าก็เดินไปในสำนักของคน
เหล่านั้น คนเลี้ยงม้าเห็นนายคามณิจันท์จึงกล่าวว่า ลุงคามณิจันท์
ช่วยเอาอะไร ๆ ปาม้าตัวนี้ให้กลับทีเถิด. นายคามณิจันท์จึงเอาหิน
ก้อนหนึ่งขว้างไป ก้อนหินนั้นกระทบขาม้าหักเหมือนท่อนไม่ละหุ่ง
ฉะนั้น. ลำดับนั้น คนเลี้ยงม้าได้กล่าวกะนายคามณิจันท์ว่า ท่านทำ
ขาม้าของเราหัก นี้เป็นความอาญาสำหรับท่านแล้วจับตัวไป. ฝ่ายนาย
คามณิจันท์นั้น เมื่อถูกคนทั้ง ๓ นำไป จึงคิดว่า คนเหล่านี้จักแสดง
เราแก่พระราชา แม้มูลค่าราคาโค เราก็ไม่อาจให้ได้ จะป่วยกล่าวใย
ถึงอาญาที่ทำให้ครรภ์ตก ก็เราจักได้มูลค่าม้ามาแต่ไหน เราตายเสีย
ประเสริฐกว่า. เขาเดินไปได้เห็นภูเขาลูกหนึ่งซึ่งมีหน้าผาชันข้างหนึ่ง
ณ ที่ใกล้ทางในดง ระหว่างทาง. ช่างสาน ๒ คนพ่อลูกสานเสื่อ
ลำแพนอยู่ในร่มเงาของภูเขานั้น. นายคามณิจันท์กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะ
ถ่ายอุจจาระ ท่านทั้งหลายจงรออยู่ที่นี้แหละสักครู่จนกว่าข้าพเจ้าจะมา
แล้วขึ้นไปยังภูเขานั้น กระโดดลงไปทางด้านหน้าผา ตกลงไปบนหลัง
ช่างสานผู้เป็นพ่อ ช่างสานผู้เป็นพ่อนั้นถึงแก่ความตายทันที นายคามณิ-
จันท์ไม่ตาย ลุกขึ้นได้ก็ไปเสีย. ช่างสานผู้บุตรกล่าวว่า ท่านเป็น
โจรฆ่าพ่อฉัน นี้เป็นความอาญาสำหรับท่าน แล้วจับมือนายคามณิ-
จันท์ลากออกจากพุ่มไม้ เมื่อนายคามณิจันท์พูดว่า นี่อะไรกัน จึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 60
กล่าวว่า เจ้าเป็นโจรฆ่าพ่อของข้า. ตั้งแต่นั้นมา ชนทั้ง ๔ คน ให้
นายคามณิจันท์อยู่กลางพากันห้อมล้อมไป.
ครั้นไปถึงประตูบ้านอีกแห่งหนึ่ง นายบ้านส่วยคนหนึ่งเห็น
นายคามณิจันท์ จึงกล่าวว่า ลุงคามณิจันท์ ท่านจะไปไหน ? เมื่อนาย
คามณิจันท์กล่าวว่า จะไปเฝ้าพระราชา จึงกล่าวว่า ท่านจักไปเฝ้าพระ-
ราชาจริงแล้ว ข้าพเจ้าประสงค์จะถวายสาสน์แด่พระราชา ท่านจักนำไป
ได้ไหม. นายคามณิจันท์ว่า ได้ฉันจักนำไปให้. นายบ้านส่วยกล่าวว่า
เมื่อก่อนตามปกติ ข้าพเจ้ามีรูปงาม มีทรัพย์ สมบูรณ์ด้วยยศศักดิ์
ไม่มีโรค มาบัดนี้ ข้าพเจ้าเป็นคนเข็ญใจ เกิดโรคผอมเหลือง ท่าน
จงทูลถามพระราชาว่าในเรื่องนั้นเป็นเพราะเหตุไร ? ได้ยินว่าพระราชา
เป็นผู้ฉลาด พระองค์จักตรัสบอกแก่ท่าน ท่านจงบอกพระดำรัสของ
พระองค์แก่ข้าพเจ้าด้วย. นายคามณิจันท์รับว่าได้. ลำดับนั้น หญิง
คณิกาคนหนึ่ง อยู่ที่ประตูบ้านแห่งหนึ่งข้างหน้า เห็นนายคามณิจันท์
นั้น จึงกล่าวว่า ลุงคามณิจันท์ ท่านจะไปไหน ? เมื่อนายคามณิจันท์
บอกว่าจะไปเฝ้าพระราชา จึงกล่าวว่า เขาลือว่า พระราชาเป็นบัณฑิต
ผู้ฉลาด ท่านจงนำข่าวสาสน์ของเราไปด้วย แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อ
ก่อน ข้าพเจ้าได้ค่าจ้างมาก มาบัดนี้ ไม่ได้แม้แต่หมากพลู ใคร ๆ
ผู้จะมายังสำนักของเรา ไม่มีเลย ท่านจงทูลถามพระราชาว่า ในเรื่อง
นั้นเป็นเพราะเหตุไรแล้วพึงกลับมาบอกแก่ข้าพเจ้า. ลำดับนั้น หญิง
สาวคนหนึ่งที่ประตูบ้านแห่งหนึ่งข้างหน้า เห็นนายคามณิจันท์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 61
แล้วได้ถามเหมือนอย่างนั้น แล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่อาจอยู่ในเรือน
ของสามี ทั้งไม่อาจอยู่ในเรือนของตระกูล ท่านจงทูลถามพระราชาว่า
ในเรื่องนั้น เป็นเพราะเหตุอะไร ? แล้วพึงบอกแก่ข้าพเจ้า. ครั้นใน
กาลต่อมาจากนั้น มีงูอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง ใกล้ทางใหญ่ เห็น
นายคามณิจันท์นั้นจึงถามว่า ท่านคามณิจันท์ จะไปไหน ? เมื่อเขา
บอกว่า จะไปเฝ้าพระราชา จึงกล่าวว่า ข่าวว่า พระราชาเป็นบัณฑิต
ท่านจงนำข่าวสาสน์ของข้าพเจ้าไปด้วย แล้วกล่าวว่า ในเวลาไปหากิน
ข้าพเจ้าถูกความหิวแผดเผา มีร่างกายเหี่ยวแห้ง เมื่อจะออกจากจอม
ปลวก ร่างกายเต็มคับปล่อง เคลื่อนตัวออกด้วยความยากลำบาก แต่
ครั้นเที่ยวหากินแล้วกลับมา เป็นผู้อิ่มหนำ มีร่างกายอ้วนพี เมื่อจะ
เข้าไป ไม่กระทบกระทั่งข้างปล่องเลย เข้าไปอย่างง่ายดาย ท่านจง
ทูลถามพระราชาว่า ในเรื่องนั้น เป็นเพราะเหตุไร ? แล้วพึงบอกแก่
ข้าพเจ้า. ลำดับนั้น เนื้อตัวหนึ่งข้างหน้าเห็นนายคามณิจันท์นั้นจึงถาม
เหมือนอย่างนั้นแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่อาจไปกินหญ้าในที่อื่นได้
สามารถกินอยู่ในที่โคนต้นไม้แห่งเดียวเท่านั้น ท่านพึงทูลถามพระ-
ราชาว่า ในเรื่องนั้น เป็นเพราะเหตุไร ? ครั้นต่อมา มีนกกระทา
ตัวหนึ่งข้างหน้า เห็นนายคามณิจันท์นั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้า
จับอยู่ที่จอมปลวกแห่งเดียวเท่านั้น สามารถอยู่ได้อย่างสบายใจ จับอยู่
ที่อื่น ไม่สามารถจะอยู่ได้ ท่านพึงทูลถามพระราชาว่า ในเรื่องนั้น
เป็นเพราะเหตุไร ? ลำดับนั้น รุกขเทวดาตนหนึ่งข้างหน้า เห็นนาย
คามณิจันท์นั้น จึงถามว่า ดูก่อนคามณิจันท์ ท่านจะไปไหน ? เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 62
เขาบอกว่า จะไปเฝ้าพระราชา จึงกล่าวว่า เขาเล่าลือกันว่า พระราชา
เป็นผู้ฉลาด เมื่อก่อนเราได้สักการะ. มาบัดนี้ แม้มาตรว่าใบไม้อ่อนสัก
กำมือก็ยังไม่ได้ ท่านช่วยทูลถามพระราชาว่า ในเรื่องนั้น เป็นเพราะ
เหตุไร ? ในกาลต่อจากนั้น พระยานาคตัวหนึ่งเห็นนายคามณิจันท์
จึงถามเหมือนอย่างนั้น แล้วกล่าวว่า ได้ยินว่าพระราชาเป็นบัณฑิต
เมื่อก่อนน้ำในสระนี้ใส มีสีเหมือนแก้วมณี บัดนี้ ขุ่นมัว มีแหน
ปกคลุม ท่านพึงทูลถามพระราชาว่า ในเรื่องนั้น เป็นเพราะเหตุไร ?
ที่นั้น ดาบสทั้งหลายผู้อยู่ในอารามแห่งหนึ่ง ในที่ใกล้พระนคร เห็น
นายคามณิจันท์นั้น จึงถามเหมือนอย่างนั้นแล้วกล่าวว่า เขาว่าพระ-
ราชาเป็นบัณฑิต เมื่อก่อนผลาผลทั้งหลายในอารามนี้ อร่อย บัดนี้
เฝื่อนฝาด ไม่อร่อย ไม่เป็นรส ท่านช่วยทูลถามพระราชาว่า ในเรื่องนี้
เป็นเพราะเหตุไร ? ข้างหน้าแต่นั้นไป มีพราหมณ์มาณพอยู่ในศาลา
แห่งหนึ่ง ในที่ใกล้ประตูพระนคร เห็นนายคามณิจันท์นั้น จึงกล่าวว่า
คามณิจันท์ผู้เจริญ ท่านจะไปไหน เมื่อเขากล่าวว่า จะไปเฝ้าพระราชา
จึงพากันกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านช่วยถือเอาข่าวสาสน์ของพวกเรา
ไปด้วย เพราะว่า เมื่อก่อน ที่ที่พวกเราร่ำเรียนเอาแล้ว ย่อมปรากฏ
แต่มาบัดนี้ ไม่ทรงจำอยู่ เหมือนน้ำในหม้อทะลุ ย่อมปรากฏเป็น
เหมือนความมืดมนอนธการ ท่านพึงทูลถามพระราชาว่า ในเรื่องนี้
เป็นเพราะเหตุไร ? นายคามณิจันท์รับเอาข่าวสาสน์ทั้ง ๑๐ ข้อนี้แล้ว
ได้ไปเฝ้าพระราชา. พระราชาได้เสด็จประทับนั่ง ณ สถานที่ที่วินิจฉัย
อรรถคดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 63
เจ้าของโคได้พานายคามณิจันท์เข้าเฝ้าพระราชา. พระราชา
พอทรงเห็นนายคามณิจันท์ก็จำได้ ทรงพระดำริว่า นายคามณิจันท์
เป็นอุปัฏฐากแห่งพระชนกของเรา พอยกเราขึ้นแล้วก็หลีกเลี่ยงไป
ตลอดเวลาประมาณเท่านี้ เขาอยู่ที่ไหนหนอ จึงตรัสถาม ท่านคามณิ-
จันท์ผู้เจริญ ขอเวลามีประมาณเท่านี้ ท่านอยู่ที่ไหน ? เป็นเวลา
นานแล้ว ไม่ปรากฏ ท่านมาด้วยต้องการอะไร. นายคามณิจันท์
กราบทูลว่า ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า จำเดิมแต่พระชนกของพระ-
องค์เสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว ข้าพระองค์ไปอยู่ชนบทกระทำกสิกรรม
เลี้ยงชีพ แต่นั้น บุรุษผู้นี้ได้แสดงความอาญาเพราะเหตุเกี่ยวกับคดี
เรื่องโค จึงคร่าตัวข้าพระองค์มาเฝ้าพระองค์พระเจ้าข้า. พระราชาตรัส
ว่า ท่านไม่ถูกคร่าตัวมาก็คงไม่มา เพราะเหตุนั้น ความที่ท่านลูกคร่าตัว
มานั่นแหละเป็นความดีงาม บัดนี้ เราจะเห็นบุรุษผู้นั้น บุรุษผู้นั้น
อยู่ที่ไหน. นายคามณิจันท์กราบทูลว่า คนนี้พระเจ้าข้า. พระราชา
ตรัสถามว่า ผู้เจริญได้ยินว่า ท่านฟ้องความอาญาแก่นายคามณิจันท์
ของเราจริงหรือ. เจ้าของโคทูลว่า จริงพระเจ้าข้า. พระราชตรัสถาม
ว่า เพราะเหตุไร. เจ้าของโคทูลว่า เพราะนายคามณิจันท์นี้ ไม่คืน
โค ๒ ตัวให้แก่ข้าพระองค์พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เขาว่า
จริงหรือ จันทะ ? นายคามณิจันท์ทูลว่า ขอเดชะ ถ้าอย่างนั้น.
ขอพระองค์โปรดทรงสดับขอข้าพระองค์เถิด แล้วกราบทูลเรื่องราว
ทั้งปวงให้ทรงทราบ. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสถามเจ้าของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 64
โคว่า ผู้เจริญเมื่อโคเข้าบ้านของท่าน ท่านเห็นหรือเปล่า ? เจ้าของโค
ทูลว่า ไม่เห็น พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ท่านไม่เคยได้ยินคน
เขาพูดถึงเราว่า พระราชาพระนามว่าอาทาสมุข บ้างหรือ ท่านอย่า
หวาดระแวงเลย จงบอกมาเถิด. เจ้าของโคทูลว่า ได้เห็นพระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสว่า คามณิจันท์ผู้เจริญ เพราะท่านไม่มอบโคให้เจ้าของ
ค่าโคปรับเป็นสินไหมสำหรับท่าน แต่บุรุษนี้ทั้งที่เห็น พูดมุสาวาท
ที่รู้ ว่าไม่เห็น เพราะฉะนั้น ท่านนั่นแหละเป็นผู้ประกอบการควัก
นัยน์ตาทั้งสองข้างของบุรุษผู้นี้ และภรรยาของบุรุษผู้นี้ด้วย ส่วน
ตนเองให้กหาปณะ ๒๔ กหาปณะเป็นมูลค่าราคาโค. เมื่อตรัสอย่างนี้
แล้ว นักการก็พาตัวเจ้าของโคออกไปข้างนอก. เจ้าของโคนั้นคิดว่า
เมื่อเขาควักลูกตาเสียแล้ว เราจักเอากหาปณะไปทำอะไร จึงหมอบ
ลงแทบเท้าของนายคามณิจันท์แล้วกล่าวว่า ท่านคามณิจันท์ผู้เป็น
นาย กหาปณะที่เป็นมูลค่าค่าโคจงเป็นของท่านเถิด และจงถือ
เอากหาปณะเหล่านี้ด้วย แล้วในกหาปณะทั้งหลาย แม้อื่น ๆ แล้ว
หนีไป.
ลำดับนั้น บุรุษคนที่ ๒ ทูลว่า ขอเดชะ นายคามณิจันท์นี้
ประหารภรรยาของข้าพระองค์ ทำให้ครรภ์ตกไป. พระราชาตรัส
ถามว่า จริงหรือ จันทะ ? นายคามณิจันท์ทูลว่า ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์โปรดทรงสดับ แล้วกราบทูลเรื่องทั้งปวงให้ทรงทราบโดย
พิสดาร. ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามนายคามณิจันท์นั้นว่า ก็ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 65
ประหารภรรยาของบุรุษผู้นี้ ทำให้ครรภ์ตกไปหรือ ? นายคามณิจันท์
ทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์มิได้ทำให้ตกไปพระเจ้าข้า. พระราชา
ตรัสถามบุรุษนั้นว่า ผู้เจริญ ความที่นายคามณิจันท์นี้ประหารแล้ว
ทำครรภ์ให้ตกไป ท่านอาจให้เกิดมีขึ้นได้หรือไม่ ? บุรุษนั้นทูลว่า
ไม่อาจ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามเขาว่า บัดนี้ ท่านจะกระทำ
อย่างไร ? บุรุษนั้นทูลว่า ข้าพระองค์ต้องการบุตรคืนมาพระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสว่า จันทะผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านเอาภรรยาของบุรุษ
ผู้นี้ไปไว้ในเรือนของท่าน ในคราวที่นางคลอดบุตร จงนำบุตรนั้น
มาให้บุรุษผู้นี้. ฝ่ายบุรุษผู้นั้นจึงหมอบลงแทบเท้าของนายคามณิจันท์
แล้วกล่าวว่า นายท่านอย่าทำลายเรือนของเราเลย ได้ให้กหาปณะ
แล้วหลีกหนีไป.
ลำดับนั้น บุรุษคนที่ ๓ มากราบทูลว่า ขอเดชะ นายคามณิ-
จันท์นี้ประหารทำเท้าม้าของข้าพระองค์หัก พระเจ้าข้า. พระราชา
ตรัสถามว่า เขาว่า จริงหรือ จันทะ ? นายคามณิจันท์กราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราชขอได้โปรดสดับ แล้วกราบทูลประพฤติเหตุนั้นโดย
พิสดาร. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสถามคนเลี้ยงม้าว่า เขาว่า
ท่านพูดว่า จงขว้างม้าให้กลับ จริงหรือ ? คนเลี้ยงม้านั้นทูลว่า ขอ
เดชะ ข้าพระองค์ไม่ได้พูด พระเจ้าข้า เขาถูกตรัสถามซ้ำจึงกราบทูล
ว่า ข้าพระองค์พูดพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสเรียกนายคามณิจันท์
มาตรัสว่า จันทะผู้เจริญ บุรุษผู้นี้ พูดแล้ว กลับกล่าวมุสาวาทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 66
ไม่ได้พูด ท่านจงตัดลิ้นของเขาแล้วเอาของที่มีของเราเป็นมูลค่าม้า
ให้ไปพันหนึ่ง. คนเลี้ยงม้ากลับให้กหาปณะ แม้อื่นอีกแล้วหลบหนีไป.
ลำดับนั้น บุตรช่างสานกราบทูลว่า ขอเดชะ นายคามณิ-
จันท์นี้ เป็นโจรฆ่าบิดาของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัส-
ถามว่า เขาว่า จริงหรือ จันทะ ? นายคามณิจันท์กราบทูลว่า ขอเดชะ
พระองค์โปรดทรงสดับ แล้วกราบทูลเหตุนั้นให้ทรงทราบโดยพิสดาร.
พระราชารับสั่งให้เรียกช่างสานมาแล้วตรัสถามว่า บัดนี้ ท่านจะกระทำ
อย่างไร ? ช่างสานทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ขอบิดาของข้าพระองค์
คืนมา พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า จันทะผู้เจริญ การได้บิดาของ
ช่างสานนี้คืนมาจึงจะควร ก็คนตายแล้วไม่อาจนำมาอีกได้ ท่านจง
นำมารดาของช่างสานคนนี้มาไว้ในเรือนท่านแล้ว เป็นบิดาของช่าง-
สานนี้. บุตรช่างสานกล่าวว่า นาย ท่านอย่าทำลายเรือนแห่งบิดา
ผู้ชายแล้วของข้าพเจ้าเลย ได้ให้กหาปนะแก่นายคามณิจันท์แล้ว
หลบหนีไป
นายคามณิจันท์ได้ประสบชัยชนะเฉพาะวันนี้ มีจิตยินดีกราบ
ทูลพระราชาว่า ขอเดชะ มีคนบางคนส่งสาสน์มาแก่พระองค์ ข้า
พระองค์ขอกราบทูลสาสน์นั้นแก่พระองค์. พระราชาตรัสว่า จงบอก
มาเถิด จันทะ. นายคามณิจันท์จึงกราบทูลทีละเรื่อง ๆ โดยย้อนลำดับ
เริ่มสาสน์ของพวกพราหมณ์มาณพเป็นเรื่องต้น. พระราชาได้ทรง
วิสัชนาไปโดยลำดับ. ทรงวิสัชนาอย่างไร ? คือก่อนอื่น ทรงสดับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 67
สาสน์ที่ ๑ ได้ตรัสว่า เมื่อก่อน ได้มีไก่ซึ่งขันเป็นเวลาอยู่ในที่เป็นที่
อยู่พวกพราหมณ์มาณพเหล่านั้น เมื่อพราหมณ์มาณพเหล่านั้นลุกขึ้น
ตามเสียงไก่นั้น แล้วเรียนมนต์ทำการสังวัธยายอยู่ จนอรุณขึ้นด้วย
เหตุนั้น มนต์ที่พวกพราหมณ์มาณพเหล่านั้นเล่าเรียนมาเอาไว้ก็ไม่
เสื่อม มาบัดนี้ มีไก่ซึ่งขันไม่เป็นเวลาอยู่ในที่อยู่ของพราหมณ์มาณพ
เหล่านั้น ไก่ตัวนั้น ขันดึกเกินไปบ้าง จวนสว่างบ้าง พวกพราหมณ์.
มาณพลุกขึ้นตามเสียงของไก่นั้นซึ่งขันดึกเกินไป เล่าเรียนมนต์ก็ง่วง
นอน กำลังทำการสังวัธยายก็หลับไปอีก ครั้นลุกขึ้นตามเสียงของไก่
ซึ่งขันในเวลาจวนจะสว่าง ก็สังวัธยายไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น มนต์ที่
พวกพราหมณ์มาณพเหล่านั้นเล่าเรียนไว้ จึงไม่ปรากฏ.
แม้เรื่องที่ ๒ ครั้นได้ทรงสดับแล้ว จึงตรัสว่า เมื่อก่อน
ดาบสเหล่านั้นพากันกระทำสมณธรรม ได้เป็นผู้ขวนขวายประกอบ
การบริกรรมกสิณ มาบัดนี้ พากันละทิ้งสมณธรรมเสีย ขวนขวาย
ประกอบในกิจที่ไม่ควรกระทำ ให้ผลาผลที่เกิดขึ้นในอารามแก่พวก
อุปัฏฐาก สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยการรับก้อนข้าวและ
ให้ก้อนข้าวตอบแทน ด้วยเหตุนั้น ผลาผลทั้งหลายของดาบสเหล่านั้น
จึงไม่อร่อย ก็ถ้าดาบสเหล่านั้น จักเป็นผู้ขวนขวายประกอบสมณ-
ธรรมอีก เหมือนในกาลก่อน ผลาผลทั้งหลายของดาบสเหล่านั้น จัก
กลับมีรสอร่อยอีก ดาบสเหล่านั้นย่อมไม่รู้ว่าราชตระกูลเป็นบัณฑิต
ท่านจงบอกให้ดาบสเหล่านั้นกระทำสมณธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 68
ครั้นทรงสดับเรื่องที่ ๓ จึงตรัสว่า พระยานาคเหล่านั้นกระทำ
การทะเลาะกันแลกันด้วยเหตุนั้น น้ำนั้นจึงขุ่นมัว ถ้าพระยานาค
เหล่านั้นจักสมัครสมานกันเหมือนเมื่อก่อน จักกลับเป็นน้ำใสอีก.
ครั้นทรงสดับเรื่องที่ ๘ จึงตรัสว่า เมื่อก่อน รุกขเทวดานั้น
รักษาพวกมนุษย์ผู้เดินทางไปในดง เพราะฉะนั้น จึงได้พลีกรรมมี
ประการต่าง ๆ มาบัดนี้ ไม่กระทำการอารักขา เพราะฉะนั้น จึงไม่
ได้พลีกรรม ถ้าจักกระทำการอารักขา เหมือนในกาลก่อน ก็จักเป็น
ผู้ได้ลาภอันเลิศอีก เทวดานั้นไม่รู้ว่าพระราชาเป็นบัณฑิต เพราะ
ฉะนั้น ท่านจงบอกให้เทวดานั้นอารักขาพวกมนุษย์ผู้ขึ้นสู่ดงเถิด.
ครั้นทรงสดับเรื่องที่ ๕ จึงตรัสว่า นกกระทานั้น จับที่เชิงจอม-
ปลวกนั้น จึงขันอย่างอิ่มเอิบใจ ภายใต้จอมปลวกนั้น มีหม้อขุมทรัพย์
ใหญ่ ท่านจงขุดจอมปลวกเอาขุมทรัพย์นั้นเถิด.
ครั้นทรงสดับเรื่องที่ ๖ จึงตรัสว่า เนื้อตัวนั้นสามารถกิน
หญ้าที่โคนต้นไม้ใด เบื้องบนต้นไม้นั้น มีรวงผึ้งใหญ่ เนื้อตัวนั้นติด
หญ้าที่เปื้อนน้ำผึ้ง จึงไม่อาจเคี้ยวกินหญ้าอื่น ท่านจงนำรวงผึ้งนั้นไป
แล้วส่งรสหวานชั้นเลิศมาให้เรา ที่เหลือจากนั้น เอาไว้บริโภคใช้สอย
สำหรับตน.
ครั้นทรงสดับเรื่องที่ ๗ จึงตรัสว่า ภายใต้จอมปลวกที่งูอยู่นั้น
มีขุมทรัพย์หม้อใหญ่ งูตัวนั้นรักษาขุมทรัพย์นั้นอยู่ ในเวลาจะออก
เพราะความโลภในทรัพย์ จึงทำสรีระให้หย่อน ติดนั่นติดนี่ออกไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 69
ครั้นได้เหยื่อแล้ว ไม่ติดขัดเลย รีบเข้าไปโดยเร็ว เพราะความเสน่หา
ในทรัพย์ ท่านจงขุดเอาขุมทรัพย์นั้นเถิด.
ครั้นทรงสดับเรื่องที่ ๘ จึงตรัสว่า ในระหว่างบ้านเป็นที่
อยู่ของสามีและบิดามารดา ของหญิงรุ่นสาวนั้น มีชายชู้อยู่ในบ้าน
แห่งหนึ่ง นางระลึกถึงชายชู้นั้น เพราะความเสน่หาในชายชู้นั้น
จึงไม่อาจอยู่ในเรือนสามี พูดว่า ฉันจักไปเยี่ยมบิดามารดา แล้วก็ไป
อยู่ในเรือนชายชู้ ๒ - ๓ วันแล้วจึงไปเรือนบิดามารดา อยู่ที่เรือน
บิดามารดานั้น ๒-๓ วันหวนระลึกถึงชายชู้ขึ้นมา จึงพูดว่า ฉันจักไป
เรือนสามี ก็หวนไปเรือนของชายชู้นั่นแหละ ท่านจงบอกหญิงคนนั้น
ว่า พระราชกำหนดกฎหมายมีอยู่ แล้วจงกล่าวแก่หญิงนั้นว่า นัยว่า
นางจงอยู่เฉพาะในเรือนของสามีเท่านั้น ถ้าพระราชารับสั่งให้จับท่าน
ชีวิตของท่านก็จะไม่มีอยู่ ควรกระทำความไม่ประมาท.
ครั้นทรงสดับเรื่องที่ ๙ จึงตรัสว่า เมื่อก่อน หญิงคณิกาคนนั้น
รับเอาค่าจ้างจากมือของชายคนหนึ่งแล้ว ก็อยู่ประจำกะชายคนนั้น
ไม่รับเอาจากมือของคนอื่นอีก ด้วยเหตุนั้น ในครั้งก่อน ค่าจ้างจึง
เกิดขึ้นแก่หญิงคณิกา คนนั้นอย่างมากมาย มาบัดนี้ หญิงคณิกา นั้น
ละทิ้งธรรมดาของตนเสีย ไม่ชำระค่าจ้างที่ตนรับจากมือของชายคน
หนึ่งให้เสร็จก่อน ไปรับจากมือของชายอื่น ไม่ให้โอกาสแก่ชายคน
แรก กับให้โอกาสแก่ชายคนหลัง ด้วยเหตุนั้น ค่าจ้างจึงไม่เกิดขึ้น
แก่หญิงคณิกานั้น ใคร ๆ จึงไม่ไปหาหญิงคณิกานั้น ถ้าหากจักตั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 70
อยู่ในธรรมดาของตน ค่าจ้างจักมีเช่นกับเมื่อก่อนทีเดียว ท่านจงบอก
หญิงคณิกานั้นให้ตั้งอยู่ในธรรมของตน.
ครั้นทรงสดับเรื่องที่ ๑๐ จึงตรัสว่า นายบ้านส่วยคนนั้น
เมื่อก่อน วินิจฉัยอรรถคดี โดยธรรม โดยสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนั้น
จึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนทั้งหลาย และพวกคนที่รักใคร่ก็นำ
บรรณาการเป็นอันมากมาให้แก่เขา ด้วยเหตุนั้น เขาจึงเป็นผู้มีรูปงาม
มีทรัพย์มาก สมบูรณ์ด้วยยศ มาบัด เป็นผู้เห็นแก่สินบนวินิจฉัย
อรรถคดีโดยไม่เป็นธรรม ด้วยเหตุนั้น จึงเป็นคนกำพร้า เข็ญใจ
ถูกโรคผอมเหลืองครอบงำ ถ้าเขาจักวินิจฉัยอรรถคดีโดยธรรมเหมือน
เมื่อก่อน เขาจักกลับเป็นเหมือนเมื่อก่อนอีก เขาไม่รู้ว่ามีพระราชา
อยู่ ท่านจงบอกเขาให้วินิจฉัยอรรถคดี โดยธรรมเถิด. นายคามณิ-
จันท์ได้กราบทูลสาสน์มีประมาณเท่านี้ ให้พระราชาทรงทราบด้วยประ-
การฉะนี้. พระราชาก็ได้ทรงพยากรณ์ปัญหานั้นทั้งหมดด้วยปัญญาของ
พระองค์ ประดุจพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ให้พระราชทรัพย์มากมายแก่
นายคามณิจันท์ ทรงกระทำบ้านที่อยู่ของเขาให้เป็นพรหมไทย พระ-
ราชทานเฉพาะเขาเท่านั้นแล้วส่งกลับไป.
นายคามณิจันท์นั้นออกจากพระนคร แล้วบอกข่าวสาสน์สิ้น
ที่พระโพธิสัตว์ประทานมา แก่พราหมณ์มาณพ ดาบส พระยานาค
และรุกขเทวดา เสร็จแล้วถือเอาขุมทรัพย์จากสถานที่พักนกกระทำจับ
แล้วไปเอารวงผึ้งจากต้นไม้ในสถานที่เนื้อกินหญ้า ส่งน้ำผึ้งไปถวาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 71
พระราชาแล้วไปขุดจอมปลวกในสถานที่อยู่ของงู เอาขุมทรัพย์มาแล้ว
บอกข่าวสาสน์ตามทำนองที่พระราชาตรัสนั่นแหละ แก่หญิงสาวรุ่น
หญิงคณิกาและนายบ้าน เสร็จเเล้วไปยังบ้านของตนด้วยยศอันยิ่งใหญ่
ดำรงอยู่ชั่วอายุก็ได้ไปตามยถากรรม. ฝ่ายพระเจ้าอาทาสมุขทรง
บำเพ็ญบุญทั้งหลาย มีทานเป็นต้น ในเวลาสิ้นพระชนมายุ ทรง
บำเพ็ญทางสวรรค์ให้เต็ม แล้วเสด็จไป.
พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีปัญญามาก ใน
บัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็มีปัญญามากเหมือนกัน ครั้น
ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะประชุมชาดก.
ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็นอันมาก็ได้เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี
พระอนาคามี และพระอรหันต์. นายคามณิจันท์ในกาลนั้นได้เป็น
พระอานนท์ ในบัดนี้ ส่วนพระเจ้าอาทาสมุขในกาลนั้น คือเรา
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาคามณีจันทชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 72
๘. มันธาตุราชชาดก
กามมีความสุขน้อย มีทุกข์มาก
[๓๗๓] พระจันทร์ พระอาทิตย์ (ย่อมเวียน
รอบเขาสิเนรุราช) ส่องรัศมีสว่างไสวไปทั่ว
ทิศโดยกำหนดที่เท่าใด สัตว์ทั้งหลายที่อาศัย
แผ่นดินอยู่ในที่มีกำหนดเท่านั้น ล้วนเป็น
ทาสของพระเจ้ามันธาตุราชทั้งสิ้น.
[๓๗๔] ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มี
ด้วยฝนคือกหาปณะ กามทั้งหลายมีความ
ยินดีน้อย มีทุกข์มา บัณฑิตรู้ชัดอย่างนี้.
[๓๗๔] พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ย่อมไม่ปรารถนาความยินดีในกามทั้งหลายที่
เป็นทิพย์ เป็นผู้ยินดีแต่ความสิ้นไปแห่ง
ตัณหาโดยแท้.
จบ มันธาตุราชชาดกที่ ๘
อรรถกถามันธาตุราชชาดกที่ ๘
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ิภิกษุผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง จึงตรัสเรืองนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยาวตา
จนฺทิมสุริยา ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 73
ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เห็น
สตรีผู้หนึ่งตกแต่งประดับประดาสวยงาม จึงเกิดความกระสันรัญจวน
ใจ. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงนำภิกษุรูปนั้นมายังธรรมสภา แล้ว
แสดงแก่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้ กระสันอยาก
จะสึก พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า ได้ยินว่า เธอกระสัน
อยากจะสึกจริงหรือภิกษุ. เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า จึง
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ครองเรือน จักอาจทำตัณหาให้เต็ม
ได้ เมื่อไร เพราะขึ้นชื่อว่ากามตัณหานี้ เต็มได้ยาก ประดุจมหา-
สมุทร ด้วยว่าโปราณกบัณฑิตทั้งหลายครองราชย์เป็นพระเจ้าจักร-
พรรดิในมหาทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒๐,๐๐๐ เป็นบริวาร ได้ครองราชย์
ในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา มีมนุษย์เป็นบริวารเท่านั้น ทั้งครอง
เทวราชสมบัติในสถานที่ประทับอยู่ของท้าวสักกะ ๓๖ พระองค์ ใน
เทวโลกชั้นดาวดึงส์ ไม่สามารถเลยที่จะทำกามตัณหาของตนให้เต็ม
ก็ได้ทำกาลกิริยาตายไป ก็เธอเล่า เมื่อไรอาจทำกามตัณหานั้นให้เต็ม
ได้แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งปฐมกัป ได้มีพระราชาพระนามว่า พระ-
เจ้ามหาสมมตราช โอรสของพระองค์พระนามว่า โรชะ. โอรสของ
พระเจ้าโรชะ พระนามว่า วรโรชะ. โอรสของพระเจ้าวรโรชะ
พระนามว่า กัลยาณะ. โอรสของพระเจ้ากัลยาณะ พระนามว่า
วรกัลยาณะ. โอรสของพระเจ้าวรกัลยาณะ พระนามว่า อุโปสถ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 74
โอรสของพระเจ้าอุโปสถ พระนามว่า วรอุโปสถ. โอรสของพระ-
เจ้าวรอุโปสถ ได้มีพระนามว่า มันธาตุ พระเจ้ามันธาตุนั้นทรง
ประกอบด้วยรัตนะ ๗ และอิทธิฤทธิ์ ๔ ครองราชย์เป็นพระเจ้าจักร-
พรรดิ. ในเวลาที่พระองค์ทรงคู้พระหัตถ์ซ้ายปรบด้วยพระหัตถ์ขวา
ฝนรัตนะ ๗ ก็ตกลงมาประมาณเข่า ดุจเมฆฝนทิพย์ในอากาศ พระ-
เจ้ามันธาตุได้เป็นมนุษย์อัศจรรย์เห็นปานนี้. ก็พระเจ้ามันธาตุนั้น
ทรงเล่นเป็นเด็กอยู่แปดหมื่นสี่พันปี ทรงครองความเป็นอุปราชอยู่
แปดหมื่นสี่พันปี ทรงครองราชย์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแปดหมื่นสี่
พันปี. ก็พระองค์ทรงมีพระชนมายุหนึ่งอสงไขย. วันนี้พระเจ้า
มันธาตุนั้นไม่สามารถทำกามตัณหาให้เต็มได้ จึงทรงแสดงอาการ
ระอาพระทัย. อำมาตย์ทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพพระองค์
ทรงระอาเพราะเหตุไร ? พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า เมื่อเรามองเห็น
กำลังบุญของเราอยู่ ราชสมบัตินี้จักทำอะไรได้ ถามที่ไหนหนอ
จึงจะน่ารื่นรมย์. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช เทว-
โลกน่ารื่นรมย์ พระเจ้าข้า. ท้าวเธอจึงทรงพุ่งจักรรัตนะไปยังเทว-
โลกชั้นจาตุมมหาราชิกาพร้อมด้วยบริษัท. ลำดับนั้น ท้าวมหาราช
ทั้ง ๔ ทรงถือดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ ห้อมล้อมด้วยหมู่เทพ
กระทำการต้อนรับ นำพระเจ้ามันธาตุนั้นไปยังเทวโลกชั้นจาตุมมหา-
ราชิกา ได้ถวายราชสมบัติในเทวโลก. เมื่อพระเจ้ามันธาตุนั้นห้อม
ล้อมด้วยบริษัทของพระองค์ครองราชสมบัติอยู่ในชั้นจาตุมมหาราชิกา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 75
นั้น กาลเวลาล่วงไปช้านาน พระองค์ไม่สามารถทำตัณหาให้เต็มใน
ชั้นจาตุมมหาราชิกานั้นได้ จึงทรงแสดงอาการเบื่อระอา, ท้าวมหาราช
ทั้ง ๔ จึงทูลถามว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ทรงเบื่อระอาเพราะ
อะไรหนอ. พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า จากเทวโลกนี้ ที่ไหนน่ารื่นรมย์
กว่า. ท้าวมหาราชทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พวกข้าพระองค์
เป็นบริษัทผู้คอยอุปัฏฐากผู้อื่น ขึ้นชื่อว่าเทวโลกชั้นดาวดึงส์น่ารื่นรมย์
พระเจ้ามันธาตุจึงพุ่งจักรรัตนะออกไป ห้อมล้อมด้วยบริษัทของพระ-
องค์ บ่ายหน้าไปยังภพดาวดึงส์. ลำดับนั้น ท้าวสักกะเทวราชทรง
ถือดอกไม้และของหอมทิพย์ห้อมล้อมด้วยหมู่เทพ ทรงทำการต้อนรับ
รับพระเจ้ามันธาตุนั้น ทรงจับพระองค์ที่พระหัตถ์แล้วตรัสว่า ข้าแต่
มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จมาทางนี้. ในเวลาที่พระราชาอันหมู่
เทพห้อมล้อมเสด็จไป ปริณายกขุนพลพาจักรแก้วลงมายังถิ่นมนุษย์
พร้อมกับบริษัท เข้าไปเฉพาะยังนครของตน ๆ. ท้าวสักกะทรงนำ
พระเจ้ามันธาตุไปยังภพดาวดึงส์ ทรงทำเทวดาให้เป็น ๒ ส่วน ทรง
แบ่งเทวราชสมบัติของพระองค์กึ่งหนึ่งถวายพระเจ้ามันธาตุ. ตั้งแต่
นั้นมาพระราชา ๒ พระองค์ ทรงครองราชสมบัติ (ในภพดาวดึงส์
นั้น). เมื่อกาลเวลาล่วงไปด้วยประการอย่างนี้ ท้าวสักกะทรงให้
พระชนมายุสิ้นไปสามโกฏิหกหมื่นปีก็จุติ. ท้าวสักกะพระองค์อื่นก็มา
บังเกิดแทน. แม้ท้าวสักกะพระองค์นั้นก็ครองราชสมบัติในเทวโลก
แล้วก็จุติไป โดยสิ้นพระชนมายุ. โดยอุบายนี้ ท้าวสักกะถึง ๓๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 76
พระองค์จุติไปแล้ว. ส่วนพระเจ้ามันธาตุยังคงครองราชสมบัติใน
เทวโลกโดยร่างกายของมนุษย์นั่นเอง. เมื่อเวลาล่วงไปด้วยประการ
อย่างนี้ กามตัณหาก็ยังเกิดขึ้นแก่พระองค์โดยเหลือประมาณยิ่งขึ้น
พระองค์จึงทรงดำริว่า เราจะได้ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติในเทว-
โลกกึ่งหนึ่ง เราจักฆ่าท้าวสักกะเสีย ครองราชสมบัติในเทวโลกคน
เดียวเถิด. ท้าวเธอไม่อาจฆ่าท้าวสักกะได้. ก็ตัณหาคือความอยากนี้
เป็นมูลรากของความวิบัติ. ด้วยเหตุนั้น อายุสังขารของท้าวเธอจึง
เสื่อมไป ความชราก็เบียดเบียนพระองค์. ก็ธรรมดาร่างกายมนุษย์
ย่อมไม่แตกดับในเทวโลก. ลำดับนั้น พระเจ้ามันธาตุนั้นจึงพลัดจาก
เทวโลกตกลงในพระราชอุทยาน. พนักงานผู้รักษาพระราชอุทยาน
จึงกราบทูลความที่พระเจ้ามันธาตุนั้นเสด็จมาให้ราชตระกูลทราบ
ราชตระกูลเสด็จมา พากันปูลาดที่บรรทมในพระราชอุทยานนั่นเอง
พระราชาทรงบรรทมโดยอนุฏฐานไสยาศน์ อำมาตย์ทั้งหลายทูลถาม
ว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะกล่าวว่าอย่างไร เฉพาะพระ-
พักตร์ขอพระองค์ พระเจ้าข้า. พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า ท่านทั้งหลาย
ถึงบอกข่าวสาสน์นี้แก่มหาชนว่า พระเจ้ามันธาตุมหาราชครองราช-
สมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมหาทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็น
บริวาร ครองราชสมบัติในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาตลอดกาลนาน
แล้วได้ครองราชสมบัติในเทวโลกตามปริมาณพระชนมายุของท้าว-
สักกะถึง ๓๖ องค์ ยังทำตัณหาคือความอยากให้เต็มไม่ได้เลย ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 77
สวรรคตไปแล้ว ครั้นพระองค์ตรัสอย่างนั้นแล้วก็สวรรคตเสด็จไปตาม
ยถากรรม.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง
แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
พระจันทร์ พระอาทิตย์ ( ย่อมเวียน
รอบเขาสิเนรุราช ) ส่องรัศมีสว่างไสวไปทั่ว
ทิศโดยที่มีกำหนดเท่าใด สัตว์ทั้งหลายที่
อาศัยแผ่นดินอยู่ในที่มีกำหนดเท่านั้น ล้วน
เป็นทาสของพระเจ้ามันธาตุราชทั้งสิ้น. ความ
อิ่มในกามทั้งหลายย่อมไม่มี เพราะฝนคือ
กหาปณะ กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มี
ทุกข์มาก บัณฑิตย่อมรู้ชัดอย่างนี้. ภิกษุผู้
เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อม
ไม่ถึงความยินดีในกามทั้งหลาย แม้ที่เป็น
ทิพย์ เป็นผู้ยินดีในความสิ้นไปแห่งตัณหา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา เป็นคำกล่าวถึงกำหนด
เขต. บทว่า ปริหรนฺติ ความว่า ย่อมหมุนเวียนเขาพระสิเนรุ โดย
กำหนดมีประมาณเท่าใด. บทว่า ทิสา ภนฺติ ความว่า ย่อมส่อง
สว่างในทิศทั้งสิบ. บทว่า วิโรจนา ความว่า ชื่อว่า มีสภาพสว่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 78
ไสว เพราะกระทำความสว่าง. บทว่า สพฺเพว ทาสา มนุธาตุ
เย ปาณา ปวิสฺสิตา ความว่า ก็สัตว์ทั้งหลาย คือหมู่มนุษย์
ชาวชนบทเหล่าใด ผู้อาศัยแผ่นดินอยู่ในประเทศมีประมาณเท่านี้ สัตว์
เหล่านั้นทั้งหมดเมื่อเข้าไปเฝ้าด้วยคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเป็นทาสของ
พระเจ้ามันธาตุ พระเจ้ามันธาตุเป็นปู่ของพวกเรา แม้เป็นไท ก็
ชื่อว่าเป็นทาสเหมือนกัน. ในบทว่า น กหาปณวสฺเสน นี้ พระ-
เจ้ามันธาตุทรงประพระหัตถ์ทำให้ฝนคือรัตนะ ๗ อันใดตกลงมา เพื่อ
ทรงสงเคราะห์พวกหมู่มนุษย์ผู้เป็นทาสเหล่านั้น ฝนคือรัตนะ ๗ นั้น
ท่านเรียกว่า ฝนคือกหาปณะในพระคาถานี้. บทว่า ติตฺติ เมสุ
ความว่า ขึ้นชื่อว่าความอิ่มในวัตถุกามสละกิเลสกามทั้งหลาย เพราะ
ฝนคือกหาปณะแม้นั้น ย่อมไม่มี ตัณหานั้นทำให้เต็มได้ยากอย่างนี้.
บทว่า อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา ความว่า ขึ้นชื่อว่ากามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนความฝัน มีความยินดีน้อย คือมีความสุขน้อย ก็ใน
กามนี้มีแต่ทุกข์เท่านั้น มากมาย ทุกข์นั้นพึงแสดงโดยกระบวนแห่ง
ทุกขักขันธสูตร. บทว่า อิติ วิญฺาย ได้แก่ กำหนดรู้อย่างนี้.
บทว่า ทิพฺเพสุ ได้แก่ ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น อันเป็น
เครื่องบริโภคของเทวดาทั้งหลาย. บทว่า รตึ โส ความว่า ภิกษุ
ผู้เห็นแจ้งนั้น แม้ถูกเชื้อเชิญด้วยกามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ ก็ย่อม
ไม่ถึงความยินดีในกามเหล่านั้น เหมือนท่านพระสมิทธิ. บทว่า
ตณฺหกฺขยรโต ได้แก่ ผู้ยินดีแล้วในพระนิพพาน. จริงอยู่ ตัณหา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 79
มาถึงพระนิพพานย่อมหมดสิ้นไป เพราะฉะนั้น พระนิพพานนั้น
ท่านจึงเรียกว่า ตัณหักขยะ ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา เป็นผู้ยินดีแล้ว
ยินดียิ่งแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหานั้น. บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธ-
สาวโก ความว่า ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้สัจจะโดยชอบ
ด้วยพระองค์เอง ชื่อว่าสาวก เพราะเกิดในที่สุดแห่งการสดับฟัง
คือเป็นโยคาวจรบุคคลผู้ใดสดับตรับฟังมาก.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะ ๔ แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะ
สึกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล คนเป็นอันมากแม้เหล่าอื่นก็ได้บรรลุโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น. พระเจ้ามันธาตุมหาราชในกาลนั้น คือเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสัมธาตุราชชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 80
๙. ติรีติวัจฉชาดก
ควรบูชาผู้มีพระคุณ
[๓๗๖] กรรมอะไร ๆ ที่สำเร็จด้วยวิชาของดาบส
นี้มิได้มีเลย อนึ่ง ดาบสนั้นไม่ใช่พระญาติ
พระวงศ์ไม่ใช่พระสหายของพระองค์ เมื่อ
เป็นเช่นนั้นเพราะเหตุไร ติรีติวัจฉดาบสผู้มี
มือถือไม้ ๓ อัน จึงบริโภคก้อนข้าวอันเลิศ.
[๓๗๗] เมื่อเรารบพ่ายแพ้โจร ตกอยู่ในฐานะ
อันตราย ติรีติวัจฉดาบสผู้นี้ได้กระทำความ
อนุเคราะห์แก่เราผู้เดียวในป่าที่ไม่มีน้ำ น่า
หวาดเสียว เมื่อเราได้รับความลำบากก็ได้
พาดพะองให้ เพราะเหตุนั้น เราแม้ถูกความ
ทุกข์เบียดเบียนแล้วก็ขึ้นจากบ่อได้.
[๓๗๘] เรามาถึงเมืองนี้ได้โดยความยาก เพราะ
อานุภาพของติรีติวัจฉดาบสผู้นี้ เราถึงจะเป็น
อยู่ในมนุษยโลก ก็เหมือนกับไปปรโลกอัน
เป็นวิสัยของมัจจุราช ลูกรัก ติรีติวัจฉดาบส
เป็นผู้ควรแก่ปัจจัยลาภ ท่านทั้งหลายจงพา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 81
กันถวายของควรบริโภคและของควรบูชาแก่
ท่านติรีติวัจฉดาบสเถิด.
จบ ติรีติวัจฉชาดกที่ ๙
อรรถกถาติรีติวัจฉชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การที่ท่านพระอานนท์ได้ผ้า ๑,๐๐๐ ผืน คือได้จากมือแห่งพระสนม
ของพระเจ้าโกศล ๕๐๐ ผืน ได้จากพระหัตถ์ของพระราชา ๕๐๐ ผืน
จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า นยิมสฺส วิชฺชา ดังนี้. เรื่องท่าน
กล่าวไว้พิสดารแล้ว ในสิคาลชาดก ทุกนิบาต ในหนหลัง. (ในที่
นี้) ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ในแคว้นกาสี
ในวันตั้งชื่อ พวกญาติได้ตั้งชื่อว่า ติรีติวัจฉกุมาร. พระโพธิสัตว์นั้น
ได้ถึงความเจริญวัยโดยลำดับ ได้เล่าเรียนศิลปศาสตร์ทุกอย่างในเมือง
ตักกศิลาแล้วอยู่ครองเรือน เมื่อบิดามารดาทำกาลกิริยาตายไป
แล้วสลดใจ จึงออกบวชเป็นฤาษี มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร
สำเร็จการอยู่ในราวป่า. เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ในราวป่านั้น ท้องถิ่น
ชายอาณาเขตของพระเจ้าพาราณสี เกิดกำเริบจลาจลขึ้น. พระองค์
เสด็จไปในประเทศชายแดนนั้น ทรงพ่ายแพ้ในการรบ ทรงกลัวต่อ
มรณภัย เสด็จขึ้นคอช้าตัวประเสริฐเท่านั้น เสด็จหนีไปทางด้าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 82
หนึ่งท่องเที่ยวไปในป่า พอดีเป็นเวลาเช้า เป็นเวลาที่ติรีติวัจฉฤๅษี
ออกไปเพื่อต้องการผลาผล จึงเสด็จเข้าไปยังอาศรมของติรีติวัจฉฤๅษี
นั้น. พระราชานั้นทรงทราบว่าเป็นสถานที่อยู่ของดาบส จึงเสด็จลง
จากคอช้าง ทรงเหน็ดเหนื่อยเพราะลมและแดด จึงทรงกระหายน้ำ
ทอดพระเนตรหาหม้อน้ำก็ไม่ทรงเห็นในที่ไหน แต่ได้ทรงเห็นบ่อน้ำ
อยู่ในท้ายที่จงกรม แต่เมื่อเที่ยวหาเชือกและกระออม เพื่อต้องการ
จะตักน้ำ ก็มิได้เห็น เมื่อไม่ทรงสามารถจะอดกลั้นความกระหายน้ำ
จึงเอาเชือกที่รัดท้องช้างมา ให้ช้างยืนอยู่ใกล้ปากบ่อน้ำ เอาเชือกผูก
ที่เท้าช้างนั้นแล้วไต่เชือกลงบ่อน้ำ เชือกก็ยังไม่พอ จึงเสด็จกลับขึ้น
มาใหม่ ทรงเอาผ้าสาฎกสำหรับห่มต่อเข้ากับปลายเชือกแล้วเสร็จลงไป
อีก. แม้ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่พออยู่ดี. พระองค์ทรงเอาปลายพระบาท
ทั้งสองแตะน้ำ กลับทรงกระหายยิ่งขึ้น บันเทาความกระหายไม่ได้
จึงทรงพระดำริว่า แม้จะตายก็ตายดี แล้วปล่อยให้ตกลงไปในบ่อน้ำ
ดื่มจนพอแก่ความต้องการ เมื่อไม่สามารถจะกลับขึ้นมา จึงได้ประทับ
ยืนอยู่ในบ่อน้ำนั้นนั่นเอง. ในเวลาเย็น พระโพธิสัตว์นำเอาผลาผล
ทั้งหลายมา แลเห็นช้างจึงคิดว่า พระราชาคงจักเสด็จมา ช่างทรง
จึงปรากฏ เหตุอะไรหนอ จึงเข้าไปใกล้ช่าง. ฝ่ายช้างรู้ว่าพระโพธิ-
สัตว์นั้นเข้ามาหา จึงได้ยินเสีย ณ ส่วนข่างหนึ่ง. พระโพธิสัตว์เดิน
ไปยังปากบ่อน้ำ แลเห็นพระราชา จ่งปลอบโยนว่า ข้าแต่มหาราช
พระองค์อย่ากลัวเลย แล้วผูกบันใดให้พระราชาเสด็จขึ้น นวดฟั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 83
พระวรกายของพระราชา หาน้ำมันให้สรงสนาน ให้เสวยผลไม้น้อย
ใหญ่ แล้วให้เปลืองเครื่องผูกสอดช้าง. พระราชาทรงพักอยู่ ๒-๓
วัน ทรงถือเอาปฏิญญา เพื่อให้พระโพธิสัตว์มาสำนักของพระองค์
แล้วเสด็จหลีกไป. พลนิกายของพระราชาตั้งค่ายอยู่ในที่ไม่ไกลพระ-
นคร เห็นพระราชาเสด็จมาจึงพากันห้อมล้อม. พระราชาเสด็จเข้า
ยังพระนคร. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ต่อล่วงเวลาไปกึ่งเดือน ก็ไปยัง
นครพาราณสี พักอยู่ในพระราชอุทยาน วันรุ่งขึ้น เที่ยวภิกขาจาร
ไปถึงประตูวัง. พระราชาทรงเปิดพระแกลบานใหญ่ทอดพระเนตร
พระลานหลวง ทรงเห็นพระโพธิสัตว์ก็จำได้ จึงเสด็จลงมาจากปรา-
สาท ไหว้แล้วทรงพาขึ้นท้องพระโรง ให้นั่งบนราชบัลลังก์ที่ยก
เศวตฉัตร ให้ฉันอาหารที่เขาจัดไว้สำหรับพระองค์ แม้พระองค์เอง
ก็เสวย เสร็จแล้วนำไปยังพระราชอุทยาน ให้สร้างสถานที่อยู่ประ-
กอบด้วยที่จงกรมเป็นต้นแก่พระโพธิสัตว์นั้น ในพระราชอุทยานนั้น
แล้วถวายบริขารสำหรับบรรพชิตทุกอย่าง ทรงมอบหมายให้นายอุท-
ยานบาลเป็นเวรดูแล ไหว้แล้วเสด็จหลีกไป. จำเดิมแต่นั้น พระ-
โพธิสัตว์บริโภคเฉพาะในพระราชนิเวศน์ ได้มีสักการะและสัมมานะ
มากมาย. อำมาตย์ทั้งหลายอดทนการกระทำอันนั้นไม่ได้พากันกล่าว
ว่า สักการะเห็นปานนี้ ทหารแม้คนหนึ่งเมื่อจะได้ ควรกระทำอย่างไร
แล้วพากันเข้าไปเฝ้าอุปราช ทำความเคารพแล้วทูลว่า ขอเดชะ
พระราชาของข้าพระองค์ ยึดถือพระดาบสรูปหนึ่งว่าเป็นของเราเสีย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 84
อย่างจริงจัง ชื่อคุณอะไรที่พระราชานั้นได้ทรงเห็นในพระดาบสนั้น
ขอพระองค์โปรดทรงปรึกษาหารือกับพระราชาดูก่อน. อุปราชรับคำ
แล้วเข้าไปเฝ้าพระราชาพร้อมกับพวกอำมาตย์ ถวายบังคมแล้วกล่าว
คาถาที่ ๑ ว่า :-
กรรมอะไร ๆ ที่สำเร็จด้วยวิชาของ
ดาบสนี้ มิได้มีเลย อนึ่ง ดาบสนั้น ก็ไม่ใช่
เผ่าพันธุ์ ไม่ใช่พระสหายของพระองค์ เมื่อ
เป็นเช่นนั้นเพราะเหตุอะไร ตีรีติวัจฉดาบส
ผู้มีมือถือไม้ ๓ อัน จึงบริโภคก้อนข้าวอัน
เลิศ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นยิมสฺส วิชฺชามยมตฺถิ กิญฺจิ
ความว่า การงานอะไร ๆ อันสำเร็จด้วยวิชาของดาบสนี้ มิได้มี.
บทว่า น พนฺธโว ความว่า บรรดาเผ่าพันธุ์ทางโอรส เผ่าพันธุ์
ทางศิลปะ เผ่าพันธุ์ทางพระโคตร และเผ่าพันธุ์ทางพระญาติ แม้
เผ่าพันธุ์ทางใดทางหนึ่ง ก็มิได้มี. บทว่า โน ปน เต สหาโย
ความว่า ทั้งไม่ได้เป็นพระสหายผู้เล่นฝุ่นมากับพระองค์ บทว่า
เกน วณฺเณน แปลว่า เพราะเหตุไร. คำว่า ติรัติวัจโฉ เป็นชื่อ
ของดาบสนั้น. บทว่า เตทณฺฑิโก ความว่า ผู้ถือไม้ ๓ อัน เพื่อ
ต้องการวาง ( แขวน ) คณโฑน้ำเที่ยวไป. บทว่า อคฺคปิณฺฑ ความว่า
ย่อมบริโภคโภชนะอันเลิศสมบูรณ์ด้วยรส อันควรแก่พระราชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 85
พระราชาได้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสเรียกพระโอรสมาแล้วตรัสว่า
ดูก่อนพ่อ เจ้ายังจะระลึกได้ถึงคราวที่พ่อไปประเทศชายแดนรบแพ้
กลัวไม่ได้มา ๒-๓ วัน เมื่อพระโอรสทูลว่า ระลึกได้พระเจ้าข้า
จึงตรัสว่า ในคราวนั้นพ่ออาศัยดาบสนี้จึงได้รอดชีวิต แล้วตรัสบอก
เรื่องราวทั้งหมด แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนพ่อ เมื่อท่านผู้ให้ชีวิตเรา
มายังสำนักของเรา แม้เมื่อจะให้ราชสมบัติ เราก็ไม่อาจที่จะกระทำ
ให้สมควรแก่คุณที่ท่านดาบสนี้ได้กระทำไว้ ดังนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถา
๒ คาถานี้ว่า :-
เมื่อเรารบพ่ายแพ้ตกอยู่ในอันตราย
ทั้งหลาย ติรีติวัจฉดาบสผู้นี้ได้กระทำความ
อนุเคราะห์แก่เราผู้ตัวคนเดียวไม่มีเพื่อน ใน
ป่าที่ไม่มีน้ำอันทารุณร้ายกาจ ได้เหยียดมือ
ช่วยเราผู้ได้รับความลำบาก เพราะเหตุนั้น
เราแม้ถูกความทุกข์ครอบงำ ก็ขึ้นจากบ่อน้ำ
ได้. เรามาถึงเมืองนี้ได้โดยความยากของ
ดาบสผู้นี้ เราถึงจะเป็นอยู่ในมนุษยโลก ก็
เหมือนกับไปยังประโลกอันเป็นวิสัยของพระ-
ยม ลูกรัก ติรีติด้วยวัจฉดาบสเป็นผู้ควรแก่ปัจ-
จัยลาภ ท่านทั้งหลายจงถวายของควรบริโภค
และยัญที่ควรบูชาแก่ติรีติวัจฉดาบสเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 86
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาปาสุ ได้แก่ ในอันตราย
ทั้งหลาย. บทว่า เอกสฺส ได้แก่ ไม่มีเพื่อน. บทว่า กตฺวา ได้แก่
กระทำความอนุเคราะห์ คือทำความรักให้เกิดขึ้น. บทว่า วิวนสฺมึ
ได้แก่ ในป่าที่เว้นจากน้ำดื่ม. บทว่า โฆเร แปลว่า ร้ายกาจ.
บทว่า ปสารยิ กิจฺฉคตสฺส ปาณี ความว่า ติรีติวัจฉดาบสผูก
พะอง เหยียดมืออันประกอบด้วยความเพียรออก เพื่อช่วยเราผู้ตกบ่อ
ได้รับความทุกข์ให้ขึ้นจากบ่อ. บทว่า เตนุทฺธตารึ ทุขสมฺปเรโต
ความว่า เพราะเหตุนั้น แม้เราจะถูกุความทุกข์ครอบงำก็ขึ้นจากบ่อ
นั้นได้. บทว่า เอตสฺส กิจฺเฉน อิธานุปตฺโต ความว่า เรามา
ถึงเมืองนี้ได้ด้วยความยากของดาบสผู้นี้ คือด้วยอานุภาพแห่งความ
ยากที่ท่านดาบสผู้นี้กระทำ. บทว่า เวยฺยาสิโน วีสยา ความว่า
ท้าวยม เรียกว่า เวยยาสิ วิสัยแห่งท้าวยมนั้น. บทว่า ชีวโลเก
ได้แก่ ในมนุษยโลก. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ด้วยว่าเราผู้ยังดำรงอยู่
ในมนุษยโลกนี้แหละ แต่ก็ได้เป็นคนผู้ชื่อว่าไปยังปรโลกด้วยอันเป็นวิสัย
ของพระยม คือเป็นวิสัยแห่งพระยามัจจุราช เรานั้นเป็นผู้จากวิสัย
แห่งพระยมมาเมืองนี้ได้อีก เพราะเหตุแห่งดาบสผู้นี้. บทว่า ลา-
ภารโห แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ลาภ คือ เป็นผู้สมควรได้จตุปัจจัย
ทั้ง ๔. บทว่า เทถสฺส โภค ความว่า ท่านทั้งหลายจงให้เครื่อง
บริโภค กล่าวคือสมณบริขารอันเป็นปัจจัย ๔ ที่ดาบสนี้พึงใช้สอย
แก่ดาบสผู้นี้. บทว่า ยชิตญฺจ ยญฺ ความว่า ท่านทั้งหลายแม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 87
ทั้งปวง คือ ตัวเจ้า พวกอำมาตย์ และชาวนครจงให้เครื่องบริโภค
และบูชายัญแก่ดาบสนี้. ด้วยว่า ไทยธรรมที่ท่านทั้งหลายให้แก่ดาบส
นั้น ย่อมชื่อว่าเป็นเครื่องบริโภค เพราะเป็นของที่ดาบสนั้นจะต้อง
บริโภคใช้สอย และชื่อว่าเป็นยัญ เพราะเป็นยัญคือทานของคนนอก
นี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงพากันถวายของ
ควรบริโภคและของควรบูชาแก่ติรีติวัจฉดาบสเถิด.
เมื่อพระราชาทรงประกาศคุณของพระโพธิสัตว์ ประดุจทำ
พระจันทร์ให้ลอยเด่นขึ้นในพื้นท้องฟ้า ด้วยประการอย่างนี้ คุณของ
ติรีติวัจฉดาบสนั้น ก็เกิดปรากฏมีประโยชน์ในทุกสถานที่ทีเดียว และ
ลาภสักการะอันเหลือเพื่อยิ่งก็เกิดขึ้นแก่ติรีติวัจฉดาบสนั้น จำเดิมแต่
นั้นใคร ๆ จะเป็นอุปราช พวกอำมาตย์ หรือคนอื่นก็ตาม ย่อมไม่อาจ
ว่ากล่าวอะไร ๆ พระราชาได้. พระราชาทรงดำรงอยู่ในโอวาทของ
พระโพธิสัตว์ บำเพ็ญบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ทรงทำให้สวรรค์
เต็มบริบูรณ์ ส่วนพระโพธิสัตว์ก็ทำอภิญญาและสมาบัติทั้งหลายให้
เกิดขึ้น ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ที่ว่า แม้โบราณก-
บัณฑิตทั้งหลายก็กระทำการอุปการะ. ดังนี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก
ว่า พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนพระดาบส
ในกาลนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาติรีติวัจฉชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 88
๑๐. ทูตชาดก
ทุกชีวิตเป็นทูตของท้อง
[๓๗๙] สัตว์เหล่านี้เป็นไปในอำนาจของตัณหา
ย่อมไปสู่ประเทศอันไกล หวังจะขอสิ่งของ
ตามแต่จะได้ เพื่อประโยชน์แก่ท้องใด
ข้าพระองค์เป็นทูตของท้องนั้น ข้าแต่
พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ขอพระองค์อย่าได้
ทรงพิโรธแก่ข้าพระองค์เลย.
[๓๘๐] อนึ่ง มาณพทั้งหลาย ย่อมตกอยู่ใน
อำนาจของท้องใด ทั้งหลายวันและกลางคืน
ข้าพระองค์ก็เป็นทูตของท้องนั้น ข้าแต่
พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ขอพระองค์อย่าได้
ทรงพิโรธแก่ข้าพระองค์เลย.
[๓๘๐] ดูก่อนพราหมณ์ เราจะให้โคสีแดง
แก่ท่านสักพันตัวพร้อมทั้งโคจ่าฝูงแก่ท่าน
แม้เราและสัตว์ทั้งมวลก็ชื่อว่าเป็นทูตของ
ท้องทั้งสิ้น เพระฉะนั้น เราก็เป็นทูต
ไฉนจะไม่ให้สิ่งของแก่ท่านผู้เป็นทูตเล่า.
จบ ทูตชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 89
อรรถกถาทูตชาดกที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุโลเลรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺสตฺถา ทูรมายนฺติ
ดังนี้. เรื่องจักมีแจ้งในกากชาดก นวกนิบาต. ก็พระศาสดาตรัสเรียก
ภิกษุรูปนั้นมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอเป็นผู้โลเลเหลาะแหละเฉพาะ
ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน เธอก็เป็นผู้โลเลเหลาะแหละ
ก็เพราะความเป็นผู้โลเลเหลาะแหละ เธอจวนจะถูกตัดศีรษะด้วยดาบ.
แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นโอรสของพระเจ้าพรหมทัตนั้น
พอเจริญวัยก็ได้เล่าเรียนศิลปศาสตร์ทั้งปวงในเมืองตักกศิลา พอ-
พระชนกล่วงลับไป ก็ได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ได้เสวยโภชนะอัน
บริสุทธิ์ ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงมีพระนามว่า พระเจ้าโภชน-
สุทธิกราช. ได้ยินว่า พระองค์ทรงดำรงอยู่ในวิธีการเห็นปานนั้น
เสวยพระกระยาหารซึ่งมีภาชนะใบหนึ่งสิ้นเปลืองค่าถึงแสนกหาปณะ
อนึ่ง เมื่อเสวยก็ไม่เสวยภายในพระราชมณเฑียรเพราะมีพระประสงค์
จะให้มหาชนผู้ได้เห็นวิธีการเสวยของพระองค์ได้กระทำบุญ จึงให้
สร้างรัตนมณฑปที่ประตูพระราชวัง เวลาจะเสวยก็ให้ประดับประดา
รัตนมณฑปนั้น แล้วประทับนั่งบนราชบัลลังก์อันล้วนด้วยทองคำ
ภายใต้เศวตฉัตร แวดล้อมด้วยนางกษัตริย์ทั้งหลาย จึงเสวยพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 90
กระยาหารอันมีรสซึ่งมีค่าถึงแสนกหาปณะ ด้วยภาชนะทองอันมีค่า
แสนกหาปณะ.
ครั้งนั้น มีบุรุษโลเลคนหนึ่งได้เห็นวิธีเสวยพระกระยาหาร
ของพระราชานั้น อยากจะบริโภคโภชนะนั้น เมื่อไม่สามารถจะอดกลั้น
ความอยากได้ คิดว่าอุบายนี้ดี จึงนุ่งผ้าให้มั่นคงแล้วยกมือขึ้นข้างหนึ่ง
ร้องเสียงดัง ๆ ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เราเป็นทูต พลางเข้าไปเฝ้า
พระราชา. ก็สมัยนั้น ในชนบทนั้น ใคร ๆ ย่อมห้ามคนที่กล่าวว่า
เราเป็นทูต เพราฉะนั้น มหาชนจึงแยกออกเป็นสองฝ่ายให้โอกาส.
บุรุษผู้นั้นรีบไปคว้าเอาก้อนภัตรก้อนหนึ่งจากภาชนะทองของพระ-
ราชาใส่ปาก. ลำดับนั้น ทหารดาบชักดาบออกด้วยหมายใจจักตัดหัว
ของบุรุษนั้น. พระราชาตรัสห้ามว่า อย่าประหาร แล้วตรัสว่า
เจ้าอย่ากลัว จงบริโภคเถอะ แล้วทรงล้างพระหัตถ์ประทับนั่ง. และ
ในเวลาเสร็จสิ้นการบริโภค พระราชาให้ประทานน้ำดื่มและหมากพลู
แก่บุรุษผู้นั้นแล้วตรัสถานว่า บุรุษผู้เจริญ เจ้ากล่าวว่าเป็นทูต เจ้า
เป็นทูตของใคร. บุรุษนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์
เป็นทูตของตัณหา ตัณหาตั้งข้าพระองค์ให้เป็นทูตแล้วบังคับส่งมาว่า
เจ้าจงไป ดังนี้แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถาแรกว่า :-
สัตว์เหล่านี้ย่อมไปสู่ประเทศอันไกล
หวังจะขอสิ่งของตามแต่จะได้ เพื่อประโยชน์
แก่ท้องใด ข้าพระองค์เป็นทูตของท้องนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 91
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ขอพระองค์อย่า
ได้ทรงพิโรธแก่ข้าพระองค์เลย. อนึ่ง มาณพ
ทั้งหลาย ย่อมตกอยู่ในอำนาจของท้องใด
ทั้งกลางวันและกลางคืน ข้าพระองค์ก็เป็น
ทูตของท้องนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ
ขอพระองค์อย่าได้ทรงพิโรธแก่ข้าพระองค์
เลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺสตฺถา ทูรมายนฺติ ความว่า
สัตว์เหล่านี้เป็นผู้อยู่ในอำนาจของตัณหา ย่อมไปแม้ไกล ๆ เพื่อ
ประโยชน์แก่ต้องใด. บทว่า รเถสภ ได้แก่ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็น
จอมทัพรถ.
พระราชาได้ทรงสดับคำของบุรุษนั้นแล้วทรงพระดำริว่า ข้อนี้
จริง สัตว์เหล่านี้เป็นทูตของท้อง เที่ยวไปด้วยอำนาจตัณหา และ
ตัณหาก็ย่อมจัดแจงสัตว์เหล่านี้ บุรุษผู้นี้กล่าวถ้อยคำเป็นที่ชอบใจเรา
ยิ่งนัก จึงทรงโปรดบุรุษผู้นั้น ตรัสพระคาถาที่ ๓ ว่า :-
ดูก่อนพราหมณ์ เราจะให้โคสีแดง
พันตัวพร้อมทั้งโคจ่าฝูงแก่ท่าน แม้เราและ
สัตว์ทั้งมวลก็เป็นทูตของท้องทั้งสิ้น เพราะ
เราก็เป็นทูต ไฉนจะไม่ให้สิ่งของแก่ท่าน
ผู้เป็นทูตเล่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 92
บทว่า พราหมณ นี้ในคาถานั้น เป็นเพียงคำร้องเรียก.
บทว่า โรหิณีน แปลว่า มีสีแดง. บทว่า สห ปุงฺคเวน ได้แก่
พร้อมกับโคผู้ซึ่งเป็นปริณายกจ่าฝูงผู้จะป้องกันอันตรายให้. บทว่า
มยมฺปิ ความว่า เราและสัตว์ทั้งปวงที่เหลือ ย่อมเป็นทูตของท้องนั้น
เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เราเป็นทูตของต้องเสมอกันเพราะเหตุไร
จึงจะไม่ให้แก่ท่านผู้เป็นทูตของท้องเล่า.
ก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้วทรงมีพระทัยยินดีว่า บุรุษผู้เช่น
ท่านนี้แลให้เราได้ฟังเหตุที่ไม่เคยฟัง จึงได้ประทานยศใหญ่แก่บุรุษ
ผู้นั้น.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้โลเลดำรงอยู่ในอนาคามิ-
ผล. ชนเป็นอันมากได้เป็นพระโสดาบันเป็นต้น. บุรุษผู้โลเลใน
กาลนั้น ได้เป็นภิกษุผู้เหลาะแหละในบัดนี้ ส่วนพระเจ้าโภชนสุทธิก-
ราช ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาทูตชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 93
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สังกัปปราคชาดก ๒. ติลมุฏฐิชาดก ๓. มณิกัณฐชาดก
๔. กุณฑกกุจฉิสินธวชาดก ๕. สุกชาดก ๖. ชรูทปานชาดก
๗. คามณิจันทชาดก ๘. มันธาตุราชชาดก ๙. ติรีติวัจฉชาดก
๑๐. ทูตชาดก.
จบ สังกัปปวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 94
๒. ปทุมวรรค
๑. ปทุมชาดก
ไม่ควรพูดให้เกิดความจริง
[๓๘๒] ผมและหนวดที่โกนแล้วตัดแล้ว ย่อม
งอกขึ้นใหม่ได้ ฉันใด จมูกของท่านจงงอก
ขึ้นใหม่ ฉันนั้น ข้าพเจ้าขอดอกปทุม
ขอท่านจงให้แก่ข้าพเจ้าเกิด.
[๓๘๓] พืชที่เก็บไว้ในสารทกาล เอาหว่านลง
ในนา ย่อมงอกขึ้น ฉันใด จมูกของท่าน
จงงอกขึ้นใหม่ ฉันนั้น ข้าพเจ้าขอดอกปทุม
ขอท่านจงให้แก่ข้าพเจ้าเถิด.
[๓๘๔] แม้คนทั้งสองนั้นคิดว่า ท่านจักให้
ดอกปทุมแก่ตน จึงได้พูดพล่ามไป คน
ทั้งสองนั้น พึงกล่าวหรือไม่กล่าวก็ตาม
จมูกย่อมงอกขึ้นไม่ได้ ดูก่อนสหาย ข้าพเจ้า
ขอดอกปทุม ขอท่านจงให้แก่ข้าพเจ้าเถิด.
จบ ปทุมชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 95
อรรถกถาปทุมวรรคที่ ๒
อรรถกถาปทุมชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุทั้งหลายผู้กระทำการบูชาด้วยดอกไม้ที่ต้นอานันทโพธิ์ จึงตรัส
เรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า ยถา เกสา จ มสฺสุ จ ดังนี้ เรื่องนี้จักมี
แจ้งในกาลิงคโพธิชาดก.
ก็ต้นโพธิ์นั้น ชื่อว่าอานันทโพธิ์ เพราะเป็นต้นต้นโพธิ์ที่พระ-
อานันทเถระปลูกไว้. จริงอยู่ความที่พระเถระปลูกต้นโพ ไว้ที่ซุ้ม
ประตูพระเชตวันวิหาร ได้แพร่พัดไปตลอดทั่วชมพูทวีป. ครั้งนั้น
ภิกษุชาวชนบทบางพวกพากันคิดว่า จักกระทำการบูชาด้วยระเบียบ
ดอกไม้ที่ต้นอานันทโพธิ์ จึงไปยังพระเชตวันวิหารถวายบังคมพระ-
ศาสดา วันรุ่งขึ้น เข้าไปในเมืองสาวัตถี ไปยังถนนที่มีดอกอุบลขาย
ไม่ได้ดอกไม้ จึงมาบอกแก่พระอานันทเถระว่า ท่านผู้มีอายุ พวก
กระผมคิดกันว่า จักกระทำบูชาด้วยดอกไม้ที่ต้นโพธิ์ จึงไปยังถนนที่มี
ดอกอุบลขาย ก็ไม่ได้แม้แต่ดอกเดียว. พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ผมจักนำมาถวายท่าน แล้วเดินไปยังถนนที่มีดอกอุบลขาย
เหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้นถือดอกอุบลเขียวเหล่านั้นไปบูชาที่ต้นโพธิ์.
ภิกษุทั้งหลายรู้เรื่องราวอันนั้น จึงนั่งสนทนาถึงคุณของพระเถระใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 96
โรงธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุชาวชนบทมีบุญน้อย ไปยัง
ถนนที่มีดอกอุบลขายก็ไม่ได้ดอกไม้ ส่วนพระเถระไปประเดี๋ยวก็ได้
มาแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ฉลาดในการกล่าว ผู้ฉลาด
ในถ้อยคำ ย่อมได้ดอกไม้ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน
ผู้ฉลาดก็ได้แล้วเหมือนกัน จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นบุตรเศรษฐี. ก็ในภายใน
พระนคร ในสระแห่งหนึ่งปทุมกำลังออกดอก. บุรุษจมูกแหว่งคนหนึ่ง
รักษาสระนั้น. ครั้นวันหนึ่ง เมื่อเขาป่าวร้องการแสดงมหรสพใน
พระนครพาราณสี บุตรของเศรษฐี ๓ คน มีความประสงค์จะประดับ
ดอกไม้เล่นมหรสพ จึงคิดกันว่า จักพรรณนาคุณของชายจมูกแหว่ง
โดยไม่เป็นจริงแล้วจักได้ดอกไม้ ครั้นคิดกันแล้วในเวลาที่ชายจมูก
แหว่งนั้นเด็ดดอกปทุม จึงเข้าไปใกล้สระได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
บรรดาเศรษฐีบุตรทั้ง ๓ คนนั้น คนหนึ่งเรียกชายจมูกแหว่งนั้น
มาแล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ผมและหนวดที่ตัดแล้ว ๆ ย่อมงอก
ขึ้นได้ ฉันใด จมูกของท่านจงงอกขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 97
ฉันนั้น ท่านอันข้าพเจ้าขอแล้ว ขอจงให้
ดอกปทุม.
ชายจมูกแหว่งนั้นโกรธต่อเศรษฐีบุตรนั้น จึงไม่ให้ดอกปทุม.
ลำดับนั้น เศรษฐีบุตรที่ ๒ ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ต่อเขาว่า :-
พืชที่เขาเก็บไว้ในสารทกาล คือฤดู
ใบไม้ร่วงหว่านลงในนาย่อมงอกขึ้น ฉันใด
จมูกของท่านจงงอกขึ้น ฉันนั้น ท่านอัน
ข้าพเจ้าขอแล้ว ขอจงให้ดอกปทุม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สารทิก ได้แก่ พืชที่สมบูรณ์
ด้วยเนื้อแท้ อันบุคคลถือเอาในสารทกาล แล้วเก็บไว้.
ชายจมูกแหว่งนั้นโกรธต่อเศรษฐีบุตรคนนั้นก็ไม่ให้ดอกปทุม.
ลำดับนั้น เศรษฐีบุตรคนที่ ๓ กล่าวคาถาที่ ๓ ต่อเขาว่า :-
คนแม้ทั้งสองนั้นพูดเพ้อไปด้วย
คิดว่า ท่านจักให้ดอกปทุมบ้าง คนทั้งสองนั้น
จะพูดหรือไม่พูดก็ตาม จมูกของท่านย่อม
ไม่งอกขึ้น ดูก่อนสหาย ท่านจงให้ดอกปทุม
ท่านอันข้าพเจ้าขอแล้วจงให้ดอกปทุมแก่
ข้าพเจ้าเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโภปิ วิลปนฺเต เต ความว่า
คนแม้ทั้งสองนั้นพูดเท็จ. บทว่า อปิ ปทุมานิ ความว่า คนทั้งสอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 98
นั้นคิดว่า ชายจมูกแหว่งจักให้ดอกปทุมแก่พวกเราบ้าง จึงกล่าว
อย่างนั้น. บทว่า วชฺชุ วา เต น วา วชฺชุ ความว่า คนเหล่านี้
จะพึงกล่าวหรือจะไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่าจมูกของท่านจงงอกขึ้น ชื่อว่า
คำของตนเหล่านั้น ไม่เป็นประมาณ จมูกย่อมไม่มีการงอกขึ้น
แม้โดยประการทั้งปวง ส่วนเราจะไม่กล่าวพาดพิงถึงจมูกของท่าน
จะขออย่างเดียว ดูก่อนสหาย ท่านอันเราขอแล้วจงให้ดอกปทุมแก่
เรานั้น.
ชายผู้เฝ้าสระปทุมได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า คนทั้งสองนี้กระทำ
มุสาวาท ส่วนท่านกล่าวตามสภาพ ดอกปทุมทั้งหลายสมควรแก่ท่าน
แล้วถือเอาดอกปทุมกำใหญ่มาให้แก่เศรษฐีบุตรคนที่ ๓ นั้น. แล้ว
กลับไปยังสระปทุมของตนตามเดิม.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดกว่า เศรษฐีบุตรคนที่ได้ดอกปทุมในกาลนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปทุมชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 99
๒. มุทุปาณิชาดก
ความปรารถนาสมประสงค์ในเมื่อมีของ ๔ อย่าง
[๓๘๕] ถ้าคนใช้ของท่านพึงมีฝ่ามืออ่อน ๑ ช้าง
ของท่านฝึกดีแล้ว ๑ เวลามืด ๑ ฝนตก ๑
จะพึงมีในกาลใด ความปรารถนาของท่านก็
จะสมประสงค์ในกาลนั้นเป็นแน่.
[๓๘๖] หญิงทั้งหลายบุรุษไม่สามารถจะปกปัก
รักษาไว้ได้ด้วยถ้อยคำอันอ่อนหวาน ยากที่
จะให้เต็มได้ เสมอด้วยแม่น้ำฉะนั้น ย่อม
จะจมลงในนรก บัณฑิตรู้ชัดอย่างนี้แล้ว
พึงหลีกเว้นเสียให้ห่างไกล.
[๓๘๗] หญิงเหล่านั้นย่อมเข้าไปคบหาบุรุษใด
เพราะความรักใคร่พอใจ หรือเพราะทรัพย์
เขาย่อมเผาบุรุษนั้นเสียฉับพลัน เปรียบ
เหมือนไฟไหม้ที่ของตนเอง ฉันนั้น.
จบ มุทุปาณิชาดกที่ ๒
อรรถกถามุทุปาณิชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า ปาณิ เจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 100
มุทุโก จสฺส ดังนี้
ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นผู้ที่ถูกนำมายังโรงธรรม-
สภาว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้กระสันจะสึกจริงหรือ เมื่อ
ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่า
หญิงทั้งหลายนี้ใครๆ ไม่ควรจะรักษา เพราะตามอำนาจของกิเลส
แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ทั้งที่จับมือธิดาของตนรักษาอยู่ก็ไม่อาจ
รักษาไว้ได้ ธิดายืนจับมือบิดาอยู่ ไม่ให้บิดารู้ตัวเลย หนีไปกับบุรุษ
ด้วยอำนาจกิเลส ครั้นตรัสดังนี้แล้วได้ทรงนิ่งเสีย อันภิกษุเหล่านั้น
อ้อนวอนจึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของ
พระเจ้าพรหมทัตนั้น พอทรงเจริญวัยก็เล่าเรียนศิลปศาสตร์ทุกอย่าง
ในเมืองตักกศิลา เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว ก็ดำรงอยู่ในราช-
สมบัติทรงครองราชย์โดยธรรม. พระองค์ทรงเลี้ยงดูคนทั้งสอง คือ
พระราชธิดา และพระราชภาคิไนย ไว้ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์
วันหนึ่ง ประทับอยู่กับพวกอำมาตย์ ดำรัสว่า เมื่อเราล่วงไป หลาน
ของเราจักได้เป็นพระราชา ฝ่ายธิดาของเราจักได้เป็นอัครมเหสีของ
พระราชานั้น ในกาลต่อมา ในเวลาที่พระธิดาและพระภาคิไนยนั้น
เจริญวัย ประทับอยู่กับพวกอำมาตย์อีกหนหนึ่ง ตรัสว่า เราจักนำ
ธิดาของพระราชาอื่นมาให้หลานเรา และจักให้ธิดาของเราในราช-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 101
ตระกูลอื่น เมื่อเป็นอย่างนี้ญาติทั้งหลายของเราจักมากขึ้น. อำมาตย์
เหล่านั้น ก็รับพระบัญชา. ลำดับนั้น พระราชาจึงรับสั่งให้ประทาน
วังข้างนอกแก่พระภาคิไนย ให้พระธิดาประทับอยู่ภายในพระราช-
นิเวศน์. แต่คนทั้งสองนั้นได้มีจิตปฏิพัทธ์แก่กันและกันอยู่. พระ-
กุมารคิดอยู่ว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ จึงจะให้นำพระราชธิดามาไว้
ภายนอกได้ ทรงคิดได้ว่า มีอุบาย จึงให้สินจ้างแก่แม่นม เมื่อแม่-
นมทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า มีกิจอะไร จึงตรัสว่า ข้าแต่แม่ เรา
ทั้งหลายใคร่จะนำพระราชธิดาไว้ภายนอกวัง จะมีช่องทางอย่างไร
หนอ. แม่นมทูลว่า หม่อมฉันจักพูดกับพระราชธิดาแล้วจักรู้ได้.
พระกุมารตรัสว่า ดีละแม่. แม่นมนั้นไปแล้วทูลว่า มาซิแม่หม่อมฉัน
จักจับเหาที่ศีรษะแม่ แล้วให้พระราชธิดานั้นประทับบนตั่งน้อยตัวเตี้ย
ตนเองนั่นบนตั่งน้อยตัวสูง ให้ศีรษะของพระราชธิดานั้นซบอยู่ที่ขา
อ่อนทั้งสองของตน จับเหาอยู่ จึงเอาเล็บของตนจิกศีรษะของพระ-
ราชธิดา. พระราชธิดาทรงทรามว่า แม่นมนี้ย่อมไม่เอาเล็บของตน
จิกเรา แต่เอาเล็บคือความคิดอ่านแห่งพระกุมารผู้เป็นโอรสของพระ-
ปิตุจฉาของเราจิก จึงตรัสถามว่า แม่ได้ไปเฝ้าพระราชกุมาร
หรือจ๊ะแม่. แม่นมทูลว่าจ้ะ แม่ไปมา. พระราชธิดาตรัสว่า พระ-
ราชกุมารบอกข่าวอะไรมาแก่แม่หรือ. แม่นมทูลว่า พระราชกุมาร
ถามถึงอุบายที่พระองค์ได้เสด็จอยู่ภายนอกจ้ะแม่. พระราชธิดาคิดว่า
พระราชกุมารแม้เป็นบัณฑิตมีปัญญาก็จักทรงรู้ จึงตรัสว่า แม่จำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 102
แม่จงเรียนเอาคาถานี้ไปบอกพระราชกุมารเถิด แล้วจึงตรัสคาถาที่ ๑
ว่า :-
ถ้าคนใช้ของท่านพึงมีฝ่ามืออ่อน ๑
ช้างของท่านฝึกดีแล้ว ๑ เวลามืด ๑ ฝนตก ๑
จะพึงมีในกาลใด ความปรารถนาของท่านก็
จะสมประสงค์ในกาลนั้นเป็นแน่.
แม่นมนั้นเรียนเอาคาถานั้นแล้วไปเฝ้ากุมาร เมื่อพระ-
กุมารตรัสว่า พระราชธิดาตรัสอะไรจ๊ะแม่. ทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า
พระราชธิดาไม่ได้ตรัสคำอะไร ๆ อื่นเลย ส่งแต่คาถานี้มา เเล้วยก
คาถานั้นขึ้นมา. ฝ่ายพระกุมารทรงทราบเนื้อความของคาถานั้น. จึง
สั่งแม่นมนั้นไปด้วยดำรัสว่า ไปเถอะแม่.
คาถานั้นมีความว่า ถ้าคนใช้คนหนึ่งของพระองค์มีมืออ่อน
เหมือนมือของหม่อมฉัน ถ้าช้างเชือกหนึ่งของพระองค์ฝึกให้ทำเหตุ
แห่งการไม่หวั่นไหวได้อย่างดี ๑ วันนั้นมีความมืดจัดประดุจประกอบ
ด้วยองค์สี่ ๑ และฝนตก ๑ เมื่อเป็นเช่นนั้น ความปรารถนาของ
ท่านก็จะสมประสงค์ในกาลนั้นแน่ อธิบายว่า เพราะอาศัยปัจจัย ๔.
ประการนี้ ความปรารถนาแห่งใจของท่านก็จะถึงที่สุดโดยเด็ดขาดใน
กาลเช่นนั้น.
พระกุมารทรงทราบความนั้นโดยถ่องแท้ จึงทรงทำการตระ-
เตรียมคนใช้คนหนึ่งมีรูปงามมืออ่อน ให้สินจ้างแก่นายหัตถาจารย์ผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 103
รักษามงคลหัตถี ให้ฝึกช้างกระทำอาการไม่หวั่นไหวแล้วทรงรอคอย
เวลาอยู่. ครั้นในวันอุโบสถข้างแรมวันหนึ่ง เมฆฝนดำทมึนตกลงมา
ในระหว่างมัชฌิมยาม. พระกุมารนั้น ทรงกำหนดว่า วันนี้ เป็น
วันที่พระราชธิดากำหนดไว้ จึงเสด็จขึ้นช้าง ให้คนใช้มืออ่อนนั้นนั่ง
บนหลังช้าง เสด็จไปประทับ ณ ที่ตรงกับเนินช่องว่างของพระราช-
นิเวศน์ ให้ช้างเบียดติดกับฝาใหญ่ ได้ประทับเปียกชุ่มอยู่ ณ ที่ใกล้
พระแกล. ฝ่ายพระราชาเมื่อจะรักษาพระธิดา จึงมิให้บรรทมที่อื่นให้
บรรทมอยู่บนที่บรรทมน้อยใกล้กับพระองค์. ฝ่ายพระธิดารู้ว่า วันนี้
พระกุมารจะเสด็จมาก็บรรทมไม่หลับเลย ทูลว่า ข้าแต่พระบิดา
หม่อมฉันจะอาบน้ำ. พระราชาตรัสว่า มาเถิดแม่ แล้วจับพระหัตถ์
พระธิดาพาไปใกล้พระแกล ตรัสว่า อาบเถิดแม่ แล้วยกขึ้นให้ยืน
ที่ชานด้านนอกพระแกล ประทับยืนจับพระหัตถ์ข้างหนึ่ง. พระธิดา
นั้น แม้กำลังอาบน้ำ ก็เหยียดพระหัตถ์ให้แก่พระกุมาร ๆ เปลื้อง
เครื่องอาภรณ์จากพระหัตถ์ของพระธิดานั้นแล้วประดับที่มือของคนใช้
นั้น แม้ยกคนใช้นั้นขึ้นได้ยินที่ชานเกาะพระธิดา. พระธิดานั้น
จับมือของคนใช้นั้นวางที่พระหัตถ์ของพระบิดา. พระราชานั้นทรงจับ
มือข้างหนึ่งของคนใช้นั้น แล้วปล่อยมือข้างหนึ่งของพระธิดา พระ-
ธิดานั้นเปลื้องเครื่องอาภรณ์จากมืออีกข้างหนึ่ง เอาประดับมือที่สอง
ของตนใช้นั้นแล้ววางที่พระหัตถ์ของพระบิดา ตนเองได้ไปกับพระ-
กุมาร. พระราชาทรงสำคัญว่า ธิดาของพระองค์ จึงให้ทารกนั้นนอน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 104
ในห้องอันเป็นสิริ ในเวลาเสร็จสิ้นการอาบน้ำ ปิดประตู ลั่นกุญแจ
ให้การอารักขาแล้ว เสด็จไปบรรทมยังที่บรรทมของพระองค์. เมื่อ
ราตรีสว่างแจ้งแล้ว พระราชานั้นทรงเปิดประตูเห็นทารกนั้น จึง
รับสั่งถามว่า นี่อะไรกัน. ทารกนั้นกราบทูลความที่พระธิดานั้นเสด็จ
ไปกับพระกุมาร. พระราชาทรงเดือดร้อนพระทัย ทรงพระดำริว่า
เราแม้จับมือเที่ยวไป ก็ไม่อาจรักษามาตุคามได้ ชื่อว่าหญิงทั้งหลาย
ใคร ๆ รักษาไม่ได้อย่างนี้ จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถานอกนี้ว่า :-
หญิงทั้งหลายบุรุษไม่สามารถจะรักษา
ไว้ได้ด้วยถ้อยคำอันอ่อนหวาน ยากที่จะให้
เต็มได้ เปรียบเสมอด้วยแม่น้ำ ย่อมจมลง
ในนรก บัณฑิตรู้ชัดอย่างนี้แล้ว พึงเว้นเสีย
ให้ห่างไกลหญิงเหล่านี้ ย่อมเข้าไปคบหา
บุรุษใด เพราะความรักใคร่ก็ตาม เพราะ
ทรัพย์ก็ตาม เขาย่อมเผาบุรุษนั้นเสียฉับพลัน
เปรียบเหมือนไฟไหม้ที่ของตนเองฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนลา มุทุสมฺภาสา ความว่า
บุรุษทั้งหลายไม่อาจ คือไม่สามารถที่จะยึดเหนี่ยวไว้ได้ แม้ด้วยถ้อยคำ
อันไพเราะอ่อนหวาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าไม่อาจรักษาได้ เพราะ
บุรุษทั้งหลายไม่อาจรักษาหญิงเหล่านี้. บทว่า มุทุสมฺภาสา ความว่า
ชื่อว่ามีถ้อยคำอ่อนหวาน เพราะแม้เมื่อหัวใจกระด้าง ก็มีน้ำคำอ่อน-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 105
โยน. บทว่า ทุปฺปูรา ตา นทีสมา ความว่า ชื่อว่ายากที่จะให้
เต็มได้ เพราะไม่รู้จักพอใจด้วยเมถุนเป็นต้น ที่เสพแล้วเนืองๆ
เหมือนแม่น้ำชื่อว่ายากที่จะให้เต็มได้ เพราะน้ำที่หลั่งไหลมา ๆ ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคาม
ไม่อิ่ม ไม่แจ่มแจ้งธรรม ๓ ประการ ย่อมตายไป เสียก่อน ธรรม
๓ ประการเป็นไฉน ? คือความเข้าเสพเมถุนธรรม ๑ ความ
ดิ้นรน ๑ การแต่งตัว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามยังไม่ทันจะ
อิ่มไม่ทันจะแจ่มแจ้งธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ก็ตายเสียก่อน
บทว่า สีทนฺติ ความว่า ย่อมจมคือมุดลงมหานรก ๘ และอุสสุทนรก
๑๖. บทว่า น เป็นเพียงนิบาต. บทว่า วิทิตฺวาน แปลว่า รู้ชัด
แล้วอย่างนี้. บทว่า อารกา ปริวชฺชเย นี้ ท่านแสดงว่า บุรุษผู้
เป็นบัณฑิตรู้อย่างนี้ว่า ธรรมดาหญิงเหล่านี้ ไม่อิ่มเมถุนธรรมเป็นต้น
ตายแล้วย่อมจมลงในนรกเหล่านี้ เมื่อตนจมลงอย่างนี้ จักเกิดมีความ
สุขแก่ใครอื่น พึงเว้นหญิงแม้เหล่านี้เสียให้ห่างไกลทีเดียว. บทว่า
ฉนฺทาสา วา ธเนน วา ความว่า หญิงเหล่านี้ย่อมเข้าไปเสวนา
คือคบหาบุรุษใด เพราะความพอใจ คือความชอบใจ ความรักใคร่
ของตน หรือเพราะทรัพย์ที่ได้ด้วยการจ้าง. บทว่า ชาตเวโท แปลว่า
ไฟ. จริงอยู่ไฟนั้น ชื่อว่า ชาตเวโท เพราะพอเกิดเท่านั้นก็เสวย
ได้เป็นสภาพที่เสวยคือปรากฏ. ไฟนั้นย่อมไหม้ ฐานที่คือเหตุได้แก่
ที่ของตนฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมส้องเสพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 106
กับบุรุษใด ย่อมไหม้คือเผาทันทีซึ่งบุรุษนั้นแม้ผู้ประกอบด้วยทรัพย์
ยศ ศีล และปัญญา การทำให้สมบัตินั้นไม่ควรเกิดขึ้นอีก โดยทำ
ทรัพย์เป็นต้น เหล่านั้นให้พินาศไป. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
ชนผู้ตกอยู่ในอำนาจของมาตุคาม ถึง
มีกำลังก็เป็นผู้หมดกำลัง แม้มีเรี่ยวแรงก็
เสื่อมถอย มีตาก็เป็นคนตาบอด. ชนผู้ตก
อยู่ในอำนาจของมาตุคาม ถึงมีคุณความดีก็
หมดคุณความดี แม้มีปัญญาก็เสื่อมถอย
เป็นผู้ประมาท ติดพันอยู่ในบ่วง มาตุคาม
ย่อมปล้นเอาการศึกษาเล่าเรียน ตบะ ศีล
สัจจะ จาคะ สติ และมติความรู้ของตนผู้
ประมาท เหมือนพวกโจรคอยดักทำร้ายใน
หนทาง. ย่อมทำยศ เกียรติ ฐิติความทรงจำ
ความกล้าหาญ ความเป็นพหูสูต และความ
รู้ของตนผู้ประมาทให้เสื่อมไป เหมือนไฟผู้
ชำระทำของฟืนให้หมดไปฉะนั้น.
พระมหาสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ทรงดำริว่า แม้หลาน
เราก็ต้องเลี้ยงดู ธิดาเราก็ต้องเลี้ยงดู จึงพระราชทานพระธิดา ให้แก่
พระภาคิไนยนั้นนั่นแหละด้วยสักการะอันใหญ่หลวง แล้วทรงตั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 107
พระภาคิไนยนั้นให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอุปราช. เมื่อพระเจ้าลุง
สวรรคต แม้อุปราชนั้นก็ดำรงอยู่ในราชสมบัติ.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานั้นมาแล้ว ทรงประ-
กาศสัจจะแล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึก
ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามุทุปาณิชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 108
๓. จุลลปโลภนชาดก
ว่าด้วยหญิงทำบุรุษให้งงงวย
[๓๘๘] เมื่อน้ำไม่หวั่นไหว ดาบสนี้มาได้ด้วย
ฤทธิ์เอง ครั้นถึงความระคนกับด้วยหญิง
จมลงในห้วงมหรรณพ.
[๓๘๙] ธรรมดาว่าหญิงเหล่านี้ เป็นผู้ยังบุรุษ
ให้งงงวยมีมายามาก และยังพรหมจรรย์ให้
กำเริบ ย่อมจะจมลงในอบาย บัณฑิตรู้ชัด
อย่างนี้แล้ว พึงหลีกเว้นเสียให้ห่างไกล.
[๓๙๐] หญิงเหล่านั้นย่อมเข้าไปคบทาบุรุษใด
เพราะความรักใคร่พอใจ หรือเพราะทรัพย์
เขาย่อมเผาบุรุษนั้นเสียฉับพลัน เปรียบ-
เหมือนไฟไหม้ที่ของตนเอง ฉะนั้น.
จบ จุลลปโลภนชาดกที่ ๓
อรรถกถาจุลลปโลภชนาดกที่ ๓๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้กระสันจะสึกเหมือนกันรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อภิชฺชมาเน วาริสฺมึ ดังนี้.
๑. ในอรรถกถาเป็น จุลลปโลภ ฯ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 109
ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้น ผู้ถูกนำมาที่โรงธรรม-
สภาว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้กระสันจะสึกจริงหรือ เมื่อ
ภิกษุนั้นทูลรับเป็นสัตย์แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ชื่อว่าหญิงเหล่านี้
ย่อมทำสัตว์ผู้บริสุทธ์ให้เศร้าหมอง ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้สัตว์
ผู้บริสุทธิ์อันมีในกาลก่อนก็ทำให้เศร้าหมองเหมือนกัน อันภิกษุ
เหล่านั้นทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อ
ไปนี้ :-
ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนคร
พาราณสี เป็นผู้ไม่มีพระโอรส จึงตรัสกับนางสนมของพระองค์ว่า
เธอทั้งหลายจะกระทำความปรารถนาเพื่อให้ได้บุตร. นางสนม
เหล่านั้นจึงพากันปรารถนาบุตร. เมื่อกาลล่วงไปด้วยอาการอย่างนี้
พระโพธิสัตว์จึงจุติจากพรหมโลก บังเกิดในพระครรภ์ของพระ-
อัครมเหสี. พระโพธิสัตว์นั้นพอประสูติ พระชนกชนนีให้สรงสนาน
แล้วได้ประทานแก่พระนม เพื่อให้ดื่มถันธารา. พระโพธิสัตว์นั้น
อันแม่นมทั้งหลายให้ดื่มน้ำนมอยู่ก็ทรงกรรแสง. ลำดับนั้น จึงได้
ทรงประทานพระโพธิสัตว์นั้นให้แก่พระนมอื่น. ในมือของมาตุคาม
พระโพธิสัตว์ไม่เป็นผู้นิ่งเฉย. ลำดับนั้น จึงได้ประทานพระโพธิสัตว์
นั้นเเก่บุรุษคนหนึ่งผู้เป็นข้าบาทมูลิกา. พอข้าบาทมูลิกาคนนั้นรับเอา
เท่านั้นพระโพธิสัตว์ก็หยุดนิ่ง. ครั้นในวันตั้งชื่อพระโพธิสัตว์นั้น
พระชนกชนนีได้ทรงขนานพระนามว่า อนิตถิคันธกุมาร. ตั้งแต่นั้นมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 110
บุรุษเท่านั้นจึงจะพาพระกุมารนั้นเที่ยวไป เมื่อจะให้ดื่มน้ำนม จะปิด
และคลุมให้ดื่ม หรือวางถันในพระโอษฐ์ตามช่องพระวิสูตร. เมื่อ
พระกุมารแม้ประพฤติพระองค์ไป ๆ มา ๆ อยู่ ใคร ๆ ไม่อาจแสดง
มาตุคามให้เห็น. ด้วยเหตุนั้น พระราชาจึงให้สร้างสถานที่ประทับนั่ง
เป็นต้นไว้ในที่ว่าง และให้สร้างฌานาคารหอคอย ไว้ภายนอกเธอ
พระกุมารนั้น. ในเวลาพระกุมารนั้นมีพระชันษา ๑๖ พรรษา
พระราชาทรงพระดำริว่า เราไม่มีโอรสองค์อื่นอีก ส่วนกุมารนี้ไม่
บริโภคกาม แม้ราชสมบัติก็ไม่ปรารถนา เราได้พระโอรสยากจริงหนอ
ครั้งนั้น มีหญิงฟ้อนรุ่นสาวผู้หนึ่ง ฉลาดในการฟ้อนการขับร้อง
และการประโคม สามารถที่เล้าโลมบุรุษให้ตกอยู่ในอำนาจของตนได้
เข้าไปเฝ้าแล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์ทรงพระดำริเรื่องอะไร
พระพุทธเจ้าข้า. ฝ่ายพระราชาก็ตรัสบอกเหตุนั้น. หญิงฟ้อนกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ เรื่องนั้นโปรดยกไว้ กระหม่อมฉัน
จักประเล้าประโลมพระราชกุมารนั้นให้รู้จักกามรส. พระราชาตรัสว่า
ถ้าเจ้าจักสามารถประเล้าประโลมอนิตถิคันธกุมารผู้โอรสของเราได้
ไซร้ พระกุมารนั้นจักเป็นพระราชา ตัวเจ้าจักเป็นอัครมเหสี. หญิง
ฟ้อนกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์เป็นเจ้า การประเล้าประโลมเป็น
ภาระของกระหม่อมฉัน พระองค์อย่าทรงปริวิตก ดังนี้แล้วเข้าไป
หาคนผู้ทำหน้าที่อารักขาแล้วกล่าวว่า ในเวลาใกล้รุ่งเราจักมายืนที่
หอคอยภายนอกพระวิสูตร ใกล้ที่บรรทมของพระลูกเจ้า แล้วจัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 111
ขับร้อง ข้าพระราชกุมารจักทรงกริ้ว พวกท่านพึงบอกเรา เราจะ
หลบไปเสีย ถ้าทรงสดับ พวกท่านช่วยบอกแก่เราเช่นเดียวกัน.
คนผู้ทำหน้าที่อารักขาทั้งหลายต่างพากันรับคำนาง. ฝ่ายหญิงฟ้อนนั้น
ในเวลาใกล้รุ่ง ได้ไปยืนอยู่ ณ ประเทศที่นั้น แล้วขับเสียงเพลง
ประสานกับเสียงพิณ บรรเลงเสียงพิณประสานกับเสียงเพลงขับ ด้วย
เสียงอันไพเราะ. พระกุมารทรงบรรทมฟังอยู่ ทรงยอมรับว่า ดี
มีประโยชน์. วันรุ่งขึ้น ทรงสั่งให้นางยืนขับร้องในที่ใกล้ รุ่งขึ้น
วันที่สอง รับสั่งให้ยืนขับร้องในหอคอย รุ่งขึ้นวันที่สาม รับสั่งให้
ยืนขับร้องในที่ใกล้กับพระองค์ ด้วยวิธีการอย่างนี้ พระองค์ทรงทำ
ตัณหาให้เกิดขึ้นโดยลำดับ ๆ จนถึงส้องเสพโลกธรรม ได้รู้รสกามเข้า
แล้ว ออกพระโอษฐ์ว่า ขึ้นชื่อว่ามาตุคาม เราจักไม่ยอมให้แก่ชายอื่น
ถือพระแสงดาบเสด็จลงสู่ท้องถนน เที่ยวไล่ติดตามบุรุษทั้งหลาย.
ลำดับนั้น พระราชารับสั่งให้จับพระกุมารนั้นแล้วให้นำออก
ไปเสียจากพระนคร พร้อมกับกุมาริกานั้น. ฝ่ายพระกุมารและชายา
ทั้งสอง เสด็จเข้าป่าไปยังแม่น้ำคงคาด้านใต้ สร้างอาศรมอยู่ใน
ระหว่างแม่น้ำคงคาและมหาสมุทร โดยมีแม่น้ำคงคาอยู่ด้านหนึ่ง
และมีมหาสมุทรอยู่ด้านหนึ่ง สำเร็จการอยู่ ณ ที่นั้น. ฝ่ายนาง
กุมาริกานั่งอยู่ในบรรณศาลา กำลังต้มหัวเผือกเหง้าไม้และผลไม้อยู่
พระโพธิสัตว์นำผลาผลทั้งหลายมาจากป่า. ครั้นวันหนึ่ง เมื่อพระ-
โพธิสัตว์แม้นั้นไปเพื่อต้องการผลหมากรากไม้ มีพระดาบสรูปหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 112
อาศัยอยู่ที่เกาะในมหาสมุทร เหาะมาทางอากาศในเวลาภิกขาจารเห็น
ควันไฟนั้นจึงลงยังอาศรม. ลำดับนั้น กุมาริกานั้น เชิญพระดาบส
นั้นให้นั่ง โดยกล่าวว่า ท่านจงนั่งรอจนกว่าดิฉันจะต้มเสร็จ แล้ว
เล้าโลมด้วยความเด่นของหญิง ให้เสื่อมจากฌาน ทำพรหมจรรย์
ของดาบสนั้นให้อันตรธานหายไป. พระดาบสนั้นเป็นเหมือนกาปีกหัก
ไม่อาจละนางกุมาริกานั้นไปได้คงอยู่ในที่นั้นเองตลอดทั้งวัน ในเวลา
เย็นเห็นพระโพธิสัตว์มา จึงรีบหนีบ่ายหน้าไปทางมหาสมุทร. ลำดับ
นั้น พระโพธิสัตว์จึงชักดาบออกไล่ติดตามดาบสนั้นไปด้วยเข้าใจว่า
ผู้นี้จักเป็นศัตรูของเรา. พระดาบสแสดงอาการจะเหาะขึ้นในอากาศ
จึงตกลงไปในมหาสมุทร. พระโพธิสัตว์คิดว่า ดาบสผู้นี้จักมาทาง
อากาศ เพราะฌานเสื่อมจึงตกลงในมหาสมุทร บัดนี้ เราควรจะเป็น
ที่พึ่งอาศัยของดาบสนี้ แล้วยืนที่ชายฝั่ง ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
เมื่อน้ำไม่กระเพื่อม ดาบสนี้มาได้
ด้วยฤทธิ์เอง ครั้นถึงความระคนด้วยหญิง
ก็จมลงในห้วงมหรรณพ. ธรรมดาว่า หญิง
เหล่านี้ เป็นผู้ทำบุรุษให้งงงวย มีมายามาก
และยังพรหมจรรย์ให้กำเริบ ย่อมจมลงใน
อบาย บัณฑิตรู้ชัดอย่างนี้แล้ว พึงหลีกเว้น
เสียให้ห่างไกล. หญิงเหล่านั้นย่อมเข้าไป
คบหาบุรุษใดเพราะความรักใคร่พอใจ หรือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 113
เพราะทรัพย์เขาย่อมเผาบุรุษนั้นเสียฉับพลัน
เปรียบเหมือนไฟไหม้ที่ของตนเองฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิชฺชมเน วาริสฺมึ ความว่า
เมื่อน้ำนี้ไม่ไหวคือไม่กระเพื่อม พระดาบสไม่ถูกต้องน้ำ มาด้วยฤทธิ์
ทางอากาศด้วยตนเอง. บทว่า มิสฺสีภาวิตฺถิย ได้แก่ ภาวะที่ระคน
กับหญิงด้วยอำนาจการเสพโลกธรรม. บทว่า อาวฎฺฏนี มหามายา
ความว่า ธรรมดาหญิงเหล่านี้ ชื่อว่าทำบุรุษให้เวียนมา เพราะให้
เวียนมาด้วยกามคุณ ชื่อว่ามีมายามาก เพราะประกอบด้วยมายาหญิง
หาที่สุดมิได้. สมจริงดังที่ท่านโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า :-
หญิงทั้งหลายนี้เป็นผู้มีมายาดุจพยับ
แดด ความโศก โรค และอันตรายย่อมเกิด
แก่ผู้สมาคมกับหญิง ร่ำไป อนึ่ง หญิง
ทั้งหลาย กล้าแข็ง เป็นดุจเครื่องผูก เป็นบ่วง
แห่งมัจจุราช และมีมหาภูตรูปดุจคูหาเป็นที่
อาศัย บุรุษใดคุ้นเคยในหญิงเหล่านั้น บุรุษ
นั้นเท่ากับคนอาธรรม์ในนรชนทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมจริยวิโกปนา ความว่า
ยังความประพฤติอันประเสริฐ คือเมถุนริรัตพรหมจรรย์ให้กำเริบ.
บทว่า สีทนฺติ ความว่า ธรรมดาหญิงเหล่านี้ ชื่อว่าย่อมจมลง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 114
ในอบายทั้งหลาย เพราะทำพรหมจรรย์ของพวกฤๅษีให้กำเริบ. คำที่
เหลือพึงประกอบความโดยนัยก่อนนั่นแล.
ฝ่ายพระดาบส ครั้นได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์อย่างนี้แล้ว
ยืนอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทรนั้นเอง ทำฌานที่เสื่อมให้กลับเกิดขึ้นอีก
แล้วไปยังที่อยู่ของตนทางอากาศ. พระโพธิสัตว์คิดว่า พระดาบสนี้
เป็นผู้อบรมมาแล้วอย่างนี้ ไปทางอากาศเหมือนปุยนุ่น แม้เราก็
ควรทำฌานให้เกิดแล้วไปทางอากาศเหมือนพระดาบสนี้. ครั้นคิด
แล้วก็ไปยังอาศรม นำหญิงนั้นไปส่งยังถิ่นมนุษย์แล้วส่งไปด้วยคำว่า
เจ้าจงกลับไปเถิด เสร็จแล้วก็เข้าป่าสร้างอาศรมในภูมิภาคอันรื่นรมย์
แล้วบวชเป็นฤๅษีกระทำกสิณบริกรรมยังอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิด
ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศอริยสัจจธรรมทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบอริยสัจ ภิกษุ
ผู้กระสันจะสึก ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ก็อนิตถิคันธกุมาร
ในกาลนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาจุลลปโลภนชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 115
๔. มหาปนาทชาดก
ว่าด้วยปราสาทของพระเจ้ามหาปนาท
[๓๙๑] พระเจ้ามหาปนาทนั้นมีปราสาทล้วน
แล้วไปด้วยทอง กว้าง ๑๖ ชั่วธนูตก สูง
๑ พันชั่วธนู.
[๓๙๒] และปราสาทนั้นมีพื้น ๗ ชั้น ประกอบ
ไปด้วยธง แล้วไปด้วยแก้วมณีสีเขียว มีนาง
ฟ้อน ๖ พัน แบ่งออกเป็น ๗ พวกฟ้อนรำ
อยู่ในปราสาทนั้น.
[๓๙๓] ดูก่อนภัททชิ ท่านกล่าวถึงปราสาทนั้น
มีแล้วในกาลนั้น ในครั้งนั้น เราเป็นท้าว
สักกะผู้รับใช้การงานของท่าน.
จบ มหาปนาทชาดกที่ ๔
อรรถกถามหาปนาทชาดกที่ ๔
พระศาสดาประทับนั่งอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ทรงปรารภอานุภาพ
ของพระภัททชิเถระจึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปนาโท นาม โส
ราชา ดังนี้
สมัยหนึ่ง พระศาสดาทรงจำพรรษาอยู่ในเมืองสาวัตถี ทรง
พระดำริว่า จักสงเคราะห์ภัททชิกุมาร แวดล้อมแล้วด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 116
เสด็จจาริกถึงภัททิยนคร ประทับอยู่ในชาติยาวันตลอด ๓ เดือน
ทรงรอคอยความแก่กล้าแห่งญาณของภัททชิกุมาร. ภัททชิกุมารนั้น
มียศมาก เป็นบุตรคนเดียวของภัททชิเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติประมาณ
๘๐ โกฏิ. ภัททชิกุมารนั้นมีปราสาท ๓ หลัง สมควรแก่ฤดูทั้ง ๓
ภัททชิกุมารอยู่ในปราสาทหลังละ ๔ เดือน ครั้นอยู่ในปราสาทหลัง
หนึ่งแล้ว ก็แวดล้อมด้วยนางฟ้อนไปยังปราสาทอีกหลังหนึ่งด้วยยศ
ใหญ่. ขณะนั้น พระนครทั้งสิ้นก็ตื่นเต้นกันว่า พวกเราจักดูสมบัติของ
ภัททชิกุมาร ต่างผูกจักรและจักรซ้อน ผูกเตียงและเตียงซ้อนในระหว่าง
ปราสาท. พระศาสดาประทับอยู่ตลอด ๓ เดือน ตรัสบอกชาวพระ-
นครว่า เราจะไปก่อนละ. ชาวพระนครกราบทูลนิมนต์พระศาสดาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรุ่งนี้ พระองค์จึงค่อยเสด็จไปเถิด แล้ววัน
ที่สอง ตระเตรียมมหาทานเพื่อภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
สร้างมณฑปที่ถวายทานท่ามกลางพระนคร ตกแต่งปูลาดอาสนะแล้ว
กราบทูลให้ทรงทราบถึงกาลเวลา. พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์
เสด็จไปประทับนั่งในมณฑปนั้น. มนุษย์ทั้งหลายต่างได้ถวายมหาทาน.
พระศาสดาทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงเริ่มอนุโมทนาด้วยพระ-
สุรเสียงอันไพเราะ. ขณะนั้น ภัททชิกุมาร จากปราสาทหลังหนึ่ง
ไปยังปราสาทหลังหนึ่ง วันนั้นไม่มีใครๆ ไปเพื่อต้องการดูสมบัติของ
ภัททชิกุมารนั้น. มีแต่ คนของตนเท่านั้นห้อมล้อมไป ภัททชิกุมารจึง
ถามคนทั้งหลายว่า ในเวลาอื่น เมื่อเราจากปราสาทหนึ่งไปยังปราสาท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 117
หนึ่ง ชาวพระนครทั้งสิ้นตื่นเต้น ต่างผูกจักรและจักรซ้อนเป็นต้น
แต่วันนี้ นอกจากคนทั้งหลายของเราไม่มีใคร ๆ อื่นเลย เป็นเพราะ
เหตุอะไรกัน. พวกบริวารกล่าวว่า ข้าแต่นาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จเข้าไปอาศัยนครนี้ประทับอยู่ตลอด ๓ เดือน วันนี้จักเสด็จไป
พระองค์ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่มหาชน ชาว
พระนครทั้งสิ้นพากันสดับพระธรรมกถาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น. ภัททชิกุมารนั้นกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย
จงมา แม้เราก็จักฟังธรรม แล้วประดับด้วยอาภรณ์ทั้งปวงเข้าไปพร้อม
ด้วยบริวารใหญ่ ยืนฟังพระธรรมกถาอยู่ท้ายบริษัท ยังสรรพกิเลส
ทั้งหลายให้สิ้นไป. บรรลุพระอรหัตอันเป็นผลชั้นเลิศ. พระศาสดา
ตรัสเรียกภัททิยเศรษฐีมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนมหาเศรษฐี บุตรของท่าน
ประดับประดาตกแต่งแล้วฟังธรรมกถาได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต เพราะ
ฉะนั้น วันนี้ บุตรของท่านควรจะบรรพชา หรือควรจะปรินิพพาน.
ภัททิยเศษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิจด้วยการปรินิพพาน
แห่งบุตรของข้าพระองค์ ย่อมไม่มี ขอพระองค์จงให้บุตรของข้าพระ-
องค์นั้นบรรพชาเถิด พระเจ้าข้า ก็แหละครั้นให้บรรพชา ขอพระองค์
จงพาบุตรของข้าพระองค์นั้น เข้าไปยังเรือนข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้
เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว พากุลบุตรเสด็จไปยัง
พระวิหารให้บรรพชาอุปสมบท. บิดามารดาของพระภัททชินั้นกระทำ
มหาสักการะ ๗ วัน พระศาสดาประทับอยู่ ๗ วัน ทรงพากุลบุตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 118
เที่ยวจาริกไปถึงโกฏิคาม. มนุษย์ชาวโกฏิคามได้ถวายมหาทานแก่
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ในเวลาเสร็จภัตตกิจ พระ-
ศาสดาทรงเริ่มอนุโมทนา. ในเวลาที่ทรงทำอนุโมทนา กุลบุตรไป
นอกบ้านคิดว่า ในเวลาพระศาสดาเสด็จมาเท่านั้น เราจึงจักลุกขึ้น
แล้วนั่งเข้าฌานที่โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา ครั้นพระเถระที่
แก่ ๆ แม้จะมาก็ไม่ออกจากฌาน ในเวลาพระศาสดาเสด็จมาเท่านั้น
จึงได้ลุกขึ้น. พวกภิกษุปุถุชนพากันโกรธว่า พระภัททชินี้ท่าทีเหมือน
บวชก่อน เมื่อพระมหาเถระมา แม้เห็นก็ไม่ลุกขึ้น. ชาวโกฏิคาม
พากันผูกเรือขนาน. พระศาสดาประทับยืนท่ามกลางสงฆ์ในเรือ
ขนาน ตรัสถามว่า ภัททชิอยู่ที่ไหน ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
พระภัททชินี้ อยู่ที่นี้แหละ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า มาเถิด
ภัททชิ จงขึ้นเรือลำเดียวกันกับเรา. พระเถระได้เหาะไปยืนอยู่ในเรือ
ลำเดียวกัน. ครั้นในเวลาที่เรือแล่นไปกลางแม่น้ำคงคา พระศาสดา
ตรัสว่า ภัททชิ ปราสาทที่เธอเคยอยู่ครอบครองในคราวเป็นพระเจ้า-
มหาปนาท อยู่ที่ไหน. พระภัททชิกราบทูลว่า จมอยู่ในที่นี้ พระเจ้าข้า.
พวกภิกษุปุถุชนพากันกล่าวว่า พระภัททชิเถระพยากรณ์พระอรหัต
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภัททชิ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตัดความสงสัย
ขอเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย. ขณะนั้น พระเถระถวายบังพระ-
ศาสดาแล้วไปด้วยกำลังฤทธิ์ เอานิ้วเท้าคีบจอมปราสาท ยกปราสาท
อันสูง ๒๕ โยชน์ขึ้นแล้วเหาะขึ้นในอากาศ. ก็พระเถระเหาะขึ้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 119
ปรากฏแก่ชนทั้งหลายที่ยืนอยู่ภายใต้ปราสาท ประหนึ่งปราสาทจะพัง
ทลายลงทับ. พระเถระนั้นยกปราสาทขึ้นจากน้ำ ๑ โยชน์ ๒ โยชน์
๓ โยชน์ จนกระทั่ง ๒๕ โยชน์ ลำดับนั้น ญาติทั้งหลายในภพ
ก่อนของพระเถระ. บังเกิดเป็นปลา เต่า นาค และกบ อยู่ในปราสาท
นั่นและ. เพราะความโลภในปราสาท เมื่อปราสาทลอยขึ้น ก็พลัด
ตกลงไปในน้ำตามเดิม พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นสัตว์เหล่านั้น
ตกลงไป จึงตรัสว่า ภัททชิ พวกญาติของเธอพากันลำบาก. พระ-
เถระได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดา จึงปล่อยปราสาท. ปราสาทก็กลับ
ตั้งอยู่ในที่เดิมนั่นเอง. ส่วนพระศาสดาเสด็จขึ้นจากแม่น้ำคงคาลำดับ
นั้น ชนทั้งหลายพากันปูลาดอาสนะถวายพระศาสดา ณ ที่ฝั่งแม่น้ำ
คงคานั่นเอง. พระศาสดาประทับนั่งเปล่งพระรัศมี ณ บวรพุทธอาศน์
ที่เขาปูลาดถวาย ประดุจพระอาทิตย์อ่อนๆ ฉะนั้น ลำดับนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายทูลถามพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปราสาทนี้พระ-
ภัททชิเถระครอบครองอยู่ในกาลไร ? พระศาสดาตรัสว่า ในกาลเป็น
พระเจ้ามหาปนาทราช แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล ในกรุงมิถิลา แคว้นวิเทหรัฐ ได้มีพระราชาพระ-
นามว่า สุรุจิ. แม้พระโอรสของพระองค์ก็มีนามว่า สุรุจิ เหมือนกัน.
แต่พระโอรสของพระเจ้าสุรุจินั้น ได้มีพระนามว่า มหาปนาท. พระ-
ราชาทั้ง ๓ พระองค์นั้น ได้ครอบครองปราสาทนี้. ก็บุรพกรรมที่จะ
ได้ครอบครองปราสาทนั้นมีว่า บิดาและบุตรทั้งสองได้สร้างบรรณ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 120
ศาลาเป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยไม้อ้อสละไม่มะเดื่อ. เรื่อง
อดีตทั้งหมดฝนชาดกนี้ จักมีแล้วในสุรุจิชาดก ในปกิณณนิบาต.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง
แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
พระเจ้ามหาปนาทนั้น มีปราสาทล้วน
แล้วด้วยทอง กว้าง ๑๖ ชั่วธนูตก สูง ๑
พันชั่วธนูตก. และปราสาทนั้น มีพื้น ๗ ชั้น
ประดับด้วยธงอันล้วนแล้วด้วยสีเขียว มีนาง
ฟ้อนรำ ๖ พันคน แบ่งออกเป็น ๗ พวก
ฟ้อนรำอยู่ในปราสาทนั้น ดูก่อนภัททชิ เธอ
กล่าวถึงปราสาทนั้น ซึ่งมีแล้วในกาลนั้น
ในครั้งนั้น เราเป็นท้าวสักกะผู้รับใช้การงาน
ของเธอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยูโป แปลว่า ปราสาท. บทว่า ติริย
โสฬสุพฺเพโธ ความว่า โดยความกว้าง ได้มีความกว้าง ๑๖ ชั่วลูกศร
ตก. บทว่า อุจฺจมาหุ สหสฺสธา ความว่า โดยส่วนสูง ท่านกล่าว
ถึงความสูงประมาณระยะวิ่งไปของลูกศรชั่วพันลูก คือสูงประมาณ
๒๕ โยชน์ โดยการนับระยะวิ่งไปของลูกศรชั่วพันลูก ส่วนความกว้าง
ของปราสาทนั้น ประมาณกึ่งโยชน์. บทว่า สหสฺสภณฺโฑ สตฺต-
เคณฺฑุ ความว่า ก็ปราสาทสูง ๑ พันชั่วลูกศรนี้นั้น มีชั้น ๗ ชั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 121
บทว่า ธชาลุ แปลว่า พร้อมด้วยธง. บทว่า หริตามโย
ได้แก่ ขลิบด้วยแก้วมณีเขียว. ส่วนในอรรถกถาปาฐะว่า สหาลู
หริตามโย ดังนี้ก็มี. อธิบายความปาฐะนั้นว่า ประกอบด้วยบาน
ประตูและหน้าต่าง อันล้วนแล้วด้วยแก้วมณีเขียว. ได้ยินว่า บทว่า
สห เป็นชื่อของบานประตูและหน้าต่าง. บทว่า คนฺธพฺพา ได้แก่
นางฟ้อนรำ. บทว่า ฉ สหสฺสานิ สตฺตธา ความว่า นางฟ้อนรำ
๖ พันคน เบ่งเป็น ๗ พวก ฟ้อนรำอยู่ในที่ทั้ง ๗ แห่งของปราสาท
นั้น เพื่อต้องการเพิ่มพูนความยินดีแก่พระราชา. นักฟ้อนรำเหล่านั้น
แม้จะฟ้อนรำและขับร้องอยู่อย่างนี้ ก็ไม่อาจให้พระราชาร่าเริงพระทัย.
ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงส่งการฟ้อนรำของเทพให้ไปแสดงการ
เล่นมหรสพ. คราวนั้น พระเจ้ามหาปนาททรงร่าเริง. บทว่า ยถา
ภาสสิ ภทฺทชิ ความว่า ก็เมื่อพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภัททชิ
ปราสาทที่เธออยู่ครอบครองในคราวเป็นพระเจ้ามหาปนาท อยู่ที่ใน
พระภัททชิเถระกราบทูลว่า จมอยู่ตรงที่นี้ พระเจ้าข้า ได้เป็นอัน
กล่าวความที่ปราสาทนั้นบังเกิดแล้วเพื่อประโยชน์แก่ตน และความ
ที่ตนเป็นพระเจ้ามหาปนาทในครั้งนั้น. พระศาสดาทรงถือเอาคำกล่าว
นั้นจึงตรัสว่า ดูก่อนภัททชิ เธอกล่าวโดยประการใด ดังนี้. ด้วย
บทว่า เอวเมต ตทา อาสิ นี้ พระศาสดาตรัสว่า ข้อที่กล่าว
อย่างนั้นได้มีแล้วโดยประการนั้นนั่นแหละ ในครั้งนั้น เราได้เป็น
ท้าวสักกะ จอมเทวดาผู้รับใช้การงานของเธอในกาลนั้น ขณะนั้นภิกษุ
ปุถุชนทั้งหลาย ได้เป็นผู้หมดความเคลือบแคลงสงสัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 122
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-
ชุมชาดกว่า พระเจ้ามหาปนาท ในครั้งนั้น ได้เป็นพระภัททชิใน
บัดนี้ ส่วนท้าวสักกะ คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามหาปนาทชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 123
๕. ขุรัปปชาดก
ถึงความล้างเท้า
[๓๙๔] เมื่อท่านเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอันแหลม
ถือดาบอันคมกล้าซึ่งขัดแล้วด้วยน้ำมัน เมื่อ
มรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้วเหตุไฉนหนอ
ท่านจึงไม่มีความครั่นคร้าม.
[๓๙๕] เมื่อเราเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอันแหลม
ถือครอบอันคมกล้าซึ่งขัดแล้วด้วยน้ำมัน เมื่อ
มรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เรากลับได้
ความยินดีและโสมนัสมากยิ่ง.
[๓๖๐] เรานั้นเกิดความยินดีและโสมนัสแล้ว
ก็ครอบงำศัตรูทั้งหลายเสียได้ เพราะว่าชีวิต
ของเรา ๆ ไดและมาแต่ก่อนแล้ว เมื่อทำ
ความอาลัยในชีวิต เพราะว่าพึงกระทำกิจ
ของคนกล้าหาญในกาลบางคราวหาได้ไม่.
จบ ขุรัปปชาดกที่ ๕
อรรถกถาขุรัปปชาดกที่ ๕
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้และความเพียรรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทิสฺวา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 124
ขุรปฺเป ดังนี้
ความว่า พระศาสดาทรงตรัสกะภิกษุนั้นผู้ถูกนำมาในโรง-
ธรรมสภาว่า ได้ยินว่า เธอสละความเพียรจริงหรือ เมื่อภิกษุนั้น
กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอบวชใน
ศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์อย่างนี้ เพราะเหตุไรจึงละความ
เพียรเสีย โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่สละความเพียร แม้ใน
ฐานะไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา
สาธก ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลผู้รักษา แห่งหนึ่ง พอ
เจริญวัยมีบุรุษ ๕๐๐ เป็นบริวาร เป็นหัวหน้าคนทั้งปวง ในบรรดา
คนผู้รักษาดง สำเร็จการอยู่ในบ้านแห่งหนึ่งที่ปากดง. ก็หัวหน้าผู้
รักษาดงนั้นรับจ้างพาพวกมนุษย์ให้ข้ามดง. ครั้นวันหนึ่ง บุตรพ่อค้า
ชาวเมืองพาราณสีกับเกวียน ๕๐๐ เล่ม มาถึงบ้านนั้น เรียกหัวหน้า
ผู้รักษาดงนั้นมาพูดว่า ดูก่อนสหาย ท่านจงรับทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้ว
พาเราให้ข้ามพ้นดง. เขารับคำแล้วถือเอาทรัพย์ ๑,๐๐๐ จากมือของ
บุตรพ่อค้านั้น เมื่อรับค่าจ้างอย่างนี้ จะต้องสละชีวิตเพื่อบุตรพ่อค้า
นั้น. เขาพาบุตรพ่อค้านั้นเข้าดง. พวกโจร ๕๐๐ ซุ้มอยู่กลางดง.
บุรุษที่เหลือพอแลเห็นพวกโจรเท่านั้นพากันนอนราบ. หัวหน้าผู้
อารักขาคนเดียวเท่านั้นเปล่งสีหนาทวิ่งเข้าประหัตประหาร ให้พวกโจร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 125
๕๐๐ หนีไป. ให้บุตรพ่อค้าข้ามพ้นทางกันดารโดยปลอดภัย. ฝ่าย
บุตรพ่อค้าให้หมู่เกวียนพักอยู่ในที่ห่างไกลทางกันดารแล้ว ให้หัวหน้า
ผู้อารักขาบริโภคโภชนะมีรสเลิศต่างๆ ส่วนตนเองบริโภคอาหารเช้า
แล้วนั่งสบาย เจรจาอยู่กับหัวหน้าผู้อารักขานั้น เมื่อจะถามว่า ดูก่อน
สหาย ในเวลาที่พวกโจรผู้ร้ายกาจเห็นปานนั้นจับอาวุธกรูเข้ามา
เพราะเหตุไรหนอ แม้ความสดุ้งตกใจกลัวก็ไม่เกิดขึ้น จึงกล่าวคาถา
ที่ ๑ ว่า:-
เมื่อท่านเห็นพวภโจรยิ่งลูกธนูอัน
แหลมคม ถือดาบอันคมกล้าซึ่งขัดด้วยน้ำมัน
เมื่อมรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เหตุไฉน
หนอ ท่านจึงไม่มีความครั่นคร้าม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนุเวคนุณฺเณ ได้แก่ ยิงไป
ด้วยกำลังลูกธนู. บทว่า ขคฺเค คหิเต ได้แก่ ถือดาบด้ามงาอย่าง
กระชับ. บทว่า มรเณ วิรุฬฺเห ได้แก่ เมื่อความตายปรากฏ.
บทว่า กสฺมา น เต นาหุ ความว่า เพราะเหตุไรหนอ ท่าน
จึงไม่มีความสาดุ้งตกใจ. บทว่า ฉมฺภิตตฺต ได้แก่ ตัวสั่น.
หัวหน้าผู้ทำหน้าที่อารักขาได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๒
คาถานอกนี้ว่า :-
เมื่อเราเห็นพวกโจรยิ่งลูกธนูอัน
แหลมคม ถือดาบอันคมกล้าซึ่งขัดแล้วด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 126
น้ำมัน เมื่อมรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว
เรากลับได้ความยินดีและความโสมนัสมาก
ยิ่ง. เรานั้นเกิดความยินดีและโสมนัสแล้ว
ก็ครอบงำศัตรูทั้งหลายเสียได้ เพราะว่าชีวิต
ของเรา เราได้สละมาแต่ก่อนแล้ว ก็บุคคล
ผู้กล้าหาญ เมื่อทำความอาลัยในชีวิตอยู่ จะ
พึงกระทำกิจของตนผู้กล้าหาญในกาลบาง
คราวหาได้ไม่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวท อลตฺถ คือกลับได้ความ
ยินดีและโสมนัส. บทว่า วิปุล แปลว่า มาก. บทว่า อุฬาร
แปลว่า ยิ่ง. บทว่า อุชฺฌภวึ ได้แก่ บริจาคชีวิตครอบงำแล้ว.
บทว่า ปุพฺเพว เม ชีวิตมาสิ จตฺต ความว่า เพราะว่าเราเมื่อ
รับค่าจ้างจากมือของท่านในตอนก่อนนั่นแล ได้สละชีวิตแล้ว. บทว่า
น หิ ชีวิเต อาลย กุพฺพมาโน ความว่า บุคคลผู้กล้าหาญ เมื่อ
ยังกระทำเสน่หา ความยินดีในชีวิตอยู่ จะพึงทำกิจของผู้กล้าหาญ
แม้ในกาลบางคราว หาได้ไม่.
หัวหน้าผู้ทำหน้าที่อารักขานั้น ทำบุตรของพ่อค้าให้รู้ว่าตนได้
ทำกิจของตนกล้าหาญแล้ว เพราะได้สละความยินดีในชีวิตซึ่งสละให้
ไว้ในอำนาจของคนอื่น ได้ส่งบุตรพ่อค้าไปแล้ว กลับมายังบ้านของ
ตนตามเดิม ทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ไปตามยถากรรมแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 127
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้สละความเพียร
ดำรงอยู่ในพระอรหัต. ก็หัวหน้าคนทำการอารักขาในกาลนั้น คือ
เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาขุรัปปชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 128
๖. วาตัคคสินธพชาดก
ว่าด้วยมิตรสันถวะเกิดแต่แรกพบ
[๓๙๗] คุณแม่มีโรคผอมเหลือง ไม่ชอบใจ
อาหารเพราะม้าตัวใดเป็นเหตุให้มีจิตปฏิพัทธ์
รักใคร่ม้านั้นก็มาคบหาสมาคมแล้ว เหตุไร
คุณแม่จึงให้ม้าตัวนั้นหนีไปเสียในบัดนี้เล่า.
[๓๙๘] ลูกเอ๋ย ขึ้นชื่อว่ามิตรสันถวะจะเกิดขึ้น
แต่แรกพบปะทีเดียว ยศของสตรีทั้งหลาย
ย่อมเสื่อมไป เพราะฉะนั้น แม่จึงแสร้งทำ
ให้พระยาม้านั้นหนีไปเสีย.
[ ๓๙๙] สตรีคนใด ไม่ปรารถนาบุรุษผู้เกิดใน
ตระกูลมียศศักดิ์ ที่มีคนชักพามาแล้ว สตรี
คนนั้นจะต้องเศร้าโศกอยู่สิ้นกาลนานเหมือน
นางม้าเศร้าโศกถึงพระยาม้าวาตัคคสินธพ
ฉะนั้น.
จบ วาตัคคสินธพชาดกที่ ๖
อรรถกถาวาตัคคสินธพชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
กฎุมพีคนหนึ่งในพระนครสาวัตถี จึงตรัสเรื่องนี้ มีค่าเริ่มต้นว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 129
เยนาสิ กีสิยา ปณฺฑุ ดังนี้.
ได้ยินว่า หญิงคนหนึ่งในเมืองสาวัตถี เห็นกฎุมพีรูปงาม
คนหนึ่ง ได้มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่. ไฟคือกิเลสเกิดขึ้นภายในของนาง
ประดุจเผาร่างกายทั้งสิ้น. นางไม่ได้รับความยินดีเพลิดเพลินทางกาย
และทางใจเลย แม้อาหารนางก็ไม่ชอบใจ นอนเกาะแม่แคร่เตียง
อย่างเดียว. ลำดับนั้น หญิงผู้รับใช้และหญิงสหาย ได้ถามนางว่า
เพราะเหตุไรหนอ เธอจึงมีจิตซัดส่ายนอนเกาะแม่แคร่เตียง เธอไม่มี
ความผาสุกอะไรหรือ ? นางอันพวกเพื่อนหญิงไม่ได้กล่าวครั้ง
เดียว สองครั้ง กล่าวบ่อย ๆ จึงได้บอกเนื้อความนั้น แก่เพื่อนหญิง
เหล่านั้น. ลำดับนั้น เพื่อนหญิงเหล่านั้นจึงปลอบโยนนางให้เบาใจ
แล้วกล่าวว่า นางผู้เจริญ เธออย่าเสียใจเลย พวกเราจักนำกฎุมพี
มาให้ แล้วไปปรึกษากับกฎุมพี. กฎุมพีนั้นปฏิเสธ เมื่อพวกหญิง
เหล่านั้นพูดจาบ่อยเข้าจึงรับคำ. หญิงเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านจงมาใน
วันโน้นเวลาโน้น ดังนี้ ให้กฎุมพีรับคำปฏิญญาแล้ว จึงไปบอกให้
หญิงนั้นทราบ. หญิงนั้นเมื่อได้ฟังข่าวจึงจัดแจงห้องนอนของตน
แต่งตัวแล้วนั่งบนที่นอน เมื่อกฎุมพีนั้นมานั่ง ณ ส่วนหนึ่งของ
ที่นอน จึงคิดว่า ถ้าเราไม่ทำให้นักแน่นต่อเขาไว้ ให้โอกาสเสีย
แต่เดี๋ยวนี้ ความเป็นใหญ่ของเราก็จักเสื่อมไป ชื่อว่าการให้โอกาส
ในวันที่เขามาถึงทีเดียว มิใช่เหตุอันควร วันนี้เราทำให้เขาเก้อ ใน
วันอื่น จึงจักให้โอกาส. ลำดับนั้น นางจูงมือเขาผู้ปรารภ จะหยอกล้อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 130
เล่นด้วยการจับมือเป็นต้น แล้วฉุดออกมาพร้อมกับพูดว่า หลีกไป
หลีกไป เราไม่ต้องการท่าน. กฎุมพีนั้นจึงหยุดชะงัก ละอายใจลุกขึ้น
ไปบ้านของตนเลยทีเดียว. หญิงนอกนี้รู้ว่า หญิงนั้นกระทำอย่างนั้น
เมื่อกฎุมพีออกไปแล้ว จึงเข้าไปหาหญิงนั้นพากันพูดอย่างนี้ว่า เธอมี
จิตปฏิพัทธ์กฎุมพีนั้น ถึงกับห้ามอาหารนอนอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น
พวกเราอ้อนวอนเธอบ่อย ๆ แล้วนำเขามาให้ เพราะเหตุไร จึงไม่ให้
โอกาสแก่เขา. นางจึงบอกความมุ่งหมายอันนั้นให้ทราบ. หญิงเหล่า
นั้นกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจักปรากฏผลในวันหน้า แล้วพากันหลีก
ไปเสีย. กฎุมพีก็ไม่หันกลับมามองดูอีก. หญิงนั้นเมื่อไม่ได้กฎุมพีนั้น
ก็ซูบซีดอดอาหาร ถึงความสิ้นชีวิตไปในที่นั้นเอง. กฎุมพีได้ฟังว่า
หญิงนั้นตายแล้ว จึงถือดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นอันมาก
ไปยังพระวิหารเขตวัน บูชาพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วน
สุดข้างหนึ่ง และถูกพระศาสดาตรัสถามว่า อุบาสก เพราะเหตุไรหนอ
ท่านจึงหายหน้าไปไม่ปรากฏ จึงกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบแล้ว
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ละอายใจ ตลอดกาล
ประมาณเท่านี้ จึงไม่ได้มาสู่ที่พุทธอุปัฏฐาก. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน
อุบาสก หญิงนั้นให้เรียกท่านมาด้วยอำนาจของกิเลส ครั้นในเวลา
ท่านมาแล้ว ไม่ให้โอกาส ทำให้ท่านได้อาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น ก็แม้
ในกาลก่อน นางมีจิตปฏิพัทธ์แม้ในบัณฑิตทั้งหลาย ให้เรียกมาแล้ว
ครั้นในเวลามาถึงไม่ให้โอกาส ทำให้ลำบากถ่ายเดียวแล้วส่งไป อัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 131
กฏุมพีนั้นทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดัง
ต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลม้าสินธพ ได้ชื่อว่าวาตัคค-
สินธพ ได้เป็นม้ามงคลของพระเจ้าพรหมทัตนั้น. คนผู้ดูแลม้า พา
ม้าสินธพนั้นไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา. ครั้งนั้น นางม้าชื่อว่าภัททลี
ได้เห็นม้าสินธพนั้นมีจิตปฏิพัทธ์ สั่นด้วยอำนาจกิเลส ไม่กินหญ้า
ไม่ดื่มน้ำ ซูบซีด ผอมได้มีสักแต่ว่าหนังหุ้มกระดูก. ลำดับนั้น ลูกม้า
เห็นแม่นั้นซูบผอมจึงถามว่า แม่ เพราะเหตุไรหนอ แม่จึงไม่กิน
หญ้า ไม่ดื่มน้ำ ซูบซีด นอนสั่นอยู่ในที่นั้น ๆ แม่ไม่มีผาสุกอะไรหรือ
นางม้านั้นไม่บอก เมื่อถูกถามบ่อย ๆ เข้า จึงได้บอกเนื้อความนั้น
ลำดับนั้นลูกม้าจึงปลอบโยนแม่ม้าให้เบาใจแล้วกล่าวว่า แม่อย่าเสียใจ
ฉันจักนำม้าสินธพนั้นมาแสดง ครั้นในเวลาที่ม้าวาตัคคสินธพมา
อาบน้ำ จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พ่อ มารดาของข้าพเจ้ามีจิต
ปฏิพัทธ์ในตัวท่าน อดอาหารซูบซีดจักตาย ขอท่านจงให้ทานชีวิต
แก่มารดาของข้าพเจ้าด้วยเถิด. วาตัคคสินธพกล่าวว่า ดีละพ่อ เรา
จักให้พวกคนเลี้ยงม้าให้เราอาบน้ำแล้ว จะปล่อยเพื่อให้เที่ยวหาอาหาร
กินที่ฝั่งแม่น้ำคงคาสักพักหนึ่ง เจ้าจงพามารดามายังประเทศนั้นเถิด.
ลูกม้านั้นไปพามารดามาแล้วปล่อยไว้ในประเทศที่นั้น แล้วได้ยืนอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 132
ในที่มิดชิด ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายคนเลี้ยงม้าทั้งหลายได้ปล่อยวาตัคค-
สินธพไว้ในที่นั้น. วาตัคคสินธพนั้นแลเห็นนางม้าจึงเข้าไปหา. ลำดับ
นั้น นางม้านั้น เมื่อม้าวาตัคคสินธพเข้าไปเสียดสีกายตนอยู่ จึงคิดว่า
ถ้าเราไม่หนักแน่นให้โอกาสแก่เขาในขณะที่มาถึงทีเดียว เมื่อเป็น
เช่นนั้น ยศและความเป็นใหญ่ของเราจักเสื่อมเสียไป เราควรจะทำ
เป็นเหมือนไม่ปรารถนาเถิด แล้วจึงเอาเท้าดีดลูกคางม้าสินธพแล้ว
หนีไป. ทันใดนั้น ได้เป็นเหมือนเวลาที่รากฟันทำลายล่วงไป. วาตัคค-
สินธพคิดว่า เราจะประโยชน์อะไรกับอีม้าตัวนี้ เป็นผู้มีความละอายใจ
หนีไปจากที่นั้นทันที. นางม้านั้นมีความวิปฏิสาร ล้มลงในที่นั้นเอง
นอนเศร้าโศกอยู่. ลำดับนั้น ลูกม้าได้เข้าไปหานางม้าผู้มารดา เมื่อ
จะถามจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
คุณแม่เป็นโรคผอมเหลือง ไม่ชอบ
ใจอาหาร เพราะม้าตัวใดเป็นเหตุให้มีจิต
ปฏิพัทธ์ ม้าตัวนั้นก็มาคบหาสมาคมแล้ว
เพราะเหตุไร คุณแม่จึงให้ม้าตัวนั้นหนีไป
เสียในบัดนี้เล่า
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยนาสิ ความว่า เพราะม้าตัวใด
เป็นเหตุให้มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่.
นางม้าได้ฟังคำลูก จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 133
ลูกเอ๋ย ขึ้นชื่อว่ามิตรสันถวะ จะ
เกิดแต่แรกทีเดียว ยศของสตรีทั้งหลายก็
จะเสื่อมเสีย เพราะฉะนั้น แม่จึงแสร้งทำ
ให้พระยาม้าหนีไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทิเกเนว แปลว่า แต่ต้นทีเดียว.
คือแต่แรกทีเดียว. บทว่า สนฺถโว ได้แก่ มิตรสันถวะด้วยอำนาจการ
ประกอบ เมถุนธรรม. บทว่า ยโส หายติ อิตฺถีน ความว่า ดูก่อน
พ่อ เพราะว่า เมื่อสตรีทั้งหลายผู้ไม่เล่นตัว ย่อมทำความเชยชิดเสีย
แต่เริ่มแรก ยศย่อมเสื่อมเสียไป คือ ความเป็นใหญ่ที่จะพึงได้ย่อม
เสื่อมไป. นางม้านั้นบอกสภาพของสตรีทั้งหลายแก่ลูก ด้วยประการ
ฉะนี้.
พระศาสดาเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง แล้วตรัสคาถาที่ ๓ ว่า :-
สตรีใด ไม่ปรารถนาบุรุษผู้เกิดใน
ตระกูลมียศศักดิ์ ที่มีคนชักพามา สตรีนั้น
จะต้องเศร้าโศกอยู่สิ้นกาลนาน เหมือนนาง
ม้าเศร้าโศกถึงพระยาม้าวาตัคคะ ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสสฺสิน แปลว่า ผู้สมบูรณ์
ด้วยยศ. บทว่า ยา น อิจฺฉติ ความว่า สตรีใดไม่ปรารถนาบุรุษ
เห็นปานนั้น. บทว่า จิรรตฺตาย แปลว่า ตลอดกาลนาน อธิบายว่า
ตลอดกาลยาวนาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 134
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงประกาศ
สัจจะทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ กฎุมพีดำรง
อยู่ในโสดาปัตติผล. นางม้าในกาลนั้น ได้เป็นหญิงคนนั้น ในบัดนี้.
ส่วนวาตัคคสินธพได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาวาตัคคสินธพชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 135
๗. สุวรรณกักกฏกชาดก
ว่าด้วยปูทอง
[๔๐๐] ปูทองมีนัยตาอันยาว มีหนังเป็นกระดูก
เป็นสัตว์อยู่ในน้ำ ไม่มีขน ฉันถูกปูทองนั้น
หนีบไว้แล้ว จึงร้องขอความช่วยเหลือ เจ้า
อย่าทิ้งฉันผู้คู่ชีวิตเสียเลย.
[๔๐๑] ข้าแต่ท่านผู้เป็นลูกเจ้า ดิฉันจักไม่ละ
ทิ้งท่านผู้เป็นช้างทรงกำลังถึง ๖๐ ปีเลย
ท่านย่อมเป็นที่รักใคร่อย่างยิ่งของดิฉันยิ่งกว่า
เป็นต้นซึ่งมีสมุทรสาครทั้งสี่เป็นขอบเขต.
[๔๐๒] ปูเหล่าใดอยู่ในมหาสมุทรก็ดี ในแม่น้ำ
คงคาก็ดี ในแม่น้ำยมุนาก็ดี ท่านเกิดอยู่
ในน้ำ ย่อมประเสริฐกว่าปูเหล่านั้น ขอท่าน
จงปล่อยสามีของดิฉันผู้ร้องไห้อยู่เถิด.
จบ สุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๗
อรรถกถาสุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
หญิงคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สิงฺคี มิโค ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 136
ได้ยินว่า ในเมืองสาวัตถี มีกฎุมพีคนหนึ่งพาภรรยาของตน
ไปยังชนบท เพื่อต้องการชำระหนี้สินให้หมดไป ครั้นชำระหนี้สินหมด
แล้วก็เดินทางมา ถูกพวกโจรจับในระหว่างทาง. ก็ภรรยาของกฎุมพี
นั้นเป็นคนมีรูปสวยงามน่าเลื่อมใสยินดี. หัวหน้าโจรปรารภจะฆ่ากฎุมพี
เสีย เพราะความเสน่หาในนาง แต่นางเป็นสตรีมีศีล สมบูรณ์ด้วย
อาจารมารยาท เคารพสามีดุจเทวดา. นางจึงหมอบลงแทบเท้าของ
หัวหน้าโจรอ้อนวอนว่า ข้าแต่นายโจรผู้เป็นเจ้า ถ้าท่านมีความเสน่หา
ดิฉัน ท่านอย่าฆ่าสามีของดิฉันเลย ถ้าท่านนักฆ่า ดิฉันจักกินยาพิษ
หรือกลั้นลมหายใจตาย ก็ดิฉันจักไม่ไปกับท่าน ท่านอย่าฆ่าสามี
ของดิฉันโดยใช่เหตุเลย แล้วขอให้ปล่อยสามีนั้นไป. ฝ่ายสามีภรรยา
ทั้งสองนั้นถึงเมืองสาวัตถีโดยปลอดภัย เดินทางมาทางด้านหลังวิหาร
พระเชตวัน เข้าไปยังพระวิหารดื่มน้ำแล้วหารือกันว่าจักถวายบังคม
พระศาสดา จึงเข้าไปยังบริเวณพระคันธกุฎี ถวายบังคมพระศาสดา
แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาตรัสถามนสามีภรรยาทั้งสองนั้นว่า
ไปไหนมา เขาทั้งสองจึงกราบทูลว่า ไปชำระหนี้สินมา พระเจ้าข้า.
เมื่อพระศาสดาตรัสว่า ก็ในระหว่างทาง พวกท่านมากันโดยไม่มี
ความป่วยไข้หรือ กฎุมพีจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ในระหว่างทาง พวกโจรจับข้าพระองค์ทั้งสอง ในตอนนั้น ภรรยา
ของข้าพระองค์คนนี้ได้อ้อนวอนนายโจรผู้จะฆ่าข้าพระองค์ ให้
ปล่อยตัวมา เพราะอาศัยภรรยาผู้นี้ ข้าพระองค์ได้รอดชีวิตมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 137
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก มิใช่บัดนี้เท่านั้น ที่สตรีผู้นี้ได้
ให้ชีวิตแก่ท่าน ถึงในกาลก่อน ก็ได้ให้แม้แก่บัณฑิตทั้งหลายอัน
กฎุมพีนั้นทูลอ้อนวอน จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในเมือง
พาราณสี มีห้วงน้ำใหญ่อยู่ใกล้หิมวันตประเทศ. ในห้วงน้ำใหญ่นั้น
ได้มีปูทองตัวใหญ่อาศัยอยู่. ห้วงน้ำใหญ่นั้น ปรากฏชื่อว่า กุฬีรรหทะ
แปลว่า หนองปู เพราะเป็นที่อยู่ของปูทองตัวนั้น. ปูทองนั้นใหญ่โต
ขนาดเท่าลานนวดข้าว จับช้างกิน เพราะกลัวปูทองนั้น ช้างทั้งหลาย
ไม่อาจลงห้วงน้ำนั้นหาอาหารกิน. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ถือ
ปฏิสนธิในครรภ์นางช้างพัง เพราะอาศัย ช้างจ่าฝูงในฝูงช้างที่อาศัย
กุฬีรรหทะสระอยู่. ลำดับนั้น มาราดาของพระโพธิสัตว์นั้นคิดว่า
จักรักษาครรภ์จึงไปยังถิ่นภูเขาอื่นรักษาครรภ์อยู่จนคลอดบุตร. พระ-
โพธิสัตว์นั้นรู้เดียงสาขึ้นโดยลำดับ มีบริวารมาก สมบูรณ์ด้วยเรี่ยว
แรงถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความงาม เป็นคล้ายกับภูเขาอันชัน. พระ-
โพธิสัตว์นั้นอยู่ร่วมกับนางช้างพังเชือกหนึ่ง คิดว่าจักจับปู จึงพา
ภรรยาและมารดาของตนเข้าฝูงช้างนั้นพบกับบิดาจึงกล่าวว่า พ่อ
ฉันจักจับปู. ลำดับนั้นบิดาได้ห้ามเขาว่า เจ้าจักไม่สามารถนะลูก.
พระโพธิสัตว์พูดกะบิดาผู้กล่าวอยู่บ่อย ๆ ว่า ท่านจักรู้กำลังของข้าพเจ้า.
พระโพธิสัตว์นั้นจึงให้ประชุมช้างทั้งหมดที่เข้าไปอาศัยห้วงน้ำกุฬีระอยู่
เดินไปใกล้ห้วงน้ำพร้อมกับช้างทั้งปวงแล้วถามว่า ปูนั้นจับช้างใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 138
เวลาลง ในเวลาหาอาหาร หรือในเวลาขึ้น ได้ฟังว่า ในเวลาขึ้น
จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น แม้พวกท่านจงลงห้วงน้ำกุฬีระ. หาอาหาร
กินจนเพียงพอแล้วขึ้นมาก่อน เราจักอยู่ข้างหลัง. ช้างทั้งหลายได้
การทำอย่างนั้น. ปูจึงเอาก้ามทั้งคู่หนีบสองเท้าพระโพธิสัตว์ซึ่งขึ้น
ภายหลังไว้แน่น เหมือนช่างทองเอาคีมใหญ่หนีบซี่เหล็กฉะนั้น.
นางช้างไม่ละทิ้งพระโพธิสัตว์ ได้ยืนอยู่ในที่ใกล้ ๆ นั่นแหละ. พระ-
โพธิสัตว์ดังก็ไม่สามารถทำให้ปูเขยื้อน. ส่วนปูลากพระโพธิสัตว์มาให้
ตรงปากตน. พระโพธิสัตว์ถูกมรณภัยคุกคาม จึงร้องว่าติดก้ามปู.
ช้างทั้งปวงกลัวมรณภัย ส่งเสียงร้องก้องโกญจนาทขี้เยี่ยวราดหนีไป.
ฝ่ายนางช้างก็ไม่อาจดำรงตนอยู่ได้เริ่มจะหนีไป. ลำดับนั้น พระ-
โพธิสัตว์ได้ทำให้นางเข้าใจว่าตนถูกหนีบไว้ เพื่อจะไม่ให้นางหนีไป
จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ปูทองมีนัยน์ตายาว มีหนังเป็นกระดูก
อาศัยขอยู่ในน้ำ ไม่มีขน ฉันถูกปูทองนั้น
หนีบไว้แล้ว จึงร้องขอความช่วยเหลือ เจ้า
อย่าทิ้งฉันผู้คู่ชีวิตเสียเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น ทว่า สิงฺคี มิโค ได้แก่ มฤคมีสี
เหมือนสีทอง มีเขา อธิบายว่า ชื่อว่ามีเขา เพราะประกอบด้วยก้าม
ทั้งสองอันยังกิจที่จะพึงทำด้วยเขาให้สำเร็จ. ส่วนกุฬีระคือปู ท่าน
เรียกว่ามิคะคือมฤคในที่นี้โดยถือเอาอย่างรวบยอด. ในบทว่า อายต-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 139
จกฺขุเนตฺโต นี้ที่ชื่อว่าจักษุ เพราะอรรถว่าเห็น, ที่ชื่อว่าเนตร
เพราะอรรถว่านำไป, เนตรกล่าวคือจักษุของปูนั้นยาว เพราะเหตุนั้น
ชื่อว่ามีเนตรคือจักษุยาว อธิบายว่ามีนัยน์ตายาว. ชื่อว่ามีหนังเป็น
กระดูก เพราะกระดูกเท่านั้นทำกิจคือหน้าที่ของหนังให้สำเร็จแก่ปู
นั้น. บทว่า เตนาภิภูโต ความว่า ถูกมฤคนั้นนั่นแหละครอบงำ
คือท่วมทับ ได้แก่จับไว้เคลื่อนไหวไม่ได้. บทว่า กปณ รุทามิ
ความว่า เราเป็นผู้ถึงความเป็นผู้น่ากรุณาร้องคร่ำครวญอยู่. บทว่า
มา เหว ม ความว่า ท่านอย่าได้ทอดทิ้งข้าพเจ้าผู้เป็นสามที่รักผู้
เสมอกับลมปราณของตน ผู้ถึงความพินาศเห็นปานนี้.
ลำดับนั้น ช้างพังนั้นจึงหันกลับ เมื่อจะปลอบโยนพระโพธิสัตว์
นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ข้าแต่เจ้า ดิฉันจักไม่ละทิ้งท่านผู้
เป็นช้างทรงกำลังถึง ๖๐ ปี ท่านย่อมเป็น
ที่รักใคร่อย่างยิ่งของดิฉัน ยิ่งกว่าปฐพีอันมี
มหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฏฺิหายน ความว่า ก็ในเวลา
มีอายุ ๖๐ ปี โดยกำเนิด ช้างทั้งหลายย่อมเสื่อมถอยกำลัง ดิฉันนั้น
จักไม่ละทิ้งท่านผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างนี้ ผู้ถึงความพินาศ ท่าน
อย่ากลัว เพราะว่าท่านเป็นที่รักยิ่งของดิฉัน กว่าปฐพีนี้อันตั้งจรด
มหาสมุทรในทิศทั้ง ๔ ชื่อว่ามีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นแดนสุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 140
ครั้นนางช้างทำพระโพธิสัตว์นั้นให้เข้มแข็ง แล้วจึงกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เป็นเจ้า บัดนี้ ดิฉันเมื่อได้สนทนาปราศรัยกับปูทอง
สักหน่อย จักให้ปล่อยท่าน เมื่อจะอ้อนวอนปูทองจึงกล่าวคาถา
ที่ ๓ ว่า :-
ปูเหล่าใด อยู่ในมหาสมุทรก็ดี ใน
แม่น้ำคงคาก็ดี ในแม่น้ำยมุนาก็ดี ท่านเป็น
สัตว์น้ำผู้ประเสริฐกว่าปูเหล่านั้น ขอท่านจง
ปล่อยสามีของดิฉันผู้ร้องไห้อยู่เถิด.
เนื้อความของคำที่เป็นคาถานั้นว่า ปูเหล่าใดในมหาสมุทรก็ดี
ในแม่น้ำคงคาหรือยมุนาก็ดี ท่านเท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐกว่าปูเหล่า
นั้นทั้งหมด โดยความถึงพร้อมด้วยวรรณะและโดยความเป็นใหญ่
ด้วยเหตุนั้น ดิฉันจึงขออ้อนวอนท่าน ขอท่านโปรดปล่อยสามีของ
ดิฉันผู้กำลังร้องไห้อยู่เถิด.
เมื่อนางช้างนั้นกำลังพูดอยู่ ปูได้ถือนิมิตในเสียงหญิง เป็น
ผู้มีใจถูกดึงลง จึงอ้าก้ามจากเท้าช้างหาได้รู้อะไรบ้างว่า ช้างนี้เรา
ปล่อยแล้วจักกระทำชื่อสิ่งนี้. ลำดับนั้น ช้างจึงยกเท้าเหยียบหลังนั้น
กระดองพังทลายไปในทันทีนั่นเอง ช้างร้องขึ้นด้วยความยินดี.
ช้างทั้งปวงจึงประชุมกันนำเอาปูไปวางบนบก กระทืบให้ละเอียดเป็น
จุรณวิจุรณไป. ก้ามทั้งสองปูนั้นแตกออกจากร่างกระเด็นตกไปยัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 141
ส่วนข้างหนึ่ง. ก็ห้วงน้ำที่มีปูอยู่นั้นเนื่องเป็นอันเดียวกันกับแม่น้ำ
คงคา ในเวลาที่แม่น้ำคงคาเต็ม ก็เต็มไปด้วยน้ำในแม่น้ำคงคา
เมื่อน้ำแม่น้ำคงคาน้อย น้ำในห้วงก็ไหลลงสู่แม่น้ำคงคา. ครั้งนั้น
ก้ามปูแม้ทั้งสองก้ามนั้นก็ลอยไปในแม่น้ำคงคา. ในก้ามปูสองก้ามนั้น
ก้ามหนึ่งลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พระราชาพี่น้อง ๑๐ องค์ เล่นน้ำ
อยู่ ได้ไปก้ามหนึ่งกระทำตระโพนชื่อว่าอณิกมุทิงคะ ส่วนอีกก้าม
ที่ลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พวกอสูรถือเอาไปแล้วให้กระทำเป็นกลอง
ชื่ออฬัมพรเภรี. ในกาลต่อมา พวกอสูรเหล่านั้นถูกท้าวสักกะให้
พ่ายแพ้ในสงคราม จึงทิ้งอฬัมพรเภรีนั้นหลบหนีไป. ลำดับนั้น
ท้าวสักกะให้ยึดเอาอฬัมพรเภรีนั้นมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่พระองค์.
อาจารย์บางพวกหมายเอากลองนั้นกล่าวว่า กลองอฬัมพระดังกระหึ่ม
ดุจเมฆคำรามฉะนั้น
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-
กาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ สามีภรรยาแม้
ทั้งสองก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ช้างพังในกาลนั้น ได้เป็นอุบาสิกา
ผู้นี้ ส่วนช้าง คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 142
๘. อารามทูสกชาดก
ว่าด้วยถอนต้นดูรากก่อนรดน้ำ
[๔๐๓] ลิงตัวใดสมมติกันว่า เป็นใหญ่กว่าฝูง
ลิงเหล่านี้ ปัญญาของลิงตัวนั้นมีอยู่เพียง
อย่างนี้เท่านั้น ฝูงลิงที่เป็นบริวารนอกนี้จะ
มีปัญญาอะไร.
[๔๐๔] ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ท่านยังไม่รู้อะไร
ไฉนมาด่วนติเตียนเราต่าง ๆ อย่างนี้เล่า เรา
ยังไม่เห็นรากไม้แล้ว จะพึงรู้ต้นไม้ว่าราก
หยั่งลงไปลึกได้อย่างไรเล่า.
[๔๐๕] เราไม่ได้ติเตียนท่านทั้งหลาย พวกท่าน
เป็นลิงไพรอยู่ในป่า แต่ว่าคนเช่นพวกท่าน
ทั้งหลายปลูกต้นไม้ เพื่อประโยชน์แก่พระ-
ราชาพระองค์ใด พระราชาพระองค์นั้น คือ
พระเจ้าวิสสเสนะ จะพึงถูกติเตียนได้.
จบ อารามทูสกชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 143
อรรถกถาอารามทูสกชาดกที่ ๘
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ ทักขิณาคีรีชนบท ทรงปรารภ
บุตรของนายอุยยานบาลคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า
โยเมสญฺจ สเมตาน ดังนี้.
ได้ยินว่า พระศาสดาทรงออกพรรษาแล้ว เสด็จออกจาก
พระวิหารเชตวัน เสด็จเที่ยวจาริกไปในทักขิณาคีรีชนบท. ครั้งนั้น
อุบาสกคนหนึ่งนิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้
ประทับนั่งในสวน ให้ทรงอิ่มหนำด้วยยาคูและของควรเคี้ยวทั้งหลาย
จึงกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ประสงค์จะเที่ยวไปในสวนขอจง
เที่ยวไปกับนายอุยยานบาลผู้นี้ แล้วสั่งนายอุยยานบาลว่า ท่านพึง
ถวายผลไม้น้อยใหญ่ในสวนแก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย
เดินเที่ยวไปเห็นที่เป็นหลุมแห่งหนึ่ง จึงถามว่า ที่นี้เป็นหลุมไม่มี
ต้นไม้งอกขึ้น เป็นเพราะเหตุไรหนอ ? ลำดับนั้น นายอุยยานบาล
จึงบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ได้ยินว่า มีบุตรของนายอุยยานบาลคนหนึ่ง
เมื่อจะรดน้ำต้นไม้ที่ปลูกใหม่ คิดว่า จักรดน้ำโดยเอารากเป็นประมาณ
จึงถอนขึ้นมาแล้วรดน้ำเฉพาะราก ด้วยเหตุนั้น ที่นั้นจึงเป็นหลุม.
ภิกษุทั้งหลายมาเฝ้าพระศาสดาแล้วกราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้
ในกาลก่อน กุมารนั้นก็เป็นผู้ทำลายอาราม ภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอน
จึงทรงนำอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 144
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าวิสสเสนะครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี เมื่อเขาป่าวประกาศการเล่นมหรสพ นายอุยยานบาล
คิดว่าจักเล่นมหรสพ จึงบอกทั้งทั้งหลายที่อยู่ในสวนว่า สวนนี้มี
อุปการะมากแก่พวกเจ้า เราจักเล่นมหรสพ ๗ วัน พวกเจ้าจงรดน้ำ
ต้นไม้ที่ปลูกใหม่ตลอด ๗ วัน. พวกลิงรับคำว่าได้. นายอุยยานบาล
จึงมอบกระออมหนังให้แก่ลิงเหล่านั้นแล้วก็จากไป. ลิงทั้งหลายเมื่อจะ
รดน้ำ จึงรดน้ำที่ต้นไม้ซึ่งปลูกใหม่ ๆ. ลำดับนั้น ลิงจ่าฝูงได้กล่าวกะลิง
เหล่านั้นว่า พวกท่านจงรอก่อน ธรรมดาว่าน้ำมิใช่จะหาได้ง่ายตลอด
ทุกเวลา น้ำนั้นควรจะรักษา ควรที่พวกเราจะถอนต้นไม้ที่ปลูกใหม่
รู้ขนาดประมาณของรากแล้ว ต้นที่มีรากยาวรดให้มาก ต้นที่มีรากสั้น
รดแต่น้อย ลิงเหล่านั้นพากันรับคำว่าดีละ บางพวกเดินถอนต้นไม้
ที่ปลูกใหม่ บางพวกปลูกแล้วรดน้ำ. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้
เป็นบุตรของตระกูลหนึ่งในนครพาราณสี. พระโพธิสัตว์ได้ไปสวน
ด้วยกรณียกิจบางอย่าง เห็นลิงเหล่านั้นกระทำอยู่อย่างนั้น จึงถามว่า
ใครให้พวกเจ้ากระทำอย่างนี้ เมื่อพวกลิงตอบว่า หัวหน้าวานร จึง
กล่าวว่า ปัญญาแห่งหัวหน้าของพวกเจ้า ยังเท่านี้ก่อน ส่วนปัญญา
ของพวกเจ้าจักเป็นเช่นไร เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น จึงกล่าว
คาถาที่ ๑ ว่า :-
ลิงตัวใดสมมติกันว่า เป็นใหญ่กว่าฝูงลิง
เหล่านี้ ปัญญาของลิงตัวนั้นมีอยู่เพียงอย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 145
เท่านั้น ฝูงลิงที่เป็นบริวารนอกนี้จะมีปัญญา
อะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยเมสญฺจ สเมตาน ความว่า
ลิงตัวใด ได้เป็นผู้รับสมมติว่าประเสริฐสุดกว่าลิงเหล่านี้ คือ กว่าลิง
แม้ทั้งหมดผู้มีชาติกำเนิดเสมอกัน . บทว่า กิเมว อิตรา ปชา ความว่า
ปัญญาของลิงที่ต่ำทรามนอกนี้ ในบรรดาลิงเหล่านั้น จะเป็นเช่นไร
หนอ.
วานรทั้งหลายได้ฟังถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว จึงกล่าว
คาถาที่ ๒ ว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ท่านยังไม่รู้
อะไร ไฉนจึงด่วนมาติเตียนเราต่าง ๆ อย่างนี้
เล่า เรายังไม่เห็นรากไม้แล้ว จะพึงรู้ต้นไม้
ว่ารากหยั่งลงไปลึกได้อย่างไรเล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺเม เป็นเพียงอาลปนะ
คือคำร้องเรียก. ในคาถานี้ มีความสังเขปดังต่อไปนี้ ดูก่อน
บุรุษผู้เจริญ ท่านยังไม่รู้เหตุและไม่ใช่เหตุด้วยประการใด มาด่วน
ติเตียนพวกเราโดยประการนั้นทันที ใครๆ ยังไม่ถอนรากแล้ว จะ
อาจรู้ได้อย่างไรว่า ชื่อว่าต้นไม้ต้นนี้หยั่งรากลงไปลึกหรือหาไม่ ด้วย
เหตุนั้น พวกเราจึงให้ถอนขึ้นแล้วจึงรดน้ำตามประมาณของราก.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 146
เราไม่ติเตียนเจ้าทั้งหลายเพราะพวก
เจ้าก็เป็นแต่ลิงไพรอาศัยอยู่ในป่า แต่คนเช่น
พวกเจ้าปลูกต้นไม้ เพื่อประโยชน์แก่พระ-
ราชาองค์ใด พระราชาองค์นั้น คือพระเจ้า
วิสสเสนะ จะพึงถูกติเตียนได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสฺสเสโน จ คารยฺโห ความว่า
ก็ในกาลปลูกต้นไม้นี้ พระเจ้าพาราณสีพระนามว่าวิสสเสนะ จะพึง
ถูกติเตียน. บทว่า ยสฺสตฺถา รุกฺขโรปกา ความว่า คนทั้งหลาย
เช่นพวกเจ้าเป็นผู้ปลูกต้นไม้ เพื่อประโยชน์แก่พระราชาใด.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า หัวหน้าวานร ในกาลนั้น ได้เป็นกุมารผู้ทำลายต้นไม้ใน
สวน ในบัดนี้ ส่วนบุรุษผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาอารามทูสกชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 147
๙. สุชาตาชาดก
ถ้อยคำไพเราะทำให้คนรัก
[๔๐๖] สัตว์เหล่านี้สมบูรณ์ด้วยสีสรรวรรณะ มี
สำเนียงอ่อนหวาน น่ารักน่าชม แต่เป็น
สัตว์มีวาจากระด้าง ย่อมไม่เป็นที่รักของใคร
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าเลย.
[๔๐๗] พระองค์ก็ได้เห็นมิใช่หรือว่า นกดุเหว่า
นี้ดำ สีไม่สวยตัวลายพร้อย แต่เป็นที่รักของ
สัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก เพราะวาจาอ่อน
หวาน.
[๔๐๘] เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการจะให้ตนเป็นที่
รักของประชาชน พึงกล่าวแต่ถ้อยคำสละ-
สลวย พูดด้วยความคิด ไม่ฟุ้งซ่าน ถ้อย
คำของผู้แสดงอรรถและธรรม เป็นถ้อยคำ
ไพเราะ.
จบ สุชาตาชาดกที่ ๙
อรรถกถาสุชาตาชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
นางสุชาดาน้องหญิงของนางวิสาขา ธิดาของธนัญชัยเศรษฐี สะใภ้ของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 148
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า น หิ
วณฺเณน สมฺปนฺนา ดังนี้.
ได้ยินว่า นางสุชาดานั้นเข้าไปยังเรือนของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เต็มไปด้วยยศอย่างใหญ่หลวง. นางสุชาดานั้นคิดว่า เราเป็น
ธิดาของตระกูลใหญ่ จึงเป็นผู้ถือตัวจัด มักโกรธ ดุร้าย หยาบช้า
ไม่กระทำวัตรปฏิบัติแก่พ่อผัว แม่ผัว และสามี เที่ยวคุกคามเฆี่ยนตี
คนในเรือน. ครั้นวันหนึ่ง พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐
เสด็จเข้าไปยังเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ประทับนั่งอยู่. ฝ่าย
มหาเศรษฐีก็เข้าไปนั่งใกล้พระศาสดา ฟังธรรมอยู่. ขณะนั้น นาง
สุชาดาทำการทะเลาะกับพวกทาสและกรรมกร. พระศาสดาทรงหยุด
ธรรมกถาตรัสว่า นี่เสียงอะไร. ท่านเศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เจริญ มีหญิงสะใภ้ในตระกูลคนหนึ่ง ไม่มีความเคารพ. นาง
ไม่มีวัตรปฏิบัติต่อพ่อผัว แม่ผัว และสามี ไม่ให้ทาน ไม่รักษาศีล
ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เที่ยวก่อแต่การทะเลาะทุกวันทุกคืน.
พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียกนางมา. นางสุชาดามา
ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระศาสดา
ตรัสถามนางว่า ดูก่อนสุชาดา ภรรยาของบุรุษมี ๗ จำพวก เธอ
เป็นภรรยาพวกไหน ในบรรดาภรรยา ๗ จำพวกนั้น. นางสุชาดา
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่ทราบความแห่งพระ-
ดำรัสที่พระองค์ตรัสโดยย่อ ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่หม่อมฉันโดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 149
พิสดารเถิด. พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอจงเงี่ยโสตสดับ
แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
ภรรยาคนใดของชายมีอาการอย่างนี้
คือมีจิตคิดประทุษร้ายสามี มิได้ประพฤติสิ่ง
ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สามี ยินดีรักใคร่
ในบุรุษอื่น ดูหมิ่นล่วงเกินสามี ขวนขวาย
เพื่อจะฆ่าสามีผู้ถ่ายมาด้วยทรัพย์ ภรรยาชนิด
นั้น ท่านเรียกว่า วธกาภริยา ภรรยาเสมอ
เพชฌฆาต. ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้
คือ สามีได้ทรัพย์สิ่งใดมา โดยทางศิลป-
วิทยาก็ดี โดยทางค้าขายก็ดี ทางกสิกรรม
ก็ดี แม้จะน้อยมากเพียงใด ก็มอบให้ภรรยา
เก็บรักษาไว้ แต่ภรรยานั้นไม่รู้จักเก็บงำ
ปรารถนาแต่จะใช้ทรัพย์นั้นให้หมดเปลือง
ไป ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า โจรีภริยา
ภรรยาเสมอดังโจร. ภรรยาใดของชายมี
อาการอย่างนี้ คือ ไม่ปรารถนาทำการงาน
เกียจคร้าน กินจุ หยาบช้า ดุร้าย ปากคอ
เราะราน ประพฤติข่มขี่พวกคนผู้คอยรับใช้
ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า อัยยาภริยา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 150
ภรรยาเสมอดังเจ้า. ภรรยาใดของชายมีอาการ
อย่างนี้ คือ โอบอ้อมอารี ประพฤติสิ่งที่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ตามรักษาสามี
คล้ายมารดาตามรักษาบุตร รักษาทรัพย์ที่สามี
หามาได้ไว้ ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า
มาตาภริยา ภรรยาเสมอดังมารดา. ภรรยาใด
ของชายมีอาการอย่างนี้ คือ มีความเคารพ
สามีของตน มีความละอายใจ ประพฤติ
ตามอำนาจ ความพอใจของสามี คล้ายกับ
น้องหญิงมีความเคารพพี่ชายฉะนั้น ภรรยา
ชนิดนั้น ท่านเรียกว่า ภคินีภริยา ภรรยา
เสมอดังน้องหญิง. ภรรยาใดของชายมีอาการ
อย่างนี้ คือ เห็นสามีย่อมร่าเริงยินดี คล้าย
กับหญิงสหาย เห็นมิตรสหายมาเรือนของตน
ฉะนั้น เป็นผู้รักษาวงศ์ตระกูล มีศีลมีวัตร
ปฏิบัติต่อสามี ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า
สขีภริยา ภรรยาเสมอดังเพื่อน. ภรรยาใด
ของชายมีอาการอย่างนี้ คือ เป็นคนไม่มีความ
ขึ้งโกรธ ถึงจะถูกคุกคามด้วยการฆ่าและลง
อาญา ก็ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย อดกลั้นต่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 151
สามี ไม่โกรธ ยอมประพฤติตามอำนาจสามี
ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า ทาสีภริยา
ภรรยาเสมอดังทาส.๑
ดูก่อนสุชาดา ภรรยาของบุรุษมี ๗ จำพวกนี้แล บรรดา
ภรรยา ๗ จำพวกนั้น ภรรยา ๓ จำพวกเหล่านี้ คือ ภรรยาเสมอดัง
เพชฌฆาต ๑ ภรรยาเสมอดังโจร ๑ ภรรยาเสมอดังเจ้า ๑ ย่อมบังเกิด
ในนรก ส่วนภรรยา ๔ จำพวกนอกนี้ ย่อมบังเกิดในเทวโลก
ชั้นนิมมานรดิ ครั้นพระศาสดาตรัสจำแนกภรรยา ๗ จำพวก
ด้วยพระคาถาแล้ว จึงตรัสนิคมพจน์ดังนี้ว่า :-
ก็ภรรยาใดในโลกนี้ ที่เรียกว่าวธกา-
ภริยา โจรีภริยา และอัยยาภริยา เป็นคนทุศีล
หยาบช้า มีได้เอื้อเฟื้อ ภรรยานั้น ครั้นแตก
กายทำลายขันธ์ ย่อมไปสู่นรก. ส่วนภรรยาใด
ในโลกนี้ ที่เรียกว่า มาตาภริยา ภคินีภริยา
สขีภริยา และทาสีภริยา เป็นคนดำรงอยู่ใน
ศีล สำรวมระวังดีตลอดเวลานาน ภรรยา
นั้น ครั้นแตกกายทำลายขันธ์ ย่อมไปสู่สุคติ.
๑. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๖๐.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 152
เมื่อพระศาสดาทรงแสดงภรรยา ๗ จำพวก ด้วยประการ
อย่างนี้แล้ว นางสุชาดาได้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล. เมื่อพระ-
ศาสดาตรัสว่า ดูก่อนสุชาดา บรรดาภรรยา ๗ จำพวกนี้ เธอเป็น
ภรรยาพวกไหน ? นางสุชาดาจึงกราบทูลว่า กระหม่อมฉัน ขอเป็น
ภรรยาเสมอด้วยทาส พระเจ้าข้า แล้วถวายบังคมขอขมาพระศาสดา.
พระศาสดาทรงทรมานนางสุชาดาหญิงสะใภ้ ด้วยพระโอวาทครั้งเดียว
เท่านั้น ด้วยประการดังนี้ ทรงทำภัตตกิจเสร็จแล้วเสด็จไปพระวิหาร.
เชตวัน เมื่อภิกษุสงฆ์แสดงวัตรแล้ว จึงเสด็จเข้าพระคันธกุฎี. ภิกษุ
ทั้งหลายนั่งสนทนากันถึงพระคุณของพระศาสดาในโรงธรรมสภาว่า
อาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาทรงทรมานนางสุชาดาหญิงสะใภ้ด้วยพระ-
โอวาทครั้งเดียวเท่านั้น ให้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล. พระศาสดา
เสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากัน
ด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เราก็ได้ทรมาน
นางสุชาดาด้วยโอวาทครั้งเดียวเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีต
มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของ
พระเจ้าพรหมทัตนั้น พอเจริญวัย ได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะทั้งปวงใน
เมืองตักกศิลา เมื่อพระราชบิดาสวรรคต ก็ได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 153
ทรงครองราชย์โดยธรรม โดยสม่ำเสมอ. พระมารดาของพระโพธิสัตว์
นั้น เป็นผู้มักโกรธ ดุร้าย หยาบช้า ชอบด่า ชอบบริภาษ. พระ-
โพธิสัตว์นั้นประสงค์จะถวายโอวาทแก่พระมารดา ทรงพระดำริว่า. การ
กราบทูลถ้อยคำที่ไม่มีเรื่องอ้างอิงอย่างนี้ ไม่สมควร จึงเสด็จ
เที่ยวมองหาข้อเปรียบเทียบ เพื่อทรงแนะนำพระมารดา. ครั้นวัน
หนึ่ง ได้เสด็จไปยังพระราชอุทยาน. แม้พระมารดาก็ได้เสด็จไปพร้อม
กับพระโอรสเหมือนกัน. ครั้งนั้น นกกระต้อยตีวิดกำลังส่งเสียงร้อง
อยู่ในระหว่างทาง. บริษัทของพระโพธิสัตว์ได้ยินเสียงนั้น จึงพากัน
ปิดหูแล้วกล่าวว่า ดูก่อนเจ้านกผู้มีเสียงกระด้างหยาบช้า เจ้าอย่าได้ส่ง
เสียงร้อง. ก็เมื่อพระโพธิสัตว์แวดล้อมด้วยนักฟ้อนเสด็จเที่ยวพระราช-
อุทยานกับพระมารดา มีนกดุเหว่าตัวหนึ่งแอบอยู่ที่ต้นสาละต้นหนึ่ง
มีดอกบานสะพรั่ง ส่งเสียงร้องด้วยสำเนียงอันไพเราะ. มหาชนพากัน
หลงใหลเสียงนั้น ประคองอัญชลีกล่าวว่า ดูก่อนนกผู้มีเสียงอ่อนหวาน
สละสลวยนุ่มนวล เจ้าจงร้องต่อไป ๆ แล้วต่างแหงนคอเงี่ยโสตยืน
แลดูอยู่. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้ทรงทราบชัดเหตุการณ์ทั้งสอง
นั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า เราจักสามารถทำพระมารดาให้ยินยอมได้
ในบัดนี้ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมารดา มหาชนได้ยินเสียงนก
ต้อยตีวิดในระหว่างทาง ต่างพูดว่า เจ้าอย่าส่งเสียงร้อง แล้วปิดหูเสีย
ชื่อว่าวาจาหยาบไม่เป็นที่รักของใคร ๆ แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
สัตว์เหล่านี้สมบูรณ์ด้วยสีสรรวรรณะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 154
มีสำเนียงอ่อนหวานน่ารักน่าชม แต่เป็น
สัตว์มีวาจากระด้าง ย่อมไม่เป็นที่รักของใคร ๆ
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า. พระองค์ก็ได้เห็น
มิใช่หรือว่า นกดุเหว่าตัวนี้ ดำ สีไม่สวย
ตัวลายพร้อย แต่เป็นที่รักของสัตว์ทั้ง
หลายเป็นอันมาก เพราะวาจาอ่อนหวาน.
เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการจะให้ตนเป็นที่รัก
ของมหาชน พึงเป็นผู้มีวาจาสละสลวย พูด
ด้วยความคิด ไม่ฟุ้งซ่าน ถ้อยคำของผู้ที่
แสดงอรรถและธรรม เป็นถ้อยคำไพเราะ.
คาถาเหล่านั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ ข้าแต่พระมารดา สัตว์
เหล่านี้ประกอบด้วยสีกายมีสีเหมือนดอกประยงค์เป็นต้น ชื่อว่ามีเสียง
ไพเราะ เพราะเสียงเปล่งไพเราะ ชื่อว่าน่ารักน่าชม เพราะมีรูปร่าง
งดงาม แต่ชื่อว่าเป็นสัตว์มีวาจาหยาบ เพราะประกอบด้วยวาจาแข็ง
กระด้างอันเป็นไปด้วยการด่าและการบริภาษเป็นต้น จนชั้นที่สุดบิดา
มารดา จึงชื่อว่าไม่เป็นที่รักของใคร ๆ ในโลกนี้และในโลกหน้า
เหมือนนกต้อยตีวิดที่มีวาจากระด้างในระหว่างทางฉะนั้น ส่วนนก
ดุเหว่ามีปกติกล่าวอ่อนหวาน ประกอบด้วยวาจากลมเกลี้ยง ไพเราะ
ถึงจะมีรูปไม่งามก็เป็นที่รักใคร่ได้. ด้วยเหตุนั้น กระหม่อมฉัน จึง
ขอกล่าวกะพระองค์ว่า พระองค์เห็นมิใช่หรือ นกดุเหว่าตัวนี้ ดำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 155
มีสีไม่สวย ลายพร้อยด้วยเมล็ดงาดำ อันดำยิ่งกว่าแม้สีกาย แต่ถึง
นกดุเหว่านั้น แม้จะเป็นสัตว์มีสีกายไม่สวยงามอย่างนี้ ก็ยังเป็นที่รัก
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก เพราะมีวาจาอ่อนหวาน. ดังนั้น เพราะ
เหตุที่สัตว์ทั้งหลายมีวาจาแข็งกระด้าง ย่อมไม่เป็นที่รักแม้ของบิดา
มารดาในโลก ฉะนั้น บุคคลผู้ปรารถนาจะให้เป็นที่รักของชนเป็นอัน
มาก พึงเป็นผู้มีวาจาสละสลวย อ่อนหวาน กลมกล่อม ไพเราะ
นุ่มนวล. และชื่อว่ากล่าวด้วยความคิด เพราะกล่าวกำหนด้วยความ
คิด กล่าวคือปัญญา ชื่อว่าไม่ฟุ้งซ่านเพ้อเจ้อ เพราะกล่าวถ้อยคำ
พอประมาณ เว้นความฟุ้งซ่านเพ้อเจ้อ. ก็บุคคลใดผู้เห็นปานนี้แสดง
อรรถและธรรม ถ้อยคำของบุคคลนั้น ชื่อว่าไพเราะอาศัยเหตุกล่าว
ไม่ทำคนอื่นให้โกรธเคือง.
พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่พระมารดา ด้วยคาถา ๓ คาถา
เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ทำให้พระมารดารู้สึกพระองค์ได้. จำเดิม
แต่นั้น พระมารดาได้เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยพระมารยาท. ก็พระโพธิ-
สัตว์ทรงการทำพระมารดาให้หมดพยศ ด้วยพระโอวาท เพียงโอวาท
เดียวเท่านั้น แล้วเสด็จไปตามยถากรรม.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า พระมารดาของพระเจ้าพาราณสี ในครั้งนั้น ได้เป็นนาง
สุชาดาในบัดนี้ ส่วนพระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาสุชาตาชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 156
๑๐. อุลูกชาดก
หน้าตาไม่ดีไม่ควรให้เป็นใหญ่
[๔๐๙] ได้ยินว่า พวกญาติทั้งมวลตั้งนกเค้าให้
เป็นใหญ่ ถ้าพวกญาติอนุญาต ฉันจะขอพูด
สักคำหนึ่ง.
[๔๑๐] ดูก่อนสหาย เราทั้งหมดอนุญาตให้ท่าน
พูด แต่จงพูดแต่ถ้อยคำที่เป็นอรรถและธรรม
อย่างเดียว เพราะว่านกหนุ่ม ๆ ที่มีปัญญา
และทรงไว้ซึ่งญาณอันรุ่งเรืองมีอยู่.
[๔๑๑] ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย การ
แต่งตั้งนกเค้าให้เป็นใหญ่ ข้าพเจ้าไม่ชอบใจ
ท่านจงมองดูหน้าของนกเค้าผู้ไม่โกรธเกิด
นกเค้าโกรธแล้วจักทำหน้าตาเป็นอย่างไร.
จบ อลูกชาดกที่ ๑๐
อรรถกถาอุลูกชาดกที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การทะเลาะของกาและนกเค้า จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า สพฺเพหิ
กิร าตีหิ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 157
ได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น กาทั้งหลายพากันกินนกเค้าทั้งหลาย
ในตอนกลางวัน ฝ่ายนกเค้าทั้งหลาย จำเดิมแต่พระอาทิตย์อัศดงคต
ก็พากันเฉี่ยวศีรษะของพวกกาที่นอนอยู่ในที่นั้น ๆ ทำให้พวกกาเหล่า-
นั้นถึงความสิ้นชีวิตไป. ศีรษะกาแม้มากมาย เปื้อนเลือดประมาณ
๗-๘ ทนาน หล่นจากต้นไม้ ภิกษุรูปหนึ่งผู้อยู่ในบริเวณแห่งหนึ่ง
ท้ายพระวิหารเชตวัน ต้องเก็บทิ้งในเวลากวาด. ภิกษุนั้นจึงบอกเนื้อ
ความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นนั่งสนทนากันในโรงธรรม-
สภาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในเวลาที่ภิกษุรูปโน้นกวาด
จะต้องทิ้งศีรษะกาทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ทุกวัน ๆ พระศาสดาเสด็จ
มาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนึ่งประชุมกันด้วย
เรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า
มิใช่ในบัดนี้เท่านั้นน่ะ ภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน กากับนกเค้า
ก็ได้กระทำการทะเลาะกันมาแล้ว. ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ กากับนกเค้าก่อเวรแก่กันและกันขึ้นในคราวไร
พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า จำเดิมแต่กาลอันเป็นปฐมกัปทีเดียว
แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งปฐมกัป มนุษย์ทั้งหลายประชุมกัน คัด
เลือกบุรุษคนหนึ่งผู้มีรูปงาม ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความงาม สมบูรณ์
ด้วยมารยาท บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง แต่งตั้งให้เป็นพระราชา.
ฝ่ายสัตว์ ๔ เท้าก็ประชุมกันตั้งราชสีห์ให้เป็นพระราชา. พวกปลาใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 158
มหาสมุทรก็ได้ตั้งปลาอานนท์ให้เป็นพระราชา. ลำดับนั้น หมู่นก
พากันประชุมที่หินดาดแห่งหนึ่ง ในหิมวันตประเทศ ปรึกษากันว่า
ในหมู่มนุษย์พระราชาก็ปรากฏ ในสัตว์ ๔ เท้าและปลาทั้งหลาย ก็
ปรากฏเหมือนอย่างนั้น แต่ในระหว่างพวกเรา พระราชายังไม่มี
ธรรมดาว่า การอยู่โดยไม่มีที่พึ่ง ย่อมไม่ควร แม้พวกเราก็ควรจะ
ได้พระราชา พวกเราจงกำหนดนกตัวหนึ่งผู้สมควรตั้งไว้ในตำแหน่ง
พระราชา. นกทั้งหลายพิจารณาหานกเช่นนั้น เห็นนกเค้าตัวหนึ่ง
ก็ชอบใจ จึงกล่าวว่า เราชอบใจนกตัวนี้. ลำดับนั้น นกตัวหนึ่งจึง
ประกาศขึ้น ๓ ครั้ง เพื่อต้องการหยั่งดูอัธยาศัยใจคอของนกทุกตัว.
เมื่อนกตัวนั้นร้องประกาศอยู่ ๒ ครั้ง ก็ยังสงบเงียบอยู่ ในเวลาจะ
ประกาศครั้งที่ ๓ กาตัวหนึ่งลุกขึ้นกล่าวว่า ก่อนอื่น ในเวลาอภิเษก
เป็นพระราชาครั้งนี้ หน้าของนกเค้าผู้ยังไม่โกรธ ยังเห็นปานนี้ก่อน
เมื่อเขาโกรธ หน้าจักเป็นเช่นไร ก็พวกเขาผู้ถูกนกเค้าตัวนี้โกรธ
แลดูแล้วจักแตกตื่นกันในที่นั้นทันที เหมือนเกลือที่ใส่ในกระเบื้อง
ร้อนฉะนั้น การตั้งนกเค้านี้ให้เป็นพระราชา ข้าพเจ้าหาพอใจไม่
เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ได้ยินว่า พวกญาติทั้งปวงจะตั้งนก-
เค้าให้เป็นใหญ่ ถ้าพวกญาติอนุญาต ฉันจะ
ขอพูดสักคำหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 159
ความของคาถานั้นว่า ฉันได้ฟังการกล่าวประกาศ ซึ่งกำลัง
เป็นไปอยู่นั้น จึงขอกล่าว. ได้ยินว่าพวกญาติที่มาประชุมกันนี้ทั้งหมด
จะตั้งนกเค้าตัวนี้ให้เป็นพระราชา ก็ถ้าพวกญาติจะอนุญาตฉันไซร้
ฉันขอกล่าวอะไร ๆ สักคำหนึ่งที่จะพึงกล่าวในสมาคมนี้.
ลำดับนั้น นกทั้งหลายเมื่อจะอนุญาตกานั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒
ว่า :-
ดูก่อนสหาย เราทั้งหมดอนุญาตให้
ท่านพูด แต่จงพูดแต่ถ้อยคำที่เป็นอรรถและ
ธรรมอย่างเดียว เพราะว่านกหนุ่ม ๆ ที่มี
ปัญญาและทรงญาณอันรุ่งเรือง ยังมีอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภณ สมฺม อนุญฺาโต ความว่า
ดูก่อนกาผู้สหาย พวกเราอนุญาต ท่านจงพูดสิ่งที่ควรพูดเถิด. บทว่า
อตฺถ ธมฺมญฺจ เกวล ความว่า ก็เมื่อท่านจะกล่าวจะกล่าวอย่า
ให้ละเลยเหตุ และคำอันมีมาตามประเพณีเสีย. บทว่า ปญฺวนฺโต
ชุตินฺธรา ความว่า พวกนกแม้หนุ่ม ๆ ที่สมบูรณ์ด้วยปัญญา และ
ทรงแสดงสว่างแห่งญาณความรู้ยังมีอยู่เหมือนกัน.
กาตัวนั้นอันพวกนกอนุญาตอย่างนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๓
ว่า :-
ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย
การแต่งตั้งนกเค้าให้เป็นใหญ่ ข้าพเจ้าไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 160
ชอบใจ ท่านจงมองดูหน้าของนกเค้าผู้ไม่
โกรธเถิด นกเค้าโกรธแล้วจักทำหน้าตา
อย่างไร.
เนื้อความของคาถานั้นนั้นว่า ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้ง
หลาย การที่ท่านทั้งหลายทำการอภิเษกนกเค้าด้วยการประกาศ ๓
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจ ก็ท่านทั้งหลายจงมองดูหน้าของนกเค้านี้
ผู้ดีใจยังไม่โกรธในขณะนี้ เราไม่รู้ว่า ก็นกเค้านี้โกรธแล้วจักกระ-
ทำหน้าอย่างไร การตั้งนกเค้าให้เป็นใหญ่นี้ ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบโดย
ประการทั้งปวง.
กานั้นครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วบินร้องไปในอากาศว่า ข้าพเจ้า
ไม่ชอบใจ ข้าพเจ้าไม่ชอบใจ. ฝ่ายนกเค้าก็บินขึ้นไล่ติดตามกานั้นไป.
ตั้งแต่นั้นมา กากับนกเค้าจึงได้ผูกเวรกันและกัน . นกทั้งหลายตั้ง
หงส์ทองให้เป็นพระราชา แล้วพากันหลีกไป.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ คนเป็นอันมากได้เป็น
พระโสดาบันเป็นต้น. หังสโปดกผู้ได้รับอภิเษกให้เป็นพระราชาใน
กาลนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอุลูกชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 161
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปทุมชาดก ๒. มุทุปาณิชาดก ๓. จุลลปโลภนชาดก
๔. มหาปนาทชาดก ๕. ขุรัปปชาดก ๖. วาตัคคสินธวชาดก
๗. สุวรรณกักกฏกชาดก ๘. อารามทูสกชาดก ๙. สุชาตาชาดก
๑๐. อุลูกชาดก
จบ ปทุมวรรคที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 162
๓. อุทปานทุสกวรรค
๑. อุทปานทูสกชาดก
การขี้เยี่ยวลงบ่อน้ำเป็นธรรมดาของหมาจิ้งจอก
[๔๑๒] ดูก่อนสหาย ทำไมท่านจึงถ่ายมูตรและ
คูถรดบ่อน้ำที่ทำได้โดยยาก ของฤาษีผู้อยู่ป่า
แสวงหาตบะอยู่ตลอดกาลนาน.
[๔๑๓] เราพวกสุนัขจิ้งจอกดื่มกินน้ำ ณ ที่ใด
แล้ว ย่อมถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะลงในที่นั้น
เป็นธรรมดาขุองสุนัขจิ้งจอกทั้งหลาย เป็น
ธรรมดาของบิดามารดาและปู่ย่าตายาย ท่าน
ไม่ควรจะถือโกรธธรรมดาอันนั้นของพวกเรา
เลย.
[๔๑๔] อาการเช่นนี้เป็นธรรมดาของพวกท่าน
อนึ่ง อาการเช่นไรไม่เป็นธรรมดาของพวก
ท่าน ขอพวกเราอย่าได้เห็นธรรมดา หรือ
มิใช่ธรรมดาของพวกท่านในกาลไหน ๆ อีก
เลย.
จบ อุทปานทูสกชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 163
อรรถกถาอุทปานทูสกวรรคที่ ๓
อรรถกถาอุทปานทูสกชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปนมฤคทายวัน ทรงปรารภ
สุนัขจิ้งจอกซึ่งทำลายบ่อน้ำตัวหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า
อารญฺกสฺส อิสิโน ดังนี้.
ได้ยินว่า สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งทำลายบ่อน้ำของภิกษุสงฆ์แล้ว
หลบหนีไป. ครั้นวันหนึ่ง. สามเณรทั้งหลายเอาก้อนดินปาสุนัข
จิ้งจอกตัวนั้นซึ่งมาใกล้บ่อน้ำให้ได้รับความลำบาก. จำเดิมแต่นั้น
สุนัขจิ้งจอกตัวนั้นแม้จะหวลกลับมายังที่นั้นอีกก็ไม่แลดู. ภิกษุ
ทั้งหลายทราบเหตุดังนั้น จึงนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ได้ยินว่า สุนัขจิ้งจอกตัวที่ทำลายบ่อน้ำ จำเดิมแต่พวก
สามเณรทำให้ลำบากแม้จะกลับมาอีกก็ไม่มองดู. พระศาสดาเสด็จมา
แล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนึ่งประชุมกันด้วย
เรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอกตัวนี้ประทุษร้ายบ่อน้ำ ในบัดนี้เท่านั้น
ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้เป็นผู้ประทุษร้ายบ่อน้ำเหมือนกัน แล้ว
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ในเมืองพาราณสี ป่าอิสิปนะนี้แล ได้มีบ่อน้ำ
นี้แหละ. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในเรือนของตระกูลในเมือง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 164
พาราณสี พอเจริญวัยก็บวชเป็นฤๅษี แวดล้อมด้วยหมู่ฤๅษีสำเร็จการ
ในป่าอิสิปตนะ. ก็ในกาลนั้น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งประทุษร้ายบ่อน้ำ
นี้นั่นแหละแล้วหลบหนีไป. ครั้นวันหนึ่ง ดาบสทั้งหลายล้อมสุนัข
จิ้งจอกตัวนั้นไว้จับมันได้ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง จึงนำไปยังสำนักของ
พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เมื่อจะเจรจาปราศรัยกับสุนัขจิ้งจอกนั้น
จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ดูก่อนสหาย ทำไมท่านจึงถ่ายมูตร
และคูถรดบ่อน้ำที่ทำโดยยาก ของฤๅษีผู้อยู่
ป่า ผู้แสวงที่ตบะอยู่ตลอดกาลนาน.
เนื้อความของคาถานั้นว่า ดูก่อนสุนัขจิ้งจอกผู้สหาย ทำไม
คือเพื่อประโยชน์อะไร ท่านจึงถ่ายคือถมทับ ประทุษร้ายด้วยมูตร
และกรีษ ซึ่งบ่อน้ำที่ทำได้โดยยาก คือที่ให้สำเร็จได้โดยยาก
ลำบากของท่านผู้ชื่อว่าอยู่ป่า เพราะความเป็นผู้อยู่ในป่าซึ่งได้นามว่า
ฤๅษี เพราะความเป็นผู้แสวงหาคุณ ชื่อว่าผู้มีตบะ เพราะอาศัยตบะ
อยู่ตลอดกาลนาน อธิบายว่า ทำไม ท่านจึงถ่าย คือทำมูตรและกรีษ
ให้ตกลงไปในบ่อน้ำนี้.
สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
พวกเราดื่มกินน้ำ ณ ที่ใดแล้ว ย่อม
ถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงในที่นั้น นั่นเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 165
ธรรมดาของสุนัขจิ้งจอกทั้งหลาย ทั้งเป็น
ธรรมดาของบิดามารดาแต่ปู่ย่าตายาย ท่าน
ไม่ควรจะยกโทษธรรมดาอันนั้นของพวกเรา
เลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอส ธมฺโม ได้แก่ นั่นเป็น
สภาวะ. ด้วย บทว่า ย ปิวิตฺวา โอหทามเส นี้ท่านแสดงความว่า
ดูก่อนสหาย พวกเราดื่มน้ำในที่ใดย่อมถ่ายอุจจาระรดบ้าง ปัสสาวะ
รดบ้าง เฉพาะที่นั้นเอง นี่เป็นธรรมดาของพวกเราผู้เป็นสุนัขจิ้งจอก.
บทว่า ปิตุปิตามห ความว่า นี้เป็นธรรมดาของบิดามารดา และ
ของปู่ย่าตายายของเราทั้งหลาย. บทว่า น ต อุชฺฌาตุมรหสิ
ความว่า ท่านไม่ควรยกโทษธรรมดา คือสภาวะนั้น ซึ่งมีมา
โดยประเพณีของพวกเรา คือท่านไม่ควรโกรธในข้อนี้.
พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถาที่ ๓ แก่สุนัขจิ้งจอกนั้นว่า :-
อาการเช่นนี้เป็นธรรมดาของพวก
ท่าน อนึ่ง อาการเช่นไรไม่เป็นธรรมดาของ
พวกท่าน ขอพวกเราอย่าได้เห็นธรรมดาหรือ
มิใช่ธรรมดาของพวกท่านในกาลไหน ๆ อีก
เลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา โว ความว่า ในกาลไหน ๆ
ขอให้พวกเราอย่าได้เป็นธรรมดาหรือมิใช่ธรรมดาของพวกท่านเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 166
พระมหาสัตว์ให้โอวาทแก่สุนัขจิ้งจอกนั้นอย่างนี้แล้วกล่าวว่า
เจ้าอย่ามาอีกต่อไป. จำเดิมแต่นั้น สุนัขจิ้งจอกนั้นแม้จะกลับมาอีก
ก็ไม่มองดู.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะทั้ง ๔ แล้วทรงประชุมชาดกว่า สุนัขจิ้งจอกตัวที่
ประทุษร้ายบ่อน้ำในกาลนั้น ได้เป็นสุนัขจิ้งจอกตัวนี้เอง ส่วนพระ
ดาบสผู้เป็นครูของคณะดาบาสในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอุทปานทูสกชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 167
๒. พยัคฆชาดก
ว่าด้วยเรื่องของมิตร
[๔๑๕] ความเกษมจากโยคะ ย่อมเสื่อมไป
เพราะการคบหากันมิตรคนใด บัณฑิตพึง
รักษาลาภยศและชีวิตของตน ที่มิตรนั้น
ครอบงำไว้เสียก่อน ดุจบุคคลผู้รักษาตาของ
ตนไว้ ฉะนั้น.
[๔๑๖] ความเกษมจากโยคะ ย่อมเจริญเพราะ
การคบหากับมิตรคนใด บุรุษผู้ฉลาดในกิจ
ทั้งมวล พึงกระทำกิจทุกอย่างของกัลยาณ-
มิตรให้เหมือนของตน.
[๔๑๗] ดูก่อนราชสีห์และเสือโคร่ง จงมาเถิด
ขอเชิญท่านทั้งสองจงกลับเข้าไปยังป่าใหญ่
พวกมนุษย์อย่ามาตัดป่าของเราให้ปราศจาก
ราชสีห์และเสือโคร่งเสียเลย ราชสีห์และ
เสือโคร่งอย่าได้เป็นผู้ไร้ป่า.
จบ พยัคฆชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 168
อรรถกถาพยัคฆชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
โกกาลิกภิกษุ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า เยน มิตฺเตน สสคฺคา
ดังนี้. เรื่องพระโกกาลิกะจักมีแจ้งในตักการิยชาดก เตรสนิบาต.
พระโกกาลิกะคิดว่า จักไปพาพระสารีบุตรและพระโมค-
คัลลานะมา จึงออกจากกาสิกรัฐไปยังพระวิหารเชตวัน ถวายบังคม
พระศาสดา แล้วเข้าไปหาพระเถระทั้งสอง แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้อาวุโส มนุษย์ชาวแว่นแคว้นเรียกหาท่านทั้งหลาย มาเถิดท่าน
เราทั้งหลายจะได้ไปด้วยกัน. พระเถระทั้งสองกล่าวว่า ไปเถอะคุณ
พวกเรายังจะไม่ไป. พระโกกาลิกะนั้นอันพระเถระทั้งสองปฏิเสธแล้ว
จึงได้ไปโดยลำพังตนเอง. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันใน
โรงธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระโกกาลิกะไม่อาจเป็นไปร่วม
หรือเว้นจากพระสารีบุตรและพระโมคคัลานะ แม้ร่วมก็อดกลั้นไม่
ได้ แม้พลัดพรากก็อดกลั้นไม่ได้. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า
ภิกษุทั้งหลาย. บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? เมื่อ
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า มิใช่
ในบัดนี้เท่านั้นดอกนะภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน พระโกกาลิกะนี้
ไม่อาจอยู่ร่วมหรือเว้นจากพระสารีบุตระเละพระโมคคัลลานะได้แล้ว
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 169
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในราวป่าแห่ง
หนึ่ง. ในที่ไม่ไกลวิมานของพระโพธิสัตว์นั้น มีรุกขเทวดาตนหนึ่ง
อยู่ในต้นไม้เจ้าป่าต้นหนึ่ง. สีหะและพยัคฆ์ก็อยู่ในไพรสณฑ์นั้น.
เพราะกลัวสีหะพยัคฆ์ใคร ๆ จึงไม่ไถนา ไม่ตัดไม้ในไพรสณฑ์
นั้น. ชื่อว่าบุคคลผู้สามารถที่เหลียวกลับมาดู ย่อมไม่มี. ก็สีหะและ
พยัคฆ์เหล่านั้นฆ่าเนื้อทั้งหลาย แม้มีประการต่าง ๆ เคี้ยวกิน. ทิ้งสิ่ง
ที่เหลือจากการเคี้ยวกินไว้ในที่นั้นนั่นเองเเล้วก็ไปเสีย. ไพรสณฑ์นั้น
จึงมีกลิ่นซากสัตว์อันไม่สะอาด เพราะกลิ่นของเนื้อเหล่านั้น. ลำดับนั้น
รุกขเทวดา นอกนี้เป็นผู้โง่เขลาไม่รู้จักเหตุและมิใช่เหตุ วันหนึ่งได้
กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า ดูก่อนสหาย ไพรสณฑ์เกิดกลิ่นซากสัตว์
อันไม่สะอาดแก่พวกเรา เพราะอาศัยสีหะและพยัคฆ์เหล่านี้ เราจะ
ไล่สีหะและพยัคฆ์เหล่านี้ให้หนีไปเสีย. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อน
สหาย เพราะอาศัยสีหะและพยัคฆ์ทั้งสองตัวนี้พวกเราจึงรักษาวิมาน
อยู่ได้ เมื่อสีหะและพยัคฆ์เหล่านี้หนีไปเสีย วิมานของพวกเราก็จัก
ฉิบหาย เพราะพวกมนุษย์เมื่อไม่เห็นรอยเท้าของสีหะและพยัคฆ์
ทั้งหลาย ก็จักตัดป่าทั้งหมดกระทำให้เป็นเนินลานเดียวกันแล้วไถนา
ท่านอย่าชอบใจอย่างนี้เลย แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาแรกว่า :-
ความเกษมจากโยคะย่อมเสื่อมไป
เพราะการคบหากับมิตรคนใด บุรุษผู้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 170
บัณฑิตพึงรักษาลาภ ยศ และชีวิตของตนที่
มิตรนั้นครอบงำไว้เสียก่อน ดุจบุคคลผู้รักษา
ดวงตาของตนไว้ฉะนั้น.
ความเกษมจากโยคะย่อมเจริญ เพราะ
การคบหากับมิตรคนใด บุรุษผู้เป็นบัณฑิต
พึงกระทำความเป็นไปในกิจทั้งปวงของกัล-
ยาณมิตรนั้นให้เสมอเหมือนของตน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน มิตฺเตน สสคฺคา ได้แก่
เพราะเหตุแห่งการเกี่ยวข้อง คือเพราะการณ์แห่งการเกี่ยวข้องกับ
ปาปมิตรใด อธิบายว่า เพราะกระทำความเกี่ยวข้อง ๕ ประการนี้ คือ
ทัสสนสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการเห็น สวนสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วย
การฟัง กายสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยกาย สมุลลาปสังสัคคะ เกี่ยว
ข้องด้วยการเจรจา และปริโภคสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการบริโภค
บทว่า โยคกฺเขโม ได้แก่ ความสุขทางกายและทางจิต. จริงอยู่
ความสุขทางกายและทางจิตนั้น ท่านประสงค์เอาว่า โยคักเขมะความ
เกษมจากโยคะ ในที่นี้ เพราะเป็นความเกษมจากโยคะ คือทุกข์.
บทว่า วิหียติ แปลว่า ย่อมเสื่อม. บทว่า ปุพฺเพวชฺฌาภวนฺตสฺส
รกฺเข อกฺขึว ปณฺฑิโต ความว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงรักษาลาภ
ยศ และชีวิตของตนที่ปาปมิตรนั้นยึดครอง คือที่ปาปมิตรนั้นจะพึง
ครอบครองไว้เสียก่อน โดยอาการที่ปาปมิตรนั้นครอบครองลาภ ยศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 171
และชีวิตนั้นไม่ได้ ประดุจรักษานัยน์ตาทั้งสองของตนฉะนั้น พึง
ทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :- บทว่า เยน ได้แก่ เพราะ
เหตุ คือเพราะการณ์เกี่ยวข้องกับด้วยกัลยาณมิตรใด. บทว่า โยคกฺ-
เขโม ปวฑฺฒติ ความว่า ความสุขทางกายและจิตย่อมเจริญ บทว่า
กเรยฺยตฺตสม วุตฺตึ ความว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงกระทำกิจทั้งปวง
ทั้งพึงกระทำให้ยิ่งในกิจทั้งปวงของกัลยาณมิตรนั้น เหมือนกระทำการ
เลี้ยงชีวิตและการใช้เครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภคของตน ฉะนั้น.
เมื่อพระโพธิสัตว์แม้จะกล่าวเหตุอย่างนี้ เทวดาเขลาตนนั้น
ไม่พิจารณาใคร่ครวญเลย วันหนึ่ง แสดงรูปอันน่ากลัว ทำให้
สีหะและพยัคฆ์เหล่านั้นหนีไป. พวกมนุษย์ไม่เห็นรอยเท้าของสีหะ
และพยัคฆ์เหล่านั้นรู้ได้ว่า พวกสีหะและพยัคฆ์หนีไปอยู่ชัฏป่าอื่น.
จึงถางชัฏป่าได้ด้านหนึ่ง. เทวดาเขลาจึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์แล้ว
กล่าวว่า ดูก่อนสหาย ข้าพเจ้าไม่กระทำตามคำของท่านจึงทำสีหะและ
พยัคฆ์ทั้งหลายให้หนีไป บัดนี้ มนุษย์ทั้งหลายรู้ว่าสีหะและพยัคฆ์
เหล่านั้นหนีไปแล้วจึงพากันตัดชัฏป่า เราจะพึงทำอย่างไรหนอ อัน
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า บัดนี้ สีหะและพยัคฆ์เหล่านั้นอยู่ในชัฏป่าโน้น
ท่านจงไปนำเอาสีหะและพยัคฆ์เหล่านั้นมา จึงไปที่ชัฏป่านั้น ยืน
ประคองอัญชลีข้างหน้าสีหะและพยัคฆ์เหล่านั้น แล้วกล่าวคาถาที่ ๓
ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 172
ดูก่อนสีหะและพยัคฆ์ จงมาเถิด
ขอเชิญท่านทั้งสองจงกลับเข้าไปยังป่าใหญ่
พวกมนุษย์อย่ามาตัดป่าของเราให้ปราศจาก
สีหะและพยัคฆ์เลย สีหะและพยัคฆ์อย่าได้
เป็นผู้ไร้ป่า ดังนี้.
พระโพธิสัตว์เรียกสีหะและพยัคฆ์แม้ทั้งสองนั้น โดยนามว่า
พยัคฆ์ จึงกล่าวว่า พฺยคฺฆา ในคาถานั้น. บทว่า นิวตฺตวฺโห
แปลว่า ขอจงกลับ. บทว่า ปจฺจุเปถ มหาวน ความว่า ท่าน
ทั้งหลายจงเข้าไปยังป่าใหญ่นั้น คือจงกลับเข้าไปอีก. อีกอย่างหนึ่ง
พระบาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า มา โน วน ฉินฺทิ นิพฺยคฺฆ
ความว่า บัดนี้ มนุษย์ทั้งหลายอย่าได้ตัดชัฏป่าอันเป็นที่อยู่ของพวก
เรา ชื่อว่าให้ปราศจากสีหะและพยัคฆ์ เพราะไม่มีพวกท่าน. บทว่า
พฺยคฺฆา มาเหสุ นิพฺพนา ความว่า พระยาสีหะและพยัคฆ์ทั้งสอง
เช่นท่าน ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ไร้ป่า คือ อย่าเป็นผู้เว้นจากป่าอันที่อยู่
เพราะหนีไปจากสถานที่อยู่ของตน.
สีหะและพยัคฆ์ทั้งสองนั้น แม้ถูกเทวดานั้นอ้อนวอนอยู่อย่าง
นี้ก็ยังคงปฏิเสธว่า ท่านไปเถอะ พวกเรายังไม่ไป. เทวดาผู้เดียว
เท่านั้นกับมายังชัฏป่า. ฝ่ายมนุษย์ทั้งหลายก็ตัดป่าทั้งหมด โดย
๒-๓ วันเท่านั้น กระทำให้เป็นเนื้อนาแล้วกระทำกสิกรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 173
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะแล้วทรงประชุมชาดกว่า เทวดาผู้ไม่ฉลาดในกาลนั้น ได้เป็น
พระโกกาลิกะในบัดนี้ ส่วนเทวดาผู้ฉลาดในกาลนั้น ได้เป็นเรา
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาพยัคฆชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 174
๓. กัจฉปชาดก
ว่าด้วยลิงสัปดน
[๔๑๘] ใครหนอเดินมา เหมือนบุคคลผู้รวย
อาหาร เหมือนพราหมณ์ผู้ได้ลาภมาเต็มมือ
ฉะนั้น ท่านไปเที่ยวภิกขาจารที่ไหนหนอ
ท่านเข้าไปหาผู้มีศรัทธาคนไรมา.
[๔๑๙] ดูก่อนท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นลิง
ทรามปัญญา จับต้องสิ่งที่บุคคลไม่ควรจับ
ต้อง ขอพระคุณเจ้าโปรดเปลื้องข้าพเจ้าให้
พ้นทุกข์ด้วยเถิด ขอความเจริญจงมีแก
พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าพ้นจากความฉิบหายนี้
แล้วจะไปอยู่ที่ภูเขา.
[๔๒๐] เต่าทั้งหลายเป็นสัตว์สืบเนื่องมาจาก
กัสสปโคตร ลิงทั้งหลายเป็นสัตว์สืบเนื่อง
มาจากโกณฑัญญโคตร ดูก่อนเต่าผู้เทือก
แถวกัสสปโคตร ท่านจงปล่อยลิงผู้เทือกแถว
โกณฑัญญโคตรเสียเถิดท่านคงเคยทำเมถุน-
ธรรมกันแล้ว.
จบ กัจฉปชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 175
อรรถกถากัจฉปชาดกที่ ๓
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการ
สงบระงับความทะเลาะแห่งอำมาตย์ทั้งสองของพระเจ้าโกศล จึงตรัส
เรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โก นุ วฑฺฒิตภตฺโตว ดังนี้. ก็เรื่องที่เกิดขึ้น
ในปัจจุบัน ได้กล่าวไว้แล้วในทุกนิบาตนั่นแล.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในแคว้น
กาสิกรัฐ พอเจริญวัยแล้ว เล่าเรียนศิลปศาสตร์ทุกอย่างในเมือง
ตักกศิลา แล้วละกามทั้งหลายออกบวชเป็นฤาษี สร้างอาศรมบทอยู่
ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้หิมวันตประเทศ ทำอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิด
ในที่นั้นแล้วเล่นฌานสำเร็จการอยู่ในที่นั้น. ได้ยินว่า ในชาดกนี้
พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีตนเป็นกลางอย่างยิ่ง ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี.
เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นนั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา ลิงทุศีลซุกซนตัวหนึ่ง
มาถึงก็เอาองคชาตสอดเข้าในช่องหูทั้งสองช้าง ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ไม่
ได้ห้ามวางเฉยอยู่นั่นแหละ. อยู่มาวันหนึ่ง เต่าตัวหนึ่งขึ้นมาจากน้ำ
นอนผิงแดดอ้าปากอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา. ลิงโลเลตัวนั้นเห็นดังนั้น
จึงได้สอดองคชาตเข้าในปากของเต่านั้น. ลำดับนั้น เต่าตื่นขึ้นจึงงับ
องคชาตของลิงนั้นไว้ เหมือนกับใส่ไว้ในสมุคฉะนั้น. เวทนามีกำลัง
เกิดขึ้นแก่ลิงนั้น มันไม่สามารถจะอดกลั้นเวทนาได้จึงคิดว่า ใครหนอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 176
จักปลดเปลื้องเราจากทุกข์นี้ เราจักไปหาใครดี แล้วมาคิดว่า คนอื่น
ชื่อว่าผู้สามารถปลดเปลื้องเราจากทุกข์นี้ ยกเว้นพระดาบสเสีย ย่อม
ไม่มี เราควรจะไปหาพระดาบสเท่านั้น คิดแล้วจึงเอามือทั้งสองอุ้มเต่า
ไปหาพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เมื่อจะทำการเยาะเย้ยลิงทุศีลตัวนั้น
จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ใครหนอเดินมา เหมือนบุคคลผู้รวย
อาหาร เหมือนพราหมณ์ผู้ได้ลาภมาเต็มมือ
ท่านไปเที่ยวภิกขาจารที่ไหนหนอ หรือท่าน
เข้าไปหาผู้มีศรัทธาคนไรมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ วฑฺฒิตภตฺโตว ความว่า
นั้นใคร เหมือนคนร่ำรวยภัต คือ นั่นใครหนอเหมือนเอามือทั้งสอง
ประคองถาดเต็มด้วยภัตที่เขาคดไว้พูนถาดหนึ่งเดินมา. บทว่า ปูรหตฺ-
โถว พฺราหฺมโณ ความว่า นั่นใครหนอ เหมือนพราหมณ์มีลาภ
เต็มมือ เพราะได้ร่ายเวทในเดือน ๑๒. พระโพธิสัตว์หมายเอาวานร
จึงกล่าวดังนี้. บทว่า กหนฺนุ ภิกฺข อจริ ความว่า วานรผู้เจริญ
วันนี้ท่านไปเที่ยวภิกขาจารในถิ่นไหน. ด้วยบทว่า ก สทฺธ อุปสงฺกมิ
นี้พระโพธิสัตว์แสดงว่า ภัตของผู้มีศรัทธาที่เขาทำอุทิศบุรพเปตชน
ชื่อไร หรือบุคคลผู้มีศรัทธาคนไหนที่ท่านเข้าไปหา คิดว่าไทยธรรมนี้
ท่านได้มาแต่ไหน.
วานรทุศีลได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 177
ดูก่อนท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นลิง
ทรามปัญญาจับต้องสิ่งที่ไม่ควรจับต้อง ขอ
พระคุณเจ้าโปรดเปลื้องข้าพเจ้าให้พ้นทุกข์
ด้วยเถิด ขอความเจริญจงมีแก่พระคุณเจ้า
ข้าพเจ้าพ้นจากความฉิบหายนี้แล้วจะไปอยู่
ภูเขา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อห กปิสฺมิ ทุมฺเมโธ ความว่า
ขอความเจริญจงมีแก่พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าเป็นลิงทรามปัญญามีใจ
รวนเร. บทว่า อนามาสานิ อามสึ ได้แก่ จับต้องฐานะที่ไม่
ควรจับต้อง. บทว่า ตฺว ม โมเจยฺย ภทฺทนฺเต ความว่า ขอความ
เจริญจงมีแก่พระคุณเจ้าผู้มีความเอ็นดูกรุณาปลดเปลื้องข้าพเจ้าให้พ้น
จากทุกข์นี้. บทว่า มุตฺโต คจฺเฉยฺย ปพฺพต ความว่า ข้าพเจ้า
นั้นพ้นจากความฉิบหายนี้ด้วยอานุภาพของท่านจะไปอยู่ยังภูเขา จะ
ไม่แสดงตนในคลองจักษุของท่านอีก.
พระโพธิสัตว์ เพราะความกรุณาในลิง เมื่อจะเจรจากับเต่า
จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า:-
เต่าทั้งหลายเป็นสัตว์สืบเนื่องมาจาก
กัสสปโคตร ลิงทั้งหลายเป็นสัตว์สืบเนื่อง
มาจากโกณฑัญญโคตร ดูก่อนเต่าผู้เทือก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 178
แถวกัสสปโคตร ท่านจงปล่อยลิงผู้เทือก
แถวโกณฑัญญโคตรเสียเถิด ท่านคงเคยทำ
เมถุนธรรมกันแล้ว.
คาถานั้นมีใจความว่า ธรรมดาเต่าทั้งหลายเป็นกัสสปโคตร
ส่วนลิงทั้งหลายเป็นโกณฑัญญโคตร ก็กัสสปโคตรกับโกณฑัญญโคตร
ต่างมีความสัมพันธ์กันและกันโดยอาวาหะและวิวาหะ คือนำเจ้าสาว
มาบ้านเจ้าบ่าว และนำเจ้าบ่าวไปบ้านเจ้าสาว ลิงโลเลกับท่าน หรือ
ท่านกับลิงทุศีลตัวนี้ คงจะได้กระทำเมถุนธรรม กล่าวคือกรรมของ
ผู้ทุศีล อันสมควรแก่เมถุนธรรม คือที่เหมือนกับโคตรทำมาแล้ว
เป็นแน่ เพราะฉะนั้น ดูก่อนเต่าผู้เป็นกัสสปโคตรท่านจงปล่อยลิง
ผู้เป็นโกณฑัญญโคตรเสียเถิด.
เต่าได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์มีความเลื่อมใสในเหตุผล จึง
ปล่อยองคชาตของลิง. ฝ่ายลิงพอหลุดพ้นเท่านั้น ได้ไหว้พระโพธิสัตว์
แล้วหนีไป ทั้งไม่กลับมามองดูสถานที่นั้นอีก. ฝ่ายเต่า ไหว้
พระโพธิสัตว์แล้วได้ไปยังที่อยู่ของตนทันที. แม้พระโพธิสัตว์ก็มิได้
เสื่อมจากฌาน ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
อริยสัจ ๔ แล้วทรงประชุมชาดกว่า เต่าและลิงในครั้งนั้นได้เป็น
อำมาตย์ ๒ คน ในบัดนี้ ส่วนดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล
จบ อรรถกถากัจฉปชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 179
๔. โลลชาดก
โทษของความโลเล
[๔๒๑] นกยางตัวนี้อย่างไรจึงมีหงอน เป็นโจร
เข้ามาอยู่ที่รังกา ผู้มีเมฆเป็นบิดา ดูก่อน
นกยาง ท่านจงมาเสียข้างนี้เถิด กาผู้เป็น
สหายของเราเป็นผู้ดุร้าย.
[๔๒๒] เราไม่ใช่นกยางมีหงอน เราเป็นกา
โลเล ไม่ได้ทำตามคำของท่าน ท่านกลับมา
แล้ว จงมองเราผู้ลุ่นนี้เถิด.
[๔๒๓] ดูก่อนสหาย ท่านจะได้รับทุกข์อีก
เพราะว่าปกติของท่านเป็นเช่นนั้น เครื่องบริ-
โภคของมนุษย์ไม่ควรที่นกจะพึงบริโภค.
จบ โลลชาดกที่ ๔
อรรถกถาโลลชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
ภิกษุโลเลรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า ภาย พลากา สิขินี
ดังนี้.
ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นผู้ถูกนำมายังโรงธรรม-
สภาว่า ดูก่อนภิกษุ เธอเป็นผู้โลเลในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 180
กาลก่อน เธอก็ได้เป็นผู้โลเลมาแล้ว และได้ถึงความสิ้นชีวิตไป
เพราะความเป็นผู้โลเล แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ก็ได้เป็นผู้เสื่อม
จากที่สถานที่อยู่ของตน ก็เพราะอาศัยเธอ แล้วทรงนำเอาเรื่องใน
อดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ -
นครพาราณสี พ่อครัวในโรงครัวของเศรษฐีในพระนครพาราณสี ตั้ง
กระเช้าสำหรับเป็นรังนกไว้ เพื่อต้องการบุญ ในกาลนั้น พระโพธิ-
สัตว์บังเกิดในกำเนิดนกพิราบ สำเร็จการอยู่ในกระเช้าที่เป็นรังนั้น.
ลำดับนั้น กาโลเลตัวหนึ่ง บินมาทางชายโรงครัว ได้เห็นปลาและ
เนื้อชนิดแปลก ๆ มีประการต่าง ๆ ถูกความหยากครอบงำ คิดอยู่ว่า
เราอาศัยใครหนอ จึงจะได้โอกาสกินปลาและเนื้อ เมื่อกำลังคิด
ก็ได้เห็นพระโพธิสัตว์ จึงตกลงใจว่า เราอาศัยนกพิราบผู้นี้ จะอาจ
ได้โอกาส จึงในเวลาพระโพธิสัตว์นั้นไปป่าหากิน ก็ติดตามไปข้าง
หลัง ๆ. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวกะกานั้นว่า ดูก่อนกา เรามีสิ่ง
อื่นเป็นเหยื่อ ท่านก็มีอีกสิ่งหนึ่งเป็นเหยื่อ เพราะเหตุไร ? ท่านจึง
เที่ยวติดตามเรา. กากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าชอบใจกิริยาของ
ท่าน แม้ข้าพเจ้าจะเป็นผู้มีเหยื่อไม่เหมือนกับท่าน ก็ปรารถนาจะ
อุปัฏฐากท่าน. พระโพธิสัตว์ก็ยอมรับ. กานั้นทำทีเที่ยวหากินเหยื่อ
อย่างเดียวกันในที่เที่ยวหากินร่วมกับพระโพธิสัตว์ ทำล้าหลังแล้วเจาะ
กองโคมัยแล้วเคี้ยวกินสัตว์ตัวเล็ก ๆ จนเต็มท้องแล้วเข้าไปหาพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 181
โพธิสัตว์แล้วพูดว่า ท่านเที่ยวหากินตลอดกาลประมาณเท่านี้ การรู้
ประมาณในโภชนะ. ย่อมสมควรมิใช่หรือ มาเถอะท่าน เราจะได้ไป
ในเวลายังไม่เย็นเกินไป. พระโพธิสัตว์ได้พากานั้นไปยังสถานที่อยู่.
พ่อครัวคิดว่านกพิราบของเราพาสหายมา จึงตั้งกระเช้าแกลบไว้ในที่
แห่งหนึ่งสำหรับกา. ฝ่ายกาอยู่โดยทำนองนั้นนั่นแล ๔-๕ วัน ครั้น
วันหนึ่ง คนทั้งหลายนำปลาและเนื้อเป็นอันมากมาให้ท่านเศรษฐี.
กาเห็นดังนั้น ถูกความโลภครอบงำ นอนทอดถอนใจตั้งแต่เวลาใกล้
รุ่ง. ครั้นในวันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์กล่าวกะกาว่า มาเถอะสหาย เราพา
กันหลีกไปหากินเถิด. กากล่าวว่า ท่านไปเถอะ ข้าพเจ้ามีโรคอาหาร
ไม่ย่อย. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนสหาย ธรรมดาโรคอาหารไม่
ย่อย ย่อมไม่มีแก่พวกกาเลย เพราะมาตรว่าไส้ประทีปที่กินเข้าไป
จะอยู่ในท้องของพวกท่านเพียงครู่เดียวทุก ๆ อย่าง พอสักว่ากลืนกิน
ไปเท่านั้น ย่อมย่อยไปหมด ท่านจงกระทำตามคำของเรา ท่านอย่าได้
ทำอย่างนี้ เพราะได้เห็นปลานและเนื้อ. กากล่าวว่า ข้าแต่นายท่านพูด
อะไรอย่างนั้น สำหรับข้าพเจ้ามีความสงสัยว่าอาหารไม่ย่อยจริงๆ พระ-
โพธิสัตว์ให้โอวาทกานั้นว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงอย่าเป็นผู้ประมาท แล้ว
หลีกไป. ฝ่ายพ่อครัวจัดแจงปลาและเนื้อชนิดต่าง ๆ เสร็จแล้ว เมื่อ
จะชำระล้างเหงื่อออกจากร่างกาย จึงได้ไปยืนอยู่ที่ประตูครัว. กาคิดว่า
เวลานี้เป็นเวลาควรจะเคี้ยวกินเนื้อ จึงบินไปจับอยู่เหนือจานสำหรับ
ปรุงรส. พ่อครัวได้ยินเสียงกริ๊ก จึงเหลียวมาดู แลเห็นกา จึงเข้าไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 182
จับมันมาถอนขนหมดทั้งตัว เหลือเป็นหงอนไว้บนหัว แล้วบดขิงกับ
พริกเป็นต้นเคล้ากับเปรียง ทาทั่วตัวกานั้น พลางกล่าวว่า เจ้าจะทำ
ปลาและเนื้อของท่านเศรษฐีของพวกเราให้เป็นเดน แล้วโยนทิ้งลงใน
กระเช้าที่ทำเป็นรัง. เวทนาแสนสาหัสเกิดขึ้น. พระโพธิสัตว์กลับมา
จากที่หากิน เห็นกานั้นทอดถอนใจอยู่ เมื่อจะทำการล้อเล่นจึงกล่าว
คาถาที่ ๑ ว่า:-
นกยางตัวนี้ ไฉนจึงมีหงอน เป็นโจร
ลอบเข้ามาอยู่ในรังกา ผู้มีเมฆเป็นบิดา.
ดูก่อนนกยาง ท่านจงมาเสียข้างนี้เถิดกาผู้
สหายของเราเป็นผู้ดุร้าย.
ด้วยบทว่า กาย พลากา สิขินี ในคาถานั้น พระโพธิสัตว์
เมื่อจะถามกานั้น จึงร้องเรียกว่า นกยางนี้ อย่างไรจึงชื่อว่ามีหงอน
เพราะกานั้นมีสีร่างกายขาวอันทาด้วยเปรียงหนา ๆ และเพราะหงอน
ตั้งอยู่บนหัวของกานั้น. ด้วยบทว่า โจรี นี้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ชื่อ
ว่าเป็นโจร เพราะเข้าไปยังเรือนของตระกูลโดยที่ตระกูลยังไม่อนุญาต
หรือเพราะเข้าไปยังรังกาโดยความไม่พอใจของกา. บทว่า ลงฺฆีปิตา-
มหา ความว่า เมฆชื่อว่าลังฆี เพราะโลดแล่นไปในอากาศ ก็ธรรมดา
นกยางทั้งหลาย ย่อมตั้งครรภ์เพราะเสียงเมฆ เพราะเหตุนั้น เสียง
เมฆจึงเป็นบิดาของพวกนกยาง. คือเมฆเป็นบิดาของพวกนกยาง ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 183
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ลงฺฆีปิตามหา มีเมฆเป็นบิดา. บทว่า
โอร พลาเก อาคจฺฉ ความว่า ดูก่อนนกยาง ท่านจงมาข้างนี้เถิด.
ด้วยบทว่า จณฺโฑ เม วายโส สขา นี้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า
กาผู้สหายของเรา เป็นเจ้าของกระเข้า ดุร้าย หยาบช้า กานั้นมา
เห็นท่านเข้า จะเอาจงอยปากประหนึ่งปลายหอก จิกทำให่ถึงแก่ความ
ตาย เพราะฉะนั้น ท่านจงลงจากกระเช้าฆ่าทางนี้ คือรีบหนีไปข้างนี้
ตราบเท่าที่กานั้นยังไม่มา.
กาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ข้าพเจ้าไม่ใช่นกยางที่มีหงอน ข้าพเจ้า
เป็นกาเหลาะแหละ ไม่เชื่อฟังคำของท่าน
ท่านกลับมาแล้วจงดูเราเป็นผู้มีขนลุ่นนี้เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาคโต ความว่า บัดนี้ท่านมา
จากที่หากินแล้ว จงมองดูเราผู้มีขนลุ่นนี้เถิด.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ดูก่อนสหาย ท่านจะได้รับทุกข์อีก
เพราะว่าปกติของท่านเป็นเช่นนั้น แท้จริง
เครื่องบริโภคของมนุษย์ ไม่ควรที่นกจะ
บริโภค.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุนปาปชฺชสี สมฺม ความว่า
ดูก่อนกาผู้สหาย ท่านจะได้รับทุกข์เห็นปานนี้อีก ความที่จะพ้นจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 184
ทุกข์เช่นนี้ ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะเหตุไร ? เพราะปกติของท่าน
เป็นเช่นนั้น คือ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าลามก คือ เพราะปกติคือความ
ประพฤติของท่านเป็นเช่นนั้น จึงสมควรแก่การได้รับแต่ความทุกข์
เท่านั้น. บทว่า น หิ มานุสิกา ความว่า ธรรมดามนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้มีบุญมาก สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายไม่มีบุญเห็นปานนั้น เพราะ
ฉะนั้น เครื่องบริโภคของมนุษย์ อันนกผู้เป็นสัตว์ดิรัจฉานจึงไม่ควร
บริโภค.
ก็แหละพระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวว่า ตั้งแต่
นี้ไป เราไม่อาจอยู่ในที่นี้ ครั้นกล่าวแล้วก็ได้บินไปในที่อื่น. ส่วน
กานอนถอนใจตายอยู่ในที่นั้นเอง.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศอริยสัจ ๔ แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบอริยสัจ ภิกษุ
นั้นดำรงอยู่ในอนาคามิผล. กาโลเลในคราวนั้น ได้เป็นภิกษุโลเลใน
บัดนี้ ส่วนนกพิราบ คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาโลลชวดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 185
๕. รุจิรชาดก
[๔๒๔] นกยางตัวนี้อย่างไรจึงขาวน่ารัก มาอยู่
ในรังกาได้ และนี่เป็นรังของกาผู้ดุร้ายสหาย
ของเรา.
[๔๒๕] ดูก่อนนกพิราบผู้สหาย ท่านก็รู้จักเรา
ผู้มีข้าวฟ่างเป็นอาหารมิใช่หรือ เรามิได้กระ
ทำตามคำของท่าน กลับมาแล้วจงมองดูเรา
ผู้ลุ่นนี้เถิด.
[๔๒๖] ดูก่อนกาผู้สหาย ท่านจะได้รับทุกข์อีก
เพราะว่าปกติของท่านเป็นเช่นนั้น เครื่อง
บริโภคของมนุษย์ไม่ควรที่นกจะพึงบริโภค.
จบ รุจิรชาดกที่ ๕
อรรถกถารุจิรชาดกที่ ๕
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุโลเลรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กาย พลากา
สุจิรา ดังนี้. เรื่องทั้งสองเรื่อง คือเริ่มเรื่องกับเรื่องในอดีต เป็น
เหมือนกับเรื่องแรกนั่นแหละ. แต่คาถาต่างกัน. มีคาถาติดต่อเป็น
อันเดียวกันว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 186
พระโพธิสัตว์ว่า- อย่างไร นกยางขาวน่ารักตัวนี้ จึงมา
อยู่ในรังกาเช่นนี้ และที่เป็นรังของ
กาผู้ดุร้ายสหายของเรา.
กากล่าวว่า- ดูก่อนนกพิราบผู้สหาย ท่านเป็นทิชา-
ชาติ มีข้าวฟ่างเป็นอาหาร ย่อมรู้จัก
ข้าพเจ้ามิใช่หรือ เราไม่ได้ทำตามคำ
ของท่าน ท่านกลับมาแล้วจงมองดู
ข้าพเจ้าซึ่งมีตัวลุ่น ๆ เถิด.
พระโพธิสัตว์ว่า-ดูก่อนสหาย ท่านจะได้รับทุกข์อีก
เพราะปกติของท่านเป็นเช่นนั้นแท้
จริง เครื่องบริโภคของมนุษย์ไม่ควร
ที่นกจะพึงบริโภค.
ด้วยบทว่า รุจิรา นี้ ในคาถานั้น พระโพธิสัตว์กล่าวหมาย
เอาความที่กามีสีขาว เพราะมีร่างกายทาด้วยเปรียง. บทว่า รุจิรา
ได้แก่ ดูน่ารัก อธิบายว่า มีสีขาว. บทว่า กากนิณฺฑสฺมึ แปลว่า
ในรังของกา. บาลีว่า กากนีฬสฺมึ ดังนี้ก็มี. กาเรียกนกพิราบว่า
ทิชา. บทว่า สามากโภชนา ได้แก่ มีพืชหญ้าเป็นอาหาร. จริงอยู่
ในที่นี่ ท่านถือเอาพืชหญ้าแม้ทั้งหมด ด้วยศัพท์ว่า สามากะ.
แม้ในเรื่องนี้ พระโพธิสัตว์ก็กล่าวว่า บัดนี้ ตั้งแต่นี้ไป เรา
ไม่อาจอยู่ในที่นี้ ดังนี้ แล้วบินไปอยู่ในที่อื่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 187
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้เหลาะแหละ
ดำรงอยู่ในอนาคามิผล. กาเหลาะแหละในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้
เหลาะแหละในบัดนี้ ส่วนนกพิราบคือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถารุจิรชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 188
๖. กุรุธรรมชาดก
ว่าด้วยให้ช้างแก่ท้าวกาลิงคราช
[๔๒๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่าประชาชน
ข้าพระบาททั้งหลายได้ทราบศรัทธาและศีล
ของพระองค์แล้ว จึงมาขอรับพระราชทาน
เอาทองคำแลกกับช้างมีสีดังดอกอัญชัน นำ
ไปในแคว้นกาลิงคราช.
[๔๒๘] สัตว์ที่พึงเลี้ยงด้วยข้าวก็ดี ที่ไม่ได้เลี้ยง
ก็ดี ผู้ใดในโลกนี้ตั้งใจมาหาเรา สัตว์เหล่า-
นั้นทั้งหมดเราก็มิได้ห้ามเลย นี้เป็นถ้อยคำ
ของท่านบูรพาจารย์.
[๔๒๙] ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย เราจะให้ช้าง
นี้อันควรเป็นราชพาหนะเป็นราชบริโภค ประ-
กอบไปด้วยยศ ประดับไปด้วยเครื่องประดับ
ปกคลุมไปด้วยข่ายทอง มีนายหัตถาจารย์
พร้อมแก่ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านจงไป
ตามปรารถนาเถิด.
จบ กุรุธรรมชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 189
อรรถกถากุรุธรรมชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้ฆ่าหงส์รูปหนึ่ง. จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ตว สทฺธญฺจ
สีลญฺจ ดังนี้
มีสหาย ๒ คนชาวเมืองสาวัตถี บรรพชาใน สำนักภิกษุ
ทั้งหลายแล้วได้อุปสมบท โดยมากเที่ยวไปด้วยกัน. วันหนึ่ง ภิกษุ
๒ สหายนั้นไปยังแม่น้ำอจิรวดีอาบน้ำ นั่งผิงแดดอยู่ที่เนินทราย
กล่าวถ้อยคำให้ระลึกกันและกันอยู่. ขณะนั้นหงส์ ๒ ตัวบินมาทาง
อากาศ ลำดับนั้นภิกษุรูปหนึ่งจับก้อนกรวดมาแล้วกล่าวว่า ผมจะดีด
ลูกตาของหงส์ตัวหนึ่ง ภิกษุนอกนี้กล่าวว่า ท่านจักไม่สามารถ. ภิกษุ
รูปนั้นกล่าวว่านัยน์ตาข้างนี้จะยกไว้ ผมจะดีดนัยน์ตาข้างโน้น. ภิกษุ
นอกนี้ก็กล่าวว่า แม้นัยน์ตาข้างนี้ท่านก็จักไม่อาจดีดได้. ภิกษุรูปนั้น
กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านคอยดู ว่าแล้วก็หยิบก้อนกรวด ๓ เหลี่ยม
มาดีดไปทางเบื้องหลังของหงส์. หงส์ได้ยินเสียงกรวดจึงเหลียวมองดู.
ลำดับนั้นภิกษุนั้นก็เอาก้อนกรวดอีกก้อนหนึ่งดึดีดหงส์นั้นที่นัยน์ตาด้าน
นอกทลุออกทางนัยน์ตาด้านใน. หงส์ร้องม้วนตกลงมาแทบเท้าของ
ภิกษุทั้งสองนั้น ภิกษุทั้งหลายที่ยืนอยู่ในที่นั้นเห็นเข้า จึงพากันมา
แล้วกล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านบวชในพระพุทธศาสนา ทำปาณาติบาต
ชื่อว่ากระทำกรรมอันไม่สมควร แล้วพาภิกษุผู้ดีดหงส์นั้นไปแสดงแก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 190
พระตถาคตทันที พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระทำ
ปาณาติบาตจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เพราะเหตุไร เธอบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนำออก
จากทุกข์เห็นปานนี้ จึงได้กระทำอย่างนี้ แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย
เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่วิบัติขึ้น อยู่อย่างเศร้าหมองในท่ามกลางเรือน
ยังกระทำความรังเกียจในฐานะทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อย ส่วนเธอ
บวชในศาสนาเห็นปานนี้ ไม่ได้กระทำแม้มาตรว่าความรังเกียจ
ธรรมดาภิกษุ พึงเป็นผู้สำรวมกาย วาจา และใจ มิใช่หรือ ? แล้ว
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระราชาพระนามว่า ธนัญชัยโกรัพย์ ครอง
ราชสมบัติอยู่ในพระนครอินทปัฏฏ์ ในแคว้นกุรุ พระโพธิสัตว์ถือ
ปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชานั้น ถึงความรู้
เดียงสาโดยลำดับ แล้วเรียนศิลปะทั้งปวงในเมืองตักศิลา พระบิดา
ทรงแต่งตั้งให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอุปราช ในกาลต่อมา เมื่อพระบิดา
สวรรคตแล้ว ได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ มิได้ทรงกระทำทศพิธราช-
ธรรมให้กำเริบ ทรงประพฤติในกุรุธรรมอยู่. ศีลห้า ชื่อว่ากุรุธรรม.
พระโพธิสัตว์ทรงรักษาศีลห้านั้นให้บริสุทธิ์. พระมารดาของพระ-
โพธิสัตว์ พระอัครมเหสี พระอุปราชผู้เป็นพระอนุชา พราหมณ์ผู้
เป็นปุโรหิต อำมาตย์ผู้รังวัดนา สารถี เศรษฐี มหาอำมาตย์ผู้ตวงข้าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 191
นายประตู นางวัณณทาสีผู้เป็นนครโสเภณี ก็เหมือนพระโพธิสัตว์
รวมความว่า ชนเหล่านี้รักษาศีลห้าเหมือนดังพระโพธิสัตว์
ชน ๑๑ คน คือ พระราชา ๑ พระ-
ชนนี ๑ พระอัครมเหสี ๑ พระอุปราช ๑
ปุโรหิต ๑ อำมาตย์ผู้รังวัด ๑ สารถี ๑
เศรษฐี ๑ อำมาตย์ผู้ตวงข้าว ๑ นายประตู ๑
และนางคณิกา ๑ ดำรงอยู่ในกุรุธรรม.
ชนแม้ทั้งหมดเหล่านี้ รักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์ ด้วยประการดังนี้.
พระราชาให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือ ที่ประตูพระนครทั้ง ๔ ที่กลาง
เมือง ที่ประตูพระนิเวศน์ ทรงสละพระราชทรัพย์หกแสนทุกวัน ๆ
ทรงบริจาคทานกระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้ไม่ต้องทำไร่ไถนา. ก็ความ
ที่พระโพธิสัตว์นั้นมีพระอัธยาศัยยินดีในการบริจาคทาน ได้แผ่คลุม
ไปทั่วชมพูทวีป. ในกาลนั้น พระเจ้ากาลิงคราชครองราชสมบัติใน
ทันตปุรนคร ในแคว้นกาลิงคะ. ในแคว้นของพระเจ้ากาลิงคราชนั้น
ฝนไม่ตก ก็เกิดความอดอยากไปทั่วแคว้น. ก็เพราะอาหารวิบัติ โรค
จึงเกิดขึ้นแก่มวลมนุษย์. ภัย ๓ ประการ คือ ฉาตกภัย ภัยคือความ
อดอยาก โรคภัย ภัยคือโรค ทุพภิกขภัย ภัยคือข้าวยากหมากแพง ก็
เกิดขึ้น. มนุษย์ทั้งหลายหมดที่ยึดถือ ต่างพากันจูงมือเด็กๆ เที่ยว
เร่ร่อนไป. ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้นรวมกันไปยังพระนครทันตปุระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 192
พากันส่งเสียงร้องอยู่ที่ประตูพระราชวัง. พระราชาประทับยืนพิงพระ-
แกล ทรงสดับเสียงนั้น จึงตรัสถามว่า คนเหล่านี้เที่ยวไปเพราะ
เหตุอะไรกัน พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ภัยเกิดขึ้นทั่ว
แว่นแคว้นทั้งสิ้น ฝนไม่ตก ข้าวกล้าวิบัติเสียหาย เกิดความอดอยาก
มนุษย์ทั้งหลายกินอยู่ไม่ดีถูกโรคภัยครอบงำ หมดที่ยึดถือระส่ำระ-
สาย พากันจูงมือลูก ๆ เที่ยวไป ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงยังฝน
ให้ตกเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า พระราชาแต่เก่าก่อน
ทั้งหลาย เมื่อฝนไม่ตก ทรงกระทำอย่างไร ? พวกอำมาตย์กราบทูล
ว่า ข้าแต่มหาราช พระราชาแต่เก่าก่อนทั้งหลาย เมื่อฝนไม่ตก ได้
ทรงบริจาคทาน อธิษฐานอุโบสถสมาทานศีลแล้ว เสด็จเข้าสู่ห้อง
สิริไสยาศน์ ทรงบรรทมเหนือเครื่องลาดซึ่งทำด้วยไม่ตลอด ๗ วัน
ในกาลนั้น ฝนก็ตกลงมา. พระราชาทรงรับว่าดีละ. แล้วได้ทรงกระทำ
อย่างนั้น. แม้ทรงกระทำอย่างนั้น ฝนก็มิได้ตก. พระราชาตรัสกะ
อำมาตย์ทั้งหลายว่า เราได้กระทำกิจที่ควรกระทำแล้ว ฝนก็ไม่ตก
เราจะกระทำอย่างไรต่อไป. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช
พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยราชในนครอินทปัฏ มีช้างมงคลหัตถีชื่อว่า
อัญชนสันนิภะ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจักนำช้างมงคลเชือกนั้นมา
เมื่อเป็นเช่นนั้น ฝนก็จักตก. พระราชาตรัสว่า พระราชาพระองค์
นั้นทรงสมบูรณ์ด้วยพลพาหนะ ใคร ๆ จะข่มได้ยาก พวกเราจักนำ
ช้างพระราชาพระองค์นั้นมาได้อย่างไร. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 193
ข้าแต่มหาราช ไม่มีกิจที่จะต้องทำการรบกับพระเจ้าธนัญชัยโกรัพย-
ราชนั้น พระราชาพระองค์นั้น มีพระอัธยาศัยยินดีในการบริจาค
ทานเป็นผู้ถูกเขาขอ แม้พระเศียรอันประดับแล้วก็ทรงตัดให้ได้ แม้
ดวงพระเนตรอันสมบูรณ์ด้วยประสาทก็ทรงควักให้ได้ แม้ราชสมบัติ
ทั้งสิ้นก็ทรงมอบให้ได้ ในเรื่องช้างมงคลไม่จำต้องพูดถึงเลย ทูลขอ
แล้วจักทรงประทานให้แน่แท้. พระราชาตรัสว่า ใครจะสามารถไป
ขอช้างมงคลนั้น อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พวก
พราหมณ์ พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้เรียกพราหมณ์ ๘ คนมา
จากที่อยู่ของพราหมณ์แล้วทรงกระทำสักการะสัมมานะแล้วทรงส่งไป
เพื่อให้ขอช้างมงคล. พราหมณ์เหล่านั้นถือเอาเสบียงเดินทาง ปลอม
เพศเป็นคนเดินทาง รีบเดินทางไป โดยพักแรมอยู่ราตรีหนึ่งในที่
ทุกแห่ง บริโภคอาหารในโรงทานที่ประตูพระนคร บำรุงร่างกายให้
อิ่มหนำสิ้นเวลา ๒-๓ วันแล้วถามว่า เมื่อไรพระราชาจักเสด็จมา
โรงทาน ? พวกมนุษย์บอกว่า พระราชาจะเสด็จมาในวัน ๑๔ ค่ำ
๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ ตลอด ๓ วันแห่งปักษ์หนึ่งๆ ก็พรุ่งนี้ เป็น
วันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เพราะฉะนั้น พระราชาจักเสด็จมาในวันพรุ่งนี้.
วันรุ่งขึ้น พวกพราหมณ์รีบไปแต่เช้าตรู่ ยืนอยู่ที่ประตูด้านทิศตะ-
วันออก. พระโพธิสัตว์ทรงสนานและลูบไล้พระวรกายแต่เช้าตรู่ ทรง
ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เสด็จขึ้นคอช้างมงคลหัตถีอันประดับ
แล้ว เสด็จไปยังโรงทานทางประตูด้านทิศตะวันออก ด้วยบริวารอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 194
ยิ่งใหญ่ เสด็จลงจากคอช้างแล้วได้ประทานอาหารด้วยพระหัตถ์ของ
พระองค์ แก่ชน ๗-๘ คน แล้วรับสั่งว่า พวกท่านจงให้โดยทำนอง
นั้น. แล้วได้เสด็จขึ้นช้างไปยังประตูด้านทิศใต้. พวกพราหมณ์ไม่
ได้โอกาสที่ประตูด้านทิศตะวันออก เพราะมีการอารักขาแข็งแรง จึงได้
ไปยังประตูด้านทิศใต้เหมือนกัน ยืนอยู่ในที่สูงไม่ไกลเกินไปจากประตู
คอยดูพระราชาเสด็จมา พอพระราชาเสด็จมาประจวบเข้าก็ยกมือถวาย
คอยดูพระราชาเสด็จมา พอพระราชาเสด็จมาประจวบเข้าก็ยกมือถวาย
ชัยมงคลว่า ขอพระมหาราชเจ้าจงทรงพระเจริญ จงมีชัยชำนะเถิด
พระเจ้าข้า. พระราชาทรงเอาพระแสงขอเพ็ชรเหนี่ยวช้างให้หันกลับ
เสด็จไปยังที่ใกล้พราหมณ์เหล่านั้น แล้วตรัสถามว่า พราหมณ์
ทั้งหลายผู้เจริญ ท่านทั้งหลายต้องการอะไร ? พราหมณ์ทั้งหลายเมื่อ
จะพรรณนาคุณของพระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่าประชาชน
ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบศรัทธาและศีล
ของพระองค์แล้ว จึงขอรับพระราชทานเอา
ทองคำแลกกับช้างมีสีดังดอกอัญชัน นำไป
ในแว่นแคว้นกาลิงคราช.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธ ได้แก่ ศรัทธาความเชื่อ
อันควรไว้ใจ ด้วยอำนาจการเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม บทว่า สีล
ได้แก่ สังวรศีล อวีติกกมศีล ศีลการไม่ล่วงละเมิด. ในสมัยใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 195
ประเทศนั้น เรียกทองว่า วณฺณ. คำนั้นเป็นเพียงหัวข้อเทศนา
เท่านั้น ก็ด้วยบทนี้ ท่านสงเคราะห์เอาเงิน ทอง ทรัพย์และธัญญา-
หาร แม้ทั้งหมด. บทว่า อญฺชนวณฺเณน ได้แก่ ด้วยช้างตัวประ-
เสริฐของพระองค์เชือกนี้ซึ่งมีเสมอด้วยช่อดอกอัญชัน. บทว่า กาลิงฺ-
คสฺมึ ได้แก่ ในสำนักของพระเจ้ากาลิงคราช. บทว่า วินิมฺหเส
ความว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอถือเอาด้วยการแลก ถ้อยทีปฏิบัติ
ต่อกัน หรือใส่ไปในท้องด้วยการบริโภคเข้าไป. บทว่า เส เป็น
เพียงนิบาต. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่า
ประชาชนด้วยว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทราบศรัทธาและศีลของ
พระองค์แล้วคิดว่า พระราชาพระองค์นั้น ทรงสมบูรณ์ด้วยศรัทธา
และศีลอย่างนี้ จะทูลขอแล้ว จักพระราชทานช้างตัวประเสริฐมีสี
เหมือนดอกอัญชัน แก่พวกเราเป็นแน่ แล้วพูดกันว่า เราทั้งหลาย
จักนำช้างตัวประเสริฐไปในสำนักของพระเจ้ากาลิงคราช จึงเอาทรัพย์
และธัญญาหารเป็นอันมากแลกกับช้างซึ่งมีสีเหมือนดอกอัญชันเชือกนี้
เสมือนเป็นของ ๆ ตน คือใช้จ่ายทรัพย์และธัญญาหารเป็นอันมาก
และใส่ปากใส่ท้องเลี้ยงดูกัน. ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อจะขอช้าง
นั้นอย่างนี้ จึงได้มาในที่นี้ ขอพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
โปรดทรงทราบกิจที่จะพึงทรงกระทำในเรื่องช้างนั้น. อีกนัยหนึ่ง
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทราบพระคุณ คือศรัทธาคุณและศีลคุณ
ของพระองค์จึงคิดกันว่า พระราชาผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ แม้แต่ชีวิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 196
ถูกขอแล้วก็จะประทานให้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงช้างตัวประเสริฐอัน
เป็นสัตว์ดิรัจฉานเล่า จึงจะขอแลกคือเปรียบเทียบทองแก่พระองค์กับ
ช้างอันมีสีเหมือนดอกอัญชันนี้ ไปไว้ในสำนักของพระเจ้ากาลิงคราช
ด้วยประโยคการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงได้มาใน
ที่นี้.
พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น จึงทรงเล้าโลมให้เบาใจว่า
ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย หากท่านทั้งหลายใช้จ่ายทรัพย์ เพราะจะ
แลกเปลี่ยนช้างตัวประเสริฐเชือกนี้ เป็นการใช้จ่ายไปดีแล้ว อย่าได้
เสียใจเลย เราจักให้ช้างตัวประเสริฐตามที่ประดับแล้วทีเดียวแก่ท่าน
ทั้งหลาย แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถานอกนี้ว่า :-
สัตว์ที่พึงเลี้ยงด้วยข้าวก็ดี ที่ไม่ได้เลี้ยง
ก็ดี ผู้ใดในโลกนี้ ตั้งใจมาหาเรา สัตว์
เหล่านั้นทั้งหมด เราก็มิได้ห้ามเลย นี้เป็น
ถ้อยคำของท่านบูรพาจารย์.
ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย เราจะให้ช้าง-
เชือกนี้ อันควรเป็นราชพาหนะ เป็นราช-
บริโภคพระราชาควรใช้สอย ประกอบไปด้วย
ยศ ประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับปก-
คลุมตะพอง ด้วยตาข่ายทอง พร้อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 197
ทั้งนายหัตถาจารย์แก่ท่านทั้งหลาย ขอพวก
ท่านจงไปตามปรารถนาเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺนภจฺจา จ ภจฺจา จ ความว่า
ชื่อว่า ผู้ที่พึงเลี้ยงด้วยข้าว เพราะสัตว์ผู้เข้าไปอาศัยบุรุษเป็นอยู่ พึง
เลี้ยงด้วยข้าวมียาคูและภัตเป็นต้น. สัตว์นอกนี้ ชื่อว่าผู้ไม่พึงเลี้ยงดู
เพราะเป็นผู้ที่จะไม่ต้องเลี้ยงดูอย่างนั้น. ก็ในที่นี้ พึงทราบการลบ อ
อักษรด้วยการเชื่อมบท. ด้วยลำดับคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันแสดง
สัตว์ทุกจำพวกเป็นของพวก ด้วยการเข้าไปอาศัยตนเลี้ยงชีวิต กับที่
ไม่เข้าไปอาศัยตนเลี้ยงชีวิต. บทว่า โยธ อุทฺทิสฺส คจฺฉติ ความว่า
บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ใดในชีวโลกนี้ ย่อมเจาะจงบุรุษใดมาด้วย
ความหวังอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า สพฺเพเต อปฺปฏิกฺขิปฺปา
ความว่า แม้ถ้ามีสัตว์เป็นจำนวนมาก เจาะจงมาอย่างนั้น แม้ถึง
เช่นนั้น บุรุษนั้นก็ไม่ปฏิเสธสัตว์เหล่านั้นทั้งหมด อธิบายว่า จะพึง
ไม่ปฏิเสธอย่างนี้ว่า พวกท่านจงหลีกไป เราจักไม่ให้พวกท่าน. บทว่า
ปุพฺพาจริยวโจ อิท ความว่า มารดาบิดาเรียกว่าบุรพาจารย์ นี้เป็น
คำของบุรพาจารย์เหล่านั้น. ท่านแสดงว่า มารดาบิดาให้ข้าพเจ้า
สำเนียกมาอย่างนี้.
บทว่า ททามิ โว ความว่า เพราะนี้เป็นถ้อยคำของบุรพา-
จารย์ของเราทั้งหลาย เหตุนั้น ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย เราจะให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 198
ช้างตัวประเสริฐเชือกนี้แก่ท่านทั้งหลาย. บทว่า ราชารห แปลว่า
สมควรแก่พระราชา. บทว่า ราชโภค แปลว่า เป็นเครื่องใช้สอย
ของพระราชา. บทว่า ยสสฺสิน ได้แก่ เพียบพร้อมด้วยบริวาร
อธิบายว่า คนห้าร้อยตะกูลมีหมอช้างเป็นต้น อาศัยช้างนั้นเลี้ยงชีวิต
เราจักให้ท่านทั้งหลาย พร้อมทั้งคนห้าร้อยตระกูลนั้น. บทว่า อลงฺกต
ความว่า ประดับประดาด้วยเครื่องประดับช้างชนิดต่าง ๆ บทว่า
เหมชาลาภิฉนฺน แปลว่า ประดับด้วยตาข่ายทอง บทว่า
สสารถี ความว่า เราจะให้แก่พวกท่าน พร้อมทั้งสารถี คืออาจารย์
ผู้ฝึกช้างนั้น เพราะฉะนั้น พวกท่านเป็นผู้พร้อมด้วยสารถี คือควาน
ช้าง พาเอาช้างนี้พร้อม บริวารไปตามความต้องการเถิด.
พระมหาสัตว์ประทับอยู่บนคอช้างตัวประเสริฐ ตรัสให้ด้วย
พระวาจาอย่างนี้แล้ว กลับเสด็จลงจากคอช้าง ทรงดำเนินเวียนขวา
ไป ๓ รอบ ทรงพิจารณาว่า หากที่ที่ยังไม่ได้ประดับตกแต่งยังมีอยู่
จักประดับตกแต่งก่อนแล้วจึงจะให้ ครั้นไม่ได้ทรงเห็นที่ที่ยังไม่ได้
ตกแต่งที่ช้างนั้น จึงทรงเอางวงของช้างนั้น วางบนมือของพราหมณ์
ทั้งหลาย แล้วได้เอาพระสุวรรณภิงคารพระเต้าน้ำทอง หลั่งน้ำอันอบ
ด้วยดอกไม้และของหอมแล้วพระราชทานไป. พราหมณ์ทั้งหลายรับ
ช้างพร้อมทั้งบริวาร แล้วนั่งบนหลังช้าง ได้ไปยังทันตปุรนครถวาย
ช้างแก่พระราชา. ช้างแม้มาแล้ว ฝนก็ยังไม่ตก. พระราชาจึงทรง
คาดคั้นถามว่า มีเหตุอะไรหนอ ได้ทรงสดับว่า พระเจ้าธนัญชัยโก-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 199
รัพยราช ทรงรักษากุรุธรรม ด้วยเหตุนั้น. ฝนจึงตกในแว่นแคว้น
ของพระองค์ ทุกกึ่งเดือน ทุก ๑๐ วัน เพราะอานุภาพแห่งคุณความ
ดีของพระราชาดอก ฝนจึงตก ก็สัตว์ดิรัจฉานนี้ แม้มีคุณอยู่ก็จะมี
สักเท่าไร จึงรับสั่งว่าถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงนำช้างตามที่ประดับ
แล้วนี้แล พร้อมทั้งบริวารคืนไปถวายแก่พระราชา แล้วจดกุรุธรรม
ที่พระองค์รักษาลงในแผ่นทองแล้วนำมา แล้วทรงส่งพวกพราหมณ์
และอำมาตย์ทั้งหลายไป. พราหมณ์และอำมาตย์เหล่านั้นไปมอบถวาย
แด่พระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อช้างนี้แม้ไปถึงแล้ว
ฝนก็ยังมิได้ตกในแว่นแคว้นของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ทราบ
เกล้าว่า พระองค์ทรงรักษากุรุธรรม พระราชาแม้ของข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ก็ทรงประสงค์จะรักษากุรุธรรมนั้น จึงทรงส่งมาด้วยรับสั่ง
ว่า จงจดใส่ในแผ่นทองนำมา ขอพระองค์จงประทานกุรุธรรมนั้น
แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า. พระโพธิสัตว์ ตรัสว่า
ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เรารักษากุรุธรรมนั้นจริง แต่บัดนี้ เรามีความ
รังเกียจในกุรุธรรมนั้นอยู่ กุรุธรรมนั้นไม่ทำจิตของเราให้ยินดี เพราะ
ฉะนั้น เราไม่อาจให้กุรุธรรมนั้นแก่ท่านทั้งหลาย. ถามว่า ก็เพราะ
เหตุไร ศีลนั้นจึงไม่ทำให้พระราชาทรงยินดี ? ตอบว่า นัยว่าในครั้งนั้น
พระราชาทั้งหลาย มีการมหรสพเดือน ๑๒ ทุก ๆ ๓ ปี พระราชา
ทั้งหลาย เมื่อจะเล่นมหรสพนั้น ทรงประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
ถือเอาเพศเป็นเทวดา ยืนอยู่ในสำนักของยักษ์ชื่อว่าจิตตราชแล้วยิงศร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 200
อันวิจิตรประดับด้วยดอกไม้ในทิศทั้ง ๔. พระราชาแม้พระองค์นี้
เมื่อจะทรงเล่นมหรสพนั้น จึงประทับยืนในสำนักของจิตตราชยักษ์
ใกล้แนวบึงแห่งหนึ่ง แล้วทรงยิงจิตตศรไปในทิศทั้ง ๔. บรรดาลูกศร
เหล่านั้น พระองค์ทรงเห็นลูกศร ๓ ลูกที่ยิงไปในทิศที่เหลือ แต่ไม่
เห็นลูกศรที่ยิงไปบนหลังพื้นน้ำ. พระราชาทรงรังเกียจว่า ลูกศรที่
เรายิงไป คงจะตกลงในตัวปลากระมังหนอ พระองค์ทรงปรารภถึง
ศีลเภท เพราะกรรมคือทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป. เพราะฉะนั้น ศีล
จึงไม่ทำพระราชาให้ยินดี. พระโพธิสัตว์นั้นจึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อน
พ่อทั้งหลาย เรามีความรังเกียจในกุรุธรรมอยู่. แต่พระมารดาของ
เรารักษาไว้ได้เป็นอย่างดี พวกท่านจงถือเอาในสำนักของพระมารดา
เราเถิด. ทูตทั้งหลายจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ไม่มี
เจตนาว่าจักฆ่าสัตว์ เพราะเว้นเจตนานั้นจึงชื่อว่าไม่เป็นปาณาติบาต
ขอพระองค์จงให้กุรุธรรมที่ทรงรักษาแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด
พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นจงเขียนเอาเถิดพ่อ แล้วให้จารึกลง
ในแผ่นสุพรรณบัฏว่า ปาโณ น หนฺตพฺโพ ไม่พึงฆ่าสัตว์ ๑ อทินฺน
นาทาตพฺพ ไม่พึงถือสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ๑ กาเมสุมิจฺฉาจาโร
น จริตพฺโพ ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ๑ มุสาวาโท น
ภาสิตพฺโพ ไม่พึงกล่าวคำเท็จ ๑ มชฺชปาน น ปาตพพ ไม่พึง
ดื่มน้ำเมา ๑. ก็แลครั้นให้จารึกแล้วจึงตรัสว่า. แม้เป็นอย่างนี้ ศีลก็
ยังเราให้ยินดีไม่ได้ พวกท่านจงไปเฝ้าพระมารดาของเราเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 201
ทูตทั้งหลายถวายบังคมพระราชาแล้วไปยังสำนักของพระมารดา
พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวี ได้ยินว่าพระองค์ทรงรักษา
กุรุธรรม ขอพระองค์จงประทานกุรุธรรมนั้น แก่ข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย. พระเทวีตรัสว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เรารักษากุรุธรรมก็จริง
แต่บัดนี้ เราเกิดความรังเกียจในกุรุธรรมนั้น กุรุธรรมนั้นไม่ทำเรา
ให้ยินดี เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่อาจให้แก่ท่านทั้งหลาย. ได้ยินว่า
พระเทวีนั้นมีระโอรส ๒ องค์ คือพระราชาผู้เป็นพระเชษฐา
และอุปราชผู้เป็นพระกนิษฐา. ครั้งนั้น มีพระราชาองค์หนึ่งทรงส่ง
แก่นจันทน์อันมีค่าแสนหนึ่ง และดอกไม้ทองมีค่าพันหนึ่งมาถวาย
พระโพธิสัตว์. พระองค์ทรงคิดว่าจักบูชาพระมารดา จึงทรงส่งของ
ทั้งหมดนั้นไปถวายพระราชมารดา. พระราชมารดาทรงพระดำริว่า
เราจะไม่ลูบไล้แก่นจันทน์ จะไม่ทัดทรงดอกไม้ จักให้แก่นจันทน์และ
ระเบียบดอกไม้นั้นแก่สะใภ้ทั้งสอง. ลำดับนั้น พระเทวีได้มีความดำริ
ดังนี้ว่า สะใภ้คนโตของเราเป็นใหญ่ ดำรงอยู่ในตำแหน่งอัครมเหสี
เราจักให้ระเบียบดอกไม้ทองแก่สะใภ้คนโต ส่วนสะใภ้คนเล็กเป็นคน
ยากจน เราจักให้แก่นจันทน์แก่สะใภ้คนเล็ก. พระนางจึงประทาน
ระเบียบดอกไม้ทองแก่พระเทวีของพระราชา ได้ประทานแก่นจันทน์
แก่พระมเหสีของพระอุปราช. ก็แหละครั้นประทานไปแล้วพระราช-
มารดาได้มีความรังเกียจว่า เรารักษากุรุธรรม ความที่หญิงสะใภ้
เหล่านั้น ยากจนหรือไม่ยากจน ไม่เป็นประมาณสำหรับเรา ก็การ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 202
กระทำเชษฐาปจายิกกรรมเท่านั้นสมควรแก่เรา เพราะความที่เราไม่
ทำเชษฐาปจายิกกรรมนั้น ศีลของเราจะแตกทำลายบ้างไหมหนอ.
เพราะฉะนั้น พระราชมารดาจึงตรัสอย่างนั้น. ลำดับนั้น ทูตทั้งหลาย
จึงกราบทูลพระราชมารดาว่า ขึ้นชื่อว่าของของตนบุคคลย่อมให้ได้
ตามชอบใจ พระองค์ทรงกระทำความรังเกียจด้วยเหตุแม้มีประมาณ
เท่านี้ จักทรงกระทำกรรมอันลามกอย่างอื่นได้อย่างไร ธรรมดาศีล
ย่อมไม่แตกทำลายด้วยเหตุเห็นปานนี้ ขอพระองค์จงประทานกุรุธรรม
แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด แล้วถือเอากุรุธรรมในสำนักของพระ-
ราชมารดา แม้นั้นจดจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แหละพวกทูตอันพระราชมารดาตรัสว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย
เมื่อเป็นอย่างนั้น กุรุธรรมก็ยังไม่ทำให้เรายินดีพอใจได้ แต่พระ-
สุณิสาของเรารักษากุรุธรรมนั้นได้เป็นอย่างดี ท่านทั้งหลายจงถือเอา
ในสำนักของพระสุณิสานั้นเถิด. จึงพากันไปเฝ้าพระอัครมเหสีทูลขอ
กุรุธรรมโดยนัยก่อนนั้นแหละ. ฝ่ายพระอัครมเหสีตรัสโดยนัยก่อน
เหมือนกันแล้วตรัสว่า ชื่อว่าศีลย่อมไม่ทำเราให้ยินดีพอใจ เพราะ
เหตุนั้น เราไม่อาจให้พวกท่าน. ได้ยินว่าพระอัครมเหสีนั้น วันหนึ่ง
ประทับยืนที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชประทับ
นั่งบนหลังช้างเบื้องหลังพระราชาผู้กำลังทรงประทักษิณเลียบพระนคร
บังเกิดความโลภอยากขึ้น ทรงพระดำริว่า ถ้าเราได้ทำความเชยชิดกับ
พระมหาอุปราชนี้ไซร้ เมื่อพระเชษฐาสวรรคตไป พระมหาอุปราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 203
นี้ได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติจะได้สงเคราะห์เรา. ลำดับนั้น พระอัคร-
มเหสีนั้นได้มีความรังเกียจว่า เรากำลังรักษากุรุธรรมอยู่ ทั้งเป็นผู้มี
พระสวามีอยู่ยังแลดูชายอื่นด้วยอำนาจกิเลส ศีลของเราคงจะต้องแตก
ทำลาย เพราะฉะนั้น พระอัครมเหสีจึงได้ตรัสอย่างนั้น. ลำดับนั้น
ทูลทั้งหลายจึงกราบทูลพระอัครมเหสีว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ธรรมดา
ว่าการประพฤติล่วงละเมิด ย่อมไม่มีด้วยเหตุเพียงจิตตุปบาทเกิดความ
คิดขึ้น พระองค์ทรงกระทำความรังเกียจแม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จัก
ทรงกระทำความล่วงละเมิดอะไรได้ ศีลย่อมไม่แตกทำลายด้วยเหตุมี
ประมาณเท่านี้ ขอพระองค์จงประทานกุรุธรรมแก่ข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเถิด. แล้วถือเอาในสำนักของพระอัครมเหสี แม้นั้นแล้วจด
จารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แลทูตทั้งหลายผู้อันพระอัครมเหสีตรัสว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย
แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ศีลก็ยังไม่ทำเราให้ยินดีพอใจ ก็เพราะมหา-
อุปราชทรงรักษาได้อย่างดี. พวกท่านจงถือเอาในสำนักของพระมหา-
อุปราชเถิด จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระมหาอุปราช ทูลขอกุรุธรรมโดย
นัยก่อนนั่นแหละ. ก็พระมหาอุปราชนั้น เมื่อเสด็จไปยังที่บำรุงของ
พระราชาในเวลาเย็น เสด็จไปด้วยรถ ถึงพระลานหลวงแล้ว ถ้าทรง
พระประสงค์จะเสวยในสำนักของพระราชาแล้วทรงบรรทมค้างอยู่ใน
ที่นั้น ก็จะทรงทิ้งเชือกและปฏักไว้ระหว่างแอกรถ ด้วยสัญญาเครื่อง
หมายนั้น มหาชนบริวารจะกลับไปต่อเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น จะไปยืนคอย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 204
ดูพระมหาอุปราชนั้นเสด็จออก. ฝ่ายนายสารถีก็จะนำรถนั้นไป ต่อ
เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น จึงจะนำรถมาจอดที่ประตูพระราชนิเวศน์. ถ้าทรงมี
พระประสงค์จะเสด็จในขณะนั้น จะทรงวางเชือกและปฏักไว้เฉพาะ
ภายในรถ แล้วเสด็จไปเฝ้าพระราชา ด้วยสัญญาณนั้น ชนบริวาร
จะยืนอยู่ที่ประตูพระราชนิเวศน์นั่นเอง ด้วยหมายใจว่า จักเสด็จออก
มาในขณะนี้. อันพระมหาอุปราชนั้น ทรงกระทำอย่างนั้น แล้วเสด็จ
เข้าไปยังพระราชนิเวศน์ เมื่อพระมหาอุปราชนั้น พอเสด็จเข้าไป
เท่านั้น ฝนก็ตก พระราชาตรัสว่า ฝนกำลังตก จึงไม่ให้พระมหา-
อุปราชนั้นเสด็จออกมา. พระมหาอุปราชจึงทรงเสวยแล้วบรรทมอยู่
ในพระราชนิเวศน์นั้นนั่นเอง. ชนบริวารคิดว่า ประเดี๋ยวจักเสด็จออก
จึงได้ยินเปียกฝนอยู่ตลอดคืนยังรุ่ง. ในวันที่สอง พระมหาอุปราชจึง
เสด็จออกมา ทรงเห็นชนบริวารยืนเปียกฝนอยู่ ทรงเกิดความรังเกียจ
ว่าเราเมื่อรักษากุรุธรรมอยู่ ยังทำชนมีประมาณเท่านี้ให้ลำบาก ศีล
ของเราเห็นจะพึงแตกทำลาย. ด้วยเหตุนั้น พระมหาอุปราชจึงตรัสแก่
ทูตเหล่านั้นว่า เรารักษากุรุธรรมอยู่ก็จริง แต่บัดนี้ เรามีความรังเกียจ
อยู่ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่อาจให้แก่ท่านทั้งหลาย แล้วตรัสบอก
เรื่องราวนั้นให้ทราบ. ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงทูลพระมหาอุปราชว่า
ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์มิได้มีความคิดว่า ชนเหล่านี้จงลำบาก
กรรมที่ทำโดยหาเจตนามิได้ ไม่จัดว่าเป็นกรรม เมื่อพระองค์ทรง
กระทำความรังเกียจแม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ความล่วงละเมิดจักมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 205
ได้อย่างไร แล้วรับเอาศีลในสำนักของพระมหาอุปราชแม้นั้น จดจารึก
ลงในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แหละ พวกทูตอันพระมหาอุปราชตรัสว่า แม้เมื่อเป็นอย่าง
นั้น ศีลก็มิได้ทำเราให้ปลื้มอกปลื้มใจได้ ก็ปุโรหิตย่อมรักษาได้ดี
พวกท่านจงถือเอาในสำนักของปุโรหิตนั้นเถิด จึงพากันเข้าไปหาปุโร-
หิตแล้วขอกุรุธรรม. ฝ่ายปุโรหิตนั้น วันหนึ่ง ไปเฝ้าพระราชา
ระหว่างทางได้เห็นรถมีสีอ่อน ๆ งดงามเหมือนแสงอาทิตย์อ่อนๆ ซึ่ง
พระราชาองค์หนึ่งทรงส่งมาถวายพระราชานั้น จึงถามว่า นี้รถของใคร
ได้ฟังว่านำมาถวายพระราชา จึงคิดว่า เราก็แก่แล้ว ถ้าพระราชาจะ
พระราชทานรถคันนี้แก่เราไซร้ เราจักขึ้นรถคันนี้เที่ยวไปอย่างสบาย
แล้วไปเฝ้าพระราชา. ในเวลาที่ปุโรหิตนั้นถวายพระพรชัยแล้วยืน
เฝ้าอยู่ ราชบุรุษต่างเมืองก็ทูลถวายรถแก่พระราชา. พระราชาทอด-
พระเนตรแล้วตรัสว่า รถของเราคันนี้งามเหลือเกิน พวกท่านจงให้
แก่อาจารย์ของเราเถิด. ปุโรหิตมิได้ปรารถนาจะรับพระราชทาน แม้
พระราชาจะตรัสอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่ปรารถนาจะรับพระราชทานเลย. ถาม
ว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะนัยว่า ปุโรหิตนั้นได้มีความคิด
อย่างนี้ว่า เรารักษากุรุธรรมอยู่แท้ ๆ ยังได้กระทำความโลภในสิ่งของ
ของคนอื่น ศีลของเราจะพึงแตกทำลายไปแล้ว. ปุโรหิตนั้นจึงบอก
เรื่องราวนั้นแล้วกล่าวว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เรามีความรังเกียจใน
กุรุธรรมอยู่ กุรุธรรมนั้นมิได้ยังเราให้ปลื้มอกปลื้มใจเลย เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 206
ฉะนั้น เราไม่อาจให้. ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะปุโรหิตว่า
นาย ศีลย่อมไม่แตกทำลายด้วยเหตุเพียงเกิดความโลภอยากได้ ท่าน
เมื่อกระทำความรังเกียจ แม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้. จักกระทำความ
ล่วงละเมิดอะไรได้ แล้วรับเอาศีลในสำนักของปุโรหิตแม้นั้นจดลง
ในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แหละ ทูตทั้งหลายผู้อันท่านปุโรหิตกล่าวว่า แม้เมื่อเป็น
อย่างนั้น. กุรุธรรมก็ไม่ยังเราให้ยินดีพอใจได้ ก็อำมาตย์ผู้ถือเชือก
รังวัดรักษาได้ดี พวกท่านจงรับเอาในสำนักของอำมาตย์นั้น จึงพากัน
เข้าไปหาอำมาตย์แม้นั้น แล้วขอกุรุธรรม. ฝ่ายอำมาตย์ผู้รังวัดนั้น
วันหนึ่ง เมื่อจะวัดเนื้อที่นาในชนบท จึงเอาเชือกผูกที่ไม้ ให้เจ้า
ของนาจับปลายข้างหนึ่ง ตนเองจับปลายข้างหนึ่ง. ไม้ที่ผูกปลายเชือก
ซึ่งอำมาตย์ถือไปจรดตรงกลางรูปูตัวหนึ่ง อำมาตย์นั้นคิดว่า ถ้าเราจัก
ปักไม้ลงในรูปู ปูภายในรูจักฉิบหาย ก็ถ้าเราจักปักล้ำไปข้างหน้า
เนื้อที่ของหลวงก็จักขาด ถ้าเราจักปักร่นเข้ามา เนื้อที่ของกฎุมพีก็จัก
ขาด เราจะทำอย่างไรดีหนอ. ลำดับนั้น อำมาตย์ผู้นั้นได้มีความคิด
ดังนี้ว่า ปูควรจะมีในรู ถ้ามีจะต้องปรากฏ เราจะปักไม้นั้นตรงนี้
แหละ แล้วก็ปักท่อนไม้นั้นลงในรูปู ฝ่ายปูก็ส่งเสียงดังกริ๊ก ๆ.
ลำดับนั้น อำมาตย์นั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ท่อนไม้จักปักลงบนหลังปู
ปูก็จักตายและเราก็รักษากุรุธรรม เพราะเหตุนั้น ศีลของเราคงจะ
แตกทำลาย. อำมาตย์นั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นแก่ทูตทั้งหลายแล้วกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 207
ว่า เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวมานี้ เราจึงมีความรังเกียจในกุรุธรรม
ด้วยเหตุนั้น เราจึงไม่อาจให้แก่พวกท่าน. ลำดับนั้น ทูตทั้งหลาย
จึงกล่าวกะอำมาตย์นั้นว่า ท่านไม่มีจิตคิดว่า ปูจงตาย กรรมที่ไม่มี
เจตนาความจงใจไม่ชื่อว่าเป็นกรรม ท่านกระทำความรังเกียจ แม้
ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ จักกระทำความล่วงละเมิดอะไรได้ แล้วรับ
เอาศีลในสำนักของอำมาตย์ แม้นั้นแล้วจดจารึกลงโนแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แหละ อำมาตย์นั้นพูดว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ กุรุธรรมก็มิ
ได้ทำข้าพเจ้าให้ปลื้มใจ ก็นายสารถีรักษาได้อย่างดี ท่านทั้งหลายจง
รับเอาในสำนักของนายสารถีนั้นเถิด ทูตทั้งหลาย จึงเข้าไปหานาย
สารถี แม้นั้นแล้วขอกุรุธรรม. นายสารถีนั้น วันหนึ่ง นำเสด็จ
พระราชาไปยังราชอุทยานด้วยราชรถ พระราชาทรงเล่นในพระราช-
อุทยานนั้นตลอดวัน ในเวลาเย็น จึงเสด็จออกจากพระราชอุทยาน
เสด็จขึ้นทรงรถ. เมื่อราชรถนั้นยังไม่ทันถึงพระนคร เมฆฝนก็ตั้งขึ้น
ในเวลาที่พระอาทิตย์จะอัศดงคต เพราะกลัวว่าพระราชาจะเปียกฝน
นายสารถีจึงได้ให้สัญญาณด้วยปฏักแก่ม้าสินธพทั้งหลาย ๆ จึงควบไป
ด้วยความเร็ว ก็แหละตั้งแต่นั้นมา ม้าสินธพเหล่านั้น ขาไปยัง
พระราชอุทยานก็ดี ขามาจากพระราชอุทยานนั้นก็ดี พอถึงที่ตรงนั้น
ก็วิ่งควบไปด้วยความเร็ว. ถามว่า เพราะเหตุอะไร ? ตอบว่า เพราะ
นัยว่า ม้าสินธพเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ในที่นี้ จะพึงมีภัย
เป็นแน่ ด้วยเหตุนั้น นายสารถีของพวกเราจึงได้ให้สัญญาณด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 208
ปฏักในคราวนั้น. แม้นายสารถีก็มีความคิดดังนี้ว่า ในเมื่อพระราชา
จะเปียกฝนหรือไม่เปียกฝนก็ตาม เราย่อมไม่มีโทษ แต่เราได้ให้
สัญญาปฏักแก่ม้าสินธพที่ฝึกหัดมาดีแล้ว ในสถานที่อันไม่ควร ด้วย
เหตุนั้น ม้าสินธพเหล่านี้ วิ่งควบทั้งไปและมา ลำบากอยู่จนเดียวนี้
และเราก็รักษากุรุธรรม ด้วยเหตุนั้น ศีลของเราคงจะแตกทำลายแล้ว.
นายสารถีนั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นให้ทราบแล้วกล่าวว่า เพราะเหตุนี้
เราจึงมีความรังเกียจในกุรุธรรม เพราะฉะนั้น เราไม่อาจให้แก่พวก
ท่านได้. ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะนายสารถีนั้นว่า ท่านไม่
มีจิตคิดว่า ม้าสินธพทั้งหลายจงลำบาก กรรมที่ไม่มีเจตนาคือความ
จงใจ ไม่จัดว่าเป็นกรรม อนึ่ง ท่านกระทำความรังเกียจด้วยเหตุแม้
มีประมาณเท่านี้ จักกระทำความล่วงละเมิดได้อย่างไร จึงรับเอาศีล
ในสำนักของนายสารถีนั้นจดจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แหละ นายสารถีกล่าวว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้นศีลก็มิได้ทำ
เราให้ปลื้มใจได้ แต่ท่านเศรษฐีรักษาได้ดี พวกท่านจงรับเอาในสำนัก
ของท่านเศรษฐีนั้นเถิด พวกทูตจึงเข้าไปหาท่านเศรษฐีนั้น แล้วขอ
กุรุธรรม. แม้เศรษฐีนั้น วันหนึ่ง ไปนำข้าวสาลีของตน พิจารณา
รวงข้าวสาลีที่ออกจากท้อง เมื่อจะกลับ คิดว่าจักผูกรวงข้าวให้เป็นพุ่ม
ข้าวเปลือก จึงให้คนผูกรวงข้าวสาลีกำหนึ่ง ผูกเป็นจุกไว้. ลำดับนั้น
ท่านเศรษฐีได้มีความคิดดังนี้ว่า เราจะต้องให้ค่าภาคหลวงจากนานี้
แต่เราก็ได้ให้คนถือเอารวงข้าวสาลีกำหนึ่ง จากอันนาที่ยังไม่ได้ให้ค่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 209
ภาคหลวง ก็เรารักษากุรุธรรม เพราะเหตุนั้น ศีลของเราคงจะแตก
ทำลายแล้ว. ท่านเศรษฐีนั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นแก่ทูตทั้งหลายแล้ว
กล่าวว่า เรามีความรังเกียจในกุรุธรรมด้วยเหตุนี้ เพราะเหตุนั้น
เราไม่อาจให้กุรุธรรมแก่พวกท่าน. ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะ
ท่านเศรษฐีว่า ท่านไม่มีไถยจิตคิดจะลัก เว้นจากไถยจิตนั้น ใคร ๆ.
ไม่อาจบัญญัติอทินนาทานได้ ก็ท่านกระทำความรังเกียจแม้ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ จักถือเอาของของตนอื่นได้อย่างไร แล้วรับเอาศีลใน
สำนักของเศรษฐี แม้นั้นแล้วจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แหละ ทูตทั้งหลายอันท่านเศรษฐีกล่าวว่า แม้เมื่อเป็นอย่าง
นั้น ศีลก็ยังมิได้ทำให้เราปลื้มใจได้ แต่ท่านอำมาตย์ผู้ตวงข้าวหลวง
รักษาได้ดี พวกท่านจงถือเอาในสำนักของอำมาตย์ผู้ตวงข้าวนั้นเถิด
จึงพากันเข้าไปหาท่านอำมาตย์ผู้ตวงข้าวแล้วขอกุรุธรรม. ได้ยินว่า
อำมาตย์ผู้ตวงข้าวนั้น. วันหนึ่ง ให้คนนับข้าวเปลือกอันเป็นส่วนของ
หลวง ส่วนตนเอาข้าวเปลือกจากกองข้าวที่ยังไม่ได้นับใส่คะแนน.
ขณะนั้น ฝนตก มหาอำมาตย์จึงเพิ่มคะแนนข้าวเปลือก แล้วกล่าวว่า
ข้าวเปลือกที่นับแล้ว มีประมาณเท่านี้ แล้วโกยข้าวเปลือกที่เป็น
คะแนนใส่ลงในกองข้าวเปลือกที่นับไว้แล้ว ก็รีบไปยืนที่ซุ้มประตูแล้ว
คิดว่า เราใส่ข้าวเปลือกคะแนนในกองข้าวที่นับแล้ว หรือใส่ในกอง
ข้าวที่ยังไม่ได้นับ. ลำดับนั้น ท่านมหาอำมาตย์ได้มีความคิดดังนี้ว่า
ถ้าเราใส่ในกองข้าวเปลือกที่นับไว้แล้ว ของหลวงก็จะเพิ่มขึ้นโดยมิใช่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 210
เหตุ ของคฤหบดีทั้งหลายก็จะขาดไป และเราก็รักษากุรุธรรม ด้วย
เหตุนั้น ศีลของเราจะต้องแตกทำลายแล้ว. ท่านมหาอำมาตย์นั้นจึง
บอกเรื่องราวนั้นแล้วกล่าวว่า เรามีความรังเกียจในกุรุธรรม ด้วย
เหตุนี้เพราะเหตุนั้น เราไม่อาจให้แก่พวกท่าน. ลำดับนั้น ทูลทั้งหลาย
จึงกล่าวกะท่านมหาอำมาตย์นั้นว่า ท่านไม่มีไถยจิตคิดจะลัก เว้นไถย-
จิตนั้นเสียใคร ๆ ไม่อาจบัญญัติอทินนาทานได้ ก็ท่านการทำความ
รังเกียจด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อย่างไรจักถือเอาสิ่งของของคนอื่น
แล้วรับเอาศีลในสำนักของมหาอำมาตย์ผู้ตวงข้าวนั้น จารึกลงในแผ่น
สุพรรณบัฏ.
ก็แหละ ทูตทั้งหลายผู้อันท่านมหาอำมาตย์กล่าวว่า แม้เมื่อ
เป็นอย่างนั้น ศีลก็มิได้ทำเราให้ปลื้มใจยินดีได้ แต่นายประตูรักษา
ได้ดี ท่านทั้งหลายจึงถือเอาในสำนักของนายประตูนั้นเถิด จึงพากัน
เข้าไปหานายประตู แม้นั้นแล้วขอกุรุธรรม. ฝ่ายนายประตูนั้น
วันหนึ่ง เวลาจะปิดประตูเมือง ได้ออกเสียงประกาศขึ้น ๓ ครั้ง.
ครั้งนั้น มีคนเข็ญใจคนหนึ่ง เข้าป่าหาฟืนและหญ้ากับน้องสาว กำลัง
กลับมา ได้ยินเสียงนายประตูนั้นประกาศ จึงรีบพาน้องสาวมาทัน
พอดี. ลำดับนั้น นายประตูกล่าวกะคนเข็ญใจนั้นว่า ท่านไม่รู้ว่า
พระราชามีอยู่ในพระนครนี้หรือ ท่านไม่รู้หรือว่า เขาจะต้องปิดประตู
พระนครนี้ ต่อเวลายังวัน ท่านพาภรรยาของตนเที่ยวไปในป่า เที่ยว
เล่นรื่นเริงตลอดวัน. ครั้นเมื่อคนเข็ญใจกล่าวว่า ไม่ใช่ภรรยาฉัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 211
ดอกนาย หญิงคนนี้เป็นน้องสาวของฉันเอง นายประตูนั้นจึงมีความ
ปริวิตกดังนี้ว่า เราเอาน้องสาวเขามาพูดว่าเป็นภรรยา กระทำกรรม
อันหาเหตุมิได้หนอ และเราก็รักษากุรุธรรม ด้วยเหตุนั้น ศีลของ
เราจะพึงแตกทำลายแล้ว. นายประตูนั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นแล้วกล่าว
ว่า เรามีความรังเกียจในกุรุธรรมด้วยเหตุนี้ เพราะเหตุนั้น เราไม่
อาจให้แก่พวกท่านได้. ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะนายประตู
นั้นว่า คำนั้นท่านกล่าวตามความสำคัญอย่างนั้น ในข้อนี้ ความแตก
ทำลายแห่งศีลจึงไม่มีแก่ท่าน ก็ท่านรังเกียจด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่า
นี้ จักกระทำสัมปชานมุสาวาทกล่าวเท็จทั้งรู้ในกุรุธรรมได้อย่างไร
แล้วถือเอาศีลในสำนักของนายประตูแม้นั้น จดจารึกลงในแผ่น
สุพรรณบัฏ.
ก็แหละ ทูตทั้งหลายอันนายประตูนั้นกล่าวว่า แม้เมื่อเป็น
อย่างนั้น ศีลก็ยังไม่ทำให้เรายินดีปลื้มใจได้ แต่นางวรรณทาสีรักษา
ได้ดี พวกท่านจงถือเอาในสำนักของนางวรรณทาสีแม้นั้นเถิด จึงพา
กันเข้าไปหานางวรรณทาสีแม้นั้นแล้วขอกุรุธรรม. ฝ่ายนางวรรณทาสี
ก็ปฏิเสธโดยนัยอันมีในหนหลังนั่นแหละ. ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะได้ยินว่า ท้าวสักกะจอมเทวดาทรงดำริว่า จักทดลอง
ศีลของนาง จึงแปลงเพศเป็นมาณพน้อยมาพูดว่าฉันจักมาหาแล้วโต้
ทรัพย์ไว้พันหนึ่ง กลับไปยังเทวโลก แล้วไม่มาถึง ๓ ปี. นางวรรณ-
ทาสีนั้นไม่รับสิ่งของแม้มาตรว่าหมากพลูจากมือชายอื่นถึง ๓ ปี เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 212
กลัวศีลของตนขาด. นางยากจนลงโดยลำดับ จึงคิดว่า เมื่อชายผู้ให้
ทรัพย์พันหนึ่งแก่เราแล้วไปเสีย ไม่มาถึง ๓ ปี เราจึงยากจน ไม่
อาจสืบต่อชีวิตต่อไปได้ จำเดิมแต่บัดนี้ไป เราควรบอกแก่มหาอำมาตย์
ผู้วินิจฉัยความแล้วรับเอาค่าใช้จ่าย. นางจึงไปศาลกล่าวฟ้องว่า เจ้า
นาย บุรุษผู้ให้ค่าใช้จ่ายแก่ดิฉันแล้วไปเสีย ๓ ปีแล้ว ดิฉันไม่ทราบ
ว่าเขาตายแล้วหรือยังไม่ตาย ดิฉันไม่อาจสืบต่อเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ เจ้า
นาย ดิฉันจะทำอย่างไร. มหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัยอรรถคดีกล่าวตัดสิน
ว่า เมื่อเขาไม่มาถึง ๓ ปี ท่านจักทำอะไร ต่อแต่นี้ท่านจงรับค่าใช้จ่าย
ได้. เมื่อนางวรรณทาสีนั้นได้รับการวินิจฉัยตัดสินแล้ว พอออกจาก
ศาลที่วินิจฉัยเท่านั้น บุรุษคนหนึ่งก็น้อมนำห่อทรัพย์พันหนึ่งเข้าไป
ให้. ในขณะที่นางเหยียดมือจะรับ ท้าวสักกะก็แสดงพระองค์ให้เห็น.
นางพอเห็นท้าวสักกะนั้นเท่านั้นจึงหดมือพร้อมกับกล่าวว่า บุรุษผู้ให้
ทรัพย์แก่เราพันหนึ่งเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว ได้กลับมาแล้ว ดูก่อนพ่อ เรา
ไม่ต้องการกหาปณะของท่าน. ท้าวสักกะจึงแปลงร่างกายของพระองค์
ทันที ได้ประทับยืนอยู่ในอากาศเปล่งแสงโชติช่วงประดุจดวงอาทิตย์
อ่อน ๆ ฉะนั้น. พระนครทั้งสิ้นพากันตื่นเต้น. ท้าวสักกะได้ประทาน
โอวาทในท่ามกลางมหาชนว่า ในที่สุด ๓ ปีมาแล้ว เราได้ให้ทรัพย์
พันหนึ่ง เนื่องด้วยจะทดลองนางวรรณทาสีนี้ ท่านทั้งหลายชื่อว่า
เมื่อจะรักษาศีล จงเป็นผู้เห็นปานนี้รักษาเถิด แล้วทรงบรรดาลให้
นิเวศน์ของนางวรรณทาสีเต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ ทรงอนุศาสน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 213
พร่ำสอนนางวรรณทาสีนั้นว่า เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาทตั้งแต่บัดนี้ไป
แล้วได้เสด็จไปยังเทวโลกนั่นแล. เพราะเหตุนี้ นางรรณทาสีนั้นจึง
ปฏิเสธห้ามปรามทูตทั้งหลายว่า เรายังมิได้เปลื้องค่าจ้างที่รับไว้ ยืน
มือไปรับค่าจ้างที่ชายอื่นให้ ด้วยเหตุนี้ ศีลจึงทำเราให้ยินดีปลื้มใจไม่
ได้ เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่อาจให้แก่ท่านทั้งหลาย. ลำดับนั้น ทูต
ทั้งหลายจึงกล่าวกะนางวรรณทาสีนั้นว่า ศีลเภทศีลแตกทำลาย ย่อม
ไม่มีด้วยเหตุสักว่ายื่นมือ ชื่อว่าศีลย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่งด้วยประการ
อย่างนี้ แล้วรับเอาศีลในสำนักของนางวรรณทาสีแม้นั้น จดจารึกลง
ในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ทูตทั้งหลายจารึกศีลที่ชนทั้ง ๑๑ คนนั้นรักษา ลงในแผ่น
สุพรรณบัฏ ด้วยประการดังนี้แล้ว ได้ไปยังทันตปุรนคร ถวายแผ่น
สุพรรณบัฏแก่พระเจ้ากาลิงคราช แล้วกราบทูลประพฤติเหตุนั้นให้
ทรงทราบ. พระราชาเมื่อทรงประพฤติกุรุธรรมนั้น ทรงบำเพ็ญศีล ๕
ให้บริบูรณ์. ในกาลนั้น ฝนก็ตกลงในแว่นแคว้นกาลิงครัฐทั้งสิ้น
ภัยทั้ง ๓ ก็สงบระงับ. และแว่นแคว้นก็ได้มีความเกษมสำราญ มี
ภักษาหารสมบูรณ์. พระโพธิสัตว์ทรงกระทำบุญมีทานเป็นต้นตราบ
เท่าพระชนมายุ พร้อมทั้งบริวารได้ทำเมืองสวรรค์ให้เต็มบริบูรณ์.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
อริยสัจ ในเวลาจบอริยสัจ บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 214
ได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี บางพวกได้เป็น
พระอรหันต์. แล้วทรงปรชุมชาดกว่า :-
นางวรรณทาสีหญิงคณิกา ได้เป็นนาง
อุบลวรรณา นายประตูในครั้งนั้น ได้เป็น
พระปุณณะ รัชชุคาหกะอำมาตย์ผู้รังวัด ได้
เป็นพระกัจจายนะ โทณมาปกะอามาตย์ผู้
ตวงข้าว ได้เป็นพระโมคคัลลานะ เศรษฐี
ในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร นายสารถี
ได้เป็นพระอนุรุทธะ พราหมณ์ ได้เป็นพระ-
กัสสปเถระ พระมหาอุปราช ได้เป็นพระ-
นันทะผู้บัณฑิต พระมเหสีในครั้งนั้น ได้
เป็นราหุลมารดา พระชนนีในครั้งนั้น ได้
เป็นพระมายาเทวี พระเจ้ากุรุราชโพธิสัตว์
ได้เป็นเราตถาคต ท่านทั้งหลายจงทรงจำ
ชาดกด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถากุรุธรรมชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 215
๗. โรมชาดก
ว่าด้วยอาชีวกเจ้าเล่ห์
[๔๓๐] ดูก่อนปักษีผู้มีขนปีก เมื่อเรามาอยู่ใน
ถ้ำแห่งภูเขานี้กว่า ๕๐ ปี นกพิราบทั้งหลาย
มิได้รังเกียจ เป็นผู้มีจิตเยือกเย็นเป็น
อย่างยิ่ง ย่อมพากันมาสู่บ่วงมือของเราใน
กาลก่อน.
[๔๓๑] ดูก่อนท่านผู้มีอวัยวะคด บัดนี้ นก
พิราบเหล่านั้นคงจะเห็นอะไรกระมัง จึงใคร่
จะพากันไปเสพอาศัยซอกภูเขาอื่น นก
เหล่านี้ครั้งก่อนย่อมสำคัญเราอย่างไร บัดนี้
ย่อมไม่สำคัญเราอย่างนั้นหรือ หรือนกเหล่า
นี้พลัดพรากไปนานแล้วจำเราไม่ได้ หรือว่า
เป็นนกใหม่จึงไม่เข้าใกล้เรา.
[๔๓๒] พวกเราเป็นผู้ไม่หลงใหล รู้อยู่ว่าท่าน
ก็คือท่านนั่นแหละ พวกเราเหล่านั้นก็ไม่ใช่
นกอื่น ก็แต่ว่าจิตของท่านเป็นจิตประทุษ-
ร้ายในชนนี้ ดูก่อนอาชีวก เพราะเหตุนั้น
พวกเราจึงหวาดกลัวท่าน.
จบ โรมชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 216
อรรถกถาโรมชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ความตะเกียกตะกายเพื่อจะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส
เรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า วสฺสานิ ปญฺาส สมาธิกานิ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ส่วนเรื่องอดีตมีดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นนกพิราบ อันนกพิราบเป็นอัน
มากห้อมล้อมสำเร็จการอยู่ในถ้ำแห่งภูเขาในป่า. มีดาบสรูปหนึ่งเป็น
ผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยอาจาระมารยาท เข้าไปอาศัยปัจจันตคามแห่งหนึ่ง
สร้างอาศรมบทอยู่ในที่ไม่ใกล้จากที่อยู่ของนกพิราบเหล่านั้น สำเร็จ
การอยู่ในบรรพตคูหา. พระโพธิสัตว์มายังสำนักของดาบสในระหว่าง ๆ
ไม่ขาด ฟังสิ่งที่ควรฟัง. พระดาบสอยู่ในที่นั้นช้านานแล้วหลีกจากไป.
ครั้งนั้น ชฎิลโกงคนหนึ่งได้มาสำเร็จการอยู่ในบรรพตคูหานั้น.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์อันนกพิราบทั้งหลายแวดล้อม เข้าไปหาชฎิลโกงนั้น
ไหว้แล้วกระทำปฏิสันถาร เที่ยวไปในอาศรมบทหาเหยื่ออยู่ในที่ใกล้
ซอกเขา ในเวลาเย็นจึงบินไปยังที่อยู่ของตน. ดาบสโกงอยู่ในที่นั้น
ได้ ๕๐ กว่าปี. ครั้นวันหนึ่ง ชาวบ้านปัจจันตคามได้ปรุงเนื้อ
นกพิราบถวายดาบสโกงนั้น. ดาบสโกงนั้นติดใจด้วยตัณหาความอยาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 217
ในรสแห่งเนื้อของนกพิราบนั้น จึงถามว่า นี่ชื่อว่าเนื้ออะไร ได้ฟังว่า
เนื้อนกพิราบ จึงคิดว่านกพิราบจำนวนมากมายังอาศรมบทของเรา
เราฆ่านกพิราบเหล่านั้นกินเนื้อจึงจะควร. ชฎิลโกงนั้นจึงนำเอา
ข้าวสาร เนยใส นมส้ม นมสด และพริกเป็นต้นมาเก็บไว้ส่วน
ข้างหนึ่ง เอาชายจีวรคลุมฆ้อนนั่งคอยดูพวกนกพิราบจะมาอยู่ที่ประตู
บรรณศาลา. พระโพธิสัตว์ห้อมล้อมด้วยนกพิราบบินมา เห็นกิริยา
ชั่วร้ายของชฎิลโกงนั้น จึงคิดว่า ดาบสชั่วร้ายนี้นั่งด้วยอาการ
อย่างหนึ่งผิดสังเกต ชรอยจะได้กินเนื้อสัตว์ผู้มีชาติเสมอกับเรา
บ้างแล้วกระมัง เราจักกำหนดจับดาบสโกงนั้น จึงยืนอยู่ในที่ใต้ลม
สูดดมกลิ่นตัวของดาบสนั้น รู้ได้ว่า ดาบสนี้ประสงค์จะฆ่าพวกเรา
กินเนื้อ ไม่ควรไปยังสำนักของดาบสนั้น แล้วพานกพิราบทั้งหลาย
ถอยกลับออกมา. ดาบสเห็นนกพิราบนั้นไม่มาจึงคิดว่า เราควรกล่าว
มธุรกถาถ้อยคำอันไพเราะกับนกพิราบเหล่านั้นแล้วฆ่านกพิราบที่เข้า
ไปใกล้ด้วยความคุ้นเคยแล้วกินเนื้อ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา
เบื้องต้นว่า :-
ดูก่อนปักษ์ผู้มีขนปีก เราอยู่ในถ้ำแห่ง
ภูเขาศิลามากว่า ๕๐ ปี นกพิราบทั้งหลาย
ก็มิได้รังเกียจ มีจิตเยือกเย็นอย่างยิ่ง ย่อม
พากันมาสู่บ่วงมือของเราในกาลก่อน. ดูก่อน
ท่านผู้มีอวัยวะคด บัดนี้ นกพิราบเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 218
คงจะเห็นเหตุอะไรกระมัง จึงเป็นผู้ขวน
ขวายพากันไปเสพอาศัยซอกเขาอื่น ย่อม
ไม่สำคัญเราเหมือนเมื่อก่อนหนอ หรือว่า
นกเหล่านี้พลัดพรากไปนานจึงจำเราไม่ได้
หรือนี้เหล่านั้นไม่ใช่นกเหล่านี้จึงไม่เข้าใกล้
เรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมาธิกานิ ตัดบทเป็น สม
อธิกานิ แปลว่า เกินจำนวน ๕๐ ปี. บทว่า โรมก
แปลว่า ผู้มีขนพอกขึ้น. ดาบสโกงเรียกพระโพธิสัตว์ว่า ปาราวตะ
เพราะมีเท้าแดง มีวรรณะเสมอด้วยแก้วประพาฬอันเจียรไนดีแล้ว.
บทว่า อสงฺกมานา ความว่า เมื่อเราอยู่ในบรรพตคูหานี้เกิน ๕๐ ปี
อย่างนี้ นกเหล่านี้ไม่ได้กระทำความรังเกียจเราแม้แต่วันเดียว เป็น
ผู้มีจิตเยือกเย็นอย่างยิ่ง เมื่อก่อนย่อมมาสู่บ่วงมือของเราอันโอกาส
ช่องว่างที่เหยียดมือออก. บทว่า เตทานิ ตัดบทออกเป็น เต อิทานิ
แปลว่า บัดนี้ นกเหล่านั้น. ดาบสโกงเรียกพระโพธิสัตว์ว่า วงฺกงฺค
ผู้มีอวัยวะคด ก็นกแม้ทุกชนิด เรียกได้ว่า วังกังคะ ผู้มีอวัยวะคด
เพราะในเวลาบินทำคอเอี้ยวบินไป. บทว่า กิมตฺถ ความว่า เห็น
เหตุอะไร. บทว่า อุสฺสุกฺกา ได้แก่ เป็นผู้ระอาใจ บทว่า
คิริกนฺทร ได้แก่ ซอกเขาอื่นจากภูเขา. บทว่า ยถา ปุเร ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 219
เมื่อก่อนนกเหล่านี้ย่อมสำคัญเราว่าเป็นที่เคารพ เป็นที่รัก ฉันใด
บัดนี้ย่อมไม่สำคัญ ฉันนั้นหนอ ท่านแสดงความหมายว่า นกเหล่านี้
เห็นจะสำคัญเราอย่างนี้ว่า แม้ดาบสที่เคยอยู่ในที่นี้มาก่อน เป็นคน
หนึ่ง ดาบสนี้ก็เป็นอีกคนหนึ่ง คือคนละคนกัน. ด้วยบทว่า
จิรมฺปวุฏฺา อถวา น เต อิเม นี้ ดาบสโกงถามว่า นกเหล่านี้
พลัดพรากไปนานเพราะระยะกาลนานล่วงไปจึงได้มา จึงจำเราไม่ได้ว่า
ดาบสนี้ ก็คือดาบสรูปนั้นแหละ หรือว่านกเหล่าใดมีจิตสนิทในเรา
นกเหล่านั้นไม่ใช่นกเหล่านี้ คือเป็นนกพวกอื่นจรมา. ด้วยเหตุนั้น
นกเหล่านี้จึงไม่เข้ามาใกล้เรา.
พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงหันกลับมายืนกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
พวกเราเป็นผู้ไม่หลงใหล รู้อยู่ว่าท่าน
ก็คือท่านนั่นแหละ พวกเรานั้นก็ไม่ใช่นก
พวกอื่น ก็แต่ว่าจิตของท่านคิดประทุษร้าย
ในชนนี้ ดูก่อนอาชีวก เพราะเหตุนั้น
พวกเราจึงหวาดกลัวท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มย สมฺมุฬฺหา พวกเรา
เป็นผู้หลงใหล คือประมาทมัวเมาก็หามิได้. บทว่า จิตฺตญฺจ เต
อสฺมิ ชเน ปทุฏฺ ความว่า ท่านก็คือท่าน แม้เราก็คือนกเหล่านั้น
ยังจำท่านได้ ก็อนึ่งแล จิตของท่านประทุษร้ายในชน คือเกิดจิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 220
เพื่อจะฆ่าพวกเรา. บทว่า อาชีวก ได้แก่ ดูก่อนดาบสชั่ว ผู้บวช
เพราะเหตุต้องการเลี้ยงชีพ. บทว่า เตน ต อุตฺตสาม ความว่า
เพราะเหตุนั้น เราจึงสดุ้งกลัวท่านไม่เข้าใกล้.
ดาบสโกงคิดว่า นกเหล่านี้รู้จักเราแล้วจึงขว้างฆ้อนไป แต่ผิด
จึงกล่าวว่า จงไปเถิด นกผู้เจริญ เราเป็นผู้ผิดเสียแล้ว. ลำดับนั้น
พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะดาบสโกงนั้นว่า เบื้องต้น ท่านผิดเราก่อน
แต่ท่านจะไม่ผิดพลาดอบายทั้ง ๔ ถ้าท่านจักอยู่ในที่นี้ต่อไป เราจัก
บอกชาวบ้านว่า ดาบสนี้เป็นโจร แล้วให้มาจับท่านไป ท่านจงรีบหนี
ไปเสีย ครั้นคุกคามดาบสนั้นแล้วก็หลีกไป. ฝ่ายชฏิลโกงไม่อาจอยู่
ในที่นั้น ได้ไปที่อื่น.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะ ๔ แล้วทรงประชุมชาดกว่า ดาบสโกงในครั้งนั้น ได้เป็น
เทวทัตในบัดนี้ ดาบสผู้มีศีลรูปก่อนในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร
ในบัดนี้ ส่วนหัวหน้านกพิราบในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาโรมชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 221
๘. มหิสชาดก
ว่าด้วยลิงกับควาย
[๔๓๓] ท่านอาศัยเหตุอะไรจึงอดกลั้นทุกข์นี้ ต่อ
ลิงผู้มีจิตกลับกลอก มักประทุษร้ายมิตร ดุจ
เป็นเจ้าของผู้ให้ความใคร่ทั้งปวง
[๔๓๔] ท่านจงขวิดมันเสียด้วยเขา จงเหยียบ
เสียด้วยเท้า ถ้าไม่ห้ามปรามมันเสีย สัตว์
ทั้งหลายที่โง่เขลาก็จะพึงเบียดเบียนร่ำไป.
[๔๓๕] เมื่อลิงตัวนี้สำคัญควายตัวอื่น เป็นดุจ
ข้าพเจ้า จักกระทำอนาจารอย่างนี้แก่ควาย
ตัวอื่น ควายเหล่านั้นก็จะฆ่ามันเสียในที่นั้น
ความพ้นอันนั้นจักมีแก่ข้าพเจ้า.
จบ มหิสชาดกที่ ๘
อรรถกถามหิสชาดกที่ ๘
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
ลิงโลเลตัวหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า กิมตฺถมภิสนฺธาย
ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มีลิงโลเลที่เขาเลี้ยงไว้ตัวหนึ่ง ใน
ตระกูลหนึ่ง ได้ไปยังโรงช้าง นั่งบนหลังช้างผู้มีศีลตัวหนึ่งถ่ายอุจจาระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 222
ปัสสาวะ และเดินไปเดินมาบนหลัง. ช้างก็ไม่ทำอะไรเพราะตนมีศีล
ถึงพร้อมด้วยความอดทน. ครั้นวันหนึ่งลูกช้างดุตัวหนึ่ง ได้ยินอยู่
ในที่ของช้างเชือกนั้น. ลิงได้ขึ้นหลังช้างดุด้วยสำคัญว่า ช้างนี้ก็คือ
ช้างนั้นนั่นแหละ. ลำดับนั้น ลูกช้างดุนั้น เอางวงจับลิงนั้นไว้ด้วย
ความรวดเร็วแล้วฟาดลงที่พื้นดิน เอาเท้าเหยียบขยี้ให้แหลกลานไป.
ประพฤติเหตุนั้นได้ปรากฏแก่หมู่ภิกษุสงฆ์. ครั้นวันหนึ่งภิกษุทั้งหลาย
นั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่า
ลิงโลเลขึ้นหลังช้างดุ ด้วยสำคัญว่าเป็นช้างผู้มีศีล เมื่อเป็นเช่นนั้น
ช้างดุเชือกนั้นก็ทำให้ลิงโลเลตัวนั้นถึงความสิ้นชีวิต. พระศาสดา
เสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกัน
ด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบว่า ด้วยเรื่อง
ชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้นที่ลิงโลเล
ตัวนั้นเป็นผู้มีปกติเป็นอย่างนั้น ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้วก็มีปกติ
เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อ
ไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุง
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกระบืออยู่ในหิมวันตประเทศ
พอเจริญวัยก็สมบูรณ์ด้วยกำลังแรง มีร่างกายใหญ่ ท่องเที่ยวไปตาม
เชิงเขา เงื้อมเขา ซอกเขาและป่าทึบ เห็นโคนไม้อันผาสุกสำราญ
แห่งหนึ่ง เที่ยวหากินอิ่มแล้ว ในตอนกลางวันได้มายืนพักอยู่ที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 223
โคนไม้นั้น. ครั้งนั้นมีลิงโลนตัวหนึ่งลงจากต้นไม้ แล้วขึ้นบนหลัง
ของกระบือนั้น ถ่ายอุจจาระปัสสาวะรด จับเขาทั้งสองโหนจับหาง
แกว่งไปแกว่งมาเล่น. พระโพธิสัตว์มิได้ใส่ใจอนาจารนั้น ของลิงโลน
ตัวนั้น เพราะประกอบด้วยขันติ เมตตาและความเอ็นดู. ลิงกระทำ
อย่างนั้นนั่นแลบ่อย ๆ. ครั้นวันหนึ่ง เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้นั้น
ยืนอยู่ที่ลำตันของต้นไม้นั้น กล่าวกะกระบือโพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อน
พระยากระบือ เพราะเหตุไร ท่านจึงอดกลั้นการดูหมิ่นของลิงชั่ว
ตัวนี้ ท่านจงเกียดกันมันเสีย เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้นจึงได้กล่าว
๒ คาถาแรกว่า :-
ท่านอาศัยเหตุอะไรจึงอดกลั้นทุกข์นี้
ต่อลิงผู้มีจิตกลับกลอก มักประทุษร้ายมิตร
ประหนึ่งเจ้าของผู้ให้ความใคร่ทั้งปวง. ท่าน
จงขวิดมันด้วยเขา จงเหยียดเสียด้วยเท้า
ไม่ห้ามปรามมันเสีย สัตว์ทั้งหลายที่โง่
เขลาก็จะเบียดเบียนร่ำไป.
บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า กิมตฺถมภิสุนฺธาย ได้แก่ อาศัย
เหตุอะไรหนอ คือเห็นอะไรอยู่. บทว่า ทุพฺภิโน แปลว่า ผู้มัก
ประทุษร้ายมิตร. บทว่า สพฺพกามทุหสฺเสว ได้แก่ ดุจเป็นเจ้าของ
ผู้ให้สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวง. บทว่า ติติกฺขสิ แปลว่า อดกลั้น. บทว่า
ปทสาว อธิฏฺห ความว่า ท่านจงเหยียบมันด้วยเท้า และขวิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 224
มันด้วยปลายเขาอันคมกริบ โดยประการที่มันจะตายอยู่ในที่นี้ทีเดียว
ด้วยบทว่า ภิยฺโย พาลา นี้ ท่านแสดงว่า ก็ถ้าท่านจะไม่ห้าม
ปรามมัน สัตว์ที่โง่เขลา คือสัตว์ที่ไม่รู้จะพึงข่มขี่ ย่ำยี เบียดเบียน
บ่อย ๆ.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า ท่านรุกขเทวดา ถ้าเรา
เป็นผู้ยิ่งกว่าลิงตัวนี้ โดยชาติ โคตร และวัสสายุกาลเป็นต้น จักไม่
อดกลั้นโทษของลิงตัวนี้ไซร้ มโนรถความปรารถนาของเรา จักถึง
ความสำเร็จได้อย่างไร ก็ลิงตัวนี้เมื่อสำคัญแม้ผู้อื่นว่าเหมือนดังเรา
จักกระทำอนาจารอย่างนี้ แต่นั้น มันจักกระทำอย่างนี้แก่กระบือ
ดุร้ายเหล่าใด กระบือดุร้ายเหล่านั้นแหละจักฆ่ามันเสีย การที่กระบือ
ตัวอื่นฆ่าลิงตัวนี้นั้น เราก็จักพ้นจากทุกข์และปาณาติบาต แล้ว
จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
เมื่อลิงตัวนี้สำคัญกระบือตัวอื่นเป็นดุจ
ข้าพเจ้าจักกระทำอนาจารอย่างนี้แก่กระบือ
ตัวอื่น กระบือเหล่านั้นจักฆ่ามันเสียในที่นั้น
อันนั้นความหลุดพ้นจักมีแก่ข้าพเจ้า.
ก็ต่อเมื่อล่วงไป ๒-๓ วัน พระโพธิสัตว์ได้ไปอยู่ในที่อื่น.
กระบือดุตัวหนึ่งได้มายืนอยู่ที่โคนไม้ต้นนั้น. ลิงชั่วจึงขึ้นหลังกระบือดุ
ตัวนั้นด้วยสำคัญว่า กระบือตัวนี้ ก็คือกระบือตัวนั้นแหละ แล้ว
การทำอนาจารอย่างนั้นนั่นแหละ. ลำดับนั้น กระบือดุตัวนั้นสลัด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 225
ลิงนั้นให้ตกลงบนพื้นดิน เอาเขาขวิดที่หัวใจเอาเท้าทั้ง ๔ เหยียบ
ให้ละเอียดเป็นจุรณวิจุรณ.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะทั้งหลายแล้วทรงประชุมชาดกว่า กระบือดุร้ายในครั้งนั้น ได้
เป็นช้างดุร้ายตัวนี้ในบัดนี้ ลิงชั่วช้าในครั้งนั้น ได้เป็นลิงตัวนี้
ในบัดนี้ ส่วนพระยากระบือในครั้งนั้นคือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามหิสชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 226
๙. สตปัตตชาดก
ว่าด้วยความสำคัญผิด
[๔๓๖] มาณพสำคัญนางสุนัขจิ้งจอกในหนทาง
ซึ่งเที่ยวอยู่ในป่าผู้ปรารถนาประโยชน์ และ
บอกให้รู้ด้วยอาการอย่างนั้นว่า เป็นผู้
ปรารถนาความฉิบหายว่า มาสำคัญนกกระไนผู้
ปรารถนาความฉิบหายว่า เป็นผู้ปรารถนา
ประโยชน์ฉันใด.
[๔๓๗] บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมเป็นเช่นนั้น
เมื่อชนทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์กล่าว
สอน ย่อมกลับถือเอาโดยไม่เคารพ ฉันนั้น.
[๔๓๘] อนึ่ง ชนเหล่าใดสรรเสริญบุคคลนั้นก็ดี
ยกย่องบุคคลนั้นเพราะกลัวก็ดี ก็สำคัญชน
เหล่านั้นว่าเป็นมิตร เหมือนมาณพสำคัญผิด
นกกระไนว่าเป็นมิตร ฉะนั้น.
จบ สตปัตตชาดกที่ ๙
อรรถกถาสตปัตตชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชื่อว่าปัณฑกะ และโลหิตกะ จึงตรัสเรื่องนี้มีคำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 227
เริ่มต้นว่า ยถา มาณวโฑ ปนฺเถ ดังนี้.
ได้ยินว่า บรรดาภิกษุฉัพพัคคีย์ทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์ ๒ รูป
คือ พระเมตติยะ. และพระภุมมชกะ อาศัยนครราชคฤห์อยู่.
พระฉัพพัคคีย์ ๒ รูป คือพระอัสสชิ และ พระปุนัพพสุกะ
เข้าไปอาศัยกิฏาคิรีวิหารอยู่. ส่วนพระฉัพพัคคีย์ ๒ รูปนี้ คือ
พระปัณฑกะ และพระโลหิตกะ. เข้าไปอาศัยนครสาวัตถีอยู่.
เธอทั้งสองนั้นรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ระงับแล้วโดยชอบธรรม. ซ้ำเป็น
ผู้สนับสนุนพวกภิกษุเป็นเพื่อนเห็นและเพื่อนคบ กล่าวคำมีอาทิว่า
อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านใช่ว่าจะเลวกว่าภิกษุเหล่านี้โดยชาติ โคตร
ศีลหรือวัตรเป็นต้น ก็หามิได้ ถ้าท่านทั้งหลายสละการยึดถือของ
ตนเสีย ภิกษุเหล่านี้ก็จักข่มขี่นั้นพวกท่านหนักขึ้น แล้วชักชวน
ไม่ให้ละวางการยึดถือ. ด้วยเหตุนั้น ความหมายมั่น และการทะเลาะ
วิวาทจึงเป็นไปอยู่. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุนี้
แล้วรับสั่งให้เรียกพระปัณฑกะและพระโลหิตกะมาตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าพวกเธอรื้อฟื้นอธิกรณ์แม้ด้วยตนเอง ทั้งยัง
ไม่ให้ภิกษุเหล่าอื่นปล่อยวางการยึดถือ จริงหรือ ? เมื่อพระปัณฑกะ
และพระโลหิตกะทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น การกระทำของพวกเธอ ย่อมเป็นเหมือนการ
การทำของนกกระไน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 228
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ อยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลหนึ่งในหมู่บ้านแคว้น
กาสีแห่งหนึ่ง พอเจริญวัยแล้ว ไม่เลี้ยงชีวิตด้วยกสิกรรมและพาณิช-
กรรมเป็นต้น แต่รวบรวมพวกโจร ๕๐๐ เป็นหัวหน้าโจรเหล่านั้น
กระทำโจรกรรม เช่นปล้นคนเดินทางและตัดช่องย่องเบาเป็นต้น
เลี้ยงชีวิต. ในกาลนั้น มีกฎุมพีคนหนึ่งในเมืองพาราณสี ให้ทรัพย์
พันกหาปณะแก่ชาวชนบทคนหนึ่ง ยืมไป แต่ยังไม่ได้เอากลับคืน
มา ก็ตายเสียก่อน. ครั้นในในกาลต่อมา ภรรยาของกฎุมพีนั้น ป่วย
เป็นไข้ใกล้จะตาย จึงเรียกบุตรมาบอกว่า ดูก่อนพ่อ บิดาของเจ้าให้
ทรัพย์พันหนึ่งแก่ชาวชนบทคนหนึ่ง ยืมไป ยังไม่ได้ให้นำคืนมา
ก็ตายเสียก่อน ถ้าแม้แม่จักตายไปเขาก็จักไม่ให้เจ้า ไปเถิดเจ้า เมื่อ
แม่ยังมีชีวิตอยู่ เจ้าจงให้นำทรัพย์พันกหาปณะนั้นมาเก็บไว้. บุตรนั้น
รับคำแล้วไปในที่นั้นได้กหาปณะมา. ลำดับนั้น มารดาของเฝ้าก็กระทำ
กาลกิริยาตายไป เพราะความรักบุตร จึงบังเกิดเป็นสุนัขจิ้งจอกโดย
อุปปาติกะกำเนิดอยู่ ณ ที่ใกล้ทางมาของบุตรนั้น. ในกาลนั้น หัวหน้า
โจรนั้น เมื่อจะปล้นคนเดินทาง จึงพร้อมด้วยบริวารยินอยู่ใกล้หนทาง
นั้น. ลำดับนั้น นางสุนัขจิ้งจอกนั้น เมื่อบุตรมาถึงปากดง จึงคุ้ย
หนทางห้ามซ้ำ ๆ ซาก ๆ อันเป็นสัญญาณให้รู้ดังนี้ว่า ดูก่อนพ่อ เจ้า
อย่าเข้าดงเลย พวกโจรตั้งซุ่มอยู่ที่นั้น พวกมันจักฆ่าเจ้าแล้วยึดเอา
กหาปณะไป. บุตรนั้นไม่รู้เหตุการณ์อันนั้นคิดว่า นางสุนัขจิ้งจอก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 229
กาลกิณีตัวนี้มาขุดคุ้ยหนทางเรา จึงหยิบก้อนดินนั้นไล่มารดาให้หนีไป
แล้วเดินทางไปยังดง. ลำดับนั้น นกกระไนตัวหนึ่งบินบ่ายหน้า
ไปทางโจรร้องว่า บุรุษผู้นี้ มีทรัพย์พันกหาปณะอยู่ในมือ. พวกท่าน
จงฆ่าบุรุษผู้นี้แล้วยึดเอากหาปณะไว้. มาณพไม่รู้เหตุที่นกกระไนนั้น
กระทำ จึงคิดว่า นกตัวนี้ เป็นนกมงคล บัดนี้ ความสวัสดีจักมี
แก่เรา. จึงประคองอัญชลีกล่าวว่า ร้องเถอะนาย ร้องเถอะนาย.
พระโพธิสัตว์เป็นผู้รู้เสียงร้องของสัตว์ทั้งปวง เห็นกิริยาของสัตว์ทั้ง
สองนั้นแล้วจึงคิดว่า นางสุนัขจิ้งจอกนี้ คงจะเป็นมารดาของบุรุษ
ผู้นี้ ด้วยเหตุนั้นจึงห้ามปราม เพราะกลัวว่า พวกโจรจักฆ่าบุรุษผู้นี้
แล้วยึดเอากหาปณะไป ส่วนนี้กระไนนี้ คงจะเป็นศัตรูด้วยเหตุนั้น
มันจึงร้องบอกว่า ท่านทั้งหลายจงฆ่าบุรุษผู้นี้แล้วยึดเอากหาปณะ แต่
บุรุษนี้ ไม่รู้ความหมายนี้ คุกคามมารดาผู้ประโยชน์นาประโยชน์ให้หนี
ไป ประคองอัญชลีแก่นกกระไนผู้ใคร่ต่อความฉิบหาย ด้วยความ
เข้าใจว่า เป็นผู้ใคร่ประโยชน์แก่เรา โอหนอ บุรุษนี้เป็นคนเขลา.
ก็การถือเอาทรัพย์ของผู้อื่น แห่งพระโพธิสัตว์แม้ผู้เป็นมหาบุรุษอย่างนี้
ย่อมมีได้ด้วยอำนาจการถือปฏิสนธิอันไม่สม่ำเสมอ บางอาจารย์กล่าว
ว่า เพราะโทษแห่งดาวนักขัตฤกษ์ ดังนี้ก็มี. มาณพเดินทางมาถึง
ระหว่างแดนแห่งพวกโจร. พระโพธิสัตว์ให้จับมาณพนั้น แล้วถามว่า
เจ้าเป็นชาวเมืองไหน ? มาณพกล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นชาวเมือง
พาราณสี. พระโพธิสัตว์. เจ้าไปไหนมา ? มาณพ. ทรัพย์พันกหาปณะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 230
ที่ควรจะได้ มีอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ข้าพเจ้าได้ไปที่หมู่บ้านนั้นมา.
พระโพธิสัตว์. ก็ทรัพย์พันกหาปณะนั้น เจ้าได้มาแล้วหรือ ? มาณพ.
ได้มาแล้วขอรับ. พระโพธิสัตว์. ใครส่งเจ้าไป. ? มาณพ. นาย บิดา
ของข้าพเจ้าตายแล้ว ฝ่ายมารดาของข้าพเจ้าก็ป่วยไข้ มารดาสำคัญว่า
เมื่อเราตายไป บุตรนี้จักไม่ได้ทรัพย์ คืน จึงส่งข้าพเจ้าไป. พระ-
โพธิสัตว์. บัดนี้ เจ้ารู้ความเป็นไปแห่งมารดาของเจ้าไหม ? มาณพ.
ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าไม่รู้. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า มารดาของเจ้า เมื่อ
เจ้าออกมาแล้วก็ตาย เพราะความรักบุตรจึงเกิดเป็นนางสุนัขจิ้งจอก
เป็นผู้กลัวภัยคือความตายของเจ้า จึงขุดคุ้ย ณ ที่สุดปลายทางห้าม
เจ้าไว้. แต่เจ้าคุกคามนางสุนัขจิ้งจอกนั้นให้หนีไป ส่วนนกกระไน
เป็นปัจจามิตรของเจ้า มันร้องบอกพวกเราว่า พวกท่านจงฆ่าบุรุษนี้
แล้วยึดเอากหาปณะ เพราะเจ้าเป็นคนโง่เขลา เจ้าจึงสำคัญมารดาผู้
ปรารถนาประโยชน์ว่าเป็นผู้ไม่ปรารถนาแก่เรา สำคัญนกกระไนผู้
ปรารถนาความฉิบหาย ว่าเป็นผู้ใคร่ประโยชน์แก่เรา ชื่อว่าคุณความ
ดีที่เจ้ากระทำแก่พวกเรา ไม่มี แต่มารดาของเจ้ามีพระคุณมากหลาย
ถึงจะตายะแล้วก็จริง เจ้าจงถือเอากหาปณะทั้งหลายไปเถิด แล้วปล่อย
มาณพนั้นไป.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว พระองค์
เป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งเอง จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านั้นว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 231
มาณพสำคัญนางสุนัขจิ้งจอก ซึ่งเที่ยว
ไปในป่า ผู้ปรารถนาประโยชน์ ผู้บอกให้
ทราบด้วยอาการ ในระหว่างทาง ว่าเป็นผู้
ปรารถนาความฉิบหาย และสำคัญนกกระไน
ผู้ใคร่ต่อความฉิบหาย ว่าเป็นผู้ปรารถนาประ-
โยชน์ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม
เป็นเช่นกับมาณพนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
อันชนทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูล
กล่าวคำตักเตือน ย่อมรับเอาโดยไม่เคารพ.
อนึ่ง ชนเหล่าใด สรรเสริญบุคคลนั้นก็คือ
ยกย่องบุคคลนั้น เพราะความกลัวก็ดี ก็มา
สำคัญชนเหล่านั้นว่าเป็นมิตร เหมือนมาณพ
สำคัญนกกระไนว่าเป็นมิตรฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิเตภิ ได้แก่ผู้ปรารถนาประโยชน์
เกื้อกูล คือความเจริญ. บทว่า วจน วุตฺโต ได้แก่ ผู้กล่าวโอวาท
สั่งสอนและอนุศาสน์พร่ำสอนอันนำหิตสุขมาให้. บทว่าปฏิคฺคณฺหติ
วามโต ความว่า บุคคลผู้ไม่รับโอวาท เมื่อรับเอาด้วยคิดว่า นี้ ไม่
นำประโยชน์มาให้เรา นี้นำความฉิบหายมาให้เรา. ชื่อว่ารับเอาโดย
ไม่เคารพ. บทว่า เย จ โข น ความว่า อนึ่ง บุคคลเหล่าใดย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 232
สรรเสริญบุคคลนั้น ผู้ถือเอาความยึดถือของตนอยู่ว่า ชื่อว่าบุคคลผู้
ยึดถืออธิกรณ์มั่นอยู่ ต้องเป็นเช่นกับท่าน. บทว่า ภยา อุกฺกสยนฺติ
วา ความว่า ย่อมยกขึ้นแสดงภัย เพราะปัจจัยคือการสละอย่างนี้ว่า
เพราะการสละความยึดถือนี้เป็นปัจจัย ภัยนี้แลจักเกิดขึ้นแก่ท่าน
ท่านอย่าได้สละ คนเหล่านี้ย่อมไม่ถึงท่านด้วยพาหุสัจจะตระกูล และ
บริวารเป็นต้น. บทว่า ต หิ โส มญฺเต มิตฺต ความว่า บรรดา
ชนทั้งหลายผู้เห็นปานนั้น บุคคลนั้น บางคนเป็นคนโง่เขลา ย่อม
สำคัญคนใดคนหนึ่ง ว่าเป็นมิตร เพราะความที่ตนเป็นคนเขลา คือ
ย่อมสำคัญว่าผู้นี้ เป็นมิตรผู้ใคร่ประโยชน์แก่เรา. บทว่า สตปตฺตว
มาณโว ความว่า เหมือนมาณพนั้น สำคัญนกกระไนผู้ใคร่ต่อความ
ฉิบหายเท่านั้น ว่าเป็นผู้ใคร่ความเจริญ เพราะความที่ตนเป็นคน
เขลา ส่วนบัณฑิตไม่ถือเอาคนหัวประจบ เห็นปานนั้นว่าเป็นมิตร
ย่อมเว้นบุคคลนั้นเสียห่างไกลทีเดียว. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า :-
บุคคลผู้มิใช่มิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ
มิตรผู้นำเอาไปส่วนเดียว คือคนปอกลอก ๑
มิตรมีวาจาเป็นเบื้องหน้า คือคนดีแต่พูด ๑
มิตรผู้กล่าวแต่คำคล้อยตาม คือคนหัวประจบ
๑ มิตรผู้เป็นเพื่อนในอบายทั้งหลาย คือคนที่
ชักชวนในทางฉิบหาย ๑ บัณฑิตรู้แจ้งดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 233
แล้ว พึงเว้นให้ห่างไกล เสมือนบุคคลละ
เว้นหนทางอันมีภัยเฉพาะหน้าฉะนั้น.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะทั้งหลาย ทรงประชุมชาดกว่า หัวหน้าโจรให้กาลนั้น
คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสตปัตตชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 234
๑๐. ปูฏทูสกชาดก
ว่าด้วยผู้ชอบทำลาย
[๔๓๙] พระยาเนื้อเห็นจะฉลาดในการทำห่อ
ใบไม้เป็นแน่ เพราะฉะนั้น จึงได้รื้อห่อ
ใบไม้เสีย คงจะทำห่อใบไม้อย่างอื่นให้ดี
กว่าเก่าเป็นมั่นคง.
[๔๔๐] บิดาหรือมารดาของเรา ไม่ใช่เป็นคน
ฉลาดในการทำห่อใบไม้เลย เราได้แต่รื้อสิ่ง
ของที่ทำไว้แล้ว ๆ เท่านั้น ตระกูลของเรานี้
เป็นธรรมดาอย่างนี้.
[๔๔๑] ธรรมดาของท่านทั้งหลายเป็นถึงเช่นนี้
ก็สภาพที่มิใช่ธรรมดาจะเป็นเช่นไร ขอพวก
เราอย่าได้เห็นธรรมดาหรือมิใช่ธรรมดาของ
ท่านทั้งหลายในกาลไหน ๆ เลย.
จบ ปูฏทูสกชาดกที่ ๑๐
อรรถกถาปูฏทูสกชาดกที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
กุมารผู้ประทุษร้ายห่อใบไม้คนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า
อทฺธา หิ นูน มิคราชา ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 235
ได้ยินว่า อำมาตย์คนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้ประทับนั่งในสวน เมื่อจะถวายทาน
กล่าวว่า ในระหว่างภัตตาหาร ภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่จะเที่ยวไปในสวน
ก็จงเที่ยวไปเถิด. ภิกษุทั้งหลายจึงเที่ยวไปในสวน. ในขณะนั้น
คนรักษาส่วนขึ้นต้นไม้อันสะพรั่งด้วยใบแล้วเก็บใบไม้ใหญ่ ทำให้
เป็นห่อ ๆ แล้วทิ้งลงที่โคนต้นไม้ด้วยคิดว่า นี้จัดเป็นห่อดอกไม้ นี้จัด
เป็นห่อผลไม้. ฝ่ายทารกผู้เป็นบุตรของตนรักษาสวนนั้น ก็ฉีกห่อ
ใบไม้ที่คนรักษาสวนทิ้งลงมา ๆ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแก่
พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนทารกผู้นี้ก็ได้เป็นผู้ทำลายห่อใบไม้
เหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในเมือง
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่งใน
เมืองพาราณสี เจริญวัยแล้ว ได้อยู่ครองเรือน วันหนึ่ง ได้ไปสวน
ด้วยกรณียกิจเฉพาะบางอย่าง. วานรจำนวนหนึ่งได้อยู่ในสวนนั้น
ฝ่ายคนรักษาสวนทำห่อใบไม้ให้ตกลงโดยทำนองนี้แหละ. วานรจ่าฝูง
ก็มารื้อห่อใบไม้ที่คนรักษาสวนให้ตกลงมา ๆ. พระโพธิสัตว์จึงเรียก
วานรจ่าฝูงนั้นมากล่าวว่า เจ้ารื้อห่อใบไม้ที่คนรักษาสวนทิ้งลงมา ๆ
เห็นจะประสงค์จะทำห่อใบไม้ที่เขาทิ้งลง ๆ ให้เป็นที่น่าชอบใจกว่า
กระมัง แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 236
พระยาเนื้อเห็นจะฉลาดในการทำห่อใบ
ไม้เป็นแท้ เพราะฉะนั้น จึงได้รื้อห่อใบไม่
เสีย คงจะทำห่อใบไม้อย่างอื่นให้ดีกว่าเก่า.
เป็นมั่นคง.
พระโพธิสัตว์เมื่อจะยกย่องลิงจึงกล่าวว่า มิคราชา พระยา
เนื้อ ในคาถานั้น. บทว่า ปูฏกมฺมสฺส ได้แก่ ในการกระทำห่อ
ดอกไม้. บทว่า เฉโก แปลว่า ผู้ฉลาด. ก็ในคาถานี้ มีความย่อ
ดังต่อไปนี้. ก็พระยาเนื้อนี้ เห็นจะเป็นคนผู้ฉลาดในปูฏกรรมงานทำ
ห่อใบไม้โดยแน่แท้จริงอย่างนั้น พระยาเนื้อนี้จึงทำลายห่อใบไม้อื่น
ที่คนเฝ้าสวนทิ้งลงมาเสีย คงจักกระทำห่อใบไม้อย่างอื่นให้เป็นที่น่า
ชอบใจกว่านั้นเป็นแน่.
ลิงได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
บิดาหรือมารดาของข้าพเจ้า มิใช่เป็น
ผู้ฉลาดในการทำห่อใบไม้ พวกเราได้แต่รื้อ
ของที่เขาทำไว้แล้ว ๆ เท่านั้น ตระกูลของ
ข้าพเจ้านี้ มีธรรมดาเป็นอย่างนี้.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ธรรมดาของพวกท่านเป็นถึงเช่นนี้ ก็
สภาพที่มิใช่ธรรมดาจะเป็นเช่นไร ขอพวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 237
เราอย่าได้เห็นธรรมดาหรือมิใช่ธรรมดาของ
ท่านทั้งหลายในกาลไหน ๆ เลย.
ก็แหละครั้นกล่าวแล้วจึงติเตียนหมู่วานรแล้วหลีกไป.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกว่า วานรในครั้งนั้น
ได้เป็นทารกผู้ทำลายห่อใบไม้ในบัดนี้ ส่วนบุรุษบัณฑิตในครั้งนั้น
ได้เป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาปูฏทูสกชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อุทปานทูสกชาดก ๒. พยัคฆชาดก ๓. กัจฉปชาดก
๔. โลลชาดก ๕. รุจิรชาดก ๖. กุรุธรรมชาดก ๗. โรมชาดก
๘. มหิสชาดก ๙. สตปัตตชาดก ๑๐. ปูฏทูสกชาดก.
จบ อุทปานวรรคที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 238
๔. อัพภัณตรวรรค
๑. อัพภันตรชาดก
ว่าด้วยผลไม้ทิพย์
[๔๔๒] ผลของต้นไม้ชื่ออัพภันตระ เป็นผลไม้
ทิพย์ นารีที่แพ้ท่องบริโภคแล้ว จะประสูติ
พระราชโอรสเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ.
[๔๔๓] ดูก่อนนางผู้เจริญ แม้ท่านก็เป็นพระ-
มเหสีผู้เลอโฉม และเป็นที่รักของพระราช-
สวามี พระราชาจักทรงนำเอาผลไม้ชื่ออัพภัน-
ตระนี้มาให้แก่ท่าน
[๔๔๔] บุคคลผู้กล้าหาญ ยอมเสียสละตน
กระทำความพากเพียร ในประโยชน์ของท่าน
ที่ได้เลี้ยงคนมา ย่อมถือฐานะอันใด ข้าพเจ้า
เป็นผู้จะได้ฐานะอันนั้น.
จบ อัพภันตรชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 239
อรรถกถาอัพภันตรวรรคที่ ๔
อรรถกถาอัพภันตรชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการ
ที่พระสารีบุตรเถระถวายรสมะม่วงแก่พระพิมพาเถรีจึงตรัสเรื่องนี้ มี
คำเริ่มต้นว่า อพฺภนฺตโร นาม ทุโม ดังนี้.
ได้ยินว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระธรรม-
จักรอันควรแล้วประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาในเมืองเวสาลี พระนาง
มหาปชาบดีโคตมีพานางสากิยานีจำนวน ๕๐๐ นางไปขอบรรพชา
แล้วได้บรรพชาและอุปสมบท. ในกาลต่อมา ภิกษุณี ๕๐๐ รูปเหล่า
นั้น ได้ฟังโอวาทของพระนันทกะได้บรรลุพระอรหัต. อนึ่งเมื่อพระ-
ศาสดาเสด็จเข้าไปอาศัยประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี พระเทวีชนนีของ
พระราหุลทรงดำริว่า พระสวามีของเราบวชได้บรรลุพระสัพพัญญุต-
ญาณแล้ว แม้โอรสของเราก็บวชอยู่ในสำนักของพระสวามีแห่งเรานั้น
เราจักกระทำอะไรอยู่ในท่ามกลางเรือน แม้เราบวชแล้วไปอยู่ในเมือง
สาวัตถี จักเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระโอรสอยู่เป็นเนืองนิตย์
จึงเสด็จเข้าไปยังสำนักของนางภิกษุณี บวชแล้วได้ไปยังเมืองสาวัตถี
พร้อมกับอุปัชฌาย์อาจารย์. เห็นพระศาสดาและบุตรผู้เป็นที่รักสำเร็จ
การอยู่ในสำนักภิกษุณีแห่งหนึ่ง. ราหุลสามเณรได้มาเยี่ยมพระชนนี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 240
ครั้นวันหนึ่ง ลมในพระอุทรของพระเถรีกำเริบขึ้น. เมื่อพระโอรส
เสด็จมาเพื่อจะเยี่ยมเยียน พระเถรีนั้นไม่สามารถจะออกมาพบ
ได้ ภิกษุณีอื่น ๆ จึงมาบอกว่า พระเถรีไม่สบาย. ราหุลสามเณร
นั้นจึงไปยังสำนักของพระมารดา แล้วทูลถามว่า พระองค์ควรจะได้
ยาอะไร ? พระเถรีผู้ชนนีตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ในคราวยังครองเรือน
มารดาดื่มรสมะม่วงที่เขาปรุงประกอบด้วยน้ำตาลกรวดเป็นต้น โรค
ลมในท้องก็สงบระงับไป แต่บัดนี้ พวกเราเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพ
จักได้รสมะม่วงนั้นมาจากไหน. ราหุลสามเณรทูลว่า เมื่อหม่อมฉันได้
จักนำมา แล้วก็ออกไป. ก็ท่านผู้มีอายุนั้นมีสมบัติมากมาย คือ มีพระ-
ธรรมเสนาบดีเป็นอุปัชฌาย์ มีพระมหาโมคคัลลานะเป็นอาจารย์ มี
พระอานันทเถระเป็นอาว์ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นบิดา. แม้เมื่อ
เป็นอย่างนั้น ท่านก็ไม่ไปยังสำนักอื่น ได้ไปยังสำนักของอุปัชฌาย์
ไหว้แล้ว ได้ยืนมีอาการหน้าเศร้าอยู่. ลำดับนั้น พระเถระจึงกล่าว
กะราหุลสามเณรนั้นว่า ดูก่อนราหุล เหตุไรหนอ เธอจึงมีหน้าระทม
ทุกข์อยู่. ราหุลสามเณรกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โรคลมในท้องแห่ง
พระเถรีผู้เป็นมารดาของกระผม กำเริบขึ้น. พระเถระถามว่า ได้อะไร
จึงจะควร ? ราหุลสามเณรเรียนว่า พระมารดาเล่าให้ฟังว่า มีความ
ผาสุกได้ด้วยรสมะม่วงที่ปรุงประกอบด้วยน้ำตาลกรวด พระเถระจึง
กล่าวว่า ช่างเถอะ เราจักได้มา เธออย่าคิดไปเลย. ในวันรุ่งขึ้น
พระเถระพาราหุลสามเณรนั้นเข้าไปในเมืองสาวัตถี ให้สามเณรนั่งที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 241
โรงฉันแล้วได้ไปยังประตูพระราชวัง. พระเจ้าโกศลเห็นพระเถระจึง
นิมนต์ให้นั่ง. ในขณะนั้นเอง นายอุยยานบาลนำเอามะม่วงหวาน
ที่สุกทั้งพวง จำนวนห่อหนึ่งมาถวาย. พระราชาทรงปอกเปลือก
มะม่วงแล้วใส่น้ำตาลกรวดลงไป ขยำด้วยพระองค์เองแล้วได้ถวาย
พระเถระจนเต็มบาตร. พระเถระออกจากพระราชนิเวศน์ ไปยังโรงฉัน
แล้วได้ให้แก่สามเณรโดยกล่าวว่า เธอจงนำรสมะม่วงนั้นไปให้มารดา
ของเธอ. ราหุลสามเณรนั้นได้นำไปถวายแล้ว. พอพระเถรีบริโภค
แล้วเท่านั้น โรคลมในท้องก็สงบ. ฝ่ายพระราชาทรงส่งคนไปด้วย
ดำรัสสั่งว่า พระเถระไม่นั่งฉันรสมะม่วงในที่นี้ เธอจงไปดูให้รู้ว่าพระ-
เถระให้ใคร. ราชบุรุษคนนั้นจึงไปพร้อมกับพระเถระ ทราบเหตุนั้น
แล้วจึงมากราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชาทรงพระดำริว่า
ถ้าพระศาสดาจักอยู่ครองเรือน จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ราหุล
สามเณรจักได้เป็นขุนพลแก้ว พระเถรีจักได้เป็นนางแก้ว ราชสมบัติ
ในสกลจักรวาฬจักเป็นของท่านเหล่านี้ทีเดียว ควรที่เราจะพึงอุปัฏฐาก
บำรุงท่านเหล่านี้ บัดนี้. เราไม่ควรประมาทในท่านเหล่านี้ ผู้บวช
แล้วเข้ามาอาศัยเราอยู่. จำเดิมแต่นั้น พระเจ้าโกศลรับสั่งให้ถวาย
รสมะม่วงแก่พระเถรีเป็นประจำ. ความที่พระสารีบุตรเถระถวายรส
มะม่วงแก่พระพิมพาเถรี เกิดปรากฏในหมู่ภิกษุสงฆ์. อยู่มาวันหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย
ได้ยินว่าพระสารีบุตรเถระ ได้กระทำพระพิมพาเถรีให้อิ่มหนำด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 242
รสมะม่วง. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอนั่งประชุมสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบ
ทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรให้
มารดาของราหุลอิ่มหนำด้วยรสมะม่วง ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้
ในกาลก่อน สารีบุตรนี้ก็ได้ให้มารดาของราหุลนี้อิ่มหนำมาแล้ว
เหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชาสมบัติในเมือง
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ในหมู่บ้านแคว้น
กาสี พอเจริญวัยแล้วก็ไปเรียนสรรพศิลปศาสตร์ในเมืองตักกศิลา แล้ว
ดำรงฆราวาสอยู่ ต่อมาบิดามารดาล่วงลับไป จึงบวชเป็นฤาษีทำอภิญญา
และสมาบัติให้เกิดในหิมวันตประเทศ อันคณะฤาษีย่อมล้อมเป็นครู
ของคณะ ต่อเมื่อระยะกาลอันยาวนานล่วงไป เพื่อต้องการจะเสพรส
เค็มและเปรี้ยว จึงลงจากเชิงเขาเที่ยวจาริกไปจนถึงเมืองพาราณสี จึง
สำเร็จการอยู่ในพระราชอุทยาน. ครั้งนั้น ภพของท้าวสักกะเทวราช
ก็สะท้านหวั่นไหวด้วยเดชแห่งศีลของคณะฤาษีนั้น. ท้าวสักกะทรง
รำพึงอยู่ก็ได้ทรงทราบเหตุนั้น จึงทรงดำริว่า เราจักตะเกียก
ตะกายทำให้ดาบสเหล่านี้อยู่ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ดาบสเหล่านั้นถูก
ทำลายที่อยู่ ก็จะวุ่นวายเที่ยวไป จักไม่ได้เอกัคคตาจิต เมื่อเป็น
เช่นนั้น ความผาสุกจักมีแก่เรา แล้วทรงพิจารณาว่า จะมีอุบาย
อย่างไรหนอ ก็ได้ทรงเห็นอุบายข้อนี้ว่า ในเวลาติดต่อกับมัชฌิมยาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 243
เราจักเข้าไปห้องสิริไสยาศน์ของพระอัครมเหสีของพระราชา ยืนใน
อากาศบอกแก่พระนาง ดูก่อนพระนางผู้เจริญ ถ้าพระองค์จะได้เสวย
มะม่วงสุก อันมีชื่อว่าอัพภันตระ จักได้พระโอรส และพระโอรสนั้น
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระราชาได้ทรงสดับถ้อยคำของพระเทวี
แล้ว จักส่งคนไปพระราชอุทยานเพื่อต้องการให้ได้เอามะม่วงสุกมา
เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็จักทำให้มะม่วงอันตรธานหายไป ราชบุรุษจัก
กลับมากราบทูลพระราชาว่า มะม่วงในพระราชอุทยานไม่มี เมื่อ
พระราชาตรัสถามว่า ใครกินหมด พวกราชบุรุษจักกราบทูลว่า พวก
ดาบสกินหมด ครั้นพระราชาทรงสดับดังนั้น จักรับสั่งให้โบยตีพวก
ดาบสแล้วขับไล่ออกไป แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ดาบสเหล่านั้นจักเป็น
อันถูกเรารบกวนให้วุ่นวาย. ในกาลติดต่อกับมัชฌิมยาม ท้าวสักกะ
นั้นจึงเสด็จเข้าไปยังห้องสิริไสยาศน์ประทับยืนอยู่ในอากาศ แสดงตน
ให้รู้ว่าเป็นท้าวเทวราช เมื่อจะทรงปราศัยกับพระอัครมเหสีของพระ-
ราชานั้น ได้ตรัสคาถา ๒ คาถาแรกว่า :-
ผลของต้นไม้ชื่ออัพภันตระเป็นผลไม้
ทิพย์ นารีผู้แพ้ท้องได้เสวยผลไม้ทิพย์
นั้นแล้ว จะประสูติพระโอรสเป็นพระเจ้าจักร-
พรรดิ ดูก่อนพระนางผู้เจริญ แม้พระนางก็
จะได้เป็นพระอัครมเหสี ทั้งจะเป็นที่โปรด-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 244
ปรานของพระสวามี พระราชาจักทรงนำผลไม้
ชื่ออัพภันตระนี้มาให้แก่พระนาง.
ในบรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อพฺภนฺตโร นาม ทุโม
นี้ ก่อนอื่น ท้าวสักกะไม่ตรัสว่า อัพภันตระ คือภายในแห่งคามนิคม
ชนบท และภูเขาเป็นต้น ชื่อโน้น ตรัสถึงต้นมะม่วงชื่ออัพภันตระ
ต้นหนึ่ง อย่างเดียว. บทว่า ยสฺส ทิพฺยมิท ผล ความว่า ต้น
มะม่วงใดมีผลเป็นทิพย์ควรแก่การบริโภค ของเทวดาทั้งหลาย. บทว่า
อิท เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น. บทว่า โทหฬินี แปลว่า เกิดความ
แพ้ท้อง. บทว่า ตฺวมฺปิ ภทฺเท มเหสีสิ ความว่า พระองค์จะได้
เป็นมเหสีผู้งดงาม. ส่วนในอรรถกถามีบาลีว่า มเหสี ว ดังนี้ก็มี.
บทว่า สา จาปิ ปติโน ปิยา ความว่า จะได้เป็นพระอัครมเหสี
ในภายในพระเทวีจำนวนหมื่นหกพันนาง และจะได้เป็นที่โปรดปราน
รักใคร่ของพระสวามี. บทว่า อาหริสฺสติ เต ราชา อท อพฺภนฺตร
ผล ความว่า พระราชาจักให้นำผลมีประการดังเรากล่าวแล้วนี้มาให้
แก่พระองค์นั้น ผู้เป็นอัครมเหสีที่โปรดปรานรักใคร่. พระองค์นั้น
เสวยผลไม้นั้นแล้ว จักได้พระโอรสผู้เกิดในพระครรภ์ เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ.
ท้าวสักกะตรัสคาถา ๒ คาถานี้ด้วยประการอย่างนี้แล้ว ทรง
พร่ำสอนพระเทวีว่า พระองค์จงอย่าประมาทอย่าได้ชักช้า พึงกราบทูล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 245
พระราชาให้ทรงทราบในวันพรุ่งนี้ แล้วเสด็จกลับไปสถานที่อยู่ของ
พระองค์ทีเดียว. วันรุ่งขึ้น พระนางแสดงอาการว่า ทรงประชวร ทรง
ให้สัญญาแก่นางบำเรอทั้งหลาย แล้วทรงบรรทมอยู่. พระราชาประทับ
นั่งบนสีหาศน์ ภายใต้เศวตฉัตรทายกขึ้น ทอดพระเนตรดูเหล่า
นางนักสนมทั้งหลาย ไม่เห็นพระเทวี จึงตรัสถามนางข้าบาทบริจาริกา
ทั้งหลายว่า พระเทวีไปไหน ? นางข้าบาทบริจาริกาทั้งหลายกราบทูลว่า
พระนางทรงพระประชวรพระเจ้าข้า.พระราชาจึงเสด็จไปยังสำนักของ
พระเทวี ประทับนั่งบนข้างพระที่บรรทมแล้ว ทรงลูบพระปฤษฎางค์
ตรัสถามว่า น้องนางผู้เจริญ เธอไม่มีผาสุกสำราญอะไรหรือ ? พระ-
เทวีทูลว่า ข้าแต่มหาราช ชื่อว่าความไม่ผาสุกสำราญอย่างอื่นไม่มี แต่
กระหม่อมฉันเกิดการแพ้พระครรภ์ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า
น้องนางผู้เจริญ เธอต้องการอะไร ? พระเทวีทูลว่า กระหม่อมฉัน
ต้องการผลมะม่วงชื่ออัพภันตระพระเจ้าข้า.พระราชาตรัสถามว่า เทวี
มะม่วงชื่ออัพภันตระมีอยู่ที่ไหน ? พระเทวีทูลว่าขอเดชะ กระหม่อมฉัน
จะรู้จักมะม่วงชื่อว่าอัพภันตระก็หามิได้ เป็นแต่ว่า เมื่อกระหม่อมฉัน
ได้ผลของต้นมะม่วงชื่อว่าอัพภันตระนั้น ก็จะมีชีวิตอยู่ เมื่อไม่ได้ คง
จะไม่มีชีวิตพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า. ถ้าอย่างนั้น เราจักให้นำมา
เธออย่าเสียใจไปเลย. พระราชาครั้นทรงปลอบโยนพระเทวีให้เบา
พระทัยแล้ว จึงเสด็จลุกขึ้นไปประทับนั่งบนราชบัลลังก์ รับสั่งให้
เรียกอำมาตย์ทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า พระเทวีเกิดการแพ้พระครรภ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 246
อยากจะเสวยมะม่วงชื่อว่าอัพภันตระ ควรจะทำอย่างไร ? อำมาตย์
ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มะม่วงที่ตั้งอยู่ระหว่างกลาง
มะม่วง ๒ ต้น ชื่อว่ามะม่วงอัพภันตระ. พวกข้าพระพุทธเจ้าจักส่งคน
ไปยังพระราชอุทยาน ให้นำผลจากมะม่วงที่ตั้งอยู่ในระหว่างต้นมะม่วง
ทั้งสองต้นมาให้ประทานแก่พระเทวี. พระราชาตรัสว่า ดีแล้ว พวก
ท่านจงนำเอาผลมะม่วงเห็นปานนั้นมา แล้วทรงส่งราชบุรุษไปยัง
พระราชอุทยาน. ท้าวสักกะทรงบรรดาลให้ผลมะม่วงทั้งหลายในพระ-
ราชอุทยานอันตรธานไปเหมือนอย่างถูกคนเคี้ยวกินด้วยอานุภาพของ
พระองค์. ราชบุรุษทั้งหลายผู้ไปเพื่อต้องการผลมะม่วง เที่ยวไปตลอด
พระราชอุทยานทั้งสิ้น ไม่ได้แม้มะม่วง กับผลเดียว จึงกลับมากราบทูล
พระราชา ถึงความที่ผลมะม่วงไม่มีในพระราชอุทยาน พระราชา
ตรัสถามว่า ใครกินมะม่วงหมด ? พวกราชบุรุษกราบทูลว่า พวกดาบส
พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า พวกท่านจงโบยตีดาบสทั้งหลายนำออก
ไปจากพระราชอุทยาน. พวกราชบุรุษรับพระบัญชาแล้วพากันนำ
พระดาบสทั้งหลายออกไปจากพระราชอุทยาน. เป็นอันว่า มโนรถ
ของท้าวสักกะบรรลุถึงที่สุดสมประสงค์. พระเทวีก็ยังทรงบรรทมอยู่
นั่นแหละโดยผูกพระทัยเพื่อจะเสวยผลมะม่วงให้ได้. เมื่อพระราชาไม่
ทรงเห็นลู่ทางที่จะพึงกระทำ จึงสั่งให้อำมาตย์และพราหมณ์ทั้งหลาย
ประชุมกันแล้วตรัสถามว่า ท่านทั้งหลายยังจะทราบว่ามะม่วงอัพภันตระ
มีอยู่หรือ ? พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ ชื่อว่ามะม่วง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 247
อัพภันตระเป็นเครื่องบริโภคของเทวดาทั้งหลาย มีอยู่ภายในถ้ำทองใน
ป่าหิมพานต์ พวกข้าพระพุทธเจ้าได้ยินสืบ ๆ กันมาดังนี้ พระราชาตรัส
ถามว่า ก็ใครเล่าจักสามารถนำเอามะม่วงจากป่าหิมพานต์นั้นมาได้ ?
พวกพราหมณ์กราบทูลว่า ผู้ที่เป็นมนุษย์ไม่สามารถจะไปในที่นั้นได้
ควรจะส่งสุวโปดกลูกนกแขกเต้าตัวหนึ่งไป. ก็สมัยนั้น ในราชสกุล
มีลูกนกแขกเต้าตัวหนึ่ง ตัวใหญ่ประมาณเท่าดุมล้อแห่งยานของ
พวกเด็กๆ สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรงมีปัญญา ฉลาดในอุบาย. พระราชา
จึงให้นำสุวโปดกนั้นมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อสุวโปดก เรามีอุปการะ
เป็นอันมากแก่เจ้า เจ้าได้อยู่ในกรงทอง กินข้าวตอกคลุกน้ำผึ้งในจาน
ทอง ดื่มน้ำเจือน้ำตาลกรวด แม้เจ้าก็ควรจะช่วยเหลือทำกิจอันหนึ่ง
ของเรา. สุวโปดกถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ กิจอะไร พระเจ้าข้า ?
พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพ่อ พระเทวีเกิดแพ้พระครรภ์ อยากจะเสวย
มะม่วงอัพภันตระ ก็มะม่วงนั้นมีอยู่ในระหว่างกาญจนบรรพต ในป่า
หิมพานต์ เป็นเครื่องบริโภคของเทวดาทั้งหลาย ผู้เป็นมนุษย์ไม่อาจ
ไปในที่นั้น ท่านควรนำผลมะม่วงจากป่าหิมพานต์นั้นมา. สุวโปตก
กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ได้พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักนำมาถวาย.
ลำดับนั้น พระราชาจึงให้สุวโปดกนั้นกินข้าวตอกเคล้าน้ำผึ้งในจานทอง
ให้ดื่มน้ำเจือน้ำตาลกรวด ทาระหว่างปีกของสุวโปดกนั้นด้วยน้ำมัน
อันสุกได้ร้อยครั้ง แล้วอุ้มเสด็จไปประทับยืนที่สีหบัญชรแล้วปล่อยไป
ในอากาศ. ฝ่ายสุวโปดกนั้นแสดงการเคารพต่อพระราชาแล้วบินไปใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 248
อากาศ ล่วงเลยถิ่นมนุษย์ไปถึงสำนักของนกแขกเต้าทั้งหลายผู้อยู่ใน
ระหว่างภูเขาทั้งหนึ่ง ในหิมวันตประเทศ แล้วถามว่า มะม่วงชื่ออัพภัน-
ตระมีอยู่ที่ไหน ท่านทั้งหลายจงบอกสถานที่นั้นแก่ข้าพเจ้า. พวกนก
แขกเต้ากล่าวว่า พวกเราไม่รู้จัก พวกนกแขกเต้า ในระหว่างภูเขาที่
สองคงจักรู้. สุวโปดกนั้นได้ฟังดังนั้น จึงได้บินจากนั้นไปถึงระหว่าง
เขาที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ที่หก ก็ถามเหมือนอย่างนั้น. นกแขกเต้า
ทั้งหลายในระหว่างภูเขาที่หกแม้นั้นกล่าวกะสาสวโปดกนั้นว่า พวกเรา
ไม่รู้ พวกนกแขกเต้า ในระหว่างภูเขาที่ ๗ คงจักรู้. สุวโปดกนั้น
จึงบินในระหว่างภูเขาที่ ๗ แม้นั้น แล้วถามว่า มะม่วงชื่ออัพภันตระ
มีอยู่ที่ไหน ? นกแขกเต้าเหล่านั้นกล่าวว่า มีอยู่ในระหว่างกาญจน-
บรรพตในที่ชื่อโน้น. สุวโปดกกล่าวว่า ข้าพเจ้ามาเพื่อต้องการผล
ของมะม่วงอัพภันตระนั้น ท่านทั้งหลายโปรดนำข้าพเจ้าไปที่นั้นแล้ว
จงให้ผลจากมะม่วงชื่อว่าอัพภันตระนั้นแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด. หมู่นก
แขกเต้ากล่าวว่า สหาย มะม่วงอัพภันตระนั้น เป็นเครื่องบริโภคของ
ท้าวเวสวัณมหาราช ใคร ๆ ไม่อาจเข้าไปใกล้ ต้นไม้ทั้งสิ้นล้อมด้วย
ตาข่ายเหล็ก ๗ ชั้น ตั้งแต่ราก มีกุมภัณฑ์และรากษสจำนวนพัน
รักษาอยู่ ผู้ที่หมู่กุมภัณฑ์และรากษสเหล่านั้นเห็นแล้ว จะไม่มีชีวิต
รคด สถานที่นั้นเหมือนอเวจีมหานรก ประดุจไฟลุกอยู่ตลอดกัป ท่าน
อย่าได้การทำความปรารถนาในที่นั้นเลย. สุวโปดกกล่าวว่า ถ้าท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 249
ทั้งหลายไม่ไปขอจงบอกที่นั้นแก่ข้าพเจ้า. นกแขกเต้าทั้งหลายกล่าวว่า
ถ้าอย่างนั้น ท่านจงไปทางโน้น ๆ. สุวโปดกนั้นทรงจำหนทางได้แม่น
ยำ ตามที่นกแขกเต้าเหล่านั้นบอก จึงบินไปยังที่นั้น ไม่แสดงตน
ในตอนกลางวัน ในระหว่างมัชฌิมยาม ในเวลาที่พวกรากษสนอน
หลับ จึงเข้าไปใกล้ต้นมะม่วงอัพภันตระเริ่มค่อย ๆ ปีนขึ้นทางระหว่าง
โคนต้นหนึ่ง ตาข่ายเหล็กก็กระทบกันเสียงดังกริ๊ก ๆ. พวกรากษส
เหล่านั้นตื่นขึ้นแลเห็นสุวโปดกอยู่ข้างใน จึงจับเอาไว้โดยหาว่าเป็น
โจรลักมะม่วง แล้วจัดแจงจะลงเครื่องกรรมกรณ์. รากษสตนหนึ่ง
กล่าวว่า เราจะใส่ปากกลืนกินมัน. รากษสอีกตนหนึ่งกล่าวว่า เรา
จะขยี้ด้วยมือทั้งสอง ทำมันให้แหลกกระจาย รากษสอีกตนหนึ่ง
กล่าวว่า เราจะผ่าให้เป็นสองซีกปิ้งที่ถ่านไฟแล้วกินเสีย. สุวโปตก
นั้น แม้จะได้ยินการจัดแจงลงกรรมกรณ์ ของรากษสเหล่านั้นก็มิได้
หวาดเสียวเลย เรียกพวกรากษสเหล่านั้นมาแล้วกล่าวว่า ท่านรากษส
ผู้เจริญ พวกท่านเป็นราชบุรุษของใคร. พวกรากษสกล่าวว่า เป็น
ราชบุรุษของท้าวเวสวัณมหาราช. สุวโปดกกล่าวว่า แม้พวกท่านก็
เป็นราชบุรุษของพระราชาองค์หนึ่ง แม้เราก็เป็นราชบุรุษของพระ-
ราชาผู้เป็นมนุษย์เหมือนกัน พระเจ้าพาราณสีทรงส่งเรามาเพื่อต้อง
การผลมะม่วงอัพภันตระ เรานั้นได้สละชีวิตเพื่อพระราชาของเราใน
เมืองพาราณสีนั้นนั่นแลจึงได้มา ก็บุคคลใดสละชีวิตเพื่อประโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 250
แก่บิดามารดาและเจ้านายของตน บุคคลนั้นย่อมบังเกิดในเทวโลก
เที่ยงแท้ เพราะฉะนั้น แม้เราพ้นจากกำเนิดดิรัจฉานนี้แล้ว จัก
บังเกิดในเทวโลกเท่านั้น แล้วกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
บุคคลผู้กล้าหาญ ยอมเสียสละตน พาก
เพียรพยายามในประโยชน์ของท่านที่ได้เลี้ยง
ตนมา ย่อมถึงฐานะอันใด ข้าพเจ้าเป็นผู้จะ
ได้ฐานะอันนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภตฺตุรตฺเถ ความว่า บุคคลผู้
พอกเลี้ยงด้วยการเลี้ยงดูด้วยอาหารเป็นต้น เรียกว่าผู้เลี้ยงดู. บุคคล
ผู้กล้าหาญเพียรพยายามเพื่อประโยชน์ แก่ท่านที่เลี้ยงดูนั้นแม้ ๓ ท่าน
คือบิดา ๑ มารดา ๑ เจ้านาย ๑ บทว่า ปรกฺกนฺโต ได้แก่ ผู้
กระทำความบากบั่นคือพยายาม. บทว่า ย านมธิคจฺฉติ ความว่า
ย่อมบรรลุถึงเหตุแห่งความสุขใด จะเป็นยศ ลาภ หรือสวรรค์สมบัติ
ก็ตาม. บทว่า สูโร ได้แก่ ผู้ไม่ขลาด คือ เพียบพร้อมด้วยความ
พากเพียร. บทว่า อตฺตปริจฺจาคี ความว่า เป็นผู้ไม่ห่วงใยในกาย
และชีวิต สละตน เพราะประโยชน์ของท่านผู้ที่เลี้ยงดูตนแม้ทั้งสาม
ท่านนั้น. บทว่า ลภมาโน ภวามห ความว่า บุคคลผู้กล้าหาญเห็น
ปานนี้นั้น ย่อมได้ฐานะอันใด จะเป็นเทวสมบัติหรือมนุษย์สมบัติก็ตาม
แม้เราก็จะเป็นผู้ได้ฐานะอันนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงมีแต่ความร่าเริง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 251
เท่านั้น ไม่มีความสะดุ้งในเรื่องนี้ ก็ท่านทั้งหลายจะทำเราให้สะดุ้ง
หวาดเสียวได้อย่างไร.
สุวโปดกนั้นแสดงธรรมแก่พวกรากษสเหล่านั้น ด้วยคาถานี้
ด้วยประการอย่างนี้. พวกรากษสเหล่านั้นฟังธรรมของสุวโปดกนั้น
แล้ว มีจิตเลื่อมใสกล่าวว่า สุวโปตกนี้เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม ใคร ๆ
ไม่อาจฆ่าให้ตาย พวกเราจงปล่อยสุวโปดกนั้นเสียเถิด ว่าแล้วก็ปล่อย
สุวโปดกพลางกล่าวว่า ดูก่อนสุวโปดกผู้เจริญ ท่านเป็นผู้พ้นภัยแล้ว
ท่านจงไปจากมือของพวกเราโดยความสวัสดีเถิด. สุวโปดกกล่าวว่า
ท่านทั้งหลายอย่าได้กระทำการมาของข้าพเจ้าให้เปล่าประโยชน์เลย
จงให้ผลมะม่วงแก่ข้าพเจ้าสักผลหนึ่ง. รากษสทั้งหลายกล่าวว่า. ดูก่อน
สุวโปดก ชื่อว่าการให้ผลมะม่วงผลหนึ่งแก่ท่าน หาได้เป็นภาระหน้าที่
ของพวกเรา ด้วยว่ามะม่วงบนต้นนี้ ท้าวเวสวัณมานับไว้ ๆ เมื่อ
ขาดหายไม่มีแม้แต่ผลเดียว ชีวิตของพวกเราก็จะไม่มี เพราะเมื่อท้าว
เวสวัณโกรธแลดูคราวเดียว พวกเราก็จะเป็นเหมือนเมล็ดงาที่ใส่ลง
ในกระเบื้องอันร้อน กุมภัณฑ์ทั้งพันตนก็จะแตกละเอียดกระจายไป
ด้วยเหตุนั้น พวกเราจึงไม่อาจให้แก่ท่าน แต่พวกเราจักบอกสถานที่
ที่พอจะหาได้. สุวโปดกกล่าวว่า คนใดคนหนึ่งผู้สามารถจะให้ได้
ท่านทั้งหลายจงบอกสถานที่ที่ได้เถิด. รากษสเหล่านั้นจึงบอกว่า ใน
ระหว่างตาข่ายแห่งกาญจนบรรพตนี้ มีดาบสชื่อโชติรสท่านบูชาไฟ
อยู่ในบรรณศาลาชื่อว่ากาญจนปันตี ท่านเป็นกุลุปกะ คือนักบวช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 252
ประจำตระกูลของท้าวเวสวัณ และท้าวเวสวัณส่งผลมะม่วงไปถวาย
เป็นประจำวันละ ๔ ผล ท่านจงไปยังสำนักของพระดาบสนั้นเถิด.
สุวโปดกรับคำแล้วบินไปยังสำนักของดาบสนั้นไหว้แล้วจับอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น ดาบสจึงถามสุวโปดกนั้นว่า เธอมาจาก
ไหน ? สุวโปดกเรียนว่า มาจากสำนักของพระเจ้าพาราณสี. พระ-
ดาบสถามว่า มาเพื่อต้องการอะไร ? สุวโปดกเรียนว่า พระเทวีของ
พระราชาแห่งกระผมเกิดความแพ้พระครรภ์ อยากเสวย มะม่วง
สุกชื่ออัพภันตระ กระผมจึงได้มาเพื่อต้องการมะม่วงอัพภันตระนั้น
แต่พวกรากษสจะให้มะม่วงสุกชื่อว่าอัพภันตรแก่กระผมด้วยตนเองไม่
ได้ จึงส่งมายังสำนักของพระคุณเจ้า. พระดาบสกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น
เธอจงนั่งคอยก่อนจึงจักได้ ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณส่งผลมะม่วง ๔
ผล มาถวายพระดาบสนั้น. พระดาบสฉันไป ๒ ผล จาก ๔ ผลนั้น
ได้ให้สุวโปดกกินผลหนึ่ง เมื่อสุวโปดกนั้นกินมะม่วงผลนั้นแล้ว พระ-
ดาบสจึงเอามะม่วงอึกผลหนึ่งใส่สาแหรกคล้องคอสุวโปดก แล้วกล่าว
เธอจงไปในบัดเดี๋ยวนี้ แล้วก็ปล่อยสุวโปดกนั้นไป. สุวโปดกนั้นได้
นำผลมะม่วงนั้นมาถวายพระเทวี. พระเทวีเสวยผลมะม่วงนั้นแล้วก็ยัง
ความแพ้พระครรภ์ให้สงบระงับลงได้. พระราชาทรงชื่นชมโสมนัส
อันมีการได้มะม่วงอัพภันตระนั้นมาเป็นเหตุ แต่พระราชเทวีนั้นมิได้
มีพระราชโอรส.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 253
ชาดกว่า พระเทวีในกาลนั้นได้เป็นราหุลมารดาในบัดนี้ สุวโปดกใน
กาลนั้น ได้เป็นราหุล พระราชาในกาลนั้นได้เป็นพระอานนท์ ดาบส
ผู้ให้มะม่วงสุกในกาลนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนดาบสผู้อยู่ใน
พระราชอุทยานในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอัพภันตรชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 254
๒. เสยยชาดก
คบคนประเสริฐก็ประเสริฐ
[๔๔๕] ผู้ใดคบหากับบุคคลผู้ประเสริฐ ผู้นั้น
ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนอันประเสริฐด้วย เราสมาน
ไมตรีกับพระยาโจรคนเดียว ก็ปลดเปลื้อง
ท่านทั้งหลายผู้ต้องโทษได้ทั้งร้อยคน.
[๔๔๖] เพราะฉะนั้น บุคคลคนเดียวสมาน
ไมตรีกับโลกทั้งมวลสิ้นชีพแล้ว ก็พึงเข้าถึง
สวรรค์ ท่านชาวาสิกรัฐทั้งหลายจงฟังคำ
ของเรานี้เถิด.
[๔๔๗] พระเจ้ากังสมหาราช ครอบครอง
ราชสมบัติเมืองพาราณสี ได้ตรัสพระดำรัส
นี้แล้ว ก็ทรงสละทั้งธนูและลูกศรเสีย ทรง
สมาทานสำรวมศีล.
จบ เสยยชาดกที่ ๒
อรรถกถาเสยยชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
อำมาตย์ของพระเจ้าโกศลคนหนึ่งจึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า เสยฺ-
ยโส เสยฺยโส อโหสิ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 255
ได้ยินว่า อำมาตย์ผู้นั้นมีอุปการะเป็นอันมากแก่พระราชา ได้
เป็นผู้จัดสรรพทั้งปวงให้สำเร็จ. พระราชาทรงพระดำริว่า อำมาตย์
นี้มีอุปการะเป็นอันมากแก่เรา จึงได้ประทานยศใหญ่โตแก่อำมาตย์นั้น
อำมาตย์พวกอื่นอดทนอำมาตย์นั้นไม่ได้ ก็คอยส่อเสียดยุยงพระราชา
ทำลายอำมาตย์นั้น. พระราชาทรงเชื่อคำของอำมาตย์เหล่านั้น มิได้
ทรงพิจารณาโทษ รับสั่งให้จองจำอำมาตย์ผู้มีศีลนั้น ผู้หาโทษมิได้
ด้วยเครื่องจองจำคือโซ่ตรวนแล้วให้ขังไว้ในเรือนจำ. อำมาตย์นั้น
ตัวคนเดียวแท้อยู่ในเรือนจำนั้น อาศัยศีลสมบัติได้เอกัคคตาจิตแน่ว
แน่ในอารมณ์เดียว พิจารณาสังขารทั้งหลายก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล.
ครั้นในกาลต่อมา พระราชาทรงทราบว่า อำมาตย์นั้นไม่มีโทษ
จึงรับสั่งให้ถอดเครื่องพันธนาการคือโซ่ตรวน แล้วได้พระราชทานยศ
อันยิ่งใหญ่กว่ายศครั้งแรก. อำมาตย์คิดว่า จักถวายบังคมพระศาสดา
จึงถือเอาของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นเป็นอันมาก ไปยังพระ-
วิหาร บูชาพระตถาคตถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระศาสดาเมื่อจะทรงกระทำปฏิสันถารกับอำมาตย์นั้น จึงตรัสว่า
เราตถาคตได้ยินว่า ราชทัณฑ์อันหาประโยชน์มิได้ เกิดขึ้นแก่ท่าน
หรือ. อำมาตย์กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ราชทัณฑ์อันหาประโยชน์มิได้ เกิดขึ้นแล้ว แต่ข้าพระองค์ได้กระทำ
ประโยชน์จากสิ่งที่หาประโยชน์มิได้นั้น ข้าพระองค์นั้นนั่งอยู่ใน
เรือนจำแล้วทำโสดาปัตติผลให้เกิดขึ้นแล้ว. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 256
อุบาสก มิใช่ท่านเท่านั้น ที่นำเอาประโยชน์มาจากสิ่งที่มิใช่ประโยชน์
แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ก็นำเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์มาจากสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนเหมือนกัน อันอำมาตย์นั้นทูลอาราธนาแล้ว
จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัคร-
มเหสีของพระเจ้าพรหมทัตนั้น พอเจริญวัยก็เล่าเรียนศิลปะทั้งปวง
ในเมืองตักกศิลา เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้วก็ดำรงอยู่ในราชสมบัติ
มิได้ทรงยังทศพิธราชธรรมให้กำเริบ ครองราชสมบัติโดยธรรม
สม่ำเสมอ บำเพ็ญทาน รักษาศีล ๕ รักษาอุโบสถกรรม
ลำดับนั้น อำมาตย์ผู้หนึ่งของพระองค์ก่อการประทุษร้ายขึ้นภายใน
พระราชวัง. ข้าราชบริพารที่เป็นบาทบริจาริกาเป็นต้น จึงกราบทูล
แก่พระราชาว่า อำมาตย์ผู้โน้นก่อประทุษร้ายในภายในพระราชวัง.
พระราชาทรงสืบสวนแล้วทรงทราบได้ตามสภาพ จึงรับสั่งให้พา
อำมาตย์นั้นมาเฝ้าแล้วตรัสว่า จำเดิมแต่นี้ไป เจ้าอย่าได้มาอุปัฏฐาก
เราเลย แล้วทรงถอดยศเสีย. อำมาตย์นั้นไปอุปัฏฐากพระเจ้าสามันต-
ราชองค์อื่น. เรื่องทั้งปวงได้กล่าวไว้ในมหาสีลวชาดกในหนหลัง
นั่นแหละ แม้ในชาดกนี้ พระราชานั้นทรงทดลองถึง ๓ ครั้ง
จึงเชื่อคำของอำมาตย์นั้น ทรงดำริว่า จักยึดราชสมบัติในเมือง
พาราณสี จึงพร้อมด้วยบริวารอันใหญ่หลวงประชิดราชอาณาเขต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 257
ของพระเจ้าพาราณสี. นายทหารผู้ใหญ่ของพระเจ้าพาราณสี
ประมาณ ๗๐๐ นาย รู้ประพฤติเหตุนั้นแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมุติ-
เทพ ได้ยินว่า พระราชาองค์โน้นคิดว่าจักยึดราชสมบัติในเมือง
พาราณสี จึงตีชนบทเข้ามา พวกข้าพระองค์จักไปในชนบทนั้นนั่น
แหละ แล้วจักจับพระราชาองค์โน้นมา. พระเจ้าพาราณสีตรัสว่า เรา
ไม่มีการกระทำกรรมด้วยราชสมบัติที่ได้ด้วยการเบียดเบียนผู้อื่น พวก
ท่านอย่ากระทำอะไร ๆ เขา. พระราชาโจรเสด็จมาล้อมพระนครไว้.
อำมาตย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระราชาอีกกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ
ขอพระองค์อย่าทรงกระทำอย่างนี้ พวกข้าพระองค์จะจับพระราชาโจร
นั้น. พระราชาตรัสว่า อย่าได้กระทำอะไร ๆ พวกท่านจงเปิดประตู
เมืองทุกประตู พระองค์เองทรงแวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ ประทับนั่ง
บนบัลลังก์ในท้องพระโรง. พระราชาโจรโบยตีพวกมนุษย์ที่ประตู
ทั้ง ๔ เข้าเมืองได้แล้วขึ้นยังปราสาทให้จับพระราชาผู้แวดล้อมด้วย
อำมาตย์ ๑๐๐ คน จองจำด้วยโซ่ตรวนทั้งหลายแล้วให้ขังไว้ใน
เรือนจำ. พระราชาประทับนั่งในเรือนจำนั่นแล ทรงแผ่เมตตาไปยัง
พระราชาโจร ทรงยังฌานมีเมตตาเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น. ด้วย
อานุภาพแห่งเมตตาของพระเจ้าพาราณสีนั้น ความเร่าร้อนจึงเกิดขึ้น
ในกายของพระราชาโจร. พระสรีระกายทั้งสิ้นของพระราชาโจรนั้น
เป็นประหนึ่งถูกคบเพลิงในยมโลกลวกลน. พระราชาโจรนั้นถูก
มหันตทุกข์ครอบงำจึงตรัสถามว่า มีเหตุอะไรหนอ. อำมาตย์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 258
กราบทูลว่า พระองค์ให้จำขังพระราชาผู้มีศีลไว้ในเรือนจำ ด้วย
เหตุนั้น ทุกข์อันนี้จักเกิดขึ้นแก่พระองค์. ราชาโจรนั้นจึงเสด็จไป
ขอขมาพระโพธิสัตว์ ตรัสว่า ราชสมบัติของพระองค์. จะเป็นของ
พระองค์เถิด แล้วทรงมอบราชสมบัติแก่พระเจ้าพาราณสีนั้นแล แล้ว
ทูลว่า ตั้งแต่นี้ไปข้าศึกของพระองค์จงเป็นภาระของหม่อมฉัน ให้ลง
อาญาแก่อำมาตย์ผู้ประทุษร้ายแล้วเสด็จไปยังพระนครของพระองค์เอง
พระโพธิสัตว์ประทับนั่งบนบัลลังก์ซึ่งยกเศวตรฉัตรขึ้นแล้วในท้อง
พระโรงอันอลงกต เมื่อจะทรงปราศัยกับหมู่อำมาตย์ที่นั่งห้อมล้อมอยู่
จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถาแรกว่า :-
ผู้ใดคบหากับบุคคลผู้ประเสริฐ ผู้นั้น
ชื่อว่าเป็นส่วนอันประเสริฐด้วย เราสมาน-
ไมตรีกับพระยาโจรคนเดียว ก็ปลดเปลื้อง
ท่านทั้งหลายผู้ต้องโทษได้ตั้งร้อยคน.
เพราะฉะนั้น บุคคลคนเดียวสมาน
ไมตรีกับโลกทั้งมวล สิ้นชีพแล้วก็พึงเข้าถึง
สวรรค์ ท่านชาวกาสิกรัฐทั้งหลายจงฟังคำ
ของเราเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยโส เสยฺยโส โหติ โย
เสยฺยมุปเสวติ ความว่า บุคคลชื่อว่าผู้มีส่วนอันประเสริฐ เพราะ
มีส่วน คือโกฏฐาสอันประเสริฐกล่าวคือธรรมสูงสุดอันหาโทษมิได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 259
ได้แก่ บุคคลผู้อาศัยกุศลธรรม. บุคคลใดเข้าเสพกุศลธรรมภาวนา
อันประเสริฐนั้น หรือบุคคลผู้สูงสุดผู้ยินดียิ่งในกุศลธรรมอันประเสริฐ
นั้นบ่อย ๆ บุคคลนั้นเป็นผู้มีส่วนอันประเสริฐ คือเป็นผู้น่าสรรเสริญ
กว่าและเป็นผู้ยิ่งกว่า. ก็ด้วยบทว่า เอเกน สนฺธึ กตฺวาน สต
วชฺเฌ อโมจยึ แม้นี้ พึงทราบดังนี้ว่า ก็เมื่อเราซ่องเสพเมตตา
ภาวนาอันประเสริฐ ได้กระทำการติดต่อคือสืบต่อเมตตาภาวนากับ
พระยาโจรคนเดียว ด้วยเมตตาภาวนานั้น ได้ปลดเปลื้องท่านทั้งหลาย
ผู้จะถูกฆ่าได้ตั้งร้อยคน. ในคาถาที่ ๒ มีเนื้อความต่อไปนี้. เพราะ
เหตุที่เรากระทำการติดต่อด้วยเมตตาภาวนา โดยความเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกันกับพระยาโจรคนเดียว จึงปลดเปลื้องท่านทั้งหลายผู้จะ
ถูกฆ่าได้ตั้งร้อยคน เพราะฉะนั้น พึงทราบข้อนั้นว่าเพราะบุคคล
ผู้เดียวกระทำการติดต่อกับโลกทั้งปวง ด้วยเมตตาภาวนา ละไปแล้ว
จะเข้าถึงสวรรค์ในโลกหน้า. เพราะเมตตาภาวนาอันเป็นอุปจารฌาน
ให้ปฏิสนธิในกามาวจรภพ เมตตาภาวนาอันเป็นอัปปนาฌาน ย่อม
ให้ปฏิสนธิในพรหมโลก ท่านแม้ทั้งปวงผู้เป็นชาวกาสิกรัฐ จงฟังคำ
ของเรานี้ไว้.
พระมหาสัตว์พรรณนาคุณของภาวนา อันประกอบด้วย
เมตตา แก่มหาชนอย่างนี้แล้วทรงสละเศวตรฉัตรในพระนครพาราณสี
อันกว้างใหญ่ถึง ๑๒ โยชน์ แล้วเสด็จเข้าป่าหิมพานต์บวชเป็นฤๅษี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 260
พระศาสดาทรงเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว ทรงตรัสพระคาถาที่ ๓ ว่า :-
พระเจ้ากังสมหาราช ครอบครอง
ราชสมบัติเมืองพาราณสี ได้ตรัสพระดำรัส
นี้แล้ว ก็ทรงสละทิ้งธนูและลูกศรเสีย เข้า
ถึงความสำรวม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาราช แปลว่า พระราชา
ผู้ใหญ่. คำว่า กงฺโส เป็นพระนามของพระราชาผู้ใหญ่นั้น. บทว่า
พาราณสิคฺคโห ได้แก่ ผู้ยืดครองพระนครพาราณสี เพราะยึด
พระนครพาราณสีครอบครองอยู่. พระราชานั้น ตรัสพระดำรัสนี้
แล้ว ทรงวางคือละทิ้งธนู และลูกธนูกล่าวคือลูกศร. เข้าถึงความ
สำรวมในศีล คือบวช ก็แหละครั้นบวชแล้วก็ยังฌานให้เกิดขึ้น
เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมจึงได้เกิดขึ้นในพรหมโลก.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า พระราชาผู้เป็นโจรในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้
ส่วนพระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล
จบ อรรถกถาเสยยชวดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 261
๓. วัฑฒกีสูกรชาดก
หมูสู้เสือได้ด้วยสามัคคีกัน
[๔๔๘] ดูก่อนเสือโคร่ง วันก่อน ๆ ท่านเคย
ย่ำยีหมูทั้งหลายในประเทศนี้ แล้วนำเอาหมู
ตัวอ้วน ๆ มา บัดนี้ท่านเกิดซบเซามาแต่
ผู้เดียว ดูก่อนเสือโคร่ง ก็วันนี้กำลังกาย
ของท่านไม่มีหรือ.
[๔๔๙] ได้ยินว่า วันก่อน ๆ หมูเหล่านี้เห็น
ข้าพเจ้าเข้าแล้วก็กลัว ต่างก็บ่ายหน้าหนีไป
หาที่ซ่อนเร้นคนละทิศละทาง บัดนี้ หมู
เหล่านั้นมาประชุมรวมกันเป็นหมวดเป็นหมู่
อยู่ในที่ชัยภูมิดี ยากที่ข้าพเจ้าจะย่ำยีได้.
[๔๕๐] ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแก่หมู่หมูที่มา
ประชุมกัน ข้าพเจ้าได้เห็นมิตรภาพอันน่า
อัศจรรย์ควรสรรเสริญแล้ว จึงขอกล่าว
สรรเสริญไว้ หมูทั้งหลายผู้มีเขี้ยวเป็นกำลัง
ได้ชนะเสือโคร่งด้วยความสามัคคีอันใด ก็
พากันพ้นมรภัยด้วยความสามัคคีอันนั้น.
จบ วัฑฒกีสูกรชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 262
อรรถกถาวัฑฒกีสูกรชาดกที่ ๓
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระธนุคคหติสสเถระ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า วร วร ตฺว
ดังนี้.
ได้ยินว่า พระเจ้ามหาโกศลผู้เป็นพระชนกของเจ้าปัสเสน-
ทิโกศล ได้พระราชทานนางโกศลเทวีราชธิดา แก่พระเจ้าพิมพิสาร
ได้พระราชทานบ้านกาสิกคามอันเป็นบ้านที่มีรายได้เกิดขึ้นหนึ่งแสน
ให้เป็นมูลค่าแห่งจุรณสำหรับสรงสนานแก่พระราชธิดานั้น. แต่เมื่อ
พระเจ้าอชาตศัตรูปลงพระชนม์พระบิดา ฝ่ายพระนางโกศลเทวีถูก
ความโศกครอบงำก็ทิวงคต. ลำดับนั้น พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรง
พระดำริว่า พระเจ้าอชาตศัตรูปลงพระชนม์พระบิดา ฝ่ายพระภคินี
ของเรา เมื่อพระสวามีสวรรคตแล้วก็ทิวงคต เพราะความโศก เรา
จักไม่ให้กาสิกคามแก่โจรผู้ฆ่าพ่อ. ทรงดำริฉะนั้นแล้ว ก็ไม่ยอม
ยกบ้านกาสิกคามนั้นให้พระเจ้าอชาตศัตรู. เพราะอาศัยบ้านนั้นเอง
พระราชาแม้ทั้งสองพระองค์นั้น จึงมีการรบกันตลอดเวลา. พระเจ้า
อชาตศัตรูทรงเป็นหนุ่มเข้มแข็งสามารถ ส่วนพระเจ้าปัสเสนทิโกศล
ทรงชราภาพแล้ว พระองค์จึงรบแพ้อยู่เนือง ๆ. ผู้คนแม้ของพระเจ้า
มหาโกศลก็พ่ายแพ้อยู่โดยมาก. ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามพวก
อำมาตย์ว่า พวกเราแพ้พระเจ้าอชาตศัตรูนั้นเนือง ๆ ควรจะทำ
อย่างไรดีอำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดาพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 263
ผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความคิดอ่าน ควรจะพึงถ้อยคำ
ของภิกษุทั้งหลายในพระเชตวันมหาวิหาร. พระราชาทรงสั่งบังคับจาร-
บุรุษทั้งหลายว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังถ้อยคำสนทนาของ
ภิกษุทั้งหลายในเวลานั้น. จารบุรุษเหล่านั้น ได้กระทำอย่างนั้น
จำเดิมแต่นั้นมา. ก็ในกาลนั้นพระเถระผู้เฒ่า ๒ รูป คือพระทันตเถระ
และพระธนุคคหติสสเถระ อยู่ในบรรณศาลาท้ายวิหาร. บรรดา
พระเถระ ๒ รูปนั้น พระธนุคคหติสสเถระ หลับทั้งในปฐมยาม
และมัชฌิมยาม แล้วตื่นขึ้นในตอนปัจฉิมยาม นั่งเคาะดุ้นฟืนก่อไฟ
ให้สว่างแล้วกล่าวว่า ท่านทันตเถระผู้เจริญ ท่านนอนอยู่หรือว่านั่งอยู่.
พระทันตเถระกล่าวว่า ผมไม่นอนแล้วจักทำอะไร. พระธนุคคหติสส-
เถระกล่าวว่า ลุกขึ้นนั่งก่อนเถอะขอรับ. พระธนุคคหติสสเถระนั้น
ลุกขึ้นนั่งแล้วกล่าวว่า ท่านทันตเถระผู้เจริญ พระเจ้าโกศลท้องพลุ้ย
องค์นี้เขลา กระทำพระกระยาหารที่เสวยในถาดให้เสียไปเปล่า แต่
ไม่ทรงทราบการจัดกระบวนรบอะไรๆ พระองค์ผู้เป็นจอมนรชนจึง
ทรงแพ้แล้วแพ้เล่า. พระทันตเถระถามว่าก็อย่างนั้น ควรจะทำอย่างไร ?
ขณะนั้น จารบุรุษเหล่านั้น ได้ยินฟังถ้อยคำของพระเถระทั้งสองนั้น.
พระธนุคคหติสสเถระวิจารณ์การรบว่า ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าในการรบ
มีกระบวนจัดทัพอยู่ ๓ กระบวน คือ ปทุมพยูหะ กระบวนทัพ
รูปดอกปทุม ๑ จักกพยูหะ กระบวนทัพรูปล้อรถ ๑ สกฏพยูหะ
กระบวนทัพรูปเกวียน ๑ ถ้าพระเจ้าปัสเสนทิโกศลมีพระประสงค์จะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 264
จับพระเจ้าอชาตศัตรู ควรซุ่มคนไว้ที่เหลี่ยมเขาทั้งสองด้านไว้ในท้อง
ภูเขาชื่อโน้น แสดงกำลังพลข้างหน้าให้รู้ว่าอ่อนแอ อย่าให้พระเจ้า-
อชาตศัตรูทราบว่าเข้าไปในระหว่างภูเขา แล้วสกัดกั้นทางเข้าไปเสีย
แล้วให้คนที่ซุ่มอยู่ที่เหลี่ยมเขาทั้งสองข้างโห่ร้องตีโอบเข้ามาทั้งข้าง
หน้าและข้างหลัง ก็อาจสามารถจับพระเจ้าอชาตศัตรูได้ เหมือน
จับปลาที่เข้าไปในข่าย และเหมือนจับลูกนกกระจาบไว้ในกำมือ
ฉะนั้น. พวกจารบุรุษจึงกราบทูลข่าวนั้นแก่พระราชา. พระราชาได้
ทรงสดับดังนั้น จึงรับสั่งให้ลั่นกลองสงครามเภรี แล้วเสด็จไปตั้ง
กระบวนรบสกฏพยูหะ จับพระเจ้าอชาตศัตรูได้ทั้งเป็น ได้ประทาน
ราชธิดาของพระองค์พระนามว่าวชิรกุมารีแก่พระภาคิไนย และได้
ประทานบ้านกาสิกคามให้เป็นค่าสำหรับสรงสนานแก่พระราชธิดานั้น
แล้วทรงส่งไป. ประพฤติเหตุนั้นได้ปรากฏในหมู่ภิกษุสงฆ์. ครั้น
วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่าพระเจ้าโกศลทรงชนะพระเจ้าอชาตศัตรู
เพราะการวิจารณ์ของพระธนุคคหติสสเถระ. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว
ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่อง
อะไรหนอ ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลได้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น มิในกาลก่อนพระธนุคคห-
ติสสะ ก็เป็นผู้ฉลาดในการจัดการรบมาแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำ
เอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 265
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในป่า.
ในกาลนั้น ช่างไม้คนหนึ่งจากหมู่บ้านช่างไม้ซึ่งตั้งอาศัยเมืองพาราณสี
อยู่ ไปป่าเพื่อต้องการไม้ เห็นลูกสุกรตกหลุมอยู่ จึงพาเอาไปเรือน
เลี้ยงไว้. ลูกสุกรนั้นถึงความเติบโต มีร่างกายใหญ่ มีเขี้ยวโง้ง
เป็นสัตว์เพียบพร้อมด้วยมารยาท. ก็เพราะนายช่างไม้นำมาเลี้ยงไว้
จึงปรากฏชื่อว่าวัฑฒกีสุกร. วัฑฒกีสุกรนั้น ในเวลาช่างไม้ถากไม้
ก็เอาจะงอยปากพลิกไม้ให้ เอาปากคาบนำมีด ขวาน สีว และฆ้อน
มาให้ ช่วยยุดปลายเส้นบรรทัดให้. ลำดับนั้น ช่างไม้นั้น จึงนำ
วัฑฒกีสุกรนั้นไปปล่อยป่า เพราะกลัวว่า ใคร ๆ นั่นแหละจะฆ่ามัน
กินเสีย. ฝ่ายวัฑฒกีสุกรนั้นก็เข้าป่าตรวจดูสถานที่อันผาสุกสำราญ
ปลอดภัย ได้เห็นซอกเขาใหญ่ในระหว่างภูเขาแห่งหนึ่ง บริบูรณ์ด้วย
เหง้ามันและรากไม้เป็นสถานที่อยู่น่าผาสุกคราคร่ำด้วยสุกรหลายร้อย.
สุกรเหล่านั้นเห็นวัฑฒกีสุกรนั้นแล้ว จึงมายังสำนักของวัฑฒกีสุกร
นั้น. ฝ่ายวัฑฒกีสุกรนั้นก็กล่าวกะสุกรเหล่านั้นว่า เราเที่ยวมองหา
พวกท่านอยู่ทีเดียว เออก็บัดนี้เราได้พบพวกท่านแล้ว อนึ่ง สถานที่
นี้ก็เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ และบัดนี้ เราก็จักอยู่ในที่นี้แล. สุกร
ทั้งหลายกล่าวว่า จริง สถานที่นี้น่ารื่นรมย์ แต่ในที่นี้มีอันตราย
วัฑฒกีสุกรกล่าวว่า แม้เราได้เห็นท่านทั้งหลายแล้วก็ได้รู้ถึงข้อนั้น
เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในที่อันสมบูรณ์ด้วยโคจรอย่างนี้ เนื้อและเลือด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 266
ในร่างกายของท่านก็ไม่มี พวกท่านมีภัยอะไรในที่นี้. สุกรทั้งหลาย
กล่าวว่า มีเสือโคร่งตัวหนึ่งมาแต่เช้าตรู่ ตะครุบเอาสุกรตัวใดตัวหนึ่ง
ที่มันพบเห็นเอาไป. วัฑฒกีสุกรถามว่า ก็เสือโคร่งนั้นมันตะครุบเอา
ไปทุกวันเป็นประจำ หรือเว้นวันบ้าง ? สุกรทั้งหลายกล่าวว่า มัน
ตะครุบอาเป็นประจำทุกวัน. วัฑฒกีสุกรถามว่า เสือโคร่งนั้นมีเท่าไร.
สุกรทั้งหลายกล่าวว่า ตัวเดียว. วัฑฒกีสุกรกล่าวว่า พวกท่านมี
ประมาณเท่านี้ ไม่สามารถเอาชนะเสือโคร่งตัวเดียวได้หรือ ?. สุกร
ทั้งหลายกล่าวว่า ไม่สามารถ. วัฑฒกีสุกรกล่าวว่า เราจักจับมัน
ขอให้พวกท่านกระทำตามคำของเราอย่างเดียว เสือโคร่งตัวนั้นมันอยู่
ที่ไหน ? สุกรทั้งหลายกล่าวว่า มันอยู่ที่ภูเขาลูกหนึ่ง. วัฑฒกีสุกรนั้น
ในคืนนั้นเองให้จัดสุกรทั้งหลาย เมื่อจะจัดแจงเฉพาะการสู้รบ จึง
กล่าวว่า ชื่อว่าการสู้รบมี ๓ กระบวน คือ กระบวนปทุมพยูหะ ๑
กระบวนจักกพยูหะ ๑ กระบวนสกกฏพยูหะ ๑ แล้วจัดโดยกระบวน
ปทุมพยูหะ. ก็วัฑฒกีสุกรนั้นรู้จักที่อันเป็นชัยภูมิ เพราะฉะนั้น
จึงคิดว่า ควรจัดการสู้รบในที่นี้ จึงวางสุกรชั้นพ่อแม่ที่มีลูกอ่อนไว้
ในที่ท่ามกลางของสุกรเหล่านั้น วางนางสุกรปูนกลางล้อมสุกรชั้นพ่อ
แม่ที่มีลูกอ่อนเหล่านั้น วางสุกรหนุ่มล้อมนางสุกรวัยปูนกลางเหล่านั้น
วางสุกรแก่ล้อมสุกรหนุ่มเหล่านั้น วางสุกรที่มีเขี้ยวยาวล้อมสุกรแก่
เหล่านั้น แล้ววางสุกรที่มีพลกำลังสามารถในการสู้รบ จัดทำให้
หมวดหมู่ในที่นั้นๆ หมู่ละ ๑๐ และ ๒๐ ตัว ล้อมพวกสุกรที่มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 267
เขี้ยวยาวเหล่านั้น. ให้ขุดหลุมกลมไว้หลุมหนึ่ง ข้างหน้าที่ที่ตนยืน
และให้ขุดหลุมหนึ่งไว้ข้างหลังที่ที่ตนยืน ให้มีสัณฐานเหมือนกระด้ง
ฝัดข้าว ลาดลึกไปโดยลำดับคล้ายเงื้อมเขา. เมื่อวัฑฒกีสุกรนั้น
พาสุกรนักรบประมาณ ๖๐-๗๐ ตัว เที่ยวจัดแจงการงานในที่นั้น ๆ
พร้อมกับพูดว่าพวกท่านอย่ากลัวเลย ดังนี้ จนอรุณขึ้น ฝ่าย
เสือโคร่งลุกขึ้นแล้วรู้ว่าได้เวลา ก็ไปยืนที่พื้นภูเขาชื่อตั้งอยู่ตรงหน้า
สุกรเหล่านั้น จ้องตาแลดูสุกรทั้งหลาย. วัฑฒกีสุกรได้อาณัติสัญญาณ
แก่สุกรเหล่านั้นว่า พวกท่านจงจ้องตาตอบมัน สุกรเหล่านั้นก็จ้อง
ตาตอบ. เสือโคร่งอ้าปากหายใจ ฝ่ายสุกรทั้งหลายก็ได้กระทำเหมือน
อย่างนั้น เสือโคร่งถ่ายปัสสาวะ แม้พวกสุกรก็ถ่ายปัสสาวะบ้าง.
ดังนั้น เสือโคร่งนั้นกระทำกิริยาอาการอย่างใด สุกรทั้งหลายก็ทำ
กิริยาอาการอย่างนั้น. เสือโคร่งนั้นคิดว่า เมื่อก่อนในเวลาที่เรามองดู
สุกรทั้งหลายพากันหนีไป วันนี้มันไม่หนีกลับเป็นศัตรูตอบเรา
กระทำล้อเลียนกิริยาอาการที่เรากระทำ ในพื้นที่อันเป็นประธานนั้น
มีสุกรตัวหนึ่งยืนสั่งการสุกรเหล่านั้นอยู่ วันนี้ความปราชัยจะปรากฏ
แก่เราผู้มาแล้ว. เสือโคร่งคิดดังนี้แล้วจึงได้กลับไปยังที่อยู่ของตน
ที่เดียว. อนึ่ง มีชฎิลโกงคนหนึ่งผู้คอยกินเนื้อที่เสือโคร่งนั้นคาบเอา
มาแล้ว ๆ ชฎิลโกงนั้น เสือโคร่งกลับมามือเปล่า เมื่อจะปราศรัย
กับเสือโคร่งนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ดูก่อนเสือโคร่ง วันก่อน ๆ ท่านเคย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 268
ย่ำยีหมูทั้งหลายในประเทศนี้ แล้วนำเอาหมู
ตัวอ้วนๆ มา บัดนี้ ท่านเดินซบเซามาแต่
ผู้เดียว ดูก่อนเสือโคร่ง ก็วันนี้ กำลังกาย
ของท่านไม่มีหรือ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วร วร ตฺว นิหน ปุเร จริ
อสฺมึ ปเทเส อภิภุยฺย สูกเร ความว่า ดูก่อนเสือโคร่งผู้เจริญ
เมื่อก่อน ท่านครอบงำสุกรทั้งปวงในประเทศนี้ บรรดาสุกรเหล่านี้
ท่านเที่ยวฆ่าสุกรตัวล่ำ ๆ คือตัวอ้วน ๆ ได้แก่ ตัวที่อุดมสมบูรณ์.
บทว่า โสทานิ เอโก พฺยคฺฆ ปคมฺม ฌายสิ ความว่า บัดนี้
ท่านไม่จับสุกรตัวอื่น ตัวเดียวเท่านั้น เดินซบเซาซึมมา. บทว่า
พลนฺนุ เจ พฺยคฺฆ น จชฺช วิชฺชติ ความว่า ดูก่อนเสือโคร่ง
ผู้เจริญ วันนี้ กำลังกายของท่านไม่มีหรือหนอ.
เสือโคร่งได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ได้ยินว่า วันก่อน ๆ หมูเหล่านี้เห็น
ข้าพเจ้าแล้วก็กลัว ต่างบ่ายหน้าหนีไปหาที่
ซ่อนเร้นคนละทิศละทาง บัดนี้ หมูเหล่านั้น
มาประชุมกันเป็นหมวดเป็นหมู่ อยู่ในที่
ชัยภูมิดี ยากที่จะย่ำยีได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสุตา เป็นนิบาต. ก็เนื้อ
ความย่อมีดังต่อไปนี้ :- เมื่อก่อนสุกรเหล่านี้เห็นข้าพเจ้าแล้วถูกความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 269
กลัวกดขี่เบียดเบียน แสวงหาที่ต้านทานที่ซ่อนเร้นของตน ๆ เป็นคน
ละพวกคือต่างแยกกันไปคนละทิศละทาง คือบ่ายหน้าหนีไปยังทิศนั้น ๆ
บัดนี้ สุกรเหล่านั้นแม้ทั้งหมดมาประชุมอยู่รวมกันบันลืออยู่ และ
อยู่ในชัยภูมิอันยากที่ข้าพเจ้าจะย่ำยีได้ คือว่า วันนี้สุกรเหล่านี้ตั้งอยู่
ในชัยภูมิที่ข้าพเจ้าข่มขี่ย่ำยีได้ยาก.
ลำดับนั้น ชฎิลโกงเมื่อจะยังความอุตสาหะให้เกิดแก่เสือโคร่งนั้น
จึงกล่าวว่า อย่ากลัว ไปเถอะ เมื่อท่านบันลือวิ่งเข้าไป สุกรทั้งหมด
กลัว จักพากันแตกหนีไป. เมื่อชฎิลโกงนั้นทำให้เกิดความอุตสาหะ
เสือโคร่งก็มีใจกล้าหาญกลับไปยืนที่พื้นภูเขาอีก. วัฑฒกีสุกรคงยืนอยู่
ระหว่างหลุมทั้งสอง. ฝ่ายสุกรทั้งหลายก็กล่าวว่า นาย มหาโจรมาอีก
แล้ว. วัฑฒกีสุกรกล่าวว่า อย่ากลัว อย่ากลัว เราจักจับมันเดี๋ยวนี้.
เสือโคร่งบันลือแล้วกระโจนขึ้นเบื้องบนวัฑฒกีสุกร. ในเวลาที่เสือ
โคร่งนั้นตกลงมาเหนือตน วัฑฒกีสุกรก็กลิ้งตัวหลูบขึ้นไปในหลุมที่
ขุดไว้ตรง ๆ โดยส่วนเบื้องหลังของเสือโคร่ง เสือโคร่งไม่อาจ
ยั้งความเร็วไว้ได้ก็เลยไปทางส่วนเบื้องบน ตกลงไปในปากหลุมอัน
คับแคบที่ขุดขวางไว้อันมีปากคล้ายกระด้ง ได้เป็นเหมือนกระทำให้
กองฉะนั้น. วัฑฒกีสุกรขึ้นจากหลุมรีบไปโดยเร็วดุจสายฟ้า เอาเขี้ยว
ขวิดเสือโคร่งเข้าในระหว่างขาอ่อน ฉีกผ่าไปจนถึงม้าม เอาเขี้ยวพัน
เนื้ออร่อย ๕ อย่าง ออกมาวงรอบหัวเสือโคร่งแล้วยกขึ้นทิ้งออกไป
นอกหลุมโดยกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงจับปัจจามิตรของพวกท่าน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 270
พวกสุกรที่มาก่อนก็ได้กินเนื้อเสือโคร่ง พวกที่มาภายหลังกล่าวว่า
ชื่อว่าเนื้อเสือโคร่งเป็นเช่นไร ? จึงเที่ยวดมปากของสุกรเหล่านั้น.
สุกรเหล่านั้นต่างก็ยังไม่พากันดีใจ. วัฑฒกีสุกรเห็นอาการของสุกร
เหล่านั้นจึงกล่าวว่า เพราะเหตุไรหนอ. พวกท่านจึงไม่ยินดี. สุกร
ทั้งหลายกล่าวว่า นาย ประโยชน์อะไรด้วยเสือโคร่งตัวเดียวที่ถูกฆ่า
ชฎิลโกงผู้สามารถจะนำเอาเสือโคร่งตัวอื่น ๆ ตั้ง ๑๐ มาได้ ยังมีอยู่.
วัฑฒกีสุกรถามว่า ชฎิลโกงนั้นคือใคร ? พวกสุกรกล่าวว่า ดาบส
ทุศีลคนหนึ่ง. วัฑฒกีสุกรกล่าวว่า แม้เสือโคร่งเราก็ยังฆ่าได้ ดาบส
ทุศีลนั้นจะพออะไรเรา มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจักจับดาบสทุศีล
นั้น ว่าแล้วก็ไปพร้อมหมู่สุกร. ฝ่ายดาบสโกง เมื่อเสือโคร่งชักช้าอยู่
ก็คิดว่า พวกสุกรจับเสือโคร่งไปกระมังหนอ จึงเดินสวนทางไป
ได้เห็นสุกรทั้งหลายกำลังเดินมา จึงถือเอาบริขารของตนหนีไป ถูก
สุกรเหล่านั้นติดตาม จึงทิ้งบริขารทั้งหลายแล้วรีบขึ้นต้นมะเดื่อไป
โดยเร็ว. สุกรทั้งหลายกล่าวว่า นาย บัดนี้ดาบสร้ายหนีขึ้นต้นไม้
ไปแล้ว. วัฑฒกีสุกรถามว่า ต้นไม้ชื่ออะไร ? สุกรทั้งหลายบอกว่า
ต้นมะเดื่อ. วัฑฒกีสุกรนั้นจัดแจงว่า นางสุกรจงไปนำน้ำมา ลูกสุกร
จงขุด สุกรที่มีเขี้ยวยาวจงกัดราก ฝ่ายสุกรที่เหลือจงล้อมรักษาไว้
เมื่อสุกรเหล่านั้นกระทำอยู่อย่างนั้น ตนเองก็งัดรากแก้วของต้นมะเดื่อ
ให้ต้นมะเดื่อล้มลงทันที เหมือนคนเอาขวานฟันฉะนั้น. พวกสุกร
ที่ยืนล้อมอยู่ ก็ทำให้ชฎิลโกงล้มลงบนภาคพื้นแล้วทำให้เป็นท่อนน้อย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 271
ท่อนใหญ่แล้วกัดกินจนถึงกระดูก เชิญให้วัฑฒกีสุกรนั่งบนลำต้น
มะเดื่อนั่นแหละ แล้วให้เอาสังข์เครื่องใช้สอยของชฎิลโกงไปตักน้ำ
มาอภิเษกแต่งตั้งให้เป็นราชา และแต่งตั้งนางสุกรรุ่นสาวตัวหนึ่ง
แต่งตั้งให้เป็นอัครมเหสีของวัฑฒกีสุกรนั้น. ได้ยินว่า จำเดิมแต่นั้นมา
อำมาตย์ราชเสวกทั้งหลาย เชิญเสด็จพระราชาให้นั่ง ณ อุทุมพร-
ภัตรบิฐ แล้วอภิเษกด้วยสังข์ ๓ ชนิด สืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในไพรสณฑ์นั้น เห็นความอัศจรรย์อันนั้น จึง
เยี่ยมหน้าเฉพาะต่อสุกรทั้งหลาย ณ ค่าคบไม้แห่งหนึ่ง กล่าวคาถา
ที่ ๓ ว่า :-
ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แก่หมู่สุกรที่มา
ประชุมกัน ข้าพเจ้าได้เห็นมิตรภาพอันน่า
อัศจรรย์ควรสรรเสริญ จึงขอกล่าวสรรเสริญ
ไว้ หมูทั้งหลายผู้มีเขี้ยวเป็นกำลัง ได้ชนะ
เสือโคร่งด้วยสามัคคีอันใด ก็พากันพ้นมรณ-
ภัย ด้วยสามัคคีอันนั้น ในเพราะกำลังแห่ง
เขี้ยวทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นมตฺถุ สงฺฆาน ความว่า
การกระทำความนอบน้อมของเรานี้ จงมีแก่หมู่สุกรผู้มาประชุมกัน.
บทว่า ทิสฺวา สย สขฺย วทามิ อพฺภุต ความว่า ข้าพเจ้า
ได้เห็นความเป็นสหาย คือมิตรภาพอันไม่เคยมีในกาลก่อน ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 272
ไม่เคยมีนี้จึงกล่าว. บทว่า พฺยคฺฆ มิคา ยตฺถ ชินึสุ ทาิโน
ความว่า ชื่อก็สุกรมฤคทั้งหลายผู้มีเขี้ยว ชนะเสือโคร่งด้วยความ
สามัคคีใด. อีกอย่างหนึ่งบาลีก็อันนี้แหละ. บทว่า สามคฺคิยา
ทาพเลสุ มุจฺจเร ความว่า ก็ความสามัคคี คือความเป็นผู้มีอัธยาศัย
เป็นอันเดียวกันในหมู่สุกรผู้มีเขี้ยวเป็นกำลังนี้ใด ด้วยความสามัคคี
ในหมู่สุกรอันนั้น สุกรผู้มีเขี้ยวเป็นกำลังเหล่านั้น จับปัจจามิตรได้
จึงพ้นจากมรณภัยในวันนี้.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พระธนุคคหติสสะ ได้เป็นวัฑฒกีสุกรในครั้งนั้น
ส่วนรุกขเทวดาในครั้งนั้นได้เป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาวัฑฒกีสุกรชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 273
๔. สิริชาดก
โภคะเกิดแก่ผู้มีบุญ
[๔๕๑] ผู้ไม่มีบุญ จะเป็นผู้มีศิลป์หรือไม่ก็ตาม
ย่อมขวนขวายรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมาก
ผู้มีบุญย่อมใช้สอยทรัพย์เหล่านั้น
[๔๕๒] โภคะเป็นอันมากย่อมล่วงเลยสัตว์
เหล่าอื่นไปเสีย เกิดขึ้นในที่ทั้งปวงเทียว
สำหรับผู้มีบุญอันกระทำไว้ ใช่แต่เท่านั้น
รัตนะทั้งหลายก็บังเกิดขึ้นแม้ในที่มิใช่บ่อ-
เกิด.
[๔๕๓] ไก่ แก้วมณี ไม้เท้า และหญิงชื่อว่า
บุญญลักษณาเทวี ย่อมเกิดขึ้นแก่อนาถบิณ-
ฑิกเศรษฐีผู้ไม่มีบาป มีบุญอันกระทำไว้แล้ว.
จบ สิริชาดกที่ ๔
อรรถกถาสิริชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
พราหมณ์โจรผู้ลักสิริคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ย อุสฺ-
สุกฺกา สงฺฆรนฺติ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 274
ในชาดกนี้ เรื่องปัจจุบันมีพิสดารแล้วในขทิรังคารชาดกใน
หนหลังนั่นแล. แต่ในที่นี้ เทวดาผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งสิงอยู่ที่ซุ้มประตู
ที่สี่ ในเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น เมื่อจะทำทัณฑกรรม
แก่ตนเอง จึงนำเอาเงิน ๕๔ โกฏิมาใส่เต็มฉาง ได้เป็นสหายกับ
ท่านเศรษฐี. ลำดับนั้น ท่านเศรษฐีได้นำเทวดานั้นไปยังสำนักของ
พระศาสดา. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เทวดานั้น เทวดานั้น
ครั้นได้ฟังธรรมแล้วได้เป็นพระโสดาบัน. ตั้งแต่นั้นมายศของท่าน
เศรษฐีก็ได้เป็นเหมือนอย่างเดิม. ครั้งนั้น มีพราหมณ์ผู้รู้ลักษณะสิริ
ชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่งคิดว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นคนเข็ญใจแล้ว
กลับเป็นใหญ่ขึ้นอีก อย่ากระนั้นเลย เราทำทีเหมือนต้องการจะไป
เยี่ยมท่านเศรษฐีนั้น ไปลักเอาสิริจากเรือนของท่านเศรษฐีนั้นมาเสีย.
พราหมณ์นั้นไปยังเรือนของท่านเศรษฐี อันท่านเศรษฐีนั้นกระทำ
สักการะและสัมมานะแล้ว เมื่อกำลังกล่าวถ้อยคำเครื่องให้ระลึกถึงกัน
และกันอยู่ ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ท่านมาหาข้าพเจ้า เพื่อต้องการอะไร ?
ก็ตรวจดูว่า สิริประดิษฐานอยู่ที่ไหนหนอ. ก็ท่านเศรษฐีมีไก่ขาว
ปลอดมีส่วนเปรียบดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ใส่ไว้ในกรงทองตั้งอยู่. สิริ
ประดิษฐานอยู่ที่หงอนของไก่นั้น. พราหมณ์ตรวจดูอยู่รู้ว่าสิริประดิษ-
ฐานอยู่ที่ไก่นั้น จึงกล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐีข้าพเจ้าสอนมนต์พวก
มาณพ ๕๐๐ คน เพราะอาศัยไก่ตัวหนึ่งขันไม่เป็นเวลา พวกมาณพ
และข้าพเจ้าจึงย่อมลาบาก ได้ยินว่า ก็ไก่ตัวนี้ขันตรงเวลา ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 275
มาเพื่อต้องการไก่ตัวนี้ ท่านโปรดให้ไก่ตัวนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด ท่าน
เศรษฐีกล่าวว่า จับเอาไปเถอะพราหมณ์ข้าพเจ้าให้ไก่ตัวนี้ก็ท่าน.
ก็ในขณะที่ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ให้ เท่านั้น สิริก็เคลื่อนจากหงอน
ของไก่นั้นไปประดิษฐานอยู่ที่ดวงแก้วมณี ซึ่งวางอยู่เหนือหัวนอน.
พราหมณ์รู้ว่าสิริไปประดิษฐานอยู่ที่แก้วมณึจึงขอแก้วมณีแม้ดวงนั้น.
ในขณะที่ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ข้าพเจ้าให้แก้วมณี เท่านั้น สิริก็
เคลื่อนจากแก้วมณีไปประดิษฐานอยู่ที่ไม้เจว็ดซึ่งวางอยู่เหนือหัวนอน.
พราหมณ์รู้ว่าสิริไปประดิษฐานอยู่ที่ไม้เจว็ดนั้น จึงขอไม้เจว็ดแม้นั้น.
ในขณะที่ท่านเศรษฐีกล่าวว่า จงถือเอาไปเถอะ เท่านั้น สิริก็เคลื่อน
จากไม้เจว็ดไปประดิษฐานอยู่ที่ศีรษะของภรรยาเอกของท่านเศรษฐี
ชื่อว่าบุญญลักษณาเทวี. พราหมณ์ผู้เป็นโจรลักสิริรู้ว่าสิริไปประดิษฐาน
อยู่ที่ภรรยาเอกของท่านเศรษฐี จึงคิดว่า เราไม่อาจขอภรรยาเอกนี้
ซึ่งเป็นภัณฑ์ที่ท่านเศรษฐีสละไม่ได้ จึงได้กล่าวคำนี้กะท่านเศรษฐีว่า
ท่านมหาเศรษฐี ข้าพเจ้ามาด้วยใจว่า จักลักสิริในเรือนของท่านไป
ก็สิริได้ประดิษฐานอยู่ที่หงอนไก่ของท่าน เมื่อท่านให้ไก่นี้แก่ข้าพเจ้า
สิริก็เคลื่อนที่จากไก่นั้นไปประดิษฐานที่แก้วมณี เมื่อท่านให้แก้วมณี
สิริก็ไปประดิษฐานอยู่ที่ไม้เจว็ด เมื่อท่านให้ไม้เจว็ด สิริก็เคลื่อน
จากไม้เจว็ดไปประดิษฐานที่ศีรษะของนางบุญญลักษณาเทวี ข้าพเจ้า
คิดว่า สิ่งนี้หนอเป็นสิ่งที่สละไม่ได้ จึงไม่อาจลักสิริของท่าน ของ
ของท่านก็จงเป็นของท่านเท่านั้น ครั้นกล่าวแล้วก็ลุกจากอาสนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 276
หลีกไป. ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีคิดว่าจักกราบทูลเหตุการณ์นี้แก่
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไปยังวิหาร บูชาพระศาสดา ถวายบังคม
พระศาสดาเเล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง กราบทูลเรื่องราวนั้นทั้งหมด
แก่พระตถาคตเจ้า. พระศาสดาได้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสว่า คฤหบดี
มิใช่ในบัดนี้เท่านั้นที่สิริของคนอื่นจะไปในที่อื่น ก็แม้ในกาลก่อน
สิริที่คนผู้มีบุญน้อยให้เกิดขึ้น ก็ไปอยู่แทบบาทมูลของคนผู้มีบุญ
เท่านั้น อันท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาสิกรัฐ
พอเจริญวัยแล้วก็ได้เล่าเรียนศิลปะทั้งปวงในเมืองตักกศิลา อยู่ครอง
เรือน สลดใจเพราะบิดามารดาทำกาลกิริยาตายไป จึงออกบวชเป็น
ฤาษีอยู่ในหิมวันตประเทศ ยังอภิญญาและสมบัติให้บังเกิดขึ้น โดย
กาลล่วงมาช้านาน ได้ไปยังชนบทเพื่อต้องการรสเค็มและรสเปรี้ยว
ได้อยู่ในพระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี วันรุ่งขึ้น เมื่อจะเที่ยว
ภิกขาจาร ได้ไปยังประตูเรือนของนายหัตถาจารย์. นายหัตถาจารย์นั้น
เลื่อมใสในอาจารมารยาทและวิหารธรรมของดาบสนั้น จึงถวาย
ภิกษาหารแล้วให้อยู่ในอุทยานปรนนิบัติอยู่เป็นนิตย์. เวลานั้น คน
หาฟืนเลี้ยงชีพคนหนึ่ง นำฟืนมาจากป่าไม่สามารถจะมาทันประตูเมือง
ได้ตามเวลา ในเวลาเย็นจึงทำฟ่อนไม้ให้เป็นเครื่องหนุนศีรษะนอน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 277
ณ ศาลเจ้าแห่งหนึ่ง. มีไก่จำนวนมากแม้ที่ชาวบ้านเขาปล่อยไว้ที่ศาล
เจ้า พากันนอนอยู่บนต้นไม้ต้นหนึ่ง ไม่ใกล้ชายหาฟืนนั้น. ในเวลา
ใกล้รุ่ง ไก่ตัวที่นอนอยู่เหนือไก่เหล่านั้น ถ่ายคูถรดตามตัวของไก่ซึ่ง
นอนอยู่เบื้องล่าง และเมื่อไก่ที่นอนเบื้องล่างถามว่า ใครถ่ายคูถรด
ตัวเรา จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าเอง. และเมื่อไก่ตัวล่างกล่าวว่า
เพราะอะไร ? จึงกล่าวว่า เพราะไม่ทันพิจารณาแล้วก็ถ่ายคูถรดลง
ไปอีก. แต่นั้น ไก่ทั้งสองตัวก็โกรธกันและกัน ทำการทะเลาะกันว่า
กำลังของท่านมีหรือ กำลังของท่านมีหรือ ? ลำดับนั้น ไก่ตัวที่นอน
อยู่เบื้องล่างกล่าวว่า ใครฆ่าเราแล้วกินเนื้อที่สุกด้วยถ่านไฟ จักได้
ทรัพย์พันกหาปณะแต่เช้าตรู่. ไก่ตัวที่นอนอยู่เบื้องบนกล่าวว่า ท่าน
ผู้เจริญ ท่านอย่าอวดอ้างด้วยอานุภาพมีประมาณเท่านี้ ด้วยว่าบุคคล
ผู้กินเนื้อล่าของเราจะได้เป็นพระราชา ผู้กินเนื้อภายนอก ถ้าเป็น
บุรุษจะได้ตำแหน่งเสนาบดี ถ้าเป็นสตรีจะได้ตำแหน่งอัครมเหสี
ส่วนผู้กินเนื้อติดกระดูกของเรา ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะได้ตำแหน่งขุนคลัง
ถ้าเป็นบรรพชิตจะได้เป็นพระประจำราชตระกูล. ชายหาฟืนได้ฟังคำ
ของไก่ทั้งสองตัวนั้นแล้ว คิดว่า เมื่อเราได้ครองราชสมบัติแล้ว
กิจด้วยทรัพย์พันหนึ่ง ย่อมไม่มีจึงค่อย ๆ ปีนขึ้นไปจับไก่ตัวที่นอน
เบื้องบนฆ่าแล้วห่อไว้ คิดว่าเราจักเป็นพระราชา จึงเดินไป พอประตู
เมืองเปิดก็เข้าเมืองจัดการถอนขนไก่ ล้างน้ำให้สะอาดแล้วได้ให้แก่
ภรรยาโดยสั่งว่า จงปรุงเนื้อไก่นี้ให้ดี. ภรรยาจัดแจงเนื้อไก่และข้าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 278
เสร็จแล้วน้อมเข้าไปให้แก่สามีโดยกล่าวว่า จงบริโภคเถอะนาย. สามี
กล่าวว่า นางผู้เจริญ เนื้อนี้มีอานุภาพมาก เราบริโภคเนื้อนี้แล้ว
จักเป็นพระราชา เธอจักได้เป็นอัครมเหสี ดังนั้น สามีภรรยา
ทั้งสองจึงถือเอาข้าวและเนื้อนั้นไปฝั่งแม่น้ำคงคา คิดว่า อาบน้ำแล้ว
จึงจักบริโภค จึงได้วางภาชนะอาหารไว้ที่ริมฝั่งแล้วลงไปอาบน้ำ.
ขณะนั้น น้ำถูกลมพัดปั่นป่วนซัดมา ได้พาเอาภาชนะภัตตาหาร
ลอยไป. ภาชนะภัตตาหารนั้นถูกกระแสน้ำพัดมา มหาอำมาตย์ผู้เป็น
หัตถาจารย์ผู้หนึ่ง กำลังให้ช้างอาบน้ำอยู่ในแม่น้ำข้างใต้เห็นเข้า จึงให้
ยกขึ้นมาแล้วให้เปิดดู ถามว่ามีอะไร ? พวกบริวารบอกว่า ภัตตาหาร
และเนื้อไก่ครับนาย. มหาอำมาตย์นั้นจึงให้ปิดภาชนะภัตตาหารนั้น
แล้วให้ประทับตรา ส่งไปให้ภรรยาโดยสั่งว่า เธออย่าเปิดเนื้อและ
ข้าวจนกว่าฉันจะมา. ฝ่ายบุรุษหาฟืนนั้นท้องอืดเพราะน้ำปนทราย
ซัดเข้าปาก จึงหนีไป. ลำดับนั้น ดาบสผู้มีจักษุทิพย์รูปหนึ่งซึ่งเป็น
กุลุปกะของนายหัตถาจารย์นั้น คิดว่าอุปัฏฐากของเรายังไม่พ้น
ตำแหน่งนายหัตถาจารย์ เมื่อไรหนอจึงจักได้สมบัติ จึงใคร่ครวญ
ด้วยทิพยจักษุ เห็นบุรุษนั้น รู้เหตุการณ์นั้น จึงรีบไปเรือนเสียก่อน
แล้วนั่งในนิเวศน์ของนายหัตถาจารย์. นายหัตถาจารย์มาถึงไหว้
พระดาบสนั้น แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ให้นำภาชนะภัตตาหาร
นั้นมา แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงอังคาสพระดาบสด้วยเนื้อและ
ข้าวสุก. พระดาบสรับแต่ข้าวไม่รับเนื้อที่เขาถวายกล่าวว่า เราจะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 279
จัดแจงเนื้อนี้ เมื่อนายหัตถาจารย์กล่าวว่า จงจัดเถิดขอรับ จึงให้
กระทำเป็นส่วน ๆ ในบรรดาเนื้อล่ำเป็นต้น แล้วให้เนื้อล่ำแก่นาย-
หัตถาจารย์ ให้เนื้อภายนอกแก่ภรรยาของนายหัตถาจารย์นั้น ตนเอง
บริโภคเนื้อติดกระดูก. ในเวลาเสร็จภัตตกิจ พระดาบสนั้นเมื่อจะไป
กล่าวว่า ในวันที่สามจากวันนี้ไป ท่านจักได้เป็นพระราชา จงอย่า
เป็นผู้ประมาทครั้นกล่าวแล้วก็หลีกไป. ในวันที่สาม พระเจ้า
สามันตราชยกทัพมาล้อมเมืองพาราณสี. พระเจ้าพาราณสีให้นาย-
หัตถาจารย์แต่งตัวเป็นพระราชาแล้วทรงสั่งว่า ท่านจงขี่ช้างรบ ส่วน
พระองค์เองปลอมเพศที่ใครไม่รู้จักเที่ยวไปในหมู่เสนา ถูกยิงด้วย
ลูกศรลูกหนึ่งซึ่งมีกำลังเร็วมาก จึงสวรรคตในขณะนั้นทันที. นาย-
หัตถาจารย์นั้นรู้ว่าพระราชาสวรรคตแล้ว จึงให้ขนกหาปณะออกมา
เป็นอันมาก แล้วให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องว่า ผู้ที่ต้องการทรัพย์จงออก
แนวหน้าสู้รบเถิด. พลนิกายจึงปลงพระชนม์พระราชาผู้เป็นข้าศึกได้
โดยครู่เดียวเท่านั้น. อำมาตย์ทั้งหลายถวายพระเพลิงพระศพของ
พระราชาแล้ว ปรึกษากันว่า เราจะตั้งใครให้เป็นพระราชา จึงตกลง
กันว่า พระราชาเมื่อยังมีพระชนม์อยู่ได้พระราชทานเพศของพระองค์
แก่นายหัตถาจารย์ นายหัตถาจารย์นี้แหละกระทำการรบจึงยึดราช-
สมบัติไว้ได้ เราทั้งหลายจักให้ราชสมบัติแก่นายหัตถาจารย์นี้เท่านั้น
แล้วจึงอภิเษกนายหัตถาจารย์นั้นในราชสมบัติ ทั้งได้กระทำภรรยา
ของนายหัตถาจารย์นั้นให้เป็นอัครมเหสี. พระโพธิสัตว์ได้เป็นพระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 280
ประจำราชตระกูล.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว พระองค์
เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถามนี้ว่า :-
ผู้ไม่มีบุญ จะเป็นผู้มีศิลปะหรือไม่มี
ศิลปะก็ตาม ย่อมขวนขวายรวบรวมทรัพย์
ใดไว้เป็นอันมาก ผู้มีบุตย่อมใช้สอยทรัพย์
เหล่านั้น. โภคะเป็นอันมากย่อมล่วงเลย
สัตว์เหล่าอื่นไปเสีย เกิดขึ้นในที่ทั้งปวงแก่
ผู้มีบุญอันได้กระทำไว้แล้ว ใช่แต่เท่านั้น
รัตนะทั้งหลายยังเกิดขึ้นแม้ในที่อันมิใช่บ่อ-
เกิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย อุสฺสุกฺกา ความว่า บุคคล
ผู้ไม่มีบุญถึงความขวนขวาย คือ เกิดฉันทะเพื่อจะรวบรวมทรัพย์ใด
ย่อมรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมากด้วยกิจการงาน. บาลีว่า เย อุสฺสุกฺกา
ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า บุรุษเหล่าใดขวนขวายในการรวบรวมทรัพย์
จะมีศิลปะเช่นศิลปะในเพราะช้างเป็นต้น หรือไม่มีศิลปะก็ตาม กระทำ
การงานโดยชั้นที่สุดด้วยการรับจ้าง รวบรวมทรัพย์เป็นอันมากไว้
บทว่า ลกฺขิกา ตานิ ภุญฺชเร ความว่า บุรุษอื่นผู้มีบุญเมื่อจะ
บริโภคผลบุญของตนแม้จะไม่ทำการงานอะไร ๆ ก็ย่อมได้ใช้สอยทรัพย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 281
ทั้งหลายที่เรียกว่าทรัพย์มากเหล่านั้น. บทว่า อติจฺจญฺเว ปาณิโน
ได้แก่ ล่วงเลยสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นเสีย. เอว อักษร ในบทว่า
อติจฺจญฺเว นี้แหละ พึงประกอบเข้ากับบทแรก มีใจความว่า
ล่วงเลยเหล่าสัตว์ผู้ไม่ได้กระทำบุญไว้ ย่อมเกิดขึ้นในที่ทั้งปวงทีเดียว
แก่บุคคลผู้ที่ได้กระทำบุญไว้. บทว่า อปิ นายตเนสุปิ ความว่า
โดยที่แท้ โภคะทั้งหลายเป็นอันมากทั้งที่เป็นทรัพย์ที่มีวิญญาณครอง
และทรัพย์ที่ไม่มีวิญญาณครอง ย่อมเกิดขึ้นแม้ในที่อันมิใช่บ่อเกิด คือ
รัตนะทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นในที่อันมิใช่บ่อเกิดแห่งรัตนะ ทองเป็นต้น
ย่อมเกิดขึ้นในที่อันมิใช่บ่อเกิดแห่งทองเป็นต้น ช้างเป็นต้นย่อมเกิด
ขึ้นในที่อันมิใช่บ่อเกิดแห่งช้างเป็นต้น. จริงอยู่ ในการที่แก้วมุกดา
และแก้วมณีเป็นต้นเกิดขึ้นในที่อันมิใช่บ่อเกิดนั้น พึงแสดงเรื่องของ
พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยมหาราช.
ก็พระศาสดาครั้นตรัสพระคาถานี้แล้ว จึงตรัสสืบไปว่า ดูก่อน
คฤหบดี ชื่อว่าบ่อเกิดอย่างอื่นเช่นกับบุญของสัตว์เหล่านี้ ย่อมไม่มี
เพราะว่ารัตนะทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นแก่คนผู้มีบุญ แม้ในที่อันมิใช่
บ่อเกิดทั้งหลาย แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้ว่า :-
ขุมทรัพย์คือบุญนี้ ให้สมบัติอันน่าใคร่
ทั้งปวงแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายย่อมปรารถนาผลใดย่อม
ได้ผลนั้นทั้งหมดด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 282
ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ๑ ความเป็นผู้มี
เสียงไพเราะ ๑ ความเป็นผู้มีทรวดทรงงาม ๑
ความเป็นผู้มีรูปสวย ๑ ความเป็นอธิบดี ๑
ความเป็นผู้มีบริวาร ๑ ผลทั้งหมดนี้ อัน
เทวดาและมนุษย์ ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือ
บุญนี้. ความเป็นเจ้าประเทศราช ๑ ความ
เป็นผู้มีอิสริยยศ ๑ ความสุขของพระเจ้า
จักรพรรดิอันเป็นที่รัก ๑ ความเป็นราชา
แห่งเทวดาในเทวโลก ผลทั้งหมดนี้
อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์
คือบุญนี้. สมบัติอันเป็นของมนุษย์ .
ความรื่นรมย์ยินดีในเทวโลก ๑ นิพพาน
สมบัติ ๑ ผลทั้งหมดนี้ อันเทวดาและ
มนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้. ผล
ทั้งหมดคือความที่บุคคลถึงพร้อมด้วยมิตรสัมป-
ความเพียรด้วยอุบายอันแยบคายได้เป็นผู้
ชำนาญในวิชชาและวิมุตติ อันเทวดาและ
มนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์ค้าบุญนี้. ปฏิ-
สัมภิทา ๑ วิโมกข์ ๑ สาวกบารมี ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 283
ปัจเจกโพธิ ๑ พุทธภูมิ ๑ ผลทั้งหมดนี้
อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือ
บุญนี้. ปุญญสัมปทา คือความถึงพร้อมด้วย
บุญนี้ ให้ความสำเร็จผลอันใหญ่ยิ่งอย่างนี้
เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์
ทั้งหลาย จึงสรรเสริญความเป็นผู้มีบุญอัน
ได้กระทำไว้ ดังนี้.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงรัตนะทั้งหลาย อันเป็นที่ประดิษฐาน
แห่งสิริแม้ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
คำมีอาทิว่า กุกฺกุโฏ ดังนี้. ดังมีคาถาประพันธ์ว่า :-
ไก่ แก้วมณี ไม้เท้า หญิงผู้มีบุญญ-
ลักษณะ ย่อมเกิดแก่คนผู้ไม่มีบาป มีแต่
บุญอันได้กระทำไว้แล้ว.
คำว่า ทณฺโฑ ไม้เท้า ในคาถานั้น ท่านกล่าวหมายเอา
ไม้เจว็ด. บทว่า ถิโย ได้แก่ นางบุญญลักษณาเทวี ผู้เป็นภรรยา
ของเศรษฐี. คำที่เหลือในคาถานี้ ง่ายทั้งนั้น. ก็แหละ ครั้นตรัส
พระคาถานี้แล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็น
พระอานนท์ในบัดนี้ ดาบสผู้เป็นกุลุปกะในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสิริชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 284
๕. มณิสูกรชาดก
ของดีใครทำลายไม่ได้
[๔๕๔] พวกข้าพเจ้าประมาณ ๓๐ ตัว อาศัย
อยู่ในถ้ำแก้วมณี ๗ ปี ได้ปรึกษากันว่า จะ
ช่วยกันกำจัดแสงแก้วมณีให้เศร้าหมอง.
[๔๕๕] พวกข้าพเจ้าช่วยกันเสียดสีแก้วมณี
แก้วมณีกลับมีสีสุกใสขึ้นกว่าเก่า บัดนี้พวก
ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงเหตุนั้น ท่านย่อม
สำคัญกิจในเรื่องนี้อย่างไร.
[๔๕๖] ดูก่อนหมูทั้งหลาย แก้วไพฑูรย์นี้เป็น
ของบริสุทธิ์งามผ่องใสใคร ๆ ไม่สามารถจะ
กำจัดแสงแก้วไพฑูรย์นั้นให้เศร้าหมองได้
ท่านทั้งหลายจงพากันหลีกหนีไปอยู่ที่อื่นเสีย
เถิด.
จบ มณิสูกรชาดกที่ ๕
อรรถกถามณิสูกรชาดกที่ ๕
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
การสมาคมแห่งนางสุนทรี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทริยา
สตฺต วสฺสานิ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 285
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ทรงได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นปกติ. แม้ภิกษุสงฆ์ก็
เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์สักการะ. เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง
และเป็นผู้ได้จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็น
ปกติ. ฝ่ายพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ใครๆ ไม่สักการะ เคารพ
นับถือ บูชา ยำเกรง ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร. ได้ยินว่า เมื่อลาภสักการประดุจห้วงน้ำใหญ่แห่ง
แม่น้ำใหญ่ ๕ สาย เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ พวก
อัญญเดียรถีย์ เสื่อมลาภสักการะ เป็นผู้อับรัศมี ประดุจหิ่งห้อยใน
เวลาพระอาทิตย์ขึ้น จึงมาร่วมประชุมหารือกันว่า จำเดิมแด่พระสมณ-
โคดมเกิดขึ้นแล้ว พวกเราเป็นผู้เสื่อมลาภสักการะ ใครๆ ย่อมไม่รู้
แม้ความที่พวกเรามีอยู่ พระสมณโคดมถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ
พวกเราจะร่วมกับใครดีหนอ จึงจะยังโทษมิใช่คุณ ให้เกิดขึ้นแก่
พระสมณโคดม ทำลาภสักการะ ของพระสมณโคดมนั้นให้อันตรธาน
ไป. ลำดับนั้น พวกเดียรถีย์เหล่านั้นได้มีความคิดกันว่า พวกเรา
ร่วมกับนางสุนทรี จักสามารถทำได้. วันหนึ่ง พวกเดียรถีย์เหล่านั้น
ไม่พูดจากะนางสุนทรีผู้เข้าไปยังอารามของเดียรถีย์ ไหว้แล้วยืนอยู่.
นางสุนทรีนั้นถึงจะพูดจาบ่อยๆ ก็ไม่ได้คำตอบ จึงถามว่า เออก็
พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายถูกใคร ๆ เบียดเบียนหรือ ? พวกอัญญเดียรถีย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 286
กล่าวว่า น้องหญิงเธอไม่เห็นหรือ พระสมณโคดมเที่ยวเบียดเบียน
พวกเรา กระทำให้เสื่อมลาภสักการะ. นางสุนทรีนั้นจึงกล่าวอย่างนี้
ว่า ในเรื่องนี้ ดิฉันควรจะทำอย่างไร. อัญญเดียรถีย์ทั้งหลายกล่าวว่า
น้องหญิง เจ้าแล เป็นผู้มีรูปร่างงดงาม ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความ
งาม จงยกโทษมิใช่ยศขึ้นแก่พระสมณโคดม ให้มหาชนเชื่อถือคำ
ของเจ้า แล้วกระทำให้เสื่อมลาภสักการะ. นางสุนทรีนั้นรับคำว่าได้
จึงไหว้แล้วหลีกไป จำเดิมแต่นั้นมา นางก็ถือดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ กระบูร และผลเผ็ดร้อนเป็นต้น แล้วบ่ายหน้าตรงไป
ยังพระเชตวันวิหารในตอนเย็น เวลาที่มหาชนฟังพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดาแล้วเข้าเมือง และถูกถามว่า เธอจะไปไหน ? ก็กล่าวว่า
ไปสำนักพระสมณโคดม. ด้วยว่าเราอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับ
พระสมณโคดม แล้วก็ไปอยู่เสียในอารามของอัญญเดียรถีย์แห่งหนึ่ง
พอเช้าตรู่ ก็ย่างลงหนทางสายที่จะไปพระเชตวัน บ่ายหน้ามุ่งไป
พระนคร และถูกถามว่า สุนทรี เธอไปไหนมาหรือ ? จึงกล่าวว่า เรา
อยู่ในพระคันธกุฎีหลังเดียวกันกับพระสมณโคดม ให้พระสมณโคดม
รื่นรมย์ยินดีด้วยกิเลสแล้วจึงมา. ครั้นล่วงไป ๒-๓ วัน พวกอัญญ-
เดียรถีย์ให้กหาปณะแก่พวกนักเลง แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงไปฆ่า
นางสุนทรี แล้วหมกไว้ในระหว่างกองหยากเยื่อดอกไม้ใกล้ๆ กับ
พระคันธกุฏีของพระสมณโคดมแล้วจงมา. พวกนักเลงเหล่านั้นได้
กระทำอย่างนั้น. ลำดับนั้น พวกอัญญเดียรถีย์พากันทำความโกลาหลว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 287
เราทั้งหลายไม่เห็นนางสุนทรี จึงกราบทูลพระราชา เป็นผู้อันพระราชา
ตรัสถามว่า ท่านทั้งหลาย มีความรังเกียจแหนงใจที่ไหน จึงกราบทูล
ว่า ทุกวันนี้ นางสุนทรีอยู่ในพระเชตวัน ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่ทราบความเป็นไปของนางในพระเชตวันนั้น พระราชาทรงอนุญาต
ว่า ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงไปค้นหานาง จึงพาคนผู้เป็นอุปัฏฐาก
ของตนไปยังพระเชตวันค้นหาอยู่ เห็นนางสุนทรีอยู่ในระหว่างกอง
ขยะดอกไม้ จึงให้ยกศพนางสุนทรีขึ้นวางบนเตียงน้อยแล้วเข้าไปยัง
พระนคร กราบทูลแก่พระราชาว่า พวกสาวกของพระสมณโคดมคิดว่า
จักปกปิดกรรมชั่วที่พระศาสดาของตนกระทำ จึงฆ่านางสุนทรีแล้ว
หมกไว้ในระหว่างกองขยะดอกไม้. พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่าน
ทั้งหลายจงไปเที่ยว ประกาศให้ทั่วพระนคร เดียรถีย์เหล่านั้นจึง
เที่ยว ประกาศ ในถนน ทั่วพระนคร โดยนัยเป็นต้นว่า ท่าน
ทั้งหลายจงดูกรรมของพวกสมณะ ศากยบุตร ดังนี้แล้วก็กลับมายัง
ประตูพระราชนิเวศน์อีก. พระราชารับสั่งให้ยกร่างของนางสุนทรีขึ้นสู่
เตียงน้อยในป่าช้าผีดิบแล้วให้อารักขาไว้. ชาวเมืองสาวัตถี ยกเว้น
พระอริยสาวก ที่เหลือโดยมาก กล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านทั้งหลาย จง
ดูการกระทำของพวกสมณะ ศากยบุตร ดังนี้ แล้วเที่ยวด่าภิกษุทั้งหลาย
ทั้งภายในเมืองและนอกเมือง. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแก่
พระตถาคตเจ้า. พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น แม้เธอทั้งหลาย
จงโจทย์ท้วงตอบพวกมนุษย์เหล่านั้นอย่างนี้ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 288
บุคคลผู้พูดคำไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
หรือแม้บุคคลใดทำแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่
ได้ทำ ชนแม้ทั้งสองนั้น เป็นมนุษย์มีกรรม
เลวทราม ละไปในโลกอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้
เสมอกัน.
พระราชาทรงส่งพวกราชบุรุษไปโดยรับสั่งว่า พวกท่านจงรู้ว่า
นางสุนทรีถูกคนอื่นฆ่า. ลำดับนั้น พวกนักเลงแม้เหล่านั้น ดื่มสุรา
ด้วยกหาปณะเหล่านั้น กระทำการทะเลาะกันและกันอยู่. ในนักเลง
เหล่านั้น นักเลงคนหนึ่งพูดอย่างนี้ว่า ท่านฆ่านางสุนทรีด้วยการประ-
หารคราวเดียวเท่านั้น แล้วหมกไว้ในระหว่างกองขยะดอกไม้ จึงได้
ดื่มสุราด้วยกหาปณะที่ได้จากการฆ่านางสุนทรีนั้น. พวกราชบุรุษจึง
จับนักเลงเหล่านั้นแสดงแก่พระราชา. ลำดับนั้น พระราชาตรัสถาม
นักเลงเหล่านั้นว่า พวกเจ้าฆ่าหรือ ? พวกนักเลงกราบทูลว่า พระ-
เจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ. พระราชาตรัสถามว่า ใครใช้ให้ฆ่า ?
นักเลงทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ พวกอัญญเดียรถีย์ใช้ให้ฆ่า
พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้เรียกพวกอัญญเดียรถีย์มาแล้วตรัสว่า
พวกเจ้าจงให้หามนางสุนทรีไป จงเที่ยวไปตลอดทั่วพระนคร กล่าว
อย่างนี้ว่า นางสุนทรีนี้พวกเราประสงค์จะยกโทษพระสมณโคดม จึง
ให้ฆ่าเสีย โทษแห่งสาวกทั้งหลายของพระสมณโคดมไม่มีเลย เป็น
โทษของเราทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นได้กระทำอย่างนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 289
ตามรับสั่ง. ในกาลนั้น มหาชนผู้เขลาเชื่อ. ฝ่ายพวกอัญญเดียรถีย์ถูก
ลงอาญาในฐานฆ่าคน. จำเดิมแต่นั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้มี
สักการะมากยิ่งขึ้น. ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันใน
โรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พวกเดียรถีย์คิดว่า จักยัง
ความมัวหมองให้เกิดแก่พระพุทธเจ้า ตนเองกลับเป็นฝ่ายมัวหมอง
อนึ่ง ลาภสักการะใหญ่ยิ่งเกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้า. พระศาสดาเสด็จ
มาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วย
เรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้หลงทราบแล้ว จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใคร ๆ ไม่อาจทำความมัวหมองให้เกิดขึ้นแก่
พระพุทธเจ้า ชื่อว่าการกระทำความเศร้าหมองแก่พระพุทธเจ้า ก็เป็น
เช่นกับ ทำความเศร้าหมองแก่แก้วมณีชาติ. ในกาลก่อน สุกรทั้งหลาย
แม้พยายามอยู่ด้วยหวังว่าจักทำแก้วมณีชาติ คือมณีโดยกำเนิด ให้
เศร้าหมอง ก็ไม่ได้อาจทำให้เศร้าหมอง อันภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอน
แล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุง-
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในหมู่บ้านแห่ง
หนึ่ง พอเจริญวัยแล้ว เห็นโทษในกามทั้งหลายจึงออกจากเรือนข้าม
ทิวเขา ๓ ลูกในหิมวันตประเทศ ไปเป็นดาบสอยู่ในบรรณศาลา. ได้
มีถ้ำแก้วมณีอยู่ในที่ไม่ไกลบรรณศาลานั้น. สุกรประมาณ ๓๐ ตัว
อยู่ในถ้ำแก้วมณีนั้น มีราชสีห์ตัวหนึ่งเที่ยวไปในที่ไม่ใกล้ถ้ำนั้น. เงา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 290
ของราชสีห์นั้นย่อมปรากฏที่แก้วมณี. สุกรทั้งหลายเห็นเงาราชสีห์
ตกใจกลัวสะดุ้ง จึงได้มีเนื้อและเลือดน้อย. สุกรเหล่านั้นคิดกันว่า
เพราะแก้วมณีนี้ใส เงานี้จึงปรากฏ พวกเราจงทำแก้วมณีนี้ ให้
เศร้าหมอง ไม่มีสี จึงไปยังสระแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล กลิ้งเกลือกใน
เปือกตมแล้วมาสีที่แก้วมณีนั้น. แก้วมณีนั้นถูกขนสุกรทั้งหลายเสียดสี
อยู่กลับใสแจ๋วยิ่งขึ้น ประหนึ่งพื้นสุทธากาสอันบริสุทธิ์ สุกรทั้งหลาย
มองไม่เห็นอุบาย จึงตกลงกันว่า จักถามอุบายเป็นเครื่องทำแก้วมณีนี้
ให้ปราศจากสีกะพระดาบา จึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ ไหว้แล้วยืน ณ
ส่วนข้างหนึ่ง กล่าวคาถา ๒ คาถาแรกว่า :-
พวกข้าพเจ้าประมาณ ๓๐ ตัว อาศัยอยู่
ในถ้ำแก้วมณี ๑ ปี ได้ปรึกษากันว่า จะช่วย
กันกำจัดแสงแก้วมณีให้เศร้าหมอง. พวก
ข้าพเจ้าช่วยกันเสียดสีแก้วมณี แก้วมณี
กลับมีสีสุกใสขึ้นกว่าเก่า บัดนี้ พวกข้าพเจ้า
ขอถามท่านถึงเหตุนั้น ท่านย่อมสำคัญกิจใน
เรื่องนี้อย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทริยา แปลว่า ในถ้ำแก้วมณี.
บทว่า วสามเส แปลว่า ย่อมอยู่. บทว่า หญฺาม ความว่า พวก
ข้าพเจ้าจักขจัด คือ แม้พวกข้าพเจ้าก็จักกระทำให้หมดสี. บทว่า
อิทญฺจิทานิ ปุจฺฉาม ความว่า บัดนี้ พวกข้าพเจ้าขอถามท่านถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 291
ข้อนี้ว่า เพราะเหตุไร ? แก้วมณีนี้อันพวกข้าพเจ้าทำให้เศร้าหมองอยู่
ยังกลับสุกใส. บทว่า กึ กิจฺจ อิธ มญฺสิ ความว่า ในเรื่องนี้
ท่านสำคัญกิจนี้ว่าอย่างไร.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ เมื่อจะบอกแก่สุกรเหล่านั้น จึงกล่าว
คาถาที่ ๓ ว่า :-
ดูก่อนหมูทั้งหลาย แก้วไพฑูรย์นี้เป็น
ของบริสุทธิ์งามผ่องใส ใคร ๆ ไม่อาจกำจัด
แสงแก้วไพฑูรย์นั้นให้เศร้าหมองได้ ท่าน
ทั้งหลายจงพากันหลบหนีไปอยู่ที่อื่นเสียเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกาโจ แปลว่า ในกระด้าง. บทว่า
สุโภ แปลว่า งาม. บทว่า สิรึ แปลว่า รัศมี. บทว่า อปกฺกมถ
ความว่า ใคร ๆ ไม่อาจทำแสงของแก้วมณีนี้ให้พินาศไปได้ ก็พวก
ท่านแหละ จงละถ้ำแก้วมณีนี้ไปอยู่ที่อื่นเสียเถิด.
สุกรเหล่านั้นพึงฟังถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้วได้กระทำ
เหมือนอย่างนั้น. พระโพธิสัตว์ทำฌานให้เกิดขึ้นแล้ว ในเวลาสิ้น
อายุชัย ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พระดาบสในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล
จบ อรรถกถามณิสุกรชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 292
๖. สาลุกชาดก
อุบายไม่ให้ถูกฆ่า
[๔๕๗] ท่านอย่าปรารถนาต่อหมูชื่อสาลุกะเลย
เพราะว่าหมูชื่อว่าสาลุกะนี้ บริโภคอาหาร
เป็นเครื่องเดือดร้อน ท่านจงเป็นผู้มีความ
ขวนขวายน้อย เคี้ยวกินแต่ข้าวลีบนี้เถิด
นี้เป็นลักษณะแห่งความอายุยืน.
[๔๕๘] ในไม่ช้า ราชบุรุษผู้มีบริวารมากนั้น ก็
จะเป็นแขกมาประชุมกัน ณ สถานที่นี้ ใน
กาลนั้นท่านก็จะได้เห็นหมูสาลุกะตัวนี้ อัน
เจ้าของให้ทุบด้วยสากตะลุมพุกนอนตายอยู่.
[๔๕๙] วัวชราทั้งสองตัวพอเห็นหมูสาลุกะผู้
กล้าหายอันเจ้าของทุบด้วยสากตะลุมพุก
นอนตายอยู่ ก็คิดร่วมกันว่า ข้าวลีบเท่านั้น
เป็นอาหารอย่างสูงสุดของเรา.
จบ สาลุกชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 293
อรรถกถาสาลุกชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
การประเล้าประโลมของนางถูลกุมาริกา จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า
มา สาลุกสฺส ปิหยิ ดังนี้.
เรื่องการประเล้าประโลมของนางกุมาริกานั้น จักมีแจ้งใน
จูฬนารทกัสสปชาดก. แต่ในที่นี้พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า
ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระสันขึ้นแล้วจริงหรือ ? ภิกษุนั้น กราบ-
ทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า ใครทำให้เธอ
กระสันขึ้นมา ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า นางถูลกุมาริกาพระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ นางถูลกุมาริกา เป็นผู้กระทำความ
ฉิบหายให้แก่เธอ แม้ในกาลก่อน เธอก็ได้เป็นแกงอ่อมของบริษัท
ที่มา ในวันวิวาห์ของนางถูลกุมาริกานี้ อันภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนา
แล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นโคผู้ชื่อว่ามหาโลหิต ส่วนน้องชายของ
พระโพธิสัตว์นั้น ได้เป็นโคผู้ชื่อว่า จุลลโลหิต. โคทั้งสองตัวนั้นทำ
งานในตระกูลหนึ่งในหมู่บ้าน. ตระกูลนั้น มีนางกุมาริกาคนหนึ่งกำลัง
เจริญวัย. ตระกูลอื่นได้ขอนางกุมาริกานั้น. ครั้งนั้นตระกูลนั้นคิดว่า
ในกาลวิวาหมงคลจักมีแกงอ่อม จึงปรนเปรอสุกรชื่อว่าสาลุกะด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 294
ข้าวยาคูและภัต. สาลุกสุกรนั้นนอนอยู่ใต้เตียง. อยู่มาวันหนึ่ง โค-
จุลลโลหิตกล่าวกะพี่ชายว่า พี่พวกเราทำการงานในตระกูลนี้ ตระกูล
นี้อาศัยพวกเราเลี้ยงชีวิต ก็แหละ เมื่อเป็นอย่างนั้น มนุษย์เหล่านี้
ให้แต่หญ้าและฟางแก่พวกเรา แต่เลี้ยงดูสุกรตัวนี้ด้วยข้าวยาคูและภัต
และให้นอนใต้เตียง สุกรตัวนี้จักทำอะไรแก่คนเหล่านี้. โคมหาโลหิต
กล่าวว่า พ่อ เจ้าอย่าปรารถนาข้าวยาคูและภัตของสุกรตัวนี้เลย ก็
ในวันวิวาหมงคลของนางกุมาริกานี้ เขาประสงค์จะทำสุกรตัวนี้ให้
เป็นแกงอ่อม จึงเลี้ยงสุกรตัวนี้ด้วยข้าวยาคูและภัต เพื่อกระทำเนื้อ
ให้เป็นกล้าม ๆ อีก ๒-๓ วัน เจ้าจะเห็นสุกรตัวนั้นถูกเขาฉุดลาก
ออกจากใต้เตียงแล้ว ฆ่าสับให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ กระทำให้เป็น
อาหาร สำหรับเลี้ยงแขก ดังนี้ แล้วตั้งคาถา ๒ คาถาแรกว่า :-
ท่านอย่าปรารถนาต่อสาลุกสุกรเลย
เพราะเขาบริโภคอาหารอันเดือดร้อน ท่านจง
เป็นผู้มีความขวนขวายน้อยเคี้ยวกินแกลบ
เถอะ นี้เป็นลักษณะแห่งความอายุยืน.
ในไม่ช้า ราชบุรุษผู้มีบริวารมากนั้น
จะเป็นแขกมาประชุมกันที่นี้ ในการนั้น
ท่านก็จะได้เห็นสาลุกสุกรตัวนี้ ถูกเขาทุบ
ด้วยสากตะลุมพุก นอนตายอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 295
ในกาลนั้น มีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้ :- พ่อมหาจำเริญ
ท่านอย่าปรารถนาภาวะเช่นสาลุกสุกรเลย เพราะว่าสาลุกสุกรนี้
บริโภคอาหารอันเดือดร้อน คือโภชนะเครื่องฆ่าตน ซึ่งบริโภคแล้ว
ไม่นานนักจักถึงความตาย แต่ท่านจงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่
ห่วงใย เคี้ยวกินแกลบปนฟางนี้ที่ตนได้แล้วเถิด นี้เป็นลักษณะ คือ
เป็นนิมิตรให้รู้ถึงความเป็นผู้มีอายุยืนยาว บัดนี้ คือไม่นานนัก ราช-
บุรุษผู้มาในงานวิวาหมงคลนั้น ชื่อว่าอำมาตย์ราชเสวก เพราะ
ประกอบด้วยบริวารเป็นอันมาก จักเป็นแขกมาในที่นี้ เมื่อนั้นแหละ
ท่านจะได้เห็นสาลุกสุกรนี้ ถูกทุบด้วยสากตะลุมพุก เพราะประกอบ
ส่วนข้างบนเหมือนสาก นอนตายอยู่.
ต่อมาสองสามวันเท่านั้น เมื่อแขกในงานวิวาหมงคลพากันมา
แล้ว เจ้าของงานทั้งหลายได้ฆ่าสาลุกสุกรทำเป็นแกงอ่อม. โคทั้งสอง
เห็นความวิบัตินั้นของสาลุกสุกรนั้น จึงปรึกษากันว่า แกลบเท่านั้น
เป็นของประเสริฐสำหรับพวกเรา. พระศาสดาทรงเป็นผู้ตรัสรู้พร้อม
เฉพาะแล้ว จึงตรัสพระคาถาที่ ๓ อันเกิดจากเรื่องนั้นว่า :-
วัวชราทั้งสองได้เห็นสาลุกสุกรผู้กล้า-
หาญ ถูกเจ้าของทุบด้วยสากตะลุมพุกนอน
ตายอยู่ จึงได้คิดกันว่า ข้าวลีบเท่านั้นเป็น
อาหารอย่างสูงสุดของพวกเรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 296
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุสามิว ความว่า ข้าวลีบเท่านั้น
เป็นอาหารประเสริฐ คือสูงสุดของเรา.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ใน
โสดาปัตติผล. ถูลกุมาริกาในครั้งนั้น ได้เป็นนางถูลกุมาริกาในบัดนี้
แหละ สาลุกสุกรในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้กระสันในบัดนี้ โคจุลล-
โลหิตในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนโคมหาโลหิตใน
ครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาสวลุกชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 297
๗. ลาภครหิกชาดก
วิธีการหลอกลวง
[๔๖๐] ไม่ใช่คนบ้าทำเป็นเหมือนคนบ้า ไม่
ใช่คนส่อเสียดก็ทำเป็นเหมือนคนส่อเสียด
ไม่ใช่นักฟ้อนรำก็ทำเป็นเหมือนนักฟ้อนรำ
ไม่ใช่คนตื่นข่าวก็ทำเป็นเหมือนคนตื่นข่าว
ย่อมจะได้ลาภในคนผู้หลงใหลทั้งหลาย นี้
เป็นคำสั่งสอนสำหรับท่าน
[๔๖๑] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ น่าติเตียนความ
ประพฤตอันเป็นเหตุให้ได้ยศและทรัพย์โดย
ทำชื่อเสียงให้ตกไป หรือโดยไม่เป็นธรรม.
[๔๖๒] อนึ่ง ถ้าบุคคลจะถือเอาบาตรออกไป
บวชเสีย ความเป็นอยู่นี้แล ประเสริฐกว่า
การแสวงหาโดยอธรรม.
จบ ลาภครหิกชาดกที่ ๗
อรรถกถาลาภครหิกชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า
นานุมฺมตฺโต ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 298
ได้ยินว่า สัทธิวิหาริกของพระเถระ เข้าไปหาพระเถระ ไหว้
แล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรด
บอกปฏิปทาอันจะให้ลาภเกิดแก่กระผม ภิกษุกระทำอะไรจึงจะได้ปัจจัย
มีจีวรเป็นต้น ขอรับ. ลำดับนั้น พระเถระจึงบอกปฏิปทาอันจะให้
ลาภเกิดขึ้นแก่สัทธิวิหาริกนั้น ดังนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ลาภสักการะ
ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ ๑. พึงทำลายหิริโอตตัปปะ
ภายในตนอันละสมณสัญญาเสีย ไม่เป็นบ้าเลย ทำเป็นเหมือนคนบ้า
๒. พึงกล่าววาจาส่อเสียด ๓. พึงเป็นเช่นกับนักฟ้อนรำ และ ๔. พึง
เป็นคนเอิกเกริกมีวาจาพล่อย ๆ. สัทธิวิหาริกนั้นติเตียนปฏิปทานั้น
แล้วจึงลุกขึ้นหลีกไป. พระเถระเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร
ภิกษุนั้นติเตียนลาภในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้
ติเตียนแล้วเหมือนกัน อันพระเถระทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ พอเจริญวัยแล้ว
ในกาลมีอายุ ๑๖ ปีเท่านั้น ก็เรียนจบไตรเพท และศิลปศาสตร์ ๑๘
ประการ ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์บอกศิลปะแก่มาณพ ๕๐๐ คน ใน
จำนวนมาณพเหล่านั้น มีมาณพคนเพียบพร้อมด้วยศิลาจารวัตร
วันหนึ่งเข้าไปหาอาจารย์ แล้วถามปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้เกิดลาภว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 299
ขอท่านจงบอก ลาภเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านี้ได้อย่างไร ๆ อาจารย์กล่าว
ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านี้. ด้วยเหตุ
๔ ประการ แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ไม่ใช่คนบ้าทำเป็นเหมือนคนบ้า ไม่ใช่
คนส่อเสียดทำเป็นเหมือนคนส่อเสียด ไม่
ใช่นักฟ้อนรำทำเป็นเหมือนนักฟ้อนรำ ไม่
ใช่คนตื่นข่าวทำเป็นเหมือนคนตื่นข่าว ย่อม
จะได้ลาภในหมู่คนหลงงมงาย นี้เป็นคำสอน
สำหรับท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นำนุมฺมตฺโต ตัดเป็น อนุมฺมตฺโต
แปลว่า ไม่ใช่คนบ้า. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ชื่อว่าคนบ้าเห็นเด็กหญิง
เด็กชายแล้ว แย่งเอาผ้าและเครื่องประดับเป็นต้นของเด็กเหล่านั้น
ถือเอาเนื้อ ปลา และขนมเป็นต้นจากที่นั้น ๆ โดยพลการมาเคี้ยวกิน
ฉันใด คนใดเป็นคฤหัสถ์ ละทิ้งหิริโอตตัปปะอันตั้งขึ้นภายในและ
ภายนอก ไม่เอื้อเฟื้อกุศลและอกุศล ไม่กลัวภัยในนรก ถูกความโลภ
ครอบงำ ถูกตัณหาครอบงำจิต มัวเมาในกามทั้งหลาย กระทำกรรม
อันสาหัสมีตัดช่องย่องเบาเป็นต้น แม้เป็นบรรพชิตก็ละหิริโอตตัปปะ
เสีย ไม่เอื้อเฟื้อกุศลและอกุศล ไม่กลัวภัยในนรก ย่ำยีสิกขาบท
ที่พระศาสดาบัญญัติไว้ ถูกความโลภครอบงำ อันตัณหาครอบงำจิต
อาศัยเพียงผ้าจีวรเป็นต้น ละทิ้งความเป็นสมณะของตนเสีย เป็นคน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 300
ประมาทมัวเมา กระทำเวชชกรรมและทูตกรรมเป็นต้น อาศัยอเนสนา
การแสวงหาอันไม่สมควรมีการให้ไม้ไผ่เป็นต้นเลี้ยงชีวิต ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน บุคคลนี้แม้จะไม่เป็นบ้าก็ชื่อว่าเป็นคนบ้า เพราะเป็น
เหมือนคนบ้า ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่คฤหัสถ์หรือบรรพชิตเห็นปานนี้โดย
พลัน ส่วนบุคคลใด ไม่เป็นคนบ้าอย่างนั้น มีความละอาย มีความ
รังเกียจ บุคคลนี้ย่อมไม่ได้ลาภในหมู่คนผู้งมงายมิใช่บัณฑิต เพราะ
ฉะนั้น บุคคลผู้ต้องการลาภ พึงทำเป็นเหมือนคนบ้า.
แม้ในบทว่า ไม่เป็นคนส่อเสียด นี้ พึงทราบความอย่างนี้ว่า
ส่วนบุคคลใดเป็นคนส่อเสียด นำความส่อเสียดเข้าไปในราชสกุลว่า
บุคคลโน้นกระทำกรรมชื่อนี้ บุคคลนั้นแย่งชิงยศของตนอื่นถือเอามา
เพื่อตนเอง ฝ่ายพระราชาทั้งหลายก็คิดว่า ผู้นี้มีความเสน่หาในพวก
เรา จึงตั้งบุคคลนั้นไว้ในตำแหน่งสูง ๆ ฝ่ายอำมาตย์เป็นต้นย่อม
สำคัญสิ่งที่จะพึงให้แก่บุคคลนั้น เพราะกลัวว่า ผู้นี้จะทำพวกเราให้
แตกร้าวในราชสกุล ลาภย่อมเกิดแก่คนผู้ส่อเสียดในทันที ด้วย
ประการอย่างนี้ ส่วนคนใดไม่ส่อเสียด คนนั้นย่อมไม่ได้ลาภในหมู่
ชนผู้งมงาย.
บทว่า นานโฏ ความว่า อันผู้จะทำลาภให้เกิดขึ้น พึงเป็น
เหมือนนักฟ้อนรำ. อธิบายว่า นักฟ้อนรำทั้งหลายละทิ้งหิริโอตตัปปะ
เสีย กระทำการเล่นด้วยฟ้อนรำ ขับร้อง และการประโคมรวบรวม
ทรัพย์อยู่ ฉันใด ผู้ต้องการลาภก็ฉันนั้นเหมือนกัน ต้องทำลายหิริ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 301
โอตตัปปะเสีย เป็นเหมือนสหายนักเลงของสตรี บุรุษ เด็กชาย และ
เด็กหญิงทั้งหลาย เที่ยวแสดงการเล่น มีประการต่าง ๆ ส่วนบุคคลใด
ไม่เป็นนักฟ้อนรำอย่างนี้ บุคคลนั้นย่อมไม่ได้ลาภในหมู่คนงมงาย.
บทว่า นากุตูหโล ความว่า คนผู้มีวาจาพล่อย ๆ ชื่อว่าคน
ตื่นข่าว. จริงอยู่ พระราชาทั้งหลายแวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ ตรัสถาม
อำมาตย์ทั้งหลายว่า เราได้ฟังมาว่า ในที่โน้น คนถูกฆ่า ถูกปล้น
เรือน ลูกเมียของคนอื่นถูกข่มขืน นี้เป็นกรรมของพวกไหนนะ ?
ในหมู่อำมาตย์เหล่านั้น เมื่ออำมาตย์ที่เหลือไม่ทูลอะไรเลย ผู้ใดลุกขึ้น
กราบทูลว่า คนชื่อโน้น ๆ กระทำดังนี้ ผู้นี้ชื่อว่าคนตื่นข่าว. พระ-
ราชาทั้งหลาย ก็จะส่งราชบุรุษเหล่านั้นไปสืบสวน ห้ามปรามตามคำ
ของอำมาตย์ผู้นั้น ย่อมประทานยศใหญ่โตให้แก่อำมาตย์ผู้นั้น ด้วย
ทรงพระดำริว่า เพราะอาศัยผู้นี้ บ้านเมืองของเราจึงปราศจากโจร
ผู้ร้าย. ฝ่ายชนที่เหลือก็ให้ทรัพย์แก่ผู้นั้นเหมือนกัน เพราะกลัวว่า ผู้
นี้ถูกราชบุรุษไต่ถาม จะกล่าวมิดีมิร้ายให้. ลาภย่อมเกิดแก่คนตื่นข่าว
ด้วยประการอย่างนี้. ส่วนผู้ที่ไม่ตื่นข่าวย่อมไม่ได้ลาภในหมู่ชนที่
งมงาย. บทว่า เอสา เต อนุสาสี ความว่า นี้เป็นการพร่ำสอน
ในเรื่องการจะได้ลาภแก่เจ้า จากสำนักของเรา.
อันเตวาสิกได้ฟังคาถาของอาจารย์แล้ว เมื่อจะติเตียนลาภ จึง
กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 302
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ น่าติเตียนความ
ประพฤติอันเป็นเหตุให้ได้ลาภและยศ โดย
การทำชื่อเสียงให้ตกไปหรือโดยไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง หากจะถือบาตรออกไปบวชเสีย ความ
เป็นอยู่นี้แล ประเสริฐกว่าการแสวงหาโดย
ไม่เป็นธรรม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยา วุตฺติ ได้แก่ การประพฤติ
เลี้ยงชีพอันใด บทว่า วินิปาเตน คือ โดยการทำตนให้เสื่อมเสียไป.
บทว่า อธมฺมจริยาย วา ได้แก่ ด้วยการประพฤติไม่เป็นธรรม และ
ด้วยการกระทำอันไม่สม่ำเสมอ. อธิบายว่า ความประพฤติอันใด โดย
ทำตนให้เสื่อมเสียด้วยการถูกฆ่า ถูกจองจำ และถูกติเตียนเป็นต้น
และโดยประพฤติไม่เป็นธรรม ดังเราจะติเตียน คือนินทา ครหาความ
ประพฤตินั้น และการได้ยศและทรัพย์ทั้งปวง เราไม่ต้องการความ
ประพฤติเลี้ยงชีพอันนั้น. บทว่า ปตฺตมาทาย ได้แก่ ถือภาชนะ
สำหรับเที่ยวภิกขาจาร. บทว่า อนาคาโร ปริพฺพเช ความว่า พึง
เป็นบรรพชิตไม่มีเหย้าเรือนเที่ยวไป. และเป็นสัปบุรุษไม่ประพฤติ
อธรรมด้วยกายทุจริตเป็นต้น. เพราะเหตุไร ? เพราะความเป็นอยู่แล
ประเสริฐกว่าการแสวงหาโดยไม่เป็นธรรม. ด้วยบทว่า เอสาว ชีวิกา
เสยฺยา ยา จาธมฺเมน เอสนา นี้ ท่านแสดงว่า การที่บรรพชิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 303
มีบาตรในมือเที่ยวภิกขาจารในตระกูลอื่น ๆ เท่านั้น ประเสริฐกว่า
การแสวงหาเลี้ยงชีพโดยอธรรม คือ ดีกว่าร้อยเท่า พันเท่า.
มาณพครั้นพรรณนาคุณของบรรพชาอย่างนี้แล้ว จึงออกบวช
เป็นฤๅษี แสวงหาภิกษาโดยธรรม ยังสมาบัติทั้งหลายให้เกิดขึ้น ได้
มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า มาณพในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้ติเตียนลาภในบัดนี้
ส่วนอาจารย์คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาลาภครหิกชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 304
๘. มัจฉทานชาดก
ว่าด้วยบุญที่ให้ทานแก่ปลา
[๔๖๓] ปลาทั้งหลายมีราคาถึงหนึ่งพันกหาปณะ
กับ ๗ มาสก ย่อมจะไม่มีผู้เชื่อถือเลย และ
ในที่นี้เราก็มี ๗ มาสกเท่านั้น แต่เราก็ซื้อ
ปลาพวงนั้นได้.
[๔๖๔] ท่านได้ให้โภชนะแก่ปลาทั้งหลาย แล้ว
อุทิศส่วนบุญให้แก่เรา เราระลึกถึงส่วนบุญ
อันนั้น และความนอบน้อมที่ท่านได้กระทำ
แล้ว จึงรักษาทรัพย์ของท่านนี้ไว้.
[๔๖๕] บุคคลผู้มีจิตคิดประทุษร้าย ย่อมไม่มี
ความเจริญเลย ใช่แต่เท่านั้น เทวดาทั้งหลาย
ไม่บูชาผู้นั้น ผู้ใดทำกรรมอันชั่วช้า ยักยอก
เอาทรัพย์มรดกของบิดา ไม่ต้องการจะให้พี่
ชาย เทวดาทั้งหลายย่อมไม่บูชาผู้นั้น.
จบ มัจฉทานชาดกที่ ๘
อรรถกถามัจฉทานชาดกที่ ๘
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พ่อค้าโกงคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า อคฺฆนฺติ มจฺฉา
ดังนี้. เรื่องนี้ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 305
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลกฎุมพี พอรู้เดียงสาก็
รวบรวมทรัพย์สมบัติไว้. และพระโพธิสัตว์นั้นมีน้องชายอยู่คนหนึ่ง.
ในกาลต่อมา เมื่อบิดาของคนทั้งสองนั้นทำกาลกิริยาไปแล้ว วันหนึ่ง
พี่น้องทั้งสองนั้นคิดกันว่า พวกเราจักชำระสะสางการค้าขายอันเป็น
ของบิดาให้เรียบร้อยเสียที จึงไปยังบ้านหนึ่ง ได้ทรัพย์พ้น
กหาปณะแล้วกลับมา บริโภคอาหารห่อแล้วรอเรืออยู่ที่ท่าแม่น้ำ.
พระโพธิสัตว์ได้ให้อาหารที่เหลือแก่ปลาทั้งหลายในแม่น้ำคงคาแล้วให้
ส่วนบุญแก่เทวดาประจำแม่น้ำ. เทวดาพออนุโมทนาส่วนบุญเท่านั้น
ก็เจริญพอกพูนด้วยยศอันเป็นทิพย์ จึงรำพึงถึงความเจริญยศของตน
ก็ได้รู้ถึงเหตุนั้น. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ลาดผ้าห่มลงบนทรายนอนหลับไป.
ส่วนน้องชายของพระโพธิสัตว์นั้น มีปกตินิสัยค่อนข้างเป็นโจรอยู่บ้าง
เขาจึงทำห่อกรวดเข้าห่อหนึ่งให้เหมือนห่อกหาปณะ แล้ววางทั้งสอง
ไว้รวมกัน เพราะประสงค์จะไม่ให้กหาปณะเหล่านั้นแก่พระโพธิสัตว์
จะถือเอาเสียเองคนเดียว. เมื่อพี่น้องทั้งสองนั้นขึ้นเรือไปถึงกลาง
แม่น้ำคงคา น้องชายทำเรือให้โคลงแล้วคิดว่าเราจะโยนห่อกรวดทิ้งน้ำ
กลับโยนห่อทรัพย์พันกหาปณะลงไปเก็บช่อนห่อกรวดไว้ แล้วกล่าวว่า
คุณพี่ ห่อทรัพย์พันกหาปณะตกน้ำไปแล้ว เราจะทำอย่างไรกัน.
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เมื่อมันตกน้ำไปแล้ว พวกเราจักกระทำอย่างไร
ได้ อย่าคิดมันเลย. เทวดาประจำแม่น้ำคิดว่า เราอนุโมทนาส่วนบุญที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 306
พระโพธิสัตว์นี้ให้ จึงเจริญด้วยยศทิพย์ เราจักรักษาทรัพย์อันเป็นของ
พระโพธิสัตว์นี้ไว้ จึงบันดาลให้ปลาปากกว้างตัวหนึ่ง กลิ่นห่อทรัพย์
นั้นไว้ด้วยอานุภาพของตน ตนเองถือการอารักขาอยู่. ฝ่ายน้องชายผู้
เป็นโจรแม้นั้นแล ไปถึงเรือนแล้วคิดว่า เราลวงพี่ชายได้แล้ว จึงแก้
ห่อออกเห็นแต่กรวด มีหัวใจเหี่ยวแห้ง นอนกอดแม่แคร่เตียงอยู่.
ในกาลนั้น พวกชาวประมงได้ทอดแหเพื่อจับปลา. ปลาตัวนั้นได้เข้า
ไปติดแหด้วยอานุภาพของเทวดา. พวกชาวประมงจับปลานั้นได้แล้ว
จึงเข้าไปยังพระนครเพื่อจะขายปลา. คนทั้งหลายเห็นปลาใหญ่จึงถาม
ราคา. ชาวประมงกล่าวว่า ท่านให้ทรัพย์หนึ่งพันกหาปณะกับเจ็ด
มาสก แล้วจงถือเอาปลานั้นไป. พวกประชาชนทำการหัวเราะเยาะว่า
แหมปลาราคาทั้งพันไม่เคยเห็น. พวกชาวประมงจึงถือเอาปลาไปยัง
ประตูเรือนของพระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่านจงถือเอาปลาตัวนี้. พระ-
โพธิสัตว์ถามว่า ปลานี้ราคาเท่าไร ? ชาวประมงกล่าวว่า ท่านให้เจ็ด
มาสกแล้วเอาไปเถอะ. พระโพธิสัตว์ถามว่า พวกท่านเมื่อให้แก่คน
อื่นให้อย่างไร ? พวกชาวประมงกล่าวว่า ให้แก่คนอื่น ๑ พันกับ ๗
มาสก แต่ท่านให้ ๗ มาสก แล้วเอาไปเถิด. พระโพธิสัตว์ให้พวก
ชาวประมงไป ๗ มาสก แล้วส่งปลาให้แก่ภรรยา. ภรรยาผ่าท้องปลา
เห็นห่อทรัพย์พันกหาปณะ จึงมอบแก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์
ตรวจดูห่อทรัพย์นั้นเห็นตราของตน ก็รู้ว่าเป็นของตน จึงคิดว่า
บัดนี้ ชาวประมงเหล่านี้เมื่อให้ปลาตัวนี้แก่คนอื่น ก็ให้ถึง ๑ พัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 307
กหาปณะกับ ๗ มาสก แต่พอมาถึงเราเข้าไม่พูดถึงพันเลย ได้ให้เอา
เพียง ๗ มาสกเท่านั้น เพราะพันกหาปณะนั้นเป็นของของตน เรา
ไม่อาจให้ใคร ๆ ผู้ไม่รู้เหตุการณ์นี้เชื่อถือได้ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า
ปลาทั้งหลายมีราคา ๑ พันกหาปณะ
กับ ๗ มาสก ย่อมจะไม่มีผู้เชื่อถือเลย และ
ในที่นี้ เราก็มี ๗ มาสกเท่านั้น แต่ก็ซื้อ
ปลาพวงนั้นได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิก ความว่า ชาวประมงถูก
คนอื่นถามย่อมกล่าวว่า ปลาทั้งหลายมีราคา ๑ พันกหาปณะกับอีก ๗
มาสก. บทว่า น โส อตฺถิ โย อิม สทฺทเหยฺย ความว่า คนที่
ไม่รู้เหตุการณ์นี้โดยประจักษ์จะเชื่อถือคำของเรา ย่อมไม่มี หรือว่า
คนที่จะเชื่อคำนี้ที่ว่า ปลาทั้งหลายมีราคาประมาณเท่านี้ ย่อมไม่มี.
เพราะเหตุนั้นแหละ คนอื่น ๆ จึงไม่ถือเอาปลาเหล่านั้น. บทว่า
มยฺหญฺจ อสฺสู ความว่า อนึ่ง เราก็มี ๗ มาสกเท่านั้น. บทว่า
มจฺฉทาน แปลว่า พวงปลา. เพราะว่า เขาผูกปลา แม้อื่น ๆ รวม
กับปลาตัวนั้น ท่านหมายเอาพวงปลาแม้ทั้งสิ้นนั้น จึงกล่าวคำว่า
มจฺฉทาน ได้แก่ พวงปลานั้น บทว่า กิเณยฺย แปลว่า เราซื้อ อธิบาย
ว่า เราให้ ๗ มาสกเท่านั้น ถือเอาพวงปลามีประมาณเท่านี้ได้.
ก็แหละ พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงคิดดังนี้ว่า
เพราะอาศัยอะไรหนอ เราจึงได้กหาปณะเหล่านี้. ขณะนั้น เทวดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 308
ประจำแม่น้ำแสดงรูปร่างให้ปรากฏ ยืนอยู่ในอากาศกล่าวว่า เราเป็น
เทวดาประจำอยู่ในแม่น้ำคงคา ท่านให้อาหารส่วนเกินแก่ปลาทั้งหลาย
แล้วให้ส่วนบุญแก่เรา ด้วยเหตุนั้น เราจึงมาอารักขาทรัพย์ของท่าน
ไว้ เมื่อจะแสดงความให้แจ่มแจ้ง จึงกล่าวคาถาว่า :-
ท่านได้ให้โภชนะแก่ปลาทั้งหลาย แล้ว
อุทิศส่วนบุญให้แก่เรา เราระลึกถึงส่วนบุญ
อันนั้น และความนอบน้อมที่ท่านกระทำแล้ว
จึงรักษาทรัพย์ของท่านนี้ไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขิณ ความว่า การให้ส่วน
บุญชื่อว่า ทักษิณา ในที่นี้ . บทว่า กต อปจิตึ ตยา ความว่า เรา
ระลึกถึงความนอบน้อมที่ท่านกระทำแก่เรานั้น จึงรักษาทรัพย์ของ
ท่านนี้ไว้.
ก็แหละ เทวดาประจำแม่น้ำนั้น ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว จึง
บอกการคดโกงที่น้องชายกระทำทั้งหมดแก่พระโพธิสัตว์นั้น แล้ว
กล่าวว่า บัดนี้น้องชายของท่านั้นมีหัวใจเหี่ยวแห้งนอนอยู่ ชื่อว่า
ความเจริญย่อมไม่เกิดแก่คนผู้มีจิตประทุษร้าย อันเราคิดว่า ทรัพย์
อันเป็นของท่านอย่าได้พินาศฉิบหายเสีย จึงได้นำทรัพย์นั้นมาให้ท่าน
ท่านอย่าให้ทรัพย์นี้แก่น้องชายโจรของท่าน จงถือเอาผู้เดียวทั้งหมด
เถิด แล้วกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 309
บุคคลผู้นี้จิตคิดประทุษร้าย ย่อมไม่มี
ความเจริญเลย ใช่แต่เท่านั้น เทวดาทั้งหลาย
ก็ไม่บูชาผู้นั้น ผู้ใดทำกรรมอันชั่วช้า ยักยอก
เอาทรัพย์มรดกของบิดา ไม่ต้องการให้พี่ชาย
เทวดาทั้งหลายย่อมไม่บูชาผู้นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ผาติ โหติ ความว่า ชื่อว่า
ความเจริญในโลกนี้หรือในโลกหน้า ย่อมไม่มีแก่บุคคลเห็นปานนั้น.
บทว่า น จาปิ น ความว่า เทวดาทั้งหลายผู้อารักขาสมบัติของ
พระโพธิสัตว์นั้น ย่อมไม่บูชาบุคคลนั้น.
ดังนั้น เทวดาผู้ไม่ประสงค์จะให้กหาปณะแก่โจรผู้ประทุษร้าย
มิตร จึงกล่าวอย่างนั้น. ส่วนพระโพธิสัตว์คิดว่า เราไม่อาจกระทำ
อย่างนั้น จึงได้ส่งทรัพย์จำนวน ๕๐๐ ไปให้แก่น้องชายผู้เป็นโจร
แม้นั้น.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะทั้งหลายแล้วทวงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ พ่อค้าดำรงอยู่
ในโสดาปัตติผล. น้องชายในครั้งนั้น ได้เป็นพ่อค้าโกงในบัดนี้. ส่วน
พี่ชายในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามัจฉทานชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 310
๙. นานาฉันทชาดก
ว่าด้วยต่างคนต่างใจ
[๔๖๖] ข้าแต่มหาราช ข้าพระบาททั้งหลายอยู่
ร่วมในเรือนหลังเดียวกัน แต่มิฉันทะต่างกัน
ข้าพระบาทอยากได้บ้านส่วย นางพราหมณี
อยากได้โคนมสักร้อยหนึ่ง.
[๔๖๗] ลูกชายอยากได้รถเทียมม้าอาชาไนย ลูก
สะใภ้อยากได้ภุณฑลแก้ว ฝ่ายนางปุณณทาสี
ผู้ชั่วช้าก็จำนงจะใคร่ได้ครกสากและกระด้ง.
[๔๖๘ ] ท่านทั้งหลายจงให้บ้านส่วยแก่พราหมณ์
จงให้โคนมร้อยหนึ่งแก่นางพราหมณี จงให้
รถเทียมม้าอาชาไนยแก่ลูกชาย จงให้ภุณฑล
แก้วแก่ลูกสะใภ้ และจงให้ครกตำข้าวสาก
และกระด้งแก่นางปุณณทาสีผู้ชั่วช้า.
จบ นานาฉันทชาดกที่ ๙
อรรถกถานานาฉันทชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
การได้พร ๘ ประการของท่านพระอานันทเถระ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 311
เริ่มต้นว่า นานาฉนฺทา มหาราช ดังนี้. เรื่องนี้จักมีแจ้งในชุณห-
ชาดก เอกาทสนิบาต.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของ
พระเจ้าพรหมทัตนั้น พอเจริญวัย เล่าเรียนศิลปะทั้งปวงในเมือง
ตักกศิลา เมื่อพระราชบิดาสวรรคต ก็ได้ครองราชสมบัติ. พระโพธิ-
สัตว์นั้น มีปุโรหิตของพระราชบิดาถูกถอดจากตำแหน่ง. ปุโรหิตนั้น
เป็นคนเข็ญใจ อาศัยอยู่ในเรือนคนชราแห่งหนึ่ง. ครั้นวันหนึ่ง
พระโพธิสัตว์ปลอมเพศโดยใคร ๆ ไม่รู้จัก เสด็จเที่ยวตรวจตราพระ-
นครในตอนกลางคืน. พวกโจรที่กระทำโจรกรรมแล้ว พากันดื่มสุรา
ในโรงสุราแห่งหนึ่ง เอาหม้อใส่สุราไว้ต่างหากหม้อหนึ่ง ถือไปบ้าน
ของตน ๆ ในระหว่างทาง ได้เห็นพระโพธิสัตว์นั้นเข้าจึงกล่าวว่า เฮ้ย
เจ้าเป็นใคร ? แล้วตีชิงเอาผ้าห่ม ให้ยกหม้อสุรานั้นขู่ให้เดินไป.
ฝ่ายพราหมณ์นั้น ขณะนั้น ออกไปยืนอยู่ในระหว่างถนน ตรวจดู
ดาวนักษัตรรู้ว่าพระราชาตกอยู่ในเงื้อมมือของพวกศัตรู จึงเรียกนาง
พราหมณี. นางพราหมณีนั้นกล่าวว่า อะไรกันค่ะท่าน แล้วรีบมายัง
สำนักของพราหมณ์นั้น. ลำดับนั้น พราหมณ์กล่าวกะนางพราหมณี
นั้นว่า นางผู้เจริญ พระราชาของเราตกอยู่ในอำนาจของศัตรู. พราหมณี
กล่าวว่า ก็ธุระอะไรของท่านเล่า พวกพราหมณ์ผู้มียศในราชสำนัก
จักรู้เอง. พระราชาทรงสดับเสียงของพราหมณ์ได้เสด็จไปหน่อยจึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 312
ตรัสกะพวกนักเลงว่า นาย ข้าพเจ้าเป็นคนยากจน ท่านเอาผ้าห่ม
ไปแล้ว จงปล่อยข้าพเจ้าเถิด. พระราชาทรงตรัสอยู่บ่อย ๆ พวกนักเลง
เหล่านั้นจึงปล่อยไป ด้วยความกรุณา. พระราชาทรงกำหนดเรือนที่
อยู่ของนักเลงเหล่านั้นแล้วเสด็จกลับ. ลำดับนั้น แม้ปุโรหิตคนเก่า
ก็กล่าวว่า นางผู้เจริญ พระราชาของเราพ้นจากเงื้อมมือของศัตรูแล้ว.
พระราชาได้ทรงสดับคำแม้นั้น แล้วทรงกำหนดเรือนของปุโรหิตนั้น
ไว้ เสด็จขึ้นสู่ปราสาท. เมื่อราตรีสว่างแล้ว พระราชารับสั่งให้เรียก
พราหมณ์ทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า ท่านอาจารย์ ในตอนกลางคืน
ท่านทั้งหลายได้ตรวจดาวนักษัตรบ้างหรือเปล่า ? พราหมณ์ทั้งหลาย
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ได้ตรวจดูแล้ว พระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสถามว่า นักขัตตฤกษ์งามไหม ? พราหมณ์. งามพระ-
เจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า ไม่เคราะห์อะไร ๆ หรือ ? พราหมณ์. ไม่มี
พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้เรียกปุโรหิตคนเก่ามา โดยรับสั่งว่าท่าน
จงไปเรียกพราหมณ์จากบ้านโน้นมา แล้วตรัสถามว่า อาจารย์ตอน
กลางคืน ท่านเห็นดาวนักษัตรบ้างไหม ? ปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ เห็นพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า เคราะห์
อะไร ๆ มีไหม ? พราหมณ์. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระเจ้าข้า
วันนี้ เวลากลางคืน พระองค์ตกอยู่ในอำนาจของศัตรู แต่เพียงครู่
เดียว ก็หลุดพ้นได้. พระราชาตรัสว่า ธรรมดาผู้รู้ดวงดาวนักขัตตฤกษ์
ต้องเป็นคนเห็นปานนี้ ครั้นตรัสแล้วให้ถอดพวกพราหมณ์ที่เหลือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 313
นอกนั้นเสียแล้วตรัสว่า พราหมณ์ เราเลื่อมใสท่าน ท่านจงรับเอาพร.
พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระพุทธเจ้าปรึกษากับบุตร
และภรรยา แล้วจักรับเอา พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ไปเถอะท่าน
ปรึกษากันแล้วจึงค่อยมา. พราหมณ์นั้นไปแล้วเรียกพราหมณี บุตร
ชาย บุตรสะใภ้ และหญิงทาสี มาแล้วถามว่า พระราชาพระราชทาน
พรแก่เรา เราจะรับเอาอะไร ? พราหมณีกล่าวว่า ท่านจงนำโคนมมา
ให้ดิฉัน ๑๐๐ ตัว. บุตรชาย ชื่อว่าฉัตตมาณพกล่าวว่า ท่านจงนำรถ
เทียมม้าอันเทียมด้วยม้าสินธพ ๔ ตัว มีสีเหมือนดอกโกมุทมาให้ฉัน
บุตรสะใภ้กล่าวว่า ท่านจงนำเอาเครื่องประดับมีต่างหูแก้วมณีเป็นต้น
มาให้ดิฉัน. ทาสีชื่อว่าปุณณากล่าวว่า ท่านจงเอาครกและสากมาให้
ดิฉัน. ส่วนพราหมณ์ต้องการรับเอาบ้านส่วย จึงไปยังราชสำนัก
อันพระราชาตรัสถามว่า ท่านถามบุตรและภรรยาคูแล้วหรือ จึงกราบ
ทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่มหาราช ข้าพระพุทธเจ้าถามแล้ว แต่มี
ความพอใจไม่เป็นอย่างเดียวกัน แล้วกล่าว ๒ คาถาแรกว่า :-
ข้าแต่มหาราช ข้าพระบาททั้งหลายอยู่
ในเรือนหลังเดียวกัน แต่มีฉันทะความพอใจ
ต่างกัน ข้าพระบาทอยากได้บ้านส่วย นาง
พราหมณีอยากได้โคนมสักร้อยหนึ่ง. ลูกชาย
อยากได้รถเทียมอาชาไนย ลูกสะใภ้อยากได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 314
ต่างหูแก้วมณี ฝ่ายนางปุณณทาสีผู้ชั่วช้า
จำนงหวังจะใคร่ได้ครก สาก และกระด้ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺเฉ แปลว่า ย่อมปรารถนา.
บทว่า คว สต ได้แก่ โคชนิดแม่โคนมร้อยตัว. บทว่า กญฺญา หมายถึง
ลูกสะใภ้. บทว่า ยา เจสา ความว่า ทาสีชื่อว่าปุณณาในเรือนของ
ข้าพระบาทนั้น นางเป็นคนเลวทราม จำนงหวัง คือต้องการครก
พร้อมทั้งกระด้งและสาก.
พระราชาทรงสั่งว่า พวกท่านจงให้สิ่งที่ต้องการแล้ว ๆ แก่
ทุกๆ คน ได้ตรัสเป็นคาถาว่า :-
ท่านทั้งหลายจงให้บ้านส่วยแก่พราหมณ์
จงให้โคนมร้อยตัวแก่พราหมณี จงให้รถ
เทียมม้าอาชาไนยแก่บุตรชาย จงให้ต่างหู
แก้วมณีแก่บุตรสะใภ้ และจงให้ครกแก่นาง
ปุณณทาสีผู้ชั่วช้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยญฺเจต ความว่า ท่านทั้งหลาย
จงยังทาสีที่เรียกว่า ปุณณกา ผู้ชั่วช้านั้นให้ได้ คือให้รับเอาครก.
พระราชาได้พระราชทานสิ่งที่พราหมณ์ปรารถนา และยศ
ใหญ่โตอย่างอื่น ด้วยประการดังนี้ แล้วตรัสว่า จำเดิมแต่นี้ไป ท่าน
จงขวนขวายในกิจที่จะพึงกระทำแก่เรา แล้วทรงตั้งพราหมณ์ไว้ใน
สำนักของพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 315
พระศาสดาครั้งทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้
ส่วนพระราชา คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถานานาฉันทชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 316
๑๐. สีลวึมังสชาดก
ว่าด้วยอานิสงส์ของศีล
[๔๖๙] ได้ทราบมาว่า ศีลเป็นความงาม ศีล
เป็นเยี่ยมในโลก ท่านจงดูซี งูใหญ่มีพิษ
อันร้ายแรงย่อมไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วย รู้สึก
ตัวว่า เป็นผู้มีศีล.
[๔๗๐] เราจักสมาทานศีลที่บัณฑิตรับรองแล้ว
ว่าเป็นความปลอดภัยในโลก เป็นคุณชาติ
เครื่องให้บัณฑิตเรียกบุคคลผู้ประพฤติตาม
ข้อปฏิบัติของพระอริยะ ว่าเป็นผู้มีศีล.
[๔๗๑] อนึ่ง บุคคลผู้มีศีลย่อมเป็นที่รักของ
ญาติทั้งหลาย และรุ่งเรืองในหมู่มิตร เมื่อ
ตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติ.
จบ สีลวีมังสชาดกที่ ๑๐
อรรถกถาสีสวีมังสชาดกที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
พราหมณ์ผู้ทดลองศีลคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สีล กิเรว
กลฺยาณ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 317
ก็เรื่องทั้งที่เป็นปัจจุบันและเป็นอดีต ได้ให้พิสดารแล้วในสีล-
วีมังสชาดก เอกนิบาต ในหนหลัง. แต่ในที่นี้ มีเรื่องว่า เมื่อ
พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี ปุโรหิตของ
พระองค์คิดว่า จักทดลองศีลของตน จึงหยิบเอากหาปณะหนึ่งๆ ไป
๒ วัน จากแผ่นกระดานสำหรับนับเงิน ครั้นในวันที่สาม พวก
ราชบุรุษจับพราหมณ์นั้น โดยหาว่าเป็นโจร นำไปยังสำนักของพระ-
ราชา. ในระหว่างทางได้เห็นหมองูกำลังเล่นงูอยู่. ลำดับนั้น พระ-
ราชาตรัสถามพราหมณ์นั้นว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงได้กระทำอย่างนี้ ?
พราหมณ์กราบทูลว่า ขอเดชะ เพราะข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะทด-
ลองศีลของตน พระเจ้าข้า แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
ได้ทราบว่า ศีลเท่านั้นงดงาม ศีลยอด
เยี่ยมในโลก ท่านจงดูซี งูใหญ่มีพิษอัน
ร้ายแรง ยังไม่เบียดเบียนผู้อื่น ด้วยรู้สึกตัว
ว่าเป็นผู้มีศีล.
เราจักสมาทานศีลที่บัณฑิตรับรองแล้ว
ว่า เป็นความปลอดภัยในโลก เป็นคุณชาติ
เครื่องให้บัณฑิตเรียกบุคคลผู้ประพฤติตาม
ข้อปฏิบัติของพระอริยะ ว่าเป็นผู้มีศีล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 318
อนึ่ง บุคคลผู้มีศีล ย่อมเป็นที่รักของ
ญาติทั้งหลาย ทั้งย่อมรุ่งเรื่องในหมู่มิตร เมื่อ
ตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีล ได้แก่ อาจารมารยาท.
ศัพท์ว่า กิร เป็นนิบาตลงในอรรถว่าได้ยินได้ฟัง. บทว่า กลฺยาณ
แปลว่า งาม. อธิบายว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยิน
ว่า ศีลเท่านั้นงดงาม. พราหมณ์กล่าวถึงตนเอง ด้วยบทว่า ปสฺส
เอาเถิด. บทว่า น หญฺติ ความว่า ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ด้วย
ตนเอง ทั้งไม่ใช่ให้คนอื่นเบียดเบียน. บทว่า สมาทิสฺส แปลว่า
จักสมาทาน. บทว่า อนุมต สิว ความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายรับรอง
แล้วว่าเป็นแดนเกษม คือ ปลอดภัย. บทว่า เยน วุจฺจติ ความว่า
เราจักสมาทานศีลอันเป็นเหตุให้บุคคลผู้มีศีลผู้ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อต่อ
ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ซึ่งได้รับการ
ขนานนามว่า อริยวุตติสมาจาร ผู้มีสมาจารอันเป็นเครื่องประพฤติ
อย่างประเสริฐ. บทว่า วิโรจติ ความว่า ย่อมรุ่งโรจน์ ประดุจกอง
ไฟบนยอดเขา.
พระโพธิสัตว์เมื่อประกาศคุณของศีลด้วยคาถา ๓ คาถา อย่าง
นี้แล้ว จึงแสดงธรรมแก่พระราชา แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ในเรือนของข้าพระพุทธเจ้า มีทรัพย์จำนวนมาก ทั้งที่เป็นของบิดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 319
มารดา ทำให้เกิดขึ้นด้วยตนเอง และทั้งที่พระองค์พระราชทาน ที่
สุดรอบคือความเสร็จสิ้นไม่ปรากฏ ก็ข้าพระพุทธเจ้าเมื่อจะทดลองศีล
จึงหยิบเอากหาปณะจากแผ่นกระดานสำหรับนับเงินไป บัดนี้ ข้าพระ-
พุทธเจ้าทราบเกล้าแล้วว่า ในโลกนี้ ชาติ โคตร ตระกูล และประเทศ
เป็นภาวะต่ำทราม และศีลเท่านั้นประเสริฐ ข้าพระพุทธเจ้าจักบวช
ขอจงอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด แล้วทูลขอให้ทรงอนุญาตการ
บวช แม้พระราชาจะทรงขอร้องแล้ว ๆ เล่า ๆ ก็ออกจากเรือนเข้าป่า
หิมพานต์ บวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดแล้ว ได้มี
พรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า พราหมณ์ปุโรหิตผู้ทดลองศีลในครั้งนั้น คือเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 320
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัพภันตรชาดก ๒. เสยยชาดก ๓. วัฑฒกีสูกรชาดก
๔. สิริชาดก ๕. มณิสูกรชาดก ๖. สาลุกชาดก ๗. ลาภครหิก-
ชาดก ๘. มัจฉทานชาดก ๙. นานาฉันทชาดก ๑๐. สีลวีมังส-
ชาดก.
จบ อัพภันตรวรรคที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 321
๕. กุมภวรรค
๑. ภัทรฆฏเภทกชาดก
คนโง่เขลาเดือดร้อนภายหลัง
[๔๗๒] นักเลงได้หม้อสารพัดนึกอันเป็นยอด
ทรัพย์ใบหนึ่ง ยังรักษาหม้อนั้นไว้ได้คราบใด
เขาก็จะได้รับความสุขอยู่ตราบนั้น.
[๔๗๓] เมื่อใด เขาประมาทและเย่อหยิ่ง ได้
ทำลายหม้อให้แตก เพราะความประมาท
เมื่อนั้น ก็เป็นคนเปลือยและนุ่งผ้าเก่าเป็น
คนโง่เขลา ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.
[๔๗๔] คนผู้ประมาทโง่เขลา ได้ทรัพย์มาแล้ว
ย่อมใช้สอยไปอย่างนี้ จะต้องเดือดร้อนใน
ภายหลัง เหมือนนักเลงทุบหม้อขอดทรัพย์
เสีย ฉะนั้น.
จบ ภัตรฆฏเภทกชาดกที่ ๑
อรรถกถาสุปัตตวรรคที่ ๕๑
อรรถกถาภัทรฆฏเภทกชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
๑.บาลี. เป็นกุมภวรรค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 322
ปรารภหลานของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า สพฺพกามทท กุมฺภ ดังนี้
ได้ยินว่า หลานของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น ผลาญเงิน
๔๐ โกฏิอันเป็นของบิดามารดา ให้ฉิบหายไปด้วยการดื่มสุรา แล้วจึง
ได้ไปยังสำนักของท่านเศรษฐี. แม้ท่านเศรษฐีก็ได้ให้ทรัพย์แก่เขา
พันหนึ่ง โดยสั่งว่าจะทำการค้าขาย. เขาก็ทำทรัพย์ทั้งพันให้ฉิบหาย
แล้วได้มาอีก. ท่านเศรษฐีก็ให้ทรัพย์เขาอีก ๕๐๐ เขาทำทรัพย์ ๕๐๐
นั้น ให้ฉิบหายแล้วกลับมาขออีก ท่านเศรษฐีจึงให้ผ้าสาฎกเนื้อหยาบไป
๒ ผืน. เขาทำผ้าสาฎกแม้ทั้งสองผืนนั้นให้ฉิบหายแล้วมาหาอีก ท่าน
เศรษฐีจึงให้คนใช้จับคอลากออกไป. เขากลายเป็นคนอนาถาอาศัยฝา
เรือนคนอื่นตายไป. ชนทั้งหลายจึงลากเขาไปทิ้งเสียภายนอกบ้าน.
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีไปยังพระวิหาร กราบทูลความเป็นไปของ
หลานชายนั้นทั้งหมด ให้พระตถาคตเจ้าทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า
เมื่อก่อน เราแม้ให้หม้อสารพัดนึก ก็ยังไม่สามารถทำบุคคลใดให้อิ่ม
หนำได้ ท่านจะทำบุคคลนั้นให้อิ่มหนำได้อย่างไร อันท่านอนาถบิณ-
ฑิกเศรษฐีนั้น ทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐี เมื่อบิดาล่วงลับ
ไปแล้วก็ได้ตำแหน่งเศรษฐี. ในเรือนของท่านเศรษฐี ได้มีทรัพย์ฝั่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 323
ดินไว้ประมาณ ๔๐ โกฏิ. อนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้น มีบุตรคนเดียว
เท่านั้น. พระโพธิสัตว์กระทำบุญมีทานเป็นต้น กระทำกาลกิริยาแล้ว
บังเกิดเป็นท้าวสักกะเทวราช. ครั้งนั้น บุตรของท่านเศรษฐีนั้นไม่
จัดแจงทานวัตรอะไร ๆ ได้แต่ให้สร้างมณฑป อันมหาชนแวดล้อมนั่ง
อยู่ ปรารภจะดื่มสุรา. เขาให้ทรัพย์ทีละพันแก่คนผู้กระทำการเต้นรำ
เล่นระบำ รำฟ้อน และขับร้องเป็นต้น ถึงความเป็นนักเลงหญิง นักเลง
สุรา และนักเลงกินเนื้อเป็นต้น. เป็นผู้ต้องการแต่มหรสพเท่านั้นว่า
ท่านจงขับร้อง ท่านจงฟ้อนรำ ท่านจงประโคม เป็นผู้ประมาทมัวเมา
เที่ยวไปไม่นานนัก ได้ผลาญทรัพย์ ๔๐ โกฏิ และอุปกรณ์เครื่อง
อุปโภค บริโภค ให้ฉิบหาย กลายเป็นคนเข็ญใจ กำพร้า นุ่งผ้าเก่า
เที่ยวไป. ท้าวสักกะทรงรำพึงถึง ทรงทราบว่า บุตรตกระกำลำบาก
จึงมาเพราะความรักบุตร ได้ให้หม้อสารพัดนึกแล้ว โอวาทสั่ง
สอนว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจงรักษาหม้อนี้ไว้อย่าให้แตกทำลายไป ก็เมื่อเจ้า
ยังมีหม้อใบนี้อยู่ ในชื่อว่าความสิ้นเปลื้องแห่งทรัพย์จักไม่มีเลย ดังนี้
แล้วก็กลับไปเทวโลก. จำเดิมแต่นั้น เขาก็เที่ยวดื่มสุรา. อยู่มาวันหนึ่ง
เขาเมามาก โยนหม้อนั้นขึ้นไปในอากาศแล้วรับ ครั้งหนึ่ง พลาดไป.
หม้อตกบนพื้นดินแตกไป. ตั้งแต่นั้นมา ก็กลับเป็นคนจน นุ่งผ้า
ท่อนเก่า มือถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอาศัยฝาเรือนคนอื่นอยู่จน
ตายไป. พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัส
อภิสัมพุทธคาถาเหล่านี้ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 324
นักเลงได้หม้อ อันเป็นหม้อสารพัดนึก
ใบหนึ่ง ยังรักษาหม้อนั้นไว้ได้ตราบใดเขาก็
จะได้รับความสุขอยู่ตราบนั้น.
เมื่อใด เขาประมาทและเย่อหยิ่ง ได้
ทำลายหม้อให้แตก เพราะความประมาท เมื่อ
นั้น ก็เป็นคนเปลือยและนุ่งผ้าเก่า เป็นคน
โง่เขลา ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.
คนผู้ประมาทโง่เขลา ได้ทรัพย์มาแล้ว
ใช้สอยไปอย่างนี้ จะต้องเดือดร้อนในภาย
หลัง เหมือนนักเลงทุบหม้อสารพัดนึกฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพกามทท ได้แก่ หม้อที่สามารถ
ให้วัตถุอันน่าใคร่ทั้งปวง. บทว่า กูฏ เป็นไวพจน์ของ กุมภะหม้อ.
บทว่า ยาว แปลว่า ตลอดกาลเพียงใด. บทว่า อนุปาเลติ ความว่า
คนใดคนหนึ่ง ได้หม้อเห็นปานนี้ ยังรักษาไว้ตราบ เขาย่อมได้
ความสุขอยู่ตราบนั้น. บทว่า มตฺโต จ ทิตฺโต จ ความว่า ชื่อว่า
มัตตะ เพราะเมาเหล้า ชื่อว่า ทิตตะ เพราะเย่อหยิ่ง บทว่า ปมาทา
กุมฺภมพฺภิทา แปลว่า ทำลายหม้อเสีย เพราะความประมาท. บทว่า
นคฺโค จ โปตฺโถ จ ความว่า บางคราว เป็นคนเปลือย บางคราว
เป็นคนนุ่งผ้าเก่า เพราะเป็นคนนุ่งผ้าท่อนเก่า. บทว่า เอวเมว ก็คือ
เอวเมว แปลว่า อย่างนั้นนั่นแหละ. บทว่า ปมตฺโต ได้แก่ ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 325
ความประมาท. บทว่า ตปฺปติ ได้แก่ ย่อมเศร้าโศก.
พระศาสดาครั้นตรัสพระคาถาดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
นักเลงผู้ทำลายหม้อความเจริญในครั้งนั้นได้เป็นหลานเศรษฐีในบัดนี้
ส่วนท้าวสักกะ คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาภัทรฆฏเภทกชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 326
๒. สุปัตตชาดก
ว่าด้วยนางกาแพ้ท้อง
[๔๗๕] ข้าแต่มหาราช พระยากาชื่อสุปัตตะ
เป็นกาอยู่ในเมืองพาราณสี อันกาแปดหมื่น
แวดล้อมแล้ว.
[๔๗๖] นางกาสุปัสสาภรรยาของพระยากานั้น
แพ้ท้อง ปรารถนาจะกินพระกระยาหารมีค่า
มา ที่คนหุงต้มแล้วในห้องเครื่อง.
[๔๗๗] ข้าพระบาทเป็นทูตของพระยากาทั้งสอง
นั้น ถูกนายใช้ให้มา จึงได้เป็นผู้มาในที่นี้
ข้าพระบาทจะกระทำความจงรัก ต่อเจ้านาย
จึงได้จิกจมูกของคนเชิญเครื่องให้เป็นแผล.
จบ สุปัตตชาดกที่ ๒
อรรถกถาสุปัตตชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภัตข้าวสาลี เจือด้วยเนยใสใหม่ในรสปลาตะเพียนแดง ที่พระ-
สารีบุตรเถระถวายแก่พระพิมพาเทวี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า
พาราณสฺส มหาราช ดังนี้. เรื่องนี้เป็นเหมือนเรื่องในอัพภันตรชาดก
ซึ่งได้กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 327
ก็แม้ในกาลนั้น โรคลมในท้องของพระเถรีกำเริบขึ้น. พระ-
ราหุลภัทระจึงบอกแก่พระเถระ. พระเถระให้พระราหุลภัทระนั่งใน
โรงฉันแล้วไปยังพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าโกศลราช นำเอาภัตข้าว-
สาลีเจือด้วยเนยใสใหม่ในรสปลาตะเพียนแดง แล้วได้ให้แก่พระ-
ราหุลภัทระนั้น. พระราหุลภัทระได้นำไปถวายพระเถรีผู้เป็นพระชนนี.
พอพระเถรีนั้นเสวยเท่านั้น โรคลมในท้องก็สงบระงับ. พระราชา
ทรงส่งพวกราชบุรุษไปให้สอดแนมดู ตั้งแต่นั้นมาได้ถวายภัตเห็น
ปานนั้นแก่พระเถรี. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันใน
โรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระธรรมเสนาบดี ยัง
พระเถรีให้อิ่มหนำด้วยโภชนะเห็นปานนี้. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วย
เรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรให้สิ่งที่มารดารองราหุลปรารถนา
ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้ให้แล้วเหมือนกัน แล้ว
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกา พอเจริญวัย ได้
เป็นหัวหน้ากาแปดหมื่นตัว ได้เป็นพระยาชื่อว่าสุปัตต์ ส่วนอัครมเหสี
ของพระยากาสุปัตต์ ได้เป็นนางกาชื่อว่าสุปัสสา. เสนาบดี ชื่อว่า
สุมุขะ. พระยากาสุปัตต์นั้นแวดล้อมด้วยกาแปดหมื่นตัว อาศัยเมือง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 328
พาราณสีอยู่ วันหนึ่ง พระยากาสุปัตต์พานางกาสุปัสสาไปหาอาหาร
ได้บินไปทางเหนือโรงครัวของพระเจ้าพาราณสี. พ่อครัวปรุงโภชนะ
อันมีปลาและเนื้อชนิดต่าง ๆ เป็นเครื่องประกอบ เมื่อพระราชาเสด็จ
แล้ว เปิดภาชนะไว้หน่อยหนึ่ง ให้ไอร้อนระเหยออกไปอยู่ นางกา-
สุปัสสาสูดกลิ่นปลาและเนื้อแล้ว ประสงค์จะกินโภชนะของพระราชา
ตลอดวันนั้นไม่พูดเลย ในวันที่สองอันพระยากาสุปัตต์กล่าวว่า มาเถิด
นางผู้เจริญ พวกเราจักไปหากินกัน จึงกล่าวว่า ท่านไปเถิด ดิฉัน
มีการแพ้ท้องอย่างหนึ่ง เมื่อพระยากาสุปัตต์กล่าวว่า แพ้ท้องอะไร
นางจึงกล่าวว่า ดิฉันอยากกินโภชนะของพระเจ้าพาราณสี แต่ไม่
สามารถจะได้โภชนะนั้น ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ เพราะฉะนั้น
ดิฉันจึงจักละชีวิต. พระโพธิสัตว์กำลังนั่งคิดอยู่ พอดีสุมุขเสนาบดี
มาถามว่า ข้าแต่มหาราช ท่านไม่สบายใจเพราะอะไร ? พระราชา
จึงบอกเนื้อความนั้น. เสนาบดีจึงทูลให้พระราชาและพระอัครมเหสี
แม้ทั้งสองนั้นเบาใจว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่าคิดร้อนใจไปเลย
แล้วทูลไปว่า วันนี้ท่านทั้งสองจงอยู่ที่นี้แหละข้าพเจ้าจักไปนำภัต
นั้นมา แล้วก็หลีกไป. เสนาบดีนั้นให้พวกกาประชุมกันแล้วบอก
เหตุนั้นให้ทราบแล้วกล่าวว่า มาเถอะท่านทั้งหลาย พวกเราจักไป
นำภัตมา จึงพร้อมกับพวกกาบินเข้าไปยังพระนครพาราณสี แบ่งกา
เป็นพวกๆ ไว้ในที่ไม่ไกลโรงครัว แล้ววางไว้ เพื่อต้องการอารักขา
ในที่นั้น ๆ ส่วนตนเองนั่งจับอยู่บนหลังคาโรงครัวพร้อมกับกานักสู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 329
รบ ๘ ตัว. และเมื่อกำลังคอยเวลาที่พ่อครัวจะนำพระกระยาหาร
ไปถวายพระราชา ได้กล่าวกะกาเหล่านั้นว่า เมื่อพ่อครัวนำพระกระ-
ยาหารของพระราชามาอยู่ เราจักทำภาชนะให้ตกลงมา ก็เมื่อภาชนะ
ตกลงไปแล้ว ชีวิตของเราจะไม่มี ท่านทั้งหลาย ๔ ตัวจงคาบภัต
ให้เต็มปาก อีก ๔ ตัว จงคาบปลาและเนื้อ แล้วนำไปให้พระยากา
พร้อมทั้งภรรยาบริโภค เมื่อพระราชาถามว่า เสนาบดีไปไหน พวก
ท่านพึงบอกว่า จักมาข้างหลัง. ลำดับนั้น พ่อครัวจัดแจงชนิดโภชนะ
ของพระราชาเสร็จแล้ว จึงเชิญภาชนะไปด้วยหาบ เข้าไปยังราช-
ตระกูล. ในเวลาที่พ่อครัวไปถึงพระลานหลวง กาเสนาบดีจึงให้สัญญา
แก่กาทั้งหลาย แล้วตนเองโฉบลงจับที่อกของคนเชิญเครื่องกระหน่ำ
ด้วยกรงเล็บ เอาจงอยปากเช่นกับปลายหอกจิกปลายจมูกของคนเชิญ
เครื่องนั้น บินขึ้นเอาปีกและเท้าทั้งสองปิดปากของเขาไว้. พระราชา
เสด็จดำเนินอยู่บนท้องพระโรง ทอดพระเนตรไปทางพระแกลใหญ่
ทรงเห็นกิริยาของกานั้น จึงทรงให้เสียงแก่คนเชิญเครื่องตรัสว่า
แน่ะภัตตาหารกะผู้เจริญ เจ้าจงทิ้งภาชนะทั้งหลายเสีย จับเอาเฉพาะ
กาเท่านั้น. คนเชิญเครื่องนั้นจึงทิ้งภาชนะทั้งหลายแล้วจับกาไว้แน่น.
ฝ่ายพระราชาก็ตรัสว่า จงมาทางนี้. ขณะนั้น กาเหล่านั้นมากินจน
เพียงพอแก่ตน แล้วได้คาบเอาส่วนที่เหลือไปโดยทำนองที่กล่าวแล้ว
นั่นแหละ. ลำดับนั้น พวกกาที่เหลือจึงมากินส่วนที่เหลือ. ส่วนกา
ทั้ง ๘ ตัวนั้นบินไปให้พระยากาพร้อมทั้งปชาบดีบริโภคภัตนั้น. ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 330
แพ้ท้องของนางกาสุปัสสาก็สงบลง. คนเชิญเครื่องนำกาเข้าไปถวาย
พระราชา. ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัสถามกานั้นว่า กาผู้เจริญ
เจ้าไม่ละอายเราทั้งยังจิกจมูกของคนเชิญเครื่องให้แหว่งด้วย ทำลาย
ภาชนะภัตตาหารให้แตกด้วย และไม่รักษาชีวิตของตนด้วย เพราะ
เหตุไรเจ้าจึงได้กระทำกรรมเห็นปานนี้. กากราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช
ราชาของพวกข้าพระพุทธเจ้าอาศัยกรุงพาราณสีอยู่ ข้าพระพุทธเจ้า
เป็นเสนาบดีของพระราชานั้น ภรรยานามว่าสุปัสสาของพระราชานั้น
แพ้ท้อง ประสงค์จะบริโภคโภชนะของพระองค์ พระราชาจึงบอก
การแพ้ท้องของภรรยานั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้า. ข้าพระพุทธเจ้าจึงสละ
ชีวิตเพื่อพระราชานั้นนั่นแลจึงได้มา บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ส่งโภชนะ
ไปให้แก่ภรรยาของพระยากานั้นแล้ว ความปรารถนาแห่งใจของ
ข้าพระพุทธเจ้าถึงที่สุดแล้ว ด้วยเหตุนี้ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้กระทำ
กรรมปานนี้ เมื่อจะแสดงเนื้อความให้แจ่มแจ้ง จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
ข้าแต่มหาราช พระยากาชื่อสุปัตตะ
เป็นกาอยู่ในเมืองพาราณสี อันกาแปดหมื่น
แวดล้อมแล้ว.
นางกาสุปัสสาชายาของพระยากานั้น
แพ้ท้อง ปรารถนาจะกินพระกระยาหารอัน
มีค่ามากที่คนหุงต้มแล้วในห้องเครื่อง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 331
ข้าพระพุทธเจ้าเป็นทูตของพระยากา
ทั้งสองนั้น ถูกนายใช้ให้มาจึงได้เป็นผู้มา
ในที่นี้ ข้าพระพุทธเจ้าจะกระทำความจงรัก
ต่อเจ้านาย จึงได้จิกจมูกของคนเชิญเครื่อง
ให้เป็นแผล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาราณสฺส แปลว่า ในเมือง
พาราณสี. นิวาสิโก แปลว่า ผู้อยู่ประจำ บทว่า ปกฺก ได้แก่
จัดแจงแล้วโดยประการต่าง ๆ. อาจารย์บางพวกสาธยายว่า สิทฺธ
แปลว่า สำเร็จแล้ว. บทว่า ปจฺจคฺฆ ได้แก่ อันร้อนยิ่ง ไม่ได้ครอบไว้.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปัจจัคฆะ. เพราะบรรดาชนิดของปลาและเนื้อ
ทั้งหลาย ปลาและเนื้อที่เขาให้สุกแต่ละอย่างมีค่ามาก ดังนี้ก็มี. บทว่า
เตสาห ปหิโต ทูโต รญฺโ จมฺหิ อิธาคโต ความว่า
ข้าพระพุทธเจ้าเป็นทูต คือเป็นผู้กระทำตามคำสั่งของพระยากาแม้
ทั้งสองนั้น ทั้งพระยากาก็ส่งมาด้วย เพราะฉะนั้น จึงได้มาในที่นี้.
บทว่า ภตฺตุ อปจิตึ กุมฺมิ ความว่า ข้าพระพุทธเจ้านั้นได้มา
อย่างนี้แล้ว ย่อมจะกระทำความจงรัก คือสักการะและสัมมานะแก่
เจ้านายของตน. บทว่า นาสายมกร วณ ความว่า ข้าแต่มหาราช
เพราะเหตุนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจึงไม่ย่นย่อ ต่อพระองค์และชีวิตของตน
จึงได้เอาจะงอยปากจิกจมูกของคนเชิญเครื่องให้เป็นแผล เพื่อจะทำให้
ภาชนะภัตตาหารตกไป ข้าพระพุทธเจ้าได้กระทำจงรักต่อพระราชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 332
ของข้าพระพุทธเจ้าแล้ว บัดนี้ ขอพระองค์จงลงพระอาญาแก่
ข้าพระพุทธเจ้า ตามที่ทรงพระประสงค์เถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระราชาได้สดับคำของกานั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า ก่อนอื่น
พวกเราก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน ให้ยศใหญ่แก่คนผู้เป็นมนุษย์ ก็ยัง
ไม่อาจทำความสบายใจแก่เราได้ แม้จะให้บ้านเป็นต้นก็ยังไม่ได้บุคคล
ผู้จะเสียสละชีวิตให้แก่เรา สัตว์นี้เป็นกา ยังสละชีวิตแก่พระราชา
ของตนได้ นับว่าเป็นสัปบุรุษชั้นเยี่ยม มีเสียงไพเราะ เป็นธรรมกถึก
จึงทรงเลื่อมใสในคุณทั้งหลายของกานั้น และทรงบูชากานั้นด้วย
เศวตฉัตร. กานั้นก็บูชาพระราชานั่นแหละด้วยเศวตฉัตรของตนที่ได้
แล้วกล่าวคุณทั้งหลายของพระโพธิสัตว์. พระราชารับสั่งให้เรียก
พระโพธิสัตว์นั้นมาแล้วทรงสดับธรรม ได้ทรงตั้งภัตตาหารตาม
ทำนองเครื่องเสวยของพระองค์ เพื่อพระยากาและประชาบดีแม้ทั้งสอง
นั้น ทรงให้หุงข้าวสุกจากข้าวสารทนานหนึ่งทุกวัน เพื่อพวกกาที่เหลือ
นอกนี้ และพระองค์เองทรงตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทรง
ประทานอภัยแก่สัตว์ทั้งปวง ทรงรักษาศีลห้าเป็นประจำ. อนึ่ง
โอวาทของพระยากาสุปัตต์ ดำเนินไปอยู่ถึง เจ็ดร้อยปี.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้
กาเสนาบดีในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตรให้บัดนี้ กาสุปัสสาใน
ครั้งนั้น ได้เป็นมารดาพระราหุลในบัดนี้ ส่วนกาสุปัตตะ คือเรา
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุปัตตชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 333
๓. กายนิพพินทชาดก
ว่าด้วยความเบื่อหน่ายร่างกาย
[๔๗๘] เมื่อเราถูกโรคอย่างหนึ่งถูกต้อง ได้
เสวยทุกขเวทนาอย่างสาหัส อันทุกขเวทนา
เบียดเบียนอยู่ ร่างกายนี้ก็ซูบผอมลงอย่าง
รวดเร็ว ดุจดอกไม้ที่ทิ้งตากแดดไว้ที่ทราย
[๔๗๙] ก็รูปร่างอันไม่น่าพอใจ ถึงการนับว่านี้
พอใจ ที่ไม่สะอาด สมมติว่าเป็นของสะอาด
เต็มด้วยซากศพต่าง ๆ ปรากฏแก่คนพาลผู้
ไม่พิจารณา เห็นว่าเป็นของน่าพอใจ.
[๔๘๐] น่าติเตียนกายอันเปื่อยเน่า กระสับ
กระส่าย น่าเกลียดไม่สะอาด มีความป่วยไข้
เป็นธรรมดา เป็นที่ที่หมู่สัตว์ผู้ประมาทหมก
มุ่นอยู่ ย่อมยังหนทางเพื่อความเข้าถึงสุคติ
ให้เสื่อมไป.
จบ กายนิพพินทชาดกที่ ๓
อรรถกถากายนิพพินทชาดกที่ ๓
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
บุรุษคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ผุฏฺสฺส เม ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 334
ได้ยินว่า ในเมืองสาวัตถี มีบุรุษคนหนึ่งเป็นผู้เดือดร้อนด้วย
โรคผอมเหลือง พวกแพทย์ไม่ยอมรักษา. แม้บุตรและภรรยาของเขา
ก็คิดว่า ใครจะสามารถปฏิบัติพยาบาลผู้นี้ได้. บุรุษผู้นั้นได้มีความ
ดำริดังนี้ว่า ถ้าเราหายจากโรคนี้ เราจักบวช. โดยล่วงไป ๒-๓ วัน
เท่านั้น บุรุษผู้นั้นได้ความสบายเล็กน้อยจนเป็นผู้ไม่มีโรค จึงไปยัง
พระเชตวันมหาวิหาร ทูลขอบรรพชากับพระศาสดา. เขาได้บรรพชา
และอุปสมบทในสำนักของพระศาสดาแล้ว ไม่นานนัก ก็ได้บรรลุ
พระอรหัต. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรม-
สภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุรุษผู้มีโรคผอมเหลืองชื่อโน้นคิดว่า
เราหายจากโรคนี้ จักบวช ครั้นหายโรคแล้วจึงบวชและบรรลุ
พระอรหัต. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บุรุษผู้นี้เท่านั้น
แม้ในกาลก่อน บัณฑิตทั้งหลายก็กล่าวอย่างนี้ ครั้นหายจากโรค
ผอมเหลืองแล้วบวช ได้ทำความเจริญแก่ตน ดังนี้ แล้วทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ พอเจริญวัย
แล้ว ได้รวบรวมทรัพย์สมบัติอยู่ ได้เกิดเป็นโรคผอมเหลือง. พระ-
โพธิสัตว์นั้นคิดว่า เราหายจากโรคนี้แล้วจักบวช จึงกล่าวอย่างนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 335
ออกมา ได้ความสบายขึ้นมาบ้างจนเป็นผู้ไม่มีโรค จึงเข้าป่าหิมพานต์
บวชเป็นฤๅษี ทำสมาบัติและอภิญญาให้เกิดขึ้น แล้วอยู่ด้วยความสุข
ในฌาน คิดว่า เราไม่ได้ความสุขเห็นปานนี้ ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้
เมื่อจะเปล่งอุทาน จึงได้กล่าวคำถาเหล่านี้ว่า.
เมื่อเราถูกโรคอย่างหนึ่งถูกต้อง ได้เสวย
ทุกขเวทนาอย่างสาหัส อันทุกขเวทนาเบียด
เบียนอยู่ ร่างกายนี้ก็ซูบผอมลงอย่างรวดเร็ว
ดุจดอกไม่ที่ทิ้งตากแดดไว้ที่ทรายฉะนั้น.
รูปร่างอันไม่น่าพอใจ ถึงการนับว่าน่า
พอใจ ที่ไม่สะอาด สมมติว่าเป็นของสะอาด.
เต็มด้วยซากศพต่าง ๆ ปรากฏแก่คนพาลผู้
ไม่พิจารณาเห็นว่าเป็นของน่าพอใจ.
น่าติเตียนกายอันเปื่อยเน่า กระสับกระ-
ส่าย น่าเกลียดไม่สะอาด มีความป่วยไข้เป็น
ธรรมดา เป็นที่ที่หมู่สัตว์ผู้ประมาทหมกมุ่น
อยู่ ย่อมยังหนทางเพื่อเข้าถึงสุคติให้เสื่อมไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺตเรน ได้แก่ พยาธิ คือ
โรคผอมเหลืองอย่างหนึ่ง ในบรรดาโรค ๙๖ ประเภท. บทว่า โรเคน
ได้แก่ อันได้นามว่าโรคอย่างนี้ เพราะมีการเสียดแทงเป็นสภาวะ.
บทว่า รุปฺปโต แปลว่า เบียดเบียน คือบีบคั้น. บทว่า ปสุนิ อาตเป
กต ความว่า ย่อมซูบผอมไป เหมือนดอกไม้อันละเอียดอ่อน ซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 336
บุคคลเอาวางไว้ในที่ร้อน คือ ที่ทรายอันร้อนฉะนั้น. บทว่า อชญฺ
ชญฺพสงฺขาต ได้แก่ เป็นของปฏิกูลไม่น่าชอบใจเลย แต่ถึงการ
นับว่าเป็นที่น่าพอใจของพวกคนพาล. บทว่า นานากุณปปริปูร
ได้แก่ บริบูรณ์ด้วยซากศพ ๓๒ ชนิด มีผมเป็นต้น. บทว่า ชญฺรูป
อปสฺสโต ความว่า ย่อมปรากฏเป็นที่น่าพอใจ คือเป็นของดี มี
สภาวะเป็นเครื่องบริโภคใช้สอย สำหรับคนผู้เป็นอันธพาลปุถุชนผู้
ไม่เห็นอยู่ คือ ภาวะอันไม่สะอาดที่ท่านประกาศโดยนัยมีอาทิว่า คูถตา
ออกจากนัยน์ตา ดังนี้ ย่อมไม่ปรากฏแก่คนพาลทั้งหลาย. บทว่า
อาตุร คือ จับไข้เป็นนิตย์. บทว่า อธิมุจฺฉิตา ได้แก่ สยบหมก
มุ่นด้วยความสยบเพราะกิเลส. ว่า ปชา ได้แก่ ปุถุชนผู้บอดเขลา.
หาเปนฺติ มคฺค สุคตูปปตฺติยา ความว่า หมู่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้
ข้องอยู่ในกายอันเปื่อยเน่านี้ ทำหนทางอบายให้เต็ม ทำหนทางเพื่อ
เข้าถึงสุคติอันต่างด้วยเทวดาและมนุษย์ ให้เสื่อมไป.
พระมหาสัตว์กำหนดพิจารณาภาวะอันไม่สะอาด และภาวะอัน
กระสับกระส่ายเป็นนิตย์ โดยประการต่างๆ ด้วยประการดังนี้อยู่ เบื่อ
หน่ายในกาย จึงเจริญพรหมวิหาร ๔ จนตลอดชีวิต ได้เป็นผู้มี
พรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็นอัน
มากได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น. พระดาบสในครั้งนั้น คือเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากายนิพพินทชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 337
๔. ชัมพูขาทกชาดก
ว่าด้วยการสรรเสริญกันและกัน
[๔๘๑] ใครนี่มีเสียงอันไพเราะเพราะพริ้ง อุดม
กว่าสัตว์ผู้มีเสียงเพราะทั้งหลาย จับอยู่ที่กิ่ง
ชมพู่ ส่งเสียงร้องไพเราะดุจลูกนกยูงฉะนั้น.
[๔๘๒] กุลบุตรย่อมรู้จักสรรเสริญกุลบุตร ดู
ก่อนสหายผู้มีผิวพรรณคล้ายกับลูกเสือโคร่ง
เชิญท่านบริโภคเถิด เรายอมให้แก่ท่าน.
[๔๘๓] ดูก่อนบุคคลผู้สรรเสริญกันและกัน
เราได้เห็นคนพูดมุสา คือ กาผู้เคี้ยวกินของ
ที่คนอื่นตายแล้ว และสุนัขจิ้งจอกผู้กิน
ซากศพ มาประชุมกันนานมาแล้ว.
จบ ชัมพูขาทกชาดกที่ ๔
อรรถกถาชัมพูขาทกชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระเทวทัตกับพระโกกาลิกะ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โกย
วินฺทุสฺสโร วคฺคุ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 338
ได้ยินว่า ในครั้งนั้น เมื่อพระเทวทัตเสื่อมลาภสักการะ พระ-
โกกาลิกะจึงเข้าไปยังตระกูลทั้งหลาย กล่าวคุณของพระเทวทัตว่า
พระเถระผู้มีนามว่าเทวทัต เกิดในราชวงศ์แห่งพระเจ้าโอกกากราช
โดยสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้ามหาสมมตราช เจริญในขัตติยวงศ์อัน
ไม่ปะปน ทรงพระไตรปิฎก ได้ฌาน มีถ้อยคำไพเราะ เป็นธรรม-
กถึก ท่านทั้งหลายจงให้ จงกระทำ แก่พระเถระเถิด. ฝ่ายพระเทวทัต
ก็กล่าวคุณของพระโกกาลิกะว่า พระโกกาลิกะออกบวชจากตระกูล
พราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ท่านทั้งหลายจงให้
จงกระทำ แก่พระโกกาลิกะเถิด. พระเทวทัตกับพระโกกาลิกะนั้น
ต่างกล่าวคุณของกันและกัน เที่ยวฉันอยู่ในเรือนแห่งตระกูลทั้งหลาย
ด้วยประการดังนี้. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรง
ธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตกับ พระโกกาลิกะต่าง
กล่าวถ้อยคำพรรณนาคุณอันไม่มีจริงของกันและกัน แล้วเที่ยวฉัน
อาหารอยู่. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบ-
ทูลให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น
ที่พระเทวทัตกับพระโกกาลิกะนั้นกล่าวคำพรรณนาคุณอันไม่เป็นจริง
แล้วบริโภคภัตตาหาร. แม้ในกาลก่อนพระเทวทัตกับพระโกกาลิกะก็
บริโภค แล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 339
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในราวป่า
ชมพู่แห่งหนึ่ง. ในป่าชมพู่นั้น มีกาตัวหนึ่งจับอยู่ที่กึงชมพู่ กินผล
ชมพู่สุก ๆ. ครั้งนั้น มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเดินมา แหงนดูเห็นกา
คิดว่า ถ้ากระไร เรากล่าวคุณอันไม่เป็นจริงของกานี้ จะได้กินชมพู่
สุก จึงเมื่อจะกล่าวคุณของกานั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
ใครนี่มีเสียงอันไพเราะเพราะพริ้งอุดม
กว่าสัตว์ผู้มีเสียงเพราะทั้งหลาย จับอยู่ที่กิ่ง
ชมพู่ ส่งเสียงร้องไพเราะดุจลูกนกยูงฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วินฺทุสฺสโร ความว่า ประกอบ
ด้วยเสียงหยดย้อย คือ ลมุนลมัย กลมกล่อม. บทว่า วคฺคุ ได้แก่
มีเสียงทั้งอ่อนทั้งเพราะ. บทว่า อจฺจุโต ได้แก่ ไม่เคลื่อนที่ คือ
จับนิ่งอยู่. ด้วยบทว่า โมรจฺฉาโปว กุชฺชติ นี้ สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า
นั่นชื่ออะไร ส่งเสียงร้องเป็นที่น่าเจริญใจ ดุจนกยูงรุ่นหนุ่มฉะนั้น.
ลำดับนั้น กาเมื่อจะสรรเสริญตอบสุนัขจิ้งจอกนั้น จึงกล่าว
คาถาที่ ๒ ว่า :-
กุลบุตรย่อมรู้จักสรรเสริญกุลบุตร ดู
ก่อนสหายผู้มีผิวพรรณคล้ายลูกเสือโคร่ง
เชิญท่านบริโภคเถิด เรายอมให้แก่ท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยคฺฆจฺฉาปสทิสวณฺณ ความว่า
ท่านย่อมปรากฏแก่ข้าพเจ้า เหมือนมีวรรณะเสมอกับลูกเสือโคร่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 340
ดูก่อนท่านผู้มีวรรณะเช่นกับลูกเสือโคร่งผู้เจริญ ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้า
จึงขอกล่าวกะท่าน. บทว่า ภุญฺช สมฺม ททามิ เต ความว่า
ดูก่อนสหาย ท่านจงกินผลชมพู่สุกจนพอแก่ความต้องการเถิด เรา
ยอมให้ท่าน.
ก็แหละ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงเขย่ากิ่งชมพู่ให้ผลทั้งหลาย
หล่นลงไป. ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นชมพู่ เห็นกากับสุนัขจิ้งจอก
ทั้งสองแม้นั้น กล่าวคุณอันไม่เป็นจริงของกันและกันกินชมพู่สุกอยู่
จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า
ดูก่อนบุคคลผู้สรรเสริญกันและกัน
เราได้เห็นคนพูดมุสา คือกาผู้เคี้ยวกินของ
ที่คนอื่นคายแล้ว และสุนัขจิ้งจอกผู้กิน
ซากศพ มาประชุมกันนานมาแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วนฺตาท ได้แก่ กาผู้กินภัตที่
คนอื่นคายแล้ว. บทว่า กุณปาทญฺจ ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกผู้กินซากศพ.
ก็แหละ เทวดานั้นครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว จึงแสดงรูปารมณ์
อันน่ากลัวให้กาและสุนัขจิ้งจอกเหล่านั้นให้หนีไปจากที่นั้น.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า สุนัขจิ้งจอกในกาลนั้น ได้เป็นพระเทวทัต กาในกาลนั้น
ได้เป็นพระโกกาลิกะ ส่วนรุกขเทวดาได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาชัมพูขาทกชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 341
๕. อันตชาดก
ว่าด้วยที่สุด ๓ ประการ
[๔๘๔] ข้าแต่พระยาเนื้อ ร่างกายของท่านเหมือน
ของโคอุสุภราช ความองอาจของท่านเหมือน
ของสีหราช ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่ท่าน ทำ
อย่างไรข้าพเจ้าจึงจักได้อาหารสักหน่อย.
[๔๘๕] กุลบุตรย่อมรู้จักสรรเสริญกุลบุตร ดูก่อน
กาผู้มีสร้อยคองามดุจนกยูง เชิญท่านลงจาก
ต้นละหุ่งมากินเนื้อให้สบายเถิด.
[๔๘๖] บรรดามฤคชาติทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอก
เป็นเลวที่สุด บรรดาปักษีทั้งหลาย กาเป็น
เลวที่สุด บรรดารุกขชาติทั้งหลาย ต้นละหุ่ง
เป็นเลวที่สุด ที่สุด ๓ ประเภทมารวมกันเอง.
จบ อันตชาดกที่ ๕
อรรถกถาอันตชาดกที่ ๕
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภคนทั้งสอง คือพระเทวทัตกับพระโกกาลิกะนั้นนั่นแหละ จึง
ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุสภสฺเสว เต ขนฺโธ ดังนี้. เรื่องอันเป็น
ปัจจุบันเหมือนกับเรื่องแรกนั่นเอง ส่วนเรื่องในอดีตมีดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 342
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ที่ต้นละหุ่ง ในบริเวณ
บ้านแห่งหนึ่ง. ในกาลนั้น ชาวบ้านลากโคแก่ซึ่งตายในบ้านนั้น ไป
ทิ้งที่ป่าละหุ่งใกล้ประตูบ้าน. มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งมากินเนื้อของโค
แก่ตัวนั้น. มีกาตัวหนึ่งบินมาจับอยู่ที่ต้นละหุ่งเห็นดังนั้นจึงคิดว่า ถ้า
กระไรเรากล่าวคุณกถาอันไม่มีจริงของสุนัขจิ้งจอกตัวนี้แล้วจะได้กิน
เนื้อ จึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า :-
ข้าแต่พระยาเนื้อ ร่างกายของท่านเหมือน
ร่างกายโคอุสุภราช ความองอาจของท่าน
เหมือนดังราชสีห์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
แก่ท่าน ทำอย่างไรข้าพเจ้าจึงจักได้อาหารสัก
หน่อย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นโม ตฺยตฺถุ อันเป็น นโม เต อตฺถุ
แปลว่า ขอนอบน้อมแด่ท่าน.
สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-
กุลบุตรย่อมรู้จักสรรเสริญกุลบุตร ดูก่อน
กาผู้มีสร้อยคองามดุจนกยูง เชิญท่านลงจาก
ต้นละหุ่งมากินเนื้อให้สบายเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อิโต ปริยาท นี้ สุนัขจิ้งจอก
กล่าวว่า ท่านลงจากต้นละหุ่ง คือมาจากต้นละหุ่งนี้จนถึงเรา แล้วจง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 343
กินเนื้อ.
รุกขเทวดาเห็นกิริยาของสัตว์ทั้งสองนั้นจึงกล่าวคาถาที่สามว่า :-
บรรดามฤคชาติทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอก
เป็นเลวที่สุด บรรดาปักษีทั้งหลาย กาเป็น
เลวที่สุด บรรดารุกขชาติทั้งหลาย ต้นละหุ่ง
เป็นเลวที่สุด ที่สุดทั้ง ๓ ประเภทมาสมาคม
กันแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺโต แปลว่า เลว คือ ลามก.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า สุนัขจิ้งจอกในกาลนั้น ได้เป็นพระเทวทัต กาใน
กาลนั้นได้เป็นพระโกกาลิกะ ส่วนรุกขเทวดา คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาอันตชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 344
๖. สมุททชาดก
ว่าด้วยสมุทรสาคร
[๔๘๗] ใครนี้หนอมาเที่ยววนเวียนอยู่ในน้ำ
ทะเลอันเค็ม ย่อมห้ามปลาและมังกร
ทั้งหลาย และย่อมเดือดร้อนในกระแสน้ำ
ที่มีคลื่น.
[๔๘๘] ข้าพเจ้าเป็นนกชื่อว่าอนันตปายี ปรากฏ
ไปทั่วทิศว่า เป็นผู้ไม่อิ่ม เราปรารถนาจะดื่ม
น้ำในมหาสมุทรสาครใหญ่ ว่าแม่น้ำทั้งหลาย.
[๔๘๙] สมุทรสาครนี้พร่องก็ดี เต็มเปี่ยมอยู่ก็ดี
ใคร ๆ จะดื่มน้ำในสมุทรสาครนั้น ก็หาพร่อง
ไปไม่ ได้ยินมาว่า สาครอันใคร ๆ ไม่อาจ
จะดื่มกินให้หมดสิ้นไปได้.
จบ สมุททชาดกที่ ๖
อรรถกถาสมุททชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระอุปนันทเถระ จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า โก นฺวาย ดังนี้.
ได้ยินว่า พระอุปนันทะนั้นบริโภคมาก มีความทะเยอ-
ทะยานมาก ใคร ๆ ไม่อาจให้พระอุปนันทะนั้นอิ่มหนำแม้ด้วยปัจจัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 345
เต็มเล่มเกวียน. ในวันใกล้เข้าพรรษา พระอุปนันทะนั้นวางรองเท้าไว้
ในวิหารหนึ่ง วางลักจั่นไว้ในวิหารหนึ่ง วางไม้เท้าไว้ในวิหารหนึ่ง
ตนเองอยู่ในวิหารหนึ่ง คราวหนึ่ง ไปยังวิหารในชนบท เห็นภิกษุ
ทั้งหลายมีบริขารประณีต จึงกล่าวอริยวังสกถาพรรณนาถึงความเป็น
วงศ์ของอริยะ ให้ภิกษุเหล่านั้นถือผ้าบังสุกุล แล้วถือเอาจีวรของ
ภิกษุเหล่านั้น ให้ภิกษุเหล่านั้นถือบาตรดินแล้ว ตนเองเอาบาตร
ที่ชอบ ๆ และภาชนะมีถาดเป็นต้น บรรทุกเต็มยานน้อยแล้วมาสู่
พระเชตวันมหาวิหาร. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันใน
โรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระอุปนันทะ ศากยบุตร
บริโภคมาก มักมาก แสดงข้อปฏิบัติแก่ภิกษุเหล่าอื่น แล้วเอาสมณ-
บริขารบรรทุกเต็มยานน้อยมา. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อ
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อุปนันทะกล่าวอริยวังสกถาแก่ผู้อื่น แล้วกระทำกรรมอัน
ไม่สมควร เพราะควรที่ตนจะต้องเป็นผู้มักน้อยก่อนแล้ว จึงกล่าว
อริยวังสกถาแก่ผู้อื่นในภายหลัง แล้วทรงแสดงคาถาในพระธรรมบท
ดังนี้ว่า :-
บุคคลควรตั้งตนไว้ในคุณอันสมควร
ก่อน แล้วพึงสั่งสอนผู้อันในภายหลัง บัณฑิต
จะไม่พึงเศร้าหมอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 346
ครั้นแล้วจึงทรงติเตียนพระอุปนันทะ แล้วตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ พระอุปนันทะเป็นผู้มักมากในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ใน
กาลก่อนก็ยังสำคัญน้ำแม้ในมหาสมุทรว่า ตนควรจะรักษา แล้วทรง
นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นเทวดารักษาสมุทร.
ครั้งนั้นมีกาน้ำตัวหนึ่งบินเที่ยวอยู่ ณ ส่วนเบื้องบนมหาสมุทร เที่ยว
ห้ามฝูงปลาและฝูงนกว่า ท่านทั้งหลายจงดื่มน้ำในมหาสมุทรแต่พอ
ประมาณ จงช่วยกันรักษา ดื่มเถิด. สมุทรเทวดาเห็นดังนั้น จึงกล่าว
คาถาที่ ๑ ว่า
ใครนี่หนอ มาเที่ยววนเวียนอยู่ในน้ำ
ทะเลอันเค็ม ย่อมห้ามปลาและมังกร
ทั้งหลาย และย่อมเดือดร้อนในกระแสน้ำ
ที่มีคลื่น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นฺวาย ตัดเป็น โก นุ อย
แปลว่า นี่ใครหนอ.
กาน้ำได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
ข้าพเจ้าเป็นนกชื่อว่าอนันตปายี ปรากฏ
ไปทั่วทิศว่า เป็นผู้ไม่อิ่ม เราปรารถนาจะดื่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 347
น้ำมหาสมุทรสาครเป็นใหญ่กว่าแม่น้ำทั้ง
หลาย.
เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า เราปรารถนาจะดื่มน้ำในสาครอัน
หาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุนั้น เราจึงเป็นนกชื่อว่าอนันตปายี. อนึ่ง เราอัน
บุคคลได้ยินได้ฟังปรากฏแล้วว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่รู้จักอิ่ม เพราะ
ประกอบด้วยความอยากอันไม่รู้จักเต็มมากมาย เรานั้นปรารถนาจะดื่ม
น้ำมหาสมุทรนี้ทั้งสิ้น ที่ชื่อว่าสาคร เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ
อันงดงาม และเพราะอันสาครขุดเซาะ ชื่อว่าเป็นใหญ่กว่าสระทั้งหลาย
เพราะเป็นเจ้าแห่งสระทั้งหลาย.
สมุทรเทวดาได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ทะเลใหญ่นี้นั้น ย่อมลดลงและกลับ
เต็มอยู่ตามเดิม บุคคลดื่มกินอยู่ก็หาทำให้
น้ำทะเลนั้นพร่องลงไป ได้ยินว่า น้ำทะเล
ใหญ่นั้น ใคร ๆ ไม่อาจดื่มกินให้หมดสิ้นไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสย ตัดเป็น โส อย แปลว่า
นี้นั้น. บทว่า หายตี เจว ความว่า น่าทะเลย่อมพร่องในเวลา
น้ำลง และย่อมเต็มในเวลาน้ำไหลขึ้น. บทว่า นาสฺส นายติ
ความว่า ถ้าแม้ชาวโลกทั้งสิ้นจะดื่มน้ำมหาสมุทรนั้น แม้ถึงเช่นนั้น
มหาสมุทรนั้นก็ไม่ปรากฏความพร่องแม้ว่าชาวโลกดื่มน้ำชื่อมีประมาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 348
เท่านี้ จากน้ำนี้. บทว่า อเปยฺโย กิร ความว่า ได้ยินว่าสาครนี้
ใคร ๆ ไม่อาจดื่มให้น้ำหมด.
ก็แหละรุกขเทวดาครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วแสดงรูปารมณ์อันน่า
กลัวให้กาสมุทรนั้นหนีไป.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า กาสมุทรในครั้งนั้น ได้เป็นพระอุปนันทะในบัดนี้
ส่วนรุกขเทวดา คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสมุททชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 349
๗. กามวิลาปชาดก
ว่าด้วยผู้พิลาปถึงกาม
[๔๙๐] ดูก่อนนกผู้มีปีกเป็นยาน บินทะยานไป
ในเวหา บินไปในอากาศอันสูง ท่านช่วย
บอกกะภรรยาของข้าพเจ้าผู้มีลำขาเสมอด้วย
ต้นกล้วย ว่าข้าพเจ้าถูกเสียบอยู่บนหลาว
ภรรยาของข้าพเจ้านั้น เมื่อไม่รู้ข่าวคราวอัน
นี้ ก็จักทำการรอคอยข้าพเจ้าเป็นเวลานาน.
[๔๙๑] ภรรยาของข้าพเจ้านั้นยังไม่รู้ว่าหลาว
และหอกนี้เขาวางไว้ เพื่อเสียบประจาน
นางเป็นคนดุร้าย ก็จะโกรธข้าพเจ้า ความ
โกรธแห่งภรรยาของข้าพเจ้านั้น จะทำให้
ข้าพเจ้าเดือดร้อนไปด้วย อนึ่ง หลาวนี้มิได้
ทำให้ข้าพเจ้าเดือดร้อนเลย.
[๔๙๒] หอกและเกราะนี้ข้าพเจ้าเก็บไว้ที่หัวนอน
อนึ่ง แหวนก้อยที่ทำด้วยทองคำสุก และ
ผ้าแคว้นกาสีเนื้ออ่อน ข้าพเจ้าก็เก็บไว้ที่หัว
นอน ขอภรรยาที่รักของข้าพเจ้า ผู้มีความ
ต้องการทรัพย์ จงยินดีด้วยทรัพย์นี้เถิด.
จบ กามวิลาปชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 350
อรรถกถากามวิลาปชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การประเล้าประโลมภรรยาเก่า จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุจฺเจ
สกุเณ เฑมาน ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันได้กล่าวไว้แล้วในปุปผรัตตชาดก เรื่องอดีตจักมี
แจ้งในอินทรียชาดก.
แต่ในที่นี้ ราชบุรุษทั้งหลายทำให้บุรุษนั้นเร่าร้อน เสียบ
ประจานไว้บนหลาวทั้งเป็น ๆ. บุรุษนั้นนั่งอยู่บนหลาวนั้น เห็น
กาบินมาทางอากาศ ไม่อนาทรถึงเวทนาทั้งที่แรงกล้าเห็นปานนั้น
เมื่อจะเรียกกานั้นมาเพื่อจะส่งข่าวสารถึงภรรยาผู้เป็นที่รัก จึงได้กล่าว
คาถาเหล่านี้ว่า :-
ดูก่อนนกผู้มีปีกเป็นยาน บินทะยาน
ไปในเวหา บินไปในอากาศอันสูง ท่านช่วย
บอกภรรยาของข้าพเจ้าผู้มีลำขาเสมอด้วยต้น
กล้วยให้ทราบด้วย ว่าข้าพเจ้าถูกเสียบอยู่บน
หลาว ภรรยาที่รักของข้าพเจ้านั้นเมื่อไม่ทราบ
ข่าวคราวอันนี้ จักทำการรอคอยข้าพเจ้าตลอด
กาลนาน.
ภรรยาของข้าพเจ้านั้นยังไม่รู้ว่าหลาว
และหอกนี้เขาวางไว้ เพื่อเสียบประจาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 351
นางเป็นคนดุร้าย ก็จะโกรธข้าพเจ้า ความ
โกรธแห่งภรรยาของข้าพเจ้านั้นจะทำข้าพเจ้า
ให้เดือดร้อนไปด้วย. แต่หลาวนี้มิได้ทำให้
ข้าพเจ้าเดือดร้อนในที่นี้เลย.
หอกและเกราะนี้ข้าพเจ้าเก็บไว้ที่หัวนอน
อนึ่ง แหวนก้อยที่ทำด้วยทองคำเนื้อสุก และ
ผู้แคว้นกาสีเนื้ออ่อน ข้าพเจ้าเก็บไว้ที่หัว
นอน ขอภรรยาที่รักของข้าพเจ้า ผู้มีความ
ต้องการทรัพย์ จงยินดีด้วยทรัพย์นี้เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เฑมาน แปลว่า บิน คือไป.
บุรุษคนนั้นเรียกกาตัวนั้นแหละว่า ปตฺตยาน ผู้มีปีกเป็นยานะ เรียก
ว่า วิหงฺคม ผู้ไปในเวหา ก็เหมือนกัน . จริงอยู่ กานั้น ชื่อว่า
มีปีกเป็นยาน เพราะกระทำการไปด้วยปีกทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ไปใน
เวหา เพราะไปทางอากาศ. บทว่า วชฺชาสิ แปลว่า ท่านพึงบอก.
บทว่า วามูรุ แปลว่า ผู้มีขาอ่อนเสมอลำต้นกล้วย. ท่านพึงบอกว่า
ข้าพเจ้านั่นอยู่บนหลาว. บทว่า จิร โข สา กริสฺสติ ความว่า
นานเมื่อไม่ทราบข่าวคราวนี้ จักกระทำการรอคอยการมาของข้าพเจ้า
ในเวลานาน คือ นางจักคิดอย่างนี้ว่า สามีอันเป็นที่รักไปนานแล้ว
ยังไม่มา. ด้วยบทว่า อสิ สตฺติญฺจ แปลว่า ดาบและหอก นี้
บุรุษนั้นกล่าวหมายเอาเฉพาะหอกเท่านั้น เพราะมันเสมอด้วยดาบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 352
และหอก. จริงอยู่หอกนั้น เขาวางคือปักไว้ เพื่อเสียบประจานบุรุษ
นั้น. บทว่า จณฺฑี ได้แก่ เป็นผู้มักโกรธ. บทว่า กาหตี โกธ
ความว่า นางจักกระทำความโกรธต่อเราว่า มัวชักช้าอยู่. บทว่า ต
เม ตปฺปติ ความว่า ความโกรธของนางนั้น ย่อมทำเราให้เดือด
ร้อน. ด้วยบทว่า โน อิธ นี้ บุรุษนั้นแสดงว่า ก็หลาวนี้ย่อมไม่
ทำเราให้เดือดร้อนในที่นี้เลย. ด้วยคำเป็นต้นว่า นี้หอกและเกราะ
ดังนี้ บุรุษผู้นั้นบอกถึงสิ่งของของตนซึ่งวางไว้บนหัวนอนในเรือน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปลสนฺนาโห ได้แก่ หอกและเกราะ
อธิบายว่า หอกชนิดหนึ่งคล้ายดอกบัวและเกราะ. บทว่า นิกฺขญฺจ
ได้แก่ แหวนก้อยที่ทำด้วยทองเนื้อ ๕. ด้วยบทว่า กาสิกญฺจ มุทุ
วตฺถ นี้ บุรุษนั้นกล่าว หมายเอาผ้าสาฎกคู่หนึ่ง ซึ่งทำจากแคว้น
กาสีมีเนื้ออ่อนนุ่ม. ได้ยินว่า สิ่งของมีประมาณเท่านี้ ที่บุรุษนั้นเก็บ
ไว้บนหัวนอน. บทว่า ตปฺเปตุ ธนกามิยา ความว่า ภรรยาผู้เป็น
ที่รักของเรานั้นมีความต้องการทรัพย์ จงถือเอาทรัพย์ทั้งหมดนี้ จง
อิ่มเอิบ บริบูรณ์ คือจงยินดีด้วยทรัพย์นี้.
บุรุษนั้นคร่ำครวญอยู่อย่างนี้นั้นแล ก็ตายไปบังเกิดในนรก
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประ-
กาศสัจจะทั้งหลายแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้
กระสันจะสึก ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็น
ภรรยาในครั้งนี้ เทวบุตรผู้เห็นเหตุการณ์นั้น คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถากามวิลาปชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 353
๘. อุทุมพรชาดก
ผู้อ่อนน้อมชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม
[๔๙๓] ต้นมะเดื่อ ต้นไทร และต้นมะขวิดนี้
มีผลสุกแล้ว เชิญท่านออกมากินเสียเถิด จะ
ยอมตายเพราะความหิวโหยทำไม.
[๔๙๔] ผู้ใดประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ผู้นั้น
ชื่อว่า เป็นผู้อิ่มแล้ว ไม่หวงแหน เหมือน
ข้าพเจ้า เคี้ยวกินผลไม่สุกจนอิ่มแล้วในวันนี้
ฉะนั้น.
[๔๙๕] ลิงเกิดในป่า พึงหลอกลวงลิงที่เกิดในป่า
เพราะเหตุอันใด แม้ลิงหนุ่มเช่นท่านก็ไม่พึง
เชื่อ เหตุอันนั้น ลิงผู้ใหญ่ที่แก่เฒ่าชราเช่น
ข้าพเจ้า ไม่พึงเชื่อถือเลย.
จบ อุทุมพรชาดกที่ ๘
อรรถกถาอุทุมพรชาดกที่ ๘
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
ภิกษุรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุทุมฺพรา นิเจ ปกฺกา๑ ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นสร้างวิหารอยู่ในปัจจันตคามแห่งหนึ่ง. วิหาร
น่ารื่นรมย์ตั้งอยู่เหนือแผ่นหินดาด. สถานที่ปัดกวาดคล้ายปะรำ มีน้ำ
ใช้ผาสุกสำราญ. โคจรคามก็ไม่ไกล. คนทั้งหลายรักใคร่พากันถวาย
๑. บาลี เป็น จิเม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 354
ภิกษา. ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวจาริกไปถึงวิหารนั้น. ภิกษุผู้เป็น
เจ้าถิ่นกระทำอาคันตุกวัตรแก่ภิกษุนั้น ในวันรุ่งขึ้น ได้พาภิกษุนั้นไป
บิณฑบาตยังบ้าน. คนทั้งหลายถวายภิกษาอันประณีตแก่ภิกษุนั้น แล้ว
นิมนต์ฉันในวันพรุ่งนี้อีก. อาคันตุกะภิกษุฉันอยู่ ๒-๓ วัน จึงคิดว่า
เราจักลวงภิกษุเจ้าถีนนั้นด้วยอุบายอย่างหนึ่งฉุดคร่าออกไป แล้วยึด
วิหารนี้. ลำดับนั้น ภิกษุอาคันตุกะได้ถามภิกษุเจ้าถิ่นผู้มายังที่บำรุง
พระเถระว่า อาวุโส ท่านไม่ได้ทำการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าหรือ ?
ภิกษุเจ้าถิ่นกล่าว่า ชื่อว่าคนผู้จะปฏิบัติดูแลวิหารนี้ ไม่มี ด้วยเหตุนั้น
กระผมจึงไม่เคยไป. ภิกษุอาคันตุกะกล่าวว่า ผมจักปฏิบัติดูแลวิหารนี้
จนกว่าท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกลับมา. ภิกษุเจ้าถิ่นกล่าวว่า ดีแล้ว
ท่านผู้เจริญ แล้วกล่าวกะคนทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงอย่าประมาท
พระเถระจนกว่าเราจะกลับมา แล้วหลีกไป. จำเดิมแต่นั้นมา อาคัน-
ตุกะภิกษุก็กล่าวว่า ภิกษุเจ้าถิ่นนั้นมีโทษนี้และนี้ แล้วยุยงคนทั้งหลาย
เหล่านั้นให้แตกร้าวกัน. ฝ่ายภิกษุเจ้าถิ่นถวายบังคมพระศาสดาแล้ว
กลับมา. ลำดับนั้น ภิกษุอาคันตุกะนั้น ไม่ให้ภิกษุเจ้าถิ่นเข้าไป. ภิกษุ
เจ้าถิ่นนั้นจึงอยู่ในที่แห่งหนึ่ง. วันรุ่งขึ้น เข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน.
ฝ่ายคนทั้งหลายก็ไม่กระทำแม้มาตรว่าสามีจิกรรม. ภิกษุเจ้าถิ่นนั้น
เดือดร้อน จึงไปยังพระเชตวันวิหารอีก แล้วบอกเหตุการณ์อันนั้น
แก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายจึงนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า
อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่าภิกษุโน้นคร่าภิกษุโน้นออกจากวิหาร แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 355
ตนเองอยู่ในวิหารนั้น. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ใน
บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน อาคันตุกะภิกษุนั้นก็ได้ด้ฉุดคร่าภิกษุนี้ออก
จากที่อยู่มาแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดัง
ต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในป่า. ในฤดูฝน
ฝนตกในป่านั้น ตลอด ๗ สัปดาห์. ครั้งนั้นมีลิงเล็กหน้าแดงตัวหนึ่ง
อยู่ในซอกเขาหินแห่งหนึ่งซึ่งไม่เปียกฝน วันหนึ่ง นั่งอยู่ในที่ที่ไม่
เปียก ณ ที่ประตูซอกเขา. ลำดับนั้น ลิงใหญ่หน้าดำตัวหนึ่ง เปียก
ฝน ถูกความหนาวเบียดเบียน เที่ยวมา เห็นลิงเล็กนั้นนั่งอยู่อย่างนั้น
จึงคิดว่า เราจักนำเจ้าลิงนี้ออกไปด้วยอุบาย แล้วจักอยู่ในที่นี้เสียเอง
จึงทำให้ท้องย้อยยานแสดงอาการอิ่มเหลือล้น ไปยืนอยู่ข้างหน้าลิงเล็ก
นั้น แล้วกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า
ต้นมะเดื่อ ต้นไทร และต้นมะขวิดนี้
มีผลสุกแล้ว เชิญท่านออกมากินเถิด จะ
ยอมตายเพราะความหิวทำไม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปิตฺถนา ได้แก่ ผลไม้เลียบ.
บทว่า เอหิ นิกฺขมฺม ความว่า ต้นมะเดื่อเป็นต้นเหล่านี้ วิจิตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 356
แล้วเพราะเต็มด้วยผล แม้เราก็เคี้ยวกินจนอิ่มแล้วจึงมา แม้ท่านก็
จงไปกินเสีย.
ฝ่ายลิงเล็กนั้น ได้ฟังคำของลิงใหญ่นั้นก็เชื่อ ประสงค์จะ
เคี้ยวกินผลาผลทั้งหลายจึงได้ออกแล้วเที่ยวไปในที่นั้น ๆ เมื่อไม่ได้
อะไร ๆ จึงกลับมาอีก เห็นลิงใหญ่นั้นเข้าไปนั่งในซอกเขาของตน
คิดว่า จักลวงลิงใหญ่นั้น จึงยินอยู่ข้างหน้าลิงใหญ่นั้นแล้วกล่าวคาถา
ที่สองว่า
ผู้ใดประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ผู้นั้น
ชื่อว่าเป็นผู้อิ่มแล้ว เหมือนข้าพเจ้าเคี้ยวกิน
ผลไม้สุกเป็นผู้อิ่มแล้วในวันนี้ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุมปกฺกานิ มาสิโต ความว่า
ข้าพเจ้าเคี้ยวกินผลไม้มีผลมะเดื่อเป็นต้นเป็นผู้อิ่มแล้ว.
ลิงใหญ่ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่สามว่า
ลิงเกิดในป่า พึงหลอกลวงลิงที่เกิด
ในป่า เพราะเหตุใด แม้ลิงหนุ่มก็ไม่พึงเชื่อ
เหตุอันนั้น ลิงที่แก่เฒ่าชราจะไม่เชื่อเลย.
เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ลิงผู้เกิดในป่า พึงกระทำการหลอก
ลวงลิงผู้เกิดในป่า เพราะเหตุอันใด ลิงแม้หนุ่มเช่นท่าน ก็จะไม่พึง
เชื่อ เพราะเหตุอันนั้น ลิงแก่ชรา คือ ลิงผู้เฒ่าแม้เช่นกับเรา จะ
ไม่พึงเชื่อเลย คือจะไม่เชื่อต่อลิงผู้หนุ่มเช่นกับท่าน ผู้กล่าวตั้ง ๗ ครั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 357
ในหิมวันตประเทศ มีผลาผลทั้งปวงอันเปียกชุ่มด้วยน้ำฝนหล่นลง
แล้วในสถานที่นี้ ไม่มีสำหรับท่านอีกต่อไป ท่านจงไปเสียเถิด. ลิงเล็ก
ตัวนั้น จึงหลีกไปจากที่นั้นเอง.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า ลิงเล็กในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้เป็นเจ้าถิ่นในบัดนี้
ลิงดำใหญ่ในครั้งนั้น ได้เป็นอาคันตุกะภิกษุในบัดนี้ ส่วนรุกขเทวดา
คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอุทุมพรชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 358
๙. โกมาริยปุตตชาดก
ว่าด้วยผู้ไกลจากภูมิฌาน
[๔๙๖] เจ้าลิง เมื่อก่อนเจ้าเคยโลดเต้นเล่น
ในสำนักเราผู้คะนองเล่นเป็นปกติ เจ้าจะ
กระทำอาการโลดเต้นอย่างลิง บัดนี้ เราไม่
ชื่นชมยินดีอาการนั้นของเจ้าแล้ว.
[๔๙๗] ความหมดจดด้วยฌานอย่างสูง เราได้
ฟังมาจากอาจารย์ชื่อโกมาริยบุตรผู้เป็นพหูสูต
บัดนี้ ท่านอย่าเข้าใจเราว่าเหมือนแต่ก่อน
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราประกอบไปด้วยฌาน
อยู่ทั้งนั้น.
[๔๙๘] เจ้าลิงเอ๋ย ถ้าแม้บุคคลจะพึงหว่านพืช
ลงที่แผ่นหิน ถึงฝนจะตกลงมา พืชนั้นก็
งอกงามขึ้นไม่ได้แน่ ความหมดจดด้วยฌาน
อย่างสูงนั้น ถึงเจ้าจะได้ฟังมาแล้ว เจ้าก็ยัง
เป็นผู้ไกลจากภูมิฌานมากนัก.
จบ โกมาริยปุตตชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 359
อรรถกถาโกมาริยปุตตชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ บุพพาราม ทรงปรารภภิกษุ
ทั้งหลายผู้มักเล่นเป็นปกติ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปุเร ตุว
ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในปราสาท
ชั้นบน ต่างพากันนั่งพูดถึงเรื่องที่ตนได้เห็นและได้ยินมาเป็นต้น ทำ
ความตลกคะนองและหัวเราะเฮฮาอยู่ในปราสาทชั้นล่าง. พระศาสดา
ตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานะมาแล้วตรัสว่า เธอจงทำภิกษุเหล่านี้
ให้สังเวชสลดใจ. พระเถระเหาะขึ้นไปในอากาศ แล้วเอาปลายนิ้ว
หัวแม่เท้ากระทุ้งยอดปราสาท ทำให้ปราสาทสั่นสะเทือนจนถึงน้ำรอง
แผ่นดินเป็นที่สุด. ภิกษุเหล่านั้นกลัวมรณภัย จึงได้ออกไปยืนข้าง
นอก. ความที่ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีปกติเล่นคนองนั้น เกิดปรากฏ
ไปในหมู่ภิกษุทั้งหลาย. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากัน
ในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุพวกหนึ่งบวชในพระศาสนา
อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ ยังพากันเที่ยวเล่นคนอง
เป็นปกติอยู่ ไม่กระทำวิปัสสนากรรมฐานว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.
พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ
นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ
แล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน
ภิกษุเหล่านี้ก็เป็นผู้เล่นคะนองเป็นปกติเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่อง
ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 360
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ในหมู่บ้าน
แห่งหนึ่ง. ชนทั้งหลายจำกุมารนั้นได้โดยชื่อว่า โกมาริยบุตร. ในเวลา
ต่อมา โกมาริยบุตรนั้น ออกบวชเป็นฤๅษีอยู่ในหิมวันตประเทศ.
ครั้งนั้น มีดาบสผู้มักเล่นคะนองพวกอื่น สร้างอาศรมอยู่ในหิมวันต-
ประเทศ. กิจแม้เพียงกสิณบริกรรม ก็ไม่มีแก่ดาบสนั้น ดาบส
เหล่านั้นนำผลาผลไม้น้อยใหญ่มาจากป่าเคี้ยวกินหัวเราะร่าเริง ยังกาล
เวลาให้ล่วงเลยไปด้วยการเล่นมีประการต่าง ๆ . ในสำนักของดาส
เหล่านั้น มีลิงอยู่ตัวหนึ่ง. แม้ลิงตัวนั้นก็มักเล่นคะนองเหมือนกัน
กระทำหน้าตาวิการต่าง ๆ เป็นต้น แสดงการเล่นคะนองมีอย่างต่าง ๆ
อย่างดาบสทั้งหลาย. ดาบสเหล่านั้นอยู่ในที่นั้นนานแล้ว จึงได้พากัน
ไปยังถิ่นมนุษย์ เพื่อต้องการเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว จำเดิมแต่
ดาบสเหล่านั้นไปแล้ว พระโพธิสัตว์จึงมายังที่นั้นแล้วสำเร็จการอยู่
อาศัย. ลิงจึงแสดงการเล่นคะนองแม้แก่พระโพธิสัตว์ เหมือนดังแสดง
แก่ดาบสเหล่านั้น. พระโพธิสัตว์จึงดีดนิ้วมือแล้วให้โอวาทแก่ลิงนั้น
ว่า ธรรมดาผู้อยู่ในสำนักของบรรพชิตผู้มีการศึกษาดีแล้ว ควรจะถึง
พร้อมด้วยอาจารมารยาท สำรวมระวังกายและวาจา ประกอบขวน-
ขวายในฌาน. จำเดิมแต่นั้น ลิงตัวนั้นได้เป็นสัตว์มีศีลถึงพร้อมด้วย
อาจารมารยาท. พระโพธิสัตว์ได้จากแม้ที่นั้นไปอยู่ในที่อื่น. ลำดับนั้น
ดาบสขี้เล่นเหล่านั้นเสพรสเค็มและเปรี้ยวแล้ว ได้ไปยังสถานที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 361
นั้น. ลิงไม่แสดงการเล่นคนองแก่ดาบสเหล่านั้น เหมือนอย่าง
เมื่อก่อน. ลำดับนั้น ดาบสเหล่านั้นเมื่อจะถามลิงนั้นว่า ดูก่อนอาวุโส
เมื่อก่อนเจ้าได้กระทำการเล่นคนองเบื้องหน้าพวกเรา เพราะเหตุไร
บัดนี้ เจ้าจึงไม่กระทำ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า
เมื่อก่อนเจ้าเคยโลดเต้นเล่นคะนองใน
อาศรมสำนักเราทั้งหลายผู้มีปกติเล่นคะนอง.
เฮ้ยเจ้าลิง เจ้าจงกระทำกิริยาของลิง บัดนี้
เราไม่ชื่นชมยินดีศีลและพรตอันนั้นของเจ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลวต สกาเส ได้แก่ ใน
อาศรมอันเป็นสำนักของเราทั้งหลายผู้คะนองเล่นเป็นปกติ. บทว่า
โอกฺกนฺทิก ได้แก่ โลดเล่นคะนอง ดังมฤคชาติ. บทว่า กโรหเร
แปลว่า จงกระทำ. ศัพท์ว่า เร เป็น อาลปนะ คำร้องเรียก.
บทว่า มกฺกฎิยานิ ได้แก่ ทำปากให้แปลก ๆ ไปเป็นต้น กล่าวคือ
เล่นซนทางปาก. บทว่า น ต มย สีลวต รมาม ความว่า
ศีลวัตรคือการเล่นคะนองของเจ้าในกาลก่อนนั้น บัดนี้ พวกเราไม่
ยินดี คือไม่ยินดียิ่ง แม้เจ้าไม่ทำให้พวกเรายินดี มีเหตุอะไรหนอ.
ลิงได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
ความหมดจดด้วยฌานชั้นสูง เราได้ฟัง
มาจากอาจารย์ชื่อโกมาริยบุตร ผู้เป็นพหูสูตร
บัดนี้ ท่านอย่าเข้าใจเราว่าเหมือนแต่ก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 362
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราประกอบด้วยฌานอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มยฺห เป็นจตุตถีวิบัติใช้ใน
อรรถของตติยาวิภัติ. บทว่า วิสุทฺธิ ได้แก่ ความหมดจดด้วยฌาน
บทว่า พหุสฺสุตสฺส ได้แก่ ชื่อว่าผู้เป็นพหูสูตร เพราะได้ฟังและ
เพราะได้รู้แจ้งกสิณบริกรรมและสมาบัติ ๘. บทว่า ตุว นี้
ลิงเมื่อจะเรียกดาบสรูปหนึ่งในบรรดาดาบสเหล่านั้น จึงแสดงว่า บัดนี้
ท่านอย่าได้จำหมายข้าพเจ้า เหมือนเมื่อก่อน ข้าพเจ้าไม่เป็นเหมือน
เมื่อกาลก่อน ข้าพเจ้าได้อาจารย์แล้ว.
ดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า
เจ้าลงเอ๋ย ถ้าแม้บุคคลจะพึงหว่าน
พืชลงบนแผ่นหิน ถึงฝนจะตกลงมา พืชนั้น
ก็งอกงามขึ้นไม่ได้แน่ ความหมดจดด้วย
ฌานชั้นสูงนั้น ถึงเจ้าจะได้ฟังมา เจ้าก็ยัง
เป็นผู้ไกลจากภูมิฌานมากนัก.
ความของคาถานั้นว่า ถ้าแม้บุคคลจะพึงหว่านพืช ๕ ชนิด
ลงบนหลังแผ่นหิน และฝนจะตกลงมาอย่างสม่ำเสมอ พืชนั้นจะ
งอกขึ้นไม่ได้. เพราะแผ่นหินนั้นไม่ใช่เนื้อนา ความหมดจดแห่ง
ฌานชั้นสูงที่เจ้าได้ฟังมา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนเจ้าลิง ก็เพราะ
เจ้าเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เจ้าจึงยังห่างไกลจากภูมิฌานนัก คือเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 363
ไม่อาจทำฌานให้บังเกิดได้ ดาบสเหล่านั้นติเตียนลิง ด้วยประการ
ดังนี้.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พวกดาบสผู้เล่นคนองเป็นปกติในกาลนั้น ได้เป็น
ภิกษุเหล่านี้ ส่วนโกมาริยบุตรคือเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาโกมาริยปุตตชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 364
๑๐. พกชาดก
ว่าด้วยการทำลายตบะ
[๔๙๙] นกยางผู้มีเนื้อและเลือดเป็นอาหาร เป็น
อยู่ได้ เพราะฆ่าสัตว์อัน สมาทานวัตรแล้ว
รักษาอุโบสถอยู่.
[๕๐๐] ท้าวสักกะทรงทราบวัตรของนกยางนั้น
แล้ว จึงจำแลงเป็นแพะมา นกยางนั้น
ปราศจากตบะ ต้องการดื่มกินเลือด จึงโผ
ไปจะกินแพะ ได้ทำลายตบะธรรมเสียแล้ว.
[๕๐๑] บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือน
กัน เป็นผู้มีวัตรอันเลวทรามในการสมาทาน
วัตร ย่อมทำคนให้เบา ดุจนกยางทำลายตบะ
ของตน เพราะเหตุต้องการแพะ ฉะนั้น.
จบ พกชาดกที่ ๑๐
อรรถกถาพกชาดกที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
สันถัดเก่า จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า ปรปาณฆาเต ดังนี้. แม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 365
เรื่องนี้ก็ได้มาแล้วโดยพิสดาร ในพระวินัยนั่นแล ก็ในที่นี้มีความย่อ
ดังต่อไปนี้ :- ท่านพระอุปเสนะ มีพรรษาได้ ๒ พรรษา พร้อมด้วย
สัทธิวิหาริกซึ่งมีพรรษาเดียว พากันเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถูก
พระศาสดาทรงติเตียน จึงกลับแล้วหลีกไปเริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา บรรลุ
พระอรหัตแล้ว ประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้น สมาทาน
ธุดงค์ ๑๓ กระทำการชักชวนบริษัทให้เป็นผู้ทรงธุดงค์ ๑๓ ด้วย
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส จึงพร้อมด้วย
บริษัทเข้าไปเฝ้าพระศาสดา เพราะอาศัยบริษัทนั่นแหละ จึงได้รับ
การติเตียนเป็นครั้งแรก แต่เพราะประพฤติตามกติกาอันประกอบด้วย
ธรรม จึงได้รับสาธุการเป็นครั้งที่สอง เป็นผู้อันพระศาสดาทรงกระ-
ทำอนุเคราะห์ว่า จำเดิมแต่นี้ไป ภิกษุทั้งหลายผู้ทรงธุดงค์ จงเข้ามา
เฝ้าเราตามสบายเถิด แล้วจึงออกไปแจ้งเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.
ตั้งแต่นั้นมา ภิกษุทั้งหลายจึงพากันเป็นผู้ทรงธุดงค์ เข้าไปเฝ้าพระ-
ศาสดา เมื่อพระศาสดาเสด็จออกจากที่เร้น ก็พากันทิ้งผ้าบังสุกุลไว้
ในที่นั้น ๆ ถือเอาไปเฉพาะบาตรและจีวรของตนเท่านั้น. พระศาสดา
เสด็จเที่ยวจาริกไปยังเสนาสนะพร้อมด้วยภิกษุมากด้วยกัน ทอดพระ-
เนตรเห็นผ้าบังสุกุลตกเรี่ยราดอยู่ในที่นั้น ๆ จึงตรัสถาม ได้ทรงสดับ
ความนั้นแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การสมาทานวัตรของ
ภิกษุเหล่านี้ เป็นของไม่ตั้งอยู่ยั่งยืน ได้เป็นเช่นกับอุโบสถกรรมของ
นกยาง แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 366
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นท้าวสักกเทวราช. ครั้งนั้น มี
นกยางตัวหนึ่งอยู่ที่หลังหินดาดใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา ต่อมา ห้วงน้ำใหญ่
ในแม่น้ำคงคาไหลมาจดรอบหินดาดนั้น นกยางจึงขึ้นไปนอนบนหลัง
หินดาด. ที่แสวงหาอาหารและทางที่จะไปแสวงหาอาหารของนกยาง
นั้นไม่มีเลย. แม่น้ำก็เปี่ยมอยู่นั่นเอง นกยางนั้นคิดว่า เราไม่มีที่
แสวงหาอาหาร และทางที่จะไปแสวงหาอาหาร ก็อุโบสถกรรมเป็น
ของประเสริฐกว่าการนอนของเราผู้ว่างงาน จึงอธิษฐานอุโบสถด้วยใจ
เท่านั้น มาทานศีล นอนอยู่. ในกาลนั้น ท้าวสักกเทวราชทรง
รำพึงอยู่ ทรงทราบการสมาทานอันทุรพลของนกยางนั้น ทรงพระ-
ดำริว่า เราจักทดลองนกยางนี้ จึงแปลงเป็นรูปแพะเสด็จมายืนแสดง
พระองค์ให้เห็นในที่ไม่ไกลนกยางนั้น. นกยางเห็นแพะนั้นแล้วคิดว่า
เราจักรู้การรักษาอุโบสถกรรมในวันอื่น จึงลุกขึ้นโผบินไปเพื่อ
จะเกาะแพะนั้น ฝ่ายแพะวิ่งไปทางโน้นทางนี้ ไม่ให้นกยางเกาะตน
ได้. นกยางเมื่อไม่อาจเกาะแพะได้ จึงกลับมานอนบนหลังหินดาดนั้น
นั่นแลอีกโดยคิดว่า อุโบสถกรรมของเรายังไม่แตกทำลายก่อน. ท้าว-
สักกเทวราชประทับยืนในอากาศด้วยอานุภาพของท้าวเธอ ทรงติเตียน
นกยางนั้นว่า ประโยชน์อะไรด้วยอุโบสถกรรมของตนผู้มีอัธยาศัยอัน
ทุรพลเช่นท่าน ท่านไม่รู้ว่าเราเป็นท้าวสักกะ จึงประสงค์จะกินเนื้อ
แพะ ครั้นทรงติเตียนแล้วก็เสด็จไปยังเทวโลกทันที.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 367
มีอภิสัมพุทธคาถา แม้ ๓ คาถาว่า :-
นกยางแหละมีเนื้อและเลือดเป็นอาหาร
เป็นอยู่ได้เพราะฆ่าสัตว์อื่น สมาทานเข้าจำ
อุโบสถกรรมนั้นแล้ว.
ท้าวสักกะทรงทราบวัตรของนกยางนั้น
แล้ว จึงจำแลงเป็นแพะมา นกยางนั้น
ปราศจากตบะ ต้องการดื่มกินเลือด จึงโผ
ไปจะกินแพะ ได้ทำลายตบะเสียแล้ว.
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือน
กัน เป็นผู้มีวัตรอันเลวทรามในการสมาทาน
วัตร ย่อมทำคนให้เบา ดุนกยางทำลายตบะ
ของตน เพราะเหตุต้องการแพะฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปปชฺชิ อุโปสถ ได้แก่ เข้า
จำอุโบสถ. บทว่า วตญฺาย ความว่า ทรงทราบวัตรอันทุรพลของ
นกยางนั้น. บทว่า วีตตโป อชฺฌปฺปตฺโต ความว่า เป็นผู้ปราศจาก
ตบะบินเข้าไป อธิบายว่า โผแล่นไปเพื่อจะกินแพะนั้น. บทว่า
โลหิตโป แปลว่า ผู้ดื่มเลือดเป็นปกติ. บทว่า ตป ความว่า
นกยางทำลายตบะที่ตนสมาทานแล้วนั้น.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า ท้าวสักกะในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาพกชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 368
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ภัทรฆฏเภทกชาดก ๒. สุปัตตชาดก ๓. กายนิพ-
พินทชาดก ๔. ชัมพูขาทกชาดก ๕. อันตชาดก ๖. สมุททชาดก
๗. กามวิลาปชาดก ๘. อุทุมพรชาดก ๙. โกมาริยปุตตชาดก
๑๐. พกชาดก.
จบ กุมภวรรคที่ ๕
รวมวรรคที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. สังกัปปวรรค ๒. ปทุมวรรค ๓. อุทปานทูสกวรรค
๔. อัพภันตรวรรค ๕. กุมภวรรค.
จม ติกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 369
จตุกกนิบาต ชาดก
๑. กาลิงควรรค
๑. จุลลกาลิงคชาดก
เทวดากีดกันความพยายามของคนไม่ได้
[๕๐๒] ท่านทั้งหลายจงเปิดประตูถวาย ให้
พระราชธิดาเหล่านี้เสด็จเข้าไปสู่ภายในพระ-
นคร ข้าพเจ้าข้อว่านันทเสน เป็นอำมาตย์
ดุจราชสีห์ของพระเจ้าอรุณ ได้รับการศึกษา
มาเป็นอย่างดี จักรักษาไว้เรียบร้อยแล้ว.
[๕๐๓] แน่ะดาบสโกง ท่านได้พูดไว้อย่างนี้ว่า
ชัยชนะจักมีแก่พวกพระเจ้ากาลิงคราช ผู้-
อดทนต่อภัยที่แสนยากจะอดทนได้ ความ
ปราชัยจักมีแก่พวกพระเจ้าอัสสกราช ชน
ทั้งหลายผู้ซื่อตรงย่อมไม่พูดเท็จ.
[๕๐๔] แต่ท้าวสักกะ เทวดาทั้งหลายยังประ-
พฤติล่วงมุสาวาทอีกหรือ พระองค์พึงตรัส
แต่ถ้อยคำที่จริง ที่แท้อย่างยิ่งมิใช่หรือ ข้าแต่
ท้าวมัฆวาฬเทวราช ผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน
พระองค์ทรงอาศัยเหตุอะไรหรือจึงได้ตรัสมุสา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 370
[๕๐๕] ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อชนทั้งหลายพูดกัน
อยู่ ท่านก็เคยได้ยินแล้วมิใช่หรือว่า เทวดา
ทั้งหลาย ย่อมเกียดกันความพยายามของ
บุรุษไม่ได้ ความข่มใจ ความตั้งใจแน่วแน่
ความไม่แตกสามัคคีกัน ความไม่แก่งแย่งกัน
การก้าวไปในกาลอันควร ความเพียรอย่าง
เด็ดเดี่ยว และความบากบั่นของบุรุษ เพราะ
เหตุนั้นแหละ ชัยชนะจึงมีแก่พวกพระเจ้า
อัสสกะ.
จบ จุลลกาลิงคชาดกที่ ๑
อรรถกถาจตุกกนิบาตชาดก
อรรถกถากาลิงควรรคที่ ๑
อรรถกถาจุลลกาลิงคชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหิาร ทรงปรารภ
การบรรพชาของปริพาชิกา ๔ คน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า วิวรถ อิมาส ทฺวาร ดังนี้.
ได้ยินว่า ในนครเวสาลี มีกษัตริย์ลิจฉวี ๗ พัน ๗ ร้อย
๗ พระองค์ ประทับอยู่. กษัตริย์ลิจฉวีเหล่านั้น แม้ทั้งหมด ได้เป็น
ผู้มีพระดำริในการถามและการย้อนถาม. ครั้งนั้น นิครนถ์ผู้ฉลาด
ในวาทะ ๕๐๐ วาทะ คนหนึ่งมาถึงพระนครเวสาลี กษัตริย์ลิจฉวี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 371
เหล่านั้นได้ทรงกระทำการสงเคราะห์นิครนถ์นั้น. นางนิครนถ์ผู้ฉลาด
เห็นปานกันแม้อีกคน ก็มาถึงพระนครเวสาลี. กษัตริย์ทั้งหลายจึง
ให้ชนทั้งสองแสดงวาทะ ( โต้ตอบกัน ). แม้ชนทั้งสองก็เป็นผู้ฉลาด
เช่นเดียวกัน. ลำดับนั้น กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายได้มึพระดำริว่า บุตร
ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยคนทั้งสองนี้ จักเป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม. จึงให้
กระทำการวิวาหมงคลแก่ชนทั้งสองนั้น แล้วให้คนแม้ทั้งสองอยู่ร่วม
กัน. ต่อมา เพราะอาศัยการอยู่ร่วมกันของนิครนถ์ทั้งสองนั้น จึงเกิด
ทาริกา ๔ คนและทารก ๑ คน โดยลำดับ. บิดามาริกาได้ตั้งชื่อนาง
ทาริกาทั้ง ๔ คนว่า นางสัจจา ๑ นางโสภา ๑ นางอธิวาทกา ๑
นางปฏิจฉรา ๑ ตั้งชื่อทารกว่า สัจจกะ. คนแม้ทั้ง ๕ นั้นถึงความเป็น
ผู้รู้เดียงสาแล้ว พากันเรียนวาทะ ๑,๐๐๐ วาทะ คือจากมารดา ๔๐๐ จาก
บิดา ๕๐๐. มารดาบิดาได้ให้โอวาทแก่นางทาริกาทั้ง ๔ อย่างนี้ว่า ถ้า
ใคร ๆ เป็นคฤหัสถ์ ทำลายวาทะของพวกเจ้าได้ พวกเจ้าพึงยอมเป็น
บาทบริจาริกาของเขา ถ้าเป็นบรรพชิตจักทำลายได้ ก็ควรบวชใน
สำนักของบรรพชิตนั้น. ในกาลต่อมา มารดาบิดาได้ทำกาลกิริยาตาย
ไป. เมื่อมารดาบิดาทำกาลกิริยาตายไปแล้ว นิครนถ์น้องชายคนสุดท้อง
สั่งสอนศิลปะแก่กษัตริย์ลิจฉวีอยู่ในนครเวสาลีนั้นนั่นเอง ส่วนพี่สาว
ทั้ง ๔ ถือกิ่งหว้าเที่ยวสัญจรจากนครนี้ไปนครนั้น เพื่อต้องการโต้
วาทะ จนถึงพระนครสาวัตถี จึงปักกิ่งหว้าไว้ใกล้ประตูพระนคร แล้ว
กล่าวแก่พวกเด็ก ๆ ว่า ผู้ใดจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม สามารถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 372
ยกสู้วาทะของพวกเราได้ ผู้นั้นจงเอาเท้าเกรี่ยกองฝุ่นนี้ให้
กระจายแล้วเหยียบกิ่งหว้าด้วยเท้านั่นแหละ แล้วพากันเข้าไปยังพระ-
นครเพื่อต้องการภิกษาหาร. ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรกวาดที่ซึ่งยังไม่
ได้กวาด ตักน้ำดื่มใส่หม้อเปล่า ปรนนิบัติภิกษุไข้ จึงเข้าไปบิณฑบาต
ในนครสาวัตถีเวลาสาย เห็นกิ่งหว้านั้น จึงถามได้ความแล้วให้พวก
เด็กนั่นแหละล้มกิ่งหว้าเหยียบเสีย แล้วกล่าวแก่พวกเด็กว่า พวกคน
ผู้วางกิ่งหว้านี้ไว้นั้น ทำภัตกิจกลับมาแล้ว จงพบเราที่ซุ้มประตูพระ-
วิหารเชตวัน สั่งแล้วก็เข้าไปยังพระนคร กระทำภัตกิจเสร็จแล้วได้
ยืนอยู่ที่ซุ้มพระวิหาร. ฝ่ายนางปริพาชิกาเหล่านั้นเที่ยวภิกษาแล้ว
กลับมา เห็นกิ่งหว้าถูกเหยียบย่ำจึงกล่าวว่า ใครเหยียบย่ำกิ่งหว้านี้
พวกเด็กว่า พระสารีบุตรเถระเหยียบ และพูดว่า ถ้าท่านทั้งหลาย
ต้องการโต้วาทะ จงไปยังซุ้มพระวิหาร จึงพากันกลับเข้าพระนครอีก ให้
มหาชนประชุมกันแล้วไปยังซุ้มพระวิหาร ถามวาทะหนึ่งพันกะพระ-
เถระ. พระเถระวิสัชนาแล้วถามว่า พวกท่านรู้อะไร ๆ อย่างอื่นอีก
บ้าง ? นางปริพาชิกาเหล่านั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพวกข้าพเจ้าไม่รู้
อะไรอย่างอื่น. พระเถระจึงพูดว่า เราจะถามอะไร ๆ กะพวกท่านบ้าง
นางปริพาชิกาเหล่านั้นจึงว่า ถามเถิดท่าน เพื่อพวกข้าพเจ้ารู้ จักกล่าว
แก้. พระเถระจึงถามว่า เอก นาม กึ อะไรชื่อว่าหนึ่ง ? นางปริพา-
ชิกาเหล่านั้นหาทราบไม่. พระเถระจึงวิสัชนาให้ฟัง. นางปริพาชิกา
เหล่านั้นจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน ความปราชัยเป็นของพวกข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 373
ชัยชนะเป็นของท่าน. พระเถระจึงถามว่า บัดนี้ พวกท่านจักทำอย่างไร ?
นางปริพาชิกาทั้งสี่จึงตอบว่า มารดาบิดาของพวกข้าพเจ้าได้ให้โอวาท
นี้ไว้ว่า ถ้าคฤหัสถ์ทำลายวาทะของพวกเจ้าได้จงยอมเป็นปชาบดีของ
เขา ถ้าบรรพชิตทำลายได้ก็จงพากันบวชในสำนักของบรรพชิตนั้น
เพราะฉะนั้นท่านโปรดให้บรรพชาแก่พวกข้าพเจ้าเถิด. พระเถระ
กล่าวว่าดีแล้ว จึงให้นางบวชในสำนักของพระอุบลวรรณาเถรี ไม่
นานนัก ทั้งหมดก็ได้บรรลุพระอรหัต. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่ง
ประชุมสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระสารีบุตร
เถระเป็นที่พึ่งอาศัยของปริพาชิกาทั้งสี่ ให้ทุกนางบรรลุพระอรหัต.
พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่ง
สนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน
สารีบุตรก็ได้เป็นที่พึ่งอาศัยของปริพาชิกาเหล่านี้ แต่ในบัดนี้ ได้ให้
บรรพชาภิเษก ในปางก่อน ได้ตั้งไว้ในตำแหน่งมเหสีของพระราชา
แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้ากาลิงคราชครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครทันตปุระ แคว้นกาลิงครัฐ. พระราชาพระนามว่า อัสสกะ
ครองราชสมบัติในนครโปตละ แคว้นอัสสกรัฐ. พระเจ้ากาลิงคะทรง
สมบูรณ์ด้วยรี้พลและพาหนะ แม้พระองค์เองก็มีกำลังดังช้างสารไม่
เห็นผู้จะต่อยุทธ พระองค์เป็นผู้ประสงค์จะทรงกระทำการรบ จึงตรัส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 374
บอกแก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า เรามีความต้องการจะทำการรบ แต่ไม่
เห็นผู้จะต่อยุทธ เราจะกระทำอย่างไร. อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่มหาร มีอุบายอยู่อย่างหนึ่ง พระราชธิดาทั้ง ๔ ของพระองค์
ทรงพระรูปโฉมอันอุดม พระองค์โปรดให้ประดับตกแต่งพระราชธิดา
เหล่านั้น แล้วให้นั่งในราชยานอันมิดชิด แวดล้อมด้วยรี้พล แล้ว
ให้เที่ยวไปยังคามนิคม และราชธานีทั้งหลาย โดยป่าวร้องว่า พระ-
ราชาพระองค์ใดจักมีพระประสงค์จะรับเอาไว้เพื่อตน พวกเราจักทำ
การรบกับพระราชาพระองค์นั้น. พระราชาจึงทรงให้กระทำอย่างนั้น.
ในสถานที่พระราชธิดาเหล่านั้นเสด็จไปแล้ว ๆ พระราชาทั้งหลายไม่
ยอมให้พระราชธิดาเหล่านั้นเข้าพระนคร เพราะความกลัวภัยพากัน
ส่งเครื่องบรรณาการออกไป แล้วให้ประดับอยู่เฉพาะภายนอกพระ-
นคร. พระราชธิดาเหล่านั้นเสด็จเที่ยวไปตลอดทั่วชมพูทวีปด้วย
อาการอย่างนี้ จนบรรลุถึงพระนครโปตละ แคว้นอัสสกรัฐ. ฝ่าย
พระเจ้าอัสสกะก็ทรงให้ปิดประตูพระนครแล้วทรงส่งเครื่องบรรณา-
การออกไปถวาย. อำมาตย์ของพระเจ้าอัสสกะนั้น ชื่อว่านันทเสนเป็น
บัณฑิตเฉลียวฉลาดในอุบาย. นันทเสนอำมาตย์นั้นคิดว่า ข่าวว่า พระ-
ราชธิดาของพระเจ้ากาลิงคราชเหล่านี้ เสด็จเที่ยวไปทั่วชมพูทวีปก็ไม่
ได้ผู้จะต่อยุทธ แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ชมพูทวีปก็ได้ชื่อว่าต่างจากนักรบ
เราจักรบกับพระเจ้ากาลิงคราช. นันทเสนอำมาตย์นั้นจึงไปยังประตู
พระนครเรียกคนรักษาประตูมา เพื่อจะให้เขาเปิดประตูแก่พระราช-
ธิดาเหล่านั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 375
ท่านทั้งหลายจงเปิดประตูถวาย เพื่อ
ให้พระราชธิดาเหล่านั้นเสด็จเข้าภายในพระ-
นคร ซึ่งพระนครนี้ข้าพเจ้าชื่อว่านันทเสน
ผู้เป็นอำมาตย์ดุจราชสีห์ของพระเจ้าอรุณราช
ผู้อันอาจารย์สั่งสอนไว้อย่างดี ได้จัดการรักษา
ไว้ดีแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรุณราชสฺส ความว่า พระราชา
แม้พระองค์นั้น ในเวลาดำรงอยู่ในราชสมบัติ ทรงพระะนามว่า อัสสกะ
ด้วยสามารถแห่งชื่อของแคว้นแต่พระนามว่า อรุณ เป็นนามที่ราช
ตระกูลประทานแก่พระราชานั้น. ด้วยเหตุนั้น นันทเสนอำมาตย์จึง
กล่าวว่า อรุณราชสฺส ดังนี้. บทว่า สีเหน แปลว่า ผู้เป็นบุรุษ
ดุจราชสีห์. บทว่า สุสิฏเน แปลว่า ผู้อันอาจารย์ทั้งหลายสั่งสอน
ดีแล้ว. บทว่า นนฺทเสเนน ความว่า อันเรา ผู้ชื่อว่านันทเสน.
ครั้นอำมาตย์นันทเสนนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงให้เปิดประตู
รับพระราชธิดาทั้ง ๔ นั้นไปถวายพระเจ้าอัสสกะ แล้วกราบทูลว่า
พระองค์อย่าทรงเกรงกลัวเลย เมื่อมีการรบกัน ข้าพระองค์จักรู้
(รับอาสา) พระองค์โปรดทรงกระทำพระราชธิดาผู้ทรงพระรูปโฉมอัน
เลอเลิศเหล่านี้ให้เป็นพระอัครมเหสีเถิด แล้วให้ประทานอภิเษกแก่
พระราชธิดาเหล่านั้น แล้วส่งราชบุรุษผู้มากับพระราชธิดาเหล่านั้น
กลับไปด้วยพูดว่า ท่านทั้งหลายจงกราบทูลพระราชาของท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 376
หมายถึงข้อที่พระเจ้าอัสสกะราชทรงตั้งพระราชธิดาทั้ง ๔ ไว้ในตำ-
แหน่งอัครมเหสี. ราชบุรุษเหล่านั้นไปกราบทูลให้ทรงทราบ พระเจ้า
กาลิงคราช ทรงดำริว่า พระเจ้าอัสสกะนั้นชะรอยจะไม่ทราบกำลังของ
เราแน่นอน จึงเสด็จออกด้วยกองทัพใหญ่ในขณะนั้นทันที. นันทเสน
อำมาตย์ทราบการเสด็จของพระเจ้ากาลิงคราช จึงส่งสาส์นไปว่า ขอ
พระเจ้ากาลิงคราชจงอยู่เฉพาะแต่ในรัฐสีมาของพระองค์ อย่าล่วงล่า
รัฐสีมาแห่งพระราชาของข้าพระองค์เข้ามา การสู้รบจักมีระหว่าง
แคว้นทั้งสอง. พระเจ้ากาลิงคราชทรงสดับสาส์นแล้วได้ทรงหยุด
กองทัพ ไว้เฉพาะปลายพระราชอาณาเขตของพระองค์ ฝ่ายพระ-
เจ้าอัสสกราชก็ได้ทรงหยุดกองทัพ เฉพาะปลายราชอาณาเขตของ
พระองค์เหมือนกัน.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์บวชเป็นฤาษี อยู่ที่บรรณศาลาระหว่าง
อาณาเขต แห่งพระราชาทั้งสองนั้น. พระเจ้ากาลิงคราชทรงพระ-
ดำริว่า ธรรมดาสมณะทั้งหลายย่อมจะรู้อะไรๆ ดี ใครจะรู้ อะไรจักมี
ชัยชนะหรือความปราชัยจักมีแก่ใคร เราจักถามพระดาบสดู จึงเข้า
ไปหาพระโพธิสัตว์ด้วยเพศที่ใครๆ ไม่รู้จัก ไหว้แล้วนั่ง ณ ส่วน
ข้างหนึ่ง กระทำปฏิสันถารแล้วถามว่า ท่านผู้เจริญ พระเจ้ากาลิงคะ
กับพระเจ้าอัสสกะประสงค์จะรบกัน พากันตั้งทัพยันอยู่เฉพาะใน
รัฐสีมาของตนๆ ในพระราชาทั้งของพระองค์นั้น ใครจักมีชัยชนะ
ใครจักปราชัยพ่ายแพ้. พระดาบสโพธิสัตว์กราบทูลว่า ท่านผู้มีบุญมาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 377
อาตมภาพไม่ทราบว่า พระองค์โน้นชนะ พระองค์โน้นพ่ายแพ้ แต่
ท้าวสักกเทวราชเสด็จมาที่นี้ อาตมภาพถามท้าวสักกเทวราชนั้นแล้ว
จักบอกให้ทราบ. พรุ่งนี้ท่านมาฟังเอาเถิด. ท้าวสักกะเสด็จมาสู่ที่บำรุง
พระโพธิสัตว์แล้วประทับนั่ง. ทีนั้น พระโพธิสัตว์จึงทูลถามเนื้อความ
กะท้าวสักกเทวราช ท้าวเธอจึงตรัสทำนายว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
พระเจ้ากาลิงคราชจักมีชัย พระเจ้าอัสสกะจักปราชัย อนึ่ง บุรพนิมิต
นี้จักปรากฏ. ในวันรุ่งขึ้น พระเจ้ากาลิงคราชเสด็จมาถาม แม้พระ-
โพธิสัตว์ก็ทูลแก่พระเจ้ากาลิงคราชนั้น. พระเจ้าถาลิงคราชไม่ตรัส
ถามเลยว่า บุรพนิมิตชื่อไรจักปรากฏ ทรงหลีกลาไปด้วยพระทัยยินดี
ว่า ท่านว่าเราจักชนะ. เรื่องนั้นได้แพร่ไปแล้ว พระเจ้าอัสสกะได้ทรง
สดับเรื่องนั้นจึงรับสั่งให้เรียกอำมาตย์นันทเสนมา แล้วรับสั่งว่า เขา
ว่าพระเจ้ากาลิคราชจักชนะ เราจักพ่ายแพ้ เราควรจะทำอย่างไรกัน
นันทเสนอำมาตย์นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ใครจะทราบข้อนั้น
ได้ชัยชนะหรือความปราชัยจักเป็นของใคร ขอพระองค์อย่าทรงคิด
ไปเลย ครั้นกราบทูลเอาพระทัยพระราชาแล้ว เข้าไปหาพระโพธิสัตว์
ไหว้แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ถามว่า ท่านผู้เจริญ ใครจักชนะ. ใครจัก
แพ้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พระเจ้ากาลิงคะจักชนะ พระเจ้าอัสสกะ
จักแพ้ อำมาตย์นันทเสนถามว่า ท่านผู้เจริญ บุรพนิมิตอะไรจักมี
แก่ผู้ชนะ บุรพนิมิตอะไรจักมีแก่ผู้แพ้. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่าน
ผู้มีบุญมาก อารักขเทวดาขอพรผู้ชนะจักเป็นโคผู้ขาวปลอด อารักข-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 378
เทวดาของผู้แพ้จักเป็นโคผู้ดำปลอด อารักขเทวดาแม้ของทั้งสองฝ่าย
รบกันแล้ว จักทำความมีชัยและปราชัยกัน. นันทเสนอำมาตย์ได้ฟัง
ดังนั้น จึงลุกขึ้นลาไป พาทหารใหญ่ประมาณพันคนผู้เป็นสหายของ
พระราชา ขึ้นไปยังภูเขาในที่ไม่ไกลนัก แล้วถามว่า ผู้เจริญทั้ง
หลาย พวกท่านจักอาจเพื่อถวายชีวิตแก่พระราชาของพวกเราได้หรือ
ไม่. ทหารใหญ่เหล่านั้นกล่าวว่า พวกเราจักสามารถถวายได้. นันท-
เสนอำมาตย์กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นพวกท่านจงโดดลงไปในเหวนี้. ทหาร
ใหญ่เหล่านั้นได้เตรียมจะโดดลงเหว. นันทเสนอำมาตย์จึงห้ามทหาร
ใหญ่เหล่านั้นแล้วกล่าวว่า อย่าโดดลงเหวนี้เลย ท่านทั้งหลายเป็นผู้มี
ขวัญดี ไม่ถอยหลัง ช่วยกันรบเพื่อถวายชีวิตแก่พระราชาของเรา
ทั้งหลายเถิด ทหารใหญ่เหล่านั้นรับคำแล้ว. ครั้นเมื่อสงครามประชิด
กัน พระเจ้ากาลิงคราชทรงวางพระทัยว่า นัยว่าเราจักชนะ แม้หมู่
พลนิกายของพระองค์ก็พากันวางใจว่า เขาว่าพวกเราจักมีชัยชนะ จึง
ไม่ทำการผูกสอด เป็นพรรคเป็นพวกพากันหลีกไปตามความชอบใจ
ในเวลาจะกระทำความเพียรพยายามก็ไม่ทำ. ฝ่ายพระราชาทั้งสอง
พระองค์เสด็จขึ้นทรงม้าเข้าไปหากันและกันด้วยหมายมั่นว่า จักต่อ
ยุทธ. อารักขเทวดาของพระราชาทั้งสองออกไปข้างหน้า อารักขเทวดา
ของพระเจ้ากาลิงคะเป็นโคผู้ขาวปลอดอารักขเทวดาของพระเจ้าอัสส-
กะ เป็นโคผู้ดำปลอด. โคผู้แม้เหล่านั้นแสดงอาการต่อสู้เข้าไปหากัน
และกัน ก็โคผู้เหล่านั้นย่อมปรากฏเฉพาะแก่พระราชาทั้งสองพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 379
เท่านั้น ไม่ปรากฏแก่คนอื่น. อำมาตย์นันทเสนทูลถามพระเจ้าอัสสกะ
ว่า ข้าแต่มหาราช อารักขเทวดาปรากฏแก่พระองค์แล้วหรือยัง.
พระเจ้าอัสสกะตรัสว่า เออปรากฏ. นันทเสน ปรากฏโดยอาการ
อย่างไร. พระเจ้าอัสสกะ อารักขเทวดาขอพระเจ้ากาลิงคะปรากฏ
เป็นโคผู้ขาวปลอด อารักขเทวดาของเราปรากฏเป็นโคผู้ดำปลอด.
นันทเสนอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่าทรงเกรง
กลัวเลย พวกเราจักชนะ พระเจ้ากาลิงคะจักพ่ายแพ้ พระองค์จง
เสด็จลุกจากหลังม้า ทรงถือพระแสงหอกนี้ เอาพระหัตถ์ซ้ายแตะด้าน
ท้องม้าสินธพที่ศึกษาดีแล้วรีบไปพร้อมกับบุรุษพันคนนี้ เอาหอก
ประหารอารักขเทวดาของพระเจ้ากาลิงคะให้ล้มลง ต่อแต่นั้น พวก
ข้าพระองค์ประมาณหนึ่งพัน จักประหารด้วยหอกพันเล่ม เมื่อทำ
อย่างนี้ อารักขเทวดาของพระเจ้ากาลิงคะจักฉิบหาย จากนั้น พระเจ้า
กาลิงคะจักพ่ายแพ้ พวกเราจักชนะ พระราชาทรงรับว่าได้ แล้วเสด็จ
ไปเอาหอกแทงตามสัญญาที่นันทเสนอำมาตย์ถวายไว้ ฝ่ายอำมาตย์
ทั้งหลายก็แทงด้วยหอกพันเล่ม. อารักขเทวดาของพระเจ้ากาลิงคะก็
ถึงแก่ความตาย ณ ที่นั้นนั่นเอง. ทันใดนั้น พระเจ้ากาลิงคะก็ทรง
พ่ายแพ้เสด็จหนีไป. อำมาตย์ทั้งหลายพันคนเห็นพระเจ้ากาลิงคะเสด็จ
หนีไปก็พากันโห่ร้องว่า พระเจ้ากาลิงคราชหนี. พระเจ้ากาลิงคะ
ทรงกลัวต่อมรณภัยเสด็จหนีไป เมื่อจะทรงด่าพระดาบสนั้น จึงกล่าว
คาถาที่ ๒ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 380
แน่ะดบสโกง ท่านได้พูดไว้อย่างนี้
ว่า ชัยชนะจักมีแก่พวกพระเจ้ากาลิงคราชผู้
สามารถย่ำยีบุคคลที่ใคร ๆ ย่ำยีไม่ได้ ความ
ปราชัยไม่ชนะจักมีแก่พวกพระเจ้าอัสสกะ
ชนทั้งหลายผู้ซื่อตรงย่อมไม่พูดเท็จ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสยฺหสาหิน ได้แก่ ผู้สามารถ
เพื่อย่ำยีบุคคลที่ใคร ๆ ย่ำยีไม่ได้ คือย้ำยีได้ยาก. บทว่า อิจฺเจว
เต ภาสิต ความว่า ดูก่อนดาบสโกง ท่านรับเอาค่าจ้างแล้วพูดอย่างนี้
กะพระราชาผู้พ่ายแพ้ว่า จักชนะและพูดกะพระราชาผู้ชนะว่าจักแพ้.
บทว่า น อุชุภูตา ความว่า ชนเหล่าใดเป็นผู้ซื่อตรงด้วยกาย วาจา
และใจ ชนเหล่านั้นย่อมไม่พูดเท็จอย่างนี้.
พระเจ้ากาลิงคราชนั้น เมื่อด่าพระดาบสอย่างนี้ แล้วก็เสด็จ
หนีไปยังพระนครของพระองค์ ไปอาจที่จะเหลียวมามองดู. แต่นั้น
เมื่อล่วงไป ๒-๓ วัน ท้าวสักกะได้เสด็จมายังที่บำรุงของพระดาบส.
พระดาบสเมื่อจะทูลกับท้าวเธอ จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ข้าแต่ท้าวสักกะ เทวดาทั้งหลายยัง
ประพฤติล่วงมุสาวาทอีกหรือ พระองค์ควร
กระทำถ้อยคำให้จริงแต่แน่นอนมิใช่หรือ ข้า
แต่ท้าวมั่ฆวาฬผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน พระ-
องค์ทรงอาศัยเหตุอะไรหรือ จึงได้ตรัสมุสา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 381
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตนฺเต มุส กาสิต ความว่า
คำใดพระองค์ตรัสไว้แก่อาตมภาพ คำนั้นพระองค์ทรงทำมุสาวาทอัน
หักรานประโยชน์ตรัสเท็จไว้ พระองค์ทรงอาศัยเหตุอะไรหรือจึง
ตรัสคำนั้นอย่างนั้น.
ท้าวสักกะทรงสดับดังนั้นจึงตรัสคาถาที่ ๔ ว่า :-
ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อชนทั้งหลาย
พูดกันอยู่ ท่านก็เคยได้ยินแล้วมิใช่หรือว่า
เทวดาทั้งหลายย่อมเกียดกันความพยายาม
ของลูกผู้ชายไม่ได้ ความข่มใจ ความตั้งใจ
แน่วแน่ ความไม่แตกสามัคคีกัน ความไม่
แก่งแย่งกัน การรุกในกาลควรรุก ความ
เพียรมั่นคง และความบากบั่นของลูกผู้ชาย
(มีอยู่ในพวกพระเจ้าอัสสกะ) เพราะเหตุนั้น
แหละ ชัยชนะจึงมีแก่พวกพระเจ้าอัสสกะ.
คาถาที่ ๔ นั้น มีอธิบายดังนี้ :- ดูก่อนท่านพราหมณ์ เมื่อ
เขาพูดกันอยู่ในที่นั้นๆ ท่านไม่เคยได้ยินคำนี้หรือว่า เทวดาทั้งหลาย
ย่อมไม่เกียดกันคือไม่ริษยาความบากบั่นของลูกผู้ชาย ความข่มใจกล่าว
คือความทรมานตน เช่นการทำความเพียรพยายามของพระเจ้าอัสสกะ
ความมีใจไม่แตกแยกกันโดยมีความสามัคคีกัน ความมีใจตั้งมั่นไม่
แตกแยกกัน ความไม่แก่งแย่งกันในเวลาทำความเพียรแห่งพวกสหาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 382
ของพระเจ้าอัสสกะ ความไม่ย่อท้อ เหมือนพวกคนของพระเจ้ากาลิงคะ
แยกเป็นพวก ๆ ย่นย่อฉะนั้น อนึ่ง ความเพียรพยายามและความ
บากบั่นแห่งลูกผู้ชาย ของตนผู้มีจิตใจแตกแยกกัน ได้เป็นคุณธรรม
อันมั่นคง เพราะความเป็นผู้มีความสมัครสมานกัน เพราะเหตุนั้น
นั่นแหละ ชัยชนะจึงได้มีแก่พวกพระเจ้าอัสสกะ.
ก็แหละเมื่อพระเจ้ากาลิงคราชหนีไปแล้ว พระเจ้าอัสสกราช
ให้กวาดต้อน (เชลยและยุทธภัณฑ์) แล้วเสด็จไปยังพระนครของ
พระองค์. อำมาตย์นันทเสนส่งสาส์นไปถวายพระเจ้ากาลิงคราชว่า
พระองค์จงส่งส่วนทรัพย์มรดกไปถวายพระราชธิดาทั้ง ๔ พระองค์นี้
ถ้าไม่ทรงส่งไป พวกเราจักรู้กิจที่จะต้องทำในข้อนี้. พระเจ้ากาลิงคราช
ได้ทรงสดับข่าวสาสน์นั้นแล้ว ทั้งกลัวทั้งสะดุ้งหวาดเสียว จึงส่งพระ-
ราชทรัพย์มรดกที่พระราชธิดาเหล่านั้นจะพึงได้ไปประทาน. จำเดิมแต่
นั้นมา พระราชาทั้งสอง ก็อยู่อย่างสมัครสมานกัน
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงทรงประ-
ชุมชาดกว่า. พระราชธิดาของพระเจ้ากาลิงคราชในกาลนั้น ได้เป็น
ภิกษุณีสาวเหล่านี้ ในบัดนี้ อำมาตย์นันทเสนในครั้งนั้น ได้เป็น
พระสารีบุตรในบัดนี้ ส่วนดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาจุลลกาลิงคชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 383
๒. มหาอัสสาโรหชาดก
ว่าด้วยการทำความดีไว้ในปางก่อน
[๕๐๖] ผู้ใดให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ ไม่เพิ่ม
ให้บุคคลที่ควรให้ ผู้นั้นถึงจะได้รับความทุกข์
ในคราวมีอันตราย ก็ไม่ได้สหาย.
[๕๐๗] ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ ให้
ในคนที่ควรให้ ผู้นั้นถึงได้รับความทุกข์ใน
คราวมีอันตราย ย่อมได้สหาย.
[๕๐๘] การแสดงคุณวิเศษแห่งความเกี่ยวพัน
และความสนิทสนมกันฉันท์มิตร ในชน
ทั้งหลายผู้ไม่มีอารยธรรม เป็นคนมักอวด
ย่อมไร้ผล การแสดงคุณวิเศษแห่งความ
เกี่ยวพันและความสนิทสนมกันฉันท์มิตร ที่
กระทำในอารยชนทั้งหลายผู้ซื่อตรงคงที่ แม้
กระทำในอารยชนทั้งหลายผู้ซื่อตรงคงที่ แม้
เล็กน้อย ก็ย่อมมีผลมาก.
[๕๐๙] ผู้ใดได้ทำความดีงามไว้แต่กาลก่อนแล้ว
ผู้นั้นชื่อว่าได้ทำกิจ ที่ทำได้แสนยากในโลก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 384
ภายหลังเขาจะทำหรือไม่ทำก็ตาม ชื่อว่าเป็น
บุคคลผู้ควรบูชายิ่งนัก.
จบ มหาอัสสาโรหชาดกที่ ๒
อรรถกถามหาอัสสาโรหชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
พระอานันทเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อเทยฺ-
เยสุ ทท ทาน ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. แม้ในชาดกนี้
พระศาสดาตรัสว่า แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลายก็ได้กระทำแล้วด้วย
อำนาจอุปการะเกื้อหนุนแก่ตน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์ได้เป็นพระราชาในนครพาราณสี
ครองราชสมบัติโดยธรรม ให้ทาน รักษาศีล. พระเจ้าพาราณสีนั้น
ทรงพระดำริว่า จักทรงปราบชายแดนที่กำเริบให้สงบ จึงทรงแวดล้อม
ด้วยพลโยธาเสด็จไปปราบ ทรงพ่ายแพ้ จึงทรงขึ้นม้าเสด็จหนีไปถึง
ปัจจันตคามบ้านชายแดนแห่งหนึ่ง ชน ๓๐ คนผู้เป็นราชเสวกอยู่
ในบ้านปัจจันตคามนั้น คนเหล่านั้นประชุมกันที่ท่ามกลางบ้านแต่
เช้าตรู่กระทำกิจการในบ้าน. ขณะนั้น พระราชาเสด็จขึ้นทรงม้าที่
ฝึกแล้ว ทั้งพระองค์ทรงประดับและตกแต่ง ด้วยเครื่องออกศึก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 385
เสด็จเข้าไปภายในบ้านทางประตูบ้าน. คนเหล่านั้นคิดว่า นี่อะไรกัน
จึงกลัวพากันหนีเข้าเรือนของตน ๆ. ก็ในคนเหล่านั้น มีคนหนึ่งไม่
ไปบ้านตน ทำการต้อนรับพระราชาแล้วถามว่า ข้าพเจ้าได้ยินข่าวว่า
พระราชาเสด็จไปปัจจันตชนบท ท่านเป็นใคร เป็นราชบุรุษหรือ
จารบุรุษ. พระราชาตรัสว่า ดูก่อนสหาย เราเป็นราชบุรุษ. คนผู้
นั้นจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านจงมา แล้วพาพระราชานั้นไปเรือน
ให้นั่งบนตั่งของตน แล้วกล่าวว่า นางผู้เจริญเธอจงมา จงล้างเท้า
ของสหาย ครั้นให้ภรรยาล้างพระบาทของพระราชานั้นแล้ว ให้
อาหารตามสมควรแก่กำลังของตน แล้วปูลาดที่นอนโดยพูดว่า ท่าน
จงพักสักครู่หนึ่ง. พระราชาทรงบรรทมแล้ว. ฝ่ายชายเจ้าของบ้านได้
เปลื้องเครื่องเกราะของม้าออกให้เดินได้ถนัด ให้ดื่มน้ำ เอาน้ำมันทา
หลังแล้วให้หญ้า. เขาปฏิบัติพระราชาอย่างนี้ได้ ๓-๔ วัน เมื่อพระ-
ราชาตรัสว่า สหาย เราจักไปละ จึงได้กระทำกิจทั้งปวงอันเหมาะสม
ที่จะพึงทำแก่พระราชาและม้าอีกครั้ง. พระราชาเสวยแล้วเมื่อจะเสด็จ
ไปได้ตรัสว่า ดูก่อนสหาย เราชื่อมหาอัสสาโรหะ บ้านของเราอยู่
กลางพระนคร ถ้าท่านมายังพระนครด้วยกิจอะไร ๆ ท่านจงยืนที่ประตู
ด้านทักษิณแล้วกล่าวกะนายประตูว่า คนชื่อมหาอัสสาโรหะอยู่บ้าน
หลังไหน แล้วพึงพานายประตูไปยังบ้านของเรา ตรัสดังนี้ แล้วก็
เสด็จหลีกไป. ฝ่ายหมู่พลโยธาไม่เห็นพระราชา จึงตั้งค่ายพักอยู่นอก
พระนคร ครั้นเห็นพระราชาแล้วต่างพากันลุกรับแวดล้อม. พระราชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 386
เมื่อจะเสด็จเข้าพระนครได้ประทับยินที่ระหว่างประตู รับสั่งให้เรียก
นายประตูมา ให้มหาชนถอยออกไปแล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ชาวบ้าน
ปัจจันตคามคนหนึ่งมีความประสงค์จะมาพบเรา มาแล้วจักถามเธอว่า
เรือนของนายมหาอัสสาโรหะอยู่ที่ไหน เธอพึงจับมือเขาไว้แล้วนำมา
แสดงเราให้เขาเห็น. ในกาลนั้น เธอจักได้ทรัพย์พันหนึ่ง. ครั้น
ตรัสสั่งแล้วพระองค์ก็เสด็จเข้ายังพระราชนิเวศน์ ส่วนบุรุษนั้นก็ยัง
ไม่มาเฝ้า. เมื่อบุรุษนั้นไม่มาเฝ้า พระราชาจึงให้เพิ่มพลีในบ้านที่เขา
อยู่ เมื่อเพิ่มพลีแล้ว เขาก็ยังไม่มาเฝ้า. เมื่อเป็นอย่างนั้น จึงทรง
ให้เพิ่มพลี แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม เขาก็ยังไม่มาเฝ้าอยู่นั่นเอง.
ลำดับนั้น ชาวบ้านทั้งหลายจึงประชุมกันแล้วพูดกะบุรุษนั้นว่า ข้า
แต่นาย นับตั้งแต่นายอัสสาโรหะของท่านมา พวกเราถูกกดขี่ด้วยพลี
จนไม่อาจโงศีรษะขึ้นได้ ท่านจงไป จงบอกแก่นายมหาอัสสาโรหะ
ของท่านให้ช่วยปลดเปลื้องพลีของพวกเรา. บุรุษนั้นกล่าวว่า ดีละ
เราจักไป แต่ว่าเราไม่อาจมีมือเปล่าไป สหายของเรามีเด็ก ๒ คน
ท่านทั้งหลายจงจัดแจงเครื่องนุ่งเครื่องห่มและเครื่องประดับ เพื่อ
เด็ก ๒ คนนั้น เพื่อภรรยาของเขา และเพื่อสหายเรา. ชาวบ้าน
เหล่านั้นกล่าวว่าได้ พวกเราจักจัดแจงให้ แล้วพากันจัดแจงเครื่อง
บรรณาการทุกอย่าง. บุรุษนั้นถือเอาเครื่องบรรณาการนั้น และขนม
ทอดในเรือนของตนไป ครั้นถึงประตูด้านทิศใต้ จึงถามนายประตูว่า
ดูก่อนสหาย เรือนของนายมหาอัสสาโรหะอยู่ที่ไหน ? นายประตูนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 387
กล่าวว่า ท่านจงมา เราจักแสดงแก่ท่าน. แล้วจับมือเขาพาไปยังประตู
พระราชนิเวศน์แล้วส่งข่าวให้ทรงทราบว่า นายประตูพาบุรุษชาวบ้าน
ปัจจันตคามมา. พระราชาพอได้ทรงสดับก็เสด็จลุกขึ้นจากพระอาสน์
ตรัสว่า แม้สหายของเราเฉพาะมากับนายประตูนั้นเท่านั้น จงเข้ามา
เถิด แล้วทรงทำการต้อนรับ พอทรงเห็นเท่านั้น จึงทรงทักทายบุรุษ
นั้นแล้วตรัสถามว่า หญิงสหายและพวกเด็ก ๆ ของเราไม่เจ็บไข้ได้ป่วย
หรือ แล้วทรงจับมือพาขึ้นท้องพระโรง ให้นั่งบนอาสน์ภายใต้เศวตร-
ฉัตร รับสั่งให้เรียกพระอัครมเหสีมาแล้วตรัสว่า พระนางผู้เจริญ
เธอจงล้างเท้าแม้แห่งสหายของเรา. พระอัครมเหสีนั้นได้ทรงล้างเท้า
บุรุษผู้นั้น พระราชาทรงรดน้ำด้วยพระสุวรรณภิงคาร พระเทวีทรง
ล้างเท้าแล้วทาด้วยน้ำมันหอม. พระราชาตรัสถามว่า สหาย ของกิน
สำหรับพวกเราชนิดไร ๆ มีบ้างไหม ? บุรุษนั้นกล่าวว่ามี แล้วนำขนม
ออกมาจากกระทอ. พระราชาทรงรับด้วยจานทอง เมื่อจะทำการ
สงเคราะห์เอาน้ำใจเขาจึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงกินขนมที่สหายเรา
นำมา แล้วได้ประทานแก่พระเทวีและอำมาตย์ทั้งหลาย แม้พระองค์เอง
ก็ทรงเสวย. ฝ่ายบุรุษนั้นก็แสดงเครื่องบรรณาการแม้อย่างอื่นถวาย.
เพื่อจะทรงสงเคราะห์เขา พระราชาจึงทรงเปลื้องผ้ากาสิกพัสตร์แล้ว
ทรงนุ่งคู่ผ้าที่เขานำมาถวาย. ฝ่ายพระเทวีก็ทรงเปลื้องผ้ากาสิกสาฎก
และเครื่องอาภรณ์ทั้งหลาย แล้วทรงนุ่งผ้าสาฎกที่เขานำมา แล้วทรง
ประดับเครื่องอาภรณ์. ลำดับนั้น พระราชาให้บุรุษสหายนั้นบริโภค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 388
โภชนะอันควรแก่พระราชา แล้วทรงสั่งอำมาตย์คนหนึ่งว่า ท่านจงไป
จงให้ช่างกระทำการโกนหนวดแก่บุรุษนี้ ตามทำนองที่ทำแก่เรานั่น
แหละ แล้วให้อาบด้วยน้ำหอม ให้นุ่งผ้ากาสิกพัสตร์อันมีค่าแสนหนึ่ง
ให้ประดับด้วยเครื่องอลังการสำหรับพระราชา แล้วจงนำมา. อำมาตย์
นั้นได้กระทำเหมือนอย่างนั้น. พระราชาให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องใน
พระนคร ให้อำมาตย์ทั้งหลายประชุมกัน แล้วให้พาดด้ายแดงกลาง
เศวตรฉัตร แล้วพระราชทานราชสมบัติกึ่งหนึ่งแก่บุรุษผู้สหายนั้น.
จำเดิมแต่นั้น พระราชาทั้งสองนั้นก็ทรงร่วมเสวย ร่วมดื่ม ร่วม
บรรทมด้วยกัน ความวิสสาสะคุ้นเคยได้แน่นแฟ้นอันใคร ๆ ให้แตก
แยกไม่ได้. ลำดับนั้น พระราชารับสั่งให้เรียกบุตรและภรรยาของ
บุรุษผู้สหายนั้นมา ได้ให้สร้างนิเวศน์ในภายในพระนครพระราชทาน
พระราชาทั้งสองนั้น ต่างสมัครสมานรื่นเริงบรรเทิงใจ ครองราช
สมบัติ. ต่อมาอำมาตย์ทั้งหลายพากันโกรธ พระเจ้าพาราณสีนั้นจึงทูล
พระราชโอรสว่า ข้าแต่พระราชกุมาร พระราชาได้ประทานราชสมบัติ
กึ่งหนึ่งแก่คฤหบดีนี้ ร่วมเสวย ร่วมดื่มกับคฤหบดีนั้น ซ้ำให้พวก
เด็ก ๆ ไหว้ ข้าพระบาททั้งหลายไม่ทราบถึงกรรมที่คฤหบดีนี้กระทำ
พระราชาทรงกระทำอะไร ข้าพระบาททั้งหลายรู้สึกละอาย ขอพระ-
องค์จงทูลพระราชาด้วยเถิด. พระราชโอรสนั้นรับคำแล้ว จึงกราบ
ทูลเรื่องราวนั้นทั้งหมดแด่พระราชา แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์อย่าได้ทรงกระทำอย่างนี้เลย. พระเจ้าพาราณสีตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 389
ดูก่อนพ่อ บิดาแม้ในการรบ แม้ในกาลนั้นได้อยู่ ณ ที่ไหน เจ้าทราบ
หรือไม่เล่า. พระราชโอรสกราบทูลว่า ไม่ทราบพระเจ้าข้า. พระราชา
ตรัสว่า บิดาไปอยู่ในเรือนของคฤหบดีนี้ปลอดภัย แล้วกลับมาครอง-
ราชสมบัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร บิดาจึงจักไม่ให้สมบัติแก่
ผู้มีอุปการะแก่เราเล่า. พระโพธิสัตว์ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า
ดูก่อนพ่อ ก็บุคคลใดให้แก่คนผู้ไม่ควรให้ ไม่ให้แก่บุคคลผู้ควรให้
บุคคลนั้นถึงภัยอันตรายเข้า จะไม่ได้อุปการะเกื้อหนุนอะไรเลย เมื่อ
จะทรงแสดงต่อไปจึงตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-
ผู้ใดให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้ ไม่
เพิ่มให้ในคนที่ควรให้ ผู้นั้นถึงจะได้รับทุกข์
ในคราวมีอันตราย ก็ไม่ได้สหาย ช่วยเหลือ.
ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ เพิ่ม
ให้ในคนที่ควรให้ ผู้นั้นถึงได้รับทุกข์ในคราว
มีอันตราย ย่อมได้สหาย ช่วยเหลือ.
การแสดงคุณวิเศษแห่งความเกี่ยวพัน
และความสนิทสนมกันฉันท์มิตร ในชน
ทั้งหลายผู้ไม่มีอารยธรรม เป็นคนมักโอ้อวด
ย่อมไร้ผล การแสดงคุณวิเศษแห่งความ
เกี่ยวพันและความสนิทสนมกันฉันท์มิตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 390
ในอารยชนทั้งหลายผู้ซื่อตรงคงที่ แม้เล็ก
น้อยก็ย่อมมีผลมาก.
ผู้ใดได้ทำความดีงามไว้ก่อน ผู้นั้น
ชื่อว่าได้ทำกิจที่ทำได้แสนยากในโลก ภาย
หลังเขาจะทำหรือไม่ทำก็ตาม ข้อว่าเป็น
บุคคลผู้ควรแก่การบูชายิ่งนัก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเทยฺเยสุ ได้แก่ ผู้ไม่เคยทำ
อุปการะมาก่อน. บทว่า เทยฺเยสุ ได้แก่ ผู้ทำอุปการะมาแล้ว. บทว่า
นปฺปเวจฺฉติ แปลว่า ไม่ให้เข้าไป คือ ไม่ให้. บทว่า อาปาสุ
แปลว่า ในคราวมีอันตราย. บทว่า พฺยสน ได้แก่ ความทุกข์
บทว่า สญฺโคสมฺโภควิเสสทสฺสน ความว่า การแสดงความวิเศษ
คือการแสดงคุณของการเกี่ยวพันกันและการกินอยู่ร่วมกัน ที่มิตร
กระทำไว้ทั้งหมดนี้ที่ว่า ผู้นี้กระทำดีแก่เราแล้ว ย่อมพินาศ คือ
ฉิบหายไป ในชนผู้ชื่อว่าอนารยชน เพราะเป็นผู้มีธรรมไม่หมดจด
ชื่อว่าผู้โอ้อวด เพราะความเป็นคนหลอกลวง. บทว่า อริเยสุ ได้แก่
ชื่อว่าผู้ประเสริฐ คือ ผู้บริสุทธิ์ เพราะรู้คุณที่เขาทำไว้แก่ตน. บทว่า
อญฺชเสสุ ได้แก่ ชื่อว่าผู้ซื่อตรง คือผู้ไม่คดโกง เพราะเหตุนั้น
นั่นเอง. บทว่า อณุมฺปิ แปลว่า แม้มีประมาณน้อย. บทว่า ตาทิสุ
ความว่า สิ่งที่กระทำในบุคคลผู้ประเสริฐ ผู้ชื่อตรง เช่นนั้น แม้จะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 391
น้อยก็มีผลมาก เหมือนพืชที่หว่านลงในนาดี ย่อมมีผลรุ่งเรืองแผ่
ไพศาล แต่สิ่งที่กระทำในคนผู้ลามกนอกนี้ แม้จะมาก ก็ย่อมพินาศ
ฉิบหายเหมือนพืชที่หว่านลงในไฟฉะนั้น. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พืชย่อมมอดไหม้ ไม้งอกงามในไฟ
แม้ฉันใด กิจที่ทำในอสัตบุรุษ ย่อมพินาศ
ไม่งอกงาม ฉันนั้น ส่วนที่ทำในชนผู้มีความ
กตัญญู มีศีล มีความประพฤติเยี่ยงอารยชน
ย่อมไม่ฉิบหายไปในที่นั้น ๆ เหมือนพืชที่
หว่านในนาดีฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ ได้แก่
ผู้กระทำอุปการะไว้ก่อน. บทว่า อกา แปลว่า ได้กระทำแล้ว
อธิบายว่า ผู้นี้ได้กระทำ ชื่อว่าสิ่งที่ทำได้แสนยากในโลก. บทว่า
ปจฺฉา กยิรา ความว่า บุคคลนั้นจะได้กะทำหรือไม่ได้กระทำคุณ
ความดีอะไร ๆ อื่นในภายหลัง เพราะคุณความดีที่ทำไว้ก่อนนั้นนั่น
แหละ. บทว่า อจฺจนฺต ปูชนารโห ความว่า ย่อมควรสักการะ
สัมมานะทุกอย่าง.
ก็พวกอำมาตย์และราชโอรสได้ฟังดังนี้แล้ว ก็มิได้กล่าวอะไร ๆ
อีกแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 392
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า บุรุษชาวบ้านปัจจันตคามในครั้งนั้น ได้เป็นพระ-
อานนท์ในบัดนี้ ส่วนพระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น คือเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามหาอัสสาโรหชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 393
๓. เอกราชชาดก
คุณธรรมคือขันติและตบะ
[๕๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเอกราช พระองค์
เสวยกามคุณอันบริบูรณ์อย่างยิ่งในกาลก่อน
มาบัดนี้ พระองค์ถูกโยนลงในบ่ออีนขรุขระ
เหตุไรจึงมิได้ละพระฉวีวรรณและพระกำลัง
กายที่มีอยู่แต่เก่าก่อนเสียเลย.
[๕๑๑] ข้าแต่พระเจ้าทุพภิเสน ขันติและตบะ
เป็นคุณธรรมที่หม่อมฉันปรารถนามาแต่เดิม
แล้ว บัดนี้ หม่อมฉันได้สิ่งปรารถนานั้นแล้ว
เหตุไรจะพึงละฉวีวรรณและกำลังกายที่มีอยู่
แต่เก่าก่อนเสียเล่า.
[๕๑๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เปรื่องยศ มีปัญญาญาณ
ทนทานได้เป็นพิเศษ ได้ทราบมาว่า กิจที่ควร
ทำทุกอย่าง หม่อมฉันทำให้สำเร็จแล้ว ทั้ง
ได้ยศอันยิ่งใหญ่อันมีในกาลก่อน หม่อมฉัน
จึงไม่ละฉวีวรรณและกำลังกายที่มีอยู่แต่เก่า
ก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 394
[๕๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งปวงชน
สัตบุรุษทั้งหลายบรรเทาความสุขด้วยความ
ทุกข์ หรือบรรเทาความทุกข์อันยากที่จะทน
ได้ด้วยความสุข เพราะเป็นผู้มีจิตเยือกเย็น
ยิ่งนัก ในความสุขและทุกข์ทั้งสองอย่าง
ย่อมเป็นผู้มีจิตเป็นกลางทั้งในความสุขและ
ทุกข์ ดังตราชูฉะนั้น.
จบ เอกราชชาดกที่ ๓
อรรถกถาเอกราชชาดกที่ ๓
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
เสวกข้าราชสำนักของพระเจ้าโกศลคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนา
นี้ มีคำเริ่มต้นว่า อนุตฺตเร กามคุเณ สมิทฺเธ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันได้กล่าวไว้แล้วในเสยยชาดก ในหนหลังนั้นแล.
ก็ในชาดกนี้ พระศาสดาตรัสว่า มิใช่ท่านเท่านั้น ที่นำเอาประโยชน์
มาโดยสิ่งอันมิใช่ประโยชน์ แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ก็ได้นำ
เอาประโยชน์มาโดยสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่ตน แล้วทรงนำเอาเรื่อง
ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล อำมาตย์ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระเจ้าพาราณสี
ประทุษร้ายในราชสำนัก พระราชาทรงเห็นโทษของเข้าโดยประจักษ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 395
จึงทรงให้ขับไล่เสวกนั้น จากแว่นแคว้น เสวกนั้นจึงไปอุปัฏฐาก
พระเจ้าโกศลพระนามว่า ทุพภิเสน. เหตุการณ์ทั้งปวงนั้นได้กล่าวไว้
แล้วในมหาสีลวชาดกทั้งนั้น. ส่วนในชาดกนี้ พระเจ้าทุพภิเสนให้
จับพระเจ้าพาราณสีผู้ประทับนั่งในท่ามกลางอำมาตย์ ณ ท้องพระโรง
แล้วใส่สาแหรกแขวนห้อยพระเศียร ณ เบื้องบนธรณีประตู. พระ-
เจ้าพาราณสีทรงเจริญเมตตาปรารภพระราชาโจร กระทำกสิณบริกรรม
ยังฌานให้บังเกิดแล้ว. เครื่องพันธนาการขาด. แต่นั้น พระราชา
ประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศ ความเร่าร้อนเกิดขึ้นในร่างกายของราชา
โจร พระองค์ทรงบ่นว่าร้อน ๆ แล้วกลิ้งไปกลิ้งมา บนภาคพื้น. เมื่อ
พระราชาโจรตรัสอย่างนี้ว่า นี้เหตุอะไร อำมาตย์ทั้งหลายจึงทูลว่า
ข้าแต่มหาราช พระองค์ทรงทำพระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้หาความ
ผิดมิได้เห็นปานนี้ ให้ห้อยพระเศียรลง ณ เบื้องธรณีประตู พระเจ้า
ข้า พระราชาโจรตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงรีบไปปล่อยพระ-
ราชาพระองค์นั้น. ราชบุรุษทั้งหลายไปแล้ว ได้เห็นพระราชาทรง
นั่งขัดสมาธิในอากาศ จึงกลับมากราบทูลแก่พระเจ้าทุพภิเสน. พระ-
เจ้าทุพภิเสนนั้นจึงรีบเสด็จไปไหว้พระเจ้าพาราณสีนั้น ให้ทรงอดโทษ.
แล้วตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเอกราช ในการก่อน
พระองค์เสวยกามคุณอันบริบูรณ์อย่างยิ่ง อยู่
มาบัดนี้ พระองค์ถูกโยนลงในบ่ออันขรุขระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 396
เหตุไรพระองค์จึงยังไม่ลดละพระฉวีวรรณ
และพระกำลังกายอันมีอยู่แต่เก่าก่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสิ แปลว่า อยู่แล้ว. พระเจ้า
ทุพภิเสนตรัสเรียกพระโพธิสัตว์โดยพระนามว่า เอกราช. บทว่า
โสทานิ ตัดบทเป็น โส ตฺว อิทานิ แปลว่า บัดนี้ พระองค์นั้น.
บทว่า ทุคฺเค แปลว่า ไม่สม่ำเสมอ. บทว่า นรกมฺหิ ได้แก่ ใน
หลุม คำนี้ท่านกล่าวหมายเอาที่ที่ถูกแขวน. บทว่า นปฺปชเห
วณฺณพล นี้ พระเจ้าทุพภิเสนตรัสถามว่า พระองค์แม้ถูกโยนไป
ในที่อันไม่สม่ำเสมอเห็นปานนี้ ก็มิได้ทรงลดละพระฉวีวรรณอันมีอยู่
แต่เก่าก่อน และพระกำลังกาย.
พระโพริสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสคาถาที่เหลือว่า
ข้าแต่พระเจ้าทุพภิเสน ขันติและตบะ
เป็นคุณธรรมที่หม่อมฉันปรารถนามาแต่เดิม
แล้ว บัดนี้ หม่อมฉันได้สิ่งที่ปรารถนานั้น
แล้ว เหตุไรจะละฉวีวรรณและกำลังกายที่มี
อยู่แต่เก่าก่อนเสียเล่า.
ข้าแต่พระองค์ผู้เปรื่องยศ มีปรีชาญาณ
ทนทานได้พิเศษ ทราบมาว่า กิจที่จะพึงทำ
ทุกอย่าง หม่อมฉันทำให้สำเร็จแล้ว ทั้งได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 397
ยศอันยิ่งใหญ่อันมีในกาลก่อน หม่อมฉัน
จึงไม่ละฉวีวรรณและกำลังกาย อันมีอยู่แต่
เก่าก่อน.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งปวงชน
สัตบุรุษทั้งหลายบรรเทาความสุขด้วยความ
ทุกข์ หรือบรรเทาความทุกข์อันยากที่จะ
อดทนได้นั้นด้วยความสุข เพราะเป็นผู้มีจิต
เยือกเย็นยิ่งนักในสุขและทุกข์ ทั้งสองจึง
เป็นผู้มีจิตเที่ยงตรงดังตราชู ทั้งในความสุข
และความทุกข์.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนฺติ ได้แก่ อธิวาสนขันติ.
บทว่า ตโป ได้แก่ การประพฤติตบะ. บทว่า สมฺปฏฺิตา ได้แก่
ปรารถนาแล้ว คือปรารถนาเฉพาะแล้ว. พระเจ้าพาราณสีตรัสเรียก
พระราชาโจรนั้นโดยพระนามว่า ทุพภิเสน. บทว่า ตนฺทานิ ลทฺธาน
ความว่า บัดนี้ เราได้ความปรารถนานั้นแล้ว. บทว่า ชเห ความว่า
เพราะเหตุไรเราจะละ. ท่านแสดงความว่า เพราะบุคคลผู้มีความทุกข์
หรือโทมนัสก็ตาม จะต้องละทุกข์หรือโทมนัสนั้น. พระเจ้าพาราณสี
เมื่อจะแสงสมบัติของพระองค์ ตามที่ทรงได้ฟังตามกันมาจึงตรัสว่า
ทราบมาว่า กิจที่ควรทำทุกอย่างหม่อมฉันทำให้สำเร็จแล้ว. ท่านกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 398
อธิบายไว้ว่า กิจที่หม่อมฉันจะพึงทำทุกอย่าง คือการให้ทาน การ
รักษาศีล และการรักษาอุโบสถ หม่อมฉันทำเสร็จแล้วในกาลก่อน
ทีเดียว. บทว่า ยสสฺสิน ปญฺวนฺต วิสยฺห ความว่า ชื่อว่าผู้
เปรื่องยศ เพราะบริวารสมบัติ ชื่อว่ามีปัญญาญาณ เพราะถึงพร้อม
ด้วยปัญญา ชื่อว่าผู้อดทนได้พิเศษ เพราะเป็นผู้อันใคร ๆ ไม่อาจข่ม
ได้. เมื่อเป็นอย่างนี้ บททั้ง ๓ นี้ จึงเป็นอาลปนะคือคำสำหรับเรียก
ทั้งนั้น. ก็ศัพท์ว่า น ในคาถานี้ เป็นนิบาต. และลงนิคหิตที่ ต
ศัพท์ (คือลง ต ศัพท์) โดยทำพยัญชนะให้ไพเราะสละสลวย.
บทว่า ยโส จ คือ ยศนั่นแหละ. บทว่า ลทฺธา ปุริม ได้แก่
ได้ยศที่ไม่เคยได้มาก่อน คือในกาลก่อน. บทว่า อุฬาร ได้แก่ ใหญ่.
พระเจ้าพาราณสีตรัสหมายเอาการเกิดฌานด้วยเมตตาภาวนาอันเป็น
เครื่องข่มกิเลส. บทว่า นปฺปชเห ความว่า ได้ยศเห็นปานนี้แล้ว
เพราะเหตุไร จักละผิวพรรณและกำลังกายอันมีแต่เก่าก่อนเสียเล่า.
บทว่า ทุกฺเขน ความว่า บรรเทาสุขในราชสมบัติของหม่อมฉัน
ด้วยความทุกข์ เพราะโยนลงไปในนรกที่พระองค์ทำให้เกิดขึ้น. บทว่า
สุเขน วา ต ทุกฺข ได้แก่ หรือว่า บรรเทาทุกข์นั้นด้วยสุขอัน
เกิดแต่ฌาน. บทว่า อุภยตฺถ สนฺโต ความว่า สัตบุรุษทั้งหลาย
ผู้เป็นเช่นกับเรานั้น มีสภาวะดับเย็นยิ่งแล้ว คือมีตนเป็นกลางในส่วน
แม้ทั้งสองนี้ ย่อมเป็นผู้เที่ยงตรง คือย่อมเป็นเช่นเดียว ไม่มีอาการ
ผิดแผกเลยในสุขและทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 399
พระเจ้าทุพภิเสนได้ทรงสดับดังนี้แล้ว จึงขอให้พระโพธิสัตว์
อดโทษแล้วตรัสว่า พระองค์เท่านั้น จงครองราชสมบัติของพระองค์
หม่อมฉันจักคอยป้องกันพวกโจรแก่พระองค์ แล้วลาอาญาแก่อำมาตย์
ผู้ประทุษร้ายคนนั้นแล้วเสด็จหลีกไป. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงมอบ
ราชสมบัติแก่อำมาตย์ทั้งหลายแล้วบวชเป็นฤาษี ได้มีพรหมโลกเป็นที่
ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า. พระเจ้าทุพภิเสนในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์
ส่วนพระเจ้าพาราณสี คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาเอกราชชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 400
๔. ทัททรชาดก
ไม่ควรถือตัวในที่ที่เขาไม่รู้จัก
[๕๑๔] ข้าแต่พี่ทัททระ ถ้อยคำด่าว่าอันหยาบ-
คายในมนุษยโลกเหล่านี้ ย่อมทำให้ฉัน
เดือดร้อน พวกเด็ก ๆ ชาวบ้านผู้ไม่มีพิษ
ฤทธิ์เดช ยังนาด่าว่าเราผู้เป็นอสรพิษร้ายได้
ว่าเป็นสัตว์กินกบกินเขียด และว่าเป็นสัตว์
น้ำ.
[๕๑๕] บุคคลผู้ถูกขับไล่จากแว่นแคว้นของตน
ไปอยู่ยังถิ่นอื่นแล้ว ควรสร้างฉางใหญ่ไว้
สำหรับเก็บคำหยาบคายทั้งหลาย.
[๕๑๖] บุคคลอยู่ในสำนักคนผู้ไม่รู้จักชาติและ
โคตรของตน ไม่พึงทำการถือตัวในที่ที่ไม่มี
ใครรู้จักตน โดยชาติหรือโดยวินัย.
[๕๑๗] บุคคลผู้มีปัญญา แม้เปรียบเสมอด้วย
ไฟ เมื่อไปอยู่ต่างถิ่นไกล พึงอดทน แม้
จะเป็นคำขู่ ตะคอกของทาสก็ตาม.
จบ ทัททรชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 401
อรรถกถาทัททรชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
ภิกษุผู้มักโกรธรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อิมานิ ม ททฺทร ตาปยนฺติ ดังนี้.
เรื่องได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล. ก็ครั้งนั้น เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องที่ภิกษุนี้เป็นคนขี้โกรธ ใน
โรงธรรมสภา พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า
เรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงรับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาแล้วตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นคนขี้โกรธจริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นกราบ
ทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุนี้ก็เป็นคนขี้โกรธ
เหมือนกัน ก็เพราะความเป็นคนขี้โกรธของเธอ โบราณกบัณฑิต
ทั้งหลายแม้ตั้งอยู่ในความเป็นนาคราชผู้บริสุทธิ์ ก็ได้อยู่ในพื้นที่
เปื้อนคูถซึ่งเต็มไปด้วยคูถถึง ๓ ปี แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นโอรสของพระยาทัททรนาค-
ราชผู้ครองราชสมบัติอยู่ในทัททรนาคภพ อันมีอยู่ ณ เชิงเขาทัททร-
บรรพต ในหิมวันตประเทศ ได้มีนามว่า มหาทัททระ ส่วน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 402
น้องชายของมหาทัททรนาคราชนั้นชื่อว่าจุลลทัททระ. จุลลทัททรนาค
นั้น มักโกรธ หยาบคาย เที่ยวด่า เที่ยวประหารพวกนาคมาณพ
อยู่. พระยานาคราชรู้ว่าจุลลทัททรนาคนั้นเป็นผู้หยาบช้า จึงสั่งให้
นำจุลลทัททรนาคนั้นออกจากนาคภพ. แต่มหาทัททรนาคขอให้บิดา
อดโทษแล้วทัดทานห้ามไว้. แม้ครั้งที่สองพระยานาคทรงกริ้วต่อ
จุลลทัททรนาคนั้น. แม้ครั้งที่สอง มหาทัททรนาคนั้นก็ทูลขอให้
อดโทษไว้. แต่ในวาระที่สาม พระยานาคผู้บิดาตรัสว่า เจ้าข้ามมิให้
พ่อขับไล่มันผู้ประพฤติอนาจาร เจ้าแม้ทั้งสองไป จงออกจาก
นาคภพนี้ไปอยู่ที่พื้นเปื้อนคูถ ในนครพาราณีกำหนด ๓ ปี แล้ว
ให้ฉุดคร่าออกจากนาคภพ. นาคพี่น้องทั้งสองนั้นจึงไปอยู่ที่พื้นเปื้อน
คูถในเมืองพาราณสีนั้น. ครั้งนั้น พวกเด็กชาวบ้านเห็นนาคพี่น้อง
ทั้งสองนั้นเที่ยวหาเหยื่ออยู่ที่ชายน้ำใกล้พื้นที่เปื้อนคูถ จึงพากัน
ประหารขว้างปาท่อนไม้และก้อนดินเป็นต้น. พากันคำว่าคำหยาบ
เป็นต้นว่า นี้ตัวอะไรหัวใหญ่ หางเหมือนเข็ม มีกบเขียดเป็น
ภักษาหาร. จุลลทัททรนาคอดกลั้นการดูหมิ่นของพวกเด็กชาวบ้าน
เหล่านั้นไม่ได้ เพราะตนเป็นผู้ดุร้ายหยาบช้าจึงกล่าวว่า ข้าแต่พี่
เจ้าพวกเด็กเหล่านี้ดูหมิ่นพวกเรา ไม่รู้ว่าพวกเราเป็นผู้มีพิษร้าย น้อง
ไม่อาจอดกลั้นการดูหมิ่นของพวกมันได้ น้องจะทำพวกมันให้ฉิบหาย
ด้วยลมจมูก เมื่อจะเจรจากับพี่ชาย จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
พี่ทัททระ คำว่าหยาบคายทั้งหลายใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 403
มนุษยโลกเหล่านี้ ย่อมทำข้าพเจ้าให้เดือด
ร้อน พวกเด็กชาวบ้านผู้ไม่มีพิษฤทธิ์เดช
พากันสาปแช่งว่า เราผู้มีพิษร้ายว่าเป็นสัตว์
กินกบกินเขียด และว่าเป็นสัตว์น้ำ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาปยนฺติ แปลว่า ย่อมทำให้
ลำบาก. บทว่า มณฺฑูกภกฺขา อุทกนฺตเสวี ความว่า พวกเด็ก
ชาวบ้านผู้ไม่มีพิษฤทธิ์เดชเหล่านั้นกล่าวกันว่า สัตว์กินกบกินเขียด
และว่าเป็นสัตว์น้ำ สาปแช่งคือคำว่าเราซึ่งเป็นผู้มีพิษร้าย.
มหาทัททรนาคผู้พี่ได้ฟังคำของจุลลทัททรนาคผู้น้องนั้นแล้ว
จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-
บุคคลถูกขับไล่จากแว่นแคว้นของตน
ไปอยู่ยังถิ่นอื่น ควรทำฉางใหญ่ไว้ เพื่อเก็บ
คำหยาบคายทั้งหลาย.
บุคคลอยู่ในหมู่ชนผู้ไม่รู้จักตน ไม่
ควรทำการถือตัวในที่ที่ไม่มีคนรู้จักตน โดย
ชาติหรือโดยวินัย.
บุคคลผู้มีปัญญาแม้เปรียบเสมอด้วยไฟ
เมื่อไปอยู่ต่างถิ่นไกลพึงอดทน แม้คำขู่
ตะคอกของทาส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 404
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุรุตฺตาน นิเธตเว ความว่า
ชนทั้งหลายสร้างฉางใหญ่ไว้เพื่อเก็บข้าวเปลือก ทำฉางให้เต็มไว้
เมื่อกิจเกิดขึ้น ก็ใช้สอยข้าวเปลือก ฉันใด บุรุษผู้เป็นบัณฑิต
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปต่างถิ่นพึงสร้างฉางใหญ่ไว้ภายในหทัย เพื่อ
เก็บคำหยาบคาย ครั้นเก็บคำหยาบคายเหล่านั้นไว้ในหทัยนั้นแล้ว
กลับจักกระทำกิจที่ควรทำในเวลาอันเหมาะแก่ตน. บทว่า ชาติยา
วินเยน วา ความว่า ในที่ใด ชนทั้งหลายย่อมไม่รู้จักตนโดยชาติ
หรือโดยวินัยว่า ผู้นี้เป็นกษัตริย์ ผู้นี้เป็นพราหมณ์ หรือว่าเป็นผู้มีศีล
เป็นพหูสูตร เป็นผู้เพรียบพร้อมด้วยคุณธรรม. บทว่า มาน ความว่า
ไม่พึงกระทำการถือตัวว่า เขาเรียกเรารู้เห็นปานนี้ด้วยโวหารอัน
ลามก ไม่สักการะ ไม่เคารพ. บทว่า วส อญฺาตเก ชเน
ความว่า อยู่ในสำนักของคนผู้ไม่รู้จักชาติและโคตรของตน. บทว่า
วสโต แก้เป็น วสตา แปลว่า อยู่. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็เป็น
(ศัพท์ว่า วสตา) ดังนี้เหมือนกัน.
นาคพี่น้องทั้งสองนั้นอยู่ ณ ที่นั้น สิ้นกำหนด ๓ ปี ด้วย
อาการอย่างนี้. ลำดับนั้น พระยานาคผู้บิดาให้เรียกนาคพี่น้องทั้งสอง
นั้นมา. ตั้งแต่นั้นมานาคพี่น้องทั้งสองนั้น ก็สิ้นมานะการถือตัว.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะทั้งหลาย. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้มักโกรธได้ดำรงอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 405
ในอนาคามิผล. แล้วทรงประชุมชาดกว่า จุลลทัททรนาคในครั้งนั้น
ได้เป็นภิกษุผู้มักโกรธในบัดนี้ ส่วนมหาทัททรนาคในครั้งนั้น ได้เป็น
เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาทัททรชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 406
๕. สีลวิมังสชาดก
ความลับไม่มีในโลก
[๕๑๘] ขึ้นชื่อว่าที่ลับ ย่อมไม่มีในโลก แก่คน
ผู้กระทำบาปกรรม ต้นไม้ที่เกิดในป่าก็ยังมี
คนเห็น คนพาลย่อมสำคัญบาปกรรมนั้นว่า
เป็นที่ลับ.
[๕๑๙] ข้าพเจ้าย่อมไม่เห็นที่ลับ หรือแม้ที่ว่าง
เปล่าก็ไม่มี ในที่ใดว่างเปล่าข้าพเจ้าไม่เห็น
ใคร ที่นั้นก็ไม่ว่างเปล่าจากข้าพเจ้า.
[๕๒๐] มาณพผู้ใหญ่ ๖ คนนั้น คือ ทุชัจจ ๑
สุชัจจะ ๑ นันทะ ๑ สุขวัจฉนะ ๑ วัชณะ ๑
อัทธุวสีละ ๑ มีความต้องการธิดาของอาจารย์
พากันละธรรมเสีย.
[๕๒๑] ส่วนพราหมณ์มาณพเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งธรรม
ทั้งปวง มีปัญญามีความเพียรเครื่องก้าวหน้า
ในสัจจธรรม ตามรักษาธรรมไว้จะพึงละสตรี
ลาภเสียอย่างไรได้.
จบ สีลวีมังสชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 407
อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่ ๕
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภอุบายเครื่องข่มกิเลส จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า นตฺถิ โลเก รโห นาม ดังนี้.
เรื่องปัจจุบัน จักมีแจ้งในปัญจาลชาดก๑ เอกาทสนิบาต. ส่วน
ในชาดกนี้ มีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้:- ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป
อยู่ในภายในพระเชตวันวิหาร พากันตรึกกามวิตกในลำดับมัชฌิมยาม.
พระศาสดาทรงตรวจดู ภิกษุทั้งหลายเป็นนิตยกาล ในเวลาทั้งปวงทั้ง
เวลากลางคืนและกลางวัน เหมือนคนมีตาข้างเดียวรักษาตา คนผู้มีบุตร
คนเดียวรักษาบุตร จามรีชาติรักษาขนหางอ่อน ด้วยความไม่ประมาท
ฉะนั้น. ในกาลอันเป็นส่วนราตรี พระองค์ทรงตรวจดู ในพระเชตวัน
วิหาร ด้วยพระจักษุอันเป็นเพียงดังทิพย์ ทรงเห็นภิกษุเหล่านั้น
ประหนึ่งโจรอันเกิดขึ้นในภายในนิเวศน์ของพระเจ้าจักรพรรดิ จึงทรง
ปิดพระคันธกุฎีรับสั่งเรียกพระอานันทเถระมาแล้วตรัสว่า อานนท์
เธอจงให้ภิกษุทั้งหลายประชุมกัน ณ ภายในหอประชุมด้านสุด แล้ว
จงปูลาดอาสนะที่ประตูพระคันธกุฎี. พระอานันทเถระนั้นได้การทำ
อย่างนั้นแล้วกราบทูลพระศาสดาให้ทรงทราบ. พระศาสดาประทับนั่ง
บนอาสนะที่พระอานนท์ปูลาดแล้วทรงเตือนภิกษุทั้งหลายโดยรวมหมด
ด้วยกัน แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย
๑. บางแห่งว่า ปารันชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 408
ไม่กระทำบาปด้วยคิดว่า ชื่อว่าที่ลับในการทำบาปย่อมไม่มี อันภิกษุ
ทั้งหลายเหล่านั้นทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว ได้
เป็นหัวหน้ามาณพ ๕๐๐ คน เล่าเรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ทิศาปา-
โมกข์ ในนครพาราณสีนั้นนั่นแหละ. ท่านอาจารย์มีธิดาผู้กำลังเจริญ
วัย ท่านจึงคิดว่า เราจักทดลองศีลของมาณพเหล่านี้ แล้วจักให้ธิดา
นั้นแก่มาณพผู้สมบูรณ์ด้วยศีลเท่านั้น. วันหนึ่ง อาจารย์ทิศาปาโมกข์
นั้นเรียกมาณพทั้งหลายแล้วกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย ธิดาของเราเจริญ
วัยแล้ว เราจักทำการวิวาหมงคลแก่เธอ ควรจะได้ผ้าและเครื่องอลังการ
เธอทั้งหลาย เมื่อพวกญาติของตน ๆ ไม่เห็น จงลักเอาผ้าและเครื่อง
อลังการมา ผ้าและเครื่องอลังการที่ใคร ๆ ไม่เห็นเท่านั้น เราจึงรับ
เอาผ้าและเครื่องอลังการที่ใคร ๆ เห็นแล้วเอามา เราจะไม่รับ. มาณพ
เหล่านั้นรับคำจำเดิมแต่นั้นมา เมื่อพวกญาติไม่ทันเห็น จึงจักนำเอา
ผ้าและเครื่องประดับทั้งหลายมา. อาจารย์ก็วางสิ่งของที่พวกมาณพนำ
มา ๆ ไว้เป็นพวก ๆ. พระโพธิสัตว์ไม่นำอะไร ๆ มาเลย. ที่นั้น อาจารย์
จึงกล่าวกะพระโพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อนพ่อ เธอเล่าไม่ไปนำอะไร ๆ มา
หรือ. พระโพธิสัตว์กล่าวร่า ขอรับท่านอาจารย์. อาจารย์ถามว่า
เพราะอะไรพ่อ ? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่านไม่รับของที่เอามา เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 409
ใคร ๆ เห็น แม้กระผมก็ไม่เห็นที่ลับในการทำบาป เมื่อจะแสดงความ
จึงกล่าวคาถา ๒ คาถานี้ว่า :-
ข้อว่าที่ลับในโลก ย่อมไม่มีแก่คนผู้
กระทำบาปกรรม ต้นไม้ที่เกิดในป่าก็ยังมีคน
เห็น คนพาลย่อมสำคัญบาปกรรมนั้นว่าเป็น
ความลับ.
ข้าพเจ้าย่อมไม่เห็นที่ลับ หรือแม้ที่ว่าง
เปล่าก็ไม่มี ในที่ใดว่างเปล่า ข้าพเจ้าไม่เห็น
ใคร ที่นั้นก็ย่อมไม่ว่างเปล่าจากตัวข้าพเจ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รโห ได้แก่ ที่กำบัง. บทว่า
วนภูตานิ ได้แก่ ทั้งเกิดและมีอยู่ในป่า. บทว่า ต พาโล ความว่า
คนพาลย่อมสำคัญบาปกรรมนั้นว่า เราทำในที่ลับ . ด้วยบทว่า สุญฺ
วาปิ นี้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า แม้ที่ที่ว่างเปล่าจากสัตว์ทูลหลายไม่มี.
อาจารย์เลื่อมใสต่อพระโพธิสัตว์นั้นจึงกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ ใน
เรือนของเราไม่มีทรัพย์สินอะไร แต่เรามีความประสงค์จะให้ธิดาของ
เราแก่ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่อจะทดลองมาณพทั้งหลายเหล่านั้น จึงได้
ทำอย่างนี้ ธิดาของเราเหมาะสมแก่ท่านเท่านั้น แล้วประดับตกแต่งธิดา
มอบให้แก่พระโพธิสัตว์ แล้วกล่าวกะมาณพทั้งหลายนอกนี้ว่า สิ่งของ
ที่พวกเธอนำมาแล้ว ๆ จงนำไปยังเรือนของเธอทั้งหลายเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 410
พระศาสดาตรัส ดังนั้นแล มาณพผู้ทุศีลเหล่านั้น จึงไม่ได้
สตรีนั้น เพราะความที่ตนเป็นคนทุศีล มาณพผู้เป็นบัณฑิตคนเดียว
เท่านั้นได้ เพราะเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยศีล พระองค์ทรงเป็นผู้ตรัสรู้
พร้อมเฉพาะแล้ว จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถานอกนี้ว่า :-
มาณพผู้ใหญ่ ๖ คนนั้น คือ ทุชัจจะ ๑
สุชัจจะ ๑ จัณฑะ ๑ สุขวัจฉิตะ ๑ เวชฌ-
สันธะ ๑ สีลี ๑ มีความต้องการธิดาของ
อาจารย์ พากันละธรรมเสีย.
ส่วนพราหมณ์มาณพ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่ง
ธรรมทั้งปวง มีปัญญา มีความเพียรเครื่อง
ก้าวไปในสัจจธรรม ตามรักษาธรรมอยู่ จะ
พึงละสตรีลาภเสียอย่างไรเล่า.
ในพระคาถานั้น พระศาสดาทรงถือเอาชื่อของมาณพผู้ใหญ่
๖ คน มีอาทิว่า มาณพทุชัจจะ ดังนี้. พระองค์ไม่ทรงระบุชื่อของ
มาณพทั้งหลายที่เหลือ จึงตรัสโดยรวมเอาทั้งหมดทีเดียวว่า มาณพ
เหล่านั้นมีความต้องการธิดาของอาจารย์ พากันละธรรมเสีย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ได้แก่ มาณพเหล่านั้นแม้ทั้งหมด.
บทว่า ธมฺม ได้แก่สภาวะคือการได้เฉพาะสตรี. บทว่า ชหุมตฺถิกา
ตัดบทเป็น ชหุ อตฺถิกา แปลเหมือนในคาถา. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 411
อย่างนี้เหมือนกัน. ส่วน ม อักษรท่านกล่าวด้วยอำนาจการเชื่อมพยัญ-
ชนะ. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า มาณพเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เป็นผู้มีความ
ต้องการธิดาของอาจารย์นั้นเท่านั้น พากันละสภาวะคือการได้เฉพาะ
สตรีนั้น เพราะความที่ตนเป็นคนทุศีล. บทว่า พฺราหฺมโณ จ ความว่า
ส่วนพราหมณ์ผู้สมบูรณ์ด้วยศีลนอกนี้ บทว่า กถ ชเห ความว่า
เพราะเหตุไร จักละการได้สตรีนั้น บทว่า สพฺพธมฺมาน ความว่า
ในที่นี้ ศีล ๕ ศีล ๘ สุจริต ๓ อันเป็นโลกิยะ ชื่อว่าธรรมทั้งปวง
พราหมณ์มาณพนั้น ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวงนั้น เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่า ปารคูผู้ถึงฝั่ง. บทว่า ธมฺม ได้แก่ ธรรมอันมีประการดังกล่าว
แล้วนั่นแหละ ซึ่งพราหมณ์มาณพคุ้มครอง คือ รักษาอยู่ บทว่า
ธิติมา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญารักษาศีล. บทว่า สจฺจนิกฺกโม
ได้แก่ เป็นผู้มีสัจจะเป็นสภาวะ คือ ประกอบด้วยความเพียรเครื่อง
ก้าวไปในศีลธรรมตามที่กล่าวแล้ว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะ ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้นตั้งอยู่ในพระอรหัต.
แล้วทรงประชุมชาดกว่า อาจารย์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร
ส่วนมาณพผู้บัณฑิตได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 412
๖. สุชาตาชาดก
ได้รับโทษเพราะประมาท
[๕๒๒] ข้าแต่พระราชสวามีผู้ประเสริฐ ไข่ที่
เก็บไว้ในจานทองนี้เป็นไข่อะไร ลูกกลม
เกลี้ยงมีสีแดง หม่อมฉันทูลถามพระองค์
ถึงสิ่งนั้น โปรดตรัสบอกด้วย.
[๕๒๓] ดูก่อนพระเทวี เมื่อก่อนนี้เธอเป็น
หญิงหัวโล้นนุ่งผ้าท่อนเก่า ๆ มือถือห่อพก
เลือกเก็บผลไม้อันใดอยู่ สิ่งที่ฉันรับประทาน
อยู่ ณ บัดนี้ เป็นผลไม้อันนั้น เป็นผลไม้
ประจำตระกูลของเธอ.
[๕๒๔] หญิงทรามเมื่ออยู่ในราชสกุลนี้ ย่อม
ร้อนรนไม่รื่นรมย์ โภคสมบัติทั้งหลายก็ย่อม
ละเขาไปเสียสิ้น ท่านทั้งหลายจงช่วยกันนำ
หญิงทรามคนนั้นคืนไปไว้ที่ ๆ เขาจัดเก็บผล-
ไม้ประจำตระกูลขายเลี้ยงชีวิตได้ตามเดิม.
[๕๒๕] ข้าแต่มหาราช โทษเพราะความประ-
มาทเหล่านี้ ย่อมมีได้แก่นารีผู้ได้รับยศ ข้า
แต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์ได้ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 413
โปรดอดโทษแด่พระนางสุชาดาเทวีเถิด ข้า
แต่พระองค์ผู้ปริเสริฐ ขอพระองค์อย่าได้
ทรงพระพิโรธแด่พระเทวีเลย.
จบ สุชาตาชาดกที่ ๖
อรรถกถาสุชาตาชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระนางมัลลิกาเทวี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กึ-
อณฺฑภา อิเม เทว ดังนี้.
ได้ยินว่า วันหนึ่ง พระราชาได้มีการวิวาทโต้เถียงเรื่องสิริกับ
พระนางมัลลิกาเทวี. บางอาจารย์กล่าวว่า ทรงทะเลาะเรื่องที่บรรทม
ดังนี้ก็มี. พระราชาทรงกริ้วถึงกับไม่สนพระทัยกับพระนาง. ฝ่าย
พระนางมัลลิกาเทวีก็ทรงพระดำริว่า พระศาสดาเห็นจะไม่ทรงทราบว่า
พระราชาทรงพิโรธเรา. แม้พระศาสดาก็ทรงทราบ ทรงดำริว่า
จักกระทำพระราชาและพระเทวีนี้ให้สมัครสมานกัน ในเวลาเช้าจึง
ทรงนุ่งแล้วถือบาตรและจีวร มีภิกษุ ๕๐๐ รูป เป็นบริวาร เสด็จเข้า
กรุงสาวัตถีแล้วได้เสด็จไปที่ประตูพระราชนิเวศน์. พระราชาทรงรับ
บาตรของพระตถาคตแล้วทูลนิมนต์เสด็จเข้าพระนิเวศน์ ให้ประทับนั่ง
บนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ถวายน้ำทักษิโณทกแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธ-
เจ้าเป็นประธาน แล้วทรงนำข้าวยาคูและของควรเคี้ยวมาถวาย. พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 414
ศาสดาทรงเอาพระหัตถ์ปิดบาตรแล้วตรัสว่า มหาบพิตร พระเทวี
เสด็จไปไหน. พระราชาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประโยชน์
อะไรด้วยพระเทวีนั้นผู้มัวเมาด้วยยศของตน. พระศาสดาตรัสว่า
ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ทรงประทานยศยกมาตุคามขึ้นด้วยพระองค์
เอง แล้วไม่ทรงอดโทษความผิดที่พระเทวีนั้นกระทำ ดูไม่สมควร.
พระราชาทรงสดับพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว จึงรับสั่งให้เรียก
พระเทวีมา. พระเทวีเสด็จมาทรงอังคาสพระศาสดา. พระศาสดา
ตรัสว่า ควรที่พระองค์ทั้งสองจะเป็นผู้สามัคคีปรองดองกันและกัน ได้
ตรัสพรรณนาสามัคคีรสแล้ว เสด็จหลีกไป. จำเดิมแต่นั้น พระราชา
และพระเทวีทั้งสองพระองค์ก็ทรงอยู่ด้วยความสามัคคีปรองดองกัน.
ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระ-
ศาสดาได้ทรงกระทำพระราชาและพระเทวีทั้งสองพระองค์ให้สมัคร-
สมานกัน ด้วยพระดำรัสข้อเดียวเท่านั้น พระศาสดาเสด็จมาแล้ว
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอประชุมสนทนากัน
ด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึง
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เรา
ตถาคตก็ได้ทำให้ท้าวเธอทั้งสองนี้มีความสามัคคีปรองดองกัน ด้วย
วาทะข้อเดียวเท่านั้น แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ผู้สั่งสอนอรรถธรรมแก่พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 415
เจ้าพรหมทัตนั้น อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทรงเปิดบานพระแกรใหญ่
ได้ประทับทอดพระเนตรพระลานหลวง. ขณะนั้น ธิดาคนเก็บผัก
คนหนึ่ง มีรูปสวย ตั้งอยู่ในประถมวัย เทินกระเช้าพุทราไว้บนศีรษะ.
เดินร้องขายไปทางหน้าพระลานหลวงว่า ซื้อพุทราเจ้าข้า ซื้อพุทรา
เจ้าข้า. พระราชาได้ทรงสดับเสียงของนางนั้นแล้วทรงมีจิตปฏิพัทธ์
รักใคร่ ทรงทราบว่านางยังไม่มีสามี. จึงรับสั่งให้เรียกมาแล้วทรง
ตั้งนางนั้นไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี แล้วได้ประทานยศอันยิ่งใหญ่แก่
นาง. นางนั้นได้เป็นที่รักใคร่โปรดปรานของพระราชา. อยู่มาวันหนึ่ง
พระราชาประทับนั่งหยิบผลพุทราในจานทองเสวยอยู่ พระสุชาดา-
เทวีได้ทรงเห็นพระราชาเสวยผลพุทรา เมื่อจะทูลถามว่า ข้าแต่มหา-
ราช นี่คือผลอะไร พระองค์ทรงเสวยอยู่ จึงตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าแต่พระราชสามีผู้ประเสริฐ ไข่ที่
เก็บไว้ในจานทองนี้ เป็นไข่อะไร ลูกกลม
เกลี้ยงมีสีแดง หม่อมฉันทูลถามพระองค์
ถึงสิ่งนั้น ขอพระองค์ตรัสบอกด้วย.
ด้วยบทว่า กิอณฺฑกา นี้ ในคาถานั้น พระนางสุชาดาเทวี
ทูลว่า นี้ชื่อผลอะไร แต่เป็นดุจไข่ โดยมันกลม. บทว่า กสมลฺลเก
ได้แก่ ในจานทองคำ. บทว่า อุปโลหิตกา แปลว่า มีสีแดง บทว่า
วคฺคู ได้แก่ งาม คือไม่มีมลทิน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 416
พระราชาทรงกริ้วตรัสว่า นางแม่ค้าพุทราสุก ลูกสาวคนเก็บ
ผัก ช่างไม่รู้จัก แม้ผลพุทราอันเป็นของประจำตระกูลของตน แล้ว
ได้ตรัสคาถา ๒ คาถาว่า :-
ดูก่อนพระเทวี เมื่อก่อนเธอเป็นหญิง
หัวโล้นนุ่งผ้าท่อนเก่า ๆ จับท่อพก เลือก
เก็บผลไม้ใดอยู่ สิ่งที่ฉันรับประทานอยู่ ณ
บัดนี้ เป็นผลไม้นั้น เป็นผลไม้ประจำตระกูล
ของเธอ.
หญิงทรามเมื่ออยู่ในราชตระกูลนี้ ย่อม
ร้อนรนไม่รื่นรมย์ โภคทรัพย์ทั้งหลายย่อมละ
เขาไปเสียสิ้น หญิงนี้จักเลือกเก็บผลไม้
ประจำตระกูลได้ในที่ใด ท่านทั้งหลายจง
ช่วยนำหญิงนั้นคืนไปไว้ในที่นั้นนั่นเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภณฺฑุ แปลว่า เป็นผู้มีศีรษะโล้น
บทว่า นนฺตกวาสินี ได้แก่ ผู้นุ่งผ้าท่อนเก่า. บทว่า อจฺฉงฺคหตฺถา
ปจินาสิ ความว่า เธอเข้าดงเอาขอเหนี่ยวกิ่งลงมา เอามือหยิบผล
ที่เลือกเก็บแล้วเป็นผู้จับห่อพก โดยใส่เข้าไปในพกเลือกคัดเก็บ
เอาไป. บทว่า ตสฺสา เต โกลิย ผล ความว่า เมื่อเธอนั้น
เลือกเก็บอยู่อย่างนี้ บัดนี้ เรากินผลไม้ใด ผลไม้นี้เป็นผลไม้ประจำ
ตระกูล คือเป็นผลไม้ที่ตระกูลให้เธอ. บทว่า อุทยฺหเต น รมติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 417
ความว่า หญิงลามกนี้เมื่ออยู่ในราชตระกูลนี้ ย่อมร้อนรนไม่รื่นรมย์
เหมือนโยนลงในโลหกุมภีนรก. บทว่า โภคา ได้แก่ ราชโภคทรัพย์
ย่อมละหญิงนี้ผู้ไม่มีบุญ. ด้วยบทว่า ยตฺถ โลก ปจิสฺสติ นี้
พระราชาตรัสว่า หญิงนี้ไปในที่ใด แล้วเลือกเก็บพุทรานั่นแหละ
ค้าขายเลี้ยงชีวิตได้อีก ท่านทั้งหลายจงนำหญิงนั้นไปในที่นั้นนั่น
แหละ.
พระโพธิสัตว์คิดว่า เว้นเราเสีย คนอื่นจักไม่สามารถทำท้าว
เธอทั้งสองนี้ให้สามัคคีปรองดองกัน เราจักทูลให้พระราชาทรงยิน-
ยอมแล้วกระทำมิให้ขับไล่พระเทวีนี้ไป จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
ข้าแต่มหาราช โทษผิดเหล่านี้ ย่อมมี
แก่นารีผู้ได้รับยศ ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
พระองค์โปรดอดโทษแก่พระนางสุชาดา ข้า
แต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์อย่าได้
ทรงพระพิโรธแก่พระนางสุชาดานี้เลย.
คาถานั้นมีอธิบายว่า ข้าแต่มหาราช โทษเพราะความประมาท
เหล่านี้ คือเห็นปานนี้ ย่อมมีเฉพาะแก่นารีผู้ได้รับยศ การแต่งตั้ง
พระนางไว้ในตำแหน่งสูงเห็นปานนี้ แล้วไม่ทรงอดโทษผิดมีประมาณ
เท่านี้ ณ บัดนี้ ดูจะไม่สมควรแก่พระองค์ ข้าแต่สมมติเทพ เพราะ
ฉะนั้น ขอพระองค์ได้โปรดอดโทษ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 418
ผู้เป็นใหญ่ในพลรถ ขอพระองค์โปรดอย่าได้ทรงพิโรธแก่พระนาง-
สุชาดานี้.
พระราชาทรงอดกลั้นความผิดนั้นแก่พระเทวี เพราะถ้อยคำ
ของพระโพธิสัตว์นั้น จึงทรงแต่งตั่งไว้ในตำแหน่งเดิมนั่นเอง. ตั้ง
แต่นั้นมา พระราชาและพระเทวีทั้งสองพระองค์ทรงอยู่ด้วยความ
สมัครสมานปรองดองกันแล.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเจ้าโกศล
พระนางสุชาดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระนางมัลลิกา ส่วนอำมาตย์
ในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุชาตาชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 419
๗. ปลาสชาดก
ว่าด้วยขุมทรัพย์ที่ฝั่งไว้ที่โคนต้นไม้
[๕๒๖] ดูก่อนพราหมณ์ ท่านก็รู้ว่าต้นทอง-
กวาวนี้ไม่มีจิต ไม่ได้ยินเสียงอะไร และไม่
รู้สึกอะไรเลย เพราะเหตุไรท่านจึงพยายาม
มิได้มีความประมาท ถามถึงสุขไสยาอยู่
เสมอมา.
[๕๒๗] ต้นทองกวาวต้นใหญ่ ปรากฏไปใน
ที่ไกล ตั้งอยู่ในภูมิประเทศราบเรียบ เป็น
ที่อยู่อาศัยของทวยเทพ เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงนอบน้อมต้นทองกวาวนี้ และ
เทพเจ้าผู้สิงอยู่ที่ต้นทองกวาวนี้ด้วย เพราะ
เหตุแห่งทรัพย์.
[๕๒๘] ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้าเพ่งถึงความ
กตัญญูจักทำการทดแทนคุณท่านตามอานุ-
ภาพ ความดิ้นรนของท่านผู้มาถึงสำนักของ
สัตบุรุษทั้งหลาย ไฉนจักเปล่าจากประโยชน์
เล่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 420
[๕๒๙] ไม้เลียบต้นใด อยู่เบื้องหน้าต้น-
มะพลับเขาล้อมไว้ มหาชนเคยบูชายัญกัน
มาแต่ก่อน เป็นต้นไม้ใหญ่ ขุมทรัพย์เขาฝั่ง
ไว้ที่โคนต้นไม้เลียบนั้นแล ไม่มีเจ้าของ
ท่านจงไปขุดเอาทรัพย์นั้นเถิด.
จบ ปลาสชาดกที่ ๗
อรรถกถาปลาสชาดกที่ ๗
พระศาสดาทรงบรรทม ณ เตียงปรินิพพาน ทรงปรารภ
พระอานันทเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อเจตน
พฺราหฺมณ อสุณนฺต ดังนี้.
ได้ยินว่า ท่านผู้มีอายุนั้น ทราบว่า ในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง
แห่งราตรีวันนี้ พระศาสดาจักปรินิพพาน ก็นึกถึงตนว่า ก็เราแล
ยังเป็นเสขบุคคลมีกิจที่จะต้องทำ แต่พระศาสดาของเราจักปรินิพพาน
การอุปัฏฐากบำรุงที่เรากระทำแก่พระศาสดามาตลอดเวลา ๒๕ ปี น่า
จักไร้ผลถูกความเศร้าโศกครอบงำ จึงเหนี่ยวไม้สลักประตูห้องน้อย
ในอุทยานร้องไห้อยู่. พระศาสดาเมื่อไม่ทรงเห็นท่านพระอานนท์ จึง
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์ไปไหน ครั้นได้ทรงสดับ
ดังนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้เรียกท่านมาประทานโอวาท แล้วตรัสว่า
อานนท์ เธอเป็นผู้ได้ทำบุญไว้แล้ว จงหมั่นประกอบความเพียร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 421
เธอจักหมดอาสวะโดยเร็วพลัน เธออย่าได้คิดเสียใจไปเลย การ
อุปัฏฐากที่เธอกระทำแก่เราในบัดนี้ เพราะเหตุไรเล่าจักไร้ผล การ
อุปัฏฐากที่เธอกระทำแก่เรา แม้ในกาลที่เรายังไม่มีราคะเป็นต้น ใน
ชาติก่อนก็ยังมีผล แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาต้นทองกวาว ในที่
ไม่ใกล้พระนครพาราณสี. ในกาลนั้น ชาวเมืองพาราณสี พากัน
ถือเทวดามงคล จึงขวนขวายในการทำพลีกรรมเป็นต้นเป็นนิตยกาล.
ครั้งนั้น มีพราหมณ์เข็ญใจคนหนึ่งคิดว่า แม้เราก็จักปรนนิบัติเทวดา
องค์หนึ่ง จึงทำโคนต้นทองกวาวใหญ่ต้นหนึ่งซึ่งยืนต้นอยู่ในพื้นที่สูง
ให้ราบเตียนปราศจากหญ้า แล้วล้อมรั้ว เกลี่ยทรายปัดกวาด แล้ว
เจิมด้วยของหอมที่ต้นไม้ บูชาด้วยดอกไม้ ของหอมและธูป ตาม
ประทีปแล้วกล่าวว่า ท่านจงอยู่เป็นสุขสบาย แล้วทำประทักษิณ
ต้นไม้แล้วหลีกไป. เช้าตรู่วันที่สองพราหมณ์นั้นไปถามถึงการนอน
เป็นสุขสบาย. อยู่มาวันหนึ่ง รุกขเทวดาคิดว่า พราหมณ์นี้ปฏิบัติ
เรายิ่งนัก เราจักทดลองพราหมณ์นั้นดู แกปฏิบัติบำรุงเราด้วยเหตุ
อันใด ก็จักให้เหตุอันนั้น เมื่อพราหมณ์นั้นมาปัดกวาดโคนไม้ จึงยืน
อยู่ใกล้ ๆ ด้วยเพศของพราหมณ์แก่ แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านก็รู้ว่าต้นทอง-
กวาวนี้ไม่มีจิตใจ ไม่ได้ยินเสียงและไม่รู้สึก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 422
อะไร เพราะเหตุไรท่านจึงเพียรพยายาม มิได้
มีความประมาท ถามถึงสุขไสยาอยู่เสมอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสุณนฺต แปลว่า ไม่ได้ยินเสียง
ได้แก่ ชื่อว่าไม่ได้ยินเสียง เพราะไม่มีเจตนาเลย. บทว่า ชาโน
แปลว่า รู้อยู่ ได้แก่ ท่านเป็นผู้รู้อยู่. บทว่า ธุว อปฺปมตฺโต
แปลว่า ไม่มีความประมาทเป็นนิจ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ประมาทเป็นนิตย์.
พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ต้นทองกวาวใหญ่ปรากฏไปในที่ไกล
ตั้งอยู่ในภูมิประเทศราบเรียบ เป็นที่อยู่อาศัย
ของทวยเทพ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึง
นอบน้อมต้นทองกวาวนี้ และเทพเจ้าผู้สิง
อยู่ที่ต้นทองกวาวนี้ด้วย เพราะเหตุแห่ง
ทรัพย์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูเร สุโต ความว่า ดูก่อน
พราหมณ์ ต้นไม้นี้ปรากฏไปในที่ไกล มิใช่ปรากฏอยู่ในที่ใกล้ ๆ.
บทว่า พฺรหาว แปลว่า ใหญ่. บทว่า เทเส ิโต ได้แก่ ยืนต้น
อยู่ในภูมิประเทศอันสูง ราบเรียบ. บทว่า ภูตนิวาสรูโป ได้แก่
มีสภาวะเป็นที่อยู่อาศัยของเทวดา คือ เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่จักสิงอยู่
ที่ต้นทองกวาวนี้แน่. บทว่า เต จ ธนสฺส เหตุ ความว่า เรา
นอบน้อมต้นไม้นี้ และเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้นี้ เพราะเหตุแห่ง
ทรัพย์ มิใช่เพราะไม่มีเหตุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 423
รุกขเทวดาได้ฟังดังนั้น มีความเลื่อมใสพราหมณ์ จึงปลอบ.
โยนพราหมณ์นั้นให้เบาใจว่า พราหมณ์ เราเป็นเทวดาผู้สิงอยู่ที่
ต้นไม้นี้ ท่านอย่ากลัวไปเลยเราจะให้ทรัพย์แก่ท่าน แล้วยืนในอากาศ
ที่ประตูวิมานของตน ด้วยเทวานุภาพอันยิ่งใหญ่ ได้กล่าวคาถา ๒
คาถานอกนี้ว่า :-
ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นมาเพ่งถึงความ
กตัญญู จักทำการทดแทนคุณท่านตาม
สมควรแก่อานุภาพ การที่ท่านดิ้นรนมายัง
สำนักของสัตบุรุษทั้งหลาย จะพึงเปล่า
ประโยชน์ได้อย่างไรเล่า.
ไม้เลียบต้นใด อยู่เบื้องหน้าต้นมะ-
พลับเขาล้อมไว้ มหาชนเคยบูชายัญกันมา
แต่ก่อน เป็นต้นไม้ใหญ่ ขุมทรัพย์เขาฝังไว้
ที่โคนต้นไม้เลียบนั้นแล ไม่มีเจ้าของ ท่าน
จงไปขุดเอาทรัพย์นั้นเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถามุภาว ได้แก่ ตามสามารถ
คือ ตามกำลัง. บทว่า ภตญฺญุต ความว่า รู้คุณที่ท่านทำไว้แก่เรา
ชื่อว่าเพ่งถึงความกตัญญูซึ่งมีอยู่ในตนนั้น. บทว่า อาคมฺม แปลว่า
มาแล้ว บทว่า สต สกาเส ได้แก่ ในสำนักของสัตตบุรุษทั้งหลาย.
บทว่า โมฆา แปลว่า เปล่า. บทว่า ปริยนฺทิตานิ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 424
ดิ้นรนด้วยวาจาด้วยการถามถึงการนอนเป็นสุขสบาย และดิ้นรนด้วย
กายด้วยการทำการปัดกวาดเป็นต้น จักไม่เป็นผลแก่ท่านได้อย่างไร.
บทว่า โย ตินฺทุรุกฺขสฺส ความว่า รุกขเทวดายืนที่ประตูวิมาน
นั่นแหละ เหยียดมือแสดงว่า ต้นเลียบนั้นได้ตั้งอยู่เบื้องหน้าต้น
มะพลับ. ในบทว่า ปริวาริโต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ที่โคนต้นเลียบนั้น ต้นเลียบนี้ชื่อว่า เขาล้อมไว้ เพราะเขาฝังทรัพย์
ไว้รอบโคนต้นไม้นั้น ชื่อว่า เขาเคยบูชายัญ เพราะทรัพย์เกิดขึ้น
แก่พวกเจ้าของตนแรก ๆ ด้วยอำนาจยัญที่เขาบูชาแล้วในกาลก่อน
ชื่อว่ายิ่งใหญ่ เพราะเป็นต้นไม้ใหญ่ โดยมีหม้อขุมทรัพย์มิใช่น้อย
ชื่อว่าเขาฝังไว้ ชื่อว่าไม่มีทายาท เพราะบัดนี้ทายาททั้งหลายไม่มี.
ท่านกล่าวอธิบายนี้ไว้ว่า ขุมทรัพย์ใหญ่นี้เราฝังไว้ โดยหม้อขุมทรัพย์
เอาคอจดคอติด ๆ กันรอบโคนต้นไม้นี้ ไม่มีเจ้าของ ท่านจงไป จงขุด
ขุมทรัพย์นั้นเอาไป.
ก็แหละเทวดานั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงให้โอวาทแก่
พราหมณ์ว่า พราหมณ์ ท่านขุดเอาขุมทรัพย์นั้นไปจักลำบากเหน็ด
เหนื่อย ท่านจงไปเถิด เราเองจักนำขุมทรัพย์นั้นไปยังเรือนของท่าน
แล้วจักฝังไว้ ณ ที่โน้นและที่โน้น ท่านจงใช้สอยทรัพย์นั้นจนตลอด
ชีวิต จงให้ทาน รักษาศีลเถิด แล้วยังทรัพย์นั้นให้ไปประดิษฐาน
อยู่ในเรือนของพราหมณ์นั้น ด้วยอานุภาพของตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 425
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้
ส่วนรุกขเทวดาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปลาสชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 426
๘. ชวสกุณชาดก
ผู้ไม่มีกตัญญูไม่ควรคบ
[๕๓๐] ข้าแต่พระยาเนื้อ ขอนอบน้อมแด่ท่าน
ข้าพเจ้าได้ทำกิจอย่างหนึ่งแก่ท่าน ตามกำลัง
ของข้าพเจ้าที่มีอยู่ ข้าพเจ้าจะได้อะไรตอบ
แทนบ้าง.
[๕๓๑] การที่ท่านเข้าไปอยู่ในระหว่างฟันของเรา
ผู้มีเลือดเป็นภักษาหาร ผู้ทำกรรมอันหยาบช้า
อยู่เป็นนิตย์ ท่านยังเป็นอยู่ได้ นั่นก็เป็น
คุณมากอยู่แล้ว.
[๕๓๒] น่าติเตียนคนที่ไม่รู้คุณที่เขาทำแล้ว ผู้
ไม่ทำคุณให้ใคร และผู้ที่ไม่ทำตอบแทนคุณ
ที่เขาทำก่อน ความกตัญญูไม่มีในคนใด การ
คบคนนั้นย่อมไร้ประโยชน์.
[๕๓๓] บุคคลไม่ได้มิตรธรรมด้วยอุปการคุณที่
ตนประพฤติต่อหน้าในผู้ใด ผู้นั้นบัณฑิตไม่
ต้องริษยา ไม่ต้องคำว่า พึงค่อย ๆ หลีกออก
ห่างจากผู้นั้นไปเสีย.
จบ ชวสกุณชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 427
อรรถกถาชวสกุณชาดกที่ ๘
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภ-
ความอกตัญญูของพระเทวทัต จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า อกรมฺหาว เต กิจฺจ ดังนี้.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น
แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตก็เป็นคนอกตัญญูเหมือนกัน แล้วทรงนำ
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ใน
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นนกหัวขวานอยู่ในหิมวันต-
ประเทศ. ครั้งนั้นราชสีห์ตัวหนึ่งกินเนื้อ กระดูกติดคอจนคอบวม.
ไม่สามารถจับเหยื่อกินได้ เวทนากล้าแข็งเป็นไป. ลำดับนั้น นกนั้น
เที่ยวขวนขวายหาเหยื่อ เห็นราชสีห์นั้นจึงจับที่กิ่งไม้ ถามว่า สหาย
ท่านเป็นทุกข์เพราะอะไร ราชสีห์นั้นจึงบอกเนื้อความนั้น. นกนั้น
กล่าวว่า สหาย เราจะนำกระดูกนั้นออก ให้แก่ท่าน แต่เราไม่อาจเข้า
ไปในปากของท่าน เพราะกลัวว่า ท่านจะกินเรา. ราชสีห์กล่าวว่า ท่าน
อย่ากลัวเลย สหาย เราจะไม่กินท่าน . ท่านจงให้ชีวิตเราเถิด. นกนั้น
รับคำว่าดีละ แล้วให้ราชสีห์นั้นนอนตะแคง แล้วคิดว่า ใครจะรู้ว่า
อะไรจักมีแก่เรา จึงวางท่อนไม้ค้ำไว้ริมฝีปากทั้งข้างล่างและข้างบนของ
ราชสีห์นั้นโดยที่มันไม่สามารถหุบปากได้ แล้วเข้าไปในปาก เอาจงอย
ปากเคาะปลายกระดูก. กระดูกก็เคลื่อนตกไป. จากนั้นครั้นทำให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 428
กระดูกตกไปแล้ว เมื่อจะออกจากปากราชสีห์จึงเอาจะงอยปากเคาะ
ท่อนไม้ให้ตกลงไป แล้วบินออกไปจับที่ปลายกิ่งไม้. ราชสีห์หายโรค
แล้ว วันหนึ่ง ฆ่ากระบือป่าได้ตัวหนึ่งแล้วกินอยู่. นกคิดว่า เราจัก
ทดลองราชสีห์นั้นดู จึงจับที่กิ่งไม้ ณ ส่วนเบื้องบนราชสีห์นั้น เมื่อ
จะเจรจากับราชสีห์นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าแต่พระยาเนื้อ ขอความนอบน้อมจง
มีแก่ท่าน ข้าพเจ้าได้ทำกิจอย่างหนึ่งแก่ท่าน
ตามกำลังของข้าพเจ้าที่มีอยู่ ข้าพเจ้าจะได้
อะไรตอบแทนบ้าง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกรมฺหาว เต กิจฺจ ความว่า
ท่านสีหะผู้เจริญ แม้เราก็ได้กระทำกิจอย่างหนึ่งแก่ท่าน บทว่า ย พล
อหุวมฺหเส ความว่า กำลังใดได้มีแก่เรา เรามิได้ทำอะไร ๆ ให้เสื่อม
เสียจากกิจนั้น ได้กระทำแล้วด้วยกำลังนั้นทีเดียว.
ราชสีห์ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ข้อที่ท่านเข้าไปอยู่ในระหว่างฟันของ
ข้าพเจ้าผู้มีโลหิตเป็นภักษาหารผู้กระทำกรรม
หยาบเป็นนิจ ท่านยังรอดชีวิตอยู่ได้นั้นก็
เป็นคุณมากอยู่แล้ว.
นกได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถานอกนี้ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 429
น่าติเตียนคนที่ไม่รู้คุณที่เขาทำแล้ว ผู้
ไม่ทำคุณให้แก่ใคร ผู้ไม่ทำตอบแทนคุณที่
เขาทำไว้ ความกตัญญูย่อมไม่มีในบุคคลใด
การคบคนนั้นย่อมไร้ประโยชน์.
บุคคลไม่ได้มิตรธรรมด้วยอุปการคุณที่
ตนประพฤติต่อหน้า ในบุคคลใด บุคคลนั้น
บัณฑิตไม่ต้องริษยา ไม่ต้องด่าว่า พึงค่อย ๆ
หลีกห่างออกจากบุคคลนั้นไปเสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกตญฺญุ แปลว่า ผู้ไม่รู้คุณที่เขา
กระทำแล้ว. บทว่า อกตฺตาร ได้แก่ ผู้ไม่ทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า สมฺมุขจิณฺเณน ความว่า ด้วยคุณที่ทำไว้ต่อหน้า. บทว่า
อนุสฺสุยมนกฺโกส ความว่า บัณฑิตอย่าริษยา อย่าด่าว่าบุคคลนั้น
พึงค่อยๆ หลีกออกห่างจากบุคคลนั้น.
ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว นกนั้นก็บินหลีกไป.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประ-
ชุมชาดกว่า ราชสีห์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต ส่วนนกในครั้งนั้น
ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาชวสกุณชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 430
๙. ฉวชาดก
ว่าด้วยการนั่งที่ไม่สมควร
[๕๒๔] กิจทั้งหมดที่เราทั้งสองกระทำแล้วเป็น
กิจลามก คนทั้ง ๒ ไม่เห็นธรรม คนทั้ง ๒
เคลื่อนแล้วจากปกติเดิม คือ อาจารย์นั่งบน
อาสนะต่ำบอกมนต์ และศิษย์นั่งบนอาสนะ
สูงเรียนมนต์.
[๕๓๕] เราบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีขาวสะอาด
ปรุงด้วยเนื้อ ของพระราชาพระองค์นี้
เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ซ่องเสพธรรมนั้น
ที่พวกฤๅษีส้องเสพมาแล้ว.
[๕๓๖] ท่านจงหลีกไปเสียเถิด ขึ้นชื่อว่าโลก
กว้างใหญ่ แม้คนอื่น ๆ ก็หุงต้นกิน เพราะ
เหตุนั้น อธรรมที่ท่านประพฤติมาแล้ว อย่า
ทำลายท่านเสียเลย ดุจก้อนหินต่อยหม้อ
ให้แตก ฉะนั้น.
[๕๓๗] ดูก่อนพราหมณ์ เราติเตียนการได้ยศ
การได้ทรัพย์ และความประพฤติเลี้ยงชีวิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 431
ด้วยการทำตนให้ตกต่ำ หรือด้วยการประ-
พฤติไม่เป็นธรรม.
จบ ฉวชาดกที่ ๙
อรรถกถาฉวกชาดกที่ ๙๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุพวกฉัพพัคคีย์ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สพฺพ
อิทญฺจ มริกต ดังนี้.
เรื่องนี้มีมาแล้วโดยพิสดารในพระวินัยนั่นแล. ส่วนในชาดกนี้
มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :- พระศาสดารับสั่งให้เรียกภิกษุพวกฉัพ-
พัคคีย์มาแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเธอ
นั่งบนอาสนะต่ำแล้วแสดงธรรมแก่ผู้นั่งบนอาสนะสูงจริงหรือ ? เมื่อ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ จึงทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้น แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การที่พวกเธอไม่กระทำความเคารพในธรรมของเรา ไม่สมควร ด้วย
ว่า โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ได้ติเตียนอาจารย์นั่งอาสนะต่ำ บอก
แม้มนต์แก่ชนพวกพากเพียร แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้.
๑. ในพระสูตรเป็น ฉวชาดก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 432
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดคนจัณฑาล พอเจริญวัยแล้ว
ก็ตั้งตัวได้. ภรรยาของบุรุษจัณฑาลนั้น แพ้ท้องอยากมะม่วง จึง
กล่าวกะเขาว่า ข้าแต่นาย ดิฉันอยากกินมะม่วง. สามีกล่าวว่า นาง
ผู้เจริญ ในฤดูกาลนี้ มะม่วงไม่มี พี่จักนำผลไม้เปรี้ยวอย่างอื่นมาให้.
ภรรยากล่าวว่า ข้าแต่นาย ดิฉันอยากได้ผลมะม่วงเท่านั้น จักมีชีวิต
รอดอยู่ได้ เมื่อดิฉันไม่ได้. ชีวิตก็จะหาไม่. สามีนั้นเป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์
รักใคร่ภรรยานั้น จึงคิดว่า เราจักได้มะม่วงที่ไหนหนอ. ก็สมัยนั้น
แล ในพระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี ได้มีต้นมะม่วงมีผลเป็น
ประจำ บุรุษจัณฑาลนั้น จึงคิดว่า เราจักนำผลมะม่วงสุกจากพระ-
ราชอุทยานนั้น มาระงับความแพ้ท้องของภรรยานี้ ในตอนกลางคืน
จึงไปยังพระราชอุทยาน ขึ้นต้นมะม่วงแอบซ่อนตัวอยู่ เที่ยวมองดู
ผลมะม่วงกิ่งนั้นกิ่งนี้อยู่. เมื่อบุรุษจัณฑาลนั้นกระทำอยู่อย่างนี้แหละ
ราตรีก็รุ่งสว่าง. เขาคิดว่า เราจักลงไปในบัดนี้ คนเผาพระราชอุท-
ยานเห็นเราเข้าก็จักจับเราว่าเป็นโจร เราจักไปในตอนกลางคืน ที่
นั้นเขาจึงปีนขึ้นยังค่าคบแห่งหนึ่งแอบซ่อนอยู่. ครั้งนั้น พระเจ้า-
พาราณสี ทรงเรียนมนต์ในสำนักของปุโรหิต. พระองค์จึงเสด็จเข้า
ไปยังพระราชอุทยานประทับนั่งบนอาสนะสูง ณ ที่โคนต้นมะม่วงให้
อาจารย์นั่งอาสนะต่ำ แล้วทรงเรียนมนต์. พระโพธิสัตว์นั่งอยู่ข้างบน
คิดว่า พระราชานี้ประทับนั่งอยู่บนอาสนะสูงเรียนมนต์ ไม่ทรงเคารพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 433
ในธรรม แม้พราหมณ์ผู้นั่งอาสนะต่ำสอนมนต์ ก็ไม่เคารพในธรรม
แม้เราผู้ไม่คำนึงถึงชีวิตของเรา บอกภรรยาว่า จะลักมะม่วง เพราะ
เหตุแห่งมาตุคามก็เป็นผู้ไม่เคารพในธรรม พระโพธิสัตว์นั้นเมื่อจะลง
จากต้นมะม่วง จึงจับกิ่งห้อยอยู่กิ่งหนึ่งลงยืน เฉพาะอยู่ในระหว่าง
พระราชาและปุโรหิตแม้ทั้งสองนั้น แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช
ข้าพระบาทเป็นคนฉิบหายแล้ว พระองค์ทรงเป็นผู้เขลา ปุโรหิต
เป็นคนตายแล้ว ถูกพระราชาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร จึงกล่าว
คาถาที่ ๑ ว่า :-
กิจทั้งหมดที่เราทั้งหลายทำแล้วนี้ เป็น
กิจลามก คนทั้งสองไม่เห็นธรรม คนทั้งสอง
เคลื่อนจากปกติเดิม คือ อาจารย์นั่งบน
อาสนะต่ำบอกมนต์ และศิษย์นั่งบนอาสนะ
สูงเรียนมนต์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพ อิทญฺจ มริกต ความว่า
กิจทั้งหมดที่เราทั้งหลาย คือที่ชนทั้ง ๓ กระทำเป็นกิจลามก คือไร้
มารยาท ไม่เป็นธรรม. ก็พระโพธิสัตว์ติเตียนความที่ตนเป็นโจร
และความที่พระราชา และปุโรหิตเหล่านั้นไม่เคารพในมนต์ทั้งหลาย
แล้ว เมื่อจะติเตียนเฉพาะพระราชาและปุโรหิตทั้งสองนอกนี้ จึง
กล่าวคำมีอาทิว่า คนทั้งสองไม่เห็นธรรม ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อุโภ ความว่า ชนแม้ทั้งสองย่อมไม่เห็นโบราณกธรรมอันควร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 434
แก่การทำความเคารพ และเป็นผู้คลาดเคลื่อนจากปกติในธรรมนั้น.
เพราะว่าธรรม ชื่อว่าปกติ เพราะเกิดขึ้นก่อน. สมจริงดังที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า :-
ธรรมแลปรากฏขึ้นก่อน อธรรมเกิด
ขึ้นในโลก ต่อภายหลัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย จาย ความว่า ปุโรหิตนี้
นั่งบนอาสนะต่ำให้ท่องมนต์ และพระราชานี้นั่งบนอาสนะสูงได้เรียน
เอา.
พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
เราบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันสะอาด
ปรุงด้วยเนื้อ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ส้อง
เสพธรรมนั้น อันฤๅษีทั้งหลายซ่องเสพแล้ว.
คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า ท่านผู้เจริญก็เราบริโภคข้าวสุก
แห่งข้าวสาลีอันเป็นของแห่งพระราชานี้ อันขาวสะอาด อันปรุงเจือ
ด้วยเนื้อราดรสด้วยชนิดแห่งเนื้อมีประการต่าง ๆ เพราะฉะนั้น เรา
จึงเป็นผู้ผูกพันเยื่อใยในท้อง จึงไม่ได้ส้องเสพธรรมนี้ ที่พวกฤๅษี
ทั้งหลายผู้แสวงหาคุณเสพแล้ว.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
ท่านจงหลีกไปเสียเถิด โลกยังกว้าง-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 435
ใหญ่ แม้คนอื่น ๆ ก็ยังหุงต้มกิน เพราะ
เหตุนั้น อธรรมที่ท่านประพฤติมา แล้วอย่า
ได้ทำลายท่านเสียเลย เหมือนก้อนหินต่อย
หม้อให้แตกฉะนั้น.
ดูก่อนพราหมณ์ เราติเตียนการได้ยศ
การได้ทรัพย์ และการเลี้ยงชีวิตด้วยการทำ
ตนให้ตกต่ำ หรือด้วยการประพฤติไม่เป็น
ธรรม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริพฺพช ความว่า ท่านจงจากที่นี้
ไปที่อื่น. บทว่า มหา ความว่า ชื่อว่าโลกนี้เป็นของใหญ่. บทว่า
ปจนฺตญฺเปิ ความว่า คนแม้อื่นๆ ในชมพูทวีปนี้ก็หุงต้ม มิใช่
พระราชาพระองค์เดียวนี้เท่านั้น. บทว่า ตสฺมา ภุมฺภมิว ความว่า
เหมือนหินต่อยหม้อฉะนั้น. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า ท่านไม่ไปที่
อื่น ยังประพฤติอธรรมอยู่ในที่นี้ อธรรมนั้นอันท่านประพฤติแล้ว
อย่างนั้น อย่าได้ทำลายท่านเลย เหมือนก้อนหินต่อยหม้อแตกฉะนั้น.
คาถาที่ว่า ธิรตฺถุ เป็นต้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :- ดูก่อน
พราหมณ์ เราติเตียนคือครหานินทา การได้ยศและทรัพย์ของท่าน
อย่างนี้ เพราะเหตุไร ? เพราะลาภที่ท่านได้แล้วนี้ และความถึงพร้อม
ด้วยเหตุอันเป็นเครื่องให้ตกไปในอบายทั้งหลายต่อไป ชื่อว่าเป็นการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 436
ประพฤติเลี้ยงชีพโดยไม่ชอบธรรม จะประโยชน์อะไรด้วยการเลี้ยงชีพ
ซึ่งสำเร็จด้วยการทำตนให้ตกต่ำต่อไปนี้ หรือด้วยการประพฤติอันไม่
ชอบธรรมนี้ ด้วยเหตุนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้กะท่าน.
ลำดับนั้น พระราชาทรงเลื่อมใสธรรมกถาของพระโพธิสัตว์
นั้น ตรัสถามว่า บุรุษผู้เจริญ เธอเป็นชาติอะไร ? พระโพธิสัตว์
กราบทูลว่า ข้าพระองค์เป็นคนจัณฑาล พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า
ท่านผู้เจริญ ถ้าเธอจักได้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยชาติไซร้ เราจักได้ให้
ราชสมบัติแก่เธอ ก็ตั้งแต่นี้ไป เราจักเป็นพระราชาตอนกลางวัน
เธอจงเป็นพระราชาตอนกลางคืน แล้วประทานพวงดอกไม้ เครื่อง
ประดับพระศอของพระองค์ให้ประดับคอของพระโพธิสัตว์นั้น แล้วได้
ทรงกระทำพระโพธิสัตว์นั้น ให้เป็นผู้รักษาพระนคร. นี้เป็นธรรม-
เนียมของการประดับพวงดอกไม้แดงที่คอของตนผู้รักษาพระนคร. จำ
เดิมแต่นั้นมา พระราชาทรงดำรงอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์นั้น
ทรงทำความเคารพในฐานอาจารย์ ประทับนั่งบนอาสนะต่ำแล้วทรง
เรียนมนต์
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ ส่วนบุตรคน
จัณฑาล คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาฉวกชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 437
๑๐. สัยหชาดก
ว่าด้วยการแสวงหาที่ประเสริฐ
[๕๓๘] บัณฑิตไม่พึงปรารถนาพื้นเเผ่นดิน มี
สัณฐานดุจกุณฑลท่ามกลางสาคร มีมหา-
สมุทรล้อมอยู่โดยรอบ พร้อมด้วยการนินทา
ดูก่อนสัยหะอำมาตย์ ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด.
[๕๓๙] ดูก่อนพราหมณ์ เราติเตียนการได้ยศ
การได้ทรัพย์ และความประพฤติเลี้ยงชีวิต
ด้วยการทำตนให้ตกต่ำหรือด้วยการประพฤติ
ไม่เป็นธรรม.
[๕๔๐] ถึงแม้เราบวชเป็นบรรพชิต ถือภาชนะ
เที่ยวภิกขาจาร ความประพฤติเลี้ยงชีวิตนั้น
แหละประเสริฐกว่า การแสวงหาโดยไม่เป็น
ธรรมจะประเสริฐอะไร.
[๕๔๑] ถึงแม้เราบวชเป็นบรรพชิต ถือภาชนะ
เที่ยวภิกขาจาร ไม่เบียดเบียนผู้อื่นในโลก
นั้นประเสริฐกว่าราชสมบัติเสียอีก.
จบ สัยหชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 438
อรรถกถาสัยหชาดกที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
ภิกษุผู้กระสันจะสึก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
สสมุทฺทปริสาส ดังนี้
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถี เห็น
หญิงตกแต่งประดับประดามีรูปร่างงดงามคนหนึ่ง. เป็นผู้กระสันอยาก
สึก ไม่ยินดีในพระศาสนา ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย จึงพากันแสดง
ภิกษุนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ภิกษุนั้นถูกพระศาสดาตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้กระสันอยากสึกจริงหรือ. จึงกราบทูลว่า
จริง พระเจ้าข้า. เมื่อพระศาสดาตรัสว่า ใครทำให้เธอกระสันอยากสึก
จึงกราบทูลเนื้อความนั้น. พระศาสดาตรัสว่า เรอบวชในศาสนาอัน
เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ เพราะเหตุไรจึงกระสันอยากสึก
บัณฑิตทั้งหลายในกาลก่อน แม้จะได้ตำแหน่งปุโรหิต ก็ยังปฏิเสธ
ตำแหน่งนั้นแล้วไปบวช ครั้นตรัสแล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา
สาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในท้องนางพราหมณีของปุโรหิต
คลอดในวันเดียวกันกับพระโอรสของพระราชา. พระราชาตรัสถาม
อำมาตย์ทั้งหลายว่า ใคร ๆ ผู้เกิดในวันเดียวกันกับโอรสของเรา มีอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 439
หรือหนอ ? อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช มีพระเจ้าข้า
คือบุตรของปุโรหิต. พระราชาจึงทรงสั่งเอาบุตรของปุโรหิตนั้นมามอบ
ให้แม่นมทั้งหลาย ให้ประคบประหงมร่วมกันกับพระราชโอรส. เครื่อง
ประดับและเครื่องดื่ม เครื่องบริโภคของกุมารแม้ทั้งสอง ได้เป็นเช่น
เดียวกันทีเดียว. พระราชกุมารและกุมารเหล่านั้นเจริญวัยแล้วไปเมือง
ตักกศิลาเรียนศิลปะทั้งปวงร่วมกันแล้วกลับมา. พระราชาได้พระราช-
ทานตำแหน่งอุปราชแก่พระโอรส. พระโพธิสัตว์ได้มียศยิ่งใหญ่ จำเดิม
แต่นั้นมา พระโพธิสัตว์กับ พระราชโอรสก็กินร่วมกัน ดื่มร่วมกัน
นอนร่วมกัน ความวิสาสะคุ้นเคยกันและกันได้มั่นคงแน่นแฟ้น ใน
กาลต่อมา เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พระราชโอรสได้ดำรงอยู่ใน
ราชสมบัติ ทรงเสวยสมบัติใหญ่. พระโพธิสัตว์คิดว่า สหายของเรา
ได้ครองราชย์ ก็ในขณะที่ทรงกำหนดตำแหน่งนั่นแหละ คงจักพระ-
ราชทานตำแหน่งปุโรหิตแก่เรา เราจะประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือน
เราจักบวชพอกพูนความวิเวก. พระโพธิสัตว์นั้นไหว้บิดามารดาให้
อนุญาตการบรรพชาแล้วสละสมบัติใหญ่ ผู้เดียวเท่านั้น ออกไป
หิมวันตประเทศ สร้างบรรณศาลาอยู่ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ บวช
เป็นฤๅษี ทำอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดแล้วเล่นฌานอยู่. ในกาลนั้น
พระราชาหวนระลึกถึงพระโพธิสัตว์นั้นจึงถามว่า หายของเราไม่
ปรากฏเขาไปไหนเสีย. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลถึงความที่พระโพธิ-
สัตว์นั้นบวชแล้วกราบทูลว่า ได้ยินว่า สหายของพระองค์อยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 440
ไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์. พระราชาตรัสถานตำแหน่งแห่งที่อยู่ของ
พระโพธิสัตว์นั้นแล้ว ตรัสกะสัยหอำมาตย์ ท่านจงมา จงพาสหาย
ของเรามา เราจักให้ตำแหน่งปุโรหิตแก่สหายของเรานั้น. สัยหอำมาตย์
นั้นรับพระดำรัสแล้วออกจากนครพาราณสี ถึงปัจจันตคามโดยลำดับ
แล้วตั้งค่าย ณ บ้านปัจจันตคามนั้น แล้วไปยังสถานที่อยู่ของพระ-
โพธิสัตว์พร้อมกับพวกพรานป่า เห็นพระโพธิสัตว์นั่งอยู่ที่ประตูบรรณ
ศาลา เหมือนรูปทองจึงไหว้แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง กระทำปฏิสันถาร
แล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระราชามีพระประสงค์จะพระราชทาน
ตำแหน่งอุปราชแก่ท่าน ทรงหวังให้ท่านกลับมา. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า
ตำแหน่งปุโรหิตจงพักไว้ก่อน เราแม้จะได้ราชสมบัติในแคว้นกาสี
โกศล และชมพูทวีปทั้งสิ้น หรือเฉพาะสิริแห่งพระเจ้าจักรพรรดิก็ตาม
ก็จักไม่ปรารถนา ก็บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่กลับ ถือเอากิเลสทั้งหลาย
ซึ่งละแล้วครั้งเดียวอีก เพราะสิ่งที่ละทิ้งไปแล้วครั้งเดียว เป็นเช่น
กับก้อนเขฬะที่ถ่มไปแล้ว จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
บัณฑิตไม่พึงปรารถนาพื้นแผ่นดิน มี
สัณฐานดุจกุณฑลท่ามกลางสาคร มีมหา-
สมุทรล้อมอยู่โดยรอบ พร้อมด้วยการนินทา
ดูก่อนสัยหะอำมาตย์ ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด.
ดูก่อนพราหมณ์ เราติเตียนการได้ยศ
การได้ทรัพย์ และการเลี้ยงชีพด้วยการทำตน
ให้ตกต่ำ หรือด้วยการประพฤติไม่เป็นธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 441
ถึงแม้เราบวชเป็นบรรพชิตถือบาตรเที่ยว
ภิกขาจาร ความเลี้ยงชีวิตนั้นนั่นแหละประ-
เสริฐกว่า การแสวงหาโดยไม่เป็นธรรมจะ
ประเสริฐกว่าอะไร
ถึงแม้เราบวชเป็นบรรพชิตถือบาตร
เที่ยวภิกขาจาร ไม่เบียดเบียนผู้อื่นในโลก
นั้นประเสริฐกว่าราชสมบัติเสียอีก.
บรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสมุทฺทปริสาส ความว่า บริวาร
ท่านเรียกว่า ปริสาสะ. แม้กับบริวารกล่าวคือสมุทร พร้อมด้วยภูเขา
จักรวาล ซึ่งตั้งล้อมสมุทร. บทว่า สาครกุณฺฑล ความว่า เป็นดัง
กุณฑลคือต่างหูของสาครนั้น เพราะตั้งอยู่โดยเป็นเกาะในท่ามกลาง
สาคร บทว่า นินฺทาย ได้แก่ ด้วยการนินทาดังนี้ว่า ละทิ้งการบวช
อันสมบูรณ์ด้วยสุขในฌานแล้วถือเอาอิสริยยศ. พระโพธิสัตว์เรียก
อำมาตย์นั้นโดยชื่อว่า สัยหะ บทว่า วิชานาหิ แปลว่า ท่านจงรู้
ธรรม บทว่า ยา วุตฺติ วินิปาเตน ความว่า การได้ยศ การได้
ทรัพย์ และการเลี้ยงชีพอันใดที่เราได้ด้วยความมักใหญ่ใฝ่สูง ย่อมมี
ได้ด้วยการทำตนให้ตกต่ำกล่าวคือการยังตนให้ตกไปจากความสุขใน
ฌาน หรือด้วยการไปจากที่นี้แล้ว ประพฤติไม่เป็นธรรมแห่งเราผู้
มัวเมาด้วยความมัวเมาในยศ เราติเตียนความเลี้ยงชีพนั้น. บทว่า
ปตฺตมาทาย ได้แก่ ถือภาชนะเพื่อภิกษา. บทว่า อนาคาโร ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 442
เราเป็นผู้เว้นจากเรือน เที่ยวไปในตระกูลของคนอื่น. บทว่า สาเอว
ชีวิกา ความว่า ความเป็นอยู่ของเรานั้นนั่นแหละ ประเสริฐกว่า
คือเลิศกว่า. บทว่า ยา จาธมฺเมน ได้แก่ และการแสวงหาโดยไม่เป็น
ธรรมอันใด. ท่านกล่าวอธิบายว่า ความเป็นอยู่นี้นั่นแลดีกว่าการ
แสวงหาโดยไม่เป็นธรรมนั้น. บทว่า อหึสย แปลว่า ไม่เบียดเบียน
บทว่า อปิ รชฺเชน ความว่า เราถือกระเบื้องสำเร็จการเลี้ยงชีพ
โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่นอย่างนี้ ประเสริฐคือสูงสุดแม้กว่าความเป็น
พระราชา.
พระโพธิสัตว์นั้นห้ามปราม สัยหะอำมาตย์แม้ผู้จะอ้อนวอน
อยู่บ่อย ๆ ด้วยประการฉะนี้. ฝ่ายสัยหะอำมาตย์ครั้นไม่ได้ความตกลง
ปลงใจของพระโพธิสัตว์ จึงไหว้พระโพธิสัตว์แล้วไปกราบทูลแก่พระ-
ราชาถึงความที่พระโพธิสัตว์นั้นไม่กลับมา.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะทั้งหลายแล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้
กระสันจะสึก ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ชนเป็นอันมากแม้อื่นอีกได้
กระทำให้แจ้งโสดาปัตติผลเป็นต้น. พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระ-
อานนท์ สัยหะอำมาตย์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร. ส่วนบุตร
ของปุโรหิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสัยหชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 443
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จุลลกาลิงคชาดก ๒. มหาอัสสาโรหชาดก ๓. เอกราช-
ชาดก ๔. ทัททรชาดก ๕. สีลวีมังสชาดก ๖. สุชาตาชาดก
๗. ปลาสชาดก ๘. ชวสกุณชาดก ๙. ฉวชาดก ๑๐. สัยหชาดก
จบ กาลิงควรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 444
๒. ปุจิมันทวรรค
๑. ปุจิมันทชาดก
ว่าด้วยผู้รอบคอบ
[๕๔๒] แน่ะโจร ลุกขึ้นเถิด จะมัวนอน
อยู่ทำไม ท่านต้องการอะไรด้วยการนอน
ราชบุรุษอย่าจับท่านผู้ทำโจรกรรมอันหยาบช้า
ทารุณในบ้านเลย.
[๕๔๓] ราชบุรุษทั้งหลายจ้องจับโจร ผู้ทำ
โจรกรรมอันหยาบช้าทารุณในบ้าน ในเรื่อง
นั้น ธุระอะไรของปุจิมันทเทวดาผู้เกิดอยู่ใน
ป่าเล่า.
[๕๔๔] ดูก่อนอัสสัตถเทวดา ท่านไม่รู้เหตุที่จะ
อยู่ร่วมกันไม่ได้ระหว่างเรากับโจร ราชบุรุษ
ทั้งหลายจับโจรผู้ทำโจรกรรมอันหยาบช้า
ทารุณในบ้านได้แล้ว จะเสียบโจรไว้บน
หลาวไม้สะเดา ใจของเรารังเกียจในเรื่องนั้น.
[ ๕๔๕] บัณฑิตพึงรังเกียสิ่งที่ควรรังเกียจ พึง
ป้องกันภัยที่ยังไม่มาถึงตัว พิจารณาดูโลก
ทั้ง ๒ เพราะภัยในอนาคต.
จบ ปุจิมันทชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 445
อรรถกถาปุจิมันทวรรคที่ ๒
อรรถกถาปุจิมันทชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ จึงตรัสพระธรรมเทศนาน มีคำเริ่มต้นว่า
อุฏฺเหิ โจร กึ เสสิ ดังนี้.
ได้ยินว่า เมื่อพระเถระเข้าไปอาศัยนครราชคฤห์ อยู่ในกุฎีที่
สร้างอยู่ในป่า มีโจรคนหนึ่งตัดที่ต่อในเรือนหลังหนึ่ง ในบ้านใกล้
ประตูเมือง ถือเอาทรัพย์ทำเป็นแก่นสารซึ่งพอจะถือเอาไปได้ หนีไป
เข้าบริเวณกุฎีของพระเถระ แล้วนอนที่หน้ามุขบรรณศาลาของพระ-
เถระด้วยคิดว่า ณ ที่นี้จักคุ้มครองรักษาเราได้. พระเถระรู้ว่าโจรนั้น
นอนอยู่ที่หน้ามุข จึงทำความรังเกียจโจรนั้น คิดว่า ธรรมดาว่า
การเกี่ยวข้องกับโจร ย่อมไม่ควร จึงออกมาไล่ว่า เฮ้ย เอ็งอย่ามา
นอนที่นี้. โจรจึงออกจากที่นั้น ทิ้งแต่รอยเท้าให้หลงเหลือไว้แล้ว
หนีไป. มนุษย์ทั้งหลาย ถือคบเพลิงมา ณ ที่นั้น ตามแนวรอยเท้าโจร
เห็นที่มา ที่ยืน และที่นอนเป็นต้นของโจรนั้น จึงกล่าวกันว่า
โจรมาทางนี้ ยืนที่นี้ นั่งที่นี้ หนีไปทางนี้ แต่พวกเราไม่เห็นโจร
ต่างแล่นไปทางโน้นทางนี้ ก็ไม่เห็น จึงพากันกลับ. วันรุ่งขึ้น
เวลาเช้า พระเถระเที่ยวบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต
แล้ว จึงไปยังพระเวฬุวันวิหาร กราบทูลเรื่องนั้นแต่พระศาสดา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 446
พระศาสดาตรัสว่า โมคคัลลานะ มิใช่เธอเท่านั้นจะรังเกียจสิ่งที่ควร
รังเกียจ แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลายก็รังเกียจแล้ว อันพระเถระ
อ้อนวอนแล้ว จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดา สิงอยู่ที่ต้น
สะเดาในป่าอันเป็นป่าช้าแห่งพระนคร. อยู่มาวันหนึ่ง โจรกระทำ
โจรกรรมในบ้านใกล้ประตูเมือง แล้วเข้าไปยังป่าช้านั้น. ก็ในกาลนั้น
มีต้นไม้ใหญ่ในป่าช้านั้น ๒ ต้นคือ ต้นสะเดากับต้นอัสสัตถพฤกษ์.
โจรเก็บห่อภัณฑะไว้ที่โคนต้นสะเดาแล้วจึงนอน. แต่ในเวลาอื่น
มนุษย์ทั้งหลายจับพวกโจรเสียบหลาวทำด้วยไม้สะเดา ครั้งนั้น
เทวดานั้นคิดว่า ถ้าพวกมนุษย์จักมาจับโจรนี้ จักพากันตัดกิ่งสะเดา
นี้แหละ ทำเป็นหลาวเสียบโจรนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้จักพินาศ
เอาเถอะ เราจักนำโจรนั้นออกไปจากที่นี้. เทวดานั้นเมื่อจะเจรจา
ปราศัยกับโจรนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
แนะโจร เจ้าจงลุกขึ้น จะมัวนอน
อยู่ทำไม เจ้าต้องการอะไรด้วยการนอน
ราชบุรุษอย่าจับ เจ้าผู้ทำโจรกรรมอันหยาบช้า
ทารุณในบ้านเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชาโน ท่านกล่าวหมายเอาพวก
ราชบุรุษ. บทว่า กิพฺพิสการก ได้แก่ ผู้กระทำโจรกรรมอันทารุณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 447
หยาบช้า.
เทวดาครั้นกล่าวกะโจรนั้นดังนี้แล้ว จึงทำให้กลัวหนีไป
โดยพูดว่า เจ้าจงไปที่อื่นตราบเท่าที่พวกราชบุรุษยังไม่มาจับ . ก็เมื่อ
โจรนั้นไปแล้ว เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นอัสสัตถพฤกษ์ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
พวกราชบุรุษจักจับโจรผู้กระทำโจรกรรม
อันทารุณหยาบช้าในบ้านมิใช่หรือ ธุระอะไร
ในเรื่องนั้นของปุจิมันทเทวดาผู้เกิดอยู่ในป่า
เล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วเน ชาตสิส ติฏฺโต ความว่า
ต้นไม้ที่เกิดและตั้งอยู่ในป่า. ก็อัสสัตถพฤกษ์ เทวดา ร้องเรียก
ปุจิมันเทวดา โดยเฉพาะเรียกชื่อต้นไม้ เพราะปุจิมันทเทวดานั้น
เกิดที่ต้นสะเดานั้น.
นิมพเทวดาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ก่อนอัสสัตถเทวดา ท่านไม่รู้เหตุที่
จะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ระหว่างเรากับโจร
ราชบุรุษทั้งหลายจับโจรผู้ทำโจรกรรมอัน
หยาบช้าทารุณในบ้านได้แล้ว จะเสียบโจร
ไว้บนหลาวไม้สะเดา. ใจของเรารังเกียจใน
เรื่องนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 448
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสตฺถ นี้ เทวดาผู้เกิดที่ต้น
สะเดานั้น ร้องเรียก โดยนัยอันมีในก่อนนั่นแหละ. บทว่า มม
โจรสฺส จนฺตร ได้แก่ เหตุที่เราและโจรอยู่ร่วมกันไม่ได้ บทว่า
อจฺเจนฺติ นิมฺพสูลสฺมึ ความว่า เวลานี้ราชบุรุษทั้งหลายจะร้อย
โจรไว้บนหลาวไม้สะเดา. บทว่า ตสฺมึ เม สงฺกเต มโน ความว่า
จิตของเรารังเกียจในเหตุนั้นว่า ก็ถ้าพวกราชบุรุษจักร้อยโจรนี้ที่
หลาวไซร้ วิมานของเราจักฉิบหาย ถ้าไม่ทำอย่างนั้น จักแขวนโจร
ไว้ที่กิ่งไม้สะเดา วิมานของเราจักมีกลิ่นซากศพ ด้วยเหตุนั้น เรา
จึงให้โจรนั้นหนีไปเสีย.
เมื่อเทวดาเหล่านั้น เจรจาปราศัยกันและกันอยู่อย่างนี้แหละ
พวกเจ้าของทรัพย์ ถือคบเพลิงมาตามรอยเท้าเห็นที่ที่โจรนอน จึง
กล่าวว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ก็บัดนี้ โจรลุกหนีไปแล้วพวกเรา
ไม่ได้ตัวโจร ถ้าพวกเราจักได้ตัวโจรไซร้ จักเสียบร้อยโจรนั้นไว้
บนหลาวไม้สะเดานี้ หรือแขวนไว้ที่กิ่งสะเดาแล้วจักไป แล้วแล่นไป
ค้นหาทางโน้นทางนี้ ไม่พบโจรจึงพากันกลับไป. อัสสัตถเทวดาได้
ฟังคำของตนเหล่านั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
บัณฑิตพึงรังเกียจสิ่งที่ควรรังเกียจ พึง
ป้องกันภัยที่ยังไม่มาถึงตัว พิจารณาดูโลก
ทั้งสองเพราะภัยในอนาคต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 449
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รกฺเขยฺยานาคต ภย ความว่า
อนาคตภัยมี ๒ อย่าง คือ ภัยที่เป็นไปในทิฏฐธรรมอย่างหนึ่ง
ภัยที่เป็นไปในสัมปรายภพอย่างหนึ่ง ในอนาคตภัย ๒ อย่างนั้น
บัณฑิตเมื่อเว้นบาปมิตรเสีย ชื่อว่าป้องกันภัยที่เป็นไปในทิฏฐธรรม
เมื่อเว้นทุจริต ๓ เสีย ชื่อว่าป้องกันภัยที่เป็นไปในสัมปรายภพ.
บทว่า อนาคตภยา ความว่า เมื่อรังเกียจภัยนั้น เหตุอนาคตภัย
บทว่า ธีโร ความว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตย่อมไม่กระทำการเกี่ยวข้อง
กับปาปมิตร ย่อมไม่ประพฤติทุจริตโดยทวารทั้ง ๓. บทว่า อุโภ
โลเก ความว่า เพราะบัณฑิตนี้เมื่อกลัวอยู่อย่างนี้ ย่อมพิจารณาเห็น
คือ ย่อมแลเห็นโลกทั้งสอง กล่าวคือโลกนี้และโลกหน้า เมื่อ
รังเกียจอยู่ ย่อมละเว้นปาปมิตร เพราะกลัวภัยในโลกนี้ ย่อมไม่ทำ
บาปกรรม เพราะกลัวภัยในโลกหน้า.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า เทวดาผู้บังเกิด ณ ต้นอัสสัตถพฤกษ์ในครั้งนั้น
ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนเทวดาผู้บังเกิด ณ ต้นสะเดาในครั้งนั้น
ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปุจิมันทชวดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 450
๒. กัสสปมันทิยชาดก
ว่าด้วยรู้ตัวว่าผิดแล้วสารภาพผิด
[๔๕๖] ข้าแต่ท่านกัสสปะ เด็กหนุ่มจะด่าแช่ง
หรือจะตีก็ตาม ด้วยขอความเป็นเด็กหนุ่ม
บัณฑิตผู้มีปัญญาย่อมอดทนความผิดที่พวก
เด็กทำแล้วทั้งหมดนั้นได้.
[๕๔๗] ถ้าแม้สัตบุรุษทั้งหลายวิวาทกัน ก็กลับ
เชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว ส่วนคนพาลทั้ง-
หลายย่อมแตกกันเหมือนภาชนะดิน เขา
ย่อมไม่ถึงความสงบเวรกันได้เลย.
[๕๔๘] ผู้ใดรู้โทษที่ตนล่วงแล้ว ๑ ผู้ใดรู้แสดง
โทษ ๑ คนทั้งสองนั้นย่อมพร้อมเพรียงกัน
ยิ่งขึ้น ความสนิทสนมของเขาย่อมไม่เสื่อม
คลาย.
[๕๔๙] ผู้ใด เมื่อคนเหล่าอื่นล่วงเกินกัน คน
เองสามารถจะเชื่อมให้สนิทสนมได้ ผู้นั้น
แลชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐยิ่ง ผู้นำภาระไป ผู้
ทรงธุระไว้.
จบ กัสสปมันทิยชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 451
อรรถกถากัสสปมันทิยชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
ภิกษุแก่รูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อปิ
กสฺสป มนฺทิย ดังนี้.
ได้ยินว่า ในนครสาวัตถีมีกุลบุตรผู้หนึ่งเห็นโทษในกามทั้ง
หลาย จึงบวชในสำนักของพระศาสดา ขวนขวายในพระกรรมฐาน
ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต. จำเพียรกาลนานมา มารดาของภิกษุ
นั้นได้กระทำกาลกิริยาตาย. เมื่อมารดาล่วงลับไปแล้ว ภิกษุนั้นจึงให้
บิดาและน้องชายบวช แล้วอยู่ในพระเชตวันวิหาร ในวัสสูปนายิก-
สมัยใกล้วันเข้าพรรษา ได้ฟังว่าปัจจัยคือจีวรหาได้ง่าย จึงไปยังอาวาส
ประจำหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ทั้ง ๓ รูปจำพรรษาอยู่ในอาวาสประจำหมู่
บ้านนั้น ออกพรรษาแล้วจึงกลับมายังพระเชตวันวิหารตามเดิม. ภิกษุ
หนุ่มจึงสั่งสามเณรน้องชาย ณ ที่ใกล้พระเชตวันว่า สามเณร เธอจง
ให้พระเถระแก่พักแล้วค่อยนำมา เราจะล่วงหน้าไปจัดแจงบริเวณก่อน
แล้วก็เข้าไปยังพระเชตวัน. พระเถระแก่ค่อย ๆ เดินมา. สามเณร
ทำราวกะว่าเอาศีรษะรุนอยู่บ่อย ๆ นำท่านไปโดยพลการว่า ท่านผู้-
เจริญ จงเดิน ๆ ไปเถิด. พระเถระกล่าวว่า เธอนำฉันมาเป็นแน่
จึงหวนกลับไปใหม่ แล้วเดินมาตั้งแต่ปลายทาง. เมื่อพระเถระกับ
สามเณรทำการทะเลาะกันอยู่อย่างนี้นั่นแหละ พระอาทิตย์ก็อัสดงคต
ความมืดมนอนธการก็เกิดขึ้น. ฝ่ายภิกษุหนุ่มนอกนี้ก็กวาดบริเวณตั้ง-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 452
น้ำไว้ เมื่อไม่เห็นการมาของพระเถระกับสามเณรเหล่านั้น จึงถือ
คบเพลิงไปคอยรับ ได้เห็นพระเถระและสามเณรกำลังมาอยู่ จึงถามว่า
ทำไมจึงชักช้าอยู่ ? พระเถระแก่จึงบอกเหตุนั้น ภิกษุหนุ่มนั้นให้
พระเถระและสามเณรนั้นพักแล้วค่อย ๆ พามา. วันนั้น ไม่ได้โอกาส
การอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า. ครั้นในวันที่สองภิกษุหนุ่มนั้นมายังที่อุปัฏ-
ฐากของพระพุทธเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง พระศาสดาจึงตรัสถามว่า
เธอมาเมื่อไร ? ภิกษุหนุ่มนั้นกราบทูลว่า มาเมื่อวาน พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า เธอมาเมื่อวาน แต่มากกระทำพุทธอุปัฏฐากวันนี้.
ภิกษุหนุ่มนั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แล้ว
กราบทูลเหตุนั้น. พระศาสดาทรงติเตียนพระแก่แล้วตรัสว่า ภิกษุแก่
รูปนี้กระทำกรรมเห็นปานนี้ ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน
ก็ได้กระทำแล้ว แต่บัดนี้ พระแก่นั้นทำเธอให้ลำบาก แต่ในกาลก่อน
ได้กระทำบัณฑิตให้ลำบาก อันภิกษุนั้นทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนำ
เอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร-
พาราณสี พละโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในนิคมกาสี เมื่อ
พระโพธิสัตว์นั้น เจริญวัยแล้ว มารดาได้กระทำกาลกิริยาตาย. พระ-
โพธิสัตว์นั้นกระทำฌาปนกิจสรีระของมารดาแล้ว พอล่วงไปได้กึ่ง
เดือน ได้ให้ทรัพย์ที่มีอยู่ในเรือนให้เป็นทาน แล้วพาบิดากับน้องชาย
ไป ถือเอาผ้าเปลือกไม้ที่เทวดาให้ แล้วบวชเป็นฤาษีอยู่ในหิมวันต-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 453
ประเทศ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเหง้ามันและผลาผลไม้ โดยการเที่ยว
แสวงหาอยู่ในไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์. ก็ในหิมวันตประเทศ ในฤดู-
ฝน เมื่อฝนตกไม่ขาดเม็ด ไม่อาจขุดเหง้ามัน ทั้งผลาผลไม้และใบผักก็
ล่วงหล่นโดยมาก ดาบสทั้งหลายพากันลงจากหิมวันตประเทศไปอยู่ใน
ถิ่นมนุษย์. แม้ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ก็พาบิดาและน้องชายไปอยู่
ในถิ่นมนุษย์ เมื่อหิมวันตประเทศผลิดอกออกกผลอีก จึงพาบิดาและน้อง
ชายทั้งสองนั้น มายังอาศรมบทของตนในหิมวันตประเทศ ณ ที่ไม่
ไกลอาศรม เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย
ค่อย ๆ มาเถิด ข้าพเจ้าจักล่วงหน้าไปจัดแจงอาศรมบทก่อน แล้วก็ละ
ดาบสทั้งสองนั้นไป. ดาบสน้อยค่อย ๆ ไปกับบิดา ราวกะจะเอาศีรษะรุน
ท่านที่แถว ๆ สะเอวเร่งพาท่านไป โดยพูดว่า เดินเข้า เดินเข้า. ดาบส
แก่กล่าวว่า เจ้าพาเรามาตามความชอบใจของตน จึงหวนกลับไป
แล้วเดินตั้งแต่ปลายมาใหม่. เมื่อดาบสพ่อลูกเหล่านั้นทำการทะเลาะ
กันและกันอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ เวลาได้มืดลง. พระโพธิสัตว์ปัด-
กวาดบรรณศาลาตั้งน้ำใช้และฉัน แล้วถือคบเพลิงเดินสวนทางมา
เห็นดาบสพ่อลูกนั้น แล้วจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายมัวทำอะไรกันอยู่
ตลอดเวลามีประมาณเท่านี้. ดาบสน้อยจึงบอกเหตุที่บิดาทำ. พระโพธิ-
สัตว์นำดาบสแม้ทั้งสองนั้นไปช้า ๆ ให้เก็บงำบริขาร ให้บิดาอาบน้ำ
ทำการล้างเท้า ทาเท้า และนวดหลัง ตั้งกระเบื้องถ่านไฟ แล้วเข้าไป
นั่งใกล้บิดาผู้ระงับความอิดโรยแล้ว จึงกล่าวว่า ข้าแต่บิดา ธรรมดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 454
เด็กหนุ่มทั้งหลาย เช่นกับภาชนะดิน ย่อมแตกได้โดยครู่เดียวเท่านั้น
ตั้งแต่เวลาที่แตกแล้วครั้งเดียว ย่อมไม่อาจต่อกันได้อีก เด็กหนุ่ม
เหล่านั้น ด่าอยู่ก็ดี บริภาษอยู่ก็ดี ผู้ใหญ่ควรจะอดทน เมื่อจะโอวาท
บิดาจึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เด็กหนุ่มจะด่าแช่ง
หรือจะตีก็ตาม ด้วยความเป็นเด็กหนุ่ม บัณ-
ฑิตผู้มีปัญญาย่อมอดทนความผิดที่พวกเด็ก
ทำแล้วทั้งหมดนั้นได้.
ถ้าแม้สัตบุรุษทั้งหลายวิวาทกัน ก็กลับ
เชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว ส่วนคนพาลทั้ง-
หลายย่อมแตกกัน เหมือนภาชนะดิน เขา
ย่อมไม่ถึงความสงบเวรกันได้เลย.
ผู้ใดรู้โทษที่คนล่วงเกินแล้ว และรู้
การแสดงโทษ คนทั้งสองนั้นย่อมพร้อม-
เพรียงกันยิ่งขึ้น ความสนิทสนมของเขาย่อม
ไม่เสื่อมคลาย.
ผู้ใด เมื่อคนเหล่าอื่นล่วงเกินแล้ว ตน
เองสามารถเชื่อมให้สนิทสนมได้ ผู้นั้นแล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 455
ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐยิ่ง เป็นผู้นำภาระไป
เป็นผู้ทรงธุระไว้.
พระโพธิสัตว์เรียกบิดาโดยชื่อว่า กัสสปะ ในกาลนั้น. บทว่า
มนฺทิยา ได้แก่ ด้วยความเป็นคนหนุ่ม โดยความเป็นผู้มีปัญญาน้อย.
บทว่า ยุวา สปติ หนฺติ วา ความว่า เด็กหนุ่มด่าก็ดี ประหาร
ก็ดี. ด้วยบทว่า ธีโร นี้ ท่านเรียกบุคคลผู้ปราศจากบาปว่า ผู้มี
ความเพียร. บทว่า ธีโร มีความว่า ผู้ประกอบด้วยปัญญา ดังนี้ก็มี.
ส่วนบทว่า ปณฺฑิโต เป็นไวพจน์ของบทว่า ธีโร นี้เท่านั้น. แม้
ด้วยบททั้งสอง ท่านแสดงว่า บัณฑิตผู้มีปัญญามาก ย่อมอดกลั้น คือ
อดทนความผิดที่พวกเด็กผู้อ่อนปัญญากระทำแล้วนั้นทั้งหมด. บทว่า
สนฺธิยเร ความว่า ย่อมสนิทสนมกัน คือ เชื่อมกันได้ด้วยมิตรภาพ
อีก บทว่า พาลา ปตฺตาว ความว่า ส่วนคนพาลทั้งหลายย่อม
แตกกันเลย เหมือนภาชนะดินแตกแล้วต่อกันไม่ได้ฉะนั้น. บทว่า
น เต สมถนชฺฌคู ความว่า คนพาลเหล่านั้นทำการทะเลาะกัน
แม้มีประมาณน้อย ย่อมไม่ได้ คือไม่ประสบความสงบเวร. บทว่า
เอเต ภิยฺโย ความว่า ชนทั้งสองนั้นแม้แตกกันแล้วย่อมสมานกัน
ได้อีก บทว่า สนฺธิ ได้แก่ ความสนิทสนมโดยความเป็นมิตร.
บทว่า เตส ความว่า ความสนิทสนมของตนทั้งสองนั้นเท่านั้น ย่อม
ไม่เสื่อมคลาย. บทว่า โย จาธิปนฺน ความว่า ก็ผู้ใดย่อมรู้โทษ
ผิดที่ทำไว้ในคนอื่น ซึ่งตนต้องแล้วคือล่วงเกินแล้ว. บทว่า เทสน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 456
ความว่า และผู้ใดย่อมรู้ที่จะรับการแสดงโทษที่ผู้นั้นแม้รู้โทษตนจึง
แสดงแล้ว. บทว่า โย ปเรสาธิปนฺนาน ความว่า ผู้ใดเมื่อคนอื่น
ล่วงเกิน คือถูกโทษครอบงำ กระทำความผิด. บทว่า สย สนฺธาตุ-
มรหติ ความว่า เมื่อคนเหล่านั้นแม้ไม่ขอขมาโทษ ตนเองสามารถ
ทำความสนิทสนม คือเชื่อมมิตรภาพอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีหน้างามมาเถิด
จงเรียนอุเทส จงฟังอรรถกถา จงหมั่นประกอบภาวนา เพราะเหตุไร
ท่านจึงเหินห่าง ผู้นี้คือผู้เห็นปานนี้ เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา เป็น
ผู้ประเสริฐยิ่ง ย่อมถึงการนับว่า ผู้นำภาระ และว่า ผู้ทรงธุระไว้
เพราะนำภาระ และธุระของมิตรไป.
พระโพธิสัตว์ได้ให้โอวาทแก่ดาบสบิดาอย่างนี้. จำเดิมแต่นั้น
ดาบสผู้บิดาแม้นั้นก็ได้เป็นผู้ฝึกตนทรมานตนได้ดีแล้ว.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า. ดาบสผู้บิดาในครั้งนั้น ได้เป็นพระเถระแก่ในบัดนี้
ดาบสน้อยในครั้งนั้น ได้เป็นสามเณรในบัดนี้ ส่วนพระโพธิสัตว์ผู้ให้
โอวาทแก่ดาบสผู้บิดาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากัสสปมันทิยชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 457
๓. ขันติวาทิชาดก
โทษที่ทำร้ายพระสมณะ
[๕๕๐] ข้าแต่ท่านผู้มีความเพียรมาก ผู้ใดให้ตัด
มือเท้า หูและจมูกของท่าน ท่านจงโกรธผู้
นั้นเถิด อย่าได้ทำรัฐนี้ให้พินาศเสียเลย.
[๕๕๑] พระราชาพระองค์ใดรับสั่งให้ตัดมือ เท้า
หู และจมูกของอาตมภาพ ขอพระราชา
พระองค์นั้นจงทรงพระชนม์ยืนนาน บัณฑิต
ทั้งหลาย เช่นกับอาตมภาพย่อมไม่โกรธ
เคืองเลย.
[๕๕๒] สมณะผู้สมบูรณ์ด้วยขันติ ได้มีมาใน
อดีตกาลแล้ว พระเจ้ากาสีรับสั่งให้ตัดมือ
เท้า หู และจมูกของสมณะผู้ตั้งอยู่ในขันติ.
[๕๕๓] พระเจ้ากาสีหมกไหม้อยู่ในนรกได้เสวย
วิบากอันเผ็ดร้อนของกรรมที่หยาบช้านั้น.
จบ ขันติวาทิชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 458
อรรถกถาขันติวาทิชาดกที่ ๓
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
ภิกษุผู้มักโกรธรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
โย เต หตฺเถ จ ปาเท จ ดังนี้.
เรื่องได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. ก็ในที่นี้ พระ-
ศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า เธอบวชในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้
ไม่โกรธ เพราะเหตุไร จึงกระทำความโกรธเล่า โบราณกบัณฑิต
ทั้งหลาย เมื่อเครื่องประหารตั้งพันตกลงบนร่างกาย เมื่อถูกเขาตัดมือ
เท้า หู และจมูก ก็ยังไม่กระทำความโกรธแก่คนอื่น แล้วทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล พระเจ้ากาสีพระนามว่ากลาปุทรงครองราชสมบัติ
อยู่ในนครพาราณสี ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูล
พราหมณ์มีทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ เป็นมาณพชื่อว่ากุณฑลกุมาร
เจริญวัยแล้ว ได้เล่าเรียนศิลปะทุกอย่างในนครตักกศิลา แล้วรวบราม
ทรัพย์สมบัติตั้งตัว เมื่อบิดามารดาล่วงลับไป. จึงมองดูกองทรัพย์แล้ว
คิดว่า ญาติทั้งหลายของเราทำทรัพย์ให้เกิดขึ้นแล้วไม่ถือเอาไปเลย
แต่เราควรจะถือเอาทรัพย์นั้นไป จึงจัดแจงทรัพย์ทั้งหมด ให้ทรัพย์แก่
คนที่ควรให้ ด้วยอำนาจการให้ทาน แล้วเข้าไปยังป่าหิมพานต์ บวช
ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยผลาผลไม้ อยู่เป็นเวลาช้านาน เพื่อต้องการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 459
จะเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว จึงไปยังถิ่นมนุษย์ ถึงนครพาราณสีโดย
ลำดับ แล้วอยู่ในพระราชอุทยาน. วันรุ่งขึ้น เที่ยวภิกขาจารไปใน
นคร ถึงประตูนิเวศน์ของเสนาบดี. เสนาบดีเลื่อมใสในอิริยาบถของ
พระโพธิสัตว์นั้น จึงให้เข้าไปยังเรือนโดยลำดับ ให้บริโภคโภชนะที่
เขาจัดไว้เพื่อตน ให้รับปฏิญญาแล้วให้อยู่ในพระราชอุทยานนั้นนั่นเอง.
อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้ากลาปุทรงมึนเมาน้ำจัณฑ์ มีนางนักสนมห้อมล้อม
เสด็จไปยังพระราชอุทยานด้วยพระอิสริยยศอันยิ่งใหญ่ ให้ลาดพระที่
บรรทมบนแผ่นศิลาอันเป็นมงคล แล้วบรรทมเหนือตักของหญิงที่ทรง
โปรดคนหนึ่ง หญิงนักฟ้อนทั้งหลายผู้ฉลาดในการขับร้อง การ
ประโคม และการฟ้อนรำ ก็ประกอบการขับร้องเป็นต้น. พระเจ้า
กลาปุได้มีสมบัติดุจของท้าวสักกเทวราช ก็ทรงบรรทมหลับไป. ลำดับ
นั้น หญิงเหล่านั้น พากันกล่าวว่า พวกเราประกอบการขับร้อง
เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่พระราชาใด พระราชานั้นก็ทรงบรรทม
หลับไปแล้ว ประโยชน์อะไรแก่พวกเรา. ด้วยการขับร้องเป็นต้น จึง
ทิ้งเครื่องดนตรีมีพิณเป็นต้นไว้ในที่นั้น ๆ เอง แล้วหลีกไปยังพระราช-
อุทยาน ถูกดอกไม้ ผลไม้ และใบไม้เป็นต้นล่อใจ จึงอภิรมย์อยู่ใน
พระราชอุทยาน. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์นั่งอยู่ ดุจช้างซับมัน
ตัวประเสริฐ. ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุขในบรรพชาอยู่ ณ โคน
ต้นสาละมีดอกบานสะพรั่งในพระราชอุทยานนั้น. ลำดับนั้น หญิง
เหล่านั้นหลีกไปยังพระราชอุทยานแล้วเที่ยวไปอยู่ ได้เห็นพระโพธิ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 460
สัตว์นั้น จึงกล่าวกันว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา
เป็นบรรพชิตนั่งอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง พวกเราจักนั่งฟังอะไร ๆ ในสำนัก
ของพระผู้เป็นเจ้านั้น ตราบเท่าที่พระราชายังไม่ทรงตื่นบรรทม จึงได้
ไปไหว้นั่งล้อมแล้วกล่าวว่า ขอท่านโปรดกล่าวอะไร ๆ ที่ควรกล่าว
แก่พวกดิฉันเถิด. พระโพธิสัตว์จึงกล่าวธรรมแก่หญิงเหล่านั้น ครั้ง
นั้น หญิงคนนั้นขยับตัวทำให้พระราชาตื่นบรรทม. พระราชาทรงตื่น
บรรทมแล้วไม่เห็นหญิงพวกนั้น จึงตรัสว่า พวกหญิงถ่อยไปไหน.
หญิงคนโปรด นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช หญิงเหล่านั้นไป
นั่งล้อมดาบสรูปหนึ่ง. พระราชาทรงกริ้วถือพระขรรค์ได้รีบเสด็จไป
ด้วยตั้งพระทัยว่า จักตัดหัวของชฎิลโกงนั้น. ลำดับนั้น หญิงเหล่านั้น
เห็นพระราชาทรงกริ้วกำลังเสด็จมา ในบรรดาหญิงเหล่านั้น หญิงคน
ที่โปรดมากไปแย่งเอาพระแสงดาบจากพระหัตถ์ของพระราชาให้พระ-
ราชาสงบระงับ. พระราชานั้นเสด็จไปประทับยืนในสำนักของพระ-
โพธิสัตว์แล้วตรัสถามว่า สมณะ แกมีวาทะว่ากระไร ? พระโพธิสัตว์
ทูลว่า มหาบพิตรอาตมามี ขันติวาทะ กล่าวยกย่องขันติ พระราชา
ที่ชื่อว่าขันตินั้น คืออะไร ? พระโพธิสัตว์ คือความไม่โกรธในเมื่อเขา
ด่าอยู่ ประหารอยู่ เย้ยหยันอยู่. พระราชาตรัสว่า ประเดี๋ยว เรา
จักเห็นความมีขันติของแก แล้วรับสั่งให้เรียกเพชฌฆาตผู้ฆ่าโจรมา.
เพชฌฆาตนั้นถือขวานและแซ่หนามตามจารีตของตน นุ่งผ้ากาสาวะ
สวมพวงมาลัยแดง มาถวายบังคมพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 461
จะทำอะไร พระเจ้าข้า ? พระราชาตรัสว่า เจ้าจงจับดาบสชั่วเยี่ยงโจร
นี้ ฉุดให้ล้มลงพื้นแล้วเอาแซ่หนามเฆี่ยนสองพันครั้งในข้างทั้งสี่ คือ
ข้างหน้า ข้างหลัง และด้านข้าง ๆ ทั้งสองด้าน เพชฌฆาตนั้นได้
กระทำเหมือนรับสั่งนั้น. ผิวของพระโพธิสัตว์ขา หนังขาด เนื้อขาด
โลหิตไหล. พระราชาตรัสถามอีกว่า เจ้ามีวาทะว่ากระไร . พระโพธิ-
สัตว์ทูลว่า มหาบพิตร อาตมามีวาทยกย่องขันติ ก็พระองค์สำคัญว่า
ขันติมีในระหว่างหนังของอาตมา ขันติไม่ได้มีในระหว่างหนังของ
อาตมา มหาบพิตร ก็ขันติของอาตมาตั้งอยู่เฉพาะภายในหทัย ซึ่งพระ-
องค์ไม่อาจแลเห็น. เพชฌฆาตทูลถามอีกว่า ข้าพระองค์จะทำอะไร ?
พระราชาตรัสว่า จงตัดมือทั้งสองข้างของดาบสโกงผู้นี้. เพชฌฆาตนั้น.
จับขวานตัดมือทั้งสองข้างแต่ข้อมือ. ทีนั้น พระราชาตรัสกะเพชฌฆาต
นั้นว่า จงตัดเท้าทั้งสองข้าง. เพชฌฆาตก็ตัดเท้าทั้งสองข้าง. โลหิต
ไหลออกจากปลายมือและปลายเท้า เหมือนรดน้ำครั่งไหลออกจาก
หม้อทะลุฉะนั้น. พระราชาตรัสถามอีกว่า เจ้ามีวาทะว่ากระไร ? พระ-
โพธิสัตว์ทูลว่า มหาบพิตรอาตมามีวาทะยกย่องขันติ ก็พระองค์สำคัญ
ว่า ขันติมีอยู่ที่ปลายมือปลายเท้าของอาตมา ขันตินั่นไม่มีอยู่ที่นี้
เพราะขันติของอาตมาตั้งอยู่เฉพาะภายในหทัยอันสถานที่ลึกซึ้ง. พระ-
ราชานั้นตรัสว่า จงตัดหูและจมูกของดาบสนี้. เพชฌฆาตก็ตัดหู
และจมูก. ทั่วทั้งร่างกายมีแต่โลหิต. พระราชาตรัสถามอีกว่า เจ้ามี
วาทะกระไร ? พระโพธิสัตว์ทูลว่า มหาบพิตร อาตมามีวาทะยกย่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 462
ขันติ แต่พระองค์ได้สำคัญว่า ขันติตั้งอยู่เฉพาะที่ปลายหู ปลายจมูก
ขันติของอาตมาตั้งอยู่เฉพาะภายในหทัยอันลึก. พระราชาตรัสว่า เจ้า
ชฏิลโกง เจ้าเท่านั้นจงนั่งยกเชิดชูขันติของเจ้าเถิด แล้วเอาพระบาท
กระทืบยอดยกแล้วเสด็จหลีกไป. เมื่อพระราชานั้นเสด็จไปแล้ว เสนา-
บดีเช็ดโลหิตจากร่างกายของพระโพธิสัตว์ แล้วเก็บรวบรวมปลายมือ
ปลายเท้า ปลายหู และปลายจมูกไว้ที่ชายผ้าสาฎกค่อย ๆ ประคองให้
พระโพธิสัตว์นั่งแล้วไหว้ ได้นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วกล่าวว่า ท่าน
ผู้เจริญ ถ้าท่านจะโกรธ ควรโกรธพระราชาผู้ทำผิดในท่านไม่ควร
โกรธผู้อื่น เมื่อจะอ้อนวอนจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้มีความเพียรมาก ผู้ใดให้
ตัดมือ เท้า หู และจมูกของท่าน ท่านจงโกรธ
ผู้นั้นเถิด อย่าได้ทำรัฐนี้ให้พินาศเสียเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาวีร แปลว่า ผู้มีความเพียร
ใหญ่หลวง. บทว่า มา รฏฺ วินสฺส อิท ความว่า ท่านอย่าทำ
กาสิกรัฐอันหาความผิดมิได้นี้ให้พินาศ.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
พระราชาพระองค์ใดรับสั่งให้ตัดมือ เท้า
หู และจมูกของอาตมภาพ ขอพระราชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 463
พระองค์นั้นจงทรงพระชนม์ยืนนาน บัณฑิต
ทั้งหลาย เช่นกับอาตมภาพย่อมไม่โกรธ
เคืองเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาทิสา ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย
ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งขันติเช่นกับอาตมา ย่อมไม่โกรธว่า ผู้นี้ด่า
บริภาษ เย้ยหยัน ประหารเรา ตัดอวัยวะทำลายเรา.
ในกาลที่พระราชาเสด็จออกจากพระราชอุทยาน ลับคลองจักษุ
ของพระโพธิสัตว์เท่านั้น มหาปฐพีอันหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์นี้ก็
แยกออก ประดุจผ้าสาฎกทั้งกว้างทั้งแข็งแตกออกฉะนั้น. เปลวไฟ
จากอเวจีนรก แลบออกมาจับพระราชาเหมือนห่มด้วยผ้ากัมพลแดงที่
ตระกูลมอบให้. พระราชาเข้าสู่แผ่นดินที่ประตูพระราชอุทยานนั่นเอง
แล้วตั้งอยู่เฉพาะในอเวจีมหานรก. พระโพธิสัตว์ก็ได้ทำกาละในวัน
นั้นเอง. ราชบุรุษและชาวนครทั้งหลายถือของหอม ดอกไม้ ประทีป
และธูป มากระทำฌาปนกิจสรีระของพระโพธิสัตว์. ส่วนเกจิอาจารย์
กล่าวว่า พระโพธิสัตว์กลับไปยังหิมวันตประเทศนั่นเอง. คำของเกจิ-
อาจารย์นั้นไม่จริง. มีอภิสัมพุทธคาถาทั้งสองคาถานี้อยู่ว่า :-
สมณะผู้สมบูรณ์ด้วยขันติ ได้มีมาใน
อดีตกาลนั้นแล้ว พระเจ้ากาสีได้รับสั่งให้ห้ำ
หั่นสมณะนั้นผู้ดำรงอยู่เฉพาะในขันติธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 464
พระเจ้ากาสีหมกไหม้อยู่ในนรก เสวย
วิบากอันเผ็ดร้อนของกรรมที่หยาบช้านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตีตมทฺธาน แปลว่า ในอดีตกาล
อันยาวนาน. บทว่า ขนฺติทีปโน ได้แก่ ผู้เพียบพร้อมด้วยอธิวาสน-
ขันติ. บทว่า อเฉทยิ ได้แก่ รับสั่งให้ฆ่า. แต่พระเถระพวกหนึ่ง
กล่าวว่า มือและเท้าของพระโพธิสัตว์ต่อติดได้อีก. คำนั้นไม่จริงเหมือน
กัน. บทว่า สมปฺปิโต ได้แก่ ตั้งอยู่เฉพาะแล้ว.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้ขี้โกรธ
บรรลุพระอนาคามิผล. พระเจ้ากาสีพระนามว่ากลาปุในครั้งนั้น ได้
เป็นพระเทวทัต เสนาบดีในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนดาบส
ผู้มีวาทะยกย่องขันติในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาขันติวาทิชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 465
๔. โลหกุมภีชาดก
ว่าด้วยสัตว์นรกในโลหกุมภี
[๕๕๔] เมื่อโภคะทั้งหลายมีอยู่ เราทั้งหลาย
ไม่ได้ให้ทาน ไม่ได้ทำที่พึ่งให้แก่ตน เราจึง
มีชีวิตเป็นอยู่ได้แสนยาก.
[๕๕๕] เมื่อเราทั้งหลายหมกไหม้อยู่ในนรก
ตลอดหกหมื่นปีบริบูรณ์โดยประการทั้งปวง
เมื่อไรที่สุดจักปรากฏ.
[๕๕๖] ดูก่อนชาวเราเอ๋ย ที่สุดไม่มี ที่สุดจัก
มีแต่ที่ไหน ที่สุดจักไม่ปรากฏ ดูก่อนท่าน
ผู้นิรทุกข์ เพราะในกาลนั้นทั้งเราและท่าน
ได้กระทำบาปกรรมไว้มาก.
[๕๕๗] เราไปจากที่นี้ ได้กำเนิดมนุษย์พอรู้จัก
ภาษาแล้ว จักเป็นคนสมบูรณ์ไปด้วยศีล
จักทำกุศลให้มากทีเดียว.
จบ โลหกุมภีชาดกที่ ๔
อรรถกถาโลหกุมภีชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระเจ้าโกศล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทุชฺชีวิตม-
ชีวิมฺหา ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 466
ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พระเจ้าโกศลได้ทรงสดับเสียงของ
สัตว์นรก ๔ ตน ในตอนกลางคืน คือสัตว์นรกตนหนึ่งกล่าวเฉพาะ
ทุ อักษรเท่านั้น ตนหนึ่งกล่าว ส อักษร ตนหนึ่งกล่าว น อักษร
ตนหนึ่งกล่าว โส อักษรเท่านั้น. นัยว่า ในอดีตภพ สัตว์นรก
เหล่านั้นได้เป็นราชโอรสทำปรทาริกกรรม อยู่ในพระนครสาวัตถี
นั่นเอง. พระราชโอรสเหล่านั้นผิดมาตุคามทั้งหลายที่คนอื่นรักษา
คุ้มครอง เล่นเพลิดเพลินใจทำบาปกรรม ถูกกงจักรคือความตาย
ตัดแล้ว บังเกิดในโลหกุมภี ๔ ขุม ณ ที่ใกล้พระนครสาวัตถี ไหม้
อยู่ในโลหกุมภีนั้น ๖ หมื่นปี ผุดขึ้นมา เห็นขอบปากโลหกุมภี
ทั้ง ๔ ตนพากันร้องตามลำดับกันด้วยเสียงอันดังว่า เมื่อไรหนอ
พวกเราจักพ้นทุกข์นี้. พระราชาได้ทรงสดับเสียงของสัตว์นรกเหล่านั้น
ทรงสดุ้งกลัวต่อมรณภัย ประทับนั่งอยู่นั้นแหละจนอรุณขึ้น. ในเวลา
รุ่งอรุณแล้ว พราหมณ์ทั้งหลายมาเฝ้าทูลถามพระราชาถึงสุขไสยาส.
พระราชาตรัสว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย เราจะนอนสบายมาแต่ไหน
วันนี้ เราได้ยินเสียงน่าหวาดเสียว ๔ เสียงเห็นปานนี้. พราหมณ์
ทั้งหลายพากันสะบัดมือ. พระราชาตรัสถามว่า เป็นอย่างไรหรือ
ท่านอาจารย์. พวกพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช เสียงหยาบช้า
สาหัสมาก พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า แก้ไขได้หรือไม่. พวก
พราหมณ์กราบทูลว่า ถึงจะแก้ไขไม่ได้แต่พวกข้าพระองค์ได้ศึกษา
มาดีแล้ว. พระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลายจักทำอย่างไรจึงจักห้ามได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 467
พวกพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พวกข้าพระองค์ไม่อาจทำ
พิธีกรรมแก้ไขให้เป็นการใหญ่โต แต่พวกข้าพระองค์จักบูชายัญ
ประกอบด้วยเครื่อง ๔ ทุกอย่างป้องกันไว้. พระราชาตรัสว่า ถ้า
อย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงรีบจับสัตว์มีชีวิตอย่างละ ๔ ตั้งต้นแต่
นกมูลไถไป คือ ช้าง ๔ ม้า ๔ โคผู้ ๔ มนุษย์ ๔ แล้วบูชายัญ
ประกอบด้วยสิ่งทั้งปวงอย่างละ ๔ กระทำความสวัสดีแก่เราเถิด.
พราหมณ์ทั้งหลายรับพระดำรัสว่า ดีละข้าแต่มหาราช แล้วถือเอาสิ่ง
ที่ต้องการไปขุดหลุมยัญ นำสัตว์เป็นอันมากเข้าไปผูกไว้ที่หลัก ถึง
ความอุตสาหะว่า พวกเราจักกินเนื้อปลามาก จักได้ทรัพย์มาก
จึงกราบทูลว่า. ข้าแต่สมมติเทพ ได้สิ่งนี้ควร ได้สิ่งนี้ควร เที่ยว
วุ่นวายอยู่. พระนางมัลลิกาเทวีเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วทูลถามว่า
ข้าแต่มหาราช เหตุไรหนอพวกพราหมณ์จึงร่าเริงเหลือเกินเที่ยวไปอยู่.
พระราชาตรัสว่า เทวี ประโยชน์อะไรด้วยเรื่องนี้แก่เธอ เธอประมาท
มัวเมาอยู่ด้วยศอย่างของตน ส่วนความทุกข์ตกอยู่แก่เราเท่านั้น.
พระนางมัลลิกาทูลถามว่า เรื่องอะไรเล่า มหาราชเจ้า. พระราชา
ตรัสว่า ดูก่อนเทวี ฉันได้ยินเสียงที่ไม่เคยได้ยินชื่อเห็นปานนี้ แต่นั้น
จึงได้ถามพราหมณ์ทั้งหลายว่า เพราะได้ยินเสียงเหล่านี้ เหตุการณ์
อะไรจักเถิดมี พวกพราหมณ์พากันกล่าวว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า อันตราย
แห่งราชสมบัติ แห่งโภคทรัพย์ หรือแห่งชีวิต จักปรากฏแก่พระองค์
พวกข้าพระองค์จักบูชายัญด้วยสิ่งทั้งปวงอย่างละ ๔ แล้วจักมีความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 468
สวัสดี พราหมณ์เหล่านั้นรับคำสั่งของฉันแล้ว ทำหลุมยัญแล้วพากัน
มา เพราะเหตุแห่งของที่ต้องการนั้น. พระนางมัลลิกากราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ก็พระองค์ทูลถามพราหมณ์ผู้เลิศในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก ถึงความสำเร็จผลแห่งเสียงเหล่านี้แล้วหรือ ? พระราชา
ตรัสว่า ดูก่อนเทวี ใครนั่น ? เป็นพราหมณ์ผู้เลิศในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก. พระนางมัลลิกากราบทูลว่า พระมหาโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระราชาตรัสว่า พระเทวี ฉันยังไม่ได้ทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนางมัลลิกากราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงเสด็จไปทูลถาม
ท่านเถิด. พระราชาทรงเชื่อถือถ้อยคำของพระนางมัลลิกานั้น เสวย
พระกระยาหารเข้าแล้วเสด็จขึ้นทรงรถอันประเสริฐ เสด็จไปยังพระ-
วิหารเชตวัน ถวายบังคมพระศาสดาแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ในตอนกลางคืนหม่อมฉันได้ยินเสียง ๔ เสียง ถามพวก
พราหมณ์ดูแล้ว เขาบอกว่า จักบูชายัญด้วยสิ่งของทั้งปวงอย่างละ ๔
แล้วจักทำความสวัสดีให้เพราะได้ยินเสียงเหล่านั้น เหตุอะไรจักมีแก่
หม่อมฉัน พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร เหตุอะไร ๆ
ไม่มีแก่พระองค์ สัตว์นรกทั้งหลายเสวยทุกข์อยู่จึงร้องอย่างนี้ เสียง
เหล่านี้ พระองค์ได้ฟังอย่างนี้ เฉพาะในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้
พระราชาครั้งเก่าก่อนทั้งหลายก็ได้ทรงสดับมาแล้วเหมือนกัน ท้าวเธอ
มีพระประสงค์จะทำยัญด้วยการฆ่าปศุสัตว์ เพราะตรัสถามพวก
พราหมณ์ แต่ไม่ทรงกระทำ เพราะได้ฟังถ้อยคำของบัณฑิตทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 469
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวแถละเค้าเงื่อนแห่งเสียงเหล่านั้น ได้ให้ปล่อย
มหาชนไป ได้กระทำความสวัสดีปลอดภัยให้แล้ว อันพระราชานั้น
ทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ในกาสิก-
คามแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วก็ละกามทั้งหลายบวชเป็นฤๅษี ทำฌานและ
อภิญญาให้เกิดขึ้น เล่นฌานอยู่ในไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์ ณ ประเทศ
หิมพานต์. ในกาลนั้น พระเจ้าพาราณสี ได้สดับเสียง ๔ ประการนี้
ของสัตว์นรก ๔ ตน ทรงหวาดกลัวสดุ้งพระทัย เมื่อพราหมณ์
ทั้งหลายกราบทูลโดยทำนองนี้แหละว่า อันตราย ๓ อย่าง อย่างใด
อย่างหนึ่งจักบังเกิดมี ข้าพระองค์ทั้งหลายจักทำอันตรายนั้นให้สงบลง
ด้วยยัญ ประกอบด้วยสิ่งทั้งปวงอย่างละ ๔ จึงทรงรับเอา. ปุโรหิต
พร้อมกับพวกพราหมณ์ให้ขุดหลุมสำหรับบูชายัญ. มหาชนถูกนำเข้า
ไปที่หลัก. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์กระทำเมตตาภาวนาให้เป็น
ปุเรจาริก ตรวจดูชาวโลกด้วยทิพยจักษุ ได้เห็นเหตุนี้แล้วคิดว่า วันนี้
เราควรจะไป ความสวัสดีปลอดภัยจักมีแก่มหาชน จึงเหาะขึ้นยัง
เวหาสด้วยกำลังฤทธิ์ แล้วลงที่พระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี
นั่งอยู่ที่แผ่นมงคลศิลาประดุจรูปทอง. ในกาลนั้น อันเตวาสิกผู้ใหญ่
ของปุโรหิต เข้าไปหาอาจารย์แล้วกล่าวว่า ท่านอาจารย์ ในเวทย์
ของเราทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการฆ่าผู้อื่นแล้วกระทำความสวัสดีปลอดภัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 470
ให้ย่อมไม่มี มิใช่หรือ. ปุโรหิตห้ามอันเตวาสิกนั้นว่า เจ้าจงพอใจ
ราชทรัพย์ เราจักได้กินมัจฉมังสาหารเป็นอันมาก จักได้ทรัพย์
เจ้าจงนิ่งเสียเถิด. อันเตวาสิกนั้นคิดว่า เราจักไม่เป็นสหายในเรื่องนี้
จึงออกไปยังพระราชอุทยาน เห็นพระโพธิสัตว์แล้วจึงไหว้ กระทำ
ปฏิสันถารแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระโพธิสัตว์ถามว่า มาณพ
พระราชาครองราชสมบัติโดยธรรมหรือ ? อันเตวาสิกนั้นกล่าวว่า
ท่านผู้เจริญ พระราชาทรงครองราชสมบัติโดยธรรม แต่ในตอน
กลางคืน พระราชาได้ทรงสดับเสียง ๔ ประการจึงตรัสถามพราหมณ์
ทั้งหลาย พวกพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายจักบูชายัญ
ด้วยสิ่งทั้งปวงอย่างละ ๔ แล้วจักกระทำความสวัสดีให้ พระราชา
ทรงพระประสงค์จะทำกรรมคือฆ่าปศุสัตว์ แล้วกระทำความสวัสดีให้
แก่ตน มหาชนถูกนำเข้าไปไว้ที่หลัก ท่านผู้เจริญ การที่ผู้มีศีล
เช่นกับท่านจะบอกความสำเร็จผลแห่งเสียงเหล่านั้น แล้วปลดปล่อย
มหาชนจากปากแห่งความตาย ย่อมไม่ควรหรือหนอ. พระโพธิสัตว์
กล่าวว่า มาณพ พระราชาไม่ทรงรู้จักพวกเรา แม้พวกเราก็ไม่รู้จัก
พระราชาพระองค์นั้น แต่เราทั้งหลายรู้จักความสำเร็จผลแห่งเสียง
เหล่านี้ ถ้าพระราชาจะเสด็จมาหาเราแล้วถาม เราจะทูลถวายพระราชา
ให้หมดความสงสัย. อันเตวาสิกนั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น
ท่านจงอยู่ที่นี้แหละ สักครู่เราจักนำพระราชามา. พระโพธิสัตว์
กล่าวว่า ดีละมาณพ. อันเตวาสิกนั้นไปกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระราชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 471
แล้วนำพระราชาเสด็จมา. พระราชาทรงไหว้พระโพธิสัตว์แล้วนั่ง ณ
ส่วนข้างหนึ่ง ตรัสถามว่า ได้ยินว่า ท่านรู้ความสำเร็จผลแห่งเสียง
ที่ข้าพเจ้าได้ฟังมา จริงหรือ. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอถวาย
พระพรมหาบพิตร. พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงบอก.
พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า มหาบพิตร ในภพก่อนสัตว์นรกเหล่านี้
ถึงความประพฤติในทาระทั้งหลายที่คนอื่นรักษาคุ้มครอง จึงบังเกิด
ในโลหกุมภีทั้ง ๔ ขุม ณ ที่ใกล้พระนครพาราณสี ถูกเคี่ยวจนกาย
เป็นฟองในน้ำด่างโลหะอันเดือดพล่านตกไปเบื้องล่างจรดถึงภาคพื้น
ในเวลา ๓ หมื่นปี ผุดขึ้นเบื้องบนได้เห็นปากหม้อโลหกุมภีโดยกาล
๓ หมื่นปีเช่นกัน ได้แลไปภายนอก ทั้ง ๔ คน แม้ประสงค์จะ
กล่าวคาถา คาถาให้ครบบริบูรณ์ ก็ไม่อาจกระทำได้อย่างนั้น
กล่าวได้แต่คนละอักขระเดียวเท่านั้น กลับจมลงในโลหกุมภีตามเดิมอีก
ในสัตว์นรกทั้ง ๕ ตนนั้น สัตว์ที่กล่าว ทุ อักษรแล้วจมลงไป
ได้เป็นผู้ประสงค์จะกล่าวอย่างนี้ว่า :-
เมื่อโภคะทั้งหลายมีอยู่ เราทั้งหลาย
ไม่ได้ให้ทาน ไม่ได้ทำที่พึ่งให้แก่ตน เราจึง
มีชีวิตเป็นอยู่ได้แสนยาก.
ไม่อาจกล่าวได้ แล้วพระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถานั้นให้ครบ
บริบูรณ์ ด้วยฌานของตน. แม้ในคาถาที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 472
บรรดาสัตว์เหล่านั้น คาถาของสัตว์ที่กล่าวแต่ สุ อักษรแล้วจะกล่าว
ต่อไปมีดังนี้ว่า :-
เมื่อเราทั้งหลายหมกไหม้อยู่ในนรก
ตลอดหกหมื่นปีบริบูรณ์ โดยประหารทั้งปวง
เมื่อไรที่สุดจักปรากฏ.
คาถาของสัตว์ที่กล่าวแต่ น อักษร แล้วจะกล่าวต่อไป มีดังนี้ว่า
ดูก่อนชาวเราเอ๋ย ที่สุดไม่มี ที่สุดจัก
มีแต่ที่ไหน ที่สุดจักไม่ปรากฏ ดูก่อนท่าน
ผู้นิรทุกข์ เพราะในกาลนั้น ทั้งเราและท่าน
ได้กระทำบาปกรรมไว้มาก.
คาถาของสัตว์ผู้ที่กล่าวแต่ โส อักษร แล้วจะกล่าวต่อไป
มีดังนี้ว่า :-
เรานั้นไปจากที่นี้ ได้กำเนิดมนุษย์รู้
ภาษาแล้ว จักเป็นคนสมบูรณ์ด้วยศีล จัก
ทำกุศลให้มากทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุชฺชีวิต ความว่า เมื่อประพฤติ
ทุจริต ๓ อยู่ ชื่อว่าย่อมเป็นอยู่ชั่ว คือเป็นอยู่ลามก. แม้สัตว์นั้น
ก็หมายเอาความเป็นอยู่ชั่วนั้นนั่นแหละจึงกล่าวว่า มีชีวิตเป็นอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 473
ชั่วช้า ดังนี้. บทว่า เยสนฺโน น ททามฺหเส ความว่า เมื่อ
ไทยธรรมและปฏิคาหกมีอยู่ทีเดียว เราทั้งหลายไม่ได้ให้ทาน. บทว่า
ทีป นากมฺห ความว่า ไม่กระทำที่พึ่งแก่ตน. บทว่า สพฺพโส
แปลว่า โดยอาการทั้งปวง. บทว่า ปริปุณฺณานิ ได้แก่ ไม่หย่อน
ไม่ยิ่ง. บทว่า ปุจฺจมานาน ได้แก่ เมื่อเราทั้งหลายไหม้อยู่ในนรก
อยู่. บทว่า นตฺถิ อนฺโต ความว่า ไม่มีกำหนดกาลอย่างนี้ว่า เรา
ทั้งหลายจักพ้นในกาลชื่อโน้น. บทว่า กุโต อนฺโต ความว่า
เพราะเหตุไรที่สุดจักปรากฏ. บทว่า น อนฺโต ความว่า ที่สุด
แห่งทุกข์จักไม่ปรากฏแก่เราทั้งหลายแม้ผู้ใคร่จะเห็นที่สุด. บทว่า
ตทา หิ ปกต ความว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในกาลนั้น เราและ
ท่านได้ทำบาปกรรมไว้มาก คือทำไว้อย่างอุกฤษฏ์ยิ่ง. บาลีว่า ตถา
หิ ปกต จริงอย่างนั้น เราและท่านทำบาปกรรมไว้มาก ดังนี้ก็มี.
อธิบายว่า เพราะเหตุที่ทำบาปกรรมไว้นั้น จึงไม่อาจเห็นที่สุดแห่ง
ทุกข์นั้น. บทว่า มาริสา แปลว่า ผู้เช่นกับด้วยเรา. คำว่ามาริสานี้
เป็นคำเรียกด้วยความรัก. ศัพท์ว่า นูน เป็นนิบาตลงในอรรถว่า
แน่นอน. ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า เรานั้นไปจากนี้แล้วได้กำเนิด
มนุษย์ เป็นผู้โอบอ้อมอารี สมบูรณ์ด้วยศีล จักกระทำกุศลให้มาก
โดยส่วนเดียวแน่.
พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวคาถาหนึ่ง ๆ ด้วยประการดังนี้แล้วให้
พระราชาทรงทราบชัดว่า ดูก่อนมหาบพิตร สัตว์นรกนั้นประสงค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 474
จะกล่าวคาถานี้ให้ครบบริบูรณ์ แต่ไม่อาจทำอย่างนั้นได้ เพราะความ
ที่บาปของตนใหญ่หลวงนัก ดังนั้น สัตว์นรกนั้น เมื่อได้เสวยวิบาก
แห่งกรรมของตนจึงได้ร้อง ชื่อว่าอันตราย เพราะเหตุปัจจัยที่ฟัง
เสียงนี้ ย่อมไม่มี พระองค์อย่ากลัวเลย. พระราชารับสั่งให้
ปล่อยมหาชนแล้วให้เที่ยวตีกลองสุวรรณเภรี ป่าวประกาศให้ทำลาย
หลุมยัญ. พระโพธิสัตว์กระทำความสวัสดีปลอดภัยให้แก่มหาชนแล้ว
พักอยู่ ๒-๓ วัน จึงได้ไปที่หิมวันตประเทศนั้นนั่นเอง เป็นผู้มี
ฌานไม่เสื่อม จึงบังเกิดในพรหมโลก.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า มาณพของปุโรหิตในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร
ส่วนดาบส ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาโลหกุมภีชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 475
๕. มังสชาดก
วาทศิลป์ของคนขอ
[๕๕๘] วาจาของท่านหยาบคายจริงหนอ ท่าน
เป็นผู้ขอเนื้อ วาจาของท่านเช่นกับพังผืด
ดูก่อนสหาย เราจะให้พังผืดแก่ท่าน.
[๕๕๙] คำว่า พี่ชายน้องชายหรือพี่สาวน้องสาว
นี้ เป็นอวัยวะของมนุษย์ทั้งหลาย อันเขา
กล่าวกันอยู่ในโลก วาจาของท่านเช่นกับ
อวัยวะ ดูก่อนสหาย เราจะให้ชิ้นเนื้อแก่ท่าน.
[๕๖๐] บุตรเรียกบิดาว่า พ่อ ย่อมทำให้หัวใจ
ของพ่อหวั่นไหว วาจาของท่านเช่นกับหัวใจ
ดูก่อนสหาย เราจะให้เนื้อหัวใจแก่ท่าน.
[๕๖๑] ในบ้านของผู้ใดไม่มีเพื่อน บ้านของผู้
นั้นก็เป็นเหมือนกับป่า วาจาของท่านเช่นกับ
สมบัติทั้งมวล ดูก่อนสหาย เราจะให้เนื้อ
ทั้งหมดแก่ท่าน.
จบ มังสชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 476
อรรถกถามังสชาดกที่ ๕
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
บิณฑบาตอันมีรสที่พระสารีบุตรเถระ ให้แก่ภิกษุทั้งหลายที่ดื่มยาถ่าย
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ผรุสา วต เต วาจา ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกาลนั้น ภิกษุบางพวกในพระวิหารเชตวันพากัน
ดื่มยาถ่ายอันปรุงด้วยยางเหนียว ภิกษุเหล่านั้นจึงมีความต้องการด้วย
บิณฑบาตอันมีรส. ภิกษุผู้เป็นคิลานุปัฏฐากทั้งหลายคิดว่า จักนำภัต-
ตาหารอันมีรสมา จึงเข้าไปในนครสาวัตถี แม้จะเที่ยวบิณฑบาตไป
ในถนนที่มีบ้านเรือนสมบูรณ์ด้วยข้าวสุก ก็ไม่ได้ภัตตาหารอันมีรส
จึงพากันกลับ. พระเถระเข้าไปบิณฑบาตในตอนสายเห็นภิกษุเหล่านั้น
จึงถามว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ทำไมจึงกลับสายนัก. ภิกษุเหล่านั้นจึง
บอกเนื้อความนั้น. พระเถระกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจง
มา แล้วพาภิกษุเหล่านั้นไปยังถนนนั้นนั่นแหละ. คนทั้งหลายได้
ถวายภัตตาหารอันมีรสจนเต็มบาตร. พวกภิกษุผู้เป็นคิลานุปัฏฐากนำ
มายังพระวิหารแล้วได้ถวายแก่พวกภิกษุไข้. ภิกษุไข้เหล่านั้นไข้บริโภค
รสเป็นที่ยินดี. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรง-
ธรรมสภาว่า ท่านผู้อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่า พระอุปัฏฐากของพวก
ภิกษุผู้ดื่มยาถ่ายไม่ได้ภัตตาหารอันมีรสจึงกลับออกมา พระเถระจึงพา
เที่ยวไปในถนนที่มีบ้านเรือนซึ่งมีข้าวสุก ส่งบิณฑบาตอันมีรสเป็นอัน
มากไปให้. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 477
พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูล
ให้ทรงทราบว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
สารีบุตรได้เนื้ออันประเสริฐ ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อน
บัณฑิตทั้งหลายผู้มีวาจาอ่อนโยนฉลาดกล่าวถ้อยคำที่น่ารัก ก็ได้แล้ว
เหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นบุตรเศรษฐี. อยู่มาวันหนึ่ง นายพราน
เนื้อคนหนึ่งได้เนื้อมาเป็นอันมาก จึงบรรทุกเต็มยานน้อยมายังนคร
ด้วยหวังใจว่าจักขาย. ในกาลนั้น บุตรเศรษฐี ๔ คนชาวเมืองพาราณสี
ออกจากนครแล้วนั่งสนทนากันถึงเรื่องที่ได้เห็นได้ยินได้ฟังมาบางเรื่อง
ณ สถานที่ที่มีหนทางมาบรรจบกัน. บรรดาเศรษฐีบุตร ๔ คนนั้น
เศรษฐีบุตรคนหนึ่งเห็นพรานเนื้อนั้นบรรทุกเนื้อมา จึงกล่าวว่า เรา
จะให้นายพรานนั้นนำชิ้นเนื้อมา. เศรษฐีบุตรเหล่านั้นกล่าวว่า ท่าน
จงไปให้นำมาเถิด. เศรษฐีบุตรนั้นเข้าไปหานายพรานเนื้อแล้วกล่าวว่า
เฮ้ยพราน จงให้ชิ้นเนื้อแก่ข้าบ้าง. นายพรานกล่าวว่า ธรรมดาผู้จะ
ขออะไร ๆ กะผู้อื่น ต้องเป็นผู้มีคำพูดอันเป็นที่น่ารัก ท่านจักได้ชิ้น
เนื้ออันสมควรแก่วาจาที่ท่านกล่าว แล้วได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
วาจาของท่านหยาบคายจริงหนอ ท่าน
ขอเนื้อ วาจาของท่านเช่นกับพังผืด ดูก่อน
สหาย เราจะให้พังผืดแก่ท่าน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 478
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิโลมสทิสี ความว่า ชื่อว่า
เช่นกับพังผืด เพราะเป็นวาจาหยาบ. บทว่า กิโลม สมฺม ททามิ
เต ความว่า นายพรานกล่าวว่า เอาเถอะ ท่านจงถือเอา เราจะให้
พังผืดนี้อันเป็นเช่นกับวาจาของท่าน แล้วยกชิ้นเนื้อพังผืดอันไม่มีรส
ให้ไป.
ลำดับนั้น เศรษฐีบุตรอีกคนหนึ่งถามเศรษฐีบุตรคนนั้นว่า
ท่านพูดว่าอย่างไรแล้วจึงขอ. เศรษฐีบุตรนั้นกล่าวว่า เราพูดว่าเฮ้ย
แล้วจึงขอ. เศรษฐีบุตรนั้นกล่าวว่า แม้เราก็จักขอเขา แล้วไปกล่าว
ว่า พี่ชาย ท่านจงให้ชิ้นเนื้อแก่ฉันบ้าง. นายพรานกล่าวว่า ท่าน
จักได้ชิ้นเนื้ออันสมควรแก่คำพูดของท่าน แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
คำว่า พี่น้องชายหรือพี่น้องหญิงนี้เป็น
ส่วนประกอบของมนุษย์ทั้งหลาย อันเขา
กล่าวกันอยู่ในโลก วาจาของท่านเป็นเช่น
กับส่วนประกอบ ดูก่อนสหาย เราจะให้
ชิ้นเนื้อแก่ท่าน.
คำที่เป็นคาถานั้น มีอธิบายความดังนี้ :- คำว่าพี่น้องชาย
พี่น้องหญิงนี้ ชื่อว่าเป็นส่วนประกอบ เพราะเป็นเช่นกับอวัยวะของ
มนุษย์ในโลกนี้ เพราะฉะนั้น วาจานี้ของท่านเป็นเช่นกับอวัยวะ
ดังนั้น เราจะให้เฉพาะชิ้นเนื้อเท่านั้นอันสมควรแก่วาจานี้ของท่าน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 479
ก็แหละ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว นายพรานจึงให้ยกเนื้ออัน
เป็นอวัยวะส่วนประกอบให้ไป. เศรษฐีบุตรอีกคนหนึ่งถามเศรษฐีบุตร
คนนั้นว่า ท่านพูดว่าอย่างไรแล้วจึงขอ. เศรษฐีบุตรนั้นกล่าวว่า เรา
พูดว่าพี่ชายแล้วจึงขอ. เศรษฐีบุตรนั้นกล่าวว่า แม้เราก็จักขอเขาแล้ว
ไปกล่าวว่า ข้าแต่พ่อ ท่านจงให้ชิ้นเนื้อแก่ฉันบ้าง นายพรานกล่าวว่า
ท่านจักได้ชิ้นเนื้ออันสมควรแก่คำพูดของท่าน แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๓
ว่า :-
บุตรเรียกบิดาว่า พ่อ ย่อมทำให้หัวใจ
ของพ่อหวั่นไหว วาจาของท่านเช่นกับน้ำใจ
ดูก่อนสหาย เราจะให้เนื้อหัวใจแก่ท่าน.
ก็แหละ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงได้ยกเนื้ออันอร่อยพร้อม
กับเนื้อหัวใจให้ไป. เศรษฐีบุตรคนที่ ๔ จึงถามเศรษฐีบุตรคนนั้นว่า
ท่านพูดว่ากระไรแล้วจึงขอ. เศรษฐีบุตรคนนั้นกล่าวว่า เราพูดว่า
พ่อแล้วจึงขอ. เศรษฐีบุตรคนที่ ๔ นั้นจึงกล่าวว่า แม้เราก็จักขอเขา
แล้วจึงไปพูดว่า สหาย ท่านจงให้ชิ้นเนื้อแก่ฉันบ้าง. นายพราน
กล่าวว่า ท่านจักได้ชิ้นเนื้ออันสมควรแก่คำพูดของท่าน แล้วกล่าว
คาถาที่ ๔ ว่า :-
ในบ้านของผู้ใดไม่มีเพื่อน บ้านของ
ผู้นั้นก็เป็นเหมือนกับป่า วาจาของท่านเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 480
เช่นกับสมบัติทั้งมวล ดูก่อนสหาย เราจะ
ให้เนื้อทั้งหมดแก่ท่าน.
คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า ในบ้านของบุรุษใดไม่มีเพื่อน
กล่าวคือชื่อว่าสหาย เพราะไปร่วมกันในสุขและทุกข์ สถานที่นั้น
ของบุรุษนั้น ย่อมเป็นเหมือนป่าไม่มีมนุษย์ ดังนั้น วาจาของท่านนี้
จึงเป็นเช่นกับสมบัติทั้งหมด คือ เป็นเช่นกับสมบัติอันเป็นของ ๆ ตน
ทั้งหมด เพราะฉะนั้น เราจะให้ยานบรรทุกเนื้ออันเป็นของ ๆ เรานี้
ทั้งหมดเลยแก่ท่าน.
ก็แหละ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว นายพรานจึงกล่าวว่า มาเถิด
สหาย ข้าพเจ้าจักนำยานบรรทุกเนื้อนี้ทั้งหมดทีเดียวไปยังบ้านของ
ท่าน. เศรษฐีบุตรให้นายพรานนั้นขับยานไปยังเรือนของตน ให้ขน
เนื้อลง กระทำสักการะสัมมานะแก่นายพราน ให้เรียกแม้บุตรและ
ภรรยาของนายพรานนั้นมา ให้เลิกจากกรรมอันหยาบช้า ให้อยู่ใน
ท่ามกลางกองทรัพย์สมบัติของตน เป็นสหายที่แน่นแฟ้นกับนายพราน
นั้น อยู่สมัครสมานกันจนตลอดชีวิต.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า นายพรานในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วน
เศรษฐีบุตรผู้ได้เนื้อทั้งหมดในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามังสชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 481
๖. สสปัณฑิตชาดก
ผู้สละชีวิตเป็นทาน
[๕๖๒] ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ามีปลาตะเพียน
อยู่ ๗ ตัว ซึ่งนายพรานตกเบ็ดขึ้นมาจากน้ำ
เอาไว้บนบก ข้าพเจ้ามีอาหารอย่างนี้ ท่าน
จงบริโภคอาหารนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่
ในป่าเถิด.
[๕๖๓] อาหารของตนรักษานาคนโน้น ข้าพเจ้า
นำเอามาไว้ในกลางคืน คือ เนื้อย่าง ๒ ไม้
เหี้ย ๒ ตัว และนมส้ม ๑ หม้อ ดูก่อน
พราหมณ์ ข้าพเจ้ามีอาการอย่างนี้ ท่านจง
บริโภคอาหารนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่ใน
ป่าเถิด.
[๕๖๔] ผลมะม่วงสุก น้ำเย็น ร่มเงาอันเย็น
เป็นที่รื่นรมย์ใจ ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ามี
อาหารอย่างนี้ ท่านจงบริโภคอาหารนี้ แล้ว
เจริญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 482
[๕๖๕] กระต่ายไม่มีงา ไม่มีถั่ว ไม่มีข้าวสาร
ท่านจงบริโภคเราผู้สุกไปด้วยไฟนี้ แล้วเจริญ
สมณธรรมอยู่ในป่าเถิด.
จบ สสปัณฑิตชาดกที่ ๖
อรรถกถาสสปสัณฑิตชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การถวายบริขารทุกอย่าง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
สตฺต เม โรหิตา มจฺฉา ดังนี้.
ได้ยินว่า ในนครสาวัตถี มีกฎุมพีคนหนึ่งตระเตรียมการถวาย
บริขารทุกอย่างแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้สร้าง
มณฑปที่ประตูเรือน แล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
ให้นั่งบนบวรอาสน์ในมณฑปที่ได้จัดแจงไว้ดีแล้ว ถวายทานอันประ-
ณีตมีรสเลิศต่าง ๆ แล้วนิมนต์ฉันอีกตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ได้
ถวายบริขารทั้งปวงแก่ภิกษุ ๕๐๐ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ใน
เวลาเสร็จภัตกิจ พระศาสดาเมื่อจะทรงกระทำอนุโมทนา จึงตรัสว่า
ดูก่อนอุบาสก ควรที่ท่านจะกระทำปีติโสมนัส. ก็ชื่อว่าทานนี้เป็นวงศ์
ของโบราณกับณฑิตทั้งหลาย ด้วยว่าโบราณกับณฑิตทั้งหลายได้บริจาค
ชีวิตแก่เหล่ายาจกผู้มาถึงเฉพาะหน้า แม้ชีวิตของตนก็ได้ให้แล้ว อัน
อุบาสกนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อ
ไปนี้ :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 483
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกระต่ายอยู่ในป่า. ก็ป่านั้น
ได้มีเชิงเขา แม่น้ำและปัจจันตคาม มารวมกันแห่งเดียว. สัตว์แม้
อื่นอีก ๓ ตัว คือ ลิง สุนัขจิ้งจอก และนาก ได้เป็นสหายของกระ-
ต่ายนั้น. สัตว์แม้ทั้ง ๔ นั้น เป็นบัณฑิตอยู่รวมกัน ถือเอาเหยื่อใน
ที่เป็นที่โคจรของตน ๆ แล้วมาประชุมกันในเวลาเย็น. สสบัณฑิต
แสดงธรรมโดยการโอวาทแก่สัตว์ทั้ง ๓ ว่า พึงให้ทาน พึงรักษาศีลพึง
กระทำอุโบสถกรรม. สัตว์ทั้ง ๓ นั้นรับโอวาทของสสบัณฑิตนั้นแล้ว
เข้าไปยังพุ่มไม้อันเป็นที่อยู่อาศัยของตน ๆ อยู่. เมื่อกาลล่วงไปอยู่
อย่างนี้ วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์มองดูอากาศเห็นดวงจันทร์ รู้ว่า
พรุ่งนี้เป็นวันอุโบสถ จึงกล่าวกะสัตว์ทั้ง ๓ นอกนี้ว่า พรุ่งนี้เป็นวัน
อุโบสถ แม้ท่านทั้ง ๓ จงสมาทานศีลรักษาอุโบสถ ทานที่ผู้ตั้งอยู่ใน
ศีลแล้วให้ ย่อมมีผลมาก เพราะฉะนั้น เมื่อยาจกมาถึงเข้า ท่าน
ทั้งหลายพึงให้รสอาหารที่ควรกินแล้วจึงค่อยกิน. สัตว์ทั้ง ๓ นั้นรับคำ
แล้วพากันอยู่ในที่เป็นที่อยู่ของตน ๆ. วันรุ่งขึ้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น
นากคิดว่าเราจักแสวงหาเหยื่อแต่เช้าตรู่ จึงไปยังฝั่งแม่น้ำคงคา. ครั้ง
นั้น พรานเป็ดคนหนึ่งตกปลาตะเพียนได้ ๗ ตัว จึงเอาเถาวัลย์ร้อย
คุ้ยทรายที่ฝั่งแม่น้ำคงคาเอาทรายกลบไว้ เมื่อจะจับปลาอีก จึงไปยัง
ด้านใต้แม่น้ำคงคา. นากสูดได้กลิ่นปลาจึงคุ้ยทราย เห็นปลาจึงนำ
ออกมา คิดว่า เจ้าของปลาเหล่านี้มีไหมหนอ จึงประกาศขึ้น ๓ ครั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 484
เมื่อไม่เห็นเจ้าของ จึงคาบปลายเถาวัลย์นำไปเก็บไว้ในพุ่มไม้อันเป็นที่
อยู่ของตน คิดว่า เราจักกินเมื่อถึงเวลา จึงนอนนึกถึงศีลของตนอยู่.
ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกออกเที่ยวแสวงหาเหยื่อ ได้เห็นเนื้อย่าง ๒ ไม้ เหี้ย
๑ ตัว และหม้อนมส้ม ๑ หม้อ ในกระท่อมของคนเฝ้านาคนหนึ่ง
คิดว่า เจ้าของของสิ่งนี้มีอยู่หรือไม่หนอ จึงร้องประกาศขึ้น ๓ ครั้ง
ไม่เห็นเจ้าของ จึงสอดเชือกสำหรับหิ้วหม้อนมส้มไว้ที่คอ เอาปากคาบ
เนื้อย่างและเหี้ย นำไปเก็บไว้ในพุ่มไม้เป็นที่นอนของตน คิดว่าจัก
กินเมื่อถึงเวลา จึงนอนนึกถึงศีลของตนอยู่. ฝ่ายลิงเข้าไปยังไพรสณฑ์
นำพวงมะม่วงมาเก็บไว้ในพุ่มไม้เป็นที่อยู่ของตน คิดว่าจักกินเมื่อถึง
เวลา จึงนอนนึกถึงศีลของตน. ส่วนพระโพธิสัตว์ คิดว่า พอถึง
เวลาจักออกไปกินหญ้าแพรก จึงนอนอยู่ในพุ่มไม้เป็นที่อยู่ของตน
นั่นแหละ. คิดอยู่ว่า เราไม่อาจให้หญ้าแก่พวกยาจกผู้มายังสำนักของ
เรา แม้งาเละข้าวสารเป็นต้นของเราก็ไม่มี ถ้ายาจกจักมายังสำนัก
ของเราไซร้ เราจักให้เนื้อในร่างกายของเรา. ด้วยเดชแห่งศีลของ
พระโพธิสัตว์นั้น ภพของท้าวสักกะได้แสดงอาการเร่าร้อน. ได้ยิน
มาว่า ภพนั้นเป็นภพร้อน เพราะท้าวสักกะสิ้นอายุหรือสิ้นบุญ หรือ
เมื่อสัตว์อื่นผู้มีอานุภาพมากปรารถนาสถานที่นั้น หรือด้วยเดชะแห่ง
ศีลของสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม. ในกาลนั้น ภพของท้าวสักกะ
ได้เร่าร้อน เพราะเดชแห่งศีล. ท้าวสักกะนั้นทรงรำพึงอยู่ ทรงทราบ
เหตุนั้นแล้วจึงทรงดำริว่า เราจักทดลองพระยากระต่ายดู จึงครั้งแรก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 485
เสด็จไปยังที่อยู่ของนาก ได้แปลงเพศเป็นพราหมณ์ยืนอยู่. เมื่อนาก
กล่าวว่า พราหมณ์ ท่านมาเพื่อต้องการอะไร ? จึงตรัสว่า ท่านบัณ-
ฑิต ถ้าข้าพเจ้าพึงได้อาหารบางอย่าง จะเป็นผู้รักษาอุโบสถกระทำ
สมณธรรม. นากนั้นกล่าวว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักให้อาหารแก่ท่าน
เมื่อจะเจรจากับท้าวสักกะนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ปลาตะเพียนของเรามีอยู่ ๗ ตัว ซึ่ง
นายพรานเบ็ดตกขึ้นจากน้ำ เก็บไว้บนบก
ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ามีสิ่งนี้อยู่ ท่านจง
บริโภคสิ่งนี้ แล้วอยู่ในป่าเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ถลมุพฺภตา ความว่า แม้อัน
นายพรานเบ็ดตกขึ้นจากน้ำเก็บไว้บนบก. บทว่า เอต ภุตฺวา ความว่า
ท่านจงปิ้งมัจฉาหาร อันเป็นของเรานี้บริโภคนั่งที่โคนไม้อันรื่นรมย์
การทำสมณธรรมอยู่ในป่านี้เถิด.
พราหมณ์กล่าวว่า เรื่องนี้จงยกไว้ก่อนเถิด ข้าพเจ้าจักรู้ภาย-
หลัง แล้วไปยังสำนักของสุนัขจิ้งจอก แม้เมื่อสุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า
ท่านยืนอยู่เพื่อต้องการอะไร ? ก็ได้กล่าวเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ.
สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า ดีละข้าพเจ้าจักให้ เมื่อจะเจรจากับท้าวสักกะ
นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
อาหารของคนรักษานาคนโน้น ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 486
นำเอามาไว้ในตอนกลางคืน คือ เนื้อย่าง ๒
ไม้ เหี้ย ๑ ตัว นมส้ม ๑ หม้อ ดูก่อน
พราหมณ์ ข้าพเจ้ามีอาหารสิ่งนี้อยู่ ท่านจง
บริโภคอาหารสิ่งนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่
ในป่าเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุสฺส เม ความว่า คนผู้รักษา
นาซึ่งอยู่ในที่ไม่ไกลเรานั่น คือโน้น. บทว่า อปาภต ได้แก่ อาภต
แปลว่า นำมาแล้ว. บทว่า มสสูลา จ เทฺว โคธา ความว่า
เนื้อย่าง ๒ ไม้ที่สุกบนถ่านไฟ และเหี้ย ๑ ตัว. บทว่า ทธิวารก ได้แก่
หม้อนมส้ม. บทว่า อิท เป็นต้นไปมีความว่า เรามีสิ่งนี้ คือ มี
ประมาณเท่านี้ ท่านจงปิ้งสิ่งนี้แม้ทั้งหมด โดยการให้สุกตามความ
ชอบใจ แล้วบริโภค เป็นผู้สมาทานอุโบสถ นั่งที่โคนไม้อันน่ารื่น-
รมย์ กระทำสมณธรรมอยู่ในป่านี้เถิด.
พราหมณ์กล่าวว่า เรื่องนี้จงยกไว้ก่อนเถิด ข้าพเจ้าจักรู้ภาย
หลัง แล้วไปยังสำนักของลิง แม้เมื่อลิงนั้นกล่าวว่า ท่านยืนอยู่เพื่อ
ต้องการอะไร ? จึงกล่าวเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. ลิงกล่าวว่า ดีจะ
ข้าพเจ้าจักให้ เมื่อจะเจรจากับท้าวสักกะนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ผลมะม่วงสุก น้ำเย็น ร่มเงาอันเย็น
เป็นที่รื่นรมย์ใจ ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 487
มีอาหารอย่างนี้ ท่านจงบริโภคอาหารนี้ แล้ว
เจริญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺพปกฺก ได้แก่ ผลมะม่วงสุก
อันอร่อย. บทว่า อุทก สีต ได้แก่ น้ำในแม่น้ำคงคาเย็น. บทว่า
เอต ภุตฺวา ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงบริโภคผลมะม่วงนี้
แล้วดื่มน้ำเย็น นั่งที่โคนไม้อันรื่นรมย์ตามชอบใจแล้ว กระทำสมณ-
ธรรมอยู่ในชัฏป่านี้เถิด.
พราหมณ์กล่าวว่า เรื่องนี้จงยกไว้ก่อนเถิด ข้าพเจ้าจักรู้ใน
ภายหลัง แล้วไปยังสำนักของสสบัณฑิต แม้เมื่อสสบัณฑิตนั้นกล่าว
ว่า ท่านมาเพื่ออะไร ? ก็กล่าวเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. พระโพธิสัตว์
ได้ฟังดังนั้นก็มีความชื่นชมโสมนัส กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่าน
มายังสำนักของเราเพื่อต้องการอาหาร ได้ทำดีแล้ว วันนี้ข้าพเจ้าจัก
ให้ทานที่ยังไม่เคยให้ ก็ท่านเป็นผู้มีศีลจักไม่ทำปาณาติบาต ท่านจง
ไปรวมไม้ฟืนนานาชนิดมาก่อถ่านไฟ แล้วจงบอกข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจัก
เสียสละตนโดดลงในกลางถ่านไฟ เมื่อร่างกายของข้าพเจ้าสุกแล้ว
ท่านพึงกินเนื้อแล้วกระทำสมณธรรม เมื่อจะเจรจากับท้าวสักกะนั้น
จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
กระต่ายไม่มีงา ไม่มีถั่ว ไม่มีข้าวสาร
ท่านจงบริโภคเราผู้สุกด้วยไฟนี้ แล้วเจริญ
สมณธรรมอยู่ในป่าเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 488
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มม ภุตฺวา ความว่า ท่านจง
บริโภคเราผู้สุกด้วยไฟที่เราบอกให้ท่านก่อขึ้นนี้ แล้วจงอยู่ในป่านี้
ธรรมดาว่าร่างกายของกระต่ายตัวหนึ่ง ย่อมจะพอยังชีพของบุรุษคน
หนึ่งให้เป็นไปได้.
ท้าวสักกะได้ทรงสดับถ้อยคำของสสบัณฑิตนั้นแล้ว จึงเนรมิต
กองถ่านเพลิงกองหนึ่งด้วยอานุภาพของตน แล้วบอกแก่พระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์นั้นลุกขึ้นจากที่นอนหญ้าแพรกของตนแล้วไปที่กองถ่าน
เพลิงนั้น คิดว่า ถ้าสัตว์เล็ก ๆ ในระหว่างขนของเรามีอยู่. สัตว์
เหล่านั้นอย่าตายด้วยเลย แล้วสบัดตัว ๓ ครั้ง บริจาคร่างกายทั้งสิ้น
ในทานมุขปากทางของทาน กระโดดโลดเต้นมีใจเบิกบาน กระโดด
ลงในกองถ่านเพลิง. เหมือนพระยาหงส์กระโดดลงในกอปทุมฉะนั้น.
แต่ไฟนั้นไม่อาจทำความร้อนแม้สักเท่าขุมขนในร่างกายของพระโพธิ-
สัตว์ ได้เป็นเสมือนเข้าไปในห้องหิมะฉะนั้น. ลำดับนั้น พระโพธิ-
สัตว์เรียกท้าวสักกะมากล่าวว่า พราหมณ์ ไฟที่ท่านก่อไว้เย็นยิ่งนัก
ไม่อาจทำความร้อนแม้สักเท่าขุมขนในร่างกายของข้าพเจ้า นี่อะไรกัน.
ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านบัณฑิต เรามิใช่พราหมณ์ เราเป็นท้าวสักกะ
มาเพื่อจะทดลองท่าน. พระโพธิสัตว์จึงบรรลือสีหนาทว่า ข้าแต่
ท้าวสักกะ พระองค์จงหยุดพักไว้ก่อนเถิด หากโลกสันนิวาสทั้งสิ้น
จะพึงทดลองข้าพระองค์ด้วยทานไซร้ จะไม่พึงเห็นความที่ข้าพระองค์
ไม่เป็นผู้ประสงค์จะให้ทานเลย. ลำดับนั้น ท้าวสุกกะจึงตรัสกะพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 489
โพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อนสสบัณฑิต คุณของท่านจงปรากฏอยู่ตลอดกัป
ทั้งสิ้นเถิด แล้วทรงบีบบรรพตถือเอาอาการเหลวของบรรพต เขียน
ลักษณะของกระต่ายไว้ในดวงจันทร์ แล้วนำพระโพธิสัตว์มาให้นอน
บนหลังหญ้าแพรกอ่อนในพุ่มไม้ป่านั้นนั่นแหละในไพรสณฑ์นั้น แล้ว
เสด็จไปยังเทวโลกของพระองค์ทีเดียว. บัณฑิตทั้ง ๔ แม้นั้นพร้อม
เพรียงบันเทิงอยู่ พากันบำเพ็ญศีล รักษาอุโบสถกรรมแล้วไปตาม
ยถากรรม.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะประชุมชาดก ในเวลาจบสัจจะคฤหบดีผู้ถวายบริขารทุก
อย่างดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. นากในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์
สุนัขจิ้งจอกได้เป็นพระโมคคัลลานะ ลิงได้เป็นพระสารีบุตร ท้าวสักกะ
ได้เป็นพระอนุรุทธะ ส่วนสสบัณฑิต ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสสบัณฑิตชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 490
๗. มตโรทนชาดก
ว่าด้วยร้องไห้ถึงคนตาย
[๕๖๖] ท่านทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงแต่คนที่
ตายแล้ว ๆ ทำไมจึงไม่ร้องไห้ถึงคนที่จักตาย
บ้างเล่า สัตว์ทุกจำพวกผู้ดำรงสรีระไว้ ย่อม
ละทิ้งชีวิตไปโดยลำดับ.
[๕๖๗] เทวดา มนุษย์ สัตว์จตุบาท หมู่ปักษี
ชาติ และพวกงู ไม่มีอิสระในสรีระร่างกายนี้
ถึงจะอภิรมย์อยู่ในร่างกาย นั้นก็ต้อง
ละทิ้งชีวิตไปทั้งนั้น
[๕๖๘] สุขและทุกข์ที่เพ่งเล็งกันอยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นของแปรผัน ไม่มั่นคงอยู่อย่างนี้ ความ
คร่ำครวญ ความร่ำไห้ ไม่เป็นประโยชน์เลย
เพราะเหตุไร กองโศกจึงท่วมทับท่านได้.
[๕๖๙] พวกนักเลงและพวกคอเหล้า ผู้ไม่ทำ
ความเจริญ เป็นพาลห้าวหาญ ไม่มีความขยัน
หมั่นเพียร ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญ
บัณฑิตว่าเป็นพาลไป.
จบ มตโรทนชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 491
อรรถกถามตโรทนชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประโยคทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
กฏุมพีในนครสาวัตถีคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า มตมตเมว โรทถ ดังนี้.
ได้ยินว่า พี่ชายของกฎุมพีนั้น ได้ทำกาลกิริยาตายไป เขาถูก
ความโศกครอบงำ เพราะกาลกิริยาของกฎุมพีนั้น ไม่อาบน้ำ ไม่
บริโภคอาหาร ไม่ลูบไล้ ไปป่าช้าแต่เช้าตรู่ ถึงความเศร้าโศกร้องไห้
อยู่. พระศาสดาทรงตรวจดูโลกในเวลาปัจจุสมัย ทรงเห็นอุปนิสัย
แห่งโสดาปัตติผลของพี่ชายแห่งกฎุมพีนั้น จึงทรงพระดำริว่า เราควร
นำอดีตเหตุมาระงับความเศร้าโศก แล้วให้โสดาปัตติผลแก่พี่ชาย
กฎุมพีนี้ เว้นเราเสียใคร ๆ อื่นผู้สามารถ ย่อมไม่มี เราเป็นที่พึ่งอาศัย
ของพี่ชายแห่งกฏุมพีนี้ จึงจะควร. ในวันรุ่งขึ้นเสด็จกลับจากบิณบาต
ภายหลังภัตแล้ว ทรงพาปัจฉาสมณะไปยังประตูเรือนของพี่ชายกฎุมพี
นั้น ผู้อันกฎุมพีพี่ชายได้ฟังว่า พระศาสดาเสด็จมา จึงกล่าวว่า ท่าน
ทั้งหลายจงปูลาดอาสนะแล้วนิมนต์ให้เสด็จเข้ามา พระองค์จึงเสด็จไป
แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้. ฝ่ายกฎุมพีก็มาถวายบังคม
พระศาสดาแล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระศาสดาจึง
ตรัสกะกุฎุมพีนั้นว่า ดูก่อนกฎุมพี ท่านคิดเสียใจอะไรหรือ. กฎุมพี
กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดเสียใจ
ตั้งแต่เวลาที่พี่ชายของข้าพระองค์ตายไป. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 492
ผู้มีอายุ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งที่ควรจะแตกทำลาย ก็แตกทำ
ลายไป ไม่ควรคิดเสียใจในเรื่องนั้น แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อ
พี่ชายตายไป ก็ไม่ได้คิดเสียใจว่า. สิ่งที่ควรจะแตกทำลาย ได้แตก
ทำลายไปแล้ว อันกฏุมพีนั้น ทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องใน
อดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสีพระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ.
เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเจริญวัยแล้ว มารดาบิดาก็ได้ทำกาลกิริยาตายไป.
เมื่อมารดาบิดานั้นทำกาลกิริยาตายไปแล้ว พี่ชายของพระโพธิสัตว์จึง
จัดแจงทรัพย์สมบัติแทน. พระโพธิสัตว์อาศัยพี่ชายนั้นเป็นอยู่ ใน
กาลต่อมา พี่ชายนั้นได้ทำกาลกิริยาตายไปด้วยความป่วยไข้เห็นปาน
นั้น. ญาติมิตร และอำมาตย์ทั้งหลายพากันประคองแขนคร่ำครวญ
ร้องไห้ แม้คนเดียวก็ไม่อาจดำรงอยู่โดยภาวะของตนได้ ส่วนพระ-
โพธิสัตว์ไม่คร่ำครวญ ไม่ร้องไห้ คนทั้งหลายพากันติเตียนพระโพธิ-
สัตว์ว่า ดูเอาเถิดท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อพี่ชายของผู้นี้ตายไปแล้ว
อาการแม้สักว่าหน้าสยิ้วก็ไม่มี เขามีใจแข็งกระด้างมาก เห็นจะอยาก
ให้พี่ชายตายด้วยคิดว่า เราเท่านั้นจักได้ใช้สอยทรัพย์สมบัติ ทั้ง
สองส่วน. ฝ่ายญาติทั้งหลายก็ติเตียนพระโพธิสัตว์นั้นเหมือนว่า เมื่อ
พี่ชายตายเจ้าไม่ร้องไห้. พระโพธิสัตว์นั้นได้ฟังคำของญาติเหล่านั้น
จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายไม่รู้จักโลกธรรม ๘ ประการ เพราะความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 493
ที่ตนเป็นคนบอดเขลา จึงพากันร้องไห้ว่า พี่ชายของเราตาย แม้เรา
เองก็จักตาย เพราะเหตุไรท่านทั้งหลายจึงไม่ร้องไห้ถึงเราบ้างว่า ผู้นี้
ก็จักตาย แม้ท่านทั้งหลายก็จักตาย เพราะเหตุไรจึงไม่ร้องให้ถึงตน
เองบ้างว่า แม้เราทั้งหลายก็จักตาย ๆ สังขารทั้งปวงย่อมเป็นของไม่
เที่ยง แม้สังขารอย่างหนึ่งซึ่งสามารถดำรงอยู่ตามสภาวะนั้นนั่นแหละ
ย่อมไม่มี ท่านทั้งหลายเป็นผู้บอดเขลา ไม่รู้จักโลกธรรม ๘ ประการ
จึงพากันร้องไห้ เพราะความไม่รู้ เราจักร้องไห้เพื่ออะไรกัน แล้ว
กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
ท่านทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงแต่คนที่คาย
แล้ว ๆ ทำไมจึงไม่ร้องไห้ถึงคนที่จักตายบ้าง
เล่า สัตว์ทุกจำพวกผู้ครองสรีระไว้ ย่อมละทิ้ง
ชีวิตไปโดยลำดับ.
เทวดา มนุษย์ สัตว์จตุบาท หมู่ปักษี-
ชาติ และพวกงู ไม่มีอิสระในสรีระร่างกายนี้
ถึงจะอภิรมย์อยู่ในร่างกายนั้น ก็ต้องละทิ้ง
ชีวิตไปทั้งนั้น.
สุขทุกข์ที่เพ่งเล็งกันอยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นของผันแปรไม่มั่นคงอยู่อย่างนี้ ความ
คร่ำครวญ ความร่ำไห้ ไม่เป็นประโยชน์เลย
เพราะเหตุไร กองโศกจึงท่วมทับท่านได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 494
พวกนักเลง และพวกคอเหล้า ผู้ไม่
ทำความเจริญ เป็นพาล ห้าวหาญ ไม่มีความ
ขยันหมั่นเพียร ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญ
นักปราชญ์ว่าเป็นคนพาล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มตมตเมว แปลว่า ตายไปแล้ว ๆ
เท่านั้น. บทว่า อนุปุพฺเพน ความว่า เมื่อประจวบคราวตายของตน ๆ
สัตว์ทั้งหลายย่อมละชีวิตไปโดยลำดับ ๆ คือสัตว์ทั้งปวงไม่ใช่พากันตาย
พร้อมกัน ถ้าจะตายพร้อมกันอย่างนั้น ความเป็นไปของโลกก็จะขาด
ศูนย์ไป. บทว่า โภคิโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยขนาดร่ายกายใหญ่
โต. บทว่า รมมานา ความว่า สัตว์ทั้งหลายมีเทวดาเป็นต้นเหล่านี้
แม้ทั้งหมดผู้บังเกิดในภพนั้นๆ ถึงจะชื่นชมคือไม่เดือดร้อนรำคาญใน
ที่เกิดของตน ๆ ก็ย่อมละทิ้งชีวิตไป. บทว่า เอว จลิต ความว่า
สุขทุกข์ชื่อว่ายักย้ายไปไม่ดำรงอยู่ เพราะไม่มีความหยุดนิ่ง และความ
ตั้งมั่นอยู่ในภพทั้ง ๓ อย่างนั้น. บทว่า กึ โว โสกคุณาภิกีรเร
เพราะเหตุไร กองแห่งความโศกจึงครอบงำ คือท่วมทับท่านทั้งหลาย.
บทว่า ธุตฺตา โสณฺฑา จ อกตา ความว่า นักเลงหญิง นักเลงสุรา
นักเลงการพนัน นักดื่ม นักกินเป็นต้น เป็นผู้ไม่ทำความเจริญ
ทั้งขาดการศึกษา. บทว่า พาลา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเขลา
คือ ผู้ไม่รู้. บทว่า สูรา อโยคิโน ความว่า ชื่อว่าผู้ห้าวหาญ เพราะ
ไม่ใส่ใจโดยแยบคาย ชื่อว่าผู้ไม่มีความเพียร เพราะความเป็นผู้ไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 495
ประกอบความเพียร. บาลีว่า อโยธิโน ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ผู้ไม่
สามารถรบกับกิเลสมาร. บทว่า ธีร มญฺนฺติ พาโลติ เย
ธมฺมสฺส อโกวิทา ความว่า พวกนักเลงเป็นต้นเห็นปานนั้นเป็นผู้
ไม่รู้โลกธรรม ๘ ประการ เมื่อทุกขธรรมแม้มีประมาณน้อยเกิดขึ้น
แล้ว ก็เสียใจคร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะไม่รู้โลกธรรม ๘ โดยถ่องแท้
จึงสำคัญนักปราชญ์ คือบัณฑิตผู้เช่นกับเราผู้ไม่คร่ำครวญไม่ร้องไห้
ในการตายของญาติเป็นต้นว่า ผู้นี้เป็นพาลไม่ร้องไห้.
พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงธรรมแก่ญาติเหล่านั้น ด้วยประการ
อย่างนี้แล้ว ได้กระทำญาติแม้ทั้งหมดนั้นให้หายโศกแล้ว.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสัจจะ กฎุมพีดำรงอยู่
แล้วในโสดาปัตติผล. บัณฑิตผู้แสดงธรรมแก่มหาชนแล้วกระทำให้
หายโศกเศร้าในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามตโรทนชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 496
๘. กณเวรชาดก
ว่าด้วยหญิงหลายผัว
[๕๗๐] ท่านกอดรัดนางสามาด้วยแขน ในสมัย
ที่อยู่ในกอชบามีสีแดง เธอได้สั่งความไม่มี
โรคมาถึงท่าน.
[๕๗๑] ดูก่อนท่านผู้เจริญ ข่าวที่ว่า ลมพึงพัด
ภูเขาไปได้ ใคร ๆ คงไม่เชื่อถือ ถ้าลมจะ
พึงพัดเอาภูเขาไปได้ แม้แผ่นดินทั้งหมดก็พัด
เอาไปได้ เพราะเหตุไร นางสามาตายแล้วจึง
สั่งความไม่มีโรคมาถึงเราได้.
[๕๗๒] นางสามานั้นยังไม่ตาย และไม่ปรารถนา
ชายอื่น ได้ยินว่า นางจะมีผัวเดียว ยังหวัง
เฉพาะท่านอยู่เท่านั้น.
[๕๗๓] นางสามาได้เปลี่ยนเราผู้ไม่เคยสนิทสนม
กับสามีที่เคยสนิทสนมมานาน เปลี่ยนเราผู้
ยังไม่ทันได้ร่วมรัก กับสามีผู้เคยร่วมรักมา
แล้ว นางสามาพึงเปลี่ยนผู้อื่นกับเราอีก เรา
จักหนีจากที่นี้ไปเสียให้ไกล.
จบ กณเวรชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 497
อรรถกถากณเวรชาดก ที่ ๘๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การประเล้าประโลมของภรรยาเก่าของภิกษุ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า ยนฺต วสนฺตสมเย ดังนี้.
เรื่องราวปัจจุบันจักมีแจ้งในอินฺทฺริยชาดก ส่วนในที่นี้ พระ-
ศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อชาติก่อนเธออาศัยหญิงนี้
จึงได้รับการตัดศีรษะด้วยดาบ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร.
พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดฤกษ์โจรในเรือนของคฤหบดีคนหนึ่งใน
กาสิกคาม พอเจริญวัยแล้ว กระทำโจรกรรมเลี้ยงชีวิต จนปรากฏ
ในโลก เป็นผู้กล้าหาญ มีกำลังดุจช้างสาร ใคร ๆ ไม่สามารถจับ
พระโพธิสัตว์นั้นได้ วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นตัดที่ต่อเรือนในเรือน
ของเศรษฐีแห่งหนึ่งลักทรัพย์มาเป็นอันมาก. ชาวพระนครพากันเข้า
ไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มหาโจรคนหนึ่งปล้น
พระนคร ขอพระองค์โปรดให้จับโจรนั้น. พระราชาทรงสั่งเจ้าหน้าที่
รักษาพระนครให้จับมหาโจรนั้น. ในตอนกลางคืน เจ้าหน้าที่ผู้รักษา
พระนครนั้น ได้วางผู้คนไว้เป็นพวก ๆ ในที่นั้น ๆ ให้จับมหาโจรนั้น
๑. ในพระสูตรเป็น กณเวรชาดก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 498
ได้พร้อมทั้งของกลาง แล้วกราบทูลแก่พระราชา. พระราชาทรงสั่ง
เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนครนั้นนั่นแหละว่า จงตัดศีรษะมัน. เจ้าหน้าที่
ผู้รักษาพระนครมัดมือไพล่หลังมหาโจรนั้นอย่างแน่นหนา แล้วคล้อง
พวงมาลัยดอกยี่โถแดงที่คอของมหาโจรนั้น แล้วโรยผงอิฐบนศีรษะ
เฆี่ยนมหาโจรนั้นด้วยหวายครั้งละ ๔ รอย จึงนำไปยังตะแลงแกง
ด้วยปัณเฑาะว์อันมีเสียงแข็งกร้าว พระนครทั้งสิ้นก็ลือกระฉ่อนไปว่า
ได้ยินว่า โจรผู้ทำการปล้นในนครนี้ ถูกจับแล้ว ครั้งนั้น ใน
นครพาราณสี มีหญิงคณิกาชื่อว่าสามา มีค่าตัวหนึ่งพัน เป็นผู้โปรด
ปรานของพระราชา มีวรรณทาสี ๕๐๐ คนเป็นบริวาร ยืนเปิด
หน้าต่างอยู่ที่พื้นปราสาท เห็นโจรนั้นกำลังถูกนำไปอยู่ ก็โจรนั้นเป็น
ผู้มีรูปงามน่าเสน่หา ถึงความงามเลิศยิ่ง มีผิวพรรณดุจเทวดา ปรากฏ
เด่นกว่าคนทั้งปวง. นางสามาเห็นเข้าก็มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่คิดอยู่ว่า
เราจะกระทำบุรุษนี้ให้เป็นสามีของเราได้ด้วยอุบายอะไรหนอ รู้ว่ามี
อุบายอยู่อย่างหนึ่ง จึงมอบทรัพย์พันหนึ่งในมือหญิงคนใช้คนหนึ่ง
ผู้กระทำตามความต้องการของตนได้ เพื่อส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รักษา
พระนคร โดยให้พูดว่า โจรนี้เป็นพี่ชายของนางสามา เว้นนางสามา
เสีย ผู้อื่นที่จะเป็นที่อาศัยของโจรนี้ย่อมไม่มีนัยว่า ท่านรับเอาทรัพย์
หนึ่งพันนี้แล้วปล่อยโจรนี้ หญิงคนใช้นั้นได้กระทำเหมือนอย่างนั้น.
เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนครกล่าวว่า โจรนี้เป็นโจรโด่งดัง เราไม่อาจ
ปล่อยโจรนี้ได้ แต่เราได้คนอื่นแล้วอาจให้โจรนี้นั่งในยานอันมิดชิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 499
แล้วจึงส่งไปได้. หญิงคนใช้นั้นจึงไปบอกแก่นางสามานั้น. ก็ในกาล
นั้น มีบุตรของเศรษฐีคนหนึ่ง มีจิตปฏิพัทธ์ผูกพันนางสามา ให้
ทรัพย์พันหนึ่งทุกวัน. แม้วันนั้น เศรษฐีบุตรนั้นก็ได้เอาทรัพย์
หนึ่งพันไปยังเรือนนั้น ในเวลาพระอาทิตย์อัศดงคต. ฝ่ายนางสามา
รับทรัพย์พันหนึ่งแล้ววางที่ขาอ่อนแล้วนั่งร้องไห้ เมื่อเศรษฐีบุตรนั้น
กล่าวว่า นางผู้เจริญ นี่เรื่องอะไรกัน จึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย โจรนี้
เป็นพี่ชายของดิฉัน เขาไม่มายังสำนักของดิฉัน ด้วยคิดว่า เราทำ
กรรมต่ำช้า เมื่อดิฉันส่งข่าวแก่เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนคร ๆ ส่งข่าว
มาว่า เราได้ทรัพย์พันหนึ่งจึงจักปล่อยตัวไป บัดนี้ ฉันได้ทรัพย์
หนึ่งพันนี้แล้ว แต่ไม่ได้โอกาสที่จะไปยังสำนักของเจ้าหน้าที่ผู้รักษา
พระนคร. เพราะมีจิตปฏิพัทธ์ในนาง เศรษฐีบุตรนั้นจึงกล่าวว่า ฉัน
จักไปเอง. นางสามากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถือเอาทรัพย์ที่นำ
มานั่นแหละไปเถิด. เศรษฐีบุตรนั้นถือทรัพย์พันหนึ่งนั้นไปยังเรือน
ของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนคร. เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนครนั้นพัก
เศรษฐีบุตรนั้นไว้ในที่อันมิดชิด แล้วให้โจรนั่งในยานอันปกปิดมิดชิด
แล้งไปให้นางสามา แล้วทำการอ้างว่า โจรนี้เป็นโจรโด่งดังใน
แว่นแคว้น ต้องรอให้มืดค่ำเสียก่อน ทีนั้นพวกเราจึงจักฆ่าโจรนั้น
ในเวลาปลอดคน แล้วยับยั้งอยู่ครู่หนึ่ง เมื่อปลอดคนแล้ว จึงนำ
เศรษฐีบุตรไปยังตะแลงแกงด้วยการอารักขาอย่างแข็งแรง แล้วเอา
ดาบตัดศีรษะเสียบร่างไว้ที่หลาวแล้ว เข้าไปยังพระนคร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 500
ตั้งแต่นั้นมา นางสามามิได้รับอะไร ๆ จากมือของคนอื่น ๆ
เที่ยวอภิรมย์ชมชื่นอยู่กับโจรนั้นนั่นแหละ โจรนั้นคิดว่า ถ้าหญิงนี้
จักมีจิตปฏิพัทธ์ในชายอื่นไซร้ แม้เรา นางก็จักให้ฆ่าแล้วอภิรมย์กับ
ชายนั้นเท่านั้น หญิงนี้เป็นผู้มักประทุษร้ายมิตรโดยส่วนเดียว เรา
อยู่ในที่นี้ ควรรีบหนีไปที่อื่น แต่เมื่อจะไปจะไม่ไปมือเปล่า จักถือ
เอาห่อเครื่องอาภรณ์ของหญิงนี้ไปด้วย วันหนึ่ง จึงกล่าวกะนางสามา
นั้นว่า นางผู้เจริญ เราทั้งหลายอยู่เฉพาะในเรือนเป็นประจำ เหมือน
ไก่อยู่ในกรง พวกเราจักเล่นในสวนสักวันหนึ่ง. นางสามานั้นรับคำ
แล้วจัดแจงสิ่งของทั้งปวงมีของควรเคี้ยว และของควรบริโภคเป็นต้น
ประดับประดาด้วยอาภรณ์ทั้งปวง นั่งในยานอันมิดชิดกับโจรนั้นแล้ว
ไปยังสวนอุทยาน. โจรนั้นเล่นอยู่กับนางสามานั้นในสวนอุทยานนั้น
จึงคิดว่า เราควรหนีไปเดี๋ยวนี้ จึงทำทีเหมือนต้องการจะร่วมอภิรมย์
ด้วยกิเลสฤดีกับนางสามานั้น จึงพาเข้าไประหว่างพุ่มต้นยี่โถแห่งหนึ่ง
ทำที่เหมือนสวมกอดนางสามานั้น แล้วจึงกดลงทำให้สลบล้มลงแล้ว
ปลดเครื่องอาภรณ์ทั้งปวง เอาผ้าห่มของนางนั่นแหละผูกแล้ววางห่อมี
ภัณฑะไว้ที่คอ โดดข้ามรั้วอุทยานหลบหลีกไป. ฝ่ายนางสามานั้น
กลับได้สัญญาความทรงจำ จึงลุกขึ้นมายังสำนักของพวกหญิงรับใช้
แล้วถามว่า ลูกเจ้าไปไหน พวกหญิงรับใช้กล่าวว่า พวกดิฉันไม่
ทราบเลย แม่เจ้า. นางสามาคิดว่า สามีของเราสำคัญเราว่าตายแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 501
จึงกลัวแล้วหลบหนีไป เสียใจ จึงจากสวนอุทยานนั้นนั่นแลไปบ้าน
คิดว่า ตั้งแต่เวลาที่เรายังไม่พบเห็นสามีที่รัก เราจักไม่นอนบนที่นอนที่
ประดับตกแต่ง จึงนอนอยู่ที่พื้น. ตั้งแต่นั้นมา นางไม่นุ่งผ้าสาฎกที่
ชอบใจ ไม่บริโภคภัตตาหาร ๒ หน ไม่แตะต้องของหอมและระเบียบ
ดอกไม้เป็นต้น คิดว่า เราจักแสวงหาพ่อลูกเจ้าด้วยอุบายอย่างใดอย่าง
หนึ่งบ้างแล้วให้เรียกกลับมา จึงให้เชิญพวกคนนักฟ้อนมาแล้วได้ให้ทรัพย์
พันหนึ่ง. เมื่อพวกนักฟ้อนรำกล่าวว่า แม่เจ้า พวกเราจะทำอะไร
ให้บ้าง. นางจึงกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าสถานที่ที่พวกท่านยังไม่ได้ไป ย่อม
ไม่มี ท่านทั้งหลายเมื่อเที่ยวไปยังคามนิคม และราชาธานี แสดง
การเล่นพึงขับเพลงขับบทนี้ขึ้นก่อนทีเดียว ในมณฑลสำหรับแสดง
การเล่น เมื่อจะให้พวกฟ้อนรำศึกษาเอา จึงกล่าวคาถาที่หนึ่ง แล้ว
สั่งว่า เมื่อพวกท่านขับเพลงขับบทนี้ ถ้าหากพ่อลูกเจ้าจักอยู่ในภายใน
บริษัทนั้น เขาจักกล่าวกับพวกท่าน เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกท่านพึง
บอกถึงความที่เราสบายดีแก่เขา แล้วพาเขามา ถ้าเขาไม่มา พวกท่าน
พึงให้เขาส่งข่าวมา ดังนี้แล้วมอบสะเบียงเดินทางให้แล้วส่งพวกนัก
ฟ้อนรำไป. พวกนักฟ้อนเหล่านั้นออกจากนครพาราณสีกระทำการ
เล่นอยู่ในที่นั้น ๆ ได้ไปถึงบ้านปัตจันตคามแห่งหนึ่ง. โจรแม้คนนั้นก็
หนีไปอยู่ในบ้านปัตจันตคามนั้น. พวกนักฟ้อนเหล่านั้น เมื่อจะแสดง
การเล่นในที่นั้น จึงพากันขับร้องเพลงขับบทนี้ก่อนทีเดียวว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 502
ท่านกอดรัดนางสามาด้วยแขน ในสมัย
ที่อยู่ในกอชบามีสีแดง เธอได้สั่งความไม่มี
โรคนายังท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กณเวเรสุ คือกณวีเรสุ แปลว่า
ดอกชบา. บทว่า ภาณุสุ ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยสีแสงแห่งดอกแดง ๆ.
บทว่า สาม ได้แก่ ผู้มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า ปิเฬสิ ความว่า ท่าน
บีบรัด เหมือนคนผู้ประสงค์ร่วมภิรมย์ด้วยกิเลสฤดีสวมกอดอยู่ฉะนั้น.
บทว่า สา ต ความว่า นางสามานั้นหาโรคมิได้ แต่ท่านสำคัญว่า
นางตาย จึงกลัวหลบหนีไป นางนั้นได้บอกกล่าว คือแจ้งถึงความ
ที่ตนไม่มีโรค.
โจรได้ฟังเพลงขับนั้นจึงเข้าไปหานักฟ้อนแล้วกล่าวว่า ท่าน
พูดว่า สามายังมีชีวิต แต่เราหาเธอไม่ เมื่อจะเจรจากับนักฟ้อนนั้น
จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ดูก่อนท่านผู้เจริญ ข่าวที่ว่า ลมพึงพัด
ภูเขาไปได้ ใคร ๆ คงไม่เชื่อถือ ถ้าลมจะพึง
พัดเอาภูเขาไปได้ แม้แผ่นดินทั้งหมดก็พัด
ไปได้ เพราะเหตุไร นางสามาตายแล้ว จะ
สั่งความไม่มีโรคถึงเราได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 503
คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า ท่านนักฟ้อนผู้เจริญ ข่าวที่ว่า
ลมพัดเอาภูเขาไปเหมือนหญ้าและใบไม้นี้ ใคร ๆ คงไม่เชื่อ ถ้าแม้
ลมจะพึงพัดเอาภูเขาไปได้ แผ่นดินแม้ที่หมดก็คงพัดเอาไปได้ ก็ข้อนี้
ใคร ๆ ไม่พึงเชื่อถือเหมือนเราไม่เชื่อข่าวนางสามานั่น. บทว่า ยตฺถ
สามา กาลกตา ความว่า นางสามาทำกาละไปแล้ว จะถามความ
ไม่มีโรคถึงเราได้เอง. ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่เชื่อ ? ตอบว่า เพราะ
ธรรมดาคนที่ตายแล้ว จะส่งข่าวสาส์นแก่ใคร ๆ ไม่ได้.
นักฟ้อนได้ฟังคำของโจรนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
นางสามานั้นยังไม่ตาย และไม่ปรารถนา
ชายอื่น ได้ยินว่า นางจะมีผัวคนเดียว ยังหวัง
เฉพาะท่านเท่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเมว อภิกงฺขติ ความว่า นาง
ไม่ปรารถนาชายอื่น ยังหวัง คือต้องการ ปรารถนาเฉพาะท่านเท่านั้น.
โจรได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า นางจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม เรา
ไม่ต้องการนาง แล้วกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
นางสามาได้เปลี่ยนเราผู้ยังไม่เคยเชย
ชิดสนิทสนม กับบุรุษที่นางเคยเชยชิดสนิท-
สนมมานาน เปลี่ยนเราผู้ไม่เป็นขาประจำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 504
กับบุรุษผู้เป็นขาประจำ นางสามาคงจะ
เปลี่ยนบุรุษอื่นแม้กับเราอีก เราจักไปเสีย
จากที่นี้ให้ไกลแสนไกล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสนฺถุต ได้แก่ ผู้ยังไม่ได้ทำ
การสังสรรค์. บทว่า จิรสนฺถุเตน แปลว่า ผู้ได้ทำการสังสรรค์กัน
มานาน. บทว่า นิมินิ แปลว่า แลกเปลี่ยน. บทว่า อธุว ธุเวน
ความว่า นางสามาได้ให้ทรัพย์หนึ่งพันแก่เจ้าหน้าที่ ผู้รักษาพระนคร
แล้วรับเอาเรามา เพื่อแลกเปลี่ยนเราผู้ไม่เป็นขาประจำกับสามีประจำ
นั้น. บทว่า มยาปิ สามา นิมิเนยฺย อญฺ ความว่า นางสามา
พึงแลกเปลี่ยนเอาสามีคนอื่นแม้กับเรา. ด้วยบทว่า อิโต อห ทูรตร
นี้ โจรกล่าวว่า เราจักไปยังที่ไกลแสนไกลเช่นที่ทำเราไม่อาจได้ฟังข่าว
หรือความเป็นไปของนางสามานั้น เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจง
บอกความที่เราจากที่นี้ไปที่อื่นแก่นางสามานั้น เมื่อนักฟ้อนเหล่านั้น
เห็นอยู่นั่นแหละ ได้นุ่งผ้าให้กระชับมั่นแล้วรีบหนีไป.
นักฟ้อนทั้งหลายได้ไปบอกอาการกิริยา ที่โจรนั้นกระทำแก่
นางสามานั้น. นาเป็นผู้มีความวิปฏิสารเดือดร้อนใจ จึงยังกาลเวลา
ให้ล่วงไปโดยปกติของตนนั่นแล.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 505
ถึงภรรยาเก่า ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. เศรษฐีบุตร ในครั้งนั้น
ได้เป็นภิกษุรูปนี้ นางสามาในครั้งนั้นได้เป็นปุราณทุติยิกาภรรยาเก่า
ส่วนโจรในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากณเวรชรดก ที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 506
๙. ติตติรชาดก
ว่าด้วยบาปที่เกิดจากความจงใจ
[๕๗๐] ข้าพเจ้าเป็นอยู่สบายดีหนอ และได้
บริโภคอาหารตามชอบใจ แต่ว่าข้าพเจ้าตั้ง
อยู่ในระหว่างอันตรายแท้ ข้าแต่พระคุณเจ้า
ผู้เจริญ คติของข้าพเจ้าเป็นอย่างไรหนอ.
[๕๗๕] ดูก่อนปักษี ถ้าใจของท่านไม่น้อมไป
เพื่อกรรมอันเป็นบาป บาปย่อมไม่แปด
เปื้อนท่านผู้บริสุทธิ์ ไม่ขวนขวายกระทำ
บาปกรรม.
[๕๗๖] นกกระทาเป็นอันมากพากันมาด้วยคิด
ว่า ญาติของเราจับอยู่ นายพรานนกย่อมได้
รับกรรม เพราะอาศัยข้าพเจ้า ใจของข้าพเจ้า
รังเกียจอยู่ในเรื่องนั้น.
[๕๗๗] ถ้าใจของท่านไม่คิดประทุษร้าย กรรม
ที่นายพรานอาศัยท่านกระทำแล้วก็ไม่ติดท่าน
บาปย่อมไม่แปดเปื้อนท่านผู้บริสุทธิ์ มีความ
ขวนขวายน้อย.
จบ ติตฺติรชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 507
อรรถกถาติตฺติรชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยนครโกสัมพี ประทับอยู่ในวทริการาม
ทรงปรารภพระราหุลเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
สุสุข วต ชีวามิ ดังนี้.
เรื่องราวได้พรรณนาไว้พิสดารแล้วในติปัลลัตถชาดก ในหน
หลังนั่นแล. แต่ในที่นี้ ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันถึงคุณความดี
ของท่านผู้มีอายุนั้น ในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
พระราหุลเป็นผู้ใครต่อการศึกษา มีความรังเกียจบาปกรรม อดทน
ต่อโอวาท. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พวกเธอนึ่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูล
ว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ราหุลก็เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา
มีความรังเกียจบาปธรรม อดทนต่อโอวาทแล้วเหมือนกัน แล้วทรง
นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์พอเจริญวัย
แล้ว ก็เรียนศิลปะทั้งปวงในเมืองตักกศิลา แล้วออกบวชเป็นฤๅษี
ในหิมวันตประเทศ ทำอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดแล้วเล่นฌานอยู่
ในไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์ ได้ไปยังบ้านปัจจันตคามแห่งหนึ่ง เพื่อ
ต้องการเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว. คนทั้งหลาย ในบ้านปัจจันตคาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 508
นั้นเห็นพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใสจึงให้สร้างบรรณศาลาใน
ป่าแห่งหนึ่งแล้วนิมนต์ให้อยู่ บำรุงด้วยปัจจัยทั้งหลาย. ครั้งนั้น
มีนายพรานนกคนหนึ่งในบ้านนั้น จับนกกระทำเป็นนกต่อได้ตัวหนึ่ง
ให้ศึกษาอย่างดีแล้วใส่กรงเลี้ยงไว้. นายพรานนกนั้นนำนกกระทาต่อ
นั้นไปป่า แล้วจับพวกนกกระทำซึ่งพากันมาเพราะเสียงนกกระทำต่อ
นั้นเลี้ยงชีวิตอยู่. ครั้งนั้น นกกระทานั้นคิดว่าญาติของเราเป็นอันมาก
พากันฉิบหายเพราะอาศัยเราผู้เดียว นั้นเป็นบาปของเรา จึงไม่ส่งเสียง
ร้อง นายพรานนกนั้นรู้ว่านกกระทำต่อนั้นไม่ร้อง จึงเอาแขนงไม่ไผ่
ตีศีรษะนกกระทำต่อนั้น. นกกระทาจึงร้องเพราะอาดูรเร่าร้อนด้วย
ความทุกข์. นายพรานนกนั้นอาศัยนกกะทานั้น จับนกกระทา
ทั้งหลายมาเลี้ยงชีวิต ด้วยประการอย่างนี้. ลำดับนั้น นกกระทานั้น
คิดว่า เราไม่มีเจตนาว่า นกเหล่านี้จงตาย แต่กรรมที่อาศัยเป็นไป
คงจะถูกต้องเรา เมื่อเราไม่ร้อง นกเหล่านี้ก็ไม่มา ต่อเมื่อเราร้อง
จึงมา นายพรานนกนี้จับพวกนกที่มาแล้ว ๆ ฆ่าเสีย ในข้อนี้ บาป
จะมีแก่เราหรือไม่หนอ. จำเดิมแต่นั้น นกกระทานั้นคิดว่า ใครหนอ
จะตัดความสงสัยนี้ของเราได้ จึงเที่ยวใคร่ครวญหาบัณฑิตเห็นปาน
นั้น. อยู่มาวันหนึ่ง พรานนกนั้นจับนกกระทำได้เป็นอันมากบรรจุ
เต็มกระเช้า คิดว่าจักดื่มน้ำ จึงไปยังอาศรมของพระโพธิสัตว์ วาง
กรงนกต่อนั้นไว้ในสำนักของพระโพธิสัตว์ ดื่มน้ำแล้วนอนที่พื้น
ทรายหลับไป. นกกระทำรู้ว่านายพรานนั้นหลับ จึงคิดว่า เราจะถาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 509
ความสงสัยของเรากะดาบสนี้ เมื่อท่านรู้จักได้บอกเรา เมื่อจะถาม
ดาบสนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าพเจ้าเป็นอยู่สบายดีหนอ และได้
บริโภคอาหารตามชอบใจ แต่ว่าข้าพเจ้าตั้งอยู่
ในระหว่างอันตรายแท้ ข้าแต่พระคุณเจ้า
ผู้เจริญ คติของข้าพเจ้าเป็นอย่างไรหนอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุสุข วต ความว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ข้าพเจ้าอาศัยนายพรานนกผู้นี้เป็นอยู่สบายดี. บทว่า ลภามิ
เจว ความว่า ข้าพเจ้าย่อมได้แม้เพื่อจะบริโภคของควรเคี้ยว ควร
บริโภคตามความชอบใจ. บทว่า ปริปนฺเถว ติฏฺามิ ความว่า
ก็แต่ว่า ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ผู้พากันมาแล้ว ๆ ด้วยเสียงของ
ข้าพเจ้า ย่อมฉิบหายไปเพราะอันตรายใด ข้าพเจ้าตั้งอยู่ในอันตราย
นั้น. ด้วยบทว่า กา นุ ภนฺเต นี้ นกกระทำถามว่า ท่านผู้เจริญ
คติของข้าพเจ้าเป็นอย่างไรหนอ คือว่า ความสำเร็จผลอะไรจักมีแก่
ข้าพเจ้า.
พระโพธิสัตว์เมื่อจะแก้ปัญหาของนกกระทานั้น จึงกล่าวคาถา
ที่ ๒ ว่า :-
ดูก่อนปักษี ถ้าใจของท่านไม่น้อมไป
เพื่อกรรมอันเป็นบาป บาปย่อมไม่แปด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 510
เปื้อนท่านผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่ขวนขวายกระทำ
บาปกรรม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปสฺส กมฺมุโน ความว่า
ถ้าใจของท่านไม่น้อมไปเพื่อประโยชน์แก่บาปกรรม คือไม่โน้มน้อม
เงื่อมไปในการกระทำบาป. บทว่า อปาวฏสฺส ความว่า เมื่อเป็น
เช่นนั้น บาปย่อมไม่แปดเปื้อน คือไม่ติดท่านผู้ไม่ขวนขวาย คือ
ไม่ถึงการขวนขวายเพื่อต้องการทำบาปกรรม เป็นผู้บริสุทธิ์ทีเดียว.
นกกระทำได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
นกกระทาเป็นอันมากพากันมาด้วย
คิดว่าญาติของเราจับอยู่ นายพรานนกได้
กระทำกรรม คือปาณาติบาต เพราะอาศัย
ข้าพเจ้า ใจของข้าพเจ้ารังเกียจอยู่ในเรื่องนั้น.
คำที่เป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าข้าพเจ้าไม่
ทำเสียง นกกระทานี้จะไม่มา แต่เมื่อข้าพเจ้ากระทำเสียง นกกระทำ
จำนวนมากนี้มา ด้วยคิดว่า ญาติของพวกเราจับอยู่ นายพรานจับ
นกกระทำตัวที่มานั้นฆ่าอยู่ ชื่อว่าย่อมถูกต้อง คือได้ประสบกรรมคือ
ปาณาติบาตนี้ เพราะอาศัยข้าพเจ้า เพราะฉะนั้น ใจของข้าพเจ้าจึง
รังเกียจคือถึงความรังเกียจอย่างนี้ว่า นายพรานกระทำบาป เพราะ
อาศัยเรา บาปนี้จะมีแก่เราไหมหนอ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 511
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
ถ้าใจของท่านไม่คิดประทุษร้ายไซร้
กรรมที่นายพรานอาศัยท่านกระทำแล้วย่อม
ไม่ถูกต้องท่าน บาปกรรมย่อมไม่แปดเปื้อน
ท่านผู้บริสุทธิ์ ผู้มีความขวนขวายน้อย.
คำอันเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า ถ้าใจของท่านไม่ประทุษร้าย
เพราะอาการทำบาปกรรม คือ ไม่โน้มไม่โอน ไม่เงื้อมไปในการทำ
บาปกรรมนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น กรรมแม้ที่นายพรานอาศัยท่าน
กระทำ ย่อมไม่ถูกต้องคือไม่แปดเปื้อนท่าน เพราะบาปนั้นย่อมไม่
แปดเปื้อน คือย่อมไม่ติดจิตของท่านผู้มีความขวนขวายน้อย คือ
ไม่มีความห่วงใยในการทำบาป ผู้เจริญคือผู้บริสุทธิ์ เพราะท่านไม่มี
ความจงใจในปาณาติบาต.
พระมหาสัตว์ให้นกกระทำเข้าใจแล้ว ด้วยประการอย่างนี้
ฝ่ายนกกระทานั้นก็ได้เป็นผู้หมดความรังเกียจสงสัย เพราะอาศัย
กระมหาสัตว์นั้น. นายพรานตื่นนอนแล้วไหว้พระโพธิสัตว์ ถือเอา
กรงนกกระทาหลีกไป.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า นกกระทำในครั้งนั้น ได้เป็นพระราหุลในบัดนี้
ส่วนพระดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาติตฺติรชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 512
๑๐. สุจจชชาดก
ว่าด้วยภรรยาที่ดี
[๕๗๘] พระราชาเมื่อไม่พระราชทานภูเขาด้วย
พระวาจา นับว่าไม่พระราชทานสิ่งที่ควรให้
ง่ายหนอ เมื่อพระราชาพระราชทานอะไรบ้าง
ก็ชื่อว่าได้พระราชทานภูเขาด้วยพระวาจา.
[๕๗๙] คนฉลาดทำสิ่งใดก็พูดถึงสิ่งนั้น ไม่ทำ
สิ่งใดก็ไม่พูดถึงสิ่งนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อม
รู้จักคนที่ไม่ทำ ดีแต่พูด.
[๕๘๐] ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอนอบน้อมแด่ฝ่า-
พระบาท พระองค์ทรงประสบความพินาศ
แต่พระทัยของพระองค์ยังทรงยินดีอยู่ใน
สัจจะ พระองค์ชื่อว่าดำรงมั่นอยู่ในสัจจะ
แลธรรม.
[๕๘๑] หญิงใด เมื่อสามีขัดสนก็ขัดสนด้วย
เมื่อสามีมั่งคั่งก็พลอยเป็นผู้มั่งดังมีชื่อเสียง
ด้วย หญิงนั้นแหละ นับว่าเป็นยอดภรรยา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 513
ของเขา เมื่อสามีมีเงิน หญิงก็ย่อมมีเงิน
เหมือนกัน.
จบ สุจจชชาดกที่ ๑๐
อรรถกถาสุจจชชาดกที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
กฎุมพีคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สุจช วต
น จชิ ดังนี้.
ได้ยินว่า กฎุมพีนั้นคิดว่า จักสะสางหนี้สินในหมู่บ้าน จึงไป
ในหมู่บ้านนั้นพร้อมกับภรรยา ครั้นชำระสะสางแล้วคิดว่า เราจักนำ
เกวียนมาขนไปภายหลัง จึงฝากไว้ในตระกูลหนึ่ง กลับไปยังเมือง
สาวัตถีอีก ได้เห็นภูเขาลูกหนึ่งในระหว่างทาง. ครั้งนั้น ภรรยากล่าว
กะกฎุมพีนั้นว่า นาย ถ้าภูเขานี้จะพึงเป็นทองไซร้ ท่านจะให้อะไร
ฉันบ้าง. กฎุมพีกล่าวว่า เธอเป็นใคร ฉันจักไม่ให้อะไรเลย. ฝ่าย
ภรรยานั้นได้น้อยใจว่า สามีของเรานี้มีหัวใจกระด้างนัก นัยว่า เมื่อ
ภูเขาแม้เดินเป็นทองไปทั้งลูก ก็จักไม่ให้อะไรแก่เราเลย. สามีภรรยา
ทั้งสองนั้นเดินมาใกล้พระเชตวัน คิดว่าจักดื่มน้ำ จึงเข้าไปยังพระ-
วิหารดื่มน้ำ. ในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่งนั้นแล แม้พระศาสดาก็ทรงได้
เห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของคนทั้งสองนั้น เมื่อจะทรงรอคอยการ
มา จึงประทับนั่งในบริเวณพระคันธกุฎี ทรงเปล่งพระรัศมีมีพรรณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 514
๖ ประการ. ฝ่ายสามีภรรยาทั้งสองนั้นดื่มน้ำแล้วก็มาถวายบังคมพระ-
ศาสดาแล้วนั่งอยู่. พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับสามีภรรยาทั้งสอง
นั้น แล้วตรัสถามว่า ท่านทั้งสองไปไหนมา ? สามีภรรยาทั้งสอง
กราบทูลว่า ไปสะสางหนี้สินในหมู่บ้านของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสถามภรรยาของเขาว่า อุบาสิกา สามีของเธอหวังประ-
โยชน์เกื้อกูลแห่งเธอ ทำอุปการะแก่เธออยู่หรือ ? ภรรยากฎุมพีกราบ-
ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความสิเน่หาในสามีนี้ แต่
สามีนี้ไม่มีความสิเน่หาในข้าพระองค์ วันนี้ เมื่อข้าพระองค์เห็นภูเขา
แล้วพูดว่า ถ้าภูเขาลูกนี้จะเป็นทอง ท่านจะให้อะไรแก่ฉันบ้าง เขา
กลับพูดว่า เธอเป็นใคร ฉันจักไม่ให้อะไร สามีผู้นี้เป็นคนมีหัวใจ
กระด้างอย่างนี้ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า อุบาสิกา กฎุมพีนี้
ย่อมกล่าวอย่างนี้เอง แต่เมื่อใด เขานึกถึงคุณความดีนั้นของเธอ
เมื่อนั้น เขาจะให้ความเป็นใหญ่ทั้งหมด อันภรรยาของกฎุมพีนั้น
ทูลอาราธนาว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกเถิด พระเจ้าข้า จึงทรงนำ
เอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ผู้สำเร็จราชกิจทั้งหมดของพระ-
เจ้าพรหมทัตนั้น. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทรงเห็นพระราชโอรสมา
ยังที่เฝ้า ทรงดำริว่า ลูกคนนี้คงจะทรยศประทุษร้ายในฝ่ายในของเรา
จึงรับสั่งให้เรียกพระราชโอรสนั้นมาแล้วตรัสว่า ลูกรัก ตราบเท่าที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 515
พ่อยังมีชีวิตอยู่ เจ้าอย่าได้อยู่ในพระนคร จงอยู่ในที่อื่น เมื่อพ่อ
ล่วงลับไปแล้วจึงค่อยครองราชสมบัติ. พระโอรสรับพระบัญชาแล้ว
ถวายบังคมพระราชบิดาพร้อมกับพระเชษฐชายา ออกจากพระนครไป
ยังชายแดน สร้างบรรณศาลาอยู่ในป่า ยังพระชนม์ชีพให้เป็นอยู่
ด้วยมูลผลาผลในป่า. จำเนียรกาลนานมา พระราชาเสด็จสวรรคต
อุปราชราชโอรสตรวจดูนักขัตฤกษ์ รู้ว่าพระราชาผู้พระบิดานั้น
สวรรคตแล้ว จึงมายังพระนครพาราณสี ในระหว่างทางได้เห็นภูเขา
ลูกหนึ่ง. ลำดับนั้น พระชายาตรัสกะพระราชโอรสนั้นว่า ข้าแต่เทวะ
ถ้าภูเขานี้จะเป็นทอง พระองค์จะประทานอะไรแก่หม่อมฉันบ้าง.
พระราชโอรสตรัสว่า เธอเป็นใคร ฉันจักไม่ให้อะไรเลย. พระชายา
นั้นได้น้อยพระทัยว่า เราไม่อาจละทิ้ง เพราะความสิเน่หาในพระ-
สวามีนี้ จึงเข้าไปสู่ป่าด้วย แต่พระสวามีนี้ตรัสอย่างนี้ เป็นผู้มีพระทัย
กระด้างยิ่งนัก พระสวามีนี้ได้เป็นราชาแล้ว จักไม่กระทำความดีงาม
แก่เรา. พระราชโอรสนั้นเสด็จมาแล้วดำรงอยู่ในราชสมบัติ จึงทรง
ตั้งพระชายานั้นไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี ได้ประทานเพียงยศนี้เท่านั้น
ส่วนการนับถือยกย่องที่ยิ่งขึ้นไป ไม่มี แม้ความที่พระนางมีอยู่ ก็ไม่
ทรงสนพระทัย. พระโพธิสัตว์คิดว่า พระเทวีนี้มีอุปการะแก่พระราชา
นี้มิได้คำนึงถึงความลำบากได้เสด็จอยู่ในป่าด้วย แต่พระราชานี้มิได้
ทรงคำนึงถึงพระเทวีนี้เลย เที่ยวอภิรมย์อยู่กับนางสนมอื่น ๆ เราจัก
กระทำโดยประการที่พระเทวีนี้ได้อิสริยยศทั้งปวง วันหนึ่ง จึงเข้าไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 516
เฝ้าพระเทวีนั้นแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาเทวี ข้าพระองค์ไม่ได้แม้
แต่ก้อนข้าวจากสำนักของพระองค์ เพราะเหตุไร ? พระองจึงทรงละ
เลยข้าพระองค์ มีน้ำพระทัยกระด้างยิ่งนัก. พระเทวีนั้นตรัสว่า ดู-
ก่อนพ่อ ถ้าตัวเราได้ เราก็จะให้ท่านบ้าง แต่เราเมือไม่ได้ จักให้ได้
อย่างไร จนบัดนี้ แม้พระราชาก็มิได้ประทานอะไรเลยแก่เรา ดูก่อน
พ่อ ในระหว่างทาง เมื่อเรากล่าวว่า เมื่อภูเขานี้เกิดเป็นทอง พระองค์
จักประทานอะไรหม่อมฉันบ้าง พระราชานั้นยังตรัสว่า เธอเป็นใคร
ฉันจักไม่ให้อะไรเลย แม้ของที่บริจาคได้ง่าย ๆ พระองค์ก็ไม่ทรงบริ-
จาคเลย. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ก็พระองค์จักอาจตรัสเรื่องนี้ใน
สำนักของพระราชาหรือ ? พระเทวีตรัสว่า ทำไมฉันจักไม่อาจเล่าพ่อ.
พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ข้าพระองค์อยู่ในสำนักของ
พระราชา จักทูลถามพระองค์พึงตรัสขึ้นเถิด. พระเทวีรับว่า ได้ซิพ่อ.
ในเวลาที่พระเทวีเสด็จไปยังที่เฝ้าพระราชา แล้วประทับยืนอยู่ พระ-
โพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ข้าพระองค์ไม่ได้แม้อะไร ๆ
จากสำนักของพระองค์เลยมิใช่หรือ ? พระเทวีตรัสว่า พ่ออำมาตย์
เราเมื่อได้จึงจะให้ท่าน เราเองก็ไม่ได้อะไรเลย บัดนี้ แม้พระราชา
ก็จักประทานอะไรแก่เราบ้าง เพราะว่าในเวลามาจากป่า พระราชา
นั้นทรงเห็นภูเขาลูกหนึ่ง เมื่อเราทูลว่า ถ้าภูเขานี้จะเป็นทอง พระองค์
จะประทานอะไรแก่หม่อมฉันบ้าง พระองค์ยังตรัสว่า เธอเป็นใคร
ฉันจักไม่ให้อะไรเลย แม้ของที่สละได้ง่ายพระองค์ก็ไม่ทรงเสียสละ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 517
เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้ จึงตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-
พระราชาเมื่อไม่พระราชทานภูเขาด้วย
พระวาจา ชื่อว่าไม่ทรงสละสิ่งที่ควรสละได้
ง่าย เมื่อพระราชานั้นพระราชทานอะไรบ้าง
ก็ชื่อว่าได้พระราชทานภูเขาด้วยพระวาจา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุจช วต ความว่า ชื่อว่าไม่
ทรงสละแม้สิ่งที่อาจสละได้โดยง่าย. บทว่า อทท ได้แก่ ไม่พระ-
ราชทานภูเขาแม้ด้วยสักว่าพระดำรัส. บทว่า กิญฺจิ ตสฺส จชนฺ-
ตสฺส๑ ความว่า เมื่อพระราชานั้นผู้อันเราทูลขอแล้วได้ทรงสละภูเขา
นั้น ชื่อว่าได้ทรงสละอะไรบ้าง. บทว่า วาจาย อทท๒ ปพฺพต
ความว่า ถ้าพระราชานี้อันเราทูลขอแล้วได้พระราชทานภูเขานั้น ซึ่ง
แม้เป็นทองตามคำพูดของเรา ด้วยพระวาจา คือ ได้พระราชทานด้วย
เพียงสักว่าพระดำรัส. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-
บัณฑิตกระทำสิ่งใด พึงพูดสิ่งนั้น ไม่
กระทำสิ่งใด ไม่พึงพูดสิ่งนั้น บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมกำหนดรู้คนที่ไม่ทำดีแต่พูด.
๑. ม. อจชนฺตสฺส. ๒. ม. อทท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 518
คำอันเป็นคาถานั้นมีใจความว่า ก็คนที่เป็นบัณฑิตกระทำสิ่งใด
ด้วยกาย พึงพูดถึงสิ่งนั้นด้วยวาจา แม้สิ่งใดไม่ได้กระทำ ก็ย่อมไม่
พูดสิ่งนั้น. อธิบายว่า ประสงค์จะให้ก็ควรพูดว่าจะให้ เมื่อไม่ประสงค์
จะให้ก็ไม่ควรจะพูดว่าจะให้. เพราะเหตุไร ? เพราะบุคคลใด แม้
พูดว่าจักให้ ภายหลังกลับไม่ให้ บัณฑิตทั้งหลายย่อมกำหนดรู้บุคคล
นั้นว่าไม่ทำ ดีแต่พูดเท็จอย่างเดียว. อธิบายว่า บุคคลกล่าวแต่เพียง
คำพูดว่าเราจักให้ แต่ไม่ได้ให้ ก็แต่ว่าสิ่งใดถึงแม้จะไม่ได้ให้ด้วยกาย
เป็นแต่ให้ด้วยสักว่าคำพูดเท่านั้น สิ่งนั้นชื่อว่าจักเป็นอันได้ก่อนทีเดียว
บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้ว่าบุคคลนั้นเป็นผู้กล่าวเท็จด้วยประการดังกล่าว
นี้ แต่คนเขลาทั้งหลายย่อมยินดีชอบใจโดยสักแต่คำพูดเท่านั้น.
พระเทวีได้ทรงสดับดังนั้น จึงประคองอัญชลีแล้วตรัสคาถาที่
๓ ว่า :-
ข้าแต่พระราชบุตร ขอความนอบน้อม
จงมีแด่พระองค์ พระองค์ทรงประสบความ
พินาศ แต่พระทัยยังทรงยินดีอยู่ในสัจจะ
พระองค์ชื่อว่าดำรงมั่นอยู่ในวจีสัจ และ
สภาวธรรม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺเจ ธมฺเม ได้แก่ ในวจีสัจจะ
และสภาวธรรม. บทว่า พฺยสน ปติโต ความว่า พระทัยของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 519
พระองค์แม้จะถึงความพินาศ กล่าวคือถูกขับไล่จากแว่นแคว้น ก็ยัง
ทรงยินดีอยู่ เฉพาะในสัจจธรรม.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระเสาวณีของพระเทวี ผู้ตรัสคุณความดี
ของพระราชาอยู่อย่างนั้น เมื่อจะประกาศคุณความดีของพระเทวีนั้น
จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
หญิงใด เมื่อสามีขัดสน ก็ขัดสนด้วย
เมื่อสามีมั่งคั่ง ก็พลอยมั่งคั่งมีชื่อเสียงด้วย
หญิงนั้นแหละ นับว่าเป็นยอดภรรยาของเขา
เมื่อสามีมีเงิน หญิงภรรยาก็ย่อมมีเงินเหมือน
กัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิตฺติมา ความว่า เพียบพร้อม
ด้วยเกียรติ. บทว่า สา หิสฺส ปรมา ความว่า หญิงใดในเวลา
สามีเป็นคนยากจน แม้ตนเองเป็นคนยากจนก็ไม่ละทิ้งสามีนั้น. บทว่า
อฑฺฒสฺส ความว่า ในเวลาสามีมั่งคั่ง ก็เป็นคนมั่งคั่ง อนุวรรต
ตามสามี เป็นผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย. หญิงนั้นแหละ ชื่อว่าเป็นภรรยา
ชั้นยอดเยี่ยมของเขา. บทว่า สหิรญฺสฺส ความว่า ก็เมื่อสามีมีเงิน
ตั้งอยู่ในความเป็นใหญ่ หญิงภรรยาทั้งหลายก็ย่อมมีเงินด้วย ไม่น่า
อัศจรรย์เลย.
ก็แหละ พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวคุณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 520
ความดีของพระเทวีว่า ข้าแต่มหาราช พระเทวีนี้ เวลาเมื่อพระองค์
มีความทุกข์ ก็ทรงเป็นผู้ร่วมทุกข์อยู่ในป่า ควรจะทรงกระทำความ
ยกย่องพระเทวีนี้. พระราชาทรงระลึกถึงคุณความดีของพระเทวี
เพราะคำพูดของพระโพธิสัตว์นั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต เราระลึก
ถึงคุณของพระเทวีได้ เพราะถ้อยคำของท่าน จึงพระราชทานอิสริย-
ยศทั้งปวงแก่พระเทวีนั้น แล้วตรัสว่า เธอทำให้ฉันระลึกถึงคุณความ
ดีของพระเทวี จึงได้พระราชทานสักการนับถืออย่างใหญ่หลวงแก่
พระโพธิสัตว์.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะแล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ผัวและเมียทั้งสอง
ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. พระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น ได้เป็น
กฎุมพีนี้ พระเทวีในครั้งนั้น ได้เป็นอุบาสิกานี้ ส่วนอำมาตย์ผู้เป็น
บัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุจจชชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 521
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปุจิมันทชาดก ๒. กัสสปมันทิยชาดก ๓. ขันติวาทิ-
ชาดก ๔. โลหกุมภิชาดก ๕. มังสชาดก ๖. สสปัณฑิตชาดก
๗. มตโรทนชาดก ๘. กณเวรชาดก ๙. ติตฺติรชาดก ๑๐. สุจจช-
ชาดก.
จบ ปุจิมันทวรรคที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 522
๓. กุฏิทูสกวรรค
๑. กุฏิทูสกชาดก
ว่าด้วยลิงกับนกขมิ้น
[๕๘๒] ดูก่อนวานร ศีรษะ มือและเท้าของ
ท่านเหมือนของมนุษย์ เออก็เพราะเหตุไร
หนอ ท่านจึงไม่มีเรือนอยู่.
[๕๘๓] ดูก่อนนกขมิ้น ศีรษะ มือและเท้า
ของเราเหมือนของมนุษย์ก็จริง แต่ปัญญาที่
บัณฑิตกล่าวว่าประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ของ
เราไม่มี.
[๕๘๔] ผู้มีจิตไม่มั่นคง มีจิตกลับกลอก มัก
ประทุษร้ายมิตร มีปกติไม่ยั่งยืนเป็นนิจ
ย่อมไม่มีความสุข.
[๕๘๕] ท่านจงสร้างอานุภาพขึ้น เปลี่ยนปกติ
เดิมเสียเถิด ดูก่อนวานร ท่านจงสร้าง
กระท่อมไว้ป้องกันความหนาว และลมเถิด.
จบ กุฏีทูสชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 523
อรรถกถากุฏีทูสกวรรคที่ ๓
อรรถกถากุฏิทูสกชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุหนุ่มผู้เผาบรรณศาลาของพระมหากัสสปเถระ จึงตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า มนุสฺสสฺเสว เต สีส ดังนี้.
เรื่องตั้งขึ้นในนครชาชคฤห์. ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระเถระ
อาศัยนครราชคฤห์อยู่ในอรัญญกุฎี ภิกษุหนุ่ม ๒ รูป การทำการ
อุปัฏฐากพระเถระ ในภิกษุหนุ่ม ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งเป็นผู้มีอุปการะ
แก่พระเถระ ส่วนอีกรูปหนึ่งเป็นผู้ว่ายาก กระทำกิจวัตรที่ภิกษุนอกนี้
กระทำ ให้เป็นเสมือนตนกระทำ เมื่อภิกษุนั้นตั้งน้ำบ้วนปากเป็นต้น
ตนเองไปยังสำนักของพระเถระ ไหว้แล้วกล่าวว่า ท่านขอรับ น้ำ
กระผมตั้งไว้แล้ว ขอท่านจงล้างหน้าเถิดขอรับ เมื่อบริเวณกุฎีอันภิกษุ
นั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ปัดกวาดไว้แล้ว ในเวลาพระเถระออกมา ตนเอง
บริหารข้างโน้นข้างนี้ กระทำบริเวณทั้งสิ้นให้เป็นเสมือนตนปัดกวาด
ไว้. ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรคิดว่า พระหัวดื้อรูปนี้ กระทำกิจวัตร
ที่เรากระทำให้เป็นเสมือนตนกระทำ เราจักกระทำกรรมของพระ
หัวดื้อนี้ให้ปรากฏ. เมื่อภิกษุหัวดื้อนั้นฉันในภายในบ้านแล้วมานอน
บนเตียงของตนเองนั่นแหละ ผู้ภิกษุสมบูรณ์ด้วยวัตรจึงต้มน้ำสำหรับ
อาบให้ร้อนแล้ววางไว้หลังซุ้ม. แล้วตั้งน้ำอื่นประมาณกึ่งทะนานไว้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 524
บนเตา. ภิกษุหัวดื้อนอกนี้ตื่นนอนแล้วมา เห็นไอน้ำพลุ่งขึ้นจึงคิดว่า
ภิกษุนั้นจักต้มน้ำให้เดือดแล้วตั้งไว้ในซุ้ม จึงไปยังสำนักของพระเถระ
แล้วกล่าวว่า ท่านขอรับกระผมตั้งน้ำไว้ในซุ้มสำหรับอาบแล้ว ขอ
นิมนต์อาบเถิด. พระเถระกล่าวว่า จักอาบ แล้วมาพร้อมกับภิกษุ
หัวดื้อนั้น ไม่เห็นน้ำในซุ้มจึงถามว่า น้ำอยู่ที่ไหน น้ำอยู่ที่ไหน ?
ภิกษุนั้นจึงรีบไปยังโรงไฟ หย่อนกระบวยลงในภาชนะเปล่า กระบวย
กระทบพื้นภาชนะเปล่งเสียงดังฆระ ตั้งแต่นั้นมาภิกษุนั้นจึงมีชื่อว่า
อุฬุงกสัททกะ. ขณะนั้น ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรจึงนำน้ำมาจาก
หลังซุ้มแล้วกล่าวว่า อาบเถิด ท่านขอรับ. พระเถระอาบน้ำแล้ว
รำพึงอยู่ ได้รู้ว่าพระอุฬุงกสัททกะเป็นคนหัวดื้อ จึงโอวาท
พระอุฬุงกสัททกะนั้นผู้มายังเถระอุปัฏฐากในตอนเย็นว่า ผู้มีอายุ
ธรรมดาสมณะกล่าวสิ่งที่ตนทำเท่านั้นว่าเราทำ จึงควร กล่าวโดย
ประการอื่นไป ย่อมเป็นสัมปชานมุสาวาท กล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้
ตั้งแต่นี้ไปเธออย่าได้การทำกรรมเห็นปานนี้. พระอุฬุงกสัททกะนั้น
โกรธพระเถระ. วันรุ่งขึ้น จึงไม่เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตกับพระเถระ.
พระเถระจึงเข้าไปบิณฑบาตพร้อมกับภิกษุนอกนี้. ฝ่ายพระอุฬุงก-
สัททกะได้ไปยังตระกูลอุปัฏฐากของพระเถระ เมื่อเขากล่าวว่า
พระเถระไปไหนขอรับ จึงกล่าวว่า พระเถระนั่งอยู่ในวิหาร
นั่นแหละ เพราะไม่ผาสุก เมื่อเขากล่าวว่า ได้อะไรจึงจะควรขอรับ
จึงกล่าวว่า ท่านจงให้สิ่งนี้และสิ่งนี้ แล้วถือเอาไปยังที่ชอบใจของตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 525
ฉันแล้วจึงได้ไปยังวิหาร. วันรุ่งขึ้น พระเถระไปยังตระกูลนั้นแล้วนั่ง.
คนทั้งหลายจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าไม่มีความผาสุกหรือ
ได้ยินว่า เมื่อวานท่านนั่งอยู่แต่ในวิหารเท่านั้น พวกกระผมส่งอาหาร
ไปถวายกะมือภิกษุหนุ่มชื่อโน้น พระผู้เป็นเจ้าบริโภคอาหารแล้วหรือ.
พระเถระได้นิ่งเสีย กระทำภัตกิจแล้วไปยังวิหาร เรียกพระอุฬุงก-
สัททกะผู้มาในเวลาบำรุงพระเถระในเวลาเย็นแล้วกล่าวว่า อาวุโส-
ได้ยินว่า เธอขอในตระกูลชื่อโน้นในบ้านชื่อโน้นว่า การได้สิ่งนี้
และสิ่งนี้ ย่อมควรแก่พระเถระแล้วบริโภคเสียเอง แล้วกล่าวว่า
ขึ้นชื่อว่าการขอย่อมไม่ควร เธออย่าประพฤติอนาจารเห็นปานนี้อีก.
พระอุฬุงกสัททกะผูกความอาฆาตในพระเถระ ด้วยเหตุมีประมาณ
เท่านี้ คิดว่า แม้เมื่อวานนี้ พระเถระนี้ก็กระทำความทะเลาะกับเรา
เพราะอาศัยเหตุสักว่าน้ำ มาบัดนี้ท่านอดกลั้นไม่ได้ว่า เราบริโภคภัต
กำมือหนึ่งในเรือนป่องพวกอุปัฏฐากของท่าน จึงกระทำการทะเลาะอีก
เราจักรู้กิจที่ควรทำแก่พระเถระนี้ วันรุ่งขึ้น เมื่อพระเถระเข้าไป
บิณฑบาต จึงถือไม้ฆ้อนทุบภาชนะเครื่องใช้ทั้งหลาย เผาบรรณศาลา
แล้วหลบหนีไป. พระอุฬุงกสัททกะนั้น ยังมีชีวิตอยู่แล เป็นมนุษย์
เพียงดังเปรต ผอมโซ กระทำกาละแล้วได้บังเกิดในอเวจีมหานรก.
อนาจารนั้นที่พระอุฬุงกสัททกะนั้นกระทำได้ปรากฏไปในท่ามกลาง
มหาชน. ครั้งนั้น ภิกษุพวกหนึ่งจากกรุงราชคฤห์มานครสาวัตถี
เก็บบาตรจีวรไว้ในที่ที่เป็นสภาคกัน ณ ที่ที่มาถึง แล้วไปยังสำนัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 526
ของพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่. พระศาสดาทรงกระทำ
ปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสถามว่า พวกเธอมาแต่ไหน ?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า มาจากกรุงราชคฤห์ พระเจ้าข้า. พระ-
ศาสดาตรัสถามว่า ใครเป็นอาจารย์ให้โอวาทในที่นั้น. ภิกษุเหล่านั้น
กราบทูลว่า พระมหากัสสปเถระ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า
กัสสปเป็นสุขสบายดีหรือ. ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า
พระเถระเป็นสุขสบายดี แต่สัทธิวิหาริกของท่านโกรธในโอวาทที่
ท่านให้ แม้เมื่อพระเถระเข้าไปเพื่อบิณฑบาต ก็ถือไม้ฆ้อนทุบภาชนะ
เครื่องใช้ทั้งหลายเผาบรรณศาลาของพระเถระ แล้วหลบหนีไป.
พระศาสดาใช้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย การเที่ยวไป
ผู้เดียวเท่านั้นแห่งกัสสป ประเสริฐกว่าการเที่ยวไปกับคนพาลเห็น
ปานนี้ แล้วตรัสพระคาถาในพระธรรมบทนี้ว่า :-
บุคคลเมื่อจะเที่ยวไป ถ้าไม่ประสบคน
ที่ดีกว่า หรือคนเช่นกับตน พึงทำการเที่ยว
ไปผู้เดียวให้มั่นไว้ เพราะความเป็นสหายใน
คนพาลย่อมไม่มี.
ก็แหละ ครั้นตรัสคาถานี้แล้ว จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
เหล่านั้นมาตรัสอีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เป็นผู้ประทุษร้าย
กุฎีในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้เป็นผู้ประทุษร้าย
กุฎีมาแล้วเหมือนกัน และย่อมโกรธผู้ให้โอวาทแต่ในบัดนี้เท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 527
ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็โกรธแล้วเหมือนกัน อันภิกษุเหล่านั้น
ทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนกขมิ้น เจริญวัย
แล้ว. กระทำรังฝนรั่วรดไม่ได้เป็นที่ชอบใจของตน อยู่ในหิมวันต-
ประเทศ ครั้งนั้น ลิงตัวหนึ่ง เมื่อฝนตกไม่ขาดเม็ดในฤดูฝน ถูก
ความหนาวบีบคั้น นั่งกัดฟันอยู่ในที่ไม่ไกลพระโพธิสัตว์. พระโพธิ-
สัตว์เห็นลิงนั้นลำบากอยู่อย่างนั้น เมื่อจะเจรจากับลิงนั้น จึงกล่าว
คาถาที่ ๑ ว่า :-
ดูก่อนวานร ศีรษะ มือ และเท้าของ
ท่านเหมือนของมนุษย์ เมื่อเป็นเช่นนั้น
เพราะเหตุไรหนอ เรือนของท่านจึงไม่มี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วณฺเณน แปลว่า เพราะเหตุ.
ด้วยบทว่า อคาร นี้ นกขมิ้นถามว่า เพราะเหตุไร เรือนเป็นที่อยู่
อาศัยของท่านจึงไม่มี.
วานรได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ดูก่อนนกขมิ้น ศีรษะ มือและเท้า
ของเราเหมือนของมนุษย์ก็จริง แต่ปัญญาที่
บัณฑิตกล่าวว่าประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ของ
เราไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 528
ในคาถานั้น ลิงเรียกนกนั้นโดยชื่อว่า สิงคิละ. บทว่า
ยาหุ เสฏฺา มนุสฺเสสุ ความว่า วิจารณปัญญาของเรา ที่บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวว่าประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ย่อมไม่มี ศีรษะ มือ เท้า
และกำลังกายเป็นต้น ไม่เป็นประมาณในโลก วิจารณปัญญาเท่านั้น
ประเสริฐสุด วิจารณปัญญานั้น ไม่มีแก่เรา เพราะฉะนั้น เรือน
ของเราจึงไม่มี.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าว ๒ คาถานอกนี้ว่า :-
ผู้มีจิตไม่มั่นคง มีจิตกลับกลอกมัก
ประทุษร้ายมิตร มีปกติไม่ยั่งยืนเป็นนิจ
ย่อมไม่มีความสบาย.
ท่านจงสร้างอานุภาพขึ้นเถิด จงเปลี่ยน
ปกติเดิมเสียเถิด ดูก่อนกระบี่ ท่านจงสร้าง
กระท่อมไว้ป้องกันความหนาวและลมเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนวฏฺิตจิตฺตสฺส ได้แก่
ผู้มีจิตไม่ตั้งอยู่เฉพาะแล้ว. บทว่า ทุพฺภิโน แปลว่า ผู้มีปกติ
ประทุษร้ายมิตร. บทว่า อทฺธุวสีลสฺส ได้แก่ ผู้รักษาปกติไว้
ตลอดทุกกาลไม่ได้. บทว่า โส กรสฺสานุภาว ตฺว ความว่า
ดูก่อนลิงผู้สหาย ท่านนั้นจงอาศัยอานุภาพ คือกำลังสร้างขึ้น เพื่อ
ทำปัญญาให้เกิดขึ้น. บทว่า วีติวตฺตสฺสุ สีลิย ความว่า ท่านจง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 529
ก้าวล่วงความปกติ คือ ความเป็นผู้ทุศีลเสีย จงเป็นผู้มีศีล. บทว่า
กุฏิก ความว่า ท่านจงกระทำกระท่อมคือรัง ได้แก่เรือนเป็นที่อยู่
หลังหนึ่งของตน อันสามารถป้องกันความหนาวและลม.
ลิงคิดว่า อันดับแรก เจ้านกนี้บริภาษเรา เพราะความที่ตน
จับอยู่ในที่ที่ฝนไม่รั่วรด เราจักไม่ให้มันจับอยู่ในรังนี้ ลำดับนั้น
มันมีความประสงค์จะจับพระโพธิสัตว์ จึงโลดแล่นมา. พระโพธิสัตว์
จึงบินไปในที่อื่น ลิงจึงทำลายรังกระทำให้ละเอียดเป็นจุรณวิจุรณ
แล้วหลีกไป.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า ลิงในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้เผากุฎีในครั้งนี้ ส่วน
นกขมิ้นในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถากุฏิทูสกชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 530
๒. ทุททุภายชาดก
ว่าด้วยพวกกระต่ายตื่นตูม
[๕๘๖] ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน ข้าพเจ้าอยู่
ในประเทศใด ประเทศนั้นทำเสียงว่าทุททุภะ
แม้ข้าพเจ้าเองก็ไม่รู้เสียงลั่นนั้นว่า อะไรทำ
ให้เกิดเสียงว่าทุททุภะ.
[๕๘๗] กระต่ายได้ยินผลมะตูมสุกหล่นมีเสียง
ว่า ทุททุภะ ก็วิ่งหนีไป หมู่เนื้อได้ฟังถ้อยคำ
ของกระต่ายแล้ว พากันตกใจวิ่งหนีไปด้วย.
[๕๘๘] ชนเหล่าใดมักเชื่อตามเสียงคนอื่น ยัง
ไม่ทันได้ถึงร่องรอยแห่งวิญญาณเลย ชน
เหล่านั้นนับว่าเป็นพาล มีความประมาทเป็น
อย่างยิ่ง ดีแต่เชื่อผู้อื่น.
[๕๘๙] ส่วนชนเหล่าใดสมบูรณ์ด้วยศีล ด้วย
ปัญญา ยินดีในความสงบ ชนเหล่านั้นนับ
ว่าเป็นบัณฑิต งดเว้นความชั่วห่างไกล ย่อม
ไม่เชื่อคนอื่นเลย.
จบ ทุททุภรยชรดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 531
อรรถกถาทัทธภายชาดก ที่ ๑๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพวก
อัญญเดียรถีย์ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ททธภายติ
ภทฺทนฺเต ดังนี้.
ได้ยินว่า เดียรถีย์ทั้งหลายสำเร็จการนอนบนที่นอนหนาม
เผาทำให้ร้อนห้าประการ ประพฤติมิจฉาตบะมีประการต่าง ๆ อยู่ใน
ที่นั้น ณ ที่ใกล้พระวิหารเชตวัน ครั้งนั้น ภิกษุมากด้วยกันเที่ยว
บิณฑบาต ในนครสาวัตถีแล้วพากันมายังพระวิหารเชตวัน ในระหว่าง
ทาง ได้เห็นเดียรถีย์เหล่านั้น จึงพากันไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถาม
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญสาระแก่นสารในการสมาทานวัตรของสมณ-
พราหมณ์ผู้เป็นอัญญเดียรถีย์ มีอยู่หรือพระเจ้าข้า ? พระศาสดา
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แก่นสารหรือความวิเศษในการสมาทาน
วัตรของพวกอัญญเดียรย์เหล่านั้น ย่อมไม่มีเลย เพราะวัตรนั้น เมื่อ
เลือกเฟ้นสอบสวนเข้า ก็เป็นเช่นกับทางแห่งภาคพื้นเต็มด้วยหยากเยื่อ
และเหมือนกระต่ายกลัวเสียงกึกก้อง อันภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมไม่ทราบความที่วัตร
นั้นเป็นเสมือนกระต่ายกลัวเสียงดังกึกก้อง ขอพระองค์จงตรัสบอก
เถิด พระเจ้าข้า จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
๑. ในบาลีเป็น ทุททุภายชาดก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 532
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดราชสีห์ เจริญวัยแล้ว อาศัย
อยู่ในป่า. ก็ในครั้งนั้น มีดงตาลปนกับมะตูมอยู่ในที่ใกล้ทะเลด้านทิศ
ตะวันตก. ในดงตาลนั้น มีกระต่ายตัวหนึ่งอยู่ภายใต้กอตาลกอหนึ่ง
ใกล้โคนต้นมะตูม. วันหนึ่ง กระต่ายนั้นเที่ยวหาอาหารแล้วมานอน
อยู่ใต้ใบตาล จึงคิดว่า ถ้าแผ่นดินนี้ถล่ม เราจักไปที่ไหนหนอ. ขณะ
นั้นเอง ผลมะตูมสุกผลหนึ่งหล่นลงบนใบตาล. เพราะเสียงใบตาลนั้น
กระต่ายนั้นจึงคิดว่า แผ่นดินถล่มแน่ จึงกระโดดหนีไปไม่เหลียวหลัง
กระต่ายตัวอื่นเห็นกระต่ายตัวนั้นกลัวภัยคือความตายซึ่งกำลังรีบหนี
ไป จึงถามว่า แน่ะผู้เจริญ ท่านกลัวอะไรเหลือเกินจึงหนีมา กระต่าย
นั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ อย่ามัวถามเลย. กระต่ายนั้นวิ่งตามไปข้างหลัง
พร้อมกับร้องถามว่า ผู้เจริญ ท่านกลัวอะไรหรือ. กระต่ายนอกนี้ไม่
เหลียวมามองเลยกล่าวว่า แผ่นดินถล่มที่นั้น. แม้กระต่ายตัวนั้นก็วิ่ง
ตามหลังกระต่ายตัวที่บอกนั้นไป. เมื่อเป็นอย่างนั้น กระต่ายตัวอื่น
ได้เห็นดังนั้นก็วิ่งตาม ๆ กันไป รวมความว่า กระต่ายตั้งพันตัวร่วม
กันหนีไป. มฤคแม้พวกหนึ่ง เห็นกระต่ายเหล่านั้นก็ร่วมหนีไปด้วย.
สุกรพวกหนึ่ง ระมาดพวกหนึ่ง กระบือพวกหนึ่ง โคพวกหนึ่ง แรด
พวกหนึ่ง พยัคฆ์พวกหนึ่ง สีหะพวกหนึ่ง ช้างพวกหนึ่ง เห็นเข้า
ก็ถามว่า นี่อะไรกัน เมื่อสัตว์เหล่านั้นกล่าวว่า ที่นั่น แผ่นดินถล่ม
จึงหนีไปด้วย. เนื้อที่ประมาณโยชน์หนึ่ง ได้มีหมู่พวกสัตว์ดิรัจฉาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 533
ขึ้นโดยลำดับ ด้วยอาการอย่างนี้. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เห็นพวก
สัตว์นั้นกำลังหนีอยู่ จึงถามว่านี่อะไรกัน ครั้นได้ฟังว่า ที่นั่น แผ่นดิน
เล่ม จึงคิดว่า ธรรมดาแผ่นดินถล่ม ย่อมไม่มีในกาลไหน ๆ สัตว์
เหล่านั้นจักเห็นอะไรบางอย่างเป็นแน่ ก็เมื่อเราไม่ช่วยขวนขวาย
สัตว์ทั้งปวงจักพินาศฉิบหาย เราจักให้ชีวิตแก่สัตว์เหล่านั้น ครั้นคิด
แล้ว จึงล่วงหน้าไปยังเชิงเขาด้วยกำลังราชสีห์ เเล้วบันลือสีหนาทขึ้น
๓ ครั้ง ณ เชิงภูเขานั้น. สัตว์เหล่านั้นถูกความกลัวราชสีห์คุกคาม
จึงได้หันกลับมายืนเป็นกลุ่มกันโดยถามกันว่า อะไรกัน. ราชสีห์ได้
เข้าไปในระหว่างสัตว์เหล่านั้นแล้วถามว่า พวกท่านหนีเพื่ออะไรกัน ?
สัตว์เหล่านั้นกล่าวว่า แผ่นดินถล่ม. ราชสีห์ถามว่า ใครเห็นแผ่นดิน
ถล่ม ? สัตว์เหล่านั้นกล่าวว่า ช้างรู้. ราชสีห์จึงถามช้าง เป็นต้นไป.
ช้างเหล่านั้นกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าไม่รู้ พวกสีหะรู้. แม้สีหะทั้งหลาย
ก็กล่าวว่า พวกข้าพเจ้าไม่รู้ พยัคฆ์ทั้งหลายรู้. เเม้พยัคฆ์ทั้งหลายก็
กล่าวว่า พวกข้าพเจ้าไม่รู้ แรดทั้งหลายรู้. แม้แรดทั้งหลายก็กล่าวว่า
พวกโครู้. แม้พวกโคก็กล่าวว่า กระบือทั้งหลายรู้. แม้กระบือทั้งหลาย
ก็กล่าวว่า พวกโคลานรู้. แม้โคลานทั้งหลายก็กล่าวว่า พวกสุกรรู้.
แม้สุกรทั้งหลายก็กล่าวว่า พวกมฤครู้. ฝ่ายพวกมฤคก็กล่าวว่า ข้าพเจ้า
ทั้งหลายไม่รู้ พวกกระต่ายรู้. เมื่อพวกกระต่ายถูกถาม กระต่ายทั้ง
หลายจึงแสดงกระต่ายตัวนั้นว่า กระต่ายตัวนี้พูด. ลำดับนั้น ราชสีห์
จึงถามกระต่ายตัวนั้นว่า สหาย ได้ยินว่าท่านเห็นอย่างนั้นหรือว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 534
แผ่นดินถล่ม. กระต่ายนั้นกล่าวว่า จ้ะนาย ข้าพเจ้าเห็น ราชสีห์ถาม
ว่า ท่านอยู่ที่ไหนจึงได้เห็น ? กระต่ายนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าอยู่ในดง
ตาลมีต้นมะตูมเจือปน ณ ที่ใกล้ทะเลด้านทิศตะวันตก ด้วยว่า ข้าพเจ้า
นอนอยู่ใต้ใบตาลในกอตาล ใกล้โคนต้นมะตูม ในดงตาลนั้น คิดอยู่
ว่า ถ้าแผ่นดินถล่ม เราจักไปที่ไหน ครั้นในขณะนั้นเอง ข้าพเจ้า
ได้ยินเสียงแผ่นดินถล่ม จึงได้หนีไป. ราชสีห์คิดว่า ผลมะตูมสุกบน
ใบตาลนั้น ตกลงมาทำเสียงดังกึกก้องเป็นแน่ กระต่ายนี้ได้ยินเสียง
นั้นจึงทำความสำคัญให้เกิดขึ้นว่า แผ่นดินถล่ม จึงได้หนีไป เราจัก
ตรวดดูให้รู้โดยถ่องแท้. ราชสีห์นั้นจึงยึดเอากระต่ายนั้นไว้ปลอบโยน
หมู่สัตว์ให้เบาใจแล้วกล่าวว่า เราจักรู้แผ่นดินตรงที่กระต่ายนี้เห็น
จะถล่มหรือไม่ถล่ม โดยถ่องแท้แล้วจะกลับมา พวกท่านจงอยู่ในที่นี้
จนกว่าเราจะมา แล้วยกกระต่ายขึ้นบนหลังแล่นไปด้วยกำลังราชสีห์
วางกระต่ายลงที่ดงตาลแล้วกล่าวว่า มาซิ ท่านจงแสดงที่ที่ท่านเห็น.
กระต่ายกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่อาจจ้ะนาย. ราชสีห์กล่าวว่า มาเถิด
ท่านอย่ากลัวเลย. กระต่ายนั้นไม่อาจเข้าไปใกล้ต้นมะตูม จึงยินอยู่
ในที่ไม่ไกลแล้วกล่าวว่า นาย นี้เป็นที่ที่มีเสียงดังกึกก้อง แล้วกล่าว
คาถาที่ ๑ ว่า:-
ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน ข้าพเจ้าอยู่
ในประเทศใด ประเทศนั้นกระทำเสียงดัง
กึกก้อง ข้าพเจ้าไม่รู้จักเสียงกึกก้องนั้น ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 535
เสียงกึกก้องนั้นเป็นเสียงอะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ททฺธภายติ แปลว่า กระทำ
เสียงว่า ทัทธภะ คือดังกึกก้อง. บทว่า ภทฺทนฺเต ความว่า ขอความ
เจริญจงมีแก่ท่าน. บทว่า กิเมต ความว่า ในประเทศที่ข้าพเจ้าอยู่ มี
เสียงดังกึกก้อง แม้ข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่า เสียงกึกก้องนี้เป็นอะไร
หรือเพราะเหตุไร จึงมีเสียงดังกึกก้อง ข้าพเจ้าได้ยินแต่เสียงดัง
กึกก้องอย่างเดียว.
เมื่อกระต่ายกล่าวอย่างนี้แล้ว ราชสีห์จึงไปยังโคนต้นมะตูม
เห็นที่ที่กระต่ายนอน ณ ภายใต้ใบตาล และผลมะตูมสุกที่หล่นลง
เหนือใบตาล รู้ว่าแผ่นดินไม่ถล่มโดยถ่องแท้แล้ว จึงยกกระต่ายขึ้น
หลัง ไปยังสำนักของหมู่มฤคโดยฉับพลัน ด้วยกำลังเร็วแห่งราชสีห์
บอกความเป็นไปทั้งปวงแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย ทำหมู่
มฤคให้เบาใจแล้วปล่อยให้ไป. ก็ถ้าในกาลนั้น จะไม่พึงมีพระโพธิ-
สัตว์ไซร้ สัตว์ทั้งปวงก็จะวิ่งลงสู่ทะเลพากันพินาศไป แต่เพราะอาศัย
พระโพธิสัตว์ สัตว์ทั้งปวงจึงได้ชีวิตเป็นอยู่แล.
มีอภิสัมพุทธคาถา ๓ คาถานี้ว่า :-
กระต่ายได้ยินมะตูมสุกหล่นเสียงดัง
ครึนก็วิ่งหนีไป หมู่เนื้อได้ฟังถ้อยคำของ
กระต่ายแล้วพากันตกใจ วิ่งหนีไปด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 536
คนเขลาเหล่านั้น ยังไม่ทันถึงวิญญาณ-
บท คือทางแห่งวิญญาณความรู้แจ้ง มักเชื่อ
ตามเสียงผู้อื่น ถือการเล่าลือเป็นสำคัญจึง
เป็นผู้เชื่อต่อคนอื่น.
ส่วนชนเหล่าใดสมบูรณ์ด้วยศีล ยินดี
ในความสงบระงับด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น
นับว่าเป็นปราชญ์ งดเว้นความชั่วห่างไ ล
ย่อมไม่เชื่อต่อผู้อื่น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวลุว ได้แก่ ผลมะตูมสุก. บทว่า
ททฺธภ ได้แก่ กระทำเสียงอย่างนั้นว่า สนฺตตฺตา ได้แก่
สะดุ้งกลัว. บทว่า มิควาหินี ได้แก่ หมู่เนื้อ คือ มฤคเสนานับได้
หลายพัน. บทว่า ปทวิญฺาณ ความว่า ยังไม่บรรลุถึงวิญญาณบท
คือ โกฏฐาสแห่งโสตวิญญาณ. บทว่า เต โหนฺติ ปรปตฺติยา ความว่า
อันธพาลปุถุชนเหล่านั้นคล้อยตามเสียงคนอื่น สำคัญการเล่าลือ กล่าว
คือเสียงของคนอื่นนั้นเท่านั้นว่าเป็นสำคัญ จึงเป็นผู้เชื่อต่อคนอื่น
เท่านั้น เพราะยังไม่ถึงวิญญาณบท ทางแห่งความรู้แจ้ง คือเชื่อถ้อยคำ
ของผู้อื่นแล้วกระทำตาม ๆ ไป. บทว่า สีเลน ได้แก่ ผู้ประกอบ
ด้วยศีลอันมาโดยอริยมรรค. บทว่า ปญฺายุปสเม รตา ความว่า
ยินดีในความสงบ ระงับกิเลสด้วยปัญญาอันมาด้วยมรรคเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 537
ความอธิบายดังนี้ก็มีว่า ประกอบแม้ด้วยปัญญา เหมือนประกอบด้วยศีล
ยินดีในความสงบกิเลส. บทว่า อารกา วิรตา ธีรา ความว่า เป็น
บัณฑิตงดเว้นห่างไกลจากการทำบาป บทว่า น โหนฺติ ความว่า ชน
เหล่านั้น คือ เห็นปานนั้น เป็นพระโสดาบัน มีธรรมอันรู้แจ้งแล้วด้วย
มรรคญาณ วาระเดียว โดยความเป็นผู้งดเว้นจากบาป และยินดีใน
การสงบกิเลส ย่อมไม่เชื่อถือแม้ต่อผู้อื่นที่กล่าวอยู่. เพราะเหตุไร ?
เพราะประจักษ์ชัดต่อตนเอง. ด้วยเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า :-
นรชนใด ไม่เชื่อคุณอันตนรู้แล้วด้วย
ถ้อยคำของผู้อื่น รู้จักพระนิพพานอันปัจจัย
อะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว และตัดที่ต่อคือ
วัฏสงสารขาดแล้ว กำจัดโอกาสคือภพได้
แล้ว มีความหวังอันคายแล้ว นรชนนั้นแล
ชื่อว่าเป็นอุดมบุรุษ ดังนี้.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า ราชสีห์ในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาทัทธภายชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 538
๓. พรหมทัตตชาดก
ว่าด้วยผู้ขอกับผู้ถูกขอ
[๕๙๐] ดูก่อนมหาบพิตร ผู้ขอย่อมได้ ๒ อย่าง
คือ ได้ทรัพย์หรือไม่ได้ทรัพย์ แท้จริงการขอ
มีอย่างนี้เป็นธรรมดา.
[๕๙๑] ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นใหญ่ในปัญจาลรัฐ
บัณฑิตกล่าวถึงการขอว่า เป็นการร้องไห้ ผู้
ใดปฏิเสธคำขอ บัณฑิตกล่าวคำปฏิเสธของ
ผู้นั้นว่า เป็นการร้องไห้ตอบ.
[๕๙๒] ชาวปัญจาลรัฐผู้มาประชุมกันแล้ว อย่า
ได้เห็นอาตมภาพผู้กำลังร้องไห้อยู่ หรืออย่า
ได้เห็นพระองค์ผู้ทรงกรรแสงตอบอยู่ เพราะ
เหตุนั้น อาตมภาพจึงปรารถนาขอเฝ้าในที่ลับ.
[๕๙๓] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าขอถวาย
วัวแดงหนึ่งพันพร้อมด้วยวัวจ่าฝูงแก่ท่าน
อันอารยชนได้ฟังคาถาอันประกอบด้วยเหตุ-
ผลของท่านแล้ว ทำไมจะไม่พึงให้แก่ท่าน
ผู้เป็นอารยชนเล่า.
จบ พรหมทัตตชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 539
อรรถกถาพรหมทัตตชาดกที่ ๓
พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยเมืองอาฬวีประทับอยู่ ณ อัตตาฬว-
เจดีย์ ทรงปรารภกุฏิการสิกขาบท จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า ทฺวย ยาจนโก ราช ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันมีมาแล้วในมณิขันธชาดก ในหนหลังนั่นเอง.
แต่ในเรื่องนี้ พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า
พวกเธอมากไปด้วยการขอ มากไปด้วยการทำวิญญัติอยู่ จริงหรือ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จึง
ทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้น แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โบราณก-
บัณฑิตทั้งหลาย แม้ผู้อันพระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินปวารณาไว้
ปรารถนาจะขอร่มใบไม้ และรองเท้าชั้นเดียวคู่หนึ่ง ก็ไม่ขอในท่าม
กลางมหาชน เพราะกลัวหิริโอตตัปปะร้าวฉาน จึงได้กล่าวขอในที่ลับ
แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าปัญจาลราชครองราชสมบัติอยู่ใน
อุตตรปัญจาลนคร กบิลรัฐ พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์
ในบ้านตำบลหนึ่ง เจริญวัยแล้วไปเมืองตักกศิลาเรียนศิลปะทั้งปวง
ในกาลต่อมา ได้บวชเป็นดาบส เลี้ยงชีพด้วยมูลผลาผลของป่า ด้วย
การแสวงหา อยู่ในหิมวันตประเทศช้านาน เมื่อจะเที่ยวไปยังถิ่น
มนุษย์เพื่อต้องการเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว จึงไปยังอุตตรปัญจาลนคร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 540
อยู่ในพระราชอุทยาน วันรุ่งขึ้น เมื่อจะแสวงหาภิกษาจึงเข้าไปยัง
พระนคร ถึงประตูพระราชวัง. พระราชาทรงเลื่อมใสในอาจาระของ
พระดาบสนั้น จึงนิมนต์ให้นั่งในท้องพระโรง ให้ฉันโภชนะอันควร
แก่พระราชา ถือเอาปฏิญญาแล้วให้อยู่ในพระราชอุทยานนั่นแหละ.
พระดาบสนั้นฉันอยู่ เฉพาะในพระราชมณเฑียรนั่นเองเป็นประจำ
เมื่อล่วงฤดูฝนแล้ว มีความประสงค์จะไปยังหิมวันตประเทศตามเดิม
จึงคิดว่า เมื่อเราจะเดินทางไป ควรจะได้รองเท้าชั้นเดียวหนึ่งคู่ และ
ร่มใบไม้หนึ่งคัน เราจักทูลขอพระราชา. วันหนึ่ง พระดาบสนั้น
เห็นพระราชาเสด็จมายังพระราชอุทยานไหว้แล้วประทับนั่งอยู่ จึงคิด
ว่า จักทูลขอรองเท้าและร่ม กลับคิดอีกว่า คนเมื่อขอผู้อื่นว่า ท่าน
จงให้ของชื่อนี้ ชื่อว่าย้อมร้องไห้ ฝ่ายคนอื่นผู้กล่าวว่า ไม่มี ชื่อว่า
ย่อมร้องไห้ตอบ ก็มหาชนอย่าได้เห็นเราผู้ร้องไห้ อย่าได้เห็นพระ-
ราชาร้องไห้ตอบเลย ดังนั้น เราแม้ทั้งสองร้องไห้กันอยู่ในที่ปกปิด
เร้นลับจักเป็นผู้นิ่งเงียบ. ลำดับนั้น พระดาบสจึงกราบทูลกะพระ-
ราชานั้นว่า ข้าแต่มหาราช อาตมภาพหวังเฉพาะที่ลับ. พระราชาได้
ทรงสดับดังนั้น จึงรับสั่งให้พวกราชบุรุษถอยออกไป. พระโพธิสัตว์
คิดว่า ถ้าเมื่อเราทูลขอ พระราชาจักไม่ประทานให้ไซร้ ไมตรีของ
เราก็จักแตกไป เพราะฉะนั้น เราจักไม่ทูลขอ จึงในวันนั้น เมื่อไม่
อาจระบุชื่อ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จไป
ก่อนเถิด อาตมภาพจักรู้ในวันพรุ่งนี้. ในกาลที่พระราชาเสด็จมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 541
พระราชอุทยานอีกวันหนึ่ง ก็กราบทูลเหมือนอย่างนั้น อีกวันหนึ่งก็
กราบทูลเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ รวมความว่า เมื่อพระโพธิสัตว์
นั้นไม่อาจทูลขออย่างนี้เวลาได้ล่วงเลยไป ๑๒ ปี. ลำดับนั้น พระ-
ราชาทรงดำริว่า พระผู้เป็นเจ้าของเรากล่าวว่า หวังเฉพาะที่ลับ เมื่อ
บริษัทถอยออกไปแล้ว ก็ไม่อาจกล่าวคำอะไร ๆ เมื่อพระผู้เป็นเจ้า
ประสงค์จะกล่าวเท่านั้น กาลเวลาล่วงไปถึง ๑๒ ปี อนึ่ง พระผู้เป็น-
เจ้านั้น ประพฤติพรหมจรรย์มานาน ชะรอยเธอจะระอาใจใคร่จะ
บริโภคสมบัติ หวังเฉพาะราชสมบัติกระมัง ก็เธอเมื่อไม่อาจระบุชื่อ
ราชสมบัติจึงได้นิ่ง วันนี้เราจักรู้กันละ เธอปรารถนาสิ่งใด เราจัก
ให้สิ่งนั้น ตั้งต้นแต่ราชสมบัติไป. พระราชานั้นเสด็จไปยังพระราช-
อุทยานทรงนมัสการแล้วประทับนั่ง เมื่อพระโพธิสัตว์กราบทูลว่า
อาตมภาพหวังเฉพาะในที่ลับ และเมื่อบริษัทถอยออกไปแล้ว จึงตรัส
กะพระโพธิสัตว์นั้นผู้ไม่อาจกราบทูลอะไร ๆ ว่า ท่านกล่าวว่า หวังได้
ที่ลับ แม้ได้ที่ลับแล้วก็ไม่อาจกล่าวอะไร ตลอดเวลา ๑๒ ปี ข้าพเจ้า
ขอปวารณาสิ่งทั้งปวงมีราชสมบัติเป็นต้นต่อท่าน ท่านอย่าได้กลัวภัย
จงขอสิ่งที่ท่านชอบใจเถิด. พระโพธิสัตว์จึงทูลว่า ขอถวายพระพรมหา-
บพิตร พระองค์จักประทานสิ่งที่อาตมภาพทูลขอหรือ. พระราชาตรัสว่า
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักให้. พระโพธิสัตว์ทูลว่า ขอถวายพระพร
มหาบพิตร เมื่ออาตมภาพเดินทางไปควรจะได้รองเท้าชั้นเดียวคู่หนึ่ง
กับร่มใบไม้หนึ่งคัน. พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ สิ่งของมีประมาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 542
เท่านี้ ท่านไม่อาจขอจนตลอดเวลา ๑๒ ปีเทียวหรือ. โพธิสัตว์
ทูลว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร. พระราชาตรัสถามว่า ท่าน
ผู้เจริญ เพราะเหตุไร ? ท่านจึงได้กระทำอย่างนี้. พระโพธิสัตว์
กราบทูลว่า มหาบพิตร คนผู้ขอว่า ท่านจงให้สิ่งชื่อนี้แก่เรา ชื่อว่า
ร้องไห้ คนผู้กล่าวว่า ไม่มี ชื่อว่าร้องไห้ตอบ ถ้าพระองค์ถูกอาตม-
ภาพทูลขอจะไม่พระราชทานไซร้ มหาชนจงอย่าได้เห็นการที่อาตม-
ภาพและพระองค์ร้องไห้และร้องไห้ตอบนั้น เพราะฉะนั้น อาตมภาพ
จึงหวังเฉพาะที่ลับ เพื่อประโยชน์นี้ แล้วได้กล่าวคาถา ๓ คาถา
เบื้องต้นว่า :-
ข้าแต่พระเจ้าพรหมทัต ผู้ขอย่อมได้
๒ อย่าง คือไม่ได้กับได้ทรัพย์ แท้จริง การ
ขอย่อมมีอย่างนี้เป็นธรรมดา.
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าชาวปัญ-
จาละ บัณฑิตกล่าวการขอว่า เป็นการร้องไห้
ผู้ใดปฏิเสธต่อผู้ขอ บัณฑิตกล่าวผู้นั้นว่า
เป็นการร้องไห้ตอบ.
ชาวปัญจาละผู้มาประชุมกันแล้ว อย่า
ได้เห็นอาตมภาพผู้กำลังร้องไห้อยู่ หรืออย่า
ได้เห็นพระองค์ผู้กำลังกรรแสงตอบอยู่ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 543
ฉะนั้น อาตมภาพจึงปรารถนาขอเฝ้าในที่ลับ.
บรรดาบทเหล่านั้น พระโพธิสัตว์เรียกพระราชา แม้ด้วยบท
ทั้งสองว่า ราช พฺรหฺมทตฺต. บทว่า นิคจฺฉติ ได้แก่ ย่อมได้
เฉพาะ คือ ย่อมประสบ. บทว่า เอวธมฺมา แปลว่า มีอย่างนี้
เป็นสภาวะ. บทว่า อาหุ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าว. บทว่า
ปญฺจาลาน รเถสภ ได้แก่ ผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้นปัญจาละ. บทว่า
โย ยาจน ปจฺจกฺขาติ ความว่า ก็ผู้ใดย่อมปฏิเสธต่อผู้ขอนั้นว่า
ไม่มี. บทว่า ตมาหุ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวแล้ว คือย่อม
กล่าวการปฏิเสธนั้นว่า เป็นการร้องไห้ตอบ. บทว่า ม มาทฺทสสุ
ความว่า ชาวปัญจาละผู้อยู่ในแคว้นของพระองค์มาประชุมกันแล้ว
อย่าได้เห็นอาตมภาพผู้ร้องไห้อยู่เลย.
พระราชาทรงเลื่อมใสในลักษณะแห่งความเคารพของพระ-
โพธิสัตว์ เมื่อจะทรงให้พร จึงตรัสคาถาที่ ๔ ว่า :-
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าขอถวาย
วัวแดงหนึ่งพันตัวพร้อมด้วยโคจ่าฝูงแก่ท่าน
อันอารยชนได้ฟังคาถาอันประกอบด้วยเหตุ
ผลของท่านแล้ว ไฉนจะไม่พึงให้แก่อารยชน
เล่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 544
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โรหิณีน แปลว่า มีสีแดง. บทว่า
อริโย ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระคือมารยาท. บทว่า อริยสฺส
ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระคือมารยาท. บทว่า กถ น ทชฺเช
ความว่า เพราะเหตุไร จะไม่พึงให้. บทว่า ธมฺมยุตฺตา ได้แก่
ประกอบด้วยเหตุ.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร อาตมภาพไม่
ต้องการวัตถุกาม พระองค์จงประทานสิ่งที่อาตมภาพทูลขอ แล้วรับ
เอารองเท้าชั้นเดียวกับร่มใบไม้ โอวาทพระราชาว่า ขอถวายพระพร
มหาบพิตร ขอพระองค์อย่าทรงประมาท จงรักษาศีล กระทำอุโบสถ-
กรรมเถิด เมื่อพระราชาทรงวิงวอนอยู่นั่นแล ได้ไปยังหิมวันต-
ประเทศ ทำอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดในที่นั้นแล้ว ได้มีพรหมโลก
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ ส่วนดาบส
ในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาพรหมทัตตชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 545
๔. จัมมสาฏกชาดก
อย่าไว้ในใจสัตว์หน้าขน
[๕๙๔] แพะตัวนี้เป็นสัตว์ที่มีท่าทางงดงามดี
ในที่เจริญใจ และมีศีลน่ารักใคร่ ย่อม
เคารพนบนอบพราหมณ์ ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ
และมนต์ทั้งหลาย นับได้ว่าเป็นแพะประ-
เสริฐมียศศักดิ์.
[๕๙๕] ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่าได้ไว้วางใจ
แก่สัตว์ ๔ เท้า เพียงได้เห็นมันครู่เดียว มัน
ต้องการจะชนให้ถนัด จึงย่อตัวลงจักชนให้
ถนัดถนี่.
[๕๙๖] กระดูกขาของพราหมณ์ก็หัก บริขารที่
หาบอยู่ก็พลัดตก สิ่งของของพราหมณ์ก็
แตกทำลายหมด พราหมณ์ประคองแขน
ทั้งสองคร่ำครวญอยู่ว่า ช่วยด้วย แพะชน
พรหมจารี.
[๕๙๗] ผู้ใดสรรเสริญคนที่ไม่ควรบูชา ผู้นั้นจะ
ต้องถูกเขาห้ำหั่นนอนอยู่ เหมือนกับเราผู้มี
ปัญญาทรามถูกแพะชนเอาจนตายในวันนี้.
จบ จัมมสาฏกชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 546
อรรถกถาจัมมสาฏกชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ปริพาชกชื่อจัมมสาฏก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
กลฺยาณรูโป วตาย ดังนี้.
ได้ยินว่า ปริพาชกนั้นมีหนังเท่านั้นเป็นเครื่องนุ่งและเครื่อง
ห่ม. วันหนึ่ง ปริพาชกนั้นออกจากอารามของปริพาชก เที่ยวภิกขา
ไปในนครสาวัตถีถึงที่พวกแพะชนกัน. แพะเห็นปริพาชกนั้นมีความ
ประสงค์จะชนจึงย่อตัวลง. ปริพาชกไม่หลีกเลี่ยงไปด้วยคิดว่า แพะนี้
จักเเสดงความเคารพเรา. แพะวิ่งมาโดยรวดเร็ว ชนปริพาชกนั้นที่
ขาอ่อนทำให้ล้มลง. เหตุที่เขายกย่องแพะนั้นซึ่งมิใช่สัตบุรุษนั้น ได้
ปรากฏไปในหมู่ภิกษุสงฆ์. ภิกษุทั้งหลายนั้นสนทนากันในโรงธรรม.
สภาว่า อาวุโสทั้งหลาย จัมมสาฏกปริพาชกกระทำการยกย่องอสัตบุรุษ
จึงถึงความพินาศ พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนึ่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น
แม้ในกาลก่อน ปริพาชกนี้ก็ได้ยกย่องอสัตบุรุษแล้วถึงความพินาศ
ดังนี้แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพ่อค้าตระกูลหนึ่ง กระทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 547
การค้าอยู่. ในกาลนั้น มีจัมมสาฏกปริพาชกผู้หนึ่ง เที่ยวภิกขาไปใน
นครพาราณสีถึงสถานที่พวกแพะชนกัน เห็นแพะตัวหนึ่งย่อตัวก็ไม่
หลีกหนีด้วยสำคัญว่า มันทำความเคารพเรา คิดว่า ในระหว่าง
พวกมนุษย์นี้มีประมาณเท่านี้ แพะตัวหนึ่งยังรู้จักคุณของเรา จึงยืน
ประนมมือแต้อยู่ กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
แพะตัวนี้เป็นสัตว์มีท่าทางดี เป็นที่
เจริญใจ และมีศีลน่ารักใคร่ เคารพยำเกรง
พราหมณ์ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติและมนต์ จัดว่า
เป็นแพะประเสริฐ มียศศักดิ์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กลฺยาณรูโป ได้แก่ มีชาติกำเนิด
งาม. บทว่า สุเปสโล ได้แก่ มีศีลเป็นที่รักด้วยดี บทว่า ชาติมนฺ-
ตูปปนฺน แปลว่า สมบูรณ์ด้วยชาติและมนต์ทั้งหลาย. บทว่า ยสสฺสี
นี้เป็นบทกล่าวถึงคุณ.
ขณะนั้น พ่อค้าผู้เป็นบัณฑิตนั่งอยู่ในตลาด เมื่อจะห้ามปริพา-
ชกนั้น. จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่าได้ไว้วางใจ
สัตว์ ๔ เท้า เพียงได้เห็นมันครู่เดียว มัน
ต้องการจะชนให้ถนัด จึงย่อตัวลงจักชนให้
ถนัดถนี่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 548
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺตรทสฺสเนน ความว่า เพียง
เห็นมันชั่วขณะ.
ก็เมื่อพ่อค้าผู้เป็นบัณฑิตกำลังพูดอยู่นั่นแหละ แพะวิ่งมาโดย
เร็วชนที่ขาอ่อนให้ปริพาชกนั้นล้มลง ณ ที่นั้นเอง ทำให้ได้รับความทุกข-
เวทนา. ปริพาชกนั้นนอนปริเวทนาการอยู่.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเหตุนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๓ ว่า :-
กระดูกขาของพราหมณ์ก็หัก บริขาร
ที่หาบก็พลัดตก สิ่งของของพราหมณ์ก็แตก
ทำลายหมด พราหมณ์ประคองแขนทั้งสอง
คร่ำครวญอยู่ว่า ช่วยด้วย แพะชนพรหมจารี.
เนื้อความแห่งคำที่เป็นคาถานั้นมีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กระ-
ดูกขาของปริพาชกนั้นหัก หาบบริขารก็พลัดตก เมื่อปริพาชกนั้น
กลิ้งไป ภัณฑะเครื่องอุปกรณ์ของพราหมณ์นั้นแม้ทั้งหมดแตกไป.
พราหมณ์นั้นยกมือทั้งสองขึ้น กล่าวหมายเอาบริษัทที่ยืนล้อมอยู่ว่า
ช่วยด้วย แพะชนพรหมจารีดังนี้ คร่ำครวญ ร้องไห้ ปริเทวนาการ
ร่ำไรอยู่.
ปริพาชกจึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
ผู้ใดสรรเสริญยกย่องคนที่ไม่ควรบูชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 549
ผู้นั้นจะถูกเขาห้ำหั่นนอนอยู่ เหมือนเราผู้มี
ปัญญาทรามถูกแพะชนเอาจนตายในวันนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปูช ได้แก่ ผู้ไม่ควรบูชา. บทว่า
ยถาหมชฺช ความว่า เหมือนเรายืนทำการยกย่องอสัตบุรุษุ ถูกแพะ
ชนอย่างแรงจนตายอยู่ ณ ที่นี้ในวันนี้เอง. บทว่า ทุมฺมติ แปลว่า
ผู้ไม่มีปัญญา อธิบายว่า บุคคลแม้อื่นใดกระทำการยกย่องอสัตบุรุษ
บุคคลแม้นั้นย่อมเสวยความทุกข์เหมือนเราฉันนั้น.
ปริพาชกนั้นคร่ำครวญอยู่ด้วยประการฉะนี้ จึงถึงความสิ้น
ชีวิตไป ณ ที่นั้นเอง.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า ปริพาชกชื่อจัมมสาฏกในครั้งนั้น. ได้เป็นปริพาชกชื่อ
จัมมสาฏกในบัดนี้ ส่วนพาณิชผู้บัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาจัมมสาฏกชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 550
๕. โคธชาดก
ว่าด้วยเหี้ยกับดาบสทุศีล
[๕๙๘] เราสำคัญว่าท่านเป็นสมณะ จึงได้เข้า
มาหาท่านผู้ไม่สำรวม ท่านได้ขว้างเราด้วย
ท่อนไม้ เหมือนไม่ใช่สมณะ.
[๕๙๙] แน่ะท่านผู้โง่เขลา ประโยชน์อะไร
ด้วยชฎาแก่ท่าน ประโยชน์อะไรด้วยหนัง.
เสือแก่ท่าน ภายในของท่านรกรุงรัง เกลี้ยง
เวลาแค่ภายนอก.
[๖๐๐] แน่ะเหี้ย ท่านจงกลับมาบริโภคข้าวสุก
ข้าวสาลีก่อนเถิด น้ำมัน เกลือและดีปลี
ของเราก็มีมาก.
[๖๐๑] เราจะเข้าไปสู่จอมปลวก อันลึก ชั่ว-
ร้อยบุรุษ ยิ่งขึ้นดีกว่า น้ำมันและเกลือ
ของท่านจะเป็นประโยชน์อะไร ดีปลีก็หา
เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา ไม่.
จบ โคธชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 551
อรรถกถาโคธชาดกที่ ๕
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้โกหก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สมณนฺต
มญฺมาโน ดังนี้.
เรื่องได้ให้พิสดารแล้วในหนหลังนั้นแล. แม้ในเรื่องนี้ ภิกษุ
ทั้งหลายก็นำภิกษุนั้นมาแสดงแด่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุนี้เป็นผู้โกหก. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่
บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุนี้ก็ได้เป็นผู้โกหกเหมือนกัน
แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดเหี้ย พอเจริญวัย มีร่างกาย
สมบูรณ์อยู่ในป่า. ดาบสทุศีลคนหนึ่งสร้างบรรณศาลาอยู่ในที่ไม่ไกล
พระโพธิสัตว์นั้น แล้วสำเร็จการอยู่. พระโพธิสัตว์เที่ยวหาเหยื่อ
ได้เห็นบรรณศาลานั้นแล้วคิดว่า จักเป็นบรรณศาลาของดาบสผู้มีศีล
จึงไป ณ ที่นั้นไหว้ดาบสนั้น แล้วจึงไปยังที่อยู่ของตน. อยู่มา
วันหนึ่ง ดาบสโกงนั้นได้เนื้ออร่อยที่เขาปรุงเสร็จแล้วในตระกูล
อุปัฏฐากทั้งหลาย จึงถามว่า นี้ชื่อเนื้ออะไรได้ฟังว่า เนื้อเหี้ย เป็นผู้
ถูกความอยากในรสครองงำ คิดว่า เราจักฆ่าเหี้ยที่มายังอาศรมบท
ของเราเป็นประจำ แล้วแทงกินตามความชอบใจ จึงถือเอาเนยใส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 552
เนยข้น และภัณฑะเครื่องเผ็ดร้อนเป็นต้น ไปที่อาศรมบทนั้น เอาผ้า
กาสาวะปิดคลุมไม้ฆ้อนไว้ แล้วนั่งคอยดูการมาของพระโพธิสัตว์
ทำที่เป็นสงบเคร่งครัดอยู่ที่ประตูบรรณศาลา พระโพธิสัตว์นั้นมาแล้ว
เห็นดาบสนั้นมีอินทรีย์อันประทุษร้าย มีท่าทางส่อพิรุธ คิดว่า ดาบส
นี้จักได้กินเนื้อสัตว์ผู้มีชาติเสมอกับเรา เราจักคอยกำหนดจับดาบสนั้น
จึงยืนอยู่ในที่ใต้ลม ได้กลิ่นตัว รู้ว่าดาบสได้กินเนื้อสัตว์ผู้มีชาติเสมอ
กันกับตน จึงไม่เข้าไปหาดาบส ได้ถอยออกไปแล้ว. ฝ่ายดาบสนั้น
รู้การที่พระโพธิสัตว์นั้นไม่มาจึงขว้างไม้ฆ้อนไป. ไม้ฆ้อนไม่ตกต้องที่ตัว
แต่ถูกปลายหาง. ดาบสกล่าวว่า ไปเสียเถอะเจ้า เราปาพลาดเสียแล้ว.
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เบื้องต้น ท่านเป็นผู้พลาดเรา แต่จะไม่พลาด
อบายทั้ง ๔ แล้วหนีเข้าไปยังจอมปลวกอันตั้งอยู่ท้ายที่จงกรม โผล่หัว
ออกมาทางช่องอื่น เมื่อจะเจรจากับดาบสนั้น จึงได้กล่าวคาถา
๒ คาถาว่า :-
เราสำคัญว่าท่านเป็นสมณะ จึงได้เข้า
ไปหาท่านผู้ไม่สำรวม ท่านขว้างเราด้วยท่อน
ไม้ เหมือนไม่ใช่สมณะ.
แนะท่านผู้โง่เขลา ประโยชน์อะไร
ด้วยชฎาแก่ท่าน ประโยชน์อะไรด้วยหนัง-
เสือแก่ท่าน ภายในของท่านรกรุงรัง เกลี้ยง
เกลาแต่ภายนอก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 553
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสสญฺต ความว่า ข้าพเจ้า
สำคัญท่านผู้ไม่สำรวมทางกายเป็นต้น คือผู้ไม่เป็นสมณะเลยว่า ชื่อว่า
เป็นสมณะ เพราะเป็นผู้สงบระงับโดยความเป็นผู้สงบระงับบาป ด้วย
คิดว่า ผู้นี้เป็นสมณะ จึงเข้าไปหา. บทว่า ปาหาสิ แก้เป็น ปหริ
แปลว่า ขว้างแล้ว. บทว่า อธินสาฎิยา ความว่า ประโยชน์อะไร
แก่ท่านด้วยหนังเสือซึ่งห่มเฉวียงบ่า. บทว่า อพฺภนฺตรนฺเต ความว่า
ภายในร่างกายของท่านรกรุงรังด้วยกิเลส เหมือนน้ำเต้าเต็มด้วยยาพิษ
เหมือนหลุมเต็มด้วยคูถ และเหมือนจอมปลวกเต็มด้วยอสรพิษ. บทว่า
พาหิร ความว่า ภายนอกร่างกายเท่านั้นเกลี้ยงเกลา คือย่อมเป็น
เหมือนคูถช้างและคูถม้า เพราะภายในหยาบ ภายนอกเกลี้ยงเกลา.
ดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
มาเถอะเหี้ย ท่านจงกลับมาบริโภค
ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีเถิด น้ำมัน เกลือ และ
ดีปลีของเรามีมาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหุต มยุห ปิปฺผล ความว่า
มิใช่จะมีข้าวสุกแห่งข้าวสาลี น้ำมันและเกลืออย่างเดียวเท่านั้นก็หา
มิได้ แม้เครื่องเทศ เช่น กระวาน ก้านพลู ขิง พริก และดีปลี
ขอเราก็มีอยู่จำนวนมาก ท่านจงมาบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอัน
ปรุงด้วยเครื่องเทศนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 554
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
เราจะเข้าไปสู่จอมปลวกอันลึกร้อยชั่ว
บุรุษยิ่งขึ้น น้ำมันและเกลือของท่านจะเป็น
ประโยชน์อะไร ดีปลีก็หาเป็นประโยชน์
แก่เราไม่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเวกฺขามิ แปลว่า จักเข้าไป.
บทว่า อหิต ความว่า ดีปลีกกล่าวคือ เครื่องเทศของท่านนั้น
ไม่เป็นประโยชน์ คือ ไม่เป็นสัปปายะสำหรับเรา.
ก็แหละ พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงคุกคามดาบส
โกงนั้นว่า เฮ้ยชฎิลโกง ถ้าเจ้าจักขึ้นอยู่ในที่นี้ ข้าจะให้พวกคนใน
ถิ่นโคจรคามจับเจ้าว่า ผู้นี้เป็นโจร แล้วให้เจ้าถึงความพิการ เจ้าจง
รีบหนีไปเสียโดยเร็ว. ชฎิลโกงจึงได้หนีไปจากที่นั้น.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า ชฎิลโกงในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุโกหกรูปนี้ ส่วน
พระยาเหี้ยในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาโคธชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 555
๖. กักการุชาดก
ว่าด้วยผู้ควรประดับดอกฟักทิพย์
[๖๐๒] ผู้ใดไม่ลักสิ่งของด้วยกาย ไม่พูดเท็จ
ด้วยวาจา ได้รับยศแล้วไม่พึงมัวเมา ผู้นั้นแล
ย่อมควรจะประดับดอกฟักทิพย์.
[๖๐๓] ผู้ใดแสวงหาทรัพย์มาได้โดยชอบธรรม
ไม่ล่อลวงเอาทรัพย์เขามา ได้โภคทรัพย์แล้ว
ไม่มัวเมา ผู้นั้นแลย่อมควรจะประดับดอก
ฟักทิพย์.
[๖๐๔] ผู้ใดมีจิตไม่จืดจางเร็ว และมีศรัทธาไม่
คลายง่าย ๆ ไม่บริโภคของดี ๆ แต่ผู้เดียว ผู้
นั้นแลย่อมควรจะประดับดอกฟักทิพย์.
[๖๐๕] ผู้ใดไม่บริภาสสัตบุรุษ ทั้งต่อหน้าหรือ
ลับหลัง พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น ผู้นั้นแล
ย่อมควรจะประดับดอกฟักทิพย์.
จบ กักการุชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 556
อรรถกถากักการุชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระเทวทัต จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กาเยน โย
นาวหเร ดังนี้.
ได้ยินว่า เมื่อพระเทวทัตนั้นทำลายสงฆ์ไปแล้วอย่างนั้น เมื่อ
บริษัทหลีกไปพร้อมกับพระอัครสาวก โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปาก.
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโส
ทั้งหลาย พระเทวทัตกล่าวมุสาวาททำลายสงฆ์ บัดนี้เป็นไข้เสวยทุกข-
เวทนามาก. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบ-
ทูลให้ทรงทราบว่า เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตนี้ก็ได้เป็นผู้พูดเท็จ
เหมือนกัน อนึ่ง พระเทวทัตนี้พูดมุสาวาททำลายสงฆ์ แล้วเป็นไข้ได้
เสวยทุกข์มาก ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้เสวยทุกข์
มากแล้วเหมือนกัน จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นเทวบุตรองค์หนึ่งในภพดาวดึงส์. ก็
สมัยนั้นแล ในนครพาราณสี ได้มีมหรสพเป็นการใหญ่. พวกนาค
ครุฑ และภุมมัฏฐกเทวดา เป็นจำนวนมากพากันมาดูมหรสพ. เทว-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 557
บุตร ๔ องค์แม้จากภพดาวดึงส์ ก็ประดับเทริดอันกระทำด้วยดอกไม้
ทิพย์ชื่อกักการุ ผักจำพวกบวบ ฟัก แฟง พากันมายังที่ดูการมหรสพ.
พระนครประมาณ ๑๒ โยชน์ ได้มีกลิ่นเดียวด้วยกลิ่นดอกไม้เหล่านั้น.
มนุษย์ทั้งหลายเที่ยวสอบสวนอยู่ว่า ใครประดับดอกไม้เหล่านี้. เทว-
บุตรเหล่านั้นรู้ว่า มนุษย์เหล่านี้สืบสวนหาพวกเรา จึงเหาะขึ้นที่
พระลานหลวงยืนอยู่ในอากาศด้วยเทวานุภาพอันยิ่งใหญ่. มหาชน
ประชุมกันอยู่. พระราชาก็ดี อิสรชนมีเศรษฐีและอุปราชเป็นต้นก็ดี
ต่างพากันมา. ทีนั้นจึงพากันถามเทวบุตรเหล่านั้นว่า ข้าแต่เจ้านาย
ท่านทั้งหลายมาจากเทวโลกชั้นไหน ? เทวบุตร มาจากเทวโลกชั้น
ดาวดึงส์. มนุษย์ พวกท่านมาด้วยกิจธุระอะไร ? เทวบุตร มาด้วย
ต้องการดูมหรสพ. มนุษย์ นี่ชื่อดอกอะไร ? เทวบุตร ชื่อดอก
ฟักทิพย์. มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่เจ้านาย ท่านทั้งหลายโปรด
ประดับดอกไม้อื่นในเทวโลกเถิด จงให้ดอกฟักทิพย์นี้แก่พวกเราเถิด.
เทวบุตรทั้งหลายกล่าวว่า ดอกไม้ทิพย์เหล่านี้มีอานุภาพมาก สมควร
แก่เทวดาทั้งหลายเท่านั้น ไม่สมควรแก่คนเลวทรามไร้ปัญญา มีอัธ-
ยาศัยน้อมไปในทางต่ำทราม ทุศีล ในมนุษยโลก แต่สมควรแก่
มนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้. ก็แหละ ครั้นกล่าวอย่างนี้
แล้ว เทพบุตรผู้ใหญ่ใน ๔ องค์นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ผู้ใดไม่ลักสิ่งของด้วยกาย ไม่พูดเท็จ
ด้วยวาจา ได้รับยศแล้วไม่พึงมัวเมา ผู้นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 558
แลย่อมควรประดับดอกฟักทิพย์.
คำที่เป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า :- บุคคลใดไม่ลักแม้แต่เส้นหญ้า
อันเป็นของของคนอื่น และแม้จะเสียชีวิตก็ไม่กล่าวมุสาวาทด้วยวาจา.
คำนี้ เป็นเพียบหัวข้อเทศนาเท่านั้น. ในคำนี้มีอธิบายนี้ว่า ก็บุคคล
ใดไม่กระทำอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ด้วยกายทวาร วจีทวาร และมโน-
ทวาร. บทว่า ยโส ลทฺธา ความว่า บุคคลใดได้แม้ความเป็นใหญ่
แล้ว ไม่มั่วเมาในความเป็นใหญ่ปล่อยให้สติกระทำกรรมอันลามก
บุคคลผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้เห็นปานนั้นนั่นแล ย่อมควรซึ่งดอกไม้
ทิพย์นี้ เพราะฉะนั้น บุคคลใดประกอบด้วยคุณเหล่านี้. บุคคลนั้น
ย่อมควรขอดอกไม้เหล่านี้ พวกเราจักให้แก่บุคคลนั้น.
ปุโรหิตได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า เราไม่มีคุณเหล่านี้แม้แต่อย่างเดียว
แต่เราจักกล่าวมุสาวาทรับเอาดอกไม้เหล่านี้มาประดับ เมื่อเป็นอย่างนี้
มหาชนจักรู้เราว่า ผู้นี้สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ. ปุโรหิตนั้นจึงกล่าวว่า
เราเป็นผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้ จึงให้นำดอกไม้เหล่านั้นนาประดับ
แล้วได้อ้อนวอนขอกะเทวบุตรองค์ที่ ๒ เทวบุตรองค์ที่ ๒ นั้น จึง
กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ผู้ใดแสวงหาทรัพย์มาได้โดยชอบธรรม
ไม่ล่อลวงเอาทรัพย์เขามา ได้โภคทรัพย์แล้ว
ไม่มัวเมา ผู้นั้นแลย่อมควรประดับดอกฟัก-
ทิพย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 559
คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า :- บุคคลพึงแสวงหาทรัพย์มีทอง
และเงินเป็นต้น โดยธรรม คือ โดยอาชีพอันบริสุทธิ์ ไม่พึงแสวงหา
โดยการหลอกลวง คือไม่พึงนำเอาไปโดยการลวง ได้โภคะทั้งหลาย
มีผ้าและอาภรณ์เป็นต้น ไม่พึงมัวเมาประมาท บุคคลเห็นปานนี้ย่อม
ควรแก่ดอกไม้เหล่านี้.
ปุโรหิตกล่าวว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้ แล้วให้นำ
ดอกไม้ทิพย์มาประดับ จึงอ้อนวอนขอกะเทวบุตรองค์ที่ ๓. เทวบุตร
องค์ที่ ๓ นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า
ผู้ใดมีจิตไม่จืดจางเร็ว และมีศรัทธาไม่
คลายง่าย ๆ ไม่บริโภคของดีแต่ผู้เดียว ผู้นั้น
แลย่อมควรแก่ดอกฟักทิพย์.
คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า :- บุคคลใดมีจิตไม่จืดจาง คือไม่
จางหายไปเร็วเหมือนย้อมด้วยขมิ้น ได้แก่มีความรักมั่นคง และมี
ศรัทธาไม่คืนคลาย คือ ได้ฟังคำของคนผู้เชื่อกรรมหรือวิบากของกรรม
ก็ตามแล้วเชื่อ ไม่คืนคลาย ไม่แตกทำลายด้วยเหตุเพียงเล็กน้อย.
บุคคลใดไม่กันยาจกหรือ บุคคลอื่นผู้ควรแก่การจำแนกให้ไว้ภายนอก
ไม่บริโภคโภชนะมีรสดีแต่ผู้เดียว คือจำแนกให้แก่ชนเหล่านั้นแล้ว
จึงบริโภค บุคคลนั้นย่อมควรซึ่งดอกไม้เหล่านี้.
ปุโรหิตกล่าวว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้ จึงให้นำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 560
ดอกไม้เหล่านั้นมาประดับ แล้วอ้อนวอนขอกะเทวบุตรองค์ที่ ๔. เทว-
บุตรองค์ที่ ๔ นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า
ผู้ใดไม่บริภาษสัตบุรุษทั้งต่อหน้าหรือ
ลับหลัง พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น ผู้นั้นแล
ย่อมควรซึ่งดอกฟักทิพย์.
คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า บุคคลใดไม่ด่า ไม่บริภาษ
สัตบุรุษ คือบุรุษผู้เป็นอุดมบัณฑิต ผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น
ทั้งต่อหน้าหรือลับหลัง พูดถึงสิ่งใดด้วยวาจา ย่อมกระทำสิ่งนั้นแล
ด้วยกาย บุคคลนั้นย่อมควรซึ่งดอกไม้เหล่านี้.
ปุโรหิตกล่าวว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้ แล้วให้นำ
ดอกไม้แม้เหล่านั้นมาประดับ. เทวบุตรทั้ง ๔ องค์ได้ให้เทริดดอกไม้
ทั้ง ๔ เทริดแก่ปุโรหิตกลัวพากันกลับไปยังเทวโลก. ในเวลาที่เทว-
บุตรเหล่านั้นไปแล้ว เวทนาอันยิ่งใหญ่เกิดขึ้นที่ศีรษะของปุโรหิต.
ศีรษะได้เป็นเหมือนถูกทิ่มด้วยยอดเขาอันแหลมคม และเป็นเหมือน
ถูกบีบรัดด้วยแผ่นเหล็กฉะนั้น. ปุโรหิตนั้นได้รับทุกขเวทนา กลิ้งไป
กลิ้งมาร้องเสียงดังลั่น และเมื่อมหาชนกล่าวว่านี่อะไรกัน จึงกล่าวว่า
เรากล่าวมุสาวาทในคุณซึ่งไม่มีอยู่ภายในเราเลยว่ามีอยู่. แล้วขอ
ดอกไม้เหล่านี้ กะเทวบุตรเหล่านั้น ท่านทั้งหลายจงช่วยนำเอาดอกไม้
เหล่านี้ออกจากศีรษะของเราด้วยเถิด. ชนทั้งหลายถึงจะช่วยกันปลด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 561
ดอกไม้เหล่านั้น ก็ไม่สามารถจะปลดออกได้ ได้เป็นเหมือนดอกไม้
ที่ผูกรัดด้วยแผ่นเหล็ก. ลำดับนั้น ชนทั้งหลายจึงหามปุโรหิตนั้นนำ
ไปเรือน. เมื่อปุโรหิตนั้นร้องอยู่ในเรือนนั้น กาลเวลาล่วงไปได้ ๗
วัน. พระราชารับสั่งเรียกอำมาตย์ทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า พราหมณ์ผู้
ทุศีลจักตาย เราจะทำอย่างไรกัน. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่
สมมติเทพ ขอพระองค์โปรดให้เล่นมหรสพอีกเถิด เทวบุตรทั้งหลาย
จักมาอีก. พระราชาจึงให้เล่นมหรสพอีก เทวบุตรทั้งหลายจึงมาอีก
ได้กระทำพระนครทั้งสิ้นให้มีกลิ่นหอมเป็นอันเดียวกันด้วยกลิ่นหอม
ของดอกไม้ แล้วได้ยืนอยู่ที่พระลานหลวงเหมือนอย่างเคยมา. มหา-
ชนประชุมกันแล้ว นำพราหมณ์ผู้ที่ศีลมา ให้นอนหงายอยู่ข้างหน้า
ของเทวบุตรเหล่านั้น. พราหมณ์ปุโรหิตนั้นอ้อนวอนเทวบุตรทั้งหลาย
ว่า ข้าแต่นาย ขอท่านทั้งหลายจงให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้าเถิด. เทวบุตร
เหล่านั้นติเตียนพราหมณ์ปุโรหิตนั้นในท่ามกลางมหาชนว่า ดอกไม้
เหล่านี้ไม่สมควรแก่ท่านผู้ลามกทุศีลมีบาปธรรม ท่านไม่สำคัญว่า
จักลวงเทวบุตรเหล่านี้ น่าอนาถ ท่านได้รับผลแห่งมุสาวาทของตน
แล้ว ครั้นติเตียนแล้วจึงปลดเทริดดอกไม้ออกจากศีรษะ ให้โอวาท
แก่มหาชนแล้วได้ไปยังสถานที่ของตนทันที.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัต บรรดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 562
เทวบุตรเหล่านั้น องค์หนึ่งได้เป็นพระกัสสป องค์หนึ่งได้เป็นพระ-
โมคคัลลานะ องค์หนึ่งได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนเทวบุตรผู้เป็นหัวหน้า
ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากักกรุชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 563
๗. กากาติชาดก
ว่าด้วยนางกากี
[๖๐๖] หญิงคนรักของเราอยู่ ณ ที่แห่งใด กลิ่น
ของนางยังหอมฟุ้งมาจากที่แห่งนั้น ใจของ
เรายินดีในนางคนใด นางคนนั้นชื่อกากาติ
อยู่ไกลจากที่นี้ไป.
[๖๐๗] ท่านข้ามทะเลไปได้อย่างไร ท่านข้าม
แม่น้ำชื่อเกปุกะไปได้อย่างไร ท่านข้าม
สมุทรทั้ง ๗ ไปได้อย่างไร ท่านขึ้นต้นงิ้วได้
อย่างไร.
[๖๐๘ ] เราข้ามทะเลไปได้เพราะท่าน ข้าม
แม่น้ำชื่อเกปุกะไปได้เพราะท่าน ข้ามสมุทร
ทั้ง ๗ ไปได้เพราะท่าน ขึ้นต้นงิ้วได้เพราะ
ท่าน.
[๖๐๙] น่าติเตียนตัวเราผู้มีกายใหญ่โต น่า
ติเตียนตัวเราผู้ไม่มีความคิด เพราะว่าเราต้อง
นำมาบ้าง ซึ่งชู้ของเมียตนเอง.
จบ กากาติชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 564
อรรถกถากากาติชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้กะสันจะสึกรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนาน มีคำเริ่มต้นว่า
วาติ จาย ตโต คนฺโธ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อน
ภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้กระสันจะสึกจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นทูลรับ
จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า เพราะเหตุไร เธอจึงกระสันจะสึก. ภิกษุ
นั้นกราบทูลว่า เพราะอำนาจกิเลส พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ ธรรมดาว่ามาตุคาม ใคร ๆ รักษาไว้ไม่ได้ ใคร ๆ ไม่อาจ
รักษา ก็โบราณกบัณฑิตทั้งหลายในกาลก่อน แม้จะให้ยกมาตุคามขึ้น
ไว้ในวิมานต้นฉิมพลี ในท่ามกลางมหาสมุทร ก็ไม่อาจรักษาไว้ได้
แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของ
พระเจ้าพรหมทัตนั้น เจริญวัยแล้ว เมื่อพระราชบิดาสวรรคต ก็
ครองราชสมบัติ พระอัครมเหสีของพระโพธิสัตว์นั้น พระนามว่า
กากาติ ได้มีพระรูปโฉมงดงาม ดุจนางเทพอัปสร. นี้เป็นเนื้อความ
สังเขปในชาดกนี้ ส่วนเรื่องอดีตโดยพิสดารจักมีแจ้งในกุณาลชาดก.
ก็ในกาลนั้น พระยาครุฑตนหนึ่งแปลงเพศเป็นมนุษย์มาเล่นสกากับ
พระราชา มีจิตปฏิพัทธ์ในพระนางกากาติอัครมเหสี จึงพาพระนาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 565
ไปยังสุบรรณภพ แล้วร่วมอภิรมย์อยู่กับพระนางนั้น. พระราชาเมื่อ
ไม่พบเห็นพระเทวี จึงตรัสกะคนธรรพ์ชื่อนฏกุเวรว่า เธอจงค้นหา
พระเทวีนั้นดู. คนธรรพ์นั้นจึงกำหนดเอาพระยาครุฑนั้นจึงนอนอยู่
ในดงตะไคร้น้ำในสระแห่งหนึ่ง ในเวลาครุฑนั้นไปจากสระนั้น
ได้เกาะอยู่ในระหว่างปีกไปจนถึงสุบรรณภพ แล้วออกจากระหว่างปีก
กระทำการเคล้าคลึงด้วยกิเลสกับพระเทวีนั้น แล้วเกาะอยู่ในระหว่าง
ปีกของพระยาครุฑนั้นนั่นแหละกลับมาอีก ในเวลาพระยาครุฑเล่น
สกากับพระราชา จึงถือพิณของตนมายังสนามเล่นสกา ยืนอยู่ใน
ราชสำนัก จึงกล่าวคาถาที่ ๑ โดยขับเป็นเพลงขับว่า :-
หญิงคนรักของเราอยู่ ณ ที่แห่งใด
กลิ่นของนางยังหอมฟุ้งมาจากที่แห่งนั้น ใจ
ของเรายินดีในนางใดนางนั้นชื่อกากาติ อยู่
ไกลจากที่นี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺโธ ได้แก่ กลิ่นแห่งร่างกาย
ของนางนั้นซึ่งลูบไล้ด้วยกลิ่นทิพย์. บทว่า ยตฺถ เม ความว่า
หญิงคนรักของเราอยู่ในสุบรรณภพใด อธิบายว่า พระนางทำ
การเคล้าคลึงกายกับพระยาครุฑนี้ กลิ่นของนางซึ่งติดมากับร่างกาย
ของพระยาครุฑนี้ จึงชื่อว่าฟุ้งมาจากที่นั้น บทว่า ทูเร อิโต
ได้แก่ ในที่ไกลจากที่นี่. หิ อักษรเป็นเพียงนิบาต. บทว่า กากาติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 566
ได้แก่ เทวีพระนามว่ากากาติ. บทว่า ยตฺถ เม ความว่า ใจของ
เรายินดี คือกำหนัดแล้วเหนือนางใด.
พระยาครุฑได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ท่านข้ามทะเลไปได้อย่างไร ท่านข้าม
แม่น้ำเกปุกะไปได้อย่างไร ท่านข้ามทะเล
ทั้ง ๗ แห่งไปได้อย่างไร ท่านขึ้นต้นงิ้ว
ฉิมพลีได้อย่างไร.
คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า ท่านข้ามทะเลในชมพูทวีปนี้
และแม่น้ำชื่อว่า เกปุกะซึ่งถัดจากทะเลนั้นไป และทะเลทั้ง ๗ แห่ง
ซึ่งตั้งอยู่ในระหว่างภูเขาทั้งหลายได้อย่างไร คือข้ามไปได้ด้วยอุบาย
อะไร และท่านขึ้นต้นฉิมพลีอันเป็นภพของเราซึ่งตั้งอยู่เลยทะเล
ทั้ง ๗ ได้อย่างไร.
นฏกุเวรได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
เราข้ามทะเลไปได้เพราะท่าน ข้าม
แม่น้ำเกปุกะได้เพราะท่าน ข้ามทะเลทั้ง ๗
แห่งได้เพราะท่าน และขึ้นต้นฉิมพลีได้ก็
เพราะท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตยา ความว่า เราเกาะอยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 567
ระหว่างปีกของท่านกระทำกิจทั้งปวงนี้ เพราะท่านเป็นตัวเหตุ.
ลำดับนั้น พระยาครุฑ จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
น่าติเตียนเราผู้มีกายใหญ่โต น่าติเตียน
เราผู้ไม่มีความคิด เพราะว่าเรานำมาบ้าง นำ
ไปบ้างซึ่งชายชู้ของเมีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธิรตฺถุ ม พระยาครุฑ เมื่อจะ
ติเตียนตนเอง จงกล่าวไว้. บทว่า อเจตน ได้แก่ ชื่อว่าผู้ไม่มี
ความคิด เพราะไม่รู้ความหนักและความเบา เพราะความเป็นผู้มี
ร่างกายใหญ่โต. บทว่า ยตฺถ แก้เป็น ยสฺมา แปลว่า เพราะ
เหตุใด. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า เพราะเหตุที่เรานำคนธรรพ์นี้
ผู้เป็นชายชู้ของเมียตนซึ่งเกาะอยู่ในระหว่างปีกมา ชื่อว่านำมา เมื่อ
นำไปชื่อว่านำไปอยู่ ฉะนั้น น่าติเตียนตัวเรา.
พระยาครุฑนั้นได้นำพระนางกากาตินั้นไปถวายพระราชา
แล้วไม่ได้ไปเล่นสกาอีก.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดกว่า ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กะสัน
จะสึกดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล. นฏกุเวรในกาลนั้น ได้เป็นภิกษุ
ผู้กะสันจะสึกในบัดนี้ ส่วนพระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากากาติชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 568
๘. อนนุโสจิยชาดก
ทุกคนจะต้องตายควรเมตตากัน
[๖๑๐] นางสัมมิลลหาสินีผู้เจริญ ได้ไปอยู่ใน
ระหว่างพวกสัตว์ที่ตายไปแล้วเป็นจำนวนมาก
เมื่อนางไปอยู่กับสัตว์เหล่านั้น จักชื่อว่าได้
เป็นอะไรกับเรา เพราะฉะนั้นเราจึงมิได้เศร้า
โศกถึงนางสัมมิลลหาสินีที่รักนี้.
[๖๑๑] ถ้าบุคุคลจะพึงเศร้าโศก ถึงความตาย
อันจะไม่เกิดมีแก่สัตว์ ผู้เศร้าโศกนั้น ก็ควร
จะเศร้าโศกถึงตนซึ่งจะต้องตกไปสู่อำนาจ
ของมัจจุราชทุกเมื่อ.
[๖๑๒] อายุสังขารหาได้เป็นไปตามเฉพาะสัตว์
ที่ยืน นั่ง นอน หรือเดินอยู่เท่านั้นก็หาไม่
วัยย่อมเสื่อมไปทุกขณะที่ยังหลับตาและลืม
ตาอยู่.
[๖๑๓] เมื่อวัยเสื่อมไปอย่างนั้นหนอ ในตน
ซึ่งเป็นทางอันตรายนั้นหนอ ต้องมีความ
พลัดพรากจากกันโดยไม่ต้องสงสัยหมู่สัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 569
ที่ยังเหลืออยู่ ควรมีเมตตาเอ็นดูกัน ส่วนที่
ตายไปแล้ว ไม่ควรจะต้องเศร้าโศกถึง.
จบ อนนุโสจิยชาดกที่ ๘
อรรถกถาอนนุโสจิยชาดกที่ ๘
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
กุฎุมพีคนหนึ่งผู้มีภรรยาตาย จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า พหูน วิชฺชติ โภติ ดังนี้
ได้ยินว่า กฎุมพีนั้น เมื่อภรรยาตายแล้วไม่อาบน้ำ ไม่รับ
ประทานข้าว ไม่ประกอบการงาน. ถูกความโศกครอบงำ ไปป่าช้า
เที่ยวปริเทวนาการอยู่อย่างเดียว. แต่อุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรค
โพลงอยู่ในภายในของกุฎุมพีนั้น เหมือนประทีปโพลงอยู่ในหม้อ
ฉะนั้น. ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูโลก ได้ทอดพระเนตร
เห็นกุฎุมพีนั้น ทรงพระดำริว่าเว้นเราเสีย ใคร ๆ. อื่นผู้จะนำความโศก
ออกแล้วให้โสดาปัตติมรรค แก่กุฏุมพีนี้ ย่อมไม่มี เราจักเป็นที่พึง
อาศัยของกุฎุมพีนั้น จึงเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต ทรงพา
ปัจฉาสมณะไปยังประตูเรือนของกุฎุมพีนั้น กุฎุมพีได้สดับการเสด็จ
มา ทรงมีสักการะมีการลุกรับเป็นต้นอันกุฎุมพีกระทำแล้ว ประทับนั่ง
บนอาสนะที่เขาปูลาด แล้วตรัสถามกุฎุมพีผู้มานั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง
ว่า อุบาสก ท่านคิดอะไรหรือ ? เมื่อกุฎุมพีนั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 570
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภรรยาของข้าพระองค์ตาย ข้าพระองค์เศร้าโศก
ถึงเขาจึงคิดอยู่. จึงตรัสว่า อุบาสก ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่มีการแตกเป็นธรรมดา
ย่อมแตกไป เมื่อมันแตกไปจึงไม่ควรคิด แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย
เมื่อภรรยาตายแล้วก็ยังไม่คิดว่า สิ่งที่มีการแตกเป็นธรรมดาได้แตกไป
แล้ว อันกุฎุมพีนั้นทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้. เรื่องในอดีตจักมีแจ้งในจุลลโพธิชาดก ในทสกนิบาต
ส่วนในที่นี้มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว
1เล่าเรียนศิลปะทั้งปวงในเมืองตักกศิลา แล้วได้กลับไปยังสำนักของ
บิดามารดา. ในชาดกนี้ พระโพธิสัตว์ได้เป็นพรหมจารีแต่ยังเป็นกุมาร.
ลำดับนั้น บิดามารดาของพระโพธิสัตว์นั้นบอกว่า เราจักจัดการแสวง
หาภรรยาให้แก่เจ้า. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ลูกไม่มีความต้องการครอง
เรือน เมื่อท่านทั้งหลายล่วงไปแล้ว ลูกจักบวช ถูกบิดามารดานั้น
รบเร้าอยู่บ่อย ๆ จึงให้ช่างทำรูปทองคำรูปหนึ่ง แล้วพูดว่า ลูกได้
กุมาริกาเห็นปานนี้ จึงจักรับครองเรือน. บิดามารดาของพระโพธิ-
สัตว์นั้นจึงให้ยกรูปทองคำนั้นขึ้นบนยานอันมิดชิดแล้วส่งคนทั้งหลาย
พร้อมทั้งบริวารเป็นอันมากไปโดยสั่งว่า พวกท่านจงไป จงเที่ยวไป
ยังพื้นชมพูทวีป เห็นกุมาริกาผู้เป็นพราหมณ์ซึ่งงามเห็นปานนี้ในที่ใด
ท่านทั้งหลายจงให้รูปทองคำนี้ในที่นั้น แล้วนำนางพราหมณกุมาริกา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 571
นั้นมา. ก็ในกาลนั้น สัตว์ผู้มีบุญคนหนึ่งจุติจากพรหมโลก บังเกิด
เป็นกุมาริกาในเรือนพราหมณ์ผู้มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในนิคมคามแคว้น
กาสีนั่นเอง บิดามารดาได้ขนานนามกุมาริกานั้นว่า สัมมิลลหา-
สินี. กุมาริกานั้น ในเวลามีอายุ ๑๖ ปี เป็นผู้มีรูปงามชวนชม เปรียบ
ด้วยนางเทพอัปสร สมบูรณ์ทั่วสารพางก์กาย. ชื่อว่าความคิดด้วย
อำนาจกิเลสไม่เคยเกิดขึ้นแก่นางเลย นางได้เป็นยาวพรหมจารีนีโดย
แท้จริง. ชนทั้งหลายพารูปทองคำนั้นเที่ยวไปถึงบ้านนั้น. คนทั้งหลาย
ในบ้านนั้น เห็นรูปทองคำนั้นแล้วพากันกล่าวว่า เพราะเหตุไรนาง
สัมมิลลหาสินี ธิดาของพราหมณ์ชื่อโน้น จึงมายืนอยู่ที่นี้. มนุษย์
ทั้งหลายได้ฟังดังนั้นจึงไปยังตระกูลพราหมณ์สู่ขอนางสัมมิลลหาสินี
นั้น. นางจึงส่งข่าวแก่บิดามารดาว่า เมื่อท่านทั้งสองล่วงลับไปแล้ว
ดิฉันจักบวช ดิฉันไม่ต้องการครองเรือน. บิดามารดานั้นจึงกล่าวว่า
กุมาริกาเจ้าจะทำอะไรได้ แล้วรับเอารูปทองคำส่งนำไปด้วยบริวาร
เป็นอันมาก. เมื่อพระโพธิสัตว์และนางสัมมิลลหาสินี ทั้งสองคน ไม่
ปรารถนาเลย บิดามารดาก็ทำการมงคล สมรสให้. คนทั้งสอง
นั้นอยู่ในห้องเดียวกัน แม้จะนอนอยู่บนที่นอนเดียวกัน ก็ไม่ได้แล
ดูกันและกันด้วยอำนาจกิเลส อยู่ในสถานที่เดียวกัน เหมือนภิกษุ ๒ รูป
และเหมือนพรหม ๒ องค์ อยู่ในที่เดียวกันฉะนั้น. จำเนียรกาลล่วง
มา บิดามารดาของพระโพธิสัตว์ได้ทำกาลกิริยาตายลง พระโพธิสัตว์
นั้นกระทำการฌาปนกิจสรีระของบิดามารดาแล้ว เรียกนางสัม-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 572
มิลลหาสินีมากล่าวว่า นางผู้เจริญ เธอจงถือเอาทรัพย์นี้ มีประมาณ
เท่านี้ คือ ทรัพย์ ๘๐ โกฏิอันเป็นของตระกูลพี่ และทรัพย์ ๘๐ โกฎิ
อันเป็นของตระกูลเธอ แล้วปกครองทรัพย์สมบัตินี้เถิด พี่จักบวช.
นางสัมมิลลหาสินีกล่าวว่า ข้าแต่ลูกเจ้า เมื่อท่านบวชดิฉันก็จักบวช
ดิฉันไม่อาจทอดทิ้งท่านได้. คนทั้งสองนั้นจึงสละทรัพย์ทั้งหมดในทาง
ทาน ละทิ้งสมบัติเหมือนก้อนเขฬะ เข้าไปยังหิมวันตประเทศทั้ง
สองคน บวชเป็นฤๅษี มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่ในหิม-
วันตประเทศนั้นช้านาน เพื่อต้องการจะเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว จึง
ลงจากหิมวันตประเทศ ถึงเมืองพาราณสีโดยลำดับ แล้วอยู่ในพระ-
ราชอุทยาน. เมื่อดาบสและดาบสินีทั้งสองนั้นอยู่ในพระราชอุทยานนั้น
เมื่อปริพาชิกาผู้สุขุมาลชาติบริโภคภัตอันเจือปนปราศจากโอชะ ก็เกิด
อาพาธลงโลหิต. นางเมื่อไม่ได้เภสัชอันเป็นสัปปายะก็ได้อ่อนกำลังลง
ในเวลาภิกขาจาร พระโพธิสัตว์ได้พยุงนางนำไปยังประตูพระนคร
แล้วให้นอนบนแผ่นกระดาน ณ ศาลาหลังหนึ่ง ส่วนตนเข้าไปภิกขา-
จาร. นาง เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นยังไม่กลับออกมาเลย ก็ได้ทำกาล
กิริยาตายไป. มหาชนเห็นรูปสมบัติของปริพาชิกา พากันห้อมล้อม
ร้องไห้ร่ำไร. พระโพธิสัตว์เที่ยวภิกขาแล้วกลับมารู้ว่านางตายแล้ว
ดำริว่า สิ่งที่มีอันจะแตกไปเป็นธรรมดา ย่อมแตกไป สังขารทั้งปวง
ไม่เที่ยงหนอ มีคติอย่างนี้เอง แล้วนั่งบนแผ่นกระดานที่นางนอนอยู่
นั่นแหละ บริโภคโภชนะอันระคนกันแล้วบ้วนปาก. มหาชนที่ยืน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 573
ห้อมล้อมถามว่า ท่านผู้เจริญ ปริพาชิกานี้เป็นอะไรกับท่าน ? พระ-
โพธิสัตว์กล่าวว่า เมื่อเวลาเป็นคฤหัสถ์ นางเป็นบาทบริจาริกาของเรา.
มหาชนกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พวกเรายังอดทนไม่ได้ก่อน พากันร้องไห้
ร่ำไร เพราะเหตุไร ? ท่านจึงไม่ร้องไห้. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า นาง
ปริพาชิกานี้ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ย่อมเป็นอะไร ๆ กับเรา บัดนี้ ไม่เป็น
อะไร ๆ กัน เพราะนางเป็นผู้สมัครสมานกับปรโลก ไปสู่อำนาจของ
คนอื่นแล้ว เราจะร้องไห้เพราะอะไร เมื่อจะแสดงธรรมแก่มหาชน
จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
นางสัมมิลลหาสินีผู้เจริญ ได้ไปอยู่ใน
ระหว่างพวกสัตว์ที่ตายไปแล้วเป็นจำนวนมาก
เมื่อนางไปอยู่กับพวกสัตว์เหล่านั้น จักชื่อว่า
เป็นอะไรกับเรา เพราะฉะนั้นเราจึงมิได้เศร้า
โศกถึงนางสัมมัลลหาสินีผู้เป็นที่รักนี้.
ถ้าบุคคลจะเศร้าโศก ถึงสิ่งที่ไม่มีแก่
สัตว์ผู้เศร้าโศกนั้น พึงเศร้าโศกถึงตนซึ่งตก
อยู่ในอำนาจของมัจจุราชอยู่ทุกเวลา.
อายุสังขารใช่ว่าจะติดตามเฉพาะสัตว์ผู้
ยืน นั่ง นอน หรือเดินอยู่เท่านั้นก็หาไม่
แม้ในเวลาชั่วลืมตา๑หลับตาวัยก็เสื่อมไปแล้ว.
๑. แปลตามบาลี พม่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 574
ในตนซึ่งเป็นทางอันตรายนั้นหนอ ต้อง
มีความพลัดพรากจากกันโดยไม่ต้องสงสัย
หมู่สัตว์ที่ยังอยู่ควรเอ็นดูกัน ส่วนที่ตายไป
แล้วไม่ควรเศร้าโศกถึง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหูน วิชฺชติ ความว่า นางผู้เจริญ
นี้ทิ้งเราแล้ว บัดนี้ มีอยู่คือเกิดในระหว่างเหล่าสัตว์ที่ตายแล้วเหล่าอื่น
เป็นอันมาก. บทว่า เตหิ เม กึ ภวิสฺสติ ความว่า เดี๋ยวนี้ นาง
เป็นไปกับพวกสัตว์ที่ตายแล้วนั้น จักเป็นอะไรกับเรา หรือว่านางจัก
เป็นอะไรแก่เรา ด้วยอำนาจความเกี่ยวพันเกินสัตว์เหล่านั้น คือ นาง
จักเป็นใคร จะเป็นภรรรยาหรือน้องสาว. บาลีว่า เตหิ เมก ดังนี้
ก็มี. อธิบายบาลีนั้นว่า กเลวระหว่างกายของเราแม้นี้ จักเป็นอัน
เดียวกันกับสัตว์ที่ตายแล้วเหล่านั้น. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะ
เหตุที่นางสัมมิลลหาสินีนี้ตายแล้ว สมาคมกับคนตายแล้วจะเป็นอะไร
แก่เรา เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกถึงนางสัมมิลลหาสินีนี้. บทว่า
ย ย ตสฺส ความว่า สิ่งใดๆ ย่อมไม่มีแก่สัตว์ผู้เศร้าโศกนั้น ได้แก่
ความตายคือความดับ ถ้าจะเศร้าโศกถึงสิ่งนั้น ๆ. บาลีว่า ยสฺส ดังนี้
ก็มี. ความของบาลีนั้นว่า สิ่งใดๆ ย่อมมีแก่ผู้ใด ถ้าผู้นั้นจะเศร้าโศก
ถึงสิ่งนั้น ๆ. บทว่า มจฺจุวสมฺปตฺต ความว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น บุคคล
ควรเศร้าโศกถึงเฉพาะตนผู้ถึงคือผู้จะไปสู่อำนาจของมัจจุราชเป็นนิจที
เดียว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจะไม่มีเวลาเศร้าโศกเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 575
ในคาถาที่ ๓ มีวินิจฉัยต่อไปนี้. พึงนำบาลีที่เหลือมาเชื่อม
เข้ากัน ความว่า อายุสังขารย่อมไปตามสัตว์ไร ๆ ก็ได้มิใช่ผู้
ยืน นั่ง นอน หรือเดินเท่านั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปตฺถคุ
ได้แก่ ผู้เที่ยวไป ๆ มา ๆ. อธิบายว่า สัตว์เหล่านี้ประมาทอยู่ในอิริยาบถ
ทั้ง ๔ ส่วนอายุสังขารไม่ประมาทในอิริยาบถทั้งปวงทั้งกลางคืนและ
กลางวัน ย่อมกระทำกรรมคือถึงความในรูปของตนเท่านั้น. บทว่า
ยาวุปฺปตฺติ นิมิสฺสติ ความว่า ก็นี้เป็นโวหารเรียกกาลเวลานั้น.
ท่านอธิบายว่า วัยของสัตว์เหล่านี้ ย่อมเสื่อมไป แม้ชั่วเวลาหลับตา
และลืมตา คือในเวลามีประมาณเล็กน้อยอย่างนี้ คือ วัยที่เหลือในวัย
ทั้งสาม ย่อมเสื่อมคือไม่เจริญ. บทว่า ตตฺถตฺตนิ วตปฺปนฺเถ ได้แก่
ในตนซึ่งเป็นทางอันตรายนั้นหนอ. ท่านอธิบายว่า เมื่อวัยนั้นหนอ
เสื่อมไปอย่างนี้ อัตภาพอันถึงการนับว่า นี้เป็นอัตตา ย่อมเป็นทางอัน-
ตราย คือถูกผูกด้วยบ่วงเข้าไปครึ่งหนึ่งไม่เต็มบริบูรณ์ เมื่อเป็นอย่าง
นั้น ตนที่เป็นทางอันตรายนี้นั้น จะต้องมีความพลัดพรากจากกันแห่ง
สัตว์ทั้งหลายที่บังเกิดในภพนั้น ๆ โดยไม่ต้องสงสัย คือหมดความสงสัย
สัตว์ที่เหลืออยู่ยังไม่ตาย คือสัตว์ที่เหลืออยู่นั้นยังเป็นอยู่ คือมีชีวิต
อยู่ ควรเอ็นดูกัน คือควรเมตตากัน พึงเจริญเมตตาในสัตว์นั้นอย่าง
นี้ว่า ขอสัตว์นี้จงอย่ามีโรค จงอย่าเบียดเบียนกัน ส่วนสัตว์ที่จุติเคลื่อน
ไปแล้ว คือตายแล้วไม่ควรเศร้าโศกถึง คือไม่ควรตามเศร้าโศกถึง.
พระมหาสัตว์เมื่อแสดงอาการไม่เที่ยงด้วยคาถา ๔ คาถาอย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 576
นี้ แสดงธรรมแล้ว. มหาชนพากันกระทำฌาปนกิจสรีระของนาง
ปริพาชิกาแล้ว. พระโพธิสัตว์เข้าไปยังหิมวันตประเทศ ทำฌานและ
อภิญญาให้บังเกิด ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ กุฎุมพีได้ดำรง
อยู่ในโสดาปัตติผล. นางสัมมิลลหาสินีในครั้งนั้น ได้เป็นราหุลมารดา
ส่วนดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอนนุโสจิยชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 577
๙. กาฬพาหุชาดก
ว่าด้วยลิงหลอกเจ้า
[๖๑๔] ในกาลก่อน เราได้ข้าวและน้ำอันใด
จากสำนักพระราชา มาบัดนี้ ข้าวและน้ำนั้น
มาขึ้นอยู่กับสาขมฤคหมด ข้าแต่พี่ราธะ
บัดนี้ เราเป็นผู้อันพระเจ้าธนัญชัยไม่สักการะ
แล้ว พากันกลับไปป่าตามเดิมเถิด.
[๖๑๕] ดูก่อนน้องโปฏฐปาทะ ธรรมในหมู่
มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ ความเสื่อมลาภ ยศ
ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุขและ
ทุกข์ เป็นของไม่เที่ยง เจ้าอย่าเศร้าโศก
เสียใจไปเลย จะเศร้าโศกเสียใจไปทำไม.
[๖๑๖] ข้าแต่พี่ราธะ คุณพี่เป็นบัณฑิตแท้ ย่อม
รู้ถึงผลประโยชน์ทั้งหลายที่ยังไม่มาถึง ทำ
อย่างไรหนอ เราจะได้เห็นสาขมฤคผู้ลามก
ถูกเขาขับไล่ออกจากราชสกุล.
[๖๑๗] ลิงกาฬพาหุ กระดิกหูและกลอกหน้า
กลอกตาทำให้พระราชกุมารทรงหวาดเสียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 578
พระทัยอยู่เสมอ ๆ มันจะทำตัวของมันเองให้
จำต้องห่างไกลจากข้าวและน้ำ.
จบ กาฬพาหุชาดกที่ ๙
อรรถกถากาฬพาหุชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภ
พระเทวทัตผู้เสื่อมลาภสักการะ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า ย อนฺนปานสฺส ดังนี้.
แท้จริง เมื่อพระเทวทัตผูกความโกรธอันไม่บังควรในพระ-
ตถาคต แล้วประกอบนายขมังธนู โทษผิดของพระเทวทัตนั้น ได้
ปรากฏเพราะปล่อยช้างนาฬาคิรี. ลำดับนั้น คนทั้งหลายจึงพากัน
เลิกธุวภัตเป็นต้นที่เริ่มตั้งไว้แก่เธอเสีย. แม้พระราชาก็ไม่ทรงเหลียว
แลพระเทวทัตนั้น. พระเทวทัตนั้นเสื่อมลาภสักการะจึงเที่ยวขอใน
สกุลทั้งหลายบริโภคอยู่. ภิกษุทั้งหลายจึงนั่งสนทนากันในโรงธรรม-
สภาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตคิดว่า จักยังลาภสักการะให้เกิดขึ้น
แม้แต่ลาภสักการะที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจทำให้มั่นคง. พระศาสดา
เสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากัน.
ด้วย เรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า
มิใช่บัดนี้เท่านั้นน่ะภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน เทวทัตนี้ก็ได้เป็นผู้
เสื่อมลาภสักการะ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 579
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าธนัญชัยครองราชสมบัติในนครพา-
ราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นวานรเผือกชื่อราธะ มีบริวารมาก มี
ร่างกายบริบูรณ์ ส่วนวานรน้องชายของพระโพธิสัตว์นั้น ชื่อโปฏฐ-
ปาทะ. พรานผู้หนึ่งจับวานรพี่น้องทั้งสองนั้นได้ จึงนำไปถวายพระ-
เจ้าพาราณสี. พระราชาโปรดให้ใส่วานรทั้งสองนั้นไว้ในกรงทอง ให้
บริโภคข้าวตอกคลุกน้ำผึ้ง ให้ดื่มน้ำเจือด้วยน้ำตาลกรวดปรนนิบัติ
เลี้ยงดูอยู่ สักการะได้มีอย่างมากมาย. วานรทั้งสองนั้นได้เป็นผู้ถึง
ความเป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ. ต่อมา พรานป่าคนหนึ่ง ได้นำเอา
วานรดำใหญ่ตัวหนึ่ง ชื่อกาฬพาหุมาถวายพระราชา วานรกาฬพาหุ
นั้นมาทีหลัง จึงได้มีลาภสักการะมากกว่า ลาภสักการะของวานรเผือก
ทั้งสองก็เสื่อมถอยไป. พระโพธิสัตว์มิได้พูดอะไรเลย เพราะประกอบ
ด้วยลักษณะแห่งผู้คงที่ แต่วานรน้องชาย เพราะไม่มีลักษณะแห่งผู้คงที่
จึงทนดูสักการะของกาฬพาหุวานรไม่ได้ ได้พูดกะพี่ชายว่า ข้าแต่พี่
เมื่อก่อน ในราชสกุลนี้ ย่อมให้ของกินมีรสดีเป็นต้นแก่พวกเรา แต่
บัดนี้พวกเราไม่ได้ เขานำไปให้เจ้าลิงกาฬพาหุเท่านั้น พวกเราเมื่อ
ไม่ได้ลาภสักการะจากสำนักของพระเจ้าธนัญชัย จักทำอะไรอยู่ ณ
สถานที่นี้ มาเถิดพี่ พวกเราไปอยู่ป่าเถิด เมื่อจะเจรจากับวานรพี่ชาย
นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
เมื่อก่อน เราได้ข้าวและน้ำอันใดจาก
สำนักพระราชา มาบัดนี้ ข้าวและน้ำนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 580
มาขึ้นอยู่กับสาขมฤคหมด ข้าแต่พี่ราธะ
บัดนี้ เราเป็นผู้อันพระเจ้าธนัญชัยไม่สักการะ
แล้ว พากันกลับไปป่าตามเดิมเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย อนฺนปานสฺส ความว่า ข้าว
และน้ำใด จากสำนักของพระราชานั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อนฺน-
ปานสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถของทุยาวิภัตติ. บทว่า ธนญฺ-
ชยาย เป็นจตุตถีวิภัตติ ลงในอรรถของตติยาวิภัตติ. อธิบายว่า
พวกเราเป็นผู้อันพระเจ้าธนัญชัยไม่สักการะเอื้อเฟื้อแล้ว และไม่ได้
ข้าวและน้ำ คือเป็นผู้อันพระเจ้าธนัญชัยนี้แล ไม่ทรงเอื้อเฟื้อแล้ว.
วานรราธะได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ก่อนน้องโปฏฐปาทะ ธรรมในหมู่
มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ ความเสื่อมลาภ ยศ
ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุขแล
ทุกข์ เป็นของไม่เที่ยง เจ้าอย่าเศร้าโศกเลย
จะเศร้าโศกไปทำไม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโส ได้แก่ อิสริยยศ และปริ-
วารยศ. บทว่า อยโส ได้แก่ ความไม่มีอิสริยยศและปริวารยศนั้น.
บทว่า เอเต ความว่า โลกธรรม ๘ ประการเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 581
ในหมู่มนุษย์ แม้เป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ สมัยต่อมา
ย่อมเป็นผู้มีลาภน้อย สักการะน้อย ชื่อว่าผู้จะมีลาภเป็นนิจเสมอไป
ย่อมไม่มี. แม้ในยศเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
วานรโปฏฐปาทะได้ฟังดังนั้น เมื่อไม่อาจทำความริษยาในลิง
กาฬพาหุให้หายไปได้ จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ข้าแต่พี่ราธะ พี่เป็นบัณฑิตแท้ ย่อมรู้
ถึงผลประโยชน์อันยังมาไม่ถึง ทำอย่างไรหนอ
เราจะได้เห็นเจ้าสาขมฤคผู้ลามก ถูกเขาขับ
ไล่ออกจากราชสกุล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กถ นุ โข ได้แก่ ดุ้วยอุบาย
อะไรหนอ บทว่า ทกฺขาม แปลว่า จักเห็น. บทว่า นิทฺธาปิต
ได้แก่ ถูกฉุดออกไป คือถูกลากออกไป. บทว่า ชมฺม แปลว่า ผู้
ลามก.
วานรราธะได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
ลิงกาฬพาหุ กระดิกหูและกลอกหน้า
กลอกตา ทำให้พระราชกุมารทรงหวาดเสียว
พระทัยอยู่บ่อย ๆ มันจักทำตัวของมันเองให้
จำต้องห่างไกลจากข้าวและน้ำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 582
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภายเต กุมาเร ความว่า ย่อม
ทำพระราชกุมารให้หวาดเสียว. บทว่า เยนารกา สฺสติ ความว่า
ตัวมันเองจักทำเหตุให้จำต้องอยู่ห่างไกลจากข้าวและน้ำนี้. เจ้าอย่าคิด
ริษยาต่อมันเลย.
ฝ่ายลิงกาฬพาหุ พอล่วงไป ๒-๓ วันเท่านั้น ก็ทำกระดิกหู
เป็นต้นต่อหน้าพระราชกุมารทั้งหลาย ทำให้พระราชกุมารทั้งหลาย
กลัว. พระราชกุมารทั้งหลายเหล่านั้นตระหนกตกพระทัยกลัว ต่าง
ทรงส่งเสียงร้อง. พระราชาตรัสถามว่า นี่อะไรกัน ? ได้ทรงสดับ
เรื่องราวนั้นแล้วรับสั่งว่า จงไล่มันออกไป แล้วให้ไล่ลิงกาฬพาหุนั้น
ออกไป ลาภสักการะของวานรชาวทั้งสองก็ได้เป็นปกติตามเดิมอีก.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-
ชุมชาดกว่า ลิงกาฬพาหุในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต วานร
โปฏฐปาทะในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ ส่วนวานรราธะในครั้งนั้น
เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากาฬพาหุชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 583
๑๐. สีลวีมังสชาดก
ว่าด้วยธรรมที่นำความสุขมาให้
[๖๑๘] ได้ยินว่า ศีลแลเป็นความงาม ศีลเป็น
เยี่ยมในโลก ขอพระองค์จงทอดพระเนตร
งูใหญ่มีพิษร้าย ย่อมไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วย
มารู้สึกตัวว่า เป็นผู้มีศีล.
[๖๑๙] นกตะกรุมทั้งหลายในโลก พากันล้อม
จิกชิ้นเนื้อที่เหยี่ยวคาบอยู่ในปาก ชั่วเวลา
ที่มันคาบชิ้นเนื้อนิดหน่อยอยู่เท่านั้น หาได้
เบียดเบียนนกที่ไม่มีความกังวลไม่.
[๖๒๐] ผู้ไม่มีความหวังย่อมหลับเป็นสุข ความ
หวังย่อมเผล็ดผลเป็นสุขได้ นางปิงคลาทาสี
ได้ทำความหวังจนหมดหวังแล้ว จึงหลับ
เป็นสุขได้.
[๖๒๑] ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ธรรมอัน
จะนำความสุขมาให้ยิ่งไปกว่าสมาธิย่อมไม่มี
ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมไม่เบียดเบียนทั้งคนอื่นและ
ตนเอง.
จบ สีลวีมังสชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 584
อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พราหมณ์ผู้ทดลองศีล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
สีล กิเรว กลฺยาณ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันนิทานแม้ทั้งสองเรื่อง ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง
ทีเดียว. ส่วนในชาดกนี้ พระโพธิสัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้า
พาราณสี เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นจะทดลองศีลของตน จึงถือเอา
กหาปณะจากแผ่นกระดานสำหรับนับเงินไป ๓ วัน ราชบุรุษทั้งหลาย
จึงแสดงพระโพธิสัตว์นั้นแก่พระราชาว่าเป็นโจร. พระโพธิสัตว์นั้น
ยืนอยู่ในสำนักของพระราชา พรรณนาศีลด้วยคาถาที่ ๑ นี้ว่า :-
ได้ยินว่า ศีลแลเป็นความงาม ศีล
เป็นเยี่ยมในโลก ขอพระองค์จงทอดพระ-
เนตรงูใหญ่มีพิษร้าย ย่อมไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ด้วยมารู้สึกตัวว่า เป็นผู้มีศีล.
แล้วทูลขอให้พระราชาทรงอนุญาตบรรพชาแล้วไปบรรพชา.
ครั้งนั้น เหยี่ยวเฉี่ยวเอาชิ้นเนื้อในร้านขายเนื้อสัตว์แห่งหนึ่ง
แล้วบินไปทางอากาศ นกทั้งหลายอื่นจึงล้อมจิกตีมันด้วยเล็บเท้าและ
จะงอยปากเป็นต้น. เหยี่ยวนั้นไม่สามารถอดทนความทุกข์นั้นได้ จึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 585
ทิ้งชิ้นเนื้อ นกตัวอื่นก็คาบเอาไป. แม้นกตัวนั้นเมื่อถูกเบียดเบียน
อย่างนั้นเข้าก็ทิ้งชิ้นเนื้อนั้น. ที่นั้น นกตัวอื่น ๆ ก็คาบเอาไป รวม
ความว่า นกใด ๆ คาบเอาไป นกทั้งหลายก็ติดตามนกนั้น ๆ ไป.
นกใด ๆ ทิ้ง นกนั้น ๆ ก็มีความสบาย. พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นจึง
คิดว่า ขึ้นชื่อว่ากามทั้งหลายนี้เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เมื่อเป็นอย่างนั้น
คนที่ยึดไว้เหล่านั้นเท่านั้นจึงเป็นทุกข์ เมื่อสละเสียได้ก็เป็นสุข แล้ว
กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ชิ้นเนื้อหน่อยหนึ่งยังมีอยู่แก่เหยี่ยว
นั้นเพียงใด นกตะกรุมทั้งหลายในโลกก็
พากันล้อมจิกอยู่เพียงนั้น หาได้เบียดเบียน
นกไม่มีความกังวลไม่.
คำที่เป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า ชิ้นเนื้อหน่อยหนึ่งที่เอาปาก
คาบอยู่ได้มีอยู่แก่เหยี่ยวนั้นเพียงใด นกตะกรุมทั้งหลายในโลกนี้
ก็พากันรุมจิกเหยี่ยวนั้นอยู่เพียงนั้น แต่เมื่อมันปล่อยชิ้นเนื้อนั้นเสีย
นกที่เหลือก็ย่อมไม่เบียดเบียนนกนั้นผู้ไม่มีความกังวล คือไม่มีปลิโพธ
เครื่องกังวล.
พระโพธิสัตว์นั้นออกจากพระนครแล้ว ในตอนเย็นได้นอน
อยู่ในเรือนของคนผู้หนึ่ง ในบ้านนั้นในระหว่างทาง. ก็นางทาสีใน
เรือนนั้นชื่อปิงคลา ได้นัดแนะกับชายผู้หนึ่งว่า พึงมาในเวลาชื่อโน้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 586
นางล้างเท้าของนายทั้งหลายแล้ว เมื่อนายทั้งหลายนอนแล้ว นั่งแลดู
การมาของชายผู้นั้นอยู่ที่ธรณีประตู คิดว่าประเดี๋ยวเขาจักมา ประเดี๋ยว
เขาจักมา จนเวลาล่วงเลยไปถึงปฐมยาม และมัชฌิมยาม. ก็ในเวลา
ใกล้รุ่ง นางหมดหวังว่า เขาคงไม่มาในบัดนี้แน่ จึงนอนหลับไป.
พระโพธิสัตว์ได้เห็นเหตุการณ์นี้ จึงคิดว่า ทาสีนี้นั่งอยู่ได้ตลอดกาล
มีประมาณเท่านี้ ด้วยความหวังว่า ชายผู้นั้นจักมา รู้ว่าบัดนี้เขา
ไม่มา เป็นผู้หมดความหวัง ย่อมนอนหลับสบาย ขึ้นชื่อว่าความหวัง
ในกิเลสทั้งหลาย เป็นทุกข์ ความไม่มีความหวังเท่านั้น เป็นสุข
จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ผู้ไม่มีความหวังย่อมหลับเป็นสุข
ความหวังมีผลก็เป็นสุข นางปิงคลากระทำ
ความหวังจนหมดหวังจึงหลังสบาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผลวตี ความว่า ความหวังที่
ได้ผลนั้น ชื่อว่าเป็นสุข เพราะผลนั้นเป็นสุข. การทำให้หมดหวัง
คือกระทำให้ไม่มีความหวัง อธิบายว่า ตัดเสีย คือละเสีย. บทว่า
ปิงฺคลา ความว่า บัดนี้ นางปิงคลทาสีนี้หลับเป็นสุข.
วันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์นั้นจากบ้านนั้นเข้าไปยังป่า เห็น
ดาบสผู้หนึ่งนั่งเข้าฌานอยู่ในป่า จึงคิดว่า ความสุขอันยิ่งกว่าความสุข
ในฌาน ย่อมไม่มีในโลกนี้และในโลกหน้า จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 587
ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ธรรมคือ
ความสุขอื่นจากสมาธิ ย่อมไม่มี ผู้มีจิต
ตั้งมั่น ย่อมไม่เบียดเบียนทั้งคนอื่นและ
ตนเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมาธิปโร ความว่า ชื่อว่าธรรม
คือความสุขนอกเหนือ คืออื่นจากสมาธิ ย่อมไม่มี.
พระโพธิสัตว์นั้น ครั้นเข้าป่าแล้วบวชเป็นฤๅษี ทำฌานและ
อภิญญาให้เกิดขึ้น ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า ดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กุฏิทูสกชาดก ๒. ทุททุภายชาดก ๓. พรหมทัตตชาดก
๔. จัมมสาฏกชาดก ๕. โคธชาดก ๖. กักการุชาดก ๗. กากาติชาดก
๘. อนนุโสจิยชาดก ๙. กาฬพาหุชาดก ๑๐. สีลวีมังสชาดก.
จบ กุฏีทูสกวรรคที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 588
๘. โกกิลวรรค
๑. โกกาลิกชาดก
ว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด
[๖๒๒] เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่จะพูด ผู้ใดพูดเกิน
กาลไป ผู้นั้นย่อมถูกทำร้ายดุจลูกนกดุเหว่า
ฉะนั้น.
[๖๒๓] มีดที่ลับคมดีแล้ว ดุจยาพิษอันร้ายแรง
หาทำให้ตกไปทันทีทันใด เหมือนวาจาทุพ-
ภาษิตไม่.
[๖๒๔] เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรรักษาวาจาไว้
ทั้งในกาลควรพูดและไม่ควร ไม่ควรพูดให้
ล่วงเวลา แม้ในบุคคลผู้เสมอกับตน.
[๖๒๕] ผู้ใดมีความคิดเห็นเป็นเบื้องหน้า มี
ปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นประจักษ์ พูดพอ
เหมาะในกาลที่ควรพูด ผู้นั้นย่อมจับศัตรูได้
ทั้งหมด ดุจครุฑจับนาคได้ ฉะนั้น.
จบ โกกาลิกชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 589
อรรถกถาโกกิลวรรคที่ ๔
อรรถกถาโกกาลิกชาดกที่ ๑๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระโกกาลิกะ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย เว
กาเล อสมฺปตฺเต ดังนี้. เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารแล้วในตักการิย-
ชาดก. ส่วนเรื่องในอดีตมีดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์แก้วของพระเจ้าพาราณสีนั้น.
พระราชานั้นได้เป็นผู้มีพระดำรัสมาก พระโพธิสัตว์คิดว่า จักห้ามการ
ตรัสมากของพระราชานั้น จึงเที่ยวคิดหาอุบายอย่างหนึ่ง. ครั้นวันหนึ่ง
พระราชาเสด็จไปพระราชอุทยาน แล้วประทับนั่งบนแผ่นศิลาอันเป็น
มงคล. เบื้องบนแผ่นศิลานั้น มีมะม่วงอยู่ต้นหนึ่ง นางนกดุเหว่า
วางฟองไข่ของตนไว้ในรังการังหนึ่ง ณ ต้นมะม่วงนั้น แล้วได้ไปเสีย.
นางกาก็ประคบประหงมฟองไข่นกดุเหล่านั้น. จำเนียรกาลล่วงมา ลูก-
นกดุเหว่าก็ออกจากฟองไข่นั้น. นางกาสำคัญว่าบุตรของเรา จึงนำอาหาร
มาด้วยจงอยปาก ปรนนิบัติลูกนกดุเหว่านั้น. ลูกนกดุเหว่านั้นขนปีก
ยังไม่งอกก็ส่งเสียงร้องเป็นเสียงดุเหว่า ในกาลอันไม่ควรร้องเลย.
นางกาคิดว่า ลูกนกนี้มันร้องเป็นเสียงอื่นในบัดนี้ก่อน เมื่อโตขึ้นจัก
ทำอย่างไร จึงตีด้วยจะงอยปากให้ตายตกไปจากรัง. ลูกนกดุเหว่านั้น
๑. ม. โคลิล ฯ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 590
ตกลงใกล้พระบาทของพระราชา. พระราชารับสั่งถามพระโพธิสัตว์ว่า
สหาย นี่อะไรกัน. พระโพธิสัตว์คิดว่า เราแสวงหาเรื่องเปรียบเทียบ
เพื่อจะห้ามพระราชา บัดนี้ เราได้เรื่องเปรียบเทียบนี้แล้ว จึงกราบทูล
ว่า ข้าแต่มหาราช ขึ้นชื่อว่าคนปากกล้า พูดมากในกาลไม่ควรพูด
ย่อมได้ทุกข์เห็นปานนี้ ข้าแต่มหาราช ลูกนกดุเหว่านี้เจริญเติบโตได้
เพราะนางกา ปีกยังไม่ทันแข็งก็ร้องเป็นเสียงดุเหว่าในเวลาไม่ควรร้อง
ทีนั้น นางการลกนกดุเหว่านั้นว่า นี่ไม่ใช่ลูกของเรา จึงตีด้วยจะงอย
ปากให้ตกลงมา จะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ดิรัจฉานก็ตาม พูดมากใน
กาลไม่ควรพูด ย่อมได้ทุกข์เห็นปานนี้ แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่จะพูด ผู้ใดพูดเกิน
เวลาไป ผู้นั้นย่อมถูกทำร้าย ดุจลูกนก
ดุเหว่าฉะนั้น.
มีดที่ลับคมกริบ ดุจยาพิษที่ร้ายแรง
หาทำให้ตกไปทันทีทันใด เหมือนวาจาทุพ-
ภาษิตไม่.
เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรรักษาวาจาไว้
ทั้งในกาลที่ควรพูดแลไม่ควร ไม่ควรพูดให้
เกินเวลา แม้ในคนผู้เสมอกับตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 591
ผู้ใดมีความคิดเห็นเป็นเบื้องหน้า มี
ปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นประจักษ์ พูดพอ
เหมาะในกาลที่ควรพูด ผู้นั้นย่อมจับศัตรูได้
ทั้งหมด ดุจครุฑจับนาคได้ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเล อสมฺปตฺเต ได้แก่ เมื่อ
กาลที่จะพูดของตน ยังไม่ถึง. บทว่า อติเวล ความว่า ย่อมพูดเกิน
ประมาณ ทำให้ล่วงเลยเวลา. บทว่า หลาหลมฺมิว ตัดเป็น หลาหล
อิว แปลว่า เหมือนยาพิษอันร้ายแรง. บทว่า นิกฺกเฒ ได้แก่
ในขณะนั้นเอง คือในกาลอันยังไม่ถึง. บทว่า ตสฺม ได้แก่ เพราะ
เหตุที่คำทุพภาษิตเท่านั้น ย่อมทำให้ตกไปเร็วพลัน แม้กว่าศัสตราที่
ลับคมกริบ และยาพิษอันร้ายแรง. บทว่า กาเล อกาเล จ ความว่า
บัณฑิตพึงรักษาวาจาทั้งในกาลและมิใช่กาลที่ควรกล่าว ไม่ควรกล่าว
เกินเวลาแม้กะบุคคลผู้เสมอกับตน คือแม้กะบุคคลผู้มีการกระทำไม่
ต่างกัน. บทว่า มติปุพฺโพ ได้แก่ ชื่อว่ามีความคิดเป็นเบื้องหน้า
เพราะกระทำความคิดให้เป็นปุเรจาริกอยู่ข้างหน้าแล้วจึงกล่าว. บทว่า
วิจกฺขโณ ความว่า บุคคลผู้พิจารณาด้วยญาณแล้วได้ประโยชน์ ชื่อว่า
ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์. บทว่า อุรคมิว ตัดเป็น อุรค อิว แปลว่า
เหมือนสัตว์ผู้ไปด้วยอก (งู). ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ครุฑทำ
ทะเลให้ปั่นป่วนแล้วยึด คือจับงูตัวมีขนาดใหญ่ ก็แลครั้นจับได้แล้ว
ทันใดนั้นเอง ก็ยกหิ้วงูนั้นขึ้นสู่ต้นงิ้ว กินเนื้ออยู่ ฉันใด บุคคลผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 592
มีความคิดเกิดขึ้นก่อนเป็นเบื้องหน้า มีปัญญาเป็นเครื่องเห็นประจักษ์
กล่าวพอประมาณในกาลที่ควรกล่าว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมยึดคือ
จับพวกอมิตรทั้งหมดได้ คือทำให้อยู่ในอำนาจของตนได้.
พระราชาทรงสดับธรรมเทศนาของพระโพธิสัตว์แล้ว ตั้งแต่
นั้นมา ก็ได้มีพระดำรัสพอประมาณ. และทรงปูนบำเหน็จยศพระ-
ราชทานแก่พระโพธิสัตว์นั้นให้ใหญ่โตกว่าเดิม.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-
ชุมชาดกว่า. ลูกนกดุเหว่าในกาลนั้น ได้เป็นพระโกกาลิกะ ส่วน
อำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาโกกาลิกชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 593
๒. รถลัฏฐิชาดก
ว่าด้วยใคร่ครวญก่อนแล้วทำ
[๖๒๖] ข้าแต่พระราช บุคคลทำร้ายตนเอง
กลับกล่าวหาว่าคนอื่นทำร้ายดังนี้ก็มี โกงเขา
แล้ว กลับกล่าวหาว่าเขาโกงดังนี้ก็มี ไม่ควร
เชื่อคำของโจทก์ฝ่ายเดียว.
[๖๒๗] เพราะฉะนั้น บุคคลผู้เป็นเชื้อชาติ
บัณฑิตควรฟังคำแม้ของฝ่ายจำเลย เมื่อฟัง
คำของโจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่ายแล้ว พึง
ปฏิบัติตามธรรม.
[๖๒๘] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามคุณ เกียจคร้าน ไม่ดี
บรรพชิตผู้ไม่สำรวม ไม่งาม พระเจ้าแผ่นดิน
ไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำไป ไม่งาม
บัณฑิตมีความโกรธเป็นเจ้าเรือน ก็ไม่งาม.
[๖๒๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ พระมหา-
กษัตริย์ทรงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงปฏิบัติ
ไม่ทรงใคร่ครวญเสียก่อน ไม่ควรปฏิบัติ
อิสริยยศ บริวารยศ และเกียรติคุณของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 594
พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงใคร่ครวญแล้วจึงทรง
ปฏิบัติย่อมมีแต่เจริญขึ้น.
จบ รถลัฏฐิชาดกที่ ๒
อรรถกถารถลัฏฐิชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ปุโรหิตของพระเจ้าโกศล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อปิ หนฺตฺวา หโต พรูติ ดังนี้.
ได้ยินว่า ปุโรหิตนั้นไปบ้านส่วยของตนด้วยรถ ขับรถไปในทาง
แคบ พบหมู่เกวียนพวกหนึ่ง จึงกล่าวว่า พวกท่านจงหลีกเกวียนของ
พวกท่าน ดังนี้แล้วก็จะไป เมื่อเขายังไม่ทันจะหลีกเกวียนก็โกรธ จึง
เอาด้ามปฏักประหารที่แอกรถของนายเกวียนในเกวียนเล่มแรก. ด้าม
ปฏักนั้นกระทบแอกรถก็กระดอนกลับมาพาดหน้าผากของปุโรหิตนั้น
เข้า ทันทีนั้นที่หน้าผากก็มีปมปูดขึ้น. ปุโรหิตนั้นจึงกลับไปกราบทูล
แก่พระราชาว่า ถูกพวกนายเกวียนตี พระราชาจึงทรงสั่งพวกตุลาการ
ให้วินิจฉัย พวกตุลาการจึงให้เรียกพวกนายเกวียนมาแล้ววินิจฉัยอยู่
ได้เห็นแต่โทษผิดของปุโรหิตนั้นเท่านั้น. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
นั่งสนทนากันในธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลายได้ยินว่า ปุโรหิต
ของพระราชาเป็นความหาว่า พวกเกวียนตีตน แต่ตนเองกลับเป็น
ฝ่ายผิด. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 595
พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
ด้วยเรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้
เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ปุโรหิตนี้ก็กระทำกรรมเห็นปานนี้เหมือนกัน
แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ผู้วินิจฉัยของพระเจ้าพาราณสี
นั้นเอง. ข้อความทั้งหมดที่ว่า ครั้งนั้น ปุโรหิตของพระราชา ไปยัง
บ้านส่วยของตนด้วยรถดังนี้เป็นต้น เป็นเช่นกับข้อความอันมีแล้ว
ในเบื้องต้นนั่นแหละ. แต่ในชาดกนี้ เมื่อปุโรหิตนั้นกราบทูลพระราชา
แล้ว พระราชาประทับนั่ง ณ โรงวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง รับสั่ง
ให้เรียกพวกนายเกวียนมา มิได้ทรงชำระการกระทำให้ชัดเจน ตรัสว่า
พวกเจ้าตีปุโรหิตของเรา ทำให้หน้าผากโปขึ้น แล้วตรัสว่า ท่านทั้ง
หลายจงปรับพวกเกวียนเหล่านั้นทั้งหมดคนละพัน. ลำดับนั้น พระ-
โพธิสัตว์กราบทูลพระราชานั้นว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ยังมิได้
ทรงชำระการกระทำให้ชัดแจ้งเลย ทรงให้ปรับพวกเกวียนเหล่านั้น
ทั้งหมดคนละพัน ด้วยว่าคนบางจำพวก แม้ประหารตนด้วยตนเอง
ก็กล่าวหาว่า ถูกคนอื่นประหาร เพราะฉะนั้น การไม่วินิจฉัยแล้ว
สั่งการ ไม่ควร ธรรมดาพระราชาผู้ครองราชสมบัติใคร่ครวญแล้วสั่ง
การจึงจะควร แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 596
ข้าแต่พระราชา บุคคลทำร้ายตนเอง
กลับกล่าวหาว่า คนอื่นทำร้าย ดังนี้ก็มี โกง
เขาแล้ว กลับกล่าวหาว่า เขาโกงดังนี้ก็มี ไม่
ควรเชื่อคำของโจทก์ฝ่ายเดียว.
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้เป็นเชื้อชาติ
บัณฑิต ควรฟังคำแม้ของฝ่ายจำเลยด้วย เมื่อ
ฟังคำของโจทก์และจำเลย คู่ความทั้งสอง
ฝ่ายแล้ว พึงปฏิบัติตามธรรม.
คฤหัสถ์ผู้ยังบริโภคกาม เกียจคร้านไม่ดี
บรรพชิตผู้ไม่สำรวม ไม่ดี พระราชาไม่ทรง
ใคร่ครวญก่อนแล้วทำไป ไม่ดี บัณฑิตมี
ความโกรธเป็นเจ้าเรือน ก็ไม่ดี.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ กษัตริย์
ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงควรกระทำ ไม่ทรง
ใคร่ครวญก่อน ไม่ควรกระทำ อิสริยยศและ
เกียรติศัพท์ ย่อมเจริญแก่กษัตริย์ผู้ทรงใคร่
ครวญแล้วกระทำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 597
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ หนฺตฺวา ความว่า เออก็ คน
บางพวกทำร้ายตนด้วยตนเอง ยังพูดคือกล่าวหาว่า ถูกคนอื่นทำร้าย.
บทว่า เชตฺวา ชิโต ความว่า ก็หรือว่า คนเองโกงคนอื่นแล้วกล่าว
หาว่าเราถูกโกง. บทว่า เอตทตฺถุ ความว่า ข้าแต่มหาราช บุคคล
ไม่ควรเชื่อคำของโจทก์ผู้ไปยังราชสกุลแล้วกล่าวหาก่อน ชื่อว่าผู้ฟ้อง
ร้องก่อนโดยแท้ คือไม่พึงเชื่อคำของโจทก์โดยส่วนเดียว. บทว่า
ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ไม่ควรเชื่อคำของผู้ที่มาพูดก่อนโดยส่วน
เดียว. บทว่า ยถา ธมฺโม ความว่า สภาวะ (หลักการ) วินิจฉัย
ตั้งไว้อย่างใด พึงกระทำอย่างนั้น. บทว่า อสญฺโต ได้แก่ ผู้ไม่
สำรวมกายเป็นต้น คือ เป็นผู้ทุศีล. บทว่า ต น สาธุ ความว่า
ความโกรธกล่าวคือความขุ่นเคืองอันมั่นคง โดยการยึดถือไว้ตลอด
ระยะกาลนานของบัณฑิต คือบุคคลผู้มีความรู้นั้น ไม่ดี. บทว่า
นานิสมฺม ได้แก่ ไม่ทรงใคร่ครวญแล้ว ไม่ควรกระทำ. บทว่า
ทิสมฺปติ ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้เป็นใหญ่แห่งทิศทั้งหลาย.
บทว่า ยโส กิตฺติ จ ความว่า บริวาร คือความเป็นใหญ่ และ
เกียรติศัพท์ย่อมเจริญ.
พระราชาได้สดับคำของพระโพธิสัตว์แล้ว ทรงวินิจฉัยตัดสิน
โดยธรรม. เมื่อทรงวินิจฉัยโดยธรรม โทษผิดจึงมีแก่พราหมณ์เท่านั้น
แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 598
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้เป็นพราหมณ์นี่แหละในบัดนี้
ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิต ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถารถลัฏฐิชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 599
๓. โคธชาดก
เขารักก็รักมั่ง เขาชังก็ชังตอบ
[๖๓๐] หม่อมฉันทราบว่า พระองค์ผู้ทรงดำรง
รัฐจะไม่ทรงอาลัยใยดีต่อหม่อมฉัน ตั้งแต่
ครั้งเมื่อพระองค์ทรงภูษาเปลือกไม้ เหน็บ
พระแสงขรรค์ ทรงผูกสอดเครื่องครบ ประ-
ทับอยู่กลางป่า เหี้ยย่างได้หนีไปจากกิ่งไม้
อัสสัตถะแล้ว.
[๖๓๑] พึงอ่อนน้อมต่อผู้ที่อ่อนน้อม พึงคบผู้
ที่เขาพอใจจะคบด้วย พึงทำกิจแก่ผู้ที่ช่วย
ทำกิจ ไม่พึงทำความเจริญให้แก่ผู้ที่ใคร่
ความเสื่อม อนึ่ง ไม่พึงคบหาสมาคมกับผู้
ที่เขาไม่พอใจจะคบหาสมาคมด้วย.
[๖๓๒] พึงละทิ้งผู้ที่เขาละทิ้ง ไม่พึงทำความ
สิเนหาในผู้เลิกลากัน ไม่พึงสมาคมกับผู้มี
จิตคิดออกห่าง นกรู้ว่าต้นไม้มีผลหมดแล้ว
ย่อมบินไปสู่ต้นอื่นที่เต็มไปด้วยผล ฉันใด
คนก็ฉันนั้น รู้ว่าเขาหมดความอาลัยแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 600
ก็ควรจะเลือกหาคนอื่นที่เขาสมัครรักใคร่
เพราะว่าโลกกว้างใหญ่พอ.
[๖๓๓] ฉันเป็นกษัตริย์มุ่งความกตัญญู จะทำ
ตอบแทนแต่เธอตามสติกำลัง อนึ่ง ฉันจะ
มอบอำนาจให้แก่เธอทั้งหมด เธอต้องการ
สิ่งใดแก่คนใดฉันจะให้สิ่งนั้นแก่เธอ เพื่อ
คนนั้น.
จบ โคธชาดกที่ ๓
อรรถกถาโคธชาดกที่ ๓
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
กุฎุมพีผู้หนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ตเทว เม
ตฺว ดังนี้.
เรื่องปัจจุบัน ได้ให้พิสดารแล้วในหนหลังนั่นแหละ แต่ใน
ชาดกนี้ เมื่อสามีภรรยาทั้งสองนั้น ชำระสะสางหนี้สินเสร็จแล้ว
กลับมา ในระหว่างทาง พรานได้ให้เหี้ยย่างตัวหนึ่ง โดยพูดว่า ท่าน
ทั้งสองจงกิน. บุรุษผู้เป็นสามีนั้นสั่งภรรยาไปหาน้ำดื่ม แล้วกินเหี้ย
หมด ในเวลาภรรยานั้นกลับมาจึงกล่าวว่า นางผู้เจริญ เหี้ยหนีไป
เสียแล้ว. ภรรยากล่าวว่า ดีละนาย เมื่อเหี้ยย่างมันหนีไป ดิฉันจะ
อาจทำอะไร. ภรรยานั้นดื่มน้ำในพระเชตวันแล้วนั่งรวมกันในสำนัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 601
ของพระศาสดา ผู้อันพระศาสดาตรัสถามว่า อุบาสิกา สามีของท่าน
นี้ยังปรารถนาประโยชน์เกื้อกูล มีความรักดี อุปการะช่วยเหลือแก่ท่าน
ดีอยู่หรือ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังมีความ
ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูล มีความรักแก่สามีนี้ดีอยู่ แต่สามีนี้ไม่มี
ความรักในข้าพระองค์เลย. พระศาสดาตรัสว่า ช่างเขาเถอะ อย่า
คิดเลย สามีนี้ย่อมกระทำชื่ออย่างนี้ ก็เมื่อใด เขาระลึกคุณของท่าน
ได้ เมื่อนั้น เขาจะให้ความเป็นใหญ่ทั้งหมด เฉพาะท่านเท่านั้น อัน
สามีภรรยาทั้งสองนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา
สาธก ดังต่อไปนี้ :-
แม้เรื่องในอดีต ก็เป็นเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้น
เหมือนกัน. แต่ในชาดกนี้ เมื่อพระราชบุตรและชายานั้นเสด็จกลับ
ในระหว่างทาง นายพรานทั้งหลายเห็นความอิดโรยของคนทั้งสอง
จึงได้ให้เหี้ยย่างตัวหนึ่ง บอกว่า ท่านทั้งสองคนจงกินเสียเถิด. พระ-
ราชธิดาเอาเถาวัลย์พันเหี้ยนั้นแล้วถือเดินทางไป. เธอทั้งสองนั้นพบ
สระน้ำแห่งหนึ่ง จึงแวะลงจากทาง นั่งที่โคนต้นอัสสัตถะ. พระ-
ราชบุตรตรัสว่า นางผู้เจริญ เธอจงไปนำน้ำจากสระมาด้วยใบบัว เรา
จักได้กินเนื้อกัน. พระราชธิดานั้นแขวนเหี้ยไว้ที่กิ่งไม้แล้วไปเพื่อนำ
น้ำมา ฝ่ายพระราชบุตรเสวยเหี้ยหมดแล้ว ทรงนั่งเบือนพระพักตร์
จับปลายหางเหี้ยอยู่. พระราชบุตรนั้น ในเวลาพระราชธิดาถือน้ำดื่ม
เสด็จมา จึงตรัสว่า นางผู้เจริญ เหี้ยลงจากกิ่งไม้เข้าไปยังจอมปลวก
เราวิ่งไล่จับปลายหางไว้ได้ ตัวมันขาดเข้าปล่องไป เหลือแต่ที่จับได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 602
เฉพาะในมือเท่านั้น. พระราชธิดาทูลว่า ช่างเถอะพระองค์ เมื่อเหี้ย
ย่างมันหนีไปได้ เราจักทำอะไรได้ มาเถิดพวกเราไปกันเถอะ. เธอ
ทั้งสองนั้นดื่มน้ำแล้วไปถึงพระนครพาราณสี พระราชบุตรได้ราชสม-
บัติแล้วทรงตั้งพระราชธิดานั้นไว้ เพียงในตำแหน่งอัครมเหสี ส่วน
สักการะและสัมมานะ ไม่มีแก่พระนาง. พระโพธิสัตว์ประสงค์จะให้
พระราชากระทำสักการะแก่พระนาง จึงยืนอยู่ในสำนักของพระราชา
แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ข้าพระองค์ไม่ได้อะไร ๆ จากสำนัก
ของพระองค์มิใช่หรือ ทำไมไม่ทรงเหลียวแลข้าพระองค์เลย. พระ-
เทวีตรัสว่า ดูก่อนพ่อ เราเองก็ไม่ได้อะไรจากสำนักของพระราชา
เราจักให้อะไรท่านเล่า จนบัดนี้ แม้พระราชาก็จัก ประทานอะไรแก่ฉัน
ในเวลาเสด็จมาจากป่า ท้าวเธอเสวยเหี้ยย่างแต่พระองค์เดียว. พระ-
โพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระองค์ผู้ประเสริฐจักไม่ทรง
การทำเช่นนี้แน่ พระองค์โปรดอย่างได้ตรัสอย่างนี้เลย. ลำดับนั้น
พระเทวีจึงตรัสกะพระโพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อนพ่อ เรื่องนั้นไม่ปรากฏ
แก่ท่าน ปรากฏเฉพาะแก่พระราชาและฉันเท่านั้น แล้วตรัสคาถาที่
๑ ว่า :-
หม่อมฉันทราบว่า พระองค์ผู้ประเสริฐ
จะไม่ทรงใยดีต่อหม่อมฉัน แต่ครั้งเมื่อพระ-
องค์ทรงภูษาเปลือกไม้ เหน็บพระแสงขรรค์
ทรงผูกสอดเครื่องรบประทับอยู่ท่ามกลางป่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 603
เหี้ยย่างได้หนีไปจากกิ่งไม้อัสสัตถะแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเทว ความว่า ในกาลนั้น
นั่นแหละ หม่อมฉันทราบพระองค์ได้อย่างนี้ว่า พระราชานี้ไม่ประ-
ทานอะไรแก่หม่อมฉัน แต่คนอื่น ๆ ย่อมไม่รู้สภาวะของพระองค์.
บทว่า ขคฺคพนฺธสฺส ได้แก่ ผู้ทรงเหน็บพระขรรค์. บทว่า ติรี-
ฏิโน ความว่า ในเวลาพระองค์ทรงฉลองพระภูษาเปลือกไม้เสด็จมา
ตามทาง. บทว่า ปกฺกา ความว่า เหี้ยย่างด้วยถ่านไฟหนีไปแล้ว.
พระเทวีตรัสโทษที่พระราชาทรงกระทำไว้ ให้ปรากฏในท่าม
กลางบริษัท ด้วยประการอย่างนี้. พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงกราบ-
ทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า เพราะกระทำความไม่ผาสุขให้แก่ทั้งสอง
พระองค์ จำเดิมแต่เวลาไม่เป็นที่โปรดปรานของพระราชาผู้ประเสริฐ
พระองค์จะประทับอยู่ในที่นี้เพราะอะไร แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถา
นี้ว่า :-
พึงอ่อนน้อมต่อผู้อ่อนน้อม พึงคบผู้ที่
เขาพอใจจะคบด้วย พึงทำกิจแก่ผู้ที่ช่วยทำ
กิจ ไม่พึงทำความเจริญแก่ผู้ที่ใคร่ความเสื่อม
อนึ่ง ไม่พึงคบกับผู้ที่ไม่พอใจจะคบด้วย.
พึงละทิ้งผู้ที่เขาทิ้งเรา ไม่พึงทำความ
สิเนหาในผู้เลิกลากัน ไม่พึงสมาคมกับผู้มี
จิตคิดออกห่าง นกรู้ว่าต้นไม้มีผลหมดแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 604
ย่อมบินไปสู่ต้นอื่นที่เต็มไปด้วยผล ฉันใด
คนก็ฉันนั้น รู้ว่าเขาหมดความอาลัยแล้ว
ก็ควรจะเลือกหาคนอื่นที่เขาสมัครรักใคร่
เพราะว่าโลกกว้างใหญ่พอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นเม นมนฺตสฺส ความว่า ผู้
ใดนอบน้อมตนด้วยจิตใจอันอ่อนโยน พึงนอบน้อบตอบผู้นั้นเท่านั้น.
บทว่า กิจฺจานุกุพฺพสฺส ผู้ช่วยทำกิจอันเกิดขึ้นแก่ตนเท่านั้น.
บทว่า นานตฺถกามสฺส ได้แก่ ผู้ไม่ต้องการความเจริญ. บทว่า
วนถ น กยิรา ความว่า ไม่พึงกระทำความสิเนหาด้วยอำนาจความ
อยากในคนผู้ละทิ้งนั้น. บทว่า อเปตจิตฺเตน ได้แก่ ผู้มีจิตเหินห่าง
คือ ผู้มีจิตหน่ายแหนง. บทว่า น สมฺภเชยฺย ได้แก่ ไม่พึงสมาคม.
บทว่า อญฺ สเมกฺเขยฺย ได้แก่ พึงเลือกดูคนอื่น. อธิบายว่า
นกรู้ว่าต้นไม้ไร้ผล ย่อมไปยังต้นอื่นซึ่งมีผลดก ฉันใด คนก็ฉันนั้น
รู้ว่าชายเขาสิ้นความรักใคร่แล้ว พึงเข้าไปหาคนอื่นที่เขารักด้วยดี.
พระราชา เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอยู่นั้นแล ระลึกถึงคุณความ
ดีของพระเทวีนั้นได้ จึงตรัสว่า น้องนางผู้เจริญ พี่ไม่ได้กำหนดคุณ
ความดีของเธอ สิ้นกาลมีประมาณเท่านี้. ฉันกำหนดได้เพราะถ้อยคำ
ของบัณฑิตนี่เอง จะให้ราชสมบัตินี้เฉพาะแก่เธอผู้อดกลั้นความผิด
ของฉันได้ แล้วตรัสคาถาที่ ๔ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 605
เรานั้นเป็นกษัตริย์มุ่งความกตัญญู จะ
กระทำตอบแทนเธอตามอานุภาพ อนึ่ง เรา
จะมอบความเป็นใหญ่ทั้งหมดให้แก่เธอ เธอ
อยากได้สิ่งใดเพื่อคนใด เราจะให้สิ่งนั้นแก่
เธอเพื่อคนนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส แปลว่า เรานั้น. บทว่า
ยถานุภาว ได้แก่ ตามสติกำลัง. บทว่า ยสฺสิจฺฉสิ ความว่า เธอ
อยากได้เพื่อจะให้แก่คนใด เราจะให้สิ่งที่เธออยากได้ตั้งต้นแก่ราช-
สมบัตินี้ไป เพื่อคนนั้น.
พระราชาครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ประทานความเป็นใหญ่
ทั้งปวงแก่พระเทวี. และทรงดำริว่า บัณฑิตนี้ทำให้เราระลึกถึงคุณ
ความดีของพระเทวีนี้ จึงได้ประทานอิสริยยศใหญ่แม้แก่บัณฑิตด้วย.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประกาศสัจจะ แล้วทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสัจจะ ผัวเมีย
ทั้งสองคนได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ผัวและเมียในครั้งนั้น ได้เป็น
ผัวและเมียนี่แหละในบัดนี้ ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้
เป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาโคธชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 606
๔. ราโชวาทชาดก
ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้นำ
[๖๓๔] ถ้าเมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำไป โค
หัวหน้าฝูงว่ายคด เมื่อโคผู้นำฝูงว่ายคด
อย่างนี้ โคทั้งหมดก็ย่อมว่ายคดไปตามกัน.
[๖๓๕] ในมนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกัน ผู้ใด
ได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้น
ประพฤติไม่เป็นธรรม ประชาชนนอกนี้ก็
ประพฤติไม่เป็นธรรมโดยแท้ ถ้าพระราชา
ผู้เป็นใหญ่ไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐย่อมอยู่
เป็นทุกข์ทั่วกัน.
[๖๓๖] ถ้าเมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำไป
โคหัวหน้าฝูงว่ายข้ามตรง เมื่อโคผู้นำฝูง
ว่ายข้ามตรงอย่างนั้น โคทั้งหมดก็ย่อมว่าย
ข้ามตรงไปตามกัน
[๖๓๗] ในหมู่มนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกัน ผู้ใด
ได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้น
ประพฤติเป็นธรรม ประชาชนนอกนี้ก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 607
ย่อมประพฤติเป็นธรรมไปตามโดยแท้ ถ้า
พระราชาเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม รัฐก็ย่อมอยู่
เป็นสุขทั่วกัน.
จบ ราโชวาทชาดกที่ ๔
อรรถกถาโชวาทชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ราโชวาท จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ควนฺเจ ตรมา-
นาน ดังนี้
เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งในสกุณชาดก ส่วนในชาดกนี้ พระ-
ศาสดาตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร แม้พระราชาครั้งแต่ก่อน ทรงสดับ
ถ้อยคำของบัณฑิตทั้งหลายแล้ว ครองราชสมบัติโดยธรรม บำเพ็ญ
ทางไปสวรรค์ให้บริบูรณ์ไปแล้ว อันพระราชาทรงอาราธนาแล้ว
จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัย
แล้ว เรียนศิลปะทั้งปวงเสร็จแล้ว บวชเป็นฤาษี ทำอภิญญาและ
สมาบัติให้บังเกิดแล้ว มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่ใน
หิมวันตประเทศอันน่ารื่นรมย์. ในกาลนั้น พระราชาทรงรังเกียจโทษ
มิใช่คุณความดี ทรงพระดำริว่า ใคร ๆ ผู้กล่าวโทษใช่คุณของเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 608
มีอยู่หรือ จึงทรงแสวงหาอยู่ มิได้พบเห็นใคร ๆ ผู้มักกล่าวโทษ
ของพระองค์ทั้งในอันโตชนและพาหิรชน ทั้งในพระนครและนอก
พระนคร ทรงพระดำริว่า ในชาวชนบทจะเป็นอย่างไรบ้าง จึงปลอม
พระองค์ เสด็จเที่ยวไปตามชนบท แม้ในชนบทนั้น ก็มิได้ทรงเห็น
คนผู้กล่าวโทษ ได้ทรงสดับแต่คำสรรเสริญคุณของพระองค์นั้น จึง
ทรงดำริว่า ในหิมวันตประเทศจะเป็นอย่างไรบ้าง แล้วเสด็จเข้าไป
ยังป่าเที่ยวไปจนถึงอาศรมของพระโพธิสัตว์ ทรงอภิวาทพระโพธิสัตว์
นั้นแล้ว ทรงทำปฏิสันถารแล้วประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้งนั้น
พระโพธิสัตว์นำผลนิโครธสุกจากป่ามาบริโภค. ผลนิโครธสุกเหล่านั้น
หวานมีโอชะ มีรสเสมอด้วยจุรณน้ำตาลกรวด. พระโพธิสัตว์นั้น
ทูลเชิญพระราชาแล้วทูลว่า ท่านผู้มีบุญมาก เชิญท่านบริโภคผล
นิโครธสุกนี้แล้วดื่มน้ำ. พระราชาทรงกระทำอย่างนั้นแล้วตรัสถาม
พระโพธิสัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอะไรหนอ ผลนิโครธสุกนี้
จึงหวานดีจริง. พระโพธิสัตว์ทูลว่า ท่านผู้มีบุญมาก พระราชา
ทรงครองราชสมบัติโดยธรรมโดยเสมอ เป็นแน่ เพราะเหตุนั้นแหละ
ผลนิโครธสุกนั้น จึงหวาน. พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ในเวลา
ที่พระราชาได้ดำรงอยู่ในธรรม ผลนิโครธสุกย่อมไม่หวานหรือหนอ.
พระโพธิสัตว์ทูลว่า ใช่ ท่านผู้มีบุญมาก เมื่อพระราชาทั้งหลายไม่
ดำรงอยู่ในธรรม น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้นก็ดี รากไม้และ
ผลไม้ในป่าเป็นต้นก็ดี ย่อมไม่หวาน หมดโอชะ อีกอย่างหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 609
มิใช่สิ่งเหล่านี้อย่างเดียว แม้รัฐทั้งสิ้นก็หมดโอชะ ไร้ค่า แต่เมื่อ
พระราชาทั้งหลายนั้นทรงดำรงอยู่ในธรรม แม้สิ่งเหล่านั้นก็ย่อมหวาน
มีโอชะ รัฐแม้ทั้งสิ้นก็ย่อมมีโอชะเหมือนกัน. พระราชาตรัสว่า
ท่านผู้เจริญ คงจักเป็นอย่างนั้น ทรงไม่ให้รู้ว่าพระองค์เป็นพระราชา
เลย ทรงไหว้พระโพธิสัตว์แล้วเสด็จไปยังนครพาราณสี ทรงดำริว่า
จักทดลองทำตามคำของพระดาบส จึงทรงครองราชสมบัติโดยไม่เป็น
ธรรม ทรงดำริว่า จักรู้ความจริงในบัดนี้ จึงให้เวลาล่วงไปเล็กน้อย
แล้วเสด็จไปที่สำนักของพระโพธิสัตว์นั้นอีก ทรงไหว้แล้วประทับนั่ง
ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็กล่าวเหมือนอย่างนั้นแหละ
แล้วได้ถวายผลนิโครธสุกแก่พระราชานั้น. ผลนิโครธสุกนั้นได้มี
รสขมแก่พระราชานั้น. พระราชาทรงรู้สึกว่าไม่มีรสหวาน จึงถ่มทิ้ง
พร้อมกับเขฬะ แล้วกล่าวว่า ขม ท่านผู้เจริญ. พระโพธิสัตว์ทูลว่า
ท่านผู้มีบุญมาก พระราชาจักไม่ทรงประพฤติธรรมเป็นแน่ เพราะ
ในกาลที่พระราชาทั้งหลายไม่ทรงประพฤติธรรม สิ่งทั้งหมดตั้งต้นแต่
ผลาผลในป่า ย่อมหารสหาโอชะมิได้ แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
ถ้าเมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำไป โค
หัวหน้าฝูงว่ายคด เมื่อโคผู้นำฝูงว่ายคดอย่าง
นี้ โคทั้งหมดก็ย่อมว่ายคดไปตามกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 610
ในมนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกัน ผู้ใด
ได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้น
ประพฤติไม่เป็นธรรม ประชาชนนอกนี้ก็
ประพฤติไม่เป็นธรรมโดยแท้ ถ้าพระราชา
ผู้เป็นใหญ่ไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐก็ย่อมอยู่
เป็นทุกข์ทั่วกัน.
ถ้าเมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำไป
โคหัวหน้าฝูงว่ายข้ามไปตรง เมื่อโคหัวหน้า
ฝูงว่ายข้ามไปตรงอย่างนั้น โคทั้งหมดก็ย่อม
ว่ายข้ามไปตรงตามกัน.
ในหมู่มนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกัน ผู้ใด
ได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้น
ประพฤติเป็นธรรม ประชาชนนอกนี้ก็ย่อม
ประพฤติเป็นธรรมโดยแท้ ถ้าพระราชาเป็น
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม รัฐก็ย่อมอยู่เป็นสุขทั่วกัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ควญฺเจ ตรมานาน ความว่า
เมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำ. บทว่า ชิมฺห ได้แก่ คด คือ โค้ง.
บทว่า เนนฺเต ความว่า เมื่อโคผู้หัวหน้าโค คือโคจ่าฝูงผู้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 611
หัวหน้าโค นำไปคือพาไป. บทว่า ปเคว อิตรา ปชา ความว่า
สัตว์ทั้งหลายนอกนี้ ก็ย่อมประพฤติไม่เป็นธรรมตาม ๆ กัน. บทว่า
ทุกฺข เสติ ความว่า มิใช่จะอยู่เป็นทุกข์อย่างเดียวย่อมได้ประสบทุกข์
ในอิริยาบถแม้ทั้ง ๔ ด้วย. บทว่า อธมฺมิโก ความว่า ถ้าพระราชา
ประพฤติไม่เป็นธรรม โดยลุแก่อคติมีฉันทาคติเป็นต้น. บทว่า
สุข เสติ ความว่า ถ้าพระราชาทรงละการลุอำนาจอคติ ดำรงอยู่
ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมจะถึงความสุขอย่างเดียว ในอิริยาบถทั้ง ๔.
พระราชาทรงสดับธรรมของพระโพธิสัตว์ จึงให้รู้ว่าพระองค์
เป็นพระราชา แล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพเจ้าเองกระทำ
ผลนิโครธสุกให้หวาน แล้วได้ทำให้ขม บัดนี้ จักกระทำให้หวาน
ต่อไป แล้วทรงไหว้พระโพธิสัตว์ เสด็จกลับพระนครครองราชสมบัติ
โดยธรรม ได้ทรงกระทำสรรพสิ่งทั้งปวงให้กลับเป็นปกติตามเดิม.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพรนะอานนท์ ส่วนดาบส
ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาราโชวาทชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 612
๕. ชัมพุกชาดก
ว่าด้วยโทษที่ไม่รู้ประมารตน
[๖๓๘] ดูก่อนสุนัขจิ้งจอก ช้างนั้นตัวใหญ่ ร่าง
กายสูง งาก็ยาว ตัวท่านไม่ได้เกิดในตระกูล
สัตว์ที่จะจับมันได้.
[๖๓๙] ผู้ใดมิใช่ราชสีห์ ยกตนเพราะสำคัญว่า
เป็นราชสีห์ ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือนสุนัขจิ้ง-
จอกถูกช้างเหยียบ นอนหายใจแขม่ว ๆ
อยู่บนแผ่นดิน.
[๖๔๐] ผู้ใดไม่รู้จักกำลังกาย กำลังความคิด และ
ชาติของผู้มียศเป็นชนชั้นสูง มีข้อลำล่ำสัน
กำลังมาก ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือนสุนัขจิ้งจอก
ถูกช้างเหยียบนอนตายอยู่นี้.
[๖๔๑] ส่วนผู้ใดใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำการ
งาน รู้จักกำลังกายและกำลังความคิดของตน
กำหนดด้วยคำพูดอันประกอบด้วยปัญญา
เป็นวาจาสุภาษิตผู้นั้นย่อมมีชัยอย่างไพบูลย์.
จบ ชัมพุกชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 613
อรรถกถาชัมพุกชาดกที่ ๕
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภ
เหตุที่พระเทวทัตทำท่าทางอย่างพระสุคตเจ้า จึงตรัสพระธรรมเทศนา
นี้ มีคำเริ่มต้นว่า พฺรหา ปวฑฺฒกาโย ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารแล้วในขึ้นหลังแล. ส่วนในชาดกนี้
มีความย่อดังต่อไปนี้ :- พระศาสดาตรัสถามว่า สารีบุตร พระเทวทัต
เห็นพวกเธอแล้วกระทำอย่างไร พระเถระจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระเทวทัตนั้นเมื่อจะกระทำตามพระองค์ ให้พันในมือ
ข้าพระองค์แล้วนอน ที่นั้น พระโกกาลิกะจึงเอาเข่าประหารพระเทวทัต
นั้นที่อก พระเทวทัตนั้นกระทำตามพระองค์ ได้เสวยทุกข์เห็นปานนี้.
พระศาสดาทรงสดับดังนั้นจึงตรัสว่า สารีบุตร เทวทัตกระทำตาม
กิริยาท่าทางของเรา จึงเสวยความทุกข์ มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ใน
กาลก่อน ก็ได้เสวยมาแล้วเหมือนกัน อันพระเถระทูลอาราธนาแล้ว
จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดราชสีห์ อยู่ในถ้ำ ณ หิมวันต-
ประเทศ วันหนึ่ง ฆ่ากระบือแล้วกินเนื้อ ดื่มน้ำ แล้วกลับมายังถ้ำ
สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งพบราชสีห์นั้น เมื่อไม่อาจหลบหนี จึงนอนหมอบ
เมื่อราชสีห์กล่าวว่า อะไรกัน สุนัขจิ้งจอก มันจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 614
ข้าพเจ้าจักอุปัฏฐากท่าน. ราชสีห์กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงมา แล้ว
นำสุนัขจิ้งจอกนั้นไปยังสถานที่อยู่ของตน แล้วนำเนื้อมาเลี้ยงดูมัน
ทุกวัน ๆ เมื่อสุนัขจิ้งจอกนั้นมีร่างกายอ้วนพีเพราะกินเดนของราชสีห์
วันหนึ่ง เกิดมานะขึ้นมาก มันจึงเข้าไปหาราชสีห์แล้วกล่าวว่า ข้าแต่
นาย ข้าพเจ้าเป็นกังวลสำหรับท่านมาตลอดกาลนาน ท่านนำเนื้อมา
เลี้ยงข้าพเจ้าเป็นนิจ วันนี้ ท่านจงอยู่ที่นี้แหละ ข้าพเจ้าจักฆ่าช้าง
เชือกหนึ่งกินเนื้อมันแล้วจักนำมาเผือท่านด้วย. ราชสีห์กล่าวว่า สุนัข
จิ้งจอกเจ้าอย่าพอใจเรื่องฆ่าช้างนี้เลย เพราะเจ้ามิได้เกิดในกำเนิด
สัตว์ที่ฆ่าช้างกินเนื้อ เราจักฆ่าช้างให้แก่เจ้า ธรรมดาช้างทั้งหลาย
ตัวใหญ่ร่างกายสูง เจ้าอย่าสวนหน้าจับ เจ้าจงทำตามคำของเรา
แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ดูก่อนสุนัขจิ้งจอก ช้างนั้นตัวใหญ่
ร่างกายสูง งาก็ยาว ตัวเจ้าไม่ได้เกิดในตระกูล
สัตว์ที่จะจับช้างได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหา แปลว่า ใหญ่ บทว่า
ปวฑฺฒกาโย ได้แก่ มีร่างกายสูงตระหง่าน. บทว่า ทีฆทาโฒ
ความว่า ช้างนั้นมีงายาว มันจะเอางาประหารผู้เช่นเจ้าให้ถึงความสิ้น
ชีวิต. บทว่า ยตฺถ ความว่า เจ้ามิได้เกิดในตระกูลราชสีห์ที่จะจับ
ช้างซับมันตัวประเสริฐ. อธิบายว่า ก็เจ้าเกิดในตระกูลสุนัขจิ้งจอก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 615
สุนัขจิ้งจอก เมื่อราชสีห์ห้ามอยู่ ก็ขึ้นออกจากถ้ำ บันลืออย่าง
สุนับจิ้งจอก ๓ ครั้งว่า ฮก ๆ ๆ แล้วยืนบนยอดเขา แลดูที่เชิงเขาเห็น
ช้างดำเชือกหนึ่งกำลังเดินไปตามเชิงเขา จึงโดดไปหมายว่าจักตกลง
บนกระพองของช้างนั้น แต่พลาดตกไปที่ใกล้เท้า. ช้างยกเท้าหน้า
เหยียบลงบนกระหม่อมของสุนัขจิ้งจอกนั้น ศีรษะแตกแหลกละเอียด
เป็นจุรณวิจุรณไป. สุนัขจิ้งจอกนั้นนอนทอดถอนใจอยู่ ณ ที่นั้นเอง.
ช้างส่งเสียงโกญจนาทแปร๋นแปร๋นหลีกไป. พระโพธิสัตว์ไปยืนอยู่บน
ยอดเขา เห็นสุนัขจิ้งจอกนั้นถึงความพินาศ จึงกล่าวว่า สุนัขจิ้งจอกได้
รับความฉิบหาย เพราะอาศัยมานะของตน แล้วกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-
ผู้ใดมิใช่ราชสีห์ ยกตนเพราะสำคัญว่า
เป็นราชสีห์ ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือนสุนัขจิ้งจอก
ถูกช้างเหยียบนอนหายใจแขม่วอยู่บนแผ่น
ดิน.
ผู้ใดไม่รู้จักกำลังกาย กำลังความคิด
และชาติสกุลของผู้มียศ เป็นคนชั้นสูง มี
ข้อลำล่ำสัน มีกำลังมาก ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือน
สุนัขจิ้งจอก ถูกช้างเหยียบนอนตายอยู่นี้.
ส่วนผู้ใดใคร่ครวญก่อนแล้ว จึงทำการ
งาน รู้จักกำลังกายและกำลังความคิดของตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 616
ด้วยการเล่าเรียนด้วยความคิด และด้วยคำ
สุภาษิต ผู้นั้นย่อมมีชัยอย่างไพบูลย์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิกุพฺพติ ได้แก่ ย่อมยังตนให้
แปรเปลี่ยนไป. บทว่า กุฏฺฐุว แปลว่า เหมือนสุนัขจิ้งจอก. บทว่า
อนุตฺถุน แปลว่า ทอดถอนใจอยู่. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า สุนัข
จิ้งจอกนี้ได้รับทุกขเวทนาอย่างมหันต์ นอนถอนใจอยู่บนภาคพื้น
ฉันใด แม้คนอื่นที่ด้วยกำลังทำการทะเลาะกับผู้มีกำลังก็ฉันนั้น ย่อม
เป็นผู้เห็นปานสุนัขจิ้งจอกนั้นทีเดียว. บทว่า ยสสฺสิโน ได้แก่ ผู้มี
ความเป็นใหญ่. บทว่า อุตฺตมปุคฺคลสฺส ได้แก่ บุคคลผู้สูงสุดด้วย
กำลังกายและกำลังญาณ. บทว่า สญฺชาตกฺขนฺธสฺส ได้แก่ มีข้อ
ลำใหญ่ตั้งอยู่เรียบร้อย. บทว่า มหพฺพลสฺส ได้แก่ ผู้มีเรี่ยวแรงมาก.
บทว่า ถามพลูปปตฺตึ ความว่า ไม่รู้กำลัง คือเรี่ยวแรง และการ
อุปบัติคือชาติกำเนิดเป็นราชสีห์ ของราชสีห์เห็นปานนี้ ใจความดังนี้
ก็มีว่า สุนัขจิ้งจอกไม่รู้แรงกาย กำลังญาณและการอุปบัติเป็นราชสีห์.
บทว่า ส เสติ ความว่า สุนัขจิ้งจอกนี้นั้นสำคัญแม้ตนว่าเป็นเช่น
ราชสีห์นั้น จึงถูกช้างฆ่านอนตายอยู่. บทว่า ปมาย ได้แก่ ใคร่ครวญ
คือ พิจารณา. บาลีว่า ปมาณา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ผู้ใดถือประมาณ
ของตนแล้วกระทำโดยประมาณของตน. บทว่า. ถามพล ได้แก่ กำลัง
คือเรี่ยวแรง. อธิบายว่า เรี่ยวแรงทางกายและกำลังญาณดังนี้บ้างก็ได้.
บทว่า ชปฺเปน ได้แก่ ด้วยการเล่าเรียน คือการศึกษา. บทว่า มนฺเตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 617
ได้แก่ ด้วยการปรึกษากับบัณฑิตทั้งหลายอื่นแล้วจึงกระทำ. บทว่า
สุภาสิเตน ได้แก่ ด้วยคำพูดอันไม่มีโทษ ประกอบด้วยคุณมีสัจจะ
เป็นต้น. บทว่า ปริกขวา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยการกำหนด. บทว่า
โส วิปุล ชินาติ บุคคลใดย่อมเป็นผู้เห็นปานนั้น คือ เมื่อจะทำ
การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง รู้เรี่ยวแรงกาย และกำลังความรู้ของตน
แล้วกำหนดด้วยอำนาจการศึกษาเล่าเรียนและการปรึกษาหารือ พูดแต่
คำเป็นสุภาษิตจึงกระทำ บุคคลนั้นย่อมชนะคือไม่เสื่อมประโยชน์อัน
ไพบูลย์และมากมาย.
พระโพธิสัตว์กล่าวกรรมที่ควรกระทำในโลกนี้ด้วยคาถา ๓ คาถา
เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้น ได้เป็นเทวทัตในบัดนี้ ส่วน
ราชสีห์ในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาชัมพุกชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 618
๖. พรหาฉัตตชาดก
เอาของน้อยแลกของมาก
[๖๔๒] พระองค์ตรัสเพ้ออยู่ว่า หญ้า ๆ ใคร
หนอนำเอาหญ้ามาถวายพระองค์ พระองค์มี
กิจด้วยหญ้าหรือหนอ จึงตรัสถึงแต่หญ้า
เท่านั้น.
[๖๔๓] ฉัตตฤๅษีผู้มีร่างกายสูงใหญ่ เป็นพรหม-
จารี เป็นพหูสูต มาอยู่ ณ ที่นี้ เขาลักเอา
ทรัพย์ของเราจนหมดสิ้นแล้ว ยังใส่หญ้าไว้
ในนุ่มแล้วหนีไป.
[๖๔๔] การถือเอาทรัพย์ของตนไปหมด และ
การไม่ถือเอาหญ้า เป็นกิจที่ผู้ปรารถนาของ
น้อย แลเอาของมากพึงกระทำอย่างนั้น
ฉัตตฤๅษีใส่หญ้าไว้ในตุ่มหนีไปแล้ว การ
ปริเวทนาเพราะเรื่องนั้น จะมีประโยชน์อะไร.
[๖๔๕] ผู้มีศีลทั้งหลายย่อมไม่ทำอย่างนั้น คน
พาลย่อมกระทำอนาจารอย่างนี้ ความเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 619
บัณฑิตจักทำคนทุศีล มีศีลไม่ยั่งยืน ให้
เป็นคนอย่างไร.
จบ พรหาฉัตตชาดกที่ ๖
อรรถกถาพรหาฉัตตชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุโกหก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ติณ ติณนฺติ
ลปสิ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันได้กล่าวไว้แล้วเหมือนกัน. ส่วนเรื่องในอดีตมีข้อ
ความดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร.
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ผู้สอนอรรถและธรรม ของ
พระเจ้าพาราณสีนั้น. พระเจ้าพาราณสีทรงยกกองทัพใหญ่ไปเฉพาะ
พระเจ้าโกศล เสด็จในนครสาวัตถีเข้านครแล้วจับพระเจ้าโกศลได้ด้วย
การรบ. ก็พระเจ้าโกศลมีพระราชโอรสนามว่าฉัตตกุมาร. ฉัตตกุมาร
นั้นปลอมเพศหนีออกไปยังเมืองตักกศิลาเรียนไตรเพท และศิลป-
ศาสตร์ ๑๘ ประการ แล้วเสด็จออกจากเมืองตักกศิลา เที่ยวศึกษา
ศิลปะทุกลัทธิจนถึงปัจจันตคามแห่งหนึ่ง มีพระธิดาบส ๕๐๐ รูป อาศัย
ปัจจันตคามนั้นอยู่ ณ บรรณศาลาในป่า. พระกุมารเข้าไปหาดาบส
เหล่านั้นแล้วคิดว่า จักศึกษาอะไร ๆ ในสำนักของพระดาบสแม้เหล่านี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 620
จึงบวชแล้วเรียนเอาสิ่งที่พระดาบสเหล่านั้นรู้ทั้งหมด ครั้นต่อมา เธอ
ได้เป็นศาสดาในคณะ. อยู่มาวันหนึ่ง เรียกหมู่ฤๅษีมาแล้วถามว่า
ท่านผู้เนียรทุกข์ทั้งหลาย เพราะเหตุไรพวกท่านจึงไม่ไปยังมัชฌิม-
ประเทศ. หมู่ฤาษีจึงกล่าวว่า ท่านผู้เนียรทุกข์ ขึ้นชื่อว่ามนุษย์
ทั้งหลายในมัชณิมประเทศเป็นบัณฑิต เขาถามปัญหา ให้ทำอนุโมทนา
ให้กล่าวมงคล ย่อมติเตียนผู้ไม่สามารถ เราทั้งหลายไม่ไป เพราะ
ความกลัวอันนั้น. ฉัตตดาบสจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย
ข้าพเจ้าจักทำกิจนั้นทั้งหมด. หมู่ดาบสจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น
พวกเราจะไป. ดาบสทั้งปวงถือเอาเครื่องหาบบริขารของตนๆ ถึงเมือง
พาราณสีโดยลำดับ.
ฝ่ายพระเจ้าพาราณสีทรงกระทำราชสมบัติของพระเจ้าโกศลให้
อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว ทรงตั้งผู้ควรแก่พระราชา ( ข้า-
หลวง) ไว้ในนครนั้น ส่วนพระองค์ทรงพาเอาทรัพย์ที่มีอยู่ในนครนั้น
ไปยังนครพาราณสี ให้บรรจุเต็มตุ่มโลหะแล้วฝั่งไว้ในพระราชอุทยาน
ในสมัยนั้น ประทับอยู่เฉพาะในนครพาราณสีนั่นเอง. ครั้งนั้นพระ-
ฤๅษีเหล่านั้นอยู่ในพระราชอุทยานตลอดคืน พอวันรุ่งขึ้น จึงเข้าไป
ภิกขาจารยังพระนคร แล้วได้ไปยังประตูพระราชนิเวศน์. พระราชา
ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถของพระฤาษีเหล่านั้น จึงให้นิมนต์มาแล้ว ให้
นั่ง ณ ท้องพระโรง ถวายข้าวยาคูและของเคี้ยว แล้วตรัสถามปัญหา
นั้น ๆ จนถึงเวลาภัตตาหาร. ฉัตตดาบสเมื่อจะทำพระหฤทัยของพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 621
ราชาให้ยินดี จึงแก้ปัญหาทั้งปวง ในเวลาเสร็จภัตกิจ ได้กระทำอนุ-
โมทนาอันวิจิตรงดงาม. พระราชาทรงเลื่อมใสยิ่งขึ้น ทรงรับปฏิญญา
ให้พระฤๅษีเหล่านั้นแม้ทั้งหมดอยู่ในพระราชอุทยาน. ฉัตตฤๅษีรู้มนต์
สำหรับขนขุมทรัพย์ เธอเมื่ออยู่ในพระราชอุทยานนั้นคิดว่า พระ-
เจ้าพาราณสีนี้ทรงฝังทรัพย์อันเป็นของพระบิดาเราไว้ ณ ที่ไหนหนอ
จึงร่ายมนต์แล้วตรวจดูอยู่ ก็รู้ว่าฝั่งไว้ในพระราชอุทยาน จึงคิดว่า
จักถือเอาทรัพย์ในที่นี้แล้วไปยึดเอาราชสมบัติขิงเรา จึงเรียกดาบส
ทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เนียรทุกข์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นโอรส
ของพระเจ้าโกศล พระเจ้าพาราณสียึดเอาราชสมบัติของข้าพเจ้ามา
ข้าพเจ้าจึงปลอมเพศออกมา ตามรักษาชีวิตตนตลอดกาลประมาณ
เท่านี้ บัดนี้ข้าพเจ้าได้ทรัพย์อันเป็นของตระกูลแล้ว ข้าพเจ้าจักถือเอา
แล้วไปยึดเอาราชสมบัติของตน ท่านทั้งหลายจักกระทำอย่างไร. พวก
ฤๅษีทั้งหลายจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายจักไปกับท่านเหมือนกัน.
ฉัตตฤๅษีนั้นรับคำว่าตกลง แล้วให้ทำกระสอบหนังใหญ่ ๆ ในเวลา
กลางคืน จึงขุดภาคพื้นขนตุ่มทรัพย์ขึ้นมา ใส่ทรัพย์ลงในกระสอบ
ทั้งหลาย แล้วบรรจุหญ้าไว้เต็มตุ่มแทนทรัพย์ ให้ฤๅษี ๕๐๐ และ
มนุษย์อื่น ๆ ถือทรัพย์พากันหนีไปถึงนครสาวัตถี ให้จับพวกข้าหลวง
แล้วยึดเอาราชสมบัติไว้ จึงให้ทำการซ่อมแซมกำแพงและป้อมค่าย
เป็นต้น กระทำนครนั้นให้เป็นนครที่ราชาผู้เป็นข้าศึก จะยึดไม่ได้
ด้วยการสู้รบอีกต่อไป แล้วครอบครองพระนครอยู่. ฝ่ายพระเจ้า-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 622
พาราณสี พวกราชบุรุษกราบทูลว่า ดาบสทั้งหลายถือเอาทรัพย์จาก
พระราชอุทยานหนีไปแล้ว ท้าวเธอจึงเสด็จไปยังพระราชอุทยาน
รับสั่งให้เปิดตุ่มขุมทรัพย์ ทรงเห็นแต่หญ้าเท่านั้น. ท้าวเธอเกิดความ
เศร้าโศกอย่างใหญ่หลวง เพราะอาศัยทรัพย์เป็นเหตุ. จึงเสด็จไปยัง
พระนคร เสด็จเที่ยวบ่นเพ้ออยู่ว่าหญ้า ๆ ใคร ๆ อื่นไม่สามารถทำความ
เศร้าโศกของพระราชานั้นให้ดับลงได้. พระโพธิสัตว์คิดว่า ความ
เศร้าโศกของพระราชาใหญ่หลวงนัก พระองค์ทรงเที่ยวบ่นเพ้ออยู่ ก็
เว้นเราเสีย ใคร ๆ อื่นไม่สามารถจะบันเทาความเศร้าโศกของท้าวเธอ
ได้ เราจักกระทำท้าวเธอให้หมดเศร้าโศก. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้น
นั่งเป็นสุขอยู่กับพระราชานั้น ในเวลาที่พระราชาทรงบ่นเพ้อ จึง
กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
พระองค์ตรัสเพ้ออยู่ว่า หญ้า ๆ ใครหนอ
นำเอาหญ้ามาถวายพระองค์ พระองค์มีกิจ
ด้วยหญ้าหรือหนอ จึงตรัสถึงแต่หญ้าเท่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺนุ เต ติณฺกิจฺจตฺถิ ความว่า
กิจที่จะพึงทำด้วยหญ้ามีอยู่แก่พระองค์หรือหนอ. บทว่า ติณเมว
ปภาสสิ ความว่า เพราะพระองค์ตรัสถึงแต่หญ้าอย่างเดียวว่า หญ้า
หญ้า หาได้ตรัสว่า หญ้าชื่อโน้นไม่ ขอพระองค์จงตรัสชื่อของหญ้า
นั้นก่อนว่า หญ้าชื่อโน้น ข้าพระองค์ทั้งหลายจักนำมาถวายพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 623
เออก็หญ้าจะมีประโยชน์อะไรแก่พระองค์ ขอพระองค์โปรดอย่าทรง
ตรัสพร่ำเพ้อเอาหญ้าเป็นเหตุเลย.
พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-
ฉัตตฤๅษีผู้มีร่างกายสูงใหญ่ เป็นพรหม-
จารี เป็นพหูสูต มาอยู่ ณ ที่นี้ เขาลักทรัพย์
ของเราจนหมด แล้วใส่หญ้าไว้ในตุ่มแทน
ทรัพย์แล้วหนีไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหา แปลว่า สูง. คำว่า ฉตฺโต
เป็นชื่อของพระฤๅษีนั้น. บทว่า สพฺพ สมาทาย ได้แก่ ถือเอา
ทรัพย์ทั้งหมด. ด้วยบทว่า นิกฺขิปฺป คจฺฉติ นี้ พระเจ้าพาราณสี
เมื่อจะแสดงว่า ฉัตตฤๅษีใส่หญ้าในตุ่มแล้วหนีไป จึงตรัสอย่างนั้น.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
การถือเอาทรัพย์ของตนไปหมด และ
การไม่ถือเอาหญ้า เป็นกิจที่ผู้ปรารถนาเอา
ของน้อยมาแลกของมาก พึงกระทำอย่างนั้น
ฉัตตฤๅษีใส่หญ้าในตุ่มหนีไปแล้ว การร่ำไร
รำพรรณในเรื่องนั้น จะมีประโยชน์อะไร.
คำที่เป็นคาถานั้น มีความหมายดังนี้ :- การถือเอาทรัพย์อัน
เป็นของพระราชบิดาไปทั้งหมด และการไม่ถือเอาหญ้าที่ไม่ควรจะเอา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 624
ไปนั้น เป็นกิจที่ผู้ปรารถนาทรัพย์ด้วยหญ้าอันมีประมาณน้อย จะพึง
กระทำอย่างนั้น ข้าแต่มหาราชเจ้า ดังนั้น ฉัตตฤๅษีผู้มีร่างกายสูง
ใหญ่นั้น จึงถือเอาทรัพย์อันเป็นของพระราชบิดาตนซึ่งควรจะถือเอา
แล้วบรรจุหญ้าที่ไม่ควรถือเอาไว้ตุ่มหนีไปแล้ว จะมัวร่ำไรรำพรรณ
อะไรกันในเรื่องนั้น.
พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๔ ว่า :-
ผู้มีศีลทั้งหลายย่อมไม่ทำอย่างนั้น คน
พาลย่อมทำอนาจารอย่างนี้เป็นปกติ ความ
เป็นบัณฑิตจักทำคนผู้ทุศีล มีศีลไม่ยั่งยืน
ให้เป็นคนอย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลวนฺโต ความว่า บุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยศีล ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่กระทำกรรมเห็นปาน
นั้น. บทว่า พาโล สีลานิ กุพฺพติ ความว่า ส่วนคนพาลย่อมทำปกติ
กล่าวคืออนาจารของตนเห็นปานนี้ได้. บทว่า อนิจฺจสีล ได้แก่ ผู้
ประกอบด้วยศีลอันไม่ยั่งยืน คือไม่เป็นไปตลอดกาลนาน. บทว่า
ทุสฺสีลฺย ได้แก่ ผู้ทุศีล. บทว่า กึ ปณฺฑิจฺจ กริสฺสติ ความว่า
ความเป็นบัณฑิตที่อบรมมาด้วยความเป็นพหูสูตร จักการทำบุคคล
เห็นปานนั้นให้เป็นอย่างไร คือจักให้เขาถึงพร้อมอะไร คือจักนำความ
วิบัติแก่เขาเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 625
พระเจ้าพาราณสีนั้น ครั้นตรัสติเตียนฉัตตฤๅษีนั้นแล้ว เป็น
เป็นผู้หมดความเศร้าโศกเพราะคาถาของพระโพธิสัตว์นั้น ทรงครอง-
ราชสมบัติโดยธรรม.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พรหาฉัตตฤๅษีในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุโกหก
ในบัดนี้ ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาพรหาฉัตตชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 626
๗. ปีฐชาดก
ว่าด้วยธรรมในสกุล
[๖๘๖] ข้าพเจ้าไม่ได้ให้ตั้ง น้ำดื่ม และโภชนา-
หารแก่ท่าน ขอท่านผู้เป็นพรหมจารีจงอด
โทษให้แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นโทษอยู่
อย่างนี้.
[๖๔๗] อาตมภาพไม่ได้ข้องเกี่ยว และไม่ได้
นักโกรธเคืองเลย แม้ความไม่ชอบใจอะไร ๆ
ของอาตมภาพก็ไม่มีเลย แม้ที่จริงอาตมภาพ
ยังมีความวิตกอยู่ในใจว่า ธรรมของสกุลนี้
จักเป็นเช่นนี้แน่.
[๖๔๘] ที่นั่ง น้ำล้างเท้า น้ำมันทาเท้า ข้าพเจ้า
ให้อยู่เป็นนิจทุกอย่าง นี้เป็นธรรมในสกุล
เนื่องมาจากปู่ ย่า ตา ยาย ของข้าพเจ้า
ทุกเมื่อ.
[๖๔๙] ข้าพเจ้าบำรุงสมณพราหมณ์โดยเคารพ
ดุจญาติที่สูงสุด นี้เป็นธรรมในสกุล เนื่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 627
มาจากปู่ ย่า ตา ยาย ของข้าพเจ้าทุก
เมื่อ.
จบ ปีฐชาดกที่ ๗
อรรถกถาปีฐชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น เต
ปิมทายิมฺหา ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นจากชนบทไปยังพระเชตวัน เก็บบาตรจีวร
ถวายบังคมพระศาสดาแล้วถามสามเณรหนุ่ม ๆ ว่า อาวุโส ในนคร
สาวัตถี ใครอุปการะภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย พวกสามเณรหนุ่ม
กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านเหล่านี้ คือ อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี
และวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นผู้อุปการะภิกษุสงฆ์ ดำรงอยู่ในฐานะ.
เป็นบิดามารดา. ภิกษุนั้นรับคำว่าดีแล้ว ในวันรุ่งขึ้น ได้ไปยังประตู
บ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี แต่เช้าตรู่ ในเวลาที่ภิกษุแม้รูป
เดียวยังมิได้เข้าไป. เพราะภิกษุนั้นไปยังไม่ถึงเวลา ใคร ๆ จึงไม่
แลเห็น. ภิกษุนั้นไม่ได้อะไร ๆ จากที่นั้น จึงไปยังประตูเรือนของ
นางวิสาขามหาอุบาสิกา แม้ที่บ้านของนางวิสาขามหาอุบาสิกานั้น
เธอก็ไม่ได้อะไร ๆ เพราะไปเช้าเกินไป. ภิกษุนั้นจึงเที่ยวไปในบ้าน
นั้น แล้วกลับมาใหม่ ไปถึงเมื่อเขาเลี้ยงข้าวยาคูเสร็จแล้ว จึงเที่ยว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 628
ไปในที่นั้น ๆ แม้อีก เมื่อเขาเลี้ยงภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงได้ไปถึง.
ภิกษุนั้นจึงกลับไปยังวิหาร เที่ยวกล่าวดูหมิ่นตระกูลเหล่านั้นว่า
ตระกูลทั้งสองไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใสเลย แก่ภิกษุเหล่านี้
บอกว่ามีศรัทธา มีความเลื่อมใส. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
นั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุ
ชาวชนบทรูปโน้น ไปสู่ประตูของตระกูลก่อนกาลเวลา เมื่อไม่ได้
ภิกษา จึงเที่ยวดูหมิ่นตระกูลทั้งหลาย. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว
ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทากันด้วยเรื่องอะไร ?
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบว่า เรื่องนี้ พระเจ้าข้า จึงรับสั่ง
ให้เรียกภิกษุนั้นมาตรัสถามว่า เรื่องนี้ จริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้น
กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เพราะเหตุไร ?
เธอจึงโกรธ ในปางก่อนครั้งพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น แม้ดาบส
ทั้งหลายไปสู่ประตูสกุล ไม่ได้ภิกษาก็ยังไม่โกรธเลย แล้วทรงนำ
เอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว
ได้เล่าเรียนศิลปะทุกอย่างในนครตักกศิลา ในกาลต่อมาได้บวชเป็น
ดาบสอยู่ในหิมวันตประเทศช้านาน เพื่อต้องการจะบริโภครสเค็ม
และรสเปรี้ยว จึงไปถึงนครพาราณสี อยู่ในพระราชอุทยานนั่นเอง
วันรุ่งขึ้น จึงเข้าไปภิกษายังพระนคร. ในกาลนั้น พาราณสีเศรษฐี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 629
เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส. พระโพธิสัตว์ถามว่า เรือนของตระกูลไหน
มีศรัทธา ได้ฟังว่า เรือนของเศรษฐีจึงได้ไปยังประตูเรือนของ
เศรษฐี. ขณะนั้นเศรษฐีไปเฝ้าพระราชาแล้ว ฝ่ายคนทั้งหลายก็ไม่
เห็นพระโพธิสัตว์นั้น. พระโพธิสัตว์จึงได้กลับไป. ลำดับนั้น เศรษฐี
นั้นกำลังออกจากราชสกุลได้เห็นพระโพธิสัตว์นั้น จึงไหว้แล้วรับเอา
ภาชนะภิกษานำไปเรือน นิมนต์ให้นั่งแล้วให้อิ่มหนำสำราญด้วยการ
ล้างเท้า การทาน้ำมัน ข้าวยาคู และของควรเคี้ยวเป็นต้น ใน
ระหว่างภัต ไม่ถามเหตุอะไร ๆ พอพระโพธิสัตว์กระทำภัตตกิจแล้ว
จึงไหว้ ไปนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ยาจก
หรือสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติธรรม ชื่อว่า ผู้มายิ่งประตูเรือนของ
ข้าพเจ้าแล้ว ขึ้นชื่อว่าไม่เคยได้สักการะและสัมมานะแล้วไปเสียย่อม
ไม่มี แต่วันนี้ ท่านไม่ได้ที่นั่ง น้ำดื่ม การล้างเท้า หรือข้าวยาคู
และภัตเลยไปแล้ว เพราะเด็ก ๆ ของข้าพเจ้าไม่เห็นท่าน นี้เป็นโทษ
ของข้าพเจ้า ท่านควรอดโทษนั้นแก่ข้าพเจ้า. แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าพเจ้าไม่ได้ให้ตั้ง น้ำดื่ม และ
โภชนาหารแก่ท่าน ขอท่านผู้เป็นพรหมจารี
จงอดโทษแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นโทษอยู่
อย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เต ปีมทายิมฺหา ความว่า
ข้าพเจ้าไม่ได้ให้แม้ตั่งแก่ท่าน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 630
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
อาตมภาพมิได้เกาะเกี่ยวอะไรเลย ไม่
ได้นึกโกรธเคืองเลย แม้ความไม่ชอบใจ
อะไร ๆ ของอาตมภาพก็ไม่มีเลย ที่จริง
อาตมภาพยังมีความคาคคะเนอยู่ในใจว่า
ธรรมของสกุลนี้จักเป็นเช่นนี้แน่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนวาภิสชฺชามิ ความว่า อาตมภาพ
มิได้ข้องใจเลย. บทว่า เอตาทิโส ความว่า อาตมภาพเกิดความวิตก
ในใจอย่างนี้ว่า สภาวะของสกุลนี้เป็นเช่นนี้เเน่ คือ นี้จักเป็นวงศ์ของ
ทายก.
เศรษฐีได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
ที่นั่ง น้ำล้างเท้า น้ำมันทาเท้าทุก
อย่างนี้ข้าพเจ้าให้อยู่เป็นนิจ นี้เป็นธรรมใน
สกุล เนื่องมาจาก ปู่ ย่า ตา ยาย ของ
ข้าพเจ้าทุกเมื่อ.
ข้าพเจ้าบำรุงสมณพราหมณ์โดยเคารพ
ดุจญาติผู้สูงสุด นี้เป็นธรรมในสกุล เนื่อง
มาจาก ปู่ ย่า ตา ยาย ของข้าพเจ้าทุกเมื่อ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 631
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สภาวะ. บทว่า
ปิตุปิตามโห ความว่า เป็นของมีอยู่แห่งบิดามารดาและปู่ ย่า ตา
ยาย. บทว่า อุทก ได้แก่ น้ำสำหรับล้างเท้า. บทว่า มชฺช ได้แก่
น้ำมันสำหรับทาเท้า. บทว่า สพฺเพต แยกศัพท์ออกเป็น สพฺพ
เอต. นิป อักษร ใน บทว่า นิปทามเส นี้ เป็นอุปสรรค.
อธิบายว่า ทามเส แปลว่า ให้. ท่านอธิบายว่า ข้าพเจ้าย่อมให้.
ด้วยบทว่า นิปทามเส นี้ ท่านแสดงความว่า วงศ์ของข้าพเจ้าเป็น
วงศ์ของผู้ให้สืบมาชั่วเจ็ดสกุล. บทว่า อุตฺตม วิย าตก ความว่า
ข้าพเจ้าเห็นสมณะหรือพราหมณ์ผู้ประพฤติธรรม ย่อมบำรุงด้วยความ
เคารพคือด้วยมือของตน เหมือนบำรุงมารดาและบิดาฉะนั้น.
ก็พระโพธิสัตว์อยู่ในที่นั้นแสดงธรรมแก่พาราณสีเศรษฐีอยู่
๒-๓ วัน แล้วกลับไปยังหิมวันตประเทศตามเดิม ได้ทำอภิญญา
และสมาบัติให้บังเกิดแล้ว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว
ประกาศสัจจะทรงประชุมชาดกว่า. ในเวลาจบสัจจะภิกษุนั้น ดำรงอยู่
ในโสดาปัตติผล. พาราณสีเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์
ส่วนดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปีฐชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 632
๘. ถุสชาดก
ว่าด้วยรู้จักแกลบหรือข้าวสารในที่มืด
[๖๕๐] แกลบปรากฏโดยความเป็นแกลบแก่
หนูทั้งหลาย และข้าวสารก็ปรากฏโดยความ
เป็นข้าวสารแก่พวกมัน แม้ในที่มืด พวกมัน
เว้นแกลบเสีย กินแต่ข้าวสาร.
[๖๕๑] การปรึกษาในป่าก็ดี การพูดกระซิบกัน
ในบ้านก็ดี และการคิดหาโอกาสฆ่าเราใน
บัดนี้ก็ดี เรารู้หมดแล้ว.
[๖๕๒] ได้ยินว่า ลิงตัวที่เป็นพ่อเอาฟันกัดภาวะ
บุรุษของลูกผู้เกิดตามสภาพ เสียแต่ยังเยาว์
ทีเดียว.
[๖๕๓] การที่เจ้าดิ้นรนอยู่เหมือนแพะตาบอดใน
ไร่ผักกาดก็ดี นอนอยู่ภายใต้ที่นอนก็ดี เรา
รู้หมดสิ้นแล้ว.
จบ ถุสชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 633
อรรถกถาถุสชาดกที่ ๘
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภ
พระเจ้าอชาตศัตรู จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า วิทิต
ถุส ดังนี้.
ได้ยินว่า เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นอยู่ในพระครรภ์ของพระ-
มารดานั้น พระมารดาของเธอผู้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าโกศล
เกิดแพ้พระครรภ์ อยากดื่มพระโลหิตในพระขาณุข้างขวาของพระ-
เจ้าพิมพิสาร เป็นอาการแรงกล้า. พระนางถูกนางสนมผู้รับใช้ทูลถาม
จึงบอกความนั้นแก่นางสนมเหล่านั้น. ฝ่ายพระราชาได้ทรงสดับแล้ว
รับสั่งให้เรียกโหรผู้ทำนายนิมิตมาแล้วตรัสถามว่า เขาว่าพระเทวีทรง
เกิดการแพ้พระครรภ์เห็นปานนี้ ความสำเร็จของพระนางจะเป็น
อย่างไร ? พวกโหรผู้ทำนายนิมิตกราบทูลว่า สัตว์ผู้อุบัติในพระครรภ์
ของพระเทวี จักปลงพระชนม์พระองค์แล้วยึดราชสมบัติ. พระราชา
ตรัสว่า บุตรของเราจักฆ่าเราแล้วยึดราชสมบัติ ในข้อนั้น จะมีโทษ
อะไร แล้วทรงเฉือนพระชานุข้างขวาด้วยพระแสงมืด เอาจานทอง
รองรับพระโลหิตแล้วประทานให้พระเทวีดื่ม พระเทวีนั้นทรงดำริว่า
ถ้าโอรสผู้เกิดในครรภ์ของเราจักปลงพระชนม์พระบิดาไซร้ เราจะ
ประโยชน์อะไรด้วยพระโอรสนั้น พระนางจึงให้รีดพระครรภ์ เพื่อ
ให้ครรภ์ตกไป. พระราชาทรงทราบจึงรับสั่งให้เรียกพระเทวีนั้นมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 634
แล้วตรัสว่า นางผู้เจริญ นัยว่าบุตรของเราจักฆ่าเราแล้วยึดราชสมบัติ
ก็เราจะไม่แก่ไม่ตายก็หามิได้ เธอจงให้เราเห็นหน้าลูกเถิด จำเดิมแต่
นี้ไป เธออย่าได้กระทำกรรมเห็นปานนี้. จำเดิมแต่นั้น พระเทวีเสด็จ
ไปพระราชอุทยานแล้วให้รีดครรภ์. พระราชาได้ทรงทราบ จึงทรง
ห้ามเสด็จไปพระราชอุทยาน จำเดิมแต่กาลนั้น. พระเทวีทรงมีพระ-
ครรภ์ครบบริบูรณ์แล้วประสูติพระโอรส. ก็ในวันขนานนามพระโอรส
นั้น เขาขนานพระนามว่า อชาตศัตรูกุมาร เพราะเป็นศัตรูต่อพระ-
บิดาตั้งแต่ยังไม่ประสูติ. เมื่ออชาตศัตรูกุมารนั้นทรงเจริญเติบโตอยู่ด้วย
กุมารบริหาร วันหนึ่ง พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ เสด็จไป
นิเวศน์ของพระราชาแล้วประทับนั่งอยู่. พระราชาทรงอังคาสภิกษุ
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยของเคี้ยวและของฉันอันประณีต
ทรงนมัสการแล้วประทับนั่งสดับธรรมอยู่. ขณะนั้น พระพี่เลี้ยงแต่ง
องค์พระกุมารแล้วได้ถวายพระราชา. พระราชาทรงรับพระโอรสด้วย
พระสิเนหาเป็นกำลัง ให้นั่งบนพระเพลาทรงปลาบปลื้มอยู่เฉพาะพระ-
โอรส ด้วยความรักในพระโอรส มิได้ทรงสดับพระธรรม. พระศาสดา
ทรงทราบความประมาทของพระราชา จึงตรัสว่า มหาบพิตร พระ-
ราชาทั้งหลายในครั้งก่อน ทรงระแวงพระโอรสทั้งหลาย ถึงกับให้
กระทำไว้ในที่อันมิดชิดให้ขัง แล้วตรัสสั่งไว้ว่า เมื่อเราล่วงไป
แล้ว ท่านทั้งหลายจงนำออกมาให้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ อันพระราชา
ทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 635
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักกศิลาสอน
ศิลปะ พวกราชกุมารและพราหมณกุมารเป็นจำนวนมาก. พระโอรส
ของพระราชาในนครพาราณสี เสด็จไปยังสำนักของพระโพธิ์สัตว์นั้น
ในเวลาพระองค์มีพระชนมายุ ๑๖ พรรษาเรียนไตรเพท และศิลปะ
ทุกอย่าง เป็นผู้มีศิลปะครบบริบูรณ์แล้ว. จึงตรัสลาอาจารย์. อาจารย์
จึงตรวจดูพระราชกุมารนั้น ด้วยวิชาดูอวัยวะ. แล้วคิดว่า อันตราย
เพราะอาศัยพระโอรสจะปรากฏแก่พระราชกุมารนี้ เราจะปัดเป่าอัน-
ตรายนั้นไปเสียด้วยอานุภาพของตน จึงได้ผูกคาถาขึ้น ๔ คาถาถวาย
แก่พระราชกุมาร ก็แหละเมื่อให้คาถาอย่างนี้แล้ว จึงกำชับพระราช-
กุมารนั้นว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าดำรงอยู่ในราชสมบัติแล้ว ในเวลาโอรส
ของเจ้ามีชนมายุ ๑๖ พรรษา เมื่อจะเสวยพระกระยาหาร พึงกล่าว
คาถาที่หนึ่ง ในเวลามีการเข้าเฝ้าเป็นการใหญ่ พึงกล่าวคาถาที่ ๒ เมื่อ
เสด็จขึ้นปราสาทประทับยืนที่หัวบันได พึงกล่าวคาถาที่ ๓ เมื่อเสด็จ
เข้าห้องบรรทมประทับยืนที่ธรณีประตู พึงกล่าวคาถาที่ ๔ พระราช
กุมารนั้นรับคำ จึงไหว้อาจารย์แล้วไป ได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอุปราช
เมื่อพระบิดาล่วงไปจึงดำรงอยู่ในราชสมบัติ. พระโอรสของท้าวเธอ
ในเวลามีพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา ได้เห็นสิริสมบัติของพระราชาผู้
เสด็จออกเพื่อประโยชน์แก่กิจมีกีฬาในพระราชอุทยานเป็นต้น มี
ความประสงค์จะปลงพระชนม์พระบิดาแล้ว ยึดครองราชสมบัติจึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 636
ตรัสแก่พวกผู้ปฏิบัติบำรุงของพระองค์. พวกผู้ปฏิบัติบำรุงเหล่านั้น
พากันทูลว่า ดีแล้ว ขอเดชะ ประโยชน์อะไรด้วยความเป็นใหญ่ที่ได้
ในตอนแก่ ควรจะปลงพระชนม์พระราชาเสียด้วยอุบายอย่างใดอย่าง
หนึ่งแล้วยึดครองราชสมบัติ. พระกุมารคิดว่า เราจะให้พระราชบิดา
เสวยยาพิษสวรรคต เมื่อจะเสวยพระกระยาหารเย็นกับพระราชบิดา
จึงถือยาพิษประทับนั่งอยู่. เมื่อพระกระยาหารในภาชนะกระยาหารยัง
ไม่มีใครถูกต้องเลย พระราชาได้ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-
แกลบปรากฏโดยความเป็นแกลบแก่
หนูทั้งหลาย และข้าวสารก็ปรากฏโดยความ
เป็นข้าวสารแก่พวกมัน แม้ในที่มืด พวก
มันก็เว้นแกลบเสียกินแข้าวสาร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิทิต ความว่า ในที่มืดแม้มีฝนดำ
แกลบก็แจ่งแจ้งปรากฏโดยความเป็นแกลบ ข้าวสารก็แจ่มแจ้งปรากฏ
โดยความเป็นข้าวสาร แก่หนูทั้งหลาย. แต่ในที่นี้ ท่านกล่าวโดยเป็น
ลิงควิปลาส ( ลิงค์เคลื่อนคลาดตามหลักไวยากรณ์) ว่า ถุส คณฺฑุล
บทว่า ขาทเร ความว่า หนูทั้งหลายเว้นแกลบกินแต่ข้าวสารเท่านั้น.
ท่านกล่าวอธิบายต่อไปว่า ลำดับนั้น พระกุมารคิดว่า แม้ในที่มืด
แกลบก็ปรากฏโดยความเป็นแกลบ ข้าวสารปรากฏโดยความเป็นข้าว
สาร แก่หนูทั้งหลาย พวกมันเว้นแกลบกินแต่ข้าวสาร ฉันใด ความ
ที่เรานั่งกุมยาพิษร้ายก็ปรากฏ ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 637
พระกุมารดำริว่า พระบิดารู้เราแล้ว จึงทรงกลัว ไม่อาจใส่
ยาพิษในภาชนะพระกระยาหาร ลุกขึ้นถวายบังคมพระราชาแล้วเสด็จ
ไป. พระกุมารจึงไปบอกเรื่องนั้นแก่พวกผู้ปฏิบัติบำรุงของพระองค์
แล้วตรัสถามว่า วันนี้ พระราชบิดารู้เราเสียก่อน บัดนี้ พวกเรา
จักปลงพระชนม์อย่างไร ? ตั้งแต่นั้น พวกผู้ปฏิบัติบำรุงเหล่านั้นจึง
หลบซ่อนอยู่ในพระราชอุทยานกระซิบหารือกัน ตกลงว่า มีอุบาย
อย่างหนึ่ง จึงกำหนดลงว่า ในเวลาเสด็จไปสู่ที่เฝ้าครั้งใหญ่ ๆ ผูกสอด
พระแสงขรรค์ประสงค์ประทับยืนในระหว่างพวกอำมาตย์ พอรู้ว่า
พระราชาเผลอ จึงเอาพระแสงขรรค์ประหารให้สิ้นพระชนม์ ย่อม
ควร. พระกุมารรับว่าได้ แล้วผูกสอดพระแสงขรรค์แล้วเสด็จไป
คอยมองหาโอกาสที่จะประหารพระราชาอยู่รอบด้าน. ขณะนั้น พระ-
ราชาได้ตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-
การปรึกษากันในป่าก็ดี การพูดกระซิบ
กันในบ้านก็ดี และการคิดหาโอกาสฆ่าเรา
ในบัดนี้ก็ดี เรารู้หมดแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺสฺมึ ได้แก่ ในพระราช-
อุทยาน. บทว่า นิกณฺณิกา ได้แก่ ปรึกษากันใกล้ ๆ หู. บทว่า
ยญฺเจต อิติ จินฺตี จ ได้แก่ การแสวงหาโอกาสฆ่าเราในบัดนี้นั้น
ก็ดี. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ดูก่อนพ่อกุมาร การที่ท่านกระซิบกระ-
ซาบปรึกษากันทั้งในอุทยานและในบ้าน และเหตุแห่งความคิดว่าเพื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 638
ต้องการฆ่าเราในบัดนี้นั้นก็ดี เรารู้หมดแล้ว.
พระกุมารคิดว่า พระบิดารู้ว่าเราเป็นศัตรู จึงหนีไปบอกแก่
พวกปฏิบัติบำรุง ๆ ทำเวลาให้ผ่านพ้น ๗-๘ วัน จึงทูลว่า ข้าแต่
พระกุมาร พระบิดาย่อมไม่รู้ว่าพระองค์เป็นศัตรู พระองค์ได้สำคัญ
ไปอย่างนั้น เพราะการคิดคาดคะเนเอา พระองค์จงปลงพระชนม์
พระบิดานั้นเถิด. วันหนึ่ง พระกุมารนั้นถือพระแสงขรรค์แล้วได้ยืน
อยู่ที่ประตูห้อง ใกล้หัวบันได. ครั้งนั้น พระราชาประทับยืนอยู่ที่
หัวบันได ตรัสคาถาที่ ๓ :-
ได้ยินว่า ลิงตัวที่เป็นพ่อเอาฟันกัดผล
คือภาวะแห่งบุรุษของลูกที่เกิดตามสภาวะ
เสียงแต่ยังเยาว์ทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ ตามสภาวะ. บทว่า
ปุตฺตสฺส ปิตา ได้แก่ ลิงตัวที่เป็นพ่อของลูก คือลูกลิง. ท่าน
กล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า ลิงที่เกิดในป่ารังเกียจการบริหารฝูงของตน
เอาฟันกัดผลของลูกลิงเฉพาะตัวที่เป็นหนุ่ม ทำปุริสภาวะให้พินาศไป
ฉันใดเราเพิกถอนผลเป็นต้นแม้ของท่าน ผู้ประสงค์ราชสมบัติเกินไป
จักทำปุริสภาจะให้พินาศไปฉันนั้น.
พระกุมารคิดว่า พระบิดาประสงค์จะให้จับเรา จึงตกพระทัย
กลัวเสด็จหนีไปบอกแก่พวกผู้ปฏิบัติบำรุงว่า พระบิดาทรงคุกคามเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 639
คนเหล่านั้น เมื่อล่วงเวลาไปประมาณกึ่งเดือน จึงทูลว่า ข้าแต่
พระกุมาร ถ้าพระราชาพึงทรงทราบเหตุการณ์นั้น จะไม่พึงอดกลั้น
อยู่ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ พระองค์ตรัสโดยการคิดคาดคะเน
เอา พระองค์จงปลงพระชนม์พระราชานั้นเสียเถิด. วันหนึ่งพระกุมาร
นั้นถือพระขรรค์เสด็จเข้าไปยังพระที่สิริไสยาส ในปราสาทชั้นบน
แล้วนอนอยู่ในใต้บัลลังก์ ด้วยหวังใจว่า จักประหารพระราชบิดา
เมื่อเสด็จมาถึงทันที. พระราชาเสวยพระกระยาหารเย็นแล้วส่งชน
บริวารกลับไป ทรงดำริว่าจักบรรทมจึงเสด็จเข้าห้องบรรทมอันประ-
กอบด้วยสิริ ประทับยืนที่ธรณีประตูแล้วตรัสคาถาที่ ๔ ว่า :-
การที่เจ้าดิ้นรนอยู่เหมือนแพะตาบอด
ในไร่ผักกาดก็ดี นอนอยู่ภายใต้นี้ก็ดี เรารู้
หมดสิ้นแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริสปฺปสิ ได้แก่ ได้อยู่ทางโน้น
ทางนี้ เพราะกลัว. บทว่า สาสเป แปลว่า ในไร่ผักกาด. บทว่า
โยปาย ตัดเป็น โยปิ อย. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า เจ้าดิ้นรน
ไปทางโน้นทางนี้ เพราะความกลัว เหมือนแพะตาบอดที่เข้าไปยังดง
ผักกาด คือ ครั้งที่ ๑ เจ้าถือเอายาพิษมา ครั้งที่ ๒ ประสงค์จะประหาร
ด้วยพระขรรค์จึงมา ครั้งที่ ๓ ได้ถือพระขรรค์มายืนที่หัวบันได และ
บัดนี้ เจ้าคิดว่าจักประหารพระราชานั้น จึงมานอนอยู่ใต้ที่นอน
ทั้งหมดนั้น เรารู้อยู่ บัดนี้จะไม่ละเจ้าไว้ จักจับเจ้าลงราชอาญา พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 640
ราชานั้นถึงจะไม่ทรงทราบอย่างนั้น แต่คาถานั้น ๆ ก็ส่องความนั้น ๆ.
พระกุมารคิดว่า พระราชบิดาทรงทราบเราแล้ว บัดนี้ จัก
ทรงทำเราให้พินาศ จึงตกพระทัยกลัว จึงออกมาจากใต้พระที่บรรทม
ทิ้งพระขรรค์ ณ ที่ใกล้พระบาทพระราชานั่นเอง หมอบลงที่ใกล้
บาทมูลกราบทูลขอโทษว่า ขอเดชะ ๆ พระราชบิดาโปรดงดโทษแก่
หม่อมฉันเถิด. พระราชาทรงขู่พระกุมารนั้นว่า เจ้าคิดว่า ใคร ๆ
จะไม่รู้การกระทำของเรา แล้วรับสั่งให้จองจำด้วยเครื่องจองจำคือโซ่
ตรวน แล้วให้ส่งเข้าเรือนจำตั้งการอารักขาไว้. ในกาลนั้น พระราชา
ทรงสำนึกได้ถึงคุณงามความดีของพระโพธิสัตว์. ต่อมา พระราชานั้น
เสด็จสวรรคต พวกอำมาตย์ราชเสวกกระทำการถวายพระเพลิงพระศพ
ของท้าวเธอแล้ว จึงนำพระกุมารออกจากเรือนจำ ให้ดำรงอยู่ใน
ราชสมบัติ.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ตรัสเหตุนี้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระราชาในครั้งก่อนทรงรังเกียจเหตุ
ที่ควรรังเกียจอย่างนี้ แม้พระองค์จะทรงตรัสอย่างนี้ พระราชาก็มิได้
ทรงกำหนดไม่รู้สึกพระองค์ พระศาสดาทรงประชุมชาดกว่า
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักกศิลาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาถุสชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 641
๙. พาเวรุชาดก
ว่าด้วยพวกเดียรถีย์เสื่อมลาภสักการะ
[๖๕๔] เพราะยังไม่เห็นนกยูงซึ่งมีหงอน มี
เสียงไพเราะ ชนทั้งหลายในพาเวรุรัฐ จึง
พากันบูชากา ด้วยเนื้อและผลไม้.
[๖๕๕] แต่เมื่อใด นกยูงผู้สมบูรณ์ไปด้วยเสียง
มายังพาเวรุรัฐ เมื่อนั้น ลาภและสักการะ
ของกาก็เสื่อมไป.
[๖๕๖] พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชา ส่อง
แสงสว่าง ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้นเพียงใด ชน
ทั้งหลาย ก็พากันบูชาสมณพราหมณ์เหล่าอื่น
อยู่เป็นอันมากเพียงนั้น.
[๖๕๗] แต่เมื่อใด พระพุทธเจ้าผู้มีพระสุรเสียง
อันไพเราะ ได้ทรงแสดงธรรมแล้ว เมื่อนั้น
ลาภและสักการะของพวกเดียรถีย์ก็เสื่อมไป.
จบ พาเวรุชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 642
อรรถกถาพาเวรุรัฐชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
เถียรถีย์ทั้งหลายผู้เสื่อมลาภสักการะ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า อทสฺสเนน โมรสฺส ดังนี้.
ได้ยินว่า พวกเดียรถีย์ทั้งหลาย เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จ
อุบัติ ได้เป็นผู้มีลาภ แต่เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เป็นผู้
เสื่อมลาภสักการะ เป็นเสมือนหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น. ภิกษุ
ทั้งหลายปรารถเรื่องราวนั้นของเดียรถีย์เหล่านั้น จึงประชุมสนทนา
กันในโรงธรรมสภา. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบ-
ทูลว่า เรื่องนี้ พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า มิใช่บัดนี้เท่านั้นน่ะภิกษุทั้งหลาย
แม้ในกาลก่อน พวกผู้ที่ไร้คุณได้เป็นผู้ถึงความเลิศด้วยลาภและยศ
ตราบเท่าที่ผู้มีคุณยังไม่อุบัติขึ้น เมื่อผู้มีคุณทั้งหลายอุบัติขึ้นแล้ว พวก
ผู้ที่ไร้คุณก็เป็นผู้เสื่อมลาภสักการะไป แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา
สาธก ดังต่อไปนี้ :-
อดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในกำเนิดนกยูง อาศัยความเจริญ
เติบโต ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความงดงาม ท่องเที่ยวไปในป่า. ใน
กาลนั้น พ่อค้าพวกหนึ่งพากาสำหรับบอกทิศไปยังพาเวรุรัฐโดยทาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 643
เรือ. ได้ยินว่าในกาลนั้นเท่านั้น ขึ้นชื่อว่านกทั้งหลายย่อมไม่มีใน.
พาเวรุรัฐ. พวกชาวแว่นแคว้นที่ผ่านไป ๆ เห็นกานั้นซึ่งจับอยู่ในกรง
จึงสรรเสริญก้าวนั้นนั่นแหละว่า จงดูผิวพรรณอเนกตัวนี้ จะงอยปากอยู่
สุดปลายคอ นัยน์ตาเหมือนก้อนแก้วมณี แล้วกล่าวกะพ่อค้าเหล่านั้น
ว่า ข้าแต่เจ้านายทั้งหลาย ท่านจงให้นกตัวนี้แก่พวกเรา แม้พวกเรา
ก็มีความต้องการนกตัวนี้ ท่านทั้งหลายจักได้นกตัวอื่นในแว่นแคว้น
ของตน. พวกพ่อค้ากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายจงถือเอาด้วย
ราคา. ชาวพาเวรุรัฐกล่าวว่า โปรดให้แก่พวกเราด้วยราคาห้ากหาปณะ
พวกพ่อค้าตอบว่า ให้ไม่ได้ เมื่อชาวพาเวรุรัฐประมูลราคาขึ้น โดย
ลำดับกล่าวว่า โปรดให้ด้วยราคาหนึ่งร้อย. พวกพ่อค้าจึงพูดว่า นกนี้
มีอุปการะแก่พวกเราเป็นอันมาก แต่จะขอเป็นไมตรีกับพวกท่าน จึง
ได้ถือเอาร้อยกหาปณะแล้วให้นกไป. ชาวพาเวรุรัฐเหล่านั้นนำนกนั้น
ไปใส่ไว้ในกรงทอง ปรนนิบัติด้วยปลา เนื้อ และผลไม้น้อยใหญ่มี
ประการต่างๆ. ในที่ที่นกอื่น ๆ ไม่มี กาผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐
ประการ ได้เป็นผู้ถึงความเลิศด้วยลาภสักการะ. อีกครั้งหนึ่ง พ่อค้า
เหล่านั้นจับพระยานกยูงได้ตัวหนึ่ง ให้สำเนียกโดยร้องด้วยเสียงดีด
นิ้วมือ และฟ้อนด้วยเสียงปรบมือ แล้วได้ไปยังพาเวรุรัฐ. พระยา
นกยูงนั้น เมื่อมหาชนประชุมกัน จึงยืนที่แอกเรือกางปีกออกแล้ว
เปล่งเสียงอันไพเราะฟ้อนอยู่ คนทั้งหลายเห็นดังนั้นเกิดความโสมนัส
พากันกล่าวว่า ข้าแต่เจ้านาย ท่านทั้งหลายจงให้พระยานกนี้ที่ถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 644
ความเลิศด้วยความงาม ซึ่งฝึกมาดีแล้ว แก่พวกข้าพเจ้าเถิด. พวก
พ่อค้าตอบว่า ครั้งแรก พวกเรานำกามาท่านทั้งหลายก็เอากานั้นเสีย
คราวนี้ เรานำพระยานกยูงตัวหนึ่งมา ก็ขอนกยูงตัวนี้อีก ชื่อว่านก
ในแว่นแคว้นของท่านทั้งหลาย พวกเราไม่อาจจับเอามา. ชาวพาเวรุ-
รัฐกล่าวว่า เอาเถิดเจ้านาย ท่านทั้งหลายจักได้นกแม้ตัวอื่นในแคว้น
ของตน จงให้นกยูงตัวนี้แก่พวกเราเถิด แล้วประมูลราคาซื้อเอาไว้
ด้วยทรัพย์หนึ่งพัน. ทีนั้น ก็จัดให้นกยูงนั้นอยู่ในกรงอันวิจิตรตระ-
การ ด้วยรัตนะ ๗ ปรนนิบัติด้วยปลา เนื้อ ผลไม้น้อยใหญ่ และ
ข้าวตอกเคล้าน้ำผึ้งกับน้ำดื่มเจือด้วยน้ำตาลกรวดเป็นต้น พระยานก-
ยูงถึงความเลิศด้วยลาภและเลิศด้วยยศ. จำเดิมแต่กาลที่พระยานกยูง
นั้นมาแล้ว ลาภและสักการะของกาก็เสื่อมถอยไป. ใคร ๆ ไม่ปรารถนา
แม้จะดูมัน. กาเมื่อไม่ได้ขาทนียโภชนียาหาร จึงร้อง กา กา บิน
ไปลงที่พื้นกองหยากเยื่อ.
พระศาสดาครั้นทรงสืบต่อเรื่องทั้งสองเรื่องแล้ว ทรงเป็นผู้
ตรัสรู้ยิ่งเอง ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
เพราะยังไม่เห็นนกยูงซึ่งเป็นนกมีหงอน
มีเสียงไพเราะ ชนทั้งหลายในพาเวรุรัฐนั้น
จึงพากันบูชากา ด้วยเนื้อและผลไม้.
แต่เมื่อใด นกยูงผู้สมบูรณ์ไปด้วยเสียง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 645
มายังพาเวรุรัฐ เมื่อนั้น ลาภและสักการะ
ของกาก็เสื่อมไป.
พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชา ผู้ส่อง
แสงสว่างไสว ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น เพียงใด
ชนทั้งหลายก็พากันบูชาสมณพราหมณ์ เหล่า
อันอยู่เป็นอันมาก เพียงนั้น.
แต่เมื่อใด พระพุทธเจ้าผู้มีพระสุรเสียง
อันไพเราะ ได้ทรงแสดงธรรมแล้ว เมื่อนั้น
ลาภและสักการะของพวกเดียรถีย์ก็เสื่อมไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิขิโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย
หงอน. บทว่า มญฺชุภาณิโน แปลว่า ผู้มีเสียงเพราะ. บทว่า
อปูเชสุ แปลว่า ได้บูชาแล้ว. บทว่า ผเลน จ ได้แก่ ผลไม้
น้อยใหญ่มีประการต่าง ๆ. บทว่า พาเวรุมาคโต แปลว่า มายัง
พาเวรุรัฐ. บาลีเป็น ปาเวรุ ดังนี้ก็มี. บทว่า อหายถ ได้แก่
เสื่อมไปแล้ว. บทว่า ธมฺมราชา ความว่า ที่ชื่อว่าธรรมราชา เพราะ
ยังบริษัทให้ยินดีด้วยโลกุตตรธรรม ๙. บทว่า ปภงฺกโร ความว่า
ชื่อว่าผู้ส่องแสงสว่างไสว เพราะส่องแสงสว่างไปในสัตว์โลก โอกาส
โลก และสังขารโลก. บทว่า สรสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 646
เสียงประดุจเสียงพรหม. บทว่า ธมฺม อเทสยิ ได้แก่ ทรงประกาศ
สัจจธรรมทั้ง ๔.
พระศาสดาครั้นตรัสพระคาถา ๔ คาถานี้ด้วยประการดังนี้แล้ว
จึงทรงประชุมชาดกว่า กาในครั้งนั้น ได้เป็นนิครนถ์นาฏบุตรในบัดนี้
ส่วนพระยานกยูงในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกกาพาเวรุรัฐชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 647
๑๐. วิสัยหชาดก
ความอยากจนไม่เป็นเหตุให้ทำชั่ว
[๖๕๘] ดูก่อนพ่อวิสัยหะ แต่ก่อนท่านได้ให้
ทาน ก็เมื่อท่านให้อยู่อย่างนั้น ความเสื่อม
ได้มีแก่ท่านแล้ว ต่อแต่นี้ไป ถ้าท่านจักไม่
ให้ทาน เมื่อท่านประหยัดไว้ โภคะทั้งหลาย
ก็คงดำรงอยู่ตามเดิม.
[๖๕๙] ข้าแต่ท้าวสหัสสเนตร พระอริยะ
ทั้งหลายท่านกล่าวถึงบาปกรรมว่า อันอารย-
ชนถึงจะเป็นคนยากจนเข็ญใจก็ไม่ควรทำ
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทวยเทพ ข้าพระ-
บาทจะพึงเลิกศรัทธา เพราะการบริโภค
ทรัพย์อันใดเป็นเหตุ ทรัพย์อันนั้นอย่าได้
มีเลย.
[๖๖๐] รถคันหนึ่งแล่นไปทางใด รถคันอื่น
แล่นไปทางนั้น ข้าแต่ท้าววาสวะ วัตรที่
ข้าพระบาทบำเพ็ญมาแล้วแต่ครั้งก่อน ขอจง
เป็นไปเหมือนอย่างนั้นเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 648
[๖๖๑] ถ้ายังมียังเป็นอยู่ ข้าพระบาทก็จะให้
เมื่อไม่มีไม่เป็นจะให้ได้อย่างไร แม้ถึงจะ
เป็นอย่างนี้แล้วก็ตาม ก็จะต้องให้ เพราะ
ข้าพระบาทจะลืมทานเสียไม่ได้.
จบ วิสัยหชาดกที่ ๑๐
อรรถกถาวิสัยหชาดกที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประดับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อทาสิ ทานานิ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารแล้วในขทิรังคารชาดก ในหนหลัง
ส่วนในชาดกนี้ พระศาสดาตรัสเรียกท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีมาแล้ว
ตรัสว่า คฤหบดี โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ห้ามท้าวสักกเทวราช
ผู้ประทับยืนในอากาศห้ามอยู่ว่า ท่านอย่าให้ทาน ก็ยังได้ให้ทานอยู่
เหมือนเดิม อันท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น ทูลอาราธนาแล้ว
จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นเศรษฐีนามว่า วิสัยหะ มีทรัพย์
สมบัติ ๘๐ โกฏิ ได้เป็นผู้ประกอบด้วยศีล ๕ มีอัธยาศัยในทางทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 649
ยินดียิ่งในทาน. พระโพธิสัตว์นั้นให้สร้างโรงทานในที่ ๖ แห่ง คือ
ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ประตู ท่ามกลางพระนครและที่ประตูนิเวศน์
ของตน แล้วยังการให้ทานให้เป็นไปอยู่. บริจาคทรัพย์วันละหกแสน
ทุกวัน. พระโพธิสัตว์และยาจกทั้งหลาย ย่อมมีภัตตาหารเป็นเช่น
เดียวกัน. เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นให้ทานกระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้มี
งอนไถอันยกขึ้นแล้วคือไม่ต้องทำไร่ไถนา ภพของท้าวสักกะก็กัม-
ปนาทหวั่นไหวด้วยอานุภาพของการให้ทาน บัณฑุกัมพลศิลาอาศน์
ของท้าวเทวราชแสดงอาการร้อน. ท้าวสักกะทรงดำริว่า ใครหนอ
ประสงค์จะให้เราเคลื่อนจากที่ จึงทรงพิจารณาใคร่ครวญอยู่. ทรงเห็น
ท่านมหาเศรษฐี จึงทรงพระดำริว่า วิสัยหเศรษฐีนี้แผ่ไปกว้างขวาง
ยิ่งนัก ให้ทานกระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้ไม่ต้องทำไร่ไถนา ชะรอย
จักให้เราเคลื่อนจากที่แล้วเป็นท้าวสุกกะเสียเองด้วยทานแม้นี้ เราจัก
ทำทรัพย์ของเขาให้ฉิบหายเสียกระทำเศรษฐีนั่นให้เป็นคนขัดสนจน
ให้ทานไม่ได้ จึงบันดาลทรัพย์ทั้งปวง แม้แต่ข้าวเปลือก น้ำมัน
น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น จนชั้นที่สุดแม้ทาสและกรรมกรให้
อันตรธานหายไป. พวกคนผู้จัดทานมาบอกท่านเศรษฐีว่า ข้าแต่นาย
โรงทานขาดหายไป พวกข้าพเจ้าไม่เห็นอะไร ๆ ในที่ที่เก็บไว้. ท่าน
เศรษฐีกล่าวว่า พวกท่านจงนำทรัพย์สำหรับจับจ่ายไปจากที่นี้ อย่า
ตัดขาดทานเสียเลย แล้วเรียกภรรยามาพูดว่า นางผู้เจริญ เธอจงให้
ทานดำเนินไป. ภรรยานั้นค้นหาจนทั่วเรือนไม่พบแม้แต่กึ่งมาสก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 650
จึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย ดิฉันไม่เห็นอะไร ๆ อื่น ยกเว้นผ้าที่เราทั้งหลาย
นุ่งห่มอยู่ ว่างเปล่าไปทั่วทั้งเรือน. ท่านเศรษฐีให้เปิดประตูห้องเก็บ
รัตนะ ๗ ก็ไม่เห็นอะไร ๆ แม้ทาสและกรรมกรอื่นๆ ก็ไม่ปรากฏ
ยกเว้นเศรษฐีกับภรรยา. มหาสัตว์เรียกภรรยามาอีกแล้วกล่าวว่า
นางผู้เจริญ เราไม่อาจตัดขาดการให้ทาน เธอจงค้นหาให้ทั่วนิเวศน์
พิจารณาดูของบางอย่าง. ขณะนั้น คนหาบหญ้าคนหนึ่ง ทิ้งเคียว
คาน และเชือกมัดหญ้าไว้ระหว่างประตูแล้วหนีไป. ภรรยาของ
เศรษฐีเห็นดังนั้น จึงได้นำมาให้โดยพูดว่า ข้าแต่นายเว้นสิ่งนี้ ดิฉัน
ไม่เห็นของอย่างอื่น. พระมหาสัตว์กล่าวว่า นางผู้เจริญ ธรรมดาหญ้า
เราไม่เคยเกี่ยวตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ แต่วันนี้ เราจักเกี่ยวหญ้า
นำมาขายแล้วให้ทานตามสมควร เพราะกลัวการให้ทานจะขาด จึง
ถือเอาเคียว คาน และเชือกออกจากพระนครไปยังที่มีหญ้าแล้ว
เกี่ยวหญ้าคิดว่า หญ้าฟ่อนหนึ่งจักเป็นของพวกเรา และจักให้ทาน
ด้วยหญ้าฟ่อนหนึ่ง จึงมัดหญ้าเป็น ๒ ฟ่อน คล้องที่คานถือเอาไป
ขายที่ประตูเมือง ได้มาสกมาแล้วได้ให้ส่วนหนึ่งแก่พวกยาจก แต่
พวกยาจกมีมากด้วยกัน เมื่อพวกเขาร้องขอว่า ให้ข้าพเจ้าบ้าง จึงได้
ให้ส่วนแม้นอกนี้ไปอีก วันนั้น จึงไม่มีอาหารพร้อมทั้งภรรยา ให้
เวลาล่วงผ่านไป. โดยทำนองนี้ ล่วงไป ๖ วัน. ครั้นวันที่ ๗ เมื่อ
เศรษฐีนั้นกำลังนำหญ้ามา เป็นผู้อดอาหารมา ๗ วัน ทั้งเป็น
สุขุมาลชาติ พอเมื่อแสดงอาทิตย์กระทบหน้าผาก นัยน์ตาทั้งสองข้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 651
ก็พร่าพราย. เศรษฐีนั้นไม่อาจดำรงสติไว้ได้ จึงล้มทับหญ้าลงไป.
ท้าวสักกะเสด็จเที่ยวตรวจดูกิริยาอาการของเศรษฐีนั้นอยู่. ทันใดนั้น
ท้าวเธอเสด็จมาประทับยืนในอากาศ ตรัสกล่าว่าคาถาที่ ๑ ว่า :-
ดูก่อนวิสัยหะ แต่ก่อนท่านได้ให้ท่าน
เมื่อท่านให้อยู่อย่างนั้น ความเสื่อมได้มี
แต่ท่านแล้ว ต่อแต่นั้นไป ถ้าท่านจักไม่ให้
ท่านไซร้ เมื่อท่านประหยัดไว้ โภคะทั้งหลาย
ก็คงดำรงอยู่ตามเดิม.
อธิบายคำที่เป็นคาถานั้นว่า ท่านวิสัยหะผู้เจริญ เมื่อก่อน
แต่กาลนี้ เมื่อทรัพย์ในเรือนของท่านยังมีอยู่ ท่านได้ให้ทานทำ
สกลชมพูทวีปทั้งสิ้นให้ยกงอนไถขึ้นแล้ว และเมื่อท่านนั้นให้ทานอยู่
อย่างนี้ ธรรมคือความเสื่อมได้แก่สภาวะคือความเสื่อมโภคะจึงได้มี
ขึ้น คือทรัพย์ทั้งมวลหมดสิ้นไป แม้ถ้าเบื้องหน้าแต่นี้ ท่านจะไม่
ให้ทานไซร้ คือจะไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ เมื่อท่านประหยัดไว้ คือ
ไม่ให้อยู่ โภคทั้งหลายจะพึงดำรงอยู่เหมือนอย่างเดิม ท่านจง
ปฏิญญาว่า ตั้งแต่นี้ไปจักไม่ให้ทาน เราจักให้โภคะทั้งหลายแก่ท่าน.
พระมหาสัตว์ได้ฟังดำรัสของท้าวสักกะนั้นแล้วจึงถามว่า ท่าน
เป็นใคร. ท้าวสักกะตรัสว่าเราเป็นท้าวสักกะ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า
ธรรมดาท้าวสักกะ พระองค์เองให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 652
บำเพ็ญวัตรบท ๗ ประการ จึงถึงความเป็นท้าวสักกะ แต่พระองค์
ทรงห้ามการให้ทานอันเป็นเหตุแห่งความเป็นใหญ่ของพระองค์ ทรง
ทำวัตรจรรยาอันมิใช่ของอารยชน แล้วได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-
ข้าแต่ท้าวสหัสสเนตร พระอริยะ
ทั้งหลายกล่าวถึงบาปกรรมว่า อันอารยชน
ถึงจะเป็นคนอยากจนเข็ญใจก็ไม่ควรทำ ข้า-
แต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ ข้าพระบาทจะพึง
เลิกละศรัทธา เพราะการบริโภคทรัพย์อันใด
เป็นเหตุ ทรัพย์อันนั้นอย่าได้มีเลย.
รถคันหนึ่งแล่นไปทางใด รถคันอื่น
ก็แล่นไปทั้งนั้น ข้าแต่ท้าววาสวะ วัตรที่
ข้าพระบาทบำเพ็ญมาแล้วแต่ครั้งก่อน ขอจง
เป็นไปเหมือนอย่างนั้นเถิด.
ถ้ายังมียังเป็นอยู่ ข้าพระบาทก็จะให้
เมื่อไม่มีไม่เป็น จะให้ได้อย่างไร แม้ถึงจะ
มีสภาพเป็นอย่างนี้แล้วก็ตาม ก็จะต้อง
ให้ เพราะข้าพระบาทจะลืมการให้ทานเสีย
มิได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนริย ได้แก่ บาปกรรมอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 653
ลามก. บทว่า อริเยน ได้แก่ อริยชนผู้มีอาจาระอันบริสุทธิ์. บทว่า
สุทุคฺคเตนาปิ ได้แก่ ถึงจะขัดสนแร้นแค้น. บทว่า อกิจจมาหุ
ความว่า พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นกล่าวไว้. อธิบายว่า
ก็พระองค์ตรัสบอกทางอันไม่ประเสริฐกะข้าพระบาท. ศัพท์ว่า โว
เป็นเพียงนิบาต. ด้วยบทว่า ย โภคเหตุ นี้ ท่านแสดงความว่า
เราละคิดละทิ้งศรัทธาในการให้ทาน เพราะการบริโภคทรัพย์ใดเป็น
เหตุ ทรัพย์นั้นนั่นแหละอย่าได้มี คือ เราไม่ต้องการทรัพย์นั้น.
บทว่า รโถ ได้แก่ รถอย่างใดอย่างหนึ่ง. ท่านอธิบายว่า รถคันหนึ่ง
แล่นไปโดยทางใด แม้รถคันอื่นก็แล่นไปโดยทางนั้น ด้วยเข้าใจว่า
นี้เป็นทางเดินของรถ. บทว่า โปราณ นิหต วตฺต ความว่า
วัตรที่เราเคยบำเพ็ญมาในครั้งก่อนนั่นแหละ เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่
จงดำเนินไปเถิด คืออย่าหยุดอยู่เลย. บทว่า เอว ภูตาปี ความว่า
เราแม้จะเป็นคนหาบหญ้าอย่างนี้ ก็จักให้ทานตราบเท่าที่มีชีวิตอยู่.
เพราะเหตุไร ? เพราะเราจะไม่ละลืมการให้ทาน. ท่านแสดงความว่า
เพราะผู้ไม่ให้ ย่อมชื่อว่าละลืม คือไม่ระลึกถึง ไม่กำหนดถึงการให้
ทาน ส่วนเราเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ย่อมไม่ปรารถนาจะลืมการให้ทาน
เพราะฉะนั้น เราจักให้ทานเหมือนอย่างเดิม.
ท้าวสักกะเมื่อไม่อาจทรงห้ามวิสัยหะเศรษฐีนั้น จึงตรัสถามว่า
ท่านให้ทานเพื่อประโยชน์อะไร ? วิสัยหะเศรษฐีทูลว่า ข้าพระบาทมิได้
ปรารถนาความเป็นท้าวสักกะ หรือความเป็นพระพรหม แต่ปรารถนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 654
พระสัพพัญญุตญาณ จึงให้ทาน. ท้าวสักกะได้ทรงสดับคำของวิสัยหะ
นั้นแล้วดีพระทัยจึงเอาพระหัตถ์ลูบหลัง. เมื่อพระโพธิสัตว์พอถูก
ท้าวสักกะทรงลูบหลังในขณะนั้นนั่นเองสรีระทั้งสิ้นก็เต็มบริบูรณ์
และด้วยอานุภาพของท้าวสักกะ กำหนดเขตแห่งทรัพย์สมบัติทั้งหมด
ของพระโพธิสัตว์นั้นก็กลับเป็นไปตามปกติอย่างเดิม. ท้าวสักกะ
ตรัสว่าท่านมหาเศรษฐี จำเดิมแต่นี้ไป ท่านจงสละทรัพย์ ๑๒ แสน
ให้ทานทุกวันเถิด แล้วประทานทรัพย์หาประมาณมิได้ไว้ในเรือนของ
พระโพธิสัตว์นั้น ทรงส่งพระโพธิสัตว์แล้ว เสด็จไปเทวสถานของ
พระองค์.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า ภรรยาของเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นมารดาพระราหุล ส่วน
วิสัยหเศรษฐี ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาวิสัยหชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โกกาลิกชาดก ๒. รถลัฏฐิชาดก ๓. โคธชาดก
๔. ราโชวาทชาดก ๕. ชัมพุกราดก ๖. พรหาฉัตตชาดก
๗. ปีฐชาดก ๘. ถุสชาดก ๙. พเวรุชาดก ๑๐. วิสัยหชาดก
จบ โกกิลวรรคที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 655
๕. จุลลกุณาลวรรค
๑. กุณฑลิกชาดก
เปรียบนารีด้วยท่าน้ำ
[๖๖๒] บรรดานารีทั้งหลาย เป็นคนหลายใจ ไม่
มีใครสามารถจะข่มได้ ทำความยั่วยวนให้
แก่ชายทั้งหลาย ถ้าหากว่านารีทั้งหลายแม้จะ
ทำให้เกิดความปีติได้โดยประการทั้งปวง ก็
ไม่ควรไว้วางใจ เพราะว่านารีทั้งหลายเปรียบ
ด้วยท่าน้ำ.
[๖๖๓] บัณฑิตได้พบเห็นเหตุคลายกำหนัด ของ
กินนรและนางกินนารีทั้งหลายแล้ว ก็พึงรู้
เสียเถิดว่า หญิงทุกคนย่อมไม่ยินดีในเรือน
ของตน ภรรยาได้ทอดทิ้งสามีผู้เช่นนั้นได้
เพราะไปพบเห็นบุรุษอื่นแม้เป็นง่อยเปลี้ย.
[๖๖๔] พระมเหสีของพระเจ้าพกะและพระเจ้า
พาวริกะผู้หมกมุ่นอยู่ในกามเกินส่วน ยัง
ประพฤติล่วงกับชาวประมงคนใช้ผู้ใกล้ชิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 656
และอยู่ในอำนาจ หญิงจะไม่ประพฤติล่วง
บุรุษอื่นนอกจากคนนั้นอีก มีอยู่หรือ.
[๖๖๕] นางปิงคิยานี พระอัครมเหสีที่รักของ
พระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นอิสระแห่งมวลโลกได้
ประพฤติล่วงกับคนเลี้ยงม้าผู้เป็นคนใกล้ชิด
และอยู่ในอำนาจ นางผู้ใคร่กามนั้นไม่ได้
ประสบผลแม้ทั้งสองอย่าง.
จบ กุณฑลิกชาดกที่ ๑
อรรถกถาจุลลกุณาลวรรคที่ ๕.
กุณฑลิกชาดกที่ ๑
เรื่องพิสดารของชาดกนี้ ซึ่งมีคำเริ่มต้นว่า นิราม อารามกรสฺสุ
ดังนี้ จักมีแจ้งในกุณาลชาดกแล.
จบ กุณฑลิกชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 657
๒. วานรชาดก
ผู้รู้เท่าถึงเหตุการณ์เอาตัวรอดได้
[๖๖๖] ดูก่อนจระเข้ เราสามารถยกตนขึ้นจาก
น้ำสู่บกได้แล้ว บัดนี้ เราจะไม่ตกอยู่ใน
อำนาจของท่านอีกต่อไป.
[๖๖๗] เราไม่ต้องการด้วยผลมะม่วง ผลหว้า
และผลขนุนทั้งหลาย ที่จะต้องข้ามฝั่งแม่น้ำ
ไปบริโภค ผลมะเดื่อของเราดีกว่า.
[๖๖๘] ผู้ใดไม่รู้เท่าถึงเหตุการณ์อันเกิดขึ้นแล้ว
โดยฉับพลัน ผู้นั้นจะต้องตกอยู่ในอำนาจ
ของศัตรู และต้องเดือดร้อนใจในภายหลัง.
[๖๖๙] ส่วนผู้ใดรู้เท่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดย
ฉับพลัน ผู้นั้นย่อมพ้นจากความคับขันอัน
เกิดแต่ศัตรู และไม่ต้องเดือดร้อนใจใน
ภายหลัง.
จบ วานรชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 658
อรรถกถาวานรชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภ
พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่าพระองค์ จึงตรัสพระธรรมเทศนา
นี้ มีคำเริ่มต้นว่า อสกฺขึ วต อตฺตาน ดังนี้. เรื่องปัจจุบันได้
ให้พิสดารไว้แล้วทีเดียว.
ส่วนเรื่องในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ
ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกระบี่ ในหิมวันต-
ประเทศ เจริญวัยแล้วอยู่ ณ ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา. ครั้งนั้น นางจระเข้
ตัวหนึ่งในแม่น้ำคงคา เกิดแพ้ท้อง อยากกินเนื้อหัวใจของพระ-
โพธิสัตว์ จึงบอกแก่จระเข้สามี. จระเข้สามีนั้นคิดว่า เราจักให้กระบี่
นั้นดำลงในน้ำแล้วฆ่าเสีย ให้เนื้อหัวใจแก่นางจระเข้ผู้ภรรยา จึงกล่าว
กะพระมหาสัตว์ว่า มาเถิดเพื่อน พวกเราจะไปกินผลมะม่วงที่ระหว่าง
เกาะด้วยกัน. พระมหาสัตว์กล่าวว่า เราจักไปได้อย่างไร. จระเข้
กล่าวว่า เราจักให้ท่านนั่งบนบัลลังเรานำไป. พระมหาสัตว์นั้นไม่รู้
ความคิดของจระเข้นั้น จึงโดดไปนั่งบนหลัง. จระเข้ไปได้หน่อยหนึ่ง
จึงเริ่มจะดำน้ำ ลำดับนั้น วานรจึงกล่าวกะจระเข้นั้นว่า ท่านผู้เจริญ
ท่านจะให้เราดำรงในน้ำทำไม. จระเข้กล่าวว่า เราจักฆ่าท่านแล้วให้เนื้อ
หัวใจแก่ภรรยาของเรา. วานรกล่าวว่า ช้าก่อน ท่านเข้าใจว่าเนื้อ
หัวใจของเราอยู่ที่อกหรือ. จระเข้กล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เนื้อหัวใจ
ของท่านตั้งอยู่ที่ไหน. วานรกล่าวว่า ท่านไม่เห็นเนื้อหัวใจนั้น ซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 659
ห้อยอยู่ที่ต้นมะเดื่อหรือ. จระเข้กล่าวว่า เห็นแต่ท่านจักให้เราหรือ.
วานรกล่าวว่า เออจักให้. เพราะความโง่เขา จระเข้จึงพาวานรนั้น
ไปยังโคนต้นมะเดื่อ ที่ริมแม่น้ำ. พระโพธิสัตว์จึงโดดจากหลังของ
จระเข้นั้นไปนั่งบนต้นมะเดื่อ แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า:-
ดูก่อนจระเข้ เราสามารถยกตนขึ้นจาก
น้ำสู่บกได้ บัดนี้ เราจักไม่ตกอยู่ในอำนาจ
ของท่านอีกต่อไป.
เราไม่ต้องการด้วยผลมะม่วง ผลหว้า
และผลขนุนทั้งหลายที่จะต้องข้ามแม่น้ำไป
บริโภค ผลมะเดื่อของเราดีกว่า.
ผู้ใดไม่รู้เท่าทันเหตุการณ์อันเกิดขึ้น
โดยฉับพลัน ผู้นั้นจะต้องตกอยู่ในอำนาจ
ของศัตรู และต้องเดือดร้อนในภายหลัง.
ส่วนผู้ใดรู้เท่าทันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เคยฉับพลัน ผู้นั้นย่อมพ้นจากวงล้อมของ
ศัตรูและไม่ต้องเดือดร้อนภายหลัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสกฺขึ วต ความว่า ได้เป็น
ผู้สามารถหนอ. บทว่า อุฏฺาตุ ได้แก่ เพื่อยกขึ้น. วานรเรียกจระเข้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 660
ว่า วาริชะ. บทว่า ยานิ ปาร สมุทฺทสฺส ความว่า วานรเมื่อจะ
เรียกแม่น้ำคงคาโดยชื่อว่าสมุทร จึงกล่าวว่า พอกันทีด้วยผลไม้ที่เรา
จะต้องข้ามฝั่งแม่น้ำไปกิน บทว่า ปจฺฉา จ อนุตปฺปติ ความว่า
บุคคลผู้ไม่รู้เรื่องที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ย่อมไปสู่อำนาจของศัตรู และ
ย่อมต้องเดือดร้อนภายหลัง.
วานรนั้นกล่าวเหตุอันเป็นเครื่องให้สำเร็จกิจฝ่ายโลกิยะ ด้วย
คาถาทั้ง ๔ ด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็ไปสู่ชัฏป่าทีเดียว.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า จระเข้ในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต ส่วนวานร
ในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาวานรชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 661
๓. กุนตินีชาดก
ว่าด้วยการเชื่อมิตรภาพ
[๖๗๐] หม่อมฉันได้อาศัย อยู่ในพระราชนิเวศน์
ของพระองค์ พระองค์ทรงอุปถัมภ์บำรุงมา
เป็นอย่างดีมิได้ขาด มีบัดนี้ พระองค์ทีเดียว
ได้ก่อเหตุขึ้น ข้าแต่พระราชา ผิฉะนั้น
หม่อมฉันจะขอทูลลาไปป่าหิมพานต์.
[๖๗๑] ผู้ใดแล เมื่อคนอื่นทำธรรนอันชั่วร้าย
ให้แก่ตนแล้ว และตนก็ได้ทำตอบแทนแล้ว
ย่อมรู้สึกได้ว่า เราได้ทำตอบแก่เขาแล้ว
เวรของผู้นั้นย่อมสงบไปด้วยอาการเพียงเท่านี้
ดูก่อนนางนกกะเรียน ท่านจงอยู่เถิด อย่า
เพิ่งไปเลย.
[๖๗๒] มิตรภาพของผู้ที่ถูกทำร้ายกับผู้ที่ทำร้าย
ย่อมเชื่อมกันไม่ติดอีก ใจของหม่อมฉันไม่
อนุญาตให้อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันขอทูลลาไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 662
[๖๗๓] มิตรภาพของผู้ที่ถูกทำร้ายกับผู้ที่ทำร้าย
ย่อมกลับเชื่อมติดกันได้อีกเฉพาะพวกบัณ-
ฑิตด้วยกัน ย่อมเชื่อมกันไม่ติดอีกเฉพาะ
พวกชนพาล ดูก่อนนางนกกะเรียน ท่าน
จงอยู่เถิด อย่าไปเลย.
จบ กุนตินีชาดกที่ ๓
อรรถกถากุนตินีชาดกที่ ๓
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
นางนกกะเรียนซึ่งอยู่อาศัยในพระราชวังปองพระเจ้าโกศล จึงตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อวสิมฺหา ตวาคาเร ดังนี้.
ได้ยินว่า นางนกกะเรียนนั้นเป็นผู้จำทูลพระราชสาสน์ของ
พระราชา นางนกนั้นมีลูกนกอยู่ ๒ ตัว. พระราชาทรงให้นางนกนั้น
ถือพระราชหัตถเลขาไปส่งแก่พระราชาองค์หนึ่ง. ในเวลาที่นางนกนั้น
ไปแล้ว พวกทารกในราชสกุลพากัน เอามือบีบลูกนกเหล่านั้นจน
ตายไป. นางนกนั้นกลับมาแล้วเห็นลูกนกเหล่านั้นตายแล้วจึงถามว่า
ใครฆ่าลูกฉันตาย ? เขาบอกว่า เด็กคนโน้นและเด็กคนโน้นฆ่า. ก็
ในเวลานั้น ในราชสกุล มีเสือโคร่งที่เลี้ยงไว้ตัวหนึ่งดุร้ายหยาบช้า
มันอยู่ได้โดยการล่ามไว้. ทีนั้นพวกเด็กเหล่านั้น ได้ไปเพื่อจะดูเสือ
โคร่งนั้น. นางนกแม้นั้นก็ได้ไปกับเด็กเหล่านั้น คิดว่า เราจักกระทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 663
เด็กเหล่านั้นเหมือนมันฆ่าลูกของเรา จึงพาเด็กเหล่านั้นไปทำให้ล้มลง
ใกล้เท้าเสือโคร่ง. เสือโคร่งเคี้ยวกินกร้วม ๆ. นางนกนั้นคิดว่า บัดนี้
มโนรถของเราบริบูรณ์แล้ว จึงบินไปยังหิมวันตประเทศทันที. ภิกษุ
ทั้งหลายได้สดับเหตุนั้นแล้วจึงนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโส
ทั้งหลาย ได้ยินว่า นางนกกะเรียนในราชสกุล กระตุ้นพวกเด็ก
ที่ฆ่าลูกของตนให้ล้มลงที่ใกล้เท้าเสือโคร่ง แล้วบินไปยังหิมวันตประ-
เทศเลยทีเดียว. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากินเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ว่า เรื่องนี้ พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้
เท่านั้น แม้ในกาลก่อนนางนกกะเรียนนี้ก็กระตุ้นพวกเด็กผู้ฆ่าลูก
ของตนให้ล้ม แล้วไปสู่หิมวันตประเทศเหมือนกัน แล้วทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระโพธิสัตว์ครองราชสมบัติในนครพาราณ-
สี โดยธรรมโดยสม่ำเสมอ. ในพระราชนิเวศน์ มีนางนกกะเรียน
ตัวหนึ่ง เป็นผู้จำทูลพระราชสาสน์. ข้อความทั้งหมดเช่นกับที่กล่าว
มาแล้วข้างต้นนั่นเอง. ส่วนความแผกกันมีดังต่อไปนี้ :- นางนก
กะเรียนนั้นให้เสือโคร่งฆ่าเด็กทั้งหลายแล้วคิดว่า บัดนี้ เราไม่อาจอยู่
ในที่นี้ เราจักต้องไป แต่เมื่อจะไป ยังไม่กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ
ก่อนจักไม่ไป นางนกกะเรียนนั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วยืนอยู่ ณ
ส่วนสุดข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนาย พวกเด็กฆ่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 664
ลูก ๆ ของข้าพระองค์ เพราะความพลั้งเผลอของพระองค์ ข้าพระองค์
เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของความโกรธ จึงฆ่าเด็กพวกนั้นตอบแทน
บัดนี้ ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่ในที่นี้ แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าพระองค์ได้อาศัยอยู่ในพระราชนิเวศน์
ของพระองค์ พระองค์ทรงอุปถัมภ์บำรุงเป็น
อย่างดีมิได้ขาด มาบัดนี้ พระองค์ทีเดียวได้
ก่อเหตุขึ้น ข้าแต่พระราชา ผิฉะนั้น ข้า -
พระองค์จะขอทูลลาไปป่าหิมพานต์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวเมวทานิมกริ ความว่า พระ-
องค์นั่นแหละให้ข้าพระองค์ถือพระราชหัตถเลขาไปส่ง ไม่ทรงปกป้อง
บุตรทั้งหลายของข้าพระองค์ เพราะความประมาทของพระองค์ ชื่อว่า
ทรงก่อเหตุให้ข้าพระองค์ไปนี้ ณ บัดนี้. ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาต
ใช้ในอรรถแห่งอุปสรรค. นางนกกะเรียนเรียกพระโพธิสัตว์ว่า ราชา.
บทว่า วชามห ความว่า ข้าพระองค์จะไปยังหิมวันตประเทศ.
พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-
ผู้ใดแล เมื่อคนอื่นทำกรรมอันชั่วร้าย
ให้แก่ตนแล้ว และตนได้ทำตอบแทนแล้ว
ย่อมรู้สึกได้ว่า เราได้ทำตอบแทนแล้ว
เวรของผู้นั้นย่อมสงบไปด้วยอาการเพียงเท่านี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 665
ดูก่อนนางนกกะเรียน ท่านจงอยู่เถิด อย่า
ไปเลย.
คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า บุคคลใด เมื่อคนอื่นกระทำ
กรรมอันชั่วร้าย คือกระทำกรรมอันทารุณ มีฆ่าบุตรเป็นต้นของตน
เมื่อตนกลับทำตอบซึ่งกรรมอันชั่วร้ายตอบต่อบุคคลนั้นได้ ย่อมรู้สึกว่า
เราทำตอบเขาได้แล้ว. เวรนั้นย่อมสงบไปด้วยอาการอย่างนี้ คือ เวร
นั้นย่อมสงบคือเข้าไปสงบด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ เพราะเหตุนั้น
นางนกกะเรียนเอ๋ย เจ้าอยู่เถิดอย่าไปเลย.
นางนกกะเรียนได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
มิตรภาพของผู้ที่ถูกทำร้ายกับผู้ที่ทำร้าย
ย่อมเชื่อมกันอีกไม่ได้ ใจของข้าพระองค์ไม่
ยอมอนุญาตให้อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จะขอทูลลาไปให้
ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น กตสฺส จ กตฺตา จ ความว่า
ขึ้นชื่อว่ามิตรภาพของตน ๒ จำพวกนี้ คือ คนผู้ถูกกระทำ ถูกข่มเหง
ถูกเบียดเบียน และคนผู้ทำให้แปรปรวนไปโดยความแตกแยกในบัดนี้
ย่อมเชื่อมกันไม่ได้ คือต่อกันไม่ได้อีก. บทว่า หทย นานุชานาติ
ความว่า เพราะเหตุนั้น ใจของข้าพระองค์จึงไม่อนุญาตการอยู่ในที่นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 666
บทว่า คจฺฉญฺเว รเถสภ ความว่า ข้าแต่มหาราช เพราะฉะนั้น
ข้าพระองค์จักขอไปอย่างเดียว.
พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๔ ว่า :-
มิตรภาพของผู้ที่ถูกทำร้ายกับผู้ที่ทำร้าย
ย่อมเชื่อมกันได้อีกเฉพาะพวกบัณฑิตด้วย
กัน แต่สำหรับพวกคนพาลย่อมเชื่อมกันไม่
ได้อีก ดูก่อนนางนกกะเรียน เจ้าจงอยู่เถิด
อย่าไปเลย.
คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า ไมตรีของบุคคลผู้ถูกกระทำ
และบุคคลผู้กระทำ ย่อมเชื่อมกันได้อีก แต่ไมตรีนั้นย่อมเชื่อมกันได้
สำหรับพวกนักปราชญ์ ส่วนสำหรับพวกคนพาลย่อมเชื่อม กันไม่ได้
เพราะว่า ไมตรีของนักปราชญ์ทั้งหลาย แม้จะแตกไปแล้วก็กลับเชื่อม
ต่อได้ ส่วนไมตรีของพวกคนพาล แตกกันคราวเดียว ย่อมเป็นอัน
แตกไปเลย เพราะฉะนั้น นางนกกะเรียนเอ๋ย เจ้าจงอยู่เถิดอย่าไปเลย.
แม้เมื่อตรัสห้ามอยู่อย่างนั้น นางนกก็ยังทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เป็นนาย ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่พระเจ้าเฝ้า จึงถวายบังคมพระราชา
แล้วบินไปยังหิมวันตประเทศทีเดียว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประชุมชาดกว่า ในกาลนั้นนางนกกะเรียนนั่นแหละ ได้มาเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 667
นางนกกะเรียนในบัดนี้ ส่วนพระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น ได้มาเป็น
เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากุนตินีชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 668
๔. อัมพชาดก
ว่าด้วยหญิงขะโมยมะม่วง
[๖๗๔] หญิงคนใดลักมะม่วงทั้งหลายของท่าน
หญิงคนนั้นจงตกอยู่ใต้อำนาจของขายผู้ย้อม
ผม และผู้เดือดร้อนเพราะแหนบ.
[๖๗๕] หญิงคนใดลักมะม่วงทั้งหลายของท่าน
หญิงคนนั้นถึงจะมีอายุตั้ง ๒๐ ปี ๒๕ ปี
หรือไม่ถึง ๓๐ ปี ตั้งแต่เกิดมาแม้เป็นเช่นนั้น
อย่าได้ผัวเลย.
[๖๗๖] หญิงคนใดลักมะม่วงทั้งหลายของท่าน
หญิงคนนั้นถึงจะกระเสือกกระสันเที่ยวหาผัว
เดินไปสู่หนทางไกลแสนไกล แต่ลำพังคน
เดียว ถึงจะได้นัดแนะกันไว้แล้ว ก็ขออย่า
ได้พบได้เห็นผัวเลย.
[๖๗๗] หญิงคนใดลักมะม่วงทั้งหลายของท่าน
หญิงคนนั้นถึงจะมีที่อยู่สะอาด ตบแต่ง
ร่างกายทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยกระแจะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 669
จันทน์ ก็จงนอนอยู่บนที่นอนแต่เพียงคน
เดียวเถิด.
จบ อัมพชาดกที่ ๔
อรรถกถาอัมพชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชดวัน ทรงปรารภ
พระเถระผู้เฝ้ามะม่วงรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
โย นีลิย มณฺฑยติ ดังนี้.
ได้ยินว่า พระเถระนั้นบวชเมื่อภายแก่ สร้างบรรณศาลาอยู่
ในสวนมะม่วงท้ายพระเชตวัน ดูแลรักษามะม่วง เคี้ยวกินมะม่วงสุก
ที่หล่นอยู่. ย่อมให้เฉพาะคนที่เกี่ยวข้องกับตน. เมื่อพระเถระนั้น
เข้าไปภิกขาจาร คนลักมะม่วง ทำผลมะม่วงให้หล่นแล้วกินและถือ
เอาไป. ขณะนั้น ธิดาของเศรษฐี ๔ คน อาบน้ำในแม่น้ำอจิรวดี
แล้วเที่ยวไป จึงเข้าไปยังสวนมะม่วงนั้น. พระแก่มาเห็นธิดาเศรษฐี
เหล่านั้นจึงกล่าวว่า พวกเจ้ากินมะม่วงของเรา. ธิดาเศรษฐีเหล่านั้น
กล่าวว่า. ท่านผู้เจริญ พวกดิฉันเพิ่งมา ไม่ได้กินมะม่วงของท่าน.
พระแก่กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นพวกเจ้าจงสบถ. ธิดาเศรษฐีเหล่านั้น
รับคำว่าจะกระทำสบถ เจ้าข้า แล้วพากันกระทำสบถ. พระแก่ให้
ธิดาเศรษฐีเหล่านั้นทำสบถให้ได้อาย แล้วจึงปล่อยตัวไป. ภิกษุ
ทั้งหลายได้ฟังการกระทำนั้นของพระแก่รูปนั้น จึงสนทนากันใน
โรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่าพระแก่รูปโน้น ให้ธิดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 670
เศรษฐีผู้เข้าไปยังสวนมะม่วงอันเป็นที่อยู่ของตนกระทำสบถ ทำให้ได้
อายแล้วปล่อยไป. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไร. เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว จงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่ชาตินี้เท่านั้น
แม้ชาติก่อน พระแก่นี้ได้เป็นผู้เฝ้ามะม่วง ยังธิดาเศรษฐีเหล่านี้ให้
ทำการสบถ ทำให้ได้อายแล้วปล่อยไป แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีต
มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์ทรงครองความเป็นท้าวสักกเทวราช. ใน
กาลนั้น ชฏิลโกงผู้หนึ่งเข้าไปอาศัยนครพาราณสี สร้างบรรณศาลา
ในสวนมะม่วง ณ ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ รักษามะม่วงอยู่ กินผลมะม่วงสุก
ที่หล่น ให้เฉพาะแก่คนที่เกี่ยวข้องกัน เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ
มีประการต่าง ๆ อยู่. ในกาลนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงดำริว่า ใคร-
หนอบำรุงบิดามารดา ใครหนอประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญที่สุดใน
สกุล ใครให้ทานรักษาศีล กระทำอุโบสถกรรม ใครบวชแล้ว
ขวนขวายในสมณธรรมอยู่ ใครประพฤติอนาจาร จึงทรงตรวจดู
ชาวโลก ทรงเห็นชฏิลโกงผู้เฝ้ามะม่วงผู้นี้ไม่มีอาจาระ จึงทรงดำริว่า
ชฏิลโกงผู้นี้ละทิ้งสมณธรรมของตนมีบริกรรมกสิณเป็นต้น รักษา
สวนมะม่วงอยู่ เราจักทำเขาให้สังเวชสลดใจ จึงในเวลาที่ชฎิลโกงนั้น
เข้าไปภิกขาจารยังบ้านจึงบันดาลมะม่วงทั้งหลายให้ล้มลงด้วยอานุภาพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 671
ของพระองค์ ทรงทำให้เสมือนหนึ่งถูกพวกโจรปล้น. ในคราวนั้น
ธิดาเศรษฐี ๔ คน จากนครพาราณสี เข้าไปยังสวนมะม่วงนั้น.
ชฎิลโกงเห็นธิดาเศรษฐีเหล่านั้นจึงอ้างเอาว่า พวกท่านบริโภคมะม่วง
ของเรา. ธิดาเศรษฐีเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พวกฉันเพิ่งมา
เดี๋ยวนี้เอง พวกดิฉันไม่ได้กินมะม่วงของท่าน. ชฏิลโกงพูดว่า
ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงสบถ. ธิดาเศรษฐีเหล่านั้นถามว่า ก็พวก
ดิฉันสบถแล้วจักไปได้กระมัง ? ชฎิลโกงกล่าวว่า เออ สบถแล้ว
จักได้ไป. ธิดาเศรษฐีเหล่านั้นพากันรับคำว่า ดีแล้ว ท่านผู้เจริญ
เมื่อธิดาเศรษฐีคนใหญ่จะสบถ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
หญิงใดลักมะม่วงของท่าน หญิงนั้น
จงตกอยู่ในอำนาจของชายผู้ย้อมผมให้ดำ
และผู้เดือดร้อนเพราะ ต้องถอนผมหงอก
ด้วยแหนบ.
คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า ชายใดแต่งให้ผมดำซึ่งเอาผลไม้
สีเขียวเป็นต้นมาประกอบทำ เพื่อต้องการจะทำผมหงอกให้มีสีดำ และ
ผู้ถอนผมหงอกซึ่งแซมอยู่กับผมดำ ชื่อว่าเดือดร้อน คือลำบากเพราะ
แหนบ หญิงผู้ลักมะม่วงของท่านจงตกอยู่ในอำนาจของชายแก่เห็น
ปานนั้น คือจงได้ผัวเห็นปานนั้น.
ดาบสกล่าวว่า เจ้าจงยืนอยู่ในส่วนข้างหนึ่ง แล้วให้ธิดาเศรษฐี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 672
คนที่สองกระทำการสบถ. ธิดาเศรษฐีคนที่สองนั้น เมื่อจะสบถ
จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
หญิงใดลักมะม่วงของท่าน หญิงนั้น
ถึงจะมีอายุตั้ง ๒๐ ปี ๒๕ ปี หรือไม่ถึง
๓๐ ปี โดยกำเนิด แม้เป็นผู้มีวัยแก่เช่น
นั้นก็อย่าได้ผัวเลย.
คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า ธรรมดานารีทั้งหลาย ย่อม
เป็นที่รักของพวกบุรุษ ในคราวมีอายุประมาณ ๑๕ - ๑๖ ปี แต่
หญิงผู้ลักมะม่วงของท่าน อย่าได้สามีในคราวเป็นสาวเห็นปานนั้น
พอถึงอายุ ๒๐ ปี หรือ ๒๕ ปี หรือชื่อว่าหย่อน ๓๐ ปี เพราะ
หย่อนหนึ่งปี สองปีโดยชาติกำเนิด แม้จะเป็นผู้เช่นนั้น คือเป็น
ผู้มีวัยแก่แล้ว ก็อย่าได้สามี.
เมื่อธิดาเศรษฐีคนที่สองแม้นั้นบถแล้ว ยืนอยู่ ณ ส่วนข้าง
หนึ่ง ธิดาเศรษฐีคนที่สาม จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
หญิงใดลักมะม่วงของท่าน หญิงนั้น
ถึงจะกระเสือกกระสนเที่ยวหาผัว เดินทาง
ไกลแสนไกลลำพังผู้เดียว ถึงจะได้นัดแนะ
กันไว้แล้ว ขออย่าได้พบได้เห็นผัวเลย.
คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า หญิงใดลักมะม่วงของท่าน หญิง
นั้นเมื่อปรารถนาผัว ชื่อว่าเป็นผู้กระเสือกกระสน เพราะในไปใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 673
สำนักของผัวนั้น ลำพังผู้เดียว คือไม่มีเพื่อน เดินทางไกลแสนไกล
ประมาณ ๑ คาวุต ๒ คาวุต และแม้ครั้นไปถึงแล้วทำการนัดหมาย
กันว่า ท่านพึงมายังที่ชื่อโน้น ก็อย่าได้พบเห็นผัวนั้นเลย.
เมื่อธิดาเศรษฐีคนที่สามแม้นั้นสบถแล้วยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง
ธิดาเศรษฐีคนที่สี่ จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
หญิงใดลักมะม่วงของท่าน หญิงนั้น
ถึงจะมีที่อยู่สะอาด ตกแต่งร่างกาย ทัดทรง
ดอกไม้ลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ก็จงนอน
อยู่บนที่นอนแต่เพียงคนเดียวเถิด.
คาถานั้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
ดาบสโกงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายทำการสบถแข็งแรงมาก คน
เหล่าอื่นคงจักกินมะม่วงของเรา บัดนี้พวกท่านไปได้ แล้วส่งธิดา
เศรษฐีเหล่านั้นไป. ท้าวสักกะจึงทรงแสดงรูปารมณ์อันน่ากลัว ทำ
ดาบสโกงให้หนีไปจากที่นั้น.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า ชฎิลโกงในครั้งนั้น ได้เป็นพระแก่เฝ้ามะม่วงรูปนี้
ธิดาเศรษฐี ๔ คนในครั้งนั้น ได้เป็นธิดาเศรษฐีเหล่านี้แหละ ส่วน
ท้าวสักกเทวราชในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอัมพชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 674
๕. คชกุมภชาดก
ช้า ๆ จะได้พร้าสองเล่มงาม
[๖๗๘] ดูก่อนเจ้าตัวโยก ไฟไหม้ป่าคราวใด
คราวนั้นเจ้าจะทำอย่างไร เจ้าเป็นสัตว์มีความ
บากบั่นอ่อนแออย่างนี้.
[๖๗๙] โพรงไม้และระแหงแผ่นดินมีอยู่เป็นอัน
มากถ้าพวกข้าพเจ้าไปไม่ทันถึงโพรงไม้และ
ระแหงแผ่นดินเหล่านั้น พวกข้าพเจ้าก็ต้อง
ตาย.
[๖๘๐] ในเวลาที่จะต้องทำช้า ๆ ผู้ใดรีบด่วนทำ
เสียเร็ว ในเวลาที่จะต้องรีบด่วนทำกลับทำ
ช้าไป ผู้นั้นย่อมตัดรอนประโยชน์ของตนเอง
เหมือนคนเหยียบใบตาลแห้งแหลกละเอียด
ไปฉะนั้น.
[๖๘๑] ในเวลาที่จะต้องทำช้า ๆ ผู้ใดทำช้า และ
ในเวลาที่จะต้องรีบทำด่วนก็รีบด่วนทำเสีย
ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมบริบูรณ์ เหมือน
ดวงจันทร์กำจัดมืดเต็มดวงอยู่ ฉะนั้น.
จบ คชกุมภาชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 675
อรรถกถาคชกุมภชาดกที่ ๕
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุเกียจคร้านรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
วน ยทคฺคิ ทหติ ดังนี้.
ได้ยินว่าภิกษุนั้นเป็นกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถี แม้บวชถวายตน
ในพระศาสนา ก็ได้เป็นผู้เกียจคร้านเหินห่างจากอุทเทสการเรียน
พระบาลี การสอบถาม การโยนิโสมนสิการกัมมัฏฐาน และวัตรปฏิบัติ
กิจวัตรเป็นต้น เป็นผู้ถูกนิวรณ์ครอบงำ เป็นอยู่อย่างนั้นทุกอิริยาบถ
มีการนั่งและการยืนเป็นต้น. ภิกษุทั้งหลายสนทนากันปรารภถึงความ
เกียจคร้านนั้นของเธอ ในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุชื่อ
โน้น บวชในพระศาสนาอันเป็นนิยยานิกะเครื่องนำออกจากทุกข์เห็น
ปานนี้ ยังเป็นผู้ขี้เกียจขี้คร้าน ถูกนิวรณ์ครอบงำอยู่. พระศาสดา
เสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่อง
อะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบว่า เรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน
ภิกษุนี้ก็เป็นผู้เกียจคร้านเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีต
มาสาธกดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์แก้วของพระเจ้าพาราณสีนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 676
พระเจ้าพาราณสีได้เป็นผู้มีพระอัธยาศัยเกียจคร้าน พระโพธิสัตว์คิดว่า
เราจักให้พระราชาทรงรู้สึกพระองค์ จึงเที่ยวเสาะหาข้อเปรียบเทียบ
อย่างหนึ่ง. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปพระราชอุทยาน อันหมู่
อำมาตย์ห้อมล้อมเสด็จเที่ยวไปในพระราชอุทยานนั้น ทอดพระเนตร
เห็นตัวกระพองช้างตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นสัตว์เกียจคร้านเฉื่อยช้า. เขาว่า
สัตว์จำพวกนั้นเป็นสัตว์เฉื่อยช้า แม้จะเดินไปตลอดทั้งวัน ก็ไปได้
ประมาณนิ้วหนึ่งหรือสองนิ้ว. พระราชาทรงเห็นดังนั้น จึงตรัสถาม
พระโพธิสัตว์ว่า สัตว์นั้นชื่ออะไร ? พระมหาสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่
มหาราชเจ้า สัตว์นั้นชื่อคชกุมภะตัวกระพองช้าง แล้วกราบทูลว่า ก็
สัตว์เห็นปานนี้ เฉื่อยช้าแม้จะเดินไปตลอดทั้งวัน ก็ไปได้เพียงนิ้วหนึ่ง
หรือสองนิ้วเท่านั้น เมื่อจะเจรจากับตัวกระพองช้างนั้น จึงกล่าวว่า
ดูก่อนคชกุมภะผู้เจริญพวกท่านเดินช้า เมื่อไฟป่าเกิดขึ้นในป่านี้ พวก
ท่านจะกระทำอย่างไร แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ดูก่อนเจ้าตัวโยก ไฟไหม้ป่าคราวใด
คราวนั้น. เจ้าจะทำอย่างไร เจ้าเป็นสัตว์มี
ความบากบั่นอ่อนแออย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทคฺคิ ตัดเป็น ยทา อคคิ. บทว่า
ปาวโก กณฺหวตฺตนิ เป็นชื่อของไฟ. พระโพธิสัตว์เรียกตัวคชกุมภะ
นั้นว่า ปจลกะ ตัวโยก. เพราะตัวคชกุมภะนั้นเดินโยกตัว หรือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 677
โยกตัวอยู่เป็นนิตย์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ปจลกะ. บทว่า
ทนฺธปรกฺกโม แปลว่า มีความเพียรอ่อน.
ตัวคชกุมภะได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
โพรงไม้และช่องแผ่นดิน (ระแหง) มี
อยู่เป็นอันมาก ถ้าพวกข้าพเจ้าไปไม่ถึงโพรง
ไม้หรือช่องแผ่นดินเหล่านั้น พวกข้าพเจ้าก็
ต้องตาย.
คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า ข้าแต่ท่านบัณฑิต ชื่อว่าการไป
ที่ยิ่งกว่านี้ของพวกข้าพเจ้าไม่มี ก็ในป่านี้มีโพรงไม้และช่องแผ่นดิน
อยู่เป็นอันมาก ถ้าพวกข้าพเจ้าไปไม่ทันถึงโพรงไม้หรือช่องแผ่นดิน
เหล่านั้น พวกข้าพเจ้าก็ต้องตาย คือว่า ความตายเท่านั้นจะมีแก่พวก
ข้าพเจ้า.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถานอกนี้ว่า :-
ในเวลาที่จะต้องทำช้า ๆ ผู้ใดรีบด่วน
ทำเสียเร็ว ในเวลาที่จะต้องรีบด่วนทำ กลับ
ทำช้าไป ผู้นั้นย่อมตัดรอนประโยชน์ของตน
เอง เหมือนคนเหยียบใบตาลแห้งให้แหลก
ละเอียดไปฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 678
ในเวลาที่จะต้องทำช้า ๆ ผู้ใดทำช้า และ
ในเวลาที่จะต้องรีบด่วนทำ ก็รีบด่วนทำ
ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมบริบูรณ์ เหมือนดวง
จันทร์กำจัดมืดเต็มดวงอยู่ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทนฺธกาเล ความว่า ในเวลาที่
จะต้องค่อยๆ ทำการงานนั้น ๆ ก็รีบด่วนทำการงานนั้นๆ โดยเร็ว.
บทว่า สุกฺขปณฺณว ความว่า ผู้นั้นย่อมหักรานประโยชน์ของตน
เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียบใบตาลแห้งเพราะลมและแดดให้ยับเยิน
คือทำให้แหลกละเอียดลงในที่นั้นเท่านั้น. บทว่า ทนฺเธติ ความว่า
ย่อมชักช้า คือ การงานที่จะต้องทำช้าๆ ก็กระทำให้ช้าไว้. บทว่า
ตารยิ ความว่า และการงานที่จะต้องรีบด่วนกระทำ ก็ด่วนกระทำ
เสีย. บทว่า สสีว รตฺตึ วิภช นี้ ท่านอธิบายว่า ประโยชน์
ของบุรุษนั้นย่อมเต็มบริบูรณ์เหมือนดวงจันทร์ ทำราตรีข้างแรมให้
โชติช่วง ชื่อว่ากำจัดราตรีข้างแรมเต็มดวงอยู่ทุกวัน ๆ ฉะนั้น.
พระราชาได้ทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้ว ตั้งแต่นั้น ก็มิ
ได้ทรงเกียจคร้าน.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประ-
ชุมชาดกว่า ตัวคชกุมภะในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุเกียจคร้านในบัดนี้
ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล
จบ อรรถกถาคชกุมภชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 679
๖. เกสวชาดก
ความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยม
[๖๘๒] เป็นอย่างไรหนอ เกสวดาบสผู้มีโชค
ของข้าพเจ้าทั้งหลาย จึงละพระเจ้าพาราณสี
ผู้เป็นจอมมนุษย์ ซึ่งสามารถให้สำเร็จประ-
สงค์ทุกประการ แล้วมายินดีอยู่ในอาศรม
ของกัปปดาบส.
[๖๘๓] ดูก่อนนารทอำมาตย์ สิ่งอันน่ารื่นรมย์
ใจซึ่งยังประโยชน์ให้สำเร็จมีอยู่ หมู่ไม้อัน
น่ารื่นรมย์ใจมีอยู่ ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของ
กัปปดาบส ยังอาตมาให้ยินดี.
[๖๘๔] พระคุณเจ้าบริโภคข้าวสุกสาลีที่ปรุงด้วย
เนื้อสะอาด ไฉนข้าวฟ่างและลูกเดือยอันหา
รสมิได้ จึงทำให้พระคุณเจ้ายินดีได้เล่า.
[๖๘๕] ของบริโภคจะดีหรือไม่ดีก็ตาม จะน้อย
หรือมากก็ตาม บุคคลใดคุ้นเคยกันแล้ว จะ
พึงบริโภค ณ ที่ใด การบริโภค ณ ที่นั้นแหละ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 680
ดี เพราะรสทั้งหลาย มีความคุ้นเคยกันเป็น
ยอดเยี่ยม.
จบ เกสวชาดกที่ ๖
อรรถกถาเกสวชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
โภชนะแห่งผู้คุ้นเคยกัน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
มนุสฺสินฺท ชหิตฺวาน ดังนี้.
ได้ยินว่า ในเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มีภัตตาหาร
ไว้ถวายภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจำ เรือนของท่านเศรษฐีจึงเป็นเสมือน
บ่อน้ำของภิกษุสงฆ์อยู่เป็นนิตยกาล เรืองรองด้วยผ้ากาสาวพัสตร์
คลาคล่ำด้วยหมู่ฤๅษีผู้แสวงบุญ. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทรงกระทำ
ประทักษิณพระนคร ทอดพระเนตรเห็นภิกษุสงฆ์ในนิเวศน์ของ
เศรษฐี ทรงดำริว่า แม้เราก็จักถวายภิกษาหารเป็นประจำแก่ภิกษุ ๕๐๐
รูป จึงเสด็จไปวิหาร ทรงนมัสการพระศาสดา แล้วทรงเริ่มตั้ง
ภิกษาหารแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจำ นับแต่นั้นมา ก็ทรงถวาย
ภิกษาหารในพระราชนิเวศน์เป็นประจำ. โภชนะแห่งข้าวสาลีมีกลิ่น
หอมซึ่งเก็บไว้ถึง ๓ ปี เป็นของประณีต. ผู้ถวายด้วยมือของตน ด้วย
ความคุ้นเคยก็ดี ด้วยความสิเนหาก็ดี มิได้มี. พวกข้าหลวงย่อมจัดให้
ถวาย. ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาที่จะนั่งฉัน. รับเอาภัตตาหารมีรส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 681
เลิศต่าง ๆ แล้ว ไปยังตระกูลอุปัฏฐากของตน ๆ ให้ภัตตาหารแก่พวก
อุปัฏฐากเหล่านั้นแล้ว พากันฉันภัตตาหารที่อุปัฏฐากเหล่านั้นถวาย
ไม่ว่าจะเศร้าหมองหรือประณีต. อยู่มาวันหนึ่ง เขานำผลาผลเป็นอัน
มากมาถวายพระราชา. ท้าวเธอรับสั่งว่า พวกท่านจงถวายแด่ภิกษุสงฆ์
คนทั้งหลายจึงพากันไปยังโรงภัตตาหาร ไม่เห็นภิกษุสักรูปเดียว จึง
กราบทูลแก่พระราชาว่า แม้ภิกษุรูปเดียวก็ไม่มี พระเจ้าข้า. พระ-
ราชาตรัสว่า ยังไม่ถึงเวลากระมัง. คนทั้งหลายกราบทูลว่า ถึงเวลา
แล้ว พระเจ้าข้า แต่ภิกษุทั้งหลายรับภัตตาหารในวังของพระองค์แล้ว
ไปในเรือนแห่งอุปัฏฐากผู้คุ้นเคยของตน ๆ ให้ภัตตาหารนั้นแก่อุปัฏ-
ฐากเหล่านั้น แล้วฉันภัตตาหารที่อุปัฏฐาก เหล่านั้นถวาย จะเศร้า-
หมองหรือประณีตก็ตาม. พระราชาทรงดำริว่า ภัตตาหารของเรา
ประณีต เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ฉันภัตตาหารนั้น พา
กันฉันภัตตาหารอื่น เราจักทูลถามพระศาสดา จึงเสด็จไปพระวิหาร
ทรงนมัสการ แล้วจึงทูลถาม. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตรธรรมดา
การบริโภคโภชนะมีความคุ้นเคยกันสำคัญยิ่ง เพราะในพระราชวัง
ของพระองค์ไม่มีผู้เข้าไปตั้งความคุ้นเคย แล้วให้ด้วยความสนิทสนม
ภิกษุทั้งหลายจึงรับภัตาตาหารแล้วฉันในที่แห่งคนผู้มีความคุ้นเคยแก่
ตน มหาบพิตร ชื่อว่ารสอื่นเช่นกับความคุ้นเคย ย่อมไม่มี แม้ของ
อร่อย ๔ อย่างที่คนผู้ไม่คุ้นเคยให้ ย่อมไม่ถึงค่าสักว่าเปรียงที่คนผู้
คุ้นเคยให้ แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ครั้นเมื่อโรคเกิดขึ้น เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 682
พระราชาแม้ทรงพาหมอทั้ง ๕ ตระกูลไปให้กระทำยา เมื่อโรค
ไม่สงบ ได้ไปยังสำนักของคนผู้คุ้นเคยกัน บริโภคยาคูอันทำด้วยข้าว
ฟ่างและลูกเดือยซึ่งไม่เค็ม และผักซึ่งลาดด้วยสักแต่ว่าน้ำเปล่า ไม่มี
รสเค็ม ก็หายโรคอันพระราชานั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ณ กาสิกรัฐ
บิดามารดาตั้งชื่อกุมารนั้นว่า กัปปกุมาร. กัปปกุมารนั้นเจริญวัยแล้ว
เรียนศิลปะทุกอย่างในเมืองตักกศิลา ภายหลังต่อมา ได้บวชเป็นฤๅษี.
ครั้งนั้น เกสวดาบสห้อมล้อมด้วยดาบส ๕๐๐ รูป เป็นครูของคณะ
อยู่ในหิมวันตประเทศ. พระโพธิสัตว์ได้ไปยังสำนักของเกสวดาบสนั้น
อยู่เป็นอันเตราสิกผู้ใหญ่แห่งอันเตวาสิก ๕๐๐ รูป. แท้จริง อัธยาศัย
ใจคอของพระโพธิสัตว์นั้น ได้มีความสนิทสนมต่อเกสวดาบส. ดาบส
เหล่านั้นได้เป็นผู้คุ้นเคยกันและกันยิ่งนัก จำเนียรกาลนานมา เกสว-
ดาบสได้พาดาบสเหล่านั้นไปยังถิ่นมนุษย์ เพื่อต้องการเสพรสเค็มและ
รสเปรี้ยว ถึงนครพาราณสีแล้วอยู่ในพระราชอุทยาน วันรุ่งขึ้น
เข้ไปสู่พระนครเพื่อภิกขาจาร ได้ไปถึงประตูพระราชวัง. พระราชา
ทรงเห็นหมู่ฤๅษีจึงให้ไปนิมนต์มาแล้วให้ฉันในภายในพระราชนิเวศน์
ทรงถือเอาปฏิญญาแล้ว ให้พักอยู่ในพระราชอุทยาน. ครั้นเมื่อล่วง
กาลฤดูฝนแล้ว เกสวดาบสได้ทูลอำลาพระราชา. พระราชาตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 683
ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายเป็นผู้แก่เฒ่า จงอาศัยข้าพเจ้าอยู่ก่อน ส่ง
แต่ดาบสหนุ่ม ๆ ไปยังหิมวันตประเทศเถิด. เกสวดาบสรับว่าดีละ
แล้วส่งดาบสเหล่านั้นพร้อมกับอันเตวาสิกผู้ใหญ่ไปยังหิมวันตประเทศ
ตนเองผู้เดียวยับยั้งอยู่.
ฝ่ายกัปปดาบสก็ไปยังหิมวันตประเทศอยู่กับดาบสทั้งหลาย.
เกสวดาบสเมื่ออยู่เหินห่างกัปปดาบสก็รำคาญใจ เป็นผู้ใคร่จะเห็น
กัปปดาบสนั้นไม่เป็นอันได้หลับนอน. เมื่อเกวสดาบสนั้นนอนไม่หลับ
อาหารก็ไม่ย่อยไปด้วยดี โรคลงโลหิตก็ได้เกิดมีขึ้น ทุกขเวทนาเป็น
ไปอย่าแรงกล้า. พระราชาทรงพาแพทย์ ๕ สกุลมาปรนนิบัติ
พระดาบส. โรคก็ไม่สงบ. เกสวดาบสทูลพระราชาว่า มหาบพิตร
พระองค์ปรารถนาให้อาตมภาพตาย หรือปรารถนาให้หายโรค.
พระราชาตรัสว่า ปรารถนาให้หายโรคซิท่านผู้เจริญ. เกสวดาบสทูลว่า
ถ้าอย่างนั้น พระองค์จึงส่งอาตมภาพไปยังหิมวันประเทศ. พระราชา
ตรัสว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ แล้วทรงส่งนารทอำมาตย์ไปด้วยพระดำรัส
ว่า ท่านจงพาท่านผู้เจริญไปหิมวันตประเทศพร้อมกับพวกพรานป่า.
นารทอำมาตย์นำเกสวดาบสนั้นไปหิมวันตประเทศแล้วกลับมา. ฝ่าย
เกสวดาบส เมื่อพอได้เห็นกัปปดาบสเท่านั้น โรคทางใจก็สงบ ความ
กระสันรำคาญใจก็ระงับไป. ลำดับนั้น กัปปดาบสได้ให้ยาคูที่หุงด้วย
ข้าวฟ่างและลูกเดือยพร้อมกับผักที่ลาดรดด้วยน้ำเปล่าซึ่งไม่เค็มไม่ได้
อบแก่เกสวดาบสนั้น โรคลงโลหิตของเกสวดาบสนั้นก็สงบระงับลงใน
ขณะนั้นเอง. พระราชาทรงส่งนารทอำมาตย์นั้นไปอีก ด้วยรับสั่งว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 684
เธอจงไปฟังข่าวคราวของเกสวดาบสดูทีเถิด. นารทอำมาตย์นั้นไปแล้ว
ได้เห็นเกสวดาบสนั้นหายโรคแล้ว จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระเจ้า
พาราณสีทรงพาแพทย์ ๕ ตระกูลมาปรนนิบัติ ไม่อาจทำท่านให้หาย
โรค กัปปดาบสปรนนิบัติท่านอย่างไร? แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
เป็นอย่างไรหนอ เกสวดาบสผู้มีโชค
จึงละพระเจ้าพาราณสีผู้เป็นจอมมนุษย์ ผู้ทำ
ความประสงค์ทั้งปวงให้สำเร็จได้ มายินดีอยู่
ในอาศรมของกัปปดาบส.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุสฺสินฺท ได้แก่ พระเจ้า
พาราณสีผู้เป็นจอมแห่งมนุษย์. บทว่า กถ นุ ภควา เกสี ความว่า
เพราะอุบายอะไรหนอ เกสวดาบสผู้มีโชคของพวกเรารูปนี้ จึงยินดี
อยู่ในอาศรมของกัปปดาบส. นารทอำมาตย์ทำทีเสมือนเจรจากับคน
อื่น ถามถึงเหตุในความยินดียิ่งของเกสวดาบส ด้วยประการอย่างนี้.
เกสวดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ดูก่อนนารทอำมาตย์ สิ่งอันน่ารื่นรมย์
ใจซึ่งยังประโยชน์ให้สาเร็จมีอยู่ หมู่ไม้อัน
ทาใจให้รื่นรมย์มีอยู่ แต่ถ้อยคำอันเป็น
สุภาษิตของกัปปดาบส ย่อมทาให้เราอภิรมย์
ยินดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 685
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วกฺขา ได้แก่ ต้นไม้. แต่ใน
บาลีเขียนไว้ว่า รุกฺขา. บทว่า สุภาสิตานิ ความว่า ถ้อยคำสุภาษิต
ที่กัปปดาบสกล่าว ย่อมทำเราให้อภิรมย์ยินดี.
ก็แหละ เกสวดาบสครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวว่า กัปป-
ดาบสทำเราให้ยินดีอยู่อย่างนี้ จึงให้เราดื่มยาคูที่หุงด้วยข้าวฟ่างและ
ลูกเดือยอันระคนด้วยผักที่ลาดด้วยน้ำ ซึ่งไม่เค็มและไม่ได้อบกลิ่น
พยาธิในร่างกายของเราสงบระงับเพราะข้าวยาคูนั้น เราเป็นผู้หาย
โรคแล้ว. นารทอำมาตย์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
พระคุณเจ้าบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลี
ที่ปรุงด้วยเนื้อสะอาดมาแล้ว ไฉนข้าวฟ่าง
และลูกเดือยอันหารสมิได้ จึงทำให้พระคุณ-
เจ้ายินดีได้เล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุญฺเช แปลว่า บริโภคแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า นาทยนฺติ ได้แก่
ให้ยินดี คือ ให้อิ่มเอิบชอบใจ ก็เพื่อสะดวกในการประพันธ์คาถา ท่าน
จึงลงนิคหิต. ท่านกล่าวคาอธิบายไว้ว่า ไฉนข้าวฟ่างและลูกเดือย
อันหารสเค็มมิได้นี้ จึงทำท่านผู้บริโภคภัตแห่งข้าวสาลีอันปรุงด้วย
มังสะที่สะอาด สมควรแก่พระราชาในราชสกุล ให้อิ่มเอิบ ยินดีได้
คือว่า ไฉนท่านจึงชอบใจอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 686
เกสวดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
ของบริโภคจะดีหรือไม่ดีก็ตาม จะน้อย
หรือมากก็ตาม บุคคลผู้คุ้นเคยกันแล้ว
บริโภคในที่ใด การบริโภคในที่นั้นแหละดี
เพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทิวาสาธุ ตัดเป็น ยทิวา
อสาธุ แปลว่า ไม่มีก็ตาม. บทว่า วิสฺสฏฺโ ความว่า เป็นผู้ปราศจาก
ความรังเกียจ ถึงความคุ้นเคยกัน. บทว่า ยตฺถ ภุญฺเชยฺย ความว่า
พึงบริโภคอย่างนี้ในนิเวศน์ใด โภชนะชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งบริโภค
แล้วอย่างนี้ในนิเวศน์นั้น เป็นดีทั้งนั้น. เพราะเหตุไร ? เพราะรส
ทั้งหลายมีความคุ้นเคยกันเป็นยอดเยี่ยม อธิบายว่า รสทั้งหลายชื่อว่า
มีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม เพราะความคุ้นเคยเป็นยอดเยี่ยม คือสูงสุด
แห่งรสทั้งหลายเหล่านี้. เพราะขึ้นชื่อว่ารสจะเสมอกับรสคือความ
คุ้นเคยกันย่อมไม่มี เหตุนั้นโภชนาหารแม้มีรสอร่อย ๔ อย่างที่คนผู้
ไม่คุ้นเคยจัดให้ ย่อมไม่ถึงค่าน้ำส้มและน้ำข้าวที่คนผู้คุ้นเคยกันจัดให้
แล้ว.
นารทอำมาตย์ได้ฟังคำของเกสวดาบนั้นแล้ว จึงไปยังราช-
สำนักกราบทูลว่า เกสวดาบสกล่าวคำชื่อนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 687
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นพระอานนท์ นารท-
อำมาตย์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร เกสวดาบสในครั้งนั้น ได้
เป็นพกมหาพรหม ส่วนกัปปดาบส คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาเกสวชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 688
๗. อยกูฏชาดก
ว่าด้วยยักษ์ถือกระบองเหล็กใหญ่
[๖๘๖] ท่านผู้ใด ยืนถือพะเนินเหล็กอันใหญ่
โตเหลือขนาดอยู่บนอากาศ ท่านผู้นั้นมาสถิต
อยู่เพื่อจะคุ้มครองข้าพเจ้าในวันนี้หรือ. หรือ
จะพยายามมาฆ่าข้าพเจ้า.
[๖๘๗] ดูก่อนพระราชา เราเป็นทูตของพวก
ยักษ์ ถูกพวกยักษ์เหล่านั้นส่งมาที่นี้ เพื่อจะ
ปลงพระชนม์พระองค์ แต่ท้าวสักกรินทร์
เทวราชคุ้มครองพระองค์อยู่ เพราะเหตุนั้น
เราจึงผ่าพระเศียรของพระองค์ไม่ได้.
[๖๘๘] ก็ถ้าท้าวมัฆวาฬเทวราช ผู้เป็นจอม
ทวยเทพ พระสวามีของนางสุชาดา คุ้มครอง
ข้าพเจ้าอยู่ ผู้ฉะนั้นพวกปีศาจก็คงคุกคาม
เหล่าสัตว์ทั้งหลายเป็นแน่ ข้าพเจ้าไม่ได้
สะดุ้งกลัวต่อพวกยักษ์เลย.
[๖๘๙] พวกภุมภัณฑ์ และพวกปีศาจทั้งมวลจะ
คร่ำครวญกันไปก็ตามเถิด พวกมันคงไม่อาจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 689
จะต่อยุทธกับข้าพเจ้า กิริยาที่หลอกหลอน
ของพวกยักษ์ซึ่งทำให้น่ากลัวต่าง ๆ นั้น มีอยู่
เป็นอันมาก แต่ข้าพเจ้าก็ไม่กลัว.
จบ อยกูฏชาดกที่ ๗
อรรถกถาอยกูฏชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การประพฤติประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า สพฺพายส กูฏ ดังนี้. เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งในมหา
กัณหชาดก. ส่วนเรื่องในอดีตมีดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของ
พระเจ้าพรหมทัตนั้น. เจริญวัยแล้ว เรียนศิลปศาสตร์ได้แล้ว เมื่อ
พระราชบิดาสวรรคตแล้ว ได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ทรงครองราชย์
โดยธรรม. ในครั้งนั้น คนทั้งหลายเป็นผู้ถือเทวดาเป็นมงคล พากัน
ฆ่าแพะเป็นต้นมากมาย กระทำพลีกรรมแก่เทวดาทั้งหลาย. พระโพธิ-
สัตว์ให้เที่ยวตีกลองประกาศว่า ไม่ควรฆ่าสัตว์มีชีวิต. ยักษ์ทั้งหลาย
เมื่อไม่ได้พลีกรรมจึงโกรธพระโพธิสัตว์ ได้ไปยังสมาคมยักษ์ในหิม-
วันประเทศ ให้ส่งยักษ์ตนหนึ่งผู้หยาบช้าไป เพื่อต้องการฆ่าพระ-
โพธิสัตว์. ยักษ์นั้นถือพะเนินเหล็กร้อนอันใหญ่ประมาณเท่าช่อฟ้า มา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 690
ด้วยตั้งใจว่า จักประหารพระโพธิสัตว์นั้นด้วยพะเนินเหล็กนี้ให้ตาย
จึงได้ยินอยู่ที่หัวนอนพระโพธิสัตว์ ในระหว่างมัชฌิมยาม. ขณะนั้น
อาสนะของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน ท้าวเธอทรงรำพึงอยู่ ได้ทรง
ทราบเหตุนั้น จึงทรงถืออินทวชิราวุธเสด็จไป แล้วได้ประทับยืน
เบื้องบนยักษ์. พระโพธิสัตว์ได้เห็นยักษ์แล้วคิดว่า ยักษ์นี้ยืนอารักขา
เราหรือว่ายืนประสงค์จะฆ่าเรา เมื่อจะเจรจากับยักษ์นั้นจึงกล่าวคาถา
ที่ ๑ ว่า :-
ท่านผู้ใดยืนถือพะเนินเหล็กล้วนอัน
ใหญ่โตเหลือขนาดอยู่ในอากาศ ท่านผู้นั้นมา
จัดแจงเพื่อจะคุ้มครองเราในวันนี้หรือ หรือ
ว่าจะพยายามฆ่าเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิหิโตนุสชฺช ตัดบทเป็น วิหิโตนุสิ
อชฺช.
ก็พระโพธิสัตว์ เห็นแต่ยักษ์เท่านั้นไม่เห็นท้าวสักกะ. ยักษ์
ไม่อาจประหารพระโพธิสัตว์เพราะกลัวท้าวสักกะ. ยักษ์นั้นได้ฟังถ้อยคำ
ของพระโพธิสัตว์ จึงกล่าวว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพเจ้ามิได้ยิน
คุ้มครองท่าน แต่ข้าพเจ้ามาด้วยหวังใจว่า จักเอาพะเนินเหล็กอัน
โชติช่วงนี้ประหารทำท่านให้ตาย ข้าพเจ้าไม่อาจประหาร เพราะกลัว
ท้าวสักกะ เมื่อจะแสดงเนื้อความนี้ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 691
ดูก่อนพระราชา ข้าพเจ้าเป็นทูตของ
พวกยักษ์ ถูกพวกยักษ์เหล่านั้นส่งมาที่นี้
เพื่อฆ่าพระองค์ แต่พระอินทร์เทวราชคุ้ม
ครองพระองค์อยู่ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึง
ผ่าพระเศียรของพระองค์ไม่ได้.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าว ๒ คาถานอกนี้ว่า :-
ถ้าท้าวมัฆวาฬเทวราชผู้เป็นจอมเทพ
พระสวามีของนางสุชาดา คุ้มครองข้าพเจ้า
อยู่ มิฉะนั้น พวกปีศาจคงจะคุกคามสัตว์
ทั้งหลายเป็นแน่ แต่ข้าพเจ้าไม่ได้สะดุ้งกลัว
ต่อพวกยักษ์เลย.
พวกกุมภัณฑ์และพวกปีศาจทั้งมวล จะ
คร่ำครวญกันไปก็ตามเถิด พวกปีศาจไม่อาจ
ต่อยุทธ์กับข้าพเจ้า กิริยาที่หลอกหลอนพวก
ยักษ์ซึ่งทำให้น่ากลัวต่าง ๆ นั้น มีอยู่เป็นอัน
มาก แต่ข้าพเจ้าก็ไม่กลัว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รกฺขสิยา ปชาย ความว่า
เหล่าสัตว์คือรากษส ได้แก่ พวกสัตว์ที่เป็นรากษส. บทว่า กุมฺภณฺฑา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 692
ได้แก่ พวกยักษ์ท้องพลุ้ย มีอัณฑะเท่าหม้อ. บทว่า ปสุปิสาจกา
ได้แก่ พวกปีศาจในที่ทิ้งหยากเยื่อ. บทว่า นาล ความว่า ขึ้นชื่อว่า
พวกปีศาจไม่สามารถจะต่อยุทธกับข้าพเจ้า. บทว่า มหตี สา วิเภสิกา
ความว่า ก็ยักษ์เหล่านี้ประชุมกันแสดงกิริยาน่ากลัวต่าง ๆ อันใด
กิริยาที่น่ากลัวต่าง ๆ อันนั้นถึงจะมากมาย ก็เป็นเพียงแสดงอาการ
น่ากลัวแก่เราเท่านั้น แต่เราหากลัวไม่.
ท้าวสักกะทรงขับยักษ์ให้หนีไป โอวาทพระมหาสัตว์แล้วตรัส
ว่า ดูก่อนมหาราช พระองค์อย่าได้ทรงกลัวเลย จำเดิมแต่นี้ไป การ
คุ้มครองพระองค์ เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้า แล้วเสด็จสู่สถานที่ของ
พระองค์ทีเดียว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประชุมชาดกว่า ท้าวสักกะในครั้งนั้น ได้เป็นพระอนุรุทธะ
ส่วนพระเจ้าพาราณสี ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอยกูฏชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 693
๘. อรัญญชาดก
ว่าด้วยการเลือกคบคน
[๖๙๐] คุณพ่อ ผมออกจากป่าไปสู่บ้านแล้ว
พึงคบคนที่มีศีลอย่างไร มีวัตรอย่างไร
ผมถามแล้ว ขอคุณพ่อจงบอกข้อนั้นแก่
ผมด้วย.
[๖๙๑] ลูกเอ๋ย ผู้ใดพึงคุ้นเคยกะเจ้าก็ดี พึง
อดทนความคุ้นเคยของเจ้าได้ก็ดี เชื่อถือ
คำพูดของเจ้าก็ดี งดโทษให้เจ้าก็ดี เจ้าไป
จากที่นี้แล้วจงคบหาผู้นั้นเถิด.
[๖๙๒] ผู้ใดไม่มีกรรมชั่วด้วยกาย วาจาและใจ
เจ้าไปจากที่นี้แล้วจงคบหาผู้นั้น ทำตนให้
เหมือนบุตรผู้เกิดจากอกของผู้นั้นเถิด.
[๖๙๓] ลูกเอ๋ย คนที่มีจิตเหมือนน้ำย้อมขมิ้น
มีจิตกลับกลอก รักง่ายหน่ายเร็ว เจ้าอย่า
คบหาคนเช่นนั้นเลย ถึงหากว่าพื้นชมพูทวีป
ทั้งหมดจะไม่มีมนุษย์ก็ตาม.
จบ อรัญญชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 694
อรรถกถาอรัญญชาดกที่ ๘
พระศาสดาเมื่อประโยคทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การประเล้าประโยคโลมของกุมาริกาอ้วนคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อรญฺา คามมาคมฺม ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งในจุลลนารทกัสสปชาดก. ส่วนเรื่องใน
อดีตมีดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว
เรียนศิลปศาสตร์ในเมืองตักกศิลาแล้ว เมื่อภรรยาถึงแก่กรรมแล้ว
ได้พาบุตรไปบวชเป็นฤๅษีอยู่ในหิมวันตประเทศ ให้บุตรอยู่ใน
อาศรมบท. ส่วนตนไปเพื่อต้องการผลาผล. ครั้งนั้น เมื่อพวก
โจรปล้นปัจจันตคามแล้วพาพวกเชลยไป กุมาริกาคนหนึ่งหนีไปถึง
อาศรมบทนั้น ประเล้าประโลมดาบสกุมารให้ถึงศีลวินาศแล้วกล่าวว่า
มาเถิด พวกเราพากันไป. ดาบสกุมารกล่าวว่า จงรอให้บิดาของเรา
มาก่อน เราพบบิดาแล้วจักไป. กุมาริกากล่าวว่าถ้าอย่างนั้น ท่าน
พบบิดาแล้วจงมา แล้วได้ออกไปนั่งอยู่ที่ระหว่างทาง. เมื่อบิดามาแล้ว
ดาบสกุมาร จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าแต่พ่อ ฉันออกจากป่าไปสู่บ้านแล้ว
จะพึงคบคนที่มีศีลอย่างไร มีวัตรอย่างไร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 695
ฉันถามแล้ว ขอท่านจงบอกข้อนั้นแก่ฉัน
ด้วย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺา คามมาคมฺม ความว่า
ข้าแต่พ่อ ฉันจากป่านี้ไปยังถิ่นมนุษย์ เพื่อจะอยู่ ถึงบ้านที่อยู่แล้ว
จะกระทำอะไร.
ลำดับนั้น บิดาเมื่อจะให้โอวาทแก่บุตรนั้น จึงกล่าวคาถา
๓ คาถาว่า :-
ลูกเอ๋ย ผู้ใดพึงคุ้นเคยกะเจ้าก็ดี พึง
อดทนความคุ้นเคยของเจ้าได้ก็ดี เชื่อถือ
คำพูดของเจ้าก็ดี งดโทษให้เจ้าก็ดี เจ้าไป
จากที่นี้แล้วจึงคบหาผู้นั้นเถิด.
ผู้ใดไม่มีกรรมชั่วด้วยกาย วาจาและ
ใจ เจ้าไปจากที่นี้แล้วจงคบหาผู้นั้น ทำตน
ให้เหมือนบุตรผู้เกิดจากอกของผู้นั้นเถิด.
ลูกเอ๋ย คนที่มีจิตเหมือนน้ำย้อมขมิ้น
มีจิตกลับกลอก รักง่ายหน่ายเร็ว เจ้าอย่า
คบที่คนเช่นนั้นเลย ถึงหากว่าพื้นชมพูทวีป
ทั้งสิ้นจะไม่มีมนุษย์ก็ตาม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 696
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย ต วิสฺสาสเย ความว่า
บุรุษใดพึงคุ้นเคย คือ ไม่รังเกียจเจ้า. บทว่า วิสฺสาสญฺจ ขเมยฺย เต
ความว่า อนึ่ง บุคคลใดพึงคุ้นเคยแก่เจ้าซึ่งเจ้ากระทำตน ไม่
รังเกียจ อดทนความคุ้นเคยนั้นได้. บทว่า สุสฺสูสี ความว่า อนึ่ง
บุคคลใดต้องการฟังคำกล่าวด้วยความคุ้นเคยของเจ้า. บทว่า ติติกฺขี
ความว่า อนึ่ง บุคคลใดอดกลั้นความผิดที่เจ้ากระทำได้. บทว่า
ต ภเชหิ ความว่า เจ้าพึงคบคือพึงเข้าไปนั่งใกล้บุรุษนั้น. บทว่า
โอรสีว ปติฏฺาย ความว่า บุตรผู้เกิดแต่อกเจริญเติบโตอยู่ใน
อ้อมอกของบุคคลนั้น ฉันใดเจ้าพึงเป็นเสมือนบุตรผู้ตั้งอยู่ในอ้อมอก
เช่นนั้น พึงคบหาบุรุษเห็นปานนั้น ฉันนั้น. บทว่า หลิทฺทราค
ได้แก่ ผู้มีจิตไม่มั่นคงดุจย้อมด้วยขมิ้น. บทว่า กปิจิตฺต ได้แก่
ชื่อว่ามีจิตเหมือนลิง เพราะเปลี่ยนแปลงเร็ว. บทว่า ราควิราคิน
ได้แก่ มีสภาพรักและหน่ายโดยชั่วครู่เท่านั้น. บทว่า นิมฺมนุสฺสมฺปิ
เจ สิยา ความว่า พื้นชมพูทวีปทั้งสิ้น ชื่อว่าพึงปราศจากมนุษย์
เพราะไม่มีมนุษย์ผู้เว้นจากกายทุจริตเป็นต้น แม้ถึงเช่นนั้น เจ้าอย่า
ได้ซ่องเสพคนผู้มีจิตใจเบาเช่นนั้นเลย จงค้นหาถิ่นมนุษย์แม้ทั่ว ๆ ไป
แล้วซ่องเสพคนผู้สมบูรณ์ด้วยคุณดังกล่าวในหนหลังเถิด.
ดาบสกุมารได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า ข้าแต่บิดา ฉันจักได้
บุคคลผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้ ณ ที่ไหน ? ฉันจะไม่ไป จักอยู่ใน
สำนักของท่านบิดาเท่านั้น ครั้นกล่าวแล้วก็หวนกลับมา. ลำดับนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 697
บิดาจึงได้บอกกสิณบริกรรมแก่ดาบสกุมารนั้น. ดาบสทั้งสอง มีฌาน
ไม่เสื่อมได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า บุตรและกุมาริกาในครั้งนั้นได้เป็นคนเหล่านี้ ส่วน
ดาบสผู้บิดาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอรัญญชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 698
๙. สันธิเภทชาดก
ว่าด้วยโทษที่เชื่อถือคำส่อเสียด
[๖๙๔] ดูก่อนนายสารถี สัตว์ทั้ง ๒ นี้ ไม่ได้
มีความเสมอกันเพราะสตรีทั้งหลายเลย ไม่
ได้มีความเสมอกันเพราะอาหารเลย ภายหลัง
เมื่อสุนัขจิ้งจอกยุยงทำลายความสนิทสนม
กันเสียจนถึงให้ตาย ท่านจงเห็นเหตุนั้นซึ่ง
ฉันคิดไว้ถูกต้องแล้ว.
[๖๙๕] พวกสุนัขจิ้งจอกพากันกัดกินโคและ
ราชสีห์ เพราะคำส่อเสียดใด คำส่อเสียด
นั้น ย่อมเป็นไปถึงตัดมิตรภาพเพราะเนื้อ
ดุจดาบคม ฉะนั้น.
[๖๙๖] ดูก่อนนายสารถี ท่านจงดูการนอนตาย
ของสัตว์ทั้ง ๒ นี้ ผู้ใดเชื่อถือถ้อยคำของตน
ส่อเสียด ผู้มุ่งทำลายความสนิทสนม ผู้นั้น
จะต้องนอนตายอย่างนี้.
[๖๙๗] ดูก่อนนายสารถี นรชนเหล่าใดไม่เชื่อ
ถือถ้อยคำของตนส่อเสียด ผู้มุ่งทำลายความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 699
สนิทสนม นรชนเหล่านั้น ย่อมได้ประสบ
ความสุขเหมือนคนไปสวรรค์ ฉะนั้น.
จบ สันธิเภทชาดกที่ ๙
อรรถกถาสันธิเภทชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
เปสุญญสิกขาบท จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เนว
อิตฺถีสุ สามญฺ ดังนี้.
ได้ยินว่า สมัยหนึ่งพระศาสดาได้ทรงสดับว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์
นำความส่อเสียดป้ายร้ายเข้าไปให้ จึงรับสั่งให้เรียกภิกษุฉัพพัคคีย์
เหล่านั้นมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนำความ
ส่อเสียดป้ายร้ายเข้าไปให้แก่พวกภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะวิวาทกัน
จริงหรือ ? เพราะเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดขึ้น และความ
บาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญยิ่งขึ้น เมื่อพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่าจริงพระเจ้าข้า จึงทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้น
แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าวาจาส่อเสียดคมกล้าประดุจ-
ประหารด้วยศาตรา ถึงความคุ้นเคยที่เหนียวแน่นมั่นคงก็แตกสลายไป
ได้โดยรวดเร็ว เพราะวาจาส่อเสียดนั้น ก็แหละชนผู้เชื่อถือวาจา
ส่อเสียดนั้นแล้วทำลายไมตรีของตนเสีย ย่อมเป็นเช่นกับราชสีห์และ
โคผู้ทีเดียว แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 700
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นโอรสของพระเจ้าพาราณสีนั้น เจริญวัย
แล้ว เล่าเรียนศิลปะในเมืองตักกศิลาเสร็จแล้ว เมื่อพระบิดาสวรรคต
แล้ว ได้ครองราชสมบัติโดยธรรม. ครั้งนั้น นายโคบาลคนหนึ่ง.
เลี้ยงโคทั้งหลายในตระกูลทั้งหลาย เมื่อจะมาจากป่า ไม่ได้นึกถึงแม่
โคตัวหนึ่งซึ่งมีครรภ์ จึงทิ้งไว้แล้วไปเสีย แม่โคนั้นเกิดความคุ้นเคย
กับแม่ราชสีห์ตัวหนึ่ง. แม่โคและแม่ราชสีห์ทั้งสองนั้นเป็นมิตรกัน
อย่างมั่นคงเที่ยวไปด้วยกัน. จำเนียรกาลนานมา แม่โคจึงตกลูกโค
แม่ราชสีห์ตกลูกราชสีห์. ลูกโคและลูกราชสีห์ทั้งสองนั้นก็ได้เป็นมิตร
กันอย่างเหนียวแน่น ด้วยไมตรีซึ่งมีมาโดยสกุล จึงเที่ยวไปด้วยกัน.
ครั้งนั้น พรานป่าคนหนึ่งเข้าป่าเห็นสัตว์ทั้งสองนั้นคุ้นเคยกัน จึงถือ
เอาสิ่งของที่เกิดขึ้นในป่า แล้วไปเมืองพาราณสี ถวายแด่พระราชา
อันพระราชาตรัสถามว่า สหาย ท่านเคยเห็นความอัศจรรย์อะไร ๆ
ในป่าบ้างไหม ? จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่ได้เห็น
อะไร ๆ อย่างอื่น แต่ได้เห็นราชสีห์ตัวหนึ่งกับโคผู้ตัวหนึ่ง สนิทสนม
กันและกันเที่ยวไปด้วยกัน. พระราชาตรัสว่า เมื่อสัตว์ตัวที่สามเกิด
ขึ้นแก่สัตว์ทั้งสองเหล่านั้น ภัยจักบังเกิดมี เมื่อใดท่านเห็นสัตว์ตัว
ที่สามเพิ่มขึ้นแก่สัตว์ทั้งสองนั้น เมื่อนั้นท่านพึงบอกเรา. นายพราน
ป่านั้นทูลรับว่า ได้พระเจ้าข้า. ก็เมื่อพรานป่าไปเมืองพาราณสีแล้ว
มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเข้าไปบำรุงราชสีห์และโคผู้. นายพรานป่าไปป่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 701
ได้เห็นสุนัขจิ้งจอกนั้นคิดว่า จักกราบทูลความที่สัตว์ตัวที่สามเกิดขึ้น
แล้วแก่พระราชา จึงได้ไปยังพระนครพาราณสี. สุนัขจิ้งจอกคิดว่า
เว้นเนื้อราชสีห์และเนื้อโคผู้เสีย ขึ้นชื่อว่าเนื้ออื่นที่เราไม่เคยกิน ไม่มี
เราจักยุยงทำลายสัตว์ทั้งสองนี้แล้วกินเนื้อสัตว์ทั้งสองนี้. สุนัขจิ้งจอก
นั้นจึงยุยงสัตว์ทั้งสองนั้นให้ทำลายกันและกันโดยพูดว่า ผู้นี้พูดอย่าง
นี้กะท่าน ผู้นี้พูดอย่างนี้กะท่าน ไม่นานนัก ก็ได้ทำให้ถึงแก้ความตาย
เพราะทำการทะเลาะกัน. ฝ่ายพรานป่ามาถึงแล้วกราบทูลแก่พระราชา
ว่า ข้าแต่สมมติเทพ สัตว์ตัวที่สามเกิดขึ้นแล้วแก่ราชสีห์และโคผู้
เหล่านั้น พระราชาตรัสถามว่า สัตว์ตัวที่สามนั้น คืออะไร ? พราน
ป่ากราบทูลว่า สุนัขจิ้งจอกพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า สุนัขจิ้งจอก
จักยุยงทำลายสัตว์ทั้งสองนั้นให้ตาย พวกเราจักไปทันในเวลาสัตว์
ทั้งสองนั้นจะตาย จึงเสด็จขึ้นทรงราชรถเสด็จไปตามทางที่พรานป่าชี้
แสดงให้ เสด็จไปทันในเมื่อสัตว์ทั้งสองนั้นทำการทะเลาะกันและกัน
แล้วถึงแก่สิ้นชีวิตไป. สุนัขจิ้งจอกมีใจยินดีกินเนื้อราชสีห์ครั้งหนึ่ง
กินเนื้อโคผู้ครั้งหนึ่ง พระราชาทั้งเห็นสัตว์ทั้งสองนั้นถึงความสิ้น
ชีวิตไปแล้ว ทรงประทับยืนอยู่บนรถนั่นแล เมื่อจะตรัสเจรจากับ
นายสารถี จึงตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-
ดูก่อนนายสารถี สัตว์ทั้งสองนี้ไม่ได้มี
ความเสมอกันเพราะสตรีทั้งหลาย ไม่ได้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 702
ความเสมอกันเพราะอาหาร คือต่างก็มีสัตว์
ตัวเมียและอาหารคนละชนิดไม่เหมือนกัน
ภายหลัง เมื่อสุนัขจิ้งจอกยุยงทำลายความ
สนิทสนมจนถึงให้ตาย ท่านจงเห็นเหตุนั้น
ซึ่งฉันคิดไว้ถูกต้องแล้ว.
พวกสุนัขจิ้งจอกพากันกัดกินโคผู้และ
ราชสีห์ เพราะคำส่อเสียดใด คำส่อเสียด
นั้น ย่อมเป็นไปถึงตัดมิตรภาพ เพราะเนื้อ
คือสุนัขจิ้งจอกเป็นเหตุ ดุจดาบคน ฉะนั้น.
ดูก่อนนายสารถี ท่านจงดูการนอนตาย
ของสัตว์ทั้งสองนี้ ผู้ใดเชื่อถือถ้อยคำของ
คนส่อเสียด ผู้มุ่งทำลายความสนิทสนม ผู้
นั้นจะต้องนอนตายอย่างนี้.
ดูก่อนนายสารถี นรชนเหล่าใดไม่เชื่อ
ถือถ้อยคำของตนส่อเสียด ผู้มุ่งทำลายความ
สนิทสนม นรชนเหล่านั้นย่อมได้ประสบ
สุขเหมือนคนไปสวรรค์ ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 703
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนว อิตฺถีสุ ความว่า ดูก่อน
นายสารถีผู้สหาย สัตว์ทั้งสองนี้ไม่มีความเสมอกันในเพราะสตรี และ
ในเพราะอาหาร เพราะราชสีห์ย่อมเสพสตรีเฉพาะอย่างหนึ่ง โคผู้
ย่อมเสพสตรีอีกอย่างหนึ่ง คนละอย่าง อนึ่งราชสีห์ย่อมกินภักษา-
หารอย่างหนึ่ง และโคผู้ย่อมกินภักษาหารอีกอย่างหนึ่ง ไม่เหมือน
กัน ในบทว่า อถสฺส นี้ มีอธิบายว่า เมื่อเหตุที่จะทำให้ทะเลาะ
กันแม้จะไม่มีอยู่อย่างนี้ ภายหลังสุนัขจิ้งจอกชาติชั่วตัวนี้ผู้ทำลายความ
สนิทสนมกันฉันมิตร คิดว่า จักกินเนื้อของสัตว์ทั้งสอง จึงฆ่าสัตว์
ทั้งสองนี้ ท่านจงเห็นดังที่เราคิดไว้ดีแล้ว. ในบทว่า ยตฺถ นี้ ท่าน
แสดงความว่า เมื่อความส่อเสียดใดเป็นไปอยู่ พวกสุนัขจิ้งจอกผู้ฆ่า
เนื้อ ย่อมเคี้ยวกินโคผู้และราชสีห์ ความส่อเสียดนั้นย่อมตัดมิตรภาพ
ไปในเพราะเนื้อ เหมือนดาบอันคมกริบฉะนั้น. ด้วยบทว่า ยมิม
ปสฺสสิ นี้ ท่านแสดงว่า ดูก่อนสารถีผู้สหาย ท่านจงดูการนอนตาย
ของสัตว์ทั้งสองเหล่านี้ บุคคลแม้อื่นใดรู้สึก คือเชื่อถือวาจาส่อเสียด
ของผู้ส่อเสียดผู้ทำลายความสนิทสนม บุคคลนั้นย่อมนอนเช่นนี้ คือ
ตายอย่างนี้ทีเดียว. บทว่า สุขเมธนฺติ ความว่า ย่อมประสบคือได้
ความสุข บทว่า นรา สคฺคคตาริว ความว่า ชนเหล่านั้นย่อม
ประสบความสุข เหมือนนรชนผู้ไปสวรรค์พรั่งพร้อมด้วยโภคะอันเป็น
ทิพย์ฉะนั้น. บทว่า นาวโพเธนฺติ ความว่า ย่อมสำรวมระวังจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 704
สิ่งที่ไม่ใช่สาระแก่นสาร คือได้ฟังคำแม้เช่นนั้นแล้วก็ทักท้วง ให้สำนึก
ไม่ทำลายไมตรี คงตั้งอยู่ตามปกติดังเดิม.
พระราชาครั้นตรัสคาถานี้แล้ว รับสั่งให้เก็บเอาหนัง เล็บ
และเขี้ยวของไกรสรราชสีห์ แล้วเสด็จไปยังพระนครทีเดียว.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสันธิเภทชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 705
๑๐. เทวตาปัญหาชาดก
ว่าด้วยปัญหาของเทวดา
[๖๙๘] ดูก่อนพระราชา บุคคลประหารผู้อื่น
ด้วยมือทั้ง ๒ ด้วยเท้าทั้ง ๒ แล้วเอามือ
ประหารปากผู้อื่น บุคคลนั้นกลับเป็นที่รัก
ของผู้ถูกประหาร เพราะเหตุนั้น พระองค์ทรง
เห็นผู้ที่ถูกประหารนั้นว่าได้แก่ใคร.
[๖๙๙] ดูก่อนพระราชา บุคคลด่าผู้อื่นตามความ
พอใจ แต่ไม่ปรารถนาให้ผู้ที่ถูกด่านั้นได้รับ
ภัยอันตราย บุคคลนั้นกลับเป็นที่รักของผู้ด่า
เพราะเหตุนั้น พระองค์ทรงเห็นผู้ด่านั้นว่าได้
แก่ใคร.
[๗๐๐] ดูก่อนพระราชา บุคคลกล่าวตู่ด้วยถ้อย
คำไม่เป็นจริง และท้วงติงด้วยคำอันเหลาะ
แหละ บุคคลนั้นกลับกลับเป็นที่รักแห่งกันและ
กัน เพราะเหตุนั้น พระองค์ทรงเห็นผู้นั้นว่า
ได้แก่ใคร.
[๗๐๑] ดูก่อนพระราชา บุคคลผู้นำเอาข้าว น้ำ
ผ้าและเสนาสนะไป (ชื่อว่าผู้นำเอาไปมีอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 706
โดยแท้ ) บุคคลเหล่านั้นกลับเป็นที่รักของผู้
เป็นเจ้าของ เพราะเหตุนั้น พระองค์ทรงเห็น
ผู้นั้นว่าได้แก่ใคร.
จบ เทวตาปัญหาชาดกที่ ๑๐
อรรถกถาเทวตาปัญหาชาดกที่ ๑๐
ข้อปุจฉาของเทวดานี้ มีคำเริ่มต้นว่า หนฺติ หตฺเถหิ ปาเทหิ
แปลว่า ประหารผู้อื่นด้วยมือและเท้า ดังนี้ จักมีแจ้งในมหาอุมังค-
ชาดกแล.
จบ อรรถกถาเทวตปัญหาชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กุณฑาลิกชาดก ๒. วานรชาดก ๓. กุนตินีชาดก ๔. อัมพ-
ชาดก ๕. คชกุมภชาดก ๖. เกวสชาดก ๗. อยกูฏชาดก ๘. อรัญญ-
ชาดก ๙. สันธิเภทชาดก ๑๐. เทวดาปัญหาชาดก ฯ
จบ จุลลกุณาลวรรคที่ ๕
รวมวรรคที่มีในจตุกกนิบาตนี้ คือ
๑. กาลิงควรรค ๒. ปุจิมันทวรรค ๓. กุฎิทูสกวรรค
๔. โกกิลวรรค ๕. จุลลกุณาลวรรค ฯ
จบ จตุกกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 707
ปัญจกนิบาตชาดก
๑. มณิกุณฑลวรรค
๑. มณิกุณฑลชาดก
ผู้ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
[๗๐๒] พระองค์ทรงละแว่นแคว้น ม้า กุณฑล
แก้วมณี อนึ่ง ยังทรงละพระราชบุตรและ
เหล่าพระสนมเสียได้ เมื่อโภคสมบัติทั้งสิ้น
ของพระองค์ไม่มีเหลือเลย เหตุไฉนพระองค์
จึงไม่ทรงเดือดร้อน ในคราวที่มหาชนพากัน
เศร้าโศกอยู่เล่า.
[๗๐๓] โภคสมบัติย่อมละทิ้งสัตว์ไปเสียก่อนก็
มี บางทีสัตว์ย่อมละทิ้งโภคสมบัติเหล่านั้น
ไปก่อนก็มี ดูก่อนพระองค์ผู้ใคร่ในกามารมณ์
โภคสมบัติที่บริโภคกันอยู่เป็นของไม่แน่
นอน เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่เดือดร้อน
ในคราวที่มหาชนพากันเศร้าโศกอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 708
[๗๐๔ ] พระจันทร์อุทัยขึ้นเต็มดวง ก็จะกลับ
หายสิ้นไป พระอาทิตย์กำจัดความมืด ทำ
โลกให้เร่าร้อนแล้วอัสดงคตไป ดูก่อน
พระองค์ผู้เป็นศัตรู โลกธรรมทั้งหลายหม่อม
ฉันชนะได้แล้ว เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่
เศร้าโศกในคราวที่มหาชนพากันเศร้าโศกอยู่.
[๗๐๕] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามคุณ เกียจคร้านก็
ไม่ดี บรรพชิตไม่สำรวมก็ไม่ดี พระเจ้า
แผ่นดินไม่ทรงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทรงทำ
ก็ไม่ดี บัณฑิตมีความโกรธเป็นเจ้าเรือน
ก็ไม่ดี.
[๗๐๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าทิศ กษัตริย์ควร
ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำ ไม่ใคร่ครวญ
เสียก่อนแล้วไม่ควรทำ อิสริยยศ บริวารยศ
และเกียรติคุณ ของพระราชาผู้ทรงใคร่ครวญ
ก่อนแล้วจึงทำ ย่อมเจริญขึ้น.
จบ มณิกุณฑลชวดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 709
อรรถกถาชาดก
ปัญจกนิบาต
อรรถกถามณิกุณฑลวรรคที่ ๑
อรรถกถามณิกุณฑลชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
อำมาตย์ชั่วผู้จัดประโยชน์ทั้งปวง ในภายในพระราชวังของพระเจ้า-
โกศล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ชินฺโน รฏฺสฺส-
มณิภุณฺฑเล จ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. ส่วนใน
ชาดกนี้ พระโพธิสัตว์ได้เป็นพระเจ้าพาราณสี. อำมาตย์ชั่วนำพระเจ้า-
โกศลมายึดเอากาสิกรัฐ จองจำพระเจ้าพาราณสีใส่ไว้ในเรือนจำ.
พระเจ้าพาราณสีทำฌานให้เกิดขึ้นแล้วนั่งขัดสมาธิในอากาศ. ความ
เร่าร้อนเกิดขึ้นในร่างกายของราชาผู้เป็นโจร. พระราชาโจรนั้นเข้า
ไปหาพระเจ้าพาราณสี แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
พระองค์ทรงละทิ้งแว่นแคว้น ม้า
กุณฑล แก้วมณี อนึ่ง ยังทรงละทิ้งราชบุตร
และเหล่าสนม เมื่อโภคสมบัติทั้งสิ้น ของ
พระองค์ไม่มีเหลือเลย เพราะเหตุไร พระองค์
จึงไม่ทรงเดือดร้อนในคราวเศร้าโศกเล่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 710
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชินฺโน รฏฺสฺสมณิกุณฺฑเล จ
ความว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ทรงละทิ้งแว่นแคว้น ม้า และกุณฑล
แก้วมณีทั้งหลาย. บาลีว่า รถมณิภุณฺฑเล จ ดังนี้ก็มี. บทว่า
อเสสเกสุ แปลว่า ไม่เหลือเลย.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถานี้ว่า :-
โภคสมบัติย่อมละทิ้งสัตว์ไปเสียก่อน
ก็มี บางทีสัตว์ก็ละทิ้งโภคสมบัติเหล่านั้น
ไปก่อนก็มี ดูก่อนพระองค์ผู้ใคร่ในกาม
โภคสมบัติที่บริโภคกันอยู่เป็นของไม่แน่นอน
เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่เดือดร้อนใน
คราวที่ควรเศร้าโศก.
พระจันทร์อุทัยขึ้นเต็มดวง และจะหาย
ไป อนึ่ง พระอาทิตย์กำจัดความมืด ทำโลก
ให้เร่าร้อน แล้วอัสดงคตไป ฉันใด โภค-
สมบัติทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นและพินาศไป ฉัน
นั้น ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นศัตรู โลกธรรมทั้ง
หลายหม่อมฉันชนะแล้วเพราะฉะนั้น หม่อม
ฉันจึงไม่เศร้าโศกในคราวที่ควรเศร้าโศก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 711
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพว มจฺจ ความว่า โภคะ
ทั้งหลายย่อมละสัตว์ไปในเบื้องต้น คือก่อนทีเดียวบ้าง สัตว์ย่อมละ
โภคะเหล่านั้นไปก่อนกว่าบ้าง. พระโพธิสัตว์เรียกพระราชาที่เป็นโจร
ปล้นราชสมบัติว่า กามกามิ. อธิบายว่า ดูก่อนพระองค์ผู้ใคร่กาม
ทั้งหลาย ชื่อว่ากามกามิ ธรรมดาคนผู้มีโภคสมบัติเป็นผู้ไม่แน่นอน
ในโลก คือ เมื่อโภคสมบัติทั้งหลายฉิบหายไปแล้ว ถึงจะมีชีวิตอยู่
ก็เป็นผู้ไม่มีโภคสมบัติ หรือตนละทิ้งโภคสมบัติฉิบหายไปเอง เพราะ
ฉะนั้นหม่อมฉันจึงไม่เศร้าโศก แม้ในคราวเศร้าโศกของมหาชน.
พระโพธิสัตว์เรียกราชาโจรด้วยคำว่า ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นศัตรู โลก-
ธรรมทั้งหลายหม่อมฉันชนะแล้ว ดังนี้. อธิบายว่า ดูก่อนพระองค์
ผู้เป็นศัตรู โลกธรรมทั้งหลายมีอาทิว่า มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อม
ยศ ดังนี้ หม่อมฉันชนะแล้ว เหมือนอย่างว่าพระจันทร์อุทัยขึ้น
เต็มดวง และกลับสิ้นไป ฉันใด และเหมือนพระอาทิตย์ขจัดความมืด
ทำภูมิภาคของโลกอันใหญ่โตให้ร้อน แล้วกลับถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ คือ
อัสดงคตไปไม่ปรากฏในตอนเย็น ฉันใด โภคสมบัติทั้งหลายก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นและย่อมฉิบหายไป จะประโยชน์อะไร ด้วย
การเศร้าโศกในเรื่องนั้น เพราะฉะนั้นหม่อมฉันจึงไม่เศร้าโศก.
พระมหาสัตว์แสดงธรรมแก่พระราชาผู้เป็นโจรอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เมื่อจะติเตียนพระราชาโจรนั้นนั่นแหละ จึงกล่าวว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 712
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม เกียจคร้านไม่ดี
บรรพชิตไม่สำรวม ไม่ดี พระราชาไม่ทรง
ใคร่ครวญแล้วกระทำ ไม่ดี การเป็นบัณฑิต
ขี้โกรธก็ไม่ดี.
ท่านผู้เป็นใหญ่ในทิศ กษัตริย์พึงใคร่
ครวญก่อนแล้วจึงกระทำ ยังมิได้ใคร่ครวญ
แล้วไม่ควรทำ ยศและเกียรติย่อมเจริญแก่
พระราชาผู้ทรงใคร่ครวญเเล้วทำ.
ก็คาถาทั้งสองนี้ ได้พรรณาให้พิสดารในหนหลังแล้วแล.
พระราชาโจรขอษมาพระโพธิสัตว์แล้ว มอบราชสมบัติให้ทรง
รับไว้แล้ว เสด็จไปยังชนบทของพระองค์เอง.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า พระเจ้าโกศลในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ ในบัดนี้
ส่วนพระเจ้าพาราณสี ในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามณิกุณฑลชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 713
๒. สุชาตชาดก
ว่าด้วยคำคมของคนฉลาด
[๗๐๗] เหตุไรหนอ เจ้าจึงเป็นเหมือนรีบด่วน
เกี่ยวเอาหญ้าอันเขียวสดมาแล้ว บ่นเพ้อถึง
วัวแก่ผู้ปราศจากชีวิตแล้วว่า จงเคี้ยวกินเสีย
วัวที่ตายแล้วจะพึงลุกขึ้นได้เพราะหญ้าและ
น้ำเป็นไม่มีแน่ เจ้าบ่นเพ้อไปเปล่า ๆ เหมือน
คนผู้ไร้ความคิด ฉะนั้น.
[๗๐๘] ศีรษะ เท้าหน้า เท้าหลัง หางและหู
ของวัว ก็ตั้งอยู่ตามที่อย่างนั้น ผมเข้าใจว่า
วัวตัวนี้จะพึงลุกขึ้นได้ ศีรษะหรือมือเท้าของ
คุณปู่มิได้ปรากฏเลย คุณพ่อนั่นเองมาร้อง-
ไห้อยู่ที่สถูปดิน เป็นคนไร้ความคิดมิใช่หรือ.
[๗๐๙] เจ้ารดพ่อผู้เดือดร้อนยิ่งนักให้หายร้อน
ยังความกระวนกระวายของพ่อให้ดับได้สิ้น
เหมือนบุคคลเอาน้ำรดไฟติดเปรียงให้ดับไป
ฉะนั้น เจ้ามาถอนลูกศรคือความโศกที่เสียบ
แน่นอยู่ในหทัยของพ่อออกได้แล้วหนอ เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 714
พ่อถูกความโศกครอบงำ เจ้าได้บรรเทาความ
โศกถึงบิดาเสียได้.
[๗๑๐] พ่อเป็นผู้ถอนลูกศรคือความโศกออก
ได้แล้ว ปราศจากความเศร้าโศก หมดความ
มัวหมอง ลูกรัก พ่อจะไม่เศร้าโศก จะไม่
ร้องไห้ เพราะได้ฟังถ้อยคำของเจ้า.
[๗๑๑] คนผู้มีปัญญา มีใจอนุเคราะห์ ย่อม
ทำบุคคลให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศกได้
เหมือนกับพ่อสุชาตบุตรของเรา ทำเราผู้บิดา
ให้ล่วงพ้นจากความเศร้าโศก ฉะนั้น.
จบ สุชาตชาดกที่ ๒
อรรถกถาสุชาตชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
กฎุมพีผู้ที่บิดาตาย จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กินฺนุ
สนฺตรมาโนว ดังนี้.
ได้ยินว่า กุฎุมพีนั้น เมื่อบิดาตายแล้ว เที่ยวปริเทวนาการ
ร่ำไร ไม่อาจบรรเทาความโศกได้. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงเห็น
อุปนิสัยโสดาปัตติผลของกุฎุมพีนั้น ทรงพาปัจฉาสมณะเสด็จเที่ยว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 715
บิณฑบาตในนครสาวัตถี เสด็จไปถึงเรือนของกุฎุมพีนั้น ประทับนั่ง
บนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว จึงตรัสกะกุฎุมพีนั้นผู้นมัสการแล้วนั่งอยู่
ว่า อุบาสก ท่านเศร้าโศกหรือ เมื่อกุฎุมพีนั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จึงตรัสว่า อาวุโส โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย
ฟังถ้อยคำของบัณฑิตทั้งหลายแล้ว เมื่อบิดาตาย ไม่เศร้าโศกเลย อัน
กุฎุมพีนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อ
ไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในเรือนของกุฎุมพี ญาติทั้งหลาย
ตั้งชื่อของพระโพธิสัตว์นั้นว่า สุชาตกุมาร. เมื่อสุชาตกุมารนั้นเจริญ
วัยแล้ว ปู่ได้กระทำกาลกิริยาตายไป ลำดับนั้น บิดาของสุชาตกุมาร
นั้นก็เพียบพูนด้วยความโศก จำเดิมแต่บิดากระทำกาลกิริยา จึงไปยัง
ป่าช้า นำกระดูกมาจากป่าช้า สร้างสถูปดินไว้ในสวนของตน แล้ว
ฝังกระดูกเหล่านั้นไว้ในสวนนั้น ในเวลาที่ผ่านไป ๆ ได้บูชาสถูปด้วย
ดอกไม้ทั้งหลาย เดินเวียนเจดีย์ร่ำไรอยู่ ไม่อาบน้ำ ไม้ลูบไล้ ไม่
บริโภค ไม่จัดแจงการงานทั้งปวง. พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นจึงคิดว่า
บิดาของเรา จำเดิมแต่เวลาที่ปู่ตายไปแล้ว ถูกความโศกครอบงำอยู่
ไม่รู้วาย ก็เว้นเราเสีย ผู้อื่นไม่สามารถจะทำบิดาเรานั้นให้รู้สึกตัวได้
เราจักกระทำบิดานั้นให้หมดความโศก ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง ได้เห็น
โคตายตัวหนึ่งที่ภายนอกบ้าน จึงนำหญ้าและน้ำดื่มมาวางไว้ข้างหน้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 716
โคตายตัวนั้นแล้วพูดว่า จงกิน จงกิน จงดื่ม จงดื่ม. พวกคนที่ผ่าน
มา ๆ เห็นดังนั้น พากันกล่าวว่า สุชาตะผู้สหาย ท่านเป็นบ้าไปแล้ว
หรือ ท่านจึงให้หญ้าและน้ำแก่โดยตาย. สุชาตกุมารนั้นไม่ได้กล่าว
ตอบอะไร ๆ. ลำดับนั้น ชนทั้งหลายจึงพากันไปยังสำนักแห่งบิดาของ
สุชาตกุมารนั้นแล้วกล่าวว่า บุตรของท่านเป็นบ้าไปแล้ว ให้หญ้าและ
น้ำแก่โคตาย. เพราะได้ฟังคำของชนทั้งหลายนั้น ความโศกเพราะ
บิดาของกฎุมพีก็หายไป ความโศกเพราะบุตรกลับดำรงอยู่. กุฎุมพี
นั้นจึงรีบมาแล้วกล่าวว่า พ่อสุชาตะ เจ้าเป็นบัณฑิตมิใช่หรือ เพราะ
เหตุไร จึงให้หญ้าและน้ำแก่โคตาย แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
เหตุไรหนอ เจ้าจึงเป็นเหมือนรีบด่วน
เกี่ยวเอาหญ้าอันเขียวสดมาแล้ว บ่นเพ้อถึง
วัวแก่ผู้ปราศจากชีวิตว่า จงเคี้ยวกิน ๆ วัวที่
ตายแล้วจะพึงลุกขึ้นได้เพราะหญ้าและน้ำ
เป็นไม่มีแน่ เจ้าบ่นเพ้อไปเปล่า ๆ เหมือน
คนผู้ไร้ความคิด ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตรมาโนว ความว่า เป็น
เสมือนรีบด่วน. บทว่า ลายิตฺวา แปลว่า เกี่ยวแล้ว. บทว่า วิลปิ
แปลว่า บ่นเพ้อแล้ว. บทว่า คตสนฺต ชรคฺคว ได้แก่ โคแก่
ที่ปราศจากชีวิต. บทว่า ต ในบทว่า ยถาต เป็นเพียงนิบาต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 717
อธิบายว่า คนผู้ไม่มีความคิด คือมีปัญญาน้อย พึงบ่นเพ้อไป ฉันใด
เจ้าก็บ่นเพ้อไปเปล่า ๆ คือไม่เป็นจริงได้ ฉันนั้น.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
ศีรษะ เท้าหน้า เท้าหลัง หางและหู
ของวัว ยังตั้งอยู่อย่างนั้นตามเดิม ผมเข้าใจ
ว่า วัวตัวนี้จะพึงลุกขึ้นได้ ศีรษะหรือมือ
และเท้าของคุณปู่มิได้ปรากฏเลย คุณพ่อ
นั่นเองมาร้องไห้อยู่ที่สถูปดิน เป็นคนไร้ความ
คิดมิใช่หรือ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเถว ความว่า ยังตั้งอยู่เหมือน
ดังตั้งอยู่ในครั้งก่อน. บทว่า มญฺเ ความว่า ผมเข้าใจว่า โค
ตัวนี้จะลุกขึ้น เพราะอวัยวะมีศีรษะเป็นต้น เหล่านั้นยังตั้งอยู่เหมือน
เดิมอย่างนั้น. บทว่า เนวยฺยกสฺส สีส ความว่า ส่วนศีรษะหรือ
หรือและเท้าของคุณปู่มิได้ปรากฏ. บาลีว่า ปิฏฺิปาทา น ทิสฺสเร
ดังนี้ก็มี. บทว่า นนุ ตฺวญฺเว ทุมฺมติ ความว่า เบื้องต้น ผม
เห็นศีรษะเป็นต้นอยู่จึงกระทำอย่างนั้น ส่วนคุณพ่อไม่เห็นอะไรเลย
เพราะเทียบกับผมแล้ว คุณพ่อนั้นแหละเป็นผู้ไร้ความคิดตั้งร้อยเท่า
พันเท่า มิใช่หรือ. เพราะเหตุนั้น สังขารทั้งหลายชื่อว่ามีการแตกไป
เป็นธรรมดา ย่อมแตกไป จะมัวร่ำไรอะไรในข้อนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 718
บิดาของพระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า บุตรของเราเป็น
บัณฑิต รู้กิจในโลกนี้และโลกหน้า ได้กระทำกรรมนี้เพื่อต้องการให้
เรารู้ได้เอง จึงกล่าวว่า พ่อสุชาตผู้บัณฑิต พ่อรู้แล้วว่าสังขารทั้งปวง
ไม่เที่ยง ตั้งแต่นี้ไปพ่อจักไม่เศร้าโศก ชื่อว่าบุตรผู้นำความโศกของ
บิดาออกไปได้ พึงเป็นเช่นตัวเจ้า เมื่อจะทำการชมเชยบุตร จึงกล่าว
ว่า :-
เจ้ารดพ่อผู้เดือดร้อนยิ่งนักให้หายร้อน
ทำความกระวนกระวายของพ่อให้ดับได้หมด
สิ้น เหมือนบุคคลเอาน้ำรดไฟที่ติดเปรียงให้
ดับไปฉะนั้น เจ้ามาถอนลูกศรคือความโศกที่
เสียบแน่นอยู่ในหทัยของพ่อออกได้แล้วหนอ
เมื่อพ่อถูกความโศกครอบงำ เจ้าได้บรรเทา
ความโศกถึงบิดาเสียได้.
พ่อเป็นผู้ถอนลูกศรคือความโศกออก
ได้แล้ว ปราศจากความเศร้าโศก หมดความ
มัวหมอง ลูกรัก พ่อจะไม่เศร้าโศก จะไม่
ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของเจ้า.
คนผู้มีปัญญา มีใจอนุเคราะห์ ย่อม
ทำบุคคลให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศกได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 719
เหมือนกับพ่อสุชาตบุตรของเรา ทำเราผู้บิดา
ให้หลุดพ้นความโศก ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพาปเย แปลว่า ให้ดับแล้ว.
บทว่า ทร ได้แก่ ความกระวนกระวาย เพราะความโศก. บทว่า
สุชาโต ปิตร ยถา ความว่า พ่อสุชาตบุตรของเรา ทำเราผู้เป็น
บิดาให้พ้นจากความโศก เพราะความที่ตนเป็นผู้มีปัญญา ฉันใด
แม้คนอื่นผู้มีปัญญา ก็ย่อมทำคนอื่นให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศก
ฉันนั้น.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ
กุฎุมพีก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ส่วนสุชาตกุมารในครั้งนั้น ได้เป็น
เราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาสุชาตชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 720
๓. เวนสาขชาดก
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
[๗๑๒] ดูก่อนพรหมทัตกุมาร ความเกษม
สำราญ ภิกษาหารหาได้ง่ายและความเป็นผู้
สำราญกายนี้ ไม่พึงมีตลอดกาลเป็นนิตย์
เมื่อประโยชน์ของตนสิ้นไป ท่านอย่าเป็นผู้
ล่มจมเสียเลยเหมือนคนเรือแตก ไม่ได้ที่
พึ่งอาศัย ต้องจมอยู่ในท่ามกลางทะเล
ฉะนั้น.
[๗๑๓] บุคคลทำกรรมใด ย่อมมองเห็นกรรม
นั้นในตน ผู้ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี ผู้ทำ
กรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่น
ใด ผลย่อมงอกขึ้นเช่นนั้น.
[๗๑๔] ปาจารย์ได้กล่าวคำใดไว้ว่า ท่านอย่า
ได้ทำบาปกรรมที่ทำแล้วจะทำให้เดือดร้อน
ในภายหลังเลย คำนั้นเป็นคำสอนของ
อาจารย์เรา.
[๗๑๕] ปิงคิยปุโรหิตนั้น ย่อมบ่นเพ้อแสดง
ต้นไทรนี้ว่ามีกิ่งแผ่ไพศาล สามารถให้ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 721
ชนะได้ เราได้ให้ฆ่ากษัตริย์ผู้ประดับด้วย
ราชาลังการ ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์แดงทั้งพัน
พระองค์เสีย ที่ต้นไม้ใด ต้นไม้นั้น บัดนี้
ไม่อาจทำการป้องกันอะไรแก่เราได้ ความ
ทุกข์อันนั้นแหละกลับมาสนองเราแล้ว.
[๗๑๖] พระนางอุพพรีอัครมเหสีของเรา มี
พระฉวีวรรณงามดังทองคำ ลูบไล้ตัวด้วย
แก่นจันทน์แดง ย่อมงามเจริญตา เหมือน
กับกิ่งไม้สิงคุอันขึ้นตรงไป ไหวสะเทือนอยู่
ฉะนั้น เรามิได้เห็นพระนางอุพพรีแล้ว คง
จักต้องตายเป็นแน่ การที่เราไม่ได้เห็นพระ-
นางอุพพรีนั้น จักเป็นทุกข์ยิ่งกว่ามรณทุกข์
นี้อีก.
จบ เวนสาขชาดกที่ ๓
อรรถกถาเวนสาขชาดกที่ ๓
พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยตำบลสุงสุมารคีรีในแขวงภัคคชนบท
ประทับอยู่ในเภสกฬาวัน ทรงปรารภโพธิราชกุมาร จึงตรัสพระ-
ธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า นยิท นิจฺจ ภวิตพฺพ ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 722
ครั้งนั้นพระโอรสของพระเจ้าอุเทนนามว่า โพธิราชกุมาร
ประทับอยู่ ณ สุงสุมารคีรี รับสั่งให้เรียกช่างไม้ผู้ชำนาญศิลปะ
คนหนึ่งมาให้สร้างปราสาทชื่อโกกนุท โดยสร้างไม่ให้เหมือนกับ
พระราชาอื่น ๆ ก็แหละครั้นให้สร้างเสร็จแล้ว มีพระทัยตระหนี่ว่า
ช่างไม้คนนี้จะพึงสร้างปราสาทเห็นปานนี้ แก่พระราชาแม้องค์อื่น
จึงให้ควักนัยน์ตาทั้งสองข้างของช่างไม้นั้นเสีย. เพราะเหตุนั้น แม้
ความที่พระโพธิราชกุมารให้ควักนัยน์ตาของช่างไม้นั้น ก็เกิดปรากฏ
ในหมู่ภิกษุสงฆ์. เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย จึงนั่งสนทนากันใน
โรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่า โพธิราชกุมารรับสั่งให้
ควักนัยน์ตาทั้งสองข้างของนายช่างไม้เห็นปานนั้น โอ ! ช่างกักขฬะ
หยาบช้า สาหัสนัก. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้น
กราบทูลว่า เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน โพธิราชกุมารนี้ก็เป็นผู้กักขฬะ
หยาบช้า สาหัส เหมือนกันและในบัดนี้เท่านั้นยังไม่สิ้นเชิง แม้ใน
กาลก่อน โพริราชกุมารนี้ก็ให้ควักพระเนตรของกษัตริย์ ๑,๐๐๐ องค์
ให้ปลงพระชนม์ทำพลีกรรมด้วยเนื้อของกษัตริย์ ๑,๐๐๐ องค์นั้น
แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์อยู่ในเมืองตักก-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 723
ศิลา. ขัตติยมาณพและพราหมณมาณพในพื้นชมพูทวีป พากันเรียน
ศิลปะในสำนักของพระโพธิสัตว์นั้นเอง พระโอรสแม้ของพระเจ้า
พาราณสี นามว่า พรหมทัตกุมาร ก็เรียนพระเวททั้ง ๓ ในสำนัก
ของพระโพธิสัตว์นั้น. แต่ตามปกติ พรหมทัตกุมารนั้นได้เป็นผู้
กักขฬะ หยาบช้า ทารุณ. พระโพธิสัตว์รู้ว่าพรหมทัตกุมารนั้นเป็น
ผู้กักขฬะ หยาบช้า ทารุณ ด้วยอำนาจวิชาดูอวัยวะ ได้กล่าวสอนว่า
ดูก่อนพ่อ เธอเป็นผู้กักขฬะ หยาบช้า ทารุณ ความเป็นใหญ่ที่ได้
ด้วยความหยาบช้า ย่อมไม่ดำรงอยู่นาน เมื่อความเป็นใหญ่พินาศไป
คนผู้หยาบช้านั้นย่อมไม่ได้ที่พึ่งเหมือนคนเรือแตกไม่ได้ที่พึ่งพำนักใน
สมุทรฉะนั้น เพราะฉะนั้น เธออย่าได้เป็นผู้เห็นปานนั้น ดังนี้ จึงได้
กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
ดูก่อนพรหมทัตกุมาร ความเกษม
สำราญ ๑ ภิกษาหารที่หาได้ง่าย ๑ ความ
เป็นผู้สำราญกายนี้ ๑ ไม่พึงมีตลอดกาล
เป็นนิตย์ เมื่อประโยชน์ของตนสิ้นไป ท่าน
อย่าได้เป็นผู้ล่มจมเลย เหมือนคนเรือแตก
ไม่ได้ที่พึ่งอาศัย จมอยู่ในท่ามกลางทะเล
ฉะนั้น.
บุคคลทำกรรมใด ย่อมเห็นกรรมนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 724
ในตน ผู้ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว
ย่อมได้ผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ผล
ย่อมงอกขึ้นเช่นนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขตา จ กาเย ความว่า
ดูก่อนพ่อพรหมทัต ความเกษมสำราญก็ตาม ความมีภิกษาที่หาได้ง่าย
ก็ตาม หรือความสบายกายก็ตาม ทั้งหมดนี้ ย่อมไม่มีเป็นนิตย์
คือตลอดกาลทั้งปวงแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ก็ความเกษมสำราญเป็น
ต้นนี้เป็นของไม่เที่ยงมีความไม่มีเป็นธรรมดา. บทว่า อตฺถจฺจเย
ความว่า ท่านนั้น ในเมื่อความเป็นใหญ่ปราศจากไปโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยงคือ เพราะประโยชน์ของตนล่วงไป อย่าได้เป็นผู้ล่มจม
เหมือนคนเรือแตก เมื่อไม่ได้ที่พึ่งอาศัยในท่ามกลางสาคร ย่อมเป็น
ผู้จมลงฉะนั้น. บทว่า ตานิ อตฺตนิ ปสฺสติ ความว่า บุคคลผู้
ประสบผลของกรรมเหล่านั้น ชื่อว่าเห็นกรรมในตน.
พรหมทัตกุมารนั้นไหว้อาจารย์แล้วไปถึงนครพาราณสี แสดง
ศิลปะแก่พระบิดา แล้วดำรงอยู่ในตำแหน่งอุปราช เมื่อพระบิดา
สวรรคตแล้ว ก็ได้เสวยราชสมบัติ. ท้าวเธอมีปุโรหิตชื่อว่าปิงคิยะ
เป็นคนกระด้างหยาบช้า เพราะความโลภในยศ เขาจึงคิดว่า ถ้ากระไร
เรายุให้พระราชานี้จับพระราชาทุกองค์ในชมพูทวีปทั้งสิ้น เมื่อ
เป็นอย่างนี้ พระราชานี้จักเป็นพระราชาแต่พระองค์เดียว แม้เรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 725
ก็จะได้เป็นปุโรหิตแต่ผู้เดียว. ปุโรหิตนั้นทำให้พระราชานั้นเชื่อถือ
ถ้อยคำของตน. พระราชาจึงยกกองทัพใหญ่ออก ล้อมนครของ
พระราชาองค์หนึ่งแล้วจับพระราชาองค์นั้น. พระราชานั้นยึดราช-
สมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ด้วยอุบายนี้นั่นแหละ ห้อมล้อมด้วย
พระราชา ๑,๐๐๐ องค์ ได้ไปด้วยหวังว่า จักยึดราชสมบัติในนคร-
ตักกศิลา. พระโพธิสัตว์ปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมพระนครกระทำให้เป็น
นครที่คนอื่นกำจัดไม่ได้. ฝ่ายพระเจ้าพาราณสีให้วงม่านที่โคนต้นไทร
ใหญ่ริมแม่น้ำคงคา แล้วให้ทำเพดานข้างบน ลาดที่บรรทมแล้ว
พักอยู่. ท้าวเธอแม้จะพาเอาพระราชา ๑,๐๐๐ องค์ ในพื้นชมพูทวีป
ออกรบอยู่ ก็ไม่อาจยึดเมืองตักกศิลาได้ จึงตรัสถามปุโรหิตว่า ท่าน
อาจารย์ พวกเรามาพร้อมกับพระราชาเหล่านี้ ไม่สามารถยึดเมือง
ตักกศิลาได้ควรจะทำอย่างไรดี. ปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
เราทั้งหลายจงควักนัยน์ตาของพระราชา ๑,๐๐๐ พระองค์แล้วปลง
พระชนม์เสีย ผ่าท้องถือเอาเนื้ออร่อย ๕ ชนิด กระทำพลีกรรมแก่
เทวดาผู้บังเกิดอยู่ที่ต้นไทรนี้ แล้ววงรอบต้นไทรด้วยเกลียวพระอันตะ
แล้วเจิมด้วยโลหิต ชัยชนะจักมีแก่พวกเราอย่างเร็วพลันทีเดียว ด้วย
อุบายอย่างนี้. พระราชาทรงรับว่า ดีละ แล้ววางคนปล้ำผู้มีกำลัง
มากไว้ภายในม่าน ให้เรียกพระราชามาทีละองค์ แล้วให้ทำให้สลบ
ด้วยการบีบรัดแล้วควักเอานัยน์ตาแล้วฆ่าให้ตาย เอาแต่เนื้อไว้ ลอย
ซากศพไปในแม่น้ำคงคา ให้ทำพลีกรรมมีประการดังกล่าวแล้ว ให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 726
ตีกลองบวงสรวงแล้วเสด็จไปรบ. ครั้งนั้น ยักษ์ตนหนึ่งชื่ออัชชิสกตะ
มาควักพระเนตรเบื้องขวาของพระเจ้าพาราณสีนั้นแล้วก็ไป. เวทนา
ใหญ่หลวงเกิดขึ้นแล้ว ท้าวเธอได้รับเวทนา จึงเสด็จไปบรรทม
หงายบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ณ โคนต้นไทร. ขณะนั้น แร้งตัวหนึ่ง
คาบเอากระดูกชิ้นหนึ่งซึ่งมีปลายคมกริบ มาจับอยู่บนยอดไม้ กินเนื้อ
หมดแล้วทิ้งกระดูกลงมา ปลายกระดูกลอยมาตกลงที่พระเนตรซ้าย
ของพระราชา ทำพระเนตรทั้งสองแตกไปเหมือนหลาวเหล็กแทง
ฉะนั้น. ขณะนั้น ท้าวเธอจึงกำหนดได้ถึงถ้อยคำของพระโพธิสัตว์.
พระองค์จึงทรงบ่นเพ้อว่า อาจารย์ของเรากล่าวไว้ว่า สัตว์เหล่านี้
ย่อมเสวยวิบากอันสมควรแก่กรรม เหมือนบุคคลเสวยผลอันสมควร
แก่พืช ดังนี้ เห็นจะเป็นเหตุนี้จึงกล่าวไว้ แล้วได้กล่าวคาถา
๒ คาถาว่า :-
ปาจารย์ได้กล่าวคำรดไว้ว่า ท่านอย่า
ได้ทำบาปกรรมที่ทำแล้วจะทำให้เดือดร้อน
ในภายหลัง คำนั้นเป็นคำสอนของอาจารย์
เรา.
ปิงคิยปุโรหิตนั้น มาบ่นเพ้อแสดงต้น
ไทรนี้ว่า มีกิ่งแผ่ไพศาล มีเดชานุภาพ
สามารถให้ความชนะได้ เราได้ให้ฆ่ากษัตริย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 727
ผู้ประกอบด้วยราชอลังการ ลูบไล้ด้วยแก่น
จันทน์แดง ถึงพันพระองค์ ที่ต้นไม้ใด
บัดนี้ ต้นไม้นั้นไม่อาจทำการป้องกันอะไร
แก่เราได้ ความทุกข์อันนั้นแหละกลับมา
สนองเวรแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท ตทาจริยวโจ ความว่า
คำนี้นั้น เป็นคำของอาจารย์. พระเจ้าพาราณสีตรัสเรียกอาจารย์นั้น
โดยโคตรว่า ปาจารย์. บทว่า ปจฺฉา กต ความว่า อาจารย์ได้
ให้ โอวาทว่า บาปใดที่เธอกระทำไว้ บาปนั้นจะทำเจ้าให้เดือดร้อน
ลำบาก ในภายหลัง เธออย่าทำบาปนั้นเลย ดังนี้ แต่เราไม่ได้กระทำ
ตามคำของอาจารย์นั้น. ปิงคิยปุโรหิตบ่นเพ้อแสดงต้นไทรว่า อยเมว
แปลว่า ต้นนี้แหละ. บทว่า เวนสาโข ได้แก่ มีกิ่งแผ่กว้างไป.
บทว่า ยมฺหิ จ ฆาตฺยึ ความว่า ให้ปลงพระชนม์กษัตริย์ ๑,๐๐๐
องค์ ที่ต้นไม้ใด. บทว่า อลงฺกเต จนฺทนสารลิตฺเต นี้ ท่าน
แสดงว่า เราให้ฆ่ากษัตริย์เหล่านั้น ผู้ประดับด้วยราชอลังการลูบไล้
ด้วยแก่นจันทน์แดง ที่ต้นไม้ใด ต้นไม้นั้น คือต้นนี้ บัดนี้ ไม่
สามารถกระทำการต้านทานอะไรแก่เรา. บทว่า ตเมว ทุกฺข ความว่า
พระเจ้าพาราณสีทรงร่ำไรว่า ทุกข์อันเกิดจากควักนัยน์ตาของคนอื่น
อันใด ที่เรากระทำแล้วทุกข์นี้กลับมาถึงเราเหมือนอย่างนั้นแหละ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 728
บัดนี้ คำของอาจารย์เราถึงที่สุดแล้ว.
ท้าวเธอเมื่อทรงคร่ำครวญอยู่อย่างนี้แล ทรงหวนระลึกถึง
พระอัครมเหสี จึงกล่าว่าคาถาว่า :-
พระนางอุพพรีอัครมเหสีของเรา มี
พระฉวีวรรณดังทองคำ ลูบไล้ทาตัวด้วย
แก่นจันทน์แดง งดงามเจริญตา ยามเมื่อ
เยื้องกราย เหมือนกิ่งไม้สิงคุ ยามเมื่อต้อง
ลมอ่อน ๆ ไหวสะเทือนอยู่ฉะนั้น เรามิได้
เห็นพระนางอุพพรีแล้ว เพราะตาบอด จัก
ตายแน่ การที่เราไม่ได้เห็นพระนางอุพพรีนั้น
จักเป็นทุกข์ยิ่งกว่ามรณทุกข์นี้เสียอีก
คำที่เป็นคาถานั้นมีความว่า พระนางอุพพรีอัครมเหสีเรา
มีพระฉวีวรรณงามดังทองคำ ยามเมื่อกระทำอิตถีวิลาศกิริยาเยื้อง
กรายของหญิงย่อมงดงาม เหมือนกิ่งไม้สิงคุที่ชี้ไปตรง ๆ ยามถูกลม
อ่อนรำเพยพัดไหวโอนงามอยู่ฉะนั้น. บัดนี้ เราไม่ได้เห็นพระนาง-
อุพพรีนั้น เพราะนัยน์ตาทั้งสองข้างแตกไปแล้ว จักต้องตาย การที่
เรามองไม่เห็นพระนางอุพพรีนั้น จักเป็นทุกข์ยิ่งกว่ามรณทุกข์นี้.
พระเจ้าพาราณสีนั้นทรงบ่นเพ้ออยู่อย่างนี้ ตายแล้วบังเกิดใน
นรก. ปุโรหิตผู้อยากได้ความเป็นใหญ่ไม่อาจทำการต้านทานพระเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 729
พาราณสีนั้น ไม่อาจทำความเป็นใหญ่แก่ตน. เมื่อพระเจ้าพาราณสี
นั้นพอสวรรคตเท่านั้น พลนิกายต่างพากันแตกสานซ่านเซ็นไป.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-
ชุมชาดกว่า. พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นโพธิราชกุมาร ปิงคิย
ปุโรหิต ได้เป็นพระเทวทัต อาจารย์ทิศาปาโมกข์ในครั้งนั้น ได้เป็น
เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาเวนสาขชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 730
๔. อุรคชาดก
เปรียบความตายเหมือนงูลอกคราบ
[๗๑๗] บุตรของข้าพเจ้าละทิ้งร่างกายของตนไป
ดุจงูละทิ้งคราบเก่าไปฉะนั้น เมื่อร่างกายแห่ง
บุตรของข้าพเจ้าใช้อะไรไม่ได้ กระทำกาละ
ไปแล้วอย่างนี้ บุตรข้าพเจ้าถูกเผาอยู่ ย่อม
ไม่รู้สึกถึงความร่ำไห้ของพวกญาติ เพราะ
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา คติของ
ตนมีอย่างใด เขาก็ย่อมไปสู่คติของตนอย่าง
นั้น.
[๗๑๘] บุตรของดิฉันนี้ ดิฉันมิได้เชื้อเชิญให้
เขามาจากปรโลก เขาก็มาเอง แม้เมื่อจะไป
จากมนุษยโลกนี้ ดิฉันก็มิได้อนุญาตให้เขา
ไป เขามาอย่างใด เขาก็ไปอย่างนั้น การ
ปริเทวนาถึงในการที่บุตรของดิฉันไปจาก
มนุษยโลกนั้น จะเกิดประโยชน์อะไร บุตร
ของดิฉันถูกเผาอยู่ก็ไม่รู้สึกถึงความร่ำไห้ของ
พวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้าโศก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 731
ถึงเขา คติของตนมีอย่างใด เขาก็ไปสู่คติ
ของตนอย่างนั้น.
[๗๑๙ ] เมื่อพี่ชายตายแล้ว หากว่าดิฉันจะพึง
ร้องไห้ ดิฉันก็จะผ่ายผอม เมื่อดิฉันร้องไห้
อยู่ จะมีผลอะไร ความไม่ยินดีจะพึงมีแก่
ญาติมิตรและสหายของดิฉันยิ่งขึ้น พี่ชาย
ของดิฉันถูกเผาอยู่ก็ไม่รู้สึกถึงความร่ำไห้
ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้า
โศกถึงพี่ชายนั้น คติของตนมีอย่างใดเขา
ไปสู่คติของตนอย่างนั้น.
[๗๒๐] เด็กร้องไห้ขอพระจันทร์อันโคจรอยู่ใน
อากาศฉันใด การที่บุคคลมาเศร้าโศกถึงผู้ที่
ละไปสู่ปรโลกแล้วนี้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น สามี
ของดิฉันถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไห้
ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้า
โศกถึงสามีนั้น คติของตนมีอย่างใด เขาก็ไป
สู่คติของตนอย่างนั้น.
[๗๒๑] หม้อน้ำที่แตกแล้ว เชื่อมให้สนิทอีก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 732
ไม่ได้ฉันใด การที่บุคคลมาเศร้าโศกถึงผู้ที่ละ
ไปสู่ปรโลกแล้วนี้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น นาย
ของดิฉันถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไห้
ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้า
โศกถึงนายนั้น คติของตนมีอย่างใด นาย
ของดิฉันก็ไปสู่คติของตนอย่างนั้น.
จบ อุรคชาดกที่ ๔
อรรถกถาอุรคชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
กุฎุมพีคนหนึ่งผู้มีภรรยาตายแล้ว จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า อุรโคว ตจ ชิณฺณ ดังนี้
เรื่องปัจจุบัน เป็นเหมือนเรื่องกุฎุมพีผู้มีภรรยาตาย และมี
บิดาตายแล้วนั่นแหละ. แม้ในชาดกนี้ พระศาสดาเสด็จไปยัง
นิเวศน์ของกุฎุมพีนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน แล้วตรัสถามกุฎุมพีนั้น
ผู้มาถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ว่า อาวุโส ท่านเศร้าโศกหรือ เมื่อกุฎุมพี
นั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เศร้าโศก
ตั้งแต่บุตรของข้าพระองค์ตายไปแล้ว จึงตรัสว่า อาวุโส ชื่อว่าสิ่งที่มีการ
แตกทำลายเป็นธรรมดา ย่อมจะแตกทำลายไป ชื่อว่าสิ่งที่มีการพินาศ
ไปเป็นธรรมดา ย่อมจะพินาศไป ก็แหละสิ่งที่มีการแตกและการพินาศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 733
ไปนั้น จะมีแก่คนผู้เดียวเท่านั้นก็หามิได้ จะมีในหมู่บ้านเดียวเท่านั้น
ก็หามิได้ ชื่อว่าสภาวธรรม คือ ความไม่ตายย่อมไม่มีในภพทั้งสาม
ในจักรวาลอันหาประมาณมิได้ แม้สังขารอย่างหนึ่งซึ่งสามารถดำรง
อยู่โดยภาวะนั้นเท่านั้น ชื่อว่าเที่ยงยั่งยืนย่อมไม่มี สัตว์ทั้งปวงมีความ
ตายเป็นธรรมดา สังขารทั้งหลายมีการแตกสลายไปเป็นธรรมดา แม้
โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อบุตรตายแล้ว คิดว่า สิ่งที่มีการพินาศ
ไปเป็นธรรมดา พินาศไปแล้ว จึงไม่เศร้าโศกเลย อันกุฎุมพีนั้นทูล
อาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ ณ หมู่บ้านใกล้ประตู
เมืองพาราณสี สั่งสมทรัพย์สมบัติไว้เลี้ยงชีพด้วยกสิกรรม. พระโพธิ-
สัตว์นั้นได้มีทารก ๒ คน คือ บุตร ๑ ธิดา ๑. พระโพธิสัตว์นั้น
เมื่อบุตรเจริญวัยแล้ว ได้นำนางกุมาริกามาจากสกุลที่เสมอกัน. ดังนั้น
ชนเหล่านั้นได้เป็น ๖ คนด้วยกันกับนางทาสี คือ พระโพธิสัตว์
ภรรยา บุตร ธิดา ลูกสะใภ้ และทาสี. ชนเหล่านั้นได้เป็นผู้สมัคร
สมานยินดีอยู่กันด้วยความรัก. พระโพธิสัตว์ได้ให้โอวาทแก่คนทั้ง ๕
ที่เหลืออย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงให้ทานโดยนิยามตามทำนองที่หาได้
เท่านั้น จงรักษาศีล กระทำอุโบสถกรรม เจริญมรณัสสติ จงกำหนด
ถึงภาวะคือความตายของท่านทั้งหลาย เพราะความตายของสัตว์เหล่านี้
เป็นของยั่งยืน ชีวิตไม่ยั่งยืน สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มีความเสื่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 734
สิ้นไปเป็นธรรมเทียว ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาททั้งกลางคืน
และกลางวันเถิด. ชนทั้ง ๕ นั้นรับโอวาทว่าสาธุ แล้วเป็นผู้ไม่ประมาท
เจริญมรณสติอยู่. อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ไปนาพร้อมกับบุตร
ไถนาอยู่ บุตรลากหยากเหยื่อมาเผา ในที่ไม่ใกล้บุตรนั้น มีอสรพิษ
อยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง ควันไฟกระทบตาของอสรพิษนั้น มันโกรธ
เลื้อยออกมาคิดว่า ภัยเกิดแก่เราเพราะอาศัยคนผู้นี้ จึงกัดบุตรชาย
จมทั้ง ๔ เขี้ยว เขาล้มลงตายทันที พระโพธิสัตว์เหลียวมาดูเห็นบุตร
ชายนั้นล้มลงจึงหยุดโคแล้วไปหา รู้ว่าบุตรชายนั้นตายแล้ว จึงยก
บุตรนั้นขึ้นให้นอนอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง คลุมผ้าไว้ ไม่ร้องไห้ ไม่ปริ-
เทวนาการร่ำไร. ไถนาไปพลาง กำหนดถึงเฉพาะความเป็นอนิจจังว่า
ก็สิ่งที่ที่การแตกเป็นธรรมดา แตกไปแล้ว สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา
ตายไปแล้ว สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สำเร็จด้วยความตาย. พระโพธิ-
สัตว์นั้น เห็นบุรุษผู้คุ้นเคยกันคนหนึ่งเดินไปทางใกล้นาจึงถามว่า จะ
ไปเรือนหรือพ่อ เมื่อเขากล่าวว่าจ้ะ จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่าน
พึงแวะไปยังเรือน แม้ของพวกเรา บอกกะนางพราหมณีเขาว่า
วันนี้ ไม่ต้องนำภัตตาหารไปเพื่อคนสองคนเหมือนดังก่อน พึงนำ
อาหารไปเฉพาะสำหรับคนผู้เดียวเท่านั้น และเมื่อก่อน ทาสีผู้เดียว
เท่านั้น นำอาหารมา แต่วันนี้ คนทั้ง ๔ พึงนุ่งห่มผ้าขาว ถือของ
หอมและดอกไม้มา. บุรุษนั้นรับคำแล้วไปบอกแก่นางพราหมณีเหมือน
อย่างนั้น. นางพราหมณีถามว่า ดูก่อนพ่อ ข่าวนี้ใครให้ท่านมา ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 735
บุรุษนั้นตอบว่า พราหมณ์ให้มาจ้ะ แม่เจ้า. นางพราหมณีนั้นรู้ได้ว่า
บุตรของเราตายแล้ว. แม้ความวิปริตสักว่าความหวานใจก็มิได้มีแก่นาง
พราหมณ์นั้น. ก็นางมีจิตอบรมไว้ดีแล้วอย่างนี้ นุ่งห่มผ้าขาวถือของ
หอมและดอกไม้ ให้ถืออาหารแล้วได้ไปพร้อมกับคนที่เหลือ. แม้คน
ผู้เดียวก็มิได้มีความร้องไห้หรือความร่ำไร. พระโพธิสัตว์นั่งในร่มเงาที่
บุตรชายนอนอยู่นั่นแหละบริโภคอาหาร. ในเวลาเสร็จการบริโภค
อาหาร คนแม้ทั้งหมดก็ขนฟืนมา ยกบุตรชายนั้นขึ้นสู่เชิงตะกอน
บูชาด้วยของหอมและดอกไม้แล้วเผา. น้ำตาแม้หยดเดียวก็ไม่ได้มีแก่
ใคร ๆ. ทั้งหมดเป็นผู้เจริญมรณัสสติไว้ดีแล้ว. ด้วยเดชแห่งศีลของตน
เหล่านั้น ภพแห่งท้าวสักกะจึงแสดงอาการร้อน. ท้าวสักกะนั้นทรง
ใคร่ครวญอยู่ว่า ใครหนอประสงค์จะให้เราเคลื่อนจากที่ ทรงทราบว่า
ภพร้อนเพราะเดชแห่งคุณของชนเหล่านั้น เป็นผู้มีพระมนัสเลื่อมใส
ทรงดำริว่า เราไปยังสำนักของชนเหล่านี้ ทำให้เขาบันลือสีหในเวลา
เสร็จสิ้นการบันลือสีหนาท จึงกระทำนิเวศน์ของชนเหล่านั้นให้เต็ม
ด้วยรัตนะทั้ง ๗ แล้วจึงมา ย่อมจะควร จึงเสด็จไปในที่นั้นโดยเร็ว
แล้วประทับยืนอยู่ที่ข้างป่าช้าตรัสว่า ดูก่อนพ่อ พวกท่านทำอะไรกัน.
ชนเหล่านั้นกล่าวว่า นาย พวกเราเผามนุษย์คนหนึ่ง. ท้าวสักกะ
ตรัสว่า พวกท่านจักไม่เผามนุษย์ แต่เห็นจะฆ่าเนื้อตัวหนึ่งแล้วจึงปิ้ง
อยู่. ชนเหล่านั้นกล่าวว่า นาย ข้อนั้นก็หามิได้ พวกเราเผาเฉพาะ
มนุษย์เท่านั้น. ท้าวสักกะตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เขาคงจะเป็นมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 736
ที่มีเวรกับพวกท่าน ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะท้าวสักกะนั้น
ว่า นาย เขาเป็นบุตรผู้เกิดแต่อกของพวกเรา ไม่ใช่คนมีเวรกัน.
ท้าวสักกะตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เขาดงจะเป็นบุตรผู้ที่ไม่เป็นที่รักของ
ท่าน. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า นาย เขาเป็นบุตรที่รักยิ่งของข้าพเจ้า.
ท้าวสักกะตรัสว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ร้องไห้.
พระโพธิสัตว์นั้น เมื่อจะบอกถึงเหตุที่ไม่ร้องไห้ จึงกล่าวคาถาที่ ๑
ว่า :-
บุตรของข้าพเจ้าละทิ้งร่างกายของตนไป
ดุจงูละทิ้งคราบเก่าฉะนั้น เมื่อร่างกายแห่ง
บุตรของข้าพเจ้าใช้อะไรไม่ได้ ทำกาละไป
แล้วอย่างนี้ บุตรของข้าพเจ้าถูกเผาอยู่ ย่อม
ไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของหมู่ญาติ เพราะฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา คติของตนมี
อย่างใด เขาก็ย่อมไปสู่คติของตนอย่างนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตนุ แปลว่า ร่างกายของตน.
นิพฺโภเค ความว่า ชื่อว่าเว้นจากการใช้สอย เพราะไม่มีชีวิตินทรีย์
คือความเป็นใหญ่คือชีวิต. บทว่า เปเต ได้แก่ กลับไปยังปรโลก.
บทว่า กาลกเต ได้แก่ กระทำกาละแล้ว อธิบายว่า ตายแล้ว. ท่าน
กล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า นาย บุตรของข้าพเจ้าละทิ้งร่างกายของตนไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 737
เหมือนงูลอกคราบเก่า ไม่เหลียวแลห่วงใย ละทิ้งไปฉะนั้น เมื่อ
ร่างกายแห่งบุตรของเรานั้น เว้นขาดจากชีวิตินทรีย์ใช้การไม่ได้อย่าง
นี้ และเมื่อบุตรของเรานั้นละไปแล้ว คือหวนกลับไปแล้ว กระทำ
มรณกาลแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยความการุณหรือความร่ำไห้ เพราะ
บุตรของเรานี้ย่อมไม่รู้ แม้ความร่ำไห้ของพวกญาติ เหมือนเอาหลาว
แทงแล้วเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกสุขและทุกข์ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เราจึง
ไม่เศร้าโศกถึงเขา เขาไปตามคติแห่งตนของเขาแล้ว.
ท้าวสักกะได้ทรงฟังคำของพระโพธิสัตว์ แล้วจึงตรัสถามนาง
พราหมณีว่า ดูก่อนแม่ เขาเป็นอะไรแก่ท่าน ? นางพราหมณีตอบว่า
นาย เขาเป็นบุตรที่ข้าพเจ้าบริหารด้วยครรภ์ถึง ๑๐ เดือน ให้ดื่มถัญ
แล้วบำรุงเลี้ยงให้เจริญเติบโต. ท้าวสักกะตรัสว่า ดูก่อนแม่ บิดาไม่
ร้องไห้ เพราะเป็นบุรุษก็ยกไว้ส่วนหทัยของมารดาอ่อนโยน เพราะ
เหตุไร ท่านจึงไม่ร้องไห้. นางพราหมณีนั้นเมื่อจะบอกเหตุที่ไม่ร้อง-
ไห้ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
บุตรของดิฉันนี้ ดิฉันมิได้เชื้อเชิญให้
เขามาจากปรโลก เขาก็มาเอง แม้เมื่อจะไป
จากมนุษยโลกนี้ ดิฉันก็มิได้อนุญาตให้เขา
ไป เขามาอย่างใด เขาก็ไปอย่างนั้น
การปริเทวนาถึงในการที่บุตรของดิฉันไปจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 738
มนุษยโลกนั้น จะเกิดประโยชน์อะไร บุตร
ของดิฉันถูกเผาอยู่ก็ไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของ
พวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้าโศก
ถึงเขา คติของเขามีอย่างใด เขาก็ไปสู่คติของ
ตนอย่างนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนพฺภิโต ความว่า ดูก่อนพ่อ
บุตรของดิฉันนี้ ดิฉันมิได้เชื้อเชิญ คือมิได้ขอร้องให้มาจากปรโลก.
บทว่า อาคา ความว่า มาสู่เรือนของดิฉันแล้ว. บทว่า อิโต ความว่า
แม้เมื่อจะไปจากมนุษยโลกนี้ ดิฉันมิได้อนุญาตเลย ได้ไปแล้ว. บทว่า
ยถาคโต ความว่า แม้เมื่อจะมาก็มาตามความชอบใจของตนอย่างใด
แม้เมื่อจะไปก็ไปอย่างนั้นนั่นแหละ. บทว่า ตตฺถ ความว่า จะมัวไป
ปริเทวนาการร่ำไห้อะไร ในการที่เขาไปจากมนุษยโลกนี้นั้น. คาถาว่า
ทยฺหมาโน ดังนี้ไปพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วแล.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะครั้นได้สดับถ้อยคำของนางพราหมณีแล้ว
จึงตรัสถามน้องสาวว่า แน่ะแม่ เขาเป็นอะไรแก่เธอ ? น้องสาวกล่าว
ว่า เขาเป็นพี่ชายของดิฉันจ้ะนาย. ท้าวสักกะตรัสว่า แน่ะแม่ ธรรมดา
น้องสาวทั้งหลายย่อมมีความสิเนหารักใคร่พี่ชาย เพราะเหตุไร เธอ
จึงไม่ร้องไห้. ฝ่ายน้องสาวนั้น เมื่อจะบอกเหตุ ไม่รู้องให้แก่ท้าวสักกะ
นั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 739
เมื่อพี่ชายตายแล้ว หากว่าดิฉันจะพึง
ร้องไห้ ดิฉันก็จะผ่ายผอม เมื่อดิฉันร้องไห้
อยู่ จะมีผลอะไร ความไม่ยินดีก็จะพึงมีแก่
ญาติ มิตร และสหายของดิฉันยิ่งขึ้น พี่ชาย
ของดิฉันถูกเผาอยู่ก็ไม่รู้สึกถึงความร่ำไห้ของ
พวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้าโศก
ถึงพี่ชายนั้น คติของตนมีอย่างใด เขาก็ไป
สู่คติของตนอย่างนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ นี้ ท่านแสดงว่า ถ้าเมื่อพี่
ชายตาย ดิฉันจะพึงร้องให้ไซร้ ดิฉันจะพึงเป็นผู้มีร่างกายผ่ายผอม
อนึ่ง ชื่อว่าความเจริญอันมีการร้องไห้นั้นเป็นปัจจัย ก็ไม่มีแก่พี่ชาย
ของดิฉัน. ด้วยบทว่า ตสฺสา เม นี้ แสดงว่า เมื่อดิฉันนั้นร้องไห้อยู่
ผลอะไร คืออานิสงส์อะไร จะพึงมี แต่ความไม่เจริญจะปรากฏ. บทว่า
าติมิตฺตาสุหชฺชาน ได้แก่ ญาติ มิตร และสหาย. อีกอย่างหนึ่ง.
บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ภิยฺโย โน ความว่า ความไม่ยินดี
อย่างยิ่ง จะพึงมีแก่ญาติ มิตร และสหายเหล่านั้น ขอดิฉัน.
ครั้นท้าวสักกะได้ทรงสดับถ้อยคำของหญิงผู้เป็นน้องสาวแล้ว
จึงตรัสถามภรรยาของบุตรที่ตายนั้นว่า แน่ะแม่ เขาเป็นอะไร
แก่เธอ ? ภรรยาตอบว่า นาย เขาเป็นสามีดิฉัน. ท้าวสักกะตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 740
ธรรมสตรีทั้งหลาย เมื่อสามีตายไป ย่อมเป็นหม้าย ไร้ที่พึ่ง เพราะ
เหตุไร เธอจึงไม่ร้องให้. ฝ่ายภรรยานั้น เมื่อจะบอกเหตุที่ไม่ร้องไห้
แก่ท้าวสักกะนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
เด็กร้องไห้ขอพระจันทร์อันโคจรอยู่ใน
อากาศฉันใด การที่บุคคลมาเศร้าโศกถึงผู้ที่
ละไปสู่ปรโลกแล้วนี้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น
สามีของดิฉันถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความ
ร่ำไห้ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่
เศร้าโศกถึงสามีนั้น คติของตนมีอย่างใด เขา
ก็ไปสู่คติของตนอย่างนั้น.
คำที่เป็นคาถานั้นมีเนื้อความว่า ทารกผู้อ่อนเยาว์ไม่รู้สิ่งที่ควร
และไม่ควร สิ่งที่ควรได้และไม่ควรได้ ในที่ใดที่หนึ่ง นั่งอยู่บนตัก
ของมารดา เห็นพระจันทร์เต็มดวงในเดือนวันเพ็ญ ลอยเด่นอยู่ใน
อากาศ ย่อมร้องไห้แล้ว ๆ เล่า ๆ ว่า แม่จ๋า จงให้พระจันทร์ฉัน แม่จ๋า
จงให้พระจันทร์ฉัน ดังนี้ ฉันใด ความถึงพร้อมอุปไมยก็ฉันนั้น
เหมือนกัน คือ ความร้องไห้ของตนผู้เศร้าโศกถึงคนที่ละไป คือตาย
ไปแล้วนั้น สำเร็จความอุปไมยเหมือนฉันนั้น ทั้งไม่มีประโยชน์ยิ่ง
กว่าพาลทารกผู้ร้องไห้อยากได้พระจันทร์แม้นี้ เพราะเหตุไร ? เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 741
พาลทารกเด็กอ่อนนั้นร้องไห้ถึงพระจันทร์ที่มีอยู่ ส่วนสามีของดิฉัน
ตายแล้ว บัดนี้ ไม่ปรากฏอยู่ แม้เขาเอาหลาวแทงเผาอยู่ก็ไม่รู้อะไร ๆ.
ท้าวสักกะได้ทรงสดับถ้อยคำของภรรยา แล้วจึงตรัสถามทาสี
ว่า ดูก่อนแม่ เขาเป็นอะไรแก่เจ้า ? ทาสีตอบว่า ข้าแต่นาย เขา
เป็นนายของดิฉัน. ท้าวสักกะตรัสว่า เจ้าจักได้ถูกบุรุษนี้เบียดเบียน
โบยตีแล้วใช้สอยเป็นแน่ เพราะฉะนั้น เจ้าจึงไม่ร้องไห้เพราะคิดว่า
บุรุษนี้พ้นไปเสียดีแล้ว. ทาสีกล่าวว่า นายท่านอย่าพูดอย่างนั้น คำที่
ท่านพูดนี้ไม่สมควรแก่นายดิฉันนี้ ลูกเจ้านายของดิฉัน เพียบพร้อมด้วย
ขันติ เมตตา และความเอ็นดู ได้เป็นผู้เสมือนบุตรที่ดิฉันให้เจริญ
เติบโตในอก. ท้าวสักกะตรัสว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร เจ้าจึง
ไม่ร้องไห้. ฝ่ายทาสีนั้น เมื่อจะบอกเหตุที่ไม่ร้องไห้แก่ท้าวสักกะนั้น
จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
หม้อน้ำที่แตกแล้ว เชื่อมให้สนิทอีก
ไม่ได้ ฉันใด การที่บุคคลเศร้าโศกถึงผู้ที่ละ
ไปสู่ปรโลกแล้วนี้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น นาย
ของดิฉันถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไห้
ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้า
โศกถึงนายนั้น คติของตนมีอย่างใด นาย
ของดิฉันก็ไปสู่คติของตนอย่างนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 742
คำที่เป็นคาถานั้นมีความว่า หม้อนำอันเขายกขึ้น พลัดตก
แตกออก ๗ เสี่ยง ย่อมไม่อาจที่จะเรียงเชื่อมกระเบื้องเหล่านั้นแล้ว ทำ
ให้กลับเป็นของปกติได้อีก ชื่อฉันใดความเศร้าโศกของตนผู้เศร้าโศก
ถึงคนที่ละไปแล้วนั้น ก็ให้สำเร็จความอุปไมยเหมือนฉันนั้น เพราะ
ไม่อาจทำคนตายให้เป็นขึ้นมาได้อีก อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีฤทธิ์ไม่อาจ
เชื่อมหม้อที่แตกแล้วให้เต็มด้วยน้ำ ด้วยอานุภาพแห่งฤทธิ์ ฉันใด
ถึงผู้ที่ตายแล้ว ใครๆ ก็ไม่อาจทำให้กลับเป็นปกติตามเดิม แม้ด้วย
กำลังฤทธิ์ได้ฉันนั้น. คาถานอกนี้ มีเนื้อความได้กล่าวไว้แล้วในคาถา
ก่อนทั้งนั้น.
ท้าวสักกะทรงสดับธรรมกถา ของคน ทั้งหมดแล้วทรงเลื่อมใส
ตรัสว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาทเจริญมรณัสสติแล้ว จำเดิมแต่
นี้ไป ท่านทั้งหลายไม่ต้องทำการงานด้วยมือของตน เราเป็นท้าวสักกะ-
เทวราช เราจักทำรัตนะทั้ง ๗ อันหาประมาณมิได้ไว้ในเรือนของ
พวกท่าน ท่านทั้งหลายจงให้ทาน รักษาศีลอยู่จำอุโบสถ จงเป็นผู้ไม่
ประมาทเถิด ครั้นให้โอวาทแก่ชนเหล่านั้นแล้ว ทรงกระทำเรือนให้
มีทรัพย์นับประมาณไม่ได้ แล้วเสด็จหลีกไป.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะแล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะกุฎุมพีดำรงอยู่ใน
โสดาปัตติผล. ทาสีในครั้งนั้น ได้เป็นนางขุชชุตตรา ธิดาได้เป็นนาง
อุบลวรรณา บุตรได้เป็นพระราหุล มารดาได้เป็นนางเขมา ส่วน
พราหมณ์ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอุรคชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 743
๕. ธังกชาดก
ว่าด้วยการร้องไห้ไม่มีประโยชน์
[๗๒๒] ชนเหล่าอื่นเศร้าโศกอยู่ ร้องไห้อยู่
ชนเหล่าอื่นมีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา พระองค์
เป็นผู้มีผิวพระพักตร์ผ่องใส ดูก่อนฆฏราชา
เพราะเหตุไรพระองค์จึงไม่เศร้าโศก.
[๗๒๓] ความเศร้าโศกหาได้นำสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
มาได้ไม่ หาได้นำความสุขในอนาคตมาได้ไม่
ดูก่อนธังกราชา เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึง
ไม่เศร้าโศก ความเป็นสหายในความโศก
ย่อมไม่มี.
[๗๒๔] บุคคลเศร้าโศกอยู่ ย่อมเป็นผู้ผอมเหลือง
และไม่พอใจบริโภคอาหาร เมื่อเขาถูกลูกศร
คือความเศร้าโศกเสียบแทงแล้ว เร่าร้อนอยู่
ศัตรูทั้งหลายย่อมดีใจ.
[๗๒๕] ความฉิบหายอันมีความเศร้าโศกเป็นมูล
จักไม่มาถึงหม่อมฉันผู้อยู่ในบ้านหรือในป่า
ในที่ลุ่มหรือในที่ดอน หม่อมฉันเห็นบทฌาน
แล้วอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 744
[๗๒๖] คนผู้เดียวเท่านั้นสามารถจะนำกามรส
ทั้งปวงมาให้ได้ สหายของพระราชาพระองค์
ใด ไม่สามารถจะนำมาให้ได้ ถึงสมบัติใน
แผ่นดินทั้งสิ้น ก็จักนำความสุขมาให้แก่
พระราชาพระองค์นั้นไม่ได้.
จบ ธังกชาดกที่ ๕
อรรถกถาธังกชาดกที่ ๕
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
อำมาตย์ผู้หนึ่งของพระเจ้าโกศล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม
ต้นว่า อญฺเ โสจนฺติ โรทนฺติ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบัน เป็นเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.
ส่วนในชาดกนี้ พระราชาประทานยศใหญ่แก่อำมาตย์ผู้อุปการะช่วย
เหลือพระองค์ ภายหลังทรงเชื่อถือถ้อยคำของผู้ยุยง จึงจองจำอำมาตย์
นั้นแล้วให้ขังไว้ในเรือนจำ. อำมาตย์นั้นนั่งยู่ในเรือนจำนั้นแหละ
ทำโสดาปัตติมรรคให้บังเกิดแล้ว. พระราชาทรงกำหนดได้ถึงคุณความ
ดีของอำมาตย์นั้น จึงรับสั่งให้ปล่อยจากเรือนจำ. อำมาตย์นั้นจึง
ถือของหอมและดอกไม้ไปยังสำนักของพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว
นั่งอยู่. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามอำมาตย์นั้นว่า เขาว่า
ความฉิบหายมิใช่ประโยชน์เกิดขึ้นแล้วแก่ท่านหรือ เมื่ออำมาตย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 745
นั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประโยชน์ก็มาถึง
ข้าพระองค์ ด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ คือ โสดาปัตติมรรคบังเกิด
แล้ว พระเจ้าข้า. พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก มิใช่แต่ท่าน
เท่านั้น จะนำเอาประโยชน์มาด้วยสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ แม้
โบราณกบัณฑิตทั้งหลายก็นำมาแล้ว อันอำมาตย์นั้นทูลอาราธนา
แล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์ใต้บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของ
พระเจ้าพรหมทัตนั้น พระญาติทั้งหลายขนานพระนามพระโพธิสัตว์
นั้นว่า ฆฏกุมาร. สมัยต่อมา ฆฏกุมารนั้น เรียนศิลปะในเมืองตักก-
ศิลาแล้วครองราชสมบัติโดยธรรม. อำมาตย์คนหนึ่งในภายในพระ-
ราชวังของพระราชานั้นคิดประทุษร้าย. พระราชานั้นทรงทราบโดย
ชัดแจ้งจึงให้ขับไล่อำมาตย์นั้นออกจากแว่นแคว้น. ครั้นนั้น พระเจ้า
ธังกราชครองราชสมบัติในนครสาวัตถี. อำมาตย์นั้นได้ไปยังราชสำ-
นักของพระเจ้าธังกราชนั้นอุปัฏฐากท้าวเธอ ให้เชื่อถือคำของตน โดย
นัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ แล้วให้ยึดราชสมบัติในนคร
พาราณสี. พระเจ้าธังกราชนั้น ครั้นยึดราชสมบัติได้แล้ว ให้เอาโซ่
ตรวนพันธนาการพระโพธิสัตว์ไว้ แล้วส่งให้เข้าไปอยู่ในเรือนจำ.
พระโพธิสัตว์ทำฌานให้บังเกิดแล้วนั่งขัดสมาธิอยู่ในอากาศ. ความ
เร่าร้อนตั้งขึ้นในพระสรีระของพระเจ้าธังกราช ท้าวเธอจึงไปได้เห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 746
หน้าพระโพธิสัตว์มีสง่างามดุจแว่นทองและดอกบัวบาน เมื่อจะถาม
พระโพธิสัตว์ จึงตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-
ชนเหล่าอันเศร้าโศก ร้องไห้อยู่ ชน
เหล่าอื่นมีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา ส่วนพระองค์
เป็นผู้มีผิวพระพักตร์ผ่องใส ดูก่อนฆฏราชา
เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่เศร้าโศก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺเ หมายถึงว่ามนุษย์ที่เหลือ
เว้นพระโพธิสัตว์นั้น.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์เมื่อจะบอกเหตุที่ไม่เศร้าโศกแก่พระ-
เจ้าธังกราชนั้น จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-
ความเศร้าโศกหาได้นำสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
มาได้ไม่ หาได้นำความสุขในอนาคตมาได้ไม่
ดูก่อนธังกราชา เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึง
ไม่เศร้าโศก ความเป็นสหายในความโศก
ย่อมไม่มี.
บุคคลผู้เศร้าโศกอยู่ ย่อมเป็นผู้ผอม-
เหลืองและไม่พอใจบริโภคอาหาร เมื่อเขาถูก
ลูกศรคือความเศร้าโศกเสียบแทงแล้วเร่าร้อน
อยู่ พวกศัตรูย่อมดีใจ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 747
ความฉิบหายอันมีความเศร้าโศกเป็นมูล
จักไม่มาถึงหม่อมฉันผู้อยู่ในบ้านหรือในป่า
ในที่ลุ่มหรือในที่ดอน หม่อมฉันเห็นบทฌาน
แล้วอย่างนี้.
ตนผู้เดียวเท่านั้นจะสามารถนำกามรส
ทั้งปวงมาให้ได้ สหายของพระราชาพระองค์
ใด ไม่สามารถจะนำมาให้ได้ถึงสมบัติใน
แผ่นดินทั้งสิ้น ก็จักนำความสุขมาให้แก่พระ-
ราชานั้นไม่ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาพฺภตีตหโร แปลว่า นำสิ่งที่
ล่วงไปแล้วมาไม่ได้. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. ขึ้น
ชื่อว่าความโศกย่อมนำเอามาอีกไม่ได้ซึ่งสิ่งที่ล่วงเลยดับลับหายไปแล้ว
บทว่า ทุตียตา ได้แก่ ความเป็นสหาย. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า
ขึ้นชื่อว่าความโศกย่อมไม่เป็นสหายของใคร ๆ ในการที่จะนำเอาอดีต
มา หรือในการที่จะนำเอาอนาคตมา ด้วยเหตุแม้นั้น เราจึงไม่เศร้า-
โศก. บทว่า โสจ แปลว่า เศร้าโศกอยู่. บทว่า สลฺลวิทฺธสฺส
รุปฺปโต ความว่า เมื่อบุคคลถูกลูกศรคือความโศกเสียบแทง คือถูก
ลูกศรคือความโศกกระทบอยู่ ศัตรูทั้งหลายย่อมดีใจว่า พวกเราเห็น
หลังข้าศึกแล้ว. บทว่า ิต ม นาคมิสฺสติ ความว่า ดูก่อนพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 748
สหายธังกราชความพินาศฉิบหายอันมีความโศกซึ่งมีสภาวะเป็นผู้ผอม-
เหลืองเป็นต้นเป็นมูล จักไม่มาถึงเราผู้สถิตอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ใน
บรรดาบ้านเป็นต้นเหล่านี้. บทว่า เอว ทิฏฺปโท ความว่า เรา
ได้เห็นบทแห่งฌานโดยประการที่ความพินาศฉิบหายนั้นยังไม่มาถึง.
บางอาจารย์กล่าวว่า บทคือโลกธรรม ๘ ดังนี้ก็มี. แต่ในบาลีเขียนว่า
น มตฺต นาคมิสฺสติ ความตายจักไม่มาถึง. คำที่เขียนไว้นั้น ย่อม
ไม่มีแม้ในอรรถกถาทั้งหลาย.
ในคาถาสุดท้ายมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ตนที่ชื่อว่านำมาซึ่งกามรส
ทั้งปวง เพราะนำมาซึ่งสรรพกามรสกล่าวคือฌานสุข เพราะอรรถว่า
น่าอยากได้น่าปรารถนา. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า. ก็ตนผู้เดียวละ
เว้นสหายอื่น ๆ เสีย ไม่อาจนำกามรสทั้งปวงมา คือไม่สามารถนำมา
ซึ่งกามรสทั้งปวง กล่าวคือความสุขในฌานทั้งปวงแก่พระราชาใด
ทรัพย์สมบัติในแผ่นดินแม้ทั้งสิ้นก็จักไม่นำความสุขมาให้แก่พระราชา
นั้น เพราะธรรมดาความสุข ย่อมไม่มีแก่ผู้เดือดร้อนเพราะกาม
ส่วนพระราชาผู้สามารถนำมาซึ่งความสุขในฌานอันเว้นจากความกระ-
วนกระวาย เพราะกิเลส ย่อมเป็นผู้มีความสุข. ส่วนเนื้อความของ
บาลีในคาถานี้ที่ว่า ยสฺสตฺถา นาลเมโก ดังนี้ก็มีนั้น ไม่ปรากฏแล.
พระเจ้าธังกราชได้สดับคาถาทั้ง ๔ คาถา ด้วยประการดังนี้แล้ว
จึงขอษมาพระโพธิสัตว์แล้วมอบราชสมบัติคืน ได้เสด็จหลีกไปแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 749
ฝ่ายพระมหาสัตว์มอบราชสมบัติแก่อำมาตย์ทั้งหลาย แล้วไปยังหิม-
วันตประเทศ บวชเป็นฤาษีมีฌานไม่เสื่อม ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็น
ที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้าธังกราชในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระ-
อานนท์ ส่วนพระเจ้าฆฏราช ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาธังกชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 750
๖. การันทิยชาดก
ว่าด้วยการทำที่เหลือวิสัย
[๗๒๗] ท่านผู้เดียวรีบร้อน ยกเอาก้อนหินใหญ่
กลิ้งลงไปในซอกเขาในป่า ดูก่อนการันทิยะ
จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยการทิ้ง
ก้อนหินลงในซอกเขานี้เล่าหนอ.
[๗๒๘] ข้าพเจ้าเกลี่ยหินก้อนเล็กก้อนใหญ่ลง
จักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ซึ่งมีมหาสมุทรสี่เป็น
ขอบเขต ให้ราบเรียบเพียงดังฝ่ามือ เพราะ
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ทิ้งหินลงในซอกเขา.
[๗๒๙] ดูก่อนการันทิยะ เราสำคัญว่า มนุษย์
คนเดียวย่อมไม่สามารถจะทำแผ่นดินให้ราบ
เรียบดังฝ่ามือได้ ท่านพยายามจะทำซอกเขา
นี้ให้เต็มขึ้น ท่านก็จักละชีวโลกนี้ไปเสีย
เปล่าเป็นแน่.
[๗๓๐] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หากว่ามนุษย์
คนเดียวไม่สามารถจะทำแผ่นดินใหญ่นี้ให้
ราบเรียบได้ฉันใด ท่านก็จักนำมนุษย์เหล่านี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 751
ผู้มีทิฐิต่าง ๆ กันมาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๗๓๑] ดูก่อนการันทิยะ. ท่านได้บอกความจริง
โดยย่อแก่เรา ข้อนี้เป็นอย่างนั้น แผ่นคนนี้
มนุษย์ไม่สามารถจะทำให้ราบเรียบได้ฉันใด
เราก็ไม่อาจจะทำให้มนุษย์ทั้งหลายมาอยู่ใน
อำนาจของเราได้ ฉันนั้น.
จบ การันทิยชาดกที่ ๖
อรรถกถาการันทิยชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระธรรมเสนาบดี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอโก
อรญฺเ ดังนี้.
ได้ยินว่า พระเถระให้ศีลแก่คนทุศีลทั้งหลาย มีพรานเนื้อและ
คนจับปลาเป็นต้น ที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งท่านได้พบได้เห็นเท่านั้นว่า ท่าน
ทั้งหลายจงถือศีล ท่านทั้งหลายจงถือศีล. ชนเหล่านั้น มีความเคารพ
ในพระเถระ ไม่อาจขัดขืนถ้อยคำของพระเถระนั้น จึงพากันรับศีล
ก็แหละครั้นรับแล้วก็ไม่รักษา คงกระทำการงานของตน ๆ อยู่อย่างเดิม
พระเถระเรียกสัทธิวิหาริกทั้งหลายของตนมาแล้วกล่าวว่า อาวุโสทั้ง
หลายคนเหล่านี้รับศีลในสำนักของเรา ก็แหละครั้นรับแล้วก็ไม่รักษา.
สัทธิวิหาริกทั้งหลายกล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านให้ศีลโดยความไม่พอใจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 752
ของชนเหล่านั้น พวกเขาไม่อาจขัดขืนถ้อยคำของท่านจึงรับเอา ตั้งแต่
นี้ไป ขอท่านอย่าได้ให้ศีลแก่ชนทั้งหลายเห็นปานนี้. พระเถระไม่
พอใจต่อถ้อยคำของสัทธิวิหาริก. ภิกษุทั้งหลายได้สดับเรื่องราว
นั้นแล้วก็สนทนากันขึ้นในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่า
พระสารีบุตรให้ศีลแก่คนที่ท่านได้ประสบพบเห็นเท่านั้น. พระศาสดา
เสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนา
กันเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบว่า เรื่อง
ชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น
แม้ในกาลก่อน พระสารีบุตรนี้ก็ให้ศีลแก่คนที่ตนได้ประสบพบเห็น
ซึ่งไม่ขอศีลเลย แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว ได้เป็น
อันเตวาสิกผู้ใหญ่ของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักกศิลา ชื่อว่า
การันทิยะ. ครั้งนั้น อาจารย์นั้นให้ศีลแก่คนที่ได้ประสบพบเห็นมีชาว
ประมงเป็นต้นผู้ไม่ขอศีลเลยว่า ท่านทั้งหลายจงรับศีล ท่านทั้งหลาย
จงรับศีล ดังนี้. ชนเหล่านั้นแม้รับเอาแล้วก็ไม่รักษา. อาจารย์จึงบอก
ความนั้นแก่อันเตวาสิกทั้งหลาย อันเตวาสิกทั้งหลายจึงพากัน กล่าวว่า
ท่านผู้เจริญ ท่านให้ศีลโดยความไม่ชอบใจของชนเหล่านั้น เพราะ
ฉะนั้น พวกเขาจึงพากันทำลายเสีย จำเดิมแต่บัดนี้ไป ท่านพึงให้
เฉพาะแก่คนที่ขอเท่านั้น อย่าให้แก่คนที่ไม่ขอ. อาจารย์นั้นได้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 753
ผู้วิปฏิสารเดือดร้อนใจ. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ยังคงให้ศีลแก่พวกคน
ที่ตนได้ประสบพบเห็นอยู่นั่นแหละ. อยู่มาวันหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลาย
มาจากบ้านแห่งหนึ่ง เชิญอาจารย์ไปเพื่อการสวดของพราหมณ์.
อาจารย์นั้นเรียกการันทิยมาณพมาแล้วกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ ฉันจะไม่
ไป เธอจงพามาณพ ๕๐๐ นี้ไปในที่สวดนั้น รับการสวดแล้ว จง
นำเอาส่วนที่เขาให้เรามา ดังนี้ แล้วจึงส่งไป. การันทิยมาณพนั้นไป
แล้วกลับมา ในระหว่างทาง เห็นซอกเขาแห่งหนึ่งจึงคิดว่า อาจารย์
ของพวกเราให้ศีลแก่คนที่ได้ประสบพบเห็น ซึ่งไม่ขอศีลเลย จำเดิม
แต่บัดนี้ไป เราจะทำอาจารย์นั้นได้ให้ศีลเฉพาะแก่พวกคนที่ขอเท่านั้น
เมื่อพวกมาณพนั้นกำลังนั่งสบายอยู่ เขาจึงลุกขึ้นไปยกศิลาก้อนใหญ่
โยนลงไปในซอกเขา โยนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่นั่นแหละ. ลำดับนั้น
มาณพเหล่านั้นจึงลุกขึ้นพูดกะการันทิยมาณพนั้นว่า อาจารย์ ท่านทำ
อะไร. การันทิยมาณพนั้นไม่กล่าวคำอะไร ๆ. มาณพเหล่านั้นจึงรีบไป
บอกอาจารย์. อาจารย์มาแล้ว เมื่อจะเจรจากับการันทิยมาณพนั้น
จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ท่านผู้เดียวรีบร้อน ยกก้อนหินใหญ่
กลิ้งลงไปในซอกเขาในป่า ดูก่อนการันทิยะ
จะประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยการทิ้งก้อน
หินลงในซอกเขาเล่านี้หนอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนุ ตวยิธตฺโถ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 754
ประโยชน์อะไรหนอ ด้วยการที่ท่านทิ้งศิลาลงในซอกเขานี้.
การันทิยมาณพนั้นได้ฟังคำของอาจารย์นั้นแล้ว ประสงค์จะ
ท้วงอาจารย์ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ข้าพเจ้าเกลี่ยหินก้อนเล็กก้อนใหญ่ลง
จักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ ซึ่งมีมหาสมุทรสี่
เป็นขอบเขต ให้ราบเรียบเพียงดังฝ่ามือ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ทิ้งหินลงในซอก
เขา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อห หิม ความว่า ก็ข้าพเจ้า
เกลี่ยหินก้อนเล็กก้อนใหญ่ลง จักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ ให้ราบ
เรียบ. บทว่า สาครเสวิตนฺต ได้แก่ อันสาครทะเลใหญ่บรรจบแล้ว
มีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นที่สุด. บทว่า ยถาปิ ปาณิ ความว่า เราจัก
กระทำให้ราบเสมอดังฝ่ามือ. บทว่า วิกีริย แปลว่า เกลี่ยแล้ว. บทว่า
สานูนิ จ ปพฺพตานิ ได้แก่ ภูเขาดินและภูเขาหิน.
พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ดูก่อนการันทิยะ เราสำคัญว่า มนุษย์
คนเดียวย่อมไม่สามารถจะทำแผ่นดินให้ราบ
เรียบดังฝ่ามือได้ ท่านพยายามจะทำซอกเขา
นี้ให้เต็มขึ้น ท่านก็จักละชีวโลกนี้ไปเสีย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 755
เปล่าเป็นแน่.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กรณายเมยเมโก นี้ ท่านแสดง
ว่า คนผู้เดียวไม่อาจกระทำได้ คือไม่สามารถจะกระทำได้. บทว่า
มญฺามิมญฺเว ทรึ ชิคึส ความว่า เราย่อมสำคัญว่า แผ่นดิน
จงยกไว้ก่อนเถิด ซอกเขานี้เท่านั้น ท่านพยายามเพื่อต้องการจะทำให้
เต็มขึ้น เที่ยวแสวงหาหินทั้งหลายมา คิดค้นหาอุบายอยู่นั่นแล. จะ
ละคือจักละชีวโลกนี้ไป อธิบายว่า จักตายเสียเปล่า.
มาณพได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หากว่ามนุษย์คน
เดียวไม่สามารถจะทำแผ่นดินใหญ่นี้ให้ราบ
เรียบได้ ฉันใด ท่านก็จักนำมนุษย์เหล่านี้ผู้มี
ทิฏฐิต่าง ๆ กันมาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
คำที่เป็นคาถานั้นมีความว่า ถ้ามนุษย์คนเดียวนี้ ไม่อาจ คือ
ไม่สามารถทำแผ่นดิน คือ ปฐพีใหญ่นี้ให้ราบเรียบ ฉันใด ท่านก็จัก
นำมนุษย์ทุศีลผู้มีทิฏฐิต่างกันมาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน คือท่านกล่าว
กะมนุษย์เหล่านั้นว่า พวกท่านจงรับศีล จักนำมาสู่อำนาจของตนไม่ได้
ฉันนั้น ด้วยว่าคนที่เป็นบัณฑิตเท่านั้น ย่อมติเตียนปาณาติบาตว่า
เป็นอกุศล ส่วนคนพาลไม่เชื่อสังสาระ เป็นผู้มีความสำคัญในข้อ
นั้นว่าเป็นกุศล ท่านจักนำคนเหล่านั้นมาได้อย่างไร เพราะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 756
ท่านอย่าให้ศีลแก่คนที่ได้ประสบพบเห็น จงให้แก่คนที่ขอเท่านั้น.
อาจารย์ได้ฟังดังนั้นคิดว่า การันทิยะพูดถูกต้อง บัดนี้ เรา
จักไม่กระทำอย่างนั้น ครั้นรู้ว่าตนผิดแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า :-
ดูก่อนการันทิยะ ท่านได้บอกความ
จริงโดยย่อแก่เรา ข้อนี้เป็นอย่างนั้นจริง
แผ่นดินนั้นมนุษย์ไม่สามารถจะทำให้ราบ
เรียบได้ ฉันใด เราก็ไม่อาจทำมนุษย์ทั้งหลาย
ให้มาอยู่ในอำนาจของเราได้ ฉันนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมาย ตัดเป็น สมา อย.
อาจารย์ได้ทำความชมเชยมาณพอย่างนี้. ฝ่ายมาณพนั้นท้วง
อาจารย์นั้นแล้ว ตนเองก็นำท่านไปยังเรือน
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วน
การันทิยบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาการันทิยชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 757
๗. ลฏุกิกชาดก
คติของคนมีเวร
[๗๓๒] ดิฉันขอไหว้พระยาช้างผู้มีกำลังเสื่อม
ในกาลที่มีอายุได้หกสิบปีแล้ว ผู้อยู่ในป่า
เป็นเจ้าโขลง เพรียบพร้อมด้วยบริวารยศนั้น
ดิฉันขอทำอัญชลีท่านด้วยปีกทั้งสอง ขอ
ท่านอย่าได้ฆ่าลูกน้อย ๆ ของฉันผู้มีกำลั
ทุรพลเสียเลย.
[๗๓๓] ดิฉันขอไหว้พระยาช้างผู้เที่ยวไปตัว-
เดียว ผู้อยู่ในป่า เที่ยวหาอาการกินตามเชิง
ภูเขา ดิฉันขอทำอัญชลีท่านด้วยปีกทั้งสอง
ขอท่านอย่าได้ฆ่าลูกน้อย ๆ ของดิฉันผู้มีกำลัง
ทุรพลเสียเลย.
[๗๓๔] แน่ะนางนกไส้ เราจักฆ่าลูกน้อยของ
เจ้าเสีย เจ้ามีกำลังน้อยจักทำอะไรเราได้
เราจะขยี้นกไส้อย่างเจ้าตั้งแสนตัวให้ละเอียด
ไปด้วยเท้าข้างซ้าย.
[๗๓๕] กิจที่จะพึงทำด้วยกำลังกายย่อมสำเร็จ
ไม่ได้ในที่ทั้งปวง เพราะกำลังกายของคน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 758
พาล ย่อมมีเพื่อฆ่าคนอื่น แน่ะพระยาช้าง
ท่านผู้ใดฆ่าลูกน้อย ๆ ของเราผู้มีกำลังทุรพล
เราจักทำสิ่งที่ไม่ใช่ความเจริญให้แก่ท่านผู้
นั้น.
[๗๓๖] ท่านจงดูกา นางนกไส้ กบและ
แมลงวันหัวเขียว สัตว์ทั้งสี่เหล่านี้ได้ร่วมใจ
กันฆ่าช้างเสียได้ ท่านจงเห็นคติแห่งเวร
ของตนมีเวรทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล ท่าน
ทั้งหลายอย่าได้กระทำเวรกับใคร ๆ ถึงจะไม่
เป็นที่รักใคร่กันเลย.
จบ ลฏุกิกชาดกที่ ๗
อรรถกถาลฏุกิกชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภ
พระเทวทัต จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า วนฺทามิ ต
กุญฺชร สฏฺิหาย ดังนี้ :-
ได้ยินว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรง-
ธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตเป็นคนกักขฬะ
หยาบช้า สาหัส พระเทวทัตนั้น ไม่มีแม้แต่ความกรุณาในหมู่สัตว์.
พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวก
เธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 759
ทราบว่า เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตนี้ก็เป็นผู้ไม่มีความ
กรุณาเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดช้าง เจริญวัยแล้ว
มีร่างกายใหญ่น่าเลื่อมในเป็นจ่าโขลงมีช้างแปดหมื่นเป็นบริวาร อยู่ใน
หิมวันตประเทศ. ครั้งนั้น นางนกไส้ตัวหนึ่งตกฟองให้ในที่เป็นที่
เที่ยวไปของพวกช้าง. ลูกนกทั้งหลายทำลายฟองไข่ที่แก่ ๆ ออกมา
เมื่อลูกนกเหล่านั้น. ปีกยังไม่งอกไม่สามารถจะบินได้เลย พระ-
มหาสัตว์อันช้างแปดหมื่นห้อมล้อม เที่ยวหาอาหารไปถึงประเทศ
ถิ่นนั้น. นางนกไส้เห็นดังนั้นจึงคิดว่า พระยาช้างนี้จักเหยียบย่ำ
ลูกทั้งหลายของเราตาย เอาเถอะ เราจักขอการอารักขาอันประกอบ
ด้วยธรรมกะพระยาช้างนั้น เพื่อจะป้องกันลูกน้อยทั้งหลายของเรา.
ครั้นคิดแล้ว นางนกนั้นจึงประคองปีกทั้งสองข้างเข้าด้วยกันแล้วยืน
อยู่ข้างหน้าพระยาช้างนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าพเจ้าขอไหว้พระยาช้างผู้มีกำลัง
เสื่อมโดยกาลที่มีอายุได้ ๖๐ ปี ผู้อยู่ในป่า
เป็นเจ้าโขลง เพรียบพร้อมด้วยบริวารยศนั้น
ข้าพเจ้าขอทำอัญชลีท่านด้วยปีกทั้งสอง ขอ
ท่านอย่าได้ฆ่าลูกน้อย ๆ ของข้าพเจ้าผู้ยังมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 760
กำลังทุรพลอยู่เลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฏฺิหายน ได้แก่ ผู้มีกำลังกาย
เสื่อมโดยเวลามีอายุ ๖๐ ปี. บทว่า ยสสฺสึ ได้แก่ ผู้เพรียบพร้อม
ด้วยบริวาร. บทว่า ปกฺเขหิ ต อญฺชลิก ความว่า ข้าพเจ้าขอ
กระทำอัญชลีท่านด้วยปีกทั้งสอง.
พระมหาสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนนางนกไส้ เจ้าอย่าได้คิดเสียใจ
เลย เราจักรักษาบุตรน้อย ๆ ของเจ้า แล้วจึงยืนคล่อมอยู่เบื้องบน
ลูกนกทั้งหลาย เมื่อช้างแปดหมื่นเชือกผ่านไปแล้วจึงเรียกนางนกไส้
มาพูดว่า ดูก่อนนางนกไส้ มีช้างเชือกหนึ่งซึ่งมีปกติเที่ยวไปผู้เดียว
จะมาข้างหลังพวกเรา ข้างนั้นจักไม่กระทำตามคำของเราทั้งหลาย
เมื่อช้างนั้นมาถึง เจ้าพึงอ้อนวอนช้างแม้นั้น กระทำความปลอดภัย
แก่ลูกน้อยทั้งหลาย ดังนี้แล้วหลีกไป. ฝ่ายนางนกไส้นั้นก็กระทำการ
ต้อนรับช้างนั้นเอาปีกทั้งสองกระทำอัญชลี แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ข้าพเจ้าขอไหว้พระยาช้างผู้เที่ยวไป
ผู้เดียว ผู้อยู่ในป่า เที่ยวหาอาหารกินตาม
เชิงเขา ข้าพเจ้าขอทำอัญชลีท่านด้วยปีก
ทั้งสอง ขอท่านอย่าได้ฆ่าลูกน้อย ๆ ของ
ข้าพเจ้า ซึ่งยังมีกำลังทุรพลอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพตสานุโคจร ความว่า
ผู้หาอาหารที่ภูเขาหินทึบและที่ภูเขาดินร่วน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 761
พระยาช้างนั้นได้ฟังคำของนางนกไส้นั้นแล้ว จึงกล่าวคาถา
ที่ ๓ ว่า :-
แน่ะนางนกไส้ เราจะฆ่าลูกน้อยของ
เจ้าเสีย เจ้ามีกำลังน้อยจักทำอะไรเราได้
เราจะขยี้นกไส้อย่างเจ้าตั้งแสนตัวให้ละเอียด
ด้วยเท้าข้างซ้าย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วธิสฺสามิ เต ความว่า พระยา
ช้างกล่าวว่า เพราะเหตุไร เจ้าจึงวางลูกน้อยทั้งหลายไว้ในทางเป็น
ที่เที่ยวไปของเรา เพราะเหตุที่เจ้าวางไว้ ฉะนั้นเราจึงจักฆ่าลูกน้อย
ทั้งหลายของเจ้า. บทว่า กึ เม ตุว กาหสิ ความว่า เจ้าเป็น
ผู้ทุรพลจักกระทำอะไรแก่เราผู้มีเรี่ยวแรงมากมาย. บทว่า โปถเปยฺย๑
ความว่า แม้เราจะพึงทำนางนกไส้เช่นเจ้าตั้งแสนตัวให้แหลกละเอียด
ด้วยเท้าซ้าย ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงเท้าขวา.
ก็แล ครั้นช้างนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ทำลูกน้อยของนางนก
ไส้นั้นให้แหลกละเอียดด้วยเท้า แล้วทำให้ลอยไปด้วยน้ำมูตร ร้อง
บันลือเสียงแล้วก็หลีกไป. นางนกไส้จับอยู่ที่กิ่งไม้จึงกล่าวว่า แน่ะช้าง
บัดนี้ เจ้าจงบันลือไปก่อน ต่อล่วงไป ๒-๓ วัน เจ้าจักเห็นการ
กระทำของเรา เจ้าย่อมไม่รู้ว่ากำลังความรู้ยิ่งใหญ่กว่ากำลังกายข้อนั้น
จงยกให้เรา เราจักให้เจ้ารู้กำลังความรู้นั้น เมื่อจะคุกคามข้างนั้น
จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
๑. บาลี เป็น โปถเยฺย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 762
กิจที่จะพึงทำด้วยกำลังกายย่อมสำเร็จ
ไม่ได้ในที่ทั้งปวง เพราะกำลังกายของตน
พาล ย่อมมีเพื่อฆ่าคนอื่น แน่ะพระยาช้าง
ท่านผู้ใดฆ่าลูกน้อย ๆ ของเราผู้มีกำลังทุรพล
เราจักทำสิ่งที่ไม่ใช่ความเจริญให้แก่ท่านผู้
นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พเลน ได้แก่ กำลังกาย. บทว่า
อนตฺถ ได้แก่ ความไม่เจริญ. บทว่า โย เม ความว่า ท่านผู้ใด
ฆ่าคือพิฆาตลูกน้อย ๆ ผู้ยังทุรพลของเรา.
นางนกไส้นั้นครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงอุปัฏฐากกาตัวหนึ่ง
อยู่ ๒ - ๓ วัน อันกานั้นยินดีแล้วจึงกล่าวว่า เราจะกระทำอะไร
ให้แก่ท่าน จึงกล่าวว่า นาย กิจอย่างอื่นที่ท่านจะพึงทำแก่ข้าพเจ้าไม่มี
แต่ข้าพเจ้าหวังให้ท่านเอาจะงอยปากประหารนัยน์ตาทั้งสองข้างของช้าง
ที่มีปกติเที่ยวไปผู้เดียวเชือกหนึ่งให้แตก. นางนกไส้นั้นอันกานั้นรับ
คำว่า ได้ จึงไปอุปัฏฐากแมลงวันหัวเขียวตัวหนึ่ง อันแมลงวัน
หัวเขียวแม้นั้นก็กล่าวว่า เราจะทำอะไรให้แก่ท่าน จึงกล่าวว่า เมื่อ
นัยน์ตาทั้งสองข้างของช้างที่มีปกติเที่ยวไปผู้เดียว แตกไปเพราะเหตุ
นี้แล้ว ข้าพเจ้าปรารถนาให้ท่านหยอดไข่ขังลงในนัยน์ตาทั้งสองข้าง
นั้น เมื่อแมลงวันหัวเขียวแม้นั้นกล่าวว่า ได้ จึงไปอุปัฏฐากกบตัวหนึ่ง
อันกบนั้นกล่าวว่า เราจะทำอะไรให้แก่ท่าน จึงกล่าวว่า ในกาลใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 763
ช้างตัวหนึ่งที่มีปกติเที่ยวไปผู้เดียว เป็นช้างตาบอดแล้วเที่ยวแสวงหา
น้ำดื่ม ในกาลนั้น ท่านพึงเกาะอยู่ที่ยอดเขาแล้วส่งเสียงร้อง เมื่อ
ช้างนั้นขึ้นถึงยอดเขา พึงลงมาส่งเสียงร้องอยู่ที่เหว ข้าพเจ้าหวัง
การกระทำมีประมาณเท่านี้จากสำนักของท่าน. กบนั้นได้ฟังคำของ
นางนกไส้นั้นแล้ว จึงรับคำว่า ได้. อยู่มาวันหนึ่งกาเอาจะงอยปาก
ทำลายตาทั้งสองข้างของช้างแตกแล้ว. แมลงวันจึงหยอดไข่ขังลงไป
ที่นัยน์ตา. ช้างนั้นถูกตัวหนอนทั้งหลายชอนไชอยู่ ได้รับทุกขเวทนา
อยากจะดื่มน้ำเป็นกำลัง จึงเที่ยวแสวงหาน้ำดื่ม. ในกาลนั้น กบจึง
เกาะอยู่บนยอดเขาส่งเสียงร้อง ช้างคิดว่า น้ำดื่มจักมี ณ ที่นี้ จึงขึ้น
ไปยังภูเขา. ลำดับนั้น กบจึงลงมาเกาะอยู่ที่เหวส่งเสียงร้อง. ช้าง
คิดว่า น้ำดื่มจักมี จึงบ่ายหน้าไปทางเหว ได้ลื่นพลัดตกลงไปที่
เชิงเขาถึงสิ้นชีวิต. นางนกไส้รู้ว่าช้างนั้นตายแล้ว จึงร่าเริงดีใจว่า
เราเห็นหลังปัจจามิตรแล้ว จึงเดินไป ๆ มา ๆ บนร่างของช้างนั้น
แล้วก็ตามยถากรรม.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าเวร ไม่ควร
ทำกับใคร ๆ สัตว์ทั้ง ๔ เหล่านี้ ร่วมกันแล้ว ทำช้างผู้ถึงพร้อมด้วย
กำลัง ให้ถึงสิ้นชีวิตได้ แล้วตรัสอภิสัมพุทธคำถานี้ว่า :-
ท่านจงดูกา นางนกไส้ กบ และ
แมลงวันหัวเขียว สัตว์ทั้ง ๔ เหล่านี้ได้ร่วม
ใจกันฆ่าช้างเสียได้ ท่านทั้งหลายจงเห็นคติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 764
แห่งเวรของตนผู้มีเวรทั้งหลาย เพราะเหตุ
นั้นแล ท่านทั้งหลายอย่าพึงกระทำเวรกับ
ใคร ๆ แม้ผู้ไม่เป็นที่รักใคร่เลย.
ครั้นตรัสแล้ว จึงทรงประชุมชาดก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺส นี้ เป็นคำเรียกซึ่งไม่
กำหนดแน่นอนลงไป. แต่เพราะตรัสหมายเอาภิกษุทั้งหลาย จึงเป็น
อันตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทั้งหลายจงเห็น. บทว่า เอเต
ได้แก่ สัตว์ทั้ง ๔ ได้รวมกัน. บทว่า อฆาเตสุ ได้แก่ ฆ่าช้างนั้น.
บทว่า ปสฺส เวรสฺส เวริน ความว่า ท่านทั้งหลายจงเห็น
คติแห่งเวรของคนที่มีเวรกัน.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า ช้างตัวที่มีปกติเที่ยวไปผู้เดียว ในกาลนั้น ได้เป็น
พระเทวทัต ส่วนช้างจ่าโขลงในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาลฏุกิกชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 765
๘. จุลลธรรมปาลชาดก
ความรักของแม่ที่มีต่อลูก
[๗๓๗] หม่อมฉันผู้เดียวที่ตัดความเจริญ กระทำ
ความผิดต่อพระเจ้ามหาปตาปะ ข้าแต่สมมติ-
เทพ ขอพระองค์ได้ทรงโปรดปล่อยธรรม-
ปาลกุมารนี้เสียเถิด โปรดรับสั่งให้ตัดมือของ
หม่อมฉันเถิด.
[๗๓๘] หม่อมฉันผู้เดียวที่ตัดความเจริญ กระทำ
ความผิดต่อพระเจ้ามหาปตาปะ ข้าแต่สมมติ-
เทพ ขอพระองค์ได้ทรงโปรดปล่อยธรรม.
ปาลกุมารนี้เสียเถิด โปรดรับสั่งให้ตัดเท้า
ของหม่อมฉันเถิด.
[๗๓๙] หม่อมฉันผู้เดียวที่ตัดความเจริญ กระทำ
ความผิดต่อพระเจ้ามหาปตาปะ ข้าแต่สมมติ-
เทพ ขอพระองค์ได้ทรงโปรดปล่อยธรรม.
ปาลกุมารนี้เสียเถิด โปรดรับสั่งให้ตัดศีรษะ
ของหม่อมฉันเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 766
[๗๔๐] ใคร ๆ ผู้เป็นมิตรและอำมาตย์ของพระ-
ราชานี้ ที่มีใจดี คงจะไม่มีแน่นอน ผู้ที่จะ
ทูลห้ามพระราชาว่า อย่าทรงปลงพระชนม์
พระราชบุตรซึ่งเกิดแต่พระอุระเสียเลย ก็
ไม่มี.
[๗๔๑] ใคร ๆ ผู้เป็นมิตรและพระญาติของพระ-
ราชานี้ ที่มีใจดี คงจะไม่มีแน่นอน ผู้ที่ห้าม
พระราชาว่า อย่าทรงปลงพระชนม์พระราช-
บุตรที่เกิดจากพระองค์เสียเลย ก็ไม่มี.
[๗๔๒] แขนของธรรมปาลกุมารผู้เป็นทายาท
แห่งแผ่นดิน อันลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์แดง
มาขาดไปเสีย ข้าแต่สมมติเทพ ชีวิตของ
หม่อมฉันก็คงจะดับไป.
จบ จุลลธรรมปาลชาดกที่ ๘
อรรถกถาจุลลธรรมปาลชาดกที่ ๘
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภ
การพยายามของพระเทวทัต เพื่อจะปลงพระชนม์พระองค์ จึงตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อหเมว ทูสิยา ภูนหตา ดังนี้.
ในชาดกอื่น ๆ พระเทวทัตไม่ได้อาจเพื่อจะทำ แม้มาตรว่าความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 767
สะดุ้งแก่พระโพธิสัตว์. ส่วนในจุลลธรรมปาลชาดกนี้ พระเทวทัตให้.
ตัดมือ เท้า และศีรษะและให้ทำกรรมกรณ์ชื่ออสิมาลกะ๑ ในเวลาที่
พระโพธิสัตว์มีอายุ ๗ เดือน. ในทัททรชาดก พระเทวทัตหักคอให้
ตายแล้วปิ้งเนื้อบนเตากิน. ในขันติวาทีชาดก ให้เอาแช่หวายสองเส้น
เฆี่ยนพันครั้ง ให้ตัดมือ เท้า หู และจมูก แล้วจับที่ชฎาดึงมาให้
นอนหงาย กระทืบที่อกแล้วไป. พระโพธิสัตว์ถึงความสิ้นชีวิต ใน
วันนั้นเอง. ในจุลลนันทิกชาดกก็ดี ในมหากปิชาดกก็ดี ได้แต่ฆ่า
ให้ตายเท่านั้น. พระเทวทัตนี้ พยายามปลงพระชนม์อยู่ตลอดกาลนาน
ด้วยประการอย่างนี้ ในครั้งพุทธกาล ได้พยายามอยู่เหมือนกัน อยู่
มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโส
ทั้งหลาย พระเทวทัตกระทำอุบายเพื่อปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าเท่า
นั้น พระเทวทัตคิดว่า จักปลงพระชนม์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึง
ประกอบนายขมังธนูกลิ้งศิลา และให้ปล่อยช้างนาฬาคิรี. พระศาสดา
เสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนาด้วย
เรื่องอะไรในบัดนี้ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบว่า เรื่องชื่อ
นี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้
ในกาลก่อน พระเทวทัตก็พยายามฆ่าเราเหมือนกัน แต่ว่า ในบัดนี้
พระเทวทัตไม่อาจทำแม้สักว่าความสะดุ้งตกใจ ในกาลก่อน ในเวลา
ที่เราเป็นธรรมปาลกุมาร พระเทวทัตทำเราผู้เป็นบุตรของตนให้ถึง
๑. กรรมกรณ์ ชนิดโยนซากศพขึ้นบนอากาศแล้วรับด้วยปลายดาบ ในฎีกาว่า
เอาดาบสับให้เนื้อละเอียด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 768
ความสิ้นชีวิต แล้วให้ทำกรรมกรณ์ชื่อ อสิมาลกะ ครั้นตรัสแล้ว
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้ามหาปตาปะ ครองราชสมบัติอยู่ใน
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระนางจันทาเทวี
อัครมเหสีของพระเจ้ามหาปตาปราชนั้น พระญาติทั้งหลายขนานนาม
พระโพธิสัตว์นั้นว่า ธรรมปาละ. ในเวลาที่ธรรมปาลกุมารนั้นมีอายุ
ได้ ๗ เดือน พระมารดาให้สรงสนานธรรมปาลกุมารนั่นนั้น โดยน้ำ
ผสมด้วยของหอม แต่งพระองค์แล้วประทับนั่งให้เล่นอยู่. พระราชา
เสด็จมายังสถานที่พระเทวีนั้นประทับอยู่. พระเทวีนั้นให้พระโอรส
เล่นอยู่ เป็นผู้ทรงเปี่ยมด้วยความสิเนหา แม้ได้เห็นพระราชาก็
มิเสด็จลุกขึ้นรับ. พระราชานั้นทรงดำริว่า เดี๋ยวนี้ นางจันทานี้
กระทำมานะถือตัวเพราะอาศัยบุตรก่อน ไม่สำคัญเราในเรื่องไร ๆ ก็
เมื่อบุตรเติบโตขึ้น นางจักไม่กระทำความสำคัญเราว่าเป็นมนุษย์ก็ได้
เราจักฆ่าเสียในบัดนี้แหละ. ท้าวเธอจึงเสด็จกลับไปประทับนั่งบน
ราชอาสน์ แล้วรับสั่งให้เรียกเพชฌฆาตมา โดยพระโองการว่า เพชฌ-
ฆาตจงมาโดยพิธีธรรมเนียมของตน. เพชฌฆาตนั้นจึงนุ่งห่มผ้าย้อม
น้ำฝาด ทัดทรงดอกไม้แดง แบกขวาน ถือท่อนไม้สำหรับวางพาดมือ
และเท้า มีปุ่มเป็นที่รองรับมาถวายบังคมพระราชากราบทูลว่า เทวะ
ข้าพระพุทธเจ้าจะกระทำอะไร ครั้นกราบทูลแล้ว ได้ยืนคอยรับ
พระบัญชาอยู่. พระราชารับสั่งว่า ท่านจงเข้าไปยังห้องอันมีสิริ
ของพระเทวี แล้วนำธรรมปาลกุมารมา. ฝ่ายพระเทวีทรงทราบว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 769
พระราชาทรงกริ้วแล้วเสด็จกลับไป จึงให้พระโพธิสัตว์นอนแนบพระ-
อุระ ประทับนั่งทรงพระกรรแสงอยู่. นายเพชฌฆาตมาถึงเอามือตบ
พระปฤษฎางค์พระเทวีนั้นแล้ว ชิงพระกุมารไปจากพระหัตถ์ พามายัง
สำนักของพระราชาแล้วกราบทูลว่า เทวะ ข้าพระพุทธเจ้าจะกระทำ
อะไร. พระราชารับสั่งว่า ท่านจงให้นำเอาแผ่นกระดานมาแล้วให้
เรียบลงข้างหน้า แล้วให้กุมารนั้นนอนบนแผ่นกระดานนี้. นาย
เพชฌฆาตนั้นได้กระทำตามรับสั่งอย่างนั้น. พระนางจันทาเทวีทรง
ปริเทวนาการร่ำไรมาข้างหลังพระโอรสนั่นแล. เพชฌฆาตกราบทูล
อีกว่า เทวะ ข้าพระพุทธเจ้าจะกระทำอะไร. พระราชารับสั่งว่า จง
ตัดมือทั้งสองของธรรมปาลกุมาร. พระนางจันทาเทวีกราบทูลว่า ข้า
แต่มหาราช บุตรของหม่อมฉันเพิ่งมีอายุได้ ๗ เดือน ยังอ่อนอยู่ ไม่
รู้อะไร บุตรของหม่อมฉันนั้น ไม่มีโทษผิด ก็โทษผิดแม้จะยิ่งใหญ่ก็
ควรจะมีในหม่อมฉัน เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงรับสั่งให้ตัดมือทั้ง
สองของหม่อมฉันเถิด เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ จึงกล่าวคาถา
ที่ ๑ ว่า :-
หม่อมฉันผู้เดียวที่ตัดความเจริญ กระทำ
ความผิดต่อพระเจ้ามหาปตาปะ ข้าแต่สมมติ-
เทพ ขอพระองค์ได้ทรงโปรดปล่อยธรรม-
ปาลกุมารนี้เสียเถิด โปรดรับสั่งให้ตัดมือทั้ง
สองของหม่อมฉันเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 770
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูสิยา ได้แก่ ผู้ทาให้เสียหาย
อธิบายว่า เห็นพระองค์แล้วไม่ลุกขึ้นรับ ชื่อว่าผู้กระทำผิด. บาลีว่า
ทูสิกา ดังนี้ก็มี เนื้อความก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ภูนหตา ได้แก่
ขจัดความเจริญ อธิบายว่า กำจัดความเจริญ. บทว่า รญฺโ พึง
ประกอบกับบทว่า ทูสิยา. ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า หม่อมฉันทำความ
ผิดต่อพระเจ้ามหาปตาปะ มิใช่กุมารนี้ เพราะฉะนั้น ขอพระองค์โปรด
ปลดปล่อยธรรมปาละ ผู้ยังอ่อนหาความผิดมิได้นี้เสียเถิด ก็ถ้าพระ-
องค์ประสงค์จะตัดมือทั้งสอง ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงตัดมือ
ทั้งสองของหม่อมฉัน ผู้กระทำผิด.
พระราชาทรงแลดูนายเพชฌฆาตๆ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติ-
เทพ ข้าพระองค์จะการทำอย่างไร. พระราชาตรัสว่า ท่านอย่าชักช้า
จงตัดมือทั้งสองเสีย. ขณะนั้น นายเพชฌฆาตถือขวานอันคมกล้า
ตัดมือทั้งสองของพระกุมารเหมือนตัดหน่อไม้อ่อนฉะนั้น. เมื่อนาย
เพชฌฆาตตัดมือทั้งสองอยู่ ธรรมปาลกุมารนั้น ไม่ร้องไห้ ไม่ร่ำไร
กระทำขันติและเมตตาให้เป็นปุเรจาริก อดกลั้นอยู่. ส่วนพระนาง-
จันทาเทวีถือเอาปลายมือที่ขาดใส่ไว้ในพก มีโลหิตไหลอาบพระองค์
ทรงเที่ยวปริเทวนาการอยู่. นายเพชฌฆาตทูลถามอีกว่า ข้าแต่สมมติ
เทพ ข้าพระองค์จะทำอะไร. พระราชาตรัสว่า จงตัดเท้าทั้งสองเสีย.
พระนางจันทาเทวีได้สดับดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 771
หม่อมฉันผู้เดียวที่ตัดความเจริญ กระทำ
ความผิดต่อพระเจ้ามหาปตาปะ ข้าแต่สมมติ-
เทพ ขอพระองค์ได้ทรงโปรดปล่อยธรรม-
ปาลกุมารนั้นเสียเถิด โปรดรับสั่งให้ตัดเท้า
ของหม่อมฉันเถิด.
อธิบายในคาถาที่ ๒ นั้น พึงทราบโดยนัยคาถาแรกนั่นแล.
ฝ่ายพระราชาทรงสั่งบังคับเพชฌฆาตอีก. นายเพชฌฆาตนั้น
ได้ตัดเท้าทั้งสองขาด. พระนางจันทาเทวีถือเอาปลายเท้าใส่ไว้ในพก
มีโลหิตโซมกาย ทรงร่ำไห้กราบทูลว่า ข้าแต่พระเจ้ามหาปตาปะผู้เป็น
พระสวามี ทารกชื่อว่ามีมือและเท้าอันพระองค์ให้ตัดแล้ว อันมารดา
จำต้องเลี้ยงดูมิใช่หรือ หม่อมฉันจักรับจ้างเลี้ยงบุตรของหม่อมฉัน ขอ
พระองค์จงประทานบุตรนั่นแก่หม่อมฉันเถิด. นายเพชฌฆาตกราบ-
ทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์กระทำตามพระราชอาชญาแล้ว
กิจของข้าพระองค์เสร็จแล้วหรือ ? พระราชาตรัสว่า ยังไม่เสร็จก่อน.
นายเพชฌฆาตกราบทูลว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพระองค์จะทำอะไร.
พระราชาตรัสว่า จงตัดศีรษะธรรมปาลกุมารนี้. ลำดับนั้น พระนาง-
จันทาเทวี จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
หม่อมฉันผู้เดียวที่ตัดความเจริญ กระทำ
ความผิดต่อพระเจ้ามหาปตาปะ ข้าแต่สมมติ-
เทพ ขอพระองค์ได้ทรงโปรดปล่อยธรรม-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 772
ปาลกุมารนี้เสียเถิด โปรดรับสั่งให้ตัดศีรษะ
ของหม่อมฉันเถิด.
ก็แหละครั้นตรัสแล้ว พระนางจึงน้อมศีรษะเข้าไป. เพชฌฆาต
กราบทูลถามพระราชาอีกว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์จะกระทำ
อะไร ? พระราชาตรัสว่า จงตัดศีรษะของธรรมปาลกุมารนั้นเสีย. นาย
เพชฌฆาตนั้นครั้นตัดศีรษะแล้ว จึงกราบทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ
ข้าพระองค์กระทำตามพระราชอาชญาแล้วหรือ. พระราชาตรัสว่า ยัง
ไม่ได้กระทำก่อน. นายเพชฌฆาตกราบทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพระองค์จะกระทำอะไรอีก ? พระราชาตรัสว่า ท่าน
จงเอาปลายดาบรับร่างธรรมปาลกุมารนั้น กระทำกรรมกรณ์ชื่อ อสิ-
มาลกะ. นายเพชฌฆาตนั้นจึงโยนร่างของธรรมปาลกุมารนั้นขึ้นไปใน
อากาศ แล้วเอาปลายดาบรับร่างของธรรมปาลกุมารนั้น กระทำกรรม
กรณ์ชื่อ อสิมาลกะ แล้วโปรยลงที่ท้องพระโรง. พระนางจันทาเทวีจึง
ใส่เนื้อของพระโพธิสัตว์ไว้ในพก ทรงร้องไห้คร่ำครวญได้กล่าวคาถา
เหล่านี้ว่า :-
ใครๆ ผู้เป็นมิตรและอามาตย์ของพระ-
ราชานั้น ที่มีใจดี คงจะไม่มีแน่นอน ผู้ที่จะ
ทูลห้ามพระราชาว่า อย่าทรงปลงพระชนม์
พระราชบุตรซึ่งเกิดแต่พระอุระเลย ก็ไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 773
ใคร ๆ ผู้เป็นมิตร และพระญาติของ
พระราชานั้น ที่มีใจดี คงจะไม่มีแน่นอน ผู้ที่
จะทูลห้ามพระราชาว่า อย่าทรงปลงพระชนม์
พระราชบุตรซึ่งเกิดแต่พระอุระเลย ก็ไม่มี.
แขนของธรรมปาลกุมารผู้เป็นทายาท
แห่งแผ่นดิน อันลูบไล้ด้วยแก่นจันทร์แดง
มาขาดไปเสีย ข้าแต่สมมติเทพ ชีวิตของ
หม่อมฉันก็คงจะดับไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตามจฺจา จ วิชฺชเร ความว่า
ใครๆ ผู้เป็นมิตรสนิทของพระราชานี้ หรืออำมาตย์ผู้ร่วมในกิจทั้งปวง
หรือผู้ที่ชื่อว่ามีใจดี เพราะมีหทัยอ่อนโยน จะไม่มีแน่นอน. บทว่า เย
น วทนฺติ ความว่า ชนเหล่าใดมาทันเวลา ไม่พูด คือห้ามพระราชา
นี้ว่า อย่าปลงพระชนม์พระปิโยรสของพระองค์ ชนเหล่านั้น เรา
เข้าใจว่า ไม่มีเลย. บทว่า าตี ในคาถาที่ ๒ ได้แก่ญาติหลายคน.
ก็พระนางจันทาเทวี ครั้นกล่าวคาถา ๒ คาถานี้แล้ว จึงกล่าว
คาถาที่ ๓ ว่า :-
พระพาหาทั้งสองของธรรมปาลกุมารผู้
เป็นทายาทแห่งแผ่นดิน อันลูบไล้ด้วยแก่น
จันทร์แดง มาขาดไป ข้าแต่สมมติเทพ ชีวิต
ของหม่อมฉันก็คงจะดับไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 774
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทายาทสฺส ปพฺยา ความว่า
พระนางจันทาเทวีรำพันคำมีอาทิอย่างนี้ว่า มือของทายาทแห่งแผ่นดิน
มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต อันเป็นของพระบิดา ซึ่งไล้ทาด้วย
แก่นจันทร์แดงขาดไป เท้าขาด ศีรษะขาดทั้งถูกลงกรรมกรณ์ชื่ออสิมา
ลกะ บัดนี้ พระองค์ได้ตัดวงศ์ของพระองค์เอง ดังนี้ จึงตรัสอย่างนั้น.
บทว่า ปาณา เม เทว รุชฺฌติ ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อ
หม่อมฉันไม่อาจสามารถกลั้นความโศกนี้ได้ ชีวิตคงจะดับไป.
เมื่อพระนางทรงร่ำไห้อยู่อย่างนั้น พระหทัยก็แตกไป เหมือน
ไม้ไผ่ถูกไฟไหม้อยู่อย่างนั้นฉะนั้น พระนางได้ถึงความสิ้นพระชนม์
ลง ณ ที่นั้นเอง. ฝ่ายพระราชาก็ไม่อาจดำรงอยู่บนบัลลังก์ได้ จึงตก
ลงไปที่ท้องพระโรง. พื้นที่อันเรียบสนิทแยกออกเป็นสองภาค. พระ-
เจ้ามหาปตาปะนั้นพลัดตกจากพื้นเรียบแม้นั้นถึงพื้นดิน. แต่นั้น แผ่น
ดินทึบหนาถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ไม่อาจรองรับโทษผิดของพระ-
ราชานั้นได้ จึงได้แยกให้ช่อง. เปลวไฟตั้งขึ้นจากอเวจีมหานรก หอบ
เอาพระเจ้ามหาปตาปะไปโยนลงในอเวจีมหานรก ประดุจหุ้มด้วยผ้า
กัมพลที่ตระกูลมอบให้ฉะนั้น. ส่วนพระนางจันทาเทวี และพระโพธิ-
สัตว์ อำมาตย์ทั้งหลายได้ปลงพระศพให้แล้ว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต พระ-
นางจันทาเทวี ได้เป็นพระมหาปชาบดีโคตมี ส่วนธรรมปาลกุมาร
ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาจุลลธรรมปาลชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 775
๙. สุวรรณมิคชาดก
ว่าด้วยเนื้อติดบ่วงนายพราน
[๗๔๓] ข้าแต่เนื้อผู้มีกำลังมาก ท่านจงพยายาม
ดึงบ่วงออก ข้าแต่ท่านผู้มีเท้าดุจทองคำ ท่าน
จงพยายามคือบ่วงที่ติดแน่นให้ขาดเถิด ฉัน
ผู้เดียวจะไม่พึงยินดีอยู่ในป่า.
[๗๔๔] ฉันพยายามดึงอยู่ แต่ไม่สามารถจะ
ทำบ่วงให้ขาดได้ ฉันเอาเท้าตะกุยแผ่นดิน
ด้วยกำลังแรง บ่วงติดแน่นเหลือเกิน จึง
ครูดเอาเท้าของฉันเข้า.
[๗๔๕] ข้าแต่นายพราน ท่านจงปูใบไม้ลง จง
ชักดาบออก จงฆ่าฉันเสียก่อน แล้วจึงฆ่า
พระยาเนื้อต่อภายหลัง.
[๗๔๖] เราไม่เคยได้ยินได้ฟัง หรือได้เห็นเนื้อ
ที่พูดภาษามนุษย์ได้ แน่ะนางผู้มีหน้าอันเจริญ
ตัวท่านและพระยาเนื้อนี้จงเป็นสุขเถิด.
[๗๔๗] ข้าแต่นายพราน วันนี้ฉันเห็นพระยา-
เนื้อหลุดพ้นมาได้แล้วย่อมชื่นชมยินดี ฉันใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 776
ขอให้ท่านพร้อมด้วยญาติทั้งมวลของท่านจง
ชื่นชมยินดี ฉันนั้น.
จบ สุวรรณมิคชาดกที่ ๙
อรรถกถาสุวรรณมิคชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
กุลธิดาคนหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม
ต้นว่า วิกฺกม เร มหามิค ดังนี้.
ได้ยินว่า นางนั้นเป็นธิดาจองสกุลอุปัฏฐากแห่งพระอัครสาวก
ทั้งสอง ในกรุงสาวัตถี เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส นับถือพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ สมบูรณ์ด้วยมารยาท เป็นผู้ฉลาด ยินดียิ่งใน
บุญมีทานเป็นต้น. ตระกูลบุคคลมิจฉาทิฏฐิอื่นที่มีชาติเสมอกัน ใน
นครสาวัตถีนั้นแล ได้มาขอนางนั้น. ลำดับนั้น บิดามารดาของนาง
กล่าวว่า ธิดาของเรามีศรัทธาเลื่อมใส นับถือพระรัตนตรัย ยินดียิ่ง
ในการบุญมีทานเป็นต้น ท่านทั้งหลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ จักไม่ให้ธิดา
ของเราแม้นี้ให้ทาน ฟังธรรม ไปวิหาร รักษาศีล หรือทำอุโบสถ-
กรรม ตามความชอบใจ เราจะไม่ให้ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจง
สู่ขอเอานางกุมาริกาจากตระกูลมิจฉาทิฏฐิที่เหมือนกับตนเถิด. ชนที่
มาขอเหล่านั้นถูกบิดามารดาของนางกุมาริกานั้นบอกคืนแล้ว จึง
กล่าวว่า ธิดาของท่านทั้งหลายไปเรือนของพวกเราแล้วจงกระทำกิจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 777
ทั้งปวงตามความประสงค์เถิด พวกเราจักไม่ห้าม ขอท่านจงให้ธิดานั้น
แก่พวกเราเถิด ผู้อันบิดามารดาของนางกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่าน
ทั้งหลายจะเอาไปเถิด เมื่อถึงฤกษ์ดี จึงกระทำมงคลพิธีแล้วนำนางไป
เรือนของตน. นางกุลธิดานั้นได้เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความประพฤติ
และมารยาท มีสามีเป็นดังเทวดา. วัตรปฏิบัติสำหรับพ่อผัว แม่ผัว และ
สามีย่อมเป็นอันทำแล้วอย่างครบถ้วน. วันหนึ่ง นางกล่าวกะสามีว่า
ข้าแต่ลูกเจ้า ดิฉันปรารถนาจะให้ทานแก่พระเถระประจำสกุลของพวก
เรา. สามีกล่าวว่า ตีละนางผู้เจริญ เธอจงให้ทานตามอัธยาศัยเถิด.
นางจึงให้นิมนต์พระเถระทั้งสองมาแล้วกระทำสักการะใหญ่ ให้ฉัน
โภชนะอันประณีตแล้วนิมนต์ให้นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง กล่าวว่า ท่าน
ผู้เจริญ ตระกูลนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีศรัทธา ไม่รู้คุณของพระรัตน-
ตรัย ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดังดิฉันขอโอกาส ขอพระคุณเจ้า
ทั้งหลายจงรับภิกษาหารในที่นี้แหละจนกว่าตระกูลนี้จะรู้คุณของพระ-
รัตนตรัย. พระเถระทั้งหลายรับนิมนต์แล้วฉันเป็นประจำอยู่ในตระ-
กูลนั้น. นางกล่าวกะสามีอีกว่า ข้าแต่ลูกเจ้า พระเถระทั้งหลายมา
เป็นประจำ ณ ตระกูลนี้ เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ไปดูพระเถระเล่า.
สามีกล่าวว่า เราจักไปดู. วันรุ่งขึ้น นางจึงบอกแก่สามีนั้น ในตอน
พระเถระทั้งหลาย ทำภัตกิจเสร็จแล้ว. สามีของนางนั้นเข้าไปหา
แล้วทำปฏิสันถารกับพระเถระทั้งหลายแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับ
นั้น พระธรรมเสนาบดีจึงกล่าวธรรมกถาแก่สามีของนางนั้น เขา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 778
เลื่อมใสในธรรมกถาและอิริยาบถของพระเถระ ตั้งแต่นั้น จึงให้ปูลาด
อาสนะเพื่อพระเถระทั้งหลาย กรองน้ำดื่ม ฟังธรรมกถาในระหว่างภัต.
ในกาลต่อมา มิจฉาทิฏฐิของเขาก็ทำลายไป. อยู่มาวันหนึ่ง พระเถระ
เมื่อกล่าวธรรมกถาแก่สามีภรรยาแม้ทั้งสองนั้น จึงประกาศสัจจะ ๔.
ในเวลาจบสัจจะ สามีภรรยาทั้งสอง ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. จำเดิม
แต่นั้นมา ชนแม้ทั้งหมดมีบิดามารดาของเขาเป็นต้น จนชั้นที่สุดแม้
ทาสและกรรมกรได้ทำลายมิจฉาทิฏฐิ เกิดเป็นผู้นับถือพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์. อยู่มาวันหนึ่ง นางทาริกานั้นกล่าวกะสามี
ว่า ข้าแต่ลูกเจ้า ดิฉันจะประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ครองเรือน ดิฉัน
ปรารถนาจะบวช. สามีนั้นกล่าวว่า ดีละนางผู้เจริญ แม้ฉันก็จักบวช
แล้วนำภรรยานั้นไปยังสำนักภิกษุณี ด้วยบริวารมากมายให้บวชแล้ว
ฝ่ายตนเองก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลขอบรรพชา. พระศาสดาให้
บรรพชาอุปสมบทแล้ว. เธอแม้ทั้งสองเจริญวิปัสสนาไม่นานนัก ก็ได้
บรรลุพระอรหัต. อยู่มาวันหนึ่งภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันใน
โรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุณีสาวชื่อโน้นเกิดเป็นปัจจัย
แก่ตนและแก่สามี แม้ตนบวชแล้วบรรลุพระอรหัต ก็ให้สามีแม้นั้น
บรรลุด้วย. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พวกเธอนังสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรง
ทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางภิกษุณีนี้จะได้ปลด-
เปลื้องสามีจากบ่วงคือราคะ ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ก่อน แม้ในกาล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 779
ก่อน นางภิกษุณีนี้ก็ได้ปลดเปลื้องโบราณกบัณฑิตทั้งหลายจากบ่วงคือ
มรณะ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในกำเนิดมฤค เจริญวัยแล้ว เป็น
ผู้มีรูปงาม น่ารักใคร่ น่าดู มีผิวพรรณเหมือนทอง ประกอบด้วย
เท้าหน้าและเท้าหลังประหนึ่งกระทำบริกรรมย้อมด้วยน้ำครั่ง เขาเช่น
กับพวงเงิน นัยน์ตาทั้งสองมีส่วนเปรียบด้วยก้อนแก้วมณี และหาง
ประดุจกลุ่มผ้ากัมพล. ฝ่ายภรรยาของเนื้อนั้นก็เป็นนางเนื้อสาวมีรูป
งามน่ารัก. เนื้อทั้งสองนั้นอยู่ร่วมกันด้วยความพร้อมเพรียง. มีเนื้อ
อันงดงามตระการตาแปดหมื่นตัวคอยอุปัฏฐากบำรุงพระโพธิสัตว์อยู่.
ในกาลนั้น พวกพรานฆ่าเนื้อทั้งหลายและดักบ่วง อยู่มาวันหนึ่ง
พระโพธิสัตว์เดินไปข้างหน้าเนื้อทั้งหลาย เท้าติดบ่วง จึงดึงเท้ามา
ด้วยคิดว่า จักทำบ่วงนั้นให้ขาด. หนังจึงขาด เมื่อดึงเท้ามาอีก เนื้อ
ขาด เอ็นขาด. บ่วงได้รัดจนจดถึงกระดูก. พระโพธิสัตว์นั้นเมื่อไม่
อาจทำบ่วงให้ขาดก็สดุ้งกลัวต่อมรณภัยจึงร้องบอกให้รู้ว่าติดบ่วง. หมู่
เนื้อได้ฟังดังนั้นก็กลัวจึงพากันหนีไป. ส่วนภรรยาของพระโพธิสัตว์
นั้น หนีไปแล้วแลดูในระหว่างพวกเนื้อไม่เห็นพระโพธิสัตว์นั้น คิด
ว่า ภัยนี้คงจักเกิดแก่สามีที่รักของเรา จึงรีบไปยังสำนักของพระ-
โพธิสัตว์นั้น ร้องไห้มีหน้านองด้วยน้ำตากล่าวว่า ข้าแต่สามี ท่าน
เป็นผู้มีกำลังมาก ท่านจักไม่อาจทนบ่วงนี้หรือ ท่านจงรวบรวมกำลัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 780
ทำบ่วงนั้นให้ขาด เมื่อจะยังความอุตสาหะให้เกิดแก่พระโพธิสัตว์นั้น
จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าแต่เนื้อผู้มีกำลังมาก ท่านจงพยายาม
ดึงบ่วงออก ข้าแต่ท่านผู้มีเท้าดุจทองคำ
ท่านจงพยายามดึงบ่วงที่ติดแน่นให้ขาดออก
ฉันผู้เดียวเว้นท่านเสีย จะไม่รื่นรมย์อยู่ใน
ป่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิกฺกม ได้แก่ จงพยายาม
อธิบายว่า จงดึงออก. ศัพท์ว่า เร เป็นนิบาตใช้ในอรรถร้องเรียก.
บทว่า หรีปท แปลว่า ผู้มีเท้าดุจทองคำ. แม้ในสรีระทั้งสิ้นของ
พระโพธิสัตว์นั้นก็มีวรรณดุจทองคำ. แต่นางเนื้อนี้กล่าวอย่างนั้น ด้วย
อำนาจราคะ. ด้วยบทว่า นาห เอกา นี้ แสดงว่า ดิฉันเว้นท่านเสีย
ผู้เดียวจักไม่รื่นรมย์ในป่า ก็ดิฉันจักไม่รับหญ้าและน้ำ ซูบผอมตาย.
เนื้อได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ฉันพยายามดึงอยู่ แต่ไม่สามารถทำบ่วง
ให้ขาดได้ ฉันเอาเข้าตะกุยแผ่นดินด้วยกำลัง
แรง บ่วงติดแน่นเหลือเกิน จึงบาดเท้าฉัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิกฺกมามิ ความว่า นางผู้เจริญ
ฉันทำความพยายามเพื่อเธออยู่. บทว่า น ปาเทมิ๑ ความว่า แต่
๑. บาลี น ปเรมิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 781
ฉันไม่อาจทำบ่วงให้ขาด. บทว่า ภูมึ สุมฺภามิ ความว่า ฉันเอาเท้า
ตะกุยแผ่นดินที่บ่วงด้วยหวังว่าบ่วงจะขาดบ้าง. บทว่า เวคสา แปลว่า
ด้วยกำลังแรง. บทว่า ปริกนฺตติ ความว่า บ่วงตัดหนังเป็นต้นบาด
ไปรอบด้าน.
ลำดับนั้น นางเนื้อจึงกล่าวกะเนื้อนั้นว่า ข้าแต่สามี ท่าน
อย่ากลัวเลย ดิฉันจะอ้อนวอนนายพรานตามกำลังของตน จักนำชีวิต
มาเพื่อท่าน ถ้าดิฉันเมื่ออ้อนวอนจักอาจเป็นไปได้ ดิฉันจักให้แม้ชีวิต
ของดิฉันแล้วนำเอาชีวิตมาเพื่อท่าน แล้วปลอบโยนพระมหาสัตว์ให้
เบาใจแล้วได้ยืนชิดพระโพธิสัตว์ผู้มีตัวอาบด้วยโลหิต. ฝ่ายนายพราน
ถือดาบและหอกเดินมาดุจไฟลุกติดกัป. นางเนื้อเห็นนายพรานนั้นแล้ว
ปลอบโยนพระโพธิสัตว์นั้นว่า ข้าแต่สามี นายพรานเนื้อกำลังมา
ดิฉันจักกระทำตามกำลังของตน ท่านอย่ากลัว แล้วเดินสวนทางต่อ
นายพรานแล้วถอยไปยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง ไหว้นายพรานนั้นแล้ว
กล่าวคุณสมบัติของพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่นาย สามีของข้าพเจ้ามีผิว-
พระดุจทองคำ สมบูรณ์ด้วยศีลและอาจารมารยาท เป็นราชาของ
หมู่เนื้อแปดหมื่นตัว เมื่อพระยาเนื้อยังคงยืนอยู่นั่นแล เมื่อจะขอให้
ฆ่าตน จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ข้าแต่นายพราน ท่านจงปูใบไม้ลง จง
ชักดาบออก จงฆ่าข้าพเจ้าก่อนแล้วจึงฆ่า
พระยาเนื้อต่อภายหลัง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 782
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลาสานิ ความว่า ท่านจงปูใบ-
ไม้ทั้งหลาย เพื่อจะได้วางเนื้อ. บทว่า อสึ นิพฺพาห ความว่า ท่าน
จงชักดาบออกจากฝัก.
นายพรานได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า คนที่เป็นมนุษย์ยังไม่ให้ชีวิต
ตนเพื่อประโยชน์แก่สามีได้เลย นางเนื้อนี้เป็นสัตว์ดิรัจฉานยัง
บริจาคชีวิตได้ ทั้งยังกล่าวเป็นภาษามนุษย์ด้วยเสียงอันไพเราะ วันนี้
เราจะให้ชีวิตของสามีแห่งนางเนื้อนี้ และชีวิตของนางเนื้อนี้ด้วย
ครั้นคิดฉะนั้นแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใส จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
เราไม่เคยได้ยินได้ฟัง หรือได้เห็นเนื้อ
ที่พูดภาษามนุษย์ได้ แน่ะนางผู้มีหน้าอัน-
เจริญ ตัวท่านและพระยาเนื้อนี้จงเป็นสุขเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุต วา ทิฏฺ วา ความว่า ใน
กาลก่อนแต่นี้ สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เห็นหรือได้ฟังมาเห็นปานนี้ ย่อมไม่มี.
บทว่า ภาสนฺตึ มานุสึ มิคึ ความว่า เพราะในกาลก่อนแต่นี้
ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นเนื้อพูดวาจามนุษย์ได้เลย. บาลีว่า น จ เม สุตา
วา ทิฏฺา วา ภาสนฺตี มานุสี มิคี แปลว่า เนื้อพูดภาษามนุษย์
ข้าพเจ้าไม่ได้ยินได้ฟังหรือเห็นมาเลย ดังนี้ก็มี เนื้อความของบทบาลี
เหล่านั้น ย่อมปรากฏตามบาลีนั่นแหละ. นายพรานผู้เป็นบัณฑิต
ฉลาดในอุบายเรียกนางเนื้อนั้นว่า ภทฺเท แน่ะนางผู้มีหน้าอันเจริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 783
ด้วยประการฉะนี้แล้ว ปลอบโยนนางเนื้อนั้นอีกว่า ท่านแม้ทั้งสองคือ
ตัวท่านและพระยาเนื้อนี้จงเป็นผู้มีความสุข ปราศจากทุกข์เถิด แล้ว
ได้ไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์ เอามีดตัดบ่วงที่หนัง ค่อย ๆ นำบ่วง
ที่ติดเท้าออก แล้วเอาเอ็นปิดเอ็น เอาเนื้อปิดเนื้อ เอาหนังปิดหนัง
แล้วเอามือบีบนวดเท้า. ด้วยอานุภาพบารมีที่พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญมา
ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาจิตของนายพราน และด้วยอานุภาพมิตรธรรม
ของนางเนื้อ บันดานให้เอ็น เนื้อและหนังติดกับเอ็น เนื้อ หนัง ใน
ขณะนั้นทันที. ฝ่ายพระโพธิสัตว์มีความสุข ปราศจากทุกข์ได้ยืนอยู่.
นางเนื้อเห็นพระโพธิสัตว์มีความสุขสบาย จึงเกิดความโสมนัส เมื่อ
จะกระทำอนุโมทนาแก่นายพราน จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า :-
ข้าแต่นายพราน วันนี้ข้าพเจ้าเห็นพระ-
ยาเนื้อหลุดพ้นมาได้แล้วชื่นชมยินดีอยู่
ฉันใด ขอให้ท่านพร้อมด้วยญาติทั้งปวงของ
ท่าน จงชื่นชมยินดี ฉันนั้น.
ด้วยบทว่า ลุทฺทก นี้ ในคาถานั้นนางเนื้อเรียก โดยอำนาจ
ชื่อที่ได้ด้วยการทำกรรมอันร้ายกาจ.
พระโพธิสัตว์คิดว่า นายพรานนี้เป็นที่พึ่งอาศัยของเรา แม้
เราก็ควรเป็นที่พึ่งอาศัยของนายพรานนี้บ้าง จึงมอบก้อนแก้วมณีให้
แก่นายพรานก้อนหนึ่งซึ่งตนได้พบในภาคพื้นที่เที่ยวหากิน แล้วให้
โอวาทแก่พรานนั้นว่า ดูก่อนสหาย ตั้งแต่นี้ไป ท่านอย่าได้กระทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 784
บาปมีปาณาติบาตเป็นต้น จึงรวบรวมทรัพย์สมบัติเลี้ยงดูลูกเมียกระทำ
บุญมีทานและศีลเป็นต้น ด้วยก้อนแก้วมณีนี้เถิด แล้วก็เข้าป่าไป.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า นายพรานในครั้งนั้น ได้เป็นพระฉันนะ นางเนื้อ
ได้เป็นภิกษุณีสาว ส่วนพระยาเนื้อ ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุวรรณมิคชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 785
๑๐. สุสันธีชาดก
ว่าด้วยนางผิวหอม
[๗๔๘] กลิ่นดอกไม้ติมิระหอมฟุ้งไป น้ำทะเล
คะนองใหญ่ พระนางสุสันธีอยู่ห่างไกลจาก
นครนี้ ข้าแต่พระเจ้าตัมพราช กามทั้งหลาย
เสียบแทงหัวใจข้าพระบาทอยู่.
[๗๔๙] ท่านข้ามทะเลไปได้อย่างไร ท่านได้
เห็นเกาะเสรุมได้อย่างไร ดูก่อนนายอัคคะ
ความสมาคมของนางและท่านได้มีขึ้นอย่าง
ไร.
[๗๕๐] เมื่อพวกพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์ ออก
ไปจากท่าชื่อภรุกัจฉะ พวกมังกรทำให้เรือ
แตกแล้ว เราได้ลอยไปกับแผ่นกระดาน.
[๗๕๑] พระนางสุสันธีมีกลิ่นพระกายหอมดุจ
แก่นจันทน์อยู่เป็นนิตย์น่าดูน่าชม ทรงเห็น
ข้าพระบาทเข้าแล้ว ปลอบโยนด้วยวาจาอัน
อ่อนหวาน ได้ทรงอุ้มข้าพระบาทด้วยแขน
ทั้งสองเหมือนกับมารดาอุ้มบุตรผู้เกิดจากอก
ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 786
[๗๕๒] พระนางผู้มีพระเนตรอ่อนหวาน ทรง
บำรุงบำเรอข้าพระบาทด้วยข้าว น้ำ ผ้า
ที่นอน และแม้ด้วยพระองค์ ข้าแต่พระเจ้า-
ตัมพราช ขอพระองค์โปรดทรงทราบอย่างนี้
เถิด.
จบ สุสันธีชาดกที่ ๑๐
อรรถกถาสุสันธีชาดกที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้กระสันอยากสึก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
วาติ คนฺโธ ติมิราน ดังนี้ :-
ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า
เธอกระสันอยากสึกจริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระเจ้าข้า
จึงตรัสว่า เพราะเห็นอะไร เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า เพราะเห็น
มาตุคามประดับประดาแต่งตัว พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ธรรมดาว่ามาตุคามนี้ ใครๆ ไม่อาจรักษาไว้ได้ แม้โบราณกบัณฑิต
จะรักษาไว้ในสุบรรณพิภพ ก็ไม่อาจรักษาไว้ได้ อันภิกษุนั้นทูล
อาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่าตัมพราช ครองราชสมบัติอยู่
ในนครพาราณสี พระอัครมเหสีของพระเจ้าตัมพราชนั้น พระนามว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 787
สุสันธี ทรงพระรูปโฉมอันล้ำเลิศ. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิด
ในกำเนิดสุบรรณพิภพ. ในกาลนั้น ได้มีเกาะนาคชื่อว่า เสรุมทวีป.
พระโพธิสัตว์อยู่ในสุบรรณพิภพ เกาะนี้. พระโพธิสัตว์ออกจาก
สุบรรณพิภพไปยังนครพาราณสี แปลงเพศเป็นมาณพ เล่นสกากับ
พระเจ้าตัมพราช. หญิงผู้เป็นปริจาริกาเห็นรูปสมบัติของมาณพนั้น
จึงทูตพระนางสุสันธีว่า มาณพชื่อเห็นปานนี้ เล่นสกากับพระราชา
ของเราทั้งหลาย. พระนางสุสันธีนั้นได้ฟังดังนั้น มีความประสงค์
จะดูมาณพนั้น วันหนึ่ง ทรงแต่งองค์แล้วเสด็จมายังสนามเล่นสกา
ประทับยืนอยู่ในระหว่างพวกนางปริจาริกาทรงแลดูมาณพนั้น. ฝ่าย
มาณพนั้นก็แลดูพระเทวี ชนทั้งสองต่างมีจิตปฏิพัทธ์กันและกัน.
พระยาสุบรรณทำลมให้ตั้งขึ้นในนครด้วยอานุภาพของตน มนุษย์
ทั้งหลายพากันออกจากพระราชนิเวศน์ เพราะกลัวเรือนพัง. พระยา
สุบรรณนั้นกระทำความมืดมนด้วยอานุภาพของตนแล้ว พาพระเทวี
มาทางอากาศ แล้วเข้าไปยังพิภพของตน ณ เกาะนาคทวีป. ชื่อว่า
คนผู้จะรู้สถานที่ที่พระนางสุสันธีเสด็จไป มิได้มีเลย. พระยาสุบรรณ
นั้นอภิรมย์อยู่กับพระนางสุสันธีนั้น ไปเล่นสกากับพระราชา. ก็
พระราชานั้นมีคนธรรพ์ ชื่อว่า อัคคะ. ท้าวเธอไม่ทรงทราบสถานที่
ที่พระเทวีเสด็จไป จึงตรัสเรียกคนธรรพ์นั้นมาแล้วทรงส่งไปด้วย
พระดำรัสว่า ดูก่อนพ่อคนธรรพ์ เธอจงไป จงเที่ยวไปตามทางบก
และทางน้ำให้ทั่วจนพบเห็นสถานที่ที่พระเทวีเสด็จไป. คนธรรพ์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 788
ถือเอาเสบียงทางแล้วค้นหาไปตั้งแต่บ้านใกล้ประตูจนถึงท่าภารุกัจฉา.
ครั้งนั้น พ่อค้าชาวภารุกัจฉาจะแล่นเรือไปยังสุวรรณภูมิ. คนธรรพ์
นั้นจึงเข้าไปหาพ่อค้าเหล่านั้น แล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นคนธรรพ์
นักขับร้องจักทำการขับร้องให้แก่พวกท่าน โดยหักเป็นค่าเรือ ของท่าน
ทั้งหลายจงพาข้าพเจ้าไปด้วย. พ่อค้าเหล่านั้นรับว่าได้ แล้วให้เขา
ขึ้นไปยังเรือแม้นั้นแล้วออกเรือไป. เมื่อเรือแล่นไปแล้ว พ่อค้า
เหล่านั้นจึงเรียกคนธรรพ์นั้นมาแล้วกล่าวว่า จงทำการขับร้องให้แก่
พวกเรา. คนธรรพ์กล่าวว่า ถ้าข้าพเจ้าจะทำการขับร้องไซร้ ก็เมื่อ
กำลังขับร้องอยู่ฝูงปลาทั้งหลายจักเคลื่อนไหว เมื่อเป็นเช่นนั้นเรือ
ของท่านทั้งหลายจักแตก. พวกพ่อค้ากล่าวว่า เมื่อกระทำการขับร้อง
อยู่ในทางของมนุษย์ ชื่อว่าพวกปลาจะเคลื่อนไหวย่อมไม่มี ท่านจง
ขับร้องเถอะ. คนธรรพ์จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายอย่าโกรธ
ข้าพเจ้า. แล้วแก้พิณออกทำการขับร้องให้เสียงดีดพิณเข้ากับเสียงขับ
และให้เสียงขับเข้ากับเสียงดีดพิณ. ปลาทั้งหลายเคลิบเคลิ้มเพราะ
เสียงนั้นจึงพากันเคลื่อนไหว. ครั้งนั้น มังกร (ชนิดของปลา) ตัวหนึ่ง
กระโดดตกลงไปในเรือทำให้เรือแตก. นายอัคคะนั้นนอนอยู่ในแผ่น-
กระดานลอยไปตามลมจนถึงแหล่งของต้นไทรอันเป็นสุบรรณพิภพ
ณ เกาะนาคทวีป. ฝ่ายพระนางสุสันธีเทวี ในเวลาที่พระยาสุบรรณไป
เล่นสกากับพระราชา ก็ลงจากวิมานเดินเที่ยวไปที่ชายฝั่ง เห็นคน-
ธรรพ์ชื่อว่าอัคคะนั้น ทรงจำได้ จึงถามว่า ท่านมาได้อย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 789
คนธรรพ์นั้นจึงทูลให้ทราบทั้งหมด. พระนางสุสันธีจึงปลอบโยน
คนธรรพ์นั้นว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านอย่ากลัวไปเลย แล้วเอาแขน
ทั้งสองโอบอุ้มขึ้นไปยังวิมาน ให้นอนบนที่นอน ในเวลาที่นาย
อัคคะกระปรี้กระเปล่าขึ้นแล้ว ก็ให้โภชนาหารทิพย์ ให้อาบน้ำหอม-
ทิพย์ ให้นุ่งห่มผ้าทิพย์ ประดับด้วยของหอมและดอกไม้ทิพย์ แล้วกลับ
ใหันอนบนที่นอนทิพย์อีก. พระนางปฏิบัติคนธรรพ์นั้น ด้วยประการ
อย่างนี้ เวลาพระยาสุบรรณมา ก็ปกปิดไว้เสีย เวลาพระยาสุบรรณ
ไป ก็อภิรมย์ด้วยอำนาจกิเลสกับคนธรรพ์นั้น. จากนั้น ล่วงไปได้
กึ่งเดือน พ่อค้าชาวเมืองพาราณสีมาถึงที่โคนต้นไทร ในเกาะนั้น
เพื่อต้องการจะเอาฟืนและน้ำ. นายอัคคะนั้นนั่งเรือไปยังนครพาราณสี
กับพระเทวีนั้น ได้เฝ้าพระราชาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครั้นในเวลา
พระยาสุบรรณนั้นมาเล่นสกาจึงถือพิณ เมื่อจะขับร้องถวายพระราชา
จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า
กลิ่นดอกติมิระฟุ้งตลบไป น้ำทะเล
ก็กึกก้องคนองลั่น พระนางสุสันธีอยู่ห่าง
ไกลนครนี้แท้ ข้าแต่พระเจ้าคัมพราช กาม
ทั้งหลายเสียบแทงหัวใจข้าพระบาทอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติมิราน ได้แก่ ดอกของ
ต้นติมิระ. เขาว่า มีต้นติมิระล้อมรอบต้นไทรนั้น. นายอัคคคนธรรพ์
กล่าวอย่างนั้น โดยหมายเอาต้นติมิระเหล่านั้น. บทว่า กุสมุทฺโท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 790
ได้แก่ น้ำทะเล. บทว่า โฆสวา แปลว่า มีเสียงดังลั่น. นายอัคค-
คนธรรพ์กล่าวอย่างนั้น โดยเอาทะเลใกล้ ๆ ต้นไทรนั้นเท่านั้น. บทว่า
อิโต หิ แปลว่า จากนครนี้. นายอัคคนธรรพ์เรียกพระราชาว่า
ตมฺพ. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า ตมฺพกามา นี้ ท่านแสดงว่า
กามที่พระเจ้าตัมพราชทรงใคร่ ชื่อว่า ตัมพกาม กามนั้นเสียบแทง
หัวใจข้าพระบาทอยู่.
พระยาสุบรรณได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ท่านข้ามทะเลไปได้อย่างไร ท่านได้
เห็นเกาะเสรุมะได้อย่างไร ดูก่อนนายอัคคะ
ความสมาคมของนางและท่านได้มีขึ้นอย่าง
ไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสรุม ได้แก่ เกาะชื่อเสรุมะ.
ลำดับนั้น อัคคคนธรรพ์ได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-
เมื่อพวกพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์ ออก
ไปจากท่าชื่อภรุกัจฉา พวกมังกรทำให้เรือ
แตก เราได้ลอยไปกับแผ่นกระดาน
พระนางสุสันธีมีกลิ่นภายหอมดังแก่น
จันทน์อยู่เป็นนิจ ผู้น่าดูน่าชม ทรงเห็น
ข้าพระบาทผู้ข้ามห้วงมหรรณพได้เพราะแผ่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 791
กระดานแล้ว ปลอบโยนด้วยวาจาอันอ่อน-
หวาน ทรงอุ้มข้าพระบาทด้วยแขนทั้งสอง
ประหนึ่งมารดาอุ้มบุตรผู้เกิดจากอกฉะนั้น.
พระนางผู้มีพระเนตรอ่อนหวาน ทรง
บำรุงบำเรอข้าพระบาทด้วยข้าว น้ำ ผ้า
ที่นอน และแม้ด้วยตัวพระองค์เอง ข้าแต่
พระเจ้าตัมพราช ขอพระองค์โปรดทรงทราบ
อย่างนี้เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สา ม สณฺเหน มุทุนา ความว่า
พระนางทรงเที่ยวไปที่ฝั่งสมุทร ทรงเห็นข้าพระบาทผู้ข้ามขึ้นฝั่งด้วย
แผ่นกระดานอย่างนี้แล้ว ทรงปลอบโยนด้วยวาจาอันไพเราะอ่อน
หวานว่าอย่ากลัวเลย. ด้วยบทว่า องฺเคน นี้ แขนทั้งคู่ท่านเรียกว่า
อังเคนะ ในที่นี้. บทว่า ภทฺทา ได้แก่ น่าดู น่าพิศมัย. บทว่า
สา ม อนฺเนน ความว่า พระนางบำเรอข้าพระบาทให้อิ่มหนำ
ด้วยข้าวเป็นต้นนี้. บทว่า อตฺตนาปิ จ นี้ ท่านแสดงว่า มิใช่
แต่ข้าวเป็นต้นอย่างเดียวเท่านั้น แม้ตัวพระองค์เองก็ทรงบำเรอให้
อิ่มหนำอภิรมย์อยู่. บทว่า มทฺทกฺขี แปลว่า มีนัยน์ตาอ่อนหวาน
ท่านอธิบายว่า มีการแลดูด้วยอาการอ่อนโยนเป็นปกติธรรมดา. บาลีว่า
มตฺตกฺขี ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ประกอบด้วยดวงตาประหนึ่งว่ามัวเมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 792
ด้วยความเมา ดวงตาหยาดเยิ้ม บทว่า เอว ตมฺพ ความว่า
ข้าแต่พระเจ้าตัมพราช ขอพระองค์โปรดทรงทราบอย่างนี้.
เมื่อคนธรรพ์อยู่นั้นแหละ พระยาสุบรรณ มีความร้อนใจ
คิดว่า เราแม้อยู่ในสุบรรณพิภพ ก็ไม่อาจรักษานางได้ เราจะ
ประโยชน์อะไรด้วยนางผู้ทุศีล จึงนำพระนางมาถวายคืนพระราชา
แล้วหลีกไป. ตั้งแต่นั้น ก็ไม่ได้มาอีกเลย.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประกาศสัจจะ แล้วทรงประชุมชาดกว่า ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้
กระสันจะสึก ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. พระราชาในครั้งนั้น ได้
เป็นพระอานนท์ ส่วนพระยาสุบรรณในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุสันธีชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มณิกุณฑลชาดก ๒. สุชาตชาดก ๓. เวนสาขชาดก
๔. อุรคชาดก ๕. ธังกชาดก ๖ การันทิยชาดก ๗. ลฏุกิกชาดก
๘. จุลลธรรมปาลชาดก ๙. สุวรรณมิคชาดก ๑๐. สุสันธีชาดก.
จบ มณิกุณฑลวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 793
๒. วรรณาโรหวรรค
๑. วรรณาโรหชาดก
ว่าด้วยผู้มีใจคอหนักแน่น
[๗๕๓] ท่านผู้มีเขี้ยวงามกล่าวว่า เสื้อโคร่งชื่อ
สุพาหุนี้ มีวรรณะ ลักษณะ ชาติ กำลังกาย
และกำลังความเพียร ไม่ประเสริฐไปกว่าเรา.
[๗๕๔] เสือโคร่งชื่อสุพาหุกล่าวว่า ราชสีห์ผู้มี
เขี้ยวงาม มีวรรณะ. ลักษณะ ชาติ กำลังกาย
และกำลังความเพียร ไม่ประเสริฐไปกว่าเรา.
[๗๕๕] แน่ะเพื่อนสุพาหุ ถ้าท่านจะประทุษ-
ร้ายเราผู้อยู่กับท่านอย่างนี้ บัดนี้ เราก็ไม่พึง
ยินดีอยู่ร่วมกับท่านต่อไป.
[๗๕๖] ผู้ใดเชื่อคำของคนอื่นโดยเป็นจริงเป็น-
จัง ผู้นั้นต้องพลันแตกจากมิตร และต้อง
ประสบเวรเป็นอันมาก.
[๗๕๗] ผู้ใดไม่ประมาททุกขณะ มุ่งความแตก
ร้าว คอยแต่จับความผิด ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็น
มิตร ส่วนผู้ใดอันคนอื่นยุให้แตกกันไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 794
ไม่มีความรังเกียจในมิตร นอนอยู่อย่าง
ปลอดภัย เหมือนบุตรนอนแอบอกมารดา
ฉะนั้น ผู้นั้นนับว่าเป็นมิตรแท้.
จบ วรรณาโรหชาดกที่ ๑
อรรถกถาวรรณาโรหวรรคที่ ๒
อรรถกถาวรรณาโรหชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่ออาศัยพระนครสาวัตถีประทับอยู่ ณ พระวิหาร-
เชตวัน ทรงปรารภพระเถระอัครสาวกทั้งสอง จึงตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า วณฺณาโรเหน ดังนี้.
ได้ยินว่า สมัยหนึ่ง พระมหาเถระทั้งสองคิดกันว่า พวกเรา
จักพอกพูนการอยู่ป่าตลอดภายในพรรษานี้ จึงทูลลาพระศาสดา แล้ว
ละหมู่คณะ ถือบาตรจีวรด้วยตนเอง ออกจากพระเชตวัน อาศัย
ปัจจันตคามแห่งหนึ่งอยู่ในป่า. บุรุษกินเดนแม้คนหนึ่ง ทำการอุปัฏ-
ฐากพระเถระทั้งสองอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งในป่านั้นนั่นแหละ บุรุษนั้น
เห็นการอยู่อย่างพร้อมเพรียงของพระเถระทั้งสอง จึงคิดว่า พระเถระ
ทั้งสองนั้นอยู่พร้อมเพรียงกันเหลือเกิน เราอาจไหมหนอที่จะทำลาย
พระเถระเหล่านี้ให้แตกกันและกัน จึงเข้าไปหาพระสารีบุตรเถระแล้ว
ถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านมีเวรอะไร ๆ กับพระมหาโมคคัลลานเถระผู้
เป็นเจ้าหรือหนอ ? พระสารีบุตรเถระถามว่า ก็เวรอะไรเล่า ? ผู้มีอายุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 795
บุรุษนั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ในเวลาที่กระผมมา พระมหาโมค-
คัลลานเถระนี้ กล่าวแต่โทษของท่านเท่านั้นว่า ชื่อว่าพระสารีบุตร
จะพออะไรกับเรา โดยชาติ โคตร ตระกูล และประเทศก็ตาม โดย
สุตตะและคันถะก็ตาม หรือโดยปฏิเวธและอิทธิฤทธิ์ก็ตาม. พระเถระ
ทำการแย้มหัวแล้วกล่าวว่า อาวุโส ท่านไปเสียเถอะ. ในวันแม้อื่น
บุรุษนั้นเข้าไปหาพระโมคคัลลานเถระบ้าง แล้วก็กล่าวเหมือนอย่าง
นั้นแหละ. ฝ่ายพระมหาโมคคัลลานเถระก็กระทำการแย้มหัวแล้ว
กล่าวกะบุรุษนั้นว่า ท่านไปเสียเถอะ ผู้มีอายุ. แล้วจึงเข้าไปหาพระ-
สารีบุตรเถระถามว่า ท่านผู้มีอายุ คนกินเดนนั้นกล่าวอะไร ๆ ใน
สำนักของท่าน. พระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ เขากล่าวแม้กับ
ผม ควรนำคนกินเดนนั้นออกไปเสีย เมื่อพระมหาโมคคัลลานเถระ
กล่าวว่า ดีละท่านผู้มีอายุ ท่านจงนำออกไปเสีย พระเถระจึงดีดนิ้วมือ
อันเป็นเหตุให้รู้ว่า ท่านอย่าอยู่ที่นี้ แล้วนำเขาออกไป. พระเถระ
ทั้งสองนั้นอยู่อย่างสมัครสมานกัน แล้วไปยังสำนักของพระศาสดา
ถวายบังคมแล้วจึงนั่งอยู่. พระศาสดาทรงกระทำปฏิสันถารแล้วตรัส
ถามว่า เธอทั้งสองอยู่ตลอดพรรษาโดยสบายหรือ ? เมื่อพระเถระทั้ง-
สองกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนกินเดนคนหนึ่งเป็นผู้ประ-
สงค์จะทำลายพวกข้าพระองค์ เมื่อไม่อาจทำลาย จึงหนีไป. พระองค์
จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร มิใช่บัดนี้เท่านั้นที่เขาไม่อาจทำลาย แม้
ในกาลก่อน คนกินเดนนี้ก็คิดว่า จักทำลายพวกเธอ เมื่อไม่อาจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 796
ทำลายก็ได้หนีไปแล้ว อันพระเถระทั้งสองนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึง
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นรุกขเทวดาอยู่ในป่า. ครั้งนั้น ราชสีห์
กับเสือโคร่งอยู่กันในถ้ำแห่งภูเขาในป่า. สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งอุปัฏฐาก
สัตว์ทั้งสองนั้น กินเดนของสัตว์ทั้งสองนั้น. จนมีร่างกายใหญ่โต
วันหนึ่ง คิดว่า เราไม่เคยกินเนื้อของราชสีห์และเสือโคร่ง เราควร
จะทำให้สัตว์ทั้งสองนี้ให้แตกกัน แต่นั้น เราจักกินเนื้อของสัตว์ทั้ง-
สองนั้นที่ตายเพราะทะเลาะกัน. สุนัขจิ้งจอกนั้นจึงเข้าไปหาราชสีห์
แล้วถามว่า ข้าแต่นาย ท่านมีเวรอะไร ๆ กับเสือโคร่งหรือ ? ราชสีห์
กล่าวว่า เวรอะไรเล่าสหาย. สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ในตอน
ที่ข้าพเจ้ามาเสือโคร่งนั้นกล่าวแต่โทษของท่านเท่านั้นแหละว่า ขึ้น
ชื่อว่าราชสีห์ย่อมไม่ถึงส่วนแห่งเสี้ยวของเรา โดยผิวพรรณแห่งร่าง-
กายก็ตาม โดยลักษณะสูงใหญ่ก็ตาม หรือโดยชาติกำลัง และความ
เพียรก็ตาม. ราชสีห์กล่าวว่า จะไปเสียเถอะเจ้า เสือโคร่งนั้นคงจัก
ไม่กล่าวอย่างนั้น. แม้เสือโคร่งสุนัขจิ้งจอกก็เข้าไปหาแล้วก็กล่าวโดย
อุบายนั้นเหมือนกัน. เสือโคร่งได้ฟังดังนั้น จึงเข้าไปหาราชสีห์แล้ว
กล่าวว่า สหาย ได้ยินว่า ท่านพูดอย่างนี้และอย่างนี้ เมื่อจะถามจึง
กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ท่านผู้มีเขี้ยวงามกล่าวว่า เสือโคร่งชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 797
สุพาหุนี้ มีวรรณะ ลักษณะ ชาติ กำลังกาย
และกำลังความเพียร ไม่ประเสริฐไปกว่าเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลนิกฺกมเนน จ ความว่า มี
กำลังกาย และกำลังความเพียร. บทว่า สุพาหุ น มยา เสยฺโย
ความว่า ได้ยินว่า ท่านพระยาเนื้อผู้ประกอบด้วยเขี้ยวทั้งหลายงดงาม
ชื่อว่าผู้มีเขี้ยวงาม กล่าวอย่างนี้จริงหรือว่า เสือโคร่งชื่อว่าสุพาหุนี้
ไม่แม้นเหมือน คือไม่ยิ่งไปกว่าเราด้วยเหตุเหล่านี้ .
ราชสีห์ได้ฟังดังนั้นจึงได้กล่าว ๔ คาถาที่เหลือว่า :-
เสือโคร่งชื่อสุพาหุกล่าวว่า ราชสีห์ผู้มี
เขี้ยวงาม มีวรรณะ ลักษณะ ชาติ กำลังกาย
และกำลังความเพียร ไม่ประเสริฐไปกว่าเรา.
แน่ะเพื่อนสุพาหุ ถ้าท่านจะประทุษร้าย
เราผู้อยู่กับท่านอย่างนี้ บัดนี้ เราก็จะไม่พึง
ยินดีอยู่ร่วมกับท่านต่อไป.
ผู้ใดเชื่อคำของคนอื่นโดยถือเป็นจริง
เป็นจัง ผู้นั้นต้องพลันแตกจากมิตร และ
ต้องประสบเวรเป็นอันมาก.
ผู้ใดระมัดระวังอยู่ทุกขณะ มุ่งความ
แตกร้าว คอยแต่จับผิด ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 798
มิตร ส่วนผู้ใดอันผู้อื่นยุให้แตกกันไม่ได้ ไม่
มีความรังเกียจในมิตร นอนอยู่อย่างปลอด-
ภัยเหมือนบุตรุนอนแอบอกมารดาฉะนั้น ผู้
นั้นนับว่าเป็นมิตรแท้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺม แปลว่า เพื่อน. บทว่า
ทุพฺภสิ ความว่า ถ้าท่านเชื่อถือถ้อยคำของสุนัขจิ้งจอกแล้วประทุษ-
ร้าย คือปรารถนาจะฆ่าเราผู้อยู่อย่างพร้อมเพรียงกับท่านอย่างนี้ไซร้
จำเดิมแต่บัดนี้ไป เราจะไม่พึงยินดีอยู่กับท่าน. บทว่า ยถาตถ ความ
ว่า พึงเธอคำอารยชนผู้ไม่กล่าวให้คลาดเคลื่อนกล่าวแล้วตามความ
เป็นจริง คือตามความจริงความแท้. อธิบายว่า ผู้ใดพึงเชื่อคำของคน
อื่นคนใดคนหนึ่ง ด้วยประการอย่างนี้. บทว่า โย สทา อปฺป-
มตฺโต ความว่า ผู้ใดเป็นผู้ไม่ประมาทระมัดระวังเป็นนิจ ไม่ให้ความ
คุ้นเคยแก่มิตร ผู้นั้นไม่ชื่อว่ามิตร. บทว่า เภทาสงฺกี ความว่า
ย่อมหวังแต่ความแตกร้าวของมิตรอยู่อย่างนี้ว่า จักแตกกันวันนี้ จัก
แตกกันพรุ่งนี้. บทว่า รนฺธเมวานุปสฺสี ได้แก่ มองเห็นแต่ช่อง
บกพร่องเท่านั้น. บทว่า อุรสีว ปุตฺโต ความว่า เป็นผู้ไม่รังเกียจ
ในมิตร เป็นผู้ปลอดภัยนอนอยู่ เหมือนบุตรนอนที่หทัยของมารดา
ฉะนั้น.
เมื่อราชสีห์กล่าวคุณของมิตรด้วยคาถาทั้ง ๔ คาถานี้ด้วยประ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 799
การฉะนี้ เสือโคร่งกล่าวว่า โทษผิดของข้าพเจ้า แล้วขอษมาราชสีห์.
สัตว์ทั้งสองนั้นได้อยู่พร้อมเพรียงกันเหมือนอย่างเดิม ส่วนสุนัขจิ้ง-
ได้หนีไปอยู่ที่อื่นแล.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า สุนัขจิ้งจอกในกาลนั้น ได้เป็นคนกินเดน ราชสีห์
ในกาลนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร เสือโคร่งในกาลนั้น ได้เป็นพระ-
โมคคัลลานะ ส่วนรุกขเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในป่านั้นเห็นเหตุการณ์นั้น
โดยจัดแจ้ง ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถา วรรณาโรหชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 800
๒. สีลวีมังสชาดก
ผู้ประพฤติธรรมย่อมเป็นผู้เสมอกัน
[๗๕๘] ข้าพระองค์มีความสงสัยว่า ศีลประเสริฐ
หรือสุตะ ประเสริฐศีลนี่แหละประเสริฐกว่า
สุตะ ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยเเล้ว.
[๗๕๙] ชาติและวรรณะเป็นของเปล่า ได้สดับ
มาว่า ศีลเท่านั้นประเสริฐที่สุด บุคคลผู้ไม่
ประกอบด้วยศีล ย่อมไม่ได้ประโยชน์เพราะ
สุตะ.
[๗๖๐] กษัตริย์และแพศย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ไม่
อาศัยธรรม ชนทั้งสองนั้นละโลกนี้ไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงทุคติ.
[๗๖๑] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ คน
จัณฑาล และคนเทหยากเยื่อ ประพฤติธรรม
ในธรรมวินัยนี้แล้วย่อมเป็นผู้เสมอกันในไตร
ทิพย์.
[๗๖๒] เวท ชาติ แม้พวกพ้อง ก็ไม่สามารถ
จะให้อิสริยยศ หรือความสุขในภพหน้าได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 801
ส่วนศีลของตนเองที่บริสุทธิ์ดีแล้ว ย่อมนำ
ความสุขในภพหน้ามาให้ได้.
จบ สีลวีมังสชาดกที่ ๒
อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พราหมณ์ผู้ทดลองศีลคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า สีล เสยฺโย ดังนี้.
ได้ยินว่า พระราชาทรงเห็นพรามณ์นั้นว่า พราหมณ์นี้
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยศีล จึงทรงตั้งให้ยิ่งกว่าพราหมณ์ทั้งหลายอื่น.
พราหมณ์นั้นคิดว่า พระราชาทรงกระทำความเคารพนับถือเรา ทรง
เห็นเราว่าเป็นผู้มีศีล หรือว่าทรงเห็นว่าเป็นผู้ประกอบด้วยการจำ
ทรงสุตะไว้ได้ เราจักทดลองดูก่อนว่าศีลหรือสุตะสำคัญกว่ากัน.
วันหนึ่งพราหมณ์นั้นจึงหยิบเอากหาปณะจากแผ่นกระดานนับเงินของ
เหรัญญิกไป. เหรัญญิกก็ไม่พูดอะไร เพราะความเคารพ. แม้ในครั้ง
ที่สอง ก็ไม่พูดอะไร แต่ในครั้งที่สาม เหรัญญิกกล่าวหาว่า เป็นโจร
ปล้นเงิน แล้วให้จับพราหมณ์นั้นมาถวายพระราชา เมื่อพระราชาตรัส
ว่า พราหมณ์นี้ทำอะไร จึงกราบทูลว่า ปล้นทรัพย์พระเจ้าข้า. พระ-
ราชาตรัสถามว่า เขาว่า จริงหรือพราหมณ์. พราหมณ์กราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระบาทมิได้ปล้นทรัพย์ แต่ข้าพระบาทมีความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 802
รังเกียจสงสัยว่า ศีลเป็นใหญ่หรือว่าสุตะเป็นใหญ่ ข้าพระบาทนั้น
เมื่อจะทดลองว่า บรรดาศีลและสุตะนั้น อย่างไหนหนอเป็นใหญ่ จึง
หยิบเอากหาปณะไป ๓ ครั้ง เหรัญญิกนี้ให้จำข้าพระบาทนั้นแล้วนำ
มาถวายพระองค์ บัดนี้ ข้าพระบาททราบแล้วว่า ศีลใหญ่กว่าสุตะ
ข้าพระบาทไม่มีความต้องการอยู่ครองเรือน ข้าพระบาทจักบวช. ดังนี้
แล้ว ขอให้ทรงอนุญาตการบวช แล้วไม่เหลียวดูประตูเรือนเลยไป
ยังพระเชตวัน ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา พระศาสดาทรงสั่งให้
บรรพชาและอุปสมบทแก่พราหมณ์นั้น. ท่านอุปสมบทแล้วไม่นาน
เจริญวิปัสสนา ได้ดำรงอยู่ในอรหัตตผล.
ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโส
ทั้งหลาย พราหมณ์ชื่อโน้นทดลองศีลของตนแล้ว ก็บวชเจริญวิปัสส-
นา ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พราหมณ์นี้เท่านั้นทดลองศีลแล้วบรรพชาบรรลุพระอรหัต
เฉพาะในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน บัณฑิตทั้งหลาย
ทดลองศีลแล้วบรรพชา ได้กระทำที่พึ่งแก่ตนแล้วเหมือนกัน. แล้ว
ทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพระพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 803
เรียนศิลปะทุกอย่างในเมืองตักกศิลาเสร็จแล้ว กลับไปเมืองพาราณาสี
แสดงให้พระราชา ทอดพระเนตร. พระราชาได้ประทานตำแหน่ง
ปุโรหิตแก่พระโพธิสัตว์นั้น พระโพธิสัตว์นั้นรักษาศีลห้า. ฝ่ายพระ-
ราชาก็ทรงเคารพพระโพธิสัตว์นั้นทรงเห็นว่าเป็นผู้มีศีล. พระโพธิ-
สัตว์นั้นคิดว่า พระราชาทรงเคารพเห็นว่าเราเป็นผู้มีศีล หรือทรง
เห็นว่าเป็นผู้ประกอบการทรงจำสุตะไว้ได้. เรื่องทั้งปวงเหมือนเรื่อง
ปัจจุบันนั่นแล. แต่ในที่นี้ พราหมณ์นั้นกล่าวว่า บัดนี้ เรารู้แล้วว่า
ศีลเป็นใหญ่สำคัญว่าสุตะ. จึงได้กล่าวคาถา ๕ คาถานี้ว่า :-
ข้าพระองค์ได้มีความสงสัยว่า ศิลประ-
เสริฐหรือสุตะประเสริฐ ศีลนี่แหละประเสริฐ
กว่าสุตะ ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยแล้ว.
ชาติและวรรณะเป็นของเปล่า ได้สดับ
มาว่า ศีลเท่านั้นประเสริฐที่สุด บุคคลผู้ไม่
ประกอบด้วยศีล ย่อมไม่ได้ประโยชน์เพราะ
สุตะ.
กษัตริย์และแพศย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
ไม่อาศัยธรรม ชนทั้งสองนั้น ละโลกนี้ไป
แล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ.
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ คน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 804
จัณฑาลและคนเทหยากเหยื่อ ประพฤติธรรม
ในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกัน
ในไตรทิพย์
เวท ชาติ แม้พวกพ้อง ก็ไม่สามารถจะ
ให้อิสริยยศหรือความสุขในภพหน้าได้ ส่วน
ศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว ย่อมนำมาซึ่งความ
สุขในภพหน้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลเมว สุตา เสยฺโย ความว่า
ศีลเท่านั้นยิ่งกว่าปริยัติคือสุตะ โดยร้อยเท่า พันเท่า. ก็แหละครั้น
กล่าวอย่างนี้แล้วจึงตั้งหัวข้อว่า ชื่อว่าศีลนี้มีอย่างเดียวด้วยอำนาจ
สังวรศีล มีสองอย่าง ด้วยอำนาจจารีตศีลและวารีตศีล มีสามอย่าง
ด้วยอำนาจศีลที่เป็นไปทางกาย วาจา และใจ มีสี่อย่าด้วยอำนาจ
ปาติโมกข์สังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทฐิศีล และปัจจย-
สันนิสิตศีล แล้วได้กล่าวคุณของศีลให้พิสดาร. บทว่า โมฆา ได้แก่
ไร้ผล คือเป็นของเปล่า. บทว่า ชาติ ได้แก่ การเกิดในขัตติยสกุล
เป็นต้น. บทว่า วณฺโณ ได้แก่ ผิวพรรณแห่งร่างกาย คือ ความ
เป็นผู้มีรูปงาม. ก็เพราะเหตุที่ความถึงพร้อมด้วยชาติก็ดี ความถึง
พร้อมด้วยวรรณะก็ดี ย่อมไม่สามารถจะให้ความสุขในสวรรค์ แก่คน
ผู้เว้นจากศีล ฉะนั้น พระโพธิสัตว์นั้น จึงกล่าวความถึงพร้อมด้วย
ชาติและวรรณะทั้งสองนั้นว่าเป็นโมฆะ. ด้วยบทว่า สีลเมว กิร นี้ ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 805
กล่าวตามที่ได้ยินได้ฟังมา แต่ไม่ได้รู้ด้วยตนเอง. บทว่า อนฺเปตสฺส
แปลว่า ผู้ไม่ประกอบแล้ว. บทว่า สุเตนตฺโถ น วิชฺชติ ความว่า
บุคคลผู้เว้นจากศีล ย่อมไม่มีความเจริญอะไรในโลกนี้หรือโลกหน้า
เพราะเหตุสักว่าปริยัติคือสุตะ. จากนั้นได้กล่าวคาถา ๒ คาถาข้างหน้า
ต่อไป เพื่อจะแสดงถึงความที่ชาติเป็นของเปล่า. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า เต ปริจฺจชฺชุโภ โลเก ความว่า คนไม่มีศีลเหล่านั้นละโลก
ทั้งสองคือ เทวโลกและมนุษยโลก ย่อมเข้าถึงทุคติ. บทว่า จณฺฑาล-
ปุกฺกุสา ได้แก่ คนจัณฑาลผู้ทิ้งซากศพ และคนชาติปุกกุสะผู้ทิ้ง
ดอกไม้. บทว่า ภวนฺติ ติทเว สมา ความว่า ชนเหล่านั้นทั้งหมด
บังเกิดในเทวโลก ด้วยอานุภาพแห่งศีล ชื่อว่าเป็นผู้เสมอกัน คือไม่
พิเศษกว่ากัน ถึงการนับว่าเทพเหมือนกัน. ท่านกล่าวคาถาที่ ๕ เพื่อ
แสดงว่า สุตเป็นต้นทั้งหมดเป็นของเปล่า. เนื้อความของคาถาที่ ๕ นั้น
ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เวทเป็นต้นเหล่านี้ เว้นการให้เพียงสักว่ายศ
ในโลกนี้เสีย ย่อมไม่สามารถจะให้ยศหรือสุขในโลกหน้า คือในภพ
ที่ ๒ หรือภพที่ ๓ ได้ส่วนศีลของตนเท่านั้นอันบริสุทธิ์ ย่อมอาจให้
ยศหรือสุขนั้นได้.
พระมหาสัตว์กล่าวคุณของศีลอย่างนี้แล้ว จึงขอให้พระราชา
ทรงอนุญาตการบวช แล้วเข้าไปยังประเทศหิมพานต์ในวันนั้นเอง
บวชเป็นฤๅษี ทำอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดแล้ว ได้มีพรหมโลกเป็น
ที่ไปในเบื้องหน้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 806
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พราหมณ์ผู้ทดลองศีลแล้วบวชเป็นฤๅษีในครั้งนั้น
ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 807
๓. หิริชาดก
การกระทำที่ส่อให้รู้ว่ามิตรหรือมิใช่มิตร
[๗๖๓] ผู้ใดหมดความอาย เกลียดชังความมี
เมตตา กล่าวอยู่ว่าเราเป็นมิตร. สหายของท่าน
ไม่ได้เอื้อเฟื้อทำการงานที่ดีกว่า บัณฑิตรู้จัก
ผู้นั้นได้ดีว่า ผู้นี้มิใช่มิตรสหายของเรา.
[๗๖๔] เพราะว่าบุคคลทำอย่างไร ก็พึงกล่าว
อย่างนั้น ไม่ทำอย่างไร ก็ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น
บัณฑิตทั้งหลายรู้จักบุคคลนั้นว่า ผู้ไม่ทำให้
สมกับพูด เป็นแต่กล่าวอยู่ว่า เราเป็นมิตร
สหายของท่าน.
[๗๖๕] ผู้ใดไม่ประมาทอยู่ทุกขณะ มุ่งความ
แตกร้าว คอยแต่จับความผิด ผู้นั้นไม่ชื่อว่า
เป็นมิตร ส่วนผู้ใดอันคนอื่นยุให้แตกกันไม่
ได้ ไม่มีความรังเกียจในมิตร นอนอยู่อย่าง
ปลอดภัย เหมือนบุตรนอนแอบอกมารดา
ฉะนั้น ผู้นั้นนับว่าเป็นมิตรแท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 808
[๗๖๖] กุลบุตรผู้มองเห็นผลและอานิสงส์ เมื่อ
นำธุระของบุรุษไปอยู่ ย่อมทำฐานะ คือ การ
ทำความปราโมทย์ และความสุขอันนำมาซึ่ง
ความสรรเสริญให้เกิดมีขึ้น.
[๗๖๗] บุคคลได้ดื่มรสอันเกิดจากวิเวก รส
แห่งความสงบ และรสคือธรรมปีติ ย่อมเป็น
ผู้ไม่มีความกระวนกระวาย เป็นผู้หมดบาป.
จบ หิริชาดกที่ ๓
อรรถกถาหิริชาดกที่ ๓
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
เศรษฐีชาวปัจจันตคามผู้เป็นสหายของอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า หิรินฺตรนฺต ดังนี้.
เรื่องทั้งสอง คือเรื่องปัจจุบันและเรื่องในอดีต ได้มีพิสดาร
แล้วในชาดกจบสุดท้ายแห่งนวมวรรค เอกนิบาต. แต่ในชาดกนี้ เมื่อ
คนมาบอกแก่พาราณสีเศรษฐีว่า คนของเศรษฐีชาวปัจจันตคามถูก
ชิงทรัพย์สมบัติ ไม่เป็นเจ้าของของที่เป็นของตน พากันหนีไปแล้ว
พาราณสีเศรษฐีจึงกล่าวว่า ธรรมดาคนผู้ไม่กระทำกิจที่จะพึงทำแก่
คนผู้มายังสำนักของตน ย่อมไม่ได้คนผู้กระทำตอบแทนเหมือนกัน
แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 809
ผู้ใดหมดความอาย เกลียดชังความมี
เมตตา กล่าวอยู่ว่า เราเป็นมิตรสหายของ
ท่าน แต่ไม่ได้เอื้อเฟื้อทำการงานที่ดีกว่า
บัณฑิตรู้จักผู้นั้นได้ดีกว่า ผู้นี้มิใช่มิตรสหาย
ของเรา.
เพราะว่าบุคคลทำอย่างไร ก็พึงกล่าว
อย่างนั้น ไม่ทำอย่างไร ก็ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น
บัณฑิตทั้งหลายรู้จักบุคคลนั้นว่า ผู้ไม่ทำให้
สมกับพูด เป็นแต่พูดอยู่ว่า เราเป็นมิตร
สหายของท่าน.
ผู้ใดไม่ประมาทอยู่ทุกขณะ. มุ่งความ
แตกร้าว คอยแต่จับความผิด ผู้นั้นไม่ชื่อว่า
เป็นมิตร ส่วนผู้ใดอื่นคนอันยุให้แตกกันไม่
ได้ ไม่รังเกียจในมิตร นอนอยู่อย่างปลอด-
ภัยเหมือนบุตรนอนแนบอกมารดาฉะนั้น ผู้
นั้นนับว่าเป็นมิตรแท้.
กุลบุตรผู้มองเห็นผลและอานิสงส์ เมื่อ
นำธุระหน้าที่ของลูกผู้ชายไปอยู่ ย่อมทำเหตุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 810
คือการทำความปราโมทย์ และความสุขอัน
นำมาซึ่งความสรรเสริญให้เกิดมีขึ้น.
บุคคลได้ดื่มรสอันเกิดจากวิเวก รส
แห่งความสงบ และรสคือธรรมปีติ ย่อม
เป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย เป็นผู้หมด
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิรินฺตรนฺต ได้แก่ ก้าวล่วง
ความละอาย. บทว่า วิชิคุจฺฉมน ได้แก่ ผู้เกลียดการเจริญเมตตา.
บทว่า ตวาหมสฺมิ ความว่า พูดแต่คำพูดอย่างเดียวเท่านั้ว่า เรา
เป็นมิตรของท่าน. บทว่า เสยฺยานิ กมฺมานิ ความว่า ผู้ไม่เอื้อ-
เฟื้อ คือไม่กระทำกรรมอันสูงสุดซึ่งสมควรแก่คำพูดว่า จักให้ จักทำ.
บทว่า เนโส มม ความว่า พึงรู้แจ้งบุคคลเห็นปานนั้นว่า นั่นไม่
ใช่มิตรของเรา. บทว่า ปาโมชฺชกรณ าน ได้แก่ ทาน ศีล
ภาวนา และความเป็นมิตรกับบัณฑิตผู้เป็นกัลยาณมิตร. แต่ในที่นี้
ท่านกล่าวหมายเอาเฉพาะความเป็นมิตรซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว. จริง
อยู่ ความเป็นมิตรกับบัณฑิตผู้เป็นกัลยาณมิตร ย่อมนำซึ่งความปรา-
โมทย์ ทั้งนำมาซึ่งสรรเสริญ ท่านเรียกว่า ความสุขดังนี้ก็มี เพราะ
เป็นเหตุแห่งสุขทางกายและทางใจ ในโลกนี้และโลกหน้า. เพราะ
ฉะนั้น กุลบุตรผู้เห็นผลและอานิสงส์นี้ ชื่อว่าผู้มีผลานิสงส์ เมื่อนำ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 811
พาธุระหน้าที่ของลูกผู้ชายทั้ง ๔ อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา และ
มิตรภาพ ที่ลูกผู้ชายทั้งหลายจะพึงนำพา ย่อมยังเหตุเครื่องกระทำ
ความปราโมทย์กล่าวคือมิตรภาพนี้ และสุขอันเป็นเหตุนำมาซึ่งสรร-
เสริญให้เกิด คือ ให้เจริญ ท่านแสดงว่า ไม่ทำลายมิตรภาพให้แตก
จากบัณฑิตทั้งหลาย. บทว่า ปวิเวกรส ได้แก่ รสแห่งกายวิเวก
จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก คือ รสแห่งความโสมนัสอันอาศัยวิเวก
เหล่านั้นเกิดขึ้น. บทว่า อุปสมสฺส จ ได้แก่ โสมนัสอันได้แล้ว
เพราะความสงบระงับกิเลส. บทว่า นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป ความว่า
ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย เพราะไม่มีความกระวนกระวาย
ด้วยอำนาจของกิเลิสทั้งปวง ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีบาป เพราะไม่มีกิเลส.
บทว่า ธมฺมปีติรส ความว่า ดื่มรสกล่าวคือธรรมปีติ ได้แก่ ปีติอัน
เกิดแต่วิมุตติ.
พระมหาสัตว์สยดสยองการเกลือกกลั้วกับปาปมิตร จึงถือเอา
ยอดแห่งเทศนา โดยให้บรรลุพระอมตมหานิพพาน ด้วยรสแห่งวิเวก
ด้วยประการฉะนี้.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประชุมชาดกว่า เศรษฐีชาวปัจจันตคามในครั้งนั้น ได้เป็นเศรษฐี
ชาวปัจจันตคามนี้แหละ ส่วนพาราณสีเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นเรา
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาหิริชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 812
๔. ขัชโชปนกชาดก
ว่าด้วยเห็นหิ่งห้อยว่าเป็นไฟ
[๗๖๘] ใครหนอ เมื่อไฟมีอยู่ ยังเที่ยวแสวงหา
ไฟอีก เห็นหิ่งห้อยในเวลากลางคืน ก็มา
สำคัญว่าเป็นไฟ.
[๗๖๙] บุคคลนั้น เอาจุรณโคมัยและหญ้าขยี้
ให้ละเอียดโปรยลงบนหิ่งห้อย เพื่อจะให้
เกิดไฟ ก็ไม่สามารถจะให้ไฟลุกได้ ด้วย
ความสำคัญวิปริต ฉันใด.
[๗๗๐] คนพาล ย่อมไม่ได้สิ่งที่ต้องประสงค์
โดยมิใช่อุบาย นมโคไม่มีที่เขาโค คนรีด
นมโคจากเขาโค ย่อมไม่ได้นม ก็ฉันนั้น.
[๗๗๑] ชนทั้งหลาย ย่อมบรรลุถึงประโยชน์
ด้วยอุบายต่าง ๆ คือด้วยการข่มศัตรู และ
ด้วยการยกย่องมิตร.
[๗๗๒] พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย ย่อมครอบ-
ครองแผ่นดินอยู่ได้ ก็ด้วยการได้อำมาตย์ผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 813
เป็นประมุขของเสนี และด้วยการแนะนำ
ของอำมาตย์ผู้ที่ทรงโปรดปราน.
จบ ขัชโชปนกชาดกที่ ๔
อรรถกถาขัชโชปนกชาดกที่ ๔
ปัญหาว่าด้วยหิ่งห้อยนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โกนุ สนฺตมฺหิ
ปชฺโชเต ดังนี้. จักมีแจ้งโดยพิสดาร ในมหาอุมังคชาดกแล.
จบ อรรถกถาขัชโชปนกชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 814
๕. อหิตุณฑิกชาดก
ว่าด้วยลิงกับหมองู
[๗๗๓] ดูก่อนสหายผู้มีหน้างาม เราเป็นนักเลง
สะกา แพ้เขาเพราะลูกบาศก์ ท่านจงทิ้ง
มะม่วงสุกลงมาบ้าง เราจะได้บริโภคเพราะ
ความเพียรของท่าน.
[๗๗๔] ดูก่อนสหาย ท่านมากล่าวสรรเสริญเรา
ผู้ล่อกแล่ก ด้วยคำไม่เป็นจริง ขึ้นชื่อว่าลิง
ที่มีหน้างาม ท่านเคยได้ยินหรือเคยได้เห็น
ที่ไหนมาบ้าง.
[๗๗๕] ดูก่อนหมองู ท่านทำกรรมใดไว้กะเรา
กรรมนั้นยังปรากฏอยู่ในหัวใจของเราจนวันนี้
ท่านเข้าไปยังตลาดขายข้าวเปลือก เมาสุรา
แล้ว ตีเราผู้กำลังหิวโหยถึงสามครั้ง.
[๗๗๖] เราระลึกถึงการนอนเป็นทุกข์อยู่ที่ตลาด
นั้นได้ อนึ่ง ถึงท่านจะยกราชสมบัติให้เรา
ครอบครอง ท่านขอมะม่วงเราแม่ผลเดียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 815
เราก็ไม่ให้ เพราะว่าเราถูกท่านคุกคามให้
กลัวเสียแล้ว.
[๗๗๗] อนึ่ง บัณฑิตรู้จักผู้ใดที่เกิดในตระกูล
เอิบอิ่มอยู่ในห้อง ไม่มีความตระหนี่ ก็ควร
จะผูกความเป็นสหายและมิตรภาพกับผู้นั้น
ไว้ให้สนิท.
จบ อหิตุณฑิกชาดกที่ ๕
อรรถกถาอหิตุณฑิกชาดกที่ ๕
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุแก่รูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ธุตฺโตมฺหิ
ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารแล้วในสาลกชาดกในหนหลัง. แม้
ในชาดกนี้ ภิกษุแก่นั้นให้เด็กชาวบ้านคนหนึ่งบวช แล้วด่าและ
ประหาร. เด็กจึงหนีไปสึก. แม้ครั้งที่สอง ให้เด็กนั้นบวชแล้วก็ได้
กระทำเหมือนอย่างเดิม แม้ครั้งที่สองเด็กนั้นก็สึก ผู้อันพระแก่นั้น
อ้อนวอนอีก ก็ไม่ปรารถนาแม้เพื่อจะแลดู. ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนา
กันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุแก่ชื่อโน้นไม่อาจเป็น
ไปเพื่อจะร่วมและจะพรากจากสามเณรของตน ส่วนสามเณรเห็นโทษ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 816
ของพระแก่นั้น ไม่ปรารถนาแม้เพื่อจะแลดูอีก สามเณรนั้นเป็นเด็ก
ใจดี. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอ
ทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้
เท่านั้น แม้ในปางก่อน สามเณรนี้ก็เป็นคนใจดีแท้ เห็นโทษคราว
เดียวไม่ปรารถนาแม้เพื่อจะแลดูอีก แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา
สาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพ่อค้าข้าวเปลือก เจริญวัยแล้ว
จึงเลี้ยงชีวิตด้วยการขายข้าวเปลือก. ครั้งนั้น มีหมองูคนหนึ่งจับลิง
มาฝึกให้เล่นกับงู เมื่อเขาโฆษณาการมหรสพในนครพาราณสี จึง
พักลิงนั้นมาไว้ในสำนักของพ่อค้าข้าวเปลือกแล้วเที่ยวเล่นอยู่ตลอด ๗
วัน. พ่อค้าแม้นั้นได้ให้ของเคี้ยว ของบริโภคแก่ลิง. ในวันที่ ๗
หมองูเลิกเล่นมหรสพกลับมา ได้เอาซี่ไม้ไผ่ตีลิงนั้น ๓ ครั้ง แล้ว
พาลิงนั้นไปยังอุทยาน ผูกไว้แล้วจึงหลับไป. ลิงแก้เครื่องผูกออกแล้ว
ขึ้นไปยังต้นมะม่วง นั่งกินมะม่วงอยู่. หมองูนั้นตื่นขึ้นแล้ว แลเห็น
ลิงอยู่บนต้นไม้ จึงคิดว่า เราควรจะหลอกล่อจับลิงนั้น เมื่อจะเจรจา
กับลิงนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ดูก่อนสหายผู้มีหน้างาม เราเป็นนักเลง
สะกาแพ้เขาเพราะลูกบาศก์ท่านจงทิ้งมะม่วง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 817
สุกลงมาบ้าง เราจะได้บริโภคก็เพราะความ
เพียรของท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺขปราชิโต แปลว่า แพ้เพราะ
ลูกบาศก์ทั้งหลาย. บทว่า หเรหิ ความว่า จงให้ตกลงมา. บาลีว่า
ปาเตหิ ดังนี้ก็มี.
ลิงได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาทั้งหลายที่เหลือว่า :-
ดูก่อนสหาย ท่านมาสรรเสริญเราผู้
ล่อกแล่กด้วยคำไม่เป็นจริง ขึ้นชื่อว่าลิงที่มี
หน้างาม ท่านเคยได้ยินหรือเคยได้เห็นที่
ไหนมาบ้าง.
ดูก่อนหมองู ท่านทำกรรมใดไว้กะเรา
กรรมนั้นยังปรากฏอยู่ในหัวใจของเราจนบัดนี้
ท่านเข้าไปยังร้านตลาดข้าวเปลือก เมาสุรา
แล้ว ติเราผู้กำลังหิวโหยถึงสามที.
เราระลึกถึงการนอนเป็นทุกข์ ณ ที่
ตลาดนั้นได้ อนึ่ง ถึงท่านจะยกราชสมบัติ
ให้เราครอบครอง ถึงอย่างนั้น ท่านขอ
มะม่วงเราแม้ผลเดียว เราก็ไม่ให้ เพราะว่า
เราถูกท่านคุกคามให้กลัวเสียแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 818
อนึ่ง บัณฑิตรู้จักผู้ใดที่เกิดในตระกูล
เอิบอิ่มอยู่ในห้อง ไม่มีความตระหนี่ ก็ควร
จะผูกความเป็นสหายและมิตรภาพกับผู้นั้น
ไว้ให้สนิท.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลิก ได้แก่ เหลวไหลหนอ.
บทว่า อภูเตน แปลว่า ไม่มีอยู่. บทว่า โก เต แก้เป็น กตฺถ
ตยา. บทว่า สุมุโข แปลว่า ผู้มีหน้างาม. ลิงเรียกหมองูนั้นว่า
อหิตุณฑิกะ. บาลีว่า อหิคุณฺฑิก ดังนี้ก็มี. บทว่า ฉาต ได้แก่
ถูกความหิวครอบงำ คือ ทุรพล กำพร้า. บทว่า หนาสิ ได้แก่
ตีด้วยซี่ไม้ไผ่ ๓ ครั้ง. บทว่า ตาห แยกเป็นศัพท์ว่า ต อห.
บทว่า สร แปลว่า ระลึกถึงอยู่. บทว่า ทุกฺขเสยฺย ได้แก่ นอน
เป็นทุกข์อยู่ที่ตลาดนั้น. บทว่า อปิ รชฺชมฺปิ การเย ความว่า
ถ้าแม้ท่านจะเอาราชสมบัติในเมืองพาราณสีมาให้เรา แล้วให้เราครอง
ราชสมบัติไซร้ แม้ถึงอย่างนั้น เราผู้อันท่านอ้อนวอนขอก็จะไม่ให้
มะม่วงนั้น คือ เราถูกท่านขอก็จะไม่ให้มะม่วงสุกนั้นแม้แต่ผลเดียว.
เพราะเหตุไร ? เพราะเราถูกท่านคุกคามให้กลัวเสียแล้ว อธิบายว่า
จริงอย่างนั้น เราถูกท่านคุกดามด้วยความกลัว. บทว่า คพฺเภ ติตฺต
ความว่า ผู้อิ่มเอิบด้วยสุธาโภชน์อยู่เฉพาะในท้องมารดา หรือใน
ห้องนอนที่ประดับและตกแต่งแล้ว ชื่อว่าผู้ไม่จนเพราะหวังได้
โภคทรัพย์. บทว่า สขิญฺจ มิตฺตญฺจ ความว่า บัณฑิตควรจะเชื่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 819
คือเชื่อมต่อความเป็นเพื่อนและความเป็นมิตรกับบุคคลเห็นปานนี้
ผู้เกิดในตระกูล ผู้เอิบอิ่ม ไม่ยากจน ไม่มีความตระหนี่ ก็ใครเล่าจะ
เชื่อมต่อความเป็นมิตรกับท่านผู้เป็นหมองูยากจน.
ก็แหละวานรครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ผลุนผลันเข้าชัฏป่าไป.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า หมองูในครั้งนั้น ได้เป็นพระเถระแก่ ลิงในครั้งนั้น
ได้มาเป็นยามเณร ส่วนพ่อค้าข้าวเปลือกในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอหิตุณฑิกชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 820
๖. คุมพิยชาดก
เปรียบวัตถุกามเหมือนยาพิษ
[๗๗๘] ยักษ์ชื่อคุมพิยะเที่ยวหาเหยื่อของตนอยู่
ได้วางยาพิษอันมีสี กลิ่น และรสเหมือน
น้ำผึ้งไว้ในป่า.
[๗๗๙] สัตว์เหล่าใดมาสำคัญว่าน้ำผึ้ง กินยาพิษ
นั้นเข้าไป ยาพิษนั้นเป็นของร้ายแรงแก่สัตว์
เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นต้องพากันเข้าถึงความ
ตาย เพราะยาพิษนั้น.
[๗๘๐] ส่วนสัตว์เหล่าใดพิจารณาดูรู้ว่าเป็นยาพิษ
แล้วละเว้นเสีย สัตว์เหล่านั้น เมื่อสัตว์ที่
บริโภคยาพิษเข้ากระสับกระส่ายอยู่ ถูกฤทธิ์
ยาพิษแผดเผาอยู่ ก็เป็นผู้มีความสุข ดับ
ความทุกข์เสียได้.
[๗๘๑] วัตถุกามทั้งหลายฝังอยู่ในมนุษย์ บัณฑิต
พึงทราบว่าเป็นยาพิษ เหมือนกับยาพิษอัน
ยักษ์วางไว้ที่หนทางฉะนั้น กามคุณนี้ชื่อว่า
เป็นเหยื่อของสัตว์โลก และชื่อว่าเป็นเครื่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 821
ผูกมัดสัตว์โลกไว้ มฤตยูมีถ้ำคือร่างกายเป็น
ที่อยู่อาศัย.
[๗๘๒] บัณฑิตเหล่าใดผู้มีความเร่าร้อน ย่อม
ละเว้นกามคุณเหล่านี้ อันเป็นเครื่องบำรุง
ปรุงกิเลสเสียได้ในกาลทุกเมื่อ บัณฑิต
เหล่านั้นนับว่า ได้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง
ในโลกแล้ว เหมือนกับผู้ละเว้นยาพิษที่ยักษ์
วางไว้ในหนทางใหญ่ฉะนั้น.
จบ คุมพิยชาดกที่ ๖
อรรถกถาคุมพิยชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้กระสันจะสึก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
มธุวณฺณ มธุรส ดังนี้.
ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยิน
ว่าเธอกระสันจะสึกจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระ-
เจ้าข้า. จึงตรัสถามว่า เพราะเห็นอะไร ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า เพราะ
เห็นมาตุคามผู้ประดับแต่งตัว พระเจ้าข้า. จึงตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้น
ชื่อว่าเบญจกามคุณเหล่านั้น เป็นเสมือนน้ำผึ้งที่ยักษ์ชื่อว่า คุมพิยะ
ตนหนึ่งใส่น้ำผึ้งวางไว้ที่หนทาง อันภิกษุนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 822
นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลสัตถวาหะคือพ่อค้าเกวียน พอ
เจริญวัย จึงเอาเกวียน ๕๐๐ เล่ม บรรทุกสินค้าจากเมืองพาราณสีไป
เพื่อค้าขาย บรรลุถึงประตูดงชื่อมหาวัตตนี จึงให้พวกเกวียนประชุม
กันแล้วให้โอวาทว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ในหนทางนี้ มีใบไม้ดอกไม้
และผลไม้เป็นต้นมีพิษ ท่านทั้งหลายเมื่อจะกินอะไรที่ไม่เคยกิน ยัง
ไม่ได้ถามข้าพเจ้า อย่าเพิ่งกิน แม้พวกอมนุษย์ก็จะใส่ยาพิษวางห่อภัต
ชิ้นน้ำอ้อย และผลไม้เป็นต้นไว้ในหนทาง พวกท่านยังไม่ได้ถาม
ข้าพเจ้า จงอย่ากินห่อภัตเป็นต้นแม้เหล่านั้น ดังนี้แล้วก็เดินทางไป.
ครั้งนั้น ยักษ์ตนหนึ่งชื่อว่าคุมพิยะลาดใบไม้วางก้อนน้ำอ้อย ผสม
ยาพิษอย่างแรงไว้ในหนทาง ในที่ท่ามกลางดง ส่วนตนเองเที่ยวเคาะ
ต้นไม้ในที่ใกล้ทางทำที่หาน้ำผึ้งอยู่. พวกคนที่ไม่รู้คิดว่า เขาคงจะ
วางไว้เพื่อต้องการบุญ จึงกินเข้าไปแล้วก็ถึงแก่ความสิ้นชีวิต. พวก
อมนุษย์จึงพากันมากินคนเหล่านั้น แม้มนุษย์ชาวเกวียนของพระ-
โพธิสัตว์เห็นสิ่งของเหล่านั้น บางพวกมีสันดานละโมบ ไม่อาจอดกลั้น
ได้ก็กินเข้าไป พวกที่มีชาติกำเนิดเป็นคนฉลาดคิดว่า จักถามก่อน
แล้วจึงจะกิน จึงได้ถือเอาไปแล้วยืนอยู่. พระโพธิสัตว์เห็นชนเหล่า
นั้นแล้วจึงให้ทิ้งสิ่งของที่อยู่ในมือเสีย. คนเหล่าใดกินเข้าไปก่อนแล้ว
คนเหล่านั้นก็ตายไป คนเหล่าใดกินเข้าไปครึ่งหนึ่ง พระโพธิสัตว์จึงให้
ยาสำรอกแก่คนเหล่านั้นแล้วได้ให้รสหวานสี่อย่าง ในเวลาที่สำรอก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 823
ออกแล้ว. ดังนั้น ชนเหล่านั้นจึงได้รอดชีวิตด้วยอานุภาพของพระ-
โพธิสัตว์นั้น พระโพธิสัตว์ไปถึงที่ที่ปรารถนาโดยปลอดภัย แล้ว
จำหน่ายสินค้า ได้กลับมายังเรือนของตนตามเดิม.
พระศาสดาเมื่อจะตรัสเนื้อความนั้น จึงได้ตรัสอภิสัมพุทธคาถา
คือคาถาที่ตรัสในเวลาที่ได้ตรัสรู้แล้วเหล่านี้ว่า :-
ยักษ์ชื่อคุมพิยะเที่ยวหาเหยื่อของตนอยู่
ด้วยวางยาพิษอันมีสี กลิ่นและรสเหมือนน้ำผึ้ง
ไว้ในป่า.
สัตว์เหล่าใด มาสำคัญว่าน้ำผึ้ง กิน
ยาพิษนั้นเข้าไป ยาพิษนั้นเป็นของร้ายแรง
แก่สัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้น ต้องพากัน
เข้าถึงความตาย เพราะยาพิษนั้น.
ส่วนสัตว์เหล่าใด พิจารณาดูรู้ว่าเป็นยา
พิษแล้วละเว้นเสีย สัตว์เหล่านั้น เมื่อสัตว์
ที่บริโภคยาพิษเข้าไปกระสับกระส่ายอยู่ ถูก
ยาพิษแผดเผาอยู่ ตัวเองก็เป็นผู้มีความสุข
ดับความทุกข์ได้เสีย.
วัตถุกามทั้งหลายฝังอยู่ในมนุษย์ บัณฑิต
พึงทราบว่าเป็นยาพิษ เหมือนยาพิษอันยักษ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 824
วางไว้ที่หนทางฉะนั้น กามคุณนี้นับว่าเป็น
เหยื่อของสัตว์โลก และนับว่าเป็นเครื่องผูก
มัดสัตว์โลกไว้ มฤตยูมีถ้ำคือร่างกายเป็นที่
อยู่อาศัย.
บัณฑิตเหล่าใดผู้มีความร้อนใจ ย่อมละ
เว้นกามคุณเหล่านี้อันเป็นเครื่องบำรุงปรุง-
กิเลสเสียได้ในกาลทุกเมื่อ บัณฑิตเหล่านั้น
นับว่า ได้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องในโลก
แล้ว เหมือนกับผู้ละเว้นยาพิษที่ยักษ์วางไว้
ในหนทางใหญ่ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คุมฺพิโย ได้แก่ ยักษ์ผู้ได้ชื่ออย่าง
นั้น เพราะเที่ยวไปในพุ่มไม้ในป่านั้น. บทว่า ฆาสเมสาโน ได้แก่
ผู้แสวงหาเหยื่อของตนอยู่อย่างนี้ว่า เราจักกินคนที่กินยาพิษนั้นตาย.
บทว่า โอทหี ความว่า วางยาพิษนั้นอันมีสี กลิ่น และรส เสมอด้วย
น้ำผึ้ง. บทว่า กฎุก อาสิ ความว่า ได้เป็นยาพิษร้ายแรง. บทว่า
มรณ เตนุปาคมุ ความว่า สัตว์เหล่านั้นเข้าถึงความตายเพราะยา
พิษนั้น. บทว่า อาตุเรสุ ได้แก่ ผู้จวนจะตายเพราะกำลังยาพิษ. บทว่า
ทยฺหมาเนสุ ได้แก่ ผู้อันเดชของยาพิษนั้นแหละแผดเผาอยู่. บทว่า
วิสกามา สโมหิตา ความว่า แม้ในจำพวกมนุษย์ วัตตุกาม ๕ มีรูป
เป็นต้นนี้นั้นและฝัง คือ วางอยู่ในที่นั้น ๆ วัตถุกาม ๕ นั้นพึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 825
ทราบว่าเป็นยาพิษ เหมือนยาพิษที่ยักษ์ฝัง คือวางใว้ในหนทางใหญ่
ในดงวัตตทีนั้น ฉะนั้น.บทว่า อามิส พนฺธนญฺเจต ความว่า ธรรมดา
ว่ากามคุณห้านี้ ชื่อว่าเป็นเหยื่ออันนายพรานเบ็ดคือมารใส่ล่อชาวโลก
ผู้เป็นสัตว์ที่มีอันจะต้องตายเป็นสภาวะนี้ และชื่อว่าเป็นเครื่องจองจำมี
ประการต่าง ๆ มีชื่อเป็นต้นเป็นประเภท เพราะไม่ยอมให้ออกไปจาก
ภพน้อยภพใหญ่ ด้วยประการอย่างนี้. บทว่า มจฺจุวโส คุหาสโย
ความว่า ความตายชื่อว่า มัจจุวสะ เพราะมีถ้ำคือร่างกายเป็นที่อยู่.
บทว่า เอวเมว อิเม กาเม ได้แก่ กามเหล่านั้นที่ฝั่งอยู่ในร่างกาย
นั้น ๆ เหมือนยาพิษที่ยักษ์วางไว้ในหนทางใหญ่ในดงชื่อว่าวัตตนี
ฉะนั้น. บทว่า อาตุรา ความว่า มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตใกล้จะตาย
ชื่อว่าผู้ร้อนใจกระสับกระส่าย เพราะมีความตายโดยแท้. บทว่า
ปริจาริเก ได้แก่ บำเรอกิเลส คือผูกมัดกิเลสไว้ บทว่า เย สทา
ปริวชฺชนฺติ ความว่า มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตเหล่าใดผู้มีประการยัง
กล่าวแล้ว งดเว้นกามทั้งหลายเห็นปานนี้ ได้เป็นนิจ. บทว่า สงฺค
โลเก ได้แก่ กิเลสชาตชนิดราคะเป็นต้น ซึ่งได้นามว่าเครื่องข้อง
เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องข้องอยู่ในโลก. บทว่า อุปจฺจคา ความว่า
บัณฑิตเหล่านั้นพึงทราบว่า ชื่อว่าผู้ล่วงไปได้แล้ว อีกอย่างหนึ่ง
อธิบายว่า ย่อมก้าวล่วงไป.
พระศาสดา ครั้นทรงประกาศสัจจะแล้ว จึงทรงประชุมชาดก.
ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. พ่อค้า
เกวียนในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาคุมพิยชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 826
๗. สาลิยชาดก
ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว
[๗๘๓] ผู้ใดลวงให้เราจับงูเห่าว่า นี่ลูกนก
สาลิกา ผู้นั้นตามพร่ำสอนสิ่งที่ลามก ถูกงู
นั้นกัดตายแล้ว.
[๗๘๔] คนใดปรารถนาจะฆ่าบุคคลผู้ไม่ฆ่าเอง
และผู้ไม่ใช้คนอันให้ฆ่าตน คนนั้นถูกฆ่า
แล้วนอนตายอยู่ เหมือนกับบุรุษผู้ถูกงูกัด
ตายแล้วฉะนั้น.
[๗๘๕] คนใดปรารถนาจะฆ่าบุคคลผู้ไม่เบียด-
เบียนตน และไม่ฆ่าตน คนนั้นถูกฆ่าแล้ว
นอนตายอยู่ เหมือนกับบุรุษถูกงูกัดตายแล้ว
ฉะนั้น.
[๗๘๖] บุรุษผู้กำฝุ่นไว้ในมือ พึงซัดฝุ่นไปในที่
ทวนลม ละอองฝุ่นนั้น ย่อมหวนกลับมา
กระทบบุรุษนั้นเอง เหมือนบุรุษถูกงูกัดตาย
แล้วฉะนั้น.
[๗๘๗] ผู้ใดประทุษร้ายผู้ไม่ประทุษร้ายตน เป็น
คนบริสุทธิ์ ไม่มีความผิดเลย บาปย่อมกลับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 827
มาถึงคนพาลผู้นั้นเอง เหมือนกับละอองละ-
เอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมฉะนั้น.
จบ สาลิยชาดกที่ ๗
อรรถกถาสาลิยชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
คำว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตไม่อาจเพื่อแม้จะกระทำความ
สะดุ้งแก่พระพุทธองค์ได้ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ยฺวาย สาลิยจฺฉาโป ดังนี้.
จริงอยู่ ในครั้งนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตนี้ก็ไม่อาจเป็นผู้แม้จะ
กระทำความสะดุ้งแก่เราได้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในยินดีมาสาธก ดังต่อ
ไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในตระกูลกุฎุมพีในหมู่บ้าน ใน
คราวมีอายุยังน้อย เล่นอยู่ที่โคนตนไทรใกล้ประตูบ้านกับพวกเด็กที่
เล่นฝุ่นกัน. ครั้งนั้นมีหมอทุรพลคนหนึ่ง ไม่ได้การงานอะไรในบ้าน
จึงออกไปถึงที่นั้น เห็นงูตัวหนึ่งนอนหลับโผล่หัวออกมาจากระหว่างค่า
คบไม้ จึงคิดว่า เราไม่ได้อะไรในบ้าน เราจักลวงเด็กพวกนี้ให้งูกัด
เเล้วเยียวยารักษา คงจะได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งทีเดียว จึงได้กล่าวกะพระ-
โพธิสัตว์ว่า ถ้าเธอจะพบลูกนกสาลิกา เธอจะจับเอาไหม. พระโพธิ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 828
สัตว์กล่าวว่า จ้ะ ฉันจะจับเอา. หมอกล่าวว่า จงดู นั่นลูกนกสาลิกา
มันนอนอยู่ระหว่างค่าคบไม้. พระโพธิสัตว์นั้นไม่รู้ว่านั้นเป็นงู จึงขึ้น
ไปยังต้นไม้ จับที่คอมัน พอรู้ว่าเป็นงูจึงไม่ให้มันหดเข้าไป จับไว้
มั่นแล้วรีบเหวี่ยงไป. งูนั้นปลิวไปตกลงที่คอหมอ รัดคออยู่กัดเสียง
ดังกรุ๊บ ๆ ทำให้หมอนั้นล้มลงตรงที่นั้นแล้วเลื้อยหนีไป. คนทั้งหลาย
พากันห้อมล้อม. พระมหาสัตว์เมื่อจะแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ประชุม
พร้อมกันอยู่ จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
ผู้ใดลวงให้เราจับงูเห่าว่า นี่ลูกนก
สาลิกา ผู้นั้นตามพร่ำสอนสิ่งที่ลามก ถูกงู
นั้นกัดตายแล้ว.
คนใดปรารถนาจะฆ่าบุคคลผู้ไม่ฆ่าเอง
และผู้ไม่ใช้ให้คนอื่นฆ่าตน คนนั้นถูกฆ่าแล้ว
นอนตายอยู่. เหมือนกับบุรุษผู้ถูกงูกัดตาย
แล้วฉะนั้น.
คนใดปรารถนาจะฆ่าบุคคลผู้ไม่เบียด-
เบียนตน และไม่ฆ่าตน คนนั้นถูกฆ่าแล้ว
นอนตายอยู่ เหมือนกับบุรุษผู้ถูกงูกัดตาย
แล้วฉะนั้น.
บุรุษผู้กำฝุ่นไว้ในมือ พึงซัดฝุ่นไปใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 829
ที่ทวนลม ละอองฝุ่นนั้นย่อมหวนกลับมา
กระทบบุรุษนั้นเอง เหมือนบุรุษผู้ถูกงูกัดตาย
แล้วฉะนั้น.
ผู้ใดประทุษร้ายคนผู้ไม่ประทุษร้ายเป็น
คนบริสุทธิ์ ไม่มีความผิดเลย บาปย่อมกลับ
มาถึงคนพาลนั้นเอง เหมือนกับละอองละ-
เอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยฺวาย ตัดเป็น โย อย. อีก
อย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า สปฺเปนย ความว่า ผู้
นี้ใด ถูกงูนั้นกัดแล้ว. บทว่า ปาปานุสาสโก แปลว่า ผู้พร่ำสอน
สิ่งที่ลามก. บทว่า อหนฺตร แปลว่า ผู้ไม่ฆ่าเอง. บทว่า อหนฺตาร
แปลว่า ผู้ไม่ให้คนอื่นฆ่า. บทว่า เสติ ได้แก่ ย่อมนอนตาย. บทว่า
อฆาเตนฺต แปลว่า ไม่ใช้ให้คนอื่นฆ่า. บทว่า สุทฺธสฺส ได้แก่
ผู้ไม่มีความผิด. บทว่า โปสสฺส ได้แก่ สัตว์. แม้คำนี้ว่า อนงฺค-
ณสฺส ท่านกล่าวหมายเอาความเป็นผู้ไม่มีความผิดเหมือนกัน. บทว่า
ปจฺเจติ ความว่า ย่อมกลับถึงเป็นสิ่งที่เห็นสมกับกรรม.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า หมอทุรพลในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต ส่วนเด็ก
ที่เป็นบัณฑิต คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสาลิยชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 830
๘. ตจสารชาดก
คนฉลาดย่อมไม่แสดงอาการให้ศัตรูเห็น
[๗๘๘] พวกเจ้าตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู ถูก
เขาจองจำด้วยท่อนไม้ไผ่แล้ว ยังเป็นผู้มี
สีหน้าผ่องใส เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงไม่
เศร้าโศกเล่า.
[๗๘๙] บุคคลไม่พึงได้ความเจริญแม้แต่เล็ก
น้อย ด้วยความเศร้าโศกและความร่ำรำพัน
พวกศัตรูรู้ว่าบุคคลนั้นเศร้าโศก ได้รับความ
ทุกข์ ย่อมดีใจ.
[๗๙๐] ส่วนบัณฑิตผู้ฉลาดในการวินิจฉัยความ
ย่อมไม่สะทกสะท้าน เพราะอันตรายที่จะ
เกิดขึ้นไม่ว่าเมื่อไร พวกศัตรูได้เห็นหน้าของ
บัณฑิตนั้น อันไม่เปลี่ยนแปลง เป็นเหมือน
แต่ก่อนย่อมเกิดความทุกข์.
[๗๙๑] บุคคลจะพึงได้ประโยชน์ในที่ใด ด้วย
ประการใด ๆ เช่นการร่ายมนต์ การปรึกษาผู้รู้
การกล่าววาจาอ่อนหวาน การให้สินบน หรือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 831
การสืบวงศ์ตระกูล พึงพากเพียรทำประโยชน์
ในที่นั้น ด้วยประการนั้น ๆ เถิด.
[๗๙๒] ก็ในกาลใด บัณฑิตพึงรู้ว่า ประโยชน์
นี้เราหรือคนอื่นไม่พึงได้รับ ในกาลนั้น ก็ไม่
ควรเศร้าโศก ควรอดกลั้นไว้ด้วยคิดเสียว่า
กรรมเป็นของมั่นคง บัดนี้ เราจะกระทำ
อย่างไรดี.
จบ ตจสารชาดกที่ ๘
อรรถกถาตจสารชาดกที่ ๘
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ปัญญาบารมี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อมิตฺตหตฺ-
ถตฺถคตา ดังนี้.
จริงอยู่ ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนตถาคตก็เป็นผู้มีปัญญา ฉลาดใน
อุบายเหมือนกัน อันภิกษุเหล่านั้นทูลอาราชนาแล้ว จึงทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
เรื่องอดีตทั้งปวงซึ่งมีคำเริ่มว่า ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้า
พรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดใน
ตระกูลกุฎุมพีในหมู่บ้าน ดังนี้ไปพึงกล่าวตามทำนองชาดกแรกนั่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 832
แหละ. ก็ในชาดกนี้เมื่อหมอตายแล้ว ชาวบ้านกล่าวว่า. เด็กเหล่านั้น
เป็นผู้ฆ่ามนุษย์ จึงจองจำเด็กเหล่านั้นด้วยไม้ตะโหงกแล้วนำไปยัง
นครพาราณสีด้วยหวังใจว่า จักถวายพระราชาทอดพระเนตร. ใน
ระหว่างทางนั่นแล พระโพธิสัตว์ได้ให้โอวาทแก่พวกเด็กที่เหลือว่า
ท่านทั้งหลายอย่ากลัว ท่านทั้งหลายเฝ้าพระราชาแล้วก็อย่ากลัว พึง
เป็นผู้มีอินทรีย์ร่าเริง พระราชาจักตรัสกับพวกเราก่อน จำเดิมแต่นั้น
เราจักรู้. เด็กเหล่านั้นรับคำว่าได้ แล้วจึงกระทำเหมือนอย่างนั้น.
พระราชาทรงเห็นเด็กเหล่านั้นไม่กลัว มีอินทรีย์ร่าเริง ทรงดำริว่า
เด็กเหล่านั้นถูกหาว่าเป็นผู้ฆ่าคนถูกจำด้วยไม้ตะโหงกนำมา แม้จะถึง
ความทุกข์เห็นปานนี้ก็ไม่กลัว มีอินทรีย์ร่าเริงยินดีทีเดียว อะไรหนอ
เป็นเหตุไม่เศร้าโศกของเด็กพวกนี้ เราจักถามพวกเขาดู เมื่อจะ
ตรัสถาม จึงตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-
พวกเจ้าตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู ถูก
เขาจองจำด้วยท่อนไม้ไผ่ ยังเป็นผู้มีสีหน้า
ผ่องใส เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงไม่เศร้าโศก
เล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมิตฺตหตฺถตฺถคตา ความว่า
อยู่ในเงื้อมมือของพวกอมิตรผู้เอาไม้ตะโหงกจำที่คอแล้วนำมา. บทว่า
ตจสารสมปฺปิตา ความว่า พระราชาตรัสอย่างนี้ เพราะเด็กเหล่านั้น
ถูกจองจำด้วยท้อนไม้ไผ่. บทว่า กสฺมา ความว่า พระราชาตรัส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 833
ถามว่า พวกเจ้าแม้ได้รับความพินาศเห็นปานนี้ เพราะเหตุไรจึงไม่
เศร้าโศก.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า
บุคคลไม่พึงได้ความเจริญแม้แต่เล็ก
น้อย ด้วยความเศร้าโศกและความร่ำไห้
พวกศัตรูรู้ว่าบุคคลนั้นเศร้าโศก ได้รับความ
ทุกข์ ย่อมจะดีใจ.
ส่วนบัณฑิตผู้ฉลาดในการวินิจฉัยความ
ย่อมไม่สะทกสะท้านเพราะอันตรายที่จะเกิด
ขึ้นไม่ว่าเมื่อไร พวกศัตรูได้เห็นหน้าบัณฑิต
นั้น อันไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเหมือนแต่ก่อน
ย่อมเกิดความทุกข์.
บุคคลพึงได้ประโยชน์ในที่ใด ด้วย
ประการใด เช่น การร่ายมนต์ การปรึกษา
ท่านผู้รู้ การกล่าววาจาอ่อนหวาน การให้
สินบน หรือการสืบวงศ์ตระกูล บัณฑิต
พึงพากเพียรทำประโยชน์ในที่นั้น ด้วย
ประการนั้น ๆ เถิด.
ก็ในกาลใด บัณฑิตพึงรู้ว่าประโยชน์
นี้เราหรือคนอื่นไม่พึงได้รับ ในกาลนั้น ก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 834
ไม่ควรเศร้าโศก ควรอดกลั้นไว้ด้วยคิดเสีย
ว่ากรรมเป็นของมั่นคง บัดนี้เราจะกระทำ
อย่างไรดี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺโถ ได้แก่ ความเจริญ.
ด้วยบทว่า ปจฺจตฺถิกา อตฺตมนา นี้ ท่านแสดงว่า พวกปัจจามิตร
รู้ว่าบุรุษนั้นเศร้าโศก มีทุกข์ ย่อมจะดีใจ บัณฑิตไม่ควรต่ำชื่อซึ่ง
เหตุแห่งความยินดีของพวกปัจจามิตรนั้น. บทว่า ยโต แปลว่า
ในกาลใด. บทว่า น เวธติ ความว่า ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความ
กลัวอันเกิดจากความสะดุ้งแห่งจิต. บทว่า อตฺถวินิจฺฉยญฺญู ได้แก่
ผู้ฉลาดวินิจฉัยอรรถคดีนั้น ๆ. บทว่า ชปฺเปน แปลว่า ด้วยการ
ร่ายมนต์. บทว่า มนฺเตน ได้แก่ ด้วยการถือเอาความคิดกับบัณฑิต
ทั้งหลาย. บทว่า สุภาสิเตน ได้แก่ ด้วยคำพูดอันน่ารัก. บทว่า
อนุปฺปทาเนน ได้แก่ ด้วยการให้สินบน. บทว่า ปเวณิยา ได้แก่
ด้วยตระกูลวงศ์. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดา
บัณฑิต เมื่ออันตรายเกิดขึ้น ไม่ควรเศร้าโศก ไม่ควรลำบากใจ
ก็บุคคลพึงชนะพวกปัจจามิตรได้ด้วยอำนาจเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน
บรรดาเหตุ ๕ ประการนี้ ก็ถ้าอาจทำได้ไซร้ พึงร่ายมนต์ผูกปากไว้
ไม่ให้พูด ก็จะพึงชนะพวกปัจจามิตรนั้นได้ บัณฑิตเมื่อไม่อาจทำ
อย่างนั้น พึงให้สินบนแก่พวกอำมาตย์ผู้ตัดสินความ ก็จะพึงชนะได้
เมื่อไม่อาจทำอย่างนั้น พึงพูดถึงวงศ์ตระกูล แม้จะลำดับญาติที่มีอยู่
อย่างนี้ว่า พวกข้าพเจ้ามาจากเชื้อสายชื่อโน้น และบรรพบุรุษของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 835
ท่านก็เป็นอันเดียวกัน ก็พึงชนะได้เหมือนกัน. บทว่า ยถา ยถา
ความว่า บุคคลพึงได้ความเจริญแห่งตนในที่ใด ๆ ด้วยเหตุอย่างใด
อย่างหนึ่ง ในบรรดาเหตุ ๕ ประการนี้. บทว่า ตถา ตถา ความว่า
พึงพากเพียรในที่นั้น ๆ ด้วยเหตุนั้น ๆ. อธิบายว่า พึงทำความบาก
บั่นจนชนะพวกข้าศึก. บทว่า ยโต จ ชาเนยฺย ความว่า ก็ใน
กาลใด บัณฑิตพึงรู้ว่า ประโยชน์นี้อันเราหรือคนอื่นก็ตามไม่ควรได้
แม้จะพยายามโดยประการต่าง ๆ ก็ไม่อาจได้แม้ในกาลนั้น บุรุษผู้เป็น
บัณฑิตก็ไม่เสียใจ ไม่ลำบากใจ พึงอดกลั้นไว้ด้วยคิดเสียว่า กรรม
ที่เราทำไว้ในปางก่อน เหนียวแน่น มั่นคง ไม่อาจจะห้ามได้ เดี๋ยวนี้
เราจะสามารถทำอะไรได้.
พระราชาได้สดับธรรมกถาของพระโพธิสัตว์ แล้วทรงสะสาง
การกระทำด้วยพระองค์เอง ทรงทราบว่าพวกเด็กไม่มีโทษผิด จึงรับ
สั่งให้นำไม้ตะโหงกออก แล้วพระราชทานยศยิ่งใหญ่แก่พระมหาสัตว์
แล้วได้ทรงกระทำให้เป็นอำมาตย์แก้วอนุศาสก์อรรถธรรมแก่พระองค์
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-
ชุมชาดกว่า. พระเจ้าพาราณสีในครั้นนั้น ได้เป็นพระอานนท์ พวก
เด็ก ๆ ในครั้งนั้น ได้เป็นพระเถรานุเถระ ส่วนเด็กผู้เป็นบัณฑิต
ใดครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาตจสารชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 836
๙. มิตตวินทุกชาดก
ว่าด้วยจักรกรดพัดบนหัว
[๗๙๓] ข้าพเจ้าได้กระทำอะไรไว้แก่เทวดาทั้ง
หลาย ข้าพเจ้าได้กระทำบาปกรรมอะไรไว้
จักรกรดจึงได้มากระทบศีรษะของข้าพเจ้าพัด
อยู่บนกระหม่อม.
[๗๙๔] ท่านล่วงเลยปราสาทแก้วผลึก ปราสาท
แก้วมณี ปราสาทเงินและปราสาททอง แล้ว
มาในที่นี้เพราะเหตุอะไร.
[๗๗๕] เชิญท่านดูข้าพเจ้าผู้ถึงความฉิบหาย
เพราะความสำคัญเช่นนี้ว่า โภคสมบัติในที่นี้
เห็นจะมีมากกว่าโภคสมบัติในปราสาททั้งสี่
นั้น.
[๗๙๖] ท่านละทิ้งนางเวมานิกเปรต ๔ มาได้
นางเวมานิกเปรต ๘ ละทิ้งนางเวมานิกเปรต
๘ มาได้นางเวมานิกเปรต ๑๖ ละทิ้งนางเว-
มานกเปรต ๑๖ มาได้นางเวมานิกเปรต ๓๒
ปรารถนาไม่รู้จักพอ มายินดีจักรกรด จักร-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 837
กรดจึงพัดอยู่บนกระหม่อมของท่าน ผู้ถูก
ความปรารถนาครอบงำไว้.
[๗๙๗] อันธรรมดาตัณหาเป็นสิ่งที่กว้างขวางอยู่
ณ เบื้องบน ให้เต็มได้ยาก มักเป็นไปตาม
อำนาจของความปรารถนา เพราะฉะนั้น ชน
เหล่าใดมีกำหนัดยินดีตัณหานั้น ชนเหล่านั้น
จึงต้องเป็นผู้ทูนจักรกรดไว้.
จบ มิตตวินทุกชาดกที่ ๙
อรรถกถามิตตวินทุกชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กฺยาห
เทวานมกร ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งในมหามิตตวินทุกชาดก. ก็นายมิตตวิน-
ทุกะนี้ถูกเขาโยนทิ้งในทะเล แล้วได้ไปพบนางเวมานิกเปรตแห่งหนึ่ง
๔ นาง แห่งหนึ่ง ๘ นาง แห่งหนึ่ง ๑๖ นาง แห่งหนึ่ง ๓๒ นาง
ก็ยังเป็นผู้ปรารถนายิ่งขึ้นไม่รู้จักพอ จึงเป็นต่อไปข้างหน้า ได้พบ
อุสสุทนรกอันเป็นสถานที่เสวยวิบากของพวกสัตว์นรก จึงได้เข้าไป
ด้วยสำคัญว่า เป็นเมือง ๆ หนึ่ง เห็นจักรกรดพัดอยู่บนหัวสัตว์นรก
สำคัญว่าเป็นเครื่องประดับ จึงยินดีชอบใจจักรกรด อ้อนวอนขอได้มา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 838
คราวนั้น พระโพธิสัตว์เป็นเทวบุตรเที่ยวจาริกไปในอุสสุทนรก. นาย
มิตตวินทุกะนั้นเห็นพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว เมื่อจะถาม จึงกล่าวคาถา
ที่ ๑ ว่า :-
ข้าพเจ้าได้กระทำอะไรไว้แก่เหล่าเทวดา
บาปอะไรที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้ จักรกรดจึง
ได้มากระทบศีรษะของข้าพเจ้าแล้วพัดอยู่บน
กระหม่อม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กฺยาห เทวานมกร ความว่า
ข้าแต่เทพบุตรผู้เป็นนาย ข้าพเจ้าได้กระทำกรรมชื่ออะไรไว้ แก่เหล่า
เทพดา เหล่าเทพดาเบียดเบียนข้าพเจ้าทำไม. บทว่า กึ ปาป
ปกต มยา ความว่า นายมิตตวินทุกะได้รับทุกขเวทนา กำหนด
บาปที่คนทำไว้ไม่ได้ เพราะมีทุกข์มาก จึงได้กล่าวอย่างนั้น. บทว่า
ย เม ความว่า จักรกรดนี้จรดคือกระทบศีรษะข้าพเจ้า แล้วหมุน
อยู่บนกระหม่อมขอข้าพเจ้า เพราะบาปใด บาปนั้นชื่ออะไร ?
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ท่านล่วงเลยปราสาทแล้วผลึก ปรา-
สาทแก้วมณี ปราสาทเงิน และปราสาททอง
แล้วมาที่นี้เพราะเหตุอะไร ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รมณภ ได้แก่ ปราสาทแก้วผลึก.
บทว่า ทุพฺพก ได้แก่ ปราสาทแก้วมณี. บทว่า สทามตฺต ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 839
ปราสาทเงิน. บทว่า พฺรหฺมตรญฺจ ปาสาท ได้แก่ ปราสาททอง.
บทว่า เกนฏฺเน ความว่า ท่านละนางเทพธิดาเหล่านี้ คือ เทพธิดา
๔ นาง ๘ นาง ๑๖ นาง และ ๓๒ นาง ในปราสาทแก้วผลึกเป็น
ต้นเหล่านี้ แล้วก้าวล่วงปราสาทเหล่านั้นมาที่นี้ เพราะเหตุอะไร ?
ลำดับนั้น นายมิตตวินทุกะกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
เชิญท่านดูข้าพเจ้าผู้ถึงความฉิบหาย
เพราะความสำคัญนี้ว่า โภคสมบัติในที่นี้
เห็นจะมีมากกว่าโภคสมบัติในปราสาททั้งสี่
นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิโต พหุตรา ความว่า จักมี
เหลือเฟือกว่าโภคสมบัติในปราสาททั้งสี่นี้.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-
ท่านละทิ้งนางเวมานิกเปรต ๔ มาได้
นางเวมานิกเปรต ๘ ละทิ้งนางเวมานิกเปรต
๘ มาได้นางเวมานิกเปรต ๑๖ ละทิ้งนางเว-
มานิกเปรต ๑๖ มาได้นางเวมานิกเปรต ๓๒
ยังปรารถนายิ่งขึ้นไม่รู้จักพอ มายินดีจักร-
กรด จักรกรดจึงพัดอยู่บนกระหม่อมของ
ท่านผู้ถูกความปรารถนาครอบงำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 840
อันธรรมดาตัณหาเป็นสิ่งที่กว้างขวางอยู่
ในเบื้องบน ให้เต็มได้ยาก มักเป็นไปตาม
อำนาจของความปรารถนา เพราะฉะนั้น ชน
เหล่าใดมากำหนัดยินดีตัณหานั้น ชนเหล่า
นั้นจึงต้องเป็นผู้ทูนจักรกรดไว้.
ด้วยบทว่า อุปริ วิสาลา นี้ ในคาถานั้น พระโพธิสัตว์
กล่าวว่า ดูก่อนมิตตวินทุกะ ขึ้นชื่อว่าตัณหานี้ เมื่อบุคคลส้องเสพอยู่
ย่อมเป็นของกว้างขวางอยู่เบื้องบน คือเป็นของแผ่ไป ธรรมดาตัณหา
ให้เต็มได้โดยยาก เสมือนมหาสมุทร มีปกติไปตามอำนาจความอยาก
ได้ คือความปรารถนาซึ่งอยากได้อารมณ์นั้น ๆ ในบรรดารูปารมณ์
เป็นต้น เพราะฉะนั้น คนเหล่าใดมากำหนัดยินดีตัณหานั้นคือเห็น
ปานนั้น คือเป็นผู้อยากได้แล้ว ๆ เล่า ๆ ยึดถืออยู่. บทว่า เต โหนฺติ
จกฺกธาริโน ความว่า ชนเหล่านั้นย่อมทูนจักรกรดนั้นไว้.
ก็นายมิตตวินทุกะกำลังพูดอยู่นั่นแหละ จักรแม้นั้นก็พัดกดลง
ไป ด้วยเหตุนั้น เขาจึงไม่อาจจะกล่าวอีกต่อไป. เทพบุตรจึงไปยัง
เทวสถานของตนทีเดียว.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า นายมิตตวินทุกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุว่ายาก
ส่วนเทพบุตรในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามิตตวินทุกชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 841
๑๐. ปลาสชาดก
ว่าด้วยเหตุที่จะต้องหนีจากไป
[๗๙๘] พระยาหงส์ได้กล่าวกะปลาสเทวดาว่า
ดูก่อนสหาย ต้นไทรเกิดติดอยู่ที่ค่าคบของ
ท่านแล้ว มันเจริญขึ้นแล้ว จะตัดสิ่งอัน
เป็นที่รักของท่านเสีย.
[๗๙๙] ข้าพเจ้าจะเป็นที่พึ่งทำต้นไทรให้เจริญ
ขึ้น ต้นไทรนี้จักเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า
เหมือนมารดาบิดาเป็นที่พึ่งของบุตรแล้ว
บุตรกลับเป็นที่พึ่งของมารดาบิดาฉะนั้น.
[๘๐๐] มหาใดท่านจึงให้ต้นไม้ที่น่าหวาดเสีย
ดุจข้าศึก เจริญขั้นอยู่ที่ด่าคบ เหตุนั้น
ข้าพเจ้าบอกท่านแล้วจะไป ความเจริญแห่ง
ต้นไทรนั้นข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย.
[๘๐๑] บัดนี้ ต้นไทรนี้ทำให้เราหวาดเสียว ภัย
อันใหญ่หลวงได้มาถึงเรา เพราะไม่รู้สึกถึง
คำของพระยาหงส์อันใหญ่หลวง ซึ่งควร
เปรียบด้วยขุนเขาสิเนรุราช.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 842
[๘๐๒] ผู้ใดเมื่อกำลังเจริญอยู่ กระทำที่พึ่ง
อาศัยให้พินาศไปเสีย ความเจริญของผู้นั้น
ท่านผู้ฉลาดไม่สรรเสริญ นักปราชญ์รังเกียจ
ความพินาศ จึงเพียรพยายามเพื่อจะตัดราก
เหง้าของอันตรายนั้นเสีย.
จบ ปลาสชาดกที่ ๑๐
อรรถกถาปลาสชาดกที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การข่มกิเลส จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า หโส
ปลาสมวจ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งในปัญญาสชาดก. ส่วนในชาดกนี้
พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ขึ้นชื่อว่ากิเลสควรจะรังเกียจแท้ กิเลสแม้จะมีประมาณน้อยก็ทำให้
ถึงความพินาศได้เหมือนหน่อต้นไทร. แม้โบราณกบัณทิตทั้งหลาย
ก็รังเกียจสิ่งที่ควรรังเกียจมาแล้วเหมือนกัน ครั้นตรัสแล้ว ทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดหงส์ทอง เจริญวัยแล้ว
อยู่ในถ้ำทอง ณ เขาจิตตกูฏ กินข้าวสาลีที่เกิดเองในสระที่เกิดเอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 843
ณ หิมวันตประเทศแล้วกลับมา. ในหนทางที่พระโพธิสัตว์นั้นไป ๆ
มา ๆ มีต้นทองหลางใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง. พระโพธิสัตว์นั้นแม้เมื่อไป
ก็พักที่ต้นทองหลางนั้นแล้วก็ไป แม้เมื่อกลับมา ก็พักที่ต้นทองหลาง
นั้นแล้วจึงมา. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์นั้นได้มีความคุ้นเคยกับเทวดา
ผู้บังเกิดอยู่ที่ต้นทองหลางนั้น เวลาต่อมา นางนกตัวหนึ่งกินผลไทร
สุกที่ต้นไทรต้นหนึ่ง แล้วบินมาจับที่ต้นทองหลางนั้น ถ่ายคูถลงใน
ระหว่างค่าคบ. แต่นั้นจึงเกิดหน่อไทรขึ้น. ในเวลามีขนาดได้ ๔ นิ้ว
ต้นทองหลางงดงาม เพราะเป็นต้นทองหลางที่มีหน่อแดงและใบเขียว
พระยาหงส์เห็นดังนั้น จึงเรียกรุกขเทวดามาพูดว่า ท่านปลาสเทวดา
ผู้สหาย ธรรมดาตันไทรเกิดที่ต้นไม้ใด เมื่อโตขึ้นย่อมทำต้นไม้นั้น
ให้ฉิบหาย ท่านจงอย่าให้ต้นไม้นี้เติบโตเลย มันจักทำวิมานของท่าน
ให้พินาศ ท่านจงถอนมันทิ้งเสียก่อนทีเดียว ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่ควรจะ
รังเกียจ ก็ควรจะรังเกียจ เมื่อปรึกษากับปลาสเทวดา จึงกล่าวคาถา
ที่ ๑ ว่า :-
พระยาหงส์ได้กล่าวกะปลาสเทวดาว่า
ดูก่อนสหาย ต้นไทรเกิดติดอยู่ที่ค่าคบของ
ท่านแล้ว มันเจริญเติบโตขึ้นจะตัดสิ่งอัน
เป็นที่รักของท่านเสีย.
ก็บาทที่หนึ่งในคาถานี้ พระศาสดาทรงเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ
แล้วจึงตรัสไว้. บทว่า ปลาส ได้แก่ ปลาสเทวดา. บทว่า สมฺม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 844
แปลว่า เพื่อน. บทว่า องฺกสฺมึ ได้แก่ ที่ค่าคบ. บทว่า โส เต
มมฺมานิ เฉจฺฉติ ความว่า ต้นไทรนั้นเจริญเติบโตที่ค่าคบนั้นแล้ว
จักตัดชีวิตประดุจข้าศึกฉะนั้น. จริงอยู่ สังขารที่มีชีวิตท่านเรียกว่า
มัมมะ ในที่นี้.
ปลาสเทวดาได้ฟังดังนั้น มิได้เชื่อถือคำของพระโพธิสัตว์นั้น
จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ต้นไทรจงเจริญเติบโตเถิด ข้าพเจ้าจะ
เป็นที่พึ่งของมัน ต้นไทรนี้จักเป็นที่พึ่งของ
ข้าพเจ้า เหมือนมารดาบดาเป็นที่พึงของบุตร
แล้วบุตรกลับเป็นที่พึ่งของมารดาบิดา ฉะนั้น.
คำอันเป็นคาถานั้น มีความว่า ดูก่อนสหาย ท่านยังไม่รู้
ต้นไทรนี้จะเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าในตอนมันเติบโต ข้าพเจ้าจักเป็น
ที่พึ่งของต้นไทรนี้เหมือนมารดาบิดาเป็นที่พึ่งของบุตรในคราวเป็นเด็ก
อ่อนฉะนั้น อนึ่ง ต้นไทรนี้จักเป็นที่พึ่งแม้ของข้าพเจ้าในภายหลัง
ตอนแก่ เหมือนบุตรเติบโตขึ้นแล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งของมารดาบิดาใน
ภายหลังตอนแก่ ฉะนั้น.
ลำดับนั้น พระยาหงส์ จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ท่านให้ต้นไม้ซึ่งอาจนำภัยมาดังข้าศึก
เจริญเติบโตขึ้นที่ค่าคบเพราะเหตุใด เหตุนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 845
เราขอบอกท่านให้รู้แล้วจะไป ความเจริญ
เติบโตของต้นไทรนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจ
เลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย ตฺว ความว่า เพราะเหตุที่
ท่านให้เกษียรพฤกษ์นี้ชื่อว่าน่ากลัว เพราะเป็นผู้ให้ความน่ากลัว
ประดุจข้าศึก เจริญอยู่ที่ค่าคบ. บทว่า อามนฺต โข ต ความว่า
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเรียกท่านมาปรึกษาให้รู้แล้วก็จะไป. บทว่า
วุฑฺฒิมสฺส ความว่า ความเจริญของต้นไทรนั้น ไม่ชอบใจข้าพเจ้า
เลย.
ก็แหละพระยาหงส์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกางปีกบินไปยัง
ภูเขาจิตตกูฏทีเดียว. ตั้งแต่นั้นก็ไม่ได้มาอีกเลย. ในเวลาต่อมา ต้นไทร
ก็เจริญเติบโตขึ้น. ก็มีรุกขเทวดาตนหนึ่งบังเกิดที่ต้นไทรนั้น. ต้นไทร
นั้นเจริญขึ้นหักรานต้นทองหลาง วิมานของเทวดาพร้อมกับกิ่งไม้
ทั้งหลายก็ร่วงลงไป. ในกาลนั้น เทวดานั้นจึงกำหนดคำของพระยา-
หงส์ได้ ร่ำไห้ว่า พระยาหงส์เห็นภัยในอนาคตข้อนี้จึงกล่าวไว้ ส่วน
เราไม่กระทำตามคำพูดของพระยาหงส์ แล้วกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
บัดนี้ ต้นไทรนี้ทำให้เราหวาดกลัว ภัย
อันใหญ่หลวงได้มาถึงเรา เพราะไม่รู้สึกถึง
คำของพระยาหงส์ อันใหญ่หลวงซึ่งควร
เปรียบด้วยขนเขาสิเนรุราช.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 846
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทานิ โข น ภายติ ความว่า
ต้นไทรนี้ทำให้เรายินดีในตอนยังอ่อน บัดนี้ ทำให้กลัวหวาดสะดุ้ง.
บทว่า มหาเนรุนิทสฺสน ความว่า เพราะได้ฟังคำของพระยาหงส์
อันใหญ่หลวงดุจภูเขาสิเนรุ แล้วไม่รู้สุกจึงได้ถอนต้นไทรนี้เสียใน
คราวยังอ่อนอยู่. ด้วยบทว่า มหา เม ภยมาคต นี้ เทวดาคร่ำ
ครวญว่า บัดนี้ ภัยใหญ่มาถึงเราแล้ว.
ฝ่ายต้นไทรก็เจริญเติบโตขึ้นหักรานต้นทองหลางทั้งต้นได้กระ
ทำให้เป็นสักแต่ตอเท่านั้น. วิมานของเทวดาก็หายไปหมดสิ้น.
ผู้ใดเมื่อเจริญขึ้นทำที่พึ่งอาศัยให้พินาศ
ไปเสีย ความเจริญของผู้นั้น ผู้ฉลาดไม่
สรรเสริญ นักปราชญ์รังเกียจความพินาศ
จึงเพียรพยายามตัดรากเหง้าของอันตรายนั้น
เสีย.
คาถาที่ ๕ ดังกล่าวมานี้ เป็นอภิสัมพุทธคาถา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสลปฺปสตฺถา ความว่า อันท่าน
ผู้ฉลาดทั้งหลายสรรเสริญแล้ว. บทว่า ฆสเต แปลว่า ย่อมกิน
อธิบายว่า ทำให้พินาศ. บทว่า ปตารยิ แปลว่า ย่อมกลิ้งเกลือก
คือ ย่อมพยายาม. ทรงอธิบายไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด.
เจริญขึ้นทำที่พึ่งอาศัยของตนให้พินาศ ความเจริญของผู้นั้น บัณฑิต
ไม่สรรเสริญ ส่วนนักปราชญ์ คือท่านผู้สมบูรณ์ความรู้รังเกียจความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 847
ดับคือความพินาศอย่างนี้ว่า ความดับสูญจักมีแก่เรา เพราะอันตราย
นี้ย่อมพากเพียรเพื่อขจัดรากเหง้าของอันตรายทั้งภายในหรือภายนอก
นั้นเสีย.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงประกาศ
สัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุ ๕๐๐ รูป ได้
บรรลุพระอรหัต. หงส์ทองในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปลาสชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วรรณาโรหชาดก ๒. สีลวีมังสชาดก ๓. หิริชาดก
๔. ขัชโชปนกชาดก ๕. อหิตุณฑิกชาดก ๖. คุมพิยชาดก
๗. สาลิยชาดก ๘. ตจสารชาดก ๙. มิตตวินทุกชาดก
๑๐. ปลาสชาดก.
จบ วรรณาโรหวรรคที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 848
๓. อัฑฒวรรค
๑. ทีฆีติโกสลชาดก
ว่าด้วยเวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร
[๘๐๓] ข้าแต่พระราช เมื่อพระองค์ตกอยู่ใน
อำนาจของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว เหตุอันใด
อันหนึ่งที่จะทำให้พระองค์พ้นจากทุกข์ได้ มี
อยู่หรือ.
[๘๐๔] พ่อเอ๋ย เมื่อฉันตกอยู่ในอำนาจของท่าน
ถึงอย่างนี้แล้ว เหตุอันใดอันหนึ่งที่จะทำให้
ฉันพ้นจากทุกข์ได้ ไม่มีเลย.
[๘๐๕] ข้าแต่พระราชา เว้นสุจริตและวาจา
สุภาษิตเสีย เหตุอย่างอื่นจะป้องกันได้ใน
เวลาใกล้มรณกาล ไม่มีเลย ทรัพย์นอกนี้ก็
เหมือนกันแหละ.
[๘๐๖] ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรว่า คนนี้ได้ด่า
เรา คนนี้ได้ฆ่าเรา คนนี้ได้ชนะเรา คนนี้
ได้ลักของ ๆ เรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่
สงบ ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรว่า คน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 849
นี้ได้ด่าเรา คนนี้ได้ฆ่าเรา คนนี้ได้ชนะเรา
คนนี้ได้ลักของ ๆ เรา เวรของชนเหล่านั้น
ย่อมสงบ.
[๘๐๗] ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับ
ด้วยเวรเลย แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มี
เวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.
จบ ทีฆีติโกสลชาดกที่ ๑
อรรถกถาอัฑฒวรรคที่ ๓
อรรถกถาทีฆีติโกสลชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีผู้กระทำการทะเลาะทุ่มเถียงกัน จึงตรัสพระ-
ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอวภูตสฺส เต ราช ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกาลที่ภิกษุเหล่านั้นมายังพระเชตวันวิหาร ขอให้
พระศาสดาทรงอดโทษ พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมาแล้วตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเป็นโอรสของเรา ชื่อว่าบุตร
ผู้เกิดจากปาก อันบุตรทั้งหลายไม่ควรทำลายโอวาทที่บิดาได้ไว้ ก็เธอ
ทั้งหลายไม่กระทำตามโอวาท โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้โจรผู้ฆ่า
มารดาบิดาของตนแล้วยึดครองราชสมบัติ ตกอยู่ในเงื้อมมือในป่า ก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 850
ยังไม่ฆ่าด้วยคิดว่า จักไม่ทำลายโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้ ดังนี้ แล้ว
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ก็ในชาดกนี้ เรื่องทั้งสอง คือเรื่องปัจจุบันและเรื่องในอดีต จัก
มีแจ้งโดยพิสดารในสังฆเภทกะ. ก็ทีฆาวุกุมารนั้นจับพระจุฬาพระเจ้า-
พาราณสีผู้บรรทมหลับอยู่บนตักของตนในป่า เงื้อดาบขึ้นด้วยหมาย
ใจว่า บัดนี้ เราจักตัดโจรผู้ฆ่ามารดาบิดาของเรา ให้เป็น ๑๔ ท่อน
ขณะนั้น ระลึกถึงโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้ จึงคิดว่า เราแม้จะสละ
ชีวิตก็จักไม่ทำลายโอวาทของท่าน จักคุกคามพระเจ้าพาราณสีนั้นอย่าง
เดียว จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าแต่พระราชา เมื่อพระองค์ตกอยู่ใน
อำนาจของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว เหตุอันใด
อันหนึ่งที่จะทำให้พระองค์พ้นจากทุกข์ได้ มี
อยู่หรือ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วเส มม ได้แก่ ผู้มาสู่อำนาจ
ของข้าพระองค์. บทว่า ปริยาโย ได้แก่ เหตุ.
ลำดับนั้น พระราชาตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-
พ่อเอ๋ย เมื่อฉันตกอยู่ในอำนาจของ
ท่านอย่างนี้แล้ว เหตุอันใดอันหนึ่งที่จะทำให้
ฉันพ้นทุกข์ได้ ไม่มีเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 851
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า
เหตุอะไร ๆ ที่จะทำให้ฉันพ้นจากทุกข์นั้น ย่อมไม่มี.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-
ข้าแต่พระราชา เว้นสุจริตและวาจาที่
เป็นสุภาษิตเสีย เหตุอย่างอื่นจะป้องกันได้
ในเวลาจะตาย ไม่มีเลย ทรัพย์นอกนี้ก็
เหมือนกันนั่นแหละ.
ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรว่า คนนี้ได้ด่า
เรา คนนี้ได้ฆ่าเรา คนนี้ได้ชนะเรา คนนี้ได้
ลักของ ๆ เรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่
สงบ ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรว่า คน
นี้ได้ด่าเรา คนนั้นได้ฆ่าเรา คนนั้นได้ชนะเรา
คนนี้ได้ลักของ ๆ เรา เวรของชนเหล่านั้น
ย่อมเข้าไปสงบ.
ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับ
ด้วยเวรเลย แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มี
เวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาญฺ สุจริต แก้เป็น นาญฺ
สุจริตา. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้แหละ อธิบายว่า เว้นสุจริตเสีย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 852
เราไม่เห็นอย่างอื่น. ก็ในคาถานี้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า สุจริตบ้าง
สุภาษิตบ้าง ก็หมายเอาโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้เท่านั้น. บทว่า เอว-
เมว ได้แก่ ไม่มีประโยชน์เลย. ท่านกล่าวอธิบายนี้ไว้ว่า ข้าแต่
มหาราชเจ้า เว้นจากสุจริตและวาจาสุภาษิต กล่าวคือการกล่าวสอน
และการพร่ำสอน อย่างอื่นชื่อว่าสามารถเพื่อต่อต้านบอกกันในเวลาจะ
ตายย่อมไม่มี ทรัพย์นอกนี้ก็เหมือนกัน คือไม่มีประโยชน์เลย ก็บัดนี้
พระองค์จะให้ทรัพย์แม้ตั้งแสนโกฏิ แก่ข้าพระองค์ ก็จะไม่ได้ชีวิต
เพราะฉะนั้น ข้อนี้พึงทราบว่า สุจริตและคำสุภาษิตเท่านั้น ยิ่งกว่า
ทรัพย์.
แม้คาถาที่เหลือก็มีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้ :- ข้าแต่มหา-
ราชเจ้า คนเหล่าใดเข้าไปผูกเวร คือตั้งเวรไว้ในหทัยเหมือนผูกไว้
อย่างนี้ว่า ผู้นี้ด่าเรา ผู้นี้ประหารเรา ผู้นี้ได้ชนะเรา ผู้นี้ได้ลักของ
เรา เวรของคนเหล่านั้นย่อมไม่สงบ. ส่วนคนเหล่าใดไม่เข้าไปผูก
คือไม่ตั้งเวรนั้นไว้ในหทัย เวรของตนเหล่านั้นย่อมสงบ เพราะใน
กาลไหน ๆ เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับด้วยเวร แต่จะระงับด้วยความไม่
มีเวร ธรรมนั้นเป็นของเก่า อธิบายว่า ธรรมเก่าก่อน คือสภาวะที่
เป็นไปตลอดกาลนาน.
ก็แหละ พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ไม่ประทุษร้ายพระองค์ แต่พระองค์จง
ฆ่าข้าพระองค์เสียเถิด แล้ววางดาบในพระหัตถ์ของพระราชานั้น. ฝ่าย
พระราชาก็ทรงกระทำการสบถว่า เราจักไม่ประทุบร้ายท่าน แล้วเสด็จ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 853
ไปพระนครพร้อมกับพระโพธิสัตว์นั้น ทรงแสดงพระโพธิสัตว์นั้นแก่
อำมาตย์ทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูก่อนพวกท่านทั้งหลาย ผู้นี้ คือที-
ฆาวุกุมารโอรสของพระเจ้าโกศล แม้ผู้นี้ก็ได้ให้ชีวิตเรา เราก็ไม่ได้
ทำอะไรกะผู้นี้ ครั้นตรัสแล้ว ได้ประทานธิดาของพระองค์แล้วให้
ดำรงอยู่ในราชสมบัติอันเป็นของพระบิดา. ตั้งแต่นั้นมา พระราชา
ทั้งสองพระองค์ทรงสมัครสมานบันเทิงพระทัยครองราชสมบัติ.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า บิดามารดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นตระกูลมหาราช
ส่วนทีฆาวุกุมาร ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาทีหีติโกสลชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 854
๒. มิคโปตกชาดก
คำพูดที่ทำให้หายเศร้าโศก
[๘๐๘] การที่ท่านเศร้าโศกถึงลูกเนื้อผู้ละไปแล้ว
เป็นการไม่สมควรแก่ท่านผู้หลีกออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต สงบระงับ.
[๘๐๙] ดูก่อนท้าวสักกะ ความรักของมนุษย์
หรือเนื้อย่อมเกิดขึ้นในใจ เพราะอยู่ร่วมกัน
มา มนุษย์หรือเนื้อนั้น อาตมภาพไม่สามารถ
ที่จะไม้เศร้าโศกถึงได้.
[๘๑๐] ชนเหล่าใดมาร้องไห้รำพัน บ่นเพ้อถึง
ผู้ตายไปแล้ และผู้จะตายอยู่ ณ บัดนี้ การ
ร้องไห้ของชนเหล่านั้น สัตบุรุษทั้งหลาย
กล่าวว่า เปล่าจากประโยชน์ ดูก่อนฤๅษี
เพราะฉะนั้น ท่านอย่าร้องไห้เลย.
[๘๑๑] ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ที่ตายไปแล้ว ละไป
แล้ว หากจะพึงกลับเป็นขึ้นได้เพราะการ
ร้องไห้ เราก็จะประชุมกันทั้งหมดร้องไห้ถึง
พวกญาติของกันและกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 855
[๘๑๒] มหาบพิตรมารดาอาตมภาพผู้เดือดร้อน
ยิ่งนักให้หายร้อน ดับความกระวนกระวาย
ได้ทั้งสิ้น เหมือนบุคคลเอาน้ำรดไฟติดที่
เปรียงให้ดับไปฉะนั้น มหาบพิตรมาถอนลูก
ศรคือความโศกที่เสียบแน่นอยู่ในหทัยของ
อาตมภาพออกได้แล้วหนอ เมื่ออาตมภาพถูก
ความโศกครอบงำมหาบพิตรก็ได้บรรเทาความ
โศกถึงบุตรเสียได้ ดูก่อนท้าววาสวะ อาตม-
ภาพเป็นผู้ถอนลูกศรออกได้แล้ว ปราศจาก
ความเศร้าโศก ไม่มีความมัวหมอง อาตมภาพ
จะไม่เศร้าโศกร้องไห้ เพราะได้ฟังถ้อยคำ
ของมหาบพิตร.
จบ มิคโปตกชาดกที่ ๒
อรรถกถามิคโปตกชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุแก่รูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อคารา
ปจจุเปตสฺส ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุแก่นั้นให้เด็กคนหนึ่งบวช. สามเณรบำรุงภิกษุ
แก่นั้นโดยเคารพ ครั้นกาลต่อมา ได้กระทำกาละโดยความไม่ผาสุก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 856
เพราะการทำกาละของสามเณรนั้น ภิกษุแก่ถูกความโกรธครอบงำ
เที่ยวร่ำไห้ด้วยเสียงอันดัง. ภิกษุทั้งหลายไม่อาจให้ยินยอมได้ จึงสั่ง
สนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุแก่ชื่อโน้นเที่ยว
ร่ำไห้ เพราะการทำกาละของสามเณร ภิกษุแก่นั่นคงจักเหินห่างการ
เจริญมรณัสสติ. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลว่า เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุแก่นี้ เมื่อสามเณรนั้นตายแล้ว
ก็เที่ยวร่ำไห้อยู่ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์ครองความเป็นท้าวสักกะ. ครั้งนั้น มีบุรุษ
ชาวแคว้นกาสีคนหนึ่ง เข้าไปยังหิมวันตประเทศ บวชเป็นฤๅษี ยัง
อัตภาพให้เป็นไปด้วยผลไม้น้อยใหญ่. วันหนึ่ง ฤๅษีนั้นเห็นลูกเนื้อ
แม่ตายตัวหนึ่งในป่า จึงนำมายังอาศรมบท ให้เหยื่อเลี้ยงดูไว้. ลูก
เนื้อเติบโตขึ้นมีรูปร่างงามถึงความงามอันเลิศ. ดาบสกระทำลูกเนื้อ
นั้นให้เป็นลูกของตนอยู่. วันหนึ่ง ลูกเนื้อกินหญ้ามากไป ได้กระทำ
กาละเพราะไม่ย่อยดาบสเที่ยวร่ำไห้ว่า ลูกเราตายเสียแล้ว. ในกาลนั้น
ท้าวสักกเทวราชทรงพิจารณาดูชาวโลก ทรงเห็นดาบสนั้น ดำริว่า
จักทำดาบสนั้นให้สลดใจ จึงเสด็จมาแล้วประทับยืนในอากาศ ตรัส
คาถาที่ ๑ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 857
การที่ท่านเศร้าโศกถึงลูกเนื้อผู้ละไปแล้ว
เป็นการไม่สมควรแก่ท่านผู้หลีกออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตสงบระงับ.
ดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ดูก่อนท้าวสักกะ ความรักของมนุษย์
หรือเนื้อ ย่อมเกิดขึ้นในใจ เพราะอยู่ร่วมกัน
มา มนุษย์หรือเนื้อนั้น อาตมภาพไม่สามารถ
ที่จะไม่เศร้าโศกถึงได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ต สกฺกา ความว่า อาตม-
ภาพไม่อาจเพื่อจะไม่โศกถึงมนุษย์หรือสัตว์ดิรัจฉานนั้น คือ อาตม-
ภาพเศร้าโศกถึงทีเดียว.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะได้ตรัสคาถา ๒ คาถาว่า :-
ชนเหล่าใดร้องไห้รำพัน บ่นเพ้อถึงผู้ตาย
ไปแล้ว และผู้จะตายอยู่ในบัดนี้ การร้องไห้
ของชนเหล่านั้น สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่า
เปล่าจากประโยชน์ ดูก่อนฤาษี เพราะฉะนั้น
ท่านอย่าร้องไห้เลย.
ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ที่ตายไปแล้ว ละไป
แล้ว หากจะกลับเป็นขึ้นได้เพราะการร้องไห้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 858
เราก็จะประชุมกันทั้งหมด ร้องไห้ถึงญาติ
ของกันและกัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มริสฺส ได้แก่ บุคคลผู้จักตายใน
บัดนี้. บทว่า ลปนฺติ จ ได้แก่ บ่นเพ้อ. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้
ไว้ว่า ชนเหล่าใดร้องไห้ถึงคนผู้ตายแล้ว และผู้จักตายอยู่ในโลก
ชนเหล่านั้นก็คงจะร้องไห้และบ่นเพ้ออยู่. ชื่อว่าวันที่จะขาดน้ำตาของ
ชนเหล่านั้น ย่อมไม่มี เพราะเหตุไร ? เพราะคนผู้ตายไปแล้วและคนผู้
ที่จะตายยังมีอยู่เสมอ. บทว่า อิสิ มา โรทิ ความว่า ดูก่อนฤๅษี
เพราะฉะนั้น ท่านอย่าร้องไห้เลย. เพราะเหตุไร ? เพราะสัตบุรุษ
ทั้งหลายกล่าวว่าการร้องไห้เปล่าประโยชน์. อธิบายว่า สัตบุรุษ
ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมกล่าวการร้องไห้ว่าเป็นหมัน.
บทว่า มโต เปโต ความว่า ถ้าบุคคลที่เรียกว่า ผู้ตายแล้ว ผู้ละ
ไปแล้ว จะพึงฟื้นขึ้นเพราะการร้องให้ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวก
เราจะอยู่เฉยทำไม พวกเราทั้งหมดทีเดียว จะพากันประชุมร้องให้ถึง
ญาติทั้งหลายของกันและกัน ก็เพราะเหตุที่ญาติเหล่านั้นไม่ฟื้นขึ้น
เพราะเหตุร้องไห้ เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะ จึงทรงประกาศการร้องไห้
ว่าเป็นหมัน.
เมื่อท้าวสุกกะตรัสไป ๆ อยู่อย่างนี้ ดาบสกำหนดได้ว่า การ
ร้องไห้ไร้ประโยชน์ เมื่อจะกระทำการชมเชยท้าวสักกะ จึงได้กล่าว
คาถา ๓ คาถาว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 859
มหาบพิตรมารดาอาตมภาพผู้เดือดร้อน
ยิ่งนักให้หายร้อน ดับความกระวนกระวายได้
ทั้งสิ้น เหมือนบุคคลเอาน้ำรดไฟติดที่เปรียง
ให้ดับไปฉะนั้น มหาบพิตรมาถอนลูกศรคือ
ความโศกที่เสียบแน่นอยู่ในหทัยของอาตม-
ภาพออกได้แล้วหนอ เมื่ออาตมภาพถูกความ
โศกครอบงำ มหาบพิตรก็ได้บรรเทาความ
โศกถึงบุตรเสียได้ ดูก่อนท้าววาสวะ อาตม-
ภาพเป็นผู้ถอนลูกศรออกได้แล้ว ปราศจาก
ความเศร้าโศก ไม่มีความมัวหมอง อาตม-
ภาพจะไม่เศร้าโศกร้องไห้ เพราะได้ฟังถ้อย-
คำของมหาบพิตร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยมาสิ ตัดบทเป็น ย เม อาสิ.
บทว่า หทยนิสฺสิต๑ ได้แก่ เสียบแน่นอยู่ในหทัย. บทว่า อปานุทิ
ได้แก่ นำออกแล้ว.
ท้าวสักกะครั้นประทานโอวาทแก่ดาบส แล้วก็เสด็จไปเฉพาะ
ยังสถานที่ของพระองค์.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประชุมชาดกว่า ดาบสในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุแก่ในบัดนี้
๑. บาลีว่า หทยสฺสิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 860
เนื้อในครั้งนั้น ได้มาเป็นสามเณรในบัดนี้ ส่วนท้าวสักกะในครั้งนั้น
ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามิคโปตกชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 861
๓. มูสิกชาดก
ควรเรียนทุกอย่างแต่ไม่ควรใช้ทุกอย่าง
[๘๑๓] คนบ่อพร่ำอยู่ว่า นางทาสีชื่อมูสิกาไป
ไหน ๆ เราคนเดียวเท่านั้นรู้ว่า นางทาสีชื่อ
ว่ามูสิกา ตายอยู่ในบ่อน้ำ.
[๘๑๔] เหตุใดท่านจึงคิดอย่างนี้ และมองหา
โอกาสจะประหารทางนี้ ๆ กลับไปแล้ว
เหมือนลา เพราะฉะนั้นเราจึงรู้ว่า ท่านฆ่า
นางทาสีชื่อว่ามูสิกาตายทิ้งไว้ในบ่อน้ำ วันนี้
ปรารถนาจะกินข้าวเหนียวอีกหรือ.
[๘๑๕] แน่เจ้าผู้โง่เขลา เจ้ายังเป็นเด็กอ่อน
ตั้งอยู่ในปฐมวัย มีผมดำสนิท มายืนถือ
ท่อนไม้ยาวนี้อยู่ เราจะไม่ยอมยกชีวิตให้
แก่เจ้า.
[๘๑๖] เราเป็นผู้อันบุตรปรารถนาจะฆ่าเสีย จะ
พ้นจากความตาย เพราะภพในอากาศหรือ
เพราะบุตรที่รักเปรียบด้วยอวัยวะก็หาไม่ เรา
พ้นจากความตายเพราะคาถาที่อาจารย์ผู้ให้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 862
[๘๑๗] บุคคลควรเรียนวิชาที่ควรเรียนทุกอย่าง
ไม่ว่าจะเลว ดี หรือปานกลางก็ตาม บุคคล
ควรรู้ประโยชน์ของวิชาที่เรียนทุกอย่าง แต่
ไม่ควรประกอบทั้งหมด ศิลปที่ศึกษาแล้ว
นำประโยชน์ให้ในเวลาใด แม้เวลาเช่นนั้น
ย่อมมีแท้.
จบ มูสิกชาดกที่ ๓
อรรถกถามูสิกชาดกที่ ๓
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภ
พระเจ้าอชาตศัตรู จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กุหึ
คตา กตฺถ คตา ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารมาแล้วในถุสชาดก ในหนหลังนั่นแล
ส่วนในชาดกนี้ พระศาสดาทรงเห็นพระราชาทรงหยอกเล่นกับพระ-
โอรสพลาง ทรงฟังธรรมพลางอย่างนั้น ทรงทราบว่า ภัยจักเกิดขึ้น
แก่พระราชา เพราะอาศัยพระโอรสนั้น จึงตรัสว่า มหาบพิตร
พระราชาครั้งเก่าก่อนทั้งหลาย ทรงรังเกียจสิ่งที่ควรรังเกียจ ได้ทรง
การทำโอรสของพระองค์ไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ด้วยทรงดำริว่า
พระโอรสจงครองราชสมบัติในเวลาเราแก่ชราตามัว แล้วทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 863
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ในเมืองตักกศิลา ได้
เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์. โอรสของพระเจ้าพาราณสี พระนามว่า
ยวกุมาร ได้เรียนศิลปะทุกอย่างในสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น แล้ว
ให้การซักถามคือทดสอบวิชาแล้ว ประสงค์จะกลับมาบ้านเมือง จึง
อำลาอาจารย์นั้น. อาจารย์รู้ได้ด้วยอำนาจวิชาดูอวัยวะว่า อันตราย
จักมีแก่กุมารนี้เพราะอาศัยบุตรเป็นเหตุ คิดว่าเราจักบำบัดอันตราย
ของพระกุมารนั้น จึงเริ่มไตร่ตรองหาข้อเปรียบเทียบสักข้อหนึ่ง.
ก็ในกาลนั้น ม้าของอาจารย์ทิศาปาโมกข์นั้นมีอยู่ตัวหนึ่งแผลเกิดขึ้น
ที่เท้าของม้านั้น. พวกคนเลี้ยงม้าจึงกระทำม้าตัวนั้นไว้เฉพาะใน
เรือน เพื่อจะตามรักษาแผล. ในที่ไม่ไกลเรือนนั้นมีบ่อน้ำอยู่บ่อหนึ่ง
ครั้งนั้น หนูตัวหนึ่งออกจากเรือนกัดแผลที่เท้าของม้า. ม้าไม่สามารถ
จะห้ามมันได้. วันหนึ่ง ม้านั้นไม่อาจอดกลั้นเวทนาได้ จึงเอาเท้า
ดีดหนูซึ่งมากัดกินแผลให้ตายตกลงไปในบ่อน้ำ. พวกคนเลี้ยงม้าไม่
เห็นหนูมาจึงกล่าวกันว่า ในวันอื่น ๆ หนูมากัดแผล บัดนี้ไม่ปรากฏ
มันไปเสียที่ไหนหนอ. พระโพธิสัตว์กระทำเหตุนั้นให้ประจักษ์แล้ว
กล่าวว่าคนอื่น ๆ ไม่รู้ จึงพากันกล่าวว่า หนูไปเสียที่ไหน แต่เรา
เท่านั้นย่อมรู้ว่าหนูถูกม้าฆ่าแล้วดีดลงไปในบ่อน้ำ. พระโพธิสัตว์นั้น
จึงกระทำเหตุนี้นั่นแหละให้เป็นข้อเปรียบเทียบ แล้วประพันธ์เป็น
คาถาที่หนึ่งมอบให้แก่พระราชกุมาร. พระโพธิสัตว์นั้นไตร่ตรองหาข้อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 864
เปรียบเทียบข้ออื่นอีก ได้เห็นม้าตัวนั้นแหละมีแผลหายแล้ว ออกไป
ที่ไร่ข้าวเหนียวแห่งหนึ่ง แล้วสอดปากเข้าไปทางช่องรั้ว ด้วยหวังว่า
จักกินข้าวเหนียว จึงกระทำเหตุนั้นแหละให้เป็นข้อเปรียบเทียบ แล้ว
ประพันธ์เป็นคาถาที่ ๒ มอบให้แก่พระราชกุมารนั้น ส่วนคาถาที่ ๓
พระโพธิสัตว์ประพันธ์โดยกำลังปัญญาของตน มอบคาถาที่ ๓ แม้นั้น
ให้แก่พระราชกุมารนั้นแล้วกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ เธอดำรงอยู่ในราช-
สมบัติแล้ว เวลาเย็นเมื่อจะไปสระโบกขรณีสำหรับสรงสนาน พึงเดิน
ท่องบ่นคาถาที่ ๑ ไปจนถึงบันใดอันใกล้ เมื่อจะเข้าไปยังปราสาท
อันเป็นที่อยู่ของเธอ พึงเดินท่องบ่นคาถาที่ ๒ ไปจนถึงที่ใกล้เชิง
บันได ต่อจากนั้นไป พึงเดินท่องบ่นคาถาที่ ๓ ไปจนถึงหัวบันได
ครั้นกล่าวแล้วจึงส่งพระกุมารไป. พระกุมารนั้นครั้นไปถึงแล้วได้เป็น
อุปราช เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว ได้ครองราชสมบัติ. โอรส
องค์หนึ่งของพระองค์ประสูติแล้ว. พระโอรสนั้น ในเวลามีพระวัสสา
๑๖ ปี คิดว่าจักปลงพระชนม์พระบิดา เพราะความโลภในราชสมบัติ
จึงตรัสกะอุปัฏฐาก (มหาดเล็ก) ทั้งหลายว่า พระบิดาของเรายังหนุ่ม
เราคอยเวลาถวายพระเพลิงพระบิดานี้ จักเป็นคนแก่คร่ำคร่าเพราะ
ชรา ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติแม้ที่ได้ในกาลเช่นนั้น. อุปัฏฐาก
เหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ไม่อาจไปยังประเทศชาย
แดนแล้วกระทำความเป็นโจร พระองค์จงปลงพระชนม์พระบิดาของ
พระองค์ด้วยอุบายบางอย่างแล้วยึดเอาราชสมบัติ. พระโอรสนั้นรับว่า
ได้ แล้วไปยังที่ใกล้สระโบกขรณีสำหรับสรงสนานตอนเย็นของพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 865
ราชา ในภายในพระราชนิเวศน์ ได้ถือพระขรรค์ยืนอยู่ด้วยตั้งใจว่า
จักฆ่าพระบิดานั้น ณ ที่นี้. ในเวลาเย็น พระราชาทรงสั่งนางทาสี
ชื่อหนูไปด้วยพระดำรัสว่า เจ้าจงไปชำระหลังสระโบกขรณีให้สะอาด
แล้วจงมา เราจักอาบน้ำ. นางทาสีนั้นไปชำระหลังสระโบกขรณีอยู่
เห็นพระกุมาร. พระกุมารจึงฟันนางทาสีนั้นขาด ๒ ท่อน แล้วทิ้ง
ให้ตกลงไปในสระโบกขรณี เพราะกลัวว่ากรรมของตนจะปรากฏขึ้น.
พระราชาได้เสด็จไปเพื่อจะสรงสนาน. ชนที่เหลือกล่าวว่า แม้จนวันนี้
นางหนูผู้เป็นทาสียังไม่กลับมา นางหนูไปไหน ไปที่ไร. พระราชา
ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-
คนพร่ำบ่นอยู่ว่า นางหนูไปไหน นาง
หนูไปไหน เราคนเดียวเท่านั้นรู้ว่า นางหนู
ตายอยู่ในบ่อน้ำดังนี้.
พระองค์ได้เสด็จไปถึงฝั่งสระโบกขรณี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุหึ คตา กตฺถ คตา เป็นคำ
ไวพจน์ของกันและกัน. บทว่า อิติ ลาลปฺปตี ได้แก่ บ่นเพ้ออยู่
อย่างนั้น. ดังนั้น คาถานี้แสดงเนื้อความนี้แก่พระราชาผู้ไม่ทรง
ทราบเลยแหละว่า ชนผู้ไม่รู้ย่อมพร่ำบ่นว่า นางหนูผู้เป็นทาสีไปไหน
แต่เราผู้เดียวเท่านั้นรู้ว่า นางหนูถูกพระราชกุมารฟันขาดสองท่อน
แล้วโยนให้ตกลงในสระโบกขรณี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 866
พระราชาได้เสด็จดำเนินตรัสคาถาที่ไปถึงฝั่งสระโบกขรณี.
พระกุมารคิดว่า พระบิดาของเราได้ทรงทราบกรรมที่เรากระทำไว้
จึงกลัวหนีไปบอกเรื่องนั้นแก่พวกอุปัฏฐาก. พอล่วงไป ๗ - ๘ วัน
อุปัฏฐากเหล่านั้นจึงทูลพระกุมารนั้นอีกว่า ข้าแต่สมมติเทพ ถ้า
พระราชาจะทรงทราบไซร้ จะไม่ทรงนิ่งไว้ ก็คำนั้นคงจะเป็นคำที่
พระราชานั้นตรัสโดยทรงคาดคะเนเอา พระองค์จงปลงพระชนม์
พระบิดานั้นเถิด. วันรุ่งขึ้น พระกุมารนั้นถือพระขรรค์ประทับยืนที่
ใกล้เชิงบันใด ในเวลาพระราชาเสด็จมา ทรงมองหาโอกาสที่จะ
ประหารไปรอบด้าน. พระราชาได้เสด็จดำเนินสาธยายคาถาที่ ๒ ว่า :-
เหตุใดท่านจึงคิดอย่างนี้ และมองหา
โอกาสจะประหารทางโน้นทางนั้นแล้วกลับไป
เสมือนลา เพราะฉะนั้น เราจึงรู้ว่า ท่านฆ่า
ทาสีชื่อว่านางหนูตายทิ้งไว้ในบ่อน้ำ วันนี้
ยังปรารถนาจะบริโภคโภชนะข้าวเหนียวอีก
หรือ.
แม้คาถานี้ก็แสดงเนื้อความนี้สำหรับพระราชาผู้ไม่ทรงทราบ
เลยว่า เพราะเหตุที่นั้นคิดอย่างนี้ และมองหาโอกาสจะประหารอยู่
ทางโน้นทางนี้แล้วกลับไปเสมือนลาฉะนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงรู้จัก
ท่านว่า วันก่อนท่านฆ่าทาสีชื่อนางหนูที่สระโบกขรณี๑ วันนี้ ยัง
ปรารถนาจะบริโภคโภชนะข้าวเหนียวอีก.๑
๑. ตรงนี้น่าจะเป็นว่า "วันนี้ ยังปรารถนาจะฆ่าพระเจ้ายวราชอีก."
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 867
พระกุมารสะดุ้งพระทัยหนีไปด้วยคิดว่า พระบิดาเห็นเราแล้ว.
พระกุมารนั้นให้เวลาล่วงไปประมาณกึ่งเดือนแล้วคิดว่า จักเอาท่อนไม้
ประหารพระราชาให้ตาย จึงถือท่อนไม้สำหรับประการท่อนหนึ่งมี
ด้ามยาวแล้วได้ยืนกุมอยู่. พระราชาตรัสว่า :-
แน่ะเจ้าผู้โง่เขลา เจ้ายังเป็นเด็กอ่อน
ตั้งอยู่ในปฐมวัย มีผมดำสนิท มายืนถือ
ท่อนไม้ยาวนี้อยู่ เราจะไม่ยอมยกชีวิตให้
แก่เจ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมุปฺปตฺติโต๑ ได้แก่ อุบัติคือ
ประกอบด้วยปฐมวัย อธิบายว่า ตั้งอยู่ในปฐมวัย. บทว่า สุสู
แปลว่า ยังเป็นหนุ่ม. บทว่า ทีฆ ได้แก่ ท่อนไม้สำหรับประหาร
มีด้ามยาว. บทว่า สมาปชฺช ความว่า เจ้ามายืนถือกุมไว้. คาถา
แม้นี้ก็ข่มขู่พระกุมาร แสงเนื้อความนี้ สำหรับพระราชาผู้ไม่รู้
นั้นแลว่า เจ้าคนโง่เจ้าจักไม่ได้บริโภคข้าวเหนียวของตน บัดนี้
เราจักไม่ให้ชีวิตแก่เจ้าผู้ไม่มีความละอาย เราจักฆ่าตัดให้เป็นท่อน
น้อยท่อนใหญ่ แล้วให้เสียบไว้บนหลาวนั่นแหละ.
พระราชาทรงสาธยายคาถาที่ ๓ พลางขึ้นถึงหัวบันใด. วันนั้น
พระกุมารนั้นไม่อาจหลบหนี กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์
โปรดประทานชีวิตแก่ข้าพระองค์เถิดพระเจ้าข้า แล้วหมอบลงที่ใกล้
พระบาทของพระราชา. พระราชาทรงคุกคามพระกุมารนั้นแล้ว ให้
๑. บาลี เป็น ปมุปฺปตฺติโก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 868
จองจำด้วยโซ่ตรวน แล้วให้ขังไว้ในเรือนจำ ทรงนั่งเหนือราชอาสน์
ที่ประดับประดา ณ ภายใต้เศวตฉัตร ทรงดำว่า พราหมณ์ทิศา-
ปาโมกข์ผู้อาจารย์ของเรา เห็นอันตรายนี้แก่เรา จึงได้ให้คาถา ๓
คาถานี้ จึงร่าเริงยินดี เมื่อจะเปล่งอุทาน จึงได้ตรัสคาถาที่เหลือว่า :-
เราเป็นผู้อันบุตรปรารถนาจะฆ่าเสีย จะ
พ้นจากความตายเพราะภพในอากาศ หรือ
เพราะบุตรที่รับเปรียบด้วยอวัยวะก็หาไม่ เรา
พ้นจากความตายเพระคาถาที่อาจารย์ผูกให้.
บุคคลควรเรียนวิชาที่ควรเรียนทุกอย่าง
ไม่ว่าจะเลว ดี หรือปานกลาง บุคคลควรรู้
ประโยชน์ของวิชาที่เรียนทั้งหมด แต่ไม่ควร
ประกอบใช้ทั้งหมด ศิลปะที่ศึกษาแล้วนำ
ประโยชน์มาให้ในเวลาใด แม้เวลาเช่นนั้น
ย่อมจะมีแท้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นานฺตลิกฺขภวเนน ความว่า
ทิพยวิมานเรียกกว่าภพในอากาศ วันนี้ เรามิได้ขึ้นแม้สู่ภพในอากาศ
เพราะฉะนั้น เราจึงมิได้พ้นจากความตายในวันนี้ แม้เพราะภพใน
อากาศ. บทว่า นางฺคปุตฺตสิเรน วา ความว่า หรือว่า เรามิได้
พ้นจากความตาย แม้เพราะบุตรอันเห็นเสมอด้วยอวัยวะ. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 869
ปุตฺเตน หิ ปฏิยิโต ความว่า ก็เราอันบุตรของตนเองปรารถนา.
จะฆ่าในวันนี้. บทว่า สิโลเกหิ ปโมจิโต ความว่า เรานั้นเป็นผู้
พ้นจากความตาย เพราะคาถาทั้งหลายที่อาจารย์ของตนประพันธ์ให้มา
บทว่า สุต ได้แก่ ปริยัติการเล่าเรียน. บทว่า อธีเยถ ได้แก่
พึงเรียน คือ ศึกษาเอา. ด้วยบทว่า หีนมุกฺกฏฺมชฺฌิม นี้ ท่าน
แสดงว่า วิชาที่เรียนไม่ว่าจะต่ำ ปานกลาง หรือ ชั้นสูงก็ตาม
บุคคลควรเรียนทั้งหมด. บทว่า น จ สพฺพ ปโยชเย ความว่า
ไม่ควรประกอบใช้มนต์ชั้นต่ำ หรือศิลปะชั้นกลาง ควรประกอบใช้
แต่ชั้นสูงเท่านั้น. บทว่า ยตฺถ อตฺถำวห สุต ความว่า ศิลปะ
ที่ได้ศึกษาแล้วชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่นการปั้นหม้อของมโหสถบัณฑิต
ย่อมนำประโยชน์มาให้ในกาลใด กาลแม้นั้นย่อมจะมีทีเดียว.
ในกาลต่อมา เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว พระกุมารก็ได้ดำรง
อยู่ในราชสมบัติ.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประชุมชา กว่า ก็อาจารย์ทิศาปาโมกข์ในครั้งนั้น ได้เป็นเรา
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามูสิกชาดกที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 870
๔. จุลลธนุคคหชาดก
ว่าด้วยจุลลธนุคคหบัณฑิต
[๘๑๘] ข้าแต่พราหมณ์ ท่านถือเอาห่อเครื่อง
ประดับทั้งหมดข้ามฝั่งไปแล้ว ขอจงรีบกลับ
มา รีบเอาฉันข้ามไปบัดนี้ด้วย.
[๘๑๙] แน่ะนางผู้เจริญ ท่านนับถือเราผู้อันท่าน
ไม่เคยเชยชิด ยิ่งเสียกว่าสามีผู้ที่เคยเชยชิด
มานาน นับถือเราผู้ไม่ใช่ผัวเสียยิ่งกว่าผัว นาง
ผู้เจริญจะพึงนับถือผู้อื่นยิ่งกว่าเราอีก เราจัก
ไปให้ไกลยิ่งกว่าที่นี้อีก.
[๘๒๐] ใครนี่มาทำการหัวเราะอยู่ในพุ่มตะไตร้น้ำ
ในที่นี้ก็ไม่มีการฟ้อนรำขับร้อง หรือการดีดสี
ตีเป่า แน่ะนางงามผู้มีตะโพกอันผึ่งผาย ทำไม
เจ้าจึงมาหัวเราะอยู่ในเวลาที่ควรร้องไห้.
[๘๒๑] แน่ะสุนัขจิ้งจอกพาลผู้โง่เขลาชาติชัม-
พุกะ เจ้าเป็นสัตว์มีปัญญาน้อย เสื่อมจาก
ปลาและชิ้นเนื้อ ซบเซาอยู่ เหมือนคน
กำพร้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 871
[๘๒๒] โทษของผู้อื่นเห็นได้ง่าย ส่วนโทษของ
ตนเห็นได้ยาก เจ้านั่นแหละเสื่อมจากผัว
และชายชู้แล้ว ซบเซาแม่กว่าเราเสียอีก.
[๘๒๓] แน่ะพระยาเนื้อชาติชัมพุกะ ท่านกล่าว
อย่างใด ข้อนี้ก็เป็นอย่างนั้น ฉันไปจากที่นี้
แล้ว จักเป็นหญิงอยู่ในอำนาจของผัว.
[๘๒๔] ผู้ใดนำภาชนะดินไป ถึงผู้นั้นจะพึงนำ
ภาชนะสำริดไป บาปที่เจ้าทำไว้แล้วนั่นแหละ
เจ้าจะทำอย่างนั้นอีก.
จบ อรรถกถาจุลลธนุคคหชาดกที่ ๔
อรรถกถาจุลลธนุคคหชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้ถูกภรรยาเก่าประเล้าประโลม จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า สพฺพ ภณฺฑ ดังนี้.
เมื่อพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธออันใครทำให้กระสัน
อยากสึก. ครั้นเมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า ภรรยาเก่า พระเจ้าข้า พระ-
ศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงนี้กระทำความพินาศให้แก่เธอใน
บัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อน เธออาศัยหญิงนี้ถูกตัดศีรษะด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 872
ดาบ อันภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา
สาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นท้าวสักกะ ในกาลนั้น พราหมณ์มาณพ
ชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง เรียนศิลปศาสตร์ทั้งปวงในเมืองตักกศิลา
ได้บรรลุความสำเร็จในธนูกรรมวิชายิงธนู ได้เป็นผู้มีนามว่า จุลล-
ธนุคคหบัณฑิต. ครั้งนั้นอาจารย์ของจุลลธนุคคหบัณฑิตนั้นคิดว่า
มาณพนี้เรียนศิลปศาสตร์ได้เหมือนเรา จึงได้ให้ธิดาของตน. จุลล-
ธนุคคหบัณฑิตนั้นพานางเดินทางไปด้วยหวังใจว่า จักไปเมือง
พาราณสี. ในระหว่างทาง ช้างเชือกหนึ่งได้ทำภูมิประเทศแห่งหนึ่ง
ให้ปลอดคน. ใคร ๆ ไม่อาจขึ้นไปยังสถานที่นั้น. จุลลธนุคคหบัณฑิต
เมื่อคนทั้งหลายพากันห้ามอยู่ก็พาภรรยาขึ้นสู่ปากดง. ครั้งนั้น ช้าง
ได้ปรากฏขึ้นแก่จุลลธนุคคหบัณฑิตนั้น ในท่ามกลางดง เขาจึงเอา
ลูกศรยิงช้างนั้นที่กระพองลูกศรทะลุออกทางส่วนเบื้องหลัง ช้างได้ล้ม
ลง ณ ที่นั้นเอง. ธนุคคหบัณฑิตได้กระทำที่นั้นให้ปลอดภัย แล้วได้
ไปถึงดงอื่นข้างหน้า. แม้ในดงนั้นก็มีโจร ๕๐ คน คอยปล้นคน
เดินทาง. ธนุคคหบัณฑิตนั้นอันคนทั้งหลายพากันห้ามอยู่ ก็ยังขึ้นไป
สู่ดงแม้นั้น. เขาได้ไปถึงสถานที่ตั้งของโจรเหล่านั้น ซึ่งฆ่าเนื้อแล้ว
ปิ้งเนื้อกินอยู่ ณ ที่ใกล้หนทาง. ครั้งนั้น โจรทั้งหลายเห็นธนุคคห
บัณฑิตนั้นมากับภรรยาผู้ประดับตกแต่งร่างกาย จึงทำความอุตสาหะว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 873
จักจับธนุคคหบัณฑิตนั้น. หัวหน้าโจรเป็นผู้ฉลาดในลักษณะของ
บุรุษ, เขาแลดูธนุคคหบัณฑิตนั้นเท่านั้นก็รู้ว่า ผู้นี้เป็นอุดมบุรุษ จึง
ไม่ให้แม้โจรคนหนึ่งลุกขึ้น. ธนุคคหบัณฑิตส่งภรรยาไปยังสำนักของ
พวกโจรเหล่านั้นด้วยสั่งว่า เธอจงไปพูดว่า ท่านทั้งหลายจงให้เนื้อย่าง
ไม้หนึ่งแก่เราทั้งสองแล้วนำเนื้อมา. ภรรยานั้นได้ไปพูดว่า ได้ยินว่า
ท่านทั้งหลายจะให้เนื้อย่างไม้หนึ่ง. หัวหน้าโจรคิดว่าบุรุษผู้หาค่ามิได้
จึงให้เนื้อย่าง พวกโจรพูดกันว่า พวกเราจะกินเนื้อย่างสุก. จึงได้ให้
เนื้อย่างดิบไป. ธนุคคหบัณฑิตยกย่องลำพองตนจึงโกรธพวกโจรว่า
ให้เนื้อดิบแก่เรา พวกโจรก็โกรธว่า เจ้าคนนี้เท่านั้นเป็นผู้ชายคนเดียว
พวกเราเป็นผู้หญิงหรือ จึงพากันลุกฮือขึ้น. ธนุคคหบัณฑิตยิงโจร
๔๙ คน ด้วยลูกศร ๔๙ ลูกให้ล้มลง. ลูกศรไม่มียิงหัวหน้าโจร.
ได้ยินว่า ในกล่องลูกศรของเขา มีลูกศรอยู่ ๕๐ ลูกพอดี บรรดา
ลูกศรเหล่านั้น เขายิงช้างเสียลูกหนึ่ง จึงยิงพวกโจรด้วยลูกศร ที่
เหลืออยู่ ๔๙ ลูก แล้วทำให้หัวหน้าโจรล้มลง นั่งทับบนอกของ
หัวหน้าโจรนั้น คิดว่าจักตัดศีรษะของนายโจรนั้น จึงให้นำดาบมา
จากมือของภรรยา. ภรรยานั้นกระทำความรักในหัวหน้าโจรขึ้นใน
ทันใดนั้น จึงวางตัวดาบที่มือโจร วางฝักดาบที่มือของสามี นายโจร
จับถูกด้ามของตัวดาบจึงชักมีดออกตัดศีรษะของธนุคคหบัณฑิต. นาย
โจรนั้นครั้นฆ่าธนุคคหบัณฑิตแล้ว จึงพาเอาผู้หญิงไปได้ถามถึงชาติ
และโคตร. นางบอกว่า ดิฉันเป็นธิดาของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมือง
ตักกศิลา. นายโจรถามว่า ชายผู้นี้ได้เธอด้วยเหตุอะไร ? นางกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 874
ว่า บิดาของดิฉันยินดีว่า นายธนุคคหะนี้ศึกษาศิลปะได้เหมือนกับเรา
จึงได้ให้แม้ดิฉันแก่นายธนุคคะนี้ ดิฉันนั้นมีความเสน่หาในท่าน จึง
ให้ฆ่าสามีที่ตระกูลให้แก่ตนเสีย. นายโจรเดินคิดไปว่าเบื้องต้น หญิงนี้
ให้ฆ่าสามีที่ตระกูลให้ก่อน ก็ครั้นเห็นคนอื่นอีกคนหนึ่งเข้า ก็จัก
กระทำอย่างนั้นนั่นแหละแม้กะเรา เราควรทิ้งหญิงนี้เสีย ครั้นใน
ระหว่างทางได้เห็นแม่น้ำน้อยสายหนึ่งมีพื้นตื้น มีน้ำเต็มมาชั่วคราว
จึงกล่าวว่า นางผู้เจริญจระเข้ในแม่น้ำนี้ดุร้าย พวกเราจะกระทำ
อย่างไร ? นางกล่าวว่า ข้าแต่สามี ท่านจงกระทำเครื่องอาภรณ์ภัณฑ์
ให้เป็นห่อของด้วยผ้าห่มของดิฉัน นำไปฝั่งโน้นแล้วจงกลับมาพาดิฉัน
ไป. นายโจรนั้นรับคำว่า ตกลงแล้วถือเอาเครื่องอาภรณ์ภัณฑ์ทั้งหมด
ลงสู่แม่น้ำ ทำที่เป็นว่ายข้ามไปถึงฝั่งโน้นแล้ว ได้ทิ้งนางไปเสีย. นาง
เห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า ข้าแต่สามี ทำไมท่านจึงทำทีเหมือนจะทิ้งดิฉัน
ไป เพราะเหตุไร ? ท่านจึงกระทำอย่างนี้ มาเถิด จงพาดิฉันไปด้วย
เมื่อจะเจรจากับนายโจรนั้น จึงกล่าวคาถา ๑ คาถาว่า :-
ข้าแต่พราหมณ์ ท่านถือเอาห่อเครื่อง
ประดับทั้งหมดข้ามฝั่งไปแล้ว ขอท่านจงรีบ
กลับมา รีบนำดิฉันข้ามไปในบัดนี้ด้วย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลหุ ขิปฺป ความว่า ท่านจงรีบ
กลับมา ท่านผู้เจริญขอท่านจงรีบนำฉันข้ามไปในบัดนี้ด้วย.
นายโจรได้ฟังดังนี้น ยืนอยู่ที่ฝั่งโน้นนั่นแหละ. จึงกล่าวคาถา
ที่ ๒ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 875
แน่ะนางผู้เจริญ ท่านนับถือเราผู้อันท่าน
ไม่เคยเชยชิด ยิ่งเสียกว่าสามีผู้ที่เคยเชยชิด
มานาน นับถือเราผู้ไม่ใช่ผัว ยิ่งเสียกว่าผัว
นางผู้เจริญจะพึงนับถือผู้อื่นยิ่งกว่าเราอีก เรา
จักไปจากที่นี้ให้ไกลลิบ.
คาถานั้น มีเนื้อความดังกล่าวในหนหลังแล.
ส่วนนายโจรกล่าวว่า เราจักไปจากที่แม้นี้ให้ไกลลิบ ท่านจง
อยู่เถิด เมื่อนางร่ำร้องอยู่นั่นแล พาเอาสิ่งของเครื่องประดับหนีไป.
ลำดับนั้น หญิงพาลนั้นถึงความพินาศฉิบหายเห็นปานนี้ เพราะความ
อยากได้เกินไป จึงเป็นคนไร้ที่พึ่งพา ได้เข้าไปยังกอตะไคร่น้ำกอหนึ่ง
ในที่ไม่ไกล นั่งร้องไห้อยู่.
ขณะนั้น ท้าวสักกะทรงตรวจดูโลกอยู่ ทรงเห็นนางผู้ถูก
ความอยากได้เกินไปครอบงำผู้เสื่อมจากสามีและโจร กำลังร้องไห้อยู่
ทรงดำริว่า จักข่มหญิงนี้ให้ได้อายแล้วจักกลับมา จึงทรงพาสารถีมาตลี
และปัญจสิขเทพบุตร เสด็จมา ณ ที่นั้น ประทับยืนที่ฝั่งแม่น้ำแล้ว
ทรงรับสั่งว่า ดูก่อนมาตลี เธอจงเป็นปลา ดูก่อนปัญจสิขะ เธอจงเป็น
นก ส่วนเราจักเป็นสุนัขจิ้งจอกดาบชิ้นเนื้อไปยังที่ตรงหน้าของนาง
เมื่อเราไปที่นั้น เธอจงโดดขึ้นจากน้ำตกลงตรงหน้าเรา เมื่อเป็นเช่น
นั้น เราจักทิ้งชิ้นเนื้อที่คาบเสีย แล้ววิ่งไปจะงับปลา ขณะนั้น ตัวท่าน
ปัญจสิขะ ที่แปลงเป็นนก จงโฉบเอาชิ้นเนื้อนั้นบินไปในอากาศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 876
ตัวท่านมาตลี ที่แปลงเป็นปลา จงโดดลงไปในน้ำ เทพบุตรทั้งสอง
รับเทวบัญชาว่า ดีละ ข้าแต่เทวะ. มาตลีสารถีได้แปลงเป็นปลา
ปัญจสิขเทพบุตรได้แปลงเป็นนก. ท้าวสักกะแปลงเป็นสุนัขจิ้งจอก
คาบชิ้นเนื้อไปยังที่ตรงหน้าของนาง. ปลาโดดขึ้นจากน้ำตกลงตรงหน้า
สุนัขจิ้งจอก. สุนัขจิ้งจอกทั้งชิ้นเนื้อที่คาบแล้ววิ่งไปเพื่อจะเอาปลา.
ปลากระโดดไปตกลงในน้ำ นกโฉบเอาชิ้นเนื้อบินไปในอากาศ. สุนัข-
จิ้งจอกไม่ได้ทั้งสองอย่าง มีน้ำนองด้วยน้ำตา หมอบดูกอตะไคร้น้ำ
อยู่. นางเห็นดังนั้นคิดว่า สุนัขจิ้งจอกนี้ถูกความหยากเกินไปครอบงำ
ไม่ได้ทั้งเนื้อและปลา จึงหัวเราะลั่นประดุจทุบหม้อให้แตกฉะนั้น.
สุนับจิ้งจอกได้ฟังเสียงหัวเราะนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ใครนี่มาทำการหัวเราะอยู่ที่กอตะไคร่น้ำ
ในที่นี้ก็ไม่มีการฟ้อนรำ ขับร้องหรือการดีดสี
ตีเป่า แน่ะนางผู้มีตะโพกอันผึ่งผาย ทำไม
เจ้าจึงมาหัวเราะในเวลาที่ควรจะร้องไห้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาย แยกออกเป็น กา อย
แปลว่า ใครนี้ บทว่า เอฬคณิคุมฺเพ ได้แก่ ที่สุมทุมพุ่มไม้ การ
หัวเราะดังจนเห็นฟัน ท่านเรียกว่า อหุหาสิยะ. สุนัขจิ้งจอกถามว่า
ใครนี่มาทำการหัวเราะลั่นอยู่ในพุ่มไม้นั้น. ด้วยบทว่า นยิธ นจฺจ วา
นี้ ท่านแสดงว่า ในที่นี้ การฟ้อนรำของใคร ๆ ผู้ฟ้อนรำอยู่ การ
ขับร้องของใคร ๆ ผู้ขับร้องอยู่ หรือเครื่องดุริยางค์ที่บรรเลงด้วยมือ
ซึ่งจัดไว้ดีแล้วของใคร ๆ ผู้กระทำมือให้ตั้งได้ที่ดีแล้วบรรเลงอยู่ ก็ไม่มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 877
ท่านเห็นสิ่งใดจึงหัวเราะ. บทว่า อนมฺหิกาเล แปลว่า ในกาลเป็น
ที่ร้องไห้. บทว่า สุสฺโสณิ แปลว่า ผู้มีตะโพกงาม. บทว่า กินฺนุ
ชคฺฆสิ ความว่า เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงไม่ร้องไห้ในกาลที่ควรจะ
ร้องไห้ กลับหัวเราะเสียงลั่น. สุนัขจิ้งจอกเมื่อจะสรรเสริญนางร้อง
เรียกว่า โสภเน แปลว่า แน่ะนางงาม.
นางได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
แน่ะสุนัขจิ้งจอกพาลผู้โง่เขลาชาติชัม-
พุกะ เจ้าเป็นสัตว์มีปัญญาน้อย เสื่อมจาก
ปลาและชิ้นเนื้อ ซบเซาอยู่เหมือนคนกำพร้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชินฺโน ได้แก่ เป็นผู้ถึงความเสื่อม
บทว่า เปสิญฺจ ได้แก่ ชิ้นเนื้อ. บทว่า กปโณ วิย ฌายสิ ความว่า
ท่านซบเซา คือ เศร้าโศก เสียใจ เหมือนคนกำพร้าแพ้ห่อทรัพย์
ตั้งพันฉะนั้น.
ลำดับนั้น สุนัขจิ้งจอกจึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า :-
โทษของผู้อื่นเห็นได้ง่าย ส่วนโทษ
ของตนเห็นได้ยาก เจ้านั่นแหละเสื่อมจาก
ผัวและชายชู้ ซบเซาแม้กว่าเราเสียอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า มมฺปิ ตฺวญฺเว ฌายสิ
นี้ พระมหาสัตว์เมื่อจะให้นางละอายแล้วถึงประการอันผิดแผกจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ดูก่อนนางผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก เราจักไม่ให้เหยื่อของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 878
เราก่อน แต่เจ้าถูกความหยากเกินไปครอบงำ มีจิตปฏิพันธ์ในโจรที่
เห็นชั่วครู่ เสื่อมจากชายชู้นั้นและจากผัวที่ตระกูลแต่งให้ ว่าโดย
เปรียบเทียบกะเราแล้ว เจ้าเป็นผู้กำพร้ากว่าร้อยเท่าพันเท่า ซบเซา
ร้องไห้ ร่ำไรอยู่.
นางได้ฟังคำของสุนัขจิ้งจอกนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาว่า :-
แน่ะพระยาเนื้อชาติชัมพุกะ ท่านกล่าว
อย่างใด ข้อนี้ก็เป็นอย่างนั้น ฉันไปจากที่นี้
แล้ว จักเป็นหญิงอยู่ในอำนาจของผัวแน่
นอน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นูน เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า
แน่นอน. นางกล่าวว่า ฉันไปจากนี้แล้วได้ผัวใหม่ จักอยู่ในอำนาจ
คือเป็นไปในอำนาจของผัวนั้น โดยแน่นอนทีเดียว.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชครั้นทรงสดับถ้อยคำของนางผู้ทุศีล
ไร้อาจาระจึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า :-
ผู้ใดนำภาชนะดินไป แม้ภาชนะสำริด
ผู้นั้นก็จะต้องนำไป บาปที่เจ้าทำไว้นั่นแหละ
เจ้าจะทำอย่างนั้นอีก.
คำที่เป็นคาถานั้น มีความหมายว่า ดูก่อนนางผู้อาจาระ เจ้า
พูดอะไร ผู้ใดนำภาชนะดินไปได้ แม้ภาชนะสำริดชนิดภาชนะทอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 879
และภาชนะเงินเป็นต้น ผู้นั้นก็จะนำเอาไปเหมือนกัน ก็บาปนี้เจ้าทำ
ไว้นั่นแหละ ใคร ๆ ไม่อาจชำระสะสางให้แก่เจ้า เจ้านั้นจักกระทำ
อย่างนี้อีกแน่นอน.
ท้าวสักกะนั้น ครั้นทรงทำนางให้ได้อายถึงประการอันแปลก
อย่างนี้แล้ว ได้เสด็จไปยังสถานที่ของพระองค์ทีเดียว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสัน
จะสึกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ธนุคคหบัณฑิตในครั้งนั้น ได้มาเป็น
ภิกษุผู้กระสันจะสึก หญิงนั้นในครั้งนั้น ได้มาเป็นภรรยาเก่า ส่วน
ท้าวสักกเทวราชในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาจุลลธนุคคหชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 880
๕. กโปตกชาดก
ว่าด้วยโภคะของมนุษย์
[๘๒๕] บัดนี้ เราเป็นสุข ไม่มีโรค นกพิราบ
ผู้เหมือนหนามในหทัยบินไปแล้ว บัดนี้ เรา
จักกระทำความยินดีแห่งหทัย เพราะเหตุว่า
ชิ้นเนื้อและแกงจะทำให้เราเกิดกำลัง.
[๘๒๖] นกยางอะไรนี่มีหงอน ขี้ขโมย เป็น
ปู่นก โลดเต้นอยู่ แน่ะนกยาง ท่านจง
ออกมีข้างนอกเสีย กาผู้เป็นสหายของเรา
ดุร้าย.
[๘๒๗] ท่านได้เห็นเรามีขนปีก อันพ่อครัวถอน
แล้วทาด้วยน้ำข้าวเช่นนี้ ไม่ควรจะมาหัวเราะ
เยาะเลย.
[๘๒๘] ท่านอาบดีแล้ว ลูบไล้ดีแล้ว เอิบอิ่ม
ไปด้วยข้าวแลน้ำ และมีแก้วไพฑูรย์อยู่ที่คอ
ได้ไปกชังคละประเทศมาหรือ.
[๘๒๙] เราจะเป็นมิตรหรือมิใช่มิตรของท่านก็
ตาม ท่านอย่าได้กล่าวว่า ท่านได้ไปยังกชัง-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 881
คละประเทศมีหรือ เพราะว่าในกชังคละ-
ประเทศนั้น ชนทั้งหลายถอนขนของเราออก
แล้ว ผูกชิ้นกระเบื้องไว้ที่คอ.
[๘๓๐] แน่ะสหาย ท่านจะประสบสภาพเห็น
ปานนี้อีก เพราะปกติของท่านเป็นเช่นนั้น
อันโภคของพวกมนุษย์ไม่ใช่เป็นของที่นก
จะกินได้ง่ายเลย.
จบ กโปตกชาดกที่ ๕
อรรถกถากโปตกชาดกที่ ๕
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุโลภรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อิทานิ
โขมฺหิ ดังนี้.
เรื่องภิกษุโลภ ได้ให้พิสดารแล้วโดยเรื่องราวมิใช่น้อยเลย.
ส่วนในชาดกนี้ พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ก่อนภิกษุ ได้
ยินว่าเธอเป็นผู้โลภจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้
ในกาลก่อน เธอก็เป็นคนโลภมาแล้ว ก็เพราะความเป็นคนโลภ จึง
ได้ถึงความสิ้นชีวิต แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 882
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนกพิราบอยู่ในกระเช้าที่เขา
ทำเป็นรังนก ในโรงครัวของท่านพาราณสีเศรษฐี. ครั้งนั้น มีกา
ตัวหนึ่งอยากได้เนื้อปลา จึงกระทำไมตรีกับนกพิราบนั้น ได้อยู่ใน
กระเช้ารังนั้นเหมือนกัน. วันหนึ่ง กานั้นเห็นเนื้อปลามากมาย คิดว่า
จักกินเนื้อปลานี้ จึงนอนถอนใจอยู่ในกระเช้าที่เป็นรังนั่นแหละ แม้
นกพิราบจะกล่าวว่า มาเถอะสหาย พวกเราจักไปหากินกัน ก็กล่าว
ว่า ฉันมึนเมาเพราะอาหารไม่ย่อย ท่านจงไปเถอะ. เมื่อนกพิราบนั้น
ไปแล้ว คิดอยู่ว่า เสี้ยนหนามคือศัตรูของเราไปแล้ว บัดนี้ เราจัก
กินเนื้อปลาได้ตามชอบใจ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
บัดนี้ เราเป็นสุข ไม่มีโรค นกพิราบ
เป็นเสี้ยนหนามในหทัย บินไปแล้ว บัดนี้
เราจักกระทำความยินดีแห่งหทัย เพราะเหตุ
ว่าชิ้นเนื้อและแกงจะทำให้เราเกิดกำลัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิปฺปติโต แปลว่า ออกไปแล้ว.
บทว่า กโปโต ได้แก่ นกพิราบ. บทว่า กาหามิทานิ แปลว่า บัดนี้
เราจักกระทำ. บทว่า ตถา หิ ม มสสาก พเลติ ความว่า เพราะ
เนื้อและแกงที่เหลือ ย่อมทำกำลังให้แก่เราโดยแท้ อธิบายว่า เนื้อ
และแกงย่อมทำความอุตสาหะแก่เรา เสมือนจะพูดว่า จงลุกขึ้นกินเถิด.
กานั้น เมื่อพ่อครัวทอดเนื้อปลาแล้วออกไปเช็ดเหงื่อออกจาก
ตัว จึงออกจากกระเช้าแล้ว แอบอยู่ในภาชนะใส่เครื่องปรุงอาหารให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 883
มีรส ภาชนะใส่เครื่องเทศ ทำให้เกิดสียงดังกริ้ก ๆ. พ่อครัว
จึงมาจับกาถอนขนออกหมด แล้วบดขิงสดกับแป้งและเมล็ดผักกาด
ขยำกระเทียมเข้ากับเปรียงบูด ทาจนทั่วตัว แล้วเราะกระเบื้องอันหนึ่ง
เจาะให้ทะลุร้อยด้ายผูกไว้ที่คอกานั้น ใส่มันเข้าไว้ในรังกระเช้าตาม
เดิม ได้ไปแล้ว. นกพิราบกลับมาเห็นดังนั้น เมื้อจะทำการเยาะเย้ย
ว่า นี่นกยางอะไรมานอนอยู่ในกระเช้าของสหายเรา ก็สหายของเรา
นั้นดุร้าย กลับมาแล้วจะพึงฆ่าเจ้าเสีย จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
นี่นกยางอะไรมีหงอน ขี้ขโมยเป็นปู่นก
โลดเต้นอยู่ แน่ะนกยาง ท่านจงออกมาข้าง
นอกเสีย กาผู้เป็นสหายของเราดุร้าย.
คาถานั้น มีเนื้อความได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. กาได้ฟัง
ดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ท่านได้เห็นเรามีขนอันพ่อครัวถอนหมด
แล้วทาด้วยแป้งเช่นนี้ ไม่ควรจะหัวเราะเยาะ
เลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อล เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า
ปฏิเสธ. บทว่า ชคฺฆิตาเส๑ แปลว่า หัวเราะ. ท่านกล่าวอธิบายนี้
ไว้ว่า บัดนี้ ท่านเห็นเราได้รับทุกข์เช่นนี้ คืออย่างนี้ ไม่ควรจะหัวเราะ
คือ ท่านอย่ากระทำการหัวเราะเยาะในกาลเช่นนี้.
นกพิราบนั้น กระทำการหัวเราะอยู่นั่นแล จึงกล่าวคาถาที่
๑. บาลีว่า ชคฺฆิตาเย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 884
๔ อีกว่า :-
ท่านอาบดีแล้ว ลูบไล้ดีแล้ว เอิบอิ่มไป
ด้วยข้าวและน้ำ และมีแก้วไพฑูรย์อยู่ที่คอ
ได้ไปกชังคละประเทศมาหรือ.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กณฺเ จ เต เวฬุริโย นี้
นกพิราบหมายเอา กระเบื้องนั่นแหละ กล่าวว่า แม้แก้วไพฑูรย์
ขอท่านนี้ ก็ประดับอยู่ที่คอ. ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ท่านไม่แสดง
แก้วไพฑูรย์นี้แก่เราเลย. ด้วยบทว่า กชงฺคล นี้ เมืองพาราณสีเท่านั้น
ท่านประสงค์เอาว่า กชังคละประเทศ ในที่นี้. นกพิราบถามว่า ท่าน
ออกจากที่นี้ไป ได้ไปยังภายในเมืองมาหรือ ?
ลำดับนั้น กาจึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า :-
คนผู้เป็นมิตรหรือเป็นศัตรูของท่านก็ตาม
อยู่ได้ไปกชังคละประเทศเลย เพราะใน
กชังคละประเทศนั้น คนทั้งหลายถอนขน
ของเราออกแล้วผูกกระเบื้องกลมไว้ที่คอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิญฺชานิ ได้แก่ ขนหางทั้งหลาย
บทว่า ตตฺถ ลายิตฺวา ความว่า ในนครพาราณสีนั้น ชนทั้งหลาย
ถอน. บทว่า วฏฺฎน ได้แก่ กระเบื้อง.
นกพิราบได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 885
แน่ะสหาย ท่านจะประสบสภาพเห็น
ปานนี้อีก เพราะปกติของท่านเป็นเช่นนี้
ธรรมดาของบริโภคของมนุษย์ ไม่เป็นของที่
พวกนกจะกินได้ง่ายเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุนปาปชฺชสี ความว่า ท่าน
จักถึงสภาพเห็นปานนี้แม้อีก เพราะปกติของท่านเห็นปานนี้.
นกพิราบนั้นโอวาทกานั้น ด้วยประการยังนี้แล้วก็ไม่อยู่ในที่
นั้น ได้กางปีกบินไปที่อื่นแล้ว. ฝ่ายกาก็ถึงความสิ้นชีวิตอยู่ในที่นั้น
นั่นเอง.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประกาศสัจจะทั้งสี่ แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้
โลภได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล. กาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้โลภใน
บัดนี้ ส่วนนกพิราบในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากโปตกชาดกที่ ๕
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ทีฆีติโกสลชาดก ๒. มิคโปตกชาดก ๓. มูสิกชาดก
๔. จุลลธนุคคหชาดก ๕. กโปตกชาดก.
จบ อัฑฒวรรคที่ ๓
รวมวรรคที่มีในปัญจกนิบาตคือ
๑. มณิกุณฑลวรรค ๒.วรรณาโรหวรรค ๓. อัฑฒวรรค.
จบ อรรถกถาปัญจกนิบาต