ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย เถรีคาถา

เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๔

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เถรีคาถา เอกนิบาต

ว่าด้วยคาถาต่าง ๆ ในเอกนิบาต

๑. อัญญตราเถรีคาถา

[๔๐๒] ได้ยินว่า ภิกษุณีเถรีองค์หนึ่งไม่ปรากฏชื่อได้ภาษิตคาถาไว้

อย่างนี้ว่า :-

ดูก่อนพระเถรี ท่านจงเอาท่อนผ้าทำจีวรนุ่งห่ม

แล้วพักผ่อนให้สบายเถิด เพราะราคะของท่านสงบ

แล้ว เหมือนผักดองแห้งอยู่ในหม้อ.

จบอัญญตราเถรีคาถา

๑. บาลีเล่มที่ ๒๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 2

ปรมัตถทีปนี

อรรถกถาขุททกนิกาย เถรีคาถา

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อรรถกถาเอกนิบาต

๑. อรรถกถาอัญญตราเถรีคาถา

ในเอกนิบาตมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บัดนี้ ถึงโอกาสที่จะพรรณนาเนื้อความเถรีคาถาตามลำดับแล้ว เพราะ

ในเถรีคาถานั้น เมื่อได้พรรณนาเนื้อความประกาศประการที่เหล่าภิกษุณีได้

บรรพชาและอุปสมบทแต่ต้นนั้นในที่นี้ การชี้แจงอัตถุปัตติเหตุเกิดขึ้นของ

คาถาทั้งหลายในเรื่องนั้น ๆ ย่อมทำได้ง่ายและปรากฏชัด ฉะนั้น เพื่อประกาศ

ความนั้น พึงทราบอนุปุพพีกถาตั้งแต่ต้นโดยย่อดังต่อไปนี้ :-

ความย่อว่า พระโลกนาถศาสดาพระองค์นี้ทรงประชุมองค์แปดที่ตรัส

ไว้โดยนัยว่า มนุสฺสตฺต ลิงฺคสมฺปตฺติ ความเป็นมนุษย์ ความสมบูรณ์ด้วย

เพศเป็นต้น สร้างมหาภินิหารแทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

ทีปังกร ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ ได้พยากรณ์ในสำนักของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ๒๔ พระองค์ ทรงบำเพ็ญบารมีโดยลำดับ ถึงยอดแห่งญาตัตถจริยา

และโลกัตถจริยา บังเกิดในภพชั้นดุสิต ดำรงอยู่ในภพชั้นดุสิตนั้นตลอดอายุ

เทวดาในหมื่นจักรวาลอาราธนาให้อุบัติเป็นมนุษย์ เพื่อเป็นพระพุทธเจ้า ด้วย

คำว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 3

ข้าแต่มหาวีระ ได้เวลาที่พระองค์จะเสด็จ

อุบัติในพระครรภ์พระมารดา ตรัสรู้อมตบท ยัง

มนุษยโลกพร้อมเทวโลกให้ข้ามโอฆสงสารแล้ว.

ทรงประทานปฏิญญาแก่เทวดาเหล่านั้น แล้วทรงทำปัญจมหาวิโลกนะ

ทรงมีพระสติสัมปชัญญะเสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา ในพระตำหนักของ

พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ในศากยราชตระกูล ทรงมีพระสติสัมปชัญญะอยู่ใน

พระครรภ์นั้น ๑๐ เดือน ทรงมีพระสติสัมปชัญญะเสด็จออกจากพระครรภ์ได้

พระอภิชาติที่ลุมพินีวัน ได้รับการดูแลอย่างดีด้วยการดูแลที่ยิ่งใหญ่ ตั้งต้น

แต่จัดพี่เลี้ยงไว้หลายเหล่า ทรงเจริญวัยโดยลำดับ แวดล้อมไปด้วยนักฟ้อนรำ

หลายชนิด ในปราสาทสามหลัง เสวยสมบัติดุจเทวดา ทรงสลดพระทัย

เพราะเห็นคนแก่ คนเจ็บ และคนตาย ทรงเห็นโทษในกามและอานิสงส์ใน

เนกขัมมะ เพราะญาณแก่กล้า ในวันที่ราหุลกุมารประสูติ พระองค์มีนายฉันนะ

เป็นสหาย ทรงกัณฐกอัศวราช เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ยามเที่ยงคืน ทาง

ประตูที่เหล่าเทวดาเปิดถวาย เสด็จผ่านแคว้นที่มีพระราชาปกครองสามแคว้น

ในราตรีนั้นเอง เสด็จถึงฝั่งอโนมานที ทรงรับธงชัยของพระอรหัตที่ฆฏิการ-

มหาพรหมนำมาถวาย ทรงบรรพชาเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอากัปกิริยาเหมือนพระ -

เถระ ๖๐ พรรษาในขณะนั้นนั่นเอง, เสด็จถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับด้วยพระ

อิริยาบถน่าเลื่อมใส เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์นั้นแล้ว ประทับนั่ง

เสวยบิณฑบาตที่เงื้อมเขาปัณฑวะ พระเจ้าพิมพิสารราชาของชาวมคธทรง

เชื้อเชิญให้ครองราชสมบัติ (ร่วมกับพระองค์) ทรงปฏิเสธเรื่องนั้น เสด็จไป

อารามของท่านภัคควะ ทรงศึกษาลัทธิของท่านภัคควะนั้น จากนั้นทรงศึกษา

ลัทธิของท่านอาฬารดาบสและท่านอุทกดาบส ไม่ทรงพอพระทัยลัทธิทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 4

นั้น เสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาตามลำดับ ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ ๖ ปี ที่

ตำบลนั้น ทรงทราบว่าทุกกรกิริยานั้นไม่ทำให้ตรัสรู้อริยธรรมได้ มีพระดำริ

ว่า นี้ไม่ใช่ทางตรัสรู้ ทรงนำอาหารหยาบมาบำรุงกำลังอยู่สองสามวัน ใน

วันวิสาขบุณมี เสวยโภชนะอย่างประเสริฐ (มธุปายาส) ที่นางสุชาดาถวาย

แล้วทรงลอยถาดทองทวนกระแสน้ำในแม่น้ำ (เนรัญชรา) ทรงลงความเห็น

ในที่สุดว่า เราจักตรัสรู้ในวันนี้ เวลาเย็นพญากาฬนาคราชสรรเสริญพระคุณ

เสด็จขึ้นโพธิมณฑล ผินพระพักตร์ไปยังปาจีนโลกธาตุประทับนั่งเหนืออปรา-

ชิตบัลลังก์อันเป็นฐานะไม่หวั่นไหว ทรงตั้งความเพียรประกอบด้วยองค์สี่

ทรงกำจัดกองทัพมารได้ในเมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ทันอัสดงคตเลย ปฐมยาม

ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ มัชฌิมยามทรงบรรลุทิพยจักษุญาณ

(จุตูปปาตญาณ) ปัจฉิมยามทรงหยั่งญาณลงในปฏิจจสมุปบาท พิจารณาปัจจ-

ยาการทั้งอนุโลมและปฏิโลมเจริญวิปัสสนา ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิ-

ญาณ อันไม่สาธารณ์แก่ผู้อื่น ที่พระพุทธเจ้าทั้งปวงบรรลุกันแล้ว ทรงเข้า

ผลสมาบัติ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นเวลา ๗ วัน ที่โพธิมณฑลนั้น

แหละ ทรงให้เวลาล่วงไปที่โพธิมณฑลนั่นเอง อีกหลายสัปดาห์โดยนัยนั้นแล

เสวยโภชนะคลุกน้ำผึ้งที่โคนต้นราชายตนะไม้เกด ประทัปนั่งที่โคนต้นอชปาล

นิโครธอีก ทรงพิจารณาความที่ธรรมเป็นเรื่องลึกซึ้งตามธรรมดา ท้าวมหา-

พรหมมาอาราธนาในเมื่อพระองค์มีพระทัยน้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย (คิด

จะไม่สอน) ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ทรงเห็นเหล่าสัตว์ชนิดมีอินทรีย์

แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี เป็นต้น ทรงทำปฏิญญากับท้าวมหาพรหมที่

จะแสดงธรรม ทรงรำพึงว่า ควรจะแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงทราบ

ว่า ท่านอาฬารดาบสและท่านอุทกดาบสตายเสียแล้ว มีพระดำริว่า ภิกษุ

ปัญจวัคคีย์ที่บำรุงรับใช้เรา ซึ่งกำลังบำเพ็ญเพียรอย่างเด็ดเดี่ยว เป็นผู้มีอุปการะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 5

แก่เรามากแท้ อย่ากระนั้นเลย เราพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่า

นั้นก่อน ในวันอาสาฬหบุณมี เสด็จพุทธดำเนินจากมหาโพธิมุ่งกรุงพาราณสี

ระยะทาง ๑๘ โยชน์ ทรงพบกับอุปกาชีวกในระหว่างทาง เสด็จถึงป่า

อิสิปตนะตามลำดับ ทรงทำความเข้าใจกะพระปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนะนั้น ทรง

ให้พระพรหม ๑๘ โกฏิมีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นประมุข ดื่มอมตธรรม

ด้วยเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สุดโต่งสองอย่างเหล่านั้น อันบรรพชิตไม่พึงเสพ ดังนี้.

ในวันแรม ๑ ค่ำ ทรงให้พระภัททิยเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.

วันแรม ๒ ค่ำ ทรงให้พระวัปปเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.

วันแรม ๓ ค่ำ ทรงให้พระมหานามเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.

วันแรม ๔ ค่ำ ทรงให้พระอัสสชิเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.

อนึ่งในวันแรม ๕ ค่ำ ทรงให้พระปัญจวัคคีย์ทั้งหมดตั้งอยู่ในพระ

อรหัตด้วยเทศนาอนัตตลักขณสูตร.

ต่อจากนั้นทรงให้มหาชนหยั่งลงสู่อริยภูมิ อย่างนี้คือ บุรุษ ๕๕ คน

มียสกุลบุตรเป็นประมุข ภัททวัคคียกุมารประมาณ ๓๐ คนที่ไร่ฝ้าย

ปุราณชฎิลประมาณพันคนที่หินราบ คยาสีสประเทศ ที่ให้มหาชน ๑๑ นหุต

มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ให้มหาชน ๑ นหุต

ตั้งอยู่ในสรณะสาม ทรงรับพระเวฬุวันแล้ว ประทับอยู่ในพระเวฬุวันนั้น ทรง

ตั้ง พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ผู้บรรลุปฐมมรรคโดยการนำของ

พระอัสสชิเถระ ลาอาจารย์สญชัยเข้ามายังสำนักของพระองค์พร้อมด้วย

บริวาร ทำให้แจ้งผลอันเลิศบรรลุที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณแล้วไว้ในตำแหน่ง

สาวกผู้เลิศ เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ตามคำเชื้อเชิญของพระกาฬุทายีเถระ ทรง

ทรมานหมู่พระญาติผู้กระด้างเพราะมานะ ด้วยยมกปาฏิหาริย์ ทรงให้พระชนก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 6

ตั้งอยู่ในอนาคามิผล และให้พระมหาปชาบดีตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ทรงให้

นันทกุมารและราหุลกุมารบรรพชา แล้วเสด็จกลับมายังกรุงราชคฤห์อีก.

สมัยต่อมา เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าอาศัย กรุงเวสาลี ประทับอยู่ที่

กูฏาคารศาลา พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต

ปรินิพพานภายใต้เศวตฉัตรนั่นเอง. ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมี ได้เกิด

ความคิดที่จะบรรพชา ลำดับนั้น เหล่าหญิงบาทบริจาริกาของกุมาร ๕๐๐ คน

ที่ออกบวชในเวลาจบเทศนา กลหวิวาทสูตร ที่ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี ได้

พร้อมใจกันไปเฝ้าพระมหาปชาบดี ทุกคนทูลว่า จักบวชในสำนักของพระ-

ศาสดา ตั้งให้พระมหาปชาบดีเป็นหัวหน้าประสงค์จะไปเฝ้าพระศาสดา ก็พระ

มหาปชาบดีนี้ เมื่อก่อนได้ทูลขอบรรพชากะพระศาสดาครั้งหนึ่งแล้วไม่ได้

ฉะนั้นจึงรับสั่งให้เรียกกัลบกมาปลงพระเกสาแล้วครองผ้ากาสายะ พาสากิยานี

เหล่านั้นทั้งหมดไปกรุงเวสาลี ขอร้องพระอานนทเถระให้อ้อนวอนพระทศพล

จึงได้บรรพชาและอุปสมบทด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ แม้สากิยานีนอกนี้

ทั้งหมดก็ได้อุปสมบทพร้อมกัน .

นี้เป็นความย่อในเรื่องนี้ ส่วนเรื่องนี้โดยพิสดาร มาแล้วในบาลีนั้น ๆ

ทั้งนั้น.

พระมหาปชาบดีอุปสมบทอย่างนี้แล้ว เข้าเฝ้าพระศาสดา ถวาย

บังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควรแห่งหนึ่ง ครั้งนั้น พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่

พระมหาปชาบดีนั้น พระนางนั้นเรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดา ได้

บรรลุพระอรหัต ภิกษุณี ๕๐๐ ที่เหลือได้บรรลุพระอรหัตในเวลาจบนันทโก-

วาทสูตร เมื่อภิกษุณีสงฆ์ตั้งมั่นดีเป็นปึกแผ่นอย่างนี้แล้ว เหล่าหญิงมีตระกูล

สะใภ้ของตระกูล และกุมาริกาในตระกูลทั้งหลาย ในคามนิคมชนบทและราช

ธานีนั้น ๆ ได้ฟังความที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ดีแล้ว ความที่พระธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 7

เป็นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว และความที่พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

มีความเลื่อมใสในพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง และเกิดความสังเวชในสังสารวัฏ จึง

ขออนุญาตสามี บิดามารดา และญาติของตน ๆ บวชถวายชีวิตในพระศาสนา

และครั้นบวชแล้วเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระ ได้รับโอวาทในสำนักของ

พระศาสดาด้วยของพระเถระเหล่านั้นด้วย เพียรพยายามอยู่ ไม่นานนักก็ได้

บรรลุพระอรหัต ก็คาถาทั้งหลายที่พระเถรีภาษิตในที่นั้น ๆ ด้วยอำนาจเปล่ง

อุทานเป็นต้นเหล่านั้น ภายหลังพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายร่วมกันยกขึ้นสู่สังคีติ

จัดเป็นเอกนิบาตเป็นต้น คาถาเหล่านี้ชื่อเถรีคาถา การแบ่งคาถาเหล่านั้นเป็น

นิบาตเป็นต้น ได้กล่าวไว้แล้วให้หนหลังนั่นแล บรรดานิบาตเหล่านั้น เอก

นิบาตเป็นนิบาตแรก แม้ในเอกนิบาตนั้น คาถานี้ว่า

ดูก่อนพระเถรี ท่านจงเอาท่อนผ้าทำจีวร

นุ่งห่ม แล้วพักผ่อนให้สบายเถิด เพราะราคะของ

ท่านสงบแล้ว เหมือนผักดองแห้งอยู่ในหม้อ ดังนี้

เป็นคาถาแรก คาถานั้นเกิดขึ้นอย่างไร

เล่ากันมาว่า ในอดีตกาล กุลธิดาคนหนึ่งเลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา

ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามโกนาคมนะ นิมนต์พระศาสดา ในวันที่

สองให้สร้างมณฑปกิ่งไม้ ลาดทราย ผูกเพดานข้างบน บูชาด้วยของหอมและ

ดอกไม้เป็นต้นแล้วให้คนไปกราบทูลกาลแด่พระศาสดา พระศาสดาเสด็จไปที่

มณฑปนั้น ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ กุลธิดานั้นถวายบังคมพระผู้มี-

พระภาคเจ้า อังคาสด้วยของเคี้ยวของบริโภคอย่างประณีตแล้วให้พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จลดพระหัตถ์ลงจากบาตร ครองไตรจีวร พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุโมทนาแก่นางแล้วเสด็จหลีกไป กุลธิดานั้นทำบุญตลอดอายุ เวลาสิ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 8

อายุบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่ในสุคติภูมิทั้งหลายนั่นเองตลอด ๑ พุทธันดร

ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกัสสปะ บังเกิดในตระกูลคฤหบดี พอรู้

เดียงสาก็เกิดความสังเวชในสังสารวัฏ จึงบรรพชาอุปสมบทในพระศาสนา บวช

เป็นภิกษุณีอยู่สองหมื่นปี ตายทั้งที่เป็นปุถุชนบังเกิดในสวรรค์ เสวยสมบัติใน

สวรรค์ตลอด ๑ พุทธันดรบังเกิดในตระกูลกษัตริย์มหาศาล กรุงเวสาลี ในพุทธุป-

ปาทกาลนี้ คนทั้งหลายเรียกเธอว่า เถริกา เพราะมีรูปร่างล่ำสัน เธอเจริญ

วัย บิดามารดาให้แก่ขัตติยกุมารผู้มีชาติเสมอกันโดยตระกูลและประเทศเป็นต้น

เธอบูชาสามีเหมือนเทวดาอยู่ ได้ศรัทธาในพระศาสนาคราวพระศาสดาเสด็จ

กรุงเวสาลี ย่อมาเธอได้ฟังธรรมในสำนักของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เกิด

ชอบใจบรรพชา บอกแก่สามีว่า จักบวช สามีไม่อนุญาต แต่เพราะเธอสร้าง

บุญบารมีมา เธอพิจารณาธรรมตามที่ได้ฟัง กำหนดรูปธรรมและอรูปธรรม

ประกอบวิปัสสนาอยู่เนือง ๆ.

อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อเธอหุงหาอาหารอยู่ในครัวใหญ่ เปลวไฟใหญ่ได้

ตั้งขึ้น เปลวไฟนั้นทำให้ภาชนะที่สิ้นเกิดเสียงเปรี๊ยะ ๆ เธอเห็นดังนั้นจึงยึด

ข้อนั้นแหละเป็นอารมณ์ ใคร่ครวญความไม่เที่ยงที่ปรากฏขึ้นอย่างดียิ่ง จาก

นั้นได้ยกความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาขึ้นในครัวนั้น เจริญวิปัสสนา ขวน

ขวายโดยลำดับ ได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผลตามลำดับแห่งมรรค ตั้งแต่นั้นมา

เธอไม่ใช้เสื้อผ้าที่สวยงามหรือเครื่องประดับ เมื่อสามีถามว่า ที่รัก เหตุไรเดี๋ยว

นี้เธอจึงไม่ใช้เสื้อผ้าที่สวยงามหรือเครื่องประดับเหมือนเมื่อก่อน นางจึงบอกว่า

ตนไม่ควรอยู่เป็นคฤหัสถ์ แล้วขออนุญาตบวช สามีนำเธอไปสำนักของพระ-

มหาปชาบดีโคตมีด้วยบริวารใหญ่ กล่าวว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า โปรดบวชให้

นางนี้เถิด เหมือนวิสาขอุบาสกนำธรรมทินนาไปฉะนั้น. ครั้งนั้น พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 9

มหาปชาบดีโคตมีให้นางบรรพชาอุปสมบทแล้ว นำไปวิหารแสดงแก่พระศาสดา

เมื่อทำอารมณ์ที่เห็นตามปกตินั่นเองให้แจ่มแจ้งแก่นาง ตรัสพระคาถานี้ว่า

ดูก่อนเถรี เธอจงเอาท่อนผ้าทำจีวรนุ่งห่มแล้ว

พักผ่อนให้สบายเถิด เพราะราคะของเธอสงบแล้ว

เหมือนผักดองแห่งอยู่ในหม้อ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุข แสดงภาวนปุงสกะ. บทว่า สุปาหิ

เป็นคำสั่ง. บทว่า เถริเก เป็นคำเรียก. บทว่า กตฺวา โจเฬน ปารุตา

เป็นคำประกอบด้วยความมักน้อย. บทว่า อุปสนฺโต หิ เต ราโค เป็น

คำประกาศผลการปฏิบัติ. บทว่า สุกฺขฑาก ว เป็นคำแสดงความไม่มีสาระ

แห่งกิเลสที่พึงให้สงบ. บทว่า กุมฺภิย เป็นคำแสดงความไม่เที่ยงคือว่างเปล่า

ของหม้อที่ใส่ผักดองนั้น.

อนึ่ง บทว่า สุข นี้ เป็นชื่อของสิ่งที่ปรารถนา ความว่า มีสุขปราศ

จากทุกข์. ก็บทว่า สุปาหิ นี้ เป็นคำแสดงการผ่อนอิริยาบถสี่ ความว่า เพราะ

ฉะนั้น ท่านจงสำเร็จอิริยาบถทั้งสี่ตามสบายทีเดียว คือจงอยู่อย่างสบาย. บทว่า

เถริเก นี้เป็นบทประกาศชื่อของพระเถรีนั้นก็จริง แต่ก็มีความว่า ถึงความเป็น

ผู้มั่นในพระศาสนาที่มั่น เพราะภาวะที่รู้ตามเนื้อความได้เป็นส่วนมาก คือ

ประกอบด้วยธรรมมีศีลเป็นต้นอันมั่น. บทว่า กตฺวา โจเฬน ปารุตา

ความว่า จงเอาท่อนผ้าบังสุกุลทำจีวรปกปิดสรีระ คือนุ่งและห่มผ้านั้น. หิ

ศัพท์ในบทว่า อุปสนฺโต หิ เต ราโค มีเนื้อความว่า เหตุ อธิบายว่า

เพราะกามราคะที่เกิดในสันดานของท่านสงบแล้ว คือถูกเผาด้วยไฟคืออนาคามิ-

มรรคญาณ บัดนี้ท่านจงเผาราคะที่ยังเหลืออยู่นั้นด้วยไฟคือมรรคญาณอันเลิศ

พักผ่อนให้สบายเถิด. บทว่า สุกฺขฑาก ว กุมฺภิย ความว่า ย่อมสงบเหมือน

ผักดองเล็กน้อย ในภาชนะร้อนนั้น เขาเคี่ยวด้วยเปลวไฟแรงร้อนแห้งไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 10

อีกอย่างหนึ่ง เหมือนเมื่อเอาผักดองเจือน้ำ ขึ้นตั้งเคี่ยวบนเตา เมื่อน้ำยัง

มีอยู่ ผักดองนั้นย่อมเดือดพล่าน แต่เมื่อหมดน้ำ ย่อมสงบนิ่งฉันใด กามราคะ

ในสันดานของท่านสงบแล้ว ท่านจงทำกิเลสแม้ที่เหลืออยู่ให้สงบแล้ว พักผ่อน

ให้สบายเถิด ฉันนั้น.

พระเถรีบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในเวลาจบ

คาถา เพราะอินทรีย์แก่กล้าและเพราะพระศาสดาเทศนาไพเราะ เพราะเหตุ

นั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราสร้างมณฑปถวายพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ

และได้ถวายพระสถูปอันบวรแด่พระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์

มนุษย์ เราไปในที่ใด ๆ เป็นชนบทก็ตาม นิคมและราช-

ธานีก็ตาม ย่อมมีคนบูชาในที่นั้น ๆ ทุกแห่ง นี้เป็นผล

ของการทำบุญ เราเผากิเลสแล้ว ภพทั้งหมดเราถอน

ได้แล้ว เราตัดเครื่องผูกพัน เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

ดังช้างพังตัดเชือกแล้ว การมาเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประ-

เสริฐของเรา เป็นการมาดีแล้วหนอ เราได้บรรลุวิชชา

สามตามลำดับ เราปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

แล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทาสี่ วิโมกข์

ทั้งแปดและอภิญญาหก เราทำให้แจ้งแล้ว เราปฏิบัติ

ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นได้บรรลุพระอรหัตแล้ว พระเถรีเมื่อเปล่งอุทานได้ภาษิตคาถา

นั้นทีเดียว เหตุนั้น คาถานี้จึงได้เป็นคาถาของพระเถรีนั้น.

ด้วยคาถาที่พระเถรีกล่าวในที่นั้น เป็นอันกำหนดราคะได้อย่างไม่

เหลือ เพราะบรรลุความสงบนั้นได้ด้วยมรรคอันเลิศ. และที่กล่าวถึงความสงบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 11

กิเลสทั้งหมดในที่นี้ ก็ด้วยความสงบราคะนั่นเอง ฉะนั้นพึงเห็นข้อนั้น เพราะ

กิเลสธรรมทั้งหมดสงบได้ เพราะตั้งอยู่ร่วมกัน. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า

โมหะใดเกิดร่วมกับอุทธัจจะและวิจิกิจฉา อัน

เรารู้แล้ว โมหะนั้นก็รวมกันกับราคะ เพราะตั้งอยู่

ร่วมกันโดยการละ.

เหมือนอย่างว่า ความสงบแห่งสังกิเลสทั้งปวงท่านกล่าวไว้ในที่นี้ ฉัน

ใด แม้ในที่ทุกแห่งท่านก็กล่าวความสงบแห่งสังกิเลสเหล่านั้น ฉันนั้น ฉะนั้น

พึงทราบโดยที่สงบกิเลสได้สำเร็จในตอนต้น ด้วยตทังคปหานะละด้วยองค์นั้นๆ

ในขณะแห่งสมถะและวิปัสสนาด้วยวิกขัมภนปหานะละด้วยข่มไว้ ในขณะแห่ง

มรรคด้วยสมุจเฉทปหานะละด้วยถอนขึ้น ในขณะแห่งผลด้วยปฏิปัสสัทธิปหานะ

ละด้วยสงบระงับ ความสำเร็จแห่งปหานะทั้งสี่ พึงทราบด้วยความสงบนั้น.

บรรดาปหานะทั้งสี่นั้น ความสำเร็จแห่งสีลสัมปทา ท่านแสดงด้วยตทังคปหา-

นะ ความสำเร็จแห่งสมาธิสัมปทา ท่านแสดงด้วยวิกขัมภนปหานะ ความสำเร็จ

แห่งปัญญาสัมปทาท่านแสดงด้วยปหานะนอกนี้ โดยความสำเร็จคือบรรลุด้วย

ปหานะ. พระโยคาวจรยังการบรรลุสัจฉิกิริยา และการบรรลุปริญญาให้สำเร็จ

เหมือนยังการบรรลุภาวนาให้สำเร็จนั่นเอง เพราะไม่มีสิ่งนั้น ในเมื่อสิ่งนั้นไม่

มีแล บัณฑิตพึงทราบว่า สิกขา ๓ ท่านประกาศด้วยความสำเร็จคือการบรรลุ ๔

ความงาม ๓ อย่างท่านประกาศด้วยการปฏิบัติ วิสุทธิ ๗ ที่บริบูรณ์ท่าน

ประกาศด้วยคาถานี้. พระเถรีองค์หนึ่งไม่มีใครรู้จัก คือไม่ปรากฏชื่อแล ะโคตร

เป็นต้น อธิบายว่า ภิกษุณีผู้เป็นเถรี ถึงพร้อมด้วยลักษณะองค์หนึ่งได้ภาษิต

คาถานี้.

จบ อรรถกถาอัญญตราเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 12

๒. มุตตาเถรีคาถา

[๔๐๓] ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวสอน นางมุตตา

สิกขมานา ด้วยพระคาถานี้เนืองๆ อย่างนี้ว่า

ดูก่อนนางมุตตา เธอจงเปลื้องจิตจากกิเลส

เครื่องประกอบทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์ถูกราหูจับ

แล้วพ้นจากเครื่องเศร้าหมองฉะนั้น เธอมีจิตหลุดพ้น

แล้ว จงเป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภคก้อนข้าวเถิด.

จบ มุตตาเถรีคาถา

๒. อรรถกถามุตตาเถรีคาถา

คาถานี้ว่า

ดูก่อนนางมุตตา เธอจงเปลื้องจิตจากกิเลส

เครื่องประกอบทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์ถูกราหูจับ

แล้วพ้นจากเครื่องเศร้าหมองฉะนั้น เธอมีจิตหลุดพ้น

แล้ว จงเป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภคก้อนข้าวเถิด ดังนี้

เป็นคาถาสำหรับนางสิกขมานาชื่อมุตตา.

นางมุตตานั้นได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่ง

สมกุศลที่เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในเรือนตระกูล

ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งเห็นพระ

ศาสดาเสด็จไปในถนน มีใจเลื่อมใสถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 13

นอนคว่ำแทบพระยุคลบาทของพระศาสดา ด้วยกำลังปีติ นางบังเกิดในเทว-

โลกด้วยบุญกรรมนั้น ท่องเที่ยวไป ๆ มาๆ อยู่ในสุคติภูมิทั้งหลายนั่นเอง ใน

พุทธุปปาทกาลนี้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในกรุงสาวัตถี มีชื่อว่า

มุตตา เพราะเป็นหญิงถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เวลามีอายุ ๒๐ ปี นางจึงบวช

เป็นสิกขมานาในสำนักของพระมหาปชาบดีโคตมี ให้พระมหาปชาบดีโคตมี

นอกกัมมัฏฐานแล้วเจริญวิปัสสนา วันหนึ่งกลับจากบิณฑบาต แสดงวัตรคือ

กิจในการฉันแก่ภิกษุณีผู้เป็นเถรีทั้งหลายแล้วไปที่พักกลางวัน นั่งในที่ลับ

เริ่มมนสิการวิปัสสนากัมมัฏฐาน พระศาสดาประทับอยู่ที่พระคันธกุฏีมีกลิ่น

หอมนั่นแหละ ทรงเปล่งพระรัศมีแสดงพระองค์เหมือนประทับนั่งต่อหน้าของ

นางสิกขมานามุตตานั้น ตรัสพระคาถานี้ว่า

ดูก่อนนางมุตตา เธอจงเปลื้องจิตจากกิเลส

เครื่องประกอบทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์ถูกราหูจับ

แล้ว พ้นจากเครื่องเศร้าหมองฉะนั้น เธอมีจิตหลุด

พ้นแล้ว จงเป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภคก้อนข้าวเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุตฺเต เป็นคำเรียกนางสิกขมานานั้น.

บทว่า มุญฺจสฺสุ โยเคหิ ความว่า จงพ้นจากโยคะสี่มีกามโยคะเป็นต้น ด้วย

มรรคปฏิบัติ คือจงเป็นผู้มีจิตพ้นจากโยคะเหล่านั้น. เหมือนอย่างอะไร. บทว่า

จนฺโท ราหุคฺคหา อิว ความว่า เหมือนพระจันทร์ถูกอสุรินทราหูจับด้วยหัตถ์

พ้นจากเครื่องเศร้าหมอง. บทว่า วิปฺปมุตฺเตน จิตฺเตน ได้แก่ ด้วยจิตที่พ้น

ด้วยดี ด้วยสมุจเฉทวิมุตติ ด้วยอริยมรรค. ก็บทว่า วิปฺปมุตฺเตน จิตฺเตน นี้

เป็นตติยาวิภัตติ ลงในลักษณะอิตถัมภูต (แปลว่ามี). บทว่า อนณา ภุญฺช

ปิณฺฑก ความว่า จงเป็นผู้ไม่มีหนี้ เพราะละหนี้คือกิเลสเสียได้ พึงบริโภค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 14

ก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ด้วยว่า ผู้ใดไม่ละกิเลสทั้งหลายบริโภคปัจจัยที่

พระศาสดาทรงอนุญาตไว้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้มีหนี้บริโภค เหมือนอย่างที่ท่าน

พระพากุละ กล่าวไว้ว่า อาวุโส เราเป็นผู้มีหนี้บริโภคก้อนข้าวของชาว

แว่นแคว้น ถึง ๗ วันทีเดียว ฉะนั้นบรรพชิตในพระศาสนา พึงละหนี้คือกาม

ฉันทะเป็นต้น เป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภคของที่เขาถวายด้วยศรัทธาเถิด. บทว่า

ปิณฺฑก เป็นหัวข้อเทศนาเท่านั้น ใจความคือปัจจัย ๔. บทว่า อภิณฺห

โอวทติ ความว่า ชำระอุปกิเลสให้บริสุทธิ์ด้วยการถึงอริยมรรค ให้โอวาท

โดยส่วนมาก.

นางสิกขมานามุตตานั้นตั้งอยู่ในพระโอวาทนั้น ไม่นานนักก็บรรลุ

พระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามโกณฑัญญะ

ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่ ยังเหล่าสัตว์ให้ข้ามสังสาร-

วัฏ เสด็จพุทธดำเนินอยู่ในถนน ข้าพเจ้าออกจากเรือน

นอนคว่ำ พระโลกเชษฐ์ได้อนุเคราะห์เหยียบบนศรีษะ

แล้ว พระผู้นำโลกได้เสด็จไป ด้วยจิตเลื่อมใสนั้น

ข้าพเจ้าได้ไปสู่ภพชั้นดุสิต ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ภพ

ทั้งหมดข้าพเจ้าถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดเครื่องผูกพัน

เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ดังช้างพังตัดเชือกแล้ว การมา

เฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐของข้าพเจ้า เป็นการมาดี

แล้วหนอ ข้าพเจ้าได้บรรลุวิชชาสามตามลำดับ

ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว คุณ

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๔๔. สังกมนกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 15

วิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทาสี่ วิโมกข์แปดและอภิญญา

หก ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอน

ของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว นางสิกขมานามุตตา นั้น ได้เปล่งคาถา

นั้นแล. บทว่า สิกฺขมานา ได้แก่ ผู้มีสิกขาบริบูรณ์. ต่อมา นางได้กล่าว

คาถานั้นแหละในเวลาปรินิพพานแล.

จบ อรรถกถามุตตาเถรีคาถา

๓. ปุณณาเถรีคาถา

[๔๐๔] ดูก่อนนางปุณณา เธอจงเต็มด้วยธรรม

ทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เธอจง

ทำลายกองแห่งความมืดด้วยปัญญาอันบริบูรณ์เถิด.

จบปุณณาเถรีคาถา

๓. อรรถกถาปุณณาเถรีคาถา

คาถาว่า ปุณฺเณ ปูรสฺสุ ธมฺเมหิ เป็นต้น เป็นคาถาสำหรับนาง

สิกขมานาชื่อปุณณา.

นางสิกขมานาชื่อปุณณาแม้นี้ ก็สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลที่เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เมื่อ

โลกว่างพระพุทธเจ้า บังเกิดในกำเนิดกินนร ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา วันหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 16

เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งในที่นั้น มีใจเลื่อมใส บูชาพระปัจเจกพุทธ-

เจ้านั้นด้วยดอกอ้อ ยืนประคองอัญชลี ด้วยบุญกรรมนั้น นางท่องเที่ยวอยู่ใน

สุคติภูมิทั้งหลายเท่านั้น ในพุทธุปปาทกาลนี้บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล

กรุงสาวัตถี มีชื่อว่าปุณณา เพราะเป็นหญิงถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย นางอยู่มา

อายุ ๒๐ ปี ฟังธรรมในสำนักของพระมหาปชาบดีโคตมี ได้ศรัทธาขอบรรพ-

ชาเป็นสิกขมานา เริ่มวิปัสสนา.

พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั้นเอง ทรงเปล่งพระรัศมี

ตรัสพระคาถานี้แก่เธอว่า

ดูก่อนนางปุณณา เธอจงเต็มไปด้วยธรรม

ทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เธอจง

ทำลายกองแห่งความมืด ด้วยปัญญาอันบริบูรณ์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุณฺเณ เป็นคำเรียกนางสิกขมานานั้น.

บทว่า ปูรสฺสุ ธมฺเมหิ ความว่า จงบริบูรณ์ด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗.

อักษรในบทว่า จนฺโท ปณฺณรเสริว ทำหน้าที่เชื่อมบทเหมือนพระจันทร์

บริบูรณ์ด้วยส่วนที่ ๑๖ ของเดือนทั้งหมด ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ คือในวันเดือน

เพ็ญ. บทว่า ปริปุณฺณาย ปญฺาย ได้แก่ ด้วยปัญญาที่สัมปยุตด้วย

อรหัตมรรค ชื่อว่าบริบูรณ์ เพราะทำกิจ ๑๖ อย่างให้สนบูรณ์. บทว่า

ตโมกฺขนฺธ ปทาลย ความว่า จงทำลาย คือจงถอนกองโมหะโดยไม่เหลือ

กิเลสทั้งหมดย่อมเป็นอันทำลายแล้วพร้อมกับการทำลายกองโมหะนั่นแล.

นางสิกขมานาปุณณานั้น ฟังคาถานั้นแล้วเจริญวิปัสสนาได้บรรลุ

พระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

๑. ขุ. นฬมาลิกาเถรีอปทาน เล่ม ๓๓ ข้อ ๑๔๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 17

ในกาลนั้นข้าพเจ้าเป็นกินรีที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา

ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี เป็นพระ-

สยัมภู ผู้อันใคร ๆ ให้แพ้ไม่ได้ ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส

มีใจดี ปลื้มใจ กระทำอัญชลีถือเอาดอกอ้อบูชาพระ-

สยัมภู ด้วยกรรมที่ทำดีนั้น และด้วยความตั้งใจมั่น

ข้าพเจ้าละร่างกินรี ได้ไปสู่หมู่เทวดาชั้นไตรทศ

ข้าพเจ้าได้เป็นมเหสีของเทวราช ๓๖ องค์ ได้เป็น

มเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐ องค์ ข้าพเจ้ารู้บุญ

กุศลบวชเป็นบรรพชิต ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ภพ

ทั้งหมดข้าพเจ้าถอนได้แล้วอาสวะทั้งหมดสิ้นรอบแล้ว

บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี จากนี้ไป ๙๔ กัป ข้าพเจ้าเอา

ดอกไม้บูชา ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่งการ

บูชาพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้า

ได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

พระเถรีนั้นบรรลุพระอรหัตแล้วเปล่งคาถานั้น และคาถานี้ได้เป็น

คาถาพยากรณ์พระอรหัตของพระเถรีนั้นแล.

จบ อรรถกถาปุณณาเถรีคาถา

๔. ติสสาเถรีคาถา

[๔๐๕] ดูก่อนติสสา เธอจงศึกษาในไตรสิกขา

โยคะกิเลสเครื่องประกอบทั้งหลายอย่าได้ครอบงำเธอ

เธอจงพรากจากโยคะทั้งหมด เป็นผู้ไม่มีอาสวะเที่ยวไป

ในโลก.

จบ ติสสาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 18

๔. อรรถกถาติสสาเถรีคาถา

คาถาว่า ติสฺเส สิกฺขสฺสุ สิกฺขาย เป็นต้น เป็นคาถาสำหรับ

นางสิกขมานาชื่อติสสา.

นางสิกขมานาชื่อติสสาแม้นี้ ก็สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลที่เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ เพราะ

กุศลที่ได้รวบรวมไว้เป็นปัจจัย จึงบังเกิดในศากยราชตระกูล กรุงกบิลพัสดุ์

ในพุทธุปปาทกาลนี้ เจริญวัยแล้วเป็นสนมของพระโพธิสัตว์ ภายหลังได้ออก

บวชพร้อมกับพระมหาปชาบดีโคตมี เจริญวิปัสสนา พระศาสดาทรงเปล่ง

พระรัศมีตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง ได้ภาษิตพระคาถาแก่พระเถรีนั้นว่า

ดูก่อนติสสา เธอจงศึกษาในไตรสิขา โยคะ

กิเลสเครื่องประกอบทั้งหลายอย่าได้ครอบงำ เธอ

จงพรากจากโยคะทั้งหมด เป็นผู้ไม่มีอาสวะเที่ยวไป

ในโลก

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติสฺเส เป็นคำเรียกพระเถรีนั้น. บทว่า

สิกฺขสฺสุ สิกฺขาย ความว่า จงศึกษาในสิกขา ๓ อย่างมีอธิสีลสิกขาเป็นต้น

คือจงยังสิกขา ๓ ที่สัมปยุตด้วยมรรคให้ถึงพร้อม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เหตุในการยังสิกขา ๓ เหล่านั้นให้ถึงพร้อมในบัดนี้. บทว่า มา ต โยคา

อุปจฺจคุ ความว่า สมัยที่ควรประกอบเหล่านี้ คือ ความเป็นมนุษย์ ความ

ไม่บกพร่องแห่งอินทรีย์ ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ความได้ศรัทธา

อย่าล่วงเลยเธอไปเสีย อีกอย่างหนึ่ง โยคะ ๔ มีกามโยคะเป็นต้นนั่นแหละ

อย่าเข้าใกล้ คืออย่าครอบงำเธอ บทว่า สพฺพโยควิสยุตฺตา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 19

พ้นจากโยคะทั้งหมดมีกามโยคะเป็นต้น เพราะพ้นนั้นแหละ แต่นั้นจงเป็นผู้

ไม่มีอาสวะเที่ยวไปในโลก จงอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน.

นัยมีอาทิว่า พระเถรีนั้นฟังคาถานั้นแล้วเจริญวิปัสสนาบรรลุพระ-

อรหัต ดังนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบ อรรถกถาติสสาเถรีคาถา

๕. อัญญตราติสสาเถรีคาถา

[๕๐๖] ดูก่อนติสสา เธอจงประกอบด้วยธรรม

ทั้งหลาย ขณะอย่าได้ก้าวล่วงเธอไปเสีย เพราะผู้ที่มี

ขณะก้าวล่วงแล้ว ย่อมยัดเยียดกันอยู่ในนรกโศกเศร้า

อยู่.

จบ อัญญตราติสสาเถรีคาถา

๖. ธีราเถรีคาถา

[๔๐๗] ดูก่อนธีรา เธอจงถูกต้องนิโรธอันเป็นที่

สงบระงับสัญญา เป็นสุข เธอจงทำพระนิพพาน

อันเกษมจากโยคะยอดเยี่ยมให้สำเร็จเถิด.

จบ ธีราเถรีคาถา

๗. อัญญตราธีราเถรีคาถา

[๔๐๘] ธีรา ภิกษุณีผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้วด้วย

ธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องทรง เธอจงชนะมาร

พร้อมด้วยพาหนะแล้วทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด.

จบ อัญญตราธีราเถรีคาถา

๑. อรรถกถาเป็น วีรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 20

๘. มิตตาเถรีคาถา

[๔๐๙] ดูก่อนมิตตา เธอบวชแล้วด้วยศรัทธา จง

ยินดีในกัลยาณมิตร จงเจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุธรรม

อันเกษมจากโยคะ.

จบ มิตตาเถรีคาถา

๙. ภัทราเถรีคาถา

[๔๑๐] ดูก่อนภัทรา เธอบวชแล้วด้วยศรัทธา จง

ยินดีในธรรมอันเจริญ จงเจริญกุศลธรรมเพื่อ

บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม.

จบ ภัทราเถรีคาถา

๑๐. อุปสมาเถรีคาถา

[๔๑๑] ดูก่อนอุปสมา เธอจงข้ามโอฆะอันเป็น

บ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก เธอจะชนะมาร พร้อมด้วย

พาหนะทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด.

จบ อุปสมาเถรีคาถา

๕. อรรถกถาติสสาทิเถรีคาถาเป็นต้น

คาถาว่า ติสฺเส ยุญฺชสฺสุ ธมฺเมหิ เป็นต้นเป็นคาถาของพระเถรี

ชื่อติสสา เรื่องของพระเถรีนั้นเหมือนกับเรื่องของนางสิกขมานาชื่อติสสา แต่

องค์นี้เป็นพระเถรีบรรลุพระอรหัต ก็พระเถรีนี้ฉันใด เรื่องของพระเถรี ๕

องค์ คือ พระเถรีธีรา พระเถรีวีรา พระเถรีมิตตา พระเถรีภัทรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 21

พระเถรีอุปสมา ต่อจากนี้ก็ฉันนั้นคือเป็นเช่นเดียวกันนั่นเอง พระเถรีเหล่า

นี้แม้ทั้งหมด เป็นชาวกบิลพัสดุ์ เป็นสนมของพระโพธิสัตว์ออกบวชพร้อมกับ

พระมหาปชาบดีโคตมี บรรลุพระอรหัตด้วยคาถาเกิดจากโอภาส เว้นองค์ที่ ๗

ส่วนองค์ที่ ๗ นั้นเว้นคาถาเกิดจากโอภาส อาศัยโอวาทที่ได้ในสำนักพระศาส-

ดาไว้ก่อน ขวนขวายเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ได้กล่าวคาถาเป็น

อุทานว่า ธีรา ธีเรหิ เป็นต้น พระเถรีแม้องค์อื่น ๆ บรรลุพระอรหัตแล้ว

ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนติสสา เธอจงประกอบด้วยธรรมทั้งหลาย

ขณะอย่าได้ก้าวล่วงเธอไปเสีย เพราะผู้ที่มีขณะก้าว-

ล่วงแล้ว ย่อมยัดเยียดกันอยู่ในนรกโศกเศร้าอยู่.

ดูก่อนธีรา เธอจงถูกต้องนิโรธอันเป็นที่สงบ

ระงับสัญญา เป็นสุข เธอจงทำพระนิพพานอันเกษม

จากโยคะยอดเยี่ยมให้สำเสร็จเถิด วีราภิกษุณีผู้มีอินทรีย์

อบรมด้วยวีรธรรมทั้งหลาย ชนะมารพร้อมด้วยพาหนะ

ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด.

ดูก่อนมิตตา เธอบวชแล้วด้วยศรัทธา จงยินดี

ในกัลยาณมิตร จงเจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุธรรมอัน

เกษมจากโยคะ.

ดูก่อนภัทรา เธอบวชแล้วด้วยศรัทธา จงยินดี

ในธรรมอันเจริญ จงเจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุธรรม

อันเกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม.

ดูก่อนอุปสมา เธอจงข้ามโอฆะอันเป็นบ่วงมาร

ที่ข้ามได้แสนยาก เธอจงชนะมารพร้อมด้วยพาหนะ

ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 22

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยุญฺชสฺสุ ธมฺเมหิ ความว่า จง

ประกอบ คือจงทำการประกอบ ด้วยธรรมคือ สมถะและวิปัสสนาทั้งหลาย

และด้วยโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายอันประเสริฐ. บทว่า ขโณ ต มา อุปจฺจ-

คา ความว่า ขณะทั้งหมดนี้คือ ขณะเกิดในปฎิรูปเทส ขณะมีอายตนะ ๖

ไม่บกพร่อง ขณะเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า ขณะได้ศรัทธา ชื่อว่าย่อมก้าวล่วง

บุคคลผู้ที่ไม่ทำการเจริญโยคะอย่างนี้นั้น ขณะนั้นอย่าได้ก้าวล่วงเธอไปเสีย.

บทว่า ขณาตีตา ความว่า เพราะบุคคลเหล่าใดล่วงเลยขณะ และขณะนั้น

ล่วงเลยบุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่านั้นย่อมยัดเยียดกันอยู่ในนรก โศกเศร้าอยู่

คือบังเกิดในนรกนั้น เสวยทุกข์ใหญ่.

บทว่า นิโรธ ผุเสหิ ความว่า จงถูกต้อง คือจงได้ความดับกิเลส.

บทว่า สญฺาวูปสม สุข อาราธยาหิ นิพฺพาน ความว่า จงทำพระ-

นิพพานที่มีความสงบระงับบาปสัญญา มีกามสัญญาเป็นต้นเป็นนิมิต เป็นสุข

อย่างยิ่ง ให้สำเร็จ.

บทว่า วีรา วีเรหิ ธมฺเมหิ ความว่า วีราภิกษุณี ผู้อบรม

อินทรีย์ คือมีอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นอันตนให้เจริญแล้ว ด้วยวีรธรรม

ทั้งหลาย คือด้วยธรรมคืออริยมรรคอันสมบูรณ์ด้วยเดช ด้วยความเป็นผู้มี

ปธานคือความเพียร ชนะกิเลสมารพร้อมด้วยพาหนะกับด้วยวัตถุกามทั้งหลาย

ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด เพราะไม่เกิดอีกต่อไป พระเถรีแสดงตนทำเป็น

เหมือนคนอื่น ด้วยประการฉะนี้.

เรียกพระเถรีนั้นด้วยบทว่า มิตฺเต บทว่า มิตฺตรตา ความว่า

จงยินดียิ่งในกัลยาณมิตรทั้งหลาย คือจงกระทำสักการะและสัมมานะในกัลยาณ-

มิตรเหล่านั้น. บทว่า ภาเวหิ กุสเล ธมฺเม ความว่า จงเจริญธรรมคือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 23

อริยมรรค. บทว่า โยคกฺเขมสฺส ได้แก่ เพื่อถึง คือบรรลุ ซึ่งพระอรหัต

ด้วย ซึ่งพระนิพพานด้วย.

เรียกพระเถรีนั้นด้วยบทว่า ภเทฺร. บทว่า ภทฺรรตา ความว่า

เป็นผู้ยินดีแล้ว ยินดียิ่งแล้วในธรรมมีศีลเป็นต้นอันเจริญ. บทว่า โยคกฺเขม

อนุตฺตร ได้แก่ พระนิพพานอันเกษมจากโยคะ ๔ ไม่มีอันตรายยอดเยี่ยม

ความว่า จงเจริญโพธิปักขิยธรรมอันเป็นกุศล เพื่อบรรลุพระนิพพานนั้น

เรียกพระเถรีนั้นด้วยบทว่า อุปสเม. บทว่า ตเร โอฆ มจฺจุเธยฺย

สุทุตฺตร ความว่า ชื่อว่า มัจจุเธยยะ บ่วงมาร เพราะเป็นที่ยึดถือของ

มัจจุ. ชื่อว่า สุทุตตระข้ามได้แสนยาก เพราะผู้ที่มิได้สร้างสมกุศลสมภาร

ไว้จะข้ามได้ยากเหลือเกิน. พึงข้าม คือ พึงใช้นาวาคืออริยมรรคข้ามโอฆะ

ใหญ่คือสังสารวัฏ. บทว่า ธาเรหิ อนฺติม เทห ความว่า จงเป็นผู้ทรงกาย

อันมีในภพสุดท้าย ด้วยความที่กายนั้นยังแข็งแรงอยู่นั่นแล.

จบ อรรถกถาติสสาทิเถรีคาถา

๑๑. มุตตาเถรีคาถา

[๔๑๒] เราเป็นผู้พ้นด้วยดี เป็นผู้พ้นโดย

ชอบด้วยความหลุดพ้นจากความค่อม ๓ อย่าง คือ

ค่อมเพราะครก ๑ ค่อมเพราะสาก ๓ ค่อมเพราะ

สามี ๑ เป็นผู้พ้นแล้วจากความเกิดและความตาย

ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว.

จบ มุตตาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 24

๑๑. อรรถกถามุตตาเถรีคาถา

คาถาว่า สุมุตฺตา สาธุ มุตฺตามฺหิ เป็นต้น เป็นคาถาของพระ-

เถรีชื่อมุตตา.

พระเถรีชื่อมุตตาแม้นี้ ก็สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมกุศลไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปปาทกาลนี้บังเกิดเป็นบุตรสาวของ

พราหมณ์ยากจนในโกศลชนบท เวลาเจริญวัย บิดามารดาได้ให้เธอแก่

พราหมณ์ค่อมคนหนึ่ง เธอไม่ชอบครองเรือนกับพราหมณ์ค่อมนั้น ขออนุญาต

เขาบวชแล้ว เจริญวิปัสสนา จิตของเธอพล่านไปในอารมณ์ภายนอก เธอข่มจิต

นั้นกล่าวคาถาว่า เราเป็นผู้พ้นด้วยดี เป็นผู้พ้นโดยชอบ เป็นต้น ขวนขวาย

วิปัสสนาบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวไว้ในอปทานว่า

พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ มีจักษุ

ในธรรมทั้งปวง ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ เสด็จ

เข้าบุรีเพื่อบิณฑบาต เมื่อพระศาสดาพระองค์นั้น

เสด็จมา ชาวพระนครเหล่านั้นทั้งหมดต่างร่าเริงยินดี

มาร่วมกันเกลี่ยทราย กวาดถนน ยกต้นกล้วย หม้อ

มีน้ำเต็ม ธง เอาธูป จุรณ และพวงดอกไม้สักการะ

พระศาสดา ข้าพเจ้ามอบถวายมณฑป นิมนต์พระผู้

นายกวิเศษถวายมหาทาน ปรารถนาพระสัมโพธิญาณ

พระมหาวีระ พระนามปทุมุตตระผู้นำเหล่า-

สรรพสัตว์ ผู้เป็นอัครบุคคล ทรงอนุโมทนาแล้วทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 25

พยากรณ์ว่า เมื่อล่วงไปแสนกัป จักมีภัทรกัป เธอได้

ความสุขในภพน้อยใหญ่ทั้งหลายแล้วจักบรรลุพระโพ-

ธิญาณ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งชายและหญิง ผู้กระทำ

หัตถกรรม ทั้งหมดจักประชุมพร้อมกันในอนาคตกาล

ชนเหล่านั้นจักเป็นบริจาริกาคนรับใช้ของเธอ ในเทว-

พิภพที่เธอเกิด ด้วยวิบากแห่งธรรมนั้น และด้วยความ

ตั้งใจมั่น ย่อมเสวยทิพยสุขและมนุษย์สุขอันนับไม่ได้

พวกเราท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่ตลอดกาลนาน

จากนี้ไปแสนกัป ข้าพเจ้าได้ทำกรรมใดไว้ในกาลนั้น

ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้สุขุมาลชาติในมนุษยโลก

และเทวโลก ข้าพเจ้าได้รูป โภคะ ยศ อายุ เกียรติ

และสุขที่น่ารัก ทั้งหมดเป็นความถึงพร้อมแห่งกุศล-

กรรมที่ทำติดต่อกัน.

ครั้นถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูล

พราหมณ์ มีมือเท้าละเอียดอ่อนในนิเวศน์ที่น่ารื่นรมย์

ตลอดกาลทั้งปวง ข้าพเจ้าไม่เห็นสิ่งที่ไม่งามบนปฐพี

ข้าพเจ้าไม่เห็นภาคพื้นที่เป็นโคลนเลนไม่สะอาด ใน

กาลไหน ๆ ข้าพเจ้า เผากิเลสแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้า

ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อเปล่งอุทาน พระเถรีได้กล่าวคาถานี้ว่า

ราเป็นผู้พ้นด้วยดี เป็นผู้พ้นโดยชอบ ด้วย

ความหลุดพ้นจากความค่อม ๓ อย่างคือ ค่อมเพราะ

ครก ๑ ค่อมเพราะสาก ๑ ค่อมเพราะสามี ๑ เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 26

ผู้พ้นแล้วจากความเกิดและความตาย ถอนตัณหา

เครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุมุตฺตา ได้แก่ พ้นแล้วด้วยดี. บทว่า

สาธุ มุตฺตามฺหิ ความว่า เป็นผู้พ้นดี คือโดยชอบนั่นเอง ก็เป็นผู้พ้นด้วย

ดี เป็นผู้พ้นโดยชอบ จากอะไร ฉะนั้น จึงกล่าวว่า ตีหิ ขุชฺเชหิ

มุตฺติยา ความว่า ด้วยความหลุดพ้นจากความคด ๓ อย่าง. บัดนี้เมื่อจะแสดง

ความคดเหล่านั้นโดยย่อ พระเถรีจึงกล่าวว่า ค่อมเพราะครก ๑ ค่อมเพราะ

สาก ๑ ค่อมเพราะสามี ๑ ดังนี้. ด้วยว่าเมื่อใส่ข้าวเปลือกในครก กลับข้าว

ไปมา และตำอยู่ด้วยสาก ย่อมต้องก้มหลังดังนั้น ท่านจึงกล่าวเหตุทั้งสองว่า

ค่อม เพราะเป็นเหตุให้ทำความค่อม อนึ่ง สามีของพระเถรีนั้นเป็นคนค่อม

ทีเดียว.

บัดนี้ พระเถรีกล่าวความพ้นจากความค่อม ๓ อย่าง เป็นการแสดง

ความพ้นใด เมื่อแสดงความพ้นนั่นแหละ พระเถรีกล่าวว่า เป็นผู้พ้นแล้วจาก

ความเกิดและความตาย แล้วกล่าวถึงเหตุในเรื่องนั้นว่า ถอนตัณหาเป็นเครื่อง

นำไปสู่ภพได้แล้ว. เนื้อความของบทนั้นว่า ข้าพเจ้ามิได้พ้นเพียงความค่อม ๓

อย่างเท่านั้น ที่แท้ข้าพเจ้าพ้นแม้จากความเกิดและความตายทั้งหมด เพราะ

ตัณหาตัวที่เป็นเนตติคือนำไปสู่ภพทั้งหมด ข้าพเจ้าถอนขึ้นแล้วด้วยมรรคอัน

เลิศ (คืออรหัตมรรค)

จบ อรรถกถามุตตาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 27

๑๒. ธัมมทินนาเถรีคาถา

[๔๑๓] ผู้ที่เกิดฉันทะ มีที่สุด พึงถูกต้องพระ-

นิพพานด้วยใจ ผู้ที่มีจิตไม่ปฏิพัทธ์ ในกามทั้งหลาย

ท่านเรียกว่า มีกระแสในเบื้องบน.

จบ ธัมมทินนาเถรีคาถา

๑๒. อรรถกถาธัมมทินนาเถรีคาถา

คาถาว่า ฉนฺทชาตา อวสายี เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อ

ธัมมทินนา.

เล่ากันว่า พระเถรีชื่อ ธัมมทินนา นั้น ในกาลแห่งพระพุทธเจ้า

พระนาม ปทุมุตตระ เป็นผู้อาศัยคนอื่นเขาเลี้ยงชีพอยู่ในกรุงหังสวดี ถวาย

ทานที่มีบูชาสักการะเป็นเบื้องต้น แต่พระอัครสาวกผู้ออกจากนิโรธ บังเกิด

ในเทวโลก จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปุสสะ เธออยู่ในเรือนคนงานของ

พี่ชายต่างมารดาของพระศาสดา เมื่อสามีพูดพาดพิงถึงทานว่า เธอจงให้หนึ่ง

ส่วน ดังนี้ นางให้สองส่วน ทำบุญเป็นอันมาก ในกาลของพระกัสสปพุทธ-

เจ้า เธอถือปฏิสนธิในพระตำหนักของพระเจ้ากาสีพระนาม กิงกิ เป็นคน

หนึ่งภายในพี่น้องหญิง ๗ คน ประพฤติพรหมจรรย์สองหมื่นปี ท่องเที่ยวอยู่

ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปปาทกาลนี้ บังเกิดใน

เรือนตระกูลในกรุงราชคฤห์ เจริญวัยแล้วไปสู่เรือนของวิสาขเศรษฐี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 28

อยู่มาวันหนึ่ง วิสาขเศรษฐีฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้เป็น

พระอนาคามี ไปเรือน เมื่อขึ้นปราสาทไม่ยึดมือที่นางธัมมทินนาผู้ยืนอยู่หัว

บันไดยื่นให้ ขึ้นปราสาท แม้เมื่อบริโภคอาหารก็บริโภคเฉยๆ นางธัมมทินนา

ใคร่ครวญดูเหตุนั้นกล่าวว่า ข้าแต่ลูกนาย ทำไมวันนี้ท่านจึงไม่ยึดมือฉัน แม้

เมื่อบริโภคอาหารก็ไม่พูดอะไรๆ ฉันมีความผิดอะไรหรือ วิสาขเศรษฐีกล่าว

ว่า แม่ธัมมทินนา เธอไม่มีความผิด ตั้งแต่วันนี้ไป ฉันไม่ควรถูกต้องกาย

หญิง และไม่ควรทำความเหลาะแหละในอาหาร ฉันแทงตลอดธรรมเช่นนั้น

แล้ว ก็ถ้าเธอปรารถนา ก็จงอยู่ในเรือนนี้แหละ ถ้าไม่ปรารถนา ก็จงถือเอา

ทรัพย์เท่าที่เธอต้องการไปเรือนตระกูล (ของเธอ). นางธัมมทินนากล่าวว่า ข้า

แต่ลูกนาย ฉันจะไม่กลืนอาเจียนที่ท่านคายไว้ ท่านโปรดอนุญาตให้ฉันบวช

เถิด วิสาขเศรษฐีกล่าวว่า สาธุ ธัมมาทินนา แล้วเอาวอทองส่งนางไปสำนัก

ภิกษุณี.

นางธัมมทินนาบวชแล้ว เรียนกัมมัฏฐานอยู่ในสำนักภิกษุณีนั้นสอง

สามวัน ประสงค์จะอยู่อย่างวิเวกจึงไปหาอุปัชฌาย์อาจารย์กล่าวว่า ข้าแต่

แม่เจ้าทั้งหลาย ใจของดิฉันไม่ชอบที่เกลื่อนกล่น ดิฉันจะไปสู่อาวาสใกล้บ้าน

พวกภิกษุณีพาเธอไปอาวาสใกล้บ้าน เธออยู่ในที่นั้น ไม่นานนักก็ได้บรรลุ

พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ทั้งหลาย เพราะเธอย่ำยีสังขารในอดีตได้แล้ว

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

พระพิชิตมารพระนามปทุมุตตระผู้ทรงถึงฝั่ง

แห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นนายกของโลกเสด็จอุบัติ

ขึ้นแล้ว ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้ ในกาลนั้น

ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลหนึ่งในกรุงหังสวดีรับจ้างทำงาน

ของคนอื่น เป็นผู้มีปัญญา สำรวมอยู่ในศีล พระ-

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๖๓. ธัมมทินนาเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 29

สุชาตเถระอัครสาวกของพระปทุมมุตตระพุทธเจ้า ออก

จากวิหารไปบิณฑบาต เวลานั้นข้าพเจ้าเดินถือหม้อไป

ตักน้ำ เห็นท่านแล้วเลื่อมใส ได้ถวายขนมด้วยมือ

ของตน ท่านรับและนั่งฉันตรงนั้นเอง จากนั้นข้าพเจ้า

ได้นำท่านไปสู่เรือน ได้ถวายโภชนะแด่ท่าน ต่อมา

นายของข้าพเจ้ามีความยินดีได้ยกข้าพเจ้าเป็นลูกสะใภ้

ของท่าน ข้าพเจ้ากับแม่ผัวได้ไปถวายอภิวาทพระ-

สัมพุทธเจ้า ครั้งนั้นพระศาสดาทรงประกาศตั้งภิกษุณี

ผู้เป็นธรรมกถึก ในตำแหน่งเอตทัคคะ ข้าพเจ้าได้ฟัง

ดังนั้นแล้วมีความยินดี นิมนต์พระสุคตผู้เป็นนายก

ของโลกพร้อมด้วยพระสงฆ์ ถวายมหาทานปรารถนา

ตำแหน่งนั้น คราวนั้นพระสุคตผู้มีพระสุรเสียงก้อง-

กังวาลไพเราะ ได้ตรัสกะข้าพเจ้าว่า แน่ะนางผู้เจริญ

ผู้ยินดีบำรุงเราเลี้ยงดูเรากับสงฆ์สาวก ผู้ขวนขวาย

ในการฟังสัทธรรม มีใจเจริญด้วยคุณ เธอจงยินดีเถิด

เธอจักได้ผลตามปรารถนา แต่กัปนี้ไปแสนกัป พระ-

ศาสดาผู้สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช มีพระนาม

ว่าโคตมะโดยโคตร จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจัก

เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้นเป็นโอรส

อนธรรมเนรมิต เป็นสาวิกาของพระศาสดาจักมีชื่อว่า

ธัมมทินนา ข้าพเจ้าได้ฟังดังนั้นแล้วมีความยินดี มีจิต

ประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระมหามุนีผู้เป็นนายกวิเศษ

ด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต ด้วยกุศลกรรมที่ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 30

ทำไว้ และด้วยความตั้งใจแน่วแน่ ข้าพเจ้าละร่าง

มนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระพุทธเจ้าเผ่า-

พันธุ์ผู้ประเสริฐมียศมาก พระนามว่ากัสสปะตามโคตร

ประเสริฐกว่าบัณฑิตทั้งหลาย ได้เสด็จอุบัติแล้วใน

ภัทรกัปนี้ ในครั้งนั้นพระเจ้ากาสีพระนาม กิงกิ ผู้เป็น

ใหญ่กว่านรชนในกรุงพาราณสีอันอุดม ทรงเป็นอุปัฏ-

ฐากของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพเจ้า

เป็นธิดาคนที่หกของท้าวเธอ ปรากฏนามว่าสุธรรมา

ได้ฟังธรรมของพระพิชิตมารผู้เลิศแล้ว พอใจบรรพชา

แต่พระชนกนาถไม่ทรงอนุญาตแก่พวกเรา ครั้งนั้น

พวกเราอยู่ในอาคารนั่นแล เป็นเจ้าหญิงที่มีความสุข

ไม่เกียจคร้าน ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่เป็นกุมารี

อยู่สองหมื่นปี ราชธิดา ๗ องค์ คือ นางสมณี ๑

นางสมณคุตตา ๑ นางภิกขุนี ๑ นางภิกขุทาสิกา ๑

นางธรรมา ๑ นางสุธรรมา ๑ และนางสังฆทาสีเป็น

คนที่ ๗ เป็นผู้ยินดีบันเทิงใจในการบำรุงพระพุทธเจ้า

ได้ (กลับชาติ) มาเป็นพระเขมาเถรี ๑ พระอุบล

วรรณาเถรี ๑ พระปฏาจาราเถรี ๑ พระกุณฑลเกสี-

เถรี ๑ พระกิสาโคตมีเถรี ๑ ข้าพเจ้า ๑ และเป็นวิสา-

ขาอุบาสิกาซึ่งเป็นคนที่ ๗ ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้

แล้วนั้น และด้วยความตั้งใจแน่วแน่ ข้าพเจ้าละร่าง

มนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และในภพหลัง

ครั้งนี้ ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐีที่มั่งคั่ง สมบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 31

ด้วยกามสุขทุกอย่าง ในกรุงราชคฤห์อันอุดม เมื่อ

ข้าพเจ้าประกอบด้วยรูปสมบัติและคุณสมบัติ ตั้งอยู่ใน

ปฐมวัย ไปสู่ตระกูลอื่น (แต่งงาน) เพียบพร้อม

ด้วยความสุข สามีของข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

ผู้เป็นสรณะแห่งสัตว์โลก ฟังพระธรรมเทศนาแล้วได้

บรรลุอนาคามิผล เป็นคนมีปัญญาดี คราวนั้นข้าพเจ้า

ขออนุญาตบวชเป็นบรรพชิต ไม่นานนักก็ได้บรรลุ

พระอรหัต.

คราวนั้น อุบาสกนั้น เข้าไปหาข้าพเจ้า ได้ถาม

ปัญหาที่ลึกซึ้งละเอียดอ่อน ข้าพเจ้าพยากรณ์ปัญหา

ทั้งหมดนั้นได้ พระพิชิตมาร ทรงยินดีในคุณข้อนั้น

จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ด้วยพระ-

ดำรัสว่า เรามิได้เห็นภิกษุณีรูปอื่นผู้เป็นธรรมกถึก

เช่นนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำไว้ว่า

ภิกษุธัมมทินนาเป็นนักปราชญ์ ข้าพเจ้าอันพระผู้

เป็นนายกของสัตว์โลกทรงอนุเคราะห์แล้ว ชื่อว่าเป็น

บัณฑิตอย่างนี้ ข้าพเจ้าบำรุงพระศาสดาแล้ว ปฏิบัติ

คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ปลงภาระหนักแล้ว

ถอนตัณหาอันนำไปสู่ภพได้แล้ว กุลบุตรทั้งหลาย

ออกจากเรือนบวชเป็นที่ไม่มีเรือน เพื่อต้องการประ-

โยชน์ใด ประโยชน์นั้น คือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่ง

สัญโญชน์ทั้งปวงข้าพเจ้าบรรลุแล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้มี

ความชำนาญในฤทธิ์ และในทิพโสตธาตุ รู้จิตผู้อื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 32

กระทำตามคำสอนของพระศาสดา ข้าพเจ้ารู้ปุพเพนิ-

วาสญาณ และทิพยจักษุอันหมดจดวิเศษ ยังอาสวะ

ทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว เป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน

ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ภพทั้งหมดข้าพเจ้าถอนได้แล้ว

ข้าพเจ้าตัดเครื่องผูกพัน เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ดังช้าง-

พังตัดเชือกแล้ว การมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ

ของข้าพเจ้า เป็นการมาดีแล้วหนอ ข้าพเจ้าได้บรรลุ

วิชชาสามตามลำดับ ข้าพเจ้าปฏิบัติคำสอนของพระ-

พุทธเจ้าแล้วคุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทาสี่ วิโมกข์

แปดและอภิญญาหก ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ข้าพเจ้า

ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระธัมมทินนาเถรีคิดว่าใจของเราหมด

กิเลสแล้ว บัดนี้เราจักอยู่ทำอะไรในที่นี้ เราจักไปกรุงราชคฤห์ถวายบังคม

พระศาสดา และพวกญาติของเราเป็นจำนวนมากจักกระทำบุญ จึงกลับมา

กรุงราชคฤห์กับภิกษุณีทั้งหลาย.

วิสาขอุบาสกทราบว่าพระธัมมทินนาเถรีมา เมื่อจะทดลองการตรัสรู้

ของพระเถรีนั้น ได้ถามปัญหาเรื่องเบญจขันธ์เป็นต้นต้น พระธัมมทินนาเถรีได้

วิสัชนาปัญหาที่ถามแล้ว ๆ เหมือนตัดก้านบัวด้วยศัสตราอันคมกริบฉะนั้น วิสาข-

อุบาสกกราบทูลนัยแห่งคำถามและคำตอบทั้งหมดแด่พระศาสดา พระศาสดา

ทรงสรรเสริญพระเถรีนั้น ด้วยพระพุทธพจน์ว่า วิสาขะ ภิกษุณีธัมมทินนา

เป็นบัณฑิตเป็นต้น ทรงประกาศการพยากรณ์ปัญหาเทียบกับพระสัพพัญญุต-

ญาณ ทรงทำจูฬเวทัลลสูตรนั้นแลให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ทรงตั้ง

พระธัมมทินนาเถรีนั้นไว้ในตำแหน่งเลิศของภิกษุณีผู้เป็นธรรมกถึก ก็พระเถรี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 33

นั้นอยู่ในอาวาสใกล้บ้านนั้น บรรลุมรรคเบื้องต้นแล้วเริ่มต้นเจริญวิปัสสนา

เพื่อมรรคเบื้องสูงในกาลใดในกาลนั้นได้กล่าวคาถานี้ว่า

ผู้ที่เกิดฉันทะ มีที่สุด พึงถูกต้องพระนิพพาน

ด้วยใจ ผู้ที่มีจิตไม่ปฏิพัทธ์ในกามทั้งหลาย ท่านเรียกว่า

ผู้มีกระแสในเบื้องบน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺทชาตา ได้แก่เกิดฉันทะเพื่ออรหัตผล

ความสิ้นสุด คือความจบลง ท่านเรียกว่า อวสายะ. ในบทว่า อวสายี.

แม้บทนั้นก็พึงทราบว่า ความจบลงแห่งสมณกิจ เพราะเนื้อความที่ท่านกล่าวว่า

ผู้มีกระแสในเบื้องบน เพราะมีจิตไม่ปฏิพัทธ์ในกามทั้งหลาย ไม่ใช่ของคน

ใดคนหนึ่ง ฉะนั้นจึงมีอธิบายเนื้อความดังนี้ว่า เป็นผู้มีใจยังไม่บรรลุแม้ด้วย

บททั้งสอง ยังปรารถนาพระนิพพานที่เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม.

บทว่า มนสา จ ผุฏฺา สิยา ความว่า พึงเป็นผู้ถูกต้องคือสัมผัสพระ

นิพพาน ด้วยมรรคจิตสามดวงเบื้องต่ำ. บทว่า กาเมสุ อปฺปฏิพทฺธจิตฺตา

ได้แก่ ผู้มีจิตไม่ปฏิพัทธ์ในกามทั้งหลาย ด้วยอำนาจอนาคามิมรรค. บทว่า

อุทฺธโสตา ความว่า ชื่อว่า ผู้มีกระแสในเบื้องบน เพราะพระเถรีนั้นมี

กระแสมรรคและกระแสสังสารวัฏในเบื้องบนนั่นแล อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า

อรหัตมรรคย่อมเกิดขึ้นแก่พระอนาคามี มรรคอื่นย่อมไม่เกิด ฉันใด ความ

เกิดในภพเบื้องบนเท่านั้น ย่อมมีแก่พระอนาคามี ผู้เกิดขึ้นในสุทธาวาสภพ

มีชั้นอวิหาเป็นต้นจนถึงชั้นอกนิษฐ์ฉันนั้น.

จบ อรรถกถาธัมมทินนาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 34

๑๓. วิสาขาเถรีคาถา

[๔๑๔] ท่านทั้งหลายจงทำตามคำสอนของพระ-

พุทธจ้า ที่บุคคลทำแล้วไม่เดือดร้อนภายหลัง ท่าน

ทั้งหลายจงรีบล้างเท้าทั้งสองแล้วนั่ง ณ ที่ควรเถิด.

จบ วิสาขาเถรีคาถา

๑๓. อรรถกถาวิสาขาเถรีคาถา

คาถาว่า กโรถ พุทฺธสาสน เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อ

วิสาขา.

เรื่องของพระเถรีชื่อวิสาขานั้น เหมือนเรื่องของพระเถรีชื่อธีรานั่น

แหละ พระเถรีชื่อวิสาขานั้นบรรลุพระอรหัตแล้วให้เวลาล่วงไปด้วยวิมุตติสุข

ได้พยากรณ์พระอรหัตผลด้วยคาถานี้ว่า

ท่านทั้งหลายจงทำตามคำสอนของพระพุทธ-

เจ้า ที่บุคคลทำแล้วไม่เดือดร้อนภายหลังท่านทั้งหลาย

จงรีบล้างเท้าทั้งสองแล้วนั่ง ณ ที่ควรเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กโรถ พุทฺธสาสน ความว่า จงทำตาม

คำสอน คือคำสั่งสอนและพร่ำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือจงปฏิบัติตาม

ที่ทรงพร่ำสอน. บทว่า ย กตฺวา นานุตปฺปติ ความว่า เพราะสำเร็จความ

ประสงค์ทั้งหลายโดยชอบทีเดียว ของผู้กระทำตามคำพร่ำสอนที่บุคคลกระทำ

แล้วไม่เดือดร้อนภายหลัง เพราะเหตุที่กระทำนั้น. บทว่า ขิปฺป ปาทานิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 35

โธวิตฺวา เอกมนฺเต นิสีทถ ความว่า เพราะตนเองกลับจากบิณฑบาตในเวลา

ปัจฉาภัต แสดงวัตรแด่อาจารย์และอุปัชฌาย์แล้ว ล้างเท้าทั้งสองนั่งในที่ลับ

ในที่พักกลางวันของตน บรรลุเฉพาะสิ่งที่มีประโยชน์ ฉะนั้น พระวิสาขา-

เถรีเมื่อประกอบแม้คนอื่น ๆ เข้าไว้ในประโยชน์นั้น จึงได้กล่าวบทนี้.

จบ อรรถกถาวิสาขาเถรีคาถา

๑๔. สุมนาเถรีคาถา

[๔๑๕] ท่านเห็นธาตุทั้งหลายว่าเป็นทุกข์แล้ว อย่า

เกิดอีก ท่านสำรอกความพอใจในภพแล้ว จัดเป็นผู้

สงบระงับเที่ยวไป.

จบ สุมนาเถรีคาถา

๑๔. อรรถกถาสุมนาเถรีคาถา

คาถาว่า ธาตุโย ทุกฺขโต ทิสฺวา เป็นต้น เป็นคาถาสำหรับพระเถรี

ชื่อสุมนา.

เรื่องของพระเถรีชื่อสุมนานั้น เหมือนเรื่องของพระเถรีชื่อติสสา

ความย่อว่า พระศาสดาทรงเปล่งพระรัศมีแสดงพระองค์เหมือนประทับนั่งอยู่

ต่อหน้า ตรัสพระคาถานี้ว่า

ท่านเห็นธาตุทั้งหลายว่าเป็นทุกข์แล้ว อย่า

เกิดอีก ท่านสำรอกความพอใจในภพแล้ว จักเป็นผู้

สงบระงับเที่ยวไป.

พระเถรีนั้น ได้บรรลุพระอรหัตในเวลาจบพระคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 36

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธาตุโย ทุกฺขโต ทิสฺวา ความว่า เห็น

ธาตุมีจักษุเป็นต้นที่นับเนื่องด้วยสันตติ และธาตุแม้อื่น ๆ ด้วยญาณจักษุว่า

เป็นทุกข์ เพราะเกิดขึ้น เสื่อมไป และบีบคั้นเป็นต้น. บทว่า มา ชาตึ

ปุนราคมิ ความว่า อย่าเข้าถึงชาติ คือภพใหม่ต่อไปอีก. บทว่า ภเว ฉนฺท

วิราเชตฺวา ความว่า ละฉันทะคือตัณหาในภพทั้งปวง มีกามภพเป็นต้น

ด้วยมรรคกล่าวคือวิราคะ. บทว่า อุปสนฺตา จริสฺสสิ ความว่า จักเป็นผู้ดับ

เพราะละกิเลสได้ทั้งหมดอยู่.

อนึ่งในคาถานี้ ท่านแสดงวิปัสสนาโดยหัวข้อของทุกขานุปัสสนา ด้วย

บทนี้ว่า ธาตุโย ทุกฺขโต ทิสฺวา ดังนี้. แสดงมรรค ด้วยบทนี้ว่า ภเว ฉนฺท

วิราเชตฺวา ดังนี้. แสดงสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ด้วยบทนี้ว่า อนุปสนฺตา

จริสฺสสิ ดังนี้. แสดงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ด้วยบทนี้ว่า มา ชาตึ

ปุนราคมิ ดังนี้ บัณฑิตพึงเห็นดังนี้แล.

จบ อรรถกถาสุมนาเถรีคาถา

๑๕. อุตตราเถรีคาถา

[๔๑๖] เราเป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจา และใจ

ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้มีความเย็น

ดับสนิทแล้ว.

จบ อุตตราเถรีคาถา

๑๕. อรรถกถาอุตตราเถรีคาถา

คาถาว่า กาเยน สวุตา อาสึ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อ

อุตตรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 37

เรื่องของพระเถรีชื่ออุตตราแม้นั้น ก็เหมือนเรื่องของพระเถรีชื่อ

ติสสา ความย่อว่า พระเถรีชื่ออุตตราแม้นั้น ประสูติในศากยตระกูล เป็น

สนมของพระโพธิสัตว์ ออกบวชพร้อมกับพระมหาปชาบดีโคตมี บรรลุพระ-

อรหัตด้วยโอภาสคาถา ได้กล่าวคาถานี้เป็นอุทานด้วยตนเองทีเดียวว่า

เราเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยกายวาจาและใจ ได้

ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้มีความเย็น ดับ

สนิทแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเยน สวุตา อาสึ ความว่า เป็นผู้

สำรวมแล้วด้วยความสำรวมทางกาย. บทว่า วาจาย ประกอบความว่า เป็น

ผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวมทางวาจา. พระเถรีกล่าวถึงศีลสังวรแม้ด้วยบท

ทั้งสอง. บทว่า อุท ได้แก่ อถ แปลว่า และ. บทว่า เจตสา ความว่า

ด้วยสมาธิจิต. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการเจริญวิปัสสนาด้วยสมาธิจิตนั้น.

บทว่า สมูล ตณฺห อพฺพุยฺห ความว่า ถอนขึ้นซึ่งตัณหาพร้อมทั้งราก หรือ

พร้อมด้วยอวิชชา. ด้วยว่า ตัณหาย่อมเกิดขึ้นในภพสามที่อวิชชาปกปิดโทษไว้.

อีกนัยหนึ่ง บทว่า กาเยน สวุตา ความว่า เป็นผู้สำรวมทางกาย

ด้วยความสำรวมด้วยมรรคนั่นเอง เพราะละมิจฉากัมมันตะทั้งหมด ด้วยสัมมา

กัมมันตะ. บทว่า วาจาย ความว่า เป็นผู้สำรวมทางวาจาด้วยความสำรวม

ด้วยมรรคนั่นเอง เพราะละมิจฉาวาจาทั้งหมด ด้วยสัมมาวาจา. บทว่า เจตสา

ได้แก่ ด้วยสมาธิ. ก็ในที่นี้ท่านกล่าวสัมมาสมาธิ ด้วยหัวข้อของจิต อธิบายว่า

มรรคธรรมทั้งหลายมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันกับลักษณะ-

มรรค ย่อมเป็นอันท่านถือเอาด้วยศัพท์คือสัมมาสมาธินั่นแล การละอสังวรมี

อภิชฌาเป็นต้นโดยไม่เหลือ ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยมรรคสังวร. เพราะ

เหตุนั้นแหละท่านจึงกล่าวว่า สมูล ตณฺห อพฺพุยฺห ดังนี้. บทว่า สีติภูตามฺหิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 38

นิพฺพุตา ความว่า เป็นผู้ถึงความเย็น เพราะไม่มีความเร่าร้อนเพราะกิเลส

โดยประการทั้งปวง เป็นผู้ดับสนิทด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

จบ อรรถกถาอุตตราเถรีคาถา

๑๖. วุฑฒปัพพชิตสุมนาเถรีคาถา

[๔๑๗] ดูก่อนสุมนาผู้เจริญ เธอจงเอาท่อนผ้าทำ

จีวรนุ่งห่ม จงพักผ่อนให้สบายเถิด เพราะราคะของ

เธอสงบแล้ว เธอเป็นผู้มีความเย็น ดับสนิทแล้ว.

จบ วุฑฒปัพพชิตสุมนาเถรีคาถา

๑๖. อรรถกถาวุฑฒปัพพชิตสุมนาเถรีคาถา

คาถาว่า สุข ตฺว วุฑฺฒิเก เสหิ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีผู้

บวชเมื่อแก่ชื่อสุมนา.

แม้พระเถรีองค์นี้ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ

สั่งสมกุศลไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปปาทกาลนี้ บังเกิดเป็นพระภคินีของพระ-

เจ้ามหาโกศล ในกรุงสาวัตถี เธอฟังธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแก่พระเจ้า

ปเสนทิโกศล โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลสี่จำพวกเหล่านี้แล

ไม่พึงดูหมิ่นว่าหนุ่ม ดังนี้ ได้ความเลื่อมใส ตั้งอยู่ในสรณะและศีลห้า แม้

ประสงค์จะบวช ก็ต้องปล่อยให้เวลาล่วงไปนาน เพราะคิดว่า ต้องปฏิบัติดูแล

พระเจ้าย่า ต่อมาเมื่อพระเจ้าย่าสิ้นพระชนม์แล้ว เธอให้คนถือเครื่องปูลาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 39

เครื่องนุ่งห่มที่มีค่ามาก ไปวิหารกับพระราชา ให้ถวายแก่สงฆ์แล้ว ฟังธรรม

ในสำนักพระศาสดา ตั้งอยู่ในอนาคามิผล ขอบวช พระศาสดาทรงเห็นเธอมี

ญาณแก่กล้า ได้ภาษิตพระคาถานี้ว่า

ดูก่อนสุมนาผู้เจริญ เธอจงเอาท่อนผ้าทำจีวร

นุ่งห่ม จงพักผ่อนให้สบายเถิด เพราะราคะของเธอ

สงบแล้ว เธอเป็นผู้มีความเย็น ดับสนิทแล้ว.

ในเวลาจบคาถา เธอได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย

ได้กล่าวคาถานั่นแหละเป็นอุทาน การกล่าวคาถาเป็นอุทานั้นแล ได้เป็นการ

พยากรณ์พระอรหัตผลของเธอ เธอบวชในขณะนั้นเอง. ก็เนื้อความของคาถา

บทว่า วุฑฺฒิเก ได้แก่ ผู้เจริญ คือเจริญโดยวัย แต่พระเถรีเจริญแม้

ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ในบาทที่สี่ของคาถาที่พระเถรีกล่าว พึงประกอบบทว่า

เธอเป็นผู้มีความเย็น ดับสนิทแล้ว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบ อรรถกถาวุฑฒปัพพชิตสุมนาเถรีคาถา

๑๗. ธัมมาเถรีคาถา

[๔๑๘] เราทุพพลภาพ มีกายสั่นเทา ถือไม้เท้า

เที่ยวบิณฑบาต ได้ล้มลงบนแผ่นดินตรงนั้นเอง ครั้ง

นั้น จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะเห็นโทษในกาย.

จบ ธัมมาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 40

๑๗. อรรถกถาธัมมาเถรีคาถา

คาถาว่า ปิณฺฑปาต จริตฺวาน เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อ

ธัมมา.

แม้พระเถรีองค์นี้ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ

สั่งสมกุศลที่เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ได้รวบรวมบุญสมภาร

ไว้แล้ว ในพุทธุปปาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนตระกูล กรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว

ไปสู่เรือนของสามีที่สมควรกัน ได้ศรัทธาในศาสนาของพระศาสดา ประสงค์

จะบวชแต่สามีไม่อนุญาต ภายหลังเมื่อสามีตายแล้ว บวชเจริญวิปัสสนา วัน

หนึ่งเทียวภิกขาจารแล้ว กำลังเดินมาวิหารหกล้มลง จึงทำเรื่องนั้นแหละเป็น

อารมณ์เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ได้กล่าว

คาถานี้เป็นอุทานว่า

เราทุพพลภาพ มีกายสั่นเทา ถือไม้เท้าเที่ยว

บิณฑบาต ได้ล้มลงบนแผ่นดินตรงนั้นเอง ครั้งนั้น

จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะเห็นโทษในกาย

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิณฺฑปาต จริตฺวาน ฑณฺฑมาทาย

ทุพฺพลา ความว่า ใช้ไม้เท้าค้ำยันเที่ยวไปในเมืองเพื่อต้องการบิณฑบาตคือ

เที่ยวภิกขาจาร. บทว่า ฉมา ได้แก่ บนแผ่นดิน คือพื้นดิน อธิบายว่า

ล้มลงบนพื้นดิน เพราะเท้าทั้งสองไม่มีกำลัง. บทว่า ทิสฺวา อาทีนว กาเย

ความว่า เห็นโทษในสรีระโดยประการต่างๆ มีไม่งาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์

เป็นอนัตตาเป็นต้น ด้วยปัญญาจักษุ. บทว่า อถ จิตฺต วิมุจฺจิ เม ความว่า

จิตของเราหลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งหลาย เพราะข่มไว้ด้วยนิพพิทานุปัสสนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 41

เป็นต้น ที่เป็นไปข้างหน้าด้วยอาทีนวานุปัสสนา ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว คือพ้น

วิเศษแล้วโดยประการทั้งปวง ด้วยสมุจเฉทวิมุตติตามลำดับมรรคผล และด้วย

ปฏิปัสสัทธิวิมุตติอีก. อธิบายว่า บัดนี้ สิ่งที่จะต้องหลุดพ้นไม่มีแก่พระเถรีนั้น.

อนึ่ง การกล่าวคาถาเป็นอุทานนี้แหละ เป็นการพยากรณ์พระอรหัตผลของ

พระเถรีนั้นแล.

จบ อรรถกถาธัมมาเถรีคาถา

๑๘. สังฆาเถรีคาถา

[๔๑๙] ข้าพเจ้าละเรือน ละบุตรและสัตว์เลี้ยง ซึ่ง

เป็นที่รัก บวชแล้ว ละราคะและโทสะและสำรอก

อวิชชาเสีย ถอนตัณหาขึ้นพร้อมทั้งราก เป็นผู้สงบ

ระงับดับสนิทแล้ว.

จบ สังฆาเถรีคาถา

๑๘. อรรถกถาสังฆาเถรีคาถา

คาถาว่า หิตฺวา ฆเร ปพฺพชิตฺวา เป็นต้น เป็นคาถาของพระ

เถรีชื่อสังฆา.

เรื่องของพระเถรีชื่อสังฆานั้น เหมือนเรื่องของพระเถรีชื่อธีรา ก็พระ

เถรีชื่อสังฆานั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 42

ข้าพเจ้าละเรือน ละบุตร และสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็น

ที่รัก บวชแล้ว ละราคะและโทสะและสำรอกอวิชชา

เสีย ถอนตัณหาขึ้นพร้อมทั้งราก เป็นผู้สงบระงับดับ

สนิทแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิตฺวา แปลว่า ละแล้ว. บทว่า ฆเร

ได้แก่ เรือน. ฆรศัพท์ในชื่อแม้อย่างเดียวกัน บางคราวท่านกล่าวขยายในข้อ

ความมากอย่างเหมือนพืช. บทว่า หิตฺวา ปุตฺต ปิสุ ปิย ความว่า ละบุตร

และสัตว์เลี้ยงมีโคกระบือเป็นต้นที่น่ารัก ด้วยการละฉันทราคะที่เกี่ยวเนื่องกับ

บุตรและสัตว์เลี้ยงนั้น. บทว่า หิตฺวา ราคญฺจ โทสญฺจ ความว่า ถอน

ราคะซึ่งมีภาพกำหนัด และโทสะซึ่งมีสภาพขัดเคือง ด้วยอริยมรรค. บทว่า

อวิชฺชญฺจ วิราชิย ความว่า และสำรอกโมหะซึ่งเป็นเบื้องต้นในอกุศลทั้ง

หมด. อธิบายว่า ถอนขึ้นด้วยมรรค ดังนี้นั่นเทียว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว

แล้วแล.

จบ อรรถกถาสังฆาเถรีคาถา

จบ อรรถกถาเอกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 43

เถรีคาถา ทุกนิบาต

ว่าด้วยคาถาต่าง ๆ ในทุกนิบาต

๑. นันทาเถรีคาถา

[๔๒๐] ดูก่อนนันทา เธอจงเห็นร่างกายอันกระดูก

๓๐๐ ท่อนยกขึ้นแล้ว อันกระสับกระส่าย ไม่สะอาด

เปื่อยเน่า จงอบรมจิตให้ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว ด้วย

อสุภภาวนา อนึ่ง เธอจงอบรมจิตให้หานิมิตมิได้ ละ

เสียซึ่งอนุสัยคือมานะ เพราะการละมานะได้นั้น เธอ

จักเป็นผู้สงบเที่ยวไป.

จบ นันทาเถรีคาถา

อรรถกถาทุกนิบาต

๑. อรรถกถาอภิรูปนันทาเถรีคาถา

ในทุกนิบาต มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คาถาว่า อาตุร อสุจึ ปูตึ เป็นต้น เป็นคาถาสำหรับนางสิกข-

มานาชื่ออภิรูปนันทา.

เล่ากันว่า นางสิกขมานาชื่ออภิรูปนันทานี้ เป็นธิดาของคฤหบดี

มหาศาล ในพันธุมตีนคร ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี ฟัง

ธรรมในสำนักของพระศาสดา ตั้งอยู่ในสรณะและศีลห้า เมื่อพระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 44

ปรินิพพานแล้ว ได้บูชาพระธาตุเจดีย์ด้วยฉัตรทองที่ประดับด้วยรัตนะแล้วตาย

ไปบังเกิดในสวรรค์ ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ อยู่ในสุคติภูมินั่นเอง ในพุทธุป-

ปาทกาลนี้ บังเกิดในครรภ์พระอัครมเหสีของ เจ้าศากยเขมกะ ในกรุง

กบิลพัสดุ์ เธอมีชื่อว่า นันทา พระนางนันทานั้น มีรูปงามน่าทัศนาน่าเลื่อม

ใส จึงได้รู้กันทั่วไปว่า ชื่อว่า อภิรูปนันทา เพราะอัตภาพร่างกายถึงความ

งามเลิศของรูปอย่างเหลือเกิน เมื่อเธอเจริญวัย ศากยกุมารผู้เป็นคนรักอย่าง

ยิ่งได้สิ้นพระชนม์เสียในวันหมั้นนั่นเอง คราวนั้น พระชนกชนนีจึงให้บวช

เธอผู้ไม่ต้องการบวช.

ภิกษุณีอภิรูปนันทานั้นแม้บวชแล้วก็ยังมีความเมาเพราะอาศัยรูป ไม่

ไปปฏิบัติบำรุงพระพุทธเจ้าด้วยเข้าใจว่า พระศาสดาทรงตำหนิติเตียนรูป ทรง

แสดงโทษโดยอเนกปริยาย พระศาสดาทรงทราบว่าเธอมีญาณแก่กล้าแล้ว ทรง

สั่งพระมหาปชาบดีว่า ภิกษุณีทั้งหมดจงมารับโอวาทตามลำดับเมื่อถึงวาระของ

ตน เธอส่งภิกษุณีรูปอื่นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เมื่อถึงวาระ ภิกษุณี

พึงไปด้วยตนเอง ไม่พึงส่งรูปอื่นไป เธอไม่อาจละเมิดคำสั่งของพระศาสดาได้

จึงได้ไปปฏิบัติบำรุงพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุณีทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงเนรมิตรูปหญิงงามคนหนึ่งด้วยฤทธิ์ แล้วทรงแสดงรูปแก่หง่อมให้เธอ

เกิดความสังเวช ได้ภาษิต ๒ พระคาถานี้ว่า

ดูก่อนนันทา เธอจงเห็นร่างกายอันกระดูก

๓๐๐ ท่อนยกขึ้นแล้ว อันกระสับกระส่าย ไม่สะอาด

เปื่อยเน่า จงอบรมจิตให้ตั้งมั่นมีอารมณ์เดียวด้วยอสุภ-

ภาวนา อนึ่งเธอจงอบรมจิตให้หานิมิตมิได้ ละเสีย

ซึ่งอนุสัยคือมานะ เพราะการละมานะได้นั้น เธอจัก

เป็นผู้สงบเที่ยวไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 45

เนื้อความของคาถาเหล่านั้น มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

ในเวลาจบคาถา ภิกษุณีอภิรูปนั้นทาบรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในพระนครอรุณวดี มีกษัตริย์พระนามว่า

อรุณราช หม่อมฉันเป็นมเหสีของท้าวเธอ ประพฤติ

ร่วมกัน ในกาลนั้น หม่อนฉันอยู่ในที่ลับนั่งคิดอย่าง

นี้ว่า บุญกุศลที่พอจะถือเอาไปได้ เราไม่ได้ทำไว้เลย

เราจะต้องตกนรกที่มีความเร่าร้อนมาก ทั้งเผ็ดร้อนร้าย

แรงแสนทารุณเป็นแน่ เราไม่สงสัยในเรื่องนี้ ครั้น

คิดอย่างนี้แล้วหม่อมฉันทำใจให้ร่าเริงเข้าเฝ้าพระราชา

กราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ หม่อนฉันเป็นหญิง

ย่อมติดตามชายทุกเมื่อ ขอพระองค์โปรดประทาน

สมณะองค์หนึ่งแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันจักให้ท่านฉัน

พระเจ้าข้า พระราชาผู้ใหญ่ได้ประทานสมณะผู้อบรม

อันทรีย์แล้วแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันดีใจรับบาตรของ

ท่านเอาภัตตาหารอย่างประณีตใส่จนเต็ม ครั้นแล้วได้

ถวายผ้าคู่หนึ่งซึ่งมีราคาเป็นพันให้ท่านครอง ด้วย

กุศลกรรมที่ทำไว้นั้น และด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่

หม่อมฉันละร่างกายมนุษย์ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ได้เป็นมเหสีของเทวราชหนึ่งพันองค์ ได้เป็นมเหสี

ของพระเจ้าจักรพรรดิหนึ่งพันองค์ และได้เป็นมเหสี

ของพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยจะคณานับมิได้

ได้บุญมีอย่างต่าง ๆ เป็นอันมาก ซึ่งเกิดแต่ผลกรรมที่

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๗๓ และ ๑๗๖ อปปลทายิกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 46

ถวายบิณฑบาตนั้น หม่อนฉันมีผิวพรรณเหมือนดอก

บัว เป็นหญิงงามน่าทัศนา สมบูรณ์ด้วยอวัยวะทั้งปวง

เป็นอภิชาติทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรื่อง เมื่อเกิดครั้งสุดท้าย

หม่อนฉันได้เกิดในศากยตระกูล เป็นราชธิดาของ

พระเจ้าสุทโธทนะ เป็นประมุขของนารีพันหนึ่ง เบื่อ

หน่ายต่อการครองเรือนจึงออกบวชเป็นภิกษุณี ครั้น

ถึงราตรีที่ ๗ ได้บรรลุอริยสัจ ๔ หม่อมฉันไม่อาจ

จะประมาณจีวร บิณฑบาต ปัจจัย และเสนาสนะ

(ที่ทายกทายิกาถวาย) นี้เป็นผลแห่งบิณฑบาต ข้าแต่

พระมุนี กุศลกรรมก่อน ๆ ของหม่อมฉันอันใดที่

พระองค์ทรงทราบ ข้าแต่พระมหาวีระ กุศลกรรมนั้น

เป็นอันมาก หม่อมฉันได้สั่งสมเพื่อประโยชน์แก่

พระองค์ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ หม่อมฉันได้

ถวายทานใดในกาลนั้น ไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่ง

ทานนั้นคือบิณฑบาตทาน.

หม่อมฉันรู้จักคติ ๒ คือเทวดาและมนุษย์ ไม่

รู้จักคติอื่น นี้เป็นผลแห่งบิณฑบาต หม่อมฉันรู้จัก

ตระกูลสูงซึ่งเป็นตระกูลมหาศาลมีทรัพย์มาก ไม่รู้จัก

ตระกูลอื่น นี้เป็นผลแห่งบิณฑบาต หม่อมฉันท่อง

เที่ยวไปในภพน้อยใหญ่ อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว ไม่

เห็นสิ่งที่ไม่ชอบใจ นี้เป็นผลแห่งโสมนัส ข้าแต่

พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์

และในทิพโสตธาตุ เป็นผู้มีความชำนาญในเจโต-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 47

ปริยญาณ รู้ปุพเพนิวาสญาณ และทิพยจักษุอันบริสุทธิ์

มีอาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ข้าแต่

พระมหาวีระ หม่อมฉันมีญาณในอรรถ ในธรรม

ในนิรุตติและปฏิภาณ เกิดขึ้นในสำนักของพระองค์

หม่อมฉันเผากิเลสแล้ว ฯลฯ หม่อมฉันปฏิบัติคำสอน

ของพระพุทธเจ้าแล้ว.

จบ อรรถกถาอภิรูปนันทาเถรีคาถา

๒. ชันตาเถรีคาถา

[๔๒๑] โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ใด เป็นทางแห่งการ

บรรลุพระนิพพาน โพชฌงค์ ๗ เหล่านั้นทั้งหมด

ข้าพเจ้าเจริญแล้วอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นข้าพเจ้าเห็นแล้ว ร่างกายนี้มี

ในที่สุด ชาติสงสารขาดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

จบ ชันตาเถรีคาถา

๒. อรรถกถาชันตาเถรีคาถา

คาถาว่า เย อิเม สตฺต โพชฺฌงฺคา เป็นต้น เป็นคาถาของ

พระเถรีชื่อชันตา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 48

เรื่องที่เป็นอดีตและเรื่องปัจจุบันของพระเถรีชื่อ ชันตา นั้น เหมือน

เรื่องของพระเถรีชื่ออภิรูปนันทา แต่พระเถรีนี้บังเกิดในราชตระกูลลิจฉวี

กรุงเวสาลี ความแปลกกันเท่านี้เอง เธอฟังธรรมที่พระศาสดาทรงแสดง ได้

บรรลุพระอรหัตในเวลาจบเทศนา พิจารณาคุณวิเศษที่ตนบรรลุ ได้กล่าวคาถา

สองคาถาเหล่านั้น ด้วยอำนาจปีติว่า

โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ใด เป็นทางแห่งการ

บรรลุพระนิพพาน โพชฌงค์ ๗ เหล่านั้นทั้งหมด

ข้าพเจ้าเจริญแล้วอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นข้าพเจ้าเห็นแล้ว ร่างกายนี้มี

ในที่สุด ชาติสงสารขาดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย อิเม สตฺต โพชฺฌงฺคา ความ

ว่า ธรรม ๗ ประการเหล่านี้ใด กล่าวคือ สติ ธัมมวิจยะ วีริยะ ปีติ ปัสสัทธิ

สมาธิ และอุเบกขา ได้ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งธรรมสามัคคี

เครื่องตรัสรู้ตามที่กล่าวแล้ว หรือแห่งบุคคลผู้ตรัสรู้ซึ่งธรรมที่ควรตรัสรู้ คือ

ผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมเครื่องตรัสรู้นั้น. บทว่า มคฺคา นิพฺพานปตฺติยา

ได้แก่ เป็นอุบายแห่งการบรรลุพระนิพพาน. บทว่า ภาวิตา เต มยา

สพฺเพ ยถา พุทฺเธน เทสิตา ความว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ข้าพเจ้าให้เกิดขึ้นและให้เจริญ เหมือนที่พระพุทธเจ้าคือ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้. หิ ศัพท์ในบาทคาถาว่า ทิฏฺโ หิ เม

โส ภควา มีความว่า เหตุ ประกอบความว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น เป็นธรรมกาย เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ อันข้าพเจ้าเห็นแล้วด้วย

การเห็นอริยธรรมที่ตนได้บรรลุแล้ว ฉะนั้นร่างกายนี้จึงมีในที่สุด ด้วยว่าพระ

ผู้มีพระภาคผู้พุทธเจ้า และพระอริยะอื่น ๆ ย่อมชื่อว่า ข้าพเจ้าเห็นแล้ว ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 49

การเห็นอริยธรรม ไม่ใช่ด้วยเพียงเห็นรูปกาย เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อน

วักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเรา และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้สดับแล้วเป็นผู้เห็นอริยสัจดังนี้ เป็นต้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว

แล้วแล.

จบ อรรถกถาชันตาเถรีคาถา

๓. อัญญตราเถรีภิกขุนีคาถา

[๔๒๒] เราพ้นดีแล้ว พ้นดีแล้ว เป็นผู้พ้นแล้วโดย

ชอบจากสาก จากสามีไม่มีหิริ จากร่ม จากหม้อข้าว

และจากงูน้ำ เราตัดราคะและโทสะขาดแล้วอยู่ เรา

นั้นเข้าไปยังโคนไม้ เพ่งฌานโดยความสุขว่า โอ !

ความสุข.

จบ อัญญตราเถรีภิกขุนีคาถา

๓. อรรถกถาสุมังคลมาตุเถรีคาถา

คาถาว่า สุมุตฺติกา เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีผู้เป็นมารดา

ของพระสุมังคลเถระ.

แม้พระเถรีองค์นี้ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์

ก่อน ๆ สั่งสมกุศลไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปปาทกาลนี้บังเกิดในตระกูลยากจน

ในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้วบิดามารดายกให้แก่ช่างจักสานคนหนึ่ง ได้บุตร

๑. บาลี เป็น อัญญตราเถรีภิกขุนี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 50

คนหัวปีเป็นพระอรหันต์ บุตรหัวปีนั้นได้นามว่าสุมังคละ ตั้งแต่นั้นมา นาง

นั้นเขารู้กันทั่วไปว่า สุมังคลมารดา. แต่เพราะชื่อและโคตรของนางไม่ปรากฏ

ฉะนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในบาลีว่า ภิกษุณีเถรีองค์หนึ่งไม่ปรากฏชื่อ. แม้บุตรของ

นางนั้น ครั้นรู้ความแล้วก็บวช ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้ง

หลาย ได้ปรากฏชื่อว่า พระสุมังคลเถระ. มารดาของพระเถระนั้นบวชในหมู่

ภิกษุณี เจริญวิปัสสนาอยู่ วันหนึ่งพิจารณาความลำบากที่ตนได้ในเวลาเป็น

คฤหัสถ์ เกิดความสังเวช เจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ได้เปล่งอุทานกล่าวคาถาสองคาถาเหล่านี้ว่า

เราพ้นดีแล้ว พ้นดีแล้ว เป็นผู้พ้นแล้วโดย

ชอบจากสาก จากสามีไม่มีหิริ จากร่ม จากหม้อข้าว

และจากงูน้ำ เราตัดราคะและโทสะขาดแล้วอยู่ เรานั้น

เข้าไปยังโคนไม้ เพ่งฌานโดยความสุขว่า โอ !

ความสุข.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุมุตฺติกา แปลว่า พ้นดีแล้ว ก็

อักษรเป็นเพียงทำบทให้เต็ม ความว่า พ้นแล้วด้วยดีหนอ. พระเถรีนั้นเห็น

สมบัติที่ตนได้ในพระศาสนา จึงเรียกด้วยความเลื่อมใสหรือด้วยสรรเสริญ

สมบัตินั้น กล่าวว่า สุมุตฺติกา สุมุตฺติกา แต่เมื่อแสดงความหลุดพ้นจาก

สิ่งที่ตนรังเกียจเป็นพิเศษในเวลาเป็นคฤหัสถ์ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สาธุ

มุตฺติกามฺหิ ดังนี้ บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า สาธุ มุตฺติกามฺหิ ความ

ว่า เราเป็นผู้พ้นโดยชอบทีเดียวหนอ. บทว่า มุสลสฺส แปลว่า จากสาก-

เล่ากันมาว่า พระเถรีนี้เวลาเป็นคฤหัสถ์ ตำข้าวด้วยตนเองทีเดียวเพราะความ

ยากจน ฉะนั้นจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อหิริโก เม ความว่า สามีของเรา

เป็นคนไม่มีหิริ คือปราศจากความละอาย. เพิ่มคำว่า เราไม่ชอบใจเขา. พระเถรี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 51

กล่าวรังเกียจความเป็นไปของพวกหมกมุ่นในกาม เพราะท่านมีจิตคลายกำหนัด

ในกามทั้งหลายแล้วโดยปกติทีเดียว. บทว่า ฉตฺตก วาปิ ความว่า แม้ร่ม

ที่ทำเลี้ยงชีพ เราก็ไม่ชอบใจ วาศัพท์มีเนื้อความรวมถึงสิ่งที่ไม่ได้กล่าวไว้

ด้วยวาศัพท์นั้น ท่านรวมถึงผอบและหีบเป็นต้น พระเถรีกล่าวรังเกียจชีวิต

ลำเค็ญ เพราะต้องเอาท่อนไม้ไผ่เป็นต้นทำร่มเป็นต้นทุกวัน.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ลมในร่างกายของเราไม่มีประโยชน์พัดไป

แล้วกล่าวเนื้อความว่า ลมในร่างกายของเราเวลาเป็นคฤหัสถ์ ไม่มีประโยชน์

นำมาซึ่งชรา พัดไป แต่อาจารย์พวกอื่นกล่าวเนื้อความว่า ลมแต่ร่างกายของ

เรา ไม่มีประโยชน์และมีกลิ่นเหม็นกว่าของคนอื่น ๆ พัดไป. บทว่า อุกฺขลิกา

เม เทฑฺฑุภ วาติ ความว่า ภาชนะหุงต้มภัตตาหารของเรามีกลิ่นงูน้ำคลุ้ง

ไป เพราะหมักหมมไว้นานจึงไม่บริสุทธิ์สะอาด ประกอบความว่า เราเป็นผู้

พ้นโดยชอบจากสิ่งนั้น. บทว่า ราคญฺจ อห โทสญฺจ วิจฉินฺทนฺตี วิ-

หรามิ ความว่า เราตัดขาดราคะและโทสะซึ่งเป็นกิเลสตัวหัวหน้า ได้แก่

อยู่คือกำจัดพร้อมกับเสียงนี้ ความว่า ละได้เด็ดขาด. เล่ากันว่าพระเถรีนั้น

รังเกียจสามีของตน ตำหนิเสียงท่อนไม้ไผ่แห้งเป็นต้นที่สามีผ่าอยู่ประจำวันจึง

ได้กล่าวการละสามีเท่ากับการละราคะและโทสะ. บทว่า สารุกฺขมูลมุปคมฺม

ความว่า เราคือสุมังคลมารดานั้นเข้าไปยังโคนไม้ที่สงัด. บทว่า สุขโตชฺฌา-

ยามิ ความว่า เราเพ่งว่าเป็นสุข คือเราเข้าสมาบัติตามกาลอันสมควร เสวย

ผลสุขและนิพพานสุข เพ่งอยู่ด้วยการเพ่งผล. ก็บทว่า อโห สุข นี้ พระเถรี

กล่าวด้วยอำนาจมนสิการที่เป็นไปภายหลังเข้าสมาบัติ แม้จะกล่าวว่า ด้วย

อำนาจความผูกใจเดิมก็ถูกเหมือนกัน.

จบ อรรถกถาสุมังคลมาตุเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 52

๔. อัฑฒกาสีเถรีคาถา

[๔๒๓] ชนบทกาสีมีส่วยประมาณเท่าใด ส่วยของ

เราก็มีประมาณเท่านั้น ชาวนิคมกำหนดราคาแคว้น

กาสีแล้ว ตั้งราคาเราไว้ครึ่งหนึ่งของราคาแคว้นกาสี

ภายหลังเราเบื่อหน่ายในรูป เมื่อเบื่อหน่ายจึงคลาย

กำหนัด เราอย่าพึงแล่นไปสู่ชาติสงสารอีกบ่อย ๆ

วิชชา ๓ เราทำให้แจ้งแล้ว เราได้ปฏิบัติคำสอนของ

พระพุทธเจ้าแล้ว.

จบ อัฑฒกาสีเถรีคาถา

๔. อรรถกถาอัฑฒกาสีเถรีคาถา

คาถาว่า ยาว กาสิชนปโท เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อ

อัฑฒกาสี.

เล่ากันว่า พระเถรีองค์นี้เกิดในเรือนตระกูลในกาลพระกัสสปทศพล

รู้ความแล้วไปฟังธรรมยังสำนักภิกษุณีทั้งหลาย ได้ศรัทธาบรรพชาแล้ว ด่า

พระเถรีขีณาสพผู้บรรลุปฏิสัมภิทาองค์หนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในศีลของภิกษุณีด้วยวาทะ

ว่า หญิงแพศยา เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วไหม้อยู่ในนรก ในพุทธุปปาทกาลนี้

เกิดในตระกูลเศรษฐีมีสมบัติโอฬารในแคว้นกาสี เจริญวัยแล้วตกจากฐานะลง

เป็นหญิงแพศยา เพราะผลของวจีทุจริตที่ทำไว้ในก่อน เธอมีชื่อว่าอัฑฒกาสี

การบรรพชาและการอุปสมบทโดยทูตของเธอมาแล้วในขันธกะนั่นแล สมจริง

ดังที่กล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 53

ก็โดยสมัยนั้นแล หญิงแพศยาอัฑฒกาสีบรรพชาในภิกษุณีทั้งหลาย

และนางประสงค์จะไปกรุงสาวัตถี เพื่ออุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค

เจ้า พวกนักเลงรู้ข่าวว่า หญิงแพศยาอัฑฒกาสีประสงค์จะไปกรุงสาวัตถี จึง

ดักปล้นกลางทาง หญิงแพศยาอัฑฒกาสีรู้ว่าพวกนักเลงดักปล้นกลางทาง จึง

ส่งทูตไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์ประสงค์จะอุปสมบท จะพึง

ปฏิบัติอย่างไรหนอ. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาใน

เพราะนิทานนี้ ในเพราะเรื่องนี้ ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทแม้โดยทูต ดังนี้.

พอได้อุปสมบทอย่างนี้แล้ว เธอเจริญวิปัสสนาไม่นานนักก็ได้บรรลุ

พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ใน

อปทานว่า

ในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้าเผ่าพงศ์พรหมมียศ

มาก พระนามว่า กัสสปะ ประเสริฐกว่าพวกบัณฑิต

เสด็จอุบัติแล้ว ครั้งนั้น ข้าพเจ้าบวชในศาสนาของ

พระพุทธเจ้านั้น สำรวมในปาติโมกข์และอินทรีย์ ๕

รู้จักประมาณในอาหาร ประกอบความเพียรเครื่องตื่น

อยู่ บำเพ็ญเพียรอยู่ ข้าพเจ้ามีใจชั่วด่าภิกษุณีผู้ปราศ

จากอาสวะ ได้กล่าวในคราวนั้นว่า อีแพศยา ข้าพเจ้า

ต้องหมกไหม้อยู่ในนรก เพราะบาปกรรมนั้นและด้วย

ธรรมที่ยังเหลืออยู่นั้น ข้าพเจ้าได้เกิดในสกุลหญิง

แพศยา ต้องอาศัยคนอื่นเขาโดยมากทีเดียว และใน

ชาติหลัง ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐีแคว้นกาสี มี

รูปสมบัติเหมือนอัปสรในเทวโลก ด้วยผลแห่งพรหม-

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๒๗ อัฑฒกาสีเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 54

จรรย์ มหาชนเห็นข้าพเจ้างามน่าทัศนา จึงตั้งไว้ใน

ตำแหน่งหญิงแพศยา ประจำกรุงราชคฤห์อันอุดม

เพราะผลที่ข้าพเจ้าด่าภิกษุณี ข้าพเจ้าได้ฟังพระสัท-

ธรรมที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐตรัสแล้ว สมบูรณ์ด้วย

บุพวาสนา ได้บวชเป็นพระภิกษุณี เมื่อเดินทางไป

เฝ้าพระพิชิตมารนั้นเพื่อจะอุปสมบท ทราบข่าวพวก

นักเลงดักอยู่กลางทาง จึงได้อุปสมบทโดยทูต กรรม

ทุกอย่างทั้งบุญและบาปหมดสิ้นไปแล้ว ข้ามพ้น

สงสารทั้งปวงแล้ว ความเป็นหญิงแพศยาก็สิ้นไปแล้ว

ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพเจ้ามีความชำนาญในอิทธิฤทธิ์

ทั้งหลาย และในทิพโสตธาตุ มีความชำนาญเจโต-

ปริยญาณ ข้าพเจ้ารู้บุพเพนิวาสญาณและทิพยจักษุอัน

หมดจดวิเศษ มีอาสวะทั้งปวงสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่

ไม่มี ข้าแต่พระมหาวีระ ญาณในอรรถ ในธรรม ใน

นิรุตติ และในปฏิภาณของข้าพระองค์เกิดขึ้นในสำนัก

ของพระองค์ ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ ปฏิบัติคำ-

สอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระเถรีได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า

ชนชาวกาสีมีส่วยประมาณเท่าใด ส่วยของเรา

ก็มีประมาณเท่านั้น ชาวนิคมกำหนดราคาแคว้นกาสี

แล้ว ตั้งราคาเราไว้ครึ่งหนึ่งของราคาแคว้นกาสี ภาย

หลังเราเบื่อหน่ายในรูป เมื่อเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด

เราอย่าพึงแล่นไปสู่ชาติสงสารอีกบ่อย ๆ วิชชา ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 55

เราทำให้แจ้งแล้ว เราได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธ-

เจ้าแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว กาสีชนปโท สุงฺโก เม

ตตฺตโก อหุ ความว่า ส่วยมีในชนบทกาสี ชื่อกาสีชนบท กาสีชนบทนั้นมี

ส่วยประมาณเท่าใด ส่วยของเราก็มีประมาณเท่านั้น ก็ส่วยนั้นประมาณเท่าไร

ประมาณพันหนึ่ง เล่ากันว่า ในแคว้นกาสีครั้งนั้น รายได้ดีเกิดขึ้นแก่พระ-

ราชาในวันหนึ่งด้วยอำนาจส่วย ประมาณพันหนึ่ง แม้ทรัพย์ที่นางอัฑฒกาสี

ได้ในวันหนึ่งจากมือของพวกผู้ชาย ก็ประมาณเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า ยาว กาสิชนปโท สุงฺโก เม ตตฺตโก อหุ ดังนี้ ก็นางได้ชื่อ

ว่า กาสี เพราะกำหนดด้วยส่วยในกาสีชนบทนั้น. พวกมนุษย์ส่วนมากเมื่อ

ไม่สามารถจะให้ถึงพันได้ จึงให้ครึ่งหนึ่งจากกำหนดนั้น แล้วไปรื่นรมย์กัน

ตอนกลางวันเท่านั้น. เพราะมนุษย์พวกนั้น นางนี้จึงได้รู้กันทั่วไปว่า อัฑฒ-

กาสี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ต กตฺวา เนคโม อคฺฆ

อฑฺเฒนคฺฆ เปสิ ม ซึ่งมีความว่า ชาวนิคม คือชนผู้อยู่ในนิคม ทำ

ทรัพย์ ๕๐๐ นั้นเป็นราคาแล้วตั้งเราแม้เป็นอนัคฆะตีราคาไม่ได้ เพราะเป็น

นางแก้วให้มีราคาครึ่งหนึ่ง มีสมัญญาว่า อัฑฒกาสี เป็นนิมิต อธิบายว่า

เรียกเราอย่างนั้น.

บทว่า อถ นิพฺพินฺทห รูเป ความว่า เราอาศัยรูปร่างเลี้ยงชีพ

อยู่อย่างนี้ ต่อมาภายหลังได้อาศัยพระศาสนาจึงเบื่อหน่ายในรูป คือเห็นว่ารูป

ไม่เทียงแม้ด้วยประการนี้ รูปนี้เป็นทุกข์ ไม่งามแม้ด้วยประการนี้ จึงไม่พอ

ใจรูปนั้น. บทว่า นิพฺพินฺทญฺจ วิรชฺชห ความว่า และเมื่อเราเบื่อหน่าย

จึงถึงความเป็นอื่นคือความคลายกำหนัดจากรูปนั้น. ก็ด้วยนิพฺพินฺทศัพท์ใน

คาถานี้ แสดงถึงตรุณวิปัสสนา ด้วยวิราคศัพท์แสดงถึงพลววิปัสสนา มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 56

อธิบายว่า เมื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น

ด้วยบทว่า มา ปุน ชาติสสาร สนธาเวยฺย ปุนปฺปุน นี้ ท่านแสดง

ถึงอาการของความเบื่อหน่ายและความคลายกำหนัด ด้วยบทว่า ติสฺโส วิชฺชา

เป็นต้น แสดงการถึงที่สุดของอาการเหล่านั้น. ข้อนั้นมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

จบ อรรถกถาอัฑฒกาสีเถรีคาถา

๕. จิตตาเถรีคาถา

[๔๒๔] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีร่างกายผ่ายผอม เป็นไข้

ทุพพลภาพหนัก ต้องถือไม้เท้าไปไหน ๆ ก็จริง ถึง

อย่างนั้นก็ยังขึ้นภูเขาได้ ข้าพเจ้าวางผ้าสังฆาฏิและ

คว่ำบาตร นั่งบนภูเขา ทำลายกองความมืดข่มตนไว้.

จบ จิตตาเถรีคาถา

๕. อรรถกถาจิตตาเถรีคาถา

คาถาว่า กิญฺจาปิ โขมฺหิ กิสิกา เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรี

ชื่อ จิตตา.

แม้พระเถรีชื่อจิตตาองค์นี้ ก็สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อนๆ สั่งสมกุศลที่เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ จากภัทรกัปนี้

ไป ๙๔ กัป บังเกิดในกำเนิดกินนร ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา วันหนึ่งนางกินรี

นั้นเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ มีใจเลื่อมใส เอาดอก

อ้อมาบูชา ไหว้แล้วประคองอัญชลี ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ด้วยบุญกรรมนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 57

นางท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปปาทกาลนี้เกิดในตระกูล

คฤหบดีมหาศาล กรุงราชคฤห์รู้ความแล้ว ได้ศรัทธาในกาลเสด็จเข้ากรุงราช-

คฤห์ของพระศาสดา ภายหลังบวชในสำนักของพระมหาปชาบดีโคตมี ในเวลา

แก่ ได้ขึ้นเขาคิชฌกูฎทำสมณธรรมเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัตพร้อม

ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ข้าพเจ้าเป็นกินรีที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ในกาล

นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี เป็น

พระสยัมภู ผู้อันใคร ๆ ให้แพ้ไม่ได้ ข้าพเจ้ามีจิต

เลื่อมใส ดีใจ ปลื้มใจ กระทำอัญชลีถือเอาดอกอ้อ

บูชาพระสยัมภู ด้วยกรรมที่ทำดีนั้น และด้วยความ

ตั้งใจมั่น ข้าพเจ้าละร่างกินรี ได้ไปสู่หมู่เทวดาชั้น

ไตรทศ ข้าพเจ้าได้เป็นมเหสีของเทวราช ๓๖ องค์

ได้เป็นมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐ องค์ ข้าพเจ้า

มีจิตสังเวชจึงบวชเป็นบรรพชิต จากนี้ไป ๙๔ กัป

ข้าพเจ้าเอาดอกไม้บูชา ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผล

แห่งการบูชาพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ

ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ก็พระเถรีนั้น ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของตน

ได้กล่าวคาถาสองคาถานี้ว่า

ข้าพเจ้าเป็นผู้มีร่างกายผ่ายผอม เป็นไข้ทุพ-

พลภาพหนัก ต้องถือไม้เท้าไปไหน ๆ ก็จริง ถึงอย่าง

นั้นก็ยังขึ้นภูเขาได้ ข้าพเจ้าวางผ้าสังฆาฏิและคว่ำ

บาตร นั่งบนภูเขา ทำลายกองความมืดข่มตนไว้.

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๔๕ นฬมาลิกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 58

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิญฺจาปิ โขมฺหิ กิสิกา ความว่า ถึง

แม้ข้าพเจ้า เป็นคนคร่ำคร่า เพราะชรา มีร่างกายฝ่ายผอม เพราะมีเนื้อและเลือด

น้อย. บทว่า คิลานา พาฬฺหทุพฺพลา ความว่า เป็นไข้เพราะธาตุเป็นต้น

พิการ ทุพพลภาพเหลือเกิน เพราะความไข้นั้นเอง. บทว่า ทณฺฑโมลุพฺภ

คจฺฉามิ ความว่า เมื่อไปในที่ไหนๆ ย่อมถือไม้เท้าไป. บทว่า ปพฺพต

อภิรูหิย ความว่า แม้เป็นอย่างนี้ก็ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ เพราะต้องการวิเวก.

บทว่า สงฺฆาฏึ นิกฺขิปิตฺวาน ความว่า เป็นผู้เหน็ดเหนื่อยจริงๆ

วางผ้าสังฆาฏิที่วางไว้บนบ่าตามที่พับไว้ ไว้ในหัตถบาส. บทว่า ปตฺตกญฺจ

นิกุชฺชิย ความว่า วางบาตรดินสำหรับใช้สอยของข้าพเจ้าคว่ำไว้ในที่สมควร

แห่งหนึ่ง. บทว่า เสเล ขมฺเภสึ อตฺตาน ตโมกฺขนฺธ ปทาลิย ความ

ว่า นั่งบนภูเขา ทำลายกองโมหะที่ไม่เคยทำลายเป็นเวลายาวนาน ข่มตนคือ

อัตภาพ ด้วยการทำลายกองโมหะนั้นนั่นแล คือข่มสันดานของตน ด้วยให้ถึง

ความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.

จบ อรรถกถาจิตตาเถรีคาถา

๖. เมตติกาเถรีคาถา

[๔๒๕] ข้าพเจ้ามีทุกข์ ทุพพลภาพ ผ่านความเป็นสาว

ไปแล้ว ต้องถือไม่เท้าไปไหน ๆ ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็

ยังขึ้นภูเขาได้ ข้าพเจ้าวางผ้าสังฆาฏิและคว่ำบาตร นั่ง

บนภูเขา ครั้งนั้นจิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้ว ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 59

บรรลุวิชชาสามตามลำดับ ได้ปฏิบัติคำสอนของพระ-

พุทธเจ้าแล้ว.

จบ เมตติกาเถรีคาถา

๖. อรรถกถาเมตติกาเถรีคาถา

คาถาว่า กิญฺจาปิ โขมฺหิ ทุกฺขิตา เป็นต้น เป็นคาถาของพระ

เถรีชื่อเมตติกา.

แม้พระเถรีชื่อเมตติกาองค์นี้ ก็สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญที่เป็นอุปนิสัยแห่งนิพพานไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามสิทธัตถะ นางเกิดในตระกูลคฤหบดีรู้ความแล้ว ได้

บูชาที่พระเจดีย์ของพระศาสดา ด้วยสายรัดเอวประดับ ด้วยรัตนะ ด้วยบุญกรรม

นั้น นางท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปปาทกาลนี้เกิดใน

ตระกูลพราหมณ์มหาศาล เรื่องที่เหลือเหมือนเรื่องติด ๆ กันที่กล่าวแล้ว แต่

พระเถรีนี้ขึ้นยอดภูเขาที่คล้ายกัน ทำสมณธรรมเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุ

พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ใน

อปทานว่า

ข้าพเจ้าได้สร้างพระสถูปของพระผู้มีพระภาค-

เจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ได้ถวายสายรัดเอวเพื่อนวกรรม

ของพระศาสดา และเมื่อพระมหาสถูปสำเร็จ แล้ว

ข้าพเจ้าเลื่อมใสพระมุนีผู้เป็นนาถะของโลก ได้ถวาย

สายรัดเอวอีกด้วยมือของตน

ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าได้ถวายสาย

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๔๒ เมขลทายิกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 60

รัดเอวในคราวนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่ง

การสร้างพระสถูป ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้า

ได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของคน ได้กล่าวคาถา

สองคาถานี้เป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้ามีทุกข์ ทุพพลภาพ ผ่านความเป็น

สาวไปแล้ว ต้องถือไม้เท้าไปไหน ๆ ก็จริง ถึงอย่าง

นั้นก็ยังขึ้นภูเขาได้ ข้าพเจ้าวางผ้าสังฆาฏิ และคว่ำ

บาตรนั่งบนภูเขา ครั้งนั้นจิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้ว

ข้าพเจ้าบรรลุวิชชาสามตามลำดับ ได้ปฏิบัติคำสอน

ของพระพุทธเจ้าแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขิตา ความว่า มีทุกข์ คือถึงความ

ทุกข์ที่เกิด เพราะมีโรคมาก. บทว่า ทุพฺพลา ความว่า เพราะถึงความ

ทุกข์นั่นแหละด้วย เพราะแก่หง่อมด้วย เพราะหมดกำลังด้วย ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า คตโยพฺพนา ความว่า ถึงวัยกลางคนแล้ว.

บทว่า อถ จิตฺต วิมุจฺจิ เม ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้นั่งอยู่บนศิลา

คือบนแผ่นหิน ครั้งนั้น คือในลำดับนั้น จิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้วจาก

อาสวะแม้ทั้งหมดตามลำดับมรรค เพราะประกอบโดยชอบทีเดียวด้วยความเป็น

ผู้มีความเพียรสม่ำเสมอ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบ อรรถกถาเมตติกาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 61

๗. มิตตาเถรีคาถา

[๔๒๖] ข้าพเจ้าปรารถนาเทพนิกาย เข้าจำอุโบสถ

ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ

๘ ค่ำแห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ วันนี้

ข้าพเจ้ามีภัตตาหารมื้อเดียว มีศีรษะโล้น ห่มผ้า

สังฆาฏิ ไม่ปรารถนาเทพนิกาย ข้าพเจ้ากำจัดความ

กระวนกระวายในหทัยได้.

จบ มิตตาเถรีคาถา

๗. อรรถกถามิตตาเถรีคาถา

คาถาว่า จาตุทฺทสึ ปญฺจทสึ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อ

มิตตา อีกองค์หนึ่ง.

แม้พระเถรีชื่อ มิตตา องค์นี้ ก็สร้างสมบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมกุศลที่เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี นางเกิดในตระกูลกษัตริย์ รู้ความแล้วเป็น

นางในของพระเจ้าพันธุมะ เห็นพระเถรีผู้เป็นขีณาสพองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นสาวิกา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี มีใจเลื่อมใส รับบาตรจากมือของพระเถรีนั้น

แล้วใส่ของเคี้ยวอันประณีตจนเต็ม ไปถวายพร้อมกับผ้าสาฎกมีค่ามากสองผืน

ด้วยบุญกรรมนั้น นางท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปปาท

กาลนี้เกิดในศากยราชตระกูล ในกรุงกบิลพัสดุ์ รู้ความแล้ว ฟังธรรมในสำนัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 62

ของพระศาสดา ได้ศรัทธา ได้เป็นอุบาสิกา เวลาต่อมานางบวชในสำนักของ

พระมหาปชาบดีเถรี เจริญวิปัสสนาอยู่ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในพระนครพันธุมดี มีกษัตริย์พระนามว่า พัน-

ธุมราช ข้าพเจ้าเป็นมเหสีของท้าวเธอ ประพฤติร่วม

กัน ในกาลนั้นข้าพเจ้าอยู่ในที่ลับนั่งคิดอย่างนี้ว่า บุญ

กุศลที่จะพาเราไปไม่ได้ทำไว้เลย เราจะต้องตกนรกที่

มีความเร่าร้อนมาก ทั้งเผ็ดร้อนร้ายแรงแสนทารุณเป็น

แน่ เราไม่สงสัยในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระราชา

กราบทูล คำนี้ว่า ขอพระองค์โปรดประทานสมณะองค์

หนึ่งแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันจักให้ท่านฉัน พระเจ้าข้า

พระราชาผู้ใหญ่ได้ประทานสมณะผู้อบรมอินทรีย์แล้ว

แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ารับบาตรของท่านเอาภัตตาหาร

อย่างประณีตใส่จนเต็ม ครั้นให้เต็มแล้วได้ทำภัตตาหาร

และของหอมเครื่องลูบไล้อย่างประณีต ปิดด้วยตาข่าย

แล้วเอาผ้าเหลืองคลุมไว้ ข้าพเจ้าระลึกถึงเรื่องนั้นเป็น

อารมณ์ของข้าพเจ้าตลอดชีวิต ทำจิตให้เลื่อมใสใน

เรื่องนั้น ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้เป็นมเหสีของ

เทวราช ๓๐ องค์ สิ่งที่ใจปรารถนาได้เกิดแก่ข้าพเจ้า

สมปรารถนา ข้าพเจ้าได้เป็นมเหสีของพระเจ้าจักร-

พรรดิ ๒๐ องค์ ข้าพเจ้าสร้างสรรค์ตนเองท่องเที่ยวไป

ในภพน้อยใหญ่ ข้าพเจ้าพ้นจากเครื่องผูกพันทุกอย่าง

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๔๖ เอกปิณฑปาตทายิกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 63

แล้ว มีการอุบัติไปปราศแล้ว อาสวะทุกอย่างหมดสิ้น

แล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้

ข้าพเจ้าได้ให้ทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้นข้าพเจ้า

ไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่งบิณฑบาต ข้าพเจ้าเผากิเลส

แล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้า

แล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของตนได้กล่าวคาถา

สองคาถานี้เป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าปรารถนาเทพนิกาย เข้าจำอุโบสถ

ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ

๘ ค่ำแห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ วันนี้ข้าพเจ้า

มีภัตตาหารมื้อเดียว มีศีรษะโล้น ห่มผ้าสังฆาฏิ ไม่

ปรารถนาเทพนิกาย ข้าพเจ้ากำจัดความกระวนกระวาย

ในหทัยได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จาตุทฺทสึ ปญฺจทสึ ได้แก่ ดิถีเป็น

ที่เต็มแห่งวัน ๑๔ ชื่อจาตุททสี ดิถีเป็นที่เต็มแห่งวัน ๑๕ ชื่อปัญจทสี

ตลอดวันจาตุททสี ๑๔ ค่ำ และวันปัญจทสี ๑๕ ค่ำ นั้น เชื่อมความว่า แห่ง

ปักษ์. ก็บทนี้เป็นทุติยาวิภัตติใช้ในอรรถอัจจันตสังโยค (แปลว่า ตลอด)

ประกอบความว่าตลอดดิถีที่ ๘ แห่งปักษ์นั้นด้วย. บทว่า ปาฏิหาริยปกฺขญฺจ

ได้แก่ ปักษ์สำหรับผู้รักษาอุโบสถ และปักษ์แห่งอุโบสถศีลที่พึงรักษาในวัน

๑๓ ค่ำ แรม ๑ ค่ำ ๗ ค่ำ และ ๙ ค่ำ โดยวันต้นเป็นวันเข้า วันสุดท้ายเป็น

วันออกตามลำดับของวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ. อฏฺงฺคสุสมาคต

ความว่า ประกอบด้วยดีด้วยองค์ ๘ ประการ มีเจตนางดเว้น จากปาณาติบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 64

เป็นต้น. อุโปสถ อุปาคจฺฉึ แปลว่า เข้าไปอยู่จำ ความว่า อยู่จำ. ที่

ท่านกล่าวหมายถึงว่า

ไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้

ให้ ไม่พึงกล่าวเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงงดเว้นเมถุน

ซึ่งมิใช่พรหมจรรย์ ไม่พึงบริโภควิกาลโภชน์ในราตรี

ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และใช้ของหอม พึงนอนบนเตียง

บนแผ่นดิน หรือบนสันถัตเครื่องปูลาด บัณฑิตทั้ง

หลายกล่าวอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ ที่

พระพุทธเจ้าทรงประกาศเพื่อคุณคือความสิ้นทุกข์.

บทว่า เทวกายาภินนฺทินี ประกอบความว่า ข้าพเจ้าปรารถนา

อย่างยิ่งซึ่งเทพนิกายมีชั้นจาตุมหาราชเป็นต้น จึงเข้าจำอุโบสถ เพราะหวังเกิด

ในเทพนิกายนั้น. บทว่า สาชฺช เอเกน ภตฺเตน ความว่า ข้าพเจ้านั้น

วันนี้ คือในวันนี้แหละ มีเวลาบริโภคภัตตาหารหนเดียว. บทว่า มุณฺฑา

สงฺฆาฏิปารุตา ความว่า โกนผมและคลุมร่างกายด้วยผ้าสังฆาฏิบวชแล้ว.

บทว่า เทวกาย น ปตฺเถห ความว่า ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาเทพนิกายอะไร ๆ

เพราะแม้มรรคอันเลิศข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว. เพราะเหตุนั้นแหละจึงกล่าวว่า

วิเนยฺย หทเย ทร ความว่า กำจัดความกระวนกระวายคือกิเลสที่อยู่ในจิต

ด้วยการถอนขึ้น ก็คำนี้แหละเป็นการพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถรีนั้น.

จบอรรถกถามิตตาเถรีคาถา

๑. อัง. ติก. ๒๐/ข้อ ๕๑๐ อุโบสถสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 65

๘. อภยมาตาเถรีคาถา

[๔๒๗] ข้าแต่แม่ ท่านจงพิจารณากายนี้ ซึ่งไม่สะอาด

มีกลิ่นเหม็นเน่า เบื้องบนลงมาจนจดพื้นเท้า เบื้องล่าง

ขึ้นไปจนจดปลายผม เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ เราถอน

ราคะทั้งปวงได้ตัดความเร่าร้อนได้ เราเป็นผู้มีความ

เย็น ดับสนิทแล้ว.

จบ อภยมาตาเถรีคาถา

๘. อรรถกถาอภยมาตุเถรีคาถา

คาถาว่า อุทฺธ ปาทตลา เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีผู้เป็น

มารดาของพระอภัยเถระ.

แม้พระเถรีผู้เป็นมารดาของพระอภัยเถระองค์นี้ ก็สร้างสมบุญบารมี

ไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าติสสะ เกิดในเรือนตระกูล รู้ความแล้ววันหนึ่ง

เห็นพระศาสดาเสด็จเที่ยวบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส รับบาตรแล้ว ถวายภิกษา

ประมาณทัพพีหนึ่ง ด้วยบุญกรรมนั้น นางท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษย์

โลก ในพุทธุปปาทกาลนี้ ได้เป็นหญิงนครโสเภณีชื่อว่าปทุมวดี ในกรุงอุชเชนี

ด้วยวิบากแห่งกรรมเช่นนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับคุณมีรูปสมบัติเป็นต้น

ของเธอ จึงตรัสบอกแก่ปุโรหิตว่า ได้ข่าวว่าในกรุงอุชเชนีมีหญิงงามเมืองชื่อ

ปทุมวดี ฉันใคร่จะเห็นเธอ ปุโรหิตกราบทูลว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า นำยักษ์ชื่อกุมภีร์

๑. พระสูตร เป็น อภยมาตาเถรีคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 66

มาด้วยกำลังมนต์ แล้วใช้อานุภาพยักษ์นำพระราชาไปยังนครอุชเชนีในขณะ

นั้นทีเดียว พระราชาทรงสำเร็จการอยู่ร่วมกับหญิงแพศยานั้นหนึ่งราตรี นางมี

ครรภ์ด้วยพระราชา และได้กราบทูลพระราชาว่า หม่อมฉันตั้งครรภ์แล้ว

พระราชาทรงสดับดังนั้นตรัสว่า ถ้าเป็นบุตรชาย เธอจงเลี้ยงให้ดีแล้วแสดง

กะเรา ได้ประทานพระธรรมรงค์จารึกพระนามแล้วเสด็จไป ล่วงไปสิบเดือน

นางคลอดบุตร ได้ตั้งชื่อว่า อภัย ในวันเป็นที่ตั้งชื่อ. และในเวลาที่บุตรมีอายุ

๗ ขวบ นางได้ส่งบุตรไปเฝ้าพระราชา ด้วยบอกว่า พระเจ้าพิมพิสารมหา-

ราชเป็นพระบิดาของเจ้า พระเจ้าพิมพิสารทรงเห็นพระโอรสนั้นแล้วได้ความ

รักในบุตร ทรงให้เจริญด้วยเครื่องบริหารกุมาร เรื่องพระกุมารนั้นได้ศรัทธา

บวชและบรรลุคุณวิเศษ มีมาแล้วในหนหลังทั้งนั้น มารดาของกุมารนั้น กาล

ต่อมาได้ฟังธรรมในสำนักของพระอภัยเถระผู้เป็นบุตร ได้ศรัทธาบวชในหมู่

ภิกษุณี เจริญวิปัสสนาไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้ง

หลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ข้าพเจ้าได้ประคองภิกษาทัพพีหนึ่งถวายแด่

พระศาสดาพระนานว่าติสสะ ผู้เป็นพระพุทธเจ้า

ประเสริฐสุด กำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาตอยู่ พระศาสดา

พระนามติสสะ ผู้เป็นพระสัมพุทธะเป็นผู้นำชั้นเลิศ

ของโลกทรงรับแล้ว ประทับยืนอยู่กลางถนน ได้ทรง

อนุโมทนาแก่ข้าพเจ้าว่า เธอถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง จัก

ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จักได้เป็นมเหสีของเทวราช

๓๖ องค์ จักได้เป็นมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐

องค์ เธอจักได้ทุกอย่างที่ใจปรารถนา ในกาลทุกเมื่อ

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๔๗ กฏัจฉุภิกขาทายิกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 67

เธอเสวยสมบัติแล้วไม่มีกังวล จักบวช เธอกำหนดรู้

อาสวะทั้งหมดแล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะนิพพาน พระ

สัมพุทธเจ้าพระนามติสสะเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก

เป็นนักปราชญ์ตรัสดังนี้แล้ว ทรงเหาะขึ้นสู่นภากาศ

เหมือนพญาหงส์บินร่อนอยู่ในอัมพรฉะนั้น ทาน

ข้าพเจ้าถวายดีแล้วทีเดียว ยัญสมบัติข้าพเจ้าบูชาดีแล้ว

ข้าพเจ้าถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง ถึงบทอันไม่หวั่นไหว

แล้ว ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าทำกรรมใดไว้

ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้

เป็นผลแห่งการถวายภิกษา ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ

ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระอภัยเถระบุตรของตนเมื่อกล่าวธรรมได้

ภาษิตคาถาใด ๆ เป็นโอวาท เธอได้กล่าวอ้างคาถานั้น ๆ แหละแม้เองเป็น

อุทานว่า

ข้าแต่แม่ ท่านจงพิจารณากายนี้ ซึ่งไม่สะอาด

มีกลิ่นเหม็นเน่า เบื้องบนลงนาจนจดพื้นเท้า เบื้อง

ล่างขึ้นไปจนจดปลายผม. เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ ถอน

ราคะทั้งปวงได้ ตัดความเร่าร้อนได้ เราเป็นผู้มีความ

เย็น ดับสนิทแล้ว.

บรรดาสองคาถานั้น คาถาแรกมีเนื้อความย่อเท่านี้ว่า ข้าแต่แม่

ปทุมวดี ท่านจงพิจารณาสรีระนี้ ชื่อว่ากายเพราะเป็นที่รวมของสิ่งที่น่าเกลียด

ทั้งหลาย ชื่อว่าไม่สะอาดเพราะเต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ชื่อว่ามี

กลิ่นเหม็นเน่าเพราะกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งทุกเวลา แต่พื้นเท้าขึ้นไปเบื้องบนแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 68

ปลายผมลงมาเบื้องต่ำ ด้วยญาณจักษุ ก็คาถานี้เป็นคาถาที่บุตรกล่าวให้โอวาท

แก่พระเถรีนั้น. พระเถรีฟังคาถานั้นแล้วบรรลุพระอรหัต เปล่งอุทานกล่าว

คาถาที่หนึ่งนั้นแหละ เป็นการบูชาอาจารย์เมื่อกล่าวถึงการปฏิบัติของตน จึง

กล่าวคาถาที่สองว่า เอว วิหรมานาย เป็นต้น.

ในคาถาที่สองนั้น บทว่า เอว วิหรมานาย ความว่า เมื่อเราตั้ง

อยู่ในโอวาทที่พระอภัยเถระผู้เป็นบุตรให้แล้วโดยนัยว่า อุทฺธ ปาทตลา

เป็นต้น เห็นกายทุกส่วนว่าไม่งาม มีจิตแน่วแน่กำหนดรูปธรรมชนิดมหาภูต-

รูปและอุปาทายรูปในกายนั้น และอรูปธรรมมีเวทนาเป็นต้นที่เนื่องด้วยรูป

ธรรมนั้น ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์พิจารณาด้วยอนิจจานุปัสสนาญาณเป็นต้นในกาย

นั้น. บทว่า สพฺโพ ราโค สมูหโต ความว่า ราคะทั้งหมดเราถอนคือ

ขุดขึ้นแล้วด้วยอรหัตมรรค ตามลำดับมรรคที่สืบต่อด้วยมรรค ด้วยวุฏฐาน-

คามินีวิปัสสนา. บทว่า ปริฬาโห สมุจฺฉินฺโน ความว่า ต่อจากนั้นแหละ

ความเร่าร้อนคือกิเลสทั้งหมด เราตัดได้โดยชอบทีเดียว และเพราะตัดความ

เร่าร้อนคือกิเลสนั้นได้นั่นเอง เราจึงเป็นผู้มีความเย็น ดับสนิทด้วยสอุปาทิ-

เสสนิพพานธาตุ.

จบ อรรถกถาอภยมาตุเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 69

๙. อภยาเถรีคาถา

[๔๒๘] ดูก่อนอภยา ปุถุชนข้องอยู่ในกายใด กายนั้น

มีสภาพแตกดับ เรามีสติรู้สึกตัว จักทอดทิ้งกายนี้

เราอันความทุกข์เป็นอันมากถูกต้องแล้ว ยินดีแล้วใน

ความไม่ประมาท บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว ได้ปฏิบัติ

คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

จบ อภยาเถรีคาถา

๙. อรรถกถาอภยาเถรีคาถา

คาถาว่า อภเย ภิทุโร กาโย เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อ

อภยา เป็นสหายของพระอภัยมาตุเถรี.

แม้พระเถรีชื่ออภยานี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี เกิดในตระกูลกษัตริย์มหาศาล รู้ความแล้ว

ได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าอรุณราช วันหนึ่งพระเจ้าอรุณราชได้ประทาน

ดอกอุบลหอม ๗ ดอกแก่เธอ เธอรับดอกอุบลเหล่านั้นแล้วนั่งคิดว่า เรา

ประดับ ดอกอุบลเหล่านี้จะมีประโยชน์อะไร อย่ากระนั้นเลย เราจักเอาดอก

อุบลเหล่านี้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าพระราชนิ-

เวศน์ในเวลาภิกขาจาร เธอเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วมีใจเลื่อมใส ต้อนรับ

บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกไม้เหล่านั้น แล้วถวายบังคมด้วยเบญจางค

ประดิษฐ์ ด้วยบุญกรรมนั้น เธอท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 70

พุทธุปปาทกาลนี้ เกิดในเรือนแห่งตระกูลในกรุงอุชเชนี รู้ความแล้ว เป็น

สหายของพระอภัยมาตุเถรี เมื่อพระอภัยมาตุเถรีบวช เธอเองก็บวชด้วยความ

สิเนหาพระเถรีนั้น อยู่ในกรุงราชคฤห์กับพระเถรีนั้น วันหนึ่งได้ไปป่าสีตวัน

เพื่อดูอสุภ พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎินั้นเอง ทรงทำอารมณ์ที่เธอ

เคยประสบมาไว้ต่อหน้า ประกาศความเป็นศพขึ้นพองเป็นต้นแก่เธอ เธอ

เห็นดังนั้น ยืนสลดใจอยู่ พระศาสดาทรงแผ่รัศมีแสดงพระองค์เหมือนประทับ

นั่งอยู่ต่อหน้า ได้ตรัสพระคาถาเหล่านั้นว่า

ดูก่อนอภยา ปุถุชนข้องอยู่ในกายใด กาย

นั้น มีสภาพแตกดับ เรามีสติรู้สึกตัวจักทอดทิ้งร่างกาย

นี้ เราอันความทุกข์เป็นอันมากถูกต้องแล้ว ยินดีแล้ว

ในความไม่ประมาท บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว ได้

ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

เวลาจบคาถา พระเถรีนั้นได้บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้

ในอปทานว่า

ในพระนครอรุณวดีมีกษัตริย์พระนามว่าอรุณ-

ราช ข้าพเจ้าเป็นมเหสีของท้าวเธอ ข้าพเจ้าร้อยพวง-

มาลัยอยู่ ได้ถือดอกอุบลมีกลิ่นหอมเหมือนทิพย์ นั่ง

อยู่ในปราสาทอันประเสริฐ คิดขึ้นในขณะนั้นเอง

อย่างนี้ว่า เราจะได้ประโยชน์อะไรที่เอาพวงมาลัย

เหล่านี้ประดับบนศีรษะของเรา เราเอาบูชาในพระ

ญาณของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดจะประเสริฐกว่า

คนทั้งหลายเขาพากันบูชานับถือพระสัมพุทธเจ้า เรา

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๔๘ สัตตอุปปลมาลิกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 71

จะนั่งใกล้ประตู จักบูชาพระมหามุนีสัมพุทธเจ้าใน

เวลาที่เสด็จมา พระพิชิตมารงามดังต้นรกฟ้า หรือดัง

พญาไกรสรมฤคราช พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จมาตาม

ถนน ข้าพเจ้าเห็นพระรัศมีของพระพุทธองค์แล้ว ร่า

เริง สลดใจ ยังไม่ทันถึงประตู ก็บูชาพระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐสุด ข้าพเจ้าทำดอกอุบลบานเต็มที่ ๗ ดอก

เป็นที่กันแดดในอัมพร ดอกอุบลเหล่านั้นกันแดดอยู่

เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตร่าเริง

ดีใจ ปลื้มใจ ประคองอัญชลี ทำจิตให้เลื่อมใสใน

กาลนั้น ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เหมือนศีรษะของ

ข้าพเจ้า เขากั้นเศวตฉัตรขนาดใหญ่ กลิ่นทิพย์หอม

ฟุ้งไป นี้เป็นผลแห่งดอกอุบล ๗ ดอก บางครั้งเมื่อ

หมู่ญาตินำข้าพเจ้าไป ครั้งนั้นเศวตฉัตรขนาดใหญ่ก็

กันแดดไว้ตลอดไปถึงบริษัทของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้

เป็นมเหสีของเทวราช ๗๐ องค์ เป็นอิสระในที่ทั้ง

ปวง ท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่ ได้เป็นมเหสีของ

พระเจ้าจักรพรรดิ ๖๓ องค์ ชนทั้งปวงประพฤติตาม

ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีวาจาน่าเชื่อถือ ผิวพรรณของข้าพ-

เจ้าเหมือนดอกอุบล และกลิ่นหอมฟุ้งไป ข้าพเจ้าไม่

รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้า

ฉลาดในอิทธิบาท ยินดีในการเจริญโพชฌงค์ บรรลุ

อภิญญาบารมี นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

ข้าพเจ้าฉลาดในสติปัฎฐาน มีสมาธิฌานเป็นโคจร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 72

ขวนขวายสัมมัปปธาน นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธ

เจ้า ความเพียรของข้าพเจ้านำเอาธุระน้อยใหญ่ไป

นำเอาธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมาให้ ข้าพเจ้ามี

อาสวะทั้งปวงหมดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ในกัป

ที่ ๓๑ แค้ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าเอาดอกไม้บูชา จึงไม่รู้จัก

ทุคติ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเผา

กิเลสแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามคำสอนของ

พระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระอภยาเถรีได้เปลี่ยนคาถาเหล่านั้นแหละกล่าว

เป็นอุทาน.

บรรดาบทเหล่านั้น พระอภยาเถรีเรียกตนเองด้วยบทว่า อภเย.

บทว่า ภิทุโร แปลว่า มีสภาพแตกทำลาย ความว่า ไม่เที่ยง. บทว่า

ยตฺถ สตฺตา ปุถุชฺชนา ความว่า อันธปุถุชนเหล่านี้ ข้อง ติด คือติดอยู่

แล้วในกายใด ที่มีเวลาแตกทำลายเป็นปกติ เพราะสภาวะไม่สะอาด มีกลิ่น

เหม็น น่าเกลียด และปฏิกูล. บทว่า นิกฺขิปิสฺสามิม เทห ความว่า

เราไม่เพ่งเล็งเพราะไม่ยึดถืออีก จักซัด คือจักทิ้งร่างกาย คือกายที่เปื่อยเน่านี้.

ในคาถานั้น ท่านกล่าวเหตุ ด้วยบทว่า สมฺปชนา ปติสฺสตา.

บทว่า พหูหิ ทุกฺขธมฺเมหิ อธิบายว่า อันความทุกข์ไม่น้อยมีชาติ

และชราเป็นต้นถูกต้องแล้ว. บทว่า อปฺปมาทรตาย ความว่า ยินดีแล้วใน

ความไม่ประมาท กล่าวคือความไม่อยู่ปราศจากสติ เพราะได้ความสลดใจ

ด้วยความเป็นผู้หยั่งลงสู่ทุกข์นั้นนั่นเอง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

ในคาถานี้มีปาฐะโดยทำนองที่พระศาสดาตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 73

ท่านพึงยินดีในความไม่ประมาท จงทอดทิ้ง

กายนี้ จงถึงความสิ้นตัณหา จงปฏิบัติคำสอนของ

พระพุทธเจ้า.

ก็คาถานี้ พระสังคีติกาจารย์ยกขึ้นสู่สังคีติตามทำนองที่พระเถรีกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า อปฺปมาทรตาย เต ความว่า ท่านพึงเป็นผู้ยินดีแล้วในความไม่

ประมาท.

จบ อรรถกถาอภยาเถรีคาถา

๑๐. สามาเถรีคาถา

[๔๒๙] เราทำใจให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่

ได้ความสงบใจ ต้องเข้าออกจากวิหาร ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง

เรานั้นถอนตัณหาขึ้นแล้วในวันที่ ๘ จากวันที่ได้รับ

โอวาทของพระอานนทเถระ เราอันความทุกข์เป็น

อันมากถูกต้องแล้ว ยินดีแล้วในความไม่ประมาท

บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว ได้ปฏิบัติคำสอนของพระ

พุทธเจ้าแล้ว.

จบ สามาเถรีคาถา

จบทุกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 74

๑๐. อรรถกถาสามาเถรีคาถา

คาถาว่า จตุกฺขตฺตุ ปญฺจกฺขตฺตุ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรี

ชื่อสามา.

แม้พระเถรีชื่อสามานี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ท่องเที่ยว

อยู่ในในสุคติทั้งหลายนั่นแล ในพุทธุปปาทกาลนี้ เกิดในตระกูลคฤหบดี

มหาศาลในกรุงโกสัมพี มีชื่อว่า สามา. นางสามานั้นรู้ความแล้ว เป็นสหาย

รักของอุบาสิกาสามาวดี เมื่ออุบาสิกาสามาวดีตาย เกิดความสังเวช บวช

ครั้นบวชแล้วไม่อาจบรรเทาความโศกที่เกิดขึ้นเพราะนึกถึงอุบาสิกาสามาวดี จึง

ไม่อาจยึดเอาอริยมรรคไว้ได้. กาลต่อมา นางได้ฟังโอวาทของพระอานนทเถระ

ผู้นั่งอยู่บนอาสนศาลา เริ่มตั้งวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัม-

ภิทาทั้งหลาย ในวันที่ ๗ แต่วันนั้น. ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณา

การปฏิบัติของตน เมื่อประกาศการปฏิบัตินั้น ได้กล่าวคาถาสองคาถาเป็นอุทาน

ว่า

เราทำใจให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้ความ

สงบใจต้องเข้าออกจากวิหาร ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง เรานั้น

ถอนตัณหาขึ้นแล้วในวันที่ ๘ จากวันที่ได้รับโอวาท

ของพระอานนทเถระ เราอันความทุกข์เป็นอันมากถูก

ต้องแล้ว ยินดีแล้วในความไม่ประมาท บรรลุความ

สิ้นตัณหาแล้ว ได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 75

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุกฺขตฺตุ ปญฺจกฺขตฺตุ วิหารา

อุปนิกฺขมึ ความว่า เรานั่งมนสิการวิปัสสนาอยู่ในวิหารอันเป็นที่อยู่ของเรา

ไม่อาจทำสมณกิจให้ถึงที่สุดได้ จึงคิดว่า วิปัสสนาของเราสืบต่อกับมรรค

ไม่ได้เพราะไม่มีฤดูเป็นที่สบายหรือหนอ ได้ออกนอกวิหารซึ่งเป็นที่พักพิง ๔

ครั้ง ๕ ครั้ง รวมเป็น ๙ ครั้ง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อลทฺธา

เจตโส สนฺตึ จิตฺเต อวสวตฺตินี ดังนี้. บทว่า เจตโส สนฺตึ ใน

คาถานั้น ท่านกล่าวหมายอริยมรรคสมาธิ. บทว่า จิตฺเต อวสวตฺตินี ความ

ว่า ทำภาวนาจิตของเราให้เป็นไปในอำนาจไม่ได้ เพราะไม่มีความเพียรสม่ำ

เสมอ. ได้ยินว่า พระเถรีนั้น ประคับประคองความเพียรมากเกินไป. บทว่า

ตสฺสา เม อฏฺมี รตฺติ ความว่า พระเถรีไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนทั้ง

กลางวัน เจริญวิปัสสนาตั้งแต่ได้รับโอวาทในสำนักของพระอานนทเถระ ออก

จากวิหารคืนหนึ่ง ๔-๕ ครั้ง ยังมนสิการให้เป็นไป ไม่บรรลุคุณวิเศษ ใน

ราตรีที่ ๘ ได้ความเพียรสม่ำเสมอ ทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไปตามลำดับมรรค

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ตสฺสา เม อฏฺมี รตฺติ ยโต ตณฺหา

สมูหตา ดังนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาสามาเถรีคาถา

จบอรรถกถาทุกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 76

เถรีคาถา ติกนิบาต

ว่าด้วยคาถาต่าง ๆ ในติกนิบาต

๑. อัญญตราสามาเถรีคาถา

[๔๓๐] ตั้งแต่ข้าพเจ้าบวชมาแล้ว ๒๕ พรรษา ข้า-

พเจ้าไม่รู้สึกกว่าได้ความสงบจิตในกาลไหน ๆ เลย ข้า-

พเจ้าทำใจให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้ควานสงบใจ

ต่อจากนั้น ข้าพเจ้า ระลึกถึงคำสอนของพระชินเจ้าจึง

ได้ถึงความสังเวช ข้าพเจ้าอันความทุกข์เป็นอันมาก

ถูกต้องแล้ว ยินดีแล้วในความไม่ประมาท บรรลุ

ความสิ้นตัณหาแล้ว ได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธ

เจ้าแล้ว วันนี้เป็นราตรีที่ ๗ นับแต่วันที่ข้าพเจ้าทำ

ตัณหาให้แห้งสนิทแล้ว.

จบ อัญญตราสามาเถรีคาถา

อรรถกถาติกนิบาต

๑. อรรถกถาอปราสามาเถรีคาถา

ในติกนิบาตมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คาถาว่า ปณฺณวีสติ วสฺสานิ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อ

สามาอีกองค์หนึ่ง

แม้พระเถรีชื่อสามาอีกองค์หนึ่งนี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระ

พุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เกิดในกำเนิดกินนร ที่ฝั่งแม่

๑. อรรถกถา เป็น อปราสามาเถรีคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 77

น้ำจันทภาคา กินรีนั้นเที่ยวขวนขวายในการเล่นเพลินอยู่กับเหล่ากินนรในที่

นั้น อยู่มาวันหนึ่งพระศาสดาเสด็จไปในที่นั้นเพื่อทรงปลูกพืชคือกุศลแก่กินรี

แม้นั้น เสด็จจงกรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ กินรีนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ร่าเริง

ยินดี ถือเอาดอกไม้ช้างน้าวไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วบูชาพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าด้วยดอกไม้เหล่านั้น ด้วยบุญกรรมนั้นกินรีนั้นท่องเที่ยวอยู่โนเทวโลก

และมนุษยโลก ในพุทธุปปาทกาลนี้ เกิดในเรือนตระกูลในกรุงโกสัมพี เจริญ

วัยแล้วเป็นสหายของนางสามาวดี เวลานางสามาวดีนั้นตาย เกิดความสังเวช

บวช ๒๕ พรรษายังไม่ได้สมาธิจิต ในเวลาแก้ได้โอวาทของพระสุคตแล้ว

เจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะเหตุ

นั้นท่านจึงกล่าวได้ในอปทานว่า

ข้าพเจ้าเป็นกินรีอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ครั้ง

นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระนราสภ ผู้เป็นเทพของทวยเทพ

กำลังเสด็จจงกรมอยู่ จึงได้เลือกเก็บดอกไม้ช้างน้าวมา

ถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระมหาวีรสัม-

พุทธเจ้าพระนามวิปัสสีผู้เป็นนายกของโลก ทรงรับ

ดอกไม้ช้างน้าวซึ่งมีกลิ่นเหมือนทิพย์ทรงดมแล้ว พระ

มหาวีระ ทรงดม เมื่อข้าพเจ้ากำลังเพ่งดูอยู่ในกาลนั้น

ข้าพเจ้าประคองอัญชลี ถวายบังคมพระพุทธองค์ผู้สูง

สุดกว่าสัตว์สองเท้า ทำจิตองตนให้เลื่อมใส ต่อนั้น

ก็เดินขึ้นภูเขาไป ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้า

ได้ถวายดอกไม่ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายดอกไม้

นั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระ

พุทธเจ้า.

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๕๒ สลฬปุปผิกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 78

ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติ

คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้วพิจารณาการปฏิบัติของตน ได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็น

อุทานว่า

ตั้งแต่ข้าพเจ้าบวชมาแล้ว ๒๕ พรรษา ข้าพ-

เจ้าไม่รู้สึกว่าได้ความสงบจิตในกาลไหน ๆ เลย ข้าพ-

เจ้าทำใจให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้ความสงบใจ

ต่อจากนั้น ข้าพเจ้าระลึกถึงคำสอนของพระชินเจ้า

ได้ จึงถึงความสังเวช ข้าพเจ้าอันความทุกข์เป็นอัน

มากถูกต้องแล้ว ยินดีแล้วในความไม่ประมาท บรรลุ

ความสิ้นตัณหาแล้ว ได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธ

เจ้าแล้ว วันนี้เป็นราตรีที่ ๗ นับแต่วันที่ข้าพเจ้าทำ

ตัณหาให้แห้งสนิทแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตสฺส สม ได้แก่ความเข้าไปสงบแห่ง

จิต ความว่า มรรคสมาธิและผลสมาธิที่เกิดแต่ความสงบใจ. บทว่า ตโต ได้

แก่ จากความเป็นผู้ไม่สามารถยังอำนาจจิตให้เป็นไป. บทว่า สเวคมาปาทึ

ความว่า แม้เมื่อพระศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่ ยังไม่อาจทำกิจของบรรพชิต

ให้ถึงที่สุดได้ ภายหลังจักให้ถึงได้อย่างไร ข้าพเจ้าถึงความสังเวช คือความ

สะดุ้งเพราะญาณ ดังว่ามานี้. บทว่า สริตฺวา ชินสาสน ได้แก่ระลึกถึง

โอวาทของพระศาสดามีอุปมาด้วยเต่าตาบอดเป็นต้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว

แล้วแล.

จบ อรรถกถาอปราสามาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 79

๒. อุตตมาเถรีคาถา

[๔๓๑] ข้าพเจ้าทำใจให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้

ความสงบใจ ต้องเข้าออกจากวิหาร ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง

ข้าพเจ้าได้เข้าไปหาภิกษุ ผู้มีวาจาที่ข้าพเจ้าพึงเชื่อถือ

ได้ ภิกษุณีนั้นได้แสดงธรรม คือขันธ์ อายตนะ และ

ธาตุ แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังธรรมของภิกษุณีนั้น ได้

ปฏิบัติตามที่ท่านพร่ำสอนข้าพเจ้า เป็นผู้เอิบอิ่มด้วย

ปีติสุข นั่งโดยบัลลังก์เดียวตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๘

ข้าพเจ้าทำลายกองแห่งความมืดแล้ว จึงเหยียดเท้าออก.

จบ อุตตมาเถรีคาถา

๒. อรรถกถาอุตตมาเถรีคาถา

คาถาว่า จตุกฺขตฺตุ ปญฺจกฺขตตุ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรี

ชื่ออุตตมา.

แม้พระเถรีชื่ออุตตมาองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เกิดเป็นฆรทาสีในเรือนตระกูลของ

กุฎุมพีคนหนึ่ง ในพระนครพันธุมดี นางเจริญวัยแล้ว ทำงานขวนขวายช่วย

เหลือตายายของตนเลี้ยงชีพ สมัยนั้น พระเจ้าพันธุมราชทรงรักษาอุโบสถในวัน

เพ็ญ เวลาก่อนอาหารทรงให้ทาน เวลาหลังอาหารเสด็จไปฟังธรรม ครั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 80

มหาชนประพฤติสมาทานองค์อุโบสถในวันเพ็ญ เหมือนพระราชาทรงปฏิบัติ

ทีเดียว. คราวนั้น ทาสีนั้นได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้ ทั้งมหาราชและมหาชน

ประพฤติสมาทานองค์อุโบสถ อย่ากระนั้นเลย เราพึงประพฤติสมาทานองค์

อุโบสถในวันอุโบสถทั้งหลาย ทาสีนั้นกระทำอยู่อย่างนั้น รักษาอุโบสถศีล

บริสุทธิ์ดี บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่องเที่ยวไป ๆ มาๆ อยู่ในสุคติทั้ง

หลายนั่นแล ในพุทธุปปาทกาลนี้ เกิดในตระกูลเศรษฐี กรุงสาวัตถี รู้ความ

แล้ว ได้ฟังธรรมในสำนักของพระเถรีปฏาจารา เริ่มเจริญวิปัสสนา ไม่อาจ

ให้วิปัสสนานั้นถึงที่สุดได้ พระปฏาจาราเถรีทราบอาจาระจิตของเธอ จึงได้ให้

โอวาทเธอตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถรีนั้น ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิ-

สัมภิทาทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในพระนครพันธุมดี มีกษัตริย์พระนามว่า

พันธุมะ ในวันเพ็ญท้าวเธอทรงรักษาอุโบสถศีล สมัย

นั้น ข้าพเจ้าเป็นกุมภทาสีอยู่ในพระนครนั้น ในกาล

นั้น เห็นเสนาพร้อมด้วยพระราชา จึงคิดอย่างนี้ว่า

แม้พระราชาก็ยังทรงละราชสมบัติมารักษาอุโบสถศีล

กรรมนั้นต้องมีผลแน่ หมู่ชนจึงเบิกบานใจ ข้าพเจ้า

พิจารณาทุคติและความเป็นคนยากจน โดยแยบคาย

ทำใจให้ร่าเริงแล้วรักษาอุโบสถศีล ข้าพเจ้ารักษา

อุโบสถศีลในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะ

ธรรมที่ทำไว้ดีนั้น ข้าพเจ้าได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

วิมานที่บุญกรรมสร้างให้ข้าพเจ้าอย่างสวยงามในดาว

ดึงส์นั้น สูงขึ้นไปเบื้องบนโยชน์หนึ่ง ประกอบด้วย

เรือนยอดอันประเสริฐ มีที่นั่งใหญ่ประดับไว้อย่างดี

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๕๑ เอกโปสถิกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 81

อัปสรแสนนางต่างบำรุงบำเรอข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ

ข้าพเจ้ารุ่งโรจน์เกินเทพเหล่าอื่นในกาลทั้งปวง ได้เป็น

มเหสีของเทวราช ๖๔ องค์ ได้เป็นมเหสีของพระเจ้า-

จักรพรรดิ ๖๓ องค์ ข้าพเจ้ามีวรรณะดังวรรณะแห่ง

ทอง ท่องเที่ยวไปในภพทั้งหลาย เป็นผู้ประเสริฐใน

ที่ทั้งปวง นี้เป็นผลแห่งอุโบสลศีล. ข้าพเจ้าได้ยานช้าง

ยานม้า ยานรถ และวอทั้งปวงนี้ นี้เป็นผลแห่ง

อุโบสถศีล. ภาชนะทอง เงิน แก้วผลึกและปัทมราค

ข้าพเจ้าได้ทุกอย่าง ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้

ผ้าฝ้าย และผ้าที่มีราคามาก ข้าพเจ้าได้ทุกอย่าง ข้าว

น้ำ ของเคี้ยว ผ้าและเสนาสนะ ข้าพเจ้าได้ทุกอย่าง

นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล. ของหอมอย่างดี ดอกไม้ จุรณ

เครื่องลูบไล้ ข้าพเจ้าได้ทุกอย่าง นี้เป็นผลแห่งอุโบสถ-

ศีล. เรือนยอด ปราสาท มณฑป เรือนโล้นและถ้ำ

ข้าพเจ้าได้ทุกอย่าง นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล. ข้าพเจ้า

เกิดได้ ๗ ปีก็บวชเป็นบรรพชิต บวชไม่ถึงครึ่งเดือน

ก็ได้บรรลุพระอรหัต ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ถอนภพ

ทั้งหมดขึ้นแล้ว อาสวะทุกอย่างหมดสิ้นแล้ว บัดนี้

ภพใหม่มิได้มี ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าทำ

กรรมใดไว้ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จัก

ทุคติ นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล. ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว

ฯลฯ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 82

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของตน ได้กล่าวคาถาเหล่านี้

เป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าทำใจให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้

ความสงบใจ ต้องเข้าออกจากวิหาร ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง

ข้าพเจ้าได้เข้าไปหาภิกษุณีผู้มีวาจาที่ข้าพเจ้าพึงเชื่อถือ

ได้ ภิกษุณีนั้นได้แสดงธรรม คือ ขันธ์ อายตนะและ

ธาตุแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังธรรมของภิกษุณีนั้น ได้

ปฏิบัติตามที่ท่านพร่ำสอน ข้าพเจ้าเป็นผู้เอิบอิ่มด้วย

ปีติสุข นั่งโดยบัลลังก์เดียวตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๘

ข้าพเจ้าทำลายกองแห่งความมืดแล้ว จึงเหยียดเท้าออก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สา ภิกฺขุนึ อุปาคจฺฉึ ยา เม

สทฺธายิกา อหุ ความว่า ภิกษุณีใดเป็นผู้อันข้าพเจ้าพึงเชื่อ คือมีวาจาน่า

เชื่อ ข้าพเจ้านั้นเข้าไปใกล้ คือเข้าไปหาภิกษุณีนั้น ท่านกล่าวหมายถึงพระ

ปฏาจาราเถรี ปาฐะว่า สา ภิกฺขุนี อุปคจฺฉิ ยา เม สาธยิกา ดังนี้ก็มี

บ้าง ความว่า ภิกษุณีใดทำประโยชน์ของตนให้สำเร็จแก่ข้าพเจ้า ภิกษุณีนั้น

คือ พระปฏาจาราเถรีได้เข้าไปหาข้าพเจ้าเพื่ออนุเคราะห์. บทว่า สา เม

ธมฺมมเทเสสิ ขนฺธายตนธาตุโย ความว่า พระปฏาจาราเถรีนั้นเมื่อแสดง

จำแนกขันธ์เป็นต้นว่า เหล่านี้ขันธ์ ๕ เหล่านี้อายตนะ ๑๒ เหล่านี้ธาตุ ๑๘

ได้แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า.

บทว่า ตสฺสา ธมฺม สุณิตฺวาน ความว่า ฟังธรรมเรื่องวิปัสสนา

อันละเอียดสุขุม ที่แสดงให้ถึงอริยมรรคมีการจำแนกขันธ์เป็นต้น เป็นเบื้อง

ต้น ในสำนักของพระเถรีผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น. บทว่า ยถา ม อนุสาสิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 83

สา ความว่า ตามที่พระเถรีนั้นพร่ำสอนคือกล่าวสอนข้าพเจ้า เมื่อปฏิบัติ

อย่างนั้น ข้าพเจ้าได้ยังการปฏิบัติให้ถึงที่สุด นั่งโดยบัลลังก์เดียวตลอด ๗ วัน.

นามว่าอย่างไร. ตอบว่า บทว่า ปีติสุขสมปฺปิตา ได้แก่ เป็นผู้พร้อม

เพรียงด้วยปีติสุขซึ่งสำเร็จด้วยฌาน. บทว่า อฏฺมิยา ปาเท ปสาเรสึ

ตโมกฺขนฺธ ปทาลย ความว่า ทำลายกองโมหะไม่ให้เหลือด้วยอรหัตมรรค

ทำลายบัลลังก์เหยียดเท้าออกแล้วในวันที่ ๘, ก็การเปล่งอุทานนี้แหละ เป็นการ

พยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถรีนั้น.

จบ อรรถกถาอุตตมาเถรีคาถา

๓. อัญญตราอุตตมาเถรีคาถา

[๔๓๒] โพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ เป็นบรรดา

แห่งการบรรลุพระนิพพาน ข้าพเจ้าเจริญแล้วทั้งหมด

ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ข้าพเจ้าได้สุญญตสมา-

บัติและอนิมิตตสมาบัติ ตามปรารถนา ข้าพเจ้าเป็น

ธิดาเกิดแต่พระอุระของพระพุทธเจ้า ยินดียิ่งแล้วใน

พระนิพพานทุกเมื่อ กามทั้งปวงทั้งเป็นของทิพย์และ

ของมนุษย์ ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว ชาติสงสารขาดสิ้น

แล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี.

จบ อัญญตราอุตตมาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 84

๓. อรรถกถาอัญญตราอุตตมาเถรีคาถา

คาถาว่า เย อิเม สตฺต โพชฺฌงฺคา เป็นต้น เป็นคาถาของพระ-

เถรีชื่ออุตตมาอีกองค์หนึ่ง.

แม้พระเถรีชื่ออุตตมาองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนานว่าวิปัสสี บังเกิดเป็นกุลทาสี ในพระนคร

พันธุมดี วันหนึ่งกุลทาสีนั้นเห็นพระเถระขีณาสพองค์หนึ่ง ผู้เป็นสาวกของ

พระศาสดาเที่ยวบิณฑบาตอยู่ มีใจเลื่อมใสได้ถวายขนมต้ม ๓ ชิ้น ด้วยบุญ

กรรมนั้น นางท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปปาทกาลนี้

เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลตระกูลหนึ่งในโกศลชนบท รู้ความแล้วฟัง

ธรรมในสำนักของพระศาสดาผู้เสด็จจาริกไปในชนบท ได้ศรัทธา บวชไม่

นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ข้าพเจ้าเป็น กุมภทาสี อยู่ในพระนคร พันธุมดี

ข้าพเจ้าถือเอาขนมต้มส่วนของข้าพเจ้าไปที่ท่าน้ำ ได้

พบสมณะผู้มีจิตสงบ มีใจเป็นสมาธิที่หนทาง มีจิต

เลื่อมใส ดีใจ ได้ถวายขนมต้ม ๓ ชิ้น เพราะกรรม

ที่ทำไว้ดีนั้น และด้วยความตั้งใจแน่วแน่ ข้าพเจ้าไม่

ได้ไปสู่วินิบาตเลยตลอดเวลา ๒๙ กัป ข้าพเจ้าทำ

สมบัติแล้วได้เสวยสมบัตินั้นทุกอย่าง ข้าพเจ้าถวาย

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๕๓ โมทกทายิกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 85

ขนมต้ม ๓ ชิ้นแล้วได้บรรลุอจลบท ข้าพเจ้าเผากิเลส

แล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้า

แล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของตน ได้กล่าวคาถาเหล่านี้

เป็นอุทานว่า

โพฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้เป็นบรรดาแห่งการ

บรรลุพระนิพพาน ข้าพเจ้าเจริญแล้วทั้งหมด ตามที่

พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ข้าพเจ้าได้สุญญตสมาบัติ

และอนิมิตตสมาบัติตามปรารถนา ข้าพเจ้าเป็นธิดา

เกิดแต่พระอุระของพระพุทธเจ้า ยินดียิ่งแล้วในพระ-

นิพพานทุกเมื่อ กามทั้งปวงทั้งเป็นของทิพย์และของ

มนุษย์ ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว ชาติสงสารขาดสิ้นแล้ว

บัดนี้ภพใหม่มิได้มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุญฺตสฺสานิมิตฺตสฺส ลาภินีห

ยทิจฺฉก ความว่า ข้าพเจ้าได้สุญญตสมาบัติและอนิมิตตสมาบัติ ดังที่ปรารถนา

อธิบายในข้อนั้นว่า ข้าพเจ้าปรารถนาจะเข้าสมาบัติใด ๆ ในที่ใด ๆ ข้าพเจ้า

ย่อมเข้าสมาบัตินั้น ๆ ในที่นั้น ๆ ในกาลนั้น ๆ อยู่ แม้ถึงจะเกิดผลทั้งสามมี

สุญญตะเป็นต้นของมรรคใดมรรคหนึ่งที่มีชื่อว่าสุญญตะและอัปปณิหิตะเป็นต้น

ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระเถรีองค์นี้ก็เข้าสุญญตสมาบัติและอนิมิตตสมาบัติเท่านั้น

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สุญฺตสฺสานิมิตฺตสฺส ลาภินีห ยทิจฺฉก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 86

ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง คำนี้ท่านกล่าวตามที่เป็นไปโดยมาก อาจารย์บางท่าน

กล่าวว่า นั่นเป็นเพียงชี้แจง.

บทว่า เย ทิพฺพา เย จ มานุสา ความว่า วัตถุกามทั้งที่นับ

เนื่องในเทวโลกทั้งที่นับเนื่องในมนุษยโลกเหล่านั้นทั้งหมด ข้าพเจ้าตัดขาด

โดยชอบทีเดียว ด้วยการละฉันทราคะที่เกี่ยวเกาะวัตถุกามนั้น คือทำให้ไม่

ควรบริโภค ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุขีณาสพไม่ควรบริโภคกาม

ทั้งหลาย เหมือนเมื่อเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว.

จบ อรรถกถาอัญญตราอุตตมาเถรีคาถา

๔. ทันติกาเถรีคาถา

[๔๓๓] ข้าพเจ้าออกจากที่พักกลางวันบนภูเขา

คิชกูฌฏ ได้เห็นช้างลงสู่แม่น้ำแล้วขึ้นจากแม่น้ำที่ฝั่ง

นที นายหัตถาจารย์ถือขอให้สัญญาว่า จงให้เท้า ช้าง

ได้เหยียดเท้าออก นายหัตถาจารย์ก็ขึ้นช้าง ข้าพเจ้า

เห็นช้างที่ไม่เคยได้รับการฝึก เมื่อได้รับการฝึกแล้วก็

อยู่ในอำนาจของพวกมนุษย์ หลังจากเห็นช้างนั้น

ข้าพเจ้าเข้าป่าทำจิตให้เป็นสมาธิ เพราะกิริยาของ

ช้างนั้นเป็นเหตุ.

จบ ทันติกาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 87

๔. อรรถกถาทันติกาเถรีคาถา

คาถาว่า ทิวาวิหารา นิกฺขมฺม เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรี

ชื่อทันติกา.

แม้พระเถรีชื่อทันติกาองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ เกิดใน

กำเนิดกินนรที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ในเวลาที่ว่างพระพุทธเจ้า วันหนึ่งกินรี

นั้นเที่ยวเล่นกับเหล่ากินนร ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งนั่งอยู่ที่โคนไม้

แห่งหนึ่ง พอเห็นก็มีใจเลื่อมใส เข้าไปหาบูชาด้วยดอกสาละ ไหว้แล้วหลีกไป

ด้วยบุญกรรมนั้น เธอท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปปาท-

กาลนี้ เกิดในเรือนพราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าโกศล กรุงสาวัตถี

รู้ความแล้วเป็นอุบาสิกาได้ศรัทธาในกาลรับพระเชตวัน ภายหลังบวชในสำนัก

ของพระมหาปชาบดีโคตมี อยู่ในกรุงราชคฤห์ วันหนึ่งฉันอาหารแล้วขึ้นเขา

คิชฌกูฏ นั่งพักกลางวันเห็นช้างเหยียดเท้าเพื่อให้คนขี่ช้างขึ้น ทำเรื่องนั้นแหละ

ให้เป็นอารมณ์ เจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้ง

หลาย เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ข้าพเจ้าเป็นกินรีอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ใน

กาลนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้าผู้ปราศจาก

ธุลี ผู้อันใคร ๆ ให้แพ้ไม่ได้ ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส

ดีใจ ปลื้มใจ กระทำอัญชลี ถือเอาดอกสาละบูชาพระ

สยัมภู ด้วยธรรมที่ทำดีนั้น และด้วยความตั้งใจมั่น

ข้าพเจ้าละร่างกินรี ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ข้าพเจ้า

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๕๖ นฬมาลิการตรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 88

ได้เป็นมเหสีของเทวราช ๓๖ องค์ สิ่งที่ใจปรารถนา

บังเกิดแก่ข้าพเจ้าตามที่ปรารถนา ข้าพเจ้าได้เป็น

มเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐ องค์ ข้าพเจ้าเป็นผู้

สร้างสรรค์ตนเองท่องเที่ยวไปในภพทั้งหลาย ข้าพ-

เจ้ามีบุญกุศลได้บวชเป็นบรรพชิต วันนี้ข้าพเจ้าเป็น

ปูชารหบุคคลในศาสนาของพระศากยบุตร วันนี้ข้าพ-

เจ้ามีใจบริสุทธิ์ ปราศจากใจชั่วช้า มีอาสวะทั้งปวง

หมดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทร-

กัปนี้ ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธะใด ด้วยพุทธบูชา

นั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วย

ดอกสาละ ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าได้

ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของตน เกิดปีติโสมนัส ได้

กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าออกจากที่พักกลางวันบนภูเขาคิชฌกูฏ

ได้เห็นช้างลงสู่แม่น้ำแล้วขึ้นจากแม่น้ำ ที่ฝั่งนที นาย

หัตถาจารย์ถือขอให้สัญญาว่า จงให้เท้า ช้างได้เหยียด

เท้าออก นายหัตถาจารย์ก็ขึ้นช้าง ข้าพเจ้าเห็นช้างที่

ไม่เคยได้รับการฝึก เมื่อได้รับการฝึกแล้ว ก็อยู่ใน

อำนาจของพวกมนุษย์ หลังจากเห็นช้างนั้น ข้าพเจ้า

เข้าป่าทำจิตให้เป็นสมาธิ เพราะกิริยาของช้างนั้น

เป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 89

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาค โอคาหมุตฺติณฺณ ความว่า

ช้างทำการลงคือลงในแน่น้ำแล้วขึ้นจากแม่น้ำนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า

โอคยฺห อุตฺติณฺณ ลงแล้วขึ้น ดังนี้ ม อักษรทำหน้าที่เชื่อมบท. บทว่า

นทีตีรมฺหิ อทฺทส ความว่า ได้เห็นที่ฝั่งแห่งแม่น้ำจันทภาคา.

บทว่า ปุริโส เป็นต้นที่กล่าวเพื่อแสดงความนี้ว่า ทำอะไร.

บาทคาถาว่า เทหิ ปาทนฺติ ยาจติ ในคาถานั้น ความร่า ให้สัญญาเหยียด

เท้าเพื่อขึ้นหลัง ว่าจงให้เท้า ก็ผู้ให้สัญญาตามที่ฝึกกัน ไว้ ท่านกล่าวในที่นี้ว่า

ยาจติ.

บทว่า ทิสฺวา อทนฺต ทมิต ความว่า ตามปกติช้างที่ไม่เคยฝึก

มาก่อน บัดนี้ได้รับการฝึกที่นายหัตถาจารย์ฝึกด้วยการศึกษาสำหรับช้าง

ประกอบความว่า ฝึกเช่นไรจึงอยู่ในอำนาจของมนุษย์ทั้งหลาย เห็นช้างที่พวก

มนุษย์บังคับนั้น ๆ. บทว่า ขลุ ในบทว่า ตโต จิตฺต สมาเธสึ ขลุ

ตาย วน คตา เป็นนิบาตลงในอรรถห้ามความอื่น ความว่า หลังจากนั้น

คือจากที่เห็นช้าง ข้าพเจ้าไปยังวนะคือป่า ทำจิตให้เป็นสมาธิทีเดียว ด้วย

กิริยาของช้างนั้นเป็นเหตุอย่างไร ข้าพเจ้าคิดว่า ช้างแม้นี้ชื่อว่าเป็นดิรัจฉาน

ยังถึงการฝึกด้วยความสามารถของผู้ฝึกช้างได้ เหตุไรจิตของเราผู้เป็นมนุษย์

จึงจักไม่ถึงการฝึก ด้วยความสามารถของพระศาสดาผู้ฝึกคนเล่า ดังนี้ เกิด

ความสังเวชเจริญวิปัสสนา ทำจิตของข้าพเจ้าให้เป็นสมาธิด้วยอรหัตมรรคสมาธิ

คือทำกิเลสให้สิ้นไปโดยประการทั้งปวงด้วยสมาธิอันแน่วแน่.

จบ อรรถกถาทันติกาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 90

๕. อุพพิริเถรีคาถา

พระศาสดาตรัสถามว่า

[๔๓๔] แน่ะอุพพิริ เธอคร่ำครวญอยู่ในป่าว่าลูกชีวา

เอ๋ย เธอจงรู้จักตน ธิดาของเธอที่มีชื่อว่า ชีวา ทั้งหมด

มีประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน ถูกเผาอยู่ในป่าช้านี้ บรรดา

ธิดาเหล่านั้น เธอเศร้าโศกถึงธิดาคนไหน.

นางอุพพิริทูลว่า

ลูกศรคือความโศกที่เห็นได้ยาก เสียบอยู่แล้วใน

หทัยของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ถอนขึ้นได้แล้ว ข้า-

พระองค์บรรเทาความเศร้าโศกถึงธิดาของข้าพระองค์

ผู้ถูกความโศกครอบงำได้แล้ว วันนี้ข้าพระองค์ถอน

ลูกศรคือความโศกขึ้นแล้ว หมดความอยาก ดับรอบ

แล้ว ข้าพระองค์เข้าถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้าผู้เป็นนัก

ปราชญ์กับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ.

จบ อุพพิริเถรีคาถา

๕. อรรถกถาอุพพิริเถรีคาถา

คาถาว่า อมฺม ชีวา เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่ออุพพิริ.

แม้พระเถรีชื่ออุพพิรินี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 91

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เกิดในเรือนแห่งตระกูลในพระนคร-

หังสวดี รู้ความแล้ว วันหนึ่งเมื่อบิดามารดาไปเรือนอื่นเพื่อร่วมงานมงคล

ตนเองไม่มีเพื่อนถูกละไว้ในเรือน ในเวลาใกล้ภิกขาจารแล้ว เห็นพระเถระขี-

ณาสพองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เดินเข้ามาใกล้ประตูเรือน

ประสงค์จะถวายภิกษาจึงกล่าวว่า นิมนต์ท่านเข้ามาในที่นี้เจ้าข้า เมื่อพระเถระ

เข้าเรือนแล้ว ไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ได้ปูลาดอาสนะด้วยพรม

ที่ทำด้วยขนแกะเป็นต้นถวาย พระเถระนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ นางรับบาตรใส่

บิณฑบาตจนเต็มแล้ววางในมือพระเถระ พระเถระอนุโมทนาแล้วหลีกไป ด้วย

บุญกรรมนั้น นางเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสวยทิพย์สมบัติโอฬารในดาว-

ดึงส์นั้นจนตลอดอายุ จุติจากดาวดึงส์นั้นท่องเที่ยวอยู่ในสุคติภูมิทั้งหลายเท่า

นั้น ในพุทธุปปาทกาลนี้ เกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล กรุงสาวัตถี ได้นาม

ว่า อุพพิริ เป็นหญิงมีรูปงามน่าทัศนาน่าเลื่อมใส เมื่อเจริญวัยแล้ว นาง

ถูกนำไปสู่พระตำหนักส่วนพระองค์ของพระเจ้าโกศล ล่วงไป ๒-๓ ปี ได้ธิดา

คนหนึ่ง ญาติพี่น้องทั้งหลายไปตั้งชื่อธิดานั้นว่า ชีวา พระเจ้าโกศลทอด

พระเนตรเห็นธิดาของนาง ทรงมีพระทัยยินดี ได้พระราชทานอภิเษกด้วย

แผ่นดินมีพืชอุดม แต่ธิดาของนางได้ตายเสีย ในเวลาที่เที่ยววิ่งไปวิ่งมาได้

มารดาไปป่าช้าที่เขาเอาร่างของธิดาไปทิ้ง คร่ำครวญอยู่ทุกวัน.

วันหนึ่ง นางไปเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่หน่อยหนึ่ง ก็

ไปยืนที่ฝั่งแม่น้ำอจิรวดีคร่ำครวญถึงลูก พระศาสดาทรงเห็นดังนั้น ประทับนั่ง

ในพระคันธกุฏิอย่างเดิมนั่นเอง แสดงพระองค์ตรัสถามว่า เธอบ่นเพ้อเพราะ

เหตุไร นางกราบทูลว่า บ่นเพ้อถึงลูกสาวของข้าพระองค์พระเจ้าข้า พระศาสดา

ตรัสว่า ที่ป่าช้านี้เขาเผาลูกสาวของเธอประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน บรรดาลูกสาว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 92

เหล่านั้น เธอบ่นเพ้อถึงคนไหน ดังนี้แล้ว ทรงแสดงที่เผาศพของลูกสาว

เหล่านั้น ตรงนั้น ๆ แล้วตรัสพระคาถาครึ่งว่า

แน่ะอุพพิริ เธอคร่ำครวญอยู่ในป่าว่า ลูก

ชีวาเอ๋ย เธอจงรู้จักตน ธิดาของเธอที่มีชื่อว่าชีวา ทั้ง

หมดมีประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน ถูกเผาอยู่ในป่าช้านี้

บรรดาธิดาเหล่านั้น เธอเศร้าโศกถึงธิดาคนไหน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺม ชีวา เป็นคำเรียกธิดาตามชื่อ

ที่ใกล้เคียงมารดา อนึ่งคำนี้เป็นคำแสดงอาการบ่นเพ้อของนาง. บทว่า วนมฺหิ

กนฺทสิ แปลว่า คร่ำครวญอยู่กลางป่า. บทว่า อตฺตาน อธิคจฺฉ อุพฺพิริ

ความว่า แน่ะอุพพิริ เธอจงรู้จัก คือจงรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งตัวของเธอ

นั่นแหละก่อน. บทว่า จุลฺลาสีติสหสฺสานิ แปลว่า แปดหมื่นสี่พัน.

บทว่า สพฺพา ชีวสนามิกา ความว่า ธิดาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด มีชื่อ

เหมือนกันว่า ชีวา. บทว่า เอตมฺหาฬาหเน ทฑฺฒา แปลว่า เผาในป่า

ช้านี้. บทว่า ตาส กมนุโสจสิ ความว่า บรรดาธิดาประมาณ ๘๔,๐๐๐

คนที่มีชื่อว่าชีวาเหล่านั้นเธอเศร้าโศก คือถึงความเศร้าโศกถึงคนไหน เมื่อ

พระศาสดาทรงแสดงพระธรรมอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้แล้ว นางส่งญาณไป

ตามกระแสพระเทศนาปรารภวิปัสสนา ด้วยความไพเราะแห่งเทศนาของพระ-

ศาสดา และด้วยความสมบูรณ์แห่งเหตุของตน นางยืนอยู่อย่างนั้นแหละ

ขวนขวายวิปัสสนา ตั้งอยู่ในพระอรหัต ซึ่งเป็นผลเลิศตามลำดับมรรค

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวได้ในอปทานว่า

ในกาลนั้น ข้าพเจ้าเป็นช่างกรองดอกไม้อยู่ใน

พระนครหังสวดี บิดามารดาของข้าพเจ้าท่านไปทำงาน

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๕๔ เอกาสนทายิกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 93

ข้าพเจ้าได้เห็นพระสมณะกำลังเดินไปตามถนนในเวลา

เที่ยงวัน ข้าพเจ้าได้ปูลาดอาสนะไว้ ครั้นปูลาดอาสนะ

ด้วยผ้าที่ทำด้วยขนแกะอันวิจิตรเป็นต้นแล้วมีจิตเลื่อม

ใส ดีใจ ได้กล่าวคำนี้ว่า ภูมิภาคร้อนแรง แก่กล้า

เวลาเที่ยงวัน ลมก็ไม่พัด และเวลานี้ก็จวนจะเลยเวลา

แล้ว ข้าแต่พระมหามุนี อาสนะนี้ดิฉันปูลาดถวายแด่

ท่าน ขอท่านได้โปรดอนุเคราะห์นั่งบนอาสนะของ

ดิฉันเถิด พระสมณะผู้ฝึกตนดีแล้ว มีใจบริสุทธิ์ ได้

นั่งบนอาสนะนั้น ข้าพเจ้ารับบาตรของท่านแล้ว ได้

ถวายบิณฑบาตตามที่หุงต้มไว้ เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น

และเพราะความตั้งใจอย่างแน่วแน่ ข้าพเจ้าละร่าง

มนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วิมานที่บุญกรรม

สร้างไว้ให้ข้าพเจ้านั้นสวยงาม สูง ๖๐ โยชน์ กว้าง

๓๐ โยชน์ ได้สร้างขึ้นอย่างดีเพราะการถวายอาสนะ

บัลลังก์ของข้าพเจ้ามีหลายอย่าง ต่าง ๆ ชนิด สำเร็จ

ด้วยทองก็มี ด้วยแก้วมณีก็มี ด้วยแก้วผลึกก็มี ด้วย

แก้วปัทมราคก็มี บัลลังก์ของข้าพเจ้าปูลาดด้วยนวม

ก็มี ด้วยผ้าลาดอันวิจิตรด้วยรูปราชสีห์และเสือโคร่ง

เป็นต้นก็มี ด้วยผ้าลาดทอด้วยไหม ประดับแก้วอัน

วิจิตรก็มี ด้วยเครื่องลาดมีขนสัตว์ข้างบนด้านเดียวก็มี

เมื่อใดข้าพเจ้าต้องการจะเดินทาง เมื่อนั้นข้าพเจ้า

เพรียบพร้อมด้วยการรื่นเริงสนุกสนานไปยังที่ที่ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 94

ปรารถนา พร้อมด้วยบัลลังก์อันประเสริฐ ข้าพเจ้า

ได้เป็นมเหสีของเทวราช ๘๐ องค์ เป็นมเหสีของพระ

เจ้าจักรพรรดิ ๗๐ องค์ เมื่อข้าพเจ้ายังท่องเที่ยวอยู่ใน

ภพน้อยภพใหญ่ ได้โภคะมากมาย ข้าพเจ้าไม่บกพร่อง

โภคะเลย นี้เป็นผลแห่งอาสนะผืนเดียว ข้าพเจ้า

ท่องเที่ยวไปแต่ในสองภพ คือเทวโลกและมนุษยโลก

ภพอื่น ๆ ข้าพเจ้าไม่รู้จัก นี้เป็นผลแห่งอาสนะผืน

เดียว ข้าพเจ้าเกิดแต่ในสองตระกูล คือตระกูลกษัตริย์

และตระกูลพราหมณ์ ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลสูงทุก ๆ

ภพ นี้เป็นผลแห่งอาสนะผืนเดียว ความโทมนัสที่

ทำจิตของข้าพเจ้าให้เร่าร้อนข้าพเจ้าไม่รู้จัก ความเป็น

ผู้ไม่มีวรรณะ ข้าพเจ้าก็ไม่รู้จัก นี้เป็นผลแห่งอาสนะ

ผืนเดียว พี่เลี้ยงนางนมต่างก็บำรุงข้าพเจ้า หญิงค่อม

และเด็กรับใช้มีมาก ข้าพเจ้าจากคนหนึ่งไปยังอีกคน

หนึ่ง นี้เป็นผลแห่งอาสนะผืนเดียว พี่เลี้ยงนางนม

พวกหนึ่งให้ข้าพเจ้าอาบน้ำ พวกหนึ่งให้รับประทาน

ข้าว พวกหนึ่งประดับตกแต่งข้าพเจ้า พวกหนึ่งคอย

ทำให้ข้าพเจ้ายินดีทุกเมื่อ พวกหนึ่งไล้ทาของหอม

นี้เป็นผลแห่งอาสนะผืนเดียว เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในมณฑป

ก็ตาม ที่โคนไม้ก็ตาม ในเรือนว่างก็ตาม บัลลังก์ดัง

จะรู้ความดำริของข้าพเจ้า ย่อมปรากฏขึ้น นี้เป็น

อัตภาพสุดท้ายของข้าพเจ้า ภพหลังกำลังเป็นไป

แม้วันนี้ข้าพเจ้าก็ได้สละราชสมบัติบวชเป็นบรรพชิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 95

ในแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าได้ให้ทานใดในกาล

นั้น ด้วยทานนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่ง

อาสนะผืนเดียว ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ถอนภพทั้ง

หลายขึ้นหมดแล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพัน

เหมือนช้างพังตัดเชือก เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การมา

เฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐของข้าพเจ้า เป็นการมาดี

แล้วหนอ ข้าพเจ้าบรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ปฏิบัติคำ

สอนของพระพุทธเจ้าแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิ-

สัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าทำ

ให้แจ้งแล้ว ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้า

แล้ว.

ครั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว เมื่อประกาศคุณวิเศษที่ตนบรรลุ ได้กล่าวสอง

คาถาเหล่านี้ว่า

ลูกศรคือความโศกที่เห็นได้ยาก เสียบอยู่แล้ว

ในหทัยของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ถอนขึ้นได้แล้ว

ข้าพระองค์บรรเทาความเศร้าโศกถึงธิดาของข้าพระ-

องค์ผู้ถูกความโศกครอบงำได้แล้ว วันนี้ข้าพระองค์

ถอนลูกศรคือความโศกขึ้นแล้ว หมดความอยาก ดับ

รอบแล้ว ข้าพระองค์เข้าถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้าผู้เป็น

มักปราชญ์ กับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็น

สรณะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 96

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อพฺพุหิ วต เม สลฺล ทุทฺทส

ททยนิสฺสิต ความว่า ข้าพระองค์ได้ถอนขึ้นแล้วหนอ คือได้นำออกแล้ว

หนอ ซึ่งความโศกและความยาก ที่ได้ชื่อว่า สัลละ ลูกศร เพราะให้เกิด

ความเบียดเบียน เพราะถอนออกไปได้ยาก และเพราะแทงอยู่ในภายในที่เห็น

โดยแน่นอนได้ยาก เพราะมิได้สั่งสมกุศลสมภารไว้ ที่เสียบอยู่ในใจของของข้า-

พระองค์. บทว่า ย เม โสกปเรตาย ประกอบความว่า เพราะข้าพระองค์

ได้บรรเทา คือนำออกโดยไม่เหลือ ซึ่งความเศร้าโศกถึงธิดาของข้าพระองค์

ผู้ถูกความโศกครอบงำแล้ว ฉะนั้น ข้าพระองค์จึงถอนลูกศรคือความโศกที่

เสียบอยู่ในหทัยของข้าพระองค์ได้แล้ว.

บทว่า สาชฺช อพฺพูฬฺหสลฺลาห ความว่า วันนี้ ข้าพระองค์นั้น

ได้ถอนลูกศรคือความอยากขึ้นได้ โดยประการทั้งปวงแล้ว เพราะเหตุนั้นแหละ

จึงเป็นผู้หมดความอยาก ดับรอบแล้ว. บทว่า มุนึ ความว่า ข้าพระองค์

เข้าถึง คือเข้าไปใกล้ด้วย รู้ด้วย เสพด้วย ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้สัพพัญญูด้วย

ซึ่งโลกุตรธรรม ๙ อย่าง จำแนกเป็นมรรค ผล และนิพพาน ที่พระพุทธเจ้า

พระองค์นั้นทรงแสดงไว้ด้วย ซึ่งพระสงฆ์กล่าวคือหมู่พระอริยบุคคล ๘ ผู้

ดำรงอยู่ในโลกุตรธรรมนั้นด้วย ว่าเป็นสรณะ คือเป็นที่ต้านทาน เป็นที่

เร้น เป็นที่พึ่ง เพราะประกอบด้วยพระรัตนตรัยที่ยอดเยี่ยมเหล่านั้น และ

เพราะทำวัฏฏทุกข์ทั้งสิ้นให้พินาศ.

จบ อรรถกถาอุพพิริเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 97

๖. สุกกาเถรีคาถา

[๔๓๕] พวกมนุษย์ใน กรุงราชคฤห์เหล่านี้ทำ

อะไรกัน มัวดื่มน้ำผึ้งดีดนิ้วมืออยู่ ไม่เข้ไปหาพระ

สุกกาเถรี ผู้แสดงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ากันเลย

เหมือนชนเหล่าอื่นผู้มีปัญญา ย่อมดื่มคำสั่งสอนของ

พระพุทธเจ้านั้น ซึ่งเป็นธรรมไม่นำกลับหลัง เป็น

ธรรมทำผู้ฟังให้ชุ่มชื่น มีโอชะ เหมือนคนเดินทาง

ไกล ดื่มน้ำฝนฉะนั้น. พระสุกกาเถรีมีธรรมบริสุทธิ์

ปราศจากราคะ มีจิตตั้งมั่นชนะมารพร้อมทั้งพาหนะ

ทรงไว้ซึงร่างกายอันมีในที่สุด.

จบ สุกกาเถรีคาถา

๖. อรรถกถาสุกกาเถรีคาถา

คาถาว่า กึ เม กตา ราชคเห เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรี

ชื่อสุกกา.

แม้พระเถรีชื่อสุกกาองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เกิดในเรือนตระกูลในพระนครพันธุมดี

รู้ความแล้วไปวิหารกับอุบาสิกาทั้งหลาย ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 98

ได้ศรัทธาบวชแล้วได้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีปฏิภาณ เธอประพฤติพรหม-

จรรย์ในที่นั้นหลายพันปี ตายอย่างปุถุชนนั่นเอง บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต.

เธอรักษาศีลในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ พระองค์อย่างนี้

คือกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี แม้แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่าสิขี แม้แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเวสสภูก็เหมือนกัน ได้

เป็นพหูสูต ทรงธรรม เธอบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กกุสันธะ โกนาคมนะ และกัสสปะ ได้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ เป็นธรรมกถึก

เหมือนกัน.

เธอสั่งสมบุญเป็นอันมากในภพนั้น ๆ ด้วยประการฉะนี้ ท่องเที่ยวอยู่

ในสุคติภูมิทั้งหลายเท่านั้น ในพุทธุปปาทกาลนี้เกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล

กรุงราชคฤห์ ได้นามว่า สุกกา เธอรู้ความแล้วได้ศรัทธาเป็นอุบาสิกาใน

คราวพระศาสดาเสด็จเข้าพระราชนิเวศน์ ต่อมาได้ฟังธรรมในสำนักของพระ-

ธัมมทินนาเถรี เกิดความสังเวช บวชในสำนักของพระธัมมทินนาเถรีนั้นเอง

เจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายก

ของโลก พระนามว่าวิปัสสีมีพระเนตรงาม ทรงเห็นแจ้ง

ซึ่งธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ครั้งนั้นข้าพเจ้า

เกิดในตระกูลหนึ่งในพระนครพันธุมดีได้ฟังธรรมของ

พระมุนีแล้วบวชเป็นภิกษุณี เป็นพหูสูต ทรงธรรม

มีปฏิภาณ กล่าวธรรมกถาไพเราะ ปฏิบัติตามพระ-

พุทธศาสนา ครั้งนั้น ข้าพเจ้าแสดงธรรมกถา เพื่อ

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๗๕ สุกกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 99

ประโยชน์แก่ชุมชนทุกเมื่อ ข้าพเจ้าเคลื่อนจากอัต-

ภาพนั้นแล้ว เกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต เป็นเทพธิดามี

ยศ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารพระนาม

ว่าสุขี มีรัศมีดังไฟ งามสง่าอยู่ในโลกด้วยยศ ประ-

เสริฐกว่าเหล่าบัณฑิต เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว แม้ในครั้ง

นั้น ข้าพเจ้าบวชแล้ว เป็นผู้ฉลาดในพระพุทธศาสนา

ยังพระพุทธพจน์ให้กระจ่าง แล้วเคลื่อนจากอัตภาพ

แม้นั้นไปสวรรค์ชั้นไตรทิพย์ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัป

นี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก พระนามว่า

เวสสภู ผู้มีธรรมดังว่ายานใหญ่ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

แม้ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าก็เป็นเหมือนอย่างก่อนนั้นแล

บวชแล้วเป็นผู้ทรงธรรม ยังพระพุทธศาสนาให้กระ-

จ่างแล้ว ไปเมืองสวรรค์ที่น่ารื่นรมย์ ได้เสวยความ

สุขมาก ในภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารผู้อุดมพระนามว่า

กกุสันธะ ผู้เป็นสรณะของนรชน เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

แม้ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าก็เป็นเหมือนอย่างก่อนนั้นแล

บวชแล้วยัง พระพุทธศาสนาให้กระจ่างจนตลอดชีวิต

เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นไตรทศ

เหมือนอย่างไปที่อยู่ของตน ในภัทรกัปนี้แล พระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก พระนามว่าโกนาคมนะ

ผู้ประเสริฐกว่าเหล่าบัณฑิต สูงสุดกว่าสรรพสัตว์เสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว แม้ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าก็บวชในศาสนา

ของพระองค์ผู้คงที่ เป็นพหูสูต ทรงธรรม ยังพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 100

พุทธศาสนาให้กระจ่าง ในภัทรกัปนี้เหมือนกันพระมุนี

ผู้สูงสุดพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นสรณะแห่งสัตว์โลก

ไม่มีข้าศึก ถึงที่สุดแห่งมรณะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ข้าพเจ้าบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็น

ปราชญ์ของนรชนแม้พระองค์นั้น ศึกษาพระสัทธรรม

แล้วชำนาญในปริปุจฉา ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพเจ้า

มีศีลงาม มีความละอาย ฉลาดในไตรสิกขา แสดง

ธรรมกถามากจนตลอดชีวิต ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น

และด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่ ข้าพเจ้าละร่างกาย

มนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในภพหลังครั้งนี้

ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐีที่มั่งคั่ง สั่งสมรัตนะไว้

มาก. ในกรุงราชคฤห์อันอุดม เมื่อพระผู้เป็นนายก

ของโลกอันภิกษุขีณาสพพันหนึ่งเป็นบริวารสรรเสริญ

แล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ฝึกอินทรีย์แล้วพ้นขาดจากสรรพกิเลส มีพระฉวีเปล่ง

ปลั่งดังแท่งทองสิงคี พร้อมด้วยพระขีณาสพ ซึ่งเคย

เป็นชฏิลผู้ฝึกอินทรีย์แล้ว พ้นขาดจาก สรรพกิเลส

เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์.

ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธานุภาพนั้น และได้ฟัง

พระธรรมเป็นที่สั่งสมคุณแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสใน

พระพุทธเจ้า บูชาพระองค์ผู้มีพลธรรมมาก กาลต่อมา

ข้าพเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นภิกษุณี ในสำนักของ

พระธัมมทินนาเถรี ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายในเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 101

กำลังปลงผมอยู่ บวชแล้วไม่นาน ศึกษาศาสนธรรม

ได้ทั่ว. แต่นั้นได้แสดงธรรมในสมาคมมหาชน เมื่อ

ข้าพเจ้าแสดงธรรมอยู่ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่ประชุมชน

หลายพัน. มียักษ์ตนหนึ่งได้ทราบธรรมนั้นแล้วเกิด

อัศจรรย์ใจเลื่อมใสข้าพเจ้า ไปยังกรุงราชคฤห์. พวก

มนุษย์ในกรุงราชคฤห์เหล่านี้ทำอะไรกัน มัวดื่มน้ำผึ้ง

ดีดนิ้วมืออยู่ ไม่เข้าไปหาพระสุกกาเถรีผู้แสดงอมตบท

กันเลย เหมือนชนเหล่าอื่นผู้มีปัญญา ย่อมดื่มอมตบท

นั้น ซึ่งเป็นธรรมไม่นำกลับหลัง เป็นธรรมทำผู้ฟัง

ให้ชุ่มชื่น มีโอชะ เหมือนคนเดินทางไกลดื่มน้ำฝน

ฉะนั้น. ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพระองค์เป็นผู้มีความ

ชำนาญในฤทธิ์ มีความชำนาญในทิพโสตธาตุ มี

ความชำนาญในเจโตปริยญาณ รู้ปุพเพนิวาสญาณและ

ทิพยจักษุอันหมดจดวิเศษมีอาสวะทั้งปวงหมดสิ้นแล้ว

บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ข้าแต้พระมหาวีระ ข้าพระองค์มี

ญาณในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ เกิดขึ้น

แล้วในสำนักของพระองค์ ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ถอน

ภพทั้งหลายได้หมดแล้วตัดเครื่องผูกพันเหมือนช้างพัง

ตัดเชือก เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การมาเฝ้าพระพุทธ-

เจ้า ผู้ประเสริฐของข้าพเจ้า เป็นการ มาดีแล้วหนอ

ข้าพเจ้าบรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ปฏิบัติคำสอนของ

พระพุทธเจ้าแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔

วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 102

ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้วได้เป็นมหาธรรมกถึก มีภิกษุณีประมาณ

๕๐๐ องค์เป็นบริวาร วันหนึ่งพระเถรีนั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ฉัน

เสร็จแล้วเข้าไปยังสำนักภิกษุณี แสดงธรรมแก่บริษัทใหญ่ที่นั่งประชุมกันอยู่

เหมือนคั้นรวงผึ้งให้คนดื่มรสน้ำผึ้ง เหมือนรดด้วยน้ำอมฤต บริษัทเงี่ยโสต

ฟังธรรมกถาของพระเถรีนั้นมีใจไม่ฟุ้งซ่าน ฟังอยู่โดยเคารพ ขณะนั้นเทวดา

ผู้สิงอยู่บนต้นไม้ท้ายที่จงกรมของพระเถรี เลื่อมใสในธรรมเทศนาจึงเข้าไป

ยังกรุงราชคฤห์ เที่ยวประกาศคุณของพระเถรีนั้นจากถนนนี้ไปตามถนนนั้น

จากสี่แยกนี้ไปสีแยกนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาเหล่านี้ว่า

พวกมนุษย์ในกรุงราชคฤห์เหล่านี้ทำอะไรกัน

มัวดื่มน้ำผึ้งดีดนิ้วมืออยู่ ไม่เข้าไปหาพระสุกกาเถรี

ผู้แสดงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ากันเลย เหมือนชน

เหล่าอื่นผู้มีปัญญา ย่อมดื่มคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

นั้น ซึ่งเป็นธรรมไม่นำกลับหลัง เป็นธรรมทำผู้ฟัง

ให้ชุ่มชื่น มีโอชะ เหมือนคนเดินทางไกลดื่มน้ำฝน

ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิ เม กตา ราชคเห มนุสฺสา

ความว่า พวกมนุษย์ในกรุงราชคฤห์เหล่านี้ทำอะไร คือขวนขวายในกิจชื่อ

อะไร. บทว่า มธุ ปีตา ว อจฺฉเร ความว่า คนทั้งหลายถือรวงผึ้ง ดื่ม

น้ำผึ้งอยู่ เป็นผู้ปราศจากสัญญา ไม่อาจยกศรีษะขึ้นได้ฉันใด แม้พวกมนุษย์

ในกรุงราชคฤห์เหล่านั้น ก็ฉันนั้น เหมือนเป็นผู้ปราศจากสัญญาในธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 103

สัญญา ย่อมไม่อาจยกศีรษะขึ้นได้ อธิบายว่า มัวดีดนิ้วมืออยู่อย่างเดียวเท่า

นั้น. บทว่า เย สุกฺก น อุปาสนฺติ เทเสนฺตึ พุทฺธสาสน ความว่า

ไม่เข้าไปหา คือไม่เข้าไปนั่งใกล้พระเถรีสุกกา ผู้แสดงคือประกาศคำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้า คือของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยแน่นอน ประกอบความ

ว่า พวกมนุษย์ในกรุงราชคฤห์เหล่านั้น มัวทำอะไรกัน.

บทว่า ตญฺจ อปฺปฏิวานีย ความว่า ซึ่งธรรมนั้นอันเป็นธรรม

ไม่นำกลับ เป็นธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์ เป็นธรรมทำความชุ่มชื่น ชื่อว่า

เป็นธรรมทำผู้พึงให้ชุ่มชื่น เพราะเป็นธรรมไพเราะหรือเป็นธรรมจับใจโดย

การฟังของชนผู้ฟัง ไม่เติมของปรุงรสอาหาร มีรสมากตามปกตินั่นแหละ

เพราะเหตุนั้นเองจึงชื่อว่ามีโอชะ. บาลีว่า โอสธ ก็มี ความว่า เป็นยา

สำหรับเยียวยาพยาธิคือวัฏทุกข์ทั้งหลาย. บทว่า ปิวนฺติ มญฺเ สปฺปญฺา

วลาหกมิวทฺธคู ความว่า ผู้มีปัญญา คือคนผู้เป็นบัณฑิต เหมือนย่อมดื่ม

คือย่อมฟัง ราวกะว่าดื่มอยู่ซึ่งธรรมนั้น เหมือนคนเดินทางในที่กันดารเพราะ

ขาดน้ำ ดื่มน้ำที่ไหลจากระหว่างเมฆฉะนั้น.

มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังดังนั้นแล้วมีใจเลื่อมใส เข้าไปยังสำนักของพระ

เถรี ฟังธรรมโดยเคารพ กาลต่อมา ในกาลเป็นที่ปรินิพพาน ซึ่งเป็นกาล

สิ้นสุดอายุของพระเถรี พระเถรีพยากรณ์พระอรหัตผล เพื่อประกาศว่าศาสน-

ธรรมเป็นธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์ ได้กล่าวคาถานี้ว่า

พระสุกกาเถรีมีธรรมบริสุทธิ์ ปราศจากราคะ

มีจิตตั้งมั่น ชนะมาร พร้อมทั้งพาหนะ ทรงไว้ซึ่ง

ร่างกายอันมีในที่สุด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 104

พระสุกกาเถรีแสดงตนนั่นแหละเป็นเหมือนผู้อื่น ด้วยบทว่า สุกฺกา

ในคาถานั้น. บทว่า สุกฺเกหิ ธมฺเมหิ ได้แก่ มีธรรมบริสุทธิ์ดี คือ

โลกุตรธรรม. บทว่า วีตราคา สมาหิตา ความว่า มีราคะไปปราศแล้ว

โดยประการทั้งปวง ด้วยอรหัตมรรค มีจิตตั้งมั่นด้วยอรหัตผลสมาธิ. คำที่

เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบ อรรถกถาสุกกาเถรีคาถา

๗. เสลาเถรีคาถา

มารกล่าวกะพระเสลาเถรีว่า

[๔๓๖] นิพพานอันเป็นที่สลัดออกไม่มีในโลก

ท่านจักทำประโยชน์อะไรได้ด้วยวิเวกเล่า ท่านจงบริ-

โภคความยินดีในกามทั้งหลายเถิด อย่าได้เป็นผู้เดือด

ร้อนภายหลังเลย.

พระเสลาเถรีกล่าวว่า

กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกและหลาวครอบงำ

ขันธ์ทั้งหลายไว้ ท่านกล่าวถึงความยินดีในกามใด

บัดนี้เราไม่มีความยินดีในกามนั้นแล้ว เรากำจัดความ

เพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวงแล้ว ทำลายกองแห่งความมืด

ได้แล้ว ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้ ดูก่อน

มารผู้ทำที่สุด ตัวท่านถูกเรากำจัดแล้ว.

จบ เสลาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 105

๗. อรรถกถาเสลาเถรีคาถา

คาถาว่า นตฺถิ นิสฺสรณ โลเก เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรี

ชื่อเสลา.

แม้พระเถรีชื่อเสลาองค์นี้ ก็ได้สร้างบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดใน

เรือนแห่งตระกูลในพระนครหังสวดี รู้ความแล้ว บิดามารดายกให้แก่กุลบุตร

ผู้มีชาติตระกูลเสมอกัน อยู่ร่วมกับกุลบุตรนั้นอย่างสุขสบายหลายร้อยปี เมื่อ

กุลบุตรนั้นตาย แม้ตนเองก็ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับแล้ว เกิดความสังเวช

แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล เที่ยวไปจากอารามนั้น ไปอารามนั้น จากวิหารนี้ไป

วิหารนั้น อยู่ตลอดเวลา ด้วยปรารถนาจักฟังธรรมในสำนักของสมพราหมณ์

วันหนึ่งเข้าไปยังต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระศาสดา นั่งคิดอยู่ว่า ถ้าพระผู้มี-

พระภาคพุทธเจ้า เป็นผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เสมอด้วยผู้ที่ไม่มีใครเสมอ

เป็นผู้หาบุคคลเปรียบมิได้จริง ขอต้นโพธิ์นี้จงแสดงปาฏิหาริย์แก่ข้าพเจ้า

ต้นโพธิ์ได้สว่างโพลงในลำดับจิตตุปบาทเช่นนั้นของนางนั้นทันที กิ่งทั้งหลาย

ปรากฏเป็นทองไปหมด สว่างไสวไปทุกทิศ นางเห็นปาฏิหาริย์ดังนั้นมีใจ

เลื่อมใส แสดงความเคารพความนับถือ นั่งประคองอัญชลีไว้เหนือศีรษะอยู่

ณ ที่นั้นเอง ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน ในวันที่ ๗ ได้กระทำบูชาสักการะอย่าง

โอฬาร ด้วยบุญกรรมนั้นนางท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุป-

ปาทกาลนี้ เกิดเป็นราชธิดาของพระเจ้าอาฬวีกราช มีนามว่า เสลา เเต่คน

ทั้งหลายเรียกเธอว่า อาฬวิกา เพราะเป็นธิดาของพระเจ้าอาฬวีกราช เธอรู้

ความแล้ว เมื่อพระศาสดาทรงทรมานอาฬวกยักษ์ ประทานบาตรและจีวรไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 106

ในมือของอาฬวกยักษ์ เสด็จเข้าพระนครอาฬวีกับอาฬวกยักษ์นั้น เธอเป็น

ทาริกาเข้าไปเฝ้าพระศาสดากับพระราชา ฟังธรรมแล้วได้ศรัทธาเป็นอุบาสิกา.

กาลต่อมา เธอเกิดความสังเวช บวชในหมู่ภิกษุณี ทำกิจเบื้องต้น

แล้วเริ่มเจริญวิปัสสนา พิจารณาสังขารทั้งหลาย มีญาณแก่กล้าเพราะสมบูรณ์

ด้วยอุปนิสัย ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้

ในอปทานว่า

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นหญิงท่องเที่ยวอยู่ใน

พระนครหังสวดี ข้าพเจ้าต้องการกุศลจึงเที่ยวจาก

อารามนี้ไปอารามนั้น ได้เห็นต้นโพธิ์อันอุดมในวัน

กาฬปักษ์ ยังจิตให้เลื่อมใสในต้นโพธินั้นแล้วนั่งที่

โคนต้นโพธิ์ ตั้งจิตเคารพกระทำอัญชลีไว้เหนือศีรษะ

แสดงควานโสมนัส แล้วคิดอย่างนี้ในขณะนั้นว่า ถ้า

พระพุทธเจ้ามีพระคุณนับไม่ได้ ไม่มีบุคคลเปรียบ

เสมอไซร้ ก็ขอได้โปรดแสดงปาฏิหาริย์แก่เราเถิด

ขอโพธิ์ต้นนี้จงเปล่งรัศมีเถิด ทันใดนั้นเอง ต้นโพธิ์

ก็สว่างโพลงพร้อมกับที่ข้าพเจ้านึก ได้มีรัศมีเป็นสีทอง

ล้วน สว่างไสวไปทุกทิศ ข้าพเจ้านั่งที่โคนต้นโพธิ์

นั้น ๗ คืน ๗ วัน ครั้นถึงวันที่ ๗ ข้าพเจ้าได้บูชาด้วย

ประทีป ประทีป ๕ ดวงสว่างโพลงล้อมรอบอาสนะ

ครั้งนั้นประทีปของข้าพเจ้าสว่างโพลงอยู่จนพระอาทิตย์

ขึ้น ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และด้วยความตั้งใจอัน

แน่วแน่ ข้าพเจ้าละร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้น

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๔๙ ปัญจทีปีกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 107

ดาวดึงส์ วิมานที่บุญกรรมสร้างให้ข้าพเจ้าอย่างสวย

งามในดาวดึงส์นั้น เรียกว่าเบญจประทีปวิมาน สูง

๑๐๐ โยชน์ กว้าง ๖๐ โยชน์ ประทีปนับไม่ถ้วนส่อง

สว่างรอบข้าพเจ้า ทั่วเทพพิภพโชติช่วงด้วยแสงประ-

ทีป คนที่หันหน้าไปทางทิศบูรพา ถ้าข้าพเจ้าปรารถนา

จะเห็น ข้าพเจ้าย่อมเห็นได้ด้วยจักษุทุกคน ทั้งเบื้อง

บนเบื้องล่างและเบื้องขวางข้าพเจ้าหวังจะเห็นกรรมดี

และกรรมชั่วที่คนทำในที่มีประมาณเท่าใด ที่มีประมาณ

เท่านั้น ย่อมไม่มีต้นไม้หรือภูเขามากางกั้น ข้าพเจ้า

ได้เป็นมเหสีของเทวราช ๘๐ องค์ ได้เป็นมเหสีของ

พระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐๐ องค์ ข้าพเจ้าเข้าถึงกำเนิดใด ๆ

คือเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้น ๆ ประทีปตั้ง

แสนส่องสว่างรอบข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจุติจากเทวโลกแล้ว

เกิดในครรภ์ของมารดา เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในครรภ์ของ

มารดา นัยน์ตาของข้าพเจ้าไม่หลับ ประทีปตั้งแสน

ดวงส่องสว่างอยู่ในเรือนคลอดของข้าพเจ้าผู้พร้อม

เพรียงด้วยบุญกรรม นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง เมื่อ

ถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้ากลับได้ฉันทะที่มีในใจ เห็น

พระนิพพานซึ่งไม่มีชราไม่มีมรณะ เป็นสภาวะเยือก

เย็น พอเกิดได้ ๗ ขวบ ข้าพเจ้าก็ได้บรรลุพระอรหัต

พระโคตมะพุทธเจ้าทรงทราบคุณ จึงให้ข้าพเจ้าอุป-

สมบทข้าพเจ้าเข้าฌานอยู่ในมณฑป โคนไม้ ปราสาท

ถ้ำ หรือเรือนว่างก็ตาม ประทีป ๕ ดวงย่อมส่องสว่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 108

ให้ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีทิพยจักษุบริสุทธิ์ ฉลาดในสมาธิ

บรรลุอภิญญาบารมี นี้เป็นผลแห่ง ประทีป ๕ ดวง

ข้าพเจ้าอยู่จบพรหมจรรย์ทั้งปวง ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่

มีอาสวะ ข้าแต่พระมหาวีระผู้มีจักษุ ข้าพระองค์ผู้ชื่อ

ว่าปัญจทีปา ขอถวายบังคมพระยุคลบาท ในกัปที่หนึ่ง

แสนแต่ภัทรกัปนี้ ข้าพระองค์ได้ถวายประทีปใดใน

กาลนั้น ด้วยการถวายประทีปนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้

จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง ข้าพเจ้า

เผากิเลสแล้ว ถอนภพทั้งหลายได้หมดแล้ว ตัดเครื่อง

ผูกพันเหมือนช้างพังตัดเชือก เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

การมาเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐของข้าพเจ้าเป็น การ

มาดีแล้วหนอ ข้าพเจ้าบรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ปฏิบัติ

คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้คือปฏิ-

สัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖ ข้าพเจ้าทำให้แจ้ง

แล้ว ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระเถรีอยู่ในกรุงสาวัตถี วันหนึ่งเวลาปัจฉาภัต

ออกจากกรุงสาวัตถี เข้าสู่ป่าอันธวันเพื่อต้องการพักผ่อนกลางวัน นั่งอยู่ที่

โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น มารประสงค์จะกำจัดพระเถรีนั้นให้พ้นจากวิเวกจึง

แปลงรูปเข้าไปกล่าวคาถาว่า

นิพพานอันเป็นที่สลัดออกไม่นึกในโลก ท่าน

จักทำประโยชน์อะไรได้ด้วยวิเวกเล่า ท่านจงบริโภค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 109

ความยินดีในกามทั้งหลายเถิด อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อน

ในภายหลังเลย.

คาถานั้นมีความว่า เมื่อสอบสวนดูแม้ลัทธิทั้งปวงชื่อว่านิพพานอัน

เป็นที่สลัดออก ไม่มีในโลก. คำนี้เป็นเพียงโวหาร ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย

นั้น ๆ ปฏิญาณตามความพอใจเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจักทำประโยชน์อะไร

ด้วยวิเวกเล่า คือท่านยังตั้งอยู่ในปฐมวัยที่สมบูรณ์เห็นปานนี้ จักทำประ-

โยชน์อะไรด้วยกายวิเวกนี้เล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจงบริโภคความยินดีในกาม

ทั้งหลาย คือจงกลับเสวยความยินดีในการเล่น ที่อาศัยวัตถุกามและกิเลสกาม

เถิด เพราะเหตุไร. บทว่า มาหุ ปจฺฉานุตาปินี อธิบายว่า ท่านอย่าได้

มีความเดือดร้อนภายหลังว่า เราประพฤติพรหมจรรย์เพื่อนิพพานใด นิพพาน

นั้นไม่มีเลย เพราะเหตุนั้นเองเราจึงไม่ได้บรรลุนิพพานนั้น ทั้งยังเสื่อมจาก

กามโภคะเสียด้วย เราพินาศหนอ.

พระเถรีได้ฟังดังนั้นคิดว่า มารที่คัดค้านพระนิพพานซึ่งประจักษ์แก่

เรา และยังเชื้อเชิญเราในกามทั้งหลาย ไม่รู้ว่าเราเป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้นี้

โง่แท้ เอาเถอะ เราจักให้เขารู้เรื่องนั้นแล้วจักคุกคามเขา จึงกล่าวคาถา

๒ คาถานี้ว่า

กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกและหลาว ครอบ

งำขันธ์ทั้งหลายไว้ ท่านกล่าวถึงความยินดีในกามใด

บัดนี้เราไม่มีความยินดีในกามนั้นแล้ว เรากำจัด

ความเพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวงแล้ว ทำลายกองแห่ง

ความมืดได้แล้ว ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้

ดูก่อนมารผู้กระทำซึ่งที่สุด ตัวท่านถูกเรากำจัดแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 110

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺติสูลูปมา กามา ความว่า ชื่อว่า

กามทั้งหลาย พึงเห็นว่าเหมือนหอกและเหมือนหลาวที่ติดอยู่ เพราะแทงตลอด

สัตว์ผู้ยึดมั่นนั้น. บทว่า ขนฺธา ได้แก่ อุปาทานขันธ์. บทว่า อาส ได้แก่

เหล่านั้น. บทว่า อธิกุฏฺฏนา ได้แก่ เป็นที่ตั้งมั่นเพื่อการตัด ความว่า เป็น

ที่ยึดถืออย่างยิ่ง เพราะสัตว์ทั้งหลาย ยึดถืออย่างยิ่ง ซึ่งขันธ์ทั้งหลายแล้ว ย่อมถูก

ประหารถูกทำลายด้วยกามทั้งหลาย. บทว่า ย ติว กามรตึ พฺรูสิ

อรตี ทานิ สา มม ความว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านกล่าวความยินดีใน

กามใดว่าน่ายินดี น่าเสพ บัดนี้ ความยินดีในกามนั้นเป็นเช่นกับอุจจาระ

เพราะเราไม่ยินดี เราไม่มีความต้องการอะไร ๆ ด้วยความยินดีในกามนั้น.

ด้วยบทว่า สพฺพตฺถ วิหตา นนฺทิ เป็นต้น ในคาถานั้น ท่าน

กล่าวถึงเหตุ. บทว่า เอว ชานาหิ ในคาถานั้น ความว่า ท่านจงรู้ว่าเรา

ละตัณหาและอวิชชาได้หมดแล้ว อธิบายว่า ดูก่อนมารผู้กระทำซึ่งที่สุด ผู้มี

ความประพฤติลามก เพราะเหตุนั้นแหละ เราจึงได้กำจัดคือเบียดเบียนท่าน

ด้วยการทำลายกำลังและก้าวล่วงวิสัย แต่ท่านจะเบียดเบียนเราไม่ได้.

มารถูกพระเถรีคุกคามอย่างนี้แล้ว ได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง. แม้

พระเถรีก็พักผ่อนอยู่ตลอดวันในป่าอันธวัน ด้วยความสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ

เวลาเย็นจึงได้ไปยังที่อยู่นั่นแล.

จบ อรรถกถาเสลาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 111

๘. โสมาเถรีคาถา

มารกล่าวว่า

[๔๓๗] ฐานะคือพระอรหัต อันฤาษีทั้งหลายพึง

บรรลุบุคคลเหล่าอื่นให้เจริญได้ยาก ท่านเป็นหญิงมี

ปัญญาเพียง ๒ นิ้ว ไม่สามารถจะบรรลุฐานะนั้นได้.

พระโสมาเถรีกล่าวว่า

เมื่อจิตตั้งมั่นดี เมื่อญาณเป็นไปอยู่ เมื่อเราเห็น

แจ้งซึ่งธรรมโดยชอบ ความเป็นหญิงจะทำอะไรได้

เรากำจัดความเพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวงแล้ว ทำลาย

กองแห่งความมืดได้แล้ว ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่าน

จงรู้อย่างนี้ ดูก่อนมารผู้กระทำซึ่งที่สุด ตัวท่านถูกเรา

กำจัดแล้ว.

จบ โสมาเถรีคาถา

๘. อรรถกถาโสมาเถรีคาถา

คาถาว่า ยนฺต อิสีหิ ปตฺตพฺพ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรี

ชื่อโสมา.

แม้พระเถรีชื่อโสมาองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามสิขี เกิดในตระกูลกษัตริย์มหาศาล รู้ความ

แล้วได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าอรุณราช เรื่องอดีตทั้งหมดเหมือนเรื่องของ

พระอภยาเถรี ส่วนเรื่องปัจจุบันดังนี้ พระเถรีท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและ

มนุษยโลกนั้น ๆ ในพุทธุปปาทกาลนี้เกิดเป็นธิดาปุโรหิตของพระเจ้าพิมพิสาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 112

กรุงราชคฤห์มีนามว่า โสมา เธอรู้ความแล้วได้ศรัทธาเป็นอุบาสิกาในคราว

พระศาสดาเสด็จเข้าพระราชนิเวศน์ เวลาต่อมา เกิดควานสังเวช บวชในหมู่

ภิกษุณี ทำกิจเบื้องต้นแล้ว เจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต

พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในพระนครอรุณวดีมีกษัตริย์พระนามว่า อรุณ-

ราช ข้าพเจ้าเป็นมเหสีของท้าวเธอ ข้าพเจ้าร้อยพวง

มาลัยอยู่ ฯลฯ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธ-

เจ้าแล้ว.

เรื่องทั้งหมด เหมือนอปทานของพระอภยาเถรี.

พระโสมาเถรีนั้น ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว อยู่ในกรุงสาวัตถีด้วย

วิมุตติสุข วันหนึ่งเข้าสู่ป่าอันธวันเพื่อต้องการพักผ่อนกลางวัน นั่งอยู่ที่โคน

ต้นไม้แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น มารประสงค์จะตัดพระเถรีนั้นจากวิเวก หายตัวเข้า

ไปยืนอยู่ในอากาศ กล่าวคาถานี้ว่า.

ฐานะคือพระอรหัต อันฤาษีทั้งหลายพึงบรรลุ

บุคคลเหล่าอื่นให้เจริญได้ยาก ท่านเป็นหญิงมีปัญญา

เพียง ๒ นิ้ว ไม่สามารถจะบรรลุฐานะนั้นได้.

คาถานั้นมีความว่า ฐานะนั้นคือฐานะอันประเสริฐอย่างยิ่ง กล่าวคือ

พระอรหัต ผู้มีปัญญามากมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ที่ได้นามว่า ฤาษี เพราะ

อรรถว่าแสวงหาคุณธรรมมีศีลขันธ์เป็นต้นพึงบรรลุ แต่คนเหล่าอื่นให้เจริญได้

ยาก คือให้สำเร็จได้โดยยาก ผู้หญิงมีปัญญาแค่ ๒ นิ้ว คือมีปัญญาทราม ไม่

สามารถจะบรรลุฐานะนั้นได้ ธรรมดาหญิงทั้งหลาย ตั้งแต่อายุได้ ๗-๘ ขวบ

ก็หุงข้าวอยู่ตลอดกาล เอาข้าวสารใส่ในน้ำเดือด ย่อมไม่รู้ว่าข้าวสุกแล้วด้วย

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๔๘ สัตตอุปปลมาลิกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 113

เหตุเพียงเท่านี้ แต่เมื่อข้าวสารกำลังเดือด เอาทัพพีตักขึ้นแล้วบี้ด้วยนิ้วมือ ๒

นิ้ว ย่อมรู้ได้ ฉะนั้นมารจึงกล่าวว่า ทฺวงฺคุลิปญฺาย ดังนี้.

พระเถรีได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะกำหราบมารได้กล่าวคาถา ๒ คาถา

นอกนี้ว่า

เมื่อจิตตั้งมั่นดี เมื่อญาณเป็นไปอยู่ เมื่อเราเห็น

แจ้งซึ่งธรรมโดยชอบ ความเป็นหญิงจะทำอะไรเราได้

เรากำจัดความเพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวงแล้ว ทำลาย

กองแห่งความมืดได้แล้ว ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้

อย่างนี้ดูก่อนมารผู้ทำที่สุด ตัวท่านลูกเรากำจัดแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺถิภาโว โน กึ กยิรา ความว่า

ความเป็นมาตุคามจะพึงทำอะไรแก่พวกเราได้ คือจะพึงให้เกิดความพรากจาก

การบรรลุพระอรหัตได้อย่างไร. บทว่า จิตฺตมฺหิ สุสมาหิเต ความว่า เมื่อจิต

ตั้งมั่นด้วยดีด้วยอรหัตมรรคสมาธิ. บทว่า าณมฺหิ วตฺตมานมฺหิ ความว่า

ต่อแต่นั้น เมื่ออรหัตมรรคญาณเป็นไป. บทว่า สมฺมา ธมฺม วิปสฺสโต

ความว่า เมื่อเราเห็นสัจธรรม ๔ โดยชอบทีเดียว ด้วยวิธีมีกำหนดรู้เป็นต้น

ก็ในข้อนี้มีความย่อดังนี้ว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป หญิงก็ตาม ชายก็ตาม จงยกไว้

เมื่อบรรลุอรหัตมรรคแล้ว ความเป็นพระอรหันต์ก็อยู่ในเงื้อมมือเท่านั้นแล.

บัดนี้ พระเถรีเมื่อจะแสดงว่าตนบรรลุแล้วตรง ๆ ทีเดียวแก่มารนั้น

จึงกล่าวคาถาว่า สพฺพตฺถ วิหตา นนฺทิ เป็นต้น คาถานั้นมีเนื้อความได้

กล่าวไว้แล้วแล.

จบ อรรถกถาโสมาเถรีคาถา

จบ อรรถกถาติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 114

เถรีคาถา จตุกกนิบาต

ว่าด้วยคาถาในจตุกกนิบาต

๑. ภัททกาปิลานีเถรีคาถา

[๔๓๘] พระมหากัสสปเถระผู้เป็นบุตร เป็น

ทายาทของพระพุทธเจ้า มีจิตตั้งมั่นดี ท่านรู้ขันธ์ที่

อยู่อาศัยในก่อน เห็นสวรรค์และอบาย ถึงความสิ้น

ชาติ เป็นผู้เสร็จกิจแล้วเพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี เป็น

พราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ ด้วยวิชชา ๓ เหล่านี้ นาง

ภัททกาปิลานีก็ได้วิชชา ๓ เหมือนพระมหากัสสปะ

ละมัจจุได้ ทรงร่างกายนี้เป็นที่สุด ชนะมารพร้อมทั้ง

พาหนะ เราทั้งสองเห็นโทษในโลกแล้วจึงบวช เป็น

ผู้สิ้นอาสวะ ฝึกตนแล้ว มีความเย็น ดับสนิทแล้ว.

จบ ภัททกาปิลานีเถรีคาถา

จบ จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 115

อรรถกถาจตุกกนิบาต

๑. อรรถกถาภัททกาปิลานีเถรีคาถา

ในจตุกกนิบาต มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

คาถาว่า ปุตฺโต พุทฺธสฺส ทายาโท เป็นต้น เป็นคาถาของ

พระเถรีชื่อภัททกาปิลานี.

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ พระ

เถรีนั้นเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในพระนครหังสวดี รู้ความแล้ว ฟังธรรมใน

สำนักของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุณีองค์หนึ่งไว้ในตำแหน่ง

เลิศของภิกษุณีผู้ระลึกชาติได้จึงการทำบุญญาธิการปรารถนาตำแหน่งนั้นแม้

เอง กระทำบุญตลอดชีวิต เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลก

และมนุษยโลก เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น เกิดในเรือนตระกูล ใน

กรุงพาราณสี แล้วไปสู่ตระกูลสามี วันหนึ่งทะเลาะกับน้องสาวสามี เมื่อน้อง

สาวสามีถวายบิณฑบาตแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า นางคิดว่าหญิงนี้ถวายทานแด่

พระปัจเจกพุทธเจ้านี้แล้ว จักได้สมบัติโอฬาร รับบาตรจากหัตถ์ของพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าเทภัตตาหารทิ้ง เอาเปือกตมใส่เต็มถวาย มหาชนติเตียนว่า

นางคนพาล พระปัจเจกพุทธเจ้าท่านทำผิดอะไรเจ้าหรือ นางละอายเพราะคำ

ของคนเหล่านั้น รับบาตรมาอีก เอาเปือกตมออกล้างบาตรแล้วขัดถูด้วยผง

เครื่องหอม เอาของมีรสอร่อย ๔ อย่างใส่เต็ม และวางบาตรที่สว่างด้วยเนยใส

ซึ่งมีสีเหมือนดอกบัว ที่ราดไว้ข้างบน ตั้งความปรารถนาว่า บิณฑบาตนี้มีแสง

สว่างฉันใด ขอร่างกายของเราจงมีแสงสว่างฉันนั้น นางเคลื่อนจากอัตภาพนั้น

แล้ว ท่องเที่ยวอยู่ในสุคติภูมิทั้งหลายเท่านั้น ในกาลแห่งพระกัสสปพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 116

เกิดเป็นธิดาเศรษฐีมีสมบัติมาก ในกรุงพาราณสี ด้วยผลแห่งบุพกรรมจึงมี

ร่างกายเหม็น พวกมนุษย์รังเกียจ นางเกิดความสังเวชจึงเอาเครื่องประดับ

ของตนสร้างอิฐทองประดิษฐานไว้ที่เจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และถือดอก

อุบลบูชา ด้วยบุญกรรมนั้นร่างกายของนางมีกลิ่นหอมจับใจในภพนั้นเอง นาง

เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของสามี ทำกุศลตลอดชีวิตเคลื่อนจากอัตภาพนั้นเกิดใน

สวรรค์ แม้ในสวรรค์นั้นก็ได้เสวยทิพยสุขตลอดชีวิต จุติจากสวรรค์นั้นเป็น

ราชธิดาของพระเจ้าพาราณสี เสวยสมบัติเช่นกับสมบัติเทวดาในกรุงพาราณสี

นั้น บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเวลานาน เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า

เหล่านั้นปรินิพพานแล้ว เกิดความสังเวช เป็นดาบสอยู่ในพระราชอุทยาน

เจริญฌานทั้งหลายแล้วเกิดในพรหมโลก จุติจากพรหมโลกนั้นเกิดในเรือนของ

ตระกูลพราหมณ์โกสิยโคตร ในสาคลนคร เติบโตขึ้นด้วยบริวารใหญ่ เจริญ

วัยแล้วบิดามารดานำไปสู่เรือนของปิปผลิกุมารในมหาติตถคาม เมื่อปิปผลิกุมาร

ออกบวช นางละโภคะกองใหญ่และญาติหมู่ใหญ่ออกเพื่อต้องการบวช เข้าไป

อยู่ในอารามเดียรถีย์ ๕ ปี เวลาต่อมา นางได้บรรชาและอุปสมบทในสำนัก

ของพระมหาปชาบดีโคตมี เริ่มตั้งวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมาร

พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้จบธรรมทั้งปวง เป็นนายก

ของโลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ครั้งนั้น ในพระนคร

หังสวดี มีเศรษฐีชื่อว่าวิเทหะ เป็นผู้มีรัตนะมาก

ข้าพเจ้าเป็นชายาของเขา บางครั้ง เศรษฐีนั้นพร้อมกับ

ชนบริวารเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นดังดวงอาทิตย์

ของนรชนได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์ซึ่งเป็นเหตุนำ

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๖๗. ภัททกาปิลานีเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 117

มาซึ่งความสิ้นทุกข์ทั้งปวง พระผู้เป็นนายกของโลก

ทรงประกาศสาวกองค์หนึ่ง ว่าเป็นเลิศของสาวกผู้

กล่าวสรรเสริญธุดงค์ เศรษฐีสามีของข้าพเจ้าได้ฟัง

แล้ว ได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าผู้คงที่ ตลอด ๗ วัน

แล้วซบเศียรลงแทบพระยุคลบาท ปรารถนาตำแหน่ง

นั้น ก็ในกาลนั้นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่านรชน

เมื่อจะทรงให้บริษัทรื่นเริง ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้

เพื่อทรงอนุเคราะห์เศรษฐีว่า ดูก่อนลูก เธอจักได้

ตำแหน่งที่ปรารถนา จงเย็นใจเถิด ในกัปที่หนึ่งแสน

แต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดาพระนานว่าโคตมะ มีพระ-

สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราชจักมีในโลก พระ-

ศาสดาพระองค์นั้นจักมีธรรมทายาท จักมีโอรสอัน

ธรรมนิรมิต จักมีสาวกนามว่ากัสสปะ เศรษฐีได้ฟัง

พุทธพยากรณ์ดังนั้น เบิกบานใจ มีจิตประกอบด้วย

เมตตาบำรุงพระพิชิตมารผู้เป็นนายกวิเศษ ด้วยปัจจัย

ทั้งหลายจนตลอดชีวิตในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

องค์นั้นทรงทำพระศาสนาให้รุ่งเรื่อง ทรงกำจัดเหล่า

เดียรถีย์ชั่ว ๆ ทรงแนะนำผู้ที่ควรแนะนำแล้วพระองค์

กับทั้งพระสาวกก็ปรินิพพาน เมื่อพระองค์ผู้เป็นเลิศ

ในโลกนั้นปรินิพพานแล้ว เศรษฐีนั้นเชิญญาติและ

มิตรมาประชุมกัน พร้อมกับญาติและมิตรเหล่านั้นได้

สร้างพระสถูปสำเร็จด้วยรัตนะ สูง ๗ โยชน์ รุ่งเรือง

ดังดวงอาทิตย์ และต้นพระยารังที่มีดอกบานสะพรั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 118

เพื่อบูชาพระศาสดา ข้าพเจ้าได้ให้ช่าง ๗ คน เอา

รัตนะ ๗ อย่าง ทำตะเกียง ๗๐๐,๐๐๐ ดวง เอาน้ำมัน

หอมใส่เต็มทุกดวงตามประทีปไว้ในที่นั้น ๆ ลุกโพลง

ดังไฟไหม้ป่าอ้อ เพื่อบูชาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้

อนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง ข้าพเจ้าให้ช่างทำหม้อ

๗๐๐,๐๐๐ ใบ เต็มด้วยรัตนะต่าง ๆ มีวัตถุที่ควรบูชา

อันเป็น ทอง ตั้งไว้ในท่ามกลางระหว่าง หม้อทุกๆ ๘

หม้อมีวรรณะรุ่งเรืองเหมือนพระอาทิตย์ในสารทกาล

เพื่อบูชาพระศาสดาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ที่ประตู

ทั้ง ๔ มีเสาระเนียดล้วนแล้วไปด้วยรัตนะ มีแท่นที่

สำเร็จด้วยรัตนะตั้งไว้ งดงามน่ารื่นรมย์ มีคูปลูก

พรรณดอกไม้น้ำเป็นระเบียบดี มีธงรัตนะยกขึ้นไว้

ล้วนแต่งามไพโรจน์ พระเจดีย์ที่สำเร็จด้วยรัตนะนั้น ๆ

สร้างไว้มีสีสุกปลั่งงามดี มีวรรณะรุ่งเรื่องเหมือน

พระอาทิตย์ที่มีรัศมีงามพระสถูปของข้าพเจ้ามี ๓ ด้าน

ด้านหนึ่งเต็มด้วยหรดาล ด้านหนึ่งเต็มด้วยมโนศิลา

ด้านหนึ่งเต็มด้วยแร่พลวง ข้าพเจ้าสร้างเครื่องบูชาที่

น่ารื่นรมย์เช่นนี้แล้ว ได้ถวายทานแด่พระสงฆ์ผู้กล่าว

ธรรมอันประเสริฐตามกำลัง ตลอดชีวิต ข้าพเจ้ากับ

เศรษฐีนั้นทำยัญเหล่านั้นโดยประการทั้งปวง ตลอด

ชีวิต ได้ไปสู่สุคติพร้อมกัน ได้เสวยสมบัติทั้งที่เป็น

ของเทวดาและของมนุษย์ ท่องเที่ยวไปกับเศรษฐีนั้น

เหมือนเงาไปกับตัวฉะนั้น ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 119

พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้เป็นนายกของโลก มี

พระเนตรงาม ทรงเห็นแจ้งธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้น

แล้ว ครั้งนั้นในพระนครพันธุมดี มีพราหมณ์ที่ได้

รับยกย่องว่าเป็นผู้ดี เป็นผู้มั่งคั่ง สมบูรณ์ด้วยคุณ-

ธรรมและทรัพย์ แต่ภายหลังกลับตกยาก แม้ครั้งนั้น

ข้าพเจ้าเป็นพราหมณีของเขา มีใจเสมอกันบางคราว

พราหมณ์นั้นเข้าไปเฝ้าพระมหามุนี ซึ่งประทับนั่ง

แสดงอมตบทอยู่ในหมู่ชน ฟังธรรมแล้วเบิกบานใจ

ได้ถวายผ้าห่มผืนหนึ่ง มีผ้านุ่งผืนเดียวกลับไปเรือน

บอกข้าพเจ้าว่า แน่ะเธอผู้มีบุญมาก จงอนุโมทนาเถิด

ฉันได้ถวายผ้าห่มแด่พระพุทธเจ้าแล้ว ครั้งนั้นข้าพเจ้า

ทราบดีแล้วประนมมืออนุโมทนาว่า ข้าแต่นาย ผ้าห่ม

ท่านถวายดีแล้วแด่พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ ผู้คงที่

พราหมณ์กับข้าพเจ้ามีความเจริญด้วยสุขสมบัติร่วมกัน

ท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ได้เป็นพระราชาผู้ยิ่ง

ใหญ่ในกรุงพาราณสีที่รื่นรมย์ ครั้งนั้นข้าพเจ้าได้เป็น

มเหสีของท้าวเธอ สูงกว่าพวกพระสนม เป็นที่สอง

ของท้าวเธอ ท้าวเธอโปรดปรานข้าพเจ้าเพราะสิเนหา

เนื่องมาแต่ภพก่อน ๆ พระราชานั้นทอดพระเนตรเห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์กำลังเที่ยวบิณฑบาต ทรง

เบิกบานพระทัย ได้ถวายบิณฑบาตอันควรแก่ค่ามาก

แล้วทรงนิมนต์ไว้ ทรงสร้างมณฑปรัตนะผสมด้วย

ทอง ที่พวกช่างทองทำไว้อย่างงดงาม สูง ๑๐๐ ศอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 120

ท้าวเธอทรงเลื่อมใส รับสั่งให้อาราธนาพระปัจเจก-

พุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมด ได้ถวายทานแด่พระปัจเจก-

พุทธเจ้าเหล่านั้นผู้เข้าไปในพระราชนิเวศน์ ด้วยพระ-

หัตถ์ของพระองค์เอง แม้ครั้งนั้น ข้าพเจ้าก็ได้ถวาย

ทานร่วมกับพระเจ้ากาสีอีก ท้าวเธอพร้อมด้วยพระ

ภาดามาเกิดในตระกูลกุฏุมพีที่มั่งคั่ง มีความสุข

ข้าพเจ้าเป็นภรรยาของพราหมณ์ผู้พี่ ได้ประพฤติวัตร

ในสามีเป็นอย่างดี. น้องชายของสามีของข้าพเจ้า

เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วเอาอาหารของพี่ชายถวาย

แด่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อพี่ชายมา ได้บอกว่า

พระปัจเจกพุทธเจ้าท่านมิได้ยินดีทาน ขณะนั้น

ข้าพเจ้าได้ถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นสามี

ของข้าพเจ้าถวายอาหารอันควรแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

เวลานั้นข้าพเจ้าโกรธเททานของพระปัจเจกพุทธเจ้า

นั้นเสีย ได้ถวายบาตรที่เต็มด้วยเปือกตมแก่พระ

ปัจเจกพุทธเจ้าผู้คงที่นั้น ครั้งนั้นข้าพเจ้าเห็นสามีมี

หน้าแสดงว่ามีจิตสม่ำเสมอในการให้ การรับ การ

ไม่เคารพ และการประทุษร้าย จึงสลดใจมาก สามี

ของข้าพเจ้ารับบาตรมาแล้ว เอาน้ำหอมอย่างดีล้าง

ให้สะอาด ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายน้ำตาล

กรวดกับเปรียงเต็มบาตร ข้าพเจ้าเกิดในภพไหน ๆ

ก็มีรูปงาม เพราะถวายทาน แต่มีกลิ่นตัวเหม็น

เพราะทำความไม่ดี หยาบหยามพระปัจเจกพุทธเจ้า

๑. อรรถกถาเถรีคาถา เป็นน้องสาว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 121

เมื่อสามีสร้างพระเจดีย์แห่งพระกัสสปธีรเจ้าสำเร็จ

แล้ว ข้าพเจ้ามีความยินดีได้ถวายแผ่นอิฐทองคำอย่าง

ดี เอาแผ่นอิฐนั้นชุบจนเปียกด้วยน้ำหอมที่เกิดแต่

เครื่องหอม ๔ ชนิด จึงพ้นจากโทษที่มีกลิ่นตัวเหม็น

งดงามดีทั่วสรรพางค์ แล้วให้ช่างเอารัตนะ ๗ ประการ

ทำตะเกียง ๗๐๐,๐๐๐ ดวง ใส่เปรียงเต็ม ให้ใส่ไส้

๑,๐๐๐ ไส้ ตามประทีปตั้งไว้ ๗ แถว เพื่อบูชาพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ด้วยจิตที่เลื่อมใส

แม้ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าก็มีส่วนในบุญนั้นเป็นพิเศษ

สามีของข้าพเจ้าเกิดในแคว้นกาสี มีนามปรากฏว่า

สุมิตตะ ข้าพเจ้าเป็นภรรยานายสุมิตตะนั้น เจริญด้วย

สุขสมบัติ เป็นที่รักของสามี ครั้งนั้นสามีได้ถวายผ้า

โพกศีรษะเนื้อดีแก่พระปัจเจกมุนี แม้ข้าพเจ้าก็มีส่วน

แห่งทานนั้นอนุโมทนาทานอันอุดม สามีเกิดในกำเนิด

ชาวโกลิยะในแคว้นกาสี ครั้งนั้น สามีของข้าพเจ้า

พร้อมกับบุตรชาวโกลิยะ ๕๐๐ คน ได้บำรุงพระปัจเจก

พุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ อาราธนาพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่า

นั้นให้อยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส และได้ถวายไตร

จีวร ข้าพเจ้าเป็นไปตามครรลองแห่งบุญกรรม ได้

เป็นภรรยาของโกลิยบุตรคนนั้นในกาลนั้น โกลิยบุตร

นั้นเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วเป็นพระราชาพระนาม

ว่า นันทะ มีพระอิสริยยศใหญ่ แม้ข้าพเจ้าก็ได้เป็น

มเหสีของท้าวเธอ เป็นผู้มั่งคั่งด้วยกามสุขทุกอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 122

พระเจ้านันทะนั้นเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วเป็นพระ

เจ้าพรหมทัต ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ครั้งนั้นข้าพเจ้า

กับพระเจ้าพรหมทัต ได้อาราธนาพระปัจเจกพุทธเจ้า

๕๐๐ องค์ ผู้เป็นพระโอรสของพระนางปทุมวดี ให้อยู่

ในพระราชอุทยานแล้วบำรุง และบูชาพระปัจเจก-

พุทธเจ้าเหล่านั้นผู้นิพพานแล้ว จนตลอดชีวิต เรา

ทั้งสองสร้างพระเจดีย์ไว้หลายองค์ บวชแล้วเจริญ

อัปปมัญญา ได้ไปสู่พรหมโลก จุติจากพรหมโลกแล้ว

สามีของข้าพเจ้าเกิดเป็นพราหมณ์ชื่อปิปผลายนะ บ้าน

มหาติตถะ มารดาชื่อสุมนเทวี บิดาเป็นพราหมณ์

โกสิโคตร ข้าพเจ้าเกิดเป็นธิดาของพราหมณ์นามว่า

กปิละ มารดาชื่อสุจีมดีในมัททชนบท เมืองสากลบุรี

ที่อุดม บิดาหล่อรูปข้าพเจ้าด้วยทองแท่ง แล้วถวายรูป

หล่อแก่พระกัสสปพุทธเจ้าผู้เว้นจากกามคุณทั้งหลาย

พราหมณ์ปิปผลายนะนั้นเป็นหนุ่ม ไปตรวจตราการ

งานในบางคราว เห็นสัตว์ทั้งหลายที่ถูกกาเป็นต้นกัด

กินแล้วสลดใจ ครั้งนั้นข้าพเจ้าเห็นเมล็ดงาที่มีอยู่ได้

เรือน เอาออกผึ่งแดด มีเหล่าหนอนกัดกินอยู่ใน

ความสลดใจ ครั้งนั้น ปิปผลายพราหมณ์ผู้มีปัญญา

ออกบวชแล้ว ข้าพเจ้าก็บวชตาม อยู่อาศัยในสำนัก

ปริพาชก ๕ ปี เมื่อพระนางโคตมี ผู้เป็นคนเลี้ยงดู

พระพิชิตมารทรงผนวชแล้ว ข้าพเจ้าเข้าไปหาท่านใน

คราวนั้น พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแล้วไม่นานนักก็ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 123

บรรลุพระอรหัต โอ เรามีพระกัสสปะผู้มีศิริเป็น

กัลยาณมิตร พระกัสสปเถระผู้เป็นบุตรเป็นทายาทของ

พระพุทธเจ้า มีจิตตั้งมั่นดี ท่านรู้ขันธ์ที่อยู่อาศัยใน

ก่อน เห็นสวรรค์และอบาย ถึงความสิ้นชาติเป็นผู้

เสร็จกิจแล้วเพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี เป็นพราหมณ์ผู้ได้

วิชชา ๓ ด้วยวิชชา ๓ เหล่านี้ นางภัททกาปิลานีก็

เหมือนกัน ได้วิชชา ๓ ละมัจจุราชได้ ทรงร่างกาย

นี้เป็นที่สุด ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะ เราทั้งสองเห็น

โทษในโลกแล้วบวช เป็นผู้สิ้นอาสวะ ฝึกตนแล้ว มี

ความเย็นดับสนิทแล้ว ข้าพเจ้าเผากิเลส ถอนภพได้

หมดแล้ว ตัดเครื่องผูกพันเหมือนช้างพังตัดเชือกเป็น

ผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่ข้าพเจ้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้

ประเสริฐนี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ ข้าพเจ้า

บรรลุแล้วโดยลำดับ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของ

พระพุทธเจ้าแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔

วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว

ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระเถรีภัททกาปิลานีได้เป็นผู้มีความ

ชำนาญอย่างเชี่ยวชาญในปุพเพนิวาสญาณ เพราะได้สร้างสมบุญบารมีไว้อย่าง

ดียิ่งในภพนั้น ๆ กาลต่อมาพระศาสดาประทับนั่งท่ามกลางอริยสงฆ์ ณ พระ

เชตวัน ทรงตั้งเหล่าภิกษุณีไว้ในตำแหน่งทั้งหลายตามลำดับ ได้ทรงตั้งพระ

เถรีนั้นไว้ในตำแหน่งเป็นเลิศของภิกษุณีทั้งหลายผู้ระลึกชาติได้ วันหนึ่งพระ-

เถรีนั้น เมื่อเปล่งอุทานซึ่งเริ่มต้นด้วยการชมเชยคุณธรรมของพระมหากัสสป-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 124

เถระ ด้วยการชี้แจงคุณมีความที่ตนทำกิจสำเร็จแล้วเป็นต้นเป็นข้อสำคัญ ได้

กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

พระกัสสปเถระผู้เป็นบุตรเป็นทายาทของพระ

พุทธเจ้า มีจิตตั้งมั่นดี ท่านรู้ขันธ์ที่อยู่อาศัยในก่อน

เห็นสวรรค์และอบาย ถึงความสิ้นชาติ เป็นผู้เสร็จกิจ

แล้วเพราะรู้ยิ่งเป็นมุนี เป็นพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓

ด้วย วิชชา ๓ เหล่านี้ นางภัททกาปิลานีก็ได้วิชชา

๓ เหมือนกัน ละมัจจุราชได้ ทรงร่างกายนี้เป็นที่สุด

ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะ เราทั้งสองเห็นโทษในโลก

แล้วบวช เป็นผู้สิ้นอาสวะ ฝึกตนแล้วมีความเย็น

ดับสนิทแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺโต พุทฺธสฺส ทายาโท ความว่า

พระกัสสปเถระเป็นอนุชาตบุตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยความเป็นผู้

ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า เป็นทายาทโดยการถือเอาโลกุตรธรรม ๙ ซึ่งเป็น

การให้นั้น จากพระพุทธเจ้านั้นแล ชื่อว่ามีจิตตั้งมั่นดี เพราะความเป็นผู้มี

มีจิตตั้งมั่นด้วยดีด้วยสมาธิที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า ปุพฺเพนิวาส

โส เวที ความว่า พระมหากัสสปเถระนั้น ได้รู้แล้ว คือรู้ทั่วแล้ว คือแทง

ตลอดแล้ว ซึ่งขันธ์ที่อยู่อาศัยในก่อน คือซึ่งขันธ์สันดานที่เคยอยู่อาศัยทั้งของ

ตนและของคนอื่น ๆ ทำให้ปรากฏด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ. บทว่า

สคฺคาปายญฺจ ปสฺสติ ความว่า เห็นสวรรค์ ซึ่งแบ่งเป็นเทวโลก ๒๖ ภูมิ

และอบายภูมิ ๔ ภูมิ ด้วยทิพยจักษุ เหมือนเห็นมะขามป้อมในฝ่ามือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 125

บทว่า อโถ ชาติกฺขย ปตฺโต ความว่า บรรลุพระอรหัตกล่าวคือ

ความสิ้นชาติ ต่อจากนั้น เป็นผู้เสร็จกิจแล้ว คือถึงแล้วซึ่งความสำเร็จ คือ

เป็นผู้ทำกิจเสร็จแล้ว เพราะรู้ยิ่ง คือเพราะรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เพราะ

กำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ เพราะละซึ่งธรรมที่ควรละ เพราะทำให้แจ้ง

ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยญาณอันน่าปรารถนายิ่ง คือประเสริฐยิ่ง ชื่อว่า

เป็นมุนี เพราะบรรลุโมนะกล่าวคือปัญญาเป็นเครื่องทำอาสวะให้สิ้นไป.

บทว่า ตเถว ภทฺทกาปิลานี ความว่า พระมหากัสสปะเป็นผู้ได้

วิชชา ๓ ด้วยวิชชา ๓ เหล่านั้น คือตามที่กล่าวแล้ว และเป็นผู้ละมัจจุราชได้

ฉันใด พระเถรีภัททกาปิลานีก็ได้วิชชา ๓ และละมัจจุได้ ฉันนั้นเหมือนกัน

ต่อจากนั้น พระเถรีแสดงตนนั่นแหละ ทำให้เป็นเหมือนผู้อื่น ด้วยบทว่า

ธาเรติ อนฺติม เทห เชตฺวา มาร สวาหน.

บัดนี้ พระเถรีภัททกาปิลานีเมื่อแสดงว่า ความงามในเบื้องต้น ความ

งามในท่ามกลาง ความงามในที่สุดแห่งการปฏิบัติ ของพระเถระฉันใด แม้

ของเราก็ฉันนั้น จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า ทิสฺวา อาทีนว เป็นต้น. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า ตฺยมฺห ขีณาสวา ทนฺตา ความว่า เราทั้งหลาย

เหล่านั้น คือพระมหากัสสปเถระและข้าพเจ้า เป็นผู้ฝึกตนแล้วด้วยการฝึกสูงสุด

และเป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้วโดยประการทั้งปวง. บทว่า สีติภูตามฺห นิพฺพุตา

ความว่า เป็นผู้มีความเย็น เพราะไม่มีความเร่าร้อนคือกิเลสนั้นเอง และเป็น

ผู้ดับสนิทด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

จบอรรถกถาภัททกาปิลานีเถรีคาถา

จบอรรถกถาจตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 126

เถรีคาถา ปัญจกนิบาต

ว่าด้วยคาถาต่าง ๆ ในปัญจกนิบาต

๑. อัญญตราภิกษุณีเถรีคาถา

[๔๓๙] ตั้งแต่ข้าพเจ้าบวชมาตลอด ๒๕ ปี ยัง

ไม่ประสบความสงบจิตแม้ชั่วเวลาเพียง ลัดนิ้วมือ เลย

ข้าพเจ้าไม่ได้ความสงบจิต มีจิตชุ่มด้วยกามราคะ

ประคองแขนทั้งสองคร่ำครวญเข้าไปสู่วิหาร ข้าพเจ้า

นั้นได้เข้าไปหาภิกษุณีที่ข้าพเจ้าควรเชื่อถือ ภิกษุณี

นั้นได้แสดงธรรม คือขันธ์ อายตนะ และธาตุแก่

ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังธรรมของท่านแล้วเข้าไปนั่ง ณ ที่

ควรแห่งหนึ่ง ระลึกชาติได้ ข้าพเจ้าชำระทิพยจักษุ

ให้หมดจดแล้ว ชำระเจโตปริยญาณและโสตธาตุให้

หมดจดแล้ว แม้ฤทธิ์ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งแล้ว ข้าพเจ้า

บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะแล้ว ทำอภิญญา ๖ ให้แจ้ง

แล้ว ได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

จบ อัญญตราภิกษุณีเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 127

อรรถกถาปัญจกนิบาต

๑. อรรถกถาอัญญตราเถรีคาถา

คาถาว่า ปณฺณวีสติ วสฺสานิ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีองค์

หนึ่ง.

แม้พระเถรีองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ

สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาล

นี้ เป็นแม่นมของพระมหาปชาบดีโคตมี ในกรุงเทวทหะ เจริญแล้วแต่ไม่

ปรากฏชื่อและโคตร พระเถรีนั้นในเวลาที่พระมหาปชาบดีโคตมีบวช ตนเอง

ก็บวชด้วย ถูกกามราคะรบกวนอยู่ ๒๕ ปี ไม่ได้เอกัคคตาจิต ชั่วกาลแม้

เพียงลัดนิ้วมือ ประคองแขนคร่ำครวญอยู่ ได้ฟังธรรมในสำนักของพระธัมม-

ทินนาเถรี มีใจคลายจากกามทั้งหลาย เรียนกัมมัฏฐาน ประกอบภาวนาอยู่

เนือง ๆ ไม่นานนักก็เป็นผู้ได้อภิญญา ๖ พิจารณาการปฏิบัติของตน ได้

กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า

ตั้งแต่ข้าพเจ้าบวชมาตลอด ๒๕ ปี ยังไม่ประ

สบความสงบจิตแม้ชั่วเวลาเพียงลัดนิ้วมือเลย ข้าพเจ้า

ไม่ได้ความสงบจิต มีจิตชุ่มด้วยกามราคะ ประคอง

แขนทั้งสองคร่ำครวญเข้าไปสู่วิหาร ข้าพเจ้านั้นได้เข้า

ไปหาภิกษุณีที่ข้าพเจ้าควรเชื่อถือ ภิกษุณีนั้นได้แสดง

ธรรม คือขันธ์ อายตนะ และธาตุแก่ข้าพเจ้า ข้าพ-

เจ้าฟังธรรมของท่านแล้วเข้าไปนั่ง ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง

๑. บาลี เป็น อัญญตราภิกษุณีเถรีคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 128

ระลึกชาติได้ ข้าพเจ้าชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว

ชำระเจโตปริยญาณและโสตธาตุให้หมดจดแล้ว แม้

ฤทธิ์ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งแล้ว ข้าพเจ้าบรรลุธรรมเป็น

ที่สิ้นอาสวะแล้ว ทำอภิญญา ๖ ให้แจ้งแล้ว ได้ปฏิบัติ

คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาจฺฉราสงฺฆาตมตฺตมฺปิ ได้แก่ ชั่ว

ขณะแม้เพียงลัดนิ้วมือ ความว่า ชั่วเวลาแม้เพียงดีดนิ้วมือ. บทว่า จิตฺตสฺสู-

ปสมชฺฌค ประกอบความว่า ไม่บรรลุความสงบแห่งจิต คือเอกัคคตาจิต

อธิบายว่า ยังไม่ได้.

บทว่า กามราเคนวสฺสุตา ความว่า มีจิตชุ่มด้วยฉันทราคะเป็น

อย่างมาก เพราะยึดไว้อย่างมั่นในวัตถุกามทั้งหลายกล่าวคือกามคุณ.

ด้วยบทว่า ภิกฺขุนึ ท่านกล่าวหมายเอาพระธัมมทินนาเถรี.

บทว่า เจโตปริจฺจาณญฺจ เชื่อมความว่า และเจโตปริยญาณ

ข้าพเจ้าก็ชำระให้หมดจดแล้ว. อธิบายว่า บรรลุแล้ว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว

แล้วแล.

จบ อรรถกถาอัญญตราเถรีคาถา

๒. วิมลาปุราณคณิกาเถรีคาถา

[๔๔๐] ข้าพเจ้าเป็นผู้เมาวรรณะ รูปสมบัติ

ความสวยงาม บริวารสมบัติ และมีจิตกระด้างด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 129

ความเป็นสาว ดูหมิ่นหญิงอื่น ข้าพเจ้าประดับกายนี้

ให้วิจิตรงดงาม สำหรับลวงผู้ชายโง่ ๆ ได้ยืนอยู่ที่

ประตูเรือนหญิงแพศยา ดุจนายพรานที่คอยดักเนื้อ

ฉะนั้น ข้าพเจ้าแสดงเครื่องประดับต่าง ๆ และอวัยวะ

ที่ควรปกปิดเป็นอันมากให้ปรากฏ กระทำมายาหลาย

อย่างให้ขายเป็นอันมากยินดี วันนี้ข้าพเจ้านั้นมีศีรษะ

โล้น ห่มผ้าสังฆาฏิเที่ยวบิณฑบาตแล้วมานั่งอยู่ที่โคน

ต้นไม่ ได้ฌานอันไม่มีวิตก ข้าพเจ้าตัดเครื่องเกาะ

เกี่ยวทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็น ของมนุษย์ ได้ทั้งหมด

ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป มีความเย็นดับสนิทแล้ว.

จบ วิมลาปุราณคณิกาเถรีคาถา

๒. อรรถกถาวิมลาเถรีคาถา

คาถาว่า มตฺตา วณฺเณน รูเปน เป็นต้น เป็นคาถาของพระ-

เถรีชื่อวิมลา.

แม้พระเถรีชื่อวิมลาองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ใน

พุทธุปปาทกาลนี้ เกิดเป็นธิดาของหญิงผู้อาศัยรูปเลี้ยงชีพคนหนึ่งในกรุงเวสาลี

มีชื่อว่า วิมาลา นางวิมลาครั้นเจริญวัยแล้วก็เลี้ยงชีพอย่างนั้นเหมือนกัน

วันหนึ่งนางเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะเที่ยวบิณฑบาตในกรุงเวสาลี มีจิต

ปฏิพัทธ์จึงไปถึงที่อยู่ของพระเถระเริ่มทำการเล้าโลมมุ่งพระเถระ อาจารย์บาง

ท่านกล่าวว่า ถูกพวกเดียรถีย์ส่งไปจึงได้ทำอย่างนั้น พระเถระคุกคามแล้วได้

๑. บาลี เป็น วิมลาปุราณคณิกาเถรีคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 130

ให้โอวาทแก่นางโดยการชี้แจงถึงอสุภกัมมัฏฐานเป็นข้อสำคัญ เรื่องนั้นมีมาใน

เถรคาถาที่แล้วมานั่นแล เมื่อพระเถระให้โอวาทอย่างนั้นแล้ว นางเกิดความ

สังเวช เกิดหิริโอตตัปปะ ได้ศรัทธาในพระศาสนา เป็นอุบาสิกา เวลาต่อมาได้

บวชในหมู่ภิกษุณี เพียรพยายามอยู่ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต เพราะ

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุ พิจารณาการปฏิบัติของตน ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นเป็น

อุทานว่า

ข้าพเจ้าเป็นผู้เมาวรรณะ รูปสมบัติ ความ

สวยงาม บริวารสมบัติ และมีจิตกระด้างด้วยความ

เป็นสาว ดูหมิ่นหญิงอื่น ข้าพเจ้าประดับกายนี้ให้

วิจิตรงดงามสำหรับลวงผู้ชายโง่ ๆ ได้ยืนอยู่ที่ประตู

เรือนหญิงเพศยา ดุจนายพรานที่คอยดักเนื้อฉะนั้น

ข้าพเจ้าแสดงเครื่องประดับต่าง ๆ และอวัยวะที่ควร

ปกปิดเป็นอันมากให้ปรากฏ กระทำมายาหลายอย่าง

ให้ชายเป็นอันมากยินดี วันนี้ข้าพเจ้านั้นมีศีรษะโล้น

ห่มผ้าสังฆาฏิเที่ยวบิณฑบาตแล้ว มานั่งอยู่ที่โคนต้น

ไม้ ได้ฌานอันไม่มีวิตก ข้าพเจ้าตัดเครื่องเกาะเกี่ยว

ทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็นของมนุษย์ได้ทั้งหมด ทำ

อาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป มีความเย็น ดับสนิทแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มตฺต วณฺเณน รูเปน ได้แก่ ด้วย

วรรณะคือคุณ และด้วยรูปสมบัติ. บทว่า โสภคฺเคน ได้แก่ ด้วยความน่า

พึงใจ. บทว่า ยเสน ได้แก่ ด้วยบริวารสมบัติ ความว่า เป็นผูเมา คือถึง

ความเมาซึ่งได้แก่เมาวรรณะ เมารูป เมาความงาม และเมาบริวาร. บทว่า

โยพฺพเนน จุปตฺถทฺธา ความว่า กระด้างยิ่ง ๆ ขึ้น ด้วยความเมาในความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 131

เป็นสาว คือมีจิตกระด้าง ได้แก่มีใจไม่สงบระงับด้วยอหังการ ซึ่งมีความสาว

เป็นนิมิต. บทว่า อญฺาสมติมญฺิห ความว่า ข้าพเจ้าได้ดูหมิ่นหญิง

อื่น ๆ ด้วยคุณมีวรรณะเป็นต้นของตน แม้โดยประการทั้งปวง อีกอย่างหนึ่ง

ข้าพเจ้าดูหมิ่น คือดูหมิ่นแล้ว ได้แก่ ได้ทำการดูหมิ่นคุณมีวรรณะเป็นต้น

ของหญิงอื่นๆ.

บทว่า วิภูสิตฺวา อิม กาย สุจิตฺต พาลลาปน ความว่า

ข้าพเจ้าประดับ คือตกแต่งให้สวยงามน่าเลื่อมใส ซึ่งกายของข้าพเจ้านี้ ที่เต็ม

ไปด้วยของไม่สะอาดหลายอย่าง น่าเกลียด ให้วิจิตรงดงามด้วยการประเทือง

ผิวและแต่งผมเป็นต้น ด้วยพัสตราภรณ์ทั้งหลาย สำหรับลวงผู้ชายโง่ ๆ โดย

ลวงคือพูดกับพวกผู้ชายโง่ ๆ ว่า ของฉัน. บทว่า อฎฺาสึ เวสิทฺวารมฺหิ

ลุทฺโธ ปาสมิโวฑฺฑิย ความว่า ข้าพเจ้าได้ยืนเอากายของข้าพเจ้าตามที่

กล่าวแล้วซึ่งเป็นบ่วงมารล่อเหยื่ออยู่ที่ประตูเรือนหญิงแพศยา คือที่ประตูเรือน

ของหญิงแพศยา ดุจนายพรานเนื้อดักบ่วงเนื้อมีตาข่ายผูกท่อนไม้เป็นต้น เพื่อ

ต้องการผูกมัดเนื้อทั้งหลาย.

บทว่า ปิลนฺธน วิทเสนฺตี คุยฺห ปกาสิก พหุ ความว่า

แสดงอวัยวะที่ควรปกปิดมีขา ตะโพก และก้นเป็นต้น และอวัยวะที่ควรให้

ปรากฏมีเท้าเข่าและศีรษะเป็นต้น คือแสดงอวัยวะที่ควรปกปิดให้ปรากฏ และ

เครื่องประดับคืออาภรณ์มีประการต่าง ๆ เป็นอันมาก. บทว่า อกาสึ วิวิธ

มาย อุชฺฌคฺฆนฺตี พหุ ชน ความว่า ข้าพเจ้าหัวเราะเพื่อประเล้าประ-

โลมชายโง่เป็นอันมากที่มัวเมาความสาว ได้กระทำการล่อลวงมีอย่างต่าง ๆ คือ

มีประการต่าง ๆ ด้วยการปกปิดสภาพของสรีระ ด้วยของหอมดอกไม้และ

พัสตราภรณ์เป็นต้น และด้วยทีท่านั้น ๆ มีหัวเราะและภาวะที่มีเสน่ห์เป็นต้น.

บทว่า สาชฺช ปิณฺฑ จริตฺวาน มุณฺฑา สงฺฆาฏิปารุตา

นิสินฺนา รุกฺขมูลมฺหิ อวิตกฺกสฺส ลาภินี ประกอบความว่า ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 132

นั้นเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทอย่างนี้ วันนี้คือเดี๋ยวนี้ได้ตั้งอยู่ในโอวาทของ

พระผู้เป็นเจ้ามหาโมคคัลลานเถระ บวชในพระศาสนา มีศีรษะโล้น ห่มผ้า

สังฆาฏิเที่ยวบิณฑบาต นั่งฉันภิกษาหาร คือนั่งที่โคนต้นไม้ คือบนอาสนะที่

สงัด ณ โคนต้นไม้ เป็นผู้ได้ฌานอันไม่มีวิตก ด้วยการบรรลุพระอรหัตผล

ซึ่งมีทุติยฌานเป็นบาท.

บทว่า สพฺเพ โยคา ได้แก่ เครื่องเกาะเกี่ยวแม้ทั้ง ๔ มีเครื่อง

เกาะเกี่ยวคือกามเป็นต้น. บทว่า สมุจฺฉินฺนา ความว่า ตัดทิ้งคือละโดย

ชอบทีเดียวตามสมควร ด้วยปฐมมรรคเป็นต้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

จบ อรรถกถาวิมลาเถรีคาถา

๓. สีหาเถรีคาถา

[๔๔๑] เมื่อก่อน ข้าพเจ้าถูกกามราคะเบียด

เบียน มีจิตฟุ้งซ่าน ทำจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้

เพราะไม่มนสิการโดยอุบายที่แยบคาย ข้าพเจ้าถูก

กิเลสกลุ้มรุม เป็นไปตามความเข้าใจในกามคุณว่าเป็น

สุข ตกอยู่ในอำนาจของจิตอันสัมปยุตด้วยราคะ จึง

ไม่ได้ความสงบจิต ข้าพเจ้าเป็นผู้ผอมเหลือง ปราศ-

จากผิวพรรณอยู่ ๗ ปี มีแต่ทุกข์ ไม่ได้ความสุขทั้ง

กลางวันกลางคืน เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงถือเอา

เชือกเข้าไปสู่ราวป่า ด้วยคิดว่าจะผูกคอตายเสียในที่นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 133

ดีกว่าที่จะกลับไปสู่ความเป็นคฤหัสถ์อีก ข้าพเจ้าทำ

บ่วงให้มั่น ผูกที่กิ่งไม้แล้วสวมบ่วงที่คอ ทันใดนั้น

จิตของข้าพเจ้าก็หลุดพ้นจากกิเลส.

จบ สีหาเถรีคาถา

๓. อรรถกถาสีหาเถรีคาถา

คาถาว่า อโยนิโสมนสิการา เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรี

ชื่อสีหา.

แม้พระเถรีชื่อสีหาองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ใน

พุทธุปปาทกาลนี้ เป็นธิดาของน้องสาวสีหเสนาบดี กรุงเวสาลี ญาติพี่

น้องทั้งหลายตั้งชื่อให้ว่า สีหา เพราะตั้งตามชื่อลุงของเธอ นางสีหานั้นรู้ความ

แล้ว วันหนึ่งพระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่สีหเสนาบดี เธอฟังธรรมนั้นได้

ศรัทธา ขออนุญาตบิดามารดาบวช ครั้นบวชแล้วแม้เริ่มวิปัสสนาก็ไม่อาจทำ

จิตที่พล่านไปในอารมณ์อันกว้างใหญ่ภายนอกให้กลับได้ ถูกมิจฉาวิตกเบียด

เบียนอยู่ ๗ ปี ไม่ได้ความชื่นจิตจึงคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตอันลามก

ของเรานี้ เราจักผูกคอตายดังนี้ ถือบ่วงคล้องที่กิ่งไม้แล้วสวมบ่วงนั้นที่คอของ

ตน น้อมจิตไปในวิปัสสนาด้วยอำนาจบุญกุศลที่ตนสั่งสมไว้ในก่อน ด้วยความ

เป็นผู้มีภพมีในที่สุด บ่วงที่ผูกได้อยู่ตรงที่คอ. พระเถรีนั้นเจริญวิปัสสนาได้

บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายในขณะนั้นเอง. เพราะญาณแก่

กล้าแล้ว. บ่วงที่ผูกคอไว้หลุดออกพร้อมกับเวลาที่บรรลุพระอรหัตนั่นแหละ.

พระเถรีตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นเป็นอุทานว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 134

เมื่อก่อนข้าพเจ้าถูกกามราคะเบียดเบียน มีจิต

ฟุ้งซ่าน ทำจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ เพราะไม่มน-

สิการโดยอุบายที่แยบคาย ข้าพเจ้าถูกกิเลสกลุ้มรุม

เป็นไปตามความเข้าใจในกามคุณว่าเป็นสุข ตกอยู่ใน

อำนาจของจิตอันสัมปยุตด้วยราคะ จึงไม่ได้ความสงบ

จิต ข้าพเจ้าเป็นผู้ผอมเหลืองปราศจากผิวพรรณอยู่ ๗

ปี มีแต่ทุกข์ ไม่ได้ความสุขทั้งกลางวันกลางคืน

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงถือเชือกเข้าไปสู่ราวป่า ด้วย

คิดว่าจะผูกคอตายเสียในที่นี้ ดีกว่าที่จะกลับไปสู่ความ

เป็นคฤหัสถ์อีก ข้าพเจ้าทำบ่วงให้มั่น ผูกที่กิ่งไม้แล้ว

สวมบ่วงที่คอ ทันใดนั้นจิตของข้าพเจ้าก็หลุดพ้นจาก

กิเลส.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยนิสมนสิการา ได้แก่ เพราะไม่

มนสิการโดยอุบาย คือเพราะถือคลาดเคลื่อนในสิ่งที่ไม่งามว่างาม. บทว่า

กามราเคน อทฺทิตา ความว่า ถูกฉันทราคะในกามคุณทั้งหลายบีบคั้น.

บทว่า อโหสึ อุทฺทิตา ปุพฺเพ จิตฺเต อวสวตฺตินี ความว่า เมื่อก่อน

เมื่อจิตของข้าพเจ้าไม่เป็นไปในอำนาจของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตฟุ้งซ่าน คือมี

จิตฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่างๆ คือมีจิตไม่ตั้งมั่น. บทว่า ปริยุฏฺิตา กิเลเสหิ

สุขสญฺานิวตฺตินี ความว่า อันกิเลสทั้งหลายมีกามราคะเป็นต้นที่ถึงความ

กลุ้มรุมครอบงำแล้ว มีปกติเป็นไปตามกามสัญญาที่เป็นไปในรูปเป็นต้นว่างาม.

บทว่า สม จิตฺตสฺส นาลภึ ราคจิตฺตวสานุคา ความว่า ไปตามอำนาจ

ของจิตที่สัมปยุตด้วยกามราคะ จึงไม่ได้ความสงบแห่งจิต คือความสงบใจ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 135

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว แม้เล็กน้อย. บทว่า กิสาปณฺฑุวิวณฺณา จ ความ

ว่า เป็นผู้ผอมคือมีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น เหลืองขึ้น ๆ เพราะความเป็นผู้

กระสันอย่างนี้ เพราะเหตุนั้นแหละจึงเป็นผู้ปราศจากผิวพรรณ คือผู้มีผิว-

พรรณไปปราศแล้ว. บทว่า สตฺต วสฺสานิ แปลว่า ตลอด ๗ ปี. บทว่า

จาริห แปลว่า ข้าพเจ้าเที่ยวไปแล้ว. บทว่า นาห ทิวา วา รตฺตึ วา

สุข วินฺทึ สุทุกฺขิตา ความว่า ข้าพเจ้าถึงทุกข์ ด้วยกิเลสทุกข์ใน ๗ ปี

อย่างนี้ ไม่ได้ความสุขของสมณะทั้งกลางวันทั้งกลางคืน. บทว่า ตโต ได้

แก่ เพราะไม่ได้ความสุขของสมณะในเพราะความกลุ้มรุมของกิเลส. บทว่า

รชฺชุ คเหตฺวาน ปาวิสึ วนมนฺตร ความว่า ถือเชือกบ่วงเข้าไปยังราว

ป่า หากจะมีผู้ถามว่า เข้าไปทำไม (พึงตอบว่า). บทว่า วร เม อิธ

อุพฺพนฺธ ยญฺจ หีน ปุนาจเร ความว่า เพราะข้าพเจ้าไม่อาจบำเพ็ญ

สมณธรรม พึงกลับมาประพฤติ คือพึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ คือพึงดำรงเพศที่

ทรามคือความเป็นคฤหัสถ์อีก ฉะนั้น ข้าพเจ้าผูกคอตายเสียในราวป่านี้ ดีกว่า

คือประเสริฐกว่าด้วยคุณตั้งร้อยตั้งพัน. บทว่า อถ จิตฺต วิมุจิจิ เม ความ

ว่า ข้าพเจ้าสวมบ่วงที่ผูกกับกิ่งไม้เข้าที่คอในกาลใด ในกาลนั้นคือในลำดับ

นั่นเอง จิตของข้าพเจ้าหลุดพ้น คือได้หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งปวงตาม

ลำดับมรรค เพราะสืบต่อด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนาและมรรค.

จบอรรถกถาสีหาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 136

๔. นันทาเถรีคาถา

[๔๔๒] แน่ะนันทา เธอจงดูร่างกายอันกระสับ

กระส่ายไม่สะอาด เปื่อยเน่า จงอบรมจิตให้ตั้งมั่น

ด้วยดี มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ด้วยอสุภสัญญา ร่างกายนี้

ฉันใด ร่างกายของเธอนั่นก็ฉันนั้น ร่างกายของเธอ

นั่นฉันใด ร่างกายนี้ก็ฉันนั้น ร่างกายเป็นของเปื่อย

เน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป ที่พวกชนพาลเพลิดเพลินกัน

ยิ่งนัก เมื่อเธอพิจารณาร่ายกายนี้อย่างนี้ ไม่เกียจคร้าน

ทั้งกลางคืนกลางวัน ต่อนั้นจักแทงตลอดแล้วเห็นได้

ด้วยปัญญาของตน เมื่อข้าพเจ้านั้นเป็นผู้ไม่ประมาท

ค้นคว้าอยู่โดยอุบายอันแยบคาย ได้เห็นกายทั้งภายใน

และภายนอก ตามความเป็นจริง ที่นั้นข้าพเจ้าจึงเบื่อ

หน่ายในกาย และคลายกำหนัดในภายใน เป็นผู้ไม่

ประมาท ไม่เกาะเกี่ยวในสิ่งอะไร ๆ เป็นผู้สงบระงับ

ดับสนิทแล้ว.

จบ นันทาเถรีคาถา

๑. อรรถกถา เป็น สุนทรีนันทาเถรีคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 137

๔. อรรถกถาสุนทรีนันทาเถรีคาถา

คาถาว่า อาตุร อสุจึ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อสุนทรี

นันทา.

เล่ากันว่า แม้พระเถรีชื่อสุนทรีนันทาองค์นี้ก็บังเกิดในเรือนตระกูล

ในพระนครหังสวดี เธอรู้ความแล้ว ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา เห็น

พระศาสดาทรงตั้งภิกษุณีองค์หนึ่ง ในตำแหน่งเป็นเลิศของภิกษุณีทั้งหลายผู้

ได้ฌาน จึงสร้างสมบุญญาธิการปรารถนาตำแหน่งนั้น สั่งสมกุศลท่องเที่ยว

ในเทวโลกและมนุษยโลกอยู่หนึ่งแสนกัป ในพุทธุปปาทกาลนี้บังเกิดในศากย-

ราชตระกูล พระญาติทั้งหลายตั้งนามให้เธอว่า นันทา.

กาลต่อมา รู้กันทั่วไปว่า นันทาผู้สวยงามและสาวงามของชนบท ใน

ห้อง ๑๒ ศอกที่มือมิดไม่ต้องใช้ประทีป ดุจพระเถรีภัททกาปิลานี สว่างด้วย

แสงสว่างของสรีระ เป็นผู้ทรงยศงดงามด้วยคุณตั้งร้อยกว่าแสงสว่างเหล่านั้น.

นางสุนทรีนันทานั้น เธอพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายบรรลุ

ความเป็นพระสัพพัญญูแล้ว เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์โดยลำดับ ทรงให้นันท-

กุมารและราหุลกุมารบวชแล้วเสด็จไป เมื่อพระเจ้าสุทโธทนมหาราชเสด็จปริ-

นิพพานแล้ว เมื่อพระมหาปชาบดีโคตมีและพระพิมพาราหุลมารดาบวชแล้ว

เธอคิดว่า พระเชษฐภาคา ของเราทรงละความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ บวชเป็น

พระพุทธเจ้าผู้อัครบุคคลในโลก แม้ราหุลกุมารพระโอรสของพระองค์ก็บวช

เจ้านันทราชภัสดาของเราก็ดี พระมหาปชาบดีโคตมีพระมารดาก็ดี ราหุลมารดา

พระภคินีก็ดี ก็บวชกันหมดแล้ว บัดนี้เราจักทำอะไรในเรือน เราจักบวช

เธอไปสำนักภิกษุณี บวชด้วยความรักพวกพระญาติ ไม่ได้บวชด้วยศรัทธา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 138

ฉะนั้น ถึงบวชแล้วก็ยังเกิดความเมาอาศัยรูป ไม่ไปที่บำรุงพระพุทธเจ้า ด้วย

คิดว่าพระศาสดาทรงตำหนิติเตียนรูป ทรงแสดงโทษในรูปโดยอเนกปริยาย

เรื่องทั้งหมดเป็นต้นดังที่กล่าวนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องของพระ-

อภิรูปนันทาเถรีที่กล่าวมาแล้ว ส่วนความแปลกกันดังนี้ เมื่อพระเถรีเห็นรูป

หญิงที่พระศาสดาทรงเนรมิต ถูกชราครอบงำแล้วโดยลำดับ จึงมนสิการเป็น

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตได้มุ่งตรงกัมมัฏฐาน พระศาสดาทรงเห็นดังนั้น

เมื่อทรงแสดงธรรมเป็นสัปปายะแก่เธอได้ตรัสพระคาถา ๓ พระคาถาเหล่านี้ว่า

แน่ะนันทา เธอจงดูร่างกายอันกระสับกระส่าย

ไม่สะอาด เปื่อยเน่า จงอบรบจิตให้ตั้งมั่นด้วยดี มี

อารมณ์เป็นหนึ่ง ด้วยอสุภสัญญา ร่างกายนี้ฉันใด

ร่างกายของเธอนั่นก็ฉันนั้น ร่างกายของเธอนั่นฉันใด

ร่างกายนี้ก็ฉันนั้น ร่างกายเป็นของเปื่อยเน่า มีกลิ่น

เหม็นฟุ้งไป ที่พวกชนพาลเพลิดเพลินกันยิ่งนัก เมื่อ

เธอพิจารณาร่างกายนี้อย่างนี้ ไม่เกียจคร้านทั้งกลาง

คืนกลางวัน ต่อนั้นจักแทงตลอด แล้วเห็นได้ด้วย

ปัญญาของตน.

พระเถรีนั้น ส่งญาณไปตามแนวพระธรรมเทศนา ดำรงอยู่ในโสดา-

ปัตติผล พระศาสดาเมื่อตรัสบอกกัมมัฏฐานเพื่อประโยชน์แก่มรรคเบื้องบน

แก่พระเถรีนั้น เพื่อทรงแสดงว่า แน่ะนันทา ในสรีระนี้ไม่มีสาระแม้มีประ-

มาณน้อยเลย กายนี้มีเนื้อและเลือดฉาบทาไว้ เป็นที่อยู่ของชราเป็นต้น เป็น

เพียงกองกระดูกเท่านั้น ดังนี้ จึงตรัสพระคาถานี้ในธรรมบทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 139

รูปนี้อันธรรมดาสร้างขึ้นให้เป็นนคร แห่งกระดูก

มีเนื้อและเลือดฉาบทาไว้ เป็นที่ตั้งแห่งชรา มัจจุ

มานะ และมักขะ.

เวลาจบเทศนา พระเถรีนั้นได้บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารพระ

นามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เป็นนายก

ของโลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า

ผู้ฉลาดในเทศนาวิธี ตรัสสอนเหล่าสัตว์ให้รู้แจ้ง ทรง

ช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามได้ ได้ทรงให้หมู่ชนข้ามพ้นไป

เป็นอันมาก ทรงพระกรุณาอันเคราะห์แสวงทาประ-

โยชน์แก่สรรพสัตว์ ทรงตั้งพวกเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้ง

หมดไว้ในเบญจศีล พระศาสนาของพระองค์ไม่อากูล

ว่างจากพวกเดียรถีย์ งดงามไปด้วยพระอรหันต์ทั้ง

หลายที่มีความชำนาญ เป็นผู้คงที่ พระองค์ทรงเป็น

พระมหามุนีมีพระวรกายสูง ๘ ศอก มีพระรัศมีงาม

ดังทองคำที่มีค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒

ประการ มีพระชนมายุแสนปี พระองค์ดำรงอยู่โดย

กาลเท่านั้นได้ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นไปเป็นอันมาก

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐีในพระนคร

หังสวดี มีความรุ่งเรื่องด้วยรัตนะต่างๆ เพียบพร้อม

ไปด้วยความสุขเป็นอันมาก ข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระมหา-

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๖๕ นันทาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 140

วีระเจ้าพระองค์นั้น ได้ฟังพระธรรมอย่างจับใจยิ่ง ซึ่ง

เป็นอมตะ ครั้งนั้นข้าพเจ้าเลื่อมใสได้นิมนต์พระพุทธ-

เจ้าผู้เป็นนายกของโลกพร้อมด้วยพระสงฆ์แล้ว ถวาย

มหาทานแด่พระองค์ด้วยมือของตน ข้าพเจ้าได้ซบ

เศียรลงใกล้พระวีระเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพร้อมด้วย

พระสงฆ์ ปรารถนาตำแหน่งอันเป็นเลิศของเหล่า

ภิกษุณีที่ได้ฌาน ครั้งนั้น พระสุคตเจ้าผู้ฝึกนรชนที่ยัง

ไม่ได้ฝึก ทรงเป็นสรณะของโลกสาม เป็นผู้ใหญ่ทรง

นรชนไว้ให้ดี ทรงพยากรณ์ว่า เธอจักได้ตำแหน่งที่

ปรารถนาดีแล้วนั้น แต่กัปนี้ไปหนึ่งแสนกัปพระ-

ศาสดาพระนามว่าโคตมะ มีพระสมภพในวงศ์พระ

เจ้าโอกกากราชจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้เป็น

ทายาทในธรรมของพระองค์จักเป็นโอรสอันธรรมเนร-

มิต จักเป็นสาวิกาของพระศาสดา มีนามว่านันทาครั้ง

นั้นข้าพเจ้าได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว มีความยินดี มี

จิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระพิชิตมารผู้เป็นนายก

พิเศษ ด้วยปัจจัยทั้งหลายตลอดชีวิต ด้วยกุศลกรรม

ที่ทำไว้ดีนั้น และด้วยเจตนาอันแน่วแน่ ข้าพเจ้าละ

ร่างกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุติจาก

ชั้นดาวดึงส์นั้นแล้วได้ไปชั้นยามาจากชั้นยามาไปชั้น

ดุสิต จากชั้นดุสิตไปชั้นนิมมานรดี จากชั้นนิมมานรดี

ไปชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ด้วยอำนาจบุญกรรมนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 141

ข้าพเจ้าเกิดในภพใด ๆ ก็ได้ครองตำแหน่งมเหสีของ

พระเจ้าจักรพรรดิ และของพระเจ้าเอกราช เสวยสมบัติ

ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้มีความสุขในที่ทุก

สถาน ท่องเที่ยวไปในกัปมิใช่น้อย ในภพหลังที่มา

ถึงบัดนี้ ข้าพเจ้าเป็นราชธิดาของพระเจ้าสุทโธทนะใน

กรุงกบิลพัสดุ์ มีรูปสมบัติที่ประชาชนพากันสรรเสริญ

ราชตระกูลนั้นเห็นข้าพเจ้ามีรูปงามดังดวงอาทิตย์จึงพา

กันชื่นชม เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีนามว่า นันทา

เป็นผู้มีลักษณะงามบวร ในกรุงกบิลพัสดุ์ซึ่งเป็นนคร

ที่รื่นรมย์นั้น นอกจากพระนางยโสธรา ปรากฏว่า

ข้าพเจ้างามกว่ายุวนารีทั้งปวง พระเชษฐภาดาเป็นพระ

พุทธเจ้าผู้เลิศในไตรโลก พระภาดาองค์รองก็เป็น

พระอรหันต์เหมือนกัน ข้าพเจ้าเป็นคฤหัสถ์อยู่ผู้เดียว

พระมารดาทรงตักเตือนว่า แน่ะลูกรักลูกเกิดในศากย-

ตระกูล เป็นพระกนิษฐภคินีของพระพุทธเจ้า เมื่อเว้น

จากนันทกุมารเสียแล้ว ลูกจักได้ประโยชน์อะไรใน

เรือนเล่า รูปถึงมีความเป็นหนุ่มสาวก็มีความแก่เป็น

อวสาน รู้กันว่าไม่สะอาด เมื่อยังไม่มีโรค ก็มีโรค

ในที่สุด ชีวิตมีความตายเป็นที่สุด รูปของลูกนี้ แม้

จะงามจับใจน่าใคร่ดังดวงจันทร์ เมื่อตกแต่งด้วยเครื่อง

ประดับก็ยิ่งมีสิริงามเปล่งปลั่ง เป็นที่กำหนดหมาย

เป็นที่ยินดีแห่งนัยน์ตาทั้งหลาย คล้ายทรัพย์ที่เป็นสาระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 142

ของโลกที่บูชากัน เป็นรูปที่ให้เกิดความสรรเสริญ

เพราะบุญทั้งหลายที่ได้บำเพ็ญไว้ เป็นที่ชื่นชมแห่ง

วงศ์โอกกากราช โดยกาลไม่นานนัก ชราก็จักมาย่ำยี

ลูกจงละเรือนและรูปที่บัณฑิตตำหนิ ประพฤติพรหม-

จรรย์เถิด ข้าพเจ้ายังหลงใหลในความเป็นสาวแห่งรูป

ได้ฟังพระดำรัสของพระมารดาแล้ว ก็บวชเป็นบรรพ

ชิตด้วยร่างกาย แต่มิได้บวชด้วยใจ ข้าพเจ้าระลึกถึง

ตัวเอง จึงพากเพียรเล่าเรียนฌานเป็นอันมาก พระ

มารดาก็ตรัสเตือนให้ประพฤติธรรม แต่ข้าพเจ้ามิได้

ขวนขวายในเรื่องนั้น ลำดับนั้นพระพิชิตมารผู้ทรง

พระมหากรุณา ทอดพระเนตรเห็นข้าพเจ้าซึ่งมีผิวหน้า

ดังดอกบัว ทรงเนรมิตหญิงงามน่าทัศนางามรุ่งเรือง

มีรูปงามกว่าข้าพเจ้าเสียอีกให้ข้าพเจ้าเห็น ด้วยอานุ-

ภาพของพระองค์เพื่อให้ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายในรูป ข้าพ-

เจ้าเป็นคนสวย เห็นหญิงนั้นซึ่งมีร่างกายสวยยิ่งกว่า

จึงคิดว่า เราเห็นหญิงมนุษย์ดังนี้ มีผลดี และเป็น

ลาภนัยน์ตาของเรา เชิญเถิดแม่คนงาม แม่จงบอกสิ่ง

ที่ต้องประสงค์แก่ฉัน แม่จงบอกตระกูลชื่อและโคตร

ของแม่ ซึ่งเป็นที่รักของแม่แก่ฉันเถิด เวลานี้ไม่ใช่

เวลาแห่งปัญหานะคนสวย แม่จงให้ฉันอยู่บนตักอวัย-

วะทั้งหลายของฉันจะทับอยู่ จงให้ฉันหลับสักครู่เถิด

ต่อแต่นั้นแม่คนสวย พึงนอนเอาศีรษะไว้บนตักของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 143

ฉัน ของแข็งที่หยาบมากตกลงที่หน้าผากของเธอบวม

ปูดขึ้นทันทีแล้วแตก มีสิ่งโสโครกหนองและเลือด

ไหลออก หน้าแตกมีกลิ่นเหม็นเน่าอย่างซากศพ ทั่วตัว

ขึ้นพอง มีสีเขียว เธอมีอวัยวะทั้งปวงสั่นเท้า หายใจถี่

เสวยทุกข์ของตน คร่ำครวญอยู่อย่างน่าสงสาร เพราะ

เธอประสบทุกข์ ข้าพเจ้าจึงมีทุกข์ ต้องทุกขเวทนา

จมลงในมหาทุกข์ ขอเธอจงเป็นที่พึ่งเป็นเพื่อนของฉัน

หน้าที่งามของเธอหายไปไหน จมูกที่โด่งงามของเธอ

หายไปไหน ริมฝีปากที่งามเหมือนสีลูกมะพลับสุกของ

เธอหายไปไหน วงหน้าที่งามดังดวงจันทร์และลำคอที่

คล้ายแท่งทองคำของเธอหายไปไหน ใบหูของเธอที่

เป็นดังพวงดอกไม้ ก็มีสีหมดสวยเสียแล้ว ถันทั้งคู่

ของเธอที่เหมือน ดอกบัวตูม เพียงดังหม้อน้ำมนต์

พราหมณ์ แตกแล้วมีกลิ่นเหม็นเหมือนศพเน่า เธอมี

สะเอวกลม มีตะโพผึ่งผาย บัดนี้เต็มไปด้วยสิ่งชั่ว

ทราม โอ รูปไม่เที่ยง อวัยวะที่เนื่องในสรีระทั้ง

หมดมีกลิ่นเหม็นเน่า น่ากลัว น่าเกลียด เหมือน

ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นที่ยินดีของพวกพาลชน

ครั้งนั้นพระภาดาของข้าพเจ้า ผู้ประกอบด้วยพระมหา-

กรุณาทรงเป็นนายกของโลก ทอดพระเนตรเห็นข้าพ-

เจ้ามีจิตสลด ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า แน่ะนันทา

เธอจงดูรูปที่กระสับกระส่าย เปื่อยเน่าดังซากศพ จง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 144

อบรมจิตให้ตั้งมั่นด้วยดี มีอารมณ์เดียว ด้วยอสุภสัญ-

ญา รูปนี้เป็นฉันใด รูปเธอก็เป็นฉันนั้น รูปเธอเป็น

ฉันใด รูปนี้ก็เป็นฉันนั้น รูปนี้มีกลิ่นเน่าฟุ้งไป พวก

คนพาลยินดียิ่งนัก พวกบัณฑิตผู้ไม่เกียจคร้าน ย่อม

พิจารณาเห็นรูปนั้นเป็นอย่างนั้น ทั้งกลางคืนกลางวัน

เหตุนั้นเธอจงเบื่อหน่าย พิจารณาดูรูปนั้นด้วยปัญญา

ของตน ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังคาถาเป็นสุภาษิตแล้ว

มีความสลดใจ ตั้งอยู่ในธรรมนั้น แลได้บรรลุพระอร-

หัตแล้ว ในกาลนั้นข้าพเจ้านั่งอยู่ในที่ไหน ๆ ก็มีฌาน

เป็นเบื้องหน้า พระพิชิตมารทรงพอพระทัยในคุณสม-

บัตินั้น ได้ทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ถอนภพทั้งหลายได้หมดแล้ว

ตัดเครื่องผูกพันเหมือนช้างพังตัดเชือกเป็นผู้ไม่มีอาส-

วะอยู่ การมาเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐของข้าพเจ้า

เป็นการมาดีแล้วหนอ ข้าพเจ้าบรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้

ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้

คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖ ข้าพเจ้า

ทำให้แจ้งแล้ว ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธ-

เจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระเถรีพิจารณาการปฏิบัติของตน ได้

กล่าวคาถา ๒ คาถาเหล่านี้ พร้อมด้วยคาถา ๓ คาถาที่พระศาสดาทรงแสดงว่า

อาตุร อสุจึ ปูตึ เป็นต้น เป็นอุทานว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 145

เมื่อข้าพเจ้านั้น เป็นผู้ไม่ประมาท ค้นคว้าอยู่โดย

อุบายอันแยบคาย ได้เห็นกายนี้ทั้งภายในและภายนอก

ตามความเป็นจริง ทีนั้น ข้าพเจ้าจึงเบื่อหน่ายในกาย

และคลายกำหนัดในภายใน เป็นผู้ไม่ประมาท ไม่

เกาะเกี่ยวในสิ่งอะไร ๆ เป็นผู้สงบระงับดับสนิทแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวเมต อเวกฺขนฺตี รตฺตินฺทิวมตนฺ-

ทิตา ตโต สกาย ปญฺาย อภินิพฺพิชฺฌ ทกฺขิส ความว่า พวกบัณฑิต

เป็นผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนและกลางวัน คือตลอดกาลทั้งปวง พิจารณา

ค้นคว้ากายนั้นคือมีสภาพกระสับกระส่ายเป็นต้น เป็นอย่างนั้น คือโดยประการ

ที่กล่าวแล้วว่า รูปนี้เป็นฉันใด รูปเธอก็เป็นฉันนั้นเป็นต้น ด้วยญาณจักษุ

ซึ่งเป็นส่วนเบื้องต้น มีความผูกใจเป็นปุเรจาริกว่า เราส่งสุตามยญาณซึ่งมี

เสียงผู้อื่นเป็นเหตุ เบื่อหน่ายเพราะทำการแยกฆนะความเป็นก้อน ตามความ

เป็นจริง เพราะเหตุนั้น คือเพราะนิมิตนั้นเกิดในตน จักดู คือ จักเห็นด้วย

ภาวนามยปัญญาของตน ได้อย่างไรหนอ.

เพราะเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ตสฺสา เม อปฺป-

มตฺตาย ดังนี้ คำนั้นมีเนื้อความว่า เมื่อข้าพเจ้านั้นเป็นผู้ไม่ประมาท

เพราะไม่อยู่ปราศจากสติ ค้นคว้าอยู่โดยอุบายอันแยบคาย คือด้วยปัญญาที่

เห็นแจ้งถึงอนิจจลักษณะเป็นต้น เห็นกายนี้ กล่าวคือขันธปัญจก ทั้งภายใน

และภายนอก โดยแบ่งเป็นสันดานของตนและสันดานของผู้อื่น ตามความ

เป็นจริง.

ทีนั้น คือหลังจากที่เห็นอย่างนั้น ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายในกาย คือเบื่อ

หน่ายแล้วในอัตภาพ เพราะประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา ข้าพเจ้าคลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 146

กำหนัด คือถึงความคลายกำหนัดในสันดานในภายในโดยพิเศษทีเดียว ข้าพเจ้า

เป็นผู้ไม่ประมาท เพราะบรรลุที่สุดแห่งการปฏิบัติอัปปมาทธรรมตามที่เป็น

จริง เป็นผู้ไม่เกาะเกี่ยวในสิ่งอะไร ๆ เพราะถอนสังโยชน์ขึ้นได้หมดแล้ว

เป็นผู้สงบระงับและดับสนิทแล้วแล.

จบ อรรถกถาสุนทรีนันทาเถรีคาถา

๕. นันทุตตราเถรีคาถา

[๔๔๓] ข้าพเจ้าไหว้ไฟ พระจันทร์ พระอาทิตย์

และเทวดา ไปสู่ท่าน้ำแล้วลงดำน้ำ ข้าพเจ้าสมาทาน

วัตรเป็นอันมาก โกนศีรษะเสียครึ่งหนึ่ง นอนบน

แผ่นดิน ไม่บริโภคภัตตาหารในราตรี แต่ยังยินดีการ

ตกแต่งและการประดับ บำรุงกายนี้ด้วยการอาบน้ำ

และขัดสี ถูกกามราคะครอบงำแล้ว ต่อมา ข้าพเจ้า

ได้ศรัทธาในพระศาสนา บวชเป็นบรรพชิต เห็นกาย

ตามความเป็นจริง จึงถอนกามราคะได้ ตัดภพความ

อยากและความปรารถนาได้ทั้งหมด ไม่เกาะเกี่ยวด้วย

กิเลสเครื่องประกอบทุกอย่าง บรรลุความสงบใจแล้ว.

จบ นันทุตตราเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 147

๕. อรรถกถานันทุตตราเถรีคาถา

คาถาว่า อคฺคึ จนฺทญฺจ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อนัน-

ทุตตรา.

แม้พระเถรีชื่อนันทุตตราองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระ-

พุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ

ในพุทธุปปาทกาลนี้ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกัมมาสธัมมนิคมแคว้นกุรุ

เรียนวิชาพื้นฐานและศิลปศาสตร์บางอย่าง เข้าบวชเป็นนิครนถ์ ขวนขวาย

ในการกล่าวโต้ตอบ ถือกิ่งหว้าเที่ยวไปในพื้นชมพูทวีป เหมือนพระภัททา-

กุณฑลเกสาเถรี เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานเถระ ถามปัญหา ถึงความ

ปราชัย ตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระ บวชในพระศาสนา บำเพ็ญสมณธรรม

อยู่ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย พิจารณาการ

ปฏิบัติของตน ได้กล่าวคาถา ๕ คาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าไหว้ไฟ พระจันทร์ พระอาทิตย์และ

เทวดา ไปสู่ท่าน้ำแล้วลงดำน้ำ ข้าพเจ้าสมาทานวัตร

เป็นอันมาก โกนศีรษะเสียครึ่งหนึ่ง นอนบนแผ่นดิน

ไม่บริโภคภัตตาหารในราตรี แต่ยังยินดีการตกแต่ง

และการประดับ บำรุงกายนี้ด้วยการอาบน้ำและขัดสี

ถูกกามราคะครอบงำแล้ว ต่อมา ข้าพเจ้าได้ศรัทธา

ในพระศาสนา บวชเป็นบรรพชิต เห็นกายตามความ

เป็นจริง จึงถอนกามราคะได้ ตัดภพความอยากและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 148

ความปรารถนาได้ทั้งหมด ไม่เกาะเกี่ยวด้วยกิเลส

เครื่องประกอบทุกอย่าง บรรลุความสงบใจแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า อคฺคึ จนฺทญฺจ สูริยญฺจ เทวตา

จ นมสฺสิห ความว่า ข้าพเจ้าเมื่อแสวงหาทางบริสุทธิ์ ได้ไหว้คือได้ทำ

การนอบน้อมไฟ โดยประคองเครื่องบูชา เพื่อให้เทวดาทั้งหลายมีพระอินทร์

เป็นต้นโปรดปราน ด้วยคิดว่า เทวดาทั้งหลายมีไฟเป็นประมุข ไหว้พระจันทร์

ในวันขึ้น ๒ ค่ำ ทุก ๆ เดือน ไหว้พระอาทิตย์เช้าเย็นทุก ๆ วัน ไหว้แม้

พวกเทวดาภายนอกอื่น ๆ มีพวกหิรัญญคัพภะเป็นต้น. บทว่า นทีติตฺถานิ

คนฺตฺวาน อุทก โอรุหามิห ความว่า ข้าพเจ้าเข้าไปยังท่าเป็นที่บูชาของ

แม่น้ำคงคาเป็นต้น ซึ่งประดิษฐานไว้อย่างดี ลงน้ำคือคำลงในน้ำ ชำระ

ร่างกายเช้าเย็น.

บทว่า พหูวตฺตสมาทานา ได้แก่ สมาทานวัตรมีอย่างต่าง ๆ ๕

ประการ มีเผาผลาญกิเลสด้วยตบะเป็นต้น ที่ทีฆะเป็น พหู ก็เพื่อสะดวกใน

การแต่งฉันท์. บทว่า อฑฺฒ สีสสฺส โอลิขึ ความว่า ข้าพเจ้าโกนศรีษะ.

ของข้าพเจ้าเสียครึ่งหนึ่ง. อาจารย์บางท่านกล่าวเนื้อความของบทว่า อฑฺฒ

สีสสฺส โอลิขึ ว่า เอาปอยผมครึ่งหนึ่งผูกเป็นชฎา อีกครึ่งหนึ่งปล่อยสยาย.

บทว่า ฉมาย เสยฺย กปฺเปมิ ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้นอนบนแผ่นดิน

ย่อมนอนบนพื้นดินซึ่งมีประโยชน์ไม่มีระหว่าง. บทว่า รตฺตึ ภตฺต น

ภุญฺชิห ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้งดอาหารในเวลากลางคืน ย่อมไม่บริโภค

โภชนาหารในราตรี.

บทว่า วิภูสาบณฺฑนรตา ความว่า ข้าพเจ้าลำบากกายเพราะ

อัตตกิลมถามุโยคมาเป็นเวลานาน คิดว่า เพราะร่างกายลำบากอย่างนี้ ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 149

บริสุทธิ์แห่งปัญญาย่อมมีไม่ได้ แต่ถ้าร่างกายเอิบอิ่มเป็นที่ยินดีแห่งอินทรีย์

ทั้งหลาย ความบริสุทธิ์พึงมีได้ เมื่อจะอนุเคราะห์กายนี้จึงยินดีในการตกแต่ง

และการประดับ คืนยินดียิ่งในการตกแต่งด้วยเครื่องตกแต่งคือผ้า และในการ

ประดับด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น. บทว่า นฺหาปนุจฺฉาทเนหิ จ

ได้แก่ ด้วยให้คนอื่น ๆ นวดฟั้นเป็นต้นแล้วให้อาบน้ำและขัดสี. บทว่า

อุปกาสึ อิม กาย ความว่า อนุเคราะห์กายของเรานี้ คือให้อิ่มหนำ.

บทว่า กามราเคน อฏฺฏิตา ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีร่างกายแข็งแรงเจริญ

ถูกกามราคะที่กลุ้มรุมเพราะเหตุไม่มีโยนิโสมนสิการครอบงำแล้ว คือเบียด-

เบียนเนือง ๆ.

บทว่า ตโต สทฺธ ลภิตฺวาน ความว่า ทำลายพรตที่สมาทาน

อย่างนี้แล้ว มีร่างกายแข็งแรงเจริญ เป็นผู้ขวนขวายในการกล่าวโต้ตอบเที่ยว

ไปในที่นั้น ๆ หลังจากนั้น คือเวลาต่อมา ได้รับโอวาทและอนุสาสน์ในสำนัก

ของพระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ศรัทธา. บทว่า ทิสฺวา กาย ยถาภูต

ความว่า ข้าพเจ้าเห็นกายของข้าพเจ้านี้ตามความเป็นจริง ด้วยมรรคปัญญา

พร้อมด้วยวิปัสสนา ถอนกามราคะได้ทั้งหมดด้วยอนาคามิมรรค. บทว่า สพฺเพ

ภวา สมุจฺฉินฺนา อิจฺฉา จ ปตฺถนาปิ จ ประกอบความว่า ต่อจากนั้น

ภพทั้งหลาย ทั้งที่เป็นความอยาก กล่าวคือตัณหาในภพปัจจุบัน ทั้งที่เป็น

ความปรารถนา กล่าวคือตัณหาในภพต่อไป ข้าพเจ้าตัดได้หมดแล้วด้วยมรรค

อันเลิศ. บทว่า สนฺตึ ปาปุณึ เจตโส ความว่า ถึง คือบรรลุความสงบ

คือพระอรหัตผล อย่างแน่นอน.

จบ อรรถกถานันทุตตราเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 150

๖. มิตตากาลีเถรีคาถา

[๔๔๔] ข้าพเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ด้วยศรัทธา แต่เป็นผู้ขวนขวายในลาภสักการะ เที่ยว

ไปด้วยเหตุนั้น ๆ ข้าพเจ้าละประโยชน์อันเยี่ยมแล้ว

ถือเอาประโยชน์อันเลว อยู่ในอำนาจของกิเลส ไม่

รู้ประโยชน์ของความเป็นสมณะ เมื่อข้าพเจ้านั่งในที่

อยู่ ได้เกิดความสังเวชว่า เราเดินทางผิดเสียแล้ว ตก

อยู่ในอำนาจของตัณหา ชีวิตของเราน้อย ถูกชราและ

พยาธิย่ำยี กายนี้ย่อมทำลายไปก่อน ไม่ใช่เวลาที่เรา

จะประมาท เมื่อข้าพเจ้าพิจารณาเห็นตามความเป็น

จริงถึงความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของขันธ์ทั้งหลาย

จึงได้มีจิตหลุดพ้นแล้ว ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของ

พระพุทธเจ้าแล้ว.

จบ มิตตกาลีเถรีคาถา

อรรถกถามิตตากาฬีเถรีคาถา

คาถาว่า สทฺธาย ปพฺพชิตฺวาน เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรี

ชื่อมิตตากาฬี.

แม้พระเถรีชื่อมิตตากาฬีองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธ-

เจ้าองค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ใน

๑. อรรถกถาว่า มิตตากาฬีเถรีคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 151

พุทธุปปาทกาลนี้ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกัมมาสธัมมนิคมแคว้นกุรุ รู้

ความแล้ว ได้ศรัทธาเพราะมหาสติปัฏฐานเทศนา บวชในหมู่ภิกษุณี มีความ

ต้องการลาภสักการะ บำเพ็ญสมณธรรมเที่ยวไปในที่นั้น ๆ ๗ ปี เวลาต่อมา

มีโยนิโสมนสิการเกิดขึ้น เกิดความสังเวช เริ่มเจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็

บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย พิจารณาการปฏิบัติของตนแล้ว

ได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วย

ศรัทธา แต่เป็นผู้ขวนขวายในลาภสักการะ เที่ยวไป

ด้วยเหตุนั้น ๆ ข้าพเจ้าละประโยชน์อันเยี่ยมแล้วถือ

เอาประโยชน์อันเลว ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ไม่รู้

ประโยชน์ของความเป็นสมณะ เมื่อข้าพเจ้านั่งในที่อยู่

ได้เกิดความสังเวชว่า เราเดินทางผิดเสียแล้ว ตกอยู่

ในอำนาจของตัณหา ชีวิตของเราน้อย ถูกชราและ

พยาธิย่ำยี กายนี้ย่อมทำลายไปก่อน ไม่ใช่เวลาที่เรา

จะประมาท เมื่อข้าพเจ้าพิจารณาเห็นตามความเป็น

จริงถึงความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของขันธ์ทั้ง

หลาย จึงได้มีจิตหลุดพ้นแล้ว ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำ

สอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิจรึห เตน เตน ลาภสกฺการอุสฺ-

สุกา ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ขวนขวาย คือประกอบแล้ว ประกอบทั่วแล้ว

ในลาภและสักการะ เที่ยวไปด้วยเหตุนั้น ๆ คือด้วยเหตุที่เกิดลาภมีกล่าว

พาหุสัจธรรมเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 152

บทว่า ริญฺจิตฺวา ปรม อตฺถ ความว่า ละ คือสละประโยชน์สูง

สุด มีฌานวิปัสสนามรรคและผลเป็นต้น. บทว่า หีนมตฺถ อเสวิห ความ

ว่า ข้าพเจ้าได้ถือเอาประโยชน์อันเลว คือลามก เพราะเป็นอามิสกล่าวคือ

ปัจจัยสี่ ด้วยการแสวงหาโดยไม่แยบคาย. บทว่า กิเลสา น วส คนฺตวา

ความว่า ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสทั้งหลาย มีมานะความถือตัว มทะความมัว

เมา และตัณหาความอยากเป็นต้น. บทว่า สามญฺตฺถ นิรชฺชิห ความว่า

ข้าพเจ้าไม่รู้ คือไม่ทราบหน้าที่ของสมณะ.

บทว่า นิสินฺนาย วิหารเก ความว่า เมื่อข้าพเจ้านั่งอยู่ในห้องซึ่ง

เป็นที่อยู่ ได้เกิดความสังเวช หากจะถามว่า เกิดความสังเวชอย่างไร

ตอบว่า เกิดความสังเวชว่า เราเดินทางผิดเสียแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

อุมฺมคฺคปฏิปนฺนามฺหิ ความว่า พระศาสนานี้ก็เพื่อปรินิพพานโดยไม่ถือ

มั่นเท่านั้น เราบวชในพระศาสนานั้นแล้วไม่มนสิการกัมมัฏฐาน เป็นผู้ปฏิบัติ

ผิดทางของพระศาสนานั้น บทว่า ตณฺหาย วสมาคตา ความว่า ตกอยู่ใน

อำนาจของความอยากที่เกิดแต่ปัจจัย.

บทว่า อปฺปก ชีวิต มยฺห ความว่า ชีวิตของเราน้อย คือนิด

หน่อยคือเร็ว เพราะไม่มีกำหนดเวลา และมีอันตรายมาก. บทว่า ชรา พฺยาธิ

จ มทฺทติ ความว่า ชราและพยาธิย่อมย่ำยี คือบดขยี้กายนั้น เหมือนภูเขา

กลิ้งบดขยี้ไปโดยรอบ. ปาฐะว่า มทฺทเร ก็มี. บทว่า ปุราย ภิชฺชติ

กาโย ความว่า กายนี้ย่อมทำลายไปข้างหน้า ประกอบความว่า เพราะกาย

นั้นมีการแตกทำลายโดยส่วนเดียว ฉะนั้นจึงไม่ใช่กาลที่เราจะประมาท กาลนี้

เว้นขณะทั้งแปด เป็นขณะที่เก้า ซึ่งไม่ควรที่จะประมาท พระเถรีนั้นมีความ

สังเวชดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 153

บทว่า ยถาภูตมเวกฺขนฺตี ความว่า เกิดความสังเวชอย่างนี้แล้ว

เริ่มเจริญวิปัสสนา พิจารณาตามความเป็นจริง ด้วยมนสิการถึงอนิจจลักษณะ

เป็นต้น เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า พิจารณาอะไร พระเถรีจึงกล่าวว่า พิจารณา

ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าพิจารณาความเกิด

และความดับแห่งอุปาทานขันธ์ห้า ซึ่งมีประเภทครบห้าสิบ โดยนัยเป็นต้นว่า

เพราะอวิชชาเกิด รูปจึงเกิด ดังนี้ ด้วยอุทยัพยานุปัสสนาญาณ ขวนขวาย

เจริญวิปัสสนา ได้มีจิตหลุดพ้นจากกิเลสและภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง

ตามลำดับมรรค คือได้เป็นผู้ออกแล้วจากภพทั้งสาม ด้วยความเพียรทั้งกาย

และใจ และด้วยมรรคด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

จบ อรรถกถามิตตากาฬีเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 154

๗. สกุลาเถรีคาถา

[๔๔๕] เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในเรือน ฟังธรรมของภิกษุ

แล้วได้เห็นพระนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมปราศจากธุลี

เป็นเครื่องถึงความสุข ไม่จุติ ข้าพเจ้าจึงละบุตรธิดา

ทรัพย์และข้าวเปลือก โกนผมบวชเป็นบรรพชิต

ข้าพเจ้าเป็นสิกขมานาอยู่ เจริญมรรคเบื้องบน จึงละ

ราคะ โทสะ และอาสวะทั้งหลายที่ตั้งอยู่ร่วมกับราคะ

โทสะนั้นได้ ข้าพเจ้าอุปสมบทเป็นภิกษุณีแล้ว ระลึก

ชาติก่อนได้ ชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์ หมดมลทิน

อบรมแล้วอย่างดี ข้าพเจ้าเห็นสังขารทั้งหลายเป็น

อนัตตา เป็นของเกิดแต่เหตุ มีอันทรุดโทรมไปเป็น

สภาพ แล้วละอาสวะทั้งปวง เป็นผู้มีความเย็น ดับ

สนิทแล้ว.

จบ สกุลาเถรีคาถา

๑. สิกขมานา หญิงผู้กำลังศึกษา, สามเณรีผู้มีอายุถึง ๑๘ ปีแล้ว อีก ๒ ปีจะครบบวชเป็นภิกษุณี

ภิกษุณีสงฆ์สวดให้สิกขาสมมติ คือตกลงให้สมาทานสิกขาบท ๖ ประการ ตั้งแต่ปาณาติปาตา

เวรมณี จนถึง วิกาลโภชนา เวรมณี ให้รักษาอย่างเคร่งครัดไม่ขาดเลย ตลอดเวลา ๓ ปีเต็ม

(ถ้าล่วงข้อใดข้อหนึ่ง ต้องสมาทานตั้งต้นไปใหม่อีก ๒ ปี) ครบ ๒ ปี ภิกษุณีสงฆ์จึงทำพิธี

อุปสมบทให้ ขณะที่สมาทานสิกขาบท ๖ ประการอย่างเคร่งครัดนี้เรียกว่า นางสิกขมานา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 155

๗. อรรถกถาสกุลาเถรีคาถา

คาถาว่า อคารสฺมึ วสนฺตีห เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อ

สกุลา.

ได้ยินว่า พระเถรีชื่อสกุลาองค์นี้เกิดเป็นราชธิดาของพระเจ้าอานันท-

ราช ในพระนครหังสวดี ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามปทุมุตตระ

เป็นภคินีต่างพระมารดาของพระศาสดา มีนามว่า นันทา เธอรู้ความแล้ว วัน

หนึ่งฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุณีองค์หนึ่ง

ในตำแหน่งเป็นเลิศของภิกษุณีผู้มีตาทิพย์ เกิดอุตสาหะกระทำกรรมคือการกระ

ทำที่ยิ่ง ได้กระทำปณิธานปรารถนาตำแหน่งนั้นแม้เอง เธอกระทำกุศลกรรม

โอฬารมาก ตลอดชีวิตในอัตภาพนั้นเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ

อยู่ในสุคติภูมิทั้งหลายนั่นแล ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกัสสปะ

เกิดในตระกูลพราหมณ์ บวชเป็นปริพาชก ถือลัทธิเที่ยวไปผู้เดียวเที่ยวไปอยู่

วันหนึ่งเที่ยวภิกขาน้ำมัน ได้น้ำมันแล้ว เอาน้ำมันนั้นทำการบูชาด้วยประทีป

ตลอดคืนยังรุ่งที่เจดีย์ของพระศาสดา เธอจุติจากอัตภาพนั้นแล้วเกิดในสวรรค์

ชั้นดาวดึงส์ เป็นผู้มีทิพยจักษุบริสุทธิ์ดี ท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกเท่านั้นตลอด

พุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปปาทกาลนี้ เกิดในตระกูลพราหมณ์ กรุงสาวัตถี มีนาม

ว่า สกุลา. นางสกุลานั้นรู้ความแล้ว ได้ศรัทธาเป็นอุบาสิกาในคราวพระศาสดา

ทรงรับพระวิหารเชตวัน เวลาต่อมาได้ฟังธรรมในสำนักของพระเถระขีณาสพ

องค์หนึ่ง เกิดสังเวช บวชแล้วเริ่มเจริญวิปัสสนา เพียรพยายามอยู่ไม่นานนักก็

ได้บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๖๔ สกุลาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 156

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมาร

พระนามปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง ทรงเป็น

นายกของโลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระองค์เป็นบุรุษ

อาชาไนย ประเสริฐกว่าบัณฑิตทั้งหลาย ทรงปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข เพื่อประโยชน์ แก่สัตว์

ทั้งปวง ในโลกกับทั้งเทวโลก พระองค์ทรงยศอันเลิศ

มีพระสิริ ทรงมีเกียรติคุณฟุ้งเฟื่อง บูชากันทั่วโลก

มีพระคุณปรากฏไปทุกทิศ พระองค์ทรงข้ามพ้นความ

สงสัย ทรงล่วงเลยความเคลือบแคลง มีความดำริใน

พระหทัยสมบูรณ์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด

ทรงทำบรรดาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงเป็นนระที่สูง

สุด ตรัสบอกบรรดาที่ยังไม่มีใครบอก ทรงยังธรรม

ที่ยังไม่เกิดให้เกิด พระองค์ทรงเป็นนระผู้องอาจ

ทรงรู้แจ้งมรรคา ตรัสบอกมรรคา เป็นพระ-

พระศาสดาผู้ฉลาดในมรรคา ทรงเป็นผู้ฝึกที่ประเสริฐ

สุดกว่านายสารถีทั้งหลาย ทรงเป็นนาถะประกอบด้วย

พระมหากรุณา เป็นนายกของโลก ทรงแสดงธรรม

ถอนเหล่าสัตว์ ผู้จมอยู่ในเปือกตมคือกาม ครั้งนั้น

ข้าพเจ้าเกิดเป็นเจ้าหญิงนันทนา ในพระนครหังสวดี

มีรูปสวย รวยทรัพย์ เป็นที่พึงใจ มีสิริ เป็นราชธิดา

ของพระราชาผู้ใหญ่พระนามว่า อานันทะ เป็นผู้งด-

งามอย่างยิ่ง เป็นพระภคินีต่างพระมารดา แห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 157

พระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ห้อมล้อมด้วย

ราชกัญญาทั้งหลาย ประดับด้วยสรรพาภรณ์เข้าไปเฝ้า

พระมหาวีรเจ้า ได้ฟังพระธรรมเทศนา ครั้งนั้น พระ-

ผู้รู้แจ้งโลกพระองค์นั้น ทรงตั้งภิกษุณีผู้มีทิพยจักษุไว้

ในตำแหน่งอันเลิศ ในท่ามกลางบริษัทสี่ ข้าพเจ้าได้

ฟังพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว มีความร่าเริง ถวายทานแด่

พระศาสดา และบูชาพระสัมพุทธเจ้าแล้วปรารถนา

ทิพยจักษุ ทันใดนั้น พระศาสดาได้ตรัสกะข้าพเจ้าว่า

แน่ะนันทา เธอจักได้ตำแหน่งที่เธอปรารถนา.

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดา

พระนามว่า โคตมะ มีพระสมภพในวงศ์พระเจ้า

โอกกากราช จักมีในโลก เธอจักได้เป็นธรรมทายาท

ของพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นพระโอรสอันธรรม

เนรมิต จักเป็นสาวิกาของพระศาสดา มีนามว่า

สกุลา ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้นั้น และด้วยความ

ตั้งใจที่แน่วแน่ ข้าพเจ้าละร่างกายมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้า พระ-

นามว่า กัสสปะ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์ มียศมาก

ประเสริฐกว่าบัณฑิตทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นปริพาชิกา ถือลัทธิเที่ยวไปผู้เดียว

เที่ยวภิกขาจาร ได้น้ำมันมาน้อยหนึ่ง มีใจผ่องใส

เอาน้ำมันนั้นตามประทีปบูชาพระเจดีย์ชื่อ สัพพสังวร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 158

แห่งพระพุทธเจ้าผู้เป็นเลิศ ของสัตว์สองเท้า ด้วย

กุศลธรรมที่ได้ทำไว้นั้น และด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่

ข้าพเจ้าละร่างกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาว

ดึงส์ ด้วยอำนาจบุญกรรมนั้น ข้าพเจ้าเกิดในที่ใด ๆ

ประทัปเป็นอันมากก็สว่างไสวแก่ข้าพเจ้าผู้ไปในที่นั้น ๆ

ข้าพเจ้าย่อมเห็นสิ่งที่ปรารถนาที่อยู่นอกฝา นอกภูเขา

ศิลาได้ทะลุปรุโปร่ง นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป

ข้าพเจ้ามีนัยน์ตาแจ่มใส รุ่งเรื่องด้วยยศ มีศรัทธา

และมีปัญญา นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป ในภพ

หลังครั้งนี้ ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลพราหมณ์ ที่มีทรัพย์

และข้าวเปลือกมากมาย มหาชนยินดี พระราชาทรง

บูชา ข้าพเจ้าสมบูรณ์ด้วยองคสมบัติทั้งปวง ประดับ

ด้วยสรรพาภรณ์ ยืนอยู่ที่หน้าต่าง ได้เห็นพระสุคต

เสด็จเข้าไปในเมือง ทรงรุ่งเรื่องด้วยยศ เทวดาและ

มนุษย์สักการะบูชา ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐

ประการ ประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

มีจิตเลื่อมใสโสมนัสพอใจบรรพชา ครั้นได้บรรพชา

ไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัต เป็นผู้มีความชำนาญ

ในฤทธิ์และทิพโสตธาตุ รู้วาระจิตของผู้อื่น เป็นผู้

ปฏิบัติตามสัตถุศาสน์ รู้ปุพเพนิวาสญาณชำระทิพย-

จักษุให้หมดจดวิเศษ ให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว เป็น

ผู้บริสุทธิ์หมดมลทินดีแล้ว ข้าพเจ้าบำรุงพระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 159

แล้ว ได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ปลงภาระ

อันหนักลงได้แล้ว ถอนตัณหาอันนำไปสู่ภพขึ้นได้

แล้ว กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

เพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้น คือ ธรรมเป็น

ที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ข้าพเจ้าบรรลุแล้ว แต่นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระมหากรุณาเป็นนระสูงสุด

ทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า สกุลา

ภิกษุณีเป็นเลิศของภิกษุณีผู้มีทิพยจักษุทั้งหลาย ข้าพ-

เจ้าเผากิเลสแล้ว ถอนภพทั้งหลายได้หมดแล้ว ตัด

เครื่องผูกพันเหมือนช้างพังตัดเชือก เป็นผู้ไม่มีอาสวะ

อยู่ การมาเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐของข้าพเจ้า

เป็นการมาดีแล้วหนอ ข้าพเจ้าบรรลุวิชชา ๓ แล้ว

ได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้

คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖ ข้าพเจ้า

ทำให้แจ้งแล้ว ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระ-

พุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้เป็นผู้สั่งสมความชำนาญในทิพยจักษุ-

ญาณ เพราะความเป็นผู้สร้างสมบุญบารมีไว้แล้ว เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึง

ทรงตั้งพระเถรีนั้นไว้ในตำแหน่งเป็นเลิศของภิกษุณีผู้มีทิพยจักษุทั้งหลาย พระ-

เถรีนั้นพิจารณาการปฏิบัติของตน เกิดปีติโสมนัสได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็น

อุทานว่า

เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในเรือน ฟังธรรมของภิกษุแล้ว

ได้เห็นพระนิพพานซึ่งเป็นธรรมปราศจากธุลี เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 160

เครื่องถึงความสุข ไม่จุติ ข้าพเจ้าจึงละบุตรธิดา

ทรัพย์และข้าวเปลือก โกนผมบวชเป็นบรรพชิต

ข้าพเจ้าศึกษาอยู่ เจริญมรรคเบื้องบน จึงละราคะโทสะ

และอาสวะทั้งหลาย ที่ตั้งอยู่ร่วมกับราคะโทสะนั้นได้

ข้าพเจ้าอุปสมบทเป็นภิกษุณีแล้ว ระลึกชาติก่อนได้

ชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์ หมดมลทิน อบรมแล้ว

อย่างดี ข้าพเจ้าเห็นสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา เป็น

ของเกิดแต่เหตุ มีอันทรุดโทรมไปเป็นสภาพ แล้วละ

อาสวะทั้งปวง เป็นผู้มีความเย็น ดับสนิทแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคารสฺมึ วสนฺตีห ธมฺม สุตฺวาน

ภิกฺขุโน ความว่า เมื่อก่อน ข้าพเจ้าอยู่ท่ามกลางเรือน ฟังธรรมกถาที่

บรรลุอริยสัจ ๔ ในสำนักของภิกษุผู้ทำลายกิเลสแล้วองค์หนึ่ง. บทว่า อทฺทส

วิรช ธมฺม นิพฺพาน ปทมจฺจุต ความว่า ได้เห็น คือเห็นแล้วซึ่งธรรม

กล่าวคือที่ได้ชื่อว่า วิรชะ ปราศจากธุลี เพราะไม่มีธุลีคือราคะเป็นต้น ว่า

นิพพานะ ไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด เพราะเป็นธรรมออกจากวานะกิเลสเครื่อง

ร้อยรัด ว่าปทะ เป็นเครื่องถึง เพราะเป็นเหตุให้บรรลุความสุข ว่าอัจจุตะ

ไม่จุติเพราะไม่มีการเคลื่อน ด้วยธรรมจักษุกล่าวคือทัสสนะที่ประดับด้วยนัย

ตั้งพัน.

บทว่า สาห ความว่า ข้าพเจ้านั้นเป็นพระโสดาบันโดยประการดัง

กล่าวแล้ว. บทว่า สิกฺขมานา อห สนฺตี ความว่า ข้าพเจ้ายังเป็น

สิกขมานาอยู่นั่นแล บวชเมื่ออายุยังไม่ครบ. บทว่า ภาเวนฺตี มคฺคมญฺชส

ความว่ายังทางคือมรรคเบื้องบนให้เกิดขึ้นแต่การปฏิบัติมัชฌิมาปฏิปทา. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 161

ตเทกฏฺเ จ อาสเว ความว่า ได้ละ คือตัดขาดซึ่งอาสวะทั้งหลาย ที่ตั้ง

อยู่ร่วมกันโดยเกิดพร้อมกับราคะและโทสะทั้งหลาย และที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกัน

กับการละซึ่งจะต้องทำลายด้วยอนาคามิมรรค.

บทว่า ภิกฺขุนี อุปสมฺปชฺช ความว่า เมื่ออายุครบแล้ว อุป-

สมบทเป็นภิกษุณี. บทว่า วิมล ได้แก่ มีมลทินไปปราศแล้ว เพราะหลุด

พ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น. บทว่า สาธุ ได้แก่ อบรมแล้ว

โดยเคารพ คือโดยชอบนั่นแล. อีกอย่างหนึ่ง เชื่อมความว่า ชำระทิพยจักษุที่

สัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นอบรมแล้ว คือให้เกิดแล้ว.

บทว่า สงฺขาเร ได้แก่ สังขารที่เป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า ปรโต

ได้แก่ โดยเป็นอนัตตา. บทว่า เหตุชาเต ได้แก่ เกิดขึ้นเฉพาะหน้า.

บทว่า ปโลกิเต ความว่า เห็นสังขารทั้งหลายมีอันทรุดโทรมไป เป็นสภาพ

เปื่อยเน่า ด้วยปัญญาจักษุ. บทว่า ปหาสึ อาสเว สพฺเพ ความว่า

ข้าพเจ้าละอาสวะทั้งหมดที่ยังเหลือ คือทำให้สิ้นไป ด้วยอรหัตมรรค. คำที่

เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

จบ อรรถกถาสกุลาเถรีคาถา

๘. โสณาเถรีคาถา

[๔๔๖] พระโสณาเถรีกล่าวคาถาอุทานว่า

ข้าพเจ้าตลอดบุตร ๑๐ คน ในเรือนร่างคือรูปนี้

เพราะเหตุนั้น จึงชราทุพพลภาพ เข้าไปหาภิกษุณี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 162

ภิกษุณีนั้น แสดงธรรมคือขันธ์อายตนะและธาตุ

ข้าพเจ้าฟังธรรมนั้นแล้ว ก็โกนผมบวช ข้าพเจ้านั้น

ศึกษาอยู่ ก็ชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์ ข้าพเจ้ารู้ปุพเพ-

นิวาสญาณ รู้ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน และเจริญ

อนิมิตตสมาธิ มีจิตตั้งมั่นดี มีอารมณ์เดียว มีวิโมกข์

เกิดขึ้นในลำดับ ไม่ยึดมั่น ดับสนิท.

ปัญจขันธ์ ข้าพเจ้ากำหนดรู้แล้ว มีมูลรากอัน

ขาดแล้ว ดำรงอยู่ น่าตำหนิความชราที่น่าชัง บัดนี้

ไม่มีการเกิดอีก.

จบ โสณาเถรีคาถา

๘. อรรถกถาโสณาเถรีคาถา

คาถาว่า ทส ปุตฺเต วิชายิตฺวา เป็นต้น เป็นคาถาของพระโสณา

เถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ก็

บังเกิดในเรือนของครอบครัว กรุงหังสวดี รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งฟังธรรมใน

สำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณี ผู้ปรารภความเพียร ก็ทำ

กุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป แม้ตนเอง ก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น ทำบุญจนตลอดชีวิต

จุติจากภพนั้นแล้ว เวียนว่ายไปในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุปปาท-

กาลนี้ ก็บังเกิดในเรือนของครอบครัว กรุงสาวัตถี เติบโตเป็นสาวแล้ว

ก็ได้สามี มีบุตรธิดา ๑๐ คน ใคร ๆ ก็รู้จักว่า ผู้มีบุตรมาก เมื่อสามีบวช นาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 163

ก็ให้บุตรธิดาซึ่งเติบโตเป็นหนุ่มสาวอยู่ครองเรือน จัดแบ่งทรัพย์ทั้งหมดมอบ

ให้บุตรทั้งหลาย ไม่ขยักทรัพย์อะไร ๆ ไว้สำหรับตัวเลย บุตรและภริยาของบุตร

บำรุงนางได้ ๒-๓ วันก็ดูหมิ่น นางคิดว่า ประโยชน์อะไรที่เราจะอยู่ในเรือน

ที่บุตรพวกนี้ของเราดูหมิ่นแล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุณีขอบวช ภิกษุณีทั้งหลาย

ก็ให้นางบวช นางได้อุปสมบทแล้วคิดว่า เราบวชเมื่อแก่ พึงไม่ประมาท

เมื่อทำวัตรปฏิบัติแก่ภิกษุณีทั้งหลาย คิดว่า เราจักทำสมณธรรมตลอดคืนยังรุ่ง

ก็เอามือข้างหนึ่งจับเสาต้นหนึ่งใต้ปราสาท ไม่ละเสานั้นทำสมณธรรม แม้

เมื่อเดิน คิดว่า ศีรษะของเราไม่พึงชนที่ต้นไม้เป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่งในที่มืด

แล้วเอามือข้างหนึ่งจับต้นไม้ ไม่ละต้นไม้นั้น ทำสมณธรรม. นับตั้งแต่นั้นมา

นางก็ได้ปรากฏชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ปรารภความเพียร. พระศาสดาทรงเห็นว่า

นางมีญาณแก่กล้า ประทับในพระคันธกุฎีแผ่พระรัศมีไป แสดงพระองค์

ประหนึ่งว่าประทับนั่งต่อหน้า ได้ตรัสพระคาถาว่า

ผู้เห็นธรรมสูงสุด มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียว ยัง

ประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นธรรมสูงสุด มีชีวิตเป็นอยู่ตั้ง

ร้อยปี.

จบพระคาถา นางก็บรรลุพระอรหัต ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ใน

อปทานว่า

พระชินพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ถึงฝั่ง

แห่งสรรพธรรม ทรงเป็นผู้นำ เสด็จอุบัติในแสนกัป

นับแต่กัปนี้ไป.

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในครอบครัวเศรษฐี มีสุข

แต่งตัวน่ารัก เข้าเฝ้าพระมุนีผู้ประเสริฐ ฟังพระ-

มธุรวาจา.

๑. ขุ ๓๓/ข้อ ๑๖๖ ภัททกาปิลานีเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 164

พระชินพุทธเจ้าทรงยกย่องภิกษุณีรูปหนึ่งว่าเป็น

เลิศของภิกษุผู้ปรารภความเพียร. ข้าพเจ้าได้ยิน

พระดำรัสแล้วก็ยินดีด้วย กระทำสักการะแด่พระ-

ศาสดา ถวายอภิวาทพระสัมพุทธเจ้า ปรารถนาตำแหน่ง

นั้น.

พระมหาวีระพุทธเจ้าทรงอนุโมทนาว่า ขอความ

ปรารถนาของเจ้าจงสำเร็จเถิด ในแสนกัปนับแต่กัปนี้

พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม ทรงสมภพในราชสกุล

พระเจ้าโอกกากราช จักทรงเป็นศาสดาในโลก เจ้าจัก

เป็นโอรสาทายาทในธรรมของพระองค์ ถูกเนรมิตโดย

ธรรม จักเป็นสาวิกาของพระศาสดา มีนามว่าโสณา.

ข้าพเจ้าฟังพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว ยินดีมีจิต

เมตตา บำรุงพระชินพุทธเจ้าผู้นำพิเศษด้วยปัจจัย ๔

จนตลอดชีวิตในครั้งนั้น.

ด้วยธรรมที่ทำดีนั้น และด้วยการตั้งใจไว้ชอบ

ข้าพเจ้าละความเป็นมนุษย์แล้วก็ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

บัดนี้ภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในครอบครัวเศรษฐี

ที่มั่งคั่ง รุ่งเรือง มีทรัพย์มาก ในกรุงสาวัตถีราชธานี.

เมื่อข้าพเจ้าเติบโตเป็นสาว ก็ไปมีสามี ให้กำเนิด

บุตรถึง ๑๐ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งล้วนแต่รูปร่างสะสวย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 165

บุตรเหล่านั้นทุกคน อยู่ในความสุขเป็นที่โปรด

ปรานของบิดามารดา แม้ผู้มิใช่มิตรก็ยังชอบใจ จะ

ป่วยกล่าวไปไยว่า บุตรเหล่านั้นจะเป็นที่รักของข้าพ-

เจ้าสักเพียงไร ทั้งที่ข้าพเจ้าไม่ปรารถนา สามีของ

ข้าพเจ้าอันบุตรทั้ง ๑๐ คน ห้อมล้อมแล้ว ก็บวชใน

พระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นเทพแห่งเทพ.

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าลำพังคนเดียวก็คิดว่า ข้าพเจ้า

ถูกสามีและบุตรสลัดแล้ว แก่เฒ่าและยากไร้ ไม่ควร

จะมีชีวิตอยู่ จำจะไปที่อารามซึ่งสามีของข้าพเจ้าอยู่

ข้าพเจ้าคิดอย่างนี้แล้ว ก็ออกบวช.

แต่นั้น ภิกษุณีทั้งหลาย ก็ปล่อยข้าพเจ้าไว้แต่ผู้

เดียวในสำนักภิกษุณี สั่งให้ข้าพเจ้าต้มน้ำไว้ ครั้งนั้น

ข้าพเจ้าเอาน้ำมาใส่ในหม้อเล็กวางทิ้งไว้ แล้วนั่งอยู่

แต่นั่น ข้าพเจ้าก็เริ่มตั้งความเพียรทางจิต เห็นขันธ์

ทั้งหลายเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำอาสวะทั้งหมด

ให้สิ้นไป ได้บรรลุพระอรหัต.

ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายกลับมาถามหาถึงน้ำร้อน

ข้าพเจ้าก็อธิษฐานเตโชธาตุ ทำน้ำให้ร้อนได้ฉับพลัน

ภิกษุณีเหล่านั้นอัศจรรย์ใจ ก็ทูลเรื่องนั้นถวาย พระ-

ชินพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 166

พระโลกนาถทรงทราบแล้วก็ทรงยินดี ได้ตรัส

พระคาถาว่า ผู้ปรารภความเพียรไว้มั่นคง นี้ชีวิตเป็น

อยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าผู้เกียจคร้าน มีความเพียร

เลวถึงจะมีชีวิตเป็นอยู่ตั้งร้อยปี.

พระมหาวีระพุทธเจ้า ทรงให้ข้าพเจ้ายินดีใน

การปฏิบัติดี พระมหามุนีพระองค์นั้น ก็ตรัสยกย่อง

ข้าพเจ้าว่า เป็นเลิศของภิกษุณีผู้ปรารภความเพียร

กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาเสียแล้ว ภพทุกภพ

ข้าพเจ้าก็ถอนเสียแล้ว ข้าพเจ้าตัดเครื่องผูกได้ขาด

ดุจช้างตัดเครื่องผูกขาดแล้วฉะนั้น ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้ามาดีแล้วหนอ ในสำนักพระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐสุด วิชชา ๓ ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว คำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้าข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.

ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖ ข้าพเจ้า

ก็ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้า

ก็ทำเสร็จแล้ว.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายไว้ใน

ตำแหน่งเอตทัคคะตามลำดับ จึงได้ทรงสถาปนาพระโสณาเถรีนั้นไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะเป็นเลิศของภิกษุณีผู้ปรารภความเพียร พระเถรีนั้น พิจารณาการ

ปฏิบัติของตน จึงกล่าวคาถาเหล่านั้นเป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าคลอดบุตร ๑๐ คน ในเรือนร่างคือรูปนี้

เพราะเหตุนั้น จึงชราทุพพลภาพ เข้าไปหาภิกษุณี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 167

ภิกษุณีนั้น แสดงธรรมคือขันธ์ อายตนะและธาตุ

ข้าพเจ้าฟังธรรมนั้นแล้ว ก็โกนผมบวช ข้าพเจ้านั้น

ศึกษาอยู่ ก็ชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์ ข้าพเจ้ารู้ปุพเพ-

นิวาสญาณ รู้ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน และเจริญ

อินมิตตสมาธิ ก็มีจิตตั้งมั่นดี มีอารมณ์เดียว มีวิโมกข์

เกิดขึ้นในลำดับ ไม่ยึดมั่น ดับสนิท.

ปัญจขันธ์ ข้าพเจ้ากำหนดรู้แล้ว มีมูลรากอัน

ขาดแล้ว ดำรงอยู่ น่าตำหนิความชราที่น่าชัง บัดนี้

ไม่มีการเกิดอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูปสมฺจจเย ได้แก่ ในเรือนร่าง กล่าว

คือรูป. ความจริง รูป ศัพท์นี้ มาในรูปายตนะ ในบาลีว่า จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ

รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺาณ อาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึง

เกิดดังนี้เป็นต้น, มาในรูปขันธ์ ในบาลีว่า ยงฺกิญฺจิ รูป อตีตานาคต-

ปจฺจุปฺปนฺน รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบันดังนี้เป็นต้น.

มาในสภาวะ ในบาลีว่า ปิยรูเป สาตรูเป รชฺชติ ย่อมกำหนัดในปิยรูป

สาตรูป ดังนี้เป็นต้น. มาในอายตนะคือกสิณ ในบาลีว่า พหิทฺธา รูปานิ

ปสฺสติ เห็นรูปในภายนอก ดังนี้เป็นต้น. มาในรูปฌาน ในบาลีว่า รูปี

รูปานิ ปสฺสติ ผู้มีรูปเป็นอารมณ์ย่อมเห็นรูปทั้งหลายดังนี้เป็นต้น. มาใน

รูปกาย ในบาลีว่า อฏฺิญฺจ ปฏิจฺจ นหารุญฺจ ปฏิจฺจ มสญฺจ ปฏิจฺจ

จมฺมญฺจ ปฏิจฺจ อากาโส ปริวาริโต รูปนฺเตฺวว สงฺขย คจฺฉติ

อากาศอาศัยกระดูก เอ็น เนื้อ หนังห้อมล้อม ก็นับว่าเป็นรูปทั้งนั้นดังนี้เป็นต้น.

แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นความในรูปกายเท่านั้น. แม้สมุสฺสยศัพท์ก็เป็นปริยายของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 168

ร่างแห่งกระดูกทั้งหลาย สมุสฺสยศัพท์มาในปริยายแห่งร่างกระดูก ในบาลีว่า

ติสตสมุสฺสยา เพราะร่างแห่งกระดูกสามร้อยชิ้นดังนี้เป็นต้น. มาในสรีระ

ในบาลีว่า อาตุร อสุจึ ปูตึ ปสฺส นนฺเท สมุสฺาย ดูก่อนนันทา

เจ้าจงดูสรีระ ที่อาดูรเดือดร้อน ไม่สะอาด เปื่อยเน่า ดังนี้เป็นต้น. แม้ใน

ที่นี้ก็พึงเห็นความในสรีระเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า รูป-

สมุสฺสเย แปลว่า ในร่างกล่าวคือรูป อธิบายว่าในสรีระ. บทว่า

อสฺมึ รูปสมุสฺสเย ประกอบความว่า ตั้งอยู่ในร่างคือรูปนี้ ได้แก่อาศัยรูป

กายที่คลอดบุตร ๑๐ คน. บทว่า ตโต แปลว่า เพราะเหตุที่คลอดบุตร ๑๐

คนนั้น. จริงอยู่ นางเลยปฐมวัยไปแล้ว จึงตลอดบุตรทั้งหลาย นางจึงมี

สรีระอ่อนกำลังลง และคร่ำคร่าเพราะชรา มาโดยลำดับ. ด้วยเหตุนั้นพระเถรี

จึงกล่าวว่า ตโตห ทุพฺพลา ชิณฺณา เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงอ่อนกำลัง

ชราลง.

บทว่า ตสฺสา แปลว่านั้น อีกอย่างหนึ่ง แปลว่าในที่ใกล้ข้าพเจ้า

นั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตสฺสา เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ

ความว่าอันข้าพเจ้านั้น. บทว่า สิกฺขมานาย ได้แก่ ศึกษาสิกขาแม้ทั้ง ๓.

บทว่า อนนิตราวิโมกฺขาสึ ความว่า ข้าพเจ้ามีวิโมกข์เกิดขึ้นใน

ลำดับแห่งอรหัตมรรค. จริงอยู่ แม้วิโมกข์ ๘ เป็นต้นว่า ผู้มีรูปเป็นอารมณ์

ย่อมเห็นรูป หาชื่อว่าวิโมกข์ในลำดับไม่. ความจริง ผลวิโมกข์ที่บรรลุใน

ลำดับแห่งมรรคแม้เป็นไปอยู่ในเวลาเข้าผลสมาบัติ ก็อาศัยผลสมาบัตินั้นชื่อ

ว่าอนันตรวิโมกข์ เพราะเกิดขึ้นพร้อมในลำดับแห่งมรรคแรก [โสดาปัตติ

มรรค] นั่นแล. เหมือนอย่างมรรคสมาธิ ท่านก็เรียกว่า อานันตริกสมาธิฉะนั้น.

บทว่า อนุปาทาย นิพฺพุตา ได้แก่ ข้าพเจ้าไม่ยึดบรรดาอารมณ์มีรูป

เป็นต้น แม้ไร ๆ ดับสนิท เพราะดับกิเลสเด็ดขาด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 169

พระเถรีครั้นชี้แจงวิชชา ๓ อย่างนี้แล้ว เมื่อจับยอดโดยอรหัตผล

อุทานแล้ว บัดนี้ เมื่อจะติเตียนสรีระที่ถูกชราเบียดเบียนเป็นเวลาช้านาน เพื่อ

ชี้แจงความที่สรีระนั้น พร้อมด้วยวัตถุล่วงเลยไปแล้ว จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า

ปญฺจกฺขนฺธา ปริญฺาตา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธิ

ตวตฺถุ ชเร ขมฺเม ความว่า น่าตำหนิติเตียนความชรา ที่ชั่วต่ำทรามสำหรับ

ท่าน เพราะทำอวัยวะให้หย่อนยานเป็นต้น. บทว่า ปตฺถิทานิ ปุนพฺภโว

อธิบายว่า เพราะฉะนั้น ท่านถูกเราล่วงเลยครอบงำไว้แล้ว.

จบ อรรถกถาโสณาเถรีคาถา

๙. ภัททากุณฑลเกสาเถรีคาถา

[๔๔๗] พระภัตทากุณฑลเกสาเถรีกล่าวคาถาอุทานว่า

แต่ก่อน ข้าพเจ้าถอนผม อมมูลฟัน มีผ้า

ผืนเดียวเที่ยวไป รู้ในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ และเห็น

ในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ.

ข้าพเจ้าออกจากที่พักกลางวัน ก็ได้พบพระ

พุทธเจ้า ผู้ไม่มีกิเลสดุจธุลี อันหมู่ภิกษุแวดล้อมที่

ภูเขาคิชฌกูฏ จึงคุกเข่าถวายบังคม ทำอัญชลีต่อ

พระพักตร์ พระองค์ตรัสกะข้าพเจ้าว่า ภัททา จงมา

พระดำรัสสั่งนั้น ทำความหวังของข้าพเจ้าให้สำเร็จ

สมบูรณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 170

ข้าพเจ้าจาริกไปทั่วแคว้นอังคะ มคธะ กาสี และ

โกสละบริโภคก้อนข้าวของชาวบ้านมา ๕๐ ปี ไม่

เป็นหนี้ [ไม่เป็นอิณบริโภค].

ท่านอุบาสกผู้ใด ถวายจีวรแต่ข้าพเจ้าภัททาผู้

หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทุกอย่างแล้ว ท่าน

อุบาสกผู้นั้น ประสบบุญเป็นอันมากหนอ.

จบ ภัททากุณฑลเกสาเถรีคาถา

๙. อรรถกถาภัททากุณฑลเกสาเถรีคาถา

คาถาว่า ลูนเกสี ปงฺกธรี เป็นต้น เป็นคาถาของพระภัททา

กุณฑลเกสาเถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ

ก็บังเกิดในเรือนของครอบครัว กรุงหังสวดี รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งฟังธรรม

ในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะ เป็นเลิศของภิกษุณีผู้เป็นขิปปาภิญญาตรัสรู้เร็ว จึงทำกุศลให้ยิ่ง

ยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น ทำบุญจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดา

และมนุษย์ถึงแสนกัป ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป ก็เป็นพระราชธิดา

ระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ ในพระราชมณเฑียรของพระเจ้ากาสี

พระนามว่า กิกิ สมาทานศีล ๑๐ ประพฤติโกมารีพรหมจรรย์อยู่ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี

สร้างบริเวณที่อยู่ของพระสงฆ์ ท่องเทียวอยู่ในฝ่ายสุคติเท่านั้นตลอดพุทธันดร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 171

หนึ่ง มาในพุทธุปปาทกาลนี้ บังเกิดในครอบครัวเศรษฐีกรุงราชคฤห์มีชื่อว่า

ภัททา. นางมีบริวารมาก เติบโตเป็นสาวแล้ว เห็นโจรชื่อสัตตุกะ บุตรปุโรหิต

ในพระนครนั้นนั่นเองทางหน้าต่าง ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่นครบาลจับตัว ในความผิด

มหันตโทษ พร้อมทั้งของกลาง กำลังควบคุมตัวมายังที่ประหาร เพื่อฆ่าให้

ตายตามพระราชอาชญา มีจิตปฏิพัทธ์ ก็นอนคว่ำหน้าบนที่นอน คร่ำครวญ

ว่า ถ้าเราได้เขา จึงจะมีชีวิตอยู่ ถ้าไม่ได้ก็จักตายเสีย.

บิดาของนางรักนางมาก เพราะมีธิดาคนเดียว จึงติดสินบนพันกหา-

ปณะ ให้เจ้าหน้าที่ปล่อยโจร ด้วยอุบายให้แต่งตัวประดับด้วยเครื่องประดับทุก

อย่าง ส่งตัวในรูปยังปราสาท ส่วนนางภัตทา มีความปรารถนาบริบูรณ์แล้ว

ก็ประดับด้วยเครื่องอลังการเสียจนเกินไป ปรนนิบัติสัตตุกโจรนั้น. ล่วงไป

๒-๓ วัน สัตตุกโจรก็เกิดโลภในเครื่องอลังการเหล่านั้น กล่าวกะนางว่า

ภัตทาจ๋า พี่พอถูกเจ้าหน้าที่นครบาลจับได้ ก็บนเทวดาซึ่งสิงสถิตย์ ณ เขา

ทิ้งโจรไว้ว่า ถ้าพี่รอดชีวิต ก็จักนำเครื่องพลีกรรมไปเซ่นสรวงท่าน น้อง

ท่านช่วยจัดเครื่องพลีกรรมสำหรับเทวดานั้นด้วยเถิด. นางคิดว่าจักทำใจเขาให้

เต็ม จึงจัดเตรียมเครื่องพลีกรรม ประดับประดาด้วยเครื่องอาภรณ์ทุกอย่าง

ขึ้นยานคันเดียวกันไปกับสามี มุ่งหมายจักทำพลีกรรมแก่เทวดา เริ่มขึ้นไปยัง

เขาทิ้งโจร.

สัตตุกโจรคิดว่า เมื่อขึ้นไปกันทั้งหมด เราก็จักยึดอารมณ์ของหญิง

ผู้นี้ไม่ได้ จึงพักปริวารชนไว้ที่ตรงนั้นนั่นเอง ให้นำไปเฉพาะภาชนะใส่

เครื่องพลีกรรมนั้นเท่านั้น เมื่อขึ้นไปยังภูเขา ก็มิได้พูดวาจาที่น่ารักกับนาง

เลย นางก็รู้ถึงความประสงค์ของเขาโดยอาการเคลื่อนไหวเท่านั้น สัตตุกโจร

เริ่มลายโจรกล่าวว่า ภัตทา เจ้าจงเปลื้องผ้าห่มของเจ้าออกห่อเครื่องประดับที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 172

ติดตัวเจ้าเดี๋ยวนี้. นางกล่าวว่า นายท่าน ข้าพเจ้ามีความผิดอะไรเล่า เขา

กล่าวว่า หญิงโง่ ทำไมหนอเจ้าจึงเข้าใจข้าว่ามาทำพลีกรรม ความจริง ข้า

มาเพื่อยึดอาภรณ์ของเจ้า โดยอ้างการพลีกรรมต่างหากเล่า. นางกล่าวว่า

นายท่าน เครื่องประดับเป็นของใคร ตัวข้าพเจ้าเป็นของใครกันคะ. เขากล่าว

ว่า ข้าน่ะ ไม่รู้จักการจำแนกอย่างนี้ดอกนะ. นางกล่าวว่า เอาเถิด นายท่าน

ขอท่านโปรดช่วยทำความประสงค์ของข้าพเจ้าอย่างหนึ่งให้เต็มด้วยเถิด โปรด

ให้ข้าพเจ้าได้กอดนายท่านทั้งยังแต่งเครื่องประดับอยู่ด้วยนะคะ เขาก็รับคำ.

นางรู้ว่าเขารับคำแล้ว ก็ทำประหนึ่งว่า กอดข้างหน้าแล้วกอดข้างหลัง ได้ที

ก็ผลักโจรตกเขาขาด โจรนั้น ก็ตกลงแหลกละเอียดเป็นจุรณวิจุรณไป. เทวดา

ที่สิงสถิตย์อยู่ที่เขาเห็นเหตุการณ์น่าอัศจรรย์ที่นางทำแล้ว เมื่อจะประกาศความ

ที่นางเป็นคนฉลาด จึงได้กล่าวคาถาเหล่านั้นว่า

มิใช่แต่บุรุษจะเป็นบัณฑิตได้ในที่ทุกสถาน แม้

สตรีมีปัญญาเห็นประจักษ์ ก็เป็นบัณฑิตได้ในที่นั้น ๆ.

มิใช่แต่บุรุษจะเป็นบัณฑิตได้ในที่ทุกสถาน แม้

สตรีที่คิดความได้ฉับพลัน ก็เป็นบัณฑิตได้.

ลำดับนั้น นางภัททาคิดว่า โดยวิธีการอย่างนี้เราก็กลับบ้านไม่ได้

จำเราจะไปเสียจากที่นี่แล้วบวชเสียสักอย่าง จึงไปยังอารามของนิครนถ์ ขอ

บวชเป็นนิครนถ์. นิครนถ์เหล่านั้น กล่าวกะนางว่า การบรรพชาจะมีได้ด้วย

การกำหนดอันไรเล่า. นางกล่าวว่า อันใดเป็นสูงสุดแห่งบรรพชาของท่าน ขอ

ท่านโปรดกระทำอันนั้นเถิด. นิครนถ์เหล่านั้นกล่าวว่า ดีละ แล้วก็ช่วยกัน

ถอนผมของนางด้วยเสี้ยนตาลใสให้นางบวช. ผมที่งอกขึ้นมาอีก ก็เวียนเป็น

ลอนงอกขึ้นมา นับแต่นั้นมา นางก็เกิดมีชื่อว่า กุณฑลเกสา. นางเล่าเรียน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 173

ลัทธิสมัยและทางแห่งวาทะที่ควรเรียนในสำนักนิครนถ์นั้น ก็รู้ว่าคนเหล่านั้นรู้

กันเท่านี้ วิเศษยิ่งกว่านี้ไม่มี ก็หลีกออกไปจากสำนักนั้น ไปในที่ ๆ มีบัณฑิต

เล่าเรียนศิลปความรู้ของบัณฑิตเหล่านั้น มองไม่เห็นใครที่สามารถจะพูดด้วย

กับคน เข้าไปตามนิคมใด ๆ ก็กองทรายไว้ใกล้ประตูคานนิคมนั้น ๆ วางกิ่ง

หว้าไว้บนกองทรายนั้น ให้สัญญาณแก่พวกเด็กที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ ว่า ผู้ใดสมารถ

จะยกวาทะของเราได้ ผู้นั้นก็จงเหยียบกิ่งหว้านี้ แล้วก็ไปที่อยู่ เมื่อกิ่งหว้า

วางอยู่อย่างนั้น ๗ วัน นางก็จะถือกิ่งหว้านั้นหลีกไป.

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา เสด็จอุบัติในโลก ทรงประกาศ

พระธรรมจักรอันประเสริฐ ทรงอาศัยกรุงสาวัตถีโดยลำดับ ประทับ อยู่ ณ

พระเชตวัน แม้นางกุณฑลเกสา ก็ท่องเที่ยวไปในตามนิคมราชธานีทั้งหลาย

โดยนัยที่กล่าวแล้ว ถึงกรุงสาวัตถีวางกิ่งหว้าลงบนกองทราย ใกล้ประตู

พระนคร ให้สัญญาณแก่พวกเด็ก ๆ แล้วก็เข้าไปยังกรุงสาวัตถี,

ครั้งนั้น ท่านพระธรรมเสนาบดีเข้าไปพระนครลำพังผู้เดียว เห็นกิ่ง

ไม้นั้น ประสงค์จะย่ำยีวาทะ จึงถามพวกเด็ก ๆ ว่า เหตุไร กิ่งไม้นี้จึงถูก

รางไว้อย่างนี้. พวกเด็กก็บอกความข้อนั้น. พระเถระกล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น

พวกเจ้าจงช่วยกันเหยียบกิ่งไม้นี้เถิด. พวกเด็กก็พากันเหยียบกิ่งไม้นั้น.

นางกุณฑลเกสาฉันอาหารเสร็จแล้ว ก็ออกจากนคร เห็นกิ่งไม้ถูก

เหยียบ จึงถามว่าใครเหยียบ ทราบว่าพระเถระให้เหยียบ คิดว่า วาทะที่ไม่

มีตนเข้าข้างไม่งาม จึงเที่ยวไปจากถนนหนึ่งสู่อีกถนนหนึ่ง โฆษณาว่า ท่าน

ทั้งหลายโปรดดูวาทะของข้าพเจ้ากับพระสมณะศากยบุตรเถิด ถูกมหาชนห้อม

ล้อมแล้ว เข้าไปหาท่านพระธรรมเสนาบดี ซึ่งนั่งอยู่โคนไม้ต้นหนึ่ง ทำปฏิ-

สันถารแล้ว ยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่งกล่าวว่า กิ่งไม้หว้าที่ข้าพเจ้าวางไว้

ท่านให้เด็กเหยียบหรือ. พระเถระตอบว่า ถูกละ เราให้เด็กเหยียบ. นาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 174

กล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จะมีวาทะของข้าพเจ้ากับท่านกันนะเจ้าคะ. พระ

เถระว่า เชิญสิภัททา. นางว่า ท่านเจ้าข้า ใครถาม ใครตอบ กันล่ะเจ้าคะ.

พระเถระว่า ธรรมดาว่าการถามมาถึงเราแล้ว แต่ท่านจงถามข้อที่รู้ของตนเถิด.

โดยอนุมัติที่พระเถระให้ไว้ นางจึงถามวาทะที่เป็นข้อรู้ของตนทั้งหมด. พระ

เถระก็ตอบได้หมด. นางไม่รู้ข้อที่ควรถามสูงขึ้นไปจึงนิ่งอยู่. พระเถระกล่าวว่า

ท่านถามมามากข้อ แต่เราจะถามปัญหาท่านข้อเดียว. นางกล่าวว่า โปรดถาม

เถิดเจ้าข้า. พระเถระถามปัญหาข้อนี้ว่า เอก นาม กึ อะไรชื่อว่าหนึ่ง

นางกุณฑลเกสามองไม่เห็นเงื่อนต้นไม่เห็นเงื่อนปลาย เป็นเหมือนเข้าไปสู่ที่

มืด จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบเจ้าข้า. พระเถระกล่าวว่า ข้อเดียวเท่านี้

ท่านยังไม่รู้ ข้ออื่น ๆ ท่านจะรู้ได้อย่างไรเล่า แล้วแสดงธรรม. นางหมอบลง

แทบเท้าทั้งสองของพระเถระกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นสรณะ.

พระเถระกล่าวว่า ภัททา ท่านอย่าถึงเราเป็นสรณะเลย ท่านจงถึงพระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์เดียว ซึ่งเป็นอัครบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลกเป็น

สรณะเถิด. นางกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามอย่างนั้นเจ้าข้า แล้วก็ไปเฝ้าพระ

ศาสดา เวลาทรงแสดงธรรมในตอนเย็น ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์

ยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง พระศาสดาทรงทราบว่า นางมีญาณแก่กล้าแล้ว

จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

ถ้าคาถาจำนวนตั้งพันคาถา ไม่ประกอบด้วยบท

เป็นประโยชน์ คาถาบทเดียวที่ฟังแล้วสงบได้ยัง

ประเสริฐกว่า.

จบคาถา นางทั้งที่อยู่ในท่ายืนนั่นแล ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๖๑ กุณฑลเกสีเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 175

พระชินพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้

ทรงถึงฝั่งแห่งสรรพธรรม เป็นผู้นำ เสด็จอุบัติ เมื่อ

แสนกัปนับแต่กัปนี้. ครั้งนั้นข้าพเจ้าเกิดในครอบครัว

เศรษฐี ผู้รุ่งโรจน์ด้วยรัตนะนานาชนิด กรุงหังสวดี

เปี่ยมด้วยความสุขเป็นอันมาก.

ข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระมหาวีรพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ฟังธรรมอันยอดเยี่ยม เกิดความเลื่อมใส ก็ถึงพระชิน-

พุทธเจ้าเป็นสรณะ

พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้ทรงมีพระมหากรุณา

ทรงสถาปนาพระสุภาภิกษุณีว่า เป็นเลิศของภิกษุณีผู้

เป็นขิปปาภิญญา ตรัสรู้เร็ว.

ข้าพเจ้าฟังพระพุทธเจ้าดำรัสนั้นแล้วก็ยินดีด้วย

ถวายแด่พระผู้ทรงแสวงคุณอันยิ่งใหญ่ หมอบลงแทบ

เบื้องพระยุคลบาท ปรารถนาตำแหน่งนั้น.

พระผู้เป็นมหาวีระ ทรงอนุโมทนาว่า ดูก่อน

ภัททา เจ้าปรารถนาตำแหน่งใด ตำแหน่งนั้นจักสำเร็จ

หมด ขอเจ้าจงมีสุขเย็นใจเถิด. ในแสนกัปนับแต่กัป

นี้ไป พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ผู้ทรงสมภพใน

ราชสกุลของพระเจ้าโอกกากราช จักเป็นศาสดา แม่

นางจักมีชื่อว่าภัททากุณฑลเกสา เป็นทายาทในธรรม

ของพระองค์ เป็นโอรสา ถูกเนรมิตโดยธรรม จักเป็น

สาวิกาของพระศาสดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 176

ด้วยกรรมที่ทำดีนั้น และด้วยการตั้งใจไว้ชอบ

ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว ก็ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

จุติจากนั้นแล้ว ก็ไปสวรรค์ชั้นยามาจากนั้นก็ชั้นดุสิต

ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.

ข้าพเจ้าเกิดในภพใด ๆ ด้วยอำนาจของกรรมนั้น

ข้าพเจ้าก็ครองตำแหน่งเอกอัครมเหสีของพระราชาทั้ง

หลายในภพนั้น ๆ จุติจากภพนั้นแล้ว มาในหมู่มนุษย์

ก็ครองตำแหน่งอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ และ

พระราชาเจ้าปฐพีมณฑล ข้าพเจ้าเสวยสมบัติใน

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ประสบสุขในภพทุกภพ

ท่องเที่ยวอยู่หลายกัป.

ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ

เป็นพราหมณ์ มียศใหญ่ เป็นยอดของศาสดาทั้งหลาย

พระเจ้ากาสี จอมนรชน กรุงพาราณสี ราชธานี

ทรงเป็นอุปฐาก พระผู้ทรงแสวงคุณอันยิ่งใหญ่ ใน

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นราชธิดาองค์ที่ ๔ ในพระเจ้ากาสี

นั้น ปรากฏพระนามว่าภิกขุทาสี ฟังธรรมของพระ-

ชินพุทธเจ้าผู้เลิศแล้วก็ชอบใจการบรรพชา.

พระราชบิดาไม่ทรงอนุญาตพวกเรา ครั้งนั้น

พวกเราจึงอยู่ในพระราชมณเฑียร ไม่เกียจคร้านประ-

พฤติโกมารีพรหมจรรย์มา ๒๐,๐๐๐ ปี เป็นพระราช-

ธิดาเสวยสุข บันเทิงยินดีเป็นนิตย์ ในการบำรุงพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 177

พุทธเจ้า มี ๗ พระองค์คือ สมณี สมณคุตตา ภิกขุนี

ภิกขุทาสิกา ธัมมา สุธัมมา และสังฆทาสิกาที่ครบ ๗.

บัดนี้ คือ เขมา อุบลวรรณา ปฏาจารา

ข้าพเจ้า กิสาโคตมี ธัมมทินนา และวิสาขาที่ครบ ๗.

ด้วยกรรมที่ทำมาดีนั้น และด้วยการตั้งใจไว้

ชอบ ข้าพเจ้าละกายมนุษย์ ก็ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

บัดนี้ ภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในครอบครัว

เศรษฐี ผู้มั่งคั่ง ในกรุงราชคฤห์ราชธานีมคธ ครั้น

ข้าพเจ้าเติบโตเป็นสาว เห็นโจรที่ถูกเขานำไปจะประ-

หารชีวิต เกิดจิตปฏิพัทธ์ในโจรนั้น บิดาของข้าพเจ้า

ติดสินบนเจ้าหน้าที่ด้วยทรัพย์พันกหาปณะ ให้ปล่อย

โจรนั้นพ้นจากประหาร.

บิดาเอาใจข้าพเจ้า จึงมอบโจรนั้นให้ข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าเอ็นดูโจรนั้น ช่วยเกื้อกูล สนิทสนมอย่างยิ่ง.

โจรนั้น นำเครื่องพลีกรรมไป เพราะโลภใน

เครื่องประดับของข้าพเจ้า นำไปยังเขาทิ้งโจร คิดจะ

ฆ่าข้าพเจ้าที่ภูเขา.

ครั้งนั้น ข้าพเจ้านอบน้อมสัตตุกโจร ทำอัญชลี

อย่างดี รักษาชีวิตตน จึงกล่าวคำนี้ว่า

สายสร้อยทองนี้ แก้วมุกดา และไพฑูรย์เป็น

อันมาก ขอท่านโปรดเอาไปทั้งหมด โปรดปล่อย

ภัททา ประกาศว่าเป็นทาสีของท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 178

สัตตุกโจรกล่าวกะข้าพเจ้าว่า

แม่งาม จงตายเสียเถิด เจ้าอย่าพิไรรำพันนัก

เลย ข้าไม่รู้เลยว่า ไม่ต้องฆ่านางผู้มาถึงป่าแล้ว

ข้าพเจ้ากล่าวกะสัตตุกโจรว่า

เมื่อใดข้าพเจ้านึกถึงตัวเอง เนื้อใดข้าพเจ้าเติบ

โตรู้เดียงสาแล้ว เมื่อนั้นข้าพเจ้าไม่รู้เลยว่า คนอื่น

จะเป็นที่รักยิ่งกว่าตัวท่าน มาสิข้าพเจ้าจักกอดท่าน

ทำประทักษิณเวียนขวาท่าน ไหว้ท่าน ข้าพเจ้ากับ

ท่านจะไม่ได้พบกันอีกแล้ว.

เทวดาที่สิงสถิต ณ ภูเขากล่าวสดุดีข้าพเจ้าว่า

มิใช่แต่บุรุษจะเป็นบัณฑิตได้ในที่ทุกสถาน แม้

สตรีมีปัญญาเห็นประจักษ์ ก็เป็นบัณฑิตได้ในที่นั้น ๆ.

มิใช่บุรุษจะเป็นบัณฑิตได้ในที่ทุกสถาน แม้

สตรีที่คิดความได้รวดเร็ว ก็เป็นบัณฑิตได้.

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าฆ่าสัตตุกโจร เหมือนอย่างขน

เนื้อทราย ฆ่าเนื้อทรายฉะนั้น.

ก็ผู้ใดรู้แก้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้

ฉับพลัน ผู้นั้นย่อมหลุดพ้นจากการบีบคั้นของศัตรู

เหมือนข้าพเจ้าหลุดพ้นจากสัตตุกโจร ในครั้งนั้น

ฉะนั้น.

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าผลักสัตตุกโจรตกลงไปที่ซอก

เขา แล้วเข้าไปยังสำนัก ของนักบวชผู้ครองผ้าขาว

บรรพชา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 179

พวกนักบวชปริพาชก เอาแหนบถอนผมของ

ข้าพเจ้าหมดให้บรรพชาแล้ว สอนลัทธิสมัย ไม่ว่างเว้น

ในครั้งนั้น.

แต่นั้น ข้าพเจ้าเรียนลัทธินั้นนั่งอยู่คนเดียวนึก

ถึงลัทธินั้นว่า สุนัขทำกะมนุษย์.

ข้าพเจ้าจับกิ่งหว้าที่ขาดแล้ว วางนอนไว้ใกล้

ข้าพเจ้าแล้วก็หลีกไป เห็นกลุ่มคนยืนอยู่อากูลดัง

หมู่หนอน ก็ได้นิมิต สลดใจ ก็ลุกขึ้นจากที่นั้นบอก

กล่าวกะสหธรรมมิกปริพาชกผู้ร่วมประพฤติธรรม สห-

ธรรมิกเหล่านั้นบอกว่า ภิกษุศากยบุตรรู้ความข้อนั้น

ข้าพเจ้าจึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

พระผู้นำพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมแก่

ข้าพเจ้าว่า ขันธ์อายตนะและธาตุทั้งหลาย ไม่งามเป็น

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.

ข้าพเจ้าฟังธรรมของพระองค์แล้ว ก็ทำธรรม-

จักษุดวงตาเห็นธรรมให้บริสุทธิ์ แต่นั้นก็รู้แจ้งพระ-

สัทธรรม ได้บรรพชาอุปสมบท. พระผู้ทรงเป็นผู้นำ

อันข้าพเจ้าทูลวอนแล้วก็ตรัสว่า ภัททา จงมา ข้าพเจ้า

อุปสมบทแล้วในครั้งนั้น ได้เห็นน้ำเล็กน้อย. ด้วย

การล้างเท้า ก็รู้พร้อมทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อม

คิดอย่างนี้ว่า สังขารแม้ทั้งหมดก็เป็นอย่างนั้น.

แต่นั้น จิตของข้าพเจ้าก็หลุดพ้น ไม่ยึดมั่น

โดยประการทั้งปวง ครั้งนั้น พระชินพุทธเจ้าจึงทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 180

แต่งตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศของ

ภิกษุณีผู้เป็นขิปปาภิญญา ตรัสรู้เร็วพลัน.

ข้าพเจ้าผู้ทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดาเป็นผู้

ชำนาญในฤทธิ์ ในทิพโสตธาตุ รู้ปรจิตตวิชชา

[เจโตปริยญาณ] รู้ปุพเพนิวาสญาณ ทำทิพยจักษุให้

บริสุทธิ์ ทำอาสวะให้สิ้นไปหมด บริสุทธิ์ไร้มลทิน

อย่างดี.

พระศาสดา ข้าพเจ้าบำรุงแล้ว คำสั่งสอนของ

พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว. ภาระหนัก ก็ปลง

ลงแล้ว ตัณหาที่นำไปในภพ ก็ถอนเสียแล้ว ชนทั้ง

หลายออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน เพื่อประโยชน์อัน

ใด ประโยชน์อันนั้น ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว ธรรมเป็นที่

สิ้นสังโยชน์ทุกอย่าง ก็บรรลุแล้ว. ญาณของข้าพเจ้า

ในอรรถ ธรรม นิรุตติและปฏิภาณ ก็บริสุทธิ์ไพบูลย์

ด้วยอำนาจของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าก็เผาเสียแล้ว ภพทุกภพ

ข้าพเจ้าก็ถอนเสียแล้ว ข้าพเจ้าตัดเครื่องผูกดุจช้างไม่

มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้ามาดีแล้ว ในสำนักพระพุทธเจ้าผู้ประ-

เสริฐสุด วิชชา ๓ ก็บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระ

พุทธเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 181

ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ก็

กระทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าก็ทำ

เสร็จแล้ว.

ก็แลนางครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ทันใดนั้นก็ทูลขอบรรพชา พระ

ศาสดาทรงอนุญาตการบรรพชาแก่นาง นางจึงไปสำนักภิกษุณี บรรพชาแล้ว

ก็ยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผลและสุขในนิพพาน พิจารณาการปฏิบัติของตน จึง

กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า

แต่ก่อน ข้าพเจ้าถอนผม อมมูลฟัน มีผ้าผืน

เดียวเที่ยวไป รู้ในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ และเห็น

สิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ.

ข้าพเจ้าออกจากที่พักกลางวัน ก็ได้พบพระพุทธ-

เจ้าผู้ไม่มีกิเลสดุจธุลี อันหมู่ภิกษุแวดล้อมที่ภูเขาคิชฌ-

กูฏ จึงคุกเข่าถวายบังคม ทำอัญชลีต่อพระพักตร์

พระองค์ตรัสกะข้าพเจ้าว่า ภัททา จงมา พระดำรัส

สั่งนั้น ทำความหวังของข้าพเจ้าให้สำเร็จสมบูรณ์.

ข้าพเจ้าจาริกไปทั่วแคว้นอังคะ มคธะ กาสี

โกสละ บริโภคก้อนข้าวของชาวแคว้นมา ๕๐ ปี ไม่

เป็นหนี้ [ไม่เป็นอิณบริโภค].

ท่านอุบาสกผู้ใด ได้ถวายจีวรแก่ข้าพเจ้าภัททา

ผู้พ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทุกอย่างแล้ว ท่านอุบาสก

ผู้นั้นมีปัญญา ประสบบุญเป็นอันมากหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 182

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลูนเกสี ได้แก่ ชื่อว่าถอนผม เพราะ

ข้าพเจ้าถูกถอนถูกทิ้งผม คือมีผมถูกถอนด้วยเสี้ยนตาล ในการบวชในลัทธิ

นิครนถ์ พระเถรีกล่าวหมายถึงลัทธินั้น. บทว่า ปงฺกธรี ได้แก่ ชื่อว่าอมมูล

ฟัน เพราะคงไว้ซึ่งปังกะคือมลทินในฟันทั้งหลาย เพราะยังไม่เคี้ยวไม้

ชำระฟัน. บทว่า เอกสาฏี ได้แก่ มีผ้าผืนเดียว ตามจารีตนิครนถ์ บทว่า

ปุเร จรึ ได้แก่ แต่ก่อนข้าพเจ้าเป็นนักบวชหญิงนิครนถ์ (นิคนฺถี) เที่ยวไป

อย่างนี้. บทว่า อวชฺเช วชฺชมตินี ได้แก่ สำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษมีการ

อาบน้ำ ขัดสีตัวและเคี้ยวไม้สีฟันเป็นต้นว่ามีโทษ. บทว่า วชฺเช จาวชฺช-

ทสฺสินี ได้แก่ เห็นในสิ่งที่มีโทษมีมานะ มักขะ ปลาสะและวิปัลลาสะเป็นต้น

ว่าไม่มีโทษ.

บทว่า ทิวาวิหารา นิกขมฺม ได้แก่ ออกจากสถานที่พักกลางวัน

ของตน. ภัททาปริพาชิกาแม้นี้ มาพบพระเถระเวลาเที่ยงตรง ถูกพระเถระ

กำจัดความกระด้างด้วยมานะเสีย ด้วยการตอบปัญหานั้น และแสดงธรรม

ก็มีใจเลื่อมใส ประสงค์จะเข้าไปยังสำนัก จึงกลับไปยังที่อยู่ของตน นั่งพัก

กลางวัน เวลาเย็นจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา.

บทว่า นิหจฺจ ชานุ วนฺทิตฺวา ความว่า ด้วยการคุกเข่าทั้งสอง

ลงที่แผ่นดินตั้งอยู่ ชื่อว่าตั้งอยู่ด้วยองค์ ๕. บทว่า สมฺมุขา อญฺชลึ อกึ

ความว่าได้ทำอัญชลีที่รุ่งเรื่องด้วยการประนม ๑๐ นิ้ว ต่อพระพักตร์ของพระ

ศาสดา. บทว่า เอหิ ภทฺเทติ ม อวจ สา เม อวสูปสมฺปทา ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งข้าพเจ้า ผู้บรรลุพระอรหัต แล้วทูลขอบรรพชา

อุปสมบทว่า ภัททา จงมา เจ้าจงไปสำนักภิกษุณี บรรพชาอุปสมบทเสียที่

สำนักภิกษุณีดังนี้อันใด พระดำรัสสั่งของพระศาสดานั้น ได้เป็นอุปสัมปทา

เพราะเป็นเหตุแห่งการอุปสมบทของข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 183

สองคาถาว่า จิณฺณา เป็นอาทิ เป็นคาถาแสดงการพยากรณ์พระอรหัต.

บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า จิณฺณา องฺคา จ มคธา ความว่า ชนบท

เหล่านั้นใด คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ แต่ก่อน ข้าพเจ้าบริโภคก้อน

ข้าวของชาวแคว้นอย่างเป็นหนี้ เที่ยวจาริกไป นับตั้งแต่พบกับพระศาสดา

ข้าพเจ้าไม่เป็นหนี้ คือไม่มีโทษ ปราศจากกิเลส บริโภคกอันข้าวของชาว

แคว้นมา ๕๐ ปี ในชนบทเหล่านั้นแล.

พระเถรีเมื่อพยากรณ์พระอรหัต โดยมุข คือการระบุบุญวิเศษ แก่

อุบาสกผู้มีใจเลื่อมใสแล้วถวายจีวรแก่ตน จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า ปุญฺ วต

ปสวิ พหุ ประสบบุญเป็นอันมากหนอเป็นต้น. คาถานั้น ก็รู้ได้ง่ายแล.

จบ อรรถกถาภัททากุณฑลเกสาเถรีคาถา

๑๐. ปฏาจาราเถรีคาถา

[๔๔๘] พระปฏาจาราเถรี ชี้แจงว่า

ผู้ชายทั้งหลาย ไถนาด้วยไถ หว่านเมล็ดพืชลง

ที่พื้นนา ได้ทรัพย์มาเลี้ยงดูบุตรภริยา.

ข้าพเจ้าสมบูรณ์ด้วยศีล ทำตามคำสั่งสอนของ

พระศาสดา ไม่เกียจคร้าน ไม่ฟุ้งซ่าน ไฉนจะไม่

ประสบพบพระนิพพานเล่า.

ข้าพเจ้าล้างเท้า ใส่ใจนิมิตในน้ำ เห็นน้ำล้าง

เท้าไหลจากที่ดอนมาสู่ที่ลุ่ม แต่นั้น ข้าพเจ้าก็ตั้งจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 184

ไว้มั่นคง ดุจม้าอาชาไนยที่ดี ถือประทีปจากที่นั้นไป

ยังวิหาร มองเห็นที่นอน จึงเข้าไปที่เตียง.

ต่อนั้น ก็ถือลูกดาลชักไส้ประทีปออกไป ความ

หลุดพ้นทางใจ ก็ได้มีเหมือนความดับของประทีปที่

ติดโพลง ฉะนั้น.

จบ ปฏาจาราเถรีคาถา

๑๐. อรรถกถาปฏาจาราเถรีคาถา

คาถาว่า นงฺคเลหิ กส เขตฺต เป็นต้น เป็นคาถาของพระปฏา-

จาราเถรี.

ความพิสดารว่า พระเถรีรูปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนครอบครัว ในกรุงหังสวดี รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่ง

ฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะ เป็นเลิศของภิกษุณีผู้ทรงวินัย กระทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป

ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางกระทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายไปในเทวดา

และมนุษย์ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป ถือปฏิสนธิในพระราชมณเฑียร

ของพระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกิ เป็นพระราชธิดาองค์หนึ่ง ระหว่างพระพี่น้อง

นาง ๗ องค์ ทรงประพฤติโกมาริพรหมจรรย์มาตลอด ๒๐,๐๐๐ ปี ได้ทรง

สร้างบริเวณถวายพระภิกษุสงฆ์. นางจุติจากนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก เสวย

ทิพยสมบัติอยู่พุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในครอบครัวเศรษฐี

เติบโตเป็นสาวแล้ว ได้ทำความสนิทเสน่หากับคนงานคนหนึ่งในเรือนของตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 185

บิดามารดาได้กำหนดวันที่จะส่งมอบนางให้ชายหนุ่ม ซึ่งมีชาติเสมอกัน. นาง

รู้เรื่องนั้นแล้วก็หยิบฉวยทรัพย์ที่สำคัญไว้ในมือ ออกไปทางประตูสำคัญกับ

ชายที่สนิทเสน่หาคนนั้น อาศัยอยู่ในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง ก็ตั้งครรภ์. เมื่อครรภ์

แก่ นางก็พูดว่า นายจำ ประโยชน์อะไรที่จะอยู่อนาถาในที่นี้ ฉันจะกลับไป

เรือนของครอบครัวละ เมื่อสามีพูดผัดเพี้ยนว่า วันนี้จะไป พรุ่งนี้ค่อยไปเถิด

นางคิดว่าผู้นี้โง่คงไม่พาเรากลับไปบ้านแน่ เมื่อสามีไปนอกบ้านแล้ว ก็เก็บงำ

สิ่งของที่ควรเก็บงำไว้ในเรือน แล้วสั่งคนที่อยู่ใกล้บ้านเรือนเคียงที่คุ้นเคยไว้

ให้ช่วยบอกสามีว่า นางกลับไปเรือนตระกูลแล้ว เดินทางไปลำพังผู้เดียว

หมายกลับเรือนตระกูล สามีกลับบ้านไม่พบภริยา ถามพวกคนคุ้นเคย ก็

ทราบว่านางกลับบ้านเดิม ครุ่นคิดว่า เพราะตัวเราเอง นางจึงเป็นคนอนาถา

จึงเดินสะกดรอยก็ไปทันกัน. นางตลอดบุตร ในระหว่างทางนั่นเอง นับแต่

คลอดบุตรแล้ว นางก็ระงับการขวนขวายที่จะไปบ้าน พาสามีกลับไป. แม้ครั้ง

ที่สอง นางก็มีครรภ์. คำดังกล่าวมานี้เป็นต้นทั้งหมด พึงทำให้พิศดารโดย

นัยก่อน ๆ นั่นแล.

แต่ความต่างกันมีดังนี้ คราวที่อยู่ในระหว่างทาง ลมกัมมัชวาต

เกิดปั่นป่วน เมฆฝนอันมิใช่ฤดูกาลก็ตกลงมาห่าใหญ่ ท้องฟ้ามีหยาดฝนตก

ลงมาไม่ขาดสาย สายฟ้าก็แลบแปลบปลาบไปรอบ ๆ เสียงเมฆคำรามดังจะ

แตกทะลาย. นางเห็นแล้วก็พูดกะสามีว่า นายจ๋า ช่วยสร้างที่บังฝนหน่อยสิจ๊ะ

สามีก็สำรวจดูที่โน่นที่นี่ พบพุ่มไม้มีหญ้าปกคลุมแห่งหนึ่ง จึงไปที่นั้น

ประสงค์จะตัดท่อนไม้ที่พุ่มไม้นั้น ด้วยมีดที่ถืออยู่ในมือ จึงตัดต้นไม้ซึ่ง

อยู่ที่พุ่มไม้นั้น ท้ายจอมปลวกที่หญ้าปกคลุม ในทันใดงูพิษร้ายก็เลื้อยออกมา

จากจอมปลวกนั้น กัดเขา ล้มลงตายอยู่ในที่นั้นนั่นเอง. นางต้องประสบทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 186

มาก รอคอยการกลับมาของสามี โอบลูกน้อยทั้งสองซึ่งทนลมฝนไม่ไหวร้องไห้

จ้าไว้แนบอก สองเข่าสองมือยึดพื้นดินไว้มั่นอยู่ท่านั้นตลอดคืน เมื่อราตรี

สว่างก็เอาลูกคนหนึ่งซึ่งมีสีคล้ายชิ้นเนื้อนอนบนเบาะผ้าเก่า โอบด้วยมือกกด้วย

อกแล้วกล่าวกะลูกอีกคนหนึ่งว่า มานี่ลูก พ่อเจ้าไปทางนี้แล้วมองดูตามทางที่

สามีไป พบสามีนอนตายอยู่ใกล้ ๆ จอมปลวก จึงร้องไห้คร่ำครวญว่า เพราะ

ตัวเราทีเดียว สามีเราจึงตาย ระหว่างทางก็ถึงแม่น้ำ ซึ่งกระแสน้ำไหลแค่เข่า

แค่นม เพราะฝนตกตลอดทั้งคืนไม่สามารถจะข้ามน้ำพร้อมกับลูกสองคนใน

คราวเดียวได้ เพราะตนมีความรู้น้อยและอ่อนแอ จึกพักลูกคนโตไว้ฝั่งนี้

พาลูกคนเล็กไปยังฝั่งโน้น ปูกิ่งไม้หักไว้ให้ลูกอ่อน นอนบนเบาะผ้าเก่าบน

กิ่งไม้ลาดนั้น คิดจะไปหาลูกอีกคนหนึ่ง แต่ไม่อาจจะละลูกอ่อนได้ จึงกลับ

ไปกลับมา มองดูพลางลงน้ำ.

ขณะที่นางไปถึงกลางแม่น้ำ เหยี่ยวตัวหนึ่งเห็นเด็กอ่อนนั้น นึกว่า

เป็นชิ้นเนื้อ จึงโผลงจากอากาศ นางเห็นเหยี่ยวนั้นจึงยกสองมือขึ้นไล่ ทำ

เสียงดัง ๆ สามครั้งว่า สุ สุ เหยี่ยวไม่สนใจอาการของนางนั้น เพราะอยู่ไกล

กัน ก็เฉี่ยวเอาเด็กอ่อนนั้นเหินขึ้นอากาศไป ลูกคนที่ยืนอยู่ฝั่งนี้ เห็นมารดา

ยกสองมือส่งเสียงดัง ก็นึกว่าแม่เรียกตัว จึงโดดลงน้ำไปโดยเร็ว. ลูกอ่อน

ของนางถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป ลูกคนโตก็ถูกน้ำพัดไป ด้วยประการฉะนี้. นาง

ร้องไห้คร่ำครวญว่า ลูกเราคนหนึ่งถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป

สามีเราก็ตายที่หนทาง พลางเดินไปพบชายผู้หนึ่งถามว่า พ่อท่าน เป็นชาว

เมืองไหนจ๊ะ ชายผู้นั้นตอบว่า เป็นชาวกรุงสาวัตถีจ้ะแม่คุณ. ถามว่า มีตระกูล

ชื่อโน้น อยู่ที่ถนนโน้นในกรุงสาวัตถี พ่อท่านรู้จักไหมจ๊ะ. ตอบว่า รู้จักจ้ะ

แม่คุณ แต่อย่าถามข้าเลย ถามคนอื่นเถิดจ้ะ. นางกล่าวว่า คนอื่นข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 187

ไม่ต้องการดอกจ้ะ จะถามท่านนี่แหละพ่อท่าน. ตอบว่า แม่คุณเอ๋ย โปรด

ไม่ให้บอกท่านไม่ได้หรือ วันนี้แม่นางเห็นฝนตกตลอดคืนยังรุ่งไหมเล่า.

ข้าพเจ้าเห็นจ้ะพ่อท่าน ฝนนั้นตกตลอดคืนยังรุ่ง สำหรับข้าพเจ้าด้วยจ้ะ

แต่ข้าพเจ้าจะเล่าเหตุนั้นภายหลัง ขอท่านโปรดเล่าเรื่องในเรือนเศรษฐีแก่

ข้าพเจ้าก่อนเถิดจ้ะ. แม่คุณเอ๋ย วันนี้เมื่อคืนนี้ เรือนล้มทับคน ๓ คน คือ

เศรษฐี ภริยาของเศรษฐี และบุตรชายเศรษฐี ทั้งสามคน ถูกเผาบนเชิง

ตะกอนเดียวกัน ควันไฟที่พื้นยังเห็นอยู่เลยจ้ะแม่คุณ. ขณะนั้น นางจำไม่

ได้ว่าตนปราศจากผ้านุ่งห่มฟุบล้มลง โดยรูปที่เกิด เพราะเป็นคนบ้าด้วยความ

เศร้าโศก นางจึงวนเวียนเพ้อรำพันว่า

ลูกทั้งสองก็ตาย สามีเราก็ตายที่หนทาง บิดา

มารดาและพี่ชาย ก็ถูกเผาที่เชิงตะกอนเดียวกัน.

นับตั้งแต่นั้นมา นางก็มีสมญาว่า ปฏาจารา เพราะมีอาจาระตกไป

เหตุไม่เที่ยวไปด้วยผ้าแม้แต่เพียงผ้านุ่ง. ผู้คนทั้งหลายเห็นนาง บางพวกก็

โยนขยะลงบนศรีษะ. พร้อมทั้งขับไล่ว่า ไปอีคนบ้า. บางพวกก็โปรยฝุ่น

อีกพวกหนึ่งก็ขว้างก้อนดินท่อนไม้ พระศาสดากำลังประทับนั่งทรงแสดงธรรม

ท่ามกลางบริษัทหมู่ใหญ่ ณ พระเชตวันวิหาร ทอดพระเนตรเห็นนางกำลัง

วนเวียนอย่างนั้น และทรงสำรวจดูความแก่กล้าแห่งญาณ ได้ทรงทำโดย

อาการที่นางจะบ่ายหน้ามายังพระวิหาร บริษัทเห็นนาง จึงกล่าวว่า อย่าให้

หญิงบ้ามาที่นี่นะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าห้ามนางเลย เมื่อนางมาถึง

ที่ไม่ไกล จึงตรัสว่า แม่นางจงกลับได้สติ ในทันใด นางก็กลับได้สติ

พระพุทธานุภาพ รู้ตัวว่าผ้าที่นุ่งหลุดหล่นหมดแล้ว เกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมา

ก็นั่งคุกเข่าลง ชายผู้หนึ่งก็โยนผ้าห่มให้ นางนุ่งผ้านั้นแล้วก็เข้าเฝ้าพระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 188

ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอทรงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ด้วย เหยี่ยวเฉี่ยวเอาบุตรของข้าพระองค์ไปคน

หนึ่ง คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป สามีก็ตายที่หนทาง บิดามารดาและพี่ชายก็ถูก

เรือนล้มทับตาย เขาเผาที่เชิงตะกอนเดียวกัน. นางก็ทูลเล่าถึงเหตุแห่งความ

เศร้าโศก. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนปฏาจารา เจ้าอย่าคิดไปเลย เจ้ามา

หาเราซึ่งสามารถจะเป็นที่พึ่งของเจ้าได้ ก็บัดนี้เจ้าหลั่งน้ำตา เพราะความ

ตายของลูกเป็นต้นเป็นเหตุ ฉันใด ในสังสารวัฏที่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตาม

ไปไม่รู้แล้ว ก็ฉันนั้น น้ำตาที่หลั่งเพราะความตายของลูกเป็นต้นเป็นเหตุ

ยังมากกว่าน้ำของมหาสมุทรทั้งสี่อีก เมื่อทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาว่า

น้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ยังมีปริมาณน้อย ความ

เศร้าโศกของนรชนผู้ถูกทุกข์กระทบแล้ว น้ำของน้ำ

ตามิใช่น้อย มีปริมาณมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔

นั้นเสียอีก แม่เอย เหตุไร เจ้าจึงขังประมาทอยู่เล่า.

เมื่อพระศาสดากำลังตรัสกถาบรรยายเรื่องสังสารวัฏ ที่มีเงื่อนต้นและ

เงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว ความเศร้าโศกของนางก็ค่อยทุเลาลง. ลำดับนั้น

พระศาสดาทรงทราบว่า นางมีความเศร้าโศกเบาบางแล้ว เมื่อทรงแสดงว่า ดู

ก่อนปฏาจารา ขึ้นชื่อว่าปิยชนมีบุตรเป็นต้น ก็ไม่อาจจะช่วย จะซ่อนเร้น

หรือเป็นที่พึ่งของคนที่กำลังไปสู่ปรโลกได้ ดังนั้น ปิยชนเหล่านั้นแม้มีอยู่ ก็ชื่อ

ว่าไม่มี เพราะฉะนั้นบัณฑิตพึงชำระศีลของตนแล้ว ทำทางที่จะไปพระนิพพาน

ให้สำเร็จ ดังนี้ จึงทรงแสดงธรรมด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 189

ไม่มีบุตรที่จะช่วยได้ บิดาก็ไม่ได้แม้พวกพ้องก็

ไม่ได้ เมื่อความตายมาถึงตัวแล้ว หมู่ญาติ ก็ช่วยไม่ได้

เลย

สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะมีอยู่

ในผู้ใด พระอริยะทั้งหลายย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็น

อนามตธรรม ธรรมที่ไม่ตาย (นิพพาน) ในโลก.

บัณฑิตรู้ใจความข้อนี้แล้ว สำรวมในศีล พึง

รีบเร่งชำระทางไปพระนิพพานทีเดียว.

จบเทศนา นางปฏาจาราก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ทูลชอบรรพชากะ

พระศาสดา พระศาสดาทรงนำไปสำนักภิกษุณีให้บรรพชา นางได้อุปสมบท

แล้ว ก็ทำกิจกรรมในวิปัสสนาเพื่อมรรคเบื้องบนขึ้นไป วันหนึ่ง ก็เอาหม้อนำ

น้ำมาล้างเท้ารดน้ำลง น้ำนั้นไปได้หน่อยหนึ่งแล้วก็ขาดหายไป รดครั้งที่สอง

น้ำก็ไปได้ไกลกว่าครั้งที่หนึ่งนั้น รดครั้งที่สามน้ำไปได้ไกลกว่าครั้งที่สองนั้น

นางยึดน้ำนั้นนั่นแหละเป็นอารมณ์ กำหนดวัยทั้งสามคิดว่า สัตว์เหล่านี้ตาย

เสียในปฐมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เรารดครั้งแรก ตายเสียในมัชฌิมวัยก็มี เหมือน

น้ำที่รดครั้งที่สอง ที่ไปไกลกว่าครั้งแรกตายเสียในปัจฉิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่

รดครั้งที่สามซึ่งไปได้ไกลกว่าครั้งที่สองนั้นเสียอีก พระศาสดาประทับนั่งอยู่ใน

พระคันธกุฎี ทรงแผ่พระรัศมีไปประหนึ่งประทับยืนตรัสอยู่ต่อหน้านาง เมื่อ

ทรงแสดงความข้อนี้ว่า ดูก่อนปฏาจารา ข้อนั้นก็เป็นอย่างนั้นแหละ สัตว์

เหล่านี้ทั้งหมดล้วนมีความตายเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นคนที่เห็นความเกิด

ความเสื่อมของปัญจขันธ์ มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียวก็ดี ขณะเดียวก็ดี ยังประ-

เสริฐกว่าคนที่ไม่เห็นความเกิดความเสื่อมนั้น ถึงจะมีชีวิตเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี

จึงตรัสพระคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 190

คนที่เห็นความเกิดความเสื่อม [ของปัญจขันธ์]

มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียวยังประเสริฐกว่า คนที่ไม่เห็น

ความเกิดความเสื่อมถึงจะมีชีวิตเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี.

จบพระคาถา พระปฏาจาราภิกษุณี ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทา ๔. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า

พระปฏาจาราเถรีกล่าวบุพกรรมของตนว่า

พระชินพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรง

ถึงฝั่งแห่งสรรพธรรม ทรงเป็นผู้นำ เสด็จอุบัติใน

แสนกัปนับแต่กัปนี้ไป.

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในสกุลเศรษฐีผู้รุ่งโรจน์

ด้วยรัตนะนานาชนิด ในกรุงหงสวดี เปี่ยมด้วยสุขเป็น

อันมาก เข้าไปเฝ้าพระมหาวีระพระองค์นั้น ได้สดับ

พระธรรมเทศนา เกิดความเลื่อมใส ก็ถึงพระชิน-

พุทธเจ้าเป็นสรณะ.

ลำดับนั้น พระผู้ทรงเป็นผู้นำทรงยกย่องภิกษุณี

ผู้มีความละอาย คงที่ แกล้วกล้าในกิจที่ควรและไม่ควร

ว่าเป็นเลิศของภิกษุณีผู้ทรงพระวินัย.

ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีจิตยินดีปรารถนาตำแหน่งนั้น

จึงนิมนต์พระทศพลผู้นำโลกพร้อมทั้งพระสงฆ์ให้เสวย

๗ วัน ถวายไตรจีวร หมอบลงแทบพระยุคลบาทด้วย

เศียรเกล้า กราบทูลดังนี้ว่า

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๕๑ ปฏาจาราเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 191

ข้าแต่พระมุนีผู้เป็นปราชญ์ เป็นผู้นำ พระองค์

ทรงยกย่องภิกษุณีรูปใดไว้ในกัปที่ ๘ นับแต่กัปนี้ไป

ข้าพระองค์จักเป็นเช่นภิกษุณีรูปนั้น ถ้าความ

ปรารถนาของข้าพระองค์สำเร็จ.

ครั้งนั้น พระศาสดาได้ตรัสกะข้าพเจ้าว่า แม่

นางเอย เจ้าอย่ากลัวเลย เบาใจได้ ในอนาคตกาล

เจ้าจักได้มโนรถ ความปรารถนานั้น ในแสนกัปนับ

แต่กัปนี้ไป พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ ทรงสม-

ภพในราชสกุลพระเจ้าโอกกากราช จักเป็นศาสดาใน

โลก เจ้าจักมีนามว่าปฏาจารา เป็นธรรมทายาทโอรส

ในธรรมของพระองค์ ถูกเนรมิตโดยธรรม เป็นสาวิกา

ของพระศาสดา.

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าดีใจมีจิตเมตตา บำรุงพระชิน-

พุทธเจ้า ผู้นำโลกพร้อมทั้งพระสงฆ์ จนตลอดชีวิต.

ด้วยกรรมที่ทำมาดีนั้น และด้วยการตั้งใจไว้

ชอบ ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้วก็ไปสู่สวรรค์ชั้นดาว-

ดึงส์.

ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปเป็น

พราหมณ์มียศใหญ่ ประเสริฐกว่าพวกบัณฑิต เสด็จ

อุบัติ ครั้งนั้นพระเจ้ากาสีจอมนรชน พระนามว่า กิกิ

ประทับ ณ กรุงพาราณสีราชธานี ทรงเป็นอุปฐาก

บำรุงพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 192

ข้าพเจ้าเป็นราชธิดาองค์ที่สามของพระองค์

ปรากฏพระนานว่า ภิกขุนี ฟังธรรมของพระชินพุทธ-

เจ้าผู้เลิศแล้ว ก็ชอบใจบรรพชา พระราชบิดาไม่ทรง

อนุญาตพวกเรา ครั้งนั้นพวกเราจึงอยู่แต่ในพระราช-

มณเฑียร ไม่เกียจคร้าน ประพฤติโกมาริพรหมจรรย์

มาถึง ๒๐,๐๐๐ ปี.

พวกเราราชธิดา อยู่ในความสุข บันเทิง ยินดี

เนื่องนิตย์ในการบำรุงพระพุทธเจ้า เป็นพระราชธิดา

๗ พระองค์ คือ สมณะ สมณคุตตา ภิกขุนี ภิกขุ

ทาสิกา ธัมมา สุธัมมา และสังฆทาสิกาที่ครบ ๗.

บัดนี้ ก็คือข้าพเจ้า อุบลวรรณา เขมา ภัททา

ภิกขุนี กิสาโคตมี ธัมมทินนาและวิสาขาที่ครบ ๗.

ด้วยกรรมที่ทำมาดีเหล่านั้น และด้วยการตั้งใจ

ไว้ชอบ ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว ก็ไปสู่สวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์ บัดนี้ภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในสกุลเศรษฐี

ผู้มั่งคั่ง รุ่งเรือง มีทรัพย์มาก ในกรุงสาวัตถี ราชธานี

แคว้นโกศล.

ข้าพเจ้าเติบโตเป็นสาวตกอยู่ในอำนาจความวิตก

พบชายชนบทก็หนีตามไปกับเขา ข้าพเจ้าคลอดบุตร

คนหนึ่ง คนที่สองยังอยู่ในครรภ์ ข้าพเจ้าตกลงใจว่า

จะบอกบิดามารดา ข้าพเจ้าไม่บอกสามีของข้าพเจ้า

เมื่อสามีไปค้างแรม ข้าพเจ้าก็ออกจากบ้านลำพังคน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 193

เดียว หมายจะไปกรุงสาวัตถี แต่นั้น สามีก็ตามมา

ทันข้าพเจ้าในระหว่างทาง.

ครั้งนั้น ลมกัมมัชวาตเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าอย่าง

ทารุณยิ่ง เมฆฝนขนาดใหญ่ก็เกิดขึ้นในเวลาที่ข้าพเจ้า

คลอดบุตร ขณะนั้น สามีไปหาทัพสัมภาระเพื่อ

กำบังฝน แต่ก็ถูกงูกัดตาย.

ครั้งนั้น เพราะทุกข์ที่คลอดบุตร ข้าพเจ้าก็เป็น

คนอนาถายากไร้ เห็นแม่น้ำเล็ก ๆ น้ำเต็มเปี่ยม ก็เดิน

ไปแม่น้ำตรงที่ตื้นเขิน พาลูกอ่อนข้ามน้ำ อีกคนหนึ่ง

เอาไว้ฝั่งโน้น ให้ลูกอ่อนดื่มนม เพื่อข้ามไปอีกฝั่ง

หนึ่ง เหยี่ยวโฉบเฉี่ยวลูกอ่อนที่ร้องจ้าไป ลูกอีกคน

หนึ่งกระแสน้ำพัดไป ข้าพเจ้านั้นเปี่ยมด้วยความเศร้า

โศก.

ข้าพเจ้ากลับไปกรุงสาวัตถี ได้ยินข่าวว่าบิดา

มารดาพี่ชายตายเสียแล้ว ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถูกความ

เศร้าโศกบีบคั้น เต็มเปี่ยมด้วยความเศร้าโศกใหญ่หลวง.

บุตรทั้งสองก็ตาย สามีของข้าพเจ้าก็ตายเสียที่

หนทาง บิดามารดาและพี่ชายก็ถูกเผาบนเชิงตะกอน

เดียวกัน.

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าผอมเหลือง ไม่มีที่พึ่ง มีใจห่อ

เหี่ยว เดินซมซานไปพบพระผู้ทรงฝึกชนที่ควรฝึก

พระศาสดาได้ตรัสกะข้าพเจ้าว่า อย่าเศร้าโศกถึงบุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 194

เลย จงเบาใจเถิด จงแสวงหาตนของเจ้าเถิด จะเดือด

ร้อนไร้ประโยชน์ไปทำไม.

ไม่มีบุตรที่จะช่วยได้ดอก บิดาก็ไม่ได้ แม้พวก

พ้องก็ไม่ได้ เมื่อความตายมาถึงตัว หมู่ญาติก็ช่วยไม่

ได้เลย.

ข้าพเจ้าฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้วก็บรรลุผล

อันดับแรก [โสตาปัตติผล] แล้วก็บวช ไม่นานนักก็

บรรลุพระอรหัต.

ข้าพเจ้ากระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดาก็

เป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ ในทิพโสตธาตุ รู้ปรจิตตวิชชา

รู้ปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพยจักษุ ทำอาสวะให้สิ้น

ไปหมด เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน.

ต่อนั้น ข้าพเจ้าก็เล่าเรียนพระวินัยทั้งหมดใน

สำนัก ของพระผู้ทรงเห็นทุกอย่าง อย่างพิสดารและนำ

สืบทอดมา ตามเป็นจริง.

พระชินเจ้า ทรงยินดีในคุณข้อนั้น จึงทรง

สถาปนาข้าพเจ้าว่า ปฏาจาราภิกษุณีผู้เดียวเป็นเลิศ

ของภิกษุณี ผู้ทรงพระวินัย.

พระศาสดา ข้าพเจ้าก็บำรุงแล้ว คำสั่งสอนของ

พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.

ภาระหนัก ข้าพเจ้าก็ปลงลงแล้ว ตัณหาที่นำ

ไปในภพ ข้าพเจ้าก็ถอนเสียแล้ว คนทั้งหลายออกจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 195

เรือนบวชไม่มีเรือน เพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์

อันนั้น ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว ธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์

ทั้งหมด ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว.

กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าก็เผาเสียแล้ว ฯลฯ คำ

สั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.

ก็แล พระปฏาจาราเถรี ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาทบทวน

ถึงการปฏิบัติของตนในเวลาเป็นเสกขบุคคล เมื่อจะชี้แจงอาการบังเกิดของผล

เบื้องบน จึงได้กล่าวคาถาเหล่านั้นเป็นอุทานว่า

ผู้ชายทั้งหลายไถนาด้วยไถ หว่านเมล็ดพืชลง

ที่พื้นนา ย่อมได้ทรัพย์มาเลี้ยงดูบุตรภริยา ข้าพเจ้า

สมบูรณ์ด้วยศีล ทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา ไม่

เกียจคร้าน ไม่ฟุ้งซ่าน ไฉนจะไม่ประสบพบพระ-

นิพพานเล่า.

ข้าพเจ้าล้างเท้า ใส่ใจนิมิตในน้ำ เห็นน้ำล้าง

เท้าไหลจากที่ดอนมาสู่ที่ลุ่ม แต่นั้น ข้าพเจ้าก็ตั้งจิต

ไว้ได้มั่นคง ดุจม้าอาชาไนยที่ดี ถือประทีปจากที่นั้น

เข้าไปยังวิหาร มองเห็นที่นอน จึงเข้าไปที่เตียง

ต่อนั้น ก็ถือลูกดาล ชักไส้ประทีปออกไป

ความหลุดพ้นทางใจก็ได้มี เหมือนความดับของประ

ทีปที่ติดโพลง ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กส ได้แก่ ไถนา ทำกสิกรรม ความจริง

คำนี้เป็นเอกวจนะ ใช้ในอรรถพหุวจนะ. บทว่า ปวป ได้แก่ หว่านเมล็ด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 196

พืช. บทว่า ฉมา แปลว่า บนพื้นดิน. ความจริง คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ

ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ. ในข้อนี้ มีความสังเขป ดังนี้ว่า ผู้ชายคือสัตว์เหล่า

นี้ ไถนาด้วยไถ คือผาลทั้งหลาย หว่านเมล็ดพืชทั้งหลาย ที่ต่างโดยเป็น

ปุพพัณณชาติบ้าง อปรัณณชาติบ้าง ลงที่พื้นเนื้อนา ตามที่ประสงค์ ย่อมได้

ทรัพย์มาเลี้ยงดูตนและบุตรภริยาเป็นต้น เพราะการไถนาหว่านพืชนั้นเป็นเหตุ

เป็นนิมิต ธรรมดาว่า การทำอย่างลูกผู้ชาย คือความพากเพียรจำเพาะตน

ที่บุคคลประกอบโดยแยบคาย ก็มีผลมีกำไรอย่างนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมห สีลสมฺปนฺนา สตฺถุสาสน-

การิกา นิพฺพาน นาธิคจฺฉามิ อกุสีตา อนุทฺธตา ความว่า ข้าพเจ้า

มีศีลบริสุทธิ์ดี ชื่อว่าไม่เกียจคร้าน เพราะเป็นผู้ปรารภความเพียร และชื่อว่า

ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีในภายใน กระทำคำสั่งสอนของพระศาสดา

กล่าวคือเจริญกรรมฐานที่มีสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ เหตุไรจะไม่ประสบ คือบรรลุ

พระนิพพานเล่า.

ก็ พระเถรีครั้นคิดอย่างนี้แล้ว กระทำอยู่ซึ่งกรรมในวิปัสสนา ในวัน

หนึ่งถือนิมิตในน้ำล้างเท้า ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า ปาทา ปกฺขาล-

ยิตฺวาน เป็นต้น. คำนั้นมีความว่า ข้าพเจ้าเมื่อล้างเท้า ในจำนวนน้ำที่รด

๓ ครั้ง เหตุล้างเท้า ก็เห็นน้ำล้างเท้าไหลจากที่ดอนมาสู่ที่ลุ่ม ก็ทำให้เป็นนิมิต.

ข้าพเจ้าพิจารณาอนิจจลักษณะอย่างนี้ว่า น้ำนี้สิ้นไป เสื่อมไปเป็น

ธรรมดา ฉันใด อายุและสังขารของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น และพิจารณา

ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ ตามแนวนั้น เจริญวิปัสสนา แต่นั้นก็ทำ

จิตให้ตั้งมั่น เหมือนสารถีฝึกม้าอาชาไนยที่ดี อธิบายว่า สารถีผู้ฉลาด ฝึกม้า

อาชาไนยตัวสำคัญให้เชื่อฟังโดยง่าย ฉันใด ข้าพเจ้าฝึกจิตของตนให้ตั้งมั่นโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 197

ง่าย ก็ฉันนั้น ได้การทำจิตที่ตั้งมั่นแล้ว ด้วยสมาธิสัมปยุตด้วยวิปัสสนา.

อนึ่ง ข้าพเจ้าเมื่อเจริญวิปัสสนาอย่างนั้น เข้าห้องน้อยเมื่อต้องการอุตุสัปปายะ

ถือประทีปเพื่อกำจัดความมืดเข้าห้องแล้ววางประทีป พอนั่งลงบนเตียง ก็หมุน

ไส้ประทีปขึ้นลงด้วยลูกดาล เพื่อเพ่งประทีป ทันใดนั่นเอง จิตของพระเถรีนั้น

ก็ตั้งมั่น เพราะได้อุตุสัปปายะ หยั่งลงสู่วิถีแห่งวิปัสสนา สืบต่อด้วยมรรค.

แต่นั้น อาสวะทั้งหลาย ก็สิ้นไปโดยประการทั้งปวง ตามลำดับมรรค. ด้วย

เหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า แต่นั้น ข้าพเจ้าก็ถือประทีป ฯลฯ ความหลุดพ้น

ทางใจได้มีแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺย โอโลกยิตฺวาน ได้แก่ เห็น

ที่นอนโดยแสงสว่างแห่งประทีป. บทว่า สูจึ ได้แก่ ลูกดาล. บทว่า วฏฺฏึ

โอกสฺสยามิ ได้แก่หมุนไส้ประทีป ที่ตรงต่อน้ำมันขึ้นลง เพื่อดับประทีป. บท

ว่า วิโมกฺ โข ได้แก่ ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย. ก็วิโมกข์นั้น เพราะเหตุ

ที่เป็นความสืบต่อแห่งจิตโดยปรมัตถ์ ฉะนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า เจตโส

เหมือนอย่างว่าเมื่อปัจจัยมีไส้และน้ำมันมีอยู่ ประทีปที่ควรจะติดขึ้น แต่ไม่คิด

ขึ้นเพราะไม่มีปัจจัยนั้น จึงเรียกว่าดับ ฉันใด เมื่อปัจจัยมีกิเลสเป็นต้นมีอยู่

จิตที่ควรจะเกิดขึ้น แต่ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่มีปัจจัยนั้น จึงเรียกว่าดับฉันนั้น

เพราะฉะนั้นพระเถรีจึงกล่าวว่า ความหลุดพ้นทางใจได้มีแล้ว เหมือนความ

ดับของประทีปที่ติดโพลง ฉะนั้น.

จบ อรรถกถาปฏาจาราเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 198

๑๑. ติงสมัตตาเถรีคาถา

[๔๔๙] พระเถรีประมาณ ๓๐ รูปนี้ ได้พยากรณ์อรหัตผลในสำนัก

ของพระปฏาจาราเถรีอย่างนี้ว่า :-

มาณพทั้งหลายถือเอาสากตำข้าวเปลือก แสวง

หาทรัพย์มาเลี้ยงดูบุตรภริยา ท่านทั้งหลายจงทำตาม

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งทำแล้วไม่ต้องเดือด

ร้อนในภายหลัง ท่านทั้งหลายจงรีบล้างเท้า แล้วนั่ง

ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง จงประกอบความสงบใจเนือง ๆ

กระทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า.

ภิกษุณีเหล่านั้น ได้ฟังคำสั่งสอนของพระปฏา-

จาราเถรีนั้นแล้ว ล้างเท้าเข้าไปนั่ง ณ ที่สมควรส่วน

หนึ่ง ได้ประกอบความสงบใจเนือง ๆ กระทำตามคำ

สั่งสอนของพระพุทธเจ้า ในยามต้นแห่งราตรีระลึกถึง

ชาติก่อนได้ ในยามกลางแห่งราตรีชำระทิพยจักษุได้

ในยามปลายแห่งราตรีทำลายกองแห่งความมืดได้ พา

กันลุกขึ้นกราบเท้าพระเถรี พร้อมกับกล่าวว่า พวกเรา

ทำตามคำสอนของพระแม่เจ้าแล้ว จักอยู่ห้อมล้อมพระ

แม่เจ้า เหมือนทวยเทพชั้นไตรทศห้อมล้อมพระอินทร์

ผู้ชนะในสงครามฉะนั้น. พวกเรามีวิชชาสาม เป็นผู้

ไม่มีอาสวะ ดังนี้.

จบ ติงสมัตตาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 199

๑๑. อรรถกถาติงสมัตตาเถรีคาถา

คาถาของพระเถรี ๓๐ รูป มีว่า มูสลานิ คเหตฺวาน เป็นต้น.

พระเถรีแม้เหล่านั้น ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ

สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน มาในภพนั้น ๆ สั่งสมธรรม

เครื่องปรุงแต่งวิโมกข์มาโดยลำดับ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถูกกรรมของตน

กระตุ้นเตือนแล้วก็บังเกิดในเรือนครอบครัวนั้น ๆ รู้เดียงสาแล้ว ฟังธรรมใน

สำนักพระปฏาจาราเถรี ได้ศรัทธาแล้ว พากันออกบวช มีศีลบริสุทธิ์ บำเพ็ญ

วัตรปฏิบัติอยู่ ต่อมาวันหนึ่ง พระปฏาจาราเถรีเมื่อให้โอวาทแก่ภิกษุณีเหล่า

นั้น จึงได้กล่าว ๒ คาถานี้ว่า

มาณพทั้งหลายถือสากตำข้าวเปลือก แสวงหา

ทรัพย์มาเลี้ยงดูบุตรภริยา.

ท่านทั้งหลาย จงทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธ-

เจ้า ซึ่งทำแล้วไม่ต้องเดือดร้อนในภายหลัง

ท่านทั้งหลายจงรีบล้างเท้า แล้วนั่ง ณ ที่สมควร

ส่วนหนึ่ง จงประกอบความสงบใจเนือง ๆ กระทำ

ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า.

ในคาถานั้น มีความสังเขปดังนี้ว่า สัตว์เหล่านี้ ถือสากตำข้าวเปลือก

ทำงานตำข้าวในครกของคนอื่น ๆ เพราะเหตุเลี้ยงชีพ ทำงานต่ำ ๆ เช่นนี้อย่าง

อื่น รวบรวมทรัพย์ได้พอสมควร เลี้ยงดูบุตรภริยา แต่งานนั้นของสัตว์เหล่า

นั้นเป็นงานต่ำ เป็นงานของปุถุชน เป็นทุกข์ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์

เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย ละเว้นงานเนิ่นช้าที่ประกอบด้วยความเศร้าหมอง

เช่นนี้เสีย จงกระทำ จงพร้อมทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คือคำสั่งสอน

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือไตรสิกขา จงให้บังเกิดในสันดานของตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 200

พระเถรีกล่าวเหตุในเรื่องนี้ว่า คำสอนใดที่ทำแล้วไม่ต้องเดือดร้อนในภายหลัง

ได้แก่เพราะเหตุที่ทำคำสอนใด ไม่ต้องเดือดร้อนตามมาในปัจจุบันและ

อนาคต. บัดนี้ เพื่อแสดงกิจเบื้องต้นและวิธีประกอบเนือง ๆ ในการทำคำ

สั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นพระเถรีจึงกล่าวว่า ขิปฺป ปาทานิ โธวิตฺวา

เป็นอาทิ. ในคำนั้น เพราะเหตุที่ความสุขในการนั่ง และการได้อุตุสัปปายะ

ไม่มีแก่ผู้ไม่ล้างเท้า ไม่ล้างหน้า แต่ทั้งสองอย่างนั้นจะได้แก่ผู้ล้างเท้าและล้าง

หน้าแล้วนั่งในที่สมควรส่วนหนึ่ง ฉะนั้น ท่านทั้งหลายอย่าพลาดขณะตามที่

ได้แล้วนี้เสีย จงรีบล้างเท้าคือเท้าของตนแล้วนั่งในที่สมควรส่วนหนึ่ง คือใน

โอกาสที่สงัด ท่านทั้งหลายจงผูกจิตของตนไว้ในอารมณ์ ๓๘ เฉพาะอารมณ์ที่

ชอบใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ประกอบความสงบใจเนือง ๆ กระทำ พร้อมกระทำ

ศาสนา คือโอวาทคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยการเจริญกรรม

ฐานมีสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นแล้ว.

ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น อยู่ในโอวาทของพระเถรีนั้น เริ่มวิปัสสนา

ทำการภาวนา ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เพราะมีญาณแก่กล้า

และเพราะสมบูรณ์ด้วยเหตุ เมื่อพิจารณาการปฏิบัติของตนได้กล่าวคาถาเหล่านั้น

พร้อมด้วยคาถาโอวาทว่า

ภิกษุณีเหล่านั้น ได้ฟังคำสั่งสอนของพระปฏา-

จาราเถรีนั้น ล้างเท้าแล้ว เข้าไปนั่ง ณ ที่สมควรส่วน

หนึ่ง ได้ประกอบความสงบใจเนืองๆ กระทำตาม

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ในยามต้นแห่งราตรีระลึก

ถึงชาติก่อนได้ [บุพเพนิวาสญาณ] ในยามกลางแห่ง

ราตรี ชำระทิพยจักษุ [จุตูปปาตญาณ] ได้ ในยาม

ปลายแห่งราตรี ทำลายกองแห่งความมืดได้ [อาสวัก-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 201

ขยญาณ] พากันลุกขึ้นกราบเท้าพระเถรี พร้อมกับ

กล่าวว่า พวกเราทำตามคำสอนของพระแม่เจ้าแล้ว

จักอยู่ห้อมล้อมพระแม่เจ้า เหมือนทวยเทพชั้นไตรทศ

ห้อมล้อมพระอินทร์ ผู้ชนะในสงครามฉะนั้น พวก

เรามีวิชชา ๓ เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺสา ตา วจน สุตฺวา ปฏาจาราย

สาสน ความว่า คำสั่งสอน คือคำโอวาทนั้นๆ ของพระปฏาจาราเถรีนั้น

เพราะอรรถว่าเป็นคำสอนให้สละกิเลสทั้งหลาย ภิกษุณี ๓๐ รูปนั้น ฟังแล้วรับ

คือรับคำด้วยเศียรเกล้า.

บทว่า อุฏฺาย ปาเท วนฺทึสุ กตา เต อนุสาสนี ความว่า

ภิกษุณีเหล่านั้นทำให้เป็นประโยชน์ คือทำไว้ในใจ ซึ่งคำสั่งสอนนั้น ตามที่รับ

ไว้แล้ว นั่งภาวนาในสถานตามที่สบาย ทำภาวนาให้ถึงที่สุดแล้ว ลุกจากอาสนะ

ที่นั่ง เพื่อบอกคุณวิเศษที่คนบรรลุ จึงเข้าไปหาพระเถรีกล่าวว่า ข้าแต่พระแม่

มหาเถรี พวกเราทำตามอนุศาสนีของพระแม่เจ้าตามที่สั่งสอนแล้ว กราบเท้า

ของพระเถรีด้วยเบญจางคประดิษฐ์. บทว่า อินฺทว เทวา ติทสา สงฺคาเม

อปราชิต ความว่า ข้าแต่พระแม่มหาเถรี พวกเราจะอยู่ห้อมล้อมพระแม่เจ้า

เหมือนทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ห้อมล้อมพระอินทร์ ผู้ไม่พ่าย คือชนะในสง-

ครามระหว่างเทวดากับอสูรฉะนั้น เพราะไม่มีกิจอื่นที่จะต้องทำ เพราะฉะนั้น

ภิกษุณีเหล่านี้ จึงประกาศความที่ตนเป็นผู้กตัญญูว่า พวกเรามีวิชชา ๓ ไม่มี

อาสวะ. คำนี้ ก็เป็นคำพยากรณ์พระอรหัตของภิกษุณีเหล่านี้ด้วย. แต่เมื่อว่า

โดยอรรถในคำนี้ก็เป็นอย่างอื่น คำนั้น มีนัยที่กล่าวมาแล้วแต่หนหลังทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาติงสมัตตาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 202

๑๒. จันทาเถรีคาถา

[๔๕๐] พระจันทาเถรี กล่าวอุทานว่า

แต่ก่อน ข้าพเจ้าเป็นคนเข็ญใจ เป็นหม้ายไร้

บุตร ปราศจากญาติมิตร ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่ง

อาหารและผ้า ถือภาชนะและท่อนไม้เที่ยวขอทาน

จากครอบครัวหนึ่งไปยังครอบครัวหนึ่ง ถูกความหนาว

และความร้อนเบียดเบียน เที่ยวขอทานอยู่ถึง ๗ ปี.

ต่อมาภายหลัง ข้าพเจ้าได้พบพระปฏาจาราเถรี ภิกษุณี

ผู้ได้ข้าวน้ำอยู่เป็นปกติ จึงเข้าไปบอกขอบรรพชาไม่

มีเรือน.

ท่านพระปฏาจาราเถรีนั้น กรุณาข้าพเจ้า ให้

ข้าพเจ้าได้บรรพชา ต่อนั้น ก็สั่งสอนข้าพเจ้า ประกอบ

ข้าพเจ้าไว้ในประโยชน์อย่างยิ่ง.

ข้าพเจ้าฟังคำของท่านแล้ว ได้กระทำตามที่ท่าน

สอน โอวาทของพระแม่เจ้า ไม่เป็นโมฆะเปล่าประ-

โยชน์ ข้าพเจ้ามีวิชชา ๓ ไม่มีอาสวะ.

จบ จันทาเถรีคาถา

ปัญจกนิบาต จบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 203

๑๒. อรรถกถาจันทาเถรีคาถา

คาถาว่า ทุคฺคตาห ปุเร อาสึ เป็นต้น เป็นคาถาของพระจันทาเถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ

สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้น ๆรวบรวมธรรมเครื่อง

ปรุงแต่งวิโมกข์มาโดยลำดับมีญาณแก่กล้าแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิ

ในเรือนพราหมณ์ผู้ไม่ปรากฏชื่อ ในหมู่บ้านพราหมณ์ตำบลหนึ่ง นับแต่นาง

บังเกิด ครอบครัวนั้นก็เสื่อมโภคะลงเรื่อยมา. นางรู้เดียงสาตามลำดับ มีชีวิต

อยู่อย่างลำเค็ญ ครั้งนั้น เกิดอหิวาตกโรคขึ้นในเรือนหลังหนึ่ง ด้วยโรคนั้น

ญาติของนางทั้งหมด ก็พากันล้มตายไป เมื่อสิ้นญาติ นางก็ไม่อาจมีชีวิตอยู่

ในที่อื่น ต้องถือกะลาขอทาน ดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหาร คือ ภิกษาที่นาง

ตระเวนไปทุกครอบครัวแล้วได้มา ได้ไปยังสถานที่แจกข้าวของพระปฏาจารา

เถรี. ภิกษุณีทั้งหลายเห็นนางต้องทุกข์ ถูกทุกข์ครอบงำ ก็เกิดกรุณา ให้

นางเอิบอิ่ม ด้วยอาจาระที่น่าจับใจ ด้วยอาหารที่มีอยู่ในที่นั้น. นางเลื่อมใส

ในอาจาระและศีลของภิกษุณีเหล่านั้น เข้าไปหาพระเถรี ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่

สมควรส่วนหนึ่ง. พระเถรีก็แสดงธรรมแก่นาง นางฟังธรรมนั้นแล้ว ก็ยิ่ง

เลื่อมใสในคำสอน และเกิดความสังเวชใจในสังสารวัฏจึงบวช. ครั้นบวชแล้ว

ก็อยู่ในโอวาทของพระเถรี เริ่มตั้งวิปัสสนา ประกอบภาวนาเนือง ๆ เพราะ

เป็นผู้บำเพ็ญบารมีไว้ และเพราะญาณแก่กล้า ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต

พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ พิจารณาการปฏิบัติของตน จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้

เป็นอุทานว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 204

แต่ก่อน ข้าพเจ้าเป็นคนเข็ญใจ เป็นหม้ายไร้

บุตร ปราศจากญาติมิตร ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่ง

อาหารและผ้า ถือภาชนะและท่อนไม่เที่ยวขอทาน จาก

ครอบครัวหนึ่งไปสู่ครอบครัวหนึ่ง ถูกความหนาว

ความร้อนเบียดเบียน เที่ยวขอทานอยู่ถึง ๗ ปี. ต่อมา

ภายหลัง ข้าพเจ้าได้พบพระปฏาจาราเถรี ภิกษุณีผู้ได้

ข้าวน้ำอยู่เป็นปกติ จึงเข้าไปบอก ขอบรรพชาไม่มี

เรือน.

ท่านพระปฏาจาราเถรีนั้น กรุณาข้าพเจ้า ให้

ข้าพเจ้าได้บรรพชา ต่อนั้น ก็สั่งสอนข้าพเจ้า ประ-

กอบข้าพเจ้าไว้ในประโยชน์อย่างยิ่ง.

ข้าพเจ้าฟังคำของท่านแล้ว ได้กระทำตามที่ท่าน

สอน โอวาทของพระแม่เจ้าไม่เป็นโมฆะ เปล่าประ-

โยชน์ ข้าพเจ้ามีวิชชา ๓ ไม่มีอาสวะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุคฺคตา ได้แก่ยากจน. บทว่า ปุเร

ได้แก่ ก่อนแต่บวช. จริงอยู่ เวลาบวชแล้ว นับตั้งแต่นั้นมา บุคคลในพระ-

ศาสนานี้ ใคร ๆ ไม่ควรพูดว่าเป็นคนมั่งมี หรือยากจน แต่พระเถรีนี้มั่งมี

ด้วยคุณทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงว่า ทุคฺคตาห ปุเร อาสึ. ใน

บทว่า วิธวา สามีเขาเรียกว่า ธว ชื่อว่า วิธวา เพราะไม่มีสามีนั้น อธิบาย

ว่า สามีตาย [หม้าย]. บทว่า อปุตฺติกา ได้แก่ เว้นจากบุตร. บทว่า วินา

มิตฺเตหิ าตีหิ ได้แก่ เสื่อมคือปราศจากมิตรและพวกพ้อง. บทว่า ภตฺต-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 205

โจฬสฺส นาธิค ความว่า ไม่พบความบริบูรณ์แห่งอาหารและผ้า อธิบายว่า

ข้าพเจ้าไม่ได้เพียงอาหารและเครื่องปกปิด [ผ้า] คือก้อนข้าว และชิ้นผ้าเก่า ๆ

อย่างเดียวเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า ปตฺต ทณฺฑญฺจ

คณฺหิตฺวา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปตฺต ได้แก่ ภาชนะดิน. บทว่า ทณฺฑ

ได้แก่ ท่อนไม้ใช้กันโคและสุนัขเป็นต้น . บทว่า กุลา กุล ได้แก่ จากสกุล

ไปสู่สกุล. บทว่า สีตุณฺเหน จ ฑยฺหนฺติ ได้แก่ ถูกความหนาวและ

ความร้อนเบียดเบียน เพราะไม่มีเรือนที่อยู่.

ด้วยบทว่า ภิกฺขุนึ พระเถรีกล่าวหมายถึงพระปฏาจาราเถรี. บทว่า

ปุน ได้แก่ ภายหลัง คือต่อมาอีก ๗ ปี.

บทว่า ปรมตฺเถ ได้แก่ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือสูงสุด ได้แก่

ปฏิปทาที่ให้ถึงพระนิพพาน และพระนิพพาน. บทว่า นิโยชยิ ได้แก่ บอก

กรรมฐาน ประกอบข้าพเจ้าไว้. คำที่เหลือมีนัยอันกล่าวแล้ว.

จบ อรรถกถาจันทาเถรีคาถา

จบ อรรถกถาปัญจกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 206

ฉักกนิบาต

๑. ปัญจสตาปฏาจาราเถรีคาถา

[๔๕๑] พระปฏาจาราเถรีกล่าวอบรมพระเถรี ๕๐๐ รูป ทีละคนว่า

ท่านไม่รู้ทางของสัตว์ใด ซึ่งมาแล้วหรือไปแล้ว

เหตุไฉน ท่านจึงร้องไห้ถึงสัตว์ที่มาแล้วนั้นว่า บุตร

ของเรา.

ส่วนท่านรู้ทางของสัตว์นั้น ผู้มาแล้วหรือไปแล้ว

จึงไม่เศร้าโศกถึงสัตว์นั้นเลย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลาย

มีอย่างนี้เป็นธรรมดา.

สัตว์อันเขามิได้เชื้อเชิญก็มาจากที่นั้น เขามิได้

อนุญาตก็ไปจากที่นี้.

เขามาจากที่ไหนกันแน่หนอ อยู่ได้ ๒-๓ วัน

ก็ไปแล้วสู่ทางอื่นจากที่นี้ก็มี กำลังไปสู่ทางอื่นจากที่

นั้นก็มี เขาละ [ตาย] ไปแล้ว ท่องเที่ยวอยู่โดยรูป

ของมนุษย์ จักไปก็มี เขามาอย่างใด ก็ไปอย่างนั้น

จะคร่ำครวญเพราะเหตุนั้นไปทำไม.

พระปัญจสตาปฏาจาราเถรี กล่าวเฉพาะทีละรูปว่า

แม่เจ้าช่วยถอนความโศกศัลย์ของข้าพเจ้า ซึ่ง

แอบอยู่ในหัวใจ เห็นได้ยากออกได้แล้ว แม่เจ้าช่วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 207

บรรเทาความโศกถึงบุตรของข้าพเจ้า ซึ่งถูกความโศก

ครอบงำไว้.

วันนี้ ข้าพเจ้านั้น ถอนความโศกศัลย์ได้แล้ว

หายอยาก ดับสนิทแล้ว ข้าพเจ้าขอถึงพระมุนี-

พุทธเจ้า ทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ.

จบ ปัญจสตาปฏาจาราเถรีคาถา

อรรถกถาฉักกนิบาต

๑. อรรถกถาปัญจสตมัตตาเถรีคาถา

ในฉักกนิบาต คาถาว่า ยสฺส มคฺค น ชานาสิ เป็นต้น เป็น

คาถาของพระปัญจสตมัตตาเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

หญิงแม้เหล่านั้น บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ สั่ง

สมกุศล ซึ่งเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพ ๆ นั้น มีธรรมเครื่องปรุง

แต่งวิโมกข์อันสร้างสมมาโดยลำดับ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็เกิดในเรือนครอบครัว

นั้น ๆ เติบโตเป็นสาวแล้ว มารดาบิดาก็จัดให้มีสามี ได้บุตรหลายตนใน

ตระกูลนั้น ๆ เมื่ออยู่ครองเรือน มีบุตรก็ตายหมด เพราะพวกเขามีชาติ

เสมอกัน ทำกรรมมาเหมือนกัน ถูกความเศร้าโศกถึงบุตรครอบงำแล้ว เข้า

ไปหาพระปฏาจาราเถรี ไหว้แล้วก็นั่งบอกถึงเหตุแห่งความเศร้าโศกของตน.

พระเถรี เมื่อบรรเทาความโศกของหญิงเหล่านั้น จึงแสดงธรรมด้วยคาถา

๔ คาถาเหล่านี้ว่า

๑. บาลีว่า ปัญจสตาปฏาจาราเถรีคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 208

ท่านไม่รู้ทางของสัตว์ใด ซึ่งมาแล้วหรือไปแล้ว

เหตุไฉนท่านจึงร้องไห้ถึงสัตว์ที่มาแล้วนั้น ว่าบุตร

ของเรา ส่วนท่านรู้ทางของสัตว์นั้น ผู้มาแล้วหรือไป

แล้ว จึงไม่เศร้าโศกถึงสัตว์นั้นเลย เพราะว่าสัตว์ทั้ง

หลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา.

สัตว์อันเขามิได้เชื้อเชิญ ก็มาจากที่นั้น เขามิได้

อนุญาต ก็ไปจากที่นี้ เขามาจากที่ไหนกันแน่หนอ อยู่

ได้ ๒-๓ วัน ก็ไปแล้วสู่ทางอื่นจากที่นี้ก็มี กำลังไปสู่

ทางอื่นจากที่นั้นก็มี เขาละ [ตาย]ไปแล้ว ท่องเที่ยวอยู่

โดยรูปของมนุษย์ จักไปก็มี เขามาอย่างใด ก็ไป

อย่างนั้น จะคร่ำครวญเพราะเหตุนั้นไปทำไม.

หญิงเหล่านั้น ได้ฟังธรรมของพระปฏาจาราเถรีนั้นแล้ว เกิดความ

สังเวชใจจึงพากันบวชในสำนักของพระเถรี ครั้นบวชแล้ว บำเพ็ญวิปัสสนา

กัมมัฏฐาน ไม่นานนักก็ตั้งอยู่ในพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เพราะ

ธรรมเครื่องอบรมบ่มวิมุตติแก่เต็มที่แล้ว. ลำดับนั้นพระเถรี ๕๐๐ รูป

เหล่านั้นพิจารณาการปฏิบัติของตนเพราะบรรลุพระอรหัตแล้ว พร้อมด้วย

คาถาโอวาทที่ว่า ท่านไม่รู้ทางของสัตว์ใด เป็นต้น จึงต่างคนต่างกล่าวคาถา

เหล่านี้เป็นอุทานว่า

แม่เจ้า ช่วยถอนความโศกศัลย์ของข้าพเจ้า ซึ่ง

แอบอยู่ในหัวใจ เห็นได้ยากออกได้แล้ว แม่เจ้า ช่วย

บรรเทาความโศกถึงบุตรของข้าพเจ้าซึ่งถูกความโศก

ครอบงำไว้ วันนี้ข้าพเจ้าถอนความโศกศัลย์ได้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 209

หายหิว ดับสนิทแล้ว ข้าพเจ้าขอถึงพระมุนีพุทธเจ้า

ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ.

พระเถรีจำนวน ๕๐๐ รูป ต่างคนต่างกล่าวคาถาเหล่านี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส มคฺค น ชานาสิ อาคตสฺส

คตสฺส วา ความว่า ท่านไม่รู้ทางมาของสัตว์ใด ซึ่งมาแล้วในที่นี้ หรือ

ทางไปของสัตว์ใดซึ่งไปแล้วจากที่นี้ ท่านกล่าวหมายเอาการเข้าถึงภพที่เป็น

อดีตและอนาคตติดต่อกัน. บทว่า ต กุโต จาคต สตฺต ความว่า ไฉน

คือเพราะเหตุไร ท่านจึงทำความยึดถือให้เกิดขึ้นอย่างเดียวว่า บุตรของเรา

แล้วร้องไห้ถึงสัตว์ผู้นั้น ซึ่งเป็นเสมือนบุรุษผู้มาพบกันในระหว่างทางกับผู้ที่

มายังทางมาทางไปอันไม่รู้จักแล้ว คือทางที่มาจากคติไรๆ อย่างนี้ ไม่ทันทำ

ความคุ้นเคยกันโดยประการทั้งปวง อธิบายว่า ไม่มีเหตุที่จะร้องไห้ในข้อนี้

เพราะบุตรยังไม่ทันทำกิจหน้าที่ปฏิการะตอบแทนเลย.

บทว่า มคฺคญฺจ โขสฺส ชานาสิ ความว่า ส่วนท่านรู้ทางมา

ของสัตว์นั้น ซึ่งท่านยอมรับรู้ว่าบุตรผู้มาแล้ว และทางไปของเขาผู้ไปแล้ว

บทว่า น น สมนุโสเจสิ ความว่า ท่านก็ไม่ควรเศร้าโศกถึงเขาอย่างนี้เลย.

เพราะอะไร เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา เพราะปัจจุบันสัตว์

ทั้งหลายยังละเว้นเป็นต่าง ๆ คือพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้ง

ปวง เพราะคนไม่มีอำนาจในของรักนั้น จะป่วยกล่าวไปไยในภพภายภาคหน้า

เล่า.

บทว่า อยาจิโต ตโตคจฺฉิ ความว่า เขาอันใคร ๆ มิได้วอนเชิญ

จากปรโลกนั้น ก็มาในที่นี้ บาลีว่า อาคโต มาแล้ว ดังนี้ก็มี ความก็อย่าง

นั้นเหมือนกัน. บทว่า อนนุญฺาโต อิโต คโต ความว่า เขาอันใคร ๆ

มิได้อนุญาตจากอิธโลก [โลกนี้] ก็ไปปรโลก [โลกอื่น]. บทว่า กุโตจิ ได้แก่

๑. ม. ตตาคจฺนิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 210

จากคติใดคติหนึ่งมีนิรยะเป็นต้น. บทว่า นูน คือสงสัย. บทว่า วสิตฺวา

กติปาหก ความว่า พักอยู่ในที่นี้เพียงน้อยวัน. บทว่า อิโตปิ

อญฺเน คโต ความว่า เขาไปทางภพอื่นจากภพแม้นี้ คือเข้าถึงภพแม้อื่น

จากภพนี้ ด้วยอำนาจปฏิสนธิ. บทว่า ตโตปญฺเน คจฺฉติ ความว่า

เขาจักไปทางอื่นจากภพแม้นั้น คือจักเข้าถึงภพอื่น.

บทว่า เปโต ความว่า เขาจากไปคือเข้าถึงภพนั้น ๆ แล้ว ก็ไปจาก

ภพนั้น. บทว่า มนุสฺสรูเปน นั่นเป็นเพียงตัวอย่าง ความว่า โดยความ

เป็นมนุษย์และโดยความเป็นดิรัจฉานเป็นต้น. บทว่า สสรนฺโต ได้แก่

เวียนว่ายอยู่ด้วยอำนาจความเกิดไป ๆ มา ๆ. บทว่า ยถาคโต ตถา คโต

ความว่า เขามิได้รับเชิญก็มาจากคติที่ยังไม่รู้อย่างใด เขาอันใครๆ มิได้อนุญาต

ก็ไปจากคติที่ยังไม่รู้อย่างนั้น.

บทว่า กา ตตฺถ ปริเทวนา ความว่า จะคร่ำครวญไปไยในข้อ

นั้น คือในกามาวจรที่ไม่อยู่ในอำนาจเช่นนั้น อธิบายว่าประโยชน์อะไรเล่า

ด้วยการคร่ำครวญ คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

ก็ในคาถาเหล่านั้น ๕ คาถาแรก พระปฏาจาราเถรีอบรมหญิง ๕๐๐

เหล่านั้น แยกเป็นคน ๆ ไป โดยการบรรเทาความเศร้าโศก. ส่วน ๖ คาถา พึง

เห็นว่าภิกษุณีประมาณ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น ผู้ตั้งอยู่ในโอวาทของพระปฏาจารา-

เถรีนั้น พากันบวชได้บรรลุคุณวิเศษแล้วได้กล่าวเฉพาะเป็นคน ๆ ไป.

บทว่า ปญฺจสตา ปฏาจารา ความว่า ภิกษุณี ๕๐๐ รูปเหล่านี้

ได้ชื่อว่า ปฏาจารา เพราะได้รู้คำที่พระปฏาจาราเถรีกล่าว เพราะได้โอวาทใน

สำนักของพระปฏาจาราเถรี.

จบ อรรถกถาปัญจสตมัตตาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 211

๒. วาสิฏฐีเถรีคาถา

[๔๕๒] พระวาสิฏฐีเถรี กล่าวคาถาเป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าถูกความเศร้าโศกถึงบุตรบีบคั้น มีจิต

ฟุ้งซ่าน หมดความรู้สึก เปลือยกาย สยายผม เที่ยว

ซมซานไปตามที่ต่างๆ.

ข้าพเจ้าได้เที่ยวไปในถนน กองหยากเยื่อ ในป่า

ช้า ในตรอกใหญ่ตรอกน้อย อด ๆ อยาก ๆ ตลอด

สามปี.

ภายหลังได้พบพระสุคต ผู้ฝึกคนที่ยังไม่ได้ฝึก

ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง หาภัยแต่ที่ไหนมิได้ กำลัง

เสด็จไปยังกรุงมิถิลา กลับได้สติแล้ว เข้าไปถวาย

พระโคดมพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมโปรด

ข้าพเจ้าด้วยพระกรุณา ข้าพเจ้าฟังธรรมพระองค์

แล้วออกบวชไม่มีเรือน เพียรพยายามในคำสอนของ

พระศาสดา ได้ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอันรุ่งเรืองเกษม.

ข้าพเจ้าถอนและความโศกอันมีพระอรหัตเป็น

ที่สุดได้หมดแล้ว เพราะข้าพเจ้ากำหนดรู้วัตถุที่ตั้ง เหตุ

เกิดแห่งความโศกทั้งหลายได้.

จบ วาสิฏฐีเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 212

๒. อรรถกถาวาเสฏฐีเถรีคาถา

คาถาว่า ปุตฺตโสเกนห อฏฺฏา ดังนี้เป็นต้น เป็นคาถาของพระ

วาเสฏฐีเถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ก็บำเพ็ญบารมี ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ สั่งสม

กุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้น ๆ มีธรรมเครื่องปรุงแต่ง

วิโมกข์ที่รวบรวมมาโดยลำดับ เที่ยวเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ไปบังเกิดในเรือนแห่งตระกูลกรุงเวสาลี เจริญวัยแล้ว

มารดาบิดาก็ยกให้กุลบุตรผู้มีชาติเสมอกัน มีสามีแล้ว ก็อยู่ด้วยกันเป็นสุขกับ

สามีนั้น ได้บุตรคนหนึ่ง เมื่อบุตรนั้นตาย ในเวลาที่วิ่งเล่นได้ ถูกความเศร้า

โศกถึงบุตรบีบคั้น ก็กลายเป็นบ้า เมื่อหมู่ญาติและสามีช่วยกันเยียวยาแก้ไข

ก็หนีไป เมื่อคนเหล่านั้นไม่รู้ หมุนออกไปเพราะความบ้าแล้วถึงมิถิลานครแล้ว

ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงฝึก รักษาพระองค์แล้วสำรวม

อินทรีย์ กำลังเสด็จไปในระหว่างถนนในมิถิลานครนั้น ครั้นเห็นแล้ว ก็หาย

บ้า ได้ปกติจิตพร้อมกับการเห็น เพราะพุทธานุภาพ ครั้งนั้น พระศาสดาทรง

แสดงธรรมแก่นางโดยย่อ นางได้ฟังธรรมนั้นแล้วกลับได้ความสังเวช ทูลขอ

บวชกะพระศาสดา ได้บวชในภิกษุณีทั้งหลายตามพระดำรัสสั่งของพระศาสดา

ทำกิจเบื้องต้นแล้ว ก็ได้เริ่มวิปัสสนา พากเพียรพยายามอยู่ไม่นานนัก ก็บรรลุ

พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เพราะมีญาณแก่กล้า พิจารณาการปฏิบัติ

ของตนแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นเป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าถูกความเศร้าโศกถึงบุตรบีบคั้น มีจิต

ฟุ้งซ่านหมดควานรู้สึก เปลือยกายสยายผม เที่ยวชม

ซานไปตามที่ต่าง ๆ.

๑. บาลี เป็น วาสิฏฐีเถรีคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 213

ข้าพเจ้าได้เที่ยวไปในถนน กองหยากเยื่อในป่าช้า

ในตรอกใหญ่และตรอกน้อย อด ๆ อยาก ๆ ตลอดสามปี

ภายหลังได้พบพระสุคต ผู้ฝึกบุคคลที่ยังไม่ได้ฝึก

ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง หาภัยแต่ที่ไหนมิได้ กำลังเสด็จ

ไปสู่กรุงมิถิลา กลับได้สติแล้ว เข้าไปถวายบังคม

พระโคดมพระองค์นั้นได้ทรงแสดงธรรมโปรดข้าพเจ้า

ด้วยพระกรุณา ข้าพเจ้าฟังธรรมของพระองค์แล้วออก

บวชไม่มีเรือน เพียรพยายามในคำสอนของพระศาสดา

ได้ทำให้แจ้งซึ่งบทธรรมอันรุ่งเรืองเกษม.

ข้าพเจ้าถอนและละความโศกอันมีอรหัตเป็นที่สุด

ได้หมดแล้ว เพราะข้าพเจ้ากำหนดรู้วัตถุที่ตั้ง เหตุเกิด

แห่งความโศกทั้งหลายได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฏา แปลว่า บีบคั้น อนึ่ง พระบาลีก็

เช่นนี้แล อธิบายว่า บีบคั้น เบียดเบียน. บทว่า ขิตฺตจิตฺตา ได้แก่ มี

หทัยฟุ้งซ่านเพราะความบ้าเกิดจากความโศก ถัดจากนั้น ชื่อว่าหมดความรู้สึก

เพราะปราศจากความรู้สึกตามปกติ. ชื่อว่าเปลือยกาย เพราะปราศจากผ้านุ่งห่ม

เหตุไม่มีหิริและโอตตัปปะ. ชื่อว่าสยายผม เพราะมีผมไม่ได้สางเลย. บทว่า

เตน เตน ความว่า เราได้เที่ยวไปจากบ้านสู่บ้าน จากเมืองสู่เมือง จาก

ถนนสู่ถนน. ศัพท์ว่า อถ แปลว่า ภายหลัง ได้แก่ เวลาสิ้นกรรมที่ทำ

ให้เป็นบ้า. บทว่า สุคต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า

พระสุคตเพราะทรงพระดำเนินงาม เพราะเสด็จไปสู่สถานที่ดีเพราะตรัสโดยชอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 214

และเพราะเสด็จไปโดยชอบ. บทว่า มิถิล ปติ ความว่า กำลังเสด็จมุ่งสู่

มิถิลา คือกรุงมิถิลา.

บทว่า สจิตฺต ปฏิลทฺธาน ได้แก่ ละความบ้ากลับได้ปกติจิตของ

ตน เพราะพุทธานุภาพ.

บทว่า ยุญฺชนฺตี สตฺถุ วจเน ได้แก่ ทำความเพียร คือตาม

ประกอบภาวนาในคำสอนของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า. บทว่า สจฺฉากาสึ

ปท สิว ความว่า ได้ทำให้แจ้งซึ่งบทคือพระนิพพานธรรมอันรุ่งเรืองเกษมไม่

ถูกโยคะ ๔ เบียดเบียน. บทว่า เอตทนฺติกา ความว่า ความโศกทั้งหลาย

ชื่อว่า เอตทันติกะ เพราะมีพระอรหัตที่ข้าพเจ้าบทลุในบัดนี้เป็นที่สุดเป็น

ปริโยสาน อธิบายว่า บัดนี้ เหตุเกิดแห่งความโศกเหล่านั้นไม่มี. บทว่า

ยโต โสกาน สมฺภโว ประกอบความว่า เพราะเหตุที่ข้าพเจ้ากำหนดรู้เหตุ

เกิดแห่งความโศกมีลักษณะไหม้เกรียมอยู่ภายใน วัตถุกล่าวคืออุปาทานขันธ์ ๕

ที่ตั้งแห่งความโศกเหล่านั้น ด้วยญาตปริญญากำหนดรู้ด้วยการรู้ ตีรณปริญญา

กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา ปหานปริญญากำหนดรู้ด้วยการละ เพราะฉะนั้น

ความโศกจึงมีอรหัตผลนั้นเป็นที่สุด.

จบอรรถกถาวาเสฏฐีเถรีคาถา

๓. เขมาเถรีคาถา

[๔๕๓] มารผู้มีบาปกล่าวประเล้าประโลมพระเถรีด้วยบทว่า

แม่นางเขมาเอย เจ้าก็สาวสคราญ เราก็หนุ่ม

แน่น มาสิ เรามาร่วมอภิรมย์กันด้วยดนตรีเครื่อง ๕

เถิดนะเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 215

พระเถรีกล่าวว่า

เราอึดอัดเอือมระอา ด้วยกายอันเปื่อยเน่า กระ-

สับกระส่าย มีอันจะแตกพังไปนี้อยู่ เราถอนกาม-

ตัณหาได้แล้ว.

กามทั้งหลายอุปมาด้วยหอกและหลาว มีขันธ์ทั้ง

หลายเป็นเขียงรองสับ บัดนี้ความยินดีในกามที่ท่าน

พูดถึง ไม่มีแก่เราแล้ว.

เรากำจัดความเพลิดเพลินในกามทั้งปวงได้แล้ว

เราทำลายกองความมืด [อวิชชา] เสียแล้ว.

ดูก่อนมารใจบาป ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ตัวท่านก็

ถูกเรากำจัดเสียแล้ว.

พวกคนเขลาไม่รู้ตามความเป็นจริง พากันนอบ

น้อมดวงดาวทั้งหลาย นำเธอไปอยู่ในป่าคือลัทธิ แล้ว

สำคัญว่าบริสุทธิ์.

ส่วนเราแล นอบน้อมเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า ผู้เป็นอุดมบุรุษ จึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ชื่อว่าทำ

ตามคำสั่งสอนของพระศาสดา.

จบ เขมาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 216

๓. อรรถกถาเขมาเถรีคาถา

คาถาว่า ทหรา ตุว รูปวตี ดังนี้เป็นต้น เป็นคาถาของพระเขมา

เถรี.

พระเถรีรูปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ อาศัย

คนอื่นเลี้ยงชีพ เป็นทาสีหญิงรับใช้ของคนอื่น ๆ อยู่ในกรุงหังสวดี นางเลี้ยง

ชีวิตอยู่ได้ด้วยการช่วยขวนขวายงานของคนเหล่าอื่น วันหนึ่ง ได้เห็นพระสุชาต-

เถระ อัครสาวกของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาตได้ถวาย

ขนมสามก้อน วันเดียวกันนั้น ก็ได้สละผมของตนถวายเป็นทานแก่พระเถระ

ทำความปรารถนาว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นพุทธสาวิกา ผู้มีปัญญามากในอนาคต ไม่

ประมาทในกุศลธรรมตลอดชีวิต เที่ยวเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เป็นมเหสีของท้าวเทวราชแห่งทวยเทพฉกามาวจรมีท้าวสักกะเป็นต้นโดยลำดับ

และแม้ในมนุษยโลกก็เป็นมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิและพระเจ้าปฐพีมณฑล

หลายครั้ง เสวยมหาสมบัติแล้ว ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ก็เกิด

ในมนุษยโลก รู้เดียงสาแล้วฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้ความสังเวช

ใจบวชประพฤติ [โกมาริ] พรหมจรรย์อยู่ถึงหมื่นปี เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก

ทำกรรมที่ให้เกิดปัญญาด้วยการกล่าวธรรมเป็นต้น แก่ชนเป็นอันมาก จุติจากภพ

นั้นแล้ว เที่ยวเวียนว่ายอยู่ในสุคติฝ่ายเดียว ในกัปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่ากกุสันธะ และพระนามว่า โกนาคมนะ ก็บังเกิดในครอบครัวที่

สมบูรณ์ด้วยสมบัติ รู้เดียงสาแล้ว สร้างสังฆารามใหญ่ ได้มอบถวายแก่

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 217

ส่วนครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปทศพล เป็นพระ-

ราชธิดาองค์ใหญ่พระนามว่า สมณี ของพระเจ้ากาสีพระนามว่า กิกิ

ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้วได้ความสังเวชใจ ดำรงอยู่ในพระราช

มณเฑียรอย่างเดียวประพฤติโกมาริพรหมจรรย์อยู่ถึงสองหมื่นปี ให้สร้างบริเวณ

อันน่ารื่นรมย์พร้อมด้วยพระกนิษฐภคินี ทั้งหลายของพระองค์ มีพระนาง

สมณคุตตาเป็นต้น เสร็จแล้วได้มอบถวายแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

นางได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่ติดต่อกันมาในภพนั้น ๆ ด้วยอาการอย่างนี้ เที่ยวเวียน

ว่ายอยู่ในสุคติเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็บังเกิดในราชสกุล กรุงสาคละ

แคว้นมัททะ มีพระนามว่าพระนางเขมา ทรงมีพรรณะดั่งทอง มีพระฉวี

เสมือนทอง. พระนางเจริญวัยเป็นราชกุมารีแล้ว ก็ไปเป็นพระเทวีของพระ

เจ้าพิมพิสาร. ครั้งเมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันก็ยังเป็นผู้มัวเมาใน

พระรูปพระโฉม ทรงเกรงว่าพระศาสดาจะทรงแสดงโทษในรูป จึงไม่เสด็จไป

เฝ้าพระศาสดา.

พระราชาโปรดสั่งให้ผู้คนทั้งหลายเที่ยวประกาศพรรณนาพระเวฬุวัน

ทำให้พระเทวีทรงเกิดความคิดที่จะไปชมพระวิหาร เมื่อพระเทวีทรงดำริว่า จำ

เราจักชมพระวิหาร ก็ทรงสอบถามพระราชา. พระราชาตรัสว่า เธอไปพระ-

วิหารไม่พบพระศาสดาก็อย่าได้กลับมา แล้วทรงให้สัญญาแก่พวกราชบุรุษว่า

พวกท่านจงให้พระเทวีเฝ้าพระทศพล โดยพลการให้จงได้ พระเทวี เสด็จไป

วิหาร เวลาล่วงไปครึ่งวัน ไม่ทรงพบพระศาสดาเริ่มเสด็จกลับ ลำดับนั้น

ราชบุรุษทั้งหลาย นำพระเทวีแม้ไม่ทรงปรารถนา เข้าไปเฝ้าพระศาสดาจน

ได้ พระศาสดาทรงเห็นพระเทวีนั้นกำลังเสด็จมา ทรงเนรมิตหญิงคล้ายนาง

เทพอัปสรด้วยฤทธิ์ ทำให้ถือพัดใบตาลถวายงานพัดอยู่ พระนางเขมาเทวี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 218

ทรงเห็นหญิงนั้น ทรงดำริว่า หญิงชื่อเห็นปานนี้ มีส่วนเปรียบด้วยนางเทพ-

อัปสร ยืนอยู่ไม่ห่างพระผู้มีพระภาคเจ้า เราไม่พอที่แม้แต่จะเป็นหญิงรับใช้

ของหญิงเหล่านั้นได้เลย เราต้องเสียหายด้วยอำนาจจิตชั่ว เพราะเหตุเล็ก ๆ

น้อย ๆ ทรงถือเอานิมิตประทับยืนมองดูหญิงนั้นคนเดียว เมื่อพระนางกำลัง

ทอดพระเนตรดูอยู่ หญิงนั้นก็ล่วงปฐมวัย มัชฌิมวัย ถึงปัจฉิมวัยแล้ว ฟัน

หัก ผมหงอก หนังเหี่ยว ล้มกลิ้งลงพร้อมกับพัดใบตาล ด้วยพระกำลัง

อธิษฐานของพระศาสดา จากนั้น เพราะเหตุที่ทรงบำเพ็ญบารมีไว้ พระนาง

เขมาทอดพระเนตรเห็นเหตุนั้นแล้วทรงพระดำริว่า สรีระแม้อย่างนี้ ยังถึง

ความวิบัติเช่นนี้ สรีระของเราก็จักมีคติอย่างนี้เหมือนกัน ลำดับนั้น พระ-

ศาสดาทรงทราบวาระจิตของพระนางแล้ว ก็ตรัสพระคาถาว่า

ชนเหล่าใด กำหนัดอยู่ด้วยราคะ ย่อมตกไปสู่

กระแสตัณหา เหมือนแมลงมุมตกไปยังใยที่ตัวเองทำ

ไว้ฉะนั้น ชนเหล่านั้นตัดกระแสตัณหานั้นเสียได้แล้ว

เป็นผู้หมดอาลัยละกามสุขได้ ย่อมงดเว้นกิจคฤหัสถ์

[บวช] อยู่.

คำที่มาในอรรถกถาว่า จบคาถาพระนางเขมานั้น บรรลุพระอรหัต

พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ส่วนคำที่มาในอปทานว่า ฟังคาถานี้แล้ว ตั้งอยู่ใน

โสดาปัตติผล ทรงขอให้พระราชาทรงอนุญาตแล้ว ทรงผนวชแล้วบรรลุ

พระอรหัต ในข้อนั้น มีบาลีในคัมภีร์อปทาน ดังนี้.

ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป พระชินพุทธเจ้าพระ

นามว่า ปทุมุตตระ ผู้มีพระจักษุเห็นในสรรพธรรม

ทรงเป็นผู้นำ เสด็จอุบัติแล้ว

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๕๘ เขมาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 219

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐีที่รุ่งเรือง

ด้วยรัตนะต่าง ๆ ในกรุงหังสวดี เป็นผู้เพียบพร้อมไป

ด้วยความสุขเป็นอันมาก ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระพุทธ-

มหาวีระพระองค์นั้น แล้วได้ฟังธรรมเทศนา เกิด

ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้ถึงพระ-

องค์เป็นสรณะ ข้าพเจ้าขออนุญาตมารดาบิดาได้แล้ว

นิมนต์พระพุทธเจ้าผู้นำพิเศษ ให้เสวยอาหารพร้อม

ด้วยพระสาวกสงฆ์ตลอดสัปดาห์หนึ่ง เมื่อสัปดาห์หนึ่ง

ล่วงไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสารถีฝึกนระ

ทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

เป็นเลิศของภิกษุณีผู้มีปัญญามาก ข้าพเจ้าได้ฟังเรื่อง

นั้นแล้ว มีความยินดีทำสักการะแด่พระพุทธเจ้า ผู้

แสวงหาคุณใหญ่พระองค์นั้นอีก แล้วหมอบลง

ปรารถนาตำแหน่งนั้น ในทันใดนั้น พระชินพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ตรัสกะข้าพเจ้าว่า ความปรารถนาของ

ท่านจงสำเร็จ สักการะที่ท่านทำแล้วแก่เราพร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์มีผลนับไม่ได้ ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป

พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม ทรงสมภพในวงศ์

พระเจ้าโอกกากราช จักเป็นศาสดาในโลก หญิงผู้นี้

จักได้เป็นภิกษุณีชื่อเขมา ผู้เป็นธรรมทายาทของพระ

ศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จักได้

ตำแหน่งเอตทัคคะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 220

ด้วยกรรมที่ทำดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งใจไว้

ชอบ ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้วได้เข้าถึงสวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์ จุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วไปชั้นยามา

จุติจากชั้นยามาแล้วไปชั้นดุสิต จุติจากชั้นดุสิตแล้วไป

ชั้นนิมมานรดี จุติจากชั้นนิมมานรดีแล้วไปชั้นปรนิม-

มิตวสวัตดี เพราะอำนาจบุญกรรมนั้น ข้าพเจ้าเกิด

ในภพใด ๆ ก็ได้เป็นพระอัครมเหสีของพระราชาใน

ภพนั้น ๆ ข้าพเจ้าจุติจากภพนั้น แล้วมาเกิดเป็นมนุษย์

ได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ และเป็น

มเหสีของพระเจ้าเอกราชเหนือปฐพีมณฑล เสวยทิพย-

สมบัติและมนุษย์สมบัติ มีความสุขทุกภพ ท่องเที่ยว

ไปหลายกัป ในกัปที่ ๙๑ นับแต่กัปนี้ พระพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี เป็นผู้นำโลก ทรงงดงามน่าชม

ทรงเห็นแจ่มแจ้วในสรรพธรรม เสด็จอุบัติแล้ว.

ข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงฝึก

คนที่ควรฝึกพระองค์นั้น ได้ฟังธรรมอันประณีตแล้ว

ออกบวชไม่มีเรือน ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสนา

ของพระพุทธวีระพระองค์นั้นอยู่หมื่นปี ประกอบความ

เพียร เป็นพหูสูตฉลาดในปัจจยาการ แกล้วกล้าใน

จตุราริยสัจ มีปัญญาละเอียด แสดงธรรมได้วิจิตร

ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 221

ด้วยผลแห่งพรหมจรรย์ ข้าพเจ้าจุติจากภพนั้น

แล้ว เข้าถึงสวรรค์ชั้น ดุสิต เป็นผู้มียศ เสวยสมบัติ

ในภพนั้นและภพอื่น ข้าพเจ้าเกิดในภพไร ๆ ก็เป็น

ผู้มีสมบัติมาก มีทรัพย์มาก มีปัญญา มีรูปงาม มี

บริวารก็ว่าง่าย ด้วยบุญกรรมและความเพียรในศาสนา

ของพระชินพุทธเจ้านั้น สมบัติทุกอย่างข้าพเจ้าหาได้

ง่าย ใจรัก ด้วยผลแต่งความปฏิบัติของข้าพเจ้า เมื่อ

ข้าพเจ้าเดินไป ณ ที่ใด ๆ ภัสดาของข้าพเจ้าและใคร ๆ

ย่อมไม่ดูหมิ่นข้าพเจ้า ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้า

พระนามว่าโกนาคมน์ เป็นพราหมณ์ มีพระยศมาก

เป็นยอดของพระศาสดาผู้สอน เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ใน

ครั้งนั้นแหละ กุลธิดาที่มั่งคั่งดีในกรุงพาราณสี ชื่อ

ธนัญชานี ๑ สุเมธา ๑ ข้าพเจ้า ๑ รวม ๓ คนด้วยกัน

ได้ถวายสังฆารามแก่พระมุนีหลายพัน และได้สร้าง

วิหารอุทิศถวายแก่พระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสาวก-

สงฆ์ เราทั้งหมดด้วยกันจุติจากภพนั้นแล้ว ไปสวรรค์

ชั้นดาวดึงส์ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศกว่าเทพธิดาและ

กุลธิดาในมนุษย์ ในภัทรกัปนี้แหละ พระพุทธเจ้า

พระนามว่ากัสสปะ เป็นพราหมณ์ มีพระยศมาก

เป็นยอดของศาสดาผู้สอน เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ใน

ครั้งนั้น พระเจ้ากาสี จอมนรชนพระนามว่า กิกิ

กรุงพาราณสี ราชธานีแคว้นกาสี ทรงเป็นอุปัฏฐาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 222

พระพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพเจ้า

เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ของท้าวเธอ

มีนามปรากฏว่าสมณี ได้ฟังธรรมของพระชินพุทธเจ้า

ผู้เลิศแล้ว ชอบกิจบรรพชา แต่พระชนกนาถไม่ทรง

อนุญาตแก่เราทั้งหลาย ครั้งนั้น เราทั้งหลายไม่

เกียจคร้าน ประพฤติโกมาริพรหมจรรย์อยู่ในพระ-

ราชมณเฑียร ดำรงอยู่ในสุขสมบัติสองหมื่นปี เป็น

พระราชธิดาที่บันเทิงใจ ยินดียิ่งนักในการบำรุง

พระพุทธเจ้า พระราชธิดาทั้ง ๗ พระองค์นั้น คือ

สมณี ๑ สมณคุตตา ๑ ภิกขุนี ๑ นางภิกขุทาสิกา ๑

ธรรมา ๑ สุธรรมา ๑ แล สังฆทาสิกาเป็นที่ครบ ๗.

บัดนี้ คือข้าพเจ้า อุบลวรรณา ปฏาจารา กุณฑล-

เกสา กิสาโคตมี ธรรมทินนา และวิสาขา เป็นที่

ครบ ๗ บางครั้ง พระพุทธเจ้า ผู้เป็นดั่งดวงอาทิตย์

ของนรชนพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมคือมหานิทาน

สูตรอันอัศจรรย์ ข้าพเจ้าฟังแล้วก็เรียนพระสูตรนั้น.

ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งใจ

ไว้ชอบ ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้วได้ไปสู่สวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์ บัดนี้ ภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเป็นราชธิดา

โปรดปราน เอ็นดู สุดสวาทของพระเจ้ามัททราชใน

กรุงสาคลราชธานี พร้อมกับข้าพเจ้าเกิด พระนครนั้น

ได้มีความเกษมสุข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 223

โดยคุณนิรมิตนั้นชื่อข้าพเจ้าปรากฏว่าเขมา สมัย

ที่ข้าพเจ้าเจริญวัยเติบโตเป็นสาวมีรูปโฉมและผิวพรรณ

งาม พระราชบิดาก็ถวายข้าพเจ้าแก่พระเจ้าพิมพิสาร

ข้าพเจ้าเป็นที่โปรดปรานของพระองค์ ยินดีแต่ในการ

บำรุงรูป ไม่พอใจคนที่กล่าวโทษรูปเป็นอันมาก ครั้ง

นั้น พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้นักขับร้องขับเพลง

พรรณนาพระวิหารเวฬุวันกะข้าพเจ้าด้วยพระประสงค์

จะทรงอนุเคราะห์ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าสำคัญว่า พระเวฬุ-

วันวิหาร อันเป็นที่ประทับแห่งพระสุคต เป็นที่รื่นรมย์

ผู้ใดยังมิได้เห็น ก็เท่ากับว่าผู้นั้นยังไม่เห็นนันทวัน

พระวิหารเวฬุวันเป็นดังว่านันทวันอันเป็นที่เพลิดเพลิน

ของนรชน ผู้ใดได้เห็นแล้วเท่ากับว่าผู้นั้นเห็นนันทวัน

อันเป็นที่เพลิดเพลินดีของท้าวอมรินทร์เทวราช ทวย-

เทพละนันทวันนั้นแล้วลงมายังพื้นดิน เห็นพระวิหาร

เวฬุวันอันน่ารื่นรมย์เข้าแล้วก็อัศจรรย์ใจดูไม่อิ่ม พระ-

วิหารเวฬุวัน เกิดขึ้นเพราะบุญของพระราชาอันบุญของ

พระพุทธเจ้าตกแต่งแล้ว ใครเล่าจะกล่าวกองคุณของ

พระเวฬุวันนั้นมิให้เหลือได้.

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังความสมบูรณ์แห่งพระ-

วิหารเวฬุวัน เป็นที่ซึ้งโสตและจับใจแล้วอยากจะชม

พระเวฬุวันนั้น จึงกราบทูลพระราชา ครั้งนั้นพระ-

มหิบดีจึงโปรดส่งข้าพเจ้าพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 224

เพื่อชมพระเวฬุวันนั้น ที่น่าขวนขวายชม ด้วยพระ-

ดำรัสว่า ดูก่อนพระนางผู้มีสมบัติมาก เชิญเสด็จไป

ชมพระมหาเวฬุวันให้เป็นขวัญตาซึ่งฉาบด้วยพระรัศมี

แห่งพระสุคตงามด้วยพระสิริทุกสมัย ข้าพเจ้าทูลว่า

เมื่อใดพระพุทธมุนีเสด็จเข้ามาทรงบิณฑบาตในกรุง

ราชคฤห์ราชธานี เมื่อนั้นหม่อมฉันจะเข้าไปชมพระ-

วิหารเวฬุวัน เวลานั้นพระวิหารเวฬุวันนั้น มีดอกไม้

บานสะพรั่งมีภมรนานาชนิดบินเวียนว่อนส่งเสียงร้อง

ประกอบด้วยเพลงขับกล่อมของนกดุเหว่าอีก เหล่านก

ก็ร่ายรำแพนเงียบเสียงไม่พลุกพล่านประดับด้วยที่จง-

กรมต่าง ๆ สร้างด้วยกุฏิและมณฑป อร่ามด้วยพระผู้

พากเพียรที่ประเสริฐ เมื่อข้าพเจ้าเที่ยวไปได้รู้สึกว่า

เป็นกำไรนัยน์ตาของข้าพเจ้าแท้ ๆ แม้ในพระเวฬุวัน

นั้นข้าพเจ้าก็ได้เห็นภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งบำเพ็ญเพียรอยู่

แล้วคิดไปว่าภิกษุรูปนี้ ยังอยู่ในวัยหนุ่มแน่นมีรูปร่าง

น่ารัก ปฏิบัติดีอยู่ในพระเวฬุวันที่น่ารื่นรมย์เช่นนี้

เหมือนฤดูใบไม้ผลิ ภิกษุนี้ศีรษะโล้น ห่มผ้าสองชั้น

นั่งอยู่ที่โคนไม้ ละความยินดีที่เกิดแต่อารมณ์ เจริญ

ฌานอยู่ ธรรมดาคฤหัสถ์ควรจะบริโภคกามตามความ

สุข ต่อแก่จึงควรประพฤติธรรมอันเจริญงอกงามนี้ใน

ภายหลัง ข้าพเจ้าสำคัญว่าพระคันธกุฎีที่ประทับแห่ง

พระชินเจ้าดังดวงอาทิตย์อุทัย ประทับนั่งทรงสำราญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 225

พระองค์เดียว มีสาวสวยถวายงานพัดอยู่ ครั้นแล้วจึง

ดำริอย่างนี้ว่า สมณะปอนรูปนี้มิใช่องค์พระนราสภ

หญิงสาวคนนั้นมีผิวพรรณเปล่งปลั่งดังทอง มีดวงตา

งามดังดอกบัว ริมฝีปากแดงดังผลมะพลับสุก ชำเลือง

แต่น้อยเป็นที่ซาบซึ้งตรึงใจและนัยน์ตา แขนแกว่งดั่ง

ชิงช้าทอง ดวงหน้างาม ถันทั้งคู่เต่งตั่งดังดอกบัวตูม มี

เอวองค์กลมกลึงตะโพกผึ่งผาย ลำขาน่ายินดี มีเครื่อง

แต่งกายสวย เครื่องประดับสีแดงแวววาว นุ่งผ้าเนื้อ

เกลี้ยงสีเขียว มีรูปสมบัติชมไม่รู้อิ่ม ประดับด้วย

สรรพาภรณ์ ข้าพเจ้าเห็นหญิงสาวนั้นแล้วก็คิดอย่างนี้

ว่า โอ หญิงสาวคนนี้รูปงามเหลือเกิน ข้าพเจ้าไม่เคย

เห็นด้วยนัยน์ตานี้ ไม่ว่าในตรงไหน ๆ เลย ทันใด

นั้น หญิงสาวคนนั้น ถูกชราย่ำยี มีผิวพรรณแปลก

ไป หน้าเหี่ยว ฟันหัก ผมหงอก น้ำลายไหล หน้า

ไม่สะอาด ใบหูย่น กระด้าง นัยน์ตาขาว นมยาน

ไม่งาม ตกกระทั่วตัว เรือนร่างสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น

ตัวค้อมลงใช้ไม้เท้าเป็นเพื่อน ร่างกายซูบผอมลีบไป

สั่นงั่นงก ล้มลงแล้วหายใจถี่ ๆ ลำดับนั้นความสังเวช

อันไม่เคยเป็นทำให้ขนลุกชูชันได้มีแก่ข้าพเจ้าว่า น่า

ตำหนิรูปอันไม่สะอาดที่พวกคนเขลาพากันยินดี ขณะ

นั้นพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระกรุณามากมีพระทัยปีติโสม-

นัส ทรงเห็นข้าพเจ้าผู้มีใจสังเวชแล้วได้ตรัสพระคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 226

นี้ว่า ดูก้อนเขมา จงดูร่างกายอันกระสับกระส่ายไม่

สะอาด เน่าเปื่อย ไหลเข้าไหลออกที่พวกพาลชนยินดี

กันนัก จงอบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์เดียวด้วย

อสุภารมณ์เถิด จงมีกายคตาสติ มีความเบื่อหน่ายมากๆ

ไว้เถิด รูปหญิงนี้ฉันใด รูปของเธอนั้นก็ฉันนั้น รูป

ของเธอฉันใด รูปหญิงนี้ก็เป็นฉันนั้น เธอจงคลาย

ความพอใจในกายทั้งภายในภายนอกเสียเถิด จงอบรม

อนิมิตตวิโมกข์ จงละมานานุสัยเสีย เธอจักเป็นผู้

สงบ จาริกไปเพราะละมานานุสัยนั้นได้.

ชนเหล่าใดกำหนัดอยู่ด้วยราคะ ย่อมตกไปสู่

กระแสตัณหา เหมือนแมลงมุมตกไปยังใยที่ตัวเองทำ

ไว้ฉะนั้น ชนเหล่านั้นตัดกระแสตัณหานั้นเสียได้แล้ว

เป็นผู้หมดอาลัย ละกามสุขได้ย่อมงดเว้นกิจคฤหัสถ์

[บวช] อยู่ ขณะนั้น พระบรมศาสดาผู้เป็นสารีฝึก

นรชนทรงทราบว่าข้าพเจ้ามีจิตควรแล้ว จึงทรงแสดง

มหานิทานสูตรเพื่อทรงแนะนำข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ฟัง

สูตรอันประเสริฐนั้นแล้ว ระลึกถึงสัญญาในกาลก่อน

ได้ดำรงอยู่ในสัญญานั้นแล้ว ชำระธรรมจักษุให้หมด

จด ทันใดนั้น ข้าพเจ้าหมอบลงแทบพระบาทยุคลแห่ง

พระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เพื่อประสงค์จะ

แสดงโทษ [ขอขมา] จึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ขอถวายมนัสการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 227

แด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระกรุณาเป็นที่อยู่ ข้า-

พระองค์ขอถวายนมัสการแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์

ผู้เสด็จข้ามสงสารแล้ว ข้าพระองค์ขอถวายนมัสการ

แด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ประทานอมตธรรม ข้า-

พระองค์ขอถวายนมัสการแด่พระองค์ ข้าพระองค์แล่น

ไปแล้วสู่ชัฏคือทิฏฐิ ลุ่มหลงเพราะกามราคะ พระองค์

ทรงแนะนำด้วยอุบายที่ชอบ เป็นผู้ยินดีแล้วในอุบายที่

ทรงแนะนำสัตว์ทั้งหลาย คงตั้งอยู่ [อย่างนั้น ] เพราะ

ไม่เห็นพระผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เช่นพระองค์จึง

เสวยทุกข์เป็นอันมาก ในสาครคือสังสารวัฏเมื่อใด

ข้าพระองค์ยังมิได้มาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงเป็นสรณะแห่ง

สัตว์โลก ไม่เป็นศัตรูแก่สัตว์โลก ทรงถึงที่สุดแห่ง

มรณะ ผู้มีอรรถรสอันไพเราะ ข้าพระองค์ขอแสดงโทษ

นั้น ข้าพระองค์ยินดีเป็นนิตย์ในรูป ระแวงว่าพระองค์

ไม่ทรงเกื้อกูล จึงมิได้มาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงเกื้อกูลมาก

ผู้ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ ข้าพเจ้าขอแสดง

โทษนั้น ครั้งนั้นพระองค์ผู้ทรงเป็นพุทธชินะทรงพระ-

มหากรุณาประกาศกังวานกระแสธรรมอันไพเราะ เมื่อ

ทรงเอาน้ำอมฤตรดข้าพเจ้าได้ตรัสว่า หยุดเถิดเขมา

ครั้งนั้นข้าพเจ้าประนมนมัสการด้วยเศียรเกล้าทำประ-

ทักษิณพระองค์แล้ว กลับไปเฝ้าพระนรบดีราชสวามี

แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงข่มข้าศึก น่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 228

อัศจรรย์ พระองค์ทรงดำริอุบายอันนี้ไว้ชอบแท้หนอ

หม่อมฉันผู้ปรารถนาจะชมพระเวฬุวัน ก็ได้ชมพระมุนี

ผู้ปราศจากกิเลสเหมือนป่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

ถ้าพระองค์จะทรงชอบพระราชหฤทัยไซร้ หม่อมฉัน

ผู้เบื่อหน่ายในรูปตามที่พระพุทธมุนีตรัสสอน จักบวช

ในศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้คงที่พระองค์นั้น.

ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าแผ่นดินพระ-

องค์นั้นทรงประคองอัญชลีตรัสว่า ดูก่อนพระน้องนาง

พี่อนุญาตแก่พระน้องนาง บรรพชาจงสำเร็จแก่พระ-

น้องนางเถิด ครั้งนั้นข้าพเจ้าบวชมาแล้วได้ ๗ เดือน

เห็นความเกิดและดับของประทีป มีใจสังเวชเบื่อหน่าย

ในสรรพสังขาร ฉลาดในปัจจยาการ ก้าวล่วง

จตุรโอฆะแล้วก็บรรลุพระอรหัตเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์

ในทิพโสตธาตุและเจโตปริยญาณ รู้ชัดปุพเพนิวาส-

ญาณ ชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์ มีอาสวะทั้งปวง

หมดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ญาณอันบริสุทธิ์ของ

ข้าพเจ้าในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติและปฏิภาณเกิดขึ้น

แล้วในพระพุทธศาสนาข้าพเจ้าเป็นผู้ฉลาดในวิสุทธิ

ทั้งหลาย แกล้วกล้าในกถาวัตถุ รู้จักนัยแห่งอภิธรรม

ถึงความชำนาญในศาสนา ภายหลังพระเจ้าปเสนทิ-

โกศลตรัสถามปัญหาละเอียดในโตรณวัตถุ ข้าพเจ้าก็

ถวายวิสัชนาตามความเป็นจริง ครั้งนั้นพระเจ้าปเสนทิ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 229

โกศลเสด็จเข้าเฝ้าพระสุคตแล้ว ทูลสอบถามปัญหา

เหล่านั้น พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์เหมือนอย่างที่

ข้าพเจ้าถวายวิสัชนาแด่พระองค์ พระชินพุทธเจ้า

ยอดนรชน ทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น จึงทรง

สถาปนาข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า เป็นเลิศ

ของภิกษุณีผู้มีปัญญามาก ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลาย

แล้ว ฯลฯ พระพุทธศาสนา ข้าพเจ้าได้ทำเสร็จแล้ว.

พระเถรีนี้บรรลุพระอรหัตแล้ว อยู่ด้วยผลสุข นิพพานสุข ก็ปรากฏ

ว่าเป็นผู้มีปัญญามาก เพราะเมื่อพระขีณาสวเถรีรูปอื่น ๆ เกิดปัญญาไพบูลย์

แต่ท่านก็บำเพ็ญบารมีมาแล้วในข้อนั้น จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่งท่ามกลางหมู่พระอริยะ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กำลังทรงสถาปนา

ภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งตามลำดับ ก็ทรงสถาปนาพระเถรีนั้นไว้ใน

ตำแหน่งเอตทัคคะเพราะเป็นผู้มีปัญญามากกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขมา

เป็นเลิศของภิกษุณีสาวิกาของเรา ผู้มีปัญญามาก.

วันหนึ่ง พระเถรีนั้นนั่งพักกลางวันอยู่โคนไม้ต้นหนึ่ง มารผู้มีบาป

แปลงกายเป็นชายหนุ่มเข้าไปหา เมื่อประเล้าประโลมด้วยกามทั้งหลายก็กล่าว

คาถาว่า

แม่นางเขมาเอย เจ้าก็สาวสคราญ เราก็หนุ่มแน่น

มาสิ เรามาร่วมอภิรมย์กัน ด้วยดนตรีเครื่อง ๕ นะ

แม่นาง.

คาถานั้นมีความว่า แม่นางเขมาเอย เจ้าก็เป็นสาว อยู่ในวัยรุ่น

รูปร่างก็สะสวย ถึงเราก็หนุ่มวัยรุ่น เพราะฉะนั้น เราทั้งสองอย่าให้ความ

หนุ่มสาวเสียไปเปล่า ดนตรีเครื่อง ๕ มีอยู่ มาสิเรามาอภิรมย์เล่นกัน ด้วย

ความยินดีในการเล่นที่น่ารักเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 230

นางเขมาเถรีนั้น ฟังคำนั้นแล้ว เมื่อประกาศความที่ตนหมดความ

กำหนัด ในกามทั้งปวง ๑ ความที่ผู้นั้นเป็นมาร ๑ ความไม่เลื่อมใสที่มี

กำลังของตนในเหล่าสัตว์ผู้ยึดมั่นในอัตตา ๑ และความที่ตนทำกิจเสร็จแล้ว ๑

จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

เราอึดอัดเอือมระอาด้ายกายอันเปื่อยเน่า กระสับ-

กระส่าย มีอันจะแตกพังไปนี้อยู่ เราถอนกามตัณหา

ได้แล้ว กามทั้งหลายมีอุปมาด้วยหอกและหลาว มี

ขันธ์ทั้งหลายเป็นเขียงรองสับ บัดนี้ ความยินดีในกาม

ที่ท่านพูดถึงไม่มีแก่เราแล้ว เรากำจัดความเพลิดเพลิน

ในกามทั้งปวงแล้ว ทำลายกองแห่งความมืด [อวิชชา]

เสียแล้ว ดูก่อนมารใจบาป ท่านจงรู้อย่างนี้ ตัวท่าน

ถูกเรากำจัดแล้ว พวกคนเขลา ไม่รู้ตามความ

เป็นจริง พากันนอบน้อมดวงดาวทั้งหลาย บำเรอไฟอยู่

ในป่าคือลัทธิ สำคัญว่าเป็นความบริสุทธิ์ ส่วนเราแล

นอบน้อมเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ

จึงพ้นแล้วจากทุกข์ทั้งปวง ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอน

ของพระศาสดา.

บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า อคฺคึ ปริจรึ วเน ได้แก่ เที่ยวบูชา

ไฟอยู่ในป่าคือตบะ. บทว่า ยถาภุจฺจมชานนฺตา ได้แก่ ไม่รู้เรื่องราวตาม

เป็นจริง. คำที่เหลือในที่นี้ ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยอันกล่าวมาแล้วในหนหลัง.

จบ อรรถกถาเขมาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 231

๔. สุชาตาเถรีคาถา

[๔๕๔] พระสุชาตาเถรี กล่าวคาถาเป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้า [ตอนเป็นคฤหัสถ์] แต่งตัวนุ่งห่มผ้า

อย่างดี สวมมาลัย ลูบไล้ด้วยจุรณจันทน์ ประดับ

ด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง เดินนำหน้าหมู่นางทาสี ถือเอา

ข้าวน้ำของเคี้ยวของกินไม่น้อยออกจากเรือนพากันไป

ยังอุทยาน รื่นเริงละเลิงเล่นอยู่ในอุทยานนั้น แล้วกำลัง

เดินจะกลับเรือนตน ก็เข้าไปชมอัญชนวันวิหาร ใน

นครสาเกต ได้พบพระพุทธเจ้า ผู้เป็นแสงสว่างของ

โลก ถวายบังคมแล้ว เข้าไปเฝ้า.

พระผู้มีพระจักษุพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรม

โปรดข้าพเจ้า ด้วยพระกรุณาอนุเคราะห์ และข้าพเจ้า

ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์ ผู้ทรงแสวงคุณ

อันยิ่งใหญ่แล้ว ก็ได้ตรัสรู้สัจจะของจริง ได้สัมผัส

ธรรมคืออมตบทอันปราศจากกิเลสดุจธุลี ในที่นั้นนั่น

เอง.

ข้าพเจ้ารู้แจ้งพระสัทธรรมแล้ว ก็บวชไม่มีเรือน

ได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่

เปล่าปราศจากประโยชน์เลย.

จบ สุชาตาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 232

๔. อรรถกถาสุชาตาเถรีคาถา

คาถาว่า อลงฺกตา สุวสนา ดังนี้เป็นต้น เป็นคาถาของพระสุ-

ชาตาเถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ

สร้างสมกุศล ซึ่งเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน มาในภพนั้น ๆ มีธรรมเครื่อง

ปรุงแต่งวิโมกข์ที่รวบรวมไว้โดยลำดับ ในพุทธุปกาลนี้ ก็บังเกิดในครอบ

ครัวเศรษฐี ในสาเกตนคร เติบโตเป็นสาวแล้ว มารดาบิดาได้ยกให้บุตรเศรษฐี

ผู้มีชาติเสมอกัน มีสามีแล้ว อยู่ร่วมกับสามีในครอบครัวนั้นเป็นสุขสบาย

วันหนึ่งไปอุทยานเล่นการเล่นงานนักขัตฤกษ์ เมื่อมายังเมืองกับคนข้างเคียง

ได้พบพระศาสดาในอัญชนวัน มีใจเลื่อมใส เข้าไปเฝ้านั่งในที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง พระศาสดาตรัสอนุปุพพีกถาแก่นางแล้ว ทรงทราบถึงจิตที่สบายแล้ว

จึงทรงประกาศธรรมเทศนาชื่อสามุกกังสิกะ [อริยสัจ ๔] ให้สูงขึ้น. จบ

พระธรรมเทศนา นางทั้งที่ยังนั่งอยู่ตามเดิมนั่นแหละ ก็บรรลุพระอรหัตพร้อม

ด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เพราะคนได้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว เพราะมีญาณแก่กล้า

และเพราะความงามแห่งเทศนาของพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดาแล้วไป

เรือน ขอให้สามีและมารดาบิดาอนุญาตแล้ว ไปสำนักของนางภิกษุณีโดย

พระบัญชาของพระศาสดา บวชแล้วในสำนักของนางภิกษุณีทั้งหลาย ก็ครั้น

บวชแล้ว ก็ได้พิจารณาการปฏิบัติของตนแล้ว จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็น

อุทานว่า

ข้าพเจ้าแต่งตัวนุ่งห่มผ้าอย่างดี สวมมาลัย ลูบ

ไล้ด้วยจุรณจันทน์ ประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง ห้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 233

ล้อมด้วยหมู่นางทาสี ถือเอาข้าวน้ำของเคี้ยวของบริ-

โภคไม่น้อย ออกจากเรือนพากันไปยังอุทยาน รื่นเริง

ละเลิงเล่นอยู่ในอุทยานนั้นแล้ว กำลังเดินจะกลับเรือน

ของตน ก็เข้าไปชมอัญชนวันวิหารในนครสาเกต ได้

พบพระพุทธเจ้าผู้เป็นแสงสว่างของโลก ถวายบังคม

แล้วเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระจักษุพระองค์นั้นได้ทรง

แสดงธรรมโปรดข้าพเจ้าด้วยพระกรุณาอนุเคราะห์

และข้าพเจ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์ผู้แสวง

คุณอันยิ่งใหญ่แล้ว ได้ตรัสรู้สัจจะของจริง ได้สัมผัส

ธรรมคืออมตบท อันปราศจากกิเลสดุจธุลีในที่นั้นนั่น

เอง ข้าพเจ้ารู้แจ้งพระสัทธรรมแล้ว ก็บวชไม่มีเรือน

ได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่

เปล่าจากประโยชน์เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลงฺกตา คือประดับ. ก็คำนั้นท่าน

กล่าวว่า สุวสนา มาลินี จนฺทโนกฺขิตา เพื่อแสดงอาการตกแต่งนั้น

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลินี คือ คล้องมาลัย. บทว่า จนฺทโนกฺขิตา

คือลูบไล้ด้วยจันทน์. บทว่า สพฺพาภรณสญฺฉนฺนา ความว่า มีร่างกายปก

คลุมด้วยสรรพาภรณ์ มีเครื่องประดับมือเป็นต้นเป็นเครื่องประดับ. บทว่า

อนฺน ปาน จ อาทาย ขชฺช โภชฺช อนปฺปก ความว่า ถือเอาข้าวมี

ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีเป็นต้น น้ำปานะมีน้ำมะม่วงเป็นต้น ของเคี้ยวมีแป้งควร

เคี้ยวเป็นต้น นอกนั้นก็ของบริโภคกล่าวคืออาหารเป็นอันมาก. บทว่า อุยฺ-

ยานมภิหารยึ ได้แก่ เรานำเข้าไปโดยการเล่นนักษัตร อธิบายว่า นำ

ข้าวและน้ำเป็นต้นมาในอุทยานนั้น ระเริงเล่นบำรุงบำเรอกับคนรอบข้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 234

บาทคาถาว่า สาเกเต อญฺชน วน ความว่า เราเข้าไปยังวิหาร

ในป่าอัญชนวัน ในนครสาเกต.

บทว่า โลกปชฺโชต ได้แก่ เป็นแสงสว่างของโลกโดยแสงสว่างคือ

ญาณ.

บทว่า ผุสยึ คือ ถูกต้องแล้ว อธิบายว่าได้บรรลุอมตธรรมนั้น.

คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสุชาตาเถรีคาถา

๕. อโนปมาเถรีคาถา

[๔๕๕] พระอโนปมาเถรี กล่าวคาถาเป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลสูง ที่มีสิ่งของเครื่องปลื้ม

ใจมาก มีทรัพย์มาก สมบูรณ์ด้วยผิวพรรณสัณฐาน

และรูป เป็นธิดาของเมฆีเศรษฐี เป็นผู้อันพระราช-

บุตรปรารถนา อันพวกบุตรเศรษฐีหมายปองกัน อิสร-

ชนมีพระราชกุมารเป็นต้น พากันส่งทูตไปขอต่อบิดา

ของข้าพเจ้าว่า จงให้อโนปมาแก่เรา อโนปมาธิดา

ของท่านนั้นมีค่าตัวเท่าใด เราจักให้เงินและทอง เป็น

๘ เท่าของค่าตัวนั้น.

ข้าพเจ้าได้พบพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดใน

โลก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า ได้ถวายบังคมพระยุคลบาท

ของพระองค์ เข้าไปเฝ้า นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 235

พระโคดมพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมโปรด

ข้าพเจ้า ด้วยพระกรุณาอนุเคราะห์ ข้าพเจ้านั่งอยู่ ณ

อาสนะนั้น ก็บรรลุผลที่ ๓ [อนาคามิผล] ครั้นแล้ว

ก็โกนผมบวชไม่มีเรือน นับตั้งแต่ตัณหาอันข้าพเจ้า

ทำให้เหือดแห้งแล้ว ถึงวันนี้ ก็นับเป็นราตรีที่ครบ ๗.

จบอโนปมาเถรีคาถา

๕. อรรถกถาอโนปมาเถรีคาถา

คาถาว่า อุจฺเจ กุเล ดังนี้เป็นต้น เป็นคาถาของพระอโนปมาเถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ

สร้างสมกุศลซึ่งเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน มาในภพเหล่านั้นๆ เพิ่มพูนธรรม

ทั้งหลายอันเป็นเครื่องอบรมบ่มวิมุตติ มาโดยลำดับในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิด

เป็นธิดาของเศรษฐีชื่อเมฆีในนครสาเกต นางมีนามว่า อโนปมา ก็เพราะรูป

สมบัติ ในเวลานางเติบโตเป็นสาวแล้ว บุตรเศรษฐี มหาอำมาตย์ของพระ-

ราชา และพระราชาเป็นอันมาก ได้พากันส่งทูตไปขอต่อบิดาว่า ขอท่านจง

ให้ธิดาชื่ออโนปมาแก่ตนเถิด ข้าพเจ้าทั้งหลายจักให้สิ่งนี้ ๆ แก่ท่าน นางได้ฟัง

ทูตนั้นแล้วคิดว่า เราไม่ต้องการเป็นฆราวาส เพราะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยจึง

ไปเฝ้าพระศาสดาฟังธรรม เริ่มวิปัสสนาไปตามกระแสพระธรรมเทศนาเพราะ

ญาณแก่กล้าแล้ว เมื่อขวนขวายวิปัสสนานั้น ได้ตั้งอยู่แล้วในผลที่สาม [อนา-

คามิผล] ตามลำดับแห่งมรรค. นางทูลขอบรรพชากะพระศาสดาแล้ว เข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 236

ไปสำนักของนางภิกษุณี โดยพระบัญชาของพระศาสดา บวชในสำนักของ

ภิกษุณีทั้งหลายได้ทำให้แจ้งอรหัตในวันที่ ๗ ได้พิจารณาการปฏิบัติของตนแล้ว

ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นเป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลสูง ที่มีสิ่งของเครื่องปลื้ม

ใจมาก มีทรัพย์มาก สมบูรณ์ด้วยผิวพรรณสัณฐานและ

รูป เป็นธิดาของเมฆีเศรษฐี เป็นผู้อันพระราชบุตร

ปรารถนา พวกบุตรเศรษฐีพากันหมายปอง อิสรชน

มีพระราชบุตรเป็นต้น พากันส่งทูตไปขอต่อบิดาของ

ข้าพเจ้าว่า ขอจงให้อโนปมาแก่เรา อโนปมาธิดา

ของท่านนั้น มีค่าตัวเท่าใด เราจักให้เงินและทองเป็น

๘ เท่าของค่าตัวนั้น ข้าพเจ้านั้นได้พบพระพุทธเจ้า

ผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า ได้ถวาย

บังคมพระยุคลบาทของพระองค์ เข้าไปเฝ้า นั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง พระโคดมพระองค์นั้นได้ทรงแสดง

ธรรมโปรดข้าพเจ้า ด้วยพระกรุณาอนุเคราะห์ ข้าพเจ้า

นั่งอยู่ที่อาสนะนั้น ก็บรรลุผลที่สาม ครั้นแล้ว ได้

โกนผมออกบวชไม่มีเรือน นับตั้งแต่ตัณหาอันข้าพเจ้า

ทำให้เหือดแห้งแล้ว ถึงวันนี้ ก็นับเป็นราตรีที่ครบ ๗.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺเจ กุเล ได้แก่ ในตระกูลแพศย์

ซึ่งสูงสุด. บทว่า พหุวิตฺเต ได้แก่ อุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจเป็นอัน

มากมีเครื่องประดับเป็นต้น. บทว่า มหทฺธเน ประกอบความว่า เราเกิด

แล้วในตระกูลมีทรัพย์มาก เพราะมีทรัพย์อยู่มากประมาณ ๔๐ โกฏิซึ่งเก็บไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 237

เป็นต้น. บทว่า วณฺณรูเปน สมฺปนฺนา ความว่า สมบูรณ์ด้วยผิวพรรณ

สัณฐานและสมบูรณ์ด้วยรูป คือมีผิวพรรณน่ารัก ประกอบด้วยสมบัติคือ

ฉวีวรรณที่สะอาดเปล่งปลั่ง และสมบัติของส่วนร่างกายมีพัตราภรณ์เป็นต้น.

บทว่า ธีตา เมฆิสฺส อตฺรชา ความว่าเป็นธิดาตัวเองของเศรษฐีชื่อเมฆี.

บทว่า ปตฺถิตา ราชปุตฺเตหิ ความว่า พระราชกุมารทั้งหลาย

ปรารถนาว่า พวกเราจะพึงได้ธิดานั้นอย่างไรหนอ. บทว่า เสฏฺิปุตฺเตหิ

คิชฺฌิตา ได้แก่ แม้เศรษฐีกุมารทั้งหลาย ก็ต้องการคือมุ่งหวังอย่างนั้น.

บทว่า เทถ มยฺห อโนปม ความว่า พระราชบุตรเป็นต้น ได้ส่งทูตมา

ขอในสำนักบิดาว่า ขอท่านทั้งหลาย จงให้อโนปมาธิดาแก่เรา ๆ เถิด. บทว่า

ยตฺต  ตุลิตา เอสา ประกอบความว่า อิสรชนมีกุมารเป็นต้นส่งทูตมาหา

บิดาของข้าพเจ้าแจ้งว่า อโนปมาธิดาของท่าน ท่านตีราคา คือผู้รู้ลักษณะ

กำหนดคำว่า มีคุณค่าเป็นทรัพย์เท่าใด เราจักเพิ่มเป็น ๘ เท่าจากทรัพย์นั้น.

คำที่เหลือ มีนัยอันกล่าวมาแล้วในหนหลังแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาอโนปมาเถรีคาถา

๖. มหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา

[๔๕๖] พระมหาปชาบดีโคตมี กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล่วกล้า สูงสุดกว่าสัตว์ทั้ง

ปวง หม่อมฉันขอนอบน้อมแด่พระองค์ผู้ทรงช่วยปลด

เปลื้องหม่อมฉัน และชนอื่นเป็นอันมากให้พ้นจาก

ทุกข์ หม่อมฉันกำหนดรู้ทุกข์ทั้งปวงแล้ว เผาตัณหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 238

อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ให้เหือดแห้งแล้ว ได้เจริญมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ได้บรรลุนิโรธแล้ว.

ชนทั้งหลายเป็นมารดา เป็นบุตรธิดา เป็นพี่เป็น

น้อง เป็นปู่ย่าตายายกันมาในชาติก่อน ๆ หม่อนฉัน

ไม่รู้ตามความเป็นจริง ไม่พบที่พึ่งจึงท่องเที่ยวไป.

ก็หม่อมฉันได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้นแล้ว อัตภาพนี้เป็นอัตภาพสุดท้าย ชาติสงสารสิ้น

แล้วบัดนี้ภพใหม่มิได้มี ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตร

พระสาวกทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว

มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ มีความพร้อมเพรียง

กัน การทำโลกุตรธรรมให้ประจักษ์แก่ตนอย่างนี้

เป็นการถวายบังคมต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

พระนางเจ้ามหามายาเทวี ได้ประสูติพระโคดม

มาเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากหนอ เพราะ

พระองค์ได้ทรงบรรเทากองทุกข์ของชนทั้งหลาย ที่

ถูกพยาธิและมรณะทิ่มแทงแล้ว.

จบมหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 239

๖. อรรถกถามหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา

คาถาว่า พุทฺธวีร นโม ตยตฺถุ ดังนี้เป็นต้น เป็นคาถาของ

พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ก็

บังเกิดในเรือนผู้มีสกุล กรุงหังสวดี รู้เดียงสาแล้ว กำลังฟังธรรมในสำนัก

ของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอต-

ทัคคะเป็นเลิศของภิกษุณีผู้รัตตัญญู ทำกุศลกรรมให้ยิ่งยวดขึ้นไปแล้วปรารถนา

ตำแหน่งนั้น ทำบุญมีทานเป็นต้นจนตลอดชีวิต เที่ยวเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและ

มนุษย์ตลอดแสนกัป ได้บังเกิดเป็นหัวหน้าทาสี ๕๐๐ ในกรุงพาราณสี ใน

โลกซึ่งว่างพระพุทธเจ้าในระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ กับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลาย ครั้งนั้น นางได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

๕ องค์ ในวันเข้าพรรษา ลงจากเงื้อมเขานันทมูลกะมาที่อิสิปตนะแล้วเที่ยว

บิณฑบาตในเมือง ก็กลับไปอิสิปตนะอีก แสวงหาหัตถกรรมเพื่อสร้างกุฏิในวัน

เข้าพรรษา ได้ชักชวนหญิงรับใช้เหล่านั้นและสามีของตนๆ ให้ช่วยกันสร้าง

กุฏิ ๕ หลัง พร้อมด้วยบริวารมีที่จงกรมเป็นต้น ตั้งเตียงตั่งน้ำฉันน้ำใช้และ

ภาชนะเป็นต้นไว้เสร็จ นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า เพื่ออยู่จำพรรษาตลอด

ไตรมาสในที่นั้นนั่นเอง จึงตั้งภิกษาไว้ถวายตามวาระกัน หญิงคนใดไม่สามารถ

จะถวายภิกษาในวันที่ถึงวาระของตนได้ นางก็นำเอาภิกษาจากเรือนของตน

ไปถวายแทน นางปฏิบัติอยู่อย่างนี้ตลอดไตรมาส เมื่อถึงวันปวารณาให้นาง

ทาสีแต่ละคนสละผ้าสาฏกคนละผืน รวมเป็นผ้าสาฎกเนื้อหยาบ ๕๐๐ ผืน ให้

จัดผ้าเหล่านั้นทำเป็นไตรจีวรถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕ องค์ พระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้ง ๕ องค์ ได้เหาะไปสู่ภูเขาคันธมาทน์ต่อหน้าหญิงเหล่านั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 240

หญิงเหล่านั้นทุกคนได้ทำกุศลจนตลอดชีวิต แล้วไปบังเกิดในเทวโลก.

หัวหน้าหญิงเหล่านั้น จุติจากเทวโลกนั้นไปบังเกิดในเรือนของหัวหน้าช่างหูก

ในหมู่บ้านช่างหูก กรุงพาราณสี รู้เดียงสาแล้ว ได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐

องค์ซึ่งเป็นพระโอรสของพระนางปทุมวดีรู้สึกนึกรัก ไหว้ท่านทุกองค์แล้วถวาย

ภิกษา. ท่านฉันเสร็จก็กลับไปยังภูเขาคันธมาทน์ หญิงหัวหน้าทาสีนั้นทำกุศล

จนตลอดชีวิตเที่ยวเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ถือปฏิสนธิในพระราชมณ-

เฑียรของพระเจ้ามหาสุปปพุทธะกรุงเทวหะก่อนแต่พระศาสดาของเราทั้งหลาย

เสด็จอุบัติ ได้มีพระนามตามโคตรว่า โคตมี เป็นกนิษฐภคินีของพระนางมหา-

มายา แม้พวกหมอดูลักษณะได้พยากรณ์ไว้ว่า ทารกทั้งหลายที่อยู่ในท้องของ

หญิงทั้งสองคนนี้ จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงทำ

มงคลทั้งของพระองค์แล้ว นำไปยังพระราชมณเฑียรของพระองค์ในเวลาเจริญ

พระชนม์.

ต่อมา เมื่อพระศาสดาของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้น ทรงประกาศ

ธรรมจักรอันประเสริฐ ทำการอนุเคราะห์โปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลายในที่นั้น ๆ

โดยลำดับ ทรงอาศัยกรุงเวสาลี ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา พระเจ้าสุทโธทน-

มหาราชทรงทำให้แจ้งพระอรหัตแล้วเสด็จปรินิพพานภายใต้พระมหาเศวตฉัตร

ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีมีพระประสงค์จะผนวช เมื่อทูลขอบรรพ-

ชากะพระศาสดาครั้งแรกไม่ได้ ครั้งที่สองให้ตัดพระเกศาแล้วทรงนุ่งห่มผ้า

กาสายะ พอจบการแสดงกลหวิวาทสูตร ได้เสด็จไปกรุงเวสาลีกับพวกหญิง

บาทปริจาริกาของศากยกุมาร ๕๐๐ ซึ่งประสงค์จะบวชด้วยกันได้ให้พระ-

อานนท์ทูลอ้อนวอนพระศาสดา จึงได้บรรพชาและอุปสมบทด้วยครุธรรม ๘

ประการ ส่วนหญิงนอกนี้ ได้อุปสมบทพร้อมกันทั้งหมด นี้เป็นความสังเขป

ในที่นี้ ส่วนความพิสดารในเรื่องนั้นก็มาในบาลีทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 241

ฝ่ายพระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทอย่างนี้แล้วได้เข้าไปเฝ้า

พระศาสดา ถวายอภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้นพระ-

ศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระนางแล้ว พระนางทรงเรียนพระกัมมัฏฐานใน

สำนักของพระศาสดา พากเพียรภาวนาอยู่ ไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัตที่

แวดล้อมด้วยอภิญญาและปฏิสัมภิทา ส่วนภิกษุณี ๕๐๐ ที่เหลือได้อภิญญา ๖

เมื่อจบนันทโกวาทสูตร. ภายหลังวันหนึ่ง พระศาสดา ประทับนั่งท่ามกลาง

หมู่พระอริยะในพระเชตวันมหาวิหาร กำลังทรงสถาปนาภิกษุณีไว้ในตำแหน่ง

จึงทรงสถาปนาพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศของ

ภิกษุณีฝ่ายรัตตัญญูผู้รู้ราตรีนาน พระนางทรงยับยั้งอยู่ด้วยผลสุข และด้วย

นิพพานสุข ดำรงอยู่ในความกตัญญู ในวันหนึ่ง เมื่อจะทรงพยากรณ์พระ-

อรหัตโดยมุขคือทำการสรรเสริญพระคุณและความที่มีอุปการะก่อนแก่พระ-

ศาสดาให้แจ่มแจ้งจึงได้ตรัสคาถาเหล่านั้นว่า

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า ผู้สูงสุดกว่าสัตว์

ทั้งปวง หม่อมฉันขอนอบน้อมแด่พระองค์ผู้ทรงช่วย

ปลดเปลื้องหม่อมฉัน และชนอื่นเป็นอันมากให้พ้น

จากทุกข์ หม่อมฉันกำหนดรู้ทุกข์ทั้งปวงแล้ว เผาตัณ-

หาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ให้เหือดแห้งแล้ว ได้เจริญ

มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ได้บรรลุนิโรธแล้ว ชน

ทั้งหลายเป็นมารดา เป็นบุตร เป็นธิดา เป็นพี่ เป็น

น้อง เป็นปู่ย่าตายายกันมาในชาติก่อนๆ หม่อมฉัน

ไม่รู้ตามความเป็นจริง ไม่พบที่พึ่ง จึงท่องเที่ยวไป ก็

หม่อมฉันได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว

อัตภาพนี้เป็นอัตภาพสุดท้ายชาติสงสารสิ้นไปแล้ว บัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 242

นี้ภพใหม่มิได้มี ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรพระ-

สาวกทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร ใจเด็ดเดี่ยวมีความ

บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ มีความพร้อมเพรียงกัน การทำ

โลกุตรธรรมให้ประจักษ์แก่ตนอย่างนี้ เป็นการถวาย

บังคมต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระนางเจ้ามหามายา

เทวีได้ประสูติพระโคดมมา เพื่อประโยชน์แก่ชน

เป็นอันมากหนอ เพราะพระองค์ได้ทรงบรรเทากอง

ทุกข์ของชนทั้งหลายผู้ถูกพยาธิและมรณะทิ่มแทงแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธวีร ได้แก่ ผู้แกล้วกล้าในหมู่ผู้

ตรัสรู้สัจจะ ๔ แท้จริงพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ชื่อว่าผู้แกล้วกล้ากว่าผู้มีความ

เพียรสูงสุด หรือท่านผู้ตรัสรู้สัจจะ ๔ เพราะทรงได้ชัยชนะ ด้วยการทำกิจให้

สำเร็จด้วยความเพียรคือสัมมัปปธาน ๔ อย่าง ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าควรได้

รับคำยกย่องว่าวีระ เพราะทรงประกอบด้วยความเพียรเป็นพิเศษเหตุความ

บริบูรณ์แห่งวิริยบารมี คือการทำกิจให้สำเร็จด้วยสัมมัปปธาน ๔ อย่าง ด้วย

การอธิษฐานความเพียรที่ประกอบด้วยองค์ ๔ และทรงยังการทำกิจให้สำเร็จ

นั้นประดิษฐานอยู่โดยชอบในสันดานของเวไนยสัตว์. บทว่า นโม ตฺยตฺถุ

ความว่า ขอความนอบน้อมคือการทำความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์. บทว่า

สพฺพสตฺตานมุตฺตม ได้แก่ ข้าแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สูงสุดด้วยคุณมีศีล

เป็นต้นในสัตว์ทั้งหลายมีสัตว์ชนิดไม่มีเท้าเป็นต้น. เพื่อแสดงอุปการคุณของ

พระศาสดาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งแห่งคุณมีศีลเป็นต้นนั้นพระนางตรัสว่า โย ม

ทุกฺขา ปโมจสิ อญฺญฺจ พหุก ชน ดังนี้ เมื่อประกาศความที่ตนพ้น

แล้วจากทุกข์ ได้ตรัสคาถาว่า สพฺพทุกฺข ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 243

พระนางเมื่อแสดงวัฏทุกข์ที่ทรงช่วยปลดเปลื้องนั้นโดยเอกเทศ ได้

ตรัสคาถาว่า มาตา ปุตฺโต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาตา

ปุตฺโต เป็นต้น ความว่า ในภพใด ได้เป็นมารดาของบุตรคนหนึ่ง ในภพ

อื่นจากภพนั้นได้เป็นบุตรของคนนั้นแหละ อธิบายว่า ภพต่อไปอีกเป็นบิดา

เป็นพี่ชายน้องชาย. บทว่า ยถาภุจฺจ อชานนฺตี คือไม่รู้ถึงประวัติและ

เหตุเป็นต้นตามเป็นจริง. บทว่า สสรึห อนิพฺพิส พระนางตรัสว่า หม่อม

ฉันเมื่อไม่ประสบ หรือไม่ได้ที่พึ่งในสมุทรคือสงสารวัฏโดยเที่ยวเวียนว่ายตาย

เกิดในภพเป็นต้น ได้ตรัสคำเป็นต้นว่า มาตา ปุตฺโต ดังนี้. อธิบายว่า ใน

ภพใดเป็นมารดาของเขา ต่อจากภพนั้นเป็นบุตรของเขานั่นแหละ ภพต่อไป

อีกก็เป็นบิดา เป็นพี่ชาย น้องชาย.

พระเถรีประกาศความที่ตนพ้นแล้วจากทุกข์ แม้ด้วยคาถาว่า ทิฏฺโ

หิ เม เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺโ หิ เม โส ภควา ความ

ว่า หม่อมฉันได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์

นั้น โดยประจักษ์ด้วยจักษุคือญาณโดยการเห็นโลกุตรธรรมที่พระองค์ทรงเห็น

แล้ว. จริงอยู่ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนที่ตรัส

ไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นตถาคต ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า อารทฺธวีริเย คือประคองความเพียรไว้แล้ว. บทว่า

ปหิตฺตฺเต คือ ผู้มีจิตส่งไปพระนิพพาน. บทว่า นิจจ ทฬฺหปรกฺกเม ได้

แก่ ผู้มีความบากบั่นมั่นคงทุกเวลาเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อความ

ไพบูลย์แห่งธรรมที่บรรลุแล้ว และเพื่อผลสมาบัติ. บทว่า สมคฺเค ได้แก่

ชื่อว่าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เพราะถูกรวบรวมไว้ด้วยศีลสามัญญตาและทิฏฐิ

สามัญญตา. ชื่อว่าสาวกเพราะเป็นผู้เกิด ในที่สุดแต่การฟังเทศนาของพระศาสดา.

พระศาสดาทรงเห็นเหล่าสาวกตามเป็นจริงว่า ท่านเหล่านี้ตั้งอยู่ในมรรค เหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 244

ตั้งอยู่ในผล. บทว่า เอสาพุทฺธาน วนฺทนา ความว่า การกระทำให้

ประจักษ์แก่ตนซึ่งโลกุตรธรรม อันเป็นสรีรธรรมของพระศาสดาและเป็น

อริยภาวะของพระอริยสาวกทั้งหลายอันใด อันนั้นเป็นการถวายบังคมคือความ

น้อมไปในพระคุณตามความเป็นจริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวก-

พุทธะทั้งหลาย.

พระเถรีได้ประกาศความที่พระศาสดาเป็นผู้มีอุปการะมากแก่โลก แม้

ด้วยคาถาสุดท้ายว่า พหูน วต อตฺถาย เป็นต้น แต่โดยความ. คำที่

ไม่จำแนกไว้ในที่นี้รู้ได้ง่ายทั้งนั้น.

บางคราว พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ

กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี พระองค์เองก็ประทับอยู่ ณ สำนักภิกษุณี

กรุงเวสาลี ในเวลาเช้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาต เสวยภัตตาหารแล้ว ก็ยับยั้งอยู่

ด้วยสุขในผลสมาบัติตามเวลาที่กำหนดไว้ในสถานที่พักกลางวันของพระองค์

ออกจากผลสมาบัติพิจารณาการปฏิบัติของพระองค์เกิดโสมนัสรำพึงถึงอายุสัง-

ขารของพระองค์อยู่ ก็ทรงรู้ว่าอายุสังขารเหล่านั้นสิ้นแล้ว ทรงดำริอย่างนี้ว่า

ถ้ากระไร จำเราจะไปพระวิหารขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้วอำลา

พระเถระทั้งหลาย และเพื่อนสพรหมจารีทุกรูป ซึ่งเป็นที่เจริญใจของตน พึง

มาปรินิพพานเสียในที่นี้นี่แหละ ภิกษุณี ๕๐๐ รูป ผู้เป็นบริวารของพระนาง

ก็ได้มีความปริวิตกเหมือนพระเถรี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในคัมภีร์

อปทานว่า

ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นประทีป

ส่องโลกให้สว่างไสวเป็นสารถีฝึกนรชน ประทับอยู่ ณ

กูฏาคารศาลาป่ามหาวันกรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระมหา-

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๕๗ มหาปชาบดีโคตมีเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 245

โคตมีภิกษุณี พระมาตุจฉาของพระชินพุทธเจ้า อยู่ใน

สำนักนางภิกษุณีในพระบุรีอันรื่นรมย์นั้น พร้อมด้วย

ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึงพ้นจากกิเลสแล้ว พระมหาปชา-

บดีโคตมีนั้น อยู่ในที่สงัดตรึกนึกคิดอย่างนี้ว่า การ

ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็ดี ของพระอัครสาวกก็ดี

ของพระราหุล พระอานนท์ และพระนันทะก็ดี เรา

จะไม่ได้เห็น จำเราที่พระโลกนาถผู้แสวงหาคุณอัน

ใหญ่ ทรงอนุญาตแล้ว พึงปลงอายุสังขารแล้วนิพพาน

ก่อนการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าหรือคู่พระอัคร-

สาวก พระมหากัสสป พระนันทะ พระอานนท์ และ

พระราหุล พระภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ รูป ก็ได้ตรึกอย่างนั้น

เหมือนกัน แม้พระเขมาภิกษุณีเป็นต้น ก็ได้ตรึก

เช่นนี้เหมือนกัน ครั้งนั้น เกิดแผ่นดินไหว กลอง

ทิพย์ บันลือลั่นขึ้นเอง ทวยเทพที่สิงอยู่ในสำนัก

ภิกษุณี ถูกความโศกบีบคั้น พร่ำเพ้ออยู่อย่างน่าสงสาร

หลังน้ำตาแล้วในที่นั้น ภิกษุณีทุก ๆ รูป พร้อมด้วย

ทวยเทพเหล่านั้นเข้าไปหาพระมหาโคตมีภิกษุณี ซบ

ศีรษะแทบพระบาทแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า

พวกเราถูกหยดน้ำคือวิมุตติรดแล้วในสำนักพระภิกษุณี

นั้นมาด้วยกัน อยู่ในที่ลับ แผ่นดินนั้นก็ไหวหวั่นสั่น

สะเทือน กลองทิพย์ ก็บันลือลั่นขึ้นเอง และเราได้ยิน

เสียงคร่ำครวญ ข้าแต่พระโคตมีจะต้องมีเหตุอะไรเกิด

ขึ้นแน่ ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้ตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 246

บอกถึงเหตุตามที่ตนปริวิตกแล้วทุกประการ ลำดับนั้น

พระภิกษุณีทุก ๆ รูป ก็ได้บอกถึงเหตุที่ตนปริวิตก

แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าพระแม่เจ้าชอบใจ

การนิพพานอันเกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงข้าพเจ้าทั้งหลาย

ก็จักนิพพานกันหมด ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงพระ-

อนุญาต พวกข้าพเจ้าได้ออกจากเรือนจากภพพร้อม

ด้วยพระแม่เจ้า ก็จักไปสู่นิพพานบุรี อันยอดเยี่ยม

พร้อมกับพระแม่พระแม่เจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักไป

พร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน พระมหาปชาบดีโคตมี

ได้ตรัสว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพานเราจักว่า

อะไรเล่า แล้วได้ออกจากสำนักภิกษุณีไปพร้อมกับ

ภิกษุณีทั้งหมด ในครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมี

ภิกษุณี ได้กล่าวกะทวยเทพทั้งหลายที่สิงอยู่ ณ

สำนักภิกษุณีว่า จงอดโทษแก่เราเถิด การเห็น

สำนักภิกษุณีของเรานี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย

ในที่ใดไม่มีความแก่หรือความตาย ไม่มีการประกอบ

ด้วยสัตว์และสังขาร อันไม่เป็นที่รักไม่มีการพลัด

พรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ที่นั้นนักปราชญ์

กล่าวว่า เป็นอสังขตสถาน พระโอรสของพระสุคต

ทั้งหลายที่ยังไม่ปราศจากราคะ ได้สดับคำของพระนาง

นั้นเป็นผู้โศกกำสรดปริเทวนาการว่า น่าสังเวชหนอ

พวกเราเป็นคนมีบุญน้อย สำนักนางภิกษุณีนี้ จะว่าง

เปล่า เว้นภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีผู้ชิโนรสจะไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 247

ปรากฏ เปรียบเหมือนดวงดาวทั้งหลายไม่ปรากฏใน

เวลาสว่างฉะนั้น พระโคตมีภิกษุณีจะไปสู่นิพพาน

พร้อมกับภิกษุณี ๕๐๐ รูปเหมือนกับแม่น้ำคงคาไหลไป

สู่สาครพร้อมกับแม่น้ำ ๕๐๐ สาย ฉะนั้น อุบาสิกา

ทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาเห็นพระโคตมีภิกษุณีนั้น กำลัง

เสด็จไปตามถนน ได้พากันออกจากเรือนหมอบลงแทบ

เท้าแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายเลื่อมใสในพระแม่-

เจ้า พระแม่เจ้าจะละทิ้งข้าพเจ้าทั้งหลายไว้ให้เป็นคน

อนาถาเสียแล้ว พระแม่เจ้ายังไม่สมควรที่จะปรินิพ-

พาน อุบาสิกาเหล่านั้นถูกความอยากให้ท่านอยู่บีบคั้น

แล้วเพื่อจะให้อุบาสิกาเหล่านั้นละเสียซึ่งความโศกพระ

เถรีจึงได้กล่าวอย่างเพราะพริ้งว่า อย่าร่องไห้ไปเลยลูก

เอ๋ย วันนี้เป็นเวลารื่นเริงของท่านทั้งหลาย ความทุกข์

เราก็กำหนดรู้แล้ว ตัณหาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ เราก็

เว้นขาดแล้ว ความดับทุกข์เราก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว ทั้ง

มรรคเราก็ได้อบรมดีแล้ว. พระศาสดาเราก็ได้บำรุง

แล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราก็ได้ทำเสร็จแล้ว

ภาระอันหนักเราก็ปลงลงแล้ว ตัณหาอันนำไปในภพ

เราก็ถอนเสียแล้ว คนทั้งหลายออกจากเรือนบวชไม่มี

เรือน เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นเราก็บรรลุแล้ว

โดยลำดับ สังโยชน์ทุกอย่างก็หมดไป. พระพุทธเจ้า

และพระสัทธรรมของพระองค์มิได้บกพร่อง ยังดำรง

อยู่ตราบใด กาลเวลาที่เรานิพพานก็ดำรงอยู่ตราบนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 248

ลูกเอ๋ย อย่าได้เศร้าโศกถึงเราเลย พระโกณฑัญญะ

พระอานนท์และพระนันทะเป็นต้นก็ยังอยู่ พระราหุล

พุทธชิโนรสก็ยังอยู่ พระสงฆ์ก็อยู่ร่วมกันเป็นสุข พวก

เดียรถีย์ก็หายโง่ หายตระด้างแล้ว.

ลูกเอ๋ย ยศของพระผู้เป็นวงศ์ของพระเจ้าโอก-

กากราช ถูกย่องว่า ย้ำยีผู้เป็นมาร กาลเวลาสำหรับ

การนิพพาน เป็นสมบัติของเรามิใช่หรือ.

ลูกเอ๋ย ความปรารถนาอันใดของเรา มีมาเป็น

เวลาช้านาน ความปรารถนาอันนั้น ก็สำเร็จแก่เรา

ในวันนี้ เวลานี้เป็นเวลาที่จะลั่นกลองอานันทเภรี [ตี

กลองแสดงความยินดี] น้ำตาของท่านทั้งหลายจะมี

ประโยชน์อะไรเล่า ถ้าท่านทั้งหลายจะมีความเอ็นดู

ทั้งมีความกตัญญูในเราไซร้ ขอให้ท่านทุกคน จงทำ

ความเพียรมั่น เพื่อความดำรงอยู่แห่งพระสัทธรรมเถิด

พระสัมพุทธเจ้าอันเราทูลอ้อนวอน จึงได้ประทาน

บรรพชาแก่สตรีทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราร่าเริง ฉัน

ใด ท่านทั้งหลายจึงเจริญรอยตามซึ่งความร่าเริงนั้น

ฉันนั้นเถิด ครั้นพระเถรีพร่ำสอนอุบาสิกาเหล่านี้แล้ว

เสด็จนำหน้า ภิกษุณีทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

ถวายบังคมแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระสุคต

หม่อมฉันเป็นพระมารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีร-

เจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ข้าแต่พระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 249

โลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุข อันเกิดจาก

พระสัทธรรมให้หม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดม หม่อม

ฉันเป็นผู้อันพระองค์ทรงทำให้เกิด ข้าแต่พระสุคต

รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต

ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์

ก็ทรงทำให้เจริญเติบโตแล้ว พระองค์อันหม่อนฉันให้

ดูดดื่มน้ำมัน อันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ ส่วน

หม่อมฉัน พระองค์ก็โปรดให้ดูดดื่มน้ำมันคือธรรมอัน

สงบอย่างยิ่งแล้ว ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ชื่อว่ามิ

ได้ทรงเป็นหนี้หม่อมฉัน เพราะการรักษาไว้ซึ่งพันธะ

อันสตรีทั้งหลายผู้อยากได้บุตรวอนขออยู่ ก็ย่อมจะได้

บุตรเช่นนั้น สตรีที่เป็นพระมารดาของพระนราธิบดีมี

พระเจ้ามันธาตุราชเป็นต้น ขอว่าเป็นมารดาในห้วง

มหรรณพคือภพ ข้าแต่พระโอรส หม่อนฉันผู้จมดิ่ง

อยู่ในห้วงมหรรณพคือภพ อันพระองค์ให้ข้ามสาครคือ

ภพแล้ว พระนามว่ามเหสีพันปีหลวง สตรีทั้งหลายได้

ง่าย พระนามว่าพระพุทธมารดา สตรีทั้งหลายได้ยาก

อย่างยิ่ง ข้าแต่พระมหาวีระ ก็พระนามว่าพระพุทธ-

มารดานั้นหม่อมฉันได้แล้ว ความปรารถนาไม่ว่าน้อย

ใหญ่ของหม่อนฉันทั้งหมดนั้น หม่อมฉันได้บำเพ็ญ

แล้วกับพระองค์ หม่อมฉันปรารถนาเพื่อจะทิ้งร่างนี้

นิพพาน ข้าแต่พระมหาวีระผู้ทำที่สุดทุกข์ เป็นผู้นำ

ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตแก่หม่อมฉันเถิด ขอได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 250

โปรดทรงเหยียดออกซึ่งพระยุคลบาท อันเกลื่อน

กล่นไปด้วยลายจักร และธงอันละเอียดอ่อนเหมือน

กับดอกบัวเถิด หม่อมฉันจะถวายบังคมพระยุคล-

บาทนั้น จะขอทำความรักเยี่ยงโอรสแด่พระองค์

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ ขอพระองค์โปรดทรง

แสดงพระวรกาย ทำพระสรีระที่สุกปลั่งดังกองทอง

ให้เป็นเหตุปรากฏ หม่อมฉันจึงจะเข้าสู่ปรินิพพาน

พระเจ้าข้า.

พระชินพุทธเจ้า ก็ได้ทรงแสดงพระวรกาย ที่

ประกอบด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

ประดับด้วยพระรัศมี อันงามเหมือนดวงอาทิตย์ส่อง

แสงอ่อน ๆ ในยามสนธยา กะพระมาตุจฉาเจ้า

ลำดับนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ได้ซบพระเศียร

ลงแทบพื้นพระบาทอันเป็นประกาย คล้ายดอกบัวบาน

มีพระรัศมีงามดังดวงอาทิตย์ทอแสงอ่อน ๆ พระนาง

ได้กราบทูลว่า หม่อมฉันขอน้อมนมัสการ พระผู้เป็น

อาทิตยวงศ์จอมนรชน ผู้ทรงเป็นธงไชยแห่งอาทิตย-

วงศ์ หม่อมฉันมรณะเป็นครั้งสุดท้าย หม่อมฉันจะไม่

ได้เห็นพระองค์อีก ข้าแต่พระองค์ผู้เลิศแห่งโลก

ธรรมดาสตรีทั้งหลาย ล้วนแก่ก่อโทษทุกอย่างแล้วก็

พากันตายไป ถ้าโทษไร ๆ ของหม่อมฉันมีอยู่ ก็ขอ

พระองค์ได้โปรดกรุณา อดโทษแก่หม่อมฉันด้วยเถิด

อนึ่ง หม่อมฉันได้ทูลซ้ำ ๆ ซาก ๆ ให้สตรีทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 251

ได้บวช ข้าแต่พระนราสภ ถ้าโทษของหม่อมฉันใน

ข้อนี้มีอยู่ ขอได้โปรดทรงอดโทษนั้นด้วยเถิด ข้าแต่

พระมหาวีระ ทรงไว้ซึ่งการอดโทษ ภิกษุณีทั้ง

หลายอันหม่อมฉันสั่งสอนแล้ว ตามที่พระองค์ทรง

อนุญาต ถ้าในข้อนั้นมีการแนะนำยาก ขอได้โปรด

ทรงอดโทษข้อนั้นด้วยเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนโคตมี

ผู้ประดับไปด้วยคุณ โทษที่จะพึงอดยังจะมีอะไรใน

เมื่อบอกกล่าวเสีย เมื่อท่านจะไปนิพพาน ตถาคตจัก

กล่าวอะไรแก่ท่านให้มากไปเล่า เมื่อภิกษุสงฆ์ของ

ตถาคตบริสุทธิ์ไม่บกพร่อง ท่านจะออกไปเสียจากโลก

นี้ก็ควร เหมือนเพราะเป็นในเวลาที่ยังมีแสงสว่าง

ของอาทิตย์ที่อัสดงคตแล้ว รอยในดวงจันทร์ก็ออกไป

ฉะนั้น ภิกษุณีทั้งหลาย นอกจากพระมหาปชาบดีโคต-

มีเถรีพากันทำประทักษิณพระชินะพุทธเจ้าผู้เลิศ พระ-

องค์เหมือนหมู่ดาวที่ติดตามดวงจันทร์ เวียนขวาภูเขา

สิเนรุฉะนั้น หมอบลงแทบพระบาทแล้ว ยืนจ้องดู

พระพักตร์ของพระพุทะเจ้ากราบทูลว่า จักษุของหม่อม

ฉันทั้งหลาย ไม่เคยอิ่มด้วยการเห็นพระองค์ โสตของ

หม่อมฉันทั้งหลาย ไม่เคยอิ่มด้วยภาษิตของพระองค์

จิตของหม่อมฉันทั้งหลายดวงเดียวเท่านั้น อิ่มด้วยรส

แห่งธรรมของพระองค์ ข้าแต่พระผู้เป็นจอมนรชน

เมื่อพระองค์บันลืออยู่ในบริษัท กำจัดเสียซึ่งทิฏฐิและ

มานะ ชนเหล่าใดเห็นพระพักตร์ของพระองค์ ชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 252

เหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณ

ชนเหล่าใดประณตน้อมพระยุคลบาทของพระองค์ซึ่งมี

พระองคุลียาว มีพระนขาแดงงดงาม มีส้นพระบาท

ยาว แม้ชนเล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ.

ข้าแต่พระนโรดม ชนเหล่าใดได้สดับพระดำรัส

ของพระองค์อันไพเราะน่าปลื้มใจ กำจัดโทษเป็น

ประโยชน์เกื้อกูลชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ ข้าแต่

พระมหาวีระ หม่อมฉันเอาใจใส่การบูชาพระบาทของ

พระองค์ ข้ามพ้นทางกันดารคือสงสารได้ ด้วยพระ-

สุนทรกถาของพระองค์ผู้ทรงศิริจึงชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ

ลำดับนั้นพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ผู้มีวัตรอันงาม

ประกาศในหมู่พระภิกษุสงฆ์แล้วไหว้พระราหุล พระ

อานนท์และพระนันทะ และได้ตรัสดังนี้ว่า ลูกเอ๋ย แม่

เบื่อหน่ายในร่างกายซึ่งเสมอด้วยที่อยู่ของอสรพิษเป็น

ที่พักของโรค เป็นเรือนร่างของทุกข์ เป็นที่โคจรของ

ชราและมรณะ อาเกียรณ์ไปด้วยมลทินโทษต่างๆ

ต้องอาศัยผู้อื่น ปราศจากเรี่ยวแรง ด้วยเหตุนั้น แม่จึง

ปรารถนาจะนิพพานเสีย ลูกเอ๋ย พ่อจงเข้าใจแม่เถิด

พระนันทเถระและพระราหุลผู้น่ารัก เป็นผู้ปราศจาก

ความโศก ไม่มีอาสวะ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว มีปัญญามี

ความเพียรก็ได้คิดถึงธรรมดาว่า น่าติโลก ที่ปัจจัยปรุง

แต่ง ปราศจากแก่นสารเปรียบด้วยต้นกล้วย เช่นเดียว

กับมายากลและพยัพแดด นอกจากนี้ยังไม่มั่นคง พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 253

ปชาบดีโคตมีเถรี พระมาตุจฉาของพระชินพุทธเจ้า

พระองค์นี้เป็นผู้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้าก็ต้องถึงมรณะ ซึ่ง

ไม่เที่ยงเป็นสังขตธรรมทุกอย่างในที่ใด ก็ครั้งนั้นท่าน

พระอานนท์พุทธอนุชา ซึ่งเป็นคนสนิทของพระชิน-

พุทธเจ้ายังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ท่านหลั่งน้ำตาร้องไห้

คร่ำครวญอย่างน่าสงสาร ณ ที่นั้นว่า พระโคตมีเถรี

ตรัสอยู่หลัด ๆ ก็เสด็จไปนิพพานไม่นานเลย แม่พระ-

พุทธเจ้าก็คงเสด็จไปนิพพานแน่นอน เปรียบเหมือน

ไฟที่หมดเชื้อแล้วฉะนั้น พระโคตมีเถรีได้ตรัสกะท่าน

พระอานนท์ผู้มีสุตะคือปริยัติอันล้ำลึกดังสาคร[พหูสูต]

เอาใจใส่ในการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าซึ่งพร่ำรำพัน

อยู่ดังกล่าวมาว่า ลูกเอ๋ย เมื่อกาลน่าร่าเริงปรากฏขึ้น

แล้ว พ่อไม่ควรที่จะเศร้าโศกถึงการตายของแม่ การ

นิพพานของแม่ใกล้เข้ามาแล้วลูกเอ๋ย พระศาสดา พ่อ

ได้ทูลเชื้อเชิญแล้วจึงได้ทรงอนุญาตให้แม่บวช ลูกเอ๋ย

พ่ออย่าเสียใจไปเลยความยากลำบากของพ่อมีผล ก็บท

ใดอาจารย์ฝ่ายเดียรถีย์เก่า ๆ ไม่เห็น บทนั้นเด็กหญิงซึ่ง

มีอายุ ๗ ขวบก็รู้แจ้งประจักษ์แล้ว พ่อจงรักษาพระ-

พุทธศาสนาไว้ แม่เห็นพ่อครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายบุคคล

ไปในทิศใดแล้วไม่ปรากฏ แม่ก็จะไปในทิศนั้นนะลูก

ในกาลบางคราวพระนายกผู้เลิศในโลกกำลังทรงแสดง

ธรรมอยู่ทรงไอแล้ว ครั้งนั้นแม่เกิดสงสารกล่าววาจา

ถวายพระพรว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ขอพระองค์จงมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 254

พระชนม์อยู่นาน ๆ ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์จง

ดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป เพื่อความเกื้อกูลและประ-

โยชน์แก่โลกทั้งปวงเถิด ขออย่าให้พระองค์ทรงพระ

ชราและปรินิพพานเลย พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้

ตรัสกะแม่ผู้กราบทูลเช่นนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนโคตมี

พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่บุคคลจะพึงไหว้เหมือนอย่าง

ที่เธอไหว้อยู่ดอก แม่ได้ทูลถามว่า ก็แลด้วยประการไร

เล่า พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าอันบุคคลไม่พึงไหว้ พระองค์

อันหม่อมฉันทูลถามแล้วโปรดตรัสบอกเหตุนั้นแก่

หม่อมฉันเถิด พระองค์ตรัสตอบว่า เธอจงดูพระสาวก

ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร ใจเด็ดเดี่ยว มีความบาก

บั่นมั่นคงเป็นนิตย์พร้อมเพรียงกัน นี้เป็นการไหว้พระ

พุทธเจ้าทั้งหลาย ต่อแต่นั้นแม่ก็ไปสำนักภิกษุณีอยู่ผู้

เดียว ก็คิดได้ว่า พระนาถะผู้ถึงที่สุดแห่งไตรภพทรง

ป้องกันบริษัทที่สามัคคีกัน เอาเถิด แม่จักปรินิพพาน

เสีย ขออย่าได้เห็นความวิบัตินั้นเลย แม่ครั้นคิดดังนั้น

แล้วได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระผู้เป็นฤษีพระองค์ที่

แล้วได้กราบทูลถึงกาลเป็นที่ปรินิพพานกะพระผู้นำ

พิเศษ ลำดับนั้นพระองค์ได้ทรงอนุญาตว่า จงรู้กาลเอา

เองเถิดโคตมี แม่เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวง

ขึ้นได้แล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกได้เหมือนช้างพังตัดเชือก

แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่แม่มาในสำนักของ

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดเป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 255

๓ แม่ก็บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้า

แม่ได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้คือปฏิสัมภิทา ๔

วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ แม่ทำให้แจ้งแล้ว คำสอน

ของพระพุทธเจ้า แม่ได้ทำเสร็จแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนโคตมี

คนพาลเหล่าใดสงสัยในการตรัสรู้ธรรมของสัตว์ทั้ง

หลาย เธอจงแสดงอิทธิฤทธิ์เพื่อให้คนพาลเหล่านั้น

ละทิฏฐิเสีย ครั้งนั้นพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีถวาย

บังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เหาะขึ้นไปสู่อัมพร

แสดงฤทธิ์เป็นอันมากตามพระพุทธานุญาต คือองค์

เดียวเป็นหลายองค์ก็ได้ หลายองค์เป็นองค์เดียวก็ได้

ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง

ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น

ดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ ไม่

แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ

เหมือนนกก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหม-

โลกก็ได้ ทำภูเขาสิเนรุให้เป็นคัน พลิกมหาปฐพีพร้อม

ด้วยรากทำให้เป็นตัวร่ม กั้นร่มเดินจงกรมในอากาศ

ทำโลกให้เป็นควันประหนึ่งเวลาอาทิตย์ ๖ ดวง อุทัย

ขึ้น และทำโลกนั้นให้เกลื่อนด้วยพวงดอกไม้ตาข่าย

เหมือนคล้องพวงดอกไม้ไว้ยอดเขายุคนธร เอาพระ-

หัตถ์ข้างเดียวกำภูเขามุจลินท์ ภูเขาสิเนรุ ไว้ในระ-

หว่างมูลนทีทั้งหมด เหมือนดังกำเมล็ดพันธุ์ผักกาด

เอาปลายนิ้วมือบังดวงอาทิตย์พร้อมทั้งดวงจันทร์ไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 256

ทัดทรงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไว้พันดวง เหมือนทัด

ทรงพวงมาลัยฉะนั้น แบกน้ำในสาครทั้ง ๔ ไว้ได้ด้วย

ฝ่าพระหัตข้างเดียว บันดาลฝนตกห่าใหญ่มีอาการ

ปานประหนึ่งหลั่งน้ำเหนื่อยอดเขายุคนธร พระเถรี

นั้น เนรมิตเป็นพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยบริษัท ณ

พื้นนภากาศ แสดงให้เป็นครุฑ คชสาร ราชสีห์

ต่างบันลือเสียงกึกก้องอยู่ องค์เดียวเนรมิตให้เป็นคณะ

ภิกษุณีนับไม่ถ้วน แล้วก็อันตรธานกลับเป็นองค์เดียว

กราบทูลพระมหามุนีว่า ข้าแต่พระมหาวีระผู้มีพระ-

จักษุพระมาตุจฉาของพระองค์เป็นผู้ทำตามคำสอนของ

พระองค์ บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับแล้ว ขอ

ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์ พระเถรีนั้นครั้น

แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ แล้ว ลงจากพื้นนภากาศถวายบังคม

พระผู้ส่องโลกแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วน

ข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหามุนี ผู้นำโลก

หม่อมฉันมีอายุได้ ๑๒๐ ปีนับแต่เกิด เพียงเท่านี้ก็พอ

แล้ว หม่อมฉันจักขอทูลลานิพพาน.

ครั้งนั้น บริษัททั้งหมดนั้นต่างพิศวงยิ่งนักจึง

ได้พากันกระทำอัญชลีถามว่า ข้าแต่พระแม่เจ้าเป็น

อย่างไรพระแม่เจ้า จึงบากบั่นแสดงฤทธิ์ที่ไม่มีอะไร

เทียบได้ พระมหาปชาบดีเถรีได้กล่าวบุรพจรรยา

ของพระองค์ดังต่อไปนี้ว่า

ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไปพระชินพุทธเจ้าพระ

นามว่าปทุมุตตระ ผู้มีจักษุในธรรมทั้งปวง เป็นผู้นำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 257

ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้วครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในตระกูล

อำมาตย์ ซึ่งสมบูรณ์ด้วยเครื่องอุปการะทุกสิ่ง มั่งคั่ง

รุ่งเรือง ร่ำรวย ในกรุงหังสวดี บางครั้งข้าพเจ้า

พร้อมด้วยบิดานำหน้าหมู่ทาสีมีบริวารมาก เข้าไปเฝ้า

พระนราสภพระองค์นั้น ได้เห็นพระชินพุทธเจ้า

ผู้ปานดังท้าววาสวะ ยังฝนคือธรรมให้ตกอยู่ เป็น

ไม่มีอาสวะเกลื่อนกล่นไปด้วยระเบียบแห่งรัศมี เช่น

กับดวงอาทิตย์ในสรทกาลแล้ว ทำจิตให้เลื่อมใส และ

สดับสุภาษิตของพระองค์ เห็นพระผู้นำนรชนทรง

สถาปนานางภิกษุณีผู้เป็นพระมาตุจฉาไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะ จึงถวายปัจจัยเป็นอันมากเป็นมหาทานแด่

พระผู้เลิศกว่านรชนผู้คงที่พระองค์นั้น พร้อมทั้งพระ

สงฆ์ตลอด ๗ วัน แล้วได้หมอบลงแทบพระบาทมุ่ง

ปรารถนาตำแหน่งนั้น. ลำดับนั้น พระผู้เป็นฤาษี

พระองค์ที่ ๗ ได้ตรัสในบริษัทใหญ่ว่า สตรีใดได้นิมนต์

พระผู้นำโลกพร้อมด้วยพระสงฆ์ ให้ฉันตลอด ๗ วัน

เราจักพยากรณีสตรีนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวไว้

ให้ดี ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป พระศาสดาพระนาม

ว่าโคดม ซึ่งทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราชจัก

เป็นศาสดาในโลก สตรีผู้นั้น จักได้เป็นธรรมทายาท

ของพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรม-

นิรมิต จักได้เป็นสาวิกาของพระศาสดามีนามว่าโคตมี

จักได้เป็นพระมาตุจฉาบำรุงเลี้ยงชีวิตของพระพุทธเจ้า

พระองค์นั้น จักได้ความเป็นเลิศของภิกษุณีทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 258

ฝ่ายผู้รู้ราตรีนานครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้สดับพุทธพยา-

กรณ์นั้นแล้ว มีใจปราโมทย์บำรุงพระชินพุทธเจ้าด้วย

ปัจจัยทั้งหลายตราบเท่าสิ้นชีวิต ต่อจากนั้น ข้าพเจ้า

ได้ทำกาลกิริยา ไปบังเกิดในพวกเทพเหล่าดาวดึงส์

ผู้ซึ่งให้สำเร็จสิ่งน่าใคร่ได้ทุกประการ ล่วงล้ำทวยเทพ

อื่นๆ ด้วยองค์ ๑๐ ประการ คือด้วยรูป เสียง กลิ่น

รส ผัสสะ อายุ วรรณะ สุข ยศและรุ่งเรืองล้ำทวยเทพ

อื่น ๆ ด้วยอธิปไตยความเป็นใหญ่ ข้าพเจ้าได้เป็นพระ

มเหสีผู้น่าเอ็นดูของท้าวอมรินทร์ในสวรรค์ชั้นดาว

ดึงส์นั้น ก็ข้าพเจ้าท่องเที่ยวอยู่ในสงสารเป็นผู้อันพายุ

คือกรรมพัดพาไปเกิดในตำบลบ้านของทาสในอาณา

เขตของพระเจ้ากาสี ครั้งนั้นทาส ๕๐๐ ถ้วนอาศัยอยู่

ในบ้านนั้น ข้าพเจ้าได้เป็นภรรยาของหัวหน้าทาสใน

ตำบลบ้านนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ได้เข้า

ไปบ้านเพื่อบิณฑบาต ข้าพเจ้ากับญาติทุกคน เห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นก็มีความยินดีช่วยกันสร้าง

กุฏิ ๕๐๐ หลัง อุปัฏฐากอยู่ ๔ เดือนแล้วถวายไตรจีวร

ข้าพเจ้ากับสามีก็พากันท่องเที่ยวไป จุติจากนั้นข้าพเจ้า

พร้อมกับสามีก็ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บัดนี้ภพสุด

ท้ายข้าพเจ้าเกิดในกรุงเทวทหะ พระชนกของข้าพเจ้า

พระนามว่า อัญชนศากยะ พระชนนีของข้าพเจ้า

พระนามว่าสุลักขณา ต่อมาข้าพเจ้าได้ไปพระราช-

นิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทนะในกรุงกบิลพัสดุ์ สตรี

นอกนั้นเกิดในตระกูลศากยะ แล้วก็ไปเรือนของพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 259

เจ้าศากยะด้วยกัน แต่ข้าพเจ้าประเสริฐกว่าสตรีทุกคน

ได้เป็นผู้บำรุงเลี้ยงพระชินพุทธเจ้า พระโอรสของ

ข้าพเจ้าเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์แล้วได้เป็นพระ

พุทธเจ้า เป็นผู้นำพิเศษ ภายหลังข้าพเจ้าพร้อมด้วย

เจ้าสากิยานี ๕๐๐ จึงได้บวช แล้วก็ได้ประสบสันติสุข

พร้อมด้วยเจ้าสากิยานีผู้เป็นบัณฑิต สามีของข้าพเจ้า

ที่ได้ทำบุญร่วมกันมาแต่ชาติก่อนในครั้งนั้น เป็นผู้ทำ

มหาสมัยประชุมใหญ่อันพระสุคตทรงอนุเคราะห์แล้ว

ก็พากันบรรลุพระอรหัต.

ภิกษุณีทั้งหลาย นอกจากพระมหาปชาบดีเถรี

นั้นได้พากันเหาะขึ้นสู่นภากาศ เป็นผู้ประกอบด้วย

มหิทธิฤทธิ์รุ่งโรจน์เหมือนดวงดาวทั้งหลาย อันโคจร

เป็นกลุ่มกันไป ครั้งนั้นภิกษุณีเหล่านั้นได้แสดงฤทธิ์มิ

ใช่น้อยเหมือนนายช่างทองผู้ชำนาญการทำทอง แสดง

เครื่องประดับหลากชนิด ฉะนั้น.

ในครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น แสดงปาฏิหาริย์ได้

วิจิตรหลายอย่าง ทำพระมุนีผู้เป็นพระศาสดาผู้ประ-

เสริฐ พร้อมทั้งบริษัทให้ชอบใจแล้ว ได้พากันลง

จากนภากาศถวายบังคมพระศาสดาพระผู้เป็นฤษีพระ-

องค์ที่ ๗ อันพระศาสดาผู้เป็นยอดของนรชนทรงอนุ-

ญาตแล้วจึงได้นั่ง ณ สถานที่อันสมควร แล้วได้กราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระมหาวีระ โอหนอพระโคตมีเถรี เป็น

ผู้อนุเคราะห์ข้าพระองค์ทุก ๆ คน พวกข้าพระองค์อัน

บุญบารมีของพระองค์อบรมแล้ว จึงพากันบรรลุธรรม

เป็นที่สิ้นอาสวะ ข้าพระองค์ทั้งหลายเผากิเลสได้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 260

ถอนภพทั้งปวงได้แล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกเหมือนช้าง

ตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่. การที่ข้าพระองค์

ทั้งหลายมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ พวกข้าพระองค์บรรลุ

แล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้า พวกข้าพระ-

องค์ก็ได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา

๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพระองค์ทั้งหลายทำ

ให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าอันข้าพระองค์

ทั้งหลายได้ทำเสร็จแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ

ชำนาญในฤทธิ์และทิพโสตธาตุ ข้าแต่พระมหามุนี

ข้าพระองค์ทั้งหลายชำนาญเจโตปริยญาณ รู้ปุพเพนิ-

วาสญาณชำระทิพยจักษุได้แล้ว สิ้นอาสวะหมดแล้ว

บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์ทั้ง

หลายมีญาณในอรรถธรรมนิรุตติและปฏิภาณ ญาณนั้น

เกิดที่สำนักของพระองค์ ข้าแต่พระมหามุนีผู้ทรงเป็น

ผู้นำ พระองค์เป็นผู้อันข้าพระองค์ทั้งหลายผู้มีเมตตา

จิต บำรุงแล้ว ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตให้ข้า-

พระองค์ทั้งหมดนิพพานเถิด.

พระชินพุทธเจ้าตรัสว่า เธอทั้งหลายเมื่อพูด

อย่างนี้ว่า จักนิพพาน ตถาคตจักไปว่าอะไร ก็บัดนี้

เธอทั้งหลายจงสำคัญกาลเวลาของเธอเอาเองเถิด.

ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีพระปชาบดีโคตมี

เถรีเป็นต้น ถวายบังคมพระชินพุทธเจ้าแล้วได้พากัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 261

ลุกจากที่นั่งนั้นมา พระธีรเจ้าผู้นำเลิศของโลกพร้อม

ด้วยหมู่ชนเป็นอันมาก ได้เสด็จไปส่งพระมาตุจฉาจน

ถึงซุ้มประตู.

ครั้งนั้นพระปชาบดีโคตมีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณี

ทั้งหมด ได้พากันหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระ

ศาสดาผู้เป็นพงศ์พันธุ์ ของโลกกราบทูลว่า นี้เป็น

การถวายบังคมพระยุคลบาทครั้งสุดท้ายของหม่อมฉัน

การได้เห็นพระองค์ผู้เป็นนาถะของโลกครั้งนี้ ก็เป็น

ครั้งสุดท้าย หม่อมฉันจักไม่ได้เห็นพระพักตร์ของ

พระองค์ซึ่งมีอาการดุจอมตะอีก ข้าแต่พระมหาวีระ

ผู้เลิศของโลก การถวายบังคมของหม่อมฉันจักไม่

สัมผัสพระยุคลบาทของพระองค์ ซึ่งละเอียดอ่อนดี

วันนี้หม่อมฉันจะนิพพาน.

พระศาสดาตรัสว่า ประโยชน์อะไรของเธอ

ด้วยรูปนี้ในปัจจุบัน รูปนี้ล้วนปัจจัยปรุงแต่ง ไม่น่า

ยินดีเป็นของต่ำทราม. พระมหาปชาบดีเถรีพร้อมด้วย

ภิกษุณีเหล่านั้น ไปสำนักของภิกษุณีของตนแล้ว นั่ง

พับเพียบบนอาสนะอันประเสริฐ.

ครั้งนั้น อุบาสิกาทั้งหลายในพระนครนั้นผู้มี

ความเคารพรักในพุทธศาสนา ได้สดับประพฤติเหตุ

ของพระเถรี ก็พากันเข้าไปหา นมัสการแทบบาทมูล

เอากรข้อนอุระประเทศร้องไห้คร่ำครวญอย่างน่าสง-

สาร เต็มกลั้นด้วยความโศกเศร้า ก็ล้มลงที่พื้นพสุธา

ดุจเถาวัลย์รากขาดฉะนั้น พากันรำพันว่า ข้าแต่พระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 262

แม่เจ้า ผู้เป็นนาถะให้ที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย พระแม่

เจ้าอย่าละทิ้งข้าพเจ้าทั้งหลายไปสู่นิพพานเลย ข้าพเจ้า

ทุกคนขอซบเกล้าอ้อนวอน. พระมหาปชาบดีเถรีลูบ

ศีรษะของอุบาสิกา ผู้มีศรัทธา มีปัญญาซึ่งเป็นหัวหน้า

ของอุบาสิกาเหล่านั้นกล่าวดังนี้ว่า ลูกเอ๋ย ความโศก

สลด ซึ่งตกอยู่ในบ่วงแห่งมารไม่ควรเลย สังขตธรรม

ทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง การพลัดพรากกันเป็นที่สุด หวั่น

ไหวไปมา. ต่อแต่นั้น พระเถรี ก็สละอุบาสิกา

เหล่านั้น เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ

จตุตถฌาน แล้วเข้าอากาสานัญจายตนฌาน วิญญา-

ณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญ-

ญานาสัญญายตนฌานตามลำดับแล้ว พระปชาบดี

โคตมีเถรีก็เข้าฌานทั้งหลายใดยปฏิโลมแล้ว ก็เข้า

ปฐมฌานไปตราบเท่าถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถ-

ฌานนั้นแล้วก็ดับ เหมือนเปลวประทีปที่ปราศจากเชื้อ

แล้วดับไปฉะนั้น ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ สายฟ้าก็

ตกลงจากนภากาศ กลองทิพย์ก็บันลือลั่นขึ้นเอง ทวย-

เทพพากันคร่ำครวญ และฝนดอกไม้ก็ตกจากอากาศ

ลงยังพื้นแผ่นดิน แม้ขุนเขาเมรุราชก็กัมปนาทหวั่น

ไหวเหมอนนักฟ้อนรำในท่ามกลางเวทีฟ้อนรำ ฉะนั้น

สาครก็ปั่นป่วนตีฟองคะนองเพราะความโศก ทวยเทพ

นาค อสูรและพรหมต่างก็พากันสลดใจ กล่าวขึ้นใน

ทันใดนั้นเองว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เหมือน

อย่างพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีนี้ ถึงความย่อยยับไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 263

แล้ว และพระเถรีทั้งหลาย ผู้ทำตามคำสอนของพระ

ศาสดา ซึ่งแวดล้อมพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรีนี้ก็

พากันปรินิพพาน เหมือนเปลวประทีปหมดเชื้อฉะนั้น

โอ้ ความพบกัน ก็มีความพลัดพรากกันเป็นที่สุด

โอ้ สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งล้วนแต่ไม่เที่ยง โอ้ ชีวิต

มีความหายสูญเป็นที่สุด ความพิไรรำพัน ได้มีแล้ว

ด้วยประการฉะนี้.

ในลำดับนั้นเทวดาและพรหม ต่างก็ทำความ

ประพฤติตามโลกธรรมตามสมควรแก่กาลแล้ว เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้เป็นยอดฤษี พระ

องค์ที่ ๗.

ครั้งนั้น พระศาสดาได้ตรัสเรียกท่านพระอา-

นนท์ผู้พหูสูตมาสั่งว่า อานนท์ เธอจงไปประกาศ

ให้ภิกษุทั้งหลาย ทราบถึงการนิพพานของพระมารดา

เวลานั้น ท่านพระอานนท์ผู้ร่าเริง ก็ไร้ความร่าเริงมี

ดวงตาเต็มไปด้วยน้ำตา ได้กล่าวด้วยเสียงร้องไห้ว่า

ขอภิกษุทั้งหลายผู้เป็นโอรสของพระสุคต ซึ่งอยู่ใน

ทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศเหนือ

จงมาประชุมกัน ภิกษุณีผู้ทำพระสรีระสุดท้ายของ

พระมุนีให้เติบโตด้วยน้ำมัน มีนามว่าพระปชาบดี

โคตมีเถรีนิพพานถึงความสงบเหมือนดวงดาวทั้งหลาย

เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยฉะนั้น พระเถรีตั้งบัญญัติทำให้

รู้กันทั่วไปว่า เป็นพระพุทธมารดา นิพพานแล้วใน

ที่ใด ถึงคนมี ๕ ตาก็แลไม่เห็น ในที่นั้นพระผู้มีพระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 264

ภาคเจ้า ซึ่งเป็นผู้นำ ทรงเห็นได้ ขอพระโอรสของ

พระสุคตผู้มีความเชื่อในพระสุคต หรือเป็นศิษย์ของ

พระมหามุนี จงทำสักการะแด่พระพุทธมารดาเถิด

ภิกษุทั้งหลายถึงอยู่ไกล ได้ฟังคำประกาศนั้นแล้วก็รีบ

มา บางพวกมาด้วยพุทธานุภาพ บางพวกที่ฉลาดใน

ฤทธิ์ก็มาด้วยฤทธิ์ ต่างช่วยกันยกเอาเตียงที่พระโคตมี

เถรีหลับขึ้นไว้ในเรือนยอด [เมรุ] อันประเสริฐ น่า

รื่นรมย์ ทำด้วยทองล้วนๆ งดงาม ท้าวโลกบาลทั้ง

สี่เอาบ่าเข้ารองรับเรือนยอด ทวยเทพที่เหลือมีท้าว

สักกะเป็นต้นเข้าช่วยรับเรือนยอด ก็เรือนยอดทั้งหมด

มี ๕๐๐ หลัง แท้จริงวิสสกรรมเทพบุตรเนรมิตมีสี

เหมือนดวงอาทิตย์ในสรทกาล ทวยเทพทั้งหลายได้

แบกภิกษุณีทุกๆ รูปที่นอนอยู่บนเตียงแล้ว นำเอา

ออกไปตามลำดับ พื้นนภากาศถูกเอาเพดานบังไว้ทั่ว

ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์พร้อมทั้งดวงดาวซึ่งสำเร็จด้วย

ทองได้ถูกติดประดับไว้ที่เพดานนั้น ธงปฏากได้ถูกยก

ขึ้นไว้เป็นอันมาก จิตกาธารทั้งหลายมีดอกไม้เป็น

เครื่องปกคลุม ดอกบัวที่เกิดขึ้นในอากาศเอาปลายลง

ดอกไม้ผุดขึ้นจากแผ่นดิน ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์

คนมองดูเห็นได้ และดาวทั้งหลายส่องแสงระยิบระยับ

อนึ่ง ดวงอาทิตย์ถึงจะโคจรไปในเวลาเที่ยง ก็ไม่ทำ

ใคร ๆ ให้ร้อน เหมือนดวงจันทร์ ทวยเทพทั้งหลาย

พากันบูชาด้วยของทิพย์คือของหอมและดอกไม้ที่หอม

ตระหลบ และการฟ้อนรำขับร้องดีดสีตีเป่า พวกนาค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 265

อสูรและพรหม ต่างก็พากันบูชาพระพุทธมารดาผู้นิพ-

พานแล้ว กำลังถูกเขานำออกไปตามสติกำลัง ภิกษุณี

ทั้งหลาย ผู้เป็นโอรสของพระสุคต ซึ่งนิพพานแล้ว

ทั้งหมด เชิญไปข้างหน้า พระปชาบดีโคตมีเถรี

พุทธมารดา ผู้อันเทวดาและมนุษย์สักการะเชิญเอาไป

ข้างหลัง เทวดา มนุษย์ พร้อมด้วย นาค อสูรและ

พรหมไปข้างหน้า ข้างหลังพระพุทธเจ้าพร้อมด้วย

พระสาวกเสด็จไปเพื่อบูชาพระมารดา การปรินิพพาน

ของพระพุทธเจ้าหาได้เป็นเช่นนี้ไม่ การปรินิพพาน

ของพระปชาบดีโคตมีเถรี อัศจรรย์ยิ่งนัก ในเวลา

พระพุทธเจ้าเสด็จนิพพาน ไม่มีพระพุทธเจ้าและภิกษุ

ทั้งหลาย มีพระสารีบุตรเป็นต้น เหมือนในเวลา

พรูปชาบดีโคตมีเถรีนิพพาน ซึ่งมีพระพุทธเจ้าและ

ภิกษุทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น ชนทั้งหลายช่วย

กันทำจิตกาธารซึ่งสำเร็จด้วยของหอมล้วนและเกลื่อน

ไปด้วยจุรณแห่งเครื่องหอม แล้วเผาภิกษุณีเหล่านั้น

บนจิตกาธารนั้น ส่วนแห่งสรีระนอกนั้นถูกไฟไหม้สิ้น

เหลือแต่อัฐิ ในเวลานั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าว

วาจาอันให้เกิดความสังเวชว่า พระปชาบดีโคตมีเถรี

เข้านิพพานแล้ว พระสรีระของพระเถรีก็ถูกเผาแล้ว

การนิพานของพระพุทะเจ้าน่าสังเกต อีกไม่นานก็

คงจักมี ต่อจากนั้น ท่านพระอานนท์อันพระพุทธเจ้า

ทรงตักเตือนท่าน ได้น้อมพระธาตุของพระปชาบดี-

โคตมีเถรี ซึ่งอยู่ในบาตรของพระเถรีเข้ามาถวายแด่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 266

พระโลกนาถพระผู้มีพระภาคเจ้าพระผู้เป็นฤษีพระองค์

ที่ ๗ ได้ประคองพระธาตุเหล่านั้นด้วยฝ่าพระหัตถ์แล้ว

ตรัสว่า เพราะสังขารเป็นสภาพไม่เที่ยง โคตมีผู้เป็น

ใหญ่กว่าหมู่ภิกษุณียังต้องนิพพาน เหมือนลำต้นของ

ต้นไม้ใหญ่ที่มีแก่นยืนต้นอยู่ ถึงจะใหญ่โตก็ต้องผุพัง

ไปฉะนั้น ดูเอาเถิดอานนท์ พระพุทธมารดาแม้

นิพพานแล้วเหลือแต่เพียงสรีระ ก็ไม่มีความเศร้าโศก

ปริเทวนาการ.

ท่านพระอานนท์ทูลว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ

พระมารดาของข้าพระองค์ แม้นิพพานแล้วเหลือแต่

เพียงสรีระ ก็ไม่มีความโศกปริเทวนาการ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โคตมี ข้ามสาครคือ

สงสารไปแล้ว ละเว้นเหตุอันทำให้เดือดร้อนได้แล้ว

เป็นผู้เยือกเย็นดับสนิทดีแล้ว อันผู้อื่นไม่ควรเศร้าโศก

ถึง โคตมีเป็นบัณฑิต มีปัญญามากและมีปัญญากว้าง

ขวาง ทั้งเป็นผู้รู้ราตรีนานกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจำไว้อย่างนี้เถิด โคตมี

เป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ ทิพโสตธาตุ และมีความชำนาญ

ในเจโตปริยญาณ รู้ทั่วถึงปุพเพนิวาสญาณ ชำระ

ทิพยจักษุให้หมดจด สิ้นอาสวะหมดแล้ว บัดนี้ภพ

ใหม่ไม่มี ญาณในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติและปฏิภาณ

บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรจะเศร้าโศกถึงโคตมี

นั้น คติของไฟที่ลุกโพลง ถูกแผ่นเหล็กทับแล้วดับไป

โดยลำดับ ใคร ๆ ก็รู้ไม้ได้ฉันใด คติของท่านที่หลุด

พ้นจากกิเลสโดยชอบแล้ว ข้ามพ้นโอฆะคือพันธะทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 267

กามบรรลุอจลบท บทที่ไม่หวั่นไหวแล้ว ก็ไม่มีใครจะรู้

ได้ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นที่พึ่ง

มีสติปัฏฐานเป็นทางดำเนินเถิด เธอทั้งหลายอบรม

โพชฌงค์ ๗ ประการแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ทราบว่า พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ด้วยประ

การฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา

๗. คุตตาเถรีคาถา

[๔๕๗] พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทานโอวาทโปรดข้าพเจ้าว่า

ดูก่อนคุตตา การละบุตร สมบัติและของรักออก

บวช เพื่อประโยชน์แก่นิพพานอันใด เธอจงพอกพูน

นิพพานอันนั้นเนือง ๆ เถิด เธออย่าตกอยู่ในอำนาจ

จิตนะ สัตว์ทั้งหลาย ผู้ไม่รู้แจ้ง ถูกจิตลวงแล้ว พา

กันท่องเที่ยวไปสู่ชาติสงสารนี้ใช่น้อย ก็ไม่รู้.

ดูก่อนภิกษุณี เธอจงละขาดสังโยชน์อันเป็น

ส่วนเบื้องต่ำเหล่านี้ คือ กามฉันทะ พยาบาท สักกาย-

ทิฏฐิ สีลัพพตปรามาส และวิจิกิจฉา เป็นที่ครบ ๕

เธออย่า สีลัพพตมาสู่กามอีกนะ เธอจงละเว้นราคะ มานะ

อวิชชา อุทธัจจะ และตัดสังโยชน์ทั้งหลายเสียแล้ว ก็

จักทำที่สุดทุกข์ได้ เธอทำชาติสงสารให้สิ้นไปแล้ว

กำหนดรู้ภพใหม่ หมดความทะยานอยาก จักเป็นผู้สงบ

ระงับ เที่ยวไปในปัจจุบัน.

จบคุตตาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 268

๗. อรรถกถาคุตตาเถรีคาถา

คาถาว่า คุตฺเต ยทตฺถ ปพฺพชฺชา ดังนี้เป็นต้น เป็นคาถาของ

พระคุตตาเถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ ก็บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ

สะสมกุศล ซึ่งเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้น ๆ รวบรวมธรรมเครื่อง

ปรุงแต่งวิโมกข์มาโดยลำดับ มีกุศลมูลแก่กล้าแล้ว ท่องเที่ยวไปในสุคติเท่านั้น

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล กรุงสาวัตถีนี้ นาง

ได้มีชื่อว่า คุตตา. คุตตานั้น รู้เดียงสาแล้ว ถูกอุปนิสัยสมบัติคอยตักเตือนอยู่

เกลียดการอยู่ครองเรือน ขออนุญาตบิดามารดาแล้ว ก็บวชในสำนักของพระ-

มหาปชาบดีโคตมี ครั้นบวชแล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา ประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ

จิตของนางก็พล่านไปในอารมณ์ภายนอก เพราะเก็บสะสมมาช้านาน หามี

อารมณ์เดียวเป็นสมาธิไม่ พระศาสดาทรงเห็น เมื่อจะทรงอนุเคราะห์พระเถรี

ทรงแผ่รัศมีไป เหมือนประทับนั่งในพระคันธกุฎี ทรงแสดงพระองค์คล้าย

ประทับนั่งบนอากาศใกล้กับนางคุตตานั้น เมื่อทรงโอวาทได้ตรัสคาถาเหล่านั้นว่า

ดูก่อนคุตตา การละบุตรสมบัติและของรักออก

บวชเพื่อประโยชน์แก่นิพพานอันใด เธอจงพอกพูน

นิพพานอันนั้นเนือง ๆ เถิด เธออย่าตกอยู่ในอำนาจ

จิตนะ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่รู้แจ้ง ถูกจิตลวงแล้ว ยินดี

ในวิสัยคืออารมณ์ของมาร พากันท่องเที่ยวไปสู่ชาติ

สงสารมิใช่น้อย ก็ไม่รู้ ดูก่อนภิกษุณี เธอจงละขาด

สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำเหล่านี้ คือ กามฉันทะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 269

พยาบาท สักกายทิฏฐิ สีลัพพตปรามาส และวิจิกิจฉา

เป็นที่ครบ ๕ เธออย่ากลับมาสู่กามภพอีกนะ เธอจงละ

เว้นราคะ มานะ อวิชชา อุทธัจจะ และตัดสังโยชน์ทั้ง

หลาย ก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เธอทำชาติสงสาร

ให้สิ้นไปแล้ว กำหนดรู้ภพใหม่ หมดความทะยาน

อยาก จักเป็นผู้สงบระงับ เที่ยวไปในปัจจุบัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทตฺถ ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การ

ดับสนิทแห่งกิเลส และการดับสนิทแห่งขันธ์อันใด. บทว่า หิตฺวา ปุตฺต

วสุ ปิย ได้แก่ การละเครือญาติและกองแห่งโภคะอันพึงรัก ปรารถนาการ

บวชในศาสนาของเรา คือ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์. บทว่า ตเมว

อนุพฺรูเหหิ ได้แก่ เธอพึงเจริญ คือพึงให้นิพพานนั้นถึงพร้อม. บทว่า

มา จิตฺตสฺส วส คมิ ได้แก่ เธออย่าตกอยู่ในอำนาจของจิตที่โกง ซึ่ง

เติบโตด้วยอารมณ์มีรูปเป็นต้นมานาน.

ก็เพราะเหตุที่ปุถุชนคนบอด ถูกจิตใดหลอกลวงแล้ว ชื่อว่า จิต

นั้นเปรียบด้วยมายากล สัตว์เหล่านั้น ตกอยู่ในอำนาจของมารย่อมล่วงสงสาร

ไปหาได้ไม่ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสคำว่า จิตฺเตน วญฺจิตา ดังนี้ เป็นต้น.

บทว่า สโยชนานิ เอตฺนิ ความว่า ชื่อว่า สังโยชน์ เพราะอรรถว่า

เป็นเครื่องผูก ๕ อย่าง ตามที่กล่าวแล้ว โดยนัยมี กามฉันทะ พยาบาท

เป็นต้น เหล่านั้น. บทว่า ปชหิตฺวาน ได้แก่ ตัดขาดแล้วด้วยอนาคามิมรรค.

บทว่า ภิกฺขุนี เป็นคำเรียกภิกษุณีนั้น. บทว่า โอรมฺภาคมนียานิ ได้แก่

เกื้อกูลอุปการะแก่ความเป็นอยู่ของมนุษย์ในกามธาตุ อันเป็นส่วนเบื้องต่ำกว่า

รูปธาตุและอรูปธาตุ เพราะเป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในกามธาตุนั้น. อักษร

ทำการเชื่อมบท บาลีว่า โอรมาคมนียานี ก็มีความอย่างนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 270

บทว่า นยิท ปุนเรหิสิ ความว่า เธอจักไม่มาสู่กามภพซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งกาม

นี้อีกด้วยอำนาจปฏิสนธิ เพราะละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำได้. อักษรทำ

การเชื่อมบท. บาลีว่า อิตฺถ ก็มี มีความว่า ความเป็นอย่างนี้ คือ กามภพ.

บทว่า ราค ได้แก่ รูปราคะและอรูปราคะ. บทว่า มาน ได้แก่

มานะจะพึงฆ่าด้วยอรหัตมรรค แม้ในบทว่า อวิชฺชญฺจ อุทฺธจฺจญฺจ นี้

ก็มีนัยเหมือนกัน. บทว่า วิวชฺชิย ได้แก่ ข่มไว้ได้ด้วยวิปัสสนา.

บทว่า สโยชนานิ เฉตฺวาน ได้แก่ ตัดซึ่งสังโยชน์ทั้งหลายส่วน

เบื้องสูง ๕ อย่างมีรูปราคะเป็นต้นเหล่านั้น ได้เด็ดขาดแล้ว. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺต

กริสฺสสิ ความว่า เธอจักบรรลุที่สุดแห่งวัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้น.

บทว่า เขเปตฺวา ชาติสสาร ได้แก่ ทำความเป็นไปแห่งสงสาร

มีชาติเป็นมูล ให้สิ้นไปแล้ว. บทว่า นิจฺฉาตา ได้แก่ หมดตัณหา. บทว่า

อุปสนฺตา ได้แก่ เข้าไปสงบระงับ ด้วยความเข้าไปสงบกิเลสทั้งหลายโดย

ประการทั้งปวง. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

เมื่อพระศาสดาทรงภาษิตคาถาเหล่านี้อย่างนี้แล้ว พอจบคาถาพระเถรี

ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ได้กล่าวคาถาเหล่านั้น โดยทำนองที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาษิตไว้ เป็นอุทานนั่นแล ด้วยเหตุนั้นแล คาถาเหล่า

นั้น จึงชื่อว่าเถรีคาถา.

จบอรรถกถาคุตตาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 271

๘. วิชยาเถรีคาถา

[๔๕๘] พระวิชยาเถรี กล่าวคาถาเป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้ายังทำจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้

ความสงบใจ ออกจากที่อยู่ ไปข้างนอก ๔-๕ ครั้ง

ข้าพเจ้าก็เข้าไปหาพระเขมาเถรีไต่ถามโดยเคารพ.

ท่านได้แสดงธรรม คือ ธาตุ อายตนะ อริย-

สัจ ๔ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อัฏฐังคิกมรรคโปรด

ข้าพเจ้า เพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุด.

ข้าพเจ้าฟังคำของท่านแล้ว กระทำตามคำสั่ง

สอน ในปฐมยามแห่งราตรีนั้น ก็รู้ปุพเพนิวาสญาณ

ในมัชฌิมยามแห่งราตรี ก็ชำระทิพยจักษุได้หมดจด

ในปัจฉิมยามแห่งราตรีก็ได้อาสวักขยญาณ ทำลาย

กองแห่งความมืดได้.

ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีปีติและสุขแผ่ไปทั่วกาย ใน

ราตรีที่ครบ ๗ ข้าพเจ้าทำลายกองแห่งความมืดแล้วจึง

เหยียดเท้าออกได้.

จบวิชยาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 272

๘. อรรถกถาวิชยาเถรีคาถา

คาถาว่า จตุกฺขตฺตุ ดังนี้เป็นต้น เป็นคาถาของพระวิชยาเถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ

สะสมกุศลซึ่งเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้น ๆ ผู้มีกุศลมูลอันพอกพูน

มาโดยลำดับ เที่ยวเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในพุทธุปบาทกาลนี้

ก็ได้บังเกิดในเรือนของครอบครัวหนึ่งในกรุงราชคฤห์ รู้เดียงสาแล้วก็เป็นสหาย

ของพระเขมาเถรีครั้งเป็นคฤหัสถ์. ได้ฟังมาว่าพระนางเขมานั้นทรงผนวชแล้ว

ก็คิดว่า พระมเหสีแม้นั้นยังทรงผนวชจะป่วยกล่าวไปไยถึงเราเล่า ก็อยากจะ

บวชบ้าง จึงเข้าไปหาพระเขมาเถรี พระเถรีทราบอัธยาศัยของนางแล้ว ก็

แสดงธรรมโดยวิธีที่นางจะมีใจสังเวชในสงสาร จักเลื่อมใสยิ่งขึ้นในพระศาสนา

นางฟังธรรมนั้นแล้วเกิดสังเวช และได้ศรัทธาแล้วก็ขอบวช. พระเถรีให้นาง

ได้บวชแล้ว นางครั้นบวชแล้ว ทำกิจเบื้องต้นเสร็จก็เริ่มวิปัสสนา ไม่นาน

นักก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เพราะสมบูรณ์ด้วยเหตุสัมปทา

ได้พิจารณาการปฏิบัติของตนแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นเป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้ายังทำจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้

ความสงบใจ ออกจากที่อยู่ ไปข้างนอก ๔-๕ ครั้ง

ข้าพเจ้าก็เข้าไปหาพระเขมาภิกษุณีไต่ถามโดยเคารพ

ท่านได้แสดงธรรมคือ ธาตุ อายตนะ อริยสัจ ๔

อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และอัฏฐังคิกมรรค โปรด

ข้าพเจ้า เพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุด ข้าพเจ้าฟัง

คำของท่านแล้ว กระทำตามคำพร่ำสอน ในปฐมยาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 273

แห่งราตรีนั้น ก็รู้ปุพเพนิวาสญาณ ในมัชฌิมยาม

แห่งราตรี ก็ชำระทิพยจักษุให้หมดจด ในปัจฉิมยาม

แห่งราตรี ก็ได้อาสวักขยญาณ ทำลายกองแห่งความ

มืดได้ ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีปีติและสุขแผ่ไปทั่วกายอยู่

ในราตรีที่ครบ ๗ ข้าพเจ้าทำลายกองแห่งความมืด

แล้ว จึงเหยียดเท้าออกได้.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ภิกฺขุนึ พระเถรีกล่าวหมายถึงพระ

เขมาเถรี. บทว่า โพชฺฌงฺคฏฺงฺคิก มคฺค ได้แก่โพชฌงค์ ๗ และอริย-

มรรคมีองค์ ๘. บทว่า อุตฺตมตฺถสฺส ปตฺติยา ได้แก่ เพื่อบรรลุพระอรหัต

หรือนิพพานเท่านั้น.

บทว่า ปีติสุเขน ได้แก่ ด้วยปีติและสุข เนื่องด้วยผลสมาบัติ.

บทว่า กาย ได้แก่ นามกายที่ประกอบกัน และรูปกายที่ไปตามนามกายนั้น.

บทว่า ผริตฺวา ได้แก่ ถูกต้องหรือซึมซาบไป. บทว่า สตฺตมิยา ปาเท

ปสาเรสึ ความว่า นับจากวันเริ่มวิปัสสนาไปในราตรีที่ ๗ ข้าพเจ้าจึงคลาย

การนั่งขัดสมาธิเหยียดเท้าได้. ถามว่าทำลายกองแห่งความมืดได้อย่างไร. ตอบ

ว่า ทำลายกองโมหะที่ยังไม่เคยทำลายด้วยดาบคืออรหัตมรรคญาณ. คำที่เหลือ

มีนัยดังที่กล่าวมาแล้วในหนหลังทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาวิชยาเถรีคาถา

จบ อรรถกถาฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 274

สัตตกนิบาต

๑. อุตตราเถรีคาถา

[๔๕๙] พระปฏาจาราเถรี ให้โอวาทว่า

มาณพทั้งหลายพากันถือสากตำข้าว ได้ทรัพย์มา

เลี้ยงบุตรภรรยาท่านทั้งหลายจงพากเพียรในคำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้า ที่ทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง

ท่านทั้งหลายจงรีบล้างเท้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง

จงเข้าไปตั้งจิตให้มีอารมณ์เดียว ตั้งมั่นด้วยดีแล้ว

พิจารณาสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของแปรปรวน

และโดยความเป็นของไม่ใช่ตน.

ข้าพเจ้าฟังคำพร่ำสอนของพระปฏาจาราเถรีนั้น

แล้ว ล้างเท้าเข้าไปนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ในปฐมยาม

แห่งราตรี ข้าพเจ้าก็ระลึกชาติก่อนได้ ในมัชฌิมยาน

แห่งราตรี ก็ชำระทิพยจักษุได้หมดจด ในปัจฉิมยาม

แห่งราตรี ก็ทำลายกองแห่งความมืด [อวิชชา] ได้

ข้าพเจ้าบรรลุวิชชา ๓ จึงลุกขึ้นจากอาสนะในภายหลัง

ข้าพเจ้าทำตามคำพร่ำสอนของแม่ท่านแล้ว ข้าพเจ้ามี

วิชชา ๓ ไม่มีอาสวะห้อมล้อมแม่ท่านอยู่ ดุจทวยเทพ

ชั้นดาวดึงส์ พากันห้อมล้อมท่าวสักกะผู้ชนะสงคราม

ฉะนั้น.

จบ อุตตราเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 275

อรรถกถสัตตกนิบาต

๑. อรรถกถาอุตตราเถรีคาถา

ในสัตตกนิบาต คาถาว่า มุสลานิ คเหตฺวาน ดังนี้เป็นต้น

เป็นคาถาของพระอุตตราเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระเถรีแม้รูปนี้ ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ

สะสมกุศล ซึ่งเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้น ๆ ได้บำเพ็ญกุศลมูล

สร้างสมธรรมเครื่องปรุงแต่งวิโมกข์มาโดยลำดับ มีธรรมเครื่องอบรมบ่มวิมุตติ

แก่กล้า ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนของครอบครัวแห่งหนึ่ง ได้นามว่า

อุตตรา รู้เดียงสาแล้วเข้าไปยังสำนักพระปฏาจาราเถรี. พระเถรี ได้กล่าว

ธรรมแก่นาง นางฟังธรรมเกิดสังเวชในสังสารวัฏ เป็นผู้เลื่อมใสยิ่งในศาสนา

ก็บวช ครั้นบวชแล้ว ทำกิจเบื้องต้นเสร็จ เริ่มวิปัสสนาในสำนักของพระ-

ปฏาจาราเถรี ประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ คร่ำเคร่งวิปัสสนาอยู่ไม่นานนัก

ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เพราะอินทรีย์แก่กล้า เหตุที่สมบูรณ์

ด้วยอุปนิสัย ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้วพิจารณาการปฏิบัติของตน ได้กล่าวคาถา

เหล่านี้เป็นอุทานว่า

พระปฏาจาราเถรี ให้โอวาทว่า

มาณพทั้งหลายพากันถือสากตำข้าวอยู่ ได้ทรัพย์

มาเลี้ยงดูบุตรภรรยา ท่านทั้งหลายก็จงพากเพียรในคำ

สั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทำแล้วไม่ต้องเดือดร้อนใน

ภายหลัง ท่านทั้งหลายจงรีบล้างเท้าแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ข้างหนึ่ง จงเข้าไปตั้งจิตไว้ให้มีอารมณ์เดียว ตั้งมั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 276

ด้วยดีแล้วพิจารณาสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของ

แปรปรวน และโดยความเป็นของไม่ใช่ตน.

พระอุตตราเถรีกล่าวว่า

ข้าพเจ้าได้ฟังคำพร่ำสอนของพระปฏาจาราเถรี

นั้นแล้ว ล้างเท้าเข้าไปนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ใน

ปฐมยามแห่งราตรี ข้าพเจ้าก็ระลึกชาติก่อนได้ ใน

มัชฌิมยามแห่งราตรี ก็ชำระทิพยจักษุได้หมดจด ใน

ปัจฉิมยามแห่งราตรี ก็ทำลายกองแห่งความมืด [อวิช-

ชา] ได้ ข้าพเจ้าได้บรรลุวิชชา ๓ จึงลุกจากอาสนะ

ในภายหลัง ข้าพเจ้าทำตามคำพร่ำสอนของแม่ท่าน

แล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้มีวิชชา ๓ ไม่มีอาสวะ ห้อมล้อม

แม่ท่านอยู่ ดุจทวยเทพชั้นดาวดึงส์ พากันห้อมล้อม

ท้าวสักกะผู้ชนะสงครามฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺต อุปฏฺเปตฺวาน ได้แก่ เข้าไป

ตั้งจิต ประกอบด้วยภาวนาไว้ในกัมมัฏฐาน อย่างไร คือให้จิตมีอารมณ์เดียว

ตั้งมั่นด้วยดี. บทว่า เอกคฺค สุสมาหิต ปจิจเวกิขถ ได้แก่ ท่านทั้งหลาย

จงพิจารณาการปฏิบัติ อธิบายว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นแจ้งลักษณะสามในสังขาร

ว่าเป็นของไม่เที่ยงบ้าง ว่าเป็นทุกข์บ้าง ว่าเป็นอนัตตาบ้าง ก็คำนี้พระเถรีกล่าว

คล้อยตามโอวาทของภิกษุณีเหล่าอื่น และพระเถรีเป็นต้นของตนในเวลาโอวาท.

บทว่า ปฏาจารานุสาสนึ ได้แก่ คำพร่ำสอนของพระปฏาจาราเถรี. อีกอย่าง

หนึ่งบาลีว่า ปฏาจาราย สาสน ดังนี้ก็มี ได้แก่คำสั่งสอนของพระปฏาจาราเถรี.

บทว่า อถ วุฏฺาสึ ความว่า เพราะข้าพเจ้าบรรลุวิชชา ๓ จึงลุก

จากอาสนะภายหลัง วันหนึ่งพระเถรีแม้รูปนี้ ชำระกัมมัฏฐานในสำนักของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 277

พระปฏาจาราเถรีแล้ว เข้าไปสถานที่อยู่ของตนแล้วนั่งขัดสมาธิ ตกลงใจว่า

ข้าพเจ้าจักไม่เลิกนั่งขัดสมาธินี้ ตราบเท่าที่จิตของข้าพเจ้ายังไม่หลุดพ้นจาก

อาสวะทั้งหลาย เพราะความไม่ถือมั่นคร่ำเคร่งวิปัสสนาโดยลำดับ ก็บรรลุ

พระอรหัตมีอภิญญาและปฎิสัมภิทาเป็นบริวารตามลำดับแห่งมรรค ครั้นปัจจ-

เวกขณญาณ ๑๙ อย่างดำเนินไป ก็เกิดโสมนัสว่า บัดนี้เราทำกิจเสร็จแล้ว ก็

กล่าวอุทานคาถาเหล่านี้ เหยียดเท้าออกไปในเวลาอรุณขึ้น ต่อแต่นั้น ราตรี

สว่าง ก็ไปยังสำนักของพระเถรี ได้กล่าวซ้ำคาถาเหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น พระ-

อุตตราเถรีจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า กตา เต อนุสาสนี ข้าพเจ้าได้ทำตามคำ

พร่ำสอนของท่านแล้ว. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาในหนหลังหมดแล้ว.

จบอรรถกถาอุตตราเถรีคาถา

๒. จาลาเถรีคาถา

[๔๖๐] พระจาลาเถรี กล่าวคาถาอุทานว่า

ข้าพเจ้าเป็นภิกษุณี ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้วเข้า

ไปตั้งสติไว้มั่น รู้แจ้งตลอดสันตบท อันเป็นเครื่อง

เข้าไประงับสังขาร เป็นสุข.

มารผู้มีบาป ถามว่า

แม่นางศีรษะโล้น ทำตัวเหมือนสมณะ แม่นาง

บวชเจาะจงใครหนอ. แก่นางไม่ชอบใจลัทธิเดียรถีย์

ทำไมแม่นางจึงยังงมงายประพฤติลัทธินี้เล่า.

พระจาลาเถรี ตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 278

ผู้มีลัทธิเดียรถีย์ภายนอกจากพระศาสนานี้เข้าไป

อาศัยแต่ทิฏฐิความเห็นทั้งหลาย ไม่รู้แจ้งธรรม ไม่

ฉลาดในธรรม ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติในตระกูล

ศากยะ ไม่มีผู้ใดเปรียบปาน พระองค์ทรงแสดงธรรม

อันก้าวล่วงเสียซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์

ความล่วงทุกข์ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

เป็นทางดำเนินไปให้ถึงความระงับทุกข์โปรดข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าฟังคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในพระ

ศาสนา ข้าพเจ้าบรรลุวิชชา ๓ แล้ว คำสั่งสอนของ-

พระพุทธเจ้าข้าพเจ้าทำเสร็จแล้ว ข้าพเจ้ากำจัดความ

เพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวงได้แล้ว ทำลายกองแห่งความ

มืดแล้ว ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ดู

ก่อนมารผู้กระทำที่สุด ตัวท่านข้าพเจ้าก็กำจัดได้แล้ว.

จบจาลาเถรีคาถา

๒. อรรถกถาจาลาเถรีคาถา

คาถาว่า สตึ อุปฏฺเปตฺวาน ดังนี้เป็นต้น เป็นคาถาของ พระ-

จาลาเถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ ได้บำเพ็ญบารมีมา ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ

สะสมกุศลซึ่งเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้

ก็บังเกิดในครรภ์ของพราหมณีชื่อรูปสารี ในนาลกคามแคว้นมคธ ในวันตั้งชื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 279

คนทั้งหลายได้ทั้งชื่อว่าจาลา จาลานั้นมีน้องสาว ชื่อว่า อุปจาลา อุปจาลานั้น

มีน้องอีกคนหนึ่ง ชื่อว่า สีสูปจาลา ทั้ง ๓ คนนี้ เป็นน้องสาวของท่านพระ

ธรรมเสนาบดี คำที่มาในเถรคาถาว่า จาลา อุปจาลา สีสูปจาลา ก็หมาย

ถึงชื่อหญิงทั้งสามคนนี้นี่เอง.

ก็พี่น้องหญิงทั้ง ๓ คนเหล่านั้น ได้ทราบว่า ท่านพระธรรมเสนาบดี

บวชแล้ว พากันคิดว่า ธรรมวินัยที่พี่ชายของเราบวช คงไม่ต่ำทรามแน่

บรรพชาก็คงไม่ต่ำทราม ก็เกิดอุตสาหะมีฉันทะแรงกล้าพากันละญาติและคนใกล้

เคียงซึ่งกำลังร้องไห้ น้ำตานองหน้า ออกบวชแล้ว ครั้นบวชแล้ว ก็พากเพียร

พยายาม ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต อยู่ด้วยพระนิพพานสุข และผลสุข.

บรรดาภิกษุณีเหล่านั้น จาลาภิกษุณีเท่านั้น วันหนึ่งกลับ จากบิณฑบาต

หลังจากฉันภัตตาหารแล้ว ก็เข้าไปยังป่าอันธวัน นั่งพักกลางวัน ครั้นนั้นมาร

เข้าไปหา ประเล้าประโลมพระเถรีด้วยกามทั้งหลาย ที่ท่านหมายถึงกล่าวไว้ว่า

"ครั้งนั้น เวลาเช้าพระจาลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป

บิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี อันเสร็จกลับจาก

บิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว ก็เข้าไปในป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่า

อันธวัน ได้นั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาป เข้าไปหา

พระจาลาภิกษุณี ครั้นเข้าไปหาแล้วจึงกล่าวกะพระจาลาภิกษุณี" ดังนี้.

พระเถรีนั้น นั่งพักกลางวันอยู่ ณ ป่าอันธวัน มารเข้าไปหามุ่งหมาย

จะตัดพระเถรี เสียจากการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ จึงได้ถามเป็นต้นว่า แม่

นางศีรษะโล้นบวชเจาะจงใครหนอ ลำดับนั้น พระจาลาภิกษุณี ประกาศ

พระคุณของพระศาสดาและธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์แก่มารนั้น ให้มารรู้ถึง

การที่คนล่วงวิสัยของมารได้แล้ว ด้วยการชี้แจงถึงการที่ตนได้ทำกิจเสร็จแล้ว

๑. ขุ. ๒๖/ข้อ ๑๗๙. ขทิรวนิยเถรคาถา ๒. สัง. ส. ๑๕/ข้อ ๕๓๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 280

มารได้ฟังคำนั้น เป็นทุกข์เสียใจอันตรธานไปในนั้นนั่นเอง. พระจาลาภิกษุณี

นั้นเมื่อกล่าวคาถาที่ตนกับมารกล่าวแล้วเป็นอุทาน จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ข้าพเจ้าเป็นภิกษุณี ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว

เข้าไปตั้งสติไว้มั่น รู้แจ้งตลอดสันตบท อันเป็นเครื่อง

เข้าไประงับสังขาร เป็นสุข.

มารผู้มีบาปถามว่า

แม่นางศีรษะโล้น ทำตัวเหมือนเป็นสมณะ

แม่นางบวชเจาะจงใครหนอ แม่นางไม่ชอบใจลัทธิ

เดียรถีย์ ทำไมแม่นางจึงยังงมงายประพฤติลัทธินี้เล่า.

พระจาลาเถรีตอบว่า

ผู้ถือลัทธิเดียรถีย์ภายนอกจากพระศาสนานี้

เข้าไปอาศัยแต่ทิฏฐิความเห็นทั้งหลาย เดียรถีย์เหล่า

นั้น ไม่รู้แจ้งธรรม ไม่ฉลาดในธรรม ส่วนพระพุทธเจ้า

ผู้เลิศอุบัติในตระกูลศากยะ ไม่มีผู้ใดเปรียบปาน พระ-

องค์ทรงแสดงธรรม อันก้าวล่วงเสียซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย

คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความล่วงทุกข์และอริย-

มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางดำเนินให้ถึง

ความระงับทุกข์โปรดข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังคำสั่งสอน

ของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในพระศาสนา ข้าพเจ้าได้

บรรลุวิชชา ๓ แล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ข้าพเจ้าทำเสร็จแล้ว ข้าพเจ้ากำจัดความเพลิดเพลิน

ในสิ่งทั้งปวงได้แล้ว ทำลายกองแห่งความมืดแล้ว ดู

ก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ดูก่อนมารผู้

กระทำที่สุด ตัวท่านข้าพเจ้าก็กำจัดได้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 281

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตึ อุปฏฺเปตฺวาน ความว่า ทำสติ

ให้ตั้งมั่นด้วยดี โดยการเจริญสติปัฏฐาน คือโดยความเป็นของไม่งามเป็นทุกข์

ไม่เที่ยงและเป็นอนัตตา ในกายเป็นต้น พระเถรีกล่าวหมายถึงตัวเองว่าภิกษุณี.

บทว่า ภาวิตินฺทฺริยา ความว่า มีอินทรีย์ ๕ มีสัทธาเป็นต้นอันอบรมแล้ว

ด้วยการเจริญอริยมรรค. บทว่า ปฏิวิชฺฌิ ปท สนฺต ความว่า แทง

ตลอดคือทำให้แจ้งสันตบทคือนิพพาน ด้วยการทำให้แจ้งและแทงตลอด. บทว่า

สงฺขารูปสน ได้แก่ เหตุแห่งความสงบสังขารทั้งปวง. บทว่า สุข คือ

เป็นสุขล้วน.

คาถาว่า ก นุ อุทฺทิสฺส ความว่า คาถาที่มารกล่าวแล้ว. ในคาถานั้น

มีความสังเขปดังต่อไปนี้ ในโลกนี้มีลัทธิและผู้แสดงลัทธิเหล่านั้นเป็นอันมาก

คือเจ้าลัทธิมากด้วยกัน บรรดาเจ้าลัทธิเหล่านั้น แม่นางผู้มีศีรษะโล้น คือ

โกนผมบวชเจาะจงใครหนอ มิใช่ศรีษะโล้นอย่างเดียวที่แท้ยังแสดงตัวเหมือน

สมณะเพราะทรงผ้ากาสาวะอีกด้วย. บาทคาถาว่า น จ โรเจสิ ปาสณฺเฑ

ความว่า ท่านไม่ชอบใจลัทธิเดียรถีย์นั้น ๆ อันเป็นกระจกของพวกดาบสและ

ปริพาชกเป็นต้น โดยเป็นลัทธิอื่นเสีย. บาทคาถาว่า กิมิท จรสิ โมมุหา

ความว่า แม่นางละทางนิพพานสายตรง อันเป็นวิธีของลัทธิเดียรถีย์ มาเดิน

ทางผิดชั่วกาลในบัดนี้ งมงายประพฤติซมซานอันใด ลัทธินี้ชื่ออะไรเล่า.

พระเถรีฟังคำนั้นแล้ว เมื่อจะขู่มารนั้นโดยมุข คือให้คำตอบจึงกล่าว

ว่า อิโต พหิทฺธา เป็นต้น. ลัทธิมีอุปการะมากที่ชื่อกุฏีสกะเป็นต้น ภาย

นอกศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ชื่อว่าลัทธิเดียรถีย์นอกศาสนานี้ ใน

คำว่า อิโต พหิทฺธา นั้น. จริงอยู่พวกถือลัทธิเดียรถีย์เหล่านั้น ย่อมดัก

บ่วงคือตัณหาความทะยานอยากและบ่วงคือทิฏฐิความเห็น แก่สัตว์ทั้งหลาย จึง

ถูกเรียกว่า ปาสัณฑะ ลัทธิวางบ่วงดัก ด้วยเหตุนั้น พระจาลาเถรีจึงกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 282

ว่า ทิฏฺิโย อุปนิสฺสิตา ได้แก่ อาศัย สัสสตทิฏฐิ อธิบายว่า ถือ

ทิฏฐิ อนึ่ง คนทั้งหลายอาศัยทิฏฐิความเห็นโดยส่วนใด ก็อาศัยพวกถือลัทธิ.

เดียรถีย์โดยส่วนนั้น . บาทคาถาว่า น เต ธมฺม วิชานนฺติ ความว่า เดียรถีย์

เหล่าใดอาศัยสัสสตทิฏฐิ ย่อมไม่รู้แม้ปวัตติธรรมตามเป็นจริงว่า นี้เป็นปวัตติ.

บาทคาถาว่า น เต ธมฺมสฺส โกวิทา ได้แก่ ไม่ฉลาดแม้ในนิวัตติธรรมว่า

นิวัตติเป็นอย่างนี้ เดียรถีย์เหล่านั้นหลงงมงายแม้ในทางปวัตติธรรม ไยเล่าจะ

ไม่หลงในนิวัตติธรรม.

พระจาลาเถรีครั้นแสดงว่าลัทธิเดียรถีย์ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์อย่างนี้

แล้ว บัดนี้เพื่อวิสัชนาปัญหาว่า แม่นางศีรษะโล้นแม่นางบวชเจาะจงใครหนอ

จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า มีพระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติในตระกูลศากยะ. บรรดาคำ

เหล่านั้น บาทคาถาว่า ทิฏฺีน สมติกฺกม ได้แก่ เป็นอุบายก้าวล่วงทิฏฐิทั้ง

ปวง คือปลดเปลื้องเสียจากข่าย คือทิฏฐิ. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาจาลาเถรีคาถา

๓. อุปจาลาเถรีคาถา

[๔๖๑] พระอุปจาลาเถรี กล่าวคาถาเป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าเป็นภิกษุณี มีสติ มีจักษุ มีอินทรีย์อัน

อบรมแล้ว รู้แจ้งตลอดสันตบท อันอุดมบุรุษเสพแล้ว.

มารผู้มีบาปกล่าวว่า

เหตุไฉน แม่นางจึงไม่ชอบใจความเกิด เพราะ

ผู้เกิดมาแล้ว ย่อมบริโภคกามทั้งหลาย เชิญแม่นาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 283

บริโภคความยินดีในกามทั้งหลายเถิด อย่าได้เป็นผู้มี

ความเดือดร้อนในภายหลังเลย.

พระอุปาลาเถรีกล่าวว่า.

ผู้เกิดมาแล้ว ก็ต้องตาย ถูกตัดมือเท้า ถูกฆ่า

ถูกจองจำ ผู้เกิดมาแล้ว จำต้องประสบทุกข์.

พระสัมพุทธเจ้า ผู้เสด็จอุบัติในตระกูลศากยะ

ผู้ทรงชนะแล้วมีอยู่ พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม อัน

เป็นอุบายล่วงเสียซึ่งชาติ คือทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์

ความล่วงทุกข์ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทาง

ดำเนินให้ถึงความระงับทุกข์โปรดเรา ข้าพเจ้าฟังคำ

สอนของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในพระศาสนา ข้าพเจ้า

ได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ข้าพเจ้าทำเสร็จแล้ว ข้าพเจ้ากำจัดความเพลิดเพลิน

ในสิ่งทั้งปวงได้แล้ว ทำลายกองแห่งความมืดแล้ว ดู

ก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ดูก่อนมารผู้

กระทำที่สุด ตัวท่านข้าพเจ้าก็กำจัดได้แล้ว.

จบ อุปจาลาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 284

๓. อรรถกถาอุปจาลาเถรีคาถา

คาถาว่า สตีมตี ดังนี้เป็นต้น เป็นคาถาของพระอุปจาลาเถรี.

เรื่องของนางอุปจาลาเถรีนั้น ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องพระจาลาเถรี

ก็พระอุปจาลาเถรีแม้นี้ บวชแล้วเหมือนพระจาลาเถรี เริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุ

พระอรหัต เมื่อเปล่งอุทาน ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นว่า

ข้าพเจ้าเป็นภิกษุณี มีสติ มีจักษุ มีอินทรีย์

อันอบรมแล้ว รู้แจ้งตลอดสันตบท อันอุดมบุรุษ

เสพแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตีมตี ความว่า ถึงพร้อมด้วยสติ

คือเป็นผู้ประกอบด้วยสติ รักษาตนไว้ได้เป็นอย่างยิ่ง อันเป็นส่วนเบื้องต้น

ประกอบด้วยสติสูงสุด โดยถึงความไพบูลย์แห่งสติ เพราะเจริญอริยมรรคใน

ภายหลัง.

บทว่า จกฺขมตี ได้แก่ ประกอบด้วยปัญญาจักษุ คือประกอบอุทยัตถ-

คามินีปัญญา อันชำเเรกกิเลสออกไปอย่างประเสริฐ ท่านอธิบายว่า ประกอบ

ด้วยปัญญาจักษุเป็นอย่างยิ่ง โดยถึงความไพบูลย์แห่งปัญญา. บาทคาถาว่า

อกาปุริสเสวิต ได้แก่ บุรุษผู้ไม่ต่ำ คืออุดมบุรุษ ได้แก่พระอริยะมี

พระพุทธเจ้าเป็นต้นเสพแล้ว.

มารประสงค์จะชักนำพระเถรีเข้าไปในกามทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาว่า

กึ นุ ชาตึ น โรเจสิ ดังนี้. ความจริงพระเถรีถูกมารถามว่า แม่ภิกษุณี

แม่นางไม่ชอบใจอะไร ? จึงตอบว่า ท่านเอย เราไม่ชอบใจชาติความเกิดจริง ๆ

ลำดับนั้น มารเมื่อแสดงว่าสัตว์ที่เกิดแล้วบริโภคกาม เพราะฉะนั้น จึงปรารถนา

ชาติบ้าง บริโภคกามบ้าง ได้กล่าวคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 285

เหตุไฉน แม่นางจึงไม่ชอบใจความเกิด เพราะ

ผู้เกิดมาแล้วย่อมบริโภคกามทั้งหลาย เชิญแม่นาง

บริโภคความยินดีในกามทั้งหลายเถิด อย่าได้เป็นผู้มี

ความเดือดร้อนในภายหลังเลย.

คาถานั้น มีความว่า เหตุนั้นเป็นอย่างไรเล่า แม่อุปจาลา แม่นางไม่

ชอบใจ คือไม่พอใจความเกิดด้วยเหตุใด เหตุนั้นก็ไม่มี เพราะเหตุที่ผู้เกิด

แล้ว ย่อมบริโภคกามทั้งหลาย คือผู้เกิดแล้วในโลกนี้ เมื่อซ่องเสพรูปเป็นต้น

ที่ประกอบด้วยกามคุณ ย่อมชื่อว่าบริโภคกามสุข แต่กามสุขนั้นก็ย่อมไม่มีแก่

ผู้ไม่เกิดแล้ว ฉะนั้นเชิญแม่นางบริโภคความยินดีในกามทั้งหลายเถิด คือเชิญ

ท่านเสวยความยินดีในการเล่นกับกามทั้งหลาย. บาทคาถาว่า มาหุ ปจฺฉานุ-

ตาปินี ความว่า อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังว่า เนื้อหนุ่มเรา

หาได้เสวยกามสุขในเมื่อโภคสมบัติมีอยู่ไม่ดังนี้ อธิบายว่า ธรรมดาว่า ธรรม

ทั้งหลายในโลกนี้มีประโยชน์ปรากฏไปจนถึงว่า ความต้องการและมีการบรรลุ

ประโยชน์เป็นประโยชน์ ความต้องการมีกามสุขเป็นประโยชน์.

พระเถรีฟังคำนั้นแล้ว ก็ประกาศว่า ชาติเป็นเครื่องหมายแห่งทุกข์

และว่าตนก้าวล่วงวิสัยของมารเสียแล้ว เมื่อขู่ จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ผู้เกิดนาแล้ว ก็ต้องตาย ถูกตัดมือเท้า ถูกฆ่า ถูก

จองจำ ผู้เกิดมาแล้ว จำต้องประสบทุกข์.

พระสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในตระกูลศากยะ ผู้

ทรงชนะแล้วมีอยู่ พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันเป็น

อุบายล่วงเสียซึ่งชาติ คือทุกข์ เหตุไม่เกิดทุกข์ ความ

ล่วงทุกข์ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 286

ทางดำเนินให้ถึงความระงับทุกข์โปรดข้าพเจ้า ข้าพเจ้า

ได้ฟังคำสอนของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในพระศาสนา

ข้าพเจ้าได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว คำสั่งสอนของพระ-

พุทธเจ้าข้าพเจ้าได้ทำเสร็จแล้ว ข้าพเจ้ากำจัดความ

เพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวงได้แล้ว ทำลายกองแห่งความ

มืดแล้ว ดูก่อนมารผู้มีใจบาป ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด

ดูก่อนมารผู้กระทำที่สุด ตัวท่านข้าพเจ้าก็กำจัดได้แล้ว.

บรรดาคาถาเหล่านั้น บาทคาถาว่า ชาตสฺส มรณ โหติ ความว่า

เพราะเหตุที่ความตายย่อมมีแก่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หามีแก่สัตว์ผู้ไม่เกิดไม่ มิใช่

แต่ความตายอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้ โรคทั้งหลายมีโรคชราเป็นต้นมีประมาณ

เท่าใด โรคเหล่านั้นแม้ทั้งปวงซึ่งหาประโยชน์มิได้ มีชาติเป็นเหตุย่อมมีแก่ผู้

เกิดมาแล้ว ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึง

เกิดมี ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ด้วย

เหตุนั้นแล พระอุปจาลาเถรีจึงกล่าวว่า หตฺถปาทาน เฉทน ได้แก่ การ

ถูกตัดมือและเท้า ย่อมมีแก่ผู้เกิดแล้ว หามีแก่ผู้ไม่เกิดไม่ ก็ในข้อนี้พึงเห็นว่า

ท่านแสดงแม้กรรมกรณ์ [การลงโทษ] ๓๒ อย่าง ไว้ด้วยการอ้างการถูกตัดมือ

เท้าเป็นตัวอย่าง. สองบาทคาถาว่า วธพนฺธปริเกฺลส ชาโต ทุกฺข นิคจฺฉติ

ความว่า การถูกฆ่ามีการพรากชีวิตและการชกด้วยหมัดเป็นต้น การจองจำมี

การจองจำด้วยโซ่ตรวนเป็นต้น และกรรมกรณ์อย่างอื่นทุกอย่าง ชื่อว่าทุกข์

ผู้เกิดแล้วย่อมได้ประสบทุกข์นั้นทั้งหมด ผู้ไม่เกิดหาประสบไม่ เพราะฉะนั้น

เราจึงไม่ชอบใจความเกิด.

บัดนี้ พระอุปจาลาเถรี เมื่อแสดงส่วนเกินของกามทั้งหลาย และ

ตนก้าวล่วงกามได้ตั้งแต่ชาติเป็นมูล จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า มีพระสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 287

ผู้เสด็จอุบัติในตระกูลศากยะ. ในบทเหล่านั้น บทว่า อปราชิโต ได้แก่

ผู้อันมารไร ๆ มีกิเลสมารเป็นต้นให้พ่ายแพ้ไม่ได้แล้ว [คือชนะ] แท้จริง

พระศาสดาทรงเป็นพระสัพพาภิภู ผู้ทรงครอบงำโลกพร้อมทั้งเทวโลกไว้ได้

โดยแท้จริง เพราะฉะนั้น จึงเป็นผู้อันใครให้แพ้มิได้. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น

เพราะมีนัยอันกล่าวมาแล้ว.

จบ อรรถกถาอุปจาลาเถรีคาถา

จบ อรรถกถาสัตตกนิบาต

อัฏฐกนิบาต

๑. สีสูปจาลาเถรีคาถา

[๔๖๒] พระสีสูปจาลาเถรี กล่าวคาถาเป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าเป็นภิกษุณี สมบูรณ์ด้วยศีล สำรวมดี

แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย บรรลุสันตบทที่ใคร ๆ ทำให้

เสียหายมิได้ มีโอชารส.

มารผู้มีบาปกล่าวว่า

แม่นางจงตั้งจิตปรารถนาไว้ในหมู่เทพชั้น ดาว-

ดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิม-

มิตวสวัตดี ที่แม่นางเคยอยู่มาแล้วแต่ก่อนเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 288

พระสีสูปจาลาเถรีกล่าวว่า

เทวดาชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้น

นินมานรดี ชั้นปรนิมิตวสวัตดี พากันไปจากภพสู่

ภพ ทุก ๆ กาล นำหน้าอยู่แต่ในสักกายะ ล่วง

สักกายะไปไม่ได้ ก็แล่นไปหาชาติและมรณะ โลก

ทั้งปวงถูกไฟไหม้ลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง โลกทั้งปวง

หวั่นไหวแล้ว พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ที่ไม่

หวั่นไหว ชั่งไม่ได้ อันปุถุชนเสพไม่ได้โปรดข้าพเจ้า

ใจของข้าพเจ้ายินดีนักในธรรมนั้น ข้าพเจ้าฟังคำสั่ง

สอนของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในพระศาสนา วิชชา

๓ ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว ข้าพเจ้ากำจัดความเพลิดเพลิน

ในสิ่งทั้งปวงได้แล้ว ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว

ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ดูก่อนมารผู้

กระทำที่สุด ถึงตัวท่านข้าพเจ้าก็กำจัดได้แล้ว.

จบ สีสูปจาลาเถรีคาถา

จบ อัฏฐกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 289

อรรถกถาอัฏฐกนิบาต

๑. อรรถกถาสีสูปจาลาเถรีคาถา

ใน อัฏฐกนิบาต คาถาว่า ภิกฺขุนี สีลสมฺปนฺนา เป็นต้น เป็น

คาถาของพระสีสูปจาลาเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

เรื่องของพระสีสูปจาลาเถรีแม้นั้น กล่าวไว้แล้วในเรื่องของพระจาลา-

เถรี ก็พระสีสูปจาลาเถรีแม้นี้ ทราบว่าท่านพระธรรมเสนาบดีบวชแล้ว ก็เกิด

ความอุตสาหะขึ้นเอง บวชแล้ว ทำบุพกิจเสร็จ เข้าไปตั้งวิปัสสนาพาก

เพียรพยายามอยู่ ไม่นานก็บรรลุพระอรหัต ครั้นบรรลุแล้ว อยู่ด้วยสุขใน

ผลสมาบัติ วันหนึ่ง พิจารณาการปฏิบัติของตนเกิดโสมนัส ก็กล่าวคาถาเป็น

อุทานว่า

ข้าพเจ้าเป็นภิกษุณีผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สำรวมดี

ในอินทรีย์ทั้งหลาย ได้บรรลุสันตบท อันใคร ๆ ให้

เสียหายมิได้ มีโอชารส.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลสมฺปนฺนา ได้แก่ ประกอบบริบูรณ์

ด้วยศีลภิกษุณี ที่บริสุทธิ์. บาทคาถาว่า อินฺทฺริเยสุ สุสวุตา ได้แก่

สำรวมดีแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ ๖ คือเป็นผู้ละราคะในอิฏฐารมณ์มี

รูปเป็นต้น ละโทสะในอนิฏฐารมณ์และละโมหะในการเพ่งอารมณ์ที่ไม่สม่ำเสมอ

ชื่อว่าปิดอินทรีย์ด้วยดีแล้ว. บาทคาถาว่า อเสจนกโมชว ได้แก่ อริย-

มรรคหรือนิพพาน ซึ่งเป็นโอสถระงับโรคคือกิเลส แม้ทั้งหมด. ความจริง

แม้อริยมรรคควรกล่าวว่าสันตบท เพราะผู้ต้องการนิพพานพึงปฏิบัติ และเพราะ

ไม่มีความเร่าร้อนด้วยกิเลส มารประสงค์จะให้พระเถรีเคลื่อนจากสมาบัติโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 290

ส่งไปในกามาวจรสวรรค์ว่า แม่นางจงเกิดความรักใคร่ใยดีในกามาวจรสวรรค์

เถิด จึงกล่าวคาถานี้ว่า

แม่นางจงตั้งจิตปรารถนาไว้ในหมู่เทวดาชั้น

ดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้น

วสวัตดี ที่แม่นางเคยอยู่มาแล้วแต่ก่อนเถิด.

สถานที่ ๆ ชน ๓๓ คนทำบุญร่วมกันเกิดแล้ว ชื่อว่าดาวดึงส์ ผู้ที่เกิดใน

ชั้นดาวดึงส์นั้นแม้ทั้งหมด ชื่อเทพบุตรชันดาวดึงส์. แต่อาจารย์บางพวกกล่าว

ว่า คำว่าดาวดึงส์เป็นเพียงชื่อของเทวดาเหล่านั้นเท่านั้น. ชื่อว่าชั้นยามาเพราะ

เข้าถึงทิพยสุขพิเศษกว่าเทวโลกทั้งสอง. ชื่อว่าดุสิตเพราะยินดีร่าเริงอยู่ด้วย

ทิพยสมบัติ ชื่อว่าชั้นนิมมานรดีเพราะเนรมิตโภคะทั้งหลายได้ตามชอบใจ ใน

เวลาที่ต้องการจะยินดีเกินกว่าอารมณ์ที่จัดไว้ตามปกติ. ชื่อว่าปรนิมมิตวสวัตดี

เพราะใช้อำนาจให้เป็นไปในโภคะทั้งหลาย ที่ผู้อื่นรู้ความชอบใจเนรมิตให้.

บาทคาถาว่า ตตฺถ จิตฺต ปณิเธหิ ความว่า แม่นางจงตั้งจิตของแม่นาง คือ

จงทำความใคร่เพื่อเกิดในหมู่เทวดามีชั้นดาวดึงส์เป็นต้นนั้น ท่านกล่าวเทวดา

ชั้นดาวดึงส์เป็นต้นไว้ด้วยประสงค์ว่า โภคสมบัติของเทพชั้นจาตุมมหาราชิกา

เลวกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์นอกนี้. บาทคาถาว่า ยตฺถ เต วุสิต ปุเร ได้แก่

ในหมู่เทวดาที่แม่นางเคยอยู่มาก่อน ได้ยินว่า พระสีสูปจาลาเถรีนี้ เกิดอยู่ใน

เทวดาทั้งหลายก่อน ได้ชำระทางสวรรค์ชั้นกามาวจร ๕ ชั้นตั้งแต่ชั้นดาวดึงส์

ลงมาอยู่ชั้นต่ำอีก ตั้งอยู่ในชั้นดุสิต จุติจากชั้นนั้นแล้ว ไปบังเกิดในมนุษย์ใน

ปัจจุบัน.

พระเถรีได้ฟังคำนั้น แสดงความตนมีใจกลับออกไปจากกามและ

จากโลกว่า มารเอย หยุดเกิด โลกกามาวจรที่ท่านว่า โลกอื่น ๆ ก็ถูกไฟคือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 291

ราคะเป็นต้นไหม้ลุกโชนไปหมด จิตของวิญญูชน ย่อมไม่ยินดีในโลกนั้นเลย

เมื่อขู่มารนั้น ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นว่า

เทวดาชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้น

นิมมานรดี ชั้นวสวัตดี พากันไปจากภพเข้าสู่ภพทุก ๆ

กาล นำหน้าอยู่แต่ในสักกายะ ล่วงสักกายะไปไม่ได้

ก็แล่นไปหาชาติและมรณะ โลกทั้งปวงลูกไฟไหม้ลุก

รุ่งโรจน์โชติช่วง โลกทั้งปวงหวั่นไหวแล้ว พระพุทธ-

เจ้าได้ทรงแสดงธรรมอันเป็นธรรมไม่หวั่นไหว ชั่ง

ไม่ได้ เป็นธรรมอันปุถุชนเสพไม่ได้โปรดข้าพเจ้า ใจ

ของข้าพเจ้ายินดีนักในธรรมนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังคำสั่ง

สอนของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในพระศาสนา วิชชา ๓

ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าข้าพเจ้า

ก็ทำเสร็จแล้ว ข้าพเจ้ากำจัดความเพลิดเพลินในสิ่ง

ทั้งปวงได้แล้ว ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว ดูก่อน

มารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้เถิดว่า ตัวท่านข้าพเจ้า

ก็กำจัดได้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาล กาล ได้แก่ ตลอดกาลนั้น ๆ .

บทว่า ภวาภว ได้แก่ จากภพสู่ภพ. สกฺกายสฺมึ ได้แก่ เบญจขันธ์ บทว่า

ปุรกฺขตา แปลว่า ทำไว้ข้างหน้า ท่านอธิบายว่า มารเอย เทวดาชั้นดาวดึงส์

เป็นต้นที่ท่านกล่าวเมื่อไปจากภพสู่ภพก็ดำรงอยู่ในสักกายะของตนอันอากูลด้วย

โทษหลายอย่างมีความไม่เที่ยงเป็นต้น เพราะฉะนั้น เทวดาจึงเอาสักกายะนำ

หน้า ในกาลนั้น ๆ คือในเวลาเกิด ในเวลาท่ามกลาง ในเวลาที่สุด ดำรงอยู่

ในภพนั้น จากนั้นไปก็ไม่ล่วงพ้นสักกายะ ไม่มุ่งหน้าออกจากทุกข์ วิ่งไปตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 292

ฝั่งสักกายะเท่านั้น ชื่อว่าแล่นไปหาชาติและมรณะ เพราะถูกราคะเป็นต้นติด

ตามแล้ว ย่อมแล่นไปหาชาติและมรณะอยู่ร่ำไป ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากชาติ

ความเกิดและมรณะความตายนั้นได้.

บาทคาถาว่า สพฺโพ อาทีปิโต โลโก ความว่า มารเอย โลกชั้น

กามาวจรที่ท่านว่า ที่เข้าใจกันว่าธาตุสาม อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ โลกแม้ทั้ง

หมด ไหม้แล้วด้วยไฟ ๑๑ กอง มีไฟคือราคะเป็นต้น. ชื่อว่าลุกเพราะถูกไฟ

ไหม้ลุกอยู่บ่อยๆ ชื่อว่าโพลง เพราะลุกโพลงเป็นอันเดียวกันชั่วนิรันดร์

ชื่อว่าหวั่นไหวเพราะหวั่นไหว คือเคลื่อนไปทางโน้นและทางนี้ด้วยตัณหาและ

ด้วยกิเลสทุกอย่าง.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า มีพระทัยอันพระมหากรุณาทรงตักเตือนแล้ว

ได้ทรงแสดงโลกุตรธรรม ๙ อย่าง ต่างด้วยมรรคผลและนิพพาน ชื่อว่าเป็น

ธรรมไม่หวั่นไหวเพราะใคร ๆ ไม่สามารถให้หวั่นไหวคือเคลื่อนไหวได้ในโลก

ที่ถูกไฟไหม้ ลุกโพลงและหวั่นไหวแล้วอย่างนี้. ชื่อว่าชั่งไม่ได้ เพราะไม่มีผู้

เสมือนพระองค์ เหตุที่ใคร ๆ ไม่สามารถจะชั่งได้โดยพระคุณว่า ประมาณ

เท่านี้. ชื่อว่าเป็นธรรมอันปุถุชนเสพไม่ได้ เพราะพระอริยะมีพระพุทธเจ้าเป็น

ต้นเสพแล้ว เหตุดำเนินอยู่ในภาวนาเป็นอารมณ์คือได้ตรัสประกาศแล้วแก่โลก

พร้อมทั้งเทวโลก. ใจของเรายินดียิ่งนักในอริยธรรมนั้น อธิบายว่าไม่กลับไป

จากอริยธรรมนั้น คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

จบ อรถกถาสีสูปจาลาเถรีคาถา

จบ อรรถกถาอัฏฐกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 293

นวกนิบาต

๑. วัฑฒมาตาเถรีคาถา

[๔๖๓] พระวัฑฒมาตาเถรีกล่าวกะพระวัฑฒเถระผู้เป็นบุตรว่า

พ่อวัฑฒะ ตัณหาความอยากในโลก อย่าได้มี

แก่พ่อไม่ว่าในกาลไหน ๆ เลย พ่ออย่าเป็นภาคีมีส่วน

แห่งทุกข์บ่อย ๆ เลยนะพ่อ.

พ่อวัฑฒะ พระมุนีทั้งหลาย ไม่มีตัณหา ตัด

ความสงสัยได้ เป็นผู้เยือกเย็น ถึงความฝึกฝนไม่มี

อาสวะ อยู่เป็นสุข.

พ่อวัฑฒะพ่อจงพอกพูนมรรค ทางที่ท่านผู้แสวง

คุณเหล่านั้นประพฤติกันมาแล้ว เพื่อบรรลุทัศนะ เพื่อ

ทำที่สุดทุกข์.

พระวัฑฒเถระกล่าวว่า

โยมมารดาบังเกิดเกล้า กล้ากล่าวความนี้แก่ลูก

โยมมารดา ลูกเข้าใจว่า ตัณหาของโยมมารดาคง

ไม่มีแน่ละ.

พระเถรีกล่าวว่า

พ่อวัฑฒะ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง มีทั้ง ต่ำ

สูง กลาง ตัณหาของแม่ในสังขารเหล่านั้น อณูหนึ่ง

ก็ดี ขนาดเท่าอณูหนึ่งก็ดี ไม่มีเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 294

แม่ผู้ไม่ประมาท เพ่งฌานอยู่ สิ้นอาสวะหมด

แล้ว วิชชา ๓ ก็บรรลุแล้ว คำสอนของพระศาสดา

ก็กระทำเสร็จแล้ว.

พระวัฑฒเถระกล่าวว่า

โยมมารดา มอบปะฏักอันโอฬารแก่ลูกแล้วหนอ

คือคาถาที่ประกอบด้วยปรมัตถ์ เหมืนคาถาอนุ-

เคราะห์.

ลูกฟังคำสอนของโยมมารดาบังเกิดเกล้าก็ถึง

ความสลดใจในธรรม เพื่อบรรลุธรรมอันเกษมปลอด

โปร่งจากโยคะกิเลส.

ลูกนั้น มีจิตเด็ดเดี่ยวด้วยความเพียร ไม่เกียจ

คร้านทั้งกลางคืนกลางวัน อันโยมมารดาเตือนแล้ว ก็

สงบ สัมผัสสันติอันยอดเยี่ยม.

จบ วัฑฒมาตาเถรีคาถา

จบ นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 295

อรรถกถานวกนิบาต

๑. วัฑฒมาตุเถรีคาถา

ใน นวกนิบาต คาถาว่า มา สุ เต วฑฺฒ โลกมฺหิ เป็นต้น

เป็นคาถาของ พระวัฑฒมาตุเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระเถรีแม้รูปนี้ ก็บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ

สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้น ๆมีสัมภารธรรมเครื่อง

ปรุงแต่งวิโมกข์ซึ่งรวบรวมมาตามลำดับ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็บังเกิดในเรือน

สกุลในภารุกัจฉนคร เจริญวัยแล้วก็มีสามี คลอดบุตรคนหนึ่ง บุตรนั้นมีชื่อว่า

วัฑฒะ นับตั้งแต่นั้น เขาก็เรียกนางว่าวัฑฒมาตา นางฟังธรรมในสำนัก

ภิกษุณี ได้ศรัทธา ก็มอบบุตรแก่พวกญาติ แล้วก็อยู่อาศัยสำนักภิกษุณี

เรื่องมาในบาลีเท่านั้น ส่วนพระวัฑฒเถระบุตรของตน ที่รีบร้อนเข้ามาเยี่ยม

ตนในสำนักภิกษุณีแต่ลำพัง พระเถรีนี้ก็ตักเตือนว่า เหตุไรเจ้าจึงรีบร้อนมา

ในที่นี้แต่ลำพัง เมื่อจะสั่งสอนจึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

พ่อวัฑฒะ ตัณหาความอยาก อย่าได้มีแก่พ่อ

ไม่ว่าในกาลไหนๆ เลย ลูกเอ๋ย พ่ออย่าได้เป็นภาคีมี

ส่วนแห่งทุกข์บ่อยๆ เลยนะพ่อ.

พ่อวัฑฒะ พระมุนีทั้งหลาย ไม่มีตัณหาตัดความ

สงสัยได้ เป็นผู้เยือกเย็น ถึงความฝึกฝน ไม่มีอาสวะ

อยู่เป็นสุข.

๑. บาลีเป็น วัฑฒมาตาเถรี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 296

พ่อวัฑฒะ พ่อจงพอกพูนมรรค ทางที่ท่านผู้แสวง

คุณเหล่านั้นประพฤติกันมาแล้วเพื่อบรรลุทัศนะ เพื่อ

ทำที่สุดทุกข์.

บรรดาบทเหล่านั้น ในคำว่า มา สุ เต วฑฺฒ โลกมฺหิ

วนโถ อหุ กุทาจน คำว่า สุ เป็นเพียงนิบาต. ลูกวัฑฒะ ตัณหา

ความอยาก ในสัตว์โลก และสังขารโลก แม้ทั้งหมด อย่าได้มี อย่าได้เป็นแก่

ลูก แม้ในกาลไร ๆ เลย ในข้อนั้น พระเถรีกล่าวเหตุว่า ลูกเอ๋ย พ่ออย่ามี

ส่วนแห่งทุกข์มีการเกิดไป ๆ มาๆ เป็นต้นบ่อยๆ คือเมื่อยังตัดตัณหา ความ

อยาก ไม่ขาด ก็อย่าเป็นภาคีมีส่วนแห่งทุกข์ มีการเกิดไป ๆ มา ๆ เป็นต้น

บ่อย ๆ ซึ่งมีตัณหานั้นเป็นนิมิต พระเถรีครั้นแสดงโทษในการตัดกิเลสไม่ได้

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงอานิสงส์ในการตัดกิเลสได้ จึงกล่าวว่า สุข

หิ วฑฺฒ เป็นต้น คำนั้นมีความว่า ลูกวัฑฒะ ท่านที่ชื่อว่ามุนี เพราะ

เป็นผู้ประกอบด้วยโมเนยยธรรม ชื่อว่า อเนชา เพราะไม่มีตัณหาที่ชื่อว่าเอชา

ชื่อว่า ตัดความสงสัยได้ เพราะละความสงสัยได้ด้วยโสดาปัตติมรรค ชื่อว่า

เยือกเย็น เพราะไม่มีความเร่าร้อนด้วยกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าถึงความฝึกฝน

เพราะบรรลุความฝึกฝนอันยอดเยี่ยมไม่มีอาสวะ คือสิ้นอาสวะแล้ว ย่อมอยู่

เป็นสุข บัดนี้ ทุกข์ทางใจของท่านเหล่านั้นไม่มี ต่อไปทุกข์แม้ทุกอย่างก็จัก

ไม่มีกันเลย.

เพราะเหตุที่เป็นอย่างนี้แหละ ฉะนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า เตหา-

นุจิณฺณ อิสีหิ ฯลฯ อนุพฺรูหย ความว่า พ่อวัฑฒะ พ่อจงพอกพูน

พึงจำเริญมรรค คือสมถวิปัสสนา ที่พระขีณาสพ ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่เหล่า

นั้น ประพฤติตามๆ กัน คือปฏิบัติกันมาแล้ว เพื่อบรรลุ ญาณทัศนะ เพื่อ

ทำที่สุดทุกข์ในวัฏฏะ แม้ทั้งหมด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 297

พระวัฑฒเถระฟังคำมารดานั้น แล้วคิดว่า โยมมารดาของเรา คงตั้ง

อยู่ในพระอรหัตแน่แล้ว เมื่อจะประกาศความข้อนั้น จึงกล่าวคาถาว่า

โยมมารดาบังเกิดเกล้ากล้ากล่าวความนี้แก่ลูก

โยมมารดา ลูกเข้าใจว่า ตัณหาของโยนมารดาคง

ไม่มีแน่ละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสารทา ว ภณสิ เอตมตฺถ ชเนตฺติ

เม ความว่า ท่านโยมมารดาบังเกิดเกล้ากล่าวความนี้ คือโอวาทนี้ว่า ลูกวัฑฒะ

ตัณหา ความอยาก ในโลก อย่าได้มีแก่ลูก ไม่ว่าในกาลไหน ๆ เลย ดังนี้

โยมมารดาเป็นผู้ปราศจากความขลาดกลัว ไม่ติดไม่ข้องในอารมณ์ไหน ๆ กล่าว

แก่ลูก ท่านโยมมารดา เพราะฉะนั้น ลูกจึงเข้าใจว่า ตัณหาของโยมมารดา

คงไม่มีแน่ละ อธิบายว่า ท่านโยมมารดา คือท่านโยมมารดาของลูก ลูก

เข้าใจว่า ตัณหาแม้เพียงความรักระหว่างครอบครัวของโยมมารดา คงไม่มีใน

ตัวลูก อธิบายว่า ตัณหาที่ยึดถือว่าของเราไม่มี.

พระเถรีฟังคำบุตรนั้นแล้ว กล่าวว่ากิเลสแม้เพียงเล็กน้อย ไม่มีใน

อารมณ์ไหนๆ ของแม่เลย ดังนี้ เมื่อจะประกาศความที่ตนทำกิจเสร็จแล้ว

จึงกล่าว ๒ คาถา ดังนี้ว่า

พ่อวัฑฒะ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง มีทั้ง ต่ำ

สูง กลาง ตัณหาของแม่ในสังขารเหล่านั้น อณูหนึ่ง

ก็ดี ขนาดอณูหนึ่งก็ดี ไม่มีเลย.

แม่ผู้ไม่ประมาท เพ่งฌานอยู่ สิ้นอาสวะหมด

แล้ว วิชชา ๓ ก็บรรลุแล้ว คำสอนของพระศาสดา

ก็กระทำเสร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เกจิ เป็นคำกล่าวความไม่มีกำหนด.

บทว่า สงฺขารา ได้แก่สังขตธรรม. บทว่า หีนา ได้แก่ ต่ำ น่ารังเกียจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 298

บทว่า อุกฺกุฏฺมชฺณิมา ได้แก่ ประณีตและปานกลาง บรรดาสังขาร ๓

นั้น สังขารที่ชรามรณะปรุงแต่ง ชื่อว่า ชั้นกลาง อีกนัยหนึ่ง สังขารที่

ฉันทะเป็นต้นอย่างเลวทำให้เกิด ชื่อว่า ชั้นต่ำ. ที่ฉันทะเป็นต้นอย่างกลางทำ

ให้เกิด ชื่อว่า ชั้นกลาง, ที่ฉันทะเป็นต้นอย่างประณีตทำให้เกิด ชื่อว่า ชั้นสูง.

อีกนัยหนึ่ง อกุศลธรรม ชื่อว่า ชั้นต่ำ, โลกุตรธรรม ชื่อว่า ชั้นสูง, นอกนี้

ชื่อว่า ชั้นกลาง. บทว่า อณูปิ อณุมตฺโตปิ ความว่า มิใช่แต่ตัณหาในตัวลูก

อย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้ สังขารทุกอย่าง ต่างโดยชั้นต่ำเป็นตัณหาของแม่ใน

สังขารเหล่านั้นทั้งหมด อณูหนึ่งก็ดี ขนาดเท่าอณูหนึ่งก็ดี เล็กอย่างยิ่งก็ดี

ไม่มีเลย.

พระเถรีกล่าวเหตุในข้อนั้นว่า แม่ผู้ไม่ประมาทเพ่งฌานอยู่ ก็สิ้น

อาสวะหมดทุกอย่าง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมตฺตสฺส ฌายโต

ได้แก่ ผู้ไม่ประมาทเพ่งฌานอยู่ คำนี้ท่านกล่าวไว้เป็นลิงควิปัลลาส ในคำนั้น

ประกอบความว่า เพราะเหตุที่วิชชา ๓ แม่บรรลุแล้ว ฉะนั้น คำสอนของ

พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่า แม่ทำเสร็จแล้ว เพราะเหตุที่แม่ไม่ประมาทเพ่งฌาน

ฉะนั้น อาสวะของแม่จึงหมดสิ้นไป ตัณหาของแม่อณูหนึ่งก็ดี ขนาดเท่าอณู

หนึ่งก็ดี จึงไม่มีเลย.

พระเถระกระทำโอวาทที่พระเถรีกล่าวแล้วให้เป็นดังขอช้าง [คอยสับ

ตน] เกิดความสลดใจ ก็ไปพระวิหารนั่งในที่พักกลางวัน เจริญวิปัสสนาแล้ว

ก็บรรลุพระอรหัต พิจารณาถึงการปฏิบัติของตน เกิดโสมนัส ก็ไปยังสำนักของ

โยมมารดา เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตจึงกล่าว ๓ คาถา ดังนี้ว่า

โยมมารดา มอบปฏักอันโอฬารแก่ลูกแล้วหนอ

คือคาถาที่ประกอบด้วยปรมัตถ์ เหมือนคาถาอนุ-

เคราะห์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 299

ลูกฟังคำสอนของโยมมารดาบังเกิดเกล้า ก็ถึง

ความสลดใจในธรรม เพื่อบรรลุธรรมเกษมปลอดโปร่ง

จากโยคะกิเลส.

ลูกนั้น มีจิตเด็ดเดี่ยวด้วยความเพียร ไม่เกียจ-

คร้านทั้งกลางคืนกลางวัน อันโยมมารดาเตือนแล้ว ก็

สงบ สัมผัสสันติอันยอดเยี่ยม.

ครั้งนั้น พระเถรีครั้นทำถ้อยคำของตนให้เป็นประดุจขอช้าง [สับ

บุตรของตน] แล้ว มีจิตอันการบรรลุพระอรหัตของบุตรให้ยินดีแล้ว ก็กล่าว

ซ้ำคาถาที่บุตรนั้นกล่าวแล้วด้วยตนเอง คาถาแม้เหล่านั้นจึงกลายเป็นเถรีคาถา

ด้วยประการอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฬาร ได้แก่ ไพบูลย์คือใหญ่ บทว่า

ปโตท ได้แก่ปฏักคือโอวาท. บทว่า สมวสฺสริ ประกอบความว่า ให้เป็น

ไปโดยชอบแล้วหนอ ถ้าจะถามว่าปฏักนั้นคืออะไร เพราะฉะนั้น พระเถระ

จึงกล่าวว่าคือคาถาที่ประกอบด้วยปรมัตถ์. พระเถระกล่าวหมายถึงว่า มา สุ

เต วฑฺฒ โลกมฺหิ เป็นต้น. บทว่า ยถาปิ อนุกมฺปิกา ความว่า โยม

มารดาของลูก ประกาศปฏัก คือท่อนไม้คอยไล่ต้อนอันโอฬาร กล่าวคือ

คาถาชี้แจงถึงความเป็นไปและถอยกลับ ซึ่งปลุกใจด้วยกำลังญาณแก่ลูก เหมือน

คาถาที่อนุเคราะห์แม้อย่างอื่น ฉะนั้น.

บทว่า ธมฺมสเวคมาปาทึ ได้แก่ ถึงความกลัว ความสลดใจ อย่าง

ยิ่งใหญ่ เพราะนำมาซึ่งภัยด้วยญาณ.

บทว่า ปธานปหิตตฺโต ได้แก่มีจิตมุ่งมั่นพระนิพพาน ด้วยการ

ประกอบสัมมัปปธาน ๔. อย่าง. บทว่า อผุสึ สนฺตึมุตฺตม ความว่า สัมผัส

คือบรรลุสันติอันยอดเยี่ยม คือพระนิพพาน.

จบ อรรถกถาวัฑฒมาตุเถรีคาถา

จบ อรรถกถานวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 300

เอกาทสกนิบาต

๑. กิสาโคตมีเถรีคาถา

[๔๖๔] พระกิสาโคตมีเถรีกล่าวว่า

เฉพาะโลก พระมุนีทรงสรรเสริญความเป็นผู้มี

กัลยาณมิตร คนเมื่อคบกัลยาณมิตร แม้เป็นพาล ก็พึง

เป็นบัณฑิตได้บ้าง.

ควรคบแต่สัตบุรุษคนดี คนคบสัตบุรุษ ปัญญา

ย่อมเจริญได้เหมือนกัน คนคบสัตบุรุษจะพึงพ้นจาก

ทุกข์ได้ทุกอย่าง.

บุคคลพึงรู้จักอริยสัจ แม้ทั้ง ๔ คือ ทุกข์ ทุกข-

สมุทัย ทุกขนิโรธ และมรรคมีองค์ ๘.

ยักษิณีตนหนึ่งกล่าวตำหนิความเป็นหญิงไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงฝึกคนที่ควรฝึกตรัสว่า

ความเป็นหญิงเป็นทุกข์ แม้การเป็นหญิงร่วมสามีก็

เป็นทุกข์ หญิงบางพวกย่อมคลอดครั้งเดียว บางพวก

ก็เชือดคอตนเอง บางพวกที่เป็นสุขุมาลชาติละเอียด

อ่อน ทนทุกข์ไม่ได้กินยาพิษ สัตว์ในครรภ์และ

หญิงผู้มีครรภ์ ย่อมประสบความพินาศย่อยยับทั้งสอง

คน

พระปฏาจาราเถรีเล่าว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 301

ข้าพเจ้าครรภ์แก่ใกล้คลอด เดินทางไปยังไม่ทัน

ถึงเรือนตน ก็คลอดบุตรที่ระหว่างทาง พบสามีตาย

บุตรทั้งสองก็ตาย สามีก็ตายเสียที่ทางเปลี่ยว ข้าพเจ้า

กลายเป็นคนยากไร้ มารดาบิดาและพี่ชาย ถูกเผาบน

เชิงตะกอนเดียวกัน เมื่อตระกูลเสื่อมตกเป็นคนยากไร้

ข้าพเจ้าต้องเสวยทุกข์หาประมาณมิได้ น้ำตาของ

ข้าพเจ้าไหลตลอดมาหลายพันชาติ.

ข้าพเจ้าอยู่ท่ามกลางสุสาน แม้เนื้อบุตรก็ต้องกิน

ข้าพเจ้ามีตระกูลเสื่อมแล้ว สามีตายแล้ว [เป็นหม้าย]

คนทั้งปวงติเตียนแล้วก็ได้บรรลุอมตธรรม.

อริยมรรคมีองค์ ๘ อันให้ถึงอมตธรรมข้าพเจ้า

ก็อบรมแล้ว แม้พระนิพพานก็กระทำให้แจ้งแล้ว

ข้าพเจ้าได้พบกระจกธรรมแล้ว.

ข้าพเจ้าตัดความโศกศัลย์ได้แล้ว ปลงภาระแล้ว

กระทำกรณียะเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าชื่อกีสาโคตมีเถรี ผู้

มีจิตหลุดพ้นแล้วกล่าวคำนี้ไว้.

จบ กีสาโคตมีเถรีคาถา

จบ เอกาทสนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 302

อรรถกถาเอกาทสกนิบาต

๑. อรรถกถากิสาโคตมีเถรีคาถา

ใน เอกาทสนิบาต คาถาว่า กลฺยาณมิตฺตตา เป็นต้น เป็น

คาถาของ พระกีสาโคตมีเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า พระเถรีรูปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุ-

มุตตระ ก็บังเกิดในเรือนสกุลกรุงหังสวดี รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งฟังธรรม

ในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะ เป็นเลิศของเหล่าภิกษุณีผู้ทรงจีวรปอน ก็สร้างสมกุศลให้ยิ่งๆ

ขึ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็บังเกิด

ในสกุลเข็ญใจ กรุงสาวัตถี ชื่อของนางว่า โคตมี แต่เพราะตัวผอม เขาจึง

เรียกว่า กีสาโคตมี นางไปมีสามี บิดามารดาและญาติดูหมิ่นว่า เป็นลูกสาว

ของสกุลเข็ญใจ นางคลอดลูกชายออกมาคนหนึ่ง เพราะได้ลูกชาย บิดามารดา

และญาติก็ทำสัมมานะยกย่องนาง แต่ลูกชายนางก็ตายเสียขณะที่วิ่งเล่นได้ ด้วย

เหตุนั้น นางจึงเกิดบ้าเพราะความเศร้าโศก.

นางคิดว่า เมื่อก่อนเราถูกดูหมิ่น นับตั้งแต่ลูกชายเราเกิดก็ได้รับ

ยกย่อง คนเหล่านี้พยายามจะทิ้งลูกชายเราไว้ข้างนอก จึงอุ้มร่างลูกชายที่ตายแล้ว

ไป โดยความบ้าเพราะความเศร้าโศก ตระเวนไปในนคร ตามลำดับประตู

เรือนโดยกล่าวขอร้องว่า ขอท่านโปรดให้ยาแก่ลูกชายของข้าด้วยเถิด ผู้คน

ทั้งหลายบริภาษด่าว่า จะเอายาแก้ตายมาแต่ไหน นางก็ไม่เชื่อคำของคนเหล่า

นั้น ครั้งนั้น ชายบัณฑิตผู้หนึ่งคิดว่า หญิงคนนี้จิตฟุ้งซ่านเป็นบ้าเพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 303

โศกเศร้าถึงลูกชาย พระทศพลเท่านั้นคงจักทรงรู้จักยาสำหรับหญิงคนนี้ จึง

กล่าวว่า แม่คุณ ไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วทูลถามถึงยาสำหรับลูกชายของ

แม่นางสิ นางไปพระวิหาร เวลาพระศาสดาทรงแสดงธรรม ทูลถามว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงประทานยาสำหรับ ลูกชายของข้าพระองค์ด้วย

เถิด พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของนาง จึงตรัสว่า ไปสิ เข้าพระนคร

เรือนหลังใดไม่เคยมีคนตาย จงนำเมล็ดผักกาดจากเรือนหลังนั้นมา. นางรับ

พระพุทธดำรัสว่า ดีละพระเจ้าข้า ดีใจก็เข้าพระนครไปในเรือนหลังแรก พูด

ว่า พระศาสดาโปรดให้ข้านำเมล็ดผักกาดไป เพื่อทำยาสำหรับลูกชายของข้า

ถ้าในเรือนหลังนี้ ไม่เคยมีใคร ๆ ตาย โปรดให้เมล็ดผักกาดแก่ข้าด้วยเถิด

คนในเรือนหลังนั้นกล่าวว่า ใครเล่าจะสามารถนับคนที่ตายไปแล้ว ในเรือน

หลังนี้ได้. นางไปเรือนหลังที่สอง-สาม ด้วยพุทธานุภาพ ก็หายบ้า อยู่ใน

ปกติจิตจึงคิดว่า จะประโยชน์อะไรด้วยเมล็ดผักกาดนั้น พอกันที สำหรับ

เมล็ดผักกาดในที่นี้ นางคิดว่า ธรรมเนียมนี้นี่แหละ คงจักมีทั่วพระนคร

ความจริงนี้คงจักเป็นข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์ด้วยหวังดี ทรง

เห็นแล้ว ก็ได้ความสลดใจ จากที่นั้น ก็ออกไปข้างนอก ทิ้งลูกชายที่ป่าช้า

ผีดิบกล่าวคาถานี้ว่า

ธรรมคืออนิจจตา ความไม่เที่ยง มิใช่เป็นธรรม

ของชาวบ้าน มิใช่ของชาวนิคมและมิใช่ของตระกูล

หนึ่ง หากแต่เป็นธรรมของชาวโลกทั้งหมดรวมทั้ง

เทวโลกด้วย.

ก็แลนางครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ไปเฝ้าพระศาสดา พระศาสดาตรัส

ถามนางว่า โคตมี เจ้าได้เมล็ดผักกาดมาแล้วหรือ. นางกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ กิจกรรมเมล็ดผักกาดเสร็จแล้ว พระเจ้าข้า ขอทรงโปรดเป็น

ที่พึ่งของข้าพระองค์ด้วยเถิด ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสคาถาแก่นางว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 304

มฤตยู ย่อมพานรชน ผู้มัวเมาในบุตรและสัตว์

เลี้ยง มีใจฟุ้งซ่านไป เหมือนกระแสน้ำหลากขนาด

ใหญ่ พัดพาชาวบ้านที่มัวหลับใหลไปฉะนั้น.

จบคาถา นางก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ตามอาการที่ยืนอยู่ ทูลขอ

บรรพชากะพระศาสดา พระศาสดาทรงอนุญาตให้บรรพชาในสำนักของภิกษุณี

นางถวายบังคมพระศาสดา ทำประทักษิณเวียนขวา ๓ รอบ แล้วไปสำนัก

ภิกษุณี บรรพชาอุปสมบทแล้ว ไม่นานนัก ทำโยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนา

ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสพระคาถาประกอบด้วยโอภาสแก่นางดังนี้ว่า

ผู้เห็นอมตบท มีชีวิตอยู่วันเดียว ยังประเสริฐ

ว่าผู้ไม่เห็นอมตบท มีชีวิตอยู่ถึง ๑๐๐ ปี.

จบพระคาถา นางก็บรรลุพระอรหัต ในการใช้สอยบริขาร

ก็อุกฤษฏ์อย่างยิ่ง ครองแต่จีวรที่ประกอบด้วยความปอน ๓ อย่าง. ครั้งนั้น

พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร กำลังทรงสถาปนาพระภิกษุณีทั้ง

หลายไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะตามลำดับก็ทรงสถาปนาพระเถรีไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะเป็นเลิศของเหล่าภิกษุณีผู้ทรงจีวรปอน. พระเถรีนั้นพิจารณาการ

ปฏิบัติของตน คิดว่า เราอาศัยพระศาสดาจึงให้คุณวิเศษนี้ ได้กล่าวคาถา

เหล่านั้นโดยมุข คือการสรรเสริญกัลยาณมิตรว่า

เฉพาะโลก พระมุนีทรงสรรเสริญความเป็นผู้มี

กัลยาณมิตร คนเมื่อคบกัลยาณมิตร แม้เป็นพาลก็พึง

เป็นบัณฑิตได้บ้าง.

ควรคบแต่สัตบุรุษคนดี คนคบสัตบุรุษ ปัญญา

ย่อมเจริญได้เหมือนกัน คนคบสัตบุรุษจะพึงพ้นจาก

ทุกข์ได้ทุกอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 305

บุคคลพึงรู้จักอริยสัจแม้ทั้ง ๔ คือทุกข์ ทุกข-

สมุทัย ทุกขนิโรธ และมรรคมีองค์ ๘.

ยักษิณีตนหนึ่งกล่าวตำหนิความเป็นหญิงไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงฝึกคนที่ควรฝึก ตรัส

ว่า ความเป็นหญิงเป็นทุกข์ แม้การเป็นหญิงร่วมสามี

ก็เป็นทุกข์ หญิงบางพวก ย่อมคลอดครั้งเดียว บาง

พวกก็เชือดคอตนเอง บางพวกที่เป็นสุขุมาลชาติ ทน

ทุกข์ไม่ได้ก็กินยาพิษ สัตว์ในครรภ์และหญิงผู้มีครรภ์

ย่อมประสบความพินาศก็ย่อยยับทั้งสองคน.

พระปฏาจาราเถรีเล่าว่า

ข้าพเจ้าครรภ์แก่ใกล้คลอด เดินทางไปยังไม่ทัน

ถึงเรือนตน ก็คลอดบุตรระหว่างทาง พบสามีตาย

บุตรทั้งสองก็ตาย สามีก็ตายเสียที่หนทางเปลี่ยว

ข้าพเจ้ากลายเป็นคนยากไร้ มารดาบิดาและพี่ชายถูก

เผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน เมื่อตระกูลเสื่อมตกเป็น

คนยากไร้ ข้าพเจ้าต้องเสวยทุกข์หาประมาณมิได้

น้ำตาของข้าพเจ้าไหลตลอดมาหลายพันชาติ.

ข้าพเจ้าอยู่ท่ามกลางสุสาน แม้เนื้อบุตรก็ต้องกิน

ข้าพเจ้ามีตระกูลเสื่อมแล้ว สามีตายแล้ว คนทั้งปวง

ติเตียนแล้ว ก็ได้บรรลุอมตธรรม.

อริยมรรคมีองค์ ๘ อันให้ถึงอมตธรรม ข้าพเจ้า

ก็อบรมแล้ว แม้พระนิพพานก็กระทำให้แจ้งแล้ว

ข้าพเจ้าได้พบกระจกธรรมแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 306

ข้าพเจ้าตัดความโศกศัลย์ได้แล้ว ปลงภาระแล้ว

กระทำกรณียะเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าชื่อกีสาโคตมีเถรี

ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว กล่าวคำนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กลฺยาณมิตฺตตา ความว่า ชื่อว่า

กัลยาณมิตร เพราะมีมิตรงาม เจริญ ดี ผู้สมบูรณ์ด้วยความมีศีลเป็นต้น

กำลังมีทุกข์ ถูกกำจัดประโยชน์เกื้อกูลอันใด บุคคลใดเป็นมิตรมีอุปการะช่วย

เขาโดยอาการทุกอย่าง อย่างนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า กัลยาณมิตร ความเป็น

แห่งกัลยาณมิตรนั้น ชื่อว่ากัลยาณมิตตตา คือความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร มิตรดี.

บทว่า มุนินา ได้แก่ พระศาสดา. บทว่า อุทฺทิสฺส วณฺณิตา ได้แก่

เฉพาะสัตว์โลก ว่า บุคคลควรดำเนินตามกัลยาณมิตร ทรงสรรเสริญไว้โดยนัย

เป็นต้นว่า "ดูก่อนอานนท์ ความมีมิตรดี ความมีสหายดี ความมีเพื่อนดี เป็น

ตัวพรหมจรรย์ทั้งหมดเลย ข้อที่ภิกษุจักเป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวร

อยู่ ก็พึงหวังได้ สำหรับเมฆิยภิกษุ ผู้มีมิตรดี ผู้มีสหายคี ผู้มีเพื่อนดี" ดังนี้.

คำว่า กลฺยาณมิตฺเต ภชมาโน เป็นต้น เป็นคำแสดงอานิสงส์

ของความเป็นผู้มีมิตรดี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ พาโล ปณฺฑิโต

อสฺส ความว่า บุคคลผู้คบกัลยาณมิตร แม้เป็นพาลมาก่อน เพราะเว้นข้อที่

คับฟังเป็นต้น ก็พึงเป็นบัณฑิตได้บ้าง เพราะสดับฟังข้อที่ยังไม่ได้สดับฟัง

เป็นต้น.

บทว่า ภซิตพฺพา สปฺปุริสา ความว่า เพราะเหตุที่บุคคลแม้เป็น

พาลก็เป็นบัณฑิตได้ สัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น บุคคลก็พึงซ่อง

เสพด้วยการเข้าไปหาตามเวลาสมควรเป็นอาทิ. บทว่า ปญฺา ตถา ปวฑฺฒติ

ภชนฺตาน ประกอบความว่า สำหรับบุคคลผู้คบกัลยาณมิตร ปัญญาย่อมเจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 307

เพิ่มพูน บริบูรณ์ เหมือนอย่างบรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เมื่อ

คบสัตบุรุษ จะพึงพ้นจากทุกข์มีชาติเป็นต้นได้หมดฉะนั้น.

พระเถรี เมื่อแสดงวิธีพ้นทุกข์ ด้วยวิธีคบกัลยาณมิตร จึงกล่าวคำว่า

ทุกฺขณฺเจว วิชาเนยฺย เป็นอาทิ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาริ

อริยสจฺจานิ ประกอบความว่า พึงรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ เหล่านี้ คือ

ทุกข์ ทุกขสมุทัย นิโรธ และมรรคมีองค์ ๘.

สองคาถาว่า ทุกฺโข อิตฺถิภาโว เป็นต้น ยักษิณีตนหนึ่งเมื่อ

ติเตียนความเป็นหญิงกล่าวไว้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺโข อิตฺถิภาโว

อกฺขาโต ความว่า ความเป็นหญิง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงฝึกคนที่ควร

ฝึกตรัสว่าเป็นทุกข์ เพราะโทษทั้งหลายมีเป็นต้นอย่างนี้ว่า ความอ่อนแอ การ

ตั้งท้อง ความเป็นอยู่ที่ต้องอาศัยคนอื่นทุกเวลา. บทว่า สปตฺติกมฺปิ ทุกฺข

ได้แก่ การอยู่ที่มีศัตรู แม้การอยู่ร่วมกับหญิงร่วมสามีก็เป็นทุกข์ อธิบายว่า

แม้อันนี้ก็เป็นโทษในความเป็นหญิง. บทว่า อปฺเปกจฺจา สกึ วิชาตาโย

ได้แก่ หญิงบางพวกคลอดคราวเดียวเท่านั้น ก็ทนทุกข์ในการตลอดต้องแรกไม่

ได้. บทว่า คลเก อปิ กนฺตนฺติ ได้แก่ เชือดคอตนเองบ้าง. บทว่า

สุขุมาลินิโย วิสานิ ขาทนฺติ ได้แก่ หญิงที่มีร่างกายละเอียดอ่อน

[สุขุมาลชาติ] ทนความลำบาก เพราะความที่ตนเป็นคนละเอียดอ่อนไม่ได้ก็กิน

ยาพิษบ้าง ในคำว่า ชนมารกมชฺฌคตา สัตว์เกิดในครรภ์ผู้หลง ท่านเรียก

ว่า ชนมารกะ คือทารกผู้ฆ่าชนคือมารดา อธิบายว่า ทารกผู้ฆ่ามารดา ที่อยู่

ตรงกลาง คืออยู่ในท้อง ได้แก่สัตว์ในท้องผู้หลง. บทว่า อุโภปิ พฺยสนานิ

อนฺโภนฺติ ความว่า ชนแม้ทั้งสองคือ สัตว์เกิดในท้องและมารดาผู้มีครรภ์

ย่อมประสบความตายและความพินาศย่อยยับ. ส่วนอาจารย์อื่นอีกกล่าวว่า กิเลส

ทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ฆ่าชน, ภริยาและสามีแม้ทั้งสอง ซึ่งอยู่ท่ามกลางแห่งกิเลส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 308

เหล่านั้นคือตกอยู่ในสันดานกิเลส ย่อมประสบความพินาศโดยอำนาจความเร่า

ร้อนแห่งกิเลสในปัจจุบันนี้ ย่อมประสบความพินาศโดยอำนาจความเศร้าหมอง

แห่งทุคติในอนาคต เขาว่า ยักษิณีนั้นรำลึกถึงทุกข์ที่ตนประสบในอัตภาพ

ก่อน จึงกล่าวสองคาถานี้ ส่วนพระเถรีได้กล่าวย้ำเพื่อชี้แจงโทษ ในความ

เป็นหญิง.

สองคาถาว่า อุปวิชญฺา คฺจฉนฺตี เป็นต้นต้น พระเถรีกล่าวปรารภ

ประวัติของพระปฏาจาราเถรี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปวิชญฺา

คจฺฉนฺตี ประกอบความว่า ข้าพเจ้ามีครรภ์แก่ใกล้คลอดเดินทางไปยังไม่ทัน

ถึงเรือนตนเอง ก็คลอดบุตรเสียที่หนทาง ได้พบสามีตาย.

บทว่า กปณิกายา แปลว่า ผู้ยากไร้ เขาว่าสองคาถานี้ พระเถรีกล่าว

เพื่อชี้แจงโทษในความเป็นหญิง โดยกระทำตามอาการที่นางปฏาจารา ผู้ประสบ

ความบ้าเพราะความเศร้าโศกในครั้งนั้น กล่าวไว้.

พระเถรีครั้นนำเอาเรื่องแม้ทั้งสองนี้มาเป็นอุทาหรณ์แล้ว บัดนี้ เมื่อ

จะชี้แจงทุกข์ที่ตนประสบจึงกล่าวว่า ขีณกุลิเน เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า ขีณกุลิเน ได้แก่มีตระกูลต้องประสบความเส อมโภคะเป็นต้น. บทว่า

กปเณ ได้แก่ผู้ถึงความตำต่ำอย่างยิ่ง ก็คำทั้งสองนี้ เป็นคำกล่าวปรึกษาตน

เท่านั้น. บทว่า อนุภูต เต ทุกฺข อปริมาณ ความว่า ท่านเสวยทุกข์

มิใช่น้อยในอัตภาพนี้ หรือในอัตภาพก่อนแต่อัตภาพนี้ บัดนี้ พระเถรี

เพื่อจะแจกแสดงทุกข์นั้น โดยเอกเทศ จึงกล่าวว่า อสฺสู จ เต ปวตฺต

เป็นต้น คำนั้นมีความว่า นางผู้หมุนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ ซึ่งมีเงื่อนต้นเงื่อน

ปลายตามไปไม่รู้แล้วนี้ น้ำตาไหลนอง เพราะถูกความเศร้าโศกครองงำมาก

หลายพันชาติ. ก็คำนี้พระเถรีกล่าวไม่แปลก น้ำตาพึงมีจำนวนมากกว่าน้ำแห่ง

มหาสมุทร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 309

บทว่า วสิตา สุสานมชฺเฌ ความว่า เป็นนางสุนัขบ้าน นาง

สุนัขจิ้งจอก คอยกินเนื้อมนุษย์ อยู่กลางป่าช้า. บทว่า ขาทิตานิ

ปุตฺตมสานิ ได้แก่ กินแม้แต่เนื้อบุตร ครั้งที่เป็นเสือโคร่ง เสือเหลืองและ

เสือปลา เป็นต้น. บทว่า หตกุลิกา ได้แก่ มีวงศ์สกุลพินาศแล้ว. บทว่า

สพฺพครหิตา ได้แก่ ถูกผู้ครองเรือนทุกคนติเตียน คือถึงความตำหนิ. บทว่า

มตปติกา แปลว่า หญิงหมาย ก็พระเถรีกล่าวยึดทั้งสามประการนี้ ที่มาถึงตน

ตามลำดับในอัตภาพก่อน แม้เป็นอย่างนี้ ก็ยังบรรลุอมตธรรม คือบรรลุ

พระนิพพาน ที่มีการเสพกัลยาณมิตรที่ได้มาเอง.

บัดนี้ พระเถรีเพื่อแสดงการบรรลุอมตะนั้นนั่นแลให้ปรากฏ จึง

กล่าวว่า ภาวิโต เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาวิโต ได้แก่ ให้มี

แล้ว ให้เกิดแล้ว ให้เจริญแล้ว โดยการอบรมและตรัสรู้. บทว่า ธมฺมาทาส

อเวกฺขึห ได้แก่ข้าพเจ้าได้พบได้เห็นกระจกทำด้วยธรรม.

บทว่า อหมมฺหิ กนฺตสลฺลา ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีกิเลสดุจ

ลูกศรมีราคะเป็นต้นอันถอนได้แล้วด้วยอริยมรรค. บทว่า โอหิตภารา ได้แก่

มีภาระคือกามขันธ์ กิเลสและอภิสังขารอันปลงลงแล้ว. บทว่า กต หิ

กรณีย ได้แก่กิจ ๑๖ มีต่างโดยปริญญากิจเป็นต้น ข้าพเจ้าก็กระทำเสร็จ

แล้ว. ด้วยบทว่า สุวิมุตฺตจิตฺตา อิม ภณิ พระเถรีกล่าวถึงตนเองเหมือน

คนอื่นว่า พระกิสาโคตมีเถรี ผู้มีจิตหลุดพันแล้วโดยประการทั้งปวง ได้กล่าว

ความนี้โดยการผูกเป็นคาถา ด้วยคำว่า กลฺยาณมิตฺตตา เป็นต้นในอปทาน

ของพระเถรีนี้ ในข้อนั้น มีดังนี้

พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมมุตตระ ผู้ทรงถึงฝั่ง

แห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ ทรงอุบัติในแสนกัป

นับแต่กัปนี้

๑. จุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๖๒ กีสาโคตมีเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 310

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลหนึ่งในกรุง

หังสวดี เข้าเฝ้าพรผู้ประเสริฐกว่านรชนถึงพระองค์

เป็นสรณะ.

ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมของพระองค์ ซึ่งประกอบ

ด้วยสัจจะ ๔ ที่ไพเราะจับใจอย่างยิ่ง นำมาซึ่งสันติสุข

ในวัฏฏะ.

ครั้งนั้น พระพุทธธีระยอดบุรุษ เมื่อทรงสถา-

ปนา ทรงยกย่องภิกษุณีผู้ทรงจีวรปอนไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะ.

ข้าพเจ้าฟังคุณของพระภิกษุณีแล้วเกิดปีติไม่

ใช่น้อย ถวายสักการะแด่พระพุทธเจ้าตามกำลังสามารถ

เคารพพระธีรมุนีพระองค์นั้น ปรารถนาตำแหน่งนั้น.

ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้าผู้นำ ทรงอนุโมทนา

เพื่อได้ตำแหน่งว่า ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป พระ-

พุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ทรงสมภพในราชสกุล

พระเจ้าโอกกากราช จักเป็นศาสดาในโลก ท่านจักมี

ชื่อว่ากีสาโคตมี จักเป็นทายาท เป็นโอรสในธรรม

ของพระองค์ ถูกเนรมิตโดยธรรม จักเป็นสาวิกา

ของพระศาสดา.

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าฟังพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว

ก็ยินดี มีจิตมีเมตตา บำรุงพระชินพุทธเจ้าผู้เป็นนายก

พิเศษด้วยปัจจัย ๔ ตลอดชีวิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 311

ด้วยกรรมที่ทำมาดีเหล่านั้น และด้วยการตั้งใจ

ไว้ชอบ ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้วก็ไปสู่สวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์.

พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป เป็นพราหมณ์ผู้

มียศมาก เป็นยอดของศาสดาทั้งหลาย ทรงอุบัติใน

ภัทรกัปนี้.

ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่า กิกิ เป็นจอม

นรชนในกรุงพาราณสีราชธานี ทรงเป็นอุปฐาก

พระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงคุณยิ่งใหญ่.

ข้าพเจ้าเป็นพระราชธิดาองค์ที่ ๕ ของพระเจ้า

กาสีพระองค์นั้น ปรากฏพระนามว่าธัมมา ฟังธรรม

ของพระชินเจ้าผู้เลิศ ชอบใจการบรรพชา.

ครั้งนั้น พระชนกของพวกข้าพเจ้าไม่ทรง

อนุญาต พวกข้าพเจ้าจึงอยู่ในพระราชมณเฑียรไม่

เกียจคร้าน บำเพ็ญโกมาริพรหมจรรย์มา ๒๐,๐๐๐ ปี

เป็นพระราชธิดา ผู้อยู่ในความสุข บันเทิงยินดี

เป็นนิตย์ในการบำรุง พระพุทธเจ้า เป็นพระราธิดา

๗ พระองค์คือ สมณี สมณคุตตา ภิกขุณี ภิกขุทา-

สิกา ธัมมา สุธัมมา และสังฆทาสิกา ที่ครบ ๗.

บัดนี้ ก็คือ เขมา อุบลวรรณา ปฏาจารา

กุณฑลา [กุณฑลเกสา] ข้าพระองค์ ธรรมทินนา

วิสาขา ที่ครบ ๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 312

ด้วยกรรมที่ทำดีเหล่านั้น และด้วยการตั้งใจ

ไว้ชอบ ข้าพเจ้าละกายมนุษย์ ก็ไปสู่สวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์.

บัดนี้ ภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐี

เมื่อตระกูลยากจนไม่มีทรัพย์ ต่ำต้อยลงก็ไปสู่ตระกูลมี

ทรัพย์ [มีสามี] เว้นสามีคนเดียว คนนอกนั้นก็เกลียด

ข้าพเจ้าว่าเป็นคนไม่มีทรัพย์.

คราวใด ข้าพเจ้าตลอดบุตร คราวนั้นก็

แสดงแก่คนทั้งปวง คราวใด บุตรนั้นยังอ่อนเจริญ

วัย ก็เป็นดังดวงใจ ประสบสุขเป็นที่รักของข้าพเจ้า

ดังชีวิตตนเอง คราวนั้น บุตรนั้นไปสู่อำนาจพระยา

ยม [ตาย] ข้าพเจ้ามีดวงหน้าเศร้าหมองอัสสุชล

คลอตา มีหน้าร่ำไห้ พาศพบุตรที่ตายเดินครวญคร่ำ

รำพัน.

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถูกบัณฑิตผู้หนึ่งชี้แนะ จึง

ไปเฝ้าพระผู้ทรงเป็นหมอยอดเยี่ยมกราบทูลว่า พระ-

เจ้าข้า ขอโปรดประทานยาสำหรับทำบุตรให้ฟื้นคืน

ชีพ

พระชินเจ้าผู้ทรงฉลาดในอุบาย บำบัดทุกข์

ตรัสว่า เจ้าจงนำเมล็ดผักกาดจากเรือนที่ไม่มีคนตาย

มาสิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 313

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าไปกรุงสาวัตถีก็ไม่พบเรือน

เช่นนั้น จะได้เมล็ดผักกาดมาแต่ไหนเล่า เพราะ

ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้สติ ทิ้งศพบุตร เข้าไปเฝ้า

พระผู้ทรงเป็นผู้นำโลก พระผู้มีพระสุรเสียงไพเราะ

เห็นข้าพเจ้าแต่ไกล จึงตรัสว่า ผู้เห็นความเกิดและ

ความเสื่อมสิ้น มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่า

ผู้ไม่เห็นความเกิดและความเสื่อมสิ้น มีชีวิตเป็นอยู่ตั้ง

๑๐๐ ปี.

ธรรมคืออนิจจตา ความไม่เที่ยง มิใช่ธรรมของ

ชาวบ้าน มิใช่ธรรมของชาวนิคม และมิใช่ธรรมของ

ตระกูลหนึ่ง หากเป็นธรรมของชาวโลกทั้งหมด รวม

ทั้งเทวโลก.

ข้าพเจ้านั้น ฟังพระคาถานี้แล้ว ทำธรรมจักษุ

ให้บริสุทธิ์แล้ว แต่นั้น ก็รู้แจ้งสัทธรรมออกบวช

ไม่มีเรือน.

ข้าพเจ้าบวชอย่างนั้นแล้ว ก็พยายามอยู่ใน

คำสอนของพระชินเจ้า ไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัต.

ข้าพเจ้าชำนาญในฤทธิ์ ในทิพโสตธาตุ รู้จิต

ผู้อื่น กระทำตามคำสอนของของพระศาสดา.

ข้าพเจ้ารู้ปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพยจักษุทำ

อาสวะให้สิ้นไปหมด เป็นผู้บริสุทธิ์ไร้มลทิน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 314

พระศาสดา ข้าพเจ้าบำรุงแล้ว คำสอนของ

พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว ภาระหนัก

ข้าพเจ้าก็ปลงลงแล้ว ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพข้าพเจ้า

ก็ถอนเสียแล้ว.

ข้าพเจ้าออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน เพื่อ

ประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้น ข้าพเจ้าก็บรรลุ

แล้วตามลำดับ ธรรมเครื่องสิ้นสังโยชน์ทุกอย่าง

ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว.

ญาณในอรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณของ

ข้าพเจ้าบริสุทธิ์ ไร้มลทิน เพราะอานุภาพของ

พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด.

ข้าพเจ้านำผ้ามาแต่กองขยะ จากป่าช้า และ

จากทางรก ทำเป็นผ้าสังฆาฏิจากผ้านั้น ทรงแต่จีวร

ที่ปอน.

พระชินเจ้า ผู้นำพิเศษในบริษัททั้งหลาย ทรง

ยินดีในคุณ คือการทรงจีวรปอนนั้น จึงทรงสถาปนา

ข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ.

กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าก็เผาเสียแล้ว ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.

จบ อรรถกถากีสาโคตมีเถรีคาถา

จบ อรรถกถาเอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 315

ทวาทสกนิบาต

๑. อุบลวรรณาเถรีคาถา

[๔๖๕] พระอุบลวรรณาเถรีกล่าวกะมารว่า

เราทั้งสอง คือมารดาและธิดาเป็นหญิงร่วมสามี

กัน เรานั้นมีความสลดใจ ขนลุก ไม่เคยเป็น

น่าตำหนิจริงหนอ กามทั้งหลายไม่สะอาด มี

กลิ่นเหม็น มีหนามมาก ที่เราทั้งสอง คือมารดาและ

ธิดา เป็นภริยาร่วมกัน.

เราเห็นโทษในกามทั้งหลาย เห็นเนกขัมมะเป็น

ความเกษมปลอดโปร่ง ออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน.

เรารู้ปุพเพนิวาสญาณระลึกชาติได้ ชำระทิพย-

จักษุตาทิพย์ ชำระเจโตปริยญาณ รู้ใจคนอื่นได้ ชำระ

ทิพโสตธาตุ หูทิพย์ แม้ฤทธิ์เราก็ทำให้แจ้งแล้ว

ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะเราก็บรรลุแล้ว อภิญญา ๖ เรา

ก็ทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราก็

กระทำเสร็จแล้ว.

เราเนรมิตรถเทียมม้า ๔ ตัวด้วยฤทธิ์ มาถวาย

บังคมพระยุคลบาท ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นที่พึงของ

โลก ผู้มีสิริ ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 316

มารถามขู่พระเถรีว่า

ท่านเข้าไปยังต้นไม้ที่มีดอกบานถึงยอด ยืนอยู่

แต่ผู้เดียวที่โคนไม้ แม้เพื่อนไร ๆ ของท่านก็ไม่มีเลย

ท่านไม่กลัวความสามหาวของพวกนักเลงเจ้าชู้หรือ.

พระเถรีตอบว่า

ต่อให้นักเลงเจ้าชู้นับแสนเช่นนี้มารุมล้อม ขน

ของเราก็ไม่หวั่นไหว ดูก่อนมาร ท่านผู้เดียวจักทำ

อะไรเราได้.

เราหายตัวได้นะ เข้าท้องท่านก็ได้ ยินอยู่หว่าง

คิ้วท่านก็ได้ ท่านไม่เห็นเราดอก เพราะเราชำนาญใน

จิต อบรมอิทธิบาทดีแล้ว อภิญญา ๖ เราก็ทำให้แจ้ง

แล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราก็ทำเสร็จแล้ว.

ถามทั้งหลาย เปรียบด้วยหอกและหลาว เป็น

เครื่องบีบคั้นขันธ์ทั้งหลาย ท่านเอ่ยถึงความยินดีใน

ก้านอันใด บัดนี้เราไม่มีความยินดีอันนั้น ความเพลิด

เพลินในกามทั้งปวงเราขจัดเสียแล้ว กองแห่งความมืด

[อวิชชา] เราก็ทำลายเสียแล้ว ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่าน

จงรู้ไว้เถิด ดูก่อนมารผู้กระทำที่สุด ถึงตัวท่านเรา

ก็ขจัดเสียแล้ว.

จบ อุบลวรรณาเถรีคาถา

จบ ทวาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 317

อรรถกถาทวาทสกนิบาต

๑. อรรถกถาอุบลวรรณาเถรีคาถา

ใน ทวาทสกนิบาต คาถาว่า อุโภ มาตา จ ธีตา จ เป็นต้น

เป็นคาถาของ พระอุบลวรรณเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระเถรีแม้รูปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ก็

บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี รู้เดียงสาแล้วก็ไปเฝ้าพระศาสดา พร้อมกับ

มหาชนฟังธรรม เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะเป็นเลิศของเหล่าภิกษุณีผู้มีฤทธิ์ จึงถวายมหาทานแก่พระภิกษุสงฆ์มี

พระพุทธเจ้าเป็นประธาน ๗ วัน ปรารถนาตำแหน่งนั้น นางกระทำกุศลจนตลอด

ชีวิต ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า ก็ถือปฏิสนธิ

ในพระราชมณเฑียรของพระเจ้ากาสี พระนามว่า กิกิ กรุงพาราณสี เป็น

พระราชธิดาองค์หนึ่ง ระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ ทรงประพฤติ

พรหมจรรย์อยู่ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี สร้างบริเวณถวายพระภิกษุสงฆ์แล้วบังเกิดใน

เทวโลก.

ครั้นจุติจากเทวโลกนั้นแล้ว ก็กลับมาสู่มนุษยโลกอีก บังเกิดในสถาน

ที่ของคนทำงานด้วยมือตนเองเลี้ยงชีวิต ในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง วันหนึ่งนาง

กำลังเดินไปกระท่อมกลางนา ระหว่างทาง เห็นดอกปทุมบานแต่เช้าตรู่ใน

สระแห่งหนึ่ง จึงลงสู่สระนั้น เก็บดอกปทุมนั้นและใบปทุม สำหรับใส่ข้าว

ตอก ตัดรวงข้าวสาลีที่คันนา นั่งในกระท่อมคั่วข้าวตอก จัดวางข้าวตอกไว้

๕๐๐ ดอก ขณะนั้น ที่ภูเขาคันธมาทน์ พระปัจเจกพุทธเจ้า องค์หนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 318

ออกจากนิโรธสมาบัติ มายืนไม่ไกลนาง นางเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ก็

ถือเอาดอกปทุมพร้อมด้วยข้าวตอกลงจากกระท่อม ใส่ข้าวตอกลงในบาตรของ

พระปัจเจกพุทธเจ้า เอาดอกปทุมปิดบาตรถวาย ขณะนั้น เมื่อพระปัจเจก-

พุทธเจ้าไปได้หน่อยหนึ่ง นางก็ปริวิตกว่า ธรรมดานักบวชไม่ต้องการดอกไม้

จำเราจะไปถือดอกไม้มาประดับเสียเอง จึงไปถือดอกไม้มาจากมือของพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าแล้วก็คิดอีกว่า ถ้าพระผู้เป็นเจ้าไม่ต้องการดอกไม้ ก็จักไม่ให้

วางไว้บนบาตร พระผู้เป็นเจ้าคงจักต้องการแน่แท้ จึงไปวางดอกไม้ไว้บน

บาตรอีก ขอขมาพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว การทำความปรารถนาว่า เจ้า-

พระคุณเจ้าข้า ด้วยผลของข้าวตอกเหล่านี้ของข้าพเจ้า ขอบุตรของข้าพเจ้าจงมี

เท่าจำนวนข้าวตอก [๕๐๐] ด้วยผลของดอกปทุม ขอดอกปทุมจงผุดขึ้นทุก ๆ

ย่างก้าว ในสถานที่ข้าพเจ้าบังเกิดแล้วบังเกิดอีก พระปัจเจกพุทธเจ้าเหาะไป

ยังภูเขาคันธมาทน์ ทั้งที่นางเห็นอยู่นั่นแล แล้วก็วางดอกปทุมนั้นไว้เป็น

เครื่องเช็ดเท้า ใกล้บันใดเหยียบของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ณ เงื้อม

เขานันทมูลกะ.

ด้วยผลของกรรมนั้น แม้นางก็ถือปฏิสนธิในเทวโลก นับแต่นาง

บังเกิดแล้ว ปทุมดอกใหญ่ ก็ผุดทุก ๆ ย่างก้าวของนาง นางจุติจากเทวโลก

นั้นแล้ว ก็บังเกิดในห้องปทุม ในสระปทุมแห่งหนึ่งใกล้เชิงภูเขา ดาบสองค์

หนึ่งอาศัยเชิงภูเขานั้นอยู่ ดาบสนั้นไปสระแต่เช้าตรู่ เพื่อล้างหน้า เห็นดอก

ปทุมนั้น ก็ครุ่นคิดว่า ปทุมดอกนี้ ใหญ่กว่าดอกอื่น ๆ แต่ดอกอื่น ๆ บานแล้ว

ดอกนี้ยังตูมอยู่ น่าที่จะมีเหตุในดอกปทุมนั้น จึงลงน้ำจับปทุมดอกนั้น ปทุม

ดอกนั้น พอดาบสนั้นจับเท่านั้นก็บาน ดาบสก็เห็นเด็กหญิงนอนอยู่ภายใน

ห้องดอกปทุม และนับแต่เห็นแล้ว ก็ได้ความรักประดุจธิดา จึงนำไปบรรณ-

ศาลาพร้อมกับดอกปทุมให้นอนบนเตียง ลำดับนั้น น้ำนมก็เกิดที่หัวนิ้วแม่มือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 319

ด้วยบุญญานุภาพของนาง เมื่อปทุมดอกนั้นเหี่ยว ดาบสก็นำปทุมดอกอื่นมา

ใหม่ให้นางนอน นับตั้งแต่นางสามารถวิ่งมาวิ่งไปได้ ดอกปทุมก็ผุดขึ้นทุก

ย่างก้าว ผิวพรรณแห่งเรือนร่างของนางก็เหมือนสีทองบัวบก ผิวนางไม่ถึง

ผิวพรรณเทวดา ก็ล้ำผิวพรรณมนุษย์ เมื่อบิดาไปแสวงหาผลาผล นางกถูก

ปล่อยทิ้งไว้ ณ บรรณศาลา.

ต่อมาวันหนึ่ง สมัยนางเจริญวัยแล้ว เมื่อบิดาไปแสวงหาผลาผล

พรานป่าผู้หนึ่งพบนางแล้วคิดว่า ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ทั้งหลาย ที่จะมีรูปอย่างนี้ไม่

น่ามี ดังนั้นจำเราจักทดลองนาง จงนั่งคอยรอให้ดาบสกลับมา เมื่อบิดากลับ

มา นางก็เดินสวนทางไปรับหาบและคนโฑน้ำ และเมื่อบิดามานั่งแล้ว ก็

แสดงธรรมเนียมหน้าที่ของตน. ครั้งนั้น พรานป่านั้นก็รู้ว่านางเป็นมนุษย์

จึงนั่งกราบดาบส. ดาบสจึงเชื้อเชิญพรานป่านั้น ด้วยเผือกมันผลไม้กับน้ำดื่ม

แล้วถามว่า พ่อมหาจำเริญ ท่านจักพักอยู่ที่นี้หรือจักไป เขาตอบว่า จักไป

เจ้าข้า ในที่นี้ จักทำอะไรได้. ดาบสกล่าวว่า เหตุการณ์ที่ท่านเห็นแล้วนี้

ท่านจักไม่พูดในสถานที่ท่านไปแล้วได้ไหม เขาตอบว่า ถ้าพระคุณเจ้าไม่

ประสงค์ เหตุไรข้าจึงจะพูดเล่าเจ้าข้า ไหว้ดาบสกระทำเครื่องหมายไว้ที่กิ่งไม้และ

เครื่องหมายที่ต้นไม้ โดยอาการที่พอจะจำหนทางได้เวลาจะมาอีก แล้วกลับไป

แม้พรานป่านั้น ไปกรุงพาราณสีแล้วก็เฝ้าพระราชา พระราชาตรัส

ถามว่า เจ้ามาทำไม เขากราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระบาทเป็นพราน

ป่าของพระองค์พบนางแก้วที่น่าอัศจรรย์ใกล้เชิงเขา จึงมาเฝ้าพระเจ้าข้า

แล้วกราบทูลเรื่องถวายทุกประการ ท้าวเธอทรงสดับคำของพรานป่าแล้ว ก็รีบ

เสด็จไปยังเชิงเขาตั้งค่ายพักพลในที่ไม่ไกลนัก จึงพร้อมด้วยพรานป่ากับเหล่า

ทหารเสด็จไปที่บรรณศาลานั้น ในเวลาที่ดาบสฉันเสร็จแล้วนั่งพักอยู่ ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 320

ไหว้ ทรงทำปฏิสันถารแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง พระราชาทรงวาง

เครื่องบริขารสำหรับบรรพชิตไว้แทบเท้าของดาบสตรัสว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า

ทำอะไรบางอย่างในที่นี้แล้วก็จักไป. ดาบสถวายพระพรว่า โปรดแสดงไปเถิด

มหาบพิตร. ตรัสว่า ข้าพเจ้าจักไปเจ้าข้า ได้ยินมาว่า บริษัทที่เป็นข้าศึกมีอยู่

ใกล้พระคุณเจ้า บริษัทนั้นไม่สมควรแก่บรรพชิต จงไปเสียกับข้าพเจ้าเถิดนะ

เจ้าข้า ทูลว่า ขึ้นชื่อว่าจิตใจของมนุษย์ ทำให้พอใจได้ยาก นางจะอยู่ท่าม

กลางผู้คนจำนวนมากได้อย่างไร. ตรัสว่า นับตั้งแต่ข้าพจ้าชอบใจนางข้าพเจ้า

ก็อาจจะตั้งนางไว้ในตำแหน่งสูงสุดของผู้คนทั้งหลาย แล้วทำนุบำรุงนะเจ้าข้า.

ดาบสสดับพระราชดำรัส จึงเรียกธิดาตามนามที่ตั้งไว้ครั้งยังเล็กว่าลูก

ปทุมวดี ด้วยการเรียกครั้งเดียวเท่านั้น นางก็ออกจากบรรณศาลามายืนไหว้

บิดา ขณะนั้น บิดาจึงกล่าวกะนางว่า ลูกเอ๋ย เจ้าก็โตเป็นสาวแล้ว จะอยู่

ในที่นี้นับแต่พระราชาทรงพบแล้ว ไม่ผาสุกดอกนะ จงตามเสด็จไปกับพระ-

ราชาเสียเถิดนะลูกนะ. นางรับคำบิดาว่า ดีละพ่อท่าน ไหว้แล้วก็ยืนร้องไห้

อยู่ พระราชาทรงดำรัสว่า จำเราจักยึดจิตใจบิดาของนางไว้ ทรงวางกอง

กหาปณะไว้ที่ตรงนั้นนั่นเอง แล้วทรงทำอภิเษก ท้าวเธอทรงนำนางไปยัง

พระนครของพระองค์ นับแต่เสด็จกลับมาแล้วก็มิได้ทรงสนพระทัยสตรีอื่น ๆ

ทรงอภิรมย์อยู่กับนาง สตรีเหล่านั้นมีปกติริษยาอยู่แล้ว ประสงค์จะทำนางให้

แตกกันระหว่างพระราชา จึงพากันเพ็ดทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม

สตรีผู้นี้มิใช่มนุษย์ดอกเพคะ ทูลกระหม่อนเคยทอดพระเนตรเห็นดอกปทุมผุด

ขึ้น ในถิ่นที่มนุษย์สัญจรไปที่ไหนเล่าเพคะ นางผู้นี้ต้องเป็นยักษิณีแน่ ขอ

ทูลกระหม่อมโปรดเนรเทศมันไปเสียเถิดเพคะ พระราชาทรงสดับคำของสตรี

เหล่านั้น ก็ได้แต่ทรงนิ่งอึ้ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 321

ต่อมา เมืองชายแดนของพระราชาเกิดแข็งเมือง ท้าวเธอทรงพระ-

ดำริว่า พระนางปทุมวดีมีพระครรภ์แก่ จึงทรงพักพระนางไว้ในพระนคร แล้ว

เสด็จไปยังเมืองชายแดน ครั้งนั้น สตรีเหล่านั้นจึงให้สินบนแก่หญิงรับใช้ผู้

ปรนนิบัติพระนาง สั่งว่า พอทารกของพระนางประสูติออกมา เจ้าจงนำออก

ไปแล้วเอาเลือดทาไม้ท่อนหนึ่งวางไว้ใกล้ ๆ ไม่นานนัก พระนางปทุมวดีก็

ประสูติ พระมหาปทุมกุมารพระองค์เดียวเท่านั้นถือปฏิสนธิในพระครรภ์

พระกุมารอีก ๔๙๙ พระองค์ บังเกิดเป็นสังเสทชกำเนิด ในเวลาที่พระมหา-

ปทุมกุมารบรรทม ประสูติออกจากพระครรภ์ของพระมารดา ขณะนั้น หญิง

รับใช้ของพระนางรู้ว่า พระนางยังไม่ได้พระสติ ก็เอาเลือดทาไม้ท่อนหนึ่ง

แล้ววางไว้ใกล้ ๆ แล้วให้สัญญาณแก่สตรีเหล่านั้น สตรีทั้ง ๕๐๐ คน ก็รับ

พระกุมารไปคนละองค์ส่งไปสำนักช่างกลึง ให้นำกล่องตลับมาใส่พระกุมารที่แต่

ละคนรับไว้ ให้บรรทมในกล่องตลับนั้น ตีตราข้างนอกกล่องวางไว้.

ฝ่ายพระนางปทุมวดี รู้สึกพระองค์แล้วรับ สั่งถามหญิงรับใช้ว่า ข้า-

คลอดแล้วหรือแม่คุณ หญิงรับใช้พูดตะคอกเอากะพระนางว่า พระแม่เจ้าจะ

ได้ทารกมาแต่ไหนเล่า แล้ววางท่อนไม้ทาเลือดไว้เบื้องพระพักตร์ทูลว่า นี้

ทารกที่ประสูติออกจากพระครรภ์ของพระแม่เจ้าละ พระนางทอดพระเนตรเห็น

ท่อนไม้นั้นก็ทรงโทมนัส ให้ผ่าท่อนไม้นั้นโดยเร็วแล้วตรัสสั่งว่า เจ้าจงนำ

ออกไป ถ้าใครเห็นก็จะอายเขา หญิงรับใช้นั้นรับพระราชเสาวนีย์แล้ว ทำเป็น

เหมือนว่าหวังดี ก็ผ่าท่อนไม้ ใส่เข้าไปในเตาไฟ

ฝ่ายพระราชาเสด็จกลับจากเมืองชายแดน ทรงนับถือฤกษ์ยาม ตรัสสั่ง

ให้จัดค่ายพักพลประทับอยู่ภายนอกพระนคร ขณะนั้น สตรีเหล่านั้นพากัน

ออกไปรับเสด็จพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม พระองค์คงไม่

ทรงเชื่อพวกข้าพระบาท คำที่พวกข้าพระบาทกราบทูล เป็นเหมือนมิใช่เหตุ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 322

การณ์ ขอพระองค์โปรดเรียกหญิงรับใช้ของพระมเหสีมาสอบถามสิเพคะ พระ-

เทวีของพระองค์ประสูติเป็นท่อนไม้ พระราชาไม่ทันทรงสอบสวนเหตุการณ์

นั้น เข้าพระทัยว่าผู้นี้เห็นจะไม่ใช่ชาติมนุษย์แน่ จึงทรงขับไล่พระนางออก

ไปจากพระราชมณเฑียร พร้อมกับพระนางเสด็จออกจากพระราชมณเฑียร

ดอกปทุมก็หายไป แม้แต่พระฉวีวรรณแห่งพระสรีระก็เผือดลงไป พระนาง

ลำพังพระองค์ เสด็จดำเนินไประหว่างถนน ขณะนั้นหญิงวัยแก่ผู้หนึ่งพบ

พระนางก็เกิดรักประดุจว่าลูกสาวคน จึงถามว่าลูกเอ๋ย เจ้าจะไปไหนเล่า

พระนางตรัสตอบว่า ดิฉันเป็นคนจรมากำลังเดินตรวจหาที่อยู่จ้ะ หญิงแก่

กล่าวว่ามาที่นี้สิลูก แล้วพาพระนางไปที่อยู่ จัดแจงอาหารเลี้ยง.

เมื่อพระนางประทับอยู่ ณ ที่นั้น โดยทำนองนี้นั่นแล สตรี ๕๐๐ คน

นั้น ก็ร่วมใจกันกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม เมื่อพระองค์

เสด็จพักค่ายอยู่ ข้าพระบาทมีความปรารถนาว่า เมื่อพระทูลกระหม่อมของ

พวกข้าพระบาท ชนะสงครามเสด็จกลับมา พวกข้าพระบาทจักทำพลีกรรม

บวงสรวงเล่นกีฬาทางน้ำถวายแก่เทวดาแม่พระคงคา ขอพระทูลกระหม่อม

โปรดประกาศความข้อนี้ด้วยเพคะ พระราชาทรงยินดีตามคำของสตรีเหล่านั้น

ได้เสด็จไปเพื่อทรงเล่นกีฬาทางน้ำ ณ แม่พระคงคา สตรีเหล่านั้นต่างถือกล่อง

ตลับ ที่แต่ละคนรับไว้อย่างปกปิด พากันไปยังแม่น้ำ คลุมผ้าไว้เพื่อปกปิด

กล่องตลับเหล่านั้น กระโดดลงน้ำปล่อยกล่องตลับไป กล่องตลับแม้เหล่านั้น

ไปพร้อมกันคิดอยู่ที่ตาข่ายซึ่งเขาคลี่ไว้ได้กระแสน้ำทั้งหมด ต่อนั้น พวกราช-

บุรุษ ก็ยกตาข่ายขึ้น เวลาที่พระราชาทรงกีฬาทางน้ำแล้วเสด็จขึ้นจากน้ำ ก็

เห็นกล่องตลับเหล่านั้น ก็นำมาเฝ้าพระราชา.

พระราชาทรงตรวจดูกล่องตลับ ตรัสถามว่าพ่อเอ๋ย อะไรอยู่ในกล่อง

ตลับ กราบทูลว่า ไม่ทราบเกล้า พระเจ้าข้า ท้าวเธอโปรดให้เปิดกล่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 323

เหล่านั้นตรวจดู ทรงให้เปิดกล่องตลับของพระมหาปทุมกุมารเป็นกล่องแรก

ก็แต่ในวันที่เขาให้พระกุมารเหล่านั้นทุกพระองค์บรรทมในกล่องตลับ น้ำนม

ก็บังเกิดที่หัวพระองคุลี เพราะบุญฤทธิ์ ท้าวสักกเทวราช โปรดให้จารึก

พระอักษรไว้ภายในกล่องตลับ เพื่อให้พระราชานั้นหมดสงสัยว่า พระกุมาร

เหล่านั้น บังเกิดในพระครรภ์ของพระนางปทุมวดีเป็นพระราชโอรสของพระ-

เจ้าพาราณสี ครั้งนั้นสตรี ๕๐๐ คน เป็นศัตรูของพระนางปทุมวดี ใส่

พระกุมารเหล่านั้นลงในกล่องตลับแล้วโยนลงน้ำ ขอพระราชาโปรดทรงทราบ

เหตุการณ์นี้ พอเปิดกล่องตลับพระราชาทรงอ่านอักษรพบพระกุมาร ทรงยก

พระมหาปทุมกุมารขึ้น รีบเร่งเทียมรถ ตรัสสั่งว่าพวกเจ้าจงจัดม้า วันนี้ เรา

จักเข้าไปภายในพระนครทำให้สะใจสำหรับผู้หญิงบางจำพวก แล้วเสด็จขึ้น

พระมหาปราสาท วางถุงทรัพย์พันกหาปณะบนคอช้าง โปรดให้ตีกลองร้อง

ป่าวไปในพระนครว่า ผู้ใดพบพระนางปทุมวดี ผู้นั้นจงรับทรัพย์พันกหาปณะ

นี้ไป

พระนางปทุมวดี สดับคำประกาศนั้นแล้วได้ให้สัญญาณแก่มารดาว่า

แม่จ๋า จงรับถุงทรัพย์พันกหาปณะจากคอช้างสิจ๊ะ มารดากล่าวว่า แม่รับ

ทรัพย์เช่นนั้นไม่ได้ดอกจ้ะ แม้มารดาเมื่อถูกพระนางบอกครั้งที่สองครั้งที่สาม

จึงถามว่าลูกเอ๋ย แม่จะพูดว่าอย่างไรเล่าจึงจะรับทรัพย์ได้ พระนางจึงตรัสว่า

ลูกสาวฉันเขาพบพระนางปทุมวดีจ้ะ แล้วรับเอา มารดาคิดว่า เรื่องนั้นจะจริง

หรือไม่ก็ช่างเถิด แล้วก็ไปรับเอาถุงทรัพย์พันกหาปณะ ครั้งนั้น ผู้คนทั้งหลาย

ถามนางว่า แม่พบพระนางปทุมวดีหรือจ้ะแม่ นางกล่าวว่าฉันไม่พบดอกจ้ะ

ลูกสาวฉันเขาว่าเขาพบจ้ะ ผู้คนเหล่านั้นถามว่า ก็ลูกสาวของแม่อยู่ที่ไหนเล่าแม่

แล้วก็ไปกับนาง จำพระนางปทุมปวดีได้ ก็หมอบลงแทบเท้าทั้งสอง เวลา

นั้น นางรู้ว่า ผู้นี้คือพระนางปทุมวดีเทวี จึงกล่าวว่า ข้อที่พระมเหสีของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 324

พระราชาเช่นนี้ อยู่ปราศจากอารักขาเห็นปานนี้เป็นกรรมที่ทำอย่างหนักสำหรับ

สตรีหนอ

ราชบุรุษแม้เหล่านั้น ให้ทำความสะอาดที่ประทับอยู่ของพระนางปทุม-

วดีแล้ว ล้อมไว้ด้วยม่าน ตั้งกองอารักขาไว้ที่ประตู กลับไปกราบทูลพระ-

ราชา พระราชาทรงส่งพระวอทองไป พระนางปทุมวดีรับสั่งว่า หม่อมฉัน

จักไม่ไปโดยวิธีอย่างนี้ ขอได้ทรงโปรดให้ลาดเครื่องอันวิจิตรด้วยผ้าเปลือกไม้

อย่างดี ในระหว่างตั้งแต่ที่อยู่ของหม่อมฉันไปจนถึงกรุงราชคฤห์ ให้คิดเพดาน

ผ้าอันวิจิตรด้วยดาวทองไว้ข้างบน เมื่อเครื่องอลังการทุกอย่างที่โปรดส่งมาเพื่อ

ประดับ ประดับตกแต่งแล้ว หม่อมฉันจักเดินไปด้วยเท้า ชาวพระนครจัก

เห็นสมบัติของหม่อมฉัน ด้วยวิธีอย่างนี้. พระราชารับสั่งว่าพวกเจ้าจงทำให้

ต้องพระทัยของพระนางปทุมวดีเถิด.

ลำดับนั้น พระนางปทุมวดีทรงประดับเครื่องประดับทุกอย่างแล้ว

ทรงพระดำริจักเสด็จไปพระราชนิเวศน์ ก็เริ่มเดินทาง. ครั้งนั้น ดอกปทุมทั้ง

หลายก็ผุดชำแรกเครื่องลาดอันวิจิตรด้วยผ้าเปลือกไม้อย่างดี ในที่ ๆ พระนาง

ย่างพระบาทเหยียบไป ๆ พระนางครั้นทรงแสดงสมบัติของพระองค์แก่มหาชน

แล้วก็เสด็จขึ้นพระราชนิเวศน์ ให้พระราชทานเครื่องลาดอันวิจิตรด้วยผ้าเหล่า

นั้นทั้งหมดแก่หญิงแก่นั้นเป็นค่าเลี้ยงดู.

ฝ่ายพระราชา รับสั่งให้เรียกสตรี ๕๐๐ คนนั้นมาแล้วตรัสว่า ดูก่อน

พระเทวี เราให้ผู้หญิงเหล่านั้นเป็นทาสีของเจ้า พระนางทูลว่า ดีละเพคะทูลกระ-

หม่อม ขอได้โปรดให้ประกาศไปทั่วพระนครว่า พระราชทานหญิงเหล่านี้ให้

เป็นสิทธิ์แก่หม่อมฉันแล้ว พระราชาก็ให้ตีกลองป่าวประกาศว่า หญิง ๕๐๐

คนที่เป็นศัตรูของพระนางปทุมวดี เราได้มอบให้เป็นทาสีของพระนางแล้ว

พระนางทรงทราบว่า ทั่วพระนครต่างกำหนดรู้ว่า หญิงเหล่านั้นเป็นทาสีกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 325

แล้ว จึงกราบทูลถามพระราชาว่า ทูลกระหม่อมเพคะ หม่อมฉันจะทำทาสี

ของหม่อมฉันให้เป็นไทแก่ตัวได้ไหมเพคะ. รับสั่งว่า เทวี เจ้าปรารถนาก็ได้สิ.

จึงทูลว่า เมื่อเป็นดังนั้น ขอได้โปรดให้ตีกลองป่าวประกาศอีกว่าหญิง ๕๐๐ คน

ที่ทรงให้ตีกลองป่าวประกาศพระราชทานให้เป็นทาสีของปทุมวดี ได้ทรงทำให้

เป็นไทหมดทุกคนแล้ว เมื่อพระราชาทรงทำหญิงเหล่านั้นให้เป็นไทแล้ว พระ-

นางก็ทรงมอบพระราชโอรส ๔๙๙ พระองค์ไว้ในมือสตรีเหล่านั้น เพื่อให้

เลี้ยงดู พระมหาปทุมราชกุมารพระองค์เดียว ทรงรับเลี้ยงดูด้วยพระองค์เอง-

อยู่ต่อมา เมื่อพระราชกุมารเหล่านั้น ถึงวัยเล่น พระราชาก็โปรดให้

สร้างสถานที่เล่นนานาชนิดไว้ในพระราชอุทยาน คราวมีพระชันษาได้ ๑๖

พรรษา พระราชกุมารเหล่านั้น ทุกพระองค์พร้อมพระทัยกัน ทรงเล่นใน

สระมงคลโบกขรณีที่ดาดาษด้วยดอกปทุมในพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็น

ดอกปทุมใหม่บานและดอกปทุมเก่าร่วงหล่นจากขั้ว ทรงดำริว่า ชราเห็นปานนี้

ยังมาถึงอนุปาทินนกสังขารที่ไม่มีวิญญาณครองนี้หนอ จะป่วยกล่าวไปไยว่าชรา

จะไม่มาถึงสรีระของพวกเราเล่า แม้สรีระนี้ก็คงจักมีคติอย่างนี้เหมือนกัน ทรง

ยึดถือให้เป็นอารมณ์แล้ว ก็บังเกิดพระปัจเจกโพธิญาณทุกพระองค์ เสด็จลุก

ขึ้นประทับนั่งขัดสมาธิ ณ กลีบดอกปทุมทั้งหลาย.

ลำดับนั้น พวกราชบุรุษที่ตามเสด็จไปกับพระราชกุมารเหล่านั้น รู้ว่า

วันเวลาล่วงไปมากแล้วจึงทูลว่า พระลูกเจ้าพระเจ้าข้า ขอทรงโปรดทราบเวลาของ

พระองค์เถิด. พระราชกุมารเหล่านั้นก็ทรงนิ่ง. พวกราชบุรุษจึงไปกราบทูล

พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระราชกุมารทั้งหลาย ประทับนั่งเหนือกลีบ

ปทุมทั้งหลาย เมื่อพวกข้าพระบาททูลก็ไม่ยอมเปล่งพระวาจาเลยพระเจ้าข้า.

พระราชารับสั่งว่า พวกเจ้าจงให้พระราชกุมารเหล่านั้นประทับนั่งตามความพอ

พระทัยเถิด. พระราชกุมารเหล่านั้น ได้รับอารักขาตลอดคืนยังรุ่ง จนอรุณขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 326

ก็ยังคงประทับนั่งเหนือกลีบดอกปทุมอยู่อย่างนั้น. พวกราชบุรุษเข้าเฝ้าวันรุ่งขึ้น

ทูลว่า ข้าแต่เทวะ ขอโปรดทรงทราบเวลาเถิด พระเจ้าข้า. รับสั่งว่า

พวกเราไม่ได้เป็นเทวะ พวกเราชื่อว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าต่างหากเล่า. พวก

ราชบุรุษทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า พระองค์ตรัสคำหนัก ธรรมดาว่า พระปัจเจก.

พุทธเจ้าไม่เป็นอย่างพระองค์ดอก พระเจ้าข้า พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นต้อง

ทรงผมและหนวด ๒ องคุลี ทรงบริขาร ๘ สวมอยู่ที่พระกายสิพระเจ้าข้า. พระ-

ราชกุมารเหล่านั้นทรงลูบพระเศียรด้วยพระหัตถ์เบื้องขวา ทันใดนั้นเอง เพศ

คฤหัสถ์ก็หายไป บริขาร ๘ ก็สวมที่พระกาย ต่อนั้นก็เหาะไปยังเงื้อมเขาชื่อ

นันทมูลกะทั้งที่มหาชนเห็น ๆ อยู่นั่นเอง.

ฝ่ายพระนางปทุมวดีเทวี ทรงโศกเศร้าพระทัยว่า เรามีบุตรมาก ก็

กลายเป็นคนไร้บุตรไปเสียแล้ว ด้วยความเศร้าโศกนั้นเอง ก็เสด็จทิวงคต

ไปบังเกิดในสถานที่ของคนทำงานด้วยมือตนเองเลี้ยงชีพ ในหมู่บ้านใกล้ประตู

กรุงราชคฤห์ ต่อมามีสามี วันหนึ่งนำข้าวยาคูไปนาเพื่อให้สามี เห็นพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์ ในจำนวนบุตรของตนเหล่านั้นเอง กำลังเหาะมาเวลา

ภิกษาจาร จึงรีบรุดไปบอกสามีว่า นายเจ้าขา ดูพระปัจเจกพุทธเจ้าสิ เรา

นิมนต์ท่านมาฉันเถิด สามีกล่าวว่า ธรรมดานกสมณะเหล่านั้น ย่อมสัญจรไป

อย่างนี้ แม้ในที่อื่น. นกสมณะเหล่านั้น ไม่ใช่พระปัจเจกพุทธเจ้าดอกจ้ะ.

พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็ลงมาในที่ไม่ไกล จากที่คนทั้งสองกำลังพูดกัน.

หญิงคนนั้นก็ถวายโภชนะคือ ข้าวสวยและกับส่วนของตนในวันนั้นแด่พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้วนิมนต์ว่า พรุ่งนี้ขอท่านทั้ง ๘ องค์ โปรดรับ

ภิกษาหารของข้าพเจ้านะเจ้าคะ. พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ดีละ ท่าน

อุบาสิกา, สักการะของท่าน ก็จงมีเท่าวันนี้ อาสนะก็จงมีไว้ ๘ ที่ แต่ท่าน

เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าอื่น ๆ มาก ก็พึงทำจิตใจของท่านให้เลื่อมใสไว้นะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 327

วันรุ่งขึ้น หญิงคนนั้นก็ปูอาสนะไว้ ๘ ที่ จัดแจงเครื่องสักการสัมมานะไว้

สำหรับพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์แล้วก็นั่งคอย.

พระปัจเจกพุทธเจ้าที่ได้รับนิมนต์ ก็ให้สัญญาแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

อื่นๆ ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย วันนี้ ท่านทั้งหลายอย่าไปที่อื่น ทั้งหมด

จงช่วยกันทำการสงเคราะห์มารดาของท่านเถิด พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น

ฟังคำของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์นั้นแล้วร่วมใจกันทุกองค์ เหาะไป

ปรากฏองค์อยู่ใกล้ประตูเรือนของมารดา แม้นางเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ามาก

องค์ ก็ไม่หวั่นไหว เพราะได้สัญญามาก่อนแล้ว ก็นิมนต์พระปัจเจก-

พุทธเจ้าเหล่านั้นทุกองค์เข้าไปยังเรือนให้นั่งเหนืออาสนะ เมื่อพระปัจเจก-

พุทธเจ้าเหล่านั้นนั่งตามลำดับ องค์ที่ ๙ ก็เนรมิตอีก ๘ อาสนะ ตนเองก็นั่ง

อาสนะใกล้ เรือนก็ขยายออกไปเท่ากับจำนวนอาสนะที่เพิ่มขึ้น เมื่อพระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้งหมดนั่งเรียบร้อยแล้วอย่างนี้ หญิงนั้นก็ถวายสักการะที่ตนจัดแจง

สำหรับพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์ จนเพียงพอแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐

องค์ แล้วนำดอกอุบลขาบ ๘ กำ มาวางไว้แทบเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ตน

นิมนต์มาเท่านั้น กล่าวทำความปรารถนาว่า พระคุณเจ้าข้า ขอวรรณะแห่ง

สรีระของข้าพเจ้า จงเป็นเหมือนวรรณะข้างในของดอกอุบลขาบเหล่านี้ ในสถาน

ที่ข้าพเจ้าเกิดแล้วเกิดเล่าด้วยนะเจ้าคะ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย กระทำ

อนุโมทนาแก่มารดาแล้ว ก็พากันไปยังภูเขาคันธมาทน์.

แม้นางก็กระทำกุศลจนตลอดชีวิต จุติจากมนุษยโลกแล้วก็บังเกิดใน

เทวโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ก็ถือปฏิสนธิในสกุลเศรษฐี กรุงสาวัตถี บิดา

มารดาก็ตั้งชื่อของนางว่า อุบลวรรณา เพราะมีผิวพรรณเสมอด้วยวรรณะของ

ดอกอุบลขาบ สมัยนั้น เวลาที่นางเติบโตเป็นสาวแล้ว พระราชทั้งหลายทั่วชมพู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 328

ทวีปพากันส่งทูตไปยังสำนักเศรษฐีว่า ขอจงให้ธิดาแก่เราเถิด พระราชาผู้ชื่อ

ว่าไม่ส่งทูตไปไม่มีเลย ดังนั้นเศรษฐีจึงคิดว่า เราไม่อาจจะยึดเหนี่ยวน้ำพระทัย

ของพระราชาได้ทั้งหมด แต่จำเราจักทำอุบายอย่างหนึ่งดังนี้แล้ว จึงเรียกธิดา

มาถามว่า ลูกเอ๋ย บวชเสียได้ไหมลูก คำของบิดาได้เป็นประหนึ่งน้ำมันที่เคี่ยว

แล้วร้อยครั้ง รดลงที่ศรีษะ เพราะนางมีภพสุดท้ายแล้ว เพราะฉะนั้นนางจึง

ตอบบิดาว่า ลูกจักบวชจ้ะพ่อจ๋า. เศรษฐีนั้นก็ทำสักการะแก่นาง นำไปสำนัก

ภิกษุณีแล้วให้บวช เมื่อนางบวชได้ไม่นานนัก วาระตามกาล [เวร] ในโรง

อุโบสถก็มาถึง นางจุดประทีปแล้วกวาดโรงอุโบสถยืนถือนิมิตแห่งเปลวประทีป

ตรวจดูบ่อย ๆ ก็ทำฌานที่มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ให้บังเกิด กระทำฌานนั้น

นั่นแลให้เป็นบาท ก็บรรลุพระอรหัต แม้อภิญญาและปฏิสัมภิทา ก็สำเร็จ

พร้อมกับพระอรหัตผลนั่นแล.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในคัมภีร์อปทาน ว่า

พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงถึงฝั่ง

แห่งธรรมทั้งปวง ผู้เป็นผู้นำ ทรงอุบัติในแสนกัปนับ

แต่กัปนี้ไป.

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในสกุลเศรษฐีที่รุ่งโรจน์ด้วย

รัตนะนานาชนิด ณ กรุงหังสวดีเปี่ยมด้วยความสุข

เป็นอันมาก.

ข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระมหาวีระพระองค์นั้น ฟัง

พระธรรมเทศนา เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงเกิดความ

เลื่อมใสถึงพระชินพุทธเจ้าเป็นสรณะ.

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๕๙ อุบลวรรณาเถรีอุปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 329

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นำ ทรงยกย่องภิกษุณีผู้มี

ความละอาย ผู้คงที่ ฉลาดในสมาธิและฌานว่าเป็นเลิศ

ของเหล่าภิกษุณีผู้มีฤทธิ์.

ครั้งนั้น ข้าพระองค์มีจิตยินดีตาม จำนงหวัง

ตำแหน่งนั้น จึงนิมนต์พระทศพลผู้นำโลก พร้อมทั้ง

พระสงฆ์ให้เสวย ๗ วัน ถวายจีวรแด่พระศาสดา ถือ

พวงมาลัย ๗ พวง มีกลิ่นเหมือนดอกอุบล วางไว้

แทบเบื้องพระบาทพระศาสดา บูชาพระญาณ หมอบ

ด้วยเศียรเกล้าลงที่พระบาท ได้กราบทูลคำนี้ว่า

ข้าแต่พระมหาวีระมุนีผู้นำ ภิกษุณีเช่นใด ทรง

ยกย่องแล้ว ในกัปที่ ๘ นับแต่กัปนี้ไป ข้าพระองค์

จักเป็นภิกษุณีเช่นนั้น ถ้าความปรารถนาสำเร็จ.

ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะข้าพระองค์ว่า ดูก่อน

แม่นาง เจ้าเป็นคนประเสริฐ ในอนาคตกาลจะได้

มโนรถความปรารถนานั้น.

แสนกัปนับแต่กัปนี้ไป พระพุทธเจ้าพระนามว่า

โคดมโดยพระโคตร ทรงสมภพในราชสกุลพระเจ้า-

โอกกากราช จักเป็นศาสดาในโลก.

เจ้าจะมีรูปสวย มียศ มีนามว่าอุบลวรรณา จักเป็น

ทายาทในธรรมของพระองค์ เป็นโอรสถูกเนรมิตโดย

ธรรม จักเป็นผู้ชำนาญในอภิญญา กระทำตามคำสอน

ของพระศาสดา สิ้นอาสวะทุกอย่าง จักเป็นสาวิกา

ของพระศาสดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 330

ครั้งนั้น ข้าพระองค์มีจิตยินดี มีจิตประกอบ

ด้วยเมตตา บำรุงพระชินพุทธเจ้าผู้นำโลก พร้อมทั้ง

พระสงฆ์จนตลอดชีวิต.

ด้วยกรรมที่ทำมาดีนั้น และด้วยการตั้งใจไว้ชอบ

ข้าพระองค์ละกายมนุษย์แล้วก็ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

จุติจากนั้นแล้วข้าพระองค์ก็เกิดในหมู่มนุษย์ ได้ถวาย

บิณฑบาตที่ปิดด้วยดอกปทุม แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า.

ในกัปที่ ๙๑ นับแต่กัปนี้ไป พระพุทธเจ้า พระ-

นามว่าวิปัสสี ผู้นำ ผู้มีพระเนตรงาม ผู้มีพระจักษุ

ในธรรมทั้งปวง ทรงอุบัติ.

ครั้งนั้น ข้าพระองค์เป็นธิดาเศรษฐีในกรุงพา-

ราณสี ราชธานีแห่งแคว้นกาสี นิมนต์พระสัมพุทธเจ้า

ผู้นำโลกพร้อมทั้งพระสงฆ์ถวายมหาทาน บูชาพระผู้

นำพิเศษด้วยดอกอุบล ได้ปรารถนาความงามแห่ง

ผิวพรรณด้วยใจ.

ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ

เป็นพราหมณ์มียศมาก เป็นยอดของศาสดาทั้งหลาย

อุบัติแล้ว.

ครั้งนั้น พระเจ้ากาสี พระนามว่ากิกิ เป็นจอม

นรชน ในกรุงพาราณสีราชธานีแห่งแคว้นกาสี ทรง

เป็นอุปฐากบำรุงพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงคุณ

ยิ่งใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 331

ข้าพระองค์เป็นราชธิดาองค์ที่สองของพระเจ้า

กิกินั้น พระนามว่าสมณคุตตา ฟังธรรมของพระชิน-

พุทธเจ้าผู้เลิศแล้ว ชอบพระทัยการบรรพชา แต่พระ-

ชนกของพวกข้าพระองค์ไม่ทรงอนุญาต ครั้งนั้น พวก

ข้าพระองค์ อยู่แต่ในพระราชมณเฑียร ไม่เกียจคร้าน

ท่องเที่ยวอยู่ถึงสองหมื่นปี.

พระราชธิดา ทรงเข้าอยู่โกมาริพรหมจรรย์ [ไม่

มีพระสวามี] เสวยสุข ยินดีเนืองนิตย์ในการบำรุง

พระพุทธเจ้า ทรงมีมุทิตาจิต พระธิดา ๗ พระองค์

คือ สมณี สมณคุตตา ภิกขุนี ภิกขุทาสิกา ธัมมา

สุธัมมา สังฆทาสิกา ครบ ๗ ปัจจุบันคือข้าพระองค์

[อุบลวรรณา] เขมาผู้มีปัญญา ปฏาจารา กุณฑลา

[กุณฑลเกสา] กีสาโคตมี ธัมมทินนา วิสาขาครบ ๗.

ด้วยกรรมที่ทำมาดีเหล่านั้น และด้วยการตั้งใจ

ไว้ชอบ ข้าพระองค์ละกายมนุษย์แล้วก็ไปสู่สวรรค์

ชั้นดาวดึงส์ จุติจากนั้นแล้วข้าพระองค์ก็เกิดในสกุล

ใหญ่ในหมู่มนุษย์ ได้ถวายผ้าอย่างดีเนื้อเกลี้ยงสีเหลือง

แด่พระอรหันต์.

ข้าพระองค์จุติจากนั้นแล้ว ก็เกิดในสกุลพราหมณ์

กรุงอริฏฐบุรี เป็นธิดาของติริฏิวัจฉพราหมณ์ ชื่อว่า

อุมมาทันตี งามจับใจ จุติจากนั้นแล้ว ข้าพระองค์

เกิดในสกุลหนึ่งในชนบท เฝ้าไร่ข้าวสาลี ซึ่งไม่กว้าง

นัก ครั้งนั้น ข้าพระองค์พบพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 332

ข้าวตอก ๕๐๐ ดอก ซึ่งปิดด้วยปทุม ปรารถนาบุตร

๕๐๐ คน แม้บุตรเหล่านั้นก็ปรารถนา ข้าพระองค์

ครั้นถวายของอร่อย ๆ แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว จุติ

จากนั้น ก็ไปเกิดในดอกปทุมขนาดใหญ่ในป่าได้เป็น

พระมเหสีของพระเจ้ากาสี อันมหาชนสักการะบูชา

แล้ว ให้กำเนิดพระราชโอรส ๕๐๐ พระองค์.

คราวที่พระราชโอรสเหล่านั้น เจริญพระชันษา

แล้ว ทรงเป็นกีฬาในน้ำ ทรงเห็นดอกปทุมมีกลีบหล่น

ก็ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า.

ข้าพระองค์นั้น ต้องพลัดพรากจากพระโอรส

เปล่านั้น ซึ่งเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า [สุตวีระ] ก็

เศร้าโศก จุติแล้ว ก็ไปเกิดในหมู่บ้านใกล้ข้างภูเขา

อิสิคิลิ.

เมื่อใด พระสุตพุทธะทั้งหลายรับข้าวยาคูของ

พวกบุตรและแม้ของตนเองแล้วไป ข้าพระองค์พบ

พระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์ เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต ก็

รำลึกถึงบุตรทั้งหลาย เมื่อนั้น ท่อน้ำมันของข้าพระ-

องค์ก็คัด เพราะความรักบุตร.

แต่นั้น ข้าพระองค์เลื่อมใสแล้วก็ได้ถวายข้าว

ยาคู แก่พระสุตพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่า

นั้น ด้วยมือตนเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 333

ข้าพระองค์จุติจากนั้นแล้ว ก็มาถึงนันทนวัน

อุทยานสวรรค์ชั้นไตรทศ [ดาวดึงส์] ข้าแต่พระมหา

วีระ ข้าพระองค์เสวยสุขและทุกข์ ท่องเที่ยวไปในภพ

น้อยใหญ่ ยอมสละชีวิต ก็เพื่อประโยชน์ของพระองค์.

ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีปัญญา ผู้ทรงความรุ่ง-

โรจน์ ข้าพระองค์เป็นธิดาของพระองค์ กรรมที่ทำ

ยากเป็นอันมาก และกรรมที่ทำได้แสนยาก ข้าพระ-

องค์ก็ทรงทำแล้ว.

พระราหุลและข้าพระองค์เกิดในสมภพเดียวกัน

มีใจประกอบด้วยสมานฉันท์ตลอดหลายร้อยชาติเป็น

อันมาก บังเกิดร่วมกัน และแม้แต่ชาติเดียวกัน

เมื่อถึงภพสุดท้าย แม้เราทั้งสองก็มีสมภพต่างกัน

ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ทรงชี้แจงความ

ประชุมของพระชินพุทธเจ้าผู้เลิศพระองค์ก่อน ๆ ทรง

ชี้แจงกุศลบารมีเป็นอันมากของข้าพระองค์ ก็เพื่อ

ประโยชน์ของพระองค์

ข้าแต่พระมหามุนี กุศลกรรมอันใด ข้าพระองค์

บำเพ็ญแล้ว ขอโปรดทรงระลึกถึงกุศลธรรมอันนั้น

งดเว้นอภัพพฐาน ห้ามกันอนาจารได้ ข้าแต่พระมหา

วีระ ข้าพระองค์ยอมสละชีวิตก็เพื่อประโยชน์ของ

พระองค์ ทุกข์มีมากอย่าง และสมบัติก็มีมากอย่าง

อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 334

เมื่อถึงภพสุดท้าย ข้าพระองค์เกิดในสกุลเศรษฐี

ทรัพย์มาก ประสบสุข ที่จัดไว้เสร็จแล้วอย่างนั้น

รุ่งโรจน์ด้วยรัตนะนานาชนิด มั่งคั่งด้วยกามสมบัติทุก

อย่าง ในกรุงสาวัตถี.

ข้าพระองค์ พรั่งพร้อมด้วยความงดงามแห่งรูป

ได้รับยกย่องในตระกูลทั้งหลาย อันมหาชนสักการะ

บูชา นับถือและยำเกรงแล้ว.

ข้าพระองค์ ล้ำคนทั้งหลายด้วยความงามแห่ง

รูปและสิริ อันบุตรเศรษฐีหลายร้อยปรารถนาอยากได้.

ข้าพระองค์ละเรือนบวชไม่มีเรือนยังไม่ทันถึง

ครึ่งเดือน ก็บรรลุ สัจจะ ๔.

ข้าพระองค์จักเนรมิตรถเทียมม้า ๔ ตัว ด้วยฤทธิ์

มาถวายบังคมพระยุคลบาทของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นที่

พึ่งของโลก เป็นผู้มีสิริ.

ข้าพระองค์เป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ ในทิพโสต

ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพระองค์ชำนาญเจโตปริยญาณ.

ข้าพระองค์รู้ปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพยจักษุ

สิ้นอาสวะทุกอย่าง บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก.

ญาณในอรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณของ

ข้าพระองค์บริสุทธิ์ไร้มลทิน เพราะอานุภาพของ

พระผู้ทรงแสวงคุณอันยิ่งใหญ่.

ชั่วขณะ ชนจำนวนนับพัน ก็น้อมเอาจีวร

บิณฑบาต คิลานปัจจัยและเสนาสนะ เข้ามาโดยรอบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 335

พระชินพุทธเจ้า ทรงยินดีในคุณข้อนั้น ทรง

เป็นผู้นำพิเศษในบริษัททั้งหลาย ทรงสถาปนาข้าพระ-

องค์ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า เป็นเลิศของเหล่า

ภิกษุณีผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย.

พระศาสดาข้าพระองค์ก็ปรนนิบัติแล้ว คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ก็กระทำเสร็จแล้ว

ภาระหนัก ข้าพระองค์ก็ปลงลงแล้ว ตัณหาที่

นำไปในภพ ข้าพระองค์ก็ถอนเสียแล้ว.

ข้าพระองค์ออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน เพื่อ

ประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้น ธรรมเป็นที่สิ้น

สังโยชน์ทุกอย่าง ข้าพระองค์ก็บรรลุตามลำดับแล้ว.

กิเลสทั้งหลาย ข้าพระองค์ก็เผาเสียแล้ว ฯลฯ

คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ก็กระทำเสร็จ

แล้ว.

ก็พระเถรีรูปนี้ คราวใด พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังโคนต้น

มะม่วงของนายคัณฑะ เพื่อทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ ใกล้ประตูกรุงสาวัตถี

คราวนั้น ก็เข้าเผ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ก็กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักกระทำปาฏิหาริย์ ผิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต

แล้วบันลือสีหนาท.

พระศาสดาทรงทำเหตุนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่อง ประทับ

นั่งท่ามกลางบริษัทพระอริยะ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงสถาปนาพระภิกษุณีทั้ง

หลายไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระเถรีรูปนี้ไว้ใน

ตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศของเหล่าภิกษุณีผู้มีฤทธิ์ พระอุบลวรรณาเถรี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 336

นั้น ยับยั้งอยู่ด้วยสุขในฌาน สุขในผล และสุขในพระนิพพาน วันหนึ่ง

พิจารณาถึงโทษ ความทราม และความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย เมื่อ

กล่าวย้ำคาถาที่พระเถรีเกิดความสลดใจ เฉพาะการอยู่ร่วมสามี ระหว่างมารดา

กับธิดาที่กล่าวไว้แล้ว แก่ท่านพระคงคาตีริยเถระ จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา

นี้ว่า

เราทั้งสองคือมารดาและธิดาเป็นหญิงร่วนสามี

กัน เรานั้นมีความสลดใจ ขนลุก ที่ไม่เคยมี.

น่าตำหนิจริง ๆ ฉานทั้งหลาย ไม่สะอาด กลิ่น

เหม็น มีหนามมาก ที่เราทั้งสองคือมารดากับธิดา

เป็นภริยาร่วม (สามี) กัน.

เรานั้น เห็นโทษในกามทั้งหลาย เห็นเนกขัมมะ

การบวชเป็นทางเกษมปลอดโปร่ง จึงออกจากเรือน

บวชไม่มีเรือน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโภ มาตา จ ธีตา จ มย อาสุ

สปตฺติโย ความว่า เราทั้งสองคือมารดาและธิดา ได้เป็นหญิงร่วมสามีกัน

และกัน.

เล่ากันว่า ภริยาของพ่อค้าคนหนึ่ง ในกรุงสาวัตถีตั้งครรภ์ขึ้นมาใน

เวลาใกล้รุ่ง นางก็ไม่รู้เรื่องการตั้งครรภ์นั้น. พอสว่าง พ่อค้าก็บรรทุกสินค้า

ลงในเกวียนเดินทางมุ่งไปกรุงราชคฤห์ เมื่อเวลาล่วงไป ครรภ์ของนางก็เติบ

โต จนแก่เต็มที่. ครั้งนั้น แม่ผัวพูดกะนางว่า ลูกชายเราก็จากไปเสียนาน

และเจ้าก็มีครรภ์ เจ้าไปทำชั่วมาหรือ. นางก็กล่าวว่า นอกจากลูกชายของแม่

ข้าพเจ้าก็ไม่รู้จักชายอื่น. แม่ผัวฟังนางแล้วไม่เชื่อ จึงขับไล่นางออกไปจากเรือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 337

นางก็ไปตามหาสามี ไปถึงกรุงราชคฤห์ตามลำดับ ขณะนั้น ลมกัมมัชวาตก็

ปั่นป่วน นางก็เข้าไปยังศาลาหลังหนึ่งใกล้ ๆ ทางแล้วก็คลอดลูก นางคลอด

ลูกชายคล้ายรูปทอง ให้นอนบนศาลาอนาถา แล้วออกไปหาน้ำข้างนอกศาลา

ขณะนั้นนายกองเกวียนคนหนึ่ง เป็นคนไม่มีลูกเดินมาทางนั้น คิดว่าทารกของ

หญิงไม่มีสามี จักเป็นลูกของเรา จึงเอาทารกนั้นมอบไว้ในมือนางนม ต่อมา

มารดาของทารกนั้น ทำกิจเรื่องน้ำแล้ว กลับมาไม่เห็นลูกก็เศร้าโศกคร่ำครวญ

ไม่เข้าไปกรุงราชคฤห์แต่เดินทางต่อไป หัวหน้าโจรคนหนึ่ง พบนางในระหว่าง

ทางเกิดจิตปฏิพัทธ์ จึงเอานางทำเป็นภริยาของตน นางอยู่ในเรือนโจรนั้น ก็

คลอดลูกหญิงออกมาคนหนึ่ง วันหนึ่ง นางยืนอุ้มลูกหญิงอยู่ทะเลาะกับสามี

ก็โยนลูกลงบนเตียง ศีรษะของเด็กหญิงแตกหน่อยหนึ่ง ต่อนั้น นางกลัวสามี

ก็กลับไปกรุงราชคฤห์ท่องเที่ยวไปตามอำเภอใจ ลูกชายของนางโตเป็นหนุ่มไม่

รู้ว่าเป็นมารดา ก็เอามารดาเป็นภริยาของตน.

ต่อมา เขาไม่รู้ว่าลูกสาวหัวหน้าโจรนั้นเป็นน้องสาว ก็แต่งงานนำมา

เรือน เขานำมารดาและน้องสาวมาเป็นภริยาของตนอยู่กันมาอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น

คนแม้ทั้งสองนั้นจึงอยู่กันอย่างพร้อมเพรียง ต่อมาวันหนึ่ง มารดาแก้มวยผม

ของลูกสาวหาเหาเห็นแผลเป็นที่ศีรษะ คิดว่าหญิงคนนี้คงเป็นลูกสาวเราแน่

แล้วก็ถาม เกิดความสลดใจจึงไปสำนักภิกษุณีแล้วบวช กระทำกิจเบื้องต้น

เสร็จแล้ว อยู่อย่างสงัด พิจารณาทบทวนถึงการปฏิบัติแต่ก่อนของตน ก็ได้

กล่าวคาถาว่า อุโภ มาตา จ ธีตา จ เป็นต้น ก็พระเถรีนี้ กล่าวย้ำคาถา

ที่หญิงนั้นกล่าวไว้แล้วเหล่านั้น โดยเห็นโทษในกามทั้งหลาย จึงกล่าวว่า

อุโภ มาตา จ ธีตา จ เป็นอาทิ. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า พระเถรี

นั้น ยับยั้งอยู่ด้วยสุขในฌาน สุขในผลและสุขในพระนิพพาน จึงได้กล่าว

สามคาถาเหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 338

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสุจี ได้แก่ ชื่อว่า อสุจี เพราะกิเลส

และของไม่สะอาดไหลออก. บทว่า ทุคฺคนฺธา ได้แก่ กลิ่นเน่า เพราะกลิ่น

เหม็นคลุ้งไป. บทว่า พหุกณฺฏถา ได้แก่ ชื่อว่า มีกิเลสดุจหนาม

มากอย่าง เพราะอรรถว่าทิ่มแทงสุจริต โดยเป็นข้าศึก จริงอย่างนั้น

กิเลสเหล่านั้น ท่านกล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกและหลาว. บทว่า

ยตฺถ ได้แก่ ในกามเหล่าใดที่บุคคลพึงบริโภค. บทว่า สหภริยา ได้แก่

เป็นภริยาเสมอกัน อธิบายว่าร่วมสามีเดียวกัน. สองคาถาว่า ปฺพฺเพนิวาส

เป็นต้น พระเถรีซึ่งพิจารณาคุณวิเศษที่ตนบรรลุแล้ว เกิดปีติโสมนัส จึงกล่าว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เจโตปริจฺจาณ ได้แก่ เจโตปริยญาณ ก็ทำ

ให้แจ้งแล้ว หรือเชื่อมความว่า บรรลุแล้ว.

ข้าพระองค์ จักเนรมิตรถเทียมม้า ๔ ตัวมาถวาย

บังคมพระยุคลบาทของพระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของ

โลกผู้มีสิริ.

คาถานี้ คราวใด พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังโคนต้นมะม่วงของ

นายคัณฑะ เพื่อทรงทำยมกปาฏิหาริย์คราวนั้น พระเถรีนี้เนรมิตรถเห็นปานนั้น

เข้าไปเฝ้าพร้อมกับรถนั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์

จักทำปาฏิหาริย์ เพื่อทำลายความมัวเมาของเดียรถีย์ขอทรงโปรดอนุญาตเถิด

พระเจ้าข้า แล้วยืนในสำนักพระศาสดา พระเถรีกล่าวหมายถึงเรื่องปาฏิหาริย์

นั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธิยา อภินิมฺมิตฺวา จตุรสฺส รถ

อห อธิบายว่า ข้าพระองค์เนรมิตรถเทียมม้า ๔ ตัว ด้วยฤทธิ์แล้ว ถวาย

บังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.

มารถามเชิงขู่พระเถรีว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 339

ท่านเข้าไปยังต้นไม้ ที่ออกดอกบานถึงยอด ยืน

อยู่ผู้เดียวที่โคนไม้ เพื่อนไร ๆ ของท่าน ก็ไม่มีเลย

ท่านไม่กลัวความสามหาวของพวกนักเลงเจ้าชู้หรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุปุปฺผิตคฺค ความว่า มียอดออกดอก

บานดี คือบานสะพรั่งทั่วทั้งต้นแต่ยอด. บทว่า ปาทป แปลว่าต้นไม้ ในที่

นี้ท่านหมายเอาต้นสาละ. บทว่า เอกา ตุว ความว่า ท่านยืนอยู่ผู้เดียวใน

ที่นี้. บทว่า น จาปิ ตุยฺห ทุติยตฺถิ โกจิ ความว่า แม้ใคร ๆ ที่เป็น

สหายของท่าน เป็นผู้อารักขาไม่มี อีกอย่างหนึ่ง โดยรูปสมบัติ เพื่อนแม้ไร ๆ

ของท่านก็ไม่มี หญิงที่มีรูปสวยไม่มีใครเสมอ ยืนอยู่ลำพังคนเดียวในที่สงัดจาก

ชนนี้. บทว่า น ตฺว พาเล ภายสิ ธุตฺตกาน ความว่า ดูก่อนแม่

สาวรุ่น ท่านไม่กลัวถ้อยคำของพวกชายเจ้าชู้ อธิบายว่า พวกนักเลง ที่ทำ

การเกี้ยว. เขาว่า วันหนึ่ง มารเห็นพระเถรีนั่งพักผ่อนกลางวัน ณ ป่าสาละ

ที่ออกดอกบาน ต้องการจะตัดพระเถรีให้ขาดจากวิเวก เมื่อทดลองจึงกล่าว

คาถานี้ ลำดับนั้น พระเถรีเมื่อจะคุกคามมารนั้น จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้

โดยอานุภาพของตนว่า

ต่อให้นักเลงนับจำนวนแสนเช่นนี้ มารุมล้อม

ขนของเราก็ไม่หวั่นไม่ไหว มารเอย ท่านผู้เดียวจักทำ

อะไรเราได้ เรานั้นหายตัวได้ เข้าท้องท่านก็ได้ ยืน

ระหว่างคิ้ว ท่านก็ไม่เห็นเราได้ เราเป็นผู้ชำนาญใน

จิต อบรมอิทธิบาทอย่างดีแล้ว อภิญญา ๖ เราก็ทำให้

แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราก็ทำเสร็จแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 340

กามทั้งหลาย เปรียบด้วยหอกและหลาวเป็น

เครื่องบีบคั้นขันธ์ทั้งหลาย ท่านเอ่ยถึงความยินดีใน

กามอันใด บัดนี้เราไม่มีความยินดีอันนั้น.

ความเพลิดเพลินในกามทั้งปวง เราขจัดเสียแล้ว

กองแห่งความมืด [อวิชชา] เราก็ทำลายเสียแล้ว ดูก่อน

มารผู้มีบาป ท่านจงรู้ไว้เถิด ดูก่อนมารผู้กระทำที่สุด

ถึงตัวท่านเราก็ขจัดเสียแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สต สหสฺสานิปิ ธุตฺตกาน สมาคตา

เอทิสกา ภเวยฺยุ ความว่า ท่านเป็นเช่นใด เหล่านักเลง แม้จำนวนหลาย

แสนเช่นนั้น คือเห็นปานนั้น พึงมาชุมนุมกัน บทว่า โลม น อิญฺเช

นปิ สมฺปเวเธ ความว่า แม้มาตรว่าขนไม่พึงหวั่นไม่พึงไหว. บทว่า กึ เม

ตุว มาร กริสฺสเสโก ความว่า ดูก่อนมาร ท่านผู้เดียวจักทำอะไรเราได้

บัดนี้ พระเถรีเมื่อจะชี้แจงว่า มารไม่สามารถทำอะไร ๆ แก่ตนได้

จึงกล่าวคาถาว่า เอสา อนฺตรธายามิ เป็นต้น. คาถานั้น มีความว่า ดู

ก่อนมาร เรานั้นยืนอยู่ต่อหน้าท่าน ก็หายตัวได้ ท่านมองไม่เห็น เราเข้า

ท้องท่าน ทั้งที่ไม่รู้นั่นแหละก็ได้ ยืนอยู่ระหว่างคิ้วก็ได้ และเรายืนอยู่อย่างนั้น

ท่านก็ไม่เห็น.

หากจะถามว่า เพราะเหตุไร ก็ตอบได้ว่า เพราะเราชำนาญในจิต

อบรมอิทธิบาทดีแล้ว. อธิบายว่า ดูก่อนมาร เราเป็นได้ เพราะจิตของเรา

ชำนาญแล้ว แม้อิทธิบาท ๔ เราก็อบรมดีแล้ว ทำให้มากแล้ว เพราะฉะนั้น

เราจึงสามารถ เพราะอยู่ในอิทธิวิสัยตามที่กล่าวมาแล้ว. ข้อนอกนั้นทั้งหมด

ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง.

จบ อรรถกถาอุบลวรรณาเถรีคาถา

จบ อรรถกถาทวาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 341

โสฬสกนิบาต

๑. ปุณริกาเถรีคาถา

[๔๔๖] พระปุณณิกาเถรีได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าถามพราหมณ์ว่า

ข้าพเจ้าเป็นหญิงแบกหม้อน้ำ กลัวเจ้านายลงโทษ

กลัววาจาและโทสะเจ้านายคุกคาม จึงลงตักน้ำเป็น

ประจำ แม้แต่หน้าหนาว.

ท่านพราหมณ์ ท่านกลัวอะไร จึงลงอาบน้ำทุก

เมื่อ ท่านมีตัวสั่นเทา ประสบความหนาวเย็นอย่างหนัก

พราหมณ์ตอบว่า

ดูก่อนแม่ปุณณิกาผู้เจริญ เจ้ารู้ว่าเรากำลังทำกุศล-

กรรม อันปิดเสียซึ่งบาปกรรม ยังจะสอบถามอยู่หรือ

หนอ ผู้ใดไม่ว่าแก่หรือหนุ่ม ประกอบกรรมที่เป็นบาป

แต่ผู้นั้น ก็จะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการ

อาบน้ำ.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

ใครหนอ ช่างไม่รู้ มาบอกแก่ท่าน ซึ่งก็ไม่รู้ว่า

คนจะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบน้ำ

พวกกบ เต่า งู จระเข้ และสัตว์อื่นใดที่สัญจรอยู่

ในน้ำ ทั้งหมด ก็คงจะพากันไปสวรรค์แน่แท้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 342

คนฆ่าแพะ คนฆ่าสุกร คนฆ่าปลา คนล่าเนื้อ

พวกโจร พวกเพชฌฆาต และทำบาปกรรมอื่น ๆ แม้

คนทั้งนั้น ก็จะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการ

อาบน้ำ.

ถ้าหากว่า แม่น้ำเหล่านี้ จะพึงนำบาปที่ท่าน

ทำมาแต่ก่อนไปได้ไซร้ แม่น้ำเหล่านี้ก็จะพึงนำทั้งบุญ

ของท่านไปด้วย ท่านก็จะพึงห่างจากบุญนั้นไป.

ท่านพราหมณ์ ท่านกลัวบาปอันใด จึงลงอาบน้ำ

ทุกเมื่อ ท่านพราหมณ์ ท่านก็อย่าทำบาปกรรมอันนั้น

ขอความหนาวเย็นอย่าทำลายผิวท่านเลย.

พราหมณ์กล่าวว่า

ท่านนำเราผู้เดินทางผิดมาสู่ทางถูก [อริยมรรค]

แม่ปุณณิกาผู้เจริญ เราขอมอบผ้าสาฏกผืนนี้ให้ท่าน

เพื่อใช้อาบน้ำ.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

ผ้าสาฎกผืนนี้จงเป็นของท่านเท่านั้นเถิด ข้าพเจ้า

ไม่ต้องการผ้าสาฎกผืนนี้ดอก ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้า

ทุกข์ไม่น่ารักสำหรับท่าน ท่านก็อย่าทำบาปกรรมทั้ง

ในที่ลับ ทั้งในที่แจ้ง ก็หากว่าท่านจักกระทำหรือ

กำลังกระทำบาปกรรม ท่านถึงจะเหาะหนีไป ก็ไม่พ้น

ไปจากทุกข์ได้เลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 343

ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าทุกข์ไม่น่ารักสำหรับท่าน

ท่านก็จงถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เช่น

นั้นเป็นสรณะ จงสมาทานศีล ข้อนั้นก็จักเป็นไปเพื่อ

ความหลุดพ้นของท่าน.

พราหมณ์กล่าวว่า

แต่ก่อน เราเป็นเผ่าพันธุ์ของพรหม บัดนี้เรา

เป็นพราหมณ์จริง มีวิชชา ๓ ถึงพร้อมด้วยเวท เป็น

โสตถิยะ [พราหมณ์หนที่ ๒] ผู้อาบน้ำเสร็จแล้ว.

จบ ปุณณิกาเถรีคาถา

จบ โสฬสกนิบาต

อรรถกถาโสฬกนิบาต

อรรถกถาปุณณาเถรีคาถา

ใน โสฬสกนิบาต คาถาว่า อุทหารี อห สีเต เป็นต้น เป็น

คาถาของ พระปุณณาเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระเถรีแม้รูปนี้ ก็บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ สร้าง

สมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้น ๆ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี ก็บังเกิดในเรือนสกุล รู้เดียงสาแล้ว เกิดความสังเวช

เพราะเป็นผู้พรักพร้อมด้วยเหตุสัมปทา ก็ไปสำนักภิกษุณีฟังธรรม ได้ศรัทธา

แล้วบวชมีศีลบริสุทธิ์ เรียนพระไตรปิฎก เป็นพหูสูต ทรงธรรม และเป็น

๑. บาลีเป็นปุณณิกาเถรีคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 344

ผู้กล่าวธรรม [ธรรมกถึก]. บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนาม

ว่า สิขี เวสสภู กกุสันธะ โกนาคมนะ และกัสสปะ ก็เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย

ศีล เป็นพหูสูต ทรงธรรม และเป็นผู้กล่าวธรรม [ธรรมกถึก] เหมือน

ครั้งบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี ฉะนั้น. แต่

เพราะเป็นคนเจ้ามานะ จึงไม่อาจตัดกิเลสให้ขาดได้ และเพราะกระทำกรรม

โดยมีมานะเป็นสันดาน ในพุทธุปบาทกาลนี้ จึงบังเกิดในท้องของทาสีในเรือน

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. นางมีชื่อว่าปุณณา นางเป็นโสดาบัน ในเพราะ

พระธรรมเทศนาชื่อสีหนาทสูตร ทรมานพราหมณ์ที่ถือว่าบริสุทธิ์ด้วยการลงอาบ

น้ำ ท่านเศรษฐีสรรเสริญแล้ว ทำนางให้เป็นไทแก่ตัว อนุญาตให้นางบวชได้แล้ว

ก็บวช เจริญกรรมฐาน ไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า

ข้าพเจ้าบวชเป็นภิกษุณี ในพระศาสนาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าวิปัสสี และของพระ

พุทธเจ้าพระนามว่าสิขี เวสสภู กกุสันธะ โกนาคมนะ

และพระกัสสปะ ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญารักษาตัว

สำรวมอันทรีย์ เป็นพหูสูต ทรงธรรม สอบถามความ

แห่งธรรม เล่าเรียนฟังธรรมอย่างใกล้ชิด ข้าพเจ้า

แสดงธรรมท่ามกลางหมู่ชน อยู่ในพระศาสนาของ

พระชินเจ้า ด้วยความเป็นพหูสูต ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้า

จึงมีศีลเป็นที่รัก หากแต่ถือตัวจัด

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๗๘ ปุณณิกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 345

มาในบัดนี้ ภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในท้อง

ทาสีผู้แบกหม้อน้ำ [กุมภทาสี] ในเรือนของท่านอนาถ-

ปิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ราชธานีแห่งแคว้นโกศล.

ข้าพเจ้าเป็นหญิงแบกหม้อน้ำ ได้พบพราหมณ์

โสตถิยะ [ผู้เป็นพราหมณ์หนที่ ๒] กำลังหนาวสั่น

อยู่กลางน้ำ ครั้นพบเขาแล้ว ได้กล่าวดังนี้ว่า

ข้าพเจ้าเป็นหญิงแบกหม้อน้ำ กลัวเจ้านายลงโทษ

ถูกภัยคือวาจาและโทสะเจ้านายคุกคาม จึงลงตักน้ำทุก

เมื่อ แม่แต่หน้าหนาว ท่านพราหมณ์ ท่านเล่า

กลัวอะไร จึงลงน้ำทุกเมื่อ ตัวสั่นเทา ประสบความ

หนาวเย็นอย่างหนัก.

พราหมณ์กล่าวว่า

ดูก่อนแม่ปุณณาผู้จำเริญ เจ้าเมื่อรู้ว่าเราผู้กระทำ

กุศลกรรม อันห้ามบาปที่ทำไว้แล้ว ยังจะสอบถาม

หรือหนอ ก็ผู้ใด ไม่ว่าเป็นคนแก่และคนหนุ่มประกอบ

บาปกรรมได้ ผู้นั้น ย่อมจะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้

เพราะการลงอาบน้ำ.

ข้าพระองค์ได้บอกแก่พราหมณ์ผู้ขึ้นจากน้ำ ถึง

บทอันประกอบด้วยธรรมและอรรถ พราหมณ์ฟังบท

นั้นแล้ว ก็สลดใจด้วยดีออกบวช เป็นพระอรหันต์.

เมื่อใด ข้าพระองค์บำเพ็ญบารมีมา ๙๙ ชาติ

เกิดในสกุลทาสี เมื่อนั้น บิดามารดาเหล่านั้น ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 346

ขนานนามข้าพระองค์ว่าปุณณา นำข้าพระองค์ให้เป็น

ไทแก่ตัว.

ต่อจากนั้น ข้าพระองค์ขออนุญาตท่านเศรษฐี

ออกบวช เป็นผู้ไม่มีเรือน ไม่นานเลยก็ได้บรรลุพระ-

อรหัต.

ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพระองค์เป็นผู้ชำนาญใน

ฤทธิ์ ในทิพโสต ชำนาญเจโตปริยญาณ รู้ปุพเพนิ-

วาสญาณ ชำระทิพโสตแล้ว เพราะหมดสิ้นอาสวะ

ทุกอย่าง บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว.

ญาณในอรรถ ธรรม นิรุตติ ปฏิภาณ อัน

บริสุทธิ์ไร้มลทิน ของข้าพระองค์มีเพราะอานุภาพของ

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

ข้าพระองค์มีปัญญามาก เพราะภาวนา มีสุตะ

[พหูสูต] เพราะสุตะ เกิดในตระกูลต่ำเพราะมานะ

กรรมก็ยังไม่สุดสิ้น.

กิเลสทั้งหลาย ข้าพระองค์ก็เผาเสียแล้ว ฯลฯ

คำสอนของพระพุทธเจ้าก็ทำเสร็จสิ้นแล้ว ครั้นบรรลุ

พระอรหัตแล้ว ก็พิจารณาทบทวนข้อปฏิบัติของตน

ได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า

ข้าพระองค์ถามพราหมณ์ว่า

ข้าพเจ้าเป็นหญิงแบกหม้อน้ำ กลัวเจ้านายลง

โทษ กลัววาจาและโทสะเจ้านายคุกคาม จึงลงตักน้ำ

ทุกเมื่อ แม้แต่หน้าหนาว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 347

ท่านพราหมณ์ ท่านกลัวอะไร จึงลงอาบน้ำทุก

เมื่อ ท่านมีตัวสั่นเทา ประสบความหนาวเย็นอย่างหนัก.

พราหมณ์ตอบว่า

ดูก่อนแม่ปุณณาผู้จำเริญ เจ้ารู้ว่าเรากำลังทำ

กุศลธรรม อันปิดซึ่งบาปกรรม ยังจะสอบถามอยู่หรือ

หนอ ก็ผู้ใดไม่ว่าแก่หรือหนุ่ม ประกอบกรรมที่เป็น

บาป แม้ผู้นั้น ก็จะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะ

การอาบน้ำ.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

ใครหนอช่างไม่รู้มาบอกกับท่าน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าตน

จะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบน้ำ พวก

กบ เต่า งู จระเข้ และสัตว์อื่น ๆ ที่สัญจรอยู่ในน้ำ

ทั้งหมด ก็คงจักพากันไปสวรรค์แน่แท้ คนฆ่าแพะ

คนฆ่าสุกร คนฆ่าปลา คนล่าเนื้อ พวกโจร พวก

เพชฌฆาต และคนทำบาปกรรมอื่น ๆ แม้คนทั้งนั้น

จะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบน้ำ ถ้า

หากว่า แม่น้ำเหล่านี้จะพึงนำบาปที่ท่านทำมาแต่ก่อน

ไปได้ไซร้ แม่น้ำเหล่านี้ ก็จะพึงนำแม้บุญของท่าน

ไปด้วย ท่านก็จะพึงเห็นห่างจากบุญนั้นไป.

ท่านพราหมณ์ ท่านกลัวบาปกรรมอันใด จึงลง

อาบน้ำทุกเมื่อ ท่านพราหมณ์ ท่านก็อย่าทำบาปกรรม

อันนั้น ขอความหนาวเย็นอย่าทำลายด้วยของท่านเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 348

พราหมณ์กล่าวว่า

ท่านนำเราผู้เดินทางผิดมาสู่ทางถูก [อริยมรรค]

แม่ปุณณาผู้จำเริญ เราขอมอบผ้าสาฎกนี้ให้ท่าน เพื่อ

ใช้อาบน้ำ

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

ผ้าสาฎกนี้จงเป็นของท่านเถิด ข้าพเจ้าไม่ต้องการ

ผู้สาฎกนี้ดอกจ้ะ ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าทุกข์ไม่น่ารัก

สำหรับท่าน ท่านก็อย่าทำบาปกรรม ทั้งในที่ลับ ทั้ง

ในที่แจ้ง ก็หากว่าท่านจักกระทำ หรือกำลังกระทำ

บาปกรรม ท่านถึงจะเหาะหนีไป ก็ไม่พ้นไปจากทุกข์

ได้เลย.

ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าทุกข์ไม่น่ารักสำหรับท่าน

ท่านก็จงถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

เช่นนั้นเป็นสรณะ จงสมาทานศีล ข้อนั้นก็จักเป็นไป

เพื่อความหลุดพ้นของท่าน.

พราหมณ์กล่าวว่า

แต่ก่อน เราเป็นเผ่าพันธุ์ของพรหม บัดนี้เรา

เป็นพราหมณ์จริง มีวิชชา ๓ ถึงพร้อมด้วยเวท เป็น

โสตถิยะ [พราหมณ์หนที่ ๒] ผู้อาบน้ำเสร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทหารี ได้แก่ ผู้นำน้ำมาด้วยหม้อ.

บทว่า สทา อุทกโมตรึ ได้แก่ ลงตักน้ำทุกเมื่อ คือทั้งกลางคืนกลางวัน

แม้แต่ในหน้าหนาว. อธิบายว่า เวลาใด ๆ เจ้านายต้องการน้ำเวลานั้น ๆ

ข้าพเจ้าก็ต้องลงตักน้ำ ครั้นลงตักน้ำแล้ว ก็ต้องนำน้ำไปให้เขา. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 349

อยฺยาน ทณฺฑภยภีตา ได้แก่ กลัวภัยคือการลงโทษของเจ้านาย. บทว่า

วาจาโทสภยฏฏิตา ได้แก่ ถูกภัยคือการลงโทษทางวาจา [การด่าว่า]

และภัยคือการลงโทษทางกาย [การโบย, ตี] คุกคาม คือบีบคั้น ประกอบ

ความว่า ต้องลงตักน้ำ แม้แต่หน้าหนาว.

ต่อมาวันหนึ่ง นางปุณณาทาสีไปท่าน้ำเพื่อเอาหม้อนำน้ำมา ณ ที่นั้น

ได้พบพราหมณ์ผู้หนึ่ง ซึ่งถือลัทธิว่าบริสุทธิ์ได้ด้วยการอาบน้ำ เมื่อความ

นาวเย็นกำลังเป็นไปอยู่ ในสมัยหิมะตก ลงน้ำแต่เช้าตรู่ ดำน้ำมิดศีรษะ

ร่ายมนต์แล้วขึ้นจากน้ำ ผ้าเปียก ผมเปียก สั่นเท้า ฟันกระทบกันดังบรรเลง

พิณ ฉะนั้น ครั้นเห็นแล้ว มีใจอันความกรุณากระตุ้นเตือนแล้ว หวังจะเปลื้อง

พราหมณ์นั้นให้พ้นจากทิฏฐินั้น จึงกล่าวคาถาว่า กสฺส พฺราหฺมณ ตฺว

ภีโต เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺส พฺราหฺมณ ตฺว ภีโต ความว่า

ท่านพราหมณ์ ท่านกลัวแต่เหตุแห่งภัย ชื่อไรเล่า. บทว่า สทา อุทกโมตริ

ได้แก่ลงน้ำทุกเวลา คือทั้งเช้าทั้งเย็น และครั้นลงแล้ว ก็มีตัว คือส่วนแห่ง

ร่างกายหนาวสั่น คือสั่นเทิ้ม. บทว่า สีต เวทยเส ภุส ได้แก่ ประสบ

คือเสวยทุกข์ เกิดแต่ความหนาวอย่างเหลือเกิน คือที่ทนได้ยาก.

บทว่า ชานนฺตี วต ม โภติ ความว่า ดูก่อนแม่ปุณณาผู้เจริญ

ท่านก็รู้ว่า ด้วยการลงน้ำนี้ เรากำลังทำกุศลกรรม ที่จะปิด คือสามารถห้าม

กันบาปกรรมที่สร้างสมไว้นั้นได้ ยังจะถามด้วยหรือหนอ.

พราหมณ์เมื่อแสดงว่า ความข้อนี้ปรากฏในโลกแล้ว มิใช่หรือ แม้

อย่างนั้น เราก็จะบอกแก่ท่าน จึงกล่าวคาถาว่า โย จ วุทฺโฒ เป็นต้น.

คาถานั้นมีความว่า คนใดคนหนึ่ง ไม่ว่าแก่ หนุ่ม หรือกลางคน ประกอบ

คือกระทำเหลือเกิน ซึ่งบาปกรรม ต่างโดยปาณาติบาตกรรมเป็นต้น คนแม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 350

นั้นยินดีนักในบาปกรรมอย่างหนัก ก็หลุดพ้น คือรอดพ้นโดยส่วนเดียว จาก

บาปกรรมนั้นได้ ด้วยการรดน้ำ คือด้วยการอาบน้ำ.

นางปุณณาฟังคำของพราหมณ์นั้น เมื่อจะให้คำตอบแก่พราหมณ์นั้น

จึงกล่าวคาถาว่า โก นุ เต เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ เต

อิทมกฺขาสิ อชานนฺตสฺส อชานโก ความว่า ใครหนอช่างไม่รู้ ช่างไม่

เข้าใจ ช่างเขลา มาบอกแก่ท่านผู้ไม่รู้วิบากกรรม คือไม่รู้วิบากของกรรม

ทุก ๆ ประการ ถึงความข้อนี้ว่า คนย่อมหลุดพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะ

เหตุที่รดน้ำ ผู้นั้นมีถ้อยคำที่เชื่อไม่ได้เลย อธิบายว่า คำนั้นไม่ถูกต้อง.

บัดนี้ นางปุณณาเมื่อชี้แจงถึงความไม่ถูกต้องนั้นแก่พราหมณ์นั้น จึง

กล่าวคาถามีว่า สคฺค นูน คมิสฺสนฺติ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

นาคา แปลว่า งู. บทว่า สุสุมารา แปลว่า จระเข้. บทว่า เย จญฺเ

อุทเก จรา ความว่า สัตว์แม้เหล่าอื่นใด ที่หากินอยู่ในน้ำ มีปลา มังกร

และปลาใหญ่นันทิยาวัตเป็นต้น สัตว์แม้เหล่านั้น เห็นทีจักไปสวรรค์ เข้าถึง

เทวโลกกันแน่แท้ ถ้าจะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะอาบน้ำ.

บทว่า โอรพฺภิกา แปลว่า คนฆ่าแพะ. บทว่า สูกริกา แปลว่า

คนฆ่าสุกร. บทว่า มจฺฉิกา แปลว่า ชาวประมง. บทว่า มิคพนฺธกา

แปลว่า พรานเนื้อ. บทว่า วชฺฌฆาตกา ได้แก่ คนมีหน้าที่ฆ่า.

บทว่า ปุญฺมฺปิมา วเหยฺยุ ความว่า ถ้าแม่น้ำเหล่านั้นมีแม่น้ำ

อจิรวดีเป็นต้น จะพึงนำไปคือนำออกไปซึ่งบาปที่ท่านทำมาแต่ก่อน ด้วยการ

ลงอาบน้ำในแม่น้ำเหล่านั้น ฉันใดไซร้ แม่น้ำเหล่านั้นก็พึงนำคือลอยซึ่งบุญที่

ท่านทำไว้แล้วก็ฉันนั้น ท่านก็พึงห่างจากบุญกรรมนั้น คือ เมื่อเป็นดังนั้น

ท่านก็พึงห่างว่างเว้นจากบุญกรรมนั้น อธิบายว่า คำนั้นไม่ถูกต้อง หรือว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 351

การลอยบุญของคนที่ลงอาบน้ำย่อมมีไม่ได้ เพราะน้ำ ฉันใด แม้การลอยบาป

ก็ย่อมมีไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุไร ก็เพราะการอาบน้ำ ไม่เป็น

ปฏิปักษ์ต่อเหตุแห่งบาปทั้งหลาย สภาพใดทำสิ่งใดให้พินาศไป สภาพนั้น ก็

เป็นปฏิปักษ์ต่อสิ่งนั้น ความสว่างเป็นปฏิปักษ์ต่อความมืด วิชชาเป็นปฎิปักษ์

ต่ออวิชชา ฉันใด การอาบน้ำก็ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อบาป ฉันนั้น เพราะฉะนั้น

พึงได้ข้อยุติในเรื่องนี้ว่า หลุดพ้นจากบาปกรรม เพราะอาบน้ำไม่ได้ ด้วยเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลย่อมสะอาดเพราะน้ำก็หามิได้ เพราะชน

เป็นอันมาก เขาก็อาบน้ำกันในแม่น้ำนั้น สัจจะและ

ธรรมะมีในผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้สะอาด และผู้นั้น

ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ผู้ลอยบาป.

บัดนี้ นางปุณณาทาสี เพื่อแสดงว่า ก็ผิว่า ท่านต้องการจะลอยบาป

ไซร้ ท่านก็อย่าทำบาปทุก ๆ ประการเลย จึงกล่าวคาถาว่า ยสฺส พฺราหฺมณ

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเมว พฺรหฺเม มากาสิ ความว่า

ท่านกลัวบาปใด ท่านพันธุ์พรหม คือท่านพราหมณ์ ท่านก็อย่าได้ทำบาปนั้นสิ

ด้วยว่าการลงน้ำ ก็เบียดเบียนร่างกาย ในหน้าหนาวเช่นนี้ อย่างเดียวเท่านั้น

ด้วยเหตุนั้น นางปุณณาจึงกล่าวว่า ขอความหนาวอย่าทำร้ายผิวท่านเลย อธิ-

บายว่า ความหนาวที่เกิดเพราะการอาบน้ำในหน้าหนาวเช่นนี้ อย่าพึงทำร้าย

อย่าพึงเบียดเบียนผิวแห่งร่างกายท่านเลย. บทว่า กุมฺมคฺคปฏิปนฺน ได้แก่

เราผู้ดำเนินคือผู้ประคับประคองทางผิด คือถือเอาผิด ๆ นี้. บทว่า อริยมคฺค

สมานยิ ความว่า ท่านนำมาพร้อม คือน้อมนำมาโดยชอบสู่ทางที่พระอริยะ

ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงดำเนินมาแล้วนี้ว่า การไม่ทำบาปทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 352

การทำกุศลให้พรักพร้อม ดังนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น แม่ปุณณาผู้เจริญ เรา

ขอมอบผ้าสาฎกผืนนี้ ให้แก่ท่านด้วยความยินดี เป็นส่วนของการบูชาอาจารย์

โปรดรับผ้าสากฎผืนนี้ไว้เถิด.

นางปุณณานั้น ปฏิเสธพราหมณ์นั้น แต่เพื่อจะกล่าวธรรม ทำ

พราหมณ์ให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีล จึงกล่าวว่า ผ้าสาฎกจงเป็นของท่านเท่านั้น

เถิด ข้าพเจ้าไม่ต้องการผ้าสาฎกดอก ดังนี้แล้วกล่าวต่อไปว่า ถ้าท่านกลัวทุกข์

ดังนี้เป็นต้น คำนั้นมีความว่า ผิว่า ท่านกลัวทุกข์ต่างโดยความไม่ผาสุกและ

ความมีโชคร้ายเป็นต้น ในอบายทั้งสิ้นและในสุคติ ผิว่า ทุกข์นั้น ไม่น่ารัก

ไม่น่าปรารถนาสำหรับท่าน ท่านก็อย่าทำ อย่าประกอบกรรมชั่วทราม แม้

ประมาณเล็กน้อย โดยกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น ทางกายวาจา ในที่แจ้งคือทำ

เปิดเผยโดยปรากฏแก่คนเหล่าอื่น หรือโดยมโนกรรมมีอภิชฌาเป็นต้น ใน

มโนทวารอย่างเดียว ในที่ลับ คือทำปกปิด โดยไม่ปรากฏ ก็ถ้าหากท่านจัก

กระทำบาปกรรมนั้นในอนาคตหรือกำลังทำอยู่ในปัจจุบัน ท่านแม้จะจงใจ

เจตนาหนีไปเสีย ด้วยประสงค์ว่า เมื่อเราหนีไปทางโน้นทางนี้ ทุกข์อันเป็น

ผลของกรรมนั้น ก็ติดตามไปไม่ได้ในอบาย ๔ มีนรกเป็นต้นและในมนุษย์

ดังนี้ จะชื่อว่าหลุดพ้นจากบาปนั้นก็หาไม่ อธิบายว่า เมื่อปัจจัยอันมีคติและ

กาลเป็นต้นยังประชุมกันอยู่ กรรมก็ย่อมจะให้ผลได้ทั้งนั้น บาลีว่า อุปจฺจ

ก็มี ความว่าเหาะไป. นางปุณณาครั้นแสดงความไม่มีทุกข์ เพราะไม่ทำบาป

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงเพราะการทำบุญบ้างจึงกล่าวว่า สเจ ภายสิ

เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาทิน ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้คงที่ใน

อารมณ์ที่เห็นแล้วเป็นต้น หรือประกอบความว่า ท่านจงเข้าถึงพระสัมพุทธเจ้า

พระองค์นั้นเป็นสรณะ เพราะเป็นผู้ที่ท่านพึงเห็นเหมือนอย่างผู้คงที่พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ที่ท่านพึงเห็น แม้ในพระธรรมและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 353

พระสงฆ์ ก็นัยนี้เหมือนกัน ประกอบความว่า จงเข้าถึงพระธรรมของ

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเช่นนั้น ถึงหมู่คือกลุ่มของพระอริยบุคคล ๘ เป็นสรณะ .

บทว่า ต ได้แก่ การถึงสรณะ และการสมาทานศีล. บทว่า เหหิติ แปลว่า

จักเป็น.

พราหมณ์นั้นตั้งอยู่ในสรณะและศีลแล้ว ต่อมา ฟังธรรมในสำนักของ

พระศาสดาแล้วได้ศรัทธา ก็บวชพากเพียรพยายามอยู่ ไม่นานนัก ก็เป็นผู้มี

วิชชา ๓ พิจารณาทบทวนข้อปฏิบัติของตน เมื่อจะอุทานจึงกล่าวคาถาว่า

พฺรหฺมพนฺธุ เป็นต้น.

คาถานั้นมีความว่า แต่ก่อน ข้าพเจ้ามีชื่อว่า พรหมพันธุ์ เผ่า-

พันธุ์พรหม โดยเหตุเพียงเกิดในสกุลพราหมณ์ ข้าพเจ้า เป็นผู้มีไตรเพทถึง

พร้อมด้วยเวท ชื่อว่า เป็นพราหมณ์ผู้อาบน้ำเสร็จแล้ว โดยเหตุเพียงเรียน

เป็นต้นซึ่งไตรเพทมีอิรุพเพทเป็นอาทิ ก็อย่างนั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์

จริง คือเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์ เพราะลอยบาปได้โดยประการทั้งปวง

ชื่อว่าเตวิชชา เพราะบรรลุวิชชา ๓ ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยเวท เพราะประกอบ

ด้วยเวท กล่าวคือมรรคญาณ และชื่อว่าอาบน้ำเสร็จแล้ว เพราะถอนบาปได้

หมด แม้คาถาที่พราหมณ์กล่าวไว้ในเรื่องนี้ ภายหลัง พระเถรีก็กล่าวไว้เฉพาะ

ดังนั้น จึงชื่อว่าคาถาของพระเถรีทั้งหมดแล.

จบ อรรถกถาปุณณาเถรีคาถา

จบ อรรถกถาโสฬสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 354

เถรีคาถา วีสตินิบาต

๑. อัมพปาลีเถรีคาถา

[๔๖๗] พระอัมพปาลีเถรี ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

แต่ก่อน ผมของข้าพเจ้ามีสีดำเหมือนสีแมลงภู่

มีปลายผมงอน เดี๋ยวนี้ผมเหล่านั้นกลายเป็นเสมือน

ป่านปอเพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส

แต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน มวยผมของข้าพเจ้าเต็มด้วยดอกไม้หอม

กรุ่น เหมือนผอบที่อบกลิ่น เดี๋ยวนี่ผมนั้น มีกลิ่น

เหมือนขนแกะเพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้า

ผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน ผมของข้าพเจ้าดก งามด้วยปลายผม

ที่รวบไว้ด้วยหวีและเข็มเสียบ เหมือนป่าไม้ทึบที่ปลูก

ไว้เป็นระเบียบ เดี๋ยวนี้ผมนั้นบางลง ๆ ในที่นั้น ๆ

เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความ

จริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน มวยผมดำ ประดับทอง ประดับด้วย

ช้องผมอย่างดี สวยงาม เดี๋ยวนี้ มวยผมนั้นก็ร่วงเลี่ยน

ไปทั้งศีรษะเพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้

ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 355

แต่ก่อน คิ้วของข้าพเจ้าสวยงามคล้ายรอยเขียน

ที่จิตรกรบรรจงเขียนไว้ เดี่ยวนี้ กลายเป็นห้อยย่นลง

เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความ

จริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน ดวงตาทั้งคู่ของข้าพเจ้าดำขลับมีประกาย

งาม คล้ายแหวนมณี เดี๋ยวนี้ ถูกชราทำลายเสียแล้ว

จึงไม่งาม พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความ

จริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน เมื่อวัยสาว จมูกของข้าพเจ้าโด่งงาม

เหมือนเกลียวหรดาล เดี๋ยวนี้กลับเหี่ยวแฟบเพราะชรา

พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำ

จริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน ใบหูทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงามเหมือน

ตุ้มหูที่ช่างทำอย่างประณีตเสร็จเรียบร้อยแล้ว เดี๋ยวนี้

กลับห้อย ย่นเพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้า

ผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน ฟันของข้าพเจ้าสวยงามเหมือนหน่อตูม

ของต้นกล้วย เดี๋ยวนี้กลับหักดำเพราะชรา พระดำรัส

ของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้

ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน ข้าพเจ้าพูดเสียงไพเราะเหมือนนกดุเหว่า

ที่มีปกติเที่ยวไปในไพรสณฑ์ในป่าใหญ่ ส่งเสียงไพ-

เราะ เดี๋ยวนี้ คำพูดของข้าพเจ้า ก็พูดพลาดเพี้ยน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 356

ไปในที่นั้น ๆ เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้า

ผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน คอของข้าพเจ้าสวยงามกลมเกลี้ยง

เหมือนสังข์ขัดเกลี้ยงเกลาดีแล้ว เดี๋ยวนี้ กลายเป็น

งุ้มค้อมลงเพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส

แต่ความจริง เป็นคำจริงแต่ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน แขนทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงาม เปรียบ

เสมือนไม้กลอนกลมกลึง เดี๋ยวนี้ กลายเป็นลีบเหมือน

กึ่งแคคด เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้

ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน มือทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงาม ประดับ

ด้วยแหวนทองงามระยับ เดี๋ยวนี้ กลายเป็นเสมือน

เหง้ามัน เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส

แต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน กันทั้งสองของข้าพเจ้าอวบอัดกลมกลึง

ตั้งประชิดกัน ทั้งงอนสล้างสวยงาม เดี๋ยวนี้ กลายเป็น

หย่อนยานเหมือนถุงหนังที่ไม่มีน้ำเพราะชรา พระ-

ดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริง

แท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน กายของข้าพเจ้าเกลี้ยงเกลาดังแผ่นทอง

สวยงาม เดี๋ยวนี้ กลายเป็นสะพรั่งด้วยเส้นเอ็นอัน

ละเอียดเพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส

แต่ความจริง เป็นคำจริงแต่ ไม่แปรเป็นอื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 357

แต่ก่อน ขาอ่อนทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงาม

เปรียบเหมือนงวงช้าง เดี๋ยวนี้ กลายเป็นเสมือนข้อไม้

ไผ่ เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่

ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน แข้งทั้งสองของข้าพเจ้าประดับด้วย

กำไลทองเกลี้ยงเกลาสวยงาม เดี๋ยวนี้ กลายเป็นเหมือน

ต้นงาขาด เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้

ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน เท้าทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงามเหมือน

รองเท้าหุ้มปุยนุ่น เดี๋ยวนี้ แตกเป็นริ้วรอยเพราะชรา

พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำ

จริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

เดี๋ยวนี้ ร่างกายนี้เป็นเช่นนี้ คร่ำคร่าเป็นแหล่ง

ที่อยู่แห่งทุกข์เป็นอันมาก ปราศจากเครื่องลูบไล้ เป็น

เรือนชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความ

จริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

จบอัมพปาลีเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 358

อรรถกถาวีสตินิบาต

๑. อรรถกถาอัมพปาลีเถรีคาถา

ในวีสตินิบาต คาถาว่า กาฬกา ภมรวณฺณสทิสา เป็นต้น

เป็นคาถาของ พระอัมพปาลีเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระเถรีแม้รูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ

สร้างสมกุศล อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้น ๆ บรรพชาอุป-

สมบทในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี สมาทานสิกขาบทของ

ภิกษุณีอยู่ วันหนึ่ง ไหว้พระเจดีย์ ทำประทักษิณเวียนขวา เมื่อพระขีณา-

สวเถรีเดินไปก่อน พลันถ่มน้ำลาย ก้อนน้ำลายก็ตกไปที่ลานพระเจดีย์ พระ

ขีณาสวเถรีไม่เห็นก็เดินไป ภิกษุณีรูปนี้. เดินไปข้างหลังเห็นก้อนน้ำลายนั้นก็

คำว่า อีแพศยาชื่อไรนะ ถ่มน้ำลายลงที่ตรงนี้ ภิกษุณีรูปนี้ รักษาศีลในเวลา

เป็นภิกษุณี เกลียดการเข้าอยู่ในครรภ์ ก็ตั้งจิตไว้ให้อยู่ในอัตภาพเป็นอุปปา-

ติกะ. ด้วยการตั้งจิตนั้น ในอัตภาพสุดท้าย ภิกษุณีรูปนั้น ก็บังเกิดเป็น

อุปปาติกะ ที่โคนต้นมะม่วง ในพระราชอุทยาน กรุงเวสาลี. พนักงานเฝ้า

อุทยานเห็นเด็กหญิงนั้นก็นำเข้าพระนคร. เพราะบังเกิดที่โคนต้นมะม่วง นาง

จึงถูกเรียกว่า อัมพปาลี. ครั้งนั้น พวกพระราชกุมาร [เจ้าขาย] มากพระ

องค์ เห็นนางสะสวยน่าชมน่าเลื่อมใส ทั้งแสดงคุณพิเศษมีเสน่ห์น่ารักน่าใคร่

เป็นต้น ต่างก็ปรารถนาจะทำให้เป็นหม่อมห้ามของตนๆ จึงเกิดทะเลาะวิวาทกัน

คณะผู้พิพากษาได้รับคำฟ้องของนาง เพื่อระงับการทะเลาะวิวาทของพวกราช-

กุมารเหล่านั้น จึงตั้งนางไว้ในตำแหน่งคณิกาหญิงแพศยา ว่าจงเป็นของทุกๆคน.

นางได้ศรัทธาในพระศาสดาสร้างวิหารไว้ในสวนของตน มอบถวายแก่ภิกษุ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 359

สงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ภายหลัง ฟังธรรมในสำนักของพระวิมล-

โกณฑัญญเถระ บุตรของตน ก็บวชเจริญวิปัสสนา อาศัยความที่สรีระของตน

คร่ำคร่าลง เพราะชรา ก็เกิดสังเวชใจ เมื่อจะชี้แจงถึงความที่สังขารไม่เที่ยง

อย่างเดียว จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

แต่ก่อน ผมของข้าพเจ้ามีสีดำเสมือนสีแมลงภู่

มีปลายงอน เดี๋ยวนี้ ผมเหล่านั้นก็กลายเป็นเสมือน

ป่านปอ เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส

แต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน มวยผมของข้าพเจ้าเต็มด้วยดอกไม้

หอมกรุ่น เหมือนผอบที่อบกลิ่น เดี๋ยวนี้ ผมนั้นมี

กลิ่นเหมือนขนแพะ เพราะชรา พระดำรัสของพระ-

พุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็น

อื่น.

แต่ก่อน ผมของข้าพเจ้าดกงามด้วยปลายที่รวบ

ไว้ด้วยหวีและเข็มเสียบ เหมือนป่าไม่ทึบที่ปลูกไว้

เป็นระเบียบ เดี๋ยวนี้ ผมนั้นก็บางลงในที่นั้น ๆ เพราะ

ชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง

เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน มวยผมดำ ประดับทอง ประดับด้วย

ช้องผมอย่างดี สวยงาม เดี๋ยวนี้ มวยผมนั้น ก็ร่วง

เลี่ยนไปทั้งศีรษะเพราะชรา พระดำรัสของพระ-

พุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปร

เป็นอื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 360

แต่ก่อน คิ้วของข้าพเจ้าสวยงามคล้ายรอยเขียน

ที่จิตรกรบรรจงเขียน เดี๋ยวนี้ กลายเป็นห้อย ย่นลง

เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความ

จริง เป็นคำจริงแต่ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน ดวงตาทั้งคู่ของข้าพเจ้าดำขลับมีประ-

กายงาม คล้ายแหวนมณี เดี๋ยวนี้ ถูกชราทำลายเสีย

แล้วจึงไม่งาม พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่

ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน เมื่อวัยสาว จมูกของข้าพเจ้าโด่งงาม

เหมือนเกลียวหรดาล เดี๋ยวนี้ กลับเหี่ยวแฟบ เพราะ

ชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง

เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน ใบหูทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงามเหมือน

ตุ้มหูที่ช่างทำอย่างประณีตเสร็จเรียบร้อยแล้ว เดี๋ยวนี้

กลายเป็นห้อยย่น เพราะชรา พระดำรัสของพระ-

พุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปร

เป็นอื่น.

แต่ก่อน ฟันของข้าพเจ้าสวยงามเหมือนหน่อตูม

ของต้นกล้วย เดี๋ยวนี้กลับหักดำ เพราะชรา พระดำรัส

ของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้

ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน ข้าพเจ้าพูดเสียงไพเราะเหมือนนก

ดุเหว่า ที่มีปกติเที่ยวไปในไพรสณฑ์ในป่าใหญ่ ส่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 361

เสียงร้องไพเราะ เดี๋ยวนี้ คำพูดของข้าพเจ้า ก็พูด

พลาดเพี้ยนไปในที่นั้น ๆ เพราะชรา พระดำรัสของ

พระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแต่ ไม่

แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน คอของข้าพเจ้าสวยงามกลมเกลี้ยง

เหมือนสังข์ขัดเกลี้ยงเกลาดีแล้ว เดี๋ยวนี้ กลายเป็น

งุ้มค้อมลง เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้

ตรัส แต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน แขนทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงาม

เปรียบเสมือนไม่กลอน กลมกลึง เดี๋ยวนี้ กลายเป็น

ลีบเหมือนกึ่งแคคด เพราะชรา พระดำรัสของพระ-

พุทธเจ้าตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็น

อย่างอื่น.

แต่ก่อน มือทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงาม ประดับ

ด้วยแหวนทองงามระยับ เดี๋ยวนี้ กลายเป็นเสมือน

เหง้ามัน เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส

แต่ความจริง เป็นคำจริงแต่ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน ถันทั้งสองของข้าพเจ้าอวบอัดกลมกลึง

ประชิดกันและงอนสล้างสวยงาม เดี๋ยวนี้ กลายเป็น

หย่อนยานเหมือนถุงหนังที่ไม่มีน้ำ เพราะชรา พระ-

ดำรัสของพระพุทธเจ้า ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริง

แท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน กายของข้าพเจ้าเกลี้ยงเกลาดังแผ่นทอง

สวยงาม เดี๋ยวนี้ กลายเป็นสะพรั่งด้วยเส้นเอ็นอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 362

ละเอียด เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส

แต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน ขาอ่อนทั้งสองข้างของข้าพเจ้าสวยงาม

เปรียบเหมือนงวงช้าง เดี๋ยวนี้ กลายเป็นเหมือนข่อ

ไม้ไผ่ เพราะชรา พระดำรัวของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส

แต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน แข้งทั้งสองของข้าพเจ้าประดับด้วย

กำไลทองเกลี้ยงเกลาสวยงาม เดี๋ยวนี้ กลายเป็น

เหมือนต้นงาขาด เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธ-

เจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

แต่ก่อน เท้าทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงามเปรียบ

เสมือนรองเท้าหุ้มปุยนุ่น เดี๋ยวนี้ แตกเป็นริ้วรอย

เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความ

จริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

บัดนี้ ร่างกายนี้ เป็นเช่นนี้ คร่ำคร่าเป็นแหล่ง

ที่อยู่แห่งทุกข์เป็นอันมาก ปราศจากเครื่องลูบไล้ เป็น

เรือนชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส แต่ความ

จริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาฬกา แปลว่ามีสีดำ. บทว่า

ภมรวณฺณสทิสา ความว่า ผมแม้ดำก็สีเสมือนแมลงภู่ คือเขียวสนิท.

บทว่า เวลฺลิตคฺคา แปลว่า มีปลายงอน อธิบายว่า งอน คือช้อนขึ้นตั้ง

แต่โคนจนถึงปลาย. บทว่า มุทฺธชา แปลว่า ผม. บทว่า ชราย ได้แก่

เพราะชราเป็นเหตุ คือเพราะความงามที่ถูกชราทำลายเสียแล้ว. บทว่า

สาณวากสทิสา ได้แก่ เสมือนป่าน เสมือนปอ ความว่า เสมือนเปลือก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 363

ป่านและเสมือนเปลือกไม้ ดังนี้. บทว่า สจฺจวาทิวจน อนญฺถา

ความว่า พระดำรัสเป็นต้นว่า รูปทั้งปวงไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำไว้ ของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสความจริง ความแท้ เป็นคำจริงอย่างเดียวไม่แปร

เป็นอย่างอื่น ความเท็จไม่มีอยู่ในพระดำรัสนั้น.

บทว่า วาสิโต ว สุรภี กรณฺฑโก ความว่า ผมมีกลิ่นหอม

เหมือนกล่องเครื่องประดับ ที่อบให้จับกลิ่น ด้วยดอกไม้ของหอมและผอบ

เป็นต้น. บทว่า ปุปฺผปูร มม อุตฺตมงฺคภูโต ความว่า แต่ก่อนมวยผม

ของข้าพเจ้าไม่มีมลทิน เต็มด้วยดอกไม้มีดอกจำปา ดอกมะลิ เป็นต้น. บทว่า ต

ได้แก่สิ่งที่เกิดบนศีรษะคือผม. ต่อมาภายหลังคือบัดนี้ กลายเป็นมีกลิ่นเหมือน

ขนของตนเอง คือกลายเป็นมีกลิ่นเป็นขนตามปกติ. อีกนัยหนึ่ง บทว่า

สโลมคนฺธิก ได้แก่มีกลิ่นเสมอกับขนแพะ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เอฬก-

โลมคนฺธิก มีกลิ่นเหมือนขนแพะ ดังนี้ก็มี.

บทว่า กานนว สหิต สุโรปิต ความว่า เหมือนป่าเล็ก ที่มี

ต้นไม้มีกิ่งตรงและยาว ซึ่งอยู่ตอนบน เขาปลูกไว้ดี ชิดกัน ตั้งอยู่ทึบ.

โกจฺฉสูจิวิจตคฺคโสภิต ความว่า แต่ก่อนผมมีปลายรวบไว้ด้วยการเสียบ

มวยผมด้วยหวีและเข็มเสียบทอง สวยงาม หรือผมเป็นเสมือนแปรงเพราะดก

ชื่อว่าสวยงามเพราะมีปลายรวบไว้ด้วยเข็มงาที่ซื้อมาจากตลาด. บทว่า ต

ได้แก่ ผม. บทว่า วิรล ตหึ ตหึ ได้แก่ ที่บาง คือผมร่วงในที่นั้น ๆ

บทว่า กณฺหขนฺ ก สุวณฺณมณฺฑิต ได้แก่ กลุ่มผมดำ ประดับ

ด้วยเครื่องประดับมีวชิระทองเป็นต้น. แต่อาจารย์พวกใดกล่าวว่า ประดับ

ด้วยลูกศรทองสวยงาม ความของอาจารย์พวกนั้น ก็ว่าประดับด้วยการเสียบ

มวยผมด้วยเข็มทองสวยงาม. บทว่า โสภเต สุเวณีหิลงฺกต ความว่า

ประดับด้วยช้องผมที่เสมือนมาลัยดอกราชพฤกษ์ อันงาม ย่อมส่องประกายมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 364

แต่ก่อน. บทว่า ต ชราย ขลิต สิร กต ความว่า ศีรษะที่งามอย่าง

นั้นนั้น เดี๋ยวนี้ ถูกชราทำให้เลี่ยนคือ ทำผมให้ร่วง ขาดเป็นฝอยๆ.

บทว่า จิตฺตการสุกตาว เลขิกา ความว่า แต่ก่อนคิ้วของข้าพเจ้า

เหมือนดังรอยเขียนที่จิตรกรช่างศิลป์บรรจงเขียนด้วยสีเขียว. บทว่า โสภเต

สุ ภมุก ปุเร มม ความว่า แต่ก่อนคิ้วที่สวยของข้าพเจ้าก็นับว่างาม. บทว่า

วลีหิ ปลมฺพิตา ได้แก่ ก็ตั้งห้อยลงเพราะรอยย่นที่เกิดที่ริมหน้าผาก.

บทว่า ภสฺสรา แปลว่ามีประกาย. บทว่า สุรุจิรา แปลว่า งาม

ดี. บทว่า ยถา มณิ แปลว่า เหมือนแหวนตรามณี. บทว่า เนตฺตาเหสุ

แปลว่า ได้เป็นดวงตาที่งาม. บทว่า อภินีลมายตา แปลว่า เขียวจัด

กว้าง. บทว่า เต ได้แก่ ดวงตา. บทว่า ชรายภิหตา แปลว่า อันชรา

ทำลายเสียแล้ว.

บทว่า สณฺทตุงฺคสทิสี จ ได้แก่ โด่ง งาม และรับกับส่วนแห่ง

ดวงหน้า และอวัยวะนอกนั้น. บทว่า โสภเต ความว่า จมูกของข้าพเจ้า

งามดังเกลียวหรดาลที่ฟันตั้งไว้. บทว่า สุ อภิโยพฺพน ปติ ความว่า จมูก

ในสมัยแรกรุ่นที่งามนั้น บัดนี้ก็เป็นเหมือนลดลงและเหมือนถูกกัน [ไม่ให้

โด่ง] เพราะชราห้ามความงามไว้. ด้วยบทว่า กงฺกณว สุกต สุนิฏฺิต

พระอัมพปาลีเถรี กล่าวหมายถึงความกลมกลึง ประหนึ่งเครื่องประดับปลาย

แขนทอง ที่นายช่างทำอย่างดี. บทว่า โสภเต ก็คือ โสภนฺเต แปลว่า

งาม หรือบาลีก็ว่า โสภนฺเต. คำว่า สุ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า กณฺณปาฬิโย

[กลีบหู] ได้แก่ ใบหู. บทว่า วลิภิปฺปลมฺภิตา ความว่า ก็เหี่ยวย่นเพราะ

ความเหี่ยวที่เกิดขึ้นในที่นั้น ๆ เป็นเกลียวดั่งท่อนผ้าที่บิด ตกห้อยลง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 365

บทว่า ปตฺตลิมกุลวณฺณสทิสา ได้แก่ ฟัน มีสีและสัณฐานดัง

หน่อตูมของต้นกล้วย. บทว่า ขณฺฑิตา ได้แก่ หัก คือถึงความหัก แตก

หลุดหล่นไป. บทว่า อสิตา ได้แก่ ถึงความเป็นฟันดำ เพราะสีเสียไป.

บทว่า กานนมฺหิ วนสณฺฑจารินี โกกิลาว มธุร นิกูชิห

ความว่า ส่งเสียงพูดจาไพเราะดังนกดุเหว่า เที่ยวหาอาหารอยู่ในป่า จับกิ่งไม้

ร้องเพลงอยู่ในป่า. บทว่า ต ได้แก่ พูดจาส่งเสียงนั้น. บทว่า ขลิต ตหึ

ตหึ ได้แก่ พูดผิดเพี้ยนไปในที่นั้น ๆ เพราะลักษณะชรา มีฟันหักเป็นต้น.

บทว่า สณฺหกมฺพุริว สุปฺปมชฺชิตา ได้แก่ คอเหมือนสังข์ทอง

ที่เขาขัดอย่างดี ก็กลมเกลี้ยง. บทว่า สา ชราย ภคฺคา วินามิตา ความว่า

[คอ] ค้อมน้อมลง เพราะชราปรากฏ โดยเนื้อค่อย ๆ สิ้นไป.

บทว่า วฏฺฏปลิฆสทิโสปมา ได้แก่ เทียบเท่ากับไม้กลอนอัน

กลม. บทว่า ตา ได้แก่ แขนแม้ทั้งสองนั้น บทว่า ปาฏลิปฺปลิตา ได้

แก่ เสมือนกิ่งแคที่คดเพราะเก่าแก่.

บทว่า สณฺหนุทฺทิกสุวณฺณมณฺฑิตา ได้แก่ ประดับด้วยแหวน

อันเกลี้ยงและสุกใสที่ทำด้วยทอง. บทว่า ยถา มูลนูลิกา แปลว่า ก็เสมือน

เหง้ามัน.

บทว่า ปีนวฏฺฏสหิตุคฺคตา ได้แก่ เต่ง กลม ประชิดกันและ

กัน ชู งอนขึ้น. บทว่า โสภเต สุ ถนกา ปุเร มม ความว่า ถันแม้

ทั้งสองของข้าพเจ้ามีรูปตามที่กล่าวแล้ว งามเหมือนหม้อทอง แท้จริงคำนี้เป็น

เอกวจนะ ลงในอรรถพหุวจนะ เป็นคำปัจจุบันกาล ลงในอรรถอดีตกาล.

บทว่า เถวิกีว ลมฺพนฺติ โนทกา ความว่า ถันของข้าพเจ้าแม้ทั้งสองนั้น

เหี่ยวยาน เหมือนกะถุงน้ำที่ไม่มีน้ำ ที่เขากินน้ำหมดแล้ว อันเขาวางไว้ที่

ท่อนไม้ไผ่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 366

บทว่า กจญฺจนสฺส ผลกว สุมฏฺ ความว่า ร่างกายของข้าพเจ้า

งามเหมือนแผ่นทอง ที่นายช่างเอาชาดหญิงคุทาแล้วขัดนาน ๆ. บทว่า โส

วลีหิ สุขุมาหิ โอตโต ความว่า ร่างกายของข้าพเจ้านั้น บัดนี้ก็เหี่ยว คือ

หนังเหี่ยวย่นในที่นั้น ๆ เพราะเกลียวละเอียด ๆ.

บทว่า นาคโภคสทิโสปนา ได้แก่ เปรียบเท่ากับงวงของพระยา

ช้าง หัตถ์ในที่นี้ท่านเรียกว่า โภคะ งวง เพราะเป็นเครื่องจับกิน. บทว่า เต

ได้แก่ ขาทั้งสอง. บทว่า ยถา เวฬุนาลิโย ความว่า บัดนี้ได้เป็นเสมือน

ปล้องไม้ไผ่.

บทว่า สณฺหนูปุรสฺวณฺณมณฺฑิตา ความว่า ประดับด้วยเครื่อง

ประดับเท้าทอง อันเกลี้ยงเกลา. บทว่า ชงฺฆา ได้แก่ กระดูกแข้ง. บทว่า

ตา ได้แก่ แข้งเหล่านั้น. บทว่า ติลทณฺฑการิว ความว่า ได้เป็นเหมือน

ต้นงาแห้งที่ขาดเหลืออยู่ เพราะผอม เหตุมีเนื้อเหลือน้อย. อักษรทำการต่อบท.

บทว่า ตูลปุณฺณสทิโสปมา ได้แก่ เสมือนรองเท้าที่พันด้วยปุยงิ้ว

[นุ่น] เต็ม เพราะเป็นของอ่อนนุ่ม. เท้าทั้งสองของข้าพเจ้านั้น บัดนี้

กระทบอะไรก็ปริแตก เกิดเป็นริ้วรอย.

บทว่า เอทิโส แปลว่า เห็นปานนี้. ร่างกายได้มีได้เป็นประการ

ตามที่กล่าวมาแล้ว. บทว่า อย สมุสฺสโย แปลว่า ร่างกายของข้าพเจ้านี้.

บทว่า ชชฺชโร ได้แก่ ผูกไว้หย่อน ๆ. บทว่า พหุทุกฺขานมาลโย ได้

แก่ เป็นที่อยู่ของทุกข์ทั้งหลายเป็นอันมาก ซึ่งมีชราเป็นต้นเป็นเหตุ. บทว่า

โสปเลปปติโต ความว่า ร่างกายนี้นั้น ตกไปจากเครื่องลูบไล้ ตกไปเพราะ

สิ้นเครื่องปรุงแต่งลูบไล้ มีแต่บ่ายหน้าตกไป อีกอย่างหนึ่ง แจกบทว่า โสปิ

อเลปปติโต ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า ชราฆโร ได้แก่ ก็เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 367

เสมือนเรือนคร่ำคร่า อีกอย่างหนึ่ง ได้เป็นเรือนของชรา. เพราะฉะนั้น

พระดำรัสของพระศาสดาของข้าพเจ้า จึงเป็นสัจวาจาของพระผู้ทรงเป็นสัจ-

วาที ชื่อว่า ตรัสแต่ความจริง เพราะทรงทราบสภาวะตามเป็นจริงของธรรม

ทั้งหลายโดยชอบนั่นเทียว จึงตรัส คือเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ หากลายเป็น

อย่างอื่นไปไม่.

พระเถรีนี้ พิจารณาทบทวนอนิจจตาความไม่เที่ยงในธรรมที่เป็นไป

ในภูมิ ๓ ทั้งหมด โดยมุข คือการกำหนดความไม่เที่ยงในอัตภาพของตน

อย่างนี้แล้ว ยกขึ้นสู่ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะในอัตภาพตนนั้น ตาม

แนวอนิจจลักษณะนั้น มักเขม้นเจริญวิปัสสนาอยู่ ก็บรรลุพระอรหัต โดย

ลำดับมรรค.

ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า

พระอัมพปาลีเถรี เปล่งอุทานเป็นคาถาพรรณนา อปทานของท่านว่า

ข้าพเจ้าเกิดในสกุลกษัตริย์ เป็นภคินีของ

พระมหามุนีพระนามว่าปุสสะ ผู้มีพระรัศมีงามดังมาลัย

ประดับศีรษะ ข้าพเจ้าฟังธรรมของพระองค์แล้วมีใจ

เลื่อมใส ถวายมหาทานแล้วปรารถนารูปสมบัติ นับ

แต่กัปนี้ไป ๓๑ กัป พระชินเจ้าพระนามว่าสิขี เป็น

นายกเลิศของโลก ทรงส่องโลกให้สว่าง ทรงเป็น

สรณะของ ๓ โลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ครั้งนั้นข้าพเจ้า

เกิดในสกุลพราหมณ์ กรุงอมรปุระที่น่ารื่นรมย์ โกรธ

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๗๙ อัมพปาลีเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 368

ขึ้นมาก็ด่าภิกษุณีผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว [อริยุปวาท] ว่า

ท่านเป็นหญิงแพศยาประพฤติอนาจาร ประทุษร้าย

ศาสนาของพระชินเจ้า ครั้นด่าอย่างนี้แล้ว ข้าพเจ้า

ก็ตกนรกอันร้ายกาจ เพียบพร้อมด้วยทุกข์ใหญ่หลวง

เพราะบาปกรรมนั้น จุติจากนรกนั้นแล้ว มาเกิดใน

หมู่มนุษย์ มีลามกธรรมทำให้เดือดร้อน ครองความ

เป็นหญิงแพศยาอยู่ถึงที่หกหมื่นปี ก็ยังไม่หลุดพ้นจาก

บาปอันนั้น เหมือนอย่างกลืนพิษร้ายเข้าไป ข้าพเจ้า

เสพเพศพรหมจรรย์ [บวชเป็นภิกษุณี] ในศาสนาพระ

ชินเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ด้วยผลแห่งบุญนั้น ข้าพเจ้า

ก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นไตรทศ [ดาวดึงส์] เมื่อถึงภพ

สุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดเป็นโอปปาติกะ ที่ระหว่างกิ่งมะม่วง

ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงชื่อว่าอัมพปาลี ข้าพเจ้าอัน

หมู่สัตว์นับโกฏิห้อมล้อมแล้ว ก็บวชในศาสนาของ

พระชินเจ้า บรรลุฐานะอันมั่นคงไม่สั่นคลอน เป็น

ธิดาเกิดแต่พระอุระของพระผู้เป็นพุทธะ ข้าแต่พระ-

มหามุนี ข้าพเจ้าเป็นผู้เชี่ยวชาญในฤทธิ์ทั้งหลาย ใน

ความหมดจดแห่งโสตธาตุ [หูทิพย์] เป็นผู้เชี่ยวชาญ

เจโตปริยญาณ [รู้ใจผู้อื่น] ข้าพเจ้ารู้ขันธ์ที่เคยอาศัย

อยู่ในภพก่อน ๆ [ระลึกชาติได้] ชำระทิพยจักษุหมด

จด [ตาทิพย์] หมดสิ้นอาสวะทุกอย่าง [อาสวักขย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 369

ญาณ] บัดนี้จึงไม่มีภพใหม่ [ไม่ต้องเกิดอีก] ข้าพเจ้า

มีญาณสะอาดหมดจด ในอรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิ-

สัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทา

เพราะอำนาจของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด กิเลสทั้ง

หลาย ข้าพเจ้าก็เผาเสียแล้ว ภพทุกภพข้าพเจ้าก็ถอน

เสียแล้ว ข้าพเจ้าตัดพันธะเหมือนกะช้างตัดเชือก ไม่มี

อาสวะ อยู่ในสำนักพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ข้าพเจ้า

ก็มาดีแล้ว. วิชชา ๓ ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว คำสอน

ของพระพุทธะ ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว ปฏิสัมภิทา ๔

วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้ากระทำให้แจ้ง

แล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.

ก็พระอัมพปาลีเถรี ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ก็พิจารณาทบทวนข้อ

ปฏิบัติของตนแเล้ว ก็เอื้อนเอ่ยคาถาเหล่านั้นเป็นอุทานแล.

จบ อรรถกถาอัมพปาลีเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 370

๒. โรหิณีเถรีคาถา

[๔๖๘] พระโรหิณีเถรี กล่าวอุทานเป็นคาถา ซึ่งเป็นคำที่บิดา

และตนเองพูดจาโต้ตอบกันว่า

บิดาถามข้าพเจ้าว่า

ลูกเอ๋ย ลูกหลับก็พูดว่าสมณะ ตื่นก็พูดว่าสมณะ

ระบุแต่สมณะเท่านั้น เห็นทีลูกบวชเป็นสมณะเสียแน่

แท้ โรหิณีเอ๋ย ลูกถวายข้าวน้ำอย่างสมบูรณ์แก่เหล่า

สมณะ พ่อขอถาม บัดนี้ เพราะเหตุไร เหล่า

สมณะจึงเป็นที่รักของลูก พวกสมณะไม่ชอบทำงาน

เกียจคร้าน อาศัยแต่ของที่คนอื่นให้เลี้ยงชีพ หวังแต่

จะได้ชอบของอร่อย เพราะเหตุไร เหล่าสมณะจึงเป็น

ที่รักของลูก.

ข้าพเจ้าตอบว่า

ท่านพ่อขา ท่านพ่อสอบถามไล่เลียงเอากะลูก

เรื่องคุณของสมณะ เสียตั้งนาน ลูกจักระบุปัญญา ศีล

และความพากเพียรของสมณะเหล่านั้นแก่ท่านพ่อดังนี้.

สมณะทั้งหลายรักงาน ไม่เกียจคร้าน ทำแต่

งานที่ประเสริฐสุด จึงละราคะโทสะได้ เพราะเหตุนั้น

เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

สมณะทั้งหลาย กำจัดมูลรากทั้ง ๓ ของบาป

[ โลภะ โทสะ โมหะ] ทำแต่งานสะอาด จึงละ

บาปนั้นได้หมด เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่

รักของลูก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 371

กายกรรมของสมณะเหล่านั้นสะอาด วจีกรรม

ก็สะอาด มโนกรรมก็สะอาด เพราะเหตุนั้น เหล่า

สมณะจึงเป็นที่รักของลูก

สมณะเหล่านั้นไร้มลทิน บริสุทธิ์ทั้งภายในทั้ง

ภายนอก ดุจสังข์และมุกดา ธรรมฝ่ายขาวก็บริบูรณ์

เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

สมณะเหล่านั้น เป็นพหูสูต สดับมาก ทรงธรรม

เป็นพระอริยะ เป็นอยู่โดยธรรม มีจิตมีอารมณ์เดียว มี

สติ เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

สมณะเหล่านั้น เป็นพหูสูต สดับมาก ทรงธรรม

เป็นพระอริยะ เป็นอยู่โดยธรรม ย่อมแสดงอรรถและ

ธรรม เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

สมณะเหล่านั้น อยู่ป่าไกลผู้คน มีสติ พูดด้วย

ปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน รู้ที่สุดทุกข์ เพราะเหตุนั้น เหล่า

สมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

สมณะเหล่านั้น หลีกออกจากหมู่บ้านใดไป ก็

ไม่เหลียวดูอยู่อย่างกังวลในหมู่บ้านนั้น ไม่มีเยื่อใย ไป

เลย เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

สมณะเหล่านั้น ไม่เก็บสะสมข้าวไว้ในยุ้งฉาง

ไม่เก็บไว้ในหม้อ ไม่เก็บไว้ในกระเช้า แสวงหาแต่

อาหารสำเร็จรูป เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่

รักของลูก.

สมณะเหล่านั้น ไม่รับเงิน ไม่รับทอง ไม่รับ

รูปิยะ ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 372

สมณะเหล่านั้น บวชมาแต่สกุลต่าง ๆ กัน ชน

บทต่าง ๆ กัน ก็รักซึ่งกันและกัน เพราะเหตุนั้น

เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

บิดาพูดกะข้าพเจ้าว่า

โรหิณีลูกพ่อ ลูกมีความเชื่อความเคารพอย่าง

แรงกล้าในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ลูก

เกิดมาในสกุล เพื่อประโยชน์แก่พวกเราแท้หนอ ลูกรู้

จักพระรัตนตรัยนั้นว่า เป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยม สมณะ

เหล่านั้นคงจะรับทักษิณาทานของเราบ้างนะลูก เพราะ

ว่ายัญคือบุญที่ตั้งไว้ในสมณะเหล่านั้น คงจักมีผล

ไพบูลย์แก่พวกเราแน่.

ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะบิดาว่า

ถ้าพ่อท่านกลัวทุกข์ พ่อท่านไม่รักทุกข์ ก็ขอพ่อ

ท่านถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เช่นนั้นเป็น

สรณะ สมาทานศีล ข้อนั้นจงเป็นประโยชน์แก่พ่อ

ท่านเถิด.

บิดากล่าวว่า

พ่อขอถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

เช่นนั้นเป็นสรณะ ขอสมาทานศีล ข้อนั้นจงเป็น

ประโยชน์แก่พ่อเถิด.

แต่ก่อน พ่อเป็นพราหมณ์เผ่าพันธุ์ แห่งพรหม

แต่มาบัดนี้ พ่อเป็นพราหมณ์โสตถิยะ ผู้มีวิชชา ๓ จบ

เวท อาบน้ำคือเสร็จกิจแล้ว.

จบโรหิณีเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 373

๒. อรรถกถาโรหิณีเถรีคาถา

คาถาว่า สมณาติ โภติ สุปิ ดังนี้เป็นต้น. เป็นคาถาของพระ-

โรหิณีเถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ ก็บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้า พระองค์ก่อน ๆ

สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้นๆ นับแต่กัปนี้ไป ๙๑

กัปก็บังเกิดในเรือนสกุล ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี รู้

เดียงสาแล้ว เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในนครพันธุมวดีใน

วันหนึ่ง จึงรับบาตรมาบรรจุขนมแล้ว ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดปีติโสมนัส

แล้วถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ด้วยบุญนั้น นางก็เวียนว่ายอยู่ในเทวดา

และมนุษย์ สั่งสมธรรมเครื่องปรุงแต่งวิโมกข์ตามลำดับ ในพุทธุปบาทกาลนี้

ก็บังเกิดในเรือนพราหมณ์ ผู้มีสมบัติมาก กรุงเวสาลี ได้ชื่อว่าโรหิณี รู้เดียง

สาแล้ว เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ กรุงเวสาลี ก็ไปวิหาร ฟังธรรม เป็น

โสดาบัน แสดงธรรมแก่บิดามารดาทำให้เกิดความเลื่อมใสในพระศาสนา ให้

บิดามารดาอนุญาตแล้ว ตัวเองก็บวช ทำกิจกรรมในวิปัสสนา ไม่นานนักก็

บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์

จึงกล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า

ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ถวายขนมแด่พระพุทธเจ้า

พระนามว่า วิปัสสี ผู้เสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตในพระ-

นครพันธุมวดี ด้วยกรรมที่ทำดีนั้น และด้วยความ

ตั้งใจไว้ถูก ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า

ข้าพเจ้านั้นก็เข้าถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ข้าพเจ้าครอง

ความเป็นพระมเหสีของท้าวสักกะเทวราชถึง ๓๖ พระ-

๑. ไม่มีในบาลีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 374

องค์ ครองความเป็นมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐

พระองค์ ธรรมดาว่าความปรารถนาทางใจ ก็สำเร็จ

แก่ข้าพเจ้าทุกอย่าง ข้าพเจ้าเสวยสมบัติ ทั้งในหมู่

เทวดา ทั้งในหมู่มนุษย์ เมื่อถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้า

เกิดในสกุลพราหมณ์ ชื่อโรหิณี พวกญาติพากันรัก

นักหนา ข้าพเจ้าไปสำนักภิกษุฟังธรรมตามเป็นจริง

เกิดสลดใจ จึงบวชไม่มีเหย้าเรือน ข้าพเจ้าตั้งความ

เพียรโดยแยบคายจึงบรรลุพระอรหัตนั้น ในกัปนับแต่

กัปที่ ๙๑ ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ถวายปุวทาน [ถวายขนม]

อันใด ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลของปุวทานอัน

นั้น กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าก็เผาเสียแล้ว ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.

พระโรหิณีเถรี ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ก็พิจารณาทบทวนความเป็น

มาของตน แล้วกล่าวเป็นอุทาน ซึ่งคาถาทั้งหลาย ที่บิดาและตนเองพูดจาโต้

ตอบกัน ในเวลาที่ตนเป็นพระโสดาบันแต่ก่อน

บิดาถามข้าพเจ้าว่า

ลูกเอ๋ย ลูกหลับก็พูดว่าสมณะ ตื่นก็พูดว่าสมณะ

ระบุแต่สมณะเท่านั้น เห็นที่ลูกจักบวชเป็นสมณะเสีย

แน่แท้ โรหิณีเอ๋ย ลูกถวายข้าวน้ำอย่างสมบูรณ์แก่

เหล่าสมณะ พ่อขอถาม ณ บัดนี้ เพราะเหตุไร

เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก พวกสมณะ ไม่ชอบ

ทำงาน เกียจคร้าน อาศัยแต่ของที่คนอื่นให้เลี้ยงชีพ

หวังแต่จะได้ ชอบของอร่อย เพราะเหตุไร เหล่า

สมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 375

ข้าพเจ้าตอบว่า

ท่านพ่อขา ท่านพ่อสอบถามไล่เลียงเอากะลูก

เรื่องคุณของสมณะเสียตั้งนาน ลูกจักระบุปัญญาศีล

และความพากเพียรของสมณะเหล่านั้นแก่ท่านพ่อดังนี้

สมณะทั้งหลายรักงาน ไม่เกียจคร้าน ทำแต่

งานประเสริฐสุด จึงละราคะโทสะได้ เพราะเหตุนั้น

เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

สมณะทั้งหลาย กำจัดมูลรากทั้ง ๓ ของบาป

[โลภะโทสะโมหะ] ทำแต่งานสะอาด จึงละบาปนั้นได้

หมด เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

กายกรรมของสมณะเหล่านั้นสะอาด วจีกรรมก็

สะอาด มโนกรรมก็สะอาด เพราะเหตุนั้น เหล่า

สมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

สมณะเหล่านั้น ไร้มลทิน บริสุทธิ์ทั้งภายในทั้ง

ภายนอก ดุจสังข์และมุกดา ธรรมฝ่ายขาวก็บริบูรณ์

เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

สมณะเหล่านั้น เป็นพหูสูตสดับมาก ทรงธรรม

เป็นพระอริยะ เป็นอยู่โดยธรรม ย่อมแสดงอรรถและ

ธรรม เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

สมณะเหล่านั้น เป็นพหูสูตสดับมาก ทรงธรรม

เป็นพระอริยะ เป็นอยู่โดยธรรม มีจิตมีอารมณ์เดียว

มีสติ เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

สมณะเหล่านั้น อยู่ป่าไกลผู้คน มีสติ พูดด้วย

ปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน รู้ที่สุดทุกข์ เพราะเหตุนั้น เหล่า

สมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 376

สมณะเหล่านั้น หลีกออกจากหมู่บ้านใดไปก็ไม่

เหลียวดูอย่างกังวลในหมู่บ้านนั้น ไม่มีเยื่อใยไปเลย

เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

สมณะเหล่านั้น ไม่เก็บสะสมข้าวไว้ในฉาง ไม่

เก็บไว้ในหม้อ ไม่เก็บไว้ในกระเช้า แสวงหาแต่อาหาร

สำเร็จรูปเพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

สมณะเหล่านั้น ไม่รับเงิน ไม่รับทอง ไม่รับ

รูปิยะ ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

สมณะเหล่านั้น บวชมาแต่สกุลต่าง ๆ กัน ชน

บทต่าง ๆ กัน ก็รักซึ่งกันและกัน เพราะเหตุนั้น

เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

บิดาพูดกะข้าพเจ้าว่า

โรหิณีลูกพ่อ ลูกมีความเชื่อความเคารพอย่าง

แรงกล้า ในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ลูกเกิดมาในสกุล เพื่อประโยชน์แก่พวกเราแท้หนอ

ลูกรู้จักพระรัตนตรัยนั้นว่าเป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยม

สมณะเหล่านั้น คงจะรักทักษิณาทานของเราบ้างนะลูก

เพราะว่ายัญคือบุญที่ตั้งไว้ในสมณะเหล่านั้น คงจักมี

ผลไพบูลย์แก่พวกเราแน่.

ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะบิดาว่า

ถ้าพ่อท่านกลัวทุกข์ พ่อท่านไม่รักทุกข์ ก็ขอพ่อ

ท่านถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เช่นนั้นเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 377

สรณะ สมาทานศีล ข้อนั้น จงเป็นประโยชน์แก่พ่อ

ท่านเถิด.

บิดากล่าวว่า

พ่อขอถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

เช่นนั้นเป็นสรณะ ขอสมาทานศีล ข้อนั้น จงเป็น

ประโยชน์แก่พ่อเถิด.

แต่ก่อน พ่อเป็นพราหมณ์เผ่าพันธุ์แห่งพรหม

แต่มาบัดนี้ พ่อเป็นพราหมณ์โสตถิยะ ผู้มีวิชชา ๓

จบเวท อาบน้ำคือเสร็จกิจแล้ว.

พระโรหิณีเถรีได้กล่าวคาถาดังว่ามานี้.

พราหมณ์ผู้บิดา ซึ่งไม่ต้องการสมมติในภิกษุทั้งหลายสำหรับธิดาตน

กล่าว ๓ คาถาข้างต้น ในคาถาเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมณาติ โภติ สุปิ ความว่า ลูกเอ๋ย

แม้เวลาลูกหลับ ลูกก็ระบุว่า สมณะ สมณะ หลับก็พูดถ้อยคำที่เกี่ยวกับ

สมณะเท่านั้น. บทว่า สมณาติ ปพุชฺฌสิ ความว่า ลูกแม้ลุกขึ้นจากหลับ

ตื่น คือลุกจากการนอน ก็กล่าวอย่างนี้ว่าสมณะ. บทว่า สมณาเนว กิตฺเตสิ

ความว่า ลูกประกาศสมณะหรือสรรเสริญคุณของสมณะเท่านั้น ทุกเวลาไปเลย.

บทว่า สมณี นูน ภวิสฺสสิ ความว่า บัดนี้ลูกแม้ตัวยังเป็นคฤหัสถ์ เห็น

ที่ลูกจักมีจิตใจเป็นสมณะเป็นแน่ อีกนัยหนึ่ง. บทว่า สมณี นูน ภวิสฺสสิ

ได้แก่ บัดนี้ ลูกแม้เป็นคฤหัสถ์ ไม่นานนักเห็นทีลูกจักเป็นสมณะอย่างเดียว

เพราะจิตใจลูกโน้มน้อมไปในสมณะเท่านั้น. บทว่า ปเวจฺฉสิ ได้แก่ ให้.

บทว่า โรหิณี ทานิ ปุจฺฉามิ ความว่า พราหมณ์เมื่อจะถามธิดาของตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 378

จึงกล่าวว่า ลูกโรหิณี บัดนี้ พ่อจะถามลูก. บทว่า เกน เต สมณา ปิยา

ความว่า ลูกโรหิณี ทั้งหลับ ทั้งตื่น ทั้งเวลาอื่น ๆ ลูกก็ประกาศแต่คุณของ

สมณะเท่านั้น เพราะเหตุชื่ออะไรสมณะทั้งหลาย จึงเกิดเป็นผู้น่ารักสำหรับลูก.

บัดนี้ พราหมณ์เมื่อจะบอกโทษในเหล่าสมณะแก่ธิดา จึงกล่าวคาถา

ว่า อกมฺมกามา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกมฺมกามา

แปลว่า ไม่รักงาน ได้แก่ ไม่อยากทำงานอะไร ๆ ที่จะนำประโยชน์มาแก่ตน

และคนอื่น ๆ. บทว่า อลสา แปลว่า เกียจคร้าน. บทว่า ปรทตฺตูปชีวิโน

ได้เเก่ อาศัยของที่คนอื่นเขาให้เลี้ยงชีพเป็นปกติ. บทว่า อสสุกา ได้แก่

คอยหวังแต่อาหารและผ้าเป็นต้น จากคนอื่นนั่นแหละ. บทว่า สาทุกามา

ได้แก่ ปรารถนาแต่อาหารที่ดีที่อร่อยเท่านั้น. พราหมณ์เมื่อไม่รู้จักคุณของ

เหล่าสมณะ ก็กล่าวโทษนั้นทุกอย่างที่ตนคิดขึ้นมาเอง.

โรหิณีฟังคำบิดานั้นแล้ว ก็ดีใจว่า เราได้โอกาสกล่าวถึงคุณของพระ-

ผู้เป็นเจ้าทั้งหลายแล้ว ประสงค์จะประกาศคุณของภิกษุทั้งหลาย ก่อนอื่นเมื่อ

จะแจ้งความโสมนัสในการประกาศถึงภิกษุเหล่านั้น โนลำดับแรก จึงกล่าวคาถา

ว่า จิรสฺส วต ม ตาต เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิรสิส วต

แปลว่า โดยกาลนานหนอ. โรหิณีเรียกบิดาด้วยคำว่า ตาต. บทว่า สมณาน

ความว่า พ่อท่านไถ่ถามไล่เลียงถึงเหล่าสมณะ หรือคุณของเหล่าสมณะที่พึง

รักสำหรับลูก. บทว่า เตส ได้แก่ เหล่าสมณะ. บทว่า ปญฺาสีลปรกฺกม

ได้แก่ ปัญญา ศีล และความอุตสาหะ.

บทว่า กิตฺตยิสฺสามิ ได้แก่ จักกล่าว. โรหิณี ครั้นปฏิญาณแล้ว

เมื่อจะประกาศถึงสมณะเหล่านั้น แต่เพื่อจะปลดเปลื้องโทษ ซึ่งพราหมณ์บิดา

นั้นกล่าวไว้ว่า เป็นผู้ไม่รักงานเกียจคร้านเสียก่อน แล้วแสดงคุณตรงกันข้าม

กับที่พราหมณ์บิดากล่าวนั้น จึงกล่าวคาถาว่า กมฺมกามา เป็นต้น. บรรดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 379

บทเหล่านั้น บทว่า กมฺมกามา ความว่า สมณะเหล่านั้น ประสงค์คือ

ปรารถนางานต่างโดยวัตรปฏิบัติเป็นต้น คือกิจหน้าที่ของสมณะให้บริบูรณ์

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าผู้รักงาน สมณะเหล่านั้น เป็นผู้ขวนขวายในสมณกิจนั้น

ขมักเขม้นพยายามไม่เกียจคร้าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้ไม่เกียจคร้าน อนึ่ง

สมณะเหล่านั้น กระทำงานนั้นอันประเสริฐ สูงสุด ซึ่งนำมาเพื่อพระนิพพาน

อย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ทำงานอันประเสริฐสุด. อนึ่ง สมณะ

เหล่านั้น กำลังกระทำอยู่ ชื่อว่ากำลังละราคะ โทสะ คือการทำงาน โดยวิธี

การที่จะละราคะโทสะเสียได้ เพราะการปฏิบัตินั้นไม่มีโทษ. บทว่า เตน เม

สมณา ปิยา ความว่า เพราะการปฏิบัติโดยชอบตามที่กล่าวมานั้น เหล่า

สมณะจึงควรเป็นที่รักสำหรับลูก.

บทว่า ตีณิ ปาปสฺส มูลานิ ได้แก่ มูลรากของอกุศล มี ๓ กล่าว

คือ โลภะ โทสะ โมหะ. บทว่า ธุนนฺติ ได้แก่ ทำลาย คือละ. บทว่า

สุจิการิโน ได้แก่ ทำงานที่ไม่มีโทษ. บทว่า สพฺพปาป ปหีเนส ได้

แก่ ละบาปนั้นได้หมด เพราะบรรลุอรหัตมรรค.

โรหิณีนั้น เพื่อจะแยกแสดงอรรถที่กล่าวโดยย่อว่า สมณา สุจิการิโน

อย่างนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาว่า กายกมฺม เป็นต้น . คำนี้รู้ง่ายทั้งนั้น.

บทว่า วิมลา สงฺขมุตฺตาว ความว่า ปราศจากมลทิน เว้นจาก

มลทินมีราคะเป็นต้น ประดุจสังข์ขัดดีแล้ว และประดุจมุกดา. บทว่า สทฺธา

สนฺตรพาหิรา ความว่า ทั้งภายในทั้งภายนอก ชื่อว่าสันตรพาหิระ สะอาด

ทั้งภายในทั้งภายนอก คือมีอาสยะและประโยคพยายามอันหมดจด. บทว่า

ปุณฺณา สุกฺกาน ธมฺมาน ความว่า บริบูรณ์ด้วยธรรมฝ่ายขาวส่วนเดียว

คือธรรมที่ไม่มีโทษ ได้แก่ ประกอบพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้น อันเป็นธรรม

ของพระอเสขะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 380

สุตะมีสุตตะเคยยะเป็นต้น ของสมณะเหล่านั้น มากหรือว่าสมณะเหล่า

นั้น เกิดแล้วด้วยสุตะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อพหูสูต อธิบายว่า ประกอบ

พร้อมด้วยพาหุสัจจะทางปริยัติ และพาหุสัจจะทางปฏิเวธ สมณะเหล่านั้น

ย่อมทรงธรรมแม้ทั้งสองนั้นไว้ได้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ธมฺมธรา ผู้ทรงธรรม

สมณะเหล่านั้น ย่อมดำเนินไปด้วยสิกขาบทที่เป็นอาจาระและสมาจารแก่สัตว์

ทั้งหลาย เหตุนั้น จึงชื่อว่าอริยะ. สมณะเหล่านั้น ย่อมเป็นอยู่โดยธรรม คือ

ชอบธรรม เหตุนั้น จึงชื่อว่า ธมฺมชีวี. บทว่า อตฺถ ธมฺมญฺจ เทเสนฺติ

ได้แก่ กล่าวประกาศอรรถแห่งภาษิต และเทศนาธรรม ก็หรือว่าย่อมแสดง

ย่อมสอนธรรมที่ไม่ไปปราศจากอรรถ และอรรถที่ไม่ไปปราศจากธรรม.

บทว่า เอกคฺคจิตฺตา ได้แก่มีจิตมั่นคง. บทว่า สติมนฺโต ได้

แก่ มีสติตั้งมั่น. บทว่า ทูรงฺคมา ได้แก่ ไปป่า. สมณะเหล่านั้น ละถีน

ที่ใกล้มนุษย์ไปเสียไกล หรือไปยังที่ไกลตามที่ชอบใจด้วยฤทธานุภาพ เหตุนั้น

จึงชื่อว่า ทูรังคมะผู้ไปไกล. ปัญญา ท่านเรียกว่ามันตา. สมณะเหล่านั้น ชื่อว่า

มันตภาณี เพราะมีปกติพูดด้วยปัญญานั้น. บทว่า อนุทฺธตา ได้แก่ ไม่

ฟุ้งซ่าน คือเว้นความฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺต ปชานฺนติ

ได้แก่ แทงตลอดพระนิพพาน อันเป็นที่สุดแห่งทุกข์ในวัฏฏะ.

บทว่า น วิโลเกนฺ กิญฺจน ความว่า สมณะเหล่านั้น ออกไป

จากบ้านหมู่ใด ก็ไม่เหลียวมองสัตว์หรือสังขารไร ๆ ในบ้านหมู่นั้นด้วยความ

อาลัย ที่แท้ไม่มีความเยื่อใย หลีกไปเลย.

บทว่า น เต ส โกฏฺเ โอเปนฺติ ความว่า สมณะเหล่านั้น

ไม่สะสม ไม่เก็บรวม ซึ่งสมบัติส่วนตัวไว้ในคลัง [ยุ้ง, ฉาง] เพราะไม่มี

ความจำเป็นเช่นนั้น. บทว่า กุมฺภึ ได้แก่ในหม้อ. บทว่า ขโฬปิย ได้

แก่ ในกระเช้า. บทว่า ปรินิฏฺิตเมสาน ได้แก่ แสวงหาอาหารสำเร็จรูป

เพื่อประโยชน์ของคนอื่น ๆ ในสกุลอื่น ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 381

บทว่า หิรญฺ ได้แก่ กหาปณะ. บทว่า รูปิยะ ได้แก่ เงิน.

บทว่า ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ ได้แก่ ไม่เศร้าโศกถึงอดีตเรื่องที่ล่วงมา

แล้ว และไม่มุ่งหวังอนาคตเรื่องที่ยังไม่มาถึง ย่อมดำรงชีพคือยังอัตภาพให้

เป็นไป ด้วยปัจจัยปัจจุบัน คือที่เกิดเฉพาะหน้า.

บทว่า อญฺญมญฺ ปิหยนฺติ ได้แก่ กระทำไมตรีในกันและกัน.

บาลีว่า ปิหายนฺติ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.

พราหมณ์นั้น ฟังคุณของภิกษุทั้งหลายในสำนักธิดาอย่างนี้แล้ว มี

ใจเลื่อมใส เมื่อจะสรรเสริญธิดา จึงกล่าวคาถาว่า อตฺถาย วต เป็นต้น.

บทว่า อนฺหมฺปิ แปลว่า ของเราบ้าง. บทว่า ทกฺขิณ ได้แก่ ไทยธรรม.

บทว่า เอตฺถ ได้แก่ ในสมณะเหล่านั้น. บทว่า ยญฺโ ได้แก่ ทาน

ธรรม. บทว่า วิปุโล ได้แก่ มีผลไพบูลย์. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวมาแล้ว

ทั้งนั้น.

พราหมณ์ตั้งอยู่ในสรณะและศีลอย่างนี้แล้ว ต่อมา เกิดความสลดใจ

ก็บวชเจริญวิปัสสนาตั้งอยู่ในพระอรหัต พิจารณาทบทวนความเป็นมาของตน

เมื่อจะอุทาน จึงกล่าวคาถาว่า พรฺหฺมพนฺธุ เป็นต้น ความของอุทานนั้น

ได้กล่าวมาแล้วในหนหลังทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาโรหิณีเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 382

๓. จาปาเถรีคาถา

[๔๖๙] พระจาปาเถรี ได้รวบรวมถ้อยคำที่ตนพูดกับอุปกะไว้แต่

ก่อน เป็นอุทานคาถา ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า

ท่านอุปกะกล่าวว่า

แต่ก่อน เราบวชถือไม้เท้า บัดนี้ เรากลายเป็น

พรานล่าเนื้อไปเสียแล้ว ไม่อาจข้ามจากตมคือตัณหา

อันร้ายกาจ ไปสู่ฝั่งโน้น คือพระนิพพานได้.

ดูก่อนจาปา เจ้าสำคัญตัวเราว่าเป็นคนมัวเมาจึง

กล่อมลูกเย้ยหยันเสียดสี เราจักตัดพันธะของจาปาไป

บวชอีก.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

ข้าแต่ท่านมหาวีระ โปรดอย่าโกรธจาปาเลย

ข้าแต่ท่านมหามุนี โปรดอย่าโกรธจาปาเลย เพราะว่า

ผู้ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ไม่มีความบริสุทธิ์ดอก

แล้วตปะจะมีมาแต่ไหนเล่า.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

เราจักหลีกออกไปจากบ้านนาลา ใครจักอยู่ใน

บ้านนาลานี้ได้ เจ้าผูกเหล่าสมณะ ผู้เลี้ยงชีพโดย

ธรรม ด้วยมายาสตรี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 383

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

ข้าแต่ท่านกาฬะ [ท่านอุปกะผิวดำ] มาสิ กลับ

มาเถิด จงบริโภคกามเหมือนแต่ก่อน จาปาและเหล่า

ญาติของจาปายอมอยู่ใต้อำนาจท่านแล้ว

ท่านอุปกะกล่าวว่า

ดูก่อนจาปา เจ้าจะกล่าวคำรักเช่นใดเป็น ๔ เท่า

จากคำนี้แก่เรา คำรักเช่นนั้นจะพึงโอฬาร สำหรับ

บุรุษผู้ร่านรักในเจ้าเท่านั้น ดอกนะ.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

ข้าแต่ท่านกาฬะ เพราะเหตุไร ท่านจึงละทิ้ง

จาปาซึ่งสะสวย มีเรือนร่างงามดั่งต้นคนทา บาน

สะพรั่งบนยอดเขา ดังเครือทับทิม ที่ดอกบานแล้ว

ดังต้นแคฝอยบนเกาะ ผู้มีร่างไล้ด้วยจันทน์แดง นุ่ง

ห่มผ้าชั้นเยี่ยมของแคว้นกาสีไปเสียเล่า.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

เจ้าจักตามเบียดเบียนเราด้วยรูปที่ตกแต่ง เหมือน

อย่างพรานนก ประสงค์จะตามเบียดเบียนนกไม่ได้

ดอกนะ.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

ข้าแต่ท่านกาฬะ ผลคือลูกของเรานี้ ท่านทำให้

เกิดมาแล้ว เพราะเหตุไร ท่านจึงจะละทิ้งจาปาซึ่งมี

ลูกไปเสียเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 384

ท่านอุปกะกล่าวว่า

เหล่าท่านผู้มีปัญญา มีความเพียรมากย่อมละ

พวกลูก ๆ ต่อนั้น ก็พวกญาติ ต่อนั้น ก็ทรัพย์ พากัน

ออกบวชเหมือนพระยาช้างตัดเชือกที่ผูก ฉะนั้น.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

บัดนี้จาปาจะเอาไม้หรือมีดฟาดลูกคนนี้ของท่าน

ให้ล่มลงเหมือพื้นดิน เพราะความเศร้าโศกถึงลูก

ท่านจะไม่ไปได้ไหม.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

ดูก่อนหญิงเลว ถึงเจ้าจักยอมมอบลูกให้ฝูงสุนัข

จิ้งจอก เพราะลูกเป็นต้นเหตุ เจ้าก็จักทำเราให้หวน

กลับมาอีกไม่ได้ดอก.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

ข้าแต่ท่านกาฬะเจ้าขา เอาเถิด บัดนี้ ท่านจะ

ไปที่ไหน ตามนิคม ชนบท ราชธานีไหนเจ้าคะ.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

แต่ก่อน ได้มีพวกคณาจารย์ไม่เป็นสมณะ ก็ถือ

ตัวว่าเป็นสมณะ จาริกกันไปตามคาม นิคม ชนบท

ราชธานี. ความจริง ท่านผู้หนึ่งนั้น คือพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงแสดง

ธรรมโปรดหมู่สัตว์เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เราจักไปเฝ้า

พระองค์ พระองค์จักเป็นศาสดาของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 385

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

บัดนี้ ขอท่านพึงกราบทูลพระโลกนาถ ผู้ยอด

เยี่ยม ถึงการถวายบังคมของจาปาและพึงทำประทักษิณ

เวียนขวาแล้วอุทิศกุศลทักษิณาแก่จาปาด้วย.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

ข้อที่เจ้าพูดแก่เรา เราทำได้ บัดนี้ เราจะกราบ

ทูลพระโลกนาถ ผู้ยอดเยี่ยม ถึงการถวายบังคมของ

เจ้า และเราจะทำประทักษิณเวียนขวาแล้วอุทิศกุศล

ทักษิณาแก่เจ้าแน่.

ต่อแต่นั้น ท่านกาฬะก็เดินทางไปใกล้ฝั่งแม่น้ำ

เนรัญชรา ได้พบพระสัมพุทธเจ้ากำลังทรงแสดง

อมตบท คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความล่วงทุกข์ และ

อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เข้าไประงับทุกข์ ท่านกาฬะเข้า

ไปถวายบังคมพระยุคลบาท่องพระพุทธเจ้าพระองค์

นั้นแล้ว ก็ทำประทักษิณพระองค์แล้วอุทิศกุศลแก่

จาปา บวชเป็นอนาคาริกะไม่มีเรือน. วิชชา ๓ ข้าพเจ้า

ก็บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าก็กระทำเสร็จ

แล้ว.

จบ จาปาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 386

๓. อรรถกถาจาปาเถรีคาถา

คาถาว่า ลฏฺิหตฺโถ ปุเร อาสิ เป็นต้น เป็นคาถาของ พระ-

จาปาเถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ สร้าง

สมกุศล อันเป็นอุปนิสสัยแห่งพระนิพพาน มาในภพนั้น ๆ สะสมกุศลมูลมา

โดยลำดับสร้างสมสัมภารธรรมเครื่องปรับปรุงวิโมกข์ มาในพุทธุปบาทกาลนี้

ก็บังเกิดเป็นลูกสาวของหัวหน้าพรานล่าเนื้อ ในหมู่บ้านพรานล่าเนื้อตำบลหนึ่ง

ในวังกหารชนบท นางมีชื่อว่า จาปา สมัยนั้น นักบวชอาชีวกชื่ออุปกะ พบกับ

พระศาสดา ซึ่งเสด็จออกจากโพธิมัณฑสถานเจาะจงไปยังกรุงพาราณสี เพื่อ

ประกาศพระธรรมจักร ถามว่า ผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใส ฉวีวรรณ

ก็ขาวผ่องบริสุทธิ์ ผู้มีอายุ ท่านบวชเฉพาะเจาะจงใครกันนะ หรือว่าใครเป็น

ศาสดาของท่าน หรือว่าท่านชอบใจธรรมของใคร เมื่อพระศาสดาทรงชี้แจง

ให้เขารู้เรื่องที่พระองค์เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า และการประกาศพระธรรม-

จักร ดังนี้ว่า

เราครอบงำธรรมทั้งหมด รู้ธรรมทุกอย่าง ไม่

ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง ละกิเลสได้หมด หลุดพ้น

เพราะสิ้นตัณหา รู้ยิ่งด้วยปัญญาเองแล้ว ยังจะต้อง

แสดงว่าใครเป็นศาสดาเล่า.

เราไม่มีอาจารย์ คนเสมอเราก็ไม่มี คนที่เทียบ

เราในโลกทั้งเทวโลกก็ไม่มี เราเป็นอรหันต์ เป็น

ศาสดายอดเยี่ยม เป็นเอก เป็นสัมมาสัมพุทธะ เย็น

สนิท ดับร้อนได้แล้ว เราจะไปกรุงพาราณสีราชธานี

ของแคว้นกาสี เราจะลั่นกลองธรรมอมตเภรี ในโลก

อันมืด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 387

เขามีจิตเลื่อมใส กล่าวแล้ว ว่า เหอ ๆ ผู้มีอายุ ท่านเป็นอรหันต์

อนันตชินะหรือ แล้วหลีกทางให้แยกไปยังวังกหารชนบท เข้าอยู่อาศัยหมู่บ้าน

พรานล่าเนื้อตำบลหนึ่งในชนบทนั้น หัวหน้าพรานล่าเนื้อในหมู่บ้านนั้นอุป-

ฐากบำรุงเขา วันหนึ่งหัวหน้าพรานล่าเนื้อจะไปล่าเนื้อไกล จึงสั่งจาปาลูกสาว

ของตนว่า เจ้าอย่าลืมพระอรหันต์ของพ่อนะลูก แล้วไปพร้อมกับลูกชาย

คนพี่หลายคน. ลูกสาวของพรานนั้นมีรูปงามน่าชม.

ครั้งนั้น อุปกาชีวก ถึงเวลาหาอาหารก็ไปเรือนของนายพรานล่าเนื้อ

เห็นจาปาเข้ามาส่งอาหารใกล้ ๆ ก็เกิดรักจับใจ ไม่อาจจะกินอาหารได้ จึงถือ

ภาชนะอาหารไปที่อยู่ของตน ครุ่นคิดว่า ถ้าเราได้จาปาจึงจะมีชีวิตอยู่ ถ้าไม่

ได้ ก็เห็นจักตาย แล้วนอนอดอาหารครบ ๗ วัน นายพรานกลับมาก็ถาม

ลูกสาวว่า เจ้าไม่ลืมพระอรหันต์ของพ่อดอกหรือลูก จาปาตอบพ่อว่า ท่านมา

วันเดียวเท่านั้น แล้วก็ไม่เคยมาอีกเลย จ้ะพ่อ ทันใดนั้นเอง นายพรานก็ไปยัง

ที่อยู่ของอุปุกาชีวกนั้น ลูบคลำเท้าทั้งสองถามว่า ไม่สบายหรือท่านเจ้าข้า อุปกา-

ชีวกถอนใจ ได้แต่กลิ้งเกลือกอยู่นั่นเอง นายพรานปวารณาว่า บอกมาเถิด

เจ้าข้า การใด พอจะทำได้ก็จักทำให้ทุกอย่าง อุปกาชีวกจึงบอกกล่าวถึง

อัธยาศัยความในใจโดยปริยายทางอ้อมอย่างหนึ่ง นายพรานถามว่า ก็ท่านรู้

ศิลปอะไรบ้างเล่า เขาตอบว่า ไม่รู้เลย นายพรานพูดว่าคนไม่รู้ศิลปอะไร ๆ

เลย จะอยู่ครองเรือนได้หรือเจ้า เขาตอบว่า ข้าน่ะ ไม่รู้ศิลปอะไรเลยจริง ๆ

แต่เอาเถิด ข้าพอจะแบเนื้อและขายเนื้อได้บ้าง นายพรานพูดว่า อย่างนี้ก็

พอใจข้าแล้ว ส่งผ้านุ่งให้ผืนหนึ่ง ฝากให้อยู่เรือนของสหายตนชั่วเวลาเล็กน้อย

แล้ว ในวันนั่นเองก็นำมาเรือนแล้วมอบลูกสาวให้.

เมื่อเวลาล่วงมา คนทั้งสองอยู่ร่วมกัน ก็เกิดลูกขึ้นมาตั้งชื่อว่า สุ-

ภัททะ เวลาลูกร้องนางจาปาก็ใช้เพลงกล่อมลูก เย้ยหยันเสียดสีอุปกะไปในตัว

เป็นต้นว่า เจ้าลูกอุปกะเอย เจ้าลูกอาชีวกเอย เจ้าลูกคนแบกเนื้อเอย อย่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 388

อ้อนไปเลยทรามเชยของจาปา. นายอุปกะนั้น สุดจะอดใจจึงพูดว่า จาปา เจ้า

อย่าดูหมิ่นข้าว่าอนาถานะ ข้ามีสหายคนหนึ่ง ชื่ออนันตชินะ ข้าจักไปหาเขา

ก็ได้ นางจาปารู้ว่าอุปกะอึดอัดใจด้วยอุบายวิธีนี้ จึงกล่อมลูกอย่างนั้นบ่อยๆ.

วันหนึ่งเขาถูกนางกล่อมลูกเย้ยหยันเสียดสีอย่างนั้นก็โกรธคิดจะไปเสีย แม้นาง

จะพูดจาชี้แจงอย่างไรก็ไม่ยินยอม จึงออกเดินทางบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตก.

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร กรุง

สาวัตถี ตรัสสั่งภิกษุทั้งหลายไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันนี้ผู้ใดมาที่นี่ถาม

ว่า อนันตชินะอยู่ไหน พวกเธอจงส่งผู้นั้นมาหาเรา. ฝ่ายอุปกะถามเขามา

ตลอดทางว่าอนันตชินะอยู่ไหน ก็มาถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ เข้าไปยืนอยู่

กลางวิหารถามว่า ท่านอนันตชินะอยู่ไหน ภิกษุทั้งหลายก็นำเขาเข้าเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้า เขาพบพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ทรงรู้จักข้าพเจ้าหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบพร้อมทั้งย้อนถามว่า

รู้จักสิ ก็ท่านไปอยู่เสียที่ไหน ตั้งนานถึงเท่านี้เล่า เขาทูลตอบว่า ข้าพเจ้าไป

อยู่ที่วังกหารชนบท พระเจ้าข้า ตรัสถามเชิงแนะว่า อุปกะเวลานี้ท่านก็แก่เฒ่า

แล้ว บวชเสียได้ไหมเล่า ทูลว่า บวชก็ได้ พระเจ้าข้า พระศาสดาจึงตรัสสั่ง

ภิกษุรูปหนึ่งว่า มานี่แน่ะภิกษุ เธอจงให้ท่านผู้นี้บวชเสียนะ ภิกษุนั้นก็ให้

อุปกะนั้นบวช. พระอุปกะนั้น บวชแล้ว ก็รับกรรมฐานในสำนักพระศาสดา

ประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ ไม่นานนัก ก็ตั้งอยู่ในอนาคามิผล ทำกาละ

[มรณภาพ] ไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นอวิหา. เพราะเหตุที่บังเกิดนั่นแล ก็

บรรลุพระอรหัต ชน ๗ คนที่พอบังเกิดในพรหมโลกชั้น อวิหาก็บรรลุพระอรหัต

ท่านอุปกะนี้ก็เป็นผู้หนึ่งแห่งจำนวนชน ๗ คนนั้น สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ภิกษุ ๗ รูปเข้าถึงพรหมชั้นอวิหาแล้วก็หลุดพ้น

สิ้นราคะโทสะ ข้ามตัณหาเครื่องซ่านไปในโลก ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 389

๗ รูปนั้น ๓ รูปคือ อุปกะ อุปลคัณฑะ และปุกกุสาติ

และอีก ๔ รูปคือ ภัททิยะ ขัณฑเทวะ พาหุรัคคิ

และปิงคิยะ ละกายมนุษย์แล้วก็เข้าถึงกายทิพย์ ดังนี้.

ครั้นเมื่ออุปกะ เดินทางจากไปแล้ว นางจาปา ก็มีใจเบื่อหน่าย จึง

มอบลูกให้นายพรานผู้เป็นตาไว้ เดินไปตามทางที่อุปกะไปก่อนแล้ว ถึงกรุง-

สาวัตถีแล้วก็บวชในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย กระทำกิจกรรมในวิปัสสนา ก็ตั้ง

อยู่ในพระอรหัตตามลำดับมรรค ครั้นพิจารณาทบทวนถึงความเป็นมาของตน

ก็กระทำคาถาที่อุปกะกับคนพูดกันไว้แต่ก่อน รวมเป็นอุทานคาถา ได้กล่าว

คาถาเหล่านี้ว่า

ท่านอุปกะกล่าวว่า

แต่ก่อนเราบวชถือไม้เท้า บัดนี้เรานั้นกลายเป็น

พรานล่าเนื้อไปเสียแล้ว ไม่อาจข้ามจากตมคือตัณหา

อันร้ายกาจ ไปสู่ฝั่งโน้นคือพระนิพพานได้ ดูก่อน

จาปา เจ้าสำคัญเราว่าเป็นคนมัวเมา จึงกล่อมลูกเย้ย-

หยันเสียดสี เราจักตัดพันธะของจาปาไปบวชอีก.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

ข้าแต่ท่านมหาวีระ โปรดอย่าโกรธจาปาเลย ข้า

แต่ท่านมหามุนี โปรดอย่าโกรธจาปาเลย เพราะว่าผู้ถูก

ความโกรธครอบงำแล้ว ไม่มีความบริสุทธิ์ดอก แล้ว

ตปะ จะมีมาแต่ไหนเล่า.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

เราจักหลีกออกไปจากบ้านนาลา ใครจักอยู่ใน

บ้านนาลานี้ได้ เจ้าผูกเหล่าสมณะ ผู้เลี้ยงชีพโดยธรรม

ด้วยมายาสตรี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 390

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

ข้าแต่ท่านกาฬะ [ท่านอุปกะผิวดำ] มาสิ

กลับมาเถิด จงบริโภความเหมือนแต่ก่อน จาปาและ

เหล่าญาติของจาปายอมอยู่ใต้อำนาจท่านแล้ว.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

ดูก่อนจาปา เจ้าจะกล่าวคำรักเช่นใดเป็น ๔ เท่า

จากคำนี้แก่เรา คำรักเช่นนั้น จะพึงโอฬารสำหรับ

บุรุษผู้ร่านรักในเจ้าเท่านั้น ดอกนะ.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

ข้าแต่ท่านกาฬะ เพราะเหตุไร ท่านจึงละทิ้ง

จาปาซึ่งสะสวย มีเรือนร่างงามดั่งต้นคนทาบานสะพรั่ง

บนยอดเขา ดังเครือทับทิมที่ดอกบานแล้ว ดังต้นแค

ฝอยบนเกาะ ผู้มีร่างไล้ด้วยจันทน์แดง นุ่งห่มผ้าชั้น

เยี่ยมของแคว้นกาสีไปเสียเล่า.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

เจ้าจักตามเบียดเบียนเราด้วยรูปที่ตกแต่ง เหมือน

อย่างพรานนก ประสงค์จะตามเบียดเบียนนกไม่ได้

ดอกนะ.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

ข้าแต่ท่านกาฬะ ผลคือลูกของเรานี้ ท่านก็ทำ

ให้เกิดมาแล้ว เพราะเหตุไร ท่านจึงจะละทิ้งจาปาซึ่ง

มีลูกไปเสียเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 391

ท่านอุปกะกล่าวว่า

เหล่าท่านผู้มีปัญญา มีความเพียรมาก ย่อมละ

พวกลูก ๆ ต่อนั้น ก็พวกญาติ ต่อนั้นก็ทรัพย์ พากัน

ออกบวชเหมือนพระยาช้างตัดเชือกที่ผูก ฉะนั้น.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

บัดนี้ ข้าจะเอาไม้หรือมีดฟาดลูกคนนี้ของท่าน

ให้ล้มลงเหนือพื้นดิน เพราะความเศร้าโศกถึงลูก

ท่านจะไม่ไปได้ไหม.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

ดูก่อนหญิงเลว ถึงเจ้าจักยอมมอบลูกให้ฝูงสุนัข

จิ้งจอก เพราะลูกเป็นต้นเหตุ เจ้าก็จักทำเราให้หวน

กลับมาอีกไม่ได้ดอก.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

ข้าแต่ท่านกาฬะเจ้าขา เอาเถิด เดี๋ยวนี้ ท่านจะ

ไปที่ไหน คาม นิคม นคร ราชธานีไหน เจ้าคะ.

ท่านอุปก็กล่าวว่า

แต่ก่อน ได้มีพวกคณาจารย์ไม่เป็นสมณะ ก็ถือตัว

ว่าเป็นสมณะจาริกกันไปตามคาม นิคม ชนบทราชธานี

ความจริง ท่านผู้หนึ่งนั้น คือพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้

ตรัสรู้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงแสดงธรรมโปรด

หมู่สัตว์ เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เราจะไปเฝ้าพระองค์

พระองค์จักเป็นศาสดาของเรา./B

>

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 392

ข้าพเจ้ากล่าวว่า

บัดนี้ ขอท่านพึงกราบทูลพระโลกนาถ ผู้ยอด

เยี่ยม ถึงการถวายาบังคมของจาปาและพึงทำประทักษิณ

เวียนขวาแล้วอุทิศกุศลทักษิณาแก่จาปาด้วย.

ท่านอุปกะกล่าวว่า

ข้อที่เจ้าพูดแก่เรา เราทำได้ บัดนี้ เราจะกราบ

ทูลพระโลกนาถผู้ยอดเยี่ยมถึงการถวายบังคมของเจ้า

และเราจะทำประทักษิณเวียนขวาแล้วอุทิศกุศลทัก-

ษิณาแก่เจ้าแน่.

ต่อแต่นั้น ท่านกาฬะก็เดินทางไปใกล้ฝั่งแม่น้ำ

เนรัญชรา ได้พบพระสัมพุทธเจ้า กำลังทรงแสดง

อมตบท คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความล่วงทุกข์ และ

อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เข้าไประงับทุกข์ ท่านกาฬะ

ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

แล้ว กระทำประทักษิณพระองค์แล้วอุทิศกุศลแก่จาปา

บวชเป็นอนาคาริกะไม่มีเรือน. วิชชา ๓ ข้าพเจ้า ก็

บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้ากระทำเสร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า ลฏฺิหตฺโถ แปลว่า ถือไม้เท้า. บทว่า

ปุเร แปลว่า ในกาลก่อนคือครั้งเป็นปริพาชก เราใช้มือถือไม้เท้าเพื่อกันโค

ดุและสุนัขเป็นต้นจาริกไป. บทว่า โสทานิ มิคลุทฺทโก ความว่า บัดนี้

เรานั้น กลายเป็นพรานล่าเนื้อ เพราะกินอยู่หลับนอนร่วมกับพวกพรานล่าเนื้อ

ไปเสียแล้ว ตัณหาท่านเรียกว่า อาสยะ บาลีว่า อาสาย ก็มี ความว่า เพราะ

เหตุที่ความปรารถนาอันเป็นบาป. บทว่า ปลิปา ได้แก่ จากตมคือกามและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 393

จากตมคือทิฏฐิ. บทว่า โฆรา ได้แก่ ชื่อว่าร้ายกาจ เพราะทารุณ เหตุนำ

มาแต่ความพินาสอย่างกว้างขวางที่ตนไม่รู้. ท่านอุปกะกล่าวอย่างนี้ว่า นาสกฺขิ

ปารเมตเว ดังนี้ ก็หมายเฉพาะตนเท่านั้นว่า เราไม่อาจ ไม่สามารถจะถึง

คือไปสู่พระนิพพาน อันเป็นฝั่งข้างโน้นของตมคือตัณหานั้นนั่นแลได้.

บทว่า สุมตฺต ม มญฺมานา ความว่า เจ้าจาปากำหนดตัวเรา

ทำให้เป็นผู้มัวเมา คือถึงความเมา ติดข้องหรือมัวเมา ด้วยอำนาจความหมก

มุ่นในกาม. บทว่า จาปา ปุตฺตมโตสยิ ความว่า จาปาลูกสาวพรานล่า

เนื้อกล่อมลูกกระทบกระเทียบเรา เย้ยหยัน โดยนัยว่า เจ้าลูกอุปกาชีวกเอย

เป็นต้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สุปติ ม มญฺมานา ความว่า สำคัญ

เราว่าหลับ. บทว่า จาปาย พนฺธน เฉตฺวา ได้แก่ตัดเครื่องผูกคือกิเลส

ที่เกิดขึ้นในตัวเจ้าจาปา. บทว่า ปพฺพชิสฺส ปุโนปห ได้แก่ เราจักบวช

อีกเป็นครั้งที่สอง.

บัดนี้ ท่านอุปกะกล่าวแก่นางว่า เราไม่มีความต้องการแล้ว นาง

จาปาฟังคำนั้นแล้ว เมื่อจะขอขมา จึงกล่าวคาถาว่า มา เม กุชฺฌิ เป็นต้น

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา เม กุชฺฌิ ได้แก่ โปรดอย่าโกรธข้าด้วย

อาการเพียงทำการเย้ยหยันเลย นางจาปาเรียกท่านอุปกะว่า มหาวีระ มหามุนี

นางหวังจำเพาะความอดกลั้น [ให้ขมา] ทำเป็นว่า ทั้งคราวก่อนท่านก็บวช

[ละเว้น] มาแล้ว ทั้งคราวนี้ก็ประสงค์จะบวช [ละเว้น] เรา จึงกล่าวว่ามหามุนี.

ด้วยเหตุนั้นนั่นแล นางจึงกล่าวว่า เพราะผู้ที่ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ไม่

บริสุทธิ์ แล้วตบะจะมีมาแต่ไหน อธิบายว่า ท่านอดทนเหตุเล็กน้อยไม่ได้

จักฝึกจิตได้อย่างไร หรือจักประพฤติตบะได้อย่างไร.

ครั้งนั้น ท่านอุปกะถูกนางจาปาพูดว่า ท่านประสงค์จะไปบ้านนาลา

มีชีวิตอยู่ จึงกล่าวว่า เราจักออกไปเสียจากบ้านนาลา ใครเล่าจักอยู่ในบ้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 394

นาลานี้ได้. อธิบายว่า ใครจักอยู่ในบ้านนาลานี้ได้ เราจักออกไปเสียจาก

บ้านนาลานี่แหละ. ความจริงบ้านนาลานั้นเป็นบ้านเกิดของท่านอุปกะนั้น

ท่านออกจากบ้านนาลานั้นไปบวช. ก็บ้านนาลานั้น อยู่ในถิ่นที่ใกล้โพธิมัณฑ-

สถาน แคว้นมคธ. ท่านอุปกะหมายถึงบ้านนาลานั้น จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า

พนฺธนฺตี อิตฺถิรูเปน สมเณ ธมฺมชีวิโน อธิบายว่า ดูก่อนจาปา เจ้าผูก

นักบวชผู้เป็นอยู่โดยธรรม ตั้งอยู่ในธรรม ด้วยรูปสตรี ด้วยมารยาสตรีของ

ตนอยู่ บัดนี้ เราเกิดเป็นเช่นนี้เพราะเหตุอันใด เพราะฉะนั้น เราจึงจำต้อง

สละเหตุอันนั้นเสีย.

เมื่อท่านอุปกะพูดอย่างนี้ นางจาปาประสงค์จะให้เขากลับ จึงกล่าว

คาถาว่า เอหิ กาฬ เป็นต้น. คาถานั้นมีความว่า ข้าแต่ท่านอุปกะชื่อว่า

กาฬะ เพราะเป็นคนผิวดำ จงมา กลับไปกันเถิด อย่าหลีกลี้ไปเลย จงบริโภค

กามเหมือนแต่ก่อน. ข้าและพวกญาติของข้าทุกคน ยอมอยู่ในอำนาจ ให้ท่าน

มีอำนาจ เพราะไม่ต้องการให้ท่านหลีกออกไป. ท่านอุปกะฟังคำนั้น แล้ว จึง

กล่าวคาถาว่า เอตฺโต จาเป เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จาเป

เป็นอาลปนะคำเรียก. จริงอยู่นางได้ชื่อว่า จาปา เพราะมีเรือนร่างยังสาวอ่อน

ช้อยเสมือนคันธนู เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่า จาปา อธิบายว่า ดูก่อนจาปา

เจ้าพูดอย่างใด บัดนี้ กล่าวคำเช่นใด เจ้าพึงทำสำนวนที่น่ารักเป็น ๔ เท่า

จากคำเช่นนี้ ข้อนั้น ก็จะพึงโอฬาร สำหรับบุรุษผู้ร่านรัก ผู้ถูกราคะเป็น

ต้นครอบงำในตัวเจ้าดอกหนอ แต่บัดนี้ เราคลายรักในตัวเจ้าและในกามทั้ง

หลายเสียแล้ว เพราะฉะนั้น เราจะไม่ยอมอยู่ในถ้อยคำของเจ้าละ.

นางจาปา ประสงค์จะให้ท่านอุปกะนั้นเกิดติดใจในตัวนางอีก จึง

กล่าวว่า กาฬงฺคินึ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาฬ เป็นคำ

เรียกท่านอุปกะนั้น. บทว่า องฺคินึ ได้แก่ เพียบพร้อมด้วยเรือนร่างยังสาว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 395

ศัพท์ว่า อิว เป็นนิบาตลงในอรรถอุปมา เปรียบความ. บทว่า ตกฺการึ

ปุปฺผิต คิริมุทฺธนิ ได้แก่ เหมือนเครือทับทิมดอกบานอยู่บนยอดเขา. อนึ่ง

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อุกฺกาคารึ ความว่า เหมือนไม้คีบถ่าน ก็คำว่า

คิริมุทฺธนิ นี้ นางจาปากล่าว ก็เพื่อแสดงถึงความงามที่ใคร ๆ ทำลายไม่ได้

อาจารย์บางพวกกล่าวปาฐะว่า กาลิงฺคินึ แล้วบอกความของคำนั้นว่า เสมือน

เถาฟักเขียว. บทว่า ผุลฺล ทาลิมลฏฺึ ว ได้แก่ เหมือนทับทิมรุ่นที่ออก

ดอก. บทว่า อนฺโตทีเปว ปาฏลึ ได้แก่ เหมือนต้นแคฝอย ภายในเกาะ

ก็ ทีป ศัพท์ในคำนี้ นางจาปากล่าวก็เพื่อแสดงความงามที่น่าอัศจรรย์.

บทว่า หริจนฺทนลิตฺตงฺคึ ได้แก่ มีเรือนร่างที่ลูบไล้ด้วยจันทน์

แดง. บทว่า กาสิกุตฺตมธารินึ ได้แก่ ทรงคือนุ่งห่มผ้าแคว้นกาสีอย่าง

เยี่ยม. บทว่า ต ม ได้แก่ ข้าเช่นนั้น. บทว่า รูปวตึ สนฺตึ ได้แก่

ผู้งามพร้อมอยู่. บทว่า กสฺส โอหาย คจฺฉสิ ได้แก่ ท่านละทิ้งสละไป

เสีย เพราะเหตุแห่งสัตว์ชื่อไร หรือแห่งเหตุอะไร หรือเพราะเหตุอะไร.

เบื้องหน้าแต่นี้ พระจาปาเถรีตั้งคาถาแสดงการกล่าวและการโต้ตอบ

ของตนทั้งสองนั้นแล้ว ในที่สุดก็ตั้งคาถาไว้ ๓ คาถา. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า สากุณิโก ว ได้แก่ เหมือนพรานล่านก. บทว่า อาหริเมน รูเปน

ความว่า เจ้าเบียดเบียนเรา ด้วยรูปคือสี ด้วยความฉลาดด้วยศิสปะฟ้อนรำ

ขับร้องที่ปรุงแต่งด้วยการบำรุงเรือนร่าง มีการประดับผมเป็นต้น และด้วย

เครื่องประดับคือผ้าเป็นอาทิ. บทว่า น ม ตฺว พาธยิสฺสสิ ความว่า บัดนี้

เจ้าจักเบียดเบียนเราไม่ได้เหมือนแต่ก่อน. บทว่า ปุตฺตผล ได้แก่ ผลกล่าว

คือบุตร คือสัตว์เลี้ยง คือบุตร.

บทว่า สปฺปญฺา ได้แก่ ผู้มีปัญญา. อธิบายว่า ผู้ประกอบด้วย

ปัญญา รู้แจ่มแจ้งโทษในสงสาร. จริงอยู่ ท่านผู้มีปัญญาเหล่านั้น ละเครือญาติ

หรือกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ออกบวช. ด้วยเหตุนั้น ท่านอุปกะจึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 396

ท่านผู้มีความเพียรใหญ่ ย่อมบวช [ละเว้น] เหมือนพระยาช้างตัดเครื่องผูกฉะนั้น

อธิบายว่า ท่านผู้มีความเพียรใหญ่เท่านั้น จึงละเครื่องผูกคือคฤหัสถ์ บวช

ได้เหมือนพระยาช้างตัดเครื่องผูกคือเหล็กไป ผู้มีความเพียรเลว หาบวชได้ไม่.

บทว่า ทณฺเฑน ได้แก่ ท่อนไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า ฉริกาย

ได้แก่ มีดโกน. บทว่า ภูมิย วา นิสุมฺภิสฺส ได้แก่ เบียดเบียนด้วยการ

และแทงเป็นต้น ให้ล้มลงเหนือแผ่นดิน. บทว่า ปุตฺตโสกา น คจฺฉสิ

ได้แก่ จะไม่ไป เพราะเศร้าโศกถึงบุตร.

บทว่า ปทาหิสิ ได้แก่ แสดง. บทว่า ปุตฺตกตฺเต แปลว่า

เพราะเหตุแห่งบุตร. คำว่า ชมฺมิ เป็นคำเรียกนางจาปานั้น. ความว่า ดูก่อน

หญิงเลว.

บัดนี้ นางจาปา เมื่อจะอนุญาตให้ท่านอุปกะนั้นไปได้ แต่อยากรู้

สถานที่จะไป จึงกล่าวคาถาว่า หนฺท โข เป็นต้น.

ท่านอุปกะเมื่อแสดงว่า เมื่อก่อน เรายืนหยัดประคับประคองศาสนา

[คำสอน] ที่ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ แต่เดี๋ยวนี้ เราประสงค์จะยืนหยัดอยู่ใน

ศาสนาของท่านอนันตชินะ ซึ่งนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น เราจึงจำ

ต้องไปเฝ้าพระองค์ จึงกล่าวคาถาว่า อหุมฺห เป็นต้น . บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า คณิโน ได้แก่ ผู้ปกครองหมู่. บทว่า อสมณา ได้แก่ ผู้สงบบาป

ยังไม่ได้. บทว่า สมณมานิโน ได้แก่ ผู้สำคัญอย่างนี้ว่าสงบบาปได้แล้ว.

ท่านอุปกะกล่าววางตัวเองไว้ในศาสดาทั้งหลายมีปูรณกัสสปเป็นต้นว่า วิจริมฺห

เป็นต้น.

บทว่า เนรญฺชร ปติ ได้แก่ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา คือริมฝังแม่น้ำ

นั้น. บทว่า พุทฺโธ ได้แก่ ตรัสรู้พระอภิสัมโพธิ ท่านอุปกะกล่าวโดย

อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสรู้พระอภิสัมโพธิแล้ว เมื่อทรงแสดง

ธรรม ก็ประทับอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ ทุกเวลา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 397

บทว่า วนฺทน ทานิ เม วชฺชาสิ ความว่า ขอท่านพึงกราบทูล

ถึงการถวายบังคมของข้า คือกราบทูล พระโลกนาถผู้ยอดเยี่ยม ตามคำของ

ข้า บทว่า ปทกฺขิณญฺจ กตฺวาน อาทิเสยฺยาสิ ทกฺขิณ ได้แก่ ท่าน

แม้ทำประทักษิณเวียนขวา พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ๓ ครั้งแล้ว ถวายบังคม

ใน ๔ ทิศ จากบุญนั้น เมื่อให้ส่วนบุญแก่ข้า ก็พึงตั้งใจอุทิศส่วนทักษิณา

ด้วย. นางจาปากล่าวอย่างนี้ก็เพราะเคยได้ยินพระพุทธคุณ และเพราะตนถึง

พร้อมด้วยเหตุ [เหตุสัมปทา]. บทว่า เอต โข ลพฺภ อมฺเหหิ อธิบายว่า

บุญคือการทำประทักษิณนี้ เราอาจให้แก่เจ้าได้ แต่เราไม่อาจกลับไปบริโภค

กามได้เหมือนแต่ก่อนนะ. บทว่า เต วชฺช ได้แก่ บอกกล่าว คือกราบทูล

ถึงการถวายบังคมของเจ้า.

บทว่า โส ได้แก่ ท่านกาฬ่ะ. บทว่า อทฺทสาสิ แปลว่า ได้

เห็นแล้ว.

ท่านอุปกะกล่าวคำว่า ทุกฺข เป็นอาทิ ก็เพราะทุกข์นั้น เป็นประธาน

ของสัจกถา ในพระเทศนาของพระศาสดา และเพราะไม่มีกถาที่พ้นไปจาก

สัจกถานั้น. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาจาปาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 398

๔. สุนทรีเถรีคาถา

[๔๗๐] พระสุนทรีเถรี ได้กล่าวอุทานคาถา แสดงข้อความตั้งแต่

บิดากล่าวเป็นต้นไปว่า

สุชาตพราหมณ์ถามพระวาสิฏฐีเถรีว่า

ข้าแต่ท่านแม่เจ้าวาสิฏฐี แต่ก่อน แม่เจ้ากินลูก ๆ

ที่ตาย ไปแล้ว แม่เจ้าต้องเดือดร้อนอย่างหนัก วันนี้

พราหมณีนั้นกินลูกหมดทั้งร้อยคน เพราะเหตุไร จึง

ไม่เดือดร้อนหนักหนาเล่า.

พระวาสิฏฐีเถรีตอบว่า

ดูก่อนท่านพราหมณ์ ลูกร้อยคนและหมู่ญาติ

ร้อยคน เรากับท่านก็กินกันมามากแล้ว ในอดีตภาค

เรานั้นรู้ธรรมที่ชาติและชราแล่นออกไปแล้วจึงไม่เศร้า

โศก ไม่ร้องไห้และไม่เดือดร้อนเลย.

สุชาตพราหมณ์ถามว่า

ข้าแต่แม่ท่านวาสิฏฐี น่าอัศจรรย์จริงหนอที่แม่-

เจ้ากล่าววาจาเช่นนี้ ก็แม่เจ้ารู้ธรรมของใครเล่าจึง

กล่าววาจาเช่นนี้.

พระวาสิฏฐีเถรีตอบว่า

ดูก่อนท่านพราหมณ์ ในกรุงมิถิลา พระสัม-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมโปรดหมู่สัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 399

เพื่อละทุกข์ทั้งปวง ดูก่อนท่านพราหมณ์ เราฟังธรรม

ที่ไม่มีกิเลสและทุกข์ของพระอรหันต์พระองค์นั้น รู้

แจ้ง สัทธรรมในพระธรรมเทศนานั้นแล้ว จึงบรรเทา

เศร้าโศกถึงลูกเสียได้.

สุชาตพราหมณ์กล่าวว่า

ถึงข้าพเจ้านั้น ก็จักไปกรุงมิถิลาเหมือนกัน ถ้า

กระไร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็คงจะทรง

ช่วยเปลื้องข้าพเจ้าเสียจากทุกข์ทั้งหมดได้.

พราหมณ์ได้พบพระพุทธเจ้า ผู้ทรงหลุดพ้นโดย

ประการทั้งปวง ทรงไม่มีกิเลสและทุกข์ พระมุนีผู้ถึง

ฝั่งแห่งทุกข์ ได้ทรงแสดงธรรมโปรดพราหมณ์นั้น

คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ อริยมรรค

มีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความระงับทุกข์ สุชาตพราหมณ์รู้

แจ้งสัทธรรมในพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ก็เข้าบวช ๓

ราตรี ก็บรรลุวิชชา ๓.

พระสุชาตภิกษุกล่าวกะสารถีคนขับรถว่า

มานีสารถี เธอจงกลับไป เรามอบรถคันนี้ให้ จง

บอกพราหมณีถึงความสบายไม่เจ็บป่วยว่า บัดนี้

พราหมณ์บวชแล้ว ๓ ราตรี สุชาตพราหมณ์ก็บรรลุ

วิชชา ๓.

ลำดับนั้น สารถีพารถและทรัพย์พันกหาปณะ

ไปมอบให้พราหมณี บอกพราหมณีถึงความสบายไม่

เจ็บป่วยว่า บัดนี้ พราหมณ์บวชแล้ว ๓ ราตรี สุชาต-

พราหมณ์ก็บรรลุวิชชา ๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 400

พราหมณีกล่าวว่า

ดูก่อนสารถี ข้าฟังเรื่องพราหมณ์ได้วิชชา ๓

แล้ว ก็ขอมอบรถม้าคันหนึ่งกับทรัพย์พันกหาปณะ

เป็นรางวัลตอบแทนที่ให้ข่าวน่ายินดี แก่เจ้า.

สารถีไม่ยอมรับกลับกล่าวว่า

ข้าแต่แม่พราหมณี รถม้ากับทรัพย์พันกหาปณะ

จงกลับเป็นของแม่ท่านตามเดิมเถิด แม้ตัวข้าพเจ้า ก็

จักบวชในสำนักพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาอัน

ประเสริฐ.

พราหมณีกล่าวกะสุนทรีธิดาว่า

ดูก่อนสุนทรี บิดาของลูกละช้าง ม้า โค มณี

กุลฑล ความมั่งคั่ง และสมบัติคฤหัสถ์นี้ ออกบวชเสีย

แล้ว ลูกจงบริโภคโภคสมบัติ จงเป็นทายาทรับมรดก

ในตระกูลนะลูก.

สุนทรีธิดากล่าวกะพราหมณีมารดาว่า

แม่จ๋า บิดาของลูกถูกความเศร้าโศกถึงลูกชายรบ

กวนหนัก จึงละช้าง ม้า โค มณีและกุณฑล ความ

มั่งคั่ง และสมบัติคฤหัสถ์นี้ออกบวช ถึงลูกก็ถูกความ

เศร้าโศกถึงน้องชายรบกวนมาก จึงจักบวชด้วยจ้ะแม่.

พราหมณีมารดากล่าวอนุญาตว่า

ดูก่อนสุนทรี ความดำรินั้นของลูกจึ่งสำเร็จสม

ปรารถนาเถิด ลูกเมื่อสำเร็จกิจเหล่านี้คือ การยืนรับ

ก่อนข้าว การแสวงหาอาหารและการทรงผ้าบังสุกุล

จีวร จงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในปรโลกเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 401

เมื่อบวชบำเพ็ญเพียรบรรลุพระอรหัตแล้ว พระสุนทรีเถรี จึงขอ

อนุญาตพระอุปัชฌายะว่า

ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าเมื่อเป็นสิกขมานา ก็ชำระ

ทิพยจักษุได้แล้ว ข้าพเจ้าระลึกรู้ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่

แต่ก่อนได้แล้ว.

ข้าแต่พระเถรีผู้มีกัลยาณธรรม ผู้งามเอง และผู้

ทำหมู่ให้งาม ข้าพเจ้าบรรลุวิชชา ๓ แล้ว คำสอน

ของพระพุทธเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.

ข้าแต่แม่เจ้า โปรดอนุญาตเถิดเจ้าค่ะ ข้าพเจ้า

ประสงค์จะไปกรุงสาวัตถี จักบรรลือสีหนาทในสำนัก

ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

พระสุนทรีเถรีได้รับอนุญาตแล้ว ก็เข้าไปพระเชตวันวิหาร พบพระ-

ศาสดาประทับนั่งอยู่ จึงกล่าวคาถาเป็นอุทานว่า

ดูก่อนสุนทรี เจ้าจงพิศดูพระศาสดาผู้มีพระฉวี-

วรรณปานทอง ผู้ทรงฝึกพวกที่ใคร ๆ ฝึกไม่ได้ ผู้

ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอได้โปรดจงดู

สุนทรีผู้กำลังเดินมา ผู้หลุดพ้นโดยประการทั้งปวง

ผู้ไม่มีกิเลสและทุกข์ ปราศจากราคะ ไม่หอบทุกข์ไว้

ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ

ข้าแต่พระผู้ทรงมีเพียรยิ่งใหญ่ สุนทรีออกจาก

กรุงพาราณสีมาเฝ้าพระองค์ เป็นสาวิกาของพระองค์

ขอถวายบังคมพระยุคลบาท พระเจ้าข้า.

ข้าแต่พระผู้ทรงเป็นพราหมณ์ พระองค์เป็น

พระพุทธเจ้า พระองค์เป็นพระศาสดา ข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 402

เป็นธิดาของพระองค์ เป็นโอรสเกิดแต่พระโอษฐ์

ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนลูกสุนทรี เจ้ามาดีแล้ว มาไม่เลวเลย ด้วย

ว่าผู้ฝึกอย่างนี้แล้ว ปราศจากราคะ ไม่หอบทุกข์ไว้

ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ย่อมมาไหว้เท้าศาสดา

ของตน.

จบ สุนทรีเถรีคาถา

๔. อรรถกถาสุนทรีเถรีคาถา

คาถาว่า เปตานิ โภติ ปุตฺตานิ เป็นต้น เป็นคาถาของ พระ-

สุนทรีเถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์

ก่อนๆ สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้นๆ ๓๑ กัปนับ

แต่กัปนี้ไป ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า เวสสภู ก็บังเกิดในเรือนคนมี

สกุล รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งเห็นพระศาสดากำลังเสด็จบิณฑบาตมีใจเลื่อมใส

แล้ว ถวายภิกษา [คืออาหาร] แล้วถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์. พระ-

ศาสดาทรงทราบถึงความมีจิตเลื่อมใส ทรงทำอนุโมทนาแล้วก็เสด็จไป. เพราะ

บุญนั้น นางบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อยู่จนตลอดอายุในสวรรค์ชั้นนั้น

เสวยทิพยสมบัติจุติจากสวรรค์ชั้นนั้นแล้ว ก็เที่ยวไปเที่ยวมาอยู่ในสุคติเท่านั้น

มีญาณแก่กล้า ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็บังเกิดเป็นธิดาของพราหมณ์ชื่อ สุชาตะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 403

กรุงพาราณสี เพราะนางมีรูปสมบัติคือสวย จึงมีนามว่า สุนทรี เมื่อเติบโตแล้ว

น้องชายของนางก็ตาย บิดาของนางเศร้าโศกยิ่งนัก ท่องเที่ยวไปในที่นั้น ๆ ได้

สมาคมกับพระเถรีนามว่าวาสิฏฐี เมื่อจะไถ่ถามพระเถรีถึงเหตุที่จะช่วย

บรรเทาคุวามเศร้าโศก จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถามีว่า เปตานิ โภติ

ปุตฺตานิ เป็นต้น พระเถรีรู้ว่าพราหมณ์เศร้าโศกมาก ประสงค์จะช่วยบรรเทา

ความเศร้าโศก ก็กล่าว ๒ คาถามีว่า พหูนิ เม ปุตฺตธีตานิ เป็นต้นแล้ว

บอกถึงเรื่องที่ตนไม่เศร้าโศก พราหมณ์ฟังเรื่องนั้นแล้ว ก็ถามพระเถรีว่า

พระแม่ท่านเจ้าข้า พระแม่เจ้าไม่เศร้าโศกอย่างนี้ได้อย่างไร พระเถรีจึง

พรรณนาพระคุณพระรัตนตรัยของตนแก่พราหมณ์นั้น.

พราหมณ์ถามว่า พระศาสดาประทับอยู่ที่ไหน ทราบว่า เวลานี้ประทับ

อยู่ในกรุงมิถิลา ในทันใดนั้นก็เทียมรถ ควบขับไปกรุงมิถิลา เข้าเฝ้าพระ-

ศาสดา ถวายบังคม กล่าวสัมโมทนียกถาตามธรรมเนียมแล้ว ก็นั่ง ณ ที่สมควร

ส่วนหนึ่ง พระศาสดาก็ทรงแสดงธรรมโปรดเขา พราหมณ์นั้นฟังธรรมแล้ว

ได้ศรัทธา ก็บวช เริ่มเจริญวิปัสสนา พากเพียรพยายามอยู่ วันที่ ๓ ก็บรรลุ

พระอรหัต. ครั้งนั้นสารถีคนขับรถ ก็นำรถกลับไปกรุงพาราณสี บอกเรื่อง

ราวแก่พราหมณี [ภรรยา] ฝ่ายสุนทรี รู้เรื่องที่บิดาตนบวชก็บอกลาว่า แม่จ๋า

ลูกก็จักบวชจ้ะ มารดากล่าวว่า ลูกเอ๋ย โภคสมบัติในเรือนนี้ทั้งหมดเป็นของ

ลูก ลูกจงปฏิบัติตัวเป็นทายาทรับมรดกของตระกูลนี้ จงบริโภคทรัพย์ทุกอย่าง

เถิด อย่าบวชเลย. สุนทรีกล่าววา ลูกไม่ต้องการโภคทรัพย์ดอก ลูกจักบวชจ้ะ.

เธออ้อนวอนให้มารดาอนุญาตแล้ว ก็ทิ้งสมบัติกองใหญ่ เหมือนทิ้งก้อนเขฬะไป

บวช ครั้นบวชเป็นสิกขมานาแล้ว เริ่มเจริญวิปัสสนา พากเพียรพยายามอยู่

เพราะญาณแก่กล้า เหตุเพียบพร้อมด้วยเหตุสัมปทา ก็บรรลุพระอรหัตพร้อม

ด้วยปฏิสัมภิทา ๔.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า

๑. ไม่มีในบาลีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 404

ข้าพเจ้าถือข้าว ๑ ทัพพี ถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐสุด ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ พระนามว่าเวสสภู

ซึ่งกำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาต พระเวสสภูสัมพุทธเจ้า

พระศาสดาผู้นำโลก ทรงรับแล้ว ประทับยืน ณ ท้อง

ถนน ทรงกระทำอนุโมทนาแก่ข้าพเจ้าว่า ท่านถวาย

ข้าว ๑ ทัพพี จักไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จักเป็นมเหสี

ของท้าวสักกะเทวราช ๓๖ พระองค์ จักเป็นเอกอัคร-

มเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐ พระองค์ ท่านจักได้

ทุกอย่างที่ใจปรารถนาทุกเมื่อ ท่านครั้นเสวยสมบัติ

แล้ว ก็จักเว้นจากเครื่องกังวล จักกำหนดรู้อาสวะทั้ง

ปวง ไม่มีอาสวะ ดับสนิท พระเวสสภูสัมพุทธเจ้า

ปราชญ์ผู้นำทาง ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ก็เสด็จสู่ท้อง

ฟ้าเหมือนพระยาหงส์บินไปในอากาศ ทานอย่าง

ประเสริฐ ข้าพเจ้าก็ถวายดีแล้ว ยาคสัมปทา ความ

พร้อมแห่งยาคะ [การบูชา] ข้าพเจ้าก็บูชาแล้ว

ข้าพเจ้าถวายข้าวทัพพีเดียวก็บรรลุอจลบท บทอันไม่สั่น

คลอน ๓๑ กัปนับแต่กัปนี้ไป ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้

ถวายภิกษาทานอันใด ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติเลย ที่เป็น

ผลของภิกษาทานอันนั้น กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผา

เสียแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำ

เสร็จแล้ว.

ก็แลสิกขมานาสุนทรี ครั้นบรรลุ พระอรหัตแล้ว อยู่ด้วยสุขในผล

และสุขในพระนิพพาน ต่อมา [อุปสมบทแล้ว] คิดว่า จำเราจักบรรลือสีหนาท

ต่อพระพักตร์ของพระศาสดา จึงลาพระอุปัชฌายะ ออกจากกรุงพาราณสี พร้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 405

ด้วยภิกษุณีมากรูป เดินไปโดยลำดับถึงกรุงสาวัตถีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดา

ถวายบังคมแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารแล้ว ก็

พยากรณ์พระอรหัต ด้วยการประกาศความที่ตนเป็นธิดา เกิดแต่พระอุระของ

พระศาสดาเป็นต้น ครั้งนั้นหมู่ญาติทุกคน ตั้งต้นแต่มารดาของนาง และคน

ใกล้เคียง ก็พากันออกบวช ต่อมาพระสุนทรีเถรีนั้น พิจารณาทบทวนถึง

ความเป็นมาของตนจึงกล่าวคาถาเหล่านี้ เป็นอุทาน ตั้งแต่คาถาที่บิดากล่าว

มาแล้วเป็นต้นไปว่า

สุชาตพราหมณ์ถามพระวาสิฏฐีเถรีว่า

ข้าแต่ท่านแม่เจ้าวาสิฏฐี แต่ก่อน แม่เจ้ากินลูก ๆ

ที่ตายไปแล้ว แม่เจ้าต้องเดือดร้อนอย่างหนัก วันนี้

พราหมณีนั้นก้นลูกหมดทั้งร้อยคน เพราะเหตุไร จึง

ไม่เดือดร้อนหนักหนาเล่า.

พระวาสิฏฐีเถรีตอบว่า

ดูก่อนท่านพราหมณ์ บุตรร้อยคนและหมู่ญาติ

ร้อยคน เรากับท่านก็กินกันมามากแล้วในอดีตภาค

เรานั้นรู้ธรรมที่ชาติและชราแล่นออกไปแล้ว จึงไม่

เศร้าโศก ไม่ร้องไห้และไม่เดือดร้อนเลย.

สุชาตพราหมณ์ถามว่า

ข้าแต่ท่านแม่เจ้าวาสีฎฐี น่าอัศจรรย์จริงหนอ

แม่เจ้ากล่าววาจาเช่นนี้ ก็แม่เจ้ารู้ธรรมของใครเล่า

จึงกล่าววาจาเช่นนี้.

พระวาสิฏฐีเถรีตอบว่า

ดูก่อนท่านพราหมณ์ ในกรุงมิถิลา พระสัม-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมโปรดหมู่สัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 406

เพื่อละทุกข์ทั้งปวง ดูก่อนท่านพราหมณ์ เราฟังธรรม

ที่ไม่มีกิเลสและทุกข์ของพระอรหันต์พระองค์นั้น รู้

แจ้งสัทธรรมในพระธรรมเทศนานั้นแล้ว จึงบรรเทา

ความเศร้าโศกถึงบุตรเสียได้.

สุชาตพราหมณ์กล่าวว่า

ถึงข้าพเจ้านั้น ก็จักไปกรุงมิถิลาเหมือนกัน ถ้า

กระไร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็คงจะทรง

ช่วยเปลื้องข้าพเจ้าเสียจากทุกข์ทั้งหมดได้.

พราหมณ์ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ทรงหลุดพ้น โดย

ประการทั้งปวง ทรงไม่มีกิเลสและทุกข์ พระมุนีผู้

ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ได้ทรงแสดงธรรมโปรดพราหมณ์นั้น

คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ อริยมรรค

มีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความระงับทุกข์ สุชาตพราหมณ์รู้

แจ้งสัทธรรม ในพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ก็เข้าบวช

๓ ราตรี ก็บรรลุวิชชา ๓.

สุชาตภิกษุกล่าวกะสารถีคนขับรถว่า

มานี่แน่ะสารถี เธอจงกลับไป เรามอบรถคันนี้

ให้ จงบอกพราหมณีถึงความสบายไม่เจ็บป่วยว่า บัดนี้

พราหมณ์บวชแล้ว ๓ ราตรี สุชาตพราหมณ์ก็บรรลุ

วิชชา ๓.

ลำดับนั้น สารถีพารถและทรัพย์พันกหาปณะ

ไปมอบให้พราหมณี บอกพราหมณีถึงความสบายไม่

เจ็บป่วยว่า บัดนี้ พราหมณ์บวชแล้ว ๓ ราตรี สุชาต-

พราหมณ์ก็บรรลุวิชชา ๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 407

พราหมณีกล่าวว่า

ดูก่อนสารถี ข้าฟังเรื่องพราหมณ์ได้วิชชา ๓

แล้ว ก็ขอมอบรถม้าคันหนึ่งกับทรัพย์พันกหาปณะเป็น

รางวัลตอบแทนที่ให้ข่าวน่ายินดี แก่เจ้า.

สารถีไม่ยอมรับกลับกล่าวว่า

ข้าแต่แม่พราหมณี รถม้ากับทรัพย์พันกหาปณะ

จงกลับเป็นของแม่ท่านตามเดิมเถิด แม้ข้าพเจ้าก็จัก

บวชในสำนักพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ.

พราหมณีกล่าวกะสุนทรีธิดาว่า

ดูก่อนสุนทรี บิดาของลูกละ ช้าง โค ม้า มณี

และกุณฑล ความมั่งคั่ง และสมบัติคฤหัสถ์นี้ ออก

บวชเสียแล้ว ลูกจงบริโภคโภคสมบัติ จงเป็นทายาท

รับมรดกในตระกูลนะลูก

สุนทรีธิดากล่าวกะพราหมณีมารดาว่า

แม่จ๋า บิดาของลูกถูกความเศร้าโศกถึงลูกชายรบ

กวนหนัก จึงละช้าง โค ม้า มณีและกุณฑล ความ

มั่งคั่ง และสมบัติคฤหัสถ์นี้ออกบวช ถึงลูกก็ถูกความ

เศร้าโศกถึงน้องชายรบกวนมา จึงจักบวชจ้ะแม่.

พราหมณีมารดากล่าวอนุญาตว่า

ดูก่อนสุนทรี ความดำรินั้นของลูกจงสำเร็จสม

ปรารถนาเถิด ลูกเมื่อสำเร็จกิจเหล่านี้คือ การยืนรับ

ก้อนข้าว การแสวงหาอาหาร และการทรงผ้าบังสุกุล

จีวร จงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในปรโลกเถิด,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 408

เมื่อบวชบำเพ็ญเพียรบรรลุพระอรหัตแล้ว พระสุนทรีเถรี จึงขอ

อนุญาตอุปัชฌายะว่า

ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าเมื่อเป็นสิกขมานาก็ชำระ

ทิพยจักษุได้แล้ว ข้าพเจ้าระลึกรู้ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่

แต่ก่อนได้แล้ว.

ข้าแต่พระเถรีผู้มีกัลยาณธรรม ผู้งามเอง และผู้

ทำหมู่ให้งามข้าพเจ้าอาศัยท่านแม่เจ้าค่ะ วิชชา ๓ ก็

บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.

ข้าแต่แม่เจ้า โปรดอนุญาตเถิดเจ้าค่ะ ข้าพเจ้า

ประสงค์จะไปกรุงสาวัตถี จักบรรลือสีหนาท ใน

สำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

พระสุนทรเถรีได้รับอนุญาตแล้วเข้าไปพระเชตวันวิหาร พบ

พระศาสดาประทับนั่งอยู่ จึงกล่าวคาถาเป็นอุทานว่า.

ดูก่อนสุนทรี เจ้าจงพิศดูพระศาสดาผู้มีพระฉวี-

วรรณปานทอง ผู้ทรงฝึกพวกคนที่ใคร ๆ ฝึกไม่ได้

ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอโปรดทรงดูสุนทรี

ผู้กำลังเดินมา ผู้หลุดพ้นโดยประการทั้งปวง ผู้ไม่มี

กิเลสแลทุกข์ ปราศจากราคะไม่หอบทุกข์ไว้ ทำกิจ

เสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ.

ข้าแต่พระผู้ทรงมีเพียรยิ่งใหญ่ สุนทรีออกจาก

กรุงพาราณสีมาเฝ้าพระองค์ เป็นสาวิกาของพระองค์

ขอถวายบังคมพระยุคลบาทพระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 409

ข้าแต่พระผู้เป็นพราหมณ์ พระองค์เป็นพระ-

พุทธเจ้า พระองค์เป็นพระศาสดา ข้าพระองค์เป็นธิดา

ของพระองค์ เป็นโอรสเกิดแต่พระโอษฐ์ ทำกิจเสร็จ

แล้ว ไม่มีอาสวะพระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนลูกสุนทรี เจ้ามาดีแล้ว มาไม่เลวเลย

ด้วยว่า ผู้ฝึกอย่างนี้แล้ว ปราศจากราคะ ไม่หอบทุกข์

ไว้ ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ย่อมมาไหว้เท้า

พระศาสดาของตน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เปตานิ ได้แก่ ตายแล้ว. สุชาตพราหมณ์

เรียกพระวาสิฏฐีเถรีนั้นว่า ข้าแต่พระแม่ผู้เจริญ. คำว่า ปุตฺตานิ ท่านกล่าว

โดยเป็นลิงควิปลาส [เพราะศัพท์ ปุตฺต ปกติเป็น ปุ. แต่ท่านทำเป็น นปุ.

ดังว่านี้ไปเสีย จึงเป็นลิงควิปลาส] ความว่า ลูกชายที่ตายแล้ว ความจริง

ลูกชายของพระวาสิฏฐีเถรีนั้นตายไปแล้ว มีคนเดียวเท่านั้น แต่พราหมณ์

สำคัญอย่างนี้ว่า พระวาสิฏฐีเถรีนี้ ถูกความเศร้าโศกรบกวน จึงท่องเที่ยวไป

เสียตั้งนาน ชรอยลูกชายนางที่ตายไปแล้วมีมากคน จึงกล่าวคำเป็นพหุวจนะ

[จำนวนมาก] และกล่าวคำเป็นพหุวจนะ อย่างนั้นว่า สาชฺช สพฺพานิ

ขาทิตฺวา สตปุตฺตานิ. คำว่า ขาทมานา นี้ เป็นคำด่าตามโวหารโลก.

จริงอยู่ ลูกชายที่เกิดแล้วเกิดเล่าของหญิงคนตายไปเสีย คนทั้งหลายเมื่อจะ

ติเตียนหญิงคนนั้น จึงกล่าวคำว่า หญิงกินลูกเป็นต้น. บทว่า อตีว แปลว่า

เกินเปรียบ คือหนักหนา. บทว่า ปริตปฺปสิ แปลว่า เดือดร้อน ประกอบ

ความว่า แต่ก่อน. ก็ในข้อนี้มีความย่อดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านแม่เจ้าวาสิฏฐี แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 410

ก่อน ท่านแม่ก็ลูกชายตาย ใจแห้งผากคร่ำครวญเพียบแปร้ด้วยความเศร้าโศก

อย่างเหลือเกิน ต้องท่องเที่ยวไปยังคามนิคมราชธานีทั้งหลาย.

บทว่า สาชฺช ตัดบทเป็น สา อชฺช ความว่า เดี๋ยวนี้ ท่าน

แม่นั้น ก็กินลูกชายหมดทั้งร้อยคน. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า สชฺช ก็มี. บทว่า

เกน วณฺเณน แปลว่า เพราะเหตุไร.

ด้วยบทว่า ขาทิตานิ แม้พระเถรีก็กล่าวตามปริยายที่พราหมณ์

กล่าวแล้ว อีกอย่างหนึ่ง พระเถรีกล่าวอย่างนี้ว่า ขาทิตานิ ก็หมายถึงชาติ

ของสัตว์ร้าย มีเสือโคร่ง เสือเหลือง แมวป่า เป็นต้น. บทว่า อตีตเส

แปลว่า ส่วนที่เป็นอดีต ความว่า ในภพที่ล่วงแล้ว. บทว่า มม ตุยฺหญฺจ

แปลว่า อันเราและท่าน [กินกันมาแล้ว].

บทว่า นิสฺสรณ ตฺวา ความว่า แทงตลอดพระนิพพาน อัน

เป็นเครื่องแล่นออกไปแห่งชาติและมรณะด้วยมรรคญาณ. บทว่า น จาห

ปริตปฺปามิ ความว่า เราไม่เดือดร้อน ไม่ถึงความคับแค้นใจแล้ว.

บทว่า อพฺภูต วต แปลว่า น่าอัศจรรย์หนอ. จริงอยู่ ความ

อัศจรรย์นั้น เรียกว่า อัพภูตะ. บทว่า เอทิส แปลว่า เห็นปานนี้ คือ

วาจาที่แสดงความไม่มีความเศร้าโศกเป็นต้น อย่างนี้ว่า เราไม่เศร้าโศกไม่

ร้องไห้ และไม่เดือดร้อน เพราะเหตุที่ยังไม่ได้ธรรมเช่นนี้อย่างเดียว ฉะนั้น

ด้วยบทว่า กสฺส ตฺว ธมฺมมญฺาย พราหมณ์จึงถามถึงพระศาสดาและ

คำสั่งสอนว่า แม่ท่านรู้ทั่วถึงธรรมของพระศาสดา พระนามว่าอะไร จึงกล่าว

วาจาเช่นนี้.

บทว่า นิรูปธึ ได้แก่ ไม่มีทุกข์. บทว่า วิญฺาตสทฺธมฺมา

ได้แก่ แทงตลอดธรรมคืออริยสัจ. บทว่า พฺยปานุทึ ได้แก่ นำออก

คือละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 411

บทว่า วิปฺปมุตฺต ได้แก่ หลุดพ้นโดยประการทั้งปวง คือพราก

ออกจากกิเลสทุกอย่าง และจากภพทุกภพ. บทว่า สฺวสฺส ได้แก่ พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมโปรดพราหมณ์นั้น.

บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในเทศนาว่าด้วยสัจจะ ๔ นั้น.

บทว่า รถ นิยฺยาทยาหิม ความว่า จงมอบรถนี้แก่พราหมณี.

บทว่า สหสฺสญฺจาปิ ประกอบความว่า จงนำรถม้าและทรัพย์พันกหาปณะ

ที่เรานำไปด้วย เพื่อใช้สอยในระหว่างทางไปมอบแก่พราหมณี.

บทว่า อสฺสรถ ได้แก่ รถเทียมม้า.

บทว่า ปุณฺณปตฺต ได้แก่ รางวัลที่ให้ข่าวน่ายินดี.

เมื่อพราหมณีให้รางวัลที่ให้ข่าวน่ายินดีอย่างนี้ สารถีไม่ยอมรับรางวัล

นั้น กลับกล่าวคาถาว่า ตุเยฺหว โหตุ เป็นต้น ไปบวชในสำนักพระศาสดา

เหมือนกัน เมื่อสารถีบวชแล้ว พราหมณีจึงเรียกสุนทรีธิดาของตนมา เมื่อ

จะชักจูงประกอบไว้ในฆราวาสวิสัย จึงกล่าวคาถามีว่า หตฺถิ ควสฺส เป็นต้น

ในคาถานั้น บทว่า หตฺถิ ได้แก่ ช้าง. บทว่า ควสฺส ได้แก่ โคและม้า.

บทว่า มณิกุณฺฑลญฺจ ได้แก่ มณีและกุณฑล. บทว่า ผีตญฺจิม เคหวิคต

ปหาย ความว่า บิดาของลูกละสมบัติที่กล่าวแล้ว ต่างโดยช้างเป็นต้น และ

ที่ไม่ได้กล่าว ต่างโดยที่นา เงิน และทองเป็นต้น ความมั่งคั่ง สมบัติของ

เรือน เครื่องอุปกรณ์เรือนเป็นอันมาก และอย่างอื่นมีทาสและทาสีเป็นต้น ทุก

อย่างนี้ไปบวช. บทว่า ภุญฺช โภคานิ สุนฺทริ ความว่า ดูก่อนสุนทรี

ลูกจงบริโภคโภคะเหล่านี้. บทว่า ตุว ทายาทิกา กุเล ความว่า ด้วยลูก

สมควรเป็นทายาทรับมรดกในตระกูลนี้.

สุนทรีฟังคำมารดานั้นแล้ว เมื่อจะประกาศอัธยาศัยที่น้อมไปในเนก-

ขัมมะการออกบวชของตน จึงกล่าวคาถาว่า ทตฺถิควสฺส เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 412

ลำดับนั้น มารดาเมื่อจะชักจูงประกอบนางไว้ในเนกขัมมะนั่นแล

จึงกล่าวคาถาครึ่ง โดยนัยว่า โส เต อิชฺฌตุ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า ย ตฺว ปตฺเถสิ สุนฺทริ ความว่า ดูก่อนสุนทรี บัดนี้ ลูกปรารถนา

จำนงหวังอันใด ความดำริในการบรรพชา ความพอใจในการบรรพชานั้น

จงสำเร็จ คือสำเร็จโดยไม่มีอันตรายแก่ลูก. บทว่า อุตฺติฎฺปิณฺโฑ ได้แก่

ก้อนข้าวที่ภิกษุณีไปยืนทุก ๆ บ้านได้มา. บทว่า อุญฺโฉ ได้แก่ การเที่ยว

ไปตามลำดับบ้าน และยืนเจาะจงเพื่อก้อนข้าวนั้น. บทว่า. เอตานิ ได้แก่

กิจกรรมมีก้อนข้าวที่ไปยืนทุกบ้านได้มาเป็นต้น. บทว่า อภิสมฺโภนฺติ

ความว่า เป็นผู้ไม่เหนื่อยหน่าย อาศัยกำลังแข้งสำเร็จมา คือทำให้บริสุทธิ์.

ครั้งนั้น สุนทรีรับปากคำมารดาว่า ดีละแม่จ๋า ก็ออกไปยังสำนัก

ภิกษุณี บวชเป็นสิกขมานา ทำให้แจ้งวิชชา ๓ ตั้งใจว่าจักไปเฝ้าพระศาสดา

บอกอุปัชฌาย์แล้ว ก็ไปยังกรุงสาวัตถี พร้อมด้วยภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า สิกฺขมานาย เม อยฺเย เป็นต้น ในคำนั้น. บทว่า สิกฺขมา-

นาย เม ความว่า ข้าพเจ้าผู้เป็นสิกขมานา. พระสุนทรีเถรี เรียกอุปัชฌายะ

ของตนด้วยคำว่า อยฺเย.

บทว่า ตุว นิสฺสาย กลฺยาณิ เถริสงฺฆสฺส โสภเณ ประกอบ

ความว่า ข้าแต่แม่เจ้า ชื่อว่าเป็นสังฆเถรี เพราะเป็นผู้แก่กว่าในภิกษุณีสงฆ์

และเพราะประกอบด้วยคุณที่มั่นคง ชื่อว่าเป็นผู้งาม เป็นกัลยาณี เพราะ

ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้นอันงาม ข้าพเจ้าอาศัยแม่เจ้าผู้เป็นกัลยาณมิตร

คือแม่ท่าน ข้าพเจ้าจึงบรรลุวิชชา ๓ ทำคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จ.

บทว่า อิจฺเฉ แปลว่า ปรารถนา. บทว่า สาวตฺถึ คนฺตเว

แปลว่า เพื่อไปกรุงสาวัตถี. พระสุนทรีเถรีกล่าวว่า สีหนาท นทิสฺสามิ

หมายถึง การพยากรณ์พระอรหัตเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 413

ครั้งนั้น พระสุนทรีเถรีถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ เข้าไปยังพระวิหาร

เห็นพระศาสดาซึ่งประทับนั่งเหนือธรรมาสน์ ซาบซึ้งปีติและโสมนัสอันโอฬาร

เมื่อจะเรียกตัวเองเท่านั้น จึงกล่าวว่า ปสฺส สุนฺทริ เป็นต้น. บทว่า

เหมวณฺณ ได้แก่ มีพระวรรณดั่งทอง. บทว่า หริตฺตจ ได้แก่ มีพระ.

ฉวีเปล่งปลั่งดั่งทอง ก็ในคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า มีพระ

วรรณะดั่งทอง เพราะพระวรรณะเหลือง.

ครั้งนั้นแล พระสุนทรีเถรี กล่าวว่า เหมวณฺณ มีพระวรรณะดั่ง

ทอง แล้วกล่าวว่า หริตฺตจ มีพระฉวีดั่งทอง ก็เพื่อแสดงว่า พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า มีพระฉวีวรรณเปล่งปลั่งดั่งกระจกทองที่เขาขัดอย่างดีแล้ว บรรจงทา

ด้วย ชาติหิงคุลิกะ ก้อนชาติหิงคุ แล้วชักเงา.

บทว่า ปสฺส สุนฺทริมายนฺตึ ความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

โปรดทอดพระเนตร ดู ข้าพระองค์ผู้ชื่อว่าสุนทรีนั้น ซึ่งกำลังเดินมา พระ-

สุนทรีเถรี ขณะพยากรณ์พระอรหัตด้วยคำว่า วิปฺปมุตฺต ก็กล่าวด้วยความ

ซาบซ่านแห่งปีติ แต่เพื่อจะกลับความหวัง ความสงสัยของเหล่าคนที่รักใคร่

ว่า สุนทุรีมาแต่ไหน มาในที่ไหนและสุนทรีนี้เป็นเช่นไร จึงกล่าวคาถาว่า

พาราณสิโต เป็นต้น เพื่อจะทำเนื้อความที่กล่าวไว้ว่า สาวิกา จ ในคาถา

นั้น ให้ปรากฏชัด จึงกล่าวคาถาว่า ตุว พุทฺโธ เป็นอาทิ เนื้อความของ

คำนั้นมีว่า พระองค์เท่านั้น เป็นพระสัพพัญญูพุทธะ เป็นเอกในโลกพร้อมทั้ง

เทวโลกนี้ พระองค์เป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ เพราะทรงสั่งสอนตามสมควร

ด้วยประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภายหน้าและประโยชน์อย่างยิ่ง ข้าแต่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ผู้เป็นพราหมณ์ขีณาสพ ชื่อว่าโอรส เพราะเป็น

อภิชาติที่ทรงให้เกิดด้วยความพยายามในพระอุระของพระองค์ ชื่อว่าเกิดจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 414

พระโอษฐ์ เพราะเกิดด้วยเสียงธรรมที่ทรงให้เป็นไปจากพระโอษฐ์ และด้วย

อริยมรรคที่เป็นประธานของคำสั่งสอน ชื่อว่าทำกิจเสร็จแล้ว เพราะกรณียกิจ

มีสัจจะที่กำหนดรู้เป็นต้นเสร็จไปแล้ว ชื่อว่าหาอาสวะมิได้ ก็เพราะอาสวะทั้ง

หลายสิ้นไปโดยประการทั้งปวง.

ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อทรงชื่นชมการมาของพระสุนทรีเถรีนั้น

จึงตรัสคาถาว่า ตสฺสา เต สฺวาคต เป็นต้น เนื้อความของพระคาถานั้น

มีว่า ดูก่อนสุนทรีผู้เจริญ ท่านผู้ใดบรรลุธรรมที่เราตถาคตบรรลุแล้ว ตาม

เป็นจริง การมาของท่านผู้นั้นในสำนักเรานี้ เป็นการมาที่ดี เพราะข้อนั้นนั่น

แล การมานั้นจึงเป็นการมาที่ไม่เลว คือไม่ใช่การมาที่เลว เพราะเหตุไร

เพราะว่าคนทั้งหลายที่ฝึกแล้วอย่างนี้ ย่อมพากันมา ประกอบความว่า ดูก่อน

สุนทรี ด้วยว่า คนทั้งหลาย ชื่อว่าฝึกแล้ว เพราะฝึกด้วยอริยมรรคอันยอด

เยี่ยม ชื่อว่าปราศจากราคะในที่ทั้งปวง เพราะฝึกแล้วนั้นนั่นแล ชื่อว่าไม่

หอบทุกข์ ทำกิจเสร็จ ไม่มีอาสวะ เพราะตัดสังโยชน์ได้หมดสิ้น ย่อมพา

กันมาไหว้เท้าทั้งสองของพระศาสดา ก็เหมือนอย่างที่ท่านมานี่แหละ.

จบ อรรถกถาสุนทรีเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 415

๕. สุภากัมมารธิดาเถรีคาถา

[๔๗๑] พระสุภากัมมารธิดาเถรี ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

เพราะเหตุที่แต่ก่อน ข้าพเจ้ายังสาว นุ่งห่มผ้า

อันสะอาด ได้ฟังธรรม ข้าพเจ้านั้นไม่ประมาท ก็ได้

ตรัสรู้สัจธรรม ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ยินดีอย่างยิ่งใน

กามทั้งปวง เห็นภัยในสักกายะ [ปัญจขันธ์]

กระหยิ่มเฉพาะ เนกขัมมะ [การบวช] เท่านั้น.

ข้าพเจ้าละหมู่ญาติ ทาสและกรรมกร บ้าน

และไร่นา ความมั่งคั่ง และรมณียะสิ่งที่น่ารื่นรมย์ ที่

เขาบันเทิงกันนักหนา.

ข้าพเจ้าละสมบัติไม่ใช่น้อย ออกบวชด้วย

ศรัทธาอย่างนี้ในพระสัทธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรง

ประกาศดีแล้ว.

ข้อที่ละทิ้งเงินทองเสียแล้ว กลับมายึดเงินทอง

นั้นอีก ไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้า

ปรารถนาแต่ความไม่กังวลห่วงใย ผู้ใดละทิ้งเงินทอง

แล้วกลับมายึดเงินทองนั้นไว้อีก ผู้นั้นจะโงหัวขึ้นมา

ได้อย่างไร ในระหว่างบัณฑิตทั้งหลายเงินและทองไม่มี

เพื่อสันติความสงบสำหรับผู้นั้น เงินทองนั้นก็ไม่สม-

ควรแก่สมณะ เงินทองนั้น ก็มิใช่อริยทรัพย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 416

อนึ่ง เงินทองนี้ ทำให้เกิดความโลภ ความ

มัวเมา ความลุ่มหลง ความติดดังเครื่องผูก มีภัย มี

ความคับแค้นมาก เงินทองนั้นไม่ตั้งอยู่ยั่งยืนเลย.

นรชนเป็นอันมาก ประมาทมีใจเศร้าหมองแล้ว

เพราะเงินทองเท่านี้ จึงต้องเป็นศัตรู วิวาทบาดหมาง

กันและกัน.

การถูกฆ่า การถูกจองจำ การต้องโทษมีตัดมือ

เป็นต้น ความเสื่อมเสีย ความเศร้าโศกพิไรรำพัน

ความพินาศเป็นอันมาก ของนรชนที่ตกอยู่ในกาม

ทั้งหลาย ก็มองเห็นกันอยู่.

ท่านทั้งหลายเป็นญาติก็เหมือนศัตรู เพราะเหตุ

ไรท่านทั้งหลายจึงชักจูงประกอบเรานั้นไว้ในกามทั้ง-

หลาย จงรู้กันเถิดว่าเราเห็นภัยในกามทั้งหลายจึงบวช.

อาสวะทั้งหลาย ไม่ใช่หมดสิ้นไปเพราะเงินทอง

ดอกนะ กามทั้งหลายเป็นอมิตร เป็นผู้ฆ่า เป็นศัตรู

เป็นดั่งลูกศรเสียบไว้.

ท่านทั้งหลายเป็นญาติ ก็เหมือนศัตรูเพราะเหตุไร

จึงชักจูงประกอบเรานั้นไว้ในกามทั้งหลาย จงรู้เถิดว่า

เราบวชศีรษะโล้นครองผ้าสังฆาฏิแล้ว.

ก่อนข้าวที่ต้องไปยืนที่เรือนทุก ๆ หลัง ได้มา

การเที่ยวขอเขา ผ้าบังสุกุลจีวร และบริขารที่อาศัย

ของนักบวชผู้ไม่มีเรือน นี่แลเป็นของเหมาะสำหรับ

เรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 417

กามทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของทิพย์และมนุษย์

เหล่าท่านผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ตายเสียแล้ว ท่านน้อม

ไปในสถานที่อันเกษม บรรลุสุขอันไม่หวั่นไหวแล้ว.

ข้าพเจ้าไม่ร่วมด้วยกามทั้งหลาย ซึ่งช่วยอะไร

ไม่ได้ กามทั้งหลาย เป็นอมิตร เป็นผู้ฆ่า นำทุกข์

มา เทียบเสมอด้วยกองไฟ.

สภาวะนั่นไม่บริสุทธิ์ มีภัย มีความคับแค้น

เป็นเสี้ยนหนาม และสภาวะนั้น เป็นความหมกมุ่น

เป็นความไม่สม่ำเสมอ อย่างใหญ่ เป็นเหตุลุ่มหลง

เป็นอุปสรรคที่น่าสะพรึงกลัว กามทั้งหลายเปรียบด้วย

หัวงูพิษ ที่เหล่าปุถุชนคนทั้งบอดทั้งเขลา เพลิดเพลิน

กันนักหนา.

ความจริง ชนเป็นอันมากในโลก ติดอยู่ใน

เครื่องข้องคือกาม ไม่รู้ความจริงกันเลย ไม่รู้จักที่สิ้น

สุดแห่งชาติและชรา มนุษย์เป็นอันมาก เดินทางที่ไป

ทุคติ มีกามเป็นเหตุ นำมาแต่โรคสำหรับตน.

กามทั้งหลาย ทำให้เกิดอมิตรอย่างนี้เป็นเครื่อง

แผดเผา เป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหยื่อของโลก ผูก

สัตว์ไว้ มีมรณะเป็นเครื่องพันธนาการ.

กามทั้งหลาย ทำให้คนบ้า ทำให้เพ้อ ทำให้จิต

ประมาทพลั้งเผลอ เพราะทำสัตว์ให้เศร้าหมอง พึง

เห็นเหมือนลอบที่มารรีบดักไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 418

กามทั้งหลาย มีโทษไม่สิ้นสุด มีทุกข์มาก มี

พิษมาก อร่อยน้อย ทำเป็นสนามรบ มีแต่ทำกุศล

กรรมให้เหือดแห้งลง.

ข้าพระองค์นั้น ละความย่อยยับ ซึ่งมีกามเป็น

เหตุเช่นนั้นแล้ว ยินดียิ่งนักในพระนิพพานทุกเมื่อ

จึงจักไม่กลับมาหาความย่อยยับนั้นอีก.

ข้าพเจ้าละสนามรบของกามทั้งหลายแล้ว จำนง

หวังแต่ความเยือกเย็น ยินดีในธรรมอันเป็นที่สิ้น

สังโยชน์ ไม่ประมาทอยู่.

ข้าพเจ้าเดินตามทางอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็น

ทางตรงไม่เศร้าโศก ไม่มีกิเลสดุจธุลี เป็นทางเกษม

ซึ่งเหล่าท่านผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่พากันข้ามมาแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จงดู

ธิดาช่างทอง ผู้สวยงามซึ่งตั้งอยู่ในธรรมผู้นี้เถิด นาง

เข้าถึงธรรมที่ไม่หวั่นไหว เข้าฌานอยู่ที่โคนไม้.

วันนี้เป็นวันที่ ๘ นางมีศรัทธาบวชแล้ว เป็นผู้

งามในพระสัทธรรม อันพระอุบลวรรณาช่วยแนะนำ

แล้ว ทรงวิชชา ๓ ละมฤตยูเสียแล้ว.

ภิกษุณีรูปนั้น เป็นไทแก่ตัว ไม่เป็นหนี้ อบรม

อินทรีย์แล้ว สลัดโยคะได้หมดแล้ว ทำกิจเสร็จแล้ว

ไม่มีอาสวะ.

ท้าวสักกะ เจ้าแห่งหมู่สัตว์ พร้อมหมู่เทพ

เสด็จเข้าไปหาพระสุภากัมมารธิดาเถรีรูปนั้น ด้วย

เทวฤทธิ์แล้ว ทรงนมัสการอยู่.

จบ สุภากัมมารธิดาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 419

๕. อรรถกถาสุภากัมมารธีตุเถรีคาถา

คาถาว่า ทหราห เป็นต้น เป็นคาถาของ พระสุภากัมมารธีตุ-

เถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ

สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้นๆ อบรมกุศลมล

สั่งสมสัมภารธรรมเครื่องปรุงแต่งวิโมกข์มาโดยลำดับ ท่องเที่ยวอยู่ในป่ายสุคติ

เท่านั้น เมื่อญาณแก่กล้า มาในพุทธุปบาทกาลนี้ก็บังเกิดเป็นธิดาของช่างทอง

คนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ เพราะความสวยงามแห่งรูปสมบัติ จึงได้ชื่อว่า สุภา นาง

รู้เดียงสามาโดยลำดับ เกิดความเลื่อมใสในพระศาสดา เมื่อพระศาสดาเสด็จเจ้า

ไปกรุงราชคฤห์ วันหนึ่งจึงเข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง

พระศาสดาทรงเห็นนางมีอินทรีย์แก่กล้าจึงทรงแสดงธรรมคือ อริยสัจ ๔ ที่พอ

เหมาะแก่อัธยาศัย ทันใดนั้นเอง นางก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลประดับด้วยนัยพัน-

นัย ต่อมา นางเห็นโทษในฆราวาสวิสัย ก็บวชในสำนักพระนางปชาบดี

โคตมี ตั้งอยู่ในศีลภิกษุณี ประกอบเนืองๆ ซึ่งภาวนา เพื่อมรรคชั้นสูง ๆ

พวกญาติพากันเข้าไปหานางทุกเวลา เชื้อเชิญแสดงทรัพย์จำนวนมาก และ

กองสมบัติประเล้าประโลมด้วยกามทั้งหลาย วันหนึ่งเมื่อพวกญาติเข้ามาหา

นางเมื่อจะประกาศโทษในฆราวาสวิสัยและกามทั้งหลาย จึงกล่าวธรรมด้วยคาถา

๒๔ คาถา มีว่า ทหราห เป็นต้น แล้วเสียสละทำให้ญาติเหล่านั้นหมดหวัง

เจริญวิปัสสนา ประกอบอินทรีย์ทั้งหลาย มักเขม้นภาวนายิ่งขึ้น ไม่ช้านัก

ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ก็แลครั้นบรรลุพระอรหัตแล้วจึง

ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

๑. บาลีเป็นสุภากัมมารธิดาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 420

เพราะเหตุที่แต่ก่อน ข้าพเจ้ายังสาว นุ่งห่มผ้า

อันสะอาด ได้ฟังธรรม ข้าพเจ้านั้นไม่ประมาท

ก็ได้ตรัสรู้สัจธรรม.

ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ยินดีอย่างยิ่งในกามทั้งปวง

เห็นภัยในสักกายะ [ปัญจขันธ์] กระหยิ่มเฉพาะ

เนกขัมมะ [การบวช] เท่านั้น.

ข้าพเจ้าละหมู่ญาติ ทาสและกรรมกร บ้าน

และไร่นา ความมั่งคั่ง และรมณียะสิ่งที่น่ารื่นรมย์ ที่

เขาบันเทิงกันนัก.

ข้าพเจ้าละสมบัติมิใช่น้อย ออกบวชด้วย

ศรัทธาอย่างนี้ ในพระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศ

ดีแล้ว.

ข้อที่ละทิ้งเงินทองเสียแล้วกลับมายึดเงินทองนั้น

ไว้อีก ไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้า

ปรารถนาแต่ความไม่กังวลห่วงใย ผู้ใดละทิ้งเงินทอง

แล้วกลับมายืดเงินทองนั้นไว้อีก ผู้นั้นจะโงหัวขึ้นได้

อย่างไร ในระหว่างบัณฑิตทั้งหลาย เงินและทองไม่มี

เพื่อสันติความสงบสำหรับผู้นั้น เงินทองนั้นก็ไม่สม-

ควรแก่สมณเงินทองนั้นก็มิใช่อริยทรัพย์.

อนึ่งเงินทองนี้ ทำให้เกิดความโลภ ความมัวเมา

ความลุ่มหลง ความติดดังเครื่องผูก มีภัย มีความ

คับแค้นมาก เงินทองนั้น ไม่ตั้งอยู่ยั่งยืนเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 421

นรชนเป็นอัน มาก ประมาทมีใจเศร้าหมองแล้ว

เพราะเงินทองเท่านี้ จึงต้องเป็นศัตรู ต้องวิวาทบาด-

หมางกันและกัน.

การถูกฆ่า การถูกจองจำ การต้องโทษมีตัดมือ

เป็นต้น ความเสื่อมเสีย ความเศร้าโศกพิไรรำพัน

ความพินาศเป็นอันมาก ของนรชนที่ตกอยู่ในกาม

ทั้งทลาย ก็มองเห็นกันอยู่.

ท่านทั้งหลาย เป็นญาติก็เหมือนศัตรู เพราะ

เหตุไร ท่านทั้งหลายจึงชักจูงประกอบเรานั้นไว้ในกาม

ทั้งหลาย จงรู้กันเถิดว่าเราเห็นภัยในกามทั้งหลายจึง

บวช.

อาสวะทั้งหลายไม่ใช่หมดสิ้นไป เพราะเงินทอง

ดอก กามทั้งหลายเป็นอมิตร ผู้ฆ่า เป็นศัตรู เป็น

ดังลูกศรเสียบไว้.

ท่านทั้งหลายเป็นญาติก็เหมือนศัตรู เพราะ

เหตุไร จึงชักจูงประกอบเรานั้นไว้ในกามทั้งหลาย

จงรู้เถิดว่าเราบวชศีรษะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิแล้ว.

ก้อนข้าวที่ต้องไปยืนที่เรือนทุก ๆ หลัง ได้มา

การเที่ยวขอเขา ผ้าบังสุกุลจีวรและบริขารที่อาศัยของ

นักบวช อยู่ไม่มีเรือนนี่แลเป็นของเหมาะสำหรับเรา.

กามทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของทิพย์และของมนุษย์

เหล่าท่านผู้แสวงคุณอันยิงใหญ่คายเสียแล้ว ท่านน้อม

ไปในสถานที่อันเกษม บรรลุสุขอันไม่หวั่นไหวแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 422

ข้าพเจ้าไม่ร่วมด้วยกามทั้งหลาย ซึ่งช่วยอะไร

ไม่ได้ กามทั้งหลายเป็นอมิตร ผู้ฆ่า นำทุกข์มา เสมอ

ด้วยกองไฟ.

สภาวะนั่น ไม่บริสุทธิ์ มีภัย มีความคับแค้น

เป็นเสี้ยนหนาม และสภาวะนั่นเป็นความหมกมุ่นเป็น

ความไม่สม่ำเสมอ ขนาดใหญ่ เป็นเหตุลุ่มหลง เป็น

อุปสรรคที่น่าสะพรึงกลัว กามทั้งหลายเปรียบด้วยหัว

งูพิษ ที่เหล่าปุถุชนคนบอด ทั้งเขลา เพลิดเพลินกัน

นัก.

ความจริง ชนเป็นอันมากในโลกติดอยู่ในเครื่อง

ข้องคือกาม ไม่รู้ความจริงกันเลย ไม่รู้จักที่สิ้นสุด

แห่งชาติและชรา มนุษย์เป็นอันมาก เดินทางที่ไป

ทุคติมีกามเป็นเหตุ นำมาแต่โรคสำหรับตน.

กามทั้งหลาย ทำให้เกิดอมิตรอย่างนี้ เป็นเครื่อง

แผดเผา เป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหยื่อของโลก ผูก

สัตว์ไว้ มีมรณะเป็นเครื่องพันธนาการ.

กามทั้งหลาย ทำให้คนบ้า ทำให้เพ้อ ทำให้

จิตประมาทพลั้งเผลอ เพราะทำสัตว์ให้เศร้าหมอง พึง

เห็นเหมือนลอบที่มารรีบดักไว้.

กามทั้งหลาย มีโทษไม่สิ้นสุด มีทุกข์มาก มี

พิษมาก อร่อยน้อย ทำเป็นสนานรบ มีแต่ทำกุศล-

ธรรมให้เหือดแห้งลง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 423

ข้าพเจ้านั้น ละความย่อยยับซึ่งมีกามเป็นเหตุ

เช่นนั้นแล้ว ยินดียิ่งนักในพระนิพพานทุกเมื่อ จึง

จักไม่กลับมาหาความย่อยยับนั้นอีก.

ข้าพเจ้าละสนามรบของกามทั้งหลายแล้ว จำนง

หวังแต่ความเยือกเย็น ยินดีในธรรมอันเป็นที่สิ้นสัง-

โยชน์ไม่ปรารถนาอยู่.

ข้าพเจ้าเดินตามทางอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็น

ทางตรง ไม่เศร้าโศก ไม่มีกิเลสดุจธุลี เป็นทางเกษม

ซึ่งเหล่าท่านผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่พากันข้ามมาแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จงดู

ธิดาช่างทองผู้สวยงาม ซึ่งตั้งอยู่ในธรรมผู้นี้เถิด นาง

เข้าถึงธรรมที่ไม่หวั่นไหว เข้าฌานอยู่ที่โคนไม้.

วันนี้เป็นวันที่ ๘ นางมีศรัทธาบวชแล้ว เป็นผู้

งามในพระสัทธรรม อันพระอุบลวรรณาช่วยแนะนำ

แล้ว ทรงวิชชา ๓ ละมฤตยูเสียแล้ว.

ภิกษุณีรูปนี้นั้น เป็นไทแก่ตัว ไม่เป็นหนี้

อบรมอินทรีย์แล้ว สลัดโยคะได้หมดแล้ว ทำกิจ

เสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ.

ท้าวสักกะ เจ้าแห่งหมู่สัตว์ พร้อมด้วยหมู่เทพ

เข้าไปหาพระสุภากัมมารธิดาเถรีรูปนั้น ด้วยเทวฤทธิ์

แล้ว ทรงนมัสการอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทหราย สุทฺธวสนา ย ปุเร ธมฺม-

มสฺสุณึ ความว่า เพราะเหตุที่ แต่ก่อน ข้าพเจ้าเป็นสาวรุ่น มีผ้าสะอาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 424

นุ่งห่มผ้าอันหมดจด ตบแต่งกายแล้วได้ฟังธรรมในสำนักพระศาสดา. บทว่า

ตสฺสา เม อปฺปมตฺตาย สจฺจาภิสมโย อหุ ความว่า และเพราะเหตุที่

ข้าพเจ้านั้น พิจารณาทบทวนธรรมดามที่ข้าพเจ้าฟังมาแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาท

คือมีสติตั้งมั่นแล้ว อธิษฐานศีล ประกอบเนือง ๆ ซึ่งภาวนา ตราบจนตรัสรู้

คือแทงทะลุปรุโปร่งซึ่งอริยสัจทั้ง ๔ โดยนัยว่า นี้ทุกข์ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า ตโตห สพฺพถาเมสุ ภุส อรติมชฺฌค ความว่า ฉะนั้น

คือเพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ถึงความยินดี คือความกระสันอย่างยิ่ง คือ

เหลือเกินในกามทั้งหลายแม้ทุกอย่าง คือทั้งของมนุษย์ทั้งของทิพย์ เพราะฟัง

ธรรมมาในสำนักพระศาสดาแล้ว และเพราะตรัสรู้อริยสัจแล้ว ข้าพเจ้าเห็น

ภัย คือความมีภัยจำเพาะหน้าในสักกายะ คือขันธปัญจกที่มีอุปาทาน ด้วย

จักษุคือญาณ จึงกระหยิ่มยิ้มย่องปรารถนาแต่เนกขัมมะ คือบรรพชา เพื่อ.

พระนิพพานอย่างเดียว.

บทว่า ทาสกมฺมกรานิ จ แปลว่า ทาสและกรรมกร คำนี้ท่าน

กล่าวเป็นลิงควิปลาส. บทว่า คามเขตฺตานิ ได้แก่ บ้านและไร่ปลูกบุพพัณ-

ชาติและอปรัณชาติ และพื้นที่เนื่องด้วยบ้าน. บทว่า ผีตานิ ได้แก่ ความ

มั่งคั่ง. บทว่า รมณีเย ได้แก่ สิ่งที่น่าฟูใจ. บทว่า ปโมทิเต ได้แก่ นี่

เขาบันเทิงใจแล้ว เชื่อมความว่า ละกองโภคสมบัติ. บทว่า สาปเตยฺย ได้

แก่ ทรัพย์ส่วนของตนเอง คือของหวงแหนสำหรับทำมณี ทำทอง ทำเงิน

เป็นต้น. บทว่า อนปฺปก ได้แก่ ใหญ่ ประกอบความว่า ละสมบัติอันใหญ่.

บทว่า เอว สทฺธาย นิกฺขมฺม ความว่า ข้าพเจ้าละเครือญาติใหญ่ และ

กองโภคสมบัติใหญ่ มีประการที่กล่าวไว้ โดยนัยว่า หิตฺวานห าติคณ

เป็นต้น เชื่อวัตถุที่ควรเชื่อคือ กรรม ผลของกรรม และพระรัตนตรัยด้วย

ศรัทธา ออกจากเรือนไปบวชในพระสัทธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 425

ประกาศดีแล้ว คือในอริยวินัย ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ด้วยดี

แล้ว

ก็แลข้อที่ข้าพเจ้าบวชอย่างนี้แล้วกลับมาหากามทั้งหลายที่ข้าพเจ้าละทิ้ง

เสียแล้ว ไม่สมควรแก่ข้าพเจ้าเลย. บทว่า อากิญฺจญฺ หิ ปตฺถเย ความว่า

เพราะว่า ข้าพเจ้าปรารถนาแต่ความไม่กังวล คือ ความไม่ต้องห่วงเท่านั้น

บทว่า โย ชาตรูปรชต เปตฺวา ปุนราคเม ความว่า บุคคลใด ละทิ้ง

เงินทอง หรือทรัพย์ไร ๆ อื่นแล้ว จะพึงกลับมายึดเอาทรัพย์นั้น บุคคลนั้น

จะพึงโงศีรษะได้อย่างไรในระหว่างบัณฑิตทั้งหลาย.

เพราะว่า เงินทอง ย่อมไม่มีเพื่อสันติความสงบ อธิบายว่า ไม่มี

เพื่อมรรคญาณ ไม่มีเพื่อพระนิพพาน สำหรับบุคคลแม้นั้น. บทว่า น เอต

สมณสารุปฺป ความว่า ทรัพย์สมบัตินั้น คือ ของหวงแหนมีเงินทองเป็น

ต้น หรือการหวงแหนเงินทองเป็นต้นนั้น ไม่สมควรแก่สมณะ. จริงอย่างนั้น

ท่านกล่าวไว้ว่า เงินทองไม่สมควรแก่เหล่าสมณะศากยบุตรดังนี้เป็นต้น. บทว่า

น เอต อริยธน ความว่า ของหวงแหนตามที่กล่าวแล้วนั้น ไม่ใช่ทรัพย์

ที่แม่สำเร็จด้วยอริยธรรม เหมือนอย่างอริยทรัพย์ มีศรัทธาเป็นต้น เพราะไม่

นำความเป็นพระอริยะมาให้ ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า โลภน เป็นต้น

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลภน ได้แก่ ที่ทำให้เกิดความโลภ.

บทว่า มทน ได้แก่ นำความมัวเมามาให้. บทว่า สโมหน ได้แก่ ทำ

ให้เกิดความลุ่มหลง. บทว่า รชพนฺธน ได้แก่ เครื่องผูกล่าม มีกิเลสดุจ

ละออง คือราคะเป็นต้น. ทรัพย์ที่ชื่อว่า สาสังกะ เพราะเป็นไปกับความน่า

รังเกียจ เพราะทรัพย์นี้เขาหวงแหนนำมาแต่ความน่ารังเกียจ อธิบายว่า นำ

มาแต่ความน่ารังเกียจ แต่ที่ใดที่หนึ่งแก่ผู้ที่หวงแหนทรัพย์. บทว่า พหุ

อายาส ได้แก่ ยุ่งยากมาก โดยต้องจัดแจงต้องรักษาเป็นต้น. บทว่า นตฺถิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 426

เจตฺถ ธุว ิติ ความว่า ความยั่งยืนและความมั่นคงในทรัพย์นั้น ไม่มีเลย

มีแต่หวั่นไหว ไม่มั่นคงเท่านั้น.

บทว่า เอตฺตาวตา ปมตฺตา จ สงฺกิลิฏมนา นรา ความว่า

นรชนทั้งหลาย ยินดีแล้ว คือเกิดความยินดีในทรัพย์นั้น ชื่อว่าประมาทแล้ว

เพราะอยู่ปราศจากสติในกุศลธรรม ๑๐ เป็นผู้มีใจเศร้าหมอง คือชื่อว่าเป็นผู้มี

จิตเศร้าหมองด้วยสังกิเลสมีโลภะเป็นต้น เพราะฉะนั้น บทว่า อญฺมญฺ-

มฺหิ พฺยารุทฺธา ปุถู กุพพฺนฺติ เมธค จึงมีความว่า สัตว์เป็นอันมาก

คือมารดากับบุตร ก็เป็นศัตรูกันและกัน อย่างนี้คือ โดยที่สุดมารดากับบุตร

บ้าง บุตรกับมารดาบ้าง ย่อมกระทำความบาดหมางทะเลาะกัน ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง มารดาวิวาท

กับบุตรบ้าง บุตรวิวาทกับมารดาบ้าง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเรื่อง

มีกามเป็นอธิกรณ์ ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น

บทว่า วโธ ได้แก่ ทำให้ตาย. บทว่า พนฺโธ ได้แก่ จองจำมี

จองจำด้วยโซ่เป็นต้น. บทว่า ปริเกฺลโส ได้แก่ ทำให้ร่างกายบกพร่องมี

ตัดมือเป็นต้น. บทว่า ชานิ ได้แก่ เสื่อมทรัพย์และเสื่อมบริวาร. บทว่า

โสกปริทฺทโว ได้แก่ เศร้าโศกและพิไรรำพัน. บทว่า อธิปนฺนาน ได้แก่

ถูกครอบงำ. บทว่า ทิสฺสเต พิยสน พหุ ได้แก่ ความย่อยยับความ

พินาศ เป็นอันมาก คือมากอย่าง ต่างโดยการฆ่าการจองจำเป็นต้นต้นตามที่กล่าว

มาแล้ว และความเสียใจความคับแค้นใจเป็นต้น และที่เป็นไปในปัจจุบันและ

เป็นไปในภายหน้า ในกามทั้งหลาย เห็นกันได้ทั้งนั้น.

บทว่า ต ม าตี อมิตฺตาว กึ โว กาเมสุ ยุญฺชถ ความว่า

ท่านทั้งหลาย ถึงเป็นเครือญาติกัน ก็เป็นเหมือนอมิตรที่ไม่ปรารถนาดี เพราะ

อะไร เพราะเหตุอะไร จึงชักจูงประกอบข้าพเจ้า ผู้ซึ่งเป็นเหมือนผู้คลายกำหนัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 427

ในกามทั้งหลายแล้วมาไว้ในกามทั้งหลาย. บทว่า ชานาถ ม ปพฺพชิต

กาเมสุ ภยทสฺสินึ ความว่า ท่านทั้งหลายจงตามรับรู้ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เห็น

ภัยในกามทั้งหลายจึงบวช. อธิบายว่า เหตุเพียงเท่านี้ ทำไมท่านทั้งหลายจึง

ไม่ยอมรับรู้.

บทว่า น หิรญฺสุวณฺเณน ปริกฺขียนฺติ อาสวา ความว่า

อาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้น ไม่หมดสิ้นไป ด้วยเงินด้วยทอง ที่แท้

กลับกำเริบ ด้วยเงินทองเหล่านั้นทีเดียว. ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าว

ว่า กามทั้งหลาย เป็นอมิตรผู้ฆ่า เป็นศัตรู เป็นดั่งลูกศรเสียบไว้ เนื้อความ

ของคำนั้น มีว่า ความจริง กามทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นอมิตร เพราะไม่มีไมตรี

เหตุนำมาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ชื่อว่าผู้ฆ่า เพราะเป็นเสมือน

เพชฌฆาตเงื้อดาบ เหตุเป็นต้นเหตุแห่งความตาย ชื่อว่าเป็นศัตรู เพราะเป็น

เสมือนศัตรูผู้ผูกเวร เหตุติดตามนำมาแต่ความพินาศ ชื่อว่าเป็นดังลูกศรเสียบ

ไว้ เพราะลูกศรทั้งหลายมีราคะเป็นต้นเสียบติดไว้.

บทว่า มุณฺฑ ได้แก่ โกนผม ชื่อว่าห่มสังฆาฏิเพราะเก็บเศษผ้า

ทั้งหลายในที่นั้น ๆ มาปะติดปะต่อ ทำจีวรห่ม. บทว่า อุตฺติฏฺปิณฺโฑ

ได้แก่ ก้อนข้าวที่ไปยืนใกล้เรือนทุกหลัง ที่เปิดประตูไว้ได้มา. บทว่า อุญฺโฉ

ได้แก่ การเที่ยวขอเขาเพื่อก้อนข้าวนั้น. บทว่า อนาคารูปนิสฺสโย ได้แก่

บริขารนักบวช อันเป็นที่อาศัย เพราะผู้บวชไม่มีเรือน จำต้องเข้าไปอาศัย

นักบวชทั้งหลาย อาศัยบริขารนั้นเป็นอยู่. บทว่า วนฺตา ได้แก่ ละทิ้งแล้ว.

บทว่า มเหสีหิ ได้แก่ ท่านผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.

บทว่า เขมฏฺาเน ได้แก่ ในพระนิพพาน อันเป็นที่ไม่มีอุปัทวะจากโยคะ

ทั้งหลายมีกามโยคะเป็นต้น. บทว่า เต ได้แก่ ท่านผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 428

อจล สุข ได้แก่ บรรลุสุขในพระนิพพาน อธิบายว่า เพราะเหตุที่ท่านผู้

แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงคายกามเสียแล้ว จึงทรงบรรลุ

นิพพานสุข ฉะนั้น ผู้ปรารถนานิพพานสุขนั้น จึงควรสละกามทั้งหลายเสีย.

บทว่า มาห กาเมหิ สงฺคจฺฉึ ความว่า ข้าพระองค์ไม่พึง

สมาคมกับกามทั้งหลายไม่ว่าในกาลไร ๆ ถ้าจะถามว่าเพราะเหตุไร พระเถรี

จึงกล่าวว่า เยสุ ตาณ น วิชฺชติ ความว่า บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

เยสุ ตาณ น วิชฺชติ ความว่า บรรดากามทั้งหลายเหล่าใด ที่ถูกตรวจ

สอบอยู่ แม้ในกามสักอย่างหนึ่ง ก็ช่วยต่อต้านความพินาศไม่ได้ กามทั้งหลาย

ชื่อว่า เสมอด้วยกองไฟ เพราะอรรถว่าเผาให้ร้อนขนานใหญ่ ชื่อว่า ทุกข์

เพราะอรรถว่า ทนได้ยาก.

ก็สภาวะที่ขึ้นชื่อว่ากาม ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์มีภัย เพราะนำมาแต่ความ

พินาศอย่างกว้างขวางที่ไม่รู้ ชื่อว่ามีความคับแค้น เพราะทำความคับแค้น

แห่งจิต ชื่อว่าเป็นเสี้ยนหนาม เพราะแทงเอาได้. บทว่า เคโธ สุวิสโม

เจโส ความว่า ชื่อว่าหมกมุ่น เพราะมีความหมกมุ่นเป็นเหตุ สภาวะนี้

แสนจะไม่สม่ำเสมอ คือความกังวลอย่างมาก ชื่อว่าใหญ่ เพราะอรรถว่าก้าว

ล่วงได้แสนยาก ชื่อว่าเป็นทางแห่งความลุ่มหลง เพราะเป็นเหตุถึงความสยบ.

บทว่า อุปสคฺโค ภีมรูโป ความว่า ชื่อว่า มีสภาวะน่าสะพรึงกลัว ดุจ

อุปสรรคมาแต่เทวดา ชื่อว่า ใหญ่ เพราะนำทุกข์มีความพินาศเป็นต้นมาให้

กามทั้งหลายชื่อว่า เปรียบด้วยหัวงูพิษ เพราะอรรถว่าเป็นภัยเฉพาะหน้า.

บทว่า กามสสคฺคสตฺตา ได้แก่ ผู้ติด ผู้ข้องด้วยเปือกตม กล่าวคือ

กาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 429

บทว่า ทุคฺคติมน มคฺค ได้แก่ ทางที่พาไปอบายมีนรกเป็นต้น.

บทว่า กามเหตุก ได้แก่ การบริโภคกามเป็นเหตุ. บทว่า พหุ ได้แก่มาก

อย่าง โดยประเภทแห่งกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า โรคมาวห ได้แก่

นำมาซึ่งทุกข์ ต่างโดยทุกข์ในปัจจุบันเป็นต้น ที่นับว่าโรค เพราะอรรถว่า

เสียดแทง.

บทว่า เอว ได้แก่ โดยประการที่กล่าวมาแล้วว่า อมิตฺตา วธกา

เป็นต้น. บทว่า อมิตฺตชนนา ได้แก่ ให้เกิดความเป็นอมิตร. บทว่า ตาปนา

ได้แก่ ให้เดือดร้อน อธิบายว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน. บทว่า

สงฺกิเลสิกา ได้แก่ นำมาซึ่งสังกิเลสความเศร้าหมอง. บทว่า โลกามิสา

ได้แก่ เป็นอามิส เหยื่อในโลก. บทว่า พนฺธนิยา ได้แก่พึงถูกผูกด้วยสังโยชน์

ซึ่งเป็นเครื่องผูก อธิบายว่า อันสังโยชน์ประกอบไว้. บทว่า มรณพนฺธนา

ได้แก่ มรณะผูกไว้ เพราะเหตุที่เป็นไปและเพราะมรณะ เหตุเป็นเครื่องหมาย

แห่งการบังเกิดในภพเป็นต้น.

บทว่า อุมฺมาทนา ได้แก่ กามทั้งหลายกระทำให้เป็นบ้าเพราะความ

เศร้าโศกโดยความพลัดพรากกัน เพราะกามมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

หรือนำความมัวเมายิ่งขึ้นโดยเพิ่มทวี. บทว่า อุลฺลปนา ได้แก่ การบ่นเพ้อ

สูงขึ้นๆ ว่า โอ ! สุขจริง โอ ! สุขจริง. บาลีว่า อุลฺโลลนา ก็มี ความว่า

พร่ำเพ้อรำพันถึงสัตว์ทั้งหลาย เพราะอามิสเป็นเหตุ เหมือนสุนัขกระดิกหาง

เพราะก้อนข้าว คือทำให้ไม่รู้สึกถึงความเสื่อม. บทว่า จิตฺตปฺปมาทิโน

ได้แก่ มีปกติย่ำยีจิต ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในอนาคต โดยการก่อความเร่าร้อน

เป็นต้น บาลีว่า จิตฺตปฺปนทฺทิโน ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. ส่วน

อาจารย์พวกใดกล่าวว่า จิตฺตปฺปมาทิโน เนื้อความของอาจารย์พวกนั้นก็ว่า

นำมาซึ่งความประมาทแห่งจิต. บทว่า สงฺกิเลสาย ได้แก่ เพื่อความพินาศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 430

เพื่อความเบียดเบียน หรือเพื่อให้เดือดร้อน. บทว่า ขิปฺป มาเรน โอฑฺฑิต

ความว่า ขึ้นชื่อว่า กามเหล่านี้ บัณฑิตพึงเห็นว่าเหมือนลอบที่มารดักไว้

เพราะนำมาแต่ความพินาศแก่สัตว์ทั้งหลาย.

บทว่า อนนฺตาทีนวา ได้แก่ มีอาทีนพโทษไม่มีที่สิ้นสุด คือมีโทษ

มาก โดยนัยที่กล่าวไว้ในที่นี้ว่า โลภน มทนญฺเจต เงินทองนั้นทำให้เกิด

ความโลภ ความมัวเมา ดังนี้เป็นต้น และในสูตรทั้งหลายมีทุกขักขันธสูตร

เป็นต้นว่า ความหนาวเป็นเบื้องหน้า ความร้อนเป็นเบื้องหน้า ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า พหุทุกฺขา ได้แก่ ติดตามทุกข์หลายอย่าง มีทุกข์ในอบายเป็นต้น.

บทว่า มหาวิสา ได้แก่ เสมือนมหาพิษที่ร้ายกาจเป็นต้นเพราะมีผลเผ็ดร้อน.

บทว่า อปฺปสฺสาทา ได้แก่ อร่อยน้อย เหมือนหยาดน้ำผึ้งที่ไหลตามคมมีด.

บทว่า รณฺการา ได้แก่ ทำความกำหนัดนักเป็นต้นให้เพิ่มทวี. บทว่า

สุกฺกปกฺขวิโสสนา ได้แก่ ทำความพินาศแก่ส่วนแห่งธรรมฝ่ายไม่มีโทษ

ให้สัตว์ทั้งหลาย.

บทว่า สาห ตัดบทเป็น สา อห ความว่า ข้าพเจ้านั้นฟังธรรม

ในสำนักพระศาสดา โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วแต่หนหลัง ได้ศรัทธาแล้ว ละ

สมบัติออกบวช. บทว่า เอตาทิส ได้แก่ เห็นปานนั้น คือมีประการดังกล่าว

มาแล้ว. บทว่า หิตฺวา ได้แก่ ละสมบัตินั้น อธิบายว่า เพราะเหตุตามที่กล่าว

มาแล้ว. บทว่า น ต ปจฺจาคมิสฺสามิ ความว่า ข้าพเจ้าจักไม่กลับมา

บริโภคสมบัตินั้น คือกามทั้งหลายที่ข้าพเจ้าคายมาก่อนแล้วอีก. บทว่า นิพฺ-

พานาภิรตา สทา ประกอบความว่า เพราะเหตุที่ข้าพเจ้ายินดียิ่งแล้วใน

พระนิพพานมาตลอดกาล นับตั้งแต่เวลาที่บวชแล้ว ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 431

กลับมาหาสมบัติกามนั้นอีก. บทว่า รณ ตริตฺวา กามาน ความว่า ข้าม

สนามรบของกามทั้งหลาย และทำสนามรบนั้น ให้เป็นอันประหารด้วยพระ-

อริยมรรค อันเป็นกิจที่ข้าพเจ้าพึงทำ. บทว่า สีติภาวาภิกงฺขินี ได้แก่

จำนงหวังพระอรหัต ที่นับว่าเป็นภาวะเยือกเย็น เพราะระงับความกระวน

กระวายและความเร่าร้อนของกิเลสได้หมด. บทว่า รตา สโยชนกฺขเย

ได้แก่ ยินดียิ่งนักในพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทุกอย่าง.

บทว่า เยน ติณฺณา มเหสิโน ความว่า เหล่าท่านผู้แสวงคุณอัน

ยิ่งใหญ่มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น พากันข้ามโอฆะใหญ่คือสังสารวัฏด้วยอริยมรรค

ใด แม้ข้าพเจ้าก็จะเดินตามมรรคที่ท่านเดินไปแล้วนั้น บรรลุตามด้วยการปฏิบัติ

ศีลเป็นต้น.

บทว่า ธมฺมฏฺ ได้แก่ตั้งอยู่ในธรรมคืออริยผล. บทว่า อเนช

ได้แก่ ผลอันเลิศ ที่ได้ชื่อว่า อเนชะ เพราะระงับความหวั่นไหวได้แล้ว. บทว่า

อุปสมฺปชฺช ได้แก่ สำเร็จผลแล้ว คือบรรลุด้วยการบรรลุอรหัตมรรค. บทว่า

ฌายติ ได้แก่ เข้าไปเพ่งผลฌานนั้นนั่นแล.

บทว่า อชฺชฏฺมี ปพฺพชิตา ความว่า นางเป็นผู้บวชแล้ว คือ

นับตั้งแต่วันที่นางบวชแล้ว วันนี้ก็นับเป็นวันที่ ๘. อธิบายว่า นางบวชแล้วได้

๘ ราตรี นับตั้งแต่วันที่ล่วงมาแล้วนี้. บทว่า สทฺธา ได้แก่ถึงพร้อมด้วย

ศรัทธา. บทว่า สทฺธมฺมโสภณา ได้แก่ งามเพราะบรรลุพระสัทธรรม.

บทว่า ภุชิสฺสา ได้แก่ ชื่อว่าเป็นไทแก่ตัว เพราะละกิเลสทั้งหลาย

ที่เป็นเสมือนความเป็นทาส ชื่อว่าไม่มีหนี้ เพราะปราศจากหนี้มีกามฉันทะ

เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 432

เล่ากันว่า พระเถรีบวชแล้วในวันที่ ๘ ก็บรรลุพระอรหัต นั่งเข้าผล

สมาบัติที่โคนไม้ต้นหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย

แล้วทรงสรรเสริญ จึงตรัสพระคาถา ๓ พระคาถาเหล่านี้.

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพทรงเห็นเรื่องนั้นด้วยจักษุทิพย์แล้ว

ทรงดำริว่า เพราะเหตุที่พระเถรีรูปนี้ พระศาสดาทรงสรรเสริญอย่างนี้ ฉะนั้น

จำเราและทวยเทพควรเข้าไปหา ดังนี้แล้ว ทันใดนั้นเอง ก็เสด็จเข้าไปหา

พร้อมด้วยทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ทรงอภิวาทแล้ว ประคองอัญชลีประทับยืนอยู่.

หมายเอาเรื่องนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

ท้าวสักกะเจ้าแห่งหมู่สัตว์ พร้อมด้วย หมู่เทพ

เสด็จเข้าไปหาพระเถรี ธิดาช่างทองผู้สวยงามรูปนั้น

ด้วยเทวฤทธิ์ทรงนมัสการอยู่ ดังนี้.

ในคาถานั้น ความว่า ท้าวสักกะเทวราชทรงได้พระนามว่า ภูตปติ

เพราะวิเคราะห์ว่า ทรงเป็นเจ้าเป็นใหญ่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดในกามภพทั้ง ๓

เสด็จเข้าไปหาพระสุภากัมมารธีตุเถรีรูปนั้น พร้อมกับหมู่เทพด้วยฤทธิ์ของพระ-

องค์ ทรงนมัสการ คือทรงไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์.

จบ อรรถกถาสุภากัมมารธีตุเถรีคาถา

จบ อรรถกถาวีสตินิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 433

เถรีคาถา ติงสนิบาต

สุภาชีวกัมพวนิกาเถรีคาถา

[๔๗๒] พระสุภาชีวกัมพวนิกาเถรี ได้กล่าวคาถาที่ตนกับชาย

นักเลงหญิงกล่าวโต้ตอบกันเป็นอุทานคาถาว่า

พระสุภาเถรีได้เปล่งคาถาเหล่านั้นว่า

ชายนักเลงหญิงยืนกั้นขวางพระสุภาภิกษุ ซึ่ง

กำลังเดินไปชีวกัมพวันวิหาร ที่น่ารื่นรมย์ พระสุภา

ภิกษุณีได้พูดกะชายผู้นั้นว่า

ท่านบุตรช่างทอง ข้าพเจ้าทำผิดอะไรต่อท่าน

จึงมายืนกั้นขวางข้าพเจ้าไว้ ดูก่อนอาวุโส ชายไม่

ควรถูกต้องหญิงนักบวช.

เหตุไร ท่านจึงยืนกั้นข้าพเจ้า ผู้มีบทอันบริสุทธิ์

ด้วยสิกขาที่พระสุคตทรงแสดงไว้ในสัตถุศาสนาของ

ข้าพเจ้าที่ควรเคารพ ผู้ไม่มีกิเลสดังเนิน เหตุไร ท่าน

ผู้มีจิตขุ่นมัว จึงยืนกั้นเราผู้ไม่มีจิตขุ่นมัว เหตุไร ท่าน

ผู้มีจักมีราคะ จึงยืนกั้นเราผู้ปราศจากราคะ ผู้ไม่มี

กิเลสดังเนิน ผู้ใจหลุดพ้นแล้ว ในขันธ์ทั้งปวง.

ชายนักเลงหญิงกล่าวว่า

แม่นางยังสาว สวยไม่ทรามเลย บรรพชาจักทำ

อะไรแก่แม่นางได้ โปรดทิ้งผ้ากาสยะเสีย มาสิ เรา

มาร่วมอภิรมย์กัน ในป่าที่มีดอกไม้บานงามเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 434

ต้นไม้ทั้งหลาย เกิดขึ้นด้วยเกสรดอกไม้โชยกลิ่น

หอมตลบไปทั่วป่า ฤดูต้นวสันต์น่าสบาย เรามา

ร่วมอภิรมย์กัน ในป่าที่มีดอกไม้บานงามเถิด.

ต้นไม้ทั้งหลาย ยอดออกดอกบานแล้ว ต้องลม

ไหวระริก ดังจะมีเสียงครวญ แม่นางจักมีความยินดี

อะไร ผิว่า แม่นางจักเข้าป่าเพียงผู้เดียว.

ป่าใหญ่ หมู่สัตว์ร้ายอาศัยอยู่ คลาคล่ำด้วยช้าง

พลายตกมันและช้างพัง ไม่มีผู้คน น่าสะพรึงกลัว แม่

นางไม่มีเพื่อน ยังปรารถนาจะเข้าไปหรือ.

แม่นางผู้งามไม่มีใครเปรียบเอย แม่นางท่องเที่ยว

ไป เหมือนตุ๊กตา ที่ช่างสร้างด้วยทอง แม่นางตามใจ

ข้า ก็จะงดงามด้วยผ้าสวย ที่เนื้อเกลี้ยงเกลาละเอียด

ของแคว้นกาสี ดังเทพนารีในสวนจิตรลดา เชียวละ.

แม่นางผู้มีดวงตาโศกดังกินนรีเอย ข้าจะยอมอยู่

ใต้อำนาจแม่นาง ถ้าเราจะอยู่ร่วมกันในกลางป่า เพราะ

สัตว์ที่น่ารักกว่าแม่นางของข้าไม่มีเลย.

ถ้าแม่นางเชื่อข้า ก็จะมีความสุข มาสิ มาครอง

เรือนกัน แม่นางจะอยู่บนปราสาทที่ปราศจากลมพาน

หญิงทั้งหลายจะคอยปรนนิบัติแม่นาง แม่นางจะนุ่งห่ม

ผ้าเนื้อละเอียดของแคว้นกาสี สวมมาลัยลูบไล้ประ-

เทืองผิว ข้าจะทำอาภรณ์เครื่องประดับต่าง ๆ มากชนิด

ที่เป็นทอง แก้วมณีและมุกดา แก่แม่นาง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 435

เชิญขึ้นที่นอนไหมมีค่ามาก สวยงาม ปูด้วยผ้า

โกเชาว์ยาว อ่อนนุ่มดังสำลี คลุมด้วยผ้าที่ซักธุลี

สะลาดแล้ว ตกแต่งด้วยจันทนแก่นหอม.

ดอกอุบลโผล่พ้นน้ำ มิมีมนุษย์เชยชมแล้ว ฉัน

ใด แม่นางก็เป็นพรหมจาร ฉันนั้น เมื่อส่วนแห่ง

เรือนร่างของแม่นาง ยังไม่มีใครเชยชม ก็จะชราร่วง

โรยไปเสียเปล่า ๆ.

พระสุภาเถรีถามว่า

ในร่างที่มีอันจะต้องแตกสลายเป็นธรรมดา ซึ่ง

เต็มด้วยซากศพ รังแต่จะรกป่าช้านี้ อะไรที่ท่านเข้าใจ

ว่าเป็นสาระ เพราะเห็นสิ่งใด จึงเกิดติดใจขึ้นมา

ขอท่านโปรดบอกสิ่งนั้นมาสิ.

ชายนักเลงหญิงตอบว่า

เพราะเห็นดวงตาของแม่นาง ประดุจดวงตาของ

ลูกเนื้อทราย ประดุจดวงตาของกินนรีในระหว่างเขา

ฤดีรักของข้าก็ยังกำเริบ.

เพราะเห็นดวงตา อุปมาดังยอดดอกอุบลและ

ดวงหน้าพิมลดังรูปทองของแม่นาง ความใคร่ความ

ปรารถนาของข้าก็ยิ่งกำเริบ.

แม่นางผู้มีดวงตาโศกดังกินนรีเอย แม่ข้าจะไป

ไกลแสนไกล ก็จะยังคงรำลุกถึงดวงตาอันบริสุทธิ์ ที่

มีขนตายาวงอน เพราะว่า อะไร ๆ ที่น่ารักกว่าดวงตา

ของแม่นาง สำหรับข้า ไม่มีเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 436

พระสุภาเถรีกล่าวว่า

ท่านมาต้องการข้าพเจ้าผู้เป็นบุตรของพระพุทธเจ้า

ก็ชื่อว่า ท่านปรารถนาจะไปเดินตามทางที่มิใช่ทาง

ชื่อว่า แสวงหาดวงจันทร์เอามาเป็นของเล่น ชื่อว่า

ต้องการจะกระโดดขึ้นเขาพระสิเนรุ.

เพราะว่าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก บัดนี้ ข้าพเจ้า

ไม่มีอารมณ์ ที่มีราคะความกำหนัดเลย ข้าพเจ้า

ไม่รู้ดอกว่า ราคะนั้นเป็นเช่นไร เพราะราคะนั้น

ข้าพเจ้ากำจัดเสียแล้ว พร้อมทั้งราก ด้วยอริยมรรค.

ราคะนั้น ข้าพเจ้ายกออกแล้ว เหมือนเอาเชื้อ-

ไฟออกจากหลุมถ่านไฟ เหมือนเอาภาชนะใส่ยาพิษ

ออกจากไฟ ข้าพเจ้าไม่รู้ดอกว่า ราคะนั้น เป็นเช่นไร

เพราะราคะนั้น ข้าพเจ้ากำจัดเสียแล้ว พร้อมทั้งราก

ด้วยอริยมรรค.

หญิงผู้ใด ไม่พิจารณาปัญจขันธ์ หรือไม่เข้าเฝ้า

พระศาสดา ขอท่านโปรดประเล้าประโลมหญิงเช่นนั้น

เถิด ท่านนั้นจะต้องเดือดร้อน เพราะสุภาภิกษุณี ซึ่ง

รู้ตามความจริงผู้นี้.

เพราะว่า สติของข้าพเจ้ามั่นคงไม่ว่าในการด่า

และการไหว้ และในสุขและทุกข์ เพราะรู้ว่าสังขต-

สังขารที่ปัจจัยปรุงแต่งเป็นอสุภะไม่งาม ใจข้าพเจ้าจึง

ไม่ติดอยู่ในอารมณ์ทั้งปวงเลยทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 437

ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวิกาของพระสุคต ดำเนินไป

ด้วยยาน คือมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ถอนกิเลส

ดุจลูกศรเสียแล้ว ไม่มีอาสวะ ยินดีอยู่แต่ในเรือนว่าง.

รูปเขียน ที่ช่างบรรจงเขียนไว้สวยงาม หรือรูป

ไม้ รูปใบลาน ที่เขาผูกด้วยด้าย และติดไว้ด้วยตะปู

ทำท่ารำต่าง ๆ ข้าพเจ้าเห็นมาแล้วเมื่อรูปนั้นถูกรื้อออก

ปลดด้ายและตะปูออก ก็บกพร่อง [ไม่เป็นรูป] กระจัด

กระจายออกเป็นชิ้น ๆ ก็ไม่พึงได้สภาพที่ชื่อว่ารูป

บุคคลจะพึงตั้งใจไว้ในรูปนั้นไปทำไม.

ร่างกายนี้ ก็เปรียบด้วยรูปนั้น เว้นจากธรรม

เหล่านั้นเสีย ก็เป็นไปไม่ได้ แม้ร่างกาย เว้นจาก

ธรรมทั้งหลายเสียก็เป็นไปไม่ได้ บุคคลจะพึงตั้งใจไว้

ในรูปนั้นไปทำไม.

บุคคลพึงดูรูปจิตรกรรม ที่จิตรกรระบายด้วย

หรดาล ทำไว้ที่ฝาผนัง ในจิตรกรรมนั้น ท่านก็ยัง

เห็นวิปริต สัญญาความสำคัญว่ามนุษย์ ไร้ประโยชน์

จริง ๆ.

ดูก่อนคนตาบอด ท่านยังจะเข้าไปใกล้ร่างที่ว่าง

เปล่า เหมือนพะยับแดดที่ปรากฏต่อหน้า โดยอาการ

ลวง เหมือนต้นไม้ทองในความฝัน เหมือนรูปของ

มายากล ที่นักเล่นกลแสดงกลางฝูงชนว่าเป็นของจริง.

ฟองที่อยู่กลางดวงตา มีน้ำตา มีมูลตา เกิดที่

ดวงตานั้น ส่วนของดวงตาต่าง ๆ ก็มารวมกัน เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 438

ก้อนครั่ง ที่วางอยู่ในโพรงไม้ พระสุภาเถรี ผู้มี

ดวงตางาม มีใจไม่ข้องไม่ติดในดวงตานั้น ก็ควัก

ดวงตาออกจากเข้าตา ส่งมอบให้ชายนักเลงหญิงผู้นั้น

ทันที พร้อมกับกล่าวว่า เชิญนำดวงตานั้นไปเถิด

ข้าพเจ้าให้ท่าน.

ในทันใดนั้นเอง ความร่านรักในดวงตานั้น ของ

ชายนักเลงหญิงนั้น ก็หายไป เขาขอขมาพระเถรี

ด้วยคำว่า

ข้าแต่แม่นางผู้เป็นพรหมจารี ขอความสวัสดี

พึงมีแก่แม่นางเถิด ความประพฤติอนาจารเช่นนี้ จัก

ไม่มีต่อไปอีกละ.

พระสุภาเถรีกล่าวว่า

ท่านกระทบกระทั่งชนเช่นข้าพเจ้า ก็เหมือนกอด

กองไฟที่ลุกโชน เหมือนจับงูพิษร้าย ความสวัสดีก็

คงมีแก่ท่านบ้างดอก ข้าพเจ้ารับขมาท่าน.

พระสุภาภิกษุณีนั้น พ้นจากชายนักเลยหญิงนั้น

แล้ว ไปสำนักพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พอเห็นพระ

บุณยลักษณ์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ จักษุก็กลับ

เป็นปกติเหมือนอย่างเดิม.

จบ สุภาชีวกัมพวนิกาเถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 439

เถรีคาถา ติงสนิบาต

อรรถกถาสุภาชีวกัมพวนิกาเถรีคาถา

ในติงสนิบาต คาถาว่า ชีวกมฺพวน รมฺม เป็นต้น เป็นคาถา

ของพระสุภาชีวกัมพวนิกาเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระเถรีแม้รูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ

สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน มาในภพนั้น ๆ อบรมกุศลมลเพิ่ม

พูนสัมภารธรรมเครื่องปรุงแต่งวิโมกข์มาโดยลำดับ มีญาณแก่กล้า มาใน

พุทธุปบาทกาลนี้ ก็บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในกรุงราชคฤห์

มีนามว่าสุภา.

เล่ากันมาว่า นางมีส่วนแห่งเรือนร่างประกอบด้วยผิวพรรณดั่งทอง

เพราะฉะนั้น นางจึงมีนามคล้อยตามไป ด้วยว่า สุภา แปลว่า งาม ขณะ

พระศาสดาเสด็จเข้าไปกรุงราชคฤห์ นางก็ได้ศรัทธาเป็นอุบาสิกา ต่อมา เกิด

ความสังเวชในสังสารวัฏ เห็นโทษในกามทั้งหลาย และกำหนดเอาเนกขัมมะ

การบวชเป็นทางเกษม บวชในสำนักพระนางปชาบดีโคตมี บำเพ็ญวิปัสสนา

๒-๓ วันเท่านั้น ก็ดำรงอยู่ในพระอนาคามิผล.

ต่อมา วันหนึ่ง ชายนักเลงหญิงคนหนึ่ง เป็นชาวกรุงราชคฤห์

เป็นหนุ่มแรกรุ่น เห็นพระเถรีกำลังเดินไปเพื่อพักกลางวันที่ชีวกัมพวันวิหาร

เกิดจิตปฏิพัทธ์ขึ้นมา ก็ยืนกั้นขวางทางไว้ กล่าวเชิญชวนด้วยกามารมณ์

พระเถรีเมื่อจะประกาศโทษของกามทั้งหลาย และอัธยาศัยในเนกขัมมะการบวช

ของตนด้วยประการต่าง ๆ จึงกล่าวธรรมแก่ชายผู้นั้น ชายผู้นั้นแม้ฟังธรรม-

กถาแล้วก็ไม่ยอมถอย ยังติดตามอยู่นั่นแหละ พระเถรีเห็นเขาไม่อยู่ในถ้อยคำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 440

ของตน และยังชื่นชอบที่ลูกตา ก็กล่าวว่า เอาเถิด ท่านคงชอบลูกตา แล้ว

ก็ควักลูกตาข้างหนึ่งของตนมอบให้เขา. ลำดับนั้น ชายผู้นั้น ก็สะดุ้งเกิดสลด

ใจ สิ้นร่านรักในพระเถรีนั้น ขอขมาพระเถรีแล้วก็หลีกไป. พระเถรีก็ไป

สำนักพระศาสดา พร้อมกับที่พบพระศาสดานั้นแหละ ตาของพระเถรีก็กลับ

เป็นปกติดังเดิม. ลำดับนั้น พระเถรียืนอยู่ ถูกปีติที่ดำเนินไปในพระพุทธคุณ

สัมผัสไม่ขาดสาย พระศาสดาทรงทราบอาจาระทางจิตของพระเถรี ทรง

แสดงธรรม ตรัสบอกกรรมฐานเพื่ออรหัตมรรค พระเถรีข่มปีติได้แล้ว

ทันใดนั้นเอง เจริญวิปัสสนา ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔.

ครั้น บรรลุพระอรหัตแล้ว อยู่ด้วยผลสุขและนิพพานสุข พิจารณาทบทวนข้อ

ปฏิบัติของตน ก็กล่าวคาถาที่ตนกับชายนักเลงหญิงนั้นกล่าวแล้ว เป็นอุทาน

พระสุภาเถรีได้เปล่งคาถาเหล่านี้ว่า

ชายนักเลงหญิงกั้นขวางพระสุภาภิกษุ ซึ่งกำลัง

เดินไปชีวกัมพวันวิหารที่น่ารื่นรมย์ พระสุภาภิกษุณีได้

พูดกะชายผู้นั้นว่า

ท่านบุตรช่างทอง ข้าพเจ้าทำผิดอะไรต่อท่าน

ท่านจึงมายืนกั้นขวางข้าพเจ้าไว้ ชายไม่ควรถูกต้อง

หญิงนักบวช.

เหตุไร ท่านจึงยืนกั้นข้าพเจ้า ผู้มีบทอันบริสุทธิ์

ด้วยสิกขาที่พระสุคตทรงแสดงไว้ในสัตถุศาสนาของ

ข้าพเจ้าที่ควรเคารพ ผู้ไม่มีกิเลสดังเนิน เหตุไร ท่าน

ผู้มีจิตขุ่นมัว จึงยืนกั้นข้าพเจ้าผู้ไม่มีจิตขุ่นมัว ท่านผู้มี

จิตมีราคะ จึงยืนกั้นข้าพเจ้าผู้ปราศจากราคะ ผู้ไม่มี

กิเลสดังเนิน ผู้มีใจหลุดพ้นแล้วในขันธ์ทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 441

ชายนักเลงหญิงกล่าวว่า

แม่นางยังสาวสวยไม่ทรามเลย บรรพชาจักทำ

อะไรแก่แม่นางได้ โปรดทิ้งผ้ากาสายะเสีย มาสิ เรา

มาร่วมอภิรมย์กันในป่าที่มีดอกไม้บานงามเถิด.

ต้นไม้ทั้งหลาย เกิดขึ้นด้วยเกสรดวกไม้ โชย

กลิ่นหอมไปทั่วป่า ฤดูต้นวสันต์น่าสบาย มาสิ เรา

มาร่วมอภิรมย์กันในป่าที่มีดอกไม้บานงามเถิด.

ต้นไม้ทั้งหลาย ยอดออกดอกบานแล้ว ต้องลม

ไหว ระริก ดังจะมีเสียงครวญ แม่นางจักมีความ

ยินดีอะไรกัน ผิว่า แม่นางจักเข้าป่าเพียงผู้เดียว.

ป่าใหญ่ หมู่สัตว์ร้ายอาศัยอยู่ คลาคล่ำด้วย

ช้างพลายตกมันและช้างพัง ไม่มีผู้คน น่าสะพรึงกลัว

แม่นางไม่มีเพื่อน ยังปรารถนาจะเข้าไปหรือ.

แม่นางผู้งามไม่มีใครเปรียบเอย แม่นางท่อง-

เที่ยวไปเหมือนตุ๊กตา ที่ช่างสร้างด้วยทอง แม่นาง

ตามใจข้า ก็จะงดงามด้วยผ้าสวย ที่เนื้อเกลี้ยงเกลา

ละเอียดของแคว้นกาสี ดังเทพนารีในสวนจิตรลดา

[สวรรค์ดาวดึงส์] เชียวละ

แม่นางผู้มีดวงตาโศกดังกินนรีเอย ข้าจะยอมอยู่

ใต้อำนาจแม่นาง ถ้าเราจะอยู่ร่วมกันในกลางป่า

เพราะสัตว์ที่น่ารักกว่าแม่นางของข้าไม่มีเลย.

ถ้าแน่นางเชื่อข้า แม่นางก็จะมีความสุข มาสิ

มาครองเรือนกัน แม่นางจะอยู่บนปราสาทที่ปราศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 442

จากลมพาน หญิงทั้งทลายจะคอยปรนนิบัติแม่นาง

แม่นางจะนุ่งห่มผ้าเนื้อละเอียดของแคว้นกาสี สวม

มาลัยลูบไล้ประเทืองผิว ข้าจะทำอาภรณ์เครื่องประดับ

ต่าง ๆ มากชนิด ที่เป็นทองแก้วมณีและมุกดาแก่แม่

นาง.

เชิญขึ้นที่นอนไหมมีค่ามาก สวยงาม ปูด้วยผ้า

โกเชาว์ขนยาว อ่อนนุ่มดังสำลี คลุมด้วยผ้าที่ซักธุลี

สะอาดแล้ว ตกแต่งด้วยจันทน์แก่นหอม.

ดอกอุบล โผล่พ้นน้ำ มิมีมนุษย์เชยชมแล้ว

ฉันใด แม่นางก็เป็นพรหมขารีฉันนั้น เมื่อส่วนแห่ง

เรือนร่างของแม่นาง ยังไม่มีใครเชยชม ก็จะชราร่วง

โรยไปเสียเปล่า ๆ.

พระสุภาเถรีถามว่า

ในร่างที่มีอันจะต้องแตกสลายเป็นธรรมดา ซึ่ง

เต็มด้วยซากศพ รังแต่จะรกป่าช้านี้ อะไรที่ท่านเข้า

ใจว่าเป็นสาระ เพราะเห็นสิ่งใด จึงเกิดติดใจขึ้นมา

ขอท่านโปรดบอกสิ่งนั้นมาสิ.

ชายนักเลงหญิงตอบว่า

เพราะเห็นดวงตาของแม่นาง ประดุจดวงตาลูก

เนื้อทราย ประดุจดวงตากินนรีในระหว่างเขา ฤดี

ร่านรักของข้าก็ยิ่งกำเริบ.

เพราะเห็นดวงตา อุปมาดังยอดดอกอุบล และ

ดวงหน้าพิมลดังรูปทองของแม่นาง ความใคร่ความ

ปรารถนาของข้าก็ยิ่งกำเริบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 443

แม่นางผู้มีดวงตาโศกดังกินนรีเอย แม้ข้าจะไป

ไกลแสนไกล ก็จะยังคงรำลึกถึงดวงตาอันบริสุทธิ์

ที่มีขนตายาวงอน เพราะว่าอะไร ๆ ที่น่ารักกว่าดวงตา

ของแม่นาง สำหรับข้าไม่มีเลย.

พระสุภาเถรีกล่าวว่า

ท่านมาต้องการข้าพเจ้าผู้เป็นบุตรของพระพุทธ-

เจ้า ก็ชื่อว่า ท่านปรารถนาจะเดินไปตามทางที่มิใช่ทาง

ชื่อว่าแสวงหาดวงจันทร์เอามาเป็นของเล่น ชื่อว่า

ต้องการจะกระโดดขึ้นเขาสิเนรุ.

เพราะว่า ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก บัดนี้ ข้าพเจ้า

ไม่มีอารมณ์ เป็นที่มีราคะความกำหนัดเลย ข้าพเจ้า

ไม่รู้ดอกว่า ราคะนั้นเป็นเช่นไร เพราะราคะนั้น

ข้าพเจ้ากำจัดเสียแล้วพร้อมทั้งราก ด้วยอริยมรรค.

ราคะนั้น ข้าพเจ้ายกออกแล้ว เหมือนเอาเชื้อไฟ

ออกจากหลุมถ่านไฟ เหมือนเอาภาชนะใส่ยาพิษออก

จากไฟ ข้าพเจ้าไม่รู้ดอกว่า ราคะนั้นเป็นเช่นไร

เพราะราคะนั้นข้าพเจ้ากำจัดเสียแล้ว พร้อมทั้งราก

ด้วยอริยมรรค.

หญิงผู้ใด ไม่พิจารณาปัญจขันธ์ หรือไม่เข้าเฝ้า

พระศาสดา ขอท่านโปรดประเล้าประโลมหญิงเช่น

นั้นเถิด ท่านนั้นจะต้องเดือดร้อน เพราะสุภาภิกษุณี

ซึ่งรู้ตามความจริงผู้นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 444

เพราะว่า สติของข้าพเจ้ามั่นคงไม่ว่าในการด่า

และการไหว้ และในสุขและทุกข์ เพราะรู้ว่าสังขต-

สังขารที่ปัจจัยปรุงแต่งเป็นอสุภะไม่งาม ใจข้าพเจ้า

จึงไม่ติดอยู่ในอารมณ์ทั้งปวงเลยทีเดียว

ข้าพเจ้านั้นเป็นสาวิกาของพระสุคต ดำเนินไป

ด้วยยาน คือมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ถอนกิเลส

ดุจลุกศรเสียแล้ว ไม่มีอาสวะ ยินดีอยู่แต่ในเรือนว่าง.

รูปเขียน ที่ช่างบรรจงเขียนไว้สวยงาม หรือ

รูปไม้ รูปใบลาน ที่เขาผูกด้วยด้าย และติดไว้ด้วย

ตะปู ทำท่ารำต่าง ๆ ข้าพเจ้าเห็นมาแล้ว เมื่อรูปนั้น

ถูกรื้อออก ปลดด้ายและตะปูออก ก็บกพร่อง [ไม่เป็น

รูป] กระจัดกระจายออกเป็นชิ้น ๆ ก็ไม่พึงได้สภาพ

ที่ชื่อว่ารูป บุคคลจะพึงตั้งใจไว้ในรูปนั้นไปทำไม.

ร่างกายนี้ก็เปรียบด้วยรูปนั้น เว้นจากธรรม

เหล่านั้นเสียก็เป็นไปไม่ได้ แม้ร่างกายเว้นจากธรรม

ทั้งหลาย ก็เป็นไปมิได้ บุคคลจะพึงตั้งใจไว้ในรูป

นั้นไปทำไม.

บุคคลพึงดูรูปจิตรกรรม ที่จิตรกรระบายด้วย

หรดาล ทำไว้ที่ฝาผนัง ในจิตรกรรมนั้น ท่านก็ยังเห็น

วิปริต สัญญาความสำคัญว่ามนุษย์ ไร้ประโยชน์

จริง ๆ.

ดูก่อนคนตาบอด ท่านยังจะเข้าไปใกล้ร่างที่ว่าง

เปล่า เหมือนพยับแดดที่ปรากฏต่อหน้า โดยอาการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 445

ลวง เหมือนต้นไม้ทองในความฝัน เหมือนรูปของ

มายากล นักเล่นกลแสดงกลางฝูงชนว่าเป็นของจริง.

ฟองที่อยู่กลางดวงตา มีน้ำตา มีมูลตา เกิดที่

ดวงตานั้น ส่วนของตาต่าง ๆ ก็มารวมกัน เหมือน

ก้อนครั่ง ที่วางอยู่ในโพรงไม้ พระสุภาเถรี ผู้มีดวงตา

งาม มีใจไม่ข้องไม่ติดอยู่ในดวงตานั้น ก็ควักดวงตา

ออกจากเบ้าตา ส่งมอบให้ชายนักเลงหญิงผู้นั้นทันที

พร้อมกับกล่าวว่า เชิญนำดวงตานั้น ไปเถิด ข้าพเจ้า

ให้ท่าน.

ทันใดนั้นเอง ความร่านรักในดวงตานั้นของ

ชายนักเลงหญิงนั้นก็หายไป เขาขอขมาพระเถรีด้วย

คำว่า

ข้าแต่แม่นางผู้เป็นพรหมจารี ขอความสวัสดี

พึงมีแก่แม่นางเถิด ความประพฤติอนาจารเช่นนี้ จัก

ไม่มีต่อไปอีกละ.

พระสุภาเถรีกล่าวว่า

ท่านกระทบกระทั่งชนเช่นข้าพเจ้า ก็เหมือน

กอดกองไฟที่ลุกโชน เหมือนจับงูพิษร้าย ความสวัสดี

ก็คงมีแก่ท่านบ้างดอก ข้าพเจ้ารับขมาท่าน.

พระสุภาภิกษุณีนั้น พ้นจากชายนักเลงหญิงนั้น

แล้ว ก็ไปสำนักพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พอเห็นพระ

บุณยลักษณ์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ จักษุก็กลับ

เป็นปกติเหมือนอย่างเดิม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 446

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชีวกมฺพวน ได้แก่ สวนมะม่วงของ

หมอชีวกโกมารภัจ. บทว่า รมฺม ได้แก่ น่ารื่นรมย์. เขาว่า สวนมะม่วงนั้น

น่าปลื้มใจ น่ารื่นรมย์ใจอย่างยิ่ง เพราะพรั่งพร้อมด้วยภูมิภาค และพรั่งพร้อม

ด้วยร่มเงาและน้ำ โดยอาการที่ปลูกต้นไม้ไว้. บทว่า คจฺฉนฺตึ ได้แก่ ผู้

เดินเข้าไปมุ่งสวนมะม่วงเพื่อพักกลางวัน. บทว่า สุภ ได้แก่ พระเถรีผู้มีชื่อ

อย่างนี้. บทว่า ธุตฺตโก ได้แก่ ชายนักเลงหญิง. เขาว่า ลูกชายของช่างทอง

ผู้มีสมบัติมากผู้หนึ่งเป็นชาวกรุงราชคฤห์ เป็นคนหนุ่มสะสวย เป็นชายนักเลง

หญิง ผู้มัวเมาเที่ยวไป เขาพบพระเถรีนั้นเดินสวนทางมาก็เกิดจิตปฏิพัทธ์

จึงยืนขวางทาง ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ชายนักเลงหญิงยืนกั้นไว้ อธิบาย

ว่า ห้ามเราไป. บทว่า ตเมน อพฺรวี สุภา ความว่า พระสุภาภิกษุณี

กล่าวกะชายนักเลงหญิงที่ยืนกั้นคนนั้นนั่นแหละ ก็ในข้อนั้น พระเถรีกล่าวถึง

ตัวเองเท่านั้น ทำประหนึ่งว่าเป็นคนอื่นว่า สุภาภิกษุณีผู้กำลังเดินไป สุภา-

ภิกษุณี ได้กล่าวดังนี้ คาถานี้ท่านพระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ โดยแสดงการ

เชื่อมคาถาที่พระเถรีกล่าวแล้ว.

พระสุภาเถรีกล่าวว่า พระสุภาภิกษุณีได้กล่าวดังนี้แล้ว กล่าวคำว่า

เราทำผิดอะไรต่อท่าน เป็นต้น ก็เพื่อแสดงอาการที่พระเถรีนั้นกล่าวแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ เต อปราธิต มยา ความว่า ท่าน เราทำ

ผิดอะไรต่อท่าน. บทว่า ย ม โอวริยาน ติฏฺสิ อธิบายว่า ด้วยความ

ผิดอันใด ท่านจึงยืนกั้นเราผู้กำลังเดินไป คือห้ามการเดินไป ความผิดอันนั้น

ไม่มีดอกนะจ๊ะ พระเถรีเมื่อแสดงว่า ถ้าท่านปฏิบัติอย่างนี้ ด้วยสำคัญว่า เรา

เป็นหญิง การปฏิบัติแม้อย่างนี้ก็ไม่สมควร จึงกล่าวว่า น หิ ปพฺพชิตาย

อาวุโส ปุริโส สมฺผุสนาย กปฺปติ ความว่า ดูก่อนท่านบุตรช่างทอง แม้

โดยจารีตโลก ชายก็ไม่ควรถูกต้องนักบวชทั้งหลาย ส่วนหญิงนักบวช ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 447

สมควรถูกต้องแม้แต่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ การถูกต้องชายยกไว้ก่อนก็ได้ หญิง

นักบวชนั้นไม่สมควรถูกต้องชายแม้ผู้มีของภายนอกด้วยของภายนอก โดย

อำนาจราคะเลยทีเดียว.

ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า ครุเก มม สตฺถุสาสเน เป็นต้น

ข้อนั้นมีความว่า สิกขาเหล่าใดอันพระสุคตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงทรง

บัญญัติเฉพาะภิกษุณีทั้งหลาย ไว้ในสัตถุศาสนาของเรา ที่หนักดังฉัตรหิน คือ

ที่ควรเคารพ เหตุไร ท่านจึงยืนกั้นเราผู้กำลังเดินไป ซึ่งเป็นอย่างนี้คือเป็นผู้

มีบทอันบริสุทธิ์ คือมีส่วนกุศลอันบริสุทธิ์ ด้วยสิกขาเหล่านั้น ผู้ชื่อว่าไม่มี

กิเลสดังเนิน เพราะไม่มีกิเลสดังเนินมีราคะเป็นต้น โดยประการทั้งปวง.

บทว่า อาวิลจิตฺโต ความว่า เพราะเหตุไรท่านผู้มีจิตขุ่นมัวด้วยอำนาจ

วิตก มีกามวิตกเป็นต้นอันกระทำความขุ่นมัวแห่งจิต จึงยืนกั้นเรา ผู้ชื่อว่า

ไม่ขุ่นมัว เพราะไม่มีความขุ่นมัวนั้น. ท่านผู้มีกิเลสดุจละออง ด้วยอำนาจ

กิเลสดุจละอองคือราคะเป็นต้น ผู้มีกิเลสดังเนิน ยืนกั้นเราผู้ชื่อว่าปราศจาก

กิเลสดุจละออง ผู้ไม่มีกิเลสดังเนิน ผู้ชื่อว่ามีใจหลุดพ้นแล้ว เพราะหลุดพ้น

เด็ดขาดในที่ทั้งปวงคือในเบญจขันธ์.

เมื่อพระเถรีกล่าวอย่างนี้แล้ว ชายนักเลงหญิงเมื่อจะแจ้งความประสงค์

ของตน จึงกล่าวคาถา ๑๐ คาถาโดยนัยว่า ทหรา จ เป็นต้น บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า ทหรา ได้แก่วัยรุ่น คืออยู่ในปฐมวัย. บทว่า อปาปิกา

จสิ ได้แก่ มีรูปไม่เลว อธิบายว่า มีรูปสวยอย่างยิ่งด้วย. บทว่า กึ เต

ปพฺพชฺชา กริสฺสติ ชายนักเลงหญิงกล่าวด้วยความประสงค์ว่า บรรพชา

จักทำอะไรแก่แม่นางผู้อยู่ในปฐมวัย มีรูปสวยอย่างนี้ หญิงแก่ หรือหญิง

รูปขี้เหร่ดอก ควรจะบวชเสีย. นิกฺขิปา ได้แก่จงละทิ้ง. บาลีว่า อุกฺขิปา

ก็มี ความว่า จงเปลื้อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 448

บทว่า มธุร ได้แก่ งาม อธิบายว่า กลิ่นหอม. บทว่า ปวนฺติ

แปลว่า โชยกลิ่น. บทว่า สพฺพโส คือรอบ ๆ. บทว่า กุสุมรเชน

สมุฎฺิตา ทุมา ความว่า ต้นไม้เหล่านั้นเป็นเหมือนเกิดเอง ด้วยละออง

ดอกไม้ของตัวเอง กล่าวคือเรณูดอกไม้ที่เกิดขึ้นโดยลมพัดอ่อนๆ. บทว่า

ปมวสนฺโต สุโข อุตุ ความว่า ฤดูต้นเดือนวสันต์นี้ และมีสัมผัสสบาย

กำลังดำเนินไป.

บทว่า กุสุมิตสิขรา ได้แก่ มียอดดอกบานดีแล้ว. บทว่า

อภิคชฺชนฺติว มาลุเตริตา ได้แก่ถูกลมพานไหว คล้ายครวญ คือตั้งอยู่

ประหนึ่งส่งเสียงครวญ. ด้วยบทว่า ยทิ เอกา วนโมคหิสฺสสิ ชายนักเลง

หญิงกล่าวอย่างนี้ เพราะร่านรักในสุขที่เกี่ยวกับตนว่า ถ้าแม่นางจะเข้าป่าคน

เดียว แม่นางจะมีความยินดีอะไรในป่านั้นเล่า.

บทว่า วาฬมิคสงฺฆเสวิต ได้แก่ อันกลุ่มเนื้อร้ายมีราชสีห์และเสือ

เป็นต้นเข้าไปอาศัยอยู่ในที่นั้นๆ. บทว่า กุญฺชรมตฺตกเรณุโลฬิต ได้แก่

เป็นถิ่นเกลื่อนกล่นด้วยช้างพลายตกมันและช้างพัง ด้วยการทำจิตใจของเหล่า

เนื้อกวางให้เดือดร้อน และด้วยการหักกิ่งไม้และกอไม้เป็นต้น. ไม่มีเหตุเช่นนี้

ในป่านั้นทุกเมื่อก็จริง ขึ้นชื่อว่าป่าก็ต้องเป็นเช่นนี้ เพราะฉะนั้น ชายนักเลง

หญิงประสงค์จะให้พระเถรีนั้นหวาดกลัว จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า รหิต ได้แก่

เว้นจากชนคือปราศจากผู้คน. บทว่า ภึสนก ได้แก่ น่าเกิดภัย.

บทว่า ตปฺปนียกตาว ธีติกา ความว่า แม่นางเที่ยวไปประดุจ

ตุ๊กตา ที่ช่างตกแต่งด้วยทองสีแดง คือประดุจรูปปฏิมาทอง ที่นายช่างยนต์ผู้

ฉลาดตกแต่งโดยการประกอบยนต์ บัดนี้นี่แหละ แม่นางก็ยังเที่ยวไปทางโน้น

ทางนี้. บทว่า จิตฺตลเตว อจฺฉรา ได้แก่ประดุจเทพอัปสร ในสวนชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 449

จิตตลดา. บทว่า กาสิกสุขุเมหิ ได้แก่ เนื้อละเอียดอย่างยิ่ง ที่เกิดขึ้นใน

แคว้นกาสี. บทว่า วคฺคุภิ ได้แก่ ที่เกลี้ยงสนิท. บทว่า โสภสี สุวสเนหิ

นูปเม ได้แก่ แม่นางผู้งามไม่มีใครเปรียบคือเว้นที่จะเปรียบได้เลย บัดนี้

แม่นางอยู่ในอำนาจเรา ก็จะงดงามด้วยผ้านุ่งห่ม เพราะฉะนั้น ชายนักเลง

หญิงจึงกล่าวกะพระเถรีดังกล่าว แล้วดังหนึ่งว่า เป็นไปจริงส่วนเดียว ตามความ

ประสงค์ของตน.

บทว่า อห ตว วสานุโค สิย ความว่า ข้าพเจ้ายอมอยู่ใต้

อำนาจแม่นาง จะยอมสนองทุกกิจการ. บทว่า ยทิ วิหเรมเส กานนนฺตเร

ความว่า ผิว่าเราทั้งสองจะอยู่ร่วมอภิรมย์กันในกลางป่า ชายนักเลงหญิงกล่าว

ถึงเหตุแห่งภาวะที่ตกอยู่ใต้อำนาจว่า เพราะว่าสัตว์ที่น่ารักกว่าแม่นาง สำหรับ

ข้าพเจ้าไม่มีเลย อีกนัยหนึ่ง ชายนักเลงหญิงกล่าวหมายถึงชีวิตของตนว่า

ปาณะ อธิบายว่า เพราะว่า ชีวิตของข้าพเจ้าที่จะเป็นที่รักกว่าแม่นางไม่มีเลย.

บทว่า กินฺนริมนฺทโลจเน แปลว่า ดูราแม่นางผู้มีดวงตาโศกเหมือนกินนรเอย.

บทว่า ยทิ เม วจน กริสฺสสิ สุขิตา เอหิ อคารมาวส ความ

ว่า ถ้าแม่นางจะเชื่อข้า ก็จงละการนั่งคนเดียว การนอนคนเดียว ละทุกข์ใน

พรหมจรรย์เสีย มาสิ มาเสพสุขด้วยกามสมบัติ อยู่ครองเรือนกัน. อาจารย์บาง

พวกกล่าวว่า สุขิตา เหติ อคารมาวสนฺติ. เนื้อความของอาจารย์พวกนั้น

ว่า แม่นางจักประสบสุขคนทั้งหลายเขาก็อยู่ครองเรือนกัน. บทว่า ปาสาท-

นิวาตวาสินี ได้แก่ อยู่ในปราสาทที่ปราศจากลมพาน. บาลีว่า ปาสาทวิมาน -

วาสินี ก็มี ความว่า อยู่ในปราสาทเสมือนวิมาน. บทว่า ปริกมฺม ได้แก่

การขวนขวาย.

บทว่า ธารย ได้แก่ จงครอง คือจงนุ่งและจงห่ม. บทว่า อภิโร-

เปหิ ได้แก่หรือจงแต่ง อธิบายว่า จงประดับเรือนร่าง โดยตกแต่งประดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 450

ประดา. บทว่า มาลวณฺณก ได้แก่ มาลัย และของหอมของลูบไล้. บทว่า

กญฺจนมณิมุตฺตก ได้แก่ ประกอบด้วยทอง และแก้วมณีและแก้วมุกดา

อธิบายว่า แต่งด้วยแก้วมณีและแก้วมุกดาที่ประกอบด้วยทอง. บทว่า พหุ

ได้แก่ มีมากประการ ต่างโดยเครื่องประดับมือเป็นต้น. บทว่า วิวิธ ได้แก่

ต่างๆ อย่างโดยรูปพรรณหลากชนิด.

บทว่า สุโธตรชปจฺฉท ได้แก่ มีผ้าปิดที่ลอกละอองออกแล้ว เพราะ

ฟอกดี. บทว่า สุภ ได้แก่ สวยงาม. บทว่า โคนกตูลิกสนฺถต ได้แก่

ลาดด้วยผ้าโกเชาว์สีดำขนยาวและผ้าสำลีที่เต็มด้วยขนหงส์เป็นต้น. บทว่า นว

ได้แก่ ใหม่เอี่ยม. บทว่า มหารห ได้แก่ มีค่ามาก. บทว่า จนฺทนมณฺฑิต-

สารคนฺธิก ได้แก่ มีกลิ่นหอนอวล เพราะตกแต่งด้วยจันทน์มีแก่น มีจันทน์แดง

เป็นต้น อธิบายว่า แม่นางโปรดขึ้นสู่ที่นอนเห็นปานนั้น แล้วโปรดนอน

โปรดนั่งตามสบาย.

ในบทว่า อุปฺปล จุทกา สมุคฺคต ดังนี้ อักษรเป็นเพียงนิบาต

ความว่า ดอกอุบลที่ผุดโผล่ชูพ้นน้ำตั้งอยู่บานแล้ว. บทว่า ยถา ต

อมนุสฺสเสวิต ความว่า ก็ดอกอุบลนั้นพึงไร้มนุษย์เสพ คือใคร ๆ มิได้เชยชม

แล้ว เพราะเกิดในสระโบกขรณี ที่รากษสหวงแหนแล้ว. บทว่า เอว ตฺว

พฺรหฺมจารินี ได้แก่ แม่นางก็เป็นพรหมจารีเหมือนดอกอุบลบานดีนั้น ฉันนั้น.

เหมือนกัน. บทว่า สเกสงฺเคสุ ความว่า เมื่อส่วนแห่งเรือนร่างของตนอันใคร ๆ

มิได้เชยชมแล้ว แม่นางก็จักถึงความชรา คือจะแก่คร่ำคร่าไปเสียเปล่า ๆ.

เมื่อชายนักเลงหญิง ประกาศความประสงค์ของตนอย่างนี้แล้ว พระ-

เถรีเมื่อจะตัดความประสงค์นั้นในเรื่องนั้น ด้วยการชี้ชัดถึงสภาพของร่างกาย

จึงกล่าวคาถาว่า กึ เต อิธ เป็นต้น คาถานั้นมีความว่า ท่านบุตรช่างทอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 451

ในร่างอันไม่สะอาดนี้ คือที่สำคัญกันว่ากายนี้ อันเต็มไปด้วยซากศพมีผมเป็นต้น

ต้องแตกสลายไปส่วนเดียวเป็นธรรมดา รังแต่จะรกป่าช้า ชื่อว่าอะไรเล่าที่

ท่านเข้าใจ ชื่นชมว่า เป็นสาระ เพราะเห็นสิ่งอันใด ความไร้ใจ คือความ

ขาดความดำริแห่งใจในอารมณ์อย่างหนึ่ง หรือความไม่ไร้ใจ จึงปรากฏกลาย

เป็นความสุขใจขึ้น ท่านจงบอกสิ่งอันนั้นแก่เราสิ.

ชายนักเลงหญิงฟังคำอย่างนี้แล้ว ถึงแม้ว่ารูปของพระเถรีนั้น งดงาม

โดยความสันทัด แต่นับตั้งแต่แรกเห็น ก็มีจิตปฏิพัทธ์ที่จุดรวมแห่งความสนใจ

[ทิฏฐ] อันใดเมื่อจะอ้างจุดรวมแห่งความสนใจ [ทิฏฐิ] อันนั้น จึงกล่าวคาถา

ว่า อกฺขีนิ ตูริยาริว เป็นต้น พระเถรีนี้ เป็นผู้มีอินทรีย์อันสงบ เพราะ

เป็นผู้สำรวมด้วยดีแล้วโดยแท้ แต่เพราะเหตุที่เขาถูกลวงด้วยอากัปกิริยามีความ

สง่างามแห่งจริตเองเป็นต้น. ที่สันทัดพิเศษด้วยแง่งอน อันเป็นจุดรวมแห่ง

ความสนใจซึ่งเขาหาได้ ที่ดวงตาทั้งสองของพระเถรีนั้น ที่ประดับด้วยประสาท

ทั้ง ๕ อันผ่องใส ที่สำเร็จมาด้วยอานุภาพกรรม อันมีดวงตาที่มั่นคงผ่องใส

เสงี่ยมสงบเป็นจุดรวม จึงเกิดเป็นนักเลงหญิงขึ้นมา ฉะนั้น ความกำหนัด

ด้วยอำนาจทิฏฐิของเขาจึงถึงความไพบูลย์เป็นพิเศษ. เนื้อทรายเรียกว่า ตูริ ใน

บทว่า อกฺขีนิ จ ตูริยาริว ในคาถานั้น จ ศัพท์เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า

ดวงตาทั้งสองของแม่นางประหนึ่งดวงตาของลูกเนื้อทราย. บาลีว่า โกริยาริว

ก็มี ท่านอธิบายว่าประหนึ่งดวงตาของแม่ไก่ร้องกระต๊าก. บทว่า กินฺนริยาริว

ปพฺพตนฺตเร ความว่า ดวงตาของแม่นาง เหมือนดวงตาของกินนรี ที่ท่อง-

เที่ยว ณ ท้องภูเขา. บทว่า ตว เม นยนานิ ทกฺขิย ความว่า เพราะ

เห็นดวงตาของแม่นางมีคุณพิเศษที่กล่าวมาแล้ว ความอภิรมย์ในกามจึงกำเริบ

แก่ข้าพเจ้าอย่างยิ่งคือทับทวี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 452

บทว่า อุปฺปลสิขโรปมานิ เต ได้แก่ ดวงตาของแม่นางเสมือน

ปลายดอกอุบลแดง. บทว่า วิมเล แปลว่า ไร้มลทิน. บทว่า หาฎกสนฺนิเภ

ได้แก่ หน้าของแม่นางเสมือนหน้าของรูปทอง ประกอบความว่า เพราะเห็น

ดวงตาทั้งสอง.

บทว่า อปิ ทูรคตา ได้แก่ แม้ไปยังที่อันไกล. บทว่า สรมฺหเส

ความว่า ข้าไม่คิดถึงสิ่งไรอื่น รำลึกถึงแต่ดวงตาทั้งสองของแม่นางเท่านั้น.

บทว่า อายตปมฺเห ได้แก่ ขนตายาว. บทว่า วิสุทฺธทสฺสเน ได้แก่

ดวงตาที่ไร้มลทิน. บทว่า น หิ มตฺถิ ตยา ปิยตฺตโร นยนา ความว่า

ไม่มีอะไรอื่นของข้าพเจ้าที่จะเป็นที่รักกว่าดวงตาของแน่นาง ความจริง คำว่า

ตยา เป็นตติยาวิภัติ ใช้ในอรรถฉัฏฐีวิภัติ.

พระเถรีเมื่อจะเปลี่ยนความปรารถนาของชายผู้นั้น ซึ่งพร่ำเพ้อถึงสิ่ง

นั้น ๆ เหมือนคนบ้า เพราะความงามของจักษุดังนี้ จึงกล่าวคาถา ๑๒ คาถา

โดยนัยว่า อปเถน เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปเถน ปยาตุ-

มิจฺฉสิ ประกอบความว่า ท่านบุตรช่างทองเมื่อสตรีอื่นมีอยู่ ท่านผู้ใดต้อง

การคือปรารถนาเราผู้เป็นบุตรพระพุทธเจ้า คือเป็นโอรสธิดาของพระผู้มีพระ-

ภาคพุทธเจ้า ท่านผู้นั้น เมื่อทางตรงอันเกษมมีอยู่ ชื่อว่าปรารถนาจะไป

คือประสงค์จะเดินไปตามทางที่มิใช่ทาง คือตามทางผิด ที่มีภัยกั้นด้วยหนาม ชื่อ

ว่าแสวงหาดวงจันทร์เป็นของเล่น คือประสงค์จะทำดวงจันทร์ให้เป็นของเล่น

ชื่อว่าปรารถนาจะกระโดดเขาพระเมรุ คือประสงค์จะกระโดดขึ้นขุนเขาสิเนรุ

ซึ่งสูง ๔๘,๐๐๐ โยชน์ แล้วยืนอยู่ต่อมา เพราะฉะนั้น ท่านนั้นปรารถนาเรา

ผู้เป็นบุตรพระพุทธเจ้า.

บัดนี้ พระเถรีกล่าวว่า นตฺถิ เป็นต้น ก็เพื่อแสดงว่าอารมณ์นั้น

มิใช่วิสัยของตน และว่าความปรารถนานำมาแต่ความคับแค้น บรรดาบทเหล่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 453

นั้น บทว่า ราโค ยตฺถปิ ทานิ เม สิยา ความว่า บัดนี้ ราคะของ

เราพึงมีพึงเป็นในอารมณ์ใด อารมณ์นั้นไม่มีเลยในโลกทั้งเทวโลก. บทว่า

นปิ น ชานามิ กีริโส ความว่า เราไม่รู้จักราคะนั้นว่าเป็นเช่นไร คำว่า

อถ ในบทว่า อถ มคฺเคน หโต สมูลโก เป็นเพียงนิบาต ราคะ

พร้อมทั้งราก โดยราก กล่าวคืออโยนิโสมนสิการ ความใส่ใจโดยไม่แยบคาย

เรากำจัดคือถอนได้แล้วด้วยอริยมรรค.

บทว่า อิงฺคาลกุยา ได้แก่ จากหลุมถ่าน. บทว่า อุชฺฌิโต ได้

แก่ เหมือนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ลมพัดฟุ้งขึ้นแล้ว อธิบายว่า เหมือนเชื้อไฟ.

บทว่า วิสปตฺโตริว ได้แก่ เหมือนภาชนะ ยาพิษ. บทว่า อคฺคิโต กโต

ความว่า ที่ปราศจากคือเอาออกจากไฟ คือถ่านไฟ อธิบายว่า นำออก คือ

ทำลายเสียไม่ให้เหลือแม้เพียงเศษของยาพิษ.

บทว่า ยสฺสา สิยา อปจฺจเวกฺขิต ความว่าขันธบัญจกนี้ พึงเป็น

ของอันหญิงใดไม่พิจารณา ไม่กำหนดรู้แล้วด้วยญาณ. บทว่า สตฺตา วา

อนฺสาสิโต สิยา ความว่า พระศาสดา พึงเป็นผู้อันหญิงใด ไม่เข้าเฝ้าแล้ว

เพราะไม่เห็นตัวธรรม. บทว่า ตฺว กาทิสิก ปโลภย ความว่า ท่านเอย

โปรดประเล้าประโลม เข้าไปหาหญิงเห็นปานนั้น ผู้ไม่เฟ้นสังขาร ผู้ไม่พิจารณา

โลกุตรธรรม ด้วยกามทั้งหลายเถิด. บทว่า ชานนฺตึ โส อิม วิหญฺสิ

ความว่า ท่านนั้นอาศัยสุภาภิกษุณีรูปนี้ ผู้รู้ความเป็นไปและความกลับตาม

เป็นจริง คือแทงตลอดสัจจะ ย่อมเดือดร้อนเอง คือจะถึงความคับแค้น

ความทุกข์ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต.

บัดนี้ พระเถรีเมื่อจะแสดงความที่ชายผู้นั้น จะถึงความคับแค้น ด้วย

การชี้แจงเหตุ จึงกล่าวว่า มยฺห หิ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 454

หิ เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่าเหตุ. บทว่า อกฺกุฏฺวนฺทิเต ได้แก่ ในการด่า

และการไหว้. บทว่า สุขทุกฺเข ได้แก่ ในสุขและทุกข์ หรือเพราะประสพ

อารมณ์ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา. บทว่า สตี อุปฏฺิตา ได้แก่ สติ

ที่ประกอบด้วยการพิจารณา มั่นคงตลอดกาล. บทว่า สงฺขตมสุภนฺติ ชานิย

ได้แก่ รู้ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ที่เป็นสังขาร ว่าไม่งาม เพราะเป็นที่ไหลออก

ของกิเลสและของไม่สะอาด. บทว่า สพฺพตฺเถว ความว่า ใจของเราไม่ติด

อยู่ใน ๓ ภพ ทุกภพ ด้วยกิเลสเครื่องฉาบคือตัณหาเป็นต้นเลย.

บทว่า มคฺคฏฺงฺคิกยานยายินี ได้แก่ ดำเนินไปคือเข้าไปสู่บุรีคือ

พระนิพพาน ด้วยยานอันเป็นอริยะ กล่าวคือมรรคประกอบด้วยองค์ ๘. บทว่า

อุทฺธฏสลฺลา ได้แก่ มีกิเลสดุจลูกศรคือราคะเป็นต้น อันถอนเสียแล้วจาก

สันดานของตน.

บทว่า สุจิตฺติตา ได้แก่ อันแต่งคือทำให้งามด้วยดี โดยอาการมี

มือเท้าและหน้าเป็นต้น. บทว่า โสมฺภา ได้แก่ รูปเขียน. บทว่า ทารุก-

ปิลฺลกานิ วา ได้แก่ รูปที่จัดแต่งด้วยท่อนไม้เป็นต้น. บทว่า ตนฺตีหิ

ได้แก่ เอ็นและด้าย. บทว่า ขีลเกหิ ได้แก่ ท่อนไม้ที่เขาตั้งไว้ เพื่อทำ

เป็นมือ เท้า หลังและหูเป็นต้น. บทว่า วินิพทฺธา ได้แก่ ผูกด้วยอาการต่าง

อย่าง. บทว่า วิวิธ ปนจฺจกา ได้แก่ ทำท่ารำที่เขาจัดตั้งไว้ ด้วยการชัก

และปล่อยเป็นต้น ซึ่งด้ายยนต์เป็นอาทิ. ประกอบความว่า อันเขาเห็นเหมือน

ร่ายรำอยู่.

บทว่า ตมฺหุทฺธเฏ ตนฺติขีลเก ความว่า อาศัยสิ่งที่ประกอบให้วิเศษ

ด้วยการตั้งการแต่งอย่างดี จึงมีชื่อว่ารูป เมื่อด้ายและไม้ เขาถอดออกจากที่ปลด

ออกจากเครื่องผูก ทำกันแลกันให้บกพร่อง เพราะทำให้เป็นส่วน ๆ ก็เรี่ยร้าย

กระจัดกระจาย เพราะทิ้งอยู่ในที่นั้น ๆ. บทว่า น วินฺเทยฺย ขณฺฑโส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 455

กเต ความว่า เมื่อส่วนของรูปใบลาน ถูกทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย บุคคล

ก็ไม่พบ ไม่ได้ใบลาน เมื่อเป็นดังนั้น บุคคลจะพึงตั้งใจไว้ในรูปนั้นทำไม

อธิบายว่า บุคคลจะพึงตั้งใจความสำคัญใจ ไว้ในส่วนของรูปใบลานนั้นทำไม

คือพึงตั้งความสำคัญใจ ในตอไม้หรือในเชือก หรือในก้อนดินเป็นต้น สัญญา

นั้นไม่พึงตกไปในอวัยวะที่เป็นวิสังขาร แม้บางคราว.

บทว่า ตถูปมา ได้แก่ ก็เสมือนรูปนั้น คือเสมือนรูปใบลานนั้น.

ถ้าจะถามว่าอะไรเล่าท่านพระเถรีจึงกล่าวว่า เทหกานิ เป็นต้น. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า เทหกานิ ได้แก่ อวัยวะส่วนแห่งร่างกายมีมือเท้าและหน้า

เป็นต้น. บทว่า ม ความว่า ปรากฏเนื่องกับเรา. บทว่า เตหิ ธมฺเมหิ

ได้แก่ จากธรรมเหล่านั้น มีปฐวีธาตุเป็นต้น และจักษุเป็นต้น. บทว่า วินา

น วตฺตนฺติ ความว่า ด้วยว่าชื่อว่าร่างกายพ้นธรรมมีปฐวีธาตุเป็นต้น ที่ตั้ง

โดยประการนั้น ๆ มีอยู่ก็หาไม่. บทว่า ธมฺเมหิ วินา น วตฺตติ ความว่า

ร่างกายเว้นจากอวัยวะคือธรรม คืออวัยวะเสีย ก็ไม่เป็นไปก็ไม่ได้เพื่อเป็นดัง

นั้น บุคคลจะพึงตั้งใจไปในร่างกายนั้นทำไม อธิบายว่า บุคคลจะพึงตั้งใจ

ความสำคัญใจว่า ร่างกายหรืออวัยวะมีมือเท้าเป็นต้นในอะไรเล่า คือในปฐวีธาตุ

หรืออาโปธาตุเป็นต้น เพราะเหตุที่ในความเป็นธรรมคือปฐวีธาตุเป็นต้นและ

ประสาท มีสมัญญาว่าร่างกายบ้าง มือเท้าเป็นต้นบ้าง สัตว์บ้าง หญิงบ้าง

ชายบ้าง ฉะนั้น เราผู้รู้ตามเป็นจริง จึงไม่ยึดมั่นในร่างกายนั้น.

บทว่า ยถา หริตาเลน มกฺขิต อทฺทส จิตฺติก ภิตฺติยา กต

อธิบายว่า บุคคลพึงดู พึงเห็นรูปหญิงที่จิตรกรผู้ฉลาดป้ายระบายด้วยหรดาล

ที่ฝาผนัง คือวาดระบายด้วยหรดาลนั้นให้งดงาม เพราะความพรั่งพร้อมด้วย

กิริยามีการชู (มือ) การทอด [แขน] เป็นต้น ก็มีสัญญาความสำคัญว่า ฝาผนังนี้ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 456

ตั้งอยู่โดยไม่พิง เป็นมนุษย์หรือหนอ สัญญานั้นก็ไร้ประโยชน์ เพราะประโยชน์

กล่าวคือความเป็นมนุษย์ไม่มีอยู่ในรูปหญิงนั้น. ส่วนชายผู้นั้นเห็นวิปริตในรูป

หญิงนั้นอย่างเดียวว่าเป็นมนุษย์คือไม่ถือตามความเป็นจริง ทั้งถือว่าเป็นหญิง

ชายในอาการสักว่าเป็นกองแห่งธรรม ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็พึงเห็นฉันนั้น.

บทว่า มาย วิย อคฺคโต กต ได้แก่ เสมือนพยับแดด ที่ปรากฏ

ข้างหน้า โดยอาการลวง. บทว่า สุปินนฺเตว สุวณฺณปาทป ความว่า

ความฝันนั่นแลชื่อว่า สุปินันตะ ประหนึ่งต้นไม้ทองที่ปรากฏในความฝันนั้น.

บทว่า อุปคจฺฉสิ อนฺธ ริตฺตก ความว่า ดูก่อนท่านผู้เขลาเหมือนคนตา

บอดเอย ท่านยังจะเข้าไปยึดมั่นอัตภาพนี้ที่ว่างเปล่า เว้นสาระภายใน ดั่งมี

สาระว่านั่นของเรา. บทว่า ชนมชฺเฌริว รุปฺปรูปก ความว่า เช่นเดียวกับ

รูปมายากล ที่นักเล่นกลแสดงท่ามกลางมหาชน ปรากฏประหนึ่งว่ามีสาระ

อธิบายว่าไม่มีสาระ.

บทว่า วฏฺฏนิริว แปลว่า เหมือนก้อนครั่ง. บทว่า โกฏโรหิตา

ได้แก่ ตั้งอยู่ในโพรง คือโพรงไม้. บทว่า มชฺเฌ ปุพฺพุฬกา ได้แก่

เสมือนฟองน้ำที่ตั้งขึ้นกลางหนังตา. บทว่า สอสฺสุกา ได้แก่ ประกอบด้วย

น้ำตา. ปิฬโกฬิกา ได้แก่ ขี้ตา. บทว่า เอตฺถ ชายติ ได้แก่ โชย

กลิ่นเหม็นเกิดขึ้นที่ปลายสองข้างที่ดวงตานั้น. อีกนัยหนึ่งต่อมที่เกิด ณ หนังตา

เรียกกันว่า ปิฬโกฬิกา. บทว่า วิวิธา ได้แก่ มากอย่าง โดยวงกลมสีขาว

และเขียว และพื้นทั้ง ๗ มีสีแดงและเหลืองเป็นต้น. บทว่า จกฺขุวิธา ได้

แก่ ส่วนแห่งจักษุ หรือประการแห่งจักษุ เพราะจักษุนั้นเป็นกลาปมาก

กลาป. ปิณฺฑิตา ได้แก่ เกิดขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 457

พระเถรี ชี้แจงถึงความที่จักษุของผู้ที่ร่านรักให้จักษุเป็นของไม่งาม

และความที่จักษุนั้นเป็นของไม่เที่ยง เพราะตั้งอยู่ไม่ยั่งยืนอย่างนี้แล้ว ครั้นแล้ว

พระเถรีก็ยังถูกชายผู้นั้น ซึ่งร่านรักในจักษุพัวพัน จำต้องควักดวงตาของตน

ให้เขาไป เหมือนคนบางคน ถือเอาสิ่งของซึ่งใคร ๆ ก็อยากได้ เดินทางกัน-

ดารที่มีโจร ถูกพวกโจรพัวพัน ก็จำต้องให้สิ่งของที่น่าอยากได้นั้นไปฉะนั้น

ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า อุปฺปาฏิย จารุทสฺสนา

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปาฏิย ได้แก่ ควักคือนำออกจาก

เบ้าตา. บทว่า จารุทสฺสนา ได้แก่ ดวงตาที่น่ารัก ดวงตาที่น่าจับใจ. บทว่า

น จ ปชฺชิตฺถ ได้แก่ ไม่ถึงความติดข้องในจักษุนั้น. บทว่า อสงฺคมานสา

ความว่า พระเถรีผู้มีจิตไม่ติดข้องในอารมณ์แม้ไร ๆ จึงกล่าวว่า เชิญรับจักษุ

ที่ท่านต้องการไป ต่อแต่นั้น จงถือเอาก้อนที่ไม่สะอาด ซึ่งท่านสำคัญว่าจักษุ

เพราะเราให้แล้ว ครั้นถือเอาแล้ว จงนำจักษุที่ประกอบด้วยประสาท นำไป

ยังสถานที่ท่านปรารถนาเถิด.

บทว่า ตสฺส จ วิรมาสิ ตาวเท ความว่า ในทันใดนั่นเองคือ

ในขณะที่พระเถรีควักลูกตานั่นแล ราคะ ของชายนักเลงหญิงนั้น ก็หายไป.

บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในลูกตา หรือ ในพระเถรีนั้น อีกนัยหนึ่ง บทว่า

ตตฺถ ได้แก่ ในที่นั้นนั่นเอง. บทว่า ขมาปยิ แปลว่า ให้พระเถรียกโทษ

ให้แล้ว. บทว่า โสตฺถิ สิยา พฺรหมจาริ นี้ความว่า ข้าแต่แม่นางพรหมจารี

ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ ขอความไม่มีโรค พึงมีแก่แม่นางเถิด. บทว่า น ปุโน

เอทิสก ภวิสฺสติ ความว่า เบื้องหน้าแต่นี้ไป จักไม่มีการประพฤติอนาจาร

อย่างนี้ อธิบายว่า ข้าจักไม่ทำละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 458

บทว่า อาสาทิย ได้แก่ กระทบ. บทว่า เอทิส ได้แก่ ผู้ปราศ

จากราคะในอารมณ์ทั้งปวงเห็นปานนี้. บทว่า อคฺคึ ปชฺชลิตว ลิงฺคิย ได้แก่

เหมือนกอดไฟที่ลุกโชน.

บทว่า ตโต แปลว่า จากชายนักเลงหญิงนั้น. บทว่า สา ภิคฺขุนี

ได้แก่ พระสุภาภิกษุณีนั้น. บทว่า อคมี พุทฺธวรสฺส สนฺติก ได้แก่

เข้าไปยังสำนัก คือเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. บทว่า ปสฺสิย วรปุญฺ-

ลกฺขณ ได้แก่ เห็นพระมหาปุริสลักษณะอันบังเกิดด้วยบุณยสมภารอันสูงสุด.

บทว่า ยถา ปุราณก ได้แก่ จักษุได้กลับเป็นปกติ เหมือนเก่า คือเหมือนเมื่อ

ก่อนควัก. คำที่มิได้กล่าวในระหว่าง ๆ ในเรื่องนี้ ก็รู้ได้ง่ายเหมือนกัน เพราะ

มีนัยที่กล่าวมาแล้ว.

จบอรรถกถาสุภาชีวกัมพวนิกาเถรีคาถา

จบอรรถกถาติงสนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 459

เถรีคาถา จัตตาฬิสนิบาต

อิสิทาสีเถรีคาถา

[๔๗๓] พระสังคีติกาจารย์ ตั้งคาถานำเรื่องไว้ ๓ คาถาว่า

ในกรุงปาฏลีบุตร ที่มีนามว่า นครแห่งดอกไม้

เป็นแผ่นดินที่ผ่องใส [บริสุทธิ์] มีพระภิกษุณี ๒ รูป

ผู้มีคุณสมบัติเป็นตระกูลแห่งศากยราช.

ใน ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งชื่อว่า อิสิทาสี รูปที่ ๒

ชื่อว่า โพธิ ล้วนสมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีในการเพ่งฌาน

เป็นพหูสูต กำจัดกิเลสแล้ว ทั้งสองรูปนั้น เที่ยว

บิณฑบาต ฉันและล้างบาตรแล้วก็นั่งอย่างสบายในที่

ปลอดคน ต่างถามตอบด้วยถ้อยคำเปล่านี้.

พระโพธิเถรีถามว่า แม่เจ้าอิสิทาสี แม่เจ้ายัง

ผ่องใส วัยของแม่เจ้าก็ยังไม่เสื่อมโทรม แม่เจ้าเห็น

โทษอะไร จึงมาขวนขวายเนกขัมมะการบวชเล่า.

พระอิสิทาสีเถรีนั้น ถูกพระโพธิเถรีถามอย่างนี้

ในที่ปลอดผู้คน ท่านเป็นผู้ฉลาดในการแสดงธรรม

จึงตอบว่า แม่เจ้าโพธิ โปรดฟังเรื่องตามที่ข้าพเจ้า

บวช (ต่อไป)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 460

ในกรุงอุชเชนี ราชธานีแห่งแคว้นอวันตี บิดา

ของข้าพเจ้าเป็นเศรษฐี ผู้มีศีล ข้าพเจ้าเป็นธิดาคน

เดียวของท่าน จึงเป็นที่รักที่โปรดปรานและเอ็นดู.

ครั้งนั้น พวกคนสนิทที่มีตระกูลสูง มาจากเมือง

สาเกตบอกว่า เศรษฐีมีทรัพย์มากขอข้าพเจ้า บิดาจึง

ให้ข้าพเจ้าเป็นสะใภ้ของเศรษฐีนั้น.

ข้าพเจ้าต้องเข้าไปทำความนอนน้อม ด้วยเศียร

เกล้า ไหว้เท้าเช้าเย็น ต่อแม่ผัวและพ่อผัวตามวิธีที่

ถูกสั่งสอนไว้.

ข้าพเจ้าเห็นพี่น้องคนใกล้เคียง แม้แต่คนสนิท

เพียงคนเดียวของสามีข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็หวาดกลัว

ต้องให้ที่นั่งเขา.

ข้าพเจ้าต้องรับรองเขาด้วยข้าวน่าของเคี้ยว แก่ผู้

ที่เข้าไปนั้น นำเข้าไปและให้ของที่สมควรแก่เขา.

ข้าพเจ้าบำรุงตามเวลา เข้าเรือนไปที่ประตูต้อง

ล้างมือเท้า ประนมมือเข้าไปหาสามี.

ข้าพเจ้าต้องถือหวี เครื่องลูบไล้ ยาหยอดตา

และกระจกแต่งตัวให้สามีเองทีเดียวเหมือนหญิงรับใช้.

ข้าพเจ้าหุงข้าวต้มแกงเอง ล้างภาชนะเอง ปรน-

นิบัติสามีเสมือนมารดาปรนนิบัติบุตรคนเดียวฉะนั้น.

ข้าพเจ้าจงรักภักดี ทำหน้าที่ครบถ้วน เลิกมานะ

ถือตัว ขยันไม่เกียจคร้าน มีศีลอย่างนี้ สามีก็ยังเกลียด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 461

สามีนั้นบอกบิดามารดาว่า ฉันลาไปละ ฉันไม่

ขออยู่ร่วมกับอิสิทาสี ทั้งจะไม่ยอมอยู่ร่วมเรือนหลัง

เดียวกันด้วย.

บิดามารดาเขากล่าวว่า อย่าพูดเช่นนี้สิลูก อิสิ-

ทาสีเป็นคนฉลาด สามารถ ขยันไม่เกียจคร้าน ทำไม

ไม่ชอบใจเล่าลูกเอ๋ย.

เขาตอบว่า อิสิทาสีไม่ได้เบียดเบียนดอกจ้ะ แต่

ฉันไม่อยากอยู่ร่วมกับอิสิทาสี ฉันเกลียด ฉันพอแล้ว

ฉันขอลาไปละ.

แม่ผัวพ่อผัวฟังคำบุตรนั้นแล้ว ได้ถามข้าพเจ้า

ว่า เจ้าทำผิดอะไรต่อเขา จึงถูกเขาทอดทิ้ง จงพูด

ไปตามจริงสิ.

ข้าพเจ้าตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ทำผิดอะไร ไม่

ได้เบียดเบียนเขา ทั้งไม่ได้พูดคำหยาบคาย ข้าพเจ้า

หรือจะทำสั่งที่สามีเกลียดข้าพเจ้าได้เล่า แม่เจ้า.

บิดามารดาของเขานั้น เสียใจ เป็นทุกข์ หวัง

ทะนุถนอมบุตร จึงนำข้าพเจ้าส่งกลับไปเรือนบิดา

ข้าพเจ้ากลายเป็นแม่หม้ายสาวสามีร้างไป ภายหลังบิดา

ของข้าพเจ้าได้ยกข้าพเจ้าให้กุลบุตร ผู้มั่งคั่งน้อยกว่า

สามีคนแรกครึ่งหนึ่ง ซึ่งเศรษฐีได้ข้าพเจ้าไป ข้าพเจ้า

อยู่ในเรือนสามีคนที่สองนั้นได้เดือนเดียว ต่อมา เขา

ก็ขับข้าพเจ้า ผู้ปรนนิบัติดุจทาสี ผู้ไม่คิดประทุษร้าย

พรั่งพร้อมด้วยศีล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 462

บิดาของข้าพเจ้าจึงพูดกะบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งฝึกคน

อื่น ๆ และฝึกตนแล้ว กำลังเที่ยวขอทานอยู่ว่า เจ้า

จงทิ้งผ้าเก่า ๆ และหม้อข้าวเสีย มาเป็นลูกเขยข้าเถิด.

แม้บุรุษผู้นั้น อยู่ได้ครึ่งเดือนก็พูดกะบิดาว่า

โปรดคืนผ้าผืนเก่า และภาชนะขอทานแก่ข้าเถิด ข้า

จะไปขอทานอีก.

ครั้งนั้น บิดามารดาและหมู่ญาติของข้าพเจ้าทุก

คนพูดกะคนขอทานว่า ท่านทำกิจอะไรไม่ได้ในที่นี้

รีบบอกมา เขาจักทำกิจนั้นแทนท่านเอง.

เขาถูกบิดามารดา และหมู่ญาติถามอย่างนี้แล้ว

จึงตอบว่า ถึงตัวข้าจะเป็นไท ก็ไม่มีประโยชน์อะไร

ที่ข้าจะอยู่ร่วมกับอิสิทาสี ข้าไม่ขออยู่ร่วมกับอิสิทาสี

ทั้งจะไม่ขออยู่เรือนหลังเดียวกับอิสิทาสี.

ชายขอทานนั้น ถูกบิดาปล่อยก็ไป ส่วนข้าพเจ้า

อยู่โดดเดี่ยวก็คิดว่า จำจะลาบิดามารดาไปตายหรือ

บวชเสีย.

ลำดับนั้น พระแม่เจ้าชินทัตตา ผู้ทรงวินัย เป็น

พหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีล เที่ยวบิณฑบาต มายังตระกูล

ของบิดา.

ข้าพเจ้าเห็นท่าน จึงลุกขึ้นไปจัดอาสนะของ

ข้าพเจ้าถวายท่าน เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้า

ก็กราบเท้าถวายโภชนะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 463

ข้าพเจ้าเลี้ยงดูด้วยข้าวน้ำและของเคี้ยวที่จัดไว้ใน

เรือนให้อิ่มหนำสำราญแล้ว จึงเรียนท่านว่า พระแม่

เจ้า ข้าพเจ้าประสงค์จะบวชเจ้าข้า.

ลำดับนั้น บิดาพูดกะข้าพเจ้าว่า ลูกเอ๋ย ลูกจง

ประพฤติธรรมในเรือนนี้ก็แล้วกัน จงเลี้ยงดูสมณ-

พราหมณ์ ด้วยข้าวน้ำไปเถิด.

ขณะนั้น ข้าพเจ้าร้องไห้ประคองมือ ประนม

พูดกับบิดาว่า ความจริง ลูกก็ทำบาปมามากแล้ว ลูก

จักชำระบาปนั้นให้เสร็จไปเสียที.

บิดาจึงอวยพรข้าพเจ้าว่า ลูกจงบรรลุโพธิญาณ

ธรรมอันเลิศ และได้พระนิพพาน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ประเสริฐสุดแห่งสัตว์สองเท้า ทรงกระทำให้แจ้ง

แล้วเถิด.

ข้าพเจ้ากราบบิดามารดา และหมู่ญาติทุกคน

บวชได้ ๗ วัน ก็บรรลุวิชชา ๓ ข้าพเจ้ารู้ระลึกชาติ

ได้ ๗ ชาติ จะบอกกรรมที่มีวิบากอย่างนี้แก่แม่เจ้า

ขอแม่เจ้า โปรดมีใจเป็นหนึ่ง ฟังวิบากกรรมนั้นเถิด.

ในนครชื่อว่า เอรกัจฉะ ข้าพเจ้าเป็นช่างทอง

มีทรัพย์มาก มัวมาในวัยหนุ่ม ทำชู้กับภริยาผู้อื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 464

ข้าพเจ้าจุติจากโลกนั้นแล้ว ต้องไปหมกไหม้อยู่

ในนรกเป็นเวลานาน ครั้นออกจากนรกนั้นแล้ว ก็เข้า

ท้องนางวานร.

ข้าพเจ้าคลอดได้ ๗ วัน วานรใหญ่จ่าฝูงก็กัด

อวัยวะเพศผู้เสีย นี้เป็นผลกรรมของข้าพเจ้า ที่เป็นชู้

ภริยาผู้อื่น.

ข้าพเจ้าจุติจากกำเนิดวานรนั้นแล้ว ก็ไปเข้า

ท้องแม่แพะตาบอดและเป็นง่อย ในป่า แคว้นสินธพ.

ข้าพเจ้าอายุได้ ๑๒ ปี พาเด็กขี่หลังไปกระแตก

อวัยวะเพศ ป่วยเป็นโรคหนอนฟอน นี้เป็นผลกรรม

ที่ทำชู้ภริยาผู้อื่น.

ข้าพเจ้าจุติจากกำเนิดแพะแล้ว ก็เกิดในกำเนิด

แม่โคของพ่อค้าโค เป็นลูกโค ขนแดงดั่งน้ำครั่ง

อายุ ๑๒ เดือนก็ถูกตอน.

ข้าพเจ้าถูกใช้ให้ลากไถ และลากเกวียน ป่วย

เป็นโรคตาบอด นี่เป็นผลกรรมที่ทำชู้ภริยาผู้อื่น.

ข้าพเจ้าจุติจากกำเนิดโคแล้ว ก็ไปเกิดในเรือน

ทาสี ณ ท้องถนน ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย นี่เป็นผล

กรรมที่ทำชู้ภริยาผู้อื่น.

ข้าพเจ้าอายุ ๓๐ ปี ก็ตาย เกิดเป็นเด็กหญิงใน

ตระกูลช่างทำเกวียน ที่เข็ญใจ มีโภคทรัพย์น้อย

เป็นที่รุมทวงหนี้ของเจ้าหนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 465

เมื่อหนี้พอกพูนทับถมกันมากขึ้น แต่นั้น นาย

กองเกวียนก็รับเอาสมบัติ ฉุดเอาข้าพเจ้าซึ่งกำลังรำ-

พันอยู่ ออกจากเรือนของสกุล.

บุตรของนายกองเกวียน ชื่อคิริทาส เห็นข้าพ-

เจ้าเป็นสาวรุ่น อายุ ๑๖ ปี ก็มีจิตปฏิพัทธ์ ขอไป

เป็นภริยา.

แต่นายคิริทาส มีภริยาอยู่ก่อนคนหนึ่ง เป็นคน

มีศีลมีคุณมียศ จงรักสามี ข้าพเจ้าก็ทำให้สามีเกลียด

นาง.

ข้อที่สามทั้งหลาย เลิกร้างข้าพเจ้า ซึ่งปรนนิบัติ

ดุจทาสีไป ก็เป็นผลกรรมของธรรมนั้น ที่สุดแม้ของ

กรรมนั้น ข้าพเจ้าก็กระทำเสร็จแล้ว.

จบ อิสิทาสีเถรีคาถา

จบ จัตตาฬีสนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 466

เถรีคาถา จัตตาฬีสนิบาต

๑. อรรถกถาอิสิทาสีเถรีคาถา

ในจัตตาฬิสนิบาต คาถาว่า นครมฺหิ กุสุมนาเม เป็นต้น

เป็นคาถาของพระอิสิทาสีเถรี พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระเถรีแม้รูปนี้ ก็ได้สร้างบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ เป็น

ผู้ชายมาในภพนั้น ๆ สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในภพที่ ๗

นับแต่จริมภพ ก็ได้กระทำปรทาริกกรรม [เป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น] โดยนิสัยที่

ไม่ดีตายไปบังเกิดในนรก ต้องหมกไหม้อยู่ในนรกนั้นตั้งหลายร้อยปี จุติจาก

นรกนั้นแล้วไปบังเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน ๓ ชาติ จุติจากนั้นแล้วไปบังเกิดเป็น

กะเทยในต้องของทาสี จุติจากนั้นก็ไปบังเกิดเป็นลูกสาวช่างทำเกวียนที่ขัดสน

คนหนึ่ง เจริญวัยแล้วลูกชายนายกองเกวียนคนหนึ่ง ชื่อคิริทาสก็เอาเป็นภริยา

นำไปบ้าน ภริยาเดิมของนายคิริทาสก็มี เป็นคนมีศีลมีกัลยาณธรรม ลูกสาว

ช่างทำเกวียนนั้น ปกติชอบริษยาภริยาเดิมนั้น ก็ทำให้สามีกับภริยาเดิมเกลียด

กัน นางอยู่ในบ้านนั้นจนตลอดชีวิตจนตาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ไปบังเกิดเป็น

ธิดาของเศรษฐีผู้พรั่งพร้อมด้วยสมบัติ ได้รับยกย่องด้วยคุณมีตระกูล ถิ่นและ

สีลาจารวัตรเป็นต้น ในกรุงอุชเชนี นางมีนามว่า อิสิทาสี ครั้นเจริญวัย

บิดามารดาก็มอบให้แก่บุตรเศรษฐีคนหนึ่งที่มีตระกูล รูป วัยและสมบัติเป็นต้น

ทัดเทียมกัน นางอิสิทาสีนั้น ก็เป็นปติเทวดา (ปฏิบัติสามีดังเทวดา) ในเรือน

ของสามีนั้น อยู่ได้เพียงเดือนเดียว ด้วยผลกรรมของนาง สามีเกิดเบื่อหน่ายก็นำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 467

นางออกไปจากเรือน เรื่องนั้นทั้งหมดรู้กันได้จากบาลีแห่งเดียว เพราะเหตุที่

ตนเป็นผู้ไม่เป็นที่สบใจของสามีนั้นๆ นางก็เกิดสลดใจ ให้บิดาอนุญาตแล้ว

ก็บวชในสำนักพระชินทัตตาเถรี เจริญวิปัสสนา ไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัต

พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผล และสุขในพระนิพพาน

วันหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตในกรุงปาฏลีบุตร หลังจากนั้นแล้วก็กลับจากบิณฑบาต

นั่งบนพื้นทรายใกล้แม่คงคามหานที ถูกพระเถรีสหายของตน ชื่อว่าโพธิเถรี

ถามถึงบุพปฏิบัติประวัติก่อนบวช จึงวิสัชนาความนั้น ด้วยผูกเป็นคาถา

โดยนัยว่า อุชฺเชนิยา ปุรวเร เป็นอาทิ เพื่อแสดงการเชื่อมความของคำ

ถามและคำตอบนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงตั้งคาถาไว้ ๓ คาถาว่า

ในกรุงปาฏลีบุตร ที่มีนามว่า นครแห่งดอกไม้

เป็นแผ่นดินที่ผ่องใส [บริสุทธิ์] มีพระภิกษุณี ๒ รูป

ผู้มีคุณสมบัติ เป็นตระกูลแห่งศากยราช.

ใน ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งชื่อว่า อิสิทาสี รูปที่ ๒

ชื่อว่า โพธิ ล้วนสมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีในการเพ่งฌาน

เป็นพหูสูต กำจัดกิเลสแล้ว ทั้ง ๒ รูปนั้นเที่ยวบิณฑ-

บาต ฉันและล้างบาตรแล้วก็นั่งอย่างสบายในที่

ปลอดผู้คน ต่างถามตอบกันในถ้อยคำเหล่านี้.

พระโพธิเถรีถามว่า แม่เจ้าอิสิทาสีเจ้าข้า แม่เจ้า

ยังผ่องใส วัยของแม่เจ้าก็ยังไม่เสื่อมโทรม แม่เจ้าเห็น

โทษอะไร จึงมาขวนขวายเนกขัมมะการบวชเจ้าคะ.

พระอิสิทาสีเถรีนั้น ลูกพระโพธิเถรีถามอย่างนี้

ในที่ปลอดผู้คน ท่านเป็นผู้ฉลาดในการแสดงธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 468

จึงตอบว่า แม่เจ้าโพธิ โปรดฟังเรื่องตามที่ข้าพเจ้าบวช

นะจ๊ะ.

ในกรุงอุชเชนี ราชธานี [ของแคว้นอวันตี]

บิดาของข้าพเจ้าเป็นเศรษฐีผู้มีศีล ข้าพเจ้าเป็นธิดาคน

เดียวของท่าน จึงเป็นที่รักที่โปรดปรานและเอ็นดู.

ครั้งนั้น พวกคนสนิทที่มีตระกูลสูงมาจากเมือง

สาเกตบอกว่า เศรษฐีมีทรัพย์มากขอข้าพเจ้า บิดาจึง

ให้ข้าพเจ้าเป็นสะใภ้ของเศรษฐีนั้น.

ข้าพเจ้าต้องเข้าไปทำความนอบน้อม ด้วยเศียร-

เกล้า ไหว้เท้าเช้าเย็นต่อแม่ผัวและพ่อผัว ตามวิธีที่

ถูกสั่งสอนไว้.

ข้าพเจ้าเห็นพี่น้องคนใกล้เคียง แม้แต่คนสนิท

เพียงคนเดียวของสามี ข้าพเจ้าก็หวาดกลัว ต้องให้ที่

นั่งเขา.

ข้าพเจ้าต้องรับรองเขาด้วยข้าวน้ำของเคี้ยวที่จัด

ไว้แก่ผู้ที่เข้าไปนั้น นำเข้าไปและให้ของที่สมควร

แก่เขา.

ข้าพเจ้าบำรุงตามเวลา เข้าเรือนไปที่ประตูต้อง

ล้างมือเท้า ประนมมือเข้าไปหาสามี.

ข้าพเจ้าต้องถือหวี เครื่องลูบไล้ ยาหยอดตาและ

กระจก แต่งตัวให้สามีเองทีเดียว เหมือนหญิงรับใช้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 469

ข้าพเจ้าหุงข้าวต้มแกงเอง ล้างภาชนะเอง ปรน-

นิบัติสามีเหมือนอย่างมารดาปรนนิบัติบุตรคนเดียว-

ฉะนั้น.

ข้าพเจ้าจงรักภักดี ทำหน้าที่ครบถ้วน เลิก

มานะถือตัว ขยันไม่เกียจคร้าน มีศีลอย่างนี้ สามี

ก็ยังเกลียด.

สามีนั้นบอกบิดามารดาว่า ฉันลาไปละ ฉันไม่

ขออยู่ร่วมกับอิสิทาสี ทั้งจะไม่อยู่ร่วมในเรือนหลัง

เดียวกันด้วย.

บิดามารดาเขากล่าวว่า อย่าพูดอย่างนี้สิลูก

อิสิทาสีเป็นคนฉลาด สามารถ ขยันไม่เกียจคร้าน

ทำไมเจ้าไม่ชอบใจเล่าลูกเอ๋ย.

เขาตอบว่า อิสิทาสีไม่ได้เบียดเบียนฉันดอกจ้ะ

แต่ฉันไม่อยากอยู่ร่วมกับอิสิทาสี ฉันเกลียด ฉันพอแล้ว

ฉันขอลาไปละ.

แม่ผัวพ่อผัวฟังคำของบุตรนั้นแล้ว ได้ถาม

ข้าพเจ้าว่า เจ้าทำผิดอะไรต่อเขา จึงถูกเขาทอดทิ้ง จง

พูดไปตามจริงสิ.

ข้าพเจ้าตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ทำผิดอะไร ไม่ได้

เบียดเบียนเขา ทั้งไม่ได้พูดคำหยาบคาย ข้าพเจ้าหรือ

จะทำสิ่งที่สามีเกลียดข้าพเจ้าเล่าแม่เจ้า.

บิดามารดาของเขานั้นเสียใจเป็นทุกข์ หวังทะนุ-

ถนอมบุตร จึงนำข้าพเจ้ากลับไปเรือนบิดา ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 470

กลายเป็นแม่หม้ายสาวสามีร่างไป ภายหลังบิดาของ

ข้าพเจ้าได้ยกข้าพเจ้าให้แก่กุลบุตร ผู้มั่งคั่งน้อยกว่า

สามีคนแรกครั้งหนึ่ง ซึ่งเศรษฐีได้ข้าพเจ้าไป ข้าพเจ้า

อยู่ในเรือนสามีคนที่สองนั้นได้เดือนเดียว ต่อมาเขาก็

ขับข้าพเจ้า ผู้ปรนนิบัติประดุจทาสี ผู้ไม่ประทุษร้าย

พรั่งพร้อมด้วยศีล.

บิดาของข้าพเจ้าจึงพูดกะบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งฝึกคน

อื่น ๆ และฝึกตนแล้ว กำลังเที่ยวขอทานอยู่ว่าเจ้าจง

ทิ้งผ้าเก่าและหม้อข้าวเสียมาเป็นลูกเขยข้าเถิด.

แม้บุรุษผู้นั้นอยู่ได้ครึ่งเดือน ก็พูดกะบิดาว่า

โปรดคืนผ้าผืนเก่าและภาชนะขอทานแก่ข้าเถิด ข้า

จะไปขอทานอีก.

ครั้งนั้น บิดามารดาและหมู่ญาติของข้าพเจ้าทุก

คนพูดกะคนขอทานว่า ท่านทำกิจอะไรไม่ได้ในที่นี้

รีบบอกมา เขาจักทำกิจนั้นแทนท่านเอง.

เขาถูกบิดามารดาและญาติถามอย่างนี้แล้ว จึง

ตอบว่า ถึงตัวข้าจะเป็นไท ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่

ข้าจะอยู่กับอิสิทาสี ข้าไม่ขออยู่ร่วมกับอิสิทาสี ทั้ง

ไม่ขออยู่เรือนหลังเดียวกับอิสทาสี.

บิดายอมปล่อยชายขอทานนั้นไป ส่วนข้าพเจ้า

อยู่โดดเดี่ยวก็คิดว่า จำจะลาบิดามารดาไปตายหรือ

บวชเสีย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 471

ลำดับนั้น พระแม่เจ้าชินทัตตา ผู้ทรงวินัยเป็น

พหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีล เที่ยวบิณฑบาตก็มายังตระกูล

ของบิดา.

ข้าพเจ้าเห็นท่าน จึงลุกขึ้นไปจัดอาสนะของ

ข้าพเจ้าถวายท่าน เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้า

ก็กราบเท้าและถวายโภชนะ.

ข้าพเจ้าได้เลี้ยงดูด้วยข้าวน้ำ และของเคี้ยวที่จัด

ไว้ในเรือนให้อิ่มหนำสำราญแล้ว จึงเรียนท่านว่า

พระแม่เจ้า ข้าพเจ้าประสงค์จะบวชเจ้าข้า.

ลำดับนั้น บิดาพูดกะข้าพเจ้าว่า ลูกเอ๋ย ลูกจง

ประพฤติธรรมในเรือนนี้ก็แล้วกัน จงเลี้ยงดู

สมณะพราหมณ์ ด้วยข้าวนำไปเถิด.

ขณะนั้น ข้าพเจ้าร้องไห้ประคองมือประนมพูด

กะบิดาว่า ความจริงลูกก็ทำบาปมามากแล้ว ลูกจัก

ชำระบาปนั้นให้เสร็จสิ้นไปเสียที.

บิดาจึงอวยพรข้าพเจ้าว่า ลูกจงบรรลุโพธิญาณ

ธรรมอันเลิศและได้พระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ประเสริฐสุดแห่งสัตว์สองเท้าทรงกระทำให้แจ้งแล้ว

เถิด.

ข้าพเจ้ากราบบิดามารดาและหมู่ญาติทุกคน บวช

ได้ ๗ วัน ก็บรรลุวิชชา ๓.

ข้าพเจ้ารู้ระลึกชาติได้ ๗ ชาติ จักบอกกรรมที่

มีวิบากอย่างนี้แก่แม่เจ้า ขอแม่เจ้า โปรดมีใจเป็นหนึ่ง

ฟังวิบากกรรมนั้นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 472

ในนครชื่อเอรกัจฉะ ข้าพเจ้าเป็นช่างทอง มี

ทรัพย์มาก มัวเมาในวัยหนุ่มทำชู้กับภริยาผู้อื่น.

ข้าพเจ้านั้นจุติจากโลกนั้นแล้วต้องหมกไหม้อยู่

ในนรกเป็นเวลานาน ครั้นออกจากนรกนั้นแล้ว ก็

เข้าท้องนางวานร.

ข้าพเจ้าตลอดได้ ๗ วัน วานรใหญ่จ่าฝูงก็กัด

อวัยวะสืบพันธุ์เครื่องหมายเพศผู้เสีย นี่เป็นผลกรรม

ของข้าพเจ้าที่เป็นชู้ภริยาผู้อื่น.

ข้าพเจ้าจุติจากกำเนิดวานรนั้น ตายแล้วก็ไปเข้า

ท้องแม่แพะตาบอดและเป็นง่อย ในป่าแคว้นสินธพ.

ข้าพเจ้าอายุได้ ๑๒ ปี พาเด็กขี่หลังไปกระแทก

อวัยวะเพศ ป่วยเป็นโรคหนอนฟอน นี่เป็นผลกรรม

ที่ทำชู้ภริยาผู้อื่น.

ข้าพเจ้าจุติจากกำเนิดแพะแล้ว ก็เกิดในกำเนิด

แม่โคของพ่อค้าโค เป็นลูกโคขนแดงดั่งน้ำครั่ง อายุ

๑๒ เดือนก็ถูกตอน.

ข้าพเจ้าถูกใช้ให้ลากไถและลากเกวียน ป่วยเป็น

โรคตาบอด นี้เป็นผลกรรมที่เป็นชู้ภริยาผู้อื่น.

ข้าพเจ้าจุติจากกำเนิดแล้ว ก็ไปเกิดในเรือน

ทาสี ณ ท้องถนน ไม่ใช่หญิงไม่ใช่ชาย นี่เป็นผล

กรรมที่ทำชู้กับภริยาผู้อื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 473

ข้าพเจ้าอายุได้ ๓๐ ปีก็ตาย เกิดเป็นเด็กหญิงใน

ตระกูลช่างทำเกวียน ที่เข็ญใจ มีโภคะน้อย เป็นที่

รุมทวงหนี้ของเจ้าหนี้.

เมื่อหนี้พอกพูนทับถมกันมากขึ้น แต่นั้นนาย

กองเกวียน ก็ริบสมบัติฉุดเอาข้าพเจ้าซึ่งกำลังรำพัน

อยู่ออกจากเรือนของสกุล.

บุตรของนายกองเกวียน ชื่อคิริทาสเห็นข้าพเจ้า

เป็นสาววัยรุ่นอายุ ๑๖ ปี ก็มีจิตปฏิพัทธ์ ขอไปเป็น

ภริยา.

แต่นายคิริทาสนั้น มีภริยาอยู่ก่อนคนหนึ่ง เป็น

คนมีศีล มีคุณ มียศ จงรักสามี ข้าพเจ้าก็ทำให้สามี

เกลียดนาง ข้อที่สามีทั้งหลายเลิกร้างข้าพเจ้าซึ่งปรน-

นิบัติดุจทาสีไป ก็เป็นผลกรรมของกรรมนั้น ที่สุดแม้

ของกรรมนั้น ข้าพเจ้าก็กระทำเสร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นครมฺหิ กุสุมนาเม ได้แก่ ในนครที่

ขนานนามด้วยกุสุมศัพท์อย่างนี้ว่า กุสุมนคร นครแห่งดอกไม้ บัดนี้พระเถรี

แสดงนครนั้น โดยสรุปว่า ปาฏลิปุตฺตมฺหิ. บทว่า ปวิยา มณฺเฑ

ได้แก่ เป็นที่ผ่องแผ้วทั่วทั้งแผ่นดิน. บทว่า สกฺยกุลกุลีนาโย ได้แก่ เป็น

ธิดาของสกุลในศากยสกุล ท่านกล่าวอย่างนี้ ก็เพราะเป็นผู้บวชในศาสนาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นโอรสแห่งศากยราชสกุล.

บทว่า ตตฺถ ได้แก่ บรรดาภิกษุณี ๒ รูปนั้น. บทว่า โพธิ ได้แก่

พระเถรีมีชื่ออย่างนี้. บทว่า ฌานชฺฌายนรตาโย ได้แก่ ผู้ยินดียิ่งในการเพ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 474

ฌานที่เป็นโลกียะและโลกุตระ. บทว่า พหุสฺสุตาโย ได้แก่ เป็นพหูสูต โดย

พาหุสัจจะทางปริยัติ. บทว่า ธุตกิเลสาโย ได้แก่ ผู้เพิกถอนกิเลสได้โดยประการ

ทั้งปวง ด้วยพระอรหัตมรรค. บทว่า ภตฺตตฺถ กริย ได้แก่ ทำภัตรกิจเสร็จ

[ฉันเสร็จ]. บทว่า รหิตมฺหิ ได้แก่ ในที่ปราศจากผู้คน ในที่อันสงัด. บทว่า

สุขนิสินฺนา ได้แก่ นั่งเป็นสุข ด้วยสุขในบรรพชา และด้วยสุขในวิเวก. บทว่า

อิมา คิรา ได้แก่ การสนทนาอย่างเป็นสุข ที่จะกล่าวกันในบัดนี้. บทว่า

อพฺภุทีเรสุ ได้แก่ กล่าวกันเป็นการถามการตอบ.

คาถาว่า ปาสาทิกาสิ เป็นต้น พระโพธิเถรีกล่าวเป็นคำถาม.

คาถาว่า เอวนนุยุญฺชิยนานา เป็นต้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าว.

คาถาว่า อุชฺเชนิยา เป็นต้น ทั้งหมด พระอิสิทาสีเถรีกล่าวผู้เดียว. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า ปาสาทิกาสิ ได้แก่ เป็นผู้นำมาแต่ความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น

เพราะรูปงาม. บทว่า วโยปิ เต อปริหีโน ความว่า แม้วัยของพระแม่เจ้าก็ยัง

ไม่เสื่อมโทรม คือยังอยู่ในปฐมวัย. บทว่า กึ ทิสฺวาน พฺยาลิก ความว่า

เห็นทุกข์ภัย คือโทษอาทีนพในฆราวาสเช่นไร. ในบทว่า อถาสิ เนกฺขมฺม-

มนุยุตฺตา คำว่า อถ เป็นเพียงนิบาต, ได้เป็นผู้ขวนขวายในเนกขัมมะคือ

บรรพชา.

บทว่า อนุยุญฺชิยมานา ได้แก่ ถูกถาม ประกอบความว่า พระอิสิ-

ทาสีนั้น ถูกพระโพธิเถรีถาม. บทว่า รหิเต ได้แก่ ในสถานที่ว่างคน. บทว่า

สุณ โพธิ ยถามฺหิ ปพฺพชิตา ความว่า ท่านโพธิเถรี เจ้าแม่โปรดสดับ

โปรดฟังเรื่องเก่า ตามที่ข้าพเจ้าบวชมา.

บทว่า อุชฺเชนิยา ปุรวเร ได้แก่ ในนครอันอุดม [ราชธานี] ในแคว้น

อวันตี ชื่ออุชเชนี. บทว่า ปิยา ได้แก่ อันบิดามารดาพึงรัก เพราะเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 475

ธิดาคนเดียว. บทว่า มนาปา ได้แก่ จำเริญใจ ด้วยคุณคือศีลาจารวัตร.

บทว่า ทยิตา ได้แก่ อันบิดามารดาพึงเอ็นดู.

บทว่า อถ ได้แก่ ในภายหลัง คือในเวลาที่ข้าพเจ้าเจริญวัย บทว่า

เม สาเกตโต วรกา ความว่า คนสนิทของข้าพเจ้ามาแต่นครสาเกตเลือก

ข้าพเจ้า. บทว่า อุตฺตมกุลีนา ได้แก่ ผู้มีตระกูลเลิศในนครนั้น ผู้ที่ส่งคน

เหล่านั้นไป ก็คือเศรษฐีผู้มีรัตนะมาก. บทว่า ตสฺส มม สุณฺหมทาสิ

ตาโต ความว่า บิดาของข้าพเจ้าได้ให้ข้าพเจ้าเป็นสะใภ้ของเศรษฐีนครสาเกตุ

เป็นภริยาของบุตรชาย.

บทว่า สาย ปุาต ได้แก่ เวลาเย็นและเวลาเช้า. บทว่า ปณาม-

มุปคมฺม สริสา กโรมิ ความว่า ข้าพเจ้าเข้าไปหาแม่ผัวและพ่อผัวทำความ

นอบน้อมด้วยเศียรเกล้า กราบเท้าท่าน. บทว่า ยถามฺหิ อนุสิฎา ความว่า

ข้าพเจ้าจะทำตามที่ท่านสั่งสอน ไม่ล่วงละเมิดคำสั่งสอนของท่าน

บทว่า ตเมกวรกมฺปิ ได้แก่ แม้คนสนิทคนเดียว. บทว่า อุพฺพิคฺคา

ได้แก่ สะดุ้งกลัว. บทว่า อาสน เทมิ ความว่า สิ่งใดสมควรแก่ผู้ใด

ข้าพเจ้าย่อมให้สิ่งนั้นแก่ผู้นั้น.

บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในสถานที่เข้าไป. บทว่า สนฺนิหิต ได้แก่

ที่ที่จัดไว้มีอยู่. บทว่า ฉาเทมิ ความว่า รับรอง ครั้นรับรองแล้วก็นำเข้าไป

ครั้นนำเข้าไปแล้วก็ให้ แม้เมื่อจะให้ ก็ให้แต่สิ่งที่สมควรเท่านั้น.

บทว่า อุมฺมาเร ได้แก่ ประตู. บทว่า โธวนฺตี หตฺถปาเท

ประกอบความว่า ข้าพเจ้าต้องล้างมือเท้า ครั้นล้างแล้วจึงเข้าไปเรือน.

บทว่า โกจฺฉ ได้แก่ หวีสำหรับหวีหนวดและผม. บทว่า ปสาทน

ได้แก่ เครื่องทาหน้ามีผงหอมเป็นต้น. บาลีว่า ปสาธน ก็มี ได้แก่ เครื่อง

ประดับ. บทว่า อญฺชนึ ได้แก่ หลอดยาหยอดตา. บทว่า ปริกมฺมการิกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 476

วิย ความว่า ข้าพเจ้าแม้เป็นคนตระกูลเลิศ สมบูรณ์ด้วยสมบัติ ก็เป็นเหมือน

หญิงรับใช้ผู้บำเรอสามี.

บทว่า สาธยามิ ได้แก่ หุงต้ม. บทว่า ภาชน ได้แก่ ภาชนะทำด้วย

โลหะ ประกอบความว่า ข้าพเจ้าต้องปรนนิบัติล้าง (ภาชนะต่าง ๆ).

บทว่า ภตฺติกต ได้แก่ ผู้ทำความภักดีสามี. บทว่า อนุรตฺต

ได้แก่ ผู้จงรัก. บทว่า การิก ได้แก่ ผู้ทำใจที่ควรทำนั้นๆ ดังนี้. บทว่า

นิหตมาน ได้แก่ ผู้นำมานะออกไปแล้ว. บทว่า อุฏฺายิก ได้แก่ ผู้พร้อมด้วย

ความขยันหมั่นเพียร. บทว่า อนลส ได้แก่ เพราะพร้อมด้วยความขยันหมั่น-

เพียรนั้นนั่นแล จึงเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน. บทว่า สีลวตึ ได้แก่ ผู้เพียบพร้อม

ด้วยศีลาจารวัตร. บทว่า ทุสฺสเต แปลว่า ประทุษร้าย คือพูดเพราะโกรธ.

บทว่า ภณติ อาปุจฺฉห คมิสฺสานิ ความว่า สามีของข้าพเจ้านั้น

พูดกะบิดามารดาของตนว่า ฉันจะลาท่านพ่อท่านแม่ไปเสียในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง.

ถ้าจะถามว่าเขาพูดว่ากระไร ก็ตอบได้ว่า เขาพูดว่า ฉันจะไม่ยอมอยู่ร่วมกับ

อิสิทาสี ทั้งจะไม่ยอมอยู่ร่วมเรือนหลังเดียวกันด้วย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

วจฺฉ แปลว่าอยู่.

บทว่า เทสฺสา ได้แก่ ไม่เป็นที่รัก [เกลียด]. บทว่า อล เม

ความว่า ฉันไม่ต้องการอิสิทาสีนั้น. บทว่า อาปุจฺฉาห คมิสฺสามิ ความ

ว่า ถ้าท่านพ่อท่านแม่ประสงค์จะให้ฉันอยู่ร่วมกับอิสิทาสีนั้น ฉันก็จะขอลาท่าน

พ่อท่านแม่ไปอยู่ต่างถิ่น.

บทว่า ตสฺส ได้แก่ สามีของข้าพเจ้า. บทว่า กิสฺส ความว่า

เจ้าทำผิดพลาดอะไรต่อสามีของเจ้านั้น.

บทว่า นปิห อปรชฺฌ ความว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ทำผิดอะไรต่อสามี

นั้น. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า นปิ หึเสมิ ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 477

ทั้งก็ไม่ได้เบียดเบียน. บทว่า ทุพฺพจน ได้แก่ ถ้อยคำที่กล่าวชั่วหยาบ.

บทว่า กึ สกฺกา กาตุยฺเย ความว่า ข้าพเจ้าจะทำอะไรได้เล่าแม่เจ้า. บทว่า

ย ม วิทฺเทสฺสเต ภตฺตา ความว่า เพราะเหตุที่สามีของข้าพเจ้าเกลียด

คือ ทำความชัง ความเคืองขุ่นใจ.

บทว่า วิมนา ได้แก่ เสียใจ. บทว่า ปุตฺตมนุรกฺขมานา ได้แก่

ทนุถนอมบุตรของตน ซึ่งเป็นสามีของข้าพเจ้าด้วยการรักษาน้ำใจ. บทว่า

ชิตามฺหเส รูปินึ ลกฺขึ ความว่า ข้าพเจ้ามีชัยคือชนะ สิริคือศรีอันงาม

ได้หรือหนอ อธิบายว่า ข้าพเจ้าต้องเสื่อมจากเทวดาคือสิริที่เที่ยวอยู่โดยเพศ

มนุษย์แล้วหนอ หมายความว่าต้องเป็นหญิงหม้ายสามีร้างไปแล้ว.

บทว่า อฑฺฒสฺส ฆรมฺหิ ทุติยกุลิกสฺส ความว่า บิดาได้ให้

ข้าพเจ้าในเรือนกุลบุตรคนที่สอง เมื่อเทียบสามีคนที่หนึ่ง ก็มั่งคั่งน้อยกว่าครึ่ง

หนึ่ง แต่เมื่อให้ก็ให้โดยเรียกสินสอดครึ่งหนึ่ง จากสินสอดของสามีคนที่หนึ่งนั้น.

บทว่า เยน ม วินฺทถ เสฏฺี ประกอบความว่า เศรษฐีได้ข้าพเจ้าเป็น

คนแรกด้วยสินสอดอันใด บิดาข้าพเจ้าก็ให้โดยเรียกสินสอดอันนั้นครึ่งหนึ่ง

จากสินสอดสามีคนที่หนึ่งนั้น.

บทว่า โสปิ ได้แก่ แม้สามีตนที่สอง. บทว่า ม ปฏิจฺฉรยิ

ได้แก่ ขับไล่ข้าพเจ้า คือเขาเสือกไสข้าพเจ้าออกไปจากเรือน. บทว่า อุปฏฺ-

หนฺตึ ได้แก่ ผู้บำรุงคือทำการปรนนิบัติ ดุจทาสี. บทว่า อทูสิก แปล

ว่าผู้ไม่ประทุษร้าย.

บทว่า ทมก ได้แก่ ผู้ฝึกจิตของตนอื่น ๆ เพราะเป็นผู้อธิษฐาน

ความกรุณาไว้ คือผู้เที่ยวขออาหารที่ผู้อื่นพึงให้ ทำกายวาจาคนให้สงบระงับ

โดยอาการที่ชนเหล่าอื่นจักให้ของบางสิ่ง. บทว่า ชามาตา ได้แก่ สามีของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 478

ธิดา [ลูกเขย] บทว่า นิกฺขิป โปฏฺิญฺจ ฆฏิกญฺจ ความว่า เจ้าจงทิ้ง

ผ้าเก่าที่เจ้านุ่งห่ม และภาชนะขอทานเสีย.

บทว่า โสปิ วสิตฺวา ปกฺข ความว่า ชายขอทานแม้คนนั้น

อยู่ร่วมกับข้าพเจ้าได้เพียงครึ่งเดือน ก็หลีกไป.

บทว่า อถ น ภณตี ตาโต ความว่า บิดามารดาและหมู่ญาติ

ทุกคนของข้าพเจ้า รวมกันเป็นกลุ่มช่วยกันพูดกะชายขอทานนั้น พูดว่าอย่างไร

พูดว่า กึ เต น กีรติ อิธ แปลว่า ชื่อว่า กิจอะไรท่านทำไม่ได้ ทำ

ไม่สำเร็จในที่นี้ จงรีบบอกมา. บทว่า ต เต กริหิต ได้แก่ เขาจักทำกิจ

นั้นแทนท่าน.

บทว่า ยทิ เม อตฺตา สกฺโกติ ประกอบความว่า ถ้าตัวข้าพึ่งตัว

เองได้ เป็นไทแก่ตัว ข้าก็พอ คือแม่อิสิทาสีนั้น ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะฉะนั้น

ข้าจะไม่นั่งร่วมไม่อยู่ร่วม ทั้งจะไม่อยู่ร่วมในเรือนหลังเดียวกันกับแม่อิสิทาสีนั้น.

บทว่า วิสฺสชฺชิโต คโต โส ความว่า ชายขอทานนั้น บิดา

ยอมปล่อยแล้ว ก็ไปตามชอบใจ. บทว่า เอกากินี แปลว่า โดดเดี่ยว. บทว่า

อาปุจฺฉิตูน คจฺฉ ความว่า ข้าพเจ้าจะสละบิดาของข้าพเจ้าไป. บทว่า มริตุเย

แปลว่า เพื่อตาย. วา ศัพท์เป็นนิบาตลงในอรรถวิกัป.

บทว่า โคจราย แปลว่า เพื่อหาอาหาร ประกอบความว่า มาสู่

ตระกูลของบิดา เพื่อหาอาหาร.

บทว่า ต ได้แก่ ท่านพระชินทัตตาเถรีนั้น. บทว่า อุฏฺายาสน

ตสฺสา ปญฺาปยึ ความว่า ลุกขึ้นไปปูอาสนะถวายพระเถรีนั้น.

บทว่า อิเธว ได้แก่ ยืนที่เรือนหลังนี้นี่แหละ. บิดาเมื่อเอ็นดู ก็เรียก

ธิดาโดยโวหารสามัญว่า ลูกเอ๋ย. บทว่า จราหิ ตฺว ธมฺม ความว่า ลูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 479

จงประพฤติธรรมมีพรหมจรรย์เป็นต้น ที่พึงบวชแล้วประพฤติ. บทว่า ทวิชาตี

ได้แก่ ชาติพราหมณ์

บทว่า นิชฺชเรสฺสามิ ได้แก่ ทำให้หมดไป ให้เสื่อมสิ้นไป.

บทว่า โพธึ ได้แก่ ตรัสรู้สัจจะ อธิบายว่ามรรคญาณ. บทว่า

อคฺคธมฺม ได้แก่ ธรรมส่วนผล คือพระอรหัต. บทว่า ย สจฺฉิกรี ทฺวิ-

ปทเสฎฺโ ประกอบความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดแห่งสัตว์

สองเท้าทั้งหลาย ได้ทรงกระทำโลกุตรธรรมอันใด ที่เข้าใจกันว่า มรรคผล

นิพพานให้แจ้ง ลูกก็จงได้โลกุตรธรรมอันนั้น.

บทว่า สตฺตาห ปพฺพชิตา ความว่า บวชได้สัปดาห์หนึ่ง. บทว่า

อผสฺสยิ แปลว่า ถูกต้อง คือกระทำให้แจ้ง.

บทว่า ยสฺสย วิปาโก ความว่า วิบากนี้เป็นผลที่หลั่งออก

คือความเป็นผู้ไม่สบใจสามี ของบาปกรรมอันใด. บทว่า ต ตว

อาจิกฺขิสฺส ความว่า ข้าพเจ้าจักกล่าวบาปกรรมนั้นแก่แม่เจ้า. บทว่า ต ได้แก่

กรรมนั้นนั่นแหละ ที่จะกล่าว หรือถ้อยคำของข้าพเจ้านั้น. บทว่า เอกมนา

ได้แก่ เป็นผู้มีใจมีอารมณ์เดียว อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.

บทว่า นครมฺหิ เอรกจฺเฉ ได้แก่ ในนครที่มีชื่ออย่างนี้. บทว่า

โส ปรทาร อเสวิห แปลว่า ข้าพเจ้านั้น ได้ซ่องเสพภริยาของผู้อื่น.

บทว่า จิร ปกฺโก ได้แก่ ถูกไฟนรกเผา หลายแสนปี. บทว่า

ตโต จ อุฏฺหิตฺวา ได้แก่ ออกคือจุติจากนรกนั้นแล้ว. บทว่า มกฺกฏิยา

กุจฺฉิโมกฺกมึ ได้แก่ ถือปฏิสนธิในท้องนางวานร.

บทว่า ยูถโป แปลว่า จ่าฝูง. บทว่า นิลฺลจฺเฉสิ ได้แก่ ตอน

คือควักพืชคืออวัยวะสืบพันธุ์ อันเป็นเครื่องหมายแห่งเพศผู้ออกเสีย. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 480

ตสฺเสต กมฺมผล ได้แก่ นั่นเป็นผลของกรรมที่ทำไว้ในอดีตของข้าพเจ้า

นั้น. บทว่า ยถาปิ คนฺตฺวาน ปรทาร ได้แก่ อย่างที่ข้าพเจ้าเป็นชู้ภริยา

ของผู้อื่น.

บทว่า ตโต ได้แก่ จากกำเนิดวานร. บทว่า สินฺธวารญฺเ

ได้แก่ ในสถานที่ป่าใหญ่ แคว้นสินธพ. บทว่า เอฬกิยา แปลว่า แม่แพะ.

บทว่า ทารเก ปริวหิตฺวา ได้แก่ พาพวกเด็กขี่หลังไป. บทว่า

กิมินาวฏฺโฏ ได้แก่ เป็นโรคถูกหนอนชอนไชในที่อวัยวะสืบพันธุ์ ทรมาน

กดขี่. บทว่า อกลฺโล แปลว่า ป่วย เติมคำว่า อโหสิ แปลว่า ได้เป็นสัตว์ป่วย.

บทว่า โควาณิชกสฺส ได้แก่ คนขายโคเลี้ยงชีพ. บทว่า ลาขาตมฺโพ

ได้แก่ ประกอบด้วยขนสีแดงเหมือนย้อมด้วยน้ำครั่ง.

บทว่า โวฒูน ได้แก่ ลาก. บทว่า นงฺคล แปลว่าไถ อธิบาย

ว่า ลากไถและลากเกวียน. บทว่า อนฺโธวฏฺฏ ได้แเก่ เป็นโรคตาบอด ทรมาน

เบียดเบียน.

บทว่า วีถิยา ได้แก่ ถนนในนคร. บทว่า ทาสิยา ฆเร ชาโต

ได้แก่ เกิดในท้องทาสีในเรือนเบี้ย. อาจารย์บางพวกกล่าวว่าหญิงวรรณะทาสก็มี.

บทว่า เนว มหิสา น ปุริโส ความว่า ข้าพเจ้าจะเป็นหญิงหรือเป็นชาย

ก็ไม่ใช่ คือไม่มีเพศ.

บทว่า ติสติวสฺสมฺหิ มโต ได้แก่ เป็นคนไม่มีเพศ ตายเสียเมื่อ

อายุได้ ๓๐ ปี. บทว่า สากฏิกกุลมฺหิ ได้แก่ ตระกูลช่างทำเกวียน. บทว่า

ธนิกปุริสปาตพหุลมฺหิ ได้แก่ เป็นที่บุรุษเจ้าหนี้ทั้งหลายมารวมกัน อัน

เจ้าหนี้เป็นอันมากพากันมาทวงหนี้.

บทว่า อุสฺสนฺนาย ได้แก่ สะสม. บทว่า วิปุลาย ได้แก่ มาก.

บทว่า วฑฺฒิยา ได้แก่ เมื่อหนี้พอกพูน. บทว่า โอกฑฺฒติ ได้แก่ ฉุด

คร่า. บทว่า กุลฆรสฺมา ได้แก่ จากเรือนตระกูลที่ข้าพเจ้าเกิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 481

บทว่า โอรุนฺธตสฺส ปุตฺโต ความว่า บุตรของนายกองเกวียน

นั้น ชื่อว่า คิริทาส เกิดจิตปฏิพัทธ์ในข้าพเจ้า ก็กักตัวไว้ คือทำให้ข้าพเจ้า

อยู่ในเรือนโดยเป็นผู้ควรหวงแหนสำหรับตน.

บทว่า อนุรตฺตา ภตฺตาร ได้แก่ คล้อยตามสามี. บทว่า ตสฺสาห

วิทฺเทสนมกาสึ ได้แก่ วิเทสนกรรมคือทำภริยากับสามีให้เกลียดกันเป็นศัตรู

กัน คือข้าพเจ้าปฎิบัติโดยวิธีที่สามีขุ่นเคืองภริยานั้น.

บทว่า ย ม อปกีริตูน คจฺฉนฺติ ได้แก่ ข้อที่สามีทั้งหลายใน

เรือนนั้น ๆ สละทอดทิ้งข้าพเจ้า ซึ่งปรนนิบัติโดยเคารพประดุจทาสี ไม่อาลัย

อาวรณ์เลิกร้างไป เป็นผลที่หลั่งไหลมาแห่งกรรมคือการเป็นชู้ภริยาผู้อื่น และ

กรรมคือการทำสามีภริยาให้เกลียดเป็นศัตรูกัน ที่ทำไว้ครั้งนั้น ของข้าพเจ้า

นั้น. บทว่า ตสฺสปิ อนฺโต กโต มยา ความว่า ที่สุดแห่งกรรมที่ทำ

ให้ถึงความยินร้าย อย่างนั้นนั้นอันทารุณ บัดนี้ ข้าพเจ้าผู้บรรลุอรหัตมรรค

กระทำเสร็จแล้ว ทุกข์อะไรนอกจากนี้ไม่มีกันละ. ก็คำที่มิได้จำแนกไว้ใน

ระหว่าง ๆ ในเรื่องนี้ มีความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยที่กล่าวมาแล้ว.

จบอรรถกถาอิสิทาสีเถรีคาถา

จบอรรถกถาจัตตาฬีสนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 482

เถรีคาถา มหานิบาต

สุเมธาเถรีคาถา

[๔๗๔] พระสุเมธาเถรี กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานคาถาว่า

ข้าพเจ้าเป็นธิดาของพระอัครมเหสีของพระเจ้า-

โกญจะ กรุงมันตาวดี ชื่อว่า สุเมธา อันพระอริยะ

ทั้งหลายผู้ทำตามคำสั่งสอนทำให้เลื่อมใสแล้ว พระนาง

สุเมธามีศีล กล่าวธรรมได้วิจิตร เป็นพหูสูต ถูกแนะนำ

ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เข้าเฝ้าพระชนกชนนี

กราบทูลว่า ขอพระชนกชนนีทั้งสองพระองค์ โปรด

ตั้งพระทัยสดับคำของลูก.

ลูกยินดีอย่างยิ่งในพระนิพพาน ภพถึงแม้ว่าจะ

เป็นทิพย์ ก็ไม่ยั่งยืน จะป่วยกล่าวไปไยถึงกามทั้งหลาย

ซึ่งเป็นของว่างเปล่า อร่อยน้อย คับแค้นมาก.

กามทั้งหลายเผ็ดร้อน เปรียบด้วยงูพิษ ที่พวก

คนเขลาพากันจมดักดาน คนเขลาเหล่านั้นแออัดกันใน

นรก ต้องเดือดร้อนเป็นทุกข์เป็นเวลาช้านาน.

พวกคนเขลา ผู้ไม่สำรวมกายวาจาใจ ทำกรรม

ที่เป็นบาป พอกพูนแต่บาป ย่อมเศร้าโศกในอบาย

ทุกเมื่อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 483

คนเขลาเหล่านั้น ไม่มีปัญญา ไม่มีเจนนา ถูก

ทุกข์และสมุทัยปิดไว้ เมื่อไม่รู้อริยธรรมที่ท่านแสดง

ก็ไม่ตรัสรู้อริยสัจ.

ทูลกระหม่อมแม่เจ้าขา คนเขลาเหล่าใดเมื่อไม่

รู้สัจจะทั้งหลาย ที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดง

แล้ว ยังชื่นชมภพ กระหยิ่มการเกิดในหมู่เทพทั้งหลาย

คนเขลาเหล่านั้นมีจำนวนมากกว่าเพคะ.

เมื่อภพไม่เที่ยง ความเกิดในหมู่เทพทั้งหลายก็

ไม่ยั่งยืน พวกคนเขลา ย่อมไม่หวาดสะดุ้งต่อคนที่

ต้องเกิดบ่อย ๆ.

อบาย ๔ สัตว์ทั้งหลายย่อมได้กันสะดวก ส่วน

คติ ๒ ได้กันลำบาก, ในนรกของเหล่าสัตว์ที่เข้าถึง

อบาย ไม่มีการบวชดอกเพคะ.

ขอพระชนกชนนีทั้งสองพระองค์ โปรดทรง

อนุญาตให้ลูกบวชในธรรมวินัยของพระทศพลเถิด

เพคะ ลูกจักขวนขวายน้อย พากเพียรเพื่อละชาติและ

มรณะ.

จะมีประโยชน์อะไร ด้วยโทษคือกายที่ไร้สาระ

นั้น ซึ่งพวกคนเขลาชื่นชมนักหนา ขอทรงโปรด

อนุญาตเถิด ลูกจักบวชเพื่อดับภวตัณหา ความอยาก

ในภพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 484

ความอุบัติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ลูกได้แล้ว

อขณะก็เว้นไปแล้ว ขณะลูกก็ได้แล้ว ลูกจะไม่ประ-

ทุษร้ายศีลและพรหมจรรย์ตลอดชีวิต.

พระนางสุเมธากราบทูลพระชนกชนนีอย่างนี้ว่า

ลูกยังเป็นคฤหัสถ์ จักไม่เสวยอาหาร จักยอมตายเพคะ

พระชนนีทรงเป็นทุกข์ ทรงกันแสง พระชนก

ของพระนางสุเมธานั้น พระอัสสุชลก็นองทั่วทั้งพระ-

พักตร์ ทั้งสองพระองค์ทรงพากเพียรเกลี้ยกล่อมพระ-

นางสุเมธา ซึ่งฟุบลงที่พื้นปราสาทว่า

ลูกเอ๋ย ลุกขึ้นสิ จะเศร้าโศกไปทำไม พ่อยกลูก

ให้ที่กรุงวารณวดีแล้วนะลูก พระเจ้าอนิกรัตตะทรง

งามสง่า พ่อยกลูกถวายพระองค์แล้ว.

ลูกจักเป็นเอกอัครมเหสีของพระเจ้าอนิกรัตตะ

ศีล พรหมจรรย์ บรรพชา ทำได้ยากนะลูกนะ.

อำนาจ ทรัพย์ ความเป็นใหญ่ โภคะ สุข ใน

ราชสมบัติ ทั้งลูกก็ยังเป็นสาว จงบริโภคกามเถิด.

ลูกจงวิวาหะเสียนะลูกนะ.

พระนางสุเมขากราบทูลพระชนกชนนีนั้นว่า

อำนาจเป็นต้นเช่นนี้ อย่ามีมาเลย เพราะภพหาสาระ

มิได้ การบวชหรือความตายเท่านั้นจักมีแก่ลูก ลูกไม่

ยอมวิวาทะแน่แท้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 485

กายอันเน่าเหมือนหนอน ไม่สะอาดกลิ่นเหม็น

คลุ้งไป น่าสะพรึงกลัว ดุจถุงหนึ่งบรรจุซากศพ เป็น

ด้วยของไม่สะอาด ไหลออกอยู่เป็นนิตย์ อันคนเขลา

ยึดถืออยู่.

ลูกรู้จักซากศพนั้นเป็นเหมือนอะไร เป็นเหมือน

ของปฏิกูล ฉาบด้วยเนื้อและเลือดเป็นที่อยู่ของลูก

หลานหนอน เป็นอาหารของแร้งกา ทำไม ทูล-

กระหม่อมจึงพระราชทานกเฬวรากซากศพ แก่พระ

ราชาพระองค์นั้นเล่าเพคะ.

ไม่ช้าร่างกายที่ปราศจากวิญญาณ อันหมู่ญาติผู้

เกลียดทอดทิ้งไปเหมือนท่อนไม้ เขาก็พากันนำไปป่าช้า.

บิดามารดาของตนยังเกลียด ครั้นเอาซากศพ

นั้นไปทิ้งให้เป็นอาหารสัตว์อื่นในป่าช้าแล้ว กลับมาก็

ต้องอาบน้ำดำเกล้า จะป่วยกล่าวไปไยถึงหมู่ชนทั่ว ๆ

ไปเล่า.

หมู่ชนยึดถืออยู่ในซากศพที่ไม่มีแก่นสาร เป็น

ร่างของกระดูกและเอ็น เป็นกายอันเน่า เต็มไปด้วย

น้ำลาย น้ำตา และอุจจาระ.

ผู้ใดพึงชำแหละร่างกายนั้นเอาข้างในมาไว้ข้าง-

นอก ก็จะทนกลิ่นเหม็นของร่างกายนั้น ไม่ได้ แม้แต่

มารดาของตนก็ยังเกลียด.

บัณฑิตทั้งหลาย เลือกเฟ้นโดยอุบายอันแยบคาย

ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 486

ทุกข์ ที่มีชาติเป็นมูล ทำไม ลูกจึงยังจะปรารถนา

วิวาหะเล่าเพคะ.

หอก ๓๐๐ เล่ม ใหม่เอี่ยม จะพึงตกต้องที่กาย

ทุกๆ วัน ทิ่มแทงอยู่ถึง ๑๐๐ ปี ยังประเสริฐกว่า

หากว่าความสิ้นทุกข์จะพึงมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

ชนใด รู้คำสั่งสอนของพระศาสดาอย่างนี้ พึง

ยอมรับการทิ่มแทง [ดังกล่าว] สังสารวัฏย่อมยืดยาว

สำหรับ ชนเหล่านั้นซึ่งเดือดร้อนอยู่ร่ำไป.

ในเทวดา มนุษย์ ในกำเนิดสัตว์เดียรฉาน หมู่

อสุรกาย เปรตดและสัตว์นรก การทำร้ายกันยังปรากฏ

อยู่หาประมาณมิได้.

สำหรับสัตว์อยู่ในอบาย ทำกำลังถูกเบียดเบียน

ยังมีการทำร้ายกันเป็นอันมากในนรก แม้ในเทวดา

ทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้ สุขนอกจากสุขคือพระนิพพาน

ไม่มีเลย.

ชนเหล่าใด ประกอบอยู่ในพระธรรมวินัยของ

พระทศพล ขวนขวายน้อย พากเพียรเพื่อละชาติ

มรณะ ชนเหล่านั้นก็ถึงพระนิพพาน.

ทูลกระหม่อมพ่อเพคะ วันนี้นี่แหละลูกจักออก

บวช ประโยชน์อะไรด้วยโภคะทั้งหลายที่ไม่มีแก่นสาร

กามทั้งหลายลูกเบื่อหน่ายแล้ว ลูกทำให้เสมอด้วยราก

สุนัข ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 487

พระนางสุเมธานั้น กราบทูลพระชนกอยู่อย่างนี้

พระเจ้าอนิกรัตตะ ผู้ที่ได้รับพระราชทานพระนางสุ-

เมธานั้น ทรงแวดล้อมด้วยข้าราชบริพารหนุ่ม ก็เสด็จ

เข้าสู่วิวาหะเมื่อเวลากระชั้นชิด.

ภายหลัง พระนางสุเมธาทรงทราบว่า พระเจ้า-

อนิกรัตตะเสด็จมา จึงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศาอันดำ

สนิทที่รวบไว้ อ่อนสลวย ทรงปิดปราสาท เข้าปฐม-

ฌาน

พระนางสุเมธานั้น เข้าฌานอยู่ในปราสาทนั้น

พระเจ้าอนิกรัตตะก็เสด็จถึงพระนคร พระนางสุเมธา

ทรงเจริญอสุภสัญญาอยู่ในปราสาท.

พระนางสุเมธานั้นกำลังทรงมนสิการ พระเจ้า

อนิกรัตตะ ทรงแต่งพระองค์ด้วยมณีและทอง ก็รีบ

เสด็จขึ้นปราสาท ทรงประคองอัญชลี ทูลวอน

พระนางสุเมธาว่า

อำนาจ ทรัพย์ ความเป็นใหญ่ โภคะ สุขใน

ราชสมบัติ ขอมอบถวาย พระน้องนางก็ยังสาวอยู่

ขอเชิญบริโภคกามสมบัติ กามสุขหาได้ยากในโลก

นะพระน้องนาง.

ราชสมบัติพี่สละให้พระน้องนางแล้ว ขอพระ-

น้องนางโปรดบริโภคโภคะ ถวายทานทั้งหลายเถิด

พระน้องนางอย่าทรงเสียพระทัยเลย พระชนกชนนี้

ของพระน้องนางทรงเป็นทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 488

เพราะเหตุนั้น พระนางสุเมธา ผู้ไม่ต้องการ

ด้วยกามทั้งหลาย ทรงปราศจากโมหะแล้วจึงทูลพระ-

เจ้าอนิกรัตตะว่าอย่าทรงเพลิดเพลินกามเลย โปรดทรง

เห็นโทษในกามทั้งหลายเถิดเพคะ.

พระเจ้ามันธาตุราช เจ้าทวีปทั้ง ๔ ทรงเป็นยอด

ของผู้บริโภคกามทั้งหลายยังไม่ทันทรงอิ่ม ก็เสด็จ

สวรรคตไปแล้ว ความปรารถนาของพระองค์ ก็ยัง

ไม่เต็ม.

เทวดาแห่งฝนพึงหลั่งฝนคือรัตนะ ๗ ลงมาโดย

รอบทั้ง ๑๐ ทิศ ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ก็ไม่มี

นรชนทั้งหลาย ทั้งที่ยังไม่อิ่มก็พากันตายไป.

กามทั้งหลาย เปรียบด้วยดาบและหลาว เปรียบ

ด้วยหัวงูเห่า เปรียบด้วยคบเพลิง ตามเผาอยู่ เปรียบ

ด้วยร่างกระดูก.

กามทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก มี

พิษมาก เป็นมูลแห่งทุกข์ มีทุกข์เป็นผลเหมือน

ก้อนเหล็กที่ร้อนโชน.

กามทั้งหลายเปรียบด้วยผลไม้ เปรียบด้วยชิ้น

เนื้อ เป็นทุกข์ กามทั้งหลายเปรียบด้วยความฝัน

หลอกลวง เปรียบด้วยของที่ยืมเขามา.

กามทั้งหลาย เปรียบด้วยหอกและหลาวเป็นโรค

เป็นฝี เป็นทุกข์ เป็นความลำบาก เสมือนหลุมถ่าน

เพลิง เป็นมูลแห่งทุกข์ เป็นภัย เป็นเพชฆฆาต [ผู้ฆ่า]

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 489

กามทั้งหลายมีทุกข์มากดังกล่าวมานี้ บัณฑิตทั้ง

หลายจึงกล่าวว่าทำอันตราย เชิญเสด็จกลับไปเสียเถิด

หม่อมฉันไม่พิศวาสในความมีโชคของพระองค์ดอก

เพคะ.

เมื่อไฟกำลังไหม้ศีรษะของหม่อมฉันอยู่ คนอื่น

จะช่วยอะไรหม่อมฉันได้ เมื่อชรามรณะติดตามอยู่ ก็

ควรพยายามทำลายชรามรณะนั้นเสีย.

ข้าพระองค์เห็นพระชนกชนนี และพระเจ้าอนิก-

รัตตะเสด็จยังไม่ทันถึงพระทวาร ก็ประทับนั่งที่พื้นดิน

ทรงพระกันแสง จึงกราบทูลดังนี้ว่า สังสารวัฏ ย่อมยืด

ยาวสำหรับ พวกคนเขลา ที่ร้องไห้บ่อย ๆ เพราะบิดา

ตาย พี่ชายถูกฆ่า เพราะตัวเองถูกฆ่า ในสังสารวัฏ

ที่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว.

โปรดทรงระลึกถึงสังสารวัฏ ที่ประกอบด้วย

นาตา น้ำนม และน้ำเลือด โดยความเป็นสังสารวัฏ

ที่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลาย ที่ตามไปไม่รู้แล้ว โปรดทรง

ระลึกถึงกองกระดูกทั้งหลาย ของเหล่าสัตว์ที่ท่องเที่ยว

อยู่.

โปรดทรงระลึกถึงมหาสมุทรทั้ง ๔ ในน้ำตา น้ำ

นมและน้ำเลือด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงน้อมนำมา

เปรียบเทียบ โปรดทรงระลึกถึงกองกระดูกทั้งหลาย

ในกัปหนึ่งที่เทียบเท่าภูเขาวิปุลบรรพต.

โปรดระลึกถึงแผ่นดินชมพูทวีป ที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงนำมาเปรียบเทียบสังสารวัฏ ของสัตว์ที่ท่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 490

เที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ ที่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้

แล้ว แผ่นดินทั้งหลายทำเป็นก้อนขนาดเมล็ดพุทรา ก็

มากไม่พอกับจำนวนแม่และยายทั้งหลาย.

โปรดทรงระลึกถึงหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ที่พระผู้

มีพระภาคเจ้าทรงน้อมนำมาเปรียบเทียบเพราะสังสาร-

วัฏมีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว ท่อนไม้ทั้ง

หลาย ขนาด ๔ องคุลี ก็มากไม่เท่ากับจำนวนพ่อและ

ปู่ทั้งหลาย.

โปรดทรงระลึกถึงเต่าตาบอด และซ่องแอก อัน

หมุนไปทิศบูรพา และทิศอื่น ๆ อีกในมหาสมุทร มา

สวมหัวเต่าตาบอดตัวนั้น เปรียบเทียบในการได้อัต-

ภาพเป็นมนุษย์.

โปรดทรงระลึกถึงโทษคือกาย ที่ไม่มีแก่นสาร

เปรียบด้วยก้อนฟองน้ำ โปรดทรงเห็นขันธ์ทั้งหลาย

ไม่เที่ยง โปรดทรงระลึกถึงนรกทั้งหลาย ที่มีความ

คับแค้นมาก.

โปรดทรงระลึกถึงสัตว์ทั้งหลาย ที่พากันทำให้

รกป่าช้าในชาตินั้น ๆ เรื่อยไป โปรดทรงระลึกถึงภัย

คือจระเข้ ความเห็นแก่ปากท้อง โปรดทรงระลึกถึง

อริยสัจ ๔.

เมื่ออมตนิพพานมีอยู่ จะต้องการอะไรด้วยของ

เผ็ดร้อน ๕ อย่าง ที่พระองค์ทรงดื่มแล้ว เพราะว่า

ความยินดีกามทุกอย่าง เผ็ดร้อนกว่าของเผ็ดร้อน ๕

อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 491

เมื่ออมตนิพพานมีอยู่ พระองค์จะทรงต้องการ

อะไรด้วยกามทั้งหลายที่เร่าร้อน เพราะความยินดีกาม

ทุกอย่าง อันไฟติดโพลงแล้ว ให้เดือดแล้ว ให้หวั่น

ไหวแล้ว เผาให้ร้อนแล้ว.

เมื่อเนกขัมมะที่ไม่มีข้าศึกมีอยู่ พระองค์ยังจะ

ต้องการอะไรด้วยกามทั้งหลายที่มีข้าศึกมาก กาม

ทั้งหลาย มีภัยอยู่ทั่วไปคือราชภัย อัคคีภัย อุทกภัย

และอัปปิยภัย [ภัยคือคนร่วมมรดกที่ไม่ถูกกัน] ชื่อว่า

มีข้าศึกมาก.

เมื่อโมกขธรรมมีอยู่ พระองค์ยังจะต้องการอะไร

ด้วยกามทั้งหลาย ที่มีการฆ่าการจองจำเล่า เพราะว่า

การฆ่าการจองจำมีอยู่ในกามทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย

ผู้ใคร่กาม ย่อมเสวยทุกข์ทั้งหลาย

กามทั้งหลาย เหมือนคบเพลิงที่ลุกโพงลง ย่อม

ไหม้คนถือที่ไม่ยอมปล่อย เพราะว่ากามทั้งหลาย

เปรียบเหมือนคบเพลิง ย่อมจะไหม้คนที่ไม่ยอมปล่อย

คบเพลิง.

โปรดอย่าทรงละสุขอันไพบูลย์ เพราะเหตุแห่ง

กามสุขเล็กน้อยเลย อย่าทรงเป็นดุจปลากลืนเบ็ดแล้ว

ต้องเดือดร้อนภายหลัง.

โปรดอย่าหมุนไปหมุนมาเพราะกามทั้งหลาย ดุจ

สุนัขถูกล่ามโซ่เลย เพราะกามทั้งหลาย จักทำผู้นั้น

ให้เป็นเหมือนคนจัณฑาล หิวจัด ได้สุนัขก็ทำให้

พินาศได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 492

พระองค์ทรงประกอบด้วยกาม จักเสวยทุกข์อัน

หาประมาณมิได้ และความเสียใจอย่างมาก โปรด

ทรงสละกามอันไม่ยั่งยืนเสียเถิด.

เมื่อพระนิพพานที่ไม่มีความแก่มีอยู่ พระองค์

ยังจะต้องการอะไรด้วยกามทั้งหลายที่มีความแก่เล่า

ชาติทั้งปวง อันมรณะและพยาธิกำกับไว้ในภพทุกภพ.

พระนิพพานนี้ไม่แก่ พระนิพพานนี้ไม่ตาย

พระนิพพานนี้เป็นบทอันไม่แก่และไม่ตาย ไม่มีความ

เศร้าโศก ไม่ถูกข้าศึกเบียดเบียน ไม่พลาดไม่น่ากลัว

ไม่มีความเดือดร้อน.

พระนิพพานนี้ พระอริยะเป็นอันมากบรรลุแล้ว

อมตนิพพานนี้ อันผู้พยายามโดยแยบคายควรได้ใน

วันนี้นี่แหละ แต่ผู้ไม่พยายามหาอาจได้ไม่.

พระนางสุเมธาเมื่อไม่ทรงได้ความยินดีในสังขาร

กำลังทรงเกลี้ยกล่อมพระเจ้าอนิกรัตตะ ก็ทรงโยน

พระเกศาลงที่พื้นดิน.

พระเจ้าอนิกรัตตะ เสด็จลุกขึ้นประคองอัญชลี

ทูลวอนพระชนกของพระนางว่า ขอทรงโปรดปล่อย

พระนางสุเมธาทรงผนวชเถิด เพราะว่าพระนางทรง

เห็นวิโมกข์และสัจจะ

พระนางสุเมธานั้น อันพระชนกชนนีทรงปล่อย

แล้ว ทรงกลัวภัยคือความโศก ทรงผนวชแล้ว เมื่อ

ทรงศึกษาผลอันเลิศ ก็ทรงทำให้แจ้งอภิญญา ๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 493

พระนิพพานนั้น อัศจรรย์ไม่เคยมี ก็ได้มีแก่

พระนางสุเมธาราชธิดา พระสุเมธาเถรีได้พยากรณ์

ปุพเพนิวาสจริต เหมือนดังที่กล่าวในเวลาปรินิพพาน

ว่า

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ

เสด็จอุบัติในโลก เมื่อสร้างสังฆารามเสร็จใหม่ ๆ

ข้าพเจ้าได้เป็นหญิง ๓ คน เป็นสหายกัน [ธนัญชานี

เขมา และข้าพเจ้า] ได้ถวายวิหารทาน.

ข้าพระองค์เกิดในเทวดา ๑๐ ครั้ง ๑๐๐ ครั้ง

๑,๐๐๐ ครั้ง ๑๐,๐๐๐ ครั้ง ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการเกิด

ในมนุษย์ ข้าพเจ้ามีฤทธิ์มากในหมู่เทวดา ไม่จำต้อง

กล่าวถึงฤทธิ์ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าเป็นมเหสีนารีรัตน์

ของพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้มีรัตนะ ๗ ประการ

การสร้างอารามถวายสงฆ์ เป็นวิหารทานครั้งนั้น

เป็นเหตุ เป็นแดนเกิดแห่งทิพยสมบัติ ข้อนั้นเป็นมูล

เป็นการอดทนต่อการเพ่งธรรมในพระศาสนา เป็นที่

รวมบุญครั้งแรก ข้อนั้นเป็นความดับทุกข์ สำหรับ

ข้าพเจ้าผู้ยินดีในธรรม.

ชนเหล่าใด เชื่อพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ผู้มีพระปัญญาไม่ทราม ชนเหล่านั้นย่อมกล่าว

อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในภพ ครั้นเบื่อหน่ายแล้ว ย่อม

คลายกำหนัด ดังนี้.

จบ สุเมธาเถรีคาถา

จบ มหานิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 494

เถรีคาถา มหานิบาต

๑. อรรถกถาสุเมธาเถรีคาถา

ในมหานิบาต คาถาว่า มนฺตาวติยา นคเร เป็นต้น เป็นคาถา

ของ พระสุเมธาเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระเถรีแม้รูปนี้ ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ

สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้น ๆ เพิ่มพูนสัมภารธรรม

เครื่องปรุงแต่งวิโมกข์โดยเคารพ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ

ก็บังเกิดในเรือนสกุล รู้เดียงสาแล้ว ก็มีอัธยาศัยเป็นอันเดียวกันกับเหล่ากุลธิดา

สหายของตน ร่วมกันสร้างอารามใหญ่ มอบถวายภิกษุสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้า

เป็นประธาน เพราะบุญกรรมนั้น เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ นางก็บังเกิดใน

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ณ สวรรค์ชั้นนั้น นางก็เสวยทิพยสมบัติจนตลอดอายุ จุติ

จากนั้นแล้วก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นยามา จุติจากนั้นแล้วก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต

จากดุสิตสวรรค์ก็มาสวรรค์ชั้นนิมมานรดี จากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีก็มาสวรรค์

ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี นางบังเกิดในสวรรค์กามพาจรทั้ง ๕ ชั้นตามลำดับดังกล่าว

มาฉะนี้ เป็นมเหสีของท้าวเทวราช [เทวดาเจ้าสวรรค์แต่ละชั้น] ในสวรรค์

ชั้นนั้น ๆ จุติจากนั้นแล้ว ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ก็เป็นธิดา

ของเศรษฐี ผู้มีสมบัติมาก รู้เดียงสาตามลำดับแล้ว ก็เลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา

ได้กระทำบุญกรรมอันโอฬารเฉพาะพระรัตนตรัย.

ในครั้งนั้น นางอาศัยธรรมหล่อเลี้ยงชีวิต ยินดีมั่นในกุศลธรรม จน

ตลอดชีวิต จุติจากนั้น แล้วก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 495

อยู่ในสุคติเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็บังเกิดเป็นธิดาของพระเจ้าโกญจะกรุง

มันตาวดี พระชนกชนนีได้ขนานพระนามพระนางว่าสุเมธา สมัยพระนางเจริญ

พระชันษา ก็ทรงปรึกษาตกลงกันว่า จักถวายพระนางแต่พระเจ้าอนิกรัตตะ

กรุงวารณวดี แต่นับตั้งแต่ยังทรงเป็นทาริกา พระนางพร้อมด้วยราชธิดา ที่

มีวัยปูนเดียวกัน และเหล่าทาสี ก็พากันเสด็จไปสำนักภิกษุณี ฟังธรรมใน

สำนักภิกษุณีแล้ว ก็เกิดสังเวชในสังสารวัฏ เพราะบำเพ็ญบารมีมาเป็นเวลาช้า

นาน ทรงเลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา เมื่อทรงเจริญพระชันษา ก็ได้มีพระทัย

หันกลับจากกามทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระนางได้สดับการปรึกษาของพระ-

ชนกชนนี พระประยูรญาติจึงตรัสว่า ลูกไม่ประสงค์กิจฆราวาส ลูกจักบวช

เพคะ พระชนกชนนีโปรดจะทรงประกอบพระนางไว้ในกิจฆราวาส แม้จะทรง

อ้อนวอนโดยประการต่าง ๆ ก็ไม่สามารถจะทำพระนางให้ทรงยินยอมได้

พระนางทรงดำริว่า เราจะได้การบวชโดยวิธีนี้ แล้วคว้าพระขรรค์

ตัดพระเกศาของพระองค์เอง ทรงปรารภพระเกศาเหล่านั้น เริ่มทรงมนสิการ

การใส่ใจโดยเป็นของปฏิกูล ทรงทำอสุภนิมิตให้เกิดขึ้น ก็บรรลุปฐมฌาน

ณ ที่ตรงนั้นเอง เพราะทรงบำเพ็ญบารมีมาแล้วในชาตินั้น และเพราะ

ทรงเคยสดับวิธีมนสิการมาในสำนักภิกษุณี. ก็แลพระนางบรรลุปฐมฌาน

แล้ว ทรงทำราชสกุลทั้งหมดทั้งอันโตชนและปริวารชน ตั้งต้นแต่พระชนกชนนี

ผู้ทรงเกลี้ยกล่อมไว้ในกิจฆราวาสด้วยพระองค์เอง ให้พากันเลื่อมใสยิ่งในพระ

ศาสนา เสด็จออกจากพระราชมณเฑียรไปยังสำนักภิกษุณี ทรงผนวช ครั้น

ทรงผนวชแล้ว ก็ทรงเริ่มตั้งวิปัสสนา มีพระญาณแก่กล้าโดยชอบโดยแท้ ไม่

นานนัก ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เพราะธรรมทั้งหลายที่ช่วย

อบรมบ่มวิมุตติ ทำให้บรรลุคุณวิเศษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 496

ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ จึงกล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ

ทรงอุบัติในโลก เมื่อสังฆารามสร้างเสร็จใหม่ ๆ

ข้าพเจ้าเป็นชน ๓ คนเป็นสหายกัน ได้ถวายวิหารทาน.

ข้าพเจ้าเกิดในเทวดา ๑๐ ครั้ง ๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐

ครั้ง ๑๐,๐๐๐ ครั้ง ไม่ต้องกล่าวถึงการเกิดในมนุษย์

ข้าพเจ้ามีฤทธิ์มากในหมู่เทวดา ไม่จำต้องกล่าวถึงใน

หมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าเป็นพระมเหสีนารีรัตน์ ของพระเจ้า

จักรพรรดิผู้ทรงมีรัตนะ ๗ ประการ.

ชน ๓ คน ก็คือ ธนัญชานี เขมาและข้าพเจ้า

เป็นผู้สร้างสมกุศลในที่นี้ เป็นบุตรของตระกูลที่มั่งคั่ง.

เราช่วยกันสร้างพระอารามเป็นอันดี ประดับด้วย

ทัพสัมภาระครบถ้วน มอบถวายแด่พระสงฆ์มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นประมุข พากันบันเทิงใจแล้ว.

ข้าพเจ้าเกิดในที่ไร ๆ ด้วยอำนาจบุญกรรมนั้น

ก็เป็นเลิศทั้งในเทวดา ทั้งในมนุษย์.

พระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะโดยพระโคตร

ทรงเป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์ ผู้มียศมาก เป็นยอดของ

เหล่าศาสดา ทรงอุบัติแล้วในกัปนี้นี่แล.

พระเจ้ากาสี พระนามว่ากิกี ครองราชย์ ณ กรุง

พาราณสีราชธานี ได้ทรงเป็นพระอุปฐากของพระ-

กัสสปพุทธเจ้า ในครั้งนั้น.

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๔๑ สุเมธาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 497

ท้าวเธอมีพระราชธิดา ๗ พระองค์ พระราชธิดา

เหล่านั้นเสวยสุข ยินดีในการบำรุงพระพุทธเจ้า พากัน

ประพฤติพรหมจรรย์.

ข้าพเจ้าเป็นสหายของพระราชธิดาเหล่านั้น ตั้ง

อยู่ในศีล ถวายทานทั้งหลายด้วยความเคารพ ประพฤติ

วัตรถูกต้องในการครองเรือน.

ด้วยกรรมที่ทำมาดีและด้วยการตั้งใจชอบ ข้าพ-

เจ้าละกายมนุษย์แล้ว ก็เขาถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุติ

จากดาวดึงส์ ก็เข้าถึงสวรรค์ชั้นยามา จากชั้นยามาก็

เข้าถึงชั้นดุสิต จากดุสิต ก็เข้าถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

จากนิมมานรดี ก็เข้าถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.

ข้าพเจ้าพรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม เกิดในภพใด ๆ

ก็ครองความเป็นอัครมเหสี ของพระราชาทั้งหลายใน

ภพนั้น ๆ จุติจากภพนั้น ๆ แล้ว ในอัตภาพเป็นมนุษย์ ก็

ครองความเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ และ

ของพระเจ้ามณฑลประเทศ.

ข้าพเจ้าเสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ มีสุข

ในภพทุกภพ ท่องเที่ยวไปในชาติเป็นอันมาก.

นั้นเป็นเหตุ นั้นเป็นแดนเกิด นั้นเป็นมูล นั้น

เป็นความอดทนในการเพ่งธรรมในพระศาสนา นั้นเป็น

ที่รวมบุญครั้งแรก นั้นเป็นความดับทุกข์สำหรับข้าพ-

เจ้าผู้ยินดีในธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 498

กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าก็เผาเสียแล้ว ภพทั้งหมด

ข้าพเจ้าก็ถอนแล้ว ข้าพเจ้าตัดเครื่องล่ามดังพระยาคช-

สารตัดเครื่องผูกฉะนั้น ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้ามาดีแล้ว ในสำนักพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

สุด วิชชา ๓ ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของ

พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.

ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้า

ก็ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้า

ก็ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระสุเมธาเถรีพิจารณาทบทวน ข้อ

ปฏิบัติประวัติความเป็นมาของตน จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าเป็นธิดาของพระอัครมเหสีของพระเจ้า-

โกญจะกรุงมันตาวดี ชื่อว่าสุเมธา อันพระอริยะทั้ง

หลายผู้ทำตามคำสั่งสอนทำให้เลื่อมใสแล้ว พระนาง

สุเมธามศีล กล่าวธรรมได้วิจิตร เป็นพหูสูต ถูกแนะ

นำในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เข้าเฝ้าพระชนก-

ชนนีแล้ว กราบทูลให้ทั้งสองพระองค์โปรดตั้งพระทัย

สดับคำของตนว่า

ลูกยินดีอย่างยิ่งในพระนิพพาน ภพถึงแม้ว่าจะ

เป็นทิพย์ ก็ไม่ยั่งยืน จะป่วยกล่าวไปไยถึงกามทั้ง

หลาย ซึ่งเป็นของว่างเปล่า อร่อยน้อย คับแค้นมาก

กามทั้งหลาย เผ็ดร้อน เปรียบด้วยงูพิษ ที่พวก

คนเขลาพากันจมดักดาน คนเขลาเหล่านั้น แออัดกัน

ในนรก ต้องเดือดร้อนเป็นทุกข์เป็นเวลาช้านาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 499

พวกคนเขลา ผู้ไม่สำรวมกายวาจาใจ ทำกรรม

ที่เป็นบาป พอกพูนแต่บาป ย่อมเศร้าโศกในอบายทุก

เมื่อ.

คนเขลาเหล่านั้น ไม่มีปัญญา ไม่มีเจตนา ถูก

ทุกขสมุทัยปิดไว้ เมื่อไม่รู้อริยธรรมที่ท่านแสดง ก็ไม่

ตรัสรู้อริยสัจ.

ทูลกระหม่อมแม่เพคะ คนเขลาเหล่าใด เมื่อ

ไม่รู้สัจจะทั้งหลาย ที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรง

แสดงแล้ว ยังชื่นชมภพ กระหยิ่มการเกิดในหมู่เทพ

ทั้งหลาย คนเขลาเหล่านั้น มีจำนวนมากกว่าเพคะ.

เมื่อภพไม่เที่ยง ความเกิดในหมู่เทพทั้งหลาย

ก็ไม่ยั่งยืน พวกคนเขลา ย่อมไม่หวาดสะดุ้งต่อคนที่

ต้องเกิดบ่อย ๆ.

อบาย ๔ สัตว์ทั้งหลายย่อมได้กันสะดวก ส่วน

คติ ๒ ได้กันลำบาก ในนรกของเหล่าสัตว์ที่เข้าถึง

อบาย ไม่มีการบวชดอกเพคะ.

ขอพระชนกชนนีทั้งสองพระองค์ โปรดทรง

อนุญาตให้ลูกบวชในธรรมวินัยของพระทศพลเถิด ลูก

จักขวนขวายน้อย พากเพียรเพื่อละชาติและมรณะ.

จะมีประโยชน์อะไรด้วยโทษคือกายที่ไร้สาระใน

ภพ ซึ่งพวกคนเขลาชื่นชมนักหนา ขอทรงโปรด

อนุญาตเถิด ลูกจักบวชเพื่อดับภวตัณหา ความอยาก

ในภพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 500

ความอุบัติของพระพุทธะทั้งหลาย ลูกได้แล้ว

อขณะก็เว้นไปแล้ว ขณะลูกก็ได้แล้วลูกจะไม่ประทุษ-

ร้าย ศีลและพรหมจรรย์ตลอดชีวิต.

พระนางสุเมธากราบทูลพระชนกชนนีอย่างนี้ว่า

ลูกยังเป็นคฤหัสถ์ จักไม่เสวยอาหาร จักยอมตายเพคะ

พระชนนีเป็นทุกข์ทรงกันแสง พระชนกของ

พระนางสุเมธานั้น พระอัสสุชลก็นองทั่วทั้งพระพักตร์

ทั้งสองพระองค์ทรงพากเพียรเกลี้ยกล่อมพระนาง

สุเมธา ซึ่งฟุบลงที่พื้นปราสาทว่า.

ลูกเอ๋ยลุกขึ้นเถิด จะเศร้าโศกไปทำไม พ่อยก

ลูกให้ที่กรุงวารณวดีแล้วนะ พระเจ้าอันกรัตตะทรงงาม

สง่า พ่อยกลูกถวายพระองค์แล้ว.

ลูกจักเป็นเอกอัครมเหสีของพระเจ้าอันกรัตตะ

ศีล พรหมจรรย์ บรรพชา ทำได้ยากนะลูกนะ.

อำนาจ ทรัพย์ ความเป็นใหญ่ โภคะ สุขในราช-

สมบัติ ทั้งลูกก็ยังเป็นสาว จงบริโภคถามเถิด ลูกจง

วิวาหะเสียเถิด นะลูกนะ.

พระนางสุเมธากราบทูลพระชนกชนนีนั้นว่า

อำนาจเป็นต้นเช่นนี้ อย่ามีมาเลย เพราะภพหาสาระ

มิได้ การบวชหรือความตายเท่านั้นจักมีแก่ลูก ลูกไม่

ยอมวิวาหะแน่แท้.

กายอันเน่าเหมือนหนอน ไม่สะอาด กลิ่นเหม็น

คลุ้งไป น่าสะพรึงกลัว ดุจถุงหนังบรรจุซากศพ เต็ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 501

ด้วยของไม่สะอาด ไหลออกอยู่เป็นนิตย์ อันคนเขลา

ยึดถืออยู่.

ลูกรู้จักซากศพนั้นเป็นเหมือนอะไร เป็นเหมือน

ของปฏิกูล ฉาบด้วยเนื้อและเลือด เป็นที่อยู่ของลูก

หลานหนอน เป็นอาหารของแร้งกา ทำไมทูลกระ-

หม่อมจึงพระราชทานกเฬวระซากศพ แก่พระราชา

พระองค์นั้นเล่า.

ไม่ช้า ร่างกาย ที่ปราศจากวิญญาณอันหมู่ญาติ

ผู้เกลียดทอดทิ้งไปเหมือนท่อนไม้ เขาก็นำไปป่าช้า.

บิดามารดาของตนยังเกลียด ครั้นเอาซากศพนั้น

ไปทิ้งให้เป็นอาหารสัตว์อื่นในป่าช้าแล้ว กลับมาก็

ต้องอาบน้ำดำเกล้า จะป่วยกล่าวไปไยถึงหมู่ชนทั่ว ๆ

ไปเล่า.

หมู่ชน ยึดถืออยู่ในซากศพที่ไม่มีแก่นสาร เป็น

ร่างของกระดูกและเอ็น เป็นกายอันเน่าเต็มไปด้วยน้ำ

น้ำตา และอุจจาระ.

ผู้ใด พึงชำแหละร่างกายนั้น เอาข้างในมาไว้

ข้างนอก ก็จะทนกลิ่นเหม็นของร่างกายนั้นไม่ได้ แม้

แต่มารดาของตน ก็ยังเกลียด.

บัณฑิตทั้งหลาย เลือกเฟ้นโดยอุบายแยบคายว่า

ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วเป็นทุกข์

ที่มีชาติเป็นมูล ทำไมลูกยังจะปรารถนาวิวาหะเล่า

เพคะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 502

หอก ๓๐๐ เล่ม ใหม่เอี่ยม จะพึงตกต้องที่กาย

ทุก ๆ วัน ทิ่มแทงอยู่ถึง ๑๐๐ ปี ยังประเสริฐกว่า

หากว่าความสิ้นทุกข์ จะพึงมีได้ด้วยอาการอย่างนี้

ชนใดรู้คำสั่งสอนของพระศาสดาอย่างนี้ พึง

ยอมรับการทิ่มแทง [ดังกล่าว] สังสารวัฏ ย่อมยืด

ยาว สำหรับชนเหล่านั้น ซึ่งเดือดร้อนอยู่ร่ำไป.

ในเทวดา มนุษย์ ในกำเนิดสัตว์เดียรฉาน หมู่

อสุรกาย เปรต และนรก การทำร้ายกันยังปรากฏอยู่

หาประมาณมิได้.

สำหรับสัตว์อยู่ในอบายที่กำลังถูกเบียดเบียน ยังมี

การทำร้ายกันเป็นอันมากในนรก แม้ในเทวดาทั้ง

หลาย ก็ช่วยไม่ได้ สุขนอกจากสุขคือพระนิพพาน

ไม่มีเลย.

ชนเหล่าใด ประกอบอยู่ในธรรมวินัยของพระ-

ทศพล ขวนขวายน้อย พากเพียรเพื่อละชาติมรณะ

ชนเหล่านั้น ก็ถึงพระนิพพาน.

ทูลกระหย่อมพ่อเพคะ วันนี้นี่แหละลูกจักออก

บวช ประโยชน์อะไรด้วยโภคะทั้งหลายที่ไม่มีแก่นสาร

กามทั้งหลายลูกเบื่อหน่ายแล้ว ลูกทำให้เสมอด้วยของ

ที่คายแล้ว [รากสุนัข] ให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว.

พระนางสุเมธานั้น กราบทูลพระชนกอย่างนี้

พระเจ้าอนิกรัตตะ ผู้ที่ได้รับพระราชทานพระนาง-

สุเมธานั้น ทรงแวดล้อมด้วยราชบริพารหนุ่ม ก็เสด็จ

เข้าสู่วิวาหะเมื่อเวลากระชั้นชิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 503

ภายหลัง พระนางสุเมธาทรงทราบว่าพระเจ้า

อนิกรัตตะเสด็จมา จึงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศาอันดำ

สนิทที่รวบไว้ อ่อนสลวย ทรงปิดปราสาทเข้าปฐม-

ฌาน.

พระนางสุเมธานั้นเข้าฌานอยู่ในปราสาทนั้น

พระเจ้าอนิกรัตตะก็เสด็จถึงพระนคร พระนางสุเมธา

ทรงเจริญอสุภสัญญาอยู่ในปราสาท.

พระนางสุเมธานั้น กำลังมนสิการ พระเจ้า

อนิกรัตตะทรงแต่งพระองค์ด้วยมณีและทอง ก็รีบ

เสด็จขึ้นปราสาท ทรงประคองอัญชลี ทูลวอนพระ-

นางสุเมธาว่า

อำนาจ ทรัพย์ อิสริยะ โภคะ สุข ในราชสมบัติ

ขอมอบถวาย พระน้องนางก็ยังสาวอยู่ ขอเชิญบริโภค

กามสมบัติ กามสุขหาได้ยากในโลกนะพระน้องนาง.

ราชสมบัติพี่สละให้พระน้องนางแล้ว ขอพระ

น้องนางโปรดบริโภคโภคะ ถวายทานทั้งหลายเถิด

พระน้องนางอย่าเสียพระทัยเลย พระชนกชนนีของ

พระน้องนางทรงเป็นทุกข์.

เพราะเหตุนั้น พระนางสุเมธา ผู้ไม่ต้องการด้วย

กามทั้งหลายทรงปราศจากโมหะแล้ว จึงทูลพระเจ้า

อนิกรัตตะว่า อย่าทรงเพลิดเพลินกามเลย โปรดทรง

เห็นโทษในกามทั้งหลายเถิดเพคะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 504

พระเจ้ามันธาตุราช เจ้าทวีปทั้ง ๔ ทรงเป็นยอด

ของผู้บริโภคกามทั้งหลาย ยังไม่ทันทรงอิ่ม ก็เสด็จ

สวรรคตไปแล้ว ความปรารถนาของข้าพเจ้าก็ยังไม่

เต็ม.

เทวดาแห่งฝนพึงหลั่งรัตนะ ๗ ประการให้ตกลง

มา โดยรอบทั้ง ๑๐ ทิศ ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย

ก็ไม่มี นรชนทั้งหลายทั้งที่ยังไม่อิ่ม ก็พากันตายไป.

กามทั้งหลาย เปรียบด้วยดาบและหลาว เปรียบ

ด้วยหัวงูเห่า เปรียบด้วยคบเพลิง ตามเผาอยู่ เปรียบ

ด้วยร่างกระดูก.

กามทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก มี

พิษมาก เป็นมูลแห่งทุกข์ มีทุกข์เป็นผล เหมือนก้อน

เหล็ก ที่ร้อนโชน.

กามทั้งหลาย เปรียบด้วยผลไม้ เปรียบด้วยชิ้น

เนื้อเป็นทุกข์ กามทั้งหลายเปรียบด้วยความฝัน หลอก

ลวง เปรียบด้วยของที่ขอยืมเขามา.

กามทั้งหลาย เปรียบด้วยหอกหลาว เป็น

หัวฝี เป็นทุกข์ เป็นความลำบาก เสมือนหลุมถ่าน

เพลิง เป็นมูลแห่งทุกข์ เป็นภัย เป็นเพชฌฆาต [ผู้ฆ่า]

กามทั้งหลาย มีทุกข์มากดังกล่าวมานี้ บัณฑิต

ทั้งหลายจึงกล่าวว่า ทำอันตราย เชิญเสด็จกลับไปเสีย

เถิด หม่อมฉันไม่พิศวาสในความมีโชคของพระองค์

ดอกเพคะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 505

เมื่อไฟกำลังไหม้ศีรษะของหม่อมฉันอยู่ คนอื่น

จะช่วยอะไรหม่อนฉันได้ เมื่อชราและมรณะติดตาม

อยู่ ก็ควรที่จะพยายามทำลายชรามรณะนั้นเสีย.

ข้าพเจ้า เห็นพระชนกชนนี และพระเจ้าอนิก-

รัตตะเสด็จยังไม่ทันถึงพระทวาร ก็ประทับนั่งที่พื้น

ดิน ทรงพระกันแสง จึงกราบทูลดังนี้ว่า สังสารวัฏ

ยืดยาว สำหรับเหล่าคนเขลาที่ร้องไห้บ่อย ๆ เพราะ

บิดาตาย พี่ชายถูกฆ่า เพราะตัวเองถูกฆ่า ในสังสาร-

วัฏที่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลาย ตามไปไม่รู้แล้ว.

โปรดทรงระลึกถึงสังสารวัฏ ที่ประกอบด้วย

น้ำตา น้ำนม และนำเลือด โดยความเป็นสังสารวัฏที่

เงือนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว โปรดทรงระลึก

ถึงกองกระดูกทั้งหลายของเหล่าสัตว์ที่ท่องเที่ยวอยู่

โปรดทรงระลึกถึงมหาสมุทรทั้ง ๔ ในน้ำตา น้ำ

นม และนำเลือด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงน้อมนำ

มาเปรียบเทียบ โปรดทรงระลึกถึงกองกระดูกในกัป

หนึ่ง ที่เทียบเท่ากับภูเขาวิปุลบรรพต.

โปรดทรงระลึกถึงแผ่นดินชมพูทวีป ที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงนำมาเปรียบเทียบสังสารวัฏ ของสัตว์

ที่ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ แผ่นดินทั้งหลายทำเป็น

ก้อนขนาดเมล็ดพุทรา ก็มากไม่พอกับจำนวนแม่และ

ยายทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 506

โปรดทรงระลึกถึงหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ที่พระผู้

มีพระภาคเจ้าทรงนำมาเปรียบเทียบ เพราะสังสารวัฏมี

เงื่อนต้นเงื่อนปลายที่ตามไปไม่รู้แล้ว ท่อนไม้ทั้งหลาย

มีขนาด ๔ องคุลี ก็มากไม่เท่ากับจำนวนบิดาและปู่

ทั้งหลาย.

โปรดทรงระลึกถึงเต่าตาบอด และช่องแอก อัน

หมุนไปทิศบูรพา และทิศอื่น ๆ อีกในมหาสมุทร มา

สวมหัวเต่าตาบอดตัวนั้น เปรียบเทียบในการได้อัต-

ภาพเป็นมนุษย์.

โปรดทรงระลึกถึงโทษคือกาย ที่ไม่มีแก่นสาร

เปรียบด้วยก้อนฟองน้ำ โปรดเห็นขันธ์ทั้งหลาย

ไม่เที่ยง โปรดทรงระลึกถึงนรกทั้งหลาย ที่มีความ

คับแค้นมาก.

โปรดทรงระลึกถึงสัตว์ทั้งหลาย ที่พากันทำให้

รกป่าช้า ในชาตินั้น ๆ เรื่อยไป โปรดทรงระลึกถึงภัย

คือจระเข้ ความเห็นแก่ปากท้อง โปรดทรงระลึกถึง

อริยสัจ ๔.

เมื่ออมตนิพพานมีอยู่ จะต้องการอะไรด้วยของ

เผ็ดร้อน ๕ อย่าง ที่พระองค์ทรงดื่มแล้ว เพราะว่า

ความยินดีกามทุกอย่าง เผ็ดร้อนกว่าของเผ็ดร้อน ๕

อย่าง.

เมื่ออมตนิพพานมีอยู่ พระองค์จะต้องการอะไร

ด้วยกามทั้งหลายที่เร่าร้อน เพราะว่าความยินดีกามทุก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 507

อย่าง อันไฟติดโพลงแล้ว ให้เดือดแล้ว ให้หวั่น

ไหวแล้ว เผาให้ร้อนแล้ว.

เมื่อเนกขัมมะที่ไม่มีข้าศึกมีอยู่ พระองค์จะทรง

ต้องการอะไรด้วยกามทั้งหลายที่มีข้าศึกมาก กาม

ทั้งหลายมีภัยทั่วไป คือ โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัยและ

อัปปิยภัย [ภัยคือคนร่วมมรดกที่ไม่ถูกกัน ] ชื่อว่ามี

ข้าศึกมาก.

เมื่อโมกขธรรมมีอยู่ พระองค์ยังจะต้องการอะไร

ด้วยกามทั้งหลาย ซึ่งมีการฆ่าและการจองจำเล่า เพราะ

ว่าการฆ่าการจองจำมีอยู่ในกามทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย

ผู้ใคร่กามย่อมเสวยทุกข์ทั้งหลาย.

กามทั้งหลายเหมือนคบเพลิงที่ลุกโพลง ย่อมไหม้

คนถือที่ไม่ยอมปล่อย เพราะว่า กามทั้งหลายเปรียบ

เหมือนคบเพลิง ย่อมจะไหม้คนที่ไม่ยอมปล่อยคบ

เพลิง.

โปรดอย่าทรงละสุขอันไพบูลย์ เพราะเทตุแห่ง

กามสุขอันเล็กน้อยเลย อย่าทรงเป็นดุจปลากลืนเบ็ด

แล้วต้องเดือดร้อนกายหลัง.

โปรดอย่าหมุนไปหมุนมาเพราะกามทั้งหลาย ดุจ

สุนัขถูกล่ามโซ่เลย เพราะว่ากามทั้งหลายจักทำผู้นั้น

ให้เป็นเหมือนจัณฑาล หิวจัด ได้สุนัขก็ทำให้พินาศได้

พระองค์ทรงประกอบด้วยกาม จักเสวยทุกข์อัน

หาประมาณมิได้ และความเสียใจอย่างมาก โปรดทรง

สละกามอันไม่ยั่งยืนเสียเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 508

เมื่อพระนิพพานที่ไม่มีความแก่มีอยู่ พระองค์

ยังจะต้องการอะไรด้วยกามทั้งหลาย ที่มีความแก่เล่า

ชาติทั้งปวง อันมรณะและพยาธิกำกับไว้ ในภพ

ทุกภพ.

พระนิพพานนี้ไม่แก่ พระนิพพานนี้ไม่ตาย

พระนิพพานนี้เป็นบทอันไม่แก่ไม่ตาย ไม่มีความเศร้า

โศก ไม่ถูกข้าศึกเบียดเบียน ไม่พลาด ไม่น่ากลัว

ไม่มีความเดือดร้อน.

พระนิพพานนี้ พระอริยะเป็นอันมากบรรลุแล้ว

อมตนิพพานนี้ อันผู้พยายามโดยแยบคาย ควรได้ใน

วันนี้นี่แหละ แต่ผู้ไม่พยายามหาอาจได้ไม่.

พระนางสุเมธา เมื่อไม่ทรงได้ความยินดีในสัง-

ขาร กำลังทรงเกลี้ยกล่อมพระเจ้าอนิกรัตตะ พระนาง

สุเมธาก็ทรงเหวี่ยงพระเกศาลงที่พื้นดิน.

พระเจ้าอนิกรัตตะ เสด็จลุกขึ้นประคองอัญชลี

ทูลวอนพระชนกของพระนางว่า ขอทรงโปรดปล่อย

ทรงนางสุเมธาให้ทรงผนวชเถิด พระนางทรงเห็น

วิโมกข์และสัจจะ.

พระนางสุเมธานั้น อันพระชนกชนนีทรงปล่อย

แล้ว ทรงกลัวภัยคือความโศกทรงผนวชแล้ว เมื่อทรง

ศึกษาผลอันเลิศ ก็ทรงทำให้แจ้งอภิญญา ๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 509

พระนิพพานนั้น อัศจรรย์ไม่เคยมี ก็ได้มีแก่

พระนางสุเมธาราชธิดา พระสุเมธาเถรี ได้พยากรณ์

ปุพเพนิวาสจริต เหมือนในเวลาสุดท้ายคือเวลาปริ-

นิพพานว่า

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ

เสด็จอุบัติในโลก เมื่อสร้างสังฆารามเสร็จใหม่ ๆ ข้าพเจ้า

เป็นหญิง ๓ คนเป็นสหายกัน [ธนัญชานี เขมา และ

ข้าพเจ้า ได้ถวายวิหารทาน.

ข้าพเจ้าเกิดในเทวดา ๑๐ ครั้ง ๑๐๐ ครั้น ๑,๐๐๐

ครั้ง ๑๐,๐๐๐ ครั้ง ไม่จำต้องกล่าวในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้า

มีฤทธิ์มากในเทวดา ไม่จำต้องกล่าวในหมู่มนุษย์

ข้าพเจ้าเป็นมเหสีนารีรัตน์ ของพระเจ้าจักรพรรดิผู้มี

รัตนะ ๗ ประการ.

การสร้างอารามถวายสงฆ์เป็นวิหารทานครั้งนั้น

เป็นเหตุ เป็นแดนเกิดแห่งทิพยสมบัติ ข้อนั้นเป็นมูล

เป็นการอดทนเพ่งธรรมในพระศาสนา เป็นที่รวมบุญ

ครั้งแรก ข้อนั้นเป็นความดับทุกข์ สำหรับข้าพเจ้าผู้

ขึ้นดีในธรรม.

ชนเหล่าใดเธอพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้มีพระบัญญัติไม่ทราม ชนเหล่านั้นย่อมกล่าวอย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายในภพ ครั้นเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมคลาย

กำหนัด ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 510

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนฺตาวติยา นคเร ได้แก่ นครมีซึ่ง

อย่างนี้ว่า มันตวดี. บทว่า รญฺโ โกญฺจสฺส ความว่า ได้เป็นราชธิดา

เกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชาพระนามว่าโกญจะ. บทว่า

สุเมธา ได้แก่ พระนางสุเมธาโดยพระนาม. บทว่า ปสาทิตา สาสนกเรหิ

ความว่า อันพระอริยะทั้งหลาย ผู้กระทำตามคำสั่งสอนพระศาสดา ทำให้เลื่อม

ใสในคำสั่งสอน คือทำให้เกิดความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยแล้ว.

บทว่า สีลวตี ได้แก่ พรั่งพร้อมด้วยอาจาระมารยาทและศีล. บทว่า

จิตฺตกถา ได้แก่ ผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร. บทว่า พหุสฺสุตา ได้แก่ ผู้

ประกอบด้วยการสดับพระปริยัติธรรม ในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย. บทว่า

พุทฺธสาสเน วินีตา ได้แก่ ถูกแนะนำ คือมีกายวาจาจิตสำรวมแล้ว ในคำ

สั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะกิเลสทั้งหลายกลับไปแล้ว โดยตทังค-

ปหานตาม โยนิโสมนสิการซึ่งดำเนินตามพระสูตรว่า อย่างนี้ ปวัตติ ความเป็น

ไป, อย่างนี้ นิวัตติ ความกลับไป, อย่างนี้ ศีล, อย่างนี้ สมาธิ, อย่างนี้

ปัญญา. บทว่า อุภโย นิสาเมถ ความว่า ขอพระชนกชนนีทั้งสองพระองค์

โปรดตั้งพระทัยสดับคำของลูก ประกอบความว่า พระนางสุเมธาเข้าไปเฝ้า

พระชนกชนนีแล้วตรัส.

บทว่า ยทิปิ ทิพฺพ ความว่า ขึ้นชื่อว่าภพ แม้เนื่องด้วยเทวโลก

หมดสิ้นล้วนไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปวนไปเป็นธรรมดา.

บทว่า กิมงฺค ปน ตุจฺฉา กามา ความว่า จะป่วยกล่าวไปไยถึงกามทั้ง

หลายที่เป็นของมนุษย์ กามเหล่านั้นแม้ทุกอย่าง ชื่อว่าว่างเปล่า เพราะไม่

เป็นแก่นสาร ชื่อว่ามีรสอร่อยน้อย เหมือนหยาดน้ำที่คมมีด ชื่อว่ามีความดับ

แค้นมาก เพราะมีทุกข์อย่างไพศาลทั้งปัจจุบันทั้งอนาคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 511

บทว่า กฏุกา ได้แก่ ไม่น่าปรารถนา กามทั้งหลายชื่อว่า เปรียบ

ด้วยงูพิษ เพราะอรรถว่ามีภัยเฉพาะหน้า. บทว่า มุจฺฉิตา แปลว่า หมก

มุ่นแล้ว. บทว่า สมปฺปิตา ได้แก่ คิดแน่น ฟุ้งไป อธิบายว่า เกิดขึ้น

แล้ว โดยประการทั้งปวงด้วยกรรมของตน. บทว่า หญฺนฺเต ได้แก่ ถูก

เบียดเบียน. บทว่า วินิปาเต ได้แก่ ในอบาย.

บทว่า อเจตนา ได้แก่ ชื่อว่า ไม่มีใจ เพราะไม่มีเจตนาทำประโยชน์

เกื้อกูลสำหรับตน. บทว่า ทุกฺขสมุทโย รุทฺธา ได้แก่ ถูกปิดแล้วใน

สังสารวัฏที่มีตัณหาเป็นนิมิต. บทว่า เทเสนฺเต ได้แก่ ธรรมอริยสัจ ๔ ที่

ท่านแสดงอยู่. บทว่า อชานนฺตา ได้แก่ ไม่รู้ความ. บทว่า น พุชฺฌเร

อริยสจฺจานิ ได้แก่ ไม่ตรัสรู้อริยสัจ มีทุกข์เป็นต้น.

ด้วยบทว่า อมฺม พระนางสุเมธาตรัสเรียกพระชนนีเป็นสำคัญ. บทว่า

เต พหุตรา อชานนฺตา ประกอบความว่า ชนเหล่าใดเมื่อไม่รู้สัจจะที่พระ-

พุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงแล้ว ย่อมชื่นชมภพ กระหยิ่มความเกิดในเทวดา

ทั้งหลาย ชนเหล่านั้นนั่นแหละมีจำนวนมากกว่าในโลกนี้.

บทว่า ภวคเต อนิจฺจมฺหิ ความว่า เมื่อภพทุกภพไม่เที่ยง ความ

เกิดในเทวโลกทั้งหลายก็ไม่เที่ยง เมื่อเป็นดังนั้น คนเขลาทั้งหลายก็ยังไม่หวาด

ไม่สะดุ้งไม่สลดใจ. บทว่า ปุนปฺปุน ชายิตพฺพสฺส ได้แก่ ผู้เกิดในภพ

ต่อๆ ไป.

บทว่า จตฺตาโร วินิปาตา ได้แก่ คติที่ชื่อว่าวินิบาต เพราะก่อ

ตั้งสภาพทั้ง ๔ ได้ง่าย คือนรก กำเนิดเดียรฉาน เปรตวิสัย กำเนิดอสูร

ส่วนคติ ๒ ที่เข้าใจกันว่า การเกิดในมนุษย์และเทวดา สัตว์ได้มาทุลักทุเล

คือยากลำบาก เพราะบุญกรรมเป็นของที่สัตว์ทำได้ยาก. บทว่า นิรเยสุ

ได้แก่ อบายที่เว้นขาดจากสุข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 512

บทว่า อปฺโปสฺสุกฺกา ได้แก่ ไม่มีความขวนขวายในกิจอย่างอื่น.

บทว่า ฆฏิสฺส ประกอบความว่า ประโยชน์อะไรด้วยโทษ คือกายที่ไม่มี

แก่นสารในภพ ซึ่งสัตว์ชื่นชมกันนักหนา ลูกจักพยายาม จักประกอบเนือง ๆ

ซึ่งภาวนา.

บทว่า ภวตณฺหาย นิโรธา ได้แก่ เพราะเหตุดับ คือเพื่อดับ

ตัณหาที่ไปในภพ [ภวตัณหา].

ประกอบความว่า ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธะทั้งหลาย ลูกได้แล้ว

อขณะ ๘ อย่างมีการเกิดในนรกเป็นต้น ก็เว้นไปแล้ว ขณะที่ ๙ ชื่อว่าขณะ

ลูกก็ได้แล้ว. บทว่า สีลานิ ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔. บทว่า พฺรหฺมจริย

ได้แก่ ศาสนพรหมจรรย์. บทว่า น ทูเสยฺย ได้แก่ ไม่ทำให้กำเริบ.

บทว่า น ตาว อาหาร อาหริสฺส คหฏฺา ประกอบความว่า

พระนางสุเมธากราบทูลพระชนกชนนีอย่างนี้ว่า ก่อนอื่น ลูกเป็นคฤหัสถ์ก็จัก

ไม่แตะต้องอาหาร ถ้าลูกไม่ได้บวช ก็จักผอมตายอย่างเดียวเพคะ.

บทว่า อสฺสา ได้แก่พระนางสุเมธา. บทว่า สพพฺโส สมภิหโต

แปลว่า ทั่วพระพักตร์นองด้วยพระอัสสุชล. บทว่า ฆเฏนฺติ สญฺาเปตุ

ความว่า พระชนกชนนี ทรงพากเพียรพยายามที่จะให้พระนางสุเมธา ซึ่งฟุบ

ลงที่พื้นดิน ณ พื้นปราสาท. ยินยอมเป็นคฤหัสถ์. บาลีว่า ฆเฏนฺติ วายมนฺติ

ก็มี ความก็อย่างนี้เหมือนกัน.

บทว่า กึ โสจิเตน ได้แก่ ประโยชน์อะไรด้วยความเศร้าโศกว่า

เราไม่ได้บวช. บทว่า ทินฺนาสิ วารณวติมฺหิ แปลว่า [ลูก] พ่อได้ถวาย

ไว้ที่วารณวดีนครแล้ว พระเจ้าโกญจะตรัสว่า พ่อได้ถวายแล้ว แล้วตรัสอีก

ว่า ลูกพ่อ ถวายแล้ว ก็เพื่อทรงแสดงอย่างหนักแน่นว่า ทรงมอบถวายพระเจ้า

อนิกรัตตะแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 513

บทว่า รชฺเช อาณา ความว่า ลูกก็ย่อมจะใช้อำนาจในราชสมบัติ

พระเจ้าอนิกรัตตะได้. บทว่า ธนมิสฺสริย ได้แก่ พระราชทรัพย์และความ

เป็นใหญ่ ในราชตระกูลนี้ และในราชตระกูลพระราชสวามี. บทว่า โภคา

สุขา อติวิย อิฏฺา โภคา ได้แก่ สิ่งนี้ทั้งหมดปรากฏตกอยู่ในพระหัตถ์

ของลุกแล้ว. บทว่า ทหริกาสิ ได้แก่ ลูกก็ยังเป็นสาว เพราะฉะนั้น ขอ

ลูกจงบริโภคกามสมบัติเถิด. ประกอบความว่า ลูกเอ๋ย ด้วยเหตุนั้น พ่อจึง

ข้อร้องลูกนะลูกนะ.

บทว่า เน ได้แก่พระชนกชนนี. บทว่า ม เอทิสิกานิ ความว่า

อำนาจเป็นต้นในราชสมบัติเห็นปานนี้ จงอย่ามีมาเลย ถ้าจะถามว่าเพราะเหตุ

ไร พระนางสุเมธาจึงตรัสว่า ภพไม่มีแก่นสาร.

บทว่า กิมิว แปลว่า. เหมือนหนอน. บทว่า ปูติกาย ได้แก่

ซากศพที่เน่านี้. บทว่า สวนคนฺธ ได้แก่ ที่กลิ่นเหม็นคลุ้งไป บทว่า

ภยานก ได้แก่ นำมาซึ่งภัย สำหรับเหล่าคนเขลาที่ยังไม่ปราศจากราคะ บทว่า

กุณป อภิสวิเสยฺย ภสฺต ได้แก่ ถุงหนังที่เต็มด้วยซากศพ เต็มด้วยของ

ไม่สะอาด ไหลออกมิใช่คราวเดียว คือเต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ

ไหลออกอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ อันบุคคลยึดถือว่า นี้ของเรา.

ลูกรู้จักซากศพนั้นเหมือนหนอน. บทว่า วิกูลก ได้แก่ ปฏิกูลเหลือ

เกิน อันชิ้นเนื้อที่ไม่สะอาดและเลือดฉาบไว้ เป็นที่อยู่ของหมู่หนอนหลายหมู่

เป็นเหยื่อของฝูงแร้งกา. บาลีว่า กิมิกุลาลสกุณภติต ก็มี. ความว่า เป็น

เหยื่อของหมู่หนอนและฝูกนกนอกนั้น. พระนางสุเมธาทรงแสดงว่า ลูกยืนหยัด

รู้จักซากศพนั้น บัดนี้ ทูลกระหม่อมพระราชทานลูกนั้นแก่พระเจ้าอนิกรัตตะ

นั้น โดยทรงขอร้องทำไม คือเพราะเหตุชื่อไร ประกอบความว่า ก็การพระ

ราชทานลูกนั้นแก่พระเจ้าอนิกรัตตะนั้น เหมือนอะไร คือเป็นเหมือนอะไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 514

บทว่า นิพฺพุยฺหติ สุสาน อจิร กาโย อเปตวิญฺาโณ ความว่า

ไม่นานนัก กายนี้ปราศจากวิญญาณแล้ว เขาก็จะช่วยกันยกผู้นำไปยังป่าช้า.

บทว่า ฉุฑฺโฑ แปลว่า ทิ้งแล้ว. บทว่า กลิงฺคร วิย ได้แก่ เสมือน

ชิ้นไม้ที่ไร้ประโยชน์. บทว่า ชิคุจฺฉมาเนหิ าตีหิ แปลว่า แม้อันคนที่

เป็นญาติผู้เกลียดอยู่.

บทว่า ฉุทฺธูน น สุสาเน ได้แก่ ทิ้งศากศพนั้นไว้ในป่าช้า. บทว่า

ปรภตฺต ได้แก่ เป็นอาหารของเหล่าสัตว์อื่นมีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น

บทว่า นฺหายนฺติ ชิคุจฺฉนฺตา ความว่า บิดามารดาเกลียดโดยเหตุเพียงว่า

มาตามหลังซากศพนั้นกลับมาบ้าน ก็ต้องลงอาบน้ำดำเกล้า ไม่ต้องกล่าวถึงผู้

ที่ถูกต้องซากศพดอก. บทว่า นิยกา มาตาปิตโร ได้แก่ แม้แต่บิดามารดา

ของตนเอง. บทว่า กึ ปน สาธารณา ชนตา ได้แก่ จะต้องกล่าวอะไร

เล่าว่า ชุมชนนอกนี้ก็เกลียด.

บทว่า อชฺโฌสิตา ได้แก่ ยึดมั่นด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า อสาเร

ได้แก่ ที่เว้นจากสาระ มีความเที่ยงเป็นสาระเป็นต้น.

บทว่า วินิพฺภุชิตฺวา ได้แก่ ทำการแยกวิญญาณออกไป. บทว่า

คนฺธสฺส อสหมานา ได้แก่ ทนกลิ่นของกายนั้นไม่ได้. บทว่า สกาปิ

มาตา ได้แก่ แม้แต่มารดาของตนก็เกลียด เพราะต้องทะนุถนอมอย่างดี

โดยความเป็นของปฏิกูล เพราะแยกส่วนทั้งหลายออกไป.

บทว่า ขนฺธธาตุอายตน ความว่า ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ

อย่างนี้ คือ ปัญจขันธ์เหล่านั้น มีรูปขันธ์เป็นต้น ธาตุ ๑๘ เหล่านี้ มีจักขุ

ธาตุเป็นต้น อายตนะ ๑๒ มี จักขายตนะเป็นต้น ธรรมชาติที่เป็นรูปและมิใช่

รูป ดังกล่าวมานี้ทั้งหมด ชื่อว่าสังขตะ เพราะปัจจัยทั้งหลายประชุมรวมกัน

สร้างขึ้น ธรรมชาตินี้นั้น ที่เป็นไปอยู่ในภพนั้น ชื่อว่าเป็นทุกข์ ที่ชื่อว่ามี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 515

ชาติเป็นมูล เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ลูกใคร่ครวญครุ่นคิดโดยอุบายแยบคาย

ดังกล่าวมานี้ ทำไม คือเพราะเหตุไร จึงจักปรารถนาวิวาหะที่ทรงขอร้อง

เลือกให้ของทูลกระหม่อมเล่าเพคะ.

พระชนกชนนีตรัสคำใดไว้ว่า ศีล พรหมจรรย์ บรรพชา ทำกัน

ได้ยาก เมื่อจะทรงโต้ตอบคำนั้น พระนางสุเมธาจึงตรัสว่า ทิวเส ทิวเส

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิวเส ทิวเส ติสตฺติสตานิ นวนวา

ปเตยฺยุ กายมฺหิ ความว่า หอก ๓๐๐ เล่ม ใหม่เอี่ยม เพราะลับทาน้ำมัน

ในขณะนั้นนั่นเอง พึงตกต้องไปที่ร่างกายทุก ๆ วัน. บทว่า วสฺสสตมฺปิ

จ ฆาโต เสยฺโย ความว่า ความทิ่มแทงด้วยหอก ตามที่กล่าวแล้ว ตก

ต้องอยู่ทั้ง ๑๐๐ ปี ไม่ว่างเลย ยังประเสริฐกว่า. บทว่า ทุกฺขสฺส เจว

ขโย ความว่า ถ้าว่า ความหมดสิ้นไปแห่งทุกข์ในวัฏฏะ จะพึงมีได้ด้วย

อาการอย่างนี้ไซร้ อธิบายว่า ควรอดกลั้นทุกข์ที่เป็นไปใหญ่หลวงอย่างนี้แล้ว

ทำความอุตสาหะเพื่อบรรลุพระนิพพาน.

บทว่า อชฺฌุปคจฺเฉ แปลว่า พึงยอมรับ. บทว่า เอว แปลว่า

โดยนัยที่กล่าวมาแล้ว. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า บุคคลใดรู้พระดำรัสของพระ-

ศาสดา ที่แสดงถึงสังสารวัฏอันมีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว และ

ทุกข์ในวัฏฏะที่นับไม่ได้ ยืนหยัดอยู่ พึงยอมรับทุกข์เพราะการทิ่มแทงด้วย

หอก ตามที่กล่าวแล้ว ถ้าหากว่าทุกข์ในวัฏฏะจะพึงหมดสิ้นไปได้ด้วยวิธีนั้น.

ด้วยเหตุนั้น พระนางสุเมธาจึงตรัสว่า สังสารวัฏยืดยาว สำหรับชนเหล่านั้น

ซึ่งเดือดร้อนอยู่ร่ำไป อธิบายว่า สำหรับชนที่ถูกชาติชราพยาธิมรณะเป็นต้น

เบียดเบียนอยู่ซ้ำแล้วซ้ำอีก.

บทว่า อสุรกาเย ได้แก่ หมู่เปรตและอสูรมีกาลกัญชิกเปรตเป็นต้น.

บทว่า ฆาตา ได้แก่ การทำร้าย การเบียดเบียนกายและจิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 516

บทว่า พหู ได้แก่ การทำร้ายมากมาย ที่เขาให้เป็นไปโดยการลงโทษ

มีจองจำ ๕ ประการเป็นต้น. บทว่า วินิปาตคตสฺส ได้แก่ ผู้เข้าถึง

วินิบาต กล่าวคืออบายที่เหลือจากที่กล่าวแล้ว. บทว่า ปีฬิยมานสฺส

ได้แก่ ถูกเบียดเบียนด้วยการเข่นฆ่าเป็นต้น ในอัตภาพที่เป็นสัตว์เดียรฉาน

เป็นต้น. บทว่า เทเวสุปิ อตฺตาณ ความว่า แม้ในอัตภาพที่เป็นเทวดา

ก็ช่วยไม่ได้ เพราะมีทุกข์มีความคับแค้น ด้วยความเร่าร้อนด้วยราคะเป็นต้น.

บทว่า นินฺพานสุขา ปร นตฺถิ ความว่า ธรรมดาสุขอื่นคืออย่างอื่นที่

ยอดเยี่ยมกว่าสุขในพระนิพพานไม่มี เพราะโลกิยสุขมีความแปรปรวนเป็นตัว

ปรุงมีทุกข์เป็นตัวสภาพ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นิพฺพาน

ปรม สุข พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งดังนี้.

บทว่า ปตฺตา เต นิพฺพาน ความว่า ชนเหล่านั้นชื่อว่าบรรลุ

พระนิพพานเลย อีกนัยหนึ่ง ชนเหล่านั้นนั่นแหละ บรรลุพระนิพพาน. บทว่า

เย ยุตฺตา ทสพลสฺส ปาวจเน ความว่า ชนเหล่าใดขวนขวายในคำสั่ง

สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

บทว่า นิพฺพินฺนา แปลว่า เบื่อหน่าย. บทว่า เม แปลว่า อันลูก

[เรา]. บทว่า วนฺตสมา ได้แก่ เสมือนรากสุนัข. บทว่า ตาลวตฺถุกตา

แปลว่า กระทำให้เป็นเสมือนที่ตั้งแห่งต้นตาล.

บทว่า อถ แปลว่า ภายหลัง พระนางสุเมธากำลังทรงทำพระชนก

ชนนีให้ทรงทราบอัธยาศัยของพระองค์อยู่ ก็ทรงสดับว่า พระเจ้าอนิกรัตตะ

เสด็จมาถึงแล้ว. บทว่า อสิตนิจิตมุทุเก ได้แก่ ชื่อว่าคำสนิทเพราะมีสีเหมือน

ดอกอินทนิลและแมลงภู่ ชื่อว่ารวบไว้ เพราะทำให้เป็นก้อนไว้ ชื่อว่าอ่อน

สลวยเพราะมีสัมผัสนุ่มดังปุยงิ้ว. บทว่า เกเส ขคฺเคน ฉินฺทิย ได้แก่ ทรง

เอามีดที่ลับคมตัดพระเกศาของพระองค์. บทว่า ปาสาท ปิทหิตฺวา ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 517

ทรงปิดห้องอันมีสิริ บนปราสาทที่ประทับอยู่ของพระองค์ อธิบายว่า ทรงปิด

พระทวารของห้องนั้น. บทว่า ปมชฺฌาน สมาปชฺชิ ความว่าทรงวางพระ-

เกศาของพระองค์ที่ทรงเอาพระขรรค์ตัดไว้เบื้องพระพักตร์ ทรงดำเนินการ

มนสิการความเป็นของปฏิกูลในพระเกศานั้น ทรงเข้าปฐมฌานที่เกิดขึ้นในนิมิต

ตามที่ปรากฏอยู่ ให้ถึงความชำนาญ.

อธิบายว่า พระนางสุเมธานั้นทรงเข้าฌานอยู่ในปราสาทนั้น. บทว่า

อนิจฺจสญฺ สุภาเวติ ความว่า ทรงออกจากฌานแล้วทรงเริ่มวิปัสสนาทำฌาน

ให้เป็นบาท ทรงเจริญด้วยดีซึ่งอนิจจานุปัสสนา โดยนัยเป็นต้นว่า รูปอย่างใด

อย่างหนึ่ง. ด้วยอนิจจสัญญาศัพท์ในคำว่า อนิจฺจสญฺ ภาเวติ นี้ พึงทราบ

ว่า เป็นอันท่านถือเอาทุกขสัญญาเป็นต้นด้วย.

บทว่า มณิกนกภูสิตงฺโค ได้แก่ ประดับพระองค์ด้วยเครื่องอลังการ

คือพวงมาลัยทอง ที่วิจิตรด้วยแก้วมณี.

คำว่า รชฺเช อาณา เป็นต้น เป็นคำแสดงอาการที่ทรงวอนขอ. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า อาณา ได้แก่ ความเป็นอธิบดี. บทว่า อิสฺสริย ได้แก่

ยศคือสมบัติความเจริญ. บทว่า โภคา สุขา ได้แก่ เครื่องอุปโภคที่เป็นกาม

อันน่าปรารถนา น่าพอใจ. บทว่า ทหริกาสิ ได้แก่ พระน้องนางก็เป็นสาว

รุ่นแล้ว.

บทว่า นิสฺสฏฺ เต รชฺช ความว่า ราชกิจหมดทั้ง ๓ โยชน์ของพี่

สละถวายพระน้องนางแล้ว ขอพระน้องนางโปรดทรงปฏิบัติราชกิจนั้น บริโภค

โภคะทั้งหลายเถิด ขออย่าทรงเสียพระทัยว่า พระราชาพระองค์นี้เชิญชวนเรา

ด้วยกามทั้งหลายเลย. บทว่า เทหิ ทานานิ ความว่า โปรดทรงดำเนินการ

ถวายทานเป็นอันมากในสมณพราหมณ์ทั้งหลายตามชอบพระทัยเถิด พระชนก

ชนนีของพระน้องนาง ทรงเป็นทุกข์ ทรงโทมนัส ทรงสดับความประสงค์ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 518

การทรงผนวชของพระน้องนางแล้ว เพราะฉะนั้นขอพระน้องนาง โปรดทรง

บริโภคกาม ทรงบำรุงพระชนกชนนี เปลื้องจิตพระชนกชนนีเสียจากทุกข์เถิด

บัณฑิตพึงทราบการประกอบความของบทในข้อนี้ดังกล่าวมาฉะนี้.

บทว่า มา กาเม อภินนฺทิ ได้แก่ อย่าทรงเพลิดเพลินวัตถุกาม

และกิเลสกาม โปรดทรงดูอาทีนพโทษในกามเหล่านั้น โปรดสำรวจด้วยญาณ-

จักษุ ตามแนวถ้อยคำของหม่อมฉันด้วยเถิด.

บทว่า จาตุทฺทีโป ได้แก่ เป็นเจ้าแห่งทวีปทั้ง ๔ มีชมพูทวีปเป็นต้น.

บทว่า มนฺธาตา ได้แก่ พระราชามีพระนามอย่างนี้ ทรงเป็นเลิศคือเป็นยอด

ของผู้บริโภคกามทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าราหูเป็น

ยอดของผู้มีอัตภาพทั้งหลาย พระเจ้ามันธาตุราชทรงเป็นยอดของผู้บริโภคกาม

ทั้งหลาย. บทว่า อติตฺโต กาลงฺกโต ความว่า ทรงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

๘๔,๐๐๐ ปี โดยทรงเป็นพระกุมารเล่น ๘๔,๐๐๐ ปี เป็นอุปราช ๘๔,๐๐๐ ปี

เสวยโภคสมบัติเสมือนโภคสมบัติในเทวโลก ทั้งเสวยสวรรค์สมบัติในภพ

ดาวดึงส์ ตลอดกาลเท่าอายุของท้าวสักกะ ๓๖ พระองค์ ไม่ทันทรงอิ่มด้วยกาม

ทั้งหลายก็เสด็จสวรรคต ทั้งที่ความปรารถนาของพระองค์ก็ยังไม่เต็ม คือความ

หวังในกามทั้งหลายของพระเจ้ามันธาตุราช ยังไม่บริบูรณ์.

บทว่า สตฺต รตนานิ วเสยฺย ความว่า แม้ผิว่าเทพแห่งฝนพึง

หลั่งรัตนะทั้ง ๗ ลงมา ตามความชอบใจเต็ม ๑๐ ทิศโดยรอบ คือรอบๆ บุรุษ

เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ไม่อิ่มกามทั้งหลายเหมือนพระเจ้ามันธาตุราช นรชนทั้งหลาย

ทั้งที่ยังไม่อิ่มก็พากันตายไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส น กหา-

ปณวสฺเสน ติตฺติ กเมสุ วิชฺชติ ถึงฝนจะตกลงมาเป็นกหาปณะ ความ

อิ่มในกามทั้งหลายก็ไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 519

กามทั้งหลายเปรียบด้วยดาบและหลาว เพราะอรรถว่าคอยตัด เปรียบ

ด้วยหัวงู เพราะอรรถว่ามีภัยเฉพาะหน้า เปรียบด้วยคบเพลิง คือคบเพลิงหญ้า

เพราะอรรถว่าเผา ด้วยเหตุนั้น พระสุเมธาเถรีจึงกล่าว อนุทหนฺติ ย่อม

เผาผลาญ เปรียบด้วยร่างกระดูก เพราะอรรถว่ามีรสอร่อยน้อย.

บทว่า มหาวิสา ได้แก่ เสมือนของมีพิษมาก มีพิษร้ายกาจเป็นต้น.

บทว่า อฆมูลา ได้แก่ เป็นมูลเป็นเหตุแห่งความลำบาก คือทุกข์ ด้วยเหตุนั้น

พระสุเมธาเถรีจึงกล่าวว่า ทุขปฺผลา มีทุกข์เป็นผล.

เปรียบด้วยผลไม้ เพราะอรรถว่าหักรานความงอกของอวัยวะน้อยใหญ่

ของต้นไม้ เปรียบด้วยชิ้นเนื้อเพราะอรรถว่าเป็นของสาธารณะมาก เปรียบด้วย

ความฝัน เพราะอรรถว่าปรากฏขึ้นมานิดหน่อย เพราะลวงเหมือนมายา

[พยับแดดหรือเล่นกล] ด้วยเหตุนั้น พระสุเมธาเถรีจึงกล่าวว่า วญฺจนียา

อธิบายว่าหลอกลวง. บทว่า ยาจิตกูปมา ได้แก่ เสมือนสิ่งของที่ยืมเขามา

เพราะอรรถว่า เป็นของชั่วคราว.

เปรียบด้วยหอกและหลาว เพราะอรรถว่า ทิ่มแทง. ชื่อว่าโรค เพราะ

อรรถว่าเสียดแทง เพราะเป็นทุกข์ได้ง่าย. ชื่อว่า ฝี เพราะเป็นที่ไหลออก

แห่งของไม่สะอาดคือกิเลส ชื่อว่า อฆะ ลำบาก เพราะอรรถว่าให้เกิดทุกข์

ชื่อว่า นิฆะ ยุ่งยาก เพราะให้ถึงตายได้. เสมือนหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถ

ว่า ทำให้ร้อนขนานใหญ่. ภัยชื่อว่าวธะผู้ฆ่า ประกอบความว่า กามทั้งหลาย

เพราะเป็นเหตุแห่งภัย และเพราะมากด้วยผู้ฆ่า.

บทว่า อกฺขาตา อนฺตรายิกา ได้แก่ อันบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

ผู้มีจักษุ ตรัสไว้ว่า ทำอันตรายแก่การถึงทางไปสวรรค์ และทางไปพระ-

นิพพาน พระนางสุเมธาทรงปล่อยพระเจ้าอนิกรัตตะพร้อมทั้งบริษัทไปด้วย

พระเสาวนีย์ว่า คจฺฉถ โปรดเสด็จกลับไปเสียเถิดเพคะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 520

บทว่า กึ มม ปโร กริสฺสติ ความว่า เมื่อศีรษะคือกลางกระ-

หม่อมของตัวเอง ถูกไฟ ๑๑ กองเผาอยู่ ผู้อื่นใครเล่าจักทำประโยชน์อะไรแก่

หม่อมฉันได้ด้วยเหตุนั้น พระสุเมธาเถรีจึงกล่าวว่า เมื่อชราและมรณะติดตาม

อยู่ บุคคลควรพากเพียรพยายามกำจัดคือเพิกถอนชราและมรณะนั้น ซึ่งเป็น

ประดุจไฟเผาบนศีรษะเสีย.

บทว่า ทีโฆ พาลาน สสาโร ความว่า สงสารกล่าวคือความเป็น

ไปตามลำดับของขันธ์อายตนะเป็นต้นที่เป็นตัววัฏฏะ คือกิเลสกรรมและวิบาก ยืด

ยาว แม้แต่พระพุทธญาณก็กำหนดไม่ได้ สำหรับเหล่าคนเขลาเหมือนคนตา

บอด ผู้ไม่กำหนดรู้วัตถุ [คืออวิชชา ๘ ประการ] จริงอยู่ เงื่อนต้นของการ

ผูกติดไว้กับภพย่อมไม่ปรากฏ เพราะกำหนดอวิชชาตัณหาไม่ได้ เหตุตัดยัง

ไม่ขาดอย่างใด แม้เงื่อนปลายก็ไม่ปรากฏอย่างนั้น. บทว่า ปุนปฺปุน จ โรทต

ความว่า ผู้ร้องไห้ร้องแล้วร้องอีกโดยความโศกเศร้า. พระนางสุเมธาทรงชี้แจง

ความที่อวิชชาตัณหายังตัดไม่ขาด ด้วยบทนี้.

บทว่า อสฺสุ ถญฺ รุธิร ความว่า น้ำตาอันใดของเหล่าสัตว์ที่

ความพินาศของญาติเป็นต้นกระทบแล้วร้องไห้อยู่ น้ำนมอันใด ที่เหล่าสัตว์

ดื่มจากนมของมารดาเวลาเป็นทารก และน้ำเลือดอันใดของเหล่าสัตว์ ที่ถูก

ปัจจามิตรทำร้าย, ขอพระองค์โปรดระลึกถึงสงสารเพราะมีเงื่อนต้นเงื่อนปลาย

ตามไปไม่รู้แล้ว คือการเวียนว่ายเที่ยวไปเที่ยวมาของเหล่าสัตว์ผู้ท่องเที่ยวไป

โดยกาลอันยืดยาวนานนี้ เพราะสงสารมีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว คือ

เพราะสงสารมีเงื่อนงำที่ตามไปก็รู้ไม่ได้ ก็รู้แจ้งไม่ได้ด้วยญาณ โปรดทรงระลึก

ถึงน้ำตา น้ำนมและน้ำเลือดอันนั้นว่ามีมากเท่าไร โปรดระลึกนึกถึง อธิบาย

ว่า ทบทวนถึงการสั่งสมแห่งกระดูกทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 521

บัดนี้ เพื่อจะแสดงถึงอาทีนพโทษมีมากด้วยข้ออุปมา พระสุเมธาเถรี

จึงกล่าวคาถาว่า สร จตุโรทธี อุปนีเต อสฺสุถญฺรุธิมฺหิ เป็นต้น

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สร จตุโรทธี ความว่า โปรดทรงระลึกนึกถึง

ทะเลทั้ง ๔ คือ ๔ มหาสมุทร ในน้ำตา น้ำนม และน้ำเลือด ของบรรดา

เหล่าสัตว์ที่ท่องเที่ยวอยู่ในสงสารที่มีเงื่อนปลายตามไปไม่รู้นี้ คนหนึ่ง ๆ

ซึ่งจะพึงเปรียบเทียบโดยประมาณคือจำนวน อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายเปรียบ

เทียบไว้แล้วโดยอุปมา. บทว่า เอกกปฺปมฺีน สญฺจย วิปุเลน สม ความ

ว่า โปรดทรงระลึกถึงกองแห่งกระดูกทั้งหลาย ในกัปหนึ่งของบุคคลคนหนึ่งว่า

เสมอคือนำมาเปรียบเทียบ กับภูเขาวิปุลบรรพต

ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า :-

พระผู้ทรงแสวงคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสไว้ว่า กอง

กระดูกของบุคคลคนหนึ่ง กัปหนึ่ง พึงเป็นกองเสมอ

ด้วยภูเขา ก็แลภูเขาลูกนี้นั้น ท่านเรียกว่า วิปุล-

บรรพตเป็นภูเขาใหญ่ ยิ่งกว่าภูเขาคิชฌกูฏ อยู่ใน

กรุงราชคฤห์ปัญจคีรีนคร ราชธานีแห่งแคว้นมคธ.

โปรดทรงระลึกถึงแผ่นดินชมพูทวีปที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาเปรียบ-

เทียบ. บทว่า โกลฏฺิมตฺตคุฬิกา มาตามาตุเสฺวว นปฺปโหนฺติ ความว่า

เมื่อทำแผ่นดินผืนใหญ่ ที่เรียกกันว่าชมพูทวีป ให้เป็นก้อนขนาดเท่าเมล็ด

โกละคือพุทรา จำแนกก้อนดินก้อนหนึ่ง ๆ ในชมพูทวีปนั้น อย่างนี้ว่า นี้

มารดาเรา นี้ยายเรา ก้อนดินเหล่านั้นก็ไม่พอกับจำนวนมารดาและยาย เมื่อ

มารดาและยายยังไม่สิ้นไปเลย ก้อนดินเหล่านั้นก้อนสุดท้าย กลับจะหมดจะ

สิ้นสุดไปก่อน มารดาและยายของสัตว์ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ อันมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 522

เงื่อนต้นและเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว ก็ยังไม่หมดไม่สิ้นไปขอพระองค์โปรด

ทรงกระทำแผ่นดินชมพูทวีปไว้ในใจน้อมนำมาเปรียบเทียบ โดยความยาวของ

สังสารวัฏ ดังกล่าวมาฉะนี้.

บทว่า ตณกฏฺสาขาปลาส ได้แก่ หญ้า ไม้และกิ่งไม้แห้ง. บทว่า

อุปนีต แปลว่า นำเข้ามาเปรียบเทียบ. บทว่า อนมตคฺคโต ได้แก่ เพราะ

สังสารวัฏมีเงื่อนต้นและเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว. บทว่า จตุรงฺคุลิกา ฆฏิกา

ได้แก่ ชั้นไม้ขนาด ๔ องคุลี. บทว่า ปิตุปิตุเสฺวว นปฺปโหนฺติ ความว่า

ชิ้นไม้เหล่านั้นไม่พอกับจำนวนบิดาและปู่ทั้งหลาย ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า เมื่อ

ทำหญ้า ไม้ และกิ่งไม้แห้งทั้งหมดในโลกนี้ ขนาดเท่า ๔ องคุลีแล้วจำแนก

ชิ้นไม้ชิ้นหนึ่งๆ ในบรรดาหญ้า ไม้และกิ่งไม้แห้งนั้น อย่างนี้ว่า นี้ บิดาเรา

นี้ปู่เรา ชิ้นไม้เหล่านั้นจะหมด จะสิ้นสุดไปก่อน บิดาและปู่ของสัตว์ที่ท่อง

เที่ยวอยู่ในสังสารวัฏที่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว จะยังไม่หมดไม่

สิ้นไป ขอพระองค์โปรดทรงระลึกถึงหญ้า ไม้ และกิ่งไม้แห้ง น้อมนำมา

เปรียบเทียบ โดยความยาวของสังสารวัฏ ดังกล่าวมาฉะนี้.

ก็ในที่นี้ ควรนำ อนมตัคคะบาลีมาเป็นต้นว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเงื่อนต้นเงื่อน

ปลายตามไปไม่รู้แล้ว เงื่อนต้นไม่ปรากฏ สำหรับ

เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่อง

ผูกไว้ ซึ่งโลดแล่นท่องเที่ยวไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจะสำคัญอย่างไร กะข้อที่ว่าน้ำตาใสที่ไหล

พรากของเหล่าสัตว์ ผู้ครวญคร่ำร่ำไห้เพราะประจวบ

อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ เพราะพลัดพรากจากอารมณ์ที่

๑. ส.นิ. ๑๖/ข้อ ๔๒๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 523

น่าพอใจ โลดแล่นท่องเที่ยวไปด้วยกาลอันยาวนานนี้

หรือน้ำใน ๔ มหาสมุทร อันไหนจะมากกว่ากัน.

บทว่า สร กาณกจฺฉป ความว่า โปรดทรงระลึกถึงเต่าตาบอด

ทั้งสองข้าง. บทว่า ปุพฺพสมุทฺเท อปรโต จ ยุคฉิทฺท ได้แก่ ช่องเดียว

ของแอก ที่หมุนไปหมุนมา เพราะแรงเร็วของลมในสมุทรด้านทิศบูรพา และ

ด้านทิศอื่น ๆ คือในสมุทรด้านทิศปัจฉิมทิศอุดรและทิศทักษิณ. บทว่า สิร

ตสฺส จ ปฏิมุกฺกความว่า โปรดทรงระลึกถึงศีรษะของเต่าตาบอด และการ

ที่ศีรษะของเต่าตาบอดนั้น ซึ่งชูคอโดยล่วงไปทุกร้อยปี เข้าไปในช่องแอก.

บทว่า มนุสฺสลาภมฺหิ โอปมฺม ความว่า โปรดทรงทำข้อนี้นั้นหมดทุกข้อ

ให้เปรียบเทียบในความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เหมือนในพระธรรมเทศนาสมัย

พุทธกาล แล้วใช้ปัญญาระลึกถึงความได้อัตภาพเป็นมนุษย์นั้น เป็นสภาพ

ที่ได้ยากเหลือเกิน เพราะแม้ภัยแห่งความกำหนัดนัก [ร่าน] เป็นสภาพที่ล่วง

ไปแล้วสมจริง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษ

พึงซัดแอกที่มีช่องเดียวลงในมหาสมุทรฉันใด ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า สร รูป เผณปิณฺโฑปมสฺส ความว่า โปรดทรงระลึกถึง

รูป ที่ไม่สะอาดมี่กลิ่นเหม็น มีภาวะเป็นของน่าเกลียดปฏิกูล ของโทษกล่าวคือ

กายเพราะเป็นที่ประชุมแห่งที่ไม่มีประโยชน์เป็นอเนก เสมือนก้อนฟองน้ำ

เพราะไม่ทนต่อการกระทบ. บทว่า ขนฺเธ ปสฺส อนิจฺเจ ความว่า โปรด

ทรงระลึกคือตรวจด้วยญาณจักษุ ซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อัน ชื่อว่าไม่เที่ยง

เพราะอรรถว่า มีแล้วไม่มี. บทว่า สราหิ นิรเย พหุวิฆาเต ความว่า

โปรดทรงระลึกถึงมหานรก ๘ ขุม อุสสทนรก ๑๖ ขุม ที่มีความคับแค้นมาก

คือมีทุกข์มาก มีทุกข์ใหญ่หลวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 524

บทว่า สร กฏสึ วฑฺเฒนฺเต ความว่า โปรดทรงรำลึกถึงเหล่า

สัตว์ที่จะรกป่าช้า คือสุสานที่ฝังศพบ่อยๆ เพราะเกิดขึ้นร่ำไปคือไป ๆ มา ๆ

ในชาตินั้นๆ. บาลีว่า วฑฺฒนฺโต ก็มี ประกอบความว่า พระองค์ทรงเพิ่ม

บทว่า กุมฺภีลภยานิ ได้แก่ ภัยคือความเห็นแก่ปากต้อง โดยความเป็นผู้ทำ

กิจที่ไม่ควร เพื่อเลี้ยงท้อง จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย คำว่า กุมภีลภย นี้เป็นชื่อของความเห็นแก่ปากท้อง. บทว่า สราหิ

จตฺตาริ สจฺจานิ ความว่า โปรดทรงระลึกใคร่ครวญตามความเป็นจริง ซึ่ง

อริยสัจ ๔ คือ นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

พระราชบุตรี ครั้นทรงประกาศอาทีนพโทษในกามและสงสาร โดย

ระลึกถึงอาการและขันธ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงประกาศอาทีนพโทษ

นั้นเพิ่มเติม จึงตรัสคาถามีว่า อมตมฺหิ วิชฺชมาเน เป็นต้น. บรรดาบทเหล่า

นั้น บทว่า อมตมฺหิ วิชฺชมาเน ได้แก่ อันได้ชื่อว่า อมตสัทธรรม ที่

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมนำมาเปรียบเทียบ ด้วยพระมหากรุณา บทว่า

กึ ตว ปญฺจกฏุเกน ปีเตน ความว่า ประโยชน์อะไรของพระองค์ด้วย

รสในกามคุณ ๕ ที่เป็นรสเผ็ด ๕ อย่าง ซึ่งทรงดื่มแล้ว เพราะมีทุกข์ มี

ความคับแค้น เหตุติดตามทุกข์ที่กล้าแข็งกว่า ในฐานะทั้ง ๕ คือการแสวงหา

การหวงแหน การรักษา การบริโภค และวิบาก. บัดนี้เมื่อจะทรงทำความที่

กล่าวแล้วให้ปรากฏชัดแจ้ง จึงตรัสว่า สพฺพา หิ กามรติโย กฏุกตรา

ปญฺจกฏุเกน อธิบายว่า เผ็ดร้อนอย่างยิ่งกว่า.

บทว่า เย ปริฬาหา ความว่า กามเหล่าใด ชื่อว่ามีความเร่าร้อน

มีความคับแค้นมาก ด้วยความเร่าร้อนด้วยกิเลสในปัจจุบัน และเร่าร้อนด้วย

วิบากในอนาคต. บทว่า ชลิตา กุถิตา กมฺปิตา สนตาปิตา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 525

อันไฟ ๑๑ กอง ทำให้ลุกโพลงแล้ว เขย่า แผดเผา ผู้ที่พรักพร้อมด้วยกาม

นั้น.

บทว่า อสปตฺตมฺหิ ได้แก่ เมื่อเนกขัมมะที่เว้นจากศัตรู. บทว่า

สมาเน แปลว่า มีอยู่ เป็นอยู่ พระนางตรัสว่า พหุสปตฺตา แล้วก็ตรัสว่า

ราชคฺคิ เป็นต้น ก็เพื่อทรงแสดงภัยที่ให้มีศัตรูมาก พระนางตรัสอุปมาใน

ภัยเหล่านั้น โดยทั่ว ๆ ไปด้วยพระราชา ไฟ โจร น้ำ ทายาทเป็นต้นที่ไม่

รักกัน และด้วยราชภัย อัคคีภัย โจรภัย อุทกภัยและอัปปิยภัย.

บทว่า เยสุ วธมนฺโธ ความว่า แปลงโทษมีการทำให้ตาย การ

โบยเป็นต้น และการจำมีจำด้วยโซ่เป็นต้น เป็นเครื่องหมายกามในกามเหล่า

ใด คำว่า กาเมสุ เป็นต้น กระทำความที่กล่าวแล้วนั่นแลให้ปรากฏ. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า หิ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า เหตุ. เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้น

ย่อมเสวยคือ ประสบทุกข์ในการฆ่าและจองจำ ฉะนั้น พระนางสุเมธาจึง

ตรัสว่า อสกามา อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่ากามเหล่านี้เป็นของไม่ดี เลว ทราม

อีกอย่างหนึ่งบาลีว่า อหกามา ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. ความจริง

ศัพท์ว่า อห แปลว่าทราม เหมือนอหศัพท์ในประโยคว่า อหโลกิตฺถิโย

ขึ้นชื่อว่าสตรีในโลกทราม.

บทว่า อาทีปิตา แปลว่า โชติช่วงแล้ว. บทว่า ติณุกฺกา ได้แก่

คบเพลิงที่ทำด้วยหญ้า. บทว่า ทหนฺติ เย เต น มุญฺจนฺติ ความว่า สัตว์

เหล่าใดไม่ยอมปล่อยกามเหล่านั้น ชื่อว่ายึดถืออยู่โดยแท้ สัตว์เหล่านั้นก็ย่อม

ร้อน ย่อมไหม้ทั้งในปัจจุบันทั้งในอนาคต.

บทว่า มา อปฺปกสฺส เหตุ ความว่า ขอพระองค์อย่าทรงละทิ้ง

โลกุตรสุขอันไพบูลย์ โอฬารและประณีต เพราะเหตุแห่งกามสุขเล็กน้อย ซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 526

เป็นเสมือนรสอร่อยของดอกไม้. บทว่า มา ปุถุโลโมว พฬิส คิลิตฺวา

ความว่า พระองค์ไม่ทรงสละกามทั้งหลายแล้ว ก็จะเดือดร้อนภายหลัง คือ

คับแค้นในภายหลัง เหมือนปลาที่ได้ชื่อว่าสัตว์ไม่มีขน กลืนเบ็ดด้วยความ

โลภเหยื่อก็ถึงความย่อยยับ ฉะนั้น.

บทว่า สุนโขว สงฺขลาพทฺโธ ความว่า สุนัขที่เขาล่ามเชือก เขา

เอาเชือกผูกไว้ที่หลัก ก็ไปที่อื่นไม่ได้ หมุนอยู่ในที่นั้นนั่นเอง ฉันใด พระองค์

ก็ถูกกามตัณหาผูกไว้ฉันนั้น บัดนี้ ขอพระองค์โปรดทรงบรรเทาความอยาก

ในกามทั้งหลาย คือทรงฝึกอินทรีย์ทั้งหลายก่อน. ในบทว่า กาหินฺติ ขุ ต

กามา ฉาตา สุนขว จณฺฑาลา ความว่า ขุ เป็นเพียงนิบาต. ความว่า

ก็กามเหล่านั้น จักทำผู้นั้นให้เป็นเหมือนคนจัณฑาล ที่หิวจัด ได้สุนัขมาก็

ทำให้พินาศได้ฉะนั้น.

บทว่า อปริมิตฺตญฺจ ทุกฺข ได้แก่ ทุกข์ทางกายในนรกเป็นต้น

ที่หาประมาณมิได้ คือที่มิอาจจะกำหนดได้ว่าเท่านี้. บทว่า พหูนิ จ

จิตฺตโทมนสฺสานิ ได้แก่ โทมนัสเป็นอันมากมิใช่น้อย ที่เขาได้รับอยู่ใน

จิต คือทุกข์ทางใจ. บทว่า อนุโภหิสิ แปลว่า จักเสวย. บทว่า กามยุตฺโต

แปลว่า ผู้ประกอบด้วยกามทั้งหลาย คือผู้ไม่ยอมเสียสละกามเหล่านั้น. บทว่า

ปฏินิสฺสชฺช อทฺธุเว กาเม ความว่า โปรดทรงพราก คือหลีกไปจากกาม

ทั้งหลาย ที่ไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยงเสียเถิด.

บทว่า ชรามรณพฺยาธิคหิตา สพฺพา สพฺพตฺถ ชาติโย ประ-

กอบความว่า เพราะเหตุที่ชาติทั้งหลายในภพเป็นต้นทั้งหมด ซึ่งต่างโดยประเภท

มีอย่างเลวเป็นต้น ถูกชรามรณะและพยาธิจับไว้ ไม่พ้นไปจากชรามรณะและ

พยาธินั้น ฉะนั้น เมื่อพระนิพพานที่ไม่ชรามีอยู่ พระองค์ยังจะได้ประโยชน์

อะไรจากกามทั้งหลาย ที่ไม่พ้นไปจากชราเป็นต้นเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 527

พระนางสุเมธา ครั้นทรงประกาศอาทีนพโทษในกามและภพทั้งหลาย

โดยมุขคือการแสดงคุณของพระนิพพานอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงประกาศคุณ

ของพระนิพพานที่บังเกิดแล้วนี้แล จึงได้ตรัส ๒ คาถา โดยนัยว่า อิทมชร

ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทมชร ความว่า พระนิพพาน

นี้นั้นเท่านั้น ชื่อว่าไม่ชรา เพราะไม่มีชราในตัวเอง และเพราะเป็นเหตุไม่มี

ชราสำหรับท่านผู้ถึงพระนิพพานแล้ว. แม้ในบทว่า อิทมมร นี้ ก็นัยนี้

เหมือนกัน. ด้วยบทว่า อิทมชรามร พระนางกล่าวชมเชย รวมบททั้งสอง

เข้าเป็นบทเดียวกัน. บทว่า ปท ชื่อว่า บท เพราะเป็นข้อที่ผู้ประสงค์

จะพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะ พึงบวช พึงดำเนิน ชื่อว่าไม่เศร้าโศก เพราะไม่มี

เหตุแห่งความเศร้าโศก และไม่มีความเศร้าโศก ชื่อว่าไม่มีข้าศึก เพราะไม่มี

ธรรมที่ทำให้เป็นข้าศึก ชื่อว่าไม่มีความคับแค้น เพราะไม่มีความคับแค้นด้วย

กิเลส ชื่อว่าไม่มีผิดพลาด เพราะไม่มีธรรมที่นับได้ว่าผิดพลาด ชื่อว่าไม่มีภัย

เพราะไม่มีภัยมีการติตนเองเป็นต้น และภัยในวัฏฏะ ชื่อว่าไม่ร้อน เพราะไม่

มีความร้อนด้วยทุกข์ ทั้งกิเลส พระนางตรัสคำนั้นทั้งหมด หมายเอาพระอมต-

มหานิพพานอย่างเดียว. ความจริงพระนางสุเมธานั้น เมื่อทรงบำรุงพระองค์

เองโดยอาการที่สำเร็จด้วยการที่ทรงฟังเขามาเป็นต้น จึงตรัสว่า อิท นิพพานนี้

เหมือนทรงแสดงชัดแจ้งแก่ชนเหล่านั้น [พระชนกชนนี พระญาติ และพระ

เจ้าอนิกรัตตะ].

บทว่า อธิคตมิท พหูหิ อมต ความว่า พระอมตนิพพานนี้ อัน

พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เป็นอันมาก อนันต์ นับไม่ถ้วน ต่าง

บรรลุ ตรัสรู้ ทำให้ประจักษ์แก่ตนมาแล้ว. พระนางมิใช่ตรัสหมายถึงอมต-

นิพพานที่พระอริยะเหล่านั้นบรรลุแล้วอย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้ แม้วันนี้

ก็ควรจะได้ คือเดี๋ยวนี้ ก็ควรจะบรรลุ คืออาจบรรลุได้ หากจะถามว่า ใคร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 528

ควรจะได้พระนางจึงตรัสว่า โย โยนิโส ปยุญฺชติ ประกอบความว่า บุคคล

ใด ตั้งอยู่ในพระโอวาทที่พระศาสดาประทานไว้แล้ว พยายาม และทำการ

พากเพียรชอบ โดยแยบคาย โดยอุบาย อมตนิพพานอันบุคคลนั้น ควรจะ

ได้. บทว่า น จ สกฺกา อฆฏมาเนน ความว่า ส่วนบุคคลใดไม่

พยายามโดยแยบคาย บุคคลผู้ไม่พยายามนั้น ก็ไม่ควรจะได้ คือไม่อาจจะได้

ไม่ว่าในกาลไร ๆ.

บทว่า เอว ภณติ สุเมธา ความว่า พระนางสุเมธาราชธิดา ตรัส

ธรรมกถา อันแสดงความสังเวชของพระองค์ในสังสารวัฏ เป็นส่วนแห่งการ

ชำแรกในกามทั้งหลาย อย่างนี้ โดยประการที่ตรัสมาแล้ว . บทว่า สงฺขารคเต

รตึ อลภมานา ได้แก่ เมื่อไม่ทรงได้ความยินดีอย่างยิ่ง ในสังขารที่เป็น

ไปอยู่ แม้เพียงเล็กน้อย. บทว่า อนุเนนฺตี อนิกรตฺต ได้แก่ เมื่อทรง

เกลี้ยกล่อมพระเจ้าอนิกรัตตะ. บทว่า เกเส จ ฉม ขิปิ ได้แก่ ก็ทรงโยน

ทิ้งพระเกศาที่ทรงตัดด้วยพระขรรค์ของพระองค์ไปที่พื้น.

บทว่า ยาจตสฺสา ปิตร โส ความว่า พระเจ้าอนิกรัตตะนั้น

ทูลวอนพระเจ้าโกญจะ พระชนกของพระนางสุเมธานั้น. หากจะถามว่า ทรง

ทูลวอนว่าอย่างไร พระเจ้าอนิกรัตตะตรัสว่า ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยพระ

นางสุเมธาให้ทรงผนวชเถิด พระนางคงจะทรงเห็นวิโมกข์และสัจจะแน่ อธิบาย

ว่า ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยพระนางสุเมธาราชบุตรีเพื่อทรงผนวชเถิด ด้วย

ว่าพระนางทรงผนวชแล้ว คงจะทรงเห็นวิโมกข์และสัจจะ คือทรงเห็นพระ

นิพพานอันไม่วิปริต.

บทว่า โสกภยภีตา ได้แก่ทรงกลัวภัยในสังสารวัฏทุกอย่าง เพราะ

มีความพลัดพรากจากญาติเป็นต้นเป็นเหตุ ทรงหวาดสะดุ้ง โดยพระญาณ

อย่างยอดเยี่ยม. บทว่า สิกฺขมานาย ความว่า พระนางกำลังทรงศึกษาก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 529

ทรงกระทำให้แจ้งอภิญญา ๖ ขณะนั้นนั่นเอง ก็ทรงกระทำให้แจ้งพระอรหัต

ซึ่งเป็นผลอันเลิศ.

บทว่า อจฺฉริยมพฺภุต ต นิพฺพาน อาสิ ราชกญฺาย ความว่า

ความดับสนิทจากกิเลสทั้งหลาย อันอัศจรรย์ ไม่เคยมี ก็ได้มีแก่พระนางสุเมธา

ราชบุตรี. หากจะถามว่า พระนางสุเมธา ทรงกระทำให้แจ้งอภิญญา ๖ หรือ

พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ปุพฺเพนิวาสจริต ยถา พฺยากริ ปจฺฉิเม

กาเล ความว่า พระนางทรงพยากรณ์จริยาที่นับเนื่องในปุพเพนิวาสานุสสติ-

ญาณ ของพระองค์ในกาลสุดท้าย คือในเวลาดับขันธ์ปรินิพพานฉันใด บัณฑิต

ก็พึงทราบจริยานั้น ฉันนั้น.

ก็ปุพเพนิวาสญาณ พระนางทรงพยากรณ์แล้วโดยประการใด เพื่อ

ทรงแสดงประการนั้น พระนางจึงตรัสว่า ภควติ โกนาคมเน เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภควติ โกนาคมเน ความว่า เมื่อพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ ทรงอุบัติขึ้นในโลก. บทว่า สงฺฆารามมฺหิ

นวนิเวสมฺหิ ความว่า เมื่ออารามที่ข้าพระองค์สร้างอุทิศพระสงฆ์เสร็จใหม่ๆ.

บทว่า สขิโย ติสฺโส ชนิโย วิหารทาน อทาสิมฺห ความว่า เรา ๓

สหาย คือ ธนัญชานี เขมา และข้าพระองค์ ได้ช่วยกันถวายวิหารเป็นอาราม

แด่พระสงฆ์.

บทว่า ทสกฺขตตุ สตกฺขตฺตุ ความว่า ด้วยอานุภาพของวิหาร

ทานนั่น เราเกิดในเทวดา ๑๐ ครั้ง ต่อจากนั้น ก็เกิดในมนุษย์แล้วเกิดใน

เทวดาอีก ๑๐๐ ครั้ง ต่อจากนั้น ก็เกิดในมนุษย์ แล้วเกิดในเทวดาอีก ๑๐๐

ครั้ง ๑๐ หน คือ ๑,๐๐๐ ครั้ง ต่อจากนั้น ก็เกิดในมนุษย์ ๑๐,๐๐๐ ครั้ง จะ

ป่วยกล่าวไปไยในมนุษย์ทั้งหลาย คือไม่มีถ้อยคำที่จะกล่าวในครั้งที่เกิดใน

มนุษย์ทั้งหลาย อย่างนั้น อธิบายว่า เราเกิดหลายพันครั้ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 530

บทว่า เทเวสุ มหิทฺธิกา อหุมฺห ความว่า เรามีฤทธิมากมีอานุ-

ภาพมาก ในหมู่เทพนั้น ๆ เวลาเกิดในเทวดาทั้งหลาย. บทว่า มานุสกมฺหิ

โก ปน วาโท ได้แก่ ไม่มีถ้อยคำที่จะกล่าวถึงความที่เรามีฤทธิ์มาก ใน

เวลาได้อัตภาพเป็นมนุษย์. บัดนี้ พระนางเมื่อทรงแสดงความอุกฤษฏ์

ความมีฤทธิ์มาก ในเวลาได้อัตภาพเป็นมนุษย์นั้นนั่นแล จึงตรัสว่า

สตฺตรตนสฺส มเหสี อิตฺถิรตน อห อาส เป็นต้น ในคำนั้น รัตนะ ๗

ประการ มีจักรรัตนะเป็นต้น มีแก่พระราชานั้น เหตุนั้น พระราชานั้นชื่อ

ว่า สัตตรัตนะ มีรัตนะ ๗ ประการ คือพระเจ้าจักรพรรดิ ของพระเจ้า

จักรพรรดิผู้มีรัตนะ ๗ ประการนั้น ข้าพระองค์ได้เป็นรัตนะในอิตถีทั้งหลาย

เพราะประกอบด้วยคุณมีเป็นต้นอย่างนี้คือ เว้นจากโทษ ๖ มีความงาม ๕ มี

ผิวพรรณเกินผิวพรรณมนุษย์ มีพรรณะดังทิพย์ที่มนุษย์ไม่เคยพบ.

บทว่า โส เหตุ ความว่า กุศลคือวิหารทานที่ข้าพระองค์กระทำ

แด่พระสงฆ์ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ เป็นเหตุแห่ง

ทิพยสมบัติตามที่กล่าวแล้ว. คำว่า โส ปภโว ต มูล เป็นคำบรรยายของคำ

ว่า โส เหตุ นั้นนั่นแหละ. บทว่า สาว สาสเน ขนฺติ ความว่า นั้นนั่นแล

เป็นความอดทนในการเพ่งธรรมในพระศาสนาของพระศาสดานี้. บทว่า ต

ปฐมสโมธาน ได้แก่ นั้นนั่นแล เป็นที่ชุมนุมครั้งแรก คือเป็นปฐมสมาคม

โดยศาสนาธรรมของพระศาสดา. พระนางตรัสเหตุโดยใกล้ชิดผลว่า นั้นนั่น

แหละเป็นนิพพานในที่สุด สำหรับข้าพระองค์ ซึ่งยินดีอย่างยิ่งในศาสนธรรม

ของพระศาสดา. ก็ ๔ คาถานี้ พระสังคีติกาจารย์ยกขึ้นสู่สังคายนาไว้แม้ใน

อปทานบาลี เพราะเป็นไปด้วยการชี้แจงอปทาน จริตที่ไม่ขาดสายของพระเถรี.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาสุดท้ายดังนี้. บทว่า เอว กโรนฺติ ความ

ว่า ข้าพระองค์ทำการปฏิบัติในอัตภาพก่อน ๆ และในอัตภาพนี้ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 531

แม้ชนเหล่าอื่นก็กระทำ คือปฏิบัติ ฉันนั้น. ถ้าจะถามว่าชนเหล่าไหนกระทำ

อย่างนี้ พระเถรีจึงกล่าวว่า เย สทฺทหนฺติ วจน อโนมปญฺสฺส ความ

ว่า. บุคคลเหล่าใดเชื่อพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาเต็ม

เปี่ยม เพราะทรงมีไญยปริยันติกญาณ คือเชื่อมั่นว่า นี้เป็นอย่างนี้ บุคคล

เหล่านั้น ย่อมทำคือปฏิบัติอย่างนี้ บัดนี้ พระเถรี เพื่อแสดงความข้อนั้น

แห่งการปฏิบัติที่เป็นไปอย่างอุกฤษฏ์นั้น จึงกล่าวว่า นิพฺพินฺทนฺติ ภวคเต

นิพฺพินฺทิตฺวา วิรชฺชนฺติ. ข้อนั้นมีความว่า บุคคลเหล่าใด เชื่อพระดำรัส

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามเป็นจริง บุคคลเหล่านั้น เมื่อปฏิบัติวิสุทธิปฎิ-

ปทา ย่อมเบื่อหน่ายด้วยวิปัสสนาปัญญา ในภพคือสังขารที่เป็นไปในภูมิ ๓

ทั้งหมด ก็แลครั้นเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมคลายกำหนัดโดยประการทั้งปวง ด้วย

อริยมรรค ย่อมหลุดพ้นจากภพแม้ทั้งหมด อธิบายว่า เมื่ออริยมรรคที่เป็น

วิราคธรรม อันบุคคลบรรลุแล้ว บุคคลผู้บรรลุนั้น ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นโดย

แท้แล.

พระเถรีดังกล่าวมาเหล่านั้น มีพระเถริกาเป็นองค์ต้น มีพระสุเมธาเถรี

เป็นองค์สุดท้าย พระสังคีติกาจารย์ยกขึ้นสู่สังคายนา รวมไว้แห่งเดียวกันในที่

นี้ โดยเป็นสภาคกันโดยคาถา มีจำนวน ๗๓ รูป แต่เมื่อกล่าวโดยภาณวาร

เถรีคาถามีจำนวน ๖๐๒ คาถา. พระเถรีทั้งหมดนั้น ชื่อว่ามีประเภทเดียวโดย

เป็นสาวิกาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉันใด มีประเภทเดียว โดยเป็นพระ

อเสขะ โดยถอนกิเลสดุจกลอนเหล็กได้แล้ว โดยกลบกิเลสดุจคูเสียแล้ว โดย

เพิกถอนกิเลสเสียแล้ว โดยไม่มีกิเลสดุจลิ่มสลัก โดยปลงภาระลงแล้ว โดย

ไม่มีสังโยชน์แล้ว และโดยอยู่จบธรรมเครื่องอยู่ในอริยวาส ๑๐ แล้ว ก็ฉันนั้น.

จริงอย่างนั้น พระเถรีเหล่านั้น ชื่อว่ามีประเภทเดียวโดยนัยเป็นต้นอย่างนี้

คือ ผู้ละองค์ ๕ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ผู้มีเครื่องอารักขา ๑ ผู้มีอปัสเสน

๑. บาลีว่า ๗๑ รูป. ๒. ว่า ๕๙๔ คาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 532

ธรรม ๔ ผู้เป็นปณุนนปัจเจกสัจจะ (บรรเทาสัจจะเฉพาะอย่าง) ผู้เป็นสมวย

สัฏเฐสนะ ผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว ผู้มีกายสังขารอันระงับแล้ว ผู้มีจิตหลุดพ้น

ด้วยดี และผู้มีปัญญาหลุดพ้นด้วยดี ชื่อว่ามี ๒ ประเภท ต่างโดยเป็นสาวิกาต่อ

หน้าและเป็นสาวิกาลับหลัง จริงอยู่ พระเถรีเหล่าใด เกิดในอริยชาติ [เป็นพระ

อริยะ] เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ มีพระมหาปชาบดีโคตมีเป็นต้น

พระเถรีเหล่านั้น ชื่อว่าสาวิกาต่อหน้า ส่วนพระเถรีเหล่าใดได้บรรลุคุณวิเศษ

ภายหลังแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระเถรีเหล่านั้น แม้

เมื่อพระธรรมสรีระของพระศาสดายังประจักษ์อยู่ ก็ชื่อว่าสาวิกาลับหลัง เพราะ

พระสรีระของพระศาสดา ไม่ประจักษ์แล้ว ชื่อว่ามี ๒ ประเภท โดยเป็นอุภโต-

ภาควิมุตติและปัญญาวิมุตติ ก็อย่างนั้นเหมือนกัน แต่พระเถรีที่มาในพระบาลี

นี้ เป็นอุภโตภาควิมุตติทั้งนั้น. ชื่อว่ามี ๒ ประเภทโดยต่างเป็นผู้มีอปทาน

และไม่มีอปทาน ก็อย่างนั้นเหมือนกัน. ก็อปทานกล่าวคือความเป็นผู้บำเพ็ญ

บารมี โดยการกระทำบุญมาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ในพระ

ปัจเจกพุทธเจ้า และในพระสาวกพุทธะ ของพระเถรีเหล่าใดมีอยู่ พระเถรี

เหล่านั้น ชื่อว่ามีอปทาน อปทานนั้นของพระเถรีเหล่าใดไม่มี พระเถรีเหล่า

นั้น ชื่อว่าไม่มีอปทาน. มี ๒ ประเภทคือ ผู้ได้อุปสมบทจากพระศาสดา ผู้

ได้อุปสมบทจากสงฆ์ จริงอยู่ พระมหาปชาบดีโคตมี ผู้ได้อุปสมบท เพราะ

รับครุธรรม ชื่อว่าได้อุปสมบทจากพระศาสดา เพราะได้อุปสมบทจากสำนัก

พระศาสดา พระเถรีนอกนั้น ทั้งหมดชื่อว่าได้อุปสมบทจากสงฆ์ พระเถรีที่

ได้อุปสมบทจากสงฆ์แม้เหล่านั้น ก็มี ๒ ประเภท คือผู้ได้อุปสมบทจากสงฆ์

ฝ่ายเดียว ผู้ได้อุปสมบทจากสงฆ์สองฝ่าย บรรดาพระเถรีเหล่านั้น พระเถรี

ที่เป็นเจ้าหญิงศากยะ ๕๐๐ องค์ ออกผนวชพร้อมกับพระมหาปชาบดีโคตมี

ชื่อว่าได้อุปสมบทจากสงฆ์ฝ่ายเดียว เว้นพระมหาปชาบดีโคตมี เพราะได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 533

อุปสมบทจากภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว นอกจากนี้ ชื่อว่าได้อุปสมบทจากสงฆ์สอง

ฝ่าย เพราะได้อุปสมบทจากอุภโตสงฆ์.

ในที่นี้ ไม่ได้หมวดสองสำหรับเอหิภิกขุนีเหมือนหมวดสองของเอหิ-

ภิกขุ เพราะเหตุไร เพราะการอุปสมบทอย่างนั้น ของภิกษุณีทั้งหลาย ไม่มี.

ผิว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น คำนั้นใด พระภัททากุณฑลเกสาเถรีกล่าวไว้ในเถรี

คาถาว่า นิหจฺจ ชาณุ วนฺทิตฺวา เป็นต้น แปลว่า

ข้าพเจ้าคุกเข่าถวายบังคม ทำอัญชลีต่อพระพักตร์

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งว่ามาเถิด ภัททา พระดำรัส

สั่งนั้น เป็นอาสูปสัมปทา บวชโดยอาสาของข้าพเจ้า.

กล่าวคาถาไว้ในคัมภีร์อปทานว่า อายาจิโต ตทา อาห เป็นต้น แปลว่า

ครั้งนั้น พระผู้เป็นนายก ถูกข้าพเจ้าทูลวอนแล้ว

ก็ตรัสสั่งว่า มาเถิดภัททา ครั้งนั้นข้าพเจ้าอุปสมบท

ได้เห็นน่าเล็กน้อย.

คำนั้น พระภัททากุณฑลเกสาเถรีกล่าวทำไม คำนี้พระเถรีมิได้

กล่าวหมายถึงการอุปสมบท โดยเป็นเอหิภิกขุนีอุปสัมปทา แต่ท่านกล่าวเพราะ

เป็นเหตุแห่งการอุปสมบทว่า พระดำรัสสั่งของพระศาสดา เป็นอาสูปสัมปทา

การบวชโดยอาสาของข้าพเจ้า.

จริงอย่างนั้น ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า พระภัททากุณฑลเกสาเถรี

กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งข้าพเจ้าว่า มาเถิด ภัททา ไปสำนักภิกษุณี

บรรพชาอุปสมบทเสียในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย พระดำรัสสั่งของพระศาสดานั้น

ได้เป็นอุปสมบทของข้าพเจ้า เพราะเป็นเหตุแห่งการบวชของข้าพเจ้า บัณฑิต

พึงเห็นว่า ท่านพรรณนาแม้ความแห่งอปทานคาถา โดยนัยอย่างนี้นี่แล.

๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๖๑ กุณฑลเกสีเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 534

แม้เมื่อเป็นดังนั้น ในภิกขุนีวิภังค์ คำนี้ว่า มาเถิด ภัททา ท่าน

กล่าวทำไม คำนี้ เป็นคำส่องความไม่มีสภาพแห่งการบวชของภิกษุณีทั้งหลาย

ว่าเป็นเอหิภิกขุนี เพราะการบวชอย่างนั้น ไม่มีแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ผิว่าเมื่อ

เป็นเช่นนั้นทำไม ท่านจึงนิเทศคำอธิบาย ไว้ในวิภังค์ว่า เอหิภิกฺขุนี

ก็เพราะการบวชนั้นตกอยู่ในกระแสแห่งเทศนานัย. จริงอยู่ ธรรมดาความที่การ

อุปสมบทตกอยู่ในกระแสนี้ มิใช่บังคับแก่เรื่องที่ได้อยู่ในที่ไหน ๆ.

องค์ฌานแม้นี้ได้อยู่ ในมโนธาตุนิเทศ ในอภิธรรมท่านก็มิได้ยกขึ้น

โดยความเป็นองค์ฌานที่ตกอยู่ในกระแสแห่ง ปัญจวิญญาณ เพราะไม่มีเทศนา

ไว้ในที่ไหน ๆ ฉันใด หทัยวัตถุ ในวัตถุนิเทศในอภิธรรมนั้นนั่นแหละ

ท่านก็มิได้ยกขึ้น โดยถือเอาหทัยวัตถุที่ไม่ได้อยู่ในที่ไหนๆ ฉันใด ในฐิตกัปปิ-

นิเทศก็ฉันนั้น เหมือนที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ก็ฐิตกัปปีบุคคลเป็นไฉน. คือบุคคลนี้ ปฏิบัติ

เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีอยู่ และเวลาไหม้ของ

กัปก็มีอยู่ กัปจะยังไม่ไหม้ไป ตราบเท่าที่บุคคลนี้ยัง

ไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล.

แม้ในที่นี้ บัณฑิตก็พึงทราบโดยการถือเอาการบวชที่ยังไม่ได้อยู่อย่าง

นั้น ก็คำนี้เป็นคำปริกัป ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงตรัสกะมาตุคาม [หญิง]

โร ๆ ซึ่งควรแก่ความเป็นภิกษุณีว่า เอหิ ภิกฺขุนี ไซร้ ความเป็นภิกษุณี

ก็จะพึงมีได้แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล. ถามว่า ก็เหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ไม่ตรัสอย่างนี้. ตอบว่า เพราะไม่มีบุคคลผู้สร้างสมบารมีอย่างนั้น. แต่อาจารย์

พวกใดกล่าวเหตุไว้ว่า เพราะบุคคลทั้งหลายอยู่ไม่ใกล้ชิด [พระพุทธเจ้า]

แล้วกล่าว เพราะว่าพวกภิกษุเท่านั้น เที่ยวใกล้ชิด อยู่ใกล้ชิดพระศาสดา

๑. อภิ.ปุ. ๓๖/ข้อ ๓๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 535

เพราะฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงควรเรียกว่า เอหิภิกษุ พวกภิกษุณีไม่ควร

เรียกว่า เอหิภิกขุนี คำนั้นก็เป็นเพียงมติของอาจารย์พวกนั้น. เพราะความ

เป็นผู้ใกล้และไกลพระศาสดา ไม่ทำให้สำเร็จความเป็นภัพพบุคคลและอภัพพ-

บุคคลได้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้หากว่า ภิกษุพึงจับชาย

สังฆาฏิ ติดตามไปข้างหลัง สะกดรอยเท้าไป แต่ภิกษุ

นั้น มีอภิชฌามาก ร่านแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิต

คิดพยาบาท มีความดำริแห่งใจร้าย ทรงลืมสติ ไม่

มีสัมปชัญญะ ใจไม่มั่นคง มีจิตหมุน มีอินทรีย์

ไม่สำรวม โดยที่แท้ ภิกษุนั้นยังไกลเรา และเราก็

ไกลภิกษุนั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็น

ธรรม ก็ชื่อว่าไม่เห็นเรา.

ก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้หากว่าภิกษุนั้น อยู่ไกลถึง ๑๐๐ โยชน์ แต่

ภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่มีอภิชฌามาก ไม่ร่านแรงกล้าในกามทั้งหลาย ไม่มีจิตคิด

พยาบาท ไม่ดำริแห่งใจร้าย มีสติมั่นคง มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตมี

อารมณ์เดียว สำรวมอินทรีย์ ที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ใกล้เรา และเราก็อยู่ใกล้

ภิกษุนั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นเห็น

ธรรม เมื่อเห็นธรรม ก็ชื่อว่าเห็นเรา ดังนี้.

เพราะฉะนั้น ความที่บุคคลอยู่ใกล้และไกลพระศาสดา โดยเทศะไม่ใช่

เหตุเลย ส่วนความที่ภิกษุณีทั้งหลาย ไม่คู่ควรในเรื่องเอหิภิกขุนีอุปสัมปทานั้น

๑. ขุ. อิติ ๒๕/ข้อ ๒๗๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 536

ก็เพราะภิกษุณีเหล่านั้น ไม่ได้สร้างสมบารมีไว้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

หมวดสองแห่งเอหิภิกขุนี ไม่ได้ในข้อนี้ พระเถรีมี ๒ ประเภทดังกล่าวมานี้.

พระเถรี มี ๓ ประเภท คืออัครสาวิกา มหาสาวิกา ปกติสาวิกา

ใน ๓ ประเภทนั้น พระเถรี ๒ รูป คือ พระเขมา พระอุบลวรรณา ชื่อว่า

อัครสาวิกา พระเถรีผู้เป็นพระขีณาสพแม้ทุกรูป ทำศีลสุทธิเป็นต้นให้ถึง

พร้อม มีจิตมั่นคงอยู่ในสติปัฎฐาน ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ทำกิเลส

ให้สิ้นไปไม่เหลือตามลำดับมรรค ดำรงอยู่ในผลอันเลิศก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น

พระขีณาสวเถรีทั้งหลาย ชื่อว่ามหาสาวิกา ก็เพราะเป็นพระสาวิกา ผู้ยิ่งใหญ่

ด้วยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น เพราะคุณวิเศษอันดียิ่ง สำเร็จแล้วในสันดาน

ของตน ด้วยความเป็นผู้ยิ่งใหญ่โดยอภินิหารและมีความยิ่งใหญ่โดยบุพ-

ประโยค [บุพกรรม] เหมือนคุณวิเศษ ที่ปรารถนากัน สำเร็จด้วยความ

วิเศษแห่งการเจริญปุพภาคของทิฏฐิปัตตบุคคล โดยสัทธาวิมุ และของ

อุภโตภาควิมุตบุคคล โดยปัญญาวิมุต ฉะนั้น ก็พระขีณาสวเถรีแม้ทั้งสอง

รูปนั้น ชื่อว่าอัครสาวิกา ก็เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเป็นเลิศ ด้วยคุณทุก

อย่าง พร้อมทั้งความวิเศษ ด้วยการบรรลุบารมีชั้นอุกฤษฏ์ในปัญญาและสมาธิ

ตามลำดับ ด้วยสัมมาปฏิบัติ ที่เกิดมาช้านาน ไม่ว่างเว้น โดยเคารพ เพราะเป็น

ผู้มีอภินิหารเกิดแต่สัมมาทิฏฐิสัมมาสมาธินั้น อันเหตุเกิดอานุภาพแห่งการทำที่

ดียิ่งของสัมมาทิฏฐิและสัมมาสมาธิอันเป็นธุระ โดยเป็นประธานในโพธิปักขิย-

ธรรมเหล่านั้นนั่นแล ส่วนพระขีณาสวเถรีมีพระมหาปชาบดีโคตมีเป็นต้น ชื่อ

ว่า มหาสาวิกา เพราะเป็นพระสาวิกาผู้ยิ่งใหญ่ ด้วยคุณวิเศษที่ได้เพราะเป็น

ผู้ยิ่งใหญ่โดยอภินิหาร และเพราะเป็นผู้ยิ่งใหญ่โดยบุพประโยค พระเถรีนอกนี้

เป็นต้นอย่างนี้คือ พระเถรีกา พระติสสา พระวีรา พระธีรา ชื่อว่าปกติ-

สาวิกา เพราะไม่มีคุณวิเศษ มีความเป็นผู้ยิ่งใหญ่โดยอภินิหารเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 537

ก็พระปกติสาวิกาเหล่านั้น ไม่นับเหมือนพระอัครสาวิกา และพระ-

มหาสาวิกา ที่แท้พึงทราบว่าพระปกติสาวิกาเหล่านั้น มีจำนวนหลายร้อยหลาย

พัน. พระเถรี มี ๓ ประเภท โดยประเภทอัครสาวิกาเป็นต้น ดังกล่าวมาฉะ-

นี้. มี ๓ ประเภท โดยประเภทสุญญตวิโมกข์เป็นต้น. ก็เหมือนอย่างนั้น มี

๔ ประเภท โดยจำแนกตามปฏิปทาเป็นต้น. มี ๕ ประเภท โดยจำแนกตาม

ความยิ่งด้วยอินทรีย์เป็นต้น. มี ๕ ประเภท โดยจำแนกตามข้อปฏิบัติเป็นต้นก็

เหมือนอย่างนี้. มี ๖ประเภท มีอนิมิตตวิมุตติเป็นต้นต้น. มี ๗ ประเภท โดยประเภท

อธิมุตติ. มี ๘ ประเภท โดยจำแนกตามธุรปฏิปทาเป็นต้น. มี ๙ ประเภทและ

๑๐ ประเภท โดยจำแนกตามวิมุตติ. ก็พระเถรีเหล่านั้น ๆ จำแนกโดยประเภท

ธุระ ตามที่กล่าวแล้ว ก็มี ๒๐ ประเภท. จำแนกโดยปฏิปทาก็มี ๔๐

ประเภท. จำแนกตามประเภทแห่งปฏิปทา ตามประเภทแห่งธุระ ก็มีอีก ๘๐

ประเภท. ก็หรือว่า จำแนกตามวิภาคแห่งสุญญตวิมุตติบุคคลเป็นต้น ก็มี

๒๔๐ ประเภท. จำแนกโดยวิภาคตามบุคคลที่ยิ่งด้วยวิริยะเป็นต้น ก็มี ๑,๒๐๐

ประเภท. บัณฑิตพึงทราบว่า พระเถรีเหล่านั้น ต่างกันมากประเภท ก็โดยคุณ

ของตนอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้. ความสังเขปในเถรีคาถาม มีดังกล่าวมานี้.

ส่วนความพิศดาร พึงถือตามนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาเถรีคาถา ในหน

หลังแล.

จบอรรถกถาสุเมธาเถรีคาถา

จบอรรถกถามหานิบาต

ในเถรีคาถามิรวมเป็นคาถา ๔๙๔ คาถา พระเถรี ๗๑ รูปนั้น

ล้วนแต่เป็นผู้สิ้นอาสวะ.

เถรีคาถาจบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 538

นิคมคาถา

คาถาท้ายอรรถกถาเถรีคาถา

ด้วยกถาพรรณนาความดังกล่าวมาฉะนี้

พระสาวกเหล่านั้นใด มีพระสัทธรรมพรั่งพร้อม

เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ เกิดแต่พระโอษฐ์ ของพระ-

ศาสดาผู้เป็นจอมทัพธรรม เป็นทายาท ลูกเนรมิตโดย

ธรรม สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น เป็นผู้เสร็จกิจแล้ว

ไม่มีอาสวะ เป็นพระเถระก็มี เช่นท่านพระสุภูติเป็น

ต้น เป็นพระเถรีก็มี เช่นพระเถริกาเป็นต้น พระสาวก

เหล่านั้นกล่าวคาลาเหล่าใดไว้ ด้วยวิธีพยากรณ์พระ-

อรหัตเป็นต้น.

พระมหาเถระทั้งหลาย [พระสังคีติกาจารย์ผู้

ทำปถมสังคายนา ๕๐๐ องค์] ช่วยกันรวบรวมคาถา

เหล่านั้นทั้งหมด ยกขึ้นสู่บาลีสังคายนา ชื่อว่าเถร-

คาถา เถรีคาถา.

เพื่อประกาศความของเถรคาถาและเถรีคาถาเหล่า

นั้น ข้าพเจ้าอาศัยนัยที่มาในอรรถกถาเดิม จึงเริ่มแต่ง

อรรถสังวรรณนาอันใด อรรถสังวรรณนาอันนั้น

ประกาศอรรถอันยอดเยี่ยมในเถรคาถาและเถรีคาถา

นั้น ตามความเหมาะสมในที่นั้น ๆ โดยชื่อว่าปรมัตถ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 539

นีปนีมีวินิจฉัยอันไม่สับสน ก็ถึงการจบลง โดยบาลี

ประมาณ ๙๒ ภาณวาร.

ดังนั้น บุญนั้นใด อันข้าพเจ้าผู้แต่งคัมภีร์ปร-

มัถถทีปนีนั้น ได้ประสบแล้ว ด้วยอานุภาพแห่งบุญ

นั้น ขอสัตว์ทั้งปวง หยั่งลงถึงศาสนาของพระโลก-

นาถ ด้วยข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้นอันบริสุทธิ์ จงเป็นภาคี

มีส่วนแห่งวิมุตติรส.

ขอศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดำรง

อยู่ยั่งยืนในโลก ขอสรรพสัตว์ จงมีความเคารพใน

ศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นเนืองนิจ.

ขอฝนจงตกต้องตามฤดูกาล

ขอพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ทรงยินดีเป็นนิจในพระ-

สัทธรรม โปรดทรงปกครองสัตวโลก โดยธรรมเทอญ.

จบกถาพรรณนาความแห่งเถรีคาถา ซึ่งท่านพระอาจารย์ธรรมปาล-

เถระ ผู้อยู่ พทรติตถวิหาร [วัดท่าพุทรา] รจนาไว้.

อรรถกถาเถรีคาถา จบบริบูรณ์