ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย ชาดก

เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๒

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เอกนิบาตชาดก

๕. อัตถกามวรรค

๑. โลสกชาดก

ว่าด้วยคนที่ต้องเศร้าโศก

[๔๑] " ผู้ใดบุคคลกล่าวสอนอยู่ ไม่ทำตามคำ

สอนของผู้ปรารถนาประโยชน์ ผู้อนุเคราะห์ด้วย

ประโยชน์เกื้อกูล ผู้นั้นย่อมเศร้าโศก เหมือน

มิตตพินทุกะจับเท้าแพะเศร้าโศกอยู่ฉะนั้น."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

อรรถกถาอัตถกามวรรคที่ ๕

อรรถกถาโลสกชาดกที่ ๑

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภ พระโลสกติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า " โย อตฺถกามสฺส" ดังนี้.

ก็พระเถระผู้มีชื่อว่า โลสกะ นี้ คือใคร (มีประวัติเป็นมา

อย่างไร) ?

ท่านเป็นบุตรของชาวประมงคนหนึ่ง ในแคว้นโกศล เป็น

ผู้ทำลายตระกูลวงศ์ของตน ไม่มีลาภ มาบวชในหมู่ภิกษุ.

ได้ยินมาว่า ท่านจุติจากที่ที่ท่านเกิดแล้ว ถือปฏิสนธิใน

ท้องของหญิงชาวประมงนางหนึ่ง ณ หมู่บ้านชาวประมงตำบล

หนึ่ง ซึ่งอยู่ร่วมกันถึงพันครอบครัว ในแคว้นโกศล. ในวันที่

ท่านถือปฏิสนธิ ชาวประมงทั้งพันครอบครัวนั้น พากันถือข่าย

เที่ยวหาปลา ในลำน้ำและบ่อบึง ไม่ได้แม้แต่ปลาตัวเล็ก ๆ สัก

ตัวหนึ่ง. และนับแต่วันนั้นมา พวกชาวประมงเหล่านั้น ก็พากัน

เสื่อมโทรมทีเดียว. เมื่ออยู่ในท้องมารดานั้นเล่า บ้านชาวประมง

เหล่านั้น ก็ถูกไฟไหม้ถึง ๗ ครั้ง ถูกพระราชาปรับสินไหมเจ็ด

ครั้ง. โดยนัยนี้ ชาวประมงเหล่านั้น จึงถึงความลำบากโดยลำดับ.

พวกเขาคิดกันว่า เมื่อก่อนเรื่องทำนองนี้ไม่เคยมีแก่พวกเราเลย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

แต่บัดนี้พวกเราพากันย่ำแย่ ในระหว่างพวกเราต้องมีตัวกาลกรรณี

คนหนึ่ง พวกเราจงแบ่งเป็นสองพวกเถิด. ดังนี้แล้ว แยกกันอยู่

ฝ่ายละ ๕๐๐ ครอบครัว. แต่นั้นมารดาบิดาของเขาอยู่กลุ่มใด

กลุ่มนั้นก็แย่ กลุ่มนอกนี้เจริญ พวกที่แย่นั้น ก็แยกกลุ่มกันอีก

โดยแยกกันออกเป็น ๒ กลุ่มอีก แยกกันไปโดยทำนองนี้ กระทั่ง

ตระกูล (ของเขา) นั่นแหละ เหลือโดดเดี่ยว (เพียงตระกูลเดียว)

เขาทั้งหลายจึงรู้ว่า คนเหล่านั้นเป็นกาลกรรณี ก็รุมกันโบยตีไล่

ออกไป. ครั้งนั้นมารดาบิดาของเขา เลี้ยงชีพมาโดยแร้นแค้น

พอท้องแก่ก็คลอด ณ ที่แห่งหนึ่ง. ธรรมดาท่านผู้เป็นสัตว์ เกิดมา

ในภพสุดท้าย ใครไม่อาจทำลายได้ เพราะมีอุปนิสัยแห่งอรหัตผล

รุ่งเรืองอยู่ในหทัยของท่าน เหมือนดวงประทีปภายในหม้อฉะนั้น.

มารดาเลี้ยงเขามา จนถึงในเวลาที่เขาวิ่งเที่ยวไปมาได้ ก็เอากะโล่

ดินเผาใบหนึ่งใส่มือให้พลางเสือกไสด้วยคำว่า ลูกเอ๋ย เจ้าจงไป

สู่เรือนหลังนั้นเถิดดังนี้แล้วหลบหนีไป. จำเดิมแต่นั้นมา เขาก็อยู่

อย่างเดียวดาย เที่ยวหากินไปตามประสา หลับนอน ณ ที่แห่งหนึ่ง

ไม่ได้อาบน้ำ ไม่ได้ปรนนิบัติร่างกาย ดูเหมือนปีศาจคลุกฝุ่น

เลี้ยงชีวิตมาได้โดยลำเค็ญ. เขามีอายุครบ ๗ ขวบ โดยลำดับ

เลือกเม็ดข้าวกินทีละเม็ด เหมือนกา ในที่สำหรับเทน้ำล้างหม้อ

ใกล้ประตูเรือนแห่งหนึ่ง.

ครั้งนั้น พระธรรมเสนาบดี เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในเมือง

สาวัตถี เห็นแล้วรำพึงว่า เด็กคนนี้น่าสงสารนัก เป็นชาวบ้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

ไหนหนอ แผ่เมตตาจิตไปในเขาเพิ่มยิ่งขึ้น จึงเรียกว่า มานี่เถิด

เด็กน้อย. เขามาไหว้พระเถระแล้วยืนอยู่ ลำดับนั้น พระเถระ

ถามเขาว่า เจ้าเป็นชาวบ้านไหน พ่อแม่ของเจ้าอยู่ที่ไหน ?

เขาตอบว่า ท่านขอรับ กระผมไร้ที่พึ่ง พ่อแม่ของกระผม

พูดว่า เพราะกระผมทำให้ท่านต้องลำบาก จึงทิ้งกระผมหนีไป.

พระเถระถามว่า เออก็เจ้าจักบวชไหมละ ?

เขาตอบว่า ท่านขอรับ กระผมอยากบวชนัก แต่คนกำพร้า

อย่างกระผมใครจักบวชให้.

พระเถระกล่าวว่า เราจักบวชให้.

เขากล่าวว่า สาธุ ท่านขอรับ โปรดอนุเคราะห์ให้กระผม

บวชเถิด. พระเถระจึงให้ของเคี้ยว ของบริโภคแก่เขาแล้วพาไป

วิหาร อาบน้ำให้เอง ให้บรรพชา จนอายุครบจึงให้อุปสมบท ใน

ตอนแก่ท่านมีชื่อว่า "โลสกติสสเถระ" เป็นพระไม่มีบุญ มี

ลาภน้อย. เล่ากันว่า แม้ในคราวอสทิสทาน ท่านก็ไม่เคยได้ฉัน

เต็มท้อง ได้ขบฉันเพียงพอจะสืบต่อชีวิตไปได้เท่านั้น เพราะเมื่อ

ใครใส่บาตรท่านเพียงข้าวต้มกระบวยเดียว บาตรก็ปรากฏเหมือน

เต็มเสมอขอบแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น คนทั้งหลายก็สำคัญว่า บาตร

ของภิกษุรูปนี้เต็มแล้ว เลยถวายองค์หลัง ๆ. บางอาจารย์กล่าว

ว่า ในเวลาถวายยาคูในบาตรของท่าน ข้าวยาคูในภาชนะของ

คนทั้งหลาย ก็หายไป ดังนี้ก็มี. แม้ในปัจจัยอื่นมีของควรเคี้ยว

เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. โดยสมัยต่อมาท่านเจริญวิปัสสนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

แม้จะดำรงในพระอรหัต อันเป็นผลชั้นยอด ก็ยังคงมีลาภน้อย.

ครั้นเมื่ออายุสังขารของท่านล่วงโรยทรุดโทรมลงโดยลำดับ ก็

ถึงวันเป็นที่ปรินิพพาน.

ท่านพระธรรมเสนาบดี คำนึงอยู่ ก็รู้ถึงการปรินิพพาน

ของท่าน จึงดำริว่า วันนี้พระโลสกติสสเถระ นี้จักปรินิพพาน

ในวันนี้ เราควรให้อาหารแก่เธอจนพอ ดังนี้แล้ว พาท่านเข้าไป

เมืองสาวัตถี เพื่อบิณฑบาต เพราะพาท่านไปด้วย พระเถระ

เลยไม่ได้แม้เพียงการยกมือไหว้ ในเมืองสาวัตถีอันมีคนมากมาย.

พระเถระจึงกล่าวว่า อาวุโส เธอจงไปนั่งคอยอยู่ที่โรงฉันเถิด

ดังนี้แล้วส่งท่านกลับ. พอพระเถระมาจากที่นั้นเท่านั้น พวกมนุษย์

ก็พูดกันว่า พระผู้เป็นเจ้ามาแล้ว นิมนต์ให้นั่งเหนืออาสนะ ให้

ฉันภัตตาหาร. พระเถระก็ส่งอาหารที่ได้แล้วนั้นไป โดยกล่าวกับ

คนเหล่านั้นว่า พวกเธอจงให้ภัตรนี้แก่พระโลสกติสสเถระ คนที่

รับภัตรนั้นไป ก็ลืมพระโลสกติสสเถระ พากันกินเสียเรียบ. จน

เวลาที่พระเถระเดินไปถึงวิหาร พระโลสกติสสเถระ ก็ไปนมัสการ

พระเถระ พระเถระหันกลับมายืนถามว่า อาวุโส คุณได้อาหาร

แล้วหรือ ? ท่านตอบว่า ไม่ได้ดอกครับ. พระเถระถึงความสลดใจ

ดูเวลา กาลยังไม่ล่วงเลย. พระเถระจึงกล่าวว่า ช่างเถิดผู้มี

อายุ คุณจงนั่งอยู่ที่เดิมนั่นแหละ ครั้นให้พระโลสกติสสเถระ

นั่งรอในโรงฉันแล้ว ก็ไปสู่พระราชวังของพระเจ้าโกศล พระ-

ราชารับสั่งให้รับบาตรของพระเถระ ทรงกำหนดว่า มิใช่กาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

แห่งภัตร จึงรับสั่งให้ถวายของหวาน ๔ อย่าง จนเต็มบาตร.

พระเถระรับบาตรกลับไปถึง จึงเรียกพระโลสกติสสเถระว่า

มาเถิด ผู้มีอายุ ติสสะ ฉันของหวาน ๔ อย่างนี้เถิด แล้วถือบาตร

ยืนอยู่. ท่านพระโลสกติสสเถระยำเกรงพระเถระจะไม่ฉัน. ลำดับ

นั้น พระเถระกล่าวกะท่านว่า มาเถิดน่า ท่านผู้มีอายุติสสะ ผม

จะยืนถือบาตรไว้ คุณจงนั่งฉัน ถ้าผมปล่อยบาตรจากมือ บาตร

ต้องไม่มีอะไร. ลำดับนั้น ท่านพระโลสกติสสเถระ เมื่อพระธรรม-

เสนาบดีผู้เป็นอรรคสาวกยืนถือบาตรไว้ให้ จึงนั่งฉันของหวาน

๔ อย่าง. ของหวาน ๔ อย่างนั้น ไม่ถึงความหมดสิ้น ด้วยกำลัง

แห่งฤทธิ์ของพระเถระ พระโลสกติสสเถระ ฉันจนเต็มความ

ต้องการ ในเวลานั้น ในวันนั้นเอง ท่านก็ปรินิพพานด้วยอนุปา-

ทิเสสนิพพานธาตุ. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับในสำนักของ

ท่าน ทรงรับสั่งให้กระทำการปลงสรีระ เก็บเอาธาตุทั้งหลาย

ก่อพระเจดีย์ บรรจุไว้.

ในเวลานั้น ภิกษุทั้งหลาย ประชุมกันในธรรมสภา นั่ง

สนทนากันว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ท่านพระโลสก-

ติสสเถระ มีบุญน้อย มีลาภน้อย อันผู้มีบุญน้อย มีลาภน้อย

เห็นปานดังนี้ บรรลุอริยธรรมได้อย่างไร. พระบรมศาสดาเสด็จ

ไปธรรมสภา มีพระดำรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้พวกเธอ

ประชุมกันด้วยเรื่องอะไรเล่า ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้

ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย โลสกติสสะผู้นี้ ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

ประกอบกรรม คือความเป็นผู้มีลาภน้อย ละความเป็นผู้ได้อริย-

ธรรมของตน ด้วยตนเอง เนื่องด้วยครั้งก่อนเธอกระทำอันตราย

ลาภของของผู้อื่น จึงเป็นผู้มีลาภน้อย เป็นผู้บรรลุอริยธรรมได้

ด้วยผลที่บำเพ็ญวิปัสสนา คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้แล้ว

ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า

กัสสปะ. ภิกษุรูปหนึ่ง อาศัยกุฎุมพีผู้หนึ่งอยู่ในอาวาสประจำ

หมู่บ้าน เป็นผู้เรียบร้อย มีศีล หมั่นบำเพ็ญวิปัสสนา. ครั้งนั้น

มีพระขีณาสพองค์หนึ่งอยู่ในป่าหิมพานต์ ได้มาถึงบ้านที่อยู่ของ

กุฎุมพีผู้อุปัฏฐากภิกษุนั้นโดยลำดับ. กุฎุมพีเลื่อมใสในอิริยาบถ

ของพระเถระ จึงรับบาตร นิมนต์เข้าสู่เรือน ให้ฉันภัตตาหาร

โดยเคารพ สดับพระธรรมกถาเล็กน้อย แล้วไหว้พระเถระ กล่าว

ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นิมนต์พระคุณเจ้าไปสู่วิหารใกล้

บ้านของกระผมก่อนเถิด ต่อเวลาเย็น พวกกระผมจึงจะไปเยี่ยม

พระเถระจึงไปสู่วิหาร นมัสการพระเถระเจ้าอาวาส ทักถาม

กันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร. ท่านเจ้าอาวาสก็ทำปฏิสันถารกับท่าน

แล้วถามว่า มีอายุ คุณได้รับภัตตาหารแล้วหรือ ?

ท่านตอบว่า ได้แล้วครับ.

คุณได้ที่ไหนเล่า ?

ได้ที่เรือนกุฎุมพีใกล้ ๆ วิหารนี้แหละ. ครั้นบอกอย่างนี้

แล้วก็ถามถึงเสนาสนะของตน จัดแจงปัดกวาด เก็บบาตรจีวรไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

เรียบร้อย พลางก็นั่งระงับยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌาน ด้วย

ความสุขในผลสมาบัติ. พอเวลาเย็น กุฎุมพีก็ให้คนถือเอาพวง

ดอกไม้ และน้ำมันเติมประทีปไปวิหาร นมัสการพระเถระเจ้า

อาวาส แล้วถามว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ มีพระเถระอาคันตุกะ

มาพักรูปหนึ่งมิใช่หรือ ? ท่านตอบว่า จ้ะ มีมาพัก. คฤหบดี

ถามว่า เดี๋ยวนี้ท่านพักอยู่ที่ไหนขอรับ ? ตอบว่า ที่เสนาสนะโน้น.

กุฎุมพีไปสู่สำนักของท่าน นั่ง ณ ที่สมควร ฟังธรรมกถาจนถึง

ค่ำ จึงบูชาพระเจดีย์ และต้นโพธิ์ จุดประทีปสว่างไสว แล้ว

นิมนต์ภิกษุทั้งสองให้รับบาตรในวันรุ่งขึ้น แล้วกลับไป. ฝ่าย

พระเถระผู้เป็นเจ้าอาวาส คิดว่า กุฎุมพีนี้ ถูกพระอาคันตุกะ ยุ

ให้แตกกับเราเสียแล้ว ถ้าเธอจักอยู่ในวิหารนี้ไซร้ ที่ไหนกุฎุมพี

จะนับถือเรา เกิดความไม่พอใจในพระเถระ คิดว่า เราควรแสดง

อาการ ไม่ให้เธอยู่ในวิหารนี้ ดังนี้แล้ว ในเวลาที่ท่านมาปรนนิบัติ

ก็ไม่พูดด้วย. พระเถระขีณาสพ ทราบอัธยาศัยของภิกษุผู้เป็น

เจ้าอาวาสแล้วคำนึงว่า พระเถระนี้ไม่ได้ทราบถึงการที่เรา ไม่มี

ความห่วงใยในตระกูล ในลาภ หรือในหมู่ แล้วกลับไปที่อยู่ของ

ตน ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌาน และความสุขในผลสมาบัติ.

ถึงวันรุ่งขึ้น ท่านเจ้าอาวาสก็ตีระฆังด้วยหลังเล็บ เคาะประตู

ด้วยเล็บ แล้วไปสู่เรือนของกุฎุมพี. กุฎุมพีรับบาตร นิมนต์ให้

นั่งเหนืออาสนะที่ปูลาดไว้ แล้วถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระ-

อาคันตุกะเถระไปไหนเสียเล่า ? ท่านเจ้าอาวาสตอบว่า ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

ไม่ทราบความประพฤติของพระผู้ใกล้ชิดสนิทสนมของคุณ ฉัน

ตีระฆัง เคาะประตู ก็ไม่อาจปลุกให้ตื่นได้ เมื่อวานฉันโภชนะ

อันประณีตในเรือนของคุณแล้ว คงอิ่มอยู่จนวันนี้ บัดนี้ก็ยังนอน

หลับอยู่นั่นเอง เมื่อท่านจะเลื่อมใส ก็เลื่อมใสในภิกษุผู้มีสภาพ

เห็นปานนี้ทีเดียว. ฝ่ายพระเถระผู้ขีณาสพ กำหนดเวลาภิกษาจาร

ของตนแล้ว ก็ชำระสรีระของตนแล้ว ทรงบาตรจีวร เหาะไปใน

อากาศ (แต่) ได้ไปเสียในที่อื่น.

กุฎุมพีนิมนต์พระเถระเจ้าอาวาส ฉันข้าวปายาสที่ปรุง

ด้วยเนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวดแล้ว รมบาตรด้วยของหอม ใส่

ข้าวปายาสจนเต็ม แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเถระนั้น

เห็นจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า พระคุณเจ้าจงนำข้าวปายาสนี้ไป

ให้ท่านด้วยเถิด. แล้วถวายบาตรไป. พระเถระเจ้าอาวาสไม่ห้าม

เสียทันที คงรับบาตรมา เดินไปคิดไป ถ้าภิกษุนั้นได้ข้าวปายาส

นี้ไซร้ ถึงเราจะจับคอฉุดให้ไป ก็จักไม่ไป ก็ถ้าเราจักให้ข้าว

ปายาสนี้แก่มนุษย์ กรรมของเราก็จักปรากฏ หากเททิ้งลงใน

น้ำเล่า เนยใสก็จักปรากฏเหนือน้ำได้ ถ้าทิ้งบนแผ่นดิน ฝูงกา

จักรุมกันกิน กรรมของเราก็จักปรากฏ ควรทิ้งข้าวปายาสนี้

ที่ไหนดีหนอ เห็นนากำลังไหม้อยู่แห่งหนึ่ง ก็คุ้ยถ่านขึ้น เทข้าว

ปายาสลงไป กลบด้วยก้อนถ่าน แล้วจึงไปวิหาร ครั้นไม่เห็น

ภิกษุรูปนั้น จึงคิดได้ว่า ชะรอยภิกษุนั้นจักเป็นพระขีณาสพ รู้

อัธยาศัยของเราแล้ว จักไปเสียที่อื่นเป็นแน่ โอ เพราะท้องเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

เหตุเราทำกรรมไม่สมควรเลย. ทันใดนั้นเองความเสียใจอย่าง

ใหญ่หลวงก็เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. จำเดิมแต่วันนั้นไปทีเดียว ท่าน

ก็กลายเป็นมนุษย์เปรต อยู่มาไม่นาน ก็ตายไปเกิดในนรก.

ภิกษุนั้นหมกไหม้อยู่ในนรกหลายแสนปี เศษของผลกรรม

ยังนำให้ไปเกิดเป็นยักษ์ถึง ๕๐๐ ชาติ ไม่เคยได้กินอาหารเต็ม

ท้องสักวันเดียว. (จนถึงวันจะตายจึงได้กินอิ่ม) คือได้กินรกคน

เต็มท้องอยู่วันหนึ่ง. (ถัดจากเกิดเป็นยักษ์) ก็ไปเกิดเป็นหมา

๕๐๐ ชาติ แม้ในกาลที่เป็นหมานั้น ก็ได้กินรากเต็มท้องวันเดียว

เท่านั้น. ส่วนในกาลที่เหลือไม่เคยได้กินเต็มท้องเลย ตลอดเวลา

ที่เป็นหมา ๕๐๐ ชาติ จุติจากเกิดเป็นหมา ก็มาเกิดในตระกูล

คนเข็ญใจตระกูลหนึ่ง ในแคว้นกาสี. ตั้งแต่วันที่เขาเกิด ตระกูล

นั้นก็ยิ่งยากจนหนักลงไปทีเดียว. แม้แต่น้ำและปลายข้าวครึ่งท้อง

ก็ไม่เคยได้. เขาได้มีนามว่า มิตตพินทุกะ. พ่อแม่ของเขาไม่

สามารถจะทนทุกข์อันเกิดแต่ความอดอยากได้ ก็พูดว่า ไปเถิด

อ้ายลูกกาลกรรณี ไล่ตีเขาให้ออกไป. มิตตพินทุกะไม่มีที่พำนัก

ท่องเที่ยวไปจนถึงเมืองพาราณสี. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสวย

พระชาติเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ บอกศิลปะแก่มาณพ ๕๐๐.

ในเวลานั้น ชาวเมืองพาราณสีให้ทุนแก่คนเข็ญใจ ให้ศึกษาศิลปะ

แม้เด็กมิตตพินทุกะนี้ ก็ได้ศึกษาศิลปะในสำนักของพระโพธิสัตว์.

มิตตพินทุกะเป็นเด็กหยาบคาย ไม่เชื่อฟังโอวาท เที่ยวชกต่อย

เกะกะไป แม้พระโพธิสัตว์จะสั่งสอนก็ไม่เชื่อฟังโอวาท. อาศัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

เหตุนั้น ความเจริญเติบโตของเขาจึงเป็นความโง่เขลา. ครั้งนั้น

เขาเกิดทะเลาะกับพวกเด็ก ๆ ทั้งไม่เชื่อฟังคำสอน เลยหนีเที่ยว

ไปถึงบ้านชายแดนตำบลหนึ่ง รับจ้างเขาเลี้ยงชีวิต. เขาได้เสีย

กับหญิงเข็ญใจคนหนึ่งในหมู่บ้านนั้น. นางเกิดบุตรกับเขา ๒ คน.

พวกชาวบ้านได้มอบงานส่งข่าวให้ทำว่า เจ้าพึงบอกข่าวดี ข่าว

ร้ายแก่พวกเรา ให้ค่าจ้างและปลูกกระท่อมให้อยู่ที่ประตูบ้าน.

ก็เพราะอาศัยมิตตพินทุกะนั้นเป็นต้นเหตุให้พวกชาวบ้านชายแดน

นั้น ถูกราชทัณฑ์เจ็ดครั้ง ไฟไหม้บ้านเจ็ดครั้ง. บ่อน้ำพังเจ็ดครั้ง.

พวกเขาจึงปรึกษากันว่า แต่ก่อนเมื่อมิตตพินทุกะผู้นี้ยังไม่มา

พวกเราไม่เคยมีเรื่องอย่างนี้เลย บัดนี้นับแต่มิตตพินทุกะมาอยู่

แล้ว พวกเราแย่ลงไปตาม ๆ กัน จึงช่วยกันรุมตี ขับเขาออกไป.

เขาก็พาลูก ๒ คน (และเมีย) ไปที่อื่น ผ่านเข้าไปสู่ดงที่อมนุษย์

ยึดครองแห่งหนึ่ง พวกอมนุษย์รุมกันจับลูกและเมียของเขาฆ่า

กินเนื้อเสียในดงนั้นเอง.

ตัวเขาเองหนีรอดไปได้ ท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ ลุถึงท่าเรือ

แห่งหนึ่ง ชื่อคัมภีระ ประจวบเป็นวันที่เขาจะปล่อยเรือทีเดียว

ก็สมัครเป็นกรรมกรลงเรือไป เรือแล่นไปในสมุทรได้ ๗ วัน

ถึงวันที่ ๗ หยุดอยู่กลางทะเล เหมือนใครมาฉุดดึงไว้. ชาวเรือ

เหล่านั้นก็จับสลากกาลกรรณีกัน สลากกาลกรรณีตกถึงมิตต-

พินทุกะคนเดียวถึงเจ็ดครั้ง. พวกชาวเรือจึงโยนลูกบวบไม้ไผ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

ให้เขาแพหนึ่ง แล้วช่วยกันจับมือมิตตพินทุกะโยนลงทะเลเสีย

พอโยนมิตตพินทุกะลงทะเลแล้ว เรือก็แล่นต่อไปได้.

มิตตพินทุกะนอนเหนือแพไม้ไผ่ลอยไปในทะเล ด้วยผลที่

ได้รักษาศีลไว้ในศาสนาของพระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า จึง

ได้พบเทพธิด า ๔ นาง อันอยู่ในวิมานแก้วผลึกหลังหนึ่งในทะเล

เสวยสุขสำราญอยู่ในสำนักเทพธิดาเหล่านั้นตลอด ๗ วัน. ก็นาง

เหล่านั้นเป็นเปรตมีวิมานอยู่ เสวยสุขได้ ๗ วัน เสวยทุกข์ ๗ วัน

หมุนเวียนไป เมื่อนางจะไปเสวยทุกข์ ๗ วัน ก็สั่งมิตตพินทุกะ

ไว้ว่า ท่านจงอยู่ที่นี้อย่าไปไหน จนกว่าพวกฉันจะมา แล้วก็พา

กันไป ครั้นนางพากันไปแล้ว มิตตพินทุกะ ก็ลงนอนในแพไม้ไผ่

ลอยต่อไปข้างหน้า ได้เทพธิดา ๘ นางในวิมานเงิน เทพธิดา

เหล่านั้น ก็เป็นเปรตมีวิมานเช่นเดียวกัน มิตตพินทุกะลอยต่อไป

ได้เทพธิดา ๑๖ นางในวิมานแก้วมณี แล้วก็ลอยต่อไป ได้เทพ

ธิดา ๓๒ นางในวิมานทอง เขามิได้ฟังคำของเทพธิดาเช่นเดียวกัน

จึงลอยต่อไปข้างหน้า ก็ได้พบเมืองยักษ์เมืองหนึ่งอยู่ในระหว่าง

เกาะ ในเมืองนั้น มียักษินีตนหนึ่ง แปลงกายเป็นแม่แพะเที่ยวอยู่

มิตตพินทุกะไม่ทราบว่า แม่แพะเป็นยักษินี คิดแต่ว่าเราจักกิน

เนื้อแพะ โดดจับมันที่เท้า นางยักษ์ก็ยกมิตตพินทุกะขึ้นสลัด

ไปด้วยอานุภาพของยักษ์ มิตตพินทุกะถูกนางยักษ์สลัดข้าม

ทะเลไป ตกที่พุ่มไม้หนามพุ่มหนึ่ง ข้างคูเมืองพาราณสี แล้วก็

กลิ้งตกลงไปที่แผ่นดิน ก็ในครั้งนั้นแม่แพะของพระราชาหลายตัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

เที่ยวหากินอยู่เหนือคันคูนั้น ถูกพวกโจรลักไป พวกคนเลี้ยงคิด

กันว่า พวกเราต้องจับโจรให้ได้ พากันซุ่มอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง

มิตตพินทุกะกลิ้งตกลงมายืนอยู่ที่พื้นดินได้แล้ว เห็นแม่แพะ

เหล่านั้นก็คิดว่า เราจับแม่แพะตัวหนึ่งในเกาะแห่งหนึ่ง กลางทะเล

ถูกมันดีดกระเด็นมาตกที่นี้คราวนี้ ถ้าเราจับแม่แพะตัวหนึ่งที่เท้า

มันคงดีดเรากระเด็นกลับไปถึงสำนักเทพธิดาผู้มีวิมานอยู่ในทะเล

ดังก่อน เขาเข้าใจเอาเองอย่างนี้ โดยไม่ไตร่ตรองให้แยบคาย

ดังนี้แล้วก็โดดจับแม่แพะตัวหนึ่งที่เท้า พอมันถูกเขาจับเท้า

เท่านั้น ก็ร้องเอ็ดอึง พวกคนเลี้ยงแพะก็พากันกรูเข้ามาโดยรอบ

ต่างร้องว่า คอยมานานแล้ว ไอ้ขโมยกินแม่แพะในราชสกุลนี้

ไอ้นี่เอง ดังนี้แล้วรุมซ้อม แล้วจับมัดพาไปสู่พระราชวัง. ในขณะ

นั้น พระโพธิสัตว์ แวดล้อมไปด้วยมาณพ ๕๐๐ ออกจากเมือง

ไปอาบน้ำ เห็นมิตตพินทุกะก็จำได้ จึงพูดกะคนเหล่านั้นว่า

พ่อคุณทั้งหลาย คนผู้นี้เป็นลูกศิษย์ของเรา พวกท่านจับเขาเพราะ

เหตุไร ? คนเหล่านั้นตอบว่า พระคุณท่านขอรับ เขาเป็นคนร้าย

ขโมยแม่แพะของหลวง จับแม่แพะตัวหนึ่งที่เท้า เหตุนั้น พวกผม

จึงจับเขา พระโพธิสัตว์ขอร้องว่า ถ้าเช่นนั้นจงให้เขาเป็นทาส

ของพวกเราเถิด เขาจักได้อาศัยพวกเราเลี้ยงชีวิตไป. คนเหล่านั้น

รับคำว่า ดีแล้วขอรับ พระคุณท่าน พลางปล่อยเขา แล้วก็พากัน

ไป. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ จึงไต่ถามมิตตพินทุกะว่า ตลอด

เวลาที่หายหน้าไปนั้น เจ้าไปอยู่ที่ไหนเล่า ? มิตตพินทุกะก็เล่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

เรื่องที่ตนกระทำทั้งหมดให้ฟัง พระโพธิสัตว์จึงกล่าวว่า คนที่ไม่

กระทาตามถ้อยคำของผู้ที่หวังดี ย่อมได้ทุกข์อย่างนี้ แล้วกล่าว

คาถานี้ ความว่า

" บุคคลผู้ใด เมื่อท่านผู้หวังดี เอ็นดูจะ

เกื้อกูล สั่งสอน มิได้กระทำตามที่ท่านสอน

บุคคลนั้นย่อมเศร้าโศก เหมือนมิตตพินทุกะ

จับขาแพะแล้วเศร้าโศกอยู่ฉะนั้น " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถกามสฺส ความว่า ผู้

ปรารถนาอยู่ซึ่งความเจริญ.

บทว่า หิตานุกมฺปิโน ความว่า ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์

เกื้อกูล.

บทว่า โอวชฺชมาโน ความว่า ตักเตือนสั่งสอนอยู่ ด้วยจิต

อันอ่อนโยน.

บทว่า น กโรติ สาสน ความว่า ไม่กระทำตามคำสั่งสอน

คือเป็นคนว่ายาก ว่ากล่าวไม่ได้.

บทว่า มิตฺตโก วิย โสจติ ความว่า ผู้นั้นย่อมเศร้าโศก

ตลอดกาลเป็นนิตย์ เหมือนมิตตพินทุกะผู้นี้ จับขาแพะแล้ว ย่อม

เศร้าโศก คือลำบากอยู่ฉะนั้น. พระโพธิสัตว์แสดงธรรมด้วย

คาถานี้ ซึ่งมีอรรถาธิบายดังพรรณนามานี้.

พระเถระนั้น เคยได้อาหารเต็มท้องในอัตภาพทั้ง ๓ อย่าง

นี้ คือ ครั้งเป็นยักษ์ได้กินรกอิ่มวันหนึ่ง ครั้งเป็นหมาได้กิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

อาเจียนอิ่มวันหนึ่ง ครั้งสุดท้ายในวันปรินิพพาน ได้ฉันของหวาน

๔ อย่างอิ่ม ด้วยอานุภาพของพระธรรมเสนาบดี ขึ้นชื่อว่า การ

กระทำอันตรายแก่ลาภของผู้อื่น พึงทราบว่า มีโทษใหญ่หลวง

อย่างนี้.

ก็พระโพธิสัตว์ผู้เป็นอาจารย์ และมิตตพินทุกะในครั้งนั้น

ก็ไปตามกรรม.

พระบรมศาสดา ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระโลสก-

ติสสเถระนั้น ได้กระทำความเป็นคนมีลาภน้อย และความเป็น

ผู้ได้อริยธรรมให้แก่ตนด้วยตนเอง อย่างนี้แล ครั้นทรงนำพระ-

ธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า มิตต-

พินทุกะในกาลนั้น ได้มาเป็นพระโลสกติสสเถระในกาลนี้ อาจารย์

ทิศาปาโมกข์ในกาลนั้น คือเราตถาคตฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาโลสกชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

๒. กโปตกชาดก

ว่าด้วยคนที่ต้องฉิบหาย

[๔๒] " ผู้ใดบุคคลกล่าวสอนอยู่ ไม่ทำตามคำ

สอนของผู้ปรารถนาประโยชน์ ผู้อนุเคราะห์ด้วย

ประโยชน์เกื้อกูล ผู้นั้นย่อมถึงความฉิบหาย

เศร้าโศกอยู่เหมือนกาไม่เชื่อฟังคำของนกพิราบ

ตกอยู่ในเงื้อมมือของข้าศึก ฉะนั้น."

จบ กโปตกชาดกที่ ๒

อรรถกถากโปตกชาดกที่ ๒

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ปรารภภิกษุผู้มีนิสัยโลเลรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้น โย อตฺถกามสฺส ดังนี้.

เรื่องความโลเลของภิกษุนั้น จักแสดงอย่างพิสดารในกาก

ชาดก นวกนิบาต. ก็ในกาลนั้น ภิกษุทั้งหลาย นำภิกษุนั้นมา

กราบทูลพระศาสดาว่า พระเจ้าข้า ภิกษุนี้ มีนิสัยโลเล. ลำดับ

นั้น พระบรมศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า จริงหรือภิกษุ ที่เขาว่า

เธอมีนิสัยโลเล. ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า. พระศาสดา

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุแม้ในครั้งก่อน เธอก็เป็นคนโลเล สิ้นชีวิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

เพราะความโลเลของตน แม้บัณฑิตผู้อาศัยเธอ ก็ต้องพลัดพราก

จากที่อยู่ไปด้วย แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกพิราบ. ใน

ครั้งนั้น ชาวเมืองพาราณสี พากันแขวนกระเช้าหญ้า ไว้ในที่

นั้น ๆ เพื่อให้ฝูงนกอาศัยอยู่อย่างสบาย เพราะความเป็นผู้ใคร่บุญ

ใคร่กุศล. ในครั้งนั้น แม้พ่อครัวของท่านเศรษฐีกรุงพาราณสี

ก็แขวนกระเช้าหญ้าไว้ภายในโรงครัวกระเช้าหนึ่งเหมือนกัน.

นกพิราบผู้โพธิสัตว์ ได้เข้าอยู่ในกระเช้านั้น. รุ่งเช้าก็บินออก

เที่ยวหากิน ต่อเย็นจึงบินกลับมาหลับนอนในโรงครัวนั้นเป็นดังนี้

ตลอดกาล. อยู่มาวันหนึ่ง กาตัวหนึ่งบินข้ามโรงครัวไป สูดกลิ่น

ตลบอบอวนของรสเปรี้ยว รสเดิมและปลาเนื้อ ก็เกิดความโลภขึ้น

คิดว่า จักอาศัยใครหนอ จึงจักได้ปลาและเนื้อนี้ คิดแล้วก็จับอยู่

ณ ที่ไม่ไกล คอยสอดส่ายหาลู่ทาง พอเย็นก็เห็นนกพระโพธิสัตว์

บินมา แล้วเข้าไปสู่โรงครัว ก็เลยได้คิดว่า ต้องอาศัยนกพิราบนี้

ถึงจักได้กินเนื้อ ครั้นรุ่งขึ้นก็บินมาแต่เช้า ในเวลาที่พระโพธิสัตว์

บินออกไปหากิน ก็บินตามไปข้างหลัง ๆ. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์

จึงกล่าวกะกาว่า สหาย เหตุไรท่านจึงเที่ยวบินตามเรา. กาตอบ

ว่า นาย ข้าพเจ้าชอบใจกิริยาของท่าน ตั้งแต่บัดนี้ไป ข้าพเจ้า

ขอปรนนิบัติท่าน. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พวกท่านมีอาหารอย่าง

หนึ่ง พวกเรามีอาหารอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกัน การปรนนิบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

ของพวกท่าน ท่านกระทำได้ยาก กาตอบว่า " นาย เวลาท่านบิน

ไปหากิน ข้าพเจ้าก็บินไปหากิน บินไปกับท่าน " พระโพธิสัตว์

กล่าว ดีแล้ว ขอท่านพึงเป็นผู้ไม่ประมาทอย่างเดียว. พระโพธิสัตว์

กล่าวสอนกาอย่างนี้แล้ว ก็เที่ยวแสวงหาอาหาร กินอาหารมีพืช

พรรณติณชาติ เป็นต้น ก็ในเวลาที่พระโพธิสัตว์กำลังหากิน กา

ก็บินไปพบกองขี้วัวจึงคุ้ย แล้วจิกกินตัวหนอน พอเต็มกระเพาะ

ก็มาสู่สำนักพระโพธิสัตว์ พลางกล่าวว่า "นาย ท่านเที่ยวเกิน

เวลา การทำตนให้ได้นามว่า เป็นผู้ตะกละตะกลามหาควรไม่"

ดังนี้แล้วเข้าไปสู่โรงครัว พร้อมกับพระโพธิสัตว์ ผู้หาอาหาร

กินแล้วก็บินมาในเวลาเย็น. พ่อครัวกล่าวว่า นกพิราบของเรา

พาตัวอื่นมา ดังนี้แล้วก็แขวนกระเช้าให้กาบ้าง ตั้งแต่นั้นก็อยู่

ด้วยกัน เป็นสองตัว.

อยู่มาวันหนึ่ง คนทั้งหลายนำปลาและเนื้อ มาให้ท่าน

เศรษฐีเป็นจำนวนมาก. พ่อครัวก็รับมาแขวนไว้ในโรงครัว

กาเห็นแล้ว ก็เกิดความโลภ คิดในใจว่า พรุ่งนี้เราไม่หากินละ

จะกินปลาและเนื้อนี้แหละ แล้วก็นอนแซ่วอยู่ตลอดทั้งคืน. รุ่งเช้า

พระโพธิสัตว์จะไปหากิน ก็เรียกว่า มาเถิดกาผู้เป็นสหาย. กา

ตอบว่า "นาย ท่านไปเถิด ข้าพเจ้ากำลังปวดท้อง" พระโพธิสัตว์

กล่าวว่า สหายเอ๋ย ธรรมดาโรคปวดท้องไม่เคยเป็นแก่พวกกา

เลย แต่ไหนแต่ไรมา ในยามทั้ง ๓ ตลอดราตรี กาย่อมหิวทุก ๆ

ยาม ถึงจะกลืนกินไส้ประทีปเข้าไป กาก็จะอิ่มอยู่ชั่วครู่หนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

ชะรอยท่านจักอยากกินปลาและเนื้อนี้ มาเถิดขึ้นชื่อว่าของกิน

ของมนุษย์เป็นของที่พวกท่านไม่ควรกิน อย่าทำเช่นนี้เลย ไปหา

กินด้วยกันกับเราเถิด. กาตอบว่า นาย ข้าพเจ้าไม่สามารถจะ

ไปได้. พระโพธิสัตว์จึงเตือนว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจักต้องรับสนอง

กรรมของตน ท่านอย่าลุอำนาจความโลภ จงเป็นผู้ไม่ประมาท

เถิด ดังนี้แล้วก็บินไปหากิน. พ่อครัวก็ปรุงอาหารต่าง ๆ ชนิด

ด้วยปลาและเนื้อ มีประการต่าง ๆ เสร็จแล้วก็เปิดภาชนะไว้

หน่อยหนึ่ง เพื่อให้ไอระเหยไปให้หมด วางกระชอนไว้บนภาชนะ

อีกทีหนึ่ง แล้วก็ออกไปข้างนอก ยืนเช็ดเหงื่ออยู่. ขณะนั้นกาก็

โผล่ศีรษะขึ้นมาจากกระเช้า มองดูโรงครัวทั่วไป รู้ว่าพ่อครัว

ออกไปข้างนอก จึงคิดว่า บัดนี้ความปรารถนาของเรา สม

ประสงค์แล้ว เราอยากจะกินเนื้อ จะกินเนื้อชิ้นใหญ่ หรือเนื้อ

ชิ้นเล็กดีหนอ. ครั้นแล้วก็เล็งเห็นว่า ธรรมดาเนื้อชิ้นเล็ก ๆ เรา

ไม่อาจกินให้เต็มกระเพาะได้รวดเร็ว เราจะต้องคว้าก้อนใหญ่ ๆ

มาทิ้งไว้ในกระเช้า นอนขยอกจึงจะดี. แล้วก็โผออกจากกระเช้า

ลงไปแอบอยู่ใกล้กระชอน. เสียงกระชอนดังกริ๊ก ๆ. พ่อครัวฟัง

เสียงนั้นแล้วนึกว่า นั่นเสียงอะไรหนอ ? กลับเข้าไปดู เห็นกา

แล้วก็ดำริว่า การะยำตัวนี้มุ่งจะกินเนื้อทอดของมหาเศรษฐี ก็

ตัวเราต้องอาศัยท่านเศรษฐีเลี้ยงชีวิต มิใช่อาศัยกาพาลตัวนี้ จะ

เอามันไว้ใย ? แล้วปิดประตู ต้อนจับกาได้ ถอนขนเสียหมดตัว

เอาขิงสดโขลกเคล้ากับเกลือป่น คลุกกับเนยเปรี้ยวทาจนทั่วตัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

กานั้น แล้วเหวี่ยงลงไปในกระเช้าของมัน. กาเจ็บแสบแสนสาหัส

นอนหายใจแขม่วอยู่. ครั้นเวลาเย็นพระโพธิสัตว์บินกลับมา เห็น

กาประสบความฉิบหาย จึงพูดว่า ดูก่อนเจ้ากาโลเล เจ้าไม่เชื่อฟัง

คำของเรา อาศัยความโลภของเจ้าเป็นเหตุ จึงต้องประสบทุกข์

อย่างใหญ่หลวง ดังนี้.แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

บุคคลใด เมื่อท่านผู้หวังดีมีความเอ็นดู

จะเกื้อกูล กล่าวสอนอยู่ มิได้กระทำตามคำสอน

บุคคลนั้นจะต้องนอนระทมเหมือนกาไม่กระทำ

ตามถ้อยคำของนกพิราบ ตกไปในเงื้อมมือของ

อมิตร นอนหายใจระทวยอยู่ ฉะนั้น. ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กโปตกสฺส วจน อกตฺวา ความ

ว่า ไม่เชื่อฟังคำสอนที่มุ่งประโยชน์ของนกพิราบ.

บทว่า อมิตฺตหตฺถตถคโตว เสติ ความว่า บุคคลนั้นจึงถึง

ความวอดวายใหญ่หลวง นอนระทมอยู่ เหมือนกาตัวนี้ตกไปสู่

เงื้อมมือของอมิตร คือบุคคลผู้จะกระทำความฉิบหายให้ และก่อ

ให้เกิดทุกข์.

พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้แล้ว คิดว่า บัดนี้เราก็ไม่อาจ

อยู่ในที่นี้ได้ จึงบินไปอยู่ที่อื่น แม้กาก็สิ้นชีวิตอยู่ในกระเช้า

นั้นเอง พ่อครัว จึงเอามันไปทั้งกระเช้า ทิ้งเสียที่กองขยะ.

แม้พระบรมศาสดา ก็ตรัสย้ำว่า ดูก่อนภิกษุ มิใช่แต่ใน

บัดนี้เท่านั้น ที่เธอเป็นคนโลเล แม้ในปางก่อนก็เป็นผู้โลเลเหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

กัน ก็และถึงแม้บัณฑิตทั้งหลาย อาศัยความโลเลของเธอนั้น ก็

ต้องพลอยออกจากที่อยู่ของตนไปด้วย ครั้นทรงนำพระธรรม-

เทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศอริยสัจ. ในเวลาจบการประกาศ

อริยสัจ ภิกษุนั้น บรรลุอนาคามิผล. พระบรมศาสดา ทรงสืบ

อนุสนธิ ประชุมชาดกว่า กาในครั้งนั้น เป็นภิกษุผู้โลเลในครั้งนี้

นกพิราบในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากโปตกชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

๓. เวฬุชาดก

ว่าด้วยคนที่นอนตาย

[๔๓] ผู้ใด บุคคลกล่าวสอนอยู่ ไม่ทำตามคำ

สอนของผู้ปรารถนาประโยชน์ ผู้อนุเคราะห์ด้วย

ประโยชน์เกื้อกูล ผู้นั้นย่อมนอนตายอยู่ เหมือน

ดาบสผู้เป็นบิดาของลูกงู ชื่อว่า "เวฬุก" ฉะนั้น.

จบ เวฬุกชาดกที่ ๓

อรรถกถาเวฬุชาดกที่ ๓

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้ว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำว่า โย อตฺถกามสฺส เป็นต้น.

มีเรื่องย่อ ๆ ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุนั้นว่า

ดูก่อนภิกษุจริงหรือ ที่ว่าเธอเป็นผู้ว่ายาก เมื่อภิกษุนั้นกราบทูล

ว่า จริงพระเจ้าข้า ก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุมิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น

ที่เธอเป็นคนว่ายาก แม้ในกาลก่อน เธอก็เป็นคนว่ายากเหมือนกัน

เพราะความที่เป็นคนว่ายากนั่นแหละ จึงไม่กระทำตามถ้อยคำ

ของบัณฑิตทั้งหลาย แล้วถูกงูกัดตาย ดังนี้แล้ว ทรงนำเอา

เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ กรุง

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลที่มีสมบัติมาก ในแคว้นกาสี

ครั้นถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ก็เล็งเห็นโทษในกามคุณ และอานิสงส์

ในการออกบวช จึงละกามทั้งหลายแล้วเข้าป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤาษี

บำเพ็ญกสิณบริกรรม ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้เกิดแล้ว

ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่ฌาน ในกาลต่อมา มีบริวารมาก

มีดาบส ๕๐๐ แวดล้อม เป็นศาสดาของหมู่อยู่แล้ว. ครั้งนั้นมีลูก

อสรพิษตัวหนึ่ง เที่ยวเลื้อยไปตามธรรมดาของตน จนถึงอาศรมบท

ของดาบสรูปหนึ่ง. ดาบสเห็นแล้วเกิดความรักมันเหมือนบุตร

จึงจับมันเลี้ยงไว้ ให้นอนในกระบอกไม้ไผ่ปล้องหนึ่ง. เพราะ

เหตุที่มันนอนในกระบอกไม้ไผ่ ดาบสทั้งหลายจึงให้ชื่อมันว่า

"เวฬุกะ" . และเพราะเหตุที่ดาบสนั้นเลี้ยงดูมันด้วยความรัก

เหมือนมันเป็นบุตร ดาบสทั้งหลายจึงให้ชื่อว่า "เวฬุกบิดา".

ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ได้ยินข่าวว่า ดาบสคนหนึ่งเลี้ยงอสรพิษ

จึงเรียกมาถามว่า ข่าวว่า คุณเลี้ยงอสรพิษจริงหรือ ? เมื่อดาบส

นั้นตอบว่า "จริง" ก็กล่าวเตือนว่า ขึ้นชื่อว่าอสรพิษ วางใจไม่ได้

เลย คุณอย่าเลี้ยงมันนะ. ดาบสตอบว่า ข้าแต่อาจารย์ มันเหมือน

ลูกของผม ผมไม่อาจพรากมันได้. พระโพธิสัตว์เตือนซ้ำว่า ถ้าเช่น

นั้น ท่านจักต้องถึงตาย เพราะใกล้ชิดมันแน่นอน. ดาบสนั้นไม่เชื่อถือ

ถ้อยคำของพระโพธิสัตว์ และไม่อาจปล่อยอสรพิษ ต่อจากนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

ล่วงมา ๒-๓ วันเท่านั้น ดาบสทั้งหมดพากันไปหาผลาผล ครั้นถึง

ที่แล้วก็เห็นว่า ผลาผลหาได้ง่าย เลยพักอยู่ในที่นั้นเอง ๒-๓ วัน.

แม้ดาบสเวฬุกบิดา เมื่อไปกับหมู่ดาบสนั้น ก็ให้อสรพิษนอนใน

ปล้องไม้ ปิดไว้แล้วจึงไป ล่วงไป ๒-๓ วัน จึงกลับมาพร้อมกับ

หมู่ดาบส คิดว่า เราจะให้อาหารแก่เวฬุกะ เปิดกระบอกไม้ไผ่

แล้วพูดว่า มาเถิดลูก เจ้าหิวละซี พลางสอดมือเข้าไป. อสรพิษ

โกรธ เพราะอดอาหารมาตั้ง ๒-๓ วัน จึงฉกมือที่สอดเข้าไป

ทำให้ดาบสถึงสิ้นชีวิตอยู่ตรงนั้นเอง แล้วก็เลื้อยเข้าป่าไป. ดาบส

ทั้งหลายเห็นดังนั้น ก็บอกแก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์สั่งให้

ทำสรีรกิจของดาบสผู้เสียชีวิต แล้วนั่งท่ามกลางหมู่ฤาษี กล่าว

คาถานี้สอนหมู่ฤาษี ความว่า :-

" บุคคลใดเมื่อท่านผู้หวังดี มีความเอ็นดู

จะเกื้อกูลกล่าวสอนอยู่ มิได้กระทำตามที่สั่งสอน

บุคคลผู้นั้น ย่อมถูกพิบัติกำจัดเสียนอนอยู่

เหมือนบิดาของงูเวฬุกะ นอนตายอยู่ ฉะนั้น "

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว โส นิหโต เสติ ความว่า

ก็บุคคลใดไม่เชื่อคำสอนของฤาษีทั้งหลาย บุคคลนั้นย่อมถึงความ

พินาศใหญ่หลวง ถูกพิบัติกำจัดนอนตาย เหมือนดาบสผู้นี้ ถูก

กำจัดให้ถึงความเปื่อยเน่า นอนตายคาปากอสรพิษ ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

พระโพธิสัตว์กล่าวสอนหมู่ฤาษีอย่างนี้แล้ว อบรมพรหม-

วิหาร ๔ ให้เจริญแล้ว เมื่อสิ้นอายุ ก็ไปอุบัติในพรหมโลก.

แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ มิใช่แต่ในบัดนี้

เท่านั้น ที่เธอเป็นผู้ว่ายาก แม้ในกาลก่อนเธอก็เป็นผู้ว่ายากเหมือน

กัน และเพราะความเป็นผู้ว่ายาก จึงต้องถึงความเน่าเปื่อย เพราะ

ปากอสรพิษเป็นเหตุ ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง

สืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า ดาบสเวฬุกบิดาในกาลนั้น เป็นภิกษุ

ว่ายากในบัดนี้ บริษัทที่เหลือ คือพุทธบริษัท ศาสดาของคณะ

ฤาษี คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาเวฬุกชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

๔ มกสชาดก

[๔๔] " มีศัตรูผู้ประกอบด้วยปัญญา ยังดีกว่า

มิตรผู้ไม่มีปัญญา จะดีอะไรเหมือนบุตรของ

ช่างไม้ผู้โง่เขลา คิดว่าจะตียุง ได้ตีศีรษะของ

บิดาแตกสองเสี่ยง ฉะนั้น "

จบ มกสชาดกที่ ๔

อรรถกถามกสชาดกที่ ๔

พระบรมศาสดา เมื่อเสด็จจาริกไปในหมู่ชนชาวมคธ

ทรงปรารภพวกมนุษย์ชาวบ้านที่เป็นพาล ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง

จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า " เสยฺโย อมิตฺโต "

ได้ยินมาว่า ในสมัยหนึ่งพระตถาคตเจ้าเสด็จจากพระนคร

สาวัตถี ไปสู่แคว้นมคธ ขณะกำลังเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ

นั้น ทรงบรรลุถึงบ้านตำบลหนึ่ง. แม้บ้านหมู่นั้น ก็หนาแน่นไป

ด้วยพวกมนุษย์อันธพาลโดยมาก. ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง พวกมนุษย์

อันธพาล ประชุมปรึกษากันว่า ท่านทั้งหลาย พวกยุงมันรุมกัด

เรา ขณะที่ไปทาการงานในป่า เพราะเหตุนั้น การงานของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

ทั้งหลายจึงขาดไป พวกเราจักถือธนูแลอาวุธ ครบมือทีเดียว พา

กันไปรบกับฝูงยุง ฆ่ามันเสีย แทงมันเสีย ให้ตายให้หมด ดังนี้แล้ว

พากันไป ต่างก็หมายมั่นว่า เราจักแทงฝูงยุง กลับไปทิ่มแทง

ประหารกันเอง ต่างคนต่างก็เจ็บป่วยกลับมา นอนอยู่ภายในบ้าน

ก็มี ที่กลางบ้านก็มี ที่ประตูบ้านก็มี. พระบรมศาสดา แวดล้อม

ด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปสู่บ้านนั้นเพื่อบิณฑบาต. หมู่คน

ที่เป็นบัณฑิตที่เหลือ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงสร้างมณฑปที่

ประตูบ้าน ถวายมหาทานแก่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

ถวายบังคมพระศาสดา นั่งอยู่แล้ว. ครั้งนั้น พระศาสดา ทอด

พระเนตรเห็นคนทั้งหลาย ล้มนอนเจ็บในที่นั้น ๆ ก็ตรัสถามอุบาสก

เหล่านั้นว่า คนเหล่านี้ไปทำอะไรกันมา จึงได้เจ็บป่วยกันมาก

มาย ? อุบาสกเหล่านั้นก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

คนเหล่านี้คบคิดกันว่า พวกเราจักทำการรบกับฝูงยุง แล้วพา

กันยกไป กลับไปรบกันเอง เลยเจ็บป่วยไปตาม ๆ กัน. พระ-

ศาสดาตรัสว่า มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พวกมนุษย์อันธพาลคบคิด

กันว่า เราจักประหารฝูงยุง กลับประหารตนเอง แม้ในครั้งก่อน

ก็เคยเป็นพวกมนุษย์ที่คิดว่าจักประหารยุง แต่กลับประหารผู้อื่น

มาแล้วเหมือนกัน แล้วทรงดุษณี ต่อเมื่อพวกมนุษย์เหล่านั้น

ทูลอาราธนา แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เลี้ยงชีวิตด้วยการค้า. ครั้งนั้นที่บ้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

ชายแดนแห่งหนึ่ง ในแคว้นกาสี มีพวกช่างไม้อาศัยอยู่มาก

ด้วยกัน. ช่างไม้หัวล้านคนหนึ่ง ในหมู่ช่างไม้เหล่านั้น กำลัง

ตากไม้ ขณะนั้นมียุงตัวหนึ่ง บินมาจับที่ศีรษะ ซึ่งคล้ายกับ

กระโหลกทองแดงคว่ำ แล้วกัดศีรษะด้วยจะงอยปาก เหมือนกับ

ประหารด้วยหอก. ช่างไม้จึงบอกลูกของตน ผู้นั่งอยู่ใกล้ ๆ ว่า

ไอ้หนู ยุงมันกัดศีรษะพ่อ เจ็บเหมือนถูกแทงด้วยหอก จงฆ่า

มันเสีย. ลูกพูดว่า พ่อจงอยู่นิ่ง ๆ ฉันจะฆ่ามัน ด้วยการตบครั้ง

เดียวเท่านั้น. แม้ในเวลานั้น พระโพธิสัตว์ ก็กำลังเที่ยวแสวงหา

สินค้าของตนอยู่ ลุถึงบ้านนั้น นั่งพักอยู่ในโรงของช่างไม้นั้น.

เป็นเวลาเดียวกันกับที่ช่างไม้นั้น บอกลูกว่า ไอ้หนู ไล่ยุงนี้ที.

ลูกขานรับว่า จ้ะพ่อ ฉันจะไล่มัน พูดพลางก็เงื้อขวานเล่มใหญ่

คมกริบ ยืนอยู่ข้างหลังพ่อ ฟันลงมาเต็มที่ ด้วยคิดว่าจักประหาร

ยุง เลยผ่าสมองของบิดาเสียสองซีก. ช่างไม้ถึงความตายในที่นั้น

เอง. พระโพธิสัตว์เห็นการการทำของลูกช่างไม้แล้ว ได้คิดว่า

ถึงปัจจามิตรเป็นบัณฑิตก็ยังดีกว่า เพราะเขายังเกรงอาญา

แผ่นดิน ไม่ถึงกับฆ่ามนุษย์ได้ แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า

" ศัตรูผู้มีความรู้ ประเสริฐกว่ามิตรผู้

ปราศจากความรู้ ไม่ประเสริฐเลย เพราะลูกชาย

ผู้โง่เขลา คิดว่าจักฆ่ายุง กลับผ่าหัวของพ่อเสีย "

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺโย ความว่า ประเสริฐ คือ

สูงสุด.

บทว่า มติยา อุเปโต ความว่า ประกอบด้วยปัญญา.

บทว่า เอลมูโค แปลว่า เซ่อเซอะ คือโง่เขลา.

บทว่า ปุตฺโต ปิตุ อพฺภิทา อุตฺตมงฺค ความว่า เพราะ

ความที่ตนเป็นคนโง่เขลา แม้เป็นบุตร คิดว่า เราจักฆ่ายุง ก็ยัง

ผ่าหัวสมองของพ่อเสียแล่งเป็น ๒ ซีก เพราะเหตุนั้น บัณฑิต

ถึงจะเป็นศัตรู ก็ยังดีกว่ามิตรที่โง่ ๆ.

พระโพธิสัตว์ ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว ก็ลุกขึ้นไปทำงาน

ตามหน้าที่. แม้พวกที่เป็นญาติก็ได้จัดการทำสรีรกิจของช่างไม้.

พระบรมศาสดาตรัสว่า อุบาสกทั้งหลาย แม้ในครั้งก่อน

ก็ได้เคยมีมนุษย์ที่ได้คิดว่า เราจักประหารยุง แต่กลับประหาร

คนอื่นมาแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว

ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า ก็พ่อค้าบัณฑิตที่กล่าวคาถาแล้ว

หลีกไป ได้มาเป็นเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถามกสชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

๕. โรหิณีชาดก

ผู้อนุเคราะห์ที่โง่เขลาไม่ดี

[๔๕] "มีศัตรูผู้เป็นนักปราชญ์ยังดีกว่า คน

โง่เขลาถึงเป็นผู้อนุเคราะห์ จะดีอะไร ท่านจงดู

นางโรหิณีผู้โง่เขลา ฆ่ามารดาแล้วเศร้าโศกอยู่"

จบ โรหิณีชาดกที่ ๕

อรรถกถาโรหิณีชาดกที่ ๕

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารชื่อว่า

เชตวัน ทรงปรารภทาสีของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีคนหนึ่ง

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "เสยฺโย อมิตฺโต" ดังนี้.

ได้ยินมาว่า ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีมีทาสีคนหนึ่ง ชื่อว่า

โรหิณี. วันหนึ่ง มารดาของนางทาสีซึ่งเป็นหญิงแก่ มานอนอยู่

ในโรงกระเดื่อง. ฝูงแมลงวันรุมกันตอมมารดาของนางโรหิณีนั้น

กัดเจ็บเหมือนกับแทงด้วยเข็ม นางจึงบอกกับลูกสาวว่า แม่หนู

แมลงวันรุมกัดแม่ เจ้าจงไล่มันไป นางรับคำว่า จ๊ะแม่ ฉันจะ

ไล่มัน เงื้อสาก คิดในใจว่า เราจักตีแมลงวันที่รุมตอมตัวของไม่

ให้ตาย ให้ถึงความพินาศ แล้วก็เหวี่ยงสากตำข้าว ถูกมารดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

ตายคาที่. ครั้นเห็นมารดาตาย ก็ร้องไห้คร่ำครวญว่า แม่ของเรา

ตายเสียแล้ว ๆ คนทั้งหลาย จึงบอกเรื่องราวแก่ท่านเศรษฐี.

ท่านเศรษฐีได้การสรีรกิจตามสมควรแล้วก็ไปสู่วิหาร กราบ

ทูลเรื่องราวทั้งหมดแก่พระบรมศาสดา. พระองค์ตรัสว่า ดูก่อน

คฤหบดี มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่นางทาสีนี้ประหารมารดาของ

ตนตายด้วยสากตำข้าว เพราะมั่นหมายว่า จักประหารแมลงวัน

ที่ตอมตัวของมารดา แม้ในปางก่อน ก็ได้เคยประหารมารดา

ให้ตาย ด้วยสากซ้อมข้าวมาแล้วเหมือนกัน ท่านเศรษฐีกราบทูล

อาราธนา แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลเศรษฐี ครั้นบิดาวายชนม์

ก็ครองตำแหน่งเศรษฐีแทน ท่านมีทาสีคนหนึ่ง ชื่อ โรหิณี

เหมือนกัน แม้ทาสีนั้น ก็ได้ประหารมารดาของตน ผู้มาสู่โรง

กระเดื่อง บอกให้ช่วยปัดแมลงวันให้ด้วยสากซ้อมข้าวอย่างนี้

นั่นแหละ ครั้นมารดาสิ้นชีวิต ก็ร้องไห้คร่ำครวญ. พระโพธิสัตว์

ฟังเรื่องนั้นแล้ว ดำริว่า ถึงแม้จะเป็นศัตรูก็ขอให้เป็นบัณฑิตเถิด

ประเสริฐแน่ แล้วกล่าวคาถานี้ความว่า :-

"ศัตรูเป็นคนมีปัญญา ดีกว่าคนผู้อนุ-

เคราะห์ แต่เป็นคนโง่ ไม่ประเสริฐเลย จงดูนาง

โรหิณีผู้โง่เง่า ฆ่าแม่ตายแล้ว ร้องไห้อยู่"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เมธาวี ได้แก่บัณฑิต คือท่าน

ที่มีความรู้แจ่มแจ้ง. บทว่า ย ในบาทคาถาว่า ยญฺเจ พาลานุกมฺปโก

นี้ ท่านทำเป็นลิงควิปวาส. ศัพท์ว่า เจ เป็นนิบาตใช้ในอรรถ

แห่งนาม. ความว่า บัณฑิตถึงแม้จะเป็นศัตรู ก็ยังดีกว่าคนโง่เขลา

ที่มีใจเอ็นดูกรุณา ตั้งร้อยเท่าพันเท่าทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

ย เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ปฏิเสธ ความว่า คนโง่เขลา ผู้มีใจ

เอ็นดู จะประเสริฐได้อย่างไร ?

บทว่า ชมฺมึ แปลว่า ผู้ชั่วช้า โง่เซอะ.

บทว่า มาตร หนฺตวาน โสจติ ความว่า นางโรหิณีผู้โง่เง่า

หมายใจว่า เราจักฆ่าแมลงวัน กลับฆ่าแม่บังเกิดเกล้า แล้วร้องไห้

คร่ำครวญอยู่ด้วยตนเอง. ด้วยเหตุนี้ในโลกนี้ แม้ถึงจะมีศัตรู

ก็ขอให้เป็นบัณฑิตเถิด ยังดีกว่าแน่นอน. พระโพธิสัตว์เมื่อ

สรรเสริญบัณฑิต ทรงแสดงธรรมแล้วด้วยคาถานี้.

พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี มิใช่แต่ในบัดนี้

เท่านั้น ที่นางโรหิณีหมายใจว่า " เราจักฆ่าแมลงวัน " กลับฆ่า

มารดาเสีย แม้ในปางก่อนก็เคยฆ่ามาแล้วเหมือนกัน ครั้นทรง

นำพระธรรมเทศนานี้มาตรัสแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดก

ว่า มารดานางโรหิณีในครั้งนั้น ก็มาเป็นมารดาในครั้งนี้ ธิดา

ในครั้งนั้น ก็มาเป็นธิดาในครั้งนี้เหมือนกัน แต่มหาเศรษฐีใน

ครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาโรหิณีชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

๖. อารามทูสกชาดก

ฉลาดในสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ไม่มีความสุข

[๔๖] "ผู้ฉลาดในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงจะ

ทำความเจริญ ก็ไม่สามารถจะนำความสุขมาให้

ผู้มีปัญญาทราม ย่อมทำประโยชน์ให้เสีย เหมือน

ลิงผู้รักษาสวน ฉันนั้น"

จบ อารามทูสกชาดกที่ ๖

อรรถกถาอารามทูสกชาดกที่ ๖

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภคนประทุษร้ายอุทยาน ในหมู่บ้านโกศลตำบลหนึ่ง ตรัส

พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า " น เว อนตฺถกุสเลน" ดังนี้.

ดังได้สดับมา เมื่อพระบรมศาสดา เสด็จจาริกไปในแคว้น

โกศล ทรงบรรลุถึงหมู่บ้านตำบลหนึ่ง. กุฏุมพีในหมู่บ้านนั้น

หนึ่ง นิมนต์พระตถาคตเจ้าให้ประทับนั่งในอุทยานของตน

ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธองค์เป็นประมุขแล้ว กราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงเสด็จเที่ยวไปในสวนนี้

ตามความพอพระทัยเถิด. ภิกษุทั้งหลายก็พากันลุก ชวนนายอุทยานบาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

(คนเฝ้าสวน) ไปเที่ยวอุทยาน เห็นที่โล่งเตียนแห่งหนึ่ง จึงถามนาย-

อุทยานบาลว่า อุบาสก อุทยานนี้ ตอนอื่นมีต้นไม้ชะอุ่มร่มรื่น แต่ที่

ตรงนี้ไม่มีต้นไม้หรือกอไผ่อะไรเลย ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไรหนอ ?

นายอุทยานบาลตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าเจริญ ในเวลาปลูก

สร้างอุทยานนี้ มีเด็กชาวบ้านคนหนึ่ง เมื่อจะรดน้ำต้นไม้ ต้อง

ถอนต้นไม้ที่เพิ่งปลูกในที่ตรงนี้ ขึ้นดูรากเสียก่อนแล้วจึงรดน้ำ

ตามความสั้นยาวของรากเป็นประมาณ ต้นไม้ปลูกใหม่เหล่านั้น

ก็เหี่ยวแห้งตายไม่เหลือ ด้วยเหตุนั้นที่ตรงนี้จึงโล่งเตียนไป. ภิกษุ

ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้ว จึงกราบทูลเรื่องนั้น.

พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เด็กชาวบ้านคนนั้น

มิใช่เพิ่งเป็นคนทำลายสวนในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ก็เคย

เป็นคนทำลายสวนเหมือนกัน แล้วทรงน้ำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พวกชาวเมืองป่าวร้อง การเล่นนักขัตฤกษ์ใน

พระนคร. จำเดิมแต่กาลที่ได้ยินเสียงกลองประโคมในนักขัตฤกษ์.

ชาวพระนครทั่วถ้วนล้วนพากันเที่ยวเล่นการนักขัตฤกษ์ไปมา

สนุกสนาน. ครั้งนั้น อุทยานของพระราชา มีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็น

อันมาก, คนเฝ้าสวนคิดว่า ในเมืองมีงานนักขัตฤกษ์เอิกเกริก

เราบอกให้ลิงเหล่านี้มันรดน้ำต้นไม้ แล้วเราก็จักเล่นนักขัตฤกษ์

ได้ แล้วก็ไปหาวานรตัวจ่าฝูง ถามว่า แนะวานรผู้เป็นจ่าฝูง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

ผู้เป็นสหาย อุทยานนี้ มีอุปการะเป็นอย่างมากแก่ท่านทั้งหลาย

พวกท่านได้พากันขบเคี้ยวดอกผล และใบอ่อนในอุทยานนี้ บัดนี้

ในพระนครกำลังมีงานนักขัตฤกษ์เอิกเกริก เราจักไปเล่นงาน

นักขัตฤกษ์กับเขาบ้าง พวกท่านจงช่วยรดน้ำต้นไม้ที่กำลังปลูก

ใหม่ ๆ ในสวนนี้ ตลอดเวลาที่เรายังไม่มาก จักได้ไหม ? วานร

จ่าฝูง รับคำว่า ดีแล้ว พวกเราจักรดน้ำให้. นายอุทยานบาลก็

กำชับว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงระมัดระวังอย่าประมาทนะ

จัดหากระออมหนัง และกระออมไม้ สำหรับตักน้ำให้แก่พวก

วานรแล้วก็ไป. พวกวานรพากันถือกระออมหนัง ละกระออมไม้

จะไปรดน้ำต้นไม้ ครั้งนั้นวานรจ่าฝูง จึงพูดกะวานรด้วยกัน

อย่างนี้ว่า วานรผู้เจริญทั้งหลาย ธรรมดาน้ำเป็นสิ่งพึงสงวน

พวกท่านจักรดน้ำต้นไม้ต้องถอนต้นไม้ขึ้น ถอนขึ้นดูราก ต้นไหน

รากหยั่งลึก ต้องรดน้ำให้มาก ต้นไหนรากหยั่งลงไม่ลึก รดแต่

น้อย ภายหลังน้ำของเราจักหาได้ยาก. พวกวานรต่างรับคำว่า

ดีแล้ว พากันทำตามนั้น. สมัยนั้น มีบุรุษฉลาดคนหนึ่ง เห็น

พวกวานรในพระราชอุทยานเหล่านั้น พากันทำเช่นนั้น จึงกล่าว

ว่า แนะวานรทั้งหลาย เหตุไรพวกท่านจึงถอนต้นไม้อ่อน ๆ ขึ้น

แล้วรดน้ำตามประมาณรากอย่างนี้เล่า ? พวกวานรตอบว่า

วานรเป็นหัวหน้าสอนไว้อย่างนี้. บัณฑิตฟังคำนั้นแล้ว ดำริว่า

อนาถหนอ ลิงโง่ ช่างไม่เฉลียวเสียเลย คิดว่าจักทำประโยชน์

กลับทำความพินาศไปเสียฉิบ แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

"การประพฤติประโยชน์ โดยผู้ไม่ฉลาด

ในประโยชน์ มิได้นำความสุขมาให้เลย คนโง่ ๆ

ทำประโยชน์เสื่อมเหมือนลิงเฝ้าสวน ฉะนั้น"

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เว เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า อนตฺถกุสเลน ความว่า ผู้ฉลาดในการอันมิใช่

ประโยชน์ คือในการอันมิใช่บ่อเกิดแห่งประโยชน์ หรือได้แก่

บุคคลผู้ไม่ฉลาดในประโยชน์ คือในเหตุอันเป็นบ่อเกิดแห่ง

ประโยชน์.

บทว่า อตฺถจริยา ได้แก่ การทำความเจริญ.

บทว่า สุขาวหา ความว่า บุคคลผู้ไม่ฉลาดในประโยชน์

เห็นปานนี้ ไม่อาจบำเพ็ญประโยชน์ กล่าวคือความสุขทางกาย

และความสุขทางใจ ได้แก่ไม่สามารถจะนำความสุขมาให้ได้.

เพราะเหตุไร ?

เพราะเหตุว่า คนโง่ ๆ ย่อมทำประโยชน์ให้เสื่อมไป ได้แก่

คนโง่ ๆ คิดว่า เราจักบำเพ็ญประโยชน์ ก็ได้แต่ทำประโยชน์

ให้เสียไป เราย่อมทำแก่การอันหาประโยชน์มิได้ โดยส่วนเดียว

เท่านั้น.

บทว่า กปิ อารามิโก ยถา ความว่า ลิงที่ได้รับหน้าที่ดูแล

สวน ประกอบกิจการในสวน คิดว่า เราจักทำประโยชน์ ก็ทำได้

แต่การอันหาประโยชน์มิได้เท่านั้น ฉันใด บุคคลผู้ไม่ฉลาดใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

ประโยชน์ทั่ว ๆ ไป ก็ฉันนั้น ไม่อาจประพฤติประโยชน์ นำความ

สุขมาให้ใครได้ ได้แต่ยังประโยชน์นั้นแหละให้เสื่อมไปเท่านั้น.

บุรุษผู้เป็นบัณฑิตนั้น ติเตียนวานจ่าฝูงด้วยคาถานี้แล้ว ก็พา

บริษัทของตนออกจากสวนไปด้วยประการฉะนี้.

แม้พระบรมศาสดา ก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เด็ก

ชาวบ้านคนนี้ มิใช่จะเพิ่งประทุษร้ายสวนในบัดนี้เท่านั้น ก็หา

มิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้ประทุษร้ายสวนมาแล้วเหมือนกัน ครั้น

ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดก

ว่า วานรจ่าฝูงในครั้งนั้น มาเป็นเด็กชาวบ้าน ผู้ทำลายสวนใน

บัดนี้ ส่วนบุรุษผู้เป็นบัณฑิต ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาอารามทูสชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

๗. วารุณิทูสกชาดก

ผู้มีปัญญาทราม ทำให้เสียประโยชน์

[๔๗] " ผู้ฉลาดในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงจะ

ทำความเจริญ ก็ไม่สามารถจะนำความสุขมาให้

ผู้มีปัญญาทราม ย่อมทำให้เสียประโยชน์เหมือน

กับโกณฑัญญบุรุษ ทำสุราให้เสีย ฉะนั้น "

จบ วารุณิทูสกชาดกที่ ๗

อรรถกถาวารุณิทูสกชาดกที่ ๗

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภคนทำลายเหล้า ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

" น เว อนตฺถกุสเลน" ดังนี้.

ได้ยินมาว่า พ่อค้าเหล้าเพื่อนของท่านอนาถบิณฑิกะคนหนึ่ง

ผสมเหล้ารสเข้มข้น ขายได้เงินทองมากมาย (วันหนึ่ง) เมื่อ

มหาชนประชุมกันในร้าน จึงกำชับลูกจ้างว่า พ่อคุณ พวกเจ้า

จงขายเหล้าตามราคาที่เขาซื้อ แล้วก็ไปอาบน้ำ. ลูกจ้างเมื่อขาย

เหล้าให้มหาชน เห็นคนเหล่านั้น เรียกเกลือมากัดแกล้มเป็น

ระยะ ๆ จึงคิดว่า เหล้าคงไม่เค็ม เราต้องใส่เกลือผสมลงไป แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

ใส่เกลือลงไปในเหล้าประมาณทะนานหนึ่ง ตวงขายให้แก่คน

เหล่านั้น. คนเหล่านั้นดื่มเต็มปากแล้ว ก็บ้วนทิ้ง ดาหน้ากันเข้า

ไปถามว่า เจ้าทำอย่างไร ? ลูกจ้างตอบว่า ข้าพเจ้าเห็นพวกท่าน

ดื่มสุราแล้ว เรียกเกลือมากัดกิน จึงผสมเกลือลงไป คนเหล่านั้น

พากันติเตียนลูกจ้างนั้นว่า อ้ายหน้าโง ! ทำเหล้าดี ๆ เช่นนี้เสีย

หมด แล้วลุกพรวดพราดขึ้น หลีกหนีไป. พ่อค้าเหล้า กลับมา

ไม่เห็นคนกินเลยสักคนเดียว จึงถามว่า พวกนักดื่มเหล้าไปไหน

กันหมด ? ลูกจ้างจึงแจ้งเรื่องนั้นให้ทราบ. ลำดับนั้น พ่อค้าเหล้า

ก็ตำหนิว่า ไอ้หน้าโง่ ! ทำเหล้าดี ๆ เสียหมด พลางไปแจ้งเหตุ

ให้ท่านอนาถบิณฑิกะทราบ. ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ดำริว่า

บัดนี้เรามีเรื่องอันเป็นเค้าแห่งกถามรรคแล้ว ไปสู่พระวิหาร

เชตวัน ถวายบังคมพระบรมศาสดา พลางกราบทูลเรื่องนั้นให้

ทรงทราบ. พระบรมศาสดา ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี มิใช่แต่ใน

บัดนี้เท่านั้น ที่คนผู้นี้ทำเหล้าให้เสีย แม้ในกาลก่อนก็ทำเหล้าให้

เสียมาแล้วเหมือนกัน อันท่านอนาถบิณฑิกะกราบทูลอาราธนา

จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้. :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง

พาราณสี พระโพธสัตว์เสวยพระชาติเป็นเศรษฐีชาวเมือง

พาราณสี. พ่อค้าเหล้าคนหนึ่งอาศัยท่านเลี้ยงชีพอยู่ วันหนึ่ง

พ่อค้าปรุงเหล้ารสเข้มข้นแล้ว ก็สั่งลูกจ้างให้ขายเหล้าแทน แล้ว

ก็ไปอาบน้ำ. พอพ่อค้าพ้นไปเท่านั้นแหละ เขาก็เอาเกลือใส่ลงไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

ในเหล้า ทำให้เหล้าเสียไป โดยนัยเดียวกันนี้แหละ. ครั้นพ่อค้า

กลับมาได้ทราบเรื่องของลูกจ้างแล้ว ไปเรียนให้ท่านเศรษฐี

ทราบ. ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ธรรมดาคนโง่ไม่เข้าใจประโยชน์

คิดว่า จักทำประโยชน์ กลับทำให้เสียประโยชน์ไปดังนี้แล้ว

กล่าวคาถานี้ ความว่า :-

การบำเพ็ญประโยชน์ โดยคนที่ไม่ฉลาด

ในประโยชน์ จะไม่นำความสุขมาให้ คนโง่ ๆ

มีแต่จะทำประโยชน์ให้เสียไป เหมือนนาย

โกณฑัญญะ ทำเหล้าดี ๆ ให้เสียไป ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกณฺฑญฺโ วารุณึ ยถา ความว่า

ลูกจ้างของพ่อค้าเหล้าคนนี้ ชื่อว่า โกณฑัญญะ คิดว่า เราจักทำ

ประโยชน์ ใส่เกลือลงไปในเหล้า ทำเหล้าให้เสียรสหมดราคา

ต้องเททิ้ง ฉันใด คนที่ไม่ฉลาดในประโยชน์แม้ทั่วไป ก็ทำประโยชน์

ให้เสียไปได้ฉันนั้น. พระโพธิสัตว์แสดงธรรมด้วยคาถานี้.

แม้พระบรมศาสดา ก็ตรัสว่า ก่อนคฤหบดี มิใช่แต่ใน

บัดนี้เท่านั้น ที่คนผู้นี้ทำเหล้าให้เสียไป แม้ในกาลก่อน ก็ทำเหล้า

ให้เสียไปแล้วเหมือนกัน ดังนี้ แล้วทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดก

ว่า คนที่ทำเหล้าเสียในครั้งนั้น มาเป็นคนที่ทำให้เหล้าเสียใน

ครั้งนี้ ส่วนท่านเศรษฐีเมืองพาราณสี มาเป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาวารุณิทูสกชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

๘. เวทัพพชาดก

ผู้ปรารถนาประโยชน์ โดยไม่แยบคายย่อมเดือดร้อน

[๔๘ ] "ผู้ใดปรารถนาประโยชน์ โดยอุบายอัน

ไม่แยบคาย ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนเหมือนพวก

โจรเจติรัฐ ฆ่าเวทัพพพราหมณ์ แล้วพากันถึง

ความพินาศหมดสิ้น ฉะนั้น"

จบ เวทัพพชาดกที่ ๘

อรรถกถาเวทัพพชาดกที่ ๘

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุว่ายาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น

มีอาทิว่า "อนุปาเยน โย อตฺถ" ดังนี้.

ความพิสดารว่า พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อน

ภิกษุ มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่เธอเป็นคนว่ายาก แม้ในกาลก่อน

ก็เป็นผู้ว่ายากเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นแลจึงไม่ทำตามคำของ

ท่านผู้เป็นบัณฑิต ถูกฟันด้วยดาบขาดสองท่อน ล้มนอนอยู่ที่

หนทาง ละเพราะอาศัยเธอคนเดียวแท้ ๆ คนอีกพันคนต้องสิ้น

ชีวิตไปด้วย ดังนี้แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง

พาราณสี มีพราหมณ์คนหนึ่งในบ้านตำบลหนึ่ง รู้มนต์ ชื่อ

เวทัพพะ. ได้ยินว่ามนต์นั้นหาค่ามิได้ ควรบูชายิ่งนัก เมื่อได้

เวลาฤกษ์แล้ว เจ้าของมนต์ร่ายมนต์นั้น แหงนสูดอากาศแล้ว

ฝนแก้ว ๗ ประการ ก็ตกลงมาจากอากาศ. ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์

เรียนศิลปะอยู่ในสำนักของพราหมณ์นั้น อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณ์

ชวนพระโพธิสัตว์ ออกจากบ้านของตนเดินทางไปสู่แคว้นเจตี

ด้วยกิจธุระบางประการ. ก็ในระหว่างทางตอนที่เป็นป่าแห่งหนึ่ง

มีพวกโจรที่เรียกว่า เปสนกโจรประมาณ ๕๐๐ คน มั่วสุมกัน

สะกัดทางอยู่. พวกโจรเหล่านั้น จับพระโพธิสัตว์และเวทัพพ-

พราหมณ์ไว้.

ก็เพราะเหตุไร โจรพวกนี้ จึงถูกเรียกว่าเปสนกโจร ?

เพราะเหตุที่เล่ากันว่า พวกมันจับคนได้ ๒ คน แล้วใช้

คนหนึ่งไปเอาเงินมาให้พวกมัน เพราะเหตุนั้น คนทั้งหลายจึง

เรียกพวกมันว่า "เปสนกโจร". ก็พวกโจรแม้เหล่านั้น ซุ่มอยู่

ที่บริเวณป่าแห่งหนึ่ง ถ้าจับพ่อกับลูกไปได้ ก็จะพูดกับพ่อว่า

จงไปเอาทรัพย์มาให้เรา แล้วจึงรับลูกไป โดยทำนองนี้. จับแม่

กับลูกสาวได้ ก็ปล่อยแม่ไป จับพี่กับน้องได้ ก็ปล่อยพี่ไป จับ

อาจารย์กับลูกศิษย์ได้ ก็ปล่อยศิษย์ไป ในคราวนั้น พวกมันจึง

ยึดตัว เวทัพพพราหมณ์ไว้ แล้วปล่อยพระโพธิสัตว์ไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

พระโพธิสัตว์กราบอาจารย์แล้ว กล่าวเตือนว่า ผมจักไป

สัก ๒-๓ วันเท่านั้น อาจารย์อย่าหวาดหวั่นไปเลย อีกประการ

หนึ่ง โปรดกระทำตามคำของผมด้วยเถิด ในวันนี้จักมีฤกษ์ อัน

จะให้ฝนคือทรัพย์ตกลงมา ท่านอย่าไร้ความอดทนทุกข์ยาก อย่า

ร่ายมนต์ให้เงินทองไหลหลั่งลงมาเป็นอันขาด หากท่านจักให้

ฝนเงินฝนทองไหลหลั่งลงมาแล้วไซร้ ตัวท่านจักถึงความย่อยยับ

โจรทั้ง ๕๐๐ เหล่านี้ จักฆ่าท่านเสีย ครั้นเตือนอาจารย์อย่างนี้

แล้ว ก็จากไปเพื่อเอาทรัพย์มา. ฝ่ายพวกโจร พอพระอาทิตย์

อัษฎงค์ ก็มัดพราหมณ์ให้นอนแซ่ว. ขณะนั้นเองจันทมลฑลอัน

บริบูรณ์ ก็โผล่ขึ้นจากโลกธาตุด้านทิศปราจีน. พราหมณ์มอง

เห็นฤกษ์ ก็คิดว่า ได้ฤกษ์ที่จะให้ฝนเงินฝนทองไหลหลั่งลงมา

แล้ว ทำไมเราต้องเสวยทุกข์ยากอยู่เล่า ร่ายมนต์ให้ให้แก้ว

ตกลงมา เอาทรัพย์ให้พวกโจร แล้วก็จักเป็นอิสระไปได้ตาม

สบาย แล้วจึงเรียกพวกโจรมา ถามว่า ก่อนโจรผู้เจริญทั้งหลาย

พวกท่านจับเราไว้ เพื่อต้องการอะไร ? พวกโจรตอบว่า ต้อง

การทรัพย์ซิขอรับ ท่านอาจารย์. พราหมณ์จึงกล่าวว่า ท่านผู้

เจริญทั้งหลาย ถ้าต้องการทรัพย์ ก็จงรีบแก้มัดเราโดยเร็ว ให้

เราสนานศีรษะ นุ่งผ้าขาว ประพรมตนด้วยของหอม ประดับ

ด้วยดอกไม้แล้วคุมเราไว้เถิด. พวกโจรฟังคำของพราหมณ์แล้ว

ก็ทำตามทุกประการ. พราหมณ์รู้ฤกษ์แล้ว ก็ร่ายมนต์แหงนดู

อากาศ. ทันใดนั้นเอง แก้วทั้งหลายก็ร่วงพรูมาจากอากาศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

พวกโจรก็พากันกอบโกยเอาทรัพย์ รวบรวมใส่ในผ้าขาวม้า

แล้วพากันนำไป. แม้พราหมณ์ก็ตามพวกมันไปข้างหลังด้วย.

ครั้งนั้น มีโจรพวกอื่น จำนวน ๕๐๐ เหมือนกัน พากันจับโจร

เหล่านั้นไว้. เมื่อพวกที่ถูกจับถามว่า ท่านทั้งหลายจับเราไว้

ทำไม ก็ตอบว่า เพื่อต้องการทรัพย์. พวกโจรที่ถูกจับจึงบอกว่า

แม้นพวกท่านต้องการทรัพย์ ก็จงจับพราหมณ์นั้นไว้เถิด แกมอง

ดูอากาศแล้ว ให้ทรัพย์ไหลหลั่งลงมาได้ ก็ทรัพย์ของเรานี้ แกให้

ทั้งนั้นแหละ. พวกโจรก็ปล่อยพวกโจรที่จับไว้พลางคุมตัวพราหมณ์

ไว้กล่าวว่า จงให้ทรัพย์แก่พวกเราบ้าง. พราหมณ์กล่าวว่า

ฉันต้องให้ทรัพย์แก่พวกท่านแน่นอน แต่ว่า ฤกษ์ที่จะเรียกให้

ทรัพย์ไหลลงมาได้ กว่าจะมีก็อีกปีหนึ่งนับแต่วันนี้ไป ถ้าพวก

ท่านต้องการทรัพย์ละก็ ต้องคอยถึงเวลานั้น ข้าพเจ้าจักเรียก

ฝนทรัพย์ให้ไหลลงมาได้. พวกโจรพากันโกรธ พูดว่า ทุด ! ไอ้

พราหมณ์ชั่ว ทีคนอื่นละก็แกเรียกฝนเงิน ฝนทองให้ไหลลงมา

ได้ทันทีทีเดียว ถึงคราวพวกเรา บอกให้คอยตั้งปี ดังนี้แล้ว

ฟันพราหมณ์ขาเป็นสองท่อนด้วยดาบอันคม ทิ้งไว้ที่หนทาง

ยกพวกตามไปโดยเร็ว ได้ต่อสู้กับโจรพวกนั้น ฆ่าโจรพวกนั้น

ได้หมด ยึดเอาทรัพย์ไป เกิดแตกกันเป็นสองพวก เลยต่อสู้กัน

เอง ฆ่ากันตายไป ๒๕๐ แล้วก็แตกกันอีก ฆ่ากันอีก โดยทำนอง

นี้ จนในที่สุดเหลือ ๒ คน. แล้วฆ่ากันเองตายหมด. คนทั้งพันนั้น

ถึงความพินาศด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

ก็คนทั้งสองที่เหลือภายหลังนั้น ยึดเอาทรัพย์นั้นมาได้ด้วย

อุบายนั้น พากันเอาไปซ่อนไว้ในที่รกใกล้บ้านแห่งหนึ่ง คนหนึ่ง

ถือพระขรรค์นั่งเฝ้าไว้ คนหนึ่งเอาข้าวสารเข้าไปสู่บ้านเพื่อหุง

เป็นอาหาร. ก็ขึ้นชื่อว่าความโลภแล้ว เป็นมูลแห่งความพินาศ

ทีเดียว เพราะฉะนั้น โจรคนที่นั่งเฝ้าทรัพย์คิดว่า เมื่อโจรคนนั้น

มา ทรัพย์นี้ก็ต้องแบ่งเป็นสองส่วน อย่ากระนั้นเลย พอมันมา

เราฟันเสียให้ตายด้วยพระขรรค์ก็สิ้นเรื่อง คิดแล้วก็เหน็บพระ-

ขรรค์ นั่งคอยให้คนนั้นมา. ฝ่ายอีกคนหนึ่งก็คิดว่า ทรัพย์นั้น

จักต้องแบ่งเป็นสองส่วน ถ้ากระไร เราเอายาพิษใส่อาหารให้

ไอ้คนนั้นกินสิ้นชีวิตแล้ว เราก็ได้ครอบครองทรัพย์แต่ผู้เดียว.

ดังนั้น พอข้าวสุกก็รีบกินเสียก่อน ส่วนที่เหลือก็ใส่ยาพิษไว้

ถือมาที่อีกคนหนึ่งคอยอยู่ พอก้มลงวางอาหารเท่านั้นเอง คนที่

คอยอยู่ก็ฟันด้วยพระขรรค์ขาดเป็น ๒ ท่อน เอาไปทิ้งในที่รก

แล้วกลับมากินอาหารนั้น เลยตนเองก็สิ้นชีวิตในที่นั้นเอง. คน

ทั้งหมดถึงความพินาศเพราะอาศัยทรัพย์นั้น ด้วยประการฉะนี้.

พอเวลาล่วงไปได้วัน-สองวัน พระโพธิสัตว์ก็ถือเอาทรัพย์

มา ไม่เห็นอาจารย์ในที่นั้นเสียแล้ว เห็นแต่ทรัพย์กระจัดกระจาย

อยู่ ก็คิดว่า อาจารย์ไม่เชื่อคำเรา ชะรอยจักเรียกทรัพย์ให้

หลั่งไหลลงมาเป็นแน่ ทุกคนต้องถึงความพินาศหมด ดังนี้แล้ว

พลางเดินไปในทางใหญ่. เมื่อเดินไปถึง ก็เห็นอาจารย์ถูกตัดขาด

๒ ท่อน คิดว่า อาจารย์ต้องมาตายเพราะไม่เชื่อคำเรา แล้วก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

เก็บฟืนกองเป็นเชิงตะกอน เผาอาจารย์. บูชาด้วยดอกไม้ป่า

แล้วเดินต่อไป เห็นโจร ๕๐๐ ตาย เดินต่อไป เห็นโจร ๒๕๐ ตาย

โดยลำดับ ในที่สุดเห็นคนทั้งสองสิ้นชีวิต จึงคิดว่า คนที่ถึงความ

พินาศนี้ หนึ่งพันหย่อนสองคน ต้องมีโจรอีก ๒ คนแน่นอน แม้

ทั้งสองคนก็จักไม่อาจรอดอยู่ได้ สองคนไปอยู่ที่ไหนเล่าหนอ

ดังนี้แล้วเดินต่อไป เห็นทางเข้าไปสู่ที่ซ่อนทรัพย์ของคนทั้งสอง

เดินต่อไป ก็เห็นกองทรัพย์ที่มัดเป็นถุง ๆ ไว้ ได้เห็นคนหนึ่งตาย

คร่อมถาดข้าว ในลำดับนั้น ก็คาดการณ์รู้เหตุทั้งหมดว่า โจร

พวกนั้นจักต้องกระทำอย่างนี้ แล้วก็คิดว่า บุรุษนั้นอยู่ไหนเล่า ?

ค้นหาดู ก็เห็นชายคนนั้นถูกหมกไว้ที่รก จึงคิดว่า อาจารย์ของ

เราไม่ทำตามคำเรา เพราะความว่ายากของตน แม้ตนก็ถึงความ

พินาศ มิหนำซ้ำทำให้คนอื่นอีกตั้งพันคนพลอยถึงความพินาศไป

อนาถแท้ คนที่ปรารถนาความเจริญแก่ตน โดยเหตุมิใช่อุบาย

ไม่ใช่การณ์ จักต้องถึงความพินาศใหญ่โตทีเดียว เหมือนอาจารย์

ของเราถึงความพินาศอยู่ฉะนั้น แล้วกล่าวคาถานี้ใจความว่า :-

"ผู้ใดปรารถนาประโยชน์ โดยเหตุมิใช่

อุบาย ผู้นั้นย่อมเดือดร้อน โจรชาวเจติรัฐ ฆ่า

พราหมณ์เวทัพพะเสียแล้ว คนเหล่านั้น ก็พลอย

ถึงความย่อยยับหมดสิ้น" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส วิหญฺติ ความว่า บุคคล

คิดว่า เราปรารถนาประโยชน์ คือความเจริญ ความสุขแก่ตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

กระทำความพยายามโดยเหตุอันมิใช่อุบาย ในขณะอันมิใช่กาล

ย่อมเดือดร้อน คือลำบาก ได้แก่ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง.

บทว่า เจตา ได้แก่ พวกโจรผู้อยู่ในแคว้นเจติรัฐ.

บทว่า หนึสุ เวทพฺพ ความว่า โจรชาวเจติรัฐ พากัน

ฆ่าพราหมณ์ ผู้ได้นามว่า "เวทัพพะ" เพราะรู้มนต์เวทัพพะ

เสียแล้ว.

บทว่า สพฺเพ เต พฺยสนมชฺฌคุ ความว่า แม้คนเหล่านั้น

ทั้งหมด ฆ่ากันเองถึงความย่อยยับไม่ได้เหลือเลยสักคนเดียว.

เมื่อมีเหตุเช่นนี้ พระโพธิสัตว์จึงประกาศก้องไปทั้งป่าว่า

อาจารย์ของเรากระทำความบากบั่นในเรื่องมิใช่ฐานะ โดยเหตุ

มิใช่อุบาย เรียกทรัพย์ให้หลั่งไหลลงมา แม้ตนเองก็ถึงความสิ้น

ชีวิต ยังเป็นปัจจัยแห่งความพินาศของคนอื่น ๆ อีก ๕๐๐ ๆ

ฉันใด แม้คนอื่น ๆ ผู้ใดเล่าปรารถนาประโยชน์แก่ตน จักกระทำ

ความพยายามโดยเหตุมิใช่อุบายผู้นั้นทั้งหมด จักพินาศด้วยตน

เองเป็นแน่ ทั้งจักเป็นปัจจัยให้คนอื่น ๆ พลอยพินาศด้วย ดังนี้

เมื่อเหล่าเทวดาพากันให้สาธุการ ก็แสดงธรรมด้วยคาถานี้ นำ

ทรัพย์นั้นมาสู่เรือนของตน โดยอุบายอันชอบ กระทำบุญทั้งหลาย

มีทานเป็นต้น ดำรงอยู่ตราบอายุขัย ครั้นสิ้นชีวิต ก็ได้ไปเพิ่ม

แดนสวรรค์ให้บริบูรณ์ขึ้น.

แม้พระบรมศาสดา ก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ มิใช่แต่ในบัดนี้

เท่านั้น ที่เธอเป็นคนว่ายาก แม้ในกาลก่อน ก็เป็นคนว่ายาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

เหมือนกัน ก็เพราะความเป็นคนว่ายาก จึงถึงความพินาศอย่าง

ใหญ่หลวง. ดังนี้ ครั้นนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสประชุม

ชาดกว่า เวทัพพะพราหมณ์ในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุว่ายาก

ในบัดนี้ ส่วนลูกศิษย์ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาเวทัพพชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

๙. นักขัตตชาดก

ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์

[๔๙] " ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่เขลา ผู้มัว

คอยฤกษ์อยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์

ดวงดาวจักทำอะไรได้."

จบ นักขัตตชาดกที่ ๙

อรรถกถานักขัตตชาดกที่ ๙

พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-

วิหาร ทรงปรารภอาชีวกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า นกฺขตฺต ปฏิมาเนนฺต เป็นอาทิ.

ได้ยินว่า กุลบุตรชาวบ้านนอกผู้หนึ่ง ไปขอกุลธิดา

นางหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี ให้แก่ลูกชายของตน นัดหมายวันกันว่า

ในวันโน้น จักมารับเอาตัวไป ครั้นถึงวันนัดจึงถามอาชีวก ผู้

เข้าไปสู่ตระกูลของตนว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้พวกผมจัก

ทำมงคลอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมครับ. อาชีวกนั้นโกรธอยู่แล้วว่า

คนผู้นี้ครั้งแรกไม่ถามเราเลย บัดนี้เลยวันไปแล้วกลับมาถามเรา

เอาเถิด จักต้องสั่งสอนเขาเสียบ้าง จึงพูดว่า วันนี้ฤกษ์ไม่ดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

พวกท่านอย่ากระทำการมงคลในวันนี้เลย ถ้าขืนทำ จักพินาศ

ใหญ่. พวกมนุษย์ในตระกูลพากันเชื่ออาชีวกนั้น ไม่ไปรับตัว

ในวันนั้น. ฝ่ายพวกชาวเมืองจัดการมงคลไว้พร้อมแล้ว ไม่เห็น

พวกนั้นมา ก็กล่าวว่า พวกนั้นกำหนดไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา แม้

การงานของพวกเราก็ใกล้จะสำเร็จแล้ว เรื่องอะไรจักต้องไป

คอยพวกนั้น จักยกธิดาของเราให้คนอื่นไป แล้วก็ยกธิดาให้แก่

ตระกูลอื่นไป ด้วยการมงคลที่เตรียมไว้นั้นแหละ. ครั้นวันรุ่งขึ้น

พวกที่ขอไว้ก็พากันมาถึง แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงส่งตัวเจ้า

สาวให้พวกเราเถิด. ทันใดนั้น ชาวเมืองสาวัตถี ก็พากันบริภาษ

พวกนั้นว่า พวกท่านสมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นคนบ้านนอก ขาดความ

เป็นผู้ดี เป็นคนลามก กำหนดวันไว้แล้ว ดูหมิ่นเสียไม่มาตาม

กำหนด เชิญกลับไปตามทางที่มากันนั่นแหละ พวกเรายกเจ้าสาว

ให้คนอื่นแล้ว. พวกชาวบ้านนอก ก็พากันทะเลาะกับชาวเมือง

ครั้นไม่ได้เจ้าสาว ก็ต้องพากันไปตามทางที่มานั่นเอง. เรื่องที่

อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคล ของมนุษย์เหล่านั้น ปรากฏว่า

รู้กันตัวไปในระหว่างภิกษุทั้งหลาย. และภิกษุเหล่านั้นประชุม

กันในธรรมสภา นั่งพูดกันว่า อาวุโสทั้งหลาย อาชีวกกระทำ

อันตรายงานมงคลของตระกูลเสียแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว

ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอกำลังสนทนากันด้วย

เรื่องอะไร ? ครั้นภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อาชีวกกระทำอันตราย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

งานมงคลของตระกูลนั้นเสีย แม้ในกาลก่อนก็โกรธคนเหล่านั้น

กระทำอันตรายงานมงคลเสียแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง

พาราณสี ชาวพระนครพากันไปสู่ขอธิดาของชาวชนบท กำหนด

วันแล้ว ถามอาชีวกผู้คุ้นเคยกันว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้ผม

จะกระทำงานมงคลสักอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมขอรับ. อาชีวกนั้น

โกรธอยู่แล้วว่า คนพวกนี้กำหนดวันเอาตามพอใจตน บัดนี้ กลับ

ถามเรา คิดต่อไปว่า ในวันนี้เราจักทำการขัดขวางงานของตน

เหล่านั้นเสีย แล้วกล่าวว่า วันนี้ฤกษ์ไม่ดี ถ้ากระทำการมงคล

จักพากันถึงความพินาศใหญ่. คนเหล่านั้นพากันเชื่ออาชีวก

จึงไม่ไปรับเจ้าสาว. ชาวชนบททราบว่า พวกนั้นไม่มา ก็พูดกัน

ว่า พวกนั้นกำหนดวันไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา ธุระอะไรจักต้องคอย

คนเหล่านั้น แล้วก็ยกธิดาให้แก่คนอื่น. รุ่งขึ้น ชาวเมืองพากันมา

ขอรับเจ้าสาว ชาวชนบทก็พากันกล่าวว่า พวกท่านขึ้นชื่อว่าเป็น

ชาวเมือง แต่ขาดความเป็นผู้ดี กำหนดวันไว้แล้ว แต่ไม่มารับ

เจ้าสาว เพราะพวกท่านไม่มา เราจึงยกให้คนอื่นไป. ชาวเมือง

กล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกดู ได้ความว่า ฤกษ์ไม่ดี จึงไม่มา

จงให้เจ้าสาวแก่พวกเราเถิด. ชาวชนบทแย้งว่า เพราะพวกท่าน

ไม่มากัน พวกเราจึงยกเจ้าสาวให้คนอื่นไปแล้ว คราวนี้จักนำ

ตัวเจ้าสาวที่ให้เขาไปแล้วมาอีกได้อย่างไรเล่า ? เมื่อคนเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

โต้เถียงกันไป โต้เถียงกันมา อยู่อย่างนี้ ก็พอดีมีบุรุษผู้เป็น

บัณฑิตชาวเมืองคนหนึ่ง ไปชนบทด้วยกิจการบางอย่าง ได้ยิน

ชาวเมืองเหล่านั้นกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกแล้ว จึงไม่มา

เพราะฤกษ์ไม่ดี ก็พูดว่า ฤกษ์จะมีประโยชน์อะไร เพราะการ

ได้เจ้าสาวก็เป็นฤกษ์อยู่แล้ว มิใช่หรือ ? ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้

ความว่า :-

"ประโยชน์ผ่านพ้นคนโง่ ผู้มัวคอยฤกษ์

ยามอยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวง

ดาวทั้งหลาย จักทำอะไรได้" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิมาเนนฺต ความว่า ผู้คอย

ดูอยู่ อธิบายว่า มัวรอคอยอยู่ว่า ฤกษ์จะมีในบัดนี้ จักมีในบัดนี้.

บทว่า อตฺโถ พาล อุปจฺจคา ความว่า ประโยชน์กล่าวคือ

การได้เจ้าสาว ผ่านพ้นคนโง่ผู้เป็นชาวเมืองนี้.

บทว่า อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺต ความว่า บุคคลเที่ยว

แสวงหาประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เขาได้แล้วนั่นแหละ ชื่อว่า

เป็นฤกษ์ของประโยชน์.

บทว่า กึ กริสฺสฺติ ตารกา ความว่า ก็ดวงดาวทั้งหลาย

ในอากาศนอกจากนี้ จักยังประโยชน์เช่นไรให้สำเร็จได้.

พวกชาวเมือง ทะเลาะกับพวกนั้นแล้ว ก็ไม่ได้เจ้าสาว

อยู่นั่นเอง เลยพากันไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่

ในบัดนี้เท่านั้น ที่อาชีวกนั้น ทำการขัดขวางงานมงคลของตระกูล

นั้น ถึงในครั้งก่อน ก็ได้กระทำแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำ

พระธรรมเทศนานี้มาตรัสแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า

อาชีวกในครั้งนั้น ได้มาเป็นอาชีวกในครั้งนี้ แม้ตระกูลทั้งสิ้น

ในครั้งนั้น ก็ได้มาเป็นตระกูลในครั้งนี้ ส่วนบุรุษผู้เป็นบัณฑิต

ผู้ยืนกล่าวคาถา ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถานักขัตตชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

๑๐. ทุมเมธชาดก

คนโง่ถูกบูชายัญ เพราะคนอธรรม

[๕๐] "เราได้บนไว้ต่อเทวดา ด้วยคนโง่เขลา

หนึ่งพันคน บัดนี้เราจักต้องบูชายัญ เพราะคน

อธรรมมีจำนวนมาก"

จบ ทุมเมธชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาทุมเมธชาดกที่ ๑๐

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภการบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก ตรัสพระธรรมเทศนา

นี้ มีคำเริ่มต้นว่า "ทุมฺเมธาน" ดังนี้.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง

พาราณสี พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ

พระอัครมเหสี แห่งพระราชาพระองค์นั้น ครั้นประสูติจากพระ-

ครรภ์พระมารดาแล้ว พระประยูรญาติได้ขนานพระนามให้ว่า

"พรหมทัตกุมาร" พอมีพระชนม์ ๑๖ พรรษา ก็ได้ทรงศึกษา

ศิลปะในเมืองตักกสิลา ทรงเจนจบไตรเพท และทรงสำเร็จ

ศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ. ต่อมาพระราชบิดา ทรงพระราชทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

ตำแหน่งอุปราชแก่พระองค์. ในครั้งนั้น ประชาชนในกรุง-

พาราณสี นับถือเทวดาเป็นสิ่งขวัญ พากันนอบนบเทวดา ฆ่า

แพะ แกะ ไก่ และหมู เป็นต้นมากมาย กระทำการบวงสรวง

ด้วยดอกไม้และของหอมนานาชนิด และด้วยเนื้อและโลหิต.

พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า บัดนี้ ประชาราษฎร์นับถือเทวดาเป็น

มิ่งขวัญ พากันฆ่าสัตว์ มหาชนฝังใจในอธรรมถ่ายเดียวโดยมาก

เราได้ราชสมบัติ เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว จักไม่ให้สัตว์

แม้สักตัวเดียวได้ลำบาก ต้องหาอุบายไม่ให้ใคร ๆ ฆ่าสัตว์ตัด

ชีวิตให้จงได้. อยู่มาวันหนึ่ง พระองค์ทรงรถเสด็จออกจาก

พระนคร ทอดพระเนตรเห็นมหาชนชุมนุมกันที่ ต้นไทรใหญ่

ต้นหนึ่ง ใครอยากได้สิ่งใด ๆ ในบรรดา ลูกชาย ลูกหญิง ยศ

และทรัพย์เป็นต้น ก็พากันบนในสำนักของเทวดา อันสิงอยู่ ณ

ต้นไทรนั้น พระองค์จึงเสด็จลงจากรถ ทรงดำเนินเข้าไปใกล้

ต้นไทรนั้น ทรงบูชาด้วยของหอมและดอกไม้ สรงสนาน กระทำ

ปทักษิณต้นไม้เหมือนกับพวกที่ถือเทวดาเป็นมิ่งขวัญ บังคม

เทวดาแล้ว เสด็จขึ้นทรงรถกลับเข้าพระนคร ตั้งแต่นั้นมา ก็

เสด็จไปที่ต้นไม้นั้น ทุก ๆ ขณะเวลาที่ว่าง ทรงทำการบูชา

เหมือนเป็นผู้นับถือ เทวดาเป็นมิ่งขวัญ ดังพรรณนามาแล้วนั่น

แล. โดยสมัยต่อมา พระราชบิดาสวรรคต พระองค์ก็ได้เสวย

ราชย์ ทรงเว้นอคติ ๔ ประการ ทรงประพฤติทศพิธราชธรรม

เคร่งครัด ดำรงราชโดยธรรม ทรงพระดำริว่า มโนรถของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

ถึงที่สุดแล้ว เราดำรงในราชสมบัติแล้ว แต่ข้อหนึ่งที่เราคิดไว้

ครั้งก่อนนั้น ก็จะต้องให้ถึงที่สุดในบัดนี้ พลางมีพระราชกระแส

เรียกพวกอำมาตย์และประชาชน มีพราหมณ์ คฤหบดีเป็นต้น

มาประชุมกัน ตรัสประกาศว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่าน

ทราบกันไหมว่า เหตุใดเราจึงได้ราชสมบัติ ? ประชาชนพากัน

กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทราบเกล้า ฯ

พระเจ้าข้า. รับสั่งถามว่า เมื่อเราบูชาต้นไทรต้นโน้นด้วยของ

หอมเป็นต้น ประคองกระพุ่มมือนบไหว้อยู่ พวกท่านเคยเห็นหรือ

ไม่เล่า ? ขอเดชะ. เคยเห็นพระเจ้าข้า. พระองค์มีพระราชดำรัส

ต่อไปว่า ในครั้งนั้น เราตั้งความปรารถนาไว้ว่า ถ้าได้ราชสมบัติ

จักกระทำพลีกรรม เราได้ราชสมบัตินี้ด้วยอานุภาพของเทวดา

นั้น บัดนี้เราจักกระทำพลีกรรมแก่ท้าวเธอ พวกท่านอย่าชักช้า

เลย พากันเตรียมพลีกรรมแก่เทวดา เป็นการเร็วเถิด. พวก

อำมาตย์เป็นต้น ทูลถามว่า ขอเดชะ พวกข้าพระพุทธเจ้าจัด

สิ่งใดเล่าพระเจ้าข้า ? รับสั่งว่า ท่านทั้งหลาย เมื่อเราบนเทวดา

เราได้อ้อนวอนไว้ว่า ข้าพเจ้าจักฆ่าหมู่คนที่พากันประพฤติยึดถือ

กรรม แห่งคนทุศีล ๕ ประการ มีฆ่าสัตว์เป็นต้น และที่พากัน

ประพฤติยึดถืออกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ในรัชกาลของข้าพเจ้า

แล้วจักทำพลีกรรม ด้วยลำไส้และเลือดเนื้อคนเหล่านั้น เพราะ

ฉะนั้นพวกท่านจงตีฆ้องประกาศไปว่า พระราชาของพวกเรา

ครั้งดำรงพระยศเป็นอุปราชอยู่นั่นแล ทรงบนเทวดาไว้อย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

ว่า ถ้าทรงครองราชสมบัติ จักให้ฆ่าคนที่ปรากฏว่าทุศีลในรัชกาล

ให้หมด แล้วการทำพลีกรรม บัดนี้พระองค์มีพระราชประสงค์

จะให้ฆ่าคนที่ประพฤติ ยึดถือกรรมของตนทุศีล ๕ ประการ ซึ่ง

เป็นคนทุศีลประมาณพันคน แล้วให้เอาเครื่องใน มีหัวใจ เป็นต้น

ของคนเหล่านั้น ไปทรงกระทำพลีกรรมแก่เทวดา ชาวพระนคร

ทั้งหลายจงรู้ไว้อย่างนี้เถิด. ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงประกาศ

พระราชประสงค์ว่า คราวนี้นับแต่บัดนี้ไป เราจักต้องฆ่าคนที่

ประพฤติกรรมของตนทุศีลให้ถึงพันคน บูชายัญ จึงจักพ้นจาก

การบน ได้ตรัสพระคาถานี้ ว่า :-

"เราเข้าไปบนไว้ ถึงการบูชายัญด้วยคน

โง่ ๆ พันคน บัดนี้เล่า เราจักต้องบูชายัญละ

คนที่ประพฤติอธรรมมีมากนัก" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุมฺเมธาน สหสฺเสน ความว่า

บุคคลชื่อว่ามีปัญญาทราม เพราะไม่รู้เลยว่า กรรมนี้ควรทำ

กรรมนี้ไม่ควรทำ ก็หรือชื่อว่าโง่ เพราะประพฤติยึดถือในอกุศล-

กรรมบถ ๑๐ ประการ ด้วยคนเขลาที่โง่เง่าไร้ปัญญาเหล่านั้น

นับให้ได้พันคน.

บทว่า ยญฺโ เม อุปยาจิโต ความว่า เราได้เข้าไปหา

เทวดา บนไว้ถึงการบูชายัญ ว่าจักบูชายัญอย่างนี้.

บทว่า อิทานิ โขห ยชิสฺสามิ ความว่า เรานั้นจักบูชายัญ

ในบัดนี้ เพราะได้ครองราชสมบัติด้วยการบนนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

เพราะเหตุไร ?

เพราะเดี๋ยวนี้ คนที่ประพฤติอธรรมมีมากนัก เพราะฉะนั้น

ต้องจับเขาไปทำพลีกรรม เสียเดี๋ยวนี้ทีเดียว.

พวกอำมาตย์ฟังพระดำรัสของพระโพธิสัตว์แล้ว ก็รับ

พระบรมราชโองการว่า ชอบด้วยเกล้า ฯ พระเจ้าข้า แล้วเที่ยว

ตีกลองป่าวประกาศไปทั่วเมืองพาราณสี อันมีปริมณฑล ๑๒

โยชน์. ชาวประชาทั่วไป ฟังอาญาจากการตีกลองป่าวประกาศ

แล้ว จะหาคนที่ยึดถือทุศีลกรรม แม้เพียงข้อเดียว สักคนหนึ่ง

ก็ไม่ได้. ด้วยกุสโลบายอันแนบเนียนนี้ ตลอดเวลาที่พระโพธิสัตว์

ครองราชสมบัติอยู่ บุคคลที่กระทำกรรม ในบรรดาทุศีลกรรม

๕ ประการ หรือ ๑๐ ประการ แม้เพียงข้อเดียว. ก็ไม่ปรากฏเลย.

พระโพธิสัตว์มิได้ทรงให้บุคคลแม้เพียงคนเดียวลำบาก โปรด

ชาวแว่นแคว้นหัวหน้า ให้รักษาศีล แม้พระองค์เอง ก็ทรงบำเพ็ญ

บุญมีการให้ทานเป็นต้น ในเวลาสิ้นพระชนม์ ก็ทรงพาบริษัท

ของพระองค์ ไปแน่นเทวนครด้วยประการฉะนี้.

แม้พระบรมศาสดา ก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่

แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ตถาคตประพฤติประโยชน์แก่โลก แม้ใน

กาลก่อน ก็ประพฤติแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนา

นี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า บริษัทในครั้งนั้น ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

มาเป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนพระเจ้ากรุงพาราณสี ได้มาเป็น

เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาทุมเมธชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โลสกชาดก ๒. กโปตกชาดก ๓. เวฬุกชาดก

๔. มกสชาดก ๕. โรหิณีชาดก ๖. อารามทูสกชาดก ๗. วารุณิ-

ทูสกชาดก ๘. เวทัพพชาดก ๙. นักขัตตชาดก ๑๐. ทุกเมธชาดก.

จบ อัตถกามวรรคที่ ๕

จบ ปัณณาสก์ที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

๖. อาสิงสวรรค

๑. มหาสีลวชาดก

ความสำเร็จเกิดจากความพยายาม

[๕๑] "บุรุษผู้เป็นบัณฑิต ความมุ่งหมาย กว่า

จะสำเร็จผล ไม่ควรท้อถอย ดูเราเป็นตัวอย่าง

เราปรารถนาอย่างใด ก็ได้อย่างนั้น"

จบ มหาสีลวชาดกที่ ๑

อรรถกถาอาสิงสวรรค

อรรถกถามหาสีลวชาดกที่ ๑

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-

วิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มีความเพียรย่อหย่อน ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "อาสึเสเถว ปุริโส" ดังนี้.

มีเรื่องย่อว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อน

ภิกษุ จริงหรือที่ว่า เธอเป็นผู้มีความเพียรย่อหย่อน ครั้นเธอรับ

ว่าจริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอบรรพชาในพระศาสนา

อันนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้เห็นปานดังนี้แล้ว เหตุใดจึงย่อหย่อน

ความเพียรเสียเล่า ในกาลก่อนบัณฑิตทั้งหลาย แม้จะเสื่อมจาก

ราชสมบัติ ก็ยังดำรงอยู่ในความเพียรของตนนั่นแล กลับทำยศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

แม้สลายไปแล้วให้เกิดขึ้นได้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง

พาราณสี พระโพธิสัตว์เสด็จอุบัติในคัพโภทร แห่งอัครมเหสี

ของพระราชา ในวันเฉลิมพระนาม พระประยูรญาติทั้งหลาย

ได้ทรงตั้งพระนามว่า สีลวกุมาร. พอมีพระชนม์ ๑๖ พรรษา

ก็ทรงศึกษาศิลปะสำเร็จเสร็จทุกอย่าง ภายหลังพระราชบิดา

สวรรคต ก็ดำรงราชได้รับเฉลิมพระนามว่า "มหาสีลวราช"

ทรงประพฤติธรรม ทรงเป็นพระธรรมราชา. พระองค์รับสั่ง

ให้สร้างโรงทานไว้ ๖ โรง คือ ๔ โรงที่ประตูพระนครทั้ง ๔ ด้าน

๑ โรงท่ามกลางพระนคร ๑ โรงที่ประตูพระราชวัง ทรงให้ทาน

แก่คนกำพร้า และคนเดินทาง ทรงรักษาศีล ถืออุโบสถ ทรง

สมบูรณ์ด้วยพระขันติ พระเมตตาและพระกรุณา ทรงให้สรรพ-

สัตว์แช่มชื่น ประดุจยังพระโอรสผู้ประทับนั่งเหนือพระเพลา

ให้แช่มชื่นฉะนั้น ทรงครองราชโดยธรรม. มีอำมาตย์ของพระ-

ราชาผู้หนึ่ง ละลาบละล้วงเข้าไปในเขตพระราชฐาน ภายหลัง

ความปรากฏขึ้น อำมาตย์ทั้งหลายพากันกราบทูลให้ทรงทราบ

พระองค์ทรงคอยจับ ก็ทรงทราบโดยประจักษ์ด้วยพระองค์เอง

จึงรับสั่งให้อำมาตย์นั้นเข้ามาเฝ้าแล้ว ตรัสขับไล่ว่า แน่ะ

คนอันธพาล เจ้าทำกรรมไม่สมควรเลย ไม่ควรอยู่ในแว่นแคว้น

ของเรา จงขนเงินทอง และพาลูกเมียของตัวไปที่อื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

อำมาตย์นั้นไปพ้นแคว้นกาสี ถึงแคว้นโกศล เข้ารับ

ราชการกะพระเจ้าโกศล ได้เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยอย่าง

สนิทของพระราชาโดยลำดับ. วันหนึ่งอำมาตย์นั้น กราบทูล

พระเจ้าโกศลว่า ขอเดชะ อันราชสมบัติในกรุงพาราณสี เปรียบ

เหมือนรวงผึ้งที่ปราศจากตัวผึ้ง พระราชาก็อ่อนแอ อาจยึดเอาได้

ด้วยพลพาหนะมีประมาณน้อยเท่านั้น. พระราชาทรงสดับคำ

ของเขาแล้ว ทรงพระดำริว่า ราชสมบัติในกรุงพาราณสีใหญ่โต

แต่อำมาตย์ผู้นี้กล่าวว่า อาจยึดได้ด้วยพลพาหนะมีประมาณ

น้อยเท่านั้น อำมาตย์ผู้นี้ชะรอยจะเป็นคนสอดแนมหรืออย่างไร

น่าสงสัยนัก แล้วมีพระดำรัสว่า ชะรอยเจ้าจะเป็นคนสอดแนม

ละซี. อำมาตย์นั้นกราบบังคมทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า

มิใช่เป็นคนสอดแนม ตามที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลเป็นความ

จริงทั้งนั้น แม้นพระองค์จะไม่ทรงเชื่อข้าพระพุทธเจ้า ก็โปรดส่ง

คนไปปล้นหมู่บ้านชายแดนดูเถิด พระเจ้าพาราณสีจับคนเหล่านั้น

ได้ ก็จักพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์แก่คนเหล่านั้น แล้ว

ทรงปล่อย. พระเจ้าโกศลทรงพระดำริว่า อำมาตย์ผู้นี้พูดจา

องอาจยิ่งนัก เราจักทดลองดูให้รู้แน่นอน แล้วก็ทรงส่งคนของ

พระองค์ไป ให้ปล้นหมู่บ้านชายแดนของพระเจ้าพาราณสี. ราช-

บุรุษจับโจรเหล่านั้นได้ คุมตัวไปถวายพระเจ้าพาราณสี. พระ-

ราชาทอดพระเนตรคนเหล่านั้นแล้ว รับสั่งถามว่า พ่อเอ๋ย เหตุไร

จึงพากันปล้นชาวบ้าน ? คนเหล่านั้นกราบทูลว่า ขอเดชะพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีจะกินจึงปล้น. พระราชารับสั่งว่า เมื่อเป็น

เช่นนี้ เหตุไรจึงไม่พากันมาหาเราเล่า ต่อแต่นี้ไปเบื้องหน้า พวก

เจ้าอย่ากระทำเช่นนี้เลยนะ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วน

พระองค์ก็คนเหล่านั้น แล้วปล่อยตัวไป. คนเหล่านั้นพากันไป

กราบทูล ประพฤติเหตุนั้นแด่พระเจ้าโกศล. แม้จะทรงทราบ

เรื่องถึงขนาดนี้ พระเจ้าโกศลก็มิอาจจะทรงยกกองทัพไป ทรง

ส่งคนไปให้ยื้อแย่งในท้องถนนอีก. แม้พระเจ้าพาราณสี ก็คง

ยังทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ แก่คนเหล่านั้น แล้วทรงปล่อย

ตัวไปอยู่นั่นเอง. ที่นั้นพระเจ้าโกศลจึงทรงทราบว่า พระราชา

เป็นตั้งอยู่ในธรรม ดีเกินเปรียบ จึงทรงยกพลพาหนะเสด็จออก

ไปด้วยหมายพระทัยว่าจักยึดราชสมบัติเมืองพาราณสี.

ก็ในครั้งนั้น พระเจ้าพาราณสี มีนักรบผู้ยิ่งใหญ่อยู่ประมาณ

พันนาย ล้วนแต่กล้าหาญอย่างเยี่ยม ใคร ๆ ไม่อาจทำลายได้

เลย แม้ถึงช้างที่ซับมันจะวิ่งมาตรงหน้า ทุกนายก็สู้ไม่ถอย แม้

ถึงสายฟ้าจะฟาดลงมาที่ศีรษะ ทุกนายก็ไม่สะดุ้งหวาดเสียว

ล้วนแต่สามารถจะยึดราชสมบัติทั่วชมพูทวีปมาถวายได้ ในเมื่อ

พระเจ้าสีลวมหาราช ทรงพอพระราชหฤทัย. นักรบเหล่านั้น

ฟังข่าวว่า พระเจ้าโกศลยกทัพมา พากันเข้าเฝ้าพระราชา

กราบทูลว่า ขอเดชะ ข่าวว่า พระเจ้าโกศลหมายพระทัยว่า จะ

ยึดครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ยกกองทัพมา ข้าพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายของพระราชทานพระบรมราชานุญาต ยกไปจับองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

โกศลราชเฆี่ยนเสีย มิให้รุกล้ำล่วงรัฐสีมา ของข้าพระพุทธเจ้า

ได้ทีเดียว. พระเจ้าพาราณสีทรงห้ามว่า พ่อทั้งหลาย ฉันไม่

ต้องการให้คนอื่นลำบากเพราะฉันเลย เมื่อพระเจ้าโกศลอยากได้

ราชสมบัติ ก็เชิญมายึดครองเถิด พวกท่านทั้งหลาย อย่าไปต่อสู้

เลย. พระเจ้าโกศลกรีฑาพลล่วงรัฐสีมาเข้ามายังชนบทชั้นกลาง

พวกอำมาตย์สูรมหาโยธา ก็พากันเข้าเฝ้าพระราชา พร้อมกับ

กราบทูลเช่นนั้นอีกครั้งหนึ่ง. พระราชาก็ทรงห้ามไว้เหมือน

ครั้งแรกนั่นแล. พระเจ้าโกศลยกพลมาตั้งประชิดภายนอกพระนคร

ทีเดียว พลางส่งพระราชสาสน์ มาถึงพระเจ้าสีลวมหาราชว่า

จะยอมยกราชสมบัติให้หรือจักรบ. พระเจ้าสีลวมหาราช ส่ง

พระราชสาสน์ตอบไปว่า เราไม่รบกับท่าน เชิญยึดครองราช-

สมบัติเถิด. พวกอำมาตย์พร้อมกันเข้าเฝ้าพระราชาอีกครั้งหนึ่ง

กราบทูลว่า ขอเดชะ พวกข้าพระพุทธเจ้าจะไม่ยอมให้ พระเจ้า

โกศลเข้าเมืองได้ จะพร้อมกันจับเฆี่ยนเสีย ที่นอกพระนครนั่น

แหละ. พระราชาก็ทรงตรัสห้ามเสียเหมือนครั้งก่อน มีพระกระแส

รับสั่งให้เปิดประตูเมืองทุกด้านแล้ว ก็ประทับเหนือพระราช-

บัลลังก์ในท้องพระโรง พร้อมด้วยอำมาตย์พันนาย. พระเจ้า

โกศลเสด็จเข้าสู่กรุงพาราณสีพร้อมด้วยพลและพาหนะมากมาย.

มิได้ทอดพระเนตรเห็นที่จะเป็นศัตรูตอบโต้แม้สักคนเดียว ก็

เสด็จสู่ทวารพระราชวัง แวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ เสด็จขึ้นสู่

ท้องพระโรง อันประดับตกแต่งแล้ว ในพระราชวังอันมีทวาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

เปิดไว้แล้ว มีพระกระแสรับสั่งให้จับพระเจ้าสีลวมหาราช ผู้

ปราศจากความผิด ซึ่งประทับนั่งอยู่นั้นพร้อมด้วยอำมาตย์ทั้งพัน

พลางตรัสว่า พวกเจ้าจงไป มัดพระราชานี้กับพวกอำมาตย์ เอา

มือไพล่หลัง มัดให้แน่น แล้วนำไปสู่ป่าช้าผีดิบ ขุดหลุมให้ลึก

เพียงคอ เอาคนเหล่านี้ฝังลงไปแค่คอ กลบเสียไม่ให้ยกมือขึ้นได้

สักคนเดียว ในเวลากลางคืนพวกหมาจิ้งจอกมันพากันมาแล้ว

จักช่วยกันกระทำกิจที่ควรทำแก่คนเหล่านี้เอง. พวกมนุษย์

ทั้งหลาย ฟังคำอาญาสิทธิ์ของโจรราชแล้ว ก็ช่วยกันมัดพระราชา

และหมู่อำมาตย์ ไพล่หลังอย่างแน่นหนา พาออกไป.

แม้ในกาลนั้น พระเจ้าสีลวมหาราช ก็มิใช่ทรงอาฆาต

ก็โจรราช แม้แต่น้อยเลย ถึงบรรดาอำมาตย์แม้เหล่านั้น ที่ถูก

จับมัดจูงไปทำนองเดียวกัน ก็มิได้มีสักคนเดียวที่จะชื่อว่าบังอาจ

ทำลายพระดำรัสของเจ้านายตน. ได้ยินว่า บริษัทของพระเจ้า

สีลวมหาราชนั้น มีวินัยดีอย่างนี้. ครั้งนั้นราชบุรุษของโจรราช

พวกนั้น ครั้นพาพระเจ้าสีลวมหาราช พร้อมด้วยอำมาตย์ไปถึง

ป่าช้าผีดิบแล้ว ก็ช่วยกันขุดหลุมลึกเพียงคอ จักพระเจ้าสีลว-

มหาราชลงหลุมอยู่ตรงกลาง จับพวกอำมาตย์ที่เหลือแม้ทุกคน

ใส่ในหลุมสองข้าง เอาดินร่วน ๆ ใส่ทุบจนแน่น แล้วพากันมา.

พระเจ้าสีลวมหาราช ตรัสเรียกพวกอำมาตย์ พระราชทานโอวาท

ว่า พ่อคุณเอ๋ย พวกเจ้าทุกคน จงเจริญเมตตาอย่างเดียว อย่าทำ

ความขุ่นเคืองในโจรราช.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

ครั้นถึงเวลาเที่ยงคืน ฝูงหมาจิ้งจอก ต่างก็คิดมุ่งจะกัดกิน

เนื้อมนุษย์ พากันวิ่งมา พระราชาและหมู่อำมาตย์เห็นฝูงหมา-

จิ้งจอกนั้นแล้ว ก็เปล่งเสียงเป็นเสียงเดียวกันทีเดียว. ฝูงหมา-

จิ้งจอกต่างกลัว พากันหนีไป. ครั้นมันเหลียวกลับมาดู ไม่เห็นมี

ใครตามหลังมา ก็พากันกลับมาใหม่. พระราชาและหมู่อำมาตย์

ก็ตะเพิดมันด้วยวิธีนั้น. พวกมันพากันหนีไปถึง ๓ ครั้ง หันมา

ดูอีก รู้อาการที่คนเหล่านั้นแม้แต่คนเดียวก็ตามมาไม่ได้ จึง

สันนิษฐานว่า คนเหล่านี้จักต้องถูกฆ่าแล้ว จึงกล้าย้อนกลับไป

ถึงคนเหล่านั้น จะทำเสียงเอะอะอีก ก็ไม่หนีไป. จิ้งจอกตัวจ่าฝูง

รี่เข้าหาพระราชา ตัวที่เหลือก็พากันไปใกล้พวกอำมาตย์ พระ-

ราชาทรงฉลาดในอุบาย ทรงทราบอาการที่หมาจิ้งจอกนั้นมา

ใกล้พระองค์ ก็ทรงเงยพระศอขึ้น เหมือนกับให้ช่องที่มันจะกัด

ได้ พอมันจะงับพระศอ ก็ทรงกดไว้ด้วยพระหนุอย่างแน่นหนา

ประดุจทับไว้ด้วยหีบยนต์ หมาจิ้งจอกถูกพระราชาผู้ทรงพระ

กำลังดุจช้างสาร กดที่คอด้วยพระหนุอย่างแน่นหนา ไม่สามารถ

จะดิ้นหลุดได้ ก็กลัวตาย จึงร้องดังโหยหวน. ฝูงหมาจิ้งจอก

บริวารได้ยินเสียงนายของตนแล้ว พากันคิดว่า ชะรอยจิ้งจอก

ผู้เป็นนายจักถูกชายผู้นั้นจับไว้ได้ จึงไม่อาจเข้าใกล้หมู่อำมาตย์

ต่างก็กลัวตาย พากันหนีไปหมด. เมื่อหมาจิ้งจอกถูกพระราชา

กดไว้แน่นหนาด้วยพระหนุ เหมือนกับไว้ด้วยหีบยนต์ ดิ้นรน

ไปมาทำให้ดินร่วนที่ทุบไว้แน่น ๆ หลวมตัวได้ ทั้งมันเองก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

กลัวตาย จึงเอาเท้าทั้ง ๔ ตะกุยดินที่กลบพระราชาไว้. พระองค์

ทรงทราบอาการที่ดินหลวมตัวแล้ว ก็ทรงปล่อยหมาจิ้งจอกไป.

พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยกำลังกายดังช้างสาร สมบูรณ์ด้วย

กำลังใจ โคลงพระองค์ไปมา ก็ยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นมาได้

ทรงเหนี่ยวปากหลุมถอนพระองค์ขึ้นได้ เหมือนวลาหกต้องกระจาย

ด้วยแรงลมฉะนั้น ดำรงพระองค์ได้แล้ว ก็ทรงปลอบหมู่อำมาตย์

ทรงคุ้ยดิน ช่วยให้ขึ้นจากหลุมได้ทั่วกัน พระองค์มีหมู่อำมาตย์

แวดล้อม ประทับอยู่ในป่าช้าผีดิบนั่นเอง.

สมัยนั้น พวกมนุษย์เอาศพไปทิ้งที่ป่าช้าผีดิบ แต่ทิ้งตรง

ที่คาบเกี่ยว แดนยักษ์ ๒ ตน. ยักษ์ทั้ง ๒ ตนนั้น ไม่อาจแบ่ง

มนุษย์ที่ตายแล้วนั้นได้ เกิดวิวาทกันแล้วพูดกันว่า เราทั้งสอง

ไม่สามารถแบ่งกันได้ พระเจ้าสีลวมหาราชพระองค์นี้เป็นผู้

ทรงธรรมพระองค์นี้ จักทรงแบ่งพระราชทานแก่เราได้ พวก

เราจงไปสู่สำนักของพระองค์ แล้วก็จับมนุษย์ผู้ตายแล้วนั้นที่

เท้าคนละข้าง ลากไปถึงสำนักของพระราชา แล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงทรงแบ่งร่างมนุษย์ผู้ตายนี้ แก่

ข้าพระองค์ทั้งสองด้วยเถิด. พระเจ้าสีลวมหาราชรับสั่งว่า ดูก่อน

ยักษ์ผู้เจริญ เราจะช่วยแบ่งร่างมนุษย์นี้ให้ท่านทั้งสอง แต่เรา

ยังมีร่างกายไม่สะอาด ต้องอาบน้ำก่อน. ยักษ์ทั้งสองก็ไปเอาน้ำ

ที่อบไว้สำหรับโจรราช มาด้วยอานุภาพของตน ถวายให้พระเจ้า-

สีลวมหาราชสรง แล้วไปเอาผ้าสาฎกของโจรราช ที่พันเก็บไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

เป็นผ้าทรงของท้าวเธอ มาถวายให้ทรง แล้วไปนำเอาผอบพระ-

สุคนธ์ อันปรุงด้วยคันธชาต ๔ ชนิด มาถวายให้ทรงชะโลมองค์

แล้วไปเอาดอกไม้ต่าง ๆ ที่เก็บไว้ในผอบทองและผอบแก้ว มา

ถวายให้ทรงประดับ ครั้นพระเจ้าสีลวมหาราชทรงประดับ

ดอกไม้แล้วประทับยืน ยักษ์ทั้งสองก็กราบทูลถามว่า ข้าพระองค์

ต้องทำอะไรอีกพระเจ้าข้า. พระเจ้าสีลวมหาราช ทรงแสดง

พระอาการว่า พระองค์หิว. ยักษ์ทั้งสองก็ไปนำโภชนาหาร

ที่เลิศรส นานาชนิด ที่เขาจัดเตรียมไว้สำหรับโจรราชมาถวาย.

พระเจ้าสีลวมหาราช ทรงสนานพระกาย แต่งพระองค์ ทรง

เครื่องเรียบร้อยแล้ว ก็เสวยพระกระยาหาร ยักษ์ทั้งสองก็ไป

นำน้ำดื่มที่อบแล้ว กับพระเต้าทองพร้อมทั้งขันทอง ที่เขาจัดไว้

สำหรับโจรราช มาถวายให้ทรงดื่ม ครั้นทรงดื่ม บ้วนพระโอษฐ์

และชำระพระหัตถ์แล้ว ก็พากันไปนำพระศรี (ใบพลู) อันปรุง

ด้วยคันธชาต ๕ ประการ ที่จัดไว้สำหรับโจรราชมาถวายให้

ทรงเคี้ยว เสร็จแล้วก็ทูลถามว่า จะให้ข้าพระองค์ทั้งสองกระทำ

อะไรอีกพระเจ้าข้า รับสั่งว่า จงไปนำพระขรรค์อันเป็นมงคล

ที่เก็บไว้บนหัวนอนของโจรราชมา ยักษ์ทั้งสองก็ไปนำมาถวาย

พระเจ้าสีลวมหาราช ทรงรับพระขรรค์ ทรงตั้งซากศพนั้นให้

ตรง ทรงฟันกลางกระหม่อม ผ่าแบ่งเป็นสองซีก พระราชทาน

แก่ยักษ์ทั้งสองคนละเท่า ๆ กัน ครั้นแล้วทรงชำระพระขรรค์

เหน็บไว้ที่พระองค์. ฝ่ายยักษ์ทั้งสองกินเนื้อมนุษย์แล้ว ก็อิ่มเอิบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

ดีใจ พากันทูลถามว่า ข้าพระองค์ทั้งสองต้องทำอะไรถวายอีก.

พระเจ้าสีลวมหาราช ทรงรับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าทั้งสองจง

แสดงอานุภาพ พาเราไปไว้ในห้องสิริไสยาศน์ ของโจรราช

และพาหมู่อำมาตย์เหล่านี้ไปไว้ที่เรือนของตน ๆ เถิด. ยักษ์

ทั้งสองรับกระแสพระดำรัส แล้วพากันปฏิบัติตามนั้น.

ครั้งนั้น โจรราชบรรทมหลับเหนือพระแท่นสิริไสยาศน์

ในห้องอันทรงสิริงดงาม พระเจ้าสีลวมหาราช ก็ทรงเอาแผ่น

พระขรรค์ประหารพระอุทรโจรราช ผู้กำลังหลับอย่างลืมตัว.

ท้าวเธอตกใจตื่นบรรทม ทรงจำพระเจ้าสีลวมหาราชได้ด้วย

แสงประทีป เสด็จลุกจากพระยี่ภู่ ดำรงพระสติมั่น ตรัสกับ

พระเจ้าสีลวมหาราชว่า มหาราชะ ยามราตรีเช่นนี้ ในวังปิด

ประตู มีผู้รักษากวดขัน ทุกแห่งไม่มีว่างเว้นจากเวรยาม พระองค์

เสด็จมาถึงที่นอนนี้ได้อย่างไรกัน ? พระเจ้าสีลวมหาราช ตรัส

เล่าถึงการเสด็จมาของพระองค์ ให้ฟังทั้งหมดโดยพิสดาร โจรราช

สดับเรื่องนั้นแล้วสลดพระทัยนัก ตรัสว่า มหาราชะ ถึงหม่อมฉัน

จะเป็นมนุษย์ ก็มิได้ทราบซึ้งพระคุณสมบัติของพระองค์เลย

แต่พวกยักษ์อันกินเลือดเนื้อของคนอื่น หยาบคายร้ายกาจ ยังรู้

ถึงพระคุณสมบัติของพระองค์ ข้าแต่พระจอมคน คราวนี้ หม่อมฉัน

จะไม่คิดประทุษร้ายในพระองค์ผู้สมบูรณ์ด้วยศีลเช่นนี้อีก พลาง

ทรงจับพระขรรค์ ทำการสบถ กราบทูลขอขมากับพระเจ้า-

สีลวมหาราช เชิญให้เสด็จบรรทมเหนือพระยี่ภู่ใหญ่ พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

เองบรรทมเหนือพระแท่นน้อย ครั้นสว่างแล้ว ดวงอาทิตย์อุทัย

แล้ว ก็ให้คนนำกลองไปเที่ยวตีประกาศ ให้บรรดาเสนาทุกหมู่

เหล่า และอำมาตย์ พราหมณ์ คฤหบดี ประชุมกัน ตรัสสรรเสริญ

พระคุณของพระเจ้าสีลวะ เปรียบเหมือนทรงชูดวงจันทร์เพ็ญ

ในอากาศขึ้นข้างหน้าของคนเหล่านั้น ทรงขอขมาพระเจ้าสีลวะ

ท่ามกลางบริษัทนั้นอีกครั้งหนึ่ง ทรงเวนคืนราชสมบัติตรัสว่า

ตั้งแต่บัดนี้ไป อุปัทวันตรายที่เกิดแต่โจรผู้ร้าย อันจะบังเกิดแก่

พระองค์ หม่อมฉันขอรับภาระกำจัด ขอพระองค์ทรงเสวยราชย์

โดยมีหม่อมฉันเป็นผู้อารักขาเถิด แล้วทรงลงอาญาแก่อำมาตย์

ผู้ส่อเสียด รวบรวมพลพาหนะ เสด็จไปสู่แว่นแคว้นของพระองค์.

ฝ่ายพระเจ้าสีลวมหาราช ทรงประดับด้วยราชอลังการ

ประทับนั่งเหนือกาญจนบัลลังก์ มีเท้ารองด้วยหนังชะมด ภาย

ใต้พระเศวตฉัตร์ ทอดพระเนตรดูราชสมบัติของพระองค์ ทรง

พระดำริว่า สมบัติอันโอฬารปานนี้ และการกลับได้คืนชีวิต

ของอำมาตย์ ทั้งพันคน แม้นเราไม่กระทำความเพียร จักไม่มี

เลยสักอย่างเดียว แต่ด้วยกำลังของความเพียร เราจึงได้คืนยศนี้

ซึ่งเสื่อมไปแล้ว และได้ให้ชีวิตทานแก่อำมาตย์หนึ่งพัน บุคคล

ไม่ควรสิ้นหวังเสียเลย ควรกระทำความเพียรถ่ายเดียว เพราะ

ผู้ที่กระทำความเพียรแล้ว ย่อมสำเร็จผลอย่างนี้ แล้วตรัสคาถานี้

ด้วยสามารถแห่งอุทาน ความว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

"บุรุษผู้เป็นบัณฑิต พึงหวังอยู่ร่ำไป ไม่

พึงเบื่อหน่าย เราประจักษ์ด้วยตนเอง ว่าปรารถนา

อย่างใด ก็ได้เป็นอย่างนั้นแล้ว" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสึเสเถว ปุริโส ความว่า บุรุษผู้

เป็นบัณฑิต ต้องกระทำความหวังไว้ด้วยกำลังความเพียรของตน

ว่า เมื่อเราปรารภความเพียรอยู่อย่างนี้ จักพ้นจากทุกข์นี้ ดังนี้.

บทว่า น นิพฺพินฺเทยฺย ปณฺฑิโต ความว่า บุรุษได้นามว่า

เป็นบัณฑิต คือเป็นผู้ฉลาดในอุบาย เมื่อกระทำความเพียรในที่ ๆ

ต้องขะมักเขม้น ไม่พึงเบื่อหน่าย คือไม่ควรทำการตัดความหวัง

เสียว่า เราจักไม่ได้ผลของความเพียรนี้เลย ดังนี้.

บทว่า โว ในบทว่า ปสฺสานิ โวห อตฺตาน นี้เป็นเพียง

นิบาต ได้ความว่า วันนี้เราเห็นตนเองเป็นประจักษ์พยาน.

บทว่า ยถา อิจฺฉึ ตถา อหุ ความว่า (เราเห็นตนเป็น

ตัวอย่างอยู่) ว่า ก็เราถูกฝังไว้ในหลุมแท้ ๆ ยังพ้นจากทุกข์ได้

ครั้นปรารภสมบัติของตนอีกเล่า เรานั้นก็เห็นตนเอง ลุถึงสมบัติ

นี้แล้ว ในครั้งก่อนเราปรารถนาไว้อย่างใดเล่า ตนของเราก็เป็น

อย่างนั้นแล้วแล ดังนี้.

พระโพธิสัตว์ครั้นตรัสว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ธรรมดา

ผลแห่งความเพียร ของท่านผู้สมบูรณ์ด้วยศีลทั้งหลาย ย่อม

สำเร็จได้อย่างน่าอัศจรรย์จริง ๆ ดังนี้ ทรงเปล่งอุทานด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

คาถานี้ ทรงกระทำบุญทั้งหลายตลอดพระชนม์ แล้วก็เสด็จไป

ตามยถากรรม ด้วยประการฉะนี้.

พระบรมศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว

ตรัสประกาศ จตุราริยสัจแล้ว ในเมื่อจบจตุราริยสัจ ภิกษุผู้มี

ความเพียรย่อหย่อน ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล. พระบรมศาสดา

ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า อำมาตย์ชั่วในครั้งนั้น ได้มาเป็น

พระเทวทัตในบัดนี้ อำมาตย์หนึ่งพันได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วน

พระเจ้าสีลวมหาราช ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามหาสีลวชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

๒. จูฬชนกชาดก

เป็นคนควรพยายามร่ำไป

[๕๒] "บุรุษผู้เป็นบัณฑิต ควรมุ่งหมายไปจน

กว่าจะสำเร็จผล ไม่ควรท้อถอย ดูเราขึ้นจากน้ำ

สู่บกได้เป็นตัวอย่างเถิด"

จบ จูฬชนกชาดกที่ ๒

อรรถกถาจูฬชนกชาดกที่ ๒

พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-

วิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มีความเพียรย่อหย่อนเหมือนกัน ตรัส

พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "วายเมเถว ปุริโส" ดังนี้.

เรื่องที่จะกล่าวในชาดกนี้นั้นทั้งหมด จักมีแจ้งในมหา-

ชนกชาดก.

ก็พระราชาประทับนั่งภายใต้พระเศวตรฉัตร แล้วตรัส

พระคาถานี้ ความว่า

"บุรุษผู้เป็นบัณฑิต พึงพยายามร่ำไป ไม่

พึงเบื่อหน่าย เราประจักษ์ด้วยตนเอง ที่ว่ายน้ำ

ขึ้นบกได้" ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วายเมเถว ความว่า บุรุษผู้เป็น

บัณฑิต ต้องกระทำความพยายามอยู่เรื่อยไป.

บทว่า อุทกา ถลมุพฺภต ความว่า เราเห็นประจักษ์ตน

เองว่า พ้นจากน้ำขึ้นสู่บนบกได้ คือตั้งอยู่บนบกได้.

บัดนี้ ภิกษุผู้มีความเพียรย่อหย่อน บรรลุพระอรหัตผล

แล้ว. พระเจ้าชนกราช ได้มาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาจูฬชนกชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

๓. ปุณณปาติชาดก

การกล่าวถ้อยคำ ที่ไม่จริง

[๕๓] "ไหสุราทั้งหลาย ยังเต็มอยู่ตามเดิม ถ้อย

คำที่ท่านกล่าวนี้ ไม่เป็นจริง เราจึงรู้ด้วยเหตุนี้

ว่า สุรานี้เป็นสุราไม่ดีแน่นอน"

จบ ปุณณปาติชาดกที่ ๓

อรรถกถาปุณณปาติชาดกที่ ๓

พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-

วิหาร ทรงปรารภเหล้าเจือยาพิษ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า ตเถว ปุณฺณปาติโย ดังนี้.

สมัยหนึ่ง พวกนักเลงสุราในเมืองสาวัตถี ชุมนุมปรึกษา

กันว่า ทุนค่าซื้อสุราของพวกเราหมดแล้ว จักหาที่ไหนได้เล่า ?

ขณะนั้น นักเลงกักขฬะคนหนึ่ง กล่าวว่าอย่าไปคิดถึงเลย อุบาย

ยังมีอยู่อย่างหนึ่ง. พวกนักเลงพากันถามว่า อุบายอย่างไร ?

นักเลงกักขฬะบอกว่า ท่านอนาถบิณฑิกะใส่แหวนหลายวง นุ่งผ้า

เนื้อเกลี้ยง ไปเฝ้าในหลวง พวกเราเอายาเบื่อใส่ในไหสุรา พากัน

นั่งเตรียมการดื่ม เวลาท่านอนาถบิณฑิกะมา ก็เชิญท่านว่า เชิญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

ทางนี้ครับ ท่านมหาเศรษฐี แล้วให้ท่านดื่ม เมื่อสลบแล้ว ก็ริบ

แหวนกับผ้านุ่ง ทำทุนซื้อเหล้ากินได้. นักเลงเหล่านั้นรับรองว่า

ดีจริง ๆ ชวนกันทำอย่างนั้น เวลาท่านเศรษฐีเดินมา ก็เดินสวน

ทางไป พลางกล่าวว่า นายขอรับ เชิญมาทางนี้ก่อนเถิดครับ

สุราในวงของพวกข้าพเจ้า น่าชื่นใจยิ่งนัก เชิญดื่มสักหน่อย

ค่อยไปเถิดครับ. ท่านอนาถบิณฑิกะ เป็นโสดาบันอริยสาวก

จักดื่มสุราได้อย่างไร แม้ถึงท่านจะไม่ต้องการ ก็คิดจักจับ

ไหวพริบพวกนักเลงเหล่านั้น จึงเดินไปถึงที่ซึ่งจัดเป็นที่ดื่ม

ชำเลืองดูกิริยาของพวกนั้น ก็ทราบว่าพวกนี้ปรุงสุรานี้ไว้ด้วย

เหตุ ชื่อนี้ แล้วดำริต่อไปว่า ตั้งแต่บัดนี้ไป ต้องไล่พวกนี้ให้หนีไป

จากที่นี้ ดังนี้ แล้วพูดว่า แนะเฮ้ย เจ้าพวกนักเลงสุราชั่วร้าย

พวกเจ้าเอายาเบื่อใส่ในไหเหล้า แล้วคบคิดกัน ให้คนที่มาพากัน

ดื่มสลบไสล แล้วก็ปล้นเขาเสียดังนี้ จัดตั้งวงดื่มนั่งรอคุยอวด

แต่สุรานี้อย่างเดียว ใคร ๆ แม้สักคนเดียวก็ไม่กล้ายกเหล้านี้

ขึ้นดื่ม ถ้าเหล้านี้ไม่ผสมยาเบื่อแล้วไซร้ พวกเจ้าต้องดื่มกันบ้าง

เป็นแน่ ท่านเศรษฐีขู่นักเลงเหล่านั้นให้หนีไปจากที่นั้น แล้วก็

ไปบ้านของตน ได้คิดว่า จักต้องกราบทูลเหตุที่พวกนักเลง

กระทำให้พระตถาคตทรงทราบ จึงไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร

กราบทูลพระศาสดาให้ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน

คฤหบดี มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พวกนักเลงเหล่านั้นประสงค์

จะหลอกลวงเธอ ถึงในครั้งก่อน ก็ได้มีประสงค์จะหลอกลวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

บัณฑิตทั้งหลายมาแล้ว ท่านเศรษฐีกราบทูลอาราธนา จึงทรง

นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง

พาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพาราณสีเศรษฐี. แม้

ในครั้งนั้น พวกนักเลงเหล่านั้น ก็ปรึกษากันอย่างนี้แหละปรุง

สุราไว้ เวลาท่านพาราณเศรษฐีเดินมา ก็เดินสวนทางชวนพูด

ทำนองเดียวกันทีเดียว. ท่านเศรษฐีแม้ไม่มีความประสงค์จะดื่ม

ก็อยากจะจับเล่ห์เหลี่ยมพวกนั้น จึงไป ครั้นดูกิริยาของพวก

นักเลงเหล่านั้นแล้ว ก็คิดว่า พวกนักเลงเหล่านี้ มุ่งจะทำสิ่งนี้

เราต้องไล่มันไปจากที่นี่ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า พ่อนักเลงผู้เจริญ

ทั้งหลาย ธรรมดาการที่จะดื่มสุราแล้วเข้าเฝ้าในหลวงไม่ควร

เลย เราไปเฝ้าในหลวงแล้วจะมาใหม่ พวกท่านจงนั่งรออยู่ใน

ที่นี่แหละ. ครั้นไปเฝ้าในหลวงแล้วก็กลับมา. พวกนักเลงทั้งหลาย

พากันกล่าวว่า เชิญทางนี้เถิดครับท่าน. เศรษฐีไปที่นั้นแล้ว

มองดูไหเหล้าที่ผสมยา แล้วพูดว่า พ่อนักเลงเจริญทั้งหลาย

การกระทำของพวกเจ้าไม่ถูกใจเราเลย ไหเหล้าของพวกเจ้ายัง

เต็มอยู่ตามเดิม พวกเจ้าคุยอวดสุราอย่างเดียว แต่ไม่ดื่มกันเลย

ถ้าเหล้านี้ชื่นใจจริง ๆ พวกเจ้าก็ต้องดื่มกันบ้าง แต่เหล้านี้พวก

เจ้า ต้องผสมยาพิษลงไปเป็นแน่ เมื่อจะทำลายมโนรถ ของพวก

นักเลงเหล่านั้น จึงกล่าวคาถานี้ ใจความว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

"ไหเหล้าคงเต็มอยู่อย่างนั้นเอง ถ้อยคำ

ที่ท่านกล่าว คงเป็นคำหลอกลวง เรารู้ทันว่าสุรา

นี้ไม่ดีแน่นอน" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเถว ความว่า เวลาที่เราไป

เห็นไหเหล้าเป็นอย่างใด แม้ในบัดนี้ ไหเหล้านี้ก็คงเต็มเปี่ยม

อย่างนั้น.

บทว่า อญฺาย วตฺตเต วตฺตเต กถา ความว่า ถ้อยคำ

สรรเสริญเหล้าของพวกเจ้า เป็นคำหลอกลวง คือเป็นคำไม่จริง

ได้แก่เหลวทั้งเรื่อง เพราะถ้าสุรานี้ดีจริง ๆ พวกเจ้าต้องดื่มกัน

จะพึงเหลือเพียงค่อนไห แต่พวกเจ้าไม่ได้ดื่มกินแม้แต่คนเดียว.

บทว่า อการเกน ชานามิ ความว่า เพราะฉะนั้น เราจึงรู้

ด้วยเหตุนี้.

บทว่า เนวาย ภทฺทกา สุรา ความว่า สุรานี้ไม่ดีแน่นอน

ต้องเป็นสุราผสมยาพิษ.

ท่านเศรษฐี ข่มขู่พวกนักเลง คุกคามไม่ให้คนเหล่านั้น

ทำอย่างนี้อีก แล้วปล่อยไป. กระทำบุญมีให้ทานเป็นต้น ตลอด

ชีวิต แล้วก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสประชุม

ชาดกว่า พวกนักเลงในครั้งนั้น ได้มาเป็นพวกนักเลงในครั้งนี้

ส่วนพาราณสีเศรษฐี ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปุณณปาติชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

๔. ผลชาดก

ว่าด้วยการฉลาดดูผลไม้

[๕๔] ต้นไม้นี้ขึ้นก็ไม่ยาก ทั้งอยู่ไม่ไกลบ้าน

เราจึงรู้ได้ด้วยเหตุนี้ว่า ต้นไม้นี้ไม่ใช่ต้นไม้มี

ผลอร่อย.

จบ ผลชาดกที่ ๔

อรรถกถาผลชาดกที่ ๔

พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-

วิหาร ทรงปรารภอุบาสกผู้ฉลาดดูผลไม้คนหนึ่ง ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นาย รุกฺโข ทุรารุโห ดังนี้.

ได้ยินมาว่า กุฎุมพีชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง นิมนต์

ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้นั่งในสวนของตน

ถวายข้าวยาคู และของขบฉันแล้ว สั่งคนเฝ้าสวนว่า เจ้าจง

เที่ยวไปในสวนกับภิกษุทั้งหลาย ถวายผลไม้ต่าง ๆ มีมะม่วง

เป็นต้น แก่พระคุณเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด. คนเฝ้าสวนรับคำแล้ว

พาภิกษุสงฆ์เที่ยวไปในสวนดูต้นไม้ รู้จักผลไม้ด้วยความชำนาญ

ว่า ผลนั้นดิบ ผลนั้นยังไม่สุกดี ผลนั้นสุกดี เขาพูดอย่างใด

ก็เป็นอย่างนั้นทั้งนั้น. ภิกษุทั้งหลายไปกราบทูลแต่พระตถาคต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ. คนเฝ้าสวนผู้นี้ฉลาดดูผลไม้ ถึงยืน

อยู่ที่แผ่นดิน มองดูผลไม้แล้ว ก็รู้ได้ว่า ผลนั้นดิบ ผลนั้นยังไม่สุก

ดี ผลนั้นสุกดี เขาพูดอย่างใด ก็เป็นอย่างนั้นทั้งนั้น. พระศาสดา

ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนเฝ้าสวนนี้ไม่ใช่เป็นผู้ฉลาดดูผลไม้

เพียงคนเดียวเท่านั้น. ในครั้งก่อนบัณฑิตทั้งหลาย ที่ฉลาดดู

ผลไม้ ก็ได้เคยมีมาแล้ว ทรงนำเอาเรื่องอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-

พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพ่อค้าเกวียน เจริญวัย

แล้วทำการค้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม คราวหนึ่งไปถึงดงลึก จึง

ตั้งพักอยู่ปากดง เรียกคนทั้งหมดมาประชุม พลางกล่าวว่า

ในดงนี้ขึ้นชื่อว่า ต้นไม้ที่มีพิษ ย่อมมีอยู่ มีใบเป็นพิษก็มี มีดอก

เป็นพิษก็มี มีผลเป็นพิษก็มี มีรสหวานเป็นพิษก็มี มีอยู่ทั่วไป

พวกท่านต้องไม่บริโภคก่อน ยังไม่บอก ใบ ผล ดอกอย่างใด

อย่างหนึ่งกะเราแล้วอย่าขบเคี้ยวเป็นอันขาด. พวกนั้นรับคำแล้ว

พร้อมกันย่างเข้าสู่ดง. ก็ที่ปากดง มีต้นกิงผลพฤกษ์อยู่ที่ประตูบ้าน

แห่งหนึ่ง ลำต้น กิ่ง ใบอ่อน ดอกผลทุก ๆ อย่างของต้นกิงผลพฤกษ์

นั้น เช่นเดียวกันกับมะม่วงไม่ผิดเลย ใช่แต่เท่านั้นก็หาไม่ ผลดิบ

และผลสุก ยังเหมือนกับมะม่วง ทั้งสีและสัณฐาน ทั้งกลีบ และรส

ก็ไม่แผกกันเลย แต่ขบเคี้ยวเข้าแล้ว ก็ทำให้ผู้ขบเคี้ยวถึงสิ้น

ชีวิตทันทีทีเดียว เหมือนยาพิษชนิดที่ร้ายแรงฉะนั้น พวกที่

ล่วงหน้าไป บางหมู่เป็นคนโลเล สำคัญว่า นี่ต้นมะม่วง ขบเคี้ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

กินเข้าไป บางหมู่คิดว่า ต้องถามหัวหน้าหมู่ก่อน ถึงจักกิน

ก็ถือยืนรอ. พอหัวหน้าหมู่มาถึง ก็พากันถามว่า นาย พวกข้าพเจ้า

จะกินผลมะม่วงเหล่านี้. พระโพธิสัตว์รู้ว่า นี่ไม่ใช่ต้นมะม่วง

ก็ห้ามว่า ต้นไม้นี้ชื่อว่าต้นกิงผลฤกษ์ ไม่ใช่ต้นมะม่วง พวกท่าน

อย่ากิน พวกที่กินเข้าไปแล้ว ก็จัดการให้อาเจียนออกมา และ

ให้ดื่มของหวาน ๔ ชนิด ทำให้ปราศจากโรคไปได้. ก็ในครั้ง

ก่อน พวกมนุษย์พากันหยุดพักที่โคนต้นไม้นี้ ขบเคี้ยวผลอันเป็น

พิษทั้งนี้เข้าไป ด้วยสำคัญว่า เป็นผลมะม่วง พากันถึงความ

สิ้นชีวิต. รุ่งขึ้น พวกชาวบ้านก็พากันออกมา เห็นคนตายก็ช่วย

ฉุดเท้าเอาไปทิ้งในที่รก ๆ แล้วก็ยึดเอาเข้าของ ๆ พวกนั้น

พร้อมทั้งเกวียน ทั้งนั้น พากันไป. ถึงแม้ในวันนั้น พอรุ่งอรุณ

เท่านั้นเอง พวกชาวบ้านเหล่านั้น ก็พูดกันว่า โคต้องเป็นของเรา

เกวียนต้องเป็นของเรา ภัณฑะต้องเป็นของเรา พากันวิ่งไปสู่

โคนต้นไม้นั้น ครั้นเห็นคนทั้งหลายปลอดภัย ต่างก็ถามว่า พวก

ท่านรู้ได้อย่างไรว่า ต้นไม้นี้ไม่ใช่ต้นมะม่วง ? คนเหล่านั้น

ก็ตอบว่า พวกเราไม่รู้ดอก หัวหน้าหมู่ของเราท่านรู้. พวก

มนุษย์จึงถามพระโพธิสัตว์ว่า พ่อบัณฑิตท่านทำอย่างไร จึง

รู้ว่าต้นไม้นี้ไม่ใช่ต้นมะม่วง ? พระโพธิสัตว์บอกว่า เรารู้ด้วย

เหตุ ๒ ประการ แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

" ต้นไม้นี้ คนขึ้นไม่ยาก ทั้งไม่ไกลจาก

หมู่บ้าน เป็นสิ่งบอกเหตุให้เรารู้ว่า ต้นไม้นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

มิใช่ต้นไม้มีผลดี" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาย รุกฺโข ทุรารุโห ความว่า

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ต้นไม้มีพิษนี้ขึ้นไม่ยาก ใคร ๆ ก็อาจ

ขึ้นได้ง่าย ๆ เหมือนมีคนยกพะองขึ้นพาดไว้.

บทว่า นปิ คามโต อารกา ความว่า พระโพธิสัตว์แสดงว่า

ทั้งตั้งอยู่ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้าน คือตั้งอยู่ใกล้ประตูบ้านทีเดียว.

บทว่า อาการเกน ชานามิ ความว่า ด้วยเหตุ ๒ ประการนี้

เราจึงรู้จักต้นไม้นี้.

รู้จักอย่างไร ?

รู้จักว่า ต้นไม้นี้มิใช่ต้นไม้มีผลดี อธิบายว่า ถ้าต้นไม้นี้

มีผลอร่อยเป็นต้นมะม่วงแล้วไซร้ ในเมื่อมันขึ้นได้ง่าย แล้วก็

ตั้งอยู่ไม่ไกลอย่างนี้ ผลของมันจะไม่เหลือเลยแม้สักผลเดียว

ต้องถูกมนุษย์ที่กินผลไม้ รุมกันเก็บเสมอทีเดียว เรากำหนด

ด้วยความรู้ของตนอย่างนี้ จึงรู้ได้ถึงความที่ต้นไม้นี้เป็นต้นไม้

มีพิษ.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่มหาชนแล้ว ก็ไปโดยสวัสดี.

แม้พระบรมศาสดา ก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ใน

ครั้งก่อน บัณฑิตทั้งหลาย ก็ได้เคยเป็นผู้ฉลาดดูผลไม้มาแล้ว

อย่างนี้ ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วอย่างนี้ ทรงสืบ

อนุสนธิประชุมชาดกว่า บริษัทในครั้งนั้นได้มาเป็นพุทธบริษัท

ส่วนพ่อค้าเกวียน ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาผลชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

๕. ปัญจาวุธชาดก

ว่าด้วยการบรรลุธรรมอันเกษม

[๕๕] นรชนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่

เจริญกุศลธรรม เพื่อบรรลุธรรม อันเป็นแดน

เกษมจากโยคะ นรชนนั้น พึงบรรลุธรรมเป็นที่

สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงโดยลำดับ.

จบ ปัญจาวุธชาดกที่ ๕

อรรถกถาปัญจาวุธชาดกที่ ๕

พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-

วิหาร ทรงปรารภภิกษุมีความเพียรย่อหย่อนรูปหนึ่ง ตรัส

พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย อลีเนน จิตฺเตน ดังนี้.

พระบรมศาสดา ตรัสเรียกภิกษุนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุ จริงหรือที่เขาว่า เธอเป็นผู้มีความเพียรย่อหย่อน

เมื่อเธอกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

แม้ในกาลก่อน บัณฑิตทั้งหลาย กระทำความเพียรในที่ ๆ ควร

ประกอบความเพียร ก็ได้บรรลุถึงราชสมบัติได้ แล้วทรงนำ

เอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง

พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในคัพโภทรพระอัครมเหสี

ของพระราชาพระองค์นั้น ในวันที่จะถวายพระนามพระโพธิสัตว์

ราชตระกูลได้เลี้ยงพราหมณ์ ๑๐๘ ให้อิ่มหนำด้วยของที่น่า

ปรารถนาทุก ๆ ประการ แล้วสอบถามลักษณะของพระกุมาร

พวกพราหมณ์ผู้ฉลาดในการทำนายลักษณะ เห็นความสมบูรณ์

ด้วยลักษณะแล้ว ก็พากันทำนายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระ-

กุมารสมบูรณ์ด้วยบุญญาธิการ เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว

จักต้องได้ครองราชสมบัติ จักมีชื่อเสียงปรากฏด้วยการใช้

อาวุธ ๕ ชนิด เป็นอรรคบุรุษในชมพูทวีปทั้งสิ้น. เพราะเหตุ

ได้ฟังคำทำนายของพราหมณ์ทั้งหลาย เมื่อจะขนานพระนาม

ก็เลยขนานให้ว่า "ปัญจาวุธกุมาร". ครั้นพระกุมารนั้นถึงความเป็น

ผู้รู้เดียงสาแล้ว มีพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา พระราชาตรัสเรียกมา

แล้วรับสั่งว่า ลูกรัก เจ้าจงเรียนศิลปศาสตร์เถิด. พระกุมาร

กราบทูลถามว่า กระหม่อมฉันจะเรียนในสำนักของใครเล่า

พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งว่า ไปเถิดลูก จงไปเรียนในสำนัก

อาจารย์ทิศาปาโมกข์ ณ ตักกสิลานคร แคว้นคันธาระ และ

พึงให้ทรัพย์นี้ เป็นค่าบูชาคุณอาจารย์แก่ท่านด้วย แล้วพระ-

ราชทานทรัพย์หนึ่งพันส่งไปแล้ว. พระราชกุมารเสด็จไปใน

สำนักทิศาปาโมกข์นั้น ทรงศึกษาศิลปะ รับอาวุธ ๕ ชนิดที่

อาจารย์ให้ กราบลาอาจารย์ออกจากนครตักกสิลา เหน็บอาวุธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

ทั้ง ๕ กับพระกาย เสด็จดำเนินไปทางเมืองพาราณสี. พระองค์

เสด็จมาถึงดงตำบลหนึ่ง เป็นดงที่สิเลสโลมยักษ์สิงสถิตอยู่.

ครั้นนั้นพวกมนุษย์ เห็นพระกุมารที่ปากดง พากันห้ามว่า

พ่อมาณพผู้เจริญ ท่านอย่าเข้าไปสู่ดงนี้ ในดงนั้นมียักษ์ชื่อ

สิเลสโลมะสิงอยู่ มันทำให้คนที่มันพบเห็นตายมามากแล้ว.

พระโพธิสัตว์ ระวังพระองค์ไม่ครั่นคร้ามเลย มุ่งเข้า

ดงถ่ายเดียว เหมือนไกรสรราชสีห์ ผู้ไม่ครั่นคร้ามฉะนั้น. พอ

ไปถึงกลางดง ยักษ์ตนนั้นมันก็แปลงกาย สูงชั่วลำตาล ศีรษะ

เท่าเรือนยอด นัยน์ตาแต่ละข้างขนาดเท่าล้อเกวียน เขี้ยวทั้งสอง

แต่ละข้าง ขนาดเท่าหัวปลีตูม หน้าขาว ท้องด่าง มือเท้าเขียว

แล้วสำแดงตนให้พระโพธิสัตว์เห็น ร้องว่า เจ้าจะไปไหน ?

หยุดนะ เจ้าต้องเป็นอาหารของเรา. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ตวาด

มันว่า ไอ้ยักษ์ เราเตรียมตัวแล้วจึงเข้ามาในดง เจ้าอย่าเผลอตัว

เข้ามาใกล้เรา เพราะเราจะยิงเจ้าด้วยลูกศรอาบยาพิษ ให้ล้มลง

ตรงนั้นแหละ แล้วใส่ลูกศรอาบยาพิษอย่างแรงยิงไป. ลูกศรไป

ติดอยู่ที่ขนของยักษ์ทั้งหมด. พระโพธิสัตว์ปล่อยลูกศรไปติด ๆ

กัน ลูกแล้ว ลูกเล่า ทะยอยออกไปด้วยอาการอย่างนี้ สิ้นลูกศร

ถึง ๕๐ ลูก ทุก ๆ ลูกไปติดอยู่ที่ขนของมันเท่านั้น ยักษ์สลัด

ลูกศรทั้งหมด ให้ตกลงที่ใกล้ ๆ เท้าของมันนั่นแหละ แล้วรี่เข้า

หาพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์กลับตวาดมันอีก แล้วชักพระ-

ขรรค์ออกฟัน. พระขรรค์ยาว ๓๓ นิ้วก็ติดขนมันอีก. ที่นั้นจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

แทงมันด้วยหอกซัด. แม้หอกซัดก็ติดอยู่ที่ขนนั่นเอง. ครั้นพระ-

โพธิสัตว์ทราบอาการที่มันมีขนเหนียวแล้ว จึงตีด้วยตระบอง

แม้ตระบองก็ไปติดที่ขนของมันอีกนั่นแหละ. พระโพธิสัตว์ทราบ

อาการที่มันมีตัวเหนียวเป็นตัว ก็สำแดงสีหนาทอย่างไม่ครั่นคร้าม

ประกาศก้องร้องว่า เฮ้ยไอ้ยักษ์ เจ้าไม่เคยได้ยินชื่อเรา ผู้ชื่อว่า

ปัญจาวุธกุมารเลยหรือ ? เมื่อเราจะเข้าดงที่เจ้าสิงอยู่ ก็เตรียม

อาวุธมีธนูเป็นต้นเข้ามา เราเตรียมพร้อมเข้ามาแล้วทีเดียว

วันนี้เราจักตีเจ้าให้แหลกเป็นจุณวิจุณไปเลย พลางโถมเข้าต่อย

ด้วยมือข้างขวา มือข้างขวาก็ติดขน ต่อยด้วยมือซ้าย มือซ้ายก็

ติดอีก เตะด้วยเท้าขวา เท้าขวาก็ติด เตะด้วยเท้าซ้าย เท้าซ้าย

ก็ติด คิดว่าต้องกระแทกให้มันแหลกด้วยศีรษะ แล้วก็กระแทก

ด้วยศีรษะ แม้ศีรษะก็ไปติดที่ขนของมันเหมือนกัน. พระโพธิสัตว์

ติดตรึงแล้วในที่ทั้ง ๕ แม้จะห้อยโตงเตงอยู่ ก็ไม่กลัว ไม่สะทก-

สะท้านเลย.

ยักษ์จึงคิดว่า บุรุษนี้เป็นเอก เป็นดุจบุรุษสีหะ เป็น

บุรุษอาชาไนย ไม่ใช่บุรุษธรรมดา ถึงจะถูกยักษ์อย่างเรา

จับไว้ แม้มาดว่าความสะดุ้งก็หามีไม่ ในทางนี้เราฆ่าคนมามาก.

ไม่เคยเห็นบุรุษอย่างนี้สักคนหนึ่งเลย เพราะเหตุไรหนอ บุรุษนี้

จึงไม่กลัว ? ยักษ์ไม่อาจจะกินพระโพธิสัตว์ได้ จึงถามว่า ดูก่อน

มาณพ เพราะเหตุไรหนอท่านจึงไม่กลัวตาย. พระโพธิสัตว์ตอบ

ว่า ยักษ์เอ๋ย ทำไมเราจักต้องกลัว เพราะในอัตภาพหนึ่ง ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

ตายนั้นเป็นของแน่นอนทีเดียว อีกประการหนึ่งในท้องของเรา

มีวชิราวุธ ถ้าเจ้ากินเรา ก็จักไม่สามารถทำให้อาวุธนั้นย่อยได้

อาวุธนั้น จักต้องบาดใส้พุงของเจ้าให้ขาดเป็นชิ้น ๆ เล็กบ้าง

ใหญ่บ้าง ทำให้เจ้าถึงสิ้นชีวิตได้ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ เราก็

ต้องตายกันทั้งสองคน ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่กลัวตาย. นัยว่า คำว่า

วชิราวุธนี้ พระโพธิสัตว์ตรัสหมายถึง อาวุธคือญาณ ในภายใน

ของพระองค์. ยักษ์ฟังคำนั้นแล้วคิดว่า มาณพนี้คงพูดจริงทั้งนั้น

ชิ้นเนื้อเเม้ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว จากร่างกายของบุรุษสีหะ

ผู้นี้ ถ้าเรากินเข้าไปในท้องแล้ว จักไม่อาจให้ย่อยได้ เราจัก

ปล่อยเขาไป ดังนี้แล้ว เกิดกลัวตาย จึงปล่อยพระโพธิสัตว์

กล่าวว่า พ่อมาณพ ท่านเป็นบุรุษสีหะ. เราจักไม่กินเนื้อของ

ท่านละ ท่านพ้นจากเงื้อมมือของเรา เหมือนดวงจันทร์พ้นจาก

ปากราหู เชิญท่านไปเถิด มวลญาติมิตรจะได้ดีใจ. ลำดับนั้น

พระโพธิสัตว์จึงตรัสกะยักษ์ว่า ดูก่อนยักษ์ เราต้องไปก่อน

ส่วนท่าน ได้กระทำอกุศลไว้ในครั้งก่อนแล้ว จึงได้เกิดเป็นผู้

ร้ายกาจ มืออาบด้วยเลือด มีเลือดเนื้อของคนอื่นเป็นภักษา

แม้ถ้าท่านดำรงอยู่ในอัตภาพนี้ ยังจักกระทำอกุศลกรรมอยู่อีก

ก็จักไปสู่ความมืดมน จากความมืดมน นับแต่ท่านพบเราแล้ว

เราไม่อาจปล่อยให้ท่านทำอกุศลกรรมอยู่ได้ แล้วจึงตรัสโทษ

ของทุศีลกรรมทั้ง ๕ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่ากรรม

คือการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ย่อมทำสัตว์ให้เกิดในนรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

ในกำเนิดดิรัจฉานในเปตวิสัย และในอสุรกาย ครั้นมาเกิด

ในมนุษย์เล่า ก็ทำให้เป็นคนมีอายุสั้น แล้วทรงแสดงอานิสงส์

ของศีลทั้ง ๕ ขู่ยักษ์ด้วยเหตุต่าง ๆ ทรงแสดงธรรม ทรมาน

จนหมดพยศร้าย ชักจูงให้ดำรงอยู่ในศีล ๕ กระทำยักษ์นั้นให้

เป็นเทวดารับพลีกรรมในดงนั้น แล้วตักเตือนด้วยอัปปมาทธรรม

ออกจากดง บอกแก่มนุษย์ที่ปากดง สอดอาวุธทั้ง ๕ ประจำ

พระองค์ เสด็จไปสู่กรุงพาราณสี เฝ้าพระราชบิดา พระราช-

มารดา ภายหลังได้ครองราชย์ ก็ทรงปกครองโดยธรรม ทรง

บำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ครั้นตรัสรู้

แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ ใจความว่า :-

"นรชนผู้ใด มีจิตไม่ท้อแท้ มีใจไม่หดหู่

บำเพ็ญกุศลธรรม เพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ

นรชนผู้นั้น พึงบรรลุความสิ้นสังโยชน์ทุกอย่าง

โดยลำดับ" ดังนี้.

ในพระคาถานั้น ประมวลความได้ดังนี้ :- บุรุษใดมีใจ

ไม่หดหู่ คือไม่ท้อแท้รวนเร มีใจไม่หดหู่โดยปกติ เป็นผู้มีอัธยาศัย

แน่วแน่มั่นคง จำเริญเพิ่มพูนธรรม ที่ได้ชื่อว่ากุศล ได้แก่

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เพราะเป็นธรรมที่ปราศจากโทษ

บำเพ็ญวิปัสสนาด้วยจิตอันกว้างขวาง เพื่อบรรลุความเกษม

จากโยคะทั้ง ๔ คือ พระนิพพาน บุรุษนั้นยกขึ้นซึ่งไตรลักษณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในสังขารทั้งมวลอย่างนี้แล้ว ยัง

โพธิปักขิยธรรมที่เกิดขึ้นจำเดิมแต่วิปัสสนายังอ่อนให้เจริญ

พึงบรรลุพระอรหัตผลอันถึงการนั้นว่า ความสิ้นสังโยชน์ทุก

อย่าง เพราะบังเกิดแล้วในที่สุดแห่งมรรคทั้ง ๔ อันเป็นเหตุ

สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งหมด มิได้เหลือเลยแม้สักสังโยชน์เดียว

โดยลำดับ.

พระบรมศาสดา ทรงถือเอายอดพระธรรมเทศนา ด้วย

พระอรหัตผลด้วยประการฉะนี้ ในที่สุดทรงประกาศ จตุราริยสัจ

(อริยสัจ ๔) ในเวลาจบสัจธรรม ภิกษุนั้นได้บรรลุพระอรหัตผล

แม้พระบรมศาสดา ก็ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า ยักษ์ใน

ครั้งนั้นได้มาเป็นพระองคุลิมาร ส่วนปัญจาวุธกุมาร ได้มาเป็น

เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปัญจาวุธชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

๖. กัญจนขันธชาดก

ว่าด้วยการบรรลุ ธรรม อันเกษม

[๕๖] " นรชนใด มีจิตร่าเริง มีใจเบิกบาน

เจริญกุศลธรรม เพื่อบรรลุธรรมอันเป็นแดน

เกษมจากโยคะ นรชนนั้น พึงบรรลุธรรมเป็น

ที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้โดยลำดับ"

จบ กัญจนขันธชาดกที่ ๖

อรรถกถากาญจนักขันธชาดกที่ ๖

พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-

วิหาร ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า โย ปหฏฺเน จิตฺเตน ดังนี้.

ได้ยินว่า กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง ฟังพระธรรม-

เทศนาของพระคาถาแล้ว บวชถวายชีวิตในพระศาสนา คือ

พระรัตนตรัย. ครั้งนั้นอาจารย์และอุปัชฌาย์ของเธอ กล่าวสอน

ถึงศีลว่า ผู้มีอายุ ที่ชื่อว่าศีล อย่างเดียวก็มี สองอย่างก็มี สาม

อย่างก็มี สี่อย่างก็มี ห้าอย่างก็มี หกอย่างก็มี เจ็ดอย่างก็มี

แปดอย่างก็มี เก้าอย่างก็มี ที่ชื่อว่าศีลมีมากอย่าง นี้เรียกว่า

จุลศีล นี้เรียกว่า มัชฌิมศีล นี้เรียกว่า มหาศีล นี้เรียกว่า

ปาฏิโมกขสังวรศีล นี้เรียกว่า อินทริยสังวรศีล นี้เรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

อาชีวปาริสุทธิศีล นี้เรียกว่า ปัจจยปฏิเสวนศีล. ภิกษุนั้นคิดว่า

ขึ้นชื่อว่าศีลนี้มีมากยิ่งนัก เราไม่อาจสมาทานประพฤติได้ถึง

เพียงนี้ ก็บรรพชาของคนที่ไม่อาจบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ได้ จะมี

ประโยชน์อะไร. เราจักเป็นคฤหัสถ์ทำบุญมีให้ทานเป็นต้น เลี้ยง

ลูกเมีย ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ก็เรียนอาจารย์และอุปัชฌาย์ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมไม่อาจรักษาศีลได้ เมื่อไม่อาจรักษา

ศีลได้ การบรรพชาก็จะมีประโยชน์อะไร ? กระผมจะขอลา

สิกขา โปรดรับบาตรและจีวรของท่านไปเถิด. ลำดับนั้น อาจารย์

และอุปัชฌาย์ จึงบอกกะภิกษุนั้นว่า ผู้มีอายุ เมื่อเป็นเช่นนี้

เธอจงไปถวายบังคมพระทศพล ดังนี้แล้ว พาเธอไปยังธรรมสภา

อันเป็นที่ประทับของพระศาสดา.

พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้น ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพาภิกษุผู้ไม่ปรารถนา (บรรพชาเพศ)

มาหรือ ? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ภิกษุนี้บอกว่า

เธอไม่อาจรักษาศีลได้ จึงมอบบาตรและจีวรคืน เมื่อเป็นเช่นนั้น

ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงพาเธอมา. พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เหตุไรพวกเธอจึงได้บอกศีลแก่ภิกษุนี้มากนักเล่า

ภิกษุนี้อาจรักษาได้เท่าใด ก็พึงรักษาเท่านั้นแหละ ตั้งแต่นี้ไป

พวกเธออย่าได้พูดอะไร ๆ กะภิกษุนี้เลย ตถาคตเท่านั้นจักรู้

ถึงการที่ควรทำ แล้วตรัสกะภิกษุนั้นว่า มาเถิดภิกษุ เธอจะ

ต้องการศีลมาก ๆ ทำไมเล่า เธอจักไม่อาจเพื่อจะรักษาศีล ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

ประเภทเท่านั้นหรือ ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์อาจรักษาได้พระเจ้าข้า. มีพระพุทธดำรัส

ว่า ถ้าเช่นนั้น ตั้งแต่บัดนี้ เธอจงรักษาทวารทั้ง ๓ ไว้ คือกายทวาร

วจีทวาร มโนทวาร อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยกาย อย่ากระทำ

กรรมชั่วด้วยวาจา อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยใจ ไปเถิด อย่าสึก

เลย จงรักษาศีล ๓ ข้อ เหล่านี้เท่านั้นเถิด. ด้วยพระพุทธดำรัส

เพียงเท่านี้ ภิกษุนั้นก็มีใจยินดี กราบทูลว่า ดีละพระเจ้าข้า

ข้าพระองค์จักรักษาศีล ๓ เหล่านี้ไว้ ดังนี้แล้วถวายบังคม

พระศาสดา ได้กลับไปพร้อมกับอาจารย์และพระอุปัชฌาย์

ทั้งหลาย. เมื่อเธอบำเพ็ญศีลทั้ง ๓ เหล่านั้นอยู่นั่นแล จึงได้

สำนึกว่า ศีลที่อาจารย์และอุปัชฌาย์บอกแก่เรา ก็มีเท่านี้เอง

แต่ท่านเหล่านั้นไม่อาจให้เราเข้าใจได้ เพราะท่านไม่ใช่พระ-

พุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจัดศีลทั้งหมดนี้ เข้าไว้ใน

ทวาร ๓ เท่านั้น ให้เรารับเอาไว้ได้ เพราะพระองค์เป็นพระ-

พุทธเจ้าทรงรู้ดี (และ) เพราะพระองค์เป็นพระธรรมราชา

ชั้นยอด พระองค์ทรงเป็นที่พำนักของเราแท้ ๆ ดังนี้แล้วเจริญ

วิปัสสนา ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล โดย ๒-๓ วันเท่านั้น. ภิกษุ

ทั้งหลายทราบความเป็นไปนั้นแล้ว ประชุมกันในธรรมสภา ต่าง

นั่งสนทนาถึงพระพุทธคุณว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่าภิกษุนั้น

กล่าวว่า ไม่อาจรักษาศีลทั้งหลายได้ กำลังจะสึก พระศาสดา

ทรงย่นย่อศีลทั้งหมดโดยส่วน ๓ ให้เธอรับไว้ได้ ให้บรรลุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

พระอรหัตผลได้ โอ ขึ้นชื่อว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นอัจฉริย-

มนุษย์. พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายพวกเธอ

นั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? ครั้นพวกภิกษุกราบทูล

ให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ก็ก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้

เท่านั้นที่ภาระแม้ถึงจะหนักยิ่ง เราก็แบ่งโดยส่วนย่อยให้แล้ว

เป็นดุจของเบา ๆ แม้ในปางก่อนบัณฑิตทั้งหลาย ได้แท่งทองใหญ่

แม้ไม่อาจจะยกขึ้นได้ ก็แบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ แล้วยกไปได้

ดังนี้แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง

พาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นชาวนาอยู่ในหมู่บ้าน

ตำบลหนึ่ง. วันหนึ่งกำลังไถที่นาอยู่ในเขตบ้านร้างแห่งหนึ่ง.

แต่ครั้งก่อนในบ้านหลังนั้น เคยมีเศรษฐีผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ

ผู้หนึ่ง ฝังแท่งทองใหญ่ขนาดโคนขา ยาวประมาณ ๔ ศอกไว้

แล้วก็ตายไป. ไถของพระโพธิสัตว์ไปเกี่ยวเเท่งทองนั้น แล้ว

หยุดอยู่. พระโพธิสัตว์คิดว่า คงจะเป็นรากไม้ จึงคุ้ยฝุ่นดู เห็น

แท่งทองนั้นแล้ว ก็กลบไว้ด้วยฝุ่น แล้วไถต่อไปทั้งวัน ครั้น

ดวงอาทิตย์อัษฎงค์แล้ว จึงเก็บสัมภาระ มีแอกและไถเป็นต้น

ไว้ ณ ที่สมควรแห่งหนึ่ง คิดว่าจักแบกเอาแท่งทองไป ไม่สามารถ

จะยกขึ้นได้ เมื่อไม่สามารถจึงนั่งลง แบ่งทองออกเป็น ๔ ส่วน

โดยคาดว่า จักเลี้ยงปากท้องเท่านี้ ฝังไว้เท่านี้ ลงทุนเท่านี้

ทำบุญให้ทานเป็นต้นเท่านี้. พอแบ่งอย่างนี้แล้ว แท่งทองนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

ก็ได้เป็นเหมือนของเบา ๆ. พระโพธิสัตว์ยกเอาแท่งทองนั้นไป

บ้าน แบ่งเป็น ๔ ส่วน กระทำบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วก็ไปตาม

ยถากรรม.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาดังนี้

ครั้นได้ตรัสรู้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

นรชนผู้ใด มีจิตร่าเริงแล้ว มีใจเบิกบาน

แล้ว บำเพ็ญธรรมเป็นกุศล เพื่อบรรลุความเกษม

จากโยคะ นรชนนั้น พึงบรรลุความสิ้นสังโยชน์

ทุกอย่างได้โดยลำดับ. ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหฏฺเน ได้แก่ปราศจาก

นิวรณ์.

บทว่า ปหฏฺมนโส ความว่า เพราะเหตุที่มีจิตปราศจาก

นิวรณ์นั่นแล จึงชื่อว่ามีใจเบิกบานแล้ว เหมือนทองคำ คือ

เป็นผู้มีจิตรุ่งเรือง สว่างไสวแล้ว.

พระบรมศาสดา ทรงยังเทศนาให้จบลงด้วยยอด คือ

พระอรหัต ด้วยประการดังนี้แล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดก

ว่า บุรุษผู้ได้แท่งทองในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากาญจนักขันธชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

๗. วานรินทชาดก

ธรรมของผู้ที่ล่วงพ้นศัตรู

[๕๗] " ดูก่อนพระยาวานร ผู้ใดมีธรรม ๔

ประการนี้ คือ สัจจะ ธรรมะ คือวิจารณปัญญา

ธิติคือความเพียร จาคะ เหมือนท่านผู้นั้นย่อม

ล่วงพ้นศัตรูได้."

จบ วานรินทชาดกที่ ๗

อรรถกถาวานรินทชาดกที่ ๗

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภความตะเกียกตะกายขวนขวายเพื่อการฆ่าของพระ-

เทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺเสเต จตุโร

ธมฺมา ดังนี้

ในสมัยนั้น พระศาสดาทรงสดับข่าวว่า พระเทวทัตกำลัง

ตะเกียกตะกายเพื่อปลงพระชนม์ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อฆ่าเรา

แม้ในกาลก่อน ก็เคยตะเกียกตะกายแล้วเหมือนกัน แต่ไม่อาจ

กระทำเหตุเพียงความสะดุ้งแก่เราได้เลย แล้วทรงนำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-

พาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นกระบี่ ครั้นเจริญวัย

มีร่างกายเติบโตขนาดลูกม้า สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง เที่ยวไป

ตามแนวฝั่งน้ำลำพังผู้เดียว. ก็กลางแม่น้ำนั้น มีเกาะแห่งหนึ่ง

อุดมสมบูรณ์ด้วยต้นไม้อันมีผลนานาชนิด มีมะม่วงและขนุน

เป็นต้น. พระโพธิสัตว์ มีกำลังดังช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง

โจนจากฝั่งแม่น้ำข้างนี้แล้ว ก็ไปพักที่หินดาดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่

กลางลำน้ำ ระหว่างฝั่งแห่งเกาะ โจนจากแผ่นหินนั้นแล้ว ก็ขึ้น

เกาะนั้นได้ ขบเคี้ยวผลไม้ต่าง ๆ บนเกาะนั้น พอเวลาเย็นก็

กระโดดกลับมาด้วยอุบายนั้น กลับที่อยู่ของตน ครั้นวันรุ่งขึ้น

ก็กระทำเช่นนั้นอีก พำนักอยู่ในสถานที่นั้น โดยนิยามนี้แล.

ก็ในครั้งนั้น มีจระเข้ตัวหนึ่งพร้อมกับเมียอาศัยอยู่ใน

น่านน้ำนั้น. เมียของมันเห็นพระโพธิสัตว์โดดไปโดดมา เกิด

แพ้ท้องต้องการกินเนื้อหัวใจของพระโพธิสัตว์ จึงพูดกะจระเข้

ผู้ผัวว่า ทูลหัว ฉันเกิดแพ้ท้อง ต้องการกินเนื้อหัวใจของพานรินท์

นี้. จระเข้ผู้ผัวกล่าวว่า ได้ซี่ เธอจ๋า เธอจะต้องได้. แล้วพูดต่อไป

ว่า วันนี้พี่จะคอยจ้องจับ เมื่อมันกลับมาจากเกาะในเวลาเย็น

แล้วไปนอนคอยเหนือแผ่นหิน. พระโพธิสัตว์เที่ยวไปทั้งวัน

ครั้นเวลาเย็น ก็หยุดยืนอยู่ที่ชายเกาะ มองดูแผ่นหินแล้วดำริว่า

บัดนี้ แผ่นหินนี้สูงกว่าเก่า เป็นเพราะเหตุอะไรหนอ ? ได้ยินว่า

ประมาณของน้ำ และประมาณของแผ่นหิน พระโพธิสัตว์กำหนด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

ไว้เป็นอย่างดีทีเดียว ด้วยเหตุนั้น จึงมีวิตกว่า วันนี้ก็ไม่ลง

และไม่ขึ้นเลย ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ หินนี้ดูใหญ่โตขึ้น จระเข้มันนอน

คอยจับเราอยู่บนแผ่นหินนั้น บ้างกระมัง. พระโพธิสัตว์ คิดว่า

เราจักทดสอบดูก่อน คงยืนอยู่ตรงนั้นแหละ. ทำเป็นพูดกะหิน

พลางกล่าวว่า แผ่นหินผู้เจริญ ยังไม่ได้รับคำตอบ ก็กล่าวว่า

หิน ๆ ถึง ๓ ครั้ง หินจักให้คำตอบได้อย่างไร ? วานรคงพูด

กะหินซ้ำอีกว่า แผ่นหินผู้เจริญ เป็นอย่างไรเล่า วันนี้จึงไม่ตอบรับ

ข้าพเจ้า. จระเข้ฟังแล้วคิดว่า ในวันอื่น ๆ แผ่นหินนี้ คงให้คำตอบ

แก่พานรินทร์แล้วเป็นแน่ บัดนี้เราจะให้คำตอบแก่เขา พลาง

กล่าวว่า อะไรหรือพานรินทร์ผู้เจริญ. พระโพธิสัตว์ถามว่า

เจ้าเป็นใคร ?

เราเป็นจระเข้.

เจ้ามานอนที่นี่ เพื่อต้องการอะไร ?

เพื่อต้องการเนื้อหัวใจของท่าน.

พระโพธิสัตว์ดำริว่า เราไม่มีทางไปทางอื่น วันนี้ต้อง

ลวงจระเข้ตัวนี้. ครั้นคิดแล้ว จึงพูดกะมันอย่างนี้ว่า จระเข้สหาย

รัก เราจะตัดใจสละร่างกายให้ท่าน ท่านจงอ้าปากคอยงับเรา

ในเวลาที่เราถึงตัวท่าน. เพราะหลักธรรมดามีอยู่ว่า เมื่อจระเข้

อ้าปาก นัยน์ตาทั้งสองข้างก็จะหลับ. จระเข้ไม่ทันกำหนดเหตุ

(อันเป็นหลักธรรมดา) นั้น ก็อ้าปากคอย ทีนั้นนัยน์ตาของมัน

ก็ปิด. มันจึงนอนอ้าปากหลับตารอ. พระโพธิสัตว์รู้สภาพเช่นนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

ก็เผ่นไปจากเกาะ เหยียบหัวจระเข้ แล้วโดดจากหัวจระเข้ไป

ยังฝั่งตรงข้าม เร็วเหมือนฟ้าแลบ. จระเข้เห็นเหตุอัศจรรย์นั้น

คิดว่า พานรินทร์นี้กระทำการน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก พลางพูดว่า

พานรินทร์ผู้เจริญ ในโลกนี้บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมครอบงำศัตรูได้ ธรรมเหล่านั้น ชะรอยจะมีภายในของท่าน

ครบทุกอย่าง แล้วกล่าวคาถานี้ ใจความว่า :-

พานรินทร์ ธรรม ๔ ประการเหล่านี้

สัจจะ ธรรม ธิติ และจาคะ มีแก่บุคคลใด

เหมือนมีแก่ท่าน บุคคลนั้นย่อมพ้นศัตรูไปได้

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ได้แก่ บุคคลใดบุคคล

หนึ่ง.

บทว่า เอเต ความว่า ย่อมปรากฏโดยประจักษ์ในธรรม

ที่เราจะกล่าวในบัดนี้.

บทว่า จตุโร ธมฺมา ได้แก่คุณธรรม ๔ ประการ.

บทว่า สจฺจ ได้แก่ วจีสัจ คือที่ท่านบอกว่า จักมาสู่สำนัก

ของข้าพเจ้า ท่านก็มิได้กระทำให้เป็นการกล่าวเท็จ มาจริง ๆ

ทีเดียว ข้อนี้เป็นวจีสัจของท่าน.

บทว่า ธมฺโม ได้แก่วิจารณปัญญา กล่าวคือ ความรู้จัก

พิจารณาว่าเมื่อทำอย่างนี้แล้ว จักต้องมีผลเช่นนี้ ข้อนี้เป็น

วิจารณปัญญาของท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนขาดตอนลง ท่านเรียกว่าธิติ

แม้คุณธรรมข้อนี้ ก็มีแก่ท่าน.

บทว่า จาโค ได้แก่ การสละตน คือการที่ท่านสละชีวิต

มาถึงสำนักของเรา แต่เราไม่อาจจับท่านได้ นี้เป็นโทษของเรา

ฝ่ายเดียว.

บทว่า ทิฏฺ ได้แก่ปัจจามิตร.

บทว่า โส อติวตฺตติ ความว่า ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้

ดังพรรณนามานี้มีแก่บุคคลใด เหมือนมีแก่ท่าน บุคคลผู้นั้น

ย่อมก้าวล่วง คือครอบงำเสียได้ ซึ่งปัจจามิตรของตน เหมือน

ดังท่านล่วงพ้นข้าพเจ้าไปได้ในวันนี้ ฉะนั้น.

จระเข้สรรเสริญพระโพธิสัตว์อย่างนี้แล้ว ก็ไปที่อยู่

ของตน.

แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัต

มิใช่เพื่อจะตะเกียกตะกายจะฆ่าเรา ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้

แม้ในกาลก่อน ก็ตะเกียกตะกายเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงนำ

พระธรรมเทศนานี้มา สืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า จระเข้ ใน

ครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัตในครั้งนี้ เมียของจระเข้ ได้มา

เป็นนางจิญจมาณวิกา ส่วนพานรินทร์ได้มาเป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาวานรินทชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

๘. ตโยธรรมชาดก

ว่าด้วยธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู

[๕๘] "ดูก่อนพระยาวานร ผู้ใดมีธรรม ๓

ประการนี้ คือ ความขยัน ความแกล้วกล้า ปัญญา

เหมือนท่าน ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้"

จบ ตโยธรรมชาดกที่ ๘

อรรถกถาตโยธรรมชาดกที่ ๘

พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหา-

วิหาร ทรงปรารภการตะเกียกตะกายจะฆ่าพระองค์นั่นแหละ

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺเสเต จ ตโย ธมฺมา

ดังนี้.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-

พาราณสี พระเทวทัตบังเกิดในกำเนิดวานร ควบคุมฝูงอยู่ใน

หิมวันต์ประเทศ เมื่อลูกวานรที่อาศัยตนเติบโตแล้ว ก็ขบพืช

ของลูกวานรเหล่านั้นเสียสิ้น เพราะกลัวว่า วานรเหล่านี้จะแย่ง

คุมฝูง. ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ก็อาศัยวานรนั้นแหละ ถือปฏิสนธิ

ในท้องของนางวานรตัวหนึ่ง. ครั้นนางวานรรู้ว่าตั้งครรภ์ เพื่อ

จะถนอมครรภ์ของตน ก็ได้ไปสู่เชิงเขาตำบลอื่น พอท้องแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

ครบกำหนดก็คลอดพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เจริญวัย ถึง

ความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง วันหนึ่งถาม

มารดาว่า แม่จ๋า ใครเป็นพ่อของฉัน.

มารดาตอบว่า พ่อคุณ บิดาของเจ้าคุมฝูงอยู่ที่ภูเขาลูกโน้น.

แม่พาฉันไปหาพ่อเถิด.

ลูกจ๋า เจ้าไม่อาจเข้าใกล้พ่อของเจ้าได้ เพราะพ่อของเจ้า

คอยขบพืชของลูกวานรที่อาศัยตนเกิดเสียหมด เพราะกลัวจะ

แย่งคุมฝูง.

แม่จ๋า พาฉันไปเถิด ฉันจักรู้ (อนาคตของตนเอง). นาง

จึงพาพระโพธิสัตว์มายังสำนักของวานรผู้เป็นพ่อ.

วานรนั้นเห็นลูกของตนแล้ว ก็คิดว่า เมื่อเจ้านี่เติบโตจัก

ไม่ยอมให้เราคุมฝูง ต้องฆ่ามันเสียบัดนี้ทีเดียว เราจักทำเป็น

เหมือนสวมกอดมัน แล้วก็บีบให้แน่นให้ถึงสิ้นชีวิตให้จงได้ จึง

กล่าวว่า มานี่เถิดลูก เจ้าไปไหนเสียนมนานจนป่านนี้ ดังนี้แล้ว

ทำเป็นเหมือนกอดรัดพระโพธิสัตว์ รัดจนแน่น. ก็พระโพธิสัตว์

มีกำลังดังช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง จึงบีบรัดตอบ. ครั้งนั้น

กระดูกทุกชิ้นส่วนของวานรนั้น ถึงอาการจะแตกแยก. ลำดับ

นั้น วานรผู้เป็นพ่อ เกิดวิตกว่า ไอ้นี่เติบโตขึ้นต้องฆ่าเรา เรา

ต้องหาอุบายอะไร รีบฆ่ามันเสียก่อน แต่นั้นก็คิดไว้ว่า ไม่ไกล

จากนี้ มีสระที่มีผีเสื้อน้ำสิงอยู่ เราจักให้ผีเสื้อน้ำกินมันเสียที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

สระนั้น แล้วจึงกล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า ลูกเอ๋ย พ่อแก่แล้ว

จักมอบฝูงให้เจ้า วันนี้จะตั้งเจ้าเป็นหัวหน้า ที่ตรงโน้นมีสระอยู่

ในสระนั้น ดอกโกมุท ๒ ดอก อุบล ๓ ดอก ปทุม ๕ ดอก กำลัง

บาน ไปเถิด ไปเอาดอกไม้มาจากสระนั้น. พระโพธิสัตว์ รับคำ

ว่า ดีละพ่อ ฉันจักไปนำมาแล้วก็ไป แต่ยังไม่ผลีผลามลงไป

ตรวจดูรอยรอบ ๆ สระ เห็นแต่รอยลงเท่านั้น ไม่เห็นรอยขึ้น

ก็รู้ว่า อันสระนี้ต้องมีรากษสยึดครองแน่นอน พ่อเราไม่อาจ

ฆ่าเราด้วยตน จักหวังให้รากษสเคี้ยวกินเราเสีย เราจักไม่ลง

สระนี้ และต้องเก็บดอกไม้ให้ได้ด้วย แล้วเดินไปหาที่ซึ่งไม่มี

น้ำ ไปได้ ๒ ดอก ทีเดียว โดดไปลงฝั่งโน้น โดดจากฝั่งโน้น

มาลงฝั่งนี้ ก็คว้าได้อีก ๒ ดอก ด้วยอุบายนั้นแหละ. ด้วยวิธีนี้

พระโพธิสัตว์เก็บดอกไม้ได้เป็นกองทั้งสองฝั่งสระ และไม่ต้อง

ลงสู่สถานอันอยู่ในอาญาของรากษส. ครั้นพระโพธิสัตว์เห็นว่า

ไม่สามารถจะเก็บได้มากกว่านี้ ก็รวบรวมดอกไม้กองไว้ที่เดียว.

ครั้งนั้นรากษสดำริว่า อัจฉริยบุรุษ มีปัญญาอย่างนี้ เราไม่เคย

เห็นเลยตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ดอกไม้ก็เก็บได้ตามปรารถนา

และไม่ต้องลงสู่สถานที่อันอยู่ในอาญาของเราอีกด้วย จึงระเบิด

น้ำโผล่ขึ้นจากน้ำเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ กล่าวว่า พานรินทร์

ในโลกนี้ผู้ใดมีธรรม ๓ ประการ ผู้นั้นย่อมครอบงำปัจจามิตร

ได้ ชะรอยภายในตัวของท่าน จักมีธรรมทั้งนั้นครบทุกประการ

เป็นแน่ เมื่อจะชื่นชมพระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

"ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือทักขิยะ

สุริยะ ปัญญา มีแก่บุคคลใด เหมือนมีแก่ท่าน

บุคคลนั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้." ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขย ได้แก่ความเป็นผู้

มีความขยันขันแข็ง. บทนี้เป็นชื่อของความเพียรอย่างสูง ที่

ประกอบพร้อมมูลด้วยปัญญา อันรู้จักกำจัดภัยที่มาประจวบ

เข้า.

บทว่า สูรย ได้แก่ความเป็นผู้กล้าหาญ. บทนี้เป็นชื่อ

ของความเป็นผู้ไม่มีความพรั่นพรึง.

บทว่า ปญฺา นี้ เป็นชื่อของความรู้อุบาย ซึ่งเป็นจุด

เริ่มต้นของความปรากฏผล.

รากษสนั้นชมเชยพระโพธิสัตว์ด้วยคาถานี้ อย่างนี้แล้ว

ก็ถามว่า ท่านเก็บดอกไม้เหล่านี้ไปทำไม ? พระโพธิสัตว์ตอบ

ว่า พ่อของเราปรารถนาจะตั้งเราเป็นผู้นำฝูง เราเก็บไปเพราะ

เหตุนั้น. รากษสพูดว่า อุดมบุรุษเช่นท่าน ไม่น่าจะนำดอกไม้ไป

เราจักนำไปให้ แล้วหอบดอกไม้เดินตามหลังพระโพธิสัตว์ไป.

ครั้งนั้นบิดาของพระโพธิสัตว์เห็นแต่ไกลแล้ว รำพึงว่า เราส่ง

มันไป หมายว่า จักให้เป็นเหยื่อของรากษส บัดนี้มันกลับใช้ให้

รากษสถือดอกไม้ตามมา คราวนี้เราฉิบหายแล้ว เลยหัวใจแตก

เจ็ดเสี่ยง สิ้นชีวิตในที่นั้นเอง. ฝูงวานรที่เหลืออยู่ ประชุมกัน

ยกพระโพธิสัตว์ให้เป็นราชาผู้นำฝูง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

แม้พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว

ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า วานรนายฝูงในครั้งนั้น ได้เป็น

พระเทวทัตในครั้งนี้ ส่วนบุตรของลิงผู้เป็นจ่าฝูง ได้มาเป็นเรา

ตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาตโยธรรมชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

๙. เภริวาทชาดก

ว่าด้วยการทำเกินประมาณ

[๕๙] "เมื่อจะตีก็พึงตีเถิด แต่อย่าตีเกินประมาณ

เพราะการตีเกินประมาณ เป็นการชั่วช้าของเรา

ทรัพย์ที่ได้มาตั้งร้อย เพราะการตีกลอง ได้

ฉิบหายไป เพราะเจ้าตีกลองเกินประมาณ"

จบ เภริวาทชาดกที่ ๙

อรรถกถาเภริวาทชาดกที่ ๙

พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวัน-

มหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ธเม ธเม ดังนี้.

ความย่อว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า จริงหรือ

ภิกษุที่เขาว่าเธอเป็นผู้ว่ายาก เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลรับว่า ข้า-

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นความจริงพระเจ้าข้า ก็ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ เธอเป็นผู้ว่ายากในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาล

ก่อน เธอก็เคยเป็นว่ายากเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงนำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคนตีกลอง อยู่ ณ บ้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

ตำบลหนึ่ง. พระโพธิสัตว์ ฟังข่าวว่าในกรุงพาราณสี มีงาน

เอิกเกริก ก็คิดว่า เราจักนำกลองไปตีใกล้บริเวณที่เขามีมหรสพ

หาทรัพย์ แล้วพาลูกชายไปในกรุงพาราณสีนั้น ตีกลองได้ทรัพย์

จำนวนมาก นำทรัพย์ไปบ้านของตน ผ่านดงโจร ก็ห้ามลูกชาย

ผู้ตีกลองไม่หยุดหย่อนว่า ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าตีกลองไม่หยุดระยะ

จงตีเป็นระยะ ๆ เหมือนเขาตีกลองเวลาคนใหญ่โตเดินทาง. ลูกชาย

แม้จะถูกบิดาห้ามปราม กลับพูดว่า ฉันจักไล่พวกโจรให้หนีไป

ด้วยเสียงกลองให้จงได้ แล้วก็ตีกระหน่ำไม่หยุดระยะเลย.

พวกโจรฟังเสียงกลองครั้งแรกทีเดียว คิดว่า จังหวะเหมือน

กลองคนใหญ่โต พากันหนีไป ครั้นฟังเสียงติด ๆ กันเกินไป

ก็พูดกันว่า ต้องไม่ใช่กลองคนใหญ่โต หวนกลับมาซุ่มดู เห็นคน

สองคนเท่านั้น ก็รุมทุบแย่งเอาทรัพย์ไป. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า

เจ้าตีกลองกระหน่ำเป็นเสียงเดียว เป็นเหตุทำให้ทรัพย์ที่เราหา

มาได้โดยเหนื่อยยาก สูญหายหมด แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

เมื่อจะตีก็พึงตีเถิด แต่อย่าตีเกินประมาณ

เพราะการตีเกินประมาณ เป็นการชั่วช้าของเรา

ทรัพย์ที่ได้มาตั้งร้อยเพราะการตีกลอง ได้

ฉิบหายไป เพราะเจ้าตีกลองเกินประมาณ. ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธเม ธเม ความว่า กลองควรตี

ไม่ใช่ไม่ควรตี อธิบายว่า กลองน่ะ ตีได้ ไม่ใช่ไม่ให้ตี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

บทว่า นาติธเม ความว่า แต่ไม่ควรตีกระหน่ำไปจนไม่

หยุดหย่อน.

เพราะเหตุไร ?

เพราะว่า การตีเกินไป เป็นการชั่วช้าของเรา หมายความ

ว่า การตีกลองไม่หยุดหย่อน เป็นความชั่ว คือก่อให้เกิดสถานการณ์

เลวร้าย แก่เราทั้งสองในบัดนี้.

บทว่า ธมนฺเตน สต ลทฺธ ความว่า เพราะการตีกลองใน

พระนคร ได้ทรัพย์มาร้อยกหาปณะ.

บทว่า อติธนฺเตน นาสิต ความว่า แต่บัดนี้เพราะลูกชาย

ของเรา ไม่ทำตามคำสั่ง ตีกลองกระหน่ำไปที่ดงโจรนี้ เพราะ

การตีกลองกระหน่ำไปนั้น ทรัพย์ทั้งหมดวอดไปแล้ว.

พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว

ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า ลูกชายในครั้งนั้น มาเป็นภิกษุ

ว่ายากในบัดนี้ ส่วนบิดา ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาเภริวาทชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

๑๐. สังขธมนชาดก

ว่าด้วยการทำเกินประมาณ

[๖๐] ท่านจะเป่าก็จงเป่าเถิด แต่อย่าเป่าให้เกิน

ประมาณ เพราะการเป่าเกินประมาณ เป็นการ

ชั่วช้าของเรา โภคะที่เราได้มา เพราะการเป่าสังข์

ได้ฉิบหายไป เพราะท่านเป่าสังข์เกินประมาณ

จบ สังขธมนชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาสังขธมนชาดกที่ ๑๐

พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวัน-

มหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุว่ายากเหมือนกัน ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ธเม ธเม ดังนี้.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-

พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคนเป่าสังข์. เมื่อมีงาน

ในกรุงพาราณสีอย่างเอิกเกริก ก็พาบิดาไปทำการเป่าสังข์

ได้ทรัพย์ ในเวลากลับก็กล่าวห้ามบิดาผู้ทำการเป่าสังข์อยู่ไม่

ขาดระยะ ใกล้ ๆ ดงโจร. บิดากลับพูดว่า จักไล่พวกโจรให้หนี

ไปด้วยเสียงสังข์ แล้วเป่าเรื่อยไปไม่ขาดระยะ. พวกโจรก็พา

กันมารุมแย่งทรัพย์ไปหมด ทำนองเดียวกับเรื่องก่อนนั่นแหละ

พระโพธิสัตว์กล่าวคาถา โดยนัยเดียวกับเรื่องก่อน ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

" ท่านจะเป่าก็จงเป่าเถิด. แต่อย่าเป่าจน

เกินประมาณ เพราะการเป่าเกินประมาณ เป็น

การชั่วช้าของเรา โภคะที่เราได้มาเพราะการเป่า

สังข์ ได้ฉิบหายไปเพราะท่านเป่าสังข์เกิน

ประมาณ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ตาโต วิธมี ธม ความว่า

บิดาของเราเป่าสังข์บ่อย ๆ เลยเป่าเอาทรัพย์ที่ได้ไว้เพราะการ

เป่าสังข์ทั้งนั้น หมดไป พินาศไป.

พระบรมศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาด้วย

ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า บิดาในครั้งนั้นได้มาเป็นภิกษุ

ผู้ว่ายากในบัดนี้ ส่วนบุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสังขธมนชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มหาสีลวชาดก ๒. จูฬชนกชาดก ๓. ปุณณปาติชาดก

๔. ผลชาดก ๕. ปัญจาวุธชาดก ๖. กัญจนขันธชาดก ๗. วารินท-

ชาดก ๘. ตโยธรรมชาดก ๙. เภริวาทชาดก ๑๐. สังขธมนชาดก.

จบ อาสิงสวรรคที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

๗. อิตถีวรรค

๑. อสาตมันตชาดก

ว่าด้วยหญิงเลวทราม

[๖๑] "ขึ้นชื่อว่าหญิงในโลกนี้เลวทราม เพราะ

หญิงเหล่านั้น ไม่มีเขตแดน มีแต่ความกำหนัด

ยินดี คึกคะนองไม่มีเลือก เหมือนไฟที่ไหม้ไม่

เลือกฉะนั้น เราจักละทิ้งหญิงเหล่านั้นไปบวช

เพิ่มพูนวิเวก"

จบ อสาตมันตชาดกที่ ๑

อรรถกถาอิตถีวรรคที่ ๗

อรรถกถาอสาตมันตชาดกที่ ๑

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้กระสัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

อาสา โลกิตฺถิโย นาม ดังนี้.

เรื่องของภิกษุนั้น จักแจ่มแจ้งในอุมมาทยันตีชาดก.

(เรื่องย่อ ๆ มีว่า) ก็พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ

ขึ้นชื่อว่าหญิงส่วนมาก ไม่น่ายินดี ไร้สติ ลามก เป็นผู้มีเบื้องหลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

เธอจะกระสันปั่นป่วนเพราะหญิงเลว ๆ เช่นนี้ทำไม แล้วทรงนำ

เรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ณ เมือง

ตักกสิลา คันธารรัฐ ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เรียนจบไตรเพท

และศิลปะทั้งปวง ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์. ดังนั้น ใน

กรุงพาราณสีมีตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง ตั้งแต่วันที่บุตร

เกิด ก็จุดไฟตั้งไว้ไม่ให้ดับเลย. ครั้นในเวลาที่พราหมณกุมาร

มีอายุได้ ๑๖ มารดาบิดาจึงกล่าวว่า ลูกเอ๋ย เราจุดไฟตั้งไว้

ในวันที่เจ้าเกิดเรื่อยมา หากเจ้าประสงค์จะไปสู่พรหมโลก

จงถือไฟนั้นเข้าป่า บูชาพระอัคนีเทพเจ้า ก็จะไปถึงพรหมโลกได้

ถ้าประสงค์จะครองเรือน ก็จงไปสู่เมืองตักกสิลา เล่าเรียน

ศิลปะในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ แล้วตั้งหลักฐานเถิด.

มาณพกล่าวว่า ฉันไม่อาจจะเข้าป่าบูชาไฟ มุ่งจะตั้งหลักฐาน

เท่านั้น แล้วกราบมารดาบิดา รับเอาเงินพันกษาปณ์ เป็น

ค่าคำนับอาจารย์ เดินทางไปเมืองตักกสิลา เล่าเรียนศิลปะ

แล้วกลับมา แต่มารดาบิดาของเขาไม่ต้องการให้ครองเรือน

ต้องการให้เขาบำเรอไฟอยู่ในป่า. ลำดับนั้น มารดาปรารถนา

จะสำแดงโทษของสตรีส่วนมาก แล้วส่งเขาเข้าป่า จึงดำริว่า

อาจารย์นั้นคงเป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด สามารถจะบอกโทษ

แห่งสตรีส่วนมากแก่ลูกของเราได้ จึงกล่าวว่า ลูกรัก เจ้าเรียน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

ศิลปะสำเร็จแล้วหรือ ? มาณพตอบว่า ครับ คุณแม่. มารดา

จึงกล่าวว่า แม้อสาตมนต์เจ้าก็เรียนแล้วหรือ ?. มาณพตอบว่า

ยังไม่ได้เรียนครับ คุณแม่. มารดากล่าวว่า ลูกรัก ถ้าเจ้ายัง

ไม่ได้เรียนอสาตมนต์แล้ว จะเรียกว่า เรียนศิลปะสำเร็จแล้ว

ไม่ได้ ไปเถิด ไปเรียนแล้วค่อยมา. มาณพรับคำแล้ว ก็มุ่งหน้าไป

กรุงตักกสิลาอีก. แม้มารดาของอาจารย์ทิศาปาโมกข์นั้น เป็น

หญิงชรา อายุ ๑๒๐ ปี อาจารย์อาบน้ำให้มารดาด้วยมือของ

ตนเอง หาอาหารให้บริโภคเอง หาน้ำให้ดื่มเอง ปรนนิบัติมารดา

อยู่ มนุษย์เหล่าอื่น พากันรังเกียจอาจารย์ผู้กระทำอย่างนั้น.

อาจารย์ดำริว่า อย่ากระนั้นเลย เราเข้าป่า ปรนนิบัติมารดา

ในป่านั้นอยู่เถิด. ครั้นแล้วก็จักการสร้างบรรณศาลา ในที่มี

น้ำท่าสะดวก ในป่าอันเงียบสงัด ตำบลหนึ่ง เสร็จแล้วขนสิ่งของ

มีเนย และข้าวสารเป็นต้น มาสำรองไว้ อุ้มมารดาพาไปที่นั้น

ปรนนิบัติมารดา อยู่สืบมา.

ฝ่ายมาณพไปถึงเมืองตักกสิลาแล้ว ไม่พบอาจารย์ ก็

สอบถามว่า ท่านอาจารย์ไปไหน ? ครั้นฟังเรื่องราวนั้นแล้ว

ก็ไปในป่านั้น ไหว้อาจารย์แล้วยืนอยู่. ครั้งนั้นอาจารย์ถามเขา

ว่า พ่อมหาจำเริญ เรื่องราวเป็นอย่างไร เจ้าจึงกลับมาเร็วนัก ?

มาณพตอบว่า ท่านอาจารย์ยังไม่ได้ให้ผมเรียน อสาตมนต์เลย

มิใช่หรือขอรับ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

อ. ใครกล่าวเคี่ยวเข็ญให้เจ้าเรียนอสาตมนต์ให้ได้ ?

มาณพ. มารดาของกระผมขอรับท่านอาจารย์.

พระโพธิสัตว์ดำริว่า มนต์อะไร ๆ ที่มีชื่อว่า อสาตมนต์

ไม่มีเลย แต่มารดาของมาณพนี้ คงประสงค์ให้เขารู้โทษของ

สตรีเป็นแน่ จึงกล่าวว่า ดีละ พ่อคุณ เราจักให้อสาตมนต์แก่เจ้า

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เจ้าจงทำหน้าที่แทนเรา ให้มารดาของเรา

อาบน้ำด้วยมือของตน ให้บริโภค ให้ดื่ม ปรนนิบัติสม่ำเสมอ

อนึ่งเมื่อเจ้านวดมือเท้าศีรษะและหลังของมารดาเรา ต้องพูด

ยกย่องมือเท้าเป็นต้น ในเวลาที่กำลังบีบนวดว่า คุณแม่ครับ ถึง

คุณแม่จะแก่เฒ่าแล้ว ร่างกายของคุณแม่ก็ยังดูกระชุ่มกระชวย

ในยามที่คุณแม่ยังสาว ร่างกายของคุณแม่สวยสะคราญปาน

ไฉน ? ก็แลมารดาของเรากล่าวคำใดกะเจ้า เจ้าไม่ต้องอาย

ไม่ต้องอำพราง บอกคำนั้นแก่เราเถิด เจ้าทำอย่างนี้จึงจะได้

อสาตมนต์ ไม่ทำก็ไม่ได้. มาณพรับคำว่า ดีแล้วครับท่านอาจารย์

เริ่มแต่วันนี้ ก็กระทำตามข้อที่อาจารย์ชี้แจงทุกอย่าง เมื่อมาณพ

รำพรรณบ่อย ๆ นางก็สำคัญว่า มาณพนี้ต้องการจะอภิรมย์

กับเราเป็นแม่นมั่น ทั้ง ๆ ที่แก่เฒ่า ตามืดมน กิเลสก็ยังเกิดขึ้น

ในสันดานได้. วันหนึ่ง นางจึงกล่าวกะมาณพกำลังกล่าวสรร-

เสริญร่างกายของตนอยู่ว่า เธอปรารถนาจะร่วมอภิรมย์กับเรา

หรือ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

มาณพ. คุณแม่ครับ ผมปรารถนานักแล้ว แต่ (มาติดอยู่ตรง)

ท่านอาจารย์เป็นที่ยำเกรงหนัก.

มารดา. ถ้าเธอปรารถนาฉันละก็ จงฆ่าลูกฉันเสียเถิด.

มาณพ. ผมเล่าเรียนศิลปะถึงเพียงนี้ ในสำนักของท่าน-

อาจารย์ จะมาฆ่าอาจารย์ เพราะอาศัยเหตุเพียงกิเลส ก็ดู

กระไรอยู่

มารดา. ถ้าเช่นนั้น ถ้าเธอไม่ทอดทิ้งฉันจริง ฉันนี่แหละ

จะฆ่าเขาเสียเอง.

ขึ้นชื่อว่า หญิง ส่วนมากไม่น่ายินดี ลามก มีลับลมคมใน

อย่างนี้ ถึงจะแก่ปานนั้น ก็ยังร่านรัก เริงชู้ ถึงกับมุ่งฆ่าลูก

ผู้มีอุปการะเห็นปานนี้ เสียก็ได้.

มาณพบอกถ้อยคำทั้งหมดนั้น แก่พระโพธิสัตว์. พระ-

โพธิสัตว์กล่าวว่า ที่เธอบอกมาทุกอย่างนั้น เธอทำถูกแล้ว.

เมื่อตรวจดูอายุสังขารของมารดา ก็รู้ว่า ต้องตายในวันนี้เป็นแน่

จงกล่าวว่า มาเถิดมาณพ เราต้องทดลองดู จึงตัดไม้มะเดื่อเข้า

ต้นหนึ่ง ทำรูปหุ่นเท่าตน คลุมเสียทั่วร่าง วางนอนหงายไว้

เหนือที่นอนของตน ผูกราวเชือกไว้ แล้วกล่าวกะศิษย์ว่า พ่อคุณ

เธอจงถือขวานไป ให้สัญญาแก่มารดาของเรา. มาณพก็ไป

บอกว่า คุณแม่ครับ ท่านอาจารย์นอนเหนือที่นอนของตน บน

บรรณศาลา ผมผูกราวเชือกไว้เป็นสำคัญ คุณแม่ถือขวานเล่มนี้

ถ้าสามารถจะฆ่าได้ ก็จงฆ่าเสีย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

นางกล่าวว่า เธอต้องไม่ทอดทิ้งฉันแน่นะ !

มาณพ. เหตุไร ผมจักทอดทิ้งเล่า ขอรับ.

นางจึงจับขวาน งก ๆ เงิ่น ๆ เดินไปตามราวเชือก เอา

มือคลำดู สำคัญแน่ว่า นี่ลูกของเรา แล้วเลิกผ้าห่มส่วนหน้าของ

รูปหุ่นออก เงื้อขวานด้วยคิดว่า จักฟันหนเดียวให้ตายคาที่ แล้ว

ฟันตรงคอทีเดียว เมื่อเกิดเสียงดังกระด้าง จึงได้ทราบว่า ที่ตน

ฟันนั้นเป็นไม้. ครั้นพระโพธิสัตว์ถามว่า คุณแม่ทำอะไร ขอรับ

ก็ได้คิดว่า เราถูกลวงเสียแล้ว ล้มลงตายอยู่ตรงนั้นเอง. ได้ยินว่า

ถึงนางจะนอนตายอยู่ที่บรรณศาลาของตน ก็คงตายในขณะนั้น

แน่นอน. พระโพธิสัตว์ทราบอาการที่มารดาตายแล้ว ก็กระทำ

สรีรกิจ ครั้นดับไฟที่เผาแล้ว ก็บูชาด้วยดอกไม้ป่า พามาณพ

มานั่งที่ประตูบรรณศาลา กล่าวสอนเขาว่า พ่อคุณ ขึ้นชื่อว่า

อสาตมนต์ ที่จัดเป็นวิชาแผนกหนึ่ง โดยเฉพาะไม่มีดอก ก็แต่

ขึ้นชื่อว่าหญิงส่วนมาก ไม่รู้จักจืดจาง มารดาของเธอบอกให้

เธอเรียนอสาตมนต์ แล้วส่งตัวมาถึงสำนักเรา ก็ส่งมาเพื่อให้รู้

โทษของหญิงส่วนมาก บัดนี้เธอก็เห็นโทษของมารดาเราโดย

ประจักษ์แล้ว ด้วยเหตุนี้ พึงทราบเถิดว่า ขึ้นชื่อว่าหญิงส่วนมาก

ไม่รู้จักอิ่ม ลามก ดังนี้แล้วส่งตัวไป. เขากราบลาอาจารย์ไป

สำนักมารดาบิดา. ครั้งนั้นมารดาถามเขาว่า เจ้าเรียนอสาตมนต์

จบแล้วหรือ ? เขาตอบว่า ครับคุณแม่. มารดาถามว่า คราวนี้

จักทำอย่างไร จักบวช จักบำเรอไฟ หรือจักอยู่ครองเรือน ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

มาณพกล่าวว่า คุณแม่ขอรับ ผมเห็นโทษของหญิงส่วนมาก

โดยประจักษ์แล้ว ไม่ต้องการอยู่ครองเรือนละ ผมจักบวช. เมื่อ

จะประกาศความประสงค์ของตน จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ขึ้นชื่อว่า หญิงในโลก ส่วนมากไม่รู้จัก

ยับยั้ง หาเวลาแน่นอนไม่ได้ ทั้งร่านรัก เริงชู้

กินไม่เลือก เหมือนไฟที่กินได้ทุกอย่าง. ข้าพเจ้า

จักหลีกละพวกนางไปบวช เพิ่มพูนวิเวก ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสา ความว่า ไม่รู้จักยับยั้ง

คือ มีความประพฤติเลวทราม. อีกอย่างหนึ่ง ความสุขท่านรียก

ว่า สาตะ ความสุขนั้นไม่มีแก่หญิงเหล่านั้น ทั้งยังให้ความไม่

สุขใจ แก่คนที่มีจิตปฏิพัทธ์ในตน จึงชื่อว่าไม่รู้จักยับยั้ง อธิบาย

ว่า อยู่ไม่สุข คือเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์. เพื่อจะแสดงความ

ข้อนี้ให้แจ่มแจ้ง พึงนำพระสูตรนี้มาสาธกดังนี้ :-

" หญิงเหล่านั้น ร้อยเล่ห์ หลอกลวง เป็น

บ่อเกิดแห่งความโศก มีเชื้อโรคเป็นตัวอุบาทว์

หยาบคาย ก่อให้เกิดความผูกพันธ์ เป็นชนวน

แห่งความตาย เป็นนางบังเงา ชายใดวางใจใน

นาง ชายนั้นจัดเป็นคนเลวในฝูงคน." ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกิตฺถิโย แปลว่า หญิงในโลก.

บทว่า เวลา ตาส น วิชฺชติ ความว่า คุณแม่ขอรับ หญิง

เหล่านั้น กิเลสเกิดขึ้นแล้ว เวลาคือความสำรวม เขตแดนที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

ชื่อว่า ประมาณไม่มีเลย เป็นหญิงกำหนัดหนัก คือ ติดใจใน

กามคุณ ทั้ง ๕ ทั้งเป็นผู้คะนอง เพราะประกอบด้วยความคะนอง

๓ ประการ คือ คะนองกาย คะนองวาจา เเละคะนองใจ. เพราะ

ขึ้นชื่อว่า ความสำรวมที่มาประจวบอารมย์ มีกายทวารเป็นต้น

มิได้มีในภายในของหญิงเหล่านั้นเลย คือเป็นหญิงหลุกหลิก

เปรียบได้กับจำพวกกา พราหมณมาณพแสดงลักษณะหญิง

ดังพรรณนามานี้.

บทว่า สิขี สพฺพฆโส ยถา ความว่า ธรรมดาไฟที่ถึงการ

นับว่า สิขี เพราะมีเปลวเป็นแฉก ได้เชื้อใด ๆ จะเป็นของไม่

สะอาด มีประเภทเป็นต้นว่า คูถก็ตาม จะเป็นของสะอาด มีประเภท

เป็นต้นว่า เนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ก็ตาม น่าปรารถนาบ้าง ไม่

น่าปรารถนาบ้าง ก็แลบเลียกินหมดทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงเรียกว่า กินทุกอย่างฉันใด. แม้หญิงทั้งหลายก็ฉันนั้น

นั่นแหละ จะเป็นคนมีกำเนิดทราม มีการงานทราม เช่นคน-

เลี้ยงช้าง เลี้ยงวัวเป็นต้น ก็ตามเถิด จะเป็นคนมีนกำเนิดสูง

การงานสูง เช่นกษัตริย์เป็นต้น ก็ตามเถิด มิได้คิดถึงความ

เลวทรามและความอุกฤษฐ์เลย เมื่อความชื่นชมด้วยอำนาจ

กิเลสบังเกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งความยินดีในโลก ได้คนประเภท

ไหน ก็เสพได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น จึงเป็นเหมือนกับไฟที่ไหม้

ได้ทุกอย่าง เพราะฉะนั้น ไฟกินได้ทุกอย่างฉันใด หญิงเหล่านั้น

ก็พึงทราบว่า เป็นอย่างนั้นเหมือนกันแหละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

บทว่า ตา หิตฺวา ปพฺนชิสฺสาติ ข้าพเจ้าขอหลีกเว้น หญิง

ลามก อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์นั้น เข้าป่าบวชเป็นฤาษี.

บทว่า วิเวกมนุพฺรูหย ความว่า วิเวกมี ๓ คือ กายวิเวก

จิตตวิเวก อุปธิวิเวก ในเรื่องนี้ บรรดาวิเวกทั้ง ๓ นั้น ควร

เพิ่มพูน กายวิเวกด้วย จิตวิเวกด้วย. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า

(พราหมณมาณพกล่าวว่า) คุณแม่ครับ ผมต้องบวช กระทำ

กสิณบริกรรม ให้สมาบัติทั้ง ๘ และอภิญญาทั้ง ๕ บังเกิด

แล้ว จักปลีกกายออกจากหมู่ และพรากจิตจากกิเลส เพิ่มพูน

วิเวกนี้ จักเป็นผู้พรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เรื่องเหย้าเรือน

สำหรับผม เลิกกันที.

พราหมณมาณพ ติเตียนหญิงทั้งหลายอย่างนี้ กราบลา

มารดาบิดาบวชแล้ว เพิ่มพูลวิเวกมีประการดังกล่าวแล้ว ได้

เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

แม้พระบรมศาสดา ก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่าหญิง

ทั้งหลาย ไม่รู้จักจืดจาง ลามก มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง ให้ทุกข์

อย่างนี้ ทรงแสดงโทษของหญิงทั้งหลาย ประกาศสัจธรรม.

ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. พระ-

ศาสดาทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า มารดามาณพในครั้งนั้น

ได้มาเป็นภิกษุณี ชื่อ ภัททกาปิลานี ในบัดนี้ บิดาของมาณพ

ได้เป็นพระมหากัสสปะ มาณพผู้เป็นศิษย์ ได้มาเป็นพระอานนท์

ส่วนอาจารย์ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอสาตมันตชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

๒. อัณฑภูตชาดก

ว่าด้วยการวางใจภรรยา

[๖๒] "พราหมณ์ถูกภรรยาผูกหน้า ให้ดีดพิณ

ก็รู้ไม่ทันภรรยา ที่ท่านนำมาเลี้ยงไว้แต่ยังไม่

คลอด ใครจะวางใจในภรรยาเหล่านั้นได้"

จบ อัณฑภูตชาดกที่ ๒

อรรถกถาอัณฑภูตชาดกที่ ๒

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวัน-

มหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันนั่นแหละ ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ย พฺราหฺมโณ อวาเทสิ ดังนี้.

ความย่อว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า จริงหรือ

ภิกษุ ที่เขาว่า เธอกระสัน ครั้นภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระ-

เจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลาย ใคร ๆ

ก็รักษาไม่ได้ ในครั้งก่อนบัณฑิตทั้งหลาย ถึงจะรักษาหญิงไว้

ตั้งแต่ออกจากครรภ์ ก็ไม่อาจรักษาไว้ได้ แล้วทรงนำเรื่องใน

อดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน กรุง-

พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในคัพโภทรแห่งพระอัครมเหสี

ของพระเจ้าพรหมทัตนั้น ครั้นทรงพระเจริญวัย ก็ประสพความ

สำเร็จการศึกษาในศิลปะทุกอย่าง พอพระราชบิดาสวรรคต

ก็ได้เสวยราชย์โดยธรรม. พระองค์ทรงพอพระทัยทรงสกา

กับท่านปุโรหิต ก็เมื่อจะทรงเล่น ทรงขับเพลงสำหรับการพนัน

บทนี้ว่า :-

" แม่น้ำทุกสายไหลคด ป่าทั้งหมดสำเร็จ

ด้วยไม้ หญิงทั้งหลายคงทำชั่ว เมื่อได้โอกาส

ที่ลับตา." ดังนี้

พลางก็ซัดลูกบาศก์ทอง เหนือแผ่นกระดานเงิน. เมื่อพระราชา

ทรงเล่นโดยวิธีนี้ ทรงชนะเป็นนิตย์. ส่วนปุโรหิตพ่ายแพ้. ท่าน

ปุโรหิตครั้นทรัพย์สมบัติในเรือนร่อยหลอไปโดยลำดับ ก็ได้

คิดว่า ขืนเป็นเช่นนี้ ทรัพย์สินในเรือนทุกอย่างต้องหมดแน่

จำเราต้องเสาะแสวงหามาตุคามคนหนึ่ง ที่ไม่เคยสมสู่กับบุรุษ

อื่นเลย มาไว้ในเรือนให้ได้. ครั้นแล้ว ก็กลับเกิดปริวิตกว่า

เราไม่อาจจะรักษาหญิงที่เคยเห็นชายอื่นมาแล้วไว้ได้ จำเรา

จักต้องรักษาหญิงคนหนึ่ง แต่แรกคลอด ต่อเจริญวัยแล้วจึงให้อยู่

ในอำนาจ ทำให้เป็นหญิงมีชายเดียว จัดแจงการรักษาอย่าง

มั่นคง จึงจะนำทรัพย์มาจากราชสกุลได้ ก็แลปุโรหิตเป็นคนฉลาด

ในวิชาดูอวัยวะ ดังนั้น พอเห็นหญิงทุคคตะคนหนึ่งมีครรภ์ ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

ทราบว่า นางจักคลอดลูกเป็นหญิง จึงเรียกนางมาหา ให้เสบียง

ให้อยู่แต่ภายในเรือนเท่านั้น พอคลอดแล้ว ก็ให้เงินส่งตัวไป

ไม่ให้เด็กหญิงนั้นเห็นชายอื่น ๆ เลย มอบให้ในมือของพวกหญิง

เท่านั้น เลี้ยงดูจนเจริญวัย จึงให้นางอยู่ในอำนาจของตน ระหว่าง

ที่กุมารีนั้นยังไม่เติบโต ท่านปุโรหิตไม่ยอมเล่นสกาพนันกับ

พระราชา ครั้นให้กุมารีอยู่ในอำนาจแล้ว ก็กราบทูลพระราชา

ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เราเล่นพนันสกากันเถิด. พระราชาทรง

รับสั่งว่า ดีละ ทรงเล่นโดยทำนองเดิมนั่นแหละ ในเวลาที่พระ-

ราชาทรงขับเพลงทอดลูกบาศก์ ปุโรหิตก็กล่าวว่า " ยกเว้น

มาณวิกา". ตั้งแต่นั้นมา ปุโรหิตกลับชนะ พระราชาแพ้.

พระโพธิสัตว์ทรงคะเนว่า ในเรือนของปุโรหิตนี้ คงจะมี

หญิงคนหนึ่ง ที่มีชายแต่คนเดียว ทรงให้อำมาตย์สืบดู ก็ทรง

ทราบว่า มีจริง ทรงพระดำริต่อไปว่า ต้องให้คนทำลายศีลของ

นางเสีย รับสั่งให้นักเลงผู้หนึ่งมาเฝ้า มีพระดำรัสว่า เจ้าจัก

สามารถทำลายศีลแห่งหญิงของท่านปุโรหิตได้หรือไม่ ? นักเลง

ผู้นั้น รับสนองพระราชประสงค์ว่า ข้าพระองค์อาจอยู่พระเจ้าข้า.

ครั้งนั้นพระราชาทรงพระราชทานทรัพย์แก่เขา มีพระดำรัสว่า

ถ้าเช่นนั้น จงทำให้สำเร็จโดยเร็วเถิด ทรงส่งเขาไป. เขารับ

พระราชทานทรัพย์แล้ว ก็จ่ายของมีเครื่องหอม ธูปกระแจะ

และการบูรเป็นต้น ไปเปิดร้านขายเครื่องหอมทุก ๆ อย่าง ไม่

ไกลเรือนของท่านปุโรหิตนั้น. แม้เรือนของท่านปุโรหิต ก็เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

เรือน ๗ ชั้น มีซุ้มประตู ๗ แห่ง และที่ซุ้มประตูทุกแห่งมีหญิง

รักษาทั้งนั้น ชายอื่นเว้นแต่ท่านพราหมณ์ ไม่มีผู้ใดจะได้เข้าไป

สู่เรือนเลย แม้ตะกร้าทิ้งขยะ ก็ต้องเป็นหญิงเข้าไปชำระทั้งนั้น

ปุโรหิตคนหนึ่ง หญิงบำเรอของมาณวิกานั้นคนหนึ่ง เท่านั้น

ที่ได้เห็นมาณวิกานั้น ครั้งนั้นหญิงบำเรอของมาณวิกา ถือเอา

ทรัพย์อันเป็นมูลค่าสำหรับซื้อเครื่องหอมและดอกไม้เดินไป

เวลาไปก็เดินผ่านไปใกล้ ๆ ร้านของนักเลงนั้น เขารู้เป็นอย่างดี

ว่า หญิงคนนี้ เป็นหญิงบำเรอของมาณวิกา วันหนึ่งพอเห็น

นางเดินมา ก็ลุกขึ้นจากร้าน ถลันไปฟุบที่ใกล้เท้านาง กอดเท้า

ทั้งคู่ไว้แน่น ด้วยแขนทั้งสองข้าง พลางร่ำไห้ปริเวทนาว่า แม่จ๋า

แม่ไปไหนเสียเล่า ตลอดเวลานานประมาณเท่านี้ ? พวกนักเลง

ที่ซ้อมกันไว้ แม้ที่เหลือยืนอยู่ข้างหนึ่ง ก็พากันพูดว่า แม่กับลูก

ดูละม้ายกันโดยสัณฐาน ของมือเท้าและใบหน้า และอากัปกิริยา

ดูเหมือนกับคน ๆ เดียวกัน. หญิงนั้น เมื่อคนพวกนั้นช่วยกันพูด

ก็เชื่อแน่แก่ตน เข้าใจว่า บุรุษนี้เป็นลูกของเราแน่นอน แม้ตนเอง

ก็พลอยร้องไห้ไปด้วย. คนแม้ทั้งสอง ต่างยืนกอดกันร้องไห้.

คราวนั้น นักเลงจึงกล่าวว่า แม่จ๋า แม่อยู่ที่ไหน ? นาง

ตอบว่า พ่อคุณ แม่บำรุงหญิงสาวของท่านปุโรหิต ผู้มีลีลา

เยื้องกรายเสมอด้วยกินรี มีรูปงามเป็นเลิศอยู่จ๊ะ. เขาถามต่อไป

ว่า บัดนี้ แม่กำลังจะไปไหนต่อละจ๊ะ ? นางบอกว่า แม่กำลัง

จะไปหาซื้อของหอม และพวงมาลาให้นายสาว. เขากล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

แม่จ๋า แม่จะต้องไปซื้อที่อื่นทำไม นับแต่นี้ไป โปรดรับเอาของ

ของฉันไปเถิด แล้วไม่รับเงินเป็นมูลค่า ให้สิ่งของมีหมากพลู

แลกระวานเป็นต้น กับดอกไม้ต่าง ๆ เป็นอันมากไป. มาณวิกา

เห็นเครื่องหอมและดอกไม้มากมาย ก็กล่าวว่า แม่คุณ วันนี้

ท่านพราหมณ์ของเราใจดี หรืออย่างไร ?

นางถามว่า ทำไมคุณนายพูดอย่างนี้เล่า ?

มาณวิกา เพราะฉันเห็นของเหล่านี้มากมาย

นางกล่าวว่า พราหมณ์ไม่ได้ให้เงินค่าของมากขึ้นเลย

แต่ของนี้ ฉันนำมาจากสำนักลูกของฉัน.

นับแต่นั้นมา นางริบเอาค่าของที่พราหมณ์ให้เสียเอง

แล้วก็ไปรับเอาเครื่องหอม และดอกไม้เป็นต้น มาจากสำนัก

ของนักเลงคนนั้นเรื่อยมา. ล่วงมาสองสามวัน นักเลงก็ทำลวงว่า

เป็นไข้นอนเสีย. นางไปที่ประตูร้านของเขา ไม่เห็นก็ถามว่า

ลูกของเราไปไหน ? คนในร้านบอกว่า ลูกชายของท่าน ไม่

สบาย. นางไปถึงที่นอนของเขา แล้วนั่งลูบหลัง ถามว่า ลูกเอ๋ย

ไม่สบายเป็นอะไรไปหรือ ? เขานิ่งเสีย นางก็ถามว่า ทำไมไม่

พูดเล่า ลูกเอ๋ย. นักเลงพูดว่า แม่จ๋า ถึงฉันจะตายก็ไม่สามารถ

จะบอกแม่ได้. นางจงกล่าวว่า เจ้าไม่บอกแม่แล้ว จะควรบอก

ใครเล่า บอกเถิดพ่อคุณ นักเลงจึงบอกว่า แม่จ๋า ฉันไม่ป่วยไข้

เป็นอะไรหรอก แต่ฉันได้ยินดีคำสรรเสริญนางมาณวิกาแล้ว ก็

มีจิตผูกพันมั่นคง เมื่อฉันได้นางจึงจะมีชีวิตสืบไป เมื่อไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

จักยอมตายที่นี่แหละ. นางกล่าวว่า พ่อคุณ เรื่องนี้เป็นภาระของ

แม่เอง ลูกอย่าเสียใจเพราะเรื่องนี้เลย ปลอบเอาใจเขาแล้ว

ก็ขนของหอมและดอกไม้ไปมากมาย มาถึงสำนักมาณวิกา ก็

กล่าวว่า คุณนายเจ้าขา ลูกดิฉันได้ยินคำสรรเสริญคุณนาย

จากสำนักของฉันแล้ว มีจิตผูกพันมั่นคง ทำอย่างไรกันดีเล่า ?

มาณวิกาตอบว่า ถ้าแม่พาเขามาได้ ฉันจะให้โอกาสเหมือนกัน.

นางฟังคำของมาณวิกาแล้ว แต่บัดนั้นมา ก็กวาดขยะเป็นอันมาก

จากทุกซอกทุกมุมของเรือน เทรดหัวหญิงที่เป็นยาม. หญิงที่

เป็นยามอึดอัดใจด้วยเรื่องนั้น ก็ออกไป. โดยทำนองเดียวกัน

นี้แหละ หญิงที่เป็นยามคนไหน พูดอะไร ๆ นางจะทิ้งขยะรดหัว

หญิงยามนั้น ๆ ตั้งแต่นั้น นางจะนำสิ่งใดเข้ามา หรือนำออกไป

ก็ไม่มีใครกล้าตรวจค้นสิ่งนั้น.

ได้เวลา นางให้นักเลงนั้นนอนในตะกร้าดอกไม้ แบกไป

สู่สำนักมาณวิกา. นักเลงทำลายศีลของมาณวิกาเสียแล้ว ได้อยู่

ในปราสาทนั้นเอง สอง-สามวัน. เมื่อท่านปุโรหิตออกไปข้างนอก

แล้ว ทั้งสองคนก็ร่วมอภิรมย์กัน. เมื่อปุโรหิตมา นักเลงก็ซ่อน

เสีย. ครั้นล่วงมาได้วัน-สองวัน มาณวิกาก็พูดกะนักเลงว่า

ที่รัก บัดนี้ ท่านควรจะไปเสียที. นักเลงก็กล่าวว่า ฉันจะตี (หัว)

พราหมณ์ให้ได้เสียก่อนถึงจะไป. มาณวิกากล่าวว่า อย่างนั้นก็ได้

แล้วให้นักเลงซ่อนตัวเสีย เมื่อพราหมณ์มา ก็พูดอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าขา ดิฉันอยากจะฟ้อนในเมื่อท่านบรรเลงพิณ. พราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

รับคำว่า เจ้าจงฟ้อนเถิด นางผู้เจริญ แล้วก็บรรเลงพิณ. นาง-

มาณวิกา กล่าวว่า ท่านเจ้าขา ดิฉันละอายในเมื่อท่านจ้องดู

ดิฉันขอปิดหน้าท่านเสียก่อนถึงจะฟ้อน. ปุโรหิตกล่าวว่า ถ้าเจ้า

ละอาย ก็จงกระทำอย่างนั้นเถิด. มาณวิกาหยิบผ้าเนื้อหนาปิดตา

ท่านปุโรหิต แล้วผูกหน้าจนมิด พราหมณ์ยอมให้ปิดหน้า บรรเลง

พิณไปเรื่อย ๆ นางฟ้อนได้สักครู่ ก็กล่าวว่า ท่านเจ้าขา ดิฉัน

อยากจะเคาะศีรษะท่านสักครั้งหนึ่งน๊ะเจ้าค๊ะ. พราหมณ์ผู้

หลงใหลในสตรี ไม่รู้เหตุการณ์อะไร ก็กล่าวว่า เคาะเถิด.

มาณวิกา ให้สัญญาแก่นักเลง. เขาย่องเข้ามาใกล้ ๆ ยืนอยู่

หลังพราหมณ์ทีเดียว แล้วถองศีรษะด้วยศอก. นัยน์ตาของ

พราหมณ์ถึงกับถลน. หัวโนขึ้น พราหมณ์เจ็บปวดรวดร้าว

กล่าวว่า เจ้าจงส่งมือมานี่. มาณวิกาส่งมือของตนวางไว้บนมือ

พราหมณ์. พราหมณ์กล่าวว่า มือนิ่ม ๆ แต่เขกแข็ง. นักเลง

ครั้นเขกหัวพราหมณ์แล้วก็ซ่อนตัวเสีย. มาณวิกาเมื่อนักเลง

ไปซ่อน ก็เปลื้องผ้าออกจากหน้าพราหมณ์ หยิบน้ำมันมาทา

นวดศีรษะให้ เมื่อพราหมณ์ออกไปข้างนอกแล้ว หญิงบำเรอให้

นักเลงนอนในตะกร้าดังเก่า พาออกไป. นักเลงจึงไปเฝ้าพระราชา

กราบทูลเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ.

พระราชา ตรัสแก่พราหมณ์ผู้มาเฝ้าพระองค์ว่า เราเล่น

สกาพนันกันเถิด ท่านพราหมณ์. ท่านปุโรหิตรับสนองพระ-

ดำรัสว่า ดีละ พระเจ้าข้า. พระราชาโปรดให้จัดตั้งวงเพื่อเล่นสกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

ทรงขับเพลงการพนัน แล้วทรงทอดลูกบาศก์ พราหมณ์ไม่รู้เรื่อง

ที่มาณวิกาถูกทำลายตบะเสียแล้ว คงกล่าวว่า ยกเว้นมาณวิกา

แม้จะกล่าวอย่างนี้ ก็ต้องแพ้อยู่นั่นเอง. พระราชาทรงชนะแล้ว

ตรัสว่า พราหมณ์ท่านกล่าวอะไร ? ตบะแห่งมาณวิกาของท่าน

ถูกทำลายแล้ว ท่านอุตส่าห์รักษามาตุคามตั้งแต่อยู่ในครรภ์

กระทำการป้องกันในที่ถึง ๗ แห่ง สำคัญว่า เราจักรักษาได้

ขึ้นชื่อว่ามาตุคาม แม้บุรุษจะเอาใส่ไว้ในท้องเที่ยวไป ก็ไม่อาจ

รักษาไว้ได้ ขึ้นชื่อว่าหญิงที่มีบุรุษคนเดียวไม่มีดอก มาณวิกา

ของท่านกล่าวว่า ดิฉันปรารถนาจะฟ้อน เอาผ้าผูกหน้าของท่าน

ผู้บรรเลงพิณเสีย ให้ชายชู้ของตนเอาศอกถองศีรษะท่านแล้ว

ก็ส่งไป คราวนี้ ท่านจะยกเว้นได้อย่างไรเล่า. ดังนี้แล้วตรัส

คาถาความว่า :-

" พราหมณ์ถูกนางเอาผ้าผูกหน้าเสียหมด

ให้บรรเลงพิณ เพราะเหตุใด ไม่ทราบเหตุนั้นเลย

หญิงที่เลี้ยงมาตั้งแต่ยังเป็นพืช เป็นภรรยายังทำ

เสียได้ ใครเล่าจะวางใจในภรรยานั้น ๆ ได้

แน่นอน " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย พฺราหมฺโณ อวาเทสิ วีณ

สมฺมุขเวิโต ความว่า พราหมณ์ถูกนางเอาผ้าเนื้อหนาผูกหน้า

มิดชิด ให้บรรเลงพิณไป เพราะเหตุอันใด ไม่ได้ทราบเหตุอันนั้น.

เพราะนางต้องการลวงเขาจึงได้กระทำอย่างนี้. แต่พราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

ไม่รู้อาการที่หญิงทั้งหลายมีมายามากนั้น หลงเชื่อมาตุคาม

จึงได้สำคัญอย่างนี้ว่า นางละอายเรา. พระราชาเมื่อจะประกาศ

ความไม่รู้ของพราหมณ์นั้น จึงตรัสอย่างนี้ นี้เป็นคำอธิบายในข้อนี้.

บทว่า อณฺฑภูตา ภตา ภริยา ความว่า อัณฑะ ท่านเรียกว่า

พืช คือ หญิงที่ถูกนำมาเลี้ยงตั้งแต่ยังเป็นพืช คือถูกนำมาเลี้ยง

แต่ในเวลาที่ยังไม่คลอดจากต้องของแม่. อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า

ภตา หมายถึงเป็นคำถาม คือถามว่า นั่นเป็นใคร ? เป็นภรรยา

คือเป็นเจ้าของบุตร เป็นหญิงบำเรอ. เพราะว่า หญิงนั้นท่าน

เรียกว่า ภรรยา เพราะเป็นหญิงที่ต้องเลี้ยงด้วยภัตร์ และผ้า

เป็นต้น ๑ เพราะมีความสังวรระวังอันถูกทำลายแล้ว ๑ เพราะ

ต้องเลี้ยงด้วยโลกธรรม ๑

บทว่า ชาตุ ในบาทคาถาว่า ตาสุ โก ชาตุ วิสฺสเส นี้

เป็นคำกล่าวโดยส่วนเดียว. อธิบายว่า ในเมื่อภรรยาเหล่านั้น

แม้ถึงจะถูกคุ้มกัน ตั้งแต่อยู่ในท้องของมารดา ก็ยังถึงวิการ

(นอกใจ) อย่างนี้ได้ใครเล่า คือคนฉลาด หน้าไหน จะพึงวางใจ

ได้ภรรยาได้อย่างแน่นอน ได้แก่ใครเล่า ควรจะเชื่อได้ว่า หญิง

เหล่านี้ ไม่มีวิการ (นอกใจ) ในเรา. เพราะว่าขึ้นชื่อว่า มาตุคาม

ในเมื่อมีผู้เรียกร้อง ในเมื่อมีผู้เชื้อเชิญ ด้วยอำนาจอสัทธรรม

ใคร ๆ ก็ไม่อาจรักษาไว้ได้เลย.

พระโพธิสัตว์ ทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์อย่างนี้.

พราหมณ์ฟังธรรมเทศนาของพระโพธิสัตว์แล้ว ไปสู่นิเวศน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

กล่าวกะมาณวิกานั้นว่า ได้ยินว่า เจ้ากล้าทำชั่วถึงขนาดนี้เชียว

หรือ ? มาณวิกาถามว่า ท่านเจ้าค๊ะ ใครพูดอย่างนี้เล่าค่ะ ดิฉัน

นี่แหละเขกหัวที่ท่าน คนอื่นไม่มีใครดอก. ถ้าท่านไม่เชื่อว่า ดิฉัน

ไม่ทรามสัมผัสชายอื่น เว้นจากท่านแล้ว จักกระทำสัจจกิริยา

ลุยไฟให้ท่านเชื่อ. พราหมณ์กล่าวว่า อย่างนั้นก็ดี จึงให้สุมฟืน

กองใหญ่จุดไฟ แล้วเรียกนางมากล่าวว่า ถ้าเจ้าแน่ใจตนเอง จง

ลุยไฟเถิด. ฝ่ายมาณวิกากล่าวซักซ้อมกะหญิงผู้บำรุงของตน

ไว้ก่อนทีเดียวว่า แม่คุณ จงไปบอกลูกของแม่ให้ไปที่นั่น ในเวลา

ฉันลุยไฟ ให้จับมือฉันไว้. หญิงนั้นก็ไปบอกอย่างนั้น. นักเลง

มายืนอยู่ท่ามกลางมหาชน. มาณวิกาหวังจะลวงพราหมณ์ ยืนอยู่

ท่ามกลางมหาชน กระทำสัจจกิริยาว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์

ขึ้นชื่อว่า การสัมผัสด้วยมือของชายอื่น ยกเว้นท่านแล้ว ดิฉัน

ไม่เคยรู้จักเลย ด้วยสัจจะนี้ ขอไฟนี้อย่าไหม้ฉันเลย พลางทำท่า

จะลุยไฟ. ในขณะนั้น นักเลงก็ประกาศว่า ดูเถิดท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย จงดูการกระทำของพราหมณ์ปุโรหิต ท่านจะให้มาตุคาม

ผู้งามอย่างนี้ลุยไฟ แล้วตรงไปจับมือนางไว้ นางสะบัดมือแล้ว

พูดกับปุโรหิตว่า ท่านเจ้าขา สัจจกิริยาของดิฉันถูกทำลายเสีย

แล้ว ดิฉันไม่อาจลุยไฟได้เจ้าค่ะ. พราหมณ์ถามว่า เพราะเหตุไร ?

มาณวิกาตอบว่า ในวันนี้ดิฉันได้ทำสัจจกิริยาไว้อย่างนี้ว่า ยกเว้น

สามีของดิฉันแล้ว ดิฉันไม่รู้สัมผัสมือของชายอื่นเลย บัดนี้ ดิฉัน

ถูกชายคนนี้จับมือเสียแล้ว เจ้าค่ะ. พราหมณ์รู้ทันว่า เราถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

นางมาณวิกาลวงเอา ก็โบยตีนางแล้วได้ไป. ได้ยินว่า หญิงเหล่านี้

ประกอบไปด้วยอสัทธรรมอย่างนี้ ทำกรรมชั่วช้าเป็นอันมาก

เพื่อจะลวงสามีของตน ทำการสบถได้ทั้งวันว่า ดิฉันไม่ได้กระทำ

อย่างนี้ ย่อมเป็นหญิงมีจิตปรวนแปรไปได้ต่าง ๆ. สมดังคาถา

ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

" สภาพของหญิงทั้งหลายที่หาสัจจะได้

โดยยาก เป็นโจร ร้อยเล่ห์มายา รู้ได้ยาก เหมือน

การไปของปลาในน้ำฉะนั้น นางพูดเท็จเหมือน

จริง พูดจริงเหมือนเท็จ เหมือนโคทั้งหลายเล็ม

กินแต่หญ้าอ่อน ๆ ที่มากมาย ความสวยของเรา

ประเสริฐแท้ แท้จริงหญิงเหล่านี้เป็นโจรหยาบ-

คาย ร้ายกาจ กลับกลอกเหมือนก้อนกรวด ความ

ล่อลวง บรรดามีในหมู่มนุษย์ ไม่มีข้อไหนที่

พวกนางจะไม่รู้ "

พระบรมศาสดา ก็ตรัสว่า มาตุคามใคร ๆ รักษาไว้ไม่ได้

อย่างนี้ ดังนี้ ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสประกาศ

สัจจะ. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันบรรลุโสดาปัตติผล.

พระศาสดาทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า พระเจ้ากรุงพาราณสี

ในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอัณฑภูตชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

๓. ตักกชาดก

ว่าด้วยลักษณะธรรมดาหญิง

[๖๓] " ธรรมดาว่าหญิงเป็นคนมักโกรธ ไม่รู้จัก

คุณ ชอบส่อเสียด ชอบยุยงให้แตกกัน ดูก่อน

ภิกษุ เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด เธอจักไม่

เสื่อมจากสุข"

จบ ตักกชาดกที่ ๓

อรรถกถาตักกชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันนั่นแหละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า โกธนา อกตญฺญู จ ดังนี้.

พระศาสดาตรัสถามว่า จริงหรือภิกษุที่เขาว่า เธอกระสัน

แล้ว ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า ตรัสว่า ขึ้นชื่อว่า

หญิงทั้งหลาย เป็นคนอกตัญญู ประทุษร้ายมิตร เหตุไรเธอจึง

กระสันเพราะอาศัยหญิงเหล่านั้น แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

๑. ม. อรรถกถาตักกปัณฑิตชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมเสวยราชสมบัติอยู่ใน กรุง-

พาราณสี พระโพธิสัตว์บวชเป็นฤาษี สร้างอาศรมอยู่ที่ฝั่ง

แม่น้ำคงคา ยังสมาบัติและอภิญญาให้เกิดแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วย

ความสุขอันเกิดแต่ความยินดีในฌาน. ในสมัยนั้น ธิดาของท่าน

เศรษฐี ในกรุงพาราณสี ชื่อว่าทุษฐกุมารี เป็นหญิงดุร้าย

หยาบคาย มักด่า มักตี ทาส และกรรมกร. ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง

คนที่เป็นบริวาร ชวนนางไปว่า จักเล่นน้ำในแม่น้ำคงคา. ขณะ

เมื่อมนุษย์เหล่านั้นเล่นน้ำกันอยู่นั่นแหละ เป็นเวลาที่พระอาทิตย์

ใกล้จะอัษฎงค์. เมฆฝนก็ตั้งเค้าขึ้น. พวกมนุษย์ทั้งหลายเห็น

เมฆฝนแล้ว ก็รีบวิ่งแยกย้ายกันไป. พวกทาสกรรมกรของธิดา

ท่านเศรษฐีพูดกันว่า วันนี้พวกเราควรแก้เผ็ดนางตัวร้ายนี้

แล้วทิ้งนางไว้ในน้ำนั่นแล พากันขึ้นไปเสีย. ฝนก็ตกลงมา แม้

ดวงอาทิตย์ก็อัษฎงค์. เกิดความมืดมัวทั่วไป. พวกทาสและ

กรรมกรเหล่านั้น เว้นแต่ธิดาท่านเศรษฐีคนเดียว ไปถึงเรือน

เมื่อคนทั้งหลาย พูดว่า ธิดาท่านเศรษฐีไปไหนเล่า ? ก็กล่าวว่า

นางขึ้นจากแม่น้ำคงคาก่อนหน้าแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกข้าพเจ้า

จึงไม่รู้ว่านางไปไหน. แม้พวกญาติพากันค้นหาก็ไม่พบ.

ธิดาท่านเศรษฐีร้องดังลั่น ลอยไปตามน้ำ ถึงที่ใกล้

บรรณศาลาของพระโพธิสัตว์ เมื่อเวลาเที่ยงคืน. พระโพธิสัตว์

ได้ยินเสียงของนางก็คิดว่า นั่นเสียงหญิง ต้องช่วยเหลือนาง

พลางถือคบหญ้าเดินไปสู่ฝั่งแม่น้ำ เห็นนางแล้ว ก็ปลอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

อย่ากลัว อย่ากลัว ด้วยมีกำลังดังช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง

ว่ายน้ำไปช่วยนางขึ้นได้ พาไปอาศรม ก่อไฟให้นางผิง ครั้นนาง

ค่อยสร่างหนาวแล้ว ก็จัดหาผลไม้น้อยใหญ่ที่อร่อย ๆ มาให้

พลางถามนางขณะที่บริโภคผลไม้นั้น ๆ ว่า นางอยู่ที่ไหน และ

ทำไมถึงตกน้ำลอยมา. นางก็เล่าเรื่องราวนั้นให้ฟัง. ครั้งนั้น

พระโพธิสัตว์กล่าวกะนางว่า เธอพักเสียที่นี่แหละ แล้วจัดให้นาง

พักในบรรณศาลา ตนพักอยู่กลางแจ้ง สอง-สามวัน แล้วกล่าวว่า

บัดนี้ เธอจงไปเถิด. เศรษฐีธิดาคิดว่า เราจักทำดาบสนี้ถึง

สีลเภท แล้วชวนไปด้วยให้จงได้ ดังนี้แล้วไม่ยอมไป. ครั้นเวลา

ล่วงผ่านไป ก็แสดงกระบิดกระบวนเล่ห์มายาหญิง ทำให้พระ-

ดาบสศีลขาด เสื่อมจากฌาน. ดาบสก็ชวนนางอยู่ในป่านั่นเอง

ครั้งนั้น นางกล่าวกะดาบสว่า ข้าแต่ท่านเจ้า เราทั้งสองจักอยู่

ในป่าทำไม เราสองคนพากันไปสู่ยานมนุษย์เถิด. ดาบสก็พานางไป

ถึงบ้านชายแดนตำบลหนึ่ง ประกอบอาชีพด้วยการขายเปรียง

เลี้ยงนาง. เพราะท่านดาบสขายเปรียงเลี้ยงชีวิต ฝูงชนจึงขนานนาม

ว่า ตักกบัณฑิต. ครั้งนั้น พวกชาวบ้านร่วมกันให้เสบียงอาหาร

แก่ท่าน กล่าวว่า ท่านช่วยบอกเหตุการณ์ที่บุคคลประกอบ

ดีหรือชั่ว ก็พวกข้าพเจ้า อยู่เสียในที่นี้เถิด แล้วช่วยกันสร้าง

กระท่อมให้อยู่ใกล้ประตูบ้าน.

ก็โดยสมัยนั้น พวกโจรพากันลงมาจากภูเขา ปล้นชนบท

ชายแดน วันหนึ่งพากันมาปล้น บ้านนั้น แล้วใช้ชาวชนบท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

นั้นแหละให้ขนข้าวของไปให้ ยึดเอาตัวนางเศรษฐีธิดา แม้นั้น

ไปยังที่พำนักของตน แล้วจึงปล่อยคนที่เหลือ. ส่วนนายโจร

พอใจในรูปของนาง จึงทำนางให้เป็นภรรยาของตน. พระโพธิสัตว์

สอบถามว่า หญิงชื่อนี้ไปไหนเสียเล่า ? แม้จะได้ฟังว่า ถูก

นายโจรยึดเอาไว้เป็นภรรยาเสียแล้ว ก็ยังคิดว่า นางจักยังไม่

ทิ้งเรา อยู่ในที่นั้น จักต้องหนีมาเป็นแน่ รอคอยนางอยู่ในบ้าน

นั่นเอง. ฝ่ายนางเศรษฐีธิดา ก็คิดว่า เราอยู่ที่นี่เป็นสุขดี บางที

ตักกบัณฑิตอาศัยเหตุไร ๆ แล้ว จะมาพาเราไปเสียจากที่นี้ เมื่อ

เป็นเช่นนั้น เราจักเสื่อมจากความสุขนี้ ถ้ากระไร เราทำเป็น

เหมือนยังอาลัยรักอยู่ ให้คนไปตามตัวมาแล้วให้เขาฆ่าเสีย คิดแล้ว

เรียกมนุษย์ผู้หนึ่งมาส่งข่าวไปว่า ดิฉันเป็นอยู่อย่างลำบากใน

ที่นี้ ท่านตักกบัณฑิตกรุณามารับฉันไปด้วยเถิด. ตักกบัณฑิต

สดับข่าวนั้นแล้วก็เชื่อ จึงไปที่บ้านนายโจร หยุดรอที่ประตูบ้าน

ส่งข่าวไป. นางออกมาพบ แล้วพูดว่า ท่านเจ้าขา ถ้าเราพากันไป

เดี๋ยวนี้ นายโจรจักติดตามฆ่าเราทั้งสองเสียก็ได้ เราจักไปกัน

ในเวลากลางคืน พาตักกบัณฑิตมาให้บริโภค ให้ซ่อนตัวอยู่

ในยุ้ง ตกเวลาเย็น นายโจรกลับมา กินเหล้า เมา ก็พูดว่า ท่าน

เจ้าค่ะ ถ้านายเห็นศัตรูของนายในเวลานี้ นายจะพึงทำอย่างไร

กะเขา. นายโจรกล่าวว่า เราจักกระทำเช่นนี้ ๆ. นางจึงบอกว่า

ก็ศัตรูนั้นอยู่ไกลเสียเมื่อไรเล่า นั่งอยู่ในยุ้งข้าวนี่เอง. นายโจร

ถือพระขรรค์เดินไปที่ยุ้งข้าว เห็นตักกบัณฑิตก็จับเหวี่ยงให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

ล้มลงกลางเรือน โบยด้วยท่อนไม้ ทุบถองด้วยศอกเข่าเป็นต้น

จนหนำใจ ตักกบัณฑิตถึงจะถูกโบยก็ไม่พูดถ้อยคำอะไรอย่างอื่น

เลย กล่าวแต่คำว่า ขี้โกรธ อกตัญญู ชอบส่อเสียด ประทุษร้าย

มิตร อย่างเดียวเท่านั้น ฝ่ายโจรโบยตักกบัณฑิตแล้วก็มัดให้นอน

มากินอาหารเย็นแล้วก็หลับไป ตื่นขึ้น พอฤทธิ์สุราสร่าง ก็เริ่ม

โบยตักกบัณฑิตอีก. แม้ตักกบัณฑิต ก็กล่าวแต่คำ ๔ คำ อยู่

อย่างนั้น. โจรคิดว่า ท่านผู้นี้ แม้จะถูกเราโบยอย่างนี้ ก็ไม่ยอม

พูดอะไรอย่างอื่นเลย คงกล่าวแต่คำ ๔ คำ อยู่ตลอดมา เราจัก

ถามดู แล้วก็ถามตักกบัณฑิตว่า นี่แนะท่านผู้เจริญ ถึงแม้ท่าน

จะถูกโบยอย่างนี้ เหตุไฉน จึงกล่าวแต่คำ ๔ คำ เหล่านี้เท่านั้น.

ตักกบัณฑิตกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น จงฟัง แล้วกล่าวลำดับเหตุการณ์

ตั้งแต่ต้นว่า เดิมข้าพเจ้าเป็นดาบสหนึ่งอยู่ในป่า ได้ฌาน

ข้าพเจ้าช่วยหญิงผู้นี้ผู้ลอยมาในแม่น้ำคงคาให้ขึ้นได้แล้ว ประคบ

ประหงม เมื่อเป็นเช่นนี้ นางผู้นี้ ก็เล้าโลมข้าพเจ้า ทำให้เสื่อม

จากฌาน ข้าพเจ้าต้องทิ้งป่าพานางมาเลี้ยงดูอยู่ที่บ้านชายแดน

ครั้นนางส่งข่าวไปถึงข้าพเจ้าว่า ถูกพวกโจรนำมาที่นี่ ต้องอยู่

อย่างลำบาก ให้ช่วยพานางกลับไป ทำให้ข้าพเจ้าต้องตกอยู่ใน

เงื้อมมือของท่านในบัดนี้ ด้วยเหตุนั้นข้าพเจ้าจงกล่าวอยู่อย่างนี้.

โจรได้คิดว่า หญิงคนนี้ปฏิบัติผิดถึงอย่างนี้ ในท่านผู้สมบูรณ์

ด้วยคุณ มีอุปการะถึงอย่างนี้ มันคงทำอุปัทวันตรายอะไร ๆ

ให้แก่เราก็ได้ ต้องฆ่ามันเสีย. นายโจรปลอบให้ตักกบัณฑิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

เบาใจ ปลุกนางฉวยพระขรรค์ออกมาพูดว่า เราจักฆ่าชายผู้นี้

ที่ประตูบ้าน เดินไปนอกบ้านกับนาง พลางบอกให้นางจับมือ

ท่านตักกบัณฑิตไว้ด้วยคำว่า จงยึดมือชายผู้นี้ไว้ แล้วชักพระขรรค์

ทำเป็นเหมือนจะฟันท่านตักกบัณฑิต กลับฟันนางขาด ๒ ท่อน

อาบน้ำดำเกล้าแล้ว เลี้ยงดูท่านตักกบัณฑิต ด้วยโภชนะอัน

ประณีต สอง-สามวัน ก็กล่าวว่า บัดนี้ท่านจักไปไหนต่อไปเล่า ?

ตักกบัณฑิตกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่ากิจด้วยการอยู่ครองเรือนไม่มีแก่

ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่านั่นแหละ. โจรกล่าวว่า

ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าก็จักบวชด้วย. ทั้งสองคนพากันบวช ไปสู่

ราวป่านั้น ให้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ เกิดได้แล้ว ในเวลา

สิ้นชีวิต ก็ได้ไปสู่พรหมโลก.

พระบรมศาสดาตรัสเรื่องทั้งสองเหล่านี้แล้ว ครั้นตรัสรู้

แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ ความว่า

" หญิงทั้งหลาย เป็นผู้มักโกรธ. อกตัญญู

มักส่อเสียด และคอยแต่ทำลาย ก่อนภิกษุ เธอ

จงประพฤติพรหมจรรย์เถิด แล้วเธอจักไม่คลาด

ความสุขเป็นแน่ " ดังนี้.

ในพระคาถานั้น ประมวลอรรถาธิบายได้ดังนี้ :-

ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลาย เป็นผู้มักโกรธ ไม่

สามารถจะหักห้ามความโกรธที่เกิดขึ้นแล้วได้เลย เป็นคนอกตัญญู

ไม่รู้อุปการคุณแม้จะยิ่งใหญ่ เป็นคนส่อเสียด ชอบกล่าวคำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

อันแสดงถึงความส่อเสียดอยู่ร่ำไป เป็นผู้มีนิสัยชอบทำลาย

ชอบทำลายหมู่มิตร มีปกติกล่าวคำทำให้มิตรแตกกันเป็นประจำ

หญิงเหล่านี้ ประกอบไปด้วยธรรมอันลามกเห็นปานนี้. เธอจะ

ไปต้องการหญิงเหล่านี้ ทำไมเล่า ? ดูก่อนภิกษุ เธอจงประพฤติ

พรหมจรรย์เถิด เพราะว่าการงดเว้นจากเมถุนธรรมนี้ ชื่อว่า

พรหมจรรย์ ด้วยอรรถว่าเป็นคุณอันบริสุทธิ์ เธอประพฤติ

พรหมจรรย์นั้น ก็จะไม่คลาดความสุข คือว่า เมื่อเธออยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์นั้น จักไม่คลาดความสุขในฌาน ได้แก่ความสุข

อันเกิดจากมรรค และความสุขอันเกิดจากผล อธิบายว่า จักไม่

ละความสุขนี้ คือจักไม่เสื่อมจากความสุขนี้. ปาฐะว่า น ปริหายสิ

เธอจักไม่เสื่อม ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างเดียวกันนี้แหละ.

พระบรมศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัส

ประกาศสัจจะทั้งหลาย. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุกระสันดำรงอยู่

ในโสดาปัตติผลแล้ว. แม้พระบรมศาสดา ก็ทรงสืบอนุสนธิ

ประชุมชาดกว่า นายโจรในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์

ในครั้งนี้ ส่วนตักกบัณฑิตได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาตักกชาดก ที่ ๓

๑. ม. อรรถกถาตักกบัณฑิตชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

๔. ทุรานชาดก

ภาวะของหญิง รู้ได้ยาก

[๖๔] " ท่านอย่าดีใจว่า หญิงปรารถนาเรา อย่า

เศร้าโศก ว่าหญิงนี้ไม่ปรารถนาเรา ภาวะของ

หญิงทั้งหลาย รู้ได้ยากเหมือนทางไปของปลา

ในน้ำ ฉะนั้น "

จบ ทุรานชาดกที่ ๔

อรรถกถาทุรานชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภอุบาสกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น

ว่า มา สุ นนฺทิ อิจฺฉติ ม ดังนี้.

ได้ยินมาว่า อุบาสกชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง ดำรงมั่นใน

สรณะทั้ง ๓ ในศีลทั้ง ๕ เป็นพุทธมามกะ (ยึดถือพระพุทธเจ้า

ว่าเป็นของเรา) เป็นธัมมมามกะ (ยึดถือพระธรรมว่าเป็นของ

เรา) เป็นสังฆมามกะ (ยึดถือพระสงฆ์ว่าเป็นของเรา). ส่วน

ภรรยาของเขา เป็นหญิงทุศีล มีบาปธรรม วันใดได้ประพฤติ

นอกใจผัว วันนั้นจะสดชื่นเหมือนนางทาสีที่ไถ่มาด้วยทรัพย์

๑๐๐ กษาปณ์ แต่ในวันไหนไม่ได้คบชู้ ก็จะเป็นเหมือนเจ้านาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

ที่ดุร้าย หยาบคาย. เขาอ่านใจนางไม่ออก เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เกิด

เอือมระอาในนางผู้เป็นภรรยา ไม่ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า. ภายหลัง

วันหนึ่ง เขาถือเครื่องสักการะมีของหอม และดอกไม้เป็นต้น

ไปถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ พระศาสดาตรัสว่า เป็นอย่างไรหรือ

จึงไม่ได้มายังสำนักของตถาคตถึง ๗ - ๘ วัน. เขากราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม่เรือนของข้าพระองค์ บางวันก็เป็น

เหมือนดังนางทาสีที่เขาไถ่มาด้วยทรัพย์นับร้อยกษาปณ์ บางวัน

ก็ทำเป็นเหมือนเจ้านาย ดุร้ายหยาบคาย ข้าพระองค์อ่านนาง

ไม่ออกเลย ข้าพระองค์เกิดเอือมระอาในนาง จึงไม่ได้เข้ามาเฝ้า

พระเจ้าข้า. ครั้นพระศาสดาทรงสดับคำของเขาแล้ว จึงตรัสว่า

อุบาสก ขึ้นชื่อว่า สภาพของมาตุคามรู้ได้ยากจริง แม้ในครั้งก่อน

บัณฑิตทั้งหลายก็เคยบอกกับท่านแล้ว แต่ท่านไม่อาจกำหนดได้

เพราะเกิด ๆ ดับ ๆ ระหว่างภพต่อภพมากำบังไว้ อันอุบาสก

กราบทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน กรุง-

พาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ให้มาณพ

๕๐๐ คน ศึกษาศิลปะ ครั้งนั้น มาณพผู้หนึ่งอยู่นอกแว่นแคว้น

มาเรียนศิลปะในสำนักของท่าน เกิดมีจิตปฏิพัทธ์ในหญิงนางหนึ่ง

ได้นางเป็นภรรยา พำนักอยู่ในกรุงพาราณสีนั่นแหละ ไม่ได้

ไปอุปัฏฐากอาจารย์เพียง ๒-๓ เวลา ส่วนหญิงผู้เป็นภรรยาของ

เขา เป็นหญิงมีนิสัยชั่ว ใฝ่ต่ำ ในวันที่ประพฤตินอกใจสามีได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

จะสดชื่นเหมือนนางทาสี (ที่เขาไถ่มาด้วยทรัพย์ ๑๐๐ กษาปณ์)

ในวันที่ประพฤติไม่ได้ ก็จะเป็นเหมือนเจ้านายที่ดุร้าย หยาบคาย.

เขาไม่อาจทราบความประพฤติของนางได้ จึงเกิดเอือมระอา

ขุ่นข้องหมองใจนาง ไม่ได้ไปสู่ที่บำรุงของอาจารย์. ครั้นล่วงมา

๗-๘ วันจึงได้มา ท่านอาจารย์จึงถามว่า พ่อมาณพ เป็นอะไร

ไปหรือ จึงไม่มาเลย. เขาบอกว่า ท่านอาจารย์ขอรับ ภรรยา

ของกระผมบางวันดูปรารถนากระผม ต้องการกระผม เป็น

เหมือนนางทาสีที่หมดมานะ บางวันก็เป็นเหมือนเจ้านาย กระด้าง

หยาบคาย กระผมไม่อาจอ่านสภาพใจของนางออกได้เลย จึง

เกิดเอือมระอา ขุ่นข้องหมองใจ มิได้มาปรนนิบัติท่านอาจารย์.

อาจารย์กล่าวว่า ดูก่อนมาณพ เรื่องนี้ก็เป็นอย่างนั้น ขึ้นชื่อว่า

หญิงที่นิสัยชั่ว ในวันที่ประพฤตินอกใจสามีได้ ก็ย่อมโอนอ่อน

ผ่อนตามสามี เหมือนทาสีที่หมดมานะแล้ว แต่ในวันที่ประพฤติ

นอกใจไม่ได้ จะกลายเป็นหญิงกระด้างด้วยมานะ ไม่ยอมรับ

นับว่าเป็นสามี ขึ้นชื่อว่าหญิงมีความประพฤติใฝ่ต่ำ นิสัยชั่ว

เหล่านี้ ก็เป็นอย่างนี้ ชื่อว่า สภาพของหญิงเหล่านั้น รู้ได้ยาก

ในเมื่อพวกนางจะต้องการก็ตาม ไม่ต้องการก็ตาม พึงตั้งตน

เป็นกลางเข้าไว้ แล้วกล่าวคาถานี้ โดยมุ่งให้โอวาทแก่เขาว่า :-

" อย่ายินดีเลยว่า นางปรารถนาเรา อย่า

เสียใจเลยว่านางไม่ปรารถนาเรา สภาพของหญิง

รู้ได้ยาก เหมือนรอยของปลาในน้ำ " ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

บรรดาบทเหล่านั้น สุ อักษรในบาทคาถาว่า มา สุ นนฺทิ

อิจฺฉติ น เป็นเพียงนิบาติ ความก็ว่า อย่ายินดีเลยว่า หญิงนี้

ต้องการเรา คือมีความปรารถนา มีความสิเน่หาในเรา

บทว่า มา สุ โสจิ น อิจฺฉติ ความว่า ทั้งไม่ต้องเสียใจ

ไปว่า " หญิงนี้ไม่ต้องการเรา " ขยายความว่า เมื่อนางต้องการ

ก็ไม่ต้องชื่นชม เมื่อนางไม่ต้องการ ก็ไม่ต้องโศกเศร้า. ทำใจ

เป็นกลางเข้าไว้.

บทว่า ถีน ภาโว ทุราชาโน ความว่า ขึ้นชื่อว่า ภาพของ

หญิงทั้งหลาย รู้ได้ยาก เพราะมีมายาหญิงปกปิดไว้.

เหมือนอะไร ?

เหมือนการไปของปลาในน้ำรู้ได้ยาก เพราะน้ำปกปิดไว้

ด้วยเหตุนี้แล เมื่อชาวประมงมา ปลาก็กำบัง การแหวกว่ายไป

ด้วยน้ำ หนีรอดไป ไม่ให้จับตัวได้ฉันใด หญิงทั้งหลายก็ฉันนั้น

เหมือนกัน กระทำความชั่วแม้ใหญ่หลวง ก็ปกปิดกรรมที่ตน

กระทำเสีย ด้วยมายาหญิง คือลวงสามีว่า ดิฉันไม่ได้กระทำ

อย่างนี้ ขึ้นชื่อว่าหญิงเหล่านี้ มีบาปธรรม มีความประพฤติชั่ว

อย่างนี้ ต้องทำใจให้เป็นกลางในนางเหล่านั้น จึงจะมีความสุข.

พระโพธิสัตว์ ได้ให้โอวาทแก่ศิษย์อย่างนี้ ตั้งแต่นั้นมา

เขาก็เริ่มวางมาดเหนือหญิงเหล่านั้น. ถึงแม้ภรรยาของเขา

พอรู้ว่า ได้ยินว่าท่านอาจารย์รู้ความประพฤติชั่วของเราแล้ว

ตั้งแต่นั้นมา ก็เลิกประพฤติชั่ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

แม้พระบรมศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง

ประกาศสัจจะทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ อุบาสกดำรงค์อยู่ใน

โสดาปัตติผลแล้ว พระศาสดาทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า

เมียผัวทั้งสองในครั้งนั้น ได้มาเป็นสองเมียผัวในครั้งนี้ ส่วน

อาจารย์ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาทุรานชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

๕. อนภิรติชาดก

เปรียบหญิงเหมือนของ ๕ อย่าง

[๖๕] "ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลายในโลก มีอุปมา

เหมือนแม่น้ำ หนทาง โรงน้ำดื่ม ที่ประชุม และ

บ่อน้ำ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่ถือโกรธหญิง

เหล่านั้น"

จบ อนภิรติชาดกที่ ๕

อรรถกถาอนภิรติชาดกที่ ๕

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหาร ชื่อว่า

เชตวัน ทรงปรารภอุบาสกผู้มีเรื่องอย่างนั้นแหละ ตรัสพระ-

ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยถา นที ปนฺโต จ ดังนี้.

ก็เมื่ออุบาสกนั้น คอยเฝ้าจับตาดูอยู่ ก็รู้ความที่หญิงผู้

เป็นภรรยานั้น มีความประพฤติชั่ว จึงมีจิตเดือดดาล และเพราะ

เหตุที่ตนเป็นผู้มีจิตกังวลขุ่นมัว จึงไม่ได้ไปสู่ที่บำรุงพระศาสดา

เสีย ๗-๘ วัน. ครั้นวันหนึ่งเขาไปวิหาร ถวายบังคมพระตถาคตเจ้า

นั่งเรียบร้อยแล้ว เมื่อพระศาสดาตรัสว่า เพราะเหตุไร จึงไม่มา

เสีย ๗-๘ วัน จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภรรยาของ

ข้าพระองค์ เป็นหญิงมีความประพฤติชั่ว เพราะเหตุที่ข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

มีจิตขุ่นหมองในเรื่องชั่ว ๆ ของนาง จึงมิได้มาเฝ้า พระเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก บุรุษต้องไม่ทำความขุ่นเคือง

ในหญิงทั้งหลายว่า หญิงเหล่านี้ ประพฤติอนาจาร พึงวางตน

เป็นกลางอย่างเดียว แม้ในกาลก่อน บัณฑิตทั้งหลายก็บอกท่าน

แล้ว แต่ท่านกำหนดเหตุนั้นไม่ได้ เพราะภพอื่นปกปิดไว้ อุบาสก

กราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-

พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ โดยนัยก่อน

นั่นแล. ครั้งนั้นศิษย์ของท่านก็ได้เห็นโทษของภรรยาแล้ว ไม่

มาหาเสีย ๒-๓ วัน เพราะความเป็นผู้มีจิตขุ่นหมอง วันหนึ่ง

ถูกอาจารย์ถาม ก็แจ้งเหตุนั้นให้ทราบ. ครั้นแล้วอาจารย์ของ

เขาจึงกล่าวว่า พ่อเอ๋ย ขึ้นชื่อว่าหญิง เป็นของทั่วไปแก่คนทั้งปวง

บัณฑิตทั้งหลายจะไม่ทำความขุ่นเคืองในหญิงเหล่านั้นเลย ว่า

หญิงเหล่านี้เป็นคนทุศีล มีแต่บาปธรรม แล้วกล่าวคาถานี้ โดย

มุ่งให้เป็นคำสอน ความว่า :-

"ขึ้นชื่อว่า หญิงทั้งหลายในโลก มีอุปมา

เหมือนแม่น้ำ หนทาง โรงน้ำดื่ม ที่ประชุม และ

บ่อน้ำ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่ถือโกรธหญิง

เหล่านั้น." ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา นที ความว่า แม่น้ำมีท่า

มาก เป็นสถานที่สาธารณะ แม้แก่คนชั้นต่ำ มีคนจัณฑาลเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

แม้แก่คนชั้นสูง มีกษัตริย์เป็นต้น ผู้มุ่งมาเพื่อจะอาบ ในบรรดา

คนเหล่านั้น ใคร ๆ ชื่อว่า จะอาบไม่ได้ ไม่มีเลย.

แม้ในบทมีอาทิว่า ปนฺโต ก็มีอธิบายว่า แม้หนทางใหญ่

ก็เป็นทางสาธารณะ สำหรับคนทั้งปวง ใคร ๆ ที่จะชื่อว่า ไม่ได้

เดินทางนั้น ก็มิได้มี.

บทว่า ปานาคาร ความว่า โรงเหล้า จัดเป็นสถานสาธารณะ

สำหรับคนทั่วไป คนใด ๆ ปรารถนาจะดื่ม ทุก ๆ คนก็มีสิทธิ

เข้าไปในโรงเหล้านั้นได้ทั้งนั้น แม้ถึงสภาที่ผู้ปรารถนาบุญ

สร้างไว้ เป็นที่พักอาศัยของมนุษย์ทั้งหลาย ในที่นั้น ๆ ก็เป็น

สถานสาธารณะ ใคร ๆ จะไม่ได้เข้าไปในสภานั้น ก็มิได้มี

แม้ประปา ที่เขาตั้งตุ่มน้ำสำหรับดื่มใกล้ทางใหญ่สร้างขึ้นไว้

ก็เป็นของสาธารณะสำหรับคนทั่วไป ใคร ๆ จะไม่ได้ดื่ม น้ำดื่ม

ในที่นั้น ก็มิได้มี ฉันใด.

บทว่า เอว โลกิตฺถิโย นาม ความว่า ดูก่อนพ่อมาณพ

หนุ่มน้อย หญิงทั้งหลายในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของ

สาธารณะสำหรับคนทั่วไป คือเป็นเช่นกับ แม่น้ำ หนทาง โรงดื่ม

สภา และประปา ด้วยอรรถว่า เป็นของทั่วไปนั้นแล. เพราะเหตุ

นั้น บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่โกรธเคืองหญิงเหล่านั้น อธิบายว่า

บัณฑิตคือคนฉลาด สมบูรณ์ด้วยความรู้ คิดเสียว่า หญิงเหล่านี้

ลามก อนาจาร ทุศีล เป็นหญิงสาธารณะแก่คนทั่วไป ดังนี้แล้ว

จึงไม่โกรธหญิงเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

พระโพธิสัตว์ให้โอวาทแก่ศิษย์อย่างนี้. เขาฟังโอวาท

นั้นแล้ว จึงวางใจเป็นกลางได้ แม้ภรรยาของเขา ก็คิดว่า ได้ยินว่า

อาจารย์รู้เรื่องของเราแล้ว ตั้งแต่บัดนั้น ก็ไม่ทำกรรมอันลามกอีก.

แม้ภรรยาของอุบาสกนั้น ก็คิดว่า ได้ยินว่า พระศาสดา

เรื่องของเราแล้ว ตั้งแต่นั้นก็ไม่ทำบาปกรรมอีก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสประกาศ

สัจจะทั้งหลาย เมื่อจบสัจจะอุบาสกก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.

แม้พระศาสดา ก็ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า คู่ผัวเมียใน

ครั้งนั้น ได้มาเป็นคู่เมียผัวในครั้งนี้ ส่วนพราหมณ์เป็นอาจารย์

ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอนภิรติชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

๖. มุทุลักขณชาดก

[๖๖] ครั้งเรายังไม่ได้นางมุทุลักขณาเทวี เกิด

ความปรารถนาเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อได้นาง-

มุทุลักขณา ผู้มีดวงตางามแล้ว ได้เกิดความ

ปรารถนาสิ่งต่าง ๆ ขึ้นอีก.

จบ มุทุลักขณชาดกที่ ๖

อรรถกถามุทุลักขณชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภสภาวธรรมทำให้คนเศร้าหมอง ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอกา อิจฺฉา ปุเร อาสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า บุรุษชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง ฟังพระธรรม-

เทศนาของพระศาสดาแล้ว บรรพชาถวายชีวิตในพระศาสนา

กล่าวคือ พระรัตนตรัย เป็นพระโยคาวจรผู้ปฏิบัติเคร่งครัด

ไม่ว่างเว้นพระกรรมฐาน วันหนึ่งเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนคร

สาวัตถี เห็นหญิงคนหนึ่งตกแต่งตัวสวยงาม ไม่สำรวมจักษุ จ้อง

ดูนาง ด้วยอำนาจของความงาม. กิเลสภายในของเธอหวั่นไหว

เป็นเหมือนต้นไม้มียางอันถูกกรีดด้วยมีดฉะนั้น. จำเดิมแต่นั้น

เธอก็ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ไม่ได้ความสบายกาย และความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

เบาใจเลยทีเดียว ดูวุ่นวายคล้ายกับชมด ไม่มีความยินดีในพระ-

ศาสนา ปล่อยผมและขนรุงรัง เล็บยาว จีวรก็เศร้าหมอง. ครั้งนั้น

ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสหาย เห็นความเปลี่ยนแปลงแห่งอินทรีย์ของ

เธอ พากันถามว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เป็นอย่างไรเล่า อินทรีย์ของเธอ

จึงไม่เหมือนก่อน ๆ. เธอตอบว่า ผู้มีอายุ ผมกระสัน (หมดความ

ยินดีในพระศาสนา). ภิกษุเหล่านั้นก็นำเธอไปยังสำนักของพระ-

ศาสดา. พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

พาภิกษุผู้ไม่ปรารถนามาหรือ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ภิกษุรูปนี้ไม่ยินดีแล้วแล้วพระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

จริงหรือที่ว่า เธอไม่ยินดีเสียแล้ว ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นความจริงพระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า ใคร

ทำให้เธอกระสันเล่า ? ภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อข้าพระองค์กำลังเที่ยวบิณฑบาต ได้เห็นหญิงคนหนึ่ง ไม่

สำรวมจักษุมองดูนาง ลำดับนั้นกิเลสของข้าพระองค์ก็กำเริบ

เหตุนั้นข้าพระองค์จึงกระสัน พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสกะ

เธอว่า ดูก่อนภิกษุ การที่เธอทำลายอินทรีย์ มองดูวิสภาคารมณ์

ด้วยอำนาจแห่งความงาม กิเลสกำเริบนี้ ไม่อัศจรรย์ ในครั้งก่อน

แม้พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ข่มกิเลสได้

แล้วด้วยกำลังฌาน มีจิตบริสุทธิ์ เที่ยวไปในอากาศได้ เมื่อ

ทำลายอินทรีย์มองดูวิสภาคารมณ์ ก็เสื่อมจากฌาน กิเลสกำเริบ

เสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวง ลมมีกำลังถอนภูเขาสิเนรุได้ ที่ไหน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

จะไม่พัดภูเขาโล้น เพียงเท้าช้างให้ปลิวไป ลมที่โค่นต้นหว้าใหญ่

ที่ไหนเล่า จะไม่พัดกอไม้อันงอกขึ้นที่ตลิ่งนั้นให้ลอยไปได้ อนึ่ง

เล่า ลมที่พัดมหาสมุทรให้แห้งได้ ไฉนเล่าจึงจะไม่พัดน้ำในบ่อน้อย

ให้เหือดแห้งไป กิเลสอันกระทำความไม่รู้ แก่พระโพธิสัตว์ ผู้

มีความรู้สูงส่ง ผู้มีจิตผ่องแผ้วได้ปานนี้ จักยำเกรงอะไรในเธอ

เล่า สัตว์แม้นบริสุทธิ์ต้องเศร้าหมอง แม้เพรียบพร้อมด้วยยศ

อันสูงส่ง ก็ยังถึงความสิ้นยศได้ ทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-

พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ มีสมบัติมาก

ตระกูลหนึ่ง ในแคว้นกาสี บรรลุความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เรียนจบ

ศิลปะทุกประเภท ละกามเสียแล้วไปบวชเป็นฤาษี กระทำกสิณบริกรรม

ให้อภิญญาสมาบัติเกิดขึ้น แล้วยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌาน

พำนักอาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศ กาลครั้งหนึ่งท่านเข้ามา ท่าน

มาจากป่าหิมพานต์ เพื่อบริโภคโภชนะมีรสเค็ม รสเปรี้ยวบ้าง

บรรลุถึงกรุงพาราณสี พำนักอยู่ในพระราชอุทยาน รุ่งขึ้น

กระทำสรีรกิจเสร็จแล้ว ครองผ้าเปลือกไม้ ห่มหนังสือเฉวียงบ่า

เกล้าผมเรียบร้อยแล้ว ทรงบริขาร เที่ยวภิกษาจารอยู่ในกรุง-

พาราณสี ถึงประตูพระราชนิเวศน์. พระราชทรงเลื่อมใสใน

อิริยาบถของท่าน รับสั่งให้นิมนต์มา ให้นั่งเหนืออาสนะอันมีค่า

มาก ทรงอังคาสด้วยขาทนียโภชานียาหารอันประณีต ท่านกระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

อนุโมทนาแล้ว ทรงอาราธนาให้พำนักในพระราชอุทยาน. พระ-

ดาบสก็รับพระราชอายาจนการ ฉันในพระราชวัง ถวายโอวาท

ราชสกุล พำนักอยู่ในพระราชอุทยาน ๑๖ ปี. อยู่มาวันหนึ่ง

พระราชเสด็จไปปราบปรามปัจจันตชนบทอันกำเริบ ตรัสสั่ง

พระมเหษีพระนามว่า มุทุลักขณา ว่า เธอจงอย่าประมาท จง

ปรนนิบัติพระผู้เป็นเจ้า ดังนี้ แล้วเสด็จไป.

พระโพธิสัตว์ ตั้งแต่เวลาที่พระราชาเสด็จไปแล้ว ก็ไปสู่

พระราชวัง ตามเวลาที่ตนพอใจ. อยู่มาวันหนึ่ง พระนางมุทุลักขณา

ทรงเตรียมอาหารสำหรับพระโพธิสัตว์เสร็จ ทรงดำริว่า วันนี้

พระคุณเจ้า คงช้า ก็ทรงสรงสนานด้วยพระสุคันโธทก ตกแต่ง

พระองค์ด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ให้ลาดพระยี่ภู่น้อย ณ พื้น

ท้องพระโรง ประทับเอนพระกายรอพระโพธิสัตว์จะมา ฝ่าย

พระโพธิสัตว์ กำหนดเวลาของตนแล้ว ออกจากฌานเหาะไปสู่

พระราชนิเวศน์ทันที พระนางมุทุลักขณา ทรงสดับเสียงผ้า

เปลือกไม้ รับสั่งว่า พระผู้เป็นเจ้ามาแล้ว รีบเสด็จลุกขึ้น. เมื่อ

พระนางรีบเสด็จลุกขึ้น ผ้าที่ทรงเป็นผ้าเนื้อเกลี้ยงก็หลุดลง.

พอดีพระดาบสเข้าทางช่องพระแกล แลเห็นรูปารมณ์อันเป็น

วิสภาคของพระเทวี ก็ทำลายอินทรีย์เสียตลึงดูด้วยอำนาจความ

งาม ที่นั้นกิเลสที่อยู่ภายในของท่านก็กำเริบ เป็นเหมือนต้นไม้

มียางที่ถูกมีดกรีด ทันใดนั้นเอง ฌานของท่านก็เสื่อม เป็นเหมือน

กาปีกหักเสียแล้ว. พระโพธิสัตว์ยืนตลึงรับอาหารแล้ว ก็หา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

บริโภคไม่ เสียวสะท้านไปเพราะกิเลสทั้งหลาย ลงจากปราสาท

เดินไปพระราชอุทยาน เข้าบรรณศาลา วางอาหารไว้ใต้ที่นอน

อันเป็นกระดานเลียบ วิสภาคารมณ์ติดตาตรึงใจ ไฟกิเลสแผดเผา

ซูบเซียวเพราะขาดอาหาร นอนซมบนกระดานเลียบถึง ๗ วัน.

ในวันที่ ๗ พระราชทรงปราบปรามปัจจันตชนบททราบคาบ

แล้ว เสด็จกลับมา ทรงประทับษิณพระนครแล้ว ยังไม่เสด็จไป

พระราชนิเวศน์ทีเดียว ทรงพระดำริว่า เราจักพบพระผู้เป็นเจ้า

ก่อน ดังนี้แล้ว เสด็จเลยไปพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็น

ท่านนอน ทรงดำริว่า ชะรอยจะเกิดความไม่สำราญสักอย่างหนึ่ง

รับสั่งให้ทำความสะอาดบรรณศาลา พลางทรงนวดเฟ้นเท้าทั้งสอง

รับสั่งถามว่า พระผู้เป็นเจ้าไม่สบายไปหรือ ? พระดาบสถวาย

พระพรว่า มหาบพิตร ความไม่สำราญอย่างอื่นไม่มีแก่อาตมาภาพ

แต่เพราะอำนาจกิเลส อาตมาภาพมีจิตกำหนัดเสียแล้ว. รับสั่ง

ถามว่า พระคุณเจ้าข้า จิตของพระคุณเจ้า ปฏิพัทธ์ในนางคน

ไหน ? ถวายพระพรว่า จิตของอาตมาภาพปฏิพัทธ์ในพระนาง-

มุทุลักขณา. รับสั่งว่า ดีแล้วพระคุณเจ้าข้า ข้าพเจ้ายินดีถวาย

พระนางมุทุลักขณาแด่พระคุณเจ้า แล้วทรงพาพระดาบสเข้า

พระราชนิเวศน์ ให้พระเทวีประดับพระองค์ด้วยเครื่องต้น เครื่อง

ทรง งามสรรพ และได้พระราชทานแก่พระดาบส แต่เมื่อจะ

พระราชทานนั้น ได้ทรงพระราชท่านสัญญาลับแด่พระนางมุทุ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

ลักขณาว่า เธอต้องพยายามป้องกันพระผู้เป็นเจ้าด้วยกำลังของ

ตน. พระนางรับสนองพระราชโองการว่า พะยะค่ะ กระหม่อมฉัน

จักรักษาตนให้พ้นมือพระคุณเจ้า. ดาบสก็พาพระเทวีลงจาก

พระราชนิเวศน์ เวลาที่จะออกพ้นประตูใหญ่ พระนางตรัสกะ

ท่านว่า ท่านเจ้าค่ะ เราควรจะได้เรือน ท่านจงไปกราบทูลขอ

พระราชทานเรือนสักหลังหนึ่งเถิด ดาบสก็ไปกราบทูลของพระ-

ราชทานเรือน. พระราชาพระราชทานเรือนร้างหลังหนึ่ง ซึ่ง

มนุษย์ใช้เป็นวัจจกุฏิ ท่านก็พาพระเทวีไปที่เรือนนั้น พระนาง

ไม่ทรงประสงค์จะเข้าไป ท่านทูลถามว่าเหตุไร จึงไม่เสด็จเข้า

ไป ? พระนางรับสั่งว่า เพราะเรือนสกปรก. พระดาบสทูลถาม

ว่า บัดนี้เราควรจะทำอย่างไร ? พระนางรับสั่งว่า ต้องทำความ

สะอาดเรือนนั้น แล้วส่งดาบสไปสู่ราชสำนัก มีพระเสาวนีย์ว่า

ท่านจงไปเอาจอบมา เอาตะกร้ามา ครั้นดาบสนำมาแล้ว ก็ให้

โกยสิ่งสกปรกและขยะเอาไปทิ้ง เสร็จแล้วให้ไปขนเอาโคมัย

มาฉาบไว้ ครั้นแล้วก็ตรัสว่า ท่านต้องไปขนเตียงมา ขนตั่งมา

แล้วให้พระดาบสขนมาทีละอย่าง มิหนำซ้ำ ยังแกล้งใช้ให้ตักน้ำ

เป็นต้นอีกด้วย. พระดาบสเอาหม้อไปตักน้ำมาจนเต็มตุ่ม เตรียม

น้ำสำหรับอาบ ปูที่นอน. ที่นั้น พระนางเทวีทรงจับพระดาบส

ผู้กำลังนั่งร่วมกันบนที่นอน มีสีข้าง ฉุดให้ก้มลงมาตรงหน้า

พลางตรัสว่า ท่านไม่รู้ตัวว่า เป็นสมณะหรือเป็นพราหมณ์เลย

หรือเจ้าคะ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

พระดาบส กลับได้สติในเวลานั้นเอง. แต่ตลอดเวลาที่

ผ่านมา ท่านไม่รู้ตัวเอาเสียเลย. ขึ้นชื่อว่ากิเลสทั้งหลาย กระทำ

ความไม่รู้ตัวได้ถึงอย่างนี้. ก็ในอธิการนี้ ควรกล่าวอ้างพระ-

พุทธพจน์มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามฉันทนิวรณ์ กระทำ

ให้มืด กระทำให้ไม่รู้ตัว ดังนี้ ไว้ด้วย. พระดาบส กลับได้สติ

คิดว่า ตัณหานี้เมื่อเจริญขึ้น จักไม่ให้เรายกศีรษะขึ้นได้จาก

อบายทั้ง ๔ เราควรถวายคืนพระนางเทวีนี้แด่พระราชา แล้ว

กลับเข้าสู่ป่าหิมวันต์ในวันนี้ทีเดียว ดังนี้แล้ว พาพระนางเทวี

เข้าเฝ้าพระราชาถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร อาตมภาพ

ไม่มีความต้องการพระเทวีของมหาบพิตร เพราะอาศัยพระนาง

ผู้เดียว ตัณหาจึงเจริญแก่อาตมภาพทุกอย่างเลย แล้วกล่าว

คาถานี้ ความว่า :-

"ครั้งก่อน เรายังไม่ได้ประสบพระนาง-

มุทุลักขณา ความปรารถนามีอย่างเดียว ครั้นได้

พบพระนางผู้มีพระเนตรแวววาวเข้าแล้ว ความ

ปรารถนาช่วยให้ความปรารถนาเกิดได้ต่าง ๆ"

ดังนี้.

ในคาถานั้นประมวลอรรถาธิบายได้ดังนี้ :- ขอถวาย

พระพรมหาบพิตร ครั้งก่อนอาตมาภาพ ยังไม่ได้รับพระราชทาน

พระเทวีมุทุลักขณา ของมหาบพิตรองค์นี้ อาตมภาพมีความ

ปรารถนาอย่างเดียว เกิดความต้องการขึ้นอย่างเดียวเท่านั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

โอหนอ เราพึงได้พระนาง แต่พออาตมาภาพได้รับพระราชทาน

พระนาง ผู้มีพระเนตรแวววาว มีพระเนตรกว้าง มีดวงตาพระเนตร

งามขำเข้าแล้ว ทีนั้นความปรารถนาข้อแรกของอาตมา ช่วยให้

กำเนิดเกิดความปรารถนาสืบต่อเนื่องขึ้นไป เช่น ความ

ปรารถนาเรื่องเรือน ความปรารถนาในเครื่องอุปกรณ์ ความ

ปรารถนาในเครื่องอุปโภคเป็นต้น ก็ความปรารถนาของอาตมา

นั้นเล่า เมื่อพอกพูนเข้าอย่างนี้ จักไม่ยอมให้อาตมภาพยกศีรษะ

ขึ้นได้จากอบาย พอกันทีสำหรับพระนางนี้ ที่จะเป็นภรรยาของ

อาตมภาพ ขอมหาบพิตร จงรับมเหสีของมหาบพิตรคืนไป

ส่วยอาตมภาพจักไปหิมพานต์.

ทันใดนั้นเอง พระดาบสก็ทำฌานที่เสื่อมไปให้เกิดขึ้น

นั่งในอากาศแสดงธรรม ถวายโอวาทแด่พระราชา แล้วไปสู่

ป่าหิมพานต์ทางอากาศทันที ไม่มาสู่ประเทศ ที่ชื่อว่าเป็นถิ่น

ของมนุษย์อีกเลย แต่เจริญพรหมวิหาร ไม่เสื่อมจากฌาน บังเกิด

ในพรหมโลกแล้ว.

พระบรมศาสดา ครั้งทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว

ทรงประกาศสัจธรรม เมื่อจบสัจจะ ภิกษุนั้นประดิษฐานใน

พระอรหัตผล. พระศาสดาทรงสืบต่ออนุสนธิ ประชุมชาดกว่า

พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์ในครั้งนี้ มุทุลักขณา

ได้มาเป็นอุบลวัณณา ส่วนฤาษีได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามุทุลักขณาชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

๗. อุจฉังคชาดก

หญิงหาลูกหาผัวได้ง่าย

[๖๗] "ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ บุตรของ

หม่อมฉันหาได้ง่ายเหมือนกับผักในพก เมื่อ

หม่อมฉันเดินไปตามทาง สามีก็หาได้ง่าย

หม่อมฉันไม่เห็นประเทศที่จะนำพี่ชายผู้ร่วม

อุทรมาได้"

จบ อุจฉังคชาดกที่ ๗

อรรถกถาอุจฉังคชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภหญิงชาวชนบทคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า อุจฺฉงฺเค เทฺว เม ปุตฺโต ดังนี้

ความพิสดารว่า ในแคว้นโกศล มีคน ๓ คน ไถนาอยู่ที่

ปากดงแห่งหนึ่ง. ในสมัยนั้น พวกโจรในดง คุมพวกปล้นหมู่มนุษย์

แล้วพากันหนีไป พวกมนุษย์สืบจับโจรพวกนั้น เมื่อไม่พบ จึง

ตามมาจนถึงที่นั่น กล่าวว่า พวกเจ้าเที่ยวปล้นเขาในดงแล้ว

เดี๋ยวนี้แสร้งทำเป็นชาวนา จับคนเหล่านั้น ด้วยสำคัญว่า พวกนี้

เป็นโจร นำมาถวายพระเจ้าโกศล. ครั้งนั้นมีหญิงคนหนึ่ง มา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

ร่ำไห้ว่า โปรดพระราชทานเครื่องนุ่งห่มแก่หม่อมฉันเถิด เดิน

วนเวียนพระราชนิเวศน์ไป ๆ มา ๆ. พระราชาทรงสดับเสียง

ของนางแล้ว รับสั่งว่า พวกเจ้าจงให้ผ้าห่มแก่นาง. พวกราชบุรุษ

พากันหยิบผ้าสาฎกส่งให้. นางเห็นผ้านั้นแล้วกล่าวว่า ดิฉันไม่ได้

ขอพระราชทานผ้านี้ดอก ดิฉันขอพระราชทานเครื่องนุ่งห่มคือสามี

พวกมนุษย์พากันไปกราบบังคมทูลแด่พระราชา ว่า พระเจ้าข้า

นัยว่าหญิงผู้นี้มิได้พูดถึงผ้านุ่งห่มนี้ นางพูดเครื่องนุ่งห่มคือสามี.

พระราชาจึงรับสั่งให้นางเข้าเฝ้า มีพระราชาดำรัสถามว่า ได้

ยินว่าเจ้าขอผ้าคือสามีหรือ ? นางกราบทูลว่า พระเจ้าค่ะ พระองค์

ผู้สมมติเทพ สามีชื่อว่าเป็นผ้าห่มของสตรีโดยแท้ เพราะเมื่อ

ไม่มีสามี แม้สตรีจะนุ่งผ้าราคาตั้งพันกระษาปณ์ จะต้องชื่อว่า

เป็นหญิงเปลือยอยู่นั่นเอง พระเจ้าค่ะ. ก็เพื่อจะให้เนื้อความนี้

สำเร็จประโยชน์ บัณฑิตพึงนำเรื่องมาสาธกดังนี้ว่า :-

" แม่น้ำที่ไม่มีน้ำ ชื่อว่า เปลือย แว่นแคว้น

ที่ปราศจากพระราชาชื่อว่าเปลือย หญิงปราศจาก

ผัวถึงจะมีพี่น้องตั้ง ๑๐ คน ก็ชื่อว่าเปลือย ดังนี้ ".

พระราชาทรงเลื่อมใสนาง รับสั่งถามว่า คนทั้ง ๓ เหล่านี้

เป็นอะไรกับเจ้า ?

นางกราบทูลว่า ขอเดชะข้าแต่พระองค์สมมติเทพ คนหนึ่ง

เป็นสามี คนหนึ่งเป็นพี่ คนหนึ่งเป็นบุตร พระเจ้าค่ะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

พระราชารับสั่งถามว่า เราพอใจเจ้า ในคน ๓ คนนี้ เรา

จะยกให้เจ้าคนหนึ่ง เจ้าปรารถนาคนไหนเล่า ?

นางกราบทูลว่า ขอเดชะ พระกรุณาเป็นต้นพ้น เมื่อ

หม่อมฉันยังมีชีวิตอยู่ สามีคนหนึ่งต้องหาได้ แม้บุตรก็ต้องได้

ด้วย. แต่เพราะมารดาบิดาของหม่อมฉันเสียชีวิตแล้ว พี่ชาย

คนเดียวหาได้ยาก พระเจ้าค่ะ จงโปรดพระราชทานพี่ชายแก่

กระหม่อมฉันเถิด พระเจ้าค่ะ. พระราชาทรงยินดีแล้ว โปรด

ให้ปล่อยไป ทั้ง ๓ คน เพราะอาศัยหญิงนั้นผู้เดียว คนทั้ง ๓ จึง

พ้นจากทุกข์ได้ ด้วยประการฉะนี้. เรื่องนั้นรู้กันทั่วในหมู่ภิกษุ.

อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในโรงธรรม นั่งสนทนา

สรรเสริญคุณของหญิงนั้นว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย อาศัยหญิงคนเดียว

คน ๓ คน พ้นทุกข์หมด. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรเล่า ?

เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่หญิงผู้นี้จะปลดเปลื้องคนทั้ง ๓

ให้พ้นจากทุกข์ ถึงแม้ในปางก่อน ก็ปลดเปลื้องแล้วเหมือนกัน

ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-

พาราณสี คนทั้ง ๓ พากันไถนาอยู่ที่ปากดง ดังนี้ ต่อนั้นไป

เรื่องทั้งหมดก็เหมือนกับเรื่องก่อนนั่นแหละ. (แต่ที่แปลกออกไป

มีดังนี้) :- เมื่อพระราชาตรัสถามว่า ในคนทั้ง ๓ เจ้าต้องการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

ใครเล่า ? นางกราบทูลว่า ขอเดชะพระบารมีเป็นล้นพ้น พระองค์

ไม่สามารถจะพระราชทานหมดทั้ง ๓ คน หรือพระเจ้าค่ะ ?

พระราชาตรัสว่า เออเราไม่อาจให้ได้ทั้ง ๓ คน. นางกราบทูล

ว่า ขอเดชะพระกรุณาเป็นล้นพ้น แม้นไม่ทรงสามารถพระราชทาน

ได้ทั้ง ๓ คนไซร้ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานพี่ชายแก่หม่อมฉัน

เถิด เจ้าต้องการพี่ชาย เพราะเหตุไร ๆ จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ

พระบารมีล้นเกล้า ธรรมดาคนเหล่านี้หาได้ง่าย แต่พี่ชาย

กระหม่อมฉันหาได้ยากพระเจ้าค่ะ แล้วกราบทูลคาถานี้ว่า :-

" ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ บุตรอยู่

ในพกของเกล้ากระหม่อมฉัน สามีเล่าเมื่อเกล้า

กระหม่อมฉันไปตามทาง (ก็หาได้) แต่ประเทศ

ที่หม่อมฉันจะหาพี่น้องร่วมอุทรได้ เกล้า-

กระหม่อมฉันมองไม่เห็นเลย " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺฉงฺเค เทว เม ปุตฺโต ความว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ บุตรอยู่ในพกของเกล้ากระหม่อมฉัน

แล้วทีเดียว โดยเปรียบความว่า เมื่อหม่อมฉันเข้าป่าทำผ้าเป็น

พกไว้ เก็บผักใส่ในพกนั้น ผักจึงชื่อว่า เป็นของหาง่าย เพราะ

มีอยู่ในพก ฉันใด แม้หญิงก็หาบุตรได้ง่ายฉันนั้น เป็นเช่นกับผัก

ในพกนั่นทีเดียว ด้วยเหตุนั้น หม่อมฉันจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้สมมติเทพ บุตรอยู่ในพกของหม่อมฉัน. ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

บทว่า ปเถ ธาวนฺติยา ปติ ความว่า ธรรมดาว่าสามี

สตรีย่างขึ้นสู่หนทาง เดินไปคนเดียวประเดี๋ยวก็ได้ ชายที่พบเห็น

เป็นสามีได้ทั้งนั้น ด้วยเหตุนั้นหม่อมฉันจึงกล่าวว่า "สามีเล่า

เมื่อเกล้ากระหม่อมฉันเที่ยวไปตามทาง (ก็หาได้) ดังนี้.

บทว่า ตญฺจ เทส น ปสฺสามิ ยโต โสทริยมานเย ความว่า

แต่เพราะมารดาบิดาของหม่อมฉันไม่มีเสียแล้ว เพราะฉะนั้น

บัดนี้ประเทศอื่นกล่าวคือท้องของมารดา ที่หม่อมฉันจะหาพี่น้อง

ซึ่งกล่าวว่าร่วมท้องกัน เพราะเกิดร่วมอุทรนั้น หม่อมฉันมอง

ไม่เห็นเลย พระเจ้าค่ะ เพราะเหตุนั้นขอพระองค์ทรงพระกรุณา

โปรดพระราชทานพี่ชายแก่หม่อมฉันเถิดพระเจ้าค่ะ

พระราชาทรงพระดำริว่า นางนี้พูดจริง ดังนี้แล้วมี

พระทัยยินดี แล้วโปรดให้นำคนทั้ง ๓ มาจากเรือนจำ พระราชทาน

ให้นางไป. นางจึงพาคนทั้ง ๓ กลับไป.

พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่

ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน นางก็เคยช่วยคนทั้ง ๓ นี้ให้พ้น

จากทุกข์แล้วเหมือนกัน ดังนี้ ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้

มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า คนทั้ง ๔ ในอดีตได้มา

เป็นคนทั้ง ๔ ในปัจจุบัน ส่วนพระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็น

เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอุจฉังคชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

๘. สาเกตชาดก

ว่าด้วยจิตใจจดจ่อเลื่อมใสในผู้ที่คุ้นเคย

่ [๖๘] ใจจดจ่ออยู่ในผู้ใด แม้จิตเลื่อมใสใน

ผู้ใด บุคคลพึงคุ้นเคยสนิทสนมแม้ในผู้นั้น

ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน

จบ สาเกตชาดกที่ ๘

อรรถกถาสาเกตชาดกที่ ๘

พระศาสดาทรงอาศัยเมืองสาเกต ประทับ ณ พระวิหาร-

อัญชนวัน ทรงปรารภพราหมณ์ผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺมึ มโน นิวีสติ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า แวดล้อมด้วยหมู่

ภิกษุ เสด็จเข้าเมืองสาเกตเพื่อบิณฑบาต พราหมณ์แก่ชาวเมือง

สาเกตุหนึ่ง กำลังเดินไปนอกพระนคร เห็นพระทศพลระหว่าง

ประตู ก็หมอบลงแทบพระยุคลบาท ยึดข้อพระบาททั้งคู่ไว้แน่น

พลางกราบทูลว่า พ่อมหาจำเริญ ธรรมดาว่าบุตร ต้องปรนนิบัติ

มารดาบิดาในยามแก่มิใช่หรือ เหตุไรพ่อจึงไม่แสดงตนแก่เรา

ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ เราเห็นต่อก่อนแล้ว แต่พ่อจงมาพบ

กับมารดา แล้วพาพระศาสดาไปเรือนของตน. พระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

เสด็จไปที่เรือนของพราหมณ์ ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาจัดไว้

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. ฝ่ายพราหมณี ได้ข่าวว่า บัดนี้บุตรของเรา

มาแล้ว ก็มาหมอบแทบบาทยุคลของพระบรมศาสดา แล้วร่ำไห้ว่า

พ่อคุณทูลหัว พ่อไปไหนเสียนานถึงปานนี้ ธรรมดาบุตรต้องบำรุง

มารดาบิดายามแก่มิใช่หรือ แล้วบอกให้บุตรธิดา พากันมาไหว้

ด้วยคำว่า พวกเจ้าจงไหว้พี่ชายเสีย. พราหมณ์ทั้งสองผัวเมีย

ดีใจ ถวายมหาทาน. พระศาสดาครั้นเสวยเสร็จแล้ว ก็ตรัส

ชราสูตร แก่พราหมณ์แม้ทั้งสองเหล่านั้น. ในเวลาจบพระสูตร

คนแม้ทั้งสองก็ตั้งอยู่ในพระอนาคามิผล. พระศาสดาเสด็จลุก

จากอาสนะเสด็จไป พระวิหารอัญชนวันตามเดิม. พวกภิกษุนั่ง

ประชุมกันในโรงธรรม สนทนากันขึ้นว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย

พราหมณ์ก็รู้อยู่ว่า พระบิดาของพระตถาคต คือพระเจ้าสุทโธทนะ

พระมารดา คือพระนางมหามายา ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ ก็ยังบอกพระ-

ตถาคตกับนางพราหมณีว่า บุตรของเรา ถึงพระศาสดา ก็ทรงรับ

ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไรหนอ ? พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของ

ภิกษุเหล่านั้น แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์แม้

ทั้งสองเรียกบุตรของตน นั่นแหละว่าบุตร แล้วทรงนำอดีต

นิทานมาตรัสว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์นี้ในอดีตกาล

ได้เป็นบิดาของเราตลอด ๕๐๐ ชาติ. เป็นอาของเรา ๕๐๐ ชาติ

เป็นปู่ของเรา ๕๐๐ ชาติ ติดต่อกันไม่ขาดสาย แม้นางพราหมณี

นี้เล่า ก็ได้เป็นมารดาของเรา ๕๐๐ ชาติ เป็นน้า ๕๐๐ ชาติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

เป็นย่า ๕๐๐ ชาติ ติดต่อกันไม่ขาดสายเลยดุจกัน เราเจริญแล้ว

ในมือของพราหมณ์ ๑,๕๐๐ ชาติ จำเริญแล้วในมือของนาง-

พราหมณี ๑,๕๐๐ ชาติอย่างนี้ เป็นอันทรงตรัสถึงชาติในอดีต

๓,๐๐๐ ชาติ ครั้นตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จึงตรัส

พระคาถานี้ ความว่า : -

"ใจจดจ่ออยู่ในผู้ใด แม้จิตเลื่อมใสในผู้ใด

บุคคลพึงคุ้นเคยสนิทสนมแม้ในผู้นั้น ทั้ง ๆ ที่

ไม่เคยเห็นกันมาก่อน" ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺมึ มโน นิวีสติ ความว่า

ใจจดจ่ออยู่ในบุคคลใด ผู้เพียงแต่เห็นกันเท่านั้น.

บทว่า จิตฺตญฺจาปิ ปสีทติ ความว่า อนึ่งจิตย่อมเลื่อมใส

อ่อนโยน ในบุคคลใด ผู้พอเห็นเข้าเท่านั้น.

บทว่า อทิฏฺปุพฺพเก โปเส ความว่า ในบุคคลแม้นั้น

ถึงในยามปกติ จะเป็นบุคคลที่ไม่เคยเห็นกันเลยในอัตภาพนั้น

บทว่า กาม ตสฺมึปิ วิสฺสเส มีอธิบายว่า ย่อมคุ้นเคยกัน

โดยส่วนเดียว คือถึงความคุ้นกันทันที แม้ในบุคคลนั้น ด้วย

อำนาจความรักที่เคยมีในครั้งก่อนนั่นเอง.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาอย่างนี้แล้ว ทรง

สืบอนุสนธิประชุมชาดก ว่า พราหมณ์และพราหมณีในครั้งนั้น

ได้มาเป็นพราหมณ์ และนางพราหมณีคู่นี้ นั่นแล ฝ่ายบุตร

ได้แก่เราตถาคตนั่นเอง ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสาเกตชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

๙. วิสวันตชาดก

ตายดีกว่า ดูดพิษที่คายออกแล้ว

[๖๙] เราจักดูดพิษที่คายออกแล้ว เพราะเหตุ

แห่งชีวิต อันใด พิษที่คายออกแล้วนั้น น่า

ขยะแขยง เราตายเสียยังประเสริฐกว่ามีชีวิตอยู่.

จบ วิสวันตชาดกที่ ๙

อรรถกถาวิสวันตชาดกที่ ๙

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-

วิหาร ทรงปรารภพระธรรมเสนาบดี ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า ธิรตฺถุ ต วิส วนฺต ดังนี้.

ได้ยินว่าในคราวที่พระสารีบุตรเถระขบฉันของเคี้ยวที่

ทำด้วยแป้ง พวกมนุษย์พากันนำของเคี้ยวที่ทำด้วยแป้งเป็น

จำนวนมาก มาสู่วิหารเพื่อพระสงฆ์ ของที่เหลือจากที่ภิกษุสงฆ์

รับเอาไว้ ยังมีมาก พวกมนุษย์พากันพูดว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย

โปรดรับไว้ เพื่อภิกษุที่ไปในบ้านด้วยเถิด. ขณะนั้นภิกษุหนุ่ม

สัทธิวิหาริกของพระเถระเจ้าไปในบ้าน พวกภิกษุรับส่วนของ

เธอไว้ เมื่อเธอยังไม่มา เห็นว่าเป็นเวลาสายจัด ก็ถวายแด่พระ-

เถระเจ้า. เมื่อท่านฉันแล้ว ภิกษุหนุ่มจึงไปถึง. ครั้งนั้นพระเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

กล่าวกะเธอว่า ผู้มีอายุ ฉันบริโภคของเคี้ยวที่เก็บไว้เพื่อเธอ

หมดแล้ว. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า ธรรมดาของอร่อย

ใครจะไม่ชอบเล่าขอรับ. ความสลดใจ เกิดขึ้นแก่พระมหาเถระเจ้า

ท่านเลยอธิษฐานไว้ว่า ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจักไม่ฉันของเคี้ยว

ที่ทำด้วยแป้ง. ข่าวว่า ตั้งแต่บัดนั้น พระสารีบุตรเถระเจ้าไม่เคย

ฉันของที่ชื่อว่า ของเคี้ยวทำด้วยแป้งเลย. ความที่ท่านไม่ฉัน

ของเคี้ยวทำด้วยแป้ง เกิดแพร่หลายไปในหมู่ภิกษุ. ภิกษุทั้งหลาย

นั่งในธรรมสภา พูดกันถึงเรื่องนั้น. ครั้งนั้นพระบรมศาสดา

เสด็จมา ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอประชุมสนทนากัน

ด้วยเรื่องอะไรเล่า ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ

แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรแม้จะเสียชีวิต ก็ไม่

ยอมรับสิ่งที่ตนทิ้งเสียครั้งหนึ่งอีกทีเดียว แล้วทรงนำเรื่องราว

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลหมอรักษาพิษ เลี้ยง

ชีวิตด้วยเวชกรรม. ครั้งนั้นงูกัดชาวชนบทคนหนึ่ง พวกญาติ

ของเขาไม่ประมาท รีบนำมาหาหมอโดยเร็ว. หมอถามว่า จะ

พอกยาถอนพิษก่อน หรือจะให้เรียกงูตัวที่กัดมา แล้วให้มัน

นั่นแหละ ดูดพิษออกจากแผลที่มันกัด. พวกญาติพากันกล่าวว่า

โปรดเรียกงูมาให้มันดูดพิษออกเถิด. หมอจึงเรียกงูมาแล้ว

กล่าวว่า เจ้ากัดคนผู้นี้หรือ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

งู. ใช่แล้ว เรากัด.

หมอ. เจ้านั่นแหละจงเอาปากดูดพิษจากปากแผล ที่เจ้า

กัดแล้ว.

งู. เราไม่เคยกลับดูดพิษที่เราทิ้งไปครั้งหนึ่งแล้วเลย.

เราจักไม่ยอมดูดพิษที่เราคายไปแล้ว หมอให้คนหาฟืนมาก่อไฟ

พลางบังคับว่า ถ้าเจ้าไม่ดูดคืนพิษของเจ้า ก็จงเข้าไปสู่กองไฟ

นี้เถิด. งูกล่าวตอบว่า เราจะขอเข้ากองไฟ แต่ไม่ขอยอมดูดคืน

ซึ่งพิษที่ตนปล่อยไปแล้วครั้งหนึ่ง เป็นอันขาด แล้วกล่าวคาถานี้

ความว่า :-

" พิษที่คายแล้วนั้น น่ารังเกียจนัก การที่

เราต้องดูดพิษที่ตายแล้ว เพราะเหตุแห่งความ

อยู่รอดนั้น ให้เราตายเสียยังดีกว่า " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธิรตฺถุ เป็นนิบาต ลงในอรรถ

ว่า ติเตียน.

บทว่า ต วิส ความว่า พิษที่เราคายแล้ว จักต้องกลับดูดคืน

เพราะเหตุแห่งการอยู่รอดนั้น น่าขยะแขยงนัก.

บทว่า มต เม ชีวิตา วร ความว่า การเข้าสู่กองไฟแล้วตาย

นั้นประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของเรา เพราะเหตุดูดคืนพิษนั้น

มากมาย.

ก็และครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็เลื้อยเข้าไปสู่กองไฟ.

ครั้งนั้น หมอจึงห้ามงูนั้นไว้ จัดแจงรักษาบุรุษนั้นให้หายพิษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

ให้หายโรค ด้วยโอสถและมนต์ แล้วให้ศีลแก่งู กล่าวว่า จำเดิม

แต่นี้ไป เจ้าอย่าเบียดเบียนใคร ๆ ดังนี้แล้วก็ปล่อยไป.

พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตร

แม้จะต้องสละชีวิต ก็ไม่ยอมรับคืนสิ่งที่ตนทิ้งเสียแล้วครั้งหนึ่ง

เลย ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุม

ชาดกว่า งูในครั้งนั้นได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนหมอได้มาเป็น

เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาวิสวันตชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

๑๐. กุททาลชาดก

ว่าด้วยความชนะที่ดี

[๗๐] " ความชนะที่บุคคลชนะแล้วกลับแพ้ได้

นั้น มิใช่ความชนะเด็ดขาด (ส่วน) ความชนะ

ที่บุคคลชนะแล้ว ไม่กลับแพ้นั้นต่างหาก จึงจะ

ชื่อว่า เป็นความชนะเด็ดขาด "

จบ กุททาลชาดกที่ ๑๐

อรรถกถากุททาลชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภพระจิตหัตถสารีบุตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า น ต ชิต สาธุ ดังนี้.

ได้ยินว่า พระจิตหัตถสารีบุตร เป็นเด็กที่เกิดในตระกูล

ผู้หนึ่งในพระนครสาวัตถี อยู่มาวันหนึ่งไถนาแล้ว ขากลับเข้า

ไปสู่วิหาร ได้โภชนะประณีตอร่อย มีรสสนิทจากบาตรพระเถระ

องค์หนึ่ง คิดว่า ถึงแม้เราจะกระทำงานต่าง ๆ ด้วยมือของตน

ตลอดคืนตลอดวัน ก็ยังไม่ได้อาหารอร่อยอย่างนี้ แม้เราก็สมควร

จะเป็นสมณะ ดังนี้. เขาบวชแล้วอยู่มาได้ประมาณครึ่งเดือน

เมื่อไม่ใส่ใจโดยแยบคาย ตกไปในอำนาจกิเลส สึกไป พอลำบาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

ด้วยอาหารก็มาบวชอีก เรียนพระอภิธรรม ด้วยอุบายนี้ สึก

แล้วบวชถึง ๖ ครั้ง ในความเป็นภิกษุครั้งที่ ๗ เป็นผู้ทรง

พระอภิธรรม ๗ พระคัมภีร์ ได้บอกธรรมแก่ภิกษุเป็นอันมาก

บำเพ็ญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัตถ์แล้ว. ครั้งนั้นภิกษุผู้เป็น

สหายของท่าน พากันเยาะเย้ยว่า อาวุโส จิตหัตถ์ เดี๋ยวนี้กิเลส.

ทั้งหลายของเธอ ไม่เจริญ เหมือนเมื่อก่อนดอกหรือ ? ท่าน

ตอบว่า ผู้มีอายุ ตั้งแต่บัดนี้ไป ผมไม่เหมาะเพื่อความเป็นคฤหัสถ์

ก็เมื่อท่านบรรลุพระอรหัตอย่างนี้แล้ว เกิดโจทย์กันขึ้น ใน

ธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่ออุปนิสัยแห่งพระอรหัต

เห็นปานนี้มีอยู่ ท่านพระจิตหัตถสารีบุตร ต้องสึกถึง ๖ ครั้ง

โอ ! ความเป็นปุถุชน มีโทษมากดังนี้ พระศาสดาเสด็จมาแล้ว

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอสนทนากันด้วย

เรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าจิตของปุถุชน เมา ข่มได้ยาก

คอยไปติดด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ ลงติดเสียครั้งหนึ่งแล้ว ก็ไม่

อาจปลดเปลื้องได้โดยเร็ว การฝึกฝนจิตเห็นปานนี้ เป็นความดี

จิตที่ฝึกฝนดีแล้วเท่านั้น จะนำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้

แล้วตรัสพระคาถานี้ ความว่า :-

" การฝึกฝนจิต ที่ข่มได้ยาก เมา มีปกติ

ตกไปตามอารมณ์ที่ปรารถนาเป็นการดี เพราะจิต

ที่ฝึกฝนแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ " ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

ครั้นแล้วตรัสต่อไปว่า ก็เพราะเหตุที่จิตนั้นข่มได้โดยยาก

บัณฑิตทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน อาศัยจอบเล่มเดียว ไม่อาจทิ้ง

มันได้ ต้องสึกถึง ๖ ครั้ง ด้วยอำนาจความโลภ ในเพศแห่ง

บรรพชิตครั้งที่ ๗ ทำฌานให้เกิดขึ้นแล้ว จึงข่มความโลภนั้นได้

ดังนี้แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคนปลูกผัก ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา

แล้ว ได้นามว่า " กุททาลบัณฑิต " ท่านกุททาลบัณฑิต กระทำ

การฟื้นดินด้วยจอบ เพาะปลูกพืชพันธ์และผัก มีน้ำเต้า ฟักเขียว

ฟักเหลือง เป็นต้น เก็บผักเหล่านั้นขาย เลี้ยงชีพด้วยการเบียดกรอ.

แท้จริงท่านกุททาลบัณฑิต นอกจากจอบเล่มเดียวเท่านั้น ทรัพย์

สมบัติอย่างอื่นไม่เลย. ครั้นวันหนึ่งท่านดำริว่า จะมีประโยชน์

อะไรด้วยการอยู่ครั้งเรือน เราจักบวช ดังนี้. ครั้นวันหนึ่ง

ท่านซ่อนจอบนั้นไว้ ในที่ซึ่งมิดชิด แล้วบวชเป็นฤาษี ครั้น

หวลนึกถึงจอบเล่มนั้นแล้ว ก็ไม่อาจตัดความโลภเสียได้ เลย

ต้องสึก เพราะอาศัยจอบกุด ๆ เล่มนั้น. แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้ง

ที่ ๓ ก็เป็นอย่างนี้ เก็บจอบนั้นไว้ในที่มิดชิด บวช ๆ สึก ๆ

รวมได้ถึง ๖ ครั้ง ในครั้งที่ ๗ ได้คิดว่า เราอาศัยจอบกุด ๆ

เล่มนี้ ต้องสึกบ่อยครั้ง คราวนี้เราจักขว้างมันทิ้งเสียในแม่น้ำ

ใหญ่ แล้วบวช ดังนี้แล้ว เดินไปสู่ฝั่งแม่น้ำ คิดว่า ถ้าเรายังเห็นที่ตก

ของมัน ก็จักต้องอยากงมมันขึ้นมาอีก แล้วจับจอบที่ด้าม ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

มีกำลังดังช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง ควงจอบเหนือศีรษะ

๓ รอบ หลับตาขว้างลงไปกลางแม่น้ำ แล้วบรรลือเสียงกึกก้อง

๓ ครั้งว่า " เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว".

ในขณะนั้น พระเจ้าพาราณสี ทรงปราบปรามปัจจันตชนบท

ราบคาบแล้ว เสด็จกลับ ทรงสนานพระเศียรในในแม่น้ำนั้น ประดับ

พระองค์ด้วยเครื่องอลังการครบเครื่อง เสด็จพระดำเนินโดย

พระคชาธาร ทรงสดับเสียงของพระโพธิสัตว์นั้น ทรงระแวง

พระทัยว่า บุรุษผู้นี้กล่าวว่า เราชนะแล้ว ใครเล่าที่เขาชนะ

จงเรียกเขามา แล้วมีพระดำรัสสั่งให้เรียกมาเฝ้า แล้วมีพระดำรัส

ถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ เรากำลังชนะสงคราม กำความมีชัย

มาเดี๋ยวนี้ ส่วนท่านเล่าชนะอะไร ? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราช ถึงพระองค์จะทรงชนะสงครามตั้งร้อยครั้ง

ตั้งพันครั้ง แม้ตั้งแสนครั้ง ก็ยังชื่อว่าชนะไม่เด็ดขาดอยู่

นั่นเอง เพราะยังเอาชนะกิเลสทั้งหลายไม่ได้ แต่ข้าพระองค์

ข่มกิเลสในภายในไว้ได้ เอาชนะกิเลสทั้งหลายได้ กราบทูลไป

มองดูแม่น้ำไป ยังฌานมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ให้เกิดขึ้นแล้ว

นั่งในอากาศด้วยอำนาจของฌานและสมาบัติ เมื่อจะแสดงธรรม

ถวายพระราชา จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"ความชนะที่บุคคลชนะแล้ว กลับแพ้

ได้นั้น มิใช่ความชนะเด็ดขาด (ส่วน) ความชนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

ที่บุคคลชนะแล้ว ไม่กลับแพ้นั้นต่างหาก จึงชื่อว่า

เป็นความชนะเด็ดขาด " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ต ชิต สาธุ ชิต ย ชิต

อวชิยฺยติ ความว่า การปราบปรามปัจจามิตร ราบคาบชนะ

แว่นแคว้น ตีเอาได้แล้ว ปัจจามิตรเหล่านั้น ยังจะตีกลับคืนได้

ความชนะนั้นจะชื่อว่าเป็นความชนะเด็ดขาดหาได้ไม่

เพราะเหตุไร ?

เพราะยังจะต้องชิงชัยกันบ่อย ๆ.

อีกนัยหนึ่ง ชัยเรียกได้ว่า ความชนะ ชัยที่ได้เพราะรบ

กับปัจจามิตร ต่อมาเมื่อปัจจามิตรเอาชนะคืนได้ ก็กลับเป็น

ปราชัย ชัย นั้นไม่ดีไม่งาม เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุที่ยัง

กลับเป็นปราชัยได้อีก.

บทว่า ต โข ชิต สาธุ ชิต ย ชิต นาวชิยฺยติ ความว่า

ส่วนการครอบงำมวลปัจจามิตรไว้ได้แล้วชนะ ปัจจามิตรเหล่านั้น

จะกลับชิงชัยไม่ได้อีก ใด ๆ ก็ดี การได้ชัยชนะครั้งเดียวแล้ว

ไม่กลับเป็นปราชัยไปได้ ใด ๆ ก็ดี ความชนะนั้น ๆ เป็นความ

ชนะเด็ดขาด คือชัยชนะนั้นชื่อว่าดี ชื่อว่างาม. เพราะเหตุไร ?

เพราะเหตุที่ไม่ต้องชิงชัยกันอีก. ดูก่อนมหาบพิตร เพราะเหตุนั้น

แม้พระองค์จะทรงชนะ ขุนสงคราม ตั้งพันครั้ง ตั้งแสนครั้ง

ก็ยังจะเฉลิมพระนามว่า จอมทัพ หาได้ไม่.

เพราะเหตุใด ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

เพราะเหตุที่พระองค์ยังทรงชนะกิเลสของพระองค์เอง

ไม่ได้ ส่วนบุคคลใด ชนะกิเลสภายในของตนได้ แม้เพียงครั้งเดียว

บุคคลนี้ จัดเป็นจอมทัพผู้เกรียงไกรได้. พระโพธิสัตว์นั่งใน

อากาศนั่นแล แสดงธรรมถวายพระราชาด้วยพระพุทธลีลา

ก็ในความเป็นจอมทัพผู้สูงสุดนั้น มีพระสูตร์เป็นเครื่องสาธก

ดังนี้ :-

" ผู้ที่ชนะหมู่มนุษย์ในสงคราม ถึงหนึ่ง

ล้านคน ยังสู้ผู้ที่ชนะตนเพียงผู้เดียวไม่ได้ ผู้นั้น

เป็นจอมทัพสูงสุด โดยแท้ " ดังนี้.

ก็เมื่อพระราชาทรงสดับธรรมอยู่นั่นเอง ทรงละกิเลส

ได้ด้วยอำนาจ ตทังคปหาน พระทัยน้อมไปในบรรพชา. ถึงพวก

หมู่โยธาของพระองค์ ก็พากันละได้เช่นนั้นเหมือนกัน. พระ-

ราชาตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า บัดนี้พระคุณเจ้าจักไปไหน

เล่า ? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์

จักเข้าป่าหิมพานต์บวชเป็นฤๅษี. พระราชารับสั่งว่า ถ้า

เช่นนั้น แม้ข้าพเจ้าก็จะบรรพชา แล้วเสด็จพระราชดำเนิน

ไปพร้อมกับพระโพธิสัตว์. พลนิกายทั้งหมด คือ พราหมณ์

คฤหบดี และทวยหาญ ทุกคนประชุมกันในขณะนั้น เป็นมหาสมาคม

ออกบรรพชา พร้อมกับพระราชาเหมือนกัน. ชาวเมือง

พาราณสี สดับข่าวว่า พระราชาของเราทั้งหลาย ทรงสดับ

พระธรรมเทศนาของกุททาลบัณฑิตแล้ว ทรงบ่ายพระพักตร์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

มุ่งบรรพชา เสด็จออกทรงผนวชพร้อมด้วยพลนิกาย พวกเรา

จักทำอะไรกันในเมืองนี้ ดังนี้แล้ว บรรดาผู้อยู่ในพระนครทั้งนั้น

ต่างพากันเดินทางออกจากกรุงพาราณสี อันมีปริมณฑลได้

๑๒ โยชน์. บริษัทก็ได้มีปริมณฑล ๑๒ โยชน์. พระโพธสัตว์

พาบริษัทนั้นเข้าป่าหิมพานต์. ในขณะนั้นอาสนะที่ประทับนั่ง

ของท้าวสักกเทวราช สำแดงอาการร้อน. ท้าวเธอทรงตรวจดู

ทอดพระเนตรเห็นว่า กุททาลบัณฑิต ออกสู่มหาภิเนกษกรม

แล้วทรงพระดำริว่า จักเป็นมหาสมาคม ควรที่ท่านจะได้สถาน

ที่อยู่ แล้วตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมา ตรัสสั่งว่า พ่อ-

วิสสุกรรม กุททาลบัณฑิตกำลังออกสู่มหาภิเนกษกรม ท่าน

ควรจะได้ที่อยู่ ท่านจงไปหิมวันตประเทศ เนรมิตอาศรมบท

ยาว ๓๐ โยชน์ กว้าง ๑๕ โยชน์ ณ ภูมิภาคอันราบรื่น. วิสสุ-

กรรมเทพบุตร รับเทวบัญชาว่า ข้าแต่เทพยเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า

จะกระทำให้สำเร็จดังเทวบัญชา แล้วไปทำตามนั้น นี้เป็นความ

สังเขปในอธิการนี้. ส่วนความพิสดาร จักปรากฏในหัตถิปาลชาดก

แท้จริงเรื่องนี้ และเรื่องนั้น เป็นปริเฉทเดียวกันนั่นเอง.

ฝ่ายวิสสุกรรมเทพบุตร เนรมิตบรรณศาลาในอาศรมบท

แล้ว ก็ขับไล่ เนื้อ นก และอมนุษย์ที่มีเสียงชั่วร้ายไปเสีย แล้ว

เนรมิต หนทางเดินแคบ ๆ ตามทิสาภาคนั้น ๆ เสร็จแล้ว เสด็จ

กลับไปยังวิมานอันเป็นสถานที่อยู่ของตนทันที.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

ฝ่ายกุททาลบัณฑิต พาบริษัทเข้าสู่ป่าหิมพานต์ ลุถึง

อาศรมบทที่ท้าวสักกะทรงประทาน ถือเอาเครื่องบริขารแห่ง

บรรพชิต ที่วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้ให้ บวชตนเองก่อน

ให้บริษัทบวชทีหลัง จัดแจงแบ่งอาศรมบทให้อยู่กันตามสมควร

มีพระราชาอีก ๗ พระองค์ สละราชสมบัติ ๗ พระนคร (ติดตาม

มาทรงผนวชด้วย) อาศรมบท ๓๐ โยชน์ เต็มบริบูรณ์. กุททาล-

บัณฑิต ทำบริกรรมในกสิณที่เหลือ เจริญพรหมวิหารธรรม

บอกกรรมฐานแก่บริษัท. บริษัททั้งปวง ล้วนได้สมาบัติ เจริญ

พรหมวิหารแล้ว พากันไปสู่พรหมโลกทั่วกัน. ส่วนประชาชน

ที่บำรุงพระดาบสเหล่านั้น ก็ล้วนได้ไปสู่เทวโลก.

พระบรมศาสดา ก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า

จิตนี้ ติดด้วยอำนาจของกิเลสแล้ว เป็นธรรมชาติปลดเปลื้อง

ได้ยาก โลภธรรมทั้งหลายที่เกิดแล้ว เป็นสภาวะละได้ยาก

ย่อมกระทำท่านผู้เป็นบัณฑิตเห็นปานฉะนี้ ให้กลายเป็นคน

ไม่มีความรู้ไปได้ ด้วยประการฉะนี้ ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนา

นี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย เมื่อจบสัจจะ ภิกษุทั้งหลาย

บางพวก ได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี

บางพวกได้เป็นพระอนาคามี บางพวกบรรลุพระอรหัต แม้

พระบรมศาสดา ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า พระราชา

ในครั้งนั้นได้มาเป็นพระอานนท์ บริษัทในครั้งนั้น ได้มาเป็น

พุทธบริษัท ส่วนกุททาลกบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากุททาลชาดกที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสาตมันตชาดก ๒. อัณฑภูตชาดก ๓. ตักกชาดก

๔. ทุราชานชาดก ๕. อนภิรติชาดก ๖. มุทุลักขณชาดก

๗. อุจฉังคชาดก ๘. สาเกตชาดก ๙. วิสวันตชาดก ๑๐. กุท-

ทาลชาดก.

จบ อิตถีวรรคที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

๘. วรุณวรรค

๑. วรุณชาดก

ว่าด้วยการทำไม่ถูกขั้นตอน

[๗๑] ผู้ใดปรารถนาจะทำกิจที่ควรทำก่อนใน

ตอนหลัง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง เหมือน

มาณพหักไม้กุ่ม ฉะนั้น.

จบ วรุณชาดกที่ ๑

อรรถกถาวรุณวรรคที่ ๘

อรรถกถาวรุณชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภพระติสสเถระ บุตรกุฏุมพี ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า โย ปุพฺเพ กรณียานิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในวันหนึ่ง กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถี เป็นสหาย

กันประมาณ ๓๐ คน ถือของหอม ดอกไม้และผ้าเป็นต้น คิดกัน

ว่า พวกเราจักฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา อันมหาชน

ห้อมล้อม พากันไปสู่วิหารเชตวัน นั่งพักในโรงชื่อ นาคมาฬกะ

๑. ในอรรถกถาเป็น วรณ...

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

และวิสาลมาฬกะเป็นต้น พอเวลาเย็นเมื่อพระศาสดาเสด็จออก

จากพระคันธกุฎี อันอบแล้วด้วยกลิ่นหอม เสด็จดำเนินไปสู่

ธรรมสภา ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ อันตกแต่งแล้ว จึงพากัน

ไปสู่ธรรมสภาพร้อมด้วยบริวาร บูชาพระศาสดาด้วยของหอม

และดอกไม้ ถวายบังคมแทบบาทยุคล อันประดับด้วยจักร์ ทรง

พระสิริเสมอด้วยดอกบัวบาน แล้วนั่งฟังพระธรรมอยู่ ณ ส่วน

ข้างหนึ่ง. พวกเขาพากันปริวิตกว่า เราทั้งหลายต้องบวช ถึงจะ

รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วได้กว้างขวาง

ในเวลาที่พระตถาคตเสด็จออกจากธรรมสภา พวกกุลบุตร

เหล่านั้น ก็พากันเข้าไปเฝ้าถวายบังคมทูลขอบรรพชา. พระ-

ศาสดาทรงประทานบรรพชาแก่พวกเขา. พวกเขากระทำให้

อาจารย์และอุปัชฌาย์โปรดปรานแล้ว ได้อุปสมบท อยู่ในสำนัก

ของอาจารย์และอุปัชฌาย์ ๕ พรรษา ท่องมาติกา ทั้ง ๒ คล่องแคล่ว

รู้สิ่งที่เป็นกัปปิยะ และอกัปปิยะ เรียนอนุโมทนา ๓ เย็นย้อม

จีวรแล้วกราบลาอาจารย์และอุปัชฌาย์ว่า พวกกระผมจักบำเพ็ญ

สมณธรรม แล้วพากันเข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่ง

ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เอือมระอาในภพทั้งหลาย กลัวแต่ความ

เกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ขอพระองค์จงตรัสบอก

พระกรรมฐาน เพื่อปลดเปลื้องตนจากสังสารทุกข์ แก่ข้าพระองค์

ทั้งหลายเหล่านั้นเถิด พระเจ้าข้า. พระศาสดาทรงทราบสัปปายะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

จึงตรัสบอกพระกรรมฐานข้อหนึ่ง ในกรรมฐาน ๓๘ ประการ

แก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น เรียนพระกรรมฐานในสำนัก

ของพระศาสดาแล้ว ถวายบังคมพระศาสดา กระทำปทักษิณ

ไปสู่บริเวณ อำลาอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ ถือเอาบาตรและ

จีวรออกจากวิหารไปด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักบำเพ็ญสมณธรรม.

ครั้งนั้นในระหว่างภิกษุเหล่านั้น มีภิกษุรูปหนึ่ง โดยชื่อ

เรียกกันว่า กฏุมพิกปุตตติสเถระ เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียร

ทราม ติดรสอาหาร เธอคิดอย่างนี้ว่า เราจักไม่สามารถเพื่ออยู่

ในป่า ไม่อาจจะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการเที่ยวภิกษาจาร

การไปป่าไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่เราเลย เราจักกลับ เธอ

ทอดทิ้งความเพียรเพียรเสียแล้ว เดินตามภิกษุเหล่านั้นไปหน่อยหนึ่ง

แล้วกลับเสีย ฝ่ายภิกษุเหล่านั้น พากันจาริกไปในแคว้นโกศล

ถึงหมู่บ้านชายแดนตำบลหนึ่ง ก็เข้าอาศัยหมู่บ้านนั้นจำพรรษา

อยู่ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง เป็นผู้ไม่ประมาทเพียรพยายามอยู่ตลอด

ระยะกาลภายในไตรมาส ถือเอาห้องวิปัสสนา ยังปฐพีให้บรรลือ

ลั่น บรรลุพระอรหัตต์แล้ว พอออกพรรษา ปวารณาแล้วปรึกษา

กันว่า จักกราบทูลคุณที่ตนได้บรรลุแล้ว แด่พระศาสดา จึงพากัน

ออกจากปัจจันตคาม ถึงพระเชตวันมหาวิหารโดยลำดับ เก็บ

บาตรและจีวรเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าพบอาจารย์และพระอุปัชฌาย์

ปรารถนาจะเฝ้าพระตถาคตเจ้า พากันไปยังสำนักของพระศาสดา

ถวายบังคมแล้วนั่งเฝ้าอยู่ พระศาสดาได้ทรงกระทำปฏิสันถาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

ด้วยพระดำรัสอันไพเราะ กับภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น

ได้รับปฏิสันถารแล้ว จึงกราบทูลที่ตนได้แล้วแด่พระตถาคต.

พระศาสดาทรงสรรเสริญภิกษุเหล่านั้น พระกุฏุมพิกปุตตติสส-

เถระ เห็นพระศาสดาตรัสสรรเสริญคุณของภิกษุเหล่านั้น แม้

ตนเองก็ประสงค์จะบำเพ็ญสมณธรรมบ้าง ฝ่ายภิกษุทั้งหลาย

แม้เหล่านั้น กราบทูลลาพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พวกข้าพระองค์จักไปอยู่ที่ชายป่านั้น พระศาสดาทรงอนุญาต

แล้ว. พวกภิกษุเหล่านั้น ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ได้พากัน

ไปสู่บริเวณ. ครั้งนั้นพระกุฏุมพิกปุตตติสสเถระนั้น บำเพ็ญ

เพียรจัด ในระหว่างเวลารัตติกาล บำเพ็ญสมณธรรมโดยรีบเร่ง

เกินไป พอถึงเวลาระยะมัชฌิมยาม ทั้ง ๆ ที่ยืนพิงแผ่นกระดาน

สำหรับพัก หลับไป กลิ้งตกลงมา กระดูกขาของท่านแตก. เกิด

เวทนามากมาย. เมื่อภิกษุเหล่านั้นต้องช่วยปฏิบัติเธอ การเดินทาง

ก็ชะงัก ครั้งนั้นพระศาสดาตรัสถามภิกษุเหล่านั้น ผู้พากันมาใน

เวลาเป็นที่บำรุงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบอกลาเมื่อวาน

ว่า จักพากันไปในวันพรุ่งนี้ มิใช่หรือ ? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูล

ว่า เช่นนั้น ก็แต่ว่าท่านติสสเถระบุตรกุฏุมพี สหายของข้า-

พระองค์ทั้งหลาย การทำสมณธรรมอย่างรีบเร่ง ในเวลามิใช่กาล

ถูกความง่วงครอบงำ กลิ้งตกลงไป กระดูกขาแตก เพราะเธอ

เป็นเหตุ พวกข้าพระองค์จึงจำต้องงดการเดินทาง พระศาสดา

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

รีบเร่งกระทำความเพียรในเวลามิใช่กาล เพราะความที่ตนเป็นผู้

มีความเพียรย่อหย่อน จึงกระทำอันตรายการเดินทางของพวก

เธอ แม้ในครั้งก่อน ภิกษุนี้ก็ได้ทำอันตรายการเดินทางของ

พวกเธอมาแล้วเหมือนกัน ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลอาราธนา จึง

ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอาจารย์ทิศา-

ปาโมกข์ ให้มาณพ ๕๐๐ คน เล่าเรียนศิลปะอยู่ในเมืองตักกสิลา

แคว้นคันธาระ ครั้นวันหนึ่งมาณพเหล่านั้น พากันไปป่าเพื่อ

หาฟืน รวบรวมฟืนไว้ ในระหว่างมาณพเหล่านั้น มีมาณพ

ผู้เกียจคร้านอยู่คนหนึ่ง เห็นต้นกุ่มใหญ่สำคัญว่าต้นไม้นี้เป็น

ต้นไม้แห้ง คิดว่า นอนเสียชั่วครูหนึ่งก่อนก็ได้ ทีหลังค่อยขึ้นต้น

หักฟืนทิ้งลงหอบเอาไป จึงปูลาดผ้าห่มลงนอนกรนหลับสนิท

ส่วนมาณพนอกนี้ พากันผูกฟืนเป็นมัด ๆ แล้วแบกไป เอาเท้า

กระทืบมาณพนั้นที่หลังปลุกให้ตื่น แล้วพากันไป มาณพผู้เกียจ-

คร้าน ลุกขึ้นขยี้ตา จนหายง่วงแล้ว ก็ปืนขึ้นต้นกุ่ม จับกิ่งเหนี่ยว

มาตรงหน้าตน พอหักแล้ว ปลายไม้ที่ลัดขึ้นก็ดีดเอานัยน์ตา

ของตนแตกไป เอามือข้างหนึ่งปิดตาไว้ ข้างหนึ่งหักฟืนสด ๆ

ลงจากต้น มัดเป็นมัดแบกไปโดยเร็ว เอาไปทิ้งทับบนฟืนที่พวก

มาณพเหล่านั้นกองกันไว้อีกด้วย. ก็ในวันนั้น ตระกูลหนึ่ง จาก

บ้านในชนบท นิมนต์อาจารย์ไว้ว่า พรุ่งนี้ พวกกระผมจักกระทำ

การสวดมนต์พราหมณ์. อาจารย์จงกล่าวกะพวกมาณพว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

พ่อทั้งหลาย พรุ่งนี้ต้องไปถึงหมู่บ้านตำบลหนึ่ง แต่พวกเธอไม่ได้

กินอาหารก่อน จักไม่อาจไปได้ ต้องให้เขาต้มข้าวแต่เช้าตรู่

ไปที่นั่น ถือเอาส่วนที่ตนจะต้องได้รับ และส่วนที่ถึงแก่เรา แล้ว

รีบพากันมาเถิด. พวกมาณพเหล่านั้น ปลุกทาสีให้ลุกขึ้นต้มข้าวต้ม

แต่เช้าตรู่ สั่งว่าเจ้าจงรีบต้มข้าวต้มให้แก่พวกเราโดยเร็ว.

ทาสีนั้นไปหอบฟืนก็หอบเอาฟืนไม้กุ่มสดไป แม้จะใช้ปากเป่า

ลมบ่อย ๆ ก็ไม่อาจให้ไฟลุกได้ จนดวงอาทิตย์ขึ้น. พวกมาณพ

เห็นว่า สายนักแล้ว บัดนี้ พวกเราไม่อาจจะไปได้ จึงพากันไป

สำนักท่านอาจารย์. ท่านอาจารย์ถามว่า พ่อเอ๋ย พวกเจ้าไม่ได้

ไปกันดอกหรือ ? พวกมาณพตอบว่า ครับ ท่านอาจารย์ พวก

กระผมไม่ได้ไป อาจารย์ถามว่า เพราะเหตุไร ? จึงตอบว่า

มาณพเกียจคร้านโน่น ไปป่าเพื่อหาฟืนกับพวกผม ไปนอนหลับ

เสียที่โคนกุ่ม ทีหลังจึงรีบขึ้นไป ไม้สลัดเอาตาแตก หอบเอา

ไม้สด ๆ มาโยนไว้ข้างบนฟืนที่พวกผมหามา คนต้มข้าว ขนเอา

ฟืนสด ๆ นั้นไปด้วยสำคัญว่าเป็นฟืนแห้ง จนดวงอาทิตย์ขึ้นสูง

ก็ไม่อาจก่อไฟให้ลุกได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง

ท่านอาจารย์ฟังสิ่งที่มาณพกระทำผิดพลาดแล้ว กล่าวว่า ความ

เสื่อมเสียเห็นปานนี้ย่อมมีได้ เพราะอาศัยกรรมของพวกอันธพาล

แล้วกล่าวคาถานี้ความว่า :-

กิจที่จะต้องรีบกระทำก่อน ผู้ใดใคร่จะ

กระทำภายหลัง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

เหมือนมาณพหักไม้กุ่ม เดือดร้อนอยู่ฉะนี้ ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ ความว่า

บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่า กิจนี้ต้องทำก่อน

กิจนี้ต้องทำภายหลัง เอากิจที่ต้องทำก่อน คือกรรมที่ต้องกระทำ

ทีแรกนั่นแหละ มากระทำในภายหลัง บุคคลนั้น เป็นพาลบุคคล

ย่อมเดือดร้อน คือโศกเศร้า ร่ำไห้ในภายหลัง เหมือนมาณพ

ของพวกเราผู้หักไม้กุ่มผู้นี้.

พระโพธิสัตว์ กล่าวเหตุนี้แก่เหล่าอันเตวาสิก ด้วยประการ

ฉะนี้ แล้วกระทำบุญมีทาน เป็นต้น ในสุดท้ายแห่งชีวิต ก็ไป

ตามครรลองของกรรม.

พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่

ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนี้กระทำอันตรายต่อการเดินทางของ

พวกเธอ แม้ในครั้งก่อนก็ได้กระทำแล้วเหมือนกันดังนี้ ทรงนำ

พระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า

มาณพผู้ถึงแก่นัยน์ตาแตกในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้กระดูก

ขาแตกในบัดนี้ มาณพที่เหลือมาเป็นพุทธบริษัท ส่วนพราหมณ์

ผู้อาจารย์ ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาวรณชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

๒. สีลวนาคชาดก

คนอกตัญญูหาช่องเนรคุณอยู่ทุกขณะ

[๗๒] "ถ้าใคร ๆ จะพึงให้สมบัติในแผ่นดิน

ทั้งหมด แก่คนอกตัญญู ผู้มีปกติมองหาโทษ

อยู่เป็นนิตย์ ก็ทำให้เขาพอใจไม่ได้"

จบ สีลวนาคชาดกที่ ๒

อรรถกถาสีลวนาคชาดกที่ ๒

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน

มหาวิหาร ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า อกตญฺญุสฺส โปสสฺส ดังนี้.

ความย่อว่า ภิกษุทั้งหลาย นั่งสนทนากันในโรงธรรมว่า

อาวุโสทั้งหลาย " พระเทวทัตเป็นคนอกตัญญู ไม่รู้คุณของพระ-

ตถาคต " พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่

แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัตเป็นคนอกตัญญู แม้ในครั้งก่อน

ก็เคยเป็นผู้อกตัญญูมาแล้ว ไม่เคยรู้คุณของเรา ไม่ว่าในกาล

ไหน ๆ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-

พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดช้าง ในหิมวันตประเทศ

พอคลอดจากครรภ์มารดา ก็มีอวัยวะขาวปลอด มีสีเปล่งปลั่ง

ดังเงินยวง นัยน์ตาทั้งคู่ของพระยาช้างนั้น ปรากฏเหมือนกับ

แก้วมณี มีประสาทครบ ๕ ส่วน ปากเช่นกับผ้ากัมพลแดง งวง

เช่นกับพวงเงินที่ประดับระยับด้วยทอง เท้าทั้ง ๔ เป็นเหมือน

ย้อมด้วยน้ำครั่ง อัตภาพอันบารมีทั้ง ๑๐ ตกแต่งของพระโพธิสัตว์

นั้น ถึงความงามเลิศด้วยรูปอย่างนี้. ครั้งนั้น ฝูงช้างในป่า-

หิมพานต์ทั้งสิ้น มาประชุมกันแล้ว พากันบำรุงพระโพธิสัตว์ผู้ถึง

ความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว พระโพธิสัตว์จึงมีช้างแปดหมื่นเป็นบริวาร

อยู่อาศัยในหิมวันตประเทศ ด้วยประการฉะนี้ ภายหลังเห็นโทษ

ในหมู่คณะ จึงหลีกออกจากหมู่ สู่ที่สงบสงัดกาย พำนักอาศัย

อยู่ในป่าแต่ลำพังผู้เดียวเท่านั้น. และเพราะเหตุที่ช้างผู้พระโพธิสัตว์

นั้นเป็นสัตว์มีศีล จึงได้นามว่า "สีลวนาคราช" พญาช้างผู้มีศีล.

ครั้งนั้นพรานป่าชาวเมืองพาราณสีผู้หนึ่ง เข้าสู่ป่าหิมพานต์

เสาะแสวงหาสิ่งของอันเป็นเครื่องยังชีพของตน ไม่อาจกำหนด

ทิศทางได้ หลงทาง เป็นผู้กลัวแต่มรณภัย ยกแขนทั้งคู่ร่ำร้อง

คร่ำครวญไป. พระโพธิสัตว์ได้ยินเสียงร้องคร่ำครวญของพราน

ผู้นั้นแล้ว อันความกรุณาเข้ามาตักเตือนว่า เราจักช่วยบุรุษผู้นี้

ให้พ้นจากทุกข์ ก็เดินไปหาเขาใกล้ ๆ เขาเห็นพระโพธิสัตว์แล้ว

วิ่งหนีไป. พระโพธิสัตว์เห็นเขาวิ่งหนี ก็หยุดยืนอยู่ตรงนั้น บุรุษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

นั้นเห็นพระโพธิสัตว์หยุด จึงหยุดยืน พระโพธิสัตว์ก็เดินใกล้

เข้าไปอีก เขาก็วิ่งหนีอีก เวลาพระโพธิสัตว์หยุด เขาก็หยุด

แล้วดำริว่า ช้างนี้ เวลาเราหนีก็หยุดยืน เดินมาหาเวลาที่เราหยุด

เห็นทีจะไม่มุ่งร้ายเรา แต่คงปรารถนาจะช่วยเราให้พ้นจากทุกข์

นี้เป็นแน่ เขาจึงกล้ายืนอยู่. พระโพธิสัตว์เข้าไปใกล้เขา ถามว่า

ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ เหตุไรท่านจึงเที่ยวร่ำร้องคร่ำครวญไป

เขาตอบว่า ท่านช้างผู้จ่าโขลง ข้าพเจ้ากำหนดทิศทางไม่ถูก

หลงทาง จึงเที่ยวร่ำร้องไปเพราะกลัวตาย. ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์

จึงพาเขาไปยังที่อยู่ของตน เลี้ยงดูจนอิ่มหนำด้วยผลาผล ๒-๓ วัน

แล้วกล่าวว่า อย่ากลัวเลย ข้าพเจ้าจักพาท่านไปสู่ถิ่นมนุษย์

แล้วให้นั่งหลังตน พาไปส่งถึงถิ่นมนุษย์. ครั้งนั้นแล พรานป่า

เป็นคนมีสันดานทำลายมิตร จึงคิดมาตลอดทางว่า ถ้ามีใครถาม

ต้องบอกได้ ดังนี้ นั่งมาบนหลังพระโพธิสัตว์วางแผน กำหนด

ที่หมายต้นไม้ ที่หมายภูเขาไว้ถ้วนถี่ทีเดียว. ครั้นพระโพธิสัตว์

พาเขาออกไปจนพ้นป่าแล้ว หยุดที่ทางใหญ่ อันเป็นทางเดินไป

สู่พระนครพาราณสี สั่งว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านจงไปทางนี้

เถิด แต่ถ้ามีใครถามถึงที่อยู่ของเรา ท่านอย่าบอกนะ ดังนี้

ส่งเขาไปแล้ว ก็กลับไปสู่ที่อยู่ของตน.

ครั้งนั้นบุรุษนั้น ไปถึงพระนครพาราณสีแล้ว ก็ไปถึง

ถนนช่างสลักงา เห็นพวกช่างสลักงา กำลังทำเครื่องงาหลายชนิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

จึงถามว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถ้าได้งาช้างที่ยังเป็น ๆ ท่าน

ทั้งหลายจะซื้อหรือไม่ ? พวกช่างสลักงาตอบว่า ท่านผู้เจริญ

ท่านพูดอะไร ธรรมดางาช้างเป็นมีค่ามากกว่างาช้างที่ตายแล้ว

หลายเท่า. เขากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าจักนำงาช้างเป็นมา

ให้พวกท่าน แล้วจัดสะเบียงคือเลื่อยไปสู่ที่อยู่ของพระโพธิสัตว์

พระโพธิสัตว์เห็นเขามาจึงถามว่า ท่านมาเพื่อประสงค์อะไร ?

เขาตอบว่า ดูก่อนท่านผู้เป็นจ่าโขลง ข้าพเจ้าเป็นคนยากจน

กำพร้า ไม่อาจดำรงชีวิตอยู่ได้ มาขอตัดงาท่าน ถ้าท่านจักให้

ก็จะถืองานั้นไปขาย เลี้ยงชีวิตด้วยทุนทรัพย์นั้น. พระโพธิสัตว์

กล่าวว่า เอาเถิด พ่อคุณ เราจักให้งาท่าน ถ้ามีเลื่อยสำหรับ

ตัดงา เขากล่าวว่า ท่านผู้เป็นจ่าโขลง ข้าพเจ้าถือเอาเลื่อยเตรียม

มาแล้ว. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเอาเลื่อยตัดงา

เถิด แล้วคุกเท้าหมอบลงเหมือนโคหมอบ เขาก็ตัดปลายงาทั้งคู่

ของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์จับงาเหล่านั้นด้วยงวง พลางตั้ง

ปณิธาน เพื่อพระสัพพัญญุตญาณว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ใช่ว่า

เราจะให้งาคู่นี้ด้วยคิดว่า งาเหล่านี้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ

ของเราดังนี้ ก็หามิได้ แต่ว่า พระสัพพัญญุตญาณ อันสามารถ

จะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง เป็นที่รักของเรายิ่งกว่างาเหล่านี้ตั้งร้อยเท่า

พันเท่า แสนเท่า การให้งานี้เป็นทานของเรานั้น จงเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์แก่การตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณเถิด แล้วสละงา

ทั้งคู่ให้ไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

เขาถืองานั้นไปขาย ครั้นสิ้นทุนทรัพย์นั้น ก็ไปสู่สำนัก

พระโพธิสัตว์อีก กล่าวว่า ดูก่อนท่านเป็นจ่าโขลง ทุนทรัพย์

ที่ได้เพราะขายงาของท่าน เพียงพอแค่ชำระหนี้ของข้าพเจ้า

เท่านั้น โปรดให้งาส่วนที่เหลือแก่ข้าพเจ้าเถิด. พระโพธิสัตว์

ก็รับคำ แล้วยอมให้เขาตัด ยกงาส่วนที่เหลือให้ โดยนัยเดียวกับ

ครั้งก่อน. ถึงเขาจะขายงาเหล่านั้นแล้ว ก็ยังย้อนมาอีก กล่าวขอ

ว่า ดูก่อนท่านผู้เป็นจ่าโขลง ข้าพเจ้าไม่สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้

โปรดให้โคนงาแก่ข้าพเจ้าเถิด. พระโพธิสัตว์รับคำแล้วก็หมอบลง

โดยนัยก่อน. คนใจบาปนั้น ก็เหยียบงวงอันเปรียบเหมือนพวงเงิน

ของมหาสัตว์ ก้าวขึ้นสู่กระพองอันเปรียบได้กับยอดเขาไกรลาส

เอาส้นกระทืบพลายงาทั้งสอง ฉีกเนื้อตรงสนับงา ลงมาจาก

กระพอง เอาเลื่อยตัดโคนงาแล้ว ก็หลีกไป. ก็ในเมื่อคนใจบาป

นั้น เดินพ้นไปจากคลองจักษุของพระโพธิสัตว์เท่านั้น แผ่นดิน

อันทึบหนาได้สองแสนสี่หมื่นโยชน์ ถึงจะสามารถทรงไว้ซึ่ง

ของหนักแสนหนัก มีขุนเขาสิเนรุ และยุคนธรเป็นต้น และถึง

จะทรงไว้ซึ่งสิ่งที่น่าเกลียดมีกลิ่นเหม็น มีคูถและมูตรเป็นต้น

ก็เป็นเสมือนไม่สามารถจะทานไว้ได้ ซึ่งกองแห่งโทษมิใช่คุณ

ของบุรุษนั้น จึงแยกให้ช่อง ทันใดนั้นเอง เปลวไฟแลบออกจาก

มหานรกอเวจี ห่อหุ้มคลุมบุรุษทำลายมิตรนั้น เป็นเหมือนคลุม

ด้วยผ้ากำพลสีแดง อันเป็นของที่ตระกูลให้ก็ปานกัน เวลาที่คน

ใจบาปเข้าไปสู่แผ่นดินอย่างนี้แล้ว รุกขเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

ราวป่านั้น กำหนดเหตุว่า ถึงจะให้จักรพรรดิราชสมบัติ ก็ไม่อาจ

ให้บุรุษผู้อกตัญญูนี้ ซึ่งเป็นผู้ทำลายมิตร พอใจได้ เมื่อจะแสดง

ธรรมให้กึกก้องไปทั่วป่า จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

" ถึงหากจะให้แผ่นดินทั้งหมด แก่คน

อกตัญญู ผู้คอยมองหาช่องอยู่เป็นนิตย์ ก็ไม่ทำ

ทำให้เขาพอใจได้ "

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกตญฺญุสฺส ความว่า แก่คน

ผู้ไม่รู้คุณที่คนอื่นทำแก่ตน.

บทว่า โปสสฺส แปลว่า แก่บุรุษ.

บทว่า วิวรทสฺสิโน ความว่า ผู้มองหาช่อง คือโอกาส

อยู่ร่ำไป.

บทว่า สพฺพญฺเจ ปวึ ทชฺชา ความว่า แม้ถ้าจักให้

จักรพรรดิราชสมบัติทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่ง ถึงหากจะพลิก

แผ่นดินใหญ่นี้ เอาง้วนดินมาให้แก่บุคคลเช่นนั้น.

บทว่า เนว น อภิราธเย ความว่า ใคร ๆ แม้ถึงจะกระทำ

อย่างนี้ได้ ก็ยังไม่อาจยังคนอกตัญญู ดังตัวอย่างที่ปรากฏ ผู้

ทำลายคุณที่ท่านการทำแล้ว ให้อิ่มใจ หรือให้เลื่อมใสได้เลย.

เทวดานั้นแสดงธรรมสนั่นไปทั่วป่า ด้วยประการฉะนี้.

พระโพธิสัตว์ดำรงอยู่ตราบสิ้นอายุขัย ได้ไปตามยถากรรม.

พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่

ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัตเป็นคนอกตัญญู ถึงในกาลก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

ก็เป็นคนอกตัญญูเหมือนกัน ดังนี้ ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนา

นี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า บุรุษผู้ทำลายมิตร

ในครั้งนั้นได้มาเป็นพระเทวทัต รุกขเทวดาได้มาเป็นพระสารีบุตร

ส่วนพระยาช้างผู้มีศีล ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสีลวนาคชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

๓. สัจจังกิรชาดก

ไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู

[๗๓] " เป็นความจริง ดังที่ได้ยินมาว่า คนบาง

จำพวกในโลกนี้ เคยกล่าวว่า ไม้ลอยน้ำยัง

ประเสริฐกว่า แค้คนบางคนไม่ประเสริฐเลย "

จบ สัจจังกิรชาดกที่ ๓

อรรถกถาสัจจังกิรชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร

ทรงปรารภความตะเกียกตะกายเพื่อปลงพระชนม์ของพระองค์

ตรัสพระธรรมเทศนามีคำเริ่มต้นว่า "สจฺจ กิเรวมาหสุ" ดังนี้.

ความย่อว่า เมื่อภิกษุสงฆ์ประชุมกันในธรรมสภา สนทนา

กันถึงโทษมิใช่คุณของพระเทวทัตว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

พระเทวทัตมิได้รู้คุณของพระศาสดา ยังจะพยายามเพื่อจะปลง

พระชนม์เสียอีก. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุ

ทั้งหลายพากันกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัตพยายามเพื่อจะ

ฆ่าเรา แม้ในครั้งก่อน ก็พยายามแล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรง

นำเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติใน

กรุงพาราณสี พระโอรสของพระองค์ทรงพระนามว่า "ทุฏฐกุมาร"

มีสันดานกักขฬะ หยาบคาย เปรียบได้กับอสรพิษที่ถูกประหาร

ยังไม่ได้ด่า ไม่ได้ตีใครแล้ว จะไม่ยอมตรัสกับใคร ท้าวเธอไม่

เป็นที่ชอบใจ เป็นที่น่าสยดสยองของคนภายใน และคนภายนอก

เหมือนผงกระเด็นเข้านัยน์ตา และเหมือนปีศาจร้ายที่มาคอย

เคี้ยวกิน วันหนึ่งท้าวเธอปรารถนาจะเล่นน้ำในแม่น้ำ ได้เสด็จ

ดำเนินไปสู่ฝั่งน้ำกับบริวารเป็นอันมาก ขณะนั้นมหาเมฆก็ตั้งขึ้น

ทิศทั้งหลายมืดมิด. ท้าวเธอรับสั่งกะผู้รับใช้อย่างทาษว่า เฮ้ย !

มาเถิดจงมาพาข้าพาไปกลางแม่น้ำ ให้ข้าอาบน้ำแล้วพามา.

พวกคนรับใช้ก็พาท้าวเธอไปกลางแม่น้ำ ปรึกษากันว่า พระราชา

จักทรงทำอะไรพวกเราได้ พวกเราจงปล่อยให้คนใจร้ายตายเสีย

ในแม่น้ำนี้แหละ ดังนี้แล้วกล่าวว่า คนกาลกรรณี จงไปที่ชอบเถิด

แล้วช่วยกันกดลงไปในน้ำ แล้วพากันว่ายกลับขึ้นไปยืนอยู่บนฝั่ง

เมื่อมีผู้ถามว่า พระราชกุมารไปไหน ? ก็พากันตอบว่า พวกเรา

ไม่เห็นพระกุมาร ท้าวเธอคงเห็นเมฆตั้งเค้า จึงดำลงในน้ำ ชะรอย

จักล่วงหน้าไปแล้ว พวกอำมาตย์ก็พากันไปยังพระราชสำนัก

พระราชาตรัสถามว่า โอรสของเราไปไหน ? พวกอำมาตย์

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ไม่ทราบเกล้า เมื่อเมฆตั้งเค้าขึ้น พวกข้าพระพุทธเจ้าก็สำคัญว่า

พระราชกุมารคงเสด็จล่วงหน้ามาแล้ว จึงพากันกลับมาพระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

พระราชารับสั่งให้เปิดประตู เสด็จไปถึงฝั่งน้ำ ตรัสว่า พวกเจ้า

จงค้นดู แล้วรับสั่งให้ค้นหาในที่นั้น ๆ ไม่มีใครเห็นพระกุมาร

ฝ่ายพระกุมารนั้นเล่า ในเวลาที่เมฆมืดครึ้ม ฝนตกกระหน่ำ

ลอยไปในแม่น้ำ เห็นท่อนไม้ท่อนหนึ่ง จึงเกาะท่อนไม้ อันมรณภัย

คุกคามแล้ว ร้องคร่ำครวญลอยไป.

ก็ในกาลนั้น เศรษฐีชาวเมืองพาราณสีผู้หนึ่ง ฝังทรัพย์

๔๐ โกฏิไว้ที่ฝั่งแม่น้ำ เพราะความเป็นห่วงทรัพย์ ตายไปจึง

ไปเกิดเป็นงูอยู่เหนือขุมทรัพย์. ยังมีอีกผู้หนึ่งฝังสมบัติไว้ตรงนั้น

เหมือนกัน ๓๐ โกฏิ เพราะความเป็นห่วงทรัพย์ ตายไปบังเกิด

เป็นหนูอยู่ในที่นั้นเหมือนกัน. น้ำเซาะเข้าไปถึงที่อยู่ของงูและ

หนูทั้งสองนั้น. สัตว์ทั้งสองก็ออกมาตามทางที่น้ำเซาะเข้าไป

นั้นแหละ ว่ายตัดกระแสน้ำไป ถึงท่อนไม้ที่พระราชกุมารเกาะ

อยู่นั้น ต่างตัวต่างขึ้นสู่ปลายท่อนไม้คนละข้าง นอนอยู่เหนือ

ท่อนไม้นั้นแล. ก็ที่ริมฝั่งแม่น้ำนั้นเอง มีต้นงิ้วอยู่ต้นหนึ่ง ลูกนก

แขกเต้าตัวหนึ่งอาศัยอยู่ที่ต้นงิ้วนั้น ถึงต้นงิ้วนั้น ก็ถูกน้ำเซาะราก

โค่นลงเหนือแม่น้ำ เมื่อฝนกำลังตก ลูกนกแขกเต้าไม่สามารถบิน

ไปได้ ก็ลอยไปเกาะแอบอยู่ด้านหนึ่งของท่อนไม้นั้น. ด้วยประการ

ดังกล่าวมานี้ จึงเป็นอันว่ารวมกันเป็น ๔ คน ล่องลอยไป.

ในกาลนั้น แม้พระโพธิสัตว์ บังเกิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์

ในแคว้นกาสี เจริญวัยแล้ว บวชเป็นฤาษี สร้างศาลาอาศัยอยู่

ที่คุ้งน้ำตอนหนึ่ง. ท่านกำลังจงกรมอยู่ในเวลาเที่ยงคืน ได้ยิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

เสียงร่ำไห้ดังสนั่นของพระราชกุมาร ก็ดำริว่า ในเมื่อดาบส

ผู้สมบูรณ์ด้วยเมตตากรุณายังอยู่ จะปล่อยให้บุรุษนี้ตายไม่ควร

เลย เราจักช่วยเขาให้ขึ้นจากน้ำ ให้เขารอดชีวิต แล้วก็ปลอบ

พระราชกุมารว่า อย่ากลัวเลย ว่ายตัดกระแสน้ำไปเกาะท่อนไม้

ที่ปลายข้างหนึ่งฉุดมา ท่านมีกำลังดังช้างสาร สมบูรณ์ด้วย

เรี่ยวแรง พักเดียวก็ถึงฝั่ง อุ้มพระกุมารขึ้นไว้บนฝั่ง ครั้นเห็น

สัตว์ทั้งหลายมีงูเป็นต้น ก็ช่วยนำขึ้นไปสู่อาศรมบท ก่อไฟแล้ว

คิดว่า สัตว์เหล่านี้อ่อนแอกว่า ก็ให้งูเป็นต้นผิงไฟก่อน ให้พระ-

ราชกุมารผิงไฟทีหลัง กระทำให้หายหนาว ถึงเมื่อจะให้อาหาร

ก็ให้แก่งูเป็นต้นก่อน แล้วนำผลไม้ไปให้พระราชกุมารทีหลัง.

พระราชกุมารทรงพระดำริว่า ดาบสโกงผู้นี้ มิได้นับถือเรา

ผู้เป็นพระราชกุมาร กลับยกย่องพวกสัตว์ดิรัจฉาน จึงผูก

อาฆาตในพระโพธิสัตว์. แต่ต่อจากนั้นล่วงไปได้สอง-สามวัน

ครั้นพระกุมารและสัตว์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด มีเรี่ยวแรงเป็นปกติ

แล้ว กระแสน้ำในแม่น้ำก็แห้งแล้ว งูไหว้พระดาบสแล้วกล่าวว่า

ข้าแต่พระคุณท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าได้กระทำอุปการะอย่าง

ใหญ่หลวงแก่ข้าพเจ้า ก็แลข้าพเจ้ามิใช่ผู้ขัดสน ฝังเงินไว้ ๔๐

โกฏิ ในที่ชื่อโน้น เมื่อพระคุณเจ้าจะใช้สอยทรัพย์ ข้าพเจ้า

สามารถถวายทรัพย์แม้ทั้งหมดนั้นแด่พระคุณเจ้าได้ พระคุณเจ้า

จงไปที่นั้น แล้วเรียกข้าพเจ้าว่า ทีฆะ เถิด แล้วก็ลาไป. ฝ่ายหนู

ก็ปวารณาพระดาบสไว้อย่างนั้นเหมือนกัน กล่าวว่า เมื่อพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

คุณเจ้าต้องการจะใช้สอย จงไปยืนอยู่ในที่ชื่อโน้น เรียกข้าพเจ้า

ว่า "อุนทุระ" เถิด ดังนี้แล้วก็ลาไป. ส่วนนกแขกเต้า ไหว้พระ-

ดาบสแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าเจริญ ข้าพเจ้าไม่มีทรัพย์

แต่เมื่อพระคุณเจ้าจะต้องการข้าวสาลีแดงละก็ โปรดไปที่อยู่

ของข้าพเจ้า ในที่ชื่อโน้น เรียกข้าพเจ้าว่า "สุวะ" ข้าพเจ้า

สามารถจะบอกแก่ฝูงญาติ ให้ช่วยขนข้าวสาสีสีแดงมาถวายได้

หลายเล่มเกวียน แล้วลาไป. ฝ่ายพระราชกุมาร เพราะฝังใจใน

ธรรมของผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นสันดาน คิดได้ว่า การที่เรา

จะไม่พูดอะไร ๆ บ้าง ไปเสียเฉย ๆ ไม่เหมาะเลย เราจักฆ่า

ดาบสเสียเวลาที่ท่านมาหาเรา จงกล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า

ผู้เจริญ เมื่อข้าพเจ้าดำรงอยู่ในราชสมบัติแล้ว นิมนต์มาเถิด

กระผมจักบำรุงพระคุณเจ้าด้วยปัจจัย ๔ แล้วก็ลาไป. พระกุมาร

นั้นเสด็จไปได้ไม่นาน ก็ดำรงอยู่ในราชสมบัติ.

พระโพธิสัตว์ดำริว่า เราจักทดสอบคนเหล่านั้น ดังนี้แล้ว

จึงไปสู่สำนักงูก่อน ยืนอยู่ไม่ห่าง เรียกว่า "ทีฆะ". เพียงคำเดียว

เท่านั้น งูก็เลื้อยออกมาไหว้พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ข้าแต่พระคุณ-

เจ้าผู้เจริญ ที่ตรงนี้มีทรัพย์อยู่ ๔๐ โกฏิ นิมนต์พระคุณเจ้าขุด

ค้นขนเอาไปให้หมดเถิด. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เอาไว้อย่างนี้แหละ

เมื่อมีกิจเกิดขึ้นจึงจะรู้กัน บอกให้งูกลับไปแล้วเลยไปสำนัก

ของหนู เอ่ยเสียงเรียก. แม้หนูก็ปฏิบัติดังนั้นเหมือนกัน. พระ-

โพธิสัตว์ก็บอกให้หนูกลับไป. เลยไปสำนักนกแขกเต้า เรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

"สุวะ" เพียงคำเดียวเท่านั้นเหมือนกัน นกแขกเต้าก็โผลงจาก

ยอดไม้ ไหว้พระโพธิสัตว์แล้วถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ

กระผมจักต้องไปหาพวกญาติของกระผมให้ช่วยขนข้าวสาลี

ที่เกิดเอง จากหิมวันตประเทศ มาถวายพระคุณเจ้าหรือขอรับ ?

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เมื่อต้องการค่อยรู้กัน บอกให้นกแขกเต้า

กับไป แล้วคิดว่า คราวนี้เราจักทดสอบพระราชา จึงไปพัก

อยู่ที่พระราชอุทยาน รุ่งขึ้นก็สำรวมมรรยาทเรียบร้อย เข้าไปสู่

พระนคร ด้วยภิกขาจารวัตร. ในขณะนั้น พระราชาผู้ทำลาย

มิตรพระองค์นั้น ประทับเหนือคอพระคชาธารอันตกแต่งแล้ว

กระทำปทักษิณพระนคร ด้วยข้าราชบริพารขบวนใหญ่ เห็น

พระโพธิสัตว์แต่ไกลทีเดียว ทรงพระดำริว่า ดาบสผู้นี้ คือ

ดาบสโกงคนนั้น คงประสงค์จะอยู่ในสำนักของเรา จึงได้มา ต้อง

ให้ราชบุรุษตัดศีรษะเสียทันที มิทันให้แก่ประกาศคุณที่ทำไว้

แก่เรา ในท่ามกลางฝูงคนได้ แล้วทรงมองดูราชบุรุษ ในเมื่อ

ราชบุรุษกราบทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ต้องทำอะไร พระเจ้าข้า ? จึงรับสั่งว่า ดาบสโกงนั้น ชะรอย

จะมามุ่งขออะไรเราสักอย่าง พวกเจ้าต้องไม่ให้ดาบสกาลกรรณี

ผู้นั้น เห็นเรา จับมันไปมัดมือไพร่หลัง เฆี่ยนทุก ๔ แยก นำออก

จากพระนคร ตัดหัวมันเสียที่ตะแลงแกง แล้วเอาตัวเสียบหลาวไว้

ราชบุรุษเหล่านั้นรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว พากันไป

มัดพระโพธิสัตว์ ผู้ปราศจากความผิด เฆี่ยนไปทุก ๔ แยก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

แล้วเตรียมจะนำไปสู่ตะแลงแกง. พระโพธิสัตว์มิได้คร่ำครวญ

เลยว่า พ่อแม่ทั้งหลาย ในสถานที่ถูกเฆี่ยนทุกแห่ง ปราศจาก

ความสะทกสะท้าน กล่าวคาถานี้ ความว่า

" เป็นความจริง ดังที่ได้ยินมาว่า คนบาง

จำพวกในโลกนี้ เคยกล่าวว่าไม้ลอยน้ำยัง

ประเสริฐกว่า แต่คนบางคนไม่ประเสริฐเลย "

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจ กิเรวมาหสุ ความว่า

ได้ยินว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้ไม่ผิดเลย.

บทว่า นรา เอกจฺจิยา อิธ ความว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิต

บางพวกในโลกนี้.

บทว่า กฏฺ นิปฺผวิต เสยฺโย ความว่า ได้ยินว่าบุรุษผู้

เป็นบัณฑิตเหล่านั้น ที่กล่าวว่า ไม้แห้งที่เป็นไม้เบา ๆ ลอยอยู่

ในแม่น้ำ เอาขึ้นวางไว้บนบก นั้นประเสริฐกว่า คือมันยังดี นั้น

กล่าวไว้เป็นความจริง. เพราะเหตุไร ? เพราะว่าไม้นั้น ยังเป็น

อุปการะแก่ความต้องการ ในอันจะต้มจะหุงข้าวยาคู และข้าวสวย

ก็ได้ เป็นอุปการะแก่ความต้องการในอันจะผิงไฟของหมู่ชน

ผู้เดือดร้อนด้วยความหนาวก็ได้ เป็นอุปการะแก่ความต้องการ

ในอันกำจัดอันตรายอื่น ๆ ก็ได้

บทว่า น เตฺวเวกจฺจิโย นโร ความว่า ส่วนบุคคลบางคน

คือ คนทำลายมิตร คนอกตัญญู คนใจบาป ถูกกระแสน้ำพัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

ลอยไป ช่วยฉุดมือให้ขึ้นจากแม่น้ำได้ ไม่ประเสริฐเลย เป็น

ความจริงทีเดียว เราช่วยคนใจบาปนี้ให้รอดชีวิตได้ กลับเป็น

อันนำทุกข์มาให้ตน.

พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้ในที่ที่ถูกเฆี่ยนทุกแห่ง ด้วย

ประการฉะนี้. ฝูงชนต่างได้ยินคำเป็นคาถานั้น ท่านพวกที่เป็น

บัณฑิตในหมู่นั้น พากันกล่าวว่า ข้าแต่ท่านนักพรตผู้เจริญ ท่าน

กระทำคุณอะไรไว้แก่พระราชาของพวกเราหรือ ? พระโพธิสัตว์

จึงเล่าเรื่องนั้นแล้วกล่าวว่า เราเองเป็นผู้ช่วยพระราชานี้ให้ขึ้น

จากห้วงน้ำใหญ่ กลับเป็นการทำทุกข์ให้แก่ตนอย่างนี้ เรามา

หวลรำลึกได้ว่า เราไม่ได้กระทำตามคำของบัณฑิต แต่ครั้งก่อน

สิหนอ จึงกล่าวอย่างนี้. ชาวพระนคร มีกษัตริย์และพราหมณ์

เป็นต้น ฟังคำนั้นแล้ว พากันกล่าวว่า เพราะอาศัยพระราชา

ผู้ทำลายมิตร มิได้รู้แม้มาตรว่าคุณของท่านผู้ถึงพร้อมด้วย

พระคุณ ผู้ให้ชีวิตแก่ตนอย่างนี้ พระองค์นี้ พวกเราจะมีความ

เจริญได้แต่ที่ไหน จับมันเถิด ดังนี้แล้วต่างโกรธแค้น ลุกฮือขึ้น

โดยรอบ ฆ่าพระราชานั้นเสีย ทั้ง ๆ ที่ยังอยู่บนคอช้างนั่นเอง

ด้วยเครื่องประหาร มีลูกศร หอกซัด ก้อนหิน ละไม้ค้อนเป็นต้น

แล้วจับเท้ากระชากลงมาโยนทิ้งไปเหนือสันคู แล้วอภิเษกพระ-

โพธิสัตว์ให้ดำรงราชย์สืบแทน.

ส่วนพระโพธิสัตว์ ดำรงราชย์โดยธรรม วันหนึ่งทรง

ปรารภจะทดลองสัตว์มีงูเป็นต้น จึงเสด็จไปที่อยู่ของงู ตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

เรียกว่า "ทีฆะ" งูเลื้อยมาซบไหว้ กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้มีพระคุณ

เชิญมาขนทรัพย์ของท่านไปเสียเถิด. พระราชามีพระดำรัส

ให้อำมาตย์มารับมอบทรัพย์ ๔๐ โกฏิ แล้วเสด็จไปสำนักของ

หนู ตรัสเรียกว่า "อุนทูร" หนูก็มาซบไหว้แล้วมอบถวายสมบัติ

๓๐ โกฏิ พระราชามีดำรัสให้อำมาตย์รับมอบทรัพย์แม้นั้นไว้.

เสด็จไปที่อยู่ของนกแขกเต้า รับสั่งเรียกว่า "สุวะ" แม้นกแขกเต้า

ก็บินมาซบไหว้ พระบาทยุคลกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านเจ้าพระคุณ

ข้าพเจ้าจะไปนำข้าวสาลีมาให้. พระราชารับสั่งว่า เมื่อจะต้อง

การข้าวสาลี จึงค่อยนำมา มาเถิด เรามาพากันไป แล้วทรง

พาสัตว์ทั้ง ๓ กับทรัพย์ ๗๐ โกฏิ ไปพระนคร รับสั่งให้ทำ

ทะนานทอง พระราชาทานเป็นที่อยู่ของงู ถ้ำแก้วผลึกเป็นที่อยู่

ของหนู กรงทองเป็นที่อยู่ของนกแขกเต้า พระราชทานข้าวตอก

คลุกน้ำผึ้งใส่จานทองให้งูและนกแขกเต้ากิน พระราชทาน

ข้าวสารสาลีให้หนูกินทุกวัน ทรงกระทำบุญมีให้ทานเป็นต้น.

คนทั้ง ๔ แม้นั้นต่างสมัครสมานกัน ร่าเริงบันเทิงอยู่ชั่วชีวิต

ครั้นสิ้นชีวิตแล้ว ต่างก็ไปตามยถากรรม.

พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่

ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัตพยายามจะฆ่าเราเสีย แม้ในครั้งก่อน

ก็พยายามมาแล้วเหมือนกัน ดังนี้ ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนา

นี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า พระราชาผู้ร้ายกาจ

ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัตในครั้งนี้ งูได้มาเป็นพระสารีบุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

หนูได้มาเป็นพระโมคคัลลานะ นกแขกเต้าได้มาเป็นอานนท์

ธรรมราชาผู้เถลิงราชย์ในภายหลังได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสัจจังกิรชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

๔. รุกขธัมมชาดก

ต้นไม้โดดเดี่ยวย่อมแพ้ลม

[๗๔] "หมู่ญาติยิ่งมีมากได้ ยิ่งดี แม้ถึงไม้เกิด

ในป่า เป็นหมวดหมู่ได้เป็นดี (เพราะ) ต้นไม้ที่

ตั้งอยู่โดดเดี่ยว แม้จะใหญ่โต เป็นเจ้าป่า ย่อม

ถูกลมแรง โค่นลงได้"

จบ รุกขธัมมชาดกที่ ๔

อรรถกถารุกขธัมมาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงทราบความพินาศใหญ่ กำลังจะเกิดแก่พระญาติทั้งหลาย

ของพระองค์ เพราะทะเลาะกันเรื่องน้ำ ก็เสด็จเหาะไปในอากาศ

ประทับนั่งโดยบัลลังก์ เบื้องบนแม่น้ำโรหิณี ทรงเปล่งรัศมี

สีขาบ ให้พระญาติทั้งหลายสลดพระทัย แล้วเสด็จลงจากอากาศ

ประทับนั่ง ณ ฝั่งแม่น้ำ ทรงปรารภการทะเลาะนั้น ตรัสพระ-

ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สาธุ สมฺพหุลา าตี ดังนี้.

ในชาดกที่ยกมานี้เป็นสังเขปนัย ส่วนวิตถานัยจักปรากฏ

แจ้งในกุณาลชาดก ก็และในครั้งนั้น พระศาสดาตรัสเรียก

พระญาติทั้งหลายมาตรัสว่า มหาบพิตรทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

ได้นามว่าเป็นญาติกัน ควรจะสมัครสมานสามัคคีร่วมใจกัน

เพราะว่าเมื่อพระญาติทั้งหลาย ยังสามัคคีกันอยู่ หมู่ปัจจามิตร

ย่อมไม่ได้โอกาส อย่าว่าแต่หมู่มนุษย์เลย แม้ต้นไม้ทั้งหลาย

อันหาเจตนามิได้ ยังควรจะได้ความสามัคคีกัน เพราะในอดีตกาล

ที่หิมวันตประเทศ มหาวาตภัยรุกรานป่ารัง แต่เพราะป่ารังนั้น

เกี่ยวประสานกันและกันแน่นขนัดไปด้วยลำต้น กอพุ่มและ

ลดาวัลย์ ไม่อาจจะให้ต้นไม้แม้ต้นเดียวโค่นลงได้ พัดผ่านไป

ตามยอด ๆ เท่านั้น แต่ได้พัดเอาไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ที่ขึ้นอยู่บนเนิน

แม้จะสมบูรณ์ด้วยกิ่งก้าน ด่าคบไม้ล้มลงที่พื้นดิน ถอนราก

ถอนโคนขึ้น เพราะไม่เกี่ยวประสานกันกับต้นไม้อื่น ๆ ด้วยเหตุนี้

จึงควรที่พวกท่านทั้งหลาย จะสมัครสมานสามัคคีร่วมใจกัน

อันพระญาติเหล่านั้น กราบทูลอารธนา จึงทรงนำเรื่องในอดีต

มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี ท้าวเวสวรรณมหาราชที่ทรงอุบัติพระองค์แรก

จุติ ท้าวสักกะทรงตั้งท้าวเวสสวรรณองค์ใหม่ ในคราวเปลี่ยน-

แปลงท้าวเวสสวรรณนี้ ท้าวเวสสวรรณองค์หลัง ส่งข่าวไปแก่

หมู่เทพยดาว่า จงจับจองต้นไม้ กอไผ่ พุ่มไม้ และลดาวัลย์

เป็นวิมานในสถานที่อันพอใจแห่งตน ๆ เถิด. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์

เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดา ณ ป่ารังแห่งหนึ่ง ในหิมวันตประเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

ทรงประกาศบอกเทพที่เป็นหมู่ญาติว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะจับ

จองวิมาน จงอย่าจับจองที่ต้นไม้อันตั้งอยู่บนเนิน แต่จงจับจอง

วิมานที่ต้นไม้ตั้งล้อมรอบวิมานที่เราจับจองแล้ว ในป่ารังนี้เถิด.

บรรดาเทวดาเหล่านั้น พวกที่เป็นบัณฑิต ก็กระทำตามคำของ

พระโพธิสัตว์ จับจองวิมานต้นไม้ที่ตั้งล้อมวิมานของพระโพธิสัตว์

ฝ่ายพวกที่มิใช่บัณฑิต ต่างพูดกันว่า พวกเราจะต้องการอะไร

ด้วยวิมานในป่า จงพากันจับจองวิมานที่ประตูบ้าน นิคม และ

ราชธานี ในถิ่นมนุษย์กันเถิด ด้วยว่าพวกเทวดาที่อยู่อาศัยบ้าน

เป็นต้น ย่อมประสบลาภอันเถิด และยศอันเลิศ แล้วพากันจับจอง

วิมานที่ต้นไม้ใหญ่ ๆ อันเกิด ณ ที่อันเป็นเนิน ในถิ่นมนุษย์

ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง เกิดลมฝนใหญ่ แม้ถึงต้นไม้ที่ใหญ่ ๆ ในป่า

มีรากมั่นคง ต่างมีกิ่งก้าน ค่าคบ หักล้มระเนระนาดทั้งราก

ทั้งโคน เพราะโต้ลมเกินไป. แต่พอถึงป่ารัง ซึ่งตั้งอยู่ชิดติด

ต่อกัน ถึงจะพัดกระหน่ำ ทุก ๆ ด้านไม่สร่างซา ก็ไม่อาจทำให้

ต้นไม้ล้มได้สักต้นเดียว. หมู่เทวดาที่มีวิมานหักต่างก็ไม่มีที่

พำนัก พากันจูงมือเด็ก ๆ ไปป่าหิมพานต์ แจ้งเรื่องราวของตน

แก่เทวดาผู้อยู่ในป่ารัง เทวดาเหล่านั้นก็พากันบอกเรื่องที่พวก

เหล่านั้นพากันกระเซอะกระเซิงมาแด่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์

กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า ผู้ที่ไม่เชื่อถือถ้อยคำของหมู่บัณฑิต แล้วพากัน

ไปสู่สถานที่อันหาปัจจัยมิได้ ย่อมเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น เมื่อจะ

แสดงธรรม จึงกล่าวคาถาความว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

" หมู่ญาติยิ่งมีมากได้ ยิ่งดี แม้ถึงไม้เกิด

ในป่า เป็นหมวดหมู่ได้เป็นดี (เพราะ) ต้นไม้

ที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว แม้จะใหญ่โตเป็นเจ้าป่า ย่อม

ถูกลมแรง โค่นได้ " ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺพหุลา ความว่า ญาตินับ

แต่ ๔ คน ชื่อว่า มาก แม้ยิ่งกว่านั้น ขนาดนับร้อย นับพัน

ชื่อว่ามากมูล เมื่อหมู่ญาติมากมายอย่างนี้ ต่างถ้อยทีถ้อยอาศัย

กันอยู่ ก็ยิ่งดี คืองดงาม ประเสริฐสุด ศัตรูหมู่อมิตรจะกำจัด

ไม่ได้.

บทว่า อปิ รุกฺขา อรญฺชา ความว่า อย่าว่าแต่ชุมชนที่

รวมกันเป็นหมู่มนุษย์เลย แม้ถึงต้นไม้ที่เกิดในป่าที่มีมากมาย

ตั้งอยู่โดยอาการต่างฝ่ายต่างค้ำจุนสนับสนุนกันเป็นการดีแท้

เพราะแม้ถึงต้นไม้ทั้งหลาย ก็ควรจะได้เป็นปัจจัยสนับสนุน

กันและกัน.

บทว่า วาโต วหติ เอกฏฺ ความว่า ลมมีลมที่พัดมาแต่

ทิศตะวันออกเป็นต้น พัดมา จะทำให้ต้นไม้ที่ตั้งตระหง่านอยู่

บนเนิน เด่นโดดเดี่ยว ลำพังต้นเดียว ถอนไปได้.

บทว่า พฺรหนฺตมฺปิ วนปฺปตฺตึ ความว่า ลมย่อมพัดตัดไม้

ใหญ่ แม้จะสมบูรณ์ด้วยกิ่งก้านและค่าคบ ให้หักโค่นถอนราก

ถอนโคนไปได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

พระโพธิสัตว์ บอกกล่าวเหตุนี้ เมื่อสิ้นอายุ ก็ไปตาม

ยถากรรม. แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า มหาบพิตรทั้งหลาย

หมู่ญาติควรจะต้องได้ความสามัคคีกันก่อนอย่างนี้ทีเดียว เพราะ

เหตุนั้น ท่านทั้งหลาย จงสมัครสมานปรองดองกัน อยู่กันด้วยความ

รักใคร่กลมเกลียวกันเถิด ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว

ทรงประชุมชาดกว่า ฝูงเทพในครั้งนั้นได้มาเป็นพุทธบริษัท

ส่วนเทวดาเป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถารุกขธัมมชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

๕. มัจฉชาดก

ว่าด้วยปลาขอฝน

[๗๕] "ข้าแต่พระปัชชุนนะ ท่านจงคำรณ

คำราม ให้ขุมทรัพย์ของกาพินาศไป จงทำลาย

ฝูงกาด้วยความเศร้าโศก และจงปลดเปลื้อง

ข้าพเจ้าจากความโศกเถิด"

จบ มัจฉชาดกที่ ๕

อรรถกถามัจฉชาดกที่ ๕

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-

วิหาร ทรงปรารภฝนที่พระองค์ทรงบันดาลให้ตกลง ตรัสพระ-

ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อภิตฺถนย ปชฺชุนฺนา ดังนี้

ดังได้สดับมา ในสมัยหนึ่ง ในแคว้นโกศล ฝนไม่ตกเลย.

ข้าวกลาทั้งหลายเหี่ยวแห้ง ตระพัง สระโบกขรณีและสระใน

ที่นั้น ๆ ก็เหือดแห้ง แม้โบกขรณีเชตวัน ณ ที่ใกล้ซุ้มพระทวาร

เชตวัน ก็ขาดน้ำ. ฝูงกาและนกเป็นต้น รุมกันเอาจะงอยปาก

อันเทียบได้กับปากคีม จิกทึ้งฝูงปลาและเต่าอันหลบคุดเข้าสู่

เปือกตม ออกมากิน ทั้ง ๆ ที่กำลังดิ้นอยู่ พระศาสดา

ทอดพระเนตรเห็นความพินาศของฝูงปลาและเต่า พระมหากรุณา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

เตือนพระทัยให้ทรงอุตสาหะ จึงทรงพระดำริว่า วันนี้เราควรจะ

ให้ฝนตก ครั้นราตรีสว่างแล้ว ทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระ

เสร็จ ทรงกำหนดเวลาภิกษาจาร มีพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม

เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ด้วยพระพุทธลีลา

ภายหลังภัตรเสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว เมื่อเสด็จจากพระนคร

สาวัตถี สู่พระวิหาร ประทับยืนที่บันไดโบกขรณีเชตวัน ตรัส

เรียกพระอานนท์เถรเจ้ามาว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเอาผ้า

อาบน้ำมา เราจักสรงน้ำในสระโบกขรณีเชตวัน พระอานนท-

เถรเจ้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในโบกขรณี

เชตวันแห้งขอด เหลือแต่เพียงเปือกตมเท่านั้น มิใช่หรือพระ-

เจ้าข้า ? ตรัสว่า อานนท์ ธรรมดาว่า กำลังของพระพุทธเจ้า

ใหญ่หลวงนัก เธอจงนำเอาผ้าอาบน้ำมาเถิด พระเถรเจ้าได้นำมา

ทูลถวาย พระศาสดาทรงนุ่งผ้าอุทกสาฎก ด้วยชายข้างหนึ่ง

อีกชายหนึ่งทรงคลุมพระสรีระ ประทับยืนที่บันได ตั้งพระทัย

ว่า เราจักสรงน้ำในสระโบกขรณีเชตวัน.

ทันใดนั้นเอง บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะ ก็

สำแดงอาการร้อน ท้าวเธอรำพึงว่า อะไรเล่าหนอ ทรงทราบ

เหตุนั้น จึงมีเทวบัญชาเรียกวลาหกเทวราชเจ้าแห่งฝนมาเฝ้า

พลางตรัสว่า พ่อเทพบุตร พระบรมศาสดา ทรงตั้งพระทัยว่า

เราจักสรงน้ำในสระโบกขรณีเชตวัน ประทับยืนอยู่ ณ บันได

เธอจงกระทำแคว้นโกศลทั้งสิ้น ให้มีเมฆพะยับพะโยมเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

อันเดียวกัน บันดาลให้ฝนตกโดยเร็วเถิด วลาหกเทวราช รับ

เทวบัญชาแล้ว นุ่งก้อนเมฆก้อนหนึ่ง ห่มก้อนหนึ่ง ขับเพลง

เมฆสังคีต บ่ายหน้าไปทางโลกธาตุด้านตะวันออก เหาะไปแล้ว

ณ ทิศาภาคตะวันออก ก็ปรากฏกลุ่มเมฆกลุ่มหนึ่ง มีขนาดเท่า

ลานนวดข้าว ซ้อนเป็นชั้น ๆ ตั้งร้อยชั้นพันชั้น คำรณคำราม

ฟ้าแลบแปลบปลาบ ฝนก็ตกลงมา ด้วยอาการประหนึ่งว่า คว่ำหม้อ

เทลงมา แคว้นโกศลทั้งสิ้น ท่วมท้นเหมือนห้วงน้ำไหลบ่าท่วมอยู่

ฝนตกอยู่ไม่ขาดสาย ครู่เดียวเท่านั้น ก็เต็มสระโบกขรณีเชตวัน

น้ำท่วมจดถึงแคร่บันได.

พระบรมศาสดาลงสรงในสระโบกขรณีเชตวันแล้ว ทรง

ครองผ้าสองชั้นสีแดง คาดรัดประคด ทรงครองสุคตจีวรเฉวียง

พระอังสา แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จพระดำเนินไป ประทับนั่ง

เหนือพระบวรพุทธาอาสน์ที่ปูลาดไว้ในบริเวณพระคันธกุฏี

เมื่อภิกษุสงฆ์แสดงวัตรปฏิบัติแล้ว ก็เสด็จอุฏฐาการ ประทับยืน

ณ พื้นขั้นบันไดแก้วมณี ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ แล้วทรง

ส่งกลับไป เสด็จเข้าสู่พระคันธกุฏีที่มีกลิ่นจรุงใจ ทรงบรรทม

สีหไสยา ด้วยพระปรัศว์เบื้องขวา ต่อเวลาเย็น พวกภิกษุประชุม

กันในธรรมสภา ยกเรื่องขึ้นสนทนากันว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจง พระคุณสมบัติคือ ขันติ พระเมตตา

๑. ขับเพลิงในคัมภีร์เมฆฑูต และคัมภีร์ภาควัตคีตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

และพระกรุณาของพระทศพล ในเมื่อข้าวกล้าต่าง ๆ กำลังเหี่ยว-

แห้ง ชลาลัยทุกแห่งก็เหือดหาย ฝูงปลาและเต่า ประสบทุกข์

ใหญ่หลวง พระองค์ทรงอาศัยพระกรุณา ทรงครองผ้าอุทกสาฎก

ด้วยมุ่งพระทัยจักให้มหาชนพ้นจากความทุกข์ ประทับยืน ณ

บันไดขั้นแรกแห่งโบกขรณีเชตวัน ทรงบันดาลให้ฝนตก เหมือน

ห้วงน้ำใหญ่ไหลบ่าท่วมโกศลรัฐทุกส่วน โดยเวลาเพียงครู่เดียว

ทรงปลดเปลื้องมหาชนจากทุกข์กาย ทุกข์ใจ แล้วเสด็จเข้า

พระวิหาร. พระศาสดาเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จมาสู่

ธรรมสภา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุม

สนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? ครั้นภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรง

ทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น

ที่ตถาคตทำให้ฝนตก ในเมื่อมหาชนพากันลำบาก แม้ในกาลก่อน

เมื่อตถาคตเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แม้ในคราวเป็นราชา

ของฝูงปลา ก็ได้ทำให้ฝนตกแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล มีลำห้วยแห่งหนึ่ง ล้อมรอบด้วยชัฏแห่ง

เถาวัลย์ อยู่ตรงโบกขรณีเชตวันนี้ ณ เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล

นี้แหละ ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดปลา มีฝูงปลาเป็น

บริวารอยู่ในลำห้วยนั้น แม้ในคราวนั้น แคว้นนั้นฝนก็ไม่ตก

เหมือนคราวนี้ ข้าวกล้าของพวกมนุษย์เหี่ยวแห้ง ในบึงเป็นต้น

ขาดน้ำ ฝูงปลาและเต่าพากันคุดเข้าเปือกตม. แม้ที่ลำห้วยนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

ฝูงปลาก็พากันคุดเข้าโคลนตม ซุกซ่อนในที่นั้น ๆ ฝูงกาเป็นต้น

ก็พากันรุมจิกทึ้งออกมาจิกกินด้วยจะงอยปาก. พระโพธิสัตว์

เห็นความพินาศของหมู่ญาติ ก็ดำริว่า ผู้อื่นเว้นเราเสียแล้ว

ใครเล่าที่จะได้ชื่อว่าสามารถปลดเปลื้องทุกข์ของพวกปลา

เหล่านี้ เป็นไม่มี เราจักทำสัจจกิริยาให้ฝนตก ปลดเปลื้องฝูง

ญาติ จากทุกข์คือความตายให้จงได้ แล้วแหวกตมสีดำออก

พญาปลาใหญ่ สีกายเหมือนปุ่มต้นอัญชัน ลืมตาทั้งคู่ อันเปรียบ

ได้กับแก้วมณี สีแดงที่เจียรนัยแล้ว มองดูอากาศ บรรลือเสียง

กล่าวแก่เทวราชปัชชุนนะว่า ข้าแต่พระปัชชุนนะผู้เจริญ ข้าพเจ้า

อาศัยหมู่ญาติเดือดร้อนมาก ในเมื่อข้าพเจ้าผู้ทรงศีลลำบากอยู่

ทำไมท่านไม่ช่วยให้ฝนตกลงมาเล่า ข้าพเจ้าบังเกิดในฐานะที่

จะกัดกินพวกเดียวกัน แต่ก็ยังไม่เคยได้ชื่อว่า กัดกินมัจฉาชาติ

ตั้งต้นแต่ปลาเล็กแม้มีขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร ถึงสัตว์มีปราณ

อื่น ๆ เล่า ข้าพเจ้าก็มิได้เคยแกล้งปลงชีวิตเลย ด้วยสัจจวาจานี้

ขอท่านจงให้ฝนตกลงมา ปลดเปลื้องหมู่ญาติของข้าพเจ้าจากทุกข์

เทอญ เมื่อจะเรียกเทวราชปัชชุนนะ ประหนึ่งสั่งงานคนรับใช้

กล่าวคาถานี้ ความว่า :-

" ข้าแต่พระปัชชุนนะ ท่านจงคำรณคำราม

ให้ขุมทรัพย์ของกาพินาศไป จงทำลายฝูงกาด้วย

ความโศก และจงปลดเปลื้องข้าพเจ้าจากความ

โศกเถิด " ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิตฺถนย ปชฺชุนฺน ความว่า

เมฆเรียกกันว่า ท้าวปัชชุนะ ก็พญาปลานี้ เรียกวลาหกเทวราช

เจ้าแห่งฝน ผู้ได้นามด้วยอำนาจแห่งเมฆ. ได้ยินว่า พญาปลานั้น

มีความประสงค์ดังนี้ว่า ธรรมดาว่าฝนไม่คำรณคำราม ไม่ให้

สายฟ้าแลบแปลบปลาบ แม้จะตกกระหน่ำก็ไม่งาม เพราะฉะนั้น

ท่านจงคำรณคำราม ให้สายฟ้าแลบแปลบปลาบ ให้ฝนตกเถิด.

บทว่า นิธึ กากสฺส นาสย ความว่า ฝูงกาพากันจิกทึ้ง

ฝูงปลาที่พากันคุดเข้าเปือกตมซุกอยู่ ออกมาด้วยจะงอยปาก

กินเป็นอาหาร เพราะเหตุนั้นฝูงปลาที่คุดอยู่ในเปือกตม จึง

เรียกว่า ขุมทรัพย์ของกาเป็นต้นเหล่านั้น เมื่อท่านให้ฝนตก

ปกปิดเสียด้วยน้ำแล้ว ก็เป็นอันทำลายขุมทรัพย์ของฝูงกานั้นเสีย.

บทว่า กาก โสกาย รนฺเธหิ ความว่า ฝูงกาเมื่อลำห้วย

มีน้ำเต็มแล้ว ไม่ได้ฝูงปลาเป็นอาหาร ก็ต้องเศร้าโศก เมื่อท่าน

กระทำให้ลำห้วยนี้เต็มเปี่ยม ก็เป็นอันทำลายฝูงกานั้นด้วยความ

โศก ท่านจงยังฝนให้ตก เพื่อระงับความโศก คือเพื่อความโล่งใจ

ของปลา. อธิบายว่า ฝูงกาจะถึงความเศร้าโศก อันมีลักษณะ

หม่นไหม้ในภายใน ได้ด้วยวิธีใด ท่านโปรดกระทำวิธีนั้นเถิด.

อักษร ในบทคาถาว่า มญฺจ โสกา ปโมจย นี้ มีการ

ประมวลมาเป็นอรรถ ความก็ว่า ท่านโปรดให้ข้าพเจ้าและฝูง

ญาติทั้งหมด พ้นจากความเศร้าโศก อันเกิดแต่ความตายนี้เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

พระโพธิสัตว์เรียกท้าวปัชชุนนะ เหมือนสั่งบังคับคนรับใช้

อย่างนี้ ให้ฝนห่าใหญ่ตกทั่วแคว้นโกศล ให้มหาชนพ้นจาก

มรณทุกข์ ในปริโยสานกาลของชีวิตก็ได้ไปตามยถากรรม.

พระบรมศาสดา จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่

แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่ตถาคตยังฝนให้ตก แม้ในกาลก่อน ถึงเกิด

ในกำเนิดปลา ก็ให้ฝนตกแล้วเหมือนกัน ดังนี้ ครั้นทรงนำ

พระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า ฝูงปลา

ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัท ปัชชุนนะเทวราชได้มาเป็น

พระอานนท์ ส่วนพญาปลาได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามัจฉชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

๖. อสังกิยชาดก

เมตตา กรุณา ทำให้ปลอดภัย

[๗๖] เราไม่มีความระแวงในบ้าน ไม่มีภัยใน

ป่า เราได้ขึ้นเดินทางตรง ด้วยเมตตาและกรุณา

แล้ว.

จบ อสังกิยชาดกที่ ๖

อรรถกถาอสังกิยชาดกที่ ๖

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-

วิหาร ทรงปรารภอุบาสกชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อสงฺกิโยมฺหิ คามมฺหิ ดังนี้.

ได้ยินว่า อุบาสกนั้นเป็นพระอริยสาวกผู้โสดาบัน เดินทาง

ไปกับกองเกวียนขบวนหนึ่ง ครั้นพ่อค้าเกวียนทั้งหลายปลดเกวียน

ตั้งเพิงพักในที่ป่าตำบลหนึ่ง ก็เดินจงกรมอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง.

พวกโจร ๕๐๐ กำหนดเวลาของตนแล้ว คบคิดกันว่า พวกเรา

จักปล้นที่พัก ต่างถือธนูและไม้พลองเป็นต้น พากันไปล้อมที่นั้น

ไว้ แม้อุบาสกนั้นก็คงเดินจงกรมอยู่นั่นเอง โจรทั้งหลายเห็น

อุบาสกนั้นแล้วคิดว่า ผู้นี้ต้องเป็นยามเฝ้าที่พักแน่นอน คอยให้

บุรุษผู้นี้หลับเสียก่อน พวกเราถึงจักปล้น เมื่อยังไม่อาจจู่โจม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

ก็ตั้งมั่นอยู่ในที่นั้น ๆ. แม้อุบาสกนั้น ก็คงยังอธิษฐาน เดินจงกรม

อยู่นั่นเอง ทั้งในปฐมยาม มัชฌิมยาม และแม้ในปัจฉิมยาม จน

ถึงเวลารุ่งสว่าง. พวกโจรไม่ได้โอกาส ก็ทิ้งก้อนหินและไม้พลอง

เป็นต้น ที่ต่างก็ถือกันมาแล้ว พากันหลบไป แม้อุบาสกกระทำกิจ

ของตนสำเร็จแล้ว กับมาสู่พระนครสาวัตถี เข้าเฝ้าพระศาสดา

ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ที่กำลังรักษาตน ก็เป็นผู้

รักษาผู้อื่นด้วยหรือ พระเจ้าข้า ? พระศาสดาตรัสว่า ถูกละ

อุบาสก ผู้รักษาตนชื่อว่ารักษาผู้อื่น รักษาผู้อื่นก็ชื่อว่ารักษา

ตน นั่นแหละ. อุบาสกนั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

คำนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว ข้าพระองค์

เดินทางไปกับกองเกวียนขบวนหนึ่ง เดินจงกรมอยู่ที่โคนไม้

ด้วยคิดว่าจักรักษาตน (กลายเป็น) รักษาหมู่เกวียนทั้งหมดไว้แล้ว

พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก แม้ในครั้งก่อน

บัณฑิตทั้งหลายรักษาตนอยู่ เป็นอันรักษาผู้อื่นด้วยดังนี้แล้ว

ทูลอาราธนา ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เกิดในสกุลพราหมณ์

เจริญวัยแล้ว เห็นโทษในกาม จึงบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์

มาสู่ชนบทเพื่อต้องการเสพรสเปรี้ยวรสเค็มบ้าง เมื่อท่องเที่ยว

ไปตามชนบท เดินทางไปกับกองเกวียนขบวนหนึ่ง เมื่อขบวน

เกวียนพักที่ป่าแห่งหนึ่ง ก็ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขเกิดแต่ฌาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

ไม่ห่างกองเกวียน จงกรมอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งแล้วยืนอยู่. ครั้งนั้น

พวกโจร ๕๐๐ พากันมา ด้วยคิดว่า จักปล้นหมู่เกวียนในเวลาที่

กินข้าวเย็นแล้ว โอบล้อมไว้ พวกโจรเหล่านั้นเห็นพระดาบส

คิดว่า ถ้าพระดาบสนี้จักเห็นพวกเรา คงบอกชาวเกวียนเป็นแน่

ต่อเวลาท่านหลับ พวกเราค่อยปล้นกันเถิด แล้วพากันตั้งมั่น

อยู่ ณ ที่นั้นเอง ฝ่ายพระดาบสคงเดินไปมาอยู่เรื่อย ๆ ตลอดคืน

พวกโจรไม่ได้โอกาส ก็พากันทิ้งไม้พลองและก้อนหินที่ถือกันมา

ตะโกนบอกชาวเกวียนว่า ชาวเกวียนผู้เจริญ ถ้าดาบสผู้ที่เดิน

ไปมาอยู่ที่โคนต้นไม้องค์นี้ ไม่มีในวันนี้แล้ว พวกท่านทุกคน

จักต้องประสบการปล้นอย่างขนานใหญ่เป็นแน่ พรุ่งนี้ พวกท่าน

ควรกระทำสักการะใหญ่แด่พระดาบส. ดังนี้แล้วพากันหลีกไป

ครั้นสว่างแจ้งแล้ว พวกกองเกวียน เห็นไม้พลองและก้อนหิน

เป็นต้น ที่พวกโจรพากันทิ้งไว้ ต่างกลัวพากันไปสำนักพระ-

โพธิสัตว์ ถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้าเห็น

พวกโจรหรือ ? พระโพธิสัตว์ตอบว่า เออ ผู้มีอายุทั้งหลาย เราเห็น

พวกกองเกวียนถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้า

เห็นโจรมีประมาณเท่านี้ ไม่มีความกลัว ความหวาดหวั่น เกิดขึ้น

เลยหรือขอรับ ? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ความกลัว ความครั่นคร้ามเพราะเห็นพวกโจร มีเฉพาะแก่คน

มีทรัพย์ แต่อาตมาเป็นผู้ไร้ทรัพย์ จักต้องกลัวทำไม เพราะเมื่อ

อาตมาอยู่ในบ้านก็ดี ในป่าก็ดี ความกลัวหรือความครั่นคร้าม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

ไม่มีทั้งนั้น เมื่อจะแสดงธรรมแก่คนเหล่านั้น กล่าวคาถานี้

ความว่า

" เราไม่ต้องระแวงในบ้าน เราไม่มีภัยใน

ป่า เรามุ่งก้าวขึ้นสู่ทางตรง ด้วยความเมตตา

และกรุณา " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อสงฺกิโยมฺหิ คามมฺหิ นี้

พระโพธิสัตว์แสดงความว่า เราชื่อว่าไม่ต้องระแวง เพราะ

ไม่ประกอบไปด้วยความระแวง ไม่ตั้งอยู่ในความระแวง ถึงจะ

อยู่ในบ้าน ก็ไม่ต้องระแวง เป็นคนปลอดภัย หมดข้อสงสัย เพราะ

มิได้ตั้งอยู่ในความระแวง.

บทว่า อรญฺเห ได้แก่ ในสถานที่พ้นไปจากบ้านและ

อุปจารแห่งบ้าน.

ด้วยบทว่า อุชุมคฺค สมารุฬุโห เมตฺตาย กรุณาย จ นี้

พระดาบสกล่าวไว้ หมายความว่า เราก้าวขึ้นสู่ทางตรง คือ

ทางไปสู่พรหมโลก อันเว้นแล้วจากความคดทางกาย เป็นต้น

ด้วยเมตตา และกรุณา อันเป็นอารมณ์แห่งติกฌาน และจตุกกฌาน

อีกนัยหนึ่ง ด้วยบทนั้น พระดาบสแสดงว่า เพราะความเป็นผู้

มีศีลบริสุทธิ์ จึงชื่อว่า ก้าวขึ้นสู่ทางตรง อันเว้นแล้วจากความคด

ด้วยกาย วาจา ใจ อันได้แก่ทางไปสู่พรหมโลก ดังนี้แล้วแสดง

ความยิ่งไปกว่านั้นว่า เพราะดำรงมั่นในเมตตา และกรุณา

ชื่อว่าก้าวขึ้นสู่ทางตรง คือทางไปพรหมโลก. อธิบายว่า ธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

ทั้งหลายมีเมตตา และกรุณาเป็นต้น ชื่อว่าเป็นทางตรง เพราะผู้

ที่มีฌานไม่เสื่อม เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่หมายได้ โดยถ่ายเดียว.

พระโพธิสัตว์ ครั้นแสดงธรรม ด้วยคาถานี้ ด้วยประการ

ฉะนี้ อันมนุษย์เหล่านั้นผู้มีใจยินดีแล้ว สักการะบูชาแล้ว เจริญ

พรหมวิหาร ๔ ตลอดชีพ ไปเกิดในพรหมโลกแล้ว.

พระบรมศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบ

อนุสนธิ ประชุมชาดกว่า ชาวเกวียนในครั้งนั้น ได้มาเป็น

พุทธบริษัท ส่วนพระดาบสมาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอสังกิยชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

๗. มหาสุบินชาดก

ว่าด้วยพระมหาสุบิน ๑๖ ข้อ

[๗๗] "หม่อมฉันได้ฝันเห็นโคอุสุภราช ๑

ต้นไม้ ๑ แม่โค ๑ โคสามัญ ๑ ม้า ๑ ถาดทองคำ ๑

สุนัขจิ้งจอก ๑ หม้อน้ำ ๑ สระโบกขรณี ๑ ข้าว-

สารที่หุงไม่สุก ๑ แก่นจันทน์ ๑ น้ำเต้าจมน้ำ ๑

หินลอยน้ำ ๑ นางเขียดกลืนกินงูเห่า ๑ หงษ์ทอง

แวดล้อมกา ๑ เสือกลัวแพะ ๑ ดังนี้"

ปริยายอันผิดนี้ จักยังไม่มีในยุคนี้.

จบ มหาสุบินชาดกที่ ๗

อรรถกถามหาสุบินชาดกที่ ๗

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-

วิหาร ทรงปรารภมหาสุบิน ๑๖ ข้อ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า ลาวูนิ สีทนฺติ ดังนี้.

ดังได้สดับมา วันหนึ่งพระเจ้าโกศลมหาราช เสด็จเข้าสู่

นิทรารมย์ ในราตรีกาล ในปัจฉิมยาม ทอดพระเนตรเห็น พระ-

สุบินนิมิตรอันใหญ่หลวง ๑๖ ประการ ทรงตระหนกพระทัย

ตื่นพระบรรทม ทรงพระดำริว่า เพราะเราเห็นสุบินนิมิตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

เหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้างหนอ เป็นผู้อันความสะดุ้งต่อมรณภัย

คุกคามแล้ว ทรงประทับเหนือพระแท่นที่ไสยาสน์นั่นแล จนล่วง

ราตรีกาล

ครั้นรุ่งเช้า พวกพราหมณ์ปุโรหิตเข้าเฝ้ากราบทูล

ถามว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์บรรทมเป็นสุขหรือ

พระเจ้าข้า ? รับสั่งตอบว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย เราจักมีความสุข

ได้อย่างไร เมื่อคืนนี้เวลาใกล้รุ่ง เราเห็นสุบินนิมิตร ๑๖ ข้อ

ตั้งแต่เห็นสุบินนิมิตรเหล่านั้นแล้ว เราถึงความหวาดกลัวเป็น

กำลัง เมื่อพวกปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า โปรด

ตรัสเล่าเถิดพระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์สดับแล้ว จักทำนายถวาย

ได้ จึงตรัสเล่าพระสุบินที่ทรงเห็นแล้วให้พวกพราหมณ์ฟัง

แล้วตรัสว่า เพราะเหตุเห็นสุบินเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้าง ?

พวกพราหมณ์พากันสลัดมือ. เมื่อรับสั่งถามว่า เพราะเหตุไร

พวกท่านจึงพากันสลัดมือเล่า ? พวกพราหมณ์จึงพากันกราบทูล

ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระสุบินทั้งหลายร้ายกาจนัก รับสั่ง

ถามว่า พระสุบินเหล่านั้นจักมีผลเป็นประการใด ? พวกพราหมณ์

จึงพากันกราบทูลว่า จักมีอันตรายใน ๓ อย่างเหล่านี้ คือ อันตราย

แก่ราชสมบัติ ๑ อันตราย คือโรคจะเบียดเบียน ๑ อันตรายแก่

พระชนม์ ๑ อย่างใดอย่างหนึ่ง. รับสั่งถามว่า พอจะเเก้ไขได้ หรือ

แก้ไขไม่ได้ พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ พระสุบิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

เหล่านี้ หมดทางแก้ไขเป็นแน่แท้ เพราะร้ายแรงยิ่งนัก แต่พวก

ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักกระทำให้พอแก้ไขได้ เมื่อพวกหม่อมฉัน

ไม่สามารถเพื่อจะแก้ไขพระสุบินเหล่านี้ได้แล้ว ขึ้นชื่อว่าความ

เป็นผู้สำเร็จการศึกษา จักอำนวยประโยชน์อะไร ? รับสั่งถามว่า

ท่านอาจารย์ทั้งหลาย จักกระทำอย่างไรเล่า ถึงจักให้คืนคลาย

ได้ พวกพราหมณ์พากันกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวก

ข้าพระองค์ต้องบูชายัญด้วยวัตถุอย่างละ ๔ ทุกอย่างพระเจ้าข้า

พระราชา ทรงสะดุ้งพระทัย ตรัสว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย

ถ้าเช่นนั้น เราขอมอบชีวิตไว้ในมือของพวกท่านเถิด พวกท่าน

รีบกระทำความสวัสดีแก่เราเร็ว ๆ เถิด พวกพราหมณ์พากัน

ร่าเริงยินดี ว่า พวกเราต้องได้ทรัพย์มาก จักต้องได้ของเคี้ยวกิน

มามาก ๆ แล้วพากันกราบทูลปลอบพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช-

เจ้า อย่าได้ทรงวิตกเลยพระเจ้าข้า แล้วพากันออกจากราชนิเวศน์

จักทำหลุมบูชายัญที่นอกพระนคร จับฝูงสัตว์ ๔ เท้ามากเหล่า

มัดเข้าไว้ที่หลักยัญ รวบรวมฝูงนกเข้าไว้เสร็จแล้ว เที่ยวกัน

ขวักไขว่ไปมา กล่าวว่า เราควรจะได้สิ่งนี้ ๆ.

ครั้งนั้นแล พระนางมัลลิกาเทวีทรงทราบเหตุนั้น ก็เข้าเฝ้า

พระราชากราบทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกพราหมณ์

พากันเที่ยวขวักไขว่ไปมา มีเรื่องอะไรหรือเพคะ ? พระราชา

ตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ เธอมัวแต่สุขสบาย จึงไม่รู้ว่าอสรพิษ

มันสัญจรอยู่ใกล้ ๆ หูของพวกเรา. พระนางทูลถามว่า ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

มหาราช เรื่องนั้นคืออะไรเพคะ ? พระราชารับสั่งว่า เราฝันร้าย

ถึงปานนี้ พวกพราหมณ์พากันทำนายว่า อันตรายใน ๓ อย่าง

ไม่อย่างใดอย่างหนึ่งก็จักปรากฏ เพื่อบำบัดอันตรายเหล่านั้น

ต้องบูชายัญ จึงต้องสัญจรไปมาอยู่บ่อย ๆ พระนางมัลลิกา

กราบทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ก็ผู้ที่เป็นยอดพราหมณ์ใน

โลก พร้อมทั้งเทวโลก ทูลกระหม่อมได้ทูลถามถึงการแก้ไข

พระสุบินแล้วหรือเพคะ ? ทรงรับสั่งถามว่า นางผู้เจริญ พระ-

ผู้เป็นยอดพราหมณ์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกนั้น เป็นใครกันเล่า ?

พระนางกราบทูลว่า ทูลกระหม่อมไม่ทรงรู้จัก มหาพราหมณ์

โคดมผู้ตถาคต หมดกิเลสบริสุทธิ์แล้ว เป็นสัพพัญญู เป็นบุคคล

ผู้เลิศในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ดอกหรือเพคะ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น คงทรงทราบเหตุในพระสุบินแน่นอน ขอเชิญทูล

กระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินไปกราบทูลถามเถิด เพคะ.

พระราชา ทรงรับสั่งว่า ดีละ เทวี แล้วเสด็จไปยังพระวิหาร

ถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้วประทับนั่งอยู่ พระศาสดาทรง

เปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะ ตรัสถามว่า มหาบพิตร เหตุไรเล่า

บพิตรจึงเสด็จมา ดุจมีราชกิจด่วน. พระราชากราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใกล้รุ่ง หม่อมฉันเห็นมหาสุบิน ๑๖ ข้อ

สะดุ้งกลัว บอกเล่าแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ทำนายว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า พระสุบินร้ายแรงนัก เพื่อระงับสุบินเหล่านั้น

ต้องบูชายัญ ด้วยยัญญวัตถุ อย่างละ ๔ ครบทุกอย่าง แล้วพากัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

เตรียมบูชายัญ ฝูงสัตว์เป็นอันมากถูกมรณภัยคุกคาม ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นบุคคลผู้เลิศในโลก ทั้งเทวโลก

เญยยธรรมที่เข้าไปกำหนดอดีต อนาคต ปัจจุบัน ที่ยังไม่มาถึง

ซึ่งครรลองในญาณมุขของพระองค์นั้นมิได้มีเลย ข้าแต่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดทำนายผลแห่ง

สุบินของหม่อมฉันเหล่านั้นเถิด พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า

ขอถวายพระพร เป็นเช่นนั้นทีเดียวมหาบพิตร ในโลกทั้งเทวโลก

เว้นตถาคตเสียแล้ว ผู้อื่นที่จะได้ชื่อว่าสามารถรู้เหตุ หรือผล

ของพระสุบินเหล่านี้ ไม่มีเลย ตถาคตจักทำนายให้มหาบพิตร

ก็แต่ว่ามหาบพิตรจงตรัสบอกพระสุบินตามทำนองที่ทรงเห็น

นั้นเถิด. พระราชาทรงรับพระพุทธดำรัสว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า

เริ่มกราบทูลพระสุบิน ตามทำนองที่ทรงเห็นอย่างถี่ถ้วน โดย

ทรงวางหัวข้อไว้ดังนี้ ว่า

" โคอุสุภราชทั้งหลาย ต้นไม้ทั้งหลาย ๑

แม่โคทั้งหลาย ๑ โคทั้งหลาย ๑ ม้า ๑ ถาดทอง ๑

สุนัขจิ้งจอก ๑ หม้อน้ำ ๑ สระโบกขรณี ๑

ข้าวไม่สุก ๑ แก่นจันทน์ ๑ น้ำเต้าจม ๑ ศิลาลอย ๑

เขียดขยอกงู ๑ หงส์ทองล้อมกา ๑ เสือกลัว

แพะ ๑ "

แล้วตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นสุบินข้อ ๑

อย่างนี้ก่อนว่า โคผู้ สีเหมือนดอกอัญชัน ๔ ตัว ต่างคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

จักชนกัน พากันวิ่งมาสู่ท้องพระลานหลวง จากทิศทั้ง ๔ เมื่อ

มหาชนประชุมกันคิดว่า พวกเราจักดูโคชนกัน ต่างแสดงท่าทาง

จะชนกัน บรรลือเสียงคำรามลั่น แล้วไม่ชนกัน ต่างถอยออกไป

หม่อมฉันเห็นสุบินนี้เป็นปฐม อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตร ผลของสุบินข้อนี้ จักไม่มีในชั่วรัชกาลของ

มหาบพิตร ในชั่วศาสนาของตถาคต แต่ในอนาคต เมื่อโลกหมุน

ไปถึงจุดเสื่อม ในรัชกาลของพระราชาผู้กำพร้า ผู้มีได้ครองราชย์

โดยธรรม และในกาลของหมู่มนุษย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อ

กุศลธรรมลดน้อยถอยลง อกุศลธรรมหนาแน่นขึ้น ในกาลที่โลก

เสื่อม ฝนจักแล้ง และตีนเมฆจักขาด ข้าวกล้าจักแห้ง ทุพภิกขภัย

จักเกิด เมฆทั้งหลายตั้งขึ้นจากทิศทั้ง ๔ เหมือนจะย้อยเม็ด พอ

พวกผู้หญิงรีบเก็บข้าวเปลือกเป็นต้น ที่เอาออกผึ่งแดดไว้เข้า

ภายในร่ม เพราะกลัวจะเปียก เมื่อพวกผู้ชายต่างถือจอบถือ

ตะกร้าพากันออกไป เพื่อจะก่อคันกั้นน้ำ ก็ตั้งเค้าจะตก คราง

กระหึ่ม ฟ้าแลบ แล้วก็ไม่ตกเลย ลอยหายไป เหมือนโคตั้งท่า

จะชนกันแล้วไม่ชนกันฉะนั้น นี้เป็นผลของสุบินนั้น แต่ไม่มี

อันตรายไร ๆ แก่มหาบพิตร เพราะเรื่องนั้นเป็นปัจจัย มหาบพิตร

เห็นสุบินนี้ ปรารภอนาคต ฝ่ายพวกพราหมณ์อาศัยการเลี้ยง

ชีวิตของตน จึงทำนายดังนี้. พระบรมศาสดาครั้นตรัสบอกผล

แห่งสุบินด้วยประการฉะนี้แล้ว ตรัสว่า จงตรัสเล่าสุบินข้อที่ ๒

เถิด มหาบพิตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นสุบินข้อที่ ๒

อย่างนี้ว่า ต้นไม้เล็ก ๆ และกอไผ่ แทรกแผ่นดินพอถึงคืบหนึ่ง

บ้าง ดอกหนึ่งบ้าง เพียงแค่นี้ก็ผลิดอกออกผลไปตาม ๆ. กัน

นี้เป็นสุบินข้อที่ ๒ ที่หม่อมฉันได้เห็น อะไรเป็นผลของสุบินนี้

พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ ก็จักมีในกาลที่โลกเสื่อม

เวลามนุษย์มีอายุน้อย ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายในอนาคตจักมีราคะ

กล้า กุมารีมีวัยยังไม่สมบูรณ์ จักสมสู่กะบุรุษอื่น เป็นหญิง

มีระดู มีครรภ์ พากันจำเริญด้วยบุตรและธิดา ความที่กุมารี

เหล่านั้น มีระดูเปรียบเหมือนต้นไม้เล็ก ๆ มีดอก กุมารีเหล่านั้น

จำเริญด้วยบุตรและธิดา ก็เหมือนต้นไม้เล็ก ๆ มีผล ภัยแม้มี

นิมิตรนี้เป็นเหตุ ไม่มีแก่มหาบพิตรดอก จงตรัสเล่าข้อที่ ๓

ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นแม่โคใหญ่ ๆ

พากันดื่มนมของฝูงลูกโค ที่เพิ่งเกิดในวันนั้น นี้เป็นสุบินข้อที่ ๓

ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินนั้น พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตร แม้ผลของสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน

จักมีผลในเวลาที่มนุษย์ทั้งหลาย พากันละทิ้งเชษฐาปจายิกกรรม

คือความเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เพราะในอนาคต

ฝูงสัตว์จักมิได้ตั้งไว้ซึ่งความยำเกรงในมารดาบิดา หรือในแม่ยาย

พ่อตา ต่างแสวงหาทรัพย์สินด้วยตนเองทั้งนั้น เมื่อปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

จะให้ของกินของใช้แก่คนแก่ ๆ ก็ให้ ไม่ปรารถนาจะให้ก็ไม่ให้

คนแก่ ๆ พากันหมดที่พึ่ง หาเลี้ยงตนเองก็ไม่ได้ ต้องง้อพวกเด็ก ๆ

เลี้ยงชีพ เป็นเหมือนแม่โคใหญ่ ๆ พากันดื่มนมลูกโคที่เกิดใน

วันนั้น แม้ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ไม่มีแก่มหาบพิตร ตรัสเล่า

สุบินข้อที่ ๔ ต่อไปเถิดมหาบพิตร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นฝูงชนไม่เทียมโค

ใหญ่ ๆ ที่เคยพาแอกไป ซึ่งสมบูรณ์ด้วยร่างกายและเรี่ยวแรง

เข้าในระเบียบแห่งแอก กลับไปเทียมโครุ่น ๆ ที่กำลังฝึกเข้า

ในแอก โครุ่น ๆ เหล่านั้นไม่อาจพาแอกไปได้ ก็พากันสลัดแอก

ยืนเฉยเสีย เกวียนทั้งหลายก็ไปไม่ได้ นี้เป็นสุบินข้อที่ ๔ ของ

หม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตร ผลของสุบินแม้ข้อนี้ ก็จักมีในรัชสมัยของ

พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่าใน

ภายหน้า พระราชาผู้มีบุญน้อย มิได้ดำรงในธรรม จักไม่พระ-

ราชทานยศแก่มหาอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิต ฉลาดในประเพณี

สามารถที่จะยังสรรพกิจให้ลุล่วงไปได้ จักไม่ทรงแต่งตั้งอำมาตย์

ผู้ใหญ่ ผู้เป็นบัณฑิต ฉลาดในโวหารไว้ในที่วินิจฉัยคดีในโรงศาล

แต่พระราชทานยศแก่คนหนุ่ม ๆ ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้วนั้น

แต่งตั้งบุคคลเช่นนั้นไวในตำแหน่งผู้วินิจฉัยอรรถคดี คนหนุ่ม

พวกนั้น ไม่รู้ทั่วถึงราชกิจ และการอันควรไม่ควร ไม่อาจดำรง

ยศนั้นไว้ได้ ทั้งไม่อาจจัดทำราชกิจให้ลุล่วงไปได้ เมื่อไม่อาจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

ก็จักพากันทอดทิ้งธุระการงานเสีย. ฝ่ายอำมาตย์ที่เป็นบัณฑิต

เป็นผู้ใหญ่ เมื่อไม่ได้ยศ ถึงจะสามารถที่จะให้กิจทั้งหลายลุล่วง

ไป ก็จักพากันกล่าวว่า พวกเราต้องการอะไรด้วยเรื่องเหล่านี้

พวกเรากลายเป็นคนภายนอกไปแล้ว พวกเด็กหนุ่มเขาเป็นพวก

อยู่วงใน เขาคงรู้ดี แล้วไม่รักษาการงานที่เกิดขึ้น เมื่อเป็น

เช่นนี้ ความเสื่อมเท่านั้นจักมีแก่พระราชาเหล่านั้น ด้วยประการ

ทั้งปวง เป็นเสมือนเวลาที่คนจับโครุ่น ๆ กำลังฝึก ยังไม่สามารถ

จะพาแอกไปได้ เทียมไว้ในแอก และเป็นเวลาที่ไม่จับเอาโคใหญ่ ๆ

ผู้เคยพาแอกไปได้ มาเทียมแอกฉะนั้น แม้ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุ

ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๕ เถิดมหาบพิตร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นม้าตัวหนึ่ง มีปาก

สองข้าง ฝูงชนพากันให้หญ้าที่ปากทั้งสองข้างของมัน มันเคี้ยวกิน

ด้วยปากทั้งสองข้าง นี้เป็นสุบินที่ ๕ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผล

ของสุบินนี้ พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตร ผลของสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลของพระราชา

ผู้ไม่ดำรงในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่าในกาลภายหน้า

พวกพระราชาโง่เขลา ไม่ดำรงธรรม จักทรงแต่งตั้งมนุษย์โลเล

ไม่ประกอบด้วยธรรม ไว้ในตำแหน่งวินิจฉัยคดี คนเหล่านั้น

เป็นพาล ไม่เอื้อเฟื้อในบาปบุญ พากันนั่งในโรงศาล เมื่อให้คำ

ตัดสิน ก็จักรับสินบนจากมือของคู่คดีทั้งสองฝ่ายมากิน เป็น

เหมือนม้ากินหญ้าด้วยปากทั้งสองฉะนั้น ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตรดอก เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๖ เถิด

มหาบพิตร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นมหาชนขัดถูถาดทอง

ราคาตั้งแสนกษาปณ์ แล้วพากันนำไปให้หมาจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่ง

ด้วยคำว่า เชิญท่านเยี่ยวใส่ในถาดทองนี้เถิด หมาจิ้งจอกแก่นั้น

ก็ถ่ายปัสสาวะใส่ในถาดทองนั้น นี้เป็นสุบินข้อที่ ๖ ของหม่อมฉัน

อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตร ผลของสุบินนี้ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน

ด้วยว่า ในกาลภายหน้า พวกพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ทรง

รังเกียจกุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเสีย แล้วไม่พระราชทานยศ

ให้ จักพระราชทานให้แก่คนที่ไม่มีสกุลเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้

สกุลใหญ่ ๆ จักพากันตกยาก สกุลเลว ๆ จักพากันเป็นใหญ่

ก็เมื่อพวกมีสกุลเหล่านั้น ไม่อาจเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ จักคิดว่า เรา

ต้องอาศัยพวกเหล่านี้เลี้ยงชีวิตสืบไป แล้วก็พากันยกธิดาให้แก่

ผู้ไม่มีสกุล การอยู่ร่วมกับคนพวกไม่มีสกุลของกุลธิดาเหล่านั้น

ก็จักเป็นเช่นเดียวกับถาดทองรองเยี่ยวหมาจิ้งจอก ภัยแม้มีสุบิน

นี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๗ เถิด

มหาบพิตร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้ บุรุษผู้หนึ่ง

ฟั่นเชือก แล้วหย่อนไปที่ใกล้เท้า แม่หมาจิ้งจอกโซตัวหนึ่ง นอน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

อยู่ใต้ตั่งที่บุรุษนั่ง กัดกินเชือกนั้น เขาไม่ได้รู้เลยทีเดียว นี้เป็น

สุบินข้อที่ ๗ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน

ด้วยว่าในกาลภายหน้า หมู่สตรี จักพากันเหลาะแหละโลเลใน

บุรุษ ลุ่มหลงในสุรา เอาแต่แต่งตัว ชอบเที่ยวเตร่ตามถนน

หนทาง เห็นแก่อามิส เป็นหญิงทุศีล มีความประพฤติชั่วช้า

พวกนางจักกลุ้มรุมกันแย่งเอาทรัพย์ที่สามีทำงาน มีกสิกรรม

และโครักขกรรมเป็นต้น สั่งสมไว้ด้วยยาก ลำบากลำเค็ญ

เอาไปซื้อสุราดื่มกับชายชู้ ซื้อดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้

มาแต่งตน คอยสอดส่องมองหาชู้ โดยส่วนบนของบ้านที่มิดชิด

บ้าง โดยที่ซึ่งลับตาบ้าง แม้ข้าวเปลือกที่เตรียมไว้สำหรับหว่าน

ในวันรุ่งขึ้น ก็เอาไปซ้อม จัดทำเป็นข้าวต้ม ข้าวสวย และของ

เคี้ยวเป็นต้น มากินกัน เป็นเหมือนนางหมาจิ้งจอกโซ ที่นอนใต้ตั่ง

คอยกัดกินเชือกที่เขาฟั่นแล้ว หย่อนลงไว้ใกล้ ๆ เท้าฉะนั้น

ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสเล่า

สุบินข้อที่ ๘ เถิดมหาบพิตร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นตุ่มน้ำเต็มเปี่ยม

ลูกใหญ่ใบหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ประตูวัง ล้อมด้วยตุ่มเป็นอันมาก วรรณะ

ทั้ง ๔ เอาหม้อตักน้ำมาจากทิศทั้ง ๔ และทิศน้อยทั้งหลาย เอา

มาใส่ลงตุ่มที่เต็มแล้วนั่นแหละ น้ำก็เต็มแล้วเต็มอีก จนไหลล้น

ไป แม้คนเหล่านั้นก็ยังเทน้ำลงในตุ่มนั้นอยู่เรื่อย ๆ แต่ไม่มีผู้ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

จะเหลียวแลดูตุ่มที่ว่าง ๆ เลย นี้เป็นสุบินข้อที่ ๘ ของหม่อมฉัน

อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า

ในกาลภายหน้า โลกจักเสื่อม แว่นแคว้นจักหมดความหมาย

พระราชาทั้งหลายจักตกยาก เป็นกำพร้า องค์ใดเป็นใหญ่ องค์

นั้นจักมีพระราชทรัพย์เพียงแสนกระษาปณ์ในท้องพระคลัง

พระราชาเหล่านั้นตกยากถึงอย่างนี้ จักเกณฑ์ให้ชาวชนบท

ทุกคน ทำการเพาะปลูกให้แก่ตน พวกมนุษย์ถูกเบียดเบียน

ต้องละทิ้งการงานของตน พากันเพาะปลูก ปุพพันพืช แล

อปรันพืช ให้แก่พระราชาทั้งหลายเท่านั้น ต้องช่วยกันเฝ้า

ช่วยกันเก็บเกี่ยว ช่วยกันนวด ช่วยกันขน ช่วยกันเคี่ยวน้ำอ้อย

เป็นต้น และช่วยกันทำสวนดอกไม้ สวนผลไม้ พากันขนปุพพันพืช

เป็นต้นที่เสร็จแล้ว ในที่นั้น ๆ มาบรรจุไว้ในยุ้งฉางของพระราชา

เท่านั้น แม้ที่จะมองดูยุ้งฉางเปล่า ๆ ในเรือนทั้งหลายของตน

จักไม่มีเลย จักเป็นเช่นกับการเติมนำใส่ตุ่มที่เต็มแล้ว ไม่เหลียวแล

ตุ่มเปล่า ๆ บ้างเลยนั่นแล ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ จะยังไม่มีแก่

มหาบพิตร เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๙ เถิดมหาบพิตร.

๑. อาหารมีข้าวสาลีเป็นต้น

๒. ของว่างหลังอาหาร มีถั่ว งา เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นโบกขรณีสระหนึ่ง

ดารดาดไปด้วยปทุม ๕ สี ลึก มีท่าขึ้นลงรอบด้าน ฝูงสัตว์ สองเท้า

สี่เท้า พากันลงดื่มน้ำในสระนั้นโดยรอบ น้ำที่อยู่ในที่ลึกกลางสระนั้น

ขุ่นมัว ในที่ซึ่งสัตว์สองเท้าสี่เท้าพากันย่ำเหยียบ กลับใสสะอาด

ไม่ขุ่นมัว หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้ นี้เป็นสุบินข้อที่ ๙ ของหม่อมฉัน

อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า

ในกาลภายหน้า พระราชาทั้งหลาย จักไม่ตั้งอยู่ในธรรม ลุอคติ

ด้วยอำนาจความพอใจเป็นเต้น เสวยราชสมบัติ จักไม่ประทาน

การวินิจฉัยอรรถคดีโดยธรรม มีพระหฤทัยมุ่งแต่สินบน โลเล

ในทรัพย์ ขึ้นชื่อว่าคุณธรรมคือความอดทน ความเมตตา และ

ความเอ็นดูของพระราชาเหล่านั้น จักไม่มีในหมู่ชาวสวนแว่นแคว้น

จักเป็นผู้กักขฬะ หยาบคาย คอยแต่เบียดเบียนหมู่มนุษย์ เหมือน

หีบอ้อมด้วยหีบยนต์ จักกำหนดให้ส่วยต่าง บังเกิดขึ้น เก็บ

เอาทรัพย์ พวกมนุษย์ถูกรีดส่วยอากรหนักเข้า ไม่สามารถจะ

ให้อะไร ๆ ได้ พากันทิ้งคามนิคมเป็นต้นเสีย อพยพไปสู่ปลายแดน

ตั้งหลักฐาน ณ ที่นั้น ชนบทศูนย์กลางจักว่างเปล่า ชนบทชายแดน

จักเป็นปึกแผ่นแน่นหนา เหมือนน้ำกลางสระโบกขรณี น้ำที่

ฝั่งรอบ ๆ. ใส ฉันใด ก็ฉันนั้น ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มี

แก่มหาบพิตร เชิญตรัสเล่าพระสุบินข้อที่ ๑๐. เถิดมหาบพิตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เห็นข้าวสุก ที่คน

หุงในหม้อใบเดียวกันแท้ ๆ แต่หาสุกทั่วกันไม่ เป็นเหมือนผู้หุง

ตรวจดูแล้วว่าไม่สุก เลยแยกกันไว้เป็น ๓ อย่าง คือ ข้าวหนึ่งแฉะ

ข้าวหนึ่งดิบ ข้าวหนึ่งสุกดี นี้เป็นสุบินที่ ๑๐ ของหม่อมฉัน อะไร

เป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน

ด้วยว่าในกาลภายหน้า พระราชาทั้งหลายจักไม่ดำรงในธรรม

เมื่อพระราชาเหล่านั้นไม่ดำรงในธรรมแล้ว ข้าราชการก็ดี

พราหมณ์และคฤหบดีก็ดี ชาวนิคม ชาวชนบทก็ดี รวมถึงมนุษย์

ทั้งหมด นับแต่สมณะและพราหมณ์ จักพากันไม่ตั้งอยู่ในธรรม

แม้เทวดาทั้งหลายก็จักไม่ทรงธรรม ในรัชกาลแห่งอธัมมิกราช

ทั้งหลาย ลมทั้งหลายจักพัดไม่สม่ำเสมอ พัดแรงจัด ทำให้วิมาน

ในอากาศของเทวดาสั่นสะเทือน เมื่อวิมานเหล่านั้น ถูกลมพัด

สั่นสะเทือน ฝูงเทวดาก็พากันโกรธ แล้วจักไม่ให้ฝนตก ถึงจะตก

ก็จะไม่ตกกระหน่ำทั่วแว่นแคว้น มิฉะนั้น จักไม่ตกให้เป็นอุปการะ

แก่การใด การหว่านในที่ทั้งปวงจักไม่ตกกระหน่ำทั่วถึง แม้ใน

ชนบท แม้ในบ้าน แม้ในตระพังแห่งหนึ่ง แม้ในสระลูกหนึ่ง

เหมือนกันกับในแคว้นฉะนั้น เมื่อตกตอนเหนือของตระพัง ก็จัก

ไม่ตกในตอนใต้ เมื่อตกในตอนใต้ จักไม่ตกในตอนเหนือ ข้าวกล้า

ในตอนหนึ่งจักเสียเพราะฝนชุก เมื่อฝนไม่ตกในส่วนหนึ่ง ข้าวกล้า

จักเหี่ยวแห้ง เมื่อฝนตกดีในส่วนหนึ่ง ข้าวกล้าจักสมบูรณ์ ข้าวกล้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

ที่หว่านแล้วในขอบขัณฑสีมาของพระราชาพระองค์เดียวกัน จัก

เป็น ๓ สถาน ด้วยประการฉะนี้ เหมือนข้าวสุกในหม้อเดียว

มีผลเป็น ๓ อย่างฉะนั้น ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ จะยังไม่มีแก่

มหาบพิตร เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๑ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นคนทั้งหลายเอา

แก่นจันทน์ มีราคาตั้งแสนกษาปณ์ ขายแลกกับเปรียงเน่า

นี้เป็นสุบินข้อที่ ๑๑ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้เล่า

พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตรแม้ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคต ในเมื่อ

ศาสนาของตถาคตเสื่อมโทรมนั่นแล ด้วยว่าในกาลภายหน้า พวก

ภิกษุอลัชชีเห็นแก่ปัจจัย จักมีมาก พวกเหล่านั้น จักพากันแสดง

ธรรมเทศนาที่ตถาคต กล่าวติเตียนความละโมภในปัจจัยไว้แก่

ชนเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น จักไม่สามารถ

แสดงให้พ้นจากปัจจัยทั้งหลาย แล้วตั้งอยู่ในฝ่ายธรรมนำสัตว์

ให้พ้นจากทุกข์ มุ่งตรงสู่พระนิพพาน ชนทั้งหลายก็จะ

ฟังความสมบูรณ์แห่งบทละพยัญชนะ และสำเนียงอันไพเราะ

อย่างเดียว เท่านั้น แล้วจักถวายเอง และยังชนเหล่าอื่นให้ถวาย

ซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น อันมีค่ามาก ภิกษุทั้งหลายอีก

บางพวก จักพากันนั่งในที่ต่าง ๆ มีท้องถนน สี่แยก และประตูวัง

เป็นต้น แล้วแสดงธรรมแลกรูปิยะ มีเหรียญกษาปณ์ครึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

กษาปณ์ เหรียญบาท เหรียญมาสก เป็นต้น โดยประการฉะนี้

ก็เป็นเอาธรรมที่ตถาคตแสดงไว้ มีมูลค่าควรแก่พระนิพพาน

ไปแสดงแลกปัจจัย ๔ และรูปิยะมีเหรียญกษาปณ์และเหรียญ

ครึ่งกษาปณ์เป็นต้น จักเป็นเหมือนฝูงคนเอาแก่นจันทน์มี

ราคาตั้งแสน ไปขายแลกเปรียงเน่าฉะนั้น ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ

ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๒ ต่อไปเถิด

มหาบพิตร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นกระโหลกน้ำเต้า

จมน้ำได้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตกาล เมื่อโลก

หมุนไปถึงจุดเสื่อม ในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม

ด้วยว่าในครั้งนั้นพระราชาทั้งหลาย จักไม่พระราชทานยศแก่

กุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ จักพระราชทานแก่ผู้ไม่มีสกุลเท่านั้น

พวกนั้นจักเป็นใหญ่ อีกฝ่ายหนึ่งจักยากจน ถ้อยคำของพวก

ไม่มีสกุล ดุจกระโหลกน้ำเต้า ดูประหนึ่งหยั่งรากลงแน่นในที่

เฉพาะพระพักตร์พระราชาก็ดี ที่ประตูวังก็ดี ที่ประชุมอำมาตย์

ก็ดี ที่โรงศาลก็ดี จักเป็นคำไม่โยกโคลง มีหลักฐานแน่นหนาดี

แม้ในสังฆสันนิบาต (ที่ประชุมสงฆ์) เล่า ในกิจกรรมที่สงฆ์พึงทำ

และคณะพึงทำก็ดี ทั้งในสถานที่ดำเนินอธิกรณ์เกี่ยวกับบาตร

จีวร และบริเวณเป็นต้นก็ดี ถ้อยคำของคนชั่วทุศีลเท่านั้น จักเป็น

คำนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ มิใช่ถ้อยคำของภิกษุผู้ลัชชี เมื่อเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

เช่นนี้ ก็จักเป็นเหมือนกาลเป็นที่จมลงแห่งกระโหลกน้ำเต้า

แม้ด้วยประการทั้งปวง ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่

มหาบพิตร เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๓ เถิด มหาบพิตร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นศิลาแท่งทึบใหญ่

ขนาดเรือนยอดลอยน้ำเหมือนดังเรือ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้

พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในกาลเช่นนั้นเหมือนกัน

ด้วยว่าในครั้งนั้น พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมทั้งหลาย จัก

พระราชทานยศแก่คนไม่มีสกุล พวกนั้นจักเป็นใหญ่ พวกมีสกุล

จักตกยาก ใคร ๆ จักไม่ทำความเคารพในพวกมีสกุลนั้น จัก

กระทำความเคารพในพวกที่เป็นใหญ่ฝ่ายเดียว ถ้อยคำของ

กุลบุตรฉลาดในการวินิจฉัย ผู้หนักแน่น เช่นกับศิลาทึบ จัก

ไม่หยั่งลง ดำรงมั่นในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระราชา หรือ

ในที่ประชุมอำมาตย์ หรือในโรงศาล เมื่อพวกนั้นกำลังกล่าว

พวกนอกนี้จักคอยเยาะเย้ยว่า พวกนี้พูดทำไม แม้ในที่ประชุม

ภิกษุ พวกภิกษุก็จักไม่เหล่าภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ผู้ควรทำความ

เคารพว่าเป็นสำคัญ ในฐานะต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว ทั้งถ้อยคำ

ของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่านั้น ก็จักไม่หนักแน่นมั่นคง จัก

เป็นเหมือนเวลาเป็นที่เลื่อนลอยแห่งศิลาทั้งหลายฉะนั้น ภัยแม้มี

สุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสเล่าพระสุบิน

ข้อที่ ๑๔ เถิด มหาบพิตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นฝูงเขียดตัวเล็ก ๆ

ขนาดดอกมะซาง วิ่งไล่กวดงูเห่าตัวใหญ่ ๆ กัดเนื้อขาดเหมือน

ตัดก้านบัวแล้วกลืนกิน นี้เป็นสุบินข้อที่ ๑๔ อะไรเป็นผลแห่ง

สุบินนี้ พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตร ผลแห่งแม้สุบินข้อนี้ ก็จักมีในอนาคต ใน

เมื่อโลกเสื่อมโทรมดุจกัน ด้วยว่าในครั้งนั้น พวกมนุษย์จะมี

ราคะจริตแรงกล้า ชาติชั่ว ปล่อยตัวปล่อยใจ ตามอำนาจของกิเลส

จักต้องเป็นไปในอำนาจแห่งภรรยาเด็ก ๆ ของตน ผู้คนมีทาส

และกรรมกรเป็นต้นก็ดี สัตว์พาหนะมีโคกระบือเป็นต้นก็ดี

เงินทองก็ดี บรรดามีในเรือนทุกอย่าง จักต้องอยู่ในครอบครอง

ของพวกนางทั้งนั้น เมื่อพวกสามีถามถึงเงินทอง โน้น ๆ ว่าอยู่

ที่ไหน หรือถามถึงจำนวนสิ่งของว่ามีที่ไหนก็ดี พวกนางจักพา

กันตอบว่า มันจะอยู่ที่ไหน ๆ ก็ช่างเถิด กงการอะไรที่ท่านจะ

ตรวจตราเล่า ท่านเกิดอยากรู้สิ่งที่มีอยู่ และไม่มีอยู่ในเรือน

ของเราละหรือ แล้วจักด่าด้วยประการต่าง ๆ ทิ่มตำเอาด้วยหอก

คือปาก กดไว้ในอำนาจดังทาสและคนรับใช้ ดำรงความเป็นเจ้า

เป็นใหญ่ของตนไวสืบไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักเป็นเหมือนเวลา

ที่ฝูงเขียดขนาดดอกมะซาง พากันขยอกกินฝูงงูเห่า ซึ่งมีพิษ

แล่นเร็วฉะนั้น ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็จักไม่มีแก่มหาบพิตร

ดอก เชิญตรัสบอกนิมิตรที่ ๑๕ เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นฝูงพญาหงษ์ทอง

ที่ได้นามว่า ทองเพราะมีขนเป็นสีทอง พากันแวดล้อมกา ผู้

ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ เที่ยวหากินตามบ้าน

อะไรเป็นผลแห่งพระสุบินนี้ พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคต ในรัชกาล

ของพระราชาผู้ทุรพลนั่นแหละ ด้วยว่าในภายหน้าพระราชา

ทั้งหลาย จักไม่ฉลาดในศิลปะมีหัสดีศิลปะเป็นต้น ไม่แกล้วกล้า

ในการยุทธ ท้าวเธอจักไม่พระราชทานความเป็นใหญ่ให้แก่พวก

กุลบุตรที่มีชาติเสมอกัน ผู้รังเกียจความวิบัติแห่งราชสมบัติ

ของพระองค์อยู่ จักพระราชทานแก่พวกพนักงานเครื่องสรง

และพวกกัลบกเป็นต้น ซึ่งอยู่ใกล้บาทมูลของพระองค์ พวกกุลบุตร

ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ และโคตร เมื่อไม่ได้ที่พึ่งในราชสกุล ก็ไม่

สามารถเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ จักพากันปรนนิบัติบำรุงฝูงชนที่ไม่มี

สกุล มีชาติและโคตรทราม ผู้ดำรงอิสริยยศ จักเป็นเหมือนฝูง

พญาหงษ์ทอง แวดล้อมเป็นบริวารกา ฉะนั้น ภัยแม้มีสุบินนี้

เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๖ ต่อไป

เถิด มหาบพิตร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกาลก่อน ๆ เสือเหลือง พากัน

กัดกินฝูงแกะ แต่หม่อมฉันได้เห็นฝูงแกะพากันไล่กวดฝูงเสือเหลือง

กัดกินอยู่มุ่มม่ำ ๆ ทีนั้นเสืออื่น ๆ คือเสือดาว เสือโคร่ง เห็น

ฝูงแกะอยู่ห่าง ๆ ก็สะดุ้งกลัว ถึงความสยดสยองพากันวิ่งหนี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

หลบเข้าพุ่มไม้และป่ารก ซุกซ่อนเพราะกลัวฝูงแกะ หม่อมฉัน.

ได้เห็นอย่างนี้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้พระเจ้าข้า ?

มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลแห่งพระ-

ราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่าในครั้งนั้น

พวกไม่มีสกุลจักเป็นราชวัลลภ เป็นใหญ่เป็นโต พวกคนมีสกุล

จักอับเฉาตกยาก ราชวัลลภเหล่านั้นพากันยังพระราชาให้ทรง

เชื่อถือถ้อยคำของตน มีกำลังในสถานที่ราชการ มีโรงศาล

เป็นต้น ก็พากันรุกเอาที่ดินไร่นาเรือกสวนเป็นต้น อันตกทอด

สืบมาของพวกมีสกุลทั้งหลายว่า ที่เหล่านี้เป็นของพวกเรา

เมื่อพวกผู้มีสกุลเหล่านั้นโต้เถียงว่า ไม่ใช่ของพวกท่าน เป็น

ของพวกเรา แล้วพากันมาฟ้องร้องยังโรงศาลเป็นต้น พวก

ราชวัลลภก็พากันบอกให้เฆี่ยนตีด้วยหวายเป็นต้น จับคอไส

ออกไป พร้อมกับข่มขู่คุกคามว่า พ่อเจ้าไม่รู้ประมาณตน มาหา

เรื่องกับพวกเรา เดี๋ยวจักไปทูลพระราชา ให้ลงพระราชอาญา

ต่าง ๆ มีตัดตีน ตัดมือ เป็นต้น พวกผู้มีสกุลกลัวเกรงพวก

ราชวัลลภ ต่างก็ยินยอมให้ที่ทางที่เป็นของตน ว่า ที่ทางเหล่านี้

ถ้าเป็นของท่าน ก็เชิญครอบครองเถิด แล้วพากันกลับบ้านเรือน

ของตนนอนหวาดผวาไปตาม ๆ กัน แม้ภิกษุผู้ชั่วช้าทั้งหลาย

เล่า ก็จักพากันเบียดเบียนภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ตามชอบใจ

พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่านั้น ไม่ได้ที่พำนัก ก็พากันเข้าป่า

แอบแฝงอยู่ในที่รก ๆ ข้อที่กุลบุตรผู้มีชาติสกุลทั้งหลาย และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักทั้งหลาย ถูกคนชาติชั่ว และถูกภิกษุผู้

ลามกทั้งหลาย เข้าไปประทุษร้ายอย่างนี้ จักเป็นเหมือนกาลที่

พวกเสือดาว และเสือโคร่งทั้งหลาย พากันหลบหนีเพราะกลัว

ฝูงแกะฉะนั้น ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร

ด้วยสุบินนี้ ที่มหาบพิตรเห็นแล้ว ปรารภอนาคตทั้งนั้น แต่พวก

พราหมณ์มิได้ทำนายสุบินนั้นด้วยความจงรักภักดีในพระองค์

โดยถูกต้องเท่าที่ถูกที่ควร ทำนายไปเพราะอาศัยการเลี้ยงชีพ

เพราะเห็นแก่อามิสว่า พวกเราจักได้ทรัพย์กันมาก ๆ ครั้นทรง

ทำนายผลแห่งสุบินใหญ่ ๆ ๑๖ ข้อ อย่างนี้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อน

มหาบพิตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่บพิตรได้เห็นสุบินเหล่านี้

แม้พระราชาทั้งหลายแต่ก่อน ๆ ก็ได้ทรงเห็นแล้วเหมือนกัน.

แม้พวกพราหมณ์ ก็ถือเอาสุบินเหล่านี้ นับเข้าในยอดยัญพิธี

อย่างนี้เหมือนกัน ภายหลังอาศัยคำแนะนำที่พวกเป็นบัณฑิต

พากันกราบทูล จึงถามพระโพธิสัตว์ แม้ท่านโบราณกบัณฑิต

ทั้งหลาย เมื่อทำนายสุบินเหล่านี้ แก่พระราชาเหล่านั้น ก็พากัน

ทำนายทำนองนี้แหละ อันพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลอาราธนา จึง

ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์กำเนิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์

เจริญวัยแล้วบวชเป็นฤๅษี ให้อภิญญาสมาบัติเกิดแล้ว ได้

ประลองฌานอยู่ในหิมวันตประเทศ ในครั้งนั้น ณ พระนคร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

พาราณสี พระเจ้าพรหมทัตทรงเห็นพระสุบินเหล่านี้ โดยทำนอง

นี้เหมือนกัน มีพระดำรัสถามพวกพราหมณ์. พวกพราหมณ์

ปรารภจะบูชายัญอย่างนี้เหมือนกัน. บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น

ท่านปุโรหิตมีศิษย์เป็นบัณฑิตฉลาด กล่าวกะอาจารย์ว่า ท่าน

อาจารย์ครับ คัมภีร์พระเวทย์ทั้ง ๓ ท่านอาจารย์ให้ผมเรียนจบ

แล้ว ในพระเวทย์ทั้ง ๓ คัมภีร์นั้น ข้อที่ว่า การฆ่าคนหนึ่งแล้ว

ทำให้เกิดความสวัสดีแก่อีกคนหนึ่ง ไม่มีเลยมิใช่หรือ ขอรับ ?

ท่านอาจารย์ตอบว่า พ่อคุณ ด้วยอุบายนี้ทรัพย์จำนวนมากจัก

เกิดแก่พวกเรา ส่วนเจ้าชะรอยอยากจะรักษาพระราชทรัพย์

กระมัง ? มาณพกล่าวว่า ท่านอาจารย์ครับ ถ้าเช่นนั้น พวกท่าน

จงกระทำงานของพวกท่านไปเถิด กระผมจักกระทำอะไรใน

สำนักของพวกท่านได้ แล้วเดินเรื่อยไปจนถึงพระราชอุทยาน.

ในวันนั้นเอง แม้พระบรมโพธิสัตว์ก็รู้เหตุนั้น คิดว่า วันนี้ เมื่อ

เราไปถึงถิ่นมนุษย์ ความพ้นจากการจองจำจักมีแก่มหาชน

ดังนี้แล้วจึงเหาะมาทางอากาศ ลงที่อุทยานนั่งเหนือแผ่นศิลาอัน

เป็นมงคล ประหนึ่งรูปที่หล่อด้วยทองฉะนั้น. มาณพเข้าไปหา

พระโพธิสัตว์ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ได้ทำการต้อนรับ

พระโพธิสัตว์. แม้พระโพธิสัตว์ ก็ได้ทำการปฏิสันถารอย่าง

ไพเราะกับเขาแล้ว ถามว่า เป็นอย่างไรเล่าหนอพ่อมาณพ

พระราชายังจะเสวยราชสมบัติโดยธรรมอยู่หรือ ? มาณพ

กราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระราชายังได้พระนาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

ว่า ธรรมิกราชอยู่ดอกครับ ก็แต่ว่า พวกพราหมณ์กำลังชักจูง

พระองค์ให้วิ่งไปผิดทาง พระราชาทรงเห็นพระสุบิน ๑๖ ข้อ

ตรัสบอกแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์กล่าวว่า พวกเราจัก

ต้องบูชายัญ แล้วเตรียมการทันที พระคุณเจ้าผู้เจริญขอรับ

การที่พระคุณเจ้าทำให้พระราชาทรงเข้าพระทัยว่า ขึ้นชื่อว่า

ผลแห่งสุบินนี้เป็นอย่างนี้ แล้วช่วยให้มหาชนพ้นจากภัย จะมิควร

หรือขอรับ ? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พ่อมาณพ เราเองก็ไม่รู้จัก

พระราชา พระราชาเล่าก็มิได้ทรงรู้จักเรา ถ้าพระองค์เสด็จ

มาถาม ณ ที่นี้ เราพึงบอกแก่พระองค์ได้. มาณพกราบเรียนว่า

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมจักนำพระองค์เสด็จมา ขอ

พระคุณเจ้าได้โปรดนั่งรอการมาของกระผมสักครู่หนึ่ง นะขอรับ

ขอให้พระโพธิสัตว์ปฏิญญาแล้ว ก็ไปสู่พระราชสำนัก กราบทูล

ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ดาบสผู้เที่ยวไปในอากาศได้องค์หนึ่ง

ลงมาในอุทยานของพระองค์ กล่าวว่า จักทำนายผลของพระสุบิน

ที่พระองค์ทรงเห็น กำลังรอพระองค์อยู่. พระราชาทรงสดับ

คำของมาณพนั้น ก็รีบเสด็จไปพระอุทยาน ด้วยบริวารเป็น

อันมากทันที ทรงไหว้พระดาบสแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง มีพระดำรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ

ได้ยินว่า พระคุณเจ้าทราบผลแห่งสุบินที่กระผมเห็นหรือ ?

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมภาพ

ทราบ. พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นนิมนต์พระคุณเจ้าทำนาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

เถิด. พระโพธิสัตว์ กล่าวว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมา-

ภาพจะทำนายถวาย เชิญมหาบพิตรตรัสเล่าพระสุบินตามที่

ทรงเห็นให้อาตมาภาพฟังก่อนเถิด. พระราชาตรัสว่า ดีละ

พระคุณเจ้าผู้เจริญ พลางตรัสว่า :-

โคอุสุภราช ๑ ต้นไม้ทั้งหลาย ๑ แม่โค

ทั้งหลาย ๑ โคทั้งหลาย ๑ ม้า ถาดทอง ๑

นางสุนัขจิ้งจอก ๑ ตุ่มน้ำ ๑ โบกขรณี ๑ ข้าวไม่สุก

๑ จันทน์แดง ๑ น้ำเต้าจม ๑ ศิลาลอย ๑ เขียด

ขยอกงู ๑ หงษ์ทองล้อมกา ๑ เสือดาว เสือโคร่ง

กลัวแพะจริง ๆ ๑ ดังนี้.

แล้วตรัสบอกสุบิน ตามนัยที่พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสบอก

นั่นเอง แม้พระโพธิสัตว์ ก็ทำนายผลแห่งสุบินเหล่านั้น โดย

พิสดารตามทำนองที่พระศาสดาทรงทำนายในบัดนี้แหละ ใน

ที่สุดถวายพระพรดังนี้ ด้วยตนเองว่า จะเป็นไปต่อเมื่อโลกถึง

จุดเสื่อม ยังไม่มีในยุคนี้.

อรรถาธิบาย ในคำนั้น มีดังนี้ คือ ดูก่อนมหาบพิตร

ผลแห่งพระสุบินเหล่านั้น มีดังนี้ คือ การบบูชายัญที่กำลังดำเนินไป

เพื่อปัดเป่าพระสุบินเหล่านั้น ย่อมดำเนินไปผิดหลักเกณฑ์

ท่านกล่าวอธิบายว่า ย่อมเป็นไปอย่างผิดตรงกันข้าม ความเสื่อม

จากความจริง. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ผลแห่งสุบินเหล่านี้

จักมีในกาลที่โลกถึงจุดเสื่อม คือในกาลที่ต่างถือเอาข้อที่มิใช่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

เหตุว่าเป็นเหตุ ในกาลที่ทิ้งเหตุเสีย ว่ามิใช่เหตุ ในกาลที่ถือเอา

ข้อที่ไม่จริง ว่าเป็นจริง ในกาลที่ละทิ้งข้อที่จริงเสียว่าไม่เป็นจริง

ในกาลที่พวกอลัชชี มีมากขึ้น และในกาลที่พวกลัชชี ลดน้อย

ถอยลง ยังไม่มีในยุคนี้ หมายความว่าแต่ผลของพระสุบินเหล่านี้

ยังไม่มีในบัดนี้ คือในรัชกาลของมหาบพิตร หรือในศาสนาของ

ตถาคตนี้ ในยุคนี้ คือในชั่วบุรุษปัจจุบันนี้ เพราะเหตุนั้น การ

บูชายัญที่กำลังดำเนินไป เพื่อปัดเป่าผลแห่งพระสุบินเหล่านี้

จึงเป็นไปโดยคลาดเคลื่อน เลิกการบูชายัญนั้นเสียเถิด ภัยหรือ

ความสะดุ้งอันมีพระสุบินนี้เป็นเหตุ ยังไม่มีแก่มหาบพิตร. พระ-

มหาบุรุษทำพระราชาให้เบาพระทัย ปลดปล่อยมหาชนจากการ

จองจำแล้ว กลับเหาะขึ้นอากาศ ถวายโอวาทแด่พระราชา ชักจูง

ให้ดำรงมั่นในศีล ๕ แล้วถวายพระพรว่า ตั้งแต่บัดนี้ต่อไป

มหาบพิตรอย่าได้ร่วมคิดกับพราหมณ์บูชายัญ ที่มีชื่อว่า ปสุ-

ฆาตยัญ (ยัญฆ่าสัตว์) อีกต่อไป ครั้นแสดงธรรมแล้ว

กลับไปที่อยู่ของตนทางอากาศนั่นแล. ฝ่ายพระราชาตั้งอยู่ใน

โอวาทของพระโพธิสัตว์ ทรงทำบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วเสด็จ

ไปตามยถากรรม.

พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว

ตรัสให้พระเจ้าปเสนทิโกศลเลิกบูชายัญ ด้วยพระพุทธดำรัส

ว่า เพราะพระสุบินเป็นปัจจัย ภัยยังไม่มีแก่มหาบพิตรดอก

มหาบพิตรจงสั่งให้เลิกยัญเสียเถิด พระราชทาน ชีวิตทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

แก่มหาชน แล้วทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า พระราชาใน

ครั้งนั้นได้มาเป็นพระอานนท์ในครั้งนี้ มาณพได้มาเป็นพระ-

สารีบุตร ส่วนพระดาบส ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

ก็และครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว

พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย ยกบททั้ง ๓ มีอสุภาเป็นอาทิขึ้น

สู่อรรถกถา กล่าวบททั้ง ๕ มีลาวูนิเป็นอาทิ ยกขึ้นสู่บาลีเอกนิบาต

ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถามหาสุบินชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

๘. อิลลิสชาดก

ว่าด้วยคนมีรูปเหมือนกัน

[๗๘] คนทั้งสอง เป็นคนกระจอก คนทั้งสอง

เป็นคนค่อม คนทั้งสองมีนัยน์ตาเหล่ คนทั้งสองมี

ปุ่มเกิดที่ศีรษะ ข้าพระองค์ชี้ตัวอิลลีสไม่ได้.

จบ อิลลีสชาดกที่ ๘

อรรถกถาอิลลีสชาดกที่ ๘

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภเศรษฐีชื่อ มัจฉริโกสิยะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า "อุโภ ขญฺชา" ดังนี้.

ได้ยินว่า ไม่ห่างพระนครราชคฤห์ มีนิคมชื่อว่าสักกระ

ในนิคมนั้น มีเศรษฐีผู้หนึ่ง ชื่อว่า มัจฉริโกสิยะ มีสมบัติ

๘๐ โกฏิ อยู่อาศัย. ท่านเศรษฐีนั้นแม้เอายอดหญ้าจุ่มน้ำมัน

ให้ทานแก่คนเหล่าอื่นสักหยดเดียวก็ไม่มี ทั้งตนเองก็ไม่ยอม

บริโภค ด้วยประการฉะนี้ สมบัติของเขาไม่อำนวยประโยชน์

แก่บุตรและภรรยาเป็นต้น ทั้งแก่สมณพราหมณ์ ตั้งอยู่อย่าง

ไม่ได้แตะต้องใช้สอย เหมือนสระโบกขรณีที่รากษสคุ้มครอง

ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

วันหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จออกจากมหากรุณาสมาบัติ

ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูหมู่สัตว์ที่เป็นเผ่าพันธ์แห่งผู้พอจะ

ทรงแนะนำให้ตรัสรู้ได้ ทั่วโลกธาตุทั้งสิ้น ได้ทอดพระเนตรเห็น

อุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผล ของท่านเศรษฐีพร้อมด้วยภรรยา

อันอยู่ไกลถึง ๔๕ โยชน์. เมื่อวันก่อนจากวันนั้น ท่านเศรษฐี

ได้ไปสู่พระราชวังเข้าเฝ้าพระราชา ขณะเดินมาเห็นชาวชนบท

ผู้หนึ่ง หิวหนัก กำลังกัดกินขนมเบื้องผสมถั่วกุมมาส เกิดความ

อยากในขนมนั้น ไปถึงเรือนของตนแล้วดำริว่า ถ้าเราบอกว่า

อยากกินขนมเบื้อง คนเป็นอันมากก็จักอยากกินกับเรา เมื่อ

เป็นเช่นนี้ สิ่งของเป็นต้นว่า ข้าวสาร เนยใส น้ำอ้อย ของเรา

จักต้องสิ้นเปลืองไปเป็นอันมาก เราจักไม่บอกใคร ๆ แล้วสู้อดกลั้น

ความอยากไว้ เที่ยวไป. ครั้นนานหนักเข้า ท่านชักจะผอมเหลือง

ตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น ทีนั้นก็ไม่อาจทนอยากอยู่ได้ จึงเข้านอน

ซุกบนเตียงน้อย แม้ถึงอย่างนั้นแล้ว ก็ยังไม่ยอมเอ่ยอะไรแก่

ใคร ๆ เพราะกลัวเสียทรัพย์. ฝ่ายภรรยาจึงเข้าไปหาท่านลูบหลัง

พลางถามว่า ท่านเจ้าขา ท่านไม่สบายหรือ ?

เศรษฐี. ฉันไม่เจ็บ ไม่ไข้ ไม่เป็นอะไรดอก.

ภรรยา. พระราชาทรงกริ้วท่านหรือ ?

เศรษฐี. ถึงพระราชาก็มิได้ทรงกริ้วฉัน.

ภรรยา. เมื่อเป็นเช่นนั้น จะมีลูกชาย ลูกหญิงเป็นต้น

หรือบริวารมีทาสและกรรมกรเป็นต้น พากันทำอะไร ๆ ที่ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

พอใจท่านหรือ ?

เศรษฐี. แม้เรื่องอย่างนี้ก็ไม่มีแก่เรา.

ภรรยา. ท่านคงนึกอยากจะกินอะไรบ้าง กระมัง ?

เศรษฐี พอภรรยาพูดอย่างนี้ ก็ไม่ยอมเอ่ยอะไร ๆ นอน

นิ่งเงียบทีเดียว เพราะกลัวเสียทรัพย์ ทีนั้นภรรยาจึงกล่าวกะ

ท่านเศรษฐีว่า ท่านเจ้าขอบอกเถิด ท่านนึกอยากกินอะไร ?

ท่านเศรษฐีทำท่าทีกล้ำกลืนถ้อยคำ แล้วกล่าวว่า จ้ะ ฉันนึก

อยากอยู่อย่างหนึ่ง.

ภรรยา. อะไรเจ้าคะ ที่ท่านนึกอยาก ?

เศรษฐี. ฉันอยากกินขนมเบื้อง.

ภรรยา. เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไมไม่บอกเล่าคะ ท่านเป็น

คนจนหรือเจ้าคะ คราวนี้ ดิฉันจะทอดขนมเบื้องให้พอแจกชาว-

สักกระนิคมให้ทั่วถึง.

เศรษฐี. เจ้าเอ่ยถึงพวกนั้นทำไม พวกเขาทำงานของตน

แล้ว ก็จักทำกินกันเอง.

ภรรยา ถ้าเช่นนั้นก็ทอดพอแจกพวกตรอกเดียวกันนะคะ ?

เศรษฐี. ฉันรู้ละว่า เจ้านะมีทรัพย์มาก.

ภรรยา. ถ้าเช่นนั้น ก็ทอดพอแจกกันระหว่างลูกเมียในเรือน

เท่านั้น ก็แล้วกันนะเจ้าคะ ?

เศรษฐี. ท่านไปยุ่งกับพวกนั้นทำไม ?

ภรรยา. ถ้าเช่นนั้นก็ทอดพอรับประทานกันระหว่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

ท่านกับดิฉัน นะเจ้าคะ ?

เศรษฐี. ท่านจะมาเกี่ยวด้วยทำไม ?

ภรรยา. ถ้าเช่นนั้น ก็ทอดพอท่านรับประทานคนเดียว

ก็แล้วกัน.

เศรษฐี. เมื่อทอดที่นี่ คนเป็นอันมากจักพากันมุงดู เจ้าจง

ขนข้าวสารที่แหลก ๆ เว้นข้าวที่เป็นตัวเสีย ทั้งเตาและกระเบื้อง

ทอด ก็ขนไปด้วย ถือเอานมสด เนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อย อย่างละนิด

ละหน่อย ขึ้นสู่พื้นโถงบนปราสาทชั้นที่ ๗ แล้วทอดเถิด ฉัน

คนเดียวเท่านั้น จักนั่งกินที่นั่น.

ภรรยา. รับคำแล้ว ให้คนขนสิ่งของที่ต้องใช้ขึ้นปราสาท

ไล่ทาสีลง ให้เชิญท่านเศรษฐีขึ้นไป. เศรษฐีปิดประตูชั้นแรก

ขัดลิ่มสลักทุกแห่ง ขึ้นสู่พื้นปราสาทชั้น ๗ แม้ในชั้นก็ปิดประตู

เสียด้วยแล้วนั่งคอย ฝ่ายภรรยาของท่านเศรษฐี จัดแจง

ก่อไฟใส่เตา ยกกระเบื้องขึ้นตั้ง เริ่มจะทอดขนม.

ลำดับนั้น พระบรมศาสดาตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานะ

แต่เช้าตรู่. ตรัสว่า โมคคัลลานะ เศรษฐีตระหนี่ในสักกระนิคม

ไม่ห่างไกลพระนครราชคฤห์ผู้นี้ ดำริว่า เราจักกินขนมเบื้อง

กลัวคนอื่น ๆ จะเห็น ให้ภรรยาทอดขนมเบื้องที่พื้นชั้นบนแห่ง

ปราสาท ๗ ชั้น ท่านจงไปที่นั่น ทรมานเศรษฐี ทำให้หมดพยศ

แล้วให้สามีภรรยาทั้งคู่ ขนขนม นมเนย น้ำผึ้ง น้ำอ้อย พามา

สู่พระเชตวัน ด้วยกำลังของตนเถิด วันนี้ตถาคตกับภิกษุ ๕๐๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

จักนั่งคอยในวิหาร จักกระทำภัตตกิจด้วยขนมนั้นแหละ. พระ-

เถระเจ้าทูลรับสนองพระดำรัสของพระศาสดาว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า

ไปสู่นิคมด้วยกำลังฤทธิ์ในทันใดนั้นเอง ครองสบงจีวรเรียบร้อย

ยืนอยู่ในอากาศตรงช่องหน้าต่าง ปานประหนึ่งรูปที่ทำด้วย

แก้วมณีมาลอยอยู่ฉะนั้น. เพราะเห็นพระเถระเจ้าเข้าเท่านั้น

ท่านมหาเศรษฐีหัวใจสั่น. เศรษฐีดำริว่า เพราะกลัวมนุษย์

ประเภทนี้ นี่แหละ เราถึงต้องมาที่นี่ แต่ท่านผู้นี้ยังมาที่ช่อง

หน้าต่างจนได้ มองไม่เห็นสิ่งที่พอจะถือเอาได้ ก็เปล่งเสียง

ตฏะ ตฏะ ออกมา ด้วยความแค้น เหมือนเอาก้อนเกลือใส่ไปใน

กองไฟ แตกเพียะพะอยู่ฉะนั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนสมณะ

ท่านยืนอยู่ในอากาศจักได้อะไร ถึงจะเดินไปเดินมา แสดง

รอยเท้าในอากาศอันหารอยมิได้ ก็จักยังไม่ได้อยู่นั่นเอง. พระ-

เถระก็เดินจงกรมไปมาอยู่ ณ ที่นั้นเอง. เศรษฐีกล่าวว่า ท่าน

จงกรมอยู่จักได้อะไร ถึงจะนั่งขัดสมาธิในอากาศ ก็จักไม่ได้

อะไรเลย. พระเถระเจ้าคู้บัลลังก์นั่งแล้ว. ครั้งนั้นเศรษฐีกล่าว

กะพระเถระว่า นั่งแล้วจักได้อะไร ถึงจะมายืนอยู่ที่ธรณีหน้าต่าง

ก็จักไม่ได้เลย. พระเถระได้มายืนอยู่ที่ธรณี. ครั้งนั้น เศรษฐี

พูดกะท่านว่า ถึงยืนที่ธรณีแล้วก็จักได้อะไร ต่อให้บังหวลควัน

ก็จักไม่ได้อะไร. พระเถระจึงบังหวลควัน ปราสาททั้งนั้น เป็น

ควันพุ่งไปทั่ว. เกิดเป็นดุจเวลาเอาเข็มแทงนัยน์ตาท่านเศรษฐี

ท่านเศรษฐีไม่กล้ากล่าวว่า ถึงจะให้ไฟลุก ก็คงจะไม่ได้ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

กลัวไฟจะไหม้บ้าน ดำริว่า สมณะรูปนี้ เกาะเกี่ยวเหนียวแน่น

ไม่ได้คงไม่ยอมไป จึงบอกภรรยาว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เจ้าจง

ทอดขนมเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่ง ให้สมณะแล้วส่งท่านไปเสียเถิด.

นางตักแป้งหน่อยเดียวเท่านั้นใส่ลงในถาดกระเบื้อง เป็นขนม

โตเต็มถาดหมด พองหนาปรากฏอยู่. เศรษฐีเห็นขนมนั้นแล้ว

พูดว่า เจ้าคงใส่แป้งมากเป็นแน่ แล้วเอามุมทัพพีนั่นแหละตัก

แป้งหน่อยหนึ่งใส่ลงไปเองทีเดียว ขนมกลับใหญ่กว่าอันก่อน

ไม่ว่าจะทอดอันใด ๆ อันนั้น ๆ เป็นต้องใหญ่ ๆ ทั้งนั้น. เศรษฐี

ชักเหนื่อย จึงบอกภรรยาว่า นางเอ๋ย เจ้าจงให้ขนมแก่สมณะ

รูปนี้ไปชิ้นหนึ่งเถิด. เมื่อนางหยิบขนมชิ้นหนึ่งออกจากกระเช้า

ขนมทุกชิ้น ติดเป็นแผ่นเดียวกันไปหมด. นางบอกกะเศรษฐีว่า

ท่านเจ้าคะ ขนมทั้งหมดติดเป็นแผ่นเดียวกันเสียแล้ว ดิฉันไม่อาจ

จะแยกได้. ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ฉันทำเอง ก็ไม่อาจแยกออกได้

เมื่อท่านเศรษฐีพยายามปลุกปล้ำแยกขนมอยู่นั่นแล เหงื่อไหล

โทรมร่างกาย ความอยากก็หายไป. ลำดับนั้น ท่านเศรษฐีจึงพูด

กับภรรยาว่า นี่แน่ะนางผู้เจริญ เราไม่ต้องการขนมเเล้วละ

เธอจงถวายแก่ภิกษุนี้ทั้งกระเช้าทีเดียวเถิด. นางจึงหิ้วกระเช้า

เข้าไปหาพระเถระ. แล้วถวายขนมทั้งหมดแด่พระเถระเจ้า.

พระเถระเจ้าเมื่อแสดงธรรมแก่คนทั้งสอง ก็กล่าวถึงคุณ

ของพระรัตนะทั้ง ๓ แล้วชี้แจงผลของการให้ทานเป็นต้น ว่า

ทานที่บุคคลให้แล้วมีผล การบูชามีผล แจ่มแจ้งประดุจแสดงให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

เห็นดวงจันทร์วันเพ็ญ บนพื้นนภากาศ ฉะนั้น. ครั้นฟังธรรมแล้ว

มหาเศรษฐี มีจิตผ่องใส กล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ

นิมนต์นั่งบนบัลลังก์นี้ ฉันขนมเถิดขอรับ. พระเถระเจ้ากล่าวว่า

ท่านมหาเศรษฐี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ตถาคตจักฉันขนม

ประทับนั่งในพระวิหารกับภิกษุ ๕๐๐ รูป เมื่อท่านพอใจ จง

ให้ภรรยาถือขนมและนมเป็นต้น เราจักไปสู่สำนักพระศาสดา

ท่านเศรษฐี ถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เดี๋ยวนี้พระศาสดา

พระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหนเล่าขอรับ ? พระเถระเจ้าตอบว่า

พระองค์ประทับ ณ พระมหาวิหารเชตวัน ห่างจากที่นี่ ๔๕

โยชน์. ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เราจัก

ไปไกลถึงเพียงนี้ โดยไม่ให้ล่วงเวลาภัตได้อย่างไรเล่าขอรับ ?

พระเถระเจ้ากล่าวว่า ก่อนมหาเศรษฐี เมื่อท่านมีความพอใจ

เราจะพาท่านไปด้วยกำลังฤทธิ์ของตน หัวบันไดที่ปราสาทของ

ท่าน จักปรากฏ ณ ที่ตั้งของตนทีเดียว แต่ที่สุดแห่งบันได จัก

อยู่ซุ้มพระทวารแห่งพระวิหารเชตวัน เราจักพาท่านไปพระ-

วิหารเชตวัน ด้วยระยะเวลาเพียงเท่ากาลที่ลงจากปราสาทชั้นบน

มาสู่ปราสาทชั้นล่าง ท่านเศรษฐีรับคำว่า ดีแล้วขอรับ ท่าน

ผู้เจริญ.

พระเถระเจ้าก็อธิษฐานว่า ศีรษะบันไดจงอยู่ที่เดิม เชิง

บันไดจงมีที่ซุ้มพระทวารพระวิหารเขตวันเถิด. การก็ได้เป็น

ดังคำอธิษฐานของพระเถระเจ้านั่นแหละ ด้วยอาการอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

พระเถระเจ้า พาท่านเศรษฐีกับภรรยาลุถึงพระวิหารเชตวัน

เร็วกว่าเวลาลงจากปราสาทชั้นบน ถึงปราสาทชั้นล่างเสียอีก.

ท่านเศรษฐีและภรรยาแม้ทั้งคู่เข้าเฝ้าพระศาสดา กราบทูล

ภัตตกาลพระศาสดา เสด็จเข้าสู่โรงฉัน ประทับนั่งเหนือพระ-

บวรพุทธาอาสน์ที่จัดไว้พร้อมกับภิกษุสงฆ์ ท่านเศรษฐีได้ถวาย

น้ำทักษิโณทกแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธองค์เป็นประมุข ภรรยา

ของท่านเศรษฐีก็ใส่ขนมในบาตรของพระตถาคต. พระศาสดา

ทรงรับขนมพอแก่พระประสงค์ของพระองค์. แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูป

ก็รับเช่นนั้นเหมือนกัน. ถึงท่านเศรษฐีก็เดินถวาย นมสด เนยใส

น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และน้ำตาลกรวดเป็นต้น. พระศาสดากับภิกษุ

๕๐๐ รูปกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว. ท่านมหาเศรษฐีกับภรรยาเล่า

ก็รับประทานขนมพอแก่ความต้องการ ความสิ้นสุดของขนม

ทั้งหลาย ไม่ปรากฏเลย แม้ถวายแจกจ่ายแก่พวกภิกษุและคน

กินเดนในวิหารทั้งสิ้นแล้ว ความหมดสิ้นก็ยังไม่ปรากฏอยู่นั่นเอง.

ท่านเศรษฐีและภรรยาพากันกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขนมยังไม่หมดเลยพระเจ้าข้า. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงเททิ้งเสียที่ซุ้มประตูพระ-

วิหารเชตวันเถิด สองสามีภรรยาก็ขนไปทิ้ง ในที่เป็นเงื้อมไม่ห่าง

ซุ้มประตู ที่นั้นจึงปรากฏชื่อว่า "เงื้อมขนมเบื้อง" ต่อมาจนถึง

ทุกวันนี้. มหาเศรษฐีกับภรรยาพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

อนุโมทนา ในเวลาจบอนุโมทนา เศรษฐีและภรรยาแม้ทั้งสองคน

ก็ดำรงในพระโสดาปัตติผล พากันถวายบังคมพระบรมศาสดา

ก้าวขึ้นบันไดสถิตในปราสาทของตน นั่นเอง. จำเดิมแต่นั้นมา

ท่านมหาเศรษฐีก็บริจาคทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ในพระพุทธศาสนา

นั่นแล.

วันรุ่งขึ้น เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาต

ในพระนครสาวัตถี แล้วเสด็จมาสู่พระวิหารเชตวัน ประทาน

สุคโตวาทแก่พวกภิกษุ แล้วเสด็จเข้าพระคันธกุฎีทรงหลีกเร้น

ครั้นเวลาเย็น ภิกษุประชุมกันในธรรมสภา นั่งกล่าวถึงคุณกถา

ของพระเถระเจ้าอยู่ว่า ก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย จงดูอานุภาพของ

พระมหาโมคคัลลานเถรเจ้าเถิด ท่านมิได้ทำลายศรัทธา มิได้

แตะต้องโภคทรัพย์ ทรมานเศรษฐี ผู้ตระหนี่ครู่เดียวเท่านั้น

ก็ทำให้หายพยศได้ ให้ถือขนมชวนมาพระเชตวัน เฝ้าพระศาสดา

ให้ดำรงในโสดาปัตติผล โอ พระเถระเจ้ามีอานุภาพมาก. พระ-

ศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่ง

ประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล

ให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุ

ผู้ทรมานสกุล ไม่ต้องเบียดเบียนสกุลให้ลำบาก พึงเป็นเหมือน

ภมรเคล้าเอาเกษรดอกไม้ เข้าไปใกล้แล้วให้เขารู้พระพุทธคุณ

เมื่อจะทรงสรรเสริญพระเถระเจ้า ตรัสพระคาถาในธรรมบทนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

" ภมรมิให้ดอกไม้เสียสี และเสื่อมกลิ่น

เคล้าเอาแต่รส แล้วบินไป แม้ฉันใด มุนี พึงเที่ยว

ไปในบ้าน ฉันนั้น " ดังนี้.

เพื่อจะประกาศคุณของพระเถระเจ้าให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่มัจฉริยเศรษฐี.

ถูก โมคคัลลานะทรมาน แม้ในครั้งก่อน โมคคัลลานะก็เคย

ทรมานเขา ให้รู้ความสัมพันธ์แห่งกรรม และผลแห่งกรรม

มาแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-

พาราณสี เศรษฐี ชื่ออิลลีสะ มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ประกอบด้วย

บุรุษโทษหลายสถาน เป็นคนกระจอก ง่อย ตาเหล่ ไม่มีศรัทธา

ไม่เลื่อมใส ตระหนี่ ไม่ให้แก่คนอื่น และไม่บริโภคด้วยตนเอง

ได้มีในพระนครพาราณสี เรือนของเศรษฐีนั้นได้เป็นเหมือน

สระโบกขรณี ที่รากษสยึดครอง แต่มารดาบิดาของท่านเศรษฐี

เป็นผู้ให้ทาน เป็นทานบดีมา ๗ ชั่วตระกูล. ครั้นอิลลีสะนั้นได้

ตำแหน่งเศรษฐีก็ทำลายสกุลวงษ์เสีย เผาโรงทาน เฆี่ยนขับไล่

พวกยาจก เก็บแต่ทรัพย์เท่านั้น วันหนึ่งอิลลีสะนั้นไปเฝ้าพระราชา

ขณะเดินมาเรือนของตน เห็นคนบ้านนอกผู้หนึ่ง เหน็ดเหนื่อย

จากการเดินทาง ถือขวดเหล้ามาขวดหนึ่ง นั่งบนตั่งน้อย รินเหล้า

ใส่จอกสำหรับดื่มสุรารสเปรี้ยวแล้วดื่มอยู่ แกล้มด้วยแกงอ่อม

ใส่ปลาร้า นึกอยากดื่มบ้าง คิดว่า ถ้าเราจักดื่มสุรา เมื่อกำลังดื่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

คนเป็นอันมากก็จักอยากดื่มบ้าง ความสิ้นเปลืองทรัพย์ ก็จัก

มีแก่เราด้วยอาการอย่างนี้. เศรษฐีอิลลีสะนั้น อดกลั้นความ

อยากไว้ ครั้นเวลาผ่านไป ไม่อาจอดกลั้นได้ เลยเป็นคนตัวเหลือง

เนื้อตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น เหมือนใบฝ้ายที่แก่แล้ว. ครั้น

วันหนึ่ง จึงเข้าห้องนอน เข้าไปซุกอยู่ที่เตียงน้อย ภรรยาเข้าไป

ลูบหลัง พลางถามว่า นายท่านไม่สบายเป็นอะไรหรือ ? ถ้อยคำ

ทั้งหมด พึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. เมื่อ

ภรรยากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ดิฉันจะปรุงสุราให้พอแก่ท่านผู้เดียว

เท่านั้น. เศรษฐีดำริว่า เมื่อปรุงสุราในเรือน คนเป็นอันมาก

จักต้องมุงมอง ให้ไปซื้อมาจากร้านตลาดแต่ไม่อาจนั่งดื่มในที่นี้ได้

จึงให้เงินไปประมาณมาสกหนึ่ง ให้ไปซื้อเหล้ามาจากตลาดขวด

หนึ่ง ให้บ่าวถือออกไปจากเมือง ถึงฝั่งแม่น้ำ หลบเขาสู่พุ่มไม้

พุ่มหนึ่ง ให้บ่าววางขวดเหล้าไว้แล้ว กล่าวว่า เจ้าไปเถิด ให้

บ่าวไปนั่งเสียไกล รินเหล้าใส่จอกเริ่มดื่มสุรา.

ส่วนบิดาของเศรษฐี อิลลีสะนั้น เกิดเป็นท้าวสักกะ

ในเทวโลก เพราะทำบุญทั้งหลายมีให้ทานเป็นต้น ขณะนั้นท้าวเธอ

ดำริว่า ทานของเรายังเป็นไปอยู่หรือไม่หนอ ครั้นเห็นทานไม่

เป็นไป และเห็นบุตรทำลายสกุลวงษ์เสีย เผาโรงทาน ขับไล่

พวกจายก ตั้งอยู่ในความตระหนี่ กำลังเข้าพุ่มไม้ดื่มเหล้าเพียง

ผู้เดียว เพราะกลัวว่า จักต้องให้แก่คนอื่น ๆ ทรงพระดำริว่า

เราต้องไป ขนาบ ทรมาน อิลลีสะนั้น ให้รู้ความสัมพันธ์แห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

กรรมและผลแห่งกรรม แล้วให้บำเพ็ญทาน ทำให้เขาเหมาะสม

ที่จะเกิดในเทวโลก ดังนี้แล้วเสด็จลงมาสู่ถิ่นมนุษย์ ทรงเนรมิต

อัตภาพเป็นคนกระจอก ง่อย และตาเหล่ เช่นเดียวกับเศรษฐี

อิลลีสะ เข้าไปสู่พระนครพาราณสี หยุด ณ ทวารพระราชนิเวศน์

ให้กราบทูลการที่ตนมา เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตว่า จง

เข้ามาเถิด จึงเข้าไปถวายบังคมพระราชาแล้วยืนอยู่. พระราชา

มีพระดำรัสถามว่า ดูก่อนท่านมหาเศรษฐี เหตุไฉน ท่านจึงมา

ผิดเวลาเล่า กราบทูลว่า ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า

ข้าพระพุทธเจ้ามาโดยประสงค์ว่า ในเรือนของข้าพระพุทธเจ้า

มีทรัพย์อยู่ประมาณ ๘๐ โกฏิ ขอพระองค์ได้โปรดให้ขนมาเข้า

ท้องพระคลังของพระองค์เถิด. พระราชารับสั่งว่า อย่าเลย

ท่านมหาเศรษฐี ทรัพย์ในวังของเรา มีมากกว่าทรัพย์ของท่าน.

เขากราบทูลว่า ขอเดชะ ถ้าพระองค์ไม่ต้องพระประสงค์ ข้า-

พระองค์จะจ่ายทรัพย์ให้ทานตามความพอใจ พระเจ้าข้า. พระราชา

รับสั่งว่า ให้เถิดท่านเศรษฐี. เขารับพระบรมราชานุญาตแล้ว

ถวายบังคมพระราชา ออกไปสู่เรือนของอิลลีสเศรษฐี. พวก

มนุษย์ผู้เป็นอุปัฏฐากทุกคนก็พากันแวดล้อม แม้คนหนึ่งที่จะ

สามารถรู้ว่า ท่านผู้นี้มิใช่อิลลีสเศรษฐี ไม่มีเลย.

ครั้นท้าวสักกเทวราช เข้าสู่เรือนแล้ว ยืนที่ธรณีด้านใน

เรียกนายประตูมาสั่งว่า ผู้อื่นคนใดมีรูปคล้ายเราจะเข้ามาด้วย

กล่าวว่า นี่เรือนของเรา พวกเจ้าพึงเฆี่ยนหลังคนนั้น แล้วไล่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

ไปเสีย แล้วขึ้นสู่ปราสาทนั่งเหนืออาสนะอันโออ่า ให้เชิญภรรยา

ท่านเศรษฐีมาหา แสดงอาการอย่างท่านเศรษฐีไม่มีผิด กล่าวว่า

นางผู้เจริญเราให้ทานกันเถิด. ภรรยา บุตร ธิดา และทาส

กรรมกรได้ยินถ้อยคำของท้าวเธอนั้นแล้ว พากันกล่าวว่า ตลอด

กาลนานเห็นปานนี้ ความคิดที่จะให้ทานไม่มีเลย แต่วันนี้ดื่มสุรา

แล้ว เกิดใจดีอยากให้ทานเป็นแน่ ทีนั้น ภรรยาท่านเศรษฐี

จงกล่าวว่า ท่านเจ้าคะ เชิญท่านให้ตามพอใจเถิด. ท้าวเธอ

กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงเรียกคนตีกลองมา ให้นำกลองไป

เที่ยวตีประกาศทั่วพระนครว่า ผู้ที่ต้องการเงินทอง แก้วมณี

และมุกดาเป็นต้น จงพากันไปสู่เรือนของอิลลีสเศรษฐี คนตีกลอง

ได้กระทำอย่างนั้นแล้ว มหาชนต่างพากันถือภาชนะมีกระเช้า

กระทอเป็นต้น ไปชุมนุมกันที่ประตูเรือน. ท้าวสักกะทรงให้

เปิดห้องอันเต็มไปด้วยรัตนะ ๗ ประการหลายห้อง กล่าวว่า

เราขอให้แก่พวกท่าน พวกท่านจงพากันขนเอาไปจนพอต้องการ

เถิด มหาชนพากันขนทรัพย์ออกไปกองไว้ที่พื้นโถง บรรจุลง

ภาชนะที่นำมาจนเต็มแล้ว จึงพากันไป.

ฝ่ายมนุษย์ชาวชนบทคนหนึ่ง เทียมโคคู่ของอิลลีสเศรษฐี

ที่รถของท่านนั่นแหละ บรรทุกเต็มไปด้วยรัตนะ ๗ ประการ

ออกจากพระนครเดินไปตามทางหลวง ขับรถไปไม่ห่างพุ่มไม้นั้น

ขับไปพลาง กล่าวถึงคุณของท่านเศรษฐีไปพลางว่า เจ้าพ่อคุณ

เอ๋ย ท่านอิลลีสเศรษฐี จงมีชีวิตอยู่ถึงร้อยปีเถิด คราวนี้เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

ไม่ต้องทำการงานเลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิตแล้ว เพราะอาศัย

ท่าน รถนี่ก็ของท่าน โคคู่ก็เป็นของท่านเหมือนกัน แก้ว ๗ ประการ

ก็ในเรือนของท่าน มารดาเล่าก็มิได้ให้ บิดาก็มิได้ให้ เราได้

เพราะอาศัยท่านแท้ ๆ. อิลลีสเศรษฐี ฟังเสียงนั้นแล้ว เกิดกลัว

หวาดผวาฉุกใจคิดว่า คนผู้นี้เอาชื่อของเรามากล่าวอ้างถึงเรื่องนี้ ๆ

พระราชาพระราชทานทรัพย์ของเราแก่ชาวโลกเสียละกระมัง

หนอ ? โผล่ออกจากพุ่มไม้ จำโคและรถได้ กล่าวตวาดว่า เฮ้ย

ไอ้บ่าวชาติชั่ว โคก็ของกู รถก็ของกู พลางวิ่งไปจับโคที่สาย

ตะพาย คหบดีก็ลงจากรถกล่าวว่า เฮ้ย ! ไอ้บ่าวชั่ว ท่านอิลลีส-

เศรษฐีให้ทานแก่คนทั้งเมือง มึงเป็นอะไรเล่า พลางวิ่งไปหา

ทุบที่ต้นคอ เหมือนฟ้าฟาด แล้วดึงรถมาขับต่อไป ฝ่ายท่าน

อิลลีสเศรษฐีลุกขึ้นงันงก ปัดฝุ่นแล้ววิ่งไปยึดรถไว้อีก. คหบดี

ก็ลงจากรถ จิกผมให้ก้มลงถองด้วยศอก จับคอเหวี่ยงไปทางที่มา

แล้วก็หลีกไป พอโดนเข้าอย่างนี้ ความเมาสุราของท่านเศรษฐี

ก็หายเป็นปลิดทิ้ง. งก ๆ เงิ่น ๆ เดินไปที่ประตูนิเวศน์อย่าง

รวดเร็ว เห็นมหาชนพากันขนทรัพย์ไป ก็ตะโกนว่า พ่อคุณ

นี่มันเรื่องอะไรกัน พระราชารับสั่งให้มารุมปล้นทรัพย์ของข้า

หรือไร ? แล้วไปจับคนนั้น ๆ ไว้ คนที่ถูกจับก็ช่วยกันประหาร

จนล้มลงใกล้เท้านั่นเอง เศรษฐีเจ็บปวดหนัก มุ่งจะเข้าเรือน

พวกเฝ้าประตูพากันร้องว่า เฮ้ย ไอ้คฤหบดีตัวร้าย มึงจะเข้าไป

ไหน ? พลางหวดด้วยเรียวไผ่ จับคอไสออกไป เศรษฐีคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

คราวนี้เว้นพระราชาแคว้น ใครอื่นที่จะเป็นที่พำนักของเรา

ไม่มีแล้ว ไปสู่ราชสำนัก กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ

พระองค์สั่งให้คนปล้นเรือนของข้าพระองค์หรือพระเจ้าข้า ?

พระราชารับสั่งว่า ท่านเศรษฐี เราไม่ได้ให้ปล้น ท่านนั่นแหละ

มาหาเราบอกว่า ถ้าพระองค์ไม่ทรงรับไว้ ข้าพระองค์จักให้

ทรัพย์ของข้าพระองค์เป็นทาน ให้คนเที่ยวตีกลองป่าวร้องใน

พระนคร แล้วได้ให้ทานมิใช่หรือ ? เขากราบทูลว่า ขอเดชะ

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์มิได้มาสู่สำนักของพระองค์

เลย พระองค์ไม่ทรงทราบความที่ข้าพระองค์เป็นคนตระหนี่

หรือพระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่ยอมให้แม้หยดน้ำมันด้วยปลายหญ้า

แก่ใคร ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอได้ทรงพระกรุณา

โปรดเรียกคนที่ให้ทานนั้นมา ทรงพิจารณาเถิด พระเจ้าข้า.

พระราชารับสั่งให้เรียกท้าวสักกะมา ความแปลกกันของ

คนทั้งสอง พระราชาก็ทรงทราบไม่ได้เลย พวกอำมาตย์ก็ไม่

ทราบ ท่านเศรษฐีผู้ตระหนี่กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ

พระองค์ทรงจำไม่ได้หรือ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นเศรษฐี

คนนี้มิใช่เศรษฐี. พระราชารับสั่งว่า เราจำไม่ได้ ยังมีใคร

ที่พอจะจำท่านได้บ้างเล่า ? กราบทูลว่า ภรรยาของข้าพระองค์ซิ

พระเจ้าข้า. มีพระกระแสรับสั่งให้ภรรยาเข้าเฝ้า แล้วตรัสถาม

ว่า สามีของเธอคนไหน ? นางกราบทูลว่า คนนี้พระเจ้าข้า

แล้วได้ยืนใกล้ท้าวสักกะนั่นเอง เรียกบุตรบิดา ทาส กรรมกร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

มาถาม ทุกคนพากันยืนในสำนักของท้าวสักกะทั้งนั้น. ท่านเศรษฐี

กลับคิดได้ว่า ที่ศีรษะของเรามีปุ่มอยู่ ผมปิดไว้มิดชิด มีแต่

ช่างกัลบกคนเดียวเท่านั้นที่รู้ปุ่มนั้น ต้องกราบทูลให้เรียกช่าง

กัลบกมา. คิดดังนี้แล้ว จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ

ช่างกัลบกคงจำข้าพระองค์ได้ โปรดทรงพระกรุณาเรียกเขา

มาเถิด พระเจ้าข้า. ก็ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นช่างกัลบก

ของท่านอิลลีสเศรษฐี พระราชามีพระกระแสรับสั่งให้เรียก

ท่านมาตรัสถามว่า จำอิลลีสเศรษฐีได้ไหม ? ช่างกัลบกกราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์ตรวจดูศีรษะ

แล้วคงจำได้พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงตรวจดู

ศีรษะของคนทั้งสองเถิด. ทันใดนั้นท้าวสักกะก็บันดาลให้เกิด

ปุ่มขึ้นที่ศีรษะ. พระโพธิสัตว์ตรวจดูศีรษะแม้ของคนทั้งสอง

ก็เห็นปุ่ม (เหมือนกัน) จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ที่

ศีรษะของตนทั้งสอง ต่างมีปุ่มอยู่เหมือนกันในท่านทั้งสองนี้

ข้าพระองค์มิอาจจำได้ ถึงความเป็นตัวอิลลีสะสักคนเดียว แล้ว

กล่าวคาถานี้ ความว่า :-

คนทั้งสอง เป็นคนกระจอก คนทั้งสอง

เป็นคนค่อม คนทั้งสองมีนัยน์ตาเหล่ คนทั้งสองมี

ปุ่มเกิดที่ศีรษะ ข้าพระองค์ชี้ตัวอิลลีสะไม่ได้

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโภ ได้แก่ชนแม้ทั้งสอง.

บทว่า ขญฺชา ได้แก่ มีเท้ากุด.

บทว่า กุณี ได้แก่ มีมือหงิก.

บทว่า วิสมจกฺขุกา ได้แก่ มีดวงตาไม่เสมอกัน อธิบายว่า

มีตาเหล่.

บทว่า ปีฬกา ความว่า ที่ศีรษะแม้ของคนทั้งสองมีปุ่ม

เกิดขึ้นแล้วสองปุ่ม มีสัณฐานอย่างเดียวกัน อยู่ตำแหน่งเดียวกัน.

บทว่า นาห ปสฺสามิ ความว่า ช่างกัลบกทูลว่า ในท่าน

ทั้งสองนี้ ข้าพระองค์ไม่ประจักษ์ว่าคนไหนเป็นอิลลีสะ คือ

ไม่รู้ชัดความเป็นอิลลีสเศรษฐี แม้ของคน ๆ หนึ่ง

ท่านเศรษฐี ฟังคำของพระโพธิสัตว์แล้วเท่านั้น ตัวสั่น

งันงก ไม่อาจตั้งสติไว้ได้ เพราะความโลภในทรัพย์ ล้มลงตรงนั้น

เอง. ในขณะนั้น ท้าวสักกะกล่าวว่า ดูก่อนมหาราช เราไม่ใช่

อิลลีสะดอก เราเป็นท้าวสักกะ แล้วได้ประทับยืนอยู่ในอากาศ

ด้วยท่าทางอันสง่า. พวกอำมาตย์ ช่วยลูบหน้า ท่านอิลลีสเศรษฐี

แล้วราดด้วยน้ำ อิลลีสเศรษฐีรีบลุกขึ้นยืนไหว้ท้าวสักกะเทวราช.

ทันใดนั้น ท้าวสักกะกล่าวกะท่านเศรษฐีว่า ก่อนอิลลีสะ ทรัพย์

นี้เป็นของเรา ไม่ใช่ของท่าน เพราะเราเป็นบิดาของท่าน ท่าน

เป็นบุตรของเรา เราทำบุญมีให้ทานเป็นต้น ถึงความเป็นท้าว-

สักกะ แต่เธอตัดวงษ์ของเราขาดสิ้น เป็นผู้ไม่ยอมให้ทาน ตั้งอยู่

ในความตระหนี่ เผาโรงทาน ขับไล่พวกยาจก เอาแต่สั่งสมทรัพย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

บริโภคเองก็ไม่ยอมบริโภค ให้คนอื่นก็ไม่ให้ ทำตนเหมือนรากษส

หวงสระน้ำ ถ้าเธอกลับสร้างโรงทานให้เป็นปกติแล้วให้ทาน

นั่นเป็นความฉลาด หากไม่ให้ทาน เราจักทำทรัพย์ของเธอให้

อันตรธานไปจนหมด แล้วจักตีศีรษะด้วยอินทวัชระนี้ ให้สิ้น

ชีวิต. อิลลีสเศรษฐีถูกคุกคามด้วยมหาภัย ได้ให้ปฏิญญาว่า

ตั้งแต่บัดนี้ ข้าพเจ้าจักให้ทาน. ท้าวสักกะรับปฏิญญาณของ

ท่านเศรษฐีแล้ว ประทับนั่งในอากาศนั่นแล แสดงธรรม ชักนำ

ให้เศรษฐีดำรงในศีล แล้วเสด็จไปสู่สถานของท้าวเธอ. แม้

อิลลีสเศรษฐี ก็กระทำบุญให้ทานเป็นต้น ได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็น

ที่ไปในภายหน้า.

พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ใน

บัดนี้เท่านั้น ที่โมคคัลลานะทรมานเศรษฐีตระหนี่ ถึงในครั้งก่อน

ก็ทรมานมาแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว

ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า อิลลีสเศรษฐีในครั้งนั้น ได้มา

เป็นเศรษฐีผู้มีความตระหนี่ในครั้งนี้ ท้าวสักกเทวราชได้มา

เป็นโมคคัลลานะ พระราชาได้มาเป็นอานนท์ ส่วนช่างกัลบก

ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอิลลีสชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

๙. ขรัสสรชาดก

ว่าด้วยบุตรที่มารดาละทิ้ง

[๗๙] " เมื่อใดชาวบ้านถูกปล้น เรียบร้อยแล้ว

ฝูงโคถูกเชือดไม่แล้ว เรือนทั้งหลายถูกไฟเผา

วอดไปแล้ว ผู้คนถูกต้อนไปแล้ว เมื่อนั้นบุตรที่

มารดาละทิ้งแล้ว จึงมาเที่ยวตีกลองอึกทึก "

จบ ขรัสสรชาดกที่ ๙

อรรถกถาขรัสสรชาดกที่ ๙

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-

วิหาร ทรงปรารภอำมาตย์ผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า "ยโต วิลุตฺตา จ หตา จ คาโว" ดังนี้.

ได้ยินว่า อำมาตย์ผู้หนึ่งของพระเจ้าโกศล ยังพระราชา

ให้โปรดปรานแล้ว ได้กำลังในปัจจันตคาม ไปร่วมกับพวกโจร

กล่าวว่า เราจักพาพวกมนุษย์เข้าป่า พวกเจ้าปล้นบ้านแล้วแบ่ง

ให้เราครึ่งหนึ่ง ดังนี้แล้ว เรียกพวกมนุษย์ให้ประชุมกัน แล้ว

พาเข้าป่าไปเสียก่อน เมื่อพวกโจรพากันมาจับแม่โคฆ่ากินเนื้อ

ปล้นบ้านเรือนพากันไปแล้ว มีมหาชนแวดล้อมกลับเข้าบ้าน

ในเวลาเย็น ไม่ช้าไม่นาน การกระทำของเขาก็ปรากฏ พวกมนุษย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

พากันกราบทูลพระราชา. พระราชารับสั่งเรียกเขามาแล้ว

ให้กำหนดโทษ ทรงลงพระอาญา สมควรแก่โทษานุโทษ ส่ง

นายอำเภอผู้อื่นไปแทน แล้วเสด็จไปพระเชตวัน ถวายบังคม

พระตถาคต กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น

ที่อำมาตย์ผู้นั้น มีปกติประพฤติอย่างนี้ ถึงในกาลก่อนก็มีปกติ

ประพฤติอย่างนี้เหมือนกัน อันพระเจ้าโกศลกราบทูลอาราธนา

ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี ทรงพระกรุณาพระราชทานปัจจันตคามแก่อำมาตย์

ผู้หนึ่ง. เรื่องต่อไปทั้งหมด ก็เป็นเช่นเดียวกับเรื่องก่อนทั้งหมด

ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ท่องเที่ยวไปในปัจจันตคามเพื่อการค้า

พำนักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้น พระโพธิสัตว์นั้น เมื่อนายอำเภอ

ผู้นั้น ตีกลองอึกทึกมากับมหาชนผู้ห้อมล้อมในตอนเย็น จึงกล่าวว่า

นายอำเภอผู้ร้ายคนนี้รวมหัวกันกับพวกโจรให้ปล้นชาวบ้าน

ครั้นพวกโจรพากันหนีเข้าดงไปแล้ว คราวนี้สิมีกลองตีเดินมา

ทำเหมือนคนสงบเสงี่ยม แล้วกล่าวคาถานี้ว่า :-

"เมื่อใดชาวบ้านถูกปล้นเรียบร้อยแล้ว

ฝูงโคถูกเชือดแล้ว เรือนทั้งหลายถูกไฟเผาวอด

ไปแล้ว ผู้คนถูกต้อนไปแล้ว เมื่อนั่นบุตรที่มารดา

ละทิ้งแล้ว จึงมาตีกลองเสียงอึกทึก" ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต แปลในกาลใด.

บทว่า วิลุตฺตา จ หตา จ ความว่า พวกโจรพากันปล้น

ฆ่า เชือดฝูงโค เพื่อกินเนื้อ.

บทว่า คาโว ได้แก่ฝูงโค.

บทว่า ทฑฺฒานิ ความจุดไฟเผาเรือนให้ไหม้.

บทว่า ชโน จ นีโตห จับคนนำไปเป็นเชลย.

บทว่า ปุตฺตหตาย ปุตฺโต ได้แก่ลูกของหญิงที่มารดา

ละทิ้งแล้ว อธิบายว่า ได้แก่คนหน้าด้าน. เพราะว่าคนที่ปราศจาก

หิริโอตตัปปะแล้ว ชื่อว่าย่อมไม่มีแม่ ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าแม่ยัง

มีชีวิตอยู่ เขาก็ไม่ตั้งอยู่ในฐานะเป็นลูก เพราะฉะนั้น เขาย่อม

ได้ชื่อว่า เป็นลูกของหญิงที่มารดาทอดทิ้ง.

บทว่า ขรสฺสร ได้แก่เสียงครึกโครม.

บทว่า เทณฺฑิม ได้แก่ตีกลอง.

พระโพธิสัตว์ บริภาษเขาด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้

กรรมนั้นของเขาปรากฏต่อกาลไม่ช้าเลย. ครั้งนั้นพระราชา

ทรงลงพระอาญาแก่เขา สมควรแก่โทษานุโทษ.

พระบรมศาสดา ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มิใช่แต่ใน

บัดนี้เท่านั้น ที่อำมาตย์ผู้นั้น มีปกติประพฤติอย่างนี้ แม้ในครั้งก่อน

ก็ได้มีความประพฤติชั่วมาแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรม-

เทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า อำมาตย์ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

ครั้งนั้น ได้มาเป็นอำมาตย์ในครั้งนี้ ส่วนบัณฑิตผู้ยกคาถาขึ้น

กล่าว ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาขรัสสชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

๑๐. ภีมเสนชาดก

ว่าด้วยคำแรก กับคำหลังไม่สมกัน

[๘๐] "ภีมเสนเอย ที่ท่านคุยโอ่ไว้แต่ก่อน แล้ว

ภายหลังกลับปล่อยอุจจาระไหลออกมา คำโว

ถึงการรบ กับความกระสับกระส่ายของท่าน

ดูช่างไม่สมกันเลย"

จบ ภีมเสนชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาภีมเสนชาดกที่ ๑๐

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้มักโอ้อวดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า ยนฺเต ปวิกตฺถิต ปุเร ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่ง เที่ยวคุยโอ่ เย้ยหยัน หลอกลวง

ในกลุ่มภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งที่เป็นนวกะ และที่เป็นมัชฌิมะ

ด้วยอำนาจสมบัติ มีชาติเป็นต้นว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย ว่าถึงชาติ

กันละก็ ไม่มีทางที่จะเสมอด้วยชาติของเรา ว่าถึงโคตรก็ไม่มี

ที่จะเสมอด้วยโคตรของเรา พวกเราเกิดในตระกูลมหากษัตริย์

ขึ้นชื่อเห็นปานนี้ ผู้ที่จะได้ชื่อว่าทัดเทียมกับเรา โดยโคตรหรือ

ด้วยทรัพย์ หรือด้วยถิ่นฐานของตระกูล ไม่มีเลย ทองเงินเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

ของพวกเรามีจนหาที่สุดมิได้ เพียงแต่พวกทาสกรรมกรของ

พวกเรา ก็พากันกินข้าวสุกที่เป็นเนื้อข้าวสาลี นุ่งผ้าที่มาจาก

แคว้นกาสีเป็นต้น ผัดเครื่องลูบไล้ที่มาแต่แคว้นกาสี เพราะ

เป็นบรรพชิตดอก เดี๋ยวนี้พวกเราถึงบริโภคโภชนะเศร้าหมอง

ครองจีวรเลว ๆ อย่างนี้. ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง สอบสวนถิ่นฐาน

แห่งตระกูลของเธอได้แน่นอน ก็กล่าวความที่เธอคุยโอ้อวดนั้น

แก่พวกภิกษุ พวกภิกษุประชุมกันในธรรมสภา พากันพูดถึงโทษ

มิใช่คุณของเธอว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุโน้นบวชแล้วในพระ-

ศาสนา อันจะนำออกจากทุกข์ได้เห็นปานฉะนี้ ยังจะเที่ยวคุยโอ่

เย้ยหยัน หลอกลวงอยู่ได้ พระบรมศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่อง

อะไรเล่า ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนั้นเที่ยว

คุยโอ่ถึงในครั้งก่อน ก็เคยเที่ยวคุยโอ่ เย้ยหยัน หลอกลวงมาแล้ว

ดังนี้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลอุทิจจพราหมณ์

ในนิคมคามตำบลหนึ่ง เจริญวัยแล้วเล่าเรียนไตรเพท อันเป็น

ที่ตั้งแห่งวิชชา ๑๘ ประการ ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์

ณ เมืองตักกสิลา ถึงความสำเร็จศิลปะทุกประการ ได้นามว่า

จูฬธนุคคหบัณฑิต. เขาออกจากตักกสิลานคร เสาะแสวงหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

ศิลปะในลัทธิสมัยทุกอย่าง ลุถึงมหิสกรัฐ ก็ในชาดกนี้ มีแนวว่า

พระโพธิสัตว์มีร่างกายเตี้ยอยู่หน่อย ท่าทางเหมือนค่อม เขาดำริ

ว่า ถ้าเราจักเฝ้าพระราชาองค์ใดองค์หนึ่ง ท้าวเธอจักกล่าวว่า

เจ้ามีร่างกายเตี้ยอย่างนี้ จักทำราชการได้หรือ อย่ากระนั้นเลย

เราหาคนที่สมบูรณ์ด้วยความสูง ความล่ำสันรูปงามสักคนหนึ่ง

ทำเป็นโล่ห์ แล้วก็เลี้ยงชีวิตอยู่หลังฉากของคนผู้นั้น คิดแล้ว

ก็เที่ยวเสาะหาชายที่มีรูปร่างอย่างนั้น ไปถึงที่ทอหูกของช่าง

หูกผู้หนึ่ง ชื่อว่า ภีมเสน ทำปฏิสันถารกับเขา พลางถามว่า

สหายเธอชื่อไร ? เขาตอบว่า ฉันชื่อภีมเสน.

จูฬ. ก็เธอเป็นผู้มีรูปงาม สมประกอบทุกอย่างอย่างนี้

จะกระทำงานเลว ๆ ต่ำ ๆ นี้ทำไม ?

ภีมเสน. ฉันไม่อาจอยู่เฉย ๆ ได้ (โดยไม่ทำงาน)

จูฬ. สหายเอ๋ย อย่าทำงานนี้เลย ในชมพูทวีปทั้งสิ้น

จะหานายขมังธนูที่พอจะทัดเทียมกับฉันไม่มีเลย แต่ถ้าเราเข้าเฝ้า

พระราชาองค์ไหน ท้าวเธอน่าจะกริ้วฉันได้ว่า เจ้านี่เตี้ย ๆ อย่างนี้

จะทำราชการได้อย่างไรกัน เธอพึงไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า

ข้าพระองค์เป็นนายขมังธนู ดังนี้ พระราชาจักพระราชทาน

บำเหน็จให้เธอแล้ว พระราชทานเบี้ยเลี้ยงเนือง ๆ ฉันจะคอย

ทำงานที่เกิดขึ้นแก่เธอ ขออาศัยดำรงชีพอยู่เบื้องหลังเงาของ

เธอ ด้วยวิธีอย่างนี้เราทั้งสองคนก็จักเป็นสุข ท่านจงทำตาม

คำของเรา ภีมเสนตกลงรับคำ. จูฬธนุคคหบัณฑิตจึงพาเขาไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

พระนครพาราณสี กระทำตนเองเป็นผู้ปรนนิบัติ ยกเขาขึ้นหน้า

หยุดยืนที่ประตูพระราชฐาน ให้กราบทูลพระราชา ครั้นได้รับ

พระบรมราชานุญาตว่า พากันมาเถิดแล้ว ทั้งสองคนก็เข้าไป

ถวายบังคมพระราชาแล้วยืนอยู่ ครั้นมีพระราชดำรัสว่า เจ้า

ทั้งสองพากันมาทำไม ภีมเสนจึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์เป็น

นายขมังธนู ทั่วพื้นชมพูทวีป จะหานายขมังธนูที่ทัดเทียมกับ

ข้าพระองค์ไม่มีเลย. รับสั่งถามว่า ดูก่อนพนายเจ้าได้อะไรถึง

จักบำรุงเรา ? กราบทูลว่า เมื่อได้พระราชทรัพย์พันกระษาปณ์

ทุก ๆ กึ่งเดือน จึงจะขอเข้ารับราชการ พระเจ้าข้า. รับสั่งถามว่า

ก็บุรุษนี้เล่าเป็นอะไรของเจ้า ? กราบทูลว่า เป็นผู้ปรนนิบัติ

พระเจ้าข้า. รับสั่งว่า ดีละ จงบำรุงเราเถิด. จำเดิมแต่นั้น ภีมเสน

ก็เข้ารับราชการ แต่ราชกิจที่เกิดขึ้นแล้ว พระโพธิสัตว์จักทำ

แต่ผู้เดียว.

ก็โดยสมัยนั้น ที่แคว้นกาสี ณ ป่าแห่งหนึ่ง มีเสือร้าย

สะกัดทางสัญจรของพวกมนุษย์ จับเอาพวกมนุษย์ไปกิน

เสียเป็นอันมาก. ชาวเมืองพากันกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ-

ราชา. พระราชารับสั่งให้ภีมเสนเข้าเฝ้า ตรัสถามว่า พ่อคุณ

พ่ออาจจักจับเสือตัวนี้ได้ไหม ? ภีมเสนกราบทูลว่า ขอเดชะ

ข้าพระองค์ไม่อาจจับเสือได้ จะได้ชื่อว่า นายขมังธนูได้อย่างไร ?

พระราชาพระราชทานรางวัลแก่เขาแล้วทรงส่งไป เขาไปถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

เรือนบอกแก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดีแล้ว เพื่อน

ไปเถิด. ภีมเสน ถามว่า ก็ท่านเล่าไม่ไปหรือ ? พระโพธิสัตว์

ตอบว่า ฉันไม่ไปดอก แต่จักบอกอุบายให้ ภีมเสนกล่าวว่า

จงบอกเถิดเพื่อน. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่านอย่ารีบไปที่อยู่

ของเสือลำพังผู้เดียวเป็นอันขาด แต่ต้องประชุมชาวชนบท

เกณฑ์ให้ถือธนูไปสักพันหรือสองพัน แล้วไปที่เสืออยู่นั้น พอรู้

ว่าเสือมันลุกขึ้น ต้องรีบหนีเข้าพุ่มไม้พุ่มหนึ่ง นอนหมอบ ส่วน

พวกชนบทจะพากันรุมตีเสือจนจับได้ ครั้นพวกนั้นจับเสือได้แล้ว

ท่านต้องเอาฟันกัดเถาวัลย์เส้นหนึ่ง จับปลายเดินไปที่นั้น ถึงที่

ใกล้ ๆ เสือตายแล้วพึงกล่าวว่า พ่อคุณเอ๋ย ใครทำให้เสือตัวนี้

ตายเสียเล่า เราคิดว่า จักผูกเสือด้วยเถาวัลย์ เหมือนเขาผูกวัว

จูงไปสู่ราชสำนักให้จงได้ เข้าไปสู่พุ่มไม้เพื่อหาเถาวัลย์ เมื่อเรา

ยังไม่ทันได้นำเถาวัลย์มา ใครฆ่าเสือตัวนี้ให้ตายเสียเล่า เมื่อ

เป็นเช่นนี้ ชาวชนบทเหล่านั้นต้องสะดุ้งกลัว กล่าวว่า เจ้านาย

ขอรับ โปรดอย่ากราบทูลพระราชาเลย จักพากันให้ทรัพย์มาก

เสือก็จักเป็นอันแกคนเดียวจับได้ ทั้งยังจักได้ทรัพย์เป็นอันมาก

จากสำนักพระราชาอีกด้วย ภีมเสนรับคำว่า ดีจริง ๆ แล้วไปจับ

เสือ ตามแนวที่พระโพธิสัตว์แนะให้นั่นแหละ ทำป่าให้ปลอดภัย

แล้ว มีมหาชนห้อมล้อมมาสู่พระนครพาราณสี เข้าเฝ้าพระราชา

กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์จับเสือได้แล้ว ทำป่าให้ปลอดภัย

แล้ว พระราชาทรงยินดี พระราชทานทรัพย์ให้มากมาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

ครั้นต่อมาในวันรุ่งขึ้น พวกชาวเมืองพากันมากราบทูลว่า

กระบือดุ สะกัดทางแห่งหนึ่ง พระราชาก็ส่งภีมเสนไป โดยทำนอง

เดียวกัน เขาก็จับกระบือแม้นั้นมาได้ ด้วยคำแนะนำที่พระโพธิสัตว์

บอกให้ เหมือนกับตอนจับเสือฉะนั้น. พระราชาก็ได้พระราชทาน

ทรัพย์ให้เป็นอันมากอีก. เกิดมีอิสสริยยศใหญ่ยิ่ง เขาเริ่มมัวเมา

ด้วยความมัวเมาในความใหญ่โต กระทำการดูหมิ่นพระโพธิสัตว์

มิได้เชื่อถือถ้อยคำของพระโพธิสัตว์ กล่าวคำหยาบคายสามหาว

เป็นต้นว่า เราไม่ได้อาศัยท่านเลี้ยงชีพดอก ท่านคนเดียวเท่านั้น

หรือที่เป็นลูกผู้ชาย.

ครั้นอยู่ต่อมาไม่กี่วัน พระราชาประเทศใกล้เคียงพระองค์

หนึ่ง ยกทัพมาล้อมประชิดพระนครพาราณสีไว้ พลางส่งพระ-

ราชสาสน์ถวายพระราชาว่า พระองค์จักยอมถวายราชสมบัติ

แก่หม่อมฉัน หรือว่าจักรบ. พระราชาทรงส่งภีมเสนออกไปว่า

เจ้าจงออกรบ เขาสอดสวมเครื่องรบครบครัน ครองเพศเป็น

พระราชา นั่งเหนือหลังช้างอันผูกเครื่องเรียบร้อย. แม้พระโพธิสัตว์

ก็สอดสวมเครื่องรบพร้อมสรรพ นั่งกำกับมาท้ายที่นั่งของ

ภีมเสนนั่นเอง เพราะกลัวเขาจะตาย. พญาช้างห้อมล้อมด้วย

มหาชน เคลื่อนขบวนออกโดยประตูพระนคร ลุถึงสนามรบ

ภีมเสนพอได้ฟังเสียงกลองรบเท่านั้น ก็เริ่มสั่นสะท้าน พระ-

โพธิสัตว์คิดว่า น่ากลัวภีมเสนจักตกหลังช้างตายเสียในบัดดล

จึงเอาเชือกรัดภีมเสนเข้าไว้แน่น เพื่อไม่ให้ตกช้าง. ภีมเสน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

ครั้นเห็นสนามรบแล้วยิ่งกลัวตายเป็นกำลัง ถึงกับอุจจาระ

ปัสสาวะราดรดหลังช้าง. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ภีมเสนเอย

การกระทำในตอนหลัง ช่างไม่สมกับคำพูดครั้งก่อน ๆ ของท่าน

เสียเลย ครั้งก่อนดูท่านใหญ่โตราวกับผู้เจนสงคราม เดี๋ยวนี้สิ

ประทุษร้ายหลังช้างเสียแล้ว กล่าวคาถานี้ ใจความว่า :-

" ภีมเสนเอย ที่ท่านคุยโอ่ไว้แต่ก่อน แล้ว

ภายหลังกลับปล่อยอุจจาระไหลออกมา คำคุย

ถึงการรบ กับความกระสับกระส่ายของท่าน

ดูช่างไม่สมกันเลย " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยนฺเต ปวิกตฺถิต ปุเร ความว่า

คำใด คือคำที่ท่านโอ้อวดกล่าวคำข่มไว้แต่ก่อนว่า แกคนเดียว

หรือที่เป็นลูกผู้ชาย ข้าไม่ใช่ลูกผู้ชายหรือ แม้ถึงข้าก็เป็นทหาร

ชำนาญศึก ดังนี้ นี้เป็นคำก่อนหนึ่งละ.

บทว่า อถ เต ปูติสรา สช ความว่า ครั้นภายหลัง กระแส

มูตรและคูถ อันได้นามว่า กระแสเน่า เพราะมันเป็นของเน่าด้วย

เป็นของไหลได้ด้วย เหล่านี้นั้น ไหลเลอะเทอะออกมา.

บทว่า ปจฺฉา ได้แก่ในเวลาต่อมาจากที่คุยอวดไว้ก่อนนั้น

อธิบายว่า ในบัดนี้ คือที่ สนามรบนี้.

บทว่า อุภย น สเมติ ภีมเสน ความว่า ดูก่อนภีมเสน

คำทั้งสองนี้ ดูช่างไม่สมกันเลย.

คำไหนบ้าง ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

คือคำที่คุยโอ่ถึงการรบ กับความกระสับกระส่ายของ

ท่านนี้. มีอธิบายว่า ได้แก่คำที่กล่าวถึงการรบที่พูดไว้ครั้งก่อน

กับความกระสับกระส่าย ความลำบาก คือความคับแค้นถึงกับ

ปล่อยคูถและมูตรราดรดหลังช้างไม่สมกันเลย.

พระโพธิสัตว์ ตำหนิเขาอย่างนี้แล้ว ปลอบว่า อย่ากลัว

เลย เพื่อนเอ๋ย เมื่อเรายังอยู่ จะเดือดร้อนไปใย ดังนี้แล้ว ให้

ภีมเสนลงเสียจากหลังช้าง กล่าวว่า จงไปอาบน้ำเถิด ส่งกลับไป

ดำริว่า วันนี้เราควรแสดงตน แล้วไสช้างเข้าสู่สนามรบ บรรลือ

สีหนาท โจมตีกองพลแตก ให้ล้อมจับเป็นพระราชาผู้เป็นศัตรู

ไว้ได้ แล้วไปเฝ้าพระเจ้าพาราณสี. พระราชาทรงยินดี พระ-

ราชทานยศใหญ่ แก่พระโพธิสัตว์. จำเดิมแต่นั้นมา นามว่า

จูฬธนุคคหบัณฑิต ก็กระฉ่อนไปในชมพูทวีปทั้งสิ้น. พระโพธิสัตว์

ได้ให้บำเหน็จแก่ภีมเสนแล้วส่งกลับถิ่นฐานเดิม กระทำบุญ

มีให้ทานเป็นต้น แล้วก็ไปตามยถากรรม.

พระบรมศาสดา จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่

แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนี้คุยโอ้อวด แม้ในกาลก่อนก็ได้คุย

โอ้อวดแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว

ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า ภีมเสนในครั้งนั้นได้มาเป็น

ภิกษุผู้มักโอ้อวด ส่วนจูฬธนุคคหบัณฑิตได้มาเป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาภีมเสนชาดกที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วรุณชาดก ๒. สีลวนาคชาดก ๓. สัจจังกิรชาดก

๔. รุกขธรรมชาดก ๕. มัจฉชาดก ๖. อสังกิยชาดก ๗. มหา-

สุบินชาดก ๘. อิลลีสชาดก ๙. ขรัสสรชาดก ๑๐. ภีมเสนชาดก.

จบ วรุณวรรคที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

๙. อปายิมหวรรค

๑. สุราปานชาดก

[๘๑] "พวกกระผมได้พากันดื่ม ได้ชวนกัน

ฟ้อน พากันขับร้อง แล้วก็พากันร้องไห้ เพราะ

ดื่มสุราที่ทำให้สัญญาวิปริต เห็นดีแต่ที่มิได้

กลายเป็นลิงไปเสียเลย"

จบ สุราปานชาดกที่ ๑

อรรถกถาอปายิมหวรรคที่ ๙

อรรถกถาสุราปานชาดกที่ ๑

พระศาสดาทรงอาศัยพระนครโกสัมพี ประทับอยู่

ณ โฆสิตาราม ทรงปรารภพระสาคตเถระ ตรัสพระธรรมเทศนา

นี้ มีคำเริ่มต้นว่า อปายิมฺห อนจฺจิมฺห ดังนี้.

ความพิสดารว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจำพรรษา

ณ กรุงสาวัตถีแล้ว ได้เสด็จจาริกไป จนลุถึงนิคม ชื่อภัททวติกา

พวกคนเลี้ยงโค เลี้ยงสัตว์ ชาวนา และพวกเดินทาง เห็นพระ-

ศาสดาเสด็จมาแล้ว พากันถวายบังคม พลางกราบทูลห้ามว่า

ข้าแต่พระองค์เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า อย่าได้เสด็จไป

สู่ท่าอัมพะเลย พระเจ้าข้า นาคชื่ออัมพติฏฐกะ ที่อาศรมของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

ชฎิล ณ ท่าอัมพะ มีพิษร้าย จะเบียดเบียนพระองค์ได้. พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทำเป็นเหมือนไม่ทรงได้ยินถ้อยคำของคนเหล่านั้น

ถึงเมื่อพวกนั้น กราบทูลห้ามอยู่ถึง ๓ ครั้ง ก็คงเสด็จไปจนได้

เล่ากันว่า ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับ ณ ไพรสณฑ์

ตำบลหนึ่ง ไม่ห่างนิคมภัททวติกา ครั้งนั้นพระสาคตเถระเป็น

พุทธอุปัฏฐาก ประกอบด้วยฤทธิ์อันเป็นของปุถุชน เข้าไปใกล้

อาศรมนั้น ปูเครื่องลาดที่ทำด้วยหญ้า ณ ที่อยู่ของพญานาคนั้น

แล้วนั่งขัดสมาธิ นาคทนดูความลบหลู่มิได้ ก็บังหวลควัน. พระ-

เถระก็บังหวลควันบ้าง. นาคทำให้ไฟลุก. พระเถระก็ทำให้ไฟ

ลุกบ้าง เดชของนาคข่มพระเถระไม่ได้ เดชของพระเถระข่มนาค

ได้ ท่านกำหราบพระยานาคนั้นพักเดียว ก็ให้ดำรงในสรณะ ใน

ศีลได้แล้ว ได้ไปสู่สำนักของพระศาสดา ด้วยประการฉะนี้. ฝ่าย

พระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ นิคม ภัททวติกา ตามพระพุทธ-

อัธยาศัยแล้ว ได้เสด็จไปสู่พระนครโกสัมพี เรื่องราวที่พระสาคต-

เถระกำหราบนาค แผ่ไปทั่วชนบท.

ฝูงชนชาวพระนครโกสัมพี กระทำการต้อนรับพระศาสดา

พากันถวายบังคมพระองค์แล้ว ก็เลยไปสำนักพระสาคตเถระ

ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง พากันกล่าวอย่างนี้ว่า " ข้าแต่

พระคุณเจ้าผู้เจริญ สิ่งใดที่พระคุณเจ้าได้ด้วยยาก นิมนต์บอก

สิ่งนั้น พวกกระผมจะจัดถวายสิ่งนั้นจงได้. พระเถระก็นิ่งเสีย

แต่ภิกษุฉัพพัคคีย์ พากันพูดว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย สุราสีแดงดังสี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

เท้านกพิราบ พวกบรรพชิตหาได้ยากนัก และก็เป็นของชอบใจ

ด้วย ถ้าพวกท่านเลื่อมใสพระเถระ ละก็จัดสุราสีแดงดังสีเท้า

นกพิราบมาถวายเถิด. พวกนั้นก็รับคำว่า ดีละ เจ้าข้า พากัน

กราบทูลพระศาสดา เพื่อทรงฉันในวันพรุ่งแล้ว พากันเข้าสู่

พระนคร ต่างคนต่างจัดเตรียมสุราใส ที่มีสีแดงดังสีเท้านกพิราบ

ไว้ที่เรือนของตน ๆ ด้วยหวังว่า จักถวายแด่พระเถระ นิมนต์

พระเถระไปแล้ว พากันถวายสุราใสทุก ๆ เรือน พระเถระดื่ม

แล้ว เมาสุราเดินออกจากพระนคร ล้มลงที่ระหว่างประตู นอน

บ่นพร่ำไป พระศาสดาทรงกระทำภัตรกิจแล้ว เมื่อเสด็จออกจาก

พระนคร ทอดพระเนตรเห็นพระเถระนอนด้วยท่าทางนั้น มี

พระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงช่วยประคอง

พระสาคตะไป ให้พวกภิกษุประคองไปสู่พระอาราม พวกภิกษุ

วางศีรษะของพระเถระ ณ บาทมูลของพระตถาคต แล้วให้ท่าน

นอน. ท่านพระสาคตะกลับนอนเหยียดเท้าไปเฉพาะพระพักตร์

พระตถาคต. พระศาสดาตรัสสอบถามพวกภิกษุว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ความเคารพในเราตถาคต ที่สาคตะเคยมีในก่อนนั้น

บัดนี้ยังมีอยู่หรือไร ? พวกภิกษุพากันกราบทูลว่า ไม่มีพระเจ้าข้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรเล่ากำหราบพญานาคชื่อ

อัมพติฏฐกะ พวกภิกษุกราบทูลว่า พระสาคตเถระพระเจ้าข้า

ตรัสถามว่า ก็บัดนี้ สาคตะยังจะอาจเพื่อกำหราบงูปลา

ได้หรือ ? กราบทูลว่า เรื่องนั้นไม่ได้แน่นอน พระเจ้าข้า. ตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดื่มสิ่งใดแล้ว ปราศจากความจำได้หมายรู้

อย่างนี้ สิ่งนั้นควรที่ภิกษุจะดื่มถึงเพียงนี้หรือไม่เล่า ? กราบทูล

ว่า ไม่ควรเลยพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิพระเถระ

แล้ว ทรงเรียกพวกภิกษุมา ทรงบัญญัติสิกขาบทว่า เป็นปาจิตตีย์

ในเพราะดื่มสุราเมรัย แล้วเสด็จจากอาสน์เข้าพระคันธกุฎี

ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในธรรมสภา พูดถึงโทษของการดื่ม

สุราว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า การดื่มสุรามีโทษใหญ่หลวง

ถึงกับกระทำให้พระสาคตะผู้ได้นามว่า สมบูรณ์ด้วยปัญญา มีฤทธิ์

ไม่รู้แม้แต่คุณของพระศาสดา จึงได้กระทำอย่างนั้น. พระศาสดา

เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุม

สนทนากันด้วยเรื่องอะไรเล่า ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้

ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกบรรพชิตดื่ม

สุราแล้ว พากันสลบไสล มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน

ก็ได้เป็นแล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์

ในแคว้นกาสี เจริญวัยแล้วบวชเป็นฤาษี ได้อภิญญาและสมาบัติ

ประลองฌาน พำนักอยู่ในหิมวันตประเทศ แวดล้อมด้วยอันเตวาสิก

ประมาณ ๕๐๐ ครั้นถึงฤดูฝน พวกอันเตวาสิก พากันเรียนท่าน

ว่า ท่านอาจารย์ขอรับ พวกเราพากันไปแดนมนุษย์ บริโภคของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

เปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ แล้วค่อยมากันเถิด. ฤๅษีพระโพธิสัตว์กล่าวว่า

อาวุโส เราจะคอยอยู่ในที่นี้แหละ พวกเธอพากันไป บำรุงร่างกาย

จนฤดูฝนผ่านไป แล้วจึงพากันกลับมาเถิด. อันเตวาสิกเหล่านั้น

รับคำว่า ดีแล้วขอรับ พากันกราบลาอาจารย์ไปสู่พระนคร-

พาราณสี พักอยู่ในพระราชอุทยาน ครั้นวันรุ่งขึ้นก็พากันไป

เที่ยวภิกษาจารในบ้านภายนอกประตูพระนคร ได้รับความ

เกื้อกูลอย่างดี รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง จึงพากันเข้าไปสู่พระนคร

พวกมนุษย์พากันชื่นชมถวายภิกษา ล่วงมา ๒-๓ วัน ก็พากัน

กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ฤาษี ๕๐๐ รูป พากันมาจาก

ป่าหิมพานต์ พักอยู่ในพระราชอุทยาน มีตบะกล้า มีอินทรีย์อัน

ชนะแล้วอย่างเยี่ยม มีศีล พระราชทรงสดับคุณของฤๅษีเหล่านั้น

เสด็จสู่อุทยาน ทรงนมัสการแล้วกระทำการปฏิสันถาร ผะเดียง

ให้อยู่ในพระอุทยานนั้นแหละตลอด ๔ เดือนฤดูฝน. นับแต่นั้น

ฤๅษีเหล่านั้น ก็พากันฉันในพระราชวังแห่งเดียว พำนักอยู่ ณ

พระราชอุทยาน.

อยู่มาวันหนึ่ง ในพระนครได้มีงานนักขัตฤกษ์ ชื่อว่า

สุรานักษัตร์. พระราชาทรงพระดำริว่า สุรา พวกบรรพชิต

หาได้ยาก จึงรับสั่งให้ถวายสุราอย่างดี เป็นอันมาก พวกดาบส

ดื่มสุราแล้ว พากันกลับไปอุทยาน ต่างก็เมาสุรา บางพวก

ลุกขึ้นฟ้อนรำ บางพวกขับร้อง ครั้นฟ้อนรำขับร้องแล้ว ก็พากัน

นอนหลับทับบริขาร มีไม้คานเป็นต้น พอสร่างเมา พากันตื่น เห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

อาการอันวิปริตของตนนั้น ต่างก็ร้องไห้คร่ำครวญว่า พวกเรา

มิได้กระทำการอันสมควรแก่บรรพชิตเลย กล่าวกันว่า พวกเรา

จากท่านอาจารย์มา พากันกระทำกรรมอันเลวถึงเพียงนี้ ทันใด

นั้นเอง ก็พากันทิ้งอุทยานกลับไปป่าหิมพานต์ เก็บบริขารไว้

เรียบร้อยแล้ว พากันไหว้อาจารย์นั่งอยู่แล้ว อันท่านอาจารย์

ถามว่า พ่อคุณทั้งหลาย พวกท่านมิได้ลำบากด้วยภิกษา พากัน

อยู่สบายในถิ่นของมนุษย์หรือไฉน อนึ่งพวกเธอยังจะอยู่กันด้วย

ความสมัครสมานสามัคคีอยู่หรือ พากันกราบเรียนว่า ท่าน

อาจารย์ขอรับ พวกกระผมอยู่กันอย่างสบาย ก็แต่ว่า พวกผม

พากันดื่มในสิ่งไม่ควรดื่ม สลบไสลไปตาม ๆ กัน ไม่อาจดำรง

สติได้ พากันขับร้องฟ้อนรำตามเรื่อง เมื่อแจ้งเรื่องนั้นแล้ว

ก็พากันยกคาถานี้เรียนอาจารย์ว่า :-

" พวกกระผมได้พากันดื่ม ได้ชวนกัน

ฟ้อน พากันขับร้อง แล้วก็พากันร้องไห้ เพราะ

ดื่มสุราที่ทำให้สัญญาวิปริต เห็นดีแต่ที่มิได้

กลายเป็นลิงไปเสียเลย " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปายิมฺห แปลว่า พวกกระผม

พากันดื่มสุรา.

บทว่า อนจฺจิมฺห ความว่า ครั้นดื่มสุราแล้ว ก็คะนองมือ

คะนองเท้า พากันฟ้อนรำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

บทว่า อคายิมฺหิ ความว่า เปิดปากร้องเพลงด้วยเสียง

อันยืดยาว.

บทว่า รุทิมฺห จ ความว่า กลับมีวิปฏิสาร พากันร้องไห้ว่า

พวกเราทำกรรมไม่สมควรเห็นปานนี้.

บทว่า ทิฏฺา นาหุมฺห วานรา ความว่า เหตุเพราะดื่มสุรา

ที่ชื่อว่า กระทำให้สัญญาวิปริต เพราะทำลายสัญญาเสียได้ถึง

เพียงนี้ ข้อนั้นยังดี ที่พวกข้าพเจ้าไม่กลายเป็นลิงไปเสียหมด.

พวกอันเตวาสิกเหล่านั้น พากันกล่าวโทษของตน ด้วยประการ

ฉะนี้.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า นรชนที่เหินห่างจาก

การอยู่ร่วมกับครู ย่อมเป็นเช่นนี้ได้ทั้งนั้น ตำหนิดาบสเหล่านั้น

แล้วให้โอวาทว่า พวกท่านอย่ากระทำกรรมเห็นปานนี้ต่อไปอีก

มีฌานไม่เสื่อม ได้ไปบังเกิดในพรหมโลกแล้ว.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า คณะฤๅษีในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนศาสดา

ของคณะ ได้มาเป็นเราตถาคต ขอประกาศว่า นับแต่เรื่องนี้ไป

จะไม่กล่าวถึงบทว่า อนุสนฺธึ ฆเฏตฺวา นี้อีกต่อไป.

จบ อรรถกถาสุราปานชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

๒. มิตตวินทกชาดก

ว่าด้วยจักรบดศีรษะ

[๘๒] "ท่านเลยปราสาทแก้วผลึก ปราสาทเงิน

และปราสาทแก้วมณีมาแล้ว มาถูกจักรกรด

สำเร็จด้วยหินพัดผันอยู่ ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่

ก็จักไม่พ้นจากจักรกรดตราบนั้น"

จบ มิตตวินทกชาดกที่ ๒

อรรถกถามิตตวินทกชาดกที่ ๒

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า อติกฺกมฺม รมณก ดังนี้.

ก็เรื่องของชาดกนี้ เป็นเรื่องเกิดขึ้นครั้งศาสนาของ

พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า จักแจ่มแจ้งในมหามิตตวินทกชาดก

หลักนิบาต ก็ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้ ความว่า

" ท่านเลยปราสาทแก้วผลึก ปราสาทเงิน

และปราสาทแก้วมณี มาแล้ว มาถูกจักรกรด

สำเร็จด้วยหินพัดผันอยู่ ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่

ก็จักไม่พ้นจากจักรกรดตราบนั้น " ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รมณก เป็นชื่อของแก้วผลึก

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์แสดงว่า เจ้านั้นสิผ่านพ้นปราสาทแก้ว-

ผลึกไปเสียแล้ว.

บทว่า สทามตฺตญฺจ เป็นชื่อของเงิน. พระโพธิสัตว์แสดงว่า

เจ้านั้นสิผ่านปราสาทเงินไปเสียแล้ว.

บทว่า ทูภก เป็นชื่อของแก้วมณี พระโพธิสัตว์แสดงว่า

เจ้านั้นสิผ่านปราสาทแก้วมณีไปเสียแล้ว.

บทว่า สฺวาสิ ตัดบทเป็น โส อสิ แปลว่า เจ้านั้นสิ.

บทว่า ปาสาณมาสีโน ความว่า ที่ชื่อว่า จักกรดนั้น สำเร็จ

ด้วยหินก็มี สำเร็จด้วยแก้วมณีก็มี แต่จักรกรดอันที่เจ้าถูกมัน

ขยี้บดทับนั้น สำเร็จด้วยหิน เพราะเหตุที่มาต้องจักรกรดสำเร็จ

ด้วยหิน เมื่อควรจะกล่าวว่า ปาสาณาสีโน กลับกล่าวว่า ปาสาณ-

มาสีโน โดยถือเอา ม อักษร ด้วยอำนาจพยัญชนะสนธิ มีอธิบาย

ไว้อีกนัยหนึ่งว่า ทูลหัวจักรกรดหิน คือมาถูกจักรกรดนั้นพัดผัน

ยืนอยู่.

บทว่า ยสฺมา ชีว น โมกฺขสิ ความว่า ทั้ง ๆ ที่ยังเป็น ๆ

อยู่นั้นแหละ จักไม่พ้นไปจากจักรกรดได้ ต้องทูนมันไว้ จนกว่า

บาปกรรมของเจ้าจะสิ้นไป.

พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้แล้ว เสด็จไปสู่เทวสถานแห่ง

ตนทันที ฝ่ายมิตตวินทุกะเล่า ก็ทูลจักรกรดไว้ เสวยทุกข์อย่าง

มหันต์ ครั้นบาปกรรมหมดไป ก็ไปตามยถากรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า มิตตวินทกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุว่ายากในครั้งนี้

ส่วนท้าวเทวราช ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามิตตวินทกชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

๓. กาฬกัณณิชาดก

ว่าด้วยมิตรแท้

[๘๓] " บุคคลชื่อว่าเป็นมิตรด้วยการเดินร่วมกัน

๗ ก้าว ชื่อว่าเป็นสหายด้วยการเดินร่วมกัน ๑๒

ก้าว และชื่อว่าเป็นญาติด้วยการอยู่ร่วมกันเดือน

หนึ่ง หรือกึ่งเดือน ส่วนผู้ที่ชื่อว่ามีตนเสมอกัน

ก็ด้วยการอยู่ร่วมกันยิ่งกว่านั้น เราจะละทิ้งมิตร

ชื่อว่า กาฬกรรณี ผู้ชอบพอกันมานาน เพราะ

ความสุขส่วนตัวได้อย่างไร " ?

จบ กาฬกัณณิชาดกที่ ๓

อรรถกถากาฬกัณณิชาดกที่ ๓

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภมิตรของท่านอนาถบิณฑิกะผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า มิตฺโต หเว สตฺตปเทน โหติ. ดังนี้.

ได้ยินว่า มิตรผู้นั้นได้เคยเป็นสหายร่วมเล่นฝุ่นมากับ

ท่านอนาถบิณฑิกะ ทั้งเรียนศิลปะในสำนักอาจารย์เดียวกัน

โดยนามมีชื่อว่า กาฬกรรณี. กาฬกรรณีนั้น เมื่อกาลล่วงผ่านไป

ก็เป็นผู้ตกยาก ไม่อาจเลี้ยงชีวิตได้ จึงไปยังสำนักของท่านเศรษฐี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

ท่านเศรษฐีก็ปลอบสหาย ให้เสบียงแล้วมอบสมบัติของตนแบ่ง

ให้ไป เขาเป็นผู้ทำอุปการะแก่ท่านเศรษฐี ทำกิจการทุกอย่าง

เวลาที่เขามาสู่สำนักท่านเศรษฐี คนทั้งหลายพากันกล่าวว่า

หยุดเถิด กาฬกรรณี นั่งเถิดกาฬกรรณี กินเถิดกาฬกรรณี.

อยู่มาวันหนึ่ง หมู่มิตร และอำมาตย์ของท่านเศรษฐี พากันเข้าไป

หาท่านเศรษฐี แล้วพูดอย่างนี้ว่า อย่าเลี้ยงเขาไว้ใกล้ชิดอย่างนี้

เลย ท่านมหาเศรษฐี เพราะแม้ยักษ์เองก็ยังต้องหนีด้วยเสียงนี้ว่า

หยุดเถิด กาฬกรรณี นั่งเถิดกาฬกรรณี กินเถิดกาฬกรรณี

เขาเองก็มิได้เสมอกับท่าน ตกยาก เข็ญใจ ท่านจะเลี้ยงคน ๆ นี้

ไว้ทำไม ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กล่าวว่า ธรรมดาว่าชื่อเป็น

คำเรียกร้อง หมู่บัณฑิตมิได้ถือชื่อเป็นประมาณ ไม่ควรจะเป็น

คนประเภทที่ชื่อว่า " สุตมังคลิกะ " (ถือมงคลจากเสียงที่ได้ยิน)

เราไม่อาจอาศัยเหตุเพียงแต่ชื่อ แล้วทอดทิ้งเพื่อนผู้เล่นฝุ่นมา

ด้วยกัน ดังนี้แล้ว มิได้ยึดถือถ้อยคำของพวกนั้น วันหนึ่งเมื่อจะไป

บ้านส่วยของตน ได้ตั้งเขาเป็นผู้รักษาเคหะสถาน.

พวกโจรคบคิดกันว่า ได้ข่าวว่าเศรษฐีไปบ้านส่วย พวก

เราระดมกันปล้นบ้านของเขาเถิด พากันถืออาวุธต่าง ๆ มาใน

เวลากลางคืน ล้อมเรือนไว้. ฝ่ายกาฬกรรณี ระแวงการมาของ

พวกโจรอยู่ จึงนั่งเฝ้าไม่ยอมหลับนอนเลย ครั้นรู้ว่า พวกโจร

พากันมา เพื่อจะปลุกพวกมนุษย์ จึงตะโกนว่า เจ้าจงเป่าสังข์

เจ้าจงตีกลอง ดังนี้แล้ว ทำให้เป็นเหมือนมีมหรสพโรงใหญ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

กระทำนิเวศน์ทั้งสิ้นให้มีเสียงสนั่นครื้นเครงตลอดไป พวกโจร

พากันพูดว่า ข่าวที่ว่า เรือนว่างเปล่า พวกเราฟังมาเหลว ๆ

ท่านเศรษฐียังคงอยู่ แล้วต่างทิ้งก้อนหิน และไม้พลองเป็นต้น

ไว้ตรงนั้นเอง หนีไปหมด. รุ่งขึ้นพวกมนุษย์ เห็นก้อนหินและ

ไม้พลองเป็นต้น ที่พวกโจรทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ ต่างสลดใจไปตาม ๆ

กัน พูดกันว่า ถ้าวันนี้ไม่มีคนตรวจเรือน ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้

ขนาดนี้แล้ว พวกโจรจักพากันเข้าได้ตามความพอใจ ปล้นเรือน

ได้หมดเป็นแน่ เพราะอาศัยมิตรผู้มั่นคงผู้นี้ ความจำเริญจึงเกิด

แก่ท่านเศรษฐี ต่างพากันสรรเสริญกาฬกรรณีนั้น เวลาที่

เศรษฐีมาจากบ้านส่วย ก็พากันบอกเรื่องราวนั้นให้ทราบทุก

ประการ. ครั้งนั้นท่านเศรษฐีได้พูดกับคนเหล่านั้นว่า พวกเธอ

บอกให้เราไล่มิตรผู้รักษาเรือนอย่างนี้ไปเสีย ถ้าเราไล่เขาไป

ตามถ้อยคำของพวกเธอเสียแล้ว วันนี้ทรัพย์สินของเราจักไม่มี

เหลือเลย ธรรมดาว่า ชื่อไม่เป็นประมาณดอก จิตที่คิดเกื้อกูล

เท่านั้นเป็นประมาณ ดังนี้แล้วให้ทรัพย์เป็นทุนแก่เขายิ่ง ๆ ขึ้นไป

ดำริว่า บัดนี้ เรามีเรื่องที่จะเริ่มเป็นหัวข้อกราบทูลได้แล้ว ไปสู่

สำนักพระศาสดา กราบทูลเรื่องราวนั้นแต่ต้น แด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี มิใช่แต่ในบัดนี้

เท่านั้น ที่มิตรชื่อว่า กาฬกรรณี รักษาทรัพย์สินในเรือนแห่ง

มิตรของตนไว้ แม้ในครั้งก่อนก็รักษาแล้วเหมือนกัน ท่านเศรษฐี

กราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นเศรษฐี. มียศยิ่งใหญ่. ท่าน

เศรษฐีได้มีมิตรชื่อ กาฬกรรณี เรื่องราวทั้งหมดก็เหมือนกับ

เรื่องปัจจุบันนั่นแหละ. พระโพธิสัตว์มาจากบ้านส่วยแล้วฟัง

เรื่องนั้นแล้ว กล่าวว่า ถ้าเราไล่มิตรเช่นนี้ออกไปเสียตามคำ

ของพวกท่านแล้ว วันนี้ทรัพย์สมบัติของเราจักไม่มีอะไรเหลือ

เลย แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

" บุคคลชื่อว่าเป็นมิตรด้วยการเดินร่วม

กัน ๗ ก้าว ชื่อว่าเป็นสหายด้วยการเดินร่วมกัน

๑๒ ก้าว และชื่อว่าเป็นญาติ ด้วยการอยู่ร่วมกัน

เดือนหนึ่งหรือกึ่งเดือน ส่วนผู้ชื่อว่ามีตนเสนอ

กัน ก็ด้วยการอยู่ร่วมกันยิ่งกว่านั้น เราจะละทิ้ง

มิตรชื่อว่า กาฬกรรณี ผู้ชอบพอกันมานาน

เพราะความสุขส่วนตัวได้อย่างไร ? " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หเว เป็นเพียงนิบาต. ที่ชื่อว่า

มิตร เพราะอรรถว่าประพฤติไมตรี อธิบายว่า เข้าไปตั้งไว้

เฉพาะซึ่งไมตรีจิต กระทำความสนิทสนม ก็มิตรนั้นเป็นกันได้

ด้วย ๗ ก้าวย่าง อธิบายว่า เป็นกันได้ด้วยเหตุเพียงเดินทาง

ร่วมกัน ๗ ย่างก้าว.

บทว่า สทาโย ปน ทฺวาทสเกน โหติ ความว่า ที่ชื่อว่า

สหาย เพราะอรรถว่า ไปร่วมกันในอิริยาบถทั้งปวง ด้วยอำนาจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 287

แห่งการทำกิจทุก ๆ อย่างร่วมกัน อธิบายว่า ก็แลสหายนั้น

เป็นกันได้ด้วยเพียงย่างเท้าไป ๑๒ ก้าว.

บทว่า มาสฑฺฒมมาเสน ความว่า (อยู่ร่วมกัน) เดือนหนึ่ง

หรือกึ่งเดือน.

บทว่า าติ โหติ ความว่า ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เสมอญาติ.

บทว่า ตตุตฺตรึ ความว่า ด้วยการอยู่ร่วมกันยิ่งกว่านั้น

ย่อมถือว่าเป็นผู้เสมอตนได้ทีเดียว.

บทว่า ชเหยฺย ความว่า เราจะทิ้งสหายผู้เช่นนี้ได้อย่างไร

เล่า ? พระโพธิสัตว์กล่าวถึงคุณของมิตรนั่นแล ด้วยประการ

ฉะนี้. ตั้งแต่นั้นมา ก็มิได้มีใคร ๆ ที่จะได้ชื่อว่า กล่าวละลาบ

ละล้วง กาฬกรรณีนั้นอีกเลย.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า กาฬกรรณีในครั้งนั้น ได้มาเป็นอานนท์ในครั้งนี้

ส่วนพาราณสีเศรษฐี ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากาฬกัณณิชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 288

๔. อัตถัสสทวารชาดก

ว่าด้วยคุณธรรมแห่งประโยชน์ ๖ ประการ

[๘๔] "บุคคลควรปรารถนาลาภอย่างยิ่ง คือ

ความไม่มีโรค ๑ ศีล ๑ ความคล้อยตามผู้รู้ ๑

การสดับตรับฟัง ๑ ความประพฤติตามธรรม ๑

ความไม่ท้อถอย ๑ คุณธรรม ๖ ประการนี้

เป็นประตูด่านแรกแห่งประโยชน์"

จบ อัตถัสสทวารชาดกที่ ๔

อรรถกถาอัตถัสสทวารชาดกที่ ๔

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์คนหนึ่ง ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อาโรคฺยมิจฺเฉ ปรมญฺจ ลาภ ดังนี้.

มีเรื่องย่อ ๆ ว่า ในพระนครสาวัตถี บุตรของท่านเศรษฐี

ผู้มีสมบัติมากคนหนึ่ง เกิดมาได้ ๗ ขวบ เป็นผู้มีปัญญาฉลาด

ในประโยชน์. วันหนึ่งเขาเข้าไปหาท่านบิดา ถามถึงเรื่องที่ชื่อว่า

ปัญหาอันเป็นประตูแห่งประโยชน์ ท่านเศรษฐีผู้บิดาไม่ทราบ

ปัญหานั้น จึงได้เกิดปริวิตกว่า ปัญหานี้สุขุมยิ่งนัก เว้นพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าเสียแล้ว ผู้อื่นในโลกสันนิวาส ที่กำหนดด้วยภวัคคพรหม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 289

เป็นส่วนสุดเบื้องบน และด้วยอเวจี เป็นส่วนสุดเบื้องต่ำ ที่ชื่อว่า

สามารถเพื่อจะแก้ปัญหานี้ได้ ไม่มีเลย. ท่านจึงพาบุตรให้ถือ

ดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นอันมาก ไปสู่พระเชตวันวิหาร

บูชาพระศาสดาแล้วถวายบังคม นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง กราบทูล

ความข้อนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เด็ก

นี้มีปัญญาฉลาดในประโยชน์ ถามปัญหาประตูแห่งประโยชน์กะ

ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ไม่ทราบปัญหานั้น จึงมาสู่สำนักของ

พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตัวข้าพระองค์ขอโอกาส ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดกล่าวแก้ปัญหานั้นเถิด พระเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก แม้ในกาลก่อน เราก็ถูกเด็กนี้

ถามปัญหานั้นแล้ว และเราก็กล่าวแก้ปัญหานั้นกะเขาแล้ว ใน

ครั้งนั้นเด็กนี้รู้ปัญหานั้น แต่บัดนี้เขากำหนดไม่ได้ เพราะถือ

ความสิ้นไปแห่งภพ (ติดต่อกัน) ท่านเศรษฐีกราบทูลอาราธนา

ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเศรษฐีมีสมบัติ

มาก ครั้งนั้นบุตรของท่านเกิดมาได้ ๗ ขวบ เป็นผู้มีปัญญา

ฉลาดในประโยชน์ วันหนึ่งเข้าไปหาบิดา ถามปัญหาเรื่องประตู

ประโยชน์ว่า ข้าแต่ท่านบิดา อะไรชื่อว่าประตูแห่งประโยชน์

ครั้งนั้นบิดาของเขา เมื่อจะกล่าวแก้ปัญหานั้น กล่าวคาถานี้

ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 290

"บุคคลควรปรารถนาลาภอย่างยิ่ง คือ

ความไม่มีโรค ๑ ศีล ๑ ความคล้อยตามผู้รู้ ๑

การสดับตรับฟัง ๑ ความประพฤติตามธรรม ๑

ความไม่ท้อถอย ๑ คุณธรรม ๖ ประการนี้ เป็น

ประตูด่านแรกแห่งประโยชน์" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น อักษรในบทว่า อาโรคฺยมิจฺเฉ

ปรมญฺจ ลาภ เป็นเพียงนิบาต. พระโพธิสัตว์เมื่อจะแสดงความนี้

ว่า พ่อคุณ ก่อนอื่นทีเดียว พึงปรารถนาลาภยอดเยี่ยม กล่าวคือ

ความไม่มีโรค จึงกล่าวอย่างนี้.

ที่ชื่อว่าความเป็นผู้ไม่มีโรค ในบาทคาถาว่า อาโรคฺยมิจฺเฉ

ปรมญฺจ ลาภ นั้น. ได้แก่อาการที่ไม่มีสภาวะเสียดแทง ไม่มี

อาการกระวนกระวายแห่งร่างกาย และจิตใจ. เพราะว่าเมื่อ

ร่างกายยังถูกเสียดแทง กระวนกระวายอยู่ บุคคลย่อมไม่สามารถ

จะยังลาภที่ยังไม่ได้ให้เกิดขึ้น ที่ได้ไว้แล้วก็ไม่อาจที่จะใช้สอย

แต่เมื่อไม่กระวนกระวาย ย่อมสามารถบันดาลให้เกิดได้ทั้งสอง

สถาน อนึ่ง เมื่อจิตใจเดือดร้อนเพราะอุปกิเลสอยู่ คนก็ไม่อาจ

เหมือนกับที่จะก่อลาภ คือคุณพิเศษ มีฌานเป็นต้น ที่ยังไม่เกิด

ให้เกิดขึ้น ที่ได้ไว้แล้ว ก็อาจจะชมเชยด้วยสามารถแห่งสมาบัติ

อีกได้ เมื่อโรคนี้ยังมีอยู่ แม้ลาภที่ยังไม่ได้ก็เป็นอันไม่ได้ แม้ที่ได้

แล้วก็ไร้ประโยชน์ แต่เมื่อโรคนี้ไม่มี แม้ลาภที่ยังไม่ได้ ก็จะต้อง

ได้แม้ที่ได้แล้วก็ย่อมอำนวยประโยชน์ เหตุนั้นความไม่มีโรค จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 291

ชื่อว่าเป็นลาภอย่างยิ่ง จำต้องปรารถนาความไม่มีโรคนั้น ก่อนอื่น

ทั้งหมดนี้เป็นประตูเอกแห่งประโยชน์ ทั้งหมดนี้เป็นอรรถาธิบาย

ในข้อนั้น

บทว่า สีลญฺจ ได้แก่อาจารศีล คือระเบียบในส่วนที่เป็น

มารยาท. พระโพธิสัตว์แสดงถึงจารีตของชาวโลก ด้วยบทนี้.

บทว่า พุทฺธานุมต ได้แก่ความคล้อยตามบัณฑิตผู้เจริญ

ด้วยคุณทั้งหลาย พระโพธิสัตว์แสดงโอวาทของครูทั้งหลาย ผู้

สมบูรณ์ด้วยความรู้ ด้วยบทนี้.

บทว่า สุตญฺจ คือการฟังที่อิงเหตุ พระโพธิสัตว์แสดง

พาหุสัจจะ ความเป็นผู้คงแก่เรียน อันอาศัยในในโลกนี้ ด้วยบทนี้.

บทว่า ธมฺมานุวตฺตี จ ได้แก่ การคล้อยตามสุจริตธรรม

มีอย่าง ๓. พระโพธิสัตว์แสดงการเว้นทุจริตธรรม แล้วประพฤติ

สุจริตธรรม ด้วยบทนี้.

บทว่า อลีนตา จ ได้แก่ความที่จิตไม่หดหู่ไม่ตกต่ำ. พระ-

โพธิสัตว์แสดงความที่จิตเป็นสภาพประณีต และเป็นสภาพสูงยิ่ง

อย่างไม่เสื่อมคลายด้วยบทนี้.

บทว่า อตฺถสฺส ทฺวารา ปมุขา ฉเฬเต ความว่า ความ

เจริญชื่อว่าประโยชน์ ธรรมทั้ง ๖ ประการเหล่านี้ เป็นประตู

๑. ปาฐะว่า อตฺโถ นาม วุฑฺฒิสงฺขาตสฺส ฯลฯ ฉบับพม่าเป็น อตฺโถ นาม วุฑฺฒิ,

วุฑฺฒิสงฺขาตสฺส - แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 292

เป็นอุบาย คือเป็นทางบรรลุด่านแรกคือสูงสุด แห่งประโยชน์

ทั้งที่เป็นโลกิยะ ทั้งที่เป็นโลกุตตระ กล่าวคือความเจริญ.

พระโพธิสัตว์กล่าวแก้ปัญหาประตูแห่งประโยชน์แก่บุตร

ด้วยประการฉะนี้. ตั้งแต่นั้นมา เขาก็ประพฤติในธรรม ๖ ประการ

นั้น. พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น แล้วก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ประชุมชาดก

ว่า บุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นบุตรคนปัจจุบัน ส่วนมหาเศรษฐี

ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอัตถัสสทวารชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 293

๕. กิมปักกชาดก

ว่าด้วยโทษของกาม

[๘๕] " ผู้ใดไม่รู้โทษในอนาคต มัวเสพกามอยู่

ผลที่สุดกามเหล่านั้น ก็จะกำจัดบุคคลนั้นเสีย

เหมือนผลกิมปักกะ กำจัดผู้กินให้ถึงตาย ฉะนั้น "

จบ กิมปักกชาดกที่ ๕

อรรถกถากิมปักกชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้กระพันแล้วรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า อายตึ โทส นาฺาย ดังนี้.

ได้ยินว่ากุลบุตรผู้หนึ่ง บวชถวายชีวิตในพระพุทธศาสนา

วันหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เห็นหญิงนางหนึ่ง

แต่งกายหมดจดงดงาม เกิดกระสัน ครั้งนั้นอาจารย์แลอุปัชฌาย์

พาเธอมายังสำนักของพระบรมคาสดา. พระบรมศาสดาตรัส

ถามว่า ดูก่อนภิกษุ จริงหรือที่ว่าเธอกระสัน เมื่อเธอกราบทูลว่า

จริงพระเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่า เบ็ญจกามคุณ

เหล่านี้ น่ารื่นรมย์ในเวลาบริโภค ขึ้นชื่อว่าการบริโภคเบ็ญจกามคุณ

เหล่านั้น ย่อมเปรียบได้กับการบริโภค ผลกิมปักกะ (ผลไม้มีพิษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 294

ชนิดหนึ่ง ลูกเท่าผลมะม่วง) เพราะเป็นตัวให้เกิดปฏิสนธิในนรก

เป็นต้น ที่ได้ชื่อว่า ผลกิมปักกะ สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส

แต่กินเข้าไปแล้ว กัดไส้ ทำไห้ถึงสิ้นชีวิต ในครั้งก่อนคนเป็น

อันมาก ไม่เห็นโทษของมัน ติดใจในสี กลิ่นและรส ต่างบริโภค

ผลนั้น พากันถึงสิ้นชีวิต อันภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูล

อาราธนา ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ อยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นนายกองเกวียน คุมกองเกวียน

๕๐๐ เล่ม เดินทางไปสู่ชายแดนไกล ๆ ถึงปากดง เรียกประชุม

คนทั้งหลายตักเตือนว่า ในดงนี้มีต้นไม้ที่ชื่อต้นไม้มีพิษ ไม่ถาม

เราก่อนแล้ว อย่ากินผลาผลที่ไม่เคยกินมาก่อนเป็นอันขาด

ฝูงชนเดินทางล่วงเข้าสู่ดง ได้เห็นต้นกิมปักกะ (ต้นไม้มีผลเป็นพิษ

ชนิดหนึ่ง ลูกเท่าผลมะม่วง) ต้นหนึ่ง มีกิ่งโน้มลงเพราะหนักผล

ลำต้น กิ่ง และใบของมัน คล้ายกับต้นมะม่วง ทั้งสัณฐาน สี

กลิ่นและรส พากันกินผลไม้ ด้วยสำคัญว่าผลมะม่วง บางพวก

ก็ว่า ต้องถามนายกองเกวียนก่อนแล้วจึงจักกิน ถือยืนรออยู่

ครั้นพระโพธิสัตว์มาถึงที่นั้น ก็ร้องบอกพวกที่ถือยืนรอนั้นให้

ทิ้งผลไม้เสีย บอกให้พวกที่พากันกินเข้าไปแล้วทำการสำรอก

แล้วให้ยาพวกนั้นกิน พวกเหล่านั้นบางคนก็หาย แต่พวกที่กิน

เข้าไปก่อนพวกทีเดียว พากันสิ้นชีวิต ฝ่ายพระโพธิสัตว์ เดินทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 295

ถึงสถานที่ต้องการจะไปโดยสวัสดี ได้ลาภแล้วกลับมาถึงสถานที่

ของตนดังเดิม กระทำบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วไปตามยถากรรม.

พระศาสดาตรัสเรื่องนั้นแล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

" ผู้ใดไม่รู้โทษในอนาคต มัวเสพกามอยู่

ผลที่สุดกามเหล่านั้น ก็จะกำจัดบุคคลนั้นเสีย

เหมือนผลกิมปักกะ กำจัดผู้กินให้ถึงตายฉะนั้น "

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อายตึ โทส นาญฺาย ความว่า

ไม่รู้คือไม่ทราบถึงโทษในกาลภายหน้า.

บทว่า โย กาเม ปฏิเสวติ ความว่า บุคคลใดส้องเสพ

วัตถุกาม และกิเลสกาม.

บทว่า วิปากนฺเต หนนฺตี น ความว่า กามเหล่านั้น จะยัง

บุรุษนั้น ผู้เกิดแล้วในนรกเป็นต้น ในที่สุด, กล่าวคือวิบากของตน

ให้พัวพันอยู่ด้วยทุกข์มีปราการต่าง ๆ ชื่อว่าย่อมกำจัดเขาเสีย.

กำจัดอย่างไร ?

อย่างเดียวกับผลกิมปักกะ ที่บุคคลบริโภคแล้วฉะนั้น

อธิบายว่า อุปมาเหมือนผลกิมปักกะ น่าชอบใจ เพราะถึงพร้อม

ด้วยสี กลิ่น และรสในเวลาบริโภค ทำให้คนที่ไม่เห็นโทษใน

อนาคต กินแล้วถึงความสิ้นชีวิตไปตาม ๆ กันฉันใด กามทั้งหลาย

แม้จะน่าชอบใจในเวลาบริโภค ก็จะกำจัดเขาเสียในเวลาให้ผล

ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 296

พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมตามอนุสนธิ แล้วทรง

ประกาศสัจธรรม ภิกษุผู้กระสัน บรรลุโสดาปัตติผล บริษัท

ที่เหลือ บางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี

บางพวกเป็นพระอนาคามี บางพวกได้เป็นพระอรหันต์. พระ-

ศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า

บริษัทในครั้งนั้นได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนนายกองเกวียนได้

มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากิมปักกชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 297

๖. สีลวีมังสนชาดก

ว่าด้วยผู้มีศีล

[๘๖] ได้ยินว่า ศีลเป็นคุณชาติงามเป็นเยี่ยม

ในโลก จงดูงูใหญ่ มีพิษร้ายแรง เป็นสัตว์มีศีล

เหตุนั้น จึงไม่เบียดเบียนใคร.

จบ สีลวีมังสนชาดกที่ ๖

อรรถกถาสีลวีมังสนชาดกที่ ๖

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภพราหมณ์ผู้ทดลองศีลหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า สีล กิเรว กลฺยาณ ดังนี้.

ดังได้สดับมา พราหมณ์นั้นอาศัยพระเจ้าโกศลเลี้ยงชีวิต

เป็นผู้ถึงไตรสรณาคมน์ มีศีล ๕ ไม่ขาด ถึงฝั่งแห่งไตรเพท

พระราชาทรงพระดำริว่า พราหมณ์ผู้นี้มีศีล ดังนี้แล้ว ทรงยกย่อง

เขาอย่างยิ่ง เขาคิดว่า พระราชานี้ทรงยกย่องเรายิ่งกว่าพราหมณ์

อื่น ๆ ทรงเห็นเราเหมือนผู้ควรเคารพอย่างยิ่ง พระองค์ทรง

กระทำการยกย่องนี้ เพราะอาศัยชาติสมบัติ โคตรสมบัติ กุล-

สมบัติ ปเทสสมบัติ และศิลปสมบัติของเรา หรืออย่างไร หรือว่า

ทรงอาศัยศีลสมบัติของเรา เราจักทดลองดูก่อน วันหนึ่งท่านไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

สู่ที่เฝ้า เมื่อจะกลับบ้านได้หยิบเหรียญกษาปณ์ ๑ อันไปจาก

แผงของเหรัญญิกคนหนึ่ง โดยมิได้บอกกล่าวเลย. ครั้งนั้นเหรัญญิก

มิได้พูดอะไรกับท่าน เพราะความเคารพในพราหมณ์คงนั่งเฉย

รุ่งขึ้นหยิบไปสองเหรียญ เหรัญญิกคงนิ่งเฉยเหมือนกัน ในวันที่

สาม คว้าไปเต็มกำเลย ครั้งนั้นเหรัญญิกก็พูดกับท่านว่า วันนี้

เป็นวันที่สามที่ท่านฉกชิงเอาทรัพย์สินของพระราชาไป พลาง

ตะโกนบอก ๓ ครั้งว่า เราจับโจรฉกชิงทรัพย์สินของพระราชา

ไว้ได้แล้ว ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายต่างวิ่งมาคนละทิศทาง รุมพูด

กะพราหมณ์ว่า ท่านแสร้งประพฤติเหมือนผู้มีศีลมานานจน

ป่านนี้ ดังนี้แล้ว ต่างก็ติเตียน สอง-สามที จับมัดไปแสดงแก่

พระราชา. พระราชาทรงร้อนพระทัย ตรัสว่า ดูก่อนท่านพราหมณ์

เหตุไรเล่าท่านจึงทำกรรมของผู้ทุศีลเช่นนี้ แล้วตรัสว่า พวกเจ้า

ไปเถิด จงลงพระราชอาญาแก่พราหมณ์. พราหมณ์กราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์มิใช่โจรดอก พระเจ้าข้า พระราชา

รับสั่งถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรท่านจึงหยิบเหรียญกษาปณ์

ไปจากแผงแห่งพระราชทรัพย์เล่า ? พราหมณ์กราบทูลว่า

ขอเดชะ ที่ข้าพระองค์กระทำไป ในเมื่อพระองค์ทรงยกย่อง

ข้าพระองค์อย่างยิ่งเช่นนี้นั้น ก็เพื่อจะทดลองว่า พระราชาทรง

ยกย่องเรายิ่งนัก เหตุทรงอาศัยสมบัติมีชาติเป็นต้นหรืออย่างไร

หรือว่าทรงอาศัยศีล ก็และบัดนี้ ข้าพระองค์ทรงทราบโดย

แน่นอนแล้ว เพราะที่ทรงพระกรุณาโปรดให้ลงพระราชอาญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 299

แก่ข้าพระองค์บัดนี้ เป็นข้อเทียบได้ว่า ความยกย่องที่พระองค์

ทรงทำแก่ข้าพระองค์นั้น อาศัยศีลอย่างเดียว มิได้ทรงกระทำ

เพราะอาศัยสมบัติมีชาติเป็นต้นเลย แล้วกราบทูลต่อไปว่า

ข้าพระองค์นั้นได้ตกลงใจได้ด้วยเหตุนี้ว่า ในโลกนี้ ศีลเท่านั้น

สูงสุด ศีลเป็นประมุข ก็เมื่อข้าพระองค์จะกระทำให้สมควร

แก่ศีลนี้ ยังดำรงตนอยู่ในเรือน บริโภคกิเลสอยู่ จักไม่อาจกระทำ

ได้ วันนี้แหละข้าพระองค์จักไปสู่พระวิหารเชตวัน บรรพชา

ในสำนักพระศาสดา ได้โปรดทรงพระกรุณาพระราชทานการ

บรรพชาแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า ครั้นขอพระบรม

ราชานุญาตได้แล้ว ก็ออกเดินมุ่งหน้าไปพระเชตวันมหาวิหาร

ครั้งนั้นหมู่ญาติและพวกพ้องที่สนิทสนม พากันห้อมล้อม เมื่อ

ไม่อาจทัดทานท่านได้ จึงพากันกลับไป.

พราหมณ์ไปสู่สำนักของพระศาสดา ทูลขอบรรพชา

ครั้นได้บรรพชาและอุปสมบทแล้ว ก็ไม่ทอดทิ้งพระกรรมฐาน

เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตผล เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา

กราบทูลพยากรณ์พระอรหัตผลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรพชา

ของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว คำพยากรณ์พระอรหัตผลนั้น ของ

ท่านปรากฏในภิกษุสงฆ์แล้ว อยู่มาวันหนึ่งพวกภิกษุประชุม

กันในธรรมสภา นั่งสนทนาถึงคุณของท่านว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พราหมณ์ผู้อุปัฏฐากพระราชาชื่อโน้น ทดลองศีลของ

ตนแล้ว กราบทูลลาพระราชาบรรพชา ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 300

แล้ว พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบ

ทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ใน

บัดนี้เท่านั้น ที่พราหมณ์ผู้นี้ ทดลองศีลของตนแล้วบวช กระทำ

ที่พึ่งแก่ตนได้ ถึงในกาลก่อนบัณฑิตทั้งหลาย ก็เคยทดลองศีล

ของตนแล้วบวช การทำที่พึ่งแก่ตนมาแล้วเหมือนกัน อันภิกษุ

เหล่านั้น กราบทูลอาราธนาแล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัต

พระองค์นั้น เป็นผู้มีจิตใจน้อมไปในทาน มีศีลเป็นอัธยาศัย

ถือศีล ๕ ไม่ขาด พระราชาทรงยกย่องท่านยิ่งกว่าพราหมณ์

ที่เหลือ เรื่องทั้งหมดก็เช่นเดียวกับเรื่องแรกนั้นแหละ แปลกแต่ว่า

เมื่อพระโพธิสัตว์ถูกเขามัดนำตัวไปสู่สำนักพระราชา พวกหมองู

กำลังบังคับงูให้เล่นอยู่ที่ระหว่างถนน พากันจับงูที่หาง จับที่คอ

เอางูพันคอ. พระโพธิสัตว์เห็นพวกนั้นแล้วกล่าวว่า พ่อคุณทั้งหลาย

เจ้าอย่าจับงูนี้ที่หาง อย่าจับที่คอ อย่าเอาไปพันคอ เพราะงูนี้

กัดแล้ว ก็ต้องถึงสิ้นชีวิต พวกหมองูกล่าวว่า ท่านพราหมณ์

งูนี้มีศีลสมบูรณ์ด้วยมารยาท มิใช่เป็นผู้ทุศีลอย่างเช่นท่าน

ส่วนท่านสิ เป็นผู้หาอาจาระมิได้ เพราะความเป็นผู้ทุศีล ถูก

หาว่าเป็นโจรฉกชิงพระราชทรัพย์ กำลังถูกมัดนำตัวไป พราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 301

ได้คิดว่า แม้พวกงูที่ไม่กัดใคร ไม่เบียดเบียนใคร ก็ได้ชื่อว่ามีศีล

ได้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงพวกที่เป็นมนุษย์ในโลกนี้ ศีลเท่านั้น

ที่ชื่อว่าสูงสุด สิ่งอื่นที่จะยิ่งไปกว่าศีลนั้นไม่มี. ครั้นมนุษย์นำตัว

ไปแสดงแด่พระราชาแล้ว พระราชาตรัสถามว่า พ่อคุณ นี้เรื่อง

อะไรกัน ? พวกราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ โจรฉกชิงพระ-

ราชทรัพย์ พระเจ้าข้า รับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น พวกเจ้าจงกระทำ

ตามพระราชอาญาแก่เขาเถิด พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่

มหาราช ข้าพระองค์มิใช่โจรดอก พระเจ้าข้า. เมื่อรับสั่งว่า

เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไมถึงได้หยิบเอาเหรียญกษาปณ์ไปเล่า ?

จึงกราบทูลเรื่องราวทั้งมวล โดยนัยที่มีในเรื่องก่อนนั่นเอง แล้ว

กราบทูลว่า ด้วยเหตุนี้ ข้าพระองค์นั้นตกลงใจแล้วว่า ในโลกนี้

ศีลเท่านั้นสูงสุด ศีลเป็นประธาน แล้วกราบทูลว่า ข้อนี้ยกไว้

ก่อนเถิดพระเจ้าข้า แม้แต่อสรพิษไม่กัดใคร ไม่เบียดเบียนใคร

ยังได้ชื่อเสียงว่ามีศีลได้เลย แม้เพราะเหตุนี้ ศีลเท่านั้นสูงสุด

ศีลประเสริฐ เมื่อจะสรรเสริญศีล กล่าวคาถานี้ว่า :-

ได้ยินว่า ศีลเป็นคุณชาติงามเป็นเยี่ยม

ในโลก จงดูงูใหญ่ มีพิษร้ายแรง เป็นสัตว์มีศีล

เหตุนั้น จึงไม่เบียดเบียนใคร. ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีล กิเรว ได้แก่ศีลคือมารยาท

กล่าวคือ ความไม่ล่วงละเมิดนั่นเอง.

บทว่า กิร ความว่า พระโพธิสัตว์กล่าวตามที่ได้ยินมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 302

บทว่า กลุยาณ แปลว่า งาม ประเสริฐ.

บทว่า อนุตฺตร ความว่า ยอดเยี่ยม คือให้คุณได้ทุกอย่าง.

บทว่า ปสฺส ได้แก่กล่าวมุ่งถึงเหตุเฉพาะเท่าที่ตนเห็น.

บทว่า สีลวาติ น หญฺติ ความว่า งูแม้มีพิษร้ายแรง

ยังได้รับการสรรเสริญว่ามีศีล ด้วยเหตุเพียงไม่กัดใคร ไม่

เบียดเบียนใคร ย่อมไม่ถูกใครทำร้าย คือไม่ถูกใครฆ่า แม้ด้วย

เหตุดังกล่าวมานี้ ศีลนั่นแล จึงชื่อว่า สูงสุด.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมถวายพระราชา ด้วยคาถานี้

ด้วยประการฉะนี้ ละกามทั้งหลาย บวชเป็นฤาษี เข้าป่าหิมพานต์

ทำอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ให้เกิดแล้ว ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไป

ในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็นอานนท์ บริษัทได้มา

เป็นพุทธบริษัท ส่วนปุโรหิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสีลวิมังสนชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 303

๗. มังคลชาดก

ว่าด้วยการถือมงคลตื่นข่าว

[๘๗] "ผู้ใดไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถืออุกกาบาต

ไม่ถือความฝัน ไม่ถือลักษณะดีหรือชั่ว ผู้นั้น

ชื่อว่าล่วงพ้นโทษแห่งการถือมงคลตื่นข่าว

ครอบงำกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ

ที่เป็นคูกั้น ย่อมไม่กลับมาเกิดอีก".

จบ มังคลชาดกที่ ๗

อรรถกถามังคลชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร

ทรงปรารภพราหมณ์ผู้รู้จักลักษณะผ้าสาฎกผู้หนึ่ง ตรัสพระ-

ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺส มงฺคลา สมูหตา ดังนี้.

ได้ยินว่า พราหมณ์ชาวพระนครราชคฤห์ผู้หนึ่ง เป็นผู้

ถือมงคลตื่นข่าว ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เป็นมิจฉาทิฏฐิ

มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก. หนูกัดคู่แห่งผ้าสาฎกที่เขา

เก็บไว้ในหีบ ครั้นถึงเวลาที่เขาสนานเกล้า กล่าวว่า จงนำผ้า

สาฎกมา คนทั้งหลายจึงบอกการที่หนูกัดผ้าแก่เขา เขาคิดว่า

ด้วยผ้าสาฎกทั้งคู่ที่หนูกัดนี้ จักคงมีในเรือนนี้ละก็ ความพินาศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 304

อย่างใหญ่หลวงจักมี เพราะผ้าคู่นี้เป็นอวมงคล เช่นกับตัว

กาฬกรรณี ทั้งไม่อาจให้แก่บุตรธิดา หรือทาสกรรมกร เพราะ

ความพินาศอย่างใหญ่หลวงจักต้องมีแก่ผู้ที่รับผ้านี้ไปทุกคน

ต้องให้ทิ้งมันเสียที่ป่าช้าผีดิบ แต่ไม่กล้าให้ในมือพวกทาสเป็นต้น

เพราะพวกนั้นน่าจะเกิดโลภในผ้าคู่นี้ ถือเอาไปแล้วถึงความ

พินาศไปตาม ๆ กันได้ เราจักให้ลูกถือผ้าคู่นั้นไป เขาเรียกบุตร

มาบอกเรื่องราวนั้นแล้ว ใช้ไปด้วยคำว่า พ่อคุณ ถึงตัวเจ้าเอง

ก็ต้องไม่เอามือจับมัน จงเอาท่อนไม้คอนไปทิ้งเสียที่ป่าช้าผีดิบ

อาบน้ำดำเกล้าแล้วมาเถิด.

แม้พระบรมศาสดาเล่า ในวันนั้น เวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจ

พวกเวไนยสัตว์ เห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของพ่อลูกคู่นี้

ก็เสด็จไปเหมือนพรานเนื้อตามรอยเนื้อฉะนั้น ได้ประทับยืน ณ

ประตูป่าช้าผีดิบ ทรงเปล่งพระพุทธรังษี ๖ ประการอยู่. แม้

มาณพรับคำบิดาแล้ว คอนผ้าคู่นั้นด้วยปลายไม้เท้า เหมือนคอน

งูเขียว เดินไปถึงประตูป่าช้าผีดิบ. ลำดับนั้นพระศาสดารับสั่ง

กะเขาว่า มาณพ เจ้าทำอะไร ? มาณพกราบทูลว่า ข้าแต่พระ-

โคดมผู้เจริญ ผ้าคู่นี้ถูกหนูกัด เป็นเช่นเดียวกับตัวกาฬกรรณี

เปรียบด้วยยาพิษที่ร้ายแรง บิดาของข้าพระองค์เกรงว่า เมื่อ

ผู้ทิ้งมันเป็นคนอื่น น่าจะเกิดความโลภขึ้นถือเอาเสีย จึงใช้ข้า-

พระองค์ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าเองก็มาด้วยหวังว่า

จักทิ้งมันเสีย. พระศาสดาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น ก็จงทิ้งเถิด. มาณพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 305

จึงทิ้งเสีย พระศาสดาตรัสว่า คราวนี้สมควรแก่เราตถาคต

ดังนี้แล้ว ทรงถือเอาต่อหน้ามาณพนั้นทีเดียว ทั้ง ๆ ที่มาณพนั้น

ห้ามอยู่ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ นั่นเป็นอวมงคลเหมือนตัว

กาฬกรรณี อย่าจับ อย่าจับเลย พระศาสดาก็ทรงถือเอาผ้าคู่นั้น

เสด็จผันพระพักตร์มุ่งหน้าตรงไปพระเวฬุวัน. มาณพรีบไปบอก

แก่พราหมณ์ผู้บิดาว่า คุณพ่อครับ คู่ผ้าสาฎกที่ผมเอาไปทิ้งที่

ป่าช้าผีดิบนั้น พระสมณโคดมตรัสว่า ควรแก่เรา ทั้ง ๆ ที่ผม

ห้ามปราม ก็ทรงถือเอาแล้วเสด็จไปสู่พระเวฬุวัน ถึงพระสมณ-

โคดมทรงใช้สอยมัน ก็องย่อยยับ แม้พระวิหารก็จักพินาศ

ทีนั้นพวกเราจักต้องถูกครหา เราต้องถวายผ้าสาฎกอื่น ๆ มาก

ผืนแด่พระสมณโคดม ให้พระองค์ทรงทิ้งผ้านั้นเสีย เขาให้คน

ถือผ้าสาฎกหลายผืน ไปสู่พระวิหารเวฬุวันกับบุตร ถวายบังคม

พระศาสดา แล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระสมณโคดม ได้ยินว่าพระองค์ทรงถือเอาคู่ผ้าสาฎก

ในป่าช้าผีดิบ จริงหรือพระเจ้าข้า ? ตรัสว่า จริง พราหมณ์

กราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณโคดม คู่ผ้าสาฎกนั้นเป็นอวมงคล เมื่อ

พระองค์ทรงใช้สอยมันจะต้องย่อยยับ ถึงพระวิหารทั้งสิ้นก็จัก

ต้องทำลาย ถ้าผ้านุ่ง ผ้าห่มของพระองค์มีไม่พอ พระองค์โปรด

รับผ้าสาฎกเหล่านี้ไว้ ทิ้งคู่ผ้าสาฎกนั้นเสียเถิด. ครั้งนั้นพระ-

ศาสดาตรัสกะเขาว่า พราหมณ์ พวกเรามีนามว่าบรรพชิต

ผ้าเก่า ๆ ที่เขาทิ้ง หรือตกอยู่ในที่เช่นนั้น คือ ที่ป่าช้าผีดิบ ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 306

ท้องถนน ที่กองขยะ ที่ท่าอาบน้ำ ที่หนทางหลวง ย้อมควรแก่

พวกเรา ส่วนท่านเองมิใช่แต่จะเพิ่งเป็นคนมีลัทธิอย่างนี้ในบัดนี้

เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน ก็เคยมีลัทธิอย่างนี้เหมือนกัน เขากราบทูล

อาราธนา ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระเจ้ามคธราช ผู้ทรงธรรม เสวยราชสมบัติ

ในพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เกิดใน

สกุลอุทิจจพราหมณ์ สกุลหนึ่ง ถึงความเป็นผู้รู้เดียงวาแล้ว บวชเป็น

ฤๅษียังอภิญญา และสมาบัติให้เกิดแล้ว พำนักอยู่ในป่าหิมพานต์

ในกาลครั้งหนึ่ง ออกจากป่าหิมพานต์ มาถึงพระราชอุทยาน

ในพระนครราชคฤห์ พำนักอยู่ที่นั้น วันที่สองเข้าสู่พระนคร

เพื่อต้องการภิกขาจาร พระราชาทอดพระเนตรเห็นท่านแล้ว

รับสั่งให้นิมนต์มา อาราธนาให้นั่งในปราสาท ให้ฉันโภชนาหาร

แล้ว ทรงถือเอาปฏิญญา เพื่อการอยู่ในพระอุทยานตลอดไป.

พระโพธิสัตว์ฉันในพระราชนิเวศน์ พักอยู่ในพระราชอุทยาน

กาลครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์ ได้มีพราหมณ์ชื่อว่า ทุสส-

ลักขณพราหมณ์ (พราหมณ์ผู้รู้ลักษณะผ้า). เรื่องทั้งปวงตั้งแต่

เขาเก็บคู่ผ้าสาฎกไว้ในหีบเป็นต้นไป เช่นเดียวกันกับเรื่องก่อน

นั่นแหละ (แปลกแต่ตอนหนึ่ง) เมื่อมาณพไปถึงป่าช้า พระโพธิสัตว์

ไปคอยอยู่ก่อนแล้ว นั่งอยู่ที่ประตูป่าช้า เก็บเอาคู่ผ้าที่เขาทิ้ง

แล้วไปสู่อุทยาน มาณพไปบอกเเก่บิดา. บิดาคิดว่า ดาบสผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 307

ใกล้ชิดราชสกุล จะพึงฉิบหาย จึงไปสำนักพระโพธิสัตว์ กล่าวว่า

ข้าแต่พระดาบส ท่านจงทิ้งผ้าสาฎกที่ท่านถือเอาแล้วเสียเถิด

จงอย่าฉิบหายเสียเลย. พระดาบสแสดงธรรมแก่พราหมณ์ว่า ผ้า

เก่า ๆ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ควรแก่พวกเรา พวกเรามิใช่พวกถือ

มงคลตื่นข่าว ขึ้นชื่อว่าการถือมงคลตื่นข่าวนี้ พระพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ไม่สรรเสริญเลย

เหตุนั้น บัณฑิตต้องไม่เป็นคนถือมงคลตื่นข่าว. พราหมณ์ฟังธรรม

แล้วทำลายทิฏฐิเสีย ถึงพระโพธิสัตว์เป็นสรณะแล้ว แม้พระ-

โพธิสัตว์ก็มีฌานมิได้เสื่อม ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปใน

เบื้องหน้า แม้พระบรมศาสดาทรงนำเรื่องอดีตนี้มาแล้ว ครั้น

ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณแล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์

ตรัสพระคาถานี้ ความว่า :-

" ผู้ใดไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถืออุกกาบาต

ไม่ถือความฝัน ไม่ถือลักษณะดีหรือชั่ว ผู้นั้น

ชื่อว่า ล่วงพ้นโทษแห่งการถือมงคลตื่นข่าว

ครอบงำกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพที่

เป็นคูกั้น ย่อมไม่กลับมาเกิดอีก " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส มงฺคลา สมูหตา ความว่า

มงคลเหล่านี้คือ ทิฏฐิมงคล มงคลที่เกิดเพราะสิ่งที่เห็น ๑ สุตมงคล

มงคลที่เกิดเพราะเรื่องที่ฟัง ๑ มุตมงคล มงคลที่เกิดเพราะอารมณ์

ที่ได้ทราบ ๑ อันพระอรหันตขีณสพใด ถอนขึ้นได้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 308

บทว่า อุปฺปาตา สุปินา จ ลกฺขณา จ ความว่า เรื่องอุบาท

ที่เป็นเรื่องใหญ่ ๕ ประการเหล่านี้ คือ จันทรคราธรูป อย่างนี้

จักต้องมี สุริยคราธรูปอย่างนี้จักต้องมี นักษัตคราธรูปอย่างนี้

จักต้องมี อุกกาบาตรูปอย่างนี้จักต้องมี ลำพู่กันรูปอย่างนี้

จักต้องมี อีกทั้งความฝันมีประการต่าง ๆ ลักษณะทั้งหลาย

มีอาทิอย่างนี้ คือ ลักษณะคนโชคดี ลักษณะคนโชคร้าย ลักษณะ

หญิง ลักษณะชาย ลักษณะทาส ลักษณะทาสี ลักษณะคาม

ลักษณะศร ลักษณะอาวุธ ลักษณะผ้า เหล่านี้เป็นฐานแห่งทิฏฐิ.

ท่านผู้ใดถอนได้หมดแล้ว คือไม่เชื่อถือเอาเป็นมงคล หรืออวมงคล

แก่ตน ด้วยเรื่องอุปบาตเป็นต้นเหล่านี้.

บทว่า โส มงฺคลโทสวีติวตฺโต ความว่า ท่านผู้นั้นเป็นภิกษุ

ผู้ขีณาสพ ล่วงพ้น ก้าวผ่าน ละเสียได้ซึ่งโทษแห่งมงคลทุกอย่าง.

บทว่า ยุคโยคาธิคโก น ชาตุเมติ ความว่า กิเลสที่มารวม

กันเป็นคู่ ๆ โดยนัยมีอาทิว่า โกธะความโกรธ และอุปนาหะ

ความผูกโกรธ มักขะความลบหลู่ และปลาสะความตีเสมอดังนี้

ชื่อว่า ยุคะ. กิเลส ๔ อย่างเหล่านี้ คือ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ

อวิชชาโยคะ ชื่อว่า โยคะ เพราะเป็นเหตุประกอบสัตว์ไว้ในสงสาร

ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพ บรรลุแล้วคือ ครอบงำไว้ได้แล้ว ล่วงพ้น

แล้วได้แก่ ผ่านไปแล้วด้วยดี ซึ่งยุคและโยคะ คือทั้งยุคและโยคะ

เหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 309

บทว่า น ชาตุเมติ ความว่า ท่านผู้นั้นย่อมไม่ถึงคือไม่ต้อง

มาสู่โลกนี้ ด้วยสามารถแห่งปฏิสนธิใหม่ โดยแน่นอนทีเดียว.

พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์ด้วยพระ-

คาถานี้ ด้วยประการฉะนี้ แล้วทรงประกาศสัจธรรม เมื่อจบ

สัจจะ พราหมณ์กับบุตร ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. พระศาสดา

ทรงประชุมชาดกว่า บิดาและบุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นบิดา

และบุตรคู่นี้แหละ ส่วนดาบสได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามังคลชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

๘. สารัมภชาดก

ว่าด้วยการพูดดี พูดชั่ว

[ ๘๘ ] "พึงเปล่งแต่วาจาดี เท่านั้น ไม่พึงเปล่ง

วาจาชั่วเลย การเปล่งวาจาดีสำเร็จประโยชน์ได้

เปล่งวาจาชั่ว ย่อมเดือดร้อน"

จบ สารัมภชาดกที่ ๘

อรรถกถาสารัมภชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยพระนครสาวัตถี ประทับอยู่

ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภโอมสวาทสิกขาบท ตรัส

พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กลฺยาณเมว มุญฺเจยฺย ดังนี้.

แม้เรื่องทั้งสอง ก็เป็นเช่นเดียวกับเรื่องที่กล่าวไว้แล้ว

ในนันทวิสาลชาดก ในหนหลัง. (แปลกแต่ว่า) ในชาดกนี้ พระ-

โพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นโคทรงกำลัง ชื่อ สารัมภะ ของพราหมณ์

ผู้หนึ่ง ในพระนครตักกสิลา. พระศาสดาตรัสเรื่องในอดีตนี้แล้ว

ครั้นตรัสรู้พระสัมโพธิญาณแล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

" พึงเปล่งแต่วาจาดี เท่านั้น ไม่พึงเปล่ง

วาจาชั่วเลย การเปล่งวาจาดีสำเร็จประโยชน์ได้

เปล่งวาจาชั่ว ย่อมเดือดร้อน " ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กลฺยาณเมว มุญฺเจยฺย ความว่า

บุคคลพึงเปล่ง คือพึงแถลงได้แก่ พึงกล่าวถ้อยคำที่พ้นจากโทษ ๔

ชื่อว่า ถ้อยคำดีงาม คือไม่มีโทษเท่านั้น.

บทว่า น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิก ความว่า ไม่พึงเปล่งคำชั่ว

คือคำลามก ได้แก่คำอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนอื่น ๆ.

บทว่า โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ ความว่า การเปล่งวาจาดี

เท่านั้น ยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือเป็นความดีงาม เป็นความ

เจริญในโลกนี้.

บทว่า มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิก ความว่า ครั้นเปล่ง คือแถลง

ได้แก่กล่าวคำชั่ว คือคำหยาบแล้ว บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อน คือ

เศร้าโศก ลำบาก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ด้วยประการฉะนี้

แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้มาเป็นอานนท์

พราหมณีได้เป็นอุบลวรรณา ส่วนโคสารัมภะ ได้มาเป็นเรา

ตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสารัมภชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 312

๙. กุหกชาดก

ว่าด้วยดาบสเจ้าเล่ห์

[๘๙] " น้อยหรือถ้อยคำของเจ้า ช่างสละสลวย

พูดจาน่านับถือจริง ๆ เจ้าข้องใจในวัตถุเพียง

เส้นหญ้า แต่เมื่อขโมยทองร้อยแท่งไปไม่ข้องใจ

เลยนะ "

จบ กุหกชาดกที่ ๙

อรรถกถากุหกชาดกที่ ๘

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้มักหลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า วาจาว กิร เต อาสิ ดังนี้.

เรื่องการหลอกลวง จักปรากฏแจ้งในอุททาลชาดก.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-

พาราณสี ชฎิลโกงผู้หนึ่งเป็นดาบสหลอกลวง อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน

ตำบลหนึ่ง กุฎุมพีคนหนึ่ง ช่วยสร้างศาลาในป่าให้ดาบสนั้น

ให้ดาบสอยู่ในบรรณศาลา ปรนนิบัติด้วยอาหารอันประณีต

ในเรือนของตน เขาเชื่อดาบสโกงนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีศีล

นำเอาทองพันแท่งไปยังศาลาของดาบส ฝังไว้ในแผ่นดิน เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 313

กลัวโจร กล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้าพึงดูแล

ทองนี้ด้วย. ครั้งนั้น ดาบสกล่าวกะเขาว่า คุณ ! การพูดแบบนี้

แก่พวกที่ได้นามว่า บรรพชิตไม่สมควรเลย ขึ้นชื่อว่า ความโลภ

ในสิ่งของของผู้อื่น ของพวกเราไม่มีเลย เขากล่าวว่า ดีละ พระ-

คุณเจ้าผู้เจริญ เชื่อถ้อยคำของดาบส แล้วหลีกไป ดาบสชั่วคิดว่า

เราอาจเลี้ยงชีพด้วยทรัพย์มีประมาณเท่านี้ได้ ล่วงไปได้สอง-สาม

วัน ก็ยักเอาทองนั้นไปไว้ ณ ที่หนึ่งระหว่างทาง ย้อนมาเข้าไป

ยังบรรณศาลา พอวันรุ่งขึ้น ทำภัตกิจในเรือนของกุฎุมพีแล้ว

กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ พวกเราอาศัยท่านอยู่นานแล้ว ความ

พัวพันกันกับพวกมนุษย์ย่อมมี ก็ธรรมดาว่า ความพัวพันเป็น

มลทินของบรรพชิต เพราะฉะนั้นอาตมาจะขอลาไป แม้กุฏุมพี

จะอ้อนวอนแล้ว ๆ เล่า ๆ ก็ไม่ปรารถนาจะกลับ ครั้งนั้นกุฎุมพี

จึงกล่าวกะดาบสว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็นิมนต์ไปเถิด พระคุณเจ้า-

ข้า ดังนี้แล้ว ตามไปส่งจนถึงประตูบ้านแล้วจึงกลับ ดาบสเดิน

ไปได้หน่อยหนึ่ง คิดว่า เราควรจะลวงกุฎุมพีนี้ ก็เอาหญ้าวางไว้

ระหว่างชฎา ย้อนกลับไป กุฏุมพีถามว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ

พระคุณเจ้ากลับมาทำไม ขอรับ ? ตอบว่า ผู้มีอายุ หญ้าเส้น

หนึ่ง เกี่ยวชฎาของฉันไป จากชายคาเรือนของพวกท่าน ขึ้น

ชื่อว่า อทินนาทาน ไม่สมควรแก่บรรพชิต อาตมาจึงรีบนำมัน

กลับมา กุฎุมพีกล่าวว่า จงทิ้งมันเสีย แล้วนิมนต์ไปเถิดครับ

เสื่อมใสว่า พระดาบสไม่ถือเอาสิ่งของ ๆ ผู้อื่น ซึ่งแม้เพียง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

เส้นหญ้า โอ พระคุณเจ้าของเรา เคร่งครัดจริง ดังนี้กราบแล้ว

ส่งพระดาบสไป.

ก็ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ ไปยังชนบทชายแดนเพื่อต้องการ

สิ่งของ อาศัยพักแรมในบ้านกุฎุมพี ท่านฟังคำของดาบสแล้ว

คิดว่า ดาบสร้ายผู้นี้ จักต้องถือเอาอะไร ๆ ของกุฎุมพีนี้ไป

เป็นแน่ จึงถามกุฎุมพีว่า ก่อนสหาย ท่านได้ฝากฝังอะไร ๆ

ไว้ในสำนักของดาบสนั้น มีหรือไม่ ? กุฎุมพีตอบว่า มีอยู่สหาย

เราฝากฝังทองไว้ ๑๐๐ แท่ง. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น

ท่านจงรีบไปตรวจตราดูทองนั้นเถิด เขาไปบรรณศาลาไม่เห็น

ทองนั้น รีบกลับมาบอกว่า ทองไม่มี สหาย. พระโพธิสัตว์บอกว่า

ทองของท่านผู้อื่นไม่ได้เอาไปดอก ดาบสร้ายนั้นคนเดียวเอาไป

มาเถิด เรามาช่วยกันติดตามจับดาบสนั้น แล้วรีบตามไป จับ

ดาบสโกงได้ ทุบบ้าง เตะบ้าง ให้นำเอาทองมาคืน แล้วจับไว้.

พระโพธิสัตว์เห็นทองแล้วกล่าวว่า ดาบสนี่ขโมยทอง ๑๐๐ แท่ง

ยังไม่ข้องใจ ไพล่มาข้องใจในเรื่องเพียงเส้นหญ้า เมื่อจะติเตียน

ดาบสนั้น กล่าวคาถานี้ ความว่า :-

" น้อยหรือถ้อยคำของเจ้า ช่างสละสลวย

พูดจาน่านับถือจริง ๆ เจ้าข้องใจในวัตถุเพียง

เส้นหญ้า แต่เมื่อขโมยทองร้อยแท่งไป ไม่ต้องใจ

เลยนะ " ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 315

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาจาว กิร เต อาสิ สณฺหา

สขิลภาณิโน ความว่า เมื่อท่านกล่าวคำอ่อนหวานน่านับถืออยู่

อย่างนี้ว่า การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แม้เพียงเส้นหญ้า

ก็ไม่ควรแก่พวกบรรพชิต ดังนี้ ถ้อยคำของท่านนั้นอ่อนหวาน

น้อยอยู่เมื่อไร อธิบายว่า คำพูดของท่านนั้น เกลี้ยงเกลาแท้ ๆ.

บทว่า ติณมตฺเต อสชฺชิตฺโถ ความว่า ดูก่อนชฎิลโกง

ท่านทำความรำคาญ (เคร่ง) ในเส้นหญ้าเส้นเดียว ดูติดใจข้องใจ

เกาะเกี่ยวเสียจริง ๆ แต่เมื่อท่านขโมยทอง ๑๐๐ แท่งนี้ ช่างไม่

ติดใจ ช่างหมดข้อข้องใจเลยทีเดียว.

พระโพธิสัตว์ ครั้นติเตียนดาบสนั้น ด้วยประการฉะนี้แล้ว

ก็ให้โอวาทแก่ดาบสว่า ดูก่อนชฎิลโกง ท่านอย่าได้ทำกรรมเห็น

ปานนี้ ต่อไปอีก ดังนี้แล้ว ก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่ภิกษุนี้เป็นผู้หลอกลวง

แม้ในกาลก่อน ก็ได้เป็นผู้หลอกลวงแล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว

ทรงประชุมชาดกว่า ดาบสโกงในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุหลอกลวง

ในครั้งนี้ ส่วนบุรุษผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากุหกชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 316

๑๐. อกตัญญูชาดก

ว่าด้วยผลของคนอกตัญญู

[๙๐] " ผู้ใดอันท่านทำดีให้ก่อน ทำประโยชน์

ให้ก่อน แต่ไม่รู้จักคุณผู้นั้น เมื่อมีกิจการเกิดขึ้น

ภายหลัง ย่อมไม่ได้ผู้ช่วยเหลือ "

จบ อกตัญญูชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาอกตัญญูชาดกที่ ๑๐

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภท่านอนาบิณฑิกเศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ ดังนี้.

ได้ยินว่า เศรษฐีชาวปัจจันตชนบทผู้หนึ่ง ได้เป็นอทิฏฐสหาย

(สหายผู้ยังไม่เคยพบกัน) ของท่านอนาถบิณฑิกะ กาลครั้งหนึ่ง

เศรษฐีนั้นบรรทุกเกวียน ๕๐๐ เล่ม เต็มไปด้วยสิ่งของที่เกิดขึ้น

ในปัจจันตชนบท กล่าวกะพวกคนงานว่า ไปเถิดท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงนำของสิ่งนี้ไปสู่พระนครสาวัตถี ขาย

ให้แก่มหาเศรษฐีอนาถบิณฑิกะ สหายของเราด้วยราคาของ

ตอบแทน แล้วพากันขนของตอบแทนมาเถิด. คนงานเหล่านั้น

รับคำของท่านเศรษฐีแล้ว พากันไปสู่พระนครสาวัตถี พบท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

มหาเศรษฐีอนาถบิณฑิกแล้วให้บรรณาการ แจ้งเรื่องนั้นให้ทราบ

แม้ท่านมหาเศรษฐีเห็นแล้วก็กล่าวว่า พวกท่านมาดีแล้ว จัดการ

ให้ที่พักและเสบียงแก่คนเหล่านั้น ไต่ถามความสุขของเศรษฐี

ผู้เป็นสหาย รับซื้อภัณฑะไว้ แล้วให้ภัณฑะตอบแทนไป คนงาน

เหล่านั้นพากันไปสู่ปัจจันตชนบท แจ้งเนื้อความนั้นแก่เศรษฐี

ของตน ต่อมาท่านอนาถบิณฑิกะ ก็ส่งเกวียน ๕๐๐ เล่มอย่างนั้น

แหละ ไปในปัจจันตชนบทนั้นบ้าง พวกมนุษย์ไปในปัจจันตชนบท

นั้นแล้ว นำบรรณาการไปมอบให้ท่านเศรษฐีปัจจันตชนบท

เศรษฐีนั้นถามว่า พวกเจ้ามาจากที่ไหนเล่า ครั้นพวกคนเหล่านั้น

บอกว่า มาจากพระนครสาวัตถี สำนักอนาถบิณฑิกะผู้เป็นสหาย

ของท่าน ก็หัวเราะเยาะว่า คำว่า อนาถบิณฑิกะ จักเป็นชื่อของ

บุรุษคนไหน ๆ ก็ได้ แล้วรับเครื่องบรรณาการไว้ ส่งกลับไปว่า

พวกเจ้าจงไปกันเถิด มิได้จัดการเรื่องที่พักและให้เสบียงเลย

คนเหล่านั้นต้องขายสิ่งของกันเอง พากันขนสิ่งของตอบแทน

มาพระนครสาวัตถี ล้วนแจ้งเรื่องนั้นแก่เศรษฐี. อยู่ต่อมา เศรษฐี

ชาวปัจจันตชนบทส่งเกวียน ๕๐๐ เล่ม อย่างนั้นแหละ ไปสู่

พระนครสาวัตถีซ้ำอีกครั้งหนึ่ง พวกมนุษย์น้อมนำบรรณาการ

ไปพบท่านมหาเศรษฐี ฝ่ายพวกคนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

เห็นพวกนั้นแล้วกล่าวว่า ท่านขอรับ พวกผมจักกำหนดที่พัก

อาหาร และเสบียงของพวกนั้นเอง แล้วบอกให้พวกนั้นปลดเกวียน

ไว้ในที่เช่นนั้น ภายนอกพระนคร กล่าวว่า พวกท่านพากันอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

ที่นี่เถิด ข้าวยาคูแลภัตร และเสบียงสำหรับพวกท่าน ในเรือนของ

พวกท่านจักพอมี แล้วพากันไปเรียกพวกทาสและกรรมกรมา

ประชุมกัน พอได้เวลาเที่ยงคืน ก็คุมกันปล้นเกวียนทั้ง ๕๐๐ เล่ม

แย่งเอาแม้กระทั่งผ้านุ่ง ผ้าห่มของตนเหล่านั้น ไล่โคให้หนีไปหมด

ถอดล้อเกวียน ๕๐๐ เล่มเสียหมด วางไว้ที่แผ่นดิน แล้วขนเอา

แต่ล้อเกวียนทั้งหลายไป พวกชาวปัจจันตชนบท ไม่เหลือแม้แต่

ผ้านุ่ง ต่างกลัวพากันรีบหนีไปสู่ปัจจันตชนบท ฝ่ายคนของท่าน

เศรษฐี พากันบอกเรื่องนั้นแก่ท่านมหาเศรษฐี. ท่านมหาเศรษฐี

คิดว่า บัดนี้มีเรื่องนำข้อความที่จะกราบทูลแล้ว จึงไปสำนัก

พระบรมศาสดา กราบทูลเรื่องราวทั้งหมดตั้งแต่ต้น พระศาสดา

ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี เศรษฐีชาวปัจจันตชนบทนั้น เป็นผู้มีปกติ

ประพฤติอย่างนี้ ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้มี

ปกติประพฤติเช่นนี้มาแล้วเหมือนกัน อันท่านเศรษฐีกราบทูล

อาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นเศรษฐีมีสมบัติมากในพระนคร-

พาราณสี เศรษฐีชาวปัจจันตชนบทผู้หนึ่ง ได้เป็นอทิฏฐสหาย

ของท่าน เรื่องอดีตทั้งหมด เป็นเหมือนกับเรื่องในปัจจุบันนั่นแหละ

(แปลกกันแต่ว่า) พระโพธิสัตว์เมื่อคนของตนแจ้งให้ทราบว่า

วันนี้พวกผมทำงานชื่อนี้ ดังนี้แล้วก็กล่าวว่า พวกนั้นไม่รู้อุปการะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 319

ที่เขาทำแก่ตนก่อน จึงพากันได้รับกรรมเช่นนี้ในภายหลัง เพื่อ

จะแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า

" ผู้ใดอันท่านทำดีให้ก่อน ทำประโยชน์

ให้ก่อน แต่ไม่รู้จักคุณผู้นั้น เมื่อมีกิจการเกิดขึ้น

ภายหลัง ย่อมไม่ได้ผู้ช่วยเหลือ " ดังนี้.

ในคาถานั้นประมวลข้ออธิบายได้ดังนี้ :- บรรดาชนมี

กษัตริย์เป็นต้น บุรุษผู้ใดผู้หนึ่ง มีความดี อันบุคคลอื่น คือมี

อุปการะอันท่านผู้อื่นกระทำให้ก่อน คือทีแรก มีประโยชน์อัน

คนอื่นกระทำให้ คือมีผู้ช่วยเหลือทำกิจการให้สำเร็จได้ก่อน

มิได้รู้สำนึกคุณงามความดี และประโยชน์ที่ผู้อื่นกระทำไว้ในตน

นั้นเลย ผู้นั้นเมื่อกิจการของตนเกิดขึ้นในภายหลัง ย่อมหาคนช่วย

ทำกิจการนั้นให้ไม่ได้.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้

แล้ว กระทำบุญทั้งหลาย มีให้ทานเป็นต้น แล้วก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า เศรษฐีชาวปัจจันตชนบทในครั้งนั้น ได้มาเป็นเศรษฐี

ปัจจันตชนบทคนนี้แหละ ส่วนพาราณสีเศรษฐีได้มาเป็นเรา

ตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอกตัญญูชาดกที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 320

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุราปานชาดก ๒. มิตตวินทชาดก ๓. กาฬกัณณิชาดก

๔. อัตถัสสทวารชาดก ๕. กิมปักกชาดก ๖. สีลวิมังสนชาดก

๗. มังคลชาดก ๘. สารัมภชาดก ๙. กุหกชาดก ๑๐. อกตัญญู-

ชาดก

จบ อปายิมหวรรคที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 321

๑๐. ลิตตวรรค

๑. ลิตตชาดก

ว่าด้วยลูกสกาอาบยาพิษ

[๙๑] บุรุษกลืนลูกสกาอันเคลือบด้วยยาพิษ

อย่างแรงยังไม่รู้ตัว ดูก่อนเจ้าคนร้าย เจ้านักเลง

ชั่ว จงกลืนเถิด จงกลืนกินเข้าไปเถิด ภายหลัง

ผลร้ายจักมีแก่เจ้า.

จบ ลิตตชาดก ที่ ๑

อรรถกถาลิตตวรรคที่ ๑๐

อรรถกถาลิตตชาดกที่ ๑

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภการบริโภคปัจจัยที่มิได้พิจารณา ตรัสพระธรรมเทศนา

นี้ มีคำเริ่มต้นว่า ลิตฺต ปรเมน เตชสา ดังนี้.

ได้ยินมาว่า ในกาลนั้น พวกภิกษุได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น

โดยมากไม่ได้พิจารณา แล้วบริโภค ภิกษุเหล่านั้นผู้ไม่ได้

พิจารณาปัจจัย ๔ แล้วบริโภค โดยมากจะไม่พ้นจากนรกและ

กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน. พระศาสดาทรงทราบเหตุนั้น ตรัส

ธรรมกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยปริยายเป็นอันมาก ตรัสถึงโทษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 322

ในการไม่พิจารณาปัจจัยแล้วใช้สอย ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมดาภิกษุได้รับปัจจัย ๔ แล้ว ไม่พิจารณาบริโภคไม่ควรเลย

เพราะฉะนั้น จำเดิมแต่นี้ พวกเธอต้องพิจารณาแล้วจึงค่อยบริโภค

เมื่อทรงแสดงวิธีพิจารณา ทรงวางแบบแผนไว้ โดยนัยมีอาทิว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา โดยแยบคาย

แล้ว จึงใช้สอยจีวร ฯลฯ เพื่อต้องการปกปิดอวัยวะที่น่าละอาย

แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพิจารณาปัจจัย ๔ อย่างนี้

แล้วบริโภค ย่อมสมควร ขึ้นชื่อว่าการไม่พิจารณาแล้วบริโภค

เป็นเช่นกับบริโภคยาพิษที่ร้ายแรงยิ่งใหญ่ ด้วยว่าคนในครั้งก่อน

ไม่พิจารณา ไม่รู้โทษ บริโภคยาพิษ ผลที่สุดต้องเสวยทุกข์

ใหญ่หลวง ดังนี้แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลมีโภคะมาก ตระกูล

หนึ่ง เจริญวัยแล้วเป็นนักเลงสกา ครั้นเวลาต่อมามีนักเลงสกา-

โกงอีกคนหนึ่ง เล่นกับพระโพธิสัตว์ เมื่อตนเป็นฝ่ายชนะก็ไม่

ทำลายสนามเล่น แต่ในเวลาแพ้ ก็เอาลูกสกาใส่เสียในปาก

กล่าวว่า ลูกสกาหายเสียแล้ว พาลเลิกหลีกไป. พระโพธิสัตว์

ทราบเหตุของเขา คิดว่า ช่างเถิด เราจักหาอุบายแก้เผ็ดในเรื่องนี้

ดังนี้แล้ว รวบเอาลูกสกาไป ย้อมด้วยยาพิษอย่างแรงในเรือน

ของตน แล้วตากให้แห้ง บ่อย ๆ ครั้ง แล้วนำเอาลูกสกาเหล่านั้น

ไปสู่สำนักของเขา กล่าวว่า มาเถิดเพื่อน เราเล่นสกากันเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 323

เขารับคำว่า ดีละเพื่อน จัดแจงสนามเล่น เล่นกับพระโพธิสัตว์

เรื่อยไป พอเวลาตนแพ้ ก็เอาลูกสกาลูกหนึ่งใส่ปากเสีย ครั้น

พระโพธิสัตว์เห็นเขาทำอย่างนั้น เพื่อจะท้วงว่า กลืนเข้าไปเถิด

ภายหลังเจ้าจักรู้ว่า นี้มันชื่อนี้ จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า

"บุรุษกลืนลูกสกาอันเคลือบด้วยยาพิษ

อย่างแรง ยังไม่รู้ตัว ดูก่อนเจ้าคนร้าย เจ้านักเลง

ชั่ว จงกลืนเถิด จงกลืนกินเข้าไปเถิด ภายหลัง

ผลร้ายจักมีแก่เจ้า" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลิตฺต ความว่า ลูกสกาที่เคลือบ

ไว้แล้ว ย้อมไว้แล้ว.

บทว่า ปรเมน เตชสา ความว่า ด้วยยาพิษอันร้ายแรง

สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์เดชอันสูง.

บทว่า คิล แปลว่า กลืน.

บทว่า อกฺข แปลว่า ลูกสกา.

บทว่า น พุชฺฌติ ความว่า ไม่รู้ตัวว่าเมื่อเรากลืนลูกสกา

นี้อยู่ ชื่อว่าต้องกระทำกรรมนี้.

บทว่า คิล เร ความว่า กลืนเถิดเจ้าคนร้าย.

พระโพธิสัตว์กล่าวย้ำซ้ำเตือนอีกว่า คิล จงกลืน.

บทว่า ปุจฺฉา เต กฏุก ภวิสฺสติ ความว่า เมื่อเจ้ากลืน

ลูกสกานี้ไปแล้ว ภายหลังพิษอันร้ายแรงจักมี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 324

ขณะเมื่อพระโพธิสัตว์กำลังพูดอยู่นั่นแหละ เขาสลบไป

แล้วด้วยกำลังของยาพิษ นัยน์ตากลับ คอตก ล้มฟาดลง พระ-

โพธิสัตว์คิดว่า ควรจะให้ชีวิตเป็นทานแม้แก่เขา จึงให้ยาสำรอก

ที่ปรุงด้วยโอสถจนสำรอกออกมา และให้กินเนยใส น้ำอ้อย น้ำผึ้ง

และน้ำตาลกรวด เป็นต้น ทำให้หายโรค แล้วสั่งสอนว่า อย่าได้

กระทำกรรมเห็นปานนี้อีก ดังนี้แล้วกระทำบุญมีทานเป็นต้น

ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการไม่พิจารณาแล้วบริโภค ย่อม

เป็นเช่นกับการบริโภคยาพิษ อันตนเคยกระทำไว้ แล้วทรง

ประชุมชาดกว่า นักเลงผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้มาเป็นเรา

ตถาคต ส่วนนักเลงโกง จะไม่กล่าวถึงในเรื่องนี้ เหมือนอย่าง

ผู้ใดไม่ปรากฏในกาลนี้ ผู้นั้นก็ไม่กล่าวถึงในเรื่องทั้งปวง ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาลิตตชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

๒. มหาสารชาดก

ว่าด้วยลักษณะของผู้ที่เหมาะสมกับเหตุการณ์

[๙๒] "ยามคับขันย่อมปรารถนาผู้กล้าหาญ

ยามปรึกษาการงาน ย่อมปรารถนาคนไม่พูด-

พล่าม ยามมีข้าวน้ำย่อมปรารถนาคนอันเป็นที่รัก

แห่งตน ยามต้องการเหตุผล ย่อมปรารถนา

บัณฑิต"

จบ มหาสารชาดกที่ ๒

อรรถกถามหาสารชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระอานันทเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น

ว่า อุกกฏฺเ สูรมิจฺฉนฺติ ดังนี้.

สมัยหนึ่ง เหล่าพระสนมของพระเจ้าโกศลคิดกันว่า ขึ้น

ชื่อว่า การเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า เป็นสภาพหาได้ยาก

การกลับได้เกิดเป็นมนุษย์ และความเป็นผู้มีอายตนะบริบูรณ์เล่า

ก็หาได้ยากเหมือนกัน อนึ่งพวกเราแม้จะได้พบความพร้อมมูล

แห่งขณะซึ่งหาได้ยากนี้ ก็ไม่ได้เพื่อจะไปสู่พระวิหาร ฟังธรรม

หรือกระทำการบูชา หรือให้ทานตามความพอใจของตนได้ ต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 326

อยู่กันเหมือนถูกเก็บเข้าไว้ในหีบ พวกเราจักกราบทูลพระราชา

ให้ทรงพระกรุณาโปรดนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งสมควร

แสดงธรรมโปรดพวกเรา จักพากันฟังธรรมในสำนักของท่าน

ข้อใดที่พวกเราต้องศึกษา ก็จักพากันเรียนข้อนั้นจากท่าน พากัน

บำเพ็ญบุญมีให้ทานเป็นต้น ด้วยประการอย่างนี้ การได้เฉพาะ

ซึ่งขณะนี้ของพวกเรา จักมีผล พระสนมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด พากัน

เข้าเฝ้าพระราชา กราบทูลเหตุที่คบคิดกัน พระราชาทรงรับสั่ง

ว่าดีแล้ว ครั้นวันหนึ่ง มีพระประสงค์จะทรงเล่นอุทยาน รับสั่ง

ให้เรียกนายอุทยานบาลมาเฝ้า ตรัสว่า เจ้าจงชำระอุทยาน

นายอุทยานบาล เมื่อจะชำระอุทยาน พบพระศาสดาประทับนั่ง

ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง รีบไปสู่ราชสำนัก กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้สมมติเทพ อุทยานสะอาดราบรื่นแล้ว ก็แต่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่ง ณ โคนไม้ต้นหนึ่งในอุทยานนั้น พระเจ้าข้า. พระราชา

ตรัสว่า ดีแล้วสหาย เราจักไปฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา

เสด็จขึ้นราชรถทรง อันประดับแล้วเสด็จไปสู่พระอุทยาน ได้

เสด็จไปสู่สำนักของพระศาสดา.

ก็ในสมัยนั้น อุบาสกผู้เป็นพระอนาคามีผู้หนึ่ง ชื่อว่า

ฉัตตปาณี นั่งฟังธรรมอยู่ในสำนักของพระศาสดา. พระราชา

เห็นฉัตตปาณีอุบาสกแล้วเกิดระแวง ประทับหยุดอยู่ครู่หนึ่ง

แล้วทรงพระดำริว่า ถ้าบุรุษผู้นี้เป็นคนชั่วละก็คงไม่นั่งฟังธรรม

ในสำนักของพระศาสดา ชะรอยบุรุษผู้นี้จักไม่ใช่คนชั่ว แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 327

เสด็จเข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วเสด็จประทับนั่ง ณ

ส่วนข้างหนึ่ง อุบาสกมิได้กระทำการรับเสด็จ หรือการถวาย

บังคม ด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุนั้น พระราชา

จึงไม่ทรงพอพระทัยฉัตตปาณีอุบาสก. พระศาสดาทรงทราบความ

ที่พระราชาไม่ทรงพอพระทัยอุบาสก จึงตรัสคุณของอุบาสกว่า

มหาบพิตร ผู้นี้เป็นอุบาสก. เป็นพหูสูต คงแก่เรียน ปราศจาก

ความกำหนัดในกาม พระราชาทรงพระดำริว่า พระศาสดา

ทรงทราบคุณของผู้ใด ต้องเป็นคนไม่ต่ำ จึงตรัสว่า อุบาสก

ท่านต้องการสิ่งใด ก็ควรบอกได้ อุบาสกรับสนองพระดำรัสว่า

ดีแล้ว พระเจ้าข้า. พระราชาทรงสดับพระธรรม ในสำนักของ

พระศาสดาแล้ว ทรงกระทำปทักษิณพระศาสดา แล้วเสด็จกลับไป.

วันหนึ่ง พระราชาทรงเปิดพระแกล ประทับยืน ณ ปราสาท

ชั้นบน ทอดพระเนตรเห็นอุบาสกนั้น บริโภคอาหารเย็นแล้ว

ถือร่มเดินไปสู่พระเชตวัน ก็รับสั่งให้ราชบุรุษไปเชิญมาเฝ้า

แล้วตรัสอย่างนี้ว่า อุบาสก ได้ยินว่า ท่านเป็นพหูสูต พวกหญิง

ของเรา ต้องการจะฟังและต้องการจะเรียนธรรม พึงเป็นการดี

หนอ ธรรมดาคฤหัสถ์ทั้งหลาย ไม่เหมาะสมที่จะแสดงธรรม

หรือบอกธรรมในพระราชสถานฝ่ายใน เรื่องนั้นเหมาะแก่พระ-

ผู้เป็นเจ้าทั้งหลายเท่านั้น พระเจ้าข้า. พระราชาทรงพระดำริว่า

อุบาสกนี้พูดจริง ทรงส่งท่านไป รับสั่งให้หาพระสนมมาเฝ้า

มีพระดำรัสว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เราจะไปสู่สำนักพระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 328

กราบทูลขอภิกษุรูปหนึ่ง เพื่อแสดงธรรมและบอกธรรมแก่พวกเธอ

ในพระมหาสาวกทั้ง ๘๐ องค์ เราจักทูลขอองค์ไหนดี. พระสนม

ทั้งหมดปรึกษากัน กราบทูลถึงพระอานนทเถระผู้เป็นคลังพระ-

ธรรมองค์เดียว พระราชาก็เสด็จไปสู่สำนักพระศาสดา ถวาย

บังคมแล้วประทับ ณ ส่วนข้างหนึ่ง พลางกราบทูลอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกหญิงในวังของหม่อมฉัน ปรารถนา

จะฟังและเรียนธรรมในสำนักของพระอานนทเถระ จะพึงเป็น

การดีหนอพระเจ้าข้า ถ้าพระเถระพึงแสดงธรรม พึงบอกธรรม

ในวังของหม่อมฉัน พระศาสดาทรงรับคำว่า ดีแล้ว มหาบพิตร

แล้วตรัสสั่งพระเถระเจ้า จำเดิมแต่นั้นพระสนมของพระราชา

ก็พากันฟังและเรียนธรรมในสำนักของพระเถระเจ้า.

ภายหลังวันหนึ่ง พระจุฬามณีของพระราชาหายไป. พระ-

ราชาทรงทราบความที่พระจุฬามณีนั้นหายไป ทรงบังคับพวก

อำมาตย์ว่า พวกเจ้าจงจับมนุษย์ผู้รับใช้ภายในทั้งหมด บังคับ

ให้นำจุฬามณีคืนมาให้ได้ พวกอำมาตย์สืบถามพระจุฬามณี

ตั้งต้นแต่มาตุคาม ก็ไม่ได้ความ ทำให้มหาชนพากันลำบาก ใน

วันนั้น พระอานันทเถระเจ้าเข้าสู่พระราชวัง พวกพระสนม

เหล่านั้น ก่อน ๆ พอเห็นพระเถระเจ้าเท่านั้น ก็พากันร่าเริงยินดี

ตั้งใจฟัง ตั้งใจเรียนธรรม หาได้กระทำอย่างนั้นไม่ ทุก ๆ คน

ได้พากันโทมนัสไปทั่วหน้า ครั้นพระเถระถามว่า เหตุไรพวกเธอ

จึงพากันเป็นเช่นนี้ ในวันนี้ ก็พากันกราบเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

พระคุณเจ้าผู้เจริญ พวกอำมาตย์กล่าวว่า พวกเราจักค้นหา

พระจุฬามณีของพระราชา พากันจับพวกมาตุคามไว้ ทำให้

คนใช้สอยข้างในลำบากไปตาม ๆ กัน พวกดิฉันก็ไม่ทราบว่า

ใครจักเป็นอย่างไร ? เหตุนั้น พวกดิฉันจึงพากันกลุ้มใจเจ้าค่ะ

พระเถระกล่าวปลอบพวกนางว่า อย่าคิดมากไปเลย ดังนี้แล้ว

ไปสู่สำนักพระราชา นั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้ ถวายพระพรถามว่า

มหาบพิตร ได้ทราบว่า แก้วมณีของมหาบพิตรหายไปหรือ ?

พระราชารับสั่งว่า ขอรับ พระคุณเจ้าผู้เจริญ.

ถวายพระพรว่า ก็มหาบพิตรไม่ทรงสามารถจะให้ใคร

นำพาคืนได้หรือ ขอถวายพระพร ?

รับสั่งว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าสั่งให้จับคนข้างใน

ทุกคน ถึงจะทำให้ลำบาก ก็ยังไม่อาจให้นำมาได้ ขอรับ.

ถวายพระพรว่า มหาบพิตร อุบายที่จะไม่ต้องให้มหาชน

ลำบาก แล้วให้เขานำมาคืน ยังพอมีอยู่ ขอถวายพระพร.

รับสั่งว่า เป็นอย่างไร พระคุณเจ้า ?

ถวายพระพรว่า บิณฑทานซิ มหาบพิตร.

รับสั่งถามว่า บิณฑทานเป็นอย่างไร ขอรับ ?

ถวายพระพรว่า มหาบพิตรมีความสงสัยคนมีประมาณ

เท่าใด ก็จับคนเหล่านั้นเท่านั้น แล้วให้ฟ่อนฟาง หรือก้อนดิน

ไปคนละฟ่อน หรือคนละก้อน บอกว่า เวลาย่ำรุ่ง ให้นำฟ่อนฟาง

หรือก้อนดินนี้มาโยนทิ้งไว้ที่ตรงโน้น ผู้ใดเป็นคนเอาไป ผู้นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 330

จักซุกจุฬามณีไว้ในฟ่อนฟางหรือก้อนดินนั้น นำมาโยนไว้ ถ้า

พากันเอามาโยนให้ในวันแรกทีเดียว นั่นเป็นความดี ผิไม่นำมา

โยนให้ ก็พึงกระทำอย่างนั้นแหละต่อไป แม้ในวันที่สองที่สาม

ด้วยวิธีนี้มหาชนจักไม่ต้องพลอยลำบากด้วย จักต้องได้แก้วมณี

ด้วย ขอถวายพระพร ครั้นถวายพระพรอย่างนี้แล้ว พระเถระเจ้า

ก็ถวายพระพรลาไป.

พระราชาได้รับสั่งให้พระราชทาน โดยนัยที่พระเถระเจ้า

ถวายพระพรไว้ตลอด ๓ วัน ไม่มีใครนำแก้วมณีมาคืนเลย ใน

วันที่ ๓ พระเถระเจ้าก็มาถวายพระพรถามว่า มหาบพิตร ใคร

เอาแก้วมณีมาโยนให้แล้วหรือ ?

รับสั่งว่า ยังไม่มีใครนำมาโยนให้เลย ขอรับ.

ถวายพระพรว่า ถ้าเช่นนั้น มหาบพิตรจงโปรดรับสั่งให้

ตั้งตุ่มใหญ่ไว้ในที่กำบังในท้องพระโรงใหญ่นั่นแหละ ให้ตักน้ำ

ใส่ให้เต็ม ให้วงม่าน แล้วรับสั่งว่า พวกมนุษย์ที่รับใช้ข้างใน

ทุกคนและพวกสตรี จงห่มผ้าเข้าไปในม่านทีละคน ๆ จงล้างมือเสีย

แล้วออกมา. พระเถระเจ้าถวายพระพรบอกอุบายนี้แล้ว ก็ถวาย

พระพรลาหลีกไป. พระราชารับสั่งให้กระทำอย่างนั้น. คนที่

ขโมยแก้วมณีไป ได้คิดว่า พระเถระเจ้าผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก

มาคุมอธิกรณ์เรื่องนี้ ยังไม่ได้แก้วมณี จักระบุตัวได้ คราวนี้

เราควรจะทิ้งแก้วนั้น แล้วถือเอาแก้วซ่อนไว้มิดชิด เข้าไปภายใน

ม่าน ทิ้งไว้ในตุ่มแล้วรีบออก ในเวลาออกกันหมดทุกคนแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 331

พวกราชบุรุษเทน้ำทิ้ง ได้เห็นแก้วมณี พระราชาทรงดีพระทัย

ว่า เราอาศัยพระเถระเจ้า มิต้องให้มหาชนลำบากเลย ได้แก้วมณี

แล้ว ถึงพวกมนุษย์ที่เป็นพวกรับใช้ฝ่ายใน ก็พากันยินดีว่า

พวกเราพากันอาศัยพระเถระเจ้า พากันพ้นจากทุกข์อันใหญ่หลวง

อานุภาพของพระเถระเจ้าที่ว่า พระราชาทรงได้พระจุฬามณี

ด้วยอานุภาพของพระเถระเจ้า ลือชาปรากฏไปในพระนครทั้งสิ้น

และในภิกษุสงฆ์.

พวกภิกษุนั่งประชุมกันในธรรมสภา พรรณนาคุณของ

พระเถระเจ้าว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระอานนทเถระไม่ต้องให้

มหาชนลำบาก ใช้อุบายเท่านั้น แสดงแก้วมณีให้พระราชาได้

เพราะท่านเป็นพหูสูต เป็นบัณฑิต และเป็นผู้ฉลาดในอุบาย

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูล

ให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า มิใช่อานนท์ผู้เดียวที่แสดงภัณฑะอัน

ตกถึงมือผู้อื่นได้ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนบัณฑิตทั้งหลาย

มิต้องให้มหาชนลำบากเลย ใช้แต่อุบายเท่านั้น ก็แสดงภัณฑะ

อันตกถึงมือสัตว์ดิรัจฉานได้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา

ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เรียนจบศิลปศาสตร์ทุกอย่างแล้ว

ได้เป็นอำมาตย์ของพระเจ้าพรหมทัตพระองค์นั้นแหละ อยู่มา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 332

วันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปสู่พระอุทยาน ด้วยบริวารเป็นอันมาก

เสด็จเที่ยวไปสู่ละแวกป่า แล้วทรงพระประสงค์จะทรงอุทกกีฬา

เสด็จลงสู่สระโบกขรณีอันเป็นมงคล รับสั่งเรียกแม้นางใน.

พวกสตรีต่างก็เปลื้องอาภรณ์ มีเครื่องประดับศีรษะและประดับคอ.

เป็นต้น ใส่ในผ้าห่มวางไว้บนหลังหีบ มอบให้ทาสีทั้งหลายรับไว้

แล้วพากันลงสู่โบกขรณี. ครั้งนั้นนางลิงอยู่ในสวนตัวหนึ่ง นั่งเจ่า

เหนือกิ่งไม้ เห็นพระเทวีทรงเปลื้องเครื่องประดับทรงใส่ไว้ใน

ผ้าทรงสพัก แล้วทรงวางไว้หลังพระสมุค นึกอยากจะแต่งสร้อย

มุกดาหารของพระนาง นั่งจ้องดูความเผลอเลอของนางทาสีอยู่

ฝ่ายนางทาสีผู้เฝ้า ก็มัวนั่งมองดูในที่นั้นอยู่ เลยง่วงหลับไป

นางลิงรู้ความที่นางทาสีประมาท โดดลงโดยรวดเร็วปานลมพัด

สอดสวมสร้อยมุกดาหารใหญ่ที่คอ แล้วโดดขึ้นรวดเร็วปานลม

เหมือนกัน กลับนั่งเหนือกิ่งไม้ กลัวนางลิงตัวอื่น ๆ จะเห็น จึง

ซุกไว้ที่โพรงไม้แห่งหนึ่ง แสร้งทำเป็นเหมือนสงบเสงี่ยม นั่งเฝ้า

เครื่องประดับนั้นไว้ ฝ่ายนางทาสีนั้นเล่า ตื่นขึ้นไม่เห็นมุกดาหาร

ก็ตัวสั่น ครั้นไม่เห็นอุบายอื่น ก็ต้องตะโกนว่า คนแย่งมุกดาหาร

ของพระเทวีหนีไปแล้ว พวกมนุษย์ที่เฝ้าแหน ประชุมกันตาม

ตำแหน่งนั้น ๆ ครั้นได้ยินคำของนาง ก็กราบทูลแด่พระราชา

พระราชารับสั่งว่า พวกท่านจงจับโจรให้ได้ พวกราชบุรุษ

ทั้งหลายก็พากันออกจากพระราชอุทยาน กล่าวว่า พวกท่าน

จงจับโจร จงจับโจร พากันค้นหาทางโน้น ทางนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 333

ขณะนั้น บุรุษผู้กระทำพลีกรรมชาวชนบทคนหนึ่ง ได้ยิน

เสียงนั้น ก็หวั่นหวาดวิ่งหนี พวกราชบุรุษเห็นเข้าก็กวดตามไป

ว่า คนนี้เป็นโจร จับเขาได้ โบยพลางตวาดพลาง เฮ้ย ไอ้โจรชั่ว

มึงกล้าลักเครื่องประดับชื่อมหาสารอย่างนี้เทียวนะ เขาคิดว่า

ถ้าเราจักบอกว่า ฉันไม่ได้เอาไป วันนี้คงไม่รอดชีวิต พวก

ราชบุรุษคงโบยเราเรื่อยไปจนถึงตาย จำเราต้องรับ เขาจึงบอก

ว่า นายขอรับ กระผมนำไปเอง ทีนั้นพวกราชบุรุษก็พากันมัดเขา

นำมาสู่สำนักพระราชา ฝ่ายพระราชาตรัสถามว่า เครื่องประดับ

มีค่ามาก เจ้าลักไปหรือ ? กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ

เป็นความจริงพระเจ้าข้า รับสั่งถามว่า บัดนี้เอาไปไว้ที่ไหน ?

บุรุษนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่

มีค่ามาก แม้เตียงตั่งข้าพระองค์ก็ไม่เคยเห็น แต่ท่านเศรษฐีบอก

ให้ข้าพระองค์ลักเครื่องประดับมีค่ามากนั้น ข้าพระองค์จึงลัก

เอาไป แล้วมอบให้ท่านไป ท่านเศรษฐีนั่นแหละถึงจะรู้ พระราชา

รับสั่งให้หาท่านเศรษฐีมาเฝ้า รับสั่งถามว่า เครื่องประดับมี

ค่ามาก ท่านรับเอาจากมือคนนี้ไว้หรือ ? เศรษฐีกราบทูลว่า

พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ รับสั่งถามว่า ท่านเอาไว้

ที่ไหนเล่า ? กราบทูลว่า ให้ท่านปุโรหิตไปแล้วพระเจ้าข้า

รับสั่งให้เรียกปุโรหิตแม้นั้นมาเฝ้า รับสั่งเช่นนั้นแหละ ถึงท่าน

ปุโรหิตเองก็รับ แล้วกราบทูลว่า ข้าพระองค์ให้แก่คนธรรพ์

ไปแล้ว รับสั่งให้เรียกคนธรรพ์มาเฝ้า รับสั่งถามว่า เจ้ารับเอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 334

เครื่องประดับมีค่ามากไปจากมือปุโรหิต หรือ ? กราบทูลว่า

พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ รับสั่งถามว่า เอาไว้

ที่ไหน ? กราบทูลว่า ข้าพระองค์ให้แก่นางวัณณทาสีไปแล้ว

ด้วยอำนาจแห่งกิเลส รับสั่งให้เรียกนางวัณณทาสีมาตรัสถาม

นางกราบทูลว่า กระหม่อมฉันมิได้รับไว้ เมื่อสอบถามคนทั้ง ๕

กว่าจะทั่ว ดวงอาทิตย์ก็อัษฎงค์ พระราชารับสั่งว่า บัดนี้มืดค่ำ

เสียแล้ว เราจักต้องรู้เรื่องในวันพรุ่งนี้ มอบคนทั้ง ๕ เหล่านั้น

แก่พวกอำมาตย์ แล้วเสด็จเข้าสู่พระนคร.

พระโพธิสัตว์ดำริว่า เครื่องประดับนี้หายในวงภายใน

ส่วนคฤหบดีนี้เป็นคนภายนอก การเฝ้าประตูเล่าก็เข้มแข็ง เหตุนั้น

แม้จะเป็นคนอยู่ข้างในลักเครื่องประดับนั้น ก็ไม่อาจหนีรอด

เมื่อเป็นเช่นนี้ ลู่ทางที่คนข้างนอกจะลักก็ดี ที่คนรับใช้ในสวน

จักลักก็ดี ไม่มีวี่แววเลย คำที่ทุคคตมนุษย์นี้กล่าวว่า ข้าพระองค์

ให้เศรษฐีไปแล้ว ต้องเป็นคำกล่าวเพื่อเปลื้องตน ถึงที่เศรษฐี

กล่าวว่าให้แก่ปุโรหิตเล่า จักเป็นอันกล่าวเพราะคิดว่า พวกเรา

ต้องร่วมกันสะสาง แม้ที่ท่านปุโรหิตกล่าวว่า ให้คนธรรพ์ไปแล้ว

ก็คงเป็นอันกล่าวเพราะคิดว่า พวกเราต้องอาศัยคนธรรพ์ จักพา

กันอยู่สบายในเรือนจำ ที่คนธรรพ์พูดว่าให้นางวัณณทาสีไปแล้ว

ก็จักเป็นอันกล่าวเพราะคิดว่า พวกเราจักไม่ต้องนึกกระสันอยู่

แม้ทั้ง ๕ คนเหล่านี้ คงไม่ใช่โจรทั้งนั้น ในอุทยานมีลิงเป็นอันมาก

อันเครื่องประดับคงตกอยู่ในมือนางลิงตัวหนึ่งเป็นแน่ พระโพธิสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 335

จึงเข้าเฝ้าพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร ขอได้โปรด

ทรงพระกรุณามอบโจรเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะ

ชำระเรื่องนั้นเอง พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งว่า ดีแล้วพ่อบัณฑิต

เธอจงชำระเถิด แล้วทรงมอบคนเหล่านั้นแก่พระโพธิสัตว์ พระ-

โพธิสัตว์ให้เรียกคนใช้ผู้ชายของตนมา ให้คนทั้ง ๕ ไปอยู่ในที่

แห่งเดียวกันทั้งหมด กระทำการควบคุมโดยสงบ สั่งให้แอบฟังว่า

พวกนั้นพูดคำใดกันบ้าง เจ้าทั้งหลายจงบอกคำนั้นแก่เรา แล้ว

หลีกไป พวกคนเหล่านั้น ก็ได้กระทำอย่างนั้นแล้ว.

ครั้นถึงเวลาที่พวกมนุษย์สนทนากัน ท่านเศรษฐีกล่าวกะ

คฤหบดีนั้นว่า เฮ้ย ! ไอ้คฤหบดีชั่ว มึงเคยพบกูหรือกูเคยพบมึง

ในครั้งไหน มึงให้เครื่องประดับกูเมื่อไร ? คฤหบดีกล่าวว่า

ข้าแต่ท่านมหาเศรษฐีผู้เป็นเจ้านาย ผมไม่รู้จักสิ่งที่ชื่อว่า มหาสาร

จะเป็นเตียงตั่งที่มีเท้าทำด้วยแก่นไม้ ก็ไม่รู้จัก ที่ได้พูดอย่างนั้น

เพราะคิดว่า จักอาศัยท่านได้ความรอดพ้น โปรดอย่าโกรธผมเลย

ขอรับ แม้ปุโรหิตก็พูดกับท่านเศรษฐีว่า ท่านให้เครื่องประดับ

ที่คฤหบดีนี้มิได้ให้แก่ท่านเลย แก่เราได้อย่างไรกัน ? ท่าน-

เศรษฐีกล่าวว่า ข้าพเจ้ากล่าวไป เพราะคิดว่า เราทั้งสองเป็น

คนใหญ่คนโต ในเวลาที่เราไปร่วมพูดจากัน การงานจักสำเร็จ

ไปโดยเร็ว ฝ่ายคนธรรพ์ก็กล่าวกะปุโรหิตว่า ดูก่อนพราหมณ์

ท่านให้เครื่องประดับแก่ผม เมื่อไรกัน ? โรหิตกล่าวว่า ข้าพเจ้า

กล่าวไป เพราะคิดว่า จักได้อาศัยท่านอยู่เป็นสุขในที่ที่ถูกคุมขัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 336

แม้นางวัณณทาสีก็กล่าวกะคนธรรพ์ว่า ไอ้คนร้าย คนธรรพ์ชาติชั่ว

เราเคยไปหาเจ้า หรือเจ้าเคยมาหาเราแต่ครั้งไร เจ้าให้เครื่อง

ประดับแก่เราในเวลาไร ? คนธรรพ์กล่าวว่า น้องเอ๋ย เพราะ

เหตุไรจะต้องมาโกรธเคืองข้าพเจ้าด้วยเล่า เมื่อพวกเราทั้ง ๕ คน

อยู่ร่วมกัน เรื่องเพศสัมพันธ์จักต้องมี อาศัยเจ้า พวกเราจักไม่ต้อง

หงอยเหงา อยู่ร่วมกันอย่างสบาย ดังนี้.

พระโพธิสัตว์ฟังถ้อยคำนั้น จากสำนักของคนที่จัดไว้

ทราบความที่พวกนั้นไม่ใช่โจรโดยแน่นอน คิดว่า เครื่องประดับ

ต้องเป็นนางลิงหยิบเอาไป จักทำอุบายให้มันโยนลงมาจงได้ แล้ว

ทำเครื่องประดับสำเร็จด้วยยางไม้ ให้จับเหล่านางลิงในอุทยาน

แล้วให้แต่งเครื่องประดับยางไม้ ที่มือที่เท้า และที่คอ แล้วปล่อย

ไป ฝ่ายนางลิงตัวที่เฝ้าเครื่องทรงอยู่ ก็นั่งอยู่ในอุทยานนั่นเอง

พระโพธิสัตว์สั่งคนทั้งหลายว่า พวกเธอพากันไปเถิด พากัน

ตรวจดูฝูงนางลิงในอุทยานทุกตัว เห็นเครื่องทรงนั้นอยู่ที่ตัวใด

จงทำให้มันตกใจ แล้วเอาเครื่องประดับมาให้จงได้ ฝูงนางลิง

นั้นเล่า ก็พากันร่าเริงยินดีว่า พวกเราได้เครื่องแต่งตัวกันแล้ว

ต่างก็วิ่งเที่ยวไปมาในอุทยาน ถึงสำนักของนางลิงนั้น พากัน

กล่าวว่า จงดูเครื่องประดับของพวกเรา นางลิงทนไม่ไหว คิดว่า

เรื่องอะไรด้วยเครื่องประดับทำด้วยยางไม้นี้ แล้วแต่งเครื่อง

มุกดาหารมาอวด ครั้งนั้นคนเหล่านั้นเห็นมันแล้ว ทำให้มันทิ้ง

เครื่องทรงแล้วนำมามอบให้พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์นำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 337

เครื่องทรงนั้นไปถวายพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้สมมติเทพ นี้เครื่องทรงของพระองค์ คนแม้ทั้ง ๕ นั้นมิใช่โจร

แต่เครื่องทรงนี้ได้มาจากนางลิงในอุทยาน พระเจ้าข้า. พระราชา

ตรัสถามว่า พ่อบัณฑิต ก็พ่อรู้ความที่เครื่องทรงนี้ตกอยู่ในมือ

นางลิงได้อย่างไร เอาคืนมาได้อย่างไร ? พระโพธิสัตว์กราบทูล

เรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระราชาทรงดีพระทัย ตรัสว่า ธรรมดา

คนกล้าเป็นต้น เป็นบุคคลที่นำปรารถนา ในฐานะตำแหน่ง จอมทัพ

เป็นต้น ดังนี้แล้วเมื่อจะทรงชมเชยพระโพธิสัตว์ ตรัสพระคาถานี้

ความว่า :-

ยามคับขัน ย่อมปรารถนาผู้กล้าหาญ ยาม

ปรึกษาการงาน ย่อมปรารถนาคนไม่พูดพล่าม

ยามมีข้าวน้ำ ย่อมปรารถนาคนเป็นที่รักของตน

ยามต้องการเหตุผลย่อมปรารถนา บัณฑิต ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุกฺกฏฺเ ความว่า ในยาม

คับขัน คือคราวที่ทั้งสองฝ่ายเข้าประชิดกัน อธิบายว่า เมื่อการ

รุกรบในสงครามกำลังดำเนินไป.

บทว่า สูรมิจฺฉนฺติ ความว่า ย่อมปรารถนาผู้ที่กล้าหาญ

อันมีปกติไม่รู้จักถอย แม้เมื่อสายฟ้าจะฟาดลงมาบนกระหม่อม

เพราะว่าในขณะนั้น คนอย่างนี้ควรได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นจอมทัพ.

บทว่า มนฺตีสุ อกุตูหล ความว่า เมื่อเวลามีกิจการที่จะ

ต้องปรึกษา ถึงกิจที่ควรทำและไม่ควรทำ ในเวลาปรึกษากิจการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 338

ย่อมปรารถนาคนที่ไม่พูดพร่ำ ไม่พูดเลื่อนเปื้อน คือไม่แพร่งพราย

ข้อที่ปรึกษากัน เพราะคนลักษณะเช่นนั้น เหมาะที่จะแต่งตั้ง

ในตำแหน่งนั้น ๆ.

บทว่า ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ ความว่า เมื่อข้าวน้ำมีรสอร่อย

ปรากฏขึ้น ย่อมปรารถนาคนอันเป็นที่รัก เพื่อชักชวนให้บริโภค

ร่วมกัน เพราะคนเช่นนั้น จำปรารถนาในเวลานั้น.

บทว่า อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิต ความว่า เมื่ออรรถอันลึกซึ้ง

ธรรมอันลึกซึ้งเกิดขึ้น หรือเมื่อเหตุหรือปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง

เกิดขึ้น ย่อมปรารถนาบัณฑิตผู้มีปัญหาประจักษ์ เพราะท่าน

ผู้มีลักษณะเช่นนั้น ชอบที่จะปรารถนาในสมัยนั้น.

พระราชาตรัสพรรณนาชมเชยพระโพธิสัตว์ ด้วยประการ

ฉะนี้ ทรงบูชาด้วยรัตนะ ๗ ประการ ปานประหนึ่งมหาเมฆ

ยังฝนลูกเห็บให้ตกฉะนั้น ดำรงค์พระองค์ในโอวาทของพระ-

โพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญบุญมีให้ทานเป็นต้น เสด็จไปตามยถากรรม

แม้พระโพธิสัตว์ก็ไปตามยถากรรม.

พระบรมศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วตรัส

คุณของพระเถระเจ้า ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น

ได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเรา

ตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามหาสารชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 339

๓. วิสสาสโภชนาชาดก

ว่าด้วยการไว้วางใจ

[๙๓] " ก็บุคคลไม่ควรไว้วางใจ ในผู้ที่ยังไม่

คุ้นเคยกัน แม้ผู้ที่คุ้นเคยกันแล้ว ก็ไม่ควรไว้

วางใจ ภัยย่อมมาจากผู้ที่คุ้นเคยกัน เหมือนภัย

ของราชสีห์ เกิดจากแม่เนื้อ ฉะนั้น "

จบ วิสสาสโภชนชาดกที่ ๓

อรรถกถาวิสสาสโภชนชาดกที่ ๓

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภการบริโภคด้วยความวางใจ ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า น วิสฺสเส อวิสฺสฏฺเ ดังนี้.

ความย่อว่า ในสมัยนั้น พวกภิกษุโดยมากพากันวางใจ

ไม่พิจารณาบริโภคปัจจัย ๔ ที่หมู่ญาติถวาย เพราะคิดเสียว่า

มารดาของพวกเราถวาย บิดาของพวกเราถวาย พี่ชายน้องชาย

พี่สาวน้องสาว น้า อา ลุง ป้า ถวาย คนเหล่านี้ สมควรจะให้

แก่เรา แม้ในเวลาเป็นคฤหัสถ์มาแล้ว ถึงในเวลาเราเป็นภิกษุ

ก็คงเป็นผู้สมควรจะให้ได้ พระศาสดาทรงทราบเหตุนั้น ทรง

พระดำริว่า สมควรที่เราจะแสดงพระธรรมเทศนา แก่ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 340

ทั้งหลาย ดังนี้แล้วรับสั่งให้เรียกประชุมภิกษุ แล้วตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุต้องพิจารณาแล้วจึงค่อยทำการ

บริโภคปัจจัย ๔ แม้ที่พวกญาติพากันถวาย ด้วยว่าพวกภิกษุ

ที่ไม่พิจารณาแล้วบริโภคเมื่อทำกาละ ย่อมไม่พ้นจากอัตภาพ

แห่งยักษ์และเปรต ขึ้นชื่อว่าการบริโภคปัจจัย ๔ ที่ไม่พิจารณา

นี้ เป็นเช่นกับการบริโภคยาพิษ แม้ที่คนคุ้นเคยกันให้แล้วก็ตาม

แม้ที่คนไม่คุ้นกันให้แล้วก็ตาม ย่อมทำให้ตายได้ทั้งนั้น แม้ใน

ครั้งก่อนสัตว์ทั้งหลายบริโภคยาพิษที่เขาให้ด้วยความพิศวาส

ถึงความสิ้นชีวิตไปแล้ว อันภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา

ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นเศรษฐีมีสมบัติมาก คนเลี้ยงโค

ของท่านคนหนึ่ง ต้อนฝูงโคเข้าป่า ในสมัยที่ภูมิภาคแออัดไปด้วย

ข้าวกล้า ตั้งคอกเลี้ยงโคอยู่ในป่านั้น และนำโครสมาให้ท่าน-

เศรษฐีตามเวลา ก็แลในที่ไม่ห่างคนเลี้ยงโคนั้น สีหะยึดเอาเป็น

ที่อยู่อาศัย เพื่อพวกโคซูบผอมไปเพราะหวาดหวั่นต่อสีหะ น้ำนม

ก็ใส อยู่มาวันหนึ่งคนเลี้ยงโคนำเอานมมาให้ ท่านเศรษฐีจึงถามว่า

สหายโคบาลเป็นอย่างไรหรือ น้ำนมจึงได้ใส เขาแจ้งเหตุนั้น

ท่านเศรษฐีถามว่า สหาย ก็ความปฏิพัทธ์ในอะไร ๆ ของสีหะนั้น

มีบ้างไหม ? เขาตอบว่า มีครับนาย มันติดพันแม่เนื้อตัวหนึ่ง.

ท่านเศรษฐีถามว่า แกสามารถจะจับแม่เนื้อนั้นได้ไหม ? เขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 341

ตอบว่า พอจะทำได้ครับนาย ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น

เจ้าจงจับมันให้ได้ เอายาพิษย้อมขนที่ตัว ตั้งแต่หน้าผากของมัน

ขึ้นไปพลาย ๆ ครั้ง ทำให้แห้ง กักไว้สอง-สามวัน ค่อยปล่อย

แม่เนื้อนั้นไป สีหะนั้นจักเลียสรีระของแม่เนื้อนั้นด้วยเสน่หา

ถึงความสิ้นชีวิตเป็นแน่ ทีนั้นเจ้าจงเอาหนังเล็บเขี้ยวและเนื้อ

ของมันมาให้ แล้วมอบยาพิษอย่างแรงให้ส่งตัวไป คนเลี้ยงโค

วางข่ายจับแม่เนื้อนั้นได้ด้วยอุบาย แล้วได้กระทำตามสั่ง สีหะ

เห็นแม่เนื้อนั้นแล้ว เลียสรีระของแม่เนื้อนั้นด้วยเสน่หาอย่าง

รุนแรง ถึงความสิ้นชีวิต ฝ่ายคนเลี้ยงโค ก็เอาหนังเป็นต้น ไปสู่

สำนักพระโพธิสัตว์.

พระโพธิสัตว์ทราบเหตุนั้นแล้ว กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าเสน่หา

ในพวกอื่นไม่ควรกระทำ สีหะผู้เป็นมฤคราช ถึงจะสมบูรณ์ด้วย

กำลังอย่างนี้ ก็เพราะอาศัยความติดพันด้วยอำนาจกิเลส เลีย

สรีระของแม่เนื้อ ทำการบริโภคยาพิษ ถึงสิ้นชีวิตไปแล้ว เมื่อ

จะแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน กล่าวคาถานี้ ความว่า

บุคคลไม่ควรไว้วางใจในผู้ที่ยังไม่คุ้นเคย

กัน แม้ผู้ที่คุ้นเคยกันแล้ว ก็ไม่ควรไว้วางใจ

ภัยย่อมมาจากผู้ที่คุ้นเคยกัน เหมือนภัยของ

ราชสีห์เกิดจากแม่เนื้อ ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น มีความสังเขปดังนี้ ผู้ใดในกาลก่อน เคยเป็น

ภัยยังไม่เป็นที่มักคุ้นกับตน ไม่พึงวางใจ คือไม่พึงทำความมักคุ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 342

กับผู้ไม่คุ้นเคยนั้น ผู้ใดแม้ในกาลก่อนจะไม่เคยเป็นภัย เป็นผู้

สนิทสนมมักคุ้นอยู่กับตน แม้ในมักคุ้นกันนั้น ก็ไม่ควรวางใจ

คือไม่พึงทำความสนิทสนมเลยทีเดียว เพราะเหตุไร ? เพราะ

ภัยย่อมมาจากผู้ที่คุ้นเคยกัน ได้แก่ภัยนั่นแหละ ย่อมมาแต่ความ

คุ้นเคยทั้งในมิตร ทั้งในอมิตร อย่างไร ? เหมือนอย่างภัยของ

ราชสีห์ เกิดแต่แม่เนื้อฉะนั้น คืออย่างเดียวกันกับภัยที่มาถึง

กระชั้นชิดประจวบเข้าแก่สีหะ จากสำนักแม่เนื้อที่ตนกระทำ

ความวางใจ ด้วยอำนาจมิตตสันถวะ อีกนัยหนึ่งมีอธิบายว่า

อย่างเดียวกันกับแม่เนื้อที่ปรารถนาจะมาหา เข้าใกล้สีหะด้วย

ความพิศวาสดังนี้บ้าง.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่บริษัทที่มาประชุมกัน ด้วย

ประการฉะนี้ ทำบุญทั้งหลายมีให้ทานเป็นต้น แล้วไปตาม

ยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า มหาเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาวิสสาสโภชนชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 343

๔. โลมหังสชาดก

ว่าด้วยการแสวงหาอย่างประเสริฐ

[๙๔] " เราเร่าร้อนแล้ว หนาวเหน็บแล้ว อยู่

ผู้เดียวในป่าอันน่าสะพึงกลัว เป็นคนเปลือย

ไม่ได้ผิงไฟ เป็นมุนีขวนขวายแล้ว ในการ

แสวงบุญ "

จบ โลมหังสชาดกที่ ๔

อรรถกถาโลมหังสชาดกที่ ๔

พระศาสดาทรงอาศัยพระนครเวสาลี ประทับอยู่ ณ

ปาฏิการาม ทรงปรารภท่านพระสุนักขัตตะ ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โสตตฺโต โสสีโต ดังนี้.

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่งท่านพระสุนักขัตตะเป็นผู้

อุปัฏฐากพระศาสดา ถือบาตรจีวรตามเสด็จไป เกิดพอใจธรรม

ของโกรักขัตติยปริพาชก ถวายบาตรจีวรคืนพระทศพล ไปอาศัย

โกรักขัตติยปริพาชก ในเมื่อโกรักขัตติยปริพาชกนั้นไปเกิดใน

กำเนิดอสูรพวกกาลัญชิกะ จึงสึกเป็นคฤหัสถ์เที่ยวกล่าวติโทษ

พระศาสดา ตามแนวกำแพงทั้ง ๓ ในพระนครเวสาลีว่า อุตตริ-

มนุษยธรรม คือญาณทัสสนอันวิเศษซึ่งพอแก่ความเป็นพระอริยเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 344

ของพระสมณโคดม ไม่มีดอก พระสมณโคดมแสดงธรรมที่ตน

กำหนดนึกเอาเอง ค้นคว้าเอาตามที่สอบสวน เป็นปฏิภาณ

ของตนเอง และธรรมที่พระสมณโคดมแสดงนั้นเล่า ก็มิได้

นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้ปฏิบัติตาม คราวนั้น

ท่านพระสารีบุตรเถระเจ้า เที่ยวบิณฑบาต ได้ยินเขากล่าวติโทษ

เรื่อยมา กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็กราบทูลข้อความนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร

สุนักขัตตะเป็นคนมักโกรธ เป็นโมฆบุรุษ กล่าวอย่างนี้ด้วย

อำนาจความโกรธเท่านั้น กล่าวอยู่ว่า ธรรมนั้นมิได้นำไป

เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้ปฏิบัติตามนั้น ดังนี้ แม้ต้อง

อำนาจแห่งความโกรธมาก เพราะเหตุที่ไม่รู้จริง จึงกล่าวโทษ

เราอยู่ตลอดเวลา ก็เขาเป็นโมฆบุรุษ จึงไม่รู้คุณของเรา

เลย ดูก่อนสารีบุตร ที่แท้คุณพิเศษที่ชื่อว่า อภิญญา ๖ ของ

เราก็มี แม้ข้อนี้ก็เป็นอุตตริมนุษยธรรมของเราเหมือนกัน

พล ๑๐ ก็มี เวสารัชชญาณ ๔ ประการก็มี ญาณที่จะ

กำหนดรู้กำเนิดทั้ง ๔ ก็มี ญาณที่จะกำหนดรู้คติทั้ง ๕

ก็มี แม้ข้อนี้ก็เป็นอุตตริมนุษยธรรมของเราเหมือนกัน ก็ผู้ใด

กล่าวว่า เราผู้ถึงพร้อมด้วยอุตตริมนุษยธรรมเพียงเท่านี้ อย่างนี้

ว่า อุตตริมนุสสธรรมของพระสมณโคดมไม่มีดอก ผู้นั้นไม่ละคำ

นั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่ถอนคืนความเห็นนั้น ย่อมถูกฝังในนรก

เหมือนกับถูกจับมาฝัง ฉะนั้น ครั้นตรัสพระคุณแห่งอุตตริมนุษย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

ธรรม ที่มีในพระองค์อย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ได้ยิน

ว่า สุนักขัตตะ เลื่อมใสในมิจฉาตบะ ด้วยกิริยาแห่งกรรมอัน

บุคคลทำได้ยากของโกรักขัตติยะ เมื่อเลื่อมใสอยู่ ก็ไม่สมควร

จะเลื่อมใสในเราทีเดียว ที่จริงในที่สุดแห่งกัป ๙๑ แต่ภัททกัปนี้

เราทดลองมิจฉาตบะของลัทธิภายนอก เพื่อจะรู้ว่าสาระในตบะ

นั้นมีจริงหรือไม่ อยู่บำเพ็ญพรหมจรรย์อันประกอบด้วยองค์ ๔

เรากล่าวได้ว่า เป็นผู้เรืองตบะ เรืองตบะอย่างยอดเยี่ยม เป็น

ผู้เศร้าหมอง เศร้าหมองอย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้น่าเกลียด น่าเกลียด

อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้เงียบ เงียบอย่างยอดเยี่ยม ดังนี้ อันพระ-

เถระเจ้ากราบทูลอาราธนา จึงทรงทำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาลที่สุดแห่งกัปที่ ๙๑ พระโพธิสัตว์ดำริว่า เรา

จักทดลองตบะของพวกนอกลู่นอกทางดู จึงบวชเป็นอาชีวก ไม่

นุ่งผ้า คลุกเคล้าด้วยธุลี เงียบฉี่อยู่คนเดียว เห็นพวกมนุษย์แล้ว

ต้องวิ่งหนี เหมือนมฤคมีมหาวิกัติเป็นโภชนะ บริโภคโคมัยแห่ง

ลูกโคเป็นต้น เพื่อจะอยู่ด้วยความไม่ประมาท จึงอยู่ในไพรสณฑ์

เปลี่ยวตำบลหนึ่งในราวไพร เมื่ออยู่ในถิ่นนั้น เวลาหิมะตกตอน

กลางคืน ออกจากไพรสณฑ์ อยู่กลางแจ้ง ชุ่มโชกด้วยน้ำหิมะ

เวลากลางวันก็ทำนองเดียวกัน ให้ตนชุ่มโชกด้วยหยาดน้ำที่ไหล

จากไพรสณฑ์ เสวยทุกข์แต่ความหนาว ทั้งกลางวันกลางคืน

อยู่อย่างนี้ อนึ่งในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน ตอนกลางวันก็ถึงความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 346

รุ่มร้อนด้วยแสงแดด ณ ที่โล่ง กลางคืนก็อย่างนั้นเหมือนกับถึง

ความรุ่มร้อนอยู่ในไพรสณฑ์ที่ปราศจากลม หยาดเหงื่อไหลออก

จากสรีระ ครั้งนั้น คาถานี้ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย ได้ปรากฏ

แจ่มแจ้งว่า :-

" เราเร่าร้อนแล้ว หนาวเหน็บแล้ว อยู่

ผู้เดียวในป่าอันน่าสพึงกลัว เป็นคนเปลือย ไม่ได้

ผิงไฟ เป็นมุนีขวนขวายแล้ว ในการแสวงบุญ "

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสตตฺโต ความว่า เราเร่าร้อน

ด้วยความแผดเผาจากดวงอาทิตย์.

บทว่า โสสีโต ความว่า เราหนาวเหน็บ คือชุ่มโชกด้วย

น้ำหิมะ.

ด้วยบทว่า เอโก ภิสนเก วเน นี้ ท่านแสดงความว่า เรา

อยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนเลย ในป่าชัฎอันน่าสพึงกลัวถึงกับทำให้

ผู้ที่เข้าไปแล้วต้องขนลุกขนพองโดยมาก.

ด้วยบทว่า นคฺโค น จคฺคิมาสีโน นี้ท่านแสดงว่า เรา

เป็นคนเปลือย ทั้งไม่ได้ผิงไฟ คือแม้จะถูกลมหนาวเบียดเบียน

ก็มิได้อาศัยผ้านุ่งผ้าห่มเป็นต้น และไม่ได้ผิงไฟอีกด้วย.

ด้วยบทว่า เอสนาปสุโต นี้ท่านแสดงว่า แม้ในอพรหมจรรย์

ก็มีความมั่นหมายว่า เป็นพรหมจรรย์ในความเพียรนั้น คือเป็น

ผู้ขวนขวายพากเพียร ถึงความมั่นหมายในการแสวงหาพรหม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 347

จรรย์นั้นอย่างนี้ว่า ก็แลข้อนี้เป็นพรหมจรรย์แท้ การแสวงหา

และการค้นหาเป็นอุบายแห่งพรหมโลก.

ด้วยบทว่า มุนี ท่านแสดงว่า ได้เป็นผู้อันชาวโลก

ยกย่องอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ ปฏิบัติเพื่อต้องการญาณเป็นเครื่องรู้

เป็นมุนีแล.

ก็พระโพธิสัตว์ประพฤติพรหมจรรย์ ประกอบด้วยองค์ ๔

อย่างนี้. เล็งเห็นลางนรกปรากฏชัดขึ้นในเวลารุ่งอรุณ ก็ทราบว่า

การสมาทานวัตรนี้ไร้ประโยชน์ จึงทำลายลัทธินั้นเสียในขณะ

นั้นเอง กลับถือสัมมาทิฏฐิ เกิดในเทวโลกแล้ว.

พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว

ทรงประชุมชาดกว่า สมัยนั้นเราตถาคตได้เป็นอาชีวกนั้นแล.

จบ อรรถกถาโลมหังสชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 348

๕. มหาสุทัสสนชาดก

ว่าด้วยสังขารไม่เที่ยง

[๙๕] "สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความ

เกิดขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้น

แล้วย่อมดับไป ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับ

เป็นสุข"

จบ มหาสุทัสสนชาดกที่ ๕

อรรถกถามหาสุทัสสนชาดกที่ ๕

พระบรมศาสดา บรรทมเหนือแท่นปรินิพพาน ทรง

ปรารภคำของพระอานนทเถระเจ้าที่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

อย่าเสด็จปรินิพพาน ในพระนครเล็ก ๆ นี้เลย ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา ดังนี้.

ความย่อว่า เมื่อพระตถาคตเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน-

มหาวิหาร ท่านพระสารีบุตรเถระเจ้า ปรินิพพานแล้ว ณ ห้อง

ที่ท่านเกิด ในหมู่บ้านนาลกะ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๑๒ พระมหา-

โมคคัลลานะ ปรินิพพานในวันอมาวสี (สิ้นเดือน) ในกาฬปักษ์

ของเดือน ๑๒ นั่นเอง. พระศาสดาทรงพระดำริว่า เมื่อคู่อัคร-

สาวกปรินิพพานแล้วอย่างนี้ แม้เราก็จักปรินิพพานในเมือง-

กุสินารา เสด็จจาริกไปโดยลำดับในเมืองนั้น เสด็จบรรทมด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

อนุฏฐานไสยาเหนือพระแท่น ผันพระเศียรทางอุตตรทิศ ระหว่าง

ไม้รังทั้งคู่. ครั้งนั้น พระอานนทเถระเจ้า กราบทูลวิงวอนพระองค์

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่าเสด็จปรินิพพาน

ในเมืองเล็ก ๆ นี้ เป็นเมืองดอน เป็นเมืองเขิน เป็นเมืองกิ่ง เชิญ

พระองค์เสด็จปรินิพพาน ณ เมืองมหานคร เมืองใดเมืองหนึ่ง

บรรดามหานคร มีจัมปากะและราชคฤห์เป็นต้นอื่น ๆ พระศาสดา

ตรัสว่า อานนท์ เธออย่ากล่าวว่า นครนี้เป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองดอน

เมืองกิ่ง ครั้งก่อนในรัชกาลแห่งพระเจ้าจักรพรรดิสุทัสสนะ

เราอยู่ในเมืองนี้ ในครั้งนั้นเมืองนี้แวดล้อมด้วยกำแพง ๑๒ โยชน์

เป็นมหานครมาแล้ว พระเถระเจ้ากราบทูลอาราธนา ทรงนำ

เอาเรื่องในอดีตมาสาธก มหาสุทัสสนสูตร ดังต่อไปนี้ :-

ก็ในครั้งนั้น เมื่อพระนางสุภัททาเทวี ทอดพระเนตรเห็น

พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เสด็จลงจากปราสาทสุธัมมา เสด็จบรรทม

โดยอนุฏฐานไสยา โดยพระปรัศเบื้องขวา เหนือพระแท่น

อันสมควร ล้วนแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ อันราชบุรุษจัดไว้

ในป่าตาลไม่ไกลนัก จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม

พระนครแปดหมื่นสี่พัน มีราชธานีกุสาวดี เป็นประมุขเหล่านี้

เป็นของทูลกระหม่อม โปรดพอพระทัยในพระนครเหล่านี้เถิด

พระเจ้ามหาสุทัสสนะตรัสว่า เทวี อย่าได้พูดอย่างนี้เลย จง

ตักเตือนเราอย่างนี้เถิดว่า พระองค์จงกำจัดความพอใจในพระนคร

เหล่านี้เสียให้จงได้เถิด อย่าทรงกระทำความเพ่งเล็งเลย พระเทวี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 350

ทูลถามว่า เพราะเหตุไรเล่า พระเจ้าข้า ? ตรัสว่า เราจักต้อง

ตายในวันนี้. ทันใดนั้นพระเทวีทรงพระกรรแสงเช็ดพระเนตร

ตรัสคำอย่างนั้นกะพระเจ้ามหาสุทัสสนะ โดยยากลำบาก เอาแต่

ทรงพระกรรแสงร่ำไห้ เหล่าสตรีแปดหมื่นสี่พันนางแม้ที่เหลือ

ก็พากันร้องไห้ร่ำไร ถึงในหมู่อำมาตย์เป็นต้น แม้คนเดียวก็ไม่อาจ

อดกลั้นความโศกไว้ได้ ต่างร้องไห้ระงมทั่วกัน พระโพธิสัตว์

ห้ามคนทั้งหมดว่า อย่าเลยพนาย อย่าได้ส่งเสียงคร่ำครวญไปเลย

เพราะสังขารที่ชื่อว่า เที่ยง แม้เท่าเมล็ดงาไม่มีเลย ทุกอย่าง

ไม่เที่ยง มีความแตกดับเป็นธรรมดาทั้งนั้น เมื่อจะทรงสั่งสอน

พระเทวีตรัสพระคาถานี้ ความว่า

"สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ มีความ

เกิดขึ้น และความเสื่อมไป เป็นธรรมดา เกิดขึ้น

แล้วก็ดับไป การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้น

เสียได้เป็นสุข" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา ความว่า

ดูก่อนสุภัททาเทวีผู้เจริญ สังขารทั้งหลายมีขันธ์และอายตนะ

เป็นต้น อันปัจจัยมีประมาณเท่าใดมาประชุมก่อกำเนิดไว้ ทั้งหมด

นั้น ชื่อว่าไม่เที่ยงไปทั้งหมด เพราะบรรดาสังขารเหล่านี้ รูป

ไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง จักษุไม่เที่ยง ฯลฯ ธรรมทั้งหลาย

ไม่เที่ยง รวมความว่าสิ่งที่ยังความยินดีให้เกิด ทั้งที่มีวิญญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 351

และหาวิญญาณมิได้ มีอันใดบ้าง อันนั้นทั้งหมด ไม่เที่ยงทั้งนั้น

ด้วยเหตุนี้จงกำหนดถือเอาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ.

เพราะเหตุไร ? เพราะเป็นอุปปาทวยธรรม คือ เพราะสังขาร

เหล่านี้ทั้งหมดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาด้วย และมีความเสื่อม

เป็นธรรมดาด้วย ล้วนมีความเกิดขึ้นและความแตกดับเป็น

สภาวะทั้งนั้น เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบเถิดว่า เป็นของ

ไม่เที่ยง ก็เพราะไม่เที่ยง จึงเกิดแล้วก็ดับ คือแม้จะเกิดแล้ว

ถึงความดำรงอยู่ได้ ก็ต้องดับทั้งนั้น แท้จริง สังขารเหล่านี้

ทุกอย่างกำลังเกิด ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น กำลังสลาย ชื่อว่าย่อมดับ

เมื่อความเกิดขึ้นแห่งสังขารเหล่านั้น มีอยู่ ชื่อว่า ฐีติ จึงมีได้

เมื่อ ฐิติมีอยู่ ชื่อว่า ภังคะ จึงมีได้ เพราะเมื่อสังขารไม่เกิดขึ้น

ฐีติก็มีไม่ได้, ฐีติขณะปรากฏแล้ว ชื่อว่าความไม่แตกดับ ก็

ไม่มี เพราะฉะนั้น สังขารแม้ทั้งหมด ถึงขณะทั้ง ๓ แล้ว

ก็ย่อมดับไปในขณะนั้น ๆ เอง เพราะเหตุนั้น สังขารเหล่านี้

แม้ทั้งหมด จึงเป็นของไม่เที่ยง เป็นไปชั่วขณะ เป็นสิ่งเปลี่ยนแปลง

ได้ ไม่ยั่งยืน เปื่อยเน่า หวั่นไหว โยกคลอน ตั้งอยู่ได้ไม่นาน

แปรผันได้ เป็นของชั่วคราว ไร้สาระ เป็นเช่นกับของหลอกลวง

พยับแดด และฟองน้ำ ด้วยอรรถว่า เป็นของเป็นไปชั่วขณะ.

ดูก่อนสุภัททาเทวีผู้เจริญ เพราะเหตุไรเธอจึงยังสุขสัญญา

(ความสำคัญว่าเป็นสุข) ให้บังเกิดขึ้นในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น

เล่า อย่าได้ถือเอาอย่างนั้นเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 352

บทว่า เตส วูปสโม สุโข ความว่า ดูก่อนพระนางสุภัททาเทวี

ผู้เจริญ สภาพที่ชื่อว่าระงับเสียซึ่งสังขารเหล่านั้น เพราะระงับ

ดับเสียได้ ซึ่งวัฏฏะทั้งมวล ได้แก่พระนิพพาน และพระนิพพาน

นี้อย่างเดียวเท่านั้น ชื่อว่าเป็นสุขโดยส่วนเดียว อื่น ๆ ที่จะชื่อว่า

เป็นสุขไม่มีเลย ดังนี้.

พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ทรงถือเอายอดแห่งเทศนา ด้วย

อมตมหานิพพาน ด้วยประการฉะนี้แล้ว ทรงประทานโอวาท

แม้แก่มหาชนที่เหลือว่า ท่านทั้งหลาย จงให้ทาน จงรักษาศีล

จงการทำอุโบสถกรรม ดังนี้แล้ว ได้เป็นผู้มีเทวโลกเป็นที่ไป

ในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า สุภัททาเทวีในครั้งนั้น ได้มาเป็นราหุลมารดา ขุนพลแก้ว

ได้มาเป็นพระราหุล ส่วนพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ได้มาเป็นเรา

ตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามหาสุทัสสนชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 353

๖. เตลปัตตชาดก

ว่าด้วยการรักษาจิต

[๙๖] "บุคคลพึงประคอง ภาชนะอันเต็มเปี่ยม

ด้วยน้ำมัน ฉันใด บัณฑิตผู้ปรารถนาจะไปสู่ทิศ

ที่ยังไม่เคยไป ก็พึงตามรักษาจิตของตนไว้ ด้วย

สติฉันนั้น"

จบ เตลปัตตชาดกที่ ๖

อรรถกถาเตลปัตตชาดกที่ ๖

พระบรมศาสดา เมื่อทรงอาศัยนิคมชื่อ เสตกะ ในสุมภรัฐ

ประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ตำบลหนึ่ง ทรงปรารภชนบทกัลยาณีสูตร

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สมติตฺติก อนวเสสก

ดังนี้.

แท้จริงในครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสชนบทกัลยาณี-

สูตร พร้อมด้วยอรรถ พร้อมด้วยพยัญชนะนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เปรียบเสมือนว่า พอได้ยินว่า นางงามในชนบท นางงาม

ในชนบท ดังนี้ หมู่มหาชนพึงประชุมกัน ยิ่งได้ยินว่า ก็นางงาม

ในชนบทนี้นั้น เป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างยอดเยี่ยมในการฟ้อน เป็น

ผู้เชี่ยวชาญอย่างยอดเยี่ยมในการขับ นางงามในชนบทจะฟ้อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 354

จะขับ หมู่มหาชนจะประชุมกันอย่างแออัด ที่นั้นบุรุษผู้ดำรงชีพ

ใฝ่หาความสำราญ รังเกียจความทุกข์ ก็จะพึงมา พระราชาพึง

รับสั่งกะเขาอย่างนี้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ โถน้ำมันอันเต็มเปี่ยมนี้

เจ้าจงนำไปในระหว่างหมู่มหาชน และนางชนบทกัลยาณี และจัก

มีคนเงื้อดาบ จ้องเดินตามไปข้างหลัง เจ้าทำน้ำมันนั้นให้หก

แม้หน่อยเดียว ณ ที่ใด เราจักสั่งให้เขาตัดศีรษะเจ้า ณ ที่นั้นแหละ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจักสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน บุรุษ

นั้นจะไม่พึงเอาใจใส่โถน้ำมันโน้น แล้วมามัวประมาทเสียใน

อารมณ์ภายนอก ? ข้อนั้นจะไม่พึงเป็นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ เรากล่าวเพื่อให้พวกเธอทราบ

ความ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความข้อนี้ในเรื่องนี้ว่า โถน้ำมันเต็ม

เปี่ยมเสมอขอบ เป็นชื่อของสติอันเป็นไปในกายแล ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เหตุนั้นพวกเธอพึงศึกษาในข้อนี้อย่างนี้ว่า สติไปแล้ว

ในกายจักเป็นข้อที่พวกเราทั้งหลายจักต้องทำให้มีให้เป็นจงได้

เริ่มแล้วด้วยดีให้จงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษา

อย่างนี้แล.

ในพระสูตรนั้นมีคำอธิบายย่อ ๆ ดังนี้ ที่ชื่อว่าชนบท

กัลยาณีนั้น ได้แก่นางงามในชนบท คือ เป็นหญิงงามเยี่ยม

ปราศจากโทษแห่งสรีระ ๖ ประการ ถึงพร้อมด้วยความงาม

๕ ประการ เพราะเหตุที่นางชนบทกัลยาณีนั้น เป็นหญิงไม่สูง

เกินไป ไม่ต่ำเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่อ้วนเกินไป ไม่ดำเกินไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 355

ไม่ขาวเกินไป ขนาดยิ่งกว่าผิวมนุษย์ ไม่ถึงกับผิวเทวดา ฉะนั้น

นางจึงได้ชื่อว่า เว้นจากโทษแห่งสรีระ ๖ ประการ และเพราะเหตุ

ที่นางประกอบด้วยความงาม ๕ ประการเหล่านี้ คือ ผิวงาม

เนื้องาม เอ็นงาม กระดูกงาม วัยงาม ฉะนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อม

แล้วด้วยความงาม ๕ ประการ แท้จริงหญิงเบญจกัลยาณีนั้น

ไม่จำเป็นต้องทำการเสริมสวยใหม่ ย่อมกระทำให้แสงสว่าง

ได้ในที่ประมาณ ๑๒ ศอก ด้วยแสงสว่างแห่งร่างกายของตน

นั่นแล ผิวนางเสมอด้วยดอกประยงค์ หรือมิฉะนั้นก็เสมอด้วย

ทอง นี้เป็นความมีผิวงามของนาง อนึ่งมือและเท้าของนางทั้ง ๔

และริมฝีปาก เป็นดุจย้อมด้วยน้ำครั่ง เป็นเช่นกับแก้วประพาฬ

สีแดง และผ้ากัมพลสีแดง นี้เป็นความมีเนื้องามของนาง แผ่น

เล็บทั้ง ๒๐ ในที่ที่ยังไม่พ้นจากเนื้อ ดูดุจอิ่มด้วยน้ำครั่ง ในที่ที่

พ้นเนื้อ เป็นเช่นกับสายธารแห่งน้ำนม นี้เป็นความมีเอ็นงาม

ของนาง ฟันทั้ง ๓๒ ซี่ สนิทเรียบ งามปรากฏดุจระเบียบเพชร

ที่เจียรนัยแล้ววางไว้ นี้เป็นความมีกระดูกงามของนาง อนึ่งแม้

นางมีอายุ ๑๒๐ ปี ก็ยังดูสดใสเหมือนมีอายุได้ ๑๖ ริ้วรอย

(เหี่ยวย่น) ไม่ปรากฏ ผมไม่หงอก นี้เป็นความมีวัยงามของนาง

ก็ในบทที่ว่า นางเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างยอดเยี่ยมมีอธิบายว่า

มีความชำนาญ คือประสบการณ์เป็นไป ความชำนาญ ก็คือ

ประสบการณ์นั่นเอง ความชำนาญชั้นยอดเยี่ยม ชื่อว่า มีความ

ชำนาญอย่างยอดเยี่ยม นางชื่อว่า ปรมปาสาวินี เพราะเป็นหญิง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 356

มีความชำนาญอย่างยอดเยี่ยม ท่านอธิบายไว้ว่า มีความคล่องตัว

อย่างสูง คือมีลีลาอันประเสริฐในการฟ้อนหรือในการขับ คือ

ฟ้อนได้อย่างอ่อนช้อย และขับกล่อมได้อย่างไพเราะ.

ข้อที่ว่า ลำดับนั้น บุรุษพึงมานั้น มิได้หมายความว่า

บุรุษมาด้วยความพอใจของตน ก็ในข้อนี้ท่านอธิบายว่า ครั้ง

เมื่อนางงามในชนบทนั้นกำลังฟ้อนอยู่ท่ามกลางมหาชนนั้น และ

มีเสียงสาธุการว่า สวยแท้ งามจริง ทั้งเสียงดีดนิ้ว ทั้งการ

โบกผ้า กำลังเป็นไปอยู่อย่างสนั่นหวั่นไหว พระราชาทรงทราบ

พฤติกรรมนั้น รับสั่งให้เรียกนักโทษคนหนึ่งออกมาจากเรือนจำ

ถอดขื่อคาออกเสีย ประทานโถน้ำมัน มีน้ำมันเต็มเปี่ยมเสมอขอบ

ไว้ในมือของเขา ให้ถือไว้มั่นด้วยมือทั้งสอง ทรงสั่งบังคับบุรุษ

ผู้ถือดาบคนหนึ่งว่า จงพานักโทษผู้นี้ไปสู่สถานมหรสพของ

นางงามในชนบท และถ้าบุรุษผู้นี้ถึงความประมาท เทหยดน้ำมัน

แม้หยดเดียวลงในที่ใดแล จงตัดศีรษะเขาเสียในที่นั้นทีเดียว

บุรุษนั้นเงื้อดาบตะคอกเขาพาไป ณ ที่นั้น เขาอันมรณภัยคุกคาม

แล้ว ไม่ใส่ใจถึงนางด้วยสามารถแห่งความประมาทเลย ไม่ลืมตา

ดูนางชนบทกัลยาณีนั้น แม้ครั้งเดียว เพราะต้องการจะอยู่รอด

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เคยมีมาแล้วอย่างนี้ ก็เรื่องนี้พึงทราบว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วด้วยสามารถแห่งการสมบัติในพระสูตร

ก็ในบทว่า อุปมา โข มยาย นี้ ทรงกระทำการอุปมาเทียบเคียง

โถน้ำมันกับกายคตาสติ เป็นที่ตั้ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 357

ก็ในเรื่องนี้ กรรม พึงเห็นดุจพระราชา กิเลสดุจดาบ

มารดุจคนเงื้อดาบ พระโยคาวจรผู้เพ่งเจริญกายคตาสติ ดุจ

คนถือโถน้ำมัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำพระสูตรนี้มา ทรงแสดงว่า

อันภิกษุผู้มุ่งเจริญกายคตาสติ ต้องไม่ปล่อยสติ เป็นผู้ไม่ประมาท

เจริญกายคตาสติ เหมือนคนถือโถน้ำมันนั้น ด้วยประการฉะนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ครั้นฟังพระสูตรนี้ และอรรถาธิบายแล้ว พากัน

กราบทูลอย่างนี้ว่า การที่บุรุษนั้นไม่มองดูนางชนบทกัลยาณี

ผู้งามหยดย้อย ประคองโถน้ำมันเดินไป กระทำแล้ว เป็นการ

กระทำได้ยาก พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่บุรุษ

นั้นกระทำแล้ว มิใช่เป็นการที่กระทำได้ยาก นั่นเป็นสิ่งที่ทำ

ได้ง่ายโดยแท้ เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุมีคนเงื้อดาบคอยขู่

ตะคอกสะกดไป แต่การที่บัณฑิตทั้งหลายในครั้งก่อนไม่ปล่อยสติ

ทำลายอินทรีย์ไม่มองดูแม้ซึ่งรูปทิพย์ที่จำแลงไว้เสียเลย เดินไป

จนได้ครองราชสมบัตินั่น (ต่างหาก) ที่กระทำได้โดยยาก อัน

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัส

ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นพระโอรสองค์เล็กที่สุด

ของพระโอรส ๑๐๐ องค์ แห่งพระราชานั้น. ทรงบรรลุความเป็นผู้

รู้เดียงสาโดยลำดับ และในครั้นนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าหลายพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 358

ฉันในพระราชวัง พระโพธิสัตว์ทรงกระทำหน้าที่ไวยาจักร

แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น วันหนึ่งทรงพระดำริว่า พี่ชาย

ของเรามีมาก เราจักได้ราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ในพระนครนี้

หรือไม่หนอ. ครั้นแล้วพระองค์ได้มีปริวิตกว่า ต้องถามพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า จึงจะรู้แน่ ในวันที่ ๒ เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลายมากันแล้ว ท่านถือเอาธรรมกรกมากรองน้ำสำหรับดื่ม

ล้างเท้า ทาน้ำมัน ในเวลาที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ฉันของ

เคี้ยวในระหว่าง จึงบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง มี

พระดำรัสถามความนั้น ทีนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นได้บอก

กะท่านว่า ดูก่อนกุมาร พระองค์จักไม่ได้ราชสมบัติในพระนครนี้

แต่จากพระนครนี้ไป ในที่สุด ๑๒๐ โยชน์ ในคันธารรัฐ มีพระนคร

ชื่อว่า ตักกสิลา เธออาจจะไปในพระนครนั้น จักต้องได้ราชสมบัติ

ในวันที่ ๗ นับจากวันนี้ แต่ในระหว่างทาง ในดงดิบใหญ่มีอันตราย

อยู่ เมื่อจะอ้อมดงนั้นไป จะเป็นทางไกลถึง ๑๒๐ โยชน์ เมื่อ

ไปตรงก็เป็นทาง ๕๐ โยชน์ ข้อสำคัญทางนั้นชื่อว่า อมนุสสกันดาร

ในย่านนั้น ฝูงยักษิณีพากันเนรมิตบ้านและศาลาไว้ในระหว่างทาง

ตกแต่งที่นอนอันมีค่า บนเพดานแพรวพราวไปด้วยดาวทอง แวด

วงม่านอันย้อมด้วยสีต่าง ๆ ตกแต่งอัตภาพด้วยอลังการอันเป็น

ทิพย์ พากันนั่งในศาลาทั้งหลาย หน่วงเหนี่ยวเหล่าบุรุษผู้เดินทาง

ไปด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน พากันเชื้อเชิญว่า ท่านทั้งหลายปรากฏ

ดุจดังคนเหน็ดเหนื่อย เชิญมานั่งบนศาลานี้ ดื่มเครื่องดื่มแล้วค่อยไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 359

เถิด แล้วให้ที่นั่งแก่ผู้ที่มา พากันเล้าโลม ด้วยท่าทีอันยียวน

ของตน ทำให้ตกอยู่ในอำนาจกิเลสจนได้ เมื่อได้ทำอัชฌาจาร

ร่วมกับตนแล้ว ก็พากันเคี้ยวกินพวกนั้นเสียในที่นั้นเอง ทำให้ถึง

สิ้นชีวิต ทั้ง ๆ ที่โลหิตยังหลั่งไหลอยู่ พวกนางยักษิณีจะคอย

จับสัตว์ผู้มีรูปเป็นอารมณ์ด้วยรูปนั่นแหละ ผู้มีเสียงเป็นอารมณ์

ด้วยเสียงขับร้องบรรเลงอันหวานเจื้อยแจ้ว ผู้มีกลิ่นเป็นอารมณ์

ด้วยกลิ่นทิพย์ ผู้มีรสเป็นอารมณ์ด้วยโภชนะอันมีรสเลิศต่าง ๆ

ดุจรสทิพย์ ผู้มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ ด้วยที่นอนดุจที่นอนทิพย์

เป็นเครื่องลาดมีสีแดงทั้งสองข้าง ถ้าพระองค์จักไม่ทำลาย

อินทรีย์ทั้ง ๕ แลดูพวกมันเลย คุมสติมั่นคงไว้เดินไป จักได้

ราชสมบัติในพระนครนั้นในวันที่ ๗ แน่. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เรื่องนั้นจงยกไว้ ข้าพเจ้ารับโอวาท

ของพระคุณเจ้าทั้งหลายแล้ว จักแลดูพวกมันทำไม ? ดังนี้แล้ว

ขอให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายทำพระปริต รับทรายเศกด้วย

พระปริต และด้ายเศกด้วยพระปริต บังคมลาพระปัจเจกพุทธเจ้า

และพระราชมารดา พระราชบิดา เสด็จไปสู่พระราชวัง ตรัส

กะคนของพระองค์ว่า เราจักไปครองราชสมบัติในพระนคร-

ตักกสิลา พวกเจ้าจงอยู่กันที่นี่เถิด. ครั้งนั้นคนทั้ง ๕ กราบทูล

พระโพธิสัตว์ว่า แม้พวกข้าพระองค์ก็จักตามเสด็จไป ตรัสว่า

พวกเจ้าไม่อาจตามเราไปได้ดอก ได้ยินว่า ในระหว่างทาง

พวกยักษิณีคอยเล้าโลมพวกมนุษย์ผู้มีรูปเป็นต้น เป็นอารมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 360

ด้วยกามารมณ์ มีรูปเป็นต้น หลายอย่างต่างกระบวน

แล้วจับกินเป็นอาหาร อันตรายมีอยู่อย่างใหญ่หลวง เราเตรียมตัว

ไว้แล้วจึงไปได้ พระราชบุรุษกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ

เมื่อพวกข้าพระบาทนั้นตามเสด็จไปกับพระองค์ จักแลดูรูป

เป็นต้นที่น่ารักเพื่อตนทำไม แม้พวกข้าพระบาท ก็จักไปในที่นั้น

ได้เหมือนกัน. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงเป็น

ผู้ไม่ประมาทเถิด แล้วพาพวกคนทั้ง ๕ เหล่านั้นเสด็จไป.

ฝูงยักษิณีพากันเนรมิตบ้านเป็นต้น นั่งคอยอยู่แล้ว ในคน

เหล่านั้น คนที่ชอบรูป แลดูยักษิณีเหล่านั้นแล้ว มีจิตผูกพันใน

รูปารมณ์ ชักจะล้าหลังลงหน่อยหนึ่ง พระโพธิสัตว์ก็ตรัสว่า

ท่านผู้เจริญ ทำไมจึงเดินล้าหลังลงไปเล่า ? กราบทูลว่า ข้าแต่

สมมติเทพ เท้าของข้าพระบาทเจ็บ ขอนั่งพักในศาลาสักหน่อย

แล้วจักตามมาพระเจ้าข้า. ตรัสว่า ท่านผู้เจริญ นั่นมันฝูงยักษิณี

เจ้าอย่าไปปรารถนามันเลย กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ จะเป็น

อย่างไรก็เป็นเถิด ข้าพระบาททนไม่ไหว ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น

เจ้าจักรู้เอง ทรงพาอีก ๔ คนเดินทางต่อไป คนที่ชอบดูรูปได้ไป

สำนักของพวกมัน เมื่อได้ทำอัชฌาจารกับตนแล้ว พวกมันก็ทำ

ให้เขาสิ้นชีวิตในที่นั้นเอง แล้วไปดักข้างหน้า เนรมิตศาลาหลังอื่น

ไว้ นั่งถือดนตรีต่าง ๆ ขับร้องอยู่ ในคนเหล่านั้น คนที่ชอบเสียง

ก็ชักล้าหลัง พวกมันก็พากันกินคนนั้นเสีย. แล้วพากันไปดัก

ข้างหน้า จัดโภชนะดุจของทิพย์ มีรสเลิศนานาชนิดไว้เต็มภาชนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 361

นั่งเปิดร้านขายข้าวแกง ถึงตรงนั้น คนที่ชอบรสก็ชักล้าลง

พวกมันพากันกินคนนั้นเสีย แล้วไปดักข้างหน้า ตกแต่งที่นอน

ดุจที่นอนทิพย์ นั่งคอยแล้ว ถึงตรงนั้น คนที่ชอบโผฏฐัพพะ ก็

ชักล้าลง พวกมันก็พากันกินเขาเสียอีก.

เหลือแต่พระโพธิสัตว์พระองค์เดียวเท่านั้น. ครั้งนั้น

นางยักษิณีตนหนึ่ง คิดว่า มนุษย์คนนี้มีมนต์ขลังนัก เราจักกิน

ให้ได้แล้วถึงจะกลับ แล้วเดินตามหลังพระโพธิสัตว์ไปเรื่อย ๆ

ถึงปากดงฟากโน้น พวกที่ทำงานในป่าเป็นต้น ก็ถามนางยักษิณี.

ว่า ชายคนที่เดินไปข้างหน้านางนี้เป็นอะไรกัน ? ตอบว่า เป็น

สามีหนุ่มของดิฉันเจ้าค่ะ. พวกคนเหล่านั้นจึงกล่าวว่า พ่อมหา-

จำเริญ กุมาริกานี้อ่อนแอถึงอย่างนี้ น่าถนอมเหมือนพวงดอกไม้

ผิวก็งามเหมือนทอง ทอดทิ้งตระกูลของตนออกมาเพราะรัก

คิดถึงพ่อมหาจำเริญ จึงยอมติดตามมา พ่อมหาจำเริญเหตุไร

จึงปล่อยให้นางลำบาก ไม่จูงนางไปเล่า ? พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

พ่อคุณทั้งหลาย นั่นไม่ใช่เมียของเราดอก นั่นมันยักษิณี คนของ

เรา ๕ คน ถูกมันกินไปหมดแล้ว ยักษิณี กล่าวว่า พ่อเจ้าประคุณ

ทั้งหลาย ธรรมดาผู้ชายในยามโกรธ ก็กระทำเมียของตนให้

เป็นนางยักษ์ก็ได้ ให้เป็นนางเปรตก็ได้ นางยักษิณีเดินตามมา

แสดงเพศของหญิงมีครรภ์ แล้วทำให้เป็นหญิงคลอดแล้วครั้งหนึ่ง

อุ้มบุตรใส่สะเอวเดินตามพระโพธิสัตว์ไป คนที่เห็นแล้ว ๆ ก็

พากันถามตามนัยก่อนทั้งนั้น แม้พระโพธิสัตว์ก็ตรัสอย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 362

ตลอดทาง จนถึงพระนครตักกสิลา มันทำให้ลูกหายไป ติดตาม

ไปแต่คนเดียว พระโพธิสัตว์เสด็จถึงพระนครแล้ว ประทับนั่ง

ณ ศาลาหลังหนึ่ง เเม้ว่านางยักษิณีนั้นเล่า ไม่อาจเข้าไปได้ด้วย

เดชของพระโพธิสัตว์ ก็เนรมิตรูปเป็นนางฟ้า ยืนอยู่ที่ประตูศาลา.

สมัยนั้น พระราชากำลังเสด็จออกจากพระนครตักกสิลา

ไปสู่พระอุทยาน ทรงมีจิตปฏิพัทธ์ ตรัสใช้ราชบุรุษว่า ไปถามซิ

นางคนนี้มีสามีแล้วหรือยังไม่มี ? พวกราชบุรุษเข้าไปหานาง-

ยักษิณี ถามว่า เธอมีสามีแล้วหรือ ? นางตอบว่า เจ้าค่ะ ผู้ที่

นั่งอยู่บนศาลาคนนี้เป็นสามีของดิฉัน. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

นั่นไม่ใช่เมียของข้าพเจ้าดอก มันเป็นนางยักษิณี คนของข้าพเจ้า

๕ คน ถูกมันกินเสียแล้ว ฝ่ายนางยักษิณีก็กล่าวว่า ท่านเจ้าค่ะ

ธรรมดาผู้ชายในยามโกรธ ก็จะพูดเอาตามที่ใจตนปรารถนา.

ราชบุรุษนั้นก็กราบทูลคำของคนทั้งสองแด่พระราชา. พระราชา

รับสั่งว่า ธรรมดาภัณฑะไม่มีเจ้าของ ย่อมตกเป็นของหลวง

แล้วตรัสเรียกยักษิณีมาให้นั่งเหนือพระคชาธาร ร่วมกับพระองค์

ทรงกระทำประทักษิณพระนคร แล้วเสด็จขึ้นสู่ปราสาท ทรง

สถาปนามันไว้ในตำแหน่งอรรคมเหสี เสด็จสรงสนานแต่ง

พระองค์เรียบร้อย เสวยพระกระยาหารในเวลาเย็นแล้ว ก็เสด็จ

ขึ้นพระแท่นที่สิริไสยาสน์ นางยักษิณีนั้นเล่า กินอาหารที่ควร

แก่ตนแล้ว ตกแต่งประดับประดาตน นอนร่วมกับพระราชา

เหนือพระแท่นที่บรรทมอันมีสิริ เวลาที่พระราชาทรงเปี่ยมไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

ด้วยความสุขด้วยอำนาจความรื่นรมย์ ทรงบรรทมแล้ว ก็พลิก

ไปทางหนึ่ง ทำเป็นร้องไห้ ครั้นพระราชาตรัสถามมันว่า ดูก่อน

นางผู้เจริญ เจ้าร้องไห้ทำไม ?

นางจึงทูลว่า ทูลกระหม่อมเพคะ กระหม่อมฉัน

เป็นผู้ที่พระองค์ทรงพบที่หนทางแล้วทรงพามา อนึ่งเล่าใน

พระราชวังของพระองค์ ก็มีหญิงอยู่เป็นอันมาก กระหม่อมฉัน

เมื่ออยู่ในกลุ่มหญิงที่ร่วมบำเรอพระบาท เมื่อเกิดพูดกันขึ้นว่า

ใครรู้จัก มารดา บิดา โคตร หรือชาติของเธอเล่า เธอนะ

พระราชาพบในระหว่างทาง แล้วทรงนำมา ดังนี้ จะเหมือนถูก

จับศีรษะบีบ ต้องเก้อเขินเป็นแน่ ถ้าพระองค์พระราชทานความ

เป็นใหญ่ และการบังคับในแว่นแคว้นทั้งสิ้น แก่หม่อมฉัน ใคร ๆ

ก็จักไม่อาจกำเริบจิตกล่าวแก่หม่อมฉันได้เลย. ทรงรับสั่งว่า

นางผู้เจริญ ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้น มิได้เป็นสมบัติบางส่วนของฉัน

ฉันไม่ได้เป็นเจ้าของของพวกนั้น แต่ชนเหล่าใดละเมิดพระราช-

กำหนดกฎหมาย กระทำสิ่งที่ไม่ควรทำ เราเป็นเจ้าของคนพวกนั้น

เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่อาจให้ความเป็นใหญ่ และการบังคับ

ในแว่นแคว้นทั้งสิ้นแก่เธอได้ นางกราบทูลว่า ทูลกระหม่อม

เพคะ ถ้าพระองค์ไม่สามารถจะพระราชทานการบังคับ

ในแว่นแคว้น หรือในพระนคร ก็ขอได้โปรดพระราชทานอำนาจ

เหนือปวงชนผู้รับใช้ข้างใน ภายในพระราชวัง เพื่อให้เป็นไป

ในอำนาจของหม่อมฉันเถิดพระเจ้าข้า พระราชาทรงติดพระทัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

โผฏฐัพพะดุจทิพย์เสียแล้ว ไม่สามารถจะละเลยถ้อยคำของนางได้

ตรัสว่า ตกลงนางผู้เจริญ เราขอมอบอำนาจในหมู่ชนผู้รับใช้

ภายในแก่เธอ เธอจงควบคุมคนเหล่านั้นให้เป็นไปในอำนาจ

ของตนเถิด นางยักษิณีรับคำว่าดีแล้ว พระเจ้าข้า พอพระราชา

บรรทมหลับสนิท ก็ไปเมืองยักษ์ชวนพวกยักษ์มา ยังพระราชา

ของตนให้ถึงชีพิตักษัย เคี้ยวกินหนังเนื้อและเลือดจนหมด เหลือ

ไว้แต่เพียงกระดูก พวกยักษ์ที่เหลือก็พากันเคี้ยวกินคนและสัตว์

ตั้งต้นแต่ไก่และสุนัข ภายในวังตั้งแต่ประตูใหญ่จนหมด เหลือไว้

แต่กระดูก รุ่งเช้าพวกคนทั้งหลาย เห็นประตูวังยังปิดไว้ตามเดิม

ก็พากันพังบานประตูด้วยขวาน แล้วชวนกันเข้าไปภายใน เห็น

พระราชวังทุกแห่งหน เกลื่อนกล่นไปด้วยกระดูก จึงพูดกันว่า

บุรุษคนนั้น พูดไว้เป็นความจริงหนอว่า นางนี้มิใช่เมียของเรา

มันเป็นยักษิณี แต่พระราชาไม่ทรงทราบอะไร ทรงพามันมา

แต่งตั้งให้เป็นมเหสีของพระองค์ พอค่ำมันก็ชวนพวกยักษ์มากิน

คนเสียหมดแล้วไปเสีย เป็นแน่.

ในวันนั้นแม้พระโพธิสัตว์ ก็ทรงใส่ทรายเศกพระปริตที่

ศีรษะ วงด้ายเศกพระปริต ทรงถือพระขรรค์ประทับยืนอยู่

ในศาลานั้น จนรุ่งอรุณ. พวกมนุษย์พากันทำความสะอาด

พระราชนิเวศน์ทั้งสิ้น ฉาบสีเหลือง ประพรมข้างบนด้วยของหอม

โปรยดอกไม้ ห้อยพวงดอกไม้ อบควัน ผูกพวงดอกไม้ใหม่ แล้ว

ปรึกษากันว่า เมื่อวานนี้บุรุษนั้นไม่ได้กระทำแม้เพียงแต่จะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 365

ทำลายอินทรีย์ มองดูยักษิณีอันจำแลงรูปดุจรูปทิพย์เดินมา

ข้างหลังเลย เขาเป็นสัตว์ประเสริฐยิ่งล้น หนักแน่น สมบูรณ์

ด้วยญาณ เมื่อบุรุษเช่นนั้น ปกครองแว่นแคว้น รัฐสีมามณฑล

จักมีแต่สุขสันต์ พวกเราจงทำให้เขาเป็นพระราชาเถิด. ครั้งนั้น

พวกอำมาตย์และชาวเมืองทุกคน ร่วมกันเป็นเอกฉันท์ เข้าไปเฝ้า

พระโพธิสัตว์ กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เชิญพระองค์ทรง

ครองราชสมบัตินี้เถิด พระเจ้าข้า. เชิญเสด็จเข้าสู่พระนครแล้ว

เชิญขึ้นประทับเหนือกองแก้ว อภิเศก กระทำให้เป็นพระราชา

แห่งตักกสิลายนคร. ท้าวเธอทรงเว้นการลุอคติ ๔ มิให้ราชธรรม

๑๐ กำเริบ ครองราชสมบัติโดยธรรม ทรงบำเพ็ญบุญมีให้ทาน

เป็นต้น แล้วเสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำเอาเรื่องในอดีตนี้มาสาธก ครั้นตรัสรู้

สัมโพธิญาณแล้ว ตรัสพระคาถานี้ความว่า

" ผู้ปรารถนาทิศที่ยังไม่เคยไป พึงรักษา

จิตของตนไว้ เหมือนคนประคองไปซึ่งโถน้ำมัน

อันเต็มเปี่ยมเสมอขอบ มิได้มีส่วนพร่องเลย"

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมติตฺติก ความว่า เต็ม

เสมอขอบ ถึงลวดที่วงปากด้านใน.

บทว่า อนวเสก ความว่า การทำให้ใส่ลงไปอีกไม่ได้ คือ

หยดลงไปไม่ได้อีกเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 366

บทว่า เตลปตฺต ได้แก่โถที่เขาใส่น้ำมันงา.

บทว่า ปริหเรยฺย ความว่า พึงประคองไป คือถือเอาไป.

บทว่า เอว สจิตฺตมนุรกฺเข ความว่า พระโยคาวจรผู้เป็น

บัณฑิต พึงประคองจิตของตน อันเป็นดุจโถที่เต็มเปี่ยมด้วย

น้ำมันนั้นไว้ ในระหว่างแห่งธรรมแม้ทั้งสอง คือ ในอารมณ์

กับสติ ที่ประกอบไว้เป็นอันดี แล้วพึงรักษาไว้คือ คุ้มครองไว้

ด้วยกายคตาสติ โดยจิตไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก แม้

เพียงครู่เดียวฉันนั้น.

เพราะเหตุไร ?

" เพราะเหตุว่าการฝึกจิตที่ข่มได้ยาก เบา

พลันตกไปในอารมณ์ที่ปรารถนานี้ ยังประโยชน์

ให้สำเร็จ จิตที่ฝึกแล้ว เป็นเหตุนำความสุข

มาให้"

เพราะฉะนั้น :-

"ท่านผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยาก

แท้ ละเอียดลออ พลันตกไปในอารมณ์ที่น่า

ปรารถนา จิตที่คุ้มครองไว้ได้แล้ว นำความสุข

มาให้"

ด้วยว่า :-

" ชนเหล่าใด จักสำรวมจิตนี้ ซึ่งไปได้ไกล

เที่ยวไปโดดเดี่ยว ไม่มีรูปร่าง อาศัยถ้ำ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 367

ร่างกายไว้ได้ ชนเหล่านั้น จักพ้นจากบ่วงแห่ง

มารได้ "

ส่วนคนนอกนี้ คือ-

" ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม

มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์

ไม่ได้"

ส่วนผู้ที่คุ้นเคยกับพระกรรมฐานมานาน

"มีจิตอันราคะไม่รั่วรดแล้ว มีใจอันโทสะ

ตามกำจัดไม่ได้ ละบุญและบาปเสียได้แล้ว เป็น

ผู้ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัยเลย"

เพราะฉะนั้น :-

" ผู้มีปัญญา ย่อมกระทำจิตอันดิ้นรน

กวัดแกว่ง รักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรง

เหมือนช่างศร ดัดลูกศรฉะนั้น"

เมื่อพระโยคาวจรกระทำจิตให้ตรงอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า ตาม

รักษาจิตของตน.

บทว่า ปฏฺยมาโน ทิส อคตปุพฺพ ความว่า พระโยคาวจร

เมื่อปรารถนาบริกรรม ในกายคตาสติกรรมฐานนี้แล้ว ปรารถนา

ต้องการทิศที่ยังไม่เคยไป ในสงสารอันไม่มีที่สุดและเบื้องต้น

พึงรักษาจิตของตนโดยนัยดังกล่าวแล้ว.

ก็ที่ชื่อว่า ทิศ นี้ คืออะไร เล่า ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 368

ก่อนอื่น บุตรและภรรยาเป็นต้น ท่านกล่าวว่า เป็นทิศ

ดังในคาถานี้ว่า

" มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์

เป็นทิศเบื้องขวา บุตรภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง

มิตรและอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย ทาสและ

กรรมกรทั้งหลายเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณะและ

พราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน คฤหัสถ์ชนในสกุล

ไม่พึงประมาท นอบน้อมทิศเหล่านี้"

ยังมีทิศต่าง ๆ แยกประเภทออกเป็นทิศบูรพาเป็นต้น

ท่านก็เรียกว่าทิศ ดังในคาถานี้ว่า :-

" ทิศใหญ่ ๔ ทิศเฉียง ๔ ทิศเบื้องบน

เบื้องต่ำ รวมเป็น ๑๐ ทิศ เหล่านี้ หม่อมฉันได้

เห็นพระยาช้าง ๖ วา ในความฝัน พระยาช้างนั้น

สถิตย์อยู่ทิศไหน ?"

พระนิพพานท่านก็เรียกว่าทิศ ดังในคาถานี้ว่า :-

"คฤหัสถ์ทั้งหลาย ผู้ให้ข้าวน้ำ และผ้า

ท่านกล่าวว่า เป็นทิศแม้ของบรรพชิต ผู้ขอร้อง

ผู้มีทุกข์ ถึงทิศใดเล่าจึงจะมีความสุขได้ ทิศนี้

เป็นทิศอย่างยิ่งนะ เจ้าเสตเกตุ"

แม้ในบาทคาถานี้ ที่ว่า "ทิศที่ไม่เคยไป" ก็ประสงค์เอาทิศ

คือพระนิพพานนั่นแล. เพราะว่า พระนิพพานนั้น ย่อมปรากฏด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 369

ลักษณะเป็นต้นว่า ความสิ้นไป ความคลายกำหนัด เหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า ทิศ. ส่วนที่ตรัสว่า ชื่อว่า

ทิศที่ไม่เคยไป เพราะพาลปุถุชนไร ๆ ในสงสารอันหาเบื้องต้น

และเบื้องปลายไม่พบนี้ ไม่เคยไปกันเลยแม้แต่ความฝัน. อัน

พระโยคาวจรผู้ปรารถนาทิศนั้น พึงกระทำความเพียร ในกาย-

คตาสติ.

พระบรมศาสดาทรงถือเอายอดแห่งเทศนา ด้วยพระ-

นิพพาน ด้วยประการฉะนี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า ราชบริษัท

ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัทในครั้งนี้ ส่วนพระราชกุมาร

ผู้ครองราชสมบัติในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาเตลปัตตชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 370

๗. นามสิทธิชาดก

ว่าด้วยชื่อไม่เป็นของสำคัญ

[ ๙๗] " เพราะเห็นคนชื่อ ชีวกะตาย นางธนปาลี

ตกยาก นายปันถกะหลงทางในป่า เจ้าปาปกะ

จึงกลับมา"

จบ นามลิทธิชาดกที่ ๗

อรรถกถานามสิทธิชาดกที่ ๗

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้หวังความสำเร็จโดยชื่อ รูปหนึ่ง ตรัสพระ-

ธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า ชีวกญฺจ มต ทิสฺวา ดังนี้.

ได้ยินว่า กุลบุตรผู้หนึ่ง โดยนาม ชื่อว่า ปาปกะ บวช

ถวายชีวิตในพระศาสนา เมื่อถูกพวกภิกษุเรียกว่า มาเถิด

อาวุโส ปาปกะ หยุดเถิดอาวุโส ปาปกะ ก็คิดว่า ในโลกผู้ที่มี

ชื่อว่า ปาปกะ เขากล่าวกันว่า ลามก เป็นตัวกาฬกรรณี เรา

ต้องให้พระอุปัชฌาย์อาจารย์หาชื่อที่ประกอบไปด้วยมงคล

อย่างอื่น เธอเข้าไปหา อุปัชฌาย์อาจารย์กราบเรียนว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ชื่อของผมเป็นอัปมงคล กรุณาตั้งชื่ออย่างอื่นให้

กระผมเถิด. ครั้งนั้นอาจารย์และอุปัชฌาย์ ก็กล่าวก็เธออย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 371

ว่า ชื่อเป็นเพียงบัญญัติสำหรับเรียกกัน ขึ้นชื่อว่าความสำเร็จ

ประโยชน์ไร ๆ มิได้มีเพราะชื่อเลย เธอจงพอใจชื่อของตนนั้น

เถิด เธอคงยังอ้อนวอนอยู่ร่ำไป ความที่เธอมุ่งความสำเร็จโดย

ชื่อนี้ เกิดแพร่หลายกระจายไปในสงฆ์ อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุ

ทั้งหลายนั่งประชุมกันในธรรมสภา ตั้งเรื่องสนทนากันว่า ท่าน

ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุโน้น มุ่งความสำเร็จโดยชื่อ

ขอให้ช่วยหาชื่อที่เป็นมงคลให้ พระบรมศาสดาเสด็จมาสู่

ธรรมสภา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอประชุม

สนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ

แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ใน

กาลก่อน เธอก็มุ่งความสำเร็จเพราะชื่อเหมือนกัน แล้วทรงนำ

เอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอาจารย์ทิศา-

ปาโมกข์ บอกมนต์กะมาณพ ๕๐๐ ในพระนครตักกสิลา มาณพ

ผู้หนึ่งของท่าน ชื่อ ปาปกะ โดยนาม ถูกเขาเรียกอยู่ว่า มาเถิด

ปาปกะ ไปเถิดปาปกะ คิดว่า ชื่อของเราเป็นอัปมงคล ต้อง

ขอให้อาจารย์ตั้งชื่ออื่นให้ใหม่ เขาไปหาอาจารย์เรียนว่า ท่าน

อาจารย์ขอรับ ชื่อของกระผมเป็นอัปมงคล โปรดตั้งชื่ออย่างอื่น

ให้เถิดขอรับ ครั้งนั้นอาจารย์ได้กล่าวกะเขาว่า ไปเถิดพ่อ เจ้า

จงเที่ยวไปตามชนบทแล้ว กำหนดเอาชื่อที่เป็นมงคล ชื่อหนึ่ง

ที่ตนชอบใจอย่างยิ่งแล้วมา เราจักเปลี่ยนชื่อของเจ้าเป็นชื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 372

อย่างอื่น เขารับคำว่า ดีแล้ว ขอรับ ถือเอาเสบียงออกเดินทางไป

ท่องเที่ยวไปตามคามนิคมชนบท ลุถึงนครแห่งหนึ่ง ในพระนคร

นั้นแหละ มีบุรุษผู้หนึ่ง ชื่อว่า ชีวกะ (บุญรอด ) โดยนาม ตายลง

เห็นหมู่ญาติกำลังหามเขาไปสู่ป่าช้า จึงถามว่า ชายผู้นี้ชื่ออะไร ?

หมู่ญาติตอบว่า จะชื่อว่า ชีวกะ (บุญรอด) ก็ดี อชีวก (ไม่รอดก็ดี)

ก็ตายทั้งนั้น ชื่อเป็นเพียงบัญญัติสำหรับเรียกกัน เจ้านี่ เห็นจะโง่

กระมัง. เขาฟังคำนั้นแล้ว มีความรู้สึกเฉย ๆ ในเรื่องชื่อ เดินทาง

กลับเข้าเมืองของตน ครั้งนั้น พวกนายทุน กำลังจับนางทาสีผู้หนึ่ง

ซึ่งไม่ให้ดอกเบี้ยให้นั่งที่ประตู เฆี่ยนด้วยเชือก และนางทาสี

ผู้นั้นก็มีชื่อว่า ธนปาลี (คนมีทรัพย์) เขาเดินเรื่อยไปตามท้องถนน

เห็นนางถูกเฆี่ยน ก็ถามว่า มันไม่ยอมให้ดอกเบี้ย เขาถามว่า

ก็นางมีชื่ออย่างไรเล่า ? พวกนายทุนตอบว่า นางชื่อ ธนปาลี

(คนมีทรัพย์) เขาถามว่า แม้จะมีชื่อ ธนปาลี โดยนาม ก็ยังไม่

อาจให้เงินแค่ดอกเบี้ยหรือ ? พวกนายทุนตอบว่า จะชื่อธนปาลี

คนรวยก็ดี จะชื่ออธนปาลี คนจนก็ดี เป็นคนเข็ญใจได้ทั้งนั้น

ชื่อเป็นเพียงบัญญัติสำหรับเรียกกัน เจ้านี่เห็นจะโง่แน่ เขายิ่ง

รู้สึกเฉย ๆ ในเรื่องชื่อยิ่งขึ้น เดินออกจากเมืองไปตามทาง

ในระหว่างทางพบคนหลงทาง ถามว่า ผู้เป็นเจ้าเที่ยวทำอะไร

อยู่เล่า ? เขาตอบว่า ข้าพเจ้าหลงทางเสียแล้ว เขาย้อนถามว่า

ก็คุณชื่อไรเล่า ? เขาตอบว่า ข้าพเจ้าชื่อ ปันถก (ผู้เจนทาง)

เขาถามว่า ขนาดชื่อปันถกะ ยังหลงทางอีกหรือ ? คนหลงทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 373

กล่าวว่า จะชื่อปันถกะ (ชำนาญทาง) หรือชื่ออปันถกะ (ไม่

ชำนาญทาง) ก็มีโอกาสหลงทางได้เท่ากัน ชื่อเป็นบัญญัติสำหรับ

เรียกกัน ก็ท่านเองเห็นจะโง่แน่. เขาเลยวางเฉยในเรื่องชื่อ

ไปสู่สำนักของพระโพธิสัตว์ ครั้นพระโพธิสัตว์ถามว่า อย่างไร

เล่า พ่อคุณ เจ้าได้ชื่อที่ถูกในมาแล้วหรือ ? ก็เรียนท่านว่า

ท่านอาจารย์ขอรับ ธรรมดาคนเราถึงจะชื่อว่าชีวก แม้จะชื่อ

อชีวก คงตายเท่ากัน ถึงจะชื่อ ธนปาลี แม้จะชื่อ อธนปาลี

ก็เป็นทุคคตะได้ทั้งนั้น ถึงจะชื่อปันถกะ แม้จะชื่ออปันถกะ ก็

หลงทางได้เหมือนกัน ชื่อเป็นเพียงบัญญัติสำหรับเรียกกัน ความ

สำเร็จเพราะชื่อมิได้มีเลย ความสำเร็จมีได้เพราะการกระทำ

เท่านั้น พอกันทีเรื่องชื่อสำหรับกระผม กระผมขอใช้ชื่อเดิม

นั่นแหละต่อไป พระโพธิสัตว์เทียบเคียงเรื่องที่เขาเห็น และ

กรรมที่เขากระทำแล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

" เพราะเห็นคนชื่อ ชีวกะตาย นางธนปาลี

ตกยาก นายปันถกะ หลงทางในป่า เจ้าปาปกะ

จึงกลับมา" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุนราคโต ความว่า เพราะเห็น

เหตุ ๓ อย่างเหล่านี้ จึงหวนกลับมา อักษร ท่านกล่าวไว้

ด้วยอำนาจแห่งสนธิ.

พระบรมศาสดา ทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในปางก่อน เธอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 374

ก็มุ่งความสำเร็จ เพราะชื่อมาแล้วเหมือนกัน แล้วทรงประชุม

ชาดกว่า มาณพผู้มุ่งความสำเร็จเพราะชื่อในครั้งนั้น ได้มาเป็น

ภิกษุผู้มุ่งความสำเร็จเพราะชื่อในบัดนี้ บริษัทของอาจารย์

ได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนอาจารย์ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถานามสิทธชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 375

๘. กูฏวาณิชชาดก

ว่าด้วยพ่อค้าโกง

[๙๘] คนที่ชื่อบัณฑิตดีแน่ ส่วนคนที่ชื่อว่า

อติบัณฑิตไม่ดีเลย เพราะว่าเจ้าอติบัณฑิต ลูกเรา

เกือบเผาเราเสียแล้ว.

จบ กูฏวาณิชชาดกที่ ๘

อรรถกถากูฏวาณิชชาดกที่ ๘

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภพ่อค้าโกงผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น

ว่า สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม ดังนี้ :-

ความย่อว่า คนสองคนในเมืองสาวัตถี ร่วมทุนกันทำการค้า

คุมขบวนเกวียนสินค้าไปสู่ชนบท ได้ของแล้วพากันกลับ ใน

พ่อค้าทั้งสองนั้น พ่อค้าโกงคิดว่า พ่อค้าผู้เป็นสหายเราคนนี้

ตรากตรำด้วยการกินไม่ดี นอนลำบาก มาหลายวันแล้ว คราวนี้

เขาจักกินโภชนะดี ๆ ด้วยรสเลิศต่าง ๆ ในเรือนของเขาจน

พอใจ จักตายด้วยโรคอาหารไม่ย่อย เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักแบ่ง

ของนี้ออกเป็น ๓ ส่วน ให้เด็ก ๆ ของเขาส่วนหนึ่ง อีก ๒ ส่วน

เราจักเอาเสียเอง เขาผลัดวันอยู่ว่า จักแบ่งในวันนี้ จักแบ่งใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 376

วันพรุ่งนี้ ดังนี้แล้ว ไม่อยากจะแบ่งภัณฑะเลย ฝ่ายพ่อค้าผู้เป็น

บัณฑิต ก็คาดคั้นเขาผู้ไม่ปรารถนาจะแบ่ง ให้แบ่งจนได้ แล้ว

ไปสู่พระวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา ได้รับปฏิสันถารที่ทรง

กระทำ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งถามว่า ดูท่านชักช้านัก

มาถึงพระนครนี้แล้ว กว่าจะมาสู่ที่เฝ้าก็นาน จึงกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ พระบรมศาสดาตรัสว่า

ดูก่อนอุบาสก มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่นายพาณิชนั้นเป็น

พาณิชโกง แม้ในกาลก่อนก็เคยเป็นพาณิชโกงมาแล้วเหมือนกัน.

แต่ในครั้งนี้มุ่งจะลวงท่าน แม้ในครั้งก่อนก็ไม่อาจจะหลอกลวง

บัณฑิตได้ อันอุบาสกกราบทูลอาราธนา แล้วทรงนำเอาเรื่องใน

อดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพ่อค้า ในพระนคร

พาราณสี ในวันขนานนาม หมู่ญาติตั้งชื่อให้ท่านว่า บัณฑิต

ท่านเจริญวัยแล้ว เข้าหุ้นกับพ่อค้าอื่นทำการค้า พ่อค้านั้นชื่อว่า

อติบัณฑิต ทั้งคู่ชวนกันบรรทุกภัณฑะด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม

ไปสู่ชนบท ทำการค้าได้ของมามากมาย พากันกลับมายัง

พระนครพาราณสี ครั้นถึงเวลาที่จะแบ่งข้าวของกัน อติบัณฑิต

ก็กล่าวว่า ข้าพเจ้าควรได้สองส่วน พระโพธิสัตว์ถามว่า เพราะ

เหตุไรเล่า ? เขาตอบว่า ท่านชื่อบัณฑิต ข้าพเจ้าชื่ออติบัณฑิต

บัณฑิตควรได้ส่วนเดียว อติบัณฑิตควรได้สองส่วน พระโพธิสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

ถามว่า ทุนที่ซื้อของก็ดี พาหนะมีโคเป็นต้นก็ดี แม้ของทั้งสอง

ก็เท่า ๆ กันมิใช่หรือ เหตุใดเล่าท่านจึงควรจะได้สองส่วน ?

เขาตอบว่า เพราะข้าพเจ้าเป็นอติบัณฑิต ทั้งสองคนโต้เถียงกัน

อยู่อย่างนี้ แล้วก็ทะเลาะกัน ลำดับนั้นอติบัณฑิตคิดได้ว่า ยังมี

อุบายอยู่อีกอันหนึ่ง จึงให้บิดาของตนเข้าไปซ่อนอยู่ในโพรงไม้

ต้นหนึ่ง สั่งไว้ว่า เวลาเราทั้งสองมาถึงละก็ คุณพ่อต้องพูดว่า

อติบัณฑิตควรจะได้สองส่วนนะครับ แล้วไปหาพระโพธิสัตว์

กล่าวว่า สหายรัก รุกขเทวดานั้นย่อมรู้การที่เราควรจะได้

สองส่วน หรือไม่ควร มาเถิดท่าน เราจักถามรุกขเทวดานั้นดู

แล้วพากันไปที่ต้นไม้นั้นแหละ กล่าวว่า ข้าแต่รุกขเทวดา ผู้เป็น

เจ้าไพร เชิญตัดสินคดีของเราด้วยเถิด ครั้งนั้น บิดาของเขาก็

เปลี่ยนเสียงให้เพี้ยนไป พูดว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงบอก

เรื่องราว อติบัณฑิตก็พูดว่า ข้าแต่เจ้าไพร ท่านผู้นี้ชื่อบัณฑิต

ข้าพเจ้าชื่ออติบัณฑิต เราทั้งสองเข้าหุ้นกันทำการค้าขาย ใน

เรื่องนั้นเขาควรได้รับอย่างไร ? (มีเสียงดังขึ้นว่า) บัณฑิตได้

ส่วนหนึ่ง อติบัณฑิตได้ ๒ ส่วน พระโพธิสัตว์ฟังคดีที่เทวดา

วินิจฉัยแล้วอย่างนี้ คิดว่า เดี๋ยวเถอะ จะได้รู้กันว่า เป็นเทวดา

หรือไม่ใช่เทวดา แล้วไปหอบฟางมาใส่โพรงไม้จุดไฟทันที บิดา

ของอติบัณฑิต เวลาที่เปลวไฟถูกตนก็ร้อน เพราะสรีระเกือบ

จะไหม้ จึงทะลึ่งขึ้นข้างบน คว้ากิ่งไม้โหนไว้แล้วโดดลงดิน

พลางกล่าวคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

" คนที่ชื่อบัณฑิตดีแน่ ส่วนคนที่ชื่อว่า

อติบัณฑิตไม่ดีเลย เพราะว่า เจ้าอติบัณฑิตลูกเรา

เกือบเผาเราเสียแล้ว "

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม ความว่า

บุคคลผู้ประกอบด้วยคุณเครื่องความเป็นบัณฑิต รู้เหตุและสิ่ง

ที่ไม่ใช่เหตุ จัดเป็นคนดีงามในโลกนี้.

บทว่า อติปณฺฑิโต ความว่า คนโกง ๆ เป็นอติบัณฑิต

ด้วยเหตุสักว่าชื่อ ไม่ประเสริฐเลย.

บทว่า มนมฺหิ อุปกุฏฺิโต ความว่า เราถูกไฟไหม้ไปหน่อย

หนึ่ง รอดพ้นจากการไหม้ตั้งครึ่งตัวมาได้อย่างหวุดหวิดทีเดียว.

แม้คนทั้งสองนั้น ต่างก็แบ่งกันคนละครึ่ง ถือเอาส่วนเท่า ๆ กัน

ทีเดียว แล้วต่างก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำเอาเรื่องในอดีตนี้มาสาธกว่า แม้ในครั้งก่อน

พาณิชนั้น ก็เป็นนายพาณิชโกงเหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดก

ว่า พ่อค้าโกงในครั้งนั้น ได้มาเป็นพ่อค้าโกงในปัจจุบันนี้แหละ

ส่วนพ่อค้าผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากูฏวาณิชชาดกที่ ๘

๑. บาลีเป็น มนมฺหิ แต่อฏฺฐกถาเป็น ปนมฺหิ ฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 379

๙. ปโรสหัสสชาดก

ว่าด้วยคนผู้มีปัญญา

[๙๙ ] "แม้จะมีผู้มาประชุมกัน ตั้งพันกว่า

พวกเหล่านั้น ก็ไม่มีปัญญา พึงคร่ำครวญไปตั้ง

๑๐๐ ปี บุรุษผู้มีปัญญา รู้แจ้งความหมายของคำ

ที่เรากล่าวแล้ว ผู้เดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า"

จบ ปโรสหัสสชาดกที่ ๙

อรรถกถาปโรสหัสสชาดกที่ ๙

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภปัญหาในปุถุชน มีบุคคลเป็นที่ ๕ ตรัสพระธรรมเทศนา

นี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปโรสหสฺสมฺปิ สมาคตาน ดังนี้.

เรื่องจักปรากฏชัดเจนในสรภังคชาดก ก็สมัยหนึ่ง ภิกษุ

ทั้งหลายประชุมกันในธรรมสภา นั่งสนทนากันถึงเรื่องคุณของ

พระเถระเจ้าว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร

พยากรณ์ปัญหาที่พระทศพลตรัสโดยย่อได้โดยพิสดาร พระ-

ศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่ง

ประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล

ให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

เท่านั้น ที่สารีบุตรพยากรณ์ปัญหาที่เรากล่าวอย่างย่อได้โดย

พิสดาร แม้ในกาลก่อน ก็พยากรณ์ได้แล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำ

เอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในสกุลอุทิจจพราหมณ์ เจริญวัย

แล้ว เล่าเรียนสรรพศิลปวิทยา ในเมืองตักกสิลา ละกามทั้งหลาย

แล้วบวชเป็นฤาษี ทำอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ให้เกิดได้แล้ว

อยู่ในป่าหิมพานต์ แม้บริวารของท่านก็ได้บวชเป็นดาบส ๕๐๐ รูป

คราวนั้นเป็นฤดูฝน อันเตวาสิกผู้ใหญ่ของท่าน พาคณะฤาษี

ประมาณครึ่งหนึ่ง ไปสู่ถิ่นของมนุษย์ เพื่อต้องการรสเค็ม

รสเปรี้ยว ในกาลนั้น ประจวบเป็นสมัยที่พระโพธิสัตว์จะทำกาละ

พวกอันเตวาสิกทั้งหลาย พากันถามการบรรลุคุณพิเศษกะท่าน

ว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านได้คุณพิเศษชนิดไหน ? ท่านตอบว่า

ไม่มีแม้แต่น้อย แล้วไปเกิดในพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เพราะว่า

พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย แม้ถึงจะได้อรูปสมาบัติ ก็มิได้บังเกิดใน

อรูปภพ เป็นสถานที่อันมิบังควร พวกอันเตวาสิกคิดกันว่า

ท่านอาจารย์ไม่มีคุณพิเศษเลย ดังนี้แล้ว ไม่กระทำสักการะ

ในป่าช้า อันเตวาสิกผู้ใหญ่กลับมาแล้ว ถามว่า ท่านอาจารย์

ไปไหน ? ครั้นทราบว่า ทำกาละเสียแล้ว จึงกล่าวว่า เออก็

พวกเธอถามถึงคุณพิเศษที่ท่านได้บรรลุกะท่านหรือเปล่า ?

พวกเราถามแล้ว ขอรับ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 381

ท่านตอบว่าอย่างไร ?

ท่านตอบว่า ไม่มีแม้แต่น้อย เหตุนั้นพวกเราจึงไม่ทำ

สักการะแก่ท่าน อันเตวาสิกผู้ใหญ่กล่าวว่า พวกเธอมิได้รู้

ความหมายแห่งคำของอาจารย์ ท่านอาจารย์ได้อากิญจัญญายตน-

สมาบัติ แม้ถึงอันเตวาสิกผู้ใหญ่นั้น จะพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า พวก

อันเตวาสิกเหล่านั้น ก็ไม่ยอมเชื่อ พระโพธิสัตว์ทราบเหตุนั้น

ดำริว่า พวกอันธพาลไม่เชื่อถ้อยคำอันเตวาสิกผู้ใหญ่ของเรา

เราต้องกระทำเหตุนี้ให้ปรากฏแก่อันเตวาสิกเหล่านั้น แล้วมา

จากพรหมโลก ยืนอยู่ในอากาศ ด้วยอานุภาพอันใหญ่ เบื้องบน

อาศรมบท เมื่อจะพรรณนางปัญญานุภาพของอันเตวาสิกผู้ใหญ่

กล่าวคาถานี้ ความว่า :-

" แม้จะมีผู้มาประชุมกันตั้งพันกว่า พวก

เหล่านั้นก็ไม่มีปัญญา พึงคร่ำครวญไปตั้ง ๑๐๐ ปี

บุรุษผู้มีปัญญารู้แจ้งความหมายของคำที่เรากล่าว

แล้ว ผู้เดียวเท่านั้นประเสริฐกว่า " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปโรสหสฺสมฺปิ แปลว่า แม้เกิน

กว่าพัน.

บทว่า สมาคตาน ความว่า พวกคนเขลาผู้ไม่สามารถ

ทราบความหมายของคำที่เรากล่าวแล้ว มาประชุมกันแล้ว.

ด้วยบทว่า กนฺเทยฺยุ เต วสฺสสต อปฺา นี้ พระโพธิสัตว์

แสดงว่า พวกเหล่านั้นที่มารวมกันอย่างนี้ ไร้ปัญญา เหมือนพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 382

ดาบสโง่เหล่านี้ พากันร้องไห้คร่ำครวญกันไปตั้งร้อยปี แม้

ตั้งพันปี แม้ตั้งแสนปี ถึงแม้จะพากันร้องไห้ ก็ไม่พึงรู้ถึงความ

หมาย หรือเหตุได้เลย.

บทว่า เอโกว เสยฺโย ปุริโส สปญฺโ ความว่า บุรุษที่

เป็นบัณฑิตคนเดียวเท่านั้น ดีกว่า ประเสริฐกว่าพวกคนพาล

เห็นปานนั้น แม้ตั้งพันกว่า.

มีปัญญาเช่นไร ?

ผู้มีปัญญารู้แจ้งความหมายของคำที่เรากล่าวแล้ว เหมือน

อย่างอันเตวาสิกผู้ใหญ่นี้.

พระมหาสัตว์ ยืนอยู่ในอากาศนั่นแหละ แสดงธรรมชี้แจง

ให้คณะดาบสรู้แจ้ง ด้วยประการฉะนี้ แล้วก็ไปสู่พรหมโลก

ดังเดิม พวกดาบส แม้เหล่านั้น ครั้นสิ้นชีวิตต่างก็ไปเกิดใน

พรหมโลก.

พระศาสดาทรงนพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า อันเตวาสิกผู้ใหญ่ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระสารีบุตร

ส่วนมหาพรหมได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปโรสหัสสชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 383

๑๐. อสาตรูปชาดก

ว่าด้วยสิ่งที่ครอบงำคนประมาท

[๑๐๐] " สิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจ สิ่งที่ไม่เป็นที่รัก

สิ่งที่เป็นทุกข์ ย่อมครอบงำผู้ประมาทด้วยสิ่ง

เป็นที่พอใจ สิ่งเป็นที่รัก และสิ่งที่เป็นสุข"

จบ อสาตรูปชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาอสาตรูปชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาทรงอาศัย กุณฑิยนคร ประทับอยู่ ณ กุณฑ-

ธานวัน ทรงปรารภอุบาสิกานามว่า สุปปวาสา ผู้เป็นธิดาแห่ง

โกลิยกษัตริย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อสาต

สาตรูเปน ดังนี้.

ความพิสดารว่า ในสมัยนั้น พระนางสุปปวาสา ต้องทรง

บริหารพระครรภ์ถึง ๗ ปี แล้วยังต้องเจ็บพระครรภ์อีก ๗ วัน

เวทนาเป็นไปขนาดหนัก พระนางแม้จะถูกเวทนาขนาดหนัก

เสียดแทงถึงอย่างนี้ ก็อดกลั้นทุกข์เสียได้ด้วยวิตก ๓ ประการ

เหล่านี้ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดเล่า ทรงแสดงธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 384

เพื่อการละทุกข์เห็นปานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้หนอ หมู่แห่งสาวกของพระผู้มี

พระภาคพระองค์นั้น ใดเล่าปฏิบัติแล้วเพื่อการละทุกข์เห็น

ปานนี้ หมู่สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น นั้นเป็น

ผู้ปฏิบัติดีแน่หนอ ทุกข์เห็นปานนี้ไม่มีในพระนิพพานใดเล่า

พระนิพพานนั้นเป็นสุขจริงหนอ พระนางตรัสเรียกพระสวามี

มาแล้ว ขอให้ไปเฝ้าพระศาสดา เพื่อกราบทูลความเป็นไปของ

พระนาง และข่าวกราบถวายบังคม พระศาสดาทรงทราบ

ข่าวการถวายบังคมแล้ว ตรัสว่า โกลิยธิดา สุปปวาสา จงมี

ความสุขเถิด จงมีความสุข ไม่มีโรค ตลอดโอรสผู้หาโรคมิได้

เถิด ก็พร้อม ๆ กับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแหละ

พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา ก็ทรงสำราญ ปราศจากพระ-

โรคาพาธ ประสูติพระโอรสผู้ไม่มีโรคแล้ว ครั้นพระสวามีของ

พระนางเสด็จถึงนิเวศน์ ทอดพระเนตรเห็นพระนางประสูติแล้ว

ได้ทรงเกิดอัศจรรย์ หลากพระทัยว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ

อานุภาพของพระตถาคตเหลือประมาณ แม้พระนางสุปปวาสา

ทรงประสูติพระกุมารแล้ว ก็ปรารถนาจะถวายมหาทาน แด่

พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธองค์เป็นประมุข จึงส่งพระสวามี

กลับไป เพื่อนิมนต์ ก็สมัยนั้นเล่า อุปัฏฐากของพระมหาโมค-

คัลลานะ นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธองค์เป็นประมุขไว้แล้ว

พระศาสดาจึงส่งพระสวามีของพระนางไปสู่สำนักของพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 385

เถระเจ้า ให้ท่านทำให้อุปัฏฐากยอมตกลง เพื่อให้โอกาสแก่ทาน

ของพระนางสุปปวาสาแล้ว ทรงรับทานของพระนางตลอด ๗ วัน

กับภิกษุสงฆ์.

ครั้นถึงวันที่ ๗ พระนางสุปปวาสาตกแต่งพระสีวลีกุมาร

ผู้โอรส ให้ถวายบังคมพระศาสดา และพระภิกษุสงฆ์ เมื่อ

พระกุมารถูกนำเข้าไปสู่สำนักของพระเถระเจ้าโดยลำดับ

พระเถระเจ้าได้กระทำปฏิสันถารกับเธอว่า สีวลี เธอยังจะพอ

ทนได้หรือ ? สีวลีกุมาร ตรัสคำเห็นปานนี้กับพระเถระเจ้า

ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมจะมีความสุขที่ไหนได้เล่า

กระผมนั้นต้องอยู่ในโลหกุมภีถึง ๗ ปี พระนางสุปปวาสาทรง

สดับถ้อยคำนั้นของพระโอรสแล้ว ทรงโสมนัสว่า ลูกของเรา

เกิดได้ ๗ วัน คุยกับพระอนุพุทธรรมเสนาบดีได้ พระศาสดา

ตรัสว่า สุปปวาสา ยังจะปรารถนาบุตรอย่างนี้คนอื่น ๆ อีกไหม

เล่า ? พระนางกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ากระหม่อมฉัน

พึงได้โอรสอื่น ๆ อย่างนี้ ๗ คน เกล้ากระหม่อมฉันพึงปรารถนา

ทีเดียวพระเจ้าค่ะ พระศาสดาทรงเปล่งพระอุทาน กระทำ

อนุโมทนาแล้วเสด็จหลีกไป ฝ่ายพระกุมารสีวลี พอมีพระชนม์ได้

๗ พรรษาเท่านั้น ก็ทรงบวชถวายชีวิตในพระศาสนา ครั้นมีอายุ

ครบ ก็ได้อุปสมบทเป็นผู้มีบุญ ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ

บรรลือลั่นตลอดพื้นปฐพี บรรลุพระอรหัตผลแล้ว ได้รับฐานะ

เป็นเอตทัคคะในกลุ่มแห่งท่านผู้มีบุญทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 386

พวกภิกษุประชุมกันในธรรมสภา ตั้งข้อสนทนากันว่า ผู้มีอายุ

ทั้งหลาย พระเถระที่มีนามว่า สีวลี มีบุญมาก มีความปรารถนา

อันตั้งไว้แล้ว เป็นสัตว์อุบัติในภพสุดท้าย เห็นปานนี้ ต้องอยู่ในโลก

โลหกุมภีถึง ๗ ปี แล้วยังต้องถึงความหลงครรภ์ ๗ วัน น่าสงสาร

พระมารดาต้องทรงเสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวง ท่านได้กระทำ

กรรมอะไรไว้หนอแล พระศาสดาเสด็จไป ณ ธรรมสภานั้น

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วย

เรื่องอะไรในบัดนี้ เมื่อพวกภิกษุกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การอยู่ในโลหกุมภีถึง ๗ ปี และ

การถึงความหลงครรภ์อีก ๗ วัน ของสีวลีผู้มีบุญมาก มีกรรม

ที่ตนทำไว้เป็นมูลทีเดียว ความทุกข์ในอันบริหารครรภ์ด้วยการ

อุ้มท้องไว้ถึง ๗ ปี และทุกข์เพราะหลงครรภ์ถึง ๗ วัน แม้ของ

พระนางสุปปวาสานั้นเล่า ก็มีกรรมที่ตนกระทำไว้เป็นมูลเหมือนกัน

อันภิกษุทั้งหลายกราบทูลอาราธนา แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีต

มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระอุทรแห่ง

พระมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตพระองค์นั้น ทรงเจริญวัยแล้ว

ทรงศึกษาสรรพศิลปวิทยา ณ เมืองตักกสิลา ครั้นพระชนก

เสด็จทิวงคต ก็ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม สมัยนั้นพระเจ้า-

โกศล ทรงกรีฑาพลเป็นกองทัพใหญ่ เสด็จมายึดพระนคร-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 387

พาราณสีได้ สำเร็จโทษพระราชาเสียแล้ว กระทำอัครมเหสี

ของพระราชานั้นแหละให้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ ฝ่าย

พระโอรสของพระเจ้าพาราณสี เวลาที่พระราชบิดาเสด็จ

สวรรคต เสด็จหนีไปทางช่องระบายน้ำ ทรงรวบรวมกำลังได้

ยกมาสู่พระนครพาราณสี ประทับพักแรมในที่ไม่ไกล ทรงส่ง

หนังสือไปถึงพระราชานั้นว่า จงมอบราชสมบัติคืน หรือมิฉะนั้น

จงรบกัน พระราชานั้นทรงตอบหนังสือไปว่า เราจะทำการยุทธ

ฝ่ายพระราชมารดาของพระราชกุมาร ทรงสดับสาสน์นั้นแล้ว

ลอบส่งหนังสือไปว่า ไม่ต้องทำการรบดอก จงล้อมพระนคร-

พาราณสี ตัดการไปมาของพระนครเสียให้เด็ดขาดสัก ๗ วัน

แต่นั้นก็ยึดพระนครซึ่งผู้คนลำบากแล้วด้วยการสิ้นฟืน น้ำ และ

ภัตต์ โดยไม่ต้องรบเลย พระราชกุมารฟังข่าวของพระมารดา

แล้ว ก็ล้อมพระนครไว้ ตัดการไปมาเด็ดขาดตลอด ๗ วัน ชาวเมือง

ไปมาไม่ได้ ก็ตัดเอาเศียรของพระราชานั้นไปถวายพระกุมาร

ในวันที่ ๗ พระราชกุมารก็เสด็จเข้าพระนครครองราชสมบัติ

เมื่อสิ้นพระชนมายุ ก็เสด็จไปตามยถากรรม.

ในกาลบัดนี้ พระสีวลีนั้นต้องอยู่ในโลหกุมภีตลอด ๗ ปี

ถึงความเป็นผู้หลงครรภ์ ๗ วัน ด้วยกระแสกรรมที่ล้อมพระนคร

ตัดการไปมาเสียเด็ดขาดถึง ๗ วัน แล้วยืดเอา ก็แต่ว่าท่านได้

ให้มหาทาน กระทำความปรารถนาไว้แทบพระบาท แห่งพระ-

ปทุมุตตรพุทธเจ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้เลิศกว่าบุคคลผู้มีลาภ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 388

ทั้งหลาย และในครั้งพระวิปัสสีพุทธเจ้า ร่วมกับชาวเมืองถวาย

เนยแข็ง มีมูลค่าราคาหนึ่งพัน แล้วได้กระทำความปรารถนา

ไว้ ด้วยอานุภาพแห่งทานนั้น จึงได้เป็นผู้เลิศกว่าผู้มีลาภทั้งหลาย

ส่วนพระนางสุปปวาสาเล่า เพราะส่งข่าวไปว่า จงล้อมพระนคร

ยึดเอาเถิดพ่อ จึงต้องทรงบริหารครรภ์อุ้มพระอุทรตลอด ๗ ปี

แล้วยังต้องเกิดครรภ์หลงอีกถึง ๗ วัน ดังนี้แล. พระศาสดาทรง

นำเอาเรื่องในอดีตนี้มาสาธกแล้ว ตรัสพระคาถานี้ เป็นอภิสัม-

พุทธคาถา ความว่า :-

" สิ่งที่ไม่น่าชื่นชม ข่มผู้ประมาทไว้

ด้วยทีท่าอันน่าชื่นชม ส่งที่ไม่น่ารัก ข่มผู้

ประมาทไว้ ด้วยทีท่าอันน่ารัก ทุกข์ข่มผู้ประมาท

ไว้ด้วยทีท่าของความสุข" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสาต สาตรูเปน ความว่า

สิ่งที่ไม่น่าชื่นชม คือไม่มีรสหวานเลย ย่อมข่มผู้ประมาทด้วย

ทีท่าเหมือนมีรสอร่อย.

บทว่า ปมตฺตมติวตฺตติ มีอธิบายว่า สิ่งทั้ง ๓ อย่างนี้คือ

สิ่งที่ไม่น่าชื่นชม สิ่งที่ไม่น่ารัก และ ทุกข์ ย่อมข่ม คือครอบงำ

บุคคลผู้ประมาทแล้ว ด้วยสามารถแห่งการอยู่ปราศจากสติ

ด้วยอาการมีทีท่าอันน่าชื่นชมเป็นต้นนี้ เรื่องนี้พึงทราบว่า ข้อที่

มารดาและบุตรเหล่านั้น ถูกสิ่งที่ไม่น่าชื่นชม กล่าวคือ การบริหาร

ครรภ์ และการอยู่ในครรภ์เป็นต้นนี้ ครอบงำแล้ว ด้วยการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 389

เปรียบให้เห็น การปิดล้อมพระนครไว้ในครั้งก่อนเป็นต้น อันใด

ก็ดี ข้อที่บัดนี้อุบาสิกานั้น ยอมให้สิ่งที่ไม่น่าชื่นชม ไม่น่ารัก

เป็นทุกข์เห็นปานนี้ ครอบงำซ้ำอีกถึง ๗ ครั้ง ด้วยรูปเทียม

อันชวนให้เข้าใจผิดว่าน่าชื่นชม กล่าวคือบุตร อันเป็นที่ตั้งแห่ง

ความรักเป็นต้น จึงกราบทูลอย่างนั้น อันใดก็ดีพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงหมายเอาสิ่งนั้น ๆ ทั้งหมด ตรัสแล้ว.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า ราชกุมารผู้ล้อมพระนคร แล้วสืบราชสมบัติในครั้งนั้น

ได้มาเป็นสีวลีในครั้งนี้ พระมารดาได้มาเป็นพระนางสุปปวาสา

ส่วนพระเจ้าพาราณสีผู้เป็นพระราชบิดา ได้มาเป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

จบ อสาตรูปชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ลิตตชาดก ๒. มหาสารชาดก ๓. วิสสาสโภชนาชาดก

๔. โลมหังสชาดก ๕. มหาสุทัสสนชาดก ๖. เตลปัตตชาดก

๗. นามสิทธิชาดก ๘. กูฏวาณิชชาดก ๙. ปโรสทัสสนชาดก

๑๐. อสาตรูปชาดก

จบ ลิตตวรรคที่ ๑๐

จบ มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 390

๑๑. ปโรสตวรรค

๑. ปโรสตชาดก

คนมีปัญญาคนเดียวกว่าคนโง่เขลาตั้งร้อย

[ ๑๐๑ ] คนโง่เขลามาประชุมกัน แม้ตั้งร้อยคน

ขึ้นไป พวกเขาไม่มีปัญญา พึงเพ่งดูอยู่ตั้งร้อยปี

ผู้ใดรู้แจ้งเนื้อความแห่งภาษิต ผู้นั้นเป็นบุรุษมี

ปัญญา คนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า.

จบ ปโรสตชาดกที่ ๑

อรรถกถาปโรสตวรรคที่ ๑๑

อรรถกถาปโรสตชาดกที่ ๑

ชาดกเรื่องนี้ มีคาถา ความว่า :-

"คนโง่เขลามาประชุมกัน แม้ตั้งร้อยคน

ขึ้นไป พวกเขาไม่มีปัญญา พึงเพ่งดูอยู่ตั้งร้อยปี

ผู้ใดรู้แจ้งเนื้อความแห่งภาษิต ผู้นั้นเป็นบุรุษมี

ปัญญา คนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า" ดังนี้.

เหมือนกันกับปโรสหัสสชาดก โดยเนื้อเรื่อง โดยไวยากรณ์

และโดยประชุมชาดก แต่ในชาดกนี้ มีแปลกเพียงบท ฌาเยยฺยุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 391

บทเดียวเท่านั้น. คาถานั้นมีอรรถาธิบายว่า คนเหล่านั้น ไม่มี

ปัญญา พึงเพ่ง พึงดู พึงใคร่ครวญแม้ตลอดร้อยปี แม้ว่าจะดูอยู่

อย่างนี้ ก็ย่อมไม่เห็นเหตุหรือผล เหตุนั้น ผู้ใดรู้เนื้อความแห่ง

คำที่เรากล่าวไว้ได้ ผู้นั้นคนเดียวเท่านั้น มีปัญญา ประเสริฐกว่า

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปโรสตชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 392

๒. ปัณณิกชาดก

ว่าด้วยที่พึ่งที่โทษ

[๑๐๒] "ยามเมื่อฉันมีทุกข์ ผู้ใดเล่าเป็นที่พึ่ง

ท่านผู้นั้นคือบิดาของฉัน กำลังประทุษร้ายฉัน

ในป่า ฉันจะร้องหาใครในกลางป่า ท่านผู้จะช่วย

ได้กลับทำกรรมอันสาหัสเสียเอง"

จบ ปัณณิกชากดกที่ ๒

อรรถกถาปัณณิกชาดกที่ ๒

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภอุบาสกพ่อค้าผักผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า โย ทุกฺขผุฏฺฐาย ภเวยฺย ตาณ ดังนี้.

ได้ยินว่า อุบาสกชาวเมืองสาวัตถีนั้น ขายผักต่าง ๆ มี

ฝักข้าวเป็นต้น และผักผลมีน้ำเต้า และผักเป็นต้นเลี้ยงชีวิต

เขามีธิดาคนหนึ่ง รูปร่างงดงาม แจ่มใส สมบูรณ์ด้วยมารยาท

และความประพฤติ ประกอบด้วยหิริโอตตัปปะ เสียอย่างเดียวที่

ชอบหัวเราะหน้ารื่นอยู่เสมอ เมื่อสกุลที่คู่ควรพากันมาสู่ขอนาง

เขาคิดว่า การสู่ขอรายนี้กำลังดำเนินไป ส่วนลูกสาวเราคนนี้

หัวเราะหน้ารื่นอยู่เป็นประจำ ก็เมื่อนางกุมารียังไม่มีสมบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 393

ลูกผู้หญิง ไปสู่ตระกูลผัว ย่อมเป็นที่ครหาถึงมารดาบิดาได้

เราต้องทดลองลูกเราดูว่า มีกุมาริกาธรรมหรือยังไม่มี วันหนึ่ง

เขาให้ธิดาถือกระเช้า ไปป่าเพื่อเก็บผักในป่า แล้วทำเป็นถูก

กิเลสรัดรึงด้วยมุ่งจะทดลอง พลางกล่าวถ้อยคำเล้าโลม แล้วจับ

มือนางไว้ พอนางถูกจับมือเท่านั้น ก็ร้องไห้คร่ำครวญกล่าวว่า

พ่อจ๋าเรื่องนี้ไม่มีควรเลย เป็นเช่นกับความปรากฏขึ้นแห่งไฟ

จากน้ำ พ่ออย่าทำอย่างนี้เลย เขากล่าวว่า ลูกรัก พ่อจับมือเจ้า

เพื่อจะลองดู จงบอกพ่อซิลูกว่า เดี๋ยวนี้เจ้ามีกุมาริกาธรรมแล้ว

นางตอบว่า มีจ้ะพ่อ เพราะฉันไม่เคยมองผู้ชายคนไหน ด้วยคิด

อยากจะได้เลย เขาปลอบธิดาแล้วทำการมงคล ส่งตัวไปสู่

ตระกูลผัว คิดว่า เราจักถวายบังคมพระศาสดา ถือของหอม

และดอกไม้เป็นต้น ไปพระเชตวันมหาวิหาร ถวายบังคมพระ-

ศาสดา บูชาแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อมีพระพุทธดำรัสว่า

นานอยู่นะที่ท่านมา จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระศาสดาตรัสว่า อุบาสก กุมาริกาถึงพร้อมด้วยมารยาทและ

ศีลมานานแล้วเทียว อนึ่งท่านมิใช่เพิ่งจะทดลองนางอย่างนี้ใน

บัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อนก็เคยทดลองมาแล้วเหมือนกัน เขา

กราบทูลอาราธนา ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดา

ในป่า เรื่องราวมีว่า ครั้งนั้นในพระนครพาราณสี มีพ่อค้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

ผักคนหนึ่ง ดังนี้ต่อนี้ไป เช่นเดียวกันกับเรื่องปัจจุบันนั่นแหละ ผิด

กันแต่ตอนที่นางพอถูกเขาจับมือ เพื่อลองใจ ก็ร่ำไห้กล่าวคาถานี้ว่า

"ยามเมื่อฉันมีทุกข์ ท่านผู้ใดเล่าเป็นที่พึ่ง

ท่านผู้นั้นคือบิดาของฉัน กำลังประทุษร้ายฉัน

ในป่า ฉันจะร่ำร้องหาใครในกลางป่า ท่านผู้จะ

ช่วยได้กลับทำกรรมอันสาหัสเสียเอง" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า. โย ทุกฺขผุฏฺาย ภเวยฺย ตาณ

ความว่า ในยามเมื่อทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจมาพ้องพาน ท่าน

ผู้ใดพึงเป็นผู้ต้านทาน คือเป็นที่พำนัก.

บทว่า โส เม ปิตา ทุพฺภิ วเน กโรติ ความว่า ท่านผู้นั้น

คือบิดาของฉัน คอยช่วยป้องกันต้านทุกข์ให้ กำลังกระทำกรรม

อันตัดเยื่อใยไมตรี อันน่าบัดสีเช่นนี้ในป่านี้เสียเอง คือกำลังคิด

เพื่อจะกระทำการล่วงเกินธิดาที่ตนให้กำเนิดเกิดมา.

ด้วยบทว่า กสฺส กนฺทามิ นี้ นางแสดงความว่า ฉันจะ

ร้องไห้หาใคร คือใครจักมาเป็นที่พึ่งให้ฉัน.

บทว่า โย ตายิตา โส สหสา กโรติ ความว่า ท่านผู้ใดเล่า

ที่จะปกป้องคุ้มครองฉัน ควรจะเป็นที่พึ่งพำนักได้ ท่านผู้นั้นคือ

บิดาคนเดียว กำลังการทำกรรมอันน่าบัดสี.

ครั้งนั้นผู้เป็นบิดา จึงปลอบนาง แล้วถามว่า แม่คุณ เจ้า

รักษาตนได้แล้วหรือ ? นางตอบว่า จ้ะพ่อ ฉันรักษาตนเองได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

เขาก็พานางมาเรือน ประดับตกแต่ง ทำการมงคลแล้วส่งไปสู่

สกุลผัว.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจจะ เวลาจบสัจจะ อุบาสกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ทรง

ประชุมชาดกว่า บิดาในครั้งนั้นได้มาเป็นบิดาในครั้งนี้ ธิดาก็

คงมาเป็นธิดา ส่วนรุกขเทวดาผู้เห็นเหตุการณ์นั้นโดยประจักษ์

ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปัณณิกชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 396

๓. เวริชาดก

การอยู่ร่วมกับบุคคลที่เป็นไพรี

[๑๐๓] "ไพรีอาศัยอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่

ในที่นั้น บุคคลอยู่ในพวกไพรี คืนหนึ่งหรือ

สองคืน ย่อมอยู่เป็นทุกข์" ดังนี้.

จบ เวริชาดกที่ ๓

อรรถกกถาเวริชาดกที่ ๓

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า ยตฺถ เวรี นิวีสติ ดังนี้.

ได้ยินว่าท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ไปสู่หมู่บ้านส่วยแล้ว

กำลังเดินมา พบพวกโจรในระหว่างทาง คิดว่า ไม่ควรพักแรม

ในระหว่างทาง ต้องไปให้ถึงพระนครสาวัตถีทีเดียว แล้วขับ

ฝูงโคมาถึงพระนครสาวัตถีโดยรวดเร็ว รุ่งขึ้นไปสู่พระวิหาร

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน

คฤหบดี แม้ในปางก่อน บัณฑิตพบโจรในระหว่างทาง ไม่ค้างแรม

ในระหว่างทาง ไปจนถึงที่อยู่ของตนทีเดียว ท่านอนาถบิณฑิกะ

กราบทูลอาราธนา ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 397

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเศรษฐี มี

สมบัติมาก ไปสู่ที่รับเชิญในหมู่บ้าน เพื่อการบริโภค เมื่อเดินทาง

กลับ พบพวกโจรในระหว่างทาง ไม่หยุดในระหว่างทางเลย

รีบขับโคทั้งหลาย มาสู่เรือนของตนทีเดียว บริโภคอาหารด้วย

รสอันเลิศ นั่งเหนือที่นอนอันมีราคามาก ดำริว่า เราพ้นจาก

เงื้อมมือโจร มาสู่เรือนตนอันเป็นที่ปลอดภัย แล้วกล่าวคาถานี้

ด้วยสามารถแห่งอุทานว่า :-

" ไพรีอาศัยอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่พึงอยู่

ในที่นั้น บุคคลอยู่ในพวกไพรี คืนหนึ่งหรือ

สองคืน ย่อมอยู่เป็นทุกข์" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวรี ได้แก่บุคคลผู้เพียบพร้อม

ด้วยเจตนาคิดก่อเวร.

บทว่า นิวีสติ แปลว่า ย่อมพำนักอยู่

บทว่า น วเส ตตฺถ ปณฺฑิโต ความว่า บุคคลผู้เป็นไพรีนั้น

พำนัก คืออาศัยอยู่ในที่ใด บัณฑิตคือท่านผู้ประกอบด้วยคุณเครื่อง

ความเป็นบัณฑิต ไม่ควรอยู่ในที่นั้น.

เพราะเหตุไร ?

เพราะบุคคลอยู่ในกลุ่มไพรี คืนหนึ่งหรือสองคืน ย่อมอยู่

เป็นทุกข์ ขยายความว่า บุคคลเมื่ออยู่ในกลุ่มของไพรี แม้วันเดียว

สองวัน ก็ชื่อว่าอยู่เป็นทุกข์ทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 398

พระโพธิสัตว์ เปล่งอุทานด้วยประการฉะนี้ กระทำบุญ

มีให้ทานเป็นต้น แล้วไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า ในครั้งนั้น เราตถาคตแล ได้เป็นเศรษฐีเมืองพาราณสี

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาเวริชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 399

๔. มิตตวินทชาดก

โทษของผู้ลุอำนาจความปรารถนา

[๑๐๔] "ผู้ที่มีความปราถนาเกินส่วน มีอยู่ ๔

ก็ต้องการ ๘ มี ๘ ก็ต้องการ ๑๖ มี ๑๖ ก็ต้องการ

๓๒ บัดนี้มาได้รับกงจักรกรด กรจักรกรดพัด

อยู่เหนือศีรษะ ของคนผู้ลุอำนาจความปราถนา"

จบ มิตตวินทชาดกที่ ๔

อรรถกถามิตตวินทชาดกที่ ๔

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้ว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า จพุพฺภิ อฏฺชฺฌคมา ดังนี้.

เรื่องราวพึงให้พิสดารตามนัยที่กล่าวแล้วในมิตตวินทชาดก

ในหนหลัง ส่วนชาดกนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดในกาลแห่งพระพุทธเจ้า

ทรงพระนามว่า กัสสปะ ก็ในกาลครั้งนั้น เนรยิกสัตว์ตนหนึ่ง

ทูลจักรกรดไว้ไหม้อยู่ในนรก ถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านเจ้าข้า

ข้าพเจ้าได้กระทำบาปกรรมอะไรไว้เล่าหนอ ? พระโพธิสัตว์

กล่าวว่า เจ้าได้กระทำบาปกรรมนี้ ๆ แล้วกล่าวคาถา ความว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 400

" ผู้ที่มีความปรารถนาเกินส่วน มีอยู่ ๔

ก็ต้องการ ๘ มี ๘ ก็ต้องการ ๑๖ มี ๑๖ ก็ต้องการ

๓๒ บัดนี้มาได้รับกงจักรกรด กรงจักกรดพัด

อยู่เหนือศีรษะ ของคนผู้ลุอำนาจความปรารถนา

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุพฺภิ อฏฺชฺฌคมา ความว่า

เจ้าได้เวมานิกเปรต ๔ นางในระหว่างสมุทร ยังไม่พอใจด้วย

นางเหล่านั้น จึงเดินมุ่งต่อไปข้างหน้า ด้วยปรารถนาเกินส่วน

ได้ครอบครองนางทั้ง ๘ อีก แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็มีนัยนี้

เหมือนกัน.

บทว่า อตฺริจฺฉ จกฺกมาสโท ความว่า เจ้าไม่พอใจด้วย

ลาภของตนอย่างนี้ ยังปรารถนาเกินส่วน คือต้องการต่อไปไม่

รู้หยุด มุ่งลาภข้างหน้าต่อไป คราวนี้จึงมาโดนจักรกรด คือถึง

จักรกรดนี้ เจ้านั้นอันความปรารถนากำจัดเสียแล้ว คือ ถูก

ตัณหาความทะยานอยาก กำจัด คือเข้าไปตัดรอนเสียแล้ว จักรกรด

จึงพัดผันบนหัวเจ้า ในจักรทั้งสอง คือจักรหินเละจักรเหล็ก

พระโพธิสัตว์เห็นจักรเหล็กคมปานมีดโกน พัดผันอยู่บนหัวของ

เขาด้วยสามารถแห่งการพัดหมุนเวียนต่อเนื่องกันไป จึงกล่าว

อย่างนี้.

ก็และครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็กลับไปสู่เทวโลกของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 401

แม้เนรยิกสัตว์นั้น เมื่อบาปของตนสิ้นแล้ว ก็ไปตาม

ยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า มิตตวินทกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้ว่ายาก ส่วน

เทวบุตรได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามิตตวินทชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 402

๕. ทุพพลกัฏฐชาดก

ว่าด้วยช้างกลัวไม้แห้ง

[๑๐๕] "ลมย่อมพัดไม้แห้งที่ทุรพลในป่านี้ แม้

มีจำนวนมากมายให้หักลง แน่ะ ช้างตัวประเสริฐ

ถ้าท่านมัวกลัวต่อไม้แห้งนั้น ท่านจักซูบผอม

เป็นแน่".

จบ ทุพพลกัฏฐชาดกที่ ๕

อรรถกถาทุพพลกัฏฐชาดกที่ ๕

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุขลาดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า พหุมฺเปต วเน กฏฺ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเป็นกุลบุตรชาวพระนครสาวัตถีผู้หนึ่ง

ฟังธรรมของพระศาสดาแล้วบรรพชา ได้เป็นผู้กลัวตายยิ่งนัก

เธอได้ยินเสียงลมพัด เสียงไม้แห้งตก หรือเสียงนก เสียงจตุบท

ก็สะดุ้งกลัวจะตาย ร้องเสียงลั่นวิ่งหนีไป เพราะด้วยเหตุเพียง

ความระลึกว่า เราต้องตาย ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอเสียเลย ก็ถ้าเธอ

พอจะรู้ว่า เราต้องตายดังนี้ ก็จะไม่กลัวตาย แต่เพราะเธอไม่เคย

เจริญมรหณัสสติกัมมัฏฐานเลย จึงกลัว ความกลัวตายของเธอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 403

แพร่หลายไปในหมู่ภิกษุ ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายยกเอา

เรื่องนี้ขึ้นพูดกันในธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุโน้น

ขลาดต่อความตาย กลัวตาย ธรรมดาภิกษุควรจะเจริญมรณัสสติ-

กัมมัฏฐานว่า เราต้องตายแน่นอน ดังนี้. พระศาสดาเสด็จมา

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนา

กันด้วยเรื่องอะไรเล่า ครั้นภิกษุทั้งหลาย กราบทูลให้ทรงทราบ

แล้ว มีรับสั่งให้หาภิกษุนั้นมาเฝ้า ตรัสถามว่า จริงหรือ ที่เขาว่า

เธอเป็นคนกลัวตาย เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าเสียใจต่อภิกษุนี้เลย

มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนี้เป็นผู้กลัวตาย แม้ในกาลก่อน

เธอก็เป็นผู้กลัวตายเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดา

ในป่าหิมพานต์ ในครั้งนั้น พระเจ้าพาราณสีทรงมอบมงคลหัตถี

ของพระองค์ให้แก่พวกนายหัตถาจารย์ เพื่อให้ฝึกหัตถึงเหตุ

แห่งความไม่พรั่นพรึง พวกนายหัตถาจารย์จึงมัดช้างนั้นที่เสา-

ตะลุง อย่างกระดุกกระดิกไม่ได้ พวกมนุษย์พากันถือหอกซัด

พากันเข้าล้อม กระทำให้เกิดความพรั่นพรึง ช้างถูกเขาบังคับ

ดังนั้น ไม่อาจอดกลั้นเวทนาความหวั่นไหวได้ ทำลายเสาตะลุง

เสีย ไล่กวดมนุษย์ให้หนีไป แล้วเข้าป่าหิมพานต์ พวกมนุษย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

ไม่อาจจะจับช้างนั้นได้ก็พากันกลับ ช้างนั้นได้เป็นสัตว์กลัวตาย

เพราะเรื่องนั้น ได้ยินเสียงลมเป็นต้น ก็ตัวสั่น กลัวตาย ทิ้งงวง

วิ่งหนีไปโดยเร็ว เป็นเหมือนเวลาที่ถูกมัดติดเสาตะลุง ถูกบังคับ

ไม่ให้พรั่นพรึงฉะนั้น ไม่ได้ความสบายกาย หรือความสบายใจ

มีแต่ความหวั่นระแวงเที่ยวไป รุกขเทวดาเห็นช้างนั้นแล้ว ยืน

บนค่าคบไม้ กล่าวคาถานี้ความว่า :-

" ลมย่อมพัดไม้แห้ง ที่ทุรพลในป่านี้

แม้มีจำนวนมากมาย ให้หักลง แน่ะ ช้างตัว

ประเสริฐ ถ้าท่านยังกลัวต่อไม้แห้งนั้น ท่านจัก

ซูบผอมเป็นแน่" ดังนี้.

ในคาถานั้น ประมวลอรรถาธิบายได้ดังนี้ :- ลมต่างด้วย

ลมที่มาแต่ทิศบูรพาเป็นต้น ย่อมระรานต้นไม้ที่ทุรพลใดเล่า

ต้นไม้นั้นมีมากมายในป่านี้ คือหาได้ง่าย มีอยู่ในป่านั้น ๆ ถ้า

เจ้ากลัวลมนั้น ก็จำต้องกลัวอยู่เป็นนิจ จักต้องถึงความสิ้นเนื้อ

และเลือด เหตุนั้น ตั้งแต่นี้ต่อไป อย่ากลัวเลย.

เทวดาให้โอวาทแก่ช้างนั้น ด้วยประการฉะนี้ ตั้งแต่นั้นมา

แม้ช้างนั้น ก็หายกลัว.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง

ประกาศสัจธรรม แล้วทรงประชุมชาดกนี้ว่า ช้างในครั้งนั้น

ได้มาเป็นภิกษุนี้ ส่วนรุกขเทวดา ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาทุพพลกัฏฐชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 405

๖. อุทัญจนีชาดก

ว่าด้วยหญิงโฉด

[๑๐๖] "หญิงโฉดผู้นำของไปด้วยหม้อน้ำ เบียด-

เบียนฉัน ผู้มีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข จะขอน้ำมัน

หรือเกลือ ก็ด้วยการกล่าวคำอ่อนหวาน ฐาน

ภรรยา"

จบ อุทัญจนีชาดกที่ ๖

อรรถกถาอุทัญจนีชาดกที่ ๖

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภการเล้าโลมของถุลกุมาริกา (หญิงสาวเจ้าเนื้อ) ตรัส

พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สุข วต ม ชีวนฺต ดังนี้.

เนื้อเรื่องจักแจ่มแจ้งในจูฬนารทกัสสปชาดก เตรสนิบาต

นั่นแล ก็พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า

เธอกระสันจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสถามต่อไปว่า จิตของเธอปฏิพัทธ์ใน

อะไรเล่า ? เธอกราบทูลว่า ในหญิงสาวเจ้าเนื้อนางหนึ่ง พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระบรมศาสดาจึงตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ

นางนี้ เคยทำความฉิบหายให้เธอ แม้ในกาลก่อนเธออาศัยนางนี่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

ถึงความเสื่อมจากศีล เที่ยวซบเซาไป ต่ออาศัยบัณฑิตจึงได้

ความสุข แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

เมื่อเรื่องในอดีต ตั้งแต่คำว่า ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้า-

พรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน พระนครพาราณสี เป็นต้น

ก็จักแจ่มแจ้ง ในจูพนารทกัสสปชาดกเหมือนกัน ก็ในครั้งนั้น

พระโพธิสัตว์ ถือผลาผลมาในเวลาเย็น เปิดประตูบรรณศาลา

เข้าไป ได้พูดคำนี้กะดาบสน้อยผู้บุตรว่า พ่อเอ๋ย ในวันอื่น ๆ

เจ้าหักฟืน ตักน้ำดื่มไว้ ก่อไฟไว้ แต่วันนี้ไม่ทำแม้สักอย่างเดียว

เหตุไรเล่าเจ้าจึงมีหน้าเศร้า นั่งซบเซาอยู่ ดาบสน้อย ตอบว่า

ข้าแต่พ่อ เมื่อท่านพ่อไปหาผลาผล หญิงคนหนึ่ง มาเล้าโล้ม

กระผมชวนให้ไปด้วย แต่กระผมผัดไว้ว่า ต่อท่านพ่ออนุญาต

แล้วจึงจักไป จึงยังไม่ได้ไป กระผมให้นางนั่งรออยู่ที่ตรงโน้น

แล้วกลับมา คราวนี้กระผมจักไปละครับ ท่านพ่อ พระโพธิสัตว์

ทราบว่า เราไม่อาจเหนี่ยวรั้งเขาไว้ได้ จึงอนุญาต โดยสั่งว่า

ถ้าเช่นนั้นจงไปเถิดพ่อ แต่เขาพาเจ้าไปแล้ว เมื่อใด นางอยาก

กินปลา กินเนื้อ หรือมีความต้องการเนย เกลือ และข้าวสาร

เป็นต้น เมื่อนั้น นางจักเคี่ยวเข็ญเจ้าว่า จงไปหาสิ่งนี้ ๆ มาให้

ตอนนั้น เจ้าจงนึกถึงคุณของพ่อ แล้วพึงหนีมาที่นี่เถิด. ดาบส

ได้ไปถิ่นมนุษย์กับนาง ครั้งนั้นนางก็ให้เขาตกอยู่ในอำนาจของตน

ต้องการสิ่งใด ๆ ก็ใช้ให้ไปหาสิ่งนั้น ๆ มา เช่นสั่งว่า จงไปหา

เนื้อมา จงไปหาปลามา คราวนั้น เขาก็ได้คิดว่า นางนี่เคี่ยวเข็ญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

ให้เราทำอย่างกับเป็นทาสกรรมกรของตน แล้วหนีมาสู่สำนัก

ของบิดา ไหว้บิดาแล้ว ทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่นั่นแหละ กล่าวคาถานี้

ความว่า :-

"หญิงโฉดผู้นำของไปด้วยหม้อนำ เบียด-

เบียนฉัน ผู้มีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข จะขอน้ำมัน

หรือเกลือ ก็ด้วยการกล่าวคำอ่อนหวาน ฐาน

ภรรยา" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุข วต ม ชีวนฺต ความว่า

ท่านพ่อขอรับ หญิงนั้น ทำผมผู้เคยเป็นอยู่สบายในสำนักของ

ท่านพ่อ ให้เดือดร้อน.

บทว่า ปจมานา ความว่า ถูกมันทำให้เดือดร้อน บังคับ

เคี่ยวเข็ญ ต้องการจะกินสิ่งใด ๆ ก็เคี่ยวเข็ญเอาสิ่งนั้น. หญิง

ชื่อว่า อุทัญจนี เพราะนำไปด้วยหม้อ. บทว่า อุทญฺจนี นี้ เป็นชื่อ

ของหญิงผู้ตักตวงน้ำจากตุ่ม หรือจากบ่อ ก็หญิงประเภทอุทัญจนี

นั้น ต้องการสิ่งใด ๆ ก็จะใช้ให้หาสิ่งนั้น ๆ มาให้จงได้ ดุจตักตวง

เอาน้ำด้วยหม้อ.

บทว่า โจรึ ชายปฺปวาเทน ความว่า หญิงโฉดนางหนึ่ง

อ้างตนเป็นภรรยา โอ้โลมกระผมด้วยคำอันอ่อนหวาน พาไป

ในถิ่นมนุษย์ มันต้องการน้ำมัน หรือเกลืออย่างหนึ่งอย่างใด จะ

เคี่ยวเข็ญขอสิ่งนั้น ๆ ทุกอย่าง ให้นำมาให้ เหมือนเป็นทาส

เป็นกรรมกร เหตุนั้น กระผมจึงบอกเล่ากล่าวโทษของมันไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 408

ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ก็ปลอบดาบสน้อยนั้นว่า ช่างมันเถิด

พ่อ มาเถิด เจ้าจงเจริญ เมตตากรุณาไว้เถิด แล้วบอกพรหมวิหาร

๔ ให้ บอกกสิณบริกรรมให้ ไม่นานนักดาบสน้อยนั้น ก็ยัง

อภิญญาและสมาบัติให้เกิดได้ เจริญพรหมวิหาร แล้วไปบังเกิดใน

พรหมโลก พร้อมด้วยบิดา.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจจะ ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นดำรงในโสดาปัตติผล ทรงประชุม

ชาดกว่า ถุลกุมาริกาในครั้งนั้น ได้มาเป็นถุลกุมาริกาใน

บัดนี้ ดาบสน้อยได้มาเป็นภิกษุผู้กระสัน ส่วนดาบสผู้บิดา ได้

เราเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอุทัญจนีชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 409

๗. สาลิตตกชาดก

ว่าด้วยคนมีศิลปะ

[๑๐๗] ขึ้นชื่อว่า ศิลปะแม้อย่างใดอย่างหนึ่ง

ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ ขอเชิญ

พระองค์ทรงทอดพระเนตรบุรุษง่อยได้บ้านส่วย

ทั้ง ๔ ทิศ ก็เพราะการดีดมูลแพะ.

จบ สาลิตตกชาดกที่ ๗

อรรถกถาสาลิตตกชาดกที่ ๗

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้ฆ่าหงส์รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า สาธุ โข สิปฺปก นาม ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้น เป็นกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง

ถึงความสำเร็จในสาลิตตกศิลป์ ที่เรียกว่า สาสิตตกศิลป์ ได้แก่

ศิลปะในการดีดก้อนกรวด วันหนึ่งเขาฟังธรรมแล้วบวชถวาย

ชีวิตในพระศาสนา ได้อุปสมบทแล้ว แต่มิได้เป็นผู้มุ่งการศึกษา

มิได้เป็นผู้ยังการปฏิบัติให้สำเร็จ วันหนึ่งเธอชวนภิกษุหนุ่ม

รูปหนึ่ง ไปสู่แม่น้ำอจิรวดี อาบน้ำแล้วพักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ ครั้งนั้น

หงส์ขาว ๒ ตัวพากันบินมาทางอากาศ เธอจงกล่าวกะภิกษุหนุ่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 410

นั้นว่า ผมจะเอาก้อนกรวดประหารหงส์ตัวหลังนี้ที่นัยน์ตา ให้

ตกลงมาแทบเท้าของท่าน อีกรูปหนึ่งกล่าวว่า ท่านจะทำให้มันตก

ได้อย่างไร ท่านไม่อาจประหารมันได้ดอก เธอกล่าวว่า เรื่องนั้น

ยกไว้ก่อนเถิด เราจักประหารมันที่นัยน์ตาข้างโน้น ให้ทะลุถึง

ตาข้างนี้ ภิกษุหนุ่มจึงกล่าวแย้งว่า คราวนี้ ท่านพูดไม่จริงละ !

เธอบอกว่า ถ้าอย่างนั้น คุณคอยดู แล้วหยิบเอาก้อนกรวดคม ๆ

ได้ก้อนหนึ่ง คลึงด้วยนิ้วชี้ แล้วดีดไปข้างหลังของหงส์นั้น ก้อน-

กรวดนั้น ส่งเสียงหึ่ง ๆ หงส์คิดว่า น่าจะมีอันตราย เหลียวกลับมา

หมายจะฟังเสียง ภิกษุนอกนี้ ก็ถือก้อนกรวดก้อนหนึ่งไว้ใน

ขณะนั้น เมื่อมันยังเหลียวดูอยู่ ก็ดีดไปกระทบนัยน์ตาอีกข้างหนึ่ง

ก้อนกรวดเจาะทะลุถึงนัยน์ตาอีกข้างหนึ่ง หงส์ร้องดังสนั่น

ตกลงมาที่ใกล้เท้าทันที พวกภิกษุมาจากที่นั้น ๆ พากันติเตียน

กล่าวว่า คุณทำไม่สมควรเลย แล้วนำเธอไปสำนักพระศาสดา

กราบทูลเรื่องนั้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปนี้กระทำ

กรรมชื่อนี้ พระศาสดาทรงตำหนิภิกษุนั้น ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนี้ฉลาดในศิลปะนั้น แม้

ครั้งก่อนก็ได้เป็นผู้ฉลาดแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์ของ

พระองค์ ครั้งนั้น ปุโรหิตของพระราชาเป็นคนปากกล้ายิ่งนัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 411

ชอบพูดมาก เมื่อตั้งต้นพูดแล้ว คนอื่น ๆ จะไม่มีโอกาสได้พูด

เลยทีเดียว ฝ่ายพระราชาก็ทรงพระดำริว่า เมื่อไรเล่าหนอ เรา

ถึงจักได้ใครช่วยสะกัดถ้อยคำของเขาเสียได้ ตั้งแต่นั้นท้าวเธอ

ก็ทรงใคร่ครวญหาคนอย่างนี้สักคนหนึ่ง ครั้งนั้น ในเมืองพาราณสี

มีบุรุษง่อยคนหนึ่ง ถึงความสำเร็จในศิลปะคือ การดีดก้อนกรวด

พวกเด็กชาวบ้านยกเขาขึ้นสู่รถช่วยกันลากมาไว้ที่ต้นไทรใหญ่

สมบูรณ์ด้วยคาคบต้นหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ใกล้ประตูพระนครพาราณสี

พากันห้อมล้อม ให้เงินมีกากณึกเป็นต้น ร้องบอกว่า จงทำรูปช้าง

จงทำรูปม้า เขาก็ดีดก้อนกรวด เสียงรูปต่าง ๆ ที่ใบไทรทั้งหลาย

ในไทรทั้งมวลล้วนเป็นช่องน้อย ช่องใหญ่ไปทั้งนั้น ครั้งนั้น

พระเจ้าพาราณสี เสด็จพระดำเนินไปสู่พระอุทยาน เสด็จถึง

ตรงนั้น พวกเด็กทั้งหมดพากันหนี เพราะกลัวจะถูกขับไล่ บุรุษง่อย

นอนอยู่ในที่นั้นเอง พระราชาเสด็จถึงโคนต้นไทร ประทับนั่ง

ในราชรถนั่นแล ทอดพระเนตรเห็นเงาต่าง ๆ เพราะใบไม้ทั้งหลาย

ขาดเป็นช่อง ก็ทรงจ้องดู ครั้นเห็นใบไม้ทั้งปวงปรุโปร่งไปหมด

ก็ตรัสถามว่า ใบไม้เหล่านี้ใครทำให้เป็นอย่างนี้ ? ราชบุรุษ

กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ บุรุษเปลี้ยกระทำพระเจ้าข้า

พระราชทรงพระดำริว่า อาศัยคนผู้นี้เราอาจสะกัดคำของ

พราหมณ์ได้ จึงมีพระดำรัสถามว่า พนาย เจ้าง่อยอยู่ไหนละ ?

ราชบุรุษเที่ยวค้น ก็พบเขานอนอยู่ที่โคนไม้ ก็พากันนำตัวมา

กราบทูลว่า นี่พระเจ้าข้า พระราชารับสั่งให้เข้าเฝ้า แล้วทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 412

ขับบริษัทไปเสีย ตรัสถามว่า ในสำนักของเรามีพราหมณ์ปาก

กล้าอยู่คนหนึ่ง เจ้าจักอาจทำให้เขาหมดเสียงได้ไหม ? บุรุษง่อย

กราบทูลว่า เมื่อได้ขี้แพะประมาณทะนานหนึ่ง ข้าพระองค์ก็

อาจจะกระทำได้พระเจ้าข้า พระราชารับสั่งให้ราชบุรุษพา

บุรุษง่อยเข้าไปสู่พระราชวัง ให้นั่งอยู่ภายในม่านเจาะช่อง

ที่ม่าน รับสั่งให้จัดที่นั่งของพราหมณ์ตรงช่อง แล้วให้วางขี้แพะ

แห้งประมาณหนึ่งทะนานไว้ใกล้ ๆ บุรุษง่อย เวลาพราหมณ์

มาเฝ้า รับสั่งให้นั่งเหนืออาสนะนั้น พลางทรงตั้งเรื่องสนทนาขึ้น.

พราหมณ์ไม่ยอมให้โอกาสแก่คนอื่น ๆ เริ่มกราบทูลแก่พระราชา

ครั้งนั้นบุรุษง่อยก็ดีดขี้แพะไปทีละก้อน ๆ ทางช่องม่าน กะให้ตก

ลงที่พื้นเพดานปากของพราหมณ์นั้นทุกที เหมือนกับโยนใส่กระเช้า

ฉะนั้น พราหมณ์ก็กลืนขี้แพะที่ดีดมาแล้ว ๆ เหมือนกรอกน้ำมัน

ใส่ทะนาน. ขี้แพะถึงความสิ้นไปหมดทั้งทะนาน ขี้แพะประมาณ

ทะนานหนึ่งนั้น เข้าท้องของพราหมณ์ไปได้ประมาณกึ่งอาฬหกะ

พระราชาทรงทราบความที่ขี้แพะหมดสิ้นแล้ว จึงตรัสว่า ท่าน-

อาจารย์ ท่านกลืนขี้แพะเข้าไปตั้งทะนาน เพราะเป็นคนปากมาก

ท่านยังไม่รู้อะไรเลย บัดนี้ท่านจักไม่สามารถให้ขี้แพะมากกว่านี้

ย่อยได้ ไปเถิด จงดื่มน้ำประยงค์ ถ่ายทิ้ง ทำตนให้ปราศจาก

โรคเถิด จำเดิมแต่นั้น พราหมณ์ เหมือนมีปากถูกปิดสนิท แม้

ใครจะพูดก็ไม่ค่อยจะพูดด้วย พระราชาทรงพระดำริว่า บุรุษนี้

ทำความสบายหูให้แก่เรา พระราชทานบ้าน ๔ หลัง ในทิศทั้ง ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 413

มีส่วยขึ้นประมาณแสนกษาปณ์ พระโพธิสัตว์เข้าเฝ้าพระราชา

กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดาศิลปะในโลก บัณฑิต

ทั้งหลายพึงเรียน แม้เพียงดีดก้อนกรวด ก็ยังช่วยให้บุรุษง่อย

ได้สมบัตินี้ แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"ขึ้นชื่อว่าศิลปะ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง

ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ ขอเชิญ

พระองค์ทรงทอดพระเนตรบุรุษง่อย ได้บ้านส่วย

ทั้ง ๔ ทิศ ก็ด้วยการดีดมูลแพะ" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺส ขญฺชปฺปหาเรน ความว่า

พระโพธิสัตว์ กล่าวสรรเสริญคุณของศิลปะว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

ขอเชิญทรงทอดพระเนตรเถิด บุรุษง่อยผู้นี้ได้รับพระราชทาน

บ้าน ๔ หลัง ใน ๔ ทิศ ก็ด้วยการดีดขี้แพะ อะไรเป็นข้อขีดคั่น

อานิสงส์แห่งศิลปะอื่น ๆ เล่า ?

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ตรัสประชุม

ชาดกว่า บุรุษง่อยในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุนี้ พระราชาได้

มาเป็นอานนท์ ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตได้มาเป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสาลิตตชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 414

๘. พาหิยชาดก

เป็นคนควรศึกษาศิลปะ

[๑๐๘] บุคคลควรศึกษาศิลปะทั้งหลาย ชน

ทั้งหลายที่พอใจในศิลปะนั้น ก็มีอยู่ แม้แต่หญิง

ที่เกิดในจังหวัดชั้นนอก ก็ยังทำให้พระราชา

ทรงโปรดปรานได้ ด้วยการกระมิดกระเมี้ยน

ของเธอ.

จบ พาหิยชาดกที่ ๘

อรรถกถาพาหิยชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยพระนครเวสาลี ประทับอยู่ ณ

กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ทรงปรารภเจ้าลิจฉวีองค์หนึ่ง ตรัส

พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สิกฺเขยฺย สิกฺขิตพฺพานิ ดังนี้.

ได้ยินว่า เจ้าลิจฉวีองค์นั้น ทรงมีศรัทธาเลื่อมใส นิมนต์

พระภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ทรงยังมหาทานให้เป็นไป

ในวังของพระองค์ แต่เทวีของพระองค์มีอวัยวะทุกส่วนอ้วนพี

ดูคล้ายนิมิตแห่งซากศพที่ขึ้นพอง ไม่สมบูรณ์ด้วยมารยาท

พระศาสดาทรงทำอนุโมทนาในเวลาเสร็จภัตรกิจแล้วเสด็จไป

พระวิหาร ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย เสด็จเข้าพระคันธกุฎี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 415

ภิกษุทั้งหลายพากันตั้งเรื่องสนทนากันในธรรมสภาว่า ท่านผู้มี

อายุทั้งหลาย เจ้าลิจฉวีพระองค์นั้น มีพระรูปงามปานนั้น มีเทวี

ลักษณะตรงกันข้าม มีอวัยวะน้อยใหญ่อ้วนพี ไม่มีกิริยามารยาท

ท้าวเธอจะทรงอภิรมย์กับเทวีได้อย่างไรกันนะ ? พระศาสดา

เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุม

สนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ

แล้ว ตรัสว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย เจ้าลิจฉวีองค์นี้ มิใช่แต่ใน

บัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน ก็ทรงอภิรมย์กับหญิงที่มีร่างกายอ้วน

เหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์ของ

พระองค์ ครั้งนั้น หญิงชนบทคนหนึ่งมีอวัยวะอ้วนพี ไม่มีกิริยา

มารยาท ทำการรับจ้าง เดินผ่านไปไม่ไกลท้องพระลานหลวง

เกิดปวดอุจจาระ ก็เอาผ้านุ่งคลุมหัว นั่งถ่ายอุจจาระแล้วรีบ

ลุกขึ้น ขณะนั้นพระเจ้าพาราณสี ทอดพระเนตรท้องพระลานหลวง

ทางช่องพระแกล ทรงเห็นนางแล้ว ทรงดำริว่า หญิงผู้นี้ ถ่าย

อุจจาระไว้ที่พระลานอย่างนี้ มิได้ละหิริโอตตัปปะ เอาผ้านุ่ง

นั่นแหละปิด ถ่ายอุจจาระแล้วก็รีบลุกขึ้น ชะรอยนางจักเป็นหญิง

ไม่มีโรค วัตถุของนางจักต้องบริสุทธิ์ ลูกคนหนึ่งที่ได้ในวัตถุ

บริสุทธิ์ จักเป็นผู้บริสุทธิ์ มีบุญ เราควรตั้งนางไว้เป็นอัครมเหสี

ท้าวเธอทรงทราบความที่นางยังไม่มีคู่ครอง ก็ตรัสสั่งพระราชทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 416

ตำแหน่งอัครมเหสี นางได้เป็นที่โปรดปราน ต้องพระทัยของ

ท้าวเธอ ไม่นานนักก็ประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง และโอรสของ

พระนางก็ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระโพธิสัตว์เห็นความถึง

พร้อมด้วยยศของพระนาง ได้โอกาสที่จะกราบทูลเช่นนั้นได้

จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ศิลปะชื่อว่าควรศึกษา

เหตุไรจะไม่น่าศึกษาเล่า แต่พระมเหสีผู้มีบุญหนักพระองค์นี้

ไม่ทรงละหิริโอตตัปปะ ทรงกระทำสรีรวลัญชะ ด้วยอาการ

มิดเม้น ยังทำให้พระองค์โปรดปราน ทรงบรรลุสมบัติเห็นปานนี้

ได้นะ พระเจ้าข้า เมื่อจะกราบทูลคุณแห่งศิลปะที่ควรศึกษา

ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"บุคคลควรศึกษาศิลปะทั้งหลาย ชน

ทั้งหลายที่พอใจในศิลปะนั้นก็มีอยู่ แม้แต่หญิง

ที่เกิดในจังหวัดชั้นนอก ก็ยังทำให้พระราชา

ทรงโปรดปรานได้ ด้วยความกระมิดกระเมี้ยน

ของเธอ " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ ตจฺฉนฺทิโน ความว่า หมู่ชน

ที่มีความพอใจในศิลปะเหล่านั้น คงมีแน่นอน.

บทว่า พาหิยา ได้แก่หญิงที่เกิดเจริญเติบโต ในชนบท

ที่มีในภายนอก.

บทว่า สุหนฺเนน ความว่า ไม่ละหิริโอตตัปปะ ขับถ่าย

ด้วยอาการอันปกปิด ชื่อว่า อาการอันกระมิดกระเมี้ยน ถ่าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 417

ด้วยอาการอันกระมิดกระเมี้ยนนั้น.

บทว่า ราชาน อภิราธยิ ความว่า ยังทำให้สมมติเทพ

ทรงโปรดปราน ลุถึงสมบัตินี้ได้.

พระโพธิสัตว์กล่าวคุณของศิลปะทั้งหลาย อันสมควรแก่

คุณค่าของการศึกษา ด้วยประการฉะนี้.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า คู่สามีภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็นคู่สามีภรรยาในบัดนี้

ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาพาหิยชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 418

๙. กุณฑกปูวชาดก

ว่าด้วยมีอย่างไรก็กินอย่างนั้น

[๑๐๙] บุรุษกินอย่างไร เทวดาของบุรุษก็กิน

อย่างนั้น ท่านจงเอาขนมรำนั้นมา อย่าให้ส่วน

ของเราเสียไปเลย.

จบ กุณฑกปูวชาดกที่ ๙

อรรถกถากุณฑกปูวชาดกที่ ๙

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระนครสาวัตถี

ทรงปรารภบุรุษผู้เข็ญใจอย่างหนัก ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า ยถนฺโน ปุริโส โหติ ดังนี้.

ความพิสดารว่า ในพระนครสาวัตถี บางครั้งสกุลเพียง

สกุลเดียวเท่านั้น ถวายทานแต่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข บางครั้งสาม - สี่ตระกูลรวมกัน บางครั้งด้วยความ

ร่วมมือกันเป็นคณะ บางครั้งด้วยความร่วมใจกันของผู้ที่อยู่

ร่วมถนน บางครั้งรวมคนที่มีฉันทะความพอใจหมดทั้งเมือง ถวาย

ทานแต่พระสงฆ์มีพระพุทธองค์เป็นประมุข ก็ในครั้งนั้น มีภัตร

ที่ชื่อว่า วิถีภัตร (คือการถวายภัตตาหารของผู้ที่อยู่ร่วมถนนกัน)

ได้มีขึ้น. ครั้งนั้นพวกมนุษย์ กล่าวเชิญชวนกันว่า เชิญท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 419

ทั้งหลายถวายข้าวยาคู นำของขบเคี้ยวมาถวายแด่ภิกษุสงฆ์

มีพระพุทธองค์เป็นประมุขกันเถิด. ในกาลนั้น ยังมีลูกจ้างของ

คนเหล่าอื่นผู้หนึ่ง เป็นคนยากจนอยู่ในถนนนั้น คิดว่า เราไม่อาจ

ถวายข้าวยาคูได้ ของขบเคี้ยวพอจัดถวายได้ แล้วนวดรำชนิด

ละเอียด ให้ชุ่มด้วยน้ำ ห่อด้วยใบรัก เผาในกองเถ้า คิดว่า เราจัก

ถวายขนมนี้แด่พระพุทธเจ้า ถือขนมนั้นไปยืนอยู่ในสำนักพระ-

ศาสดา พอพระศาสดาตรัสครั้งเดียวว่า พวกท่านจงนำของขบเคี้ยว

มาเถิด ก็ไปก่อนคนทั้งปวง ใส่ขนมนั้นในบาตรของพระศาสดา

แล้วยืนอยู่ พระศาสดาไม่ทรงรับของขบเคี้ยวที่คนอื่น ๆ ถวาย

ทรงเสวยของขบเคี้ยว คือขนมนั้นเท่านั้น.

ในขณะนั้นเองทั่วทั้งพระนคร ก็ได้มีเสียงลือตลอดไปว่า

ได้ยินว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงรังเกียจของขบเคี้ยว

ทำด้วยรำ ของมหาทุคคตบุรุษ ทรงเสวยเหมือนเสวยอมฤต ฉะนั้น

อิสสรชนมีพระราชา และมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเป็นต้น

โดยที่สุดตลอดถึงคนเฝ้าประตู ประชุมกันทั้งหมดทีเดียว ถวาย

บังคมพระศาสดาแล้ว เข้าไปหามหาทุคคตบุรุษ พากันกล่าวว่า

พ่อมหาจำเริญ เชิญพ่อรับเอาทรัพย์ร้อยหนึ่ง สองร้อย ห้าร้อย

แล้วให้ส่วนบุญแก่พวกเราเถิด. เขาตอบว่า ต้องกราบทูลสอบถาม

แล้วถึงจะรู้ แล้วไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลเนื้อความ

นั้น พระศาสดาตรัสว่า ท่านจงรับทรัพย์แล้วให้ส่วนบุญ แก่

สรรพสัตว์เถิด เขาเริ่มรับทรัพย์ พวกมนุษย์พากันให้ด้วยการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 420

ประมูล เป็นทวีคูณ จตุรคูณ และอัฏฐคูณเป็นต้น ได้ให้ทรัพย์

กันถึงเก้าโกฏิ. พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จไป

วิหาร เมื่อพวกภิกษุแสดงวัตตปฏิบัตติถวายแล้ว ประทานพระ-

สุคโตวาท เสด็จเข้าพระคันธกุฎี เวลาเย็นวันนั้น พระราชา

รับสั่งให้มหาทุคคตบุรุษเข้าเฝ้า ทรงบูชาด้วยตำแหน่งเศรษฐี.

พวกภิกษุตั้งเรื่องสนทนากันในโรงธรรมว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

พระศาสดามิได้ทรงรังเกียจขนมรำ ที่มหาทุคคตบุรุษถวายเลย

ทรงเสวยเหมือนอมฤต ฝ่ายมหาทุคคตบุรุษเล่า ได้ทั้งทรัพย์

จำนวนมาก ได้ทั้งตำแหน่งเศรษฐี ถึงสมบัติอันยิ่งใหญ่แล้ว.

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

สนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรง

ทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น

ที่เราไม่รังเกียจ บริโภคขนมรำของเขา ถึงครั้งที่เป็นรุกขเทวดา

ในกาลก่อน ก็เคยบริโภคเหมือนกัน แม้ในครั้งนั้นเล่า เขาก็อาศัย

เราได้ตำแหน่งเศรษฐีเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีต

มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเทวดา สถิต

ณ ต้นละหุ่งต้นหนึ่ง ครั้งนั้น พวกมนุษย์ในหมู่บ้านนั้น พากัน

ยึดเอารุกขเทวดาเป็นมงคล เมื่อถึงงานมหรสพคราวหนึ่ง พวก

มนุษย์ต่างพากันกระทำพลีกรรมแก่รุกขเทวดาของตน ๆ ครั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 421

มีทุคคตมนุษย์ผู้หนึ่ง เห็นคนเหล่านั้น พากันปรนนิบัติรุกขเทวดา

ก็ปฏิบัติต้นละหุ่งต้นหนึ่ง ผู้คนทั้งหลายพากันถือเอาดอกไม้

ของหอม เครื่องลูบไล้และของขบเคี่ยวของบริโภคเป็นต้น

นานัปการไป เพื่อเทวดาทั้งหลายของตน ฝ่ายเขามีแต่ขนมรำ

ก็ถือไปพร้อมกระบวยใส่น้ำ หยุดยืนไม่ไกลต้นละหุ่ง คิดว่า

ธรรมดาย่อมเสวยแต่ของขบเคี้ยวอันเป็นทิพย์ เทวดาคงจักไม่เสวย

ขนมรำนี้ของเรา เราจะยอมให้ขนมเสียหายไปด้วยเหตุนี้ทำไม

เรานั่นแหละจักกินขนมนั้นเสียเอง แล้วก็หวลกลับไปจากที่นั้น.

พระโพธิสัตว์ สถิตเหนือค่าคบกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญ หากท่าน

เป็นใหญ่เป็นโต ก็ต้องให้ของขบเคี้ยวที่อร่อยแก่เรา แต่ท่าน

เป็นทุคคตะ เราไม่กินขนมของท่านแล้ว จักกินขนมอื่นได้อย่างไร

อย่าให้ส่วนของเราต้องเสียหายไปเลย แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"บุรุษกินอย่างไร คนของบุรุษก็กิน

อย่างนั้น ท่านจงเอาขนมรำนั้นมา อย่าให้ส่วน

ของเราเสียไปเลย" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถนฺโน ความว่า คนบริโภค

อย่างใด.

บทว่า ตถนฺนา ความว่า แม้เทวดาของคนผู้นั้นก็บริโภค

อย่างนั้นเหมือนกัน.

บทว่า อาหเรต กุณฺฑปูว ความว่า ท่านจงนำเอาขนมที่

ทำด้วยรำนั้นมาเถิด อย่าทำลายส่วนได้ของเราเสียเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 422

เขาหันกลับมามองพระโพธิสัตว์แล้วกระทำพลีกรรม พระ -

โพธิสัตว์ ก็บริโภคโอชา จากขนมนั้น แล้วกล่าวว่า ดูก่อนบุรุษ

ท่านปฏิบัติเราเพื่อต้องการอะไร ? เขากล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้

เป็นใหญ่ ข้าพเจ้าเป็นคนเข็ญใจ มาปรนนิบัติ ก็ด้วยหมายใจว่า

จะอาศัยท่าน แล้วพ้นจากความเป็นทุคคตะ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า

ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านอย่าคิดเสียใจไปเลย ท่านทำการบูชา

เราผู้มีกตัญญูกตเวที รอบต้นละหุ่งนี้ มีหม้อใส่ขุมทรัพย์ตั้งไว้

เรียงราย จวบจนจรดถึงคอ ท่านจงกราบทูลพระราชา เอาเกวียน

มาขนทรัพย์ กองไว้ ณ ท้องพระลานหลวง พระราชาก็จัก

โปรดปรานประทานตำแหน่งเศรษฐีแก่ท่าน. ครั้นบอกแล้ว

พระโพธิสัตว์ก็อันตรธานไป เขาได้กระทำตามนั้น แม้พระราชา

ก็โปรดประทานตำแหน่งเศรษฐีแก่เขา. เขาอาศัยพระโพธิสัตว์

ถึงสมบัติอันใหญ่หลวง แล้วไปตามยถากรรมด้วยประการฉะนี้.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า ทุคคตบุรุษในครั้งนั้น มาเป็นทุคคตบุรุษในครั้งนี้

ส่วนเทวดาผู้สิงอยู่ ณ ต้นละหุ่ง ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากุณฑกปูวชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 423

๑๐. สัพพสังหารกปัญหา

ว่าด้วยการพูดของหญิง ๒ ประเภท

[๑๑๐] "กลิ่นเครื่องอบทั้งปวงไม่มี มีแต่กลิ่น

ดอกประยงค์ ล้วนฟุ้งไป หญิงนักเลงคนนี้ ย่อม

กล่าวคำเหลาะแหละ หญิงผู้ใหญ่กล่าวคำจริง"

จบ สัพพสังหารปัญหาที่ ๑๐

อรรถกถาสัพพสังหารกปัญหาที่ ๑๐

ปัญหาในเรื่องเครื่องประดับ อบด้วยกลิ่นหอมทุกอย่าง

มีคำเริ่มต้นว่า สพฺพสหารโก นตฺถิ ดังนี้ จักแจ่มแจ้งโดยอาการ

ทั้งปวง ในอุมมัคคชาดก.

จบ อรรถกถาสัพพสังหารปัญหาที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 424

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปโรสชาดก ๒. ปัณณิกชาดก ๓. เวริชาดก

๔. มิตตวินทชาดก ๕. ทุพพลกัฏฐชาดก ๖. อุทัญจนีชาดก

๗. สาลิตตกชาดก ๘. พาหิยชาดก ๙. กุณฑกปูวชาดก

๑๐. สัพพสังหารกปัญหา

จบ ปโรสตวรรคที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 425

๑๒. หังสิวรรค

๑. คัทรภปัญหา

ว่าด้วยลากับม้าอัสดร

[๑๑๑] "ข้าแต่ราชาผู้ประเสริฐ ถ้าพระองค์

ทรงสำคัญอย่างนี้ว่า บิดาประเสริฐกว่าบุตรไซร้

ผิฉะนั้น ลาตัวนี้ ก็ประเสริฐกว่าม้าอัสดรของ

พระองค์ เพราะลาเป็นพ่อของม้าอัสดร"

จบ คัทรภปัญหาที่ ๑

อรรถกถาหังสิวรรคที่ ๑๒

อรรถกถาคัทรภปัญหาที่ ๑

คัทรภปัญหาแม้นี้ มีคำเริ่มต้นว่า หสิ ตุว เอว มญฺสิ

ดังนี้ ก็จักแจ่มแจ้งในอุมมัคคชาดก เหมือนกัน.

จบ อรรถกถาคัทรภปัญหาที่ ๑

๑. ในมหานิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 426

๒. อมราเทวีปัญหา

บอกใบ้หนทางไปบ้าน

[๑๑๒ ] "ร้านขายข้าวสัตตู ร้านขายน้ำส้มพะอูม

และต้นทองหลางใบมน ซึ่งมีดอกบานแล้ว มีอยู่

ณ ที่ใด ท่านจงไป ณ ที่นั้นเถิด ฉันให้ของด้วย

มือใด ฉันย่อมกล่าวด้วยมือนั้น ฉันไม่ได้ให้ของ

ด้วยมือใด ฉันไม่กล่าวด้วยมือนั้น นี่เป็นหนทาง

ของบ้าน ชื่อว่า ยวมัชฌกคาม ท่านจงรู้ทางที่ฉัน

กล่าวปกปิดนี้เองเถิด".

จบ อมราเทวีปัญหาที่ ๒

อรรถกถาอมราเทวีปัญหาที่ ๒

อมราเทวีปัญหาแม้นี้ มีคำเริ่มต้นว่า เยน สตฺตุวิลงฺคา จ

ดังนี้ ก็จักแจ่มแจ้งในอุมมัคคชาดกนั้นแล.

จบ อรรถกถาอมราเทวีปัญหาที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 427

๓. สิคาลชาดก

ว่าด้วยพราหมณ์เชื่อสุนัข

[๑๑๓] ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเชื่อสุนัขผู้ดื่มสุรา

หรือ เพียง ๑๐๐ เบี้ยก็ไม่มี อย่าว่าถึง ๒๐๐

กหาปณะเลย".

จบ สิคาลชาดกที่ ๓

อรรถกถาสิคาลชาดกที่ ๓

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร

ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

สทฺทหาสิ สิคาลสฺส ดังนี้ :-

ในสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในโรงธรรม นั่ง

สนทนากันถึงโทษของพระเทวทัตว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระเทวทัต

ชักชวนภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ไปสู่คยาสีสประเทศ ให้ภิกษุ

เหล่านั้น ยึดถือลัทธิของตนว่า พระสมณโคดมตรัสข้อใด ข้อนั้น

มิใช่ธรรม เรากล่าวข้อใด ข้อนี้เท่านั้นเป็นธรรม ดังนี้แล้ว

กระทำมุสาวาท อันถึงฐานะวิบัติ ทำลายสงฆ์ ทำอุโบสถสองครั้ง

ในสีมาเดียวกัน. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 428

เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่เทวทัตมักกล่าวมุสาวาท

แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้มีปกติกล่าวมุสาเหมือนกัน ทรงนำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดา

อยู่ข้างป่าช้า ในครั้งนั้น ในพระนครพาราณสี มีงานนักขัตฤกษ์

ครึกครื้น พวกมนุษย์คิดกันว่า พวกเราจะกระทำพลีกรรม

แก่ยักษ์ แล้วจัดปลาและเนื้อเป็นต้นเรียงราย รินสุราเป็นอันมาก

ใส่กระบาลทั้งหลายวางไว้ในที่นั้น ๆ มีตรอกและทางแพร่งเป็นต้น

ครั้งนั้น หมาจิ้งจอกตัวหนึ่ง เข้าไปสู่พระนครทางท่อระบายน้ำ

ในเวลาเที่ยงคืน เคี้ยวกินปลาและเนื้อเป็นต้น ดื่มสุราแล้วเข้าไป

สู่ระหว่างกอบุนนาค นอนหลับไปจนอรุณขึ้น มันตื่นขึ้น เห็น

สว่างแล้ว คิดว่า เราไม่อาจออกไปในเวลานี้ได้ แล้วไปที่ใกล้

ทางนอนซ่อนตัวอยู่ ถึงเห็นคนอื่น ๆ ก็ไม่พูดอะไร ๆ ต่อเห็น

พราหมณ์ผู้หนึ่งกำลังเดินไปล้างหน้า ก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่าพราหมณ์

แล้ว ย่อมเป็นผู้มีความโลภอยากได้ทรัพย์ เราต้องเอาทรัพย์

ล่อพราหมณ์นี้ ทำให้แกสะพายเราออกจากเมืองให้จงได้ มัน

กล่าวด้วยภาษามนุษย์ว่า ท่านพราหมณ์ พราหมณ์หันกลับไป

พูดว่า ใครเรียกเรา ? มันตอบว่า ฉันเองท่านพราหมณ์ พราหมณ์

ถามว่า เรียกเราทำไม ? มันตอบว่า ท่านพราหมณ์ ฉันมีทรัพย์

๑. กระบาล = กระเบื้อง, ฮินดูเรียก ปูรว่า = ถ้วยดินเผา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 429

อยู่ ๒๐๐ กหาปณะ ถ้าท่านสามารถกระเดียดฉัน คลุมมิดชิด

ด้วยผ้าสะไบเฉียง ไม่ให้ใคร ๆ เห็น พาฉันออกจากเมืองได้

ฉันจักให้เหรียญกษาปณ์เหล่านั้นแก่ท่าน ด้วยความโลภอยากได้

ทรัพย์ พราหมณ์จึงรับคำ กระทำตามคำของมัน พาออกจาก

เมืองไปได้หน่อยหนึ่ง ลำดับนั้น หมาจิ้งจอกถามพราหมณ์ว่า

ท่านพราหมณ์ ถึงไหนแล้ว ? พราหมณ์ตอบว่า ถึงที่โน้นแล้ว

มันบอกว่า ไปต่อไปอีกหน่อยเถิด สุนัขจิ้งจอกพูดไปเรื่อย ๆ

อย่างนั้น จนลุถึงป่าช้าใหญ่ จึงบอกว่า วางเราลงที่นี่เถิด ครั้น

พราหมณ์ปล่อยมันลงแล้ว หมาจิ้งจอกบอกต่อไปว่า ท่านพราหมณ์

ถ้ากระนั้น ท่านจงปูผ้าสะไบเฉียงลงเถิด พราหมณ์ก็ปูผ้าสะไบ-

เฉียงของตนลงด้วยความละโมภในทรัพย์ ครั้งนั้นมันก็บอกแกว่า

จงขุดโคนต้นไม้นี้เถิด ให้พราหมณ์ขุดดินลงไป พลางก็ขึ้นไปสู่

ผ้าสะไบเฉียงของพราหมณ์ ถ่ายมูตร คูถลงไว้ ๕ แห่ง คือที่มุม

ทั้ง ๔ และตรงกลาง เช็ดเสียด้วย ทำให้เปียกด้วย แล้วโดด

เข้าป่าช้าไป พระโพธิสัตว์สถิตเหนือค่าคบไม้ กล่าวคาถานี้

ความว่า :-

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเธอสุนัขผู้ดื่มสุรา

หรือ เพียงร้อยเบี้ยก็ไม่มี อย่าว่าถึง ๒๐๐ กหาปณะ

เลย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺทหาสิ แปลว่า หลงเชื่อ.

อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะอย่างนี้แหละ แต่มีความว่า เชื่อถือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 430

บทว่า สิปฺปิกาน สต นตฺถิ ความว่า เพราะว่า เงินร้อยเบี้ย

ของมันก็ยังไม่มี.

บทว่า กุโต กสสตา ทุเว ความว่า แล้วมันจะมีเงินสองร้อย

กษาปณ์มาแต่ไหนเล่า ?

พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้แล้วบอกว่า ไปเถิดพราหมณ์

จงไปซักผ้าของท่านเสีย อาบน้ำทำกิจของตนไปเถิด ดังนี้ แล้วก็

อันตรธานไป พราหมณ์ทำตามอย่างนั้น ถึงความโทมนัสว่า โธ่เอ๋ย

เราถูกหมาจิ้งจอกตัวนี้ลวงเสียแล้วเดินหลีกไป.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง

ประชุมชาดกว่า หมาจิ้งจอกในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัต

ส่วนรุกขเทวดาได้มาเป็นตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสิคาลชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 431

๔. มิตจินติชาฯดก

ว่าด้วยปลาช่วยปลาให้พ้นข่าย

[๑๑๔] "ปลา ๒ ตัว คือปลาพหุจินตีและปลา-

อัปปจินตี ติดอยู่ในข่าย ปลามิตจินตีได้ช่วยให้พ้น

จากข่าย ปลาทั้งสองตัว จึงได้มาพร้อมกับปลา-

มิตจินตี ในแม่น้ำนั้น".

จบ มิตจินติชาดกที่ ๔

อรรถกถามิตจินติชาดกที่ ๔

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภพระเถระผู้เฒ่า ๒ องค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า พหุจินฺตี อปฺปจินฺตี จ ดังนี้ :-

ได้ยินว่า พระเถระผู้เฒ่า ๒ องค์นั้น อยู่จำพรรษาใน

อรัญญาวาสแห่งหนึ่งในชนบท คิดกันว่า เราทั้งสองจักไปเฝ้า

พระศาสดา แล้วเตรียมเสบียงไว้ มัวผลัดอยู่ว่า ไปวันนี้เถิด

ไปพรุ่งนี้เถิด จนล่วงไปเดือนหนึ่ง แล้วก็อีกเดือนหนึ่ง ทั้งนี้

เพราะตนเป็นคนเกียจคร้าน และเพราะความเป็นห่วงที่อยู่

ต่อ ๓ เดือนล่วงไปแล้ว จึงได้ออกจากที่นั้นไปสู่พระเชตวัน

เก็บบาตรจีวรไว้ในที่อยู่ของภิกษุผู้ชอบพอกัน แล้วพากันไปเฝ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 432

พระศาสดา. ครั้งนั้นพวกภิกษุพากันถามพระเถระผู้เฒ่าทั้งสองว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ นานจริงหนอที่ท่านทั้งสองมิได้เฝ้าพระพุทธเจ้า

เหตุไรท่านทั้งสองจึงได้ชักช้าอย่างนี้ ? พระเถระผู้เฒ่าทั้งสอง

ก็พากันเล่าเรื่องนั้น ครั้งนั้นความเกียจคร้าน โอ้เอ้ ของท่านทั้งสอง

ก็ระบือไปในหมู่สงฆ์ แม้ในธรรมสภา พวกภิกษุก็อาศัยความ

เป็นผู้เกียจคร้านของท่านทั้งสองนั้นแหละ ตั้งเป็นเรื่องขึ้น. พระ-

ศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล

ให้ทรงทราบแล้ว มีรับสั่งให้เรียกท่านทั้งสองมาเฝ้า ตรัสถามว่า

ได้ยินว่าพวกเธอเกียจคร้าน โอ้เอ้ จริงหรือ ? ครั้นท่านทั้งสอง

ทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่

แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่เธอทั้งสองเป็นผู้เกียจคร้าน แม้ในกาลก่อน

ก็เป็นผู้เกียจคร้านและยังเป็นผู้มีความอาลัย ห่วงใยในที่อยู่

ดังนี้แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี มีปลา ๓ ตัวอยู่ในพระนครพาราณสี ปลา

ทั้ง ๓ นั้น มีชื่อดังนี้ คือ พหุจินตี อัปปจินตี และมิตจินตี. ปลา

ทั้ง ๓ พากันออกจากป่ามาสู่ถิ่นมนุษย์ ในปลาทั้ง ๓ นั้น มิตจินตี

บอกกับปลาทั้งสองอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าถิ่นมนุษย์นี้ เต็มไปด้วย

ความรังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า พวกชาวประมงพากันวางข่าย

และไซเป็นต้น มีประการต่าง ๆ แล้วจับเอาปลา พวกเราพากัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 433

เข้าป่าตามเดิมเถอะ ปลาทั้งสองนอกนี้ ต่างพูดผลัดว่า พวกเรา

จะไปกันวันนี้ หรือพรุ่งนี้ค่อยไปเถิด เพราะความเป็นผู้เกียจคร้าน

และเพราะความติดใจในเหยื่อ จนเวลาล่วงไปถึง ๓ เดือน

ครั้งนั้น พวกชาวประมงพากันวางข่ายในแม่น้ำ ปลาพหุจินตี และ

ปลาอัปปจินตี เมื่อออกหาอาหาร พากันว่ายไปข้างหน้า ไม่

กำหนดกลิ่นข่าย เพราะความเป็นสัตว์โง่ ตกเข้าไปในท้องข่าย

ทันที ปลามิตจินตีตามมาข้างหลัง กำหนดกลิ่นข่ายได้ และรู้ว่า

ปลาทั้งคู่นั้นเข้าไปในท้องข่ายเสียแล้ว คิดว่า เราจักให้ทานชีวิต

แก่ปลาอันธพาล ผู้เกียจคร้านคู่นี้ไว้ แล้วก็ว่ายไปสู่ที่ท้องข่าย

ข้างนอก ทำให้น้ำป่วนปั่น ทำเป็นทีว่าท้องข่ายขาดแล้วโดด

ออกไปได้ แล้วก็โดดไปข้างหน้าข่าย ว่ายเข้าไปสู่ท้องข่ายอีก

ทำให้น้ำป่วนปั่น เป็นทีว่าทำให้ข่ายส่วนหลังขาด โดดออกไปได้

แล้วก็โดดออกไปทางเบื้องหลังข่าย พวกประมงสำคัญว่า ปลา

พากันชำแรกข่ายไปได้ ก็ช่วยกันจับปลายข่ายยกขึ้น ปลาทั้งสอง

นั้นก็รอดจากข่ายตกลงไปในน้ำ เป็นอันว่าปลาทั้งสองนั้น อาศัย

ปลามิตจินตี จึงได้มีชีวิต พระศาสดาครั้นทรงนำเอาเรื่องในอดีต

นี้มาสาธกแล้ว ได้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถานี้ ความว่า :-

" ปลาสองตัว คือปลาพหุจินตี และปลา-

อัปปจินตี ติดอยู่ในข่าย ปลาชื่อมิตจินตีได้ช่วย

ให้พ้นจากข่าย ปลาทั้งสองตัวจึงได้มาพร้อมกัน

กับปลามิตจินตี ในแม่น้ำนั้น" ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 434

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุจินฺตี ความว่า ปลาที่ได้

นามอย่างนี้ว่า พหุจินตี เพราะมีความคิดมาก มีความตรึกตรอง

มาก แม้ในชื่อทั้งสองนอกนี้ ก็มีนัยนี้แหละ.

บทว่า อุโภ ตตฺถ สมาคตา ความว่า ปลาทั้งคู่เข้าไป

ติดข่าย อาศัยปลามิตจินตี จึงรอดชีวิตกลับมา ร่วมกับปลา-

มิตจินตี ในน่านน้ำนั้นอีก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาด้วยประการฉะนี้

แล้วทรงประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสัจจะ

ภิกษุผู้เฒ่า (ทั้งสององค์) ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ปลาพหุจินตี

และปลาอัปปจินตี ในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุคู่นี้ ส่วนปลา-

มิตจินตี ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามิตจินติชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 435

๕. อนุสาสิกขาดก

ว่าด้วยดีแต่สอนผู้อื่น

[๑๑๕] "นางนกสาลิกาตัวใด สั่งสอนนกตัวอื่น

อยู่เนือง ๆ ตัวเองมีปกติเที่ยวไปด้วยความ

ละโมภ นางนกสาลิกาตัวนั้นถูกล้อบดแล้ว มี

ปีกหักนอนอยู่"

จบ อนุสาสิกชาดกที่ ๕

อรรถกถาอนุสาสิกชาดกที่ ๕

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุณีผู้ชอบพร่ำสอนรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนา

นี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยายญฺมนุสาสติ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุณีนั้นเป็นกุลธิดานางหนึ่ง ชาวพระนคร-

สาวัตถีบวชแล้ว ตั้งแต่กาลที่ตนบวชแล้ว ก็มิได้ใส่ใจในสมณธรรม

ติดใจในอามิส เที่ยวไปบิณฑบาตในเอกเทศแห่งพระนคร ที่

ภิกษุณีอื่น ๆ ไม่พากันไป ครั้งนั้น พวกมนุษย์พากันถวาย

บิณฑบาตอันประณีตแก่เธอ เธอถูกความอยากในรสผูกพันไว้

คิดว่า ถ้าภิกษุณีอื่น ๆ จักเที่ยวบิณฑบาตในประเทศนี้ ลาภ

ของเราจักเสื่อมถอย เราควรกระทำให้ภิกษุณีอื่น ๆ ไม่มาถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 436

ประเทศนี้ ดังนี้แล้ว ไปสู่สำนักของนางภิกษุณีทั้งหลาย พร่ำ

สั่งสอนนางภิกษุณีทั้งหลายว่า ดูก่อนแม่เจ้าทั้งหลาย ในที่ตรงโน้น

มีช้างดุ มีม้าดุ มีสุนัขดุ ท่องเที่ยวอยู่ เป็นสถานที่มีอันตราย

รอบด้าน แม้คุณทั้งหลายอย่าไปเที่ยวบิณฑบาตในที่นั้นเลย

ฟังคำของเธอแล้ว แมัภิกษุณีสักรูปหนึ่ง ก็ไม่เหลียวคอมองดู

ประเทศนั้น. ครั้นวันหนึ่ง ขณะที่เธอกำลังเที่ยวบิณฑบาต เข้าไป

สู่เรือนหลังหนึ่งโดยเร็ว แพะดุชนเอากระดูกขาหัก พวกมนุษย์

รีบเข้าไปตรวจดู ประสานกระดูกขาที่หักสองท่อนให้ติดกัน

แล้วหามเธอด้วยเตียง นำไปสู่สำนักภิกษุณี พวกภิกษุณีพากัน

หัวเราะเยาะว่า ภิกษุณีรูปนี้ชอบพร่ำสอนภิกษุณีรูปอื่น ๆ

ตนเองกลับเที่ยวไปในประเทศนั้น จนขาหักกลับมา ด้วยเหตุ

ที่เธอกระทำแม้นั้น ก็ปรากฏในหมู่ภิกษุไม่ช้านัก ครั้นวันหนึ่ง

พวกภิกษุพากันกล่าวโทษของเธอในธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ชอบสอน พร่ำสอนภิกษุณีอื่น ๆ ตนเองเที่ยว

ไปในประเทศนั้น ถูกแพะดุชนเอากระดูกหัก พระศาสดาเสด็จมา

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนา

กันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ

แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ใน

กาลก่อน ภิกษุณีนั้น ก็เอาแต่สั่งสอนคนอื่น ๆ แต่ตนเองไม่

ประพฤติ ต้องเสวยทุกข์ตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว แล้วทรงนำ

เอาเรื่องในอดีต มาสาธกดังนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 437

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิด ในกำเนิดนกป่า เจริญวัย

แล้ว ได้เป็นจ่าฝูงนก มีนกหลายร้อยเป็นบริวาร เข้าไปสู่ป่า-

หิมพานต์ ในกาลที่พระโพธิสัตว์อยู่ในป่าหิมพานต์นั้น นางนก

จัณฑาลตัวหนึ่งไปสู่หนทางในดงดึก หาอาหารกิน นางได้เมล็ด-

ข้าวเปลือกและถั่วเป็นต้น ที่หล่นตกจากเกวียนในที่นั้นแล้ว

คิดว่า บัดนี้เราต้องหาวิธีทำให้พวกนกเหล่าอื่นไม่ไปสู่ประเทศนี้

ดังนี้แล้ว ให้โอวาทแก่ฝูงนกว่า ขึ้นชื่อว่าทางใหญ่ในดงดึก เป็น

ทางมีภัยเฉพาะหน้า ฝูงสัตว์เป็นต้นว่า ช้าง ม้า และยวดยาน

ที่เทียมด้วยโคดุ ๆ ย่อมผ่านไปมา ถ้าไม่สามารถจะโผบินขึ้น

ได้รวดเร็ว ก็ไม่ควรไปในที่นั้น ฝูงนกตั้งชื่อให้นางว่า "แม่อนุ-

สาสิกา" วันหนึ่งนางกำลังเที่ยวไปในทางใหญ่ในดงดึก ได้ยิน-

เสียงยานแล่นมาด้วยความเร็วอย่างยิ่ง ก็เหลียวมองดู โดยคิดว่า

ยังอยู่ไกล คงเที่ยวเรื่อยไป ครั้งนั้นยานก็พลันถึงตัวนาง ด้วย

ความเร็วปานลมพัด นางไม่อาจโผบินขึ้นได้ทัน ล้อทับร่าง

ผ่านไป นกผู้เป็นจ่าฝูง เรียกประชุมฝูงนก ไม่เห็นนางก็กล่าวว่า

นางอนุสาสิกาไม่ปรากฏ พวกเจ้าจงค้นหานาง ฝูงนกพากันค้นหา

เห็นนางแยกออกเป็นสองเสียงที่ทางใหญ่ ก็พากันแจ้งแก่จ่าฝูง

จ่าฝูงกล่าวว่า นางห้ามนกอื่น ๆ แต่ตนเองเที่ยวไปในที่นั้น จึง

แยกออกเป็นสองเสี่ยง แล้วกล่าวคาถานี้ความว่า :-

"นางนกสาลิกาตัวใด สั่งสอนนกตัวอื่น

๑. ดงดึก = ป่าลึกเข้าไปไกล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 438

อยู่เนือง ๆ ตัวเองมีปกติเที่ยวได้ด้วยความ

ละโมภ นางนกสาลิกาตัวนั้นถูกล้อบดแล้ว มี

ปีกหักนอนอยู่ " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น อักษรในบทว่า ยายญฺมนุสาสติ

ทำการเชื่อมบท ความก็ว่า นางนกสาลิกาใดเล่า สั่งสอนผู้อื่น.

บทว่า สย โลลุปฺปจารินี ความว่า เป็นผู้มีปกติเที่ยว

คนองไปด้วยตน.

บทว่า สาย วิปกฺขิกา เสติ ความว่า นกตัวนั้น คือ นาง-

สาลิกาตัวนี้ มีขนปีกกระจัดกระจาย นอนอยู่ที่ทางใหญ่.

บทว่า หตา จกฺเกน สาสิกา ความว่า นางนกสาสิกา

ถูกล้อยานทับตาย.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง

ประชุมชาดกว่า นางนกสาลิกาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุณี

อนุสาสิกาในครั้งนี้ ส่วนนกจ่าฝูง ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอนุสาสิกชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 439

๖. ทุพพจชาดก

ได้รับโทษเพราะทำเกินขีดความสามารถ

[๑๑๖] ท่านอาจารย์ ท่านทำการเกินกว่าที่จะ

ทำได้ เรื่องนี้ไม่ถูกใจกระผมเลย ท่านโดดพ้น

หอกเล่มที่ ๔ แล้วถูกหอกเล่มที่ ๕ เสียบเข้าแล้ว.

จบ ทุพพจชาดกที่ ๖

อรรถกถาทุพพจชาดกที่ ๖

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้ว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า อติกรมกราจริย ดังนี้.

เรื่องของภิกษุนั้น จักแจ่มแจ้งในคิชฌชาดก นวกนิบาต.

(แต่ในชาดกนี้) พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุ มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่เธอเป็นผู้ว่ายาก แม้ในกาลก่อน

ก็เป็นผู้ว่ายาก เพราะความที่เป็นผู้ว่ายาก ไม่กระทำตามโอวาท

แห่งบัณฑิต จึงถูกหอกแทงถึงสิ้นชีวิต ดังนี้แล้วทรงนำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ ถือปฏิสนธิในกำเนิดนักฟ้อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 440

ทางกระโดด เจริญวัยแล้ว ได้เป็นผู้มีปัญญา ฉลาดในอุบาย

ท่านศึกษาศิลปะในทางกระโดดข้ามหอก ในสำนักแห่งนักโดด

ผู้หนึ่ง เที่ยวแสดงศิลปะไปกับอาจารย์ แต่อาจารย์ของท่านรู้

ศิลปะในการโดดข้ามหอก สี่เล่มเท่านั้น ไม่ได้ถึง ๕ เล่ม วันหนึ่ง

อาจารย์แสดงศิลปะในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง เมาเหล้า แล้วพูดว่า

เราจักโดดข้ามหอก ๕ เล่ม ปักหอกเรียงรายไว้ ครั้งนั้นพระ-

โพธิสัตว์จึงกล่าวกะอาจารย์ว่า ท่านอาจารย์ครับ ท่านไม่ทราบ

ศิลปะการโดดข้ามหอก ๕ เล่ม เอาหอกออกเสียเล่มหนึ่งเถิด

ครับ ถ้าท่านขึ้นโดดจักถูกหอกเล่มที่ ๕ แทงตายแน่นอน แต่

เพราะเมาสุรา อาจารย์จึงกล่าวว่า ถึงตัวเจ้าก็หารู้ขีดความ

สามารถของเราไม่ มิได้ยึดถือถ้อยคำของพระโพธิสัตว์ โดยข้าม

ไปได้ ๔ เล่ม ถูกเล่มที่ ๕ เสียบเหมือนคนเสียบดอกมะทราง

ในไม้กลัดฉะนั้น นอนคร่ำครวญอยู่ ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์กล่าว

กะท่านอาจารย์ว่า ท่านไม่เชื่อคำของบัณฑิต จึงถึงความฉิบหาย

นี้ ดังนี้แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"ท่านอาจารย์ ท่านกระทำการเกินกว่า

ที่ทำได้ เรื่องนี้ไม่ถูกใจกระผมเลย ท่านโดดพ้น

หอกเล่มที่ ๔ แล้ว ถูกหอกเล่มที่ ๕ เสียบเข้า

แล้ว" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติกรมกราจริย ความว่า

ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านได้กระทำการที่ล้ำหน้า อธิบายว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 441

ได้กระทำการเกินกว่าที่ตนเคยกระทำได้.

ด้วยบทว่า มยฺหมฺเปต น รุจฺจติ นี้ พระโพธิสัตว์แสดง

ความว่า การกระทำของท่านนี้ไม่ชอบใจข้าพเจ้าผู้เป็นอันเตวาสิก

ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้บอกท่านไว้ก่อนทีเดียว.

บทว่า จตุตฺเถ ลิงฺฆยิตฺวาน ความว่า ท่านไม่ตกลงบน

ใบหอกเล่มที่ ๔ คือถีบตนข้ามได้.

บทว่า ปญฺจมายสิ อาวุโต ความว่า ท่านไม่เชื่อถ้อยคำ

ของบัณฑิต บัดนี้จึงถูกหอกเล่มที่ ๕ เสียบไว้แล้ว.

พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวคำนี้แล้ว ก็นำอาจารย์ออกจาก

หอก กระทำกิจที่ควรทำให้แล้ว พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานนี้

มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า อาจารย์ในครั้งนั้นได้มาเป็นภิกษุ

ผู้ว่ายากนี้ ส่วนอันเตวาสิก ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาทุพพจชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 442

๗. ติตติรชาดก

ว่าด้วยตายเพราะปาก

[๑๑๗] "วาจาที่ดังเกินไป ความเป็นผู้รุนแรง

เกินไป พูดล่วงเวลา ย่อมฆ่าผู้มีปัญญาทรามเสีย

ดุจวาจาฆ่านกกระทา ผู้ขันดังเกินไป ฉะนั้น"

จบ ติตติรชาดก ๗

อรรถกถาติตติรชาดกที่ ๗

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุชื่อโกกาลิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า อจฺจุคฺคตา อติพลตา ดังนี้ เรื่องของโกกาลิกภิกษุนั้น

จักแจ่มแจ้งในตักการิยชาดก เตรสนิบาต.

แต่ในชาดกนี้ พระศาสดาทรงรับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลายมิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น ที่โกกาลิกะอาศัยวาจาของตน

ต้องพินาศ แม้ในครั้งก่อนก็เคยพินาศมาแล้วเหมือนกัน แล้วทรง

นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ อยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์

เจริญวัย เรียนศิลปะทุกอย่างในเมืองตักกสิลา ละกาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 443

ทั้งหลายเสียแล้วบวชเป็นฤาษี ทำอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ให้เกิด

แล้ว คณะฤาษีทั้งปวงประชุมกันในหิมวันตประเทศ ตั้งให้ท่านเป็น

อาจารย์ผู้ให้โอวาท ยอมตนเป็นบริวาร ท่านได้เป็นอาจารย์ผู้ให้โอวาท

ของฤาษี ๕๐๐ เล่นอยู่ด้วยฌานกรีฑาอยู่ในป่าหิมพานต์ ครั้งนั้น ดาบส

ผู้หนึ่ง เป็นโรคผอมเหลือง ถือพร้าไปผ่าไม้ ครั้งนั้นดาบสปากกล้า

ผู้หนึ่ง นั่งอยู่ใกล้ ๆ ดาบสผอมนั้น พูดว่า จงฟันในที่นี้ จงฟัน

ในที่นี้ ทำให้ดาบสผอมนั้นขัดเคือง เธอโกรธแล้วกล่าวว่า เดี๋ยวนี้

ท่านไม่ใช่อาจารย์ฝึกหัตศิลปะในการผ่าฟืนของเรานะ แล้ว

เงื้อพร้าอันคม ฟันทีเดียวเท่านั้น ทำให้ดาบสปากกล้าถึงสิ้น

ชีวิต พระโพธิสัตว์ให้กระทำสรีรกิจแก่เธอแล้ว ในครั้งนั้น

ที่เชิงจอมปลวกแห่งหนึ่ง ไม่ไกลอาศรมบท นกกระทาตัวหนึ่ง

อาศัยอยู่ ทุกเช้าทุกเย็นมันยืนอยู่บนยอดจอมปลวก ขันเสียง

ดังลั่น ฟังเสียงนั้นแล้ว พรานผู้หนึ่งคิดว่า น่าจะมีนกกระทา

จึงสะกดไปด้วยหมายเสียงเป็นสำคัญ ฆ่ามันแล้วถือเอาไป

พระโพธิสัตว์ไม่ได้ยินเสียงมัน ถามพวกดาบสว่า ที่ตรงโน้น

มีนกกระทำอาศัยอยู่ เพราะเหตุไรเล่าหนอ จึงไม่ได้ยินเสียงมัน ?

พวกดาบสบอกเรื่องนั้นแก่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์เทียบเคียง

เหตุการณ์ทั้งสองอย่างแม้เหล่านั้นแล้ว กล่าวคาถานี้ ในท่ามกลาง

หมู่ฤๅษี ความว่า :-

วาจาที่ดังเกินไป ความเป็นผู้รุนแรง

เกินไป พูดล่วงเวลา ย่อมฆ่าผู้มีปัญญาทรามเสีย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 444

ดุจวาจาที่ฆ่านกกระทา ผู้ขันดังเกินไป ฉะนั้น

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺจุคฺคตา แปลว่า วาจาที่สูง

เกินไป.

บทว่า อติพลตา ได้แก่วาจาที่รุนแรงเกินไป เพราะกล่าว

ซ้ำ ๆ ซาก ๆ.

บทว่า อติเวล ปภาสิตา ได้แก่ วาจาที่ล่วงเวลา คือ

คำทูลที่กล่าวเกินประมาณ.

บทว่า ติตฺติรวาติวสฺสิต ความว่า เสียงขันที่ดังเกินไป

ย่อมกำจัดนกกระทาเสียฉันใด วาจาเห็นปานนี้ ย่อมกำจัดคนโง่ ๆ

คือคนพาลเสียฉันนั้น.

พระโพธิสัตว์ให้โอวาทแก่หมู่ฤาษีด้วยประการฉะนี้ เจริญ

พรหมวิหาร ๔ ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้

เท่านั้น ที่โกกาลิกภิกษุอาศัยคำพูดของตน ฉิบหายแล้ว แม้

ในครั้งก่อนก็เคยฉิบหายแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรม-

เทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ดาบสว่ายากในครั้งนั้น

ได้มาเป็นโกกาลิกภิกษุ คณะฤๅษี ได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วน

ศาสดาแห่งคณะได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาติตติรชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 445

๘. วัฏฏกชาดก

ว่าด้วยการใช้ความคิดให้เป็นประโยชน์

[๑๑๘] "บุรุษเมื่อไม่คิด ก็ย่อมไม่ได้ผลพิเศษ

ท่านจงดูผลแห่งอุบายที่เราคิดเถิด เราพ้นจาก

การถูกฆ่าและจองจำ ก็ด้วยอุบายนั้น"

จบ วัฏฏกชาดกที่ ๘

อรรถกถาวัฏฏกชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภบุตรของอุตตรเศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า นาจินฺตยนฺโต ปุริโส ดังนี้.

ได้ยินว่า ในพระนครสาวัตถี ได้มีเศรษฐีชื่อว่า อุตตระ

มีสมบัติมาก สัตว์ผู้มีบุญผู้หนึ่ง จุติจากพรหมโลก ถือปฏิสนธิ

ในท้องแห่งภรรยาของท่านเศรษฐี เจริญวัย มีรูปงดงาม แจ่มใส

มีผิวพรรณเพียงดังพรหม อยู่มาวันหนึ่งในพระนครสาวัตถี

เมื่องานนักขัตฤกษ์ประจำเดือน ๑๒ ได้ป่าวร้องไปทั่วแล้ว

โลกทั้งหมดได้เป็นประเทศมีงานนักขัตฤกษ์ บุตรเศรษฐีอื่น ๆ

ผู้เป็นสหายของเศรษฐีบุตรนั้น ได้มีภรรยากันแล้ว แต่เพราะ

เหตุที่บุตรของท่านอุตตรเศรษฐี อยู่ในพรหมโลกตลอดกาลนาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 446

จิตจึงไม่ชุ่มชื่นในกองกิเลส ครั้งนั้น พวกเพื่อน ๆ ของเขา

ปรึกษากันว่า พวกเราจักนำหญิงคนหนึ่ง มาให้บุตรท่าน-

อุตตรเศรษฐี แล้วชวนกันเล่นนักขัตฤกษ์ เข้าไปหาเขา กล่าวว่า

เพื่อนรัก ในพระนครนี้มีงานมหรสพประจำเดือน ๑๒ เขาป่าวร้อง

กันทั่วแล้ว พวกเราพาหญิงคนหนึ่งมาให้ท่าน จักเล่นนักขัตฤกษ์

กัน แม้เมื่อเขาบอกว่า ผมไม่ต้องการผู้หญิง ก็พากันแค่นได้

กระเซ้าอยู่บ่อย ๆ จนต้องยอมรับ จึงไปแต่งนางวรรณทาสี

คนหนึ่ง ด้วยเครื่องประดับพร้อมสรรพ พาไปเรือนของเขา

กล่าวว่า เธอจงไปสู่สำนักของเศรษฐีบุตรเถิด ดังนี้แล้ว ส่งเข้าไป

สู่ห้องนอน แล้วพากันออกไป แม้นางจะเข้าไปถึงห้องนอน

เศรษฐีบุตรก็ไม่มองดู ไม่พูดจาด้วย นางคิดว่า ชายผู้นี้ไม่มองดู

เรา ผู้สวยงาม สมบูรณ์ด้วยความเพริดพริ้ง แพรวพราว อย่างสูง

เห็นปานนี้เลย ทั้งไม่ยอมพูดจาด้วย บัดนี้ เราจักทำให้เขาจ้อง

มองดูเรา ด้วยกระบวนมายาและการเยื้องกรายของหญิงให้ได้

ดังนี้แล้ว เริ่มแสดงเสน่ห์หญิง เผยปลายฟัน ด้วยการโปรยยิ้ม

ทำชะมดชะม้อยเอียงอาย เศรษฐีบุตรมองดูเลยยึดเอานิมิตรใน

กระดูกฟัน เกิดอัฏฐิกสัญญา ร่างงามนั้นแม้ทั้งหมด ก็ปรากฏ

เป็นเหมือนโครงกระดูก เขาจึงให้รางวัลนาง แล้วส่งตัวกลับไป.

อิสระชนผู้หนึ่งเห็นนางลงมาจากเรือนนั้น ในระหว่างถนน

ก็ให้รางวัลพาไปสู่เรือนของตน ล่วงได้เจ็ดวัน งานนักขัตฤกษ์

ก็ยุติ มารดาของนางวรรณทาสีไม่เห็นกลับมา ก็ไปหาเศรษฐี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 447

บุตรทั้งหลายถามว่า ลูกสาวของฉันไปไหน ? เศรษฐีบุตรเหล่านั้น

ก็พากันไปสู่เรือนของอุตตรเศรษฐีบุตร ถามว่า นางไปไหน ?

เขาบอกว่า ฉันให้รางวัลนางแล้วส่งตัวกับไปขณะนั้นเองทีเดียว

ขณะนั้นมารดาของนางก็ร้องไห้ พลางกล่าวว่า ฉันไม่เห็นลูกสาว

ของฉันที่ไหนเลย พวกท่านต้องพาลูกสาวของฉันมาส่ง แล้วจับ

บุตรอุตตรเศรษฐีไปสู่ราชสำนัก พระราชาเมื่อทรงชำระคดี

รับสั่งถามว่า เศรษฐีบุตรเหล่านี้ พานางไปให้เจ้าหรือ ? เขา

กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ. รับสั่ง

ถามว่า เดี๋ยวนี้นางไปไหนละ ? กราบทูลว่า ไม่ทราบเกล้าฯ

พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ส่งนางกลับไปในขณะนั้นแหละ พระเจ้าข้า.

รับสั่งว่า เดี๋ยวนี้เจ้าอาจพานางส่งคืนได้ไหมเล่า ? กราบทูลว่า

ข้าพระองค์ไม่สามารถพระเจ้าข้า พระราชาตรัสสั่งว่า ถ้าไม่อาจ

นำตัวมาส่งคืนได้ พวกเจ้าจงลงอาญาเขาเถิด ครั้งนั้น พวก

ราชบุรุษพากันมัดแขนเขาไพล่หลัง คุมตัวไปด้วยคิดว่า พวกเรา

จักลงพระอาญา. ได้เล่าลือกันไปทั่วพระนครว่า ได้ยินว่า พระราชา

รับสั่งให้ลงพระราชอาญาเศรษฐีบุตรผู้ไม่สามารถนำนาง-

วรรณทาสีมาส่งคืนได้ มหาชนกอดอกร่ำไห้ว่า นายเอ๋ย. ทำไม

เรื่องเป็นเช่นนี้ ท่านได้สิ่งไม่คู่ควรแก่ตนเลย พากันเดินร่ำไห้

ไปข้างหลังของเศรษฐีบุตร เศรษฐีบุตรคิดว่า ทุกข์ขนาดนี้

นี่เราได้รับเพราะการอยู่ครองเรือน ถ้าเราพ้นจากทุกข์นี้ไปได้

เราจักบวชในสำนักพระมหาโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 448

ฝ่ายนางวรรณทาสีนั้นเล่า ฟังเสียงโกลาหลนั้นแล้ว ก็

ถามว่า นั่นเสียงอะไร ? ครั้นทราบเรื่องราวแล้ว รีบลงมา

โดยเร็ว กล่าวว่า จงหลีกไปเถิดท่านทั้งหลาย จงให้โอกาสเรา

ได้พบราชบุรุษเถิด แล้วแสดงตน พวกราชบุรุษเห็นนางแล้ว

ก็ให้มารดารับตัวไป ปล่อยเศรษฐีบุตรแล้วพากันไป เขาถูก

เพื่อน ๆ แวดล้อมไปสู่แม่น้ำ อาบน้ำ ดำเกล้าแล้ว จึงไปเรือน

บริโภคอาหารเช้า ขอให้มารดาบิดาอนุญาตให้บรรพชา ถือเอา

ผ้าจีวรไปสำนักพระศาสดา ด้วยบริวารเป็นอันมาก ถวายบังคม

แล้วกราบทูลขอบรรพชา ได้บรรพชาอุปสมบท มิได้ทอดทิ้ง

พระกรรมฐาน เจริญวิปัสสนา ไม่ช้าก็ตั้งอยู่ในพระอรหัตผล

อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในธรรมสภา กล่าวถึง

คุณของท่านว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย บุตรของอุตตรเศรษฐี เมื่อภัย

บังเกิดแก่ตน ทราบคุณของพระศาสดา ได้คิดว่า เมื่อเราพ้น

จากทุกข์นี้จักบรรพชา ด้วยความคิดดีนั้น จึงพ้นจากมรณภัย

ด้วย บวชแล้วดำรงในผลอันเลิศด้วย พระศาสดาเสด็จมา

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนา

กันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ

แล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่แต่บุตรของอุตตรเศรษฐี

เท่านั้น ที่เมื่อภัยบังเกิดแล้ว ได้คิดว่า เราจักพ้นทุกข์นี้ด้วยอุบายนี้

แม้บัณฑิตในอดีตกาล เมื่อภัยบังเกิดแก่ตนแล้ว ก็ได้คิดว่า เรา

จักพ้นจากทุกข์นี้ ดังนี้แล้ว ก็พ้นจากทุกข์ คือมรณภัยได้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 449

เหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ เมื่อแรงกรรมผลักดันให้หมุนเวียน

ไปด้วยอำนาจแห่งจุติและปฏิสนธิ บังเกิดในกำเนิดนกกระจาบ

ครั้งนั้น นายพรานนกกระจาบคนหนึ่ง นำนกกระจาบเป็นอันมาก

มาจากป่า ขังไว้ในเรือน เมื่อคนทั้งหลายพากันมาซื้อ ก็ขาย

นกกระจาบส่งให้ถึงมือ เลี้ยงชีวิต พระโพธิสัตว์ได้คิดว่า ถ้าเรา

บริโภคข้าวน้ำที่พรานนี้ให้แล้วไซร้ พรานนี้ก็คงจับเราให้แก่

คนที่มาซื้อ ก็ถ้าเราไม่บริโภคเล่า ก็คงซูบเซียว ครั้นคนทั้งหลาย

เห็นเราซูบเซียว ก็จักไม่รับเอา ความปลอดภัยจักมีแก่เราด้วย

อุบายอย่างนี้ เราจักกระทำอุบายอันนี้ เมื่อพระโพธิสัตว์กระทำ

อย่างนั้น ก็ซูบเซียวเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก พวกมนุษย์เห็น

พระโพธิสัตว์แล้วไม่แตะต้องเลย นายพรานเมื่อนกกระจาบที่เหลือ

เว้นพระโพธิสัตว์หมดสิ้นไปแล้ว ก็นำออกจากกระเช้ายืนอยู่

ที่ประตู วางพระโพธิสัตว์ไว้ที่ฝ่ามือ ปรารภเพื่อจะตรวจดูว่า

นกกระจาบตัวนี้เป็นอย่างไรเล่านะ ครั้นพระโพธิสัตว์รู้ว่า

นายพรานเผลอ ก็กางปีกบินเข้าป่าไป นกกระจาบเหล่าอื่นเห็น

พระโพธิสัตว์ จึงพากันถามว่า เป็นอย่างไรไปเล่า ท่านจึงไม่ค่อย

ปรากฏ ท่านไปไหนเสียเล่า ? ครั้นพระโพธิสัตว์บอกว่า เราถูก

นายพรานจับไป ต่างก็ชักว่า ทำอย่างไรเล่าถึงรอดมาได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 450

พระโพธิสัตว์บอกว่า เราไม่กินอาหารที่เขาให้ ไม่ดื่มน้ำ จึงรอด

มาได้ด้วยการคิดอุบาย ดังนี้แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"บุรุษเมื่อไม่คิด ก็ย่อมไม่ได้ผลพิเศษ

ท่านจงดูผลแห่งอุบายที่เราคิดเถิด เราพ้นจาก

การถูกฆ่าและจองจำ ก็ด้วยอุบายนั้น" ดังนี้.

ในคาถานั้นประมวลความได้ดังนี้ :- คนถึงทุกข์แล้ว

เมื่อไม่คิดว่า เราจักพ้นทุกข์นี้ด้วยอุบายชื่อนี้ ก็ไม่ประสบผล

วิเศษ คือความรอดพ้นจากทุกข์ของตนได้ ก็บัดนี้จงดูผลแห่ง

กรรมที่เราคิดแล้ว ด้วยอุบายนี้เท่านั้น ที่เราพ้นจากการถูกฆ่า

และถูกขังได้ คือพ้นจากความตายด้วย จากที่กักขังด้วย.

พระโพธิสัตว์บอกเหตุการณ์ที่ตนกระทำแล้ว ด้วยประการ

ฉะนี้.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า ก็นกกระจาบผู้รอดพ้นได้ในครั้งนั้น ได้มาเป็นเรา

ตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาวัฏฏกชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 451

๙. อกาลราวิชาดก

ว่าด้วยไก่ขันไม่เป็นเวลา

[๑๑๙] "ไก่ตัวนี้มิได้เติบโตอยู่กับพ่อแม่ ไม่ได้

อยู่ในสำนักอาจารย์ ย่อมไม่รู้จักกาลที่ควรขัน

และไม่ควรขัน"

จบ อกาลราวิชาดกที่ ๙

อรรถกถาอกาลราวิชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้ท่องบ่นไม่เป็นเวลารูปหนึ่ง ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อมาตาปิตุสวฑฺโฒ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้น เป็นกุลบุตรชาวพระนครสาวัตถี

บรรพชาในพระศาสนาแล้ว ไม่เรียนวัตรหรือสิกขา เธอไม่รู้ว่า

เวลานี้ควรทำวัตร เวลานี้ควรปรนนิบัติ เวลานี้ควรเล่าเรียน

เวลานี้ควรท่องบ่น ส่งเสียงดังในขณะที่ตนตื่นขึ้นทีเดียว ทั้งใน

ปฐมยาม ทั้งในมัชฌิมยาม ทั้งในปัจฉิมยาม ภิกษุทั้งหลายไม่

เป็นอันได้หลับนอน ต่างพากันกล่าวโทษของเธอในธรรมสภาว่า

ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุโน้น บรรพชาในพระศาสนาคือ รัตน เห็น

ปานนี้ ยังไม่รู้วัตรหรือสิกขา กาลหรือมิใช่กาล พระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 452

เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุม

สนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลให้ทรง

ทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น

ที่ภิกษุนี้ ส่งเสียงไม่เป็นเวลา แม้ในกาลก่อน ก็ส่งเสียงไม่เป็น

เวลาเหมือนกัน และเพราะความที่ไม่รู้กาลหรือมิใช่กาล ถูก

บิดคอถึงสิ้นชีวิต แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลอุทิจจพราหมณ์

เจริญวัยแล้ว สำเร็จการศึกษาในศิลปวิทยาทุกอย่าง เป็นอาจารย์

ทิศาปาโมกข์ในพระนครพาราณสี บอกศิลปะแก่มาณพประมาณ

๕๐๐. พวกมาณพเหล่านั้น มีไก่ขันยามอยู่ตัวหนึ่ง พวกเขา

พากันลุกตามเสียงขันของมัน ศึกษาศิลปะอยู่ มันได้ตายเสีย

พวกเขาจึงเที่ยวแสวงหาไก่อื่น ครั้งนั้นมาณพผู้หนึ่ง หักฟืนอยู่

ในป่าช้า เห็นไก่ตัวหนึ่ง ก็จับมาใส่กรงเลี้ยงไว้ ไก่ตัวนั้น มิได้

รู้ว่าควรขันในเวลาโน้น เพราะมันเติบโตในป่าช้า บางคราวก็ขัน

ดึกเกินไป บางคราวก็ขันเอาเวลาอรุณขึ้น พวกมาณพพากัน

ศึกษาศิลปะในเวลาที่มันขันดึกเกินไป ไม่อาจศึกษาได้จนอรุณ

ขึ้น พากันนอนหลับไป แม้ข้อที่ท่องจำได้แล้ว ก็เลือนลืม ในเวลา

ที่มันขันสว่างเกินไปเล่า ต่างก็ไม่ได้ท่องบ่นเลย มาณพกล่าวกัน

ว่า เดี๋ยวมันขันดึกไป เดี๋ยวก็ขันสายไป อาศัยไก่ตัวนี้ พวกเรา

คงเรียนศิลปะวิทยาไม่สำเร็จแล้ว ช่วยกันจับมันบิดคอถึงสิ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 453

ชีวิต แล้วบอกอาจารย์ว่า ไก่ที่ขันไม่เป็นเวลา พวกผมฆ่ามันเสีย

แล้ว อาจารย์กล่าวว่า มันถึงความตาย เพราะมันเจริญเติบโต

โดยมิได้รับการสั่งสอนเลย ดังนี้แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า

"ไก่ตัวนี้ไม่ได้เติบโตอยู่กับพ่อแม่ ไม่ได้

อยู่ในสำนักอาจารย์ ย่อมไม่รู้จักกาลที่ควรขัน

และไม่ควรขัน" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมาตาปิตุสวฑฺโฒ ความว่า

ไก่ตัวนี้เติบโตโดยมิได้อาศัยมารดาบิดา แล้วรับโอวาทไว้.

บทว่า อนาจริยกุเล วส ความว่า แม้ในสกุลอาจารย์เล่า

ก็มิได้อยู่ เพราะมิได้อาศัยใคร ๆ เป็นอาจารย์ผู้ฝึกสอนอยู่เลย.

บทว่า กาลมกาล วา ความว่า ไก่นี้ไม่รู้กาลหรือมิใช่กาล

อันควรที่ตนพึงขันอย่างนี้ว่า ควรขันในเวลานี้ ไม่ควรขันใน

เวลานี้ เพราะเหตุที่ไม่รู้นั่นเอง จึงต้องถึงความสิ้นชีวิต.

พระโพธิสัตว์แสดงเหตุนี้แล้ว ดำรงชีพอยู่จนตลอดอายุขัย

แล้วไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า ไก่ที่ขันไม่เป็นเวลาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุณี

อันเตวาสิก ได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนอาจารย์ได้มาเป็นเรา

ตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอกาลราวิชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 454

๑๐. พันธนโมกขชาดก

ว่าด้วยการหลุดพ้นจากเครื่องจองจำ

[๑๒๐] "คนพาลแย้มพรายออกมา ณ ที่ใด คน

ไม่น่าจะถูกจองจำย่อมถูกจองจำได้ หมู่บัณฑิต

แย้มพรายออกมา ณ ที่ใด ที่นั้น แม้คนที่ถูก

จองจำแล้ว ก็รอดพ้นได้"

จบ พันธนโมกขชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาพันธนโมกขชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภนางจิญจมาณวิกา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า อพทฺธา ตถฺถ พชฺฌนฺติ ดังนี้. เรื่องของนางจักแจ่มแจ้ง

ใน มหาปทุมชาดก ทวาทสนิบาต.

ก็ในครั้งนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่

แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่นางจิญจมาณวิกา กล่าวตู่เราด้วยเรื่อง

ไม่จริง แม้ในกาลก่อน ก็เคยกล่าวตู่แล้วเหมือนกัน ทรงนำเอา

เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในเรือนของท่านปุโรหิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 455

เจริญวัยแล้วได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัต สืบแทนบิดา

ผู้ล่วงลับ พระเจ้าพรหมทัตได้พระราชทานพรแก่พระอัครมเหสี

ไว้ว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เธอต้องการสิ่งใด พึงบอกสิ่งนั้น พระนาง

กราบทูลว่า ขึ้นชื่อว่าพระพรอื่น มิได้เป็นสิ่งที่เกล้ากระหม่อม-

ฉันได้ด้วยยากเลย ขอพระราชทานแต่ว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ทูลกระหม่อมไม่พึงทอดพระเนตรหญิงอื่น ด้วยอำนาจกิเลส.

แม้ท้าวเธอจะทรงห้ามไว้ ก็ถูกพระนางเซ้าซี้บ่อย ๆ จึงไม่อาจ

ปฏิเสธคำของพระนางได้ ก็ทรงรับตั้งแต่บัดนั้น ก็มิได้ทรง

เหลียวแล บรรดานางระบำหมื่นหกพันนาง แม้แต่นางเดียว

ด้วยอำนาจกิเลส.

อยู่มาปัจจันตชนบทของท้าวเธอเกิดกบฎขึ้น พวกโยธา

ที่ตั้งกองอยู่ในปัจจันตชนบท ทำสงครามกับพวกโจร ๒-๓ ครั้ง

ก็ส่งใบบอกกราบทูลพระราชาว่า ถ้าศึกหนักยิ่งกว่านี้ พวก

ข้าพระองค์ไม่อาจฉลองพระเดชพระคุณได้ พระราชามีพระ-

ประสงค์จะเสด็จไปในที่นั้น ทรงระดมพลนิกายแล้วรับสั่งหา

พระนางมา ตรัสว่า นางผู้เจริญ ฉันต้องไปสู่ปัจจันตชนบท

ที่นั้น การยุทธมีมากมายหลายแบบ จะชนะหรือแพ้ก็ไม่แน่นอน

ในสถานที่เช่นนั้น มาตุคามคุ้มครองได้ยาก เธอจงอยู่ในพระราชวัง

นี้แหละ ดังนี้ ฝ่ายพระนางก็กราบทูลว่า ทูลกระหม่อมเพคะ

เกล้ากระหม่อมฉันไม่สามารถจะอยู่ข้างหลัง ดังพระดำรัสได้

อันพระราชาตรัสทัดทานห้ามอยู่บ่อย ๆ ก็กราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 456

ทูลกระหม่อมเสด็จไปทุกระยะโยชน์ โปรดสั่งให้คนมาโยชน์

ละคน ๆ เพื่อทรงทราบสุขทุกข์ของกระหม่อมฉันนะเพคะ

พระราชาทรงรับคำแล้ว ทรงตั้งพระโพธิสัตว์เป็นผู้รักษา

พระนคร ทรงยกกองทัพใหญ่ออกไป เมื่อเสด็จไปได้แต่ละโยชน์

ก็ส่งบุรุษคนหนึ่ง ๆ ไปด้วยพระดำรัสว่า เจ้าจงบอกความ

ไม่มีโรคของข้า แล้วรู้สุขทุกข์ของพระเทวีมาเถิด พระนาง

รับสั่งถามบุรุษที่มาแล้ว ๆ ว่า พระราชาส่งเจ้ามาเพื่ออะไร ?

เมื่อราชบุรุษกราบทูลว่า เพื่อต้องการทราบสุขทุกข์ของฝ่า-

พระบาท ก็รับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นจงมานี้ แล้วทรงสร้องเสพ

อสัทธรรมกับบุรุษนั้น พระราชาเสด็จไปสิ้นหนทาง ๓๒

โยชน์ ทรงส่งคนไป ๓๒ คน พระนางได้กระทำกับคนเหล่านั้น

ทุกคน ทำนองเดียวกันทั้งนั้น.

พระราชาทรงปราบปรามปัจจันตชนบทราบคาบแล้ว

เกลี้ยกล่อมชาวชนบทเป็นอันดีแล้ว เมื่อเสด็จกลับ ก็ทรงส่งคน

ไป ๓๒ คน โดยทำนองเดียวกันนั่นแหละ พระนางก็ปฏิบัติผิด

กับคนแม้เหล่านั้น อย่างนั้นเหมือนกัน พระราชาเสด็จมาถึงที่พัก

เพื่อฉลองชัย ทรงส่งหนังสือถึงพระโพธิสัตว์ว่า จงเกณฑ์กัน

ตกแต่งบ้านเมืองเถิด พระโพธิสัตว์ก็เกณฑ์คนให้ตกแต่งบ้านเมือง

ทั่วไป เมื่อจะให้คนตกแต่งพระราชนิเวศน์ ได้ไปถึงที่ประทับ

ของพระนางเทวี พระนางทอดพระเนตรเห็นร่างกายของพระ-

โพธิสัตว์ ถึงความงามเลิศด้วยรูปสมบัติ ก็มิทรงสามารถดำรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 457

พระทัยอยู่ได้ รับสั่งว่า มานี่เถิดท่านพราหมณ์ เชิญขึ้นสู่ที่นอน

เถิด พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า อย่าได้ตรัสอย่างนี้เลย พระราชา

เล่า ก็เป็นที่คารวะของข้าพระบาท ข้าพระบาทเล่า ก็กลัวต่อ

อกุศล ข้าพระบาทไม่อาจทำอย่างนั้นได้ รับสั่งว่า พระราชา

ไม่เป็นที่เคารพของข้าบาทมูลทั้ง ๖๔ คน และคนเหล่านั้นก็ไม่

กลัวอกุศล เจ้าคนเดียวเคารพพระราชา เจ้าคนเดียวกลัวอกุศล

กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ถ้าแม้คนเหล่านั้น พึงเป็นอย่างนั้นไซร้

ข้าพระบาทไม่พึงเป็นอย่างนั้น ก็ข้าพระบาทรู้อยู่ จักไม่กระทำ

กรรมอันเลวร้ายอย่างนั้นเลย. รับสั่งว่า เจ้าจะพูดพร่ำให้มากความ

ไปใย ถ้าไม่ทำตามคำของเรา เราจักตัดหัวเจ้าเสีย กราบทูล

ว่า ถูกตัดหัวในอัตภาพเดียว ก็พอทำเนา ยังไม่เท่ากับถูกตัดหัว

ไปถึงพันอัตภาพ ข้าพระบาทไม่อาจทำอย่างนี้ พระนางตรัสว่า

เอาละ จะได้รู้ดีรู้ชั่วกัน แล้วเสด็จเข้าของพระองค์ แสดงรอยเล็บ

ไว้ที่ร่างกาย ชะโลมตั่วด้วยน้ำมัน นุ่งผ้าเก่าทำท่วงทีเป็นไข้

สั่งนางทาสีทั้งหลายว่า เมื่อพระราชารับสั่งว่า พระเทวีไปไหน ?

พึงทูลว่า ประชวรนะ.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ก็ได้ไปรับเสด็จพระราชา พระราชา

ทรงกระทำประทักษิณพระนครแล้ว เสด็จขึ้นสู่ปราสาท รับสั่ง

ถามว่า พระเทวีไปไหน ? พวกทาสีกราบทูลว่า พระเทวีทรง

พระประชวร พระเจ้าข้า. ท้าวเธอเสด็จเข้าสู่ห้องอันทรงสิริ

ทรงลูบหลังพระนาง พลางตรัสถามว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เธอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 458

ไม่สบายเป็นอะไรไป ? พระนางนิ่งเฉยเสีย ในวาระที่ ๓ จึง

ชำเลืองมองพระราชา พลางกราบทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม

แม้ว่าพระองค์ยังดำรงพระชนม์อยู่ หญิงทั้งหลายแม้เช่นกับ

หม่อมฉัน ก็ยังเป็นหญิงมีสามีเดียวอยู่โดยแท้จริง รับสั่งถามว่า

ก็ข้อนั้นมันเรื่องอะไรเล่า นางผู้เจริญ ? กราบทูลว่า ปุโรหิต

ที่ทูลกระหม่อมทรงแต่งตั้งไว้รักษาพระนคร มาในที่นี้บอกว่า

จักตกแต่งพระนิเวศน์ แล้วข่มขืนกระหม่อมฉันผู้ไม่กระทำตาม

คำของตน ทำเอาสมใจแล้วจึงไปเพคะ พระราชาทรงแผดพระ-

สุรเสียงอยู่ฉาดฉานด้วยทรงกริ้ว ประหนึ่งโยนก้อนเกลือเข้า

กองไฟฉะนั้น เสด็จออกจากห้องอันทรงสิริ รับสั่งให้หานาย-

ประตูและข้าบาทมูลเป็นต้น ตรัสว่า เหวยพนักงาน พวกเจ้า

จงพากันไปจับไอ้ปุโรหิต มัดแขน ไพล่หลัง ทำมันให้สาสมกับ

ความเป็นคนที่ต้องฆ่า พาออกไปจากพระนคร นำตัวไปไปสู่

ตะแลงแกง ตัดหัวมันเสีย พวกราชบุรุษพากันรีบรุดไป จับ

พระโพธิสัตว์มัดไพล่หลัง แล้วเที่ยวตระเวนตีกลองร้องประกาศ

ไป พระโพธิสัตว์ดำริว่า พระราชาคงถูกพระเทวีตัวร้ายนั้น

กราบทูลยุยงเอาก่อนเป็นแน่ คราวนี้เราต้องแก้ต่างเปลื้องตน

ด้วยปรีชาญาณของตนเอง ในวันนี้ให้จงได้ พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะ

ราชบุรุษเหล่านั้นว่า พ่อคุณทั้งหลาย พวกเธออย่าเพิ่งฆ่าเรา

เลย พาเราเข้าเฝ้าพระราชาแล้วค่อยฆ่าเถิด พวกราชบุรุษ

ถามว่า เพราะเหตุไร ? จึงบอกว่า เราเป็นข้าราชการ การงาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 459

ที่เราทำไว้มีมาก เราย่อมรู้ที่ตั้งแห่งขุมทรัพย์มากแห่ง ท้อง-

พระคลังหลวงเล่า เราก็ตรวจตรา ถ้าไม่นำเราเข้าเฝ้าพระราชา

แล้ว ทรัพย์เป็นอันมากจักสาบสูญ ขอโอกาสพอเราได้บอกสมบัติ

แด่พระราชาแล้ว พวกท่านค่อยกระทำโทษที่ต้องกระทำภายหลัง

เถิด พวกราชบุรุษจึงพาพระโพธิสัตว์เข้าเฝ้าพระราชา.

พระราชาพอทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์เข้าเท่านั้น

ก็ตรัสว่า เฮ้ย เจ้าพราหมณ์ เหตุไรเล่าจึงมิได้ยำเกรงเราเลย

เหตุไรเล่า เจ้าจึงทำกรรมชั่วช้าสามาลย์ได้ถึงขนาดนี้ ? พระ-

โพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์นั้นเกิดใน

สกุลโสตถิยพราหมณ์ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตแม้เพียงมดดำ มดแดง

ข้าพระองค์ก็ไม่เคยกระทำ สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แม้เพียง

เส้นหญ้า ข้าพระองค์ก็ไม่เคยถือเอาเลย สตรีของผู้อื่น ข้าพระองค์

ก็ไม่เคยแม้จะเพียงลืมตาดูด้วยอำนาจความโลภ คำเท็จ แม้ด้วย

อำนาจแห่งความร่าเริง ข้าพระองค์ก็ไม่เคยกล่าว น้ำเมาเพียง

หยดด้วยอดหญ้า ข้าพระองค์ก็ไม่เคยดื่ม ข้าพระองค์ปราศจาก

ความผิดในพระองค์ แต่นางเป็นพาล จับมือข้าพระองค์ด้วยอำนาจ

แห่งความโลภ ทั้ง ๆ ที่ข้าพระองค์ห้าม กับตวาดข้าพระองค์

เปิดเผยความชั่วที่ตนกระทำไว้ บอกแก่ข้าพระองค์ แล้วเข้าไป

ภายในห้อง ข้าพระองค์ปราศจากความผิด แต่คนทั้ง ๖๔ ที่ถือ

หนังสือมามีความผิด ข้าแต่สมมติเทพ โปรดตรัสเรียกคนเหล่านั้น

มาตรัสถามว่า พวกเหล่านั้นกระทำตามคำของพระนางหรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 460

ไม่ได้กระทำเถิดพระเจ้าข้า พระราชารับสั่งให้จองจำคนทั้ง ๖๔

แล้วรับสั่งให้หาพระเทวีมาเฝ้า มีพระดำรัสถามว่า เจ้าทำกรรมชั่ว

กับคนเหล่านี้หรือไม่ได้กระทำ ? ครั้นนางกราบทูลรับว่าทำ

เพคะ รับสั่งให้มัดนางไพล่หลังไว้ แล้วทรงสั่งว่า พวกเจ้า

จงตัดหัวของคน ๖๔ คน เหล่านี้เสีย. ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์

กราบทูลท้าวเธอว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า คนเหล่านี้ก็ไม่มีโทษ

พระเจ้าข้า เทวีบังคับให้กระทำตามใจชอบของตน คนเหล่านี้

ไร้ความผิด เหตุนั้นพระองค์โปรดทรงพระกรุณาอดโทษแก่

คนเหล่านี้เถิดพระเจ้าข้า แม้พระเทวีก็ไม่มีโทษพระเจ้าข้า

ธรรมดาหญิงทั้งหลาย เป็นผู้ไม่อิ่มด้วยเมถุนธรรม แท้จริง

ความไม่อิ่มด้วยเมถุนธรรมนี้ เป็นสภาวธรรมประจำกำเนิด

สิ่งที่ควรจะต้องมี ก็ย่อมมีแก่พวกนางเท่านั้น เพราะเหตุนั้น

จงทรงพระกรุณางดโทษพระนางด้วยเถิดพระเจ้าข้า กราบทูล

ให้พระราชาตกลงพระทัยด้วยประการต่าง ๆ จนทรงปล่อยคน

๖๔ นั้น และเทวีผู้เป็นพาล ให้พระราชทานฐานะตามตำแหน่ง

เดิมของตนก็คนทั้งปวง พระโพธิสัตว์ ครั้นให้พระราชาโปรด

ปล่อยคนทั้งหมดแล้ว ทรงแต่งตั้งในตำแหน่งเดิมของตนอย่างนี้

แล้วเข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า หมู่

บัณฑิตผู้ไม่น่าจะถูกจองจำ ถูกมัดไพล่หลังได้ เพราะถ้อยคำ

อันไม่มีหลักของคนที่เรียกกันว่า อันธพาล หมู่บัณฑิตรอดพ้นได้

แม้จากการถูกมัดไพล่หลัง ด้วยถ้อยคำที่ชอบด้วยเหตุ ขึ้นชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

พวกพาล แม้คนที่ไม่น่าจะจองจำ ก็ทำให้ต้องจองจำได้ บัณฑิต

ย่อมแก้ไขให้รอดจากการจองจำทั้งหลายได้อย่างนี้ พระเจ้าข้า

แล้วกล่าวคาถานี้ ใจความว่า :-

" คนพาลแย้มพรายออกมา ณ ที่ใด

ณ ที่นั้น คนไม่น่าถูกจองจำ ย่อมถูกจองจำได้

หมู่บัณฑิตแย้มพรายออกมา ณ ที่ใด ณ ที่นั้น

แม้คนที่ถูกจองจำแล้ว ก็รอดพ้นได้ " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อพทฺธา แปลว่า คนที่น่าจะถูก

จองจำ.

บทว่า ปภาสเร แปลว่า ย่อมแย้มพราย คือย่อมบอก

ย่อมกล่าว.

พระโพธิสัตว์ แสดงธรรมแก่พระราชาด้วยคาถานี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล้ว กราบทูลขออนุญาตการบรรพชาว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้สมมติเทพ ทุกข์ทั้งนี้ข้าพระองค์ได้เพราะการอยู่

ครองเรือน บัดนี้ข้าพระองค์ไม่มีกิจด้วยการครองเรือน โปรด

ทรงอนุญาตการบรรพชาเเก่ข้าพระองค์ด้วยเถิดพระเจ้าข้า แล้ว

สละตนที่เป็นญาติ มีน้ำตานองหน้า และสมบัติอันมากมาย

บวชเป็นฤๅษีอยู่ในป่าหิมพานต์ ยังฌานและสมาบัติให้เกิดแล้ว

ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 462

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า เทวีตัวร้ายในครั้งนั้น ได้มาเป็นนางจิญจมาณวิกา

ในครั้งนี้ พระราชาได้มาเป็นอานนท์ ส่วนปุโรหิต ได้มาเป็นเรา

ตถาคต ฉะนี้แล.

จบ พันธนโมกขชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มาในวรรคนี้คือ :-

๑. คัทรภปัญหา ๒. อมราเทวีปัญหา ๓. สิลาคชาดก

๔. มิตจินติชาดก ๕. อนุสาสิกชาดก ๖. ทุพพจชาดก ๗. ติตติร-

ชาดก ๘. วัฏฏกชาดก ๙. อกาลราวิชาดก ๑๐. พันธนโมกชาดก.

จบ หังสิวรรคที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 463

๑๓. กุสนาฬิวรรค

๑. กุสนาฬิชาดก

ว่าด้วยประโยชน์ของการผูกมิตร

[๑๒๑] "บุคคลผู้เสมอกัน ประเสริฐกว่ากัน หรือ

เลวกว่ากัน ก็ควรคบกันไว้ เพราะมิตรเหล่านั้น

เมื่อความเสื่อมเกิดขึ้น ก็พึงทำประโยชน์อันอุดม

ให้ได้ ดูเราผู้เป็นรุกขเทวดา และเทวดาผู้เกิด

ที่กอหญ้าคาคบกันฉะนั้น"

จบ กุสนาฬิชาดกที่ ๑

อรรถกถากุสนาฬิวรรคที่ ๑๓

อรรถกถากุสนาฬิชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภมิตรผู้ชี้ขาดการงานของท่านอนาถบิณฑิกะ ตรัส

พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กเร สริกฺโข ดังนี้.

ความโดยย่อมีว่า พวกมิตรผู้คุ้นเคย ญาติพวกพ้องของ

ท่านอนาถบิณฑิกะ ร่วมกันห้ามปรามบ่อย ๆ ว่า ท่านมหาเศรษฐี

คนผู้นี้ไม่ทัดเทียมกับท่าน โดยชาติ โคตร ทรัพย์ และธัญญชาติ

เป็นต้น ทั้งไม่เหมือนท่านไปได้เลย เหตุไรท่านจึงทำความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 464

สนิทสนมกับคนผู้นี้ อย่ากระทำเลย ฝ่ายท่านอนาถบิณฑิกะ

กลับพูดว่า ธรรมดาความสนิทสนมกันฉันท์มิตร กับคนที่ต่ำกว่า

ก็ดี คนที่เสมอกันก็ดี คนที่สูงกว่าก็ดี ควรกระทำทั้งนั้น แล้ว

ไม่เชื่อถือถ้อยคำของคนพวกนั้น เมื่อจะไปบ้านส่วย ก็ตั้งบุรุษ

ผู้นั้นให้เป็นผู้ดูแลสมบัติแล้วจึงไป เรื่องราวทั้งหมด พึงทราบ

โดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องกาฬกรรณีนั่นแล แปลก แต่ว่า

ในเรื่องนี้ เมื่อท่านอนาถบิณฑิกะกราบทูลเรื่องราวในเรือน

ของตนแล้ว พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรมดามิตร

ที่จะเป็นคนเล็กน้อยไม่มี ก็ความเป็นผู้สามารถรักษามิตรธรรม

ไว้ได้เป็นประมาณในเรื่องมิตรนี้ ธรรมดามิตร เสมอด้วยตน

ก็ดี ต่ำกว่าตนก็ดี ยิ่งกว่าตนก็ดี ควรคบไว้ เหตุว่ามิตรเหล่านั้น

แม้ทั้งหมด ย่อมช่วยแบ่งเบาภาระที่มาถึงตนได้ทั้งนั้น บัดนี้

ท่านอาศัยมิตรผู้ชี้ขาดการงานของตน จึงเป็นเจ้าของขุมทรัพย์

ได้สืบไป ส่วนโบราณกบัณฑิต อาศัยมิตรผู้ชี้ขาด จึงเป็นเจ้าของ

วิมานได้ ดังนี้ อันท่านอนาถบิณฑิกะกราบทูลอาราธนา จึงทรง

นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเทวดาที่

กอหญ้าคา ในอุทยานของพระราชา ก็ในอุทยานนั้นแล มีต้น-

รุจมงคล อาศัยมงคลศิลา มีลำต้นตั้งตรง ถึงพร้อมด้วยปริมณฑล

กิ่งก้านและค่าคบ ได้รับการยกย่องจากราชสำนัก เรียกกันว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 465

ต้นสมุขกะบ้าง เทวราชผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่ง บังเกิดที่ต้นไม้นั้น

พระโพธิสัตว์ได้มีความสนิทสนมกับเทวราชนั้น ครั้งนั้นพระราชา

เสด็จประทับอยู่ในปราสาทเสาเดียว เสาของปราสาทนั้น

หวั่นไหว ครั้งนั้น พวกราชบุรุษพากันกราบทูลความหวั่นไหว

ของเสานั้นแด่พระราชา พระราชารับสั่งให้หาพวกนายช่าง

มาเฝ้า ตรัสว่า พ่อคุณ เสาแห่งมงคลปราสาทเสาเดียวหวั่นไหว

เสียแล้ว พวกเจ้าจงเอาเสาไม้แก่นมาต้นหนึ่ง ทำเสานั้นไม่ให้

หวั่นไหวเถิด พวกช่างเหล่านั้น กราบทูลรับพระดำรัสของ

พระราชาว่า ดีแล้ว พระ.เจ้าข้า แล้วพากันแสวงหาต้นไม้ที่เหมาะ

แก่เสานั้น ไม่พบในที่อื่น จึงเข้าไปสู่อุทยาน เห็นต้นสมุขกะนั้น

แล้ว พากันไปสำนักพระราชา เมื่อมีพระดำรัสถามว่า อย่างไร

เล่าพ่อทั้งหลาย ต้นไม้ที่เหมาะสมแก่เรานั้น พวกเจ้าเห็นแล้ว

หรือ ? จึงกราบทูลว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า ก็แต่ว่า ไม่อาจตัด

ต้นไม้นั้นได้ รับสั่งถามว่า เพราะเหตุไรเล่า ? พากันกราบทูล

ว่า พวกข้าพระองค์ไม่เห็นต้นไม้ในที่อื่น พากันเข้าสู่พระอุทยาน

ในพระอุทยานนั้นเล่า เว้นต้นมงคลพฤกษ์แล้ว ก็ไม่เห็นต้นไม้อื่น ๆ

ดังนั้น โดยที่เป็นมงคลพฤกษ์ พวกข้าพระองค์จึงไม่กล้าตัด

ต้นไม้นั้น พระเจ้าข้า รับสั่งว่า จงพากันไปตัดเถิด ทำปราสาท

ให้มั่นคงเถิด เราจักตั้งต้นอื่นเป็นมงคลพฤกษ์แทน พวกช่างไม้

เหล่านั้น รับพระดำรัสแล้วพากันถือเครื่องพลีกรรมไปสู่อุทยาน

ตกลงกันว่า จักตัดในวันพรุ่งนี้ แล้วกระทำพลีกรรมแก่ต้นไม้

๑. ต้นไม้พูดได้ ? เพราะมีเทวดาสิงอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 466

เสร็จพากันออกไป รุกขเทวดารู้เหตุนั้นแล้ว คิดว่า พรุ่งนี้ วิมาน

ของเราจักฉิบหาย เราจักพาพวกเด็ก ๆ ไปที่ไหนกันเล่า เมื่อ

ไม่เห็นที่ควรไปได้ ก็กอดคอลูกน้อย ๆ ร่ำไห้ หมู่รุกขเทวดา

ที่รู้จักมักคุ้นของเทวดานั้น ก็พากันไต่ถามว่า เรื่องอะไรเล่า ?

ครั้นฟังเรื่องนั้น แม้พวกตนก็มองไม่เห็นอุบายที่จะห้ามช่างไม่ได้

พากันทอดทิ้งเทวดานั้น เริ่มร้องไห้ไปตามกัน

ในสมัยนั้น พระโพธิสัตว์ดำริว่า เราจักไปเยี่ยมรุกขเทวดา

จึงไปที่นั้น ฟังเหตุนั้นแล้ว ก็ปลอบเทวดาเหล่านั้นว่า ช่างเถิด

อย่ามัวเสียใจเลย เราจักไม่ให้ตัดต้นไม้นั้น พรุ่งนี้เวลาพวก

ช่างมา พวกท่านคอยดูเหตุการณ์ของเราเถิด ครั้นรุ่งขึ้น เวลา

ที่พวกช่างไม้พากันมา ก็แปลงตัวเป็นกิ้งก่าวิ่งนำหน้าพวก

ช่างไม้ไป เข้าไปสู่โคนของมงคลพฤกษ์ กระทำประหนึ่งว่า

ต้นไม้นั้นเป็นโพรง ไต่ขึ้นตามไส้ของต้นไม้ โผล่ออกทางยอด

นอนผงกหัวอยู่ นายช่างใหญ่เห็นกิ้งก่านั้นแล้ว ก็เอามือตบ

ต้นไม้นั้น แล้วตำหนิต้นไม้ใหญ่มีแก่นทึบตลอดว่า ต้นไม้นี้มีโพรง

ไร้แก่น เมื่อวานไม่ทันได้ตรวจถ้วนถี่ หลงทำพลีกรรมกันเสีย

แล้ว พากันหลีกไป รุกขเทวดาอาศัยพระโพธิสัตว์ คงเป็นเจ้าของ

วิมานอยู่ได้ เพื่อเป็นการต้อนรับรุกขเทวดานั้น เทวดาที่รู้จัก

มักคุ้นจำนวนมากประชุมกัน รุกขเทวดาดีใจว่า เราได้วิมาน

แล้ว เมื่อจะกล่าวคุณของพระโพธิสัตว์ ในท่ามกลางที่ประชุม

เทวดาเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ดูก่อนเทพยเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 467

ชาวเราถึงจะเป็นเทวดามเหศักดิ์ ก็มิได้รู้อบายนี้ เพราะปัญญาทึบ

ส่วนเทวดากุสนาฬิ ได้กระทำให้เราเป็นเจ้าของวิมานได้ เพราะ

ญาณสมบัติของตน ธรรมดามิตร ไม่เลือกว่าเท่าเทียมกัน ยิ่งกว่า

หรือต่ำกว่า ควรคบไว้ทั้งนั้น มิตรแม้ทุก ๆ คน อาจบำบัดทุกข์

ที่บังเกิดแก่เพื่อนฝูง ให้คงคืนตั้งอยู่ในความสุขได้ ตามกำลัง

ของตนทีเดียว ครั้นพรรณนามิตรธรรมแล้ว กล่าวคาถานี้

ความว่า :-

บุคคลผู้เสมอกัน ประเสริฐกว่ากัน หรือ

เลวกว่ากัน ก็ควรคบกันไว้ เพราะมิตรเหล่านั้น

เมื่อความเสื่อมเกิดขึ้น ก็พึงทำประโยชน์อัน

อุดมให้ได้ ดูเราผู้เป็นรุกขเทวดา และเทวดาผู้

เกิดที่กอหญ้าคาคบกันฉะนั้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า กเร สริกฺขโก ความว่า แม้คน

เสมอกัน ด้วยฐานะมีชาติเป็นต้น ก็ควรคบกันไว้.

บทว่า อถวาปิ เสฏฺโ ความว่า แม้เป็นผู้สูงกว่า คือยิ่งกว่า

ด้วยชาติเป็นต้น ก็ควรคบไว้.

บทว่า นิหีนโก จาปิ กเรยฺย เอโก ความว่า ถึงจะเป็นคน

ต่ำต้อยด้วยชาติเป็นต้นคนหนึ่ง ก็พึงกระทำมิตรธรรมไว้ ท่าน

แสดงความหมายว่า เหตุนั้น คนเหล่านี้แม้ทั้งหมด ควรทำให้

เป็นมิตรไว้ทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 468

ถามว่า เพราะอะไร ?

ตอบว่า เพราะมิตรเหล่านั้นเมื่อความเสื่อมเกิดขึ้น ก็พึง

ทำประโยชน์อันอุดมให้ได้ ขยายความว่า ก็เพราะคนเหล่านี้

ทั้งหมด เมื่อความพิบัติเกิดขึ้นแก่สหายแล้ว ก็ช่วยแบ่งเบาภาระ

ที่มาถึงตน กระทำประโยชน์อย่างสูงให้ได้ คือช่วยปลดเปลื้อง

สหายนั้นจากทุกข์กาย ทุกข์ใจได้ เพราะเหตุนั้น มิตรแม้จะ

ต่ำต้อยกว่า ก็ควรคบไว้ทีเดียว จะป่วยกล่าวไปใยถึงมิตรนอกนี้

ในข้อนั้น มีเรื่องนี้เป็นข้ออุปมา เหมือนข้าพเจ้าเป็นเทวดาเกิดที่

ไม้รุจา และเทวดาเกิดที่กอหญ้าคา มีศักดาน้อย ต่างกระทำ

ความสนิทสนมฉันมิตรกันไว้ ถึงในเราสองคนนั้น ข้าพเจ้าแม้

จะมีศักดามาก ก็ไม่อาจบำบัดทุกข์ที่เกิดแก่ตนได้ เพราะเป็น

คนเขลา ไม่ฉลาดในอุบาย แต่ได้อาศัยเทวดาผู้นี้ แม้จะมีศักดา

น้อย ก็เป็นบัณฑิต จึงพ้นจากทุกข์ได้ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น

แม้คนอื่น ๆ ประสงค์จะพ้นทุกข์ ก็ไม่จำต้องคำนึงถึงความ

เสมอกัน และความวิเศษกว่ากัน พึงคบมิตรทั้งต่ำ ทั้งประณีต.

รุจาเทวดา แสดงธรรมแก่หมู่เทวดาด้วยคาถานี้ ดำรงอยู่

ชั่วอายุขัยแล้ว ไปตามยถากรรมพร้อมกับกุสนาฬิเทวดา.

พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า รุจาเทวดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นอานนท์ ส่วนกุสนาฬิ-

เทวดา ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากุสนาฬิชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 469

๒. ทุมเมธชาดก

คนโง่ได้ยศก็ได้เกิดประโยชน์

[ ๑๒๒ ] "ผู้มีปัญญาทรามได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติ

สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติเพื่อ

ความเบียดเบียนตน และคนอื่น"

จบ ทุมเมธชาดกที่ ๒

อรรถกถาทุมเมธชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ทรง

ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

ยส ลทฺธาน ทุมฺเมโธ ดังนี้ :-

ความโดยย่อว่า ภิกษุทั้งหลายพากันกล่าวโทษของพระ-

เทวทัตในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระเทวทัตมองดู

พระพักตร์อันทรงสิริ เหมือนดวงจันทร์เต็มดวง และพระอัตภาพ

อันประดับด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ และมหาปุริสลักษณะ ๓๒

ประการ แวดวงด้วยพระรัศมีแผ่ซ่านประมาณ ๑ วา ถึงความงาม

เลิศเป็นยอดเยี่ยม เปล่งพระพุทธรัศมี เป็นแฉคู่ ๆ กัน โดย

อาการต่าง ๆ สลับกันของพระตถาคตแล้ว ไม่อาจยังจิตให้

เลื่อมใสได้ มิหนำซ้ำยังกระทำความริษยาเอาด้วยไม่อาจจะอดใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 470

ได้ในเมื่อมีผู้กล่าวว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงประกอบ

แล้วด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ญาณทัสสนะ เห็นปานนี้

การทำความริษยาถ่ายเดียว พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่เทวทัตกระทำการ

ริษยาเรา ในเมื่อมีผู้กล่าวถึงคุณของเรา แม้ในปางก่อนก็ได้

เคยกระทำแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งเมื่อพระเจ้ามคธองค์หนึ่ง ครองราชสมบัติ

ในกรุงราชคฤห์ พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดช้าง ได้เป็น

ช้างเผือก ถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ เช่นเดียวกับที่พรรณนา

มาแล้วในหนหลัง พระราชาพระองค์นั้นทรงพระดำริว่า ช้างนี้

สมบูรณ์ด้วยลักษณะ จึงได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นมงคลหัตถี ครั้น

ถึงวันมหรสพวันหนึ่ง โปรดให้ประดับตกแต่งพระนครทั้งสิ้น

งดงามดังเทพนคร เสด็จขึ้นสู่มงคลหัตถี อันประดับด้วยเครื่อง

อลังการพร้อมสรรพ ทรงกระทำประทักษิณพระนครด้วยราชา-

นุภาพอันใหญ่หลวง มหาชนยืนดูในที่นั้น ๆ เห็นสรีระอันถึง

ความงามเลิศด้วยสมบัติของมงคลหัตถี ก็พากันพรรณนาถึง

มงคลหัตถีเท่านั้น ว่ารูปงาม การเดินสง่า ท่าทางองอาจ สมบูรณ์

ด้วยลักษณะอย่างแท้จริง พระยาช้างเผือกเห็นปานนี้ สมควรเป็น

คู่บุญบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิ พระราชาทรงสดับเสียง

สรรเสริญมงคลหัตถี ไม่ทรงสามารถจะอดพระทัยได้ ทรงเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 471

ความริษยา ดำริว่า วันนี้แหละจะให้มันตกเขาถึงความสิ้นชีวิต

ให้จงได้ แล้วรับสั่งให้หานายหัตถาจารย์มา รับสั่งถามว่า ช้างนี้

ต้องทำอย่างไรบ้าง เจ้าให้ศึกษาแล้วหรือ ? นายหัตถาจารย์

กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ให้ศึกษาดีแล้วพระเจ้าข้า

รับสั่งท้วงว่า ยังฝึกไม่ดีนะ กราบทูลยืนยันว่า ฝึกดีแล้ว

พระเจ้าข้า รับสั่งว่า ถ้าฝึกดีแล้ว เจ้าจักอาจให้มันขึ้นสู่ยอดเขา

เวปุลละ ได้หรือ ? กราบทูลว่าพระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ

รับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นมาเถิด พระองค์เองเสด็จลงให้นายหัตถาจารย์

ขึ้นนั่งไสไปถึงเชิงเขา เมื่อนายหัตถาจารย์นั่งเหนือหลังช้าง

ไสถึงยอดเขาเวปุลละแล้ว แม้พระองค์เองแวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์

ก็เสด็จขึ้นสู่ยอดเขา แล้วทรงบังคับนายหัตถาจารย์ ให้ไสช้าง

บ่ายหน้าไปทางเหว รับสั่งว่า เจ้าบอกว่าช้างเชือกนี้ฝึกดีแล้ว

จงให้มันยืน ๓ ขา เท่านั้น นายหัตถาจารย์นั่งบนหลัง ได้ให้

สัญญาแก่ช้างด้วยสันเท้า ให้ช้างรู้ว่า พ่อเอ๋ย จงยืน ๓ ขาเถิด

พระราชารับสั่งว่า ให้มันยืนด้วยเท้าหน้าทั้งสองเท่านั้นเถิด

ช้างผู้มหาสัตว์ ก็ยกเท้าหลังทั้งสองขึ้น ยืนด้วยของเท้าหน้า

แม้เมื่อพระราชาตรัสว่า ให้มันยืนด้วยสองเท้าหลังเท่านั้น ก็ยก

เท้าทั้งสองข้างหน้าขึ้น ยืนด้วยสองเท้าหลัง แม้เมื่อตรัสสั่งว่า

ให้ยืนขาเดียว ก็ยกเท้าทั้งสามขึ้นเสีย ยืนด้วยเท้าข้างเดียว

เท่านั้น พระราชาครั้นทรงทราบความที่พระยาช้างนั้นไม่ตก ก็

ตรัสสั่งว่า ถ้าสามารถจริง ก็จงให้ยืนในอากาศเถิด นาย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 472

หัตถาจารย์คิดว่า ทั่วชมพูทวีป ช้างที่ได้ชื่อว่าฝึกดีแล้ว เช่นกับ

พระยาช้างนี้ไม่มีเลย ก็แต่พระราชาพระองค์นี้ มีพระประสงค์

ให้ช้างนั้นตกเขาตายเป็นแน่ไม่ต้องสงสัย คิดแล้วก็กระซิบที่

ใกล้หูว่า พ่อเอ๋ย พระราชานี้ประสงค์จะให้เจ้าตกเขาตายเสีย

เจ้าไม่คู่ควรแก่ท้าวเธอ ถ้าเจ้ามีกำลังพอจะไปทางอากาศได้

ก็จงพาเราผู้นั่งบนหลัง เหาะขึ้น ู่เวหาไปสู่พระนครพาราณสี

เถิด พระมหาสัตว์ถึงพร้อมด้วยบุญฤทธิ์ ได้ยืนอยู่ในอากาศ

ในขณะนั้นเอง นายหัตถาจารย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ช้างนี้

ถึงพร้อมด้วยบุญฤทธิ์ ไม่คู่ควรแก่คนมีบุญน้อย ปัญญาทราม

เช่นพระองค์ คู่ควรแก่พระราชาผู้เป็นบัณฑิต ถึงพร้อมด้วยบุญ

ขึ้นชื่อว่า คนบุญน้อยเช่นพระองค์ ถึงได้พาหนะเช่นนี้ ก็มิได้

รู้คุณของมัน รังแต่จะยังพาหนะนั้น และยศสมบัติที่เหลือ ให้

ฉิบหายไปฝ่ายเดียว ทั้ง ๆ ที่นั่งอยู่บนคอช้าง กล่าวคาถานี้

ความว่า :-

" ผู้มีปัญญาทราม ได้ยศแล้ว ย่อม

ประพฤติส่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อม

ปฏิบัติเพื่อความเบียดเบียนตนและคนอื่น"

ดังนี้.

ในคาถานั้น มีความสังเขปดังนี้ ข้าแต่มหาราชเจ้า คนโง่ ๆ

คือคนที่ไร้ปัญญาเช่นพระองค์ ได้บริวารสมบัติแล้ว ย่อมประพฤติ

ความฉิบหายแก่ตน เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า คนโง่ ๆ นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 473

มัวเมาในยศแล้ว มิได้รู้การที่ควรทำและไม่ควรทำ ย่อมปฏิบัติ

เพื่อเบียดเบียนตนและคนอื่น ๆ คือย่อมดำเนินการเพื่อที่ยังความ

ลำบาก และความทุกข์เกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า เบียดเบียนเท่านั้นเอง.

นายหัตถาจารย์แสดงธรรมแก่พระราชา ด้วยคาถานี้

ด้วยประการฉะนี้ แล้วกราบทูลว่า คราวนี้เชิญเสด็จประทับ

อยู่เถิด แล้วพรางเหาะขึ้นในอากาศ ตรงไปพระนครพาราณสี

ทีเดียว หยุดอยู่ในอากาศที่ท้องพระลานหลวง ทั่วทั้งพระนคร

อื้อฉาวเอิกเกริกเป็นเสียงเดียวกันว่า ช้างเผือกของพระราชา

แห่งชาวเรามาทางอากาศ หยุดยืนอยู่ที่ท้องพระลานหลวง

ราชบุรุษทั้งหลายรีบกราบทูลพระราชา พระราชาเสด็จมาตรัส

ว่า ถ้าเจ้ามาเพื่อเป็นอุปโภคแก่เรา เชิญเจ้าลงยืนที่พื้นดินเถิด

พระโพธิสัตว์ก็ลงยืนที่แผ่นดิน อาจารย์ก็ก้าวลงถวายบังคม

พระราชา ได้รับพระดำรัสว่า พ่อคุณ พ่อมาจากไหน ? กราบ

ทูลว่า มาจากเมืองราชคฤห์พระเจ้าข้า แล้วกราบทูลเรื่องทั้งปวง

ให้ทรงทราบ พระราชาตรัสว่า พ่อคุณ การที่พ่อมาที่นี่ กระทำ

สิ่งที่น่าชื่นชมจริง ๆ ทรงหรรษาและดีพระทัย ตรัสให้ตระเตรียม

พระนคร ทรงตั้งพญาช้างในตำแหน่งมงคลหัตถี ทรงแบ่งราช-

สมบัติทั้งสิ้นออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งพระราชทานแก่พระ-

โพธิสัตว์ ส่วนหนึ่งแก่อาจารย์ ส่วนหนึ่งพระองค์ทรงครอบครอง

ก็นับจำเดิมแต่พระโพธิสัตว์มาแล้วนั่นแล ราชสมบัติในชมพูทวีป

ทั้งสิ้น ก็ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระราชา พระองค์เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 474

พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป ทรงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น

แล้วเสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า พระราชามคธในครั้งนั้น ได้มาเป็นเทวทัต พระเจ้า-

กรุงพาราณสีได้มาเป็นพระสารีบุตร นายหัตถาจารย์ได้มาเป็น

อานนท์ ส่วนช้างได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาทุมเมธชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 475

๓. นังคลีสชาดก

คนโง่กล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

[๑๒๓] "คนโง่ย่อมกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

ทุกอย่างได้ในที่ทุกแห่ง คนโง่นี้ไม่รู้จักเนยข้น

และงอนไถ ย่อมสำคัญเนยขึ้นและนมสดว่า

เหมือนงอนไถ"

จบ นังคลีสชาดกที่ ๓

อรรถกถานังคลีสชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภพระโลลุทายีเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น

ว่า อสพฺพตฺถคามึ วาจ ดังนี้.

ได้ยินว่า พระเถระนั้น เมื่อกล่าวธรรม มิได้รู้ข้อที่ควร

และไม่ควรว่า ในที่นี้ ควรกล่าวข้อนี้ ในที่นี้ไม่ควรกล่าวข้อนี้

ในงานมงคล ก็กล่าวอวมงคล กล่าวอนุโมทนาอวมงคล

นี้ว่า เปรตทั้งหลายพากันยืนอยู่ที่นอกฝาเรือน และที่กรอบ

ประตูและเช็ดหน้าเป็นต้น ครั้นถึงงานอวมงคล เมื่อกระทำ

อนุโมทนากลับกล่าวว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก

ได้คิดมงคลทั้งหลายกันแล้ว เป็นต้น แล้วกล่าวย้ำว่า ขอให้

พวกท่านสามารถกระทำมงคลเห็นปานนั้น ให้ได้ร้อยเท่า พันเท่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 476

เถิด ครั้นวันหนึ่งภิกษุทั้งหลาย พากันยกเรื่องนี้ขึ้นสนทนากัน

ในโรงธรรมว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระโลลุทายี มิได้รู้ข้อที่ควร

และไม่ควร กล่าววาจาที่ไม่น่ากล่าวทั่วไป ทุกหนทุกแห่ง พระ-

ศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? ครั้นภิกษุทั้งหลายกราบทูล

ให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้

เท่านั้นที่โลลุทายีนี้ มีไหวพริบช้า เมื่อกล่าวก็ไม่รู้ข้อที่ควร

และไม่ควร แม้ในครั้งก่อนก็ได้เป็นอย่างนี้ เธอเป็นผู้เลื่อนเปื้อน

เรื่อยทีเดียว แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาล

เจริญวัยแล้ว เล่าเรียนสรรพศิลปวิทยาในเมืองตักกสิลา ได้เป็น

อาจารย์ทิศาปาโมกข์ ในพระนครพาราณสี บอกศิลปวิทยาแก่

มาณพ ๕๐๐ ครั้งนั้น ในบรรดามาณพเหล่านั้น มีมาณพผู้หนึ่ง

มีไหวพริบย่อหย่อน (ปัญญาอ่อน) เลื่อนเปื้อน เป็นธัมมันเตวาสิก

เรียนศิลปะ แต่ไม่อาจจะเล่าเรียนได้ เพราะความเป็นคนทึบ

แต่ได้เป็นผู้มีอุปการะต่อพระโพธิสัตว์ ทำกิจทุก ๆ อย่างให้

เหมือนทาส อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์บริโภคอาหารเย็นแล้ว

นอนเหนือเตียงนอน กล่าวกะมาณพนั้น ผู้ทำการนวดมือ เท้า

และหลังให้ แล้วจะไปว่า พ่อคุณ เจ้าช่วยหนุนเท้าเตียงให้ก่อน

แล้วค่อยไปเถิด มาณพหนุนเท้าเตียงข้างหนึ่งแล้ว ไม่ได้อะไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 477

ที่จะหนุนเท้าเตียงอีกข้างหนึ่ง ก็เลยเอาวางไว้บนขาของตนจน

ตลอดคืน พระโพธิสัตว์ลุกขึ้นในตอนเช้า เห็นเขาแล้ว ถามว่า

พ่อคุณ เจ้านั่งทำไมเล่า ? เขาตอบว่า ท่านอาจารย์ขอรับ ผม

หาอะไรหนุนเท้าเตียงไม่ได้ เลยเอาวางไว้บนขาของตนนั่งอยู่

พระโพธิสัตว์ สลดใจ คิดว่า มาณพมีอุปการคุณแก่เรายิ่งนัก

ในกลุ่มมาณพมีประมาณเท่านี้ เจ้านี้คนเดียวโง่กว่าเพื่อน ไม่

อาจศึกษาศิลปะได้ ทำอย่างไรเล่าหนอ เราจึงจะทำให้เขา

ฉลาดขึ้นได้ ครั้นแล้วก็ได้เกิดความคิดขึ้นว่า มีอุบายอยู่อย่างหนึ่ง

เราต้องคอยถามมาณพนี้ ผู้ไปหาฟืนหาผักมาแล้วว่า วันนี้เจ้า

เห็นอะไร เจ้าทำอะไร เมื่อเป็นเช่นนี้ เขาจะต้องบอกเราว่า

วันนี้ผมเห็นสิ่งชื่อนี้ ทำกิจชื่อนี้ ครั้นแล้วเราต้องถามว่า ที่เจ้า

เห็น ที่เจ้าทำเช่นอะไร ? เขาจักบอกโดยอุปมาและโดยเหตุว่า

อย่างนี้ ด้วยวิธีนี้ เราให้เขากล่าวอุปมาและเหตุแล้ว จักทำให้

เขาฉลาดได้ ด้วยอุบายนี้ ท่านจึงเรียกเขามาบอกว่า พ่อมาณพ

ตั้งแต่บัดนี้ไป ในที่ที่เจ้าไปหาฟืนและหาผัก เจ้าได้เห็นได้กิน

ได้ดื่ม หรือได้เคี้ยวสิ่งใดในที่นั้น ครั้นมาแล้ว ต้องบอกสิ่งนั้น

แก่เรา.

เขารับคำว่า ดีละขอรับ วันหนึ่งไปป่าเพื่อหาฟืนกับมาณพ

ทั้งหลาย เห็นงูในป่า ครั้นมาแล้วก็บอกว่า ท่านอาจารย์ครับ

ผมเห็นงู ท่านอาจารย์ถามว่า พ่อคุณขึ้นชื่อว่างู เหมือนอะไร ?

ตอบว่า แม้นเหมือนงอนไถครับ อาจารย์ชมว่า ดีแล้ว ดีแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 478

พ่อคุณ อุปมาที่เจ้านำมาว่า งูเหมือนงอนไถเป็นที่พอใจละ

ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ดำริว่า อุปมาน่าพอใจ มาณพนำมาได้

เราคงอาจจะทำให้เขาฉลาดได้ ฝ่ายมาณพวันหนึ่งเห็นช้างในป่า

มาบอกว่า ท่านอาจารย์ครับ ผมเห็นช้าง อาจารย์ซักว่า ช้าง

เหมือนอะไรเล่า พ่อคุณ ? ตอบว่า ก็เหมือนงอนไถนั่นแหละ

พระโพธิสัตว์คิดว่า งวงช้างก็เหมือนงอนไถ อื่น ๆ เช่นงาเป็นต้น

ก็พอจะมีรูปร่างเช่นนั้นได้ แต่มาณพนี้ไม่อาจจำแนกกล่าวได้

เพราะตนโง่ ชะรอยจะพูดหมายเอางวงช้าง แล้วก็นิ่งไว้ อยู่มา

วันหนึ่ง มาณพได้กินอ้อยในที่ที่เขาเชิญไป ก็มาบอกว่า ท่าน-

อาจารย์ครับ วันนี้ผมได้เคี้ยวอ้อย เมื่อถูกซักว่า อ้อยเหมือน

อะไรเล่า ? ก็กล่าวว่า เหมือนงอนไถอย่างไรเล่าครับ อาจารย์

คิดว่า มาณพ กล่าวเหตุผลสมควรหน่อย แล้วคงนิ่งไว้ อีกวันหนึ่ง

ในที่ที่ได้รับเชิญ มาณพบางหมู่บริโภคน้ำอ้อยงบ กับนมส้ม

บางหมู่บริโภคน้ำอ้อยกับนมสด มาณพนั้นมาแล้วกล่าวว่า

ท่านอาจารย์ครับ วันนี้ผมบริโภคทั้งนมส้มและนมสด ครั้นถูก

ซักว่า นมส้ม นมสดเหมือนอะไร ? ก็ตอบว่า เหมือนงอนไถ

อย่างไรเล่าครับ อาจารย์กล่าวว่า มาณพนี้เมื่อกล่าวว่า งูเหมือน

งอนไถ เป็นอันกล่าวถูกต้องก่อนแล้ว แม้กล่าวว่า ช้างเหมือน

งอนไถ ก็ยังพอกล่าวได้ด้วยเล่ห์ที่หมายเอางวง แม้ที่กล่าวว่า

อ้อยเหมือนงอนไถ ก็ยังเข้าท่า แต่นมส้ม นมสดขาวอยู่เป็นนิจ

ทรงตัวอยู่ด้วยภาชนะ ไม่น่าจะกล่าวอุปมาในข้อนี้ได้ โดยประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 479

ทั้งปวงเลย เราไม่อาจให้คนเลื่อนเปื้อนผู้นี้ศึกษาได้ จึงกล่าว

คาถานี้ ความว่า :-

"คนโง่ ย่อมกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว ทุก

อย่างได้ในที่ทุกแห่ง คนโง่นี้ไม่รู้จักเนยขึ้น และ

งอนไถ ย่อมสำคัญ เนยขึ้นและนมสด ว่าเหมือน

งอนไถ" ดังนี้.

ในคาถานั้น มีความสังเขปดังนี้ :- วาจาใดที่ไม่เหมาะ

ในที่ทุกแห่งด้วยสามารถแห่งอุปมา วาจาที่ไม่เหมาะสมในที่

ทุกแห่งนั้น คนโง่พูดได้ทุกแห่ง เช่นถูกถามว่า นมส้มเหมือน

อะไร ? ก็ตอบทันทีว่า เหมือนงอนไถอย่างไรเล่า ? เมื่อพูด

อย่างนี้ เป็นอันไม่รู้จักทั้งนมส้ม ทั้งงอนไถ เหตุไร ? เพราะ

เหตุว่า แม้นมส้มเขายังสำคัญเป็นงอนไถไปได้ อีกนัยหนึ่ง

เพราะเขามาสำคัญทั้งนมส้มและนมสดว่า เหมือนงอนไถเสียได้

มาณพนี้ โง่ถึงอย่างนั้น พระโพธิสัตว์คิดว่า ประโยชน์อะไรด้วย

มาณพนี้ จึงบอกกล่าวแก่พวกอันเตวาสิกทั้งหลาย ให้เสบียง

แล้วส่งมาณพนั้นกลับไป.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า มาณพเลื่อนเปื้อนในครั้งนั้น ได้มาเป็นโลลุทายี ส่วน

อาจารย์ทิศาปาโมกข์ ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถานังคลีสชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 480

๔. อัมพชาดก

บัณฑิตควรพยายามร่ำไป

[๑๒๔] "บุรุษผู้เป็นบัณฑิต ควรพยายามร่ำไป

ไม่ควรเบื่อหน่าย จงดูผลแห่งความพยายาม

ผลมะม่วงทั้งหลายที่มีให้บริโภคอยู่ ก็ด้วยความ

พยายามทั้งนั้น ไม่ใช่ของที่มีมาได้เอง"

จบ อัมพชาดกที่ ๔

อรรถกถาอัมพชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภพราหมณ์ผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรคนหนึ่ง ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า วายเมเถว ปุริโส ดังนี้.

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นเป็นกุลบุตรชาวพระนครสาวัตถี

บวชถวายชีวิตในพระศาสนา ได้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร กระทำ

อาจริยวัตร อุปัชฌายวัตร และวัตรมีการตั้งน้ำดื่มสละน้ำใช้

ทั้งวัตรในโรงอุโบสถ สละวัตรในเรือนไฟเป็นต้น เป็นอันดี

ได้เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในมหาวัตรทั้ง ๑๔ และขันธกวัตร

ทั้ง ๘๐ กวาดวิหาร บริเวณโรงตึกทางไปวิหาร ให้น้ำดื่มแก่

พวกมนุษย์ พวกมนุษย์เลื่อมใสในความสมบูรณ์ด้วยวัตรของ

ท่าน พากันถวายภัตรประจำ ประมาณ ๕๐๐ ราย ลาภและสักการะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 481

เป็นอันมากบังเกิดขึ้น การอยู่อย่างผาสุข เกิดแล้วแก่ภิกษุเป็น

อันมาก เพราะอาศัยท่าน อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย พากันยก

เรื่องขึ้นสนทนากันในโรงธรรมว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุชื่อโน้น

ยังลาภสักการะอย่างมากมายให้เกิดแก่ตน เพราะถึงพร้อมด้วย

วัตร ความอยู่อย่างผาสุขเกิดแก่ภิกษุเป็นอันมาก เพราะอาศัย

เธอผู้เดียว พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุ

ทั้งหลายพากันกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในปางก่อน ภิกษุนี้ก็เคยเป็น

ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร แม้ในปางก่อน อาศัยเธอผู้เดียว ฤๅษี ๕๐๐

ไม่ต้องไปป่าหาผลาผลกันเลย เลี้ยงชีพด้วยผลาผลที่ภิกษุนี้

นำมา แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์

เจริญวัยแล้ว บวชเป็นฤาษี มีฤาษี ๕๐๐ เป็นบริวาร อาศัยอยู่ที่

เชิงเขา ครั้งนั้น ในป่าหิมพานต์ แห้งแล้ง ร้ายแรง น้ำดื่มใน

ที่นั้น ๆ ก็เหือดแห้ง พวกสัตว์ดิรัจฉานเมื่อไม่ได้น้ำดื่ม ก็พากัน

ลำบาก ครั้งนั้น ในบรรดาพระดาบสเหล่านั้น มีดาบสองค์หนึ่ง

เห็นความทุกข์เกิดแต่ความกระวนกระวาย ของพวกดิรัจฉาน

เหล่านั้น จึงตัดต้นไม้ต้นหนึ่งทำราง โพงน้ำใส่ให้เป็นน้ำดื่มแก่

พวกดิรัจฉานเหล่านั้น เมื่อพวกสัตว์ดิรัจฉานจำนวนมาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 482

มาประชุมดื่มน้ำ พระดาบสเลยไม่มีโอกาสที่จะไปหา แม้ท่าน

จะอดอาหาร ก็คงให้น้ำดื่มอยู่นั่นเอง ฝูงเนื้อพากันคิดว่า พระดาบส

นี้ให้น้ำดื่มแก่พวกเรา ไม่ได้โอกาสไปหาผลาผล ลำบากอย่าง

ยวดยิ่ง เพราะอดอาหาร เอาเถิดพวกเราจงมาทำกติกากัน

สัตว์เหล่านั้นจึงตั้งกติกาไว้ว่า ตั้งแต่บัดนี้ ผู้มาดื่มน้ำ ต้องคาบ

ผลไม้มาตามสมควรแก่กำลังของตน ตั้งแต่นั้นมาดิรัจฉาน

ตัวหนึ่ง ๆ ก็คาบผลไม้มีมะม่วง และขนุนเป็นต้น ที่อร่อย ๆ

นำมาตามสมควรแก่กำลังของตนเรื่อยมา ผลาผลที่พวกดิรัจฉาน

นำมาเพื่อพระดาบสองค์เดียว ได้มีประมาณบรรทุกเต็มสองเล่ม-

เกวียนครึ่ง พระดาบสทั้ง ๕๐๐ พลอยฉันผลาผลนั้นทั่วกัน ยัง

ต้องทิ้งเสียเป็นอันมาก พระโพธิสัตว์เห็นเหตุนั้นแล้วกล่าวว่า

อาศัยดาบสผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรผู้เดียว ดาบสมีประมาณเท่านี้

ยังอัตภาพให้เป็นไปได้ โดยไม่ต้องไปหาผลาผล ขึ้นชื่อว่า

ความเพียรเป็นกิจควรกระทำโดยแท้ แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"บุรุษผู้เป็นบัณฑิต ควรพยายามร่ำไป

ไม่ควรเบื่อหน่าย จงดูผลแห่งความพยายาม

ผลมะม่วงทั้งหลาย ที่มีให้บริโภคอยู่ ก็ด้วยความ

พยายามทั้งนั้น ไม่ใช่ของที่มีมาได้เอง" ดังนี้.

ในคาถานั้น มีความสังเขปดังนี้ บัณฑิตพึงพยายามเรื่อยไป

ไม่ควรท้อถอยเสีย ในการงานมีการบำเพ็ญวัตรเป็นต้น ของตน

เพราะเหตุไร ? เพราะความพยายามที่ไร้ผล ไม่มีเลย ด้วยเหตุนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 483

พระมหาสัตว์เมื่อเตือนคณะฤๅษีว่า ธรรมดาความเพียรย่อม

มีผลเรื่อยไป จึงกล่าวว่า เชิญดูผลแห่งความพยายามเถิด เช่น

อย่างไรเล่า ? เช่นอย่างที่ฤาษีทั้ง ๕๐๐ ฉันผลไม้มีมะม่วงเป็นต้น

ได้อย่างไม่อั้น ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อัมพ เป็นเพียงยกมา

เป็นตัวอย่าง หมายความว่า ก็ผลาผลที่เดียรัจฉานเหล่านั้นนำมา

มีประการต่าง ๆ แต่กล่าวถึงมะม่วงเป็นต้น ด้วยอำนาจเป็นผลไม้

มากมายก่ายกองกว่าผลไม้เหล่านั้น ข้อที่ฤๅษีทั้ง ๕๐๐ ไม่ต้อง

ไปป่าด้วยตนเอง พากันฉันผลมะม่วงทั้งหลาย ซึ่งดิรัจฉาน

ทั้งหลาย นำมาเพื่อประโยชน์แก่ดาบสนั้น นี้เป็นผลแห่งความ

พยายาม ก็แลการที่ได้ฉันนั้นเล่า รู้กันเองไม่ต้องมีใครบอก หมาย

ความว่า ที่จะต้องถือเอาด้วยการบอกกล่าวว่า นี้ อย่างนี้ ดังนี้

เป็นอันไม่มีกันละ เชิญดูผลไม้นั้น อันประจักษ์ชัดกันเถิด

พระมหาสัตว์ได้ให้โอวาทแก่ฤาษี ด้วยประการฉะนี้.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า ดาบสผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุนี้

ส่วนศาสดาของคณะ ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอัมพชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 484

๕. กฏาหกชาดก

ว่าด้วยคนขี้โอ่

[๑๒๕] "ผู้ใดไปสู่ชนบทอื่น ผู้นั้นพึงกล่าวอวด

แม้มากมาย ดูก่อนกฏาหกะ เจ้าของเงินจะตาม

มาประทุษร้ายเอา เชิญท่านบริโภคอาหารเสีย

เถิด"

จบ กฏาหกชาดกที่ ๕

อรรถกถากฏาหกชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเขตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้มักโอ่รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า พหุมฺปิ โส วิกตฺเถยฺย ดังนี้.

เรื่องของภิกษุนั้น เช่นกับเรื่องที่กล่าวแล้วในหนหลัง

นั่นแล.

แปลกแต่ว่า ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราช-

สมบัติ อยู่ใน พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น

เศรษฐีผู้มีสมบัติมาก ภรรยาของท่านคลอดกุมาร แม้ทาสีของ

ท่านก็คลอดบุตรในวันนั้นเหมือนกัน เด็กทั้งสองนั้นเติบโตมา

ด้วยกันทีเดียว เมื่อบุตรท่านเศรษฐีเรียนหนังสือก่อน แม้ลูกทาส

ของท่านก็ถือกระดานชนวนตามไป พลอยศึกษาหนังสือกับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 485

บุตรเศรษฐีนั้นด้วย ได้เขียนอ่านสองสามครั้ง ลูกทาสนั้นก็ฉลาด

ในถ้อยคำ ฉลาดในโวหารโดยลำดับ เป็นหนุ่มมีรูปงาม โดยนาม

ชื่อ กฏาหกะ เขาทำหน้าที่เป็นเสมียนคลังพัสดุ ในเรือนของ

ท่านเศรษฐี ดำริว่า คนเหล่านี้คงจะไม่ใช้ให้เรากระทำหน้าที่

เป็นเสมียนคลังพัสดุตลอดไป พอเห็นโทษอะไร ๆ เข้าหน่อย

ก็คงจะเฆี่ยน จองจำ ทำตราเครื่องหมาย แล้วก็ใช้สอยทำนอง

ทาสต่อไป ก็ที่ชายแดนมีเศรษฐีผู้เป็นสหายของท่านเศรษฐีไปใน

อยู่ ถ้ากระไร เราถือหนังสือด้วยถ้อยคำของท่านเศรษฐีไปใน

ที่นั้น บอกว่าเราเป็นลูกท่านเศรษฐี ลวงเศรษฐีนั้นแล้วขอ

ธิดาของท่านเศรษฐีเป็นคู่ครอง พึงอยู่อย่างสบาย เขาถือ

หนังสือไปด้วยตนเอง เขียนว่า ข้าพเจ้าส่งลูกชายของข้าพเจ้า

ชื่อโน้น ไปสู่สำนักของท่าน ขึ้นชื่อว่าความสัมพันธ์ฐาน

เกี่ยวดองกัน ระหว่างข้าพเจ้ากับท่าน และระหว่างท่านกับ

ข้าพเจ้า เป็นการสมควร เพราะฉะนั้น ขอท่านไปโปรดยกธิดา

ของท่านให้แก่ทารกนี้ แล้วให้เขาอยู่ในที่นั้นแหละ แม้ข้าพเจ้า

ได้โอกาสแล้ว จึงจะมา ดังนี้ เเล้วเอาตราของท่านเศรษฐี

นั่นแหละประทับ ถือเอาเสบียง และของหอม กับผ้าเป็นต้น

ไปตามชอบใจ ไปสู่ปัจจันตชนบท พบท่านเศรษฐี ไหว้แล้วยืนอยู่

ครั้งนั้นท่านเศรษฐีถามเขาว่า มาจากไหนเล่า พ่อคุณ ? ตอบว่า

มาจากพระนครพาราณสี ถามว่า พ่อเป็นลูกใคร ? ตอบว่า

เป็นบุตรของพาราณสีเศรษฐีขอรับ ถามว่า มาด้วยต้องการอะไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 486

เล่า พ่อคุณ ? ในขณะนั้น กฏาหกะก็ให้หนังสือ พร้อมกับกล่าวว่า

ท่านดูหนังสือนี้แล้วจักทราบ ท่านเศรษฐีอ่านหนังสือแล้ว ดีใจว่า

คราวนี้เราจะอยู่อย่างสบายละจัดแจงยกธิดาแต่งให้ บริวารของ

ท่านเศรษฐีมีเป็นอันมาก ในเมื่อมีผู้น้อมนำยาคูและของเคี้ยว

เป็นต้นเข้าไปให้ หรือน้อมนำผ้าที่อบด้วยของหอมใหม่ ๆ เข้าไป

ให้ ก็ติเตียนข้าวยาคูเป็นต้นว่า โธ่เอ๋ย คนบ้านนอก ต้มยาคูกัน

แบบนี้ ทำของเคี้ยวก็อย่างนี้ หุงข้าวกันแบบนี้เอง ติเตียนผ้าและ

กรรมกรเป็นต้นว่า เพราะเป็นคนบ้านนอกนั่นเอง พวกคนเหล่านี้

จึงไม่รู้จักใช้ผ้าใหม่ ๆ ไม่รู้จักอบของหอม ไม่รู้จักร้อยกรอง

ดอกไม้.

พระโพธิสัตว์ เมื่อไม่เห็นทาส ก็ถามว่า กฏาหกะ เราไม่

พบหน้าเลย มันไปไหน ช่วยกันตามมันทีเถิด ดังนี้แล้ว ใช้ให้คน

เที่ยวหาโดยรอบ บรรดาคนเหล่านั้น คนหนึ่งไปที่นั้นเห็นเขาแล้ว

จำเขาได้ เขาไม่รู้ว่าตนมา ไปบอกแก่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์

ฟังเรื่องนั้นแล้วคิดว่า มันทำไม่สมควรเลย ต้องไปจับมา กราบทูล

พระราชา ออกจากบ้านไปด้วยบริวารเป็นอันมาก ข่าวปรากฏ

ไปทั่วว่า ได้ยินว่าท่านเศรษฐีไปสู่ปัจจันตชนบท กฏาหกะฟังว่า

ท่านเศรษฐีมา คิดว่าท่านคงไม่มาด้วยเรื่องอื่น ต้องมาด้วยเรื่อง

เรานั่นแหละ ก็ถ้าเราจักหนีไปเสีย จักไม่อาจกลับมาได้อีก ก็

อุบายนั้นยังพอมี เราต้องไปพบกับท่านผู้เป็นนาย แล้วกระทำ

กิจของทาส ทำให้ท่านโปรดปรานให้จนได้ จำเดิมแต่นั้น เขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 487

กล่าวอย่างนี้ในท่ามกลางบริษัทว่า พวกคนพาลอื่น ๆ ไม่รู้คุณ

ของมารดาบิดา เพราะตนเป็นคนพาล ในเวลาที่ท่านบริโภค ก็

ไม่กระทำความนอบน้อม บริโภครวมกับท่านเสียเลย ส่วนเรา

ในเวลามารดาบิดาบริโภค ย่อมคอยยกสำรับเข้าไป ยกกระโถน

เข้าไป ยกของบริโภคเข้าไปให้ บางทีก็หาน้ำดื่มให้ บางทีก็

พัดให้ เข้าไปยืนอยู่ใกล้ ๆ ดังนี้แล้ว ประกาศกิจที่พวกทาสต้อง

กระทำแก่นายทุกอย่าง ตลอดถึงการถือกระออมน้ำไปในที่ลับ

ในเวลาที่นายถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ครั้นให้บริษัทกำหนด

อย่างนี้แล้ว เวลาที่พระโพธิสัตว์มาใกล้ปัจจันตชนบท ก็บอกกับ

เศรษฐีผู้เป็นพ่อตาว่า คุณพ่อครับ ได้ยินว่า บิดาของผมมา

เพื่อพบคุณพ่อ คุณพ่อโปรดให้เขาเตรียมขาทนียโภชนียาหาร

เถิดครับ ผมจักถือเอาเครื่องบรรณาการสวนทางไป พ่อตาก็

รับคำว่า ดีแล้วพ่อ.

กฏาหกะถือเอาบรรณาการไปเป็นอันมาก เดินทางไป

พร้อมด้วยบริวารกลุ่มใหญ่ ไหว้พระโพธิสัตว์แล้วให้บรรณาการ

ฝ่ายพระโพธิสัตว์รับบรรณาการ กระทำปฏิสันถารกับเขา ถึง

เวลาบริโภคอาหารเช้า ก็ให้ตั้งกองพัก แล้วเข้าไปสู่ที่ลับเพื่อ

ถ่ายสรีรวลัญชะ กฏาหกะให้บริวารของตนกลับแล้ว ถือกระออม-

น้ำ ไปสำนักพระโพธิสัตว์ เมื่อเสร็จอุทกกิจแล้ว ก็หมอบที่เท้า

ทั้งสอง กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นนาย กระผมจักให้ทรัพย์แก่

ท่าน เท่าที่ท่านปรารถนา โปรดอย่าให้ยศของกระผมเสื่อมไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 488

เลย ขอรับ พระโพธิสัตว์เลื่อมใสในความสมบูรณ์ด้วยวัตรของ

เขา ปลอบโยนว่า อย่ากลัวเลย อันตรายจากสำนักของเราไม่มี

แก่เจ้าดอก แล้วเข้าสู่ปัจจันตนคร สักการะอย่างมากได้มีแล้ว

ฝ่ายกฏาหกะก็กระทำกิจที่ทาสต้องทำแก่ท่านตลอดเวลา ครั้งนั้น

ปัจจันตเศรษฐีกล่าวกะพระโพธิสัตว์ผู้นั่งอย่างสบายในเวลาหนึ่ง

ว่า ข้าแต่ท่านเศรษฐี พอผมเห็นหนังสือของท่านเข้าเท่านั้น

ก็ยกบุตรสาวให้แก่บุตรของท่านทีเดียว พระโพธิสัตว์ก็กระทำ

กฏาหกะให้เป็นบุตรเหมือนกัน กล่าวถ้อยคำเป็นที่รักอันคู่ควรกัน

ให้เศรษฐียินดีแล้ว ตั้งแต่นั้นก็ไม่มีใครสามารถมองหน้ากฏาหกะ

ได้เลย อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์เรียกธิดาเศรษฐีมาหากล่าวว่า

มานี่เถิดแม้คุณ ช่วยหาเหาบนศีรษะของเราหน่อยเถิด ดังนี้แล้ว

กล่าวถ้อยคำอันเป็นที่รัก กะนางผู้มายืนหาเหาให้ ถามว่า แม่คุณ

ลูกของเราไม่ประมาทในสุขทุกข์ของเจ้าดอกหรือ เจ้าทั้งสอง

ครองรักสมัครสมานกันดีอยู่หรือ ? นางตอบว่า ข้าแต่คุณพ่อ

มหาเศรษฐี บุตรของท่านไม่มีข้อตำหนิอย่างอื่นดอก นอกจาก

จะคอยจู้จี้เรื่องอาหารเท่านั้น ท่านเศรษฐีกล่าวว่า แม่คุณ เจ้าลูก

คนนี้ มีปกติกินยากเรื่อยมาทีเดียว เอาเถิด พ่อจะให้มนต์สำหรับ

ผูกปากมันไว้แก่เจ้า เจ้าจงเรียนมนต์นั้นไว้ให้ดี เมื่อลูกเราบ่น

ในเวลากินข้าวละก็ เจ้าจงยืนกล่าวตรงหน้า ตามข้อความที่เรียน

ไว้ แล้วให้นางเรียนคาถา พักอยู่สองสามวัน ก็กลับพระนคร-

พาราณสีตามเดิม ฝ่ายกฏาหกะ ขนขาทนีย โภชนียาหารมากมาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 489

ตามไปส่งให้ทรัพย์เป็นอันมากแล้วกราบลากลับ ตั้งแต่เวลาที่

พระโพธิสัตว์กลับไปแล้ว เขายิ่งเย่อหยิ่งมากขึ้น วันหนึ่ง เมื่อ

ธิดาเศรษฐีน้อมนำโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ เข้าไปให้ ถือทัพพี

คอยปรนนิบัติอยู่ เขาเริ่มติเตียนอาหาร เศรษฐีธิดาจึงกล่าว

คาถานี้ ตามทำนองที่เรียนแล้ว ในสำนักของพระโพธิสัตว์ ว่า :-

"ผู้ใดไปสู่ชนบทอื่น ผู้นั้นพึงกล่าวอวด

แม้มากมาย ดูก่อนกฏาหกะ เจ้าของเงินจะติดตาม

มาประทุษร้ายเอา เชิญท่านบริโภคอาหารเสีย

เถิด" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พทุมฺปิ โส วิกตฺเถยฺย อญฺ

ชนปท คโต ความว่า ผู้ใดไปสู่ชนบทอื่น จากชาติภูมิของตน

ในที่ใดไม่มีคนรู้กำเนิดของเขา ผู้นั้นพึงจู้จี้ คือกล่าวคำข่มแม้

มากก็ได้.

บทว่า อนฺวาคนฺตฺวาน ทูเสยฺย ความว่า เพราะย้อนทาง

ไปทำกิจของทาสให้แก่นายแล้ว เจ้าจึงพ้นจากการถูกเฆี่ยน

ด้วยหวาย อันจะถลกหนังสันหลังขึ้น และการตีตราทำเครื่องหมาย

ทาสไปคราวหนึ่งก่อน ถ้าเจ้าขืนทำไม่ดี ในคราวหลังเขาย้อน

กลับมา นายของเจ้าพึงตามประทุษร้ายได้ คือมาตามตัวถึง

เรือนนี้ แล้วประทุษร้ายทำลายเจ้าอีกได้ ด้วยการเฆี่ยนด้วย

หวาย ด้วยการตีตราเครื่องหมายทาส และด้วยการประกาศ

กำเนิดก็ได้ เหตุนั้น กฏาหกะเอ๋ย เจ้าจงละความประพฤติไม่ดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 490

นี้เสีย บริโภคโภคะทั้งหลายเถิด อย่าทำให้ความเป็นทาสของตน

ปรากฏแล้วเป็นผู้ต้องเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้แลเป็นอรรถาธิบาย

ของท่านเศรษฐี.

ส่วนธิดาเศรษฐี. ไม่รู้ความหมายนั้น กล่าวได้คล่องแต่

พยัญชนะ ตามข้อขอดที่เรียนมาเท่านั้น กฏาหกะคิดว่า ท่าน-

เศรษฐีบอกเรื่องโกงของเราแล้ว คงบอกเรื่องทั้งหมดแก่นางนี้

แล้วเป็นแน่ ตั้งแต่นั้นก็ไม่กล้าติเตียนภัตรอีก ละมานะได้ บริโภค

ตามมีตามได้ ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า กฏาหกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้มักโอ้อวด ส่วน

พาราณสีเศรษฐีได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากฏาหกชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 491

๖. อสิลักขณชาดก

ว่าด้วยเหตุอย่างเดียวกัน คนได้ผลต่างกัน

[๑๒๖] "เหตุอย่างเดียวกันนั่นแหละ เป็นผลดีแก่

คนหนึ่ง แต่เป็นผลร้ายแก่อีกคนหนึ่งได้ เพราะ

ฉะนั้นเหตุอย่างเดียวกัน มิใช่ว่าจะเป็นผลดีไป

ทั้งหมด และมิใช่ว่าจะเป็นผลร้ายเสมอไป"

จบ อสิลักขณชาดกที่ ๖

อรรถกถาอสิลักขณชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภพราหมณ์ผู้ตรวจลักษณะดาบของพระเจ้าโกศล

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ตเถเวกสฺส กลฺยาณ

ดังนี้ :-

ได้ยินว่าพราหมณ์นั้น ในเวลาที่พวกช่างเหล็ก นำดาบ

มาถวายพระราชา ก็สูดดมดาบ แล้วชี้ถึงลักษณะดีชั่วของดาบ

เขาได้ลาภจากมือของช่างดาบพวกใด ก็กล่าวดาบของช่างพวกนั้น

ว่าสมบูรณ์ด้วยลักษณะ ประกอบด้วยมงคล ไม่ได้จากมือของ

ช่างพวกใด ก็ติเตียนดาบของช่างพวกนั้นว่า อัปลักษณ์ ครั้งนั้น

ช่างดาบคนหนึ่งกระทำดาบแล้ว ใส่พริกป่นอย่างละเอียดในฝัก

นำดาบมาถวายพระราชา พระราชารับสั่งหาพราหมณ์มาตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 492

ว่า ท่านจงพิจารณาดูดาบทีเถิด เมื่อพราหมณ์ชักดาบออกมาดม

พริกป่นเข้าจมูก ทำให้เกิดอยากจามขึ้น เมื่อพราหมณ์กำลังจาม

อยู่นั่นแหละ จมูกก็ถูกคบดาบบาดขาดเป็นสองชิ้น ข้อที่พราหมณ์

นั้นจมูกขาด รู้กันทั่วในหมู่สงฆ์ อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย

พากันยกเรื่องขึ้นสนทนาในโรงธรรมว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยิน

ว่า พราหมณ์ผู้ตรวจลักษณะดาบของพระราชา ดูลักษณะดาบ

เลยทำให้จมูกขาดไปเสียแล้ว พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วย

เรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พราหมณ์

นั้นดมดาบถึงจมูกขาด แม้ในกาลก่อนก็เคยถึงจมูกขาดมาแล้ว

ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระองค์ได้มีพราหมณ์ผู้ตรวจลักษณะดาบ

เหมือนกัน เรื่องทุกอย่าง ก็เช่นเดียวกันกับเรื่องปัจจุบันนั้นแล

แปลก แต่ว่า พระราชา ได้พระราชทานหมอแก่พราหมณ์

ให้รักษา จนยอดจมูกหายเป็นปกติ ให้ทำจมูกเทียมด้วยครั่ง

ใส่แทน แล้วทรงตั้งพราหมณ์เป็นข้าเฝ้าตำแหน่งเดิม นั่นแหละ

ก็พระเจ้าพาราณสีไม่มีโอรส มีแต่พระธิดาองค์หนึ่ง กับพระ-

ราชภาคิไนย พระองค์ทรงเลี้ยงพระราชธิดา และพระราชภาคิไนย

ไว้ในสำนักของพระองค์ทีเดียว เมื่อพระราชธิดาเเละพระราช-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 493

ภาคิไนย ทรงจำเริญร่วมกันมา ต่างฝ่ายต่างมีพระทัยปฏิพัทธ์กัน

ฝ่ายพระราชา ตรัสเรียกอำมาตย์ทั้งหลายมา รับสั่งว่า หลาน

ของเราจักได้เป็นเจ้าของราชสมบัตินี้ เพียงผู้เดียว เราจักยก

ธิดาให้เขาแล้วทำการอภิเษกกันเลยทีเดียว แล้วทรงพระดำริ

ใหม่ว่า หลานของเราก็คงเป็นญาติของเราโดยประการทั้งปวง

เราจักนำราชธิดาอื่นมาให้เขาแล้วทำการอภิเษก ยกธิดาของเรา

ให้แก่พระราชาองค์อื่น ด้วยอุบายวิธีนี้ ญาติของเราจักเป็น

เจ้าของราชสมบัติทั้งสองพระนคร ท้าวเธอทรงปรึกษากับอำมาตย์

ทั้งหลาย รับสั่งว่า ควรจะแยกคนทั้งสองนั้นเสีย แล้วรับสั่งให้

พระราชภาคิไนย ประทับในตำหนักหนึ่ง พระราชธิดาประทับ

ในตำหนักหนึ่ง พระราชภาคิไนย และพระราชธิดาทั้งคู่นั้น

มีพระชนม์ถึง ๑๖ พรรษาด้วยกันแล้ว ยิ่งมีพระทัยปฏิพัทธ์

ต่อกันยิ่งนัก พระราชกุมารทรงพระดำริว่า ด้วยอุบายอย่างไร

เล่าหนอ เราจึงจะอาจพาธิดาของเสด็จลุง ออกจากพระราชวังได้

เห็นว่า มีอุบายอยู่อย่างหนึ่ง จึงรับสั่งเรียกหญิงแม่มดผู้ใหญ่

เข้ามาเฝ้า ประทานสิ่งของมีค่าพันกหาปณะแก่นาง เมื่อนาง

กราบทูลถามว่า จะให้หม่อมฉันทำอะไร ? จึงรับสั่งว่า แม่เจ้า

เมื่อท่านทำการในวันนี้ เรื่องที่ชื่อว่า ไม่สำเร็จไม่มี ท่านจงอ้าง

เหตุอะไร ๆ ก็ได้ ทำให้เสด็จลุงของฉันพาธิดาออกจากพระ-

ราชวังให้จงได้ก็แล้วกัน หญิงแม่มดรับคำว่า สำเร็จเพคะ

หม่อมฉันจะเข้าเฝ้าพระราชา แล้วจักทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่สมมติเทพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 494

กาฬกรรณีกำลังกุมพระธิดาอยู่ ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้

ไม่มีทางที่มันจะหันกลับไปแล้ว (อย่างอื่น) หม่อมฉันขอพา

พระธิดาขึ้นรถไปในวันโน้น จักบุรุษถืออาวุธจำนวนมากตาม

ไปด้วย ไปสู่ป่าช้าด้วยบริวารเป็นอันมาก ให้มนุษย์ที่ตายแล้ว

นอนเหนือเตียงในป่าช้า อยู่เบื้องล่างของตั่งอันเป็นมลฑลพิธี

ให้พระราชธิดาประทับนั่งเหนือเตียงชั้นบน ให้ทรงสรงสนาน

ด้วยน้ำหอมประมาณ ๑๕๐ หม้อ ยังตัวกาฬกรรณีให้ลอยไป

ครั้นหม่อมฉันกราบทูลอย่างนี้แล้ว จักพาพระราชธิดาไปป่าช้า

ได้ ในวันที่พวกหม่อมฉันจะไปป่าช้านั้น พระองค์ก็ถือเอาพริกป่น

หน่อยหนึ่ง แวดล้อมด้วยผู้คนถืออาวุธของพระองค์ขึ้นไปสู่ป่าช้า

เสียก่อน หยุดรถไว้ที่ประตูป่าช้าด้านหนึ่งก่อน ให้พวกคนที่

ถืออาวุธ เข้าไปในป่าช้าเสีย พระองค์เองเสด็จไปสู่แท่นพิธี

มณฑลในป่าช้า ทำเป็นคนตายที่ที่เขาคลุมไว้ บรรทมอยู่ หม่อมฉัน

มาถึงที่นั้น ก็จักวางเตียงคล่อมพระองค์ไว้ ยกพระราชธิดาขึ้น

วางไว้บนเตียง ขณะนั้นพระองค์ก็เอาพริกป่นใส่พระนาสิก ก็จะ

ทรงจามสอง-สามครั้ง ในเวลาที่พระองค์ทรงจาม หม่อมฉัน

จะละพระราชธิดาไว้ แล้วหนีไป ตอนนั้น พระองค์จงยังพระ-

ราชธิดาให้สรงสนานพระเศียร แม้พระองค์เองก็สรงสนาน

พระเศียรเสียด้วย แล้วพาพระธิดาไปสู่ตำหนักของพระองค์

พระราชกุมารรับสั่งว่า อุบายเหมาะจริง ดีแท้ ๆ ฝ่ายหญิงแม่มด

ก็ไปกราบทูลความนั้นแด่พระราชา พระราชาทรงรับสั่งอนุญาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 495

แล้วไปทูลความนั้นให้พระราชธิดาทรงทราบไว้ แม้พระราชธิดา

ก็รับคำ ในวันที่จะออกไป หญิงแม่มดให้สัญญาณแก่พระกุมาร

แล้วไปสู่ป่าช้าด้วยบริวารจำนวนมาก กล่าวขู่เพื่อให้เกิดความ

กลัว แก่พวกมนุษย์ที่อารักขา ว่าในเวลาที่เราวางพระธิดาลง

บนเตียง คนตายที่อยู่ใต้เตียงจักจาม และครั้นแล้วจะลุกออกจาก

ใต้เตียง เห็นผู้ใดก่อน จักจับผู้นั้นไป พวกท่านพึงระวังตัวให้ดี

อย่าประมาท พระราชกุมารไปถึงก่อนแล้วบรรทมอยู่ที่นั้น โดย

นัยดังกล่าวแล้ว แม่มดใหญ่อุ้มพระธิดาขึ้นเดินไปสู่แท่นมณฑล

กราบทูลปลอบว่า หม่อมแม่อย่ากลัวเลย ให้สัญญาณแล้ววางลง

บนเตียง ขณะนั้น พระราชกุมารก็เอาพริกป่นใส่จมูกจามขึ้น

พอพระราชกุมารจามขึ้นเท่านั้น แม่มดใหญ่ก็ละพระราชธิดาไว้

ร้องเสียงดังลั่น หนีไปก่อนคนทั้งหมด พอแม่มดใหญ่หนีไปแล้ว

ก็ไม่มีใครแม้คนเดียว จะชื่อว่า สามารถรั้งรออยู่ได้ ทุกคน

ต่างทิ้งอาวุธที่ถือมา พากันหนีไปสิ้น พระราชกุมารทำทุกอย่าง

ตามที่ปรึกษาตกลงกันไว้ แล้วพาพระราชธิดาไปสู่นิเวศน์ของ

พระองค์ หญิงแม่มดไปกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระราชา พระราชา

ทรงพระดำริว่า แม้โดยปกติเล่า เราก็เลี้ยงนางไว้เพื่อยกให้

แก่เธออยู่แล้ว ก็เป็นเหมือนทิ้งเนยใสลงในข้าวปายาส จึงทรง

รับรอง ในเวลาต่อมา ก็ทรงมอบราชสมบัติแด่พระภาคิไนย

ทรงตั้งพระราชธิดาเป็นมหาเทวี พระภาคิไนยก็ได้อยู่ร่วมสมัคร

สังวาสกับพระราชธิดานั้น ครองราชสมบัติโดยธรรม พราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 496

ผู้ตรวจลักษณะดาบ ก็ได้เป็นอุปัฏฐากของพระองค์ อยู่มา

วันหนึ่ง เมื่อพราหมณ์เข้าเฝ้าพระราชา ยืนเฝ้าสวนดวงอาทิตย์

ครั่งละลายจมูกเทียมตกลงที่พื้น พราหมณ์ต้องยืนก้มหน้าด้วย

ความละอาย ครั้งนั้น พระราชาทรงพระสรวลพราหมณ์ ตรัสว่า

ท่านอาจารย์ อย่าได้คิดเลย ธรรมดาการจามได้เป็นผลดีแก่

คนหนึ่ง เป็นผลร้ายแก่คนหนึ่ง ท่านจามจมูกขาด ส่วนฉันจาม

ได้ธิดาของเสด็จลุง แล้วได้ราชสมบัติ แล้วตรัสพระคาถานี้

ความว่า :-

"เหตุอย่างเดียวกันนั่นแหละ เป็นผลดี

แก่คนหนึ่ง แต่กลับเป็นผลร้ายแก่อีกคนหนึ่งได้

เพราะฉะนั้น อย่างเดียวกัน มิใช่ว่า จะเป็น

ผลดีไปทั้งหมด และมิใช่ว่าจะเป็นผลร้ายไป

ทั้งหมด" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเถเวกสฺส ได้แก่ ตเทเวกสฺส

อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็ว่าอย่างนี้เหมือนกัน แม้ในบทที่สอง ก็มีนัยนี้

เหมือนกัน.

พระราชาทรงนำเหตุการณ์นั้นมา ด้วยคาถานี้ ด้วยประการ

ฉะนี้ ทรงกระทำบุญมีให้ท่านเป็นต้น แล้วเพื่อไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงประกาศความที่แห่งความดี ความชั่ว

ที่โลกสมมติกันแล้ว เป็นการไม่แน่นอนด้วยพระเทศนานี้ แล้ว

ทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์ผู้ตรวจลักษณะดาบในครั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 497

ได้มาเป็นพราหมณ์ผู้ตรวจลักษณะดาบในครั้งนี้ ส่วนพระราชา

ผู้เป็นภาคิไนยในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอสิลักขณชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 498

๗. กลัณฑุกชาดก

ว่าด้วยมรรยาทส่อสกุล

[๑๒๗] "สกุลของเจ้าไม่ใช่สกุลสูง เราผู้เที่ยว

อยู่ในป่า ก็ยังรู้ได้ นายของเจ้าทราบแน่แล้ว ก็

พึงจับเจ้าไป ดูราเจ้ากลัณฑุกะ เจ้าจงดื่มนมเสีย

เถิด"

จบ กลัณฑุกชาดกที่ ๗

อรรถกถากลัณฑุกชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้มักโอ้อวดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า เต เทสา ตานิ วตฺถูนิ ดังนี้.

เรื่องแม้ทั้งสองในชาดกนั้น ก็เช่นเดียวกันกับกฏาหกชาดก

นั้นแหละ แต่ในชาดกนี้ ทาสของพาราณสีเศรษฐีผู้นี้

มีชื่อว่า กลัณฑุกะ ในเวลาที่เขาหนีไปครอบครองธิดาของปัจจันต-

เศรษฐี อยู่ด้วยบริวารเป็นอันมาก พาราณสีเศรษฐี แม้จะให้คน

เที่ยวสืบหา ก็ไม่รู้ที่ที่เขาไป จึงส่งนกแขกเต้าผู้อยู่กับตนไปว่า

ไปเถิด ไปสืบหากลัณฑุกะให้ทีเถิด ลูกนกแขกเต้าเที่ยวไปเรื่อย ๆ

จนถึงนครนั้น ในกาลนั้น กลัณฑุกะประสงค์จะเล่นน้ำ ให้คนถือ

เอาดอกไม้ของหอมเครื่องลูบไล้กับขาทนียะ และโภชนียะเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 499

อันมากไปสู่แม่น้ำ นั่งเรือกับเศรษฐีธิดาเล่นน้ำอยู่ ก็ในประเทศ

ถิ่นฐานนั้น เมื่อเจ้านายใหญ่โต เล่นกีฬาในน้ำจะดื่มนมสด แกล้ม

ด้วยเภสัชที่มีรสเข้ม เพราะเหตุนั้น เมื่อพวกนั้นเล่นน้ำตลอดวัน

ความหนาวก็ไม่เบียดเบียนได้ แต่กลัณฑุกะนี้ ถือถ้วยนมสด

บ้วนปาก แล้วถ่มนมสดนั้นทิ้งเสีย แม้เมื่อจะถ่มทิ้ง ก็ไม่ถ่มลง

ในน้ำ ถ่มลงบนหัวของเศรษฐีธิดาอีกด้วย ฝ่ายลูกนกแขกเต้า

บินถึงฝั่งแม่น้ำ ก็เกาะอยู่ที่กิ่งมะเดื่อกิ่งหนึ่ง ค้นดู ก็จำกลัณฑุกะได้

เห็นกำลังถ่มรดศีรษะธิดาเศรษฐีอยู่ ก็กล่าวว่า แนะเจ้าทาส

กลัณฑุกะชาติชั่ว จงสำนึกถึงชาติกำเนิด แลพื้นเพของตนบ้าง

เถิด อย่าเอานมสดมาล้างปากแล้วถ่มรดศีรษะ เศรษฐีธิดา

ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ จำเริญด้วยความสุขเลย ช่างไม่รู้ประมาณ

ตนเลยนะ แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"สกุลของเจ้าไม่ใช่สกุลสูง เราผู้เที่ยว

อยู่ในป่าก็ยังรู้ได้ นายของเจ้าทราบแน่แล้ว ก็

พึงจับเจ้าไป ดูราเจ้ากลัณฑุกะ เจ้าจงดื่มน้ำนม

เสียเถิด" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ประเทศเหล่านั้น พื้นที่เหล่านั้น

ดังนี้ ลูกนกแขกเต้ากล่าวหมายถึงท้องแห่งมารดา ในข้อนี้มี

อธิบายดังนี้ว่า เจ้าอยู่ประดิษฐานอยู่แล้วในประเทศเหล่าใด

ประเทศเหล่านั้นมิใช่เป็นท้องของอิสระชน มีธิดากษัตริย์เป็นต้น

ดอก ที่แท้เจ้าอยู่แล้ว เจริญเติบโตแล้วในท้องนางทาสีต่างหาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 500

ด้วยบทว่า อหญฺจ วนโคจโร นี้ นกแขกเต้าแสดงความว่า

ถึงเราจะเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ก็ยังรู้ความนี้เลย.

บทว่า อนุวิจฺจ โข ต คณฺเหยฺยุ ความว่า เมื่อเราไปบอก

กล่าวถึงการประพฤติมารยาทอันเลวทรามอย่างนี้แล้ว พวก

เจ้านายของเจ้า พิจารณาดูรู้แล้ว พึงจับเจ้าไป คือเกาะกุมตัว

เจ้าไปเฆี่ยน และทำการตีตราเครื่องหมายทาสเป็นแน่ เพราะ

เหตุนั้น เจ้าจงประมาณตัว ดื่มนมสดไม่ถ่มรดศีรษะของธิดา

ท่านเศรษฐี นกแขกเต้าเรียกเขาโดยชื่อว่า "กลัณฑุกะ"

ฝ่ายกลัณฑุกะเล่าก็จำลูกนกแขกเต้าได้ ด้วยความกลัว

ว่า มันพึงเผยเรื่องของเรา จึงเชิญว่า มาเถิดนาย ท่านมาเมื่อไร

เล่า ? แม้นกแขกเต้าเล่าก็รู้ว่า เจ้านี่ไม่ได้เรียกเราด้วยความ

ปรารถนาดี แต่มีความประสงค์จะบิดคอเราให้ตาย จึงกล่าวว่า

เราไม่มีธุระกับเจ้า ดังนี้แล้ว โดดจากที่นั้นไปสู่พระนครพาราณสี

เล่าเรื่องราวตามที่ตนเห็นมาให้ท่านเศรษฐีฟังโดยพิสดาร ท่าน-

เศรษฐีคิดว่า มันทำไม่สมควรเลย จึงลงอาชญาแก่เขา นำตนมาสู่

พระนครพาราณสีตามเดิม แล้วใช้สอยอย่างทาสสืบไป.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า กลัณฑุกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุนี้ ส่วนพาราณสี

เศรษฐีได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากลัณฑุกะชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 501

๘. มูสิกชาดก

ความประพฤติของผู้เอาธรรมบังหน้า

[๑๒๘] ผู้ใดแล เทิดธรรมเป็นธงชัย ให้สัตว์

ทั้งหลายตายใจ ซ่อนตนประพฤติชั่ว ความ

ประพฤติของผู้นั้น ชื่อว่าเป็นความประพฤติ

ของแมว.

จบ มูสิกชาดกที่ ๘

อรรถกถามูสิกชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า โย เว ธมฺมทฺธช กตฺวา ดังนี้.

ความย่อว่า ในครั้งนั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลความ

ที่ภิกษุนั้นเป็นผู้หลอกลวงให้ทรงทราบแล้ว พระศาสดาตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในปางก่อนภิกษุ

นี้ก็หลอกลวงเหมือนกัน ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดัง

ต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดหนู อาศัย

ความเจริญเติบโต มีร่างกายอ้วนใหญ่คล้ายกับลูกสุกรอ่อน มี

หนูหลายร้อยเป็นบริวาร ท่องเที่ยวอยู่ในป่า ดังนั้น มีหมาจิ้งจอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 502

ตัวหนึ่ง ท่องเที่ยวไปตามประสา เห็นฝูงหนูนั้นคิดว่า เราจักลวง

กินหนูเหล่านี้ แล้วแหงนหน้าจ้องดวงอาทิตย์สูดดม ยืนด้วยเท้า

ข้างเดียว ในที่ไม่ไกลกับที่อาศัยของฝูงหนู พระโพธิสัตว์เที่ยว

หากินเห็นมันแล้ว คิดว่า หมาจิ้งจอกนี้คงเป็นผู้มีศีล จึงเดินไปสู่

สำนักของมัน พลางถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านชื่ออะไรเล่า ?

มันตอบว่า เราชื่อธรรมิกะ ถามว่า ท่านไม่ยืนเหนือแผ่นดิน

สี่เท้า ยืนด้วยเท้าข้างเดียวเพราะเหตุไร ? ตอบว่า เมื่อเราเหยียบ

แผ่นดินสี่เท้าละก็ แผ่นดินไม่อาจทนอยู่ได้ เหตุนั้น เราต้องยืน

เท้าเดียวเท่านั้น ถามว่า ทำไมต้องยืนอ้าปากด้วยเล่า ? ตอบว่า

เราไม่กินอาหารอื่น กินลมอย่างเดียว ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น

ทำไมจึงต้องจ้องมองดวงอาทิตย์ด้วยเล่า ? ตอบว่า เรานอบน้อม

พระอาทิตย์ พระโพธิสัตว์ฟังคำของมันแล้ว มั่นใจว่า สุนัขจิ้งจอก

ตัวนี้คงมีศีลเป็นแน่ แต่นั้นก็ไปสู่ที่บำรุงของมันกับฝูงหนู ทั้ง

เวลาเย็น เวลาเช้า ครั้นในเวลาที่หนูผู้โพธิสัตว์นั้นทำการบำรุง

แล้วไป หมาจิ้งจอกก็จับเอาหนูตัวสุดท้าย กินเนื้อเสียแล้ว เช็ด

ปากยืนอยู่ ฝูงหนูบางตาลงโดยลำดับ พวกเราต้องเบียดเสียด

กันอยู่ เดี๋ยวนี้ดูหลวม ที่อยู่แม้เท่านั้น ก็ยังไม่เต็ม นี่มันเรื่อง

อะไรกัน ? แล้วพากันบอกเรื่องราวแก่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์

คิดว่า เหตุไรเล่าหนอ พวกหนูจึงเบาบางไป ตั้งข้อสงสัยในหมา-

จิ้งจอก ดำริว่า ต้องสอบสวนหมาจิ้งจอกนั้นในเวลาบำรุง ให้

พวกหนูออกหน้า ตนเองอยู่หลังเพื่อน หมาจิ้งจอกวิ่งไปสะกัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 503

พระโพธิสัตว์ไว้ พระโพธิสัตว์เห็นมันกอดจับตน ก็หันกลับ

พูดว่า เจ้าสุนัขจิ้งจอกเจ้าเล่ห์ การบำเพ็ญพรตของเจ้านี้ มิใช่

เป็นไปเพื่อความประพฤติดีปฏิบัติชอบ แต่เจ้าประพฤติแอบอ้าง

เอาธรรมเป็นธงขึ้นไว้ เพื่อเบียดเบียนสัตว์อื่น แล้วกล่าวคาถานี้

ความว่า

"ผู้ใดแล เทิดธรรมเป็นธงชัย ให้สัตว์

ทั้งหลายตายใจ ซ่อนตนประพฤติชั่ว ความ

ประพฤติของผู้นั้น ชื่อว่า เป็นความประพฤติ

ของแมว" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย เว ความว่าในหมู่ชนมีกษัตริย์

เป็นต้น คนใดคนหนึ่งก็ตาม.

บทว่า ธมฺมทฺชช กตฺวา ความว่า เทิดทูนกุศลกรรมบท

สิบประการเป็นธง คือ ธรรม เสมือนว่าตนปฏิบัติธรรมนั้นอยู่

เชิดชูขึ้นแสดง.

บทว่า วิสฺสาสยิตฺวา ความว่า ทำให้ฝูงสัตว์เกิดความ

วางใจ ด้วยสำคัญผิดว่า ผู้นี้มีศีล.

บทว่า พิฬารนฺนาม ต วต ความว่า พรตของผู้ที่เทิดธรรม

เป็นธงอยู่อย่างนี้ แล้วซ่อนกระทำความชั่วอยู่ลับ ๆ นั้น ย่อม

ชื่อว่า เป็นพรตอันประกอบด้วยความล่อลวง.

พระยาหนูกล่าวพลาง กระโดดขึ้นเกาะคอมันไว้ กัดที่ซอกคอ

ใต้คาง ให้ถึงความสิ้นชีวิต ฝูงหนูกลับมากัดกินหมาจิ้งจอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 504

เสียงดังมุ่มม่ำ ๆ แล้วพากันไป ได้ยินว่าหนูพวกที่มาก่อนก็ได้

กินเนื้อ พวกที่มาทีหลังก็ไม่ได้ นับแต่นั้นมาพวกหนูก็หมดภัย

ได้ความสุข.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า หมาจิ้งจอกในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุหลอกลวงในครั้งนี้

ส่วนพญาหนู ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามูสิกชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 505

๙. อัคคิกชาดก

ว่าด้วยหมาจิ้งจอกเจ้าเล่ห์

[ ๑๒๙ ] "แหยมนี้มิใช่มีไว้ เพราะเหตุแห่งบุญ

มีไว้เป็นเลสอ้างของการหากิน ฝูงหนูไม่ครบ

จำนวน เพราะการนับด้วยหาง พอกันทีเถิด ท่าน

อัคคิกะเจ้าเล่ห์"

จบ อัคคิกชาดกที่ ๙

อรรถกถาอัคคิกชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้หลอกลวงนั่นแหละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า นาย สิขา ปุญฺเหตุ ดังนี้ เรื่องปัจจุบัน เช่นเดียว

กับเรื่องที่กล่าวแล้วในหนหลัง.

ความย่อว่า ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราช-

สมบัติ อยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติ

เป็นพระยาหนูอยู่ในป่า ครั้งนั้นเมื่อเกิดไฟไหม้ป่า หมาจิ้งจอก

ตัวหนึ่งไม่สามารถจะหนีไปได้ทัน ก็ยืนเอาหัวยันไว้ที่ต้นไม้

ต้นหนึ่ง ขนทั้งตัวของมันถูกไฟไหม้ เหลือแต่ขนตรงที่มันเอาหัว

ไปยันต้นไม้ไว้หน่อยหนึ่ง เป็นเหมือนจุกบนกระหม่อม วันหนึ่ง

มันดื่มน้ำในตระพัง มองดูเงาเห็นจุกแล้วคิดว่า บัดนี้ สิ่งที่เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 506

รากฐานแห่งภัณฑะเกิดแก่เราแล้ว เมื่ออยู่ในป่า เห็นฝูงหนูนั้น

คิดว่า เราจักลวงกินหนูเหล่านี้ ได้ยืนอยู่ในที่ไม่ไกลตามนัยที่กล่าว

แล้วในหนหลังนั่นเทียว ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เที่ยวหากิน เห็นมัน

แล้วเข้าไปหา ด้วยสำคัญว่า ผู้นี้มีศีล แล้วถามว่า ท่านชื่อว่า

อย่างไร ? สุนัขจิ้งจอกตอบว่า เราชื่ออัคคิกภารทวาชะ ถามว่า

ท่านมาทำอะไรเล่า ? ตอบว่า มาเพื่อช่วยคุ้มครองพวกเจ้า

ถามว่า ท่านทำอย่างไร จึงจะคุ้มครองพวกเราได้ ตอบว่า เรารู้

วิธีคำนวณที่เรียกกันว่านับด้วยหาง ในเวลาที่พวกเจ้าพากัน

ออกไปหากินแต่เช้า เราก็นับไว้ว่ามีจำนวนเท่านี้ ในเวลากลับ

ก็ต้องนับดู เมื่อเราตรวจนับอยู่ทั้งเช้าทั้งเย็นอย่างนี้ ก็จักคุ้มครอง

พวกเจ้าได้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นก็จงคุ้มครองเถิดลุง

มันรับคำแล้ว ในเวลาที่พวกหนูออกไป ก็นับ หนึ่ง-สอง-สาม

เป็นต้น แม้ในเวลาที่กลับมาก็นับโดยทำนองเดียวกัน แล้วตะครุบ

เอาตัวหลังเพื่อนกินเสีย เรื่องที่เหลือก็เหมือนกับเรื่องก่อนนั่นแหละ

แต่ว่าในชาดกนี้ พระยาหนูหันกลับมายืนแล้วกล่าวว่า

เจ้าหมาอัคคิกภารทวาชะเจ้าเล่ห์ จุกบนหัวของเจ้า มิได้มีไว้

เพื่อความซึ่งสัตย์สุจริตยุติธรรม แต่มีไว้เพราะเหตุแห่งปากท้อง

แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"แหยมนี้ มิใช่มีไว้เพราะเหตุแห่งบุญ

มีไว้เป็นเลสอ้างของการหากิน ฝูงหนูไม่ครบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 507

จำนวน เพราะการนับด้วยหาง พอกันทีเถอะ

ท่านอัคคิกะเจ้าเล่ห์" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นงฺคฏฺคณน ยาติ ท่านกล่าวไว้

หมายถึงการนับด้วยหาง อธิบายว่า ฝูงหนูนี้ไม่ถึง ไม่ใกล้เคียง

ไม่ครบจำนวน ได้แก่พร่องไป.

บทว่า อลนฺเต โหตุ อคฺคิก ความว่า พระยาหนู เมื่อจะพูด

ถึงสุนัขจิ้งจอก เรียกโดยชื่อว่า อัคคิกะ. อธิบายว่า อัคคิกะ

เจ้าเล่ห์เอ๋ย สำหรับเจ้าพอกันเพียงเท่านี้ทีเถิดนะ เบื้องหน้าแต่นี้

ต่อไป เจ้าจักกัดหนูกินอีกไม่ได้ เราหรือเจ้าเป็นอันเลิกอยู่ร่วมกัน

อธิบายว่า บัดนี้พวกเราจักไม่อยู่ร่วมกับเจ้าต่อไป ข้อความที่เหลือ

เช่นเดียวกับเรื่องก่อนนั่นแหละ.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า หมาจิ้งจอกในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุนี้ในบัดนี้ ส่วน

พระยาหนูได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอัคคิกชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 508

๑๐. โกสิยชาดก

ว่าด้วยคำพูดกับการกระทำไม่สมกัน

[๑๓๐] "ดูก่อนนางผู้โกสิยะ เจ้าจงกินยาให้สม

กับที่อ้างว่าป่วย หรือจงทำการงานให้สมกับ

อาหารที่บริโภคเพราะถ้อยคำ กับการกินของเจ้า

ทั้งสองอย่างไม่สมกันเลย"

จบ โกสิยชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาโกสิยชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภมาตุคามในพระนครสาวัตถี นางหนึ่ง ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยถา วาจาว ภุญฺชสฺสุ ดังนี้.

ได้ยินว่า นางเป็นพราหมณีของพราหมณ์อุบาสก ผู้มี

ศรัทธาปสาทะผู้หนึ่ง เป็นหญิงประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หยาบช้า

ลามก กลางคืนก็ประพฤตินอกใจ กลางวันก็ไม่ทำงานอะไร

แสดงท่าทางอย่างคนไข้ นอนทอดถอนใจอยู่ไปมา ครั้งนั้น

พราหมณ์ถามนางว่า แม่มหาจำเริญ เธอไม่สบาย เป็นอะไรไป

หรือ ? นางตอบว่า ลมมันเสียดแทงดิฉัน พราหมณ์ถามว่า

ถ้าอย่างนั้นได้อะไรถึงจะเหมาะเล่า ? นางตอบว่า ต้องได้รับ

ยาคูภัตรและน้ำมันเป็นต้น ที่ประณีต ๆ พราหมณ์ก็ไปหาสิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 509

ที่นางต้องการนั้น ๆ มาให้ กระทำกิจทุกอย่างเหมือนเป็นทาส

ฝ่ายนางพราหมณี เวลาพราหมณ์เข้าเรือน ก็นอน เวลาพราหมณ์

ออกไป ก็หยอกล้อกับชายชู้ ฝ่ายพราหมณ์ดำริว่า กองลมที่

เสียดแทงสรีระภรรยาของเรานี้ ดูท่าจะไม่มีที่สิ้นสุด วันหนึ่ง

จึงถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปสู่พระเชตวันวิหาร บูชา

พระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อมีพระ-

ดำรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุไร ท่านจึงมิค่อยได้มา ?

พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นัยว่ากองลม

เสียดแทงสรีระนางพราหมณีของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ต้อง

เสวงหาเนยใส น้ำมันเป็นต้น และโภชนะที่ประณีต ๆ ให้นาง

ร่างกายของนางก็ดูอ้วนท้วน ผ่องใส มีผิวพรรณดี แต่โรคลม

ดูไม่มีท่าจะสิ้นสุดได้เลย ข้าพระองค์ต้องปรนนิบัตินางอยู่เรื่อย ๆ

จึงไม่ได้โอกาสมาวิหารนี้ พระเจ้าข้า พระศาสดาทรงทราบ

ความเลวของนางพราหมณีแล้วจึงตรัสว่า พราหมณ์ เมื่อมาตุคาม

นอนเสียอย่างนี้ โรคก็ไม่สงบ ต้องปรุงยาอย่างนี้แล อย่างนี้ให้

จึงจะสมควร แม้ในครั้งก่อนบัณฑิตก็เคยบอกท่านแล้ว แต่ท่าน

กำหนดจดจำไม่ได้เอง เพราะมีเหตุที่ภพมากำบังไว้เสีย พราหมณ์

กราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ บังเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาล

เรียนศิลปะทุกประการในเมืองตักกสิลา แล้วได้เป็นอาจารย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 510

ทิศาปาโมกข์ ในพระนครพาราณสี ขัตติยกุมารในราชธานี

ทั้งร้อยเอ็ด และพราหมณกุมาร พากันมาเรียนศิลปะในสำนัก

ของท่านผู้เดียวมากมาย ครั้งนั้นมีพราหมณ์ชาวชนบทผู้หนึ่ง

เรียนไตรเพทและวิทยฐานะ ๑๘ ประการ ในสำนักของพระ-

โพธิสัตว์แล้ว ตั้งหลักฐานอยู่ในพระนครพาราณสีนั่นเอง มาที่

สำนักของพระโพธิสัตว์วันละสอง-สามครั้งทุกวัน นางพราหมณี

ของเขา เป็นหญิงประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หยาบช้า ลามก

เรื่องทั้งปวงตั้งแต่นี้ไป ก็เช่นเดียวกับเรื่องปัจจุบันนั่นแล ฝ่าย

พระโพธิสัตว์ เมื่อพราหมณ์นั้นบอกว่า ด้วยเหตุนี้ กระผมจึง

ไม่มีโอกาส เพื่อจะไปรับโอวาท ดังนี้ ก็ทราบว่า นางมาณวิกา

นั้น นอนหลอกพราหมณ์นี้เสียแล้ว คิดว่า เราต้องบอกยาที่

เหมาะสมให้แก่นาง แล้วกล่าวว่า พ่อคุณ ต่อแต่นี้ไป เจ้าอย่าได้

ให้เนยใส และน้ำนมสดแก่นางเป็นอันขาด แต่จงโขลกใบไม้

๕ อย่าง และผล ๓ อย่างเป็นต้น ใส่ในมูตรโค แล้วแช่ไว้ใน

ภาชนะทองแดงใหม่ ๆ ให้กลิ่นโลหะมันจับ แล้วถือเชือก หวาย

หรือไม้เรียว กล่าวว่า ยานี้เหมาะแก่โรคของเจ้า เจ้าจงกินยานี้

หรือไม่เช่นนั้น ก็ลุกขึ้นทำการงานให้สมควรแก่ภัตรที่เจ้าบริโภค

แล้วต้องกล่าวคาถานี้ ถ้านางไม่ยอมดื่มยา ก็ต้องเอาเชือกหรือ

หวาย หรือไม้เรียว หวดนางลงไปอย่างไม่ต้องนับ แล้วจิกผม

กระชากมาถองด้วยศอก นางจักลุกขึ้นทำงานในทันใดนั่นเอง

เขารับคำว่า ดีจริงขอรับ แล้วทำยา ตามข้อที่บอกแล้วนั่นแหละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 511

กล่าวว่า แม่มหาจำเริญ เชิญดื่มยานี้เถิด นางถามว่า ยานี้ใคร

บอกท่านเล่าเจ้าคะ ? ตอบว่า อาจารย์บอกให้ แม่มหาจำเริญ

นางกล่าวว่า เอามันไปเสียเถิด ฉันไม่ดื่ม มาณพกล่าวว่า เจ้า

จักดื่มตามใจชอบของตนไม่ได้ แล้วคว้าเชือกกล่าวว่า เจ้าจงดื่มยา

ที่เหมาะแก่โรคของตน หรือมิฉะนั้นก็จงทำงานให้สมควรแก่

ภัตรที่บริโภค แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า

"ดูก่อนนางผู้โกสิยะ เจ้าจงกินยาให้สม

กับที่อ้างว่าป่วย หรือจงทำงานให้สมกับอาหาร

ที่บริโภค เพราะถ้อยคำกับการกินของเจ้าทั้งสอง

อย่างไม่สมกันเลย" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา วาจา จ ภุญฺชสฺสุ ความว่า

เจ้าจงกินให้สมกับวาจาที่ลั่นไว้ อธิบายว่า จงกินให้สมกับคำพูด

ที่เจ้ากล่าวว่า กองลมเสียดแทงดิฉัน ดังนี้ ปาฐะว่า ยถา วาจ วา วา

ดังนี้ก็ควร บางอาจารย์ก็สวดว่า ยถาวาจาย ดังนี้ก็มี ในทุก ๆบท

ความก็อย่างเดียวกันนี้.

บทว่า ยถาภุตฺตญฺจ พฺยาหร ความว่า จงพูดออกมาให้

สมกับอาหารที่เจ้าบริโภคแล้ว อธิบายว่า จงบอกเถิดว่า ฉันหาย

โรคแล้วละ ดังนี้ แล้วทำการงานที่ต้องทำในเรือน.

ปาฐะว่า ยถาภูตญฺจ ดังนี้ก็มี.

อีกอย่างหนึ่ง มีอธิบายว่า จงพูดตามความจริงว่า ฉัน

ไม่มีโรคดอก ดังนี้ แล้วทำการงานเสียเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 512

บทว่า อุภยนฺเต น สเมติ วาจา ภุตฺตญฺจ โกลิเย ความว่า

คำพูดของเจ้าที่ว่า กองลมเสียดแทงฉันดังนี้ กับโภชนะอันประณีต

ที่เจ้ากิน แม้ทั้งสองอย่างของเจ้านี้ไม่สมดุลย์กันเลย เพราะเหตุนั้น

จงลุกขึ้นทำงานเสียเถิด.

เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ธิดาแห่งโกสิยพราหมณ์

คิดว่า ตั้งแต่เวลาที่อาจารย์ช่วยขวนขวายแล้ว เราไม่อาจลวงเขา

อย่างนี้ต่อไปได้ ต้องลุกขึ้นทำการงาน ดังนี้แล้ว ก็ลุกขึ้น

ประกอบกิจตามหน้าที่ ทั้งยังเป็นหญิงมีศีล งดเว้นจากการทำ

ความชั่ว ด้วยความยำเกรงในอาจารย์ว่า ความที่เราเป็นหญิง

ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อาจารย์รู้หมดแล้ว ต่อแต่นี้ไป เรา

ไม่สามารถจะทำเช่นนี้ได้อีก.

แม้นางพราหมณีนั้น ก็ไม่กล้าทำอนาจารซ้ำอีก ด้วยความ

เคารพในพระศาสดาว่า ได้ยินว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้

เรื่องของเราแล้ว.

พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า คู่สามีภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็นคู่สามีภรรยาในบัดนี้

ส่วนอาจารย์ ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาโกสิยชาดกที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 513

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุสนาฬิชาดก ๒. ทุมเมธชาดก ๓. นังคลีสชาดก

๔. อัมพชาดก ๕. กฏาหกชาดก ๖. อลิลักขณชาดก ๗. กลัณ-

ฑุกชาดก ๘. มูสิกชาดก ๙. อัคคิกชาดก ๑๐. โกลิยชาดก.

จบ กุสนาฬิวรรคที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 514

๑๔. อสัมปทานวรรค

๑. อสัมปทานชาดก

การไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว

[๑๓๑] " ไมตรีของผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นคนพาล

ย่อมเป็นโทษ ก่อให้เกิดการแตกร้าวกัน เพราะ

ไม่รับของไว้ เพราะฉะนั้น เราจึงรับเอาข้าวลีบ

กึ่งมานะ ไว้ด้วยมาคิดว่า ไมตรีของเราอย่าได้

แตกร้าวเสียเลย ขอให้ไมตรีของเรานี้ ดำรงยั่งยืน

ต่อไปเถิด."

จบ อสัมปทานชาดกที่ ๑

อรรถกถาอสัมปทานวรรคที่ ๑๔

อรรถกถาอสัมปทานชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร

ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

อสมฺปทาเนนิตรีตรสฺส ดังนี้.

ความย่อว่า ในครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ยกเรื่องขึ้นสนทนากัน

ในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตเป็นคนอกตัญญู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 515

ไม่รู้คุณของพระตถาคต พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ?

เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัตเป็นผู้อกตัญญู

แม้ในครั้งก่อนก็เป็นคนอกตัญญูเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระราชามคธพระองค์หนึ่ง เสวยราช-

สมบัติอยู่ในพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ พระโพธิสัตว์เสวย

พระชาติเป็นเศรษฐี (ในรัชกาล) ของพระราชาพระองค์นั้น

มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ชื่อว่า สังขเศรษฐี ในพระนครพาราณสี

มีเศรษฐีมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ชื่อว่า ปิลิยเศรษฐี เศรษฐีทั้งสองนั้น

เป็นสหายกัน ในเศรษฐีทั้งสองนั้น ปิลิยเศรษฐี ในพระนคร-

พาราณสี ประสบภัยอย่างมหันต์ด้วยหน้าที่การงานบางอย่าง

ถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัวกลายเป็นคนขัดสนไร้ที่พำนัก ชวน

ภรรยาเดินทางไปหมายพึ่งท่านสังขเศรษฐี ออกจากพระนคร-

พาราณสี มุ่งไปสู่พระนครราชคฤห์ด้วยเท้าเปล่า จนถึงนิเวศน์

ของท่านสังขเศรษฐี ท่านสังขเศรษฐีเห็นเขาแล้ว กล่าวว่า

เพื่อนของเรามาแล้ว ต้อนรับแข็งแรง แสดงความเคารพนับถือ

ให้พักอยู่สอง-สามวัน วันหนึ่งจึงถามว่า เพื่อนรัก ท่านมาด้วย

ต้องการอะไร ? ปิลิยเศรษฐีตอบว่า เพื่อนยาก ภัยบังเกิดแก่

ข้าพเจ้า ถึงสิ้นเนื้อประดาตัว ช่วยอุดหนุนข้าพเจ้าด้วยเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 516

ฝ่ายสังขเศรษฐีก็กล่าวว่า ดีละเพื่อน อย่ากลัวไปเลย แล้วสั่ง

ให้เปิดคลัง แบ่งเงินให้ ๔๐ โกฏิ แล้วยังแบ่งครึ่งสวิญญาณกทรัพย์

และอวิญญาณกทรัพย์ที่เป็นของตนทุกอย่าง อันเป็นบริวาร

ตามกำหนด ส่วนที่เหลือให้อีกด้วย ปิลิยเศรษฐีขนสมบัติกลับไป

พระนครพาราณสี ตั้งหลักฐานได้.

ในเวลาต่อมา ภัยเช่นเดียวกันนั่นแหละ ก็เกิดแก่ท่าน-

สังขเศรษฐีบ้าง ท่านสังขเศรษฐีใคร่ครวญถคงที่พำนักของตน

คิดได้ว่า เราได้ทำอุปการะอย่างใหญ่หลวงไว้แก่สหาย แบ่ง

สมบัติให้ครึ่งหนึ่ง เขาเห็นเราแล้วคงไม่ทอดทิ้ง เราจักไปหาเขา

ดังนี้แล้ว พาภรรยาเดินทางไปพระนครพาราณสีด้วยเท้าเปล่า

กล่าวว่า นางผู้เจริญ เธอจะเดินไปตามท้องถนนพร้อมกับพี่

ดูไม่ควรเลย เธอคอยขึ้นยานที่พี่ส่งมารับไปกับบริวารจำนวน

มากภายหลัง จงคอยอยู่ที่นี่จนกว่าพี่จะส่งยานมารับ ดังนี้แล้ว

ให้นางพักที่ศาลา ตนเองเข้าสู่พระนคร ไปสู่เรือนเศรษฐี ให้

คนบอกท่านเศรษฐีว่า สหายของท่านชื่อ สังขเศรษฐีมาจาก

พระนครราชคฤห์ ปิลิยเศรษฐีให้คนไปเชิญมา ครั้นเห็นสังขเศรษฐี

แล้ว ก็มิได้ลุกขึ้นจากที่นั่ง ไม่กระทำปฏิสันถารเลย เอ่ยถาม

อย่างเดียวว่า ท่านมาทำไม ?. สังขเศรษฐีตอบว่า ข้าพเจ้ามา

เพื่อพบท่าน ถามว่า ท่านพักที่ไหนล่ะ ?. ตอบว่า ที่พักของ

ข้าพเจ้ายังไม่มีดอก ข้าพเจ้าให้แม่บ้านหยุดคอยที่ศาลาแล้ว

มาก่อน ปิลิยเศรษฐีกล่าวว่า ที่พักของท่านที่นี่ก็ไม่มี ท่านจงรับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 517

อาหารไปให้เขาหุงต้มกิน ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วพากันไปเสียเถิด

อย่ามาพบเราอีกเลย พลางสั่งทาสว่า เจ้าจงตวงข้าวลีบ ๔ ทะนาน

ห่อชายผ้าสหายของเราให้ไปเถิด ได้ยินว่า วันนั้น ปิลิยเศรษฐี

ให้คนฝัดข้าวสาลีแดงไว้ประมาณพันเกวียน ขึ้นยุ้งไว้เต็ม

ทั้งที่ได้รับทรัพย์ ๔๐ โกฏิมา ยังเนรคุณ เป็นเหมือนมหาโจร

บอกให้ข้าวทะนานเดียวแก่เพื่อนได้ ทาสตวงข้าวลีบ ๔ ทะนาน

ใส่กระเช้าแล้วไปหาพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์คิดว่า ผู้นี้เป็น

อสัตบุรุษ ได้ทรัพย์ ๔๐ โกฏิจากสำนักของเรา บัดนี้สั่งให้

ข้าวลีบ ๔ ทะนาน เราจะรับหรือไม่รับดีหนอ ครั้นแล้วมีปริวิตก

ว่า คนผู้นี้เป็นคนเนรคุณ ประทุษร้ายมิตร ทำลายมิตรภาพ

ระหว่างเราเสียแล้ว ด้วยความเป็นคนตัดรอนอุปการะที่เราทำไว้

ถ้าเราไม่รับข้าวลีบ ๔ ทะนานที่เขาให้ เพราะเป็นของเลวไซร้

ก็จักต้องทำลายมิตรภาพ คนอันธพาลที่ไม่ยอมรับสิ่งของที่ตน

ได้เล็กน้อย ย่อมยังมิตรภาพให้สลายไป แต่เรารับข้าวลีบที่เขา

ให้ จักยังดำรงมิตรภาพไว้ได้ด้วยอำนาจของเรา แล้วก็ห่อข้าวลีบ

๔ ทะนาน ที่ชายผ้าลงจากปราสาทไปสู่ศาลา ครั้งนั้น ภรรยา

ถามท่านว่า ท่านเจ้าข้า ท่านได้สิ่งไรมาบ้าง ? ตอบว่า ปิลิยเศรษฐี

สหายของเราให้ข้าวลีบมา ๔ ทะนาน แล้วสลัดเราเสียในวันนี้

เลยทีเดียว นางกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ท่านรับมาทำไม มันสมควร

แก่ทรัพย์ ๔๐ โกฏิละหรือ แล้วเริ่มร้องไห้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า

นางผู้เจริญ เธออย่าร้องไห้เลย พี่เกรงจะเสียไมตรีกับเขา จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 518

รับมาเพื่อดำรงมิตรภาพไว้ด้วยอำนาจของพี่ เธอจะร้องไห้ไป

ทำไม ดังนี้แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า

" ไมตรีของผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นคนพาล

ย่อมเป็นโทษ ก่อให้เกิดแตกร้าวกัน เพราะไม่

รับของไว้ เพราะฉะนั้น เราจึงรับเอาข้าวลีบ

กึ่งมานะ ไว้ด้วยมาคิดว่า ไมตรีของเราอย่าได้

แตกร้าวเสียเลย ขอให้ไมตรีของเรานี้ ดำรงยั่งยืน

ต่อไปเถิด " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสมฺปทาเนน ความว่า เพราะ

ไม่ยอมรับของไว้ เข้าสนธิกันโดยลบสระ ได้ความว่า เพราะ

ไม่ถือเอาสิ่งของไว้.

บทว่า อิตรีตรสฺส ได้แก่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้จะเลวหรือ

ไม่เลยก็ตาม.

บทว่า พาลสฺส มิตฺตานิ กลี ภวนฺติ ความว่า ไมตรีของ

คนโง่ ๆ ไร้ปัญญา ย่อมชื่อว่าเป็นกลี คือเป็นเช่นกับตัวกาฬกรรณี

อธิบายว่า ย่อมทำลายได้.

ด้วยบทว่า ตสฺมา หรามิ ภุส อฑฺฒมมาน นี้ พระโพธิสัตว์

แสดงว่า ด้วยเหตุนั้น พี่จึงหอบหิ้ว คือยอมรับข้าวลีบตุมพะหนึ่ง

(๔ ทะนาน) ที่สหายเขาให้. อธิบายว่า มานะหนึ่งเท่ากับ ๘ ทะนาน

๑. มานะ เป็นชื่อมาตรา, ๘ ทะนานเท่ากับ ๑ มานะ, กึ่งมานะเท่ากับ ๔ ทะนาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 519

กึ่งมานะเท่ากับ ๔ ทะนาน และ ๔ ทะนาน ชื่อว่า หนึ่งดุมพะ

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปลาปตุมฺพ.

บทว่า มา เม มิตฺติ ภิชฺชิตฺถ สสฺสตาย ความว่า ไมตรี

ของเรากับสหายอย่าแตกกันเสียเลย ขอให้ไมตรีนี้จงยั่งยืนอยู่

ต่อไปเถิด.

ก็เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอยู่อย่างนี้ ภรรยาคงร้องไห้อยู่

นั่นเอง ในขณะนั้น ทาสผู้ทาการงานที่ท่านสังขเศรษฐีมอบให้แก่

ปิลิยเศรษฐี ผ่านมาทางประตูศาลา ได้ยินเสียงภรรยาของท่าน-

เศรษฐีร้องไห้ จึงเข้าไปยังศาลา เห็นเจ้านายเก่าของตน ก็

หมอบลงแทบเท้า ร้องไห้คร่ำครวญ พลางถามว่า ข้าแต่นาย

ท่านพากันมาที่นี่ทำไม ? ท่านเศรษฐีก็เล่าเรื่องให้ฟังทั้งหมด

ทาสผู้ทำงานจึงปลอบท่านทั้งสองว่า ช่างเถิดนาย ท่านทั้งสอง

อย่าคิดเลย แล้วพาไปเรือนของตน ให้อาบน้ำหอม ให้บริโภค

อาหาร เรียกทาสทั้งหลายที่เหลือมาประชุมกัน แสดงให้รู้ว่า

เจ้านายของพวกท่านมาแล้ว รออยู่สอง-สามวัน ก็พาทาสทั้งหมด

ไปสู่ท้องพระลานหลวง แล้วร้องตะโกนโพนทนาขึ้น พระราชา

รับสั่งให้เรียกมาตรัสถามว่า นี่เรื่องอะไรกัน ? ทาสเหล่านั้น

พากันกราบทูลเรื่องทั้งหมดแด่พระราชา พระราชาทรงสดับ

คำของพวกทาสแล้ว รับสั่งให้เรียกเศรษฐีทั้งสองเข้ามาเฝ้า

ตรัสถามท่านสังขเศรษฐีว่า มหาเศรษฐี ได้ยินว่า ท่านให้ทรัพย์

๔๐ โกฏิ แก่ปิลิยเศรษฐี จริงหรือ ? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 520

ข้าแต่มหาราชเจ้า มิใช่แต่ทรัพย์อย่างเดียวเท่านั้น ที่ข้าพระองค์

ให้แก่สหายผู้นึกถึงข้าพระองค์ แล้วบ่ายหน้ามาสู่พระนครราชคฤห์

ข้าพระองค์แบ่งสวิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณกทรัพย์ที่เป็น

สมบัติทุกอย่าง ออกเป็นสองส่วน แล้วแบ่งเท่า ๆ กัน พระเจ้าข้า

พระราชาตรัสถามปิลิยเศรษฐีว่า ข้อนั้นเป็นความจริงหรือ ?

ปิลิยเศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เป็นความจริงพระเจ้าข้า

ตรัสถามต่อไปว่า ก็เมื่อเขานึกถึงท่าน มาหาถึงนี่แล้ว ท่านยังจะ

ได้กระทำสักการะ สัมมานะ อะไรบ้างเล่า ? เขานิ่งเสีย รับสั่ง

ถามต่อไปว่า ยังอีกข้อหนึ่งเล่า เจ้าได้ให้ทาสตวงข้าวลีบดุมพะหนึ่ง

ใส่ชายผ้าให้เขาไป ยังจะจริงหรือ ? ปิลิยเศรษฐีแม้จะฟังพระดำรัส

นั้น ก็คงนิ่งอึ้งอยู่นั่นเอง พระราชาทรงปรึกษากับพวกอำมาตย์

ว่า ควรทำอย่างไร ทรงบริภาษปิลิยเศรษฐี แล้วตรัสว่า ไปกัน

เถิดท่านทั้งหลาย จงไปเอาสมบัติในเรือนของปิลิยเศรษฐี ให้แก่

สังขเศรษฐีเถิด พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

ข้าพระองค์ไม่ต้องการสิ่งของของผู้อื่นเลย ขอได้ทรงพระกรุณา

โปรดพระราชทานส่วนที่ข้าพระองค์ให้แก่เขาเท่านั้นเถิด พระ-

เจ้าข้า พระราชารับสั่งให้พระราชทานสมบัติอันเป็นส่วนของ

พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ได้คืนสมบัติที่ตนให้ไปทั้งหมดแล้ว

แวดล้อมด้วยทาสกลับไปสู่พระนครราชคฤห์ นั่นแหละ ตั้ง

หลักฐานได้แล้ว กระทำบุญทั้งหลาย มีให้ทานเป็นต้น แล้ว

ไปตามยถากรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 521

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า ปิลิยเศรษฐีในครั้งนั้น ได้มาเป็นเทวทัต ส่วนสังขเศรษฐี

ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอสัมปทานชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 522

๒. ปัญจภีรุกชาดก

ว่าด้วยความสวัสดี

[๑๓๒ ] " เราไม่ตกอยู่ในอำนาจของพวกรากษส

เพราะความเพียรมั่นคง ดำรงอยู่ในคำแนะนำ

ของท่านผู้ฉลาด และความไม่หวาดหวั่นต่อภัย

และความสยดสยอง สวัสดิภาพจากภัย อัน

ใหญ่หลวงจึงมีแก่เรา"

จบ ปัญจภีรุกชาดกที่ ๒

อรรถกถาปัญจภีรุกชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภพระสูตร ว่าด้วยการประเล้าประโลมของมารธิดา

ณ อชปาลนิโครธ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

กุสลูปเทเส ธิติยา ทฬฺหาย จ ดังนี้.

ความพิสดารว่า ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส

พระสูตรนั้น ตั้งแต่ต้นจนจบบริบูรณ์อย่างนี้ว่า :-

นางตัณหา นางอรดี และนางราคา ล้วน

เพริศพริ้งแพรวพราว พากันมา พระศาสดาทรง

กำจัดนางเหล่านั้นไปเสีย เหมือนลมพัดปุยนุ่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 523

ให้หล่นกระจายไปฉะนั้น.

พวกภิกษุประชุมกันในโรงธรรม ตั้งเรื่องสนทนากันว่า ผู้มี

อายุทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้ทรงลืมพระเนตร

แลดูพวกมารธิดา อันจำแลงรูปทิพย์หลายร้อยอย่าง แล้วเข้าไปหา

เพื่อจะเล้าโลม โอ ขึ้นชื่อว่า กำลังของพระพุทธเจ้า น่าอัศจรรย์

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้

พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันการ

ที่ไม่แลดูพวกมารธิดาของเรา ผู้ทำให้อาสวะหมดสิ้นไปแล้ว

บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูแล้ว ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เลย

แท้จริงในกาลก่อน เรากำลังแสวงหาพระโพธิญาณ มิได้ทำลาย

อินทรีย์ทั้งหลายเสีย แลดูแม้ซึ่งรูปทิพย์ ที่พวกนางยักษิณีพากัน

เนรมิตไว้ ด้วยอำนาจกิเลส ทั้งที่เรายังมีกิเลส ดำเนินไปจน

บรรลุถึงความเป็นมหาราชได้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา

สาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นน้อง

องค์เล็กที่สุด ของพระพี่ยาเธอตั้ง ๑๐๐ องค์ เรื่องราวทั้งหมด

บัณฑิตพึงให้พิสดาร โดยนัยดังกล่าวแล้วในตักกสิลาชาดก

ในหนหลังนั้นแล (แปลก) แต่ว่า ในครั้งนั้น เมื่อชาวเมืองตักกสิลา

เข้าไปอัญเชิญพระโพธิสัตว์ ณ ศาลาภายนอกพระนคร มอบถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 524

ราชสมบัติ กระทำการอภิเศกแล้ว ชาวตักกสิลานคร พากัน

ตกแต่งพระนครเหมือนเมืองสวรรค์ ตกแต่งพระราชนิเวศน์

เหมือนวิมานอินทร์. ปางเมื่อพระโพธิสัตว์ เสด็จเข้าพระนครแล้ว

เสด็จขึ้นสู่บัลลังก์รัตน์ ภายใต้เศวตรฉัตรในท้องพระโรงหลวง

ในประสาทอันเป็นพระราชสถาน ประทับนั่งด้วยลีลาประหนึ่ง

ท้าวเทวราช เหล่าอำมาตย์ พราหมณ์ คฤหบดี และขัตติยกุมาร

ต่างแต่งองค์ทรงเครื่องพร้อม แวดล้อมโดยขนัด นางบำเรอ

ประมาณ หมื่นหกพันนาง ล้วนแน่งน้อย เปรียบประดุจเทพอัปสร

ทุกนางต่างฉลาดในการฟ้อนรำ ขับร้อง และบรรเลง พระราชวัง

ก็ครื้นเครงทั่วกัน ด้วยเสียงขับร้องและบรรเลงเพลงประสาน

ปานประหนึ่งท้องมหาสมุทร ที่กำลังคะนองคลื่นเบื้องหน้า

แต่เมฆฝนตกกระหน่ำแล้ว พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรดูศิริ-

เสาวภาค อันบรรลุแก่พระองค์นั้น ทรงดำริว่า ถ้าเราจักพะวง

แลดูรูปทิพย์ที่นางยักษิณีเหล่านั้นจำแลงเสียแล้วละก็ คงสิ้น

ชีวิตไปแล้ว คงไม่ได้ดูศิริเสาวภาคนี้ แต่เพราะเราตั้งอยู่ใน

โอวาท ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ศิริโสภาคนี้ จึงบรรลุ

แก่เรา ครั้นทรงดำริฉะนี้แล้ว เมื่อจะทรงเปล่งพระอุทาน ได้

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

" เราไม่ตกอยู่ในอำนาจของพวกรากษส

เพราะความเพียรมั่นคง ดำรงอยู่ในคำแนะนำ

ของผู้ฉลาด และความไม่หวาดหวั่นต่อภัย และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 525

ความสยดสยอง สวัสดิภาพจากภัยอันใหญ่หลวง

จึงมีแก่เรา" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสลูปเทเส ความว่า ในคำชี้แจง

ของท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย อธิบายว่า ในโอวาทของพระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้งหลาย.

บทว่า ธิติยา ทฬฺหาย จ ความว่า เพราะความเพียรอัน

เด็ดเดี่ยวมั่นคง และเพราะความเพียรอันเฉียบขาดแน่นอน.

บทว่า อวตฺถิตตฺตา ภยภีรุตาย จ ความว่า และเพราะ

ความไม่หวาดหวั่นต่อภัยใหญ่ ที่ทำให้กายสะท้าน ในภัยทั้งสอง

อย่างนั้น ภัยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทำให้จิตสะดุ้งชื่อว่า ภัย ภัยใหญ่หลวง

ที่ทำให้ร่างกายสั่นหวั่นไหว ชื่อว่าความสยดสยอง ภัยทั้งสอง

ประการนี้ก็ดี อารมณ์อันน่าสยดสยองว่า ขึ้นชื่อว่ายักษิณีเหล่านี้

มันกินมนุษย์ทั้งนั้น ดังนี้ก็ดี มิได้มีแก่พระมหาสัตว์เลย ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อวตฺถิตตฺตา ภยภีรุตาย จ ความไม่มี

ความหวาดหวั่นต่อภัย และความสยดสยอง อธิบายว่า เพราะ

ไม่มีความหวาดหวั่นสยดสยองเสียเลย คือถึงจะเห็นอารมณ์ที่น่า

สยดสยอง ก็ไม่ยอมท้อถอย.

บทว่า น รกฺขสีน วสมาคมิมฺห เส ความว่า ไม่ต้องมาสู่

อำนาจแห่งนางรากษสเหล่านั้น ในทางอันกันดารด้วยยักษ์

ท่านกล่าวอธิบายว่า เพราะเหตุที่เรามีความเด็ดเดี่ยวมั่นคงใน

คำชี้แจงของท่านผู้ฉลาด และเรามีการไม่ย่นย่อท้อถอยเป็นสภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 526

เพราะไม่มีความกลัวและความหวาดสดุ้ง ฉะนั้น เราจึงไม่มาสู่

อำนาจของพวกรากษส ดังนี้ สวัสดิภาพ คือความเกษมจากภัย

อันใหญ่หลวง คือจากทุกข์โทมนัสที่เราต้องประสบ ในสำนัก

ของพวกนางรากษส ของเรานั้น ก็คือความปีติโสมนัสอย่างเดียว

นี้ เกิดแล้วแก่เราในวันนี้.

พระมหาสัตว์ทรงแสดงธรรมด้วยคาถานี้ ด้วยประการ

ฉะนี้ ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม บำเพ็ญบุญมีให้ทานเป็นต้น

เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า เราตถาคต ได้เป็นราชกุมาร ผู้ไปปกครองราชสมบัติ

ในพระนครตักกสิลา ในครั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาภีรุกชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 527

๓. ฆตาสนชาดก

ว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง

[๑๓๓] " ความเกษมมีอยู่บนหลังน้ำใด บนหลังน้ำ

นั้น มีข้าศึกมารบกวน ไฟลุกโพลงอยู่กลางน้ำ

วันนี้จะอยู่บนต้นไม้เหนือแผ่นดินไม่ได้แล้ว

พวกเจ้าจงพากันบินไปตามทิศทางกันเถิด วันนี้

ที่พึ่งของพวกเราเป็นภัยเสียแล้ว.

จบ ฆตาสนชาดกที่ ๑

อรรถกถาฆตาสนชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเขตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทคนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า เขม ยหึ ดังนี้.

ความพิสดารว่า ภิกษุนั้นเรียนพระกรรมฐานจากสำนัก

ของพระศาสดา แล้วไปสู่บ้านชายแดนตำบลหนึ่ง อาศัยหมู่บ้าน

หมู่หนึ่งจำพรรษาในเสนาสนะป่า ในเดือนแรกนั้นเองเมื่อเธอ

เข้าไปบิณฑบาต บรรณศาลาถูกไฟไหม้ เธอลำบากด้วยไม่มี

ที่อยู่ จึงบอกพวกอุปัฏฐาก คนเหล่านั้น พากันพูดว่า ไม่เป็นไรดอก

พระคุณเจ้า พวกกระผมจักสร้างบรรณศาลาถวาย รอให้พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 528

กระผมไถนาเสียก่อน หว่านข้าวเสียก่อนเถิดขอรับ จนเวลา

๓ เดือนผ่านไป เธอไม่อาจบำเพ็ญพระกรรมฐานให้ถึงที่สุดได้

เพราะไม่มีเสนาสนะเป็นที่สบาย แม้เพียงนิมิตก็ให้เกิดขึ้นไม่ได้

พอออกพรรษาเธอจึงไปสู่พระเชตวันวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา

แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับเธอ

แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ กรรมฐานของเธอเป็นสัปปายะ

หรือไม่เล่า ? เธอจึงกราบทูลความไม่สะดวกจำเดิมแต่ต้น

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ในกาลก่อนโน้น แม้สัตว์ดิรัจฉาน

ทั้งหลาย ก็ยังรู้จักสัปปายะ และอสัปปายะของตน พากันอยู่อาศัย

ในเวลาสบาย ในเวลาไม่สบายก็พากันทิ้งที่อยู่เสียไปในที่อื่น

เหตุไรเธอจึงไม่รู้สัปปายะ และอสัปปายะของตนเล่า เธอกราบทูล

อาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนก บรรลุความ

เป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ถึงความงามเป็นเลิศ ได้เป็นพระยานก อาศัย

ต้นไม้ใหญ่ สมบูรณ์ด้วยกิ่งก้าน สาขา และค่าคบ มีใบหนาแน่นอยู่

ใกล้ฝั่งสระเกิดเอง ในแนวป่าตำบลหนึ่ง อยู่เป็นหลักฐาน พร้อม

ทั้งบริวาร นกเป็นจำนวนมาก เมื่ออยู่ที่กิ่งอันยื่นไปเหนือน้ำ

ของต้นไม้นั้น ก็พากันถ่ายคูถลงในน้ำ และในชาตสระนั่นเล่า

ก็มีนาคราช ผู้ดุร้ายอาศัยอยู่ นาคราชนั้นมีวิตกว่า นกเหล่านี้

พากันขี้ลงในสระอันเกิดเอง อันเป็นที่อยู่ของเรา เห็นจะต้องให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 529

ไฟลุกขึ้นจากน้ำเผาต้นไม้เสีย ให้พวกมันหนีไป พญานาคนั้น

มีใจโกรธ ตอนกลางคืน เวลาที่พวกนกทั้งหมดมาประชุมกัน

นอนที่กิ่งไม้ทั้งหลาย ก็เริ่มทำให้น้ำเดือดพล่าน เหมือนกับยก

เอาสระขึ้นตั้งบนเตาไฟฉะนั้น เป็นชั้นแรก ชั้นที่สองก็ทำให้ควัน

พุ่งขึ้น ชั้นที่สามทำให้เปลวไฟลุกขึ้นสูงชั่วลำตาล พระโพธิสัตว์

เห็นไฟลุกขึ้นจากน้ำ ก็กล่าวว่า ดูก่อนชาวเราฝูงนกทั้งหลาย

ธรรมดาไฟติดขึ้นเขาก็พากันเอาน้ำดับ แต่บัดนี้ น้ำนั่นแหละ

กลับลุกเป็นไฟขึ้น พวกเราไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ ต้องพากันไป

ที่อื่น แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"ความเกษมมีอยู่บนหลังน้ำใด บนหลังน้ำ

นั้น มีข้าศึกมารบกวน ไฟลุกโพลงอยู่กลางน้ำ

วันนี้จะอยู่บนต้นไม้ เหนือแผ่นดินไม่ได้แล้ว

พวกเจ้าจงพากันบินไปตามทิศทางกันเถิด วันนี้

ที่พึ่งของพวกเราเป็นภัยเสียแล้ว" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขม ยหึ ตตฺถ อรี อุทีริโต

ความว่า ความเกษมคือความปลอดภัย มีอยู่เหนือน้ำใด บนเหนือน้ำ

นั้น มีข้าศึกศัตรูประชิดแล้ว.

บทว่า ทกสฺส เท่ากับ อุทกสฺส แปลว่า แห่งน้ำ.

ไฟ ชื่อว่า ฆตาสนะ อธิบายว่า ไฟนั้นย่อมคนเปรียง

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ฆตาสนะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 530

บทว่า น อชฺช วาโส ความว่า วันนี้ที่อยู่ของพวกเรา

ไม่มีแล้ว.

ในบทว่า มหิยา มหีรุโห นี้ ต้นไม้ท่านเรียกว่า มหีรุกฺโข

บนต้นไม้นั้น อธิบายว่า ได้แก่ต้นไม้ที่เกิดบนแผ่นดินนี้.

บทว่า ทิสา ภชวฺโห ความว่า ท่านทั้งหลายจงคบ คือ

พากันบินไปตามทิศทาง.

บทว่า สรณชฺช โน ภย ความว่า วันนี้ ภัยเกิดแต่ที่พึ่ง

ของพวกเราแล้ว คือ ที่พำนักของพวกเรา เกิดเป็นภัยขึ้นแล้ว.

พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็พาฝูงนกที่เชื่อฟังคำ

บินไปในที่อื่น ฝูงนกที่ไม่เชื่อฟังคำของพระโพธิสัตว์ ต่างพากัน

เกาะอยู่ ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัส

ประกาศสัจจะ ในเวลาจบสัจจะภิกษุนั้นดำรงอยู่ในพระอรหัตผล

แล้วทรงประชุมชาดกว่า ฝูงนกที่กระทำตามคำของพระโพธิสัตว์

ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนพระยาหก ได้มาเป็นเรา

ตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาฆตาสนชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 531

๔. ฌานโสธนชาดก

ว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ

[๑๓๔] สัตว์เหล่าใด เป็นผู้มีสัญญา แม้สัตว์

เหล่านั้น ก็ชื่อว่า เป็นทุคตะ สัตว์เหล่าใดเป็นผู้

ไม่มีสัญญา ถึงสัตว์เหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นทุคตะ

ท่านจงละเว้นความเป็นสัญญีสัตว์ และอสัญญี

สัตว์ทั้งสองนี้เสีย สุขอันเกิดจากสมาบัตินั้น

เป็นสุขที่ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน.

จบ ฌานโสธนชาดกที่ ๔

อรรถกถาฌานโสธนชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภการที่พระธรรมเสนาบดีพยากรณ์ปัญหาที่พระองค์

ตรัสถาม โดยย่อได้อย่างพิสดาร ณ ประตูสังกัสนคร ตรัส

พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เย สญฺญิโน ดังนี้.

ต่อไปนี้เป็นเรื่องอดีต ในการพยากรณ์ปัญหานั้น.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราช-

สมบัติ อยู่ใน พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์กำลังจะมรณภาพ

ที่ชายป่า ถูกพวกอันเตวาสิกถาม ก็กล่าวว่า เนวสัญญีนาสัญญี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 532

มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ฯลฯ (เหมือนกับเรื่องใน

ปโรสหัสสชาดก) พวกดาบสไม่ยอมเชื่อถ้อยคำของอันเตวาสิก

ผู้ใหญ่ พระโพธิสัตว์จึงมาแต่พรหมชั้นอาภัสสระ ยืนอยู่ในอากาศ

กล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"สัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีสัญญา แม้สัตว์

เหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นทุคตะ สัตว์เหล่าใดเป็นผู้

ไม่มีสัญญา ถึงสัตว์เหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นทุคตะ

ท่านจงละเว้นความเป็นสัญญีสัตว์ และอสัญญี-

สัตว์ทั้งสองนี้เสีย สุขอันเกิดจากสมาบัตินั้น

เป็นสุขที่ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน" ดังนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า เย สญฺิโน นี้ ท่าน

แสดงถึงหมู่สัตว์ที่มีจิตที่เหลือ เว้นท่านผู้ได้เนวสัญญานาสัญ-

ญายตนฌาน.

บทว่า เตปิ ทุคฺคตา ความว่า เพราะไม่ได้สมาบัตินั้น

แม้ชนเหล่านั้นจึงยังเป็นผู้ชื่อว่า ทุคตะ.

ด้วยบทว่า เยปิ อสญฺิโน นี้ ท่านแสดงถึงอจิตตกสัตว์

ผู้เกิดในอสัญญีภพ.

บทว่า เตปิ ทุคฺคตา ความว่า ถึงแม้สัตว์เหล่านั้น ก็ยังคง

เป็นทุคตะอยู่เหมือนกัน เพราะยังไม่ได้สมาบัตินี้นั้นแหละ.

บทว่า เอต อุภย วิวชฺชย ความว่า พระโพธิสัตว์ให้โอวาท

แก่อันเตวาสิกต่อไปว่า เธอจงเว้นเสีย ละเสีย แม้ทั้งสองอย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 533

คือ สัญญีภาวะ และอสัญญีภาวะ.

บทว่า ต สมาปตฺติสุข อนงฺคณ ความว่า ความสุขในฌาน

นั้น คือที่ถึงการนับว่าเป็นสุข โดยเป็นธรรมชาติสงบระงับ

ของท่านผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นอนังคณะ

คือปราศจากโทษ แม้เพราะความที่แห่งจิตมีอารมณ์แน่วแน่

มีกำลังเป็นสภาพ ความสุขนั้น ก็ชื่อว่า เป็นของไม่มีกิเลสเครื่อง

ยียวน.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมสรรเลริญคุณของอันเตวาสิก

ด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็ได้กลับคืนไปยังพรหมโลก คราวนั้น

ดาบสที่เหลือ ต่างพากันเชื่อฟัง อันเตวาสิกผู้ใหญ่.

พระศาลดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสประชุม

ชาดกว่า อันเตวาสิกผู้ใหญ่ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระสารีบุตร

ส่วนท้าวมหาพรหม ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาฌานโสธนชาดกที่ ๔

๑. หมายเอาพรหมผู้เป็นใหญ่ในอาภัสรภูมิ ไม่ใช่ท้าวมหาพรหมในปฐมฌานภูมิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 534

๕. จันทาภชาดก

ว่าด้วยผู้เข้าถึงอาภัสสรพรหมณ์

[๑๓๕] ผู้ใดในโลกนี้ หยั่งได้ด้วยปรีชา ซึ่ง

แสงจันทน์ และแสงอาทิตย์ ผู้นั้นย่อมเข้าถึง

อาภัสรพรหมได้ด้วยฌาน อันหาวิตกมิได้.

จบ จันทาภชาดกที่ ๕

อรรถกถาจันทาภชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภการพยากรณ์ปัญหาของพระเถระเจ้านั้นแล ที่ประตู

สังกัสนคร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า จนฺทาภ

ดังนี้.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์กำลังจะมรณภาพ ณ ชายป่า

ถูกพวกอันเตวาสิกซักถาม กล่าวว่า จนฺทาภ สุริยาภ แสงจันทน์

แสงอาทิตย์ ดังนี้ แล้วเกิดในอาภัสสรพรหม. พวกดาบสไม่เชื่อ

อันเตวาสิกผู้ใหญ่ พระโพธิสัตว์มาสถิตในอากาศ กล่าวคาถานี้

ความว่า :-

" ผู้ใดในโลกนี้หยั่งได้ ด้วยปรีชา ซึ่ง

แสงจันทร์ และแสงอาทิตย์ ผู้นั้นย่อมเข้าถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 535

อาภัสรพรหมได้ ด้วยฌานอันหาวิตกมิได้"

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น พระโพธิสัตว์แสดงโอทาตกสิณ ด้วย

บทว่า จนฺทาภ แสดง ปีตกสิณ ด้วยบทว่า สุริยาภ.

บทว่า โยธ ปญฺาย คาธติ ความว่า บุคคลใดในสัตว์โลก

นี้ หยั่งได้ด้วยปัญญาซึ่งกสิณทั้งสองอย่างนี้ คือการทำให้เป็น

อารมณ์ ส่งใจไป หรือตั้งใจไว้ได้ในกสิณทั้งสองอย่างนั้น

อีกบรรยายหนึ่ง บทว่า จนฺทาภ สุริยาภญฺจ โยธ ปญฺาย คาธติ

ความว่า แสงจันทน์ และแสงอาทิตย์แผ่ไปสู่ที่มีประมาณเท่าใด

เจริญปฏิภาคกสิณในที่มีประมาณเท่านั้น กระทำปฏิภาคกสิณนั้น

ให้เป็นอารมณ์ ยังฌานให้เกิดได้ ก็ย่อมชื่อว่า หยั่งลงสู่แสง

ทั้งสองนั้นได้ด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น ความข้อนี้ก็เป็นการอธิบาย

ความในบทนั้นได้เหมือนกัน บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงอาภัสสร

พรหมโลก ได้ด้วยฌานที่สองที่ตนได้แล้ว เพราะกระทำอย่างนั้น.

พระโพธิสัตว์ให้พวกดาบสรู้แจ้งด้วยประการฉะนี้ แล้ว

กล่าวสรรเสริญคุณของอันเตวาสิกผู้ใหญ่ กลับไปยังพรหมโลก

ทันที.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า อันเตวาสิกผู้ใหญ่ในครั้งนั้น ได้มาเป็นสารีบุตร ส่วน

ท้าวมหาพรหม ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาจันทรภชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 536

๖. สุวรรณหังสชาดก

โลภมากลาภหาย

[๑๓๖] "บุคคลได้สิ่งใด ควรยินดีด้วยสิ่งนั้น

เพราะความโลภเกินประมาณ ชั่วแท้ นาง-

พราหมณี จับพระยาหงส์เสียแล้ว จึงเสื่อมจาก

ทอง" ดังนี้.

จบ สุวรรณหังสชาดกที่ ๖

อรรถกถาสุวรรณหังสชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุณี ชื่อ ถูลนันทา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า ย ลทฺธ เตน ตุฏพฺพ ดังนี้.

ความพิสดารว่า อุบาสกคนหนึ่งในพระนครสาวัตถี

ปวารณากระเทียมกับภิกษณีสงฆ์ไว้ และสั่งเสียคนเฝ้าไร่ไว้ด้วยว่า

ถ้าภิกษุณีทั้งหลายพากันมาเอา จงให้ไปรูปละ ๒-๓ ห่อ. จำเดิม

แต่นั้นภิกษุณีทั้งหลายต้องการกระเทียม ก็พากันไปที่บ้านของ

เขาบ้าง ที่ไร่ของเขาบ้าง ครั้นถึงวันมหรสพวันหนึ่ง กระเทียม

ในเรือนของเขาหมด ภิกษุณีถูลนันทาพร้อมด้วยบริวาร พากัน

ไปที่เรือนแล้วกล่าวว่า ผู้มีอายุ ฉันต้องการกระเทียม คนรักษา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 537

กล่าวว่า กระเทียมไม่มีเลยพระแม่เจ้า กระเทียมที่เก็บตุนไว้

หมดเสียแล้ว นิมนต์ไปที่ไร่เถิดขอรับ จึงพากันไปที่ไร่ ขน

กระเทียมไปอย่างไม่รู้ประมาณ คนเฝ้าไร่จึงกล่าวโทษว่า เป็น

อย่างไรนะ พวกภิกษุณีจึงขนกระเทียมไป อย่างไม่รู้จักประมาณ

ฟังคำของเขาแล้ว พวกภิกษุณีที่มีความปรารถนาน้อย พากัน

ยกโทษ พวกภิกษุเล่า ครั้นได้ยินจากภิกษุณีเหล่านั้น ก็พากัน

ยกโทษ ครั้นแล้วก็กราบทูลความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตำหนิภิกษุณีถูลนันทา แล้วทรง

แสดงธรรมที่เหมาะกับเรื่องนั้นแก่นางภิกษุณีทั้งหลาย โดยนัย

มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า บุคคลผู้มีความปรารถนา

ใหญ่ มิได้เป็นที่รัก เจริญใจ แม้แก่มารดาบังเกิดเกล้า ไม่อาจจะ

ยังผู้ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ไม่อาจจะยังผู้ที่เลื่อมใสแล้วให้เลื่อมใส

ยิ่งขึ้น ไม่อาจยังลาภที่ยังไม่เกิดให้บังเกิด หรือลาภที่เกิดแล้ว

ก็ไม่อาจกระทำให้ยั่งยืนได้ ตรงกันข้าม ผู้ที่มีความปรารถนา

น้อย ย่อมอาจยังลาภที่ยังไม่เกิดให้เกิด ที่เกิดแล้วก็ทำให้ยั่งยืน

ได้ แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น

ที่ภิกษุณีถูลนันทา มีความปรารถนาใหญ่ แม้ในครั้งก่อนก็เคย

มีความปรารถนาใหญ่เหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีต

มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์สกุล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 538

หนึ่ง เมื่อเจริญวัยแล้ว มารดาบิดาได้ตบแต่งให้มีภรรยา มี

ชาติเชื้อพอสมควรกัน ได้มีธิดา ๓ คน ชื่อ นันทา นันทวดี และ

สุนันทา ครั้นธิดาเหล่านั้นได้สามีไปแล้วทุกคน พระโพธิสัตว์

ก็ทำกาละไปเกิดในกำเนิดหงส์ทอง และมีญาณระลึกชาติได้

อีกด้วย หงส์ทองนั้นเติบใหญ่แล้ว เห็นอัตภาพ อันเติบโตสมบูรณ์

งดงามเต็มไปด้วยขนที่เป็นทอง ก็นึกว่า เราจุติจากไหนหนอ

จึงมาบังเกิดในที่นี้ ทราบว่า จากมนุษยโลก พิจารณาอีกว่า

พราหมณีและเหล่าธิดาของเรา ยังมีชีวิตอยู่หรืออย่างไร ก็ได้

ทราบว่า ต้องพากันไปรับจ้างคนอื่น เลี้ยงชีพด้วยความแร้นแค้น

จึงคิดว่า ขนทั้งหลายในสรีระของเราเป็นทองทั้งนั้น ทนต่อการตี

การเคาะ เราจักให้ขนจากสรีระนี้ แก่นางเหล่านั้น ครั้งละหนึ่งขน

ด้วยเหตุนั้น ภรรยา และธิดาทั้ง ๓ ของเรา จักพากันอยู่อย่าง

สุขสบาย พระยาหงส์ทองจึงบินไป ณ ที่นั้น เกาะที่ท้ายกระเดื่อง

พราหมณีและธิดาเห็นพระโพธิสัตว์แล้ว ก็พากันถามว่า พ่อคุณ

มาจากไหนเล่า ? หงส์ทองตอบว่า เราเป็นบิดาของพวกเจ้า

ตายไปเกิดเป็นหงส์ทอง มาเพื่อจะพบพวกเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ไป

พวกเจ้าไม่ต้องไปรับจ้างคนอื่นเขาเลี้ยงชีวิตอย่างลำบากอีกละ

เราจักให้ขนแก่พวกเจ้าครั้งละหนึ่งขน จงเอาไปขายเลี้ยงชีวิต

ตามสบายเถิด แล้วก็สลัดขนไว้ให้เส้นหนึ่งบินไป หงส์ทอง

นั้นมาเป็นระยะ ๆ สลัดขนให้ครั้งละหนึ่งขน โดยทำนอง

พราหมณีและลูก ๆ ค่อยมั่งคั่งขึ้น มีความสุขไปตาม ๆ กัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 539

อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณีปรึกษากับลูก ๆ ว่า แม่หนูทั้งหลาย

ขึ้นชื่อว่าดิรัจฉานรู้ใจได้ยาก ในบางครั้งบิดาของเจ้าไม่มา

ที่นี่ พวกเราจักทำอย่างไรกัน คราวนี้เวลาเขามา พวกเราช่วย

กันจับถอนขนเสียให้หมดเถิดนะ พวกลูกสาวพากันพูดว่า ทำ

อย่างนั้นบิดาของพวกเรา จักลำบาก ต่างก็ไม่เห็นด้วย แต่นาง-

พราหมณีเพราะมีความปรารถนาใหญ่ ครั้นวันหนึ่งเวลาพระยา-

หงส์ทองมา ก็พูดว่า มานี่ก่อนเถิดนายจ๋า พอพระยาหงส์ทองนั้น

เข้าไปใกล้ ก็จับไว้ด้วยมือทั้งสอง ถอนขนเสียหมด แต่เพราะ

จับถอนเอาด้วยพลการ พระโพธิสัตว์มิได้ให้โดยสมัครใจ ขน

เหล่านั้นจึงเป็นเหมือนขนนกยางไปหมด พระโพธิสัตว์ไม่สามารถ

จะกางปีกบินไปได้ นางพราหมณีจึงจับเอาพระยาหงส์ทองใส่ตุ่มใหญ่

เลี้ยงไว้ ขนที่งอกขึ้นใหม่ของพระยาหงส์นั้น กลายเป็นขาวไปหมด

พระยาหงส์นั้น ครั้นขนขึ้นเต็มที่แล้ว ก็โดดขึ้นบินไปที่อยู่ของตน

ทันที แล้วก็ไม่ได้มาอีกเลย.

พระศาสดาทรงนำเอาเรื่องในอดีตนี้มาสาธก แล้วตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ถูลนันทามีความปรารถนา

ใหญ่ แม้ในครั้งก่อนก็มีความปรารถนาใหญ่เหมือนกัน และ

เพราะมีความปรารถนาใหญ่ จึงต้องเสื่อมจากทอง บัดนี้เล่า

เพราะเหตุที่ตนมีความปรารถนาใหญ่นั่นแหละ จักต้องเสื่อม

แม้แต่กระเทียม เพราะฉะนั้นตั้งแต่บัดนี้ จักไม่ได้เพื่อจะฉัน

กระเทียม แม้นางภิกษุณีที่เหลือทั้งหลาย ผู้อาศัยถูลนันทานั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 540

ก็จักไม่ได้เพื่อฉันกระเทียม เหมือนอย่างถูลนันทาเช่นกัน เหตุนั้น

แม้จะได้มาก ก็จักต้องรู้จักประมาณทีเดียว แต่ได้น้อย ก็ต้อง

พอใจตามที่ได้เท่านั้น ไม่ควรปรารถนาให้ยิ่งขึ้นไป แล้วตรัส

คาถานี้ความว่า

" บุคคลได้สิ่งใด ควรยินดีด้วยสิ่งนั้น

เพราะความโลภเกินประมาณ ชั่วนัก นาง-

พราหมณี จับพระยาหงส์เสียแล้ว จึงเสื่อมจาก

ทอง" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุฏฺพฺพ แปลว่า พึงยินดี.

ก็พระศาสดา ครั้นตรัสพระธรรมเทศนานี้ แล้วทรงติเตียน

โดยอเนกปริยาย แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ก็นางภิกษุณี

รูปใดฉันกระเทียม, ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดังนี้แล้วประชุมชาดก

ว่า นางพราหมณีในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุณีถูลนันทา, ธิดา

ทั้งสามได้มาเป็นพี่น้องหญิงในบัดนี้, ส่วนพระยาสุวรรณหงส์

ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสุวรรณหงสชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 541

๗. พัพพุชาดก

วิธีแก้เผ็ดทำให้แมวตาย

[๑๓๗] แมวตัวที่หนึ่งได้หนูหรือเนื้อในที่ใด แมว

ตัวที่สอง ที่สาม และที่สี่ ก็เกิดขึ้นในที่นั้น แมว

เหล่านั้นทั้งหมด ได้พากันเอาอกฟาดแก้วผลึก

นี้ แล้วถึงความสิ้นชีวิต.

จบ พัพพุชาดกที่ ๗

อรรถกถาพัพพุชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภสิกขาบทที่ทรงบัญญัติด้วยมีกาณมารดาเป็นเหตุ

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยตฺเตโก ลภเต พพฺพุ

ดังนี้.

ความพิสดารว่า อุบาสิกาในพระนครสาวัตถี ปรากฏนาม

ตามธิดาว่า กาณมาตา ได้เป็นอริยสาวิกา ผู้โสดาบัน นางได้ยก

ลูกสาวชื่อ กาณา ให้แก่ชายผู้มีชาติ คู่ควรกันในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง

นางกาณาย้อนกลับมาเรือนของมารดาด้วยกรณียกิจบางอย่าง

ต่อมา สามีของนางกาณาส่งทูตไปว่า นางกาณาจงกลับมา เรา

ต้องการให้นางกาณากลับ นางกาณาฟังคำของทูลแล้ว บอกลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 542

มารดาว่า แม่จ๋า ฉันต้องไปละ มารดากล่าวว่า เจ้าอยู่นานปานนี้

จักไปมือเปล่าอย่างไรกัน แล้วทอดขนม ขณะนั้นเองภิกษุรูปหนึ่ง

ผู้มีปกติเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ได้ไปถึงที่อยู่ของนาง อุบาสิกา

นิมนต์ท่านให้นั่งแล้วถวายขนมเต็มบาตร ภิกษุนั้นออกไปแล้ว

ก็บอกแก่ภิกษุรูปอื่น อุบาสิกาก็ถวายแก่ภิกษุนั้นโดยทำนอง

เดียวกันนั่นแหละ แม้รูปนั้นก็กลับออกไป แล้วบอกต่อแก่รูปอื่น

อุบาสิกาก็ถวายแก่ภิกษุนั้นเช่นกัน เลยต้องถวายแก่ภิกษุต่อ ๆ กัน

อย่างนี้ถึง ๔ รูป ขนมตามที่ตระเตรียมไว้ก็หมดสิ้นไป นางกาณา

ก็ยังไม่พร้อมที่จะไปได้ ครั้งนั้น สามีของนางกาณา ก็ส่งทูต

ไปซ้ำเป็นครั้งที่ ๒ พอครั้งที่ ๓ ส่งทูตไปพร้อมกับคำขาดว่า

ถ้านางกาณาจักยังไม่ยอมมา เราจักนำหญิงอื่นมาเป็นภรรยา

แม้ตลอดวาระทั้ง ๓ นางกาณาก็ไม่พร้อมที่จะไปได้ ด้วยข้อ

ขัดข้องนั้นแหละ สามีของหางจึงนำหญิงอื่นมาเป็นภรรยา นาง-

กาณาได้ฟังเรื่องราวข่าวนั้นแล้ว ก็ก่นแต่ร้องไห้.

พระศาสดาทรงทราบเรื่องนั้น ครั้นรุ่งเช้าทรงครองผ้า

ถือบาตร จีวร ไปยังนิเวศน์ของกาณมารดา ประทับนั่งเหนือ

อาสนะที่จัดถวาย แล้วตรัสถามมารดานางกาณาว่า กาณานี้

ร้องไห้เพราะเหตุไร ? ครั้นทรงสดับว่า ด้วยเหตุชื่อนี้ จึงตรัส

ปลอบกาณมารดา แสดงธรรมีกถา ลุกจากอาลนะกลับพระวิหาร

ครั้งนั้น ความที่ภิกษุทั้ง ๔ รูปนั้น รับเอาขนมที่ตระเตรียมไว้

จนเป็นเหตุตัดรอนการไปของนางกาณา ก็ระบือไปในหมู่ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 543

ครั้นวันหนึ่ง พวกภิกษุจึงยกเรื่องขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า

ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ ๔ รูป ฉันขนมที่มารดานางกาณาทอดไว้

๓ ครั้ง ทำให้นางกาณาไปไม่ได้ เลยถูกผัวทิ้ง ทำความโทมนัส

ให้บังเกิดแก่มหาอุบาสิกา พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วย

เรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุทั้ง ๔ เหล่านั้น

กินของของกาณมารดา แล้วทำความโทมนัสให้เกิดแก่นาง แม้

ในครั้งก่อนก็เคยทำให้นางเกิดโทมนัสมาแล้ว ทรงนำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลช่างสลักหิน

เจริญวัยแล้ว ศึกษาศิลปะสำเร็จแล้ว ในนิคมแห่งหนึ่ง ณ แคว้น-

กาสี ได้มีเศรษฐีมีสมบัติมากอยู่คนหนึ่ง ฝังเงินไว้ ๔๐ โกฏิ.

ภรรยาของเขาตายไปแล้ว เพราะความห่วงในทรัพย์ จึงเกิดเป็น

หนู อยู่บนกองทรัพย์ ตระกูลนั้นทั้งหมดถึงความย่อยยับไป

โดยลำดับด้วยประการฉะนี้ ผู้สืบสายก็ขาดตอน แม้บ้านนั้น

ก็ถูกทอดทิ้งไว้จนร้าง ถึงความเป็นบ้านที่หมดบัญญัติ ขาด

ความหมาย ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ขุดหินในบ้านเก่านั้นมาสลัก.

ฝ่ายนางหนูนั้นเที่ยวหากิน เห็นพระโพธิสัตว์บ่อย ๆ ก็

เกิดความรัก คิดว่า ทรัพย์ของเรามากมาย จักฉิบหายเสียโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 544

ไร้เหตุ เราจักร่วมกับบุรุษนี้ใช้จ่ายทรัพย์นี้ วันหนึ่ง นางจึง

คาบทรัพย์ ๑ กษาปณ์ ไปสู่สำนักพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์

เห็นนางแล้ว ก็ปราศรัยด้วยวาจาน่ารัก กล่าวว่า แม่คุณเอ๋ย

คาบเอากษาปณ์มาทำไมเล่า ? นางตอบว่า พ่อคุณ ท่านจงรับ

กษาปณ์นี้ไปใช้ส่วนตนบ้าง นำเนื้อมาเผื่อฉันบ้าง พระโพธิสัตว์

รับคำนี้แล้ว เอากษาปณ์ไปสู่พระนคร ซื้อเนื้อมาสกหนึ่งแล้ว

นำมาให้นาง นางรับเอาเนื้อไปสู่ที่อยู่ของตน เคี้ยวกินตาม

พอใจ นับแต่นั้นมา หนูก็ให้กษาปณ์แก่พระโพธิสัตว์ทุกวัน

โดยทำนองนี้แล แม้พระโพธิสัตว์ก็นำเนื้อมาให้หนูทุกวัน.

อยู่มาวันหนึ่ง แมวจับนางหนูนั้นได้ ครั้งนั้นนางหนูพูด

กับมันอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย ท่านอย่าฆ่าเราเลยนะ แมวถามว่า

เรื่องอะไรเราจะไม่ฆ่า เราหิวอยากกินเนื้อ ไม่อาจจะไว้ชีวิต

เจ้าได้ นางหนูถามว่า ก็ท่านอยากจะได้กินเนื้อเพียงวันเดียว

เท่านั้น หรืออยากจะได้กินตลอดไป ? แมวตอบว่า เมื่อได้

เราก็อยากได้กินตลอดไป นางหนูจึงพูดว่า ถ้าเช่นนั้น เราจักให้

เนื้อท่านตลอดไป ท่านจงปล่อยเราเถิด ทีนั้นแมวก็กำชับหนูว่า

ถ้าเช่นนั้น เจ้าอย่าลืมเสียนะ แล้วก็ปล่อยไป ตั้งแต่นั้น นางหนู

ก็แบ่งเนื้อที่พระโพธิสัตว์นำมาให้ตนเป็นสองส่วน ให้แมวเสีย

ส่วนหนึ่ง กินเองส่วนหนึ่ง อยู่มาวันหนึ่ง นางถูกแมวตัวอื่นจับ

ได้อีก นางหนูก็ต้องร้องขอให้มันตกลงทำนองเดียวกัน แล้วให้

ปล่อยตน ตั้งแต่นั้น ก็ต้องแบ่งเนื้อออกเป็นสามส่วน ครั้นถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 545

แมวอื่นจับได้อีก ก็คงขอร้องให้ปล่อยตน ด้วยวิธีนั้นแหละ จำเดิม

แต่นั้น ก็ต้องแบ่งเนื้อออกเป็น ๔ ส่วน ต่อมาถูกแมวอื่นจับได้

อีก ก็ขอร้องให้ปล่อยตนด้วยวิธีนั้นอีก นับแต่นั้นมา ก็ต้องแบ่ง

กินกันถึง ๕ ส่วน นางหนูกินส่วนที่ ๕ เพราะมีอาหารน้อย

จึงลำบาก ซูบผอม มีเนื้อและเลือดน้อย.

พระโพธิสัตว์เห็นนางหนูนั้นแล้ว กล่าวว่า แม่คุณเอ๋ย

ทำไมจึงซูบเซียวเหี่ยวแห้งไปเล่า ? ครั้นนางหนูบอกเหตุแล้ว

ก็กล่าวว่า ทำไมไม่บอกฉัน จนป่านนี้ ฉันจักช่วยทำกิจในเรื่องนี้

เอง ทำให้นางหนูเบาใจแล้ว กระทำรู้ถ้ำด้วยแก้วผลึกใด นำมา

มอบให้ สั่งว่า แม่คุณ เจ้าจงเข้าไปสู่ถ้ำนี้ นอนเสีย แล้วตวาดแมว

ที่พากันมา ด้วยวาจาที่หยาบคาย นางแมวก็เข้าถ้ำนอน ครั้นแมว

ตัวที่หนึ่งมาหานางว่า เจ้าจงให้เนื้อแก่เรา นางหนูก็ตวาดมันว่า

ไอ้แมวชั่วตัวร้าย กูเป็นขี้ข้าหาเนื้อให้มึงหรือ จงไปกินเนื้อลูก ๆ

ของมึงเถิด แมวไม่รู้ว่า นางนอนในถ้ำแก้วผลึก ด้วยอำนาจ

ความโกรธ จึงไปโดยเร็วด้วยหมายจักจับหนูให้ได้ เลยเอาทรวงอก

กระแทกเข้ากับถ้ำแก้วผลึก หัวใจของมันแตกทันที ตาทั้งคู่ถลน

ออกมา มันสิ้นชีวิตตรงนั้นเอง แล้วล่วงไปในที่รก ๆ ข้างหนึ่ง

ด้วยอุบายนี้ แมวทั้ง ๔ แม้แต่ละตัว ๆ ต่างก็พากันสิ้นชีวิต

หมด นับแต่นั้นมาหนูก็ปลอดภัย ให้กษาปณ์ ๒-๓ กษาปณ์แก่

พระโพธิสัตว์ทุก ๆ วัน ต่อมาก็ได้มอบทรัพย์ทั้งหมดให้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 546

พระโพธิสัตว์เพียงผู้เดียว ด้วยอุบายอย่างนี้ ทั้งคู่มิได้ทำลาย

ไมตรีกันจนสิ้นชีวิต แล้วต่างก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ครั้นตรัสรู้

แล้ว ตรัสพระคาถานี้ ความว่า :-

" แมวตัวหนึ่งได้หนูหรือเนื้อในที่ใด แมว

ตัวที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔ ก็เกิดขึ้นในที่นั้น แมว

เหล่านั้นทั้งหมด ได้พากันเอาอกฟาดแก้วผลึกนี้

แล้วถึงความสิ้นชีวิต" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺถ แปลว่า ในที่ใด.

บทว่า พพฺพุ แปลว่า แมว.

บทว่า ทุติโย ตตฺถ ชายติ ความว่า แมวตัวที่หนึ่งได้หนู

หรือเนื้อในที่ใด แม้ตัวที่สองก็เกิดในที่นั้นได้ ตัวที่สาม ที่สี่

ก็เกิดตาม ๆ กันมาทำนองนั้น ด้วยอาการอย่างนี้ แมวเหล่านั้น

ในครั้งนั้นจึงรวมเป็น ๔ ตัว ก็แลรวมกันแล้ว ก็กินเนื้อทุกวัน

แมวเหล่านั้น เอาอกกระแทกถ้ำทำด้วยแก้วผลึกนี้ ถึงความ

สิ้นชีวิตไปหมดแล้ว.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประชุม

ชาดกว่า แมวทั้ง ๔ ในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุทั้ง ๔ นางหนูได้มา

เป็นมารดานางกาณา ส่วนช่างแก้วผู้สลักหินได้มาเป็นเรา

ตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาพัพพุชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 547

๘. โคธชาดก

ว่าด้วยฤๅษีกินเหี้ย

[๑๓๘] "เหวยชฏิล ปัญญาทราม เจ้ามุ่นชฏาทำไม

นุ่งหนังเสือทำไม ข้างในของเจ้ารุงรัง เจ้ามัว

ขัดสีแต่ภายนอก"

จบ โคธชาดกที่ ๘

อรรถกถาโคธชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า กินฺเต ชฏาหิ ทุมฺเมธ ดังนี้.

เรื่องปัจจุบัน เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดเหี้ย ครั้งนั้น

ดาบสรูปหนึ่ง ได้อภิญญา ๕ มีตะบะกล้า อาศัยปัจจันตคาม

ตำบลหนึ่ง อยู่ ณ บรรณศาลาชายป่า พวกชาวบ้านช่วยกันบำรุง

พระดาบสด้วยความเคารพ พระโพธิสัตว์ ก็ได้อยู่ในจอมปลวก

แห่งหนึ่ง ณ ที่สุดที่จงกรมของท่าน ก็แลเมื่ออยู่นั้น ได้ไปหา

พระดาบสวันละ ๓ ครั้งทุก ๆ วัน ฟังคำอันประกอบด้วยเหตุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 548

ประกอบด้วยผลแล้ว ไหว้พระดาบสแล้วกลับไปสู่ที่อยู่ของตน

ต่อมาพระดาบสก็อำลาพวกชาวบ้านหลีกไป ก็แลเมื่อพระดาบส

ผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตรนั้นหลีกไปแล้ว มีดาบสโกงอื่น มา

พำนักอยู่ในอาศรมบทนั้น พระโพธิสัตว์กำหนดว่า แม้ท่านผู้นี้

ก็มีศีล จึงได้ไปสู่สำนักของเขาโดยนัยก่อนนั่นแล อยู่มาวันหนึ่ง

เมื่อเมฆตั้งขึ้นในสมัยใช่กาล ยังฝนให้ตกลงมาในฤดูแล้ง ฝูง

แมลงเม่าพากันออกจากจอมปลวกทั้งหลาย ฝูงเหี้ยก็พากันออก

เที่ยวหากินแมลงเม่าเหล่านั้น พวกชาวบ้านก็พากันออกจับเหี้ย

ที่กินแมลงเม่าได้เป็นอันมาก แล้วจัดทำเป็นเนื้อส้ม ปรุงด้วย

เครื่องปรุงอันอร่อย ถวายพระดาบส ดาบสฉันเนื้อล้มแล้ว

ติดใจในรส จึงถามว่า เนื้อนี้อร่อยยิ่งนัก เนื้อนั้นเป็นเนื้อของสัตว์

ประเภทไหน ? ครั้นได้ยินเขาบอกว่าเนื้อเหี้ย ก็ดำริว่า เหี้ย

ตัวใหญ่มาในสำนักของเรา จักฆ่ามันกินเนื้อเสีย แล้วให้คนขน

ภาชนะสำหรับต้มแกง และวัตถุมีเนยใสและเกลือเป็นต้น วางไว้

ข้างหนึ่ง ถือไม้ค้อนซ่อนไว้ด้วยผ้าห่ม คอยการมาของพระโพธิสัตว์

อยู่ที่ประตูบรรณศาลา นั่งวางท่าทำเป็นเหมือนสงบเสงี่ยม.

ในเวลาเย็น พระโพธิสัตว์ คิดว่า เราจักไปหาดาบส

แล้วออกเดิน ขณะที่กำลังเข้าไปใกล้นั่นเอง ได้เห็นข้อผิดแผกแห่ง

อินทรีย์ของเขา จึงคิดว่า ดาบสนี้มิได้นั่งด้วยท่าทางที่เคยนั่ง

ในวันอื่น ๆ แม้จะมองดูเราในวันนี้เล่า ก็ชำเลืองเป็นที่เคลือบแฝง

ต้องคอยจับตาดูให้ดี ดังนี้ พระโพธิสัตว์จึงไปยืนใต้ทิศทางลม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 549

ของดาบส ได้กลิ่นเนื้อเหี้ย จึงคิดว่า วันนี้ ดาบสโกงนี้คงฉัน

เนื้อเหี้ย ติดใจในรสแล้ว คราวนี้มุ่งจะตี ราผู้เข้าไปหาด้วยไม้ค้อน

แล้วเอาเนื้อไปต้มแกงกินเป็นแน่ ก็ไม่ยอมเข้าไปใกล้เขา ถอยกลับ

วิ่งไป ดาบสรู้ความที่พระโพธิสัตว์ไม่ยอมมา ก็คิดว่า เหี้ยตัวนี้

คงจะรู้ตัวว่าเรามุ่งจะฆ่ามัน ด้วยเหตุนั้น จึงไม่เข้ามา แม้ถึง

เมื่อมันจะไม่เข้ามา ก็ไม่พันมือไปได้ แล้วเอาไม้ค้อนออกขว้างไป

ไม้ค้อนนั้นกระทบเพียงปลายหางของพระโพธิสัตว์เท่านั้น พระ-

โพธิสัตว์เข้าจอมปลวกไปโดยเร็ว โผล่ศีรษะออกมาทางช่องอื่น

กล่าวว่า เหวยชฎิลเจ้าเล่ห์ เมื่อเราเข้าไปหาเจ้า ก็เข้าไปหา

ด้วยสำคัญว่าเป็นผู้มีศีล แต่เดี๋ยวนี้ความเจ้าเล่ห์ของเจ้า เรารู้

เสียแล้ว มหาโจรอย่างเจ้าบวชไปทำไมกัน เมื่อจะติเตียนดาบส

จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

" เหวยชฎิลปัญญาทราม เจ้ามุ่นชฎาทำไม

นุ่งหนังเสือทำไม ข้างในของเจ้ารุงรัง เจ้ามัว

ขัดสีแต่ภายนอก" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺเตหิ ชฏาหิ ทุมฺเมธ ความว่า

เหวยชฏิล ปัญญาทราม ไร้ความรอบรู้ การมุ่นชฏานี้ อันผู้เว้น

จากการเบียดเบียน จึงควรธำรงไว้ อธิบายว่า เจ้าปราศจากคุณ

คือการเว้นจากความเบียดเบียนเสียแล้ว จะมุ่นชฎานั้นไว้ทำไม

เล่า ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 550

บทว่า กินฺเต อชินิสาฏิยา ความว่า จำเดิมแต่เวลาที่เจ้า

ไม่มีสังวรคุณ อันคูควรกัน เจ้าจะนุ่งหนังเสือทำไมเล่า ?

บทว่า อพฺภนฺตรนฺเต คหน ความว่า ภายในคือหัวใจ

ของเจ้า รุงรัง หนาแน่นด้วยเครื่องรุงรัง คือราคะ โทสะ โมหะ.

บทว่า พาหิรมฺปริมชฺชสิ ความว่า เจ้านั้นเมื่อภายใน

ยังรุงรัง ยังมัวขัดสีข้างนอกด้วยการอาบน้ำเป็นต้น และด้วยการ

ถือเพศ เมื่อมัวแต่ขัดข้างนอก เจ้าก็เป็นเหมือนกระโหลกน้ำเต้า

ที่เต็มด้วยรัง เป็นเหมือนตุ่มเต็มด้วยยาพิษ เป็นเหมือนจอมปลวก

ที่เต็มด้วยอสรพิษ และเป็นเหมือนหม้อที่วิจิตรเต็มด้วยคูถ ซึ่ง

เกลี้ยงเกลาแต่ข้างนอกเท่านั้น เจ้าเป็นโจร จะอยู่ที่นี่ทำไม

รีบหนีไปเสียโดยเร็วเถิด ถ้าเจ้าไม่หนีไป เราจักบอกชาวบ้าน

ให้ทำการขับไล่ข่มขื่นชี่เจ้า.

พระโพธิสัตว์คุกคามดาบสเจ้าเล่ห์อย่างนี้แล้ว ก็เข้าลู่

จอมปลวก แม้ดาบสเจ้าเล่ห์ก็หลบไปจากที่นั้น.

พระศาลดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า ดาบสโกงในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุหลอกลวงนี้ ดาบ

ผู้มีศีลองค์นั้นได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนโคธบัณฑิตได้มาเป็น

เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาโคธชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 551

๙. อุภโตภัตถชาดก

ว่าด้วยผู้เสียหายทั้งทางน้ำทางบก

[๑๓๕] " ตาของเจ้าก็แตก ผ้าของเจ้าก็หาย ภรรยา

ของเจ้าก็ทะเลาะกับหญิงเพื่อนบ้าน การงาน

ทั้งหลายเสียหายทั้งสองด้าน ทั้งในน้ำ ทั้งบนบก"

จบอุภโตภัตถชาดกที่ ๘

อรรถกถาอุภโตภัตถชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน

ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

อกฺขี ภินฺนา ปโฏ นฏฺโ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้นภิกษุทั้งหลาย พากันยกเรื่องขึ้น

สนทนากันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ขอนไม้ไหม้ไฟ

ทั้งสองข้าง ท่ามกลางเปื้อนคูถ ไม่อำนวยประโยชน์สมเป็นไม้

ในป่า ไม่อำนวยประโยชน์สมเป็นไม้ในบ้าน แม้ฉันใดเล่า พระ-

เทวทัต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บวชแล้วในพระศาสนา อันประกอบ

ด้วยธรรมเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ เห็นปานนี้ ยังพลาด

เสื่อมถอยจากประโยชน์ทั้งสองด้านเสียได้ คือเสื่อมถอยจาก

โภคะแห่งคฤหัสถ์ ทั้งไม่สามารถทำประโยชน์แห่งความเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 552

สมณะให้บริบูรณ์ได้ พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่อง

อะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น ที่เทวทัตพลาดจาก

ประโยชน์ทั้งสองด้าน แม้ในอดีต ก็ได้เคยพลาดจากประโยชน์

ทั้งสองด้านมาแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องให้อดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดา

ในครั้งนั้น พวกพรานเบ็ด อยู่กันเป็นชุมนุม ณ หมู่บ้านตำบลหนึ่ง

ครั้งนั้นพรานเบ็ดคนหนึ่ง ถือเบ็ดไปกับลูกชายรุ่นหนุ่ม ไปที่บึง

ซึ่งพวกพรานเบ็ดพากันจับปลาโดยปกติอยู่ แล้วลงเบ็ด เบ็ดติด

ที่ตอ ๆ หนึ่งใต้น้ำ พรานเบ็ดไม่สามารถจะดึงขึ้นมาได้ ก็คิดว่า

เบ็ดคงติดปลาตัวใหญ่ เราต้องส่งลูกชายไปหาแม่ ให้ก่อการทะเลาะ

กับพวกคนใกล้เคียง เมื่อเป็นเช่นนี้ ใคร ๆ ก็จะไม่คอยจ้อง

จะเอาส่วนแบ่งจากปลาตัวนี้ แล้วบอกลูกชายว่า ไปเถิดลูก เจ้า

จงไปบอกแม่ ถึงเรื่องที่เราได้ปลาตัวใหญ่ ให้แม่เขาก่อการ

ทะเลาะวิวาทกับคนใกล้เคียงเสีย ครั้นเขาส่งลูกไปแล้ว เมื่อไม่

อาจจะดึงเบ็ดมาได้ เกรงสายเบ็ดจะขาด จึงแก้ผ้าวางไว้บนบก

โดดลงน้ำ เพราะอยากได้ปลา หาได้พิจารณาว่าจะเป็นปลา

หรือไม่ จึงกระทบเข้ากับตอ นัยน์ตาแตกทั้งสองข้าง ผ้านุ่งที่วางไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 553

บนบกเล่า ขโมยก็ลักไปเสีย เขาเจ็บปวดเอามือกุมนัยน์ตา

ทั้งสองข้างไว้ ขึ้นจากน้ำ ซมซานหาผ้านุ่ง ฝ่ายว่าภรรยาของเขา

คิดว่า เราจักก่อการทะเลาะ ทำให้ใคร ๆ ไม่จ้องขอส่วนแบ่ง

ดังนี้แล้วเอาใบตาลประดับหูข้างหนึ่งเท่านั้น ตาข้างหนึ่งก็มอมเสีย

อุ้มลูกหมาใส่สะเอว เดินไปนั่งหัวบ้านท้ายบ้าน ครั้งนั้นหญิง

เพื่อนกันคนหนึ่ง คะนองอย่างนี้ว่า เจ้าเอาใบตาลมาประดับ

ที่หูข้างเดียวเท่านั้น ตาข้างหนึ่งก็มอมเสีย อุ้มลูกหมาใส่สะเอว

ปานประหนึ่งว่าเป็นลูกรัก เดินไปหัวบ้านท้ายบ้าน เจ้าเป็นบ้า

ไปแล้วหรือ ? นางกล่าวว่า ไม่ได้เป็นบ้า ก็เจ้ามาคำว่าเราโดย

หาเหตุมิได้ บัดนี้เราจักพาเจ้าไปหานายอำเภอ ให้ปรับเจ้าเสีย

แปดกษาปณ์ ครั้นทะเลาะกันอย่างนี้แล้ว คนทั้งสองก็พากันไป

ยังที่ว่าการอำเภอ เมื่อนายอำเภอชำระข้อพิพาทของหญิงทั้งสอง

นั้น ก็ปรับหญิงผู้เป็นภรรยาของพรานเบ็ดซ้ำเข้าอีก คนทั้งหลาย

ก็มัดนาง เร่งรัดว่า จงให้ค่าปรับ แล้วเริ่มเฆี่ยน รุกขเทวดา

เห็นพฤติกรรมนี้ของนางในบ้าน และความฉิบหายของผัวนั้น

ในป่า ก็ยืนที่ค่าคบไม้ กล่าวว่า ดูก่อนเจ้าคนถ่อย การงาน

ของเจ้าเสื่อมเสียหมดแล้ว ทั้งในน้ำ ทั้งบนบก เจ้าพลาดเสียแล้ว

จากประโยชน์ทั้งสองสถาน แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"ตาของเจ้าก็แตก ผ้าของเจ้าก็หาย

ภรรยาของเจ้าก็ทะเลาะกับหญิงเพื่อนบ้าน การ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 554

งานทั้งหลายเสียหายทั้งสองด้าน ทั้งในน้ำ ทั้ง

บนบก" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สขีเคเห จ ภณฺฑน ความว่า

หญิงผู้เป็นสหายชื่อว่า เพื่อน ขยายความว่า เมียของเจ้าทำความ

ร้าวฉาน ในเรือนของหญิงผู้เป็นสหายนั้น ถูกจับมัดเฆี่ยนลงทัณฑ์.

บทว่า อุภโต ปทุฏฺา ความว่า การงานในฐานะทั้งสอง

ของเจ้า เสียหาย ย่อยยับ อย่างนี้ทีเดียว.

ถามว่า ในฐานะทั้งสองอย่างไหนบ้าง ?

ตอบว่า ทั้งทางน้ำ และทั้งทางบก ได้แก่การงานในน้ำ

เสียหายเพราะนัยน์ตาแตก และผ้านุ่งถูกขโมยลัก การงาน

บนบกเสียหาย เพราะเมียทำความร้าวฉานกับเพื่อนบ้าน ถูกจับ

มัดเฆี่ยนลงทัณฑ์.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า พรานเบ็ดในครั้งนั้น ได้มาเป็นเทวทัต ส่วนรุกขเทวดา

ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอุภโตภัตถชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 555

๑๐. กากชาดก

ว่าด้วยกาไม่มีมันเหลว

[๑๔๐] " ฝูงกามีใจหวาดสะดุ้งเป็นนิตย์ ชอบ

เบียดเบียนชาวโลกทั้งมวล เหตุนั้น มันเหลว

ของฝูงกาผู้เป็นญาติ ของข้าพเจ้าเหล่านั้น จึง

ไม่มี"

จบกากชาดกที่ ๑๐

อรรถกถากากชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภการประพฤติประโยชน์แก่พระประยูรญาติ ตรัสพระ-

ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นิจฺจ อุพฺพิคฺคหทยา ดังนี้.

เรื่องในปัจจุบัน จักมีปรากฏในภัททสาลชาดก ทวาทสนิบาต.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกา อยู่มา

วันหนึ่ง ปุโรหิตของพระราชา อาบน้ำในแม่น้ำนอกพระนคร

ปะแป้ง แต่งกาย ประดับดอกไม้ นุ่งผ้าสมศักดิ์ศรี กำลังเดิน

เข้าพระนคร ที่ยอดเสาค่ายใกล้ประตูพระนคร กาสองตัวกำลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 556

จับอยู่ ในสองตัวนั้น กาตัวหนึ่ง พูดกับอีกตัวหนึ่งว่า สหาย เรา

จักขี้รดหัวพราหมณ์นี้ อีกตัวหนึ่งค้านว่า เจ้าอย่านึกสนุกอย่างนั้น

เลย พราหมณ์นี้เป็นคนใหญ่คนโต ขึ้นชื่อว่าการก่อเวรกับ

อิสสรชน ละก็ร้ายนัก เพราะแกโกรธขึ้นมาแล้วพึงทำกาแม้

ทั้งหมดให้ฉิบหายได้ กาตัวนั้นพูดว่า เราไม่อาจยับยั้งเปลี่ยนใจ

ได้เสียแล้ว อีกตัวหนึ่งกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจักได้รู้ดอก

แล้วบินหนีไป กาตัวหนึ่ง เวลาพราหมณ์ลอดส่วนล่างแห่งเสาค่าย

ก็ทำเป็นย่อตัวลงขี้รดหัวพราหมณ์นั้น พราหมณ์โกรธ ผูกเวร

ในฝูงกา.

ครั้งนั้น หญิงทาสีรับจ้าซ้อมข้าวคนหนึ่ง เอาข้าวเปลือก

ผึ่งแดดไว้ที่ประตูเรือน นั่งคอยเฝ้าอยู่นั่นแล หลับไป แพะขนยาว

ตัวหนึ่งรู้ว่าหญิงนั้นประมาท มากินข้าวเปลือกเสีย นางตื่นขึ้น

เห็นมันก็ไล่ไป แพะแอบมากินข้าวเปลือกในเวลาที่นางหลับ

อย่างนั้นนั่นเหละ สอง-สามครั้ง แม้นางก็ไล่มันไป ทั้งสามครั้ง

แล้วคิดว่า เมื่อมันกินบ่อยครั้ง จักกินข้าวเปลือกไปตั้งครึ่งจำนวน

เราต้องเข้าเนื้อไปมากมาย คราวนี้ต้องทำไม่ให้มันมาได้อีก

นางจึงถือได้นั่งทำเป็นหลับ เมื่อแพะเข้ามากินข้าวเปลือก ก็ลุก

ขึ้นขว้างแพะด้วยไต้ ขนแพะก็ติดไฟ เมื่อร่างกายถูกไฟไหม้

มันคิดจักให้ไฟดับ จึงวิ่งไปโดยเร็ว เอาตัวสีที่กระท่อมหญ้า

แห่งหนึ่งใกล้โรงช้าง กระท่อมนั้นก็ลุกโพลงไป เปลวไฟที่เกิด

จากกระท่อมนั้น ลามไปติดโรงช้าง เมื่อโรงช้างไหม้ หลังช้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 557

ก็พลอยไหม้ไปด้วย ช้างจำนวนมาก ต่างมีตัวเป็นแผลไปตาม ๆ กัน

พวกหมอไม่สามารถจะรักษาให้หายได้ พากันกราบทูลพระราชา

พระราชาจึงตรัสกับปุโรหิตว่า ท่านอาจารย์ หมอช้างหมด

ฝีมือที่จะรักษาฝูงช้าง ท่านพอจะรู้จักยาอะไร ๆ บ้างหรือ ?

ปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าพระองค์กราบเกล้า ฯ อยู่พระเจ้าข้า

รับสั่งถามว่า ได้อะไรถึงจะควร ? กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

ต้องได้น้ำมันกาพระเจ้าข้า รับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงสั่ง

ให้คนฆ่ามา เอาน้ำมันมาเถิด จำเดิมแต่นั้น คนทั้งหลายก็พากัน

ฆ่ากา ไม่ได้น้ำมัน ก็ทิ้งสุมไว้เป็นกอง ๆ ในที่นั้น ๆ ภัยอย่าง

ใหญ่หลวงเกิดแก่ฝูงกาแล้ว.

ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ มีฝูงกาแปดหมื่นเป็นบริวาร อาศัย

อยู่ในป่าช้าใหญ่ มีกาตัวหนึ่งมาบอกแก่พระโพธิสัตว์ ถึงภัย

ที่เกิดแก่ฝูงกา พระโพธิสัตว์ดำริว่า ยกเว้นเราเสียแล้ว ผู้อื่น

ที่จะสามารถบำบัดภัยที่กำลังเกิดขึ้นแก่หมู่ญาติของเราได้ไม่มี

เลย เราต้องบำบัดภัยนั้น แล้วรำลึกถึงบารมี ๑๐ ประการ

กระทำเมตตาบารมีให้เป็นเบื้องหน้า บินรวดเดียวเท่านั้น เข้าไป

ในช่องพระแกลใหญ่ที่เปิดไว้ เข้าไปซุกอยู่ภายใต้พระราชอาสน์

ครั้งนั้น อำมาตย์ผู้หนึ่ง ทำท่าจะจับพระโพธิสัตว์ พระราชา

ตรัสห้ามว่า มันเข้ามาหาที่พึ่ง อย่าจับมันเลย พระมหาสัตว์พัก

หน่อยหนึ่ง แล้วรำลึกถึงพระบารมี ออกจากใต้อาสนะ กราบทูล

พระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ธรรมดาพระราชา ต้องไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 558

ลุอำนาจอคติ มีฉันทาคติเป็นต้นจึงจะชอบ กรรมใด ๆ ที่จะต้อง

กระทำ กรรมนั้น ๆ ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วกระทำ จึง

จะชอบ อนึ่ง กรรมใดที่จะกระทำ ต้องได้ผล กรรมนั้นเท่านั้น

จึงจะควรกระทำ นอกนี้ไม่ควรการทำ ก็ถ้าพระราชาทั้งหลาย

มาทรงกระทำกรรมที่ทำไปไม่สำเร็จผลเลยอยู่ไซร้ มหาภัย

มีมรณภัยเป็นที่สุด ย่อมบังเกิดแก่มหาชน ปุโรหิตตกอยู่ใน

อำนาจของการจองเวร ได้กราบทูลเท็จ ขึ้นชื่อว่า มันเหลวของ

ฝูงกาไม่มีเลย พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว มีพระทัยเลื่อมใส

ให้พระโพธิสัตว์เกาะบนตั่งอันแพรวพราวด้วยทองคำ ให้คน

ทาช่วงปีกด้วยน้ำมันที่หุงแล้วได้แสนครั้ง ให้บริโภคอาหารที่สะอาด

สมควรเป็นพระกระยาหาร ให้ดื่มน้ำ พอพระมหาสัตว์สบาย

หายความเหน็ดเหนื่อยแล้ว จึงได้ตรัสคำนี้ว่า พ่อบัณฑิต เธอ

กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่ามันเหลวของฝูงกา ไม่มี ด้วยเหตุไรเล่า มันเหลว

ของฝูงกาจึงไม่มี พระโพธิสัตว์เมื่อจะกราบทูลชี้แจงว่า ด้วยเหตุนี้ ๆ

พระเจ้าข้า กระทำพระราชวังทั้งสิ้นให้เป็นเสียงเดียวกัน แสดง

ธรรม กล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"ฝูงกามีใจหวาดสะดุ้งเป็นนิตย์ ชอบ

เบียดเบียนชาวโลกทั้งมวล เหตุนั้น มันเหลว

ของฝูงกาผู้เป็นญาติของข้าพระองค์เหล่านั้น

จึงไม่มี" ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 559

ในคาถานั้น มีความสังเขปดังนี้ :- ข้าแต่มหาราชเจ้า

ธรรมดาฝูงกามีใจสะดุ้ง คือคอยแต่หวาดกลัวอยู่เป็นนิจทีเดียว.

บทว่า สพฺพโลกวิเหสกา ความว่า กาทั้งหลายชอบเที่ยว

เบียดเบียน ข่มเหง มนุษย์ที่เป็นใหญ่มีกษัตริย์เป็นต้นบ้าง

หญิงชายทั่วไปบ้าง เด็กชายเด็กหญิงเป็นต้นบ้าง เหตุนั้น คือ

ด้วยเหตุสองประการนี้ ขึ้นชื่อว่ามันเหลวของฝูงกาผู้เป็นญาติ

ของข้าพระองค์เหล่านั้นจึงไม่มี แม้ในอดีตก็ไม่เคยมี แม้ใน

อนาคต ก็จักไม่มี.

พระโพธิสัตว์ เปิดเผยเหตุนี้ด้วยประการฉะนี้ แล้วทูลเตือน

พระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ธรรมดาพระราชามิได้ทรง

พิจารณาใคร่ครวญแล้ว ไม่พึงปฏิบัติพระราชกิจ พระราชาทรง

พอพระทัย บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยราชสมบัติ พระโพธิสัตว์

ถวายราชสมบัติคืนแด่พระราชาดังเดิม ให้พระราชาดำรงอยู่

ในเบญจศีล ทูลขอพระราชทานอภัยแก่สัตว์ทั้งปวง พระราชา

ทรงสดับธรรมเทศนาแล้ว โปรดพระราชทานอภัยแก่สรรพสัตว์

ทรงตั้ง นิพัทธทาน (ทานที่ให้ประจำ) แก่ฝูงกา ให้หุงข้าว

ประมาณวันละหนึ่งถัง คลุกด้วยของที่มีรสเลิศต่าง ๆ พระราชทาน

แก่กาทุก ๆ วัน ส่วนพระมหาสัตว์ ได้รับพระราชทานพระ-

กระยาหารทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 560

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า พระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้นได้มาเป็นอานนท์ ส่วน

พระยากา ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากากชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสัมปทานชาดก ๒. ปัญจภีรุกชาดก ๓. ฆตาสนชาดก

๔. ฌาณโสธนชาดก ๕. จันทาภชาดก ๖. สุวัณณหังสชาดก

๗. พัพพุชาดก ๘. โคธชาดก ๙. อุภโตภัตถชาดก ๑๐. กากชาดก

จบ อสัมปทานวรรคที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 561

๑๕. กกัณฏกวรรค

๑. โคธชาดก

คบคนชั่ว ไม่มีความสุข

[๑๔๑] "ผู้คบคนชั่ว ย่อมไม่ได้ความสุข โดย

ส่วนเดียว เขาย่อมทำตนให้ถึงความพินาศ

เหมือนอย่างตระกูลเหี้ย พาตนและหมู่คณะถึง

ความวอดวาย เพราะกิ้งก่า ฉะนั้น"

จบ โคธชาดกที่ ๑

อรรถกถากกัณฏกวรรคที่ ๑๕

อรรถกถาโคธชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน

ทรงปรารภภิกษุคบหาฝ่ายผิดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า น ปาปชนสเสวี ดังนี้.

เรื่องปัจจุบัน ก็เช่นเดียวกับเรื่องที่กล่าวแล้วใน มหิฬามุข-

ชาดก นั้นแล.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดเหี้ย ครั้น

๑. ขุ. ชา ๒๗/๒๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 562

เติบใหญ่แล้ว มีเหี้ยหลายร้อยเป็นบริวาร พำนักอยู่ในโพรงใหญ่

ใกล้ฝั่งแม่น้ำ บุตรของพระโพธิสัตว์นั้น ชื่อว่าโคธปิลลิกะ ทำ

ความสนิทสนมเป็นเพื่อนเกลอกันกับกิ้งก่า (ป่อมข่าง) ตัวหนึ่ง

เย้าหยอกกันกับมัน ขึ้นทับมันไว้ด้วยคิดว่า เราจักกอดกิ้งก่า

ฝูงเหี้ยพากันบอกความสนิทสนม ระหว่างโคธปิลลิกะกับกิ้งก่า

นั้น ให้พญาเหี้ยทราบ พญาเหี้ยจึงเรียกบุตรมาหา กล่าวว่า

ลูกเอ๋ย เจ้าทำความสนิทสนมกันในที่ไม่บังควรเลย ธรรมดา

กิ้งก่าทั้งหลาย มีกำเนิดต่ำ ไม่ควรทำความสนิทสนมกับมัน ถ้า

เจ้าขืนทำความสนิทสนมกับมัน สกุลเหี้ยแม้ทั้งหมด จักต้อง

พินาศเพราะอาศัยมันแน่นอน ต่อแต่นี้ไปเจ้าอย่าได้ทำความ

สนิทสนมกับมันเลย โคธปิลลิกะ ก็คงยังทำอยู่เช่นนั้น แม้ถึง

พระโพธิสัตว์จะพูดอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่สามารถจะห้ามความสนิทสนม

ระหว่างเขากับมันได้ จึงดำริว่า อาศัยกิ้งก่าตัวหนึ่ง ภัยต้อง

บังเกิดแก่พวกเราเป็นแน่ ควรจัดเตรียมทางหนีไว้ ในเมื่อภัยนั้น

บังเกิด แล้วให้ทำปล่องลมไว้ข้างหนึ่ง ฝ่ายบุตรของพญาเหี้ยนั้น

ก็มีร่างกายใหญ่โตขึ้นโดยลำดับ ส่วนกิ้งก่าคงตัวเท่าเดิม

โคธปิลลิกะ คิดว่าจักสวมกอดกิ้งก่า (เวลาใด) ก็โถมทับอยู่เรื่อย ๆ

(เวลานั้น) เวลาที่โคธปิลลิกะโถมทับกิ้งก่า เป็นเหมือนเวลาที่

ถูกยอดเขาทับฉะนั้น เมื่อกิ้งก่าได้รับความลำบาก จึงคิดว่า

ถ้าเหี้ยตัวนี้ กอดเราอย่างนี้สัก สอง-สามวันติดต่อกัน เราเป็น

ตายแน่ เราจักร่วมมือกับพรานคนหนึ่ง ล้างตระกูลเหี้ยนี้เสีย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 563

ให้จงได้.

ครั้นวันหนึ่งในฤดูแล้ง เมื่อฝนตกแล้ว ฝูงแมลงเม่าพากัน

บินออกจากจอมปลวก ฝูงเหี้ยพากันออกจากที่นั้น ๆ กินฝูง

แมลงเม่า พรานเหี้ยผู้หนึ่งถือจอบไปป่ากับฝูงหมา เพื่อขุด

โพรงเหี้ย กิ้งก่าเห็นเขาแล้ว คิดว่า วันนี้ความหวังของเราสำเร็จ

แน่ ดังนี้แล้วเข้าไปหาเขา. หมอบอยู่ในที่ไม่ห่าง ถามว่า ท่าน

ผู้เจริญ ท่านเที่ยวไปในป่าทำไม ? พรานตอบว่า เที่ยวหา

ฝูงเหี้ย กิ้งก่ากล่าวว่า ฉันรู้จักที่อาศัยของเหี้ยหลายร้อยตัว

ท่านจงหาไฟและฟางมาเถิด แล้วนำเขาไปที่นั้น ชี้แจงว่า ท่าน

จงใส่ไฟตรงนี้แล้วจุดไฟ ทำให้เป็นควัน วางหมาล้อมไว้ ตนเอง

ออกไปคอยตีฝูงเหี้ยให้ตาย แล้วเอากองไว้ ครั้นบอกอย่างนี้แล้ว

ก็คิดว่า วันนี้เป็นได้เห็นหลังศัตรูละ แล้วนอนผงกหัวอยู่ ณ ที่

แห่งหนึ่ง แม้นายพรานก็จัดการสุมไฟฟาง ควันเข้าไปในโพรง

ฝูงเหี้ยพากันสำลักควัน ถูกมรณภัยคุกคาม ต่างรีบออกพากันหนี

รนราน พรานก็จ้องตีตัวที่ออกมา ๆ ให้ตาย ที่รอดพ้นมือพราน

ไปได้ก็ถูกฝูงหมากัด ความพินาศอย่างใหญ่หลวงเกิดแก่ฝูงเหี้ย

พระโพธิสัตว์รู้ว่า เพราะอาศัยกิ้งก่าภัยจึงบังเกิดขึ้น ตัวนี้แล้ว

กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าการคลุกคลีกับคนชั่ว ไม่พึงกระทำ ขึ้นชื่อว่า

ประโยชน์ย่อมไม่มีเพราะอาศัยคนชั่ว ด้วยอำนาจของกิ้งก่าชั่ว

ตัวเดียว ความพินาศจึงเกิดแก่ฝูงเหี้ย มีประมาณเท่านี้ เมื่อจะหนี

ไปทางช่องลม กล่าวคาถานี้ความว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 564

" ผู้คบคนชั่ว ย่อมไม่ได้ความสุข โดย

ส่วนเดียว เขาย่อมทำตนให้ถึงความพินาศ

เหมือนอย่างตระกูลเหี้ยให้ตนถึงความวอดวาย

เพราะกิ้งก่า ฉะนั้น" ดังนี้.

ในคาถานั้น มีความสังเขปดังนี้ บุคคลผู้สร้องเสพกับ

คนชั่ว ย่อมไม่บรรลุ คือไม่ประสบ ไม่ได้รับความสุขที่ยั่งยืน

คือความสุขที่ชื่อว่า สุขชั่วนิรันดร เหมือนอย่างอะไร ? เหมือน

ตระกูลเหี้ยไม่ได้ความสุข เพราะกิ้งก่าฉันใด คนที่สร้องเสพ

กับคนชั่ว ย่อมไม่ได้ความสุขฉันนั้น มีแต่จะพาตนให้ถึงความ

วอดวายกับคนชั่ว ย่อมพาตนและคนอื่น ๆ ที่อยู่กับตน ให้ถึงความ

พินาศไปถ่ายเดียวเท่านั้น แต่ในพระบาลีท่านเขียนไว้ว่า "กลึ

ปาเปยฺย" พึงพาตนให้ถึงความวอดวาย พยัญชนะ (คือข้อความ)

อย่างนั้น ไม่มีในอรรถกถา ทั้งเนื้อความของพยัญชนะนั้น ก็ไม่

ถูกต้อง เหตุนั้น พึงถือเอาคำตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า กิ้งก่าในครั้งนั้น ได้มาเป็นเทวทัต บุตรพระโพธิสัตว์

ชื่อโคธปิลลิกะผู้ไม่เชื่อโอวาท ได้มาเป็นภิกษุผู้คบหาฝ่ายผิด

ส่วนพญาเหี้ย ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาโคธชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 565

๒. สิคาลชาดก

ว่าด้วยแสร้งทำเป็นตาย

[๑๔๒] " เหตุที่ท่านทำเป็นเหมือนคนตายนี้ รู้ได้

ยากอยู่ เพราะเราคาบปลายไม้พลองฉุดไป ไม้-

พลองก็ยังไม่หลุดจากมือของท่าน"

จบ สิคาลชาดกที่ ๒

อรรถกาถสิคาลชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารชื่อว่าเวฬุวัน

ทรงปรารภความตะเกียกตะกายเพื่อจะปลงพระชนม์พระองค์เอง

ของพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอต หิ

เต ทุราชาน ดังนี้.

ความย่อว่า พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุทั้งหลาย

ในธรรมสภา แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมิใช่แต่ในบัดนี้

เท่านั้น ที่เทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่าเรา แม้ในครั้งก่อน

ก็เคยตะเกียกตะกายมาแล้วเหมือนกัน แต่ไม่อาจจะฆ่าเราได้

แต่ตนเอง ต้องลำบากโดยถ่ายเดียวเท่านั้น แล้วทรงนำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 566

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดหมาจิ้งจอก

ได้เป็นพญาสิงคาล แวดล้อมด้วยหมาจิ้งจอกอยู่ในป่าช้า โดย

สมัยนั้น พระนครพาราณสี มีมหรสพ ฝูงคนพากันดื่มสุราโดยมาก

ได้ยินว่า มหรสพนั้น ก็คือมหรสพที่จัดขึ้นเพื่อการดื่มสุรานั่นเอง

ครั้งนั้นพวกนักเลงสุรา จำนวนมากชวนกันหาสุราและเนื้อมา

เป็นอันมาก แล้วประดับตกแต่งร่างกาย พากันขับร้อง แล้วดื่มสุรา

ไปพลาง กินเนื้อแกล้มไปพลาง พอสิ้นยามแรก ชิ้นเนื้อของ

พวกนั้นก็หมด แต่สุรายังเหลือมากทีเดียว ครั้งนั้นนักเลงสุรา

คนหนึ่งกล่าวว่า ส่งชิ้นเนื้อให้ชิ้นหนึ่งเถิด เมื่อได้รับคำตอบว่า

เนื้อหมดแล้ว ก็พูดว่า เมื่อข้ายังอยู่ต้องไม่มีคำว่าเนื้อหมด แล้ว

กล่าวต่อไปว่า ข้าจักฆ่าหมาจิ้งจอกที่มากินเนื้อคนตายในป่าช้า

ผีดิบ เอาเนื้อมันมา คว้าไม้พลองออกจากพระนครทางช่อง

ระบายน้ำ ไปสู่ป่าช้า นอนหงายถือพลองทำเป็นคนตาย ขณะนั้น

พระโพธิสัตว์ แวดล้อมไปด้วยสุนัขจิ้งจอกไปในที่นั้น เห็นเขาแล้ว

แม้จะรู้ว่า นี่ไม่ใช่คนตาย คิดว่าต้องใคร่ครวญดูให้ละเอียดละออ

จึงไปยืนใต้ลมของเขา สูดกลิ่นตัว ก็ทราบความที่เขายังไม่ตาย

โดยแน่นอนทีเดียว คิดว่า ต้องให้เขาได้อาย แล้วจึงจะปล่อยเขาไป

จึงเดินไปคาบที่ปลายพลองฉุดมา นักเลงไม่ยอมปล่อยพลอง แม้

จะไม่มองดูพญาจิ้งจอกผู้เข้ามาใกล้ ก็คงยึดพลองนั้นไว้แน่นขึ้น

พระโพธิสัตว์ถอยกลับไปแล้ว กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ถ้าท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 567

พึงเป็นคนตายแล้วจริง เมื่อเราลากพลองมา ก็ไม่น่าจะยึดไว้มั่นคง

ด้วยเหตุนี้ ท่านจะตาย หรือยังไม่ตาย จึงรู้ชัดได้โดยยากดังนี้

แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

" เหตุที่ท่านทำเป็นเหมือนคนตายนี้ รู้ได้

ยากอยู่ เพราะเราคาบปลายไม้พลองฉุดไป ไม้-

พลองก็ยังไม่หลุดจากมือของท่าน" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า เอต หิ เต ทุราชาน ความว่า

เหตุข้อนี้ของท่านรู้ได้ยากแท้.

บทว่า ย เสสิ มตาสย ความว่า เหตุที่ท่านนอนเหมือน

คนตายนอนอยู่นั่น (รู้แน่ได้ยากแท้).

บทว่า ยสฺส เต กฑฺฒมานสฺส ความว่า ท่านผู้ใด เมื่อเรา

คาบปลายไม้พลองฉุดมา ไม้พลองไม่หลุดจากมือ ก็ท่านผู้นั้น

จะเรียกว่าคนตายแล้วไม่ได้แน่นอน ดังนี้.

เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว นักเลงนั้นคิดว่า สุนัข-

จิ้งจอกตัวนี้ รู้ความที่เรายังไม่ตาย ก็ลุกขึ้น ขว้างไม้พลองไป

ไม้พลองผิดเป้า นักเลงกล่าวว่า ไปเถิดมึง คราวนี้ข้าพลาดไป

พระโพธิสัตว์หันกลับมาพูดว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ถึงแม้ท่าน

จะพลาดเราไป ท่านก็คงไม่พลาดมหานรก ๘ ขุม อุสสทนรก

๑๖ ขุมเป็นแน่นอน แล้วหลบไป นักเลงไม่ได้อะไร ออกจากป่าช้า

อาบน้ำในคู เข้าสู่พระนครตามเดิม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 568

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า นักเลงในครั้งนั้น ได้มาเป็นเทวทัต ส่วนพระยาสิงคาล

ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสิคาลชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 569

๓. วิโรจนชาดก

ว่าด้วยผู้ถูกเยาะเย้ย

[๑๔๓] "มันสมองของเจ้า ไหลออกแล้ว กระ-

หม่อมของเจ้า ก็ถูกทำลายแล้ว ซี่โครงของเจ้า

หักพังไปหมดแล้ว วันนี้ เจ้าช่างรุ่งเรืองแท้"

จบ วิโรจนชาดกที่ ๓

อรรถกถาวิโรจนชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารชื่อว่าเวฬุวัน

ทรงปรารภความที่พระเทวทัตแสดงท่าทางอย่างพระสุคต อยู่ใน

คยาสีสประเทศ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ลสี จ

เต นิปฺผลิตา ดังนี้.

ความพิสดารว่า พระเทวทัตมีฌาณเสื่อมแล้ว ก็พลอยเสื่อม

จากลาภสักการะไปด้วย คิดว่า ยังมีอุบายอยู่อย่างหนึ่ง ดังนี้แล้ว

กราบทูลขอวัตถุ ๕ ประการกะพระศาสดา เมื่อไม่ได้ก็ชวนภิกษุ

๕๐๐ รูป ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระอัครสาวกทั้งสอง ซึ่ง

บวชได้ไม่นาน ยังไม่ฉลาดในพระธรรมวินัย ไปสู่คยาสีสประเทศ

แยกหมู่กระทำสังฆกรรม แผนกหนึ่งในสีมาเดียวกัน พระศาสดา

ทรงทราบเวลาที่ความรู้ของภิกษุเหล่านั้นแก่กล้า ทรงส่งพระ-

อัครสาวกทั้งสองไป พระเทวทัตเห็นพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 570

ดีใจ คิดว่า เมื่อเราแสดงธรรมตลอดคืน จักทำทีท่าอย่างพระ-

พุทธเจ้า ดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดงท่าทางอย่างพระสุคต จึงกล่าวว่า

ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ยังไม่ง่วงเหงาหาวนอน ธรรมิกถาจง

อาศัยท่านแจ่มกระจ่างแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด เราเมื่อยหลังนัก

จักขอเหยียดหลังสักหน่อย แล้วเข้านอน พระอัครสาวกทั้งสอง

แสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ให้ตื่นทั่วกันด้วยมรรคผลทั้งหลาย

แล้วพากันกลับมาสู่พระเวฬุวันวิหารทั้งหมดทีเดียว พระโกกาลิกะ

เห็นวิหารว่าง จึงไปสู่สำนักพระเทวทัต พูดว่า ท่านเทวทัต

อัครสาวกทั้งสองของท่านทำลายบริษัทของท่านเสียแล้ว ไป

กันหมดจนวิหารว่าง ส่วนท่านยังมัวนอนหลับอยู่อีก แล้วกระตุก

ผ้าห่มพระเทวทัตออก เอาส้นกระทืบลงไปที่ตรงหัวใจ เหมือน

ตอกตะปูที่ฝาเรือน ทันใดนั้นเองเลือดก็ทะลักออกจากปากของ

พระเทวทัต ต่อจากนั้น พระเทวทัตก็เป็นไข้ พระศาสดาตรัสถาม

พระเถระว่า สารีบุตร เวลาที่เธอพากันไป เทวทัต ทำอะไร ?

พระเถระเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเทวทัต

เห็นข้าพระองค์ทั้งสองแล้ว คิดจักกระทำลีลาอย่างพระองค์

เมื่อแสดงท่าทางอย่างพระสุคต เลยถึงความพินาศใหญ่หลวง

พระศาสดาตรัสว่า ก่อนสารีบุตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่

เทวทัตทำตามอย่างเราแล้วถึงความพินาศ แม้ในครั้งก่อนก็เคย

ถึงความพินาศมาแล้วเหมือนกัน พระเถระเจ้ากราบทูลอาราธนา

จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 571

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นไกรษรสีหราช

อาศัยอยู่ในถ้ำทอง ในประเทศหิมพานต์ วันหนึ่งออกจากถ้ำทอง

สะบัดกาย มองดูทิศทั้งสี่ บรรลือสีหนาท แล้วเหยาะย่างออกหา

อาหาร ฆ่ากระบือใหญ่กินเนื้อแล้ว ลงสู่สระดื่มน้ำมีสีเหมือน

แก้วมณีเต็มท้องแล้ว มุ่งเดินไปสู่ถ้ำ ครั้งนั้น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง

เที่ยวขวนขวายหาเหยื่อ เผชิญหน้ากับราชสีห์เข้าทันที ไม่อาจจะ

หลีกหนีได้ทัน ก็เลยนอนหมอบลงแทบเท้า เบื้องหน้าราชสีห์

เมื่อราชสีห์ทักว่า อะไรหรือ เจ้าจิ้งจอก ? ก็บอกว่า ข้าแต่นาย

ข้าพเจ้ามาหมายจะรับใช้ท่าน ราชสีห์กล่าวว่า ดีแล้วมาเถิด

จงรับใช้เราเถิด เราจักให้เจ้าได้กินเนื้อดี ๆ แล้วพาสุนัขจิ้งจอก

ไปสู่ถ้ำทอง จำเดิมแต่นั้นมา สุนัขจิ้งจอกก็กินเดนราชสีห์ ล่วงมา

ได้สอง-สามวัน ก็มีร่างกายอ้วนพี ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง ราชสีห์

นอนอยู่ในถ้ำ บอกมันว่า ไปซี เจ้าจิ้งจอก เจ้าขึ้นไปยืนบน

ยอดเขา อยากจะกินเนื้อของสัตว์ใด ในบรรดาช้าง ม้า กระบือ

เป็นต้น ที่ท่องเที่ยวอยู่ที่เชิงเขา จงมองหาสัตว์นั้น แล้วมาบอก

เราว่า ข้าพเจ้าอยากกินเนื้อสัตว์อย่างโน้น แล้วจงบอกว่า นาย

ท่านจงแผดเสียงเถิด ดังนี้แล้ว เราจักฆ่าสัตว์นั้น กินเนื้ออร่อย ๆ

แล้วแบ่งให้เจ้าบ้าง สุนัขจิ้งจอกจึงขึ้นไปสู่ยอดเขา มองดูฝูงมฤค

นานาชนิด ครั้นนึกอยากกินเนื้อของสัตว์ชนิดใด ก็เข้าไปสู่ถ้ำทอง

บอกสัตว์นั้นแก่ราชสีห์ แล้วหมอบลงแทบเท้า กล่าวว่า นายขอรับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 572

เชิญท่านแผดเสียงเถิด ราชสีห์วิ่งไปโดยเร็ว ถ้าแม้เป็นช้างตกมัน

ก็ฆ่าให้ตายตรงนั้น ตนเองกินเนื้อดี ๆ บ้าง ให้สุนัขจิ้งจอกบ้าง

สุนัขจิ้งจอกกินเนื้อจนอิ่มท้องแล้ว เข้าถ้ำนอนหลับ.

ครั้นเวลาล่วงนานผ่านไป สุนัขจิ้งจอก ก็ชักกำเริบเกิด

มานะว่า แม้ตัวเราก็เป็นสัตว์ ๔ เท้าเหมือนกัน เหตุไรจะต้อง

ให้ผู้อื่นเขาช่วยเลี้ยงอยู่ทุก ๆ วันเล่า นับแต่นี้ไป เราจักฆ่าช้าง

เป็นต้นกินเนื้อ แม้แต่ราชสีห์ผู้เป็นมฤคราช อาศัยข้อที่เรา

กล่าวว่า นายขอรับ เชิญท่านแผดเสียงเถิด ดังนี้เท่านั้น ก็ฆ่าช้าง

ทั้งหลายได้ เราต้องให้ราชสีห์พูดกะเราบ้างว่า จิ้งจอกเอ๋ย เชิญ

แผดเสียงเถิด ดังนี้ ก็จักฆ่าช้างตัวหนึ่งกินเนื้อได้ มันเข้าไปหา

ราชสีห์แล้วกล่าวดังนี้ว่า นายขอรับ ข้าพเจ้ากินเนื้อช้างพลาย

ที่ท่านฆ่าตายมานานแล้ว ข้าพเจ้าก็อยากจะฆ่าช้างตัวหนึ่งกินเนื้อ

มันบ้าง เหตุนั้น ข้าพเจ้าต้องขอนอนในถ้ำทอง บนที่ที่ท่านนอน

ท่านช่วยดูช้างพลายที่ท่องเที่ยว ณ เชิงเขาแล้วมาสู่สำนัก

ข้าพเจ้า บอกว่า จิ้งจอกเอ๋ย เชิญแผดเสียงเถิด ขอเพียงเท่านี้

แหละ ท่านอย่าได้หวงแหนเลย ครั้งนั้นราชสีห์บอกมันว่า จิ้งจอก

เอ๋ย เจ้าไม่สามารถจะฆ่าช้างได้ดอก ขึ้นชื่อว่า หมาจิ้งจอกที่

บังเกิดในสกุลสีหะ สามารถฆ่าช้างกินเนื้อได้ไม่มีเลยในโลก

เจ้าอย่าชอบใจอย่างนี้เลย อยู่คอยกินเนื้อช้างที่เราฆ่าแล้วไป

ถ่ายเดียวเถิด ถึงแม้ราชสีห์จะกล่าวชี้แจงอย่างนี้ มันก็ไม่ล้ม

ความตั้งใจ คงเซ้าซี้อยู่นั่นเอง ราชสีห์เมื่อไม่อาจห้ามมันได้ ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 573

รับคำ กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงไปที่อยู่ของเรา นอนคอยเถิด

ให้จิ้งจอกนอนในถ้ำทอง ตนเองคอยดูช้างซับมันอยู่ที่เชิงเขา

แล้วไปที่ประตูถ้ำบอกว่า จิ้งจอกเอ๋ย เชิญแผดเสียงเถิด สุนัข-

จิ้งจอก ออกจากถ้ำทอง สะบัดกาย มองสี่ทิศ หอน ๓ คาบ คิดว่า

เราต้องกระโดดลงตรงกระพองช้างซับมัน พลาดไปตกที่ใกล้

เท้าช้าง ช้างยกเท้าขวาขึ้นเหยียบหัวมัน กระโหลกศีรษะแตก

แหลกเป็นจุณ ทีนั้นช้างก็เอาเท้าคลึงร่างของมันทำเป็นกองไว้

ขี้รดข้างบนแล้ว ร้องก้องโกญจนาทเข้าป่าไป พระโพธิสัตว์

เห็นความเป็นไปนี้ กล่าวว่า จิ้งจอกเอ๋ย คราวนี้ เชิญเจ้าแผดเสียง

ไปเถิด ดังนี้แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า

"มันสมองของเจ้าไหลออกแล้ว กระ-

หม่อมของเจ้าก็ถูกทำลายแล้ว ซี่โครงของเจ้า

หักพังไปหมดแล้ว วันนี้เจ้าช่างรุ่งเรืองแท้"

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลสิ แปลว่า มันสมอง.

บทว่า นิปฺผลิตา แปลว่า ไหลออกแล้ว.

พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้แล้ว ดำรงอยู่ตลอดอายุ แล้วไป

ตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า หมาจิ้งจอกในครั้งนั้นได้มาเป็น เทวทัต ส่วนราชสีห์

ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาวิโรจนชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 574

๔. นังคุฏฐชาดก

ว่าด้วยบูชาไฟด้วยหางวัว

[๑๔๔] ไฟไม่ใช่ผู้ดี ที่เราบูชาเจ้าด้วยหางแม้

เท่านี้ ก็มากไปแล้ว วันนี้ เนื้อไม่มีสำหรับเจ้า

ผู้ชอบเนื้อ ท่านอัคคีผู้เจริญ จงรับเอาแต่เพียงหาง

ไปเถิด.

จบ นังคุฏฐชาดกที่ ๔

อรรถกถานังคุฏฐชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภตบะที่ผิดของพวกอาชีวก ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า พหุมฺเปต อสพฺภิ ชาตเวท ดังนี้.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พวกอาชีวกพากันประพฤติตบะผิด

มีประการต่าง ๆ ที่หลั่งพระเชตวันมหาวิหาร ภิกษุทั้งหลาย

จำนวนมาก เห็นตบะที่ผิด อาทิเช่น อุกกุฏิกัปปธานะ (ตั้งหน้า

ในการนั่งกระโหย่ง) วัคคุลิวัตร (ทำอย่างค้างคาว) กัณฏกา-

ปัสสยะ (นอนบนหนาม) ปัญจตมนะ (ย่างด้วยไฟ ๕ กอง) ของ

พวกนั้น พากันกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ กุศลหรือความเจริญ อาศัยตบะที่ผิดทั้งนี้ จะมีได้หรือ

พระเจ้าข้า ? พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลหรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 575

ความเจริญ อาศัยตบะที่ผิดอย่างนี้มีไม่ได้ ในครั้งก่อนบัณฑิต

สำคัญเสียว่า อาศัยตบะอย่างนี้ กุศลหรือความเจริญคงมีได้

ถือเอาไฟประจำกำเนิดเข้าป่า ไม่พบความเจริญอะไรเลย ด้วย

อำนาจการบูชาไฟเป็นต้น จึงเอาน้ำดับไฟเสีย บำเพ็ญกสิณ-

บริกรรม ให้อภิญญาสมาบัติบังเกิดแล้ว ได้ไปพรหมโลกต่อไป

แล้วทรงนำเรื่องราวในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลอุทิจจพราหมณ์

ในวันที่ท่านเกิด บิดามารดาก็จุดไฟประจำกำเนิดตั้งไว้ให้ ครั้น

ท่านมีอายุได้ ๑๖ ปี บิดามารดาบอกท่านว่า ลูกเอ๋ยในวันที่เจ้าเกิด

เราจุดไฟไว้ให้ ถ้าเจ้าประสงค์จะครองเรือน จงเรียนพระเวท

ทั้งสาม หรือมิฉะนั้น จะประสงค์ไปพรหมโลก ก็จงถือไฟเข้าป่า

บำเรอไฟ ทำให้ท้าวมหาพรหมโปรดปรานแล้ว ก็จะเป็นผู้มี

พรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้าได้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ข้าพเจ้า

ไม่ต้องการอยู่ครองเรือน ถือไฟเข้าป่า สร้างอาศรมบท บำเรอ

ไฟอยู่ในป่า วันหนึ่งได้รับของถวาย คือโคในหมู่บ้านชายแดน

จึงจูงโคไปสู่อาศรมบท คิดว่า เราจักให้พระอัคคีผู้มีโชคฉันเนื้อโค

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้มีปริวิตกดังนี้ว่า ที่นี่ไม่มีเกลือ พระอัคคี

ผู้มีโชค จักไม่สามารถฉันเนื้อที่ไม่เค็มได้ เราจักไปหาเกลือ

มาจากบ้าน ให้พระอัคคีผู้มีโชค ฉันเนื้อที่มีรสเค็ม พระโพธิสัตว์

จึงผูกโคไว้ในที่ตรงนั้นเอง ได้ไปหมู่บ้านเพื่อหาเกลือ ขณะที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 576

ท่านไป มีพรานหลายคนมาถึงที่นั้น เห็นโคแล้วฆ่าย่างเนื้อกิน

ทิ้งหาง แข้ง และหนังไว้ตรงนั้นแหละ แล้วนำเนื้อที่เหลือไป

เสียด้วย พราหมณ์มาแล้ว เห็นโคเหลือแต่หนังเป็นต้น คิดว่า

พระอัคคีผู้มีโชคนี้ แม้แต่ของ ๆ ตน ยังไม่อาจรักษาไว้ได้ จัก

รักษาเราได้ที่ไหนเล่า การบำเรอไฟนี้น่าจะเป็นสิ่งไร้ประโยชน์

กุศลหรือความเจริญมีการบูชาไฟนี้เป็นเหตุ คงไม่มีแน่ พราหมณ์

ก็หมดความพอใจในการบำเรอไฟ กล่าวว่า ข้าแต่พระอัคคีผู้เจริญ

แม้แต่ของของตน ท่านยังไม่สามารถรักษาไว้ ที่ไหนจักรักษา

เราได้เล่า เนื้อไม่มีแล้ว จงยินดีเพียงเท่านี้เถิด เมื่อจะโยนหาง

เป็นต้น เข้ากองไฟ กล่าวคาถานี้ ความว่า

" ไฟไม่ใช่ผู้ดี ที่เราบูชาเจ้าด้วยหางแม้

เท่านี้ ก็มากไปแล้ว วันนี้เนื้อไม่มีสำหรับเจ้าผู้

ชอบเนื้อ ท่านอัคคีผู้เจริญ จงรับเอาแต่เพียงหาง

เถิด นะ " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุมฺเปต ความว่า แม้ของ

เพียงเท่านี้ ก็ชื่อว่ามากไป.

บทว่า อสพฺภิ ความว่า ไฟไม่ใช่สัตบุรุษ คือไม่ใช่ผู้ดี.

พราหมณ์ เรียกไฟว่า "ชาตเวทะ" อธิบายว่า ไฟเพียงเกิด

ก็เป็นที่รู้กัน คือปรากฏเห็นกันทั่ว เพราะฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า

"ชาตเวทะ"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 577

ด้วยบทว่า ยนฺต วาลธินาภิปูชยาม ความว่า แม้การที่เรา

บูชาเจ้าผู้มีโชค ซึ่งไม่สามารถจะรักษาของ ๆ ตนไว้ได้ ในวันนี้

ด้วยหาง เพียงเท่านี้ก็มากไปแล้ว สำหรับเจ้า.

บทว่า มสารหสฺส ความว่า วันนี้ เนื้อไม่มีสำหรับเจ้า

ผู้ชอบเนื้อ.

บทว่า นงฺคุฏฺมฺปิ ภว ปฏิคฺคหาตุ ความว่า เมื่อเจ้าไม่

สามารถจะรักษาของ ๆ ตนไว้ได้ ก็เชิญเจ้าผู้เจริญ รับแต่เพียงหาง

พร้อมทั้งแข้งและหนัง นี้เถิด.

พระมหาสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็เอาน้ำดับไฟเสีย

บวชเป็นฤๅษี ทำอภิญญา และสมาบัติให้บังเกิด แล้วได้เป็นผู้

มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า ดาบสผู้ดับไฟเสียในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถานังคุฏฐชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 578

๕. ราธชาดก

ว่าด้วยการพูดเพ้อเจ้อเพราะความเขลา

[๑๔๕] "ราธะเอ๋ย เจ้าไม่รู้จักคนทั้งหลายที่ยัง

ไม่มา ในเวลาปฐมยาม เจ้าพูดจาเพ้อเจ้อไปตาม

ความโง่เขลา ในเมื่อแม่โกสิยายนี หมดความ

รักใคร่ในบิดาของเจ้าเสียแล้ว"

จบ ราธชาดกที่ ๕

อรรถกถาราธชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภการเล้าโลมของภรรยาเก่า ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า น ตฺว ราธ วิชานาสิ ดังนี้.

เรื่องปัจจุบัน จักมีแจ้งในอินทริยชาดก (ข้อที่แปลกคือ :-) ก็

พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่า

มาตุคาม เป็นผู้อันใครรักษาไม่ได้ แม้จะระมัดระวังแข็งแรง ก็

ไม่สามารถจะรักษาไว้ได้ ดูก่อนภิกษุ ในครั้งก่อน ถึงเธอก็ตั้งการ

ป้องกันคอยรักษามาตุคามอยู่ แต่ไม่อาจรักษาไว้ได้เลย บัดนี้

เธอจะรักษาไว้ได้อย่างไรกัน แล้วทรงนำเรื่องราวในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 579

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนกแขกเต้า

พราหมณ์ผู้หนึ่งในแคว้นกาสี เลี้ยงพระโพธิสัตว์และน้องชายไว้

ในฐานะเป็นลูก ในนกทั้งสองนั้น พระโพธิสัตว์ได้นามว่า โปฏฐ-

ปาทะ น้องชายได้นามว่า ราธะ แต่ภรรยาของพราหมณ์เป็นหญิง

ไม่มีมารยาท ทุศีล เมื่อพราหมณ์จะออกเดินทางไปค้าขาย

ก็สั่งเสียนกทั้งสองพี่น้องไว้ว่า ดูก่อนพ่อทั้งสอง ถ้าพราหมณี

แม่ของเจ้า จะประพฤติไม่ดีไม่งาม ละก้อ เจ้าคอยห้ามเขานะ

นกพระโพธิสัตว์กล่าว ครับคุณพ่อ ถ้าสามารถห้ามได้ผมก็จักห้าม

ถ้าห้ามไม่ได้ ก็ต้องนิ่ง พราหมณ์มอบนางพราหมณีแก่นกแขกเต้า

ทั้งสองอย่างนี้แล้ว ก็เดินทางไปค้าขาย ตั้งแต่วันที่พราหมณ์

จากไป พราหมณีก็เริ่มประพฤตินอกใจ ทั้งคนที่เข้าไป และคนที่

ออกมา หาประมาณมิได้ นกราธะเห็นกิริยาของนางก็กล่าวกะ

พระโพธิสัตว์ว่า พี่ครับ คุณพ่อของเราสั่งไว้ก่อนไปว่า ถ้าแม่

ของเจ้าทั้งสอง ประพฤติไม่ดีไม่งามละก็ เจ้าคอยห้ามนะ ดังนี้

แล้วจึงไป บัดนี้เล่า นางกำลังจะประพฤติไม่ดีไม่งาม เราช่วย

กันห้ามนางเถิด พระโพธิสัตว์กล่าวเตือนว่า น้องรัก เจ้าพูดด้วย

ความโง่ เพราะความไม่ฉลาดเฉลียวของตนแท้ ๆ ขึ้นชื่อว่า

มาตุคาม แม้บุคคลจะคอยอุ้มไว้พาไป ก็ยังไม่อาจรักษาไว้ได้เลย

ไม่สมควรที่เราจะทำสิ่งที่ไม่สามารถจะกระทำได้ แล้วกล่าว

คาถานี้ ความว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 580

" ราธะเอ๋ย เจ้าไม่รู้จักคนทั้งหลายที่ยัง

ไม่มา ในเวลาครึ่งคืนข้างหน้า เจ้าพูดเพ้อเจ้อ

ไปอย่างโง่ ๆ ในเมื่อแม่โกสิยานี หมดความรัก

ในบิดาของเราเสยแล้ว" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตฺว ราธ วิชานาสิ อฑฺฒรตฺเต

อนาคเต ความว่า พ่อราธะเอ๋ย เจ้าไม่รู้อะไร ? ในครึ่งคืน

ข้างหน้า คือในยามแรกเท่านั้น คนที่ยังไม่มามีถึงเท่านี้ บัดนี้

ใครเล่าจะรู้ว่า คนอีกเท่าไร จักพากันมา.

บทว่า อพฺยายต วิลปสิ ความว่า เจ้าอย่าพูดเพ้อเจ้อเพราะความเขลา

บทว่า วิรตฺเต โกสิยาย ความว่า พราหมณีโกสิยายนี

มารดาของเรา หมดรักเสียแล้ว คือไม่มีความรักในบิดาของเรา

เสียแล้ว ถ้าแกยังมีความเยื่อใย หรือความรักในคุณพ่อ ก็ไม่น่า

จะประพฤติไม่ดี ไม่งามอย่างนี้เลย ด้วยพยัญชนะ (ในคาถา)

เหล่านี้ พระโพธิสัตว์ ประกาศความดังพรรณนามานี้.

ครั้นพระโพธิสัตว์ประกาศอย่างนี้แล้ว ไม่ยอมให้นกราธะ

น้องชาย พูดกะนางพราหมณี นางก็ประพฤติชั่วได้ตามใจชอบ

ตราบเท่าเวลาที่พราหมณ์ยังไม่กลับมา พราหมณ์มาแล้ว ถาม

นกโปฏฐปาทะว่า พ่อคุณ แม่ของเจ้าทั้งสองเป็นอย่างไร ?

พระโพธิสัตว์ บอกเรื่องตามเป็นจริงทั้งหมดแก่พราหมณ์ แล้ว

กล่าวว่า คุณพ่อครับ หญิงประพฤติชั่วอย่างนี้ คุณพ่อเลี้ยงไว้

ทำไม แล้วกล่าวต่อไปว่า คุณพ่อครับ นับแต่เวลาที่กระผม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 581

ทั้งสองกล่าวโทษของคุณแม่แล้ว ก็ไม่อาจอยู่ที่นี้ได้ กราบเท้า

พราหมณ์ แล้วก็บินเข้าป่าไป.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสประกาศ

สัจจะ เมื่อจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสัน ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล

แล้วทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์และพราหมณีในครั้งนั้น ได้

มาเป็นคนทั้งคู่นี้แหละ นกราธะได้มาเป็นอานนท์ ส่วนนกโปฏฐ-

ปาทะ ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาราธชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 582

๖. กากชาดก

ว่าด้วยกาวิดน้ำด้วยปาก

[๑๔๖] เออหนอ ขาตะไกรของพวกเราล้าเสีย

แล้ว และปากเล่าก็ซีดเซียว พวกเราพากันวิดอยู่

ไม่ทำให้สมุทรเหือดแห้งได้ ดูเถอะ ห้วงน้ำใหญ่

ยังคงเต็มอยู่ตามเดิม.

จบ กากชาดกที่ ๖

อรรถกถากากชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุแก่ ๆ หลายรูปด้วยกัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า อปิ นุ หนุกา สนฺตา ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น ครั้งเป็นคฤหัสถ์ เป็นกุฏุมพี

ในเมืองสาวัตถี มั่งมีทรัพย์ เป็นสหายกัน ทำบุญร่วมกัน ฟัง

พระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว พากันดำริว่า พวกเรา

เป็นคนแก่ จะมีประโยชน์อะไรแก่พวกเราด้วยการอยู่

ครองเรือน พวกเราจักบวชในพระพุทธศาสนา อันเป็นที่

น่ายินดีในสำนักของพระศาสดา จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ดังนี้

แล้วต่างยกสมบัติทั้งปวงให้แก่ลูกหลานเป็นต้น ละหมู่ญาติผู้มี

น้ำตานองหน้าเสีย ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา และครั้นบวช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 583

แล้ว มิได้ชักชวนกันบำเพ็ญสมณธรรม อันสมควรแก่บรรพชา

แม้พระธรรมก็ไม่ศึกษา เพราะความเป็นคนแก่ ถึงจะบวชแล้ว

ก็เหมือนในครั้งที่ยังเป็นคฤหัสถ์ ให้คนสร้างบรรณศาลาไว้

ท้ายวิหาร คงรวมกันอยู่นั่นแล แม้เมื่อเที่ยวบิณฑบาต ก็ไม่ไป

ที่อื่น โดยมากชวนกันไปฉันที่บ้านบุตรภรรยาของตนนั่นแหละ

ในบรรดาคนเหล่านั้น ภรรยาเก่าของพระเถระแก่รูปหนึ่ง ได้มี

อุปการะแก่พระเถระแก่ ๆ แม้ทั้งปวง เหตุนั้น แม้พระเถระที่เหลือ

ต่างก็ถืออาหารที่ตนได้ มานั่งฉันในเรือนของของนางเพียงผู้เดียว

ฝ่ายนางเล่า ก็ถวายต้มแกงตามที่ตนจัดไว้ แก่พระเถระเหล่านั้น

นางป่วยด้วยอาพาธอย่างหนึ่ง ทำกาละแล้ว ครั้งนั้นพระเถระ

แก่ ๆ เหล่านั้น พากันไปสู่วิหาร กอดคอกัน เที่ยวร้องไห้อยู่

ท้ายวิหารว่า อุบาสิกาผู้มีรสมืออร่อย ตายเสียแล้ว ฝ่ายภิกษุ

ทั้งหลาย ฟังเสียงของพระเถระเหล่านั้นแล้ว ก็มาประชุมกัน

จากที่ต่าง ๆ ถามว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เหตุไรพวกท่านจึง

ร้องไห้ พระเถระเหล่านั้นตอบว่า ภรรยาเก่าแห่งสหายของพวก

กระผม ผู้มีรสมืออร่อยตายเสียแล้ว นางมีอุปการะแก่พวกผม

ยิ่งนัก ที่นี้จักหาที่ไหนได้เหมือนนางเล่า เหตุนี้พวกผมจึงพากัน

ร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายเห็นข้อวิปริตนั้นของพระเถระเหล่านั้นแล้ว

พากันยกเรื่องขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย

ด้วยเหตุชื่อนี้ พระเถระแก่ ๆ ทั้งหลาย กอดคอกันเที่ยวร้องไห้

อยู่แถวท้ายวิหาร พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 584

ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ?

เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุเหล่านั้นพากันเที่ยว

ร้องไห้ เพราะหญิงนั้นตายลง แม้ในครั้งก่อน ภิกษุเหล่านี้ อาศัย

หญิงนี้ ผู้เกิดในกำเนิดกา แล้วตายเสียในสมุทร ร่วมคิดกันว่า

พวกเราจักวิดน้ำในสมุทร นำนางขึ้นมาให้จงได้ ดังนี้ พากัน

เพียรพยายาม เพราะได้อาศัยบัณฑิต จึงได้มีชีวิตอยู่ได้ดังนี้แล้ว

ทรงนำเรื่องราวในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นการรักษา

สมุทร ครั้งนั้น กาตัวหนึ่ง พานางกาผู้ภรรยาของตน เที่ยวแสวง

หาเหยื่อ ได้ไปถึงฝั่งสมุทร กาลนั้นฝูงชนพากันกระทำพลีกรรม

แก่พญานาค ด้วยน้ำนม ข้าวปายาส ปลา เนื้อ และสุราเป็นต้น

แล้วพากันหลีกไป ครั้งนั้น กาตัวหนึ่ง ไปถึงที่พลีกรรม เห็น

น้ำนมเป็นต้น ก็พร้อมด้วยนางกากินน้ำนม ข้าวปายาส ปลา

และเนื้อเป็นต้น แล้วดื่มสุราเข้าไปมาก กาผัวเมียทั้งคู่ ต่าง

เมามายสุรา คิดจะเล่นสมุทรกรีฑา เกาะที่ชายหาดทราย หมายใจ

จะอาบน้ำ ทีนั้นคลื่นลูกหนึ่งซัดมา พาเอานางกาเข้าไปเสียใน

สมุทร ปลาตัวหนึ่งจึงฮุบนางกานั้น กลืนกินเสีย การ้องไห้

รำพรรณว่า เมียของเราตายเสียแล้ว ครั้นกามากด้วยกัน ได้ยิน

เสียงร่ำไห้ของมัน ก็มาประชุมกันถามว่า เจ้าร้องไห้เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 585

เหตุไร ? มันบอกว่า หญิงสหายของพวกท่านกำลังอาบน้ำอยู่

ที่ชายหาด โดนคลื่นซัดไปเสียแล้ว กาเหล่านั้นแม้ทุกตัวก็

ร้องเอ็ดอึงเป็นเสียงเดียวกัน ครั้งนั้นฝูงกาเหล่านั้น ได้มีความคิด

ดังนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า น้ำในสมุทรนี้ จะสำคัญกว่าพวกเราหรือ

พวกเราช่วยกันวิดน้ำให้แห้ง ค้นเอาหญิงสหายออกมาให้ได้

กาเหล่านั้น ช่วยกันอมน้ำเค็มปากทีเดียว เอาไปบ้วนทิ้งเสีย

ข้างนอก และเมื่อคอแห้งเพราะน้ำเค็มก็พากันขึ้นไปบนบก พวกมัน

ครั้นขาตะไกรล้า ปากซีด ตาแดง ก็อิดโรยไปตามกัน จึงเรียก

กันมาปรับทุกข์ว่า ชาวเราเอ๋ย พวกเราพากันอมน้ำจากสมุทร

ไปทิ้งข้างนอก ที่ที่เราอมน้ำไปแล้ว กลับเต็มไปด้วยน้ำเสียอีก

พวกเราคงไม่สามารถทำให้สมุทรแห้งเป็นแน่ ดังนี้แล้ว กล่าว

คาถานี้ ความว่า :-

"เออหนอ ขาตะไกรของพวกเราล้าเสีย

แล้ว และปากเล่าก็ซีดเซียว พวกเราพากันวิด

อยู่ ไม่ทำให้สมุทรเหือดแห้งได้ ดูเถอะ ห้วงน้ำ

ใหญ่คงเต็มอย่างเดิม" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ นุ หนุกา สนฺตา ความว่า

เออ ก็คางของเราเมื่อยล้าแล้ว.

บทว่า โอรมาม น ปาเรม ความว่า พวกเราพากันอมน้ำ

จากมหาสมุทรไปทิ้งตามกำลังของตน ก็ไม่อาจทำให้เหือดแห้ง

ได้ เพราะห้วงน้ำใหญ่คงเต็มเหมือนเดิมนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 586

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว กาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ก็ต่าง

พูดพร่ำเพ้อมากมายว่า จะงอยปากของนางกานั้น งดงามเห็น

ปานนี้ ตากลมอย่างนี้ ผิวพรรณทรวดทรง งามระหงอย่างนี้

เสียงเพราะปานนี้ เพราะอาศัยสมุทรผู้เป็นโจรนี้ นางกาของ

พวกเรา หายไปแล้ว เทวดาประจำสมุทร สำแดงรูปน่าสะพึงกลัว

ได้ฝูงกาที่กำลังร้องรำพรรณพร่ำเพ้ออยู่อย่างนี้ ให้หนีไป ความ

สวัสดี ได้มีแก่ฝูงกานั้น ด้วยประการฉะนี้.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า นางกาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภรรยาเก่านี้ กาได้มาเป็น

พระเถระแก่ ฝูงกาที่เหลือได้มาเป็นพระเถระแก่ ๆ ที่เหลือ

ส่วนเทวดารักษาสมุทร ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากากชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 587

๗. ปุปผรัตตชาดก

เป็นทุกข์เพราะภรรยา ไม่ได้ผ้าย้อมดอกคำ

[๑๔๗] " ที่เราถูกหลาวเสียบนี้ ก็ไม่เป็นทุกข์

ที่ถูกกาจิกเล่า ก็ไม่ทุกข์ เราทุกข์อยู่แต่ว่า นาง-

ผิวทองจักไม่ได้ นุ่งห่มผ้าย้อมดอกคำ เที่ยวงาน

ประจำราตรี แห่งเดือน กัตติกา"

จบ ปุปผรัตตชาดกที่ ๗

อรรถกถาปุปผรัตตชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า นยท ทุกฺข อทุ ทุกฺข ดังนี้.

ความโดยย่อว่า ภิกษุนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส

ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เขาว่า เธอกระสันจริงหรือ ? กราบทูลว่า

จริงพระเจ้าข้า ตรัสถามว่า กระสันเพราะเหตุไร ? กราบทูลว่า

เพราะภรรยาเก่าพระเจ้าข้า แล้วกราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ หญิงนั้นมีรสมืออร่อย ข้าพระองค์ไม่อาจจะพรากจากกัน

ได้ พระเจ้าข้า ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า ดูก่อนภิกษุ

หญิงนี้เป็นผู้ทำความพินาศให้แก่เธอ แม้ในปางก่อน เพราะหญิง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 588

นั้นเป็นเหตุ เธอก็ต้องถูกเสียบบนหลาว คร่ำครวญถึงแต่นาง

เท่านั้น ครั้นตายแล้วไปบังเกิดในนรก บัดนี้ เพราะเหตุไร เธอ

ยังปรารถนานางอีกเล่า ? ดังนี้แล้ว ทรงนำเรื่องราวในอดีต

มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอากาสัฏฐ-

เทวดา ครั้งนั้นในพระนครพาราณสี มีมหรสพกลางคืนวันเพ็ญ

กลางเดือน ๑๒ ผู้คนพากันตกแต่งบ้านเมืองสวยงาม ราวกับ

เทพนคร คนทั้งปวงมุ่งแต่จะเล่นมหรสพ แต่มีคนเข็ญใจผู้หนึ่ง

มีผ้าเนื้อแน่นอยู่คู่เดียวเท่านั้น เขาเอามาซักให้สะอาด ฟาดลง

เลยขาดเป็นริ้วเป็นรอยนับร้อยนับพัน ครั้งนั้นภรรยาพูดกะเขา

ว่า นาย ฉันอยากจะนุ่งผ้าย้อมดอกคำสักผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง

กอดคอท่านเที่ยวตลอดงานประจำราตรี เดือนกัตติกะ เขากล่าวว่า

นางผู้เจริญ เราเข็ญใจจะมีผ้าย้อมดอกคำได้ที่ไหน เธอจงนุ่ง

ผ้าขาวเที่ยวเล่นเถิด นางกล่าวว่า เมื่อไม่ได้ผ้าย้อมดอกคำ

ฉันจักไม่เล่นกีฬาในงานมหรสพละ เธอพาหญิงอื่นเล่นกีฬาเถิด

เขากล่าวว่า นางผู้เจริญ ใยจึงคาดคั้นฉันนักเล่า เราจักได้ผ้า

ย้อมดอกคำมาจากไหน ? นางกล่าวว่า เมื่อความปรารถนาของ

ลูกผู้ชายมีอยู่ มีหรือจะชื่อว่าไม่สำเร็จ ดอกคำในไร่ดอกคำของ

พระราชามีมากมิใช่หรือ ? เขากล่าวว่า นางผู้เจริญ ที่นั่นมีการ

ป้องกันแข็งแรง เช่นเดียวกับโบกขรณีที่รากษสคุ้มครอง เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 589

ไม่อาจเข้าไปใกล้ได้ดอก เธออย่าชอบใจมันเลย จงยินดีตาม

ที่ได้มาเท่านั้นเถิด นางกล่าวว่า นาย เมื่อความมืดในยามรัตติกาล

มีอยู่ ขึ้นชื่อว่าสถานที่ที่ลูกผู้ชายจะไปไม่ได้ ไม่มีเลย เทวดา

ผู้เที่ยวไปในอากาศผู้หนึ่ง เห็นภัยในอนาคตของเขา ช่วยห้าม

เขาไว้.

เมื่อนางพูดเซ้าซี้อยู่บ่อย ๆ อย่างนี้ เขาก็เชื่อถือถ้อยคำ

ของนางด้วยอำนาจกิเลส ปลอบนางว่า นิ่งเสียเถิด นางผู้เจริญ

อย่าคิดมากไปเลย ถึงเวลากลางคืน ก็เสี่ยงชีวิตออกจากพระนคร

ไปสู่ไร่ดอกดำของหลวง ปีนรั้วเข้าไปในไร่ พวกคนเฝ้าไร่

ได้ยินเสียงรั้ว ต่างร้องว่า ขโมย ขโมย แล้วล้อมจับได้ ช่วยกันด่า

รุมกันซ้อม มัดไว้ ครั้นสว่างแล้ว ก็พาไปมอบพระราชา พระราชา

รับสั่งว่า ไปเถิด พวกเจ้าจงเอามันไปเพียบเสียที่หลาว คนเหล่านั้น

มัดเขาไพล่หลัง พาออกจากเมือง โดยมีคนตีกลองประกาศโทษ

ประหารตามไปด้วย แล้วเอาไปเพียบที่หลาว เขาเสวยเวทนาแสน

สาหัส ฝูงกาพากันไปเกาะที่ศีรษะ จิกนัยน์ตาด้วยจะงอยปาก

อันคมเหมือนปลายคีม เขาไม่ได้ใส่ใจทุกข์แม้จะสาหัสเพียงนั้น

คิดถึงแต่หญิงนั้นถ่ายเดียว รำพึงว่า เราพลาดโอกาส จากงาน

ประจำราตรีในเดือนกัตติกะ กับนางผู้นุ่งผ้าย้อมด้วยดอกคำ

ใช้แขนทั้งคู่โอบกอดรอบคอ คลอเคลียกัน แล้วกล่าวคาถานี้

ความว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 590

" ที่เราถูกหลาวเสียบนี้ ก็ไม่เป็นทุกข์

ที่ถูกกาจิกเล่า ก็ไม่ทุกข์ เราทุกข์อยู่แต่ว่า นาง-

ผิวทองจักไม่ได้นุ่งห่มผ้าย้อมดอกคำ เที่ยวงาน

ประจำราตรีแห่งเดือนกัตติกะ" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นยิท ทุกฺข อทุ ทุกฺข ย ม

ตุทติ วายโส มีอธิบายว่า ทุกข์ทางกาย ทางใจ อันมีการถูกเสียบ

ที่หลาวเป็นปัจจัยนี้ก็ดี ทุกข์ที่ถูกกาจิกด้วยจะงอยปากแหลมคม

ประหนึ่งทำด้วยโลหะก็ดี แม้ทั้งหมดนี้ ก็หาใช่ความทุกข์ของเรา

ไม่ โน่นสิเป็นทุกข์ นั่นต่างหากเป็นทุกข์ของเรา.

ทุกข์ชนิดไหนเล่า ?

คือทุกข์ที่แม่นางผิวทองจักไม่ได้นุ่งห่มผ้าย้อมดอกคำ

เที่ยวงานราตรีแห่งเดือนกัตติกะ อธิบายว่า ข้อที่ แม่ประยงค์ทอง

ผู้เป็นภรรยาของเราคนนั้น จักไม่ได้นุ่งผ้าย้อมดอกคำผืนหนึ่ง

ห่มผืนหนึ่ง ปกปิดร่างด้วยคู่แห่งผ้าย้อมดอกไม้เนื้อละเอียด

ชุดหนึ่งแล้ว กอดคอเราเที่ยวงานประจำคืน เดือนกัตติกะ นี้

ต่างหากเป็นทุกข์ของเรา ทุกข์นี้เท่านั้น ที่เบียดเบียนเรานัก.

เขาเอาแต่พร่ำเพ้อ บ่นถึงมาตุคามนั้น อยู่อย่างนี้เท่านั้น

จนตายไปเกิดในนรก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า คู่สามีภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็นคู่สามีภรรยาในครั้งนี้

ส่วนอากาสัฏฐเทวดา ผู้ยืนประกาศทำเหตุนั้นให้ประจักษ์ ได้

มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปุปผรัตตชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 591

๘. สิคาลชาดก

ว่าด้วยสุนัขเข้าอยู่ในท้องช้าง

[๑๔๘] " เอาเอาอีกแล้ว ไม่เอาอีกละ เราจะไม่

ขอเข้าสู่ทรากช้างซ้ำอีกละ เพราะเวลาอยู่ใน

ท้องช้าง ถูกภัยคุกคามเจียนตาย"

จบ สิคาลชาดกที่ ๘

อรรถกถาสิคาลชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภการข่มกิเลส ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

นาห ปุน น จ ปุน ดังนี้.

ได้ยินว่า เศรษฐีบุตรในเมืองสาวัตถี ประมาณ ๕๐๐ คน

เป็นเพื่อนกัน ต่างมีสมบัติคนละมากมาย ฟังพระธรรมเทศนา

ของพระศาสดาแล้ว พากันบวชถวายชีวิตในพระศาสนา อยู่ใน

กุฏิแถวสุดในพระวิหารเชตวัน อยู่มาวันหนึ่ง เป็นเวลาท่ามกลาง

รัตติกาล ความดำริ อาศัยกิเลสเป็นเจ้าเรือน บังเกิดขึ้นแก่

พวกภิกษุเหล่านั้น พวกเธอต่างกระสัน เกิดจิตตุบาท เพื่อที่จะ

ยึดครองกิเลสที่ตนละแล้วอีก ครั้งนั้น พระศาสดาทรงชูประทีป

อันมีพระสัพพัญญุตญาณเป็นด้าม ในระหว่างท่ามกลางรัตติกาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 592

ทรงตรวจดูอัธยาศัยของภิกษุทั้งหลายว่า พวกภิกษุพากันพำนัก

อยู่ในพระเชตวันวิหาร ด้วยความยินดีอย่างไหนเล่าหนอ ?

ได้ทรงทราบความที่พวกภิกษุเหล่านั้น ต่างมีความดำริใน

กามราคะ เกิดขึ้นในภายใน ก็ธรรมดาพระศาสดาย่อมรักษา

หมู่สาวกของพระองค์ ประดุจหญิงมีบุตรคนเดียวถนอมบุตร

ของตน ประดุจคนมีตาข้างเดียวระวังนัยน์ตาของตน ก็ปานกัน

ในสมัยใด ๆ มีเวลาเช้า เป็นต้น กองกิเลสเกิดแก่หมู่สาวกนั้น

ก็ไม่ทรงยอมให้กองกิเลสเหล่านั้น ของสาวกเหล่านั้น พอกพูน

ไปกว่านั้น ทรงข่มเสียในสมัยนั้น ๆ ทีเดียว ด้วยเหตุนั้น พระองค์

จึงได้มีพระปริวิตกว่า กาลนี้ เป็นประดุจดังกาลที่เกิดพวกโจร

ขึ้นภายในพระนคร ของพระเจ้าจักรพรรดิ ฉะนั้น เราต้อง

แสดงพระธรรมเทศนาข่มกองกิเลสแล้วให้พระอรหัตผลแก่พวก

เธอในบัดนี้ทีเดียว พระองค์จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี มีกลิ่นหอม

มีพระดำรัสด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ เรียกท่านพระอานนท์

ผู้เป็นขุนคลังแห่งธรรม ว่า "ดูก่อนอานนท์" พระเถระเจ้ารับ

พระพุทธดำรัสว่า อะไร พระเจ้าข้า ? มาถวายบังคมยืนอยู่

ตรัสว่า อานนท์ ภิกษุมีเท่าไร ที่อยู่ในกุฏิแถวหลังสุด เธอจง

ให้ประชุมกันในบริเวณคันธกุฎีทั้งหมดทีเดียว ได้ยินว่าพระองค์

ได้ทรงมีพระดำริดังนี้ว่า แม้นเราให้เรียกภิกษุ ๕๐๐ พวกนั้น

เท่านั้นมาประชุม พวกเธอจักพากันสลดใจว่า พระศาสดาทรง

ทราบความที่กองกิเลสเกิดขึ้น ในภายในของพวกเราแล้ว จักมิอาจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 593

ที่จะรับพระธรรมเทศนาได้ เหตุนั้นจึงตรัสว่า ให้ประชุมทั้งหมด

พระเถระรับพระพุทธดำรัสว่าดีละ พระเจ้าข้า แล้วถือลูกดาล

เที่ยวไปทั่วบริเวณ บอกให้ภิกษุทั้งหมด ประชุมกัน ณ บริเวณ

พระคันธกุฎี แล้วจัดปูลาดพระพุทธอาสน์ไว้.

พระศาสดาทรงคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ประทับเหนือ

พระพุทธอาสน์ที่จัดไว้ ปานประหนึ่งขุนเขาสิเนรุอันดำรงอยู่

เหนือปฐพีศิลา ทรงเปล่งพระพุทธรัศมี เป็นทิวแดงมีพรรณ

๖ ประการ ฉวัดเฉวียนประสานสีทีละคู่ ๆ พระรัศมีแม้เหล่านั้น

มีประมาณเท่าถาด เท่าฉัตร และเท่าโคมแห่งเรือนยอด ขาดเป็น

ระยะวนเวียนรอบพระกาย ประหนึ่งสายฟ้าในนภากาศ กาลนั้น

ได้เป็นเสมือนเวลาที่ดวงอาทิตย์กำลังเริ่มฉายแสงอ่อน ๆ ทำให้

ท้องมหรรณพ มีประกายสาดแสงระยิบระยับฉะนั้น ภิกษุสงฆ์เล่า

ก็น้อมเกล้าถวายบังคมพระศาสดา ดำรงจิตอันเคารพไว้มั่นคง

นั่งล้อมพระองค์โดยรอบ ประหนึ่งแวดวงไว้ด้วยม่านกำพลแดง

พระบรมศาสดาทรงเปล่งพระสุรเสียงดังเสียงพรหม ทรงเตือน

ภิกษุทั้งหลาย ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุไม่ควร

ตรึก อกุศลวิตกทั้ง ๓ นี้ คือ กามวิตก ความตรึกในกาม พยาบาท-

วิตก ความตรึกในพยาบาท วิหิงสาวิตก ความตรึกในวิหิงสา

ขึ้นชื่อว่า กิเลสเป็นเช่นกับปัจจามิตร และปัจจามิตรเล่า จะชื่อว่า

เล็กน้อยไม่มีเลย ได้โอกาสแล้วย่อมทำให้ถึงความพินาศโดย

ส่วนเดียว กิเลสแม้ถึงจะมีประมาณน้อย เกิดขึ้นแล้ว ได้โอกาส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 594

เพื่อจะเพิ่มพูน ย่อมยังความพินาศอย่างใหญ่พลวงให้เกิดขึ้นได้

อย่างนั้นทีเดียว ขึ้นชื่อว่ากิเลสนี้ เปรียบด้วยยาพิษที่ร้ายแรง

เป็นเช่นกับด้วยหัวฝีที่มีผิวหนังปอกไปแล้ว เทียบกันได้กับอสรพิษ

คล้ายกับไฟที่เกิดจากอสนีบาต ไม่ควรเลยที่จะนิยมยินดี ควรจะ

กีดกันเสีย ด้วยพลังแห่งการพิจารณา ด้วยพลังแห่งภาวนา

ในขณะที่เกิดทีเดียว ควรจะละเสีย ด้วยการที่กองกิเลสทั้งนั้น

จะเลือนไปไม่ทันตั้งอยู่ในหทัยแม้เพียงครู่เดียว เหมือนหยาดน้ำ

กลิ้งตกไปจากใบบัว ฉันใดก็ฉันนั้น แม้ถึงบัณฑิตในครั้งก่อน

ทั้งหลาย ก็ติเตียนกิเลสแม้มีประมาณน้อย ข่มมันเสียไม่ยอม

ให้เกิดขึ้นในภายในได้อีกฉะนั้น ดังนี้ แล้วทรงนำเรื่องอดีต

มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดหมาจิ้งจอก

พำนักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำใกล้ป่า ครั้งนั้นช้างแก่ตัวหนึ่งล้มอยู่ที่ฝั่งคงคา

สุนัขจิ้งจอก ออกหาเหยื่อ พบทรากช้างนั้น คิดว่า เหยื่อชิ้นใหญ่

เกิดแก่เราแล้ว จึงไปที่ทรากช้างนั้น กัดที่งวง ก็เป็นเหมือนเวลาที่

กัดงอนไถ มันคิดว่า ตรงนี้ไม่ควรกิน จึงกัดที่งาทั้งคู่ ก็เป็นเหมือน

เวลาที่กัดเสา กัดหูเล่า ก็ได้เป็นเหมือนเวลาที่กัดขอบกระด้ง

กัดที่ท้อง ได้เป็นเหมือนเวลาที่กัดยุ้งข้าว กัดที่เท้า ก็ได้เป็น

เหมือนเวลาที่กัดครก กัดที่หางได้เป็นเหมือนเวลาที่กัดสาก

ดำริว่า แม้ในที่นี้ก็ไม่ควรกิน เมื่อไม่ได้รับความพอใจในอวัยวะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 595

ทั้งปวง ก็กัดตรงวัจมรรค ได้เป็นเหมือนเวลาที่กัดขนมนุ่ม

มันดำริว่า คราวนี้เราได้ที่ที่ควรกินอันอ่อนนุ่มในสรีระนี้แล้ว

จึงกัดแต่วัจมรรคนั้น เข้าไปถึงภายในท้อง กินดับและหัวใจ

เป็นต้น เวลากระหายน้ำ ก็ดื่มโลหิต เวลาอยากจะนอนก็เอาพื้นท้อง

รองนอน ครั้งนั้น สุนัขจิ้งจอกได้มีปริวิตกว่า ทรากช้างนี้เป็น

เหมือนเรือนของเรา เพราะเป็นที่อยู่สบาย ครั้นอยากกิน ก็มีเนื้อ

อย่างเพียงพอ ทีนี้เราจะไปที่อื่นทำไม จึงไม่ยอมไปในที่อื่นอีก

เลย คงอยู่กินเนื้อในท้องช้างแห่งเดียว.

ครั้งเวลาล่วงไป ผ่านไป จนถึงฤดูแล้ว ซากช้างนั้น

ก็หดตัวเหี่ยวแห้ง ด้วยถูกลมสัมผัส และถูกแสงอาทิตย์แผดเผา

ช่องที่สุนัขจิ้งจอกเข้าไปก็ปิด ภายในท้องก็มืด ปรากฏแก่มัน

เหมือนอยู่ในโลกันตนรก ฉะนั้น เมื่อซากเหี่ยวแห้ง แม้เนื้อ

ก็พลอยแห้ง แล้วโลหิตก็เหือดหาย มันไม่มีทางออก ก็เกิดความ

กลัว ซมซานไปกัดทางโน้น ทางนี้ วุ่นวายหาทางออกอยู่ เมื่อ

สุนัขจิ้งจอกนั้นตกอยู่ในท้องช้างอย่างนี้ ก็เป็นเหมือนก้อนแป้ง

ในหม้อข้าว ล่วงมา สอง-สามวันฝนตกใหญ่ ครั้นซากนั้นชุ่ม

น้ำฝนก็พองขึ้น จนมีสัณฐานเป็นปกติ วัจมรรคก็เปิด ปรากฏ

เหมือนดวงดาว มันเห็นช่องนั้น คิดว่า คราวนี้เรารอดได้แน่แล้ว

ถอยหลังไปจนจดหัวช้าง วิ่งไปโดยเร็ว เอาหัวชนวัจมรรคออก

ไปได้ เพราะว่าร่างกายของมันซูบซีดเหี่ยวแห้ง ขนทั้งหมดก็

เลยติดอยู่ที่วัจมรรคนั่นเอง มันมีจิตสะดุ้ง ด้วยสรีระอันไร้ขน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 596

เหมือนลำตาล วิ่งไปครู่หนึ่ง กลับนั่งมองดูสรีระ แล้วสลดใจว่า

ทุกข์นี้ของเรา สิ่งอื่นมิได้ทำให้เลย แต่เพราะความโลภเป็นเหตุ

เพราะความโลภเป็นตัวการณ์ เราอาศัยความโลภ ก่อทุกข์นี้ไว้

เอ็ง บัดนี้นับแต่นี้ เราจะไม่ยอมอยู่ในอำนาจของความโลภ ขึ้น

ชื่อว่า ทรากช้างละก็เราจะไม่ขอเข้าไปอีกต่อ ดังนี้แล้ว กล่าว

คาถานี้ ความว่า :-

" ไม่เอาอีกแล้ว ไม่เอาอีกละ เราจะไม่

ขอเข้าสู่ซากช้างซ้ำอีกละ เพราะเวลาอยู่ใน

ท้องช้าง ถูกภัยคุกคามเจียนตาย" ดังนี้.

ในคาถานั้น อักษร ในบาทคาถาว่า น จาปิ อปุนปฺปุน

เป็นเพียงนิบาต ก็ในคาถาทั้งหมดนี้ มีอรรถาธิบายดังนี้ว่า :-

ก็ต่อแต่นี้ไป เราจะไม่เข้าไปอีกละ ได้แก่ เราจะไม่ขอเข้าไป

สู่ซากช้าง คือสรีระของช้าง หลังจากที่พูดไว้ว่า ไม่เอาอีกแล้ว

ดังนี้ เพราะเหตุไร ? เพราะว่า เวลาอยู่ในท้องช้าง ถูกภัย

คุกคามแทบตาย อธิบายว่า เพราะเราถูกภัยในการเข้าไปทั้งนี้

ทีเดียว คุกคามแทบตาย คือต้องถึงความสะดุ้ง ความสลดใจ

เพราะกลัวตาย.

ก็แลสุนัขจิ้งจอกนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็หนีไปจาก

ที่นั้นทันที ขึ้นชื่อว่า สรีระช้างตัวนั้นหรือตัวอื่น มันจะไม่ยอม

เหลียวหลังไปมอง ดูอีกเลย ต่อจากนั้น สุนัขจิ้งจอกนั้น ก็ไม่ตก

อยู่ในอำนาจของความโลภ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 597

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า กิเลสที่เกิดขึ้นภายใน ต้องไม่ให้

พอกพูนได้ ควรข่มเสียทันทีทันใดทีเดียว แล้วตรัสประกาศสัจจะ

ทั้งหลาย ทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุที่เหลือแม้

ทั้ง ๕๐๐ รูป ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล ในบรรดาภิกษุที่เหลือ

เล่า บางเหล่าก็ได้เป็นพระโสดาบัน บางเหล่าเป็นพระสกทาคามี

บางเหล่าได้เป็นพระอนาคามี ก็ในกาลครั้งนั้น สิคาล (จิ้งจอก)

ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสิคาลชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 598

๙. เอกปัณณชาดก

ว่าด้วยต้นไม้ใบเดียว.

[๑๔๙] ต้นไม้นี้ มีใบข้างละหนึ่งใบจากแผ่นดิน

ยังไม่ถึง ๔ องคุลี มีรสเสมอกับยาพิษ ต้นไม้นี้

เติบโตขึ้น จักขมสักเพียงไหน ?

จบ เอกปัณณชาดกที่ ๙

อรรถกถาเอกปัณณชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยพระนครไพสาลี ประทับ

อยู่ ณ กูฏาคารศาลา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

เอกปณฺโณ อย รุกฺโข ดังนี้.

ความพิสดารว่า ในกาลครั้งนั้น พระนครเวสาลี มีกำแพง

ล้อมถึง ๓ ชั้น ตลอดบริเวณคาวุตหนึ่ง ประกอบไปด้วยกระท่อมพล

และป้อมในที่ทั้งสาม ถึงความเป็นเมืองงดงามอย่างยิ่ง จำนวน

พระราชาเสวยราชสมบัติอยู่เป็นนิตยกาล ในพระนครนั้นเล่า

มีถึงเจ็ดพันเจ็ดร้อยเจ็ดองค์ จำนวนอุปราชก็เท่านั้นเหมือนกัน

เสนาบดีและขุนคลัง ก็มีจำนวนฝ่ายละเท่านั้น ในกลุ่มแห่งโอรส

ของราชาเหล่านั้น มีราชกุมารผู้หนึ่ง พระนามว่า ทุฏฐลิจฉวี

เป็นผู้มักโกรธ ดุร้าย หยาบคาย เป็นเสมือนอสรพิษที่ถูกตี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 599

ด้วยไม้ คอยเป็นฟืนเป็นไฟอยู่เป็นประจำ ผู้ที่จะชื่อว่าสามารถ

กล่าวถ้อยคำ สอง-สามคำ ต่อหน้าพระกุมารด้วยอำนาจแห่ง

ความโกรธ ไม่มีเลย พระมารดา พระบิดา พระประยูรญาติ

และพระสหาย ต่างไม่สามารถที่จะอบรมเธอได้เลย.

ครั้งนั้น พระมารดา และพระบิดาของเธอ ได้ทรงวิตกว่า

กุมารนี้หยาบคายยิ่งนัก โหดเหี้ยม เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แล้ว ผู้อื่นที่จะชื่อว่าสามารถอบรมเธอได้ไม่มีเลย เธอควรจะ

เป็นผู้อันพระพุทธเจ้า ทรงแนะนำดังนี้แล้ว พาพระกุมารไปสู่

สำนักของพระศาสดา ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ กุมารนี้ ดุร้าย หยาบคาย รุ่งโรจน์อยู่ด้วยความโกรธ

ขอพระองค์ทรงประทานพระโอวาทแก่กุมารนี้ด้วยเถิด พระเจ้าข้า

พระศาสดาทรงโอวาทพระกุมารว่า ดูก่อนกุมาร เธอไม่น่าจะเป็น

คนดุร้าย หยาบคาย ร้ายกาจ ชอบข่มเหงรังแกในหมู่สัตว์เหล่านี้

เลย ขึ้นชื่อว่า คนมีวาจาหยาบ ย่อมไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจ แม้

ของมารดาบังเกิดเกล้า แม้ของบิดา แม้ของบุตรภรรยา แม้ของ

พี่น้องชายหญิง แม้ของหมู่มิตรเผ่าพันธุ์พวกพ้อง เป็นที่ตั้งแห่ง

ความหวาดหวั่น เหมือนงูที่กำลังเลื้อยมากัด เหมือนโจรที่ส้องสุม

กันอยู่ในดง เหมือนยักษ์ที่กำลังเดินมาจับกิน ในวารจิตที่ ๒

ย่อมบังเกิดในนรกเป็นต้นได้ ในปัจจุบันนั้นเล่า คนมักโกรธ

ถึงจะประดับประดางดงาม ก็คงยังมีผิวพรรณเศร้าหมองอยู่

นั่นเอง หน้าตาของเขาแม้จะมีสิริ เพียงดวงจันทน์เต็มดวง ก็จะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 600

เป็นเหมือนดอกบัวที่ถูกลนไฟ เหมือนวงแว่นทองคำที่ฝ้าจับ

ย่อมผิดรูป ผิดร่าง ไม่น่าดู เพราะว่า ฝูงสัตว์อาศัยความโกรธ

ย่อมจับศัสตราประหารตนเองตาย ดื่มยาพิษตาย ผูกคอตาย

โดดเขาตาย ครั้นตายด้วยอำนาจความโกรธอย่างนี้แล้ว ก็ย่อม

บังเกิดในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น ถึงคนที่ชอบข่มเหงเขาเล่า

ก็ต้องถูกติเตียนในปัจจุบัน เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ก็บังเกิดใน

นรกเป็นต้น แม้จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็ย่อมเป็นคนมีโรค

มาก ตั้งแต่เกิดมาทีเดียว บรรดาโรคทั้งหลาย มีโรคตา โรคหู

เป็นต้น จะรุมกันทับถมคนประเภทนี้ พวกเขาจะไม่พ้นไปจาก

โรคร้าย จะเป็นผู้ครองทุกข์อยู่เป็นประจำทีเดียว เพราะฉะนั้น

เธอพึงเป็นคนมีจิตเมตตา มีจิตอ่อนโยนในสรรพสัตว์ เพราะบุคคล

เช่นนี้ ย่อมรอดพ้นจากภัยมีนรกเป็นต้นก็ได้ ดังนี้ กุมารนั้น

สดับโอวาทของพระศาสดาแล้ว ทิ้งมานะเสียได้ ด้วยพระโอวาท

ครั้งเดียวเท่านั้น เป็นผู้ฝึกฝนได้ ไร้พยศ เป็นคนมีจิตอ่อนโยน

ทีเดียว แม้คนอื่นจะด่าจะตี ก็มิได้เหลียวหลังมอง เหมือนงูที่

ถูกถอนเขี้ยว เหมือนปูที่ถูกหักก้าม และเหมือนโคผู้ ที่ถูกตัดเขา

ฉะนั้น.

ภิกษุทั้งหลายทราบพฤติการณ์ของกุมารนั้นแล้ว จึงยก

เรื่องขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระมารดา

บิดา พระประยูรญาติและพระสหายเป็นต้น มิอาจฝึกลิจฉวีกุมาร

ผู้ดุร้าย แม้ตลอดเวลาอันยาวนาน แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 601

ทรงทรมานเธอด้วยพระโอวาทครั้งเดียวเท่านั้น ก็ได้ทรงกระทำ

เหตุ คือการให้อยู่ในขอบเขตที่เชิดชูกันได้ เหมือนนายควาญช้าง

ทรมานพระยาช้างซับมันให้หมดพยศร้ายฉะนั้น ตรงกันกับ

พระพุทธภาษิตที่ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึกได้

ม้าที่ควรฝึกได้ โคที่ควรฝึกได้ อันผู้ฝึกได้ฝึกหัดแล้ว ย่อมวิ่ง

ไปได้ทิศเดียวเท่านั้น คือทิศตะวันออก หรือตะวันตก เหนือ

หรือใต้ ก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าที่ควรฝึกได้ อันผู้ฝึกได้ฝึกหัด

แล้ว ฯลฯ โคที่ควรฝึกได้ อันผู้ได้ฝึกหัดแล้ว ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึกได้ อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฝึกหัดแล้ว ย่อมแล่นไปได้ทั้งแปดทิศ ผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย

ได้ ผู้ที่ทรงฝึกแล้วนี้เล่า ก็เป็นเช่นนั้น ฯลฯ ตถาคตนั้น บัณฑิต

ย่อมกล่าวว่า เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกเลิศกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย

ผู้มีอายุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ที่จะเสมอเหมือน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีอย่างแท้จริง พระศาสดาเสด็จมาตรัส

ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอประชุมสนทนากัน

ด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในครั้งนี้เท่านั้น ที่เราฝึก

กุมารนี้ได้ ด้วยโอวาทครั้งเดียว แม้ในครั้งก่อน เราก็ได้ฝึกเธอ

ด้วยโอวาทครั้งเดียวเหมือนกัน ดังนี้แล้วทรงนำเรื่องราวในอดีต

มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 602

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลอุทิจจพราหมณ์

เจริญวัยแล้ว เล่าเรียนไตรเพท และสรรพศิลปวิทยา ในเมือง

ตักกสิลา อยู่ครองเรือนสิ้นกาลเล็กน้อย ครั้นมารดาบิดาล่วงลับ

ไป ก็บวชเป็นฤาษี ทำอภิญญาและสมาบัติให้เกิดแล้ว พำนัก

อยู่ในป่าหิมพานต์ ครั้นอยู่ในป่านั้นนาน ๆ ก็ไปสู่ชนบทเพื่อ

บริโภคเปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ บรรลุถึงพระนครพาราณสี อาศัยอยู่

ในพระราชอุทยาน รุ่งเช้านุ่งห่มเรียบร้อยแล้ว สมบูรณ์ด้วย

มารยาทของดาบส เข้าสู่พระนครเพื่อภิกษา เดินไปถึงพระ-

ลานหลวง.

พระราชากำลังทอดพระเนตรทางช่องพระแกล ทรงเห็น

ท่านแล้ว ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถ ทรงดำริว่า พระดาบสนี้

อินทรีย์งดงาม ใจสงบ ทอดตาต่ำชั่วแอก ประหนึ่งวางถุงทรัพย์

๑๐๐๐ เหรียญ ไว้ทุก ๆ ย่างก้าว เดินมาด้วยลีลาองอาจอย่าง

ราชสีห์ หากจะมีสภาวะที่ชื่อว่า สันตธรรมอยู่อย่างหนึ่งละก็

สันตธรรมนั้น ต้องมีภายในของดาบสนี้ แล้วทรงทอดพระเนตร

ดูอำมาตย์ผู้หนึ่ง อำมาตย์ผู้นั้นกราบทูลว่า ข้าพระองค์จักต้อง

ทำอะไรพระเจ้าข้า รับสั่งว่า เจ้าจงไปนิมนต์พระดาบสนั้นมา

เขารับพระดำรัสว่าดีละ พระเจ้าข้า เข้าไปหาพระโพธิสัตว์

ไหว้แล้วรับภาชนะใส่ภิกษา จากมือพระโพธิสัตว์ เมื่อพระโพธิสัตว์

กล่าวว่า อะไรหรือ ท่านผู้มีบุญมาก ก็กราบเรียนว่า ข้าแต่

พระคุณท่านผู้เจริญ พระราชารับสั่งนิมนต์พระคุณเจ้า พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 603

โพธิสัตว์กล่าวว่า เราไม่ใช่นักบวชประจำราชสำนัก เป็นนักบวช

อยู่ป่าหิมพานต์. อำมาตย์ไปกราบทูลความนั้นแด่พระราชา

พระราชาตรัสว่า ดาบสอื่นที่เป็นผู้ใกล้ชิดของเราไม่มีดอก จง

นิมนต์ท่านมาเถิด อำมาตย์ก็ไปไหว้พระโพธิสัตว์ พูดอ้อนวอน

นิมนต์ให้เข้าไปสู่พระราชวัง. พระราชาถวายบังคมพระโพธิสัตว์

อาราธนาให้นั่งเหนือบัลลังก์ทอง ภายใต้เศวตรฉัตร ให้ฉัน

โภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ที่เขาจัดไว้เพื่อพระองค์ แล้วรับสั่งถามว่า

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้าอยู่ที่ไหนเจ้าข้า ? พระ-

โพธิสัตว์ถวายพระพรว่า มหาบพิตร อาตมาภาพ อยู่ป่าหิมพานต์

รับสั่งถามว่า บัดนี้พระคุณเจ้าจะไปที่ไหน ? ถวายพระพรว่า

มหาบพิตร อาตมาภาพกำลังสอดส่องเสนาสนะที่เหมาะแก่ฤดูฝน

รับสั่งว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น นิมนต์อยู่ในอุทยาน

ของพวกโยมเถิดขอรับ ทรงถือปฏิญญาแล้ว แม้พระองค์เองก็

เสวยเสร็จ ทรงพาพระโพธิสัตว์เสด็จไปสู่อุทยาน รับสั่งให้สร้าง

บรรณศาลา ให้กระทำที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน ทรง

ถวายบริขารสำหรับบรรพชิต ทรงมอบหมายให้คนเฝ้าสวน

คอยดูแล แล้วเสด็จเข้าพระนคร.

จำเดิมแต่นั้น พระโพธิสัตว์ก็อยู่ในอุทยาน แม้พระราชา

ก็เสด็จไปหาท่านวันละ สอง-สามครั้งทุก ๆ วัน ก็แลพระราชานั้น

ทรงมีพระโอรส พระนามว่า ทุฏฐกุมาร เป็นผู้มีสันดาน ดุร้าย

หยาบคาย พระราชา และพระประยูรญาติทั้งหลาย ต่างก็ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 604

สามารถจะฝึกหัดอบรมเธอได้ พวกอำมาตย์ก็ดี พวกพราหมณ์

และคฤหบดีก็ดี แม้จะร่วมกันว่ากล่าวอย่างขุ่นเคือง ว่า ข้าแต่

เจ้านาย ท่านอย่าได้ทำอย่างนี้เลย ท่านไม่น่าจะทำอย่างนี้ ก็

มิสามารถจะให้เธอเชื่อถือถ้อยคำได้ พระราชาทรงพระดำริว่า

ยกเว้นพระดาบสผู้ทรงศีลผู้เป็นเจ้า ของเราเสียแล้ว คงไม่มีผู้อื่น

ที่จะชื่อว่าสามารถทรมานกุมารนี้ได้ พระคุณเจ้าเท่านั้น จัก

ทรมานเขาได้ ท้าวเธอทรงพาพระกุมารไปสำนักพระโพธิสัตว์

รับสั่งว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ กุมารนี้ดุร้าย หยาบคาย พวก

ข้าพเจ้าไม่สามารถจะอบรมฝึกสอนเธอได้ พระคุณเจ้าโปรด

หาอุบายสักอย่างหนึ่งอบรมเธอให้ด้วยเถิด ดังนี้แล้ว ทรงมอบ

พระกุมารแต่พระโพธิสัตว์ แล้วเสด็จหลีกไป พระโพธิสัตว์

จึงชวนพระกุมาร เที่ยวไปในอุทยาน เห็นหน่อต้นสะเดาต้นหนึ่ง

เพิ่งมีใบสองใบเท่านั้น คือแตกออกข้างละหนึ่งใบ จึงกล่าวกะ

พระกุมารว่า กุมาร เธอจงเคี้ยวกินใบของหน่อสะเดานี้ แล้ว

ทราบรสไว้เถิด พระกุมารทรงเคี้ยวใบสะเดาใบหนึ่ง รู้รสแล้ว

ตรัสว่า ชิ ! ชิ ! ถ่มทิ้งที่แผ่นดินพร้อมทั้งเขฬะ เมื่อดาบสกล่าวว่า

เป็นอย่างไรเล่า กุมาร ก็กราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ

ต้นไม้นี้เปรียบเสมือนยาพิษชนิดร้ายแรง ในบัดนี้ทีเดียว ถ้า

เจริญเติบโตขึ้น คงฆ่ามนุษย์เสียเป็นอันมาก พลางทรงถอน

หน่อสะเดานั้น แล้วขยี้จนแหลกด้วยพระหัตถ์ ตรัสคาถานี้

ความว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 605

ต้นไม้นี้ มีใบข้างละหนึ่งใบ จากแผ่นดิน

ยังไม่ถึง ๔ องคุลี มีรสเสมอกับยาพิษ ต้นไม้นี้

เติบโตขึ้น จักขมสักเพียงไหน ? ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกปณฺโณ ความว่า มีใบ

ที่ข้างทั้งสอง ข้างละใบ.

บทว่า น ภูมิยา จตุรงฺคุโล ความว่า (ต้นไม้นี้) ยังไม่ออก

จากแผ่นดินถึง ๔ องคุลีเลย.

บทว่า ผเลน ได้แก่รสอันเกิดจากผล.

บทว่า วิสกปฺเปน ได้แก่มีผลคล้ายยาพิษอย่างแรง อธิบาย

ว่า แม้จะต้นเล็กอย่างนี้ ก็ประกอบด้วยใบมีรสขมเห็นปานนี้.

บทว่า มหาย กึ ภวิสฺสติ ความว่า แม้นว่า ต้นไม้นี้ จักถึง

ความเจริญ คือเติบโตขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นจักเป็นอย่างไร มันต้อง

ฆ่ามนุษย์ได้เป็นแน่ พระกุมารตรัสว่า ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้

เราต้องถอนนั้น ขยี้ทิ้งเสีย.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคำนี้กะพระกุมารว่า

กุมารเอ๋ย เธอกล่าวถึงหน่อสะเดานี้ว่า เดี๋ยวนี้เอง มันยังขม

ถึงเพียงนี้ เมื่อมันโตจักเป็นอย่างไร อาศัยมันแล้ว จะมีความ

เจริญมาแต่ไหน ? ดังนี้แล้วถอนขยี้ทิ้งไป เธอปฏิบัติในหน่อสะเดา

นี้ฉันใดเล่า แม้ชาวแว่นแคว้นของเธอ ก็คงฉันนั้น จักพากัน

กล่าวว่า พระกุมารนี้ยังเป็นเด็กอยู่ทีเดียว ยังดุร้าย หยาบคาย

อย่างนี้ เมื่อเจริญเติบโตครองราชสมบัติ จักทำอย่างไรกันเล่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 606

ที่ไหนพวกเราจักอาศัยเธอ พากันจำเริญได้ แล้วไม่ยอมถวาย

ราชสมบัติ อันเป็นของแห่งตระกูลของเธอ จักถอดถอนเธอเสีย

เหมือนหน่อสะเดา แล้วทำการขับไล่ออกไปเสียจากแว่นแคว้น

เพราะฉะนั้น เธอจงละเว้นความเป็นผู้ตนเปรียบเหมือนต้นสะเดา

เสีย จงถึงพร้อมด้วยความอดทน ความเมตตา และความเอื้อเฟื้อ

ตั้งแต่บัดนี้ไปเถิด จำเดิมแต่นั้น พระกุมารก็หมดมานะ หมดพยศ

สมบูรณ์ด้วยความอดทน ความเมตตา และความเอื้อเฟื้อ ดำรง

อยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ครั้นพระชนกล่วงลับไปแล้ว ก็ได้

ครองราชสมบัติ ทรงบำเพ็ญบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วเสด็จไป

ตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสย้ำว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่เราทรมานลิจฉวี-

กุมารผู้ชั่วร้ายได้ แม้ในครั้งก่อนเราก็เคยทรมานเธอแล้วเหมือนกัน

ดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ทุฏฐกุมารในครั้งนั้น ได้มาเป็น

ลิจฉวีกุมารนี้ พระราชาได้มาเป็นอานนท์ ส่วนดาบสผู้ให้โอวาท

ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาเอกปัณณชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 607

๑๐. สัญชีวชาดก

ว่าด้วยโทษที่ยกย่องอสัตบุรุษ

[๑๕๐] "ผู้ใดยกย่อง และคบหาอสัตบุรุษ อสัต-

บุรุษย่อมทำผู้นั้นแหละให้เป็นเหยื่อ เหมือน

พยัคฆ์ที่สัญชีวมาณพ ชุบขึ้น ย่อมทำเขานั่นแล

ให้เป็นเหยื่อ ฉะนั้น"

จบ สัญชีวชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาสัญชีวชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน

ทรงปรารภการยกย่องอสัตบุรุษของพระเจ้าอชาตศัตรู ตรัส

พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "อสนฺต โย ปคฺคณฺหาติ"

ดังนี้.

ความพิสดารว่า พระเจ้าอชาตศัตรูนั้น ทรงเลื่อมใสใน

พระเทวทัตผู้ทุศีล มีบาปธรรม เป็นเสี้ยนหนามต่อพระพุทธองค์

และพุทธสาวก ทรงยกย่องพระเทวทัตนั้น ผู้ไม่สงบระงับเป็น

อสัตบุรุษ ทรงพระดำริว่า จักทำสักการะแก่เธอ ดังนี้แล้ว ทรง

บริจาคทรัพย์เป็นอันมาก ให้สร้างวิหารที่คยาสีสประเทศ ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 608

เชื่อถ้อยคำของเธอ สำเร็จโทษพระราชบิดา ผู้เป็นพระราชา

ผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระอริยสาวกชั้นพระโสดาบันเสีย ตัดรอน

อุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรคของพระองค์ ถึงความพินาศ

ใหญ่หลวง ครั้นท้าวเธอทรงสดับว่า พระเทวทัต ถูกแผ่นดินสูบ

ก็สะดุ้งตกพระทัยว่า ตัวเราเล่า จักถูกแผ่นดินสูบบ้างไหมหนอ ?

ไม่ได้รับความสุขในราชสมบัติ ไม่ได้ประสบความยินดีบน

พระแท่นบรรทม ทรงหวาดผวาอยู่เที่ยวไป เหมือนเปรตที่ถูกทรมาน

อย่างรุนแรง ท้าวเธอนึกเห็นเป็นเสมือน กำลังถูกแผ่นดินสูบ

เหมือนเปลวเพลิงในอเวจี กำลังแลบออกมา และเหมือนพระองค์

จักบังคับให้บรรทมหงาย เหนือแผ่นดินเหล็กที่ร้อน แล้วถูกแทง

ด้วยหลาวเหล็กฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น ขึ้นชื่อว่า ความสงบพระทัย

แม้ชั่วครู จึงมิได้มีแก่พระองค์ ผู้หวาดผวาเหมือนไก่ที่ถูกเชือด

ท้าวเธอมีพระประสงค์จะเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระ-

ประสงค์จะให้พระพุทธองค์ทรงอดโทษ ทั้งมีพระประสงค์จะ

ทูลถามปัญหา แต่เพราะพระองค์มีความผิดอย่างใหญ่หลวง จึง

มิอาจที่จะเข้าเฝ้าได้.

ครั้งนั้นประจวบกับพระนครราชคฤห์ มีงานราตรีประจำ-

เดือน กัตติกา ประชาชนพากันตกแต่งบ้านเมืองประหนึ่งเทพนคร

พระเจ้าอชาตศัตรู แวดล้อมไปด้วยหมู่อำมาตย์ ประทับนั่งเหนือ

พระราชอาสน์ทองคำ ในท้องพระโรงหลวง ทอดพระเนตรเห็น

หมอชีวกโกมารภัจ นั่งเฝ้าอยู่ไม่ห่าง ได้ทรงมีพระปริวิตกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 609

เราจักชวนหมอชีวกไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เราไม่อาจ

ที่จะชวนไปตรง ๆ ทีเดียว ว่า ชีวกผู้สหาย เราไม่สามารถที่

จะไปตามลำพังได้ มาเถิด เธอช่วยพาฉันไปเฝ้าพระศาสดา

ด้วยเถิด ดังนี้ ต้องพรรณาถึงความเพริดพริ้งงดงามแห่ง

ยามราตรี แก่เขาด้วยปริยายเป็นอันมาก แล้วจึงค่อยกล่าวว่า

ไฉนเล่าหนอ วันนี้พวกเราน่าจะเข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์

ที่เมื่อพวกเราเข้าไปหาท่าน จะพึงทำจิตใจให้ผ่องใสได้ ฟังคำนั้น

แล้ว พวกอำมาตย์จักพากันพรรณนาคุณศาสดาทั้งหลายของตน

ถึงหมอชีวกเล่า ก็คงจะกล่าวพรรณนาคุณแห่งพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้า เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจักชวนเขาไปสู่สำนักพระศาสดา

ดังนี้ ท้าวเธอจึงพรรณนาราตรีกาล ด้วยบททั้ง ๕ ดังนี้ :-

ชาวเราเอ๋ย คืนวันเพ็ญ เจิดจ้าแท้ หนอ

ชาวเราเอ๋ย คืนวันเพ็ญ งามจริง ยิ่งหนอ

ชาวเราเอ๋ย คืนวันเพ็ญ น่าทัศนา จริงหนอ

ชาวเราเอ๋ย คืนวันเพ็ญ แจ่มใส จริงหนอ

ชาวเราเอ๋ย คืนวันเพ็ญ น่ารื่นรมย์ แท้หนอ

วันนี้ใครเล่าหนอ ที่ชาวเราควรเข้าไปหา ท่านผู้ใดเล่า

ที่พวกเราเข้าไปหา จิตใจจะพึงเลื่อมใสได้ ครั้งนั้น อำมาตย์

ผู้หนึ่ง กล่าวถึงคุณของปูรณกัสสป คนหนึ่งกล่าวถึงคุณของ

มักขลิโคศาล คนหนึ่งกล่าวถึงคุณของอชิตเกสกัมพล คนหนึ่ง

กล่าวคุณปกุทธกัจจายนะ คนหนึ่งกล่าวคุณของสญชัยเวลัฏฐบุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 610

คนหนึ่งกล่าวคุณของนิครนถนาฏบุตร พระราชาทรงสดับคำ

ของเขาเหล่านั้นแล้ว ได้ทรงดุษณีภาพด้วยว่า ท้าวเธอทรง

ปรารถนาถ้อยคำของมหาอำมาตย์ชีวกเท่านั้น ฝ่ายหมอชีวก

ดำริว่า เมื่อพระราชาตรัสกับเรานั่นแหละ เราจึงจักกราบทูล

ดังนี้แล้วก็นั่งนิ่งอยู่ในที่ไม่ไกล ครั้งนั้น พระราชาจึงตรัสกะเขา

ว่า ดูก่อนสหายชีวก ท่านเล่าทำไมจึงนิ่งเสีย ? ขณะนั้น ชีวก

ก็ลุกจากอาสนะ ประณมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ กราบทูลว่า ขอเดชะ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น

พระอรหันต์ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น กำลังเสด็จ

ประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของข้าพระองค์ กับภิกษุสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป

ก็แลกิตติศัพท์อันงามอย่างนี้ เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น ระบือไปแล้ว พลางประกาศปาฏิหาริย์เก้าร้อยประการ

อานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีบุรพนิมิตรตั้งแต่ประสูติ

เป็นต้นเป็นประเภท แล้วกราบทูลว่า ขอเชิญพระองค์ผู้สมมติเทพ

เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงสดับธรรม

ตรัสถามปัญหาเถิดพระเจ้าข้า พระราชาทรงมีพระมโนรถเต็ม

เปี่ยม ตรัสว่า สหายชีวก ถ้าเช่นนั้น เธอจงสั่งให้จัดแจงช้างเถิด

ครั้นรับสั่งให้จัดเตรียมยานพาหนะแล้ว เสด็จดำเนินไปสู่

ชีวกัมพวัน ด้วยราชานุภาพอันใหญ่หลวง ทอดพระเนตรเห็น

พระตถาคตเจ้า แวดล้อมด้วยหมู่ภิกษุในโรงโถง ณ ชีวกัมพวัน

นั้น ทรงชำเลืองดูหมู่ภิกษุ ผู้ปราศจากการเคลื่อนไหว ประหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 611

เรือใหญ่ในท่ามกลางทะเล ยามมีคลื่นลมสงบแล้ว ฉะนั้น โดย

ถ้วนทั่ว ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถนั้นแล ด้วยทรงพระดำริว่า

บริษัทเห็นปานดังนี้ เราไม่เคยเห็นเลย พลางประคองอัญชลี

แด่พระสงฆ์ ตรัสชมเชย ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลถามปัญหาในสามัญญผล

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงสามัญญผลสูตร ประดับ

ด้วยภาณวาร ๒ ภาณวาร แก่ท้าวเธอ ในเวลาจบพระสูตร

ท้าวเธอดีพระทัย ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอดโทษ เสด็จ

ลุกจากอาสนะ ทรงกระทำปทักษิณ แล้วเสด็จหลีกไป.

เมื่อพระราชาเสด็จไปแล้วไม่นาน พระศาสดาตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาองค์นี้

ถูกขุดเสียแล้ว ถูกโค่นเสียแล้ว ถ้าท้าวเธอจักไม่ปลงพระชนม์

พระราชบิดา ผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นราชาโดยธรรมเสีย

เพราะมุ่งความเป็นใหญ่ไซร้ ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจาก

มลทิน จักบังเกิดในขณะประทับนั่งนี้ทีเดียว แต่ท้าวเธออาศัย

พระเทวทัต ทำการยกย่องอสัตบุรุษ จึงเสื่อมเสียจากโสดา-

ปัตติผล ในวันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลาย ยกเรื่องขึ้นสนทนากันใน

ธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า พระเจ้าอชาตศัตรู

เสื่อมเสียจากโสดาปัตติผล เพราะทำการยกย่องอสัตบุรุษ

อาศัยพระเทวทัตผู้ทุศีล มีบาปธรรม ทรงกระทำปิตุฆาตกรรม

เป็นพระราชาที่พระเทวทัตให้ฉิบหายแล้ว พระศาสดาเสด็จมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 612

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนา

กันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อชาตศัตรู

ทำการยกย่องอสัตบุรุษ ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง แม้ใน

กาลก่อน เธอก็ทำลายตนเสียด้วยการยกย่องอสัตบุรุษเหมือนกัน

ทรงนำเรื่องราวในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ มีสมบัติ

มาก เจริญวัยแล้วไปสู่เมืองตักกสิลา เรียนสรรพศิลปวิทยา

เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในพระนครพาราณสี บอกศิลปะแก่

มาณพ ๕๐๐ คน ในมาณพเหล่านั้น มีมาณพคนหนึ่งชื่อ "สัญชีวะ"

พระโพธิสัตว์ได้ให้มนต์ทำคนตายให้ฟื้นแก่เขา เขาเรียนแต่มนต์

ทำคนตายให้ฟื้นอย่างเดียว ไม่ได้เรียนมนต์สำหรับป้องกัน

วันหนึ่งไปป่าหาฟืนกับพวกเพื่อน เห็นเสือตายตัวหนึ่ง ก็พูดกะ

พวกมาณพว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เราจักทำเสือตายตัวนี้ให้

ฟื้นขึ้น มาณพทั้งหลาย กล่าวแย้งว่า ท่านจักไม่สามารถดอก

เขากล่าวว่า เราจักทำให้มันฟื้นขึ้น ให้พวกท่านเห็นกันทุกคน

ทีเดียว พวกมาณพเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ถ้าท่านสามารถ ก็จง

ปลุกให้มันตื่นขึ้นเถิด ครั้นกล่าวแล้ว ต่างรีบปีนขึ้นต้นไม้ สัญชีว-

มาณพ ร่ายมนต์แล้วขว้างเสือตายด้วยก้อนกรวด เสือลุกขึ้น

โดดกัดสัญชีวมาณพที่ก้านคอ ทำให้สิ้นชีวิต ล้มลงตรงนั้นเอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 613

ทั้งคู่นอนตายอยู่ในที่เดียวกัน พวกมาณพพากันขนฟืนไปแล้ว

แจ้งความเป็นไปนั้นแก่อาจารย์ อาจารย์จึงเรียกมาณพทั้งหลาย

มากล่าวว่า พ่อคุณทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า ผู้ที่ยกย่อง อสัตบุรุษ

กระทำสักการะและสัมมานะ ในที่อันไม่สมควร ย่อมกลับได้รับ

ทุกข์เห็นปานนี้ ทั้งนั้น แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า : -

"ผู้ใดยกย่อง และคบหาอสัตบุรุษ อสัต-

บุรุษย่อมทำผู้นั้นแหละให้เป็นเหยื่อ เหมือนพยัคฆ์

ที่สัญชีวมาณพ ชุบขึ้น ย่อมทำเขานั่นแลให้เป็น

เหยื่อ ฉะนั้น" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสนฺต ได้แก่ผู้ทุศีลมีบาปธรรม

ประกอบด้วยทุจริตทั้ง ๓ ประการ.

บทว่า โย ปคฺคณฺหาติ ความว่า บรรดาขนมีกษัตริย์

เป็นต้น ผู้ใดผู้หนึ่งยกย่อง คือทำสักการะ สัมมานะ อสัตบุรุษ

ผู้ทุศีลเห็นปานนี้ ที่เป็นบรรพชิต ด้วยการถวายปัจจัยมีจีวร

เป็นต้น ที่เป็นคฤหัสถ์ด้วยการให้ครอบครองตำแหน่ง อุปราช

และเสนาบดี เป็นต้น.

บทว่า อสนฺต จูปเสวติ ความว่า อนึ่งเล่าผู้ใดย่อมเข้าไป

สร้องเสพ คบหา สนิทสนม อสัตบุรุษ ผู้ทุศีล เห็นปานนี้.

บทว่า ตเมว ฆาส กุรุเต ความว่า บุคคลชั่วผู้ทุศีลนั้น

ย่อมกัดผู้นั้น คือผู้ที่ยกย่องอสัตบุรุษนั้นแล กินเสีย ได้แก่ทำผู้นั้น

ให้ถึงความพินาศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 614

เช่นไรเล่า ?

เหมือนพยัคฆ์ที่คืนชีพ เพราะมาณพชุบขึ้น อธิบายว่า

พยัคฆ์ที่ตายคืนชีพได้ โดยที่สัญชีวมาณพ ร่ายมนต์ยกย่องด้วย

การมอบชีวิตให้ กลับปลงชีพ สัญชีวมาณพผู้ให้ชีวิตแก่มัน

ให้ล้มลงตรงนั้นเอง ฉันใด แม้ผู้อื่นก็ฉันนั้น ผู้ใดทำการยกย่อง

อสัตบุรุษ อสัตบุรุษทุศีลนั้น ย่อมทำลายล้าง ผู้ที่ยกย่องตนนั้น

เสียทีเดียว พวกชนที่ยกย่องอสัตบุรุษ ย่อมพากันถึงความ

พินาศ ด้วยประการฉะนี้.

พระโพธิสัตว์ แสดงธรรมแก่มาณพทั้งหลาย ด้วยคาถานี้

การทำบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง

ประชุมชาดกว่า มาณพผู้ทำเสือตายให้ฟื้นในครั้งนั้น ได้มาเป็น

พระเจ้าอชาตศัตรูในบัดนี้ ส่วนอาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้มาเป็น

เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ สัญชีวชาดกที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 615

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โคธชาดก ๒. สิคาลชาดก ๓. วิโรจนชาดก ๔. นัง-

คุฏฐชาดก ๕. ราธชาดก ๖. กากชาดก ๗. ปุปผรัตตชาดก

๘. สิคาลชาดก ๙. เอกปัณณชาดก ๑๐. สัญชีวชาดก.

จบ กกัณฏกวรรคที่ ๑๕

รวมชาดกที่มีในเอกนิบาตนี้ คือ

๕. อัตถกกามวรรค ๖. อาสิงสวรรค ๗. อิตถีวรรค ๘. วรุณวรรค

๙. อปายิมหวรรค ๑๐. ลิตตวรรค ๑๑. ปโรสตวรรค ๑๒. หังสิวรรค

๑๓. กุสินาฬิวรรค ๑๔. อสัมปทานวรรค ๑๕. กกัณฏกวรรค

จบ เอกนิบาต