ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย เถรคาถา

เล่ม ๒ ภาคที่ ๓

ตอนที่ ๔

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เถรคาถา วีสตินิบาต

๑. อธิมุตตเถรคาถา

ว่าด้วยผู้หลุดพ้นย่อมไม่กลัวตาย

[๓๘๕] พระอธิมุตตเถระถูกพวกโจรจับไว้ มิได้มีความกลัวหวาด

เสียว มีหน้าผ่องใส เมื่อหัวหน้าโจรเห็นดังนั้น เกิดความอัศจรรย์ใจ จึง

ได้กล่าวคาถาสรรเสริญ ๒ คาถาว่า

เมื่อก่อน เราจะฆ่าสัตว์เหล่าใดเพื่อบูชายัญ หรือเพื่อ

ปล้นเอาทรัพย์ สัตว์เหล่านั้นหมดอำนาจ เกิดความกลัว

ย่อมพากันหวาดหวั่นและบ่นเพ้อ แต่ความกลัวมิได้มีแก่

ท่านเลย ซ้ำยังมีสีหน้าผ่องใสยิ่งนัก เมื่อภัยใหญ่เห็น

ปานนี้ปรากฏแล้ว เหตุไรท่านจึงไม่คร่ำครวญเล่า.

พระเถระเมื่อจะแสดงธรรม โดยมุ่งการตอบคำถามของนายโจรนั้น

จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 2

ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน

ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว

เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน

ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ

ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์

เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี

ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป

แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็

อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว

เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง

แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ

ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว

จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว

ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก

ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น

สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก

นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง

ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง

ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ

ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี

ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก

ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 3

ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น

ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์

และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล

พิจารณาเห็นเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ

นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า

โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง-

การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย

อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ

เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน

ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ

กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้

ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา

กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร

ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง

สอนของใคร.

พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวตอบว่า

พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ

หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง

เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน

ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก

เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 4

ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน

วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง

พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา

ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น

บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว

ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้.

จบอธิมุตตเถรคาถา

อรรถกถากถาวิสตินิบาต

อรรถกถาอธิมุตตเถรคาถาที่ ๑

ใน วีสตินิบาต คาถาของท่านพระอธิมุตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า

ยญฺตฺถ วา ธนตฺถ วา ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปาง

ก่อน สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าอัตถทัสส-

บังเกิดในตระกูลที่มั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติ รู้เดียงสาแล้ว เมื่อพระศาสดา

ปรินิพพานไป ได้อุปัฏฐากภิกษุสงฆ์ ยังมหาทานให้เป็นไปแล้ว.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในท้องของน้องสาวท่านพระสังกิจจเถระ ได้

มีชื่อว่า อธิมุตตะ ท่านเจริญวัยแล้ว ได้บวชในสำนักของพระเถระผู้เป็น

ลุง บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ทั้งๆ ที่ดำรงอยู่ในภูมิของสามเณรก็ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 5

บรรลุพระอรหัตแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

เมื่อพระโลกนาถนามว่าอัตถทัสสี ผู้เป็นอุดมบุคคล

เสด็จนิพพานแล้ว เรามีจิตเลื่อมใส บำรุงภิกษุสงฆ์

เรานิมนต์ภิกษุสงฆ์ผู้ซื่อตรง มีจิตตั้งมั่น แล้วเอา

อ้อยมากระทำมณฑป นิมนต์ให้พระสงฆ์ผู้เป็นรัตนะ

อันสูงสุดฉันอ้อย เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ จะเป็นเทวดา

หรือมนุษย์ก็ตาม ในกำเนิดนั้น ๆ เราย่อมครอบงำสัตว์

ทั้งปวง นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม. ในกัปที่ ๑๑๘ เรา

ได้ให้ทานใดไว้กาลนั้น ด้วยผลแห่งทานนั้น เรา

ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายอ้อย. คุณวิเศษ

เหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖

เราได้ทำให้แจ้งแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว

ดังนี้.

ก็ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ให้กาลเวลาล่วงไปด้วยความสุขใน

สมาบัติ มีความประสงค์จะอุปสมบท คิดว่าจะบอกลามารดา จึงไปหา

มารดา ในระหว่างทางได้พบโจร ๕๐๐ คน ผู้เที่ยวหาเนื้อเพื่อจะทำพลี

กรรมแก่เทวดา. ฝ่ายพวกโจรได้จับตัวท่านด้วยหวังว่า จักทำเป็นพลีแก่

เทวดา. ท่านอธิมุตตะนั้น แม้จะถูกพวกโจรจับก็ไม่กลัว ไม่หวาดหวั่น

ได้มีสีหน้าผ่องใสยืนอยู่. หัวหน้าโจรเห็นดังนั้นเกิดอัศจรรย์จิตอย่างไม่เคย

เป็น เมื่อจะสรรเสริญ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

เมื่อก่อน เราได้ฆ่าสัตว์เหล่าใดเพื่อบูชายัญ หรือเพื่อ

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๓๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 6

ปล้นทรัพย์ สัตว์เหล่านั้นหมดอำนาจ เกิดความกลัวตัว-

สั่นและพร่ำเพ้ออยู่ แต่ความกลัวมิได้มีแก่ท่านเลย ซ้ำ

ยังมีสีหน้าผ่องใสยิ่งนัก เมื่อภัยใหญ่เห็นปานนี้ปรากฏ

แล้ว เหตุไรท่านจึงไม่คร่ำครวญ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยญฺตฺถ ได้แก่ เพื่อบูชา หรือเพื่อ

กระทำพลีกรรมแก่เทวดาทั้งหลาย. วา ศัพท์ เป็นอรรถวิกัปปะ. กำหนด

หมายเอา.

บทว่า ธนตฺถ แปลว่า เพื่อปล้นทรัพย์สมบัติ.

บทว่า เย หนาม มย ปุเร ความว่า เมื่อก่อนพวกเราได้ฆ่า

สัตว์เหล่าใด. จริงอยู่ บทว่า หนาม นี้ เป็นคำบอกปัจจุบันกาล ใช้ใน

อรรถเป็นอดีตกาล.

บทว่า อวเส ได้แก่ กระทำให้หมดอำนาจ คือไม่ให้เสรีภาพ.

บทว่า ต ได้แก่ เตส คือแก่สัตว์เหล่านั้น. บางอาจารย์กล่าวว่า อวเสส

หมดสิ้น ดังนี้ก็มี. (ความแห่งบาลีนั้นว่า) แก่สัตว์ทั้งหมดเว้นท่านไว้ผู้

หนึ่ง ในบรรดาสัตว์ที่พวกเราจับมา อีกอย่างหนึ่งบาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.

บทว่า ภย โหติ ความว่า ย่อมมีความกลัวแต่ความตาย อัน

เป็นเหตุให้สัตว์เหล่านั้นตัวสั่น บ่นเพ้อ คือตัวสั่นเพราะจิตสะดุ้งกลัว บ่น

เพ้อพูดคำมีอาทิว่า ข้าแต่นาย พวกฉันจักให้สิ่งนี้และสิ่งนี้แก่ท่านทั้งหลาย

พวกฉันจักยอมเป็นทาสของท่านทั้งหลาย.

บทว่า ตสฺส เต ความว่า แก่ท่านผู้ใด อันเราทั้งหลายประสงค์

จะปลงชีวิตเพื่อทำพลีกรรมแก่เทวดา เงื้อดาบคุกคามอยู่นั้น. บทว่า

ภีตตฺต แปลว่า ความเป็นคนกลัว อธิบายว่า ความกลัว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 7

บทว่า ภิยฺโย วณฺณ ปสีทติ ความว่า สีหน้าของท่านย่อม

ผ่องใสแม้ยิ่งกว่าสีตามปกติ.

ได้ยินว่า ในคราวนั้น พระเถระเกิดความปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง

ว่า ถ้าพวกโจรเหล่านั้นจักฆ่าเรา. เราก็จักปรินิพพานโดยหมดเธอในบัดนี้

แหละ ภาระคือทุกข์จักปราศจากไป.

บทว่า เอวรูโป มหพฺภเย ความว่า เมื่อปรากฏมรณภัยอันใหญ่

หลวงเช่นนี้, อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เอวรูเป มหพฺภเย นี้เป็นสัตตมีวิภัตติ

ใช้ในอรรถว่า เหตุบัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงธรรมโดยมุ่งให้คำตอบแก่

หัวหน้าโจร จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ความว่า

ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใย

ในชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้

แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัว

ตายในปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย

ดุจบุรุษไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น

พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว

เราไม่มีความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรค เพราะ

โรคสิ้นไปแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้

มรรคเราก็อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้

เห็นแล้ว เหมือนคนดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคล

ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมด

อาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือน

บุคคลพ้นจากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 8

อันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อม

ไม่เศร้าโศกในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟ

ไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์

ได้อยู่ในโลกนี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ได้

ตรัสไว้ว่า สิ่งทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อ

นั้น เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่

ยึดถือภพไรๆ ดังบุคคลไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชน

ฉะนั้น. เราไม่มีความคิดว่าได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป

สังขารทั้งหลายจักปราศจากไป จะคร่ำครวญไปทำไมใน

เพราะสังขารเหล่านั้นเล่า.

ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น

ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์

และความสืบต่อสังขารอันบริสุทธิ์. เมื่อใดบุคคลพิจารณา

เห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อนั้นบุคคล

นั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของ

เราไม่มี. เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้องการภพ ร่าง-

กายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกายอื่น ถ้าท่านทั้ง

หลายจะทำกิจใดด้วยร่างกายของเรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด.

ความขัดเคืองและความรักใคร่ในร่างกายนั้น จักไม่มีแก่

เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำกิจตามปรารถนาด้วย

ร่างกายของเรานั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 9

พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวคาถานี้ไว้ว่า

โจรทั้งหลายได้ฟังคำนั้นของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้

ขนลุกชูชัน ดังนั้นแล้ว จึงพากันวางศัสตราวุธแล้วกล่าวคำนี้.

เบื้องหน้าแต่นี้ไป ๓ คาถา เป็นคาถาถามพวกโจร และคาถาตอบ

ของพระเถระ พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายได้กล่าวเป็นคาถาไว้ดังนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้

เพราะท่านได้ทำกรรมอะไรไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของ

ท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่งสอนของใคร.

พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญูรู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ

หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้ง

ปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้น

อาสนะอันยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความ

ไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์.

พวกโจรฟังถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็น

ฤาษีแล้ว พากันวางศัสตราและอาวุธ บางพวกงดเว้น

จากโจรกรรม บางพวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้น

ได้บรรพชาในศาสนาของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพช-

ฌงค์และพลธรรม เป็นบัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มี

อินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือพระนิพพาน

อันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นตฺถิ เจตสิก ทุกฺข อนเปกฺขสฺส

คามณิ ความว่า ดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจคือความโทมนัส ดุจน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 10

เหลืองมีโลหิตเป็นสภาวะ ย่อมไม่มีแก่คนเช่นเรา ชื่อว่าผู้ไม่มีความห่วง

ใย เพราะไม่มีความห่วงใยคือตัณหา, พระเถระกล่าวถึงความไม่มีความ

กลัว โดยอ้างถึงความไม่มีโทมนัส ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความ

กลัวทั้งปวงเราล่วงพ้นได้แล้ว

บทว่า อติกฺกนฺตา ภยา สพฺเพ ความว่า มหาภัย ๒๕ ประการ

และภัยอื่นแม้ทั้งหมด พระอรหันต์ผู้สิ้นสังโยชน์ก้าวล่วงแล้ว คือล่วงพ้น

แล้วเด็ดขาด อธิบายว่า ไปปราศแล้ว.

บทว่า ทิฏฺเ ธมฺเม ยถาตเถ ความว่า ธรรมคือสัจจะทั้ง ๔

เราเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยมรรค โดยการกำหนด

รู้การละ การทำให้แจ้ง และการอบรม.

บทว่า มรเณ ได้แก่ เพราะความตายเป็นเหตุ.

บทว่า ภารนิกฺเขปเน ยถา ความว่า บุรุษไรๆ ปลดเปลื้องภาระ

หนักมากที่เทินไว้บนศีรษะ ย่อมไม่กลัว เพราะปลงคือวางภาระนั้นเสีย

ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

เบญจขันธ์เป็นภาระหนัก ก็บุคคลเป็นผู้นำภาระไป

การยึดถือเอาภาระไว้เป็นทุกข์ในโลก การปลงภาระเสีย

ได้เป็นสุข ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุจิณฺณ ได้แก่ ประพฤติดีอีกแล้ว

บทว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่ ศาสนพรหมจรรย์อันสงเคราะห์ในสิกขา ๓.

เพราะเหตุนั้นแหละ แม้มรรคเราก็อบรมดีแล้ว คือ แม้อริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ เราก็อบรมไว้โดยชอบทีเดียว.

บทว่า โรคานมิว สงฺขเย ความว่า คนเช่นเราย่อมไม่มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 11

กลัวตายอันเป็นที่สิ้นโรคคือขันธ์ เหมือนคนถูกโรคมากหลายครอบงำ

กระสับกระส่าย เมื่อโรคทั้งหลายหายไป ย่อมมีแต่ปีติและโสมนัสเท่านั้น.

บทว่า นิรสฺสาทา ภวา ทิฏฺา ความว่า เราเห็นภพทั้ง ๓ ถูก

สามัญญลักษณะ ๓ มีความเป็นทุกข์เป็นต้นครอบงำไว้ ถูกไฟ ๑ กองติด

โชนแล้ว ไม่น่ายินดี คือหมดความชื่นใจ.

บทว่า วิส ปิตฺวาว ฉฑฺฑิต ความว่า เราย่อมไม่กลัวความตาย

เหมือนคนดื่มยาพิษด้วยความพลั้งเผลอแล้วทิ้งไป ด้วยประโยค (คือการ

กระทำ) เช่นนั้น.

บทว่า มุตฺโต อาฆาตนา ยถา ความว่า บุคคลถูกพวกโจรนำ

ไปยังที่ฆ่าเพื่อจะฆ่า รอดพ้นมาจากที่นั้นได้ด้วยอุบายบางอย่าง ย่อมร่า-

เริงยินดีฉันใด บุคคลผู้ชื่อว่าถึงฝั่ง เพราะได้พระนิพพานอันเป็นฝั่งแห่ง

สงสารก็ฉันนั้น เป็นผู้ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานทั้ง ๔ ชื่อว่าผู้การทำกิจเสร็จ

แล้ว เพราะทำกิจ ๑๖ ประการมีปริญญากิจเป็นต้น เสร็จแล้ว ไม่มี

อาสวะด้วยกามาสวะเป็นต้น เพราะความสิ้นอายุ คือ เพราะเหตุสิ้นอายุ

จึงเป็นผู้ยินดี คือ เป็นผู้มีความโสมนัส.

บทว่า อุตฺตม แปลว่า ประเสริฐสุด. บทว่า ธมฺมต ได้แก่ สภาวะ

แห่งธรรม คือความเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์เป็นต้น มีความสำเร็จเป็น

เหตุ ในเมื่อได้สำเร็จพระอรหัต.

บทว่า สพฺพโลเก ได้แก่ แม้ในโลกทั้งปวง คือในโลกแม้ที่

ประกอบไปด้วยความเป็นผู้มีอายุยืน และความเป็นผู้พร้อมมูลด้วยความสุข

เป็นต้น.

บทว่า อนตฺถิโก ได้แก่ เป็นผู้ไม่ห่วงใย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 12

บทว่า อาทิตฺตาว ฆรา มุตฺโต ความว่า บุคคลไร ๆ ออกจาก

เรือนที่ถูกไฟไหม้รอบด้าน กำลังลุกโชติช่วง จากนั้นย่อมไม่เศร้าโศก

เพราะออกไปได้ฉันใด ท่านผู้มีอาสวะสิ้นแล้วย่อมไม่เศร้าโศก เพราะ

การตายเป็นเหตุก็ฉันนั้น.

บทว่า ยทตฺถ สงฺคต กิญฺจิ ความว่า ความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่าง

หนึ่ง คือการสมาคมกัน การประชุมร่วมกันกับสัตว์หรือสังขารทั้งหลาย

มีอยู่ คือหาได้อยู่ในโลกนี้. บาลีว่า สงฺขต ดังนี้ก็มี, ความแห่งบาลีนั้น

ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันปัจจัยอาศัยกันเกิดขึ้นสร้างไว้ คืออาศัยกันเกิดขึ้น

บทว่า ภโว วา ยตฺถ ลพฺภติ ความว่า ย่อมได้อุปบัติภพใด

ในหมู่สัตว์ใด.

บทว่า สพฺพ อนิสฺสร เอต ความว่า สิ่งทั้งหมดนั้นเว้นจาก

ความเป็นอิสระ คือใคร ๆ ไม่อาจแผ่ความเป็นใหญ่ไปในโลกนี้ว่า จงเป็น

อย่างนั้น.

บทว่า อิติ วุตฺต มเหสินา ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้

แสวงหาคุณอันใหญ่ ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา.

เพราะฉะนั้น จึงมีวาจาประกอบความว่า ผู้รู้แจ้งว่า สิ่งนั้นไม่เป็นใหญ่

ดังนี้ จึงไม่เศร้าโศกเพราะความตาย.

บทว่า น คณฺหาติ ภว กิญฺจิ ความว่า พระอริยสาวกใด

รู้ชัดภพทั้ง ๓ นั้น โดยประการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้

โดยนัยมีอาทิว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ ด้วยมรรคปัญญา

อันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา พระอริยสาวกนั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ จะ

เป็นภพน้อยหรือภพใหญ่ก็ตาม อธิบายว่า ไม่กระทำความอยากในภพนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 13

เหมือนบุรุษไร ๆ ผู้ต้องการความสุข ย่อมไม่เอามือจับก้อนเหล็กที่ร้อน

โชนอยู่ตลอดทั้งวันฉะนั้น.

บทว่า น เม โหติ อโหสึ ความว่า ความเป็นไปแห่งจิตของ

เราย่อมไม่มี ด้วยอำนาจความเห็นว่าเป็นตัวตนว่า ในอดีตกาลอันนาน เรา

ได้เป็นผู้เช่นนี้ ดังนี้ เพราะเราถอนทิฏฐิเสียหมดสิ้นแล้ว และเพราะเรา

เห็นสภาพแห่งธรรมได้ถ่องแท้แล้ว.

บทว่า ภวิสฺสนฺติ น โหติ เม ความว่า เพราะเหตุนั่นแล เรา

ย่อมไม่มีแม้ความคิดอย่างนี้ว่า ในอนาคตกาลอันนาน เราจักเป็น คือพึง

เป็นผู้เช่นนี้ คือเป็นอย่างไรหนอแล. บทว่า สงฺขารา วิคมิสฺสนฺติ ความ

ว่า แต่เรามีความคิดอย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลายแลเป็นไปตามปัจจัย, อะไร

จะเป็นตนหรือสิ่งที่มีอยู่ในตนก็ตาม ย่อมไม่มีในสังขารนี้ และสังขาร

เหล่านั้นแลจักปราศจากไป คือพินาศไปได้ จักแตกไปทุก ๆ ขณะ.

บทว่า ตตฺถ กา ปริเทวนา ความว่า เมื่อเราเห็นอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า

ความร่ำไรอะไรเล่าจักมีในสังขารนั้น.

บทว่า สุทฺธ ได้แก่ ล้วนไม่เจือปนด้วยสาระในตน.

บทว่า ธมฺมสมุปฺปาท ได้แก่ การเกิดขึ้นแห่งปัจจัยและธรรมที่

อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น คือความดำเนินไปเพียงสักว่าธรรมมีสังขารเป็นต้น

เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้น.

บทว่า สงฺขารสนฺตตึ ได้แก่ ความเกี่ยวเนื่องกันแห่งสังขารมี

ประเภทแห่งกิเลสกรรมและวิบาก.

บทว่า ปสฺสนฺตสฺส ยถาภูต ได้แก่ ผู้รู้ตามความเป็นจริง ด้วย

มรรคปัญญา พร้อมกับวิปัสสนาปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 14

บทว่า ติณกฏฺสม โลก ความว่า เมื่อใครๆ ถือเอาหญ้าและ

ไม้ที่เขาไม่หวงแหนในป่า คนอื่นย่อมไม่มีความคิดว่า ผู้นี้ถือเอาสิ่งของ

ของเราฉันใด บุคคลนั้นก็ฉันนั้น ในกาลใด ย่อมเห็นด้วยปัญญาซึ่ง

สังขารโลกอันเสมอด้วยหญ้าและไม้ เพราะความเป็นของไม่มีเจ้าของ ใน

กาลนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้คือไม่ประสบ ไม่ได้คือไม่กระทำความเป็น

ของเราในสังขารโลกนั้น.

บทว่า นตฺถิ เม ความว่า ย่อมไม่เศร้าโศกว่า นั้นเป็นเราหนอ

สิ่งนั้นไม่มีแก่เรา.

บทว่า อุกฺกณฺามิ สรีเรน ความว่า เรารำคาญกายนี้อันไม่มีสาระ

บรรเทาได้ยากเป็นทุกข์อันรู้อะไรไม่ได้ มีสภาพไม่สะอาด มีกลิ่น

เหม็น น่าเกลียด และปฏิกูล คือเราเบื่อหน่ายกายนี้ดำรงอยู่อย่างนี้.

บทว่า ภเวนมฺหิ อนตฺถิโก ความว่า เราไม่ต้องการภพเเม้ทุก

อย่าง คือ เราไม่ปรารถนาภพไรๆ.

บทว่า โสย ภิชฺชิสฺสติ กาโย ความว่า บัดนี้ กายของเรานี้

จักแตกด้วยประโยค คือการกระทำของท่าน หรือจักแตกไปในที่อื่นโดย

ประการอื่น.

บทว่า อญฺโ จ น ภวิสฺสติ ความว่า กายอื่นจักไม่มีแก่เรา

ต่อไป เพราะไม่มีภพใหม่.

บทว่า ย โว กิจฺจ สรีเรน ความว่า ถ้าท่านทั้งหลายมีประ-

โยชน์ใดด้วยสรีระนี้ จงทำประโยชน์นั้นตามที่ท่านทั้งหลายปรารถนา. บท

ว่า น เม ตปฺปจฺจยา ความว่า มีสรีระนั้นเป็นนิมิต คือมีการกระทำ

กิจตามที่พวกท่านปรารถนาด้วยสรีระนี้เป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 15

บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในโจรเหล่านั้น ทั้งผู้ที่กระทำและผู้ไม่ได้

กระทำ.

บทว่า โทโส เปมญฺจ เหหิติ อธิบายว่า ความขัดเคืองและ

ความยินดีโดยลำดับจักไม่มี เพราะเราละความอาลัยในภพของตนเสียโดย

ประการทั้งปวงแล้ว. แม้เมื่อไม่มีความขัดเคืองและความรักใคร่ในคนอื่น

เพราะมีคนอื่นเป็นเหตุ ก็เพราะพวกท่านทำกิจตามปรารถนาด้วยร่างกาย

ของเรานั้นเป็นเหตุ ท่านจึงกล่าวคำว่า ตตฺถ ในโจรเหล่านั้นด้วยอำนาจ

ตามที่ได้บรรลุ (ธรรม).

บทว่า ตสฺส ได้แก่ ของพระอธิมุตตเถระ.

บทว่า ต วจน ความว่า ได้ฟังคำมีอาทิว่า ทุกข์ทางใจย่อมไม่มี

อันแสดงถึงความไม่กลัวตาย ต่อแต่นั้นแหละ เป็นเหตุให้ขนลุกชูชันอัน

ไม่เคยเป็น.

บทว่า มาณวา ได้แก่ พวกโจร. จริงอยู่ พวกโจรเขาเรียกกันว่า

มาณวะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ไปกับพวกโจรผู้ที่โจรกรรม และที่ไม่

ได้ทำโจรกรรม.

บทว่า กึ ภทนฺเต กริตฺวาน ความว่า ท่านผู้เจริญ เพราะการทำ

กรรมคือตบะ ชื่อไร. พวกโจรได้กล่าวความนั่น คือกล่าวด้วยการถาม

ว่า หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่งสอนคือโอวาท

ของใคร ท่านจึงได้ความไม่เศร้าโศกนี้ คือไม่มีความเศร้าโศกในเวลา

จะตาย.

พระเถระได้ฟังดังนั้น เมื่อจะตอบคำถามของพวกโจรนั้น จึงได้

กล่าวคำมีอาทิว่า สพฺพพฺญู ผู้ทรงรู้ทุกอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 16

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพญฺญู ความว่า ชื่อว่า พระ-

สัพพัญญู เพราะทรงรู้สิ่งทั้งปวง อันต่างด้วยเรื่องอดีตเป็นต้น เพราะ

ทรงบรรลุอนาวรณญาณอันเป็นไป แนบเนื่องด้วยความจำนงหวัง (คือ

เมื่อทรงต้องการก็ใช้ได้ทันที) สามารถตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยประการ

ทั้งปวง โดยไม่ต้องอ้างถึงผู้อื่น. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ จึงทรงชื่อว่าเห็น

ธรรมทั้งปวง เพราะทรงเห็นธรรมทั้งปวงด้วยสมันตจักษุ. พระสัพพัญ-

ญุตญาณก็คือพระอนาวรณาณของเราตถาคตนั้นนั่นเอง, ย่อมไม่ผิดจาก

บาลีที่ว่าด้วยอสาธารณญาณ เพราะพระญาณเดียวนั่นแหล่ะตรัสไว้ ๒

ประการ เพื่อจะทรงแสดงว่าเป็นพระญาณที่ไม่ทั่วไปกับพระสาวกอื่นๆ

โดยมุ่งถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้น. ก็คำใดที่ควรกล่าวในที่นี้ คำนั้นได้กล่าวไว้

พิสดารแล้วในอรรถกถาอิติวุตตกะ เพราะเหตุนั้น พึงทราบความนัยที่

กล่าวไว้ในอรรถกถาอิติวุตตกะนั้นเถิด. มีวาจาประกอบความว่า พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าพระชินะเพราะทรงชนะมารทั้ง ๕ ชื่อว่าทรง

ประกอบด้วยมหากรุณา เพราะทรงประกอบด้วยพระกรุณาอันใหญ่หลวง

ที่ทรงน้อมให้เป็นไปในสัตว์ทุกหมู่เหล่า ที่ต่างกันโดยจำแนกว่าเป็นผู้ต่ำ

ทรามเป็นต้น ชื่อว่า พระศาสดา เพราะทรงพร่ำสอนเวไนยสัตว์ตาม

สมควรด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกกัตถประโยชน์ และปรมัตถ-

ประโยชน์ แต่นั้นแหละชื่อว่ารักษาพยาบาลสัตวโลกทั้งปวง เพราะทรง

เยียวยาโรค คือกิเลสของสัตวโลกทั้งมวล พระองค์เป็นอาจารย์ของเรา.

บทว่า ขยคามี แปลว่า เป็นเครื่องดำเนินไปสู่พระนิพพาน.

เมื่อพระเถระประกาศคุณของพระศาสดาและของพระศาสนาอย่างนี้

แล้ว โจรบางพวกกลับได้ศรัทธาบวช บางพวกประกาศความเป็นอุบาสก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 17

พระธรรมสังคาหกาจารย์เมื่อจะแสดงความนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา

โดยนัยมีอาทิว่า สุตฺวาน โอรา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิสิโน ได้แก่ พระอธิมุตตเถระ

ชื่อว่าฤาษี เพราะอรรถว่า แสวงหาคุณมีอธิศีลสิกขาเป็นต้น. บทว่า

นิกฺขิปฺป แปลว่า ละแล้ว.

บทว่า สตฺถานิ อาวุธานิ จ ได้แก่ ศาสตรามีมีดเป็นต้น และ

อาวุธมีแล่งธนูเป็นต้น. บทว่า ตมฺหา จ กมฺมา ได้แก่ จากโจรกรรมนั้น.

บทว่า เต ปพฺพชิตฺวา สุคตสฺส สาสเน ความว่า โจรเหล่านั้น

เข้าถึงการบรรพชาในศาสนาของพระผู้มีพระภาคสุคตเจ้า ด้วยอาการมี

การดำเนินไปอันงามเป็นต้น. ชื่อว่ามีจิตเฟื่องฟู เพราะประกอบด้วยความ

ปีติอันมีความเฟื่องฟูเป็นลักษณะ ซึ่งได้บรรลุแล้วด้วยภาวนาพิเศษ.

บทว่า สุมนา แปลว่า ผู้ถึงความโสมนัส. บทว่า กตินฺทฺริยา

ได้แก่ ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว. บทว่า ผุสึสุ ได้แก่ มรรลุพระนิพพาน

อันปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้ เพราะได้บรรลุพระอรหัตมรรค.

ได้ยินว่า ท่านอธิมุตตะกระทำพวกโจรให้หมดยศแล้ว พักพวก-

โจรเหล่านั้นไว้ในที่นั้นเอง (ส่วนตน) ไปหามารดา บอกลามารดาแล้ว

กลับมา พากันไปยังสำนักของพระอุปัชฌาย์ พร้อมกับโจรเหล่านั้นแล้ว

ให้บรรพชาอุปสมบท. ลำดับนั้น จึงบอกกรรมฐานแก่ท่านเหล่านั้น ไม่นาน

นัก ท่านเหล่านั้นก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ครั้นได้บรรพชาแล้ว ...ฯ ลฯ...ได้บรรลุสันตบทอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้.

จบอรรถกถาอธิมุตตเถรคาถาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 18

๒. ปาราสริยเถรคาถา

ว่าด้วยไม่รักษาอินทรีย์จึงมีโทษ

[๓๘๖] ความคิดได้มีแล้วแก่ภิกษุผู้ชื่อว่าปาราสริยะ ผู้เป็น

สมณะนั่งอยู่แล้วแต่ผู้เดียว มีจิตสงบสงัด เพ่งฌาน

บุรุษพึงทำอะไรโดยลำดับ พึงประพฤติวัตรอย่างไร ประ-

พฤติมารยาทอย่างไร จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำกิจของตน และ

ชื่อว่าไม่เบียดเบียนใคร ๆ อินทรีย์ทั้งหลายย่อมมีเพื่อ

ประโยชน์และไม่ใช่ประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งหลาย อินทรีย์

ที่ไม่รักษาย่อมไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ อินทรีย์ที่รักษา

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ บุรุษผู้รักษาและคุ้มครอง

อินทรีย์นั่นแล จึงชื่อว่าเป็นผู้กระทำกิจของตน และ

ชื่อว่าไม่เบียดเบียนใคร ๆ. ถ้าผู้ใดไม่ห้ามจักขุนทรีย์อันไป

ในรูปทั้งหลาย เป็นผู้ยังไม่เห็นโทษ ผู้นั้นย่อมไม่พ้น

จากทุกข์ได้เลย อนึ่ง ผู้ใดไม่ห้ามโสตินทรีย์ อันเป็นไป

อยู่ในเสียงทั้งหลาย ยังไม่เห็นโทษ ผู้นั้นย่อมไม่พ้นจาก

ทุกข์ได้เลย. ถ้าผู้ใดไม่เห็นอุบายเครื่องสลัดออก ซ่อง-

เสพในกลิ่น ผู้นั้นเป็นผู้หมกมุ่นอยู่ในกลิ่น ย่อมไม่พ้น

จากทุกข์ ผู้ใดมัวแต่คำนึงถึงรสเปรี้ยว รสหวานและ

รสขม เป็นผู้กำหนัดยินดีด้วยตัณหาในรส ไม่รู้สึกถึง

ความคิดในใจ (อันเกิดขึ้นในขณะบรรพชาว่า จักทำที่สุด

ทุกข์) ผู้นั้นย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ผู้ใดมัวนึกถึงโผฏ-

ฐัพพะอันสวยงาม ไม่ปฏิกูล ยินดีแล้ว ผู้นั้นย่อมได้

๑. ม. ปาราปริยเถรคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 19

ประสบทุกข์มีประการต่าง ๆ อันมีราคะเป็นเหตุ ก็ผู้ใด

ไม่อาจรักษาใจจากธรรมเหล่านี้ ทุกข์จากอารมณ์ทั้ง ๕

นั้น ย่อมติดตามผู้นั้นไป เพราะการไม่รักษาใจนั้น.

ร่างกายนี้เต็มไปด้วยหนองเลือดและซากศพเป็นอัน

มาก อันนายช่างผู้ฉลาดทำไว้ เป็นของเกลี้ยงเกลาวิจิตร

งดงามดุจสมุก คนพาลย่อมไม่รู้สึกว่า ร่างกายนี้เป็นของ

เผ็ดร้อน มีรสหวานชื่นใจ เกี่ยวพันด้วยความรัก เป็น

ทุกข์ เป็นของฉาบไล้ไว้ด้วยสิ่งที่น่าชื่นใจ เหมือนมีดโกน

อันทาแล้วด้วยน้ำผึ้งฉะนั้น.

บุคคลผู้กำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส และ

โผฏฐัพพะของหญิง ย่อมต้องประสบทุกข์มีประการ

ต่าง ๆ. กระแสตัณหาในหญิงทั้งปวงย่อมไหลไปในทวาร

ทั้ง ๕ ของบุรุษ ผู้ใดมีความเพียร อาจทำการป้องกัน

กระแสตัณหาเหล่านั้นได้ ผู้นั้นเป็นผู้รู้อรรถ ตั้งอยู่ใน

ธรรม เป็นผู้ขยัน มีปัญญาเครื่องพิจารณา แม้บุคคลยัง

เป็นผู้ยินดีในการครองเรือน ก็พึงทำกิจอันประกอบด้วย

อรรถและธรรม. ถ้าประโยชน์ปัจจุบันที่ประกอบแล้ว

ทำให้จมลง พึงเว้นกิจอันไร้ประโยชน์เสีย เมื่อรู้ว่า สิ่งนั้น

ไม่ควรทำ พึงเป็นผู้ไม่ประมาทมีปัญญาสอดส่องในสิ่ง

นั้น. บุคคลพึงยึดเอาแต่กิจที่ประกอบด้วยประโยชน์และ

ความยินดีอันประกอบด้วยธรรม แล้วพึงประพฤติ เพราะ

ว่าความยินดีในธรรมนั้นแล เป็นความยินดีสูงสุด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 20

ผู้ใดปรารถนาจะชิงเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยอุบายใหญ่

น้อย ฆ่าผู้อื่น เบียดเบียดผู้อื่น ทำคนอื่นให้เศร้าโศก

ฉกชิงเอาสิ่งของของคนอื่น ด้วยความทารุณร้ายกาจ

การกระทำของผู้นั้น เป็นการกระทำอันประกอบด้วยความ

ฉิบหาย. บุคคลผู้มีกำลัง เมื่อผ่าไม้ ย่อมตอกลิ่มด้วย

ลิ่ม ฉันใด ภิกษุผู้ฉลาดย่อมกำจัดอินทรีย์ด้วยอินทรีย์

ฉันนั้น บุคคลผู้อบรมศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ

ปัญญา กำจัดอินทรีย์ ๕ ด้วยอินทรีย์ ๕ แล้ว เป็น

พราหมณ์ผู้ไม่มีทุกข์ไป. บุคคลนั้นเป็นผู้รู้อรรถ ตั้งอยู่

ในธรรม ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยประการ

ทั้งปวง ย่อมได้รับความสุข.

จบปาราสริยเถรคาถา

อรรถกถาปาราปริยเถรคาถาที่ ๒

คาถาของท่านพระปาชาปริยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สมณสฺส อหุ

จินฺตา ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน

ทั้งหลาย ได้สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ

ท่องเที่ยวไปเฉพาะในสุคติเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดเป็นบุตร

ของพราหมณ์มหาศาลคนหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี เมื่อเขาเจริญวัย ได้มีชื่อ

๑. บาลี เป็น ปาราสริยเถรคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 21

ว่าปาราปริยะ ตามโคตร. เขาเรียนไตรเพทถึงความสำเร็จในศิลปะทั้ง-

หลายของพราหมณ์ วันหนึ่ง ในเวลาพระศาสดาทรงแสดงธรรม ได้ไป

ยังพระเชตวันวิหารแล้วนั่งอยู่ท้ายบริษัท.

พระศาสดาทรงตรวจดูอัธยาศัยของเขาแล้วทรงแสดง อินทริยภาวนา

สูตร เขาได้ฟังแล้วได้ศรัทธาแล้วบวช เรียนเอาพระสูตรนั้นแล้ว คิด

เนือง ๆ ถึงเนื้อความแห่งพระสูตรนั้น. ก็เนื้อความนี้นั้นจักมีแจ้งเฉพาะใน

คาถาทั้งหลาย โดยประการที่ท่านคิดอยู่เนือง ๆ. ท่านเมื่อคิดค้นอยู่โดย

ประการนั้น จึงเริ่มตั้งวิปัสสนาโดยเอาอายตนะเป็นประธาน ไม่นานนัก

ก็ได้บรรลุพระอรหัต. กาลต่อมา เมื่อจะประกาศอาการที่ตนคิด จึงได้

กล่าวคาถาเหล่านี้ ความว่า

ความคิดได้มีแล้วแก่ภิกษุชื่อว่าปาราปริยะ ผู้สมณะ

นั่งอยู่ผู้เดียว มีจิตสงบ เพ่งฌาน. บุรุษพึงทำอะไรโดย

ลำดับ พึงประพฤติวัตรอย่างไร ประพฤติมารยาทอย่างไร

จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำกิจของตนและชื่อว่าไม่เบียดเบียนใคร ๆ.

อินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมมีเพื่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์

แก่มนุษย์ทั้งหลาย อินทรีย์ที่ไม่รักษาย่อมไม่เป็นไปเพื่อ

ประโยชน์ อินทรีย์ที่รักษาย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์.

บุรุษผู้รักษาและคุ้มครองอินทรีย์นั่นแหละ จึงชื่อว่าเป็นผู้

กระทำกิจของตน และชื่อว่าไม่เบียดเบียนใคร ๆ. ถ้า

ผู้ใดไม่ห้ามจักขุนทรีย์อันเป็นไปในรูปทั้งหลาย เป็นผู้

ยังไม่เห็นโทษ ผู้นั้นย่อมไม่พ้นจากทุกข์ได้เลย. อนึ่ง

ผู้ใดไม่ห้ามโสตินทรีย์อันเป็นไปในเสียงทั้งหลาย ยังไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 22

เห็นโทษ ผู้นั้นย่อมไม่พ้นจากทุกข์ได้เลย. ถ้าผู้ใดไม่

เห็นอุบายเครื่องสลัดออก ซ่องเสพในกลิ่น ผู้นั้นเป็นผู้

หมกมุ่นอยู่ในกลิ่น ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์. ผู้ใดมัวแต่

คำนึงถึงรสเปรี้ยว รสหวาน และรสขม เป็นผู้กำหนัด

ยินดีด้วยตัณหาในรส ไม่รู้สึกถึงความคิดในใจ (อันเกิดขึ้น

ในขณะบรรพชาว่าจักทำที่สุดทุกข์) ผู้นั้นย่อมไม่พ้นไป

จากทุกข์. ผู้ใดมัวนึกถึงโผฏฐัพพะอันสวยงาม ไม่

ปฏิกูล ยินดีแล้ว ผู้นั้นย่อมได้ประสบทุกข์มีประการต่าง ๆ

อันมีราคะเป็นเหตุ. ก็ผู้ใดไม่อาจรักษาใจจากธรรม

เหล่านี้ เพราะการไม่รักษาใจนั้น ทุกข์จากอารมณ์ทั้ง ๕

นั้น ย่อมติดตามผู้นั้นไป.

ร่างกายนี้เต็มไปด้วยหนอง เลือด และซากศพ เป็น

อันมาก เป็นดุจสมุกอันนายช่างผู้ฉลาดทำไว้ เป็นของ

เกลี้ยงเกลาจิตรงดงาม. คนพาลย่อมไม่รู้สึกว่าร่างกายนี้

เป็นของเผ็ดร้อน มีรสหวานชื่นใจ ผูกพันด้วยความรัก

เป็นทุกข์ ฉาบไล้ไว้ด้วยสิ่งที่น่าชื่นใจ เหมือนมีดโกนอัน

ทาด้วยน้ำผึ้งฉะนั้น. บุคคลผู้กำหนัดยินดีในรูป เสียง

กลิ่น รส และโผฏฐัพพะของหญิง ย่อมประสบทุกข์มี

ประการต่าง ๆ. กระแสตัณหาในหญิงทั้งปวงย่อมไหล

ไปในทวารทั้ง ๕ ของบุรุษ ผู้ใดมีความเพียรสามารถ

ป้องกันกระแสตัณหาเหล่านั้นได้ ผู้นั้นตั้งอยู่ในอรรถ ตั้ง

อยู่ในธรรม เป็นผู้ขยัน มีปัญญาเครื่องพิจารณา แม้จะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 23

ยังยินดีในการครองเรือน ก็พึงทำกิจอันประกอบด้วย

อรรถและธรรม. ถ้าประโยชน์ (ปัจจุบัน) ที่ประกอบแล้ว

ทำให้จมลง ก็พึงเว้นกิจอันไร้ประโยชน์เสีย เมื่อรู้ว่าสิ่ง

นั้นไม่ควรทำ พึงเป็นผู้ไม่ประมาท มีปัญญาสอดส่อง

ในสิ่งนั้น. บุคคลพึงยึดเอาแต่กิจที่ประกอบด้วยประโยชน์

และความยินดีอันประกอบด้วยธรรม แล้วพึงประพฤติ

เพราะว่าความยินดีในธรรมนั่นแล เป็นความยินดีสูงสุด.

ผู้ใดปรารถนาจะชิงเอาสิ่งของของผู้อัน ด้วยอุบาย

ใหญ่น้อย ฆ่าผู้อื่น เบียดเบียนผู้อื่น ทำผู้อื่นให้เศร้าโศก

ฉกชิงเอาสิ่งของของคนอื่น ด้วยความทารุณร้ายกาจ

การกระทำของผู้นั้น เป็นการกระทำอันประกอบด้วยความ

ฉิบหาย. บุคคลผู้มีกำลัง เมื่อผ่าไม้ย่อมตอกลิ่มด้วยลิ่ม

ฉันใด ภิกษุผู้ฉลาดย่อมกำจัดอินทรีย์ด้วยอินทรีย์ฉันนั้น.

บุคคลผู้อบรมศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา กำจัด

อินทรีย์ ๕ ด้วยอินทรีย์ ๕ แล้ว เป็นพราหมณ์ผู้ไม่มีทุกข์

ไป. บุคคลนั้นเป็นผู้รู้ในอรรถ ตั้งอยู่ในธรรม ทำตาม

คำสอนของพระพุทธเจ้า โดยประการทั้งปวง ย่อมได้

รับความสุข.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมณสฺส ได้แก่ ผู้เป็นบรรพชิต.

บทว่า อหุ แปลว่า ได้เป็นแล้ว.

บทว่า จินฺตา ได้แก่ ความคิดในธรรม คือการพิจารณาธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 24

บทว่า ปาราปริยสฺส ได้แก่ ผู้มีโคตรสืบ ๆ มา. บางอาจารย์

กล่าวว่า ปาราจริยสฺส ดังนี้ก็มี.

บทว่า ภิกฺขุโน ได้แก่ ผู้มีปกติเห็นภัยในสงสาร.

บทว่า เอกกสฺส แปลว่า ไม่มีเพื่อน. พระเถระแสดงกายวิเวก

ด้วย บทว่า เอกกสสฺ นี้.

บทว่า ปวิวิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้ปรารภความสงัดด้วยการข่มกิเลสอัน

มีความสงัดเป็นเหตุ. พระเถระแสดงจิตตวิเวกด้วย บทว่า ปวิวิตฺตสฺส

นี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ฌายิโน ดังนี้.

บทว่า ฌายิโน ได้แก่ ผู้มีการเพ่งเป็นปกติ. อธิบายว่า ผู้

ประกอบในโยนิโสมนสิการ. พระเถระกล่าวข้อนั้นทั้งหมดการทำตนให้

เป็นเหมือนคนอื่น.

ด้วยบทว่า กิมานุปุพฺพ เป็นต้น ท่านแสดงถึงความคิดนั้น. พึงทราบ

วินิจฉัยคาถาต้นในคาถาเหล่านั้นก่อน. บทว่า กิมานุปุพฺพ ได้แก่ อนุปุพฺพ

คือตามลำดับ . อธิบายว่า ในวัตรและสมาจารที่จะกล่าวตามลำดับนั่นแล

มีลำดับอย่างไร วัตรและสมาจารเหล่านั้น พึงปฏิบัติตามลำดับอะไร.

บทว่า ปุริโส กึ วต กึ สมาจาร ความว่า บุรุษผู้ใคร่ประโยชน์

เมื่อประพฤติศีลสมาจารเช่นไร ซึ่งได้นามว่า วัตร เพราะอรรถว่าพึง

สมาทาน ชื่อว่าพึงเป็นผู้มีปกติทำกิจของตน คือพึงเป็นผู้มักทำกิจที่ควรทำ

และไม่พึงเบียดเบียน คือไม่พึงทำสัตว์ไร ๆ ให้ลำบาก. สมณธรรมชื่อว่า

กิจของตน โดยสังเขป ได้แก่ ศีล สมาธิและปัญญา, เมื่อบุคคลบำเพ็ญ

สมณธรรมนั้น แม้แต่เลศในการเบียดเบียนผู้อื่นย่อมไม่มี เพราะเมื่อมี

การเบียดเบียนผู้อื่น ความเป็นสมณะก็มีไม่ได้. สมจริงดังที่พระผู้มี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 25

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ฆ่าสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียน

สัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ ดังนี้. ก็ในที่นี้ ท่านถือเอาวาริตศีลด้วย

วต ศัพท์. ถือเอาฌานและวิปัสสนาเป็นต้นพร้อมกับจาริตศีล ด้วย

สมาจาร ศัพท์ เพราะเป็นธรรมต้องประพฤติ. เพราะฉะนั้น วาริตศีล

จึงเป็นใหญ่เป็นประธาน.

ก็แม้ในข้อนั้น เพราะเหตุที่เมื่ออินทรีย์สังวรสำเร็จ ศีลทั้งปวงจึง

เป็นอันรักษาดีแล้ว คุ้มครองดีแล้ว ฉะนั้น พระเถระประสงค์จะแสดง

อินทรีย์สังวรก่อน เมื่อจะประกาศโทษในการไม่รักษาอินทรีย์ และอานิสงส์

ในการรักษาอินทรีย์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อินฺทฺริยานิ มนุสฺสาน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อินฺทฺริยานิ เป็นบทแสดงไขถึงธรรม

ที่จะต้องรักษา เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอธิบายไว้ว่า อินทรีย์ ๖ มี

จักขุนทรีย์เป็นต้น.

บทว่า มนุสฺสาน เป็นบทแสดงไขถึงบุคคลผู้ประกอบในการรักษา.

บทว่า หิตาย แปลว่า เพื่อประโยชน์.

บทว่า อหิตาย แปลว่า เพื่อมิใช่ประโยชน์. คำที่เหลือว่า โหนฺติ

ควรนำมาเชื่อมเข้า. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า ก็อินทรีย์เหล่านั้นนั่นแล

ย่อมมีประโยชน์และไม่มีประโยชน์อย่างไร ? พระเถระจึงกล่าวคำมีอาทิว่า

รกฺขิตานิ รักษาแล้ว ดังนี้.

คำนั้นมีอธิบายว่า อินทรีย์ทั้งหลายมีจักษุเป็นต้น บุคคลใดไม่ปิด

ด้วยประตูคือสติ ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายแก่บุคคลนั้น โดยความ

เป็นประตูให้บาปธรรมมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 26

ที่ปิดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพราะไม่มีอภิชฌาเป็นต้นนั้น.

บทว่า อินฺทฺริยาเนว สารกฺข ความว่า พระเถระเมื่อจะแสดงว่า

เพราะเหตุที่อินทริยสังวรบริบูรณ์ ย่อมทำศีลสัมปทาให้บริบูรณ์, ศีล-

สัมปทาบริบูรณ์ ย่อมทำสมาธิสัมปทาให้บริบูรณ์, สมาธิสัมปทาบริบูรณ์

ย่อมทำปัญญาสัมปทาให้บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น การรักษาอินทรีย์ จึง

เป็นมูลรากแห่งการปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนแท้ ดังนี้ จึงกล่าวว่า รักษา

อินทรีย์เท่านั้น อธิบายว่า รักษาด้วยการอารักขามีสติเป็นเบื้องหน้า คือ

อันดับแรก รักษาโดยชอบซึ่งอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยโยนิโสมนสิการ ปิด

กั้นอินทรีย์เหล่านั้นไว้ โดยประการที่โจรคืออกุศล ไม่เข้าทางทวารนั้น ๆ

ปล้นทรัพย์คือกุศลในจิตสันดาน. ก็บทว่า สารกฺข ท่านกล่าว ส ศัพท์

กระทำให้เป็น สา เหมือนในประโยคว่า สาราโค เป็นต้น บาลีว่า

สรกฺข ดังนี้ก็มี.

บทว่า อินฺทฺริยานิ จ โคปย เป็นคำไวพจน์ของบทว่า อินฺทฺริยาเนว

สารกฺข นั้นนั่นแหละ, ประโยชน์ในคำไวพจน์พึงทราบโดยนัยดังกล่าวใน

อรรถกถาเตติปกรณ์นั่นเทอญ.

ด้วยบทว่า อตฺตโน กิจฺจการีสฺส นี้ ท่านแสดงถึงการปฏิบัติ

ประโยชน์ตน, ด้วยบทว่า น จ กิญฺจิ วิเหเย นี้ แสดงถึงอาการปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์ผู้อื่น, อีกอย่างหนึ่ง แม้ด้วยบททั้งสอง ท่านแสดงถึงการ

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนเท่านั้น เพราะถึงการไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นการ

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน.

อีกอย่างหนึ่ง แม้ด้วยบททั้งสอง ท่านแสดงถึงการปฏิบัติเพื่อ

ประโยชน์ตน เพราะการที่ปุถุชนและพระเสกขะปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 27

ก็เป็นการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน.

ครั้นท่านแสดงฝ่ายข้างบริสุทธิ์ผุดผ่องโดยสังเขปว่า อินทรีย์ที่รักษา

แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลอย่างนี้แล้ว แต่เมื่อจะจำแนกแสดง

ฝ่ายข้างเศร้าหมองว่า อินทรีย์ที่ไม่รักษาย่อมไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล จึง

กล่าวคำมีอาทิว่า จกฺขุนฺทฺริย เจ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขุนฺทฺริย เจ รูเปสุ คจฺฉนฺต อนิวารย

อนาทีนวทสฺสาวี ความว่า หากบุคคลใดไม่ห้ามจักขุนทรีย์ที่ไป คือ

ดำเนินไปตามชอบใจในรูปายตนะที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ชนิด

รูปายตนะเขียว เหลือง เป็นต้น เป็นผู้ไม่เห็นโทษในการเป็นไปอย่างนั้น

คือถ้าหากไม่เห็นอาทีนพโทษที่เป็นไปในปัจจุบัน และเป็นไปในในสัม-

ปรายภพ. บาลีว่า คจฺฉนฺต นิวารเย อนิสฺสรณทสฺสาวี ดังนี้ก็มี.

ในบาลีที่ว่านั้น บุคคลใดดำรงในอาการเพียงสักว่าเห็น โดยวิธีที่

กล่าวไว้ว่า เมื่อเห็นจักเป็นเพียงสักว่าเห็น ยังจักขุนทรีย์ให้เป็นไปใน

รูปายตนะด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่าเป็นผู้มีปกติเห็นการสลัดออกใน

รูปายตนะนั้น โดยปริยายายตรงกันข้ามจากที่กล่าวแล้ว พึงเห็นว่า เป็นผู้มี

ปกติไม่เห็นการสลัดออก.

บทว่า โส ทุกฺขา น หิ มุจฺจติ ความว่า บุคคลนั้น คือเห็น

ปานนั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากวัฏทุกข์ได้เลย.

ก็ความเป็นไปโดยประการที่บาปธรรมมีอภิชฌาเป็นต้น ซ่านไป

ทางทวารนั้น ชื่อว่าการไม่ห้ามจักขุนทรีย์ในที่นี้ ก็การไม่ห้ามจักขุนทรีย์

นั้น โดยใจความ พึงเห็นว่าเป็นการไม่ตั้งขึ้นแห่งสติสัมปชัญญะ. แม้ใน

อินทรีย์ที่เหลือก็นัยนี้แหละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 28

บทว่า อธิมุจฺฉิโต ได้แก่ ถึงความสยบด้วยตัณหาอันนอนเนื่องอยู่.

บทว่า อมฺพิล แปลว่า รสเปรี้ยว.

บทว่า มธุรคฺค ได้แก่ โกฏฐาสแห่งรสหวาน.

อนึ่ง บทว่า ติตฺตสฺคฺค อนุสฺสร ได้แก่ หวนระลึกถึงรสนั้น ๆ

ด้วยอำนาจความชอบใจ.

บทว่า คนฺถิโต ได้แก่ ผูกพันอยู่ในรสนั้น ๆ. บางอาจารย์กล่าว

ว่า คธิโต ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ถึงความกำหนัด.

บทว่า หทย นาวพุชฺฌติ ความว่า ย่อมไม่รู้ คือไม่กำหนดเอา

ความคิดที่เกิดขึ้นในขณะบรรพชาเป็นต้นว่า จักทำที่สุดทุกข์ อธิบายว่า

เป็นผู้กำหนัดด้วยตัณหาในรสอันเป็นเหตุย่ำยีธรรมที่ไม่มีโทษ จึงไม่รู้สึก

คือไม่รู้ ได้แก่ไม่ปฏิบัติใจ คือส่วนภายในแห่งพระศาสนา.

บทว่า สุภานิ แปลว่า งาม.

บทว่า อปฺปฏิกูลานิ ได้แก่ เป็นที่รื่นรมย์ใจ คือน่าปรารถนา.

บทว่า โผฏฺพฺพานิ ได้แก่ ผัสสะ ชนิดที่มีใจครองและไม่มีใจ

ครอง.

บทว่า รตฺโต ได้แก่ กำหนัดด้วยราคะอันมีความกำหนัดเป็น

สภาวะ.

บทว่า ราคาธิกรณ แปลว่า มีราคะเป็นเหตุ.

บทว่า วิวิธ วินฺทเต ทุข ความว่า ย่อมได้เฉพาะทุกข์อันเป็น

ปัจจุบันด้วยความเร่าร้อน เพราะราคะเป็นต้น และทุกข์อันเป็นไปใน

สัมปรายภพด้วยการเดือดร้อนในนรกเป็นต้น.

บทว่า มน เจเตหิ ได้แก่ (ไม่อาจรักษา) ใจ จากธรรมเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 29

มีรูปารมณ์เป็นต้น และมีธรรมารมณ์เป็นประเภท. บทว่า น ได้แก่

บุคคล.

บทว่า สพฺเพหิ ได้แก่ ทั้งหมดคือแม้ทั้ง ๕. ท่านอธิบายไว้ว่า

ไม่อาจรักษาคือคุ้มครองใจได้แก่มโนทวาร จากธรรม ๕ ประการ มีรูป

เป็นต้นตามที่กล่าวแล้วนั้น และจากประเภทแห่งธรรมารมณ์ ด้วยการ

ห้ามบาปกรรมที่เป็นไปในธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น คือเพราะไม่รักษา

ใจนั้น ทุกข์อันมีการไม่รักษาใจนั้นเป็นเหตุ ย่อมติดตาม คือไปตาม

บุคคลนั้น และเมื่อติดตามไป ย่อมติดตามไปด้วยธรรมแม้ทั้ง ๕ นี้ มี

รูปารมณ์เป็นต้น กับอารมณ์ที่ ๖ (ธรรมารมณ์) แม้ทั้งหมด เป็น

อารัมมณปัจจัย.

ก็ในอธิการนี้ ท่านกล่าวจักขุนทรีย์และโสตินทรีย์ว่า ไม่ห้ามจัก-

ขุนทรีย์และโสตินทรีย์ที่ไปอยู่ เพราะเป็นอินทรีย์ที่ยึดเอาอารมณ์ที่ยังไม่

ประจวบเข้า, อินทรีย์นอกจากนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นอินทรีย์ที่ยึดถือเอา

อารมณ์ที่ประจวบเข้า เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า

หากว่าซ่องเสพกลิ่น ดังนี้.

ก็แม้ในข้อนั้นก็พึงเห็นว่า ตัณหาในรส และตัณหาในโผฏฐัพพะ

ยังหนาแน่นแก่สัตว์ทั้งหลายโดยพิเศษ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ผู้

กำหนัดในรส หวนระลึกถึงโผฏฐัพพะทั้งหลาย ดังนี้.

พระเถระครั้นแสดงทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่คุ้มครองทวาร อันมี

ความไม่สำรวมในอารมณ์ทั้ง ๖ โดยทวารทั้ง ๖ ด้วยประการอย่างนี้แล้ว

เมื่อจะวิจัยสภาวะแห่งสรีระอันเป็นเหตุให้ความไม่สำรวมนี้นั้นเกิดขึ้นเพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 30

การไม่รู้สภาวะแห่งสรีระ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา โดยนัยมีอาทิดังนี้ว่า

ปุพฺพโลหิตสมฺปุณฺณ เต็มด้วยหนองและเลือด.

คำแห่งคาถาทั้งสองนั้นมีความว่า ชื่อว่าสรีระนี้บริบูรณ์ คือเต็ม

ด้วยหนองและเลือด และซากศพอย่างอื่นเป็นอันมากมีดีและเสมหะเป็นต้น

สรีระนี้นั้นอันช่างผู้ฉลาด คือศิลปาจารย์ผู้ฉลาดในหมู่ชนการทำไว้เกลี้ยง

เกลา วิจิตรงดงามด้วยประพรมด้วยน้ำครั่งเป็นต้น แต่ภายในเต็มด้วย

ของไม่สะอาดมีคูถเป็นต้น เป็นดุจสมุกน่ารื่นรมย์ใจแต่เพียงผิว เป็นที่

ลุ่มหลงแห่งพาลชน ชื่อว่าเผ็ดร้อน เพราะมีทุกข์เป็นสภาวะ และเพราะ

ความเร่าร้อนด้วยทุกข์มีนรกเป็นต้น ชื่อว่ามีรสหวานชื่นใจ เพราะเป็น

ของอร่อยด้วยเหตุสักว่าความชอบใจ อันไม่มีมูลเหตุอันเกิดจากความดำริ

ชื่อว่าเกี่ยวพันด้วยความรัก เพราะผูกพันด้วยภาวะที่น่ารักนั้นนั่นแหละ

ชื่อว่าเป็นทุกข์เพราะทนได้ยาก และเพราะมีความชื่นใจน้อย, ชาวโลก

ผู้ไม่รู้จักทุกข์อันใหญ่หลวงที่ตนได้เสวยอยู่ เพราะความโลภด้วยอำนาจ

ความพอใจในสรีระเช่นนี้ เป็นผู้ติดในรสอร่อย พึงเห็นเสมือนคนเลียคม

มีดโกนฉะนั้น.

บัดนี้พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่านี้เป็นอารมณ์

ของจักษุเป็นต้นที่กล่าวแล้วนั้น โดยพิเศษ เนื่องในหญิงที่บุรุษจะพึงใคร่

เพราะเหตุนั้น พึงทำการสำรวมในรูปเป็นต้นนั้น จึงกล่าวคำอาทิว่า

อิตฺถิรูเป ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺถิรูเป ได้แก่ ในวรรณรูปกล่าว

คือรูปายตนะอันเกิดจากสมุฏฐาน ๔ ของหญิง. อีกอย่างหนึ่ง วรรณะ

อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งเครื่องประดับที่ประดับแล้ว หรือแห่งกลิ่นและสี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 31

เป็นต้น หรือแห่งเครื่องประดับและระเบียบดอกไม้ของหญิงที่เนื่องด้วย

กาย ย่อมสำเร็จโดยเป็นอารมณ์แห่งจักษุวิญญาณของบุรุษ ทั้งหมดนั้น

พึงทราบว่าอิตถีรูป เหมือนกัน.

บทว่า อิตฺถิสเร ได้แก่ เสียงขับร้อง เสียงพูด เสียงหัวเราะ และ

เสียงร้องไห้ของหญิง. อีกอย่างหนึ่ง เสียงผ้าที่หญิงก็ดี เสียงเครื่องประดับที่

หญิงประดับก็ดี เสียงขลุ่ย พิณ สังข์ และบัณเฑาะก์เป็นต้นที่สำเร็จด้วย

ประโยคของหญิงก็ดี ในที่นี้ พึงทราบว่าท่านสงเคราะห์ด้วย อิตถิสร ศัพท์

ศัพท์ว่า เสียงหญิง. เสียงแม้ทั้งหมดนั่น พึงทราบว่าฉุดคร่าเอาจิตของ

บุรุษมา. ส่วนในบาลีว่า อิตฺถิรเส ในรสแห่งหญิง ท่านกล่าวด้วย

อำนาจรสายตนะอันเกิดจากสมุฏฐาน ๔. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า

กิจคือการรับคำด้วยการจัดการงานเป็นต้น และกิจคือการบริโภคของหญิง

ชื่อว่าเป็นอิตถีรส.

รสมีน้ำลายที่เปื้อนเนื้อริมฝีปากหญิง และรสข้าวยาคูแลภัตเป็นต้น

ที่หญิงนั้นให้แก่บุรุษทั้งหมดนั่น พึงทราบว่า อิตถีรสเหมือนกัน. และ

แม้ในโผฏฐัพพะ กายสัมผัสของหญิง และผัสสะแห่งผ้า เครื่องประดับ

และดอกไม้เป็นต้น ที่อยู่ในร่างกายหญิง พึงทราบว่า อิตถีโผฏฐัพพะ

เหมือนกัน. ก็ในบทว่า โผฏฺพฺเพปิ นี้ พึงเห็นว่า สงเคราะห์เอาอิตถี

รส ด้วย อปิ ศัพท์ ของอาจารย์พวกหนึ่งที่อ้างบาลีว่า อิตฺถิรูเป อิตฺถิสเร

นั้น.

บทว่า อิตฺถิคนฺเธสุ ได้แก่ ในคันธายตนะอันเกิดแต่สมุฏฐาน ๔

ของหญิง. ธรรมดาว่า กลิ่นร่างกายของหญิงเป็นกลิ่นเหม็น. จริงอยู่

หญิงบางพวกมีกลิ่นคล้ายกลิ่นม้า บางพวกมีกลิ่นคล้ายกลิ่นแพะ บาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 32

พวกมีกลิ่นคล้ายกลิ่นเหงื่อ บางพวกมีกลิ่นคล้ายกลิ่นเลือด. แม้ถึงอย่าง

นั้น คนผู้บอดเขลาก็ยังยินดีในหญิงเหล่านั้นอยู่นั่นแหละ.

ส่วนนางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ มีกลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากกาย

กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก กลิ่นดังกล่าวมานี้ ย่อมไม่มีแก่หญิงทั่วไป

เพราะเหตุนั้น กลิ่นเครื่องสูบไล้ที่จัดหามาเสริมเข้าในร่างกายหญิง พึง

ทราบว่า อิตถีคันธะ กลิ่นหญิง.

บทว่า สารตฺโต ได้แก่ กำหนัดนักแล้ว คือยินดี สยบแล้ว, ก็

บทว่า สารตฺโต นี้ พึงประกอบแม้ในบทว่า อิตฺถิรูเป เป็นต้นไป.

บทว่า วิวิธ วินฺทเต ทุข ความว่า ย่อมได้เฉพาะทุกข์มีประการ

ต่าง ๆ ที่เป็นไปในปัจจุบัน ด้วยการฆ่าและการจองจำเป็นต้น ที่เป็นไป

ในภายภาคหน้าด้วยเครื่องจองจำครบ ๕ ประการเป็นต้น ซึ่งมีความ

กำหนัดนักในรูปหญิงเป็นต้นเป็นเหตุ.

บทว่า อิตฺถิโสตานิ สนฺพานิ ความว่า กระแสตัณหา ๕ ประการ

ทั้งหมด คือไม่เหลือ มีรูปเป็นต้น ของหญิงเป็นอารมณ์ ย่อมไหลไป.

บทว่า ปญฺจสุ ได้แก่ ในทวารทั้ง ๕ ของบุรุษ.

บทว่า เตส ได้แก่ กระแสทั้ง ๕ เหล่านั้น.

บทว่า อาวรณ ได้แก่ การปิดกั้น, อธิบายว่า บุคคลผู้สามารถ

เพื่อตั้งสติสัมปชัญญะแล้วยังความสำรวมให้ดำเนินไป โดยประการที่ความ

ไม่สำรวมจะเกิดขึ้นไม่ได้นั้นเป็นผู้มีความเพียร คือเป็นผู้ปรารภความเพียร

เพื่อละอกุศลธรรมแล้วยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม.

พระเถระ ครั้นแสดงข้อปฏิบัติของบรรพชิตในอารมณ์มีรูปเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 33

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงข้อปฏิบัติของคฤหัสถ์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

โส อตฺถวา ดังนี้ .

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส อตฺถวา โส ธมฺมฏฺโ โส ทกฺโข

โส วิจกฺขโณ ความว่า บุคคลนั้น เป็นผู้รู้อรรถ คือเป็นผู้มีความรู้

ตั้งอยู่ในธรรม ขยันในธรรม คือฉลาดหรือไม่เกียจคร้านในธรรม มี

ปัญญาเครื่องพิจารณาในโลกนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ฉลาดใน

ความเป็นกิจที่จะพึงกระทำ

บทว่า กาเรยฺย รมมาโนปิ กิจฺจ ธมฺมตฺถสหิต ความว่า แม้ผู้

ยินดีในการครองเรือน ก็พึงการทำกิจที่พึงกระทำนั้นอันประกอบด้วย

ธรรมและอรรถ คือไม่ปราศจากธรรมและอรรถ คือพึงทำโภคะที่ยังไม่

เกิดให้เกิดขึ้น พึงกระทำรักษาและใช้สอยโภคะที่เกิดขึ้นแล้ว อธิบายว่า

พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งประโยชน์แก่คน สัตว์ และวัตถุทั้ง ๓ หมู่ โดยไม่

โกรธเคืองกันแลกัน (และ) โดยไม่เบียดเบียนกันแลกัน. ก็นัยนี้ ของชน

เหล่าใดย่อมเป็นไปด้วยอำนาจประโยชน์ของคนทั้ง ๓ เหล่า โดยไม่ผิด

จากสัมมาปฏิบัติ เหมือนดังพระเจ้าพิมพิสารมหาราชเป็นต้น ท่านก็กล่าว

ไว้ด้วยอำนาจของชนเหล่านั้น พึงเห็นว่า ท่านไม่กล่าวไว้ด้วยอำนาจคน

บางพวก.

บทว่า อโถ สีทติ สญฺุตฺต ความว่า ถ้ากำหนดถือเอาประโยชน์

ปัจจุบันซึ่งประกอบดีแล้วในโลกนี้ดำรงอยู่.

บทว่า วชฺเช กิจฺจ นิรตฺถก ความว่า แม้ถ้าว่าพึงสละ คือละกิจ

อันประกอบด้วยความฉิบหาย ซึ่งเหินห่างจากประโยชน์ชาติหน้า.

บทว่า น ต กิจฺจนฺติ มญฺิตฺวา อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 34

เป็นผู้ไม่ประมาทด้วยการไม่อยู่ปราศจากสติ มีปัญญาเครื่องพิจารณาโดย

เกิดจากวิจารณปัญญา รู้ว่า กิจนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เราไม่ควรทำ

ดังนี้แล้วพึงงดเว้นเสีย.

ก็ครั้นงดเว้นแล้วพึงยึดถือสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ และความ

ยินดีอันประกอบด้วยธรรม แล้วพึงประพฤติ อธิบายว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งอัน

ประกอบด้วยประโยชน์เกื้อกูล อันต่างด้วยทิฏฐธัมมิกประโยชน์และ

สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือเป็นเหตุนำประโยชน์เกื้อกูลทั้งสองประเภท

นั้นมา และความยินดีอันประกอบด้วยกุศลอันยิ่ง คือที่ประกอบด้วยสมถะ

และวิปัสสนา พึงยึดถือเอาให้ดี คือทำการยึดถือเอาสิ่งที่ประกอบด้วย

ประโยชน์และความยินดีอันประกอบด้วยธรรมนั้นแล้วประพฤติ. ก็เพราะ

พระบาลีว่า ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง ความยินดีนั้น

จึงชื่อว่าความยินดีชั้นสูงสุด เพราะให้บรรลุประโยชน์สูงสุดโดยส่วนเดียว.

ก็เพื่อจะแสดงความยินดีในคำที่กล่าวไว้ว่า กิจอันประกอบด้วย

ความยินดีในกาม ไม่มีประโยชน์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อุจฺจาวเจหิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺจาวเจหิ ได้แก่ ใหญ่และเล็ก.

บทว่า อุปาเยหิ แปลว่า ด้วยนัยทั้งหลาย.

บทว่า ปเรสมภิชิคีสติ ความว่า บุคคลใดปรารถนาเพื่อจะชิง

เอาสิ่งของของคนอื่น หรือทำคนอื่นให้เสื่อมโดยประการทั้งปวง ปล้น ฆ่า

หรือทำคนอื่นให้เศร้าโศก ปล้นเอาของคนอื่นโดยทารุณ. ท่านกล่าวคำ

อธิบายไว้ดังนี้ว่า บุคคลใดปล้น ฆ่า ทำผู้อื่นให้เศร้าโศกเพราะเหตุแห่ง

กาม พยายามลักของคนอื่นด้วยอุบายต่าง ๆ มีการตัดช่อง ปีนหน้าต่าง

และกรรโชกชิงเอาเป็นต้น กระทำการทารุณ ปล้น ชิงเอา ทำคนอื่นให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 35

เสื่อมเสียทรัพย์สมบัติ กิจนั้นของบุคคลนั้น ประกอบด้วยความยินดีใน

กาม ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เป็นกิจเลวทรามโดยส่วนเดียว.

โดยนัยตรงกันข้ามกันกิจที่ไม่มีประโยชน์นั้น ท่านจึงประกาศความ

ที่ความยินดีในธรรม เป็นความยินดีอย่างสูงสุด โดยส่วนเดียวแท้จริง.

บัดนี้ เมื่อจะประกาศการปิดกั้นอินทรีย์ที่ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลใด

สามารถทำการปิดกั้นอินทรีย์เหล่านั้น ดังนี้ พร้อมด้วยอุบาย จึงกล่าวคำ

มีอาทิว่า บุคคลผู้มีกำลัง เมื่อจะผ่าไม้ย่อมตอกลิ่มด้วยลิ่มฉันใด ดังนี้.

ช่างถากไม้ผู้มีกำลัง คือผู้ประกอบด้วยกำลังกาย และกำลังความรู้

ประสงค์จะเอาลิ่มที่ติดอยู่ในท่อนไม้ออก จึงตอกลิ่มที่แข็งกว่าลิ่มนั้น จึง

จะนำออกจากท่อนไม้นั้นได้ฉันใด ภิกษุผู้ฉลาดก็ฉันนั้น ประสงค์จะสกัด

อินทรีย์มีจักษุเป็นต้นด้วยกำลังแห่งวิปัสสนา ก็ย่อมสกัดด้วยอินทรีย์นั่น

เอง.

เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า สกัดด้วยอินทรีย์เหล่าไหน ? จึงกล่าว

คำมีอาทิว่า สทฺธ อินทรีย์คือศรัทธา ดังนี้.

คำนั้นมี อธิบายว่า ภิกษุอบรม คือเจริญอินทรีย์ ๕ อันเป็นเครื่อง

บ่มวิมุตติแม้นี้ คือศรัทธามีลักษณะน้อมใจเชื่อ, ความเพียรมีลักษณะ

ประคองไว้, สมาธิมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน, สติมีลักษณะปรากฏ. ปัญญามี

ลักษณะเห็น จึงกำจัด อินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ด้วยอินทรีย์ ๕ เหล่านี้

โดยกำจัดความเป็นทวารแห่งการเกิดกิเลส มีความยินดีและความขัดเคือง

เป็นต้น แล้วตัดได้เด็ดขาดซึ่งกิเลสทั้งหลาย อันเป็นที่อาศัยแห่งอินทรีย์นั้น

ด้วยอริยมรรค แต่นั้นนั่นแล เป็นพราหมณ์ผู้ไม่มีทุกข์ คือหมดทุกข์

ย่อมเข้าถึงอนุปาทิเสสปรินิพพานทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 36

บทว่า โส อตฺถวา ความว่า บุคคลนั้นเป็นพราหมณ์ตามที่กล่าว

แล้ว ชื่อว่าผู้รู้อรรถเพราะประกอบด้วยอรรถอันสูงสุด ชื่อว่าตั้งอยู่ใน

ธรรมเพราะตั้งอยู่ในธรรมอันยังอรรถนั้นให้ถึงพร้อม การทำตามอนุสาสนี

อันเป็นพระดำรัส คือปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าโดยประการทั้งปวง คืออย่างสิ้นเชิงทุกวิธีแล้วดำรงอยู่ แต่นั้น

แล นระคือบุรุษผู้สูงสุดนั้นย่อมถึงคือพอกพูน ทำสุขคือพระนิพพานให้

เจริญ.

ก็เพราะพระเถระประกาศข้อปฏิบัติ โดยการประกาศอาการคิดของ

ตนอย่างนี้ การประกาศความคิดนี้แหละ พึงเห็นว่าเป็นการพยากรณ์

พระอรหัตผลของพระเถระนั้น.

จบอรรถกถาปาราปริยเถรคาถาที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 37

๓. เตลุกานิเถรคาถา

ว่าด้วยการกำจัดกิเลสเครื่องร้อยรัด

[๓๘๗] เรามีความเพียรค้นคิดธรรมอยู่นาน ก็ไม่ได้ความ

สงบใจ จึงได้ถามสมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า ใครหนอ

ในโลกเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ใครเล่าเป็นผู้ได้บรรลุธรรมอัน

หยั่งลงสู่อมตะ เราจักปฏิบัติธรรมของใคร ซึ่งเป็นเครื่อง

ให้รู้แจ้งปรมัตถ์ เราเป็นผู้มีความคดคือกิเลสอันไปแล้ว

ในภายใน เหมือนปลาที่กินเหยื่อฉะนั้น เราถูกผูกด้วย

บ่วงใหญ่คือกิเลส เหมือนท้าวเวปจิตติอสูร ถูกผูกด้วย

บ่วงของท้าวสักกะฉะนั้น เรากระชากบ่วงคือกิเลสนั้น

ไม่หลุด จึงไม่พ้นไปจากความโศกและความร่ำไร ใคร

ในโลกจะช่วยเราผู้ถูกผูกแล้วให้หลุดพ้น แล้วประกาศ

ทางเป็นเครื่องตรัสรู้ให้เรา เราจะรับสมณะหรือพราหมณ์

คนไหนไว้เป็นผู้แสดงธรรมอันกำจัดกิเลสได้ จะปฏิบัติ

ธรรมเครื่องนำไปปราศจากชราและมรณะของใคร.

จิตของเราถูกร้อยไว้ด้วยความลังเลสงสัย ประกอบ

ด้วยความแข็งดีเป็นกำลัง ฉุนเฉียว ถึงความเป็นจิต

กระด้าง เป็นเครื่องทำลายตัณหา. สิ่งใดมีธนูคือตัณหา

เป็นสมุฏฐาน มีประเภท ๓๐ เป็นของมีอยู่ในอก เป็นของ

หนัก ทำลายหทัยแล้วตั้งอยู่ ขอท่านจงดูสิ่งนั้นนั่นเถิดการ

ไม่ละทิฏฐิเล็กน้อย อันลูกศรคือความดำริผิดให้อาจหาญ

๑. ม. เตลกานิเถรคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 38

แล้ว เราถูกยิงด้วยลูกศร คือทิฏฐินั้น หวั่นไหวอยู่ เหมือน

ใบไม้ที่ถูกลมพัดฉะนั้น ลูกศรคือทิฏฐิ ตั้งขึ้นแล้วใน

ภายในของเราย่อมไหม้ทันที กายอันเนื่องด้วยสัมผัสสะ ๖

เกิดแล้วในที่ใด ย่อมแล่นไปในที่นั้นทุกเมื่อ เราไม่เห็น

หมอผู้ที่จะถอนลูกศรของเราเยียวยาเรา (โดย) ในเยียว

ยาด้วยเชือกต่าง ๆ ด้วยศัสตราและด้วยวิธีอื่น ๆ. ใครไม่

ต้องใช้ศัสตรา ไม่ทำให้ร่างกายเราเป็นแผล ไม่เบียดเบียน

ร่างกายเราทั้งหมด จักถอนลูกศรอันเสียบอยู่ภายในหทัย

ของเราออกได้ ก็บุคคลผู้นั้นเป็นใหญ่ในธรรม เป็นผู้

ประเสริฐ ลอยโทษอันเป็นพิษเสียได้ ช่วยชี้บกคือ

นิพพานและหัตถ์คืออริยมรรคแก่เราผู้ตกไปในห้วงน้ำคือ

สงสารอันลึก เราเป็นผู้จมอยู่ในห้วงน้ำใหญ่อันนำดินคือ

ธุลีไปไม่ได้ เป็นห้วงน้ำสาดไปด้วยมายา ริษยา ความ

แข็งดีและความง่วงเหงาหาวนอน ความดำริทั้งหลายอัน

อาศัยซึ่งราคะ เป็นเช่นกับห้วงน้ำใหญ่ มีเมฆคืออุทธัจจะ

เป็นเสียงคำรน มีสังโยชน์เป็นฝน ย่อมนำบุคคลผู้มีความ

เห็นผิดไปสู่สมุทร คืออบาย.

กระแสตัณหาทั้งหลายย่อมไหลไปตามอารมณ์ทั้งปวง

ตัณหาเพียงดังเถาวัลย์เกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ ใครจะพึงกั้น

กระแสตัณหาเหล่านั้นได้ ใครเล่าจะตัณหาอันเป็นดัง

เถาวัลย์นั้นได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 39

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงทำฝั่งอันเป็น

เครื่องกั้นกระแสตัณหาเหล่านั้นเถิด อย่าให้กระแสตัณหา

อันเกิดแต่ใจ พัดท่านทั้งหลายไปเร็วพลัน ดังกระแสน้ำ

พัดต้นไม้อันตั้งอยู่ริมฝั่งไปฉะนั้น พระศาสดาผู้มีอาวุธคือ

ปัญญา ผู้อันหมู่ฤาษีอาศัยแล้ว เป็นที่พึ่งแก่เราผู้มีภัย

เกิดแล้ว ผู้แสวงหาฝั่งคือนิพพานจากที่มิใช่ฝั่ง พระองค์

ได้ทรงประทานบันใดอันทอดไว้ดีแล้ว บริสุทธิ์ ทำด้วย

ไม้แก่นคือธรรม เป็นบันไดมั่นคงแก่เรา ผู้ถูกกระแส

ตัณหาพัดไปอยู่ และได้ตรัสเตือนเราว่า อย่ากลัวเลย.

เราได้ขึ้นสู่ปราสาท คือสติปัฏฐานแล้ว พิจารณาเห็นหมู่

สัตว์ผู้ยินดีในร่างกายของตน ที่เราได้สำคัญในกาลก่อน

โดยเป็นแก่นสาร ก็เมื่อใดเราได้เห็นทางอันเป็นอุบาย

ขึ้นสู่เรือ เมื่อนั้นเราจักไม่ยึดถือว่าเป็นตัวตน ได้เห็นท่า

คืออริยมรรคอันอุดม พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทางอัน

สูงสุด เพื่อไม่ให้บาปธรรมทั้งหลาย มีทิฏฐิและมานะ

เป็นต้น ซึ่งเป็นดังเป็นดังลูกศรเกิดในตน เกิดแต่ตัณหาเครื่อง

นำไปสู่ภพ เป็นไปได้. พระพุทธเจ้าทรงกำจัดโทษอัน

เป็นพิษได้ ทรงบรรเทากิเลสเครื่องร้อยรัดของเรา อัน

นอนเนื่องอยู่ในสันดาน อันตั้งอยู่แล้วตลอดกาลนาน.

จบเตลุกานิเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 40

อรรถกถาเตลุกานิเถรคาถาที่ ๓

คาถาของท่านพระเตลุกานิเถระ มีคำเริ่มต้นว่า จิรรตฺต วตาตาปี

ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปาง

ก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง ในพระนคร

สาวัตถี ก่อนกว่าพระศาสดาประสูติ ได้นามว่า เตลุกานิ เจริญวัยแล้ว

รังเกียจกาม เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุ จึงละการครองเรือนบวชเป็น

ปริพาชก มีอัธยาศัยในการลอกจากวัฏฏะ เที่ยวแสวงหาวิโมกข์ คือการ

หลุดพ้น โดยนัยมีอาทิว่า ใคร คือท่านผู้ถึงฝั่งในโลก จึงเข้าไปหา

สมณพราหมณ์นั้น ๆ ถามปัญหา. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ทำเขาให้

ดื่มด่ำไม่ได้ เขามีจิตข้องกับปัญหานั้น จึงได้ท่องเที่ยวไป.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงอุบัติในในโลก

ประกาศพระธรรมจักรอันบวร ทรงบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก

วันหนึ่ง ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรม ได้ศรัทธาแล้วบวช เจริญ

วิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต. วันหนึ่ง ท่าน

นั่งอยู่กับพวกภิกษุ พิจารณาถึงคุณวิเศษที่ตนได้บรรลุ แล้วหวนระลึกถึง

การปฏิบัติของตนตามแนวนั้น เมื่อจะบอกข้อปฏิบัตินั้นทั้งหมดแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ความว่า

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ ข้อ ๓๘๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 41

เรามีความเพียรคิดค้นธรรมอยู่นาน ไม่ได้ความสงบ

ใจ จึงได้ถามสมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า ใครหนอในโลก

เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ใครเล่าเป็นผู้ได้บรรลุธรรมอันหยั่งลงสู่

อมตะ เราจักปฏิบัติธรรมของใครซึ่งเป็นเครื่องให้รู้แจ้ง

ปรมัตถ์ เราเป็นผู้มีความคดคือกิเลส อันไปแล้วในภายใน

เหมือนปลาที่กินเหยื่อฉะนั้น เราถูกผูกด้วยบ่วงใหญ่คือ

กิเลส เหมือนท้าวเวปจิตติอสูร ถูกผูกด้วยบ่วงของท้าว-

สักกะฉะนั้น เรากระชากบ่วงคือกิเลสนั้นไม่หลุด จึงไม่

พ้นจากความโศกและความร่ำไร ใครในโลกจะช่วยเรา

ผู้ถูกผูกแล้วให้หลุดพ้น แล้วประกาศทางเป็นเครื่องตรัสรู้

ให้เรา เราจะรับสมณะหรือพราหมณ์คนไหนไว้เป็นผู้

แสดงธรรมอันกำจัดกิเลสได้ จะปฏิบัติธรรมอันเป็นเครื่อง

นำไปปราศจากชราและมรณะของใคร.

จิตของเราถูกร้อยไว้ด้วยความลังเลสงสัย ประกอบ

ด้วยความแข่งดีเป็นกำลัง ฉุนเฉียว ถึงความเป็นจิต

กระด้าง เป็นเครื่องทำลายตัณหา. สิ่งใดมีธนูคือตัณหา

เป็นสมุฏฐาน มี ๓๐ ประเภท เป็นของมีอยู่ในอก เป็น

ของหนัก ทำลายหทัยแล้วตั้งอยู่ ขอท่านจงดูสิ่งนั้นเถิด.

การไม่ละทิฏฐิเล็กน้อยอันลูกศรคือความดำริผิดให้อาจหาญ

ขึ้นแล้ว เราถูกยิ่งด้วยลูกศรคือทิฏฐินั้น หวั่นไหวอยู่

เหมือนรบไม้ถูกลมพัดฉะนั้น. ลูกศรคือทิฏฐิตั้งขึ้นแล้วใน

ภายในของเราย่อมไหม้ทันที กายอันเนื่องด้วยสัมผัสสะ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 42

เกิดขึ้นในที่ใด ย่อมแล่นไปในที่นั้นทุกเมื่อ เราไม่เห็น

หมอผู้ที่จะถอนลูกศรของเราเยียวยาเรา (โดย) ไม่เยียว

ยาด้วยเชือกต่าง ๆ ด้วยศัสตรา และด้วยวิธีอื่น ๆ. ใคร

ไม่ต้องใช้ศัสตรา ไม่ทำร่างกายให้เป็นแผล ไม่

เบียดเบียนร่างกายเราทั้งหมด จักถอนลูกศรอันเสียบอยู่

ภายในหทัยของเราออกได้ บุคคลผู้นั้นเป็นใหญ่ในธรรม

เป็นผู้ประเสริฐ ลอยโทษอันเห็นพิษเสียได้ พึงช่วยขึ้น

บกคือนิพพาน และหัตถ์คืออริยมรรคแก่เราผู้ตกไปใน

ห้วงน้ำคือสงสารอันลึก เราเป็นผู้จมอยู่ในห้วงน้ำใหญ่

อันนำดินคือไปไม่ได้ เป็นห้วงน้ำลาดไปด้วยมายา

ริษยา ความแข็งดี และความง่วงเหงาหาวนอน. ความ

ดำริทั้งหลายอันอาศัยราคะ เป็นเช่นกับห้วงน้ำใหญ่ มี

เมฆคืออุทธัจจะเป็นเครื่องคำรน มีสังโยชน์เป็นฝนย่อม

นำบุคคลผู้มีความเห็นผิดไปสู่สมุทรคืออบาย. กระแส

ตัณหาทั้งหลาย ย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง ตัณหา

เพียงเถาวัลย์เกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ ใครจะพึงกั้นกระแส

ตัณหาเหล่านั้นได้ ใครเล่าจะตัดตัณหาเพียงดังเถาวัลย์

นั้นได้.

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงทำฝั่งอัน

เป็นเครื่องกั้นกระแสตัณหาเหล่านั้นเถิด อย่าให้กระแส

ตัณหาอันเกิดแต่ใจ พัดพาท่านทั้งหลายไปเร็วพลัน ดัง

กระแสน้ำพัดพาต้นไม้อันตั้งอยู่ริมฝั่งไปฉะนั้น. พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 43

ศาสดาผู้มีอาวุธคือปัญญา ผู้อันหมู่ฤาษีอาศัยแล้ว เป็น

ที่พึ่งแก่เราผู้มีภัยเกิดแล้ว ผู้แสวงหาฝั่งคือพระนิพพาน

จากที่มิใช่ฝั่ง. พระองค์ได้ประทานบันไดอันทอดไว้ดี

บริสุทธิ์สำเร็จด้วยไม้แก่นคือธรรม เป็นบันไดอันมั่นคง

แก่เราผู้ถูกระแสตัณหาพัดไปอยู่ และได้ตรัสเตือนเราว่า

อย่ากลัวเลย. เราได้ขึ้นสู่ปราสาทคือสติปัฏฐาน แล้ว

พิจารณาหมู่สัตว์ผู้ยินดีในร่างกายของตน ที่เราได้สำคัญ

ในกาลก่อนโดยเป็นแก่นสาร. ก็เมื่อใด เราได้เห็นทาง

อันเป็นอุบายขึ้นสู่เรือ เมื่อนั้นเราจักไม่ยึดถือตัวตน ได้

เห็นท่าคืออริยมรรคอันอุดม. พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง

ทางอันสูงสุด เพื่อไม่ให้บาปธรรมทั้งหลายมีทิฏฐิและ

มานะเป็นต้น ซึ่งเป็นดังลูกศรเกิดในตน อันเกิดแต่ตัณหา

เครื่องนำไปสู่ภพ เป็นไปไม่ได้. พระพุทธเจ้าทรงกำจัด

โทษอันเป็นพิษได้ ทรงบรรเทากิเลสเครื่องร้อยรัดของ

เรา อันนอนเนื่องอยู่ในสันดานตั้งอยู่แล้วตลอดกาลนาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิรรตฺต วต แปลว่า ตลอดกาล

นานหนอ.

บทว่า อาตาปี แปลว่า มีความเพียร คือความปรารภความเพียร

ในการแสวงหาโมกขธรรม.

บทว่า ธมฺม อนุวิจินฺตย ได้แก่ คิดค้น คือแสวงหาวิมุตติธรรมว่า

วิโมกขธรรมเป็นเช่นไรหนอ หรือว่า เราจะพึงบรรลุวิโมกขธรรมนั้นได้

อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 44

บทว่า สม จิตฺตสฺส นาลตฺถ ปุจฺฉ สมณพฺราหฺมเณ ความว่า

เราถามวิมุตติธรรมกะสมณพราหมณ์เจ้าลัทธิต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ได้ คือไม่

ประสบความสงบจิตอันมีสภาวะไม่สงบตามปกติ คืออธิบายธรรมอันเป็น

เครื่องสลัดวัฏทุกข์อันเป็นตัวสงบ.

บทมีอาทิว่า โก โส ปารงฺคโต ความว่า เป็นเครื่องแสดงอาการที่ถาม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก โส ปารงฺคโต โลเก ความว่า

บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ปฏิญญาว่าเป็นเจ้าลัทธิในโลกนี้ คนนั้น

คือใครหนอเข้าถึงฝั่งแห่งสงสาร คือพระนิพพาน.

บทว่า โก ปตฺโต อมโตคธ ความว่า ใครถึงคือบรรลุที่พึ่ง คือ

นิพพาน ได้แก่ทางแห่งวิโมกข์.

บทว่า กสฺส ธมฺม ปฏิจฺฉามิ ความว่า เราจะรับ คือปฏิบัติตาม

โอวาทธรรมของสมณะหรือพราหมณ์คนไร.

บทว่า ปรมตฺถวิชานน ได้แก่ เป็นเครื่องรู้แจ้งปรมัตถประโยชน์

อธิบายว่า อันประกาศปวัตติ (ทุกข์) และนิวัตติ (ความดับทุกข์) อันไม่

ผิดแผก.

บทว่า อนฺโตวงฺกคโต อาสี ความว่า ทิฏฐิ ท่านเรียกว่า วังกะ

เพราะเป็นความคดแห่งใจ, อีกอย่างหนึ่ง กิเลสแม้ทั้งหมดเรียกว่า วังกะ

ก็บทว่า อนฺโต ได้แก่ ภายในแห่งความคดของใจ อีกอย่างหนึ่ง ได้มี

ความคดคือกิเลสอันอยู่ในภายในหัวใจ.

บทว่า มจฺโฉว ฆสมามิส ความว่า เหมือนปลากินเหยื่อ คืองับกิน

เหยื่อ อธิบายว่า เหมือนปลาติดเบ็ด.

บทว่า พทฺโธ มหินฺทปาเสน เวปจิตฺยสุโร ยถา อธิบายว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 45

ท้าวเวปจิตติ จอมอสูร ถูกบ่วงของท้าวสักกะผู้เป็นเจ้าโลก ครองไว้ อยู่

อย่างไร้เสรี ได้รับทุกข์ใหญ่หลวงฉันใด เราก็ฉันนั้น เมื่อก่อนถูกบ่วง

คือกิเลสครองไว้ เป็นผู้อยู่อย่างไม่อิสระ ได้รับทุกข์ใหญ่หลวง.

บทว่า อญฺฉามิ แปลว่า ย่อมคร่ามา. บทว่า น ได้แก่ บ่วงคือกิเลส.

บทว่า น มุญฺจามิ แปลว่า ย่อมไม่พ้น.

บทว่า อสฺมา โสกปริทฺทวา ได้แก่ จากวัฏฏะคือ โสกะ และ

ปริเทวะนั้น. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า เนื้อหรือสุกรที่ถูกคล้องบ่วงไว้

ไม่รู้อุบายจะแก้บ่วง ดิ้นไป ๆ มา ๆ กระตุกบ่วงนั้น ย่อมทำตรงที่ผูกรัด

ให้แน่นเข้าฉันใด เราก็ฉันนั้น เมื่อก่อนถูกบ่วงกิเลสสวมไว้ ไม่รู้อุบาย

ที่จะแก้ ดิ้นในไปด้วยอำนาจกายสัญเจตนา ความจงใจทางกายเป็นต้น

แก้บ่วงคือกิเลสนั้นไม่ได้ โดยที่แท้ กระทำมันให้แน่นเข้า ย่อมถึงกิเลส

ตัวอื่นเข้าอีก เพราะทุกข์มีความโศกเป็นต้น.

บทว่า โก เน พนฺธ มุญฺจ โลเก สมฺโพธึ เวทยิสฺสติ ความว่า

ในโลกนี้ ใครจะเปลื้องเครื่องผูกด้วยเครื่องผูกคือกิเลสนี้ จึงประกาศ

คือพวกเราถึงทางแห่งวิโมกข์อันได้นามว่า สัมโพธิ เพราะเป็นเครื่อง

ตรัสรู้. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พนฺธมุญฺจ ดังนี้ก็มี, มีวาจาประกอบ

ความว่า ซึ่งทางเป็นเครื่องตรัสรู้อันปลดเปลื้องจากเครื่องผูก หรือซึ่ง

เครื่องผูก.

บทว่า อาทิสนฺต ได้แก่ ผู้แสดง. บทว่า ปภงฺคุน ได้แก่ เป็น

เครื่องหักราน คือกำจัดกิเลส, อีกอย่างหนึ่ง เราจะรับธรรมของใครอัน

เป็นเครื่องกำจัดกิเลส คืออันแสดงบอกความเป็นไปแห่งธรรม อันเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 46

เครื่องนำไปปราศจากชราและมัจจุ. บาลีว่า ปฏิปชฺชามิ ดังนี้ก็มี. เนื้อความ

ก็อันนั้นแหละ.

บทว่า วิจิกิจฺฉากงฺขาคนฺถิต ได้แก่ ถูกร้อยรัดด้วยวิจิกิจฉาความ

สงสัยอันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ในอดีตกาลอันยาวนาน เราได้มีแล้วหรือ

และด้วยความเคลือบแคลงอันเป็นไปโดยอาการส่ายไปส่ายมา.

บทว่า สารมฺภพลสญฺญุต ได้แก่ ประกอบด้วยสารัมภะความแข่งดี

อันมีกำลัง มีลักษณะทำให้ยิ่งกว่าการทำ.

บทว่า โกธปฺปตฺตมนตฺถทฺธ ได้แก่ ถึงความกระด้างแห่งใจอัน

ประกอบด้วยความโกรธในอารมณ์ทุกอย่าง เป็นเครื่องรองรับตัณหา.

จริงอยู่ เมื่อว่าโดยที่ปรารถนาแล้วไม่ได้เป็นต้น ย่อมเป็นไปเหมือน

ทำลายจิตของสัตว์ทั้งหลาย. ชื่อว่ามีธนูคือตัณหาเป็นสมุฏฐาน ย่อมตั้งอยู่

คือเกิดขึ้น เพราะอุบายวิธีที่เสียบแทงคนแม้ผู้อยู่ในที่ไกล ได้แก่ลูกศร

คือทิฏฐิ.

ก็เพราะเหตุที่ลูกศรคือทิฏฐินั้นมี ๓๐ ประเภท คือ สักกายทิฏฐิมี

วัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ประกอบด้วย

ทิฏฐิ ๓๐ ประเภท อธิบายว่า มี ๓๐ ประเภท.

บทว่า ปสฺส โอรสสิก พาฬุห เภตฺวาน ยทิ ติฏฺติ ความว่า

พระเถระเรียกตนเองว่า สิ่งใด ชื่อว่าเกิดในอก เพราะเป็นที่ตั้งแห่งการ

เกี่ยวเนื่องในอกเป็นของหนัก คือมีพลังทำลาย คือทิ่มแทงหทัยแล้วตั้งอยู่

ในหทัยนั้นเอง ท่านจงดูสิ่งนั้น.

บทว่า อนุทิฏฺีน อปฺปหาน ได้แก่ การไม่มีทิฏฐิที่เหลืออันเป็น

ทิฏฐิเล็กน้อยเป็นเหตุ. อธิบายว่า ก็สักกายทิฏฐิยังไม่ไปปราศจากสันดาน

เพียงใด ก็ยังไม่เป็นอันละสัสสตทิฏฐิเป็นต้นเพียงนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 47

บทว่า สงฺกปฺปปรเตชิต ความว่า อันความดำริ คือมิจฉาวิตก

ทำคนอื่นผู้ถึงเฉพาะลักษณะนิสัยให้อาจหาญ คือให้อุตสาหะขึ้น.

บทว่า เตน วิทฺโธ ปเวธามิ ความว่า เราถูกลูกศรคือทิฏฐินั้น

เสียบแทงจรดถึงหทัยปักอยู่ ย่อมหวั่นไหว คือย่อมดำริ ได้แก่หมุนไป

รอบด้าน ด้วยอำนาจสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ.

บทว่า ปตฺตว มาลุเตริต ความว่า เหมือนใบของต้นไม้ถูกมาลุต

คือลม พัดให้หลุดจากขั้ว.

บทว่า อชฺฌตฺต เม สมุฏฺาย ความว่า ธรรมดาลูกศรในโลก

ตั้งขึ้นจากภายนอก แล้วห้ำหั่นทำลายภายในฉันใด ลูกศรคือทิฏฐินี้ไม่

เหมือนฉันนั้น. ก็ลูกศรคือทิฏฐินี้ตั้งขึ้นแล้วในภายใน คือในอัตภาพ

ของเรา เหมือนกลุ่มผัสสายตนะ ๖ ที่รู้กันว่าอัตภาพนั้น ย่อมไหม้ไป

เร็วพลัน เหมือนอะไร ? เหมือนไฟไหม้พร้อมทั้งที่อาศัยของมัน เมื่อเผา

ไหม้อัตภาพที่ยึดถือว่าของเรา คืออันเป็นของของเรานั้นนั่นแหละ เกิด

ขึ้นแล้วในที่ใด ย่อมแล่นไปคือเป็นไปในที่นั้นนั่นเอง.

บทว่า น ต ปสฺสามิ เตกิจฺฉ ความว่า เราย่อมไม่เห็นศัลยแพทย์

นั้นชื่อว่าผู้เยียวยา เพราะประกอบการเยียวยาเช่นนั้น.

บทว่า โย เม ต สลฺลมุทฺธเร ความว่า แพทย์ใด พึงถอนลูกศรคือ

ทิฏฐิ และลูกศรคือกิเลสนั้น พึงนำเอาคำมาประกอบกัน . ความว่า เมื่อ

จะถอน ไม่เยียวยารักษาโดยสอดเส้นเชือกต่าง ๆ คือเส้นลวดสำหรับ

ตรวจโรคอันคล้ายกับเชือก ตัดด้วยศัสตรา (และ) ด้วยการประกอบมนต์

และอาคมอย่างอื่น อาจเยียวยาลูกศรได้. ก็บทว่า วิจิกิจฺฉิต นี้เป็นเพียง

ตัวอย่าง. พึงทราบเนื้อความด้วยอำนาจลูกศรคือกิเลสแม้ทุกชนิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 48

บทว่า อสตฺโถ ได้แก่ ผู้งดเว้นศัสตรา.

บทว่า อวโณ แปลว่า ไม่มีแผล.

บทว่า อพฺภนฺตรปสฺสย ได้แก่ อาศัยหทัย กล่าวคือภายในตั้งอยู่.

บทว่า อหึส แปลว่า ไม่เบียดเบียน. บาลีว่า อหึสา ก็มี. อธิบายว่า

โดยไม่เบียคเบียน คือโดยไม่บีบคั้น.

ก็ในที่นี้มีความย่อดังต่อไปนี้ :- ใครหนอแล ไม่ต้องถือศัสตรา

ไร ๆ และไม่ทำให้มีแผล ต่อแต่นั้น ไม่ทำร่างกายทุกส่วนให้ลำบาก โดย

ปรมัตถ์นั้นแล จักถอนลูกศรคือกิเลสอันเป็นตัวลูกศรซึ่งอยู่ในภายใน

หทัยของเรา โดยทิ่มแทงภายใน และปิดกั้นภายใน โดยไม่ให้เกิดการ

บีบคั้น.

พระเถระครั้นแสดงอาการคิดของตนในกาลก่อน ด้วยคาถา ๑๐

คาถาอย่างนั้นแล้ว เพื่อจะแสดงอาการคิดนั้นซ้ำอีกโดยประการอื่น จึง

กล่าวคำมีอาทิว่า ธมฺมปฺปติ หิ โส เสฏฺโ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมปฺปติ ได้แก่ มีธรรมเป็นนิมิต

คือมีธรรมเป็นเหตุ. ศัพท์ว่า หิ เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า โส เสฏฺโ แปลว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ประเสริฐ.

บทว่า วิสโทสปฺปวาหโก ความว่า บุคคลเป็นผู้ลอย คือตัดกิเลส

มีราคะเป็นต้นของเรา.

บทว่า คมฺภีเร ปติตสฺส เม ถล ปาณิญฺจ ทสฺสเย ความว่า

ใครหนอแล ปลอบใจว่า อย่ากลัว แล้วพึงแสดงบก คือพระนิพพาน

และหัตถ์คือพระอริยมรรคอันยังสัตว์ให้ถึงนิพพานนั้น แก่เราผู้ตกลงใน

ห้วงน้ำใหญ่ คือสงสารอันลึกยิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 49

บทว่า รหเทหมสฺมิ โอคาฬฺโห ความว่า เราเป็นผู้หยั่งลง คือ

เข้าไปในห้วงน้ำคือสงสารอันใหญ่โต โดยการดำลงหมดทั้งศีรษะ.

บทว่า อหาริยรชมตฺติเก ความว่า ห้วงน้ำ ชื่อว่า มีดิน คือธุลี

อันใครนำไปไม่ได้ เพราะเป็นที่มีดินคือเปือกตมอันได้แก่ธุลีมีราคะเป็นต้น

อันใคร ๆ ไม่อาจนำออกไปได้, ในห้วงน้ำนั้น . บาลีว่า อหาริยรชมนฺติเก

ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า มีธุลีคือราคะเป็นต้นอันนำออกไปได้ยาก ในบรรดา

ธุลีมีราคะเป็นต้นซึ่งตั้งอยู่ในที่สุด. บาปธรรมเหล่านั้น คือมายา มีการ

ปกปิดโทษที่มีอยู่เป็นลักษณะ ความริษยา มีการอดกลั้นสมบัติของคนอื่น

ไม่ได้เป็นลักษณะ การแข็งดี มีการกระทำให้ยิ่งกว่าผู้อื่นทำเป็นลักษณะ

ถีนะ มีความคร้านจิตเป็นลักษณะ มิทธะ มีความคร้านกายเป็นลักษณะ

แผ่ลาดไปยังห้วงน้ำใด, ในห้วงน้ำนั้นอันลาดด้วยมายา ริษยา การแข่งดี

ถีนะ และมิทธะ. ก็ในที่นี้ท่านกล่าว อักษร ว่ากระทำการเชื่อมบท.

อธิบายว่า แผ่ไปด้วยบาปธรรมทั้งหลาย ตามที่กล่าวแล้วนี้.

บทว่า อุทฺธจฺจเมฆถนิต สโยชนวลาหก ท่านกล่าวด้วยวจนวิปลาส

วจนะคลาดเคลื่อน. ชื่อว่า มีเมฆคืออุทธัจจะเป็นเสียงคำรน เพราะมี

อุทธัจจะอันมีภาวะหมุนไป อันเมฆคำรน คืออันเมฆกระหึ่มแล้ว, ชื่อว่า

มีสังโยชน์เป็นฝน เพราะมีฝนคือสังโยชน์ ๑๐ ประการ. อธิบายว่า ความ

ดำริผิดอันอาศัยราคะ ดุจห้วงน้ำ คือเช่นกับห้วงน้ำใหญ่ ตั้งอยู่ในอสุภ

เป็นต้น ย่อมพาเราผู้มีทิฏฐิชั่วไป คือดึงไปสู่สมุทร คืออบายเท่านั้น.

บทว่า สวนฺติ สพฺพธิ โสตา ความว่า กิเลสเพียงดังกระแส

๕ ประการนี้คือ กระแสคือตัณหา ทิฏฐิ มานะ อวิชชา และกิเลส ชื่อว่า

ย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง เพราะไหลไปในอารมณ์ทั้งปวงมีรูปเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 50

โดยจักขุทวารเป็นต้น หรือเพราะไหลไปโดยส่วนทุกส่วน โดยนัยมีอาทิว่า

รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา. บทว่า ลตา ความว่า ชื่อว่าเถาวัลย์

เพราะเป็นดุจเครือเถา เพราะอรรถว่าร้อยรัด เพราะอรรถว่าเกาะติดแน่น

ได้แก่ตัณหา.

บทว่า อุพฺภิชฺช ติฏฺติ ความว่า แตกออกจากทวารทั้ง ๖ แล้ว

ตั้งอยู่ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น.

บทว่า เต โสเต ความว่า ใคร คือบุรุษวิเศษ จะพึงกั้นกระแส

มีตัณหาเป็นต้นอันไหลอยู่ในสันดานของเรา ด้วยเครื่องผูกคือมรรคอัน

เป็นดุจสะพาน.

บทว่า ต ลต ได้แก่ เครือเถาคือตัณหา, ใครจะตัดคือจักตัดด้วย

ศัสตราคือมรรค.

บทว่า เวล กโรถ ความว่า ท่านทั้งหลายจงกระทำเขตแดน

คือสะพานให้เป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น.

บทว่า ภทฺทนฺเต เป็นบทแสดงอาการร้องเรียก.

บทว่า มา เต มโนมโย โสโต ความว่า กระแสน้ำกว้าง.

แม้มหาชนผู้เขลา ก็อาจกระทำสะพานเป็นเครื่องกั้นกระแสน้ำนั้นได้; แต่

กระแสอันเกิดทางใจนี้ ละเอียด ห้ามยาก, กระแสอันเกิดทางใจนั้น

ทำพวกท่านที่ยืนอยู่ริมฝั่งอบายให้พลันตกลงในอบายนั้น เมื่อจะให้ตกลง

สมุทรคืออบาย ก็พึงอย่าให้พัดพาไป คืออย่าให้พินาศ ได้แก่อย่าให้

ถึงความฉิบหาย เหมือนกระแสน้ำพัดมา ทำให้ต้นไม้ที่อยู่ริมฝั่งโค่น

พินาศไปฉะนั้น.

พระเถระนี้ เพราะเป็นผู้อบรมสังขารไว้ในชาติก่อน และเพราะถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 51

ความแก่กล้าแห่งญาณ เมื่อพิจารณาเห็นทุกข์ในปัจจุบันอยู่อย่างนี้ จึงแสดง

อาการที่กำหนด ถือเอาสังกิเลสธรรมมีวิจิกิจฉาเป็นต้น บัดนี้เกิดความ

สลดใจ เป็นผู้แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล จึงไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อจะแสดง

คุณวิเศษที่ตนได้บรรลุ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอว เม ภยชาตสฺส ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว เม ภยชาตสฺส ความว่า พระศาสดา

ทรงเป็นผู้ต้านทาน คือทรงเป็นที่ต้านทานของโลกพร้อมทั้งเทวโลกผู้มีภัย

คือการเกิดในสงสารโดยประการดังกล่าวแล้วอย่างนี้ ผู้แสวงหาคือแสวงหา

ฝั่งคือพระนิพพาน จากที่มิใช่ฝั่ง คือจากสังสารวัฏอันมีภัยเฉพาะหน้าซึ่ง

เป็นฝั่งใน ชื่อว่าทรงมีปัญญาเป็นอาวุธ เพราะมีปัญญา เครื่องตัดกิเลส

เป็นอาวุธ ชื่อว่าเป็นศาสดา เพราะทรงพร่ำสอนเหล่าสัตว์ด้วยทิฏฐธัมมิ-

กัตถประโยชน์เป็นต้น ตามสมควร ผู้อันหมู่ฤาษี คือหมู่แห่งพระอริยบุคคล

มีพระอัครสาวกเป็นต้นซ่องเสพ.

บทว่า โสปาน ความว่า พระศาสดาทรงประทานบันไดกล่าวคือ

วิปัสสนา ชื่อว่าทอดไว้ดีแล้ว เพราะทรงกระทำไว้ดี คือเพราะปรุงแต่ง

ด้วยเทศนาญาณ ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะเว้นจากอุปกิเลส ชื่อว่าล้วนแล้ว

ด้วยแก่นคือธรรมอันเป็นสาระ มีศรัทธาและปัญญาเป็นต้น ชื่อว่ามั่นคง

เพราะไม่หวั่นไหวด้วยฝ่ายตรงกันข้าม แก่เราผู้ถูกห้วงน้ำใหญ่พัดไป ก็เมื่อ

จะประทานความปลอบใจว่า ด้วยวิธีนี้ เธอจักมีความสวัสดี จึงได้ตรัสว่า

เธออย่ากลัว .

บทว่า สติปฏฺานปาสาท ความว่า เราใช้บันไดคือวิปัสสนานั้น

ขึ้นสู่ปราสาท คือสติปัฏฐานอันเพียบพร้อมด้วยภูมิ ๔ ด้วยคุณวิเศษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 52

คือสามัญผล ๔ ที่จะพึงได้ด้วยกายานุปัสสนาเป็นต้น แล้วพิจารณา

คือพิจารณาเฉพาะ ได้แก่รู้แจ้งสัจธรรม ด้วยมรรคญาณ.

บทว่า ย ต ปุพฺเพ อมญฺิสฺส สกฺกายาภิรต ปช ความว่า

เรารู้แจ้งสัจจะอย่างนี้แล้วได้สำคัญเหล่าสัตว์ คือเดียรถีย์ชน ผู้ยินดียิ่งใน

สักกายะว่าเรา ว่าของเรา และตนที่เดียรถีย์ชนนั้น กำหนดเอาโดยเป็นสาระ

ในกาลก่อน.

บทว่า ยทา จ มคฺคมทฺทกฺขึ นาวาย อภิรูหน ความว่า ในกาลใด

เราได้เห็นทางคือวิปัสสนาอันเป็นอุบายสำหรับขึ้นเรือ คืออริยมรรคตาม

ความเป็นจริง. จำเดิมแต่นั้น เราไม่ยึดถือเดียรถีย์ชนและตนนั้น คือไม่

เอามาตั้งไว้ในใจ จึงได้เห็นท่า คืออริยมรรคทัสสนะอันเป็นท่าแห่งฝั่งใหญ่

คืออมตะ กล่าวคือพระนิพพานอย่างอุกฤษฏ์ โดยมรรคทั้งปวง โดยธรรม

ทั้งปวง. อธิบายว่า ได้เห็นตามความเป็นจริง.

พระเถระ ครั้นประกาศการบรรลุมรรคอันยอดเยี่ยมของตนอย่างนี้

แล้ว บัดนี้ เมื่อจะสดุดีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงแสดงมรรคนั้น จึงกล่าว

คำมีอาทิว่า สลฺล อตฺตสมุฏฺาน ลูกศรที่เกิดในตน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สลุล ได้แก่ ลูกศร คือกิเลสมีทิฏฐิ

มานะ เป็นต้น.

บทว่า อตฺตสมุฏฺาน ได้แก่ เกิดขึ้นในอัตภาพอันได้ชื่อว่า อัตตา

เพราะเป็นที่ตั้งอยู่แห่งมานะ การถือตัวว่าเป็นเรา.

บทว่า ภวเนตฺติปฺปภาวิต แปลว่า อันตั้งขึ้นจากภวตัณหา คือเป็น

ที่อาศัยของภวตัณหา. จริงอยู่ ภวตัณหานั้น เป็นแดนเกิดแห่งทิฏฐิ

และมานะเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 53

บทว่า เอเตส อปฺปวตฺตาย ความว่า เพื่อความไม่เป็นไป คือ

เพื่อความไม่เกิด แห่งบาปธรรมตามที่กล่าวแล้ว.

บทว่า เทเสสิ มคฺคมุตฺตม ความว่า ตรัสอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อันสูงสุด คือประเสริฐ และวิปัสสนามรรคอันเป็นอุบาย

แห่งอริยมรรคนั้น.

บทว่า ทีฆรตฺตานุสยิต ความว่า นอนเนือง ๆ อยู่ในสันดาน

มานาน ในสงสารอันมีที่สุดและเบื้องต้นรู้ไม่ได้ คือมีกำลังโดยได้เหตุ

คือโดยภาวะควรแก่การเกิด แต่จากนั้นจะตั้งอยู่นาน ตั้งมั่นคือขึ้นสู่

สันดานตั้งอยู่.

บทว่า คนฺถ ความว่า พระพุทธเจ้า คือพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรง

ลอยบาปได้ ทรงบรรเทาโทษอันเป็นพิษคือกิเลส อันเป็นตัวร้อยรัดใน

สันดานของเรา มีอภิชฌากายคันถะเป็นต้น ด้วยอานุภาพแห่งเทศนา

ของพระองค์ คือทรงทำโทษอันเป็นพิษคือกิเลสให้สูญหายไป. จริงอยู่

เมื่อละกิเลสเครื่องร้อยรัดได้เด็ดขาดแล้ว กิเลสที่ชื่อว่ายังไม่ได้ละย่อม

ไม่มีแล.

จบอรรถกถาเตลุกานิเถรคาถาที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 54

๔. รัฏฐปาลเถรคาถา

ว่าด้วยคนโง่ติดใจในโครงสร้างของร่างกาย

[๓๘๘] เชิญดูอัตภาพอันธรรมดาตกแต่งให้วิจิตร มีกายเป็น

แผล อันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นแล้ว กระสับกระส่าย

คนพาลพากันดำริหวังมาก อันไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น เชิญ

ดูรูปอันปัจจัยกระทำให้จิตรด้วยแก้วมณีและกุณฑล หุ้ม

ด้วยหนังมีร่างกระดูกอยู่ภายใน งามพร้อมไปด้วยผ้าต่างๆ

มีเท้าทั้งสองอันฉาบทาด้วยครั่งสด มีหน้าอันไล้ด้วยฝุ่น

สามารถทำให้คนพาลลุ่มหลงได้ แต่ไม่สามารถทำให้

ผู้แสวงหาฝั่งโน้นลุ่มหลง ผมทั้งหลายอันบุคคลตบแต่ง

เป็นลอนคล้ายกระดานหมากรุก นัยน์ตาทั้งสองอันหยอด

ด้วยยาตา สามารถทำให้คนพาลลุ่มหลงได้ แต่ไม่

สามารถทำให้ผู้แสวงหาฝั่งโน้นลุ่มหลง กายอันเปื่อยเน่า

อันบุคคลตบแต่งแล้ว เหมือนกล่องยาตาใหม่ ๆ วิจิตร

ด้วยลวดลายต่างๆ สามารถทำให้คนพาลลุ่มหลงได้ แต่

ไม่สามารถทำให้ผู้แสวงหาฝั่งโน้นลุ่มหลง.

นายพรานเนื้อดักบ่วงไว้ แต่เนื้อไม่ติดบ่วง เมื่อ

นายพรานเนื้อคร่ำครวญอยู่ พวกเนื้อพากันนากินเหยื่อ

แล้วหนีไป บ่วงของนายพรานขาดไปแล้ว เนื้อไม่ติด

บ่วง เมื่อนายพรานเนื้อเศร้าโศกอยู่ พวกเนื้อพากันมา

กินเหยื่อแล้วหนีไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 55

เราเห็นหมู่มนุษย์ที่มีทรัพย์ในโลกนี้ ได้ทรัพย์แล้ว

ไม่ให้ทานเพราะความลุ่มหลง ได้ทรัพย์แล้วทำการสั่งสม

ไว้ และปรารถนาอยากได้ยิ่งขึ้นไป พระราชากดขี่ช่วง

ชิงเอาแผ่นดิน ครอบครองแผ่นดินอันมีสาครเป็นที่สุด

ตลอดฝั่งสมุทรข้างนี้แล้ว ไม่รู้จักอิ่ม ยังปรารถนาจัก

ครอบครองฝั่งสมุทรข้างโน้นอีกต่อไป. พระราชาก็ดีมนุษย์

เหล่าอื่นเป็นอันมากก็ดี ผู้ยังไม่ปราศจากตัณหา ย่อมเข้า

ถึงความตาย ยังไม่เต็มความประสงค์ ก็พากันละทิ้ง

ร่างกายไป ความอิ่มด้วยกามทั้งหลายย่อมไม่มีในโลก

เลย หมู่ญาติพากันสยายผมร้องไห้คร่ำครวญถึงผู้นั้นและ

รำพันว่า ทำอย่างไรหนอ พวกญาติของเราจึงจะไม่ตาย

ครั้นพวกญาติตายแล้ว ก็เอาผ้าห่อนำไปเผาเสียที่เชิง

ตะกอน ผู้ที่ตายไปนั้นถูกเขาแทงด้วยหลาว เผาด้วยไฟ

ละโภคะทั้งหลาย มีแต่ผ้าผืนเดียวติดตัวไป เมื่อบุคคล

จะตาย ย่อมไม่มีญาติหรือมิตรสหายช่วยต้านทานได้

พวกที่รับมรดกก็มาขนเอาทรัพย์ของผู้ตายนั้นไป ส่วน

สัตว์ที่ตายย่อมไปตามยถากรรม เมื่อตายไม่มีทรัพย์

สมบัติอะไร ๆ คือ พวกบุตร ภรรยา ทรัพย์ แว่นแคว้น

สิ่งใด ๆ จะติดตามไปได้เลย บุคคลจะได้อายุยืนเพราะ

ทรัพย์ก็หาไม่ จะละความแก่รูปแม้เพราะทรัพย์ก็หาไม่.

นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้นแล ว่าเป็นของน้อย

ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ทั้งคนมั่งมีและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 56

คนยากจน ย่อมถูกต้องผัสสะเหมือนกัน ทั้งคนพาล

และคนฉลาดก็ถูกต้องผัสสะเหมือนกันทั้งนั้น แต่คนพาล

ถูกอารมณ์ที่ไม่พอใจเบียดเบียน ย่อมอยู่เป็นทุกข์เพราะ

ความเป็นพาล ส่วนนักปราชญ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว ย่อม

ไม่หวั่นไหว เพราะฉะนั้นแล ปัญญาจึงจัดว่าประเสริฐ

กว่าทรัพย์ เพราะปัญญาเป็นเหตุให้บรรลุนิพพาน แต่

คนพาลไม่ปรารถนาจะบรรลุ พากันทำกรรมชั่วต่างๆ อยู่

ในภพน้อยภพใหญ่เพราะความหลง ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว

ผู้นั้น จะต้องเวียนตายเวียนเกิดอยู่ ในวัฏสงสารร่ำไป

บุคคลผู้มีปัญญาน้อย เมื่อมาเชื่อต่อการทำของบุคคลผู้ที่

ทำความชั่วนั้น ก็จะต้องเวียนตายเวียนเกิดอยู่ร่ำไปเหมือน

กัน โจรผู้มีธรรมอันชั่วช้า ถูกเขาจับได้พร้อมทั้งของ

กลางย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตน ฉันใด หมู่สัตว์

ผู้มีธรรมอันชั่วช้า ละไปแล้วย่อมเดือดร้อนไปปรโลก

เพราะกรรมของตน ฉันนั้น.

กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ

ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลกๆ ดูก่อนมหาบพิตร เพราะ

อาตมภาพได้เห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงออกบวช

สัตว์ทั้งหลายทั้งหนุ่มทั้งแก่ ย่อมตกไปเพราะร่างกายแตก

เหมือนผลไม้หล่นฉะนั้น.

ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพเห็นความไม่เที่ยงแม้ข้อ

นี้จึงออกบวช ความเป็นสมณะอันไม่ผิดนั้นแลประเสริฐ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 57

อาตมภาพออกบวชด้วยศรัทธา เข้าถึงการปฏิบัติชอบใน

ศาสนาของพระชินเจ้า บรรพชาของอาตมภาพไม่มีโทษ

อาตมภาพไม่เป็นหนี้บริโภคโภชนะ อาตมภาพเห็นกาม

ทั้งหลายโดยเป็นของอันไฟติดทั่วแล้ว เห็นทองทั้งหลาย

โดยเป็นศาสตรา เห็นทุกข์จำเดิมแต่ก้าวลงในครรภ์ เห็น

ภัยใหญ่ในนรก จึงออกบวช อาตมภาพเห็นโทษอย่างนี้

แล้ว ได้ความสังเวชในกาลนั้น ในกาลนั้นอาตมภาพ

เป็นผู้ถูกลูกศร คือราคะเป็นต้นแทงแล้ว บัดนี้บรรลุถึง

ความสิ้นอาสวะแล้ว พระศาสดาอันอาตมภาพคุ้นเคย

แล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอาตมภาพทำสำเร็จแล้ว

อาตมภาพได้ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่อง

นำไปสู่ภพขึ้นแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรออกบวช

เป็นบรรพชิตต้องการนั้นแล้ว บรรลุถึงความสิ้นสังโยชน์

ทั้งปวงแล้ว.

จบรัฏฐปาลเถรคาถา

อรรถกถารัฏฐปาลเถรคาถาที่ ๔

คาถาของ ท่านพระรัฏฐปาลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปสฺส จิตฺตกต

พิมฺพ ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ก่อนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระจะเสด็จอุบัติ พระ-

เถระบังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล ในนครหังสวดี เติบโตแล้ว เมื่อ

บิดาล่วงลับไป ก็ครอบครองบ้านเรือน ได้เห็นทรัพย์ที่ตกทอดมาตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 58

วงศ์ตระกูลนับประมาณไม่ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่รักษาคลังรัตนะแสดงให้ดู จึง

คิดว่า บรรพชนมีบิดา ปู่ และปู่ทวดเป็นต้นของเรา ไม่สามารถพาเอา

กองทรัพย์มีประมาณเท่านี้ไปกับคน แต่เราควรจะพาเอาไป จึงได้ให้

มหาทานแก่คนเดินทางและคนกำพร้าเป็นต้น.

ท่านได้อุปัฏฐากดาบสรูปหนึ่งผู้ได้อภิญญา อันดาบสนั้นชักนำใน

ความเป็นใหญ่ในเทวโลก จึงได้บำเพ็ญบุญมากหลายจนตลอดอายุ จุติ

จากอัตภาพนั้นบังเกิดในเทวโลกเสวยทิพยสมบัติ ดำรงอยู่ในเทวโลกนั้น

ตลอดกาลกำหนดของอายุ จุติจากเทวโลกนั้น บังเกิดเป็นบุตรคนเดียว

ของตระกูลที่สามารถรวบรวมรัฐซึ่งต่างแบ่งแยกกันในมนุษยโลกไว้.

ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมตตระ เสด็จอุบัติขึ้นโนโลก ทรง

ประกาศพระธรรมจักรอันบวร ยังเวไนยสัตว์ให้ลุถึงภูมิอันเกษม กล่าว

คือมหานครนิพพาน. ลำดับนั้น กุลบุตรนั้นรู้เดียงสาโดยลำดับ วันหนึ่ง

ไปวิหารกับพวกอุบาสก เห็นพระศาสดากำลังทรงแสดงธรรม มีจิต

เลื่อมใส จึงนั่งลง ณ ท้ายบริษัท.

ก็สมัยนั้นแล พระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศ

กว่าภิกษุผู้บวชด้วยศรัทธา เขาเห็นดังนั้นมีจิตเลื่อมใส จึงตั้งจิตไว้เพื่อ

ต้องการตำแหน่งนั้น แล้วบำเพ็ญมหาทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ผู้อัน

ภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูปห้อมล้อม ด้วยสักการะใหญ่ตลอด ๗ วัน แล้วได้

กระทำความปรารถนาไว้.

พระศาสดาทรงเห็นว่าความปรารถนานั้นสำเร็จโดยไม่มีอันตราย จึง

ทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล กุลบุตรผู้นี้จักเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้บวช

ด้วยศรัทธา ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโคดม. เขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 59

ถวายบังคมพระศาสดาและไหว้ภิกษุสงฆ์แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป. เขา

ทำบุญมากหลายในอัตภาพนั้นตลอดชั่วอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้วท่อง

เที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ ในกาล

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ผุสสะ เมื่อราชบุตร ๓ พระองค์ ผู้

เป็นพระภาดาต่างพระชนนีกันกับพระศาสดา ทรงอุปัฏฐากพระศาสดาอยู่

ได้กระทำกิจแห่งบุญกิริยาของราชบุตรเหล่านั้น.

เขาสั่งสมกุศลนั้นๆ เป็นอันมากในภพนั้นๆ อย่างนี้ ท่องเที่ยวอยู่

แต่เฉพาะสุคติเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนของรัฐปาล

เศรษฐี ในถุลลโกฏฐิกนิคม ในกุรุรัฐ, เพราะเกิดในตระกูลที่สามารถรวบ

รวมรัฐที่แตกแยกออกของท่านรัฐปาลเศรษฐีนั้น จึงได้มีนามตามตระกูล

วงศ์ว่า รัฐปาละ. รัฐปาละนั้นเจริญด้วยบริวารเป็นอันมาก ถึงความเป็น

หนุ่มโดยลำดับ บิดามารดาจึงหาภรรยาที่สมควรให้ และให้ดำรงอยู่ใน

ยศใหญ่ เสวยเฉพาะสมบิติดุจสมบัติทิพย์.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปยังชนบทในแคว้นกุรุรัฐ

เสด็จถึงถุลลโกฏฐิกนิคมโดยลำดับ. รัฐปาลกุลบุตรได้สดับดังนั้น จึงเข้าไป

เฝ้าพระศาสดา ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้วได้ศรัทธาประสงค์

จะบวช ได้ทำการอดอาหาร ๗ วัน ให้บิดามารดาอนุญาตอย่างแสนยาก

ลำบาก แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลขอบรรพชา ได้บวชในสำนักของ

พระเถระรูปหนึ่ง โดยอาณัติ (คำสั่ง) ของพระศาสดา กระทำกรรมโดย

โยนิโสมนสิการ เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๒๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 60

เราได้ถวายช้างตัวประเสริฐมีงางอนงามควรเป็นราช-

พาหนะ ทั้งลูกช้างอันงาม มีเครื่องทัตถาลังการ กั้น

ฉัตรขาว แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ

เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ เราซื้อสถานที่ทั้งหมดนั้นแล้ว

ได้ให้สร้างอารามถวายแก่สงฆ์ ได้ให้สร้างปราสาทไว้

ภายในวิหารนั้น ๕๔,๐๐๐ หลัง ได้ทำทานดุจห้วงน้ำใหญ่

มอบถวายแด่พระพุทธเจ้า. พระสยัมภูมหาวีรเจ้า ผู้เป็น

อัครบุคคล ทรงอนุโมทนา ทรงยังชนทั้งหมดให้ร่าเริง

ทรงแสดงอมตบท. พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายก พระนาม

ว่าปทุมุตตระ ทรงกระทำผลบุญที่เราทำแล้วนั้นให้แจ้งชัด

แล้ว ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถา

เหล่านี้ว่า ผู้นี้ได้ให้สร้างปราสาท ๕๔,๐๐๐ หลัง เราจัก

แสดงวิบากของคนผู้นี้ ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

กูฏาคารหมื่นแปดพันหลังจักมีแก่ผู้นี้ และกูฏาคารเหล่า

นั้นสำเร็จด้วยทองล้วน เกิดในวิมานอันอุดม ผู้นี้จักเป็น

จอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติ ๕๐ ครั้ง และจักเป็นพระ-

เจ้าจักรพรรดิ ๕๘ ครั้ง. ในกัปที่แสน พระศาสดาพระ-

นามว่า โคดม โดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้า

โอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้อันกุศลมูลกระตุ้น

เตือนแล้ว จักจุติจากเทวโลก ไปบังเกิดในสกุลที่เจริญ

มีโภคสมบัติมาก ภายหลังอันกุศลมูลกระตุ้นเตือน จัก

บวช จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา โดยมีชื่อว่ารัฐปาละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 61

เขามีใจตั้งมั่นในความเพียร เป็นผู้สงบระงับ ไม่มีอุปธิ-

กิเลส จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวง แล้วไม่มีอาสวะ นิพพาน

ดังนี้.

เราจึงลุกขึ้นแล้วสละโภคทรัพย์ออกบวช ความรักใน

โภคสมบัติอันเปรียบด้วยก้อนเขฬะ ไม่มีแก่เรา เรามี

ความเพียรอันนำไปซึ่งธุระ เป็นเครื่องนำเอาธรรมอันเป็น

แดนเกษมจากโยคะมา เราทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด

ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คุณวิเศษเหล่านี้ คือ

ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราได้ทำให้

แจ้งแล้ว พระพุทธศาสนาเราทำเสร็จแล้ว.

ก็ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ทูลขออนุญาตพระศาสดา ไปยังถุลล-

โกฏฐิกนิคม เพื่อเยี่ยมบิดามารดา ได้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกใน

นิคมนั้น ได้ขนมกุมมาสบูดที่นิเวศน์ของบิดา ฉันขนมกุมมาสนั้น

ประดุจฉันสิ่งที่เป็นอมฤต อันบิดานิมนต์ จึงรับนิมนต์เพื่อจะฉันในวัน

รุ่งขึ้น ในวันที่ ๒ จึงฉันบิณฑบาตในนิเวศน์ของบิดา เมื่อหญิงในเรือน

ตกแต่งประดับประดาแล้ว เข้าไปหากล่าวคำมีอาทิว่า พระลูกเจ้า นางฟ้า

เหล่านั้นเป็นเช่นไร อันเป็นเหตุให้ท่านประพฤติพรหมจรรย์ ดังนี้แล้ว

เริ่มกระทำการประเล้าประโลม จึงได้เปลี่ยนกลับความประสงค์ของเธอ

เสีย เมื่อจะแสดงธรรมอันปฏิสังยุตด้วยความไม่เที่ยงเป็นต้น จึงได้กล่าว

คาถาเหล่านี้ ความว่า

เชิญดูอัตกาพอันธรรมดาตกแต่งให้วิจิตร มีกายเป็น

แผล อันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นแล้ว กระสับกระส่าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 62

คนพาลดำริหวังกันทาก ไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่ง. เชิญดู

รูปอันปัจจัยกระทำให้วิจิตร ด้วยแก้วมณีและกุณฑล

หุ้มด้วยหนัง มีร่างกระดูกอยู่ภายใน งามพร้อมไปด้วย

ผู้ต่าง ๆ. มีเท้าทั้งสองฉาบทาด้วยครั่งสด มีหน้าอันไล้

ทาด้วยฝุ่น สามารถทำให้คนพาลลุ่มหลงได้ แต่ไม่

สามารถทำผู้แสวงหาฝั่งโน้นให้ลุ่มหลง ผมทั้งหลายอัน

บุคคลตกแต่งเป็นลอนคล้ายกระดานหมากรุก นัยน์ตาทั้ง

สองหยอดด้วยยาตา สามารถทำให้คนพาลลุ่มหลงได้

แต่ไม่สามารถทำผู้แสวงฝั่งโน้นให้ลุ่มหลง. กายอันเปื่อย

เน่าอันบุคคลตกแต่งแล้ว เหมือนกล่องยกตาใหม่ วิจิตร

ด้วยลวดลายต่างๆ สามารถทำให้คนพาลลุ่มหลงได้ แต่

ไม่สามารถทำผู้แสวงหาฝั่งโน้นให้ลุ่มหลง.

นายพรานเนื้อดักบ่วงไว้ แต่เนื้อไม่ติดบ่วง เมื่อ

นายพรานเนื้อคร่ำครวญอยู่ พวกเนื้อพากันมากินเหยื่อ

แล้วหนีไป บ่วงของนายพรานขาดแล้ว เนื้อไม่ติดบ่วง

เมื่อนายพรานเนื้อเศร้าโศกอยู่ พวกเนื้อพากันกินเหยื่อ

แล้วหนีไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตกต แปลว่า กระทำให้วิจิตร

ชื่อว่า กระทำให้วิจิตรงดงาม, อธิบายว่า กระทำให้วิจิตรงดงามด้วยผ้า

อาภรณ์ และระเบียบดอกไม้เป็นต้น.

บท พิมฺพ ได้แก่ อัตภาพที่ประดับด้วยอวัยวะน้อยใหญ่มี

อวัยวะยาวเป็นต้น ในที่ที่ควรเป็นอวัยวะยาวเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 63

บทว่า อรุกาย ได้แก่ มีของไม่สะอาดไหลออกทางปากแผลทั้ง ๙

และขุมขน และกายอันเป็นแผลทั่วไป หรือกลุ่มแห่งแผลทั้งหลาย.

บทว่า สมุสฺสิต ได้แก่ อันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นแล้ว.

บทว่า อาตุร ได้แก่ ป่วยไข้เป็นนิตย์ เพราะเป็นกายที่ต้อง

บริหารด้วยการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเป็นต้น ตลอดกาลทั้งปวง.

บทว่า พหุสงฺกปฺป ได้แก่ อันพาลชนยกขึ้นไม่เป็นของจริงแล้ว

ดำริตริเอาโดยมาก.

บทว่า ยฺสส นตูถิ ธุวิ ิติ ความว่า ความยั่งยืน คือสภาพ

ตั้งมั่น ย่อมไม่มีแก่กายใด คือมีแต่การแตกทำลาย เรี่ยราย กระจัดกระจาย

ไปเป็นธรรมดาโดยส่วยเดียวเท่านั้น.

ด้วยบท ต ปสฺส พระเถระกล่าวหมายถึงชนผู้อยู่ในที่ใกล้

หรือกล่าวหมายเอาตนเอง.

บทว่า รูป ได้แก่ ร่างกาย จริงอยู่แม้ร่างกายก็เรียกว่ารูป ใน

ประโยคมีอาทิว่า อากาศอาศัยกระดูก อาศัยเอ็น อาศัยเนื้อ และอาศัย

หนังหุ้มห่อแล้ว ย่อมหมายถึงการนับว่า รูป.

บทว่า มณินา กุณฺฑเลน จ ความว่า กระทำให้วิจิตรงดงาม

ด้วยแก้วมณีและกุณฑล ที่จัดเป็นเครื่องอาภรณ์สวมศีรษะเป็นต้น.

บทว่า อฏึ ตเจน โอนทฺธ มีวาจาประกอบความว่า ท่านจง

ดูกระดูกอันเกินกว่า ๓๐๐ ประเภทซึ่งหนังสดหุ้มไว้. ด้วย จ ศัพท์ในบท

ว่า กุณฑเลน จ สงเคราะห์เอาอาภรณ์และเครื่องประดับอย่างอื่นเข้า

ด้วย.

บทว่า สห วตฺเถหิ โสภติ ความว่า รูปนี้นั้นแม้เขาทำให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 64

งดงามด้วยแก้วมณี ที่เขาปกปิดด้วยผ้าต่าง ๆ เท่านั้น จึงงดงาม ที่ไม่

ปกปิดย่อมไม่งดงาม, ก็อาจารย์เหล่าใด กล่าวว่า อฏิตเจน อาจารย์

เหล่านั้นอธิบายว่า ร่างกายที่มีหนังห่อย่อมงาม เพราะหุ้มด้วย

หนังที่มีประโยชน์.

บทว่า อลตฺตกกตา แปลว่า ทำการย้อมด้วยครั่งสด คือย้อมด้วย

ครั่ง.

บทว่า ปาทา แปลว่า เท้า.

บทว่า มุข จุณฺณกมกฺขิต ความว่า มีหน้าพอกด้วยผง, คำนี้

ท่านกล่าวหมายเอาข้อที่ชนผู้ชอบการตกแต่ง ขจัดต่อมบทใบหน้าเป็นต้น

ด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาดสุก แล้วเอาดินเค็มมาถูเอาเลือดเสียออกแล้วลูบไล้

ฝุ่นที่ใบหน้า.

บทว่า อล ความว่า สามารถทำคนพาลคือปุถุชนผู้บอด ไม่ใช่

ผู้แสวงหาฝั่ง คือผู้ยังยินดีในวัฏฏะ ให้หลง คือให้ลุ่มหลง ได้แก่สามารถ

ทำจิตของคนพาลนั้นให้ลุ่มหลง แต่ไม่อาจ คือไม่สามารถทำบุคคลผู้

แสวงหาฝั่ง คือผู้ยินดีในวิวัฏฏะ ให้หลง.

บทว่า อฏฺปทกตา ความว่า การแต่งผมที่เขาทำ คือแต่งโดย

อาการคล้ายกระดานสกา คือที่เขาแต่งโดยกำหนดเอาผมด้านหน้าปิด

หน้าผาก ชื่อว่า อัฏฐปทะ ซึ่งท่านเรียกว่า อลกะ ก็มี.

บท เนตฺตา อญฺชนมกฺขิตา ความว่า แม้นัยน์ตาทั้งสองข้าง

ก็หยอดยาตา โดยประการที่เงายาหยอดปรากฏในภายในตาและขอบตาทั้ง

สองข้าง.

บทว่า อญฺชนีว นวา จิตฺตา ปูติกาโย อลงฺกโต ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 65

กล่องยาตา คือกล่องยาหยอดตาใหม่ ๆ วิจิตรด้วยมาลากรรม คือทำเป็น

ลวดลายดอกไม้และสลักเป็นฟันมังกรเป็นต้น ภายนอกเกลี้ยงเกลาขึ้นเงา

น่าดู แต่ภายในไม่น่าดู ฉันใด. กายของหญิงเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือน

กัน ตกแต่งด้วยการอาบน้ำ หยอดยาตา ผ้าและเครื่องอลังการทั้ง

หลาย ภายนอกสดใส แต่ภายในเสีย เต็มด้วยของไม่สะอาดนานประการ

ตั้งอยู่.

บทว่า โอทหิ แปลว่า ดักบ่วง.

บทว่า มิคโว แปลว่า นายพรานเนื้อ.

บทว่า ปาส ได้แก่ บ่วงมีคัน (ด้าม)

บทว่า นาสทา แปลว่า ไม่ติด. บท วาคุร แปลว่า บ่วง.

บทว่า นิวาป ได้แก่ อาหารมีหญ้าเป็นต้น ที่เขาใส่ไว้เพื่อให้

พวกเนื้อกิน. พระเถระยกอุปมานี้เพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง.

ก็ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ :- เมื่อพรานเนื้อดักบ่วงมีด้ามเพื่อต้อง-

การฆ่าพวกเนื้อ เอาเหยื่อโปรยที่บ่สงนั้นแล้วแอบซุ่มอยู่ เนื้อตัวหนึ่งใน

ป่านั้นฉลาดสมบูรณ์ด้วยเชาวน์และความพยายาม ไม่กระทบบ่วงเลย เคี้ยว

กินเหยื่อตามสบาย เมื่อนายพรานเนื้อรู้ว่า เนื้อมันลวง จึงร้อนขึ้น ก็ไป

เสียฉันใด เนื้อตัวอื่นมีกำลัง ฉลาด สมบูรณ์ เชาวน์ ไปในที่นั้น

เคี้ยวกินเหยื่อ ทำบ่วงในที่นั้น ๆ ให้ขาด เมื่อนายพรานเนื้อรู้ว่า เนื้อ

มันฉลาด ทำบ่วงขาด เศร้าโศกอยู่ ก็ไปเสียฉันใด แม้เราทั้งหลายก็ฉัน

นั้น เมื่อก่อนในคราวเป็นปุถุนชน บริโภคโภคะที่บิดามารดามอบให้ เพื่อ

ให้ติดข้องอยู่ ไม่ติดข้องในโภคะนั้น ๆ ออกไปเสีย ก็บัดนี้ เราทั้งหลาย

ตัดกิเลสได้สิ้นเชิงแล้ว เป็นผู้ไม่บ่วง บริโภคโภชนะที่บิดามารดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 66

เหล่านั้นให้ เมื่อท่านทั้งสองเศร้าโศกอยู่นั่นแล ก็ไปเสีย.

พระเถระแสดงบิดามารดากระทำให้เป็นเสมือนพรานเนื้อ กระทำ

เงินทอง และเรือนหญิงให้เป็นดุจบ่วง กระทำโภคะที่ตนใช้สอยในกาล

ก่อน และโภชนะที่ตนบริโภคในกาลนี้ ให้เป็นดุจเหยื่อคือหญ้า และ

กระทำให้เป็นดุจเนื้อใหญ่. ท่านกล่าวคาถานี้แล้วเหาะขึ้นสู่เวหาสไป นั่ง

อยู่ที่แผ่นศิลาอันเป็นมงคลของพระเจ้าโกรพยะ ในมิคาชินอุทยาน.

ได้ยินว่าโยมบิดาของพระเถระให้ใส่ดาลที่ซุ้มประตูทั้ง ๗ แห่ง แล้ว

สั่งคนปล้ำไว้ว่า อย่าให้ออกไป จงดึงผ้ากาสายะออกให้นุ่งผ้าขาว เพราะ-

ฉะนั้น พระเถราจึงไปทางอากาศ. ลำดับนั้น พรเจ้าโกพยะ ทรง

สดับว่า พระเถระนั่งอยู่ที่นั้น จึงเสด็จเข้าไปหา ทรงทำสัมโมทนียคาถาอัน

เป็นเครื่องระลึกถึงกันให้ผ่านไปแล้ว จึงตรัสถามว่า ท่านรัฐปาละผู้เจริญ

บุคคลผู้จะบวชในโลกนี้ เป็นผู้ประสบความเสื่อมเพราะเป็นโรค หรือ

ความเสื่อมเพราะชรา โภคะ และญาติ จึงออกบวช ส่วนตัวท่าน

ไม่ประสบความเสื่อมอะไร ๆ เลย เพราะเหตุไร จึงออกบวช.

ลำดับนั้น พรเถระจึงกล่าวถึงตนผู้มีภาวะอันวิเวกต่อธัมมุทเทส ๔

ประการนี้แด่พระราชาว่า โลกอันชรานำเข้าไป ไม่ยั่งยืน, โลกไม่มีผู้

ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน, โลกไม่เป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้ง

ปวงไป, โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่มเป็นทาสตัณหาดังนี้ เมื่อจะ

กล่าวการร้อยกรองตามลำดับแห่งเทศนานั้น จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

เราเห็นหมู่มนุษย์ที่มีทรัพย์ในโลกนี้ ได้ทรัพย์แล้ว

ไม่ให้ทาน เพราความลุ่มหลง ได้ทรัพย์แล้วทำการสั่ง

สมไว้ และปรารถนาอยากได้ยิ่งขึ้นไป พระราชากดขี่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 67

ช่วงชิงเอาแผ่นดิน ครอบครองแผ่นดินอันมีสาครเป็น

ที่สุด ตลอดฝั่งสมุทรข้างนี้แล้ว ไม่รู้จักอิ่ม ยังปรารถนา

จักครอบครองฝั่งสมุทรข้างโน้นอีกต่อไป พระราชก็ดี

มนุษย์เหล่าอื่นเป็นอันมากก็ดี ผู้ยังไม่ปราศจากตัณหา

ย่อมเข้าถึงความตาย ยังไม่เต็มความประสงค์ก็พากันละ

ทิ้งร่างกายไป ความอิ่มด้วยกามทั้งหลายย่อมไม่มีในโลก

เลย หมู่ญาติพากันสยายผมร้องไห้คร่ำครวญถึงผู้นั้น

และรำพันว่า ทำอย่างไรหนอ พวกญาติของเราจึงจะไม่

ตาย ครั้นพวกญาติตายแล้ว ก็เอาผ้าห่อนำไปเผาเสียที่

เชิงตะกอน ผู้ที่ตายไปนั้นถูกเขาแทงด้วยหลาว เผาด้วย

ไฟ ละโภคะทั้งหลาย มีแต่ผ้าผืนเดียวติดตัว ไปเมื่อ

บุคคลจะตามย่อมไม่มีญาติหรือมิตรสหายช่วยต้านทานได้

พวกที่รับมรดกก็มาขนเอาทรัพย์ของผู้ตายนั้นไป ส่วน

สัตว์ที่ตายย่อมไปตามยถากรรม เมื่อตายไม่มีทรัพย์

สมบัติอะไร ๆ คือ พวกบุตร ภรรยา ทรัพย์ แว่นแคว้น

สิ่งใด ๆ จะติดตามไปได้เลย บุคคลจะได้อายุยืนเพราะ

ทรัพย์ก็หาไม่ จะละความแก่ไปแม้เพราะทรัพย์ก็หาไม่.

นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั่นแล ว่าเป็นของน้อย

ไม่ยั่งยืน มีความเปรปรวนเป็นธรรมดา ทั้งคนมั่งมีและ

คนยากจนย่อมถูกต้องผัสสะเหมือนกัน ทั้งคนพาลและ

คนฉลาดก็ถูกต้องผัสสะเหมือนกันทั้งนั้น แต่คนพาลถูก

อารมณ์ที่ไม่ชอบใจเบียดเบียน ย่อมอยู่เป็นทุกข์เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 68

ความเป็นพาล ส่วนนักปราชญ์อันผัสสะถูกต้อง ย่อม

ไม่หวั่นไหว เพราะฉะนั้นแล ปัญญาจึงจัดว่าประเสริฐ

กว่าทรัพย์ เพราะปัญญาเป็นเหตุให้บรรลุนิพพาน แต่

คนพาลไม่ปรารถนาจะบรรลุ พากันทำกรรมชั่วต่าง ๆ อยู่

ในภพน้อยภพใหญ่ เพราะความหลง. ผู้ใดทำกรรมชั่ว

แล้ว ผู้นั้นจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารร่ำไป

บุคคลผู้มีปัญญาน้อย เมื่อมาเชื่อต่อการทำของบุคคลผู้ทำ

กรรมชั่วนั้น ก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไปเหมือน

กัน. โจรผู้มีธรรมอันชั่งช้า ถูกเขาจับได้พร้อมของกลาง

ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนอันใด หมู่สัตว์ผู้มีธรรม

อันชั่วช้า ละไปแล้ว ย่อมเดือนร้อนในปรโลกเพราะ

กรรมของตนฉันนั้น.

กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อยน่ารื่นรมย์ใจ ย่อม

ย่ำยีจิตด้วยรูปแปลกๆ. ดูก่อนมหาบพิตร เพราะอาตมภาพ

ได้เห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงออกบวช สัตว์

ทั้งหลายทั้งหนุ่มทั้งแก่ ย่อมตกไปเพราะร่างหายแตก

เหมือนผลไม้หล่นฉะนั้น.

ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพเห็นความไม่เที่ยงไม้

ข้อนี้ จึงออกบวช. ความเป็นสมณะอันไม่ผิดนั่นและประ-

เสริฐ อาตมภาพออกบวชด้วยศรัทธา เข้าถึงการปฏิบัติ

ชอบในศาสนาของพระชินเจ้า บรรพชาของอาตมภาพ

ไม่มีโทษ อาตมภาพไม่เป็นหนี้บริโภคโภชนะ อาตมภาพ

เห็นกามทั้งหลายโดยเป็นของอันไฟติดทั่งแล้ว เห็นทอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 69

ทั้งหลายโดยเป็นศาสตรา เห็นทุกข์จำเดิมแต่ก้าวลงใน

ครรภ์ เห็นภัยใหญ่ในนรก จึงออกบวช อาตมภาพเห็น

โทษอย่างนี้แล้ว ได้ความสังเวชในกาลนั้น ในกาลนั้น

อาตมภาพเป็นผู้ถูกลูกศรคือราคะเป็นต้นเสียบแทงแล้ว

บัดนี้บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว พระศาสดาอันอาตม-

ภาพคุ้นเคยแล้ว คำสั่งสอนอขงพระพุทธเจ้า อาตมภาพ

ทำเสร็จแล้ว อาตมภาพได้ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอน

ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว บรรลุถึงประโยชน์ที่

กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้นแล้ว บรรลุถึง

ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสามิ โลเก ความว่า ดูก่อน

มหาบพิตร อาตมภาพเห็นหมู่มนุษย์ผู้มีทรัพย์คือสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ ผู้มั่งคั่ง

ในโลกนี้ ก็หมู่มนุษย์เหล่านั้นได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ คือได้ทรัพย์แล้ว

ดำรงอยู่ในโภคสมบัติ ย่อมไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ ในบรรดาสมณ-

พราหมณ์เป็นต้น. เพราเหตุไร ? เพราเขลา คือเพราะไม่มีกัมมัสกตา-

ปัญญา, เป็นผู้โลภ คือถูกโลภะครอบงำ ย่อมปรารถนาคือหวังเฉพาะ

กาม คือกามคุณที่ยิ่งขึ้น คือสูงกว่ากามที่ได้รับว่า ก็เราพึงได้โภคะ

เช่นนี้เหมือนอย่างนั้น ดังนี้ และกระทำความพยายามอันเกิดจากความ

หวังนั้น.

พระเถระเมื่อจะแสดงอุทาหรณ์แห่งการปรารถนากามที่ยิ่ง ๆ ขึ้น จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 70

กล่าวคำว่า มหาราช ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสยฺหปฺปวี วิเชตฺวา ความว่า ชนะ

วิเศษเฉพาะแผ่นดินที่อยู่ในอำนาจของตน โดยพลการ.

บทว่า อาวสนฺโต แปลว่า ปกครองอยู่.

บทว่า โอร สมุทฺทสฺส ความว่า แม้ได้ส่วนในแห่งสมุทรจน

หมดสิ้น ก็ยังไม่อิ่มด้วยการได้นั้น ก็ปรารถนาฝั่งคือทวีปอื่นๆ แห่งสมุทร

ต่อไปอีก.

บทว่า อวีตตณฺหา ได้แก่ ผู้ไม่ปราศจากตัณหา.

บทว่า อูนาว ได้แก่ ผู้มีมโนรถยังไม่บริบูรณ์เลย.

บทว่า กาเมหิ โลกมฺหิ น หตฺถิ ติตฺติ ความว่า ชื่อว่าความ

อิ่มด้วยวัตถุกามทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่คนผู้ยังไม่ปราศจากตัณหา.

บทว่า กนฺทนฺติ น ความว่า ย่อมกระทำความคร่ำครวญระบุถึง

คุณของเขา เจาะจงคนที่ตายไปแล้ว.

บทว่า อโห วตา โน อมราติ จาหุ ความว่า ย่อมคร่ำครวญ

ว่า ทำอย่างไรหนอ ญาติทั้งหลายของพวกเราจะพึงไม่ตาย, ก็ในที่นี้ เพื่อ

สะดวกในการผูกคาถา ท่านจึงทีฆะ (วต) เป็น วตา.

บทว่า โส ฑยฺหติ สูเลหิ ตุชฺชมาโน ความว่า สัตว์ผู้ตาย

แล้วนั้น สัปเหร่อเอาหลาวแทงเพื่อเผ่าง่าย. บทว่า ตาณา แปลว่า ผู้

กระทำการต้านทาน.

บทว่า เยนกมฺม แปลว่า ตามยถากรรม.

บทว่า ธน ได้แก่ วัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่บุคคลพึงออกเสียงร้อง (ว่า

นี้ของเรา). ท่านกล่าว ธน ซ้ำอีก โดยหมายถึงเงินและทอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 71

ท่านกล่าวถึงความไม่มีการตอบแทนแห่งกามคุณและชรา ด้วยบท

มีอาทิว่า น ทีฆายุ อายุไม่ยืน เพื่อจะแสดงซ้ำถึงความทีกามคุณนั้น

เป็นฝ่ายเดียวกัน จึงกล่าวคำว่า อปฺป หิ = น้อยนัก ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า ผุสนฺติ ความว่า ย่อมถูกต้อง คือได้รับผัสสะอันไม่น่า

ปรารถนา, ในการถูกต้องผัสสะนั้น ท่านแสดงว่า ความเป็นคนมั่งคั่ง

และขัดสน ไม่ใช่เหตุ.

บทว่า ผสฺส พาโล จ ธีโร จ ตเถว ผุฏฺโ ความว่า คนพาล

ถูกต้องผัสสะทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ฉันใด นักปราชญ์ก็

ย่อมถูกต้องผัสสะทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ฉันนั้นเหมือนกัน.

ในข้อนี้ ทั้งคนพาลและบัณฑิต ไม่มีความผิดแผกอะไรกัน, ส่วนข้อ

ที่แปลกกันมีดังนี้ ก็คนพาลเป็นผู้ถูกเบียดเบียนอยู่เพราะความเป็นคนพาล

อธิบายว่า พาลบุคคลอันทุกขธรรมอะไร ๆ ถูกต้องแล้ว เศร้าโศก ลำบาก

คร่ำครวญทุบอก เป็นผู้ถูกเบียดเบียนอยู่เพราะความเป็นคนพาล คือคน

พาลอันผัสสะถูกต้องแล้ว หมุนมาหมุนไปทางโน้นทางนี้ ร้อนใจ หวั่น

ไหวอยู่ ส่วนนักปราชญ์คือบัณฑิตอันทุกขสัมผัสถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่น

ไหว คือแม้มาตรว่า ความหวั่นไหวก็ไม่มีแก่นักปราชญ์นั้น.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่คนพาลและบัณฑิตมีความ

เป็นไปในโลกธรรมเป็นเช่นนี้ เพราเหตุนั้นแล ปัญญาอันเป็นคุณเครื่อง

ให้บรรลุถึงที่สุดในโลกนี้ จึงประเสริฐกว่าทรัพย์ อธิบายว่า ปัญญาอัน

เป็นคุณเครื่องให้บรรลุถึงที่สุด คือพระนิพานอันเป็นที่สุดแห่งภพ จึง

เป็นคุณชาติน่าสรรเสริญกว่าทรัพย์.

บทว่า อโพฺยสิตตฺตา หิ ได้แก่ เพราะไม่ได้บรรลุถึงความสำเร็จ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 72

บทว่า ภวาภเวสุ ได้แก่ ในภพน้อยภพใหญ่ทั้งหลาย.

บทว่า อุเปติ คพฺภญฺจ ปรญฺจ โลก สสารมาปชฺช ปรมฺ-

ปราย ความว่า บุคคลใดกระทำบาปทั้งหลาย ถึงการท่องเที่ยวไป ๆ

มา ๆ ย่อมเข้าถึงครรภ์และโลกหน้า คือย่อมไม่พ้นไปจากการนอนอยู่ใน

ครรภ์และการเกิดขึ้นในโลกหน้า คนแม้อื่นผู้ไม่มีปัญญาคืนคนพาล เชื่อ

การกระทำของบุคคลผู้มีปกติทำกรรมชั่วนั้น คือปฏิบัติอยู่ว่า เรามีตน

ย่อมไม่พ้นจากครรภ์และโลกหน้า โดยประการที่ตนปฏิบัติแล้วเข้าถึงอยู่

นั้น.

บทว่า โจโร ยถา ความว่า โจรผู้มีบาปธรรมตัดที่ต่อเรือน ถูก

คนเฝ้าจับได้ที่ปากช่องต่อ ย่อมเดือดร้อนด้วยกรรมของตน คือด้วยกรรม

คือการตัดที่ต่อของตนนั้น อันเป็นตัวเหตุ โดยการเฆี่ยนเป็นต้นด้วยแส้

เป็นต้น คือถูกพวกราชบุรุษเบียดเบียนและจองจำ ฉันใด.

บทว่า เอว ปชา ความว่า สัตว์โลกนี้ก็ฉันนั้น กระทำบาป

ทั้งหลายในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า คือในนรก

เป็นต้นเพราะกรรมนั้น คือย่อมถูกเบียดเบียนด้วยกรรมกรณ์เครื่องจองจำ

๕ อย่างเป็นต้น.

พระเถระประกาศธัมมุทเทส ๔ ประการตามสมควร ด้วยคาถา ๑๑

คาถานี้ด้วยประการอย่างนี้ บัดนี้ เมื่อจะประกาศความที่ตนเห็นโทษใน

กามและสงสาร จึงบวชด้วยศรัทธา และการบรรลุถึงที่สุดแห่งกิจของ

บรรพชิต จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า กามา หิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามา ความว่า ธรรมทั้งหลายมีรูป

เป็นต้นอันเป็นที่รักของใจ ชื่อว่า วัตถุกาม ชนิดของราคะแม้ทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 73

ชื่อว่ากิเลสกาม. แต่ในที่นี้ต้องเข้าใจว่า วัตถุกาม. เพราะว่าวัตถุกาม

เหล่านั้นชื่อว่า วิจิตร เพราะมีเป็นอเนกประการด้วยอำนาจรูปเป็นต้น.

ชื่อว่า อร่อย เพราะมีอาการน่าปรารถนาด้วยอำนาจความยินดีแห่ง

ชาวโลก. ชื่อว่า น่ารื่นรมย์ใจ เพราะทำใจของพวกพาลปุถุชนให้ยินดี.

บทว่า วิรูปรูเปน ได้แก่ ด้วยรูปต่างๆ อธิบายว่า โดยสภาวะ

หลายอย่าง.

จริงอยู่ กามทั้งหลายวิจิตรด้วยรูปเป็นต้น คือมีรูปแปลก ๆ โดย

เป็นรูปสีเขียวเป็นต้น. กามทั้งหลายแสดงความชอบใจโดยประการนั้นๆ

ด้วยรูปแปลก ๆ นั้นอย่างนี้แล้ว ย่อมย่ำยีจิต คือไม่ให้ยินดีในการบรรพชา

เพราะเหตุนั้น เราเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย โดยมีความยินดีน้อยมีทุกข์

มากเป็นต้น เพราะฉะนั้น คือเพราะการเห็นโทษในกามคุณนั้น เราจึง

บวช.

ผลไม้ทั้งหลาย ในเวลาสุกและเวลายังไม่สุก ย่อมตกไปในที่ใดที่

หนึ่ง โดยความพยายามของคนอื่น หรือโดยหน้าที่ของตน ฉันใด สัตว์

ทั้งหลายก็ฉันนั้น จะเป็นคนหนุ่มและคนแก่ ย่อมตกไปเหมือนกัน.

เพราะร่างกายแตก

บทว่า เอตมฺปิ ทิสฺวา อธิบายว่า เราเห็นแม้ความไม่เที่ยงอย่างนี้

ด้วยปัญญาจักษุ ไม่ใช่เห็นเฉพาะโทษ เพราะมีความยินดีน้อยเป็นต้น

อย่างเดียว.

บทว่า อปณฺณก ความว่า สามัญญะ คือความเป็นสมณะที่ไม่ผิด

นั่นแหละประเสริฐ คือยิ่งกว่า.

บทว่า สทฺธาย ได้แก่ เชื่อกรรม ผลของกรรม ความที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 74

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ดีแล้ว ความที่พระธรรมเป็นธรรมดี และความ

ปฏิบัติดีของพระสงฆ์.

บทว่า อุเปโต ชินสาสเน ได้แก่ เข้าถึงการปฏิบัติชอบใน

ศาสนาของพระศาสดา.

การบรรพชาของเราไม่ไร้ผล เพราะเราได้บรรลุพระอรหัต. เพราะ

เหตุนั้นแล เราจึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีหนี้ บริโภคโภชนะ เพราะบริโภคด้วย

สามีบริโภค บริโภคโดยความเป็นเจ้าของด้วยอำนาจความหมดกิเลส.

บทว่า กาเม อาทิตฺตโต ทิสฺวา ความว่า เห็นวัตถุกามและ

กิเลสกามทั้งหลาย โดยภาวะที่ถูกไฟ ๑๑ กองติดโชนแล้ว.

บทว่า ชาตรูปานิ สตฺถโต ได้แก่ สุวรรณพิกัตทุกชนิด อันต่าง

โดยทำเป็นรูปพรรณและไม่ได้ทำเป็นรูปพรรณ โดยเป็นศาสตรา เพราะ

เป็นของนำความพินาศมา.

บทว่า คพฺภโวกฺกนฺติโต ทุกฺข ได้แก่ ทุกข์อันเกิดจากความเป็น

ไปในสงสารทั้งปวง จำเดิมแต่ก้าวลงสู่ครรภ์.

บทว่า นิรเยสุ มหพฺภย มีวาจาประกอบความว่า และเห็นภัย

ใหญ่ที่จะได้รับในมหานรกทั้ง ๘ ขุม พร้อมด้วยอุสสทนรก นรกที่เป็น

บริวาร ในที่ทุกแห่ง.

บทว่า เอตมาทีนว ตฺวา ได้แก่ รู้อาทีนพโทษแห่งกามทั้งหลาย

นี้ มีความที่ไฟติดทั่วแล้วเป็นต้น ในสงสาร.

บทว่า สเวค อลภึ คทา ความว่า ในเวลาที่ได้ฟังธรรมใน

สำนักของพระศาสดานั้น เราได้ความสังเวชในภพเป็นต้น.

บทว่า วิทฺโธ ตทา สนฺโต ความว่า ในเวลาที่เราเป็นคฤหัสถ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 75

นั้น เราเป็นผู้ถูกเสียบแทงด้วยลูกศรคือราคะเป็นต้น บัดนี้ ได้ถึงความ

สิ้นอาสวะ เพราะอาศัยคำสอนของพระศาสดา, อีกอย่างหนึ่ง เรารู้แจ้ง

แล้ว อธิบายว่า รู้แจ้งเฉพาะแล้วซึ่งสัจจะทั้ง ๔. คำที่เหลือเข้าใจได้ง่าย

ทั้งนั้น เพราะได้กล่าวไว้ในระหว่าง ๆ เป็นต้น.

พระเถระครั้นแสดงธรรมแก่พระเจ้าโกรพยะอย่างนี้แล้ว ไปเฝ้า

พระศาสดาทีเดียว และในกาลต่อมา พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลาง

อริยสงฆ์ ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้บวช

ด้วยศรัทธา ฉะนี้แล.

จบอรรถกถารัฐปาลเถรคาถาที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 76

๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา

ว่าด้วยผู้ห่างไกลพระนิพพาน

[๓๘๙] เมื่อบุคคลได้เห็นรูปแล้ว มัวใส่ใจถึงรูปนั้นว่าเป็น

นิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมมี

จิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นรูปนั้นด้วย เวทนา

มิใช่น้อยซึ่งมีรูปเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่ผู้นั้น

อภิชฌาและวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้เดือด-

ร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้นผู้มัวคำนึงถึงรูปอยู่

อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า เป็นผู้ห่างไกล

พระนิพพาน.

เมื่อบุคคลได้ฟังเสียงแล้ว มัวใส่ใจถึงเสียงนั้น

ว่าเป็นนิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้น

ย่อมมีจิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นเสียงนั้นด้วย

เวทนามิใช่น้อยซึ่งมีเสียงเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้น

แก่ผู้นั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้น

ให้เดือดร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึง

ถึงเสียงอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า

เป็นผู้ห่างไกลพระนิพพาน.

เมื่อบุคคลได้ดมกลิ่นแล้ว มัวใส่ใจถึงกลิ่นนั้นว่าเป็น

นิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมมี

จิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นกลิ่นนั้นด้วย เวทนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 77

มิใช่น้อยซึ่งมีกลิ่นเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่

ผู้นั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้

เดือดร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึงถึง

กลิ่นอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า เป็นผู้

ห่างไกลพระนิพพาน.

เมื่อบุคคลใดลิ้มรสแล้ว มัวใส่ใจถึงรสนั้นว่าเป็นนิมิต

ที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมมีจิต

กำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นรสนั้นด้วย เวทนามิใช่

น้อยซึ่งมีรสเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่ผู้นั้น

อภิชฌาและวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้เดือด

ร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึงถึงรสอยู่

อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า เป็นผู้ห่างไกล

พระนิพพาน.

เมื่อบุคคลถูกต้องผัสสะแล้ว มัวใส่ใจถึงผัสสะนั้นว่า

เป็นนิมิตที่น่ารัก เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมมีจิตกำหนัด

เพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นผัสสะนั้นด้วย เวทนามิใช่น้อย

ซึ่งมีผัสสะเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่ผู้นั้น

อภิชฌาและวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้เดือด

ร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึงถึงผัสสะ

อยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า เป็นผู้ห่าง

ไกลพระนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 78

เมื่อบุคคลรู้ธรรมารมณ์แล้ว มัวใส่ใจถึงธรรมารมณ์

(นั้น) ว่าเป็นนิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น

ผู้นั้นย่อมมีจิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นธรรมารมณ์

นั้นอยู่ เวทนามิใช่น้อยซึ่งมีธรรมารมณ์เป็นแดนเกิด ย่อม

เจริญขึ้นมากแก่ผู้นั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเบียดเบียน

จิตของผู้นั้นให้เดือดร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น

ผู้มัวคำนึงถึงธรรมารมณ์อยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสผู้นั้นว่า เป็นผู้ห่างไกลพระนิพพาน.

ส่วนผู้ใดเห็นรูปแล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่

กำหนัดยินดีในรูป เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์

อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นรูปนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น ย่อม

ไม่เป็นไปแก่พระโยคี ผู้เห็นรูปโดยความเป็นของไม่

เที่ยงเป็นต้น หรือแม้กิเลสทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวย

เวทนาอยู่ ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้นมีสติ

ประพฤติอยู่ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้ไม่

คำนึงถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า มีใน

ที่ใกล้พระนิพพาน.

ผู้ใดได้ฟังเสียงแล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้น

ไม่กำหนัดยินดีในเสียง เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวย

อารมณ์ ทั้งไม่ยึดมั่นเสียงนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌา

เป็นต้น ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้ได้ฟังเสียง โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 79

ความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น กิเลสทั้งปวงของพระโยคี

ผู้เสวยเวทนาอยู่ ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด

ผู้นั้นเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไป

แก่ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้พระนิพพาน.

ผู้ใดได้ดมกลิ่นแล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่

กำหนัดยินดีในกลิ่น เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์

อยู่ ย่อมไม่เป็นไปแก่พรโยคีผู้ดมกลิ่นโดยความเป็น

ของไม่เที่ยงเป็นต้น หรือแม้กิเลสทั้งปวงของพระโยคี

ผู้เสวยเวทนาอยู่ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้น

เป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่

ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึงอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้พระนิพพาน.

ผู้ใดได้ลิ้มรสแล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่

กำหนัดยินดีในรส เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์

อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นรสนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น ย่อม

ไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้ลิ้มรส ความเป็นของไม่เที่ยง

เป็นต้น กิเลสทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวยเวทนาอยู่ย่อม

สิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้นเป็นผู้มีสติประพฤติ

อยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึง

อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้

พระนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 80

ผู้ใดถูกต้องผัสสะแล้วเป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่

กำหนัดยินดีในผัสสะ เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวย

อารมณ์อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นผัสสะนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌา

เป็นต้น ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้ถูกต้องผัสสะ โดย

ความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น กิเลสทั้งปวงของพระโยคี

ผู้เสวยเวทนาอยู่ย่อมสิ้นไป ไม่ก่อรากขึ้นได้ฉันใด ผู้นั้น

เป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่

ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ผู้นั้นว่า มีในที่รักใกล้พระนิพพาน.

ผู้ใดรู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า

ผู้นั้นไม่กำหนัดยินดีในธรรมารมณ์ เป็นผู้มีจิตคลาย

กำหนัดเสวยอารมณ์อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์นั้น

กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้

รู้แจ้งธรรมารมณ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น หรือ

แม้กิเลสทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวยเวทนาอยู่ ย่อมสิ้นไป

ไม่ก่อรากขึ้นได้ฉันใด ผู้นั้นเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ก็

ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึงอย่างนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้พระนิพพาน.

จบมาลุงกยปุตตเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 81

อรรถกถามาลุงกยปุตตเถรคาถาที่ ๕

คาถาของท่านพระมาลุงกยปุตตปเถระ มีคำเริ่มต้นว่า รูป ทิสฺวา

สติ มุฏฺา ดังนี้. เรื่องของท่านผู้มีอายุนี้ได้กล่าวไว้แล้วในฉักกนิบาต

ในหนหลังแล, ก็คาถาเหล่านั้น พระเถระผู้ดำรงอยู่ในพระอรหัต ได้กล่าว

แก่พวกญาติด้วยอำนาจเทศนา.

ส่วนในที่นี้ ในคราวที่เป็นปุถุชน เมื่อพระศาสดาผู้อันพระเถระ

อ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอวโรกาส ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ จึงทรง

แสดงธรรมโดยย่อว่า ดูก่อนมาลุงกยบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็น

ไฉน รูปเหล่านั้นใด ที่พึงรู้แจ้งทางจักษุไม่ได้แล้ว ทั้งไม่เคยเห็นแล้ว

เธอไม่ได้เห็นรูปเหล่านั้น และเราไม่พึงเห็นรูปเหล่านั้นว่ามีอยู่ เธอจะมี

ความพอใจ ความใคร่ และความรักในรูปนั้นหรือ. ข้อนั้นไม่เป็นอย่าง

นั้น พระเจ้าข้า. เสียงเหล่านั้นใดที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ฯ ล ฯ กลิ่น รส

โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ทางลิ้น และทางกาย ฯลฯ ธรรม-

ทั้งหลายนั้นใดที่จะพึงรู้แจ้งทางใจ เธอยังไม่รู้แจ้งแล้ว ทั้งไม่เคยรู้แจ้ง

แล้ว เธอไม่รู้แจ้งธรรมเหล่านั้น เราก็ไม่พึงรู้แจ้งธรรมเหล่านั้น ว่ามีอยู่

เธอย่อมมีความพอใจ ความใคร่ หรือความรักในธรรมนั้นหรือ. ข้อนั้น

ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า. ดูก่อนมาลุงกยบุตร ก็บรรดาธรรมทั้งหลาย

ที่เธอได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบและได้รู้แจ้ง ในที่นี้ จักเป็นเพียงแต่เห็น

ในรูปที่ได้เห็น จักเป็นแต่เพียงได้ฟังในเสียงที่ได้ฟัง จักเป็นแต่เพียงได้

ทราบในอารมณ์ที่ได้ทราบ จักเป็นแต่เพียงได้รู้แจ้งในธรรมที่ได้รู้แจ้ง.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เพราะเหตุที่ในบรรดาธรรมที่เธอเห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 82

ได้ทราบแล้ว และพึงรู้แจ้ง จักเป็นแต่เพียงได้เห็นในรูปที่ได้เห็นแล้ว

จักเป็นแต่เพียงได้ฟังในเสียงที่ได้ฟังแล้ว จักเป็นแต่เพียงได้ทราบใน

อารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว จักเป็นแต่ได้รู้แจ้งในธรรมที่ได้รู้แจ้งแล้ว. ดูก่อน

มาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้น เธอก็จะไม่มีด้วยสิ่งนั้น. ดูก่อนมาลุงกยบุตร

เพราะเหตุที่เธอไม่มีด้วยสิ่งนั้น. ดูก่อนมาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้น เธอ

ก็จะไม่มีในสิ่งนั้น. ดูก่อนมาลุงกยบุตร เพราะเหตุที่เธอไม่มีในสิ่งนั้น.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้น เธอก็จะไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกหน้า

ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง, นี่แหละ เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ดังนี้ เมื่อจะ

ประกาศความที่ธรรมนั้นเป็นธรรมอันตนเรียนดีแล้ว จึงได้กล่าวคาถา

เหล่านั้นว่า

เมื่อบุคคลได้เห็นรูปแล้ว มัวใส่ใจถึงรูปนั้นว่าเป็น

นิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อม

มีจิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นรูปนั้นด้วย. เวทนา

มิใช่น้อยซึ่งมีรูปเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่ผู้นั้น

อภิชฌาและวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้เดือด-

ร้อน. ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึงถึงรูปอยู่

อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้

ห่างไกลพระนิพพาน.

เมื่อบุคคลได้ฟังเสียงแล้ว มัวใส่รอเสียงนั้นว่าเป็น

นิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมมี

จิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นเสียงนั้นด้วย เวทนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 83

มิใช่น้อย ซึ่งมีเสียงเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมาขึ้นแก่

ผู้นั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้

เดือดร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึงถึง

เสียงอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้นั้นว่า

เป็นผู้ห่างไกลพระนิพพาน.

เมื่อบุคคลได้ดมกลิ่นแล้ว มัวใส่ใจถึงกลิ่นนั้นว่าเป็น

นิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อม

มีจิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นกลิ่นนั้นด้วย เวทนา

มิใช่น้อยซึ่งมีกลิ่นเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่

ผู้นั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้น

ให้เดือดร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึง

ถึงกลิ่นอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้นั้นว่า

เป็นผู้ห่างไกลพระนิพพาน.

เมื่อบุคคลใดลิ้มรสแล้ว มัวใส่ใจถึงรสนั้นว่าเป็น

นิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมมี

จิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นรสนั้นด้วย เวทนา

มิใช่น้อยซึ่งมีรสเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่ผู้นั้น

อภิชฌาและวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้เดือด

ร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึงถึงรสอยู่

อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกบุคคลนั้นว่า เป็น

ผู้ห่างไกลพระนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 84

เมื่อบุคคลถูกต้องผัสสะ มัวใส่ใจถึงผัสสะนั้นว่า เป็น

นิมิตที่น่ารัก เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมมีจิตกำหนัด

เพลิดเพลินอยู่ทั้งยึดมั่นผัสสะนั้นด้วย เวทนานิใช่น้อย

ซึ่งมีผัสสะเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่ผู้นั้น

อภิชฌาและวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้เดือด

ร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึงถึงผัสสะ

อยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้

ห่างไกลพระนิพพาน.

เมื่อบุคคลรู้ธรรมารมณ์แล้ว มัวใส่ใจถึงธรรมารมณ์

นั้นว่าเป็นนิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้น

ย่อมมีจิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นธรรมารมณ์นั้น

อยู่ เวทนามิใช่น้อยซึ่งมีธรรมารมณ์เป็นแดนเกิด ย่อม

เจริญขึ้นมากแก่ผู้นั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเบียดเบียน

จิตของผู้นั้นให้เดือดร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น

ผู้มัวคำนึงถึงธรรมารมณ์อยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ห่างไกลพระนิพพาน.

ส่วนผู้ใดเห็นรูปแล้วเป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่

กำหนัดยินดีในรูป เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์

อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นรูปนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น ย่อม

ไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้เห็นรูป โดยความเป็นของไม่เที่ยง

เป็นต้น หรือแม้กิเลสทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวยเวทนาอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 85

ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้นมีสติประพฤติอยู่

ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึงอย่าง

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้

พระนิพพาน.

ผู้ใดได้ฟังเสียงแล้วเป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่

กำหนัดยินดีในเสียง เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์

อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นเสียงนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น

ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้ได้ฟังเสียง โดยความเป็น

ของไม่เที่ยงเป็นต้น กิเลสทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวย

เวทนาอยู่ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้นเป็นผู้

มีสติประพฤติอยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่ผู้นั้น

ผู้ไม่คำนึงถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้นั้น

ว่า มีในที่ใกล้พระนิพพาน.

ผู้ใดได้ดมกลิ่นแล้วเป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่

กำหนัดยินดีในกลิ่น เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์

อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นกลิ่นนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น

ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคี ผู้ดมกลิ่นโดยความเป็นของไม่

เที่ยงเป็นต้น หรือแม้กิเลสชาติทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวย

เวทนาอยู่ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้นเป็นผู้

มีสติประพฤติอยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่ผู้นั้น

ผู้ไม่คำนึงถึงอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้

นั้นว่า มีในที่ใกล้พระนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 86

ผู้ใดได้ลิ้มรสแล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้น

ไม่กำหนัดยินดีในรส เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวย

อารมณ์อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นรสนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น

ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้ลิ้มรส โดยความเป็นของไม่

เที่ยงเป็นต้น กิเลสทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวยอารมณ์อยู่

ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ

ประพฤติอยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้ไม่

คำนึงถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกผู้นั้นว่า

มีในที่ใกล้พระนิพพาน.

ผู้ใดถูกต้องผัสสะแล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้น

ไม่กำหนัดยินดีในผัสสะ เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวย

อารมณ์อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นผัสสะนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌา

เป็นต้น ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้ถูกต้องผัสสะโดย

ความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น กิเลสทั้งปวงของพระโยคี

ผู้เสวยเวทนาอยู่ย่อมสิ้นไป ไม่ก่อรากขึ้นได้ฉันใด ผู้นั้น

เป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่

ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้พระนิพพาน.

ผู้ใดรู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้น

ไม่กำหนัดยินดีในธรรมารมณ์ เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัด

เสวยอารมณ์อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์นั้น กิเลสชาติ

มีอภิชฌาเป็นต้น ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้รู้แจ้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 87

ธรรมารมณ์โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น หรือแม้

กิเลสทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวยเวทนาอยู่ย่อมสิ้นไป ไม่

ก่อรากขึ้นได้ฉันใด ผู้นั้นเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ฉันนั้น

ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแต่ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึงอย่างนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้พระ-

นิพพาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูป ทิสฺวา ได้แก่ เข้าไปได้เห็นรูป

ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ทางจักษุทวาร.

บทว่า สติ มุฏฺา ปิย นิมิตฺต มนสิ กโรโต ความว่า เมื่อบุคคล

ไม่ตั้งอยู่ในรูปนั้นเพียงสักว่าเห็นเท่านั้น ใส่ใจถึงสุภนิมิต คือกระทำไว้

ในใจโดยไม่แยบคาย ด้วยอาการถืออาว่างาม สติย่อมหลงลืม. ก็เมื่อเป็น

เช่นนั้น ผู้นั้นเป็นผู้มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์อยู่ คือเป็นผู้กำหนัดติดข้อง

รูปารมณ์นั้น เสวยอารมณ์เพลิดเพลิน ยินดียิ่งอยู่, ก็บุคคลผู้เป็นอย่างนั้น

ย่อมยึดมั่นรูปารมณ์นั้นด้วย อธิบายว่า ยึดรูปารมณ์นั้น คือยึดมั่นว่าเป็น

สุข ๆ กลืนเอาไว้หมด แล้วดำรงอยู่.

บทว่า ตสฺส วฑฺฒนฺติ เวทนา อเนกา รูปสมฺภวา ความว่า

เวทนามิใช่น้อยต่างโดยสุขเวทนาเป็นต้น ซึ่งมีรูปเป็นแดนเกิด คือมีรูป

เป็นอารมณ์ อันมีการเกิดขึ้นแห่งกิเลสเป็นตัวเหตุ ย่อมเจริญยิ่งแก่บุคคล

นั้น คือผู้เห็นปานนั้น.

บทว่า อภิชฺฌา วิเหสา จ จิตฺตมสฺสูปหญฺติ ความว่า จิตของ

บุคคลนั้น ถูกอภิชฌาอันเกิดในปิยรูป ด้วยอำนาจความกำหนัด และ

วิหิงสาอันมีความเศร้าโศกเป็นลักษณะเกิดขึ้น เพราะปิยรูปนั้นแหละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 88

มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ด้วยอำนาจความชิงชังในรูปอันไม่

น่ารัก เบียดเบียนอยู่.

บทว่า เอวมาจินโต ทุกฺข ความว่า วัฏทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้มัว

คำนึงถึงอภิสังขารคือภพนั้นๆ ด้วยอำนาจความยินดีในการเสวยอารมณ์.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิด

ตัณหา ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ย่อมมี ดังนี้. สำหรับบุคคล

ผู้เป็นอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าไกล คือห่างไกลพระนิพพาน

อธิบายว่า พระนิพพานนั้น อันบุคคลนั้นได้ยาก.

แม้ในคาถามีอาทิว่า สทฺท สุตฺวา ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัย

ดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆคฺวา แปลว่า สูดดมแล้ว. บทว่า

โภตฺวา แปลว่า ลิ้มแล้ว . บทว่า ผุสฺส แปลว่า ถูกต้องแล้ว.

บทว่า ธมฺม ตฺวา ได้แก่ รู้แจ้งธรรมารมณ์.

พระเถระครั้นแสดงวัฏฏะของคนผู้กำหนัดในอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงวิวัฏฏะพระนิพพานของคนผู้ไม่กำหนัดใน

อารมณ์นั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า น โส รชฺชติ รูเปสุ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น โส รชฺชติ รูเปสุ รูป ทิสฺวา

ปฏิสฺสโต ความว่า บุคคลใดเห็นรูปแล้ว ยึดเอารูปารมณ์ที่มาอยู่ในคลอง

ด้วยการสืบต่อแห่งวิญญาณอันเป็นไปในจักษุทวาร ย่อมกลับเป็นผู้ได้สติ

เพราะเป็นผู้กระทำความรู้ตัวด้วยสัมปชัญญะทั้ง ๔ บุคคลนั้นย่อมไม่

กำหนัด คือไม่ทำความกำหนัดให้เกิดในรูปารมณ์ทั้งหลาย คือเป็นผู้มีจิต

คลายกำหนัดรู้แจ้งอยู่โดยแท้ เมื่อรู้แจ้งตามความเป็นจริงในรูปารมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 89

โดยความเป็นสมุทัยเป็นต้น ย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่าย เป็นผู้มีจิต

คลายกำหนัดรู้แจ้งรูปารมณ์นั้น และเวทนาที่เกิดในรูปารมณ์นั้น ก็บุคคล

ผู้เป็นอย่างนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นรูปารมณ์นั้น อธิบายว่า ย่อมไม่ยึดติด

รูปารมณ์นั้น เพราะเป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดได้โดยชอบ คือย่อมไม่ยึดมั่น

ด้วยอำนาจตัณหา มานะ และทิฏฐิว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นอัตตา

ของเรา.

บทว่า ยถาสฺส ปสฺสโต รูป ความว่า อภิชฌาเป็นต้นในรูปารมณ์

นั้น ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีนั้นฉันใด ก็ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคลผู้เห็น

รูปโดยความไม่เที่ยงเป็นต้นฉันนั้น.

บทว่า เสวโต จาปิ เวทน ได้แก่ แม้ผู้เสวยเวทนาอันปรารภรูป

นั้นเกิดขึ้น และธรรมอันสัมปยุตด้วยเวทนานั้น โดยการเสวยอารมณ์.

บทว่า ขียติ ความว่า กิเลสวัฏทั้งปวงย่อมถึงความสิ้นไปคือความหมด

สิ้น.

บทว่า โนปจิยติ ได้แก่ ย่อมไม่ก่อ คือย่อมไม่ถึงความสั่งสมไว้.

บทว่า เอว โส จรตี สโต ความว่า เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะประพฤติ

คืออยู่ด้วยการปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลสอย่างนี้.

บทว่า เอว อปจินโต ทุกฺข ได้แก่ ผู้ปราศจากการก่อวัฏทุกข์

ทั้งสิ้น ด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยมรรคอันเป็นเครื่องถึงความปราศจาก

ความสั่งสม โดยนัยดังกล่าวแล้ว.

บทว่า สนฺติเก นิพฺพาน วุจฺจติ ความว่า พระผู้มีพระภาณเจ้าตรัส

๑. บาลีเป็น อปจิยฺยติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 90

ว่า ใกล้สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เพราะได้

ทำให้แจ้งอสังขตธาตุ.

แม้ในบทว่า น โส รชฺชติ สทฺเทสุ เป็นต้น ก็พึงทราบเนื้อความ

โดยนัยนี้นั่นแล.

พระเถระประกาศความที่ตนเป็นผู้รองรับพระโอวาทของพระศาสดา

ด้วยคาถาเหล่านี้อย่างนี้แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะถวายบังคมพระศาสดาแล้ว

ก็ไป ไม่นานนัก เจริญวิปัสสนาก็ได้บรรลุพระอรหัต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถามาลุงกยปุตตเถรคาถาที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 91

๖. เสลเถรคาถา

ว่าด้วยคำชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า

[๓๙๐] พระเสลเถระเมื่อครั้งยังเป็นพราหมณ์ได้กล่าวชมเชยพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา ๖ คาถา ความว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้ทรงมีพระวิริย-

ภาพ มีพระสรีรกายสมบูรณ์ มีพระรัศมีงดงามชวนให้

น่าดูยิ่งนัก พระฉวีวรรณก็เปล่งปลั่งดังทองคำ พระ-

เขี้ยวแก้วทั้งซ้ายขวาก็สุกใส ด้วยว่าลักษณะแห่งมหาบุรุษ

เหล่าใด ย่อมมีปรากฏแก่พระอริยเจ้า หรือพระบรม-

จักรพรรดิ ผู้เป็นนระเกิดแล้วโดยชอบ ลักษณะแห่ง

มหาบุรุษเหล่านั้น ย่อมมีปรากฏในพระกายของพระองค์

ครบทุกสิ่ง พระองค์มีดวงพระเนตรแจ่มใส พระพักตร์

ผุดผ่อง พระวรกายทั้งสูงทั้งใหญ่และตั้งตรง มีพระเดช

รุ่งโรจน์อยู่ในท่ามกลางแห่งหมู่พระสมณะ ปานดังดวง

อาทิตย์ฉะนั้น พระองค์ทรงเป็นภิกษุที่มีคุณสมบัติงดงาม

น่าชม มีพระฉวีวรรณผุดผ่องงดงามดังทองคำ พระองค์

ทรงสมบูรณ์ด้วยพระวรรณะและพระลักษณะอันอุดมถึง

อย่างนี้ จะมัวเมาเป็นสมณะอยู่ทำไมกัน พระองค์ควรจะ

เป็นพระราชาจักรพรรดิผู้ประเสริฐ ทรงปราบปรามไพรี

ชนะแล้วเสด็จผ่านพิภพ เป็นบรมเอกราชในสากลชมพู-

ทวีป มีสมุทรสาครสี่เป็นขอบเขต ข้าแต่พระโคดม ขอ

เชิญพระองค์เสด็จขึ้นผ่านราชสมบัติ เป็นองค์ราชาธิราช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 92

จอมมนุษย์นิกร ตามพระราชประเพณีของกษัตราธิราช

โดยพระชาติที่ได้เสวยราชย์ อันมีหมู่เสวกามาตย์โดย

เสด็จเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ดูก่อนเสลพราหมณ์ เราเป็นพระราชาอยู่แล้ว คือ

เป็นธรรมราชายอดเยี่ยม เรายังจักรอันใคร ๆ ให้เป็นไป

ไม่ได้ ให้เป็นไปโดยธรรม.

เสลพราหมณ์ได้กราบทูลด้วยคาถา ๒ คาถาว่า

ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรงปฏิญาณว่า เป็นพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม ทั้งยังได้

ตรัสยืนยันว่า จะทรงยังจักรให้เป็นไปโดยธรรม ใครหนอ

เป็นเสนาบดีของพระองค์ เป็นสาวกผู้ประพฤติตาม

พระองค์ ผู้เป็นพระศาสดา ใครจะประกาศธรรมจักรที่

พระองค์ทรงประกาศแล้ว ให้เป็นไปตามได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ดูก่อนเสลพราหมณ์ สารีบุตรผู้อนุชาตบุตรของตถาคต

จะประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่เราประกาศแล้ว ดู

ก่อนพราหมณ์ เรารู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว เจริญ

ธรรมที่ควรเจริญแล้ว ละธรรมที่ควรละแล้ว เหตุนั้น เรา

จึงเป็นพระพุทธเจ้า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงนำความ

เคลือบแคลงในเราออกเสีย จงน้อมใจเชื่อเถิด เพราะ

การเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่อง ๆ ที่ปรากฏขึ้นในโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 93

เป็นการหาได้ยาก ดูก่อนพราหมณ์ เราเป็นพระพุทธเจ้า

เป็นหมอผ่าตัดลูกศรคือกิเลสชั้นเยี่ยม เราเป็นดังพรหม

ล่วงพ้นการชั่งตวง เป็นผู้ย่ำยีมารและเสนามาร ทำผู้

มิใช่มิตรทุกจำพวกไว้ในอำนาจได้ ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ

เบิกบานอยู่.

เสลพราหมณ์กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระองค์ทรงสดับคำ

ของข้าพระองค์นี้ก่อน พระตถาคตผู้มีพระจักษุเป็นแพทย์

ผ่าตัดลูกศร ทรงมีความเพียรยิ่งใหญ่ ได้ตรัสพระวาจา

เหมือนราชสีห์บันลือสีหนาทในป่า ใครได้เห็นพระองค์

ผู้ประเสริฐดังพรหม ไม่มีใครเสมอเหมือน ทรงย่ำยีมาร

และเสนามารได้แล้ว จะไม่พึงเลื่อมใสเล่า แม้คนที่เกิด

ในเหล่ากอคนดำ ก็ย่อมเลื่อมใส ผู้ใดปรารถนาจะตาม

ฉันมา ก็เชิญตามมา หรือผู้ใดไม่ปรารถนาก็จงกลับไป

เถิด แต่ตัวฉันจะบวชในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้มีพระ-

ปัญญาอย่างประเสริฐนี้ละ.

พอเสลพราหมณ์ผู้อาจารย์พูดจบลง ทันใดนั้นเอง มาณพอันเตวาสิก

๓๐๐ คนเป็นผู้มุ่งจะบวชเหมือนกัน จึงกล่าวคาถาว่า

ถ้าท่านอาจารย์ชอบใจคำสอน ของพระสัมมสัม-

พุทธเจ้านี้ แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จะพากันบวชในสำนัก

ของพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาอย่างประเสริฐ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 94

เสลพราหมณ์กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พราหมณ์ ๓๐๐ คนนี้ พา

กันประฌมอัญชลีทูลขอบรรพชาว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย

จักประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของพระองค์ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด พรหมจรรย์เรากล่าว

ดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล

เพราะการบวชในศาสนานี้ ไม่ไร้ผลแก่บุคคลผู้ไม่ประ-

มาทศึกษาอยู่.

ครั้นพระเสลเถระได้บรรลุอรหัตแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เมื่อจะประกาศอรหัตผลที่ตนได้บรรลุ จึงกล่าวคาถา ๔ คาถา

ความว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ นับแต่วันที่

ข้าพระองค์ทั้งหลายถึงสรณคมน์ล่วงไปแล้วได้ ๗ วัน ครบ

๘ วันเข้าวันนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นผู้มีอินทรีย์อันฝึก

แล้ว ในศาสนาของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ตื่นแล้วและ

ยังทรงปลุกผู้อื่นให้ตื่นได้อีกด้วย พระองค์เป็นครูผู้สั่งสอน

แก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นจอนปราชญ์ ทรง

ครอบงำมารและเสนามาร ทรงตัดอนุสัยได้แล้ว ทรง

ข้ามห้วงแห่งสังสารวัฏได้แล้ว ทรงยังหมู่สัตว์นี้ให้ข้าม

ห้วงแห่งสังสารวัฏได้ด้วย ทรงก้าวล่วงอุปธิได้แล้ว ทรง

ทำลายอาสวะทั้งหลายได้แล้ว ทรงเป็นผู้ไม่มีความยึดมั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 95

ทรงละความขลาดกลัวต่อภัยได้แล้ว เหมือนสีหราชผู้ไม่

ครั่นคร้ามต่อหมู่เนื้อฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า

ภิกษุ ๓๐๐ รูปเหล่านี้ พากันมายืนประณมอัญชลีอยู่พร้อม

หน้า ขอพระองค์โปรดทรงเหยียดฝ่าพระบาททั้งสองมา

เถิด ภิกษุผู้ประเสริฐทั้งหลายจะขอถวายบังคมพระองค์

ผู้เป็นพระศาสดา.

จบเสลเถรคาถา

อรรถกถาเสลเถรคาถาที่ ๖

คาถาของท่านพระเสลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปริปุณฺณกาโย สุรุจิ

ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ พระเถระนี้

บังเกิดในเรือนมีตระกูล พอรู้เดียงสา ได้เป็นหัวหน้าคณะ ชักชวนบุรุษ

๓๐๐ คน พร้อมกับพวกบุรุษเหล่านั้น ให้สร้างพระคันธกุฎีถวายพระ-

ศาสดา เมื่อสร้างพระคันธกุฎีเสร็จแล้ว บำเพ็ญมหาทานแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ ให้พระศาสดาและภิกษุทั้งหลายครองไตรจีวร.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาอยู่แต่ในเทวโลกเท่านั้น ตลอดพุทธันดร

หนึ่ง จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพราหมณคาม ชื่อ

อาปณะ ในอังคุตตราปะชนบท ได้นามว่า เสละ เขาเจริญวัยแล้วเรียน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 96

สำเร็จไตรเพท และศิลปของพราหมณ์ทั้งหลาย บอกมนต์แก่มาณพ ๓๐๐

คน อยู่อาศัยในพราหมณคาม ชื่ออาปณะ.

ก็สมัยนั้น พระศาสดาเสด็จจากเมืองสาวัตถี เสด็จจาริกไปใน

อังคุตตราปะ พร้อมกับภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ทรงเห็นความแก่กล้าแห่งญาณ

ของเสละกับพวกอันเตวาสิก จึงประทับอยู่ในไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง. ครั้งนั้น

ชฎิลชื่อเกนิยะ ได้สดับว่าพระศาสดาเสด็จมา จึงไปในไพรสณฑ์นั้น

นิมนต์พระศาสดาพร้อมกับภิกษุสงฆ์ เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น แล้วจัดแจง

ของเคี้ยวของฉันมากมายในอาศรมของตน.

ก็สมัยนั้น เสลพราหมณ์กับมาณพ ๓๐๐ คน เดินเที่ยวพักผ่อนไป

โดยลำดับ ได้เข้าไปยังอาศรมของเกนิยชฎิล เห็นชฎิลทั้งหลายตระเตรียม

อุปกรณ์ทาน ด้วยกิจมีการฝ่าฟืนและก่อเตาไฟเป็นต้น จึงถามด้วยคำมี

อาทิว่า ท่านเกนิยะ มหายัญปรากฏเฉพาะแก่ท่านหรือ ? เมื่อเกนิยชฎิลนั้น

กล่าวว่า ข้าพเจ้านิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้ามาเสวยในวันพรุ่งนี้ พอได้ฟัง

คำว่า พุทโธ เท่านั้น เป็นผู้ร่าเริงดีใจ เกิดปีติโสมนัส ในทันใดนั้นได้เข้า

เฝ้าพระศาสดาพร้อมกับมาณพทั้งหลายได้รับการปฏิสันถารแล้ว นั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ในพระวรกาย

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงคิดว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านั้น จะเป็น

พระเจ้าจักรพรรดิ หรือเป็นพระพุทธเจ้าผู้มีกิเลสเพียงดังหลังคาเปิดแล้ว

ในโลก ก็ท่านผู้นี้เป็นนักบวช และเราก็ไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่

แต่เราก็ได้สดับมาจากพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์บอก

เล่าไว้ว่า ท่านผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมกระทำตนให้

๑. ใน ขุ. สุ. เสลสูตร เป็น เกณิยชฎิล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 97

ปรากฏในวรรณะของตนซึ่งสำรวมอยู่ เพราะว่า ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า ถูกคนยืนอยู่ตรงหน้าชมเชยด้วยพุทธคุณทั้งหลายอยู่ ย่อมขลาดกลัว

ถึงความเก้อเขิน เพราะความเป็นผู้ถึงความไม่กล้าหาญ (และ) เพราะ

ความเป็นผู้ไม่อดทนต่อการย้อนถาม. ถ้ากระไร เราพึงชมเชยพระสมณ-

โคดมต่อหน้า ด้วยคาถาทั้งหลายอันเหมาะสม ก็ครั้นคิดอย่างนี้แล้วจึง

ได้ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา ๖ คาถา ความว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้มีพระวิริยภาพ

มีพระสรีรกายสมบูรณ์ มีพระรัศมีงดงามชวนให้น่าดูยิ่ง

นัก พระฉวีวรรณก็ผุดผ่องดังทองคำ พระเขี้ยวแก้วทั้ง

ซ้ายขวาก็สุกใส ด้วยว่าลักษณะแห่งมหาบุรุษเหล่าใด

ย่อมมีปรากฏแก่พระอริยเจ้า หรือแก่พระบรมจักรพรรดิ

ผู้เป็นนระเกิดแล้วโดยชอบ ลักษณะแห่งมหาบุรุษเหล่า-

นั้น ย่อมมีปรากฏในพระกายของพระองค์ครบทุกสิ่ง

พระองค์มีดวงพระเนตรแจ่มใส พระพักตร์ผุดผ่อง พระ-

วรกายทั้งสูงทั้งใหญ่และตั้งตรง มีพระเดชรุ่งโรจน์ อยู่

ในท่ามกลางแห่งหมู่พระสมณะ ปานดังดวงอาทิตย์ฉะนั้น

พระองค์ทรงเป็นภิกษุหมู่คุณสมบัติงดงามน่าชม มีพระ-

ฉวีวรรณผุดผ่องงดงามดังทองคำ พระองค์ทรงสมบูรณ์

ด้วยพระวรรณะ และพระลักษณะอันอุดมถึงอย่างนี้ จะ

มัวมาเป็นสมณะอยู่ทำไมกัน พระองค์ควรจะเป็นพระ-

ราชาจักรพรรดิผู้ประเสริฐ ทรงปราบไพรีชนะแล้ว เสด็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 98

ผ่านพิภพเป็นบรมเอกราชในสากลชมพูทวีป มีสมุทร

สาครสี่เป็นขอบเขต ข้าแต่พระโคดม ขอเชิญพระองค์

เสด็จขึ้นผ่านราชสมบัติเป็นองค์ราชาธิราชจอมมนุษย์นิกร

ตามพระราชประเพณีของกษัตราธิราช โดยพระชาติที่ได้

เสวยราชย์ อันมีหมู่เสวกามาตย์โดยเสด็จเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริปุณฺณกาโย ความว่า ชื่อว่า มี

พระสรีระบริบูรณ์ เพราะมีมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการอันปรากฏชัด

บริบูรณ์ และเพราะมีอวัยวะน้อยใหญ่ไม่ต่ำทราม.

บทว่า สุรุจิ ได้แก่ มีรัศมีแห่งพระสรีระงาม.

บทว่า สุชาโต ได้แก่ ชื่อว่าบังเกิดดีแล้ว เพราะถึงพร้อมด้วย

ความสูงและความใหญ่ และเพราะถึงพร้อมด้วยทรวดทรง.

บทว่า จารุทสฺสโน ความว่า ชื่อว่า มีพระทัศนะการเห็นงาม

เพราะมีพระทัศนะงามน่ารื่นรมย์ใจ ไม่น่าเกลียด ทำให้เกิดไม่อิ่มแก่ผู้ที่ดู

อยู่แม้เป็นเวลานาน. แต่บางอาจารย์กล่าวว่า บทว่า จารุทสฺสโน แปลว่า

มีพระเนตรงาม.

บทว่า สุวณฺณวฺโณ แปลว่า มีพระวรรณะดุจทองคำ.

บทว่า อสิ แปลว่า ได้มีแล้ว, ก็บทนี้พึงประกอบกับทุกบท โดย

นัยมีอาทิว่า ปริปุณฺณกาโย อสิ ได้มีกายบริบูรณ์.

บทว่า สุสุกฺกทาโ ได้แก่ มีพระเขี้ยวแก้วสุกใสดี. จริงอยู่ พระ-

รัศมีขาวดุจแสงจันทร์เปล่งออกจากพระเขี้ยวแก้วทั้งสองของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 99

บทว่า วีริยวา ได้แก่ ทรงประกอบด้วยความดียิ่งแห่งความ

บริบูรณ์ของพระวิริยบารมี และความถึงพร้อมแห่งสัมมัปปธานความเพียร

ชอบ ๔ ประการ โดยทรงอธิษฐานความเพียรอันประกอบด้วยองค์ ๔.

บทว่า นรสฺส หิ สุชาตสฺส ได้แก่ ผู้เป็นนระเกิดแล้วโดยชอบ

ด้วยดี เพราะความบริบูรณ์แห่งพระบารมี ๓๐ ถ้วน หรือจักรพรรดิวัตร

อันประเสริฐ อธิบายว่า ผู้เป็นมหาบุรุษ.

บทว่า สพฺเพ เต ความว่า คุณของพระรูปใด กล่าวคือมหา-

ปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีความที่ทรงมีพระบาทประดิษฐานอยู่ด้วยดี

เป็นต้น ซึ่งได้โวหารว่าพยัญชนะ เพราะทำความเป็นมหาบุรุษ คือความ

เป็นบุคคลผู้เลิศในโลกให้ปรากฏ และกล่าวคืออนุพยัญชนะ ๘๐ มีความ

ที่ทรงมีพระนขาแดงและพระนขานูนยาวเป็นต้น คุณแห่งพระรูปนั้น

ทั้งหมดไม่มีเหลือ มีอยู่ในพระกายของพระองค์ ดังนี้ เป็นคำที่เหลือ.

ด้วยบทว่า มหาปุริสลกฺขณา นี้ เสลพราหมณ์กล่าวซ้ำตามระหว่าง

คำของพยัญชนะทั้งหลายที่กล่าวแล้วในเบื้องต้นนั้นเอง.

บัดนี้ เมื่อจะกล่าวชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยพระลักษณะที่

ตนชอบใจ เฉพาะในบรรดาพระลักษณะเหล่านั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

ปสนฺนเนตฺโต ดังนี้.

จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า มีพระเนตรผ่องใส เพราะ

ถึงพร้อมด้วยความใสแห่งวรรณะ ๕. ชื่อว่ามีพระพักตร์ผุดผ่อง เพราะทรง

มีพระพักตร์ดุจพระจันทร์เต็มดวง. ชื่อว่ามีพระกายสูงใหญ่ เพราะสมบูรณ์

ด้วยส่วนสูงและส่วนใหญ่. ชื่อว่ามีพระกายตรง เพราะมีพระวรกายตรง

ดุจกายพระพรหม. ชื่อว่ามีพระเดชรุ่งโรจน์ เพราะทรงมีความโชติช่วง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 100

บัดนี้ เมื่อจะประกาศถึงความมีพระเดชรุ่งโรจน์นั้นนั่นแหละ ด้วย

การเปรียบด้วยพระอาทิตย์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มชฺเฌ สมณสงฺฆสฺส

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทิจฺโจว วิโรจสิ ความว่า พระ-

อาทิตย์เมื่อขึ้นย่อมขจัดความมืดทั้งปวง กระทำความสว่างไพโรจน์อยู่

ฉันใด แม้พระองค์ก็ฉันนั้น ย่อมขจัดความมืดคืออวิชชาทั้งปวงทั้งภายใน

และภายนอก กระทำแสงสว่างคือญาณรุ่งโรจน์อยู่.

ชื่อว่าทรงมีคุณสมบัติงามน่าดู เพราะนำมาซึ่งทัศนสมบัติ สมบัติ

แห่งการน่าดูอันมีอยู่ในพระองค์ เพราะทรงมีพระรูปน่าดู และเพราะ

ประกอบด้วยการเห็นที่ดี ๕ ประการ.

บทว่า อุตฺตมวณฺณิโน ได้เเก่ ทรงสมบูรณ์ด้วยพระวรรณะอัน

อุดม.

บทว่า จกฺกวตฺตี ความว่า ชื่อว่า เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เพราะ

ยังจักรรัตนะให้เป็นไป, เพราะประพฤติด้วยจักรสมบัติ ๘ ประการ และ

ยังคนอื่นให้ประพฤติจักรสมบัติ ประการนั้น (และ) เพราะทรงมีวัตร

แห่งจักรคืออิริยาบถ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนอื่น, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เพราะทรงมีวัตรแห่งอาณาจักรที่คนเหล่าอื่น

ครอบงำไม่ได้ เพราะประกอบด้วยอัจฉริยธรรม ๔ และสังคหวัตถุ ๔

ดังนี้ก็มี.

บทว่า รเถสโภ ได้แก่ เป็นบุรุษผู้องอาจชาติอาชาไนยในทหาร

รถทั้งหลาย อธิบายว่า เป็นทหารรถผู้ใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 101

บทว่า จาตุรนฺโต ได้แก่ เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็น

ที่สุด.

บทว่า วิชิตาวี แปลว่า ชัยชนะของผู้ชนะ.

บทว่า ชมฺพุสณฺฑสฺส ได้แก่ ชมพูทวีป. จริงอยู่ พราหมณ์เมื่อ

จะแสดงความเป็นใหญ่ทั้งหลายตามที่ปรากฏ จงกล่าวอย่างนั้น. ก็พระเจ้า

จักรพรรดิย่อมเป็นใหญ่ในมหาทวีปทั้ง ๔ พร้อมทั้งทวีปน้อย.

บทว่า ขตฺติยา ได้แก่ กษัตริย์โดยชาติ.

บทว่า ราชาโน ได้แก่ ราชาเหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้ครองราชย์.

บทว่า อนุยนฺตา ได้แก่ เหล่าเสวกผู้ตามเสด็จ.

บทว่า ราชาภิราชา ได้แก่ เป็นพระราชาที่พระราชาทั้งหลายบูชา,

อธิบายว่า เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ.

บทว่า มนุชินฺโท ได้แก่ ผู้เป็นใหญ่ในมนุษย์ อธิบายว่า ผู้เป็น

ใหญ่ยิ่งแห่งพวกมนุษย์.

เมื่อเสลพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง

กระทำให้บริบูรณ์ซึ่งมโนรถ ของเสลพราหมณ์นี้ที่ว่า ผู้ที่เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เมื่อใคร ๆ กล่าวคุณของตน ย่อมกระทำตนให้

ปรากฏ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

ดูก่อนเสลพราหมณ์ เราเป็นพระราชาอยู่แล้ว คือ

เป็นพระธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม เราจักยังธรรมจักรซึ่ง

ใคร ๆ ให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไป.

ในพระคาถานั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ :- ดูก่อนเสลพราหมณ์ ใน

ข้อที่ท่านอ้อนวอนเราว่า ควรเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น เราเป็นผู้มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 102

ขวนขวายน้อย เราเป็นพระราชา เมื่อความเป็นราชามีอยู่ คนอื่นแม้

เป็นพระราชาย่อมปกครองไปได้ร้อยโยชน์บ้าง สองร้อย สามร้อย สี่ร้อย

ห้าร้อยโยชน์บ้าง แม้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ปกครองเพียงทวีปทั้ง ๔

เป็นที่สุดฉันใด เราเป็นผู้มีวิสัยคือเขตแดนอันกำหนดไว้ฉันนั้น หามิได้.

ก็เราเป็นธรรมราชผู้ยอดเยี่ยม ย่อมสั่งสอนโลกธาตุหาประมาณมิได้ โดย

ขวาง จากภวัคคพรหมถึงอเวจีเป็นที่สุด. ก็สัตว์ทั้งหลายชนิดที่ไม่มีเท้า

เป็นต้น มีประมาณเพียงใด เราเป็นผู้เลิศแห่งสัตว์ทั้งหลายมีประมาณ

เพียงนั้น. ก็ใคร ๆ ผู้แม้นี้เหมือนกับเราด้วยศีล. ฯลฯ หรือด้วยวิมุตติ-

ญาณทัสสนะ ย่อมไม่มี ผู้ยิ่งกว่าเราจักมีมาแต่ไหน. เรานั้นเป็นพระธรรม-

ราชาผู้ยอดเยี่ยมอย่างนี้ ย่อมยังจักรให้เป็นไปโดยธรรม กล่าวคือโพธิ-

ปักขิยธรรม อันต่างด้วยสติปัฏฐาน เป็นต้นอันยอดเยี่ยมทีเดียว คือ

ย่อมยังอาณาจักรให้เป็นไป โดยนัยมีอาทิว่า ท่านจงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่ง

นี้อยู่ หรือยังธรรมจักรนั่นแหละให้เป็นไปโดยปริยัติธรรมมีอาทิว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย ก็นี้แลทุกขอริยสัจ.

บทว่า จกฺก อปฺปติวตฺติย ความว่า จักรใดอันสมณะ ฯลฯ หรือ

ใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้.

เสลพราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศพระองค์ออกมา

อย่างนี้ เกิดปีติโสมนัส เพื่อจะการทำให้แน่นเข้า จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรงปฏิญาณว่า เป็นพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม ทั้ง

ยังตรัสยืนยันว่า ทรงยังจักรให้เป็นไปโดยธรรม ใครหนอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 103

เป็นเสนาบดีของพระองค์ เป็นสาวกผู้ประพฤติตาม

พระองค์ผู้เป็นศาสดา ใครจะประกาศธรรมจักรนี้ ที่

พระองค์ทรงประกาศแล้ว ให้เป็นไปตามได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ เสนาปติ ความว่า พราหมณ์

ถามว่า ใครหนอเป็นเสนาบดีของพระธรรมราชาผู้เจริญ ผู้ประกาศตามซึ่ง

จักรที่ทรงประกาศแล้วโดยธรรม.

ก็สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งอยู่ ณ พระปรัศว์เบื้องขวาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า งดงามด้วยสิริ ดุจแต่งทองคำ, พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงแสดงพระสารีบุตรนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า

ดูก่อนแสลพราหมณ์ สารีบุตรผู้อนุชาตบุตรของเรา

ตถาคต จะประกาศตามธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ที่เรา

ประกาศแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุซาโต ตถาคต ความว่า ผู้เป็น

อนุชาคบุตรของตถาคต. อธิบายว่า เกิดในอริยชาติโดยพระตถาคตเป็น

เหตุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ปัญหาที่เสลพราหมณ์ถามว่า ใคร

หนอเป็นเสนาบดีของพระองค์ ดังนี้ อย่างนี้แล้ว มีพระประสงค์จะทรง

กระทำเสลพราหมณ์ให้หมดสงสัย ในข้อที่ถามว่า พระองค์ทรงปฏิญญา

ว่าเป็นพระสัมพุทธเจ้านั้น เพื่อจะให้เขารู้ว่า เราย่อมไม่ปฏิญญาด้วยสัก

แต่ว่าปฏิญญาเท่านั้น เราเป็นพระพุทธเจ้า แม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้ จึงตรัส

พระคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 104

เรารู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญ ละ

ธรรมที่ควรละ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า

นะพราหมณ์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิญฺเยฺย ได้แก่ สัจจะ ๔ คือ

อริยสัจ ๔, จริงอยู่ คำว่า อภิญฺเย นั่น เป็นศัพท์สามัญทั่วไปแก่

สัจจะ และอริยสัจ ๔.

บรรดาอริยสัจเหล่านั้น มรรคสัจใดควรเจริญ และสมุทัยสัจใด

ควรละ แม้นิโรธสัจและทุกขสัจอันเป็นตัวผลของมรรคสัจและสมุทัยสัจนั้น

ก็ย่อมเป็นอันถือเอาด้วยศัพท์ทั้งสองนั้น เพราะผลสำเร็จได้ด้วยศัพท์อัน

เป็นเหตุเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น แม้คำนี้ว่า เราทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้

แจ้ง เรากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ดังนี้ ก็เป็นอันกล่าวไว้แน่นอนใน

คาถานั้น. อีกอย่างหนึ่ง ก็คำว่า เรารู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงประกาศความเป็นผู้ตรัสรู้พร้อม ในการรู้ยิ่งซึ่งไญยธรรม

แม้ทั้งปวง โดยอุเทศ เมื่อจะทรงแสดงเอกเทศส่วนหนึ่งแห่งความเป็น

ผู้ตรัสรู้พร้อมนั้น โดยนิเทศ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า และเราเจริญ

แล้วซึ่งธรรมที่ควรเจริญ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำว่า เราเจริญธรรมที่ควรเจริญ ละธรรม

ที่ควรละ นี้ ย่อมเป็นอันระบุพระพุทธคุณแม้ทั้งสิ้น เพราะมีการเจริญ

และการละนั้นเป็นมูล โดยมุขคือการระบุถึงญาณสัมปทาและปหานสัมปทา

ของพระองค์ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า เพราะฉะนั้น เราจึง

เป็นพระพุทธเจ้า นะพราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 105

จริงอยู่ เพราะถือเอาวิชชาและวิมุตติโดยทุกประการ ด้วยศัพท์ว่า

อภิญฺเยฺย อภิญฺาต พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความเป็น

สัจจะทั้ง ๔ ซึ่งเป็นไปกับด้วยผล พร้อมทั้งเหตุสมบัติ จึงทรงประกาศ

ความที่พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า โดยถูกต้องของพระองค์โดยญาณ โดย

เหตุว่าเรารู้สิ่งทั้งปวงที่ควรรู้. จึงได้เป็นพระพุทธเจ้า.

ครั้นทรงการทำพระองค์ให้ปรากฏโดยตรงอย่างนี้แล้ว เพื่อจะให้

ข้ามพ้นความเคลือบแคลงในพระองค์ เมื่อจะทรงทำพราหมณ์ให้เกิดความ

อุตสาหะ จึงได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถาว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงนำความเคลือบแคลงในเรา

ออกเสีย จงน้อมใจเชื่อเถิด เพราะการเห็นพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าเนือง ๆ ที่ปรากฏขึ้นในโลก เป็นการหาได้

ยาก. ดูก่อนพราหมณ์ เราเป็นพระพุทธเจ้า เป็นหมอ

ผ่าตัดลูกศรคือกิเลสชั้นเยี่ยม เราเป็นดังพรหม ล่วงพ้น

การชั่งตวง เป็นผู้ย่ำยีมารและเสนามาร ทำผู้ที่มิใช่มิตร

ทุกจำพวกไว้ในอำนาจได้ ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ เบิกบาน

อยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วินยสฺสุ ได้แก่ ท่านจงนำออกเสีย คือ

จงตัดเสีย. บทว่า กงฺข ได้แก่ ความลังเลใจ.

บทว่า อธิมุจฺจสฺสุ ความว่า ท่านจงทำความน้อมใจเชื่อ คือจง

เชื่อว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

บทว่า ทุลฺลภ ทสฺสน โหติ สมฺพุทฺธาน ความว่า เพราะโลกย่อม

ว่างจากพระพุทธเจ้าตั้งอสงไขยกัป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 106

บทว่า สลฺลกตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ผ่าตัดลูกศร คือกิเลสมีราคะ

เป็นต้น.

บทว่า พฺรหฺมภูโต แปลว่า เป็นผู้ประเสริฐสุด.

บทว่า อติตุโล แปลว่า ล่วงพ้นการชั่งตวง คือไม่มีผู้เปรียบเทียบ.

บทว่า มารเสนปฺปมทฺทโน ได้แก่ เป็นผู้ย่ำยีมารและเสนามารซึ่ง

มีที่มาอย่างนี้ว่า กามทั้งหลายเหล่านั้น เป็นเสนาที่หนึ่ง ดังนี้.

บทว่า สพฺพามิตฺเต ได้แก่ ข้าศึกทั้งปวง กล่าวคือขันธมาร กิเลส-

มาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวปุตตมาร.

บทว่า วเส กตฺวา ได้แก่ ทำไว้ในอำนาจของตน.

บทว่า โมทามิ อกุโตภโย ความว่า เราไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ เบิก-

บานอยู่ด้วยสุขอันเกิดจากสมาธิ และสุขในผลและนิพพาน.

เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว เสลพราหมณ์เกิดความเลื่อมใสในพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ในขณะนั้นเอง เป็นผู้มุ่งต่อการบรรพชา ผู้ประดุจถูก

อุปนิสัยสมบัติอันถึงความแก่กล้ากระตุ้นเตือน จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระองค์ทรงสดับคำ

ของข้าพระองค์นี้ก่อน พระตถาคตผู้มีพระจักษุ เป็น

แพทย์ผ่าตัดลูกศร ทรงมีความเพียรยิ่งใหญ่ ได้ตรัส

พระวาจาเหมือนราชสีห์บันลือสีหนาทในป่า ใครได้เห็น

พระองค์ผู้ประเสริฐ ผู้ล่วงพ้นการชั่งตวง ทรงย่ำยีมาร

และเสนามารแล้ว จะไม่พึงเลื่อมใสเล่า แม้ชนผู้เกิดใน

เหล่ากอคนดำ ก็ย่อมเลื่อมใส ผู้ใดจะตามฉันมา ก็เชิญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 107

ตามมา หรือผู้ใดไม่ปรารถนา ก็จงกลับไปเถิด แต่ตัวฉัน

จะบวชในสำนักของพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาประเสริฐ

นี้ละ.

บรรดาคำบทเหล่านั้น บทว่า กณฺหาภิชาติโก ได้แก่ ผู้มีชาติต่ำ คือ

ผู้ดำรงอยู่ในภาวะมืดมาแล้วมืดไปภายหน้า.

ลำดับนั้น มาณพแม้เหล่านั้น ก็เป็นผู้มุ่งต่อการบรรพชาในที่นั้น

เหมือนกัน เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยเหตุ เหมือนกุลบุตรผู้ได้บำเพ็ญ

บุญญาธิการไว้กับเสลพราหมณ์นั้น จึงกล่าวคาถาว่า

ถ้าท่านอาจารย์ชอบใจคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า แม้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ก็จะพากันบวชในสำนักของ

พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาประเสริฐ.

ลำดับนั้น เสลพราหมณ์มีจิตยินดีในมาณพเหล่านั้น เมื่อจะแสดง

มาณพเหล่านั้น และทูลขอบรรพชา จึงกล่าวคาถาว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พราหมณ์ ๓๐๐ คนนี้ พา

กันประณมมืออัญชลีทูลขอบรรพชาว่า ข้าพระองค์

ทั้งหลายจักประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของพระองค์.

ลำดับนั้น เพราะเหตุเสลพราหมณ์เป็นหัวหน้าคณะของบุรุษ ๓๐๐

คนเหล่านั้นนั่นแหละ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ โดยนัย

ดังกล่าวไว้ในหนหลัง ได้ปลูกมูลคือกุศลไว้ บัดนี้ แม้ในปัจฉิมภพ

ก็บังเกิดเป็นอาจารย์ของบุรุษเหล่านั้นแหละ ก็ญาณของเสลพราหมณ์และ

มาณพเหล่านั้นก็แก่กล้า ทั้งอุปนิสัยแห่งความเป็นเอหิภิกขุก็มีอยู่ เพราะ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 108

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงให้คนเหล่านั้นทั้งหมดบวช โดย

การบวชด้วยความเป็นเอหิภิกขุ จึงตรัสพระคาถาว่า

พรหมจรรย์เรากล่าวดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง

ไม่ประกอบด้วยกาล เพราะการบวชในศาสนานี้ไม่ไร้ผล

แก่บุคคลผู้ไม่ประมาท ศึกษาอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺทิฏฺิก แปลว่า เห็นประจักษ์.

บทว่า อกาลิก ได้แก่ ไม่พึงบรรลุผลในกาลอื่น เพราะเกิดผลใน

ลำดับมรรค.

บทว่า ยตฺถ แปลว่า เพราะพรหมจรรย์ใดเป็นนิมิต. จริงอยู่

บรรพชาอันมีมรรคพรหมจรรย์เป็นนิมิต ไม่เป็นหมัน คือไม่ไร้ผล. อีก

อย่างหนึ่ง บทว่า ยตฺถ ความว่า ผู้ไม่ประมาท คือผู้เว้นจากการอยู่

ปราศจากสติ ศึกษาอยู่ในสิกขา ๓ ในศาสนาใด.

ก็ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงได้ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมา

เถิด. ในขณะนั้นเอง คนทั้งหมดนั้นเป็นผู้ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จ

ด้วยฤทธิ์ เป็นประดุจพระเถระ ๖๐ พรรษา ถวายอภิวาทพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้วแวดล้อมอยู่.

เสลพราหมณ์นั้นครั้นบวชแล้ว บำเพ็ญวิปัสสนา ในวันที่ ๗ พร้อม

ทั้งบริษัทได้บรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ข้าพระองค์เป็นเจ้าของถนน อยู่ในนครหังสวดี ได้

ประชุมบรรดาญาติของข้าพระองค์แล้ว ได้กล่าวดังนี้ว่า

พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก เป็นบุญเขตอันสูง

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๓๙๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 109

สุด พระองค์เป็นผู้สมควรรับเครื่องบูชาของโลกทั้งปวง

กษัตริย์ก็ดี ชาวนิคมก็ดี พราหมณมหาศาลก็ดี ล้วนมี

จิตเลื่อมใสโสมนัส ได้พากันประพฤติธรรมเป็นอันมาก

พลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า ล้วนมีจิตเลื่อมใส

โสมนัส ได้พากันประพฤติธรรมเป็นอันมาก คนครึ่งชาติ

พ่อเป็นกษัตริย์แม้เป็นศูทรก็ดี ราชบุตรก็ดี พ่อค้าก็ดี

พราหมณ์ก็ดี ล้วนมีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้พากัน

ประพฤติธรรมเป็นอันมาก พ่อค้าก็ดี คนรับจ้างก็ดี คน

รับใช้อาบน้ำก็ดี ช่างกรองดอกไม้ก็ดี ล้วนมีจิตเลื่อมใส

โสมนัส ได้พากันประพฤติธรรมเป็นอันมาก ช่างย้อม

ก็ดี ช่างหูกก็ดี ช่างเย็บผ้าก็ดี ช่างกัลบกก็ดี ล้วนมีจิต

เลื่อมใสโสมนัส ได้พากันประพฤติธรรมเป็นอันมาก ช่าง

ศรก็ดี ช่างกลึงก็ดี ช่างหนังก็ดี ช่างถากก็ดี ล้วนมีจิต

เลื่อมใสโสมนัส ได้พากันประพฤติธรรมเป็นอันมาก

ช่างเหล็กก็ดี ช่างทองก็ดี ช่างดีบุกและช่างทองแดงก็ดี

ล้วนมีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้พากันประพฤติธรรมเป็น

อันมาก ลูกจ้างก็ดี ช่างซักรีดก็ดี ทาสและกรรมกรก็ดี

เป็นอันมากได้พากันประพฤติธรรมตามกำลังของตน ๆ คน

ตักน้ำขายก็ดี คนขนไม้ก็ดี ชาวนาก็ดี คนเกี่ยวหญ้าก็ดี

ได้พากันประพฤติธรรมตามกำลังของตน ๆ. คนขาย

ดอกไม้ คนขายพวงมาลัย คนขายรบไม้และคนขาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 110

ผลไม้ ได้พากันประพฤติธรรมตามกำลังของตน ๆ. หญิง

แพศยา นางกุมภทาสี คนขายขนมและคนขายปลา ได้

พากันประพฤติธรรมตามกำลังของตน ๆ. เราทั้งหมดนี้

มาประชุมร่วมเป็นพวกเดียวกัน ทำบุญกุศลในพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นเขตบุญอย่างยอดเยี่ยม ญาติเหล่านั้นฟัง

คำของข้าพระองค์แล้ว รวมกันเป็นคณะในขณะนั้น แล้ว

กล่าวว่า พวกเราควรให้สร้างโรงฉันอันทำอย่างสวยงาม

ถวายแก่ภิกษุสงฆ์. ข้าพระองค์ให้สร้างโรงฉันนั้นสำเร็จ

แล้ว มีใจเบิกบานยินดี แวดล้อมด้วยญาติทั้งหมดนั้น

เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ครั้นเข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า

ผู้เป็นนาถะของโลก ผู้ประเสริฐกว่านระ ถวายบังคม

แทบพระบาทของพระศาสดาแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ว่า

ข้าแต่พระวีรมุนี บุรุษประมาณ ๓๐๐ คนนี้ ร่วมกันเป็น

คณะ ขอมอบถวายโรงฉันอันสร้างอย่างสวยงามแด่

พระองค์ ขอพระองค์ผู้มีจักษุ ผู้เป็นประธานของภิกษุ-

สงฆ์ โปรดทรงรับเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

พระคาถาเหล่านี้ ต่อหน้าบุรุษ ๓๐๐ คนว่า บุรุษทั้ง ๓๐๐

คนและผู้เป็นหัวหน้า ร่วมกันประพฤติ ท่านทั้งปวงพากัน

ทำแล้ว จักได้เสวยสมบัติเมื่อถึงภพหลังสุด ท่านทั้งหลาย

จักเห็นนิพพานอันเป็นภาวะเย็นอย่างยอดเยี่ยม ไม่แก่

ไม่ตาย เป็นแดนเกษม พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมกว่าผู้รู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 111

ธรรมทั้งปวง ทรงพยากรณ์อย่างนี้ ข้าพระองค์ได้ฟัง

พระพุทธพจน์แล้วได้เสวยโสมนัส ข้าพระองค์รื่นรมย์

อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัป เป็นใหญ่กว่าเทวดา

เสวยรัชสมบัติอยู่ในเทวโลก ๕๐๐ กัป ได้เป็นพระเจ้า-

จักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราช

อันไพบูลย์ โดยคณนานับมิได้ในรัชสมบัติ ในมนุษย์นี้

มีพวกญาติเป็นบริษัท ในภพอันเป็นที่สุดที่ถึงนี้ ข้า-

พระองค์เป็นบุตรพราหมณ์ชื่อว่าเสฏฐะ ผู้สั่งสมสมบัติ

ไว้ประมาณ ๘๐ โกฏิ ข้าพระองค์มีชื่อว่าเสละ ถึงที่สุด

ในองค์ ๖ แวดล้อมด้วยศิษย์ของตน เดินเที่ยวไปสู่วิหาร

ได้เห็นดาบสชื่อเกนิยะ ผู้เต็มไปด้วยภาระคือชฎา จัด

แจงเครื่องบูชา จึงได้ถามดังนี้ว่า ท่านจักทำอาวาหมงคล

วิวาหมงคล หรือท่านเชื้อเชิญพระราชา.

เกนิยะดาบสตอบว่า

เราใคร่จะบวงสรวงบูชาพราหมณ์ที่สมมติกันว่าประ-

เสริฐ เราไม่ได้เชื้อเชิญพระราชา ไม่มีการบวงสรวง

อาวาหมงคลของเราไม่มี และวิวาหมงคลของเราก็ไม่มี

พระพุทธเจ้าผู้ให้เกิดความยินดีแก่ศากยะทั้งหลาย ประ-

เสริฐที่สุดในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ทรงทำประโยชน์

เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวง ทรงนำสุขมาให้แก่สรรพสัตว์ วันนี้

เรานิมนต์พระองค์ เราจัดแจงเครื่องบูชานี้เพื่อพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 112

พระพุทธเจ้ามีรัศมีดุจสีมะพลับ มีพระคุณหาประมาณ

มิได้ ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีใครเสมอด้วยพระรูป เรา

นิมนต์เพื่อเสวย ณ วันพรุ่งนี้ และพระองค์มีพระพักตร์

ร่าเริงดังปากเบ้า สุกใสเช่นกับถ่านเพลิงไม้ตะเคียน

เปรียบด้วยสายฟ้า เป็นมหาวีระ เป็นนาถะของโลก เรา

นิมนต์แล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เปรียบเหมือนไฟ

บนยอดภูเขา ดังพระจันทร์วันเพ็ญ เช่นกับสีแห่งไฟ

ไหม้ไม้อ้อ เรานิมนต์แล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ไม่

ทรงครั่นคร้าม ล่วงภัยได้แล้ว ทรงทำให้เป็นผู้เจริญ เป็น

มุนีเปรียบด้วยสีหะ เป็นมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว พระ-

พุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงฉลาดในธรรมของผู้ตรัสรู้ ผู้อื่น

ข่มขี่ไม่ได้ เปรียบด้วยช้างตัวประเสริฐ เป็นมหาวีระ

เรานิมนต์แล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงฉลาดในฝั่ง

คือสัทธรรม เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ไม่มีใครเปรียบ

อุปมาดังโคอุสภราช เป็นมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว พระ-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น มีวรรณะไม่สุด มียศนับมิได้ มี

ลักษณะทั้งปวงวิจิตร เปรียบด้วยท้าวสักกะ เป็นมหาวีระ

เรานิมนต์แล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีความ

ชำนาญ เป็นผู้นำหมู่ มีตบะ มีเดช คร่าได้ยาก เปรียบ

ด้วยพรหม เป็นมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว พระพุทธเจ้า

พระองค์นั้น มีธรรมเลิศน่าบูชา เป็นพระทศพล ถึงที่สุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 113

กำลัง ล่วงกำลัง เปรียบด้วยแผ่นดิน เป็นมหาวีระ เรา

นิมนต์แล้ว. พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเกลื่อนกล่น

ด้วยศีลและปัญญา มากด้วยการทรงรู้แจ้งธรรม เปรียบ

ด้วยทะเล เป็นมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว พระพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ยากที่จะคร่าไปได้ ยากที่จะข่มขี่ให้หวั่นไหว

เลิศกว่าพรหม เปรียบด้วยเขาสุเมรุ เป็นมหาวีระ เรา

นิมนต์แล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระญาณไม่สิ้น

สุด ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบเท่า ถึงความเป็นยอด

เปรียบด้วยท้องฟ้า เป็นมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นที่พึ่งของบรรดาผู้กลัว

ภัย เป็นที่ต้านทานของบรรดาผู้ถึงสรณะ เป็นที่เบาใจ

เป็นมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว. พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เป็นที่อาศัยแห่งมนต์คือความรู้ เป็นบุญเขตของผู้แสวงหา

สุข เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ เป็นมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ให้เบาใจ เป็นผู้ทำให้

ประเสริฐ เป็นผู้ประทานสามัญผล เปรียบด้วยเมฆ เป็น

มหาวีระ เรานิมนต์แล้ว. พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็น

มหาวีระที่เขายกย่องในโลก เป็นผู้บรรเทาความมืดทั้งปวง

เปรียบด้วยพระอาทิตย์ เป็นมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงสภาพในอารมณ์และ

วิมุตติ เป็นมุนี เปรียบด้วยพระจันทร์ เป็นมหาวีระ เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 114

นิมนต์แล้ว. พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว เขา

ยกย่องในโลก ประดับด้วยลักษณะทั้งหลายหาประมาณ

มิได้ เป็นมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว. พระพุทธเจ้าพระองค์

นั้น มีพระญาณหาประมาณมิได้ มีศีลไม่มีเครื่องเปรียบ

มีวิมุตติ ไม่มีอะไรเทียมทัน เรานิมนต์แล้ว พระพุทธ-

เจ้าพระองค์นั้น มีธิติไม่มีอะไรเหมือน มีกำลังอันไม่

ควรคิด มีความบากบั่นอันประเสริฐ เรานิมนต์แล้ว

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงถอนราคะ โทสะ โมหะ

และยาพิษทั้งปวงแล้ว เปรียบด้วยยา เป็นมหาวีระ เรา

นิมนต์แล้ว. พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบรรเทาพยาธิ

คือกิเลสและทุกข์เป็นอันมาก เปรียบเหมือนโอสถ เปรียบ

เหมือนสายฟ้า เป็นมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว. เกนิย-

พราหมณ์กล่าวประกาศว่า พุทโธ เสียงประกาศนั้นข้า-

พระองค์ได้โดยแสนยาก เพราะได้ฟังเสียงประกาศว่า

พุทโธ ปีติย่อมเกิดแก่ข้าพระองค์ ปีติของข้าพระองค์

ไม่จับอยู่ภายในเท่านั้น แผ่ซ่านออกภายนอก ข้าพระองค์

มีใจปีติ ได้กล่าวดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ประทับอยู่

ที่ไหน เราจักไปนมัสการพระองค์ผู้ประทานสามัญผล ณ

ที่นั้น ขอท่านผู้เกิดโสมนัสประณมกรอัญชลี โปรดยก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 115

หัตถ์เบื้องขวาขึ้นชี้บอกพระธรรมราชา ผู้บรรเทาลูกศร

คือความโศกเศร้าแก่ข้าพเจ้าเถิด.

ท่านย่อมเห็นป่าใหญ่อันเขียวขจี ดังมหาเมฆที่ขึ้น

ลอยอยู่ เสมอด้วยดอกอัญชัน ปรากฏดุจสาคร พระ-

พุทธเจ้าผู้ฝึกบุคคลที่ยังไม่ได้ฝึก เป็นมุนี ทรงแนะนำ

เวไนยสัตว์ให้ตรัสรู้โพธิปักขิยธรรม พระองค์นั้นประทับ

อยู่ที่นั่น ข้าพระองค์ค้นหาพระชินเจ้า เปรียบเหมือนคน

กระหายน้ำ ค้นหาน้ำ คนหิวข้าว ค้นหาข้าว ปานดังแม่

โครักลูก ค้นหาลูกฉะนั้น ข้าพระองค์ผู้รู้อาจาระและ

อุปจาระ สำรวมตามสมควรแก่ธรรม ให้พวกศิษย์ของ

ตนผู้จะไปยังสำนักของพระชินเจ้าศึกษาว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทั้งหลาย ใคร ๆ คร่าได้โดยยาก เสด็จเที่ยวอยู่

พระองค์เดียว เปรียบเหมือนราชสีห์ ท่านมาณพทั้งหลาย

ควรเดินเรียงลำดับกันมา พระพุทธเจ้าทั้งหลายยากที่

ใคร ๆ จะคร่าไป เปรียบเหมือนอสรพิษร้าย ดุจไกรสร-

มฤคราช ดังช้างกุญชรที่ฝึกแล้วตกมันฉะนั้น ท่านมาณพ

ทั้งหลายจงอย่าจามและไอ เดินเรียงลำดับกันมา เข้าไป

สู่สำนักของพระพุทธเจ้าเถิด พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรง

เป็นผู้หนักในการอยู่ในที่เร้น ชอบเงียบเสียง ยากที่จะ

คร่าไปได้ ยากที่จะเข้าเฝ้า เป็นครูในมนุษยโลกพร้อมทั้ง

เทวโลก เราทูลถามปัญหาใด หรือได้ปราศรัยโต้ตอบอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 116

ขณะนั้น ท่านทั้งหลายจงเงียบเสียงหยุดนิ่งอยู่ พระองค์

ทรงแสดงพระสัทธรรมอันเป็นแดนเกษม เพื่อบรรลุพระ-

นิพพาน ท่านทั้งหลายจงใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม

นั้น เพราะการฟังพระสัทธรรมเป็นความงาม ข้าพระองค์

ได้เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ได้ปราศรัยกับพระมุนี ครั้น

ผ่านการปราศรัยไปแล้ว จึงตรวจดูพระลักษณะทั้งหลาย

ไม่เห็นพระลักษณะ ๒ ประการ เห็นแต่พระลักษณะ ๓๐

ประการ พระมุนีทรงแสดงพระคุหยฐานอันเร้นลับอยู่

ในฝัก ด้วยฤทธิ์ และพระชินเจ้าทรงแสดงพระชิวหา

สอดเข้าช่องพระกรรณและพระนาสิก ทรงแผ่พระชิวหา

ปกปิดถึงที่สุดพระนลาตทั้งสิ้น ข้าพระองค์ได้เห็นพระ-

ลักษณะของพระองค์ บริบูรณ์พร้อมด้วยพยัญชนะ จึง

ลงความสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธเจ้าแน่ แล้วบวชพร้อม

ด้วยพวกศิษย์ ข้าพระองค์พร้อมด้วยศิษย์ ๓๐๐ คน ออก

บวชเป็นบรรพชิต เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายบวชแล้วยัง

ไม่ถึงกึ่งเดือน ได้บรรลุถึงความดับทุกข์ทั้งหมด ข้า-

พระองค์ทั้งหลายร่วมกันทำกรรม ในบุญเขตอันยอดเยี่ยม

ท่องเที่ยวไปร่วมกัน คลายกิเลสได้ร่วมกัน เพราะได้

ถวายไม้กลอนทั้งหลาย ข้าพระองค์จึงอยู่ในธรรมเป็น

อันมาก เพราะกุศลที่ได้ทำแล้วนั้น ข้าพระองค์ย่อมได้

เหตุ ๘ ประการ คือข้าพระองค์เป็นผู้อันเขาบูชาในทิศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 117

ทั้งหลาย ๑ โภคสมบัติของข้าพระองค์นับไม่ถ้วน. ข้า-

พระองค์เป็นที่พึ่งของคนทั้งปวง ๑ ความสะดุ้งหวาดเสียว

ไม่มีแก่ข้าพระองค์ ๑ ความป่วยไข้ไม่มีแก่ข้าพระองค์ ๑

ข้าพระองค์ย่อมรักษาอายุได้ยืนนาน ๑ ข้าพระองค์เป็นผู้

มีผิวพรรณละเอียดอ่อน เมื่ออยู่ในที่ฝนตก ๑ เพราะได้

ถวายไม้กลอน ๘ อัน ข้าพระองค์จึงได้อยู่ในหมวดธรรม

อีกข้อหนึ่ง คือปฏิสัมภิทาและอรหัต นี้เป็นข้อที่ ๘ ของ

ข้าพระองค์. ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพระองค์มีธรรมเครื่อง

อยู่ อันอยู่จบหมดแล้ว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ

เป็นบุตรของพระองค์ชื่อว่าอัฏฐโคปานสี. เพราะได้ถวาย

เสา ๕ ต้น ข้าพระองค์จึงอยู่ในธรรมเป็นอันมาก ด้วย

ศีลกรรมที่ทำแล้วนั้น ข้าพระองค์ย่อมได้เหตุ ๕ ประการ

คือข้าพระองค์เป็นผู้ไม่หวั่นไหวด้วยเมตตา ๑ มีโภค-

สมบัติไม่รู้จักพร่อง ๑ มีถ้อยคำควรเชื่อถือได้ โดยที่ข้า-

พระองค์ไม่ต้องกำจัด ๑ จิตของข้าพระองค์ไม่หวาดกลัว ๑

ข้าพระองค์ไม่เป็นเสี้ยนหนามต่อใคร ๆ ๑ ด้วยกุศลธรรม

ที่ทำแล้วนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นผู้ปราศจากมลทินในพระ-

ศาสนา. ข้าแต่พระมหามุนีวีรเจ้า ภิกษุสาวกของพระองค์

มีความเคารพ มีความยำเกรง ได้ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มี

อาสวะ ถวายบังคมพระองค์ ข้าพระองค์ได้ทำบัลลังก์

อันทำอย่างสวยงามแล้ว จัดตั้งไว้ในศาลา ด้วยกุศล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 118

กรรมที่ทำไว้นั่น ข้าพระองค์ย่อมได้เหตุ ๕ ประการ คือ

ย่อมเกิดในสกุลสูง มีโภคสมบัติมาก ๑ เป็นผู้มี

สมบัติทั้งปวง ๑ ไม่มีความตระหนี่ ๑ เมื่อข้าพระองค์

ปรารถนาจะไป บัลลังก์ก็ย่อมตั้งรออยู่ ๑ ย่อมไปสู่ที่

ปรารถนาพร้อมด้วยบัลลังก์อันประเสริฐ ๑ เพราะการ

ถวายบัลลังก์นั้น ข้าพระองค์กำจัดความมืดได้ทั้งหมด

ข้าแต่พระมหามุนี พระเถระผู้บรรลุอภิญญาและพละ

ทั้งปวง ถวายบังคมพระองค์ ข้าพระองค์ทำกิจทั้งปวงอัน

เป็นกิจของผู้อื่นและของตนเสร็จแล้ว ด้วยกุศลกรรม

ที่ทำแต่นั้น ข้าพระองค์ได้เขาไปสู่บุรีอันมีภัย ข้า-

พระองค์ได้ถวายเครื่องบริโภค ในศาลาที่สร้างสำเร็จแล้ว

ด้วยกุศลกรรมที่ทำแล้วนั้น ข้าพระองค์ได้เข้าถึงความ

เป็นผู้ประเสริฐ. ผู้ฝึกเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลก ผู้ฝึก

เหล่านั้นย่อมฝึกช้างและม้า ย่อมให้ทำเหตุต่าง ๆ นานา

แล้วฝึกด้วยความทารุณ ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์

หาได้ฝึกชายและหญิงเหมือนอย่างนั้นไม่ พระองค์ทรงฝึก

ในวิธีฝึกอันสูงสุด โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ใช้ศาสตรา

พระมุนีทรงสรรเสริญคุณแห่งทาน ทรงฉลาดในเทศนา

และพระมุนีตรัสปัญหาข้อเดียว ยังคน ๓๐๐ คนให้ตรัสรู้

ได้ ข้าพระองค์ทั้งหลาย อันพระองค์ผู้เป็นสารถีฝึกแล้ว

พ้นวิเศษแล้ว ไม่มีอาสวะ บรรลุอภิญญาและพละทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 119

ดับแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ. ในกัปที่แสนแต่กัปนี้

ข้าพระองค์ได้ถวายทานใดในกาลใด ด้วยทานนั้น ภัย

ทั้งปวงล่วงพ้นไปแล้ว นี้เป็นผลแห่งการถวายศาลา ข้า-

พระองค์ได้เผากิเลสทั้งหลายแล้ว... ฯลฯ ...พระพุทธ-

ศาสนาข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว.

ก็ท่านพระเสลเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระ-

ศาสดา เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล จึงกล่าวคาถาว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ นับแต่วันที่

ข้าพระองค์ทั้งหลายถึงสรณคมน์ ล่วงไปแล้วได้ ๗ วัน

ครบ ๘ วันเข้าวันนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นผู้มีอินทรีย์

อันฝึกแล้ว ในศาสนาของพระองค์ ดังนี้ .

คำอันเป็นคาถานั้นมีความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ

ด้วยจักษุ ๕ เพราะเหตุที่ในวันที่ ๘ อันผ่านไปแล้วจากวันนี้ พวกข้า-

พระองค์ได้ถึงสรณะนั้น เพราะฉะนั้น พวกข้าพระองค์ได้เป็นผู้ฝึกแล้ว

ด้วยการฝึกในศาสนาของพระองค์ได้ ๗ วัน น่าอัศจรรย์ อานุภาพแห่ง

สรณคมน์ของพระองค์. เบื้องหน้าแต่นั้นไป ได้ชมเชย (พระศาสดา)

ด้วยคาถา ๒ คาถานี้ว่า

พระองค์เป็นผู้ตื่นแล้ว และทรงปลุกผู้อื่นให้ตื่นอีก

ด้วย พระองค์เป็นครูผู้สั่งสอนทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย

เป็นจอมปราชญ์ ทรงครอบงำมารและเสนามาร ทรงตัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 120

อนุสัยได้แล้ว ทรงข้ามห้วงแห่งสังสารวัฏได้แล้ว ยังทรง

ทำให้หมู่สัตว์ข้ามห้วงแห่งสังสารวัฏได้ด้วย ทรงก้าวล่วง

อุปธิได้แล้ว ทรงทำลายอาสวะทั้งหลายได้แล้ว ทรงเป็น

ผู้ไม่มีความยึดมั่น ทรงละความขลาดกลัวต่อภัยได้แล้ว

ดุจราชสีห์ไม่ครั่นคร้ามต่อหมู่เนื้อฉะนั้น.

ในคาถาสุดท้าย ได้ทูลขอถวายบังคมพระศาสดาว่า

ภิกษุ ๓๐๐ รูปนี้ พากันมายืนประณมอัญชลีอยู่พร้อม

หน้า ขอพระองค์โปรดทรงเหยียดฝ่าพระบาททั้งสองมา

เถิด ภิกษุผู้ประเสริฐทั้งหลาย จะขอถวายบังคมพระองค์

ผู้เป็นศาสดา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุว พุทฺโธ ความว่า พระองค์เท่านั้น

เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าในโลกนี้. พระองค์เท่านั้น ชื่อว่าเป็นพระ-

ศาสดา เพราะทรงสั่งสอนสัตว์ทั้งหลายด้วยประโยชน์ปัจจุบันเป็นต้น.

ชื่อว่าเป็นผู้ครอบงำมาร เพราะทรงครอบงำพวกมารทั้งปวง. ชื่อว่าเป็น

มุนี เพราะความเป็นผู้รู้.

บทว่า อนุสเย เฉตฺวา ได้แก่ ตัดอนุสัยมีกามราคะเป็นต้น ด้วย

ศาสตราคือพระอริยมรรค.

บทว่า ติณฺโณ ความว่า พระองค์เองทรงข้ามโอฆะใหญ่ คือสงสาร

ได้แล้ว ยังทรงให้เหล่าสัตว์นี้ข้ามไปด้วยหัตถ์คือเทศนา.

บทว่า อุปธิ ได้แก่ อุปธิทั้งปวงมีขันธูปธิเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 121

บทว่า อนุปาทาโน ได้แก่ ทรงละกามุปาทานเป็นต้น ได้ทั้งหมด.

พระเถระครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พร้อมทั้งบริษัทได้ถวายบังคมพระศาสดา

ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาเสลเถรคาถาที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 122

๗. ภัททิยกาลิโคธาปุตตเถรคาถา

ว่าด้วยความสุขอื่นจากความสุขในวิเวกไม่มี

[๓๙๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพระองค์จะไปไหน

ก็ขึ้นคอช้างไป แม้จะนุ่งห่มผ้า ก็นุ่งห่มแต่ผ้าที่ส่งมาจาก

แคว้นกาสีมีเนื้ออันละเอียด แม้จะบริโภค ก็บริโภคแต่

อาหารล้วนเป็นข้าวสาลี พร้อมด้วยเนื้ออันสะอาดมีโอชา-

รส ถึงกระนั้น ความสุขนั้นก็หาได้ทำจิตของข้าพระองค์

ยินดีเหมือนความสุขในวิเวกในบัดนี้ไม่ แต่เดี๋ยวนี้

ข้าพระองค์ผู้มีนามว่าภัททิยะ เป็นโอรสของพระนางกาลิ-

โคธา เป็นผู้เจริญประกอบด้วยความเพียร ยินดีแต่อาหาร

ที่ได้มาด้วยการเที่ยวบิณฑบาต ไม่ถือมั่นในสิ่งใด ๆ เพ่ง

ฌานอยู่ บัดนี้ข้าพระองค์ผู้ชื่อว่าภัททิยะ เป็นโอรสของ

พระนางกาลิโคธา ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ประ-

กอบด้วยความเพียร ยินดีแต่อาหารที่ได้มาด้วยการ

บิณฑบาต ไม่ถือมั่นในสิ่งใด ๆ เพ่งฌานอยู่ บัดนี้

ข้าพระองค์ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ประกอบด้วย

ความเพียร... บัดนี้ ข้าพระองค์ใช้แต่ผ้าไตรจีวรเป็นวัตร

ประกอบด้วยความเพียร... บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการเที่ยว

บิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตร ประกอบด้วยความ

เพียร... บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการนั่งฉันบนอาสนะแห่ง-

เดียวเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร... บัดนี้ ข้าพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 123

องค์ถือการฉันอาหารเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ประกอบ

ด้วยความเพียร... บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการห้ามอาหารที่

เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร...

บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ประกอบด้วย

ความเพียร... บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร

ประกอบด้วยความเพียร... บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการ

อยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร... บัดนี้

ข้าพระองค์ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร ประกอบด้วย

ความเพียร... บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการอยู่ในเสนาสนะ

ตามที่ท่านจัดให้เป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร... บัดนี้

ข้าพระองค์ถือการนั่งเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร...

บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการเป็นผู้มักน้อยเป็นวัตร ประกอบ

ด้วยความเพียร... บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการเป็นผู้สันโดษ

เป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร... บัดนี้ ข้าพระองค์

ถือการเป็นผู้ชอบสงัดเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร...

บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะเป็นวัตร

ประกอบด้วยความเพียร... บัดนี้ ข้าพระองค์นามว่า

ภัททิยะเป็นโอรสของพระนางกาลิโคธา เป็นผู้ปรารภ

ความเพียร ประกอบด้วยความเพียร ยินดีแต่อาหารที่

ได้มาด้วยการเที่ยวบิณฑบาต ไม่ถือมั่นในสิ่งใด ๆ เพ่ง

ฌานอยู่... ข้าพระองค์ละทิ้งเครื่องราชูปโภค คือ จาน

ทองคำอันมีราคา ๑๐๐ ตำลึง ซึ่งประกอบไปด้วยลวดลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 124

อย่างงดงาม วิจิตรไปด้วยภาพทั้งภายในและภายนอกนับ

ได้ตั้ง ๑๐๐ มาใช้บาตรดินใบนี้ นี้เป็นการอภิเษกครั้งที่สอง

แต่ก่อนข้าพระองค์มีหมู่ ทหารถือดาบรักษาบนกำแพงที่

ล้อมรอบซึ่งสูง และที่ป้อมและซุ้มประตูพระนครอย่าง

แน่นหนา ก็ยังมีความหวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ บัดนี้

ข้าพระองค์ผู้ชื่อว่าภัททิยะ เป็นโอรสของพระนางกาลิโคธา

เป็นผู้เจริญ ไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ละความขลาดกลัว

ภัยได้แล้ว มาหยั่งลงสู่ป่า เพ่งฌานอยู่ ข้าพระองค์ตั้งมั่น

อยู่ในศีลขันธ์ อบรมสติปัญญา ได้บรรลุถึงความสิ้นไป

แห่งสังโยชน์ทั้งปวงโดยลำดับ.

จบภัททิยกาลิโคธาปุตตเถรคาถา

อรรถกถากาลิโคธาปุตตภัททิยเถรคาถาที่ ๗

คาถาของท่านพระภัททิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ยาต เม หตฺถีคีวาย

ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปาง

ก่อนทั้งหลาย ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูล

มีโภคะมาก พอรู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่ง กำลังฟังธรรมอยู่ในสำนักของ

ศาสดา ได้เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศ

ของภิกษุผู้มีสกุลสูง แม้ตนเองก็ปรารถนาฐานันดรนั้น ได้ถวายมหาทาน

แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ตลอดสัปดาห์ แล้วได้กระทำ

ประณิธานไว้.

๑. บาลีเป็นภัททิยกาลิโคธาปุตตเถระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 125

ฝ่ายพระศาสดาทรงเห็นว่าประณิธานของเขานั้น สำเร็จโดยไม่มี

อันตรายข้อขัดข้อง จึงทรงพยากรณ์ให้ ฝ่ายกุลบุตรนั้นครั้นได้สดับพยากรณ์

นั้น จึงทูลถามถึงกรรมที่จะให้เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูง แล้ว

กระทำบุญเป็นอันมากตลอดชีวิต มีอาทิอย่างนี้คือ ให้สร้างสถานที่

ฟังธรรม ๑ ถวายที่นั่งในมณฑปที่ฟังธรรม ๑ ถวายพัด กระทำสักการะ

บูชาพระธรรมกถึก ๑ ถวายเรือนที่อาศัยให้เป็นโรงอุโบสถ ๑ จุติจาก

อัตภาพนั้นท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถัดจากกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ก่อนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายจะ

เสด็จอุบัติขึ้น (เขา) บังเกิดในเรือนของกุฎุมพีในเมืองพาราณสี ได้เห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นอันมากเที่ยวบิณฑบาต แล้วมาประชุมในที่แห่ง

เดียวกันแบ่งภัตตาหารกัน จึงลาดแผ่นหินลาดในที่นั้นแล้วตั้งน้ำล้างเท้า

เป็นต้นไว้ ได้บำรุงจนตลอดอายุ.

เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ตลอดพุทธันดรหนึ่ง

ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลศากยราชในนครกบิลพัสดุ์ ได้มี

ชื่อว่า ภัททิยะ. ภัททิยะนั้นเจริญวัยแล้ว เมื่อพระศาสดาพร้อมกับภิกษุ

กษัตริย์ ๕ รูปมีพระอนุรุทธะเป็นต้น ประทับอยู่ในอนุปิยอัมพวัน จึง

บวชในสำนักของพระศาสดา ได้บรรลุพระอรหัต.

กาลต่อมา พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระอริยะในพระ-

เชตวัน ทรงสถาปนาท่านพระภัททิยะนั้นไว้ในตำแหน่งผู้เลิศแห่งภิกษุ

ทั้งหลายผู้มีตระกูลสูง. ท่านยับยั้งอยู่ด้วยผลสุขและนิพพานสุข. จะอยู่ในป่า

ก็ดีอยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่าง ๆ ก็ดี เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า สุขหนอ

สุขหนอ. ภิกษุทั้งหลายได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลแด่พระศาสดาว่า ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 126

พระภัททิยะโอรสพระนางกาลิโคธา กล่าวเนือง ๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ

เห็นจะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์.

พระศาสดารับสั่งให้เรียกท่านมาแล้วตรัสถามว่า ภัททิยะ ได้ยินว่า

เธอพูดบ่อย ๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ดังนี้ จริงหรือ ? ท่านพระภัททิยะ

ทูลรับว่า จริง พระเจ้าข้า แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกาล

ก่อน เมื่อข้าพระองค์ครองราชย์ ได้มีการจัดอารักขาเป็นอย่างดี แม้ถึง

อย่างนั้นข้าพระองค์ยังกลัว หวาดเสียว ระแวงอยู่ แต่บัดนี้ ข้าพระองค์

บวชแล้ว ไม่กลัวไม่หวาดเสียว ไม่ระแวงอยู่ ดังนี้แล้ว ได้บันลือสีหนาท

ณ เบื้องพระพักตร์ของพระศาสดา ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญู เมื่อก่อนข้าพระองค์จะไปไหน

ก็ขึ้นคอช้างไป แม้จะนุ่งห่มผ้า ก็นุ่งห่มผ้าที่ส่งมาจาก

แคว้นกาสีมีเนื้ออันและเอียด แม้จะบริโภค ก็บริโภคแต่

อาหารล้วนเป็นข้าวสาลี พร้อมด้วยเนื้ออันสะอาดมีโอชา-

รส ถึงกระนั้น ความสุขนั้น ก็หาได้ทำจิตของข้าพระองค์

ให้ยินดีเหมือนความสุขในวิเวกในบัดนี้ไม่. แต่เดี๋ยวนี้

ข้าพระองค์ผู้มีนามว่าภัททิยะ เป็นโอรสของพระนางกาลิ-

โคธา เป็นผู้เจริญ ประกอบด้วยความเพียร ยินดีแต่

อาหารที่ได้มาด้วยการเที่ยวบิณฑบาต ไม่ถือมั่นในสิ่งใด ๆ

เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้มีชื่อว่าภัททยะ เป็น

โอรสของพระนางกาลิโคธา ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็น

วัตร ประกอบด้วยความเพียร ยินดีแต่อาหารที่ได้มาด้วย

การเที่ยวบิณฑบาต ไม่ถือมั่นในสิ่งใด ๆ เพ่งฌานอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 127

บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ประกอบ

ด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์

ใช้แต่ผ้าไตรจีวรเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ

เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการเที่ยวบิณฑบาตตาม

ลำดับตรอกเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯลฯ

เพ่งฌานอยู่. บัดนี้. ข้าพระองค์ถือการนั่งฉันบนอาสนะ

แห่งเดียวเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่ง

ฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการฉันอาหารเฉพาะในบาตร

เป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่.

บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการฉันอาหารที่เขานำมาถวายภาย-

หลังเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่.

บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ประกอบด้วย

ความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์ถือ

การอยู่โคนไม้เป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ

เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร

ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่. บัดนี้

ข้าพระองค์ถือการอยู่ในป่าเป็นวัตร ประกอบด้วยความ

เพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการอยู่

ในเสนาสนะตามที่จัดให้เป็นวัตร ประกอบด้วยความ

เพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการไม่

นอนเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯลฯ เพ่งฌานอยู่.

บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการเป็นผู้มักน้อยเป็นวัตร ประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 128

ด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์

ถือการเป็นผู้สันโดษเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯลฯ

เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการเป็นผู้ชอบความสงัด

เป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่.

บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะเป็นวัตร

ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่. บัดนี้

ข้าพระองค์นามว่าภัททิยะ เป็นโอรสของพระนางกาลิโคธา

เป็นผู้ปรารภความเพียร ประกอบด้วยความเพียร ยินดี

แต่อาหารที่ได้มาด้วยการเที่ยวบิณฑบาต ไม่ถือมั่นในสิ่ง

ใด ๆ เพ่งฌานอยู่. ข้าพระองค์ละทิ้งเครื่องราชูปโภค

คือจานทองคำอันมีค่า ๑๐๐ ตำลึง ซึ่งประกอบด้วยลวดลาย

งดงาม วิจิตรด้วยภาพทั้งภายในและภายนอกนับได้ตั้ง

๑๐๐ มาใช้บาตรดินใบนี้ นี้เป็นอภิเษกครั้งที่สอง. แต่ก่อน

ข้าพระองค์ มีหมู่ทหารถือดาบรักษาบนกำแพงที่ล้อมรอบ

ซึ่งสูง และที่ป้อมและซุ้มประตูพระนครอย่างเป็นหนา

ก็ยังมีความหวาดเสียวอยู่เป็นนิจ บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้ชื่อว่า

ภัททิยะ เป็นโอรสของพระนางกาลิโคธา เป็นผู้เจริญ

ไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ละความขลาดกลัวภัยได้แล้ว

ได้หยั่งลงสู่ป่า เพ่งฌานอยู่. ข้าพระองค์ตั้งมั่นอยู่ใน

ศีลขันธ์ อบรมสติปัญญา ได้บรรลุถึงความสิ้นสังโยชน์

ทั้งปวงโดยลำดับ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาต เม หตฺถิคีวาย ดังนี้เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 129

ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพระองค์แม้เมื่อจะไปก็นั่งบน

คอช้างไป คือเที่ยวไป. แม้เมื่อจะนุ่งห่มผ้า ก็นุ่งห่มผ้าพิเศษที่ทอใน

แคว้นกาสีมีเนื้อละเอียด คือสัมผัสสบาย. แม้เมื่อจะบริโภคข้าวสุก ก็บริโภค

ข้าวสาลีทั้งเก่าและหอมอันเก็บไว้ ๓ ปี ชื่อว่าลาดข้าวกับเนื้ออันสะอาด

เพราะเป็นข้าวลาดด้วยเนื้อสะอาดมีเนื้อนกกระทาและนกยูงเป็นต้น. ความ

สุขนั้นไม่ได้กระทำจิตของข้าพระองค์ให้ยินดี เหมือนดังที่พระเถระแสดง

วิเวกสุขในบัดนี้ จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่าบัดนี้ ภัททิยะนั้น เป็นผู้เจริญดังนี้.

ก็ในที่นี้ พึงทราบว่า ท่านถือเอายานคือม้าและรถด้วยศัพท์ว่า ช้าง ถือเอา

เครื่องราชอลังการทุกอย่างด้วยศัพท์ว่า ผ้า ถือโภชนะทุกชนิดด้วยศัพท์

ว่า ข้าวสุก.

บทว่า โสชฺช ความว่า วันนี้ คือบัดนี้ พระภัททิยะนั้นดำรงอยู่

ในบรรพชา.

บทว่า ภทฺโท ความว่า ชื่อว่าผู้เจริญ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วย

ศีลคุณเป็นต้น.

บทว่า สาตติโก ได้แก่ ผู้ประกอบในความเพียรติดต่อกันในธรรม

เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน.

บทว่า อุญฺฉาปตฺตาคเต รโต ได้แก่ เป็นผู้ยินดียิ่งในอาหารที่

อยู่ในบาตรคือที่นับเนื่องในบาตร ด้วยการเที่ยวแสวงหา อธิบายว่า เป็น

ผู้สันโดษด้วยอาหารที่อยู่ในบาตรนั้นเท่านั้น.

บทว่า ฌายติ ได้แก่ เพ่งอยู่ด้วยฌาน อันสัมปยุตด้วยผล

สมาบัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 130

บทว่า ปุตฺโต โคธาย ได้แก่ เป็นโอรสของพระนางกษัตริย์

พระนามว่ากาลิโคธา.

บทว่า ภทฺทิโธ ความว่า พระเถระผู้มีนามอย่างนี้กล่าว กระทำ

ตนเองให้เป็นดุจคนอื่น.

ชื่อว่าผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เพราะห้ามคหบดีจีวร แล้วสมาทาน

องค์แห่งภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร. ชื่อว่าผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็น

วัตร เพราะห้ามสังฆภัต แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการเที่ยว

บิณฑบาตเป็นวัตร, ชื่อว่าผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร เพราะห้ามอดิเรกจีวร

แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร. ชื่อว่าผู้ถือการเที่ยว

บิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร เพราะห้ามการเที่ยวบิณฑบาตโลเล แล้ว

สมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร,

ชื่อว่าผู้ถือการนั่งฉันบนอาสนะเดียวเป็นวัตร เพราะห้ามการฉันบนอาสนะ

ต่าง ๆ แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่งฉันบนอาสนะแห่งเดียวเป็น

วัตร, ชื่อว่าผู้ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร เพราะห้ามภาชนะใบที่สอง

แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร, ชื่อว่าผู้ถือการ

ห้ามอาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร เพราะห้ามโภชนะที่เหลือเพื่อ

แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการห้ามอาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็น

วัตร, ชื่อว่าผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เพราะห้ามเสนาสนะใกล้บ้าน แล้ว

สมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร, ชื่อว่าผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็น

วัตร เพราะห้ามการอยู่ที่มุงบัง แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการอยู่

โคนไม้เป็นวัตร. ชื่อว่าผู้ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร เพราะห้ามการอยู่ที่

มุงบังและโคนไม้ แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 131

ชื่อว่าผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะห้ามที่ซึ่งมิใช่ป่าช้า แล้วสมาทาน

องค์แห่งภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร, ชื่อว่าผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตาม

ที่เขาจัดให้เป็นวัตร เพราะห้ามความโลเลในเสนาสนะ แล้วสมาทานองค์

แห่งภิกษุผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร, ชื่อว่าผู้ถือการ

นั่งเป็นวัตร เพราะห้ามการนอน แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่ง

เป็นวัตร, ความสังเขปในที่นี้มีเพียงเท่านี้ ส่วนความพิสดารพึงถือเอา

ธุดงค์กถา โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั่นเถิด.

บทว่า อุจฺเจ ได้แก่ ในที่สูงเป็นต้น หรือชื่อว่าสูง เพราะเป็น

ปราสาทชั้นบน.

บทว่า มณฺฑลิปากาเร ได้แก่ ล้อมด้วยกำแพง โดยอาการเป็น

วงกลม.

บทว่า ทฬฺหมฏฺฏาลโกฏฺเก ได้แก่ ประกอบด้วยป้อมและซุ้มประตู

อันมั่นคง อธิบายว่า ในเมือง.

ในบทว่า สตึ ปญฺญฺจ นี้ พระเถระกล่าวถึงสมาธิ โดยหัวข้อ

คือสติ ซึ่งท่านหมายเอาผลสมาบัติและนิโรธสมาบัติ กล่าวไว้ว่า อบรมสติ

และปัญญา ดังนี้. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวไว้ในที่นั้น ๆ

แล้วทั้งนั้น.

พระเถระบันลือสีหนาท ณ เบื้องพระพักตร์ของพระศาสดาด้วยประ-

การฉะนี้. ภิกษุทั้งหลายได้ฟังดังนั้น ได้พากันเลื่อมใสยิ่งแล้ว.

จบอรรถกถากาลิโคธาปุตตภัททิยเถรคาถาที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 132

๘. องคุลิมาลเถรคาถา

ว่าด้วยการหยุดแล้วจากการทำความชั่ว

[๓๙๒] พระองคุลิมาลเถระ สมัยเมื่อยังเป็นโจร ได้กล่าวคาถา

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ดูก่อนสมณะ ท่านสิกำลังเดินอยู่ กลับกล่าวว่า เรา

หยุดแล้ว ส่วนข้าพเจ้าหยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวว่าไม่

หยุด ดูก่อนสมณะ ข้าพเจ้าขอถามความข้อนี้กะท่าน

ท่านกำลังเดินอยู่ เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่าหยุดแล้ว

ข้าพเจ้าสิหยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวว่าไม่หยุด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ดูก่อนองคุลิมาล เราวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว

ส่วนท่านสิยังไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น เราจึงชื่อ

ว่าหยุดแล้ว ส่วนท่านชื่อว่ายังไม่หยุด.

องคุลิมาลโจรกราบทูลว่า

พระองค์เป็นสมณะที่ชาวโลกกับทั้งเทวโลกบูชาด้วย

เครื่องบูชามากมาย ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพิ่ง

จะเสด็จมาถึงป่าใหญ่เพื่อโปรดข้าพระองค์โดยกาลนาน

หนอ ข้าพระองค์ได้สดับพระคาถา ซึ่งประกอบด้วย

เหตุผลของพระองค์แล้ว จักละเลิกบาปกรรมตั้งพันเสีย.

พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวคาถาไว้ ๒ คาถา ความว่า

ครั้นองคุลิมาลโจรกราบทูลดังนี้แล้ว ก็โยนดาบและ

อาวุธทั้งหมดหญิงลงในหนองน้ำ บ่อน้ำ และในเหว ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 133

ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระสุคตเจ้า แล้วทูลขอ

บรรพชากะพระพุทธเจ้า ณ ที่นั้นเอง ทันใดนั้นแล พระ-

พุทธเจ้าประกอบไปด้วยพระมหากรุณา ทรงแสวงหาคุณ

อันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของโลกกับทั้งเทวโลก ได้ตรัสว่า

จงเป็นภิกษุมาเถิด เท่านี้ความเป็นภิกษุได้มีแก่องคุลิมาล

โจรนั้น ในขณะนั้นทีเดียว.

เมื่อท่านพระองคุลิมาลได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว ได้บรรลุอรหัต

แล้วเสวยวิมุตติสุขอยู่ เกิดปีติโสมนัส ได้กล่าวคาถาด้วยสามารถอุทานนี้

ความว่า

ผู้ใดเคยประมาทในตอนต้น ภายหลังเขาไม่ประมาท

ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว

จากหมอกฉะนั้น บาปกรรมที่ทำไร้แล้ว อันผู้ใดย่อมปิด

กั้นไว้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือน

พระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น ภิกษุใดแล แม้จะ

ยังหนุ่ม ประกอบความขวนขวายในพระพุทธศาสนา ภิกษุ

นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว

จากหมอกฉะนั้น ก็ผู้ที่เป็นข้าศึกต่อเรา ขอจงพึงธรรม-

กถาที่เราได้ฟังแล้วในสำนักของพระศาสดา ขอจงประ-

กอบความขวนขวายในพระพุทธศาสนา ขอจงคบหากับ

มนุษย์ผู้เป็นสัตบุรุษ ซึ่งถือมั่นแต่ธรรมอย่างเดียว ก็ผู้ที่

เป็นข้าศึกต่อเรา ขอเชิญฟังธรรมของท่านผู้กล่าวสรร-

เสริญความอดทน ผู้มีปกติสรรเสริญความไม่โกรธ ตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 134

เวลาอันสมควร และขอจงปฏิบัติตามธรรมอันสมควรแก่

ธรรมนั้นเถิด ขออย่าเบียดเบียนเราและชาวประชาหรือ

ว่าสัตว์อื่นใดเลย พึงบรรลุความสงบอย่างเยี่ยม และพึง

รักษาสัตว์ทั้งปวงให้เป็นเหมือนบุตรที่รักเถิด ก็ชาวนาที่

ต้องการน้ำย่อมไขน้ำไป ช่างศรย่อมดัดลูกศร ช่างไม้ย่อม

ถากไม้ บัณฑิตย่อมฝึกตน คนบางพวกฝึกช้างและม้า

เป็นต้น ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้บาง ส่วน

เราเป็นผู้อันพระศาสดาผู้คงที่ทรงฝึกแล้ว โดยไม่ได้ทรง

ใช้อาชญาและศาสตรา, เมื่อก่อนเรามีชื่อว่า อหิงสกะ ผู้

ไม่เบียดเบียน แต่เรายังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ วันนี้เราเป็น

ผู้มีชื่อจริง ไม่เบียดเบียนใคร แต่ก่อนเราเป็นโจรลือชา

ทั่วไปว่าองคุลิมาล ถูกห้วงน้ำใหญ่พัดไปจนได้มาพบพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งเข้า ครั้งก่อนเรามีมือเปื้อนด้วยโลหิต

ลือชื่อไปทุกทิศว่าองคุลิมาล แต่บัดนี้ องคุลิมาลได้มาพบ

พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งเข้าแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่

ภพน้อยภพใหญ่ขึ้นได้แล้ว เราได้ทำกรรมเช่นนั้นอันเป็น

เหตุให้ไปสู่ทุคติเป็นอันมาก จึงต้องมารับผลกรรมที่ทำไว้

แต่บัดนี้ เราบริโภคโภชนะโดยไม่เป็นหนี้ คนพาลผู้มี

ปัญญาทราม ย่อมประกอบตามความประมาท ส่วนนัก

ปราชญ์ ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์

อันประเสริฐสุดฉะนั้น ท่านทั้งหลายอย่าประกอบตาม

ความประมาท อย่าประกอบความสนิทสนมด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 135

ยินดีในกาม เพราะว่าผู้ไม่ประมาทเพ่งพินิจอยู่ ย่อมถึง

ความสุขอันไพบูลย์ การที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดา

เป็นการมาดีแล้ว มิใช่ว่าเป็นการมาไม่ดี การที่เราคิดจะ

บวชในสำนักของพระศาสดานี้ ก็ไม่ใช่เป็นความคิดที่

เลวเลย เพราะเป็นการเข้าถึงธรรมอันประเสริฐ ในธรรม

ทั้งหลายที่พระศาสดาทรงจำแนกดีแล้ว การที่เรามาสู่

สำนักของพระศาสดานี้ เป็นการมาดีแล้ว มิใช่ว่าเป็น

การมาไม่ดี การที่เราคิดจะมาบวชในสำนักของพระ-

ศาสดานี้ ก็ไม่ใช่เป็นความคิดที่เลวเลย เราได้บรรลุ

วิชชา ๓ ตามลำดับ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

เสร็จแล้ว แต่ก่อนเราอยู่ในป่า โคนไม้ ภูเขา หรือใน

ถ้ำทุก ๆ แห่ง มีใจหวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ เราผู้อันพระ-

ศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้วไม่ไปในบ่วงมาร จะยืน เดิน

นั่ง นอนก็เป็นสุข เมื่อก่อนเรามีเชื้อชาติเป็นพราหมณ์

มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ทั้งหลายฝ่าย บัดนี้ เราเป็น

โอรสของพระสุคตศาสดา ผู้เป็นพระธรรมราชา เราเป็น

ผู้ปราศจากตัณหาแล้ว ไม่ถือมั่น คุ้มครองทวาร สำรวม

ดีแล้ว เราตัดรากเหง้าของทุกข์ได้แล้ว บรรลุถึงความสิ้น

อาสวะแล้ว เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดา ทำตามคำ

สอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลง

แล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นแล้ว.

จบองคุลิมาลเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 136

อรรถกถาองคุลิมาลเถรคาถาที่ ๘

คาถาของท่านพระองคุลิมาลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า คจฺฉ วเทสิ สมณ

ิโตมฺหิ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่

ปางก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะไว้ในภพนั้น ๆ ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรพราหมณ์นามว่าภัคควะ ผู้เป็นปุโรหิต

ของพระเจ้าโกศลในเมืองสาวัตถี, ในวันที่ท่านเกิด อาวุธนานาชนิดทั่ว

ทั้งพระนครลุกโพลง และพระแสงมงคลของพระราชา ซึ่งวางอยู่บนตั่ง

ที่บรรทมก็ลุกโพลงด้วย พระราชาทรงเห็นดังนั้นทรงกลัวหวาดเสียว

บรรทมไม่หลับ.

ในเวลานั้น ปุโรหิตตรวจดูดาวนักษัตร จึงได้กระทำการตกลงว่า

มีทารกเกิดแล้วในโจโรฤกษ์ ฤกษ์โจร. เมื่อราตรีสว่าง ท่านปุโรหิตเข้า

ไปเฝ้าพระราชา ทูลถามถึงความบรรทมสบาย. พระราชาตรัสว่า จะนอน

สบายมาแต่ไหน อาจารย์ ตอนกลางคืน พระแสงมงคลของฉันลุกโพลง

ข้อนั้นจักมีผลเป็นอย่างไรหนอ. ปุโรหิตกราบทูลว่า อย่าทรงกลัวเลย

พระเจ้าข้า ทารกเกิดในเรือนของข้าพระองค์, ด้วยอานุภาพของทารก

นั้น แม้อาวุธนานาชนิด ทั่วทั้งพระนครก็ลุกโพลง. พระราชาตรัสถามว่า

จักเป็นอย่างไรล่ะ อาจารย์. ปุโรหิตทูลว่า ทารกจักเป็นโจร พระเจ้าข้า.

พระราชาตรัสถามว่า จักเป็นโจรเที่ยวไปคนเดียว หรือว่าเป็นหัวหน้าคณะ.

ปุโรหิตทูลว่า เป็นโจรเที่ยวไปผู้เดียว พระเจ้าข้า, จักให้พวกข้าพระองค์

ฆ่าเขาไหมพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้าเป็นโจรเที่ยวไปคนเดียวไซร้

พวกท่านจงเลี้ยงเขาไว้ก่อน เมื่อจะตั้งชื่อเขา เพราะเหตุที่เขาเมื่อจะเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 137

ได้เกิดมาเบียดเบียนพระหฤทัยของพระราชา เพราะฉะนั้น จึงตั้งชื่อว่า

หิงสกะ ภายหลังจึงเรียกชื่อว่า อหิงสกะ เหมือนที่พูดกันว่า เห็นแล้วก็

พูดเสียว่าไม่เห็นฉะนั้น.

อหิงสกะนั้น เติบโตแล้ว ทรงกำลังเท่าช้างสาร ๗ เชือก เพราะ

กำลังแห่งบุรพกรรม, อหิงสกะนั้นมีบุรพกรรมดังนี้ :-

ในคราวที่โลกว่างจากพระพุทธเจ้า เขาบังเกิดเป็นชาวนา ได้เห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเปียกน้ำฝน มีจีวรชุ่ม ถูกความหนาวเบียด-

เบียน เข้าไปยังพื้นที่นาของตน เกิดความโสมนัสว่า บุญเขตปรากฏ

แก่เราแล้ว จึงได้ก่อไฟถวาย. ด้วยกำลังแห่งกรรมนั้น เขาจึงเป็นผู้เพียบ

พร้อมด้วยกำลังแรงและกำลังเชาวน์ ในที่ที่เกิดแล้ว ๆ ในอัตภาพสุดท้าย

นี้ จึงทรงกำลังเท่าช้างสาร ๗ เชือก.

อหิงสกะนั้นไปเมืองตักกศิลา เป็นธัมมันเตวาสิก (คือศิษย์ชนิดทำ

การงานให้อาจารย์) ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เรียนศิลปะ ปฏิบัติ

พราหมณ์ผู้อาจารย์ และภรรยาของอาจารย์โดยเคารพ. ด้วยเหตุนั้น

นางพราหมณีนั้น จึงได้ทำการสงเคราะห์เขาด้วยอาหารเป็นต้นที่มีอยู่ใน

เรือน. พวกมาณพอื่น ๆ อดทนไม่ได้ ซึ่งการสงเคราะห์นั้น จึงได้ทำ

ให้แตกกับอาจารย์. พราหมณ์ไม่เชื่อคำของมาณพเหล่านั้น ๒-๓ วาระ

มาภายหลังเชื่อ คิดว่า มาณพมีกำลังมาก ใคร ๆ ไม่อาจฆ่าได้ เราจักฆ่า

เขาด้วยอุบาย จึงกล่าวกะมาณพผู้เรียนจบศิลปะแล้ว มาลาเพื่อจะไปเมือง

ของตนว่า พ่ออหิงสกะ ธรรมดาศิษย์ผู้เรียนจบศิลปะแล้ว จะต้องให้ของ

คำนับครู แก่อาจารย์ เจ้าจงให้ของคำนับครูนั้น แก่เรา. อหิงสกะกล่าว

ว่า ดีแล้วท่านอาจารย์ ผมจักให้อะไร. พราหมณ์กล่าวว่า เจ้าจงนำเอา

นิ้วมือขวาของพวกมนุษย์มา ๑,๐๐๐ นิ้ว. ได้ยินว่า พราหมณ์ได้มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 138

ประสงค์ต่อเขาดังนี้ว่า เมื่อฆ่าคนจำนวนมาก คน ๆ หนึ่งจักฆ่าเขาได้

โดยแท้.

อหิงสกะได้ฟังดังนั้น จึงมุ่งหน้าว่า คนไม่มีความกรุณาที่สะสมไว้

นาน ผูกสอดอาวุธ ๕ อย่าง เข้าไปยังป่าชาลินวัน ในแคว้นของพระ-

เจ้าโกศล อยู่ในระหว่างเขาใกล้หนทางใหญ่ ยืนยอดเขาเห็นพวกมนุษย์ผู้

เดินไปตามทาง จึงรีบไป (ฆ่าตัด) เอานิ้วมือมาห้อยไว้ที่ยอดไม้. แร้งบ้าง

กาบ้าง กินนิ้วมือเหล่านั้น ที่หล่นลงบนพื้นดินก็เปื่อยเน่าไป. เมื่อนิ้วมือ

ไม่ครบจำนวนอย่างนี้ จึงเอาด้ายร้อยนิ้วมือที่ได้แล้ว ๆ กระทำให้เป็นพวง

แล้วสะพายไหล่ เหมือนคล้องสายยัชโญปวีตฉะนั้น ตั้งแต่นั้นมา เขาจึง

ได้มีสมัญญาว่า องคุลิมาล.

เมื่อเขาฆ่าพวกมนุษย์อยู่อย่างนี้ หนทางก็ไม่มีคนใช้เดินทาง. เขา

ไม่ได้มนุษย์ในหนทาง จึงไปยังอุปจารบ้าน แอบฆ่ามนุษย์ที่มาแล้ว ๆ

เอานิ้วมือไป. มนุษย์ทั้งหลายรู้เข้าก็พากันหลีกออกไปจากบ้าน บ้านทั้ง-

หลายก็ร้าง นิคมและชนบทก็เหมือนกัน. ประเทศนั้นได้ถูกเขาทำให้อยู่กัน

ไม่ได้ ด้วยประการฉะนี้. องคุลิมาลได้รวบรวมนิ้วมือได้พันนิ้ว หย่อน

อยู่หนึ่งนิ้ว. ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายได้กราบทูลถึงอันตรายเพราะโจร

นั้นแด่พระเจ้าโกศล. พระราชาจึงรับสั่งให้เที่ยวตีกลองไปในพระนครแต่

เช้าตรู่ว่า พวกเรารีบจับองคุลิมาลโจร, พลนิกายจงมา.

นางพราหมณีชื่อว่ามันตานีผู้เป็นมารดาขององคุลิมาล กล่าวกะบิดา

ขององคุลิมาลนั้นว่า ข่าวว่าบุตรของท่านเป็นโจรกระทำดังนี้ ๆ ท่านจง

ไปเกลี้ยกล่อมเขาว่า อย่าทำเช่นนี้ แล้วพามา พระราชาจะพึงฆ่าเขาโดย

ประการอื่น. พราหมณ์กล่าวว่า เราไม่ต้องการบุตรเช่นนั้น พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 139

จงทรงกระทำตามพอพระทัยเถิด. ลำดับนั้น พราหมณีมีความรักบุตร

จึงถือเอาเสบียงทางแล้วเดินทางไปด้วยหวังใจว่า เราจักยังบุตรของเรา

ให้ยินยอมแล้วพามา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พราหมณีนี้จะไปด้วยหวังว่าจักนำ

องคุลิมาลมา ถ้านางจักไป องคุลิมาลก็จักฆ่ามารดาเสีย ด้วยคิดว่าจะให้

ครบ ๑,๐๐๐ นิ้ว. ก็องคุลิมาลนั้นเป็นปัจฉิมภวิกสัตว์ ถ้าเราจักไม่ไปไซร้

ความเสื่อมใหญ่จักได้มีแล้ว จึงเสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต ทรง

ถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง ทรงดำเนินไปด้วยพระบาทสิ้นหนทาง

๓๐ โยชน์ เฉพาะเจาะจงองคุลิมาล ในระหว่างทาง แม้คนเลี้ยงโคเป็นต้น

ห้ามปรามก็เสด็จเข้าถึงป่าชาลินวัน.

ก็ขณะนั้น พอดีเขาได้เห็นมารดาของเขา ครั้นเขาเห็นมารดา

แต่ไกล จึงเงื้อดาบวิ่งเข้าไปหมายใจว่า แม้มารดาเราก็จักฆ่า ท่านนิ้วที่

หย่อนให้ครบเต็มพันในวันนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระองค์ใน

ระหว่างคนทั้งสองนั้น. องคุลิมาลได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงคิดว่า เรา

จะประโยชน์อะไรด้วยการฆ่ามารดาแล้วถือเอานิ้วมือ มารดาเราจงมีชีวิต

อยู่เถิด ถ้ากระไรเราพึงปลงชีวิตพระสมณะนี้แล้วถือเอานิ้วมือ จึงเงื้อดาบ

ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปข้างหลัง ๆ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงอิทธาภิสังขาร โดย

ประการที่องคุลิมาลแม้จะวิ่งจนสุดแรง ก็ไม่อาจทันพระองค์ทั้งที่พระองค์

เสด็จไปโดยพระอิริยาบถปกติได้. เขาถอยความเร็วลง หายใจครืด ๆ

เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้งสองข้าง ไม่อาจแม้จะยกเท้าขึ้น จึงยืนเหมือน

ตอไม้ กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า หยุดเถิด หยุดเถิด สมณะ พระผู้มี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 140

พระภาคเจ้าแม้เสด็จดำเนินอยู่ จึงตรัสว่า เราหยุดแล้ว องคุลิมาล เธอแหละ

จงหยุด. เขาคิดว่า พระสมณศากยบุตรเหล่านี้แล มีปกติพูดคำสัจจริง

สมณะนี้ทั้ง ๆ ที่เดินไปก็พูดว่า เราหยุดแล้ว องคุลิมาล เธอนั่นแหละ

จงหยุด. ก็เราเป็นผู้หยุดแล้ว สมณะนี้มีความประสงค์อย่างไรแล เราจัก

ถามให้รู้ความประสงค์นั้น จึงได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ดูก่อนสมณะ ท่านสิกำลังเดินอยู่ กลับกล่าวว่า เรา

หยุดแล้ว ส่วนข้าพเจ้าหยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวว่าไม่

หยุด ดูก่อนสมณะ ข้าพเจ้าขอถามความนี้กะท่าน ท่าน

กำลังเดินอยู่ เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่าหยุดแล้ว ส่วน

ข้าพเจ้าสิ หยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวว่าไม่หยุด.

บรรดาบทเหล่านั้น องคุลิมาลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สมณะ,

บทว่า ม แปลว่า ข้าพเจ้า.

บทว่า กถ แปลว่า โดยอาการอย่างไร. ก็ในคาถานี้ มีเนื้อความ

ดังต่อไปนี้ :- ดูก่อนสมณะ ท่านกำลังเดินอยู่แท้ ๆ กลับกล่าวว่า เรา

หยุดแล้ว. ส่วนข้าพเจ้าผู้หยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวคือพูดว่า ยังไม่หยุด

ในข้อนี้น่าจะมีเหตุ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าขอถามความนั้นกะท่าน คือ

กะพระสมณะว่า อย่างไร คือโดยอาการอะไร ท่านได้เป็นผู้หยุดแล้ว

และข้าพเจ้าเป็นผู้ยังไม่หยุด. เมื่อองคุลิมาลกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงได้ตรัสกะเขาด้วยพระคาถาว่า.

ดูก่อนองคุลิมาล เราวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงเสีย

แล้ว ส่วนท่านสิ ยังไม่สำรวมรวมสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น

เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว ส่วนท่านชื่อว่ายังไม่หยุด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 141

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ิโต อห องฺคุลิมาล สพฺพทา

สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑ ความว่า ดูก่อนองคุลิมาล ในทุกกาล

คือในกาลทั้งปวง ได้แก่ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เราวางอาชญา

เสียแล้วในสัตว์ทั้งปวง ชนิดที่เคลื่อนไหวได้และชนิดอยู่กับที่ ชื่อว่าวาง

อาชญา วางศาสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู ชื่อว่าหยุดแล้วโดยอาการ

เห็นปานนั้นนั่นแหละ เพราะไม่เป็นไปโดยประการอื่นจากนั้น.

บทว่า ตุว จ ปาเณสุ อสญฺโตสิ ความว่า ส่วนท่านเป็นผู้

เว้นความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย หยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ยึดมั่นในการ

ฆ่าและการประหาร ไม่มีความเอ็นดู เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าไม่หยุด ด้วย

อำนาจการงดเว้นจากความไม่สำรวม, เพราะเหตุนั้นแหละ คือแม้เพราะ

การหมุนไปรอบ ๆ ในคตินั้น ๆ บัดนี้ ท่านแม้จะหยุดโดยอิริยาบถ ก็ชื่อ

ว่าเป็นผู้ยังไม่หยุด ส่วนเราเป็นผู้หยุดแล้วโดยประการดังกล่าวมาแล้ว.

ลำดับนั้น องคุลิมาลเกิดความปีติโสมนัสว่า พระสมณะนี้ คือพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น เพราะเคยได้ฟังเกียรติศัพท์ของพระผู้มีพระภาค-

เจ้าผู้ประกาศคุณตามความเป็นจริง ผู้ทรงทำชาวโลกทั้งสิ้นให้เอิบอาบอยู่

ดุจน้ำมันเอิบอาบอยู่บนพื้นน้ำฉะนั้น และเพราะเหตุสมบัติและญาณถึง

ความแก่กล้าแล้ว จึงคิดว่าการบันลือสีหนาทใหญ่นี้ การกระหึ่มใหญ่นี้

จักไม่มีแก่ผู้อื่น การกระหึ่มนี้เห็นจะเป็นของพระสมณโคดม เราเป็นผู้

อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ทรงเห็นแล้ว พระผู้มีพระภาค-

เจ้าเสด็จมาที่นี้ เพื่อกระทำการสงเคราะห์เรา จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า

พระองค์เป็นสมณะที่ชาวโลกกับทั้งเทวโลกบูชาด้วย

เครื่องบูชามากมาย ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 142

จะเสด็จมาถึงป่าใหญ่ เพื่อโปรดข้าพระองค์โดยกาลนาน

หนอ ข้าพระองค์ได้สดับพระคาถาซึ่งประกอบด้วยเหตุ

ผลของพระองค์แล้ว จักละเลิกบาปกรรมตั้งพันเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิรสฺส วต ได้แก่ โดยกาลนานหนอ.

บทว่า เม ได้แก่ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์.

บทว่า มหิโต ความว่า ผู้อันชาวโลกกับทั้งเทวโลกบูชาแล้วด้วย

การบูชาอันยิ่งใหญ่. ชื่อว่าพระมเหสี เพราะทรงหาคือแสวงหาคุณมี

ศีลขันธ์เป็นต้นอันใหญ่.

บทว่า มหาวน สมโณ ปจฺจปาทิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ทรงระงับบาปทั้งปวงได้แล้ว ได้เสด็จดำเนินมาถึงป่าใหญ่นี้.

บทว่า โสห จชิสฺสามิ สหสฺสปาป สุตฺวาน คาถ ตว ธมฺมยุตฺต

ความว่า ข้าพระองค์นั้นได้สดับคาถาของพระองค์อันประกอบด้วยธรรม

ข้าพระองค์นั้นครั้นได้ฟังดังนั้นแล้วจึงคิดว่า แม้นาน คือแม้โดยกาลนาน

เราจักละบาปตั้งพันที่รวมกันอยู่ คือที่สั่งสมไว้ บัดนี้จักละมันได้โดยแท้.

ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงประการที่ตนปฏิบัติ และประการที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์ พระสังคีติกาจารย์จึงได้ตั้งคาถา ๒

คาถานี้ว่า

ครั้นองคุลิมาลโจรกราบทูลดังนี้แล้ว ก็โยนดาบและ

อาวุธทั้งหมดทิ้งลงในหนองน้ำ บ่อน้ำ และเหว ได้

ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระสุคตเจ้า แล้วทูลขอ

บรรพชากะพระพุทธเจ้า ณ ที่นั้นเอง ทันใดนั้นแล พระ-

พุทธเจ้าผู้ทรงประกอบไปด้วยพระกรุณา ทรงแสวงหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 143

คุณอันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของโลกกับทั้งเทวโลก ได้

ตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด เท่านี้ ความเป็นภิกษุได้มีแก่

องคุลิมาลโจรนั้นในขณะนั้นทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺเจว ได้แก่ ครั้นกล่าวแล้วดังนี้

คืออย่างนี้ ติดต่อกันไปทีเดียว. บทว่า โจโร ได้แก่ องคุลิมาล. บทว่า

อสึ แปลว่า ดาบ. บทว่า อาวุธ ได้แก่ อาวุธที่เหลือ.

บทว่า โสพฺเภ ได้แก่ บ่อที่มีตลิ่งขาดรอบด้าน (บึง).

บทว่า ปปาเต ได้แก่ บ่อที่มีตลิ่งขาดด้านเดียว (เหว).

บทว่า นรเก ได้แก่ ช่องที่แผ่นดินแยก. ก็ในที่นี้ ท่านกล่าว

ถึงเฉพาะระหว่างภูเขาซึ่งสิ่งของตกลงไปแล้ว คนอื่นไม่อาจถือเอา ด้วยบท

แม้ทั้ง ๓.

บทว่า อนฺวกาสิ ตัดเป็น อนุ อกาสิ ความว่า องคุลิมาลทิ้งลง ๆ

คือโยนทิ้งอาวุธของตนแม้ทั้ง ๕ ชนิด ครั้นโยนทิ้งอาวุธเหล่านั้นแล้ว

ก็ซบศีรษะลงที่พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า

ขอจงให้ข้าพระองค์บวชเถิด พระเจ้าข้า. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

องคุลิมาลโจรได้ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระสุคต แล้วทูลขอ

บรรพชากะพระพุทธเจ้า ณ ที่นั้นเอง. เมื่อองคุลิมาลโจรนั้นทูลขอ

บรรพชาอย่างนี้ พระศาสดาทรงตรวจดูกรรมในก่อนของเขา ทรงเห็น

เหตุสมบัติแห่งความเป็นเอหิภิกษุ จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาออกไป

แล้วตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติ

พรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 144

ก็พระวาจานั้นนั่นแล ได้เป็นบรรพชาและอุปสมบทขององคุลิมาล

นั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสกะองคุลิมาลนั้นว่า

จงเป็นภิกษุมาเถิด เท่านี้ความเป็นภิกษุได้มีแก่องคุลิมาลนั้น ใน

ขณะนั้นทีเดียว.

พระเถระได้การบรรพชาและอุปสมบท โดยความเป็นเอหิภิกขุอย่าง

นี้แล้ว กระทำวิปัสสนากรรมได้บรรลุพระอรหัตแล้ว เสวยวิมุตติสุขอยู่

เกิดความปีติโสมนัส จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาโดยอุทานว่า

ผู้ใดประมาทแล้วในตอนต้น ภายหลังเขาไม่ประมาท

ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว

จากหมอกฉะนั้น. บาปกรรมที่ทำไว้แล้วอันผู้ใดปิดกั้นไว้

ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระ-

จันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น. ภิกษุใดแล แม้จะยังหนุ่ม

ประกอบความขวนขวายในพระพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อม

ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก

ฉะนั้น.

เนื้อความแห่งคำที่เป็นคาถานั้นว่า บุคคลใดจะเป็นคฤหัสถ์หรือ

บรรพชิตก็ตาม ในกาลก่อนแต่การคบทากับกัลยาณมิตร ประมาทแล้ว

โดยการเกี่ยวข้องกับมิตรชั่ว หรือโดยภาวะที่ตนไม่มีการพิจารณา คือถึง

ความประมาทในสัมมาปฏิบัติ ภายหลังความแยบคายผุดขึ้น เพราะการ

เกี่ยวข้องกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าย่อมไม่ประมาท คือปฏิบัติชอบอยู่ หมั่น

ประกอบเนือง ๆ ซึ่งสมถะและวิปัสสนา ย่อมบรรลุวิชชา ๓ อภิญญา ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 145

บุคคลนั้นย่อมทำโลกมีขันธโลกเป็นต้นนี้ ให้สว่างไสวด้วยวิชชาและ

อภิญญาที่ตนบรรลุ เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกเป็นต้น ทำโอกาส-

โลกให้สว่างอยู่ฉะนั้น.

กรรมชั่วที่บุคคลใดทำไว้แล้ว คือสั่งสมไว้แล้ว ย่อมปิดคือกั้นด้วย

การปิดกั้นทวารในอันที่จะยังวิบากให้เกิดขึ้น เพราะภาวะที่โลกุตรกุศลอัน

กระทำกรรมให้สิ้นไป นำเอาภาวะที่ไม่ควรแก่วิบากมาให้. คำที่เหลือ

มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง.

บทว่า ทหโร แปลว่า เป็นหนุ่ม, ด้วยบทว่า ทหโร นั้น ท่าน

แสดงถึงความที่พระเถระเป็นผู้มีร่างกายอดทนต่อการประกอบความเพียร.

จริงอยู่ พระเถระนั้นสามารถครอบงำอันตรายจากลมและแดดที่เกิดขึ้น

แล้วกระทำตามเพียรเป็นเครื่องประกอบ. ย่อมประกอบความขวนขวาย

ในพระพุทธศาสนา คือเป็นผู้ประกอบความขวนขวายในสิกขา ๓ อธิบายว่า

ยังสิกขา ๓ ให้ถึงพร้อมโดยความเคารพ.

พระเถระเกิดปีติโสมนัสอย่างนี้ อยู่ด้วยวิมุตติสุข ในกาลใดเข้าไป

บิณฑบาตในนคร ในกาลนั้น ก้อนดินแม้คนอื่นขว้างมา ก็ตกลงที่ร่างกาย

ของพระเถระ ท่อนไม้แม้ที่คนอื่นปามา ก็ตกลงที่ร่างกายของพระเถระนั้น

เหมือนกัน. พระเถระนั้นมีบาตรแตก เข้าไปยังพระวิหารเข้าเฝ้าพระ-

ศาสดา. พระศาสดาทรงโอวาทพระเถระว่า เธอจงอดกลั้นเถิดพราหมณ์

เธอจงอดกลั้นเถิดพราหมณ์ เธอจงเสวยวิบากของกรรม ที่จะทำให้ไหม้

ในนรกหลายพันปีนั้น เฉพาะในปัจจุบันเถิดพราหมณ์.

ลำดับนั้น พระเถระจึงเข้าไปตั้งเมตตาจิตในสรรพสัตว์ทั้งหลายโดย

ไม่เจาะจง แล้วได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 146

ก็ผู้เป็นข้าศึกต่อเรา จงฟังธรรมกถาที่เราได้ฟังแล้ว

ในสำนักของพระศาสดา ขอจงประกอบความขวนขวาย

ในพระพุทธศาสนา ขอจงคบหากับมนุษย์ผู้เป็นสัตบุรุษ

ผู้ถือมั่นแต่ธรรมอย่างเดียว ก็ผู้เป็นข้าศึกต่อเรา ขอเชิญ

ฟังธรรมของท่านผู้กล่าวสรรเสริญความอดทน ผู้มีปกติ

สรรเสริญความไม่โกรธ ตามเวลาอันควร และขอจง

ปฏิบัติตามธรรมอันสมควรแก่ธรรมนั้นเถิด ขออย่า

เบียดเบียนเราและประชาชนหรือว่าสัตว์อื่นใดเลย พึง

บรรลุความสงบอย่างเยี่ยม และพึงรักษาสัตว์ทั้งปวง ให้

เป็นเหมือนบุตรที่รักเถิด. ก็ชาวนาที่ต้องการน้ำย่อมไขน้ำ

ไป ช่างศรย่อมดัดลูกศร ช่างไม้ย่อมถากไม้ บัณฑิต

ย่อมฝึกตน. คนบางพวกย่อมฝึกช้างและม้าเป็นต้น ด้วย

ท่อนไม้บ้าง ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้บ้าง ส่วนเราเป็นผู้อัน

พระศาสดาผู้คงที่ทรงฝึกแล้ว โดยไม่ได้ทรงใช้อาชญา

และศาสตรา. เมื่อก่อนเรามีชื่อว่า อหิงสกะ ผู้ไม่เบียด-

เบียน แต่เรายังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ วันนี้ เราเป็นผู้มีชื่อ

จริง ไม่เบียดเบียนใคร แต่ก่อนเราเป็นโจรลือชาทั่วไป

ว่าองคุลิมาล แต่บัดนี้ องคุลิมาลได้มาพบพระพุทธเจ้า

ผู้เป็นที่พึ่งเข้าแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพน้อยใหญ่

ขึ้นได้แล้ว เราได้ทำกรรมเช่นนั้นอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ

เป็นอันมาก จึงต้องมารับผลกรรมที่ทำไว้ แต่บัดนี้ เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 147

บริโภคโภชนะโดยไม่เป็นหนี้ คนพาลผู้มีปัญญาทราม

ย่อมประกอบตามความประมาท ส่วนนักปราชญ์ ย่อม

รักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์อันประเสริฐสุด

ฉะนั้น. ท่านทั้งหลายอย่าประกอบตามความประมาท

อย่าประกอบความสนิทสนมด้วยความยินดีในกาม เพราะ

ว่าผู้ไม่ประมาทเพ่งพินิจอยู่ ย่อมถึงความสุขอันไพบูลย์.

การที่เรานาสู่สำนักของพระศาสดา เป็นการมาดีแล้ว

มิใช่ว่าเป็นการมาไม่ดี การที่เราคิดจะมาบวชในสำนัก

ของพระศาสดานี้ ก็ไม่ใช่เป็นความคิดที่เลวเลย เพราะ

เป็นการเข้าถึงธรรมอันประเสริฐ ในธรรมทั้งหลายที่

พระศาสดาทรงจำแนกดีแล้ว การที่เรามาสู่สำนักของ

พระศาสดาทรงจำแนกดีแล้ว การที่เรามาสู่สำนักของ

การที่เราคิดจะมาบวชในสำนักของพระศาสดานี้ ก็ไม่ใช่

เป็นความคิดที่เลวเลย. เราได้บรรลุวิชชา ๓ ตามลำดับ

ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว. แต่ก่อน

เราอยู่ในป่า โคนไม้ ภูเขา หรือในถ้ำทุกแห่ง มีใจ

หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ เราผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์

แล้ว ไม่ไปในบ่วงมาร จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็เป็นสุข.

เมื่อก่อนเรามีเชื้อชาติเป็นพราหมณ์ มีครรภ์เป็นที่ถือ

ปฏิสนธิ บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย บัดนี้เราเป็นโอรสของ

พระสุคตผู้ศาสดา ผู้เป็นพระธรรมราชา เราเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 148

ปราศจากตัณหาแล้ว ไม่ถือมั่น คุ้มครองทวาร สำรวม

ดีแล้ว เราตัดรากเหง้าของทุกข์ได้แล้ว บรรลุถึงความ

สิ้นอาสวะแล้ว เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดา ทำตาม

คำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลง

แล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพเสียแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสาปิ ความว่า แม้โจรผู้ปรากฏ คือ

แม้ข้าศึกผู้ไม่เป็นมิตรต่อเราเหล่าใด ย่อมว่าร้ายเราอย่างนี้ว่า พวกเราถูก

ทุกข์เพราะพลัดพรากจากญาติครอบงำ ย่อมได้รับทุกข์ด้วยอำนาจของ

องคุลิมาลฉันใด แม้องคุลิมาลก็จงได้รับความทุกข์ฉันนั้น.

บทว่า เม ธมฺมกถ สุณนฺตุ ความว่า จงฟังกถาอันปฏิสังยุตด้วย

สัจธรรมทั้ง ๔ ซึ่งเราได้ฟังมาแล้วในสำนักของพระศาสดา.

บทว่า ยุญฺชนฺตุ ความว่า ก็ครั้นได้ฟังแล้ว จงปฏิบัติเพื่อประโยชน์

แก่สัจธรรม ๔ นั้น.

บทว่า เต มนุเช ภชนฺตุ ความว่า จงคบ คือจงเสพกัลยาณมิตร

ผู้เป็นสัปบุรุษเช่นนั้น.

บทว่า เย ธมฺมเมวาทปยนฺติ สนฺโต ความว่า สัปบุรุษเหล่าใดให้

ถือเอา คือให้สมาทาน ให้ยึดถือเฉพาะกุศลธรรม เฉพาะอุตริมนุสธรรม

และเฉพาะโลกุตรธรรมที่บังเกิดแล้ว.

บทว่า ขนฺติวาทาน ได้แก่ ผู้กล่าวเฉพาะอธิวาสนขันติ, เพราะเหตุ

นั้นแหละ จึงเป็นผู้สรรเสริญความไม่โกรธ อธิบายว่า เป็นผู้มีปกติ

สรรเสริญเฉพาะเมตตาอันเป็นความไม่โกรธกับใครๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 149

บทว่า สุณนฺตุ ธมฺม กาเลน ได้แก่ จงฟังธรรมในสำนักของ

สัปบุรุษเหล่านั้น ในกาลประกอบความขวนขวายแล้ว.

บทว่า ตญฺจ อนุวิธียนฺตุ ความว่า และจงเรียนธรรมตามที่ได้ฟัง

นั้นโดยชอบแล้วกระทำตาม คือจงปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

บทว่า น หิ ชาตุ โส มม หึเส ความว่า ข้าศึกคือศัตรูของเรา

นั้น จงเกิดมี แต่ไม่พึงเบียดเบียนเราเลย.

บทว่า อญฺ วา ปน กญฺจิ น ความว่า ไม่ใช่ไม่เบียดเบียนเรา

เท่านั้น แม้สัตว์ไร ๆ อื่นก็ไม่พึงเบียดเบียน. บทว่า ปปฺปุยฺย ปรม สนฺตึ

ความว่า พึงบรรลุความสงบคือพระนิพพานอย่างเยี่ยม คือสูงสุด, ก็ครั้น

บรรลุแล้วพึงรักษาสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า พึงรักษาสัตว์ทั้งปวงด้วยการ

รักษาอย่างยอดเยี่ยม คือพึงรักษาศิษย์เหมือนบุตรฉะนั้น.

พระเถระปลดเปลื้องคนอื่นจากบาป ด้วยคาถาเหล่านี้อย่างนี้แล้ว

จึงกระทำ ชื่อว่าปริตตกิริยา คือกระทำพระปริตร เมื่อจะประกาศการ

ปฏิบัติของตน จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า อุทก หิ ดังนี้.

บรรดาชนเหล่านั้น ชนทั้งหลายใด ขุดที่ดอนของแผ่นดินแล้วทำ

ที่ลุ่มให้เต็ม ทำเหมืองน้ำหรือวางรางไม้ แล้วนำน้ำไปยังที่ที่ตนปรารถนา

แล้วๆ เพราะเหตุนั้น ชนทั้งหลายนั้น ชื่อว่า เนตฺติกา คือผู้ชักน้ำไป.

บทว่า เตชน ได้แก่ ลูกศร. อธิบายว่า คนผู้ไขน้ำย่อมนำน้ำไป

ตามความชอบใจของตน ฝ่ายช่างศร เอาลูกศรอังไฟให้ร้อน เมื่อทำไม่

ให้คด ชื่อว่าดัดลูกศร คือทำให้ตรง, ฝ่ายนายช่างถาก เมื่อถากเพื่อต้อง

การดุมเป็นต้น ชื่อว่าย่อมถากไม้, คือทำให้ตรงหรือคดตามความชอบใจ

ของตนฉันใด บัณฑิตคือคนผู้มีปัญญาก็ฉันนั้น การทำเหตุการณ์เท่านี้ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 150

เป็นอารมณ์ ทำอริยมรรคให้เกิดขึ้น ชื่อว่าย่อมฝึกตน ส่วนท่านผู้บรรลุ

พระอรหัตแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ฝึกเสร็จแล้ว.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะประกาศอาการที่พระศาสดาผู้ทรงเป็นดุจสารถี

ฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้ฝึกตน และความกตัญญู จึงได้กล่าวคาถา ๕ คาถา

มีอาทิว่า ทณฺเฑเนเก ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทณฺเฑเนเก ทมยนฺติ ความว่า พระ-

ราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น ย่อมฝึกข้าศึกเป็นต้น ด้วย

อาชญา และด้วยหมู่พลมีช้างและม้าเป็นต้น และนายโคบาลเป็นต้น ย่อม

ฝึกโคเป็นต้น ด้วยท่อนไม้และด้วยไม้เท้า นายควาญช้างย่อมฝึกช้างด้วย

ขอ และอาจารย์ผู้ฝึกม้า ย่อมฝึกม้าด้วยแส้.

บทว่า อทณฺเฑน อสตฺเถน อห ทนฺโตมฺหิ ตาทินา ความว่า

ส่วนเราเป็นผู้อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ถึงภาวะเป็นผู้คงที่ในอารมณ์

มีอิฏฐารมณ์เป็นต้น ทรงเว้นจากอาชญา ทรงเว้นจากศาสตรา ฝึกแล้ว

คือทรมานแล้วได้แก่กระทำให้หมดพยศแล้ว โดยภาวะที่ทรงวางอาชญา

และวางศาสตรา.

บทว่า อหึสโกติ เม นาม หึสกสฺส ปุเร สโต ความว่า ในกาล

ก่อนแต่ได้สมาคมกับพระศาสดา เราเป็นผู้เบียดเบียน ได้มีแต่เพียงชื่อว่า

ผู้ไม่เบียดเบียน.

บทว่า อชฺชาห ความว่า ก็บัดนี้ เราเป็นผู้มีนามจริง คือนามแท้

ว่า อหิงสกะ ผู้ไม่เบียดเบียน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่เบียดเบียน คือไม่

เบียดเบียนสัตว์แม้ไร ๆ, ศัพท์ว่า เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า วิสฺสุโต ได้แก่ เป็นผู้ปรากฏ โดยนัยมีอาทิว่า เป็นผู้มัก

ฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 151

บทว่า มโหเฆน ได้แก่ ห้วงน้ำใหญ่ มีห้วงน้ำคือกามเป็นต้น,

เราได้ถึง คือเข้าถึงพระพุทธเจ้าผู้ทรงการทำการตัดขาดห้วงน้ำนั้น เป็น

สรณะที่พึ่ง ได้แก่สรณะคือพระพุทธเจ้า.

บทว่า โลหิตปาณี ได้แก่ ผู้มีมือเปื้อนโลหิต คือเลือดของคน

เหล่าอื่น โดยการทำสัตว์มีลมปราณให้ตกล่วงไป.

ด้วยบทว่า สรณคมน ปสฺส นี้ พระเถระร้องเรียกเฉพาะตนเองว่า

ท่านจงดูสรณคมน์ของเรา อันมีผลมาก.

บทว่า ตาทิส กมฺม ได้แก่ กรรมชั่วอันทารุณเห็นปานนั้น มีการ

ฆ่าคนหลายร้อย.

บทว่า ผุฏฺโ กมฺมวิปาเกน ได้แก่ เป็นผู้อันวิบากของกรรมชั่ว

ที่ทำไว้ในกาลก่อนถูกต้องแล้ว คือละกรรมได้สิ้นเชิง เสวยแต่เพียง

วิบาก.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ผุฏฺโ กมฺมวิปาเกน ความว่า เป็นผู้อัน

โลกุตรมรรคซึ่งเป็นผลแห่งกุศลกรรมอันเป็นอุปนิสัย หรืออันวิมุตติสุข

อันเป็นผลของโลกุตรกรรมนั่นแหละ ถูกต้องแล้ว.

เราชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภคโภชนะ เพราะกิเลสทั้งหลายสิ้นไป

แล้วโดยประการทั้งปวง พระเถระพูดถึงปัจจัยทั้ง ๔ โดยอ้างโภชนะ.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะสรรเสริญการปฏิบัติ ในความไม่ประมาทใน

ภายหลัง โดยมุขคือการติเตียนการอยู่ด้วยความประมาทของตนในกาลก่อน

และเมื่อจะทำความอุตสาหะของคนเหล่าอื่นให้เกิด ในความไม่ประมาทนั้น

จึงได้กล่าวคาถามีอาทิว่า ประกอบตามความประมาท ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 152

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความ

เป็นคนพาล ไม่รู้จักประโยชน์โลกนี้และประโยชน์โลกหน้า.

บทว่า ทุมฺเมธิโน แปลว่า ผู้ไม่มีปัญญา, คนไม่มีปัญญาเหล่านั้น

ไม่เห็นโทษในความประมาท ประกอบตามความประมาทอยู่ คือยังความ

ประมาทให้ดำเนินไป ได้แก่ ทำกาลเวลาให้ล่วงเลยไปด้วยความประมาท

เท่านั้น.

บทว่า เมธาวี ความว่า ส่วนบัณฑิตประกอบด้วยปัญญามีโอชะอัน

เกิดแต่ธรรม ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์คือรัตนะ ๗

อันประเสริฐ คือสูงสุดอันเป็นของมีอยู่ในวงศ์ตระกูล. เหมือนอย่างว่า

ชนทั้งหลายเห็นอานิสงส์ในทรัพย์ว่า เราอาศัยอุดมทรัพย์ จักบรรลุ

โภคสมบัติ จักพอเลี้ยงลูกและเมีย จักชำระทางไปสู่สุคติ ย่อมรักษาทรัพย์

ไว้ฉันใด แม้บัณฑิตก็ฉันนั้น เห็นอานิสงส์ในความไม่ประมาทว่า เพราะ

อาศัยความไม่ประมาท เราจักได้เฉพาะปฐมฌานเป็นต้น จักบรรลุมรรคผล

จักยังวิชชา ๓ และอภิญญา ๖ ให้ถึงพร้อม ย่อมรักษาความไม่ประมาท

ไว้ เหมือนทรัพย์อันประเสริฐฉะนั้น.

บทว่า มา ปมาท ความว่า ท่านทั้งหลาย จงอย่าประกอบตามความ

ประมาท คืออย่ายังกาลให้ล่วงเลยไปด้วยความประมาท.

บทว่า กามรติสนฺถว ความว่า ท่านทั้งหลายจงอย่าประกอบตาม

คืออย่าประสบ อย่าได้เฉพาะแม้ตัณหาสันถวะ กล่าวคือความยินดีใน

วัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย.

บทว่า อปฺปมตฺโต หิ ความว่า บุคคลผู้ไม่ชื่อว่าประมาท เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 153

มีสติเข้าไปตั้งไว้ เพ่งอยู่คือ ขวนขายในการเพ่ง ย่อมบรรลุนิพพานสุข

อันยอดเยี่ยม คือสูงสุด.

บทว่า สุวาคต นาปคต ความว่า การที่เรามาในสำนักของพระ-

ศาสดาในกาลนั้น หรือในการที่พระศาสดาเสด็จมาในป่ามหาวันนั้น เป็น

การมาดีแล้ว คือเป็นการมาที่ดี ไม่ใช่เป็นการมาไม่ดี คือเป็นการมาที่ไม่

ไปปราศจากประโยชน์.

บทว่า เนต ทุมฺมนฺติต มม ความว่า ข้อที่เราคิดไว้ในคราวนั้นว่า

จักบวชในสำนักของพระศาสดา แม้นี้ก็ไม่ใช่เป็นความคิดไม่ดีของเรา

คือเป็นความคิดดีทีเดียว. เพราะเหตุไร ? เพราะได้บรรลุในธรรมทั้งหลาย

ที่มีจำแนกไว้แล้ว. อธิบายว่า บรรดาธรรมทั้งหลายที่ทรงจำแนกไว้เป็น

อย่าง ๆ เช่นธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มีโทษเป็นต้น เราบรรลุพระ-

นิพพานอันประเสริฐ คือสูงสุดประเสริฐสุด ได้แก่เข้าถึงพระนิพพานนั้น

นั่นแล.

พระเถระเมื่อจะแสดงภาวะแห่งธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขว่า ในกาลนั้น

ในเวลาที่ยังเป็นปุถุชน เราอยู่ลำบากในป่าเป็นต้น เพราะเป็นผู้มีประโยค

และอาสยวิบัติ บัดนี้ เราอยู่เป็นสุขในป่าเป็นต้นนั้น เพราะเป็นผู้สมบูรณ์

ด้วยประโยคและอาสยะ และเมื่อจะแสดงความเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์ว่า

เมื่อก่อนเราเป็นพราหมณ์แต่เพียงชาติกำเนิด แต่บัดนี้ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์

เพราะเป็นบุตรอันเกิดแต่พระอุระของพระศาสดา จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

อรญฺเ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุข สยามิ ความว่า เราแม้นอนอยู่ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 154

ปราศจากทุกข์ทางใจ นอนเป็นสุข โดยสุขไม่มีทุกข์ เพราะไม่มีความ

สะดุ้งจิตเป็นต้น.

บทว่า ายามิ แปลว่า ยืน.

บทว่า อหตฺถปาโส มารสฺส ได้แก่ ไม่เป็นที่โคจรของกิเลส

เป็นต้น.

บทว่า อโห สตฺถานุกมฺปิโต ความว่า โอ ! พระศาสดาทรง

อนุเคราะห์แล้ว.

บทว่า พฺรหฺมชจฺโจ แปลว่า ผู้มีชาติกำเนิดเป็นพราหมณ์.

บทว่า อุทิจฺโจ อุภโต ได้แก่ ผู้เกิดขึ้นแล้ว คือมีครรภ์บริสุทธิ์

ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา. คำที่เหลือในที่นั้นๆ มีนัยดังกล่าว

แล้วแล.

จบอรรถกถาองคุลิมาลเถรคาถาที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 155

๙. อนุรุทธเถรคาถา

ว่าด้วยตรัสสรรเสริญผู้หมดอาสวะ

[๓๙๓] พระอนุรุทธะละพระชนกชนนี ละพระประยูรญาติ

ละเบญจกามคุณได้แล้ว เพ่งฌานอยู่ บุคคลผู้เพียบพร้อม

ด้วยการฟ้อนรำขับร้อง มีดนตรีบรรเลงปลุกให้รื่นเริงใจ

อยู่ทุกค่ำเช้า ก็ไม่บรรลุถึงความบริสุทธิ์ด้วยการฟ้อนรำ

ขับร้องนั้นได้ เพราะยังเป็นผู้ยินดีในกามคุณอันเป็นวิสัย

แห่งมาร พระอนุรุทธะก้าวล่วงเบญจกามคุณนั้นเสียแล้ว

ยินดีในพระพุทธศาสนา ก้าวล่วงโอฆะทั้งปวงแล้ว เพ่ง

ฌานอยู่ พระอนุรุทธะได้ก้าวล่วงกามคุณเหล่านี้ คือ รูป

เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อันน่ารื่นรมย์ใจแล้ว

เพ่งฌานอยู่ พระอนุรุทธะเป็นนักปราชญ์ หาอาสวะมิได้

ผู้เดียวไม่มีเพื่อน กลับจากบิณฑบาตแล้วเที่ยวแสวงหา

ผ้าบังสุกุลอยู่ พระอนุรุทธะเป็นนักปราชญ์มีปรีชา หา

อาสวะมิได้ เที่ยวเลือกหาเอาแต่ผ้าบังสุกุล ครั้นได้มา

แล้ว ก็มาซักย้อมเอาเองแล้วนุ่งห่ม บาปธรรมอันเศร้า

หมองเหล่านี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้มักมาก ไม่สันโดษ ระคน

ด้วยหมู่ มีจิตฟุ้งซ่าน อนึ่ง ภิกษุใดเป็นผู้มีสติ มักน้อย

สันโดษ ไม่มีความขัดเคือง ยินดีในวิเวก ชอบสงัด

ปรารภความเพียรเป็นนิตย์ กุศลธรรมซึ่งเป็นฝ่ายให้

ตรัสรู้เหล่านี้ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 156

ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ก็ตรัสสรรเสริญภิกษุนั้นว่า

เป็นผู้หมดอาสวะ พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรง

ทราบความดำริของเราแล้ว เสด็จมาหาเรา ด้วยมโน-

มยิทธิทางกาย. เมื่อใด ความดำริได้มีแก่เรา เมื่อนั้น

พระพุทธเจ้าทรงทราบความดำริของเราแล้ว ได้เสด็จเข้า

มาหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วทรงแสดงธรรมอันยิ่งแก่เรา

พระพุทธเจ้าผู้ทรงยินดีในธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า ได้ทรง

แสดงธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้าแก่เรา เรารู้ทั่วถึงพระธรรม-

เทศนาของพระองค์แล้ว เป็นผู้ยินดีในพระศาสนา ปฏิบัติ

ตามคำพร่ำสอนอยู่ เราบรรลุวิชชา ๓ โดยลำดับ ได้ทำ

ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว เราถือการนั่ง

เป็นวัตรมาเป็นเวลา ๕๕ ปี เรากำจัดความง่วงเหงาหาว

นอนมาแล้วเป็นเวลา ๒๕ ปี ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลายถามเราว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วหรือยัง เราได้ตอบว่า

ลมหายใจออกและหายใจเข้ามิได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้มีพระหฤทัยตั้งมั่นคงที่ แต่พระองค์ยังไม่ปรินิพพาน

ก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ผู้ไม่มีตัณหาเป็น

เครื่องทำใจให้หวั่นไหว ทรงทำนิพพานให้เป็นอารมณ์

คือเสด็จออกจากจตุตถฌานแล้ว จึงจะเสด็จปรินิพพาน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอดกลั้นเวทนา ด้วยพระหฤหัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 157

อันเบิกบาน ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นดวงประทีป

ของชาวโลกกับทั้งเทวโลก เสด็จดับขันธปรินิพพาน

ความพ้นพิเศษแห่งพระหฤทัยได้มีขึ้นแล้ว บัดนี้ธรรม

เหล่านี้อันมีสัมผัสเป็นที่ ๕ ของพระมหามุนี ได้สิ้นสุด

ลงแล้ว ในเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน

แล้ว จิตและเจตสิกธรรมเหล่าอื่นจักไม่มีอีกต่อไป ดูก่อน

เทวดา บัดนี้ การอยู่อีกต่อไปด้วยอำนาจการอุบัติใน

เทพนิกาย ย่อมไม่มี ชาติสงสารสิ้นไปแล้ว บัดนี้การ

เกิดในภพใหม่มิได้มี ภิกษุใดรู้แจ้งมนุษยโลก เทวโลก

พร้อมทั้งพรหมโลก อันมีประเภทตั้งพัน ได้ในเวลา

ครู่เดียว ทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญในคุณ คืออิทธิฤทธิ์ และ

ในจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นย่อมเห็น

เทพเจ้าทั้งหลายได้ตามความประสงค์. เมื่อก่อนเรามี

นามว่าอันนภาระ เป็นคนยากจน เที่ยวรับจ้างหาเลี้ยงชีพ

ได้ถวายอาหารแด่พระอุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นสมณะ

เรืองยศ. เพราะบุญกรรมที่ได้ทำมาแล้ว เราจึงได้มาเกิด

ในศากยตระกูล พระประยูรญาติขนานนามให้เราว่า

อนุรุทธะ เป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยการฟ้อนรำและขับร้อง

มีเครื่องดนตรีบรรเลงปลุกให้รื่นเริงใจอยู่ทุกค่ำเช้า ต่อมา

เราได้เห็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มี

ภัยแต่ที่ไหนๆ ได้ยังจิตให้เลื่อมใสในพระองค์ท่านแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 158

ออกบวชเป็นบรรพชิต เราระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้ เรา

ได้เคยเป็นท้าวสักกรินทร์เทวราชอยู่ในดาวดึงส์เทพพิภพ

มาแล้ว เราได้ปราบปรามไพรีพ่ายแพ้แล้ว ขึ้นผ่านสมบัติ

เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จอมมนุษย์นิกรในชมพูทวีป มี

สมุทรสาครทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ๗ ครั้ง ได้ปกครองปวง

ประชานิกรโดยธรรม ด้วยไม่ต้องใช้อาชญาหรือศาสตรา

ใด ๆ เราระลึกชาติหนหลังในคราวที่อยู่ในมนุษยโลกได้

ดังนี้คือเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ชาติ เป็นพระอินทร์

๗ ชาติ รวมการท่องเที่ยวอยู่เป็น ๑๔ ชาติด้วยกัน ใน

เมื่อสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นธรรมอันเอกปรากฏ

ขึ้น ที่เราได้ความสงบระงับกิเลส ทิพยจักษุของเราจึง

บริสุทธิ์ เราดำรงอยู่ในฌานอันประกอบด้วยองค์ ๕ ประ-

การ รู้จุติและอุปบัติ การมา การไป ความเป็นอย่างนี้และ

ความเป็นอย่างอื่น ของสัตว์ทั้งหลาย เรามีความคุ้นเคยกับ

พระบรมศาสดาเป็นอย่างดี เราได้ทำตามคำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงได้แล้ว

ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ

จักนิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ภายใต้พุ่มกอไผ่

ใกล้บ้านเวฬุวคามแห่งแคว้นวัชชี.

จบอนุรุทธเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 159

อรรถกถาอนุรุทธเถรคาถาที่ ๙

คาถาของท่านพระอนุรุทธเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปหาย มาตาปิตโร

ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่

ปางก่อน บังเกิดเป็นกุฎุมพี ผู้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ. ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ วันหนึ่ง เขาไปวิหารฟังธรรมในสำนัก

ของพระศาสดา ได้เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ใน

ตำแหน่งผู้เลิศแห่งภิกษุผู้มีจักษุทิพย์ แม้ตนเองก็ปรารถนาฐานันดรนั้น

จึงยังมหาทานให้เป็นไปตลอด ๗ วัน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีภิกษุ

บริวารแสนหนึ่ง ในวันที่ ๗ ได้ถวายผ้าชั้นเลิศแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และ

ภิกษุสงฆ์ แล้วกระทำปณิธานความปรารถนาไว้ ฝ่ายพระศาสดาทรง

ทราบว่าความปรารถนาของเขาจะสำเร็จโดยไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์

ว่า ในอนาคตกาล จักเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้มีจักษุทิพย์ในศาสนาของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม. แม้เขาก็ทำบุญทั้งหลายในพระ-

ศาสดานั้น เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อพระเจดีย์ทองสูง ๗ โยชน์

สำเร็จแล้ว ก็ทำการบูชาประทีปอย่างโอฬาร ด้วยต้นไม้ประดับประทีป

และตัวประทีปหลายพัน โดยอธิษฐานว่า ขอจงเป็นอุปนิสัยปัจจัยแก่

ทิพยจักษุญาณเถิด.

เขากระทำบุญทั้งหลายจนตลอดชีวิตด้วยประการอย่างนี้ แล้วท่อง-

เที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป

บังเกิดในเรือนกุฎุมพี ในเมืองพาราณสี ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เมื่อ

พระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อสร้างพระเจดีย์ทองโยชน์หนึ่งสำเร็จแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 160

ให้สร้างถาดสำริดเป็นจำนวนมาก บรรจุเต็มด้วยเนยใสอย่างใส แล้ววาง

ก้อนงบน้ำอ้อยก้อนหนึ่ง ๆ ไว้ตรงกลาง วางล้อมพระเจดีย์ให้ขอบปาก

กับขอบปาก (ถาด) จดกัน ส่วนตนให้สร้างถาดสำริดใหญ่ถาดหนึ่ง บรรจุ

เต็มด้วยเนยใสอย่างใส. ตามไส้ ๑,๐๐๐ ไส้ ให้สว่างโพลง แล้วทูนศีรษะ

เดินเวียนพระเจดีย์ตลอดคืนยังรุ่ง.

ในอัตภาพแม้นั้น เขาทำกุศลจนตลอดชีวิตด้วยประการอย่างนี้ จุติ

จากอัตภาพนั้นไปบังเกิดในเทวโลก ดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นจนตลอดอายุ

จุติจากเทวโลกนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ ได้บังเกิดในตระกูล

เข็ญใจ ในเมืองพาราณสีนั่นแล ได้มีชื่อว่าอันนภาระ. นายอันนภาระนั้น

กระทำการงานในเรือนของสุมนเศรษฐีเลี้ยงชีวิตอยู่. วันหนึ่ง เขาเห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า อุปริฏฐะ ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว เหาะ

จากภูเขาคันธมาทน์ มาลงใกล้ประตูเมืองพาราณสี ห่มจีวรแล้วเข้าไป

บิณฑบาตในเมือง มีจิตเลื่อมใสรับบาตร เริ่มประสงค์จะใส่ภัตตาหาร

ที่เขาแบ่งไว้ส่วนหนึ่ง ซึ่งเขาเก็บไว้เพื่อตน ในบาตรถวายพระปัจเจก-

พุทธเจ้า. ฝ่ายภรรยาของเขา ก็ใส่ภัตตาหารอันเป็นส่วนของตนในบาตร

นั้นเหมือนกัน. เขานำบาตรนั้นไปวางในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า.

พระปัจเจกพุทธเจ้ารับบาตรนั้น กระทำอนุโมทนาแล้วหลีกไป.

เพราะได้เห็นการกระทำนั้น ตกกลางคืน เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ฉัตรของ

สุมนเศรษฐี ได้อนุโมทนาด้วยเสียงดัง ๆ ว่า โอ ทาน เป็นทานอย่างเยี่ยม

นายอันนภาระประดิษฐานไว้ดีแล้วในพระอริฏฐปัจเจกพุทธเจ้า. สุมน-

เศรษฐีได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า ทานที่เทวดาอนุโมทนาอย่างนี้นี่แหละ เป็น

อุดมทาน จึงขอส่วนบุญในทานนั้น. ฝ่ายนายอันนภาระได้ให้ส่วนบุญแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 161

ท่านเศรษฐีนั้น. สุมนเศรษฐีมีจิตเลื่อมใสกับนายอันนภาระนั้น ได้ให้

ทรัพย์พันหนึ่งแก่เขาแล้วกล่าวว่า จำเดิมแต่นี้ไป ท่านไม่มีกิจในการ

ทำงานด้วยมือของตน ท่านจงสร้างบ้านให้เหมาะสมแล้วอยู่ประจำเถิด.

เพราะเหตุที่บิณฑบาตซึ่งถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ออกจาก

นิโรธสมาบัติ ย่อมมีวิบากโอฬารมากในวันนั้นเอง เพราะฉะนั้น ในวันนั้น

สุมนเศรษฐีเมื่อจะไปเฝ้าพระราชา จึงได้พานายอันนภาระนั้นไปด้วย.

แม้พระราชาก็ทรงทอดพระเนตรด้วยความเอื้อเฟื้อ. เศรษฐีกราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราช บุรุษผู้นี้สมควรเป็นผู้จะพึงทอดพระเนตรทีเดียว พระเจ้าข้า

แล้วกราบทูลถึงบุญที่เขาทำในกาลนั้น ทั้งความที่คนได้ให้ทรัพย์พันหนึ่ง

แก่เขาให้ทรงทราบ. พระราชาทรงสดับดังนั้น ก็ทรงโปรด ได้ประทาน

ทรัพย์พันหนึ่ง แล้วทรงสั่งว่า เจ้าจงสร้างบ้านอยู่ในที่ชื่อโน้น. เมื่อ

นายอันนภาระกำลังชำระสถานที่นั้นอยู่ หม้อทรัพย์ใหญ่ก็ผุดขึ้น เขาเห็น

ดังนั้นจึงกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชารับสั่งให้ขนทรัพย์

ทั้งหมดมากองไว้แล้วตรัสถามว่า ในนครนี้ ในเรือนของใครมีทรัพย์

ประมาณเท่านี้บ้าง. อำมาตย์ราชบริพารพากันกราบทูลว่า ของใครๆ

ไม่มีพระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น อันนภาระนี้ จงเป็นผู้ชื่อว่า

อันนภารเศรษฐีในนครนี้ ดังนี้แล้ว พระราชทานฉัตรเศรษฐีแก่เขาใน

วันนั้นเอง.

จำเดิมแต่นั้น เขากระทำกุศลกรรมจนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพ

นั้น ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้

ได้ถือปฏิสนธิในพระราชมนเทียรของพระเจ้าสุกโกทนศากยะ ในเมือง

กบิลพัสดุ์ ได้มีพระนามว่าอนุรุทธะ. เจ้าอนุรุทธะนั้นเป็นพระกนิษฐ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 162

ภาดาของเจ้ามหานามศากยะ เป็นโอรสของพระเจ้าอาของพระศาสดา

เป็นผู้ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง มีบุญมาก อันพวกหญิงนักฟ้อนผู้ประดับประดา

แวดล้อมอยู่ในปราสาท ๓ หลังอันเหมาะสมแก่ฤดูทั้ง ๓ เสวยสมบัติดุจ-

เทวดา เข้าไปเฝ้าพระศาสดาผู้เสด็จประทับอยู่ในอนุปิยอัมพวัน กับกุมาร

ทั้งหลายมีภัททิยกุมารเป็นต้น ผู้อันเจ้าศากยะทั้งหลาย ซึ่งพระเจ้าสุทโธ-

ทนมหาราชให้กำลังใจสั่งไปเพื่อเป็นบริวารของพระศาสดา จึงบวชใน

สำนักของพระศาสดา ก็ในภายในพรรษานั่นเอง ทำทิพยจักษุให้

บังเกิด แล้วเรียนเอากรรมฐานในสำนักของพระธรรมเสนาบดี แล้วไปยัง

ปาจีนวังสทายวัน ในเจติยรัฐ กระทำสมณธรรมอยู่ ตรึกถึงมหาปุริสวิตก

ได้ ๗ ประการ ไม่อาจรู้ประการที่ ๘. พระศาสดาทรงทราบความเป็นไป

ของเธอ จึงตรัสมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ แล้วทรงแสดงมหาอริยวังสปฏิปทา

อันประดับด้วยความยินดีในการเจริญสันโดษด้วยปัจจัย ๔.

ท่านพระอนุรุทธะนั้น เจริญวิปัสสนาตามแนวแห่งพระธรรมเทศนา

นั้น ได้ทำให้แจ้งพระอรหัตมีอภิญญาและปฏิสัมภิทาเป็นองค์ประกอบ.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าสุเมธ

เชษฐบุรุษของโลก เป็นนระผู้องอาจ ผู้นายกของโลก

เสด็จหลีกเร้นอยู่ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระสุเมธสัมพุทธเจ้า

ผู้เป็นนายกของโลก แล้วได้ประคองอัญชลี ทูลอ้อนวอน

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าผู้

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 163

เชษฐบุรุษของโลกเป็นนระผู้องอาจ ขอจงทรงอนุเคราะห์

เถิด ข้าพระองค์ขอถวายประทีป แก่พระองค์ผู้เข้าณานอยู่

ที่ควงไม้ พระสยัมภูผู้ประเสริฐ ธีรเจ้านั้น ทรงรับแล้ว

จึงห้อยไว้ที่ต้นไม้ ประกอบยนต์ในกาลนั้น เราได้ถวาย

ไส้ตะเกียงน้ำมันพันหนึ่ง แก่พระพุทธเจ้าผู้เผาพันธุ์ของ

โลก ประทีปลุกโพลงอยู่ ๗ วันแล้วดับไปเอง ด้วยจิตอัน

เลื่อมใสนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เราละกายมนุษย์

แล้วได้เข้าถึงวิมาน เมื่อเราเข้าถึงความเป็นเทวดา วิมาน

อันบุญกุศลนิรมิตไว้เรียบร้อย ย่อมรุ่งโรจน์โดยรอบ นี้

เป็นผลแห่งการถวายประทีป เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

๒๘ ครั้ง เวลานั้น เรามองเห็นได้ตลอดโยชน์หนึ่งโดย

รอบทั้งกลางวันกลางคืน เราย่อมไพโรจน์ทั่วโยชน์หนึ่ง

โดยรอบ ในกาลนั้น ย่อมครอบงำเทวดาทั้งปวงได้ นี้เป็น

ผลแห่งการถวายประทีป เราได้เป็นจอมเทวดาเสวยราช

สมบัติในเทวโลก ๓๐ กัป ใคร ๆ ย่อมไม่ดูหมิ่นเราได้

นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป เราได้บรรลุทิพยจักษุมอง

เห็นได้ตลอดพันโลกด้วยญาณในศาสนาของพระศาสดา

นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

สุเมธ เสด็จอุบัติในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ นับแต่กัปนี้ เรามีจิต

ผ่องใสได้ถวายประทีปแก่พระองค์ คุณวิเศษเหล่านี้คือ

ปฏิสัมภิทา ๔ ...ฯ ลฯ... คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้

ทำเสร็จแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 164

ครั้นในกาลต่อมา พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระอริย-

เจ้า ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งผู้เลิศแห่ง

ภิกษุทั้งหลายผู้มีจักษุทิพย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุรุทธะนี้เป็นเลิศ

แห่งภิกษุสาวกทั้งหลายของเราผู้มีจักษุทิพย์.

ท่านเสวยวิมุตติสุขอยู่ วันหนึ่ง พิจารณาข้อปฏิบัติของตนแล้วเกิด

ปีติโสมนัส ได้กล่าวคาถาด้วยสามารถอุทานมีอาทิว่า เราละพระชนก

และพระชนนี ดังนี้. ฝ่าอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระสังคีติกาจารย์

ทั้งหลาย เมื่อจะประกาศการบรรพชาและการบรรลุพระอรหัตของพระ-

เถระ ได้กล่าวคาถา ๔ คาถาข้างต้น คาถาต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงมีพระทัยโปรดปรานอริยวังสปฏิบัติของพระเถระ จึงตรัสไว้. คาถา

นอกนี้แม้ทั้งหมด พระเถระเท่านั้นกล่าวไว้ตามเหตุการณ์นั้น ๆ. ดังนั้น

คาถาเหล่านี้ทั้งที่พระเถระกล่าวไว้ ทั้งที่ตรัสไว้โดยเฉพาะพระเถระ ก็พึง

ทราบว่า เป็นคาถาของพระเถระแม้โดยประการทั้งปวง, คือท่านกล่าว

คาถาเหล่านี้ไว้ว่า

พระอนุรุทธะละพระชนกชนนี ละพระประยูรญาติ

ละเบญจกามคุณได้แล้ว เพ่งฌานอยู่ บุคคลผู้เพียบพร้อม

ด้วยการฟ้อนรำขับร้อง มีดนตรีบรรเลงปลุกให้รื่นเริงใจ

อยู่ทุกเช้าค่ำ ก็ไม่บรรลุถึงความบริสุทธิ์ด้วยการฟ้อนรำ

ขับร้องนั้นได้ เพราะยังเป็นผู้ยินดีในกามคุณอันเป็นวิสัย

แห่งมาร. พระอนุรุทธะก้าวล่วงเบญจกามคุณนั้นแล้ว

ยินดีในพระพุทธศาสนา ก้าวล่วงโอฆะทั้งปวงแล้ว เพ่ง

ฌานอยู่. พระอนุรุทธะได้ก้าวล่วงกามคุณเหล่านี้ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 165

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอันรื่นรมย์ใจ เพ่ง

ฌานอยู่. พระอนุรุทธะเป็นนักปราชญ์ หาอาสวะมิได้

ผู้เดียวไม่มีเพื่อน กลับจากบิณฑบาตแล้ว เที่ยวแสวงหา

ผ้าบังสุกุลอยู่. พระอนุรุทธะเป็นนักปราชญ์ มีปรีชา

หาอาสวะมิได้ เที่ยวเลือกหาเอาแต่ผ้าบังสุกุล ครั้นได้

มาแล้ว ก็มาซักย่อมเอาเองแล้วนุ่งห่ม. บาปธรรมอัน

เศร้าหมองเหล่านี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้มักมาก ไม่สันโดษ

ระคนด้วยหมู่ มีจิตฟุ้งซ่าน. อนึ่ง ภิกษุใดเป็นผู้มีสติ

มักน้อย สันโดษ ไม่มีความขัดเคือง ยินดีในวิเวก ชอบ

สงัด ปรารภความเพียรเป็นนิตย์ กุศลธรรมซึ่งเป็นฝ่าย

ให้ตรัสรู้เหล่านี้ ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น ทั้งพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ก็ตรัสสรรเสริญ

ภิกษุนั้นว่า เป็นผู้หมดอาสวะ. พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมใน

โลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว เสด็จมาหาเราด้วย

มโนมยิทธิทางกาย เมื่อใดความดำริได้มีแก่เรา เมื่อนั้น

พระพุทธเจ้าทรงทราบความดำริของเราแล้ว ได้เสด็จ

เข้ามาหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วทรงแสดงธรรมอันยิ่ง

แก่เรา พระพุทธเจ้าผู้ทรงยินดีในธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า

ได้ทรงแสดงธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้าแก่เรา เรารู้ทั่วถึง

พระธรรมเทศนาของพระองค์แล้ว เป็นผู้ยินดีในพระ-

ศาสนา ปฏิบัติตามคำพร่ำสอนอยู่ เราบรรลุวิชชา ๓

โดยลำดับ ได้ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 166

เราถือการไม่นอนเป็นวัตรมาเป็นเวลา ๕๕ ปี เรากำจัด

ความง่วงเหงาหาวนอนมาแล้วเป็นเวลา ๒๕ ปี ในเวลา

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ภิกษุ

ทั้งหลายถามเราว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว

หรือยัง เราได้ตอบว่า ลมหายใจออกและหายใจเข้า

มิได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระหฤทัยตั้งมั่น ผู้คงที่

แต่พระองค์ยังไม่ปรินิพพานก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มี

พระจักษุ ผู้ไม่มีตัณหาเป็นเครื่องทำใจให้หวั่นไหว ทรง

ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ คือเสด็จออกจากจตุตถฌาน

แล้ว จึงจะเสด็จปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

อดกลั้นเวทนาด้วยพระหฤทัยอันเบิกบาน ก็เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ผู้เป็นดวงประทีปของชาวโลกพร้อมเทวโลก

เสด็จดับขันธปรินิพพาน ความพ้นพิเศษแห่งพระหฤทัย

ได้มีขึ้นแล้ว บัดนี้ ธรรมเหล่านี้อันมีสัมผัสเป็นที่ ๕ ของ

พระมหามุนี ได้สิ้นสุดลงแล้ว ในเมื่อพระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า เสด็จปรินิพพานแล้ว จิตและเจตสิกธรรมเหล่าอื่น

จักไม่มีอีกต่อไป. ดูก่อนเทวดา บัดนี้การอยู่อีกต่อไป

ด้วยอำนาจการอุบัติในเทพนิกายย่อมไม่มี ชาติสงสาร

สิ้นไปแล้ว บัดนี้การเกิดในภพใหม่มิได้มี. ภิกษุใดรู้แจ้ง

มนุษยโลก เทวโลกพร้อมทั้งพรหมโลก อันมีประเภท

ตั้งพันได้ในเวลาครู่เดียว ทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญในคุณ คือ

อิทธิฤทธิ์ และในการจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 167

ภิกษุรูปนั้นย่อมเห็นเทพเจ้าทั้งหลายได้ตามความประสงค์.

เมื่อก่อนเรามีนามว่า อันนภาระ เป็นคนยากจนเที่ยว

รับจ้างหาเลี้ยงชีพ ได้ถวายอาหารแก่พระอุปริฏฐปัจเจก-

พุทธเจ้า ผู้เป็นสมณะผู้เรื่องยศ. เพราะบุญกรรมที่ได้ทำ

มาแล้ว เราจึงได้มาเกิดในศากยตระกูล พระประยูรญาติ

ได้ขนานนามให้เราว่า อนุรุทธะ เป็นผู้เพียบพร้อมด้วย

การฟ้อนรำและขับร้อง มีเครื่องดนตรีบรรเลงปลุกให้

รื่นเริงใจอยู่ทุกค่ำเช้า ต่อมาเราได้เห็นพระบรมศาสดา

สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ ได้ยังจิตให้

เลื่อมใสในพระองค์ท่านแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต

เราระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้ เราได้เคยเป็นท้าวสักกรินทร์

เทวราช อยู่ดาวดึงส์เทพพิภพมาแล้ว เราได้ปราบปราม

ไพรีพ่ายแพ้แล้ว ขึ้นผ่านสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

จอมมนุษย์นิกรในชมพูทวีป มีสมุทรสาครทั้ง ๔ เป็น

ขอบเขต ๗ ครั้ง ได้ปกครองปวงประชานิกรโดยธรรม

ด้วยไม่ต้องใช้อาชญาหรือศาสตราใด ๆ เราระลึกชาติหน

หลังในคราวที่อยู่ในมนุษยโลกได้ ดังนี้ คือเป็นพระเจ้า

จักรพรรดิ ๗ ชาติ เป็นพระอินทร์ ๗ ชาติ รวมการ

ท่องเที่ยวอยู่เป็น ๑๔ ชาติด้วยกัน. ในเมื่อสมาธิอันประ-

กอบด้วยองค์เป็นธรรมอันเอกปรากฏขึ้น ที่เราได้ความ

สงบระงับกิเลส ทิพยจักษุของเราจึงบริสุทธิ์. เราดำรงอยู่

ในฌานอันประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ รู้จุติและอุปบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 168

การมา การไป ความเป็นอย่างนี้ แลความเป็นอย่างอื่น

ของสัตว์ทั้งหลาย เรามีความคุ้นเคยกับพระบรมศาสดา

เป็นอย่างดี เราได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

เสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงได้แล้ว ถอนตัณหาเครื่อง

นำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพานด้วย

อนุปาที่เสสนิพพานธาตุ ภายใต้พุ่มกอไผ่ ใกล้บ้าน

เวฬุวคาม แคว้นวัชชี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหาย แปลว่า ละแล้ว. บทว่า

มาตาปิตโร แปลว่า พระชนนีและพระชนก.

จริงอยู่ ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ :- ใคร ๆ อื่นถูกความเสื่อมญาติ

และความเสื่อมโภคทรัพย์ครอบงำ จึงบวช และบวชแล้วก็ขวนขวายกิจ

อื่นอยู่ฉันใด เราฉันนั้นหามิได้ ก็เราละวงญาติใหญ่และกองโภคทรัพย์

มาก ไม่อาลัยในกามทั้งหลายบวชแล้ว.

บทว่า ฌายติ ได้แก่ เป็นผู้ขวนขวายฌานแม้ทั้งสอง คืออารัมมณู-

ปนิชฌาน และลักขณูปนิชฌานอยู่.

บทว่า สเมโต นจฺจคีเตหิ ได้แก่ เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยการ

ฟ้อนและการขับ อธิบายว่า ดูการฟ้อน ฟังการขับร้องอยู่. บางอาจารย์

กล่าวว่า สมฺมโต ดังนี้ก็มี อธิบายว่า อันเขาบูชาแล้วด้วยการฟ้อนและ

การขับร้อง.

บทว่า สมฺมตาฬปฺปโพธโน ความว่า เป็นผู้อันเขาพึงปลุกให้ตื่น

ในเวลาใกล้รุ่งด้วยเสียงดนตรีทั้งหลาย.

บทว่า น เตน สุทฺธิมชฺฌค ความว่า เราไม่ได้บรรลุถึงความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 169

บริสุทธิ์ในสงสาร เพราะการบริโภคกามนั้น.

บทว่า มารสฺส วิสเย รโต ได้แก่ เป็นผู้ยินดีในกามคุณอัน

เป็นอารมณ์ของกิเลสมาร อธิบายว่า ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า สังสาร-

สุทธิ ความบริสุทธิ์ในสงสาร ย่อมมีเพราะการบริโภคกามคุณอันเป็น

อารมณ์ของกิเลสมาร. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก้าวล่วงเบญจ-

กามคุณนั้น ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอต ได้แก่ กามคุณทั้ง ๕ ประการ

นั้น. บทว่า สมติกฺกมฺม แปลว่า ก้าวล่วงพ้นไปแล้ว อธิบายว่า เป็น

ผู้ไม่ห่วงใยละทิ้งไป.

บทว่า สพฺโพฆ ได้แก่ โอฆะทั้งปวง มีโอฆะคือกามเป็นต้น.

เพื่อจะแสดงกามคุณ ๕ โดยสรุป จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูป เสียง

ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มโนรมา มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้ :-

กามคุณมีอาทิว่า เสียง ชื่อว่า เป็นที่รื่นรมย์ใจ คือเป็นที่ทำใจให้เอิบอาบ

เพราะทำใจให้ยินดี โดยอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ.

บทว่า ปิณฺฑปาตมติกฺกนฺโต ได้แก่ ผู้ล่วงพ้นการรับบิณฑบาต

อธิบายว่า กลับจากการรับบิณฑบาต.

บทว่า เอโก ได้แก่ เป็นผู้เดียวไม่มีปัจฉาสมณะ.

บทว่า อหุติโย ได้แก่ ผู้หมดตัณหา. จริงอยู่ ตัณหาชื่อว่าเป็น

เพื่อนสองของตน. เหมือนดังที่ตรัสไว้ว่า บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อนสอง.

บทว่า เอสติ แปลว่า แสวงหา.

บทว่า วิจินิ ความว่า เมื่อแสวงหา ได้เลือกหาในที่ที่เกิดผ้า

บังสุกุล มีกองหยากเยื่อเป็นต้นในที่นั้น ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 170

บทว่า อคฺคหิ ความว่า ครั้นเลือกหาแล้ว ไม่เกลียดแม้ผ้าที่เปื้อน

ของไม่สะอาด จึงถือเอา. บทว่า โธวิ แปลว่า ทำให้สะอาดแล้ว.

บทว่า รชยิ ได้แก่ ซักแล้วเย็บให้ติดกัน แล้วย้อมด้วยการย้อม

อันเป็นกัปปิยะของสมควร.

บทว่า ธารยิ ได้แก่ ครั้นย้อมแล้ว ทำพินทุกัปแล้วใช้ครอง,

คือนุ่งและห่ม.

บัดนี้ พระเถระเมื่อแสดงโอวาทที่พระศาสดาทรงประทานในปาจีน-

วังสทายวัน และความที่ตนถึงที่สุดแห่งโอวาทนั้น จึงได้กล่าวคาถามีอาทิ

ว่า ผู้มักมาก ไม่สันโดษ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหิจฺโฉ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความ

อยากได้ปัจจัยมาก อธิบายว่า ปรารถนาปัจจัยอันยิ่งใหญ่และมาก.

บทว่า อสนฺตุฏฺโ ได้แก่ ผู้ไม่สันโดษ คือเว้นจากสันโดษมี

ยถาลาภสันโดษเป็นต้น.

บทว่า สสฏฺโ ได้แก่ ผู้ระคนด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วย

การระคนอันไม่ควร.

บทว่า อุทฺธโต แปลว่า ผู้ฟุ้งซ่าน.

บทว่า ตสฺส ได้แก่ บุคคลที่กล่าวโดยนัยมีอาทิว่า ผู้มักมาก.

บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายเช่นนี้ คือความมักมาก

ความไม่สันโดษ ความเป็นผู้ระคนด้วยหมู่ ความฟุ้งซ่าน. ชื่อว่าบาป

เพราะอรรถว่าลามก.

บทว่า สงฺกิเลสา ได้แก่ ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเศร้าหมอง เพราะ

กระทำความเศร้าหมองให้แก่จิตนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 171

บทว่า สโต จ โหติ อปฺปิจฺโฉ ความว่า ก็ในกาลใด บุคคล

นี้ เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตร ฟังสัทธรรม ใส่ใจโดยแยบคาย

เป็นผู้มีสติ และละความมักมากเสีย เป็นผู้มักน้อย. ในกาลนั้น ชื่อว่า

เป็นผู้สันโดษ เพราะละความไม่สันโดษ. ชื่อว่าผู้ไม่ขัดเคือง เพราะละ

ความฟุ้งซ่านอันกระทำความขัดเคืองจิต. ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตเป็นสมาธิ

ชื่อว่าผู้ยินดีในควานสงัด เพราะละการคลุกคลีกับหมู่ ชื่อว่า เป็นผู้สงัดแล้ว

เพราะยินดียิ่งในความวิเวก ด้วยความหน่าย ( และ ) ด้วยความเอิบอิ่มใน

ธรรม คือมีใจดี มีจิตยินดี ชื่อว่าปรารภความเพียร เพราะละความ

เกียจคร้าน.

บุคคลนั้นผู้ประกอบด้วยคุณ มีความมักน้อยเป็นต้นอย่างนี้ ย่อมมี

โพธิปักขิยธรรมอันนับเนื่องในมรรค มี ๓๗ ประเภทมีสติปัฏฐานเป็นต้น

อันสงเคราะห์เอาวิปัสสนา ๓ อย่าง ชื่อว่าเป็นกุศล เพราะอรรถว่าเกิด

จากความฉลาด.

บุคคลนั้นผู้ประกอบด้วยโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มี

อาสวะ จำเดิมแต่ขณะแห่งอรหัตมรรค เพราะทำอาสวะทั้งหลายให้สิ้นไป

ด้วยประการทั้งปวง อธิบายว่า ด้วยอำนาจการให้ถึงที่สุดในมหาปุริสวิตก

ในป่าปาจีนวังสทายวัน อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ตรัสไว้

ดังนี้ คือด้วยประการอย่างนี้.

บทว่า มม สงฺกปฺปมญฺาย ความว่า ทรงรู้ความดำริของเรา

ผู้ปรารภมหาปุริสวิตกโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้

สำหรับผู้มักน้อย ธรรมนี้ไม่ใช่สำหรับผู้มักมาก และซึ่งตั้งอยู่โดยภาวะ

ไม่สามารถเพื่อจะให้มหาปุริสวิตกเหล่านั้นถึงที่สุดลงได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 172

บทว่า มโนมเยน ได้แก่ ดุจสำเร็จด้วยใจ อธิบายว่า เปลี่ยน

แปลงไปได้เหมือนกับเนรมิตด้วยใจ.

บทว่า อิทฺธิยา ได้แก่ ด้วยอธิษฐานฤทธิ์ซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า

กายนี้จงเป็นเหมือนจิตนี้.

บทว่า ยทา เม อหุ สงฺกปฺโป มีวาจาประกอบความว่า ใน

กาลใด เราได้มีความปริวิตกว่า มหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ เป็นเช่นไรหนอแล

ในกาลนั้น ทรงทราบความดำริของเรา ได้เสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์.

บทว่า อุตฺตริ เทสยิ ความว่า ทรงแสดงสูงขึ้นให้มหาปุริสวิตก

ข้อที่ ๘ ครบบริบูรณ์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้สำหรับผู้ไม่มีธรรมเครื่อง

เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีในธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า ไม่ใช่สำหรับผู้มี

ธรรมเครื่องเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีในธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า. ก็

พระเถระเมื่อจะแสดงธรรมที่ทรงแสดงแล้วนั้น จึงกล่าวว่า พระพุทธเจ้า

ทรงยินดีในธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า ทรงแสดงธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า.

อธิบายว่า กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ชื่อว่า ปปัญจธรรม ธรรม

เครื่องเนิ่นช้า โลกุตรธรรมทั้งหลายชื่อว่า นิปปปัญจธรรม ธรรมเครื่อง

ไม่เนิ่นช้า เพราะเข้าไปสงบระงับกิเลสเหล่านั้น และเพราะกิเลสเหล่านั้น

ไม่มี, พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยินดี คือทรงยินดียิ่งในธรรมเครื่องไม่

เนิ่นช้านั้น ได้ทรงแสดงธรรมตามที่ทรงบรรลุเช่นนั้น คือทรงประกาศ

พระธรรมเทศนาว่าด้วยสัจจะทั้ง ๔ ที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดงเอง.

บทว่า ตสฺสาห ธมฺมมญฺาย ความว่า เรารู้พระธรรมเทศนา

ของพระศาสดานั้นแล้ว ปฏิบัติตามที่ทรงพร่ำสอนอยู่ เป็นผู้ยินดี คือ

ยินดียิ่งในคำสอนอันสงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 173

พระเถระครั้นแสดงการสมาคมการอยู่ร่วมของตน ซึ่งเป็นประโยชน์

อันพระศาสดาทรงให้สำเร็จแล้วด้วยการสมาคมนั้น บัดนี้เมื่อจะแสดง

ความเป็นผู้ปรารภความเพียร จำเดิมแต่กาลที่คนบวชแล้ว และการเสีย

สละความสุขในการนอน และความสุขในการนอนข้าง เพราะความเป็น

ผู้ไม่ห่วงในร่างกาย และความเป็นผู้ปรารภความเพียร จำเดิมแต่กาลที่มี

มิทธะน้อย จึงกล่าวคาถาว่า ปญฺจปญฺาสวสฺสานิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต เนสชฺชิโก อห ความว่า

จำเดิมแต่กาลที่เราได้เห็นคุณมีอาทิอย่างนี้ว่า ความเกื้อกูลแก่การประกอบ

ความเพียร ความประพฤติของสัปบุรุษอันเกี่ยวเนื่องด้วยกรรมฐาน และ

ความประพฤติขัดเกลากิเลส แล้วเป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรนั้นเป็นเวลา

๕๕ ปี.

บทว่า ยโต มิทฺธ สมูหต ความว่า จำเดิมแต่กาลที่เราเสีย

สละการนอนหลับนั้นเป็นเวลา ๒๕ ปี. บางอาจารย์กล่าวว่า พระเถระ

เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ๕๕ ปี เบื้องต้นไม่ได้หลับ ๒๕ ปี ต่อแต่นั้น

จึงได้หลับในเวลาปัจฉิมยาม เพราะร่างกายอ่อนเปลี้ย.

คาถา ๓ คาถามีอาทิว่า นาหุ อสฺสาสปสฺสาสา นี้ พระเถระถูก

ภิกษุทั้งหลายถามในเวลาที่พระศาสดาเสด็จปรินิพพานว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จปรินิพานแล้วหรือ เมื่อจะประกาศภาวะคือการปรินิพพาน

จึงกล่าวไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาหุ อสฺสาสปสฺสาสา ิตจิตฺตสฺส

ตาทิโน ความว่า ลมอัสสาสปัสสาสะมิได้มีแก่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

ผู้คงที่ ผู้เข้าสมาบัติทุกอย่างอื่นเกลื่อนกล่นด้วยอาการต่าง ๆ โดยอนุโลม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 174

และปฏิโลม แล้วออกจากสมาบัติในตอนหลังสุด มีพระหฤทัยตั้งมั่นอยู่

ในจตุตถฌาน.

ด้วยคำนั้น ท่านแสดงว่า กายสังขารของท่านผู้เข้าจตุตถฌาน ย่อม

ดับไป และลมอัสสาสปัสสาสะ ท่านเรียกว่ากายสังขาร เพราะเหตุนั้น

จำเดิมแต่ขณะอยู่ในจตุตถฌาน ลมอัสสาสปัสสาสะจึงไม่มี.

ชื่อว่าผู้ไม่หวั่นไหว เพราะไม่มีความหวั่นไหวกล่าวคือตัณหา อีก

อย่างหนึ่ง ชื่อว่าผู้ไม่หวั่นไหว เพราะเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิ.

บทว่า สนฺติมารพฺภ ได้แก่ ปรารภ คืออาศัย หมายเอาอนุ-

ปาทิเสสนิพพาน.

บทว่า จกฺขุมา ได้แก่ ผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕. บทว่า ปรินิพฺพุโต

แปลว่า ปรินิพพานแล้ว.

จริงอยู่ ในคำนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

เข้าผลสมาบัติในจตุตถฌานอันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วเสด็จปริ-

นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในลำดับแห่งจตุตถฌานนั้นนั่น-

แหละ.

บทว่า อสลฺลีเนน ได้แก่ มีพระหฤทัยไม่หดหู่ คือเบิกบานดีแท้.

บทว่า เวทน อชฺฌวาสยิ ความว่า เป็นผู้มีสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้น

เวทนาอันเกิดในเวลาใกล้มรณะ. คือไม่เป็นไปตามเวทนาดิ้นรนไปรอบๆ.

ด้วยบทว่า ปชฺโชตสฺเสว นิพฺพาน วิโมกฺโข เจตโส อหุ ท่าน

แสดงว่า ประทีปที่ลุกโพลง อาศัยน้ำมัน อาศัยไส้ จึงโพลงอยู่ เมื่อ

น้ำมันและไส้หมด ย่อมดับไป และดับแล้ว ย่อมไม่ไปอยู่ที่ไหน ๆ ย่อม

หายไปโดยแท้ ย่อมถึงการมองไม่เห็นฉันใด ขันธสันดานก็ฉันนั้น อาศัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 175

กิเลสและอภิสังขารเป็นไปอยู่ เมื่อกิเลสและอภิสังขารเหล่านั้นสิ้นไป ย่อม

ดับไป และดับไปแล้วย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ไหน ๆ ย่อมอันตรธานไปโดยแท้

ย่อมถึงการมองไม่เห็นเลย ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นักปราชญ์

ทั้งหลายย่อมดับไป เหมือนดวงประทีปนี้ดับไปฉะนั้น และมีอาทิว่า

เหมือนเปลวไฟถูกกำลังลมเป่าฉะนั้น.

บทว่า เอเต นี้ ท่านกล่าวโดยความที่ธรรมทั้งหลายอันเป็นไปใน

พระสันดารของพระศาสดา ในขณะเวลาจะปรินิพพาน ได้ประจักษ์แก่

ตน. ชื่อว่ามีครั้งสุดท้าย เพราะเบื้องหน้าแต่นั้นไม่มีการเกิดขึ้นแห่งจิต.

บทว่า ทานิ แปลว่า บัดนี้.

บทว่า ผสฺสปญฺจมา นี้ ท่านกล่าวโดยความที่ธรรมทั้งหลายมี

ผัสสะเป็นที่ ๕ ปรากฏขึ้น. จริงอย่างนั้น แม้ในกถาว่าด้วยจิตตุปบาท

ท่านก็กล่าวธรรมมีผัสสะเป็นที่ ๕ ไว้ข้างต้น.

บทว่า อญฺเ ธมฺมา ได้แก่ ธรรม คือจิตและเจตสิกเหล่าอื่น

พร้อมด้วยที่อาศัย ไม่ใช่จิตและเจตสิกในเวลาปรินิพพาน. ถามว่า แม้จิต

และเจตสิกในเวลาปรินิพพาน ก็จักไม่มีเลยมิใช่หรือ ? ตอบว่า จักไม่มี

ก็จริง แต่เพราะไม่มีความกินแหนงใจ ไม่ควรกล่าวหมายเอาจิตและ

เจตสิกธรรมเหล่านั้นว่า จักไม่มี. หากจะพึงมีความหนึ่งใจว่า ก็ธรรม

อื่นจักมี ดุจมีแก่พระเสขะและปุถุชนไหม ดังนั้น เพื่อจะห้ามความ

แหนงใจข้อนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรมเหล่าอื่นจักไม่มี ดังนี้.

พระเถระเรียกเทวดาว่า ชาลินิ ในคำว่า นตฺถิ ทานิ ปุนาวาโส

เทวกายสฺมึ ชาลินิ นี้ อธิบายว่า บัดนี้เราไม่มีการอยู่อีกต่อไป ด้วย

อำนาจการเกิดในเทวดา คือในเทพนิกาย ได้แก่ในหมู่เทพ. ท่านกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 176

เหตุในข้อนั้นด้วยบทมีอาทิว่า วิกฺขีโณ หมดสิ้นแล้ว.

ได้ยินว่า เทวดานั้นเป็นหญิงบำเรอของพระเถระในชาติก่อน

เพราะฉะนั้น บัดนี้ เทวดานั้นเห็นพระเถระแก่เฒ่าแล้ว จึงมาด้วยความ

สิเนหาอันมีในก่อน อ้อนวอนขอให้อุปบัติในเทวดาว่า ท่านจงตั้งจิตไว้

ในเทพนิกายที่ท่านเคยอยู่ในกาลก่อน. ลำดับนั้น พระเถระได้ให้คำตอบ

แก่เทวดานั้น ด้วยคำมีอาทิว่า บัดนี้ (การอยู่ในภพใหม่ ) ไม่มี. เทวดา

ได้ฟังดังนั้น หมดความหวัง ได้หายไปในที่นั้นเอง.

ลำดับนั้น พระเถระเหาะขึ้นสู่เวหาส เมื่อจะประกาศอานุภาพของ

ตน แก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาว่า ยสฺส มุหุตฺเตน

ดังนี้.

ความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า ภิกษุขีณาสพใดรู้แจ้ง คือรู้ได้โดย

ชอบ ได้แก่ กระทำให้ประจักษ์ซึ่งโลกพร้อมกับพรหมโลกตั้งพันประเภท

คือพันประการ ได้แก่ ประเภทโลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณแสนโกฎิ.

จักรวาล โดยกาลเพียงครู่เดียวเท่านั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้ถึงความชำนาญในคุณ

คืออิทธิฤทธิ์ คือในความถึงพร้อมด้วยฤทธิ์และในจุติและอุปบัติ ด้วย

ประการอย่างนี้ ย่อมเห็นเทวดาในเวลาเข้าไป คือพระเถระนั้นไม่เสื่อม

ในการเห็นเทวดาทั้งหลาย. ได้ยินว่า เมื่อพระเถระกล่าวคาถาว่า บัดนี้

(ภพใหม่) ไม่มี ดังนี้ ด้วยการให้คำตอบแก่เทวดาชาลินี ภิกษุทั้งหลาย

ไม่เห็นเทวดาชาลินี จึงคิดว่า พระเถระร้องเรียกอะไร ๆ ด้วยการเรียก

ธรรมหรือหนอ. พระเถระรู้อาจาระแห่งจิตของภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าว

คาถานี้ว่า ยสฺส มุหุตฺเตน ดังนี้.

๑. อัง. ติก. ๒๐/ ข้อ ๕๒๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 177

บทว่า อนฺนภาโร ปุเร ได้แก่ ผู้มีนามอย่างนี้ในชาติก่อน.

บทว่า ฆาสหารโก ได้แก่ ผู้การทำการรับจ้างเพื่อต้องการเพียงอาหาร

เลี้ยงชีวีต.

บทว่า สมณ ได้แก่ ผู้มีบาปสงบแล้ว.

บทว่า ปฏิปาเหสิ ได้แก่ มอบถวายเฉพาะหน้า, อธิบายว่า

เป็นผู้มีหน้าเฉพาะะด้วยความเลื่อมใส ได้ให้ทานอาหาร.

บทว่า อุปริฏฺ ได้แก่ พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มีนามอย่างนั้น.

บทว่า ยสสฺสิน ได้แก่ ผู้มีเกียรติ คือมียศปรากฏ. ด้วยคาถานี้ พระ-

เถระแสดงถึงบุรพกรรมของตน ซึ่งเป็นเหตุให้ได้สมบัติอันยิ่งใหญ่ จน

กระทั่งอัตภาพสุดท้าย . ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า เรานั้นเกิด

ในศากยตระกูล.

บทว่า อิโต สตฺต ความว่า จุติจากมนุษยโลกนี้ แล้วเป็นเทพ

๗ ครั้ง ด้วยความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์ในเทวโลก.

บทว่า ตโต สตฺต ความว่า จุติจากเทวโลกนั้นแล้วเป็น ๗ ครั้ง

โดยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมนุษยโลก.

บทว่า สสารานิ จตุทฺทส ได้แก่ ท่องเที่ยวไปในระหว่างภพ

๑๔ ครั้ง.

บทว่า นิวาสมภิชานิสฺส แปลว่า ได้รู้ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในชาติ

ก่อน.

บทว่า เทวโลเก ิโต ตทา ความว่า ก็เราได้รู้ขันธ์ที่เคยอาศัย

อยู่ในกาลก่อนนั้น ในอัตภาพนี้เท่านั้นก็หามิได้ โดยที่แท้ ในคราวที่

ดำรงอยู่ในเทวโลก ในอัตภาพที่ล่วงมาติดต่อกับอัตภาพนี้ เราก็ได้รู้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 178

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงอาการที่ตนได้ทิพจักษุญาณและจุตูป-

ปาตญาณ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาโดยนัยมีอาทิว่า ปญฺจงฺคิเก สมาธิ

ประกอบด้วยองค์ ๕.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจงฺคิเก สมาธิมฺหิ ได้แก่ สมาธิ

ในจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา, จริงอยู่ จตุตถฌานสมาธินั้น

ท่านเรียกว่า สมาธิประกอบด้วยองค์ ๕ เพราะประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้

คือความแผ่ไปแห่งปีติ ความแผ่ไปแห่งสุข ความแผ่ไปแห่งใจ ความ

แผ่ไปแห่งอาโลกแสงสว่าง และปัจจเวกขณนิมิต นิมิตสำหรับเป็นเครื่อง

พิจารณา.

บทว่า สนฺเต ความว่า ชื่อว่าสงบ เพราะสงบระงับข้าศึก และ

เพราะมีองค์สงบแล้ว.

บทว่า เอโกทิภาวิเต ได้แก่ ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น อธิบาย

ว่า ถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญในธรรมที่พระพฤติดีแล้ว.

บทว่า ปฏิปฺปสฺสทฺธิลทฺธมฺหิ แปลว่า ได้ความสงบระงับกิเลส

ทั้งหลาย.

บทว่า ทิพฺพจกฺขุ วิสุชฺฌิ เม ความว่า เมื่อสมาธิมีประการ

อย่างนี้พรั่งพร้อมแล้ว ทิพจักษุญาณของเราจึงบริสุทธิ์ คือได้เป็นทิพ-

จักษุญาณอันหมดจด โดยความหลุดพ้นจากอุปกิเลส ๑๑ ประการ.

บทว่า จุตูปปาต ชานานิ ความว่า เรารู้จุติและอุปบัติแห่งสัตว์

ทั้งหลาย, ก็เมื่อรู้ย่อมรู้การมาและการไปของสัตว์ทั้งหลายว่า สัตว์เหล่านี้

มาจากโลกโน้นแล้วอุปบัติในโลกนี้ และไปจากโลกนี้แล้วอุปบัติในโลก

โน้น และเมื่อรู้นั่นแหละ ย่อมรู้ได้ก่อนกว่าอุปบัติถึงความเป็นอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 179

คือความเป็นมนุษย์ของสัตว์เหล่านั้น และความเป็นประการอื่นจากความ

เป็นมนุษย์นั้น และความเป็นเดียรัจฉานโดยประการอื่น. พระเถระเมื่อ

จะแสดงว่า ความรู้นี้นั้นแม้ทั้งหมดย่อมมี ในเมื่อสมาธิอันประกอบด้วย

องค์ ๕ ถึงพร้อม จึงกล่าวว่า ดำรงอยู่ในฌานอันประกอบด้วยองค์ ๕.

ในคำนั้นมีอธิบายว่า เราเป็นผู้ดำรงคือประดิษฐานอยู่ในฌานอันประกอบ

ด้วยองค์ ๕ นั้น จึงรู้อย่างนี้.

พระเถระครั้นแสดงวิชชา ๓ อย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงวิชชาที่ ๓

พร้อมทั้งความสำเร็จแห่งกิจ แม้ที่ได้แสดงไว้แล้วในครั้งก่อน โดย

ประสงค์เอาวิชชา ๓ นั้น จงกล่าวคาถา ๒ คาถาโดยนัยมีอาทิว่า พระ-

ศาสดาเราคุ้นเคยแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วชฺชีน เวฬุวคาเม ได้แก่ ในเวฬุว-

คามแห่งแคว้นวัชชี คือในเวฬุวคามซึ่งเป็นที่เข้าจำพรรษาครั้งสุดท้าย

ในแคว้นวัชชี. บทว่า เหฏฺโต เวฬุคุมฺพสฺมึ ได้แก่ ในภายใต้พุ่มไผ่

พุ่มหนึ่งในเวฬุวคามนั้น. บทว่า นิพฺพายิสฺส แปลว่า เราจักนิพพาน

อธิบายว่า เราจักปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

จบอรรถกถาอนุรุทธเถรคาถาที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 180

๑๐. ปาราสริยเถรคาถา

ว่าด้วยความประพฤติของภิกษุเมื่อก่อนอย่างหนึ่งขณะนี้อย่างหนึ่ง

[๓๙๔] พระปาราสริยเถระผู้เป็นสมณะ ผู้มีจิตแน่วแน่เป็น

อารมณ์เดียว ชอบสงัด เจริญฌาน นั่งอยู่ในป่าใหญ่

มีดอกไม้บานสะพรั่ง ได้มีความคิดว่า เมื่อพระผู้เป็นอุดม

บุรุษเป็นนาถะของโลก ยังทรงพระชนม์อยู่ ความประ-

พฤติของภิกษุทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง เมื่อพระองค์เสด็จ

ปรินิพพานไปแล้ว เดี๋ยวนี้ปรากฏเป็นอย่างหนึ่ง คือภิกษุ

ทั้งหลายแต่ปางก่อน เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้

นุ่งห่มผ้าเป็นปริมณฑล ก็เพียงเพื่อจะป้องกันความหนาว

และลม และปกปิดความละอายเท่านั้น. ภิกษุทั้งหลายแต่

ปางก่อน ขบฉันอาหารประณีตก็ตาม เศร้าหมองก็ตาม

น้อยก็ตาม มากก็ตาม ก็เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น

ไม่ติดไม่พัวพันเลย. ภิกษุทั้งหลายแต่ปางก่อน (แม้จะถูก

ความเจ็บไข้ครอบงำ) ไม่ขวนขวายหาเภสัชปัจจัยอันเป็น

บริขารแห่งชีวิต เหมือนการขวนขวายหาความสิ้นไปแห่ง

อาสวะทั้งหลาย ท่านเหล่านั้นขวนขวายพอกพูนวิเวก มุ่ง

แต่เรื่องวิเวก อยู่ในป่า โคนไม้ ซอกเขาและถ้ำเท่านั้น

ภิกษุทั้งหลายแต่ปางก่อนเป็นผู้อ่อนน้อม มีศรัทธาตั้งมั่น

เลี้ยงง่าย อ่อนโยน มีน้ำใจไม่กระด้าง ไม่ถูกกิเลส

รั่วรด ปากไม่ร้าย เปลี่ยนแปลงตามความคิดอันเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 181

ประโยชน์ของตนแลผู้อื่น เพราะเหตุนั้น ภิกษุแต่ปางก่อน

เป็นผู้มีข้อปฏิบัติในการก้าวไปข้างหน้า ถอยกลับ การ

บริโภคปัจจัย การซ่องเสพโคจร และมีอิริยาบถละมุน

ละไม ก่อให้เกิดความเลื่อมใส เหมือนสายน้ำมันไหล

ออกไม่ขาดสายฉะนั้น บัดนี้ ท่านเหล่านั้น สิ้นอาสวะ

ทั้งปวงแล้ว มักเจริญฌานเป็นอันมาก ประกอบแล้วด้วย

ฌานใหญ่ เป็นพระเถระผู้มั่นคงพากันนิพพานไปเสีย

หมดแล้ว บัดนี้ ท่านเช่นนั้นเหลืออยู่น้อยเต็มที. เพราะ

ความสิ้นไปแห่งกุศลธรรมและปัญญา คำสั่งสอนของ

พระชินเจ้า อันประกอบแล้วด้วยอาการอันประเสริฐทุก

อย่าง จะสิ้นไปในเวลาที่ธรรมทั้งหลายอันลามก และ

กิเลสทั้งหลายเป็นไปอยู่. ภิกษุเหล่าใดปรารถนาความ

เพียรเพื่อความสงัด ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีพระสัท-

ธรรมที่เหลือเป็นข้อปฏิบัติ กิเลสเหล่านี้เจริญงอกงาม

ขึ้น ย่อมครอบงำคนเป็นอันมากไว้ในอำนาจ ดังจะเล่น

กับพวกคนพาล เหมือนปิศาจเข้าสิงทำคนให้เป็นบ้า เพ้อ

คลั่งอยู่ฉะนั้น นรชนเหล่านั้นถูกกิเลสครอบงำ ท่องเที่ยว

ไป ๆ มา ๆ ตามส่วนแห่งอารมณ์นั้น ๆ ในกิเลสวัตถุ ดุจ

ในการโฆษณาที่มีสงครามฉะนั้น. พากันละทิ้งพระสัท-

ธรรม ทำการทะเลาะซึ่งกันและกัน ยึดถือตามความเห็น

ของตน สำคัญสิ่งนี้เท่านั้นประเสริฐ นรชนทั้งหลายที่ละ

ทิ้งทรัพย์สมบัติ บุตรและภรรยา ออกบวชแล้ว พากันทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 182

กรรมที่ไม่ควรทำ แม้เพราะเหตุแห่งภิกษาหารเพียงทัพพี

เดียว ภิกษุทั้งหลายฉันภัตตาหารเต็มอิ่มแล้ว ถึงเวลานอน

ที่นอนหงาย ตื่นแล้วก็กล่าวแต่ถ้อยคำที่พระศาสดาทรงติ

เตียน ภิกษุผู้มีจิตไม่สงบในภายใน พากันเรียนทำแต่

ศิลปะที่ไม่ควรทำ มีการประดับร่มเป็นต้น ย่อมไม่หวัง

ประโยชน์ในทางบำเพ็ญสมณธรรมเสียเลย ภิกษุทั้งหลาย

ผู้มุ่งแต่สิ่งของดี ๆ ให้มาก จึงนำเอาดินเหนียวบ้าง น้ำมัน

บ้าง จุรณเจิมบ้าง น้ำบ้าง ที่นั่งที่นอนบ้าง อาหารบ้าง ไม่

สีฟันบ้าง ผลมะขวิดบ้าง ดอกไม้บ้าง ของควรเคี้ยว

บ้าง บิณฑบาตบ้าง ผลมะขามป้อมบ้าง ไปให้แก่

คฤหัสถ์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายพากันประกอบเภสัช

เหมือนพวกหมอรักษาโรค ทำกิจน้อยใหญ่อย่างคฤหัสถ์

ตบแต่งร่างกายเหมือนหญิงแพศยา ประพฤติตนเหมือน

กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่. บริโภคอามิสด้วยอุบายเป็นอันมาก

คือทำให้คนหลงเชื่อ หลอกลวง เป็นพยานโกงตามโรง

ศาล ใช้เล่ห์เหลี่ยมต่าง ๆ อย่างนักเลง. เที่ยวแส่หา

ในการอ้างเลศ การพูดเลียบเคียง การพูดปริกัป มีการ

เลี้ยงชีพเป็นเหตุ ใช้อุบายรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมาก.

ย่อมยังบริษัทให้บำรุงตนเพราะเหตุแห่งการงาน แต่มิให้

บำรุงโดยธรรม เที่ยวแสดงธรรมตามถิ่นต่าง ๆ เพราะ

เหตุแห่งลาภ มิใช่เพราะนุ่งประโยชน์ ภิกษุเหล่านั้น

ทะเลาะวิวาทกันเพราะเหตุแห่งลาภสงฆ์ เป็นผู้เหินห่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 183

จากอริยสงฆ์ เลี้ยงชีวิตด้วยการอาศัยลาภของผู้อื่น ไม่มี

หิริ ไม่ละอาย จริงอย่างนั้น ภิกษุบางพวกไม่ประพฤติ

ตามสมณธรรมเสียเลย เป็นเพียงคนโล้น คลุมร่างไว้

ด้วยผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น ปรารถนาแต่การสรรเสริญ

ถ่ายเดียว มุ่งหวังแต่ลาภและสักการะ เมื่อธรรมเป็น

เครื่องทำลายมีประการต่าง ๆ เป็นไปอยู่อย่างนี้ การ

บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือการตามรักษาธรรมที่ได้

บรรลุแล้ว ไม่ใช่ทำได้ง่าย เหมือนเมื่อพระศาสดายัง

ทรงพระชนม์อยู่ มุนีพึงตั้งสติเที่ยวไปในบ้าน เหมือน

กับบุรุษผู้ไม่ได้สวมรองเท้า ตั้งสติเที่ยวไปในถิ่นที่มีหนาม

ฉะนั้น พระโยคีเมื่อตามระลึกถึงวิปัสสนาที่ปรารภแล้ว

ในกาลก่อน ไม่ทอดทิ้งวัตรสำหรับภาวนาวิธีเหล่านั้นเสีย

ถึงเวลานี้จะเป็นเวลาสุดท้ายภายหลัง ก็พึงบรรลุอมตบท

ได้ พระปาราสริยเถระผู้เป็นสมณะมีอินทรีย์อันอบรม

แล้ว เป็นพราหมณ์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มีภพใหม่

สิ้นไปแล้ว ครั้นกล่าววิธีปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ปรินิพพาน

ในสาลวัน.

จบปาราสริยเถรคาถา

รวมพระเถระ

ในวีสตินิบาตนี้ พระเถระ ๑๐ รูปนี้ คือ พระอธิมุตตเถระ ๑

พระปาราสริยเถระ ๑ พระเตลุถามิเถระ ๑ พระรัฐปาลเถระ ๑ พระ-

มาลุงกยปุตตเถระ ๑ พระเสลเถระ ๑ พระภัททิยถาลิโคธาปุตตเถระ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 184

พระองคุลิมาลเถระ ๑ พระอนุรุทธเถระ ๑ พระปาราสริยเถระ ๑

ประกาศคาถาไว้ดีเรียบร้อยแล้ว รวมคาถาไว้ ๒๔๕ คาถา.

จบวีสตินิบาต

อรรถกถาปาราสริยเถรคาถาที่ ๑๐

คาถาของพระปาราสริยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สมณสฺส อหุ จินฺตา

ดังนี้. เรื่องของพระเถระนี้ มาแล้วในหนหลังทีเดียว และเมื่อพระศาสดา

ยังทรงพระชนม์อยู่ ในเวลาที่ตนยังเป็นปุถุชนอยู่ ท่านได้กล่าวคาถานั้น

โดยประกาศความคิดในการข่มอินทรีย์ทั้งหลายอันมีใจเป็นที่ ๖. แต่ใน

กาลต่อมา เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว และเมื่อการปรินิพพานของตน

ปรากฏขึ้น จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยอำนาจการประกาศข้อปฏิบัติธรรม

เบื้องสูง แก่ภิกษุทั้งหลายในกาลนั้น และในกาลต่อไป. ในข้อนั้น

พระสังคีติกาจารย์ ได้ตั้งคาถานี้ไว้ว่า

พระปาราสริยเถระผู้เป็นสมณะ ผู้มีจิตแน่วแน่มี

อารมณ์เป็นอันเดียว ชอบสงัด มีปกติเพ่งฌาน นั่งอยู่

ในป่าใหญ่มีดอกไม้บานสะพรั่ง ได้มีความคิดว่า ฯลฯ ดังนี้.

เนื้อความแห่งคำเป็นคาถานั้น มีนัยดังกล่าวในหนหลังนั่นแล.

ส่วนเนื้อความที่เกี่ยวเนื่องกันมีดังต่อไปนี้ :- เมื่อพระศาสดา พระ-

อัครสาวก พระมหาเถระบางพวก ได้ปรินิพพานไปแล้ว เมื่อภิกษุ

ทั้งหลายผู้ว่าง่ายผู้ใครต่อการศึกษา หาได้ยาก และภิกษุทั้งหลายผู้ว่ายาก

มากไปด้วยการปฏิบัติผิดเกิดขึ้นในพระธรรมวินัย ซึ่งมีพระศาสดาล่วงไป

๑. อรรถกถาปาราปริกเถรคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 185

แล้ว พระปาราสริยเถระ ผู้ชื่อว่าสมณะ เพราะสงบบาปได้แล้ว ผู้มีปกติ

เพ่งฌาน มีจิตแน่วแน่ มีอารมณ์เดียว นั่งอยู่ในป่าไม้สาละใหญ่ อัน

มีดอกบานสะพรั่ง ได้มีความคิดคือการพิจารณาเกี่ยวกับข้อปฏิบัติ. นอกนี้

พระเถระนั่นแหละได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ความว่า

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ ผู้เป็นที่พึ่ง

ของชาวโลก ยังทรงพระชนม์อยู่ ความประพฤติของภิกษุ

ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานไป

แล้ว เดี๋ยวนี้ปรากฏเป็นอย่างหนึ่ง. คือภิกษุทั้งหลายแต่

ปางก่อน เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นุ่งห่ม

ผ้าเป็นปริมณฑล เพียงป้องกันความหนาวและลม และ

ปกปิดความละอายเท่านั้น. ขบฉันอาหารประณีตก็ตาม

เศร้าหมองก็ตาม น้อยก็ตาม มากก็ตาม ก็เพื่อยังอัตภาพ

ให้เป็นไปเท่านั้น ไม่ติด ไม่พัวพันเลย. แม้จะถูกความ

ป่วยไข้คารอบงำ ก็ไม่ขวนขวายหาปัจจัยเภสัชบริขารเพื่อ

ชีวิต เหมือนขวนขวายหาความสิ้นอาสวะ ท่านเหล่านั้น

ขวนขวายพอกพูนแต่วิเวก มุ่งแต่ความวิเวก อยู่ในป่า

โคนไม้ ซอกเขา และถ้ำเท่านั้น. ภิกษุทั้งหลายแต่ปาง-

ก่อน เป็นผู้อ่อนน้อม มีศรัทธาตั้งมั่น เลี้ยงง่าย อ่อนโยน

มีน้ำใจไม่กระด้าง ไม่ถูกกิเลสรั่วรด ปากไม่ร้าย เปลี่ยน

แปลงตามความคิดอันเป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่น

เพราะเหตุนั้น ภิกษุแต่ปางก่อน เป็นผู้มีข้อปฏิบัติในการ

ก้าวไปข้างหน้า ถอยกลับ การบริโภคปัจจัย การซ่อง-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 186

เสพโคจร และมีอิริยาบถละมุนละไม ก่อให้เกิดความ

เลื่อมใส เหมือนสายธารน้ำมันไหลออกไม่ขาดสาย

ฉะนั้น. บัดนี้ ท่านเหล่านั้นสิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว เจริญ

ฌานเป็นอันมาก ประกอบด้วยฌานใหญ่ เป็นพระเถระ

ผู้มั่นคงพากันนิพพานไปเสียหมดแล้ว บัดนี้ ท่านผู้เช่น

นั้นเหลืออยู่น้อยเต็มที. เพราะความสิ้นไปแห่งกุศลธรรม

และปัญญา คำสั่งสอนของพระชินเจ้าอันประกอบด้วย

อาการอันประเสริฐทุกอย่าง จะเสื่อมสูญไปในเวลาที่

ธรรมอันลามกและกิเลสทั้งหลายเป็นไปอยู่. ภิกษุเหล่าใด

ปรารถนาความเพียรเพื่อความสงัด ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่า

เป็นผู้มีพระสัทธรรมที่เหลือเป็นข้อปฏิบัติ. กิเลสเหล่านั้น

เจริญงอกงามขึ้น ย่อมครอบงำคนเป็นอันมากไว้ในอำนาจ

ดังจะเล่นกับพวกคนพาล เหมือนปิศาจเข้าสิงทำคนให้เป็น

บ้าเพ้อคลั่งอยู่ฉะนั้น. นรชนเหล่านั้นถูกกิเลสครอบงำ

ท่องเที่ยวไปๆ มา ๆ ตามส่วนแห่งอารมณ์นั้น ๆ ในกิเลส

วัตถุทั้งหลาย ดุจในการโฆษณาที่มีสงครามฉะนั้น. พา

กันละทิ้งพระสัทธรรม ทำการทะเลาะกันแลกัน ยึดถือ

ตามความเห็นของตน สำคัญว่าสิ่งนี้เท่านั้นประเสริฐ.

นรชนทั้งหลายที่ละทิ้งทรัพย์สมบัติ บุตรภรรยา ออก

บวชแล้ว พากันทำกรรมที่ไม่ควรทำ แม้เพราะเหตุแห่ง

ภิกษาหารเพียงทัพพีเดียว ภิกษุทั้งหลายฉันภัตตาหาร

เต็มอิ่มแล้ว ถึงเวลานอนก็นอนหงาย ตื่นแล้วก็กล่าวแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 187

ถ้อยคำที่พระศาสดาทรงติเตียน ภิกษุผู้มีจิตไม่สงบใน

ภายใน พากันเรียนทำแต่ศิลปะที่ไม่ควรทำ มีการ

ประดับร่มเป็นต้น ย่อมไม่หวังประโยชน์ในทางบำเพ็ญ

สมณธรรม. ภิกษุทั้งหลายผู้มุ่งแต่สิ่งของดี ๆ ให้มาก

จึงนำเอาดินเหนียวบ้าง น้ำมันบ้าง จุรณเจิมบ้าง น้ำ

บ้าง ที่นั่งบ้าง อาหารบ้าง ไม้สีฟันบ้าง ผลมะขวิดบ้าง

ดอกไม้บ้าง ของเคี้ยวบ้าง บิณฑบาตบ้าง ผลมะขาม

ป้อมบ้าง ไปให้แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายพา

กันประกอบเภสัช เหมือนพวกหมอรักษาโรค ทำกิจน้อย

ใหญ่อย่างคฤหัสถ์ ตกแต่งร่างกายเหมือนหญิงแพศยา

ประพฤติตนเหมือนกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ บริโภคอามิสด้วย

อุบายเป็นอันมาก คือทำให้คนหลงเชื่อ หลอกลวง เป็น

พยานโกงตามโรงศาล ใช้เล่ห์เหลี่ยมต่าง ๆ อย่าง

นักเลง. เที่ยวแส่หา (ปัจจัย) ในการอ้างเลศ การเลียบ

เคียง การปริกัป มีการเลี้ยงชีพเป็นเหตุ ใช้อุบายรบ

รวมทรัพย์ไว้เป็นอันมาก ย่อมยังบริษัทให้บำเรอตน

เพราะเหตุแห่งการงาน แต่มิให้บำรุงโดยธรรม เที่ยว

แสดงธรรมตามถิ่นต่าง ๆ เพราะเหตุแห่งลาภ มิใช่มุ่ง

ประโยชน์. ภิกษุเหล่านั้นทะเลาะวิวาทกันเพราะเหตุแห่ง

ลาภสงฆ์ เป็นผู้เหินห่างจากอริยสงฆ์ เลี้ยงชีวิตด้วยการ

อาศัยลาภของผู้อื่น ไม่มีหิริ ไม่ละอาย. จริงอย่างนั้น

ภิกษุบางพวกไม่ประพฤติตามสมณธรรมเสียเลย เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 188

เพียงคนโล้น คลุมร่างไว้ด้วยผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น

ปรารถนาแต่ความสรรเสริญถ่ายเดียว มุ่งหวังต่อลาภ

สักการะ. เมื่อธรรมเป็นเครื่องทำลายมีประการต่าง ๆ

เป็นไปอยู่อย่างนี้ การบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ หรือการ

ตามรักษาธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ไม่ใช่ทำได้ง่าย เหมือน

เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่. มุนีพึงตั้งสติเที่ยวไป

ในบ้าน. เหมือนบุรุษผู้ไม่ได้สวมรองเท้าตั้งสติเที่ยวไป

ในถิ่นที่มีหนามฉะนั้น. พระโยคีเมื่อตามระลึกถึงวิปัสสนา

ที่ปรารภนาแล้วในกาลก่อน ไม่ทอดทิ้งวัตรสำหรับภาวนา-

วิธีเหล่านั้น ถึงเวลานี้จะเป็นเวลาสุดท้ายภายหลัง ก็จะ

พึงบรรลุอมตบทได้. พระปาราสริยเถระผู้เป็นสมณะ มี

อินทรีย์อันอบรมแล้ว เป็นพราหมณ์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง

ใหญ่ มีภพใหม่สิ้นไปแล้ว ครั้นกล่าววิธีปฏิบัติอย่างนี้

ปรินิพพานในป่าสาลวัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิริย อาสิ ภิกฺขูน ความว่า เมื่อ

พระโลกนาถ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ ยังทรงดำรงอยู่

คือยังทรงพระชนม์อยู่ ภิกษุทั้งหลายได้มีอิริยะคือความประพฤติโดย

อย่างอื่น คือโดยประการอื่นจากการปฏิบัติในบัดเดี๋ยวนี้ เพราะยังปฏิบัติ

ตามที่ทรงพร่ำสอน.

บทว่า อญฺถา ทานิ ทิสฺสติ มีอธิบายว่า แต่บัดนี้ ความ

ประพฤติของภิกษุทั้งหลายปรากฏโดยประการอื่นจากนั้น เพราะไม่ปฏิบัติ

ตามความเป็นจริง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 189

บัดนี้ เพื่อจะแสดงอาการที่ภิกษุทั้งหลายปฏิบัติ อย่างเมื่อพระศาสดา

ทรงประพฤติอยู่ก่อนนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เพียงป้องกันความหนาว

และลม ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มตฺตฏฺิย ความว่า การป้องกันหนาว

และลมนั้นเป็นประมาณ คือเป็นประโยชน์. ภิกษุทั้งหลายใช้สอยจีวร

กระทำให้เป็นเพียงป้องกันความหนาวและลมเท่านั้น คือเพียงปกปิดอวัยวะ

ที่ให้เกิดความละอายเท่านั้น. อย่างไร ? คือเป็นผู้สันโดษปัจจัยตามมีตาม

ได้ คือถึงความสันโดษในปัจจัยตามมีตามได้ คือตามที่ได้ จะเลวหรือ

ประณีตก็ตาม.

บทว่า ปณีต ได้แก่ ดียิ่ง คือระคนด้วยเนยใสเป็นต้น, ชื่อว่า

เศร้าหมอง เพราะไม่มีความประณีตนั้น.

บทว่า อปฺป ได้แก่ เพียง ๔-๕ คำเท่านั้น.

บทว่า พหุ ยาปนตฺถ อภุญฺชึสุ ได้แก่ แม้เมื่อจะฉันอาหารมากอัน

ประณีต ก็ฉันอาหารเพียงยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น. กว่านั้นไปก็ไม่ยินดี

คือไม่ถึงกับยินดี. ไม่สยบ คือไม่พัวพันบริโภค เหมือนเจ้าของเกวียน

ใช้น้ำมันหยอดเพลา และเหมือนคนมีบาดแผลใช้ยาทาแผลฉะนั้น.

บทว่า ชีวิตานิ ปริกฺขาเร เภสชฺเช อถ ปจฺจเย ได้แก่ ปัจจัย

คือคิลานปัจจัย กล่าวคือเภสัชอันเป็นบริขารเพื่อให้ชีวิตดำเนินไป.

บทว่า ยถา เต ความว่า ภิกษุทั้งหลายแต่ปางก่อนนั้น เป็นผู้

ขวนขวาย คือเป็นผู้ประกอบในความสิ้นอาสวะฉันใด ภิกษุทั้งหลาย

เหล่านั้นก็ฉันนั้น แม้ถูกโรคครอบงำ ก็ไม่เป็นผู้ขวนขวายมากเกินไปใน

คิลานปัจจัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 190

บทว่า ตปฺปรายณา ได้แก่ มุ่งในวิเวก น้อมไปในวิเวก. พระ-

เถระเมื่อแสดงสันโดษในปัจจัย ๔ และความยินดียิ่งในภาวนาด้วยคาถา ๔

คาถาอย่างนี้แล้ว จึงแสดงอริยวังสปฏิปทาของภิกษุเหล่านั้น.

บทว่า นีจา ได้แก่ เป็นผู้มีความประพฤติต่ำ โดยไม่กระทำการยก

ตนข่มผู้อื่นว่า เราถือบังสุกุลเป็นวัตร คือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร อธิบายว่า

เป็นผู้มีปกติประพฤติถ่อมตน.

บทว่า นิวฏฺา ได้แก่ มีศรัทธาตั้งมั่นในพระศาสนา.

บทว่า สุภรา ได้แก่ เป็นผู้เลี้ยงง่าย โดยความเป็นผู้มักน้อย

เป็นต้น.

บทว่า มุทู ได้แก่ เป็นผู้อ่อนโยนในการประพฤติวัตร และใน

พรหมจรรย์ทั้งสิ้น คือเป็นผู้ควรในการประกอบให้วิเศษดุจทองคำที่หล่อ

หลอมไว้ดีแล้วฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า มุทู ได้แก่ เป็นผู้ไม่สยิ้วหน้า คือเป็นผู้เงย

หน้า มีหน้าเบิกบานประพฤติปฏิสันถาร ท่านอธิบายว่า เป็นผู้นำความสุข

มาให้ ดุจท่าดีฉะนั้น.

บทว่า อถทฺธมานสา ได้แก่ ผู้มีจิตไม่แข็ง, ด้วยบทนั้น ท่าน

กล่าวถึงความเป็นผู้ว่าง่าย.

บทว่า อพฺยเสก ได้แก่ ผู้เว้นจากการถูกกิเลสรั่วรด เพราะไม่มี

ความอยู่ปราศจากสติ อธิบายว่า ผู้ไม่ถูกตัณหา ทิฏฐิ และมานะ ทำให้

นุงนังในระหว่าง ๆ.

บทว่า อมุขรา แปลว่า ไม่เป็นคนปากกล้า, อีกอย่างหนึ่ง ความว่า

ไม่เป็นคนปากแข็ง คือเว้นจากความคะนองทางวาจา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 191

บทว่า อตฺถจินฺตาวสานุคา ได้แก่ เป็นผู้คล้อยตามอำนาจความคิดอัน

เป็นประโยชน์ คือเป็นไปในอำนาจความคิดที่มีประโยชน์ ได้แก่เป็นผู้

ปริวรรตตามความคิดที่เป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่นเท่านั้น.

บทว่า ตโต แปลว่า เพราะเหตุนั้น คือเหตุมีการประพฤติต่ำ

เป็นต้น.

บทว่า ปาสาทิก ได้แก่ อันยังให้เกิดความเลื่อมใส คือนำความ

เลื่อมใสมาให้แก่ผู้ที่ได้เห็นและได้ยินการปฏิบัติ.

บทว่า คต ได้แก่ การไป มีการก้าวไป ถอยกลับและการเลี้ยวไป

เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า คต ได้แก่ ความเป็นไปทางกายและ

วาจา.

บทว่า ภุตฺต ได้แก่ การบริโภคปัจจัย ๔.

บทว่า นิเสวิต ได้แก่ การซ่องเสพโคจร.

บทว่า สินิทฺธา เตลธาราว ความว่า สายธารน้ำมันที่คนฉลาดเท

ราดไม่หวนกลับ ไหลไม่ขาดสาย เป็นสายธารติดกันกลมกลืนน่าดูน่าชื่น

ชมใจ ฉันใด อิริยาบถของภิกษุเหล่านั้นผู้สมบูรณ์ด้วยมารยาท ย่อมเป็น

อิริยาบถไม่ขาดช่วง ละมุนละม่อม สละสลวยน่าดู น่าเลื่อมใส ฉันนั้น.

บทว่า มหาฌายี ความว่า ชื่อว่าผู้เพ่งฌานใหญ่ เพราะมีปกติเพ่ง

ด้วยฌานทั้งหลายอันยิ่งใหญ่ หรือเพ่งพระนิพพานใหญ่. เพราะเหตุนั้น

แหละ จึงเป็นผู้มีประโยชน์เกื้อกูลใหญ่ อธิบายว่า เป็นผู้ประกอบด้วย

ประโยชน์เกื้อกูลมาก.

บทว่า เต เถรา ความว่า บัดนี้ พระเถระทั้งหลายผู้มุ่งการปฏิบัติ

มีประการดังกล่าวแล้วนั้น พากันปรินิพพานเสียแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 192

บทว่า ปริตฺตา ทานิ ตาทิสา ความว่า บัดนี้ คือในกาลสุดท้าย

ภายหลัง พระเถระทั้งหลายผู้เช่นนั้น คือผู้เห็นปานนั้นมีน้อย ท่านกล่าว

อธิบายว่า มีเล็กน้อยทีเดียว.

บทว่า กุสลานญฺจ ธมฺมาน ได้แก่ ธรรมอันไม่มีโทษอันเป็นเครื่อง

อุดหนุนแก่วิโมกข์ อันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพาน.

บทว่า ปญฺาย จ ได้แก่ และแห่งปัญญาเห็นปานนั้น.

บทว่า ปริกฺขยา ได้แก่ เพราะไม่มี คือเพราะไม่เกิดขึ้น. จริงอยู่

ในที่นี้ แม้ปัญญาก็พึงเป็นธรรมไม่มีโทษโดยแท้ แต่ถึงกระนั้น เพื่อจะ

แสดงว่าปัญญามีอุปการะมาก จึงถือเอาปัญญานั้นเป็นคนละส่วน เหมือน

คำว่า ปุญฺาณสมฺภารา เป็นธรรมอุดหนุนบุญและญาณฉะนั้น.

บทว่า สพฺพาการวรูเปต ความว่า คำสอนของพระผู้มีพระภาค-

ชินเจ้า อันประกอบด้วยอาการอันประเสริฐทั้งหมด คือด้วยความวิเศษ

แต่ละประการ จะเสื่อมคือพินาศไป.

ด้วยบทว่า ปาปกานญฺจ ธมฺมาน กิเลสานญฺจ โย อุตุ เอาคำที่

เหลือมาเชื่อมความว่า ฤดูคือกาลแห่งบาปธรรมมีกายทุจริตเป็นต้น และ

แห่งกิเลสมีโลภะเป็นต้นนี้นั้น ย่อมเป็นไป.

บทว่า อุปฏฺิตา วิเวกาย เย จ สทฺธมฺมเสสกา ความว่า ก็ใน

กาลเห็นปานนี้ ภิกษุเหล่าใด เข้าไปตั้ง คือปรารภความเพียรเพื่อต้องการ

กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก และภิกษุเหล่านั้นย่อมเป็นผู้มีพระ-

สัทธรรมที่เหลือเป็นข้อปฏิบัติ. ก็ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้:-

ภิกษุทั้งหลายแม้เป็นผู้มีศีล และอาจาระอันบริสุทธิ์ก็มีอยู่ แต่บัดนี้

ภิกษุบางพวกยังบุรพกิจมีอาทิอย่างนี้ให้ถึงพร้อม คือทำอิริยาบถให้ดำรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 193

อยู่ด้วยดี บำเพ็ญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ตัดปลิโพธใหญ่ ตัด

ปลิโพธเล็ก ๆ น้อย ๆ จำเริญภาวนาเนือง ๆ อยู่ ภิกษุเหล่านั้นยังมีพระ-

สัทธรรมที่เหลือเป็นข้อปฏิบัติ ย่อมไม่อาจทำข้อปฏิบัติให้ถึงที่สุดได้.

บทว่า เต กิเลสา ปวฑฺฒนฺตา ความว่า ก็ในกาลนั้น กิเลสเหล่าใด

ถึงความสิ้นไปจากบุตรอันเกิดแต่พระอุระของพระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้

กิเลสเหล่านั้นได้โอกาส จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในหมู่ภิกษุ.

บทว่า อาวิสนฺติ พหุ ชน ความว่า ครอบงำชนผู้บอดเขลา ผู้งด

เว้นกัลยาณมิตร ผู้มากไปด้วยการใส่ใจอันไม่แยบคาย กระทำไม่ให้มี

อำนาจอยู่ คือเข้าไปถึงสันดาน. ก็ภิกษุเหล่านั้นผู้เป็นแล้วอย่างนั้น เหมือน

จะเล่นกับคนพวก ดังคนถูกปีศาจเข้าสิงทำให้เป็นบ้า เพ้อคลั่งอยู่ฉะนั้น

คือว่า คนผู้มีปกติชอบเล่นครอบงำคนบ้าผู้เว้นจากสักการะรากษส ทำคน

บ้าเหล่านั้นให้ถึงความวิบัติ จึงเล่นกับคนบ้าเหล่านั้น ชื่อฉันใด กิเลส

ทั้งหลายเหล่านั้นก็ฉันนั้น ครอบงำพวกภิกษุอันธพาลผู้เว้นจากความ

เคารพในพระพุทธเจ้า ยังความฉิบหายชนิดที่เป็นไปในปัจจุบันเป็นต้น

ให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุเหล่านั้น เหมือนดังจะเล่นกับภิกษุเหล่านั้น อธิบายว่า

ทำเป็นเหมือนเล่น.

บทว่า เตน เตน ได้แก่ โดยส่วนของอารมณ์นั้น ๆ.

บทว่า วิธาวิตา แปลว่า แล่นไปผิดรูป คือปฏิบัติโดยไม่สมควร.

บทว่า กิเลสวตฺถูสุ ความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นก่อน เป็นกิเลส, กิเลส

นั่นแหละเป็นกิเลสวัตถุ เพราะเป็นเหตุแห่งกิเลสทั้งหลายที่เกิดขึ้นภายหลัง.

ในกิเลสและกิเลสวัตถุเหล่านั้นที่ร่วมกัน.

บทว่า สสงฺคาเมว โฆสิเต ความว่า การโปรยทรัพย์มีเงินทอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 194

แก้วมณี และแก้วมุกดาเป็นต้นแล้ว แล้วโฆษณาให้อยากได้อย่างนี้ว่า

เงินและทองเป็นต้นใด ๆ อยู่ในมือของคนใด ๆ เงินและทองเป็นต้นนั้น ๆ

จงเป็นของคนนั้น ๆ เถิด ดังนี้ ชื่อว่าการโฆษณาที่มีการสงคราม. ใน

ข้อนั้น มีอธิบายดังนี้ :-

ภิกษุปุถุชนผู้เป็นคนพาลทั้งหลายนั้น ถูกกิเลสนั้น ๆ ครอบงำ แล่น

ไป คือถึงการอยู่ตามส่วนแห่งอารมณ์นั้น ๆ ในกิเลสและกิเลสวัตถุทั้งหลาย

เหมือนในสถานที่มีสงคราม อันมารผู้มีกิเลสเป็นเสนาบดีโฆษณาว่า กิเลส

ตัวใด ๆ จับสัตว์ใด ๆ ครอบงำได้ สัตว์นั้นๆ จงเป็นของกิเลสตัวนั้น ๆ.

เพื่อเลี่ยงคำถามที่ว่า ภิกษุเหล่านั้นแล่นไปอย่างนี้ ย่อมกระทำ

อะไร ? จึงเฉลยว่า พากันละทิ้งพระสัทธรรม ทำการทะเลาะกัน

แลกัน.

คำนั้นมีอธิบายว่า ละทิ้งปฏิบัติสัทธรรมเสียแล้วทะเลาะ คือทำการ

ทะเลาะกันแลกัน เพราะมีเกสรคืออามิสเป็นเหตุ.

บทว่า ทิฏฺิคตานิ ความว่า เป็นไปตาม คือไปตามทิฏฐิ คือการ

ยึดถือผิดมีอาทิอย่างนี้ว่า มีเพียงวิญญาณเท่านั้น รูปธรรมไม่มี และว่า

ชื่อว่าบุคคลโดยปรมัตถ์ไม่มีฉันใด แม้สภาวธรรมทั้งหลายก็ฉันนั้น ว่าโดย

ปรมัตถ์ย่อมไม่มี มีเพียงโวหารคือชื่อเท่านั้น ย่อมสำคัญว่า นี้ประเสริฐ

คือสิ่งนี้เท่านั้นประเสริฐ อย่างอื่นผิด.

บทว่า นิคฺคตา แปลว่า ออกจากเรือน.

บทว่า กฏจฺฉุภิกฺขเหตฺปิ แปลว่า แม้มีภิกษาหารเพียงทัพพีเดียว

เป็นเหตุ. ภิกษุทั้งหลายย่อมซ่องเสพ คือกระทำสิ่งที่มิใช่กิจ คือกรรมที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 195

บรรพชิตไม่การทำแก่คฤหัสถ์ผู้ให้ภิกษาหารนั้น ด้วยอำนาจการระคนอัน

ไม่สมควร.

บทว่า อุทราวเทหก ภุตฺวา ความว่า ไม่คิดถึงคำที่กล่าวว่า เป็นผู้มี

ท้องพร่อง มีอาหารพอประมาณ กลับบริโภคจนเต็มท้อง.

บทว่า สยนฺตุตฺตานเสยฺยกา ความว่า ไม่ระลึกถึงวิธีที่กล่าวไว้ว่า

สำเร็จสีหไสยา การนอนอย่างราชสีห์ โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อม

เท้า มีสติสัมปชัญญะ กลับเป็นผู้นอนหงาย.

ด้วยบทว่า ยา กถา สตฺถุ ครหิตา นี้ ท่านกล่าวหมายเอาเดียรัจฉาน-

กถา มีกถาว่าด้วยพระราชาเป็นต้น.

บทว่า สพฺพการุกสิปฺปานิ ได้แก่ หัตถศิลปทั้งหลายมีการทำพัด

ใบตาล สำหรับพัดเวลาฉันภัตเป็นต้น อันนักศิลปมีพวกแพศย์เป็นต้น

จะพึงกระทำ.

บทว่า จิตฺตึ กตฺวาน แปลว่า กระทำโดยความเคารพ คือโดยมี

ความเอื้อเฟื้อ.

บทว่า อวูปสนฺตา อชฺฌตฺต ความว่า ชื่อว่าผู้ไม่สงบในภายใน

เพราะไม่มีความสงบระงับกิเลส และเพราะไม่มีความตั้งใจมั่นแม้เพียงชั่ว

ขณะรีดนม อธิบายว่า มีจิตไม่สงบระงับ.

บทว่า สามญฺตฺโถ ได้แก่ สมณธรรม.

บทว่า อติอจฺฉติ ได้แก่ นั่งแยกกัน โดยไม่ถูกต้องแม้แต่เอกเทศ

ส่วนหนึ่ง เพราะเป็นผู้ขวนขวายกิจเกี่ยวกับอาชีพแก่คฤหัสถ์เหล่านั้น ท่าน

อธิบายไว้ว่า ไม่ติดชิดกัน.

บทว่า มตฺติก ได้แก่ ดินตามปกติ หรือดิน ๕ สี ที่ควรแก่การ

ประกอบกิจของคฤหัสถ์ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 196

บทว่า เตลจุณฺณญฺจ ได้แก่ น้ำมันและจุรณ ตามปกติ หรือที่

ปรุงแต่ง.

บทว่า อุทกาสนโภชน ได้แก่ น้ำ อาสนะ และโภชนะ.

บทว่า อากงฺขนฺตา พหุตฺตร ความว่า ผู้หวังบิณฑบาตเป็นต้นที่ดีๆ

มากมาย จึงมอบให้แก่พวกคฤหัสถ์ ด้วยความประสงค์ว่า เมื่อพวกเรา

ให้ดินเหนียวเป็นต้น มนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้มีการคบหากันเป็นหลักเป็นฐาน

จักให้จตุปัจจัยที่ดี ๆ มาก.

ชื่อว่าไม้ชำระฟัน เพราะเป็นเครื่องชำระฟัน คือทำฟันให้บริสุทธิ์

ได้แก่ไม้สีฟัน.

บทว่า กปิตฺถ แปลว่า ผลมะขวิด.

บทว่า ปุปฺผ ได้แก่ ดอกไม้มีดอกมะลิ และดอกจำปาเป็นต้น.

บทว่า ขาทนียานิ ได้แก่ ของเคี้ยวพิเศษทั้ง ๑๘ ชนิด.

บทว่า ปิณฺฑปาเต จ สมฺปนฺเน ได้แก่ ข้าวสุกพิเศษที่ประกอบ

ด้วยกับข้าวเป็นต้น.

ก็ด้วยศัพท์ว่า อมฺเพ อามลกานิ จ ท่านสงเคราะห์เอาผลมะงั่ว

ผลตาล และผลมะพร้าวเป็นต้นที่มิได้กล่าวไว้ด้วย ศัพท์ ในทุก ๆ บท

มีวาจาประกอบความว่า หวังของดี ๆ มาก จึงน้อมเข้าไปให้แก่คฤหัสถ์.

บทว่า เภสชฺเชสุ ยถา เวชฺชา อธิบายว่า พวกภิกษุปฏิบัติเหมือน

หมอทั้งหลาย ผู้ทำการประกอบเภสัชแก่พวกคฤหัสถ์.

บทว่า กิจฺจากิจฺเจ ยถา คิหี ความว่า กระทำกิจน้อยใหญ่แก่

พวกคฤหัสถ์ เหมือนคฤหัสถ์ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 197

บทว่า คณิกาว วิภูสาย ได้แก่ เครื่องประดับร่างกายของตน

เหมือนพวกหญิงผู้อาศัยรูปเลี้ยงชีพ.

บทว่า อิสฺสเร ขตฺติยา ยถา ความว่า ประพฤติเป็นเจ้าแห่ง

ตระกูลในความเป็นใหญ่ คือในการแผ่ความเป็นใหญ่ เหมือนกษัตริย์

ทั้งหลาย.

บทว่า เนกติกา ได้แก่ ประกอบในการโกง, คือยินดีในการ

ประกอบของเทียม โดยกระทำสิ่งที่ไม่ใช่แก้วมณีแท้ ให้เป็นแก้วมณี สิ่งที่

ไม่ใช่ทองแท้ ให้เป็นทอง.

บทว่า วญฺจนิกา ได้แก่ ยึดเอาผิด ด้วยการนับโกงเป็นต้น.

บทว่า กูฏสกฺขี ได้แก่ เป็นพยานไม่จริง.

บทว่า อปาฏุกา ได้แก่ เป็นนักเลง อธิบายว่า เป็นผู้มีความ

ประพฤติไม่สำรวม.

บทว่า พหูหิ ปริกปฺเปหิ ได้แก่ ด้วยชนิดแห่งมิจฉาชีพเป็นอันมาก

ตามที่กล่าวแล้ว และอื่น ๆ.

บทว่า เลสกปฺเป ได้แก่ มีกัปปิยะเป็นเลศ คือสมควรแก่กัปปิยะ.

บทว่า ปริยาเย ได้แก่ ในการประกอบการเลียบเคียงในปัจจัย

ทั้งหลาย.

บทว่า ปริกปฺเป ได้แก่ ในการกำหนดมีกำไรเป็นต้น, ในทุกบท

เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถว่าวิสัยคืออารมณ์.

บทว่า อนุธาวิตา ได้แก่ แส่ไป คือแล่นไปด้วยบาปธรรมทั้งหลาย

มีความมักใหญ่เป็นต้น. มีการเลี้ยงชีวิตเป็นอรรถ คือมีการเลี้ยงชีวิตเป็น

ประโยชน์ ได้แก่มีอาชีพเป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 198

บทว่า อุปาเยน ได้แก่ ด้วยอุบายมีปริกถาเป็นต้น คือด้วยนัยอัน

จะยังปัจจัยให้เกิดขึ้น.

บทว่า สงฺกฑฺฒนฺติ แปลว่า รวบรวม.

บทว่า อุปฏฺาเปนฺติ ปริส ความว่า ยังบริษัทให้บำรุงตน คือ

สงเคราะห์บริษัท โดยประการที่บริษัทจะบำรุงตน.

บทว่า กมฺมโต ได้แก่ เพราะเหตุการงาน. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น

ให้บริษัทบำรุง เพราะมีการขวนขวายอันจะพึงทำแก่ตนเป็นเหตุ.

บทว่า โน จ ธมฺมโต ความว่า แต่ไม่ให้บำรุงเพราะเหตุแห่งธรรม

อธิบายว่า ไม่สงเคราะห์ด้วยการสงเคราะห์บริษัทผู้ดำรงอยู่ในสภาวะที่จะ

ยกขึ้นกล่าวอวด ซึ่งพระศาสดาทรงอนุญาตไว้.

บทว่า ลาภโต แปลว่า เหตุลาภ, ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในอิจฉาจาร

ว่า มหาชนเมื่อยกย่องอย่างนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นพหูสูต เป็นผู้บอก

เป็นธรรมกถึก จักน้อมนำลาภสักการะมาเพื่อเราดังนี้ จึงแสดงธรรมแก่

คนอื่นเพราะลาภ.

บทว่า โน จ อตฺถโต ความว่า ประโยชน์นั้นใดอันภิกษุผู้กล่าว

พระสัทธรรม ตั้งอยู่ในธรรมมีวิมุตตายตนะเป็นประธานจะพึงได้ ย่อม

ไม่แสดงธรรมมีประโยชน์เกื้อกูล ต่างโดยประโยชน์ปัจจุบันนั้นเป็นต้น

เป็นนิมิต.

บทว่า สงฺฆลาภสฺส ภณฺฑนฺติ ความว่า ย่อมบาดหมางกัน คือ

ย่อมทำการทะเลาะกัน เพราะเหตุลาภสงฆ์ โดยนัยมีอาทิว่า ถึงแก่เรา

ไม่ถึงแก่ท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 199

บทว่า สงฺฆโต ปริพาหิรา ได้แก่ เป็นผู้มีภายนอกจากพระอริย-

สงฆ์ เพราะในพระอริยสงฆ์ไม่มีการทะเลาะกันนั้น.

บทว่า ปรลาโภปชีวนฺตา ความว่า พวกภิกษุผู้การทำความบาด

หมางกัน เลี้ยงชีวิตด้วยการอาศัยลาภของผู้อันนั้น เพราะลาภในพระ-

ศาสนาเกิดขึ้นเฉพาะพระเสขะ ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ผู้เป็นคน

อื่นจากพวกอันธพาลปุถุชน หรือลาภที่จะพึงได้จากทายกอื่น ชื่อว่าผู้ไม่

ละอาย เพราะไม่มีการเกลียดบาป ย่อมไม่ละอายใจ แม้ว่า เราบริโภค

ลาภของผู้อื่น, เรามีความเป็นอยู่เนื่องด้วยผู้อื่น.

บทว่า นานุยุตฺตา ได้แก่ ไม่ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็น

สมณะ.

บทว่า ตถา ได้แก่ เหมือนดังท่านผู้ประพันธ์คาถาเป็นต้น กล่าว

ไว้ในเบื้องต้น.

บทว่า เอเก แปลว่า บางพวก.

บทว่า มุณฺฑา สงฺฆาฏิปารุตา ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้โล้น เพราะ

เป็นผู้มีผมโล้นอย่างเดียว ผู้มีร่างกายครองจีวร อันได้นามว่า สังฆาฏิ

เพราะอรรถว่า เอาผ้าท่อนเก่ามาติดต่อกัน.

บทว่า สมฺภาวนเยวิจฺฉนฺติ ลาภสกฺการมุจฺฉิตา ความว่า เป็นผู้

สยบ คือติดด้วยความหวังลาภสักการะ หรือว่าเป็นผู้แต่งคำพูดอันไพเราะ

ว่า ผู้มีศีลเป็นที่รัก ผู้มีวาทะกำจัดกิเลส ผู้สดับตรับฟังมาก และ

ปรารถนา คือแสวงหาการยกย่อง คือการนับถือมากอย่างเดียวเท่านั้นว่า

เป็นพระอริยะ, หาได้ปรารถนาคุณความดี อันมีการยกย่องนั้นเป็นเหตุไม่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 200

บทว่า เอว ได้แก่ โดยนัยที่กล่าวว่า เพราะความสิ้นไปแห่งกุศล-

ธรรมและปัญญา.

บทว่า นานปฺปยาตมฺหิ ได้แก่ เมื่อธรรมอันเป็นเครื่องทำลายมี

ประการต่าง ๆ ไปร่วมกันคือกระทำร่วมกัน อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังกิเลส-

ธรรมเริ่มไปด้วยกัน คือดำเนินไปด้วยประการต่าง ๆ.

บทว่า น ทานิ สุกร ตถา ความว่า ในบัดนี้ คือในเวลานี้ซึ่งหา

กัลยาณมิตรได้ยาก และหาการฟังพระสัทธรรมอันเป็นสัปปายะได้ยาก ไม่

ใช่ทำได้โดยง่าย คือไม่อาจให้สำเร็จได้ เหมือนเมื่อพระศาสดายังทรง

พระชนม์อยู่ การถูกต้องคือการบรรลุฌานและวิปัสสนา ซึ่งยังไม่ได้ถูก

ต้อง คือยังไม่ได้บรรลุ หรือการอนุรักษ์คือการรักษา โดยประการที่

ธรรมซึ่งได้บรรลุแล้ว ไม่เป็นหานภาคิยะ หรือไม่เป็นฐิติภาคิยะให้เป็น

วิเสสภาคิยะนั้น ทำได้ง่าย ฉะนั้น.

บัดนี้ เพราะใกล้กับเวลาปรินิพพานของตน พระเถระเมื่อจะโอวาท

เพื่อนสพรหมจารีด้วยโอวาทย่อ ๆ จึงกล่าวค่ามีอาทิว่า ยถา กณฺกฏฺา-

นมฺหิ ดังนี้.

คำนั้นมีอธิบายว่า บุรุษผู้ไม่สวมรองเท้าเที่ยวไปในถิ่นที่มีหนาม

ด้วยประโยชน์บางอย่างเท่านั้น เข้าไปตั้งสติว่า หนามอย่าได้คำเราดังนี้

แล้วเที่ยวไป ฉันใด มุนีเมื่อเที่ยวไปในโคจรตามที่สั่งสมหนามคือกิเลสก็

ฉันนั้น เข้าไปทั้งสติประกอบด้วยสติสัมปชัญญะไม่ประมาทเลย พึงเที่ยว

ไป ท่านอธิบายว่า ไม่ละกรรมฐาน.

บทว่า สริตฺวา ปุพฺพเก โยคี เตส วตฺตมนุสฺสร ความว่า ท่านผู้

ชื่อว่าโยคี เพราะเป็นผู้ประกอบการอบรมโยคะ อันมีในก่อนระลึกถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 201

ท่านผู้ปรารภวิปัสสนาแล้ว หวนระลึกถึงวัตรของท่านเหล่านั้น คือวิธี

อบรมสัมมาปฏิบัติตามแนวแห่งพระสูตรที่มา ไม่ทอดทิ้งธุระเสียปฏิบัติ

อย่างไร ๆ อยู่.

บทว่า กิญฺจาปิ ปจฺฉิโม กาโล ความว่า แม้ถึงเวลานี้เป็นกาล

สุดท้าย อันมีพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว ถึงอย่างนั้น เมื่อปฏิบัติตามธรรม

นั่นแล เจริญวิปัสสนาอยู่ พึงถูกต้องอมตบท คือพึงบรรลุพระนิพพาน.

บทว่า อิท วตฺวา ความว่า ครั้นแล้วกล่าววิธีปฏิบัตินี้ ในการทำ

ให้ผ่องแผ้วจากสังกิเลสตามที่แสดงไว้แล้ว.

ก็คาถาสุดท้ายนี้ พึงทราบว่า ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าว

ไว้ เพื่อประกาศการปรินิพพานของพระเถระ.

จบอรรถกถาปาราสริยเถรคาถาที่ ๑๐

จบปรมัตถทีปนี

อรรถกถาเถรคาถา วีสตินิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 202

เถรคาถา ติงสนิบาต

๑. ปุสสเถรคาถา

ว่าด้วยในอนาคตภิกษุจักมีความพอใจอย่างไร

[๓๙๕] ฤาษีมีชื่อตามโคตรว่า ปัณฑรสะ ได้เห็นภิกษุเป็นอัน

มากที่น่าเลื่อมใส มีตนอันอบรมแล้ว สำรวมด้วยดี จึง

ได้ถามพระปุสสเถระว่า ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายใน

ศาสนานี้จักมีความพอใจอย่างไร มีความประสงค์อย่างไร

กระผมถามแล้ว ขอจงบอกความข้อนั้นแก่กระผมเถิด.

พระปุสสเถระจึงกล่าวตอบด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า

ดูก่อนปัณฑรสฤาษี ขอเชิญฟังคำของอาตมา จงจำ

คำของอาตมาให้ดี อาตมาจะบอกซึ่งข้อความที่ท่านถาม

ถึงอนาคต คือในกาลข้างหน้า ภิกษุเป็นอันมากจักเป็น

คนมักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ลบหลู่คุณเท่านี้ หัวดื้อ โอ้-

อวด ริษยา มีวาทะต่าง ๆ กัน จักเป็นผู้มีมานะในธรรม

ที่ยังไม่รู้ทั่วถึง คิดว่าตื้นในธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นคนเบา

ไม่เคารพธรรม ไม่มีความเคารพกันและกัน ในกาลข้าง

หน้า โทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก ก็เพราะ

ภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา จักทำธรรมที่พระศาสดาทรง

แสดงแล้วนี้ให้เศร้าหมอง ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว

โวหารจัด แกล้วกล้า มีกำลังมาก ปากกล้า ไม่ได้ศึกษา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 203

เล่าเรียน ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล ภิกษุทั้งหลายใน

สังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี มีโวหารโดยสมควรแก่

เนื้อความ มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไรๆ ก็จักมี

กำลังน้อย ภิกษุทั้งหลายในอนาคตที่ทรามปัญญา ก็จะ

พากันยินดีเงินทอง ไร่นา ที่ดิน แพะ แกะ และคน

ใช้หญิงชาย จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษคนอื่น ไม่

ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแต่การ

ทะเลาะวิวาท จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียว

แดง เป็นคนลวงโลก กระด้าง เป็นผู้แส่หาแต่ลาภผล

เที่ยวชูเขา คือมานะ ทำตนดั่งพระอริยเจ้าท่องเที่ยวไป

อยู่ เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน ทำให้มีเส้นละเอียด

เหลาะแหละ ใช้ยาหยอดและทาตา มีร่างกายคลุมด้วย

จีวรที่ย้อมด้วยสีงา สัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่ จักพา

กันเกลียดชังผ้าอันย้อมด้วยน้ำฝาด เป็นของไม่น่าเกลียด

พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วยินดียิ่งนัก เป็นธง

ชัยของพระอรหันต์ พอใจแต่ในผ้าขาว ๆ จักเป็นผู้มุ่ง

แต่ลาภผล เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม

เห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็นความลำบาก จักใคร่อยู่ใน

เสนาสนะที่ใกล้บ้าน ภิกษุเหล่าใดยินดีมิจฉาชีพ จักได้

ลาภเสมอๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น (เที่ยว

คบหาราชสกุลเป็นต้นเพื่อให้เกิดลาภแก่ตน) ไม่สำรวม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 204

อินทรีย์เที่ยวไป อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจะ

ไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย จักไม่สมคบภิกษุที่เป็นนัก

ปราชญ์มีศีลเป็นที่รัก จักทรงผ้าสีแดง ที่ชนชาวมิลักขะ

ชอบย้อมใช้ พากันติเตียนผ้าอันเป็นธงชัยของตนเสีย

บางพวกก็นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นธงของพวกเดียรถีย์ อนึ่ง

ในอนาคตกาล ภิกษุเหล่านั้นจักไม่เคารพในผ้ากาสาวะ

จักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคาย บริโภคผ้ากาสาวะ

เมื่อทุกข์ครอบงำ ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว ก็ไม่พิจารณาโดย

แยบคาย แสดงอาการยุ่งยากในใจออกมา มีแต่เสียง

โอดครวญอย่างใหญ่หลวง เปรียบเหมือนช้างฉัททันต์

ได้เห็นผ้ากาสาวะอันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ที่นาย

โสณุตระพราน นุ่งห่มไปในคราวนั้น ก็ไม่กล้าทำร้าย

ได้กล่าวคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์มากมายว่า ผู้ใด

ยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งผ้า

กาสาวะ ผู้นั้นย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใด

คายกิเลสดุจน้ำฝาดออกแล้ว ตั้งมั่นอยู่ในศีลอย่างมั่นคง

ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นจึงสมควรจะนุ่งห่มผ้า

กาสาวะโดยแท้ ผู้ใดมีศีลวิบัติ มีปัญญาทราม ไม่

สำรวมอินทรีย์ กระทำตามความใคร่อย่างเดียว มีจิต

ฟุ้งซ่าน ไม่ขวนขวายในทางที่ควร ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่ง

ห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 205

มีใจตั้งมั่น มีความดำริในใจผ่องใส ผู้นั้นสมควรนุ่งห่ม

ผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดไม่มีศีล ผู้นั้นเป็นคนพาล มี

จิตใจฟุ้งซ่าน มีมานะฟูขึ้นเหมือนไม้อ้อ ย่อมสมควร

จะนุ่งห่มแต่ผ้าขาวเท่านั้น จักควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ

อย่างไร อนึ่ง ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จัก

เป็นผู้มีจิตใจชั่วร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ จักข่มขี่ภิกษุทั้งหลาย

ผู้คงที่ มีเมตตาจิต แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นคนโง่เขลา มี

ปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำตามความใคร่

ถึงพระเถระให้ศึกษาการใช้สอยผ้าจีวร ก็จักไม่เชื่อฟัง

พวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น อันพระเถระทั้งหลายให้การ

ศึกษาแล้วเหมือนอย่างนั้น จักไม่เคารพกันและกัน ไม่

เอื้อเฟื้อนายเพระอุปัชฌายาจารย์ จักเป็นเหมือนม้าพิการ

ไม่เอื้อเฟื้อนายสารถีฉะนั้น ในกาลภายหลังแต่ตติย-

สังคายนา ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักปฏิบัติ

อย่างนี้.

ครั้นพระปุสสเถระแสดงมหาภัยอันจะบังเกิดขึ้น ในกาลภายหลัง

อย่างนี้แล้ว เมื่อจะให้โอวาทภิกษุที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นอีก จึงได้กล่าว

คาถา ๓ คาถา ความว่า

ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อม

มาในอนาคตอย่างนี้ก่อน ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่า

ง่าย จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวย มีความเคารพกันและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 206

กัน มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน จงสำรวมในศีล ปรารภ

ความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวบากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์ ขอ

ท่านทั้งหลายจงเห็นความประมาท โดยความเป็นภัย

และจงเห็นความไม่ประมาท โดยความเป็นของปลอดภัย

แล้วจงอบรมอัฏฐังคิกมรรค เมื่อทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะ

บรรลุนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย.

อรรถกถาติงสนิบาต

อรรถกถาปุสสเถรคาถาที่ ๑

ใน ติงสนิบาต คาถาของ ท่านพระปุสสเถระ มีคำเริ่มต้นว่า

ปาสาทิเก พหู ทิสฺวา ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ท่านพระปุสสเถระแม้นี้ เป็นผู้ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้วในพระพุทธ-

เจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้แล้ว

ในภพนั้น ๆ ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาท-

กาลนี้ บังเกิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัณฑลิกะ มีนามว่า ปุสสะ.

เขาถึงความเจริญวัยแล้ว สำเร็จการศึกษาในชั้นที่พวกขัตติยกุมารจะพึง

ได้รับการศึกษา เพราะเขาเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย จึงไม่มีใจเกี่ยวข้อง

ในกามคุณทั้งหลาย ได้ฟังธรรมในสำนักของพระมหาเถระรูปหนึ่งแล้ว

ได้มีศรัทธา จึงบวชแล้วเรียนกัมมัฏฐานอันเหมาะสมแก่ความพระพฤติ

บำเพ็ญภาวนาอยู่เนือง ๆ ทำฌานให้บังเกิดขึ้น เริ่มตั้งวิปัสสนามีฌาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 207

เป็นบาท ไม่นานนัก ก็ได้อภิญญา ๖. ต่อมาวันหนึ่ง ดาบสคนหนึ่ง

ชื่อว่า ปัณฑรโคตร นั่งฟังธรรมในสำนักของพระมหาเถระแล้ว มอง

เห็นภิกษุหลายรูป ผู้สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร มีอินทรีย์อันสำรวมด้วย

ดีแล้ว มีกายอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว จึงมีจิตเลื่อมใส คิดว่า

ดีจริงหนอ ข้อปฏิบัตินี้ พึงตั้งอยู่ในโลกได้นาน ดังนี้ จึงถามพระเถระ

ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อปฏิบัติจักมีแก่ภิกษุทั้งหลายในอนาคตกาลได้

อย่างไรหนอแล. เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย

จึงได้ทั้งคาถาไว้แต่เบื้องต้นว่า

ฤาษีผู้มีชื่อตามโคตรว่า ปัณฑรสะ ได้เห็นภิกษุเป็น

อันมากที่น่าเลื่อมใส มีตนอันอบรมแล้ว สำรวมด้วยดี

จึงได้ถามพระปุสสเถระแล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาสาทิเก ได้แก่ ผู้สมควรแก่ความ

เลื่อมใส ด้วยข้อปฏิบัติของตน. บทว่า พหู ได้แก่ มีจำนวนมากมาย.

บทว่า ภาวิตตฺเต ได้แก่ มีจิตอันตนอบรมแล้วด้วยสมถภาวนาและ

วิปัสสนาภาวนา. บทว่า สุสวุเต ได้แก่ มีอินทรีย์อันสำรวมแล้วด้วยดี.

บทว่า อิสิ แปลว่า ดาบส. บทว่า ปณฺฑรสโคตฺโต ได้แก่ ผู้มีโคตร

เสมอด้วยฤาษีนั้น เพราะเกิดในวงศ์แห่งฤาษีชื่อว่า ปัณฑระ. บทว่า

ปุสฺสสวฺหย ได้แก่ อันบุคคลพึงเรียกด้วยเสียงว่า ปุสสะ, อธิบายว่า

มีชื่อว่า ปุสสะ. คาถาที่เป็นคำถามของฤาษีนั้น มีดังนี้ :-

ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้ จัก

มีความพอใจอย่างไร มีความประสงค์อย่างไร กระผม

ถามแล้ว ขอจงบอกความข้อนั้นแก่กระผมเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 208

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ ฉนฺทา ความว่า ในอนาคตกาล

ภิกษุทั้งหลาย ในพระศาสนานี้ จักมีความพอใจเช่นไร คือจักมีความ

หลุดพ้นเช่นไร จักมีความหลุดพ้นชนิดเลว หรือว่าจักมีความหลุดพ้น

ชนิดประณีต. บทว่า กิมธิปฺปายา ความว่า จักมีความประสงค์เช่นไร

คือจักมีอัธยาศัยเช่นไร จักมีอัธยาศัยเศร้าหมองอย่างไร หรือว่าจักมี

อัธยาศัยอันผ่องแผ้ว. อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ ชื่อว่า

ฉันทะ เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำของพวก

ฤาษีเหล่านั้น เป็นเช่นไร. ความประสงค์ก็คืออัธยาศัยนั่นเอง. บทว่า

กิมากปฺปา คือจักมีความพอใจเช่นไร. ก็บทว่า อากปฺปา ความว่า มี

วาริตศีลและจาริตศีล ด้วยการถือเอาเพศเป็นต้น. บทว่า ภวิสฺสเร

แปลว่า จักมี. บทว่า ต เม ความว่า ดาบสเชื้อเชิญพระเถระว่า

ท่านเป็นผู้อันเราถามถึงประเภทแห่งความประสงค์ ความพอใจ ของภิกษุ

ทั้งหลาย ในอนาคตกาล ขอจงบอก คือจงกล่าวเนื้อความนั้นแก่เราเถิด.

พระเถระเมื่อจะบอกเนื้อความนั้นแก่ดาบสนั้น เพื่อจะชักชวนในการฟัง

โดยเคารพก่อน จึงกล่าวคาถาว่า :-

ดูก่อนปัณฑรสฤาษี ขอเชิญฟังคำของอาตมา จงจำ

คำของอาตมาให้ดี อาตมาจะบอกซึ่งข้อความที่ท่านถาม

ถึงอนาคตกาล.

เนื้อความแห่งบทคาถานั้นว่า ฤาษีชื่อปัณฑรสะผู้เจริญ ท่านถาม

เรื่องใดกะเรา, เราจักกล่าวเรื่องนั้นที่เป็นอนาคตกาลแก่ท่าน, แต่ท่าน

จงฟังคำของเราผู้กำลังกล่าว คือจงใคร่ครวญโดยเคารพ จากการแสดง

เนื้อความในอนาคตกาล และจากอันนำมาซึ่งความสังเวชเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 209

ลำดับนั้น พระเถระมองเห็นตามความเป็นจริง ซึ่งความเป็นไป

ของพวกภิกษุ และพวกนางภิกษุณีอย่างแจ่มแจ้งด้วยอนาคตังสญาณแล้ว

เมื่อจะบอกแก่ดาบสนั้น จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ในกาลข้างหน้า ภิกษุเป็นอันมาก จักเป็นคนมัก

โกรธ มักผูกโกรธไว้ ลบหลู่คุณท่าน หัวดื้อ โอ้อวด

ริษยา มีวาทะต่าง ๆ กัน จักเป็นผู้มีมานะในธรรมที่ยัง

ไม่รู้ทั่วถึง คิดว่าตื้น ในธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นคนเบา ไม่

เคารพธรรม ไม่มีความเคารพกันและกัน ในกาลข้าง

หน้า โทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก ก็เพราะ

ภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา จักทำธรรมที่พระศาสดาทรง

แสดงแล้วนี้ให้เศร้าหมอง ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว

โวหารจัด แกล้วกล้า มีกำลังมาก ปากกล้า ไม่ได้

ศึกษาเล่าเรียน ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล ภิกษุทั้งหลาย

ในสังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี มีโวหารโดยสมควร

แก่เนื้อความ มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไร ๆ

ก็จักมีกำลังน้อย ภิกษุทั้งหลายในอนาคตที่ทรามปัญญา

ก็จะพากันยินดีเงินทอง ไร่นา ที่ดิน แพะ แกะ และ

คนใช้หญิงชาย จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษผู้อื่น ไม่

ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแต่การ

ทะเลาะวิวาท จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อม

สีเขียวแดง เป็นคนลวงโลก กระด้าง เป็นผู้แส่หาแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 210

ลาภผล เที่ยวชูเขา คือมานะ ทำตนดังพระอริยเจ้าท่อง

เที่ยวไปอยู่ เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน ทำให้มีเส้น

ละเอียด เหลาะแหละ ใช้ยาหยอดและทาตา มีร่างกาย

คลุมด้วยจีวรที่ย้อมด้วยสีงา สัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่

จักพากันเกลียดชังผ้าอันย้อมด้วยน้ำฝาด เป็นของไม่น่า

เกลียด พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้ว ยินดียิ่งนัก

เป็นธงชัยของพระอรหันต์ พอใจแต่ในผ้าขาว ๆ จักเป็น

ผู้มุ่งแต่ลาภผล เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลว

ทราม เห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็นความลำบาก จักใคร่

อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน ภิกษุเหล่าใดยินดีมิจฉาชีพ

จักได้ลาภเสมอ ๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น

(เที่ยวคบหาราชสกุลเป็นต้น เพื่อให้เกิดลาภแก่ตน) ไม่

สำรวมอินทรีย์เที่ยวไป อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้ง-

หลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย จักไม่สมคบภิกษุ

ที่เป็นนักปราชญ์ มีศีลเป็นที่รัก จักทรงผ้าสีแดง ที่ชน

ชาวมิลักขะชอบย้อมใช้ พากันติเตียนผ้าอันเป็นธงชัย

ของตนเสีย บางพวกก็นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นธงของพวก

เดียรถีย์ อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุเหล่านั้น จักไม่

เคารพในผ้ากาสาวะ จักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคาย

บริโภคผ้ากาสาวะ เมื่อทุกข์ครอบงำถูกลูกศรแทงเข้า

แล้ว ก็ไม่พิจารณาโดยแยบคาย แสดงอาการยุ่งยาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 211

ในใจออกมา มีแต่เสียงโอดครวญอย่างใหญ่หลวง

เปรียบเหมือนช้างฉัททันต์ได้เห็นผ้ากาสาวะ อันเป็น

ธงชัยของพระอรหันต์ ที่นายโสณุตระพรานนุ่งห่มไปใน

คราวนั้น ก็ไม่กล้าทำร้าย ได้กล่าวคาถาอันประกอบด้วย

ประโยชน์มากมายว่า ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจาก

ทมะและสัจจะจักนุ่งผ้ากาสาวะ ผู้นั้นย่อมไม่ควรนุ่งห่ม

ผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาดออกแล้ว ตั้ง

มั่นอยู่ในศีลอย่างมั่นคง ประกอบด้วยทมะและสัจจะ

ผู้นั้นจึงสมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดมีศีลวิบัติ

มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำตามความใคร่

อย่างเดียว มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่ขวนขวายในทางที่ควร

ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดสมบูรณ์

ด้วยศีล ปราศจากราคะ มีใจตั้งมั่น มีความดำริในใจ

อันผ่องใส ผู้นั้นสมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใด

ไม่มีศีล ผู้นั้นเป็นคนพาล มีจิตใจฟุ้งซ่าน มีมานะฟู

ขึ้น เหมือนไม้อ้อ ย่อมสมควรจะนุ่งห่มแต่ผ้าขาวเท่านั้น

จักควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะอย่างไร อนึ่ง ภิกษุและภิกษุณี

ทั้งหลายในอนาคต จักเป็นผู้มีจิตใจชั่วร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ

จักข่มขู่ภิกษุทั้งหลายผู้คงที่มีเมตตาจิต แม้ภิกษุทั้งหลาย

ที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์

กระทำตามความใคร่ ถึงพระเถระให้ศึกษาการใช้สอย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 212

ผ้าจีวรก็ไม่เชื่อฟัง พวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น อันพระ-

เถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้วเหมือนอย่างนั้น จักไม่

เคารพกันและกัน ไม่เอื้อเฟื้อในพระอุปัชฌายาจารย์ จัก

เป็นเหมือนม้าพิการ ไม่เอื้อเฟื้อนายสารถีฉะนั้น ใน

กาลภายหลังแต่ตติยสังคายนา ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย

ในอนาคต จักปฏิบัติอย่างนี้. ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะ

ทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้ก่อน

ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่าง่าย จงพูดแต่ถ้อยคำที่

สละสลวย มีความเคารพกันและกัน มีจิตเมตตากรุณา

ต่อกัน จงสำรวมในศีล ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว

บากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์ ขอท่านทั้งหลาย จงเห็นความ

ประมาทโดยความเป็นภัย และจงเห็นความไม่ประมาท

โดยความเป็นของปลอดภัย แล้วจงอบรมอัฏฐังรคิกมรรค

เมื่อทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะบรรลุพระนิพพานอันเป็นทาง

ไม่เกิดไม่ตาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกธนา แปลว่า เป็นผู้มีความโกรธ

เป็นปกติ.

พึงทราบความสัมพันธ์ในบทว่า ภวิสฺสนฺติ อนาคเต ดังต่อไปนี้ :-

ถามว่า เรื่องอย่างนั้น ไม่ได้มีแล้วในกาลแห่งพระเถระหรือ ? ตอบว่า

ไม่ได้มีแล้ว หามิได้ ก็ในกาลนั้น เพราะพวกท่านเป็นผู้มากไปด้วย

กัลยาณมิตร จึงมีผู้กล่าวสอน ผู้ฉลาดในการสอนมากมายในสพรหม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 213

จารี เมื่อกิเลสทั้งหลายมีกำลัง เพราะท่านมากไปด้วยการไตร่ตรอง

พิจารณา พวกภิกษุโดยมากจึงไม่ได้มีความโกรธ; ความโกรธอย่างยิ่งจัก

มีในปริยายที่ทรงกันข้ามในกาลต่อไป เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า

อนาคเต เป็นต้นไว้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล.

บทว่า อุปนาหี ได้แก่ ผู้มีปกติเข้าไปผูกความอาฆาต ในเพราะ

อาฆาตวัตถุ, หรือชื่อว่า อุปนาหี เพราะเป็นแดนเกิดแห่งการผูกความ

อาฆาต. พึงทราบอรรถในข้อนั้น ดังนี้:- พยาบาทที่มีมาในกาลก่อน ชื่อ

ว่า ความโกรธ, พยาบาท ที่มีในกาลต่อ ๆ ไป ชื่อว่า ความผูกโกรธ.

อีกอย่างหนึ่ง โทสะ ที่เป็นไปแล้วครั้งเดียว ชื่อว่า ความโกรธ, ที่

เป็นไปแล้วหลายครั้ง ชื่อว่า ความผูกโกรธไว้. ชื่อว่า ผู้มีความลบหลู่

เพราะลบหลู่คือล้างผลาญคุณความดีที่มีอยู่แก่ชนเหล่าอื่นเสีย, หรือชื่อว่า

ผู้มีความลบหลู่ เพราะลบหลู่คือล้างผลาญคุณความดีเหล่านั้น ที่มีอยู่แก่

ชนเหล่านั้นเสียหมด ดุจการลบหลู่น้ำ ด้วยการเช็ดถูน้ำฉะนั้น.

ชื่อว่า ถมฺภี เพราะคนเหล่านั้น เป็นคนหัวดื้อมีความถือตัวจัด

เป็นลักษณะ.

บทว่า สา ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อมด้วยความโอ้อวดมีการประ-

กาศคุณที่ไม่มีอยู่ในตัวเป็นลักษณะ.

บทว่า อิสฺสุกี ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อมด้วยความริษยาอันมีการ

ทำลายสมบัติของผู้อื่นเป็นลักษณะ.

บทว่า นานาวาทา ความว่า มีวาทะที่ทำลายกันและกัน มีทิฏฐิ

ที่ทำลายกันและกัน และทำการทะเลาะกันและกัน. บทว่า อญฺาตมา-

นิโน ธมฺเม คมฺภีเร ตีรโคจรา ความว่า เป็นผู้มีมานะอย่างนี้ ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 214

พระสัทธรรมที่ลึกซึ้ง ส่องได้ยาก ที่ตนเองยังไม่รู้ทั่วถึง ว่าตนเองรู้แล้ว

ว่าตนเองเห็นแล้ว. ต่อจากนั้นนั่นเอง ก็มีความคิดว่าตื้นต่ำต้อย เพราะ

พระสัทธรรมนั้น เป็นไปในส่วนที่ต่ำต้อย.

บทว่า ลหุกา ได้แก่ เป็นคนหวั่นไหว เพราะมีความเบาเป็น

สภาวะ.

บทว่า อครู ธมฺเม ได้แก่ ปราศจากความเคารพในพระ-

สัทธรรม.

บทว่า อญฺมญฺมคารวา ได้แก่ ไม่มีความยำเกรงในกันและ

กัน คือปราศจากความเคารพที่หนักแน่น ในพระสงฆ์และในหมู่เพื่อน

สพรหมจารี.

บทว่า พหู อาทีนวา ได้แก่ มีประการดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว,

และโทษเป็นอเนกมากมายที่กล่าวอยู่ จักเกิดเป็นอันตราย. บทว่า โลเก

ได้แก่ ในสัตวโลก.

บทว่า อุปฺปชฺชิสฺสนฺตฺยนาคเต ความว่า จักปรากฏมีในอนาคต

กาล.

บทว่า สุเทสิต อิม ธมฺม ความว่า จักทำปริยัติสัทธรรมนี้

อันไม่วิปริตด้วยดี ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว โดยประการ

ที่งดงามมีงามในเบื้องต้นเป็นอาทิ. บทว่า กิเลสิสฺสนฺติ ความว่า จัก

ทำให้เศร้าหมอง ให้ถูกกิเลสประทุษร้ายอยู่ คือจักทำรูปธรรมและอรูป-

ธรรม อันละเอียดสุขุมให้ปะปนด้วยอสัทธรรม ที่เป็นทุจริตและสังกิเลส

โดยนัยเป็นต้นว่า ที่เป็นอาบัติว่า ไม่เป็นอาบัติ, ที่เป็นครุกาบัติว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 215

เป็นลหุกาบัติ ดังนี้, ได้แก่ จักทำให้เศร้าหมอง คือจักทำให้หม่นหมอง

ด้วยสังกิเลสคือตัณหา แม้ยิ่งกว่าทิฏฐิและสังกิเลสทั้งสองอย่าง.

บทว่า ทุมฺมติ ได้แก่ ผู้ไร้ปัญญา. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักมีในอนาคต-

กาลอันยาวนาน ฯ ล ฯ เมื่อจะบอกอภิธรรมกถา เวทัลลกถา หยั่งลงสู่

ธรรมฝ่ายดำอยู่ จักไม่รู้ได้เลย ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า คุณหีนา ได้แก่ ผู้ทุศิลปราศจากคุณมีศีลเป็นต้น และ

ไม่มีความละอาย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า คุณหีนา ได้แก่ ผู้ทราบจาก

คุณมีพระวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้วเป็นต้น คือไม่มีความ

กตัญญูในพระธรรมวินัย.

บทว่า สงฺฆมฺหิ แปลว่า ในท่ามกลางสงฆ์. บทว่า โวหรนฺตา

ได้แก่ กล่าวอยู่, คือพูดอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยถ้อยคำที่จัดจ้านอยู่ใน

ท่ามกลางสงฆ์.

บทว่า วิสารทา ได้แก่ ไม่กลัว คึกคะนอง.

บทว่า พลวนฺโต ได้แก่ มีกำลังมาก โดยกำลังที่เป็นฝ่ายตรง

ข้าม.

บทว่า มุขรา ได้แก่ มีปากกล้า มีวาทะแข็งกระด้าง. บทว่า

อสฺสุตาวิโน ได้แก่ ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน คือเป็นผู้ทรงคุณ โดยอาศัย

ลาภ สักการะ และความสรรเสริญอย่างเดียว จักเป็นผู้มีกำลังตั้งมั่นใน

ท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์ที่ตนต้องการอย่างนี้ว่า สิ่งที่เป็นธรรม ว่า

เป็นอธรรม และสิ่งที่เป็นอธรรม ว่าเป็นธรรม, สิ่งที่เป็นวินัย ว่าไม่

ใช่วินัย และสิ่งที่ไม่ใช่วินัย ว่าเป็นวินัย ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 216

บทว่า คุณวนฺโต ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ มีศีลเป็นต้น.

บทว่า โวหรนฺตา ยถาถตฺโต ได้แก่ แสดงโดยสมควรแก่เนื้อความ

คือไม่ยอมให้เนื้อความวิปริตอย่างนี้ว่า สิ่งที่เป็นธรรม ก็ว่าเป็นธรรม,

สิ่งที่เป็นอธรรม ก็ว่าเป็นอธรรม, สิ่งที่เป็นวินัย ก็ว่าเป็นวินัย. สิ่งที่ไม่ใช่

วินัย ก็ว่าไม่ใช่วินัย ดังนี้.

บทว่า ทุพฺพลา เต ภวิสฺสนฺติ ความว่า ภิกษุเหล่านั้น จักเป็นผู้

ปราศจากกำลัง เพราะค่าที่พวกตนหนาไปด้วยความไม่ละอาย ในท่ามกลาง

บริษัท, ถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น จักไม่ตั้งอยู่ได้.

บทว่า หิรีมนา อนตฺถิกา ได้แก่ มีความละอาย ไม่ต้องการด้วย

อะไร ๆ. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น แม้สามารถเพื่อจะกล่าวด้วยธรรม ไม่

กระทำความทำร้ายด้วยเหตุบางอย่าง เพราะค่าที่ตนเป็นผู้รังเกียจบาป

และเพราะค่าที่ตนเป็นผู้มีกิจน้อย ไม่ทำความพยายามเพื่อจะยึดมั่นวาทะ

ของตน พากันนิ่งเสีย ไม่ยอมทำการเปิดเผย หรือความตั้งใจแน่วแน่.

บทว่า รชต ได้แก่ รูปิยะ, แม้กหาปณะ โลหะและมาสกเป็นต้น

ก็พึงเห็นว่าท่านสงเคราะห์ด้วยรูปิยะนั้น.

บทว่า ชาตรูป ได้แก่ ทอง, แม้แก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น

ก็พึงเห็นว่า ท่านสงเคราะห์ด้วยทองนั้น. วา ศัพท์ เป็นสมุจจยัตถะ ดุจ

ในประโยคเป็นต้นว่า อปทา วา ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า รชตชาต-

รูปญฺจ ดังนี้ก็มี.

บทว่า เขตฺต ได้แก่ ปุพพัณชาติและอปรัณชาติ ย่อมงอกงาม

ในที่ใด ที่นั้นชื่อว่านา. ภูมิภาคที่มิได้กระทำเพื่อประโยชน์อย่างนั้น ชื่อว่า

สวน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 217

บทว่า อเชฬก ได้แก่ แพะเท่านั้น ชื่อว่าเอฬกา, เว้นแพะและ

แกะเหล่านั้นเสีย สัตว์เลี้ยงที่เหลือ ชื่อว่า อชา. จริงอยู่ ในที่นี้ แม้โค

และกระบือเป็นต้น ท่านก็ทำการสงเคราะห์ด้วย อเชฬก ศัพท์เหมือนกัน.

บทว่า ทาสิทาสญฺจ ได้แก่ ทาสหญิงและทาสชาย.

บทว่า ทุมฺเมธา ได้แก่ ผู้ไม่รู้, คือเมื่อไม่รู้จักสิ่งที่ควรและไม่ควร

สิ่งที่เหมาะเเละไม่เหมาะ (นุ่ง) เพื่อประโยชน์ตน.

บทว่า สาทิยิสฺสนฺติ แปลว่า จักรับ.

บทว่า อุชฺฌานสญฺิโน ได้แก่ คิดแต่จะมองดูผู้อื่นอยู่หลังตน

หรือมีปกติยกโทษแม้ในที่ที่ไม่ควรจะยกโทษ.

บทว่า พาลา ได้แก่ ประกอบพร้อมแล้วด้วยพาลลักษณะ โดยมี

ความคิดแต่เรื่องที่คิดชั่วเป็นต้น. ต่อแต่นั้น ก็ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล คือ

มีจิตไม่ตั้งมั่นในจตุปาริสุทธิศีล.

บทว่า อุนฺนฬา ได้เเก่ ยกตัวถือตัว. บทว่า วิจริสฺสนฺติ ความว่า

จักยกธงคือมานะ เที่ยวไป.

บทว่า กลหาภิรตา มคา ความว่า เพราะคนเป็นผู้มากไปด้วย

สารัมภะ จึงเป็นผู้ขวนขวายในคำกล่าวโต้ตอบ เที่ยวยินดีแต่ในการ

ทะเลาะวิวาทอย่างเดียว มุ่งแต่ประโยชน์ตน ยินดีแต่ในการแสวงหาอาหาร

ชอบเบียดเบียนแต่ผู้อื่นที่อ่อนแอ ราวกะมิคะฉะนั้น.

บทว่า อุทฺธตา ได้แก่ ประกอบพร้อมแล้วด้วยจิตที่ฟุ้งซ่าน คือ

ปราศจากจิตที่เป็นเอกัคคตา.

บทว่า นีลจีวรปารุตา ได้แก่ นุ่งห่มแต่จีวรสีเขียว ปนสีแดงเพราะ

ย้อมไม่สมควร คือเที่ยวนุ่งและห่มจีวรเช่นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 218

บทว่า กุหา ได้แก่ เป็นคนลวงโลก ด้วยวัตถุเครื่องล่อลวง มีการ

ร่ายมนต์เป็นต้น คือทำการล่อลวง เพื่อปรารถนาจะยกย่องคุณที่ไม่มีอยู่

ให้ปรากฏเป็นสิ่งประหลาดแก่ชนเหล่าอื่น.

บทว่า ถทฺธา ได้แก่ มีใจกระด้าง คือมีใจกักขฬะ ด้วยความโกรธ

และมานะ.

บทว่า ลปา ได้แก่ เป็นผู้มักเจรจา คือเป็นผู้มีความประพฤติล่อลวง

โลก อธิบายว่า เป็นผู้ใช้วาทะชักชวนพวกผู้ถวายปัจจัย กับพวกมนุษย์

ผู้มีใจเลื่อมใส ให้พูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้ามีความต้องการ

ด้วยสิ่งใด, หรือเป็นผู้ล่อลวงเพื่อต้องการปัจจัย ด้วยอำนาจการใช้วาจา

ที่วางแผนมาแล้ว และด้วยอำนาจกลอุบายโกง.

บทว่า สิงฺคี ได้แก่ เขาสัตว์ ในข้อนั้นเป็นไฉน เขาสัตว์มีอธิบายว่า

ผู้ที่ประกอบพร้อมด้วยกิเลสอันปรากฏชัด เช่นกับเขาสัตว์ ที่ท่านกล่าวไว้

อย่างนี้ว่า ความรักใคร่ ความเฉียบแหลม ความฉลาด ความตระเตรียม

ความไตร่ตรองรอบด้าน ดังนี้ เที่ยวชูเขาไป. คำว่า อริยา วิย นี้ เป็น

คำแสดงถึงเนื้อความแห่งบทว่า กุหา นั้นนั่นเอง. ก็พระเถระ เมื่อจะ

แสดงว่าพวกภิกษุผู้ลวงโลกตั้งตนดังพระอริยเจ้า จึงกล่าวว่า ทำตนดัง

พระอริยเจ้าท่องเที่ยวไปอยู่ ดังนี้.

บทว่า เตลสณฺเหิ ได้แก่ เป็นผู้แต่งเส้นผม ด้วยน้ำมัน ขี้ผึ้ง

หรือด้วยน้ำมันชนิดน้ำ.

บทว่า จปลา ได้แก่ ประกอบด้วยความกลับกลอก มีการแต่งกาย

และแต่งบริขารเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 219

บทว่า อญฺชนกฺขิ กา ได้แก่ มีนัยน์ตาอันหยอดแล้ว ด้วยการหยอด

เพื่อประดับตกแต่ง.

บทว่า รถิยาย คมิสฺสนติ ความว่า สัญจรไปข้างโน้นข้างนี้ ตาม

ถิ่นที่จะเข้าไปสู่สกุล ที่เป็นตรอกน้อยใหญ่ เพื่อภิกษาจาร.

บทว่า ทนฺตวณฺณิกปารุตา ได้แก่ มีร่างกายอันคลุมด้วยจีวร ที่

ย้อมด้วยสีงา.

บทว่า อเชคุจฺฉ ได้แก่ พึงพากันเกลียดชัง. บทว่า วิมุตฺเตหิ

ได้แก่ พระอริยเจ้าทั้งหลาย.

บทว่า สุรตฺต ความว่า จักพากันเกลียดชังผ้ากาสาวะ อันเป็นธงชัย

ของพระอรหันต์ ที่ย้อมแล้วด้วยดี ด้วยเครื่องย้อมอันสมควร เพราะ

พระอรหันต์ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เคยประพฤติมาแล้ว. เพราะ

เหตุไร ? เพราะพอใจแต่ในผ้าขาว ๆ คือถึงความพอใจยินดี. จริงอยู่

คำนี้เป็นเหตุของการคลุมร่างกายด้วยผ้าสีงา. ก็ภิกษุเหล่านั้น เมื่อพากัน

ยินดีพอใจผ้าสีขาว ย่อมนุ่งห่มผ้าสีงา เป็นเหตุให้รู้ว่า เมื่อยึดถือผ้าสีขาว

ตลอดกาล ก็เป็นเพียงดังสละเพศฉะนั้น.

บทว่า ลาภกามา ได้แก่ มีความยินดีแต่ในลาภผล. ชื่อว่า เป็น

คนเกียจคร้าน เพราะประกอบแต่ความเกียจคร้าน แม้ในการประพฤติ

เที่ยวไปเพื่อภิกษา.

ชื่อว่า เป็นผู้มีความเพียรเลวทราม เพราะไม่มีจิตคิดอุตสาหะเพื่อ

บำเพ็ญสมณธรรม.

บทว่า กิจฺฉนฺตา ได้แก่ มีความลำบาก, อธิบายว่า ลำบาก คือ

ลำบากใจ เพื่อจะอยู่ในป่าอันสงัด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 220

บทว่า คามนฺเตสุ ได้แก่ ในเสนาสนะท้ายหมู่บ้าน คือในเสนาสนะ

ที่ใกล้หมู่บ้าน หรือในเสนาสนะใกล้ ๆ ประตูบ้าน. บทว่า วสิสฺสเร

แปลว่า จักอยู่.

บทว่า เต เตว อนุสิกฺขนฺตา ความว่า ภิกษุเหล่าใด ๆ ได้ลาภ

ด้วยการประกอบมิจฉาชีพ ภิกษุเหล่านั้น ๆ นั่นแหละ จักกลับตัวศึกษา

ตามคนทั้งหลาย.

บทว่า ภมิสฺสนฺติ ความว่า แม้ตนเองก็จักกลับตัวคบหาราชสกุล

เป็นต้น เพื่อให้เกิดลาภ โดยมิจฉาชีพ เหมือนภิกษุเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง

บาลีว่า ภชิสฺสนฺติ ดังนี้ก็มี, ความว่า จักคบหา. บทว่า อสยตา

ได้แก่ ปราศจากการสำรวมในศีล.

บทว่า เย เย อลาภิโน ลาภ ความว่า ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ไม่ได้

ลาภ ไม่ได้ปัจจัย เพราะเว้นจากมิจฉาชีพ และเพราะตนเป็นผู้มีบุญน้อย

ภิกษุเหล่านั้นจะได้รับการนอบน้อม คือบูชา สรรเสริญ จักไม่มีในกาลนั้น

คือในอนาคตกาลเลย.

บทว่า สุเปสเลปิ เต ธีเร ความว่า จักไม่คบภิกษุเหล่านั้น ผู้เป็น

นักปราชญ์เพราะสมบูรณ์ด้วยปัญญา แม้มีศีลเป็นที่รักด้วยดี คือในอนาคต-

กาล ภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภ ก็ย่อมมุ่งแต่ลาภอย่างเดียวเท่านั้น.

บทว่า มิลกฺขุรชน รตฺต ได้แก่ ย้อมแล้ว ย้อมด้วยผลมะเดื่อกลาย

เป็นสีดำ. จริงอยู่ บทนี้เป็นบทสมาส, ท่านแสดงถึงการเปล่งเสียงที่ออก

ทางจมูก เพื่อสะดวกแก่การกล่าวคาถา.

บทว่า ครหนฺตา สก ธช ได้แก่ พากันติเตียนผ้ากาสาวะ อันเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 221

ธงชัยของตนเสีย. จริงอยู่ ผ้ากาสาวะ ชื่อว่าเป็นธงชัยของพวกบรรพชิต

ในพระศาสนา.

บทว่า ติตฺถิยาน ธช เกจิ ความว่า บางพวกรู้ว่าเป็นสมณศากย-

บุตรอยู่นั้นแล แต่ก็จักนุ่งห่มผ้าขาว อันเป็นธงชัยของพวกเดียรถีย์ ผู้มี

ผ้านุ่งสีขาว.

บทว่า อคารโว จ กาสาเว ความว่า ความไม่เคารพ คือความ

ไม่นับถือผ้ากาสาวะ อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ จักมีแก่ภิกษุเหล่านั้น

ในอนาคตกาล.

บทว่า ปฏิสงฺขา จ กาสาเว ความว่า จักไม่มีการใช้สอยผ้ากาสาวะ

แม้เพียงการพิจารณา โดยนัยเป็นต้นว่า เราพิจารณาโดยแยบคายแล้ว

จึงใช้สอยจีวร ดังนี้.

พระเถระ เมื่อจะชักเอาฉัททันตชาดกขึ้นเป็นอุทาหรณ์ ในตอน

ที่ช้างฉัททันต์ ทำความเคารพผ้ากาสาวะด้วยคิดว่า ผู้ใช้สอยผ้ากาสาวะ

มีความเคารพนับถือผ้ากาสาวะมาก พึงงดเว้นจากทุจริตได้ จึงกล่าวคำ

เป็นต้นว่า อภิภูตสฺส ทุกฺเขน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สลฺลวิทฺธสฺส ได้แก่ ถูกลูกศรอันอาบ

ด้วยยาพิษอย่างหนาแทงเข้าแล้ว, ต่อแต่นั้นนั่นแล ก็ถูกความทุกข์อย่างใหญ่

หลวงครอบงำ. บทว่า รุปฺปโต ได้แก่ เพราะถึงความวิการแห่งสรีระ.

บทว่า มหาโฆรา ความว่า ความกลัว พิจารณาแล้วมากไปด้วย

ความเคารพ จนไม่ห่วงใยในร่างกายและชีวิต คือไม่อาจจะให้ความคิด

เป็นไปในทางอื่นได้ ได้มีแล้วแก่พระยาช้างฉัททันต์.

๑. ขุ. ชา. ๒๗/ข้อ ๒๓๒๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 222

ก็พระโพธิสัตว์ ในกาลที่เสวยพระชาติเป็นพระยาช้างฉัททันต์ ถูก

นายโสณุตระพราน ผู้ยืนหลบในที่ซ่อนตัว ยิงด้วยลูกศรที่กำซาบด้วย

ยาพิษแล้ว ถูกทุกข์อย่างใหญ่หลวงครอบงำ จึงจับเขาแล้ว ครั้นพอเห็น

ผ้ากาสาวะที่คลุมกายเขาเข้า จึงคิดว่า ผู้นี้คลุมกายด้วยผ้ากาสาวะ อันเป็น

ธงชัยของพระอริยเจ้า เราไม่พึงเบียดเบียนเลย ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปตั้งไว้

เฉพาะซึ่งเมตตาจิต ในนายพรานนั้นแล้ว แสดงธรรมเป็นเบื้องแรก.

เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

พระยาช้าง ผู้มีจิตไม่ประทุษร้าย ถูกยิงด้วยลูกศร

อับกำซาบหนาด้วยยาพิษ ได้กล่าวกะนายพรานว่า แน่ะ

สหายเอ๋ย เพื่อประโยชน์อะไร หรือเพื่อสิ่งใด จึงมุ่งฆ่า

เรา หรือว่าความพยายามนี้ ท่านทำเพื่อใคร ดังนี้เป็นต้น.

พระเถระเมื่อจะแสดงเนื้อความนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ฉทฺทนฺโต

หิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุรตฺต อรหทฺธช นี้ ท่านกล่าวหมาย

ถึงผ้ากาสาวะที่นายโสณุตระพราน คลุมร่างกายแล้ว. บทว่า อภณิ

แปลว่า ได้กล่าวแล้ว. บทว่า คาถา แปลว่า ซึ่งคาถาทั้งหลาย.

บทว่า คโช แปลว่า พระยาช้างฉันทันต์. บทว่า อตฺโถปสหิตา

ชื่อว่า หิตะ เพราะอิงอาศัยประโยชน์ อธิบายว่า ประกอบแล้วด้วย

ประโยชน์.

บทว่า อนิกฺกสาโว ในคาถาที่พระยาช้างฉัททันต์กล่าวแล้ว ได้แก่

ชื่อว่า กสาวะ เพราะมีกิเลสดุจน้ำฝาด มีราคะเป็นต้น. บทว่า ปริทหิสฺสติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 223

ความว่า จักใช้สอย ด้วยการนุ่งห่ม และปูลาด. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า

ปริธสฺสติ ดังนี้ก็มี.

บทว่า อเปโต ทมสจฺเจน ความว่า ปราศจาก พรากจาก คือ

สละจากการข่มอินทรีย์ และวจีสัจจะที่เป็นฝักฝ่ายแห่งปรมัตถสัจจะ.

บทว่า น โส ความว่า บุคคลนั้น คือผู้รู้เห็นปานนั้น ย่อมไม่ควร

เพื่อจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ.

บทว่า วนฺตกสาวสฺส ความว่า พึงเป็นผู้มีกิเลสดุจน้ำฝาดคายออก

แล้ว ทิ้งแล้ว คือละได้เเล้วด้วยมรรค ๔.

บทว่า สีเลสุ คือในปาริสุทธิศีล ๔. บทว่า สุสมาหิโต แปลว่า

ตั้งมั่นแล้วด้วยดี.

บทว่า อุเปโต ได้แก่ เข้าไปประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการข่ม

อินทรีย์ และด้วยสัจจะมีประการดังที่กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า ส เว ความว่า บุคคลนั้น คือผู้เห็นปานนั้น ย่อมควร

(เพื่อจะนุ่งห่ม) ผ้ากาสาวะอันมีกลิ่นหอมนั้น โดยส่วนเดียวแท้.

บทว่า วิปนฺนสีโล คือผู้มีศีลขาดแล้ว. บทว่า ทุมฺเมโธ ได้แก่

ไม่มีปัญญา คือปราศจากปัญญาเป็นเครื่องที่จะชำระศีล (ให้บริสุทธิ์).

บทว่า ปากโฏ ได้แก่ ปรากฏ คือประกาศว่า ผู้นี้เป็นคนทุศีล,

หรือปรากฏ คือมีอินทรีย์อันปรากฏแล้ว เพราะเหตุที่คนมีอินทรีย์อัน

ฟุ้งซ่านแล้ว. บทว่า กามการิโย ได้แก่ เพราะขาดจากความสำรวม

จึงเป็นผู้ทำตามใจปรารถนา, หรือกระทำตามความใคร่ของกามและ

ของมาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 224

บทว่า วิพฺภนฺตจิตฺโต ได้แก่ ผู้มีจิตฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ

มีรูปารมณ์เป็นต้น. บทว่า นิสฺสุกฺโก ได้แก่ ไม่ขวนขวาย คือปราศจาก.

ธรรมฝ่ายขาว เว้นจากหิริโอตตัปปะ, หรือปราศจากการขวนขวายในการ

บำเพ็ญกุศลธรรมให้ถึงพร้อม.

บทว่า วีตราโค คือมีฉันทราคะไปปราศแล้ว. บทว่า โอทาตมน-

สงฺกปฺโป ได้แก่ มีความตรึกในใจสะอาดและบริสุทธิ์ หรือมีความดำริ

อันไม่ชุ่นมัว.

บทว่า กาสาว กึ กริสฺสติ ความว่า ผู้ใดไม่มีศีล, ผ้ากาสาวะจัก

สำเร็จประโยชน์แก่ผู้นั้นได้อย่างไรเล่า, คือเพศบรรพชิตของเขาจะเป็น

เช่นกับถูกแต่งให้วิจิตรภายนอกฉะนั้น.

บทว่า ทุฏฺิจิตฺตา ได้แก่ ผู้มีจิตถูกโทษแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น

ประทุษร้ายแล้ว. บทว่า อนาทรา ได้แก่ จักเป็นผู้ปราศจากความเอื้อเฟื้อ

คือไม่มีความเคารพ ในพระศาสดา ในพระธรรม และในกันและกัน

(ในพระสงฆ์).

บทว่า ตาทีน เมตฺตจิตฺตาน ความว่า ผู้มีหัวใจประกอบพร้อม

แล้วด้วยเมตตาภาวนา บรรลุถึงความเป็นผู้คงที่ ในอารมณ์มีอิฏฐารมณ์

เป็นต้น มีคุณอันโอฬาร เพราะบรรลุพระอรหัตนั้นนั่นแล. ก็คำทั้งสอง

นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ.

บทว่า นิคฺคณฺหิสสนฺติ ความว่า ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ถูกเบียด-

เบียนแล้ว ก็จักหลีกไปโดยประการใด จักถูกเบียดเบียนโดยประการนั้น

ด้วยความไม่เคารพและความกลัวในตนว่า ภิกษุทั้งหลายเห็นผู้สมบูรณ์

ด้วยศีลเป็นต้นแล้ว เมื่อจะทำการยกย่อง จักไม่สำคัญพวกเราผู้มีศีลวิบัติ

เป็นอันมาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 225

บทว่า สิกฺขาเปนฺตาปิ ได้แก่ แม้ให้ศึกษาอยู่. จริงอยู่ บัดนี้ ท่าน

แสดงเป็นกัตตุวาจก ลงในกรรมวาจก. บทว่า เถเรหิ ได้แก่ อันพระ-

อาจารย์และอุปัชฌาย์ของตน.

บทว่า จีวรธารณ นี้ เป็นเพียงแสดงถึงข้อปฏิบัติของสมณะ ความว่า

เพราะฉะนั้น จึงให้ศึกษาอยู่ โดยนัยเป็นต้นว่า เธอพึงก้าวไปอย่างนี้,

เธอพึงถอยกลับอย่างนี้ ดังนี้.

บทว่า น สุณิสฺสนฺติ ความว่า จักไม่ยอมรับฟังโอวาท.

บทว่า เต ตถา สิกฺขิตา พาลา ความว่า ภิกษุพวกที่โง่เขลา

เหล่านั้น แม้อาจารย์และพระอุปัชฌาย์ให้ศึกษาอยู่ ก็ไม่ยอมศึกษา เพราะ

ไม่มีความเอื้อเฟื้อ.

บทว่า นาทิยิสฺสนฺตุปชฺฌาเย ความว่า ไม่ยอมทำความเอื้อเฟื้อ

ในพระอุปัชฌาย์และในพระอาจารย์ คือไม่ดำรงในคำสั่งสอนของพระ-

อุปัชฌาย์เป็นต้นเหล่านั้น. ถามว่า เปรียบเหมือนอะไร ? เปรียบเหมือน

ม้าพิการ ไม่เอื้อเฟื้อนายสารถีฉะนั้น. ความว่า ภิกษุแม้เหล่านั้น ย่อม

ไม่กลัว คือไม่ยินดีในพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ เปรียบเหมือนม้าพิการ

คือม้าโกง ย่อมไม่เอื้อเฟื้อต่อนายสารถีผู้ฝึกม้า คือไม่ตั้งอยู่ในคำสั่งสอน

ของนายสารถีนั้นฉะนั้น.

คำว่า เอว เป็นต้น เป็นคำลงท้ายของเรื่องที่กล่าวไว้แล้วนั่นแล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว แปลว่า โดยประการดังกล่าวไว้

แล้ว. บทว่า อนาคตทฺธาน ได้แก่ ในกาลที่ยังไม่มาถึง คือในอนาคต-

กาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 226

พระเถระเมื่อจะแสดงถึงกาลนั้นนั่นแหละ โดยสรุป จึงกล่าวคำ

เป็นต้นว่า ปตฺเต กาลมฺหิ ปจฺฉิเม ในกาลภายหลังแต่ตติยสังคายนา

ดังนี้.

ก็ปัจฉิมกาลในคำนั้นเป็นไฉน ? อาจารย์บางพวกตอบว่า ตั้งแต่

ตติยสังคายนามา จัดเป็นปัจฉิมกาล, อาจารย์บางพวกไม่รู้คำนั้นเลย.

จริงอยู่ ยุคแห่งพระศาสนามี ๕ ยุค คือวิมุตติยุค สมาธิยุค ศีลยุค สุตยุต

และทานยุค. บรรดายุคเหล่านั้น ยุคแรกจัดเป็นวิมุตติยุค, เมื่อวิมุตติยุค

นั้น อันตรธานแล้ว สมาธิยุคก็เป็นไป, แม้เมื่อสมาธิยุคนั้น อันตรธาน

แล้ว ศีลยุคก็เป็นไป, แม้เมื่อศีลยุคนั้น อันตรธานแล้ว สุตยุคก็เป็นไป

ทีเดียว. ก็ผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ประดับประคอง ปริยัตติธรรมและพาหุสัจจะ

ให้ดำรงอยู่ได้ โดยอย่างเดียวหรือสองอย่าง เพราะค่าที่คนมุ่งถึงลาภ

เป็นต้น. ก็ในคราวใด ปริยัตติธรรมมีมาติกาเป็นที่สุด ย่อมอันตรธาน

ไปทั้งหมด ตั้งแต่นั้นมา จักเหลือก็เพียงเพศเท่านั้น ในคราวนั้นคน

ทั้งหลายจะพากันรวบรวมเอาทรัพย์ตามมีตามได้แล้ว เสียสละโดยมุ่งให้

ทาน, เล่ากันว่า การปฏิบัตินั้น จัดเป็นสัมมาปฏิบัติครั้งสุดท้ายของคน

เหล่านั้น. บรรดายุคเหล่านั้น ตั้งแต่สุตยุคมา จัดเป็นปัจฉิมกาล, อาจารย์

พวกอื่นกล่าวว่า ตั้งแต่ศีลยุคมา จึงจัดเป็นปัจฉิมกาลก็มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุรา อาคจฺฉเต เอต ความว่า ภัย

อย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ที่เรากล่าวแล้วแก่พวกท่าน

ทั้งหลายนั้น ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้ก่อน คือจักมาจนถึงในกาลนั้น

นั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 227

บทว่า สุพฺพจา ได้แก่ เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ คือประกอบพร้อม

ด้วยธรรมอันกระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อธิบายว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในคำสั่งสอน

ของครูทั้งหลาย คือมีปกติรับโอวาทเบื้องขวา. บทว่า สขิลา ได้แก่

มีใจอ่อนโยน.

บทว่า เมตฺตจิตฺตา ได้แก่ มีจิตประกอบพร้อมด้วยเมตตา มีอัน

นำประโยชน์เข้าไปให้สัตว์ทั้งปวงเป็นลักษณะ.

บทว่า การุณิกา ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยกรุณา คือประกอบ

พร้อมแล้วด้วยความกรุณา มีการประพฤติปลดเปลื้องทุกข์ของสัตว์

เหล่าอื่น.

บทว่า อารทฺธวีริยา ได้แก่ มีความเพียร เพื่ออันละเสียซึ่งอกุศล

ทั้งหลายให้ถึงพร้อม.

บทว่า ปหิตตฺตา ได้แก่ มีจิตอันส่งตรงไปเฉพาะพระนิพพาน.

บทว่า นิจฺจ ได้แก่ ตลอดกาลทั้งปวง. บทว่า ทฬฺหปรกฺกมา

ได้แก่ มีความเพียรมั่นคง.

บทว่า ปมาท ได้แก่ ความประมาท คือการไม่ตั้งไว้ซึ่งกุศลธรรม

ทั้งหลาย. สมดังที่ตรัสไว้ว่า:-

ในข้อนั้น ความประมาทเป็นไฉน, การปล่อยจิตไป

การตามเพิ่มให้ซึ่งความปล่อยจิตในกายทุจริต วจีทุจริต

มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือการทำการบำเพ็ญ

กุศลธรรมโดยไม่เคารพ ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า อปฺปมาท ได้แก่ ความไม่ประมาท, ความไม่ประมาทนั้น

๑. อภิ. วิ. ๓๕ /ข้อ ๘๖๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 228

บัณฑิตพึงทราบโดยตรงกันข้ามจากความประมาทเถิด. ก็โดยความหมาย

ชื่อว่าความไม่ประมาท ก็คือการไม่อยู่ปราศจากสติ, และคำนั้น เป็นชื่อ

ของการเข้าไปตั้งสติไว้มั่นคง. จริงอยู่ ในข้อนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้

เพราะสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ทั้งหมด มีความประมาทเป็นมูล และ

สิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งหมดมีความไม่ประมาทเป็นมูล ฉะนั้น ท่านทั้งหลาย

พึงเห็นความประมาท โดยความเป็นภัย คือโดยความเป็นอุปัทวะแล้ว

และพึงเห็นความไม่ประมาท โดยความปลอดภัย คือโดยไม่มีอุปัทวะ

แล้ว พึงเจริญอัฏฐังคิกมรรค คืออริยมรรค มีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ

เป็นต้น ที่สงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ มีศีลขันธ์เป็นต้น อันเป็นยอดแห่งข้อ

ปฏิบัติ ด้วยความไม่ประมาทเถิด, ท่านจะถูกต้อง คือกระทำให้แจ้ง ซึ่ง

อมตธรรมได้แก่พระนิพพาน ให้เกิดขึ้นในสันดานของตนได้, ครั้นเข้า

ถึงทัสสนมรรค (โสดาปัตติมรรค) แล้ว ก็เจริญด้วยการทำมรรค ๓ เบื้อง

บนให้บังเกิดขึ้นอีก ท่านบำเพ็ญภาวนาจักถึงที่สุดยอดได้ ก็ด้วยความไม่

ประมาท ด้วยประการฉะนี้แล.

พระเถระ กล่าวสั่งสอนบริษัทที่ถึงพร้อมแล้วอย่างนี้แล. ก็คาถา

พยากรณ์ความเป็นพระอรหัตเหล่านี้ทั้งหมด ได้มีแล้วแก่พระเถระนี้แล.

จบอรรถกถาปุสสเถรคาถาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 229

๒. สารีปุตตเถรคาถา

ว่าด้วยสัมมาปฏิบัติของภิกษุ

พระสารีบุตรเถระ ครั้นสำเร็จแห่งสาวกบารมีญาณ ดำรงอยู่ใน

ตำแหน่งพระธรรมเสนาบดีอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทำประโยชน์แก่หมู่สัตว์

วันหนึ่งเมื่อพยากรณ์อรหัตผลโดยมุขะ คือประกาศความประพฤติของตน

แก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวคาถาความว่า

[๓๙๖] ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล สงบระงับ มีสติ มีความดำริ

ชอบ ไม่ประมาท ยินดีแต่เฉพาะกรรมฐานภาวนาอัน

เป็นธรรมภายใน มีใจมั่นคงอย่างยิ่ง อยู่ผู้เดียว ยินดี

ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกผู้นั้น

ว่าภิกษุ ภิกษุเมื่อบริโภคอาหารจะเป็นของสดหรือของ

แห้งก็ตาม ไม่ควรติดใจจนเกินไป ควรเป็นผู้มีท้องพร่อง

มีอาหารพอประมาณ มีสติอยู่ การบริโภคอาหารยังอีก

๔-๕ คำจะอิ่ม ควรงดเสีย แล้วดื่มน้ำเป็นการสมควร

เพื่ออยู่สบายของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว อนึ่ง การนุ่งห่ม

จีวรอันเป็นกัปปิยะ นับว่าเป็นประโยชน์ จัดว่าพอเป็น

การอยู่สบายของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว การนั่งขัดสมาธิ

นับว่าพอเป็นการอยู่สบายของภิกษุ ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ภิกษุ

รูปใดพิจารณาเห็นสุข โดยความเป็นทุกข์ พิจารณาเห็น

ทุกข์โดยความเป็นลูกศรปักอยู่ที่ร่าง ความถือมั่นว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 230

ตัวเป็นตนในอทุกขมสุขเวทนา ไม่ได้มีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุ

นั้น จะพึงติดอยู่ในโลกอย่างใด ด้วยกิเลสอะไร ภิกษุ

ผู้มีความปรารถนาลามกเกียจคร้าน มีความเพียรเลว

ทราม ได้สดับน้อย ไม่เอื้อเฟื้อ อย่าได้มาในสำนัก

ของเราแม้ในกาลไหนๆ เลย จะมีประโยชน์อะไรด้วย

การให้โอวาทบุคคลเช่นนั้นในหมู่สัตว์โลกนี้ อนึ่ง ขอ

ให้ภิกษุผู้เป็นพหูสูต เป็นนักปราชญ์ ตั้งมั่นอยู่ในศีล

ประกอบใจให้สงบระงับเป็นเนืองนิตย์ จงมาประดิษฐาน

อยู่บนศีรษะของเราเถิด ภิกษุใดประกอบด้วยธรรมเครื่อง

เนิ่นช้า ยินดีในธรรมเครื่องเนิ่นช้า ภิกษุนั้นย่อมพลาด

นิพพาน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม

ส่วนภิกษุใด ละธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีใน

อริยมรรคอันเป็นทางไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า ภิกษุนั้น

ย่อมบรรลุนิพพานอันเป็นธรรมเกษม จากโยคะอย่าง

ยอดเยี่ยม พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในสถานที่ใด

เป็นบ้านหรือป่าก็ตาม ที่ดอนหรือที่ลุ่มก็ตาม สถานที่

นั้นเป็นภูมิสถานที่น่ารื่นรมย์ คนผู้แสวงหากามย่อมไม่

ยินดีในป่าอันน่ารื่นรมย์เช่นใด ท่านผู้ปราศจากความ

กำหนัด จักยินดีในป่าอันน่ารื่นรมย์เช่นนั้น เพราะท่าน

เหล่านั้นไม่เป็นผู้แสวงหากาม บุคคลควรเห็นท่านผู้มี

ปัญญาชี้โทษมีปกติกล่าวข่มขี่ เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 231

ควรคบบัณฑิตเช่นนั้น เพราะว่าเมื่อคบกับบัณฑิตเช่นนั้น

ย่อมมีแต่ความดี ไม่มีชั่วเลย นักปราชญ์ก็ควรโอวาท

สั่งสอน ควรห้ามผู้อื่นจากธรรมที่มิใช่ของสัตบุรุษ แต่

บุคคลเห็นปานนั้น ย่อมเป็นที่รักใคร่ของสัตบุรุษเท่านั้น

ไม่เป็นที่รักใคร่ของอสัตบุรุษ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสรู้แล้วมีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมแก่ผู้อื่นอยู่ เมื่อ

พระองค์กำลังทรงแสดงธรรมอยู่ เราผู้มุ่งประโยชน์ตั้งใจ

ฟัง การตั้งใจฟังของเรานั้นไม่ไร้ประโยชน์ เราเป็น

ผู้หมดอาสวะ เป็นผู้หลุดพ้นพิเศษ เราไม่ได้ตั้งความ

ปรารถนาเพื่อปุพเพนิวาสญาณ ทิพยจักขุญาณ เจโต-

ปริยญาณ อิทธิวิธี จุตูปปาตญาณ ทิพโสตญาณ อัน

เป็นธาตุบริสุทธิ์ มาแต่ปางก่อนเลย แต่คุณธรรมของ

สาวกทั้งหมดได้มีขึ้นแก่เรา พร้อมกับการบรรลุมรรคผล

เหมือนคุณธรรม คือพระสัพพัญญุตญาณ ได้มีแก่

พระพุทธเจ้าฉะนั้น มียักษ์ตนหนึ่งมากล่าวว่า มีภิกษุ

หัวโล้นรูปหนึ่งชื่ออุปติสสะ เป็นพระเถระผู้อุดมด้วย

ปัญญา ห่มผ้าสังฆาฏินั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้ สาวก

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้กำลังเข้าสมาบัติอันไม่มี

วิตก ในขณะถูกยักษ์ตีศีรษะ ก็ยังประกอบด้วยธรรมคือ

ความนิ่งอย่างประเสริฐ ภูเขาหินล้วนตั้งมั่นไม่หวั่นไหว

ฉันใด ภิกษุย่อมไม่หวั่นไหวเหมือนภูเขาเพราะสิ้นโมหะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 232

ก็ฉันนั้น ความชั่วช้าเพียงเท่าปลายขนทราย ย่อม

ปรากฏเหมือนเท่าก้อนเมฆที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า แก่ภิกษุ

ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน แสวงหาความสะอาดเป็นนิตย์

เราไม่ยินดีต่อความตายและชีวิต เราเป็นผู้มีสติสัมป-

ชัญญะจักละทิ้งร่างกายนี้ไป ไม่ยินดีต่อความตายและ

ชีวิต รอคอยเวลาตายอยู่ เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลา

ทำงานฉะนั้น ความตายนี้ มีแน่นอนในสองคราว คือ

ในเวลาแก่หรือในเวลาหนุ่ม ที่จะไม่ตายเลยย่อมไม่มี

เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญแต่สัมมาปฏิบัติเถิด

ขอจงอย่าได้ปฏิบัติผิดพินาศเสียเลย ขณะอย่าได้ล่วง

เลยท่านทั้งหลายไปเสีย เมืองที่ตั้งอยู่ชายแดน เขา

คุ้มครองป้องกันดีทั้งภายนอกและภายในฉันใด ท่าน

ทั้งหลายก็จงคุ้มครองตนฉันนั้นเถิด ขณะอย่าได้ล่วงเลย

ท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะผู้มีขณะอันล่วงเลยไปเสีย

แล้ว ต้องพากันไปเศร้าโศกยัดเยียดอยู่ในนรก ภิกษุ

ผู้สงบระงับ งดเว้นโทษเครื่องเศร้าหมองใจได้อย่าง

เด็ดขาด มีปกติพูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมกำจัด

บาปธรรมได้ เหมือนลมพัดรบไม้ร่วงหล่นไปฉะนั้น ภิกษุ

ผู้สงบระงับ งดเว้นจากโทษเครื่องเศร้าหมองใจได้อย่าง

เด็ดขาด มีปกติพูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ได้ลอย

บาปธรรมเสียได้ เหมือนลมพัดใบไม้ร่วงหล่นไปฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 233

ภิกษุผู้สงบระงับละเว้นกองกิเลสและกองทุกข์ ที่เป็นเหตุ

ทำให้เกิดความคับแค้น มีใจผ่องใสไม่ขุ่นมัว มีศีลงาม

เป็นนักปราชญ์พึงทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลไม่ควรคุ้นเคย

ในบุคคลบางพวกจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม หรือ

เบื้องต้นเขาจะเป็นคนดี ตอนปลายเป็นคนไม่ดีก็ตาม

นิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑

อุทธัจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองจิต

สมาธิจิตของภิกษุผู้มีปกติชอบอยู่ด้วยความไม่ประมาท

ไม่หวั่นไหวด้วยเหตุ ๒ ประการ คือด้วยมีสักการะ ๑

ด้วยไม่มีผู้สักการะ ๑ นักปราชญ์เรียกบุคคลผู้เพ่งธรรม

อยู่เป็นปกติ พากเพียรเป็นเนืองนิตย์ พิจารณาเห็น

ด้วยปัญญาสุขุม สิ้นความยึดถือและความยินดีว่าเป็น

สัตบุรุษ มหาสมุทร ๑ แผ่นดิน ๑ ภูเขา ๑ และแม้

ลม ๑ ไม่ควรเปรียบเทียบความหลุดพ้นกิเลสอย่าง

ประเสริฐของพระศาสดาเลย พระเถระผู้ยังพระธรรมจักร

อันพระศาสดาให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตาม ผู้มีปัญญา

มาก มีจิตมั่นคง เป็นผู้เสมอด้วยแผ่นดินและไฟ ย่อม

ไม่ยินดียินร้าย ภิกษุผู้บรรลุปัญญาบารมีธรรมแล้ว มี

ปัญญาเครื่องตรัสรู้มากเป็นนักปราชญ์ผู้ใหญ่ ไม่ใช่เป็น

คนเขลา ทั้งไม่เหมือนคนเขลา เป็นผู้ดับความทุกข์ร้อน

ได้ทุกเมื่อ ท่องเที่ยวไปอยู่ เรามีความคุ้นเคยกับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 234

พระศาสดามาก เราทำคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว

ปลงภาระหนักลงได้เเล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

แล้ว ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด

นี้เป็นอนุสาสนีของเรา เราพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้ว

จักปรินิพพาน.

จบสารีปุตตเถรคาถา

อรรถกถาสาริปุตตเถรคาถาที่ ๒

คาถาของ ท่านพระสาริปุตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ยถาจารี ยถา-

สโต ดังนี้, ก็เรื่องของท่านพระมหาโมคคัลลานเถระนั้น บัณฑิตพึง

ทราบอย่างนี้แล.

ในอดีตกาล ในที่สุดแห่งอสงไขยกำไรแสนกัป แต่กัปนี้ไป ท่าน

พระสารีบุตรบังเกิดแล้วในตระกูลพราหมณ์มหาศาล โดยมีชื่อว่า สรท-

มาณพ. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ บังเกิดแล้วในตระกูลคฤหบดีมหา-

ศาล โดยมีชื่อว่า สิริวัฑฒกุมฎุพี. คนทั้งสองนั้นได้เป็นสหายร่วมเล่น

ฝุ่นด้วยกัน.

ในบรรดาคน ๒ คนนั้น สรทมาณพพอบิดาล่วงลับดับชีพแล้ว ก็

ครอบครองทรัพย์สมบัติอันเป็นของมีประจำตระกูล วันหนึ่งไปในที่ลับคน

คิดว่า ขึ้นชื่อว่าสัตว์เหล่านี้ ย่อมมีความตายเป็นที่สุดอย่างเดียวกัน,

เพราะฉะนั้น เราควรเข้าไปบวชแสวงหาโมกขธรรมเถิด ดังนี้แล้ว จึง

๑. บาลีเป็นสารีปุตตเถรคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 235

เข้าไปหาสหาย กล่าวว่า เพื่อนเอ๋ย ! เรามีความประสงค์จะบวช, ท่าน

เล่า ! จักสามารถเพื่อจะบวชได้ไหม, เมื่อเพื่อนตอบว่า เราไม่สามารถ

จะบวชได้ จึงกล่าวว่า ก็ตามใจเถอะ เราจักบวชคนเดียวก็ได้ ดังนี้แล้ว

จึงให้คนใช้เปิดประตูเรือนคลังลำหรับเก็บรัตนะออกมา ให้มหาทานแก่

คนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น แล้วไปยังเชิงบรรพต บวชเป็นฤาษี.

บรรดาบุตรพราหมณ์ประมาณ ๗๔,๐๐๐ คน ได้พากันออกบวชตามสรท-

มาณพนั้นแล้ว. สรทมาณพนั้นทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด

ขึ้นแล้ว ก็บอกการบริกรรมกสิณแก่พวกชฎิลแม้เหล่านั้น. พวกชฎิล

แม้เหล่านั้นทั้งหมด ก็พากันทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดขึ้น

แล้ว.

สมัยนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ทรง

อุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงยังพระธรรมจักรอันประเสริฐให้เป็นไปแล้ว

ทรงยังหมู่สัตว์ให้ข้ามพ้นจากห้วงน้ำใหญ่ คือสงสาร วันหนึ่ง จึงคิดว่า

เราจักทำการสงเคราะห์สรทดาบส และพวกอันเตวาสิก ดังนี้ พระองค์

เดียวไม่มีใครเป็นที่สอง ทรงถือเอาบาตรและจีวรเสด็จไปโดยอากาศ

ตรัสว่า ดาบสจงรู้เราว่าเป็นพระพุทธเจ้าเถิด ดังนี้ เมื่อดาบสกำลังเห็นอยู่

นั่นแหละ จึงเสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนเหนือปฐพี.

สรทดาบส จึงใคร่ครวญถึงมหาปุริสลักษณะในสรีระของพระศาสดา

ถึงความตกลงใจว่า บุคคลนี้ คือพระสัพพัญญูพุทธเจ้าแน่แท้ จึงทำ

การต้อนรับปูลาดอาสนะถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะ

ที่เขาปูลาดถวายแล้ว สรทดาบสนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง ใกล้พระ-

ศาสดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 236

สมัยนั้น พวกอันเตวาสิกของสรทดาบสนั้น เป็นชฎิลมีประมาณ

๗๔,๐๐๐ คน พากันถือเอาผลไม้น้อยใหญ่ที่ประณีตอย่างยิ่ง มีโอชารส

ดีมาแล้ว เห็นพระศาสดา เกิดมีความเลื่อมใส และแลดูอาการที่อาจารย์

และพระศาสดานั่ง จึงกล่าวว่า อาจารย์ เมื่อก่อนพวกเราเข้าใจว่า ไม่

มีใครยิ่งใหญ่เกินกว่าท่าน แต่บุรุษนี้ เห็นจะยิ่งใหญ่กว่าท่านเป็นแน่.

สรทดาบสตอบว่า พ่อทั้งหลาย นี่พวกพ่อพูดอะไรกัน พวกพ่อปรารถนา

จะทำภูเขาสิเนรุ ซึ่งสูงตั้ง ๖,๘๐๐,๐๐๐ โยชน์ ให้เสมอกับเมล็ดพันธุ์

ผักกาดได้อย่างไร พวกท่านอย่าเอาเราไปเปรียบกับพระสัพพัญญูพุทธเจ้า

เลย.

ครั้งนั้น พวกดาบสนั้นฟังคำของอาจารย์แล้ว พากันคิดว่า บุรุษ

นี้เป็นผู้ยิ่งใหญ่หนอ ทั้งหมดจึงพากันหมอบลงที่แทบเท้า ถวายบังคม

พระศาสดา.

ครั้งนั้น อาจารย์กล่าวกะพวกอันเตวาสิกนั้นว่า แน่ะพวกพ่อ ไทย-

ธรรมของพวกเรา ที่จะสมควรแด่พระศาสดา ไม่มีเลย, และพระศาสดา

เสด็จมาในที่นี้ ในเวลาภิกขาจาร, เอาเถอะ พวกเราจักถวายไทยธรรม

ตามกำลัง, พวกท่านจงนำผลไม้น้อยใหญ่ที่ประณีตนั้นมาเถิด ครั้นให้นำ

มาแล้ว ล้างมือให้สะอาดแล้ว ตนเองจึงวางไว้ในบาตรของพระตถาคต

และพอพระศาสดารับผลไม้น้อยใหญ่ พวกเทวดาก็เดิมทิพยโอชาลง.

ดาบสทำการกรองน้ำถวายเอง. ต่อแต่นั้น เมื่อพระศาสดา

ประทับนั่งทำโภชนกิจให้เสร็จสิ้นแล้ว ดาบสก็เรียกอันเตวาสิกทั้งหมดมา

นั่ง กล่าวสารณียกถาในสำนักของพระศาสดา. พระศาสดาทรงดำริว่า

อัครสาวกทั้งสอง จงมาพร้อมกับภิกษุสงฆ์เถิด. อัครสาวกทั้งสองนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 237

ทราบพระดำริของพระศาสดาแล้ว ในขณะนั้น จึงมีพระขีณาสพ

๑๐๐,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร พากันมาไหว้พระศาสดาแล้ว ยืน ณ ที่สมควร

ข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น สรทดาบสจึงเรียกพวกอันเตวาสิกมาว่า พวกพ่อ พึง

เอาอาสนะดอกไม้ทำการบูชาพระศาสดาและภิกษุสงฆ์เถิด เพราะฉะนั้น

จงเอาดอกไม้มาเถิด. ในขณะนั้นนั่นเอง พวกอันเตวาสิกนั้น นำเอา

ดอกไม้ที่ถึงพร้อมด้วยสีและกลิ่น ด้วยฤทธิ์แล้ว ปูลาดเป็นอาสนะดอกไม้

ประมาณโยชน์หนึ่งแด่พระพุทธเจ้า, ประมาณ ๓ คาวุต แก่พระอัครสาวกทั้ง

สอง ประมาณกึ่งโยชน์แก่พวกพระภิกษุที่เหลือ ปูลาดประมาณ ๑ อุสภะ แก่

ภิกษุสงฆ์นวกะ. เมื่อพวกอันเตวาสิกนั้นพากันปูลาดอาสนะเรียบร้อยแล้ว

อย่างนั้น สรทดาบสจึงยืนประคองอัญชลีข้างหน้าพระตถาคต กราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงเสด็จขึ้นบนอาสนะดอกไม้นี้

เพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้แล้ว. เมื่อพระ-

ศาสดาประทับนั่งแล้ว อัครสาวกทั้งสองและพวกภิกษุที่เหลือ ต่างก็พากัน

นั่งบนอาสนะที่ถึงแล้วแก่ตนๆ. พระศาสดาตรัสว่า ขอผลเป็นอันมาก

จงสำเร็จแก่ดาบสเหล่านั้นเถิด แล้วทรงเข้านิโรธสมาบัติ. พระอัครสาวก

ทั้งสองก็ดี ภิกษุที่เหลือก็ดี ทราบว่าพระศาสดาเข้าสมาบัติแล้ว จึงพากัน

เข้านิโรธสมาบัติบ้าง. ดาบสได้ยืนกั้นฉัตรดอกไม้ตลอด ๗ วัน อันหา

ระหว่างมิได้. ฝ่ายอันเตวาสิกนอกนี้ พากันบริโภคมูลผลาผลในป่าแล้ว

ในกาลที่เหลือก็พากันยืนประคองอัญชลี.

พอล่วง ๗ วัน พระศาสดาก็เสด็จออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว ตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 238

เรียกนิสภเถระอัครสาวกมาว่า เธอจงอนุโมทนาอาสนะดอกไม้ของ

ดาบสทั้งหลายเถิด. พระเถระดำรงอยู่ในสาวกบารมีญาณ ได้กระทำการ

อนุโมทนาอาสนะดอกไม้แก่ดาบสเหล่านั้นแล้ว. ในที่สุดแห่งเทศนาของ

พระเถระนั้น พระศาสดาตรัสเรียกอโนมเถระอัครสาวกที่สอง (ฝ่ายซ้าย)

มาว่า แม้เธอก็จงแสดงธรรมแก่ดาบสเหล่านี้บ้างเถิด.

แม้พระอโนมเถระนั้น ก็พิจารณาถึงพระพุทธวจนะ คือพระไตร-

ปิฎกแล้ว จึงแสดงธรรมแก่ดาบสเหล่านั้น การบรรลุธรรมด้วยการแสดง

ธรรม แม้ของพระอัครสาวกทั้งสองไม่ได้มีแล้วแก่คน แม้สักคนเดียว.

ในที่สุดเทศนา เว้นสรทดาบสเสีย พวกชฎิลที่เหลือทั้งหมดประมาณ

๗๔,๐๐๐ คน ก็บรรลุพระอรหัต. พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัส

ว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด. ในบัดดลนั้นเอง พวกชฎิลนั้นเป็นผู้มีเพศแห่ง

ดาบสอันตรธานไปแล้ว เป็นผู้ทรงบริขาร ๘ อันประเสริฐ ได้เป็นราวกะ

พระเถระอายุ ๖๐ ปี.

ฝ่ายสรทดาบส ตั้งความปรารถนาว่า โอหนอ แม้ตัวเรา พึงได้

เป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคตกาล เหมือนพระนิสภ-

เถระนี้เถิด ดังนี้ ในเวลาพระศาสดาทรงแสดงธรรม เป็นผู้ส่งใจไปใน

ที่อื่นเสีย เพราะค่าที่ตนเกิดความปริวิตกขึ้น จึงไม่สามารถจะบรรลุแจ้ง

มรรคและผลได้. ลำดับนั้น สรทดาบสจึงถวายบังคมพระตถาคตแล้ว

ตั้งความปรารถนาไว้เหมือนอย่างนั้น. แม้พระศาสดาทรงเห็นว่าสรท-

ดาบสนั้น จะสำเร็จความปรารถนาโดยหาอันตรายมิได้ จึงตรัสพยากรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 239

ว่า ตั้งแต่นี้ไปล่วงอสงไขยกำไรแสนกัป เธอจักชื่อว่า สารีบุตร เป็น

อัครสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโคดม ดังนี้แล้ว จึง

ตรัสธรรมกถา มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว เสด็จไปทางอากาศ.

ฝ่ายสรทดาบส ไปหาสิริวัฑฒะผู้เป็นสหายแล้วกล่าวว่า เพื่อนเอ๋ย

เราปรารถนาตำแหน่งอัครสาวก ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า

โคดม ผู้จะอุบัติในอนาคตกาล ณ บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

พระนามว่า อโนมทัสสี, แม้ท่าน ก็จงปรารถนาตำแหน่งอัครสาวกที่

สอง (ฝ่ายซ้าย) ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นบ้างเถอะ. สิริวัฑฒะ

ได้ฟังคำแนะนำนั้นแล้ว จึงให้ปรับพื้นที่ประมาณ ๘ กรีส ใกล้ประตู

ที่อยู่ของตนให้สม่ำเสมอแล้ว เกลี่ยดอกไม้ทั้งหลายมีดอกบวบขมเป็นที่ ๕

แล้วให้สร้างมณฑปมุงด้วยดอกอุบลเขียวแล้ว ปูลาดอาสนะสำหรับพระ-

พุทธเจ้า และปูลาดอาสนะสำหรับพวกภิกษุ ตระเตรียมสักการะและ

สัมมานะเป็นอันมากแล้ว ให้สรทดาบสนิมนต์พระศาสดา ยังมหาทานให้

เป็นไปตลอด ๗ วันแล้ว ให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นุ่งห่ม

ผ้าอันควรแก่ค่ามากมายแล้ว ได้ตั้งความปรารถนาเพื่อเป็นอัครสาวกที่ ๒.

ถึงพระศาสดาก็ทรงเล็งเห็นว่า เขาจะสำเร็จความปรารถนาโดยหา

อันตรายมิได้ จึงทรงพยากรณ์โดยนัยดังกล่าวแล้ว ทรงกระทำอนุโมทนา

ภัตแล้วเสด็จหลีกไป. สิริวัฑฒะร่าเริงดีใจมาก บำเพ็ญกุศลกรรมจน

ตลอดชีวิต ในวาระจิตที่ ๒ บังเกิดในกามาวจรเทวโลก. สรทดาบส

เจริญพรหมวิหาร ๔ บังเกิดในพรหมโลก.

จำเดิมแต่นั้น ท่านก็มิได้กล่าวถึงกรรมในระหว่างแม้เเห่งบุคคล

ทั้งสองนั้นเลย. ก็ก่อนหน้าการอุบัติของพระผู้มีภาคเจ้าของพวกเรา สรท-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 240

ดาบสถือปฏิสนธิในท้องของนางพราหมณีชื่อว่า รูปสารี ในอุปติสสคาม

ไม่ไกลกรุงราชคฤห์. ในวันนั้นนั่นเอง แม้สหายของเขา ก็ถือปฏิสนธิ

ในท้องของนางพราหมณี ชื่อว่า โมคคัลลี ในโกลิตคาม ไม่ไกลกรุง

ราชคฤห์นักเลย.

ได้ยินว่า สกุลทั้งสองนั้นเป็นสหายสืบเนื่องกันมา นับได้ ๗ ชั่ว-

สกุลนั่นเทียว. ชนทั้งหลายได้ให้คัพภบริหารเริ่มตั้งแต่วันที่หนึ่งนั่นแล

แก่ตระกูลทั้งสองนั้น. โดยล่วงไป ๑๐ เดือน แม่นม ๖๖ คนได้พากัน

บำรุงคนทั้งสองที่เกิดแล้ว, ในวันตั้งชื่อ พวกญาติได้ทำการตั้งชื่อ

บุตรของนางพราหมณีรูปสารีว่า อุปติสสะ เพราะเป็นบุตรแห่งสกุลอัน

ประเสริฐสุด ในอุปติสสคาม, ตั้งชื่อบุตรนอกนี้ว่า โกลิตะ เพราะเป็น

บุตรแห่งสกุลอันประเสริฐสุดในโกลิตคาม. เด็กทั้งสองคนนั้นมีบริวาร

มากมาย เจริญวัยแล้ว ได้สำเร็จการศึกษาทุกอย่างแล้ว.

ครั้นวันหนึ่ง เมื่อคนทั้งสองนั้น ดูการเล่นมหรสพบนยอดภูเขา ณ

กรุงราชคฤห์ เห็นมหาชนประชุมกันแล้ว มีโยนิโสมนสิการเกิดผุดขึ้น

เพราะค่าที่คนมีญาณแก่กล้าแล้ว จึงพากันคิดว่า คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด

ไม่ถึงร้อยปีก็จักตั้งอยู่ในปากแห่งความตาย ดังนี้แล้ว ได้ความสังเวช

ทำความตกลงใจว่า พวกเราควรจะแสวงหาโมกขธรรม, และการ

จะแสวงหาโมกขธรรมนั้น ควรเพื่อจะได้การบรรพชาสักอย่างหนึ่ง

จึงพร้อมกับมาณพ ๕๐๐ คน พากันบวชในสำนักของสัญชัยปริพาชก.

จำเดิมแต่กาลที่คนเหล่านั้นบวชแล้ว สัญชัยได้เป็นผู้ถึงความเลิศด้วยลาภ

และเลิศด้วยยศ.

โดยล่วงไป ๒-๓ วันเท่านั้น คนทั้งสองนั้นพากันยึดถือลัทธิของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 241

สัญชัยทั้งหมดแล้ว มองไม่เห็นสาระในลัทธินั้น จึงพากันออกจากลัทธิ

นั้น ถามปัญหากะสมณพราหมณ์ ที่สมมติกันว่าเป็นบัณฑิตเหล่านั้น

ในที่นั้นๆ, สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกคนทั้งสองนั้นถามปัญหาแล้ว

แก้ปัญหาไม่ได้ โดยที่แท้คนทั้งสองต้องแก้ปัญหาแก่สมณพราหมณ์เหล่า

นั้น. คนทั้งสองนั้น ขณะแสวงหาโมกขธรรม ได้ทำกติกากันไว้แล้ว

อย่างนี้ว่า ในพวกเรา ผู้ใดบรรลุอมตธรรมก่อนกว่า ผู้นั้นจงบอกแก่

คนนอกนี้ให้ทราบบ้าง.

ก็สมัยนั้น เมื่อพระศาสดาของพวกเราบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ

ครั้งแรก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวรให้เป็นไปแล้ว ทรงทรมาน

พวกชฎิล ๑,๐๐๐ คน มีอุรุเวลกัสสปะเป็นต้น โดยลำดับแล้ว ประทับ

อยู่ในกรุงราชคฤห์ วันหนึ่ง อุปติสสปริพาชกไปยังอารามของปริ-

พาชก มองเห็นท่านพระอัสสชิเถระ กำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุง

ราชคฤห์ จึงคิดว่า บรรพชิตผู้สมบูรณ์ด้วยอากัปกิริยาเห็นปานนี้

เราไม่เคยเห็นเลย, ชื่อว่า ธรรมอันสงบพึงมีในที่นี้ ดังนี้ จึงเกิดความ

เลื่อมใส รอท่าติดตามไปข้างหลังท่าน เพื่อจะถามปัญหา.

แม้พระเถระได้บิณฑบาตแล้ว ก็ไปยังโอกาสอันสมควร เพื่อจะ

ทำการบริโภค, ปริพาชกจึงปูลาดตั่งสำหรับปริพาชกของตนถวายท่าน.

ก็ในที่สุดภัตกิจ เขาได้ถวายน้ำจากคนโทน้ำของตนแก่ท่าน.

ปริพาชกนั้น กระทำอาจริยวัตรอย่างนั้นแล้ว การทำปฏิสันถาร

กับพระเถระผู้มีภัตกิจอันกระทำแล้ว จึงถามว่า ใครเป็นศาสดาของ

ท่าน, หรือว่าท่านชอบใจธรรมของใคร. พระเถระแสดงอ้างถึงพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า พระเถระนั้น ถูกปริพาชกนั้นถามอีกว่า ก็พระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 242

ของท่านมีปกติกล่าวอะไร ดังนี้แล้วจึงตอบว่า เราจักแสดงความลึกซึ้ง

ของพระศาสนานี้ จึงแสดงชี้แจงความที่ตนเป็นผู้ใหม่แล้ว และเมื่อ

จะกล่าวศาสนธรรมแก่ปริพาชกนั้นโดยสังเขป จึงกล่าวคาถาว่า ธรรม

เหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด ดังนี้เป็นต้น. ปริพาชกได้ฟังสองบทแรก

เท่านั้น ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล อันสมบูรณ์ด้วยพันนัย, สองบทนอก

นี้ จบลงในเวลาที่เป็นพระโสดาบันแล้ว.

ก็ในเวลาจบคาถา อุปติสสปริพาชกเป็นพระโสดาบัน กำหนด

ความวิเศษที่เหนือขึ้นไป ที่พระเถระยังมิให้เป็นไปว่า เหตุในข้อนี้ จักมี

ดังนี้แล้ว จึงกล่าวกับพระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อย่าแสดงพระธรรม-

เทศนาให้สูงขึ้นไปเลย, เท่านี้ก็พอแล้ว, พระศาสดาของพวกเรา ประทับ

อยู่ในที่ไหน ? พระเถระตอบว่า ที่พระเวฬุวัน. อุปติสสะเรียนว่า ข้า-

แต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงล่วงหน้าไปก่อนเถอะ กระผมจักเปลื้อง

ปฏิญญาที่ให้ไว้กับสหายของกระผมก่อนแล้ว จักพาเขาไปดังนี้แล้ว ไหว้

ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทำประทักษิณ ๓ ครั้งแล้ว ส่งพระเถระไปแล้ว

จึงได้ไปยังอาศรมของปริพาชก.

โกลิตปริพาชก มองเห็นอุปติสสปริพาชกกำลังเดินมาแต่ที่ไกล

เทียว คิดว่า วันนี้เขามีหน้าตาแจ่มใส ไม่เหมือนในวันอื่น ๆ เลย,

เห็นทีจักบรรลุอมตธรรมเป็นแน่แท้ ดังนี้แล้ว ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ

จึงยกย่องการบรรลุคุณวิเศษของเขาแล้ว ถามถึงการบรรลุอมตธรรม.

แม้อุปติสสะนั้นก็แสดงให้รู้ว่า ใช่ ! อาวุโส เราบรรลุอมตธรรมแล้ว

ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานั้นนั่นแหละแก่เขา. ในเวลาจบคาถา โกลิตะ

ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วกล่าวว่า พระศาสดาของพวกเราประทับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 243

อยู่ที่ไหน ? อุปติสสะตอบว่า ประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน. โกลิตะกล่าวว่า

ถ้าอย่างนั้น พวกเราไปกันเถอะ อาวุโส, จักได้เข้าเฝ้าพระศาสดา.

อุปติสสะเป็นผู้บูชาอาจารย์แม้ตลอดกาลทั้งปวง, เพราะฉะนั้น ไปหา

สัญชัยแล้ว ประกาศคุณของพระศาสดาแล้ว ได้เป็นผู้ประสงค์จะนำแม้

สัญชัยนั้นไปยังสำนักพระศาสดาบ้าง.

สัญชัยปริพาชกนั้น เป็นผู้ถูกความหวังในลาภเข้าครอบงำ จึง

ไม่ต้องการเป็นอันเตวาสิก ห้ามว่า เราไม่อาจจะเป็นตุ่มใส่น้ำอาบได้

อุปติสสะและโกลิตะนั้น ไม่สามารถจะให้สัญชัยนั้นกลับใจได้ จึงพร้อม

กับพวกอันเตวาสิก ๒๕๐ คน ผู้พระพฤติตามโอวาทของตน ได้ไปยัง

เวฬุวัน. พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นอันเตวาสิกเหล่านั้น กำลัง

เดินทางมาแต่ไกล จึงตรัสว่า นั่นจักเป็นคู่สาวกของเรา เป็นคู่อัน

เลิศ เป็นคู่อันเจริญ ดังนี้ ทรงแสดงธรรมด้วยอำนาจความประพฤติ

ของบริษัทของอัครสาวกทั้งสองนั้น แก่บริษัทแล้ว ให้ตั้งอยู่ในความเป็น

พระอรหัต ได้ประทานอุปสมบท โดยเอหิภิกษุ. บาตรและจีวรอัน

สำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้มาแล้วแม้แก่อัครสาวกทั้งสอง เหมือนอย่างบริษัท

ของอัครสาวกทั้งสองนั้นนั่นแล แต่กิจแห่งอริยมรรค ๓ เบื้องบน ยังไม่

สำเร็จ. เพราะเหตุไร ? เพราะสาวกบารมีญาณนั้นยิ่งใหญ่.

ในบรรดาพระอัครสาวกทั้งสองนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

ตั้งแต่วันบวชมา ในวันที่ ๗ บำเพ็ญสมณธรรม ที่บ้านกัลลวาลคาม

ที่มคธรัฐก้าวลงสู่ความง่วง เป็นผู้อันพระศาสดาให้เกิดความสลดใจแล้ว

บรรเทาความง่วงเสียได้ ฟังธาตุกัมมัฏฐานนั่นแล บรรลุอริยมรรค ๓

เบื้องบนแล้ว บรรลุที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 244

ส่วนท่านพระสารีบุตร ตั้งแต่วันบวชมาล่วงไปได้กึ่งเดือน เมื่อ

พระศาสดาแสดงเวทนาปริคคหสูตร แก่ทีฆนขปริพาชกหลานของตน

ณ ที่ถ้ำสูกรขาตา ในกรุงราชคฤห์ ส่งญาณไปตามแนวเทศนา ก็บรรลุ

ที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณได้ เหมือนบริโภคภัตที่คนอื่นคดไว้แล้วฉะนั้น.

สาวกบารมีญาณของอัครสาวกทั้งสองนั้น ถึงที่สุดในที่ใกล้พระ-

ศาสดานั่นแหละ. ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ใน

อปทานว่า:-

ในที่ไม่ไกลจากหิมวันตประเทศ มีภูเขาชื่อลัมพกะ

เราสร้างอาศรมไว้อย่างดี สร้างบรรณศาลาไว้ใกล้ภูเขานั้น

อาศรมของเราไม่ไกลจากฝั่งแม่น้ำอันไม่ลึก มีท่าน้ำราบ-

เรียบเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ เกลื่อนกล่นด้วยหาดทรายขาว

สะอาด.

ที่ใกล้อาศรมของเรานั้นมีแม่น้ำไม่มีก้อนกรวด ตลิ่ง

ไม่ขัน น้ำจืดสนิทไม่มีกลิ่นเหม็นไหลไป ทำให้อาศรม

ของเรางาม ฝูงจระเข้ มังกร ปลาฉลามและเต่าว่ายน้ำ

เล่นอยู่ในแม่น้ำ ไหลไป ณ ที่ใกล้อาศรมของเรา ย่อม

ทำอาศรมของเราให้งาม ฝูงปลาสลาด ปลากระบอก

ปลาสวาย ปลาเค้า ปลาตะเพียน และปลานกกระจอก

ว่ายโลดโดดอยู่ ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม.

ที่สองฝั่งแม้น้ำมีหมู่ไม้ดอก หมู่ไม้ผล ห้อยย้อยอยู่

ทั้งสองฝั่ง ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม ไม้มะม่วง ไม้รัง

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 245

หมากเม่า แคฝอย ไม้ยางทราย ส่งกลิ่นหอมอบอวลอยู่

เป็นนิจ บานอยู่ใกล้อาศรมของเรา ไม้จำปา ไม้อ้อยช้าง

ไม้กระทุ่ม กระถินพิมาน บุนนาคและลำเจียก มีกลิ่นหอม

ฟุ้งไปเป็นนิจ บานสะพรั่งอยู่ใกล้อาศรมของเรา ไม้

ลำดวน ต้นอโศก ดอกกุหลาบ บานสะพรั่งอยู่ใกล้

อาศรมของเรา ไม้ปรู และมะกล่ำหลวง ดอกบาน

สะพรั่งอยู่ใกล้อาศรมของเรา การะเกด พะยอมขาว พิกุล

และมะลิซ้อนมีดอกหอมอบอวล ทำอาศรมเราให้งาม ไม้

เจตภังคี ไม้กรรณิการ์ ไม้ประดู่ และไม้อัญชันมีมาก

มีดอกหอมฟุ้ง หำให้อาศรมของเรางาม มะนาว มะงั่ว

และแคฝอย ดอกบานสะพรั่งหอมตลบอบอวล ทำอาศรม

ของเราให้งาม ไม้ราชพฤกษ์ อันชันเขียว ไม้กระทุ่ม

และพิกุลมีมาก ดอกหอมฟุ้งไป ทำอาศรมของเราให้งาม.

ถั่วดำ ถั่วเหลือง กล้วย และมะกรูด งอกงามด้วยน้ำ

หอม ออกผลสะพรั่ง ดอกปทุมอย่างอื่นบานเบ่ง ดอก

บัวชนิดอื่นก็เกิดขึ้น บัวหลวงชนิดหนึ่งดอกร่วงพรู บาน

อยู่ในบึงในกาลนั้น กอปทุมมีดอกตูม เหง้าบัวเลื้อยไป

เสมอ กระจับเกลื่อนด้วยใบ งามอยู่ในบึงในกาลนั้น ไม้

ตาเสือ จงกลนี ไม้อุตตรา และชบากลิ่นหอมตลบไป

ดอกบานอยู่ในบึง.

ในกาลนั้น ฝูงปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย

ปลาเค้า ปลาตะเพียน ปลาสังกุลา และปลารำพัน มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 246

อยู่ในบึงในกาลนั้น ฝูงจระเข้ ปลาฉลาม ปลาฉนาก

ผีเสื้อน้ำ และงูเหลือมใหญ่ที่สุดอยู่ในบึงนั้น.

ในกาลนั้น ฝูงนกคับแค นกเป็ดน้ำ นกจากพราก

(ห่าน) นกกาน้ำ นกดุเหว่า และสาลิกา อาศัยเลี้ยง

ชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น ฝูงนกกวัก ไก่ป่า ฝูงนกกะลิงป่า

นกต้อยตีวิด นกแขกเต้า ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้

สระนั้น ฝูงหงส์ นกกระเรียน นกยูง นกแขกเต้า ไก่งวง

นกค้อนหอย และนกออก ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้

สระนั้น ฝูงนกแสก นกหัวขวาน นกเขา เหยี่ยวมีมาก

และฝูงนกกาน้ำ ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิต อยู่ใกล้สระนั้น.

ฝูงเนื้อฟาน กวาง หมู หมาป่า หมาจิ้งจอกมีอยู่มาก

ละมั่ง และเนื้อทราย ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระ

นั้น ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาใน

กับเสือดาว โขลงช้างแยกเป็นสามพวก อาศัยเลี้ยงไว้

อยู่ใกล้สระนั้น เหล่ากินนร วานร และแม้คนทำการงาน

ในป่า หมาไล่เนื้อ และนายพราน ก็อาศัยเลี้ยงชีวิต

อยู่ใกล้สระนั้น.

ต้นมะพลับ มะหาด มะขาง หมากเม่า เผล็ดผล

ทุกฤดู อยู่ ณ ที่ใกล้อาศรมของเรา ต้นคำ ต้นสน

กระทุ่ม สะพรั่งด้วยผลรสหวาน เผล็ดผลทุกฤดู อยู่

ณ ที่ใกล้อาศรมของเรา ต้นสมอ มะขามป้อม ต้นหว้า

สมอพิเภก กระเบา ไม้รกฟ้า และมะตูม เผล็ดผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 247

เป็นนิจ เชือกเขา มันอ้อน ต้นนมแมว มันนก กะเม็ง

และคัดมอน มีอยู่มากมายใกล้อาศรมของเรา.

ณ ที่ใกล้อาศรมของเรานั้น มีสระที่ขุดไว้อย่างดี มีน้ำ

ใสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นที่รื่นรมย์ใจ ดารดาษ

ด้วยบัวหลวง อุบลและบัวขาว เกลื่อนกลาดด้วยบัวขม

บัวเผื่อน กลิ่นหอมตลบไป.

ในกาลนั้น เราเป็นดาบสชื่อสุรุจิ เป็นผู้มีศีล

สมบูรณ์ด้วยวัตร มีปกติเพ่งฌาน ยินดีในฌานทุกเมื่อ

บรรลุถึงอภิญญา ๕ และพละ ๕ อยู่ในอาศรมที่สร้าง

เรียบร้อย น่ารื่นรมย์ ในป่าอันบริบูรณ์ด้วยรบไม้ในดอก

และไม้ผลทุกสิ่งอย่างนี้ ศิษย์ ๒๔,๐๐๐ นี้แลเป็นพราหมณ์

ทั้งหมด ผู้มีชาติมียศบำรุงเรา มวลศิษย์ของเรานี้ เป็น

ผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ ในตำราทายลักษณะ

และในคัมภีร์อิติหาสะ พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุและคัมภีร์

เกฏุภะ รู้จบไตรเพท บรรดาศิษย์ของเราเป็นผู้ฉลาดใน

ลางดีร้าย ในนิมิตดีร้าย และในลักษณะทั้งหลาย ศึกษา

ดี ในพื้นแผ่นดินและในอากาศ ศิษย์เหล่านี้มีความ

ปรารถนาน้อย มีปัญญา กินหนเดียว ไม่โลภ สันโดษ

ด้วยลาภและความเสื่อมลาภ บำรุงเราทุกเมื่อ เป็นผู้

เพ่งฌาน ยินดีในณาน เป็นนักปราชญ์ มีจิตสงบตั้งมั่น

ปรารถนาความไม่มีกังวล บำรุงเราอยู่ทุกเมื่อ เป็นผู้ถึง

ที่สุดอภิญญา ยินดีในอารมณ์อันเป็นโคจรของบิดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 248

เที่ยวไปในอากาศ เป็นนักปราชญ์ บำรุงเราอยู่ทุกเมื่อ

ศิษย์ของเราเหล่านั้นสำรวมในทวารทั้ง ๖ ไม่หวั่นไหว

รักษาอินทรีย์ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นนักปราชญ์

หาผู้อื่นเสมอได้ยาก ศิษย์ของเราเหล่านั้นยับยั้งอยู่ด้วย

การนั่งคู้บัลลังก์ การยืนและเดินตลอดราตรี หาผู้อื่น

เสมอได้ยาก มวลศิษย์ของเราไม่กำหนัดในธรรมเป็นที่

ตั้งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในธรรมเป็นที่ตั้งความขัด-

เคือง ไม่หลงในธรรมเป็นที่ตั้งความหลง ยากที่จะคร่า

ไปได้ ศิษย์เหล่านั้นแผลงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ ประพฤติอยู่

เป็นนิตยกาล บันดาลให้แผ่นดินไหวก็ได้ ยากที่ใคร ๆ

จะแข่งได้ ศิษย์เหล่านั้นเข้าปฐมฌานเป็นต้น พวกหนึ่ง

ไปยังอมรโคยานทวีป พวกหนึ่งไปยังปุพพวิเทหทวีป

พวกหนึ่งไปยังอุตตรกุรุทวีป ไปนำเอาผลหว้ามา ศิษย์

ของเราหาผู้อื่นเสมอได้ยาก ศิษย์เหล่านั้นส่งหาบไปข้าง

หน้า ตนไปข้างหลัง ท้องฟ้าเป็นฐานะอันดาบส ๒๔,๐๐๐

ปกปิดแล้ว ศิษย์บางพวกปิ้งให้สุกด้วยไฟกิน บางพวก

กินดิบ ๆ นั่นเอง บางพวกเอาฟันแทะเปลือกออกแล้วกิน

บางพวกซ้อมด้วยครกแล้วกิน บางพวกตำด้วยครกหินกิน

บางพวกกินผลไม้ที่หล่นเอง บางพวกชอบสะอาดลงอาบ

น้ำทั้งเวลาเย็นและเช้า บางพวกเอาน้ำรดอาบ ศิษย์

ของเราหาผู้อื่นเสมอได้ยาก ศิษย์ของเราปล่อยเล็บมือ

เล็บเท้าและขนรักแร้งอกยาว ขี้ฟันเขรอะ มีธุลีบนเศียร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 249

หอมด้วยกลิ่นศีล หาผู้อื่นเสมอได้ยาก ดาบสทั้งหลาย

มีตบะแรงกล้า ประชุมกันในเวลาเช้าแล้ว ไปประกาศ

ลาภน้อยลาภมากในอากาศ.

ในกาลนั้น เมื่อดาบสนี้หลีกไป เสียงอันดังย่อมเป็น

ไป เทวดาทั้งหลายย่อมยินดีด้วยเสียงหนังสัตว์ ฤาษี

เหล่านั้นกล้าแข็งด้วยกำลังของตน เหาะไปในอากาศ

ไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ตามปรารถนา.

ปวงฤาษีนี้แล ทำแผ่นดินให้หวั่นไหว เที่ยวไปใน

อากาศ มีเดชแผ่ไป ยากที่จะข่มขี่ได้ ดังสาครยาก

ที่ใคร ๆ จะให้ขุ่นได้ ฤาษีศิษย์ของเราบางพวกประกอบ

การยืนและเดิน บางพวกไม่นอน บางพวกกินผลไม้

ที่หล่นเอง หาผู้อื่นเสมอได้ยาก ท่านเหล่านี้มีปกติ

อยู่ด้วยเมตตา แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์

ไม่ยกย่องตน ทั้งหมดไม่ติเตียนใคร ๆ ทั้งนั้น เป็นผู้ไม่

เย้ยหยันใคร ๆ. เป็นผู้ไม่กลัวดังพระยาราชสีห์ มีกำลัง

เหมือนพระยาคชสาร ยากที่จะข่มได้ ดุจเสือโคร่ง

ย่อมมาในสำนักของเรา.

พวกวิทยาธร เทวดา นาค คนธรรพ์ ผีเสือน้ำ กุมภัณฑ์

อสูร และครุฑ ย่อมอาศัยและเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น

ศิษย์ของเราเหล่านั้นทรงชฎา เลี้ยงชีวิตด้วยผลไม้และ

เหง้ามัน นุ่งห่มหนังสัตว์ เที่ยวไปในอากาศได้ทุกตน อยู่

ใกล้สระนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 250

ในกาลนั้น ศิษย์เหล่านี้เป็นผู้สมควร มีความเคารพ

กันและกัน เสียงไอจามของศิษย์ทั้ง ๒๔,๐๐๐ ย่อมไม่มี

ท่านเหล่านี้ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า เงียบเสียงสังวรดี เข้า

มาไหว้เราด้วยเศียรเกล้าทั้งหมดนั้น เราผู้เพ่งฌาน ยินดี

ในฌาน ห้อมล้อมด้วยศิษย์เหล่านั้น ผู้สงบระงับ มีตบะ

อยู่ในอาศรมนั้น อาศรมของเรามีกลิ่นหอมด้วยกลิ่นศีล

ของเหล่าฤาษี และด้วยกลิ่นสองอย่าง คือกลิ่นดอกไม้

และกลิ่นผลไม้ เราไม่รู้สึกตลอดคืนและวัน ความไม่ยินดี

ไม่มีแก่เรา เราสั่งสอนบรรดาศิษย์ของตน ย่อมได้ความ

ร่าเริงอย่างยิ่ง เมื่อดอกไม้ทั้งหลายบาน และเมื่อผลไม้

ทั้งหลายสุก กลิ่นหอมตลบอบอวล ทำอาศรมของเราให้

งาม เราออกจากสมาบัติแล้ว มีความเพียร มีปัญญา ถือ

เอาภาระคือหาบเข้าป่า

ในกาลนั้น เราศึกษาชำนาญในลางดีลางร้าย ฝันดี

ฝันร้ายและตำราทำนายลักษณะ ทรงลักษณมนต์อันกำลัง

เป็นไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี เป็นผู้

ประเสริฐในโลก เป็นนระผู้องอาจ ทรงใคร่วิเวก เป็น

สัมพุทธเจ้า เข้าไปยังป่าหิมวันต์ พระองค์ผู้เลิศ เป็น

มุนีประกอบด้วยกรุณา เป็นอุดมบุรุษ เสด็จเข้าป่าหิมวันต์

แล้ว ทรงนั่งคู้บัลลังก์ เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระองค์

นั้น มีรัศมีสว่างเจ้า น่ารื่นรมย์ใจดังดอกบัวเขียว ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 251

รุ่งเรืองควรบูชา ดังกองไฟ เราได้เห็นพระนายของโลก

ทรงรุ่งโรจน์ดุจดวงไฟ เหมือนสายฟ้าในอากาศ เช่นกับ

พญูารัง มีดอกบานสะพรั่ง เพราะอาศัยการได้เห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นมหาวีระ ทรงทำที่

สุดทุกข์ เป็นมุนีนี้ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ครั้นเรา

ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นเทวดาล่วงเทวดาแล้ว

ได้ตรวจดูลักษณะว่าเป็นพระพุทธเจ้าหรือมิใช่ มิฉะนั้น

เราจะดูพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจักษุ เราได้เห็นจักรมีกำ

พันหนึ่งที่พื้นฝ่าพระบาท ครั้นได้เห็นพระลักษณะของ

พระองค์แล้ว จึงถึงความตกลงในพระตถาคต.

ในกาลนั้น เราจับไม้กวาดกวาดที่นั่นแล้ว ได้นำเอา

ดอกไม้ ๘ ดอกมาบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ครั้น

บูชาพระพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะไม่มีอาสวะนั้นแล้ว ทำ

หนังเสือดาวเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นมัสการพระนายกของ

โลก พระสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีอาสวะ ทรงอยู่ด้วย

พระญาณใด เราจักประกาศพระญาณนั้น ท่านทั้งหลาย

จงฟังคำเรากล่าว พระสยัมภูผู้มีความเจริญมากที่สุด ทรง

ถอนสัตวโลกนี้แล้ว สัตว์เหล่านั้นอาศัยการได้เห็น

พระองค์ ย่อมข้ามกระแสน้ำคือความสงสัยได้ พระองค์

เป็นพระศาสดา เป็นยอด เป็นธงชัย เป็นหลัก เป็น

ร่มเงา เป็นที่พึ่ง เป็นประทีปส่องทาง เป็นพระ-

พุทธเจ้าของสัตว์ทั้งหลาย น้ำในสมุทรอาจประมาณด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 252

มาตราตวง แต่ใคร ๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุต-

ญาณของพระองค์ได้เลย เอาดินมาชั่งดูแล้วอาจประมาณ

แผ่นดินได้ แต่ใคร ๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุต-

ญาณของพระองค์ได้เลย อาจวัดอากาศได้ด้วยเชือก หรือ

นิ้วมือ แต่ใคร ๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุตญาณ

ของพระองค์ได้เลย พึงประมาณลำน้ำในมหาสมุทร

และแผ่นดินทั้งหมดได้ แต่จะถือเอาพระพุทธญาณมา

ประมาณนั้นไม่ควร ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ จิตของ

สัตวโลกพร้อมทั้งเทวโลกย่อมเป็นไป สัตว์เหล่านี้เข้าไป

ภายในข่าย คือพระญาณของพระองค์ พระองค์ทรง

บรรลุโพธิญาณอันอุดมสิ้นเชิงด้วยพระญาณใด พระ-

สัพพัญญูก็ทรงย่ำยีอัญญเดียรถีย์พระญาณนั้น ท่าน

สุรุจิดาบสกล่าวชมเชยด้วยคาถาเหล่านี้ แล้วปูลาดหนัง

เสือบนแผ่นดินแล้วนั่งอยู่ ท่านกล่าวไว้ในบัดนี้ว่า ขุนเขา

สูงสุดหยั่งลงในห้วงมหรรณพ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ขุนเขา

สิเนรุทั้งด้านยาวและด้านกว้าง สูงสุดเพียงนั้น ทำให้

ละเอียดได้ด้วยประเภทการนับว่าแสนโกฏิ เมื่อตั้งเครื่อง

หมายไว้ พึงถึงความสิ้นไป แต่ใคร ๆ ไม่อาจประมาณ

พระสัพพัญญุตญาณพระองค์ได้เลย ผู้ใดพึงเอาข่าย

ตาเล็ก ๆ ล้อมน้ำไว้ สัตว์น้ำบางเหล่าพึงเข้ารูปภายใน

ข่ายผู้นั้น ข้าแต่พระมหาวีระ เดียรถีย์ผู้มีกิเลสหนา

บางพวกก็เช่นนั้น แล่นไปถือเอาทิฏฐิผิด หลงอยู่ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 253

การลูบคลำ เดียรถีย์เหล่านี้เข้าไปภายในข่ายด้วยพระ-

ญาณอันบริสุทธิ์ อันแสดงว่าไม่มีอะไรห้ามได้ของพระ-

องค์ในล่วงพระญาณของพระองค์ไปได้.

ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าอโนม-

ทัสสี ผู้มียศใหญ่ทรงชำนะกิเลส เสด็จออกจากสมาธิ

แล้วทรงตรวจดูทิศ พระอัครสาวกนามว่านิสภะของพระ-

มุนีพระนามว่าอโนมทัสสี ทราบพระดำริของพระพุทธเจ้า

แล้ว อันพระขีณาสพหนึ่งแสน ผู้มีจิตสงบระงับ มั่นคง

บริสุทธิ์สะอาดได้อภิญญา ๖ คงที่ แวดล้อมแล้ว เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้นายกของโลก ท่านเหล่านั้นอยู่บน

อากาศ ได้ทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วลงมา

ประนมอัญชลี นมัสการอยู่ในสำนักพระพุทธเจ้า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี เชษฐบุรุษของโลก

เป็นนระอาจหาญ ทรงชำนะกิเลส ประทับนั่งท่ามกลาง

ภิกษุสงฆ์ ทรงแย้ม ภิกษุนามว่าวรุณ อุปัฏฐากของพระ-

ศาสดาพระนามว่าอโนมทัสสี ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง

แล้ว ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นายกของโลกว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า อะไรเป็นเหตุให้พระศาสดาทรง

ยิ้มแย้มหนอ อันพระพุทธเจ้าย่อมไม่ทรงยิ้มแย้ม เพราะ

ไม่มีเหตุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าอโนมทัสสี

เชษฐบุรุษของโลก เป็นนระองอาจ ประทับนั่งในท่ามกลาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 254

ภิกษุแล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า ผู้ใดบูชาเราด้วยดอกไม้

และเชยชมญาณของเรา เราจักประกาศผู้นั้น ท่าน

ทั้งหลายจงฟังเรากล่าว เทวดาทั้งปวงพร้อมทั้งมนุษย์

ทราบพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแล้วประสงค์จะฟังพระ-

สัทธรรม จึงพากันมาเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า หมู่ทวยเทพ

ผู้มีฤทธิ์มากในหมื่นโลกธาตุ ประสงค์จะฟังพระสัทธรรม

จึงพากันมาเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า อตุรงคเสนา คือพลช้าง

พลม้า พลรถ พลเดินเท้าจักแวดล้อมผู้นี้เป็นนิจ นี้

เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า ดนตรีหกหมื่น กลอง

ที่ประดับสวยงาม จักบำรุงผู้นี้เป็นนิจ นี้เป็นผลแห่งการ

บูชาพระพุทธเจ้า หญิงล้วนแต่สาว ๆ หกหมื่นประดับ

ประดาสวยงาม มีผ้าและเครื่องอาภรณ์อันวิจิตร สวน

แก้วมณีและกุณฑล มีหน้าแฉล้ม ยิ้มแย้ม ตะโพกผาย

ไหล่ผึ่งเอวกลม จักห้อมล้อมผู้นี้ นี้เป็นผลแห่งการบูชา

พระพุทธเจ้า ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดแสนกัป

จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชในแผ่นดินพันครั้ง จัก

เป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลกพันครั้ง จักเป็น

พระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับไม่ถ้วน.

ครั้นถึงภพที่สุด ถึงความเป็นมนุษย์ จักคลอดจาก

ครรภ์แห่งนางพราหมณีชื่อสารี นระนี้จักปรากฏตามชื่อ

และโคตรของมารดา โดยชื่อว่าสารีบุตร จักมีปัญญา

คมกล้า จักเป็นผู้ไม่มีกังวล จะทั้งทรัพย์ประมาณ ๘๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 255

โกฏิแล้วออกบวช จักเที่ยวแสวงหาสันติบททั่วแผ่นดินนี้

สกุลโอกกากะสมภพในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้ พระ-

ศาสดาทรงพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร จักมีในโลก

ผู้นี้จักเป็นโอรสทายาทในธรรมของพระศาสดาพระองค์

นั้น อันธรรมนิรมิตแล้ว จักได้เป็นพระอัครสาวกมีนาม

ว่าสารีบุตร แม่น้ำคงคาชื่อภาคีรถีนี้ ไหลมาแต่ประเทศ

หิมวันต์ ย่อมไหลถึงมหาสมุทรยังห้วงน้ำใหญ่ให้เต็ม

ฉันใด พระสารีบุตรนี้ก็ฉันนั้น เป็นผู้อาจหาญ แกล้วกล้า

ในพระเวทสาม ถึงที่สุดแห่งปัญญาบารมี จักยังสัตว์

ทั้งหลายให้อิ่มหนำสำราญ ตั้งแต่ภูเขาหิมวันต์จนถึง

มหาสมุทรสาคร ในระหว่างนี้โดยจะนับทรายนี้นับไม่ถ้วน

การนับทรายแม้นั้น ก็อาจนับได้โดยไม่เหลือฉันใด ที่สุด

แห่งปัญญาของพระสารีบุตรจักไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน

เมื่อตั้งคะแนนไว้ ทรายในแม่น้ำคงคาพึงสิ้นไปฉันใด

แต่ที่สุดแห่งปัญญาของพระสารีบุตรจักไม่เป็นฉันนั้นเลย

คลื่นในมหาสมุทรโดยจะนับก็นับไม่ถ้วนฉันใด ที่สุด

แห่งปัญญาพระสารีบุตรจักไม่มีฉันนั้นเหมือนกัน พระ-

สารีบุตรยังพระสัมพุทธเจ้าผู้ศากยโคดมสูงสุดให้โปรด-

ปรานแล้ว จักได้เป็นพระอัครสาวกถึงที่สุดแห่งปัญญา

จักยังธรรมจักรที่พระผู้มีพระภาคศากยบุตรให้เป็นไปแล้ว

ให้เป็นไปตามโดยชอบ จักยังเมล็ดฝน คือธรรมให้

ตกลง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 256

พระโคดมผู้ศากยะสูงสุดทรงทราบข้อนั้นทั้งมวลแล้ว

จักประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง

อัครสาวก โอ กุศลกรรมเราได้ทำแล้ว เราได้ทำการ

บูชาพระศาสดาพระนามว่าอโนมทัสสีด้วยดอกไม้แล้ว

ได้ถึงที่สุดในที่ทุกแห่ง กรรมที่เราทำแล้วประมาณไม่ได้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงผลแก่เรา ณ ที่นี้ เราเผา

กิเลสทั้งหลายแล้ว เปรียบเหมือนกำลังลูกศรอันพ้นแล้ว

ด้วยดี เรานี้แสวงหาบทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ดับสนิท

ไม่หวั่นไหว ค้นหาลัทธิทั้งปวงอยู่ ท่องเที่ยวไปแล้วใน

ภพ คนเป็นไข้พึงแสวงหาโอสถ ต้องสั่งสมทรัพย์ไว้ทุก

อย่างเพื่อพ้นจากความป่วยไข้ฉันใด เราก็ฉันนั้น แสวง

หาบทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ดับสนิท ไม่หวั่นไหว ได้

บวชเป็นฤาษีห้าร้อยครั้งไม่คั่นเลย เราทรงชฎา เลี้ยง

ชีวิตด้วยหาบคอน นุ่งห่มหนังเสือ ถึงที่สุดอภิญญาแล้ว

ได้ไปสู่พรหมโลก ความบริสุทธิ์ในลัทธิภายนอกไม่มี

เว้นศาสนาของพระชินเจ้า สัตว์ผู้มีปัญญาทั้งปวง ย่อม

บริสุทธิ์ได้ในศาสนาของพระชินเจ้า ฉะนั้น เราจึงไม่

นำเรานี้ผู้ใคร่ประโยชน์ไปในลัทธิภายนอก เราแสวงหา

บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งอยู่ เที่ยวไปสู่ลัทธิอันผิด บุรุษผู้

ต้องการแก่นไม้ พึงตัดต้นกล้วยแล้วผ่าออกก็ไม่พึงได้

แก่นไม้ในต้นกล้วยนั้น เพราะมันว่างจากแก่นฉันใด

คนในโลก ผู้เป็นเดียรถีย์เป็นอันมาก มีทิฏฐิต่างกัน ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 257

ฉันนั้น คนเหล่านั้นเป็นผู้ว่างเปล่าจากอสังขตบท เหมือน

ต้นกล้วยว่างเปล่าจากแก่นฉะนั้น ครั้นเมื่อภพถึงที่สุด

แล้ว เราได้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพราหมณ์ เราละทิ้งโภค-

สมบัติเป็นอันมาก แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต ข้าพระ-

องค์อยู่ในสำนักพราหมณ์ นามว่าสญชัย ซึ่งเป็นผู้

เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท ข้าแต่พระมหาวีระ

พราหมณ์ชื่ออัสสชิสาวกของพระองค์ หาผู้เสมอได้ยาก

มีเดชรุ่งเรือง เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกาลนั้น ข้าพระองค์

ได้เห็นท่านผู้มีปัญญา เป็นมุนี มีจิตตั้งมั่นในความเป็นมุนี

มีจิตสงบระงับ เป็นมหานาค แย้มบานดังดอกปทุม

ครั้นข้าพระองค์เห็นท่านผู้มีอินทรีย์ฝึกดีแล้ว มีใจบริสุทธิ์

องอาจประเสริฐ มีความเพียร จึงเกิดความคิดว่า ท่าน

ผู้นี้จักเป็นพระอรหันต์ ท่านผู้นี้มีอิริยาบถน่าเลื่อมใส มี

รูปงาม สำรวมดี จักเป็นผู้ฝึกแล้วในอุบายเครื่องฝึกอัน

สูงสุด จักเป็นผู้เห็นอมตบท ผิฉะนั้นเราพึงถามท่านผู้มี

ใจยินดีถึงประโยชน์อันสูงสุด หากเราถามแล้ว ท่านจัก

ตอบ เราจักสอบถามท่านอีก ข้าพระองค์ได้ตามไป

ข้างหลังของท่านซึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาต รอคอยโอกาส

อยู่ เพื่อจะสอบถามอมตบท ข้าพระองค์เข้าไปหาท่าน

ซึ่งพักอยู่ในระหว่างถนน แล้วได้ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้

นิรทุกข์ มีความเพียร ท่านมีโคตรอย่างไร ท่านเป็น

ศิษย์ของใคร ท่านอันข้าพระองค์ถามแล้ว ไม่ครั่นคร้าม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 258

ดังพระยาไกรสร พยากรณ์ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ

แล้วในโลก ฉันเป็นศิษย์ของพระองค์ ท่านผู้มีความ

เพียรใหญ่ ผู้เกิดตาม มียศมาก ศาสนธรรมแห่งพระ-

พุทธเจ้าของท่านเช่นไร ขอได้โปรดบอกแก่ข้าพเจ้าเถิด

ท่านอันข้าพระองค์ถามแล้ว ท่านกล่าวบทอันลึกซึ้งละเอียด

ทุกอย่าง เป็นเครื่องฆ่าลูกศร คือตัณหา เป็นเครื่อง

บรรเทาความทุกข์ทั้งมวล ว่าธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดน

เกิด พระตถาคตเจ้าตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และ

ความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้ามีปกติ

ตรัสอย่างนี้ เมื่อท่านอัสสชิแก้ปัญหาแล้ว ข้าพระองค์

นั้นได้บรรลุผลที่หนึ่ง เป็นผู้ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน

เพราะได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ได้ฟัง

คำของท่านมุนี ได้เห็นธรรมอันสูงสุด จึงหยั่งลงสู่พระ-

สัทธรรมได้กล่าวคาถานี้ว่า ธรรมนี้แล เหมือนบทอันมี

สภาพอันเห็นประจักษ์ ไม่มีความโศก ข้าพระองค์ไม่ได้

เห็น ล่วงเลยไปแล้วหลายหมื่นไป ข้าพระองค์แสวงหา

ธรรมอยู่ ได้เที่ยวไปในลัทธิผิด ประโยชน์นั้นข้าพระองค์

บรรลุแล้ว ไม่ใช่กาลที่เราจะประมาท ข้าพระองค์อันท่าน

พระอัสสชิให้ยินดีแล้ว บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว แสวงหา

สหายอยู่ จึงได้ไปยังอาศรม สหายเห็นข้าพระองค์แต่

ไกลเทียว อันข้าพระองค์ให้ศึกษาดีแล้ว ถึงพร้อมด้วย

อิริยาบถ ได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเป็นผู้มีหน้าและตาอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 259

ผ่องใส ย่อมจะเห็นความเป็นมุนีแน่ ท่านได้บรรลุอมต-

บทอันดับสนิทไม่เคลื่อนแลหรือ ท่านมีรูปงามราวกะว่ามี

ความไม่หวั่นไหวอันได้ทำแล้ว มาแล้ว ฝึกแล้วในอุบาย

อันฝึกแล้ว เป็นผู้สงบระงับแล้วหรือพราหมณ์ เราได้

บรรลุอมตบทอันเป็นเครื่องบรรเทาลูกศร คือความโศก

แล้ว แม้ท่านก็จงบรรลุอมตบทนั้น เรามาไปสำนักพระ-

พุทธเจ้ากันเถิด สหายผู้อันข้าพระองค์ให้ศึกษาดีแล้ว

รับคำแล้ว ได้จูงมือพากันเข้ามายังสำนักของพระองค์

ข้าแต่พระองค์ผู้ศากโยรส แม้ข้าพระองค์ทั้งสองจักบวช

ในสำนักของพระองค์ จักขออาศัยคำสอนของพระองค์

เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ท่านโกลิตะเป็นผู้ประเสริฐด้วยฤทธิ์

ข้าพระองค์ถึงที่สุดแห่งปัญญา เราทั้งสองจะร่วมกันทำ

พระศาสนาให้งาม เรามีความดำริยังไม่ถึงที่สุด จึงเที่ยว

ไปในลัทธิผิด เพราะได้อาศัยทัศนะของท่าน ความดำริ

ของเราจึงเต็ม ต้นไม้ตั้งอยู่บนแผ่นดิน มีดอกบานตาม

ฤดูกาลส่งกลิ่นหอมตลบอบอวล ยังสัตว์ทั้งปวงให้

ยินดีฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรศากโยรส ผู้มียศใหญ่

ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น ดำรงอยู่ในศาสนธรรมของพระองค์

แล้ว ย่อมเบ่งบานในสมัย พระองค์แสวงหาดอกไม้

คือวิมุตติ เป็นที่พ้นภพสงสาร ย่อมยังสัตว์ทั้งปวงให้ยินดี

ด้วยการให้ได้ดอกไม้ คือวิมุตติ ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ

เว้นพระมหามุนีแล้ว ตลอดพุทธเขต ไม่มีใครเสมอด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 260

ปัญญาแห่งข้าพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุตรของพระองค์ ศิษย์

และบริษัทของพระองค์ พระองค์แนะนำดีแล้ว ให้ศึกษา

ดีแล้ว ฝึกแล้วในอุบายเครื่องฝึกจิตอันสูงสุด ย่อม

แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ท่านเหล่านั้นเพ่งฌาน ยินดี

ในฌาน เป็นนักปราชญ์มีจิตสงบ ตั้งมั่น เป็นมุนี ถึง

พร้อมด้วยความเป็นมุนี ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ

ท่านเหล่านั้นมีความปรารถนาน้อย มีปัญญาเป็นนัก-

ปราชญ์ มีอาหารน้อย ไม่โลเล ยินดีทั้งลาภและความ

เสื่อมลาภ ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ท่าน

เหล่านั้นถืออยู่ป่าเป็นวัตร ยินดีธุดงค์ เพ่งฌาน มีจีวร

เศร้าหมอง ยินดียิ่งในวิเวก เป็นนักปราชญ์ ย่อม

แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติ

ตั้งอยู่ในผล เป็นพระเสขะ พรั่งพร้อมด้วยผล หวัง

ผลประโยชน์อันอุดม ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ

ทั้งท่านที่เป็นพระโสดาบัน ทั้งที่เป็นสกทาคามี พระ-

อนาคามี และพระอรหันต์ปราศจากมลทิน ย่อมแวดล้อม

พระองค์อยู่เมื่อ สาวกของพระองค์เป็นอันมาก ฉลาด

ในสติปัฏฐาน ยินดีในโพชฌงค์ภาวนา ทุกท่านย่อม

แวดล้อมพระองค์ทุกเมื่อ ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ฉลาด

ในอิทธิบาท ยินดีในสมาธิภาวนา หมั่นประกอบ

ในสัมมัปปธาน ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 261

เหล่านั้นมีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์ ถึง

ที่สุดแห่งปัญญา ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ข้าแต่

พระมหาวีรเจ้า บรรดาศิษย์ของพระองค์เช่นนี้แลหนอ

ศึกษาดีแล้ว หาผู้เสมอได้ยาก มีเดชรุ่งเรือง แวดล้อม

พระองค์อยู่ทุกเมื่อ พระองค์อันศิษย์เหล่านั้นผู้สำรวม

แล้ว มีตบะแวดล้อมแล้ว ไม่ครั้นคร้านดังราชสีห์

ย่อมงดงามดุจพระจันทร์ ต้นไม้ตั้งอยู่บนแผ่นดินแล้ว

ย่อมงาม ถึงความไพบูลย์ และย่อมเผล็ดผลฉันใด

ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร ผู้มียศใหญ่ พระองค์เป็นเช่น

กับแผ่นดิน ศิษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ตั้งอยู่ในศาสนาของ

พระองค์แล้ว ย่อมได้อมฤตผล แม่น้ำสินธุ แม่น้ำ

สรัสสดี แม่น้ำจันทภาคา แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา

แม่น้ำสรภู และแม่น้ำมหี เมื่อแม่น้ำเหล่านั้นไหลมา

สาครย่อมรับไว้หมด แม่น้ำเหล่านี้ย่อมละชื่อเดิม ย่อม

ปรากฏเป็นสาครนั่นเองฉันใด วรรณะ ๔ เหล่านี้ก็ฉันนั้น

บวชแล้วในสำนักของพระองค์ ย่อมละชื่อเดิมทั้งหมด

ปรากฏว่าเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนดวง-

จันทร์อันปราศจากมลทิน โคจรอยู่ในอากาศ ย่อม

รุ่งโรจน์ล่วงมวลหมู่ดาวในโลกด้วยรัศมีฉันใด ข้าแต่-

พระมหาวีรเจ้า พระองค์ก็ฉันนั้น อันศิษย์ทั้งหลายแวด-

ล้อมแล้ว ย่อมรุ่งเรืองก้าวล่วงเทวดา และมนุษย์ ตลอด

พุทธเขตทุกเมื่อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 262

คลื่นตั้งขึ้นในน้ำอันลึก ย่อมไม่ล่วงเลยฝั่งไปได้

คลื่นเหล่านั้นกระทบทั่วฝั่ง ย่อมเป็นระลอกเล็กน้อย.

เรี่ยรายหายไปฉันใด ชนในโลกเป็นอันมากผู้เป็นเดียรถีย์

ก็ฉันนั้น มีทิฏฐิต่าง ๆ กัน ต้องการจะข้ามธรรมของ

พระองค์ แต่ก็ไม่ล่วงเลยพระองค์ผู้เป็นมุนีไปได้ ข้าแต่

พระองค์ผู้มีพระจักษุ ก็ถ้าชนเหล่านั้นมาถึงพระองค์ด้วย

ความประสงค์จะคัดค้าน เข้ามายังสำนักของพระองค์แล้ว

ย่อมกลายเป็นจุรณไป เปรียบเหมือนดอกโกมุท บัวขม

และบัวเผื่อนเป็นอันมาก เกิดในน้ำ ย่อมเอิบอาบ (ฉาบ)

อยู่ด้วยน้ำและเปือกตมฉันใด สัตว์เป็นอันมากก็ฉันนั้น

เกิดแล้วในโลก ย่อมงอกงาม ไม่อิ่มด้วยราคะและโทสะ

เหมือนดอกโกมุทในเปือกตมฉะนั้น ดอกบัวหลวงเกิดใน

น้ำ ย่อมไพโรจน์ในท่ามกลางน้ำ มันมีเกสรบริสุทธิ์

ไม่ติดอยู่ด้วยน้ำฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์

ก็ฉันนั้น เป็นมหามุนีเกิดแล้วในโลก ไม่ติดอยู่ด้วยโลก

ดังดอกปทุมไม่ติดด้วยน้ำฉะนั้น เปรียบเหมือนดอกไม้

อันเกิดในน้ำเป็นอันมาก ย่อมบานในเดือนกัตติกมาส

ไม่พ้นเดือนนั้นไป สมัยนั้นเป็นสมัยดอกไม้น้ำบานฉันใด

ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร พระองค์ก็ฉันนั้น เป็นผู้บาน

แล้วด้วยวิมุตติของพระองค์ สัตว์ทั้งหลายไม่ล่วงเลย

ศาสนาของพระองค์ ดังดอกบัวเกิดในน้ำย่อมบานไม่พ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 263

เดือนกัตติกมาสฉะนั้น เปรียบเหมือนพญาไม้รังดอกบาน

สะพรั่ง กลิ่นหอมตลบไป อันไม้รังอื่นแวดล้อมแล้ว

ย่อมงามยิ่งฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์ก็ฉันนั้น

บานแล้วด้วยพระพุทธญาณ อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว

ย่อมงามเหมือนพญาไม้รังฉะนั้น เปรียบเหมือนภูเขาหิน

หิมวา เป็นโอสถของปวงสัตว์ เป็นที่อยู่ของพวกนาค

อสูร และเทวดาทั้งหลายฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า

พระองค์ก็ฉันนั้น เป็นดังโอสถของมวลสัตว์ ข้าแต่

พระมหาวีรเจ้า บุคคลผู้บรรลุเตวิชชา บรรลุอภิญญา ๖

ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์ ผู้ที่พระองค์ทรงพระกรุณาพร่ำสอนแล้ว

ย่อมยินดีด้วยความยินดีในธรรม ย่อมอยู่ในศาสนาของ

พระองค์ เปรียบเหมือนราชสีห์ผู้พระยาเนื้อ ออกจากถ้ำ

ที่อยู่แล้วเหลียวดูทิศทั้ง ๔ แล้วบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง

เมื่อราชสีห์คำราม เนื้อทั้งปวงย่อมสะดุ้ง แท้จริง ราชสีห์

ผู้มีชาตินี้ ย่อมยังสัตว์เลี้ยงให้สะดุ้งทุกเมื่อฉันใด ข้าแต่

พระมหาวีรเจ้า เมื่อพระองค์ทรงบันลืออยู่ พสุธานี้ย่อม

หวั่นไหว สัตว์ผู้ควรจะตรัสรู้ย่อมตื่น หมู่มารย่อมสะดุ้ง

ฉันนั้น ข้าแต่พระมหามุนี เมื่อพระองค์ทรงบันลืออยู่

ปวงเดียรถีย์ย่อมสะดุ้ง ดังฝูงกาเหยี่ยวและเนื้อ วิ่ง

กระเจิงเพราะราชสีห์ฉะนั้น ผู้เป็นเจ้าคณะทั้งปวง ชน

ทั้งหลายเรียกว่าเป็นศาสดาในโลก ท่านเหล่านั้น ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 264

แสดงธรรมอันสืบ ๆ กันมาแก่บริษัท ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า

ส่วนพระองค์ไม่ทรงแสดงธรรมแก่มวลสัตว์อย่างนั้น ตรัสรู้

สัจจะทั้งหลายและโพธิปักขิยธรรมด้วยพระองค์เองแล้ว

ทรงทราบอัธยาศัย กิเลส อินทรีย์ พละและมิใช่พละ

ทรงทราบภัพบุคคลและอภัพบุคคลแล้ว จึงทรงบันลือ

เหมือนมหาเมฆ บริษัทพึงนั่งอยู่เต็มตลอดที่สุดจักรวาล

มีทิฏฐิต่าง ๆ กัน คิดต่าง ๆ กัน เพื่อจะทรงตัดความ

สงสัยของบริษัทเหล่านั้น พระองค์ผู้เป็นมุนี ทรงทราบ

จิตของบริษัททั้งปวง ทรงฉลาดในข้ออุปมาตรัสแก้ปัญหา

ข้อเดียวเท่านั้น ก็ทรงตัดความสงสัยของสัตว์ทั้งปวงได้

แผ่นดินพึงเต็มด้วยต้นไม้ หญ้า (และมนุษย์) ทั้งหลาย

มนุษย์ทั้งหมดนั้น ประนมมืออัญชลีสรรเสริญพระองค์

ผู้นายกของโลก หรือว่าเขาเหล่านั้นสรรเสริญอยู่ตลอดกัป

พึงสรรเสริญด้วยคุณต่างๆ ก็ไม่สรรเสริญคุณให้สิ้นสุด

ประมาณได้ พระตถาคตเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้

ด้วยว่าพระมหาชินเจ้า อันใคร ๆ สรรเสริญแล้วด้วย

กำลังของตนเหมือนอย่างนั้น ชนทั้งหลายสรรเสริญจน

ที่สุดกัป ก็พึงสรรเสริญอย่างนี้ ๆ.

ถ้าแหละว่าใคร ๆ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ผู้ศึกษาดี

แล้ว พึงสรรเสริญให้สุดประมาณ ผู้นั้นก็พึงได้ความ

ลำบากเท่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร มียศมาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 265

ข้าพระองค์ตั้งอยู่ในศาสนาของพระองค์ ถึงที่สุดแห่ง

ปัญญาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้อยู่ ข้าพระองค์จะย่ำยี

พวกเดียรถีย์ ยังศาสนาของพระชินเจ้าให้เป็นไป วันนี้

เป็นธรรมเสนาบดี ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ศากยบุตร กรรมที่ข้าพระองค์ทำแล้วหาประมาณมิได้

แสดงผลแก่ข้าพระองค์ ณ ที่นี้ ข้าพระองค์เผากิเลสได้แล้ว

ดังกำลังลูกศรพ้นดีแล้ว มนุษย์คนใดหนึ่ง เทิน (ทูน)

ของหนักไว้บนศีรษะเสมอ ต้องลำบากด้วยภาระฉันใด

อันภาระเราต้องแบกอยู่ก็ฉันนั้น เราถูกไฟ ๓ กองเผาอยู่

เป็นทุกข์ด้วยการแบกภาระในภพ ท่องเที่ยวไปในภพ

ทั้งหลาย เหมือนถอนขุนเขาสิเนรุฉะนั้น. ก็ (บัดนี้ ) เรา

ปลงภาระลงแล้ว กำจัดภพทั้งหลายได้แล้ว กิจที่ควรทำ

ทุกอย่างในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าศากยบุตร เรา

ทำเสร็จแล้ว ในกำหนดพุทธเขต เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ศากยบุตร เราเป็นผู้เลิศด้วยปัญญา ไม่มีใครเหมือนเรา

(ด้วยปัญญา) เราเป็นผู้ฉลาดดีในสมาธิ ถึงที่สุดแห่ง

ฤทธิ์ วันนี้เราปรารถนาจะนิรมิตคนสักพันคนก็ได้ พระ-

มหามุนีทรงเป็นผู้ชำนาญในอนุบุพวิหารธรรม ตรัสคำ

สั่งสอนแก่เรา นิโรธเป็นที่นอนของเรา เรามีทิพยจักษุ

อันหมดจด เราเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ หมั่นประกอบใน

สัมมัปปธาน ยินดีในการเจริญโพชฌงค์ อันกิจทุกอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 266

ที่พระสาวกพึงทำ เราทำเสร็จแล้วแล เว้นพระโลกนาถ

แล้ว ไม่มีใครเสมอด้วยเรา เราเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ

ได้ฌานและวิโมกข์เร็วพลัน ยินดีในการเจริญโพชฌงค์

ถึงที่สุดแห่งสาวกคุณ เราทั้งหลายมีความเคารพในอุดม

บุรุษ ด้วยการถูกต้องสาวกคุณ ด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้

จิตของเราสงเคราะห์เพื่อนพรหมจรรย์ด้วยศรัทธาทุกเมื่อ

เรามีมานะและความเขลา (กระด้าง) วางเสียแล้ว ดุจงู

ถูกถอนเขี้ยวแล้ว ดังโคอุสภราชถูกตัดเขาเสียแล้ว เข้า

ไปหาหมู่คณะด้วยคารวะหนัก ถ้าปัญญาของเราพึงมีรูป

ก็พึงเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย นี้เป็นผลแห่ง

การชมเชยพระญาณ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

อโนมทัสสี เราย่อมยังธรรมจักรอันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ศากยบุตรผู้คงที่ ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบ

นี้เป็นผลแห่งการชมเชยพระญาณ บุคคลผู้มีความ

ปรารถนาลามก ผู้เกียจคร้าน ผู้ละความเพียร ผู้มีสุตะ

น้อย และผู้ไม่มีอาจาระอย่าได้สมาคมกับเราในที่ไหน ๆ

สักครั้งเลย ส่วนบุคคลผู้มีสุตะมาก ผู้มีเมธา ผู้ตั้งมั่น

อยู่ด้วยดีในศีลทั้งหลาย และผู้ประกอบด้วยสมถะทางใจ

ขอจงตั้งอยู่บนกระหม่อมของเรา เหตุนั้นเราจึงขอกล่าว

กะท่านทั้งหลาย ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย ผู้มา

ประชุมกันในสมาคมนี้ ท่านทั้งหลายจงมีความปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 267

น้อย สันโดษ ให้ทานทุกเมื่อ เราเป็นผู้ปราศจากธุลี

ปราศจากมลทิน เพราะเห็นท่านอัสสชิก่อน ท่านพระ-

สาวกนามว่าพระอัสสชินั้น เป็นอาจารย์ของเรา เป็น

นักปราชญ์ เราเป็นสาวกของท่านวันนี้ เราเป็นธรรม-

เสนาบดี ถึงที่สุดในที่ทุกแห่ง เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

ท่านพระสาวกนามว่าอัสสชิ เป็นอาจารย์ของเราย่อมอยู่

ในทิศใด เราย่อมทำท่านไว้เหนือศีรษะในทิศนั้น (นอน

หันศีรษะไปทางทิศนั้น) พระโคดมศากยบุตรพุทธเจ้า

ทรงระลึกถึงกรรมของเราแล้ว ประทับนั่งใน (ท่ามกลาง)

ภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งอันเลิศ เราเผากิเลส

ทั้งหลายได้แล้ว . . .ฯลฯ . . . พระพุทธศาสนาเราได้ทำ

เสร็จแล้วแล.

ก็ในกาลต่อมา พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้า

ในพระเชตวันมหาวิหาร เมื่อจะทรงตั้งเอตทัคคะด้วยคุณวิเศษนั้น ๆ แก่

พระสาวกของพระองค์ จึงทรงตั้งเอคทัคคะให้พระเถระ โดยความมี

ปัญญามากว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุสาวก

ทั้งหลายผู้มีปัญญามากของเรา.

พระสารีบุตรนั้น บรรลุถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณอย่างนั้นแล้ว

ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระธรรมเสนาบดี บำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงสัตว์

วันหนึ่ง เมื่อจะพยากรณ์ความเป็นพระอรหัต โดยมุ่งจะแสดงความประ-

พฤติของตน แก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 268

ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล สงบระงับ มีสติ มีความดำริ

ชอบ ไม่ประมาท ยินดีแต่เฉพาะกัมมัฏฐานภาวนาอัน

เป็นธรรมภายใน มีใจมั่นคงอย่างยิ่ง อยู่ผู้เดียว ยินดี

ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า

ภิกษุ.

ภิกษุเมื่อบริโภคอาหาร จะเป็นของสดหรือของแห้ง

ก็ตาม ไม่ควรติดใจจนเกินไป ควรเป็นผู้มีท้องพร่อง มี

อาหารพอประมาณ มีสติอยู่ การบริโภคอาหารยังอีก

๔-๕ คำจะอิ่ม ควรงดเสีย แล้วดื่มน้ำ เป็นการสมควร

เพื่ออยู่สบายของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว.

อนึ่ง การนุ่งห่มจีวรอันเป็นกัปปิยะ นับว่าเป็น

ประโยชน์ จัดว่าพอเป็นการอยู่สบายของภิกษุผู้มีใจ

เด็ดเดี่ยว การนั่งขัดสมาธิ นับว่าพอเป็นการอยู่สบาย

ของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว.

ภิกษุรูปใดพิจารณาเห็นความสุข โดยความเป็นทุกข์

พิจารณาเห็นความทุกข์ โดยความเป็นลูกศรปักอยู่ที่ร่าง

ความถือมั่นว่า เป็นตัวเป็นตนในอทุกขมสุขเวทนา ไม่ได้

มีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นจะพึงติดอยู่ในโลกอย่างใด ด้วย

กิเลสอะไร ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามกเกียจคร้าน มี

ความเพียรเลวทราม ได้สดับน้อย ไม่เอื้อเฟื้อ อย่าได้

มาในสำนักของเรา แม้ในกาลไหน ๆ เลย จะมีประโยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 269

อะไรด้วยการให้โอวาทบุคคลเช่นนั้น ในหมู่สัตว์โลกนี้.

อนึ่ง ขอให้ภิกษุผู้เป็นพหูสูต เป็นนักปราชญ์ ตั้งมั่น

อยู่ในศีล ประกอบใจให้สงบระงับเป็นเนืองนิตย์ จงมา

ประดิษฐานอยู่บนศีรษะของเราเถิด.

ภิกษุใดประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า ยินดีใน

ธรรมเครื่องเนิ่นช้า ภิกษุนั้นย่อมพลาดนิพพาน อันเป็น

ธรรมเกษมอากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ส่วนภิกษุใดละ

ธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในอริยมรรค อันเป็น

ทางไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า ภิกษุนั้นย่อมบรรลุนิพพาน

อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม.

พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในสถานที่ใด เป็นบ้านหรือ

ป่าก็ตาม ที่ดอนหรือที่ลุ่มก็ตาม สถานที่นั้นเป็นภูมิ-

สถานที่น่ารื่นรมย์ คนผู้แสวงหากาม ย่อมไม่ยินดีในป่า

อันน่ารื่นรมย์เช่นใด ท่านผู้ปราศจากความกำหนัด จัก

ยินดีในป่าอันน่ารื่นรมย์เช่นนั้น เพราะท่านเหล่านั้นไม่

เป็นผู้แสวงหากาม.

บุคคลควรเห็นท่านผู้มีปัญญา ชี้โทษมีปกติกล่าวข่มขี่

เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้ ควรคบบัณฑิตเช่นนั้น เพราะ

ว่าเมื่อคบกับบัณฑิตเช่นนั้น ย่อมมีแต่ความดี ไม่มีความ

ชั่วเลย นักปราชญ์ก็ควรโอวาทสั่งสอน ควรห้ามผู้อื่น

จากธรรมที่มิใช่ของสัตบุรุษ แต่บุคคลเห็นปานนั้น ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 270

เป็นที่รักใคร่ของสัตบุรุษเท่านั้น ไม่เป็นที่รักใคร่ของ

อสัตบุรุษ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว มีพระจักษุ ทรง

แสดงธรรมแก่ผู้อื่นอยู่ เมื่อพระองค์กำลังทรงแสดงธรรม

อยู่ เราผู้มุ่งประโยชน์ตั้งใจฟัง การตั้งใจฟังของเรานั้นไม่

ไร้ประโยชน์ เราเป็นผู้หมดอาสวะ เป็นผู้หลุดพ้นพิเศษ

เราไม่ได้ตั้งความปรารถนาเพื่อปุพเพนิวาสญาณ ทิพย-

จักษุญาณ เจโตปริยญาณ อิทธิวิธี จุตูปปาตญาณ ทิพ-

โสตญาณ อันเป็นธาตุบริสุทธิ์ มาแต่ปางก่อนเลย แต่

คุณธรรมของสาวกทั้งหมด ได้มีขึ้นแก่เรา พร้อมกับการ

บรรลุมรรคผล เหมือนคุณธรรม คือพระสัพพัญญุตญาณ

ได้มีแก่พระพุทธเจ้าฉะนั้น มียักษ์ตนหนึ่งมากล่าวว่า มี

ภิกษุหัวโล้นรูปหนึ่งชื่ออุปติสสะ เป็นพระเถระผู้อุดมด้วย

ปัญญา ห่มผ้าสังฆาฏินั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้ สาวก

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้กำลังเข้าสมาบัติอันไม่มีวิตก

ในขณะถูกยักษ์ตีศีรษะ ก็ยังประกอบด้วยธรรมคือความ

นิ่งอย่างประเสริฐ ภูเขาหินล้วนตั้งมั่นไม่หวั่นไหวฉันใด

ภิกษุย่อมไม่หวั่นไหวเหมือนภูเขา เพราะสิ้นโมหะก็ฉัน-

นั้น ความชั่วช้าเพียงเท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏ

เหมือนเท่าก้อนเมฆที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า แก่ภิกษุผู้ไม่มี

กิเลสเครื่องยั่วยวน แสวงหาความสะอาดเป็นนิตย์ เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 271

ไม่ยินดีต่อความตายและชีวิต เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ

จักละทิ้งร่างกายนี้ไป ไม่ยินดีต่อความตายและชีวิต รอ

คอยเวลาตายอยู่ เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลาทำงาน

ฉะนั้น.

ความตายนี้มีแน่นอนใน ๒ คราว คือในเวลาแก่

หรือในเวลาหนุ่ม ที่จะไม่ตายเลยย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น

ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญแต่สัมมาปฏิบัติเถิด ขอจงอย่าได้

ปฏิบัติผิด อย่าพินาศเสียเลย ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่าน

ทั้งหลายไปเสียเลย เมืองที่ตั้งอยู่ชายแดน เขาคุ้มครอง

ป้องกันดีทั้งภายนอกและภายในฉันใด ท่านทั้งหลายก็จง

คุ้มครองตนฉันนั้นเถิด ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลาย

ไปเสีย เพราะผู้มีขณะอันล่วงเลยไปเสียแล้ว ต้องพากัน

ไปเศร้าโศกยัดเยียดอยู่ในนรก ภิกษุผู้สงบระงับ งดเว้น

โทษเครื่องเศร้าหมองใจได้อย่างเด็ดขาด มีปกติพูดด้วย

ปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมกำจัดบาปธรรมได้ เหมือนลม

พัดใบไม้ร่วงหล่นไปฉะนั้น.

ภิกษุผู้สงบระงับ งดเว้นจากโทษเครื่องเศร้าหมองใจ

ได้อย่างเด็ดขาด มีปกติพูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ได้

ลอยบาปธรรมเสียได้ เหมือนลมพัดใบไม้ร่วงหล่นไป

ฉะนั้น ภิกษุผู้สงบระงับ ละเว้นกองกิเลสและกองทุกข์

ที่เป็นเหตุทำให้เกิดความคับแค้น มีใจผ่องใสไม่ขุ่นมัว

มีศีลงาม เป็นนักปราชญ์ พึงทำที่สุดทุกข์ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 272

บุคคลไม่ควรคุ้นเคยในบุคคลบางพวก จะเป็นคฤหัสถ์

หรือบรรพชิตก็ตาม หรือเบื้องต้นเขาจะเป็นคนดี ตอน

ปลายเป็นคนไม่ดีก็ตาม.

นิวรณ์ ๕ คือกามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑

อุทธัจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองจิต

สมาธิจิตของภิกษุผู้มีปกติ ชอบอยู่ด้วยความไม่ประมาท

ไม่หวั่นไหวด้วยเหตุ ๒ ประการ คือด้วยมีสักการะ ๑

ด้วยไม่มีสักการะ ๑ นักปราชญ์เรียกบุคคลผู้เพ่งธรรม

อยู่เป็นปกติ พากเพียรเป็นเนืองนิตย์ พิจารณาเห็นด้วย

ปัญญาสุขุม สิ้นความยึดถือและความยินดีว่าเป็นสัตบุรุษ.

มหาสมุทร ๑ แผ่นดิน ๑ ภูเขา ๑ และแม้ลม ๑

ไม่ควรเปรียบเทียบความหลุดพ้นกิเลสอย่างประเสริฐของ

พระศาสดาเลย พระเถระผู้ยังพระธรรมจักรอันพระ-

ศาสดาให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตาม ผู้มีปัญญามาก

มีจิตมั่นคง เป็นผู้เสมอด้วยเผ่นดินและไฟ ย่อมไม่ยินดี

ยินร้าย.

ภิกษุผู้บรรลุปัญญาบารมีธรรมแล้ว มีปัญญาเครื่อง

ตรัสรู้มาก เป็นนักปราชญ์ผู้ใหญ่ ไม่ใช่เป็นคนเขลา

ทั้งไม่เหมือนคนเขลา เป็นผู้ดับความทุกข์ร้อนได้ทุกเมื่อ

ท่องเที่ยวไปอยู่ เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดามาก

เราทำคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระหนัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 273

ลงได้แล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว ท่าน

ทั้งหลาย จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็น

อนุสาสนีของเรา เราพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้ว จักปริ-

นิพพาน ดังนี้.

จริงอยู่ คาถาบางคาถาเหล่านี้ พระเถระได้กล่าวไว้แล้ว, บางคาถา

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภพระเถระแล้วตรัสภาษิตไว้ คาถาหลังสุด

ได้เป็นคาถาของพระเถระเท่านั้น เพราะพระเถระได้กล่าวไว้ ด้วยมุ่งจะ

ประกาศความประพฤติของตน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาจารี ความว่า เป็นผู้สำรวมแล้ว

ด้วยการสำรวมทางกายเป็นต้น ประพฤติเป็นปกติอยู่, หรือชื่อว่า ยถาจาร

เพราะประพฤติปฏิบัติตามศีล คือสมบูรณ์ด้วยศีล.

บทว่า ยถาสโต ได้แก่ เป็นผู้สงบระงับ, อธิบายว่า จริงอยู่ ท่าน

แสดงไว้ เพราะลบเสียงที่เกิดทางจมูกเสีย เพื่อสะดวกแก่รูปคาถา ได้แก่

เป็นราวกะผู้สงบระงับ คือไม่มีความพิเศษไปจากพระอริยเจ้าทั้งหลายเลย.

บทว่า สตีมา ได้แก่ ประกอบพร้อมด้วยสติอย่างยิ่ง.

บทว่า ยตสงฺกปฺปชฺฌายี ได้แก่ เป็นผู้ละมิจฉาสังกัปปะได้โดย

ประการทั้งปวงแล้ว เป็นผู้มีความดำริอันสำรวมระวังแล้ว ด้วยอำนาจ

แห่งเนกขัมมสังกัปปะเป็นต้น คือเป็นผู้มีปกติเพ่งด้วยอารัมมณูปนิชฌาน

และลักขณูปนิชฌาน.

บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ เป็นผู้มีความดำริอันบังคับให้เป็นไปใน

ความพระพฤติตามปกตินั้นนั่นแล และเป็นผู้เว้นขาดจากความประมาท

ด้วยการเพ่ง คือมีสติสัมปชัญญะตั้งมั่นด้วยดีในที่ทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 274

บทว่า อชฺฌตฺตรโต ได้แก่ ยินดีเฉพาะแต่กัมมัฏฐานภาวนา อัน

เป็นธรรมภายใน.

บทว่า สมาหิตตฺโต ได้แก่ ด้วยภาวนานั้นนั่นแหละ จึงมีจิตเป็น

หนึ่ง.

บทว่า เอโก ได้แก่ ไม่มีสหาย ละการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ และ

ละการคลุกคลีด้วยกิเลสแล้ว เพิ่มพูนกายวิเวกและจิตตวิเวก.

บทว่า สนฺตุสิโต ได้แก่ เป็นผู้สันโดษยินดีโดยชอบทีเดียว ด้วย

ความสันโดษด้วยปัจจัย และด้วยสันโดษยินดีในภาวนา. จริงอยู่ ปีติ-

ปราโมทย์อันโอฬาร ย่อมเกิดขึ้นเพราะการนำมาซึ่งคุณวิเศษชั้นสูง ๆ ขึ้น

ไปได้ด้วยภาวนา, แต่เพราะบรรลุถึงที่สุด จึงไม่มีคำที่จะต้องกล่าวถึง

เลย.

บทว่า ตมาหุ ภิกฺขุ ความว่า นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกบุคคลนั้น

คือผู้เห็นปานนั้นว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้เห็นภัย และเป็นผู้กำจัดกิเลสได้

เด็ดขาด เหตุเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยไตรสิกขา.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงความสันโดษด้วยปัจจัย ในความสันโดษ ๒

ประการ ตามที่กล่าวไว้แล้วก่อน จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อลฺล สุกฺข วา

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลฺล ได้แก่ เปียก คือละเอียด ด้วย

การบริโภคเนยใสเป็นต้น.

บทว่า สุกฺข ได้แก่ หยาบเพราะไม่มีสิ่งของอันละเอียด. วา ศัพท์

มีอรรถอันไม่แน่นอน คืออาหารจะเป็นของสด หรือของแห้งก็ตาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 275

บทว่า พาฬฺห ได้แก่ จนเกินไป. บทว่า สุหิโต ความว่า ไม่

ควรให้เขาเลี้ยงดู. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า จะพึงเป็นอยู่อย่างไร ท่าน

จึงกล่าวว่า ควรเป็นผู้มีท้องพร่อง มีอาหารพอประมาณ ดังนี้เป็นต้น

ความว่า ภิกษุบริโภคโภชนะอันประณีต หรือเศร้าหมองก็ตาม ไม่ได้

บริโภคตามต้องการแล้ว จะเป็นผู้มีท้องพร่อง มีท้องเบา, ต่อแต่นั้น

นั่นแหละ พึงเป็นผู้มีอาหารพอประมาณ คือรู้จักประมาณในโภชนะ นำ

เอาอาหารอันประกอบด้วยองค์ ๘ มา เป็นผู้มีสติ ด้วยการรู้จักประมาณ

ในโภชนะนั้น และด้วยมีสติเป็นเครื่องพิจารณาในโภชนะนั้นอยู่.

ก็เพื่อจะแสดงอาการที่ชื่อว่าเป็นผู้มีท้องพร่อง มีอาหารพอประมาณ

ว่าเป็นอย่างไร ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า จตฺตาโร ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภุตฺวา ความว่า พึงเว้นโอกาสแห่ง

อาหารที่จะอิ่ม ไม่บริโภคเหลือไว้อีก ๔- ๕ คำ แล้วดื่มน้ำเสีย. ก็ภิกษุนี้

ชื่อว่า เป็นผู้มีความประพฤติเบาใจในอาหาร. อธิบายว่า เป็นการสมควร

คือความต้องการเพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ผู้มีจิตอันส่งมุ่งตรงพระนิพพาน

คือเพื่อความอยู่สุขสบาย เพราะประกอบด้วยการบรรลุฌานเป็นต้น. ด้วย

บทนี้ ท่านเมื่อจะกล่าวถึงบิณฑบาต ว่าเป็นเครื่องบริหารท้อง จึงแสดง

ถึงความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ในบิณฑบาตไว้. อีกอย่างหนึ่ง

ปาฐะว่า ภุตฺวาน ก็มี, ปาฐะนั้น พึงเป็นปาฐะที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ด้วย

อำนาจแห่งบุคคลที่มีความสามารถ คือมีปกติมั่นคงอย่างยิ่ง เพื่อจะยัง

สรีระให้เป็นไปด้วยอาหารแม้เพียง ๔-๕ คำก็ได้. ปาฐะนั้น ย่อมเทียบ

เคียงกันได้กับคาถาที่เหนือขึ้นไปนั่นแล เพราะเรื่องจีวรและเสนาสนะ

ส่วนที่เล็กน้อย ท่านจักกล่าวต่อไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 276

บทว่า กปฺปิย ความว่า ซึ่งผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้เป็นต้น อัน

อนุโลมกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า ตญฺเจ ฉาเทติ ความว่า นุ่งห่มจีวรอันเป็นกัปปิยะ คือที่ที่

จะพึงนุ่งห่มให้เสมอ. อนึ่ง คือที่ที่มีอยู่ ในชาติที่พระศาสดาทรงอนุญาต

ไว้ คืออันประกอบด้วยประมาณ อันพระศาสดาทรงอนุญาตไว้ โดย

กำหนดเบื้องต่ำ.

บทว่า อิทมตฺถิก ได้แก่ เพื่อประโยชน์นี้ คือเพื่อประโยชน์ตามที่

พระศาสดาตรัสไว้แล้ว, อธิบายว่า เพียงเพื่อป้องกันความหนาวเป็นต้น

และเพื่อปกปิดอวัยวะอันเป็นเหตุยังความละอายให้กำเริบ. ด้วยคำนั้น

ท่านกล่าวถึงจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย และความสันโดษด้วยปัจจัยตามมี

ตามได้ ในจีวรนั้น.

บทว่า ปลฺลงฺเกน นิสินฺนสฺส ความว่า นั่งด้วยการนั่งวงขาโดยรอบ

ท่านเรียกว่า คู้บัลลังก์ คือนั่งคู้บัลลังก์สามแห่ง.

บทว่า ชณฺณุเก นาภิวสฺสติ ความว่า เมื่อภิกษุนั่งที่กุฏิอย่างนั้น

พอฝนตก น้ำฝนไม่เปียกเข่าทั้งสองข้าง, เสนาสนะแม้มีประมาณเท่านี้

จัดเป็นเสนาสนะท้ายสุด, จริงอยู่ กุลบุตรผู้ต้องการประโยชน์ นั่งใน

เสนาสนะนั้นแล้ว ก็สามารถจะทำประโยชน์ของตนให้สำเร็จได้. ด้วยเหตุ

นั้น ท่านจึงกล่าวว่า นับว่าพอเป็นการอยู่สบายของภิกษุ ผู้มีใจเด็ด

เดี่ยว ดังนี้เป็นต้น.

พระเถระ ครั้นประกาศถึงโอวาทเครื่องขัดเขลาอย่างอุกฤษฏ์ยิ่งนัก

แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มีความมักมาก ไม่สันโดษ ด้วยคาถาทั้ง ๔ คาถาเหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 277

อย่างนั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงความสันโดษในการยินดีภาวนา โดย

มุ่งถึงเวทนา จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า โย สุข ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุข ได้แก่ สุขเวทนา. บทว่า ทุกฺขโต

ได้แก่ โดยความเป็นวิปริณามทุกข์.

บทว่า อทฺทา ได้แก่ ได้เห็นแล้ว, อธิบายว่า ผู้ที่ได้เห็นแล้วตาม

ความเป็นจริง ด้วยมรรคปัญญา อันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา. จริงอยู่

สุขเวทนา แม้จะให้ความสบายใจในเวลาบริโภค แต่ก็เป็นทุกข์อยู่นั่นเอง

ในเวลาที่แปรปรวน เหมือนโภชนะที่เจือปนด้วยยาพิษฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงแสดงถึงการพิจารณาในข้อนั้นว่า เป็นทุกข์.

บทว่า ทุกฺขมทฺทกฺขิ สลฺลโต ความว่า ผู้ที่พิจารณาเห็นทุกข-

เวทนาว่า เป็นลูกศร. จริงอยู่ ทุกขเวทนา จะเกิดขึ้นก็ตาม จะถึงความ

ตั้งอยู่ก็ตาม จะแตกสลายไปก็ตาม ชื่อว่าย่อมเบียดเบียนเสมอทีเดียว

เปรียบเหมือนลูกศรปักอยู่ที่ร่างกาย ติดอยู่ก็ตาม ถูกถอนออกก็ตาม ก็ย่อม

เกิดเป็นการเบียดเบียนอยู่นั่นเอง. ด้วยคำนั้น ท่านจึงยกถึงการพิจารณา

เห็นในสรีระนั้นว่า เป็นทุกข์ ขึ้นกล่าวไว้, ด้วยเหตุนั้น จึงยึดถือว่าเป็นตัว

เป็นตน ในเวทนาทั้งสอง เพราะคำว่า ความทุกข์เป็นอนัตตา ดังนี้

เป็นต้น.

บทว่า อุภยนฺตเรน ความว่า ในระหว่างเวทนาทั้งสอง คือใน

อทุกขมสุขเวทนา อันมีในท่ามกลางแห่งสุขเวทนาและทุกขเวทนา.

บทว่า นาโหสิ ความว่า ได้มีความยึดมั่นว่าเป็นตัวเป็นคน ใน

การตรัสรู้ตามความเป็นจริง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 278

บทว่า เกน โลกสฺมิ กึ สิยา ความว่า ภิกษุกำหนดรู้อุปาทาน-

ขันธ์ทั้ง ๕ โดยมุ่งถึงเวทนาอย่างนั้นแล้ว ถอนขึ้นเด็ดขาดซึ่งข่ายคือ

กิเลสทั้งสิ้น ที่เนื่องด้วยอุปาทานขันธ์นั้นได้ดำรงอยู่ จะพึงติดอยู่ในโลก

ด้วยกิเลสชื่อไรเล่า, อีกอย่างหนึ่ง อนาคตที่จะเกิดในเทวดาเป็นต้น จะพึง

มีอย่างไรเล่า, อธิบายว่า โดยที่แท้ ผู้มีเครื่องผูกพันอันตัดเสียแล้ว พึง

เป็นผู้ไม่ติดในบัญญัติทีเดียว.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะติเตียนบุคคลผู้ปฏิบัติผิด และสรรเสริญบุคคล

ผู้ปฏิบัติชอบ จึงกล่าวคาถา ๔ คาถามีคำว่า มา เม ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา เม กทาจิ ปาปิจฺโฉ ความว่า ผู้ที่

ชื่อว่ามีความปรารถนาลามก เพราะปรารถนาจะยกย่องคุณความดีที่ไม่มี

ในตน, ชื่อว่าผู้เกียจคร้าน เพราะไม่มีความอุตสาหะในสมณธรรม, เพราะ

ความเกียจคร้านนั้นนั่นแหละ จึงชื่อว่า ผู้มีความเพียรเลวทราม, ชื่อว่า

ผู้สดับน้อย เพราะไม่มีการสดับฟัง อันเกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องสัจจะและ

ปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น, ชื่อว่าผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เพราะไม่มีความเอื้อเฟื้อใน

โอวาทานุสาสนี, บุคคลผู้เลวทรามเช่นนั้น ขออย่าได้มีในสำนักของเรา

ในกาลไหน ๆ เลย.

เพราะเหตุไร ? เพราะจะพึงติดอยู่ในโลกอย่างใด, อธิบายว่า

โอวาทอะไรในนิกาย ๗ ในโลก จะพึงมีแก่บุคคลนั้น คือผู้เช่นนั้น, อีก

อย่างหนึ่ง เขาจะพึงทำอะไรที่ทำแล้ว คือหาประโยชน์มีได้.

บทว่า พหุสฺสุโต จ ความว่า บุคคลผู้ที่มีพหุสสุตะ เพราะมีการสดับ

มากอันต่างโดยประเภทมีสุตตะและเคยยะเป็นต้น ที่เกี่ยวเนื่องด้วยศีลเป็น

อาทิ, ชื่อว่ามีเมธา ก็ด้วยอำนาจแห่งปัญญาที่เกิดแต่ธรรม ปริหาริย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 279

ปัญญาและปฏิเวธปัญญา, ชื่อว่าตั้งมั่นด้วยดี เพราะตั้งมั่นด้วยดีในศีล

ทั้งหลาย, ชื่อว่าประกอบใจให้สงบ คือมีจิตตั้งมั่น อันต่างด้วยประเภท

แห่งโลกิยะและโลกุตระ, บุคคลเช่นนั้น แม้จะดำรงอยู่บนศีรษะของเรา

ก็ได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงการอยู่ร่วมกัน.

บทว่า โย ปปญฺจมนุยุตฺโต ความว่า ก็บุคคลใดประกอบด้วย

ธรรมเครื่องเนิ่นช้า มีตัณหาเป็นต้นเป็นประเภท เพราะอรรถว่า เป็น

ธรรมเครื่องเนิ่นช้า เหตุเป็นไปด้วยความเป็นผู้ยินดีในการงานเป็นต้น

และด้วยการเกี่ยวข้องด้วยรูปเป็นต้น และเป็นผู้ยินดียิ่ง เพราะมองไม่เห็น

โทษในธรรมเครื่องเนิ่นช้านั้น เป็นเช่นกับผู้ยังแสวงหา, บุคคลนั้นย่อม

พลาดจากพระนิพพาน, คือดำรงอยู่ไกลแสนไกลจากพระนิพพาน.

บทว่า โย จ ปปญฺจ หิตฺวาน ความว่า ฝ่ายบุคคลใด ละธรรม

เครื่องเนิ่นช้า คือตัณหาเสียได้ ยินดีในหนทาง คือในอุบายเครื่องบรรลุ

พระนิพพาน อันเป็นธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า เพราะไม่มีปปัญจธรรมนั้น

ได้แก่อริยมรรค, ยินดียิ่งในการตรัสรู้ภาวนา บุคคลนั้นย่อมยินดีพระ-

นิพพาน ย่อมสำเร็จพระนิพพาน ได้แก่ ย่อมบรรลุพระนิพพาน.

ครั้นวันหนึ่ง พระเถระเห็นว่าพระเรวตเถระผู้น้องชายของตน อยู่

ในถิ่นที่กันดาร ไม่มีน้ำ ปกคลุมด้วยต้นไม้ตะเคียนหนาแน่นไปด้วยหนาม

เมื่อจะสรรเสริญท่าน จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า คาเม วา ดังนี้

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คาเม วา ความว่า พระอรหันต์

ทั้งหลาย แม้จะไม่ได้กายวิเวกในที่ละแวกบ้านก็จริง ถึงกระนั้นท่านก็ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 280

จิตตวิเวกทีเดียว. จริงอยู่ อารมณ์ทั้งหลาย แม้จะมีส่วนเปรียบด้วยอารมณ์

ทิพย์ ก็ไม่สามารถจะทำจิตของพระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้นให้หวั่นไหว

ได้เลย, เพราะฉะนั้น พระอรหันต์จะอยู่ในบ้านหรือในป่าเป็นต้น ที่ใด

ที่หนึ่งก็ตาม เพราะพระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมอยู่ในที่ใด สถานที่นั้น

ย่อมเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ คือภูมิประเทศนั้นย่อมเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ

ทีเดียว.

บทว่า อรญฺานิ สัมพันธ์ความว่า ป่า อันสมบูรณ์ด้วยน้ำและที่

อาศัยอันสะอาด ประดับประดาด้วยหมู่ไม้ไพรสณฑ์ ผลิดอกเผล็ดผล

งดงาม ชื่อว่า สถานที่น่ารื่นรมย์ใจ.

บทว่า ยตฺถ ความว่า ชนผู้ฝักใฝ่ในกาม แสวงหากาม ย่อมไม่

ยินดีในสถานที่รื่นรมย์ ดุจในป่าที่มีดอกไม้แย้มบาน.

บทว่า วีตราคา ความว่า ฝ่ายพระขีณาสพทั้งหลายผู้มีราคะไปปราศ

แล้ว จักรื่นรมย์ในป่าเช่นนั้น ดุจฝูงภมรและผึ้ง ยินดีในสวนดอกปทุม

ฉะนั้น.

บทว่า น เต กามคเวสิโน ความว่า เพราะผู้มีราคะไปปราศแล้ว

เหล่านั้น ย่อมไม่มีการแสวงหากาม.

พระเถระอาศัยความอนุเคราะห์ จึงให้พราหมณ์ทุคตะชื่อว่า ราธะ

บรรพชาแล้วให้อุปสมบทอีก ทำราธะนั้นนั่นแหละให้เป็นปัจฉาสมณะ

เที่ยวไป วันหนึ่ง เมื่อจะให้โอวาทชมเชยราธภิกษุนั้นว่า เป็นผู้ว่าง่าย

จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า นิธีนว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิธีนว ได้แก่ หม้อคือขุมทรัพย์ ที่เต็ม

ด้วยวัตถุน่าปลื้มใจ มีเงินและทองคำเป็นต้น ที่เขาฝั่งเก็บไว้ในที่นั้น ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 281

บทว่า ปวตฺตาร ความว่า กระทำการอนุเคราะห์ แนะนำที่ฝั่ง

ขุมทรัพย์ กะหมู่คนขัดสนมีชีวิตยากจนว่า มานี่แน่ะ เราจักชี้แนะอุบาย

เพื่อเป็นอยู่สุขสบายแก่เจ้า ดังนี้แล้ว เหยียดแขน ราวกะบอกว่า เจ้าจง

ถือเอาทรัพย์สมบัตินี้แล้ว จงเป็นอยู่ให้สุขสบายเถิด.

บทว่า วชฺชทสฺสิน ความว่า ผู้ชี้โทษมี ๒ ลักษณะ คือการแสวง

หาโทษด้วยคิดว่า เราจักข่มขี่บุคคลนั้น ด้วยสิ่งอันไม่สมควรนี้ หรือด้วย

ความพลั้งพลาดนี้ ในท่ามกลางสงฆ์ และผู้ประสงค์จะให้คนที่ไม่รู้เรื่อง

ได้รับรู้ ให้คนที่รู้เรื่องแล้ว ยินดีพอใจ มองดูความผิดนั้นๆ ตั้งเขาไว้

แล้วในสภาวะที่ยกย่องช่วยเหลือ เพราะมุ่งถึงความเจริญด้วยคุณมีศีล

เป็นต้น, ข้อนี้ท่านประสงค์ถึงในที่นี้.

เหมือนอย่างคนขัดสน แม้ถูกข่มขู่ว่า เจ้าจงถือเอาขุมทรัพย์นี้ ดังนี้

ย่อมไม่ทำความโกรธ ในเพราะการชี้แนะขุมทรัพย์ แต่กลับชื่นชมยินดี

ฉันใด ในบุคคลเห็นปานนั้นก็ฉันนั้น เห็นสิ่งไม่สมควร หรือความพลั้ง

พลาดแล้วบอกให้ บุคคลไม่ควรทำความโกรธเลย แต่พึงมีจิตยินดีรับ

เท่านั้น, และพึงปวารณาตลอดไปว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านพึงบอกสิ่งที่

สมควรกะผมอีกนะ.

บทว่า นิคฺคยฺหวาทึ ความว่า บุคคลใดเห็นโทษแล้ว ไม่คิดว่าผู้นี้

เป็นสัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ของเรา, เป็นผู้มีอุปการะคุณแก่เรา ดังนี้

ข่มขู่ตามสมควรแก่ความผิด ประฌาม กระทำทัณฑกรรม ให้ยอมรับรู้,

บุคคลนี้ ชื่อว่านิคคัยหวาที เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฉะนั้น.

สมดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ เราจักข่มแล้ว ๆ จึงบอก

๑. ม. อุปริ. ๑๔/ข้อ ๓๕๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 282

ดูก่อนอานนท์ เราจักยกย่องแล้ว ๆ จึงบอก, ผู้ใดมีแก่นสาร ผู้นั้นจัก

ดำรงอยู่ได้.

บทว่า เมธาวึ ได้แก่ ประกอบพร้อมด้วยปัญญามีรสอันเกิดแต่

ธรรม.

บทว่า ตาทิส ได้แก่ บัณฑิตผู้เห็นปานนั้น.

บทว่า ภเช แปลว่า พึงเข้าไปนั่งใกล้, อธิบายว่า จริงอยู่

อันเตวาสิกผู้คบหาอาจารย์เช่นนั้น ย่อมมีแต่ความประเสริฐ, ไม่มีความเลว

ทราม มีแต่ความเจริญถ่ายเดียว หาความเสื่อมมิได้.

ในกาลครั้งหนึ่ง พระธรรมเสนาบดีรับพระดำรัสสั่งจากพระศาสดา

ในเรื่องอาวาสที่กีฏาคิรีชนบท ถูกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะประทุษ-

ร้าย จึงพร้อมกับบริษัทของตนและพระมหาโมคคัลลานะ ไปยังที่นั้นแล้ว

เมื่อพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่ทำความเอื้อเฟื้อต่อโอวาท จึงกล่าว

คาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอวเทยฺย ความว่า พึงให้โอวาท

คือคำพร่ำสอน.

คำว่า อนุสาเสยฺย เป็นคำกล่าวโดยอ้อมแห่งคำว่า โอวเทยฺย นั้น

นั่นเอง, อธิบายว่า อีกอย่างหนึ่ง เมื่อมีเรื่องเกิดขึ้นแล้ว จึงพูดบอก ชื่อว่า

ย่อมกล่าวสอน, เมื่อเรื่องยังไม่เกิดขึ้น พูดบอกมุ่งถึงอนาคตกาล เป็นต้น

ว่า แม้ความเสื่อมยศพึงมีแก่ท่าน ดังนี้ ชื่อว่าย่อมพร่ำสอน. อีกอย่างหนึ่ง

พูดบอกต่อหน้า ชื่อว่าย่อมกล่าวสอน. ส่งทูตหรือส่งสาสน์ไปพูดบอก

ลับหลัง ชื่อว่าย่อมพร่ำสอน. อีกอย่างหนึ่ง พูดบอกครั้งเดียว ชื่อว่า

ย่อมกล่าวสอน, พูดบอกบ่อย ๆ ชื่อว่าย่อมพร่ำสอน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 283

บทว่า อสพฺภา จ ความว่า พึงห้ามอกุศลธรรม และพึงให้ตั้งมั่น

อยู่ในกุศลธรรม.

บทว่า สต หิ โส ความว่า บุคคลผู้เห็นปานนั้น ย่อมเป็นที่รัก

ของสาธุชนทั้งหลาย. บุคคลนั้น ผู้สั่งสอน ผู้พร่ำสอน บุคคลผู้ไม่สงบ

ไม่เป็นสัปบุรุษ ยังไม่ข้ามพ้นโลกหน้า มีจักษุเพ่งอามิส บวชเพื่อเลี้ยง

ชีวิตเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นที่รักของบุคคลผู้ทิ่มแทงด้วยหอกคือปากอย่าง

นี้ว่า ท่านไม่ได้เป็นอุปัชฌาย์ของพวกเรา ท่านไม่ใช่อาจารย์ของพวกเรา

ท่านกล่าวสอนพวกเราเพราะอะไร ดังนี้.

เพราะถ้อยคำที่ยกขึ้นกล่าวในหมู่ภิกษุว่า พระศาสดาทรงปรารภ

ผู้ใดแสดงธรรม ผู้นั้นแหละเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ดังนี้ พระเถระ

เมื่อจะแสดงว่า ข้อนี้นั้นไม่ถูกต้อง จึงกล่าวคาถาว่า อญฺสฺส ดังนี้

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺสฺส ความว่า พระศาสดาตรัส

หมายถึงทีฆนขปริพาชก ผู้เป็นหลานชายของตน. จริงอยู่ เมื่อพระ-

ศาสดาทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตรแก่เขา พระมหาเถระนี้บรรลุมรรค-

ภาวนา ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณได้.

บทว่า โสตโมเธสิมตฺถิโก ความว่า เราเป็นผู้มุ่งประโยชน์ ยืน

ถวายงานพัดพระศาสดา เงี่ยโสตตั้งใจฟัง.

บทว่า ต เม อโมฆ สวน ความว่า การตั้งใจสดับฟังของเรานั้น

ไม่ว่างเปล่า คือได้เป็นที่พึ่งแก่สมบัติทั้งหลาย ซึ่งอัครสาวกพึงถึง. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิมุตฺโตมฺหิ ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 284

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนว ปุพฺเพนิวาสาย มีวาจาประกอบ

ความว่า การตั้งปณิธานไม่ได้มีแก่เรา เพื่อประโยชน์แก่ญาณที่จะรู้ถึงที่

เคยอยู่ในกาลก่อน ของตนและของผู้อื่นเลย. อธิบายว่า แม้เพียงการตั้ง

ปณิธานไว้ในใจ ด้วยการทำบริกรรม เพื่อประโยชน์นั้นย่อมไม่มี คือ

ไม่ได้มีแล้ว.

บทว่า เจโตปริยาย แปลว่า เพื่อเจโตปริยญาณ.

บทว่า อิทฺธิยา แปลว่า เพื่ออิทธิวิธญาณ.

บทว่า จุติยา อุปปตฺติยา ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่จุตูปปาตญาณ

เครื่องหยั่งรู้การจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย.

บทว่า โสตธาตุวิสุทฺธิยา แปลว่า เพื่อทิพโสตญาณ.

บทว่า ปณิธี เม น วิชฺชติ ความว่า ปณิธานแห่งจิต คือการ

บำเพ็ญทางใจ ด้วยการบริกรรม เพื่อประโยชน์แก่อภิญญาและคุณวิเศษ

เหล่านี้ ย่อมไม่มี คือไม่ได้มีแล้วแก่เรา. จริงอยู่ คุณของพระสาวก

ทั้งหมด จะมีอยู่ในเงื้อมมือของพระสาวกทั้งหลายได้ ก็ด้วยการบรรลุ

อริยมรรคเท่านั้น ดุจคุณคือพระสัพพัญญู มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ฉะนั้น, เพราะการบรรลุของพระสาวกเหล่านั้น จึงไม่มีหน้าที่ที่จะทำ

บริกรรมเป็นแผนกหนึ่งต่างหาก.

คาถา ๓ คาถาที่เริ่มต้นว่า รุกฺขมูล ดังนี้ พระเถระกล่าวมุ่งแสดง

ถึงความไม่หวั่นไหวแห่งตน ผู้อยู่ในกโปตกันทรวิหาร ในเวลาถูกยักษ์

ประหาร ด้วยพลังแห่งสมาบัติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุณฺโฑ ได้แก่ ปลงผมแล้วใหม่ ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 285

บทว่า สงฺฆาฏิปารุโต ได้แก่ ห่มผ้าสังฆาฏินั่งแล้ว. และอาจารย์

ทั้งหลายกล่าวว่า ห่มเรียบร้อยด้วยผ้าสังฆาฏิ.

บทว่า ปญฺาย อุตฺตโม เถโร ความว่า เป็นพระเถระผู้อุดมด้วย

ปัญญา คือเป็นผู้ประเสริฐกว่าพระสาวกทั้งหลายด้วยปัญญา.

บทว่า ฌายติ ความว่า ย่อมเพ่งด้วยอารัมมณูปนิชฌาน และ

ลักขณูปนิชฌาน คืออยู่ด้วยสมาบัติโดยมาก.

บทว่า อุเปโต โหติ ตาวเท ความว่า ผู้ที่ถูกยักษ์ประหารที่ศีรษะ

ในขณะกำลังเข้าสมาบัติอันไม่มีวิตก คือผลสมาบัติอันประกอบด้วยจตุตถ-

ฌานก็ยังเข้าถึง คือประกอบพร้อมด้วยธรรมคือความนิ่งอย่างประเสริฐ.

ก็คำว่า โหติ นี้ เป็นคำบ่งถึงปัจจุบันกาล ซึ่งใช้ในอรรถแห่งอดีตกาล.

บทว่า ปพฺพโตว น เวธติ ความว่า เพราะสิ้นโมหะ ภิกษุจึง

ทำลายกิเลสทั้งหมดได้ ไม่หวั่นไหว คือตั้งมั่นด้วยดี เหมือนภูเขาหินล้วน

ย่อมไม่หวั่นไหว ด้วยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งมีอิฏฐารมณ์เป็นต้น คือ

เป็นผู้คงที่ในอารมณ์ทั้งปวง.

ครั้นวันหนึ่ง เมื่อชายผ้านุ่งของพระเถระห้อยย้อยลงโดยมิได้รู้ตัว

สามเณรรูปหนึ่งจึงเตือนว่า ท่านควรนุ่งห่มเป็นปริมณฑลซิขอรับ. พระ-

เถระครั้นได้ฟังคำนั้นแล้ว รับดุจด้วยเศียรเกล้าว่า คำอันเจริญ เธอกล่าว

ดีแล้ว ในขณะนั้นนั่นเองจึงหลีกไปหน่อยหนึ่งแล้วนุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล

เมื่อจะแสดงว่า แม้สิ่งนี้ก็นับว่าเป็นโทษแก่คนเช่นกับเรา ดังนี้ จึงกล่าว

คาถาว่า อนงฺคณสฺส ดังนี้เป็นต้น.

พระเถระ เมื่อจะแสดงว่าคนมีความคิดเสมอกันในความตายและ

ชีวิตซ้ำอีก จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา โดยเริ่มต้นว่า นาภินนฺทามิ ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 286

และเมื่อจะแสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา โดยเริ่มต้น

ว่า อุภเยน มิท ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภเยน แปลว่า ในสองคราว, อธิบาย

ว่า ในกาลทั้งสอง.

บทว่า มิท ได้แก่ อักษร กระทำการเชื่อมบท. อธิบายว่า

ความตายนี้เท่านั้น, ชื่อว่าความตายย่อมมีอยู่แน่นอน, ความไม่ตายไม่มี.

เพื่อจะเฉลยคำถามว่า ในสองคราวเป็นอย่างไร ? ท่านจึงกล่าวว่า ในเวลา

แก่หรือในเวลาหนุ่ม ความว่า ในเวลาแก่เริ่มแต่มัชฌิมวัย คือในเวลา

สังขารชราทรุดโทรม หรือในเวลาหนุ่ม คือในกาลเป็นหนุ่ม ความตาย

เท่านั้น ย่อมมีแน่นอน. เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญ คือจง

ทำสัมมาปฏิบัติให้บริบูรณ์เถิด จงอย่าได้ปฏิบัติผิดให้พินาศเลย คือจงอย่า

ได้เสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวงในอบายทั้งหลายเลย.

บทว่า ขโณ โว มา อุปจฺจคา ความว่า เพราะเว้นจากอักขณะ ๘

ขณะที่ ๙ นี้ อย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย.

ครั้นวันหนึ่ง พระเถระเห็นท่านพระมหาโกฏฐิกะแล้ว เมื่อจะ

ประกาศคุณของท่าน จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา โดยเริ่มต้นว่า อุปสนฺโต

ดังนี้.

คำว่า ธุนาติ ท่านกล่าวไว้ โดยมิได้มุ่งหมายถึงความในข้อนั้น

เลย ท่านเมื่อจะกล่าวอิงอาศัยพระเถระอีก จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อปฺปาสิ

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปาสิ ความว่า ละแล้วไม่นาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 287

บทว่า อนายาโส ความว่า ไม่มีความดิ้นรน คือปราศจากทุกข์

คือกิเลส.

บทว่า วิปฺปสนฺโน อนาวิโล ความว่า มีความผ่องใส คือมีจิต

ผ่องใสด้วยดี เพราะไม่มีความไม่เชื่อเป็นต้น ชื่อว่าไม่ขุ่นมัว เพราะมี

ความดำริไม่ขุ่นมัว.

คาถาว่า น วิสฺสเส ท่านกล่าวปรารภพวกพระวัชชีบุตร ผู้เชื่อ

พระเทวทัต ชอบใจทิฏฐิของพระเทวทัตนั้นแล้ว ดำรงอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น วิสฺสเส ความว่า ไม่พึงคุ้นเคย คือ

ไม่พึงเชื่อ.

บทว่า เอกติเยสุ ความว่า ในปุถุชนผู้มีสภาวะไม่มั่นคงบางพวก.

บทว่า เอว ความว่า เหมือนท่านทั้งหลายถึงความคุ้นเคยว่า พระ-

เทวทัตเป็นผู้ปฏิบัติชอบ.

บทว่า อคาริสุ แปลว่า ในหมู่คฤหัสถ์.

บทว่า สาธูปิ หุตฺวาน ความว่า เพราะขึ้นชื่อว่า ความเป็นปุถุชน

ย่อมเป็นผู้มีความไม่มั่นคง เหมือนหม้อน้ำที่ตั้งอยู่บนหลังม้า และเหมือน

ตอไม้ที่ฝั่งลงในกองแกลบฉะนั้น คนบางพวกตอนต้นเป็นคนดี อยู่

ต่อมาตอนปลายเป็นคนไม่ดี.

อธิบายว่า เหมือนพระเทวทัต ในตอนต้นสมบูรณ์ด้วยศีล เป็น

ผู้ได้อภิญญาสมาบัติ แต่ถูกลาภและสักการะเข้าครอบงำ บัดนี้ จึงเสื่อมจาก

คุณวิเศษเหมือนกาปีกหัก เป็นผู้ไปเกิดในอบาย เพราะฉะนั้น คนเช่นนั้น

ไม่ควรคุ้นเคยว่า เป็นคนดี เพราะเพียงแต่ได้เห็นกันเท่านั้น. ส่วนคน

บางพวกถึงตอนต้นจะเป็นคนไม่ดี เพราะไม่คบหากัลยาณมิตร แต่ตอน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 288

ปลายกลับตนเป็นคนดีได้ เพราะคบหากัลยาณมิตร เพราะฉะนั้น จึงไม่

ควรคุ้นเคยกับคนดีเทียม ๆ เยี่ยงพระเทวทัตว่าเป็นคนดีเลย.

คนซึ่งมีอุปกิเลสภายในใจ มีกามฉันทะเป็นต้น ยังไม่ไปปราศ

ชื่อว่าคนไม่ดี. เมื่อจะแสดงถึงคนที่มีอุปกิเลสไปปราศแล้วว่า เป็นคนดี

ท่านจึงกล่าวคาถาว่า กามจฺฉนฺโท ดังนี้เป็นต้น และเพื่อจะแสดงถึง

ลักษณะของคนดีชั้นสูงสุดโดยไม่ทั่วไป ท่านจึงกล่าวคาถา ๒ คาถา โดย

เริ่มต้นว่า ยสฺส สกฺกริยมานสฺส ดังนี้.

ก็เพื่อจะแสดงถึงคนดีชั้นสูงสุด โดยไม่ทั่วไป จึงยกพระศาสดาและ

ตนขึ้นเป็นอุทาหรณ์ กล่าวคาถาเริ่มต้นว่า มหาสมุทฺโท ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาสมุทฺโท ความว่า มหาสมุทร

มหาปฐพี หิน คือภูเขาและลม โดยประเภทที่พัดมาจากทิศตะวันออก

เป็นต้น ย่อมทนได้ต่ออิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เพราะเป็นสภาวะไม่มี

เจตนา มิใช่อดทนได้ เพราะกำลังคือความพิจารณาใคร่ครวญ, ส่วน

พระศาสดาทรงดำรงอยู่ในความเป็นผู้คงที่ ชั้นยอดเยี่ยม ด้วยอำนาจ

บรรลุถึงพระอรหัต จึงมีความเสมอ ไม่มีความหวั่นไหวในอารมณ์ทั้งปวง

มีอิฏฐารมณ์เป็นต้น, มหาสมุทรเป็นต้นเหล่านั้น จึงไม่ควรเปรียบเทียบ

กับความหลุดพ้นอย่างประเสริฐ คือหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอรหัตผลของ

พระศาสดาได้เลย คือย่อมไม่ถึงแม้ทั้งเสี้ยวและทั้งส่วน.

บทว่า จกฺกานุวตฺตโก ได้แก่ ผู้ยังพระธรรมจักรอันพระศาสดาให้

เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตาม.

บทว่า เถโร ได้แก่ เป็นพระเถระ เพราะเป็นพระอเสขะ คือ

ประกอบพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 289

บทว่า มหาาณี แปลว่า มีปัญญามาก.

บทว่า สมาหิโต ได้แก่ มีความตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิและอัปปปนา-

สมาธิ และอนุตรสมาธิ.

บทว่า ปวาปคฺคิสมาโน ความว่า เป็นผู้ประพฤติเช่นกับแผ่นดิน

น้ำ และไฟ เพราะตนเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ในเมื่อประจวบกับ

อารมณ์มีอิฏฐารมณ์เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมไม่ยินดี

ย่อมไม่ยินร้าย ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า ปญฺาปารมิต ปตฺโต โดยความว่า ถึงฝั่งแห่งสาวกญาณ คือถึง

ที่สุดแห่งฝั่งแล้ว.

บทว่า มหาพุทฺธิ ได้แก่ ประกอบพร้อมไปด้วยปัญญา ที่ชื่อว่า

พุทธิ เพราะกว้างขวาง เหตุบรรลุถึงความเป็นผู้มีปัญญามาก กว้างขวาง

ร่าเริง เร็วไว แหลมคม และเป็นเครื่องชำแรกกิเลส.

บทว่า มหามติ ได้แก่ ประกอบพร้อมไปด้วยความรู้จักคาดหมาย

นัยอันสำคัญยิ่ง คือรู้อนุโลมตามธรรมแล้ว. จริงอยู่ พระมหาเถระนี้

ประกอบด้วยคุณวิเศษเช่นมีปัญญามากเป็นต้น เพราะท่านบรรลุถึงคุณ

ทั้งหมดไม่มีส่วนเหลือ ยิ่งกว่าท่านผู้มีประเภทแห่งปัญญา เป็น ๔ ส่วน

๑๖ ส่วน ๔๔ ส่วน และ ๗๓ ส่วน จึงสมควรที่จะเรียกว่า มหาพุทธิ

ผู้มีปัญญามากยิ่งนัก, เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นบัณฑิต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้มีปัญญามาก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง

๑. ม. อุ. ๑๔/ข้อ ๑๕๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 290

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้มีปัญญาว่องไว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้มีปัญญาแหลมคม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้มีปัญญาเครื่อง

ชำแรกกิเลส ดังนี้เป็นต้น.

บัณฑิตพึงทราบความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ในส่วนแห่งความเป็นบัณฑิต

เป็นต้น ในข้อนั้นดังต่อไปนี้ :- บุคคลจะเป็นบัณฑิตก็ด้วยเหตุ ๔ ประการ

เหล่านี้ คือความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ ความ

เป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ

ดังนี้.

ในการแสดงวิภาคแห่งความเป็นผู้มีปัญญามากเป็นต้น มีพระบาลี

ดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า ปัญญาใหญ่เป็นไฉน ? ชื่อว่า ปัญญาใหญ่

เพราะอรรถว่า กำหนดอรรถใหญ่, กำหนดธรรมใหญ่.

กำหนดนิรุตติใหญ่, กำหนดปฏิภาณใหญ่, กำหนดศีลขันธ์

ใหญ่, กำหนดสมาธิขันธ์ใหญ่, กำหนดปัญญาขันธ์ใหญ่,

กำหนดวิมุตติขันธ์ใหญ่, กำหนดวิมุตติญาณทัสสนขันธ์

ใหญ่, กำหนดฐานะและอฐานะใหญ่, กำหนดวิหารสมา-

บัติใหญ่, กำหนดอริยสัจใหญ่, กำหนดสติปัฏฐานใหญ่,

กำหนดสัมมัปปธานใหญ่, กำหนดอิทธิบาทใหญ่, กำหนด

อินทรีย์ใหญ่, กำหนดพละใหญ่, กำหนดโพชฌงค์ใหญ่,

กำหนดอริยมรรคใหญ่, กำหนดสามัญญผลใหญ่ , กำหนด

๑. ขุ. ป. ๓๑/ ข้อ ๖๖๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 291

อภิญญาใหญ่ กำหนดนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ใหญ่ นี้เป็นปัญญาใหญ่.

ปุถุปัญญาเป็นไฉน ? ชื่อว่าปัญญาหนา เพราะอรรถ

ว่า ญาณเป็นไปในขันธ์ต่าง ๆ มา ในธาตุต่าง ๆ มาก

ในอายตนะต่าง ๆ มาก ในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ มาก

ในความได้เนื่อง ๆ ซึ่งความสูญต่าง ๆ มาก ในอรรถ

ต่าง ๆ มาก ในธรรมต่าง ๆ มาก ในนิรุตติต่าง ๆ มา

ในปฏิภาณต่าง ๆ มาก ในศีลขันธ์ต่าง ๆ มาก ในสมาธิ-

ขันธ์ต่าง ๆ มาก ในปัญญาขันธ์ต่าง ๆ มาก ในวิมุตติ-

ขันธ์ต่าง ๆ มาก ในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ มาก

ในฐานะและอฐานะต่าง ๆ มาก ในวิหารสมาบัติต่าง ๆ

มาก ในอริยสัจต่าง ๆ มาก ในสติปัฏฐานต่าง ๆ มาก

ในสัมมัปปธานต่าง ๆ มาก ในอิทธิบาทต่าง ๆ มาก ใน

อินทรีย์ต่าง ๆ มาก ในพละต่าง ๆ มาก ในโพชฌงค์

ต่าง ๆ มาก ในอริยมรรคต่าง ๆ มาก ในสามัญญผล

ต่าง ๆ มาก ในอภิญญาต่าง ๆ มาก ในนิพพานอันเป็น

ประโยชน์อย่างยิ่ง ล่วงธรรมที่ทั่วไปแก่ปุถุชน นี้เป็น

ปุถุปัญญา.

หาสปัญญาเป็นไฉน ? ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะ

อรรถว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความร่าเริงมาก มีความ

พอใจมาก มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก

บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะอรรถว่า

๑. ขุ. ป. ๓๑/ข้อ ๖๖๖. ๒. ขุ. ป. ๓๑/ข้อ ๖๗๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 292

มีความร่าเริงมาก ฯลฯ มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญ

อินทรียสังวรให้บริบูรณ์ เพราะอรรถว่า มีความร่าเริง

มาก ฯลฯ มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญตนรู้จัก

ประมาณในโภชนะ เพราะอรรถว่า มีความร่าเริงมาก ฯลฯ

มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญชาคริยานุโยค เพราะ

อรรถว่า มีความร่าเริงมาก ฯ ล ฯ มีความปราโมทย์มาก

บำเพ็ญศีลขันธ์ ฯ ล ฯ สมาธิขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติ-

ญาณทัสสนขันธ์ ฯ ล ฯ ย่อมตรัสรู้ตลอด. บำเพ็ญวิหาร-

สมาบัติทั้งหลายได้ ย่อมตรัสรู้ตลอดอริยสัจ ๔ ย่อม

เจริญสติปัฏฐาน ๔ ย่อมเจริญสัมมัปปธาน ๔ ย่อม

เจริญอิทธิบาท ๔ ย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ย่อมเจริญพละ

๕ ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมเจริญอริยมรรค ฯ ล ฯ

ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมทำให้แจ้งได้ซึ่ง

สามัญญผล. ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะอรรถว่า มีความ

ร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มีความ

ปราโมทย์มาก ย่อมตรัสรู้แจ้งซึ่งอภิญญา, ชื่อว่าหาส-

ปัญญา เพราะอรรถว่า มีความร่าเริงมาก มีความพอใจ

มาก มีความยินดีมา มีความปราโมทย์มาก ย่อมทำให้

แจ้งซึ่งพระนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง.

ชวนปัญญาเป็นไฉน ? ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถว่า

ปัญญาแล่นไปสู่รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตอนาคต

และปัจจุบัน ฯ ล ฯ มีอยู่ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้ โดย

๑. ขุ. ป. ๓๑/ข้อ ๖๗๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 293

ความเป็นของไม่เที่ยงได้ไว แล่นไปโดยความเป็นทุกข์

ได้ไว แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาได้ไว แล่นไปสู่

เวทนา ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต

อนาคต และปัจจุบัน ฯ ล ฯ แล่นไปสู่วิญญาณทั้งหมด

โดยความไม่เที่ยงได้ไว แล่นไปโดยความเป็นทุกข์ได้ไว

แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาได้ไว. แล่นไปสู่จักษุ ฯ ล ฯ

ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน

โดยความเป็นของไม่เที่ยงได้ไว แล่นไปโดยความเป็น

ทุกข์ได้ไว แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาได้ไว.

ชื่อว่าขวนปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญาเทียบเคียง

พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้งว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต

อนาคต และปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป

เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า เป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นอนัตตา

เพราะอรรถว่า ไม่มีแก่นสาร แล้วแล่นไปในพระนิพพาน

เป็นที่ดับรูปได้ไว ฯ ล ฯ เวทนา ฯ ล ฯ สัญญา ฯ ล ฯ

สังขาร ฯ ล ฯ วิญญาณ. ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถ

ว่า ปัญญาเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้งว่า

จักษุ ฯลฯ ชรามรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ

ปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป เป็นทุกข์

เพราะอรรถว่า เป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะ

อรรถว่า ไม่มีแก่นสาร แล้วแล่นไปในพระนิพพานเป็น

ที่ดับชรามรณะได้ไว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 294

ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญาเทียบเคียง

พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้งว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต

อนาคต และปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุง

แต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป

ดับไปเป็นธรรมดาแล้ว แล่นไปในพระนิพพานเป็นที่ดับ

รูปได้ไว. เวทนา ฯ ล ฯ สัญญา ฯ ล ฯ สังขาร ฯ ล ฯ

วิญญาณ. ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญา

เทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้งว่า จักษุ ฯลฯ

ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน

เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มี

ความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา

แล้วแล่นไปในพระนิพพาน อันเป็นที่ดับชราและมรณะ

ได้ไว.

ติกขปัญญาเป็นไฉน ? ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะ

อรรถว่า ทำลายกิเลสได้ไว ไม่รับรองไว้ ย่อมละ

บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีต่อไปซึ่งกามวิตก

ที่เกิดขึ้นแล้ว, ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะอรรถว่า ไม่รับ

รองไว้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ต่อไป ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ฯ ล ฯ

ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว, ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะ

อรรถว่า ไม่รับรองไว้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด

ให้ถึงความไม่มีต่อไป ซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้น

๑. ขุ. ป. ๓๑/ ข้อ ๖๗๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 295

แล้ว, ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะอรรถว่า ไม่รับรองไว้

ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีต่อไป

ซึ่งราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯ ล ฯ ซึ่งโทสะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ

ซึ่งโมหะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ซึ่งความโกรธที่เกิดขึ้นแล้ว

ฯ ล ฯ ซึ่งอุปนาหะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯ ล ฯ ซึ่งมักขะ ปลาสะ

อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถย ถัมภะ สารัมภะ มานะ

อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง

อภิสังขารทั้งปวง ฯ ล ฯ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง

ที่เกิดขึ้นแล้ว. ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญา

เป็นเหตุให้บุคคลได้บรรลุ ทำให้แจ้ง ถูกต้องอริยมรรค ๔

สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ ณ อาสนะเดียว.

นิพเพธิกปัญญาเป็นไฉน ? ชื่อว่านิพเพธิกปัญญา

เพราะอรรถว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากไปด้วย

ความสะดุ้ง ความหวาดเสียว ความเบื่อหน่าย ความ

ระอา ความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขาร

ทั้งปวง ย่อมเบื่อหน่าย ทำลายกองโลภะที่ไม่เคยเบื่อ

หน่าย ที่ไม่เคยทำลายในสังขารทั้งปวง, ชื่อว่านิพเพธิก-

ปัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมเบื่อหน่าย ทำลายกองโทสะ

ที่ไม่เคยเบื่อหน่าย ที่ไม่เคยทำลาย ชื่อว่านิพเพธิก-

ปัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมเบื่อหน่าย ทำลายกองโมหะ

ที่ไม่เคยเบื่อหน่าย ที่ไม่เคยทำลาย, ชื่อว่านิพเพธิก-

ปัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมเบื่อหน่าย ทำลายโกธะ ฯ ล ฯ

๑. ขุ. ป. ๓๑/ข้อ ๖๗๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 296

อุปนาหะ ฯ ล ฯ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงที่ไม่

เคยเบื่อหน่าย ที่ไม่เคยทำลาย.

ท่านกล่าวคำว่า มหาพุทฺธิ มีปัญญามาก ไว้ เพราะพระเถระ

ประกอบพร้อมด้วยปัญญาอย่างมากมาย มีวิภาคตามที่กล่าวไว้แล้ว ด้วย

ประการฉะนี้.

อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบความที่พระเถระนี้มีปัญญามาก แม้ด้วยอำนาจ

ธรรมตามลำดับบท และวิปัสสนา. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า : -

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตามลำดับ

บทได้เพียงกึ่งเดือน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในการเห็น

แจ้งธรรมตามลำดับบทของพระสารีบุตรนั้น มีดังต่อ-

ไปนี้ :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้พระสารีบุตร สงัด

จากกามทั้งหลาย ฯ ล ฯ เข้าปฐมฌานอยู่. ธรรมใน

ปฐมฌานคือวิตก ฯ ล ฯ จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา

สัญญา เจตนา จิต ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ

อุเปกขา มนสิการ. เป็นอันสารีบุตรกำหนดธรรมได้ตาม

ลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้ง

อยู่ และถึงความดับ. เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้

เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อม

เสื่อมไป เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่

พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้น ๆ มี

๑. ม. อุ ๑๔/ข้อ ๑๕๙-๑๖๕. อนุปทสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 297

ใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่, ย่อมรู้ชัด

ว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความ

เห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตร

เข้าทุติยฌาน ฯ ล ฯ เพราะสงบวิตกและวิจาร. เข้าตติย-

ฌานอยู่. เข้าจตุตถฌานอยู่. เข้าอากาสานัญจายตนะอยู่.

เข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่. เข้าอากิญจัญญายตนะอยู่.

สารีบุตรล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง

แล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่. เธอเป็นผู้มี

สติออกจากสมาบัตินั้น ครั้นเธอมีสติออกจากสมาบัตินั้น

แล้ว พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวน

ไปแล้วว่า ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา

ย่อมมี ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไป. เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย

อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้

แล้วในธรรมนั้น ๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดน

ได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้น

ไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออก

นั้นให้มาก ก็มีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตร

ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง

แล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่. เพราะเห็นด้วยปัญญา

อาสวะของเธอจึงเป็นอันสิ้นไป. เธอย่อมมีสติออกจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 298

สมาบัตินั้น ครั้นเธอมีสติออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ย่อม

พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้ว

ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี

ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป. เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย อันกิเลส

ไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้เเล้วในธรรม

นั้น ๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้เเล้วอยู่

ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และ

มีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก

ก็มีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุ

รูปใดว่า เป็นผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล,

เป็นผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยสมาธิ, เป็น

ผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยปัญญา, เป็นผู้

ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยวิมุตติ ภิกษุรูป

นั้น คือสารีบุตรนั่นเอง ที่ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชม ดังนี้.

อธิบายว่า พระเถระชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญามาก เพราะประกอบ

พร้อมด้วยความรู้อย่างกว้างขวาง เพราะบรรลุถึงความเป็นผู้มีปัญญามาก

กว้างขวาง ร่าเริง เร็วไว แหลมคม และเป็นเครื่องชำแรกกิเลส ด้วย

ประการฉะนี้. ส่วนความรู้ที่อนุโลมตามธรรม บัณฑิตพึงแสดงด้วย

สัมปสาทนียสูตรเถิด. จริงอยู่ พระสูตรนั้น การคาดหมายของพระเถระ

ท่านกล่าวไว้ว่าเป็นเช่นกับพระสัพพัญญุตญาณ.

บทว่า อชโฬ ชฬสมาโน ความว่า ไม่ใช่เป็นคนเขลา แม้โดย

๑. ที. ปาฏิ. ๑๑/ข้อ ๗๓-๙๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 299

ประการทั้งปวง เพราะท่านเป็นผู้สูงสุดด้วยปัญญา ในบรรดาสาวกทั้งหลาย

แต่ทำเช่นกับคนเขลา คือทำที่เหมือนคนโง่ เพราะแสดงทำคนดุจคนที่ไม่

รู้อะไร เพราะท่านเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยยิ่งนัก เป็นผู้ดับ คือเป็น

ผู้เย็นสนิท เพราะไม่มีความทุกข์ร้อนคือกิเลส เที่ยวไปในกาลทุกเมื่อ คือ

อยู่เป็นนิตย์.

คาถาว่า ปริจิณฺโณ นี้ พระเถระเมื่อจะประกาศถึงกิจที่ตนได้ทำไว้

จึงได้กล่าวถึงคาถานั้น ก็มีเนื้อความดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล.

ก็คาถาว่า สมฺปาเทถปฺปมาเทน นี้ พระเถระก็กล่าวไว้ โดยมุ่งที่

ที่จะให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายผู้พากันมาประชุม ในเวลาที่ตนจะปริ-

นิพพาน, ถึงคาถานั้น ก็มีเนื้อความดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาสาริปุตตเถรคาถาที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 300

๓. อานันทเถรคาถา

ว่าด้วยความเป็นผู้ทรงธรรม

[๓๙๗] บัณฑิต ไม่ควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนที่ชอบ

ส่อเสียด มักโกรธ ตระหนี่ และผู้ปรารถนาให้ผู้อื่นพินาศ

เพราะการสมาคมกับคนชั่ว เป็นความลามก แต่บัณฑิต

ควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนผู้มีศรัทธา มีศีลน่ารัก

มีปัญญา และเป็นคนได้สดับเล่าเรียนมามาก เพราะการ

สมาคมกับคนดี ย่อมมีแต่ความเจริญอย่างเดียว เชิญดู

ร่างกายอันมีกระดูก ๓๐๐ ท่อน ซึ่งมีเอ็นใหญ่น้อยผูกขึ้น

เป็นโครงตั้งไว้ อันบุญกรรมตบแต่งให้วิจิตร มีแผลทั่ว

ทุกแห่ง กระสับกระส่าย คนโง่เขลาพากันดำริเป็นอันมาก

ไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น พระอานนทเถระผู้โคดมโคตร เป็น

ผู้ได้สดับมามาก มีถ้อยคำไพเราะ เป็นผู้อุปัฏฐากพระ-

พุทธเจ้า ปลงภาระลงแล้ว บรรลุอรหัต สำเร็จการนอน

พระอานนทเถระสิ้นอาสวะแล้ว ปราศจากกิเลสเครื่อง

เกาะเกี่ยวแล้ว ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องแล้ว ดับสนิท

ถึงฝั่งแห่งชาติและชรา ทรงไว้แต่ร่างกายอันมีในที่สุด

ธรรมทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง

พระอาทิตย์ ตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด บุคคลนั้นคือ พระ-

อานนทเถระผู้โคตมะ ชื่อว่าย่อมตั้งอยู่ในมรรคเป็นทาง

ไปสู่นิพพาน พระอานนทเถระได้เรียนธรรมจากพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 301

พุทธเจ้ามา ๘๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ ได้เรียนมาจากสำนักภิกษุ

มีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้น ๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ จึงรวมเป็น

ธรรมที่คล่องปากขึ้นใจ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ คนที่เป็นชาย

มีการศึกษาเล่าเรียนมาน้อย ย่อมแก่เปล่า เหมือนกับโค

ที่มีกำลังแต่เขาไม่ได้ใช้งานฉะนั้น เนื้อย่อมเจริญแก่เขา

ปัญญาไม่เจริญแก่เขา ผู้ใดเล่าเรียนมามาก ดูหมิ่นผู้

ที่ศึกษาเล่าเรียนมาน้อยด้วยการสดับ แต่เขาไม่ได้ปฏิบัติ

ตามที่เล่าเรียนมา ย่อมปรากฏแก่เรา เหมือนคนตาบอด

ถือดวงไฟไปฉะนั้น บุคคลควรเข้าไปนั่งใกล้ผู้ที่ศึกษามา

มาก แต่ไม่ควรทำสุตะที่ตนได้มาให้พินาศ เพราะสุตะ

ที่ตนได้มานั้น เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น

จึงควรเป็นผู้ทรงธรรม บุคคลผู้รู้อักษรทั้งเบื้องต้นและ

เบื้องปลาย รู้อรรถแห่งภาษิต ฉลาดในนิรุตติและบท

ย่อมเล่าเรียนธรรม ให้เป็นการเล่าเรียนดี และพิจารณา

เนื้อความ เป็นผู้กระทำความพอใจด้วยความอดทน

พยายามพิจารณา ดังความเพียร ในเวลาพยายามมีจิต

ตั้งมั่นด้วยดีในภายใน บุคคลควรคบหาท่านผู้เป็นพหูสูต

ทรงธรรม มีปัญญา เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า หวัง

การรู้แจ้งธรรมเช่นนั้นเถิด บุคคลผู้เป็นพหูสูตทรงธรรม

แห่งพระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นดวงตา

ของโลกทั่วไป ผู้ที่เป็นพหูสูตนั้น เป็นผู้อันมหาชนควรบูชา

ภิกษุมีธรรมเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 302

ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่เสื่อมไปจากสัพธรรม เมื่อกายและ

ชีวิตของตนเสื่อมไป ภิกษุผู้หนักในความตระหนี่กาย ติด

อยู่ด้วยควานสุขทางร่างกาย ไม่ขวนขวายบำเพ็ญเพียร

ความผาสุกทางสมณะจักมีแต่ที่ไหน ทิศทั้งหมดไม่ปรากฏ

ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้ง ในเมื่อท่านธรรมเสนาบดีผู้

เป็นกัลยาณมิตร นิพพานแล้ว โลกทั้งหมดนี้ปรากฏ

เหมือนความมืดมน กายคตาสติย่อมนำมาซึ่งประโยชน์

โดยส่วนเดียวฉันใด กัลยาณมิตรเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่

ภิกษุผู้มีสหายล่วงลับไปแล้ว มีพระศาสดานิพพานไปแล้ว

ฉันนั้น มิตรเก่าพากันล่วงลับไปแล้ว จิตของเราไม่สมาคม

ด้วยมิตรใหม่ วันนี้เราจะเพ่งฌานอยู่ผู้เดียว เหมือนกับ

นกที่อยู่ในรังในฤดูฝนฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระอานนท์ด้วยพระคาถา ๑ พระคาถา ความว่า

เธออย่าห้ามประชาชนเป็นอันมาก ที่พากันมาแต่

ต่างประเทศ ในเมื่อล่วงเวลาเฝ้า เพราะประชุมชนเหล่า

นั้นเป็นผู้มุ่งจะฟังธรรม จงเข้ามาหาเราได้ เวลานี้เป็น

เวลาที่จะเห็นเรา.

พระอานนทเถระจึงกล่าวเป็นคาถาต่อไปว่า

พระศาสดาผู้มีจักษุ ทรงประทานโอกาสให้ประชุม

ชนที่พากันมาแต่ต่างประเทศ ในเมื่อล่วงเวลาเฝ้า ไม่

ทรงห้าม เมื่อเรายังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ๒๕ ปี กาม-

สัญญาไม่เกิดขึ้นเลย เชิญดูความที่ธรรมเป็นธรรมดี เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 303

เรายังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ๒๕ ปี โทสสัญญาไม่เกิดขึ้น

เลย เชิญดูความที่ธรรมเป็นธรรมดี เราได้อุปัฏฐากพระ-

ผู้มีภาคเจ้าด้วยเมตตากายกรรม เหมือนพระฉายาติดตาม

พระองค์อยู่ ๒๕ ปี เราอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

เมตตาวจีกรรม เหมือนพระฉายาติดตามพระองค์อยู่ ๒๕

ปี เราอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเมคตามโนกรรม

เหมือนพระฉายาติดตามพระองค์อยู่ ๒๕ ปี เมื่อพระ-

พุทธองค์เสด็จดำเนินไป เราก็ได้เดินตามไปเบื้องพระ-

ปฤษฎางค์ของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่

ญาณเกิดขึ้นแก่เรา เป็นผู้มีกิจที่จะต้องทำ ยังเป็นพระ-

เสขะยังไม่บรรลุอรหัต พระศาสดาพระองค์ใดเป็นผู้ทรง

อนุเคราะห์เรา พระศาสดาพระองค์นั้น ได้เสด็จ

ปรินิพพานไปเสียก่อนแล้ว เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผู้ถือความเป็นผู้ประเสริฐโดยอาการทั้งปวง เสด็จปรินิพ-

พานแล้ว ครั้งนั้น ได้เกิดมีความหวาดเสียวและได้เกิด

ขนพองสยองเกล้า.

พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะสรรเสริญพระอานนทเถระ ได้รจนาคาถา ๓ คาถา

ความว่า

พระอานนท์เถระเป็นพหูสูต ทรงธรรม เป็นผู้รักษา

คลังพระธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาพระคุณอัน

ยิ่งใหญ่ เป็นดวงตาของโลกทั่วไป ปรินิพพานไปเสียแล้ว

พระอานนทเถระเป็นพหูสูต ทรงธรรม เป็นผู้รักษาคลัง

พระธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 304

เป็นดวงตาของชาวโลกทั่วไป เป็นผู้กำจัดความมืดมนที่

เป็นเหตุทำให้เป็นดังคนตาบอดได้แล้ว พระอานนทเถระ

เป็นผู้มีคติ มีสติ และธิติ เป็นผู้แสวงคุณ เป็นผู้ทรงจำ

พระสัทธรรมไว้ได้ เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ.

พระอานนท์เถระ ก่อนแต่นิพพานได้กล่าวคาถา ความว่า

เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดา เราทำคำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระหนักลงแล้ว ถอน

ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว.

จบอานันทเถรคาถาที่ ๓

รวมพระเถระ

พระเถระ ๓ รูปนี้ คือ พระปุสสเถระ ๑ พระสารีบุตรเถระ ๑

พระอานนทเถระ ๑ ท่านนิพนธ์คาถาไว้ในติงสนิบาตนั้น รวม ๑๐๕ คาถา

ฉะนั้นแล.

จบติงสนิบาต

อรรถกถาอานันทเถรคาถา

คาถาของท่านพระอานนทเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปิสุเณน จ โกธเนน

ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ท่านพระอานนทเถระแม้นี้ เป็นผู้ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว ในพระ-

พุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า

ปทุมุตตระ บังเกิดเป็นพี่ชายต่างมารดา แห่งพระศาสดา ในหังสวดีนคร,

ท่านได้มีชื่อว่า สุมนะ ส่วนพระบิดาของท่าน ได้มีพระนามว่า พระเจ้า

อานันทะ. เมื่อสุมนกุมาร ผู้เป็นพระราชโอรสของตน เจริญวัยแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 305

พระองค์ได้ทรงพระราชทานเนื้อที่ให้ครอบครองพระนคร ประมาณได้

๑๒๐ โยชน์ แห่งกรุงหังสวดี. พระราชกุมารนั้นบางคราวก็เสด็จมาเฝ้า

พระศาสดา และพระราชบิดา. ในกาลนั้น พระราชาทรงบำรุงพระศาสดา

และพระภิกษุสงฆ์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ด้วยพระองค์เอง. ไม่ยอมให้

คนเหล่าอื่นบำรุงบ้าง.

สมัยนั้น ปัจจันตชนบท ได้มีการจลาจลขึ้น. พระราชกุมาร ไม่

ยอมกราบบังคมทูลให้พระราชาได้ทรงทราบว่า ปัจจันตชนบทเกิดมีการ

จลาจล พระองค์เท่านั้น จัดการปราบจลาจลนั้นเสียจนสงบ. พระราชา

ทรงทราบเหตุการณ์นั้นแล้ว ทรงเบิกบานพระทัยยิ่งนัก รับสั่งเรียกหา

พระราชโอรสมาแล้วตรัสว่า ลูกเอ๋ย พ่อจะให้พรแก่เจ้า เจ้าจงรับพรนะ.

พระราชกุมารกราบบังคมทูลว่า หม่อมฉัน ต้องการจะใช้ชีวิตทำการบำรุง

พระศาสดา และภิกษุสงฆ์ให้ตลอด ๓ เดือน. พระราชาตรัสว่า พรนั้น

เจ้าไม่อาจจะทำ, จงกล่าวขออย่างอื่นเถิด. พระราชกุมาร กราบทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดาพระมหากษัตริย์ทั้งหลายไม่ตรัสถ้อยคำเป็น

สอง. ขอจงพระราชทานพรนั้นแก่หม่อมฉันเถิด, หม่อมฉันไม่ต้องการ

สิ่งอื่น. พระราชาตรัสว่า ถ้าพระศาสดา ทรงอนุญาต, ก็จงให้ทาน

ตามสบายเถิด. พระราชกุมารนั้นเสด็จไปยังพระวิหาร เพื่อประสงค์ว่า

เราจักรู้ความคิดของพระศาสดา. ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

ทำภัตกิจเสร็จสิ้นแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฎี, พระราชกุมารนั้น

จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้ว ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เรามาเพื่อเข้า

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า, ขอท่านจงชี้พระผู้มีพระภาคเจ้าแก่เราเถิด. ภิกษุ

ทั้งหลายกล่าวว่า พระเถระชื่อว่า สุมนะเป็นอุปัฏฐาก, จงไปยังสำนัก

ของพระเถระนั้นเถอะ. พระราชกุมารนั้น เข้าไปหาพระเถระแล้ว ถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 306

บังคมแล้วตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงแสดงพระศาสดาแก่เราเถิด.

ลำดับนั้น พระเถระเมื่อพระราชกุมารนั้นเห็นอยู่นั่นแหละ จึงดำลงดิน

ไปแล้ว เข้าเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชบุตร

จะมาเฝ้าพระองค์. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้ปูลาด

อาสนะไว้ข้างนอก. พระเถระ ทั้งที่พระกุมารนั้นเห็นอยู่นั่นแหละ รับ

พุทธอาสน์แล้ว ดำลงภายในพระคันธกุฎีแล้ว ปรากฏภายนอกบริเวณ

ให้ปูลาดอาสนะไว้บริเวณพระคันธกุฎี. พระกุมารเห็นเหตุนั้นแล้วเกิด

ความคิดขึ้นว่า พระเถระนี้สำคัญยิ่งนัก.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากพระคันธกุฎีแล้ว ประทับ

นั่งบนอาสนะที่พระเถระปูลาดแล้ว. พระราชบุตรถวายบังคมพระศาสดา

แล้ว ทำปฏิสันถารแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระรูปนี้

เห็นทีจะมีความคุ้นเคยในพระศาสนาของพระองค์. พระศาสดาตรัสว่า

ใช่แล้วกุมาร เป็นผู้มีความคุ้นเคย. พระราชกุมารตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ภิกษุนี้ทำอย่างไรจึงมีความคุ้นเคย. พระศาสดาตรัสว่า กระทำบุญ

ทั้งหลาย มีทานเป็นต้นไว้. พระราชกุมารตรัสว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

แม้ข้าพระองค์จงเป็นผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธศาสนา ในอนาคต-

กาลเหมือนพระเถระรูปนี้เถิด แล้วถวายภัตตามขอบเขตกำหนดตลอด

๗ วันแล้ว ในวันที่ ๗ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

ได้วาระบำรุงพระองค์ตลอด ๓ เดือน จากสำนักพระบิดาของข้าพระองค์

ขอพระองค์ทรงยับยั้งอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน เพื่อข้าพระองค์เถิด,

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาว่า ประโยชน์ในการไปในที่นั้น จะมี

หรือไม่หนอ ทรงเห็นว่ามี จึงตรัสว่า กุมาร พระตถาคตทั้งหลาย ย่อม

ยินดียิ่ง ในเรือนว่างเปล่าแล. พระกุมารตรัสว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 307

ข้าพระองค์ทราบพระดำรัสแล้ว, ข้าแต่พระสุคตเจ้า ข้าพระองค์ทราบ

พระดำรัสแล้ว, ดังนี้แล้ว ให้พระพุทธเจ้ารับปฏิญญาว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไปถึงแล้ว ก่อนอื่นจะให้คนสร้างวิหาร, เมื่อข้าพระองค์

ส่งข่าวสาสน์แล้ว ขอพระองค์จงเสด็จมาพร้อมกับภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป

ดังนี้แล้ว ไปเฝ้าพระราชบิดาแล้ว ถวายบังคมพระราชบิดา ด้วยพระ-

ดำรัสว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้ปฏิญญาแก่

ข้าพระองค์แล้ว, เมื่อข้าพระองค์ส่งข่าวสาสน์ไปแล้ว พึงได้พบพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเป็นแน่ ดังนี้แล้วจึงออกไป เมื่อจะสร้างวิหารในเนื้อที่ทุก ๆ

โยชน์ เสด็จไปสู่หนทางไกลถึง ๑๒๐ โยชน์. ก็ครั้นเสด็จไปแล้ว พิจารณา

ถึงสถานที่สร้างวิหารในพระนครของพระองค์ เห็นอุทยานของโสภณ-

กุฎุมพี จึงซื้อด้วยทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ แล้วสละทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ ให้สร้าง

วิหาร. ครั้นให้สร้างพระคันธกุฎีสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า และให้สร้าง

กุฎีที่เร้นและมณฑป เพื่อเป็นที่พักกลางคืนและกลางวันสำหรับหมู่ภิกษุ

ที่เหลือในที่นั้นแล้ว ให้ตั้งกำแพงล้อมรอบ และซุ้มประตูแล้ว จึงส่ง

สาสน์ไปยังสำนักพระราชบิดาว่า การงานของข้าพระองค์เสร็จแล้ว, ขอ

พระองค์ จงส่งสาสน์ไปยังพระศาสดา.

พระราชาทรงนิมนต์ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว กราบทูล

ว่า ข้าแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า การงานของสุมนะ สำเร็จแล้ว, บัดนี้ หวังการ

เสด็จไปของพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป แวดล้อม

แล้ว ได้เสด็จไปประทับอยู่ในวิหารทุก ๆ โยชน์. พระกุมารทรงทราบว่า

พระศาสดาจะเสด็จมา จึงเสด็จไปต้อนรับในที่โยชน์หนึ่ง นำเอาของหอม

และดอกไม้เป็นต้นบูชา นิมนต์ให้เสด็จเข้าไปยังวิหารที่สร้างด้วยทรัพย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 308

๑๐๐,๐๐๐ ในอุทยานชื่อว่า โสภณะ ที่ซื้อด้วยทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ แล้ว

มอบถวายวิหารนั้น ด้วยพระดำรัสว่า:-

ข้าแต่พระมหามุนีเจ้า ขอพระองค์จงทรงรับอุทยาน

ชื่อโสภณะ ที่ข้าพระองค์ซื้อด้วยทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ แล้ว

สร้างด้วยทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ เถิด.

ในวันเข้าพรรษา พระกุมารนั้น ยังมหาทานให้เป็นไปแล้ว มอบหมาย

หน้าที่การงานให้บุตรและภรรยา อีกทั้งพวกอำมาตย์ ด้วยพระดำรัสว่า

พวกท่านพึงให้ทาน โดยทำนองนี้แหละ แล้วพระองค์เองก็อยู่ในที่ใกล้

สถานที่อยู่ของพระสุมนเถระนั่นแล ทำการบำรุงพระศาสดาตลอด ๓ เดือน

เมื่อใกล้ถึงวันปวารณา จึงเข้าไปสู่บ้านแล้ว ยังมหาทานให้เป็นไปตลอด

๗ วัน ในวันที่ ๗ จึงจัดวางผ้าไตรจีวรทั้งหลาย ที่แทบพระบาทพระ-

ศาสดาและภิกษุสงฆ์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ รูปแล้ว ถวายบังคม ตั้งปณิธาน

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ทำบุญมาตั้งแต่การให้ทานตามเขต

กำหนดตลอด ๗ วัน ข้อผลบุญอันนั้น อย่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ แก่

สวรรค์สมบัติเป็นต้นเลย โดยที่แท้ขอให้ข้าพระองค์พึงได้เป็นอุปัฏฐากของ

พระพุทธเจ้าสักองค์หนึ่งในอนาคตกาล เหมือนพระสุมนเถระรูปนี้เถิด.

แม้พระศาสดา ก็ทรงเห็นว่า ความปรารถนาของพระกุมารนั้นหาอันตราย

มิได้ จึงตรัสพยากรณ์แล้วเสด็จหลีกไป.

แม้พระราชกุมารนั้น ทรงบำเพ็ญบุญมากมาย ตลอด ๑๐๐,๐๐๐ ปี

ในพุทธุปบาทกาลนั้นแล้ว แม้ที่ยิ่งไปกว่านั้น ก็ทรงสะสมบุญกรรมอัน

โอฬารในภพนั้น ๆ แล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในกาล

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ ได้ถวายผ้าอุตตรสาฎก

เพื่อเป็นถลกบาตรแก่พระเถระรูปหนึ่ง ผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ แล้วได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 309

ทรงทำการบูชา. บังเกิดในสวรรค์อีกครั้งแล้ว จุติจากสวรรค์นั้น ไปเกิดเป็น

พระเจ้าพาราณสี ทรงพบพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์ นิมนต์ให้พระปัจเจก-

พุทธเจ้าเหล่านั้น บริโภคแล้ว ให้ช่างสร้างบรรณศาลา ๘ หลัง ใน

มงคลอุทยานของตนแล้ว ให้ตบแต่งตั้งที่สำเร็จล้วนด้วยรัตนะ และที่รอง

เป็นแก้วมณี ๘ ที่ เพื่อเป็นที่นั่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้ทำ

การบำรุงตลอด ๑๐,๐๐๐ ปี. สถานที่เหล่านั้น ยังปรากฏอยู่.

ก็เมื่อพระราชาทรงบำเพ็ญบุญเป็นอันมาก ในภพนั้นๆ ตลอดแสนกัป

จึงได้บังเกิดในดุสิตบุรี พร้อมกับพระโพธิสัตว์ของพวกเรา จุติจากดุสิต

นั้นแล้ว บังเกิดในวังของอมิโตทนะศากยวงศ์ ได้มีพระนามว่า อานนท์

เพราะท่านเกิดแล้ว ทำให้หมู่ญาติทั้งหมดได้รับความยินดีเพลิดเพลิน.

ท่านเจริญวัยโดยลำดับแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกอภิเนษกรมณ์

แล้วบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวรให้

เป็นไป แล้วเสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ครั้งแรก เสด็จออกจากกรุงนั้น

(ท่านอานนท์) ออกไปพร้อมกับเจ้าภัททิยะเป็นต้น ออกไปเพื่อบวชเป็น

บริวารของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บวชแล้วในสำนักของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ต่อกาลไม่นานนัก ได้ฟังธรรมกถาในสำนักของท่าน

พระปุณณมันตาณีบุตรแล้วดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.

ก็สมัยนั้น ตลอดเวลา ๒๐ ปี ในปฐมโพธิกาล ไม่มีอุปัฏฐาก

ประจำสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า. บางคราว พระนาคสมาละ ก็รับบาตร

และจีวร ตามเสด็จไป, บางคราว พระนาคิตะ, บางคราว พระอุปวานะ,

บางคราว พระสุนักขัตตะ, บางคราว พระจุนทสมณุทเทส, บางคราว

พระสาคตะ, บางคราว พระเมฆิยะ, โดยมาก ท่านเหล่านั้นมิได้ทำจิต

ของพระศาสดาให้ยินดีโปรดปรานเลย. ครั้นวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 310

มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ ที่เขาปูลาดไว้ ที่บริเวณ

พระคันธกุฎีแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้เราเป็นคนแก่, ภิกษุบางพวก เมื่อเรากล่าวว่า เราจะไป

ทางนี้ บัดนี้ ก็กลับไปทางอื่นเสีย. ภิกษุบางพวก วางบาตรและจีวร

ของเราไว้ที่ภาคพื้น, พวกเธอจงรู้ภิกษุผู้จะอุปัฏฐากเราเป็นประจำ. เพราะ

ได้ฟังพระดำรัสนั้น ธรรมสังเวชเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย. ลำดับนั้น

ท่านพระสารีบุตรลุกขึ้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอุปัฏฐากบำรุงพระองค์. พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ตรัสห้ามท่านพระสารีบุตร. พระมหาสาวกทั้งหมด เริ่มต้น

แต่พระมหาโมคคัลลานะไป เว้นท่านพระอานนท์เสีย พากันลุกขึ้นกราบ

ทูลโดยอุบายนั้นว่า ข้าพระองค์ จักอุปัฏฐาก, ข้าพระองค์ จักอุปัฏฐาก

ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสห้ามพระสาวกแม้เหล่านั้นเสีย. ส่วน

พระอานนท์นั้น ได้นั่งนิ่งแล้วทีเดียว. ลำดับนั้น พวกภิกษุ กล่าวกะท่าน

พระอานนท์นั้นว่า ผู้มีอายุ แม้ท่านก็จงทูลขอตำแหน่งการอุปัฏฐาก

ประจำพระศาสดาเถิด. พระ.อานนท์กล่าวว่า ถ้าทูลขอได้ตำแหน่งมาแล้ว

จะเป็นเช่นไร. ถ้าชอบใจ, พระศาสดา ก็จักตรัสเอง. ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าอื่น จะพึง

ให้อานนท์อุตสาหะขึ้นไม่ได้, ตนเองเท่านั้น ทราบแล้ว จักอุปัฏฐาก.

เรา, ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย พากันกล่าวว่า อานนท์ผู้มีอายุ เธอจง

ลุกขึ้น จงทูลขอตำแหน่งอุปัฏฐากกะพระศาสดาเถิด.

พระเถระลุกขึ้นแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จักไม่ให้จีวรอันประณีต ที่พระองค์ได้แล้ว แก่ข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 311

จักไม่ให้บิณฑบาตอันประณีต, จักไม่ให้เพื่ออยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกัน,

รับนิมนต์แล้ว จักไม่ไป, ข้าพระองค์จักอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าเอง.

พระอานนท์ ได้เป็นผู้อุปัฏฐากประจำ รับพร ๘ ประการ คือ ข้อห้าม

๔ ประการเหล่านี้ เพื่อปลดเปลื้องคำติเตียนว่า เมื่อพระศาสดาได้รับคุณ

มีประมาณเท่านี้, ภาระอะไร ในการที่จะอุปัฏฐาก, พระอานนท์กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จักเสด็จไป ยังที่นิมนต์ที่

ข้าพระองค์รับแล้ว, ถ้าเมื่อมีคนพากันมาจากที่ไกล ข้าพระองค์จักได้เพื่อ

เข้าเฝ้าในทันทีทีเดียว. เมื่อข้าพระองค์เกิดความสงสัยขึ้น จักได้เพื่อเข้าเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทันทีทีเดียว, ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรงแสดง

ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้วลับหลัง แก่ข้าพระองค์ซ้ำอีก ข้าพระองค์จัก

อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าทันที การทูลขอพร ๔ ประการเหล่านี้ เพื่อปลด

เปลื้องคำติเตียนพระอานนท์ ย่อมไม่ได้การอนุเคราะห์ในสำนักของพระ-

ศาสดา แม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล. และเพื่อบำเพ็ญบารมีความเป็น

ธรรมภัณฑาคาริกให้บริบูรณ์ว่า พระอานนท์บรรลุผลแห่งบารมีที่บำเพ็ญ

มาตลอดแสนกัป ก็เพื่อประโยชน์แก่ตำแหน่งนั้นนั่นแหละแล้ว, ท่านตั้งแต่

วันที่ได้ตำแหน่งอุปัฏฐากแล้ว เมื่อจะอุปัฏฐากพระทศพล ด้วยกิจทั้งหลาย

เป็นต้นอย่างนี้ว่า ด้วยน้ำ ๒ ชนิด, ด้วยไม้สีฟัน ๓ ชนิด, ด้วยการ

บริกรรมมือและเท้า, ด้วยการบริกรรมหลัง, ด้วยการปัดกวาดบริเวณ

พระคันธกุฎี ดังนี้ ก็ทราบว่า เวลานี้พระศาสดาควรจะได้สิ่งนี้, และ

ควรจะทำสิ่งนี้ถวาย ดังนี้ เป็นผู้เฝ้าสำนักตลอดกลางวัน ในเวลากลางคืน

ก็ตามประทีปใหญ่ไว้ คอยรักษาเหตุการณ์บริเวณพระคันธกุฎี ๙ ครั้ง

เมื่อพระศาสดาตรัสเรียก ก็รีบถวายคำตอบ เพื่อบรรเทาถีนมิทธนิวรณ์เสีย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 312

ลำดับนั้น พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระอริยสงฆ์ใน

พระเชตวันแล้ว ทรงสรรเสริญท่านพระอานนท์ โดยอเนกปริยายแล้ว

ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นพหูสูต ผู้มีสติ ผู้มีคติ

ผู้มีธิติ และผู้อุปัฏฐาก. พระอานนท์ ได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งเอตทัคคะ

ในฐานะ ๕ ประการจากพระศาสดาอย่างนี้แล้ว ประกอบด้วยอัจฉริย-

อัพภูตธรรม ๔ ประการ เป็นผู้รักษาคลังพระธรรมของพระศาสดา พระ-

มหาเถระรูปนี้ ถึงจะยังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ก็ตาม แต่เมื่อพระศาสดา

ปรินิพพานแล้ว ภายหลังถูกหมู่ภิกษุกระตุ้นให้อาจหาญแล้ว และถูก

เทวดาทำให้เกิดสังเวชแล้ว โดยนัยดังที่กล่าวมาแล้ว จึงได้เกิดความ

อุตสาหะขึ้นว่า ก็กาลพรุ่งนี้แล้วซิหนอ พระมหาเถระทั้งหลาย จะทำการ

ร้อยกรองพระธรรมวินัยกัน, ข้อที่เราเป็นพระเสขบุคคล เป็นผู้มีกิจที่

จะต้องทำ จะเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อร้อยกรองพระธรรมวินัยร่วมกับพระเถระ

อเสขบุคคลทั้งหลาย ไม่สมควรแก่เราเลยหนอ ดังนี้ จึงเริ่มเจริญวิปัสสนา

บำเพ็ญวิปัสสนาทั้งกลางวันและคืน ไม่ได้ความเพียรที่สม่ำเสมอในการเดิน

จงกรม จึงไปสู่วิหาร นั่งบนที่นอน ประสงค์จะนอนพักผ่อน จึงเอนกายลง.

ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน เท้าทั้งสองข้างเพียงพ้นจากพื้น ในระหว่างนั้น

จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น เป็นผู้ได้อภิญญา ๖.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า:-

พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ เสด็จออกจาก

ประตูพระอารามแล้ว ทรงยังเมล็ดฝนอมฤตให้ตกอยู่ ยัง

มหาชนให้เย็นสบาย พระขีณาสพผู้เป็นนักปราชญ์

เหล่านั้นประมาณตั้งแสน ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก

๑. ขุ. อุ. ๓๒/ข้อ ๑๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 313

แวดล้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดุจพระฉายาตามพระองค์

ฉะนั้น เวลานั้น เราอยู่บนคอช้าง ทรงไว้ซึ่งฉัตรขาว

อันประเสริฐสุด ปีติย่อมเกิดแก่เราเพราะได้เห็นพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีรูปงาม เราลงจากคอช้างแล้ว เข้า

ไปเฝ้าพระนราสภ ได้กั้นฉัตรแก้วของเราถวายแด่

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระมหาฤาษีพระนามว่า

ปทุมุตตระ ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ทรงหยุด

กถานั้นไว้ แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดได้กั้นฉัตร

อันประดับด้วยเครื่องอลังการทอง เราจักพยากรณ์ผู้นั้น

ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว สัตว์ผู้นี้ไปจากมนุษยโลกนี้

จักครอบครองดุสิต จักเสวยสมบัติมีนางอัปสรทั้งหลาย

แวดล้อม จักเสวยเทวราชสมบัติ ๓๔ ครั้ง จักเป็นอธิบดี

แห่งชน ครอบครองแผ่นดิน ๘๐๐ ครั้ง จักเป็นพระเจ้า

จักรพรรดิ ๕๘ ครั้ง จักเสวยราชสมบัติในประเทศราช

อันไพบูลย์ในแผ่นดิน ในแสนกัปพระศาสดาพระนามว่า

โคดมโดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช

จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้จักเป็นโอรสแห่งพระญาติของ

พระพุทธเจ้าผู้เป็นธงชัยแห่งสกุลศากยะ จักเป็นพุทธ-

อุปัฏฐาก มีชื่อว่า อานนท์ จักมีความเพียร ประกอบ

ด้วยปัญญา ฉลาดในพาหุสัจจะ มีความประพฤติอ่อนน้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 314

ไม่กระด้าง ชำนาญในบาลีทั้งปวง พระอานนท์นั้นมีตน

ส่งไปแล้วเพื่อความเพียร สงบระงับไม่มีอุปธิ จักกำหนด

รู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะนิพพาน มีช้างกุญชร

อยู่ในป่า อายุ ๖๐ ปี ตกมันสามครั้ง เกิดในตระกูลช้าง

มาตังคะ มีงางอนงาม ควรเป็นราชพาหนะฉันใด แม้

บัณฑิตทั้งหลายก็ฉันนั้น ประมาณได้หลายแสนมีฤทธิ์มาก

ทั้งหมดนั้น ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นผู้ไม่มีกิเลส

เราจักนมัสการทั้งยามต้น ในยามกลาง และในยามสุด

เรามีจิตผ่องใส ปลื้มใจ บำรุงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

เรามีความเพียร ประกอบด้วยปัญญา มีสติสัมปชัญญะ

บรรลุโสดาปัตติผล ฉลาดในเสขภูมิ ในแสนกัปแต่กัปนี้

เราก่อสร้างกรรมใด เราบรรลุถึงภูมิแห่งกรรมนั้นแล้ว

ศรัทธาตั้งมั่นแล้วมีผลมาก การมาในสำนักพระพุทธเจ้า

ผู้ประเสริฐสุดของเรา เป็นการมาดีหนอ...ฯ ล ฯ...พระ-

พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ก็ท่านพระอานนท์ เป็นผู้ได้อภิญญา ๖ เข้าไปสู่มณฑปสำหรับ

สังคายนา เมื่อจะสังคายนาพระธรรม จึงทำการแยกกล่าวคาถาภาษิตไว้

แผนกหนึ่ง ด้วยมุ่งที่จะให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายในที่นั้น ๆ และมุ่งที่จะ

ประกาศข้อปฏิบัติของตนเป็นต้น ในเวลาที่จะทำการสังคายนาขุททกนิกาย

ตามลำดับ เมื่อจะยกขึ้นสู่สังคายนา ในเถรคาถา จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 315

บัณฑิต ไม่ควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนที่ชอบ

ส่อเสียด มักโกรธ ตระหนี่ และผู้ปรารถนาให้ผู้อื่น

พินาศ เพราะการสมาคมกับคนชั่ว เป็นความลามก แต่

บัณฑิตควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนผู้มีศรัทธา มี

ศีลน่ารัก มีปัญญา และเป็นคนได้สดับเล่าเรียนมามาก

เพราะการสมาคมกับคนดี ย่อมมีแต่ความเจริญอย่าง

เดียว เชิญดูร่างกายอันมีกระดูก ๓๐๐ ท่อน ซึ่งมีเอ็น

ใหญ่น้อยผูกขึ้นเป็นโครงตั้งไว้ อันบุญกรรมตบแต่งให้

วิจิตร มีแผลทั่วทุกแห่ง กระสับกระส่าย คนโง่เขลา

พากันดำริเป็นอันมาก ไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น พระ-

อานนทเถระผู้โคดมโดยโคตร เป็นผู้ได้สดับมามาก มี

ถ้อยคำไพเราะ เป็นผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ปลงภาระลง

แล้ว บรรลุอรหัต สำเร็จการนอน พระอานนทเถระสิ้น

อาสวะแล้ว ปราศจากกิเลสเครื่องเกาะเกี่ยวแล้ว ล่วง

ธรรมเป็นเครื่องข้องแล้ว ดับสนิท ถึงฝั่งแห่งชาติและ

ชรา ทรงไว้แต่ร่างกายอันมีในที่สุด ธรรมทั้งหลายของ

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ตั้งอยู่แล้ว

ในบุคคลใด บุคคลนั้น คือพระอานนทเถระผู้โคตมะ

ชื่อว่าย่อมตั้งอยู่ในมรรค เป็นทางไปสู่นิพพาน พระ-

อานนทเถระได้เรียนธรรมจากพระพุทธเจ้ามา ๘๒,๐๐๐

ธรรมขันธ์ ได้เรียนมาจากสำนักภิกษุมีพระธรรมเสนาบดี

เป็นต้น ๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ จึงรวมเป็นธรรมที่คล่องปากขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 316

ใจ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ คนที่เป็นชายมีการศึกษาเล่าเรียน

มาน้อย ย่อมแก่เปล่า เหมือนกับโคที่มีกำลังแต่เขาไม่

ได้ใช้งานฉะนั้น เนื้อย่อมเจริญแก่เขา ปัญญาไม่เจริญ

แก่เขา ผู้ใดเล่าเรียนมามาก ดูหมิ่นผู้ที่ศึกษาเล่าเรียน

มาน้อยด้วยการสดับ แต่เขาไม่ปฏิบัติตามที่เล่าเรียนมา

ย่อมปรากฏแก่เรา เหมือนคนตาบอดถือดวงไฟไปฉะนั้น

บุคคลควรเข้าไปนั่งใกล้ผู้ที่ศึกษามามาก แต่ไม่ควรทำ

สุตะที่ตนได้มาให้พินาศ เพราะสุตะที่ตนได้มานั้น เป็น

เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น จึงควรเป็นผู้ทรง

ธรรม บุคคลผู้รู้อักษรทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย รู้อรรถ

แห่งภาษิต ฉลาดในนิรุตติและบท ย่อมเล่าเรียนธรรมให้

เป็นการเล่าเรียนดี และพิจารณาเนื้อความ เป็นผู้กระทำ

ความพอใจด้วยความอดทน พยายามพิจารณา ตั้งความ

เพียร ในเวลาพยายามมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในภายใน บุคคล

ควรคบหาท่านผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีปัญญา เป็น

สาวกของพระพุทธเจ้า หวังการรู้แจ้งธรรมเช่นนั้นเถิด

บุคคลผู้เป็นพหูสูตทรงธรรม เป็นผู้รักษาคลังพระธรรม

แห่งพระพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็น

ดวงตาของโลกทั่วไป ผู้ที่เป็นพหูสูตนั้น เป็นผู้อันมหาชน

ควรบูชา ภิกษุมีธรรมเป็นพหูสูตยินดี ยินดีแล้วในธรรม

ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่เสื่อมไปจากสัทธรรม

เมื่อกายและชีวิตของตนเสื่อมไป ภิกษุผู้หนักในความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 317

ตระหนี่กาย ติดอยู่ด้วยความสุขทางร่างกาย ไม่ขวนขวาย

บำเพ็ญเพียร ความผาสุกทางสมณะจักมีแต่ที่ไหน ทิศ

ทั้งหมดไม่ปรากฏ ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า

ในเมื่อท่านธรรมเสนาบดีผู้เป็นกัลยาณมิตรนิพพานแล้ว

โลกทั้งหมดนี้ปรากฏเหมือนความมืดมน กายคตาสติ

ย่อมนำมาซึ่งประโยชน์โดยส่วนเดียวฉันใด กัลยาณมิตร

เช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้มีสหายล่วงลับไปแล้ว มี

พระศาสดานิพพานไปแล้วฉันนั้น มิตรเก่าพากันล่วงลับ

ไปแล้ว จิตของเราไม่สมาคมด้วยมิตรใหม่ วันนี้เราจะ

เพ่งฌานอยู่ผู้เดียว เหมือนกับนกที่อยู่ในรัง ในฤดูฝน

ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระอานนท์ด้วยพระคาถา ๑ พระคาถา ความว่า

เธออย่าห้ามประชาชนเป็นอันมาก ที่พากันมาแต่

ต่างประเทศ ในเมื่อล่วงเวลาเฝ้า เพราะประชุมชน

เหล่านั้นเป็นผู้มุ่งจะฟังธรรม จงเข้ามาหาเราได้ เวลานี้

เป็นเวลาที่จะเห็นเรา.

พระอานนท์เถระจงกล่าวเป็นคาถาต่อไปว่า

พระศาสดาผู้มีจักษุ ทรงประทานโอกาสให้ประชุม

ชนที่พากันมาแต่ต่างประเทศ ในเมื่อล่วงเวลาเฝ้า ไม่

ทรงห้าม เมื่อเรายังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ๒๕ ปี กาม-

สัญญาไม่เกิดขึ้นเลย เชิญดูความที่ธรรมเป็นธรรมดี เมื่อ

เรายังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ๒๕ ปี โทสสัญญาไม่เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 318

ขึ้นเลย เชิญดูความที่ธรรมเป็นธรรมดี เราได้อุปัฏฐาก

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเมตตากายกรรม เหมือนพระ-

ฉายาติดตามพระองค์อยู่ ๒๕ ปี เราอุปัฏฐากพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าด้วยเมตตาวจีกรรม เหมือนพระฉายาติดตาม

พระองค์อยู่ ๒๕ ปี เราอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

เมตตามโนกรรม เหมือนพระฉายาติดตามพระองค์อยู่

๒๕ ปี เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดำเนินไป เราก็ได้เดิน

ตามไปเบื้องพระปฤษฎางค์ของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรง

แสดงธรรมอยู่ ฌานเกิดขึ้นแก่เรา เราเป็นผู้มีกิจที่จะต้อง

ทำ ยังเป็นพระเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัต พระศาสดา

พระองค์ใดเป็นผู้ทรงอนุเคราะห์เรา พระศาสดาพระองค์

นั้น ได้เสด็จปรินิพพานไปเสียก่อนแล้ว เมื่อพระสัมมา-

สัมพุทธะจ้าผู้ถือความเป็นผู้ประเสริฐโดยอาการทั้งปวง

เสด็จปรินิพพานแล้ว ครั้งนั้น ได้เกิดมีความหวาดเสียว

และได้เกิดขนพองสยองเกล้า.

พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะสรรเสริญพระอานนทเถระ ได้รจนาคาถา ๓ คาถา

ความว่า

พระอานนทเถระเป็นพหูสูต ทรงธรรม เป็นผู้รักษา

คลังพระธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาพระคุณ

อันยิ่งใหญ่ เป็นดวงตาของโลกทั่วไป ปรินิพพานไปเสีย

แล้ว พระอานนทเถระเป็นพหูสูต ทรงธรรม เป็นผู้รักษา

คลังพระธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 319

ใหญ่ เป็นดวงตาของชาวโลกทั่วไป เป็นผู้กำจัดความ

มืดมนที่เป็นเหตุทำให้เป็นดังคนตาบอดได้แล้ว พระ-

อานนทเถระเป็นผู้มีคติ มีสติ และธิติ เป็นผู้แสวงคุณ

เป็นผู้ทรงจำพระสัทธรรมไว้ได้ เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ.

พระอานนท์เถระ ก่อนแต่นิพพานได้กล่าวคาถา ความว่า

เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดา เราทำคำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระหนักลงแล้ว ถอน

ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น คาถา ๒ คาถาเริ่มต้นว่า ปิสุเณน จ ความว่า

บัณฑิตเป็นพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ผู้ทำการคลุกคลีกันกับพวกภิกษุฝ่ายพระ-

เทวทัตแล้ว กล่าวโดยมุ่งที่จะให้โอวาทแก่ภิกษุเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิสุเณน ได้แก่ ด้วยวาจาส่อเสียด.

จริงอยู่ บุคคลผู้ประกอบด้วยวาจานั้น ท่านเรียกว่า ปิสุณะ เพราะเปรียบ

เหมือนผ้าสีเขียวประกอบด้วยส่วนสีเขียว. บทว่า โกธเนน แปลว่า มี

ความโกรธเป็นปกติ. ชื่อว่าผู้ตระหนี่ เพราะมีความตระหนี่อันมีลักษณะ

ปกปิดสมบัติของตน.

บทว่า วิภูตนนฺทินา ความว่า ผู้ปรารถนาจะทำสมบัติที่ปรากฏชัด

ของปวงสัตว์ให้พินาศไป หรือผู้ปรารถนาจะให้สมบัติที่ปรากฏชัดนั้น

แยกเป็นแผนกจากกัน, คำทั้งหมดนั้น ท่านกล่าวประสงค์ถึงพวกภิกษุ

ฝ่ายพระเทวทัตเท่านั้น. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น ผู้ถูกความตระหนี่ครอบงำ

มีแต่ความตระหนี่กล้าแข็งเป็นต้น พากันทำลายเหล่าชนผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 320

ชอบเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะแสดงวัตถุ ๕ ประการ เพราะตนทำ

พระศาสดาไว้ภายนอก ดำเนินการเพื่อความพินาศแก่มหาชนเป็นอันมาก.

บทว่า สขิต ความว่า ไม่ควรทำตนให้เป็นสหาย คือให้มีความ

คลุกคลีกัน, เพราะเหตุไร ? เพราะการสมาคมกับคนชั่ว เป็นความ

ลามก คือการสมาคมกับคนชั่ว คือคนบาป เป็นความเลวทรามต่ำช้า.

จริงอยู่ คนที่เอาเยี่ยงอย่างคนพาลนั้น ก็มีแต่จะนำเอาลักษณะคนพาล

มีความคิดถึงเรื่องที่คิดแล้วชั่วเป็นต้น เป็นประเภทมาให้, จะป่วยกล่าว

ไปไย ถึงคนที่ทำตามคำพูดของคนพาลเหล่านั้นเล่า. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยบางอย่างที่จะเกิด

ขึ้น, ภัยเหล่านั้นทั้งหมด เกิดขึ้นเพราะคนพาล, มิใช่เกิดขึ้นเพราะ

บัณฑิตเลย ดังนี้เป็นต้น.

ก็เพื่อจะแสดงถึงบุคคล ที่บัณฑิตจะพึงทำความเกี่ยวข้องด้วย ท่าน

จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สทฺเธน จ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺเธน ความว่า ผู้ประกอบพร้อมด้วย

ความเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม และด้วยความเชื่อในพระรัตนตรัย.

บทว่า เปสเลน ได้แก่ มีศีลน่ารัก คือสมบูรณ์ด้วยศีล.

บทว่า ปญฺวตา ความว่า มีความสมบูรณ์ด้วยปัญญา ด้วยอำนาจ

ปัญญาเครื่องรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งความเกิดขึ้นและเสื่อมไป.

บทว่า พหุสฺสุเตน ความว่า ผู้ได้สดับเล่าเรียนมามาก เพราะ

บริบูรณ์ด้วยพาหุสัจจะจนถึงปริยัติและปฏิเวธ.

บทว่า ภทฺโท อธิบายว่า การเกี่ยวข้อง กับคนดีเช่นนั้น เป็นความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 321

เจริญ เป็นความดี เป็นความงาม ย่อมนำมาซึ่งประโยชน์อันต่างด้วย

ประโยชน์ในโลกนี้เป็นต้น.

คาถา ๗ คาถา มีคำเริ่มต้นว่า ปสฺส จิตฺตกต ดังนี้ ความว่า เมื่อ

นางอุตตราอุบาสิกาเกิดกามสัญญาขึ้น เพราะได้เห็นรูปสมบัติของท่าน

ท่านกล่าวคาถาไว้ก็เพื่อจะให้เกิดการตัดความพอใจในร่างกายได้. อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า เพื่อจะให้โอวาทแก่เหล่าภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน เพราะได้

เห็นนางอัมพปาลีคณิกา ดังนี้ก็มี. คาถานั้นมีเนื้อความตามที่ได้กล่าวไว้

แล้วในหนหลังนั่นแล.

คาถา ๒ คาถา มีคำเริ่มต้นว่า พหุสฺสุโต จิตฺตกถี พระเถระบรรลุ

พระอรหัตแล้ว กล่าวไว้ด้วยอำนาจอุทาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริจารโก คือเป็นผู้อุปัฏฐาก. คำว่า

เสยฺย กปฺเปติ นี้ ท่านกล่าวไว้ เพราะพระอานนท์นอนในลำดับต่อจาก

การบรรลุพระอรหัต. จริงอยู่ พระเถระยังราตรีเป็นอันมากให้ผ่าน

พ้นไปด้วยการจงกรมแล้ว จึงเข้าไปสู่ห้อง เพื่อจะให้ร่างกายเกิดความ

อบอุ่นแล้ว นั่งบนเตียงเพื่อจะนอน พอเท้าสองข้างพ้นจากพื้น แต่ศีรษะ

ยังไม่ทันถึงหมอน, ในทันทีนั้น ท่านก็บรรลุพระอรหัต แล้วจึงนอน.

บทว่า ขีณาสโว ความว่า ท่านสิ้นอาสวะทั้ง ๔ ได้แล้ว ต่อแต่

นั้นนั่นแหละ ท่านก็ปราศจากโยคะทั้ง ๔ ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องได้

แล้ว เพราะล่วงพ้นจากเครื่องข้องคือราคะเป็นต้นได้, เป็นผู้ดับสนิท คือ

เย็น เพราะสงบระงับความเร่าร้อนคือกิเลสได้สิ้นเชิง.

คาถาว่า ยสฺมึ ปติฏฺิตา ธมฺมา ท้าวมหาพรหมขีณาสพกล่าวไว้

เพราะมุ่งเจาะจงพระเถระ. จริงอยู่ เมื่อการทำสังคายนาพระธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 322

จวนใกล้เข้ามาแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่งย่อมฟุ้งไป

ด้วยกลิ่นหอมอบอวลดังนี้ เจาะจงพระเถระ. ลำดับนั้น เมื่อบรรลุพระ-

อรหัตแล้ว พระเถระจึงมายังประตูถ้ำสัตตบรรณคูหา เพื่อให้สงฆ์พร้อม

เพรียงกัน ท้าวมหาพรหมชั้นสุทธาวาส เมื่อจะให้ภิกษุเหล่านั้นละอาย

ด้วยการประกาศความเป็นพระขีณาสพของพระอานนท์ จึงกล่าวคาถาว่า

ยสฺมึ ปติฏฺิตา ธมฺมา ดังนี้เป็นต้น, ความแห่งคาถานั้นว่า :- ธรรม

ทั้งหลายของพระพุทธเจ้า คือของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้แก่ ปฏิเวธธรรม

และปริยัติธรรม ที่พระองค์เท่านั้นบรรลุแล้ว และประกาศแล้ว ตั้งอยู่

แล้วในบุรุษผู้วิเศษใด, บุรุษผู้วิเศษนี้นั้น คือพระอานนท์ผู้โคตมโคตร

ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก บัดนี้ตั้งอยู่แล้วในมรรคอันเป็นทางไปส่อนุปาทิ-

เสสนิพพาน เพราะท่านได้บรรลุสอุปาทิเสสนิพพานแล้ว คือเป็นผู้มี

ส่วนแห่งนิพพานนั้นแน่นอน.

ครั้นวันหนึ่ง พราหมณ์ชื่อว่าโคปกโมคคัลลานะ เรียนถาม

พระเถระว่า ท่านเป็นผู้ปรากฏในพระพุทธศาสนาว่า เป็นพหูสูต,

ธรรมทั้งหลายมีประมาณเท่าใดที่พระศาสดาได้ตรัสแล้วแก่ท่าน, ที่ท่าน

ทรงจำไว้แล้ว ? พระเถระเมื่อจะให้คำตอบแก่พราหมณ์นั้น จึงกล่าวคาถา

ว่า ทฺวาสีติ ดังนี้เป็นต้น. ในคำว่า ทฺวาสีติ นั้น มีโยชนาแก้ว่า ๘๒,๐๐๐

พระธรรมขันธ์. บทว่า พุทฺธโต คณฺหึ ความว่า ได้เล่าเรียนมาจากพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า คือได้เรียนมาจากสำนักของพระศาสดา ๘๒,๐๐๐ พระ-

ธรรมขันธ์. บทว่า เทฺว สหสฺสานิ ภิกฺขุโต ความว่า ได้เล่าเรียนจาก

สำนักภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ คือได้เล่าเรียนจากสำนักภิกษุทั้งหลาย

มีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 323

บทว่า จตุราสีติสหสฺสานิ ได้แก่ รวมทั้ง ๒ สำนักนั้นได้ ๘๔,๐๐๐

พระธรรมขันธ์. บทว่า เย เม ธมฺมาปวตฺติโน ความว่า พระธรรม-

ขันธ์มีประมาณตามที่ได้กล่าวไว้แล้วของข้าพเจ้า ช่ำชอง คล่องปาก ติด

อยู่ที่ปลายลิ้น.

ในกาลครั้งหนึ่ง พระเถระบวชในพระศาสนาแล้ว เห็นคนคนหนึ่ง

ผู้ไม่ประกอบในวิปัสสนาธุระและคันถธุระแล้ว เมื่อจะประกาศโทษใน

เพราะความไม่มีพาหุสัจจะ จึงกล่าวคาถาว่า อปฺปสฺสุตาย ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปสฺสุตาย ความว่า คนที่มีการศึกษาเล่าเรียน

มาน้อย เพราะไม่มีการเล่าเรียนพระสูตร ๑ สูตร, ๒ สูตร, หรือ ๕๐ สูตร,

อีกอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีการเล่าเรียนพระสูตร ๑ สูตร, หรือ ๒ สูตร,

โดยที่สุดแม้พระสูตร ๑ วรรค แต่เขาพากเพียรเรียนกัมมัฏฐาน ก็ชื่อว่า

เป็นพหูสูตได้. บทว่า พลิพทฺโทว ชีรติ ความว่า เปรียบเหมือนโคที่

มีกำลัง มีชีวิต เจริญเติบโตมิใช่เพื่อเป็นแม่โค หรือพ่อโค, ไม่เจริญ

เพื่อประโยชน์แก่หมู่ญาติที่เหลือ, ที่แท้ ย่อมแก่เปล่าไร้ประโยชน์ฉันใด

แม้คนนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่ทำอุปัชฌายวิตร, อาจริยวัตร, และ

อาคันตุกวัตรเป็นต้น, ไม่ประกอบความเพียรบำพ็ญภาวนา, ก็มีแต่แก่

เปล่าไร้ประโยชน์. บทว่า มสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ ความว่า เปรียบ

เหมือนเมื่อโคที่มีกำลัง ถูกเจ้าของปล่อยไปในป่า ด้วยคิดว่า โคตัวนี้ไม่

สามารถในการลากไถและนำภาระเป็นต้นไปได้ ดังนี้ มันจะเที่ยวกินและ

ดื่มตามสบายใจ เนื้อย่อมเจริญแก่มัน ฉันใด, แม้คนคนนี้ ก็ฉันนั้น

นั่นแหละ ทอดทิ้งจากวัตร มีอุปัชฌายวัตรเป็นต้น อาศัยพระสงฆ์ พอ

ได้ปัจจัย ๔ แล้ว ทำกิจมีการถ่ายเป็นต้นแล้ว บำรุงเลี้ยงร่างกาย เนื้อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 324

ของเขาย่อมเจริญ เป็นผู้มีสรีระอ้วนเที่ยวไป. บทว่า ปญฺา อธิบายว่า

ส่วนปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตระของเขา แม้เพียงองคุลีหนึ่งก็ไม่เจริญ

ขึ้น คือตัณหาและมานะ ๙ ประการ ย่อมเจริญแก่เขา เพราะอาศัยทวาร

ทั้ง ๖ เหมือนกอไม้และเถาวัลย์เป็นต้น งอกงามในป่าฉะนั้น.

คาถาว่า พหุสฺสุโต ท่านกล่าวมุ่งถึงภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ดูหมิ่นภิกษุอื่น

เพราะอาศัยว่าตนเป็นพหูสูต. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุเตน ได้แก่

เพราะเหตุแห่งสุตะ คือระบุว่าตนเป็นพหูสูต. บทว่า อติมญฺติ ความว่า

ย่อมก้าวล่วงดูหมิ่น คือยกตนขึ้นข่มขู่ผู้อื่น. บทว่า ตเถว ความว่า เหมือน

คนตาบอดถือดวงไฟไปในที่มืด เพราะการให้เเสงสว่าง จึงเป็นเหตุนำ

ประโยชน์มาให้แก่คนเหล่าอื่นเท่านั้น หานำประโยชน์มาให้แก่ตนเองไม่

ฉันใด บุคคลฟังปริยัติจนเป็นผู้คงแก่เรียน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่เข้าถึง

การฟัง ไม่บำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ตน กลับเป็นคนบอด ด้วยการให้แสง

สว่างแห่งญาณ จึงนำประโยชน์มาให้แก่คนเหล่าอื่นเท่านั้น ไม่นำ

ประโยชน์มาให้แก่ตนเองเลย ดุจคนตาบอดถือดวงไฟ ย่อมปรากฏแก่เรา

ฉะนั้น.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงอานิสงส์ในความเป็นผู้ได้สดับมามาก ท่าน

จึงกล่าวคาถาว่า พหุสฺสุต ดังนี้เป็นต้น, บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

อุปาเสยฺย แปลว่า พึงเข้าไปนั่งใกล้. มทว่า สุตญฺ จ น วินาสเย

ความว่า เข้าไปหาท่านผู้เป็นพหูสูตแล้ว ไม่ยอมให้การสดับที่ได้แล้ว

พินาศไป เหือดแห้งไป แต่กลับให้เจริญด้วยการทรงจำ คุ้นเคย สอบ

ถาม และมนสิการ. บทว่า ต มูล พฺรหฺมจริยสฺส ความว่า เพราะเข้า

ไปหาท่านผู้เป็นพหูสูต ได้สดับสูตรที่ฟังมาเป็นอันมากคือปริยัติธรรมนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 325

เป็นเบื้องต้น เป็นประธานแห่งมรรคพรหมจรรย์. เพราะฉะนั้น จึง

สมควรเป็นผู้ทรงธรรม คือเป็นผู้ตั้งอยู่ในหัวข้อแห่งวิมุตตายตนะ ในการ

ทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว ครั้งแรกพึงเป็นผู้ทรงปริยัติธรรม.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงเนื้อความที่บุคคลจะพึงให้สำเร็จด้วยความเป็นผู้

ได้สดับฟังมากในปริยัติธรรม ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ปุพฺพาปรญฺญู

ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ในคำนั้นว่า ชื่อว่าปุพพาปรัญญู เพราะ

อรรถว่า ย่อมรู้อักษรทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย. จริงอยู่ แม้เมื่อส่วน

แห่งอักษรเบื้องต้นของคาถาหนึ่งยังไม่ปรากฏ หรือส่วนแห่งอักษรเบื้อง

ต้นปรากฏอยู่ส่วนแห่งอักษรเบื้องปลายยังไม่ปรากฏก็ตาม เขารู้ว่า นี้พึง

เป็นส่วนอักษรต้น แห่งส่วนอักษรเบื้องปลาย หรือว่า นี้พึงเป็นส่วน

อักษรปลายแห่งส่วนอักษรเบื้องต้น ดังนี้ชื่อว่า ปุพพาปรัญญู. ชื่อว่า

อัตถัญญู เพราะอรรถว่า ย่อมรู้จักชนิดแห่งประโยชน์มีประโยชน์ตน

เป็นต้น คือประโยชน์แห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้แล้ว.

บทว่า นิรุตฺติปทโกวิโท ความว่า เป็นผู้ฉลาดในปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ คือ

ในนิรุตติปฏิสัมภิทา และแม้ในบทที่เหลือด้วย. บทว่า สุคฺคหิตญฺจ

คณฺหาติ ความว่า เพราะความเป็นผู้ฉลาดนั้นแล ย่อมเล่าเรียนธรรมให้

เป็นการเล่าเรียนดีทีเดียว ทั้งโดยอรรถ ทั้งโดยพยัญชนะ. บทว่า

อตฺถญฺโจปปริกฺขติ ความว่า ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมตามที่ได้

ฟังแล้ว ตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียนแล้ว คือกำหนดไว้ในใจว่า ดังนี้เป็นศีล

ดังนี้เป็นสมาธิ ดังนี้เป็นปัญญา เหล่านี้เป็นรูปธรรมและอรูปธรรม.

บทว่า ขนฺตฺยา ฉนฺทิกโต โหติ ความว่า เมื่อธรรมทั้งหลายที่ตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 326

เพ่งด้วยใจเหล่านั้น อดทนต่อการเพ่งพินิจ ด้วยทนต่อการเห็นและการ

เพ่งพินิจมีอยู่ ย่อมเป็นผู้กระทำความพอใจ คือเกิดความพอใจ ในการ

โน้มน้าวไปในวิปัสสนา โดยมุ่งที่จะกำหนดรูปเป็นต้น. และเมื่อบำเพ็ญ

วิปัสสนาเป็นอย่างนั้นแล้ว พยายามพิจารณา คือทำความอุตสาหะ ด้วย

การเห็นปัจจัยและนามรูปนั้น ๆ ต่อแต่นั้นก็ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ ไตร่

ตรอง พิจารณา เห็นนามรูปนั้นว่า ไม่เที่ยงบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็น

อนัตตาบ้าง. บทว่า สมเย โส ปทหติ, อชฺฌตฺต สุสมาหิโต ความว่า

ท่านเมื่อพิจารณาเห็นอย่างนั้นแล้ว ก็ตั้งความเพียร ด้วยการประคองจิต

เป็นต้น ในสมัยที่ควรประคองจิตเป็นต้น, และเมื่อจะเริ่มตั้งความเพียร

พึงเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดี ด้วยวิปัสสนาสมาธิ และมรรคสมาธิไว้ในภาย

ใน คือในภายในอารมณ์. พึงละกิเลสทั้งหลายที่เป็นเหตุไม่ตั้งมั่นเสีย.

อธิบายว่า เพราะคุณนี้นั้นแม้ทั้งหมด ย่อมมีแก่ผู้เข้าไปนั่งใกล้ท่านผู้เป็น

พหูสูต ทรงธรรม มีปัญญา เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าฉะนั้น บุคคล

ปรารภอสังขตธรรม หวังความรู้ในธรรม คือรู้แจ้งในธรรม เพราะตน

ทำหน้าที่อันประเสริฐสุด มีการกำหนดรู้ทุกข์เป็นต้น พึงคบ พึงเสพ

คือพึงเข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตร มีประการดังกล่าวแล้วเช่นนั้นเถิด.

พระเถระเมื่อจะแสดงว่าท่านผู้เป็นพหูสูตนั้น เป็นผู้ควรแก่การบูชา

เพราะมีอุปการคุณมากมายอย่างนั้น จึงกล่าวคาถาว่า พหุสฺสุโต ดังนี้

เป็นต้น. ความแห่งบาทคาถานั้นว่า :- ชื่อว่า พหุสสุตะ เพราะมี

คำสอนของพระศาสดา เช่น สุตตะและเคยยะเป็นต้น ที่ได้สดับแล้วเป็น

อันมาก, ชื่อว่า ธัมมธระ เพราะทรงจำเทศนาธรรมนั้นทั้งหมดได้ ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 327

ให้สูญหายไป เหมือนน้ำมันเหลวของราชสีห์ ที่บุคคลใส่ไว้ในภาชนะ

ทองคำ ฉะนั้น. ต่อแต่นั้น ก็ชื่อว่า โกสารักขะ เพราะรักษาคลัง

พระธรรม ธรรมรัตนะของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงแสวงหาคุณอัน

ยิ่งใหญ่, เพราะเป็นดวงตาของชาวโลก ด้วยการมองดูอย่างสม่ำเสมอ

ฉะนั้น จึงเป็นดวงตาที่ชาวโลกทั้งหมดควรบูชา คือควรนับถือ, ท่าน

กล่าวคำว่า พหุสฺสุโต ซ้ำอีก ก็ด้วยอำนาจคำลงท้าย เพื่อแสดงถึงความ

เป็นพหูสูตว่า ชนเป็นอันมากควรบูชา.

พระเถระครั้นได้กัลยาณมิตรเห็นปานนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงว่า

ความไม่เสื่อมย่อมมีแก่บุคคลผู้ทำตามเท่านั้น, หามีแก่บุคคลผู้ไม่ทำตาม

ไม่ ดังนี้ จึงกล่าวคาถาว่า ธมฺมาราโม ดังนี้เป็นต้น. อธิบายว่า ความ

ยินดีมีสมถะและวิปัสสนาเป็นธรรม เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่อาศัยใน

ธรรมนั้น, ชื่อว่า ธัมมรตะ เพราะยินดี คือยินดียิ่งในธรรมนั้นนั่นเอง

ชื่อว่า ค้นคว้าธรรม คือคำนึงถึงธรรม ได้แก่ กระทำไว้ในใจด้วยการ

คิดถึงธรรมนั้นนั่นแหละบ่อย ๆ.

บทว่า อนุสฺสร ได้แก่ ระลึกถึงธรรมนั้นเท่านั้น.

บทว่า สทฺธมฺมา ความว่า ภิกษุเห็นปานนั้น ย่อมไม่เสื่อมจาก

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประเภท และจากโลกุตรธรรม ๙ ประการ, ใน

กาลไหน ๆ ความเสื่อมจากธรรมนั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น.

ครั้นวันหนึ่ง พระเถระเมื่อจะให้ภิกษุผู้ชื่อว่ามีราคะยังไม่ไปปราศ

เกียจคร้าน มีความเพียรต่ำทราม มีความฉลาด ให้เกิดความสังเวชใน

ร่างกาย จึงกล่าวคาถาว่า กายมจฺเฉรครุโน ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 328

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายมจฺเฉรครุโน ความว่า เที่ยวไป

ไม่ยอมทำอะไรที่ควรทำทางกายแก่อาจารย์และอุปัชฌาย์ มัวแต่สำคัญกาย

ว่าเป็นของเรา มากไปด้วยความยึดมั่นในร่างกาย.

บทว่า หิยฺยมาเน ความว่า เมื่อร่างกายและชีวิตของตนเสื่อมไป

ทุก ๆ ขณะ.

บทว่า อนุฏฺเห ความว่า ไม่พึงทำความเพียรเป็นเหตุลุกขึ้น ด้วย

อำนาจการบำเพ็ญคุณมีศีลเป็นต้น.

บทว่า สรีรสุขคิทฺธสฺส ความว่า ถึงความติดคอยู่ (ในสรีระ) ด้วย

การทำสรีระของตนให้ถึงความสุขนั่นแล.

บทว่า กุโต สมณผาสุตา ความว่า ความอยู่สุขสบายด้วยความ

เป็นสมณะของบุคคลเห็นปานนั้น จักมีแต่ที่ไหน, คือความอยู่ผาสุกย่อม

ไม่มีแก่บุคคลนั้นเลย.

คาถาเริ่มต้นว่า น ปกฺขนฺติ ดังนี้ พระเถระทราบอย่างแจ่มชัดว่า

ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรปรินิพพานแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ปกฺขนฺติ ทิสา สพฺพา ความว่า

ทิศทั้งหมดมีทิศตะวันออกเป็นต้น ย่อมไม่ปรากฏ คือเป็นผู้หลงทิศ.

บทว่า ธมฺมา น ปฏิภนฺติ ม ความว่า ธรรมที่ได้เล่าเรียนแล้ว

แม้จะช่ำของด้วยดีในครั้งก่อน. แต่ในบัดนี้ แม้จะนำมาเทียบเคียงโดย

เคารพ ก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพเจ้า.

บทว่า คเต กลฺยาณมิตฺตมฺหิ ความว่า เมื่อท่านพระธรรมเสนาบดี

ผู้เป็นกัลยาณมิตรของชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ถึงอนุปาทิเสสนิพพานแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 329

บทว่า อนฺธการว ขายติ ความว่า โลกนี้แม้ทั้งหมด ย่อมปรากฏ

เหมือนมืดมน.

บทว่า อพฺภตีตสหายสฺส ความว่า ผู้มีสหายล่วงลับไปแล้ว คือ

ปราศจากกัลยาณมิตร.

บทว่า อตีตคตสตฺถุโน ความว่า ท่านเป็นผู้มีพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จล่วงลับไปแล้ว คือเป็นผู้มีพระศาสดาปรินิพพานไปแล้ว.

บทว่า ยถา กายคตา สติ อธิบายว่า ชื่อว่า มิตรอื่นที่จะนำ

ประโยชน์มาให้โดยส่วนเดียว แก่บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งเช่นนั้น ไม่มี เหมือน

กายคตาสติภาวนา มีแต่จะนำประโยชน์มาให้โดยส่วนเดียวแก่บุคคลผู้

บำเพ็ญนั้น, ภาวนาอย่างอื่นนำประโยชน์มาให้ ก็เฉพาะบุคคลที่มีที่พึ่ง

เท่านั้น.

บทว่า ปุราณา ได้แก่ มิตรเก่า ที่พระเถระกล่าวหมายเอากัลยาณมิตร

มีพระสารีบุตรเป็นต้น.

บทว่า นเวหิ ได้แก่ ด้วยมิตรใหม่.

บทว่า น สเมติ เม ความว่า จิตของเราย่อมไม่สมาคม คือจิต

ของเรามิได้เกิดความยินดีกับพวกมิตรใหม่เลย.

บทว่า สฺวชฺช เอโกว ฌายามิ ความว่า วันนี้ เรานั้นเว้นจาก

ท่านผู้แก่กว่าทั้งหลาย เป็นผู้เดียวเพ่งฌานอยู่ คือเป็นผู้ขวนขวายในฌานอยู่.

บทว่า วสฺสุเปโต ได้แก่ เหมือนนกที่เข้าอยู่ในรังในฤดูฝน, บาลี

ว่า วาสุเปโต ดังนี้บ้าง ความว่า เข้าไปอยู่.

คาถาว่า ทสฺสนาย อภิกกนฺเต ดังนี้ พระศาสดาได้ตรัสไว้. ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 330

แห่งบาทคาถานั้นว่า:- อานนท์ เธออย่าห้ามประชาชนเป็นอันมากที่พา

กันมาจากประเทศต่าง ๆ ไม่ให้เข้าเฝ้าเรา ในเมื่อล่วงเวลาเฝ้าของเราเลย.

เพราะอะไร ? เพราะคนฟังธรรมเหล่านั้น (ต้องการ) จะเห็นเรา, ก็เฉพาะ

ในเวลาเฝ้านี้เท่านั้น.

พระเถระได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว จงกล่าวคาถาอื่นอีกว่า ทสฺสนาย

อภิกฺกนฺเต ดังนี้เป็นต้น. ก็คาถาก่อนที่ท่านวางไว้ในที่นี้ ก็เพื่อความ

สัมพันธ์กันกับคาถานี้, ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ท่านจึงแสดงความสำเร็จ

ประโยชน์แห่งบทนั้นว่า ถ้าเราจักได้เพื่อให้ประชาชนที่พากันมาจาก

ประเทศอื่น ได้เข้าเฝ้าในทันทีไซร้.

คาถา ๔ คาถาเริ่มต้นว่า ปณฺณวีสติ วสฺสานิ ดังนี้ พระเถระกล่าว

เพื่อแสดงว่าตนเป็นอุปัฏฐากผู้เลิศ. จริงอยู่ เพราะการเริ่มบำเพ็ญกัมมัฏ-

ฐาน และเพราะการขวนขวายอุปัฏฐากพระศาสนา กามสัญญาเป็นต้น

แม้ที่ยังมิได้ตัดขาดด้วยมรรค มิได้เกิดขึ้นแก่พระเถระเลย, และกายกรรม

วจีกรรม และมโนกรรม ก็ได้มีเมตตาเป็นหัวหน้า คล้อยไปตามเมตตา

ในพระศาสดาตลอดกาล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺณวีสติ วสฺสานิ แปลว่า ตลอด

๒๕ ปี.

บทว่า เสขภูตสฺส เม สโต ความว่า เมื่อเรายังดำรงอยู่ในเสขภูมิ

คือในโสดาปัตติผลอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 331

บทว่า กามสญฺา ความว่า สัญญาที่ประกอบด้วยกาม ไม่ได้เกิด

ขึ้นแล้ว, ก็ในคำนี้ พระเถระแสดงถึงความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัยตน ด้วย

คำที่มุ่งถึงการไม่เกิดขึ้นแห่งกามสัญญาเป็นต้น, และแสดงถึงความบริสุทธิ์

แห่งประโยค ด้วยคำเป็นต้นว่า เมตฺเตน กายกมฺเมน ดังนี้. พึงทราบ

เนื้อความในข้อนั้น ดังต่อไปนี้ :- เมตตากายกรรม พึงทราบด้วยการ

ทำเครื่องใช้ในพระคันธกุฎีเป็นต้น และด้วยการทำวัตรและปฏิวัตร ถวาย

แด่พระศาสดา, เมตตาวจีกรรม พึงทราบด้วยกิจมีการบอกเวลาแสดง

ธรรมเป็นต้น, เมตตามโนกรรม พึงทราบด้วยการใส่ใจ น้อมนำมุ่งถึง

ประโยชน์เกื้อกูลเฉพาะพระศาสดาในที่ลับ. คำว่า าณ เม อุทปชฺชถ นี้

พระเถระกล่าวถึงการบรรลุเสขภูมิของตน.

คาถาว่า อห สกรณีโยมฺหิ นี้ เป็นคาถาที่เมื่อพระศาสดาใกล้จะ

ปรินิพพาน พระอานนท์เข้าไปยังปะรำ เหนี่ยวคันทวยแล้วกล่าวมุ่งจะ

ครอบงำความเศร้าโศก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกรณีโยมฺหิ ความว่า เราเป็นผู้มีกิจ

มีการกำหนดรู้ทุกข์เป็นต้น ที่จะต้องทำ.

บทว่า อปฺปตฺตมานโส แปลว่า ยังไม่บรรลุพระอรหัต.

บทว่า สตฺถุ จ ปรินิพ์พาน ได้แก่ พระศาสดาของเราได้เสด็จ

ปรินิพพานไปเสียแล้ว.

บทว่า โย อมฺห อนุกมฺปโก ได้แก่ พระศาสดาพระองค์ใด เป็น

ผู้ทรงอนุเคราะห์เรา.

คาถาว่า ตทาสิ ย ภึสนก ดังนี้ เป็นคาถาที่พระเถระเห็นแผ่นดิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 332

ไหว และความแผ่ไปแห่งเสียงกลองสวรรค์ เป็นต้น แล้วกล่าวไว้ด้วย

เกิดความสังเวช.

คาถา ๓ คาถา มีคำเริ่มต้นว่า พหุสฺสุโต ดังนี้ พระสังคีติกาจารย์

ทั้งหลายพากันสรรเสริญพระเถระ ตั้งไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คติมนฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อมด้วย

ญาณคติไม่มีใครเสมอ.

บทว่า สติมนฺโต ได้แก่ ประกอบพร้อมด้วยสติและเนปักกปัญญา

เป็นอย่างยิ่ง.

บทว่า ธิติมนฺโต ได้แก่ ประกอบพร้อมด้วยปัญญาสัมปทา มีความ

สามารถกำหนดพยัญชนะและอรรถะโดยเฉพาะ. จริงอยู่ พระเถระรูปนี้

กำหนดจำไว้บทเดียวเท่านั้น ก็ย่อมกำหนดถือเอา โดยทำนองที่พระศาสดา

ตรัสแล้วได้ตั้ง ๖๐,๐๐๐ บท, และบทที่ได้กำหนดแล้ว ย่อมไม่สูญหาย

ตลอดกาลนาน เหมือนน้ำมันเหลวราชสีห์ที่บุคคลใส่ไว้ในภาชนะทองคำ

ฉะนั้น, เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยปัญญา อันมีสติเป็นเบื้องหน้า ซึ่ง

สามารถกำหนดพยัญชนะไม่ให้วิปริต และด้วยสติอันมีปัญญาเป็นเบื้องหน้า

ซึ่งสามารถกำหนดอรรถะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของ

เรา ฝ่ายพหูสูต ดังนี้เป็นต้น. และเหมือนอย่างที่พระธรรมเสนาบดี

กล่าวไว้ว่า ท่านพระอานนท์ เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า รตนากโร ได้แก่ เป็นบ่อเกิดแห่งพระรัตนะ คือพระ-

สัทธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 333

คาถาว่า ปริจิณฺโณ นี้ พระเถระกล่าวในเวลาใกล้ปรินิพพาน,

คาถานั้น มีเนื้อความตามที่กล่าวไว้แล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาอานันทเถรคาถาที่ ๓

จบปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา

ติงสนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 334

เถรคาถา จัตตาลีสนิบาต

๑. มหากัสสปเถรคาถา

ว่าด้วยสถานที่และข้อปฏิบัติที่ดีงาม

[๓๙๘] ผู้มีปัญญาเห็นว่า ไม่ควรอยู่คลุกคลีด้วยหมู่ เพราะ

เป็นเหตุทำใจให้ฟุ้งซ่านได้สมาธิโดยยาก การสงเคราะห์

ชนต่าง ๆ เป็นความลำบากดังนี้ จึงไม่ชอบใจหมู่คณะ

นักปราชญ์ไม่ควรเกี่ยวข้องกับตระกูลทั้งหลาย เพราะเป็น

เหตุทำใจให้ฟุ้งซ่านได้สมาธิโดยยาก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ

ตระกูลนั้น ย่อมต้องขวนขวายในการเข้าไปสู่ตระกูล มัก

ติดรสอาหาร ย่อมละทิ้งประโยชน์อันจะนำความสุขมาให้

นักปราชญ์ได้กล่าวการกราบไหว้และการบูชาในตระกูล

ทั้งหลายว่าเป็นเปือกตม และเป็นลูกศรที่ละเอียดถอน

ได้ยาก บุรุษผู้เลวทรามย่อมละสักการะได้ยากยิ่ง.

เราลงจากเสนาสนะแล้ว ก็เข้ารูปบิณฑบาตยัง

นคร เราได้เข้าไปหาบุรุษโรคเรื้อน ผู้กำลังบริโภคอาหาร

ด้วยความอ่อนน้อม บุรุษโรคเรื้อนนั้นได้น้อมเข้ามาซึ่งคำ

ข้าวด้วยมือโรคเรื้อน เมื่อเขาใส่คำข้าวลงนิ้วมือของเขาก็

ขาดตกลงในบาตรของเรานี้ เราอาศัยชายคาเรือนฉันข้าว

นั้นอยู่ ในเวลาที่กำลังฉันและฉันเสร็จแล้ว เรามิได้มี

ความเกลียดชังเลย ภิกษุใดไม่ดูหมิ่นปัจจัยทั้งสี่ คือ

อาหารบิณฑบาตที่จะพึงลุกขึ้นยืนรับ ๑ บังสุกุลจีวร ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 335

เสนาสนะคือโคนไม้ ๑ ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๑ ภิกษุ

นั้นแล สามารถจะอยู่ในจาตุรทิศได้ ในเวลาแก่ภิกษุ

บางพวกเมื่อขึ้นเขาย่อมลำบาก แต่พระมหากัสสปะผู้เป็น

ทายาทของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ แม้ใน

เวลาแก่เป็นผู้แข็งแรงด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ย่อมขึ้นไปได้

ตามสบาย พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน ละความกลัว

ภัยได้แล้ว กลับจากบิณฑบาตแล้ว ขึ้นสู่ภูเขาเพ่งฌาน

อยู่ พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน เมื่อสัตว์ทั้งหลาย

ถูกไฟไหม้อยู่ เป็นผู้ดับไฟได้แล้ว กลับจากบิณฑบาต

แล้ว ขึ้นสู่ภูเขาเพ่งฌานอยู่ พระมหากัสสปะผู้

หมดอุปาทาน ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ กลับจาก

บิณฑบาตแล้ว ขั้นสู่ภูเขาเพ่งฌานอยู่ ภูมิภาคอันประกอบ

ด้วยระเบียบแห่งต้นกุ่มทั้งหลาย น่ารื่นรมย์ใจ กึกก้อง

ด้วยเสียงช้างร้อง น่ารื่นรมย์ ล้วนแล้วด้วยภูเขา ย่อม

ทำให้เรายินดี ภูเขามีสีเขียวดุจเมฆ งดงาม มีธารน้ำ

เย็นใสสะอาด ดารดาษไปด้วยหญ้ามีสีเหมือนแมลง-

ค่อมทอง ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขาอันสูงตระหง่าน

แทบจดเมฆเขียวชอุ่ม เปรียบปานดังปราสาท กึกก้อง

ด้วยเสียงช้างร้อง น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก ย่อมยังเราให้ยินดี

ภูเขาที่ฝนตกรดแล้ว มีพื้นน่ารื่นรมย์ เป็นที่อาศัยของ

เหล่าฤาษี เซ็งแซ่ด้วยเสียงนกยูง ย่อมยังเราให้รื่นรมย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 336

สถานที่เหล่านั้น เหมาะสำหรับเราผู้ยินดีในการเพ่งฌาน

มีใจเด็ดเดี่ยว มีสติ เหมาะสำหรับเราผู้ใคร่ประโยชน์

รักษาตนดีแล้ว ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เหมาะสำหรับเรา

ผู้ปรารถนาความผาสุก มีใจเด็ดเดี่ยว เหมาะสำหรับเรา

ผู้ปรารถนาประกอบความเพียร มีใจแน่วแน่ ศึกษาอยู่

ภูเขาที่มีสีดังดอกผักตบ ปกคลุมด้วยหมู่เมฆบนท้องฟ้า

เกลื่อนกล่นด้วยหมู่นกต่าง ๆ ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขา

อันไม่เกลื่อนกล่นด้วยผู้คน มีแต่หมู่เนื้ออาศัย ดารดาษ

ด้วยหมู่นกต่าง ๆ ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขาที่มีน้ำใส

สะอาด มีแผ่นหินเป็นแท่งทึบ เกลื่อนกล่นด้วยค่างและ

มฤคชาติ ดารดาษไปด้วยสาหร่าย ย่อมยังเราให้รื่นรมย์

เราผู้มีจิตตั้งมั่น พิจารณาเห็นธรรมโดยชอบ ย่อมไม่มี

ความยินดีด้วยดนตรีเครื่อง ๕ เช่นนั้น ภิกษุไม่พึงทำ

การงานให้มากนัก พึงเว้นคนผู้มิใช่กัลยาณมิตรเสีย ไม่

ควรขวนขวายในลาภผล ท่านผู้ปฏิบัติเช่นนั้น ย่อมจะ

ต้องขวนขวายและติดในรสอาหาร ย่อมละทิ้งประโยชน์

อันจะนำความสุขมาให้ ภิกษุไม่พึงทำการงานให้มากนัก

พึงเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เสีย เมื่อภิกษุขวนขวายใน

การงานมาก ก็จะต้องเยียวยาร่างกายลำบาก ผู้มีร่างกาย

ลำบากนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความสงบใจ ภิกษุไม่รู้สึกตน

ด้วยเหตุสักว่าการท่องบ่นพระพุทธวจนะ ย่อมเที่ยวชูคอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 337

สำคัญตนประเสริฐกว่าผู้อื่น ผู้ใดไม่ประเสริฐ เป็นพาล

แต่สำคัญตนว่าประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา นักปราชญ์

ทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญผู้นั้น ซึ่งเป็นผู้มีใจกระด้างเลย

ผู้ใดไม่หวั่นไหวเพราะมานะ ๓ อย่าง ที่ถือว่าตัวเราเป็น

ผู้ประเสริฐกว่าเขา ๑ เสมอเขา ๑ เลวกว่าเขา ๑

นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้นแหละว่า เป็นผู้มี

ปัญญา มีวาจาจริง ตั้งมั่นดีแล้วในศีลทั้งหลาย และว่า

ประกอบด้วยความสงบใจ ภิกษุใดไม่มีความเคารพใน

เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้เหินห่าง

จากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น ภิกษุเหล่าใด

เข้าไปตั้งหิริและโอตตัปปะไว้ชอบทุกเมื่อ มีพรหมจรรย์

อันงอกงาม ภิกษุเหล่านั้นมีภพใหม่สิ้นแล้ว ภิกษุผู้ยังมี

ใจฟุ้งซ่าน กลับกลอก ถึงจะนุ่งห่มผ้าบังสุกุล ภิกษุนั้นย่อม

ไม่งดงามด้วยผ้าบังสุกุลนั้น เหมือนกับวานรคลุมด้วย

หนังราชสีห์ฉะนั้น ส่วนภิกษุผู้มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กลับ

กลอก มีปัญญาเครื่องรักษาตน สำรวมอินทรีย์ ย่อม

งดงามเพราะผ้าบังสุกุล ดังราชสีห์ในถ้ำฉะนั้น เทพเจ้า

ผู้มีฤทธิ์ มีเกียรติยศเป็นอันมากประมาณหมื่น และ

พรหมทั้งปวง ได้พากันมายืนประนมอัญชลี นอบน้อม

ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้มีฌาน

ใหญ่ มีใจตั้งมั่น เปล่งวาจาว่า ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย

ขอนอบน้อมแต่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นอุดมบุรุษ ขอนอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 338

ขอนอบน้อมแด่ท่าน ท่านย่อมเข้าฌานอยู่เพราะอาศัยอา-

รมณ์ใด ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมรู้ไม่ถึงอารมณ์เหล่านั้นของ

ท่าน น่าอัศจรรย์จริงหนอ วิสัยของท่านผู้รู้ทั้งหลายลึกซึ้ง

ยิ่งนัก ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้นับว่าเป็น

ผู้เฉียบแหลมดุจนายขมังธนู ก็ยังรู้ไม่ถึง ความยิ้มแย้ม

ได้ปรากฏมีแก่ท่านพระกัปปินเถระ เพราะได้เห็นท่าน

พระสารีบุตรผู้ควรแก่สักการบูชา อันหมู่ทวยเทพบูชา

อยู่เช่นนั้นในเวลานั้น ตลอดทั่วพุทธอาณาเขต ยกเว้น

แต่สมเด็จพระมหามุนีองค์เดียวเท่านั้น เราเป็นผู้ประ-

เสริฐสุดในทางธุดงคคุณ ไม่มีใครเทียมเท่าเลย เราเป็น

ผู้คุ้นเคยกับพระบรมศาสดา เราทำคำสอนของพระ-

พุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหา

เครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว พระสมณโคดมผู้ทรงพระคุณ

หาปริมาณมิได้ มีพระทัยน้อมไปในเนกขัมมะ ทรงสลัด

ภพทั้ง ๓ ออกได้แล้ว ย่อมไม่ทรงติดอยู่ด้วยจีวร บิณฑ-

บาตและเสนาสนะ เปรียบเหมือนบัวไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ

ฉะนั้น พระองค์ทรงเป็นจอมนักปราชญ์ มีสติปัฏฐานเป็น

พระคอ มีศรัทธาเป็นพระหัตถ์ มีปัญญาเป็นพระเศียร

ทรงพระปรีชามก ทรงดับเสียแล้วซึ่งกิเลสแลกองทุกข์

ตลอดกาลทุกเมื่อ.

จบมหากัสสปเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 339

ในจัตตาลีสนิบาตนี้ มีพระมหากัสสปเถระองค์เดียวเท่านั้น

ได้ภาษิตคาถาไว้ ๔๐ คาถา.

จัตตาลีสนิบาตจบบริบูรณ์

อรรถกถาจัตตาลีสนิบาต

อรรถกถากัสสปเถรคาถาที่ ๑

ในจัตตาลีสนิบาต คาถาของท่านพระมหากัสสปเถระ มีคำเริ่ม

ต้นว่า น คเณน ปุรกฺขโต จเร ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ

พระเถระนี้ได้เป็นกุฎุมพีมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ นามว่า เวเทหะ ในหังสวดีนคร.

ท่านเป็นอุบาสกพุทธมามกะ ธรรมมามกะ สังฆมามกะ อยู่. ในวันอุโบสถ

วันหนึ่ง เขาบริโภคอาหารดีแต่เช้าตรู่ อธิษฐานองค์แห่งอุโบสถ ถือเอา

ของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปยังวิหาร บูชาพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ก็ในขณะนั้น พระศาสดาทรงตั้งพระสาวกที่ ๓ นามว่า มหานิสภเถระ

ในเอตทัคคะว่า ภิกษุทั้งหลย บรรดาภิกษุผู้สาวกของเรา ผู้ถือธุดงค์นี้

นิสภะเป็นเลิศ. อุบาสกได้ฟังดังนั้น จึงเลื่อมใส ในเวลาจบธรรมกถา

เมื่อมหาชนลุกไป จึงถวายบังคมพระศาสดา เชื้อเชิญว่า พรุ่งนี้ขอพระองค์

จงทรงรับภิกษาของข้าพระองค์เถิด. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก

ภิกษุสงฆ์มีมากแล. เขาทูลถามว่า มีเท่าไร พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่ามี

๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป. เขาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงรับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 340

ภิกษาของข้าพระองค์ อย่าเหลือไว้ในวิหารแม้สามเณรรูปเดียว. พระศาสดา

ทรงรับแล้ว. อุบาสกทราบว่าพระศาสดาทรงรับแล้ว จึงไปยังเรือนจัดแจง

มหาทาน วันรุ่งขึ้นจึงกราบทูลกาลแด่พระศาสดา. พระศาสดาทรงถือ

บาตรและจีวร แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังเรือนอุบาสก ประ-

ทับนั่งบนอาสนะ ที่เขาตกแต่งไว้ ในเวลาจบอนุโมทนา ทรงรับข้าวยาคู

เป็นต้น ได้ทรงกระทำการแจกภัต. แม้อุบาสกก็ได้นั่งอยู่ในสำนัก

พระศาสดา.

ในระหว่างนั้น พระมหานิสภเถระกำลังเที่ยวบิณฑบาต ดำเนินไป

ตามถนนนั้นนั่นแล. อุบาสกเห็นเข้า ลุกไปไหว้พระเถระ กล่าวว่า จงให้

บาตรเถิดขอรับ. พระเถระได้ให้แล้ว. อุบาสกกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ขอท่านจงเข้าไปในที่นี้แหละ แม้พระศาสดาก็ประทับนั่งในเรือน. พระ-

เถระกล่าวว่า จักไม่สมควร อุบาสก. เขารับบาตรของพระเถระแล้ว

บรรจุบิณฑบาตให้เต็มแล้วได้ถวาย. ลำดับนั้น เขาตามส่งพระเถระ กลับ

แล้วนั่งในสำนักพระศาสดา กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระมหานิสภเถระ แม้เมื่อข้าพระองค์กล่าวว่า แม้พระศาสดาก็ประทับนั่ง

ในเรือน ก็ไม่ปรารถนาจะเข้าไป ท่านมีคุณยิ่งกว่าคุณของพระองค์หรือ.

จริงอยู่ ความตระหนี่คุณย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น

พระศาสดาจึงตรัสอย่างนี้ว่า อุบาสก พวกเรารอภิกษาอยู่ จึงนั่งอยู่

ในเรือน. ก็ภิกษุนั้นไม่นั่งเพ่งเล็งภิกษาอยู่อย่างนี้ พวกเราอยู่ใน

เสนาสนะใกล้บ้าน เธออยู่ในป่าเท่านั้น พวกเราอยู่ในที่มุงบัง เธออยู่

แต่ในกลางแจ้งเท่านั้น, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ข้อนี้และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 341

ข้อนี้เป็นคุณของเธอดังนี้แล้ว จึงเป็นเสมือนยังมหาสมุทรให้เต็ม ทรง

แสดงคุณของเธอ.

แม้ตามปกติ อุบาสกเป็นผู้เลื่อมใสด้วยดียิ่งนัก เหมือนประทีป

กำลังโพลงซึ่งลาดด้วยน้ำมัน คิดว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยสมบัติอย่าง

อื่น ในอนาคตเราจะตั้งความปรารถนา เพื่อความเป็นเลิศกว่าผู้ถือธุดงค์

ในสำนักพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง. เธอนิมนต์พระศาสดาแม้อีก ถวาย

มหาทานตลอด ๗ วัน โดยทำนองนั้นนั่นแล ในวันที่ถวายไตรจีวร

แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน นั่งแทบพระบาทมูลของพระ-

ศาสดา จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถวาย

ทานตลอด ๗ วัน ข้าพระองค์ได้เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

มีเมตตาเป็นอารมณ์ ด้วยบุญกรรมนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาเทวสมบัติ

สักกสมบัติ มารสมบัติ และพรหมสมบัติอย่างอื่น. ก็กรรมของข้าพระองค์นี้

จงเป็นบุญญาธิการ เพื่อความเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งธุดงค์ ๑๓

เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุตำแหน่ง ที่พระมหานิสภเถระ ปรารถนาไว้

ในสำนักแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต. พระศาสดาทรงตรวจ

ดูว่า อุบาสกนี้ปรารถนาตำแหน่งใหญ่ เธอจักสำเร็จหรือไม่หนอ

ทรงเห็นว่าจะสำเร็จ จึงตรัสพยากรณ์ว่า เธอปรารถนาตำแหน่งน่าชอบใจ

ในอนาคตในที่สุดแห่ง ๑๐๐,๐๐๐ กัป พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โคดม

จักเสด็จอุบัติ เธอจักเป็นสาวกที่ ๓ ของพระองค์ มีนามว่าพระมหา-

กัสสปเถระ. อุบาสกได้ฟังดังนั้นแล้วคิดว่า ขึ้นชื่อว่าถ้อยคำเป็นสองย่อม

ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงได้สำคัญสมบัตินั้น เหมือนจะพึงได้ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 342

วันรุ่งขึ้น. เธอถวายทานจนตลอดอายุ สมาทานรักษาศีล กระทำกัลยาณ-

กรรมมีประการต่าง ๆ ทำกาละแล้วบังเกิดในสวรรค์.

จำเดิมแต่นั้นมา เธอเสวยสมบัติในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

กัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี

เสด็จเข้าไปอาศัยพันธุมวดีนคร ประทับอยู่ในมฤคทายวันอันเกษม จุติจาก

เทวโลกแล้ว บังเกิดในตระกูลพราหมณ์เก่าแก่แห่งหนึ่ง. ก็ในกาลนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ทรงแสดงธรรมทุก ๆ ๗ ปี ได้

มีความเอิกเกริกอย่างใหญ่. เทวดาในชมพูทวีปทั้งสิ้นนอกว่า พระศาสดา

จักแสดงธรรม. พราหมณ์ได้ฟังข่าวนั้นแล้ว ก็ท่านได้มีผ้านุ่งอยู่ผืนเดียว

เท่านั้น นางพราหมณีก็เหมือนกัน. แต่ท่านทั้งสองมีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น

เขาปรากฏในพระนครทั้งสิ้นว่า เอกสาฎกพราหมณ์. เมื่อมีการประชุม

ด้วยกิจอย่างใดอย่างหนึ่งของพวกพราหมณ์ พราหมณ์นั้นจึงพักนาง-

พราหมณีไว้ในเรือน ส่วนตนเองห่มผ้านั้นไป, เมื่อมีการประชุมของ

พวกพราหมณี ตนเองก็อยู่ในเรือน นางพราหมณีก็ห่มผ้านั้นไป. ก็วันนั้น

พราหมณ์กล่าวกะนางพราหมณีว่า แน่ะนางผู้เจริญ เธอจักฟังธรรมใน

กลางคืนหรือในกลางวัน. นางพราหมณีกล่าวว่า พวกเราชื่อว่าเกิดเป็น

ผู้หญิง ไม่ปรารถนาจะฟังในกลางคืน จักฟังในกลางวัน จึงได้พัก

พราหมณ์ไว้ในเรือน แล้วห่มผ้าพร้อมด้วยอุบาสิกาไปในกลางวัน ถวาย

บังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ฟังธรรมแล้วได้กลับมาพร้อม

ด้วยอุบาสิกาทั้งหลายนั่นแล. ลำดับนั้น พราหมณ์จึงพักนางพราหมณีไว้

ในเรือน ห่มผ้านั้นไปวิหาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 343

สมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งบนธรรมาสน์ ที่เขาประดับแล้วใน

ท่ามกลางบริษัท จับพัดวิชนีแสดงธรรมกถา ประหนึ่งเทวดาผู้วิเศษ

หยั่งลงสู่แม่น้ำในอากาศ หรือเหมือนทำเขาสิเนรุให้เป็นข้าวตูก้อนแล้ว

กดสงสู่สาครฉะนั้น. เมื่อพราหมณ์นั่งอยู่ที่ท้ายบริษัทฟังธรรมอยู่ ใน

ปฐมยามนั้นเอง ปีติมีวรรณะ ๕ เกิดขึ้น ทำสรีระทั้งสิ้นให้เต็ม. เขาม้วนผ้า

ที่ตนห่มแล้วคิดว่า จักถวายแด่พระทสพล. ลำดับนั้น ความตระหนี่อัน

แสดงโทษตั้ง ๑,๐๐๐ เกิดขึ้นแก่เขาแล้ว, เขาคิดว่า นางพราหมณีและ

เราก็มีผ้าผืนเดียวเท่านั้น, ผ้าห่มอะไรอื่นไม่มี ก็ธรรมดาว่าเราจะไม่ห่ม

แล้ว ไม่สามารถออกไปข้างนอกได้ ได้เป็นผู้ใคร่จะไม่ให้โดยประการทั้ง-

ปวง ครั้นปฐมยามทั้งมัชฌิมยามผ่านไป ปีติก็เกิดขึ้นแก่เขาเช่นนั้นเหมือน

กัน. ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ไม่ปรารถนาจะให้เหมือนกัน ครั้นมัชฌิมยามทั้ง

ปัจฉิมยามผ่านไป เขาก็เกิดปีติขึ้นเช่นนั้นเหมือนกัน. ในกาลนั้นเขาคิดว่า

เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งยกไว้ก่อน เราจักรู้ในภายหลัง ดังนี้แล้วจึงม้วนผ้า

วางไว้แทบบาทมูลของพระศาสดา. ลำดับนั้น เขาจึงคู้มือซ้ายปรบด้วย

มือขวาขึ้น ๓ ครั้ง บันลือขึ้นทั้งสามครั้งว่า เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว.

ก็สมัยนั้น พระเจ้าพันธุมราชประทับนั่งฟังธรรมอยู่ภายในม่าน

หลังธรรมาสน์ ก็ธรรมดาว่า เสียงว่า เราชนะแล้ว ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจ

ของพระราชา. ท้าวเธอทรงส่งบุรุษไปให้รู้ว่า เธอจงไป จงถามบุรุษนั่น

เขากล่าวกระไร ? เขาอันบุรุษนั้นไปถามแล้ว จึงตอบว่า พวกคนที่เหลือนี้

ขึ้นสู่ยานช้างเป็นต้น ถือเอาดาบและโล่หนังเป็นต้นชนะเสนาอื่น ข้อนั้น

ไม่น่าอัศจรรย์. แต่เราย่ำยีจิตคือความตระหนี่แล้ว ถวายผ้าห่มแด่พระทศพล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 344

เหมือนคนเอาค้อนทุบศีรษะโคโกง ผู้มาข้างหลังแล้วให้มันหนีไป ข้อที่

เราชนะความตระหนี่นั้นอัศจรรย์. บุรุษนั้นกลับมากราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระราชา. พระราชาตรัสว่า พนาย พวกเราไม่รู้กรรมอันสมควรแด่พระ-

ทศพล พราหมณ์รู้แล้วดังนี้ ได้ส่งคู่ผ้าไปให้แล้ว. พราหมณ์เห็นดังนั้น

จึงคิดว่า พระราชานี้ไม่ได้ให้อะไร ๆ ก่อนแก่เราผู้นั่งนิ่ง ต่อเมื่อเรากล่าว

คุณของพระศาสดา จึงได้ให้ ก็จะประโยชน์อะไรแก่เรา ด้วยวัตถุที่เกิดขึ้น

เพราะอาศัยคุณของพระศาสดา ดังนี้แล้วได้ถวายคู่ผ้าแม้นั้นแด่พระทศพล

เท่านั้น. ฝ่ายพระราชาตรัสถามว่า พราหมณ์ทำอะไร ? ครั้นทรงสดับว่า

พราหมณ์นั้นถวายคู่ผ้าแม้นั้นแด่พระตถาคตนั่นแล. จึงประทานคู่ผ้า ๒ คู่

แม้อื่นไปให้แล้ว พราหมณ์นั้นได้ถวายคู่ผ้าแม้เหล่านั้น. พระราชาจึงได้

ประทานคู่ผ้าแม้อื่น ๔ คู่ ถึง ๓๒ คู่. ลำดับนั้นพราหมณ์คิดว่า นี้เป็น

เหมือนรับเพิ่มขึ้น จึงรับคู่ผ้าไว้ ๒ คู่ คือเพื่อประโยชน์แก่ตนคู่หนึ่ง

แก่นางพราหมณีคู่หนึ่ง แล้วได้ถวายคู่ผ้าทั้ง ๓๒ คู่แด่พระตถาคตนั่นแหละ.

ก็จำเดิมแต่นั้นเธอได้เป็นผู้คุ้นเคยต่อพระศาสดา.

ครั้นวันหนึ่ง พระราชาเห็นเขาฟังธรรมอยู่ในสำนักพระศาสดาใน

ฤดูหนาว จึงประทานผ้ากัมพลแดงที่พระองค์ทรงห่มมีราคา ๑๐๐,๐๐๐

แล้วตรัสว่า ตั้งแต่นี้ไป เธอจงห่มผ้านี้ฟังธรรม. เขาคิดว่า เราจะประโยชน์

อะไรด้วยผ้ากัมพลนี้ ที่จะนำเข้าไปในกายอันเปื่อยเน่านี้ จึงได้ไปกระทำ

เป็นเพดานในเบื้องบนเตียงของพระตถาคตภายในพระคันธกุฎี. ภายหลัง

วันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปยังพระวิหารแต่เช้าตรู่ ประทับนั่งในสำนักพระ-

ศาสดาภายในพระคันธกุฎี. ก็สมัยนั้น พระพุทธรัศมีมีวรรณะ ๖ กระทบ

ผ้ากัมพล, ผ้ากัมพลรุ่งโรจน์อย่างยิ่ง. พระราชาทรงแหงนดู ทรงจำได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 345

จึงตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นผ้ากัมพลของข้าพระองค์. ข้าพระ-

องค์ได้ให้เอกสาฎกพราหมณ์. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร มหาบพิตร

บูชาพราหมณ์ เป็นอันพราหมณ์บูชาเราแล้ว . พระราชาทรงเลื่อมใสว่า

พราหมณ์รู้ถึงสิ่งที่ควร เราไม่รู้ จึงทรงการทำสิ่งซึ่งเป็นอุปการะแก่พวก

มนุษย์ทั้งหมดให้เป็นอย่างละ ๘ แล้วได้ให้ทานชื่อหมวด ๘ ของสิ่ง

ทั้งปวง แล้วทรงตั้งไว้ในตำแหน่งปุโรหิต. ฝ่ายปุโรหิตนั้นคิดว่า ชื่อว่า

สิ่งอย่างละ ๘ ๆ รวม ๖๔ อย่าง ได้ผูกสลากภัต ๖๔ ที่เป็นประจำ

แล้วถวายทานรักษาศีลตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในสวรรค์.

เขาจุติจากอัตภาพนั้นอีก ในกัปนี้จึงบังเกิดในเรือนแห่งกุฎุมพี ใน

กรุงพาราณสี ในระหว่างแห่งพระพุทธเจ้าทั้งสอง คือพระพุทธเจ้า

พระนามว่า โกนาคมนะ และพระกัสสปทศพล.

เขาเจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือน วันหนึ่งเที่ยวไปสู่ชังฆวิหารในป่า.

ก็สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า กระทำจีวรกรรมที่ฝั่งแม่น้ำ เริ่มจะรวบรวม

ผ้าอนุวาตที่ไม่เพียงพอวางไว้. เขาเห็นเข้าจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

เพราะเหตุไรท่านจึงรวบรวมวางไว้. พระปัจเจกพุทธเจ้าตอบว่า ผ้าอนุวาต

ไม่เพียงพอ. เขากล่าวว่า ท่านจงกระทำด้วยผ้านี้เถิดขอรับ แล้วได้ถวาย

ผ้าอุตรสาฎกแล้ว ดังความปรารถนาว่า ขอความเสื่อมเพราะสิ่งอะไร ๆ

จงอย่ามีแก่เราในที่เราเกิดแล้ว ๆ.

เมื่อภรรยากับน้องสาวของเรากระทำความทะเลาะแม้ในเรือน พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปบิณฑบาต ลำดับนั้น น้องสาวของเขาถวายบิณฑบาต

แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า หมายเอาภรรยาของเขา จึงตั้งความปรารถนาว่า

เราพึงเว้นคนพาลเห็นปานนี้จากที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ นางยืนอยู่ที่ลาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 346

เรือนได้ยินเข้าจึงคิดว่า ขอพระปัจเจกพุทธเจ้าจงอยู่บริโภคภัตที่หญิงนี้

ให้ จึงเทบิณฑบาตทิ้ง แล้วได้ให้เต็มด้วยเปือกตม. ฝ่ายน้องสาวกล่าวว่า

ดูก่อนคนพาล เจ้าจงด่า จงประหารเราก่อนเถิด การที่เจ้าเทภัตจากบาตร

ของท่านผู้เห็นปานนี้ ผู้บำเพ็ญบารมีมาสิ้น ๒ อสงไขย แล้วให้เปือกตมไม่

ควรเลย. ลำดับนั้น การพิจารณาได้เกิดขึ้นแก่ภรรยาของเขา นางกล่าวว่า

จงหยุดเถิดเจ้าข้า ดังนี้แล้วเทเปือกตม ล้างบาตรขัดสีด้วยจุณหอม บรรจุ

ให้เต็มด้วยภัตอันประณีต และด้วยอาหารมีรสอร่อย ๔ อย่าง แล้ววางสิ่งที่

รุ่งเรืองด้วยเนยใส มีสีดังกลีบปทุมที่เขาราดไว้ในเบื้องบน ไว้ในมือของ

พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า บิณฑบาตนี้มีแสงสว่าง

ฉันใด สรีระของเราจงมีแสงสว่างฉันนั้น. พระปัจเจกพุทธเจ้าอนุโมทนา

แล้ว จึงเหาะไปแล้ว.

ฝ่ายเมียและผัวทั้งสอง บำเพ็ญกุศลจนตลอดชีวิต บังเกิดในสวรรค์

จุติจากอัตภาพนั้นอีกเป็นอุบาสก ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ-

นามว่า กัสสปะ บังเกิดเป็นบุตรแห่งเศรษฐี มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในกรุง

พาราณสี ฝ่ายภรรยาบังเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีนั้นนั่นแล. เมื่อเขาเจริญวัย

แล้ว ญาติทั้งหลายได้นำธิดาเศรษฐีนั้นนั่นแลมาให้ พอเมื่อนางเข้าไปสู่

ตระกูลสามี ด้วยอานุภาพของบาปกรรม ที่มีผลไม่น่าปรารถนาในกาลก่อน

สรีระทั้งสิ้นได้เกิดมีกลิ่นเหม็น เหมือนเวจกุฎีที่เขาเปิดไว้ที่ธรณีประตู

เศรษฐีกุมารถามว่า นี้กลิ่นของอะไร ? ทราบว่าเป็นกลิ่นของเศรษฐีธิดา

แล้วส่งไปเรือนแห่งตระกูล โดยทำนองที่เขานำมาว่า จงนำออกไป จง

นำออกไป. นางนั้นอันสามีนั้นนั่นแหละขับไล่แล้วให้นำกลับมา ๗ ครั้ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 347

ก็สมัยนั้น พระกัสสปทศพลปรินิพพานแล้ว ชนทั้งหลายได้พากัน

สร้างเจดีย์สูงหนึ่งโยชน์ถวายพระองค์ ด้วยอิฐแล้วด้วยทองสีแดง มีราคา

๑๐๐,๐๐๐ บุให้แท่งทึบ. เมื่อเขาสร้างเจดีย์นั้น เศรษฐีธิดานั้นคิดว่า เรา

ถูกนำกลับมาถึง ๗ ครั้ง จะประโยชน์อะไรด้วยความเป็นอยู่ของเรา ดังนี้

แล้ว จึงให้ทำลายเครื่องอาภรณ์ของตน ให้ก่ออิฐแล้วด้วยทอง อันเป็น

บ่อเกิดแห่งรัตนะ กว้างหนึ่งคืบ สูงสี่นิ้ว. ลำดับนั้น จึงถือเอาก้อน-

หรดาลและมโนศิลา แล้วถือเอาดอกอุบล ๘ กำไปยังที่กระทำเจดีย์.

ก็ในขณะนั้น แนวอิฐที่วงล้อมเจดีย์ขาดไป ๑ ก้อน ธิดาเศรษฐี

จึงกล่าวกะนายช่างว่า ท่านจงวางแผ่นอิฐนี้ไว้ในที่ว่างนี้. นายช่างกล่าวว่า

ดูก่อนแม่นางผู้เจริญ ท่านมาทันเวลา จงวางเองเถิด. นางขึ้นไปแล้ว

ประกอบก้อนหรดาลและมโนศิลาด้วยน้ำมัน วางก้อนอิฐให้ติดกับเครื่อง

เชื่อมนั้น กระทำการบูชาด้วยดอกอุบล ๘ กำมือไว้ข้างบน ไหว้แล้วตั้ง

ความปรารถนาว่า ขอกลิ่นจันทน์จงฟุ้งออกจากกายของเรา ขอกลิ่นอุบล

จงฟุ้งออกจากปาก ในที่ที่เกิดแล้ว ๆ ดังนี้แล้วไหว้เจดีย์กระทำประทักษิณ

ได้ไปแล้ว.

ครั้นในขณะนั้นนั่นเอง เศรษฐีบุตรใดนำนางไปสู่เรือนคราวก่อน

ความระลึกถึงเพราะปรารภนางเกิดขึ้นแล้วแก่เศรษฐีนั้น. แม้ในพระนคร

เขาก็ป่าวร้องเล่นนักษัตร. เขากล่าวกะอุปัฏฐากว่า ในกาลนั้นเขานำธิดา

เศรษฐีมาในที่นี้ นางไปไหน ? นางตอบว่า เธออยู่ในเรือนของตระกูล.

เขากล่าวว่า ท่านจงนำนางนาเถิด, เราจักเล่นนักษัตร. อุปัฏฐากเหล่านั้น

ไปยืนไหว้นาง ถูกนางถามว่า พ่อทั้งหลายพวกท่านมาทำไม จึงแจ้งเรื่อง

นั้น. นางกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย ฉันบูชาพระเจดีย์ด้วยเครื่องอาภรณ์; ฉัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 348

ไม่มีเครื่องอาภรณ์. อุปัฏฐากเหล่านั้นไปบอกบุตรเศรษฐี. บุตรเศรษฐี

กล่าวว่า พวกท่านจงนำนางมา นางจักได้เครื่องประดับ อุปัฏฐากเหล่านั้น

นำมาแล้ว กลิ่นจันทน์และกลิ่นดอกอุบลเขียว ฟุ้งไปทั่วเรือนพร้อมด้วย

การเข้าไปสู่เรือนของนาง. เศรษฐีบุตรถามนางว่า ครั้งก่อนกลิ่นเหม็นฟุ้ง

ออกจากร่างกายของเจ้า แต่บัดนี้ กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากร่างกาย และกลิ่น

อุบลฟุ้งออกจากปากของเจ้า นี้เป็นเพราะเหตุอะไร ? นางบอกกรรมที่ตน

ทำตั้งแต่ต้น. บุตรเศรษฐีเลื่อมใสว่า พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องนำสัตว์

ออกจากทุกข์ได้จริงหนอ, จึงล้อมสุวรรณเจดีย์ประมาณโยชน์หนึ่ง ด้วย

ผ้าคลุมอันทำด้วยผ้ากัมพล แล้วประดับด้วยดอกปทุมทอง ประมาณเท่า

ล้อรถในที่นั้น ๆ ดอกปทุมทองเหล่านั้น ได้ห้อยลงประมาณ ๑๒ ศอก.

เขาดำรงอยู่ในที่นั้นจนตลอดอายุ แล้วบังเกิดในสวรรค์ จุติจาก

อัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในตระกูลอำมาตย์ตระกูลหนึ่ง ในที่ประมาณโยชน์

หนึ่ง แต่กรุงสาวัตถี. แม้ธิดาเศรษฐีจุติจากเทวโลกแล้ว บังเกิดเป็นธิดา

คนโตในราชตระกูล. เมื่อคนทั้งสองนั้นเจริญแล้ว ในบ้านที่อยู่ของกุมาร

เขาป่าวร้องการเล่นนักษัตร. เขากล่าวกะมารดาว่า ดูก่อนแม่ ขอแม่จง

ให้ผ้าสาฎกแก่ฉัน ฉันจักเล่นนักษัตร. นางนำผ้าที่ชำระแล้วได้ให้ไป.

เขากล่าวว่า แม่ นี้เป็นผ้าเนื้อหยาบ. นางได้นำผ้าอื่นให้ไป แม้ผ้านั้น

เขาก็ห้าม. ลำดับนั้น มารดาจึงกล่าวกะเขาว่า ดูก่อนพ่อ เราเกิดในเรือน

เช่นใด บุญเพื่อได้ผ้าเนื้อละเอียดจากที่นี้ ย่อมไม่มีแก่พวกเรา. เขากล่าวว่า

ถ้าเช่นนั้น ฉันจะไปสู่ที่ ๆ จะได้ผ้าจ้ะแม่. นางกล่าวว่า ลูก วันนี้แหละ

แม่ปรารถนาจะให้เจ้าได้รับราชสมบัติในกรุงพาราณสี. เขาไหว้มารดาแล้ว

กล่าวว่า ฉันจะไปละ แม่. นางกล่าวว่า ไปเถิดลูก. ได้ยินว่า มารดาได้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 349

ความคิดอย่างนี้ว่า บุตรจักไปในที่ไหน บุตรจักนั่งอยู่ในที่นี้หรือที่ใน

เรือน. ก็เขาออกแล้วไปด้วยการกำหนดแห่งบุญ ไปยังกรุงพาราณสี นอน

คลุมโปงอยู่ที่แผ่นมงคลศิลาในอุทยาน และวันนั้นเป็นวันที่ ๗ ที่พระเจ้า

พาราณสีสวรรคต.

อำมาตย์ทั้งหลายจัดถวายพระเพลิงสรีระของพระราชาแล้ว นั่งอยู่ที่

พระลานหลวงปรึกษากันว่า พระราชามีแต่พระธิดาองค์หนึ่งเท่านั้น แต่

ไม่มีพระราชโอรส ราชสมบัติอันไม่มีพระราชาจักพินาศ ใครจักเป็น

พระราชา ดังนี้แล้ว จึงกล่าวกันว่า ท่านจงเป็นพระราชา ท่านจงเป็น

พระราชา.

ปุโรหิตกล่าวว่า การคัดเลือกโดยไม่กำหนด การเห็นแก่หน้ากันมาก

ไป ย่อมไม่สมควร เราจักปล่อยรถขาวเสี่ยงทายไป. อำมาตย์เหล่านั้นจึง

เทียมม้าสินธพ ๔ ม้า มีสีดังดอกโกมุท แล้ววางราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕

และเศวตฉัตรไว้บนรถนั่นเอง จึงปล่อยรถประโคมดุริยางค์ตามหลังไป

รถออกทางด้านทิศตะวันออกมุ่งหน้าไปอุทยาน. อำมาตย์บางพวกกล่าวว่า

รถมุ่งหน้าไปทางอุทยานด้านที่คุ้นเคย พวกเราจงให้กลับ. ปุโรหิตกล่าวว่า

ท่านอย่าให้กลับเลย. รถทำประทักษิณกุมารแล้วได้หยุดรอให้ขึ้นไป

ปุโรหิตเลิกชายผ้าแลดูพื้นเท้าพลางกล่าวว่า ทวีปนี้จงยกไว้ บรรดาทวีป

ใหญ่ทั้ง ๔ มี ๒,๐๐๐ ทวีปเป็นบริวาร ผู้นี้ควรครองราชสมบัติ แล้ว

กล่าวว่า ท่านจงประโคมดนตรีแม้อีก จงประโคมดนตรีแม้อีก ดังนี้แล้ว

จึงให้ประโคมดนตรีขึ้น ๓ ครั้ง.

ลำดับนั้น กุมารเปิดหน้าแลดู กล่าวว่า ท่านมาด้วยกรรมอะไร ?

พวกเขากล่าวว่า ข้าแต่สมมติเทพ ราชสมบัติถึงแก่ท่าน. กุมารถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 350

พระราชาอยู่ที่ไหน ? อำมาตย์กล่าวว่า พระองค์สวรรคตแล้วนาย. กุมาร

ถามว่า ล่วงไปกี่วันแล้ว. อำมาตย์กล่าวว่า วันนี้เป็นที่ ๗. กุมารถามว่า

พระโอรสและพระธิดาไม่มีหรือ ? อำมาตย์ทูลว่า พระธิดามีพระเจ้าข้า

แต่พระโอรสไม่มี. กุมารถามว่า เราจักครองราชสมบัติ. ในขณะนั้น

นั่นเอง อำมาตย์เหล่านั้น จึงสร้างมณฑปอภิเษก ประดับราชธิดาด้วย

เครื่องอลังการทั้งปวง แล้วนำมายังพระอุทยาน การทำอภิเษกแก่กุมาร.

ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลานได้น้อมนำผ้ามีราคา ๑๐๐,๐๐๐ เข้าไปให้แก่

กุมารผู้ได้อภิเษก. กุมารกล่าวว่า นี่อะไรกันพ่อ. อำมาตย์ทูลว่า ผ้า

สำหรับนุ่ง กุมารถามว่า พ่อทั้งหลาย หยาบไปมิใช่หรือ ? อำมาตย์ทูลว่า

ไม่มีผ้าที่ละเอียดกว่านี้ ในบรรดาผ้าเครื่องใช้สอยของพวกมนุษย์ พระ-

เจ้าข้า. กุมารกล่าวว่า พระราชาของท่านนุ่งผ้าเห็นปานนี้หรือ. อำมาตย์

ทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า. กุมารกล่าวว่า ชะรอยว่าพระราชาของพวก

ท่านคงจะไม่มีบุญ ท่านจงนำเหยือกน้ำทองคำมาให้เรา เราจักได้ผ้า.

อำมาตย์นำเหยือกน้ำทองคำมาแล้ว. กุมารนั้นลุกขึ้นล้างมือ บ้วนปาก เอา

มือวักน้ำประพรมในปุรัตถิมทิศ, ขณะนั้นนั่นเอง ต้นกัลปพฤกษ์ ๘ ต้น

ผุดขึ้นทำลายแผ่นดินเป็นแท่งทึบ กุมารวักน้ำประพรมทั้ง ๔ ทิศอย่างนี้อีก

คือในทิศทักษิณ ทิศปัจฉิม ทิศอุดร ต้นกัลปพฤกษ์ ๓๒ ต้นผุดขึ้น การทำ

ให้เป็นกลุ่มละ ๘ ต้นในทุกทิศ. กุมารนั้นนุ่งผ้าทิพย์ผืนหนึ่งห่มผืนหนึ่ง

แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงพากันตีกลอง ร้องประกาศอย่างนี้ว่า หญิง

ทั้งหลายผู้ปั่นด้ายอย่าปั่นด้าย ในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทะ และให้

ยกฉัตรประดับตกแต่งอยู่บนคอช้างตัวประเสริฐ เข้าไปยังพระนคร ขึ้นสู่

ปราสาทแล้วเสวยมหาสมบัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 351

เมื่อกาลล่วงไปอย่างนี้ วันหนึ่ง พระเทวีทรงเห็นมหาสมบัติของ

พระราชา จึงแสดงอาการความเป็นผู้มีกรุณาว่า น่าอัศจรรย์ พระองค์

มีตบะ. ก็เมื่อถูกถามว่า นี้อะไรกันเทวี จึงทูลว่า สมบัติของพระองค์

มีมาก พระเจ้าข้า. ในอดีตกาล พระองค์ทรงเชื่อต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ได้กระทำกัลยาณกรรม บัดนี้ ไม่ทรงทำกุศลอันเป็นปัจจัยแก่อนาคตหรือ.

พระราชาตรัสว่า จะให้แก่ใครบุคคลผู้มีศีลไม่มี. พระเทวีทูลว่า พระเจ้าข้า

ชมพูทวีปไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ขอพระองค์จงให้จัดแจงทาน

เท่านั้น เราจะได้พระอรหันต์ทั้งหลาย.

วันรุ่งขึ้น พระราชารับสั่งให้จัดแจงทาน ที่ประตูด้านทิศตะวันออก

พระเทวีทรงอธิษฐานองค์อุโบสถแต่เช้าตรู่ หมอบลงบ่ายหน้าต่อทิศบูรพา

ในปราสาทชั้นบนตรัสว่า ถ้าพระอรหันต์ทั้งหลายมีอยู่ในทิศนี้ไซร้ พรุ่ง

นี้แหละ ขอพระอรหันต์ทั้งหลายจงมารับภิกษาของพวกเราทั้งหลาย.

พระอรหันต์ทั้งหลายไม่มีในทิศนั้น จึงได้ให้เครื่องสักการะแก่คนกำพร้า

และยาจกทั้งหลาย. วันรุ่งขึ้นพระเทวีทรงจัดแจงทานที่ประตูด้านทักษิณ

ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น. วันรุ่งขึ้นได้กระทำที่ประตูด้านทิศปัจฉิม แต่

ในวันที่จัดแจงที่ประตูด้านทิศอุดร เมื่อพระเทวีเชื้อเชิญเหมือนอย่างนั้น

พระปัจเจกพุทธเจ้ามหาปทุมะ ผู้เป็นหัวหน้าของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐

บุตรของพระนางปทุมวดีผู้อยู่ที่หิมวันตประเทศ จึงเรียกพี่น้องชายทั้งหลาย

มาว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ พระเจ้านันทะเชื้อเชิญพวกท่าน พวกท่านจง

รับทานของพระองค์เถิด พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นรับคำแล้ว.

วันรุ่งขึ้น จึงล้างหน้าที่สระอโนดาต แล้วมาทางอากาศ ลงที่ประตู

ด้านทิศอุดร. มนุษย์ทั้งหลายเห็นแล้วไปกราบทูลพระราชาว่า พระปัจเจก-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 352

พุทธเจ้า ๕๐๐ มา พระเจ้าข้า. พระราชาพร้อมกับเทวีไปไหว้แล้วรับบาตร

ให้อาราธนาพระปัจเจกพุทธเจ้าขึ้นสู่ปราสาท ถวายทานแด่พระปัจเจก-

พุทธเจ้าเหล่านั้นในที่นั้น ในที่สุดแห่งภัตกิจ พระราชาถวายแก่พระสังฆ-

เถระ พระเทวีหมอบลงแทบเท้าของพระสังฆนวกะ ภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์

แล้วกระทำปฏิญญาว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักไม่ลำบากด้วยปัจจัย พวก

เราจักไม่เสื่อมจากบุญ จึงจัดแจงที่เป็นที่อยู่โดยอาการทั้งปวงในพระ-

อุทยาน คือบรรณศาลา ๕๐๐ ที่จงกรม ๕๐๐ แล้วให้อยู่ในที่นั้น.

เมื่อกาลล่วงไปอย่างนี้ ปัจจันตชนบทของพระราชากำเริบ พระ-

ราชาโอวาทพระเทวีว่า เราจะไปปราบปัจจันตชนบทให้สงบ เจ้าอย่า

ประมาทในพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย. เมื่อพระราชายังไม่เสด็จกลับมา

นั่นแล อายุสังขารของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็สิ้นไป. พระมหาปทุม-

ปัจเจกพุทธเจ้าเล่นฌานตลอดยาม ๓ แห่งราตรี จึงยืนเหนี่ยวแผ่นกระดาน

เป็นที่ยึดหน่วง แล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในเวลาอรุณ

ขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงได้ยืนยึดหน่วงแผ่นกระดานที่เหลือ ด้วย

อุบายนี้ปรินิพพานแล้ว. วันรุ่งขึ้น พระเทวีให้สร้างที่เป็นที่นั่งของพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เกลี่ยดอกไม้ถวายธูป นั่งคอยดูการมาของพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น เมื่อไม่เห็นมา จึงส่งบุรุษไปว่า ไปเถิดพ่อ จงรู้

พระผู้เป็นเจ้าคงจะมีความไม่ผาสุกอะไร ๆ บ้างกระมัง. บุรุษนั้นไปเปิด

ประตูบรรณศาลาแห่งพระปัจเจกพุทธมหาปทุมะ เมื่อไม่เห็นในที่นั้น จึง

ไปสู่ที่จงกรม เห็นท่านยืนพิงแผ่นกระดานสำหรับยึดหน่วง ไหว้แล้ว

กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วขอรับ. สรีระปริพพานจักกล่าวอะไร ? เขาคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 353

ชะรอยว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าจะหลับ จึงไปเอามือลูบหลังเท้า ทราบว่าท่าน

ปรินิพพานแล้ว เพราะเท้าเย็นและแข็งกระด้าง จึงได้ไปยังสำนักของ

พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปที่ ๒ ไปยังสำนักพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปที่ ๓ ด้วย

อาการฉะนี้. ทราบว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมดปรินิพพานแล้ว พระเทวี

ทรงกันแสงออกไปพร้อมกับชาวพระนคร ไปในที่นั้น ให้กระทำการเล่น

อย่างสนุกสนาน ให้กระทำฌาปนกิจสรีระของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

ให้ถือเอาพระธาตุสร้างพระเจดีย์ไว้.

พระราชา ครั้นปราบปัจจันตชนบทให้สงบแล้ว จึงเสด็จมาตรัส

ถามพระเทวีผู้กระทำการต้อนรับว่า นางผู้เจริญ เจ้าไม่ประมาทต่อพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าหรือ ? พระผู้เป็นเจ้าไม่มีโรคหรือ ? พระเทวีทูลว่า

พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายปรินิพพานเสียแล้ว, พระราชาทรงพระดำริว่า มรณะ

ย่อมเกิดขึ้นแก่บัณฑิตแม้เห็นปานนี้ ความพ้นของเราจักมีแต่ที่ไหน พระ-

องค์ไม่เสด็จไปพระนคร เสด็จไปยังพระอุทยานเท่านั้น รับสั่งให้เรียก

พระราชโอรสองค์โตมา แล้วมอบราชสมบัติแก่เธอ พระองค์เองบวชเป็น

สมณะ ฝ่ายพระเทวี ทรงดำริว่า เมื่อพระราชานี้บวชแล้ว เราจักทำอะไร

จึงบวชในอุทยานั้นนั่นเอง แม้ทั้งสองพระองค์ยังฌานให้เกิดขึ้น จุติ

จากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในพรหมโลก.

เมื่อท่านทั้งสองอยู่ในที่นั้นนั่นเอง พระศาสดาของเราทั้งหลายเสด็จ

อุบัติขึ้นในโลก ประกาศธรรมจักรอันบวร เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์

โดยลำดับ. เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าในกรุงราชคฤห์นั้น ปิปผลิมาณพนี้

บังเกิดในท้องของพระอัครมเหสีของกบิลพราหมณ์ ในมหาติตถพราหมณ-

คาม ในมคธรัฐ, นางภัตทกาปิลานีนี้ บังเกิดในท้องของอัครมเหสี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 354

ของโกสิยโคตรพราหมณ์ ในสาคลนคร ในมคธรัฐ เมื่อท่านเหล่านั้น

เจริญโดยลำดับ เมื่อปิปผลิมาณพมีอายุได้ ๒๐ ปี นางภัททามีอายุครบ ๑๖

ปี มารดาบิดาแลดูบุตรแล้วคาดคั้นอย่างหนักว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าเจริญวัย

แล้ว ชื่อว่าวงศ์ตระกูลจะต้องดำรงไว้. มาณพกล่าวว่า ท่านอย่ากล่าว

ถ้อยคำเห็นปานนี้ในคลองแห่งโสตประสาทของฉัน ฉันจักปรนนิบัติท่าน

ตลอดเวลาที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ โดยกาลล่วงไปแห่งท่าน ฉันจักออกบวช.

โดยล่วงไป ๒-๓ วัน ท่านทั้งสองก็กล่าวอีก แม้ท่านก็ปฏิเสธเหมือน

อย่างนั้นนั่นเอง. จำเดิมแต่นั้นมาท่านก็กล่าวอย่างนั้นไม่ขาดระยะเลย.

มาณพคิดว่า เราจักให้มารดาของเรายินยอม จึงให้แท่งทองสุกปลั่ง

๑,๐๐๐ แท่ง อันช่างทองทำให้อ่อนตามต้องการทั้งปวงแล้ว สร้างรูปหญิง

รูปหนึ่ง ในเวลาสิ้นสุดแห่งกรรม มีการเช็ดและบุเป็นต้นของแท่งทองนั้น

ก็ให้นุ่งผ้าแดง ให้ประดับด้วยดอกไม้สมบูรณ์ด้วยดี และเครื่องประดับ

ต่างๆ ให้เรียกมารดามากล่าวว่า แม่ เมื่อฉันได้อารมณ์เห็นปานนี้ จัก

อยู่ครองเรือน เมื่อไม่ได้จักไม่อยู่. นางพราหมณีผู้เป็นบัณฑิตคิดว่า บุตร

ของเรามีบุญ ได้เคยให้ทาน เคยทำอภินิหารไว้ เมื่อทำบุญ ไม่ได้เป็น

ผู้ ๆ เดียวกระทำ โดยที่แท้เคยทำบุญร่วมกับเขาไว้ จึงเป็นผู้มีส่วนเปรียบ

ด้วยรูปทอง ดังนี้แล้ว จึงให้เรียกพราหมณ์ทั้ง ๘ คนมา ให้อิ่มหนำด้วย

กามทั้งปวง ให้ยกรูปทองขึ้นสู่รถส่งไปเพื่อให้รู้ว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่าน

จงไปในตระกูลที่เสมอกันโดยชาติโคตรและโภคะของเรา จงดูนางทาริกา

เห็นปานนี้ จงกระทำรูปทองนี้แหละให้เป็นเครื่องบรรณาการแล้วจงกลับ

มา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 355

พราหมณ์เหล่านั้น ออกไปด้วยคิดว่า นี้เป็นกรรมชื่อของพวกเรา

คิดว่าพวกเราจักไปในที่ไหน จึงคิดว่า ชื่อว่ามัททรัฐ เป็นบ่อเกิดแห่ง

หญิง เราไปมัททรัฐ ดังนี้แล้ว ได้ไปสาคลนคร ในมัททรัฐ. ได้วาง

รูปทองนั้นไว้ที่ท่าอาบน้ำในสาคลนครนั้น แล้วได้นั่งที่ควรข้างหนึ่ง ลำดับ

นั้น พี่เลี้ยงของนางภัททา ให้นางภัตทาอาบน้ำแล้ว แล้วประดับ ให้นั่ง

ในห้องอันประกอบด้วยสิริ ตนเองก็ไปยังท่าน้ำเพื่ออาบน้ำ ได้เห็นรูปทอง

นั้นในที่นั้น คิดว่า ธิดานี้ใคร ๆ ไม่ได้นำมา มาอยู่ในที่นี้ได้อย่างไร ?

จึงได้แตะดูข้างหลังรู้ว่ารูปทอง จงกล่าวว่า เราให้เกิดความสำคัญขึ้นว่า

นี้ธิดาแม่เจ้าของเรา แต่นี้ไม่เหมือนธิดาแม่เจ้าของเรา แม้ผู้รับเครื่อง

นุ่งห่ม. ลำดับนั้น มนุษย์เหล่านั้น จึงพากันห้อมล้อมรูปนั้นแล้วถามว่า

รูปเห็นปานนี้เป็นธิดาของท่านหรือ ? พี่เลี้ยงกล่าวว่า นี้อะไรกัน ธิดา

แม่เจ้าของเรา ยังงามกว่ารูปทองเปรียบนี้ตั้ง ๑๐๐ เท่า ๑,๐๐๐ เท่า เมื่อ

นางนั่งอยู่ในห้องประมาณ ๑๒ ศอก กิจด้วยประทีปย่อมไม่มี แม่เจ้าย่อม

กำจัดความมืด โดยแสงสว่างแห่งสรีระนั้นเอง. พวกเขาจึงกล่าวว่า ถ้า

เช่นนั้นจงมาเถิด แล้วพาคนค่อมนั้น ยกรูปทองขึ้นบนรถยืนอยู่ที่ประตู

เรือนของพราหมณ์โกสิยโคตร จึงได้แจ้งการมาให้ทราบ.

พราหมณ์ปฏิสันถารแล้วถามว่า พวกท่านมาจากไหน ? พวก

พราหมณ์กล่าวว่า มาแต่เรือนของกบิลพราหมณ์ ในมหาติตถคาม มคธรัฐ.

พราหมณ์ถามว่า มาเพราะเหตุอะไร ? พวกพราหมณ์ตอบว่า เพราะเหตุ

ชื่อนี้ พราหมณ์กล่าวว่า เป็นกรรมดีละพ่อทั้งหลาย พราหมณ์ของพวกเรา

มีชาติโคตรและสมบัติเสมอกัน เราจักให้นางทาริกา ดังนี้แล้วรับเอาเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 356

บรรณาการไว้. พวกเขาได้ส่งสาสน์ไปให้แก่กบิลพราหมณ์ว่า ได้นาง

ทาริกาแล้ว นางจงกระทำสิ่งที่ควรทำ คนทั้งหลายได้ทราบข่าวนั้นแล้ว

จึงแจ้งให้กบิลพราหมณ์ทราบว่า ได้ยินว่า ได้นางทาริกาแล้ว. มาณพคิดว่า

เราคิดว่าจักไม่ได้ พวกเหล่านั้นกล่าวว่าได้แล้ว เราไม่มีความต้องการ จักส่ง

หนังสือไป ดังนี้แล้ว ได้อยู่ในที่ลับเขียนหนังสือส่งไปว่า ขอนางภัททา

จงได้ครองเรือน อันสมควรแก่ชาติโคตรและโภคะของตนเถิด เราจักออก

บวช อย่าได้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย. ฝ่ายนางภัททาได้สดับว่า

บิดาประสงค์จะให้เราแก่ชายโน้น จึงคิดว่า เราจักส่งหนังสือไปดังนี้แล้ว

ได้อยู่ในที่ลับเขียนหนังสือส่งไปว่า พระลูกเจ้า พระลูกเจ้า จงได้ครองเรือน

อันสมควรแก่ชาติโคตรและโภคะของตนเถิด ดิฉันจักบวช อย่าได้มีความ

เดือดร้อนในภายหลังเลย. หนังสือทั้งสองได้มาประจวบกันในระหว่างทาง

ถามว่าเป็นหนังสือของใคร ? เมื่อได้คำตอบว่า เป็นหนังสือที่ปิปผลิมาณพ

ส่งหนังสือถึงนางภัททา ก็เมื่อกล่าวว่า นางภัททาก็ส่งหนังสือถึงปิปผลิ-

มาณพ. คนทั้งหลายได้อ่านหนังสือทั้งสองฉบับแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย

จงดูกรรมของเด็กทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ก็ฉีกทิ้งเสียในป่า จึงเขียนหนังสือ

อื่นซึ่งเหมือนกับหนังสือนั้น แล้วส่งไปข้างโน้นและข้างนี้. การสมาคม

แห่งคนทั้งสองผู้ไม่ปรารถนาอยู่นั่นแหละ เพราะหนังสือที่เหมือนกัน ที่

เกื้อกูลแก่ความยินดีทางโลกเท่านั้นของกุมารกับนางกุมาริกา ได้มีแล้ว

ด้วยประการฉะนี้.

ในวันนั้นนั่นเอง ปิปผลิมาณพให้ร้อยพวงดอกไม้พวงหนึ่ง แม้

นางภัททาก็ร้อย คนทั้งสองวางพวงดอกไม้ไว้บนท่ามกลางที่นอน บริโภค

อาหารเย็นแล้ว คิดว่าเราจักขึ้นสู่ที่นอน, มาณพขึ้นสู่ที่นอนโดยทางข้างขวา,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 357

นางภัททาขึ้นทางซ้าย แล้วกล่าวว่า เราจักรู้ว่า ดอกไม้ย่อมเหี่ยว ณ ข้างของ

ผู้ใด ราคะจิตเกิดแล้วแก่ผู้นั้น พวงดอกไม้นี้ไม่พึงเป็นดอกไม้สด. คน

ทั้งสองนั้นไม่ก้าวล่วงลงสู่ความหลับเลย ปล่อยให้ ๓ ยามแห่งราตรีล่วงไป

เพราะกลัวแต่สัมผัสแห่งร่างกายของกันและกัน, ส่วนในกลางวันแม้เพียง

ยิ้มแย้มก็มิได้มี คนทั้งสองนั้นไม่ได้คลุกคลีด้วยโลกามิส ไม่ได้พิจารณา

ถึงขุนทรัพย์ตลอดเวลาที่มารดาบิดายังดำรงชีพอยู่ เมื่อมารดาบิดาทำกาละ

แล้วจึงพิจารณา. สมบัติของมาณพมีดังต่อไปนี้ :-

ในวันหนึ่ง ควรได้จุณทองคำที่เขาขัดถูร่างกายแล้วพึงทิ้งไปประมาณ

๑๒ ทะนานโดยทะนานมคธ, สระใหญ่ ๖๐ สระผูกติดเครื่องยนต์ การ

งานประมาณ ๑๒ โยชน์, บ้านส่วย ๑๔ ตำบล เท่าเมืองอนุราธบุรี, ยาน

ที่เทียมด้วยช้าง ๑๔, ยานที่เทียมด้วยม้า ๑๔, ยานที่เทียมด้วยรถ ๑๔.

วันหนึ่งมาณพนั้นขึ้นม้าที่ประดับแล้ว แวดล้อมไปด้วยมหาชน

ไปยังที่ทำงาน ยืนอยู่ที่ปลายนา เห็นนกมีกาเป็นต้น จิกสัตว์มีไส้เดือน

เป็นต้นกัดกินจากที่ที่ถูกไถทำลาย จึงถามว่า พ่อทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้

กินอะไร ชนทั้งหลายกล่าวว่า กินไส้เดือน ผู้เป็นเจ้า. มาณพกล่าวว่า

บาปที่สัตว์เหล่านั้นกระทำย่อมมีแก่ใคร. ชนทั้งหลายตอบว่า มีแก่ท่านผู้

เป็นเจ้า.

เขาคิดว่า ถ้าบาปที่สัตว์เหล่านี้กระทำมีแก่เราไซร้ ทรัพย์ ๘๗

โกฏิจักกระทำประโยชน์อะไรแก่เรา การงาน ๑๒ โยชน์จะทำอะไร สระที่

ผูกติดเครื่องยนต์จะทำอะไร บ้านส่วย ๑๔ ตำบลจะทำอะไร เราจักมอบ

ทรัพย์ทั้งหมดนี้ให้นางภัททกาปิลานี แล้วออกบวช.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 358

ในขณะนั้น แม้นางภัททกาปิลานี ก็ให้ตากหม้อเมล็ดงา ๓ หม้อ ใน

ภายในพื้นที่ นั่งแวดล้อมไปด้วยพี่เลี้ยง เห็นกาทั้งหลายจิกกินสัตว์ที่อยู่

ในเมล็ดงา ก็ถามว่า แม่ สัตว์เหล่านี้กินอะไร ? พวกพี่เลี้ยงกล่าวว่า กิน

สัตว์แม่เจ้า. นางถามว่า อกุศลย่อมมีแก่ใคร ? พวกพี่เลี้ยงกล่าวว่า มีแก่

ท่านแม่เจ้า. นางคิดว่า การที่เราได้ผ้า ๔ ศอก และข้าวสารเพียงทะนาน

หนึ่งย่อมควร ก็ถ้าอกุศลที่ชนมีประมาณเท่านี้กระทำ ย่อมมีแก่เราไซร้

เราก็ไม่สามารถเงยศีรษะขึ้นได้จากวัฏฏะแม้ตั้ง ๑,๐๐๐ ภพ พอลูกเจ้ามา

ถึงเท่านั้น เราก็จะมอบสมบัติทั้งหมดแก่ลูกเจ้า แล้วจักออกบวช.

มาณพมาแล้ว อาบน้ำขึ้นสู่ปราสาท นั่งบนบัลลังก์อันมีค่ามาก.

ลำดับนั้น ชนทั้งหลายก็จัดแจงโภชนะอันสมควรแก่พระเจ้าจักรพรรดินั้น.

เมื่อชนผู้เป็นบริวารออกไปแล้ว ชนทั้งสองบริโภคแล้วอยู่ในที่ลับ นั่งอยู่

ในที่อันผาสุก. ลำดับนั้น มาณพนั้นกล่าวกะนางภัททาว่า นางผู้เจริญ

เธอมาสู่เรือนนี้นำทรัพย์มาประมาณเท่าไร ?

นาง. ๕๕,๐๐๐ เล่มเกวียน ลูกเจ้า.

มาณพ. ทรัพย์ทั้งหมดคือทรัพย์ ๘๗ โกฏิ และสมบัติต่างโดยสระ

๖๐ ที่ผูกด้วยยนต์ที่มีอยู่ในเรือนนี้ทั้งหมด ฉันมอบให้แก่เธอเท่านั้น.

นาง. ก็ท่านเล่า ลูกเจ้าจะไปไหน ?

มาณพ. เราจักบวช.

นาง. ลูกเจ้า แม้ดิฉันก็นั่งรอคอยการมาของท่านอยู่เท่านั้น ดิฉัน

ก็จักบวช. ภพ ๓ ได้ปรากฏแก่คนทั้งสองนั้น เหมือนกุฎีที่มุงด้วยใบไม้

ถูกไฟไหม้ฉะนั้น คนเหล่านั้น ให้นำผ้าที่ย้อมน้ำฝาดและบาตรดินมาจาก

ร้านตลาด ให้ปลงผมกันและกันแล้วกล่าวว่า พระอรหันต์เหล่าใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 359

มีอยู่ในโลก เราทั้งหลายจงบวชอุทิศพระอรหันต์เหล่านั้น ดังนี้แล้วบวช

ใส่บาตรเข้าในถุงคล้องไว้ที่ไหล่ ลงจากปราสาท. ใคร ๆ ในบรรดาทาส

หรือกรรมกรในเรือน จำไม่ได้.

ลำดับนั้น ชาวบ้านทาสคามจำคนทั้งสองนั้นผู้ออกจากพราหมณ-

คาม ไปทางประตูทาสคามได้ ด้วยสามารถอากัปกิริยา. คนเหล่านั้น

ร้องไห้หมอบที่เท้า กล่าวว่า ผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย พวกท่านทำพวกข้าพเจ้า

ไม่ให้มีที่พึ่งหรือ ? คนทั้งสองนั้นกล่าวว่า พวกเรากล่าวว่า พนาย

ภพทั้ง ๓ ปรากฏเหมือนบรรณศาลาที่ถูกไฟไหม้ จึงได้บวช ถ้าเราทำแต่

ละคนในบรรดาท่านให้เป็นไทไซร้ แม้ตั้ง ๑๐๐ ปีก็ไม่พอ พวกท่าน

นั่นแหละจงชำระศีรษะของท่านจงเป็นไทเถิด ดังนี้ เมื่อคนเหล่านั้นกำลัง

ร้องไห้อยู่นั้นเองได้หลีกไปแล้ว.

พระเถระไปข้างหน้ากลับเหลียวมาดูคิดว่า นางภัททกาปิลานีนี้ เป็น

หญิงมีค่าในชมพูทวีปทั้งสิ้นมาข้างหลังเรา ข้อที่ใคร ๆ พึงคิดอย่างนี้ว่า

คนทั้งสองนี้ แม้บวชแล้วไม่อาจพรากจากกันได้ กระทำไม่สมควร ข้อ

นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ เกิดความคิดขึ้นว่า ใคร ๆ พึงคิดประทุษร้ายด้วย

ความชั่ว พึงเป็นผู้แออัดในอบาย การที่เราละผู้นี้ไปจึงควร. ท่านไปข้าง

หน้าเห็นทาง ๒ แพร่ง ได้หยุดอยู่ในที่สุดแห่งทางนั้น. ฝ่ายนางภัททามา

ไหว้แล้วได้ยืนอยู่แล้ว. ลำดับนั้น ท่านกล่าวกะทางภัททาว่า แน่ะนาง

ผู้เจริญ มหาชนเห็นหญิงเช่นนั้นเดินมาตามเราแล้วคิดว่า คนเหล่านี้

แม้บวชแล้ว ก็ไม่อาจจากกันได้ พึงมีจิตคิดประทุษร้ายในเรา พึงเป็นผู้

แออัดในอบาย. ท่านจึงกล่าวว่า ในทาง ๒ แพร่งนี้ เจ้าจงถือเอาทางหนึ่ง

เราจักไปโดยทางหนึ่ง. นางภัททากล่าวว่า อย่างนั้นพระผู้เป็นเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 360

มาตุคามเป็นเครื่องกังวลของบรรพชิตทั้งหลาย คนทั้งหลายจักแสดงโทษ

ของพวกเราว่า คนเหล่านี้แม้บวชแล้ว ก็ไม่พรากจากกันได้ ท่านจงถือ

เอาทางหนึ่ง พวกเราจักแยกจากกัน ดังนี้แล้วกระทำประทักษิณ ๓ รอบ

ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ในฐานะทั้ง ๔ ประคองอัญชลีอันรุ่งโรจน์ด้วย

ทสนขสโมธานแล้วกล่าวว่า ความสนิทสนมกันโดยฐานมิตร ที่ทำไว้ใน

กาลนานประมาณแสนปี ย่อมทำลายลงในวันนี้ แล้วกล่าวว่า ท่านชื่อว่า

เป็นชาติขวา ทางขวาสมควรแก่ท่าน เราชื่อว่าเป็นมาตุคามเป็นชาติซ้าย

ทางฝ่ายซ้ายควรแก่เราดังนี้ ไหว้แล้วเดินทางไป. ในกาลที่คนทั้งสองแยก

ทางกัน มหาปฐพีนี้ร้องไห้หวั่นไหวเหมือนกล่าวอยู่ว่า เราสามารถ

จะทรงไว้ซึ่งขุนเขาจักรวาลและขุนเขาสิเนรุได้ แต่ไม่สามารถจะทรงคุณ

ของท่านได้ เป็นไปเหมือนเสียงอสนีบาตในอากาศ ขุนเขาจักรวาลและ

สิเนรุบันลือลั่น. .

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งที่พระคันธกุฎีในพระเชตวันมหา-

วิหาร สดับเสียงแผ่นดินไหว ทรงรำพึงว่า แผ่นดินไหวเพื่อใครหนอ

ทรงพระดำริว่า ปิปผลิมาณพและนางภัททกาปิลานี ละสมบัติอันหาประ-

มาณมิได้บวชอุทิศเรา แผ่นดินไหวนี้เกิดเพราะกำลังคุณของคนทั้งสอง ใน

ฐานะที่คนทั้งสองแยกจากกัน แม้เราควรกระทำการสงเคราะห์แก่คนทั้ง

สองนั้น ดังนี้แล้วออกจากพระคันธกุฎี ถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง

ไม่ปรึกษากะใคร ๆ ในบรรดาพระอสีติมหาเถระ กระทำหนทาง ๓ คาวุต

ให้เป็นที่ต้อนรับ ทรงนั่งคู้บัลลังก์ ณ โคนต้นพหุปุตตกนิโครธ ใน

ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา. และเมื่อนั่ง ไม่ทรงนั่งเหมือน

ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลรูปใดรูปหนึ่ง ทรงถือเอาเพศแห่งพระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 361

ประทับนั่งฉายพระพุทธรัศมีเป็นแท่งทึบประมาณ ๘๐ ศอก. ดังนั้นใน

ขณะนั้น พระพุทธรัศมี ซึ่งมีประมาณเท่าฉัตร ใบไม้ล้อเกวียนและเรือน

ยอดเป็นต้น แผ่ซ่านวิ่งไปข้างโน้นข้างนี้ กระทำเหมือนเวลาที่ขึ้นไปแห่ง

พระจันทร์ ๑,๐๐๐ ดวง และพระอาทิตย์ ๑,๐๐๐ ดวง กระทำที่สุดป่า

นั้นให้มีแสงเป็นอันเดียวกัน. เหมือนท้องฟ้าที่รุ่งโรจน์ด้วยหมู่ดาว ที่

รุ่งโรจน์ด้วยสิริแห่งมหาปุริสลักษณะ ๓๒ เหมือนน้ำรุ่งเรืองด้วยดอกกมล

และดอกบัวอันบานสะพรั่ง ทำที่สุดป่าให้รุ่งโรจน์ ลำต้นแห่งต้นไม้ชื่อ

นิโครธย่อมขาว ใบเขียว สุกปลั่ง. ก็ในวันนั้น ต้นนิโครธทั้ง ๑๐๐ กิ่งได้มี

สีเหมือนสีทองคำ.

พระมหากัสสปเถระคิดว่า ผู้นี้ชะรอยจักเป็นพระศาสดาของพวกเรา

เราบวชอุทิศท่านผู้นี้ จึงน้อมลง น้อมลง จำเดิมแต่ที่ที่ตนเห็นแล้ว

ไปถวายบังคมในฐานะทั้ง ๓ กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี-

พระภาคเจ้า จงเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก, ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงเป็นศาสดาของข้าพระองค์.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านว่า กัสสปะ ถ้าเธอพึง

กระทำการนอบน้อมนี้ แก่แผ่นดินใหญ่ แม้แผ่นดินก็ไม่สามารถทรงอยู่

ได้ แผ่นดินใหญ่นี้รู้ความที่ตถาคตมีคุณมากถึงอย่างนี้ การกระทำการ

นอบน้อมที่ท่านกระทำแล้ว ไม่อาจให้แม้ขนของเราไหวได้ นั่งเถิดกัสสปะ

เราจะให้มรดกแก่เธอ. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประทาน

อุปสมบทแก่ท่านด้วยโอวาท ๓ ข้อ, ครั้นประทานแล้วจึงออกจากโคนต้น

พหุปุตตกนิโครธ กระทำพระเถระให้เป็นปัจฉาสมณะ แล้วทรงดำเนิน

ไป. พระสรีระของพระศาสดา วิจิตรด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 362

สรีระของพระมหากัสสปะ ประดับด้วยมหาปุริสลักขณะ ๗ ประการ ท่าน

ติดตามพระบาทพระศาสดา เหมือนมหานาวาทองที่ติดตามข้างหลัง. พระ-

ศาสดาเสด็จไปหน่อยหนึ่งแล้วเสด็จลงจากทาง แสดงอาการประทับนั่งที่

โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง. พระเถระรู้ว่า พระศาสดาจะประทับนั่ง จึงปูสังฆาฏิ

ด้วยแผ่นผ้าเก่าที่ตนห่ม กระทำให้เป็น ๔ ชั้นถวาย.

พระศาสดาประทับนั่งบนที่นั้น เอาพระหัตถ์ลูบคลำจีวร จึงตรัสว่า

กัสสปะ สังฆาฏิที่เป็นแผ่นผ้าเก่าของเธอนี้อ่อนนุ่ม. พระเถระทราบว่า

พระศาสดาตรัสว่า สังฆาฏิของเรานี้อ่อนนุ่ม ทรงพระประสงค์จะห่ม จึง

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงห่มสังฆาฏิเถิด.

พระศาสดาตรัสว่า กัสสปะ ท่านจักห่มอะไร. พระมหากัสสปเถระทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ได้ผ้านุ่งของพระองค์ก็จักห่ม. พระ-

ศาสดาตรัสว่า กัสสปะ เธออาจจะทรงผ้าบังสุกุลอันใช้คร่ำคร่านี้หรือ ?

จริงอยู่ ในวันที่เราถือเอาผ้าบังสุกุลนี้ แผ่นดินไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดิน,

ชื่อว่าจีวรที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายใช้สอยคร่ำคร่านี้ เราไม่สามารถจะทรงได้

โดยคุณแห่งพระปริตร, การที่ผู้ทรงผ้าบังสุกุลตามกำเนิด ทรงผ้านี้ตาม

ความสามารถ คือด้วยความสามารถในการบำเพ็ญข้อปฏิบัติ จึงจะควร ดังนี้

แล้วจึงทรงเปลี่ยนจีวรกับพระเถระ.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำการเปลี่ยนจีวรอย่างนี้ แล้วทรง

ห่มจีวรที่พระเถระห่มแล้ว. พระเถระก็ห่มจีวรของพระศาสดา. ในสมัยนั้น

แผ่นดินนี้แม้ไม่มีเจตนา ก็หวั่นไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดิน เหมือนจะ

กล่าวอยู่ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านได้การทำกรรมที่ทำได้ยาก จีวร

ที่ตนห่มชื่อว่าเคยให้แก่พระสาวกย่อมไม่มี เราไม่สามารถจะทรงคุณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 363

ของท่านทั้งหลายได้. ฝ่ายพระเถระคิดว่า บัดนี้เราได้จีวรที่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายใช้สอยแล้ว บัดนี้สิ่งที่เราควรทำให้ยิ่งไปกว่านี้มีอยู่หรือ ดังนี้จึง

ไม่กระทำการบันลือ สมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้อในสำนักพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

นั่นแล ได้เป็นปุถุชนเพียง ๗ วัน ในวันที่ ๘ ก็บรรลุพระอรหัตพร้อม

ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในกาลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ

เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ เป็นนาถะของโลก นิพพาน

แล้ว ชนทั้งหลายทำการบูชาพระศาสดา หมู่ชนมีจิต

ร่าเริงเบิกบานบันเทิง เมื่อเขาเหล่านั้นเกิดความสังเวช

ปีติย่อมเกิดขึ้นแก่เรา เราประชุมญาติและมิตรแล้วได้

กล่าวคำนี้ว่า พระมหาวีรเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้กล่าวคำ

นี้ว่า พระมหาวีรเจ้าปรินิพพานแล้ว เชิญเรามาทำการ

บูชากันเถิด พวกเขารับคำว่า สาธุ แล้วทำความร่าเริง

ให้เกิดแก่เราอย่างยิ่งว่า พวกเราทำการก่อสร้างบุญ ใน

พระพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก เราได้สร้างเจดีย์อันมี

ค่าทำอย่างเรียบร้อย สูงร้อยศอก สร้างปราสาทสูงร้อย-

ห้าสิบศอก สูงจดท้องฟ้า ครั้นสร้างเจดีย์อันมีค่างดงาม

ด้วยระเบียบอันดีไว้ที่นั้นแล้ว ได้ยังจิตของตนให้เลื่อมใส

บูชาเจดีย์อันอุดม ปราสาทย่อมรุ่งเรือง ดังกองไฟโพลง

อยู่ในอากาศ เช่นพญารังกำลังดอกบาน ย่อมสว่างจ้า

ทั่วสี่ทิศ เหมือนสายฟ้าในอากาศ เรายังจิตให้เลื่อมใส

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 364

ในห้องพระบรมธาตุนั้น ก่อสร้างกุศลเป็นอันมาก ระลึก

ถึงกรรมเก่าแล้ว ได้เข้าถึงไตรทศ เราอยู่บนยานทิพย์

อันเทียมด้วยม้าสินธพพันตัว วิมานของเราสูงตระหง่าน

สูงสุดเจ็ดชั้น กูฏาคาร (ปราสาท) พันหนึ่ง สำเร็จด้วย

ทองคำล้วน ย่อมรุ่งเรือง ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว ด้วย

เดชของตน ในกาลนั้น ศาลาหน้ามุขแม้เหล่าอื่นอันสำเร็จ

ด้วยแก้วมณีมีอยู่ แม้ศาลาหน้ามุขเหล่านั้นก็โชติช่วง

ด้วยรัศมีทั่ว ๔ ทิศ โดยรอบกูฏาคารอันบังเกิดขึ้นด้วย

บุญกรรม อันบุญกรรมเนรมิตไว้เรียบร้อย สำเร็จด้วย

แก้วมณีโชติช่วง ทั่วทิศน้อยทิศใหญ่โดยรอบ โอภาส

แห่งกูฏาคารอันโชติช่วงอยู่เหล่านั้นเป็นสิ่งไพบูลย์ เรา

ย่อมครอบงำเทวดาทั้งปวงได้ นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม

เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครอบครองแผ่นดิน มีสมุทร-

สาครสี่เป็นขอบเขต เราเกิดเป็นกษัตริย์ นามว่า อุพพิทธะ

ชนะประเทศในที่สุดทิศทั้งสี่ ครอบครองแผ่นดินอยู่ใน

กัปที่หกหมื่น ในภัทรกัปนี้ เราได้เป็นเหมือนอย่างนั้น

๓๐ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีกำลังมาก ยินดีใน

กรรมของตน สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่

ในทวีปทั้ง ๔ ในครั้งนั้นปราสาทของเราสว่างไสวดัง

สายฟ้า ด้านยาว ๒๙ โยชน์ ด้านกว้าง ๑๒ โยชน์ พระ-

นครชื่อรัมมณะ มีกำแพงและค่ายมั่นคง ด้านยาว ๕๐๐

โยชน์ ด้านกว้าง ๒๕๐ โยชน์ คับคั่งด้วยหมู่ชน เหมือน

เทพนครของชาวไตรทศ เข็ม ๒๕ เล่มเขาใส่ไว้ในกล่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 365

เข็ม ย่อมกระทบกันและกัน เบียดเสียดกันเป็นนิตย์

ฉันใด แม้นครของเราก็ฉันนั้น เกลื่อนด้วยช้าง ม้า

และรถ คับคั่งด้วยหมู่มนุษย์ น่ารื่นรมย์ เป็นนครอุดม

เรากินและดื่มอยู่ในนครนั้น แล้วไปเกิดเป็นเทวดาอีก

ในภพที่สุด กุศลสมบัติได้มีแล้วแก่เรา เราสมภพใน

สกุลพราหมณ์ สั่งสมรัตนะมาก ละเงินประมาณ ๘๐

โกฏิเสียแล้วออกบวช คุณวิเศษเหล่านี้คือปฏิสัมภิทา ๔

วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว พระพุทธ-

ศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงสรรเสริญพระกัสสปเถระนั้น โดยนัยมี

อาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปะเปรียบเหมือนดวงจันทร์ เข้าไปหา

ตระกูล ไม่คะนองกายไม่คะนองจิต เป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ ไม่ทะนงตัวใน

ตระกูล ภายหลังนั่งในท่ามกลางแห่งหมู่พระอริยะ ทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง

อันเลิศ แห่งภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งธุดงค์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ

ผู้สาวกของเราผู้ถือธุดงค์ มหากัสสปะเป็นเลิศ. ท่านให้โอวาทแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย โดยระบุการยินดียิ่งในวิเวก เมื่อจะประกาศการปฏิบัติของตน

จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ผู้มีปัญญาเห็นว่า ไม่ควรอยู่คลุกคลีด้วยหมู่ เพราะ

เป็นเหตุทำใจให้ฟุ้งซ่าน ได้สมาธิโดยยาก การสงเคราะห์

ชนต่าง ๆ เป็นความลำบากดังนี้ จึงไม่ชอบใจหมู่คณะ

นักปราชญ์ไม่ควรเกี่ยวข้องกับตระกูลทั้งหลาย เพราะ

เป็นเหตุทำใจให้ฟุ้งซ่าน ได้สมาธิโดยยาก ผู้ที่เกี่ยวข้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 366

กับตระกูลนั้น ย่อมต้องขวนขวายในการเข้าไปสู่ตระกูล

มักติดรสอาหาร ย่อมละทิ้งประโยชน์อันจะนำความสุข

มาให้ นักปราชญ์กล่าวการกราบไหว้และการบูชาใน

ตระกูลทั้งหลาย ว่าเป็นเปือกตม และเป็นลูกศรที่

ละเอียดถอนได้ยาก บุรุษผู้เลวทรามย่อมละสักการะได้

ยากยิ่ง เราลงจากเสนาสนะแล้วก็เข้าไปบิณฑบาตยัง

นคร เราได้เข้ารูปหาบุรุษโรคเรื้อน ผู้กำลังบริโภคอาหาร

ด้วยความอ่อนน้อม บุรุษโรคเรื้อนนั้นได้น้อมเข้าซึ่งคำ

ข้าวด้วยมือโรคเรื้อน เมื่อเขาใส่คำข้าวลง นิ้วมือของเขา

ก็ขาดตกลงในบาตรของเรานี้ เราอาศัยชายคาเรือนฉัน

ข้าวนั้นอยู่ ในเวลาที่กำลังฉันและฉันเสร็จแล้ว เรามิได้

มีความเกลียดชังเลย ภิกษุใดไม่ดูหมิ่นปัจจัยทั้ง ๔ คือ

อาหารบิณฑบาตที่จะพึงลุกขึ้นยืนรับ ๑ บังสุกุลจีวร ๑

เสนาสนะคือโคนไม้ ๑ ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๑ ภิกษุ

นั้นแลสามารถจะอยู่ในจาตุรทิศได้ ในเวลาแก่ภิกษุ

บางพวกเมื่อขึ้นเขาย่อมลำบาก แต่พระมหากัสสปะผู้

เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ แม้

ในเวลาแก่ก็เป็นผู้แข็งแรงด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ย่อมขึ้นไป

ได้ตามสบาย พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน ละความ

หวาดกลัวภัยได้แล้ว กลับจากบิณฑบาตแล้ว ขึ้นสู่ภูเขา

เพ่งฌานอยู่ พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน เมื่อสัตว์

ทั้งหลายถูกไฟไหม้อยู่ เป็นผู้ดับไฟได้แล้ว กลับจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 367

บิณฑบาตแล้ว ขึ้นสู่ภูเขาเพ่งฌานอยู่ พระมหากัสสปะ

ผู้หมดอุปาทาน ทำกิจแล้วไม่มีอาสวะ กลับจากบิณฑบาต

แล้ว ขึ้นสู่ภูเขาเพ่งฌานอยู่ ภูมิภาคอันประกอบด้วย

ระเบียบแห่งต้นกุ่มทั้งหลาย น่ารื่นรมย์ใจ กึกก้องด้วย

เสียงช้างร้อง น่ารื่นรมย์ล้วนแล้วด้วยภูเขา ย่อมทำให้

เรายินดี ภูเขามีสีเขียวดุจเมฆ งดงาม มีธารน้ำเย็นใส

สะอาด ดารดาษไปด้วยหญ้ามีสีเหมือนแมลงค่อมทอง

ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขาอันสูงตระหง่านแทบจดเมฆ

เขียวชอุ่ม เปรียบปานดังปราสาท กึกก้องด้วยเสียง

ช้างร้อง น่ารื่นรมย์นัก ย่อมยังเราให้ยิน ภูเขาที่ฝน

ตกรดแล้ว มีพื้นน่ารื่นรมย์ เป็นที่อาศัยของเหล่าฤาษี

เซ็งแซ่ด้วยเสียงนกยูง ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ สถานที่

เหล่านั้นเหมาะสำหรับเราผู้ยินดีในการเพ่งฌาน มีใจ

เด็ดเดี่ยว มีสติ เหมาะสำหรับเราผู้ใคร่ประโยชน์ รักษา

ตนดีแล้ว ผู้เห็นภัยในภัยในวัฏสงสาร เหมาะสำหรับเรา

ผู้ปรารถนาความผาสุก มีใจเด็ดเดี่ยว เหมาะสำหรับเรา

ผู้ปรารถนาประกอบความเพียร มีใจแน่วแน่ ศึกษาอยู่

ภูเขาที่มีสีดังดอกผักตบ ปกคลุมด้วยหมู่เมฆบนท้องฟ้า

เกลื่อนกล่นด้วยหมู่นกต่าง ๆ ย่อมยังเราให้รื่นรมย์

ภูเขาอันไม่เกลื่อนกล่นด้วยผู้คน มีแต่หมู่เนื้ออาศัย

ดารดาษด้วยหมู่นกต่าง ๆ ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขาที่

มีน้ำใสสะอาด มีแผ่นหินเป็นแท่งทึบ เกลื่อนกล่นด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 368

ค่างและมฤคชาติ ดารดาษไปด้วยสาหร่าย ย่อมยังเรา

ให้รื่นรมย์ เราผู้มีจิตตั้งมั่น พิจารณาเห็นธรรมโดยชอบ

ย่อมไม่มีความยินดีด้วยดนตรีเครื่อง ๕ เช่นนั้น ภิกษุไม่

ควรทำงานให้มากนัก พึงเว้นคนผู้ไม่ใช่กัลยาณมิตร

เสีย ไม่ควรขวนขวายในลาภผล ท่านผู้ปฏิบัติเช่นนั้น

ย่อมจะต้องขวนขวายและติดในรสอาหาร ย่อมละทิ้ง

ประโยชน์อันจะนำความสุขมาให้ ภิกษุไม่พึงทำการงาน

ให้มากนัก พึงเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เสีย เมื่อภิกษุ

ขวนขวายในการงานมาก ก็จะต้องเยียวยาร่างกายลำบาก

ผู้มีร่างกายลำบากนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความสงบใจ

ภิกษุไม่รู้สิกตนด้วยเหตุสักว่า การท่องบ่นพุทธจวนะ

ย่อมท่องเที่ยวชูคอสำคัญตนว่าประเสริฐกว่าผู้อื่น ผู้ใดไม่

ประเสริฐเป็นพาล แต่สำคัญตนว่าประเสริฐกว่าเขา

เสมอเขา นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญผู้นั้น

ซึ่งเป็นผู้มีใจกระด้างเลย ผู้ใดไม่หวั่นไหวเพราะมานะ

๓ อย่าง คือ ว่าเราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา ๑ เสมอเขา ๑

เลวกว่าเขา ๑ นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้น

แหละว่า เป็นผู้มีปัญญามีวาจาจริง ตั้งมั่นดีแล้วในศีล

ทั้งหลาย และว่าประกอบด้วยความสงบใจ ภิกษุใดไม่มี

ความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ภิกษุนั้น

ย่อมห่างเหินจากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 369

ภิกษุเหล่าใดเข้าไปตั้งหิริและโอตตัปปะไว้ชอบทุกเมื่อ มี

พรหมจรรย์อันงอกงาม ภิกษุเหล่านั้นมีภพใหม่สิ้นแล้ว

ภิกษุผู้ยังมีใจฟุ้งซ่านกลับกลอก ถึงจะนุ่งห่มผ้าบังสุกุล

ภิกษุนั้นย่อมไม่งดงามด้วยผ้าบังสุกุลนั้น เหมือนกับวานร

คลุมด้วยหนังราชสีห์ฉะนั้น ส่วนภิกษุผู้มีใจไม่ฟุ้งซ่าน

ไม่กลับกลอก มีปัญญาเครื่องรักษาตน สำรวมอินทรีย์

ย่อมงดงามเพราะผ้าบังสุกุล ดังราชสีห์ในถ้ำฉะนั้น

เทพเจ้าผู้มีฤทธิ์มีเกียรติยศเป็นอันมากประมาณหมื่นและ

พรหมทั้งปวง ได้พากันมายืนประนมอัญชลี นอบ-

น้อมท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้มี

ฌานใหญ่ มีใจตั้งมั่น เปล่งวาจาว่า ข้าแต่ท่านบุรุษ

อาชาไนย ขอนอบน้อมแด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นอุดม-

บุรุษ ขอนอบน้อมแด่ท่าน ท่านย่อมเข่าฌานอยู่

เพราะอาศัยอารมณ์ใด ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมรู้ไม่ถึง

อารมณ์เหล่านั้นของท่าน น่าอัศจรรย์จริงหนอ วิสัยของ

ท่านผู้รู้ทั้งหลายลึกซึ้งยิ่งนัก ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้มา

ประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ นับว่าเป็นผู้เฉียบแหลมดังนาย

ขมังธนูก็ยังรู้ไม่ถึง ความยิ้มแย้มได้ปรากฏมีแก่ท่าน

พระกัปปินเถระ เพราะได้เห็นท่านพระสารีบุตรผู้ควรแก่

สักการบูชา อันหมู่ทวยเทพบูชาอยู่เช่นนั้นในเวลานั้น

ตลอดทั่วพุทธอาณาเขต ยกเว้นแต่สมเด็จพระมหามุนี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 370

องค์เดียวเท่านั้น เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในทางธุดงคคุณ

ไม่มีใครเทียมเท่าเลย เราเป็นผู้คุ้นเคยกับพระบรม-

ศาสดา เราทำคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลง

ภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้

แล้ว พระสมณโคดมผู้ทรงพระคุณหาประมาณมิได้ มี

พระทัยน้อมไปในเนกขัมมะ ทรงสละภพทั้ง ๓ ออก

ได้แล้ว ย่อมไม่ทรงติดอยู่ด้วยจีวร บิณฑบาต และ

เสนาสนะ เปรียบเหมือนบัวไม่ติดอยู่ด้วยน้ำฉะนั้น พระ-

องค์ทรงเป็นจอมนักปราชญ์ มีสติปัฏฐานเป็นพระศอ

มีศรัทธาเป็นพระหัตถ์ มีปัญญาเป็นพระเศียร ทรงพระ-

ปรีชามาก ทรงดับเสียแล้วซึ่งกิเลสและกองทุกข์ตลอด

กาลทุกเมื่อ.

ในคาถาเหล่านั้น ๓ คาถาข้างต้น ท่านเห็นภิกษุทั้งหลายผู้คลุกคลี

ในคณะและตระกูล แล้วกล่าวด้วยการให้โอวาทแก่ภิกษุเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น คเณน ปุรกฺขโต จเร ความว่า

เป็นผู้ได้รับการยกย่อง คือห้อมล้อมด้วยคณะของภิกษุ ไม่พึงประพฤติ

คือไม่พึงอยู่. เพราะเหตุไร ? เพราะเป็นผู้ทำใจให้ฟุ้งซ่าน ได้สมาธิโดย

ยาก เหตุผู้บริหารคณะมีใจขวนขวายในการให้เกิดทุกข์ เมื่อกระทำการ

อนุเคราะห์ด้วยอุทเทส โอวาท และอนุสาสนี ย่อมเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน

คือมีจิตวิการเพราะไม่ปฏิบัติตามความพร่ำสอน จากนั้นเมื่อไม่ได้อารมณ์

เป็นหนึ่งเพราะการคลุกคลี สมาธิก็ได้โดยยาก, แม้เพียงอุปจารสมาธิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 371

ก็ไม่สำเร็จแก่ภิกษุผู้เช่นนั้น จะป่วยการไปไยถึงภิกษุนอกนี้เล่า.

บทว่า นานาชนสงฺคโม ได้แก่ การสงเคราะห์ชนผู้มีอัธยาศัย

ต่างกัน คือผู้มีความชอบใจต่างกัน ด้วยคำพูดที่น่ารักเป็นต้น.

บทว่า ทุโข แปลว่า ยาก คือลำบาก.

บทว่า อิติ ทิสฺวาน ความว่า เห็นโทษมากมายในการสงเคราะห์

หมู่คณะด้วยอาการอย่างนี้ แล้วแลดูด้วยญาณจักษุ, ไม่พึงใจคือไม่พึง

ชอบใจหมู่คณะ คือการอยู่ด้วยหมู่คณะ.

บทว่า น กุลานิ อุปพฺพเช มุนิ ความว่า บรรพชิตในศาสนา

นี้ ไม่พึงเป็นผู้เข้าถึงตระกูลกษัตริย์เป็นต้น. เพราะเหตุไร ? เพราะ

เป็นผู้มีใจฟุ้งซ่าน ได้สมาธิโดยยาก. เขาเป็นผู้ขวนขวาย คือถึงความ

ขวนขวายในการเข้าไปหาตระกูล เป็นผู้ติด คือถึงความติดข้องในรส

อร่อยเป็นต้น ที่จะพึงได้ในตระกูล ได้แก่ถึงความพยายามด้วยตนเองใน

กิจน้อยใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้น.

บทว่า อตฺถ ริญฺจติ โย สุขาวโห ความว่า สภาวะใดนำสุข

อันเกิดแต่มรรคผลและนิพพานแก่ตน ย่อมล้างคือละ อธิบายว่า ย่อม

ไม่ตามประกอบประโยชน์ กล่าวคือ ศีลวิสุทธิ เป็นต้นนั้น.

คาถาที่ ๓ ได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

๔ คาถาว่า เสนาสนมฺหา โอรุยฺห เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถ

ให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ธรรมดาว่า ภิกษุพึงปฏิบัติอย่างนี้ โดย

ยกการแสดงความที่ตนสันโดษในปัจจัยเป็นนิทัศน์. บรรดาบทเหล่านั้น

ด้วยบทว่า เสนาสนมฺหา โอรุยฺห ท่านกล่าวหมายถึงเสนาสนะบน

ภูเขา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 372

บทว่า สกฺกจฺจ ต อุปฏฺหึ ความว่า เป็นผู้ต้องการด้วยภิกษา

เพราะเป็นผู้ประสงค์จะให้บุรุษโรคเรื้อนนั้น ได้รับสมบัติอันโอฬาร จึง

เข้าไปยืนอยู่โดยความเอื้อเฟื้อ เหมือนบุคคลผู้ปรารถนามากซึ่งตระกูล

ผู้ให้ภิกษาอันประณีตฉะนั้น.

บทว่า ปกฺเกน ความว่า อันคอดกิ่วจวนหลุดแล้ว เพราะ

โรคเรื้อนที่กินถึงกระดูก.

บทว่า องฺคุลิ เจตฺถ ฉิชฺชถ ความว่า นิ้วมือของเขานั้นขาด

ลงในบาตรของเรานั้น ตกไปพร้อมกับอาหาร.

บทว่า กุฏฺฏมูล นิสฺสาย ความว่า เราจักนั่งในที่ใกล้ฝาเรือน

เช่นนั้น แล้วฉันคือบริโภคคำข้าวนั้น เพื่อให้บุรุษนั้นเกิดความเลื่อมใส.

ก็การปฏิบัติของพระเถระนี้ พึงเห็นว่า เกิดขึ้นในเมื่อยังไม่บัญญัติ

สิกขาบท. เมื่อพระเถระฉันอาหารนั้น ความหิวไม่เกิดขึ้น เพราะ

ความสำเร็จอันเป็นข้าศึก อันรู้กันว่าเป็นของไม่ปฏิกูล เหมือนในของ

ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูล. แต่เมื่อปุถุชนบริโภคอาหารเช่นนั้น ลำไส้

ใหญ่พึงขย้อนออกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อกำลังกิน

ก็ดี กินแล้วก็ดี ความรังเกียจของเราย่อมไม่มี.

บทว่า อุตฺติฏฺปิณฺโฑ ความว่า พึงลุกขึ้นยืนที่ประตูเรือนของ

คนเหล่าอื่นแล้วพึงรับบิณฑบาต. อธิบายว่า อาศัยกำลังแข้งแล้วไปตาม

ลำดับเรือน พึงได้ภิกษาที่ระคนกัน.

บทว่า ปูติมุตฺต ได้แก่ ชิ้นสมอที่ดองด้วยน้ำมูตรโคเป็นต้น.

บทว่า ยสฺเสเต อภิสมฺภุตฺวา ความว่า ภิกษุใดไม่ดูหมิ่น ยินดี

ยิ่งบริโภคปัจจัย ๔ มีบิณฑะอันบุคคลพึงลุกขึ้นยืนรับเป็นต้นเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 373

บทว่า ส เว จาตุทฺทิโส นโร ความว่า บุคคลนั้น เป็นผู้เที่ยวไป

ในทิศโดยส่วนเดียว คือประกอบในทิศทั้ง ๔ มีทิศตะวันออกเป็นต้น,

อธิบายว่า ไม่กระทบกระทั่งในที่ใดที่หนึ่ง สามารถเพื่อจะอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง.

ลำดับนั้น พระเถระในเวลาที่ตนเป็นคนแก่ เมื่อพวกมนุษย์

กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อชราเห็นปานนี้เป็นไปอยู่ อย่างไรท่าน

จึงขึ้นภูเขาทุกวันๆ จึงได้กล่าว ๔ คาถา โดยนัยมีอาทิว่า ยตฺถ เอเก

ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ในปัจฉิมวัยใด.

บทว่า เอเก แปลว่า บางพวก. บทว่า วิหญฺนฺติ ความว่า มีจิต

ลำบากเพราะสรีระถึงความคับแค้น.

บทว่า สิลุจฺจย ได้แก่ ซึ่งภูเขา. บทว่า ตตฺถ ความว่า แม้

ในเวลาแก่คร่ำคร่านั้น. ด้วยบทว่า สมฺปชาโน ปฏิสฺสโต นี้ ท่านแสดง

ความไม่มีความลำบากใจ.

ด้วยบทว่า อิทฺธิพเลนุปตฺถทฺโธ นี้ ท่านแสดงถึงความไม่มีความ

ลำบากแห่งสรีระ.

ชื่อว่า ละภัยและความขลาดกลัวเสียได้ เพราะตัดกิเลสอันเป็นเหตุ

แห่งความกลัวเสียได้.

บทว่า ฑยฺหมาเนสุ ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายถูกไฟ ๑๑ กอง

มีไฟคือราคะเป็นต้นแผดเผา. ชื่อว่าดับสนิทคือเป็นผู้เย็น เพราะไม่มี

ความเร่าร้อนด้วยสังกิเลส. เมื่อพวกมนุษย์กล่าวอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

แม้ในเวลาแก่ท่านอยู่เฉพาะบนภูเขาในป่าเท่านั้นหรือ ? วิหารทั้งหลาย

มีเวฬุวันเป็นต้นเหล่านี้ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจมิใช่หรือ ? เมื่อจะแสดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 374

ว่า ภูเขาที่อยู่ในป่านั้นแลเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ จึงได้กล่าว ๑๒ คาถา

มีอาทิว่า กเรริมาลาวิตตา ดังนี้. พระคาถาเหล่านั้น บทว่า กเรริมาลา-

วิตตา ความว่า ประกอบด้วยแนวแห่งต้นกุ่มทั้งหลาย. อาจารย์บางพวก-

กล่าวว่า อันดอกไม้มีสีตามฤดูกาลปกคลุมแล้ว. บทว่า กุญฺชราภิรุทา

ความว่า ถูกช้างผู้เที่ยวหากินตัวซับมัน อันเป็นคุณแห่งความสะท้อนเสียง

เป็นต้นย่ำยี.

บทว่า อภิวุฏฺา ความว่า อันมหาเมฆยังฝนให้ตกแล้ว. บทว่า

รมฺมตลา ความว่า ชื่อว่า มีพื้นอันน่ารื่นรมย์ เพราะปราศจากความ

สกปรกดุจเปือกตม และสิ่งอันเกื้อกูลแก่ใบไม้เป็นต้นนั้นนั่นเอง. บทว่า

นคา ความว่า ภูเขา อันได้นามว่า นคะ เพราะไม่ไปสู่ถิ่นอื่น และ

ชื่อว่า เสละ เพราะล้วนแต่หิน. บทว่า อพฺภุนฺนทิตา สิขีหิ ความว่า

กึกก้องไปด้วยเสียงร้องไพเราะ.

บทว่า อล แปลว่า ควรแล้ว หรือสามารถ. แม้ในบทว่า

ฌายิตุกามสฺส อตฺถกามสฺส ดังนี้เป็นต้น ก็พึงประกอบโดยนัยนี้.

บทว่า ภิกฺขุโน เชื่อมความว่า ได้แก่ ภิกษุผู้ทำลายกิเลสแล้วนั่นแล.

บทว่า อุมาปุปฺเผน สมานา ความว่า เสมือนกับดอกผักตบ

เพราะสีเหมือนกับสีเขียวคราม.

บทว่า คคนาวพฺภฉาทิตา ความว่า ดารดาษไปด้วยเมฆดำ

เหมือนเมฆหมอกในอากาศ แห่งฤดูใบไม้ร่วงนั้นนั่นเอง อธิบายว่า

มีสีดำ.

บทว่า อนากิณฺณา ความว่า ไม่เกลื่อนกล่น คือไม่คับแคบ.

บทว่า ปญฺจงฺคิเกน ความว่า เมื่อแวดล้อมไปด้วยดุริยางค์อัน

ประกอบด้วยองค์ ๕ มีกลองขึงหน้าเดียวเป็นต้น ความยินดีแม้เช่นนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 375

ก็ไม่มี อย่างความยินดีของบุคคลผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือผู้มีจิตตั้งมั่น

พิจารณารูปธรรมและนามธรรมโดยชอบแท้ ด้วยอำนาจอนิจจลักษณะ

เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า

ในกาลใด ๆ บุคคลพิจารณาเห็นการเกิดขึ้นและการ

ดับไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ เขาย่อมได้ปีติ

และปราโมช ปีติและปราโมชนั้น เป็นอมตะของผู้รู้แจ้ง.

ท่านกล่าว ๒ คาถา โดยนัยมีอาทิว่า กมฺม พหุก ดังนี้ ด้วย

อำนาจให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีการงานที่มายินดี ผู้อยากได้ปัจจัย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺม พหุก น การเย ความว่า เป็นผู้มี

กรรมเป็นที่มายินดี ไม่พึงให้ทำการงาน คือไม่พึงอธิษฐานซึ่งการงานชื่อ

เป็นอันมาก แต่การซ่อมแซมสิ่งที่หักพังทำลาย พระศาสดาทรงอนุญาต

แล้วนั้นแล. บทว่า ปริวชฺเชยฺย ชน ความว่า พึงเว้นคนผู้ไม่เป็น

กัลยาณมิตร. บทว่า น อุยฺยเม ความว่า ไม่พึงทำความพยายามด้วย

อำนาจ เพื่อให้ปัจจัยเกิดขึ้นและเพื่อคุมคณะ.

บทว่า อนตฺตเนยฺยเมต ความว่า การอธิษฐานนวกรรมเป็นต้น

นี้ ไม่เป็นเหตุนำมาซึ่งประโยชน์แก่ตน. ในข้อนั้นท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า

กายย่อมลำบาก ย่อมฝืดเคือง ก็เมื่อขวนขวายนวกรรมเป็นต้น เที่ยว

ไปในที่นั้น ๆ เขาย่อมประสบยาก คือย่อมลำบาก ย่อมถึงความลำบาก

เพราะไม่ได้สุขทางกายเป็นต้น และชื่อว่า ได้รับทุกข์เพราะการลำบาก

กายนั้น. อธิบายว่า บุคคลนั้นย่อมไม่ได้ความสงบ คือไม่ได้ความ

ยึดมั่นทางจิต เพราะไม่มีการกระทำวัตถุให้สลสลวยแก่การแนะนำตน.

ท่านกล่าว ๒ คาถา โดยนัยมีอาทิว่า โอฏฺปฺปหตมตฺเตน เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 376

ท่านกล่าวด้วยสามารถการติเตียนบุคคลผู้มีมานะว่าตัวเป็นบัณฑิต ผู้มีสุตะ

เป็นอย่างยิ่ง กล่าว ๒ คาถาถัดจากนั้น ด้วยอำนาจการสรรเสริญบัณฑิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอฏฺปฺหตมตฺเตน ความว่า ด้วยเหตุ

เพียงการขยับปาก โดยยกการท่องบ่นเป็นประธาน อธิบายว่า ด้วยเหตุ

เพียงการทำการท่องบ่นพระพุทธพจน์.

บทว่า อตฺตานมฺปิ น ปสฺสติ ความว่า ย่อมไม่รู้อรรถ แม้

อันเป็นข้าศึกแก่ตน เพราะรู้สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ อธิบายว่า ย่อมไม่

กำหนดประมาณของตนตามความเป็นจริง.

บทว่า ปตฺถทฺธคีโว จรติ ความวา เป็นผู้กระด้างเพราะมานะว่า

เราเป็นพหูสูต มีสติ มีปัญญา ไม่มีตนอื่นเสมือนเรา ไม่เห็นการนอบ-

น้อมแม้ต่อบุคคลผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู เป็นผู้มีคอยาว ประพฤติเหมือน

กลืนกินซี่เหล็กตั้งอยู่.

บทว่า อห เสยฺโยติ มญฺติ ความว่า ย่อมสำคัญว่า เรา

เท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐคือสูงสุด.

บทว่า อเสยฺโย เสยฺยสมาน, พาโล มญฺติ อตฺตาน

ความว่า ผู้นี้เป็นผู้ไม่ประเสริฐ เป็นคนเลว เป็นคนพาล มีความรู้น้อย

ย่อมสำคัญตน กระทำให้เสมอ คือให้เหมือนกันกับผู้อื่น ผู้ประเสริฐคือ

สูงสุด โดยความที่เป็นคนพาลนั้นเอง.

บทว่า น ต วิฺญู ปสสนฺติ ความว่า ผู้รู้คือบัณฑิตทั้งหลาย

ย่อมไม่สรรเสริญคนพาลนั้นคือผู้เช่นนั้น ผู้มีใจกระด้าง คือผู้มีตน

กระด้าง เพราะมีจิตประคองไว้ โดยที่แท้ย่อมติเตียนเท่านั้น.

บทว่า เสยฺโยหมสฺมิ ความว่า ก็บุคคลใดเป็นบัณฑิต ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 377

สาธยายถึงมานะแม้บางอย่างว่า เราเป็นผู้ประเสริฐ หรือว่าเราเป็น

ผู้ไม่ประเสริฐ ด้วยอำนาจมีมานะเสมือนกับคนเลว ย่อมไม่หวั่นไหวด้วย

อำนาจมานะบางอย่าง ในบรรดาส่วนแห่งมานะ ๙ อย่าง.

บทว่า ปญฺวนฺต ความว่า ชื่อว่า ผู้มีปัญญา ด้วยอำนาจ

ปัญญาอันเกิดแต่อรหัตผล. ชื่อว่า ผู้คงที่ เพราะถึงความเป็นผู้คงที่

ในอารมณ์ทั้งหลาย มีอิฏฐารมณ์เป็นต้น ชื่อว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในศีล

เพราะตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในอเสขผลศีลทั้งหลาย. ชื่อว่า ผู้มีจิตประกอบเนือง ๆ

ซึ่งเจโตสมถะ เพราะเข้าอรหัตผลสมาบัติ.

บทว่า เจโตสมถมนุยุตฺต ความว่า ผู้รู้คือบัณฑิตทั้งหลาย มี

พระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมสรรเสริญ คือย่อมชมเชยบุคคลเช่นนั้นผู้ละ

มานะได้แล้ว คือผู้สิ้นอาสวะแล้วโดยประการทั้งปวง.

ท่านเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ว่ายากอีก ชื่อว่าผู้มีโทษ เมื่อจะประกาศ

โทษแห่งความเป็นผู้ว่ายาก และอานิสงส์แห่งความเป็นผู้ว่าง่าย จึงกล่าว

๒ คาถา มีอาทิว่า ยสฺส สพฺรหฺมจารีสุ ดังนี้. คาถานั้นมีอรรถดังกล่าว

แล้วนั่นแล.

ครั้นท่านเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ผู้มีมานะดังไม้อ้ออันยกขึ้นแล้วอีก

เมื่อจะประกาศโทษในความเป็นผู้มีจิตอัมมานะยกขึ้นแล้วเป็นต้น และ

คุณในความเป็นผู้ไม่มีจิตอันมานะยกขึ้นแล้วเป็นต้น จึงได้กล่าว ๒ คาถา

มีอาทิว่า อุทฺธโต จปโล ภิกฺขุ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปีว

สีหจมฺเมน ความว่า ภิกษุนั้นคือผู้ประกอบด้วยโทษมีความเป็นผู้มีจิต

อันมานะยกขึ้นแล้วเป็นต้น เหมือนลิงห่มหนังราชสีห์ย่อมไม่งดงาม ด้วย

ธงแห่งพระอริยะอันเปื้อนด้วยฝุ่นนั้น เพราะไม่มีคุณแห่งอริย.

ก็เพื่อจะแสดงผู้งดงามนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อนุทฺธโต ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 378

๕ คาถาว่า เอเต สมฺพหุลา ดังนี้เป็นต้น ท่านเห็นเทพทั้งหลาย

ผู้นับเนื่องในพรหม ผู้นมัสการท่านพระสารีบุตร แล้วกล่าวนิมิตคือการทำ

การแย้มให้ปรากฏแก่ท่านพระกัปปินะ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอเต

ท่านกล่าวโดยความที่ท่านเหล่านั้นปรากฏแล้ว. บทว่า สมฺพหุลา แปลว่า

เพราะมีมาก. แต่ท่านกำหนดภาวะที่มีมากนั้น จึงกล่าวว่า ทสเทวสหสฺ-

สานิ มีเทพ ๑๐,๐๐๐ ดังนี้. เมื่อจะแสดงความที่ท่านเหล่านั้นเป็นเทพ

นั้น ให้เเปลกออกไปว่า อญฺเ เหล่าอื่น จึงกล่าวว่า สพฺเพ เต

พฺรหฺมกายิกา ดังนี้. เพราะเหตุที่ท่านเหล่านั้น ประกอบด้วยอุปบัติฤทธิ์

เทวฤทธิ์ใหญ่ของตน และเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยบริวาร ฉะนั้นท่านจึง

กล่าวว่า อิทฺธิมนฺโต ยสฺสสิโน ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสว่า สารีบุตร อนุวัตรตามธรรมจักร

อันเราประกาศแล้วได้ยอดเยี่ยมดังนี้ ด้วยอำนาจการถามว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ พระสารีบุตรเป็นเสนาบดีอะไรหนอ จึงทรงอนุญาตที่ท่านพระ-

สารีบุตรเถระเป็นพระธรรมเสนาบดี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สารี-

บุตร พระธรรมเสนาบดีผู้มีความเพียร เพ่งฌานใหญ่ ผู้มีจิตตั้งมั่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วีร ความว่า ผู้มีความเพียร ผู้มีความกล้าหาญ

มาก เพราะย่ำยีกิเลสมารเป็นต้นเสียได้. บทว่า มหาฌายึ ชื่อว่า ผู้เพ่งฌาน

ใหญ่ เพราะเข้าถึงธรรมอันสูงสุดแห่งทิพวิหารธรรมเป็นต้น. ชื่อว่า ผู้มีจิต

ตั้งมั่น ด้วยอำนาจกำจัดความฟุ้งซ่านโดยประการทั้งปวง เพราะเหตุนั้น

นั่นแล. บทว่า นมสฺสนฺตา ความว่า ยืนประคองอัญชลีนมัสการเหนือ

เศียรเกล้า.

บทว่า ยมฺปิ นิสฺสาย ความว่า พรหมทั้งหลายปรารภ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 379

อาศัยเพ่งอารมณ์อย่างใดหนอ เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวอย่างนี้ โดย

ความเป็นปุถุชนว่า เราไม่รู้.

บทว่า อจฺฉริย วต แปลว่า น่าอัศจรรย์หนอ.

บทว่า พุทฺธาน ได้แก่ ผู้รู้สัจจะ ๔.

บทว่า คมฺภีโร โคจโร สโก ความว่า ลึกอย่างยิ่ง คือเห็น

ได้ยากยิ่ง หยั่งรู้ได้ยาก ไม่ทั่วไปคือไม่ใช่วิสัยปุถุชน. บัดนี้ เพื่อจะ

แสดงเหตุในภาวะที่ธรรมลึกซึ้ง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เย มย ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาลเวธิสมาคตา ความว่า พวกเราใดเป็น

เสมือนนายขมังธนูผู้ยิงขนทราย สามารถแทงตลอดวิสัยแม้อันละเอียดได้

มาแวดล้อมยังไม่รู้. วิสัยของพระพุทธเจ้าลึกซึ้งหนอ.

บทว่า ต ตถา เทวกาเยหิ ความว่า ความยิ้มแย้มได้ปรากฏ

แก่ท่านพระมหากัปปยนะ เพราะได้เห็นท่านพระสารีบุตรเห็นปานนั้น ผู้ควร

แก่การบูชาของชาวโลกพร้อมด้วยเทวโลก ผู้อันหมู่พรหมเหล่านั้นบูชา

แล้ว โดยประการนั้น ๆ อธิบายว่า เป็นวิสัยของพระสาวกทั้งหลายใน

ที่ไม่เป็นวิสัยแม้ของพวกพรหม ซึ่งโลกสมมติกันแล้วนี้.

คาถาว่า ยาวตา พุทฺธเขตฺตมฺหิ พระเถระปรารภตนแล้วกล่าว

ด้วยการบันลือสีหนาทให้มีขึ้น.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า พุทฺธเขตฺตมฺหิ ท่านกล่าวหมาย

เอาอาณาเขต (เขตอำนาจ).

บทว่า ปยิตฺวา มหามุนึ ได้แก่ เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ถึงความเป็นผู้สูงสุดอย่างยิ่ง

กว่าสรรพสัตว์ แม้โดยคุณคือธุดงคคุณนั่นแล. แต่พระองค์มีพระทัยอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 380

พระมหากรุณากระตุ้นเตือนอย่างเดียว จึงทรงพิจารณาดูอุปการะใหญ่

เช่นนั้นของสัตว์ทั้งหลาย ทรงอนุวัตรตามการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้านเป็น

ต้น จึงเป็นข้าศึกต่อธุตธรรมนั้น ๆ

บทว่า ธุตคุเณ ความว่า ซึ่งคุณอันไม่เพ่งพินิจโดยภาวะแห่งผู้

อยู่ป่าเป็นต้น ด้วยคุณอันกำจัดกิเลสทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

ธุตคุเณ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถตติยาวิภัตติ. คุณเช่นนั้นของ

เราไม่มี. อธิบายว่า ก็คุณอันยิ่งจักมีแต่ที่ไหน. จริงอย่างนั้น พระเถระ

นี้ อันพระศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งอันเลิศนั้น.

ท่านการทำความที่กล่าวแล้วว่า ปยิตฺวา มหามุนึ นั่นแล ให้

ปรากฏชัดด้วยคาถาว่า น จีวเร ดังนี้. การไม่เข้าไปฉาบทาด้วยตัณหา

ในจีวรเป็นต้น เป็นผลแห่งธุดงค์, ในข้อนั้นมีวาจาประกอบความว่า

ไม่ติดด้วยอำนาจตัณหาในเมื่อจีวรพร้อมมูล.

บทว่า สยเน ได้แก่ เสนาสนะ ที่นอนและที่นั่ง.

ท่านระบุพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระโคตรว่า โคตมโคตร.

บทว่า อนปฺปเมยฺโย ความว่า ไม่พึงประมาณได้ เพราะไม่มี

กิเลสเครื่องกระทำประมาณ และเพราะมีคุณประมาณไม่ได้.

บทว่า มุฬาลปุปฺผ วิมลว อมฺพุนา ความว่า ดอกอุบลเขียว

ปราศจากมลทิน ปราศจากธุลี ไม่คิดด้วยน้ำ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้โคตมะก็ฉันนั้น ย่อมไม่ติดด้วยการติดด้วยอำนาจตัณหาเป็นต้น, ท่าน

เป็นผู้น้อมไปในเนกขัมมะ คือโน้มไปในอภิเนษกรมณ์ เพราะเหตุนั้น

นั่นแล ท่านจึงสลัดออกจากภพทั้ง ๓ คือปราศจากไป ไม่ประกอบ

ด้วยภพ ๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 381

ท่านไม่ติดอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะบริบูรณ์ด้วยภาวนาธรรม

อันมีสติปัฏฐานเป็นพระศอเป็นต้น ได้เป็นผู้น้อมไปในเนกขัมมะเท่านั้น

โดยแท้ เมื่อจะแสดงสติปัฏฐานเป็นต้นอันเป็นองค์เหล่านั้น ท่านจึง

กล่าวคาถาสุดท้ายว่า สติปฏฺานคีโว ดังนี้เป็นต้น.

สติปัฏฐานเป็นพระศอของพระองค์เพราะเป็นที่ตั้งแห่งปัญญา อัน

เป็นองค์สูงสุดกว่ากองแห่งคุณ ในคาถานั้น เพราะเหตุนั้น พระองค์

ชื่อว่า มีสติปัฏฐานเป็นพระศอ ศรัทธาในการยึดถือธรรมอันหาโทษ

มิได้เป็นพระหัตถ์ของพระองค์ เหตุนั้นพระองค์ชื่อว่า มีศรัทธาเป็น

พระหัตถ์. มีปัญญาเป็นพระเศียร เพราะเป็นอวัยวะสูงสุดแห่งสรีระคือ

คุณ เป็นพระเศียรของพระองค์ เหตุนั้นพระองค์ชื่อว่ามีพระปัญญา

เป็นพระเศียร, ญาณกล่าวคือพระสัพพัญญุตญาณอันใหญ่ เพราะเป็น

ที่มาของมหาสมุทร เพราะมีอารมณ์มาก เพราะมีอานุภาพมาก และ

เพราะมีกำลังมาก ของพระองค์มีอยู่ เหตุนั้นพระองค์ชื่อว่า ผู้มีพระญาณ

มาก. พระองค์ดับสนิท คือเย็นสนิท เที่ยวไปในกาลทุกเมื่อ คือตลอด

กาลทั้งปวง. ก็ควรแสดงไขสุตตบทในคำนี้ว่า สุสมาหิโต . . . ฯ ล ฯ . . .

นาโค. ก็ในข้อนั้นคำที่ยังไม่ได้จำแนกโดยอรรถ คำนั้นมีนัยดังกล่าวใน

หนหลังนั้นแล.

จบอรรถกถามหากัสสปเถรคาถาที่ ๑

จบปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา

จัตตาลีสนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 382

เถรคาถา ปัญญาสนิบาติ

๑. ตาลปุฏเถรคาถา

ว่าด้วยจิตใต้สำนึก

[๓๙๙] เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้อยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีตัณหา

เป็นเพื่อนสอง ณ ภูเขาและซอกเขา. เมื่อไรหนอ เราจึง

จักพิจารณาเห็นแจ้งภพทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง

ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้เป็นนักปราชญ์ นุ่งห่มผ้า

กาสาวพัสตร์อันเศร้าหมอง ไม่มีความยึดมั่น ไม่มีความ

หวัง เป็นผู้ฆ่าราคะ โทสะ และโมหะได้ แล้วเที่ยวไป

ตามป่าใหญ่อย่างสบาย ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จ

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้เห็นแจ้งซึ่งร่างกายนี้ อัน

เป็นของไม่เที่ยง เป็นรังแห่งโรค คือความตาย ถูกความ

ตายและความเสื่อมโทรมบีบคั้นแล้ว เป็นผู้ปราศจากภัย

อาศัยอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ความตรึกเช่นนี้ของเราจัก

สำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้ถือเอาซึ่งดาบอันคมกริบ คือ

อริยมรรคอันสำเร็จด้วยปัญญา แล้วตัดเสียซึ่งลดาชาติ

คือตัณหาอันก่อให้เกิดภัย นำมาซึ่งทุกข์ เป็นเหตุให้คิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 383

วนเวียนไปในอารมณ์ภายนอก ความตรึกเช่นนี้ของเรา

จักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้ถือเอาซึ่งศาสตราอันสำเร็จ

ด้วยปัญญา มีเดชานุภาพมากของฤาษี คือพระพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยสาวก แล้วหักรานเสีย

ซึ่งกิเลสมารพร้อมทั้งเสนาโดยเร็วพลัน เหนือเถรอาสน์

มีลีลาศดังราชสีห์ ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จ

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้มี

ความหนักแน่นในธรรม ผู้คงที่ มีปกติเห็นตามความเป็น

จริง มีอินทรีย์อันชนะแล้ว จักเห็นว่าเราบำเพ็ญเพียร

ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ ความเกียจคร้าน ความหิวระหาย ลม

แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เสือกคลานทั้งหลายจึงจักไม่

เบียดเบียนเรา ตามซอกเขา ข้อนั้นเป็นความประสงค์

ของเรา ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักเป็นผู้มีจิตมั่นคง มีสติ ได้บรรลุ

อริยสัจ ๔ ที่เห็นได้แสนยาก อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงทราบแล้วด้วยปัญญา

ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักประกอบด้วยความสงบระงับ

จากเครื่องเร่าร้อนใจในเพราะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 384

ฐัพพะ และธรรมารมณ์ ที่เรายังไม่รู้เท่าถึง พิจารณาเห็น

ด้วยปัญญา ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เมื่อเราถูกว่ากล่าวติเตียนด้วยถ้อยคำชั่ว

หยาบแล้ว จักไม่เดือดร้อนใจเพราะถ้อยคำชั่วหยาบนั้น

อนึ่ง ถึงเขาจะสรรเสริญก็จักไม่ยินดีเพราะถ้อยคำเช่นนั้น

ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักพิจารณาเห็นสภาพภายใน

กล่าวคือเบญจขันธ์ และรูปธรรมเหล่าอื่นที่ยังไม่รู้ทั่วถึง

และสภาพภายนอก คือต้นไม้ หญ้า และลดาชาติ ว่า

เป็นสภาพเสมอกัน ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จ

เมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ ฝนที่ตกในเวลาปัจจุสมัย จักตกรดเรา

ผู้นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ผู้ปฏิบัติอยู่ในมรรคปฏิปทาที่

นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นดำเนินไปแล้ว ด้วยน้ำ

ใหม่อยู่ในป่า ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไร

หนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้ฟังเสียงร่ำร้องแห่งนกยูง

และทิชาชาติในป่าและซอกเขา ลุกขึ้นจากการนอนแล้ว

พิจารณาธรรมโดยความไม่เที่ยง เพื่อบรรลุอมตธรรม

ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักข้ามพ้นแม่น้ำคงคา ยมุนา

สรัสสดี ที่ไหลไปกระทั่งถึงบาดาล เป็นปากน้ำใหญ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 385

น่ากลัวนัก ไปได้ด้วยฤทธิ์โดยไม่ติดขัด ความตรึกเชนนี้

ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักเว้นความเห็นว่านิมิตงามทั้งปวง

เสียโดยเด็ดขาด ขวนขวายอยู่ในฌาน แล้วทำลาย

ความพอใจในกามคุณทั้งหลายเสียได้ เหมือนช้างทำลาย

เสาตะลุงและโซ่เหล็กแล้ว เที่ยวไปในสงครามฉะนั้น

ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักละความพอใจในกามคุณ ได้

บรรลุคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

แล้วเกิดความยินดีเปรียบเหมือนลูกหนี้ผู้ขัดสน เมื่อถูก

เจ้าหนี้บีบคั้นแล้ว แสวงหาทรัพย์มาได้และชำระหนี้

เสร็จแล้ว พึงดีใจฉะนั้น ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จ

เมื่อไรหนอ.

ดูก่อนจิต ท่านได้อ้อนวอนเราเป็นเวลาหลายปีแล้ว

ว่าท่านไม่สมควรอยู่ครองเรือนเลย บัดนี้เราก็ได้บวชสม

ประสงค์แล้ว เหตุไฉนท่านจึงละทิ้งสมถวิปัสสนา มัว

แต่เกียจคร้านอยู่เล่า.

ดูก่อนจิต ท่านได้อ้อนวอนเรานาแล้วมิใช่หรือว่า ฝูง

นกยูงมีขนปีกอันแพรวพราว และเสียงกึกก้องแห่งธาร

น้ำตกตามซอกเขา จักยังท่านผู้เพ่งฌานอยู่ในป่าให้

เพลิดเพลิน เรายอมสละญาติและมิตรที่รักใคร่ในตระกูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 386

สลัดความยินดีในการเล่นและกามคุณในโลกได้หมดแล้ว

ได้เข้าถึงป่าและบรรพชาเพศนี้แล้ว.

ดูก่อนจิต ส่วนท่านไม่ยินดีต่อเราผู้ดำเนินตามเสีย

เลย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่าจิตนี้เป็นของเรา ไม่ใช่ของ

ผู้อื่น จะประโยชน์อะไรด้วยการร้องไห้ร่ำพิไร ในเวลา

ทำสงครามกับกิเลสมาร เพราะจิตทั้งหมดนี้เป็นธรรมชาติ

หวั่นไหว ดังนี้จึงได้ออกบวช แสวงหาทางอันไม่ตาย.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลาย ผู้

เป็นจอมท้าวสักกเทวราช เป็นจอมสารถีฝึกนระ ตรัส

ภาษิตไว้ว่า จิตนี้กวัดแกว่งเช่นวานร ห้ามได้แสนยาก

เพราะยังไม่ปราศจากความกำหนัด ปุถุชนทั้งหลายผู้ไม่รู้

เท่าทัน พัวพันอยู่ในกามทั้งหลาย อันล้วนแต่เป็นของ

งดงาม มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ เขาเหล่านั้นเป็นผู้แสวง

หาภพใหม่ กระทำแต่สิ่งไร้ประโยชน์ ชื่อว่าประสงค์

ทุกข์ ย่อมถูกจิตนำไปสู่นรกโดยแท้.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราไว้ว่า ท่านจง

เป็นผู้แวดล้อมด้วยเสียงร่ำร้องแห่งนกยูง และนก-

กระเรียนอีกทั้งเสือเหลืองและเสือโคร่งอยู่ในป่า ท่านจง

สละความห่วงใยในร่างกาย อย่ามีความอาลัยเลย.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงอุตส่าห์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 387

เจริญฌาน อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และสมาธิภาวนา

จงบรรลุวิชชา ๓ ในพระพุทธศาสนา.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงเจริญ

อัฏฐังคิกมรรคเพื่อบรรลุนิพพาน อันเป็นทางนำสัตว์ออก

จากโลก ให้ถึงความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นเครื่องชำระล้าง

กิเลสทั้งปวง.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงพิจารณา

เห็นเบญจขันธ์โดยอุบายอันแยบคายว่า เป็นทุกข์ จงละ

เหตุอันก่อให้เถิดทุกข์ จงทำที่สุดแห่งทุกข์ในอัตภาพ

นี้เถิด.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงพิจารณา

เบญจขันธ์โดยอุบายอันแยบคายว่า เป็นของไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ เป็นของว่างเปล่า หาตัวตนมิได้ เป็นของวิบัติ

และว่าเป็นผู้ฆ่า จงดับมโนวิจารเสียโดยแยบคายเถิด.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงปลงผม

และหนวดแล้ว ถือเอาเพศสมณะ มีรูปลักษณะอันแปลก

ต้องถูกเขาสาปแช่ง ถือเอาบาตรเที่ยวภิกษาตามตระกูล

จงประกอบตนอยู่ในคำสอนของพระบรมศาสดา ผู้แสวง

หาคุณอันยิ่งใหญ่เถิด.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงสำรวม

ระวังเมื่อเวลาเที่ยวไปบิณฑบาตความระหว่างตรอก อย่ามี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 388

ใจเกี่ยวข้องในตระกูลและกามารมณ์ทั้งหลาย เหมือน

พระจันทร์ในวันเพ็ญ เว้นจากโทษฉะนั้น.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงยินดีใน

ธุดงคคุณทั้ง ๕ คือถืออยู่ในป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาต

เป็นวัตร ล้ออยู่ป่าช้าเป็นวัตร ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

ถือการไม่นอนเป็นวัตร ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด.

บุคคลผู้ต้องการผลไม้ ปลูกต้นไม่ไว้แล้ว เก็บผล

ไม่ได้ ก็ประสงค์จะโค่นต้นไม้นั้นเสียฉันใด. ดูก่อนจิต

ท่านแนะนำเราผู้ใดให้หวั่นไหวในความไม่เที่ยง ท่านจง

ทำเราผู้นี้ให้เหมือนกับบุคคลผู้ปลูกต้นไม้ไว้ฉันนั้นเถิด.

ดูก่อนจิต ผู้หารูปมิได้ ไปได้ในที่ไกล เที่ยวไปแต่

ผู้เดียว บัดนี้เราจักไม่ทำตามคำของท่านแล้ว เพราะว่า

กามทั้งหลายล้วนเป็นทุกข์ มีผลเผ็ดร้อน เป็นภัยใหญ่

หลวง เราจักมีใจมุ่งนิพพานเท่านั้น เราไม่ได้ออกบวช

เพราะหมดบุญ เพราะไม่มีความละอาย เพราะเหตุแห่ง

จิต เพราะเหตุแห่งการทำผิดต่อชาติบ้านเมือง หรือ

เพราะเหตุแห่งอาชีพ.

ดูก่อนจิต ท่านได้รับรองกับเราไว้ว่า จักอยู่ในอำนาจ

ของเรามิใช่หรือ.

ดูก่อนจิต ท่านได้แนะนำเราไว้ในครั้งนั้นว่า ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 389

เป็นผู้มักน้อย การละความลบหลู่คุณท่าน และความ

สงบระงับทุกข์ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ แต่บัดนี้ท่าน

กลับเป็นผู้มีความมักมากขึ้น เราไม่อาจกลับไปสู่ตัณหา

ราคะ ความรัก ความชัง รูปอันสวยงาม สุขเวทนา

และเบญจกามคุณ อันเป็นของชอบใจที่เราคายเสียแล้ว

อีก.

ดูก่อนจิต เราได้ปฏิบัติตามถ้อยคำของท่านในภพ

ทั้งปวงแล้ว เราไม่ได้มีความขุ่นเคืองต่อท่านหลายชาติ

มาแล้ว เพราะความที่ท่านมีความกตัญญู จึงปรากฏมี

อัตภาพนี้ขึ้นอีก ท่านทำให้เราต้องท่องเที่ยวไปในกอง

ทุกข์มาช้านานแล้ว.

ดูก่อนจิต ท่านทำเราให้เป็นพราหมณ์ก็มี เป็นพระ-

ราชามหากษัตริย์ก็มี เพราะอำนาจแห่งท่าน บางคราว

เราเป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นเทพเจ้าก็มี เพราะอำนาจ

แห่งท่าน เพราะเหตุแห่งท่าน มีท่านเป็นมูลเหตุ เรา

เป็นอสูร บางคราวเป็นสัตว์นรก บางคราวเป็นสัตว์

ดิรัจฉาน บางคราวเป็นเปรต ท่านได้ประทุษร้ายเรามา

บ่อย ๆ มิใช่หรือ บัดนี้ เราจักไม่ให้ท่านทำเหมือนกาล

ก่อนอีกละ แม้เพียงครู่เดียว ท่านได้ล่อลวงเราเหมือน

กับคนบ้า ได้ทำความผิดให้แก่เรามาแล้วมิใช่หรือ.

จิตนี้แต่ก่อนเคยเที่ยวจาริกไปในอารมณ์ต่าง ๆ ตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 390

ความประสงค์ ตามความใคร่ ตามความสบาย วันนี้

เราจักข่มจิตนั้นไว้โดยอุบายอันชอบ ดังนายหัตถาจารย์

ข่มช้างตัวตกมันไว้ด้วยขอฉะนั้น.

พระศาสดาของเราได้ทรงตั้งโลกนี้ โดยความเป็น

ของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่เป็นแก่นสาร ดูก่อนจิต ท่าน

จงพาเราบ่ายหน้าไปในศาสนาของพระชินสีห์ จงพาเรา

ข้ามจากห้วงน้ำใหญ่ที่ข้ามได้แสนยาก.

ดูก่อนจิต เรือนคืออัตภาพของท่านนี้ ไม่เป็นเหมือน

กาลก่อนเสียแล้ว เพราะจักไม่เป็นไปตามอำนาจของท่าน

อีกต่อไป เราได้บวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้แสวง

หาประโยชน์อันยิ่งใหญ่แล้ว สมณะทั้งหลายผู้ทรงความ

พินาศไม่เป็นเช่นเรา ภูเขา มหาสมุทร แม่น้ำคงคา

เป็นต้น แผ่นดิน ทิศใหญ่สี่ ทิศน้อยสี่ ทิศเบื้องบน

ทิศเบื้องต่ำ และภพสาม ล้วนเป็นสภาพไม่เที่ยง มีแต่

ถูกเบียดเบียนอยู่เสมอ.

ดูก่อนจิต ท่านจะไป ณ ที่ไหนเล่า จึงจะมีความสุข

รื่นรมย์.

ดูก่อนจิต เบื้องหน้าแต่จิตของเราตั้งมั่นแล้ว ท่านจัก

ทำอะไรแก่เราได้ เราไม่เป็นไปตามอำนาจของท่านแล้ว.

บุคคลไม่ควรถูกต้องไถ้สองปาก คือร่างกายอันเต็ม

ไปด้วยของไม่สะอาด มีช่อง ๙ ช่องเป็นที่ไหลออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 391

น่าติเตียน ท่านผู้ไปสู่เรือนคือถ้ำที่เงื้อมภูเขาอันสวยงาม

ตามธรรมชาติ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งสัตว์ป่า คือหมูและ

กวาง และในป่าที่ฝนตกใหม่ ๆ จักได้ความรื่นรมณ์ใจ

ณ ที่นั้นฝูงนกยูงมีขนที่คอเขียว มีหงอนและปีกงาม

ลำแพนหางมีแวววิจิตรนัก ส่งสำเนียงก้องกังวาลไพเราะ

จับใจ จักยังท่านผู้บำเพ็ญฌานอยู่ในป่าให้ร่าเริงได้ เมื่อ

ฝนตกแล้วหญ้างอกยาวประมาณ ๔ นิ้ว ท้องฟ้างาม

แจ่มใสไม่มีเมฆปกคลุม เมื่อท่านทำตนให้เสมอด้วยไม้

แล้ว นอนอยู่บนหญ้าระหว่างภูเขานั้น จะรู้สึกอ่อนนุ่ม

ดังสำลี เราจักทำให้เหมือนผู้ใหญ่ จะยินดีด้วยปัจจัย

ตามมีตามได้ บุคคลผู้ไม่เกียจคร้าน ย่อมกระทำจิตของ

ตนให้ควรแก่การงานฉันใด เราจักกระทำจิตฉันนั้น

เหมือนบุคคลเลื่อนถุงใส่แมวไว้ฉะนั้น เราจักทำให้เหมือน

ผู้ใหญ่ จักยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ จักนำท่านไปสู่

อำนาจของเราด้วยความเพียร เหมือนนายหัตถาจารย์ผู้

ฉลาด นำช้างที่ซับมันไปสู่อำนาจของตนด้วยขอฉะนั้น

เราย่อมสามารถที่จะดำเนินตามหนทางอันเกษมสุข ซึ่ง

เป็นทางอันบุคคลผู้ตามรักษาจิต ได้ดำเนินมาแล้วทุกสมัย

ด้วยหทัยอันเที่ยงตรง ที่ท่านฝึกฝนไว้ดีแล้ว มั่นคงแล้ว

เปรียบเหมือนนายอัสสาจารย์ สามารถจะดำเนินไปตาม

ภูมิสถานที่ปลอดภัย ด้วยน้ำที่ฝึกดีแล้วฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 392

เราจักผูกจิตไว้ในอารมณ์ คือกรรมฐานด้วยกำลัง

ภาวนา เหมือนนายหัตถาจารย์มัดช้างไว้ที่เสาตะลุงด้วย

เชือกอันมั่นคงฉะนั้น จิตนี่เราคุ้มครองดีแล้ว อบรมดีแล้ว

ด้วยสติ จักเป็นจิตอันตัณหาเป็นต้น ไม่อาศัยในภพ

ทั้งปวง ท่านจงตัดหางดำเนินที่ผิดเสียด้วยปัญญา ข่มใจ

ให้ดำเนินไปในทางที่ลูกด้วยความเพียร ได้เห็นแจ้งทั้ง

ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป แล้วจักได้เป็นทายาท

ของพระพุทธเจ้า ผู้มักแสดงธรรมอันประเสริฐ.

ดูก่อนจิต ท่านได้นำเราให้เป็นไปตามอำนาจของ

ความเข้าใจผิด ๔ ประการ เหมือนบุคคลจูงเด็กชาวบ้าน

วิ่งวนไปฉะนั้น ท่านควรคบหาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้

ตัดเครื่องเกาะเกี่ยวและเครื่องผูกเสียได้ เพียบพร้อมด้วย

พระมหากรุณาเป็นจอมปราชญ์มิใช่หรือ มฤคชาติเข้าไป

ยังภูเขาอันน่ารื่นรมย์ ประกอบด้วยน้ำและดอกไม้ เที่ยว

ไปในป่าอันงดงามตามลำพังใจฉันใด ดูก่อนจิต ท่านก็

จักรื่นรมย์อยู่ในภูเขาที่ไม่เกลื่อนกล่น ด้วยผู้คนตามลำพัง

ใจฉันนั้น เมื่อท่านไม่ยินดีอยู่ที่ภูเขา ท่านก็จักต้อง

เสื่อมโดยไม่ต้องสงสัย.

ดูก่อนจิต หญิงชายเหล่าใดประพฤติตามความพอใจ

ตามอำนาจของท่าน แล้วเสวยความสุขใดอันอาศัยเบญจ-

กามคุณ หญิงชายเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู่โง่เขลา ตกอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 393

อำนาจของมาร เป็นผู้เพลิดเพลินอยู่ในภพน้อย ภพใหญ่

และชื่อว่าเป็นสาวกของท่าน.

จบตาลปุฏเถรคาถา

พระตาลปุฏเถระองค์เดียวเท่านั้น ได้ภาษิตคาถาไว้

ในปัญญาสนิบาตนี้ รวมเป็นคาถา ๕๕ คาถา ฉะนี้แล.

ปัญญาสนิบาตจบบริบูรณ์

อรรถกถาตาลปุฏเถราคาถาที่ ๑

อรรถกถาตาลปุฏเถรคาถาที่ ๑

ในปัญญาสนิบาต คาถาของท่านพระตาลปุฏเถระ มีคำเริ่มต้นว่า

กทา นุห ปพฺพตกนฺทราสุ ดังนี้ เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาล

นี้บังเกิดในตระกูลแห่งนักฟ้อนแห่งหนึ่งในกรุงราชคฤห์ ถึงความเป็นผู้รู้

เดียงสา ถึงความสำเร็จในฐานะเป็นนักฟ้อนอันสมควรแก่ตระกูล ได้

ปรากฏเป็นนักฟ้อนชื่อว่า นฏคามณิ ในชมพูทวีปทั้งสิ้น.

เขามีมาตุคาม ๕๐๐ เป็นบริวาร แสดงมหรสพในบ้าน นิคมและ

ราชธานี ด้วยสมบัติแห่งการฟ้อนเป็นอันมาก ได้การบูชาและสักการะเป็น

อันมากเที่ยวไป มายังกรุงราชคฤห์แสดงแก่ชาวพระนคร ได้ความนับถือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 394

และสักการะ เพราะความที่ตนถึงความแก่กล้าแห่งญาณ จึงไปเฝ้าพระ-

ศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้กะพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับฟังคำของ

พวกนักฟ้อนผู้เป็นอาจารย์ และอาจารย์ผู้เป็นประธานผู้เป็นหัวหน้ากล่าว

อยู่ว่า นักฟ้อนนั้นใด ทำให้ชนร่าเริงยินดี ด้วยการกล่าวคำจริงและ

เหลาะแหละในท่ามกลางมหรสพ ในท่ามกลางเวทีโรงละคร นักฟ้อนนั้น

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทพ

ทั้งหลายผู้ร่าเริง ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างไร ?

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสห้ามเขาถึง ๓ ครั้งว่า อย่า

ถามข้อนั้นกะเราเลย ถูกเขาถามครั้งที่ ๔ พระองค์ถึงตรัสว่า คามณิ

สัตว์เหล่านี้ แม้ตามปกติก็ถูกเครื่องผูกคือราคะผูกพันแล้ว ถูกเครื่องผูก

คือโทสะ และโมหะผูกพันแล้ว, ท่านนำเข้าไปเปรียบเทียบให้เกิดความ

เลื่อมใส ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ความขัดเคือง และอัน

เป็นที่ตั้งแห่งความหลง แม้โดยยิ่งแห่งสัตว์เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ตาย

เพราะกายแตก ย่อมเกิดในนรก. แต่ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักฟ้อน

นั้นใดย่อมยังชนให้ร่าเริงให้ยินดี ด้วยคำจริงและด้วยคำเหลาะแหละ ใน

ท่ามกลางมหรสพในท่ามกลางเวทีโรงละคร เขาเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย

แตก ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทพทั้งหลายผู้ร่าเริง เพราะเหตุนั้น

เขาจึงมีความเห็นผิดเช่นนั้น, ก็ผู้มีความเห็นผิดพึงปรารถนาคติอย่างใด

อย่างหนึ่ง บรรดาคติทั้งสอง คือนรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน. นายตาล-

ปุฏคามณิได้ฟังดังนั้นแล้วก็ร้องไห้ จะป่วยกล่าวไปไยที่เราจะห้ามนาย

คามณิมิใช่หรือว่า อย่าได้ถามข้อนั้นกะเราเลย. นายคามณิกราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 395

ข้าแต่พระผู้องค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ถึงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอภิสัมปรายภพของนักฟ้อนทั้งหลาย กะข้าพระองค์อย่างนี้ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์ถูกนักฟ้อนทั้งหลายผู้เป็น

อาจารย์และอาจารย์ผู้เป็นประธานในก่อนหลอกลวงว่า นักฟ้อนแสดง

มหรสพของนักฟ้อนแก่มหาชนแล้วเข้าถึงสุคติ. เขาฟังธรรมในสำนัก

พระศาสดา ได้ศรัทธาได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว กระทำกรรมด้วย

วิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต. ก็ท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ก่อน

แต่บรรลุพระอรหัต โดยอาการอันเป็นเหตุให้เกิดการกระทำไว้ในใจโดย

อุบายอันแยบคาย ด้วยสามารถการข่มจิตของตน เพื่อจะแสดงจำแนก

อาการนั้น โดยอาการเป็นอันมาก จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า :-

เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้อยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีตัณหา

เป็นเพื่อนสอง ณ ภูเขาและซอกเขา เมื่อไรหนอ เราจึง

จักพิจารณาเห็นแจ้งภพทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง

ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้เป็นนักปราชญ์ นุ่งห่มผ้า-

กาสาวพัสตร์อันเศร้าหมอง ไม่มีความยึดมั่น ไม่มีความ

หวัง เป็นผู้ฆ่าราคะ โทสะ และโมหะ ได้แล้ว เที่ยว

ไปตามป่าใหญ่อย่างสบาย ความตรึกเช่นนี้ของเราจัก

สำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจะเห็นแจ้งซึ่งร่างกายนี้ อันเป็น

ของไม่เที่ยง เป็นรังแห่งโรค คือความตาย ถูกความตาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 396

และความเสื่อมโทรมบีบคั้นแล้ว เป็นผู้ปราศจากภัย

อาศัยอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ความตรึกเช่นนี้ของเราจัก

สำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจักได้ถือเอาซึ่งดาบอันคมกริบ คือ

อริยมรรคอันสำเร็จด้วยปัญญา แล้วตัดเสียซึ่งลดาชาติ

คือตัณหาอันก่อให้เกิดภัย นำมาซึ่งทุกข์ เป็นเหตุให้คิด

วนเวียนไปในอารมณ์ภายนอก ความตรึกเช่นนี้ของเรา

จักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้ถือเอาซึ่งศาสตราอันสำเร็จ

ด้วยปัญญา มีเดชานุภาพมากของฤาษี คือพระพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยสาวก แล้วหักรานเสีย

ซึ่งกิเลสมารพร้อมทั้งเสนาโดยเร็วพลัน เหนือเถรอาสน์

มีลีลาศดังราชสีห์ ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไร

หนอ.

เมื่อไรหนอ นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้มี

ความหนักแน่นในธรรม ผู้คงที่ มีปกติเห็นตามความเป็น

จริง มีอินทรีย์อันชนะแล้ว จักเห็นว่าเราบำเพ็ญเพียร

ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ ความเกียจคร้าน ความหิวระหาย ลม

แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เสือกคลานทั้งหลายจึงจักไม่

เบียดเบียนเรา คามซอกเขา ข้อนั้นเป็นความประสงค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 397

ของเรา ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักเป็นผู้มีจิตมั่นคง มีสติ ได้

บรรลุอริยสัจ ๔ ที่เห็นได้แสนยาก อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงทราบแล้วด้วยปัญญา

ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักประกอบด้วยความสงบระงับ

จากเครื่องเร่าร้อนใจในเพราะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏ-

ฐัพพะ และธรรมารมณ์ที่เรายังไม่รู้เท่าถึง พิจารณาเห็น

ด้วยปัญญา ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เมื่อเราถูกว่ากล่าวติเตียนด้วยถ้อยคำชั่ว

หยาบแล้ว จักไม่เดือดร้อนใจเพราะถ้อยคำชั่วหยาบนั้น

อนึ่ง ถึงเขาจะสรรเสริญก็จะไม่ยินดีเพราะถ้อยคำเช่นนั้น

ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักพิจารณาเห็นสภาพภายใน

กล่าวคือเบญจขันธ์ และรูปธรรมเหล่าอื่นที่ไม่รู้ทั่วถึง และ

สภาพภายนอก คือต้นไม้ หญ้า และลดาชาติ ว่าเป็น

สภาพเสมอกัน ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไร

หนอ.

เมื่อไรหนอ ฝนที่ตกในเวลาปัจจุสมัย จักตกรดเรา

ผู้นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ผู้ปฏิบัติอยู่ในมรรคปฏิปทา ที่

นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นดำเนินไปแล้ว ด้วยน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 398

ใหม่อยู่ในป่า ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไร

หนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้ฟังเสียงร่ำร้องแห่งนกยูง

และทิชาชาติในป่าและซอกเขา ลุกขึ้นจากการนอนแล้ว

พิจารณาธรรมโดยความไม่เที่ยง เพื่อบรรลุอมตธรรม

ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักข้ามพ้นแม่น้ำคงคา ยมุนา

สรัสสดี ที่ไหลไปกระทั่งถึงบาดาล เป็นปากน้ำใหญ่น่า

กลัวนัก ไปได้ด้วยฤทธิ์โดยไม่ติดขัด ความตรึกเช่นนี้

ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักเว้นความเห็นว่านิมิตงามทั้งปวง

เสียโดยเด็ดขาด ขวนขวายอยู่ในฌาน แล้วทำลายความ

พอใจในกามคุณทั้งหลายเสียได้ เหมือนช้างทำลายเสา

ตะลุงและโซ่เหล็กแล้ว เที่ยวไปในสงครามฉะนั้น ความ

ตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

เมื่อไรหนอ เราจึงจักละความพอใจในกามคุณ ได้

บรรลุคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

แล้วเกิดความยินดี เปรียบเหมือนลูกหนี้ผู้ขัดสน เมื่อถูก

เจ้าหนี้บีบคั้นแล้ว แสวงหาทรัพย์มาได้และชำระหนี้เสร็จ

แล้วพึงดีใจฉะนั้น ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไร

หนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 399

ดูก่อนจิต ท่านได้อ้อนวอนเราเป็นเวลาหลายปีแล้ว

ว่าท่านไม่สมควรอยู่ครองเรือนเลย บัดนี้เราได้บวชสม

ประสงค์แล้ว เหตุไฉนท่านจึงละทิ้งสมถวิปัสสนา มัว

แต่เกียจคร้านอยู่เล่า.

ดูก่อนจิต ท่านได้อ้อนวอนเรามาแล้วมิใช่หรือว่า ฝูง

นกยูงมีขนปีกอันแพรวพราว และเสียงกึกก้องแห่งธาร

น้ำตกตามซอกเขา จะยังท่านผู้เพ่งฌานอยู่ในป่าให้

เพลิดเพลิน เรายอมสละญาติและมิตรที่รักใคร่ในตระกูล

สลัดความยินดีในการเล่นและกามคุณในโลกได้หมดแล้ว

ได้เข้าถึงป่าและบรรพชาเพศนี้แล้ว.

ดูก่อนจิต ส่วนท่านไม่ยินดีต่อเราผู้ดำเนินตามเสีย

เลย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่าจิตนี้เป็นของเรา ไม่ใช่ของ

ผู้อื่น จะประโยชน์อะไรด้วยการร้องไห้ร่ำพิไร ในเวลา

ทำสงครามกับกิเลสมาร เพราะจิตทั้งหมดนี้เป็นธรรมชาติ

หวั่นไหว ดังนี้จึงได้ออกบวช แสวงหาทางอันไม่ตาย.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลาย ผู้

เป็นจอมท้าวสักกเทวราช เป็นจอมสารถีฝึกนระ ตรัส

สุภาษิตไว้ว่า จิตนี้กวัดแกว่งเช่นวานร ห้ามได้แสนยาก

เพราะยังไม่ปราศจากความกำหนัด ปุถุชนทั้งหลายผู้ไม่

รู้เท่าทัน พัวพันอยู่ในกามทั้งหลาย อันล้วนแต่เป็นของ

งดงาม มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ เขาเหล่านั้นเป็นผู้แสวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 400

หาภพใหม่ กระทำแต่สิ่งไร้ประโยชน์ อย่าประสงค์

ทุกข์ ย่อมถูกจิตนำไปสู่นรกโดยแท้.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราไว้ว่า ท่านจง

เป็นผู้แวดล้อมด้วยเสียงร่ำร้องแห่งนกยูง และนก-

กระเรียน อีกทั้งเสือเหลืองและเสือโคร่งอยู่ในป่า ท่าน

จงสละความห่วงใยในร่างกาย อย่ามีความอาลัยเลย.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงอุตส่าห์

เจริญฌาน อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และสมาธิภาวนา

จงบรรลุวิชชา ๓ ในพระพุทธศาสนา.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงเจริญ

อัฏฐังคิกมรรคเพื่อบรรลุนิพพาน อันเป็นหางนำสัตว์ออก

จากโลก ให้ถึงความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นเครื่องชำระล้าง

กิเลสทั้งปวง.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงพิจารณา

เห็นเบญจขันธ์โดยอุบายอันแยบคายว่า เป็นทุกข์ จงละ

เหตุอันก่อให้เกิดทุกข์ จงทำที่สุดแห่งทุกข์ในอัตภาพนี้

เถิด.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงพิจารณา

เบญจขันธ์โดยอุบายอันแยบคายว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็น

ทุกข์ เป็นของว่างเปล่าหาตัวตนมิได้ เป็นวิบัติ และว่า

เป็นผู้ฆ่า จงดับมโนวิจารเสียโดยแยบคายเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 401

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงปลงผม

และหนวดแล้ว ถือเอาเพศสมณะ มีรูปลักษณะอันแปลก

ต้องถูกเขาสาปแช่ง ถือเอาบาตรเที่ยวภิกษาตามตระกูล

จงประกอบตนอยู่ในคำสอนของพระบรมศาสดา ผู้แสวง

หาคุณอันยิ่งใหญ่เถิด.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงสำรวม

ระวังเมื่อเวลาเที่ยวไปบิณฑบาตตามระหว่างตรอก อย่ามี

ใจเกี่ยวข้องในตระกูลและกามารมณ์ทั้งหลาย เหมือน

พระจันทร์ในวันเพ็ญ เว้นจากโทษฉะนั้น.

ดูก่อนจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงยินดีใน

ธุดงคคุณทั้ง ๕ คือถืออยู่ในป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาต

เป็นวัตร ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

ถือการไม่นอนเป็นวัตร ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด.

บุคคลผู้ต้องการผลไม้ ปลูกต้นไม้ไว้แล้ว เก็บผล

ไม่ได้ ก็ประสงค์จะโค่นต้นไม้นั้นเสียฉันใด. ดูก่อนจิต

ท่านแนะนำเราผู้ใดให้หวั่นไหวในความไม่เที่ยง ท่านจง

ทำเราผู้นี้ให้เหมือนบุคคลผู้ปลูกต้นไม้ไว้ฉันนั้นเถิด.

ดูก่อนจิต ผู้หารูปมิได้ ไปได้ในที่ไกล เที่ยวไปแต่

ผู้เดียว บัดนี้เราจักไม่ทำตามคำของท่านแล้ว เพราะว่า

กามทั้งหลายล้วนเป็นทุกข์ มีผลเผ็ดร้อน เป็นภัยใหญ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 402

หลวง เราจักมีใจมุ่งนิพพานเท่านั้น เราไม่ได้ออกบวช

เพราะหมดบุญ เพราะไม่มีความละอาย เพราะเหตุแห่ง

จิต เพราะเหตุแห่งการทำผิดต่อชาติบ้านเมือง หรือ

เพราะเหตุแห่งอาชีพ.

ดูก่อนจิต ท่านได้รับรองกับเราไว้ว่า จักอยู่ในอำนาจ

ของเรามิใช่หรือ.

ดูก่อนจิต ท่านได้แนะนำเราไว้ในครั้งนั้นว่า ความ

เป็นผู้มักน้อย การละความลบหลู่คุณท่าน และความ

สงบระงับทุกข์ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ แต่บัดนี้ท่าน

กลับเป็นผู้มีความมักมากขึ้น เราไม่อาจกลับไปสู่ตัณหา

ราคะ ความรัก ความชัง รูปอันสวยงาม สุขเวทนา และ

เบญจกามคุณอันเป็นของชอบใจที่เราคายเสียแล้วอีก.

ดูก่อนจิต เราได้ปฏิบัติตามถ้อยคำของท่านในภพ

ทั้งปวงแล้ว เราไม่ได้มีความขุ่นเคืองต่อท่านหลายชาติ

มาแล้ว เพราะความที่ท่านมีความกตัญญู จึงปรากฏมี

อัตภาพนี้ขึ้นอีก ท่านทำให้เราต้องท่องเที่ยวไปในกอง

ทุกข์มาช้านานแล้ว.

ดูก่อนจิต ท่านทำให้เราเป็นพราหมณ์ก็มี เป็นพระ-

ราชามหากษัตริย์ก็มี เพราะอำนาจแห่งท่าน บางคราว

เราเป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นเทพเจ้าก็มี เพราะอำนาจ

แห่งท่าน เพราะเหตุแห่งท่าน มีท่านเป็นมูลเหตุ เราเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 403

อสูร บางคราวเป็นสัตว์นรก บางคราวเป็นสัตว์ดิรัจฉาน

บางคราวเป็นเปรต ท่านได้ประทุษร้ายเรามาบ่อย ๆ มิใช่

หรือ บัดนี้ เราจักไม่ให้ท่านทำเหมือนกาลก่อนอีกละ

แม้เพียงครู่เดียว ท่านได้ล่อลวงเราเหมือนกับคนบ้า ได้

ทำความผิดให้แก่เรามาแล้วมิใช่หรือ.

จิตนี้แต่ก่อนเคยเที่ยวจาริกไปในอารมณ์ต่าง ๆ ตาม

ความประสงค์ ตามความใคร่ ตามความสบาย วันนี้

เราจักข่มจิตนั้นไว้โดยอุบายอันชอบ ดังนายหัตถาจารย์

ข่มช้างตัวตกมันไว้ด้วยของฉะนั้น.

พระศาสดาของเราได้ทรงตั้งโลกนี้ โดยความเป็น

ของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่เป็นแก่นสาร ดูก่อนจิต

ท่านจงพาเราบ่ายหน้าไปในศาสนาของพระชินสีห์ จง

พาเราข้ามจากห้วงน้ำใหญ่ที่ข้ามได้แสนยาก.

ดูก่อนจิต เรือนคืออัตภาพของท่านนี้ ไม่เป็นเหมือน

กาลก่อนเสียแล้ว เพราะจักไม่เป็นไปตามอำนาจของท่าน

อีกต่อไป เราได้ออกบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้

แสวงหาประโยชน์อันยิ่งใหญ่แล้ว สมณะทั้งหลายผู้ทรง

ความพินาศไม่เป็นเช่นเรา ภูเขา มหาสมุทร แม่น้ำ

คงคาเป็นต้น แผ่นดิน ทิศใหญ่สี่ ทิศน้อยสี่ ทิศเบื้องบน

ทิศเบื้องต่ำ และภพสาม ล้วนเป็นสภาพไม่เที่ยง มีแต่

ถูกเบียดเบียนอยู่เสมอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 404

ดูก่อนจิต ท่านจะไป ณ ที่ไหนเล่า จึงจะมีความสุข

รื่นรมย์.

ดูก่อนจิต เบื้องหน้าแต่จิตของเราตั้งมั่นแล้ว ท่านจัก

ทำอะไรแก่เราได้ เราไม่เป็นไปตามอำนาจของท่านแล้ว.

บุคคลไม่ควรถูกต้องไถ้สองปาก คือร่างกายอันเต็ม

ไปด้วยของไม่สะอาด มีช่อง ๙ ช่องเป็นที่ไหลออก น่า

ติเตียน ท่านผู้ไปสู่เรือนคือถ้ำ ที่เงื้อมภูเขาอันสวยงาม

ตามธรรมชาติ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งสัตว์ป่า คือหมูและ

กวาง และในป่าที่ฝนตกใหม่ ๆ จักได้ความรื่นรมย์ใจ

ณ ที่นั้นฝูงนกยูงมีขนที่คอเขียว มีหงอนและปีกงาม ลำ-

แพนหางมีแวววิจิตรนัก ส่งสำเนียงก้องกังวานไพเราะ

จับใจ จักยังท่านผู้บำเพ็ญฌานอยู่ในป่าให้ร่าเริงได้ เมื่อ

ฝนตกแล้วหญ้างอกยาวประมาณ ๔ นิ้ว ท้องฟ้างามแจ่มใส

ไม่มีเมฆปกคลุม เมื่อท่านทำตนให้เสมอด้วยไม้ แล้ว

นอนอยู่บนหญ้าระหว่างภูเขานั้น จะรู้สึกอ่อนนุ่มดังสำลี

เราจักกระทำให้เหมือนผู้ใหญ่ จะยินดีด้วยปัจจัยตามมี

ตามได้ บุคคลผู้ไม่เกียจคร้าน ย่อมกระทำจิตของตนให้

สมควรแก่การงานฉันใด เราจักกระทำจิตฉันนั้น เหมือน

บุคคลเลื่อนถุงใส่แมวไว้ฉะนั้น เราจักทำให้เหมือนผู้ใหญ่

จักยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ จักนำท่านไปสู่อำนาจ

ของเราด้วยความเพียร เหมือนนายหัตถาจารย์ผู้ฉลาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 405

นำช้างที่ซับมันไปสู่อำนาจของตนด้วยขอฉะนั้น เราย่อม

สามารถที่จะดำเนินตามหนทางอันเกษมสุข ซึ่งเป็นทาง

อันบุคคลผู้ตามรักษาจิต ได้ดำเนินมาแล้วทุกสมัย ด้วย

หทัยอันเที่ยงตรง ที่ท่านฝึกฝนไว้ดีแล้ว มั่นคงแล้ว เปรียบ

เหมือนนายอัสสาจารย์ สามารถจะดำเนินไปตามภูมิสถาน

ที่ปลอดภัย ด้วยม้าที่ฝึกดีแล้วฉะนั้น.

เราจักผูกจิตไว้ในอารมณ์ คือกรรมฐานด้วยกำลัง

ภาวนา เหมือนนายหัตถาจารย์มัดช้างไว้ที่เสาตะลุงด้วย

เชือกอันมั่นคงฉะนั้น จิตที่เราคุ้มครองดีแล้ว อบรมดีแล้ว

ด้วยสติ จักเป็นจิตอันตัณหาเป็นเต้นไม่อาศัยในภพทั้งปวง

ท่านจงตัดทางดำเนินที่ผิดเสียด้วยปัญญา ข่มใจให้ดำเนิน

ไปในทางที่ถูกด้วยความเพียร ได้เห็นแจ้งทั้งความเกิด

ขึ้นและความเสื่อมไป แล้วจักได้เป็นทายาทของพระ-

พุทธเจ้า ผู้มักแสดงธรรมอันประเสริฐ.

ดูก่อนจิต ท่านได้นำเราให้เป็นไปตามอำนาจของ

ความเข้าใจผิด ๔ ประการ เหมือนบุคคลจูงเด็กชาวบ้าน

วิ่งวนไปฉะนั้น ท่านควรคบหาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตัด

เครื่องเกาะเกี่ยวและเครื่องผูกเสียได้ เพียบพร้อมด้วย

พระมหากรุณา เป็นจอมปราชญ์มิใช่หรือ มฤคชาติเข้า

ไปยังภูเขาอันน่ารื่นรมย์ ประกอบด้วยน้ำและดอกไม้

เที่ยวไปในป่าอันงดงามตามลำพังใจฉันใด ดูก่อนจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 406

ท่านก็จักรื่นรมย์อยู่ในภูเขา ที่ไม่เกลื่อนกล่นด้วยผู้คน

ตามลำพังใจฉันนั้น เมื่อท่านไม่ยินดีอยู่ที่ภูเขานั้น ท่าน

ก็จักต้องเสื่อมโดยไม่ต้องสงสัย.

ดูก่อนจิต หญิงชายเหล่าใดประพฤติตามความพอใจ

ตามอำนาจของท่าน แล้วเสวยความสุขใดอันอาศัย

เบญจกามคุณ หญิงชายเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้โง่เขลา ตก

อยู่ในอำนาจของมาร เป็นผู้เพลิดเพลิน อยู่ในภพน้อย

ภพใหญ่ และชื่อว่าเป็นสาวกของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กทา นุห ตัดเป็น กทา นุ อห เมื่อไร

หนอไร.

บทว่า ปพฺพตกนฺทราสุ ความว่า ณ ที่ภูเขาและซอกเขา หรือที่

ซอกแห่งภูเขา.

บทว่า เอกากิโย แปลว่า ผู้ ๆ เดียว. บทว่า อทฺทุติโย แปลว่า

ไม่มีตัณหา. ก็ตัณหา ชื่อเป็นที่ ๒ ของบุรุษ. บทว่า วิหสฺส แปลว่า

จักอยู่.

บทว่า อนิจฺจโต สพฺพภว วิปสฺส มีวาจาประกอบความว่า เรา

เมื่อพิจารณาเห็นภพแม้ทั้งหมด ต่างด้วยกามภพเป็นต้นว่า ชื่อว่า ไม่เที่ยง

เพราะมีแล้วกลับไม่มี ดังนี้ จักอยู่เมื่อไรหนอ. ก็คำนั้นมีอันแสดงเป็น

นิทัศน์ พึงทราบว่า ท่านกล่าวลักษณะทั้งสองแม้นอกนี้ไว้แล้วแล. เพราะ

พระบาลีว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น

อนัตตา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 407

บทว่า ต เม อิท ต นุ กทา ภวิสฺสติ ความว่า ความปริวิตก

ของเรานี้นั้น จักมีเมื่อไรหนอ, คือจักถึงที่สุดเมื่อไรหนอ ?

ก็บทว่า ต ในบทว่า ต นุ นี้ เป็นเพียงนิบาต. ในที่นี้มีความ

สังเขปดังต่อไปนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราตัดเครื่องผูกคือคฤหัสถ์ เหมือนช้าง

ใหญ่ตัดเครื่องผูกเท้าช้าง ออกบวช พอกพูนกายวิเวก เป็นผู้โดดเดี่ยว

ไม่มีเพื่อนสอง ในซอกเขาทั้งหลาย ไม่อาลัยในอารมณ์ทั้งปวง พิจารณา

เห็นสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยงจักอยู่.

บทว่า ภินฺนปฏนฺธโร ความว่า เป็นผู้ทรงผ้าที่ถูกทำลาย, ท่าน

กล่าวไว้โดยลง อาคม เพื่อสะดวกแก่คาถา. อธิบายว่า ทรงไว้ซึ่งแผ่นผ้า

เป็นจีวรที่ตัดด้วยศาสตรา ทำลายสัมผัสและสีอันเลิศ.

บทว่า มุนิ ได้แก่ บรรพชิต.

บทว่า อมโม ความว่า ชื่อว่า ไม่ยึดถือสิ่งใดว่าเป็นของตัว เพราะ

ไม่มีความยึดถือในตระกูลหรือคณะ ว่าเป็นของ ๆ ตัว. ชื่อว่าไม่มีความ

หวัง เพราะไม่มีความหวังในอารมณ์แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า หนฺตฺวา สุขี ปวนคโต วิหสฺส ความว่า เราจักตัดกิเลส

มีราคะเป็นต้นด้วยอริยมรรค อยู่เป็นสุข ด้วยสุขเกิดแต่มรรคและสุขอัน

เกิดแต่ผล ไปสู่ป่าใหญ่ จักอยู่เมื่อไรหนอ.

บทว่า วธโรคนีฬ ความว่า เป็นรังแห่งมรณะ และเป็นรังแห่ง

โรค.

บทว่า กาย อิม ได้แก่ ซึ่งกายกล่าวคือขันธ์ ๕ นี้. จริงอยู่ ขันธ์

ทั้ง ๕ ท่านเรียกว่า กาย ในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย กายนี้แล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 408

คือนามรูปในภายนอก สำหรับบุรุษบุคคลผู้ถูกอวิชชาครอบงำ ผู้ถูกตัณหา

ติดตาม.

บทว่า มจฺจุชรายุปทฺทุต ความว่า ถูกมรณะและชราบีบคั้น. อธิบาย

ว่า เราเมื่อพิจารณาเห็น ชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากภัย เพราะละเหตุแห่งภัย

เสียได้ จักมีเมื่อไรหนอ.

บทว่า ภยชนนึ ความว่า เป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งภัยใหญ่ ๒๕ ชื่อว่า

นำมาซึ่งทุกข์ เพราะนำมาซึ่งทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้น ที่เป็นไปทางกายและ

เป็นไปทางใจ.

บทว่า ตณฺหาลต พหุวิธานุวตฺตนึ ความว่า ตัณหาคือเครือเถา

อันชื่อว่า เป็นไปตามมากหลาย เพราะเป็นไปตาม คือแล่นไปตามอารมณ์

หรือภพเป็นอันมาก.

บทว่า ปญฺามย มีวาจาประกอบความว่า จับพระขรรค์คือดาบ

อันสำเร็จด้วยมรรคปัญญาที่ลับดีแล้วด้วยหัตถ์ คือศรัทธาอันประคองไว้

ด้วยวิริยะ แล้วตัด ตรึกไปว่า เมื่อไรหนอเราพึงอยู่ เมื่อไรหนอความตรึก

นั้นจักสำเร็จ.

บทว่า อุคฺคเตช ความว่า มีเดชกล้า เพราะอาศัยอำนาจสมถะ

และวิปัสสนา.

บทว่า สตฺถ อิสีน ความว่า เป็นศัสตราของพระพุทธเจ้า พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวกและฤาษีทั้งหลาย.

บทว่า มาร สเสน สหสา ภญฺชิสฺส ความว่า เราจักหักมารมี

อภิสังขารมารเป็นต้น พร้อมด้วยเสนาคือกิเลส ชื่อสเสนะ โดยพลัน

คือโดยเร็วทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 409

บทว่า สีหาสเน ได้แก่ บนอาสนะอันมั่นคง อธิบายว่า บน

อปราชิตบัลลังก์.

บทว่า สพฺภิ สมาคเมสุ ทิฏฺโ ภเว มีวาจาประกอบความว่า

เราได้เห็นในการสมาคมด้วยคนดีทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้ชื่อว่า

หนักในธรรม เพราะประกอบด้วยความเคารพในธรรม ชื่อว่า ผู้คงที่

เพราะถึงลักษณะแห่งผู้คงที่ ชื่อว่า ผู้เห็นตามความเป็นจริง เพราะมีความ

เห็นไม่วิปริต ชื่อว่า ผู้มีอินทรีย์อันชนะแล้ว เพราะมีอินทรีย์อันชนะบาป

ด้วยอริยมรรคนั่นแล, ว่าเมื่อไรหนอ เราจักมีความเพียร เพราะฉะนั้น

ความตรึกของเรานั้นจักสำเร็จเมื่อไร ? โดยนัยนี้ พึงทราบบทโยชนาใน

ที่ทั้งปวง เราจักพรรณนาเพียงอรรถเฉพาะบทเท่านั้น.

บทว่า ตนฺทิ แปลว่า ความเกียจคร้าน.

บทว่า ขุทา แปลว่า ความหิว.

บทว่า กีฏสิรีสปา ได้แก่ แมลงและสัตว์เลื้อยคลาน.

บทว่า น พาธยิสฺสนฺติ อธิบายว่า จักไม่เบียดเบียนเรา เพราะ

ห้ามสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสเสียได้ด้วยฌาน.

บทว่า คิริพฺพเช ได้แก่ ในซอกเขา.

บทว่า อตฺถตฺถิย ความว่า มีความต้องการด้วยประโยชน์ กล่าวคือ

ประโยชน์ตน.

บทว่า ย วิทิต มเหสินา ความว่า สัจจะ ๔ อันท่านผู้แสวงหาคุณ

อันยิ่งใหญ่ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้แล้วคือแทงตลอดแล้ว, เราผู้

มีจิตตั้งมั่นดีแล้วด้วยมรรคสมาธิ เป็นผู้มีสติด้วยสัมมาสติ มาถึง คือจักแทง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 410

ตลอด ได้แก่ จักบรรลุสัจจะ ๔ เหล่านั้นที่เห็นได้แสนยาก ด้วยกุศลสมภาร

อันเราสั่งสมมาด้วยปัญญาในอริยมรรค.

บทว่า รูเป ได้แก่ ในรูปอันจะรู้ได้ด้วยจักษุ.

บทว่า อมิเต ความว่า ไม่รู้แล้วด้วยญาณ อธิบายว่า กำหนดไม่ได้

แล้ว คือกำหนดรู้ไม่ได้แล้ว.

บทว่า ผุสิเต แปลว่า พึงถูกต้อง. บทว่า ธมฺเม ได้แก่ ในธรรม

ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อมิเต ได้แก่ ในรูปหาประมาณมิได้ คือ

แตกต่างกันหลายประเภท ด้วยสามารถสีเขียวเป็นต้น, และสัททรูปเป็นต้น

อันแตกต่างกันหลายประเภท ด้วยอำนาจเสียงกลองเป็นต้น ด้วยอำนาจ

รสที่รากเป็นต้น ด้วยสามารถความเป็นของหยาบและอ่อนเป็นต้น และ

ด้วยอำนาจเป็นสุขและทุกข์เป็นต้น.

บทว่า อาทิตฺตโต เพราะเป็นธรรมชาติ อันไฟ ๑๑ กองติดทั่ว

แล้ว.

บทว่า สมเถหิ ยุตฺโต ได้แก่ ประกอบด้วยฌาน วิปัสสนา และ

มรรคสมาธิ.

บทว่า ปญฺาย ทจฺฉ ความว่า จักเห็นด้วยปัญญาในมรรค อัน

ประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา.

บทว่า ทุพฺพจเนน วุตฺโต ได้แก่ สืบต่อด้วยคำที่กล่าวชั่ว.

บทว่า ตโต นิมิตฺต ได้แก่ เพราะเหตุแห่งผรุสวาจา.

บทว่า วิมโน น เหสฺส ความว่า ไม่พึงเกิดโทมนัส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 411

บทว่า อโถ แก้เป็น อถ แปลว่า อนึ่ง.

บทว่า กฏฺเ ได้แก่ ในท่อนไม้. บทว่า ติเณ ได้แก่ กองหญ้า.

บทว่า อิเม ได้แก่ ขันธ์ ๕ อันนับเนื่องในสันตติของเราเหล่านี้.

บทว่า อมิเต จ ธมฺเม ได้แก่ ในรูปธรรม อันกำหนดนับไม่ได้

ด้วยอินทรีย์ขันธ์อื่น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นไปในภายในและ

เป็นไปในภายนอก ดังนี้.

บทว่า สม ตุเลยฺย ความว่า พิจารณาสิ่งทั้งปวงให้สม่ำเสมอทีเดียว

ด้วยสามารถอนิจจลักษณะเป็นต้น และด้วยสามารถอุปมาด้วยสิ่งอันหาสาระ

มิได้เป็นต้น.

บทว่า อิสิปฺปยาตมฺหิ ปเถ วชนฺต ความว่า ไปอยู่ คือดำเนินไป

อยู่ในทางสมถะและวิปัสสนา อันท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นต้น ทรงชำระแล้วโดยชอบแล้ว. ในสมัยฝนตก ท่านแสดง

ถึงความปริวิตกถึงภาวะที่ตนอยู่ในกลางแจ้ง ว่าเมื่อไรหนอฝนจักตกลงใน

ป่าทึบ ยังจีวรของตนให้เปียกด้วยน้ำ คือด้วยน้ำฝนตกใหม่.

บทว่า มยูรสฺส สิขณฺฑิโน วเน ทิชสฺส ได้แก่ ทิชชาติด้วย

อำนาจเกิด ๒ ครั้ง คือเกิดจากท้องมารดา ๑ เกิดจากฟองไข่ ๑ ก็เมื่อไร

เราจะได้ยินเสียงร้อง คือเสียงร้องของนกยูง โดยสมภพของนกยูง และ

โดยหางของนกยูงในป่า คือที่ซอกเขา แล้วกำหนดเวลาออกจากที่นอน

แล้ว บรรลุอมตะ คือบรรลุพระนิพพาน.

บทว่า สญฺจินฺตเย ความว่า พึงกระทำไว้ในใจ คือพึงเห็นแจ้ง

ภพที่จะกล่าวอยู่ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 412

บทว่า คงฺค ยมุน สรสฺสตึ มีวาจาประกอบ ความว่า เมื่อไรหนอ

ความตรึกของเรานี้ พึงไหลไปยังแม่น้ำใหญ่เหล่านั้นไม่ติดขัด ด้วยฤทธิ์

อันสำเร็จด้วยภาวนา.

บทว่า ปาตาลขิตฺต พฬวามุขญฺจ ความว่า พอละ คือถึงที่สุดแห่ง

การตกไป ฉะนั้นจึงชื่อว่าบาดาล ซัดไปสู่บาดาลนั้นนั่นแหละ, คือดำรงอยู่

อย่างนั้นในเวลาตั้งแผ่นดิน เพราะฉะนั้น ชื่อว่า ชัดให้ไหลไปยังบาดาล

ที่เหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นที่อยู่ของนาคเป็นต้น หรือที่ตั้งอยู่แล้วโดยว่างเปล่า

นั่นเอง ชื่อว่าที่ฝั่งแผ่นดินในมหาสมุทรมีร้อยโยชน์เป็นต้นเป็นประเภท.

บทว่า พฬวามุข ได้แก่ ปากน้ำวนใหญ่ในมหาสมุทร จริงอยู่

ในเวลาประตูมหานรกเปิด ท่อไฟใหญ่พุ่งออกจากประตูมหานรกนั้น

เบื้องหน้าแต่นั้น ไหม้ส่วนภายใต้มหาสมุทรยาวและกว้างหลายร้อยโยชน์

เมื่อส่วนภายใต้มหาสมุทรถูกไฟไหม้ น้ำข้างบนก็วนเวียนโดยอาการเป็น

บ่อตกลงในภายใต้ด้วยเสียงดัง ในที่นั้นมีสมัญญาว่าปากน้ำใหญ่ ดังนั้น

แม้น้ำที่ไหลไปยังบาดาลและปากน้ำใหญ่ น่าหวาดเสียวน่าสะพึงกลัว เมื่อ

ไรหนอ จะพึงไหลตกไปด้วยกำลังฤทธิ์ไม่ติดขัด ดังนั้น ความตรึกของเรา

จักพึงมีเมื่อไรหนอ เราพึงยังฤทธิ์อันสำเร็จด้วยภาวนาให้บังเกิด จักค้น

พบรอยฤทธิ์อย่างนี้ได้เมื่อไรหนอ.

บทว่า นาโคว อสงฺคจารี ปหาลเย ความว่า ช้างตัวซับมันทำลาย

เสาอันมั่น กำจัดโซ่เหล็ก ทำลายเสาตะลุง เข้าไปสู่ป่า เป็นผู้ ๆ เดียว

ไม่มีเพื่อนสอง เที่ยวไปตามความชอบใจของตนฉันใด เราก็ฉันนั้น เมื่อ

ไรหนอ จะละทิ้งนิมิตที่ได้ยินมาทุกอย่าง คือเว้นเสียโดยไม่มีส่วนเหลือ

ไม่เป็นไปในอำนาจแห่งกามฉันทะ ประกอบการขวนขวายในฌาน พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 413

ทำลาย พึงตัด พึงละความพอใจในกามคุณ เพราะฉะนั้น ความตรึกของ

เรานั้นจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

บทว่า อิณฏฺโฏว ทลิทฺทโก นิธึ อาราธยิตฺวา ความว่า คนจนบาง

คนเป็นผู้มีการเลี้ยงชีพเป็นปกติ กู้หนี้ เมื่อไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ มีคดี

เพราะหนี้ คืออึดอัดใจเพราะหนี้ ถูกเจ้าทรัพย์บีบคั้น ครั้นยินดีคือ

ประสบชุมทรัพย์ และชำระหนี้แล้ว พึงเป็นอยู่ ยินดีโดยความสุขฉันใด

แม้เราก็ฉันนั้น เมื่อไรหนอ จะพึงละกามฉันทะอัน เป็นเสมือนกับผู้ไม่มี

หนี้ แล้วประสบความยินดีในพระศาสนาของท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

คือพระศาสนาของพระพุทธเจ้า อันเป็นเสมือนขุมทรัพย์อันเต็มไปด้วย

รัตนะ มีแก้วมณีและทองคำเป็นต้น เพราะเพียบพร้อมไปด้วยอริยทรัพย์

เพราะฉะนั้น ความตรึกของเรานั้นจักสำเร็จเมื่อไรหนอ.

ครั้นแสดงความเป็นไปแห่งวิตกของตน อันเป็นแล้วด้วยอำนาจ

เนกขัมมวิตกในกาลก่อน แต่การบรรพชาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ครั้นบวช

แล้ว เมื่อจะแสดงอาการอันเป็นเหตุให้สอนตนแล้วจึงบรรลุ จึงได้กล่าว

คาถามีอาทิว่า พหูนิ วสฺสานิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหูนิ วสฺสานิ ตยามฺหิ ยาจิโต

อคารวาเสน อล นุ เต อิท ความว่า ดูก่อนจิตผู้เจริญ เราถูกท่าน

อ้อนวอนมาหลายปีแล้วมิใช่หรือว่า พอละ คือถึงที่สุดแล้วสำหรับท่าน ด้วย

การอยู่ในท่ามกลางเรือน ด้วยการตามผูกพันทุกข์ต่าง ๆ อยู่หลายปี.

บทว่า ต ทานิ ม ปพฺพชิต สมาน ความว่า ดูก่อนจิต ท่านไม่

ประกอบเรานั้น ผู้เป็นบรรพชิต ด้วยความอุตสาหะเช่นนั้น ด้วยเหตุ

อย่างหนึ่ง อธิบายว่า ทิ้งสมถะและวิปัสสนา ประกอบในความเกียจคร้าน

อันเลว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 414

บทว่า นนุ อห จิตฺต ตยามฺหิ ยาจิโต อธิบายว่า ดูก่อนจิตผู้เจริญ

เราเป็นผู้อันท่านอ้อนวอน คือยังจะขอร้องมิใช่หรือ ? ถ้าท่านขอร้อง

เพราะเหตุไร ? ท่านจึงไม่ปฏิบัติให้สมควรแก่ความขอร้องนั้น.

ท่านแสดงถึงอาการขอร้อง โดยนัยมีอาทิว่า คิริพฺพเช ดังนี้,

อธิบายว่า วิหค มีขนปีกอันแพรวพราว คือมีขนหางและปีกอันวิจิตร

อธิบายว่า นกยูง.

บทว่า มหินฺทโฆสตฺถนิตาภิคชฺชิโน ความว่า มีการแผดเสียงเป็น

ปกติด้วยดี ด้วยเหตุที่เสียงอันกึกก้องจากสายน้ำ.

ด้วยบทว่า เต ต รเมสฺสนฺติ วนมฺหิ ฌายิน ท่านแสดงว่า เรา

ถูกท่านอ้อนวอนมิใช่หรือว่า นกยูงเหล่านั้น จักให้เรานั้นผู้ขวนขวายใน

ฌานในป่าเกิดความยินดี.

บทว่า กุลมฺหิ ความว่า ในการเวียนมาแห่งตระกูล.

บทว่า อิมมชฺฌุปาคโต ความว่า วันนี้ ท่านมาใกล้ที่ป่า หรือ

บรรพชานี้.

บทว่า อโถปิ ตฺว จิตฺต น มยฺห ตุสฺสสิ ความว่า ท่านจักไม่ยินดี

กะเราแม้ผู้ประพฤติตามตั้งอยู่เสียเลย.

บทว่า มเมว เอต น หิ ตฺว ปเรส อธิบายว่า ดูก่อนจิต เพราะ

ท่านพิจารณาเห็นว่าจิตนี้เป็นของเราเท่านั้นไม่ใช่ของคนเหล่าอื่น. แต่ใน

เวลาสงบท่านทำจิตนี้ให้เป็นเหมือนของคนเหล่าอื่น ด้วยการสงบภาวนา

เพื่อลบกิเลสมารทั้งหลาย เพราะกระทำอธิบายดังว่ามานี้ ท่านจะประโยชน์

อะไรด้วยกับการร้องไห้อยู่เล่า บัดนี้ เราจักไม่ให้ท่านประพฤติโดย

ประการอื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 415

บทว่า สพฺพ อิท จลมิต เปกฺขมาโน อธิบายว่า เพราะเหตุที่

เมื่อเราตรวจดูด้วยปัญญาจักษุว่า จิตนี้ เป็นอื่นทั้งหมดมีสังขารเป็นไปใน

ภูมิ ๓ กวัดแกว่ง ไม่ตั้งมั่น อยากได้ แสวงหาการออกจากเรือน และ

จากกามทั้งหลาย คืออมตบท คือพระนิพพาน ฉะนั้น จึงไม่ไปตามจิต

กระทำการแสวงหาพระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น.

มีวาจาประกอบความว่า จิตห้ามได้แสนยาก เพราะไม่ปราศจาก

ราคะ เป็นเช่นกับลิง ด้วยอำนาจการฝึก เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวแต่

คำที่ควรด้วยดี กล่าวคำเป็นแต่สุภาษิต เป็นนายสารถีฝึกนระ ผู้อันเขา

สักการะอย่างยิ่งใหญ่ สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า.

บทว่า อวิทฺทสุ ยตฺถ สิตา ปุถุชฺชนา ความว่า อันธปุถุชน

เหล่านั้น ผูกติดอยู่ คือเนื่องเฉพาะในวัตถุกามและกิเลสกามอย่างใดอย่าง

หนึ่งแสวงหาภพใหม่ด้วยกามราคะนั้น ปรารถนาทุกข์โดยส่วนเดียวเท่านั้น

และเมื่อปรารถนา จึงถูกจิตนำไป คือถูกทอดทิ้งในนรก เพราะฉะนั้น

จึงเป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งจิต กระทำกรรมอันเป็นทางแห่งนรก เป็น

ผู้ทอดทิ้งจากหิตสุข คือถูกนำไปในนรกโดยจิตของตนนั้นเอง ไม่นำไป

โดยประการอื่น เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงความที่จิตเท่านั้นที่ควรข่ม.

เมื่อรู้เพื่อจะข่มจิตนั่นแลแม้อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มยูรโกญฺจา-

ภิรุตมฺหิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มยูรโกญฺจาภิรุตมฺหิ ความว่า อัน

นกยูงและนกกระไนร้อง.

บทว่า ทีปีหิ พยคฺเฆหิ ปุรกฺขโต วส ความว่า เป็นผู้แวดล้อม

คือห้อมล้อมด้วยสัตว์ดิรัจฉานเห็นปานนั้น เพราะเป็นผู้อยู่ด้วยเมตตา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 416

กรรมฐานเป็นอารมณ์อยู่ในป่า ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงกล่าวการเจริญความ

ว่างเปล่า.

บทว่า กาเย อเปกฺข ชห ความว่า จงละไม่อาลัยในกายโดย

ประการทั้งปวง, เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงที่บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น.

บทว่า มา วิราธย ความว่า อย่ายังขณะที่ ๙ อันได้แสนยากนี้ให้

ล้มเหลว.

บทว่า อิติสฺสุ ม จิตฺต ปุเร นิยุญฺชสิ ความว่า ดูก่อนจิต

ท่านประกอบเราไว้ในสัมมาปฏิบัติก่อนแต่บวช ด้วยประการฉะนี้แล.

บทว่า ภาเวหิ ความว่า จงให้เกิดและให้เจริญ.

บทว่า ฌานิ ได้แก่ ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น.

บทว่า อินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์ ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น.

บทว่า พลานิ ได้แก่ พละ ๕ เหล่านั้นนั่นแล.

บทว่า โพชฺฌงฺคสมาธิภาวนา ได้แก่ โพชฌงค์ ๗ และสมาธิ-

ภาวนา ๔.

บทว่า ติสฺโส จ วิชฺชา ได้แก่ วิชชา ๓ มีปุพเพนิวาสญาณ

เป็นต้น, ท่านตั้งอยู่ในพระพุทธศาสนา คือในโอวาทของพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้า จงถูกต้อง คือจงบรรลุ.

บทว่า นิยฺยานิก ได้แก่ นำออกจากวัฏทุกข์.

บทว่า สพฺพทุกฺขกฺขโยคธ ได้แก่ หยั่งลงในอมตะ คือมีพระ-

นิพพานเป็นที่พึ่ง ได้แก่ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์.

บทว่า สพฺพกิเลสโสธน ความว่า ชำระมลทิน คือกิเลสไม่ให้มี

ส่วนเหลือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 417

บทว่า ขนฺเธ ได้แก่ อุปาทานขันธ์.

บทว่า ปฏิปสฺส โยนิโส ความว่า จงเห็นด้วยอุบายโดยชอบด้วย

วิปัสสนาญาณ โดยประการต่าง ๆ มีอาทิอย่างนี้ว่า โดยเป็นโรค โดย

เป็นดุจฝี โดยเป็นดุจลูกศร โดยเป็นความคับแค้น โดยเป็นอาพาธ.

บทว่า ต ชห ความว่า จงละ คือจงถอนตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

นั้น.

บทว่า อิเธว ได้แก่ ในอัตภาพนี้เท่านั้น.

บทว่า อนิจฺจ เป็นต้น ความว่า ท่านจงเห็นว่าไม่เที่ยง เพราะมี

ที่สุด เพราะไม่ล่วงความเป็นของไม่เที่ยงไปได้ เพราะเป็นไปชั่วกาล

เท่านั้น และปฏิเสธต่อความเที่ยง. บทว่า ทุกฺข ความว่า จงเห็นว่าเป็น

ทุกข์ เพราะถูกความเกิดขึ้นและดับไปบีบคั้น เพราะมีภัยเกิดขึ้นเฉพาะ

หน้า เพราะทนได้ยาก เพราะปฏิเสธความสุข.

บทว่า สุญฺ ความว่า ชื่อว่า ว่างเปล่า เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ

เพราะไม่มีเจ้าของ เพราะไม่มีสาระ และเพราะปฏิเสธอัตตา เพราะเหตุ

นั้นนั่นแล จึงชื่อว่าเป็นอนัตตา. มีวาจาประกอบความว่า จงพิจารณา

เห็นโดยแยบคายว่า เป็นทุกข์และเป็นผู้ฆ่า เพราะเป็นอันจะพึงถูกติเตียน

แลเป็นความเจ็บป่วยหาความเจริญมิได้.

บทว่า มโนวิจาเร อุปรุนฺธ เจตโส ความว่า จงปิดกั้น คือจง

ห้าม ได้แก่ จงดับความสำคัญทางมโนวิจารทางใจ ๑๘ อย่าง มีการ

พิจารณาถึงโสมนัสเป็นต้นอันอาศัยเรือน.

บทว่า มุณฺโฑ ความว่า เข้าถึงซึ่งความเป็นคนโล้น คือเป็นผู้

ปลงผมและหนวด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 418

บทว่า วิรูโป ความว่า เป็นผู้ผิดรูป คือเข้าถึงความเป็นผู้มีรูปต่าง

กัน เพราะเป็นคนโล้นนั้น เพราะมีขนรกรุงรัง เพราะมีผ้ากาสายะถูก

ทำลาย.

บทว่า อภิสาปมาคโต ความว่า เข้าถึงการถูกสาปแช่งอย่างยิ่ง อัน

พระอริยเจ้าทั้งหลายควรกระทำว่า ผู้มีก้อนข้าวมีบาตรอยู่ในมือเที่ยวไป.

สมจริงดังคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านเป็นผู้มีก้อนข้าว

มีบาตรในมือเที่ยวไปในโลก นี้เป็นผู้ถูกสาปแช่ง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า ท่านเป็นเหมือนมีกระเบื้องในมือ เที่ยวขอในตระกูล.

บทว่า ยุญฺชสฺสุ สตฺถุวจเน ความว่า จงการทำการประกอบ คือ

จงประกอบเนือง ๆ ในโอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

บทว่า สุสวุตตฺโต ความว่า ผู้สำรวมโดยชอบแล้ว ด้วยกาย วาจา

และจิตด้วยดี.

บทว่า วิสุขนฺตเร จร ความว่า เที่ยวไปอยู่ในตรอกพิเศษเพื่อ

ภิกขาจาร.

บทว่า จนฺโท ยถา โทสินปุณฺณมาสิยา มีวาจาประกอบความว่า

จงเที่ยวไปเหมือนพระจันทร์เพ็ญปราศจากโทษ ใหม่อยู่เป็นนิจในตระกูล

น่าเลื่อมใส.

บทว่า สทา ธุเต รโต ความว่า ยินดียิ่งในธุดงคคุณตลอดกาล

ทั้งสิ้น.

บทว่า ตถูปม จิตฺตมิท กโรสิ ความว่า บุรุษบางคนปรารถนา

ผลไม้ ปลูกต้นไม้มีผล พอได้ผลจากต้นไม้นั้น ก็ปรารถนาจะตัดต้นไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 419

นั้นแต่รากฉันใด ดูก่อนจิต ท่านจงกระทำข้อนี้ให้เหมือนกับบุรุษนั้น

คือให้มีส่วนเปรียบกับต้นไม้นั้นฉันนั้น.

บทว่า ย ม อนิจฺจมฺหิ จเล นิยุญฺชสิ ความว่า ท่านประกอบ

เราใดไว้ในบรรพชา แล้วประกอบผลแห่งการบรรพชา ที่เป็นไปตลอด

กาลนาน ในความไม่เที่ยงในความหวั่นไหว ในปากทางแห่งสงสาร

คือให้เป็นไปด้วยอำนาจการประกอบไว้.

ชื่อว่า อรูป เพราะไม่มีรูป. จริงอยู่ สัณฐานเช่นนั้น หรือประเภท

แห่งสีมีสีเขียวเป็นต้น ย่อมไม่มีแก่จิต เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าไม่มีรูป.

ชื่อว่า ทูรงฺคม เที่ยวไปในที่ไกลเพราะเป็นไปในที่ไกล. แม้ถ้าว่า

ชื่อว่าการไปของจิต โดยส่วนแห่งทิศมีทิศตะวันออกเป็นต้น แม้เพียงใย

แมลงมุม ย่อมไม่มีแก่จิตนั้น แต่ย่อมรับอารมณ์ที่มีอยู่ในที่ไกล เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทูรงฺคม เที่ยวไปในที่ไกล.

ท่านเป็นผู้ ๆ เดียวเท่านั้น ชื่อว่า เอกจารี ผู้ ๆ เดียวเที่ยวไป

เพราะเป็นไปด้วยอำนาจเป็นผู้ผู้เดียวเท่านั้นเที่ยวไป. โดยที่สุดจิตทั้ง ๒-๓

ดวง ชื่อว่าสามารถเพื่อจะเกิดขึ้นพร้อมกันย่อมไม่มี แต่จิตดวงเดียวเท่านั้น

ย่อมเกิดขึ้นในสันดานเดียวกัน เมื่อจิตนั้นดับแล้วย่อมเกิดขึ้นดวงเดียว

เท่านั้นแม้อีก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าดวงเดียวเที่ยวไป.

บทว่า น เต กริสฺส วจน อิทานิห ความว่า แม้ถ้าเป็นไป

ในอำนาจของท่านในกาลก่อนไซร้ ก็บัดนี้ เราจักไม่เป็นไปในอำนาจ

แห่งจิต จำเดิมแต่กาลที่เราได้โอวาทของพระศาสดาแล้ว. หากมีคำถาม

สอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร ? เฉลยว่า เพราะกามทั้งหลายเป็นทุกข์ มี

ภัยมาก ชื่อว่ากามเหล่านี้เป็นทุกข์ทั้งในอดีต มีผลดุจหนามแม้ในอนาคต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 420

ชื่อว่ามีภัยใหญ่หลวง. เพราะติดตามด้วยภัยใหญ่ ต่างด้วยมีการติเตียนตน

เป็นต้น เราจักมีใจมุ่งสู่พระนิพพานเท่านั้นเที่ยวไป เพราะฉะนั้น เราจึง

มีจิตมุ่งเฉพาะพระนิพพานเท่านั้นอยู่.

เมื่อจะแสดงความที่เรามีใจมุ่งสู่พระนิพพานนั้นเท่านั้น จึงกล่าวคำ

มีอาทิว่า เราไม่ได้ออกบวชเพราะหมดบุญ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาห อลกฺขยา มีวาจาประกอบความว่า

เราไม่ได้ออกจากเรือนเพราะหมดบุญ คือเพราะหมดสิริ.

บทว่า อหิริกฺกตาย ความว่า เพราะไม่มีความละอาย เหมือน

กระทำการเยาะเย้ยตามที่มีโทษ.

บทว่า จิตฺตเหตุ ความว่า บางคราวเป็นนิครนถ์ บางคราวเป็น

ปริพาชกเป็นต้น เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งจิต เหมือนบุรุษมีจิต

ไม่ตั้งมั่นฉะนั้น.

บทว่า ทูรกนฺตนา ความว่า เพราะได้รับเมตตาจากพระราชาเป็น

ต้นแล้ว มีจิตคิดประทุษร้ายในพระราชาเป็นต้นนั้น.

บทว่า อาชีวเหตุ ความว่า เพราะเหตุแห่งอาชีพ เราเป็นผู้มี

อาชีวะเป็นปกติ ไม่ได้ออกบวชเพราะภัยจากอาชีวะ.

ด้วยบทว่า กโต จ เต จิตฺต ปฏิสฺสโว มยา นี้ ท่านแสดงว่า

ดูก่อนจิต ท่านได้กระทำการรับรองไว้กับเราแล้วมิใช่หรือว่า เราจะอยู่

ในอำนาจของท่านจำเดิมแต่กาลบวชแล้ว.

บทว่า อปฺปิจฺฉตา สปฺปุริเสหิ วณฺณิตา ความว่า ชื่อว่า ความ

เป็นผู้มักน้อยในปัจจัยทั้งหลายโดยประการทั้งปวง บัณฑิตทั้งหลายมี

พระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญว่า เป็นความดี อนึ่งการละความลบหลู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 421

คือการละความลบหลู่คุณของตนเหล่าอื่น การเข้าไปสงบคือการเข้าไปสงบ

ทุกข์ทั้งปวง ได้แก่การให้บรรลุพระนิพพานอันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ

แล้ว. อธิบายว่า ดูก่อนจิต ท่านได้แนะนำเราไว้ในครั้งนั้นดังกล่าวมา

แล้วคือ ดูก่อนจิต ท่านได้แนะนำเราไว้ในครั้งนั้นว่า สหาย ท่านพึง

ปฏิบัติในคุณเหล่านั้น บัดนี้ท่านจะเดินตามข้อที่เคยประพฤติมา คือบัดนี้

ท่านจะละเราปฏิบัติความมักมากเป็นต้น ที่ตนเคยประพฤติมา, นี้อย่างไร

กัน ?

ท่านหมายเอาเรื่องใดจึงกล่าวว่า ท่านจะดำเนินตามข้อที่เคย

ประพฤติมา. เพื่อแสดงเรื่องนั้นจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ตณฺหา อวิชฺชา จ

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตณฺหา ได้แก่ ตัณหาในปัจจัยทั้งหลาย.

บทว่า อวิชฺชา ได้แก่ อวิชชา มีการปกปิดโทษเป็นต้นในเรื่องนั้นนั่นแล.

บทว่า ปิยาปิย ความว่า ความที่สัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก

กล่าวคือความรักในบุตรและภรรยาเป็นต้น และความที่สัตว์และสังขาร

อันไม่เป็นที่รัก กล่าวคือความไม่ยินดีในเสนาสนะอันสงัด คือในกุศล-

ธรรมอันยิ่ง มีความยินดีและยินร้ายในสองอย่างนั้น.

บทว่า สุภานิ รูปานิ ได้แก่ รูปงามทั้งภายในและภายนอก.

บทว่า สุขา เวทนา ได้แก่ สุขเวทนาอาศัยอิฏฐารมณ์เกิดขึ้น.

บทว่า มนาปิยา กามคุณา ได้แก่ ส่วนแห่งกามคุณอันน่า

รื่นรมย์ใจ ที่เหลือดังกล่าวแล้ว.

บทว่า วนฺตา ความว่า ชื่อว่า อันเราคายแล้ว เพราะละด้วยการ

ข่มไว้ ทิ้ง และสละฉันทราคะ อันอาศัยอารมณ์จากที่ไม่มีรูป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 422

ด้วยบทว่า วนฺเต อห อาวมิตุ น อุสฺสเห ท่านกล่าวว่า เราไม่

สามารถจะจับต้องกามคุณเหล่านั้นที่เราละเสียแล้วอีกด้วยอาการอย่างนี้ คือ

เป็นธรรมชาติอันสละเสียแล้วนั่นแล.

บทว่า สพฺพตฺถ ได้แก่ ในภพทั้งปวง ในกำเนิดทั้งปวง ในคติ

ทั้งปวง และในวิญญาณฐิติทั้งปวง.

บทว่า วโจ กต มยา ความว่า ดูก่อนจิตผู้เจริญ เราได้ทำตาม

คำของท่านแล้ว.

เมื่อจะทำอธิบาย บทว่า พหูสุ ชาติสุ น เมสิ โกปิโต ความว่า

ก็เมื่อเราไม่ได้โกรธเคืองท่านในชาติเป็นอันมาก. เราเองมิได้ดูหมิ่นท่าน.

อนึ่ง ความเกิดในภายในแม้เกิดในตน เมื่อท่านกระทำเราให้

ท่องเที่ยวไปในทุกข์สิ้นกาลนาน เพราะท่านเป็นผู้ไม่กตัญญู เพราะฉะนั้น

เราจึงเที่ยวเร่ร่อนไปในสังสารทุกข์ตลอดกาลนาน อันหาเบื้องต้นและที่สุด

รู้ไม่ได้ที่ตนบังเกิด.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงความที่กล่าวแล้วโดยสังเขปว่า ท่านกระทำให้เรา

ท่องเที่ยวไปในทุกข์ ตลอดกาลนาน และโดยพิสดารด้วยประเภทแห่งการ

อุบัติ และโดยประเภทแห่งคติ จึงกล่าวว่า ตวญฺเว ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชทสิ ตัดเป็น ราชา อสิ ท อักษร

ทำการเชื่อมบท. มีวาจาประกอบความว่า เราเป็นแพศย์และศูทรนั้นก็

เนื่องในกาลบางคราว. เพราะเหตุแห่งท่านนั่นเอง.

บทว่า เทวตฺตน วาปิ มีวาจาประกอบความว่า ดูก่อนจิต

ท่านเท่านั้นทำให้เราเป็นเทวดา.

บทว่า วาหสา แปลว่า เพราะความเป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 423

บทว่า ตเวว เหตุ ความว่า เพราะเหตุแห่งท่านนั้นเอง.

บทว่า ตฺวมูลก แปลว่า มีท่านเป็นนิมิต.

บทว่า นนุ ทุพฺภิสฺสสิ ม ปุนปฺปุน ความว่า ท่านประทุษร้าย

บ่อย ๆ มิใช่หรือ ? ดูก่อนจิต เมื่อก่อนคือในอนันตชาติ ท่านเป็น

มิตรเทียม คือเป็นข้าศึก ประทุษร้ายเราบ่อย ๆ ฉันใด บัดนี้ เห็นจัก

ประทุษร้ายฉันนั้น อธิบายว่า เราจักไม่ให้ท่านเที่ยวไปเหมือนในกาลก่อน.

บทว่า มุหุ มุหุ จารณิก ทสฺสย ความว่า ใจดังจะให้เรา

เที่ยวไปเนือง ๆ ลวงบุรุษให้เที่ยวไป ให้ภพนั้น ๆ บ่อย ๆ เหมือน

ควบคุมการเที่ยวไปให้สำเร็จ.

บทว่า อุมฺมตฺตเกเนว มยา ปโลภสิ ความว่า ท่านเล่นกับเรา

เหมือนกับคนบ้า แสดงอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความประเล้าประโลมนั้น

แล้วจึงประเล้าประโลม.

บทว่า กิญฺจาปิ เต จิตฺต วิราธิต มยา อธิบายว่า ดูก่อนจิต

ผู้เจริญ อะไรที่เราทำความผิดพลาดให้แก่ท่าน ท่านจงบอกเรื่องนั้น.

บทว่า อิท ปุเร จิตฺต ความว่า ธรรมดาว่าจิตนี้ เมื่อก่อนแต่นี้

ย่อมปรารถนาด้วยอาการอย่างใด มีความยินดีเป็นต้นในอารมณ์มีรูป

เป็นต้น และความใคร่ของจิตนั้น ย่อมเกิดในอารมณ์ใด และความใคร่

เมื่อเที่ยวไปโดยประการที่ความสุขย่อมมีแก่จิตผู้เที่ยวไปตามอำนาจตามความ

ปรารถนา ก็เที่ยวจาริกไปตามความสุขตลอดกาลนาน วันนี้เราจักข่มจิต

นั้น ด้วยโยนิโสมนสิการ เหมือนควาญช้างผู้ฉลาด กล่าวคือนาย

หัตถาจารย์ใช้ขอข่มช้างตัวซับมันผู้แตกปลอกฉะนั้น คือเราจะไม่ให้มัน

ก้าวไปได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 424

บทว่า สตฺถา จ เม โลกมิม อธิฏฺหิ ความว่า พระศาสดา

สัมพุทธเจ้าของเรา ทรงอธิษฐานด้วยพระญาณถึงขันธโลกโดยไม่มีส่วน

เหลือฉะนี้, อธิษฐานกระไร ? อธิษฐานโดยความไม่เที่ยง เพราะอรรถ

ว่ามีแล้วกลับไม่มี โดยความไม่ยั่งยืน เพราะไม่มีความยั่งยืน คือถาวรแม้

อย่างใด โดยความไม่มีสาระ เพราะไม่มีสุขเป็นสาระเป็นต้น.

บทว่า ปกฺขนฺท ม จิตฺต ชินสฺส สาสเน ความว่า ดูก่อนจิต

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงยังเราให้แล่นไป คือให้เข้าไปในศาสนาของ

พระชินะผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อปฏิบัติตามความเป็นจริง. บาลีว่า ปกฺขนฺทิม

ดังนี้ก็มี ท่านจงแล่นไปสู่โลกในศาสนาของพระชินะเจ้าด้วยญาณ จงให้

ข้ามตามความเป็นจริงและแม้แล่นไป คือเมื่อให้แล่นไปให้เป็นไปด้วย

มรรคอันสัมปยุตด้วยวิปัสสนาญาณ จงให้เราข้ามจากโอฆะใหญ่คือสงสาร

ที่ข้ามได้แสนยาก.

บทว่า น เต อิท จิตฺต ยถา ปุราณก ความว่า ดูก่อนจิตผู้เจริญ

เรือนคืออัตภาพนี้ ย่อมไม่มีแก่ท่าน เหมือนมีในกาลก่อน เพราะเหตุไร ?

เพราะเราจักไม่เป็นไปในอำนาจของท่านต่อไป อธิบายว่า บัดนี้เราไม่ควร

เพื่อจะเป็นไปในอำนาจของท่าน เพราะเหตุที่เราออกบวชในศาสนาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ และจำเดิมแต่กาลที่เราบวช

แล้ว ชื่อว่า สมณะทั้งหลายผู้เช่นกับเราย่อมไม่มี เป็นผู้ทรงไว้ซึ่ง

ความพินาศ เป็นสมณะโดยส่วนเดียวเท่านั้น.

บทว่า นคา ได้แก่ ภูเขาทั้งปวง มีภูเขาสิเนรุและภูเขาหิมวันต์

เป็นต้น.

บทว่า สมุทฺทา ได้แก่ สมุทรทั้งปวง มีสมุทรที่ตั้งในทิศตะวันออก

เป็นต้น และสมุทรเย็นเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 425

บทว่า สริตา ได้แก่ แม่น้ำทั้งปวงมีแม่น้ำคงคาเป็นต้น.

บทว่า วสุนฺธรา แปลว่า แผ่นดิน.

บทว่า ทิสา จตสฺโส ได้แก่ ทิศทั้ง ๔ อันต่างด้วยทิศตะวันออก

เป็นต้น.

บทว่า วิทิสา ได้แก่ ทิศน้อยทั้ง ๔ มีทิศที่อยู่ระหว่างทิศตะวันออก

และทิศทักษิณเป็นต้น

บทว่า อโธ ความว่า ภายใต้จนถึงกองลมที่รองรับน้ำ.

บทว่า ทิวา ได้แก่ เทวโลก. ก็ด้วย ทิวา ศัพท์ ในบทว่า ทิวา

นี้ ท่านกล่าวหมายเอาสัตว์และสังขารที่อยู่ในที่นั้น.

บทว่า สพฺเพ อนิจฺจา ติภวา อุปทฺทุตา อธิบายว่า ภพทั้ง ๓

มีกามภพเป็นต้นทั้งหมดเป็นของไม่เที่ยง ถูกทุกข์มีชาติทุกข์เป็นต้น และ

กิเลสมีราคะเป็นต้น ทำให้วุ่นวายและเบียดเบียน, ชื่อว่า สถานที่อัน

ปลอดภัยอะไร ๆ ในที่นี้ย่อมไม่มี ดูก่อนจิต เพราะไม่มีความปลอดภัยนั้น

ท่านไปในที่ไหนจักรื่นรมย์เป็นสุข เพราะฉะนั้น ท่านจงแสวงหาที่สลัด

ออกจากชาติทุกข์เป็นต้นนั้นในที่นี้.

บทว่า ธิติปฺปร ความว่า ดูก่อนจิต เบื้องหน้าแต่จิตของเราตั้งมั่น

แล้ว ท่านจักทำอะไรแก่เราผู้ตั้งอยู่ในความมั่นคง ท่านไม่สามารถจักทำ

ให้เราหวั่นไหวแม้น้อยหนึ่ง จากอารมณ์อันเป็นทุกข์นั้นได้.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดูก่อนจิต เราไม่ควรเพื่อจะเป็นไปใน

อำนาจของท่าน. บัดนี้เมื่อจะแสดงความนั้นให้ปรากฏชัด ท่านจึงกล่าวว่า

บุคคลไม่ควรถูกต้องไถ้สองปาก คือร่างกายอันเต็มไปด้วยของไม่สะอาด

มีช่อง ๙ แห่งเป็นที่ไหลออก น่าติเตียน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 426

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภสฺต ได้แก่ ถุงหนัง. บทว่า อุภโตมุข

ได้แก่ ปากสองข้างแห่งไถ้.

บทว่า น ชาตุ ฉุเป ความว่า บุคคลไม่พึงถูกต้องแม้ด้วยเท้า

โดยส่วนเดียว. อนึ่ง บทว่า ธิรตฺถุ ปุร นวโสตสนฺทนึ ความว่า ซึ่งร่าง

กายอันเต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ เป็นที่ไหลออกแห่งของอัน

ไม่สะอาด จากช่องคือจากปากแผลทั้ง ๙ น่าติเตียนเวจกุฏินั้น คือน่า

ครหาเวจกุฏินั้น.

ครั้นโอวาทจิตด้วยอำนาจข่มด้วยคาถา ๒๘ คาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะให้ร่าเริง ด้วยการบอกสถานที่อันวิเวกเป็นต้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

วราหเอเณยฺยวิหาฬฺหเสวิเต ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วราหเอเณยฺยวิคาฬฺหเสวิเต อันหมู่

และเนื้อทรายหยั่งลงเสพแล้ว.

บทว่า ปพฺภารกุฏฺเฏ ได้แก่ ที่เงื้อมเขาและบนยอดเขา.

บทว่า ปกเตว สุนฺทเร ความว่า อันสวยงามตามธรรมชาติ พึง

ได้รื่นรมย์ใจไม่อิ่ม, อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า ปกติ วสุนฺธเร ในแผ่นดิน

ตามธรรมชาติ, อธิบายว่า ในภูมิประเทศตามปกติ.

บทว่า นวมฺพุนา ปาวุสสิตฺตกานเน ความว่า ในป่าที่ฝนตก

ใหม่ ๆ.

บทว่า ตหึ คุหาเคหคโต รมิสฺสสิ ความว่า ท่านเข้าไปสู่เรือน

คือถ้ำ ณ เชิงบรรพตนั้น จักรื่นรมย์ใจอย่างยิ่งด้วยความยินดีในภาวนา.

บทว่า เต ต รเมสฺสนฺติ ความว่า สัตว์เหล่านั้นมีนกยูงเป็นต้น

ให้เกิดความสำคัญในป่า จักรื่นรมย์ป่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 427

บทว่า วุฏฺมฺหิ ความว่า เมื่อฝนตกใหม่ ๆ.

บทว่า จตุรงฺคุเล ติเณ ความว่า เมื่อฝนตกและหญ้างอกงาม ยาว

ประมาณ ๔ นิ้ว เช่นกับผ้ากัมพลมีสีแดงจัดในที่นั้น ๆ.

บทว่า สปุปฺผิเต เมฆนิภมฺหิ กานเน ความว่า หมู่ไม้คล้ายกับ

เมฆฝนบานสะพรั่งทีเดียว.

บทว่า นคนฺตเร ได้แก่ ในระหว่างภูเขา.

บทว่า วิฏปิสโม สยิสฺส ความว่า เป็นผู้เช่นกับต้นไม้ไม่มีอะไร

ปกคลุมนอนอยู่.

บทว่า ต เม มุทู เทหิติ ตูลสนฺนิภ ความว่า เครื่องลาดหญ้า

นั้นอ่อนนุ่ม มีสัมผัสสบาย งดงามเหมือนปุยนุ่น จักเป็นที่นอนของเรา.

บทว่า ตถา ตุ กสฺสามิ ยถาปิ อิสฺสโร ความว่า บุรุษผู้เป็นใหญ่

บางคน ให้ทาสเป็นต้นผู้ทำตามคำของตน ให้เป็นไปในอำนาจฉันใด

ดูก่อนจิต แม้เราก็ฉันนั้น จักกระทำจิตนั้นให้เหมือนอย่างนั้น จะให้อยู่

ในอำนาจของเราเท่านั้น. อย่างไร ? คือสิ่งใดที่เราได้ แม้สิ่งนั้นจงควร

แก่เรา อธิบายว่า ในปัจจัย ๔ เราได้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถึงสิ่งนั้นก็จงควร

คือจงสำเร็จแก่เรา. ด้วยคำนั้นท่านจึงแสดงว่า

สัตว์บางพวกในโลกนี้ ย่อมเป็นไปในอำนาจแห่งจิต เพราะเหตุ

ให้เกิดตัณหา แต่เราเว้นการเกิดตัณหาให้ห่างไกล ทำจิตให้เหมือนทาส

ให้เป็นไปในอำนาจแห่งตน.

บทว่า น ตาห กสฺสามิ ยถา อตนฺทิโต พิฬารภสฺตว ยถา สุมทฺทิต

ความว่า ดูก่อนจิต ความเกียจคร้านย่อมจับต้องจิตอีก เพราะเหตุเว้นการ

เกิดตัณหา ใคร ๆ แม้อื่นผู้ไม่เกียจคร้าน ย่อมทำจิตของตนให้ควรแก่การ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 428

งาน คือให้เหมาะแก่การงานด้วยภาวนา โดยการประกอบสัมมัปธาน

ฉันใด ดูก่อนจิต แม้เราก็ฉันนั้น กระทำจิตนั้นให้ควรแก่การงาน คือ

ให้เหมาะแก่การงาน ได้แก่ให้เป็นไปในอำนาจแห่งตน. เปรียบเหมือน

อะไร ? เหมือนบุคคลเลื่อนถุงใส่แนวฉะนั้น. ศัพท์ว่า เป็นเพียงนิบาต.

ถุงใส่แมวที่บุคคลเลื่อนดีแล้ว ย่อมควรแก่การงาน คือแก่การงานและ

เป็นอันคุ้มครองได้โดยสะดวกฉันใด เราจักกระทำจิตให้เป็นฉันนั้น.

บทว่า วิริเยน ต มยฺห วสฺสานยิสฺส ความว่า ดูก่อนจิตผู้เจริญ

เราจักยังกำลังแห่งภาวนาให้เกิดด้วยความเพียรของตน แล้วจักนำเธอมาสู่

อำนาจของเราด้วยความเพียรนั้น.

บทว่า คชว มตฺต กุสลงฺกุสคฺคโห ความว่า เหมือนนายหัต-

ถาจารย์ผู้ฉลาดเฉียบแหลม นำช้างตัวซับมันมาสู่อำนาจของตน ด้วยกำลัง

แห่งการศึกษาของตน อธิบายว่าเหมือนกันนั่นเเหละ.

ศัพท์ว่า หิ ในบทว่า ตยา สุทนฺเตน อวฏฺิเตน หิ เป็นเพียง

นิบาต ความว่า ดูก่อนจิต ท่านผู้ฝึกด้วยดีด้วยสมถะและวิปัสสนาภาวนา

ชื่อว่าตั้งมั่นแล้ว เพราะดำเนินตามวิปัสสนาวิถี โดยชอบแท้เพราะเหตุ

นั้นแล.

บทว่า หเยน โยคฺคาจริโยว อุชฺชุนา ความว่า นายอัสสาจารย์

ผู้ประกอบด้วยวิชาฝึกม้าที่ให้ตรงไม่โกง เพราะตนฝึกดีแล้วสามารถเพื่อ

ดำเนินไปจากที่ไม่ปลอดภัยสู่ที่อันปลอดภัยฉันใด เราก็สามารถเพื่อดำเนิน

ไปสู่ที่ปลอดภัยฉันนั้น อธิบายว่า ชื่อว่าที่ปลอดภัย เพราะไม่มีกิเลสอัน

กระทำความไม่ปลอดภัย.

บทว่า จิตฺตานุรกฺขีหิ ความว่า เราอาจ คือสามารถเพื่อดำเนิน

ตาม คือเพื่อบรรลุอริยมรรค อันบัณฑิตทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 429

เสพแล้วตลอดกาลทั้งสิ้น ด้วยศีลเป็นเครื่องตามรักษาจิตของตน.

บทว่า อารมฺมเณ ต พลสา นิพนฺธิส นาคว ถมฺภมฺหิ ทฬฺหาย

รชฺชุยา ความว่า ดูก่อนจิต เราจะผูกจิตไว้ในอารมณ์กรรมฐาน

ด้วยกำลังภาวนา เหมือนนายหัตถาจารย์มัดช้างใหญ่ไว้ที่เสาตะลุง ด้วย

เชือกอันมั่นคงฉะนั้น.

บทว่า ต เม สุคุตฺต สติยา สุภาวิต ความว่า ดูก่อนจิต ท่าน

นั้นเป็นผู้อันสติของเราคุ้มครองดีแล้ว และอบรมดีแล้ว.

บทว่า อนิสฺสิต สพฺพภเวสุ เหหิสิ ความว่า ท่านจักเป็นผู้อัน

ความประพฤติที่นอนเนื่องในสันดานมีตัณหาเป็นต้น ในภพทั้งหมดมี

กามภพเป็นต้นไม่อาศัยแล้ว ด้วยกำลังอริยมรรคภาวนา.

บทว่า ปญฺาย เฉตฺวา วิปถามุสาริน ความว่า ท่านจงตัด

ทางดำเนินที่ผิด คือที่เกิดแห่งอายตนะ คือจงตัดทางเป็นที่ไหลออกแห่ง

กิเลส คือทางดิ้นรนแห่งกิเลส อันเป็นเหตุให้เดินทางผิดตามความเป็นจริง

แล้วทำการป้องกันด้วยอำนาจตัดกระแสตัณหา ด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา

อันเป็นที่เข้าไปอาศัยอินทรียสังวร.

บทว่า โยเคน นิคฺคยฺห ความว่า ข่มใจแล้วด้วยการทำลายด้วย

ความสามารถคือด้วยความเพียรกล่าวคือวิปัสสนาภาวนา. บทว่า ปเถ

นิเวสิยา ความว่า ส่งใจคือให้ตั้งอยู่ในวิปัสสนาวิถี อนึ่ง ในกาลใด

วิปัสสนาอันตนพยายามให้เกิดขึ้น ย่อมสืบต่อด้วยมรรค เมื่อนั้นท่านจัก

เห็นความเสื่อมและความเจริญ แห่งความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ โดยความ

ไม่หลงโดยประการทั้งปวง ด้วยการแสดงไขว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความ

เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา จักเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 430

ทายาทคือเป็นโอรสของผู้มีวาทะอันเลิศในโลกพร้อมด้วยเทวโลก คือพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า.

บทว่า จตุพฺพิปลฺลาสวส อธิฏฺิต ความว่า ได้นำเราให้ตั้งมั่น

คือให้เป็นไปตามอำนาจของความเข้าใจผิด ๔ ประการนี้ คือในสิ่งที่ไม่

เที่ยงว่าเที่ยง ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสิ่งที่มิ

ใช่ตนว่าเป็นตน ดังนี้.

บทว่า คามณฺฑลว ปริเนสิ จิตตฺ ม ความว่า ดูก่อนจิตผู้เจริญ

ท่านฉุดคร่าเราไปเหมือมเด็กชาวบ้าน คือฉุดคร่าให้หมุนไปจากที่โน้นและ

ที่นี้.

บทว่า นนุ สโยชนพนฺธนจฺฉิท ความว่า ท่านคบหาพระมหา-

มุนี คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วยกรุณา ผู้ตัดเครื่องผูก ๑๐

อย่าง กล่าวคือสังโยชน์แน่ ย่อมสรรเสริญพระศาสดาด้วยการประกอบ

ด้วยความสรรเสริญว่า ท่านเว้นผู้มีอานุภาพมากเห็นปานนี้ แต่แสวงหา

ท่านผู้มีตบะเห็นตามความชอบใจ.

บทว่า มิโค ยถา ความว่า เหมือนมฤคชาติพอใจมีอำนาจเอง

ย่อมยินดีด้วยความใคร่ ในที่ไม่อากูล อันวิจิตรตระการด้วยดี ด้วยต้นไม้

กอไม้และเถาวัลย์เป็นต้น.

บทว่า รมฺม คิรึ ปาวุสอพฺภมาลินึ ความว่า เราได้ภูเขาอันน่า

รื่นรมย์ใจ เพราะสงัดจากหมู่ชนและเป็นที่รื่นรมย์ใจ ชื่อว่ามีพวงมาลัยดุจ

กลุ่มเมฆ เพราะประกอบด้วยดอกไม้ทั้งบนบกและในน้ำ โคตรอบในฤดู

ฝนอย่างนี้ จักยินดีภูเขานั้น ดูก่อนจิต ท่านจักเสื่อมโดยส่วนเดียว

อธิบายว่า จักตั้งอยู่ด้วยความวอดวายในสงสาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 431

ด้วยบทว่า เย ตุยฺห ฉนฺเทน วเสน วตฺติโน ท่านกล่าวหมาย

เอาปุถุชนทั้งปวง โดยความเป็นผู้เสมอกับจิต.

คำนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ ดูก่อนจิตผู้เจริญ นระและนารีทั้งหลาย

ตั้งอยู่ด้วยความพอใจ คือด้วยอำนาจความชอบใจของท่าน ย่อมเสวย

จักประสบความสุขอันอาศัยเรือนใด คนเหล่านั้น เป็นคนโง่ อันธพาล

เป็นไปในอำนาจแห่งมาร คือมีปกติเป็นไปในอำนาจแห่งกิเลสมารเป็นต้น

เพลิดเพลินในภพเพราะเพลิดเพลินในกามภพเท่านั้น สาวกของท่าน

กระทำตามคำพร่ำสอน ส่วนพวกเราเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เราไม่เป็นไปในอำนาจของท่าน.

เมื่อก่อนพระเถระจำแนกโยนิโสมนสิการ อันเป็นไปด้วยอำนาจการ

ข่มจิตโดยประการต่าง ๆ แสดงธรรมด้วยอำนาจให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย

ผู้ตั้งอยู่ในที่ใกล้. ก็ในที่นี้คำใดที่ท่านไม่ได้จำแนกไว้โดยอรรถใน

ระหว่าง ๆ คำนั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.

จบอรรถกถาตาลปุฏเถรคาถาที่ ๑

จบปรมัตถทีปนี

อรรถกถาเถรคาถา ปัญญาสนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 432

เถรคาถา สัฏฐิกนิบาต

๑. มหาโมคคัลลานเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมหาโมคคัลลานเถระ

[๔๐๐] พระโมคคัลลานเถระ ได้ภาษิตคาถา ๔ คาถาเบื้องต้น

ความว่า

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาต

เป็นวัตร ยินดีเฉพาะอาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การ

แสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดีในภายใน พึงทำลายเสนา

แห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุผู้ถือการอยู่ในป่าเป็น

วัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดีเฉพาะอาหาร

ที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การเสาะแสวงหา ฟังกำจัด

เสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนช้างกุญชรทำลาย

เรือนไม้อ้อฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร

มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดีเฉพาะอาหารในบาตร

อันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดี พึงทำลาย

เสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุทั้งหลายผู้ถือการ

อยู่โคนไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดี

เฉพาะอาหารในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา พึงกำจัด

เสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนช้างกุญชรทำลาย

เรือนไม้อ้อฉะนั้น.

อีก ๔ คาถาต่อไป ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตไว้ ด้วย

อำนาจสอนหญิงแพศยาซึ่งมาเล้าโลมท่านว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 433

เราติเตียนกระท่อม คือสรีระร่างอันสำเร็จด้วยโครง

กระดูกอันฉาบทาด้วยเนื้อ ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น เต็มไป

ด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียด ที่คนทั่ว ๆ

ไปเข้าใจว่าเป็นของผู้อื่นและเป็นของตน ในร่างกายของ

เธอเช่นกับถุงอันเต็มไปด้วยคูถ มีหนังหุ้มห่อปกปิดไว้

เหมือนนางปีศาจ มีฝีที่อก มีช่องเก้าช่องเป็นที่ไหลออก

เนื่องนิตย์ ภิกษุควรละเว้นสรีระของเธออันมีช่องเก้าช่อง

เต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น ดังชายหนุ่มผู้ชอบสะอาด หลีก

เลี่ยงมูตรคูถไปจนห่างไกลฉะนั้น หากว่าคนพึงรู้จักสรีระ

ของเธอเช่นเดียวกับฉันรู้จัก ก็จะพากันหลบหลีกเธอไป

เสียห่างไกล เหมือนบุคคลผู้ชอบสะอาด เห็นหลุมคูถ

ในฤดูฝนแล้ว หลีกเลี่ยงไปเสียห่างไกลฉะนั้น.

เมื่อหญิงแพศยาคนนั้นได้ฟังดังนี้แล้ว ก็เกิดความสลดใจ จึงตอบ

พระเถระเป็นคาถา ความว่า

ข้าแต่สมณะผู้มีความเพียรมาก ท่านพูดอย่างไรเป็น

จริงอย่างนั้น แต่คนบางจำพวกยังจมอยู่ในร่างกายอันนี้

เหมือนกับโคเฒ่าที่จมอยู่ในตมฉะนั้น.

พระมหาโมคคัลลานเถระเมื่อจะชี้แจงให้นางรู้ว่า การประพฤติตาม

ใจชอบเช่นนี้ไม่มีประโยชน์ มีแต่นำโทษมาให้โดยถ่ายเดียว จึงกล่าว

เป็นคาถา ๒ คาถา ความว่า

ผู้ใดประสงค์ย้อมอากาศด้วยขมิ้น หรือด้วยน้ำย้อม

อย่างอื่น การกระทำของผู้นั้นก็ลำบากเปล่า ๆ จิตของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 434

นี้ก็เสมอกับอากาศ เป็นจิตตั้งมั่นด้วยดีในภายใน เพราะ-

ฉะนั้น เธออย่ามาหวังความรักที่มีอยู่ในดวงจิตอันลามก

ของเธอจากฉันเลย เหมือนตัวแมลงถลาเข้าสู่กองไฟ

ย่อมถึงความพินาศฉะนั้น เธอจงดูร่างกายอันกระดูก

๓๐๐ ท่อนยกขึ้นตั้งไว้ มีแผลทั่ว ๆ ไป อันบุญกรรม

กระทำให้วิจิตร กระสับกระส่าย พวกคนพาลพากันดำริ

โดยมาก ไม่มีความยั่งยืนมั่นคงอยู่เลยนี้เถิด.

พระมหาโมคคัลลานะ ปรารภการนิพพานของพระสารีบุตรเถระเป็น

เหตุ จึงกล่าวคาถาขึ้น ๔ คาถา ความว่า

เมื่อท่านพระสารีบุตรเถระ ผู้เพียบพร้อมไปด้วย

อุฏฐานะเป็นอันมาก มีศีลสังวรเป็นต้น นิพพานไปแล้ว

ก็เกิดเหตุน่าสะพึงกลัว ขนพองสยองเกล้า สังขาร

ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป

เป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความที่สังขารเหล่านั้น

สงบระงับเป็นสุข ชนเหล่าใดพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดย

ความเป็นของแปรปรวน และโดยไม่ใช่ตัวตน ชนเหล่า

นั้นชื่อว่าแทงตลอดธรรมอันละเอียด เหมือนนายขมังธนู

ยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศรฉะนั้น อนึ่ง ชนผู้มีความ

เพียรเหล่าใด พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความ

เป็นของแปรปรวนและโดยไม่ใช่ตัวตน ชนผู้มีความเพียร

เหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอดธรรมอันละเอียด เหมือน

นายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศรฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 435

พระมหาโมคคัลลานะปรารภพระติสสเถระ จึงกล่าวเป็นคาถาหนึ่ง

คาถา ความว่า

ภิกษุผู้มีสติ ควรรีบละเว้นความพอใจรักใคร่ในกา-

มารมณ์เสีย เหมือนบุคคลรีบถอนหอกออกจากตน และ

เหมือนบุคคลรีบดับไฟซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตนฉะนั้น ภิกษุ

มีสติควรรีบละเว้นความกำหนัดในภพเสีย เหมือนบุคคล

รีบถอนหอกออกจากกายตน และเหมือนบุคคลที่รีบดับไฟ

ซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตนฉะนั้น เราเป็นผู้อันพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าซึ่งได้ทรงอบรมพระองค์มาแล้ว ผู้ทรงไว้ซึ่งพระ-

สรีระอันมีในที่สุดทรงตักเตือนแล้ว จึงทำปราสาทของ

นางวิสาขามิคารมารดา ให้หวั่นไหว ด้วยปลายนิ้วเท้า

บุคคลปรารภความเพียรอันย่อหย่อนแล้วพึงบรรลุนิพพาน

อันเป็นเหตุปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ด้วย

กำลังความเพียรอันน้อยก็หาไม่ แต่พึงบรรลุได้ด้วยความ

เพียรชอบ ๔ ประการ ก็ภิกษุหนุ่มนี้ นับว่าเป็นบุรุษผู้สูงสุด

ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ทรงร่างกายอันมีในที่สุด

สายฟ้าทั้งหลาย ฟาดลงไปตามซ่องภูเขาเวภารบรรพต

และภูเขาบัณฑวบรรพต ส่วนอาตมาเป็นบุตรของพระ-

พุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเปรียบ ผู้คงที่ ได้เข้าไปสู่ช่องภูเขา

เจริญฌานอยู่ อาตมาเป็นผู้สงบระงับ ยินดีแต่ในธรรม

อันเป็นเครื่องเข้าไปสงบระงับ อยู่แต่ในเสนาสนะอันสงัด

เป็นมุนี เป็นทายาทของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 436

อันท้าวมหาพรหมพร้อมทั้งเทวดากราบไหว้ ดูก่อน

พราหมณ์ ท่านจงไหว้พระกัสสปะผู้สงบระงับ ผู้ยินดีแต่

ในธรรมอันสงบ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็น

ทายาทแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด อนึ่ง ในหมู่

มนุษย์ทั้งปวง ผู้ใดเป็นกษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์ สิบวงศ์

ตระกูลมาเป็นลำดับ ๆ ตั้ง ๑๐๐ ชาติ ถึงพร้อมด้วย

ไตรเพท ถึงแม้จะเป็นผู้เล่าเรียนมนต์ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่ง

เวท ๓ การกราบไหว้ผู้นั้นแม้บ่อย ๆ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖

อันจำแนกออก ๑๖ ครั้ง ของบุญที่ไหว้พระกัสสปะนี้เพียง

ครั้งเดียวเลย ภิกษุใดเวลาเช้าเข้าวิโมกข์ ๘ โดยอนุโลม

และปฏิโลม ออกจากสมาบัตินั้นแล้วเที่ยวไปบิณฑบาต

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่ารุกรานภิกษุเช่นนั้นเลย อย่าได้

ทำลายตนเสียเลย ท่านจงยังใจให้เลื่อมใสในพระอรหันต์

ผู้คงที่เถิด จงรีบประนมอัญชลีไหว้เถิด ศีรษะของท่าน

อย่าแตกไปเสียเลย พระโปฐิละไม่เห็นพระสัทธรรม

เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้แล้ว เดินไปสู่ทางผิดซึ่ง

เป็นทางคดไม่ควรเดิน พระโปฐิละหมกมุ่นอยู่ในสังขาร

ติดอยู่ในลาภและสักการะดังตัวหนอนที่ติดอยู่ในคูถ จึง

เป็นผู้ไม่มีแก่สาร อนึ่ง เชิญท่านมาดูท่านพระสารีบุตร

ผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณที่น่าดูน่าชม ผู้พ้นแล้วจากกิเลส

ด้วยสมาธิและปัญญา มีจิตตั้งมั่นในภายใน เป็นผู้ปราศ-

จากลูกศร สิ้นสังโยชน์บรรลุวิชชา ๓ ละมัจจุราชเสียได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 437

เป็นพระทักขิเณยยบุคคล ผู้เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของ

มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาเป็นอันมากที่มีฤทธิ์เดชเรื่อง

ยศศักดิ์นับจำนวนหมื่น พร้อมด้วยพรหมชั้นพรหมปุโรหิต

ได้พากันมาประนมอัญชลีนมัสการพระโมคคัลลานเถระ

โดยกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษผู้อาชาไนย ขอนอบ

น้อมแด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอุดม ขอนอบน้อม

แด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระคุณเจ้ามีอาสวะทั้งหลาย

สิ้นไป เป็นทักขิเณยยบุคคล พระโมคคัลลานเถระ

เป็นผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว เป็นผู้เกิดโดยอริย-

ชาติครอบงำความตายแล้ว ไม่ติดอยู่ในสังขาร เหมือน

ดอกบัวไม่ติดอยู่ด้วยน้ำฉะนั้น พระโมคคัลลานเถระรู้แจ้ง

โลกได้ตั้งพันเพียงครู่เดียวเสมอด้วยท้าวมหาพรหม เป็น

ผู้ชำนาญในคุณ คืออิทธิฤทธิ์ ในจุติและอุปบัติของสัตว์

ย่อมเห็นเทวดาทั้งหลายในกาลอันสมควร ภิกษุใดทรง

คุณธรรมชั้นสูงด้วยปัญญา ศีล และอุปสมะ ภิกษุนั้นคือ

พระสารีบุตร เป็นผู้สูงสุดอย่างยิ่ง แต่เราเป็นผู้ฉลาดใน

วิธีแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ เป็นผู้ถึงความชำนาญในฤทธิ์ พึง

เนรมิตอัตภาพชั่วขณะเดียวได้ตั้งแสนโกฏิ เราชื่อว่า

โมคคัลลานะโดยโคตร เป็นผู้ชำนาญในสมาธิและวิชชา

ถึงที่สุดแห่งบารมี เป็นปราชญ์ในศาสนาของพระพุทธเจ้า

ผู้อันตัณหาไม่อาศัย มีอินทรีย์มั่นคง ได้ตัดเครื่องจองจำ

คือกิเลสทั้งสิ้นเสียเด็ดขาด เหมือนกุญชรชาติตัดปลอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 438

ที่ทำด้วยเถาหัวด้วนให้ขาดกระเด็นไปฉะนั้น เราคุ้นเคย

กับพระศาสดา ฯ ล ฯ ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้

แล้ว เราบรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรผู้ออกบวชเป็นบรรพ-

ชิตต้องการนั้นแล้ว บรรลุถึงความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว

มารผู้มักประทุษร้าย เบียดเบียนพระสาวกนามว่าวิธูระ

และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากกุสันธะ แล้ว

หมกไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร คือเป็นนรก

ที่มีขอเหล็กตั้งร้อย และเป็นที่ทำให้เกิดทุกขเวทนาเฉพาะ

ตนทุกแห่ง มารผู้มักประทุษร้าย เบียดเบียนพระสาวก

นามว่าวิธูระ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า

กกุสันธะ หมกไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้

ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรม

โดยประจักษ์ ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียน

ภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ วิมานทั้ง-

หลายลอยอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ตั้งอยู่ตลอดกัป มีสี

เหมือนแก้วไพฑูรย์ เป็นวิมานงดงาม มีรัศมีพลุ่งออก

เหมือนเปลวไฟผุดผ่อง มีหมู่นางอัปสรผู้มีผิวพรรณแตก

ต่างกันเป็นอันมากฟ้อนรำ ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระ-

พุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อนมาร

ผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้อง

ประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุรูปใดที่พระพุทธเจ้าทรงใช้

ไปแล้ว ภิกษุสงฆ์เป็นอันมากก็เห็นอยู่ ได้ทำปราสาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 439

ของนางวิสาขามิคารมารดา ให้หวั่นไหวได้ ด้วยปลาย

นิ้วเท่า ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและ

ผลแห่งกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่าน

เบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่

แท้ ภิกษุใดมีอิทธิพลอันกล้าแข็ง ทำเวชยันตปราสาท

ให้หวั่นไหวได้ด้วยปลายนิ้วเท้า และยังเทพเจ้าให้สลดใจ

ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรม

โดยประจักษ์ ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุ

นั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดไต่ถาม

ท้าวสักกเทวราชที่เวชยันตปราสาทว่า มหาบพิตรทรง

ทราบวิมุตติอันเป็นที่สิ้นตัณหาบ้างหรือ ขอถวายพระพร

ท้าวสักกเทวราชถูกถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ตามแนว

เทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วแก่ภิกษุนั้น ภิกษุใด

เป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมโดยประจักษ์ ดูก่อน

มารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้อง

ประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดสอบถามท้าวมหาพรหมว่า

ดูก่อนอาวุโส แม้วันนี้ท่านยังมีความเห็นผิดอยู่เหมือน

เมื่อก่อนว่า สุธรรมสภานี้มีอยู่บนพรหมโลกเท่านั้น ที่

ดาวดึงส์พิภพไม่มีหรือ หรือว่าท่านยังมีความเห็นผิดอยู่

เหมือนก่อน คือท่านยังเห็นอยู่ว่าบนพรหมโลกมีแสงสว่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 440

พวยพุ่งออกได้เองหรือ ครั้นท้าวมหาพรหมถูกถามปัญหา

แล้ว พยากรณ์ตามความเป็นจริงแก่ภิกษุนั้นว่า ข้าแต่

พระคุณเจ้าผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นผิดเหมือนเมื่อก่อน

คือไม่ได้เห็นว่า บนพรหมโลกมีรัศมีพวยพุ่งออกไปได้

เอง ทุกวันนี้ข้าพเจ้าละทิ้งคำพูดที่ว่ามานั้นเสียได้ กลับ

มีความเห็นว่าไม่เที่ยง ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า

รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ

ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็น

แน่แท้ ภิกษุใดแสดงยอดขุนเขาสิเนรุราช ชมพูทวีป

และปุพพวิเทหทวีป ให้หมู่มนุษย์ชาวอมรโคยานทวีป

และชาวอุตตรกุรุทวีปเห็นกันด้วยวิโมกข์ ภิกษุใดเป็น

สาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์

ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะ

ต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ไฟไม่ได้ตั้งใจว่าเราจะไหม้

คนพาลเลย แต่คนพาลรีบเข้าไปหาไฟอันลุกโพลงให้

ไหม้ตนเองฉันใด ดูก่อนมาร ท่านประทุษร้ายพระตถาคต

นั้นแล้ว ก็จักเผาตนเองเหมือนกับคนพาลถูกไฟไหม้

ฉันนั้น แน่ะมารผู้ชาติชั่ว ตัวท่านเป็นมารคอยแต่ประ-

ทุษร้ายพระตถาคตพระองค์นั้น ก็ต้องพบแต่สิ่งซึ่งมิใช่บุญ

หรือท่านเข้าใจว่า บาปไม่ให้ผลแก่เรา แน่ะมารผู้มุ่งแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 441

ความตาย เพราะท่านได้ทำบาปมาโดยส่วนเดียว จะต้อง

เข้าถึงทุกข์ตลอดกาลนาน ท่านจงอย่าคิดร้ายต่อพระ-

พุทธเจ้า และภิกษุทั้งหลายผู้สาวกของพระพุทธเจ้าอีก

ต่อไปเลย พระมหาโมคคัลลานเถระได้คุกคามมารที่ป่า

เภสกฬาวัน ดังนี้แล้ว ลำดับนั้น มารนั้นเสียใจจึงได้

หายไป ณ ที่นั้นนั่นเอง.

ได้ทราบว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมด

ด้วยประการฉะนี้แล.

ในสัฏฐิกนิบาตปรากฏว่า พระมหาโมคคัลลานเถระ

ผู้มีฤทธิ์มากองค์เดียวเท่านั้น ได้ภาษิตคาถาเหล่านั้นไว้

๖๐ คาถา.

จบสัฏฐิกนิบาต

อรรถกถา สัฏฐินิบาต

อรรถกถามหาโมคคัลลานเถรคาถาที่ ๑

ในสัฏฐิกนิบาต คาถาของท่านพระมหาโมคคัลถามเถระ มีคำ

เริ่มต้นว่า อารญฺิกา ปิณฺฑปาติกา ดังนี้ เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

เรื่องท่านพระมหาโมคคัลลานเถระนั้น ท่านได้กล่าวไว้แล้ว ใน

เรื่องแห่งพระธรรมเสนาบดีนั่นแล.

จริงอยู่ ในวันที่ ๗ แต่วันที่บวชแล้ว พระเถระเข้าไปอาศัย

กัลลวาลคาม ในมคธรัฐ กระทำสมณธรรม เมื่อถีนมิทธะครอบงำ ถูก

๑. บาลีเป็น สัฏฐิกนิบาต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 442

พระศาสดาทรงให้สลดด้วยคำมีอาทิว่าโมคคัลลานะ โมคคัลลานะ พราหมณ์

ท่านอย่าประมาทความเป็นผู้นิ่งอันประเสริฐ ดังนี้แล้ว บรรเทาถีนมิทธะ

ฟังธาตุกรรมฐานที่พระศาสดาตรัสนั่นแล เจริญวิปัสสนา เข้าถึงมรรค

เบื้องบน ๓ ตามลำดับ บรรลุสาวกบารมีญาณในขณะพระอรหัตผล. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี เป็นผู้

ประเสริฐสุดในโลก เป็นนระผู้องอาจ อันเทวดาและ

ภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับอยู่ ณ ประเทศหิมวันต์ เวลานั้น

เราเป็นนาคราชมีนามชื่อว่าวรุณ แปลงรูปอันน่าใคร่ได้

ต่าง ๆ อาศัยอยู่ในทะเลใหญ่ เราละหมู่นาคซึ่งเป็น

บริวารทั้งสิ้น มาตั้งวงดนตรีในกาลนั้น หมู่นาคแวดล้อม

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประโคมอยู่ เมื่อดนตรีของมนุษย์

และนาคประโคมอยู่ ดนตรีของเทวดาก็ประโคม พระ-

พุทธเจ้าทรงสดับเสียง ๒ ฝ่ายแล้ว ทรงตื่นบรรทม เรา

นิมนต์พระสัมพุทธเจ้า ทูลเชิญให้เสด็จเข้าไปยังภพของ

เรา เราปูลาดอาสนะแล้วกราบทูลเวลาเสวยพระกระยา-

หาร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นายกของโลก อันพระขีณาสพ

พันหนึ่งแวดล้อมแล้ว ทรงยังทิศทุกทิศให้สว่างไสว

เสด็จมายังภพของเราเวลานั้น เรายังพระมหาวีรเจ้า

ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็นนระผู้องอาจ ซึ่งเสด็จเข้า

มา (พร้อม) กับภิกษุสงฆ์ ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 443

พระมหาวีรเจ้า ผู้เป็นสยัมภูอัครบุคคลทรงอนุโมทนาแล้ว

ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ผู้ใดได้บูชาสงฆ์และได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้นายกของ

โลก ด้วยจิตอันเลื่อมใส ผู้นั้นจักไปสู่เทวโลก จัก

เสวยเทวรัชสมบัติสิ้น ๓๓ ครั้ง จักเสวยราชสมบัติแผ่นดิน

ครอบครองพสุธา ๑๐๘ ครั้ง และจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

๕๕ ครั้ง โภคสมบัติอันนับไม่ถ้วนจักบังเกิดแก่ผู้นั้นขณะนั้น.

ในกัปนับไม่ถ้วนแต่กัปนี้ พระศาสดาพระนามว่า โค-

ตมะ โดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช

จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ผู้นั้นเคลื่อนจากนรกแล้ว จักถึง

ความเป็นมนุษย์ จักเป็นบุตรพราหมณ์มีนามชื่อว่า โกลิตะ

ภายหลังอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว เขาจักออกบวช จักได้

เป็นพระสาวกองค์ที่สอง ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่า โคดม จักปรารภความเพียรมอบกายถวายชีวิต ถึง

ที่สุดแห่งฤทธิ์ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มี

อาสวะจักปรินิพพาน.

เพราะอาศัยมิตรผู้ลามก ตกอยู่ในอำนาจกามราคะ

มีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว ฆ่ามารดาและแม้บิดาได้

เราได้เข้าถึงภูมิใด ๆ จะเป็นนิรยภูมิ หรือมนุสสภูมิ

ก็ตาม อันพรั่งพร้อมด้วยกรรมอันลามก เราก็ต้องศีรษะ

แตกตายในภูมินั้น ๆ นี้เป็นกรรมครั้งสุดท้ายของเรา

ภพที่สุดย่อมเป็นไป แม้ในภพนี้กรรมเช่นนี้จักมีแก่เรา

ในเวลาใกล้จะตาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 444

เราหมั่นประกอบในวิเวก ยินดีในสมาธิภาวนา กำหนด

รู้อาสวะทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ แม้แผ่นดินอันลึกซึ้ง

หนาอันอะไรขจัดได้ยาก เราผู้ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์พึงให้ไหว

ได้ด้วยนิ้วแม่มือซ้าย เราไม่เห็นอัสมิมานะ มานะของเรา

ไม่มี (เราไม่มีมานะ) เรากระทำความยำเกรงอย่างหนัก

แม้ที่สุดในสามเณร ในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้ เรา

สั่งสมกรรมใดไว้ เราบรรลุถึงภูมิแห่งกรรมนั้น เป็นผู้

บรรลุถึงธรรมเครื่องสิ้นอาสวะแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้คือ

ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว

พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ครั้นในกาลต่อมา พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางหมู่แห่งพระ-

อริยะ ในเชตวันมหาวิหาร เมื่อจะทรงตั้งสาวกทั้งหลายของพระองค์ใน

เอคทัคคะด้วยคุณนั้น ๆ จึงทรงตั้งท่านไว้ในเอตทัคคะด้วยความเป็นผู้มี

ฤทธิ์ว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราผู้มีฤทธิ์ โมคคัลลานะ

เป็นเลิศ เพราะเหตุนั้น พระมหาเถระผู้ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ ที่

พระศาสดาทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะอย่างนี้ อาศัยนิมิตนั้น ๆ จึงได้กล่าว

คาถาในที่นั้น ๆ ซึ่งพระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ได้ยกขึ้นสู่สังคายนา

รวมกันในสังคีติกาล โดยลำดับนี้ว่า

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาต

เป็นวัตร ยินดีเฉพาะอาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่

การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดีในภายใน พึงทำลาย

เสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุผู้ถือการอยู่ในป่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 445

เป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ยินดีเฉพาะ

อาหารที่มีอยู่ในบาตรอันเนื่องแต่การเสาะแสวงหา พึง

กำจัดเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนกุญชรทำ

ลายเรือนไม้อ้อฉะนั้น. ภิกษุผู้ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็น

วัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์ ยินดีเฉพาะอาหารใน

บาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา มีจิตใจมั่นคงด้วยดี พึง

ทำลายเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ ภิกษุทั้งหลาย

ผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร มีความพากเพียรเป็นนิตย์

ยินดีเฉพาะอาหารในบาตรอันเนื่องแต่การแสวงหา พึง

กำจัดเสนาแห่งพระยามัจจุราชเสียได้ เหมือนช้างกุญชร

ทำลายเรือนไม้อ้อฉะนั้น.

เราติเตียนกระท่อม คือสรีระร่างอันสำเร็จด้วยโครง

กระดูกอันฉาบทาด้วยเนื้อ ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น เต็มไป

ด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียด ที่คนทั่ว ๆ ไป

เข้าใจว่า เป็นของผู้อื่นและเป็นของตนในร่างกายของ

เธอเช่นกับถุงอันเต็มไปด้วยคูถ มีหนังห่อหุ้มปกปิดไว้

เหมือนนางปิศาจ มีฝีที่อก มีช่องเก้าช่องเป็นที่ไหลออก

เนืองนิตย์ ภิกษุควรละเว้นสรีระของเธออันมีช่องเก้าช่อง

เต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น ดังชายหนุ่มผู้ชอบสะอาด หลีก

เลี่ยงมูตรคูถไปจนห่างไกลฉะนั้น, หากว่า คนพึงรู้จัก

สรีระของเธอเช่นเดียวกับฉันรู้จัก ก็จะพากันหลบหลีก

เธอไปเสียห่างไกล เหมือนบุคคลผู้ชอบสะอาดเห็นหลุม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 446

คูถในฤดูฝนแล้ว หลีกเลี่ยงไปเสียห่างไกลฉะนั้น.

ข้าแต่สมณะผู้มีความเพียรมาก ท่านพูดอย่างไรก็

เป็นจริงอย่างนั้น แต่คนบางจำพวกยังจมอยู่ในร่างกาย

อันนี้เหมือนกับโคเฒ่าที่จมอยู่ในตมฉะนั้น.

ผู้ใดประสงค์ย้อมอากาศด้วยขมิ้น หรือด้วยน้ำย้อม

อย่างอื่น การกระทำของผู้นั้นก็ลำบากเปล่า ๆ จิตของเรา

นี้ก็เสมอกับอากาศ เป็นจิตตั้งมั่นด้วยดีในภายใน เพราะ-

ฉะนั้น เธออย่ามาหวังความรักที่มีอยู่ในดวงจิต อันลามก

ของเธอจากฉันเลย เหมือนตัวแมลงถลาเข้าสู่กองไฟย่อม

ถึงความพินาศฉะนั้น เธอจงดูร่างกายอันกระดูก ๓๐๐ ท่อน

ยกขั้นตั้งไว้ มีแผลทั่ว ๆ ไป อันบุญกรรมกระทำให้วิจิตร

กระสับกระส่าย พวกคนพาลพากันดำริโดยมาก ไม่มี

ความยั่งยืนมั่นคงอยู่เลยนี้เถิด.

เมื่อท่านพระสารีบุตรเถระ ผู้เพียบพร้อมไปด้วยอุฏ-

ฐานะเป็นอันมาก มีศีลสังวรเป็นต้น นิพพานไปแล้ว ก็

เกิดเหตุน่าสะพึงกลัวขนพองสยองเกล้า สังขารทั้งหลาย

ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็น

ธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความที่สังขารเหล่านั้น

สงบระงับเป็นสุข ชนเหล่าใดพิจารณาเห็นเบญจขันธ์

โดยความเป็นของแปรปรวน และโดยไม่ใช่ตัวตน ชน

เหล่านั้นชื่อว่า แทงตลอดธรรมอันละเอียด เหมือนนาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 447

ขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศรฉะนั้น อนึ่ง ชนผู้

มีความเพียรเหล่าใด พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายโดย

ความเป็นของแปรปรวนและโดยไม่ใช่ตัวตน ชนผู้มีความ

เพียรเหล่านั้น ชื่อว่าแทงตลอดธรรมอันละเอียด เหมือน

นายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศรฉะนั้น.

ภิกษุผู้มีสติ ควรรีบละเว้นความพอใจรักใคร่ในกามา-

รมณ์เสีย เหมือนบุคคลรีบถอนหอกออกจากตน และ

เหมือนบุคคลรีบดับไฟซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตนฉะนั้น ภิกษุ

ผู้มีสติควรรีบละเว้นความกำหนัดในภพเสีย เหมือนบุคคล

รีบถอนหอกออกจากกายตน และเหมือนบุคคลที่รีบดับ

ไฟซึ่งไหม้อยู่บนศีรษะตนฉะนั้น เราเป็นผู้อันพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ซึ่งได้ทรงอบรมพระองค์มาแล้ว ผู้ทรงไว้ซึ่ง

พระสรีระอันมีในที่สุดทรงตักเตือนแล้ว จึงทำปราสาท

ของนางวิสาขามิคารมารดาให้หวั่นไหว ด้วยปลายนิ้วเท้า

บุคคลปรารภความเพียรอันย่อหย่อนแล้วพึงบรรลุนิพพาน

อันเป็นเหตุปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ด้วย

กำลังความเพียรอันน้อยก็หาไม่ แต่พึงบรรลุได้ด้วยความ

เพียรชอบ ๔ ประการ ก็ภิกษุหนุ่มนี้ นับว่าเป็นบุรุษ

ผู้สูงสุด ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ทรงร่างกาย

อันมีในที่สุด สายฟ้าทั้งหลายฟาดลงไปตามช่องภูเขา

เวภารบรรพต และภูเขาบัณฑวบรรพต ส่วนอาตมาเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 448

บุตรของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเปรียบ ผู้คงที่ ได้เข้า

ไปสู่ช่องภูเขาเจริญฌานอยู่ อาตมาเป็นผู้สงบระงับ

ยินดีแต่ในธรรมอันเป็นเครื่องเข้าไปสงบระงับ อยู่แต่

ในเสนาสนะอันสงัด เป็นมุนี เป็นทายาทของพระพุทธ-

เจ้าผู้ประเสริฐ เป็นผู้อันท้าวมหาพรหมพร้อมทั้งเทวดา

กราบไหว้ ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงไหว้พระกัสสปะผู้สงบ

ระงับ ผู้ยินดีแต่ธรรมอันสงบ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด

เป็นมุนี เป็นทายาทแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด

อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ทั้งปวง ผู้ใดเป็นกษัตริย์ หรือเป็น

พราหมณ์สืบวงศ์ตระกูลมาเป็นลำดับ ๆ ตั้ง ๑๐๐ ชาติ

ถึงพร้อมด้วยไตรเพท. ถึงแม้จะเป็นผู้เล่าเรียนมนต์

เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งเวท ๓ การกราบไหว้ผู้นั้นแม้บ่อย ๆ

ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ซึ่งจำแนกออก ๑๖ ครั้ง ของบุญที่

ไหว้พระกัสสปะนี้เพียงครั้งเดียวเลย ภิกษุใดเวลาเช้าเข้า

วิโมกข์ ๘ โดยอนุโลมและปฏิโลม ออกจากสมาบัตินั้น

แล้วเที่ยวไปบิณฑบาต ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่ารุก

รานภิกษุเช่นนั้นเลย อย่าได้ทำลายตนเสียเลย ท่านจง

ยังใจให้เลื่อมใสในพระอรหันต์ผู้คงที่เถิด จงรีบประนม

อัญชลีไหว้เถิด ศีรษะของท่านอย่าแตกไปเสียเลย พระ-

โปฐิละไม่เห็นพระสัทธรรม เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อ

ไว้แล้ว เดินไปสู่ทางผิดซึ่งเป็นทางคดไม่ควรเดิน พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 449

โปฐิละหมกมุ่นอยู่ในสังขาร ติดอยู่ในลาภและสักการะ

ดังตัวหนอนที่ติดอยู่ในคูถ จึงเป็นผู้ไม่มีแก่นสาร อนึ่ง

เชิญท่านมาดูท่านพระสาบุตรผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณที่

น่าดูน่าชม ผู้พ้นแล้วจากกิเลสด้วยสมาธิและปัญญา

มีจิตตั้งมั่นในภายใน เป็นผู้ปราศจากลูกศร สิ้น

สังโยชน์ บรรลุวิชชา ๓ ละมัจจุราชเสียได้ เป็นพระ-

ทักขิเณยยบุคคลผู้เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของมนุษย์ทั้ง

หลาย เทวดาเป็นอันมากที่มีฤทธิ์เดชเรืองยศศักดิ์นับ

จำนวนหมื่น พร้อมด้วยพรหมชั้นพรหมปุโรหิต ได้

พากันมาประนมอัญชลีนมัสการพระโมคคัลลานเถระ

โดยกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษผู้อาชาไนย ขอนอบ

น้อมแด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอุดม ขอนอบน้อม

แด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระคุณเจ้ามีอาสวะทั้ง

หลายสิ้นไป เป็นทักขิเถยยบุคคล พระโมคคัลลาน-

เถระ เป็นผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว เป็นผู้เกิด

โดยอริยชาติ ครอบงำความตายได้แล้ว ไม่ติดอยู่ใน

สังขาร เหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่ในน้ำฉะนั้น พระ-

โมคคัลลานเถระรู้แจ้งโลกได้ตั้งพันเพียงครู่เดียว เสมอ

ด้วยท้าวมหาพรหม เป็นผู้ชำนาญในคุณคืออิทธิฤทธิ์

ในจุติและอุปบัติของสัตว์ ย่อมเห็นเทวดาทั้งหลายในกาล

อันสมควร ภิกษุใดทรงคุณธรรมชั้นสูงด้วยปัญญา ศีล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 450

และอุปสมะ ภิกษุนั้นคือพระสารีบุตรเป็นผู้สูงสุดอย่าง

ยิ่ง แต่เราเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ เป็นผู้ถึง

ความชำนาญในฤทธิ์ พึงเนรมิตอัตภาพชั่วขณะเดียวได้

ตั้งแสนโกฏิ เราชื่อว่าโมคคัลลานะโดยโคตร เป็นผู้

ชำนาญในสมาธิและวิชชา ถึงที่สุดแห่งบารมี เป็น

ปราชญ์ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้อันตัณหาไม่อาศัย มี

อินทรีย์มั่นคง ได้ตัดเครื่องจองจำคือกิเลสทั้งสิ้นเสีย

อย่างเด็ดขาด เหมือนกับกุญชรชาติตัดปลอกที่ทำด้วย

เถาหัวด้วนให้ขาดกระเด็นไปฉะนั้น เราคุ้นเคยกับพระ-

ศาสดา ฯ ล ฯ ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว เรา

บรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการ

นั้นแล้ว บรรลุถึงความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว มารผู้

มักประทุษร้าย เบียดเบียนพระสาวกนามว่าวิธูระ และ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่ากกุสันธะ แล้วหมก

ไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร คือเป็นนรกที่มีขอ

เหล็กตั้งร้อยและเป็นที่ทำให้เกิดทุกขเวทนาเฉพาะตนทุก

แห่ง มารผู้มักประทุษร้าย เบียดเบียนพระสาวกนามว่า

วิธูระ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากกุสันธะ

หมกไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้ ภิกษุใดเป็น

สาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์

ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้าก็จะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 451

ต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ วิมานทั้งหลายลอยอยู่ท่าม

กลางมหาสมุทร ตั้งอยู่ตลอดกัป มีสีเหมือนแก้วไพฑูรย์

เป็นวิมานงดงามมีรัศมีพุ่งออกเหมือนเปลวไฟผุดผ่อง มี

หมู่นางอัปสรผู้มีผิวพรรณแตกต่างกันเป็นอันมากฟ้อนรำ

ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรม

โดยประจักษ์ ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียน

ภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุรูป

ใดที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ไปแล้ว ภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก

ก็เห็นอยู่ ได้ทำปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาให้

หวั่นไหวได้ด้วยปลายนิ้วเท้า ภิกษุใดเป็นสาวกแห่งพระ-

พุทธเจ้า รู้กรรมและผลแห่งกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อน

มารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะ

ต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดมีอิทธิพลอันกล้าแข็ง

ทำเวชยันตปราสาทให้หวั่นไหวได้ด้วยปลายนิ้วเท้า และ

ยังเทพเจ้าทั้งหลายให้สลดใจ ภิกษุใดเป็นสาวกแห่ง

พระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อน

มารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็

จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดไต่ถามท้าวสักก-

เทวราชที่เวชยันตปราสาทว่า มหาบพิตรทรงทราบวิมุตติ

อันเป็นที่สิ้นตัณหาบ้างหรือ ขอถวายพระพร ท้าวสักก-

เทวราชถูกถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ตามแนวเทศนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 452

ที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วแก่ภิกษุนั้น ภิกษุใดเป็น

สาวกแห่งพระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์

ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะ

ต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ภิกษุใดสอบถามท้าวมหา-

พรหมว่า ดูก่อนอาวุโส แม้วันนี้ท่านยังมีความเห็นผิด

อยู่เหมือนเมื่อก่อนว่า สุธรรมสภานี้มีอยู่บนพรหมโลก

เท่านั้น ที่ดาวดึงสพิภพไม่มีหรือ หรือว่าท่านยังมี

ความเห็นผิดอยู่เหมือนก่อน คือท่านยังเห็นอยู่ว่าบน

พรหมโลกมีแสงสว่างพวยพุ่งออกได้เองหรือ ครั้น

ท้าวมหาพรหมถูกถามปัญหาแล้ว ได้พยากรณ์ตาม

ความเป็นจริงแก่ภิกษุนั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้นิรทุกข์

ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นผิดเหมือนเมื่อก่อน คือไม่ได้เห็นว่า

บนพรหมโลกมีรัศมีพวยพุ่งออกไปได้เอง ทุกวันนี้

ข้าพเจ้าละทิ้งคำพูดที่ว่ามานั้นเสียได้ กลับมีความเห็น

ว่าไม่เที่ยง ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้กรรม

และผลกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อนมารผู้มีธรรมดำ ท่าน

เบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า ก็จะต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้

ภิกษุใดแสดงยอดขุนเขาสิเนรุราช ชมพูทวีปและปุพพ-

วิเทหทวีป ให้หมู่มนุษย์ชาวอมรโคยานทวีปและชาว

อุตตรกุรุทวีปเห็นกันด้วยวิโมกข์ ภิกษุใดเป็นสาวกของ

พระพุทธเจ้า รู้กรรมและผลกรรมโดยประจักษ์ ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 453

มารผู้มีธรรมดำ ท่านเบียดเบียนภิกษุรูปนั้นเข้า ก็จะ

ต้องประสบทุกข์เป็นแน่แท้ ไฟไม่ได้ตั้งใจว่าเราจะไหม้

คนพาลเลย แต่คนพาลรีบเข้าไปหาไฟอันลุกโพลงให้

ไหม้ตนเองฉันใด ดูก่อนมาร ท่านประทุษร้ายพระ-

ตถาคตนั้นแล้ว ก็จักเผาตนเอง เหมือนกับคนพาลถูก

ไฟไหม้ฉันนั้น แน่ะมารผู้ชาติชั่ว ตัวท่านเป็นมาร

คอยแต่ประทุษร้ายพระตถาคตพระองค์นั้น ก็ต้องพบ

แต่สิ่งซึ่งไม่ใช่บุญ หรือท่านเข้าใจว่า บาปไม่ให้ผลแก่

เรา แน่ะมารผู้มุ่งแต่ความตาย เพราะท่านได้ทำบาป

มาโดยส่วนเดียว จะต้องเข้าถึงทุกข์ตลอดกาลนาน

ท่านจงอย่าคิดร้ายต่อพระพุทธเจ้า และภิกษุทั้งหลาย

ผู้สาวกของพระพุทธเจ้าอีกต่อไปเลย พระมหาโมคคัล-

ลานเถระได้คุกคามมารที่ป่าเถสกฬาวันดังนี้แล้ว ลำดับ

นั้น มารนั้นเสียใจจึงได้หายไป ณ ที่นั้นเอง.

ได้ยินว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ภาษิตคาถาดังพรรณนา

มาฉะนี้แล.

โดยลำดับนี้ ท่านพระธรรมสังคาหกาจารย์ ได้ยกขึ้นรวบรวมไว้

เป็นหมวดเดียวกันฉะนี้แล.

บรรดาคาถาเหล่านั้น ๔ คาถามีอาทิว่า อารญฺิกา ดังนี้ ท่าน

กล่าวด้วยอำนาจการให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย. บทว่า อารญฺิกา

ความว่า ชื่อว่า ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะการห้ามเสนาสนะใกล้บ้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 454

แล้วสมาทานอารัญญิกธุดงค์, ชื่อว่า ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะห้าม

สังฆภัตแล้วสมาทานบิณฑปาติกธุดงค์ คือยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑ-

บาตที่ตนได้ในลำดับเรือน. บทว่า อุญฺฉาปตฺตาคเต รตา ความว่า ยินดี

เฉพาะบิณฑบาตที่มาถึงในบาตร คือที่นับเนื่องในบาตร ด้วยการเที่ยว

แสวงหา ได้แก่ยินดี คือสันโดษด้วยบิณฑบาตนั้นนั่นเอง. บทว่า ทาเรมุ

มจฺจุโน เสน ความว่า เราจะถอนพาหนะคือกิเลสอันเป็นเสนาของมัจจุราช

จากการนำตนเข้าเป็นสหายในกิเลสอันยังความฉิบหายให้เกิด. บทว่า อชฺ-

ฌตฺต สุสมาหิตา ความว่า เป็นผู้ตั้งใจมั่นดีในอารมณ์อันเป็นภายใน,

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงอุบายเครื่องทำลายของมัจจุราชนั้น.

บทว่า ธุนาม ความว่า เราจะกำจัดคือ ทำลาย.

บทว่า สาตติกา ความว่า ผู้มีอันกระทำเป็นไปติดต่อ คือมีความ

เพียรเป็นไปติดต่อด้วยภาวนา.

ท่านกล่าว ๔ คาถา มีอาทิว่า อฏฺิกงฺกลกุฏิเก ดังนี้ ด้วย

อำนาจโอวาทหญิงแพศยาผู้เข้าใกล้เพื่อประเล้าประโลมตน. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า อฏฺิกงฺกลกุฏิเก ความว่า ซึ่งกระท่อมอันสำเร็จด้วย

โครงกระดูก. บทว่า นฺหารุปสิพฺพิเต ความว่า ร้อยรัดไว้โดยรอบด้วย

เส้นเอ็น ๙๐๐ เส้น ท่านแสดงไว้ว่า คนทั้งหลาย ยกท่อนไม้ผูกด้วย

เถาวัลย์เป็นต้น กระทำให้เป็นกุฏิไว้ในป่า ก็ท่านผูกด้วยโครงกระดูก

อันน่าเกลียดอย่างยิ่ง และผูกกระทำไว้ด้วยเส้นเอ็นอันน่าเกลียดอย่างยิ่ง

ทีเดียว และมันเป็นของน่าเกลียด ปฏิกูลอย่างยิ่ง.

บทว่า ธิรตฺถุ ปูเร ทุคฺคนฺเธ ความว่า เต็มคือเปี่ยมไปด้วยสิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 455

อันน่าเกลียดมีประการต่างๆ มีผมและขนเป็นต้น น่าติเตียนท่านผู้มี

กลิ่นเหม็นกว่านั้น คืออาการที่น่าติเตียนจงมีแก่ท่าน. บทว่า ปรคตฺเต

มมายเส ความว่า ก็สรีระนี้ เป็นที่ตั้งขึ้นของหัวฝีในเบื้องบน เป็นความ

ลำบากแก่ท่านผู้มีกลิ่นเหม็นอย่างนี้ เป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น

น่าเกลียด ถือเอาได้แต่สิ่งปฏิกูล. ท่านกระทำความสำคัญว่า กเฬวระ

เช่นนั้นนั่นแหละ และกเฬวระที่เป็นร่างกายของสุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก

และหมู่หนอนเป็นในที่อื่นว่าเป็นของเรา.

บทว่า คูถภสฺเต ความว่า เป็นเสมือนถุงหนังอันเต็มไปด้วยคูถ.

บทว่า ตโจนทฺเธ ความว่า หุ้มห่อด้วยหนัง คือสิ่งที่เป็นโทษปกปิด

ไว้เพียงผิวหนัง. บทว่า อุรคณฺฑิปิสาจินี ความว่า มีฝีที่ตั้งขึ้นที่อก

เป็นเสมือนปิศาจเพราะเป็นสิ่งที่น่ากลัว และนำมาซึ่งความพินาศ. บทว่า

ยานิ สนฺทนฺติ สพฺพทา ความว่า มีช่อง ๙ ช่อง มีแผล ๙ แห่ง

ไหลออก คือซ่าน ได้แก่หลั่งของที่ไม่สะอาดออกตลอดกาลทุกเมื่อ คือ

ตลอดคืนและวัน.

บทว่า ปริพนฺธ ความว่า เป็นการผูกพันด้วยสัมมาปฏิบัติ. บท

ว่า ภิกฺขุ ความว่า ผู้เห็นภัยในสงสาร เป็นผู้มีกิเลสอันทำลายแล้ว

เว้นกิเลสนั้นให้ห่างไกล ไม่กระทำความสำคัญว่าเป็นของเรา. ศัพท์ว่า จ

ในบทว่า มีฬฺห จ ยถา สุจิกาโม นี้ เป็นเพียงนิบาต, อธิบายว่า

ผู้ชื่อว่า เป็นภิกษุ ย่อมเป็นเหมือนคนมีชาติสะอาด ปรารถนาแต่สิ่ง

สะอาดเท่านั้น อาบน้ำสระผม เห็นของสกปรก เว้นเสียให้ห่างไกล

ฉะนั้น.

บทว่า เอวญฺเจ ต ชโน ชญฺา ยถา ชานามิ ต อห

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 456

ความว่า มหาชนพึงรู้กองแห่งของอันไม่สะอาดที่รู้กันว่า ร่างกายอย่างนี้

พึงเว้นมันเสียให้ห่างไกล คือให้ไกลทีเดียว เหมือนเรารู้ตามความเป็น

จริงฉะนั้น. บทว่า คูถฏฺานว ปาวุเส อธิบายว่า เหมือนบุคคล

ผู้ชอบสะอาด เห็นหลุมคูถอันเป็นของไม่สะอาด ซึ่งเปื้อนในฤดูฝนเป็น

นิรันตรกาล พึงเว้นเสียให้ห่างไกล. ก็เพราะเหตุที่ภิกษุไม่รู้ตามความ

เป็นจริง ฉะนั้น เธอจึงจมอยู่ในกองคูถคือร่างกายนั้น ยกศีรษะขึ้น

ไม่ได้.

เมื่อพระเถระประกาศโทษในร่างกายอย่างนี้แล้ว หญิงแพศยา

นั้นละอาย ก้มหน้าลง ตั้งความเคารพในพระเถระ กล่าวคาถาว่า

เรื่องนั้นย่อมเป็นอย่างนั้น มหาวีระ ได้ยืนนมัสการพระเถระอยู่แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตฺถ เจเก ความว่า สัตว์บางพวก ย่อม

จมอยู่คือถึงความว้าเหว่ใจ เพราะมีความข้องอยู่เป็นกำลังในกายนี้ แม้มี

สภาวะเป็นของปฏิกูลปรากฏอยู่อย่างนี้. อธิบายว่า เหมือนโคแก่จมอยู่

ในเปือกตมฉะนั้น คือเหมือนโคพลิพัทตัวมีกำลังทุรพล ตกอยู่ในท้อง

เปือกตมใหญ่ ย่อมถึงความวอดวายนั่นแล.

พระเถระเมื่อแสดงกะนางอีกว่า ดูก่อนท่านผู้เช่นเรา ข้อปฏิบัติ

เห็นปานนี้ไร้ประโยชน์ นำมาซึ่งความคับแค้นทีเดียว จึงกล่าว ๒ คาถา

โดยนัยมีอาทิว่า อากาสมฺหิ ดังนี้. หมวดสองแห่งคาถานั้นมีอธิบายดังนี้

บุคคลใดพึงสำคัญเพื่อจะย้อมอากาศด้วยขมิ้น หรือด้วยเครื่องย้อมอย่างอื่น

กรรมนั้นของบุคคลนั้น เป็นบ่อเกิดแห่งความคับแค้น คือพึงนำมาซึ่ง

ความคับแค้นแห่งจิตเท่านั้น ฉันเดียวกันกับการประกอบการงานในสิ่ง

มิใช่วิสัยฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 457

บทว่า ตทากาสสม จิตฺต ความว่า จิตของเรานี้นั้น เสมอกับอากาศ

คือตั้งมั่นด้วยดีในภายใน โดยภาวะไม่ข้องอยู่ในอารมณ์ไหน ๆ เพราะ-

ฉะนั้น เธออย่ามาหวังความรักที่มีอยู่ในดวงจิตอันลามก อธิบายว่า เธอ

อย่ามาหวังความรักในคนเช่นเรา ผู้ชื่อว่ามีจิตเลว เพราะจมอยู่ในกาม

ทั้งหลาย. บทว่า อคฺคิขนฺธว ปกฺขิมา แปลว่า เหมือนแมลงมีปีกคือ

ตั๊กแตน เมื่อบินสู่กองไฟ ย่อมถึงความพินาศทางเดียว ท่านแสดงว่า

คำอุปไมยอันยังอุปมาให้ถึงพร้อมของท่านนี้ก็ฉันนั้น.

เจ็ดคาถาว่า ปสฺส จิตฺตกต ดังนี้เป็นต้น ท่านเห็นหญิงแพศยา

นั้นนั่นแลแล้วกล่าวว่า ด้วยอำนาจให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายผู้มีจิตวิปลาส,

หญิงแพศยานั้นฟังแล้วเป็นผู้เก้อ หนีไปโดยหนทางที่ตนมาแล้วนั่นแล.

สี่คาถาว่า ตทาสิ เป็นต้น ท่านกล่าวปรารภปรินิพพานของท่าน

พระสารีบุตรเถระ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกาการสมฺปนฺเน

ความว่า บริบูรณ์ด้วยประการมีศีลสังวรเป็นต้นเป็นอเนก.

บทว่า สุขุม เต ปฏิวิชฺฌนฺติ ความว่า พระโยคีเหล่านั้น ชื่อว่า

ย่อมแทงตลอดธรรมอันละเอียดอย่างยิ่ง ถามว่า เหมือนอะไร ? เหมือน

นายขมังธนูยิงขนทรายจามรีถูกด้วยลูกศร อธิบายว่า เหมือนนายขมังธนู

ยิงถูกปลายขนทราย ที่แบ่งเป็น ๗ ส่วนเหลือเพียงส่วนเดียว ด้วยแสงสว่าง

แห่งสายฟ้า เพราะความมืดมิดแห่งอันธการในราตรี. เพื่อเฉลยคำถามว่า

คนเหล่านั้นคือคนเหล่าไหน ? ท่านจึงกล่าวว่า ชนเหล่าใดพิจารณาเห็น

ขันธ์ ๕ โดยความเป็นอื่น ไม่ใช่โดยความเป็นตน. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า ปรโต แปลว่า โดยความเป็นอนัตตา. จริงอยู่ บทว่า ปรโต นั้นเป็น

บทแสดงถึงบทที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออัตตศัพท์. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 458

โน จ อตฺตโต ดังนี้. ด้วยคำนั้น ท่านกล่าวถึงการตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้

ทุกขสัจ ด้วยอำนาจอริยมรรคอันเจริญแล้วด้วยอนัตตา. แต่พึงเห็น

ว่า ท่านกล่าวการแทงตลอดด้วยดีถึงการตรัสรู้ธรรมนอกนี้ โดยภาวะที่

แยกจากอัตตานั้น. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่า

ปเร เพราะเป็นตัวกระทำความพินาศ แล้วกล่าวว่า ท่านกล่าวขันธ์ทั้งหมด

ไว้ชอบแท้โดยพิเศษด้วยคำว่า เห็นโดยเป็นอื่น. บทว่า ปจฺจพฺยาธึสุ

แปลว่า แทงตลอด.

คาถาที่ ๑ ว่า สตฺติยา วิย โอมฏฺโ ท่านกล่าวปรารภพระติสสเถระ

คาถาที่ ๒ ท่านกล่าวปรารภพระวัฑฒมานเถระ, คาถาเหล่านั้นมีอรรถ

ดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.

คาถาว่า โจทิโต ภาวิตตฺเตน ท่านกล่าวปรารภ ปาสาทกัมปน-

สูตร

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ภาวิตตฺเตน สรีรนฺธิมธารินา

ท่านกล่าวหมายถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า.

สองคาถาว่า นยิท สถิลมารพฺภ ท่านกล่าวปรารภภิกษุหนุ่มผู้มี

ชื่อว่า เวทะ ผู้มีความเพียรเลว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิถิลมารพฺภ ความว่า กระทำความย่อ

หย่อนคือไม่ทำความเพียร. บทว่า อปฺเปน ถามสา ความว่า บุคคลพึง

บรรลุพระนิพพานนี้ ด้วยกำลังความเพียรอันน้อยหาได้ไม่. แต่พึงบรรลุ

ด้วยความเพียร ในสัมมัปปธาน ๔ อันใหญ่นั่นแล.

สองคาถาว่า วิวรมนุปภ ดังนี้เป็นต้น ท่านกล่าวปรารภความวิเวก

แห่งตน. บรรดาบทเหล่านั้นว่า พฺรหฺมุนา อภิวนฺทิโต ท่านเป็นผู้อัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 459

มหาพรหม และมนุษยโลกพร้อมด้วยเทวโลกเป็นผู้พร้อมหน้าเชยชมและ

นมัสการแล้ว.

ห้าคาถาว่า อุปสนฺต อุปรต ดังนี้เป็นต้น ท่านเห็นท่านพระ-

มหากัสสปเถระผู้เข้าไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต เห็นพราหมณ์ผู้เป็น

มิจฉาทิฏฐิ ผู้เป็นหลานของพระสารีบุตรเถระ ผู้ยืนมองดูอยู่ว่า เราเห็น

คนกาลกิณีแล้ว เพื่อจะกำจัดการว่าร้ายพระอริยเจ้า ด้วยความอนุเคราะห์

แก่เธอว่า พราหมณ์นี้ อย่าฉิบหายเลยดังนี้ จึงส่งเธอไป กล่าวว่าเธอจงไหว้

พระเถระดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาติสต คจฺเฉ ความว่า

พึงเข้าถึง ๑๐๐ ชาติ. บทว่า โสตฺติโย ได้แก่ ผู้เกิดเป็นชาติพราหมณ์

บทว่า เวทสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยญาณ (ปัญญา). บทว่า

เอตสฺส ได้แก่ พระเถระ. ก็ในข้อนี้มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :- ผู้ใด

เข้าถึงชาติพราหมณ์ ๑๐๐ ชาติ ที่เกิดขึ้นแล้วไม่เจือปน ด้วยอำนาจการเกิด

ตามลำดับ และในชาตินั้นถึงความสำเร็จในวิชาแห่งพราหมณ์ทั้งหลาย

พึงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งเวท ๓ และพึงบำเพ็ญพราหมณวัตร การแสวงหาวิชา

นั้นของเขา ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของบุญที่สำเร็จด้วยการไหว้ ด้วยการ

ไหว้พระมหากัสสปเถระนั่น บุญอันสำเร็จด้วยการไหว้นั่นแล มีผลมาก

กว่านั้นแล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺ วิโมกฺขานิ ได้แก่ วิโมกข์ ๘ มีรูป-

ฌานเป็นต้น จริงอยู่ รูปฌานที่ได้ด้วยอำนาจภาวนา ท่านเรียกว่า วิโมกข์

เพราะอาศัยความหลุดพ้นด้วยดี จากปัจจนิกธรรม และความเป็นไปอัน

ปราศจากความสงสัยในอารมณ์ ด้วยอำนาจความยินดียิ่ง, แต่นิโรธสมาบัติ

ท่านเรียกว่าวิโมกข์ เพราะหลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกอย่างเดียว แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 460

ในที่นี้พึงทราบว่า ท่านหมายเอาฌานเท่านั้น. บทว่า อนุโลม ปฏิโลม

ความว่า ตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ชื่อว่า อนุโลม

ตั้งแต่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจนถึงปฐมฌาน ชื่อว่า ปฏิโลม. บทว่า

ปุเรภตฺต ได้แก่ ในกาลก่อนแต่ภัตกิจนั่นแล. บทว่า อผสฺสยี ได้แก่ เข้า

สมาบัติอันเกลื่อนกล่นด้วยอาการและขันธ์มิใช่น้อย. บทว่า ตโต ปิณฺฑาย

คจฺฉติ ความว่า ออกจากสมาบัตินั้น หรือหลังจากการเข้าสมาบัตินั้น

บัดนี้จึงเที่ยวไปบิณฑบาต เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวหมายเอาการปฏิบัติ

ของพระเถระที่เป็นไปในวันนั้น, ก็พระเถระปฏิบัติอย่างนั้นนั่นแลทุกวัน ๆ.

บทว่า ตาทิส ภิกฺขุ มาสาทิ ความว่า ท่านกล่าวคุณของภิกษุ

เช่นใด ท่านอย่ารุกรานภิกษุเช่นนั้น คือเห็นปานนั้น ได้แก่ ผู้ตรัสรู้

ตามพระพุทธเจ้าคือพระมหาขีณาสพ. บทว่า มาตฺตาน ขณิ พฺราหฺมณ

ความว่า ท่านอย่าขุดตนด้วยการรุกราน คืออย่าทำลายกุศลธรรมของตน

ด้วยการเข้าไปว่าร้ายพระอริยเจ้า. บทว่า อภิปฺปสาเทหิ มน ความว่า

จงยังจิตของตนให้เลื่อมใสว่า สมณะนี้ดีหนอ. บทว่า มา เต วิชฏิ มตฺถก

ความว่า ศีรษะของท่านอย่าแตก ๗ เสี่ยง ด้วยความผิดที่ตนทำในการว่าร้าย

พระอริยเจ้านั้น. เพราะฉะนั้นท่านจงรีบประคองอัญชลีไหว้โดยพลันทีเดียว

เพราะกระทำการตอบแทนท่านฉะนี้แล. พราหมณ์ฟังดังนั้นแล้ว กลัว

สลดใจเกิดขึ้นชูชันขอขมาโทษพระเถระในขณะนั้นนั่นเอง.

สองคาถาว่า เนโส ปสฺสติ เป็นต้น ความว่า ท่านเห็นภิกษุชื่อว่า

โปฏฐิละ ผู้ไม่ปฏิบัติโดยชอบ กระทำมิจฉาชีพ แล้วกล่าวด้วยอำนาจการ

โจทน์ท้วง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนโส ปสฺสติ สทฺธมฺม ความว่า

ภิกษุโปฏิฐิละนั้น ไม่เห็นธรรมคือมรรคผลและนิพพาน ของท่านสัตบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 461

ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. เพราะเหตุไร ? เพราะภิกษุโปฏฐิละถูก

สงสารหุ้มห่อไว้ คือถูกอวิชชาอันเป็นเครื่องผูกคือสงสารเป็นต้นหุ้มห่อไว้

จึงเกิดในอบาย แล่นไปสู่ทางเบื้องต่ำ คือทางอันเป็นที่ไปในภายใต้

ชื่อทางคด เพราะเป็นไปตามกิเลสที่เป็นกลลวงและหัวดื้อ คือแล่น ได้

แก่เป็นไปตามมิจฉาชีพ ชื่อว่าเป็นทางคดเพราะเป็นทางผิด.

บทว่า กิมีว มีฬฺหสลฺลิตฺโต ความว่า หมกมุ่นอยู่ คือท่วมทับ

อยู่ในสังขารอันเจือด้วยของไม่สะอาดคือกิเลส เหมือนหนอนกินคูถติดอยู่

ด้วยคูถโดยรอบฉะนั้น. บทว่า ปคาฬฺโห ลาภสกฺกาเร ความว่า ติดอยู่

คือหมกอยู่ในลาภและสักการะโดยประการด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า ตุจฺโฉ

คจฺฉติ โปฏฺิโล ความว่า ภิกษุโปฏฐิละเป็นผู้เปล่าคือไม่มีสาระ เพราะไม่

มีอธิศีลสิกขาไป คือเป็นไป.

สองคาถาว่า อิมญฺจ ปสฺส เป็นต้น ท่านสรรเสริญท่านพระสารีบุตร

กล่าวไว้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิมญฺจ ปสฺส ความว่า ท่านเห็นท่าน

พระสารีบุตรเถระแล้ว มีจิตเลื่อมใส ร้องเรียกจิตตน. บทว่า สุทสฺสน

ความว่า เป็นการเห็นดีด้วยความเพียบพร้อมด้วยอเสขธรรมและศีลขันธ์

และด้วยความเพียบพร้อมด้วยสาวกบารมีญาณ. บทว่า วิมุตฺต อุภโตภาเค

ความว่า โดยรูปกายแห่งอรูปสมาบัติ โดยนามกายด้วยมรรค อธิบายว่า

หลุดพ้นแล้ว ด้วยส่วนแห่งวิกขัมภนวิมุตติและสมุจเฉทวิมุตตินั้นนั่นเอง

ตามสมควร. มีวาจาประกอบความว่า ท่านจงดู ท่านผู้ชื่อว่ามีลูกศรไปปราศ

แล้ว เพราะไม่มีลูกศรคือราคะเป็นต้นโดยประการทั้งปวง. ชื่อว่า ผู้สิ้น

กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ในภพ. ชื่อว่า ผู้ได้วิชชา ๓ เพราะบรรลุวิชชา ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 462

อันบริสุทธิ์ด้วยดี ชื่อว่า ผู้ละมัจจุราชเสียได้ เพราะหักรานมัจจุราช

เสียได้.

คาถาว่า เอเต สมฺพหุลา เป็นต้น ท่านพระสารีบุตรเถระ เมื่อ

สรรเสริญพระมหาโมคคัลลานเถระ ได้กล่าวไว้แล้ว . บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า ปูชิโต นรเทเวน ความว่า ผู้อันนระและเทพทั้งหลายบูชาแล้ว

ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง. บทว่า อุปฺปนฺโน มรณาภิภู ความว่า เป็นผู้เกิด

ขึ้นในโลก ครอบงำมรณะดำรงอยู่, อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้เกิดโดยชาติ

อันเป็นอริยะ คืออันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นเหตุ. อันเทพยิ่งกว่า

นระบูชาแล้ว จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นนระคือเป็นมนุษย์ด้วย

กรรมก่อน แม้ภายหลังได้เป็นเทพอันสูงสุด คือเป็นเทพยิ่งกว่าเทพ

โดยชาติอันเป็นอริยะ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า นรเทโว ท่านผู้เป็น

เทพยิ่งกว่านระ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจการสรร-

เสริญ คืออุบัติแล้วในโลกครอบงำมรณะ คือเป็นผู้ครอบงำมรณะ เสื่อม

จากมัจจุราช. อธิบายว่า ย่อมไม่ติดในสังขาร ด้วยการฉาบทาด้วยตัณหา

และทิฏฐิ เหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่ด้วยน้ำฉะนั้น, อธิบายว่า ไม่อาศัยแล้ว

ในอารมณ์แม้ไรๆ.

บทว่า ยสฺส แก้เป็น เยน. บทว่า มุหุตฺเต แปลว่า ในกาลเพียง

ขณะเดียว. บทว่า สหสฺสธา แปลว่า มี ๑,๐๐๐ ประการ. บทว่า โลโก

ได้แก่ โอกาสโลก. จริงอยู่ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า ๑,๐๐๐ แห่ง

โลกธาตุ เช่นกับพรหมโลกของท้าวมหาพรหมชื่อสพรหมกัป อันท่านพระ-

มหาโมคคัลลานะใดผู้มีฤทธิ์มาก รู้แจ้งแล้วโดยชอบ คือรู้แล้วโดยประจักษ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 463

ในขณะเดียวเท่านั้น และมีความชำนาญในจุตูปปาตญาณ เพราะถึง

พร้อมด้วยฤทธิ์ อันถึงความเป็นวสีมีอาวัชชนวสีเป็นต้น.

บทว่า กาเล ปสฺสติ ความว่า เทวดาย่อมมองเห็นด้วยจักษุอัน

เป็นทิพย์ ในกาลอันสมควรแก่เรื่องนั้น.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เมื่อประกาศคุณของตน จึงได้กล่าว

คาถามีอาทิว่า สาริปุตฺโตว ดังนี้.

บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาว่า สาริปุตฺโตว มีความสังเขปดังต่อไป

ว่า ภิกษุใดถึงฝั่งคือถึงความสิ้นสุด คือความอุกฤษฏ์ด้วยปัญญา เพราะ

ถึงพร้อมด้วยปัญญา ด้วยศีล เพราะถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยความสงบ เพราะ

ถึงพร้อมด้วยความสงบกิเลส ภิกษุนั้นคือพระสารีบุตร ผู้ถึงที่สุดยิ่งด้วย

คุณมีปัญญาเป็นต้นกว่าสาวกทั้งหลาย. เพราะท่านถึงความอุกฤษฏ์อย่างยิ่ง

ด้วยปัญญา ด้วยศีล. ท่านเป็นผู้มีคุณมีปัญญาเป็นต้นเป็นอย่างยิ่ง ข้อว่า

มีคุณมีปัญญาเป็นต้นนั้นเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีคุณธรรมอื่นยิ่งกว่านั้น. แต่

พระเถระได้กล่าวคำนี้เพื่อแสดงว่า เราเป็นผู้สูงสุดด้วยสมาธิเหมือนพระ-

สารีบุตรเป็นผู้สูงสุดด้วยปัญญาฉะนั้น เพราะเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าว

คำมีอาทิว่า โกฏิสตสหสฺสสฺส ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขเณน นิมฺมิเน ความว่า พึงนิรมิต

คือพึงสามารถเพื่อจะนิรมิตอัตภาพดังแสนโกฏิโดยขณะเดียวเท่านั้น. เรา

ไม่มีหน้าที่ในการนิรมิตนั้น. บทว่า วิกุพฺพนาสุ กุลโล วสีภูโตมฺหิ

อิทฺธิยา ความว่า ไม่ใช่เป็นผู้ฉลาดในวิกุพพนาอิทธิอันสำเร็จด้วยใจอย่าง

เดียวเท่านั้นก็หาไม่ เรายังเป็นผู้ถึงความชำนาญด้วยฤทธิ์แม้ทั้งหมด.

บทว่า สมาธิวิชฺชาวสิปารมีคโต ความว่า เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งบารมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 464

คือที่สุด โดยความเป็นผู้ชำนาญในสมาธิอันมีวิตกและมีวิจารเป็นต้น และ

ในวิชชามีปุพเพนิวาสญาณเป็นต้น. เป็นที่ตั้งแห่งท่านผู้เว้นจากตัณหา

นิสัยเป็นต้น คือถึงความเป็นผู้สูงสุดด้วยคุณตามที่กล่าวแล้วในพระศาสนา.

ชื่อว่า ผู้เป็นนักปราชญ์ เพราะเพียบพร้อมด้วยปัญญา ชื่อว่า โมคคัลลานะ

เพราะเป็นโมคคัลลานโคตร ชื่อว่า มีอินทรีย์ตั้งมั่นแล้ว เพราะมีอินทรีย์

ตั้งมั่นด้วยดี ตัดเครื่องผูกคือกิเลสทั้งสิ้นเสียได้ เหมือนช้างเชือกประเสริฐ

ตัดเครื่องผูกที่ทำด้วยเถาหัวด้วนได้โดยง่ายดายฉะนั้น. พระเถระเมื่อจะ

คุกคามมารผู้เข้าไปสู่ท้องแล้วออกตามลำดับแล้วมายืนอยู่ ได้กล่าวคาถา มี

อาทิว่า กีทิโส นิรโย อาสิ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กีทิโส ความว่า

เป็นประการเช่นไร ? บทว่า ยตฺถ ทุสฺสี ความว่า มารผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า

ทุสสี ในนรกใด. บทว่า อปจฺจถ ความว่า หมกไหม้ด้วยไฟในนรก.

บทว่า วิธุร สาวก ความว่า อัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่า กกุสันธะ ชื่อว่า วิธุระ. บทว่า อาสชฺช ความว่า ทุบตีเบียดเบียน.

บทว่า กกุสนฺธญฺจ พฺราหฺมณ ความว่า กระทบกระทั่งพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ. มารเข้าสิงกุมารซัดก้อนกรวดเฉพาะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตกลงบนศีรษะของพระเถระ.

บทว่า สต อาสิ อโยสงฺกุ ความว่า ได้ยินว่า สัตว์ผู้เกิดใน

นรกนั้นมีอัตภาพถึง ๓ คาวุต. แม้ทุสสีมารก็มีอัตภาพเช่นนั้นเหมือนกัน.

ลำดับนั้น นายนิรยบาลทั้งหลาย ต่างถือเอาหลาวเหล็กตั้ง ๑๐๐ อัน

ขนาดเท่าลำต้นตาล อันไฟลุกโชนรุ่งโรจน์โชติช่วงกล่าวว่า ท่านมีหัวใจ

ตั้งอยู่ที่นี้แหละ คิดทำบาป ดังนี้แล้ว จึงจัดเป็นคนจำนวน ๕๐ คน ผินหน้า

ไปทางเท้า จำนวน ๕๐ คนผินหน้าไปทางศีรษะ ตอกตรงกลางหัวใจ

๑. ม. มู. ๑๒/ข้อ ๕๖๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 465

ย้ำเข้าไป ๆ เหมือนคนตำปูนขาว ในรางสำหรับตำปูนขาวฉะนั้น ก็แลเมื่อ

ตำไปอย่างนี้ ๕๐๐ ปีจึงถึงที่สุดทั้ง ๒ ข้าง แล้วหวนกลับมาถึงกลางหัวใจอีก

๕๐๐ ปี ท่านหมายเอาข้อนั้นจึงกล่าวว่า มีขอเหล็กตั้ง ๑๐๐ อัน. บทว่า

สพฺเพ ปจฺจตฺตเวทนา ได้แก่ ให้เกิดเวทนาเฉพาะของตนเองทีเดียว.

ได้ยินว่า เวทนานั้นเป็นทุกข์ยิ่งกว่าเวทนาในมหานรก คือเวทนาที่เกิดใน

อุสสทนรกเป็นทุกข์ยิ่งกว่าทุกข์ในมหานรก เหมือน ๗ วันในการบริหาร

เป็นทุกข์กว่า ๗ วันในการดื่มด้วยความเสน่หา. ด้วยบทว่า อีทิโส นิรโย

อสิ นี้พึงแสดงนรกในที่นี้ด้วยเทวทูตสูตร.

บทว่า โย เอตมภิชานาติ ความว่า ภิกษุใด มีอภิญญามาก ย่อม

รู้กรรมและผลแห่งกรรมนี้ โดยประจักษ์เฉพาะหน้า ดุจรู้ผลมะขามป้อม

ที่วางไว้บนฝ่ามือฉะนั้น.

บทว่า ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก ความว่า ภิกษุผู้ทำลายกิเลสได้แล้ว

เป็นสาวกพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

บทว่า กณฺห ทุกฺข นิคจฺฉสิ ความว่า ดูก่อนมารชื่อว่าผู้มีธรรมดำ

เพราะประกอบด้วยบาปธรรมอันดำโดยส่วนเดียว ท่านจักประสบทุกข์.

บทว่า มชฺเฌสรสฺมึ ความว่า ได้ยินว่า วิมานที่เกิดโดยทำน้ำ

ตรงกลางมหาสมุทรให้เป็นที่ตั้ง เป็นวิมานดังอยู่ชั่วกัป. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า วิมานทั้งหลายตั้งอยู่ได้ตลอดกัป ดังนี้เป็นต้น. วิมาน

เหล่านั้น มีสีเหมือนแก้วไพฑูรย์และมีเปลวไฟโชติช่วง เหมือนกองไฟ

แห่งไม้อ้อที่ลุกโพลงบนยอดภูเขาฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น วิมานเหล่านั้น

จึงสว่างไสวพรั่งพร้อมด้วยรัศมีมากมาย. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีสี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 466

เหมือนแก้วไพฑูรย์ งดงาม มีรัศมีพลุ่งออก เหมือนเปลวไฟ ดังนี้

เป็นต้น.

บทว่า ปุถุ นานตฺตวณฺณิโย ความว่า นางอัปสรเป็นอันมาก มี

วรรณะต่าง ๆ กัน โดยมีวรรณะเขียวเป็นต้น ย่อมฟ้อนรำในวิมานเหล่านั้น.

บทว่า โย เอตมภิชานาติ ความว่า ภิกษุใดย่อมรู้เรื่องวิมานนั้น

โดยแจ่มแจ้ง. ก็เนื้อความนี้ พึงแสดงด้วยเรื่องวิมานเปรตทั้งหลายเถิด.

บทว่า พุทฺเธน โจทิโต ความว่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตักเตือน

คือทรงส่งไป.

บทว่า ภิกฺขุสงฺฆสฺส เปกฺขโต ได้แก่ ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ผู้เห็นอยู่.

บทว่า มิคารมาตุปาสาท ปาทงฺคุฏฺเน กมปยิ ความว่า เราทำ

มหาปราสาท ที่ประดับด้วยห้อง ๑,๐๐๐ ห้อง อันนางวิสาขามหาอุบาสิกา

สร้างไว้ในบุพพาราม ให้ไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้าของตน. จริงอยู่ สมัยนั้น

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในปราสาทตามที่กล่าวแล้ว ใน

บุพพาราม พวกภิกษุใหม่ ๆ จำนวนมากนั่งอยู่บนปราสาทชั้นบน แม้ก็ไม่

คำนึงถึงพระศาสดา เริ่มกล่าวเดรัจฉานกถากัน พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสดับดังนั้น จึงยังพวกภิกษุเหล่านั้นให้สลดใจ ทรงประสงค์จะทำให้

เป็นภาชนะสำหรับพระธรรมเทศนาของพระองค์ จึงตรัสเรียกท่านพระ

มหาโมคคัลลานเถระมาว่า โมคคัลลานะ เธอจงดูพวกภิกษุใหม่ที่พากัน

กล่าวเดรัจฉานกถา. พระเถระได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว รู้พระอัธยาศัย

ของพระศาสดา จึงเข้าจตุตถฌานมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นบาท

ของอภิญญาแล้ว ออกจากฌานอธิษฐานว่า จงมีน้ำเต็มโอกาสของปราสาท

เถิด แล้วเอานิ้วหัวแม่เท้า กดยอดปราสาท, ปราสาท โอนเอียงไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 467

ข้างหนึ่ง. กดซ้ำอีก ก็เอียงไปอีกข้างหนึ่ง. ภิกษุเหล่านั้น พากัน

กลัวหวาดเสียว เพราะกลัวตกปราสาท จึงออกจากปราสาทนั้นไปยืนอยู่

ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงตรวจดูอัธยาศัยของภิกษุ

เหล่านั้นแล้ว ทรงแสดงธรรม. บรรดาภิกษุที่ได้ฟังธรรมนั้น บางพวก

ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล, บางพวกดำรงอยู่ในสกทาคามิผล, บางพวก

ดำรงอยู่ในอนาคามิผล, บางพวกดำรงอยู่ในอรหัตผล. เนื้อความนี้นั้น

พึงแสดงด้วยปาสาทกัมปนสูตร.

บทว่า เวชยนฺตปาสาห ความว่า เวชยันตปราสาทนั้น ในภพ

ดาวดึงส์ สูงได้ประมาณ ๑,๐๐๐ โยชน์ ประดับด้วยเรือนยอดมีประตู

หลายพันประตู ที่ตั้งขึ้นในเมื่อท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา ทรงชนะ

พวกอสูรในสงครามระหว่างเทวดากับอสูร แล้วประทับอยู่ท่ามกลาง พระ-

นคร เป็นปราสาทที่ได้นามว่า เวชยันต์ เพราะบังเกิดสุดท้ายแห่งชัยชนะ,

ท่านหมายเอาปราสาทนั้น กล่าวว่า เวชยันตปราสาท. ก็แม้เวชยันตปราสาท

นั้น พระเถระนี้ก็ให้สั่นสะเทือนด้วยนิ้วหัวแม่เท้า. จริงอยู่ สมัยหนึ่ง

ท้าวสักกเทวราช เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเสด็จประทับอยู่ใน

บุพพาราม ทูลถามถึงวิมุตติคือความสิ้นตัณหา. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงวิสัชนาแก่ท้าวสักกเทวราชนั้น, ท้าวเธอได้สดับดังนั้น ดีใจ ร่าเริง

ถวายอภิวาทกระทำประทักษิณแล้วเสด็จไปยังเทวโลกของพระองค์. ลำดับ

นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะคิดอย่างนี้ว่า ท้าวสักกะนี้ เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามปัญหาอันปฏิสังยุตด้วยพระนิพพานอันลึกซึ้ง

เห็นปานนี้ และพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงวิสัชนาปัญหานั้นแล้ว ท้าวสักกะ

ทรงรู้แล้วเสด็จไป หรือว่าไม่รู้. ถ้ากระไรเราพึงไปยังเทวโลกแล้ว ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 468

ท้าวเธอรู้เนื้อความนั้น. ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั้นไปยังภพดาวดึงส์

ในบัดดลแล้ว ถามเนื้อความนั้นกะท้าวสักกะผู้เป็นจอมของเทวดา. ท้าว-

สักกะเป็นผู้ประมาท เพราะทิพยสมบัติ จึงได้กระทำความฟุ้งซ่าน. เพื่อ

จะให้ท้าวสักกะทรงสลดพระทัย พระเถระจึงทำเวชยันตปราสาทให้สั่น

สะเทือน ด้วยนิ้วหัวแม่เท้า. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ดูก่อนเทวดา ภิกษุใดมีกำลังฤทธิ์กล้าแข็ง ทำเวช-

ยันตปราสาทให้สั่นสะเทือน ด้วยนิ้วหัวแม่เท้าและยัง

เทพเจ้าทั้งหลายให้สลดใจ.

ก็ความนี้ พึงแสดงด้วยจูฬตัณหาสังขยวิมุตติสูตร. อาการที่ปราสาท

ไหว ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล.

ด้วยบทว่า สกฺก โส ปริปุจฺฉติ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาคำถามถึง

วิมุตติเพราะสิ้นตัณหาตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านรู้วิมุตติเพราะสิ้นตัณหาบ้างหรือ ดังนี้.

คำว่า ตสฺส สกฺโก วิยากาสิ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาความ

ที่เมื่อพระเถระทำปราสาทให้สั่นสะเทือนแล้ว ท้าวสักกะมีความสลดพระทัย.

ละความประมาทเสีย ใส่ใจโดยความแยบคายแล้วพยากรณ์ปัญหา.

จริงอยู่ ท้าวสักกะนั้นกล่าวแล้วในคราวนั้น เฉพาะตามทำนองที่พระศาสดา

ทรงแสดงแล้วนั้นแหละ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ท้าวสักกะถูกถาม

แล้วจึงพยากรณ์ปัญหาตามที่เป็นจริง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺก

โส ปริปุจฺฉติ ความว่า พระโมคคัลลานเถระนั้นถามท้าวสักกเทวราชว่า

ความหลุดพ้นคือความหมดสิ้นตัณหาที่พระศาสดาทรงแสดงไว้เป็นความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 469

หลุดพ้นที่ท้าวเธอถือเอาชอบแล้ว. จริงอยู่ คำว่า ปริปุจฺฉติ นี้ เป็นคำ

กล่าวถึงปัจจุบัน แต่ใช้ในอรรถอันเป็นอดีต. บทว่า อปิ อาวุโส ชานาสิ

ความว่า ผู้มีอายุ ท่านรู้บ้างหรือ คือรู้ไหม. บทว่า ตณฺหกฺขยวิมุตฺติโย

ความว่า พระเถระถามว่า พระศาสดาทรงแสดงวิมุตติความหมดสิ้น

ตัณหาแก่ท่านไว้โดยประการใด ท่านรู้โดยประการนั้นหรือ. อีกอย่าง

หนึ่ง ด้วยบทว่า ตณฺหกฺขยวิมุตฺติโย นี้ พระเถระถามถึงเทศนา

ตัณหาสังขยวิมุตติสูตร.

บทว่า พฺรหฺมาน ได้แก่ ท้าวมหาพรหม. บทว่า สุธมฺมาย

ิโต สภ ได้แก่ ที่สุธรรมสภา. ก็สภานี้เป็นเฉพาะสุธรรมสภาใน

พรหมโลก, ไม่ใช่ในดาวดึงสพิภพ. ขึ้นชื่อว่าเทวโลก เว้นจากสุธรรม-

สภาย่อมไม่มี. บทว่า อชฺชาปิ ตฺยาวุโส สา ทิฏฺิ ยา เต ทิฏฺิ

ปุเร อหุ ความว่า ใคร ๆ จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม ผู้สามารถ

เข้าไปยังพรหมโลกนี้ย่อมไม่มี, ก่อนแต่พระศาสดาเสด็จมาในพรหมโลก

นี้ ท่านได้มีทิฏฐิใด แม้ทุกวันนี้ คือแม้ขณะนี้ ทิฏฐินั้นก็ยังไม่หายไป

หรือ. บทว่า ปสฺสสิ วีติวตฺตนฺต พฺรหฺมโลเก ปภสฺสร ความว่า

ท่านเห็นแสงสว่างของพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งพระสาวก ผู้อันพระ-

สาวกทั้งหลายมีพระมหากัปปินะ และพระมหากัสสปะเป็นต้น ห้อมล้อม

ผู้ประทับนั่งเข้าเตโชธาตุ (มีแสง) พวยพุ่งอยู่ในพรหมโลก. จริงอยู่

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบความคิดของพรหมผู้นั่ง

ประชุมในสุธรรมสภาในพรหมโลก ผู้คิดว่า สมณะหรือพราหมณ์ไร ๆ ผู้

มีฤทธิ์อย่างนี้ สามารถที่จะมาในพรหมโลกนี้ มีไหมหนอ. พระองค์จึง

เสด็จไปในพรหมโลกนั้นแล้ว ประทับนั่งในอากาศเหนือเศียรของพรหม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 470

ทรงเข้าเตโชธาตุเปล่งแสงสว่างอยู่ ทรงพระดำริให้พระมหาโมคคัลลานะ

เป็นต้นมาหา. ฝ่ายพระมหาโมคคัลลานะเป็นต้นนั้น มาในที่นั้น

พร้อมกับที่ทรงพระดำริ ถวายบังคมพระศาสดา รู้พระอัธยาศัยของ

พระศาสดา จึงนั่งเข้าเตโชธาตุองค์ละทิศ ๆ แล้วเปล่งโอภาสแสงสว่าง

พรหมโลกทั้งสิ้นจึงได้มีโอภาสแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. พระศาสดาทรง

ทราบว่า พรหมมีจิตสงบ จึงทรงแสดงธรรมอันประกาศสัจจะ ๔.

ในเวลาจบเทศนา พรหมหลายพันองค์ดำรงอยู่ในมรรคและผลทั้งหลาย.

ท่านหมายถึงเรื่องนั้น เมื่อจะทักท้วงจึงกล่าวคาถาว่า ผู้มีอายุ แม้ทุก

วันนี้ทิฏฐิของท่านนั้น ดังนี้. ก็ข้อความนี้ พึงแสดงโดยพกพรหมสูตร.

สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้นแล

พรหมองค์หนึ่งเกิดทิฏฐิชั่วช้าลามกเห็นปานดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์

ที่จะมาในพรหมโลกนี้ได้ ไม่มีเลย.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของ

พรหมนั้นด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปจากพระวิหารเชตวันไปปรากฏใน

พรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออกไป หรือ

คู้แขนที่เหยียดเข้ามาฉะนั้น. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนั่งขัด

สมาธิในเวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น.

ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดเช่นนี้ว่า บัดนี้

๑. ส. ส. ๑๕/ข้อ ๕๗๓-๕๘๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 471

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่งขัดสมาธิในเวหาสเบื้องบนพรหมนั้น

ทรงเข้าเตโชธาตุกสิณด้วยจักษุเพียงดังทิพย์บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์

ครั้นแล้วจึงได้หายไปจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในพรหมโลกนั้น

เปรียบปานบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออกไป หรือคู้แขนที่เหยียดเข้ามา

ฉะนั้น. ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะอาศัยทิศบูรพา นั่งขัด

สมาธิในเวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

เข้าเตโชธาตุกสิณ.

ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้มีความดำริดังนี้ว่า บัดนี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ. ท่านพระมหากัสสปะได้เห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนั่งขัดสมาธิในเวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น ทรง

เข้าเตโชธาตุกสิณ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์

จึงหายไปในพระวิหารเชตวันไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เหมือนบุรุษมี

กำลัง ฯ ล ฯ ฉะนั้น. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปอาศัยทิศใต้นั่งขัด

สมาธิในเวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

เข้าเตโชธาตุกสิณ.

ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะได้มีความดำริดังนี้ว่า บัดนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ, ท่านพระมหากัปปินะได้

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนั่งขัดสมาธิในเวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น

ทรงเข้าเตโชธาตุกสิณ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ

มนุษย์ ครั้นแล้วได้หายไปจากพระวิหารเชตวัน ได้ปรากฏในพรหมโลก

นั้น เหมือนบุรุษมีกำลัง ฯ ล ฯ ฉะนั้น. ลำดับนั้นแล ท่านพระมหา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 472

กัปปินะ อาศัยทิศตะวันตกนั่งขัดสมาธิในเวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น

(แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าเตโชธาตุกสิณ.

ลำดับนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้มีความดำริดังนี้ว่า บัดนี้ พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ, ท่านพระอนุรุทธะได้เห็นพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิ ทรงเข้าเตโชธาตุกสิณ ในเวหาสเบื้อง

บนของพรหมนั้น ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ครั้น

แล้วได้หายไปจากพระวิหารเชตวัน ได้ไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เหมือน

บุรุษมีกำลัง ฯ ล ฯ ฉะนั้น. ลำดับนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้อาศัย

ทิศเหนือนั่งขัดสมาธิในเวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า เข้าเตโชธาตุกสิณ.

ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะพรหมนั้นด้วย

คาถาว่า

ดูก่อนผู้มีอายุ แม้วันนี้ ท่านก็ยังมีความเห็นผิดอยู่

เหมือนเมื่อก่อน ท่านยังจะเห็นอยู่หรือว่าบนพรหมโลก

มีแสงสว่างพวยพุ่งออกได้เอง.

พรหมกล่าวว่า

พระคุณเจ้าผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นผิดเหมือน

เมื่อก่อน ที่ว่าข้าพเจ้าเห็นแสงสว่างพวยพุ่งไปเองใน

พรหมโลก, ไฉนในวันนี้ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวว่า " เรา

เป็นผู้เที่ยงเป็นผู้ยั่งยืน " ดังนี้เล่า

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำพรหมนั้นให้สลดใจแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 473

ได้หายไปในพรหมโลกนั้น ปรากฏในพระวิหารเชตวันเหมือนบุรุษมี

กำลัง ฯ ล ฯ ฉะนั้น.

ลำดับนั้นแล พรหมนั้นได้เรียกพรหมปาริสัชชะ พรหมพวก

รับใช้องค์หนึ่งมาว่า แน่ะ ท่านผู้นิรทุกข์ มาเถิด ท่านจงเข้าไปหาท่าน

พระมหาโมคคัลลานะจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจงกล่าวกะท่านพระมหาโมค-

คัลลานะอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาค

เจ้าพระองค์นั้น แม้องค์อื่น ๆ ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เหมือนกับ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระกัสสปะ ท่านพระกัปปินะ และท่าน

พระอนุรุทธะ ยังมีอยู่หรือ. พรหมปาริสัชชะนั้นรับคำของพรหมนั้นว่า

อย่างนั้นท่านผู้นิรทุกข์ แล้วเข้าไปหาท่านพระมหาโมคลัลลานะจนถึงที่อยู่

ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระ-

โมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้องค์อื่นๆ

ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเหมือนท่านพระโมคคัลลานะ พระกัสสปะ

พระกัปปินะ พระอนุรุทธะ ยังมีอยู่หรือ.

ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะพรหมปาริสัชชะ

นั้นด้วยคาถาว่า

พระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ

ได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิญาณ ฉลาดในเจโตปริยญาณ

ยังมีอยู่เป็นอันมาก.

ลำดับนั้นแล พรหมปาริสัชชะนั้นชื่นชมยินดีอนุโมทนาภาษิตของ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว เข้าไปหาพรหมนั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 474

ได้กล่าวคำนี้กะพรหมนั้นว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้

กล่าวอย่างนี้ว่า

พระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ

ได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิญูาณ ฉลาดในเจโตปริยญาณ

ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก.

พรหมปาริสัชชะได้กล่าวคำนี้แล้ว และพรหมนั้นมีใจยินดี ชื่นชม

ภาษิตของพรหมปาริสัชชะนั้น ฉะนี้แล.

ท่านหมายเอาเรื่องดังกล่าวมานี้ จึงกล่าวว่า ก็ข้อความนี้พึงแสดง

โดยพกพรหมสูตร ดังนี้.

ด้วยบทว่า มหาเนรุโน กูฏ นี้ ท่านกล่าวถึงขุนเขาสิเนรุทั้งสิ้น

ทีเดียว โดยจุดเด่นคือยอด. บทว่า วิโมกฺเขน อผสฺสยิ อธิบายว่า

บรรลุด้วยความรู้ยิ่งอันเป็นที่อาศัยแห่งฌานและวิโมกข์. บทว่า วน ได้

แก่ชมพูทวีป. จริงอยู่ ชมพูทวีปนั้น ท่านเรียกว่า วนะ เพราะมีวนะ

คือป่ามาก. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นใหญ่แห่งชมพูทวีป.

บทว่า ปุพฺพวิเทหาน ได้แก่ สถานที่แห่งปุพพวิเทหทวีป อธิบายว่า

ทวีปปุพพวิเทหะ. บทว่า เย จ ภูมิสยา นรา ความว่า พวกมนุษย์

ชาวอปรโดยานกทวีป อุตตรกุรุกทวีป ชื่อว่า คนผู้นอนบนแผ่นดิน.

จริงอยู่ คนเหล่านั้น ท่านเรียกว่า ภูมิสยะ ผู้นอนบนแผ่นดิน เพราะ

ไม่มีบ้านเรือน. เชื่อมความว่า คนทั้งหมดแม้นั้นไม่บรรลุ. ก็ข้อความ

นี้ พึงแสดงโดยการทรมานนันโทปนันทนาคราช :-

ได้ยินว่า สมัยหนึ่ง ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้ฟังพระธรรม-

เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจึงทูลนิมนต์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 475

พรุ่งนี้ขอพระองค์กับภิกษุ ๕๐๐ โปรดรับภิกษาหารในเรือนของข้าพระ-

องค์เถิด พระเจ้าข้า แล้วได้หลีกไป, ก็วันนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุในเวลาใกล้รุ่ง พญานาคนามว่านันโทปนันทะ

มาสู่คลองในหน้าแห่งพระญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรำพึงว่า นาค-

ราชนี้มาสู่คลองในหน้าพระญาณของเรา อะไรหนอจักเกิดมี ก็ได้ทรง

เห็นอุปนิสัยแห่งสรณคมน์ จึงทรงรำพึง (ต่อไปอีก) ว่า นาคราชนี้

เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ใครหนอจะพึงปลดเปลื้อง

นาคราชนี้จากมิจฉาทิฏฐิได้ ก็ได้ทรงเห็นพระโมคคัลลานะ.

แต่นั้น เมื่อราตรีสว่างแล้ว พระองค์ทรงกระทำการปฏิบัติ

พระสรีระแล้ว จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาว่า อานนท์ เธอจง

บอกแก่ภิกษุ ๕๐๐ ว่า พระตถาคตจะเสด็จจาริกไปยังเทวโลก. ก็วัน

นั้น พวกนาคตระเตรียมภาคพื้นเป็นที่มาดื่ม (โรงดื่มสุรา) เพื่อ

นันโทปนันทนาคราช. นันโทปนันทราคราชนั้น อันพวกนาคกางกั้น

ด้วยเศวตฉัตรทิพย์ นพรัตนบัลลังก์ทิพย์ ห้อมล้อมด้วยนักฟ้อน ๓ พวก

และนาคบริษัท นั่งมองดูชนิดแห่งข้าวและน้ำที่เขาจัดวางไว้ในภาชนะ

ทิพย์ทั้งหลาย. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำให้นาคราช

เห็น เสด็จบ่ายพระพักตร์ไปยังดาวดึงส์เทวโลก พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐

โดยเฉพาะทางยอดวิมานของนาคราชนั้น.

ก็สมัยนั้นแล นันโทปนันทนาคราชเกิดความเห็นอันชั่วช้า เห็น

ปานนี้ขึ้นว่า พวกสมณะหัวโล้นเหล่านี้ เข้า ๆ ออก ๆ ยังที่อยู่ของพวก

เทพดาวดึงส์ โดยทางเบื้องบนที่อยู่ของพวกเรา คราวนี้ ตั้งแต่บัดนี้

ไปเราจะไม่ให้พวกสมณะเหล่านี้โปรยขี้ตีนลงบนหัวของเราแล้วไป จึงลุก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 476

ขึ้นไปยังเชิงเขาสิเนรุ ละอัตภาพนั้น เอาขนดวงรอบเขาสิเนรุ ๗ รอบ

แล้วแผ่พังพานข้างบน เอาพังพานคว่ำลงงำเอาภพดาวดึงส์ไว้ ทำให้มอง

ไม่เห็น.

ลำดับนั้นแล ท่านพระรัฏฐปาลได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาค

เจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อน ข้าพระองค์ยืนอยู่ตรงประเทศนี้

มองเห็นเขาสิเนรุ เห็นวงขอบเขาสิเนรุ เห็นภพดาวดึงส์ เห็นเวชยันต-

ปราสาท เห็นธงเบื้องบนเวชยันตปราสาท, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุ

อะไรหนอ ปัจจัยอะไรหนอ ซึ่งเป็นเหตุให้ข้าพระองค์ไม่เห็นภูเขา

สิเนรุ ฯ ล ฯ ไม่เห็นธงเบื้องบนเวชยันตปราสาท ในบัดนี้. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสบอกว่า รัฏฐปาละ นาคราชชื่อว่า นันโทปนันทะนี้

โกรธพวกเธอจึงเอาขนดหางวงรอบเขาสิเนรุ ๗ รอบ เอาพังพานปิด

ข้างบนกระทำให้มืดมิดอยู่. รัฏฐปาละทูลว่า ข้าพระองค์ขอทรมานนาคราช

ตนนั้น พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาต. ลำดับนั้นแล

ภิกษุแม้ทั้งหมดก็ลุกขึ้นโดยลำดับ คือ ท่านพระภัททิยะ ท่านพระราหุล

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงอนุญาต.

ในที่สุด พระมหาโมคคัลลานะเถระ กราบทูลว่า ข้าพระองค์ขอ

ทรมานนาคราชนั้น พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า

โมคคัลลานะ เธอจงทรมาน. พระเถระเปลี่ยนอัตภาพนิรมิตเป็นรูป

นาคราชใหญ่ เอาขนดหางวงรอบนันโทปนันทนาคราช ๑๔ รอบ วาง

พังพานของตนลงบนยอดพังพานของนันโทปนันทนาคราชแล้ว กดเข้ากับ

เขาสิเนรุ. นาคราชบังหวนควัน. พระเถระกล่าวว่า จะมีแต่ควันใน

ร่างกายของท่านเท่านั้นก็หามิได้ แม้ของเราก็มี แล้วจึงบังหวนควัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 477

ควันของนาคราชไม่เบียดเบียนพระเถระ แต่ควันของพระเถระเบียดเบียน

นาคราช. ลำดับนั้น นาคราชจึงโพลงไฟ. ฝ่ายพระเถระกล่าวว่า จะมี

แต่ไฟในร่างกายของท่านเท่านั้นก็หาไม่ แม้ของเราก็มี จึงโพลงไฟ.

ไฟของนาคราชไม่เบียดเบียนพระเถระ แต่ไฟของพระเถระเบียดเบียน

นาคราช. นาคราชคิดว่า พระองค์นี้กดเราเข้ากับเขาสิเนรุ แล้วบังหวน

ควันและทำให้ไฟโพลง จึงสอบถามว่า ผู้เจริญ ท่านเป็นใคร. พระเถระ

ตอบว่า นันทะ เราแหละคือโมคคัลลานะ. นาคราชกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ

ท่านจงดำรงอยู่โดยภิกขุภาวะของตนเถิด.

พระเถระจึงเปลี่ยนอัตภาพนั้น แล้วเข้าไปทางช่องหูขวาของนาค-

ราชนั้น แล้วออกทางช่องหูซ้าย เข้าทางช่องหูซ้ายแล้วออกทางช่องหู

ขวา. อนึ่ง เข้าทางช่องจมูกขวา ออกทางช่องจมูกซ้าย เข้าทางช่อง

จมูกซ้ายแล้วออกทางช่องจมูกขวา. ลำดับนั้น นาคราชได้อ้าปาก.

พระเถระจึงเข้าทางปากแล้วเดินจงกรมอยู่ภายในท้อง ทางด้านทิศตะวัน

ออกบ้าง ด้านทิศตะวันตกบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โมคคัลลานะ

เธอจงใส่ใจ นาคมีฤทธิ์มากนะ. พระเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ อิทธิบาท ๔ ข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำ

ให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจวัตถุที่ตั้ง ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมไว้แล้ว

ปรารภไว้ดีแล้ว. นันโทปนันทะจงยกไว้เถิด พระเจ้าข้า, นาคราชเช่น

กับนันโทปนันทะ ตั้งร้อยก็ดี ตั้งพันก็ดี ตั้งแสนก็ดี ข้าพระองค์ก็พึง

ทรมานได้.

นาคราชคิดว่า เมื่อตอนเข้าไป เราไม่ทันเห็น ในเวลาออกใน

บัดนี้ เราจักใส่เขาในระหว่างเขี้ยวแล้วเคี้ยวกินเสีย ครั้นคิดแล้วจึงกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 478

ว่า ขอท่านจงมาเถิดขอรับ อย่าเดินไป ๆ มา ๆ ในภายในท้อง ทำ

ข้าพเจ้าให้ลำบากเลย. พระเถระได้ออกไปยืนข้างนอก. นาคราชเห็นว่า

นี้คือเขาละ จึงพ่นลมทางจมูก. พระเถระเข้าจตุตถฌาน แม้ขุมขนของ

พระเถระ ลนก็ไม่สามารถทำให้ไหวได้. นัยว่า ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ

สามารถทำปาฏิหาริย์ทั้งมวลได้ จำเดิมแต่ต้น แต่พอถึงฐานะนี้ จักไม่

สามารถสังเกตได้รวดเร็วอย่างนี้แล้วเข้าสมาบัติ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้นทรมานนาคราช.

นาคราชคิดว่า เราไม่สามารถเพื่อจะทำแม้ขุมขนของสมณะนี้ให้

ไหวได้ด้วยลมจมูก สมณะนั้นมีฤทธิ์มาก, พระเถระจึงละอัตภาพนิรมิต

รูปครุฑ แสดงลมครุฑไล่ติดตามนาคราชไป, นาคราชจึงละอัตภาพนั้น

นิรมิตรูปมาณพน้อยแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผมขอถึงท่านเป็น

สรณะ ไหว้เท้าพระเถระ, พระเถระกล่าวว่า นันทะ พระศาสดาเสด็จ

มาแล้ว ท่านจงมา พวกเราจักได้ไป. ท่านทรมานนาคราชทำให้หมด

พยศแล้วได้พาไปยังสำนักของพระศาสดา. นาคราชถวายบังคมพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึง

พระองค์เป็นสรณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านจงเป็นสุขเถิด

นาคราช ดังนี้แล้ว อันหมู่ภิกษุห้อมล้อม ได้เสด็จไปยังนิเวศน์ของท่าน

อนาถบิณฑฑิกเศรษฐี.

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุไร

พระองค์จึงเสด็จมาสาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โมคคัลลานะและ

นันโทปนันทะได้ทำสงครามกัน . ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลว่า ก็ใคร

แพ้ ใครชนะ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โมคคัลลานะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 479

ชนะ นันทะแพ้. อนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์ตามลำดับแห่ง

เดียวตลอด ๗ วัน ข้าพระองค์จักกระทำสักการะแก่พระเถระ ๗ วัน

แล้วได้กระทำมหาสักการะแก่ภิกษุ ๕๐๐ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด

๗ วัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พึงแสดงเนื้อความโดยการทรมาน

นันโทปนันทนาคราช.

บทว่า โย เอตมภิชานาติ ความว่า ย่อมรู้วิโมกข์ตามที่กล่าวนี้

ด้วยอำนาจกระทำการถูกต้อง.

บทว่า น เว อคฺคิ เจตยติ อห พาล ฑหามิ ความว่า ไฟ

ย่อมไม่จงใจอย่างนี้ คือย่อมไม่กระทำประโยคคือความพยายามเพื่อจะเผา

แต่คนพาลคิดว่า ไฟนี้มีความร้อนน้อย จึงถูกต้องไฟที่ลุกโพลงประหนึ่ง

ว่าจะไม่ดับ จึงถูกไฟไหม้ ดูก่อนมาร พวกเราก็เหมือนอย่างนั้นนั่นแล

ประสงค์จะแผดเผา ประสงค์จะเบียดเบียนหามิได้ แต่ท่านนั่นแหละ

มากระทบกระทั่งพระอริยสาวกผู้เช่นกับกองไฟ ชื่อว่า ผู้มาแล้วอย่างนั้น

เพราะอรรถว่า มีการมาอย่างนั้นเป็นต้น จักเผาตนเอง คือจักไม่พ้นจาก

ทุกข์อันเกิดจากการแผดเผา.

บทว่า อปุญฺ ปสวติ แปลว่า ย่อมได้เฉพาะบาปมิใช่บุญ.

บทว่า น เม ปาป วิปจฺจติ ความว่า บาปยังไม่ให้ผลแก่เรา ดูก่อน

มาร เหตุไรหนอ ท่านจึงสำคัญอย่างนี้ว่า บาปนี้ไม่มี.

บทว่า กโรโต เต จียเต ปาป ความว่า บาปที่ท่านกระทำ

อยู่โดยส่วนเดียว ย่อมเข้าไปก่อความฉิบหาย ความทุกข์ตลอดกาลนาน.

บทว่า มาร นิพฺพินฺท พุทฺธมฺหา ความว่า ท่านจงเบื่อหน่าย คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 480

เหนื่อยหน่ายกรรมของผู้อื่น จากพุทธสาวกผู้ตรัสรู้อริยสัจ ๔. บทว่า

อาส มากาสิ ภิกฺขุสุ ความว่า ท่านอย่าได้ทำความหวังนี้ว่า เราทำ

ร้าย คือเบียดเบียนภิกษุทั้งหลาย.

บทว่า อิติ แปลว่า อย่างนั้น. บทว่า มาร อตชฺเชสิ ความว่า

ท่านพระมหาโมคคัลลานะเถระกล่าวว่า ดูก่อนมาร ท่านจงเหนื่อย

หน่าย ฯ ล ฯ ในภิกษุทั้งหลาย. บทว่า เภสกฬาวเน ได้แก่ ในป่าอัน

มีชื่ออย่างนี้. บทว่า ตโต ได้แก่ เหตุคุกคาม. บทว่า โส ทุมฺมโน

ยกโข ความว่า มารนั้นเสียใจได้หายไปในที่นั้นนั่นแหละ. คือได้ถึง

การมองไม่เห็น, ก็คาถานี้ท่านตั้งไว้ในคราวสังคายนาพระธรรมวินัย.

ก็คำใดในที่นี้ท่านไม่จำแนกความไว้ในระหว่าง ๆ คำนั้นง่ายทั้งนั้น เพราะ

อรรถว่ามีนัยดังกล่าวไว้ในหนหลัง.

พระมหาเถระนี้ คุกคามมารอย่างนี้แล้ว ได้กระทำอุปการะแก่

เหล่าสัตว์ไม่ทั่วไปกับพระสาวกอื่น ๆ เช่นเที่ยวไปในเทวดา และเที่ยว

ไปในนรกเป็นต้น ในเวลาหมดอายุก็ปรินิพพานไป และเมื่อจะปรินิพพาน

แม้จะได้ตั้งปณิธานไว้ที่ใกล้บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี ตั้ง

แต่นั้นได้กระทำบุญอันใหญ่ยิ่งไว้ในภพนั้น ๆ ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งสาวก-

บารมี ก็ถูกพวกโจรที่เหล่าเดียรถีย์ส่งไปเบียดเบียน เพราะกรรมเก่า

ที่ตั้งขึ้นด้วยอำนาจบาปกรรมที่ทำไว้ในระหว่าง กระทำความลำบากแก่

ร่างกายมิใช่น้อย จึงได้ปรินิพพาน. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ใน

อปทานว่า :-

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 481

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี เป็น

พระโลกเชษฐ์ เป็นนระผู้องอาจ อันเทวดาและภิกษุ

สงฆ์แวดล้อม ประทับอยู่ ณ ภูเขาหิมวันต์. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าผู้ทรงเป็นพระชินเจ้า เสด็จลงจากภูเขา

หิมวันต์นั้นแล้วเสด็จเที่ยวจาริกไป ทรงอนุเคราะห์หมู่

สัตว์เสด็จเข้าถึงกรุงพาราณสี. พระมหามุนีผู้นำโลก

แวดล้อมด้วยพระขีณาสพ ๑,๐๐๐ ทรงส่องทิศทั้งปวงให้

สว่างไสวไพโรจน์.

ในคราวนั้น เราเป็นคฤหบดีอันสหายผู้มีมหิทธิฤทธิ์

นามว่าสรทะส่งไป ได้เข้ารูปเฝ้าพระศาสดา. ครั้นแล้ว

ได้ทูลนิมนต์พระตถาคตสัมพุทธเจ้านำเสด็จไปยังที่อยู่

ของตน ทำการบูชาพระมหามุนีอยู่, เวลานั้นเรายัง

พระมหาวีรเจ้าผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็นนระผู้องอาจ

ผู้เสด็จเข้ามาพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและ

น้ำ.

พระมหาวีรเจ้าผู้เป็นพระสยัมภูอัครบุคคลทรงอนุ-

โมทนาแล้ว ประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัส

พระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดได้บูชาพระสงฆ์และได้บูชา

พระพุทธเจ้าผู้นายกของโลก ด้วยจิตอันเลื่อมใส ผู้นั้น

จักไปสู่เทวโลก จักเสวยเทวรัชสมบัติ ๗๗ ครั้ง จัก

เสวยราชสมบัติในแผ่นดิน ครอบครองพสุธา ๑๐๘ ครั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 482

และจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๕ ครั้ง โภคสมบัติอันนับ

ไม่ถ้วนจักบังเกิดแก่ผู้นั้นในขณะนั้น. ในกัปอันนับไม่

ได้แต่กัปนี้ พระศาสดาพระนามว่าโคตมะโดยพระโคตร

ซึ่งสมภพในวงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช จักอุบัติขึ้นใน

โลก ผู้นั้นเคลื่อนจากนรกแล้ว จักถึงความเป็นมนุษย์

จักเป็นบุตรพราหมณ์ มีนามว่า โกลิตะ ภายหลังอัน

กุศลมูลกระตุ้นเตือนแล้วเขาจักออกบวช จักได้เป็นพระ-

สาวกองค์ที่สองของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม.

จักปรารภความเพียร มีใจสงบถึงความยอดเยี่ยมแห่ง

ฤทธิ์ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะจัก

ปรินิพพาน.

เราอาศัยมิตรชั่ว ตกอยู่ในอำนาจของกามราคะ มี

ใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว ได้ฆ่ามารดาและบิดา. เรา

เข้าถึงกำเนิดใด ๆ จะเป็นนรกหรือมนุษย์ก็ตาม เพราะ

ความเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกรรมอันลามก ต้องเป็นผู้มี

ศีรษะแตกตาย นี้เป็นผลกรรมครั้งสุดท้ายของเรา ภพ

สุดท้ายย่อมดำเนินไป ผลกรรมเช่นนี้จักมีแก่เราในเวลา

ใกล้จะตายแม้ในที่นี้.

เราหมั่นประกอบในวิเวก ยินดีในสมาธิภาวนา

กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่. แม้

แผ่นดินอันลึกซึ้งหนา ใคร ๆ กำจัดได้ยาก เราผู้ถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 483

ความยอดเยี่ยมแห่งฤทธิ์ พึงทำให้ไหวได้ด้วยนิ้วหัวแม่มือ

ซ้าย. เราไม่เห็นอัสมิมานะ เราไม่มีมานะ เรากระทำ

ความเคารพยำเกรง แม้ที่สุดในสามเณร.

ในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้ เราสั่งสมกรรมใด

เราได้บรรลุถึงภูมิแห่งกรรมนั้น เป็นผู้ถึงความสิ้นอาสวะ

แล้ว. คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ ฯ ล ฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

จบอรรถกถามหาโมคคัลลานเถรคาถา

จบปรมัตถทีปนี

อรรถกถาเถรคาถา สัฏฐินิบาต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 484

เถรคาถา มหานิบาต

๑. วังคีสเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวังคีสเถระ

พระวังคีสเถระ เมื่อบวชแล้วใหม่ ๆ ได้เห็นสตรีหลายคนล้วนแต่

แต่งตัวเสียงดงาม พากันไปวิหาร ก็เกิดความกำหนัดยินดี เมื่อบรรเทา

ความกำหนัดยินดีได้แล้ว จึงได้กล่าวคาถา ๙ คาถาสอนตนเอง ความว่า

[๔๐๑] ความตรึกทั้งหลาย กับความคะนองอย่างเลวทราม

เหล่านี้ได้ครอบงำเราผู้ออกบวชเป็นบรรพชิต เหมือนกับ

บุตรของคนสูงศักดิ์ซึ่งมีธนูมาก ทั้งได้ศึกษาวิชาธนูศิลป์

มาอย่างเชี่ยวชาญ ยิงลูกธนูมารอบ ๆ ตัวเหล่าศัตรู ผู้

หลบหลีกไม่ทันตั้งพันลูกฉะนั้น. ถึงแม้หญิงจะมามากยิ่ง

กว่านี้ ก็จักทำการเบียดเบียนเราไม่ได้ เพราะเราได้ตั้ง

อยู่ในธรรมเสียแล้ว ด้วยว่าเราได้สดับทางอันเป็นที่ให้

ถึงนิพพานของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระ-

อาทิตย์อย่างชัดแจ้ง ใจของเราก็ยินดีในทางนั้นแน่นอน

ดูก่อนมารผู้ชั่วร้าย ถ้าท่านยังเข้ามารุกรานเราผู้เป็นอยู่

อย่างนี้ ท่านก็จะไม่ได้เห็นทางของเราตามที่เราทำไม่ให้

ท่านเห็น.

ภิกษุควรละความไม่ยินดี ความยินดี และความตรึก

อันเกี่ยวกับบุตรและภรรยาเป็นต้นเสียทั้งหมดแล้ว ไม่

ควรจะทำตัณหาดังป่าชัฏในที่ไหน ๆ อีก เพราะไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 485

ตัณหาดังป่าชัฏ ชื่อว่าเป็นภิกษุ. รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง

ซึ่งอาศัยแผ่นดินก็ดี อยู่ในอากาศก็ดี และมีอยู่ใต้แผ่นดิน

ก็ดี เป็นของไม่เที่ยงล้วนแต่คร่ำคร่าไปทั้งนั้น ผู้ที่แทง

ตลอดอย่างนี้แล้ว ย่อมเที่ยวไปเพราะเป็นผู้หลุดพ้น ปุถุ-

ชนทั้งหลายหมกมุ่นพัวพันอยู่ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง

โผฏฐัพพะที่มากระทบ และอารมณ์ที่ได้ทราบ ภิกษุควร

เป็นผู้ไม่หวั่นไหว กำจัดความพอใจในเบญจกามคุณ

เหล่านี้เสีย เพราะผู้ใดไม่ติดอยู่ในกามคุณเหล่านี้ บัณฑิต

ทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นมุนี. มิจฉาทิฏฐิซึ่งอิงอาศัยทิฏฐิ

๖๒ ประการ เป็นไปกับด้วยความตรึก อันไม่เป็นธรรม

ตั้งลงมั่น ในความเป็นปุถุชน. ในกาลไหน ๆ ผู้ใดไม่

เป็นไปในอำนาจของกิเลส ทั้งไม่กล่าวถ้อยคำหยาบคาย

ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ. ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีใจมั่นคงมา

นมนานแล้ว ไม่ลวงโลก มีปัญญารักษาตน ไม่มีความ

ทะเยอทะยาน เป็นมุนี ได้บรรลุสันติบทแล้ว หวังคอย

เวลาเฉพาะปรินิพพาน.

เมื่อพระวังคีสเถระกำจัดมานะที่เป็นไปแก่ตนไว้แล้ว เพราะอาศัย

คุณสมบัติ คือความมีไหวพริบของตน จึงได้กล่าวคาถา ๔ คาถาต่อไปอีก

ความว่า

ดูก่อนท่านผู้สาวกของพระโคดม ท่านจงละทิ้งความ

เย่อหยิ่งเสีย จงละทิ้งทางแห่งความเย่อหยิ่งให้หมดเสีย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 486

ด้วย เพราะผู้หมกมุ่นอยู่ในทางแห่งความเย่อหยิ่ง จะ

ต้องเดือดร้อนอยู่ตลอดกาลช้านาน. หมู่สัตว์ผู้ยังมีความ

ลบหลู่คุณท่าน ถูกมานะกำจัดแล้วไปตกนรก หมู่ชนคน

กิเลสหนา ถูกความทะนงตัวกำจัดแล้ว พากันตกนรก

ต้องเศร้าโศกอยู่ตลอดกาลนาน กาลบางครั้ง ภิกษุปฏิบัติ

ชอบแล้ว ชนะกิเลสด้วยมรรค จึงไม่ต้องเศร้าโศก ยังกลับ

ได้เกียรติคุณ และความสุข บัณฑิตทั้งหลายเรียกภิกษุ

ผู้ปฏิบัติชอบอย่างนั้นว่า เป็นผู้เห็นธรรม. เพราะเหตุนั้น

ภิกษุในศาสนานี้ไม่ควรมีกิเลสเครื่องตรึงใจ ควรมีแต่

ความเพียรชอบ ละนิวรณ์แล้วเป็นผู้บริสุทธิ์ และละ

มานะโดยไม่เหลือแล้ว เป็นผู้สงบระงับ บรรลุที่สุดแห่ง

วิชชาได้. ข้าพเจ้าเร่าร้อนเพราะกามราคะ และจิตใจ

ของข้าพเจ้าก็เร่าร้อนเพราะกามราคะเหมือนกัน ดูก่อน

ท่านผู้สาวกของพระโคดม ขอพระคุณจงกรุณาบอกธรรม

เครื่องดับความเร่าร้อนด้วยเถิด.

ท่านพระอานนทเถระกล่าวคาถา ความว่า

จิตของท่านเร่าร้อนก็เพราะความสำคัญผิด เพราะ-

ฉะนั้น ท่านจงละทิ้งนิมิตอันงามซึ่งประกอบด้วยราคะเสีย

ท่านจงอบรมจิตให้มีอารมณ์อันเดียว ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว

ด้วยการพิจารณาสิ่งทั้งปวงว่าเป็นของไม่สวยงาม จง

อบรมกายคตาสติ จงเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 487

ท่านจงเจริญอนิมิตคานุปัสสนา จงตัดอนุสัยคือมานะเสีย

แต่นั้นท่านจักเป็นผู้สงบระงับ เที่ยวไป เพราะละมานะ

เสียได้.

คราวหนึ่ง พระวังคีสเถระเกิดความปลาบปลื้มใจในสุภาษิตสูตร

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว จึงกราบทูลขึ้นในที่เฉพาะพระ-

พักตร์ด้วยคาถา ๔ คาถา ความว่า

บุคคลควรพูดแต่วาจา ที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อนเท่านั้น

อนึ่ง วาจาใดที่ไม่เบียดเบียนคนอื่น วาจานั้นแลเป็นวาจา

สุภาษิต บุคคลควรพูดแต่วาจาที่น่ารักใคร่ ทั้งเป็นวาจา

ที่ทำให้ร่าเริงได้ ไม่พึงยึดถือวาจาชั่วช้าของคนอื่น พึง

กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย

ธรรมนี้เป็นของเก่า สัตบุรุษทั้งหลายตั้งอยู่แล้วในคำสัตย์

ทั้งที่เป็นอรรถเป็นธรรม พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด

เป็นพระวาจาปลอดภัย เป็นไปเพื่อบรรลุนิพพาน เพื่อทำ

ซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจานั้นแลเป็นวาจาสูงสุดกว่า

วาจาทั้งหลาย.

ครั้งหนึ่ง พระวังคีสเถระกล่าวคาถา ๓ คาถา ด้วยอำนาจสรรเสริญ

พระสารีบุตรเถระ ความว่า

ท่านพระสารีบุตรมีปัญญาลึกซึ่ง เป็นนักปราชญ์ เป็น

ผู้ฉลาดในทางและมิใช่ทาง มีปัญญามากแสดงธรรมแก่

ภิกษุทั้งหลาย ย่อบ้าง พิสดารบ้าง เสียงของท่านผู้กำลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 488

แสดงธรรมอยู่ไพเราะ เหมือนกับเสียงนกสาริกา มี

ปฏิภาณปรากฏรวดเร็ว เหมือนกับคลื่นในมหาสมุทร

เมื่อท่านแสดงธรรมด้วยเสียงอันน่ายินดี น่าสดับฟัง

ไพเราะจับใจ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังคำอันไพเราะ ก็มีใจ

ร่าเริงเบิกบาน พากันตั้งใจฟัง.

ในวันเทศนาพระสูตรเนื่องในวันปวารณา ครั้งหนึ่ง พระวังคีส-

เถระเห็นพระบรมศาสดาซึ่งกำลังประทับอยู่ มีภิกษุหมู่ใหญ่ห้อมล้อม จึง

กล่าวคาถาชมเชยพระองค์ขึ้น ๔ คาถา ความว่า

วันนี้วัน ๑๕ ค่ำ เป็นวันปวารณาวิสุทธิ์ ภิกษุประมาณ

๕๐๐ รูปมาประชุมกัน ล้วนแต่เป็นผู้ตัดเครื่องเกาะเกี่ยว

ผูกพันเสียได้สิ้น ไม่มีความทุกข์ สิ้นภพสิ้นชาติแล้ว

เป็นผู้แสวงหาคุณธรรมอันประเสริฐทั้งนั้น พระเจ้าจักร-

พรรดิมีหมู่อำมาตย์ห้อมล้อม เสด็จเลียบแผ่นดินอัน

ไพศาลนี้ มีมหาสมุทรเป็นอาณาเขตไปรอบ ๆ ได้ฉันใด

พระสาวกทั้งหลายผู้มีวิชชา ๓ ละมัจจุราชได้แล้ว พา

กันเข้าไปห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงชนะสงคราม

แล้ว ผู้นำพวกชั้นเยี่ยมฉันนั้น พระสาวกทั้งมวลล้วนแต่

เป็นพุทธชิโนรส ก็ในพระสาวกเหล่านี้ไม่มีความว่างเปล่า

จากคุณธรรมเลย ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระองค์ผู้

เผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ผู้ทรงประหารลูกศร คือตัณหา

ได้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 489

ครั้งหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระได้กล่าวคาถา ๔ คาถา ชมเชยพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งกำลังทรงแสดงธรรมอันเกี่ยวกับเรื่องนิพพานแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ความว่า

ภิกษุมากกว่าพัน ได้เข้าไปเฝ้าพระสุคตเจ้าผู้กำลัง

ทรงแสดงธรรมอันปราศจากธุลี คือนิพพานอันไม่มีภัย

แต่ที่ไหน ๆ ภิกษุทั้งหลายก็พากันตั้งใจฟังธรรมอัน

ไพบูลย์ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าอันหมู่ภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม เป็นสง่างาม

แท้หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่านาคะ ผู้

ประเสริฐ ทรงเป็นพระฤาษีสูงสุดกว่าบรรดาฤาษี คือ

พระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงโปรยฝนอมฤต-

ธรรมรดพระสาวกทั้งหลาย คล้ายกับฝนห่าใหญ่ฉะนั้น

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระวังคีสสาวกของพระองค์ออก

จากที่พักกลางวัน มาถวายบังคมพระยุคลบาทของพระ-

องค์อยู่ ด้วยประสงค์จะเฝ้าพระองค์.

คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า

พระวังคีสะไม่ตั้งใจจะศึกษาเล่าเรียน พระองค์จึงตรัสพระคาถา ๔ พระ-

คาถา ความว่า

พระวังคีสะครอบงำทางผิดแห่งกิเลสมารได้แล้ว ทั้ง

ทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจได้สิ้นแล้ว จึงเที่ยวไปอยู่ เธอ

ทั้งหลายจงดูพระวังคีสะผู้ปลดเปลื้องเครื่องผูกเสียแล้ว ผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 490

อันตัณหามานะทิฏฐิไม่อิงแอบเลย ทั้งจำแนกธรรมเป็น

ส่วน ๆ ได้ด้วยนั้น เป็นตัวอย่างเถิด พระวังคีสะได้บอก

ทางไว้หลายประการ เพื่อให้ข้ามห้วงนำคือกามเป็นต้น

เสีย ก็ในเมื่อพระวังคีสะได้บอกทางอันไม่ตายนั้นไว้ให้

แล้ว ภิกษุทั้งหลายที่ได้ฟังแล้ว ก็ควรเป็นผู้ตั้งอยู่ในความ

เป็นผู้เห็นธรรม ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรม. พระ-

วังคีสะเป็นผู้ทำแสงสว่างให้เกิดขึ้น แทงตลอดแล้วซึ่ง

ธรรมฐิติทั้งปวง ได้เห็นพระนิพพาน แสดงธรรมอันเลิศ

ตามกาลเวลาได้อย่างฉับพลัน เพราะรู้มาเอง และทำให้

แจ้งมาเอง. เมื่อพระวังคีสะแสดงธรรมด้วยดีแล้วอย่างนี้

จะประมาทอะไรต่อธรรมของท่านผู้รู้แจ้งเล่า เพราะเหตุ

นั้นแหละ ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจศึกษาไตรสิกขาด้วย

ปฏิปทาอันเลิศในกาลทุกเมื่อเถิด.

ครั้งหนึ่ง พระวังคีสเถระ กล่าวคาถาชมเชยท่านพระอัญญาโกณ-

ฑัญญะ ๓ คาถา ความว่า

พระอัญญาโกณฑัญญเถระ เป็นผู้ตรัสรู้ตามพระ-

พุทธเจ้า มีความเพียรอย่างแก่กล้า ได้วิเวกอันเป็นธรรม

เครื่องอยู่ เป็นสุขเป็นนิตย์ สิ่งใดที่พระสาวกผู้กระทำ

ตามคำสอนของพระศาสดาพึงบรรลุ สิ่งนั้นทั้งหมด ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 491

พระอัญญาโกณฑัญญเถระ ผู้ไม่ประมาทศึกษาอยู่ ก็บรรลุ

ตามได้แล้ว ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระมีอานุภาพ

มาก มีวิชชา ๓ ฉลาดในการรู้จิตของผู้อื่น เป็นทายาท

ของพระพุทธเจ้า ได้มาถวายบังคมพระยุคลบาทของ

พระบรมศาสดาอยู่.

ครั้งหนึ่ง พระวิ่งคีสเถระ เมื่อจะกล่าวชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า

และพระเถระทั้งหลาย มีพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้น จึงได้กล่าว

คาถา ๓ คาถา ความว่า

เชิญท่านดูพระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมปราชญ์ เสด็จถึง

ฝั่งแห่งความทุกข์ กำลังประทับอยู่เหนือยอดเขากาลสิลา

แห่งอิสิคิลิบรรพต มีหมู่สาวกผู้มีวิชชา ๓ ละมัจจุราช

ได้แล้วนั่งเฝ้าอยู่ พระมหาโมคคัลลานเถระผู้เรื่องอิทธิ-

ฤทธิ์มาก ตามพิจารณาดูจิตของภิกษุผู้มหาขีณาสพ

เหล่านั้นอยู่ ท่านก็กำหนดได้ว่าเป็นดวงจิตที่หลุดพ้นแล้ว

ไม่มีอุปธิ ด้วยใจของท่าน ด้วยประการฉะนี้. ภิกษุ

ทั้งหลายจึงได้พากันห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่า โคดม ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยพระคุณธรรมทุกอย่าง ทรง

เป็นจอมปราชญ์ เสด็จถึงฝั่งแห่งทุกข์ ทรงเต็มเปี่ยม

ด้วยพระอาการเป็นอันมาก.

คราวหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระกล่าวคาถาสรรเสริญพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ซึ่งกำลังประทับอยู่ในท่ามกลางสงฆ์หมู่ใหญ่ เทวดาและนาค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 492

นับจำนวนพัน ที่ริมสระโบกขรณีชื่อคัคครา ใกล้เมืองจัมปา ๑ คาถา

ความว่า

ข้าแต่พระมหามุนีอังคีรส พระองค์ไพโรจน์ล่วงโลก

นี้กับทั้งเทวโลกทั้งหมดด้วยพระยศ เหมือนกับพระจันทร์

และพระอาทิตย์ที่ปราศจากมลทิน สว่างจ้าอยู่บนท้องฟ้า

อันปราศจากเมฆหมอกฉะนั้น.

คราวหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระพิจารณาดูข้อปฏิบัติที่ตนได้บรรลุ

แล้ว เมื่อจะประกาศคุณของตน จึงกล่าวคาถา ๑๐ คาถา ความว่า

เมื่อก่อนข้าพระองค์รู้กาพย์กลอน เที่ยวไปในบ้าน

โน้นเมืองนี้ แต่เดี๋ยวนี้ ข้าพระองค์ ได้เห็นพระสัมพุทธ-

เจ้าผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง พระองค์ผู้เป็นมหามุนี เสด็จ

ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ได้ทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ข้า-

พระองค์ฟังธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใส เกิดศรัทธา

ข้าพระองค์ได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จึงรู้แจ้งขันธ์

อายตนะ และธาตุแจ่มแจ้งแล้ว ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต

พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นมา เพื่อประโยชน์

แก่สตรีและบุรุษเป็นอันมากหนอ ผู้กระทำตามคำสั่งสอน

ของพระองค์ พระองค์ผู้เป็นมุนีได้ทรงบรรลุโพธิญาณ

เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุและภิกษุณี ซึ่งได้บรรลุสัมมัตต-

นิยามหนอ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 493

มีพระจักษุทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์

ความดับทุกข์ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

อันให้ถึงความสงบระงับทุกข์ เพื่อทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์

ทั้งปวง อริยสัจธรรมเหล่านี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว

อย่างไร ข้าพระองค์ก็เห็นอย่างนั้น มิได้เห็นผิดเพี้ยน

ไปอย่างอื่น ข้าพระองค์บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว ทำ

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว การที่ข้าพระองค์

ได้มาในสำนักของพระองค์ เป็นการมาดีของข้าพระองค์

หนอ เพราะข้าพระองค์ได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐ ใน

บรรดาธรรมที่พระองค์ทรงจำแนกไว้ดีแล้ว ข้าพระองค์

ได้บรรลุถึงความสูงสุดแห่งอภิญญาแล้ว มีโสตธาตุอัน

หมดจด มีวิชชา ๓ ถึงความเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ เป็นผู้

ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น.

ครั้งหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระนึกถึงพระนิโครธกัปปเถระ ผู้เป็น

พระอุปัชฌาย์ของตน ที่มรณภาพแล้วว่า จะได้สำเร็จนิพพานหรือไม่

จึงกราบทูลถามพระบรมศาสดาด้วย ๑๒ คาถา ความว่า

ข้าพระองค์ขอทูลถามพระศาสดา ผู้มีพระปัญญาไม่

ทราบว่า ภิกษุรูปใดมีใจไม่ถูกมานะทำให้เร่าร้อน เป็นผู้

เรืองยศ ตัดความสงสัยในธรรมที่ตนเห็นมาได้แล้ว ได้

มรณภาพลงที่อัคคาฬววิหาร ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ภิกษุรูปนั้นเป็นพราหมณ์มาแต่กำเนิด มีนามตามที่พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 494

องค์ทรงประทานตั้งให้ว่า พระนิโครธกัปปเถระ ผู้มุ่งแต่

ความหลุดพ้น ปรารภความเพียร เห็นธรรมอันมั่นคง

ได้ถวายบังคมพระองค์แล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยะทรงมี

พระจักษุรอบคอบ แม้ข้าพระองค์ทั้งหมดปรารถนาจะ

ทราบพระสาวกองค์นั้น โสตของข้าพระองค์ทั้งหลาย

เตรียมพร้อมที่จะฟังพระดำรัสตอบ. พระองค์เป็นพระ-

ศาสดาของข้าพระองค์ทั้งหลาย ซึ่งจะหาศาสดาอื่นเทียม

เท่ามิได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญากว้างขวาง ขอ

พระองค์ทรงตัดความเคลือบแคลงสงสัย ของข้าพระองค์

ทั้งหลายเถิด และขอได้โปรดตรัสบอกพระนิโครธกัปป-

เถระผู้ปรินิพพานไปแล้วแก่ข้าพระองค์ด้วย ข้าแต่พระ-

องค์ผู้มีพระจักษุรอบคอบ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ใน

ท่ามกลางแห่งข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด เหมือนท้าวสักก-

เทวราชผู้มีพระเนตรตั้งพัน ตรัสบอกแก่เทวดาทั้งหลาย

ฉะนั้น กิเลสเครื่องร้อยรัดชนิดใดชนิดหนึ่งในโลกนี้ ที่

เป็นทางก่อให้เกิดความหลงลืม เป็นฝ่ายแห่งความไม่รู้

เป็นมูลฐานแห่งความเคลือบแคลงสงสัย กิเลสเครื่อง

ร้อยรัดเหล่านั้น พอมาถึงพระตถาคตเจ้าย่อมพินาศไป

พระตถาคตเจ้าผู้มีพระจักษุยิ่งกว่านรชนทั้งหลาย ก็ถ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า จะเป็นบุรุษชนิดที่ทรงถือเอาแต่เพียง

พระกำเนิดมาเท่านั้นไซร้ ก็จะไม่พึงทรงประหารกิเลส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 495

ทั้งหลายได้ คล้ายกับลมที่รำเพยพัดมาครั้งเดียว ไม่อาจ

ทำลายกลุ่มหมอกที่หนาได้ฉะนั้น โลกทั้งปวงที่มืดอยู่

แล้ว ก็จะยิ่งมืดหนักลง ถึงจะมีสว่างมาบ้าง ก็ไม่สุกใส

ได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเป็นผู้กระทำแสงสว่างให้เกิดขึ้น

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปรีชา เหตุนั้น ข้าพระองค์จึงขอเข้า

ถึงพระองค์ ผู้ที่ข้าพระองค์เข้าใจว่าทรงทำแสงสว่างให้

เกิดขึ้นได้เองเช่นนั้น ผู้เห็นแจ้ง ทรงรอบรู้สรรพธรรม

ตามความเป็นจริงได้ ขอเชิญพระองค์โปรดทรงประกาศ

พระนิโครธกัปปเถระ ผู้อุปัชฌายะของข้าพระองค์ที่

ปรินิพพานไปแล้ว ให้ปรากฏในบริษัทด้วยเถิด. พระผู้-

มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเปล่งพระดำรัส ก็ทรงเปล่งด้วย

พระกระแสเสียงกังวาน ที่เกิดแต่พระนาสิก ซึ่งนับเข้า

ในมหาบุรุษลักษณะด้วยประการหนึ่ง อันพระบุญญาธิการ

ตบแต่งมาดี ทั้งเปล่งได้อย่างรวดเร็วและแผ่วเบาเป็น

ระเบียบ เหมือนกับพญาหงส์ทองท่องเที่ยวหาเหยื่อ พบ

ราวไพรใกล้สระน้ำ ก็ชูคอป้องปีกทั้งสองขึ้นส่งเสียงอยู่

ค่อย ๆ ด้วยจะงอยปากอันแดงฉะนั้น ข้าพระองค์ทั้งหมด

ตั้งใจตรง กำลังจะฟังพระดำรัสของพระองค์อยู่ ข้า-

พระองค์จักเผยการเกิดและการตาย ที่ข้าพระองค์ละมา

ได้หมดสิ้นแล้ว จักแสดงบาปธรรมทั้งหมดที่เป็นเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 496

กำจัด เพราะผู้กระทำตามความพอใจของตน ๓ จำพวก

มีปุถุชนเป็นต้น ไม่อาจเพื่อจะรู้ธรรมที่ตนปรารถนาหรือ

แสดงได้ ส่วนผู้กระทำความไตร่ตรอง พิจารณาตาม

เหตุผลของตถาคตเจ้าทั้งหลาย สามารถจะรู้ธรรมที่ตน

ปรารถนาทั้งแสดงได้ พระดำรัสของพระองค์นี้เป็นไวยา-

กรณ์อันสมบูรณ์ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วด้วยพระปัญญา

ที่ตรง ๆ โดยไม่มีการเสียดสีใครเลย การถวายบังคม

ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย อันข้าพระองค์ถวายบังคมดีแล้ว

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาไม่ทราม พระองค์ทรงทราบ

แล้วจะทรงหลงล้มไปก็หามิได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระ-

วิริยะอันไม่ต่ำทราม พระองค์ตรัสรู้อริยธรรมอันประ-

เสริฐกว่าโลกิยธรรมมาแล้ว ก็ทรงทราบพระเญยยธรรม

ทุกอย่างได้อย่างไม่ผิดพลาด ข้าพระองค์หวังเป็นอย่าง

ยิ่งซึ่งพระดำรัสของพระองค์ เหมือนกับคนที่มีร่างอันชุ่ม

เหงื่อคราวหน้าร้อน ปรารถนาน้ำเย็นฉะนั้น ขอพระองค์

ทรงยังฝน คือพระธรรมเทศนาที่ข้าพระองค์เคยฟังมาแล้ว

ให้ตกลงเถิด พระเจ้าข้า ท่านนิโครธกัปปะได้ประพฤติ

พรหมจรรย์ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ของท่านนั้น

เป็นประโยชน์ไม่เปล่าแลหรือ ท่านนิพพานด้วยอนุปา-

ทิเสสนิพพานแล้วหรือ ท่านเป็นพระเสขะยังมีเบญจขันธ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 497

เหลืออยู่ หรือว่าท่านเป็นพระอเสขะผู้หลุดพ้นแล้ว ข้า-

พระองค์ขอฟังพระดำรัสที่ข้าพระองค์มุ่งหวังนั้น พระเจ้า-

ข้า.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงพยากรณ์ จึงตรัสพระคาถา ๑ พระ-

คาถา ความว่า

พระนิโครธกัปปะได้ตัดขาด ซึ่งความทะยานอยาก

ในนามและรูปนี้ กับทั้งกระแสแห่งตัณหาอันนอนเนื่อง

อยู่ในสันดานมาช้านานแล้ว ข้ามพ้นชาติและมรณะได้

หมดสิ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐสุดด้วยพระ-

จักษุทั้ง ๕ ได้ตรัสพระดำรัสเพียงเท่านี้.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบอย่างนี้แล้ว ท่านพระวังคีสเถระ

ก็ชื่นชมยินดีพระพุทธภาษิตเป็นอย่างยิ่ง จึงได้กราบทูลด้วยอวสานคาถา

๔ คาถา ความว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระฤาษีองค์ที่ ๗ ข้าพระองค์นี้

ได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้วก็เลื่อมใส ทราบว่า

คำถามที่ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ พระ-

องค์ไม่หลอกลวงข้าพระองค์.

สาวกของพระพุทธเจ้า มีปกติกล่าวอย่างใด ทำ

อย่างนั้น ได้ตัดข่ายคือตัณหาอันกว้างขวาง มั่นคง ของ

พญามัจจุราชผู้เจ้าเล่ห์ ได้เด็ดขาด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 498

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระนิโครธกัปปเถระ

กัปปายนโคตร ได้เห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน ข้ามบ่วงมาร

ที่ข้ามได้แสนยากไปได้แล้วหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่าบรรดาสรรพสัตว์ ข้า-

พระองค์ขอนมัสการท่านพระนิโครธกัปปเถระ ผู้เป็น

วิสุทธิเทพ ล่วงเสียซึ่งเทพดา อนุชาตบุตรของพระองค์

มีความเพียรมาก เป็นผู้ประเสริฐ ทั้งเป็นโอรสของ

พระองค์ผู้ประเสริฐ.

ได้ทราบว่า ท่านพระวังคีสเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมดนี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบวังคีสเถรคาถาที่ ๑

จบมหานิบาต

ในมหานิบาตนี้ ปรากฏว่าพระวังคีสเถระผู้มีเชาว์

เฉียบแหลมองค์เดียว ไม่มีรูปอื่น ได้ภาษิตคาถาไว้ ๗๑

คาถา

พระเถระ ๒๖๔ รูป ผู้พระพุทธบุตร ไม่มีอาสวะ

บรรลุนิพพานอันเป็นแดนเกษมแล้ว พากันบันลือสีหนาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 499

ประกาศคาถาไว้รวม ๑,๓๖๐ คาถาแล้ว ก็พากันนิพพาน

ไป เหมือนกองไฟที่สิ้นเชื้อแล้วดับไป ฉะนี้แล.

จบเถรคาถา

อรรถกถามหานิบาต

อรรถกถาวังคีสเถรคาถาที่ ๑

ในสัตตตินิบาต คาถาของท่านพระวังคีสเถระ มีคำเริ่มต้นว่า

นิกฺขนฺต วต ม สนฺต ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า พระเถระนี้บังเกิดใน

ตระกูลมีโภคะมาก ในนครหังสวดี ไปวิหารฟังธรรม โดยนัยอันมีในก่อน

นั่นแล ได้เห็นพระศาสดาทรงทั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศแห่ง

ภิกษุผู้มีปฏิภาณ จึงกระทำกรรมคือบุญญาธิการแด่พระศาสดา แล้วกระทำ

ความปรารถนาว่า แม้เราก็พึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณใน

อนาคตกาล อันพระศาสดาทรงพยากรณ์แล้ว การทำกุศลจนตลอดชีวิต

ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดใน

ตระกูลพราหมณ์ในเมืองสาวัตถี ได้นามว่า วังคีสะ เรียนจบไตรเพท

ได้ทำให้อาจารย์โปรดปรานแล้ว ศึกษามนต์ชื่อว่า ฉวสีสะ เอาเล็บเคาะ

ศีรษะศพ ย่อมรู้ได้ว่าสัตว์นี้บังเกิดในกำเนิดโน้น.

๑. บาลีเป็นมหานิบาต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 500

พวกพราหมณ์รู้ว่า ผู้นี้จะเป็นทางหาเลี้ยงชีพของพวกเรา จึงพา

วังคีสะให้นั่งในยานพาหนะอันมิดชิด แล้วท่องเที่ยวไปยังคามนิคมและ

ราชธานี. ฝ่ายวังคีสะก็ให้นำศีรษะแม้ของคนที่ตายไปแล้วถึง ๓ ปีมา เอา

เล็บเคาะแล้วกล่าวว่า สัตว์นี้บังเกิดในกำเนิดโน้น เพื่อจะตัดความสงสัย

ของมหาชน จึงให้ไปพาเอาชนนั้นมาเล่าคติ คือความเป็นไปของตน ๆ

ด้วยเหตุนั้น มหาชนจึงพากันเลื่อมใสยิ่งในวังคีสะนั้น.

วังคีสะนั้น อาศัยมนต์นั้น ได้ทรัพย์ร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง

จากมือของมหาชน. พราหมณ์ทั้งหลายพาวังคีสะเที่ยวไปตามชอบใจ

แล้ว ได้กลับมาเมืองสาวัตถีอีกตามเดิม. วังคีสะได้สดับพระคุณทั้งหลาย

ของพระศาสดาได้มีความประสงค์จะเข้าเฝ้า. พวกพราหมณ์พากันห้ามว่า

พระสมณโคดมจักทำท่านให้วนเวียนด้วยมายา. วังคีสะไม่สนใจคำของ

พวกพราหมณ์ จึงเข้าเฝ้าพระศาสดากระทำปฏิสันถารแล้วนั่ง ณ ส่วนสุด

ข้างหนึ่ง.

พระศาสดาตรัสถามวังคีสะว่า ท่านรู้ศิลปะบางอย่างไหม ? วังคีสะ

ทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้มนต์ชื่อฉวสีสะ,

ด้วยมนต์นั้น ข้าพระองค์เอาเล็บเคาะศีรษะแม้ของคนที่ตายไปถึง ๓ ปี

แล้วก็จักรู้ที่ที่เขาเกิด. พระศาสดาทรงแสดงศีรษะของผู้บังเกิดในนรก

ศีรษะหนึ่งแก่เขา ของผู้เกิดในมนุษย์ศีรษะหนึ่ง ของผู้เกิดในเทวโลก

ศีรษะหนึ่ง และของท่านผู้ปรินิพพานแล้วศีรษะหนึ่ง. วังคีสะนั้น เคาะ

ศีรษะแรกแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สัตว์นี้บังเกิดในนรก

พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ถูกต้องวังคีสะ ท่านเห็นถูกต้อง จึงตรัส

ถาม (ศีรษะต่อไป) ว่า สัตว์นี้บังเกิดที่ไหน ? เขาทูลตอบว่า บังเกิดใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 501

มนุษยโลก. ตรัสถามศีรษะต่อไปอีกว่า สัตว์นี้บังเกิดที่ไหน ? เขาทูล

ตอบว่า บังเกิดในเทวโลก รวมความว่า เขาทูลบอกสถานที่ที่สัตว์แม้

ทั้งหลายบังเกิดได้. แต่เขาเอาเล็บเคาะศีรษะของท่านผู้ปรินิพพานไม่เห็น

เบื้องต้น ไม่เห็นที่สุดเลย.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเขาว่า วังคีสะ ท่านไม่สามารถหรือ ?

เขากราบทูลว่า ข้าพระองค์ขอใคร่ครวญดูก่อน แม้จะร่ายมนต์ซ้ำ ๆ แล้ว

เคาะ จักรู้ได้อย่างไรถึงคติของพระขีณาสพ ด้วยการงานภายนอก ทีนั้น

เหงื่อก็ไหลออกจากกระหม่อมของเขา เขาละอายใจจึงได้นิ่งอยู่.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเขาว่า ลำบากไหม วังคีสะ. วังคีสะ

กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถ

จะรู้ที่ที่เกิดของท่านผู้นี้ ถ้าพระองค์ทรงทราบ โปรดตรัสบอก. พระศาสดา

ตรัสว่า วังคีสะ เรารู้ข้อนี้ด้วย ทั้งรู้ยิ่งไปกว่านี้ด้วย แล้วได้ตรัสคาถา ๒

คาถานี้ว่า

บุคคลใดรู้แจ้งจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดย

ประการทั้งปวง เรากล่าวบุคคลนั้นผู้ไม่ข้อง ผู้ไปดีแล้ว

ผู้รู้แล้วว่า เป็นพราหมณ์.

เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ทั้งหลาย ไม่รู้คติของ

บุคคลใด เราเรียกบุคคลนั้น ผู้หมดอาสวะ ผู้เป็นพระ-

อรหันต์ว่า เป็นพราหมณ์.

วังคีสะกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอจง

ประทานวิชชานั้นแก่ข้าพระองค์ ดังนี้แล้วแสดงความยำเกรงนั่งอยู่ ณ ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 502

ใกล้พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า เราให้แก่คนผู้มีเพศเหมือนกับเรา

วังคีสะคิดว่า เราควรจะกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเรียนเอามนต์นี้

จึงได้กล่าวกะพราหมณ์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย เมื่อข้าพเจ้าบวชก็อย่า

เสียใจ ข้าพเจ้าเรียนเอามนต์นี้แล้ว จักเป็นผู้เจริญที่สุดในชมพูทวีปทั้งสิ้น

แม้ท่านทั้งหลายก็จักเจริญได้เพราะมนต์นั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลขอ

บรรพชา เพื่อต้องการมนต์นั้น. ก็ในเวลานั้น ท่านพระนิโครธกัปปเถระ

ได้อยู่ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสั่งพระ-

นิโครธกัปปะเถระว่า นิโครธกัปปะ เธอจงให้วังคีสะนั่นบวช. ท่าน

นิโครธกัปปะได้ให้วังคีสะนั้นบวชตามอาณัติของพระศาสดา.

ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสว่า เธอจงเรียนบริวารของมนต์ก่อน

แล้วจึงตรัสบอกทวัตติงสาการกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน แก่พระ

วังคีสะนั้น. พระวังคีสะนั้นสาธยายทวัตติงสาการอยู่แล จึงเริ่มตั้งวิปัสสนา

พวกพราหมณ์ได้พากันเข้าไปหาพระวังคีสะแล้วถามว่า ท่านวังคีสะผู้เจริญ

ท่านได้ศึกษาศิลปะในสำนักของพระสมณโคดมแล้วหรือ. พระวังคีสะ

กล่าวว่า ประโยชน์อะไรด้วยการศึกษาศิลปะ พวกท่านไปเสียเถิด ข้าพเจ้า

ไม่มีกิจที่จะต้องทำกับพวกท่าน พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวว่า บัดนี้ แม้ท่าน

ก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของพระสมณโคดม งงงวยด้วยมายา พวกเราจัก

กระทำอะไรในสำนักของท่าน ดังนี้แล้ว พากันหลีกไปตามหนทางที่มาแล้ว

นั้นแล. พระวังคีสเถระเจริญวิปัสสนา ได้ทำให้แจ้งพระอรทัต. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอุปทานว่า

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๓๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 503

ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมาร พระนามว่า

ปทุมุตตระ ผู้มีจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ ได้เสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว พระศาสนาของพระองค์วิจิตรด้วยพระ-

อรหันต์ทั้งหลาย เหมือนคลื่นในสาคร และเหมือนดาว

ในท้องฟ้า พระพิชิตมารผู้สูงสุด อันมนุษย์พร้อมทั้ง

ทวยเทพ อสูรและนาคห้อมล้อม. ในท่านกลางหมู่ชน

ซึ่งเกลื่อนกล่นไปด้วยสมณพราหมณ์ พระพิชิตมารผู้ถึง

ที่สุดโลก ทรงทำโลกทั้งหลายให้ยินดีด้วยพระรัศมี พระ-

องค์ทรงยังดอกปทุม คือเวไนยสัตว์ให้เบิกบานด้วยพระ-

ดำรัส ทรงสมบูรณ์ด้วยเวสารัชธรรม ๔ เป็นอุดมบุรุษ

ทรงละความกลัวและความยินดีได้เด็ดขาด ถึงซึ่งธรรม

อันเกษม องอาจกล้าหาญ พระผู้เลิศโลกทรงปฏิญาณ

ฐานะของผู้เป็นโลกอันประเสริฐ และพุทธภูมิทั้งสิ้น ไม่

มีใครจะทักท้วงได้ในฐานะไหน ๆ เมื่อพระพุทธเจ้าผู้คง

ที่พระองค์นั้น บันลือสีหนาทอันน่ากลัว ย่อมไม่มีเทวดา

และมนุษย์หรือพรหมบันลือตอบได้ พระพุทธเจ้าผู้แกล้ว-

กล้าในบริษัท ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ ช่วยมนุษย์

พร้อมทั้งเทวดาให้ข้ามสงสาร ทรงประกาศพระธรรมจักร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญคุณเป็นอันมาก ของ

พระสาวกผู้ได้รับสมมติดีว่า เลิศกว่าภิกษุผู้มีปฏิภาณ

ทั้งหลาย แล้วทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอคทัคคะ.

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๓๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 504

ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์ชาวเมืองหังสวดี เป็นผู้ได้รับ

สมมติว่าเป็นคนดี รู้แจ้งพระเวททุกคัมภีร์ มีนามว่าวังคีสะ

เป็นที่ไหลออกแห่งนักปราชญ์ เราเข้าไปเฝ้าพระมหา-

วีรเจ้าพระองค์นั้น สดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ได้ปีติ

อันประเสริฐ เป็นผู้ยินดีในคุณของพระสาวก จึงได้

นิมนต์พระสุคตผู้ทำโลกให้เพลิดเพลิน พร้อมด้วยพระ-

สงฆ์ ให้เสวยและฉัน ๗ วันแล้ว นิมนต์ให้ครองผ้า ใน

ครั้งนั้น เราได้หมอบกราบลงแทบพระบาททั้งสองด้วย

เศียรเกล้า ได้โอกาสจึงยืนประนมอัญชลีอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง เป็นผู้ร่าเริงกล่าวสดุดีพระชินเจ้าผู้สูงสุดว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่ไหลออกแห่งนักปราชญ์ ข้า-

พระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็น

ฤาษีสูงสุด ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่

พระองค์ผู้เลิศกว่าโลกทั้งปวง ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่

พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทำความไม่มีภัย ข้าพระองค์

ขอนอบน้อมแด่พระองค์ผู้ทรงย่ำยีมาร ข้าแต่พระองค์ผู้

ทรงทำทิฏฐิให้ไหลออก ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่

พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงประทานสันติสุข ข้าพระ-

องค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์. ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงทำให้

เป็นที่นับถือ ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์.

พระองค์เป็นที่พึ่งของชนทั้งหลาย ผู้ไม่มีที่พึ่ง ทรง

ประทานความไม่มีภัยแก่คนทั้งหลายผู้กลัว เป็นผู้ที่คุ้นเคย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 505

ของคนทั้งหลาย ผู้มีภูมิธรรมสงบระงับ เป็นที่พึ่งที่ระลึก

ของคนทั้งหลาย ผู้แสวงหาที่พึ่งที่ระลึก เราได้ชมเชย

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยคำกล่าวสดุดี มีอาทิอย่างนี้

แล้วได้กล่าวสรรเสริญพระคุณอันยิ่งใหญ่ จึงได้บรรลุคติ

ของภิกษุผู้กล้ากว่านักพูด.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปฏิภาณไม่มีที่สิ้นสุด

ได้ตรัสว่า ผู้ใดเป็นผู้เลื่อมใส นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อม

ด้วยพระสาวก ให้ฉันตลอด ๗ วัน ด้วยมือทั้งสองของ

ตน และได้กล่าวสดุดีคุณของเรา แล้วได้ปรารถนา

ตำแหน่งแห่งภิกษุผู้กล้ากว่านักพูด ในอนาคตกาล ผู้นั้น

จักได้ตำแหน่งนี้สมดังมโนรถความปรารถนา เขาจักได้

เสวยทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติ มีประมาณไม่น้อย.

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ไป พระศาสดามีพระนามว่าโคดม

ซึ่งสมภพในวงศ์แห่งพระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติ

ขึ้น พราหมณ์นี้จักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดา

พระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักเป็นสาวก

ของพระศาสดา มีนามว่า วังคีสะ.

เราได้สดับพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว เป็นผู้มีจิต

เบิกบาน มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระพิชิตมาร

ด้วยปัจจัยทั้งหลาย ในกาลนั้นจนตราบเท่าสิ้นชีวิต เพราะ

กรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละ

ร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 506

ในภพสุดท้ายในบัดนี้ เราเกิดในสกุลปริพาชก เมื่อ

เราเกิดในครั้งหลัง มีอายุได้ ๗ ปีโดยกำเนิด เราได้เป็น

ผู้รู้เวททุกคัมภีร์ แกล้วกล้าในเวทศาสตร์ มีเสียงไพเราะ

มีถ้อยคำวิจิตร ย่ำยีวาทะของผู้อื่นได้. เพราะเราเกิดที่

วังคชนบท และเพราะเราเป็นใหญ่ในถ้อยคำ เราจึงชื่อว่า

วังคีสะ เพราะฉะนั้น ถึงแม่ชื่อของเราจะเป็นเลิศ ก็เป็น

ชื่อตามสมมติตามโลก.

ในเวลาที่เรารู้เดียงสา ตั้งอยู่ในปฐมวัย เราได้พบ

พระสารีบุตรเถระ ในพระนครราชคฤห์อันรื่นรมย์ ท่าน

ถือบาตร สำรวมดี ตาไม่ล่อกแล่ก พูดพอประมาณ แลดู

ชั่วแอก เที่ยวบิณฑบาตอยู่ ครั้นเราเห็นท่านแล้วก็เป็น

ผู้อัศจรรย์ใจ ได้กล่าวบทคาถาอันวิจิตร เป็นหมวดหมู่

เหมือนดอกกรรณิการ์ เหมาะสม ท่านบอกแก่เราว่า

พระสัมพุทธเจ้าผู้นำโลกเป็นศาสดาของท่าน.

ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเถระผู้ฉลาด ผู้เป็นนัก-

ปราชญ์นั้น ได้พูดแก่เราเป็นอย่างดียิ่ง เราอันพระเถระ

ผู้คงที่ ให้ยินดีด้วยปฏิภาณอันวิจิตร เพราะทำถ้อยคำที่

ปฏิสังยุตด้วยวิราคธรรม เห็นได้ยาก สูงสุด จึงซบ

ศีรษะลงแทบเท้าของท่าน แล้วกล่าวว่า ขอได้โปรดให้

กระผมบรรพชาเถิด.

ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก ได้นำเราไป

เฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เราซบเศียรลงแทบพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 507

บาทแล้ว นั่งลงในที่ใกล้พระศาสดา.

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย ได้

ตรัสถามเราว่า ดูก่อนวังคีสะ ท่านรู้ศีรษะของคนที่ตาย

ไปแล้วว่า จะไปสุคติหรือทุคติ ด้วยวิชาพิเศษของท่าน

จริงหรือ ถ้าท่านสามารถก็ขอให้ท่านบอกมาเถิด. เมื่อเรา

ทูลรับแล้ว พระองค์ก็ทรงแสดงศีรษะ ๓ ศีรษะ เราได้

กราบทูลว่า เป็นศีรษะของคนที่เกิดในนรกและเทวดา.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของโลก ได้แสดงศีรษะ

ของพระขีณาสพ.

ลำดับนั้น เราหมดมานะ จึงได้อ้อนวอนขอบรรพชา

ครั้นบรรพชาแล้ว ได้กล่าวสดุดีพระสุคตเจ้าโดยไม่เลือก

สถานที่ ทีนั้นแหละภิกษุทั้งหลายพากันโพนทะนาว่า เรา

เป็นจินตกวี.

ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าผู้นำชั้นวิเศา ได้ตรัสถามเรา

เพื่อทดลองว่า คาถาเหล่านี้ย่อมแจ่มแจ้งโดยควรแก่เหตุ

สำหรับคนทั้งหลายผู้ตรึกตรองแล้วมิใช่หรือ เราทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ข้าพระองค์ไม่ใช่นักกาพย์-

กลอน แต่ว่าคาถาทั้งหลายแจ่มแจ้งโดยควรแก่เหตุ

สำหรับข้าพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

วังคีสะ ถ้าถระนั้นท่านจงกล่าวสดุดีเรา โดยควรแก่เหตุ

ในบัดนี้.

ครั้งนั้น เราได้กล่าวคาถาสดุดีพระธีรเจ้าผู้เป็นพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 508

ฤาษีสูงสุด พระพิชิตมารทรงพอพระทัยในคราวนั้น จึง

ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เราดูหมิ่นภิกษุอื่น ๆ

ก็เพราะปฏิภาณอันวิจิตร เรามีศีลเป็นที่รัก จึงเกิดความ

สลดใจ เพราะเหตุนั้น จึงได้บรรลุพระอรหัต.

พระผู้มีพระเจ้าภาคได้ตรัสว่า ไม่มีใครอื่นที่จะเลิศ

กว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ เหมือนดังวังคีสะภิกษุนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงทรงจำไว้อย่างนี้.

กรรมที่เราได้ทำไว้ในกัปที่แสน ได้แสดงผลแก่เรา

ในอัตภาพนี้ เราหลุดพ้นจากกิเลส เหมือนลูกศรพ้นจาก

แล่งฉะนั้น เราเผากิเลสของเราได้แล้ว กิเลสทั้งหลาย

เราเผาเสียแล้ว ภพทั้งปวงเราถอนได้แล้ว เราตัดเครื่อง

ผูกเหมือนช้างทำลายปลอก ไม่มีอาสวะอยู่. เราเป็นผู้

มาดีแล้ว ในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ วิชชา ๓

เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้

ทำเสร็จแล้ว. คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘

และอภิญญา ๖ เราได้ทำหำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระ-

พุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.

ก็พระเถระครั้นเป็นพระอรหันต์แล้ว เมื่อจะไปเฝ้าพระบรมศาสดา

ได้สรรเสริญ (คุณ) พระศาสดาด้วยบทหลายร้อย เปรียบเทียบกับสิ่งนั้น ๆ

ตั้งแต่ตาเห็นได้ไป คือเปรียบด้วยพระจันทร์, พระอาทิตย์, อากาศ,

มหาสมุทร, ขุนเขาสิเนรุ, พระยาสีหราช และพระยาช้าง แล้วจึงเข้าไป

เฝ้า ด้วยเหตุนั้น พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางสงฆ์ จึงทรงสถาปนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 509

ท่านไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ. ครั้งนั้น พระสังคีติ-

กาจารย์ ได้รวบรวมคาถานี้ที่พระเถระอาศัยความคิดนั้น ๆ กล่าวไว้ใน

กาลก่อนและภายหลัง แต่การบรรลุพระอรหัต และที่พระอานันทเถระ

เป็นต้นกล่าวไว้เฉพาะพระเถระ แล้วยกขึ้นสังคายนา ความว่า

ความตรึกทั้งหลายกับความคะนองอย่างเลวทรามเหล่านี้

ได้ครอบงำเราผู้ออกบวชเป็นบรรพชิต เหมือนกับบุตร

ของคนผู้ยิ่งใหญ่ เป็นนักแม่นธนูมาก ทั้งได้ศึกษาวิชา

ธนูศิลป์มาอย่างเชี่ยวชาญ ตั้งพันคนยิงลูกธนูมารอบตัว

ให้ศัตรูหนีไปไม่ได้ฉะนั้น. ถึงแม้พวกหญิงจักมามากยิ่ง

กว่านี้ ก็จักทำการเบียดเบียนเราไม่ได้ เพราะเราได้ตั้ง

อยู่ในธรรมเสียแล้ว. ด้วยว่าเราได้สดับทางอันเป็นที่ให้

ถึงนิพพานของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์

อย่างชัดแจ้ง ใจของเราก็ยินดีในทางนั้น. ดูก่อนมารผู้

ชั่วร้าย ถ้าท่านยังเข้ามารุกรานเราผู้เป็นอยู่อย่างนี้ ท่านก็

จะไม่ได้เห็นทางของเรา ตามที่เรากระทำไม่ให้ท่านเห็น.

ภิกษุควรละความไม่ยินดี ความยินดีและความตรึก

อันเกี่ยวกับบุตรและภรรยาเสียทั้งหมด ไม่ควรทำตัณหา

ดังป่าชัฏในที่ไหน ๆ อีก เพราะผู้นั้นไม่มีตัณหาเพียงดัง

ป่าชัฏ จึงชื่อว่าเป็นภิกษุ. รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาศัย

แผ่นดินก็ดี อากาศก็ดี อยู่ใต้แผ่นดินก็ดี ทั้งหมดล้วน

ไม่เที่ยง ย่อมคร่ำคร่าไป ผู้แทงตลอดอย่างนี้แล้วย่อม

เที่ยวไป เพราะเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว. ปุถุชนทั้งหลายหมก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 510

มุ่นพัวพันอยู่ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง กลิ่นที่มา

กระทบ และอารมณ์ที่ได้ทราบ, ภิกษุควรเป็นผู้ไม่หวั่น-

ไหว กำจัดความพอใจในเบญจกามคุณเหล่านี้เสีย เพราะ

ผู้ใดไม่ติดอยู่ในเบญจกามคุณเหล่านี้ บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวผู้นั้นว่าเป็นมุนี. ที่นั้น มิจฉาทิฏฐิซึ่งอิงอาศัยทิฏฐิ

๖๐ ประการ เป็นไปกับด้วยความตรึกอันไม่เป็นธรรม จึง

ตั้งมั่นลงในความเป็นปุถุชน. ในกาลไหน ๆ ผู้ใดไม่เป็น

ไปตามอำนาจของกิเลส ทั้งไม่กล่าวถ้อยคำหยาบคาย

ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมุนี. ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีจิตมั่นคงตลอด

กาลนาน ไม่ลวงโลก มีปัญญารักษาตน ไม่มีความ

ทะเยอทะยานเป็นมุนี ได้บรรลุสันติบทแล้ว หวังคอย

เวลาเฉพาะปรินิพพานเท่านั้น.

ดูก่อนท่านผู้สาวกของพระโคดม ท่านจงละทิ้งความ

เย่อหยิ่งเสีย จงละทิ้งทางแห่งความเย่อหยิ่งให้หมดด้วย

เพราะผู้หมกมุ่นอยู่ในทางแห่งความเย่อหยิ่ง จะต้อง

เดือดร้อนอยู่ตลอดกาลนาน. หมู่สัตว์ผู้มีความลบหลู่คุณ

ท่าน ถูกมานะกำจัดแล้ว ย่อมตกนรก. หมู่ชนถูกความ

ทะนงตัวกำจัดแล้ว พากันตกนรก ย่อมเศร้าโศกตลอด

กาลนาน. ในกาลบางครั้ง ภิกษุผู้ปฏิบัติชอบแล้ว ชนะ

กิเลสด้วยมรรค ย่อมไม่เศร้าโศก ลับจะได้เกียรติคุณ

และความสุข บัณฑิตทั้งหลายเรียกภิกษุผู้ประพฤติชอบ

อย่างนั้นว่า เป็นผู้เห็นธรรม. เพราะเหตุนั้น ภิกษุใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 511

ศาสนานี้ ไม่ควรมีกิเลสเครื่องตรึงใจ ควรมีแต่ความ

เพียรชอบ ละนิวรณ์แล้วเป็นผู้บริสุทธิ์ และละมานะ

โดยไม่เหลือแล้ว เป็นผู้สงบระงับ บรรลุถึงที่สุดแห่ง

วิชชาได้.

ข้าพเจ้าเร่าร้อนเพราะกามราคะ และจิตใจของข้าพเจ้า

ก็เร่าร้อนเพราะกามราคะเหมือนกัน ดูก่อนท่านผู้สาวก

พระโคดม ขอพระคุณจงกรุณาบอกธรรมเครื่องดับความ

เร่าร้อนด้วยเถิด.

จิตของท่านเร่าร้อนก็เพราะความสำคัญผิด เพราะ-

ฉะนั้น ท่านจงละสุภนิมิตอันประกอบด้วยราคะเสีย ท่าน

จงอบรมจิตให้มีอารมณ์เป็นอันเดียว ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว ด้วย

การพิจารณาสิ่งทั้งปวงว่าไม่สวยงาม จงอบรมกายคตาสติ

จงเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย ท่านจงเจริญอนิ-

มิตตานุปัสสนา (คืออนิจจานุปัสสนา) จงตัดอนุสัยคือ

มานะเสีย แต่นั้นท่านจักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป เพราะ

ละมานะได้.

บุคคลควรพูดแต่วาจาที่ไม่ทำตนให้เดือดร้อน อนึ่ง

วาจาใดไม่เบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแลเป็นวาจาสุภาษิต

บุคคลควรพูดแต่วาจาที่น่ารัก ทั้งเป็นวาจาที่ทำให้ร่าเริงได้

ไม่พึงยึดถือวาจาที่ชั่วช้าของคนอื่น พึงกล่าวแต่วาจาอัน

เป็นที่รัก. คำสัตย์แลเป็นวาจาที่ไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของ

เก่า สัตบุรุษทั้งหลายตั้งอยู่แล้วในคำสัตย์ ทั้งที่เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 512

อรรถเป็นธรรม. พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด เป็น

พระวาจาปลอดภัย เป็นไปเพื่อบรรลุนิพพาน และเพื่อทำ

ที่สุดทุกข์ พระวาจานั้นแลเป็นพระวาจาสูงสุดกว่าวาจา

ทั้งปวง.

ท่านพระสารีบุตรมีปัญญาลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์

ฉลาดในทางและมิใช่ทาง มีปัญญามาก แสดงธรรมแก่

ภิกษุทั้งหลาย ย่อบ้าง พิสดารบ้าง เสียงของท่านผู้กำลัง

แสดงธรรมอยู่ ไพเราะเหมือนกับเสียงนกสาริกา เปล่ง

ขึ้นได้ชัดเจน รวดเร็ว เหมือนกับคลื่นในมหาสมุทร เมื่อ

ท่านแสดงธรรมอยู่ด้วยเสียงอันน่ายินดี น่าสดับฟัง

ไพเราะจับใจ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังคำไพเราะ ก็มีใจร่าเริง

เบิกบาน พากันตั้งใจฟัง.

ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำวันนี้ เป็นวันปวารณาวิสุทธิ์ ภิกษุ

ประมาณ ๕๐๐ รูปมาประชุมกัน ล้วนแต่เป็นผู้ตัดเครื่อง

เกาะเกี่ยวผูกพันเสียได้สิ้น ไม่มีความทุกข์ สิ้นภพ สิ้น

ชาติแล้ว เป็นผู้แสวงหาคุณธรรมอันประเสริฐทั้งนั้น

พระเจ้าจักรพรรดิมีหมู่อำมาตย์ห้อมล้อม เสด็จเลียบ

แผ่นดินอันไพศาลนี้ มีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ไปรอบ ๆ

ได้ฉันใด พระสาวกทั้งหลาย ผู้มีวิชชา ๓ ละมัจจุราช

ได้แล้ว พากันเข้ารูปห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ชนะ

สงครามแล้ว เป็นพระผู้นำชั้นเยี่ยมฉันนั้น พระสาวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 513

ทั้งมวลล้วนแต่เป็นพระชิโนรส ก็ในพระสาวกเหล่านี้

ไม่มีความว่างเปล่าจากคุณธรรมเลย ข้าพระองค์ขอถวาย

บังคมพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ผู้ทรง

ประหารลูกศรคือตัณหาได้แล้ว.

ภิกษุนากกว่าพัน ได้เข้ารูปเฝ้าพระสุคตเจ้าผู้กำลัง

ทรงแสดงธรรมอันปราศจากธุลี คือพระนิพพาน อันไม่

มีภัยแต่ที่ไหน ๆ ภิกษุทั้งหลายพากันตั้งใจฟังธรรมอัน

ไม่มีมลทิน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าอันหมู่ภิกษุห้อมล้อม เป็นสง่างามแท้

หนอ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า นาคะผู้

ประเสริฐ ทรงเป็นพระฤาษีผู้สูงสุดกว่าฤาษีทั้งหลาย ทรง

โปรยฝนคืออมฤตธรรมใดพระสาวกทั้งหลายคล้ายกับฝน

ห่าใหญ่ฉะนั้น. ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระวังคีสะผู้สาวก

ของพระองค์ ออกจากที่พักกลางวันมาถวายบังคมพระ-

ยุคลบาทอยู่ ด้วยประสงค์จะเข้าเฝ้าพระองค์.

พระศาสดาตรัสว่า

พระวังคีสะครอบงำทางแห่งกิเลสมารได้แล้ว ทั้ง

ทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจดีแล้ว จึงเที่ยวไปอยู่ เธอ

ทั้งหลายจงดูพระวังคีสะผู้ปลดเปลื้องเครื่องผูกได้แล้ว ผู้

อันตัณหามานะและทิฏฐิ ไม่อิงแอบแล้ว ทั้งจำแนกธรรม

เป็นส่วน ๆ ได้ด้วยนั้น เป็นตัวอย่างเถิด. อันที่จริง พระ-

วังคีสะ ได้บอกทางไว้หลายประการ เพื่อให้ข้ามห้วงน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 514

คือกามเป็นต้น ก็ในเมื่อพระวังคีสะได้บอกทางอันไม่ตาย

นั้นไว้ให้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้ได้ฟังแล้ว ก็ควรเป็นผู้ตั้ง

อยู่ในความเป็นผู้เห็นธรรม ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนใน

ธรรม พระวังคีสะเป็นผู้ทำแสงสว่างให้เกิดขึ้น แทง

ตลอดแล้วซึ่งธรรมฐิติทั้งปวง แสดงธรรมอันเลิศตาม

กาลเวลาได้อย่างฉับพลัน เพราะรู้มาเองและเพราะทำให้

แจ้งมาเอง เมื่อพระวังคีสะแสดงธรรมด้วยดีแล้วอย่างนี้

จะประมาทอะไรต่อธรรมของท่านผู้รู้แจ้งเล่า เพราะเหตุ

นั้นแหละ ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจศึกษาไตรสิกขา ใน

กาลทุกเมื่อเถิด.

พระวังคีสะกล่าวชมพระอัญญาโกณฑัญญะว่า

พระอัญญาโกณฑัญญเถระ เป็นผู้ตรัสรู้ตามพระ-

พุทธเจ้า มีความเพียรอย่างแรงกล้า ได้วิเวกอันเป็น

ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขเป็นนิตย์ สิ่งใดที่พระสาวกผู้กระทำ

ตามคำสอนของพระศาสดาจะพึงบรรลุ สิ่งนั้นทั้งหมดท่าน

พระอัญญาโกณฑัญญูเถระ ไม่ประมาทศึกษาอยู่ ก็บรรลุ

ตามได้แล้ว ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระมีอานุภาพ

มาก มีวิชชา ๓ ฉลาดในการรู้จิตของผู้อื่น เป็นทายาท

ของพระพุทธเจ้า ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระบรม-

ศาสดาอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 515

พระวังคีสะกล่าวชมพระพุทธเจ้าและพระสาวกเป็นต้นว่า

เชิญท่านดูพระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมปราชญ์ เสด็จถึงฝั่ง

แห่งความทุกข์ กำลังประทับอยู่เหนือยอดเขากาลสิลา

แห่งอิสิคิลิบรรพต มีหมู่สาวกผู้มีวิชชา ๓ ละมัจจุราชได้

แล้วนั่งเฝ้าอยู่ พระมหาโมคคัลลานะผู้เรื่องฤทธิ์ตาม

พิจารณาดูจิตของภิกษุผู้มหาขีณาสพเหล่านั้นอยู่ ท่านก็

กำหนดได้ว่าเป็นดวงจิตที่หลุดพ้นแล้วไม่มีอุปธิ ด้วยใจ

ของท่าน ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุทั้งหลายจึงได้พากัน

ห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม ผู้ทรง

สมบูรณ์ด้วยพระคุณธรรมทุกอย่าง ทรงเป็นจอมปราชญ์

เสด็จถึงฝั่งแห่งทุกข์ ทรงเต็มเปี่ยมด้วยพระอาการกิริยา

เป็นอันมาก.

ข้าแต่พระมหามุนีอังคีรส พระองค์ไพโรจน์ล่วงโลกนี้

กับทั้งเทวโลกทั้งปวง ด้วยพระยศ เหมือนกับพระจันทร์

และพระอาทิตย์ที่ปราศจากมลทิน สว่างจ้าอยู่บนท้องฟ้า

อันปราศจากเมฆหมอกฉะนั้น.

เมื่อก่อน ข้าพระองค์รู้กาพย์กลอน เที่ยวไปบ้านโน้น

เมืองนี้ แต่เดี๋ยวนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า

ผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง พระองค์ผู้เป็นพระมหามุนี ทรง

ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ได้ทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ๆ ได้

ฟังธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ข้าพระองค์ได้ฟัง

พระดำรัสของพระองค์แล้ว จึงรู้แจ้งขันธ์ อายตนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 516

และธาตุได้แจ่มแจ้ง ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต พระ-

ตถาคตเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นมา เพื่อประโยชน์แก่

สตรีและบุรุษเป็นอันมากผู้กระทำตามคำสอนของพระองค์

พระองค์ผู้เป็นมุนี ได้บรรลุพระโพธิญาณเพื่อประโยชน์

แก่ภิกษุและภิกษุณีเป็นอันมากหนอ ผู้ได้บรรลุสัมมัต-

นิยาม พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ มี

จักษุทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความ

ดับทุกข์ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อันให้ถึง

ความสงบระงับทุกข์ เพื่อทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย

อริยสัจธรรมเหล่านี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้วอย่างไร

ข้าพระองค์ก็เห็นแล้วเหมือนอย่างนั้น ข้าพระองค์บรรลุ

ประโยชน์ของตนแล้ว กระทำตามคำสอนของพระพุทธ-

เจ้าเสร็จแล้ว การที่ข้าพระองค์ได้มาในสำนักของพระองค์

เป็นการมาดีของข้าพระองค์หนอ เพราะข้าพระองค์ได้

เข้าถึงธรรมอันประเสริฐในบรรดาธรรมที่พระองค์ทรงจำ-

แนกไว้ดีแล้ว ข้าพระองค์ได้บรรลุถึงความสูงสุดแห่ง

อภิญญาแล้ว มีโสตธาตุอันหมดจด มีวิชชา ๓ ถึง

ความเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ เป็นผู้ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของ

คนอื่น.

ข้าพระองค์ขอทูลถามพระศาสดา ผู้มีพระปัญญาอัน

ไม่ทรามว่า ภิกษุรูปใดมีจิตไม่ถูกมานะทำให้เร่าร้อน เป็น

ผู้เรื่องยศ ตรัสความสงสัยในธรรมที่ตนเห็นได้แล้ว ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 517

มรณภาพลง ณ อัคคาฬววิหาร ข้าแต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ภิกษุรูปนั้น เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด มีนาม

ตามที่พระองค์ทรงตั้งให้ว่า พระนิโครธกัปปเถระ ผู้มุ่ง

ความหลุดพ้น ปรารภความเพียร เห็นธรรมอันมั่นคง

ได้ถวายบังคมพระองค์แล้ว. ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยะ

ทรงมีพระจักษุรอบคอบ แม้ข้าพระองค์ทั้งปวงปรารถนา

จะทราบพระสาวกองค์นั้น โสตของข้าพระองค์ทั้งหลาย

เตรียมพร้อมที่จะฟังพระดำรัสตอบ พระองค์เป็นพระ-

ศาสดาของข้าพระองค์ทั้งหลาย พระองค์ทรงเป็นผู้ยอด

เยี่ยม. ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญากว้างขวาง ขอ

พระองค์ทรงตัดความเคลือบแคลงสงสัยของข้าพระองค์

ทั้งหลายเถิด และขอได้โปรดตรัสบอกพระนิโครธกัปป-

เถระ ผู้ปรินิพพานแล้วนั้นแก่ข้าพระองค์ด้วย ข้าแต่

พระองค์ผู้มีจักษุรอบคอบ ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอก

ในท่ามกลางแห่งข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด เหมือนท้าว

สักกเทวราชผู้มีพระเนตรตั้งพันดวง ตรัสบอกแก่เทวดา

ทั้งหลายฉะนั้น กิเลสเครื่องร้อยรัดชนิดใดชนิดหนึ่งใน

โลกนี้ ซึ่งเป็นทางก่อให้เกิดความหลงลืม เป็นฝ่ายแห่ง

ความไม่รู้ เป็นมูลฐานแห่งความเคลือบแคลงสงสัย

กิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่านั้น พอมาถึงพระตถาคตเจ้าก็

พินาศไป พระตถาคตเจ้าผู้มีพระจักษุนี้อันยิ่งกว่านรชน

ทั้งหลาย ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะเป็นบุรุษชนิดที่ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 518

ถือเอาแต่เพียงพระกำเนิดมาเท่านั้นไซร้ ก็จะไม่พึงทรง

ประหารกิเลสทั้งหลายได้ คล้ายกับลมที่รำเพยพัดมาครั้ง

เดียว ไม่อาจทำลายกลุ่มเมฆหมอกที่หนาได้ฉะนั้น โลก

ทั้งปวงที่มืดอยู่แล้วก็จะยิ่งมืดหนักลง ถึงจะมีแสงสว่าง

มาบ้างก็ไม่สุกใสได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเป็นผู้กระทำ

แสงสว่างให้เกิดขึ้น ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระปรีชา เหตุ

นั้น ข้าพระองค์จึงขอเข้าถึงพระองค์ผู้ที่ข้าพระองค์เข้าใจ

ว่า ทรงทำ แสงสว่างให้เกิดขึ้นได้เองเช่นนั้น ผู้เห็นแจ้ง

ทรงรอบรู้สรรพธรรมตามความเป็นจริงได้ ขอเชิญพระ-

องค์โปรดทรงประกาศพระนิโครธกัปปเถระ ผู้อุปัชฌายะ

ของข้าพระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้ว ให้ปรากฏในบริษัท

ด้วยเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงเปล่งพระดำรัส

ก็ทรงเปล่งด้วยพระกระแสเสียงกังวานที่เกิดแต่นาสิก ซึ่ง

นับเข้าในมหาปุริสลักษณะประการหนึ่ง อันพระบุญญา-

ธิการแต่งมาดี ทั้งเปล่งได้รวดเร็ว และแผ่วเบาเป็น

ระเบียบ เหมือนกับพญาหงส์ทองท่องเที่ยวหาเหยื่อ พบ

ราวไพรใกล้สระน้ำ ก็ชูคอป้องปีกทั้งสองขึ้น ส่งเสียง

ร้องค่อย ๆ ด้วยจะงอยปากอันแดงฉะนั้น. ข้าพระองค์

ทั้งหมดตั้งใจตรง กำลังจะฟังพระดำรัสของพระองค์อยู่

ข้าพระองค์จักเผยการเกิดและการตายที่ข้าพระองค์ละมา

ได้หมดสิ้นแล้ว จักแสดงบาปธรรมทั้งหมดที่เป็นเครื่อง

กำจัด เพราะผู้กระทำตามความพอใจของตน ๓ จำพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 519

มีปุถุชนเป็นต้น ไม่อาจรู้ธรรมที่ตนปรารถนาหรือแสดง

ได้ ส่วนผู้กระทำตามความไตร่ตรอง พิจารณาตามเหตุ

ผลของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย สามารถจะรู้ธรรมที่ตน

ปรารถนาทั้งแสดงได้ พระดำรัสของพระองค์นี้เป็นไวยา-

กรณ์อันสมบูรณ์ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วด้วยพระปัญญาที่

ตรง ๆ โดยไม่มีการเสียดสีใครเลย การถวายบังคม

ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย อันข้าพระองค์ถวายบังคมดีแล้ว

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาไม่ทราม พระองค์ทรงทราบ

แล้วจะทรงหลงลืมไปก็หามิได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีวิริยะ

อันไม่ต่ำทราม พระองค์ตรัสรู้อริยธรรมอันประเสริฐกว่า

โลกิยธรรมแล้ว ก็ทรงทราบไญยธรรมทุกอย่างได้อย่าง

ไม่ผิดพลาด ข้าพระองค์หวังเป็นอย่างยิ่งซึ่งพระดำรัสของ

พระองค์ เหมือนกับคนที่มีร่างกายอันชุ่มเหงื่อคราวหน้า

ร้อน ย่อมปรารถนาน้ำเย็นฉะนั้น ขอพระองค์ทรงยังฝน

คือพระธรรมเทศนาที่ข้าพระองค์เคยฟังมาแล้วให้ตกลงมา

เถิด พระเจ้าข้า ท่านพระนิโครธกัปปะ ได้ประพฤติพรหม-

จรรย์เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ของท่านนั้นเป็นประ-

โยชน์ไม่เปล่าแลหรือ ท่านนิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพ-

พานแล้วหรือ ท่านเป็นพระเสขะยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่

หรือว่าท่านเป็นพระอเสขะผู้หลุดพ้นแล้ว ข้าพระองค์ขอ

ฟังพระดำรัสที่ข้าพระองค์มุ่งหวังนั้น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 520

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า

พระนิโครธกัปปะได้ตัดขาดความทะเยอทะยานอยาก

ในนามและรูปนี้ กับทั้งกระแสแห่งตัณหาอันนอนเนื่อง

อยู่ในสันดานมาช้านานแล้ว ข้ามพ้นชาติและมรณะได้

หมดสิ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐสุดด้วยพระ-

จักษุ ๕ ได้ตรัสพระดำรัสเพียงเท่านี้.

พระวังคีสะกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระฤาษีองค์ที่ ๗ ข้าพระองค์นี้

ได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้วก็เสื่อมใส ทราบว่า

คำถามที่ข้าพระองค์ทูลถามแล้วไม่ไร้ประโยชน์ พระองค์

ไม่หลอกลวงข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระ-

พุทธเจ้า มีปกติกล่าวอย่างใดทำอย่างนั้น ได้ตัดข่ายคือ

ตัณหาอันสร้างขวาง มั่นคง ของพระยามัจจุราชผู้มากเล่ห์

ได้เด็ดขาด ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระนิโครธ-

กัปปเถระกัปปายนโคตร ได้เห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน

ข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยากได้แล้วหนอ ข้าแต่พระองค์

ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ขอนมัสการท่าน

พระนิโครธกัปปเถระ ผู้เป็นวิสุทธิเทพผู้ล่วงเสียซึ่งเทพดา

ผู้เป็นอนุชาตบุตรของพระองค์ ผู้มีความเพียรมาก ผู้

ประเสริฐสุด ทั้งเป็นโอรสของพระองค์ผู้ประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น คาถา ๕ คาถา มีอาทิว่า เราเป็นผู้ออกบวช

แล้ว ดังนี้ ท่านพระวังคีสะยังเป็นผู้ใหม่ บวชยังไม่นาน เห็นพวกหญิง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 521

มากหลายผู้ไปวิหารตกแต่งร่างกายสวยงามก็เกิดความกำหนัด เมื่อจะ

บรรเทาความกำหนัดที่เกิดขึ้นนั้น จึงได้กล่าวไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺขนฺต วต ม สนฺต อคารสฺมานคาริย

ความว่า เราผู้ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนอยู่.

บทว่า วิตกฺกา ได้แก่ วิตกอันลามกมีกามวิตกเป็นต้น.

บทว่า อุปธาวนฺติ ความว่า ย่อมเข้าถึงจิตของเรา.

บทว่า ปคพฺภา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความคะนอง คือทำวาง

อำนาจ. ชื่อว่าผู้หมดความอาย เพราะไม่บริหารอย่างนี้ว่า ผู้นี้ออกจาก

เรือนบวช ไม่ควรตามกำจัดผู้นี้.

บทว่า กณฺหโต แปลว่า โดยความดำ อธิบายว่า โดยความลามก.

ความที่บุตรของคนสูงศักดิ์เหล่านั้นประจักษ์แก่ตน พระเถระจึง

กล่าวว่า อิเม แปลว่า เหล่านี้.

พวกมนุษย์ผู้เลี้ยงชีวิตไม่บริสุทธิ์ มีสมัครพรรคพวกมาก ท่าน

เรียกว่า อุคคะ เพราะเป็นผู้มีกิจยิ่งใหญ่. บุตรทั้งหลายของอุคคชน

เหล่านั้น ชื่อว่าอุคคบุตร.

บทว่า มหิสฺสาสา แปลว่า ผู้มีลูกธนูมาก.

บทว่า สิกฺขิตา ได้แก่ ผู้เรียนศิลปะในตระกูลของอาจารย์ถึง ๑๒ ปี

บทว่า ทฬฺหธมฺมิโน ได้แก่ เป็นผู้มีธนูแข็ง. เรี่ยวแรง ๒,๐๐๐ แรง

ท่านเรียกทัฬธนู ธนูแข็ง. ก็เครื่องผูกสายธนูที่ต้นสาย ใช้หัวโลหะ

เป็นต้นหนัก คนที่จับด้ามแล้วยกขึ้นพ้นจากแผ่นดินชั่วประมาณหนึ่งลูกศร

ชื่อว่าทวิสสหัสสถามะ เรี่ยวแรงยก ๒,๐๐๐ แรง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 522

บทว่า สมนฺตา ปริกิเรยฺยุ ได้แก่ ปล่อยลูกศรไปรอบด้าน. หาก

จะมีคำถามว่า มีลูกศรเท่าไร ตอบว่า ลูกศรพันหนึ่งทำให้ศัตรูหนีไม่ทัน

อธิบายว่า ลูกศรหนึ่งพันไม่ทรงหน้าคนอื่นในสนามรบ.

บุตรของคนผู้ยิ่งใหญ่ประมาณ ๑,๐๐๐ ได้ศึกษามาเชี่ยวชาญ เป็น

ผู้ยิ่งใหญ่มีธนูแข็งผู้แม่นธนู แม้ในกาลไหน ๆ ก็ไม่พ่ายแพ้ในการรบ

เป็นผู้ไม่ประมาท ยืนพิงเสารอบด้าน แม้ถ้าจะพึงยิงสาดลูกศรไปไซร้

แม้นักแม่นธนูพันคนแม้ผู้เช่นนั้น ยิงลูกศรมารอบด้าน คนที่ศึกษามาดี

แล้ว จับคันศร ทำลูกศรทั้งหมดไม่ให้ตกลงในร่างกายของตน ให้ตกลง

แทบเท้า. บรรดานักแม่นธนูเหล่านั้น นักแม่นธนูแม้คนหนึ่ง ชื่อว่ายิง

ลูกศร ๒ ลูกไปรวมกัน ย่อมไม่มี, แต่หญิงทั้งหลายยิงลูกศรคราวละ ๕ ลูก

ด้วยอำนาจรูปารมณ์เป็นต้น, เมื่อยิงไปอย่างนั้น.

บทว่า เอตฺตกา ภิยฺโย ความว่า หญิงเป็นอันมากแม้ยิ่งกว่าหญิง

เหล่านี้ ย่อมขจัดโดยภาวะที่ร่าเริงด้วยกิริยาอาการแห่งหญิงเป็นต้นของตน.

บทว่า สกฺขี หิ เม สุต เอต ความว่า เรื่องนี้เราได้ยินได้ฟังมา

ต่อหน้า.

บทว่า นิพฺพานคมน มคฺค ท่านกล่าวด้วยอำนาจลิงควิปลาส,

อธิบายว่า ทางเป็นเครื่องดำเนินไปสู่พระนิพพาน. ท่านกล่าวหมายเอา

วิปัสสนา.

บทว่า ตตฺถ เม นิรโต มโน ความว่า จิตของเรายินดีแล้ว ใน

วิปัสสนามรรคนั้น.

บทว่า เอวญฺเจ ม วิหรนฺต ได้แก่ เราผู้อยู่อย่างนี้ ด้วยการเจริญ

ฌานมีอนิจจลักษณะ และอสุภเป็นอารมณ์ และด้วยการเจริญวิปัสสนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 523

พระเถระเรียกกิเลสมารว่า ปาปิมะ ผู้ลามก.

บทว่า ตถา มจฺจุ กริสฺสามิ น เม มคฺคมฺปิ ทกฺขสิ มีวาจา

ประกอบความว่า เราจักกระทำมัจจุ คือที่สุด โดยประการที่ท่านไม่เห็น

แม้แต่ทางที่เราทำไว้.

คาถา ๕ คาถา มีอาทิว่า อรติญฺจ ดังนี้ พระเถระเมื่อบรรเทา

ความไม่ยินดีเป็นต้น ที่เกิดขึ้นในสันดานของตน ได้กล่าวไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรตึ ได้แก่ ผู้กระสันในธรรม คือ

อธิกุศล และในเสนาสนะอันสงัด.

บทว่า รตึ ได้แก่ ความยินดีในกามคุณ ๕.

บทว่า ปหาย แปลว่า ละแล้ว.

บทว่า สพฺพโส เคหสิตญฺจ วิตกฺก ความว่า ละได้โดยสิ้นเชิง

ซึ่งมิจฉาวิตก อันอาศัยเรือน คือที่ปฏิสังยุตด้วยบุตรและทาระ และความ

ตริถึงญาติเป็นต้น.

บทว่า วนถ น กเรยฺย กุหิญฺจิ ความว่า ไม่พึงทำความอยากใน

วัตถุทั้งปวง ทั้งประเภทที่เป็นไปในภายในและภายนอก.

บทว่า นิพฺพนโถ อวนโถ ส ภิกฺขุ ความว่า ก็บุคคลใดไม่มีความ

อยากโดยประการทั้งปวง เพราะความเป็นผู้ไม่มีความอยากนั้นนั่นแหละ

ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีกิเลส เพราะไม่มีความเพลิดเพลินในอารมณ์ไหน ๆ

บุคคลชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะเห็นโดยชอบซึ่งภัยในสงสาร และเพราะ

ทำลายกิเลสได้แล้ว.

บทว่า ยมิธ ปวิญฺจ เวหาส รูปคต ชคโตคธ กิญฺจิ ความว่า

รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ที่อยู่บนแผ่นดิน คือที่อาศัยแผ่นดิน ที่อยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 524

ในอากาศ คือที่ตั้งในอากาศ ได้แก่ที่อาศัยเทวโลก มีสภาวะผู้พัง ซึ่ง

อยู่ในแผ่นดิน คือมีอยู่ในโลก อันนับเนื่องในภพทั้ง ๓ อันปัจจัย

ปรุงแต่ง.

บทว่า ปริชียติ สพฺพมนิจฺจ ความว่า รูปทั้งหมดนั้นถูกชราครอบ-

งำ แต่นั้นแหละเป็นของไม่เที่ยง แต่นั้นแล เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

พระเถระกล่าวถึงการยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ ด้วยประการฉะนี้. บางอาจารย์

กล่าวว่า นี้เป็นวิปัสสนาของพระเถระ.

บทว่า เอว สเมจฺจ จรนฺติ. มุตตฺตา ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย

ตรัสรู้ คือตรัสรู้เฉพาะอย่างนี้ ได้แก่ด้วยมรรคปัญญาอันประกอบด้วย

วิปัสสนา มีตนอันหลุดพ้นแล้ว คือมีอัตภาพอันกำหนดรู้แล้ว เที่ยวไป

คืออยู่.

บทว่า อุปธีสุ ได้แก่ ในอุปธิคือขันธ์ทั้งหลาย.

บทว่า ชนา ได้แก่ ปุถุชนผู้บอด.

บทว่า คธิตาเส ได้แก่ มีจิตปฏิพัทธ์. ก็ในที่นี้ พระเถระเมื่อจะ

แสดงโดยพิเศษว่า พึงนำออกไปซึ่งความพอใจในอุปธิคือกามคุณ จึง

กล่าวว่า ในรูปที่ได้เห็น และเสียงที่ได้ยิน และในสิ่งที่มากระทบ

และในอารมณ์ที่ได้ทราบ.

บทว่า ทิฏฺสุเต ได้แก่ ในรูปที่เห็น และเสียงที่ได้ฟัง อธิบายว่า

รูปและเสียง.

บทว่า ปฏิเฆ ได้แก่ ในสิ่งที่กระทบ คือในโผฏฐัพพะ.

บทว่า มุเต ได้แก่ ในอารมณ์ที่ได้ทราบ ที่เหลือจากอารมณ์ที่

กล่าวแล้ว อธิบายว่า ในกลิ่นและรสทั้งหลาย. ในสารัตถปกาสินี ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 525

กล่าวว่า ถือเอากลิ่นและรสด้วยบทว่า ปฏิฆะ ถือเอาโผฏฐัพพารมณ์ด้วย

บทว่า มุตะ.

บทว่า เอตฺถ วิโนทย ฉนฺทมเนโช ความว่า ท่านจงบรรเทา

กามฉันทะในเบญจกามคุณอันมีรูปที่เห็นเป็นต้นเป็นประเภทนี้ เมื่อเป็น

อย่างนั้น ท่านจะเป็นผู้ไม่หวั่นไหว คือไม่กำหนดในอารมณ์ทั้งปวง.

บทว่า โย เหตฺถ น ลิมฺปติ มุนิ ตมาหุ ความว่า ก็บุคคลใดย่อม

ไม่ฉาบทาด้วยเครื่องฉาบทาคือตัณหาในกามคุณนี้ บัณฑิตทั้งหลายย่อม

เรียกบุคคลนั้นว่า มุนี เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ในโมไนยธรรม ธรรมของมุนี.

ด้วยการอธิบายว่า พระบาลีว่า อถ สฏฺิสิตา ถ้าว่าอาศัยทิฏฐิ ๖๐ ดังนี้

อาจารย์บางพวกจึงกล่าวความหมายว่า อาศัยธรรมารมณ์ ๖๐ ประการ.

ก็พระบาลีมีว่า เป็นไปกับด้วยวิตกอันอาศัยทิฏฐิ ๖๘ ประการ, จริงอยู่

อารมณ์มีประมาณน้อย คือหย่อนหรือเกินไป ย่อมไม่นับเอาแล.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า อฏฺสฏฺิสิตา ความว่า มิจฉา-

วิตกอันอาศัยทิฏฐิ ๖๒ ประการ และบุคคลผู้เป็นไปในคติแห่งทิฏฐิ เป็น

ผู้เชื่อลัทธิว่าไม่มีสัตตาวาสภูมิเป็นที่อยู่ของสัตว์ ๗ ชั้น เพราะเหตุนั้น

จึงเว้นอธิจจสมุปปันนวาทะว่า เกิดผุดขึ้นโดยไม่มีเหตุ แล้วจึงกล่าวด้วย

อำนาจวาทะนอกนี้ว่า ถ้าว่าอธรรมทั้งหลายเป็นไปกับด้วยวิตก อาศัย

ทิฏฐิ ๖๐ ประการดังนี้. เพื่อจะแสดงว่า เหมือนอย่างว่าที่เรียกว่าภิกษุ

เพราะไม่มีเครื่องฉาบทาคือกิเลสฉันใด ที่เรียกว่าภิกษุ แม้เพราะไม่มี

เครื่องฉาบทาคือทิฏฐิก็ฉันนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ถ้าอาศัยทิฏฐิ ๖๐ ดังนี้

เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 526

บทว่า ปุถุชฺชนตาย อธมฺมา นิวิฏฺา ความว่า ก็มิจฉาวิตกเหล่า

นั้น มิใช่ธรรม คือปราศจากธรรม ด้วยอำนาจยึดถือว่าเที่ยงเป็นต้น

ตั้งลงแล้ว คือตั้งลงเฉพาะแล้วในความเป็นปุถุชน คือในคนอันธพาล.

บทว่า น จ วคฺคคตสฺส กุหิญฺจิ ความว่า ไม่พึงเป็นไปในพวก

มิจฉาทิฏฐิมีสัสสตวาทะว่าเที่ยงเป็นต้นในวัตถุนั้น ๆ คือไม่ถือลัทธินั้น.

ส่วนในอรรถกถาท่านยกบทขึ้นดังว่า ถ้าว่าอธรรมทั้งหลายเป็นไปกับวิตก

อาศัยทิฏฐิ ๖๐ ตั้งมั่นในความเป็นปุถุชน ดังนี้แล้วกล่าวว่า ถ้าว่าวิตก

ที่ไม่เป็นธรรมเป็นอันมากอาศัยอารมณ์ ๖ ตั้งลงมั่น เพราะทำให้เกิด

และกล่าวว่าไม่พึงเป็นพรรคพวกในอารมณ์ไหน ๆ อย่างนั้น อธิบายว่า

ไม่พึงเป็นพวกกิเลสในอารมณ์ไหนๆ ด้วยอำนาจวิตกเหล่านั้น.

บทว่า โน ปน ทุฏฺฐุลฺลคาหี ส ภิกฺขุ ความว่า บุคคลใดไม่พึง

เป็นผู้มักพูดคำหยาบ คือพูดผิด เพราะถูกกิเลสประทุษร้าย และเพราะ

เป็นวาทะหยาบเหลือหลาย บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ.

บทว่า ทพฺโพ ได้แก่ ผู้มีชาติฉลาด คือเป็นบัณฑิต.

บทว่า จิรรตฺตสมาหิโต แปลว่า ผู้มีจิตเป็นสมาธิตั่งแต่กาลนาน

มาแล้ว.

บทว่า อกุหโก แปลว่า เว้นจากความโกหก คือไม่โอ้อวด ไม่มี

มายา.

บทว่า นิปโก แปลว่า ผู้ละเอียดละออ คือผู้เฉลียวฉลาด. บทว่า

อปิหาลุ แปลว่า ผู้หมดตัณหาความอยาก.

บทว่า สนฺต ปท อชฺฌคมา ได้แก่ บรรลุพระนิพพาน. ชื่อว่า

มุนี เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรนอันเป็นที่ตั้งแห่งความเป็นมุนี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 527

บทว่า ปรินิพฺพุโต ความว่า อาศัยพระนิพพาน โดยกระทำให้เป็น

อารมณ์ แล้วปรินิพานด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

บทว่า กงฺขติ กาล ความว่า รอเวลาเพื่อต้องการอนุปาทิเสส

นิพพานในกาลบัดนี้. อธิบายว่า พระเถระนั้นไม่มีกิจอะไรที่จะพึงทำ จึง

เตรียมพร้อมด้วยประการที่จักเป็นผู้เช่นนี้.

คาถา ๔ คาถามีอาทิว่า มาน ปชหสฺสุ จงละมานะ พระเถระ

อาศัยปฏิภาณสมบัติบรรเทามานะที่เป็นไปแก่ตนกล่าวไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาน ปชหสฺสุ ความว่า จงสละมานะ

๙ ประการ มีมานะว่า เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเป็นต้น.

ด้วยบทว่า โคตม นี้ พระเถระกล่าวถึงตนให้เป็นโคตมโคตร เพราะ

ตนเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้โคตมโคตร.

บทว่า มานปถ ความว่า ท่านจงละ คือจงละขาดซึ่งชาติเป็นต้น

อันหุ้มห่อตัวด้วอโยนิโสมนสิการ การใส่ใจโดยไม่แยบคาย อันเป็นฐาน

ที่ตั้งให้มานะแพร่ไป โดยการละกิเลสที่เนื่องด้วยชาติเป็นต้นนั้น.

บทว่า อเสส แปลว่า ทั้งหมดเลย.

บทว่า มานปถมฺหิ ส มุจฺฉิโต ความว่า ผู้ถึงความสยบอันมีวัตถุ

ที่ตั้งแห่งมานะเป็นเหตุ.

บทว่า วิปฺปฏิสารีหุวา จิรรตฺต ความว่า เมื่อขณะแห่งการขวน-

ขวายในทางมานะนี้ล่วงไปแล้ว จักบรรลุพระอรหัตในกาลก่อนแท้ คือ

ได้เป็นผู้เดือดร้อนว่า เราฉิบหายเสียแล้ว.

บทว่า มกฺเขน มกฺขิตา ปชา ความว่า ชื่อว่า มีมักขะลบหลู่คุณ

ท่าน เพราะยกตนข่มผู้อื่นด้วยความกล้าเป็นต้น แล้วบดขยี้ด้วยมักขะอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 528

มีลักษณะลบหลู่คุณของผู้อื่น, จริงอยู่ บุคคลลบหลู่คุณของคนอื่นด้วย

ประการใด ๆ ชื่อว่า ย่อมเช็ด คือละทิ้งคุณของตนด้วยประการนั้น ๆ.

บทว่า มานหตา ได้แก่ ผู้มีคุณความดี ถูกมานะขจัดเสียแล้ว.

บทว่า นิรย ปปตนฺติ ได้แก่ ย่อมเข้าถึงนรก.

บทว่า มคฺคชิโน ได้แก่ ชำนะกิเลสด้วยมรรค.

บทว่า กิตฺติญฺจ สุขญฺจ ได้แก่ เกียรติที่วิญญูชนสรรเสริญ และ

สุขอันเป็นไปทางกายและทางจิต.

บทว่า อนุโภติ แปลว่า ได้เฉพาะ.

บทว่า ธมฺมทโสติ ตมาหุ ตถตฺต ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าว

บุคคลนั้น ผู้ปฏิบัติชอบอย่างนั้นว่าเป็นผู้เห็นธรรม ตามเป็นจริง.

บทว่า อขิโล ได้แก่ ผู้เว้นจากกิเลสเครื่องตรึงใจ ๕ ประการ.

บทว่า ปธานวา ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธานความเพียรชอบ.

บทว่า วิสุทฺโธ ความว่า ชื่อว่า ผู้มีใจบริสุทธิ์ เพราะปราศจาก

เมฆ คือนิวรณ์.

บทว่า อุเสส ได้แก่ ละมานะทั้ง ๙ อย่างด้วยอรหัตมรรค.

บทว่า วิชฺชายนฺตกาโร สมิตาวี ความว่า พระเถระกล่าวสอนตน

ว่า เป็นผู้มีกิเลสสงบระงับแล้วโดยประการทั้งปวง ถึงที่สุดแห่งวิชชา ๓

ประการ.

ครั้นวันหนึ่ง ท่านพระอานนท์ อันราชมหาอำมาตย์คนหนึ่งนิมนต์

ในเวลาเช้า จึงไปเรือนของราชมหาอำมาตย์นั้นแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาตก

แต่งไว้ โดยมีท่านพระวังคีสะเป็นปัจฉาสมณะ. ลำดับนั้น หญิงทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 529

ในเรือนนั้น ประดับด้วยอลังการทั้งปวง พากันเข้าไปหาพระเถระ ไหว้

แล้วถามปัญหา ฟังธรรม.

ลำดับนั้น ความกำหนัดในวิสภาคารมณ์เกิดขึ้นแก่ท่านพระวังคีสะ

ผู้ยังบวชใหม่ไม่อาจกำหนดอารมณ์ได้ ท่านพระวังคีสะนั้น เป็นกุลบุตร

ผู้มีศรัทธา มีชาติเป็นคนตรง คิดว่าราคะนี้เพิ่มมากแก่เราแล้ว จะพึงทำ

ประโยชน์ปัจจุบัน ทั้งประโยชน์ภายภาคหน้า ให้พินาศทั้ง ๆ ที่นั่งอยู่แล

เมื่อจะเปิดเผยความเป็นไปของตนแก่พระเถระ จึงกล่าวคาถาว่า กาม-

ราเคน ดังนี้เป็นต้น.

ในข้อนั้น เพื่อจะแสดงว่า แม้ถ้าความเร่าร้อนอันเกิดจากความ

กำหนัด เพราะกิเลสเบียดเบียนแม้กายได้ แต่เมื่อจะเบียดเบียนจิต ย่อม

เบียดเบียนได้นานกว่า พระเถระจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าถูกกามราคะแผดเผา

แล้วกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าก็ถูกแผดเผา ดังนี้.

บทว่า นิพฺพาปน ความว่า ขอท่านจงให้โอวาทอันเป็นเหตุทำราคะ

ให้ดับ คือที่สามารถทำความเร่าร้อนเพราะราคะให้ดับ.

คาถามีว่า สญฺาย วิปริเยสา เพราะความสำคัญผิด ดังนี้เป็นต้น

อันท่านพระอานนท์ถูกพระวังคีสะขอร้อง จึงกล่าวไว้.

บทว่า วิปริเยสา ความว่า เพราะความวิปลาส คือเพราะถือผิด-

แผก ซึ่งเป็นไปในสิ่งที่ไม่งามว่างาม.

บทว่า นิมิตฺต ได้แก่ มีอันทำกิเลสให้เกิดเป็นนิมิต. บทว่า

ปริวชฺเชหิ แปลว่า จงสละเสีย.

บทว่า สุภ ราคูปสหิต ความว่า เมื่อจะเว้นสุภะ อันเป็นเหตุทำ

ราคะให้เจริญเป็นอารมณ์ พึงเว้นด้วยอสุภสัญญา กำหนดหมายว่าไม่งาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 530

พึงเว้นด้วยอนภิรติสัญญา กำหนดหมายว่าไม่น่ายินดี ในอารมณ์ทุกอย่าง

เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์เมื่อจะแสดงสัญญา แม้ทั้งสองนั้น จึง

กล่าวคำ มีอาทิว่า อสุภาย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสุภาย ได้แก่ ด้วยอสุภานุปัสสนา

การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่าไม่งาม.

บทว่า จิตฺต ภาเวหิ เอกคฺค สุสมาหิต ความว่า ท่านจงเจริญ

กระทำให้มีอารมณ์เลิศเป็นอันเดียว คือให้ตั้งมั่น ให้แอบแนบในอารมณ์

ทั้งหลาย โดยไม่มีความฟุ้งซ่านแห่งจิตของตน คือเราจักบอกอสุภานุ-

ปัสสนาที่พึงการทำได้ง่ายแก่ท่าน.

บทว่า สติ กายคตา ตฺยตฺถุ ความว่า การเจริญกายคตาสติที่กล่าว

แล้ว ท่านจงอบรมกระทำให้มาก.

บทว่า นิพฺพิทาพหุโล ภว ความว่า ท่านจงเป็นผู้มากด้วยความ

หน่ายในอัตภาพและในสิ่งทั้งปวง.

บทว่า อนิมิตฺตญฺจ ภาเวหิ ความว่า โดยพิเศษ อนิจจานุปัสสนา

ชื่อว่า อนิมิต เพราะเพิกนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้น แต่นั้นท่านจงละมานานุสัย

กิเลสอันนอนเนื่องคือมานะเสีย อธิบายว่า เมื่อจะเจริญอนิจจานุปัสสนา

นั้น จงตัดอย่างเด็ดขาดซึ่งมานานุสัย โดยการบรรลุอรหัตมรรคตามลำดับ

มรรค.

บทว่า มานาภิสมยา ได้แก่ ตรัสรู้เพราะเห็นมานะและเพราะละ

มานะ.

บทว่า อุปสนฺโต ความว่า ท่านชื่อว่าเข้าไปสงบ เพราะสงบราคะ

เป็นต้นได้ทั้งหมด จักเที่ยวไป คือจักอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 531

คาถา ๔ คาถามีอาทิว่า ตเมว วาจ ดังนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงสุภาสิตสูตร พระเถระเกิดความโสมนัส เมื่อจะชมเชยพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเฉพาะพระพักตร์ จึงได้กล่าวไว้.

บทว่า ยายตฺตาน น ตาปเย ความว่า ไม่พึงทำตนให้เดือดร้อน

คือให้ลำบากด้วยความเดือดร้อน ด้วยวาจาใดอันเป็นเหตุ.

บทว่า ปเร จ น วิหึเสยฺย ความว่า ไม่พึงเบียดเบียนทำลายคน

อื่นให้แตกกับคนอื่น.

บทว่า สา เว วาจา สุภาสิตา มีวาจาประกอบความว่า วาจานั้น

ชื่อว่าเป็นสุภาษิตโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น พึงกล่าวแต่วาจานั้นเท่านั้น

พระเถระสดุดีพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยมีพระวาจาไม่ส่อเสียดด้วยคาถานี้.

บทว่า ปฏินนฺทิตา ความว่า ยินดี คือรักใคร่โดยเฉพาะหน้า คือ

ในเดี๋ยวนั้น และในกาลต่อไป ผู้สดับฟังรับเอา.

บทว่า ย อนาทาย ความว่า บุคคลเมื่อจะกล่าววาจาใด อย่าได้

ถือเอาคำหยาบคายอันไม่น่ารัก ไม่น่าปรารถนาของคนอื่น ย่อมแสดงแต่

วาจาที่น่ารัก อันไพเราะด้วยอรรถและพยัญชนะ.

บทว่า ตเมว ปิยวาจ ภาเสยฺย ได้แก่ ชมเชยด้วยอำนาจวาจา

ที่น่ารัก.

บทว่า อมตา ได้แก่ ดุจน้ำอมฤต เพราะเป็นวาจายังประโยชน์ให้

สำเร็จ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า คำสัตย์แลยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารส

ทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่วาจาที่เป็นประโยชน์ คือเป็นปัจจัยแก่

อมตะ คือพระนิพพาน ชื่อว่าเป็นวาจาอมตะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 532

บทว่า เอส ธมฺโม สนนฺตโน ความว่า ชื่อว่าสัจวาจานี้เป็นธรรม

ของเก่า คือพระพฤติเป็นประเพณี จริงอยู่ ข้อที่คนเก่าก่อนไม่พูดคำเหลาะ

แหละนี้แหละ เป็นความประพฤติของคนเก่าก่อน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า สัตบุรุษเป็นผู้ตั้งอยู่ในคำสัตย์ อันเป็นอรรถเป็นธรรม.

ในคำนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่าตั้งอยู่ในประโยชน์ตนและคนอื่น เพราะ

เป็นผู้ตั้งอยู่ในสัจจะ ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ใน

ประโยชน์เท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อตฺเถ ธมฺเม นี้เป็นวิเสสนะของ

สัจจะนั่นแหละ. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ตั้งอยู่ในคำสัจ, ในคำสัจ

เช่นไร ? ในคำสัจที่เป็นอรรถเป็นธรรม ซึ่งเป็นที่ให้สำเร็จประโยชน์

คือไม่ทำการขัดขวางให้แก่คนอื่น เพราะไม่ปราศจากอรรถ (และ) ให้

สำเร็จธรรม คือประโยชน์อันเป็นไปในธรรมเท่านั้น เพราะไม่ปราศจาก

ธรรม. พระเถระสดุดีพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยทรงมีพระวาจาสัตย์ด้วย

คาถานี้.

บทว่า เขม แปลว่า ปลอดภัย คือไม่มีอันตราย หากมีคำถามสอด

เข้ามาว่า เพราะเหตุไร ? ขอเฉลยว่า เพราะได้บรรลุพระนิพพานอัน

กระทำที่สุดแห่งทุกข์ อธิบายว่า ชื่อว่าปลอดภัย เพราะเป็นเหตุให้ถึง

กิเลสนิพพาน และเป็นไปเพื่อทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์.

อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความในข้อนี้อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าตรัส

พระวาจาใด ชื่อว่าปลอดภัย เพราะทรงประกาศทางอันเกษม เพื่อประ-

โยชน์แก่นิพพานธาตุทั้งสองคือ เพื่อบรรลุพระนิพพาน หรือเพื่อทำที่สุด

แห่งทุกข์ วาจานั้นเท่านั้น เป็นวาจาสูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย อธิบายว่า

วาจานั้นประเสริฐที่สุดกว่าวาจาทั้งปวง พระเถระเมื่อสดุดีพระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 533

ภาคเจ้า โดยมีพระดำรัสด้วยพระปรีชา ด้วยคาถานี้ จึงให้จบการสดุดีลง

ด้วยยอดคือพระอรหัต.

คาถา ๓ คาถามีอาทิว่า คมฺภีรปญฺโ นี้ พระเถระกล่าวด้วยอำนาจ

การสรรเสริญท่านพระสารีบุตร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คมฺภีรปญฺโ ความว่า ชื่อว่าผู้มีปัญญา

ลึกซึ้ง เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันละเอียด ซึ่งเป็นไปในขันธ์

และอายตนะเป็นต้นอันลึกล้ำ. ชื่อว่ามีปัญญา เพราะประกอบด้วยปัญญา

อันมีโอชาเกิดแต่ธรรม กล่าวคือเมธาปัญญา.

ชื่อว่า ผู้ฉลาดในทางและมิใช่ทาง เพราะความเป็นผู้ฉลาดในทาง

และมิใช่ทางอย่างนี้ว่า นี้ทางทุคติ นี้ทางสุคติ นี้ทางพระนิพพาน.

ชื่อว่าผู้มีปัญญามาก ด้วยอำนาจปัญญาอันถึงที่สุดแห่งสาวกบารมี-

ญาณอันใหญ่.

บทว่า ธมฺม เทเสติ ภิกฺขูน ความว่า ประกาศปวัตติ (ทุกข์)

และนิวัตติ (นิโรธ) โดยชอบ แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ก็เพื่อจะ

แสดงอาการเป็นไปแห่งเทศนานั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า โดยย่อบ้าง

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขิตฺเตนปิ ความว่า แสดงแม้โดยย่อ

อย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ อริยสัจ ๔ เหล่านี้. อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ?

ทุกขอริยสัจ ๑ ฯ ล ฯ ดูก่อนผู้มีอายุ อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล, เพราะเหตุนั้น

แล ผู้มีอายุพึงกระทำความเพียรว่า นี้ทุกข์. เมื่อจำแนกอริยสัจเหล่านั้น

นั่นแหละออกแสดงแม้โดยพิสดาร โดยนัยมีอาทิว่า ก็ผู้มีอายุ ทุกขอริยสัจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 534

เป็นไฉน ? แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ดังนี้. แม้ในเทศนาเรื่องขันธ์เป็นต้น

ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า สาลิกายิว นิคฺโฆโส ความว่า เมื่อพระเถระแสดงธรรม

ย่อมมีเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกสาลิกา ตัวได้ลิ้มรสมะม่วงสุกหวาน จึง

กระพือปีกทั้งสองแล้วเปล่งเสียงร้องอันไพเราะฉะนั้น. จริงอยู่ พระธรรม

เสนาบดีมีคำพูดไม่พร่าเครือด้วยอำนาจดีเป็นต้น, เสียงเปล่งออกประดุจ

กังสดาลที่เขาเคาะด้วยท่อนเหล็กฉะนั้น.

บทว่า ปฏิภาณ อุทิยฺยติ ความว่า ปฏิภาณความแจ่มแจ้ง ย่อมตั้ง

ขึ้นพรั่งพรูประดุจลูกคลื่นตั้งขึ้นจากมหาสมุทร ในเมื่อท่านประสงค์จะ

กล่าว.

บทว่า ตสฺส ได้แก่ พระสารีบุตร. บทว่า ต ได้แก่ กำลังแสดง

ธรรมอยู่.

บทว่า สุณนฺตี ได้แก่ เกิดความเอื้อเฟื้อว่า พระเถระกล่าวคำใด

แก่พวกเรา ๆ จักฟังคำนั้น ดังนี้ จึงฟังอยู่.

บทว่า มธุร แปลว่า น่าปรารถนา. บทว่า รชนีเยน ได้แก่ อัน

น่าใคร่. บทว่า สวนีเยน ได้แก่ มีความสบายหู. บทว่า วคฺคุนา

ได้แก่ มีความกลมกล่อมเป็นที่จับใจ.

บทว่า อุทคฺคจิตฺตา ได้แก่ เป็นผู้มีจิตเบิกบาน คือมีจิตไม่หดหู่

ด้วยอำนาจปีติอันประกอบความฟูใจ.

บทว่า มุทิตา ได้แก่ บันเทิงใจ คือประกอบด้วยความปราโมทย์.

บทว่า โอเธนฺติ ได้แก่ เงี่ยหูลง คือเข้าไปตั้งจิตเพื่อความรู้ทั่วถึง

จึงเงี่ยหูคอยฟังอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 535

คาถา ๔ คาถามีอาทิว่า อชฺช ปณฺณรเส ดังนี้ พระเถระได้เห็น

พระศาสดาประทับนั่ง ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ห้อมล้อม เพื่อจะทรงแสดง

พระธรรมเทศนาปวารณาสูตร เมื่อจะสดุดี จึงกล่าวไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺณรเส ความว่า ก็สมัยหนึ่ง พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในบุพพาราม ในเวลาเย็นทรงแสดงพระธรรม-

เทศนา อันเหมาะแก่กาลสมัยแก่บริษัทที่ถึงพร้อมแล้ว จึงโสรจสรงพระ-

วรกายในซุ้มสรงน้ำแล้วครองผ้า ทรงกระทำมหาจีวรเท่าสุคตประมาณ

เฉวียงบ่า ทรงประทับพิงเสากลาง ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขา

ตกแต่งไว้ในปราสาทของมิคารมารดา ทรงชำเลืองดูภิกษุสงฆ์ผู้นั่งห้อม-

ล้อม ประทับนั่งในวันปวารณา ในวันอุโบสถนั้น ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕

ค่ำนี้.

บทว่า วิสุทฺธิยา ได้แก่ เพื่อต้องการความบริสุทธิ์ คือเพื่อวิสุทธิ-

ปวารณา.

บทว่า ภิกฺขู ปญฺจสตา สมาคตา ความว่า ภิกษุประมาณ ๕๐๐

รูปมาประชุมกัน ด้วยการนั่งห้อมล้อมพระศาสดา และด้วยอัธยาศัย.

บทว่า เต จ สโยชนพนฺธนจฺฉิทา ความว่า ผู้ตัดกิเลสทั้งหลาย

อันเป็นเครื่องผูกสันดาน กล่าวคือสังโยชน์ดำรงอยู่ เพราะเหตุนั้นแหละ

จึงเป็นผู้ไม่มีทุกข์ หมดสิ้นภพใหม่ เป็นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบาย

ว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีทุกข์ เพราะไม่มีทุกข์อันเกิดจากกิเลส เป็นผู้มีภพใหม่

สิ้นไปแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพราะแสวงหาศีลขันธ์

เป็นต้นอันเป็นของพระอเสขะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 536

บทว่า วิชิตสงฺคาม ความว่า ชื่อว่าผู้ทรงชนะสงคราม เพราะทรง

ชนะสงครามคือกิเลส คือเพราะทรงชนะมารและพลของมารได้เเล้ว.

บทว่า สตฺถวาห ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าสัตถวาหะ

ผู้นำกองเกวียน เพราะทรงยกขึ้นรถ คืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

แล้วชนพาเวไนยสัตว์ทั้งหลายไป คือให้ข้ามพ้นจากสงสารกันดาร. ด้วย

เหตุนั้น สหัมบดีพรหมจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ผู้ชนะ

สงคราม ผู้นำหมู่เกวียน ขอพระองค์โปรดเสด็จลุกขึ้น, พระสาวกทั้งหลาย

เข้าไปนั่งใกล้พระศาสดาพระองค์นั้น ผู้ทรงนำหมู่เกวียน ผู้ยอดเยี่ยม.

บทว่า เต วิชฺชา มจฺจุหายิโน มีวาจาประกอบความว่า ผู้อันพระ-

สาวกทั้งหลายเห็นปานนั้นห้อมล้อม เสด็จตามลำดับรอบ ๆ ไป ด้วยการ

เสด็จจาริกไปยังชนบท เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ อันหมู่อำมาตย์ห้อมล้อม

ฉะนั้น.

บทว่า ปลาโป แปลว่า ว่างเปล่า คือเว้นจากสาระในภายใน

อธิบายว่า เว้นจากศีล.

บทว่า วนฺเท อาทิจฺจพนฺธุน ความว่า พระเถระกล่าวว่า ข้า-

พระองค์ขอถวายบังคมพระทศพลบรมศาสดา ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระ-

อาทิตย์.

คาถา ๔ คาถามีอาทิว่า ปโรสหสฺส ดังนี้ พระเถระเมื่อจะสดุดี

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยธรรมีกถาอัน

ปฏิสังยุตด้วยพระนิพพาน จึงได้กล่าวไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปโรสหสฺส แปลว่า เกินกว่าพัน,

พระเถระกล่าวหมายเอาภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 537

บทว่า อกุโตภย ความว่า ในพระนิพพาน ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ

และท่านผู้บรรลุนิพพานแล้ว ย่อมไม่มีภัยแม้แต่ที่ไหน ๆ เพราะเหตุนั้น

พระนิพพานจึงชื่อว่าไม่มีภัยแต่ที่ไหน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิตเรียกว่านาค เพราะเหตุทั้งหลายดังกล่าว

แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า พระองค์ไม่ทรงทำบาป เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงมีพระนามว่านาค แล.

บทว่า อิสีน อิสิสตฺตโม ความว่า เป็นพระฤาษีผู้สูงสุดแห่งพระ-

ฤาษี คือสาวกพุทธะและปัจเจกพุทธะ, อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่เป็นฤาษี

องค์ที่ ๗ แห่งพระฤาษีทั้งหลาย นับตั้งแต่พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า.

บทว่า มหาเมโฆว ได้แก่ เป็นเสมือนมหาเมฆอันตั้งขึ้นในทวีป

ทั้ง ๔.

บทว่า ทิวา วิหารา แปลว่า จากที่เร้น.

บทว่า สาวโก เต มหาวีร ปาเท วนฺทติ วงฺคีโส นี้ พระเถระ

บรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะประกาศการบรรลุคุณวิเศพของตน จึงกล่าว

ไว้.

คาถา ๔ คาถามีคำเริ่มต้นว่า อุมฺมคฺคปถ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงแสดงว่า พระองค์ตรัสถามว่า วังคีสะ คาถาเหล่านี้เธอตรึก

มาก่อน หรือว่าปรากฏขึ้นโดยพลันทันใด, พระวังคีสะทูลว่า ปรากฏ

แจ่มแจ้งขึ้นทันทีทันใด จึงตรัสไว้. ก็เพราะเหตุไรจึงได้ตรัสอย่างนั้น ?

ได้ยินมาว่า เพราะได้เกิดการสั่งสนทนาขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ว่า พระ-

วังคีสะไม่ได้ร่ำเรียน ไม่กระทำกิจด้วยการอุเทศ ด้วยการสอบถาม และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 538

ด้วยโยนิโสมนสิการ ไฉนจึงประพันธ์คาถา เที่ยวพรรณนาบทกลอน.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า พวกภิกษุเหล่านี้ไม่รู้

ปฏิภาณสมบัติของพระวังคีสะ เราจักให้รู้จักปฏิภาณสมบัติของวังคีสะนี้

จึงตรัสถามโดยนัยมีอาทิว่า วังคีสะ เหตุไรหนอ ดังนี้.

บทว่า อุมฺมคฺคปถ ได้แก่ ทางเกิดกิเลสมิใช่น้อย. จริงอยู่ ที่

เรียกว่า ทาง เพราะเป็นทางที่วัฏฏะประกอบสร้างไว้.

บทว่า ปภิชฺช ขีลานิ ได้แก่ ทำลายตาปูตรึงใจมีราคะเป็นต้น

๕ อย่าง เที่ยวไป.

บทว่า ต ปสฺสถ ความว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นพระวังคีสะนั้น ผู้รู้

แล้ว ผู้ครอบงำและตัดกิเลสแล้วเที่ยวไปอย่างนั้น.

บทว่า พนฺธปมุญฺจกร แปลว่า กระทำการปลดเครื่องผูก.

บทว่า อสิต แปลว่า ไม่อาศัยแล้ว.

บทว่า ภาคโส ปฏิภชฺช ได้แก่ กระทำการจำแนกธรรมโดยส่วน

มีสติปัฏฐานเป็นต้น. บาลีว่า ปวิภชฺช ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า จำแนก

แสดงธรรมโดยส่วน ๆ มีอุเทศเป็นต้น คือโดยประการ.

บทว่า โอฆสฺส ได้แก่ โอฆะ ๔ มีกามโอฆะเป็นต้น.

บทว่า อเนกวิหิต ความว่า บอก คือได้กล่าวทางอันนำไปสู่อมตะ

หลายประการด้วยอำนาจสติปัฏฐานเป็นต้น หรือด้วยอำนาจกรรมฐาน

๓๘ ประการ.

บทว่า ตสฺมึ จ อมเต อกฺขาเต ความว่า เมื่อวังคีสะนั้นบอกทาง

อมตะ คืออันนำอมตะมาให้นั้น.

บทว่า ธมฺมทสา แปลว่า ผู้เห็นธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 539

บทว่า ิตา อสหิรา ได้แก่ เป็นผู้อันใครๆ ให้ง่อนแง่นคลอน

แคลนไม่ได้ ดำรงอยู่.

บทว่า อติวิชฺฌ แปลว่า รู้แจ้งแล้ว.

บทว่า สพฺพิตีน ได้แก่ ซึ่งที่ตั้งแห่งทิฏฐิ หรือที่ตั้งแห่งวิญญาณ

ทั้งปวง.

บทว่า อติกฺกมมทฺทส ได้แก่ ได้เห็นพระนิพพานอันเป็นตัวล่วง

พ้น.

บทว่า อคฺค ได้แก่ ธรรนอันเลิศ, บาลีว่า อคฺเค ดังนี้ก็มี อธิบาย

ว่า เป็นที่หนึ่งกว่าเขา.

บทว่า ทสทฺธาน ความว่า แสดงธรรมอันเลิศแห่งพระเบญจวัคคีย์

หรือแสดงก่อนกว่าเขา คือแต่เบื้องต้น.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ผู้รู้ว่า ธรรมนี้ท่านแสดงดี

จึงไม่ควรทำความประมาท ฉะนั้น จึงควรสำเหนียกตาม อธิบายว่า พึง

ศึกษาสิกขา ๓ ตามลำดับวิปัสสนา และตามลำดับมรรค.

คาถา ๓ คาถา มีค่าเริ่มต้นว่า พุทฺธานุพุทฺโธ พระวังคีสเถระ

กล่าวชมเชยท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธานุพุทฺโธ แปลว่า ตรัสรู้ตาม

พระพุทธะทั้งหลาย. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้สัจจะ ๔ ก่อน

ภายหลังพระเถระตรัสรู้ก่อนกว่าเขาทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้

ตรัสรู้ตามพระพุทธะทั้งหลาย. ชื่อว่าเถระ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์

เป็นต้นอันมั่น อธิบายว่า เป็นผู้มีธรรมอันไม่กำเริบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 540

บทว่า ติพฺพนิกฺกโม แปลว่า ผู้มีความเพียรมั่นคง.

บทว่า สุขวิหาราน แปลว่า ผู้มี่ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน.

บทว่า วิเวกิาน ได้แก่ วิเวกทั้ง ๓.

บทว่า สพฺพสฺสต ความว่า สิ่งใดอันสาวกทั้งปวงจะพึงบรรลุ สิ่ง

นั้นอันท่านพระอัญญาโกณฑัญญะนี้บรรลุตามแล้ว.

บทว่า อปฺปมตฺตสฺส สิกฺขโต แปลว่า เป็นผู้ไม่ประมาทศึกษาอยู่.

บทว่า เตวิชฺโช เจโตปริยโกวิโท ความว่า บรรดาอภิญญา ๖

พระอัญญาโกณฑัญญเถระกล่าวแต่อภิญญา ๔ อภิญญา ๒ นอกนี้พระ-

เถระไม่กล่าวไว้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระเถระก็เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ทีเดียว.

เพราะเหตุที่ท่านพระวังคีสะเห็นพระเถระผู้มาจากสระฉัททันตะ ในป่า

หิมวันต์ แสดงความเคารพอย่างยิ่งในพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วถวายบังคม

อยู่ มีใจเลื่อมใส เมื่อจะชมเชยพระเถระเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงกล่าวคาถานี้ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า พระโกณฑัญญะผู้เป็น

ทายาทของพระพุทธเจ้า ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระศาสดา ดังนี้.

คาถา ๓ คาถามีคำเริ่มต้นว่า นคสฺส ปสฺเส ดังนี้ เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ ประทับอยู่

ณ ประเทศกาลศิลา ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระพิจารณาดูจิตของภิกษุ

เหล่านั้นอยู่ จึงเห็นวิมุตติ คืออรหัตผล. ท่านพระวังคีสะเห็นดังนั้น

เมื่อจะชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระเถระทั้งหลาย จึงได้กล่าวไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นคสฺส ปสฺเส ความว่า ที่กาลศิลา

ประเทศข้างภูเขาอิสิคิลิ.

บทว่า อาสีน แปลว่า นั่งแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 541

บทว่า เจตสา ได้แก่ ด้วยเจโตปริยญาณของตน.

บทว่า จิตฺต เนส สมเนฺวส ได้แก่ แสวงหาจิตของภิกษุขีณาสพ

เหล่านั้น.

บทว่า อนุปริเยติ แปลว่า ย่อมกำหนดโดยลำดับ.

ผู้สมบูรณ์ด้วยองค์ทั้งปวงอย่างนี้ คือผู้ถึงพร้อม ได้แก่ประกอบ

ด้วยองค์ทั้งปวง คือด้วยสัตถุสมบัติที่กล่าวว่า ผู้เป็นมุนี ผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์

และด้วยสาวกสมบัติที่กล่าวว่า มีวิชชา ๓ ผู้ละมัจจุ ดังนี้.

จริงอยู่ ด้วยบทว่า มุนึ นี้ ท่านกล่าวการตรัสรู้ไญยธรรมอย่างสิ้น

เชิงของพระศาสดา ด้วยญาณกล่าวคือโมนะ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

สงเคราะห์ทศพลญาณเป็นต้นด้วยอนาวรณญาณ, ท่านแสดงญาณสัมปทา

ของพระศาสดานั้น ด้วยอนาวรณญาณนั้น.

ด้วยบทว่า ทุกฺขสฺส ปารคุ นี้ ท่านแสดงปหานสัมปทา และ

แสดงอานุภาวสัมปทาเป็นต้นของพระศาสดาด้วยบททั้งสองนั้น.

ด้วยบททั้งสองว่า เตวิชฺชา มจฺจุหายิโน นี้ ท่านแสดงสมบัติของ

สาวกของพระศาสดา โดยแสดงญาณสมบัติของสาวกทั้งหลาย และโดย

แสดงการบรรลุนิพพานธาตุของสาวก.

จริงอย่างนั้น เพื่อจะกระทำเนื้อความตามที่กล่าวให้ปรากฏชัด ท่าน

จึงกล่าวว่า พากันเข้าไปนั่งใกล้พระโคดมผู้เป็นมุนี ผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์

ผู้ทรงเต็มเปี่ยมด้วยพระอาการเป็นอันมาก ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกาการสมฺปนฺน ได้แก่ ทรงถึง

พร้อมด้วยพระอาการเป็นอันมาก อธิบายว่า ทรงประกอบด้วยพระคุณ

คืออาการมิใช่น้อย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 542

คาถาว่า จนฺโท ยถา ดังนี้เป็นต้น พระเถระได้เห็นพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้อันพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ กับพวกเทวดาและนาคหลายพันห้อม

ล้อมอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีคัคคราใกล้จัมปานคร ทรงไพโรจน์ด้วยวรรณะ

และพระยศของพระองค์ เกิดความโสมนัส เมื่อจะสดุดี จึงได้กล่าวไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จนฺโท ยถา วิคตวลาหเก นเภ

ความว่า ในฤดูใบไม้ร่วง พระจันทร์เพ็ญย่อมไพโรจน์ในอากาศอันปราศ-

จากเมฆฝน คือพ้นจากสิ่งเศร้าหมองอื่น เช่นกับเมฆและน้ำค้างเป็นต้น

ฉันใด (และ) เหมือนพระอาทิตย์ปราศจากมลทิน อธิบายว่า ภาณุ

คือพระอาทิตย์ที่ปราศจากมลทิน โดยปราศจากสิ่งเศร้าหมองมีเมฆฝน

เป็นต้นนั้นนั่นแหละ ย่อมไพโรจน์ ฉันใด.

บทว่า เอวมฺปิ องฺคีรส ตฺว ความว่า ข้าแต่พระมหามุนีผู้มีพระภาค-

เจ้า ผู้ทรงโชติช่วง ด้วยความโชติช่วงอันเปล่งออกจากพระอวัยวะ แม้

พระองค์ก็ฉันนั้น ย่อมรุ่งโรจน์ยิ่ง คือย่อมไพโรจน์ล่วงโลกพร้อมทั้ง

เทวโลกด้วยพระยศของพระองค์.

คาถา ๑๐ คาถา มีคำว่า กาเวยฺยมตฺตา ดังนี้เป็นต้น พระวังคีสะ

บรรลุพระอรหัต พิจารณาข้อปฏิบัติของตน เมื่อจะประมาณพระคุณของ

พระศาสดาและคุณของตน ได้กล่าวไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเวยฺยนตฺตา ความว่า เป็นผู้ประมาณ

ได้ คือผู้อันเขานับถือยกย่องทำให้เกิดคุณความดีด้วยกาพย์ คือด้วยการ

แต่งกาพย์.

บทว่า อทฺทสาม แปลว่า ได้เห็นแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 543

บทว่า อทฺธา โน อุทปชฺชถ ความว่า ในพระรัตนตรัยเกิดขึ้น

เพื่ออุดหนุนแก่พวกข้าพระองค์ตลอดกาลนาน.

บทว่า วจน ได้แก่ ธรรมกถาอันประกอบด้วยสัจจะ.

บทว่า ขนฺเธ อายตนานิ จ ธาตุโย จ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒

และธาตุ ๑๘. ในฐานะนี้ พึงกล่าวกถาว่าด้วยขันธ์เป็นต้น กถานั้นท่าน

ให้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล เพราะเหตุนั้น พึงทราบโดยนัย

ดังกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั้นนั่นแล.

บทว่า วิทิตฺวาน ได้แก่ รู้ด้วยญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้น โดยการ

จำแนกรูปเป็นต้น และโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น.

บทว่า เย เต สาสนการกา ความว่า พระตถาคตทั้งหลายอุบัติ

ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่เหล่าสัตว์เป็นอันมาก ผู้กระทำตามคำสอนของ

พระตถาคตทั้งหลาย.

บทว่า เย นิยามคตทฺทสา มีโยชนาว่า นิยามคตะ ก็คือนิยาม

นั่นเอง, ภิกษุและภิกษุณีเหล่าใดได้เห็น คือได้บรรลุสัมมตนิยาม พระมุนี

คือพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงบรรลุพระโพธิญาณ คือพระสัมมาสัมโพธิ-

ญาณ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุและภิกษุณีเหล่านั้นหนอ.

บทว่า สุเทสิตา ความว่า ทรงแสดงดีแล้ว ทั้งโดยย่อและพิสดาร

สมควรแก่อัธยาศัยของเวไนยสัตว์.

บทว่า จกฺขุมตา ได้แก่ ผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕. ชื่อว่าอริยสัจ เพราะ

อรรถว่าเป็นธรรมอันไม่มีข้าศึก อันผู้ใคร่ประโยชน์ตน พึงกระทำ คือ

คุณชาตอันกระทำความเป็นพระอริยะ หรือเป็นสัจจะของพระผู้มีพระภาค-

เจ้าผู้เป็นอริยะ.

๑. บาลีว่า สทฺธา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 544

บทว่า ทุกฺข เป็นต้น เป็นบทแสดงสรุปอริยสัจเหล่านั้น, ในที่นี้

พึงกล่าวอริยสัจจกถา, อริยสัจจกถานั้น ท่านให้พิสดารโดยประการทั้งปวง

ในวิสุทธิมรรค เพราะเหตุนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค

นั้นนั่นแล.

บทว่า เอวเมเต ตถา ความว่า อริยสัจธรรมมีทุกข์เป็นต้นนี้ เป็น

ของจริง คือของแท้ไม่เป็นอย่างอื่น โดยประการอย่างนั้น คือโดย

ประการที่เป็นทุกข์เป็นต้น.

บทว่า วุตฺตา ทิฏฺา เม เต ยถา ตถา ความว่า พระศาสดา

ตรัสแล้วโดยประการใด ข้าพระองค์ก็เห็นแล้วโดยประการนั้น เพราะ

แทงตลอดอริยสัจเหล่านั้นอย่างนั้นด้วยอริยมรรคญาณ. ประโยชน์ของตน

ข้าพระองค์บรรลุแล้วโดยลำดับ คือข้าพระองค์กระทำให้แจ้งพระอรหัต

แล้ว และแต่นั้น ข้าพระองค์ได้กระทำคำสอนของพระพุทธเจ้า คือของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสร็จแล้ว ได้แก่ตั้งอยู่แล้วในพระโอวาทและอนุศาสน์.

บทว่า สฺวาคต วต เม อาสิ ความว่า การมาดีหนอ ได้มีแก่

ข้าพระองค์แล้ว.

บทว่า มม พุทฺธสฺส สนฺติเก ได้แก่ ในสำนัก คือในที่ใกล้พระ-

สัมพุทธเจ้า คือพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา.

บทว่า อภิญฺาปารมิปฺปตฺโต ได้แก่ ได้บรรลุบารมี คือความสูงสุด

แห่งอภิญญาทั้ง ๖. จริงอยู่ เพื่อจะเปิดเผยเนื้อความที่กล่าวไว้นั่นแหละ

ด้วยบทนี้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ชำระโสตธาตุให้หมดจด.

คาถา ๑๒ คาถามีคำเริ่มต้นว่า ปุจฺฉามิ สตฺถาร ดังนี้ พระวังคีส-

เถระเมื่อจะทูลว่าอุปัชฌาย์ของตนปรินิพพานแล้ว จึงกล่าวไว้. จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 545

ในเวลาที่ท่านพระนิโครธกัปปเถระปรินิพพาน ท่านพระวังคีสะไม่ได้อยู่

พร้อมหน้า. ก็ความรำคาญทางมือเป็นต้นของท่านพระนิโครธกัปปเถระ

นั้น พระวังคีสะนั้นเคยเห็นแล้ว และก็ด้วยอำนาจแห่งวาสนาที่อบรมไว้

ในชาติก่อน ความรำคาญทางมือเป็นต้นเช่นนั้น ย่อมมีแม้แก่พระขีณาสพ

ทั้งหลาย เหมือนอย่างท่านพระปิลินทวัจฉะร้องเรียกด้วยวาทะว่า คนถ่อย

ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระวังคีสะเกิดความปริวิตกขึ้นว่า อุปัชฌาย์ของ

เราปรินิพพานหรือไม่หนอ. จึงได้ทูลถามพระศาสดา. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า พระวังคีสะเมื่อจะทูลถามว่า พระอุปัชฌาย์ปรินิพพาน (หรือ

เปล่า) จึงกล่าว (คาถา) ไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺถาร ได้แก่ ผู้สั่งสอนเวไนยสัตว์

ทั้งหลายด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เป็นต้น.

บทว่า อโนมปญฺ ความว่า ความลามกเล็กน้อย ท่านเรียกว่า

โอมะ ต่ำทราม, ผู้มีปัญญาไม่ต่ำทราม ชื่อว่าอโนมปัญญะ อธิบายว่า ผู้มี

ปัญญามาก.

บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ได้แก่ เห็นประจักษ์ชัด อธิบายว่า ใน

อัตภาพนี้ทีเดียว.

บทว่า วิจิกิจฺฉาน ได้แก่ ผู้ตัดความสงสัย หรือความปริวิตกเห็น

ปานนั้น.

บทว่า อลฺคาฬเว ได้แก่ ในวิหารกล่าวคืออัตตาฬวเจดีย์.

บทว่า าโต แปลว่า ปรากฏแล้ว.

บทว่า ยุสสฺสี ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยลาภและสักการะ.

บทว่า อภินิพฺพุตตฺโต ได้แก่ ผู้มีสภาพสงบระงับ คือมีจิตไม่เร่าร้อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 546

บทว่า ตยา กต ได้แก่ ผู้มีนามอันท่านตั้งว่า นิโครธกัปปะ

เพราะเป็นผู้นั่งอยู่โคนต้นนิโครธอันพร้อมด้วยร่มเงาเช่นนั้น. ดังนั้น ท่าน

จึงกล่าวเอาโดยประการที่ตนกำหนดไว้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียก

ท่านอย่างนั้น เพราะเป็นผู้นั่งเท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้ตรัสเรียก แม้

เพราะท่านบรรลุพระอรหัตที่โคนต้นนิโครธนั้น.

ด้วยบทว่า พฺราหฺมณสฺส นี้ พระเถระกล่าวหมายชาติกำเนิด. ได้

ยินว่า ท่านพระนิโครธกัปปเถระออกบวชจากตระกูลพราหมณ์มหาศาล.

บทว่า นมสฺส อจรึ แปลว่า นมัสการอยู่.

บทว่า มุตฺยเปโข ได้แก่ ผู้ดำรงอยู่แล้วในพระนิพพาน.

พระวังคีสะเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ทฬฺหธมฺมทสฺสี ผู้ทรงเห็น

ธรรมอันมั่นคง. จริงอยู่ พระนิพพาน ชื่อว่าธรรมอันมั่นคง เพราะ

อรรถว่าไม่แตกทำลาย และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นและทรงแสดง

พระนิพพานนั้น.

เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแหละ โดยพระนามทางพระโคตรว่า

พระศากยะ ดังนี้บ้าง.

ด้วยบทว่า มยมฺปิ สพฺเพ นี้ พระเถระกล่าวแสดงตนรวมทั้งบริษัท

ทั้งหมด.

เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแหละว่า สมันตจักขุ ผู้มีพระจักษุ

รอบคอบ ดังนี้บ้าง ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ.

บทว่า สมวฏฺิตา แปลว่า ตั้งลงโดยชอบ คือทำความคำนึงตั้ง

อยู่แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 547

บทว่า โน แปลว่า ของข้าพระองค์ทั้งหลาย.

บทว่า สวนาย ได้แก่ เพื่อต้องการฟังการพยากรณ์ปัญหานี้.

บทว่า โสตา ได้แก่ โสตธาตุ.

คำว่า ตุว โน สตฺถา ตฺวมนุตฺตโร นี้ พระเถระกล่าวด้วยอำนาจ

คำสดุดี.

คำว่า ฉินฺท โน วิจิกิจฺฉ นี้ พระเถระกล่าวหมายเอาความปริวิตก

นั้นอันเป็นตัววิจิกิจฉาเทียม. ก็พระเถระเป็นผู้ไม่มีวิจิกิจฉาด้วยวิจิกิจฉา

อันเป็นอกุศล.

บทว่า พฺรูหิ เมต ความว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกพระนิโครธ-

กัปปเถระนั่น. ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญามาก ขอพระองค์จงประกาศ

พราหมณ์ที่ข้าพระองค์อ้อนวอนพระองค์เหมือนอย่างเทวดาอ้อนวอนท้าว

สักกะว่า ข้าแต่ท้าวสักกะ แม้ข้าพระองค์ทั้งหมดปรารถนาจะรู้พระสาวก

นั้นว่าปรินิพพานแล้ว.

บทว่า มชฺเฌว โน ภาส ความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มี

ปัญญามาก พระองค์ทรงรู้ว่าปรินิพพานแล้ว จงตรัสบอกแก่มวลข้า-

พระองค์ในท่ามกลางทีเดียว โดยประการที่ข้าพระองค์ทั้งปวงจะพึงทราบ.

ก็คำว่า สกฺโกว เทวาน สหสฺสเนตฺโต นี้ เป็นคำกล่าวสดุดี

เท่านั้น, อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- ท้าวสักกะสหัสส-

นัยน์ ย่อมตรัสพระดำรัสที่เทพเหล่านั้นรับเอาโดยเคารพ ในท่ามกลาง

เทพทั้งหลาย ฉันใด ขอพระองค์โปรดตรัสพระดำรัสที่ข้าพระองค์ทั้งหลาย

รับเอา ในท่ามกลางข้าพระองค์ทั้งหลาย ฉันนั้น.

คาถาแม้นี้ว่า เย เกจิ เป็นต้น พระเถระเมื่อจะสดุดีพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จึงกราบทูลเพื่อให้เกิดความประสงค์เพื่อจะตรัส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 548

ความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

มีอภิชฌาเป็นต้น เมื่อยังไม่ละกิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่านั้น ท่านเรียกว่า

โมหมัคคะ ทางแห่งความหลงบ้าง เรียกว่า อัญญาณปักขะ ฝ่ายแห่งความ

ไม่รู้บ้าง เรียกว่า วิจิกิจฉฐาน ที่ตั้งวิจิกิจฉาบ้าง เพราะละโมหะและ

วิจิกิจฉาทั้งหลาย (ไม่ได้) กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหมดนั้น พอถึงพระตถาคต

เข้าถูกกำจัดด้วยเทศนาพละของพระตถาคต ย่อมไม่มี คือย่อมพินาศไป.

ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะจักษุของพระตถาคตนี้ เป็นจักษุ

ชั้นยอดเยี่ยมของนรชน ท่านอธิบายว่า เพราะพระตถาคตเป็นบรมจักษุ

ของเหล่านรชน เพราะทำให้เกิดปัญญาจักษุด้วยการกำจัดกิเลสเครื่องร้อย

รัดทั้งปวง.

พระเถระสดุดีอยู่นั่นแหละ เมื่อจะทำให้เกิดความประสงค์เพื่อจะ

ตรัส จึงกล่าวคาถาแม้นี้ว่า โน เจ หิ ชาตุ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาตุ เป็นคำกล่าวโดยส่วนเดียว.

ด้วยบทว่า ปุริโส พระเถระกล่าวหมายเอาพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า โชติมนฺโต ได้แก่ พระสารีบุตรเป็นต้นผู้สมบูรณ์ด้วยความ

โชติช่วงแห่งปัญญา ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า หากพระผู้มีพระภาคเจ้าพึง

ฆ่ากิเลสทั้งหลายด้วยกำลังแห่งเทศนา เหมือนลมต่างด้วยลมทิศตะวันออก

เป็นต้นทำลายกลุ่มหมอกฉะนั้น แต่นั้น โลกที่ถูกกลุ่มหมอกหุ้มห่อ ย่อม

เป็นโลกมืดมนนอนการไปหมด ฉันใด ชาวโลกแม้ทั้งปวงก็ฉันนั้น ถูก

ความไม่รู้หุ้มห่อ ก็จะพึงเป็นชาวโลกผู้มืดมน. ก็บัดนี้ พระเถระมีพระ-

สารีบุตรเป็นต้นซึ่งปรากฏโชติช่วงอยู่แม้นั้น ไม่พึงกล่าว คือไม่พึงแสดง.

คาถาว่า ธีรา จ แม้นี้ พระเถระกล่าวโดยนัยอันมีในก่อนนั่นแหละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 549

ความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า ก็นักปราชญ์ทั้งหลาย คือบุรุษ

ผู้เป็นบัณฑิต เป็นผู้กระทำความโชติช่วง คือทำความโชติช่วงแห่งปัญญา

ให้เกิดขึ้น. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แกล้วกล้า คือผู้ทรงประกอบด้วย

ปธานความเพียร เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงเข้าใจอย่างนั้นแหละ

คือย่อมเข้าใจว่านักปราชญ์เป็นผู้กระทำความสว่างโชติช่วง, แม้ข้าพระองค์

ทั้งหลายก็รู้อยู่แท้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เห็นแจ้ง คือผู้ทรง

เห็นธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง. เพราะฉะนั้น ขอพระองค์โปรดทรง

กระทำให้แจ้งซึ่ง ท่านพระกัปปะแก่พวกข้าพระองค์ในท่ามกลางบริษัท คือ

โปรดกระทำให้แจ้ง คือโปรดทรงประกาศพระนิโครธกัปปะ ดุจปรินิพ-

พานแล้วฉะนั้น.

คาถาว่า ขิปฺป แม้นี้ พระเถระกล่าวโดยนัยอันมีในก่อนนั่น

แหละ.

เนื้อความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า :- พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

เปล่งพระวาจาได้เร็ว ไพเราะ คือทรงเปล่งไม่ช้า เปล่งพระวาชาได้

ไพเราะจับใจ. เหมือนหงส์ คือหงส์ทองเมื่อหาเหยื่อ ได้เห็นชัฏป่าใกล้

ชาตสระ จึงชูคอกระพือปีก ร่าเริงดีใจ ค่อย ๆ คือไม่รีบด่วน ส่งเสียง

คือเปล่งเสียงไพเราะ ฉันใด พระองค์ก็เหมือนอย่างนั้น ขอจงค่อย ๆ

ตรัสด้วยพระสุรเสียงอันกลมกล่อม อันเป็นพระมหาปุริสลักษณะอย่างหนึ่ง

ซึ่งพระบุญญาธิการได้ปรุงแต่งมาดีแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหมดนี้ตั้งใจ คือมี

ใจไม่ฟุ้งซ่าน จะฟังพระดำรัสของพระองค์.

แม้คำว่า ปหีนชาติมรณ นี้ พระเถระได้กล่าวแล้วโดยนัยก่อน

เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 550

ในคำนั้น ที่ชื่อว่าอเสสะ เพราะไม่เหลือ, ชาติและมรณะที่ละได้

แล้วนั้น ไม่มีเหลือ อธิบายว่า ชาติและมรณะที่ละได้แล้ว ไม่เหลือ

อะไร ๆ เหมือนพระโสดาบันเป็นต้น.

บทว่า นิคฺคยฺห ได้แก่ ตระเตรียม.

บทว่า โธน ได้แก่ กำจัดบาปทั้งปวงได้แล้ว.

บทว่า วเทสฺสามิ ความว่า ข้าพระองค์จักขอให้ตรัสธรรม.

บทว่า น กามกาโร โหติ ปุถุชฺชนาน ความว่า บุคคลผู้

กระทำตามความประสงค์ของบุคคล ๓ จำพวก มีปุถุชนและพระเสขะ

เป็นต้น ย่อมไม่มี คนทั้ง ๓ พวกนั้นย่อมไม่อาจรู้หรือกล่าวธรรมตามที่

ตนต้องการได้.

บทว่า สงฺเขยฺยกาโร จ ตถาคตาน ความว่า ส่วนพระตถาคต

ทั้งหลาย มีการกระทำด้วยการพิจารณา คือมีการกระทำอันมีปัญญาเป็น

หัวหน้า อธิบายว่า พระตถาคตทั้งหลายนั้น ย่อมสามารถแท้ที่จะรู้หรือ

กล่าวธรรมที่ตนต้องการได้.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะประกาศการกระทำด้วยการพิจารณานั้น จึง

กล่าวคาถาว่า สนฺปนฺนเวยฺยากรณ ดังนี้เป็นต้น.

ความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริง

อย่างนั้น พระดำรัสนี้ พระองค์ผู้มีพระปัญญาตรงจริง คือมีพระปัญญา

อันดำเนินไปตรง เพราะไม่กระทบกระทั่งในที่ทุกสถาน พระองค์ตรัสไว้

คือประกาศไว้ชอบแล้ว เป็นพระดำรัสมีไวยากรณ์สมบูรณ์ ยึดถือได้

คือยึดถือได้โดยถูกต้อง เห็นได้อย่างไม่วิปริตผิดแผก มีอาทิอย่างนี้ว่า

สันตติมหาอำมาตย์เหาะขึ้นประมาณ ๗ ชั่วลำตาลแล้วจักปรินิพพาน, สุปป-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 551

พุทธศากยะ จักถูกแผ่นดินสูบในวันที่ ๗, พระเถระประนมอัญชลีอัน

งดงามแล้วจึงกราบทูลอีก.

บทว่า อยมญฺชลิ ปจฺฉิโม สุปฺปณามิโต ความว่า อัญชลีนี้

แม้จะเป็นอัญชลีครั้งหลัง ก็นอบน้อมอย่างดีทีเดียว.

บทว่า มา โมหยี ชาน ความว่า พระองค์เมื่อทรงทราบคติ

ของท่านพระกัปปะนั้น โปรดอย่าทรงลืม เพราะยังไม่ตรัสแก่ข้าพระองค์.

พระเถระเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อโนมปญฺ ผู้มีพระปัญญาไม่ต่ำ

ทราม.

ก็คาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า ปโรปร ดังนี้ พระเถระเมื่อจะทูลอ้อนวอน

มิให้ทรงลืมโดยปริยายแม้อื่นอีก จึงกล่าวไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปโรปร ความว่า ดีและไม่ดี คือไกล

หรือใกล้ ด้วยอำนาจโลกิยะและโลกุตระ.

บทว่า อริยธมฺม ได้แก่ สัจธรรมทั้ง ๔. บทว่า วิทิตฺวา แปล

ว่า รู้แจ้งแล้ว.

บทว่า ชาน ได้แก่ ทรงทราบไญยธรรมทั้งปวง.

บทว่า วาจาภิกงฺขามิ ความว่า ข้าพระองค์หวังได้พระวาจา

ของพระองค์ เหมือนในฤดูร้อน คนมีร่างกายร้อนลำบากอยากได้น้ำ

ฉะนั้น.

บทว่า สุต ปวสฺส ความว่า ขอพระองค์โปรดโปรยปราย คือ

หลั่งโปรย ประกาศสัททายตนะ กล่าวคือ เสียงที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว.

บาลีว่า สุตสฺส วสฺส ดังนี้ก็มี อธิบายว่า จงโปรยฝนแห่งสัททายตนะ

มีประการดังกล่าวแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 552

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะประกาศวาจาเช่นที่ตนจำนงหวัง จึงกล่าว

คาถาว่า ยทตฺถิก ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปฺปายโน พระเถระกล่าวถึงท่าน-

พระกัปปะนั่นแหละ ด้วยอำนาจความเคารพบูชา.

บทว่า ยถา วิมุตฺโต ความว่า พระเถระทูลถามว่า ท่านพระ-

กัปปะนิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เหมือนพระอเสขะ หรือ

ว่าด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เหมือนพระเสขะ. คำที่เหลือในที่นี้

ปรากฏชัดแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระวังคีสเถระ ทูลอ้อนวอนด้วยคาถา ๑๒

คาถา อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงพยากรณ์ท่านพระนิโครธกัปปเถระ จึงได้

ตรัสคาถามีอาทิว่า อจฺเฉจฺฉิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺเฉจฺฉิ ตณฺห อิธ นามรูเป

ตณฺหาย โสต ทีฆรตฺตานุสยิต ความว่า ตัณหาต่างด้วยกามตัณหา

เป็นต้น ในนามรูปนี้อันนอนเนื่องอยู่นาน เพราะอรรถว่า ยังละไม่ได้

ท่านเรียกว่า กระแสแห่งมารผู้มีชื่อว่า กัณหะ ดังนี้บ้าง, ท่านพระ

กัปปายนะได้ตัดตัณหาในนามรูปนี้อันนอนเนื่องอยู่ ซึ่งเป็นกระแสแห่ง

มารชื่อว่า กัณหะ นั้นแล้ว.

ก็คำว่า อิติ ภควา นี้ เป็นคำของพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย.

ด้วยบทว่า อตาริ ชาตึ มรณ อเสส นี้ ท่านแสดงว่า พระ-

นิโครธกัปปะนั้นตัดตัณหานั้นได้แล้ว ข้ามชาติและมรณะได้สิ้นเชิง คือ

ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้

ประเสริฐด้วยพระจักษุ ๕ ได้ตรัสเท่านี้ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 553

ผู้ประเสริฐด้วยอินทรีย์ ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น หรือด้วยพระจักษุทั้ง

หลายอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น ถูกท่านพระวังคีสะทูลถาม จึงได้ตรัสอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปญฺจเสฏฺโ ได้แก่ ผู้ประเสริฐคือสูงสุด ล้ำเลิศ

ด้วยธรรมขันธ์ ๕ มีศีลขันธ์เป็นต้น หรือด้วยเหตุสัมปทาเป็นต้น ๕

ดังนั้น แม้คำนี้ก็เป็นคำของพระสังคีติกาจารย์.

เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระวังคีสะมีใจชื่นชมภาษิตของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงกล่าวคาถาว่า เอส สุตฺวา ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ม วญฺเจสิ ในคาถาแรก มีความ

ว่า เพราะเหตุที่ท่านพระนิโครธกัปปะปรินิพพานแล้ว ฉะนั้น พระองค์

จะไม่ลวงข้าพระองค์ผู้ปรารถนาว่า ท่านพระนิโครธกัปปะนั้นปรินิพพาน

แล้ว อธิบายว่า ไม่ตรัสให้เคลื่อนคลาด. ความที่เหลือปรากฏชัด

แล้ว.

ในคาถาที่ ๒ เพราะเหตุที่ท่านพระนิโครธกัปปะมุ่งความหลุดพ้น

อยู่ เพราะฉะนั้น พระวังคีสะหมายเอาพระนิโครธกัปปะนั้น จึงทูลว่า

สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีปกติกล่าวอย่างใดทำอย่างนั้น.

บทว่า มจฺจุโน ชาล ตต ได้แก่ ข่ายคือตัณหาของมารอันแผ่

ไปในวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓.

บทว่า มายาวิโน แปลว่า ผู้มีมายามาก. บางอาจารย์กล่าวว่า

ตถา มายาวิโน ดังนี้ก็มี. อาจารย์บางพวกนั้นอธิบายว่า มารผู้เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าหลายครั้ง ด้วยมายาหลายประการนั้น มีมายา

อย่างนั้น.

ในคาถาที่ ๓ บทว่า อาทึ ได้แก่ มูลเหตุ. บทว่า อุปาทานสฺส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 554

ได้แก่ แห่งวัฏฏะ. วัฏฏะท่านเรียกว่า อุปาทาน เพราะอรรถว่าอันกรรม-

กิเลสทั้งหลายที่รุนแรงยึดมั่น.

ท่านพระนิโครธกัปปเถระได้เห็นเบื้องต้นแห่งอุปาทานนั้น ได้แก่

เหตุอันต่างด้วยอวิชชาและตัณหาเป็นต้น ด้วยญาณจักษุ.

พระเถระกล่าวโดยประสงค์ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ควร

ตรัสอย่างนี้ว่า พระกัปปะผู้กัปปิยโคตร.

บทว่า อจฺจคา วต แปลว่า ล่วงไปแล้วหนอ.

บทว่า มจฺจุเธยฺย ความว่า ชื่อว่า บ่วงมัจจุราช เพราะเป็นที่

ที่มัจจุราชดักไว้ ได้แก่ วัฏฏะอัน เป็นไปในภูมิ ๓. พระเถระเกิดความ

ปลื้มใจ จึงกล่าวว่า ท่านนิโครธกัปปะได้ล่วงพ้นบ่วงมัจจุราชที่ข้ามได้

แสนยากไปแล้วหนอ.

บัดนี้ พระวังคีสะมีใจเลื่อมใสในพระศาสดาและในอุปัชฌาย์ของ

ตน เมื่อจะประกาศอาการที่เลื่อมใส จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า ต เทวเทว

ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต เทวเทว วนฺทามิ ความว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เลิศกว่าสัตว์ ๒ เท้า ข้าพระองค์ขอถวาย

บังคมพระองค์ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เพราะเป็นเทพดาผู้สูงสุดกว่าเทพแม้

ทั้งหมดเหล่านั้น คือสมมติเทพ อุปปัตติเทพ วิสุทธิเทพ. จะถวายบังคม

เฉพาะพระองค์อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้ ข้าพระองค์ขอไหว้

พระนิโครธกัปปะด้วย ผู้ชื่อว่าอนุชาตบุตร เพระเกิดแต่ธรรมอัน

สมควรแก่การตรัสรู้สัจจะของพระองค์ ชื่อว่า ผู้แกล้วกล้ามาก เพราะมี

ความเพียรมากโดยได้ชนะมาร ชื่อว่า ผู้ประเสริฐ เพราะอรรถว่าไม่ทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 555

ชั่วเป็นต้น ชื่อว่า ผู้เป็นโอรสคือบุตร เพราะมีชาติอันความพยายามให้

เกิดแล้วที่พระอุระของพระองค์.

พระมหาเถระ ๒๖๔ องค์เหล่านั้นมีพระสุภูติเป็นองค์แรก มีพระ-

วังคีสะเป็นองค์สุดท้าย ท่านยกขึ้นไว้ในพระบาลี ณ ที่นี้ด้วยประการฉะนี้

พระมหาเถระเหล่านั้นเป็นอย่างเดียวกัน โดยความเป็นพระอเสขะ โดย

เป็นผู้ถอดกลอนแล้ว โดยเป็นผู้มีความเห็นเข้ากันได้ โดยเป็นผู้ถอน

เสาระเนียดขึ้นแล้ว โดยเป็นผู้ปลอดอุปสรรค โดยเป็นผู้มีทางไกล

อันถึงแล้ว โดยเป็นผู้ปลงภาระแล้ว โดยเป็นผู้พรากได้แล้ว และโดย

เป็นผู้มีธรรมเครื่องอยู่อันอยู่แล้วในอริยวาส ๑๐ ประการ เหมือนเป็น

อย่างเดียวกัน โดยความเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

จริงอย่างนั้น พระมหาเถระเหล่านั้น ละองค์ ๕ ประกอบด้วย

องค์ ๖ มีธรรมเครื่องอารักขา ๑ มีธรรมเครื่องอิงอาศัย ๔ มีสัจจะ

เฉพาะอย่างบรรเทาแล้ว มีการแสวงหา ๖๐ ประการ อันเป็นไปร่วมกัน

มีความดำริไม่ขุนมัว มีกายสังขารสงบระงับ มีจิตพ้นดีแล้ว และมี

ปัญญาพ้นดีแล้ว. ท่านเป็นอย่างเดียวกัน โดยนัยมีอาทิดังพรรณนามา

ฉะนี้.

ท่านเป็น ๒ อย่าง คืออุปสมบทด้วยเอหิภิกขุ กับไม่อุปสมบท

ด้วยเอหิภิกขุ.

ในข้อที่ว่าเป็น ๒ อย่างนั้น พระปัญจวัคคีย์เถระมีพระอัญญา-

โกณฑัญญะเป็นประธาน พระยสเถระ สหายของท่าน ๔ คน คือวิมละ

สุพาหุ ปุณณชิ ควัมปติ สหายของท่านแม้อื่นอีก ๔๕ คน ภัททวัคคีย์ ๓๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 556

ปุราณชฎิล ๑,๐๐๐ มีพระอุรุเวลกัสสปเป็นประธาน, พระอัครสาวก ๒

ปริพาชกผู้เป็นบริวารของท่าน ๒๕๐, โจรองคุลิมาลเถระ รวมทั้งหมด

๑,๓๕๐. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระเถระอื่น ๆ อีกเหล่านี้ จำนวน ๑,๓๕๐ เป็นผู้มี

ปัญญามาก ทั้งหมดเป็นเอหิภิกษุ.

มิใช่พระเถระเหล่านี้เท่านั้น โดยที่แท้พระเถระแม้เหล่าอื่นก็มีอยู่

มาก. คือเสลพราหมณ์. พราหมณ์ ๓๐๐ ผู้เป็นศิษย์ของเสลพราหมณ์,

ท่านมหากัปปินะ บุรุษ ๑,๐๐๐ ผู้เป็นบริวารของท่าน, บุรุษชาวเมือง

กบิลพัสดุ์ ๑๐,๐๐๐ คน ที่พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงส่งไป, มาณพ

๑๖ คน มีอชิตมาณพเป็นต้น ผู้เป็นศิษย์ของมหาพาวรีย์พราหมณ์ มี

ประมาณ ๑,๐๐๐.

พระเถระอื่นจากที่กล่าวแล้วอย่างนี้ไม่ได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุ แต่

ท่านได้รับการอุปสมบทด้วยสรณคมน์ ๑ อุปสมบทด้วยรับการโอวาท ๑

อุปสมบทด้วยพยากรณ์ปัญหา ๑ อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม ๑.

จริงอยู่ พระเถระทั้งหลายข้างต้นเข้าถึงความเป็นเอหิภิกขุ, แม้

การอุปสมบทด้วยสรณคมน์ ๓ นั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรง

อนุญาตแก่พระเถระเหล่านั้น เหมือนทรงอนุญาตการบรรพชาฉะนั้น นี้

เป็นการอุปสมบทด้วยสรณคมน์. ก็การอุปสมบทที่ทรงอนุญาตแก่พระ

มหากัสสปเถระ โดยการรับโอวาทนี้ว่า กัสสป เพราะเหตุนั้นแหละ

เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะอย่างแรงกล้าไว้ใน

พระเถระ ผู้ใหม่และปานกลาง, กัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

กัสสป เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักฟังธรรม

๑. นับตามอรรถกถาได้ ๑,๓๔๘ ถ้ารวมหัวหน้าชฎิลทั้งสามจะได้ ๑,๓๕๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 557

อย่างใดอย่างหนึ่งอันประกอบด้วยกุศล จักกระทำธรรมทั้งหมดนั้นให้มี

ประโยชน์ กระทำไว้ในใจ ประมวลไว้ด้วยใจทั้งหมด จักเงี่ยหูฟังธรรม

กัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ. กัสสป เพราะเหตุนั้นแหละ เธอ

พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่ละสติอันไปในกาย อันไปพร้อมกับความ

ยินดี กัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ นี้ชื่อว่าอุปสมบทโดยการรับ

โอวาท. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จจงกรมอยู่ที่บุพพาราม ตรัสถาม

ปัญหาอิงอสุภ โดยนัยมีอาทิว่า โสปากะ ธรรมเหล่านี้ที่ว่า อุทธุมาตก-

สัญญา หรือรูปสัญญา มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามี

อรรถอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ดังนี้ โสปากสามเณรมี

อายุ ๗ ขวบ ผู้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลแก้ปัญหาโดยนัยมีอาทิว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมเหล่านี้ที่ว่า อุทธุมาตกสัญญา หรือรูป

สัญญา มีอรรถอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ดังนี้ ทรงมี

พระทัยโปรดปรานว่า โสปากะนี้ เทียมกับพระสัพพัญญุตญาณแล้วแก้

ปัญหานี้ จึงทรงอนุญาตการอุปสมบท นี้ชื่อว่าการอุปสมบทโดยพยากรณ์

ปัญหา. การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม ปรากฏชัดแล้ว.

แม้โดยประเภทอุปสมบทต่อหน้าและลับหลัง ก็มี ๒ อย่าง เหมือน

อุปสมบทมี ๒ อย่าง คืออุปสมบทโดยเป็นเอหิภิกขุ กับไม่อุปสมบทโดยเป็น

เอหิภิกษุ. จริงอยู่ พระสาวกทั้งหลายผู้เกิดในอริยชาติในเวลาที่พระ-

ศาสดาทรงพระชนม์อยู่ มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นต้น ชื่อว่าพระสาวก

ต่อพระพักตร์. ส่วนพระสาวกใดผู้บรรลุคุณวิเศษภายหลังพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าปรินิพพาน พระสาวกนั้น แม้เมื่อพระสรีระ คือธรรมของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 558

พระศาสดามีประจักษ์อยู่ ก็ชื่อว่า พระสาวกลับหลัง เพราะพระสรีระ

ร่างของพระศาสดาไม่ประจักษ์แล้ว.

อนึ่ง พึงทราบพระสาวก ๒ พวก คือเป็นอุภโตภาควิมุตต์ ๑ เป็น

ปัญญาวิมุตต์ ๑ แต่พระสาวกที่มาในพระบาลี ในที่นี้ พึงทราบว่า เป็น

อุภโตภาควิมุตต์เท่านั้น, สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖ เราทำ

ให้แจ้งแล้ว.

โดยประเภทพระสาวกที่มีอปทาน และไม่มีอปทานก็เหมือนกัน

ก็พระสาวกเหล่าใดมีอปทาน กล่าวคือสาวกบารมีที่เป็นไปด้วยบุญกิริยา

ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธสาวกแต่ปางก่อน

พระสาวกเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีอปทาน เหมือนพระเถระทั้งหลาย

ผู้มาในบาลีอปทาน ส่วนพระเถระเหล่าใดไม่มีอปทาน พระเถระเหล่านั้น

ชื่อว่าไม่มีอปทาน.

ถามว่า ก็เว้นจากความถึงพร้อมแห่งเหตุในชาติก่อนเสียทั้งหมด

การตรัสรู้สัจจะจะมีได้ไหม ? ตอบว่า มีไม่ได้. เพราะการบรรลุอริยมรรค

ย่อมไม่มีแก่ผู้เว้นจากอุปนิสัยสมบัติ เพราะการบรรลุอริยมรรคนั้นมีสภาพ

กระทำยากและเกิดมีได้ยากมาก.

สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อ

นั้นเป็นไฉน สิ่งไหนหนอแล ทำได้ยากกว่าหรือเกิดมีได้ยากกว่า ดังนี้

เป็นต้น. ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า ก็พระเถระ

ผู้ไม่มีอปทานนั้น ชื่อว่าไม่มีอปทานเรื่องราว. คำนี้แหละไม่พึงเห็นว่า

พระเถระเหล่าใดเว้นจากอุปนิสัยสมบัติเสียโดยประการทั้งปวง พระเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 559

เหล่านั้นไม่มีอปทานเรื่องราว ดังนี้ เพราะพระเถระเช่นนั้นไม่ประสงค์

เอาในที่นี้.

ส่วนพระเถระเหล่าใดไม่มีเรื่องราวที่เด่นจริง พระเถระเหล่านั้น

ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ว่า ไม่มีอปทานคือเรื่องราว, พระเถระที่เว้นจากอุปนิสัย

เสียทั้งหมดก็เหมือนกัน ท่านไม่กล่าวว่า ไม่มีอปทาน. จริงอย่างนั้น

ในพุทธุปบาทกาล สัตว์เหล่านี้เมื่อเห็นอานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อันแพร่ไปด้วยความสง่าผ่าเผยแห่งพระคุณอันเป็นอจินไตยน่าอัศจรรย์

ย่อมกลับได้ความศรัทธาในพระศาสดา เพราะทรงเป็นผู้นำความเลื่อมใส

มาแม้โดยประการทั้งปวง แก่ชาวโลกผู้ถือประมาณ ๔ จำพวก. อนึ่ง

ย่อมได้เฉพาะศรัทธาในพระสัทธรรม ด้วยการได้ฟังพระสัทธรรม ด้วย

การได้เห็นความปฏิบัติชอบของพระสาวกทั้งหลาย ด้วยการได้เห็นอภินิ-

หารอันวิจิตรแห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณของพระมหาโพธิสัตว์ในกาลบาง-

ครั้งบางคราว และด้วยได้รับโอวาทและอนุศาสน์ในสำนักของพระมหา-

โพธิสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นได้เฉพาะศรัทธาในการฟังพระสัทธรรม

เป็นต้นนั้น ถ้าแม้เห็นโทษในสงสาร และอานิสงส์ในพระนิพพาน

แต่เพราะยังมีกิเลสธุลีในดวงตามาก จึงยังไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดน

เกษมจากโยคะ ย่อมปลูกพืชคือกุศลอันเป็นนิสัยแก่วัฏฏะลงไว้ในสันดาน

ของตน ๆ ในระหว่าง ๆ เพราะการคบหาสัปบุรุษเป็นสิ่งมีอุปการะมาก

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ผิว่าเราพลาดศาสดาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้

ในอนาตกาล เราจักได้อยู่พร้อมหน้าพระโพธิสัตว์องค์นี้

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำพลาดจากท่าตรงหน้า ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 560

ยึดท่าข้างใต้ไว้ ย่อมข้ามแม่น้ำใหญ่ได้ฉันใด เราทั้งหมด

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้ไป ใน

อนาคตกาลจักได้อยู่พร้อมหน้าพระโพธิสัตว์นี้.

ใคร ๆไม่อาจกล่าวได้ว่า กุศลจิตที่บุคคลให้เกิดขึ้นเฉพาะเจาะจง

พระนิพพานอย่างนี้ ย่อมไม่เป็นอุปนิสัยแก่การบรรลุวิโมกข์ ในระหว่าง

กาลสื่อสงไขยแสนกัป. จะป่วยกล่าวไปไยถึงกุศลจิตที่ดำเนินไป เพราะ

ทำบุญญาธิการด้วยอำนาจความปรารถนา. พระสาวกเหล่านั้นแม้มี ๒ อย่าง

ด้วยประการอย่างนี้.

พระสาวกมี ๓ อย่าง คืออัครสาวก มหาสาวก ปกติสาวก.

บรรดาพระสาวก ๓ พวกนั้น พระสาวกเหล่านี้ คือท่านพระ-

อัญญาโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ พระอัสสชิ

พระนาลกะ พระยสะ พระวิมละ พระสุพาหุ พระปุณณชิ พระควัมปติ

พระอุรุเวลกัสสปะ พระนทีกัสสปะ พระคยากัสสปะ พระสารีบุตร

พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระมหากัจจายนะ พระมหา-

โกฏฐิตะ พระมหากัปปินะ พระมหาจุนทะ พระอนุรุทธะ พระกังขา-

เรวตะ พระอานันทะ พระนันทกะ พระภคุ พระนันทะ พระกิมพิละ

พระภัททิยะ พระราหุล พระสีวลี พระอุบาลี พระทัพพะ พระอุปเสนะ

พระขทิรวนิยเรวตะ พระปุณณมันตานีบุตร พระปุณณสุนาปรันตะ

พระโสณกุฏิกัณณะ พระโสณโกฬิวิสะ พระราธะ พระสุภูติ พระ-

องคุลิมาล พระวักกลิ พระกาฬุทายี พระมหาอุทายี พระปิลินทวัจฉะ

พระโสภิตะ พระกุมารกัสสปะ พระรัฏฐปาละ พระวังคีสะ พระสภิยะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 561

พระเสละ พระอุปวานะ พระเมฆิยะ พระสาคตะ พระนาคิตะ พระ-

ลกุณฏกภัททิยะ พระปิณโฑลภารทวาชะ พระมหาปันถกะ พระจูฬ-

ปันถกะ พระพากุละ พระกุณฑธานะ พระทารุจีริยะ พระยโสชะ

พระอชิตะ พระติสสเมตเตยยะ พระปุณณกะ พระเมตตคู พระโธตกะ

พระอุปสิวะ พระนันทะ พระเหมกะ พระโตเทยยะ พระกัปปะ พระ-

ชตุกัณณิ พระภัทราวุธะ พระอุทยะ พระโปสาละ พระโมฆราชะ

พระปิงคิยะ ชื่อว่าเป็นพระอสีติมหาสาวก.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเถระเหล่านั้นเท่านั้น จึงเรียกว่า

มหาสาวก ? ตอบว่า เพราะเป็นผู้มีอภินิหารมาก จริงอย่างนั้น แม้พระ-

อัครสาวกทั้งสองก็จัดเข้าในพระมหาสาวกทั้งหลาย ด้วยว่าพระอัครสาวก

เหล่านั้น แม้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอันเลิศ เพราะบรรลุธรรมอันเลิศใน

พระสาวกทั้งหลาย โดยถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ ก็เรียกว่ามหาสาวก

ดังนี้บ้าง เพราะความเสมอกันโดยความเป็นผู้มีอภินิหารมาก. ส่วนพระ-

มหาสาวกอื่น ๆ เป็นผู้มีอภินิหารมากยิ่งกว่าปกติสาวกทั้งหลาย. จริงอย่าง

นั้น ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ พระอัครสาวก

ทั้งสองนั้นได้กระทำความปรารถนาไว้ เพราะเหตุนั้นแล จึงเป็นผู้เชี่ยวชาญ

ในอภิญญาและสมาบัติอย่างดียิ่ง กับทั้งเป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา.

พระอรหันต์แม้ทั้งปวง ทำศีลวิสุทธิเป็นต้นให้สมบูรณ์ มีจิตตั้งลง

เฉพาะในสติปัฏฐาน ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง ทำกิเลส

ทั้งหลายให้สิ้นไปอย่างสิ้นเชิงตามลำดับมรรค ย่อมดำรงอยู่ในอรหัตผล

โดยแท้ แม้ถึงอย่างนั้น พระอรหันต์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นพระมหาสาวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 562

เพราะเป็นสาวกผู้ใหญ่ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น เพราะเป็นผู้สำเร็จด้วยคุณวิเศษ

อันดียิ่งในสันดานของตน โดยความเป็นใหญ่ด้วยอภินิหาร และเป็น

ผู้ใหญ่ด้วยบุรพประโยค เหมือนภาวนาพิเศษอันเป็นส่วนเบื้องต้นของท่าน

ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะเป็นคุณวิเศษที่ปรารถนาได้แน่ เพราะเป็นผู้หลุดพ้นด้วย

ศรัทธา และของผู้เป็นอุภโตภาควิมุตต์ ก็เป็นคุณวิเศษที่ปรารถนาได้แน่

เพราะเป็นผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาฉะนั้น.

กับบรรดาพระมหาสาวกเหล่านั้นแหละ พระสารีบุตรและพระ-

โมคคัลลานะ ดำรงอยู่ในความเลิศด้วยคุณทั้งปวงพร้อมด้วยความวิเศษ

เพื่อบรรลุบารมีอันอุกฤษฎ์ในปัญญาและสมาธิตามลำดับ ด้วยการปฏิบัติ

ชอบอันตั้งมั่นแล้ว ตลอดกาลนานหาระหว่างมิได้ โดยความเคารพ อัน

นำมาเฉพาะอภินิหารอันเกิดแต่เหตุนั้น อันเป็นเหตุแห่งความสำเร็จในกิจ

อื่นอันดียิ่ง ของสัมมาทิฏฐิและสัมมาสมาธิอันเป็นตัวธุระ โดยเป็น

ประธานในโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย แม้เมื่อความเป็นมหาสาวกจะมีอยู่

ก็เรียกว่าอัครสาวก เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเป็นยอดแห่งสาวกทั้งปวง

อันเป็นสุดแห่งสาวกบารมี เพราะเป็นผู้ใหญ่ด้วยอภินิหาร และเพราะ

เป็นผู้ใหญ่ด้วยบุรพประโยคความเพียรเครื่องประกอบในกาลก่อน.

ก็พระอริยสาวกเหล่าใด เปรียบไม่ได้เลย ดุจพระอัครสาวกและ

มหาสาวก โดยที่แท้มีเป็นหลายร้อย หลายพัน, พระอริยสาวกเหล่านั้น

เป็นปกติสาวก. แต่พระอริยสาวกที่ยกขึ้นสู่บาลีในที่นี้ พอนับจำนวนได้

เพราะกำหนดนับเอาด้วยคาถา แม้ถึงอย่างนั้น บรรดาพระมหาสาวก

ทั้งหลาย บางพวกก็ไม่ได้ยกขึ้นสู่บาลีในที่นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 563

พระอริยสาวกเหล่านั้น แม้มี ๓ เหล่าดังกล่าวมานี้ ก็มีเป็น ๓ เหล่า

โดยประเภทอนิมิตตวิโมกข์เป็นต้น ทั้งมีเป็น ๓ เหล่าด้วยการบรรลุวิโมกข์

ก็มี. จริงอยู่ วิโมกข์มี ๓ ดังนี้ คือสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปป-

ณิหิตวิโมกข์. ก็วิโมกข์ ๓ เหล่านั้น มีสุญญตาเป็นต้น พึงบรรลุด้วยอนุ-

ปัสสนา ๓ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น. ก็เบื้องต้น ย่อมมีการยึดเอาวิปัสสนา

ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอาการมีความไม่เที่ยงเป็นต้น.

ก็ในกาลใด เมื่อวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี พิจารณาสังขาร

ทั้งหลายโดยอาการไม่เที่ยง การออกจากกิเลสด้วยมรรคย่อมมี ในกาลนั้น

วิปัสสนายิ่งไม่ได้ชื่อว่าอนิมิต เพราะเมื่อการถอนราคะนิมิตเป็นต้นแม้จะ

มีอยู่ แต่วิปัสสนานั้นยังไม่ละสังขารนิมิต จึงไม่อาจให้ชื่อว่าอนิมิตแก่

มรรคของตน.

ท่านไม่ได้ยกอนิมิตตวิโมกข์ขึ้นไว้ในอภิธรรมก็จริง ถึงอย่างนั้น

ในพระสูตรย่อมมีได้ เพราะถอนนิมิตมีราคะเป็นต้นแล.

จริงอยู่ ท่านกล่าวความที่วิปัสสนาเป็นอนิมิตตวิโมกข์ และความ

ที่ธรรมอันยอดเยี่ยมเป็นอนิมิตวิโมกข์ไว้ โดยนัยมีอาทิว่า

ท่านจงเจริญวิปัสสนาอันหานิมิตมิได้ และจงถอน

อนุสัยคือมานะ แต่นั้นเพราะละมานะได้ ท่านจักเป็น

ผู้สงบระงับเที่ยวไป ดังนี้.

ในกาลใด เมื่อวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี พิจารณาสังขาร

ทั้งหลาย โดยเป็นทุกข์ การออกจากกิเลสด้วยมรรคย่อมมี ในกาลนั้น

วิปัสสนาย่อมได้ชื่อว่าอัปปณิหิตะ เพราะถอนปณิธิคือที่ตั้งของราคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 564

เป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงมีชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ และมรรคในลำดับ

แห่งวิปัสสนาอันเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์นั้น ก็เป็นอัปปหิตวิโมกขมรรค.

ก็ในกาลใด เมื่อวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี พิจารณาสังขารโดย

อาการเป็นอนัตตา ย่อมมีการออกจากกิเลสด้วยมรรค ในกาลนั้นวิปัสสนา

ย่อมได้ชื่อว่าสุญญตะ เพราะถอนอัตตทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวตน เพราะ

เหตุนั้น จึงได้ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ และมรรคในลำดับแห่งวิปัสสนาอัน

เป็นสุญญตะนั้น ก็ได้ชื่อว่าสุญญตวิโมกขมรรค บรรดาวิโมกข์ ๓ อัน

เป็นอรหัตมรรคนี้ พระเถระเหล่านี้ บางพวกหลุดพ้นด้วยอนิมิตตวิโมกข์,

บางพวกหลุดพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์, บางพวกหลุดพ้นด้วยสุญญต-

วิโมกข์ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มี ๓ พวกโดยประการแห่งอนิมิตต-

วิโมกข์เป็นต้น แม้เพราะการบรรลุวิโมกข์ก็มี ๓ พวก.

มี ๔ พวก โดยวิภาคแห่งปฏิปทา. จริงอยู่ ปฏิปทามี ๔ คือทุกข-

ปฏิปทา ทันธาภิญญา ๑ ทุกขปฏิปทา ขิปปาภิญญา ๑ สุขปฏิปทา

ทันธาภิญญา ๑ สุขปฏิปทา ขิปปาภิญญา ๑. ในปฏิปทา ๔ อย่างนั้น

ในการยึดมั่นวิปัสสนาในจิตสันดาน อันมีรูปเป็นประธานเป็นต้น ผู้ใด

มีจิตสันดานยึดมั่นวิปัสสนามีรูปเป็นประธาน กำหนดเอามหาภูตรูป ๔

แล้วกำหนดเอาอุปาทารูป กำหนดอรูป ก็เมื่อกำหนดรูปและอรูป ย่อม

อาจเป็นผู้เหน็ดเหนื่อยกำหนดได้โดยยาก โดยลำบาก สำหรับท่านผู้นั้น

ชื่อว่ามีปฏิปทา คือการปฏิบัติลำบาก. ส่วนสำหรับท่านผู้กำหนดรูปและ

อรูป ย่อมชื่อว่าตรัสรู้ได้ช้า เพราะมรรคปรากฏได้ช้าในการกำหนดอยู่

กับวิปัสสนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 565

ฝ่ายท่านผู้ใดกำหนดเอารูปและอรูปแล้ว เมื่อจะกำหนดนามและรูป

ย่อมเป็นผู้เหน็ดเหนื่อยกำหนดเอาโดยยาก โดยลำบาก และเมื่อกำหนด

นามและรูปได้แล้ว เมื่ออบรมบ่มวิปัสสนาอยู่ ย่อมอาจทำมรรคให้เกิด

ขึ้นได้โดยเวลาเนิ่นนาน แม้สำหรับผู้นั้น ก็ย่อมชื่อว่า ทุกขปฏิปทา ทันธา-

ภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า.

อีกท่านหนึ่ง กำหนดลงตรงนามและรูป ก็กำหนดเอาปัจจัยทั้งหลาย

เป็นผู้เหน็ดเหนื่อย กำหนดเอาได้โดยยาก โดยลำบาก. ก็ครั้นกำหนด

เอาปัจจัยทั้งหลายได้แล้ว อบรมบ่มวิปัสสนาอยู่ ย่อมทำมรรคให้เกิดขึ้น

โดยกาลช้านาน แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ย่อมชื่อว่า ทุกขปฏิปทา ทันธาภิญญา

ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า.

อีกท่านหนึ่ง แม้ปัจจัยทั้งหลายก็กำหนดได้แล้ว เมื่อจะรู้แจ้ง

ลักษณะทั้งหลาย ย่อมรู้แจ้งได้โดยาก โดยลำบาก และรู้แจ้งลักษณะแล้ว

อบรมบ่มวิปัสสนาอยู่ ทำมรรคให้เกิดขึ้นโดยเวลาเนิ่นนาน แม้เมื่อเป็น

อย่างนี้ ก็ย่อมชื่อว่า ทุกขปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า.

อีกท่านหนึ่ง แม้ลักษณะทั้งหลายก็รู้แจ้งแล้ว เมื่อวิปัสสนาญาณ

แก่กล้าผ่องใสเป็นไปอยู่ เมื่อครอบงำความชอบใจในวิปัสสนาที่เกิดขึ้น

ลำบากอยู่ ย่อมรู้แจ้งได้โดยยาก โดยลำบาก และรู้แจ้งลักษณะแล้ว

อบรมบ่มวิปัสสนาอยู่ ย่อมทำมรรคให้เกิดขึ้นโดยเวลาช้านาน แม้เมื่อ

เป็นอย่างนี้ ก็ย่อมชื่อว่า ทุกขปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้

ได้ช้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 566

บรรดาปฏิปทาตามที่กล่าวแล้วนั้นแหละ พึงทราบปฏิปทาที่ปฏิบัติ

ลำบาก แต่รู้ได้เร็ว เพราะมรรคปรากฏได้เร็ว แต่ในเมื่อปฏิปทาเหล่านั้น

สำเร็จได้โดยไม่ยาก พึงทราบปฏิปทาที่ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า เพราะ

มรรคปรากฏช้า และปฏิปทาที่ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว เพราะมรรค

ปรากฏเร็ว ตามลำดับ.

พึงทราบพระเถระ ๔ จำพวก โดยการบรรลุพระอรหัตมรรค

ด้วยอำนาจปฏิปทา ๔ ประการนี้. เพราะเว้นจากปฏิปทาทั้งหลายเสีย การ

บรรลุอริยมรรคจะมีไม่ได้. จริงอย่างนั้น ในพระอภิธรรม ท่านจึงจำแนก

อริยมรรคพร้อมกับปฏิปทาเท่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า สมัยใด พระโยคาวจร

เจริญโลกุตรฌาน อันนำออกจากโลก เป็นเครื่องนำไปสู่พระนิพพาน

ฯ ล ฯ อันเป็นทุกขปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า พระอริยบุคคล ๔ จำพวก โดยจำแนกตามปฏิปทา ๔.

พระอริยบุคคลมี ๕ จำพวก โดยการจำแนกผู้ยิ่งด้วยอินทรีย์. พระ-

อริยบุคคลเหล่านั้น แม้มีความเสมอกันโดยการตรัสรู้สัจจะ แต่พระเถระ

บางพวกเป็นผู้ยิ่งด้วยศรัทธา ดุจพระวักกลิเถระ, บางพวกเป็นผู้ยิ่งด้วย

ความเพียร ดุจพระมหาโสณโกฬิวิสเถระ, บางพวกเป็นผู้ยิ่งด้วยสติ ดุจ

พระโสภิตเถระ, บางพวกเป็นผู้ยิ่งด้วยสมาธิ ดุจพระจูฬปันถกเถระ,

บางพวกเป็นผู้ยิ่งด้วยปัญญา ดุจพระอานันทเถระ.

จริงอย่างนั้น พระอานันทเถระนั้น พระศาสดาทรงยกย่องไว้ใน

ความเป็นผู้มีคติ และในความเป็นผู้มีความฉลาดในอรรถเป็นต้น. ก็วิภาค

การจำแนกนี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจคุณวิเศษ ซึ่งมีอยู่ในกาลอันเป็นส่วน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 567

เบื้องต้น แต่ในขณะอรหัตมรรค ท่านประสงค์เอาอินทรีย์แม้ที่เหลือเป็น

สภาพเดียวกันแล.

อนึ่ง มี ๕ จำพวก คือท่านผู้บรรลุบารมี คือคุณอันยอดเยี่ยม

ท่านผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ท่านผู้มีอภิญญา ๖ ท่านผู้มีวิชชา ๓ และท่านผู้

เป็นสุกขวิปัสสก.

จริงอยู่ บรรดาพระสาวกทั้งหลาย พระสาวกบางพวกบรรลุถึงที่สุด

สาวกบารมี เหมือนท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโมคคัลลานะ.

บางพวกบรรลุปฏิสัมภิทา ด้วยอำนาจปฏิสัมภิทา ๔ นี้ คืออัตถ-

ปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ๑ ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉาน

ในธรรม ๑ นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในภาษา ๑ ปฏิภาณ-

ปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในไหวพริบ ๑ บางพวกมีอภิญญา ๖

ด้วยอำนาจอภิญญาทั้งหลายมีอิทธิวิธญาณ ความรู้ในการแสดงฤทธิ์ได้

เป็นต้น.

บางพวกมีวิชชา ๓ ด้ายอำนาจวิชชา ๓ มีบุพเพนิวาสญาณ ความรู้

ระลึกชาติได้ เป็นต้น.

ส่วนพระเถระผู้ตั้งอยู่ในสมาธิ เพียงสักว่า ขณิกสมาธิ แล้วเริ่มตั้ง

วิปัสสนาบรรลุอรหัตมรรคนั้น ชื่อว่าสุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนา

ล้วนๆ เพราะมีแต่วิปัสสนาล้วน ไม่มีการสืบต่อในภายในวิปัสสนา

ด้วยองค์ฌานอันเกิดแต่สมาธิในเบื้องต้น และในระหว่าง ๆ. ก็วิภาคนี้

ท่านกล่าวโดยเพ่งภาวะทั่ว ๆ ไปแห่งพระสาวกทั้งหลาย.

พระเถระผู้มาในบาลีในที่นี้ ไม่มีสุกขวิปัสสกเลย. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 568

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘

อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธ-

เจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

พระเถระมี ๕ จำพวก ด้วยอำนาจท่านผู้บรรลุถึงบารมี เป็นต้น

ด้วยประการอย่างนี้.

เมื่อว่าด้วยอำนาจวิมุตต์ มีอนิมิตตวิมุตต์เป็นต้น พระเถระมี ๖ พวก

มีท่านผู้เป็นอนิมิตควิมุตต์ เป็นต้น.

พระเถระ ๒ พวก คือสัทธาธุระ ปัญญาธุระ. อนึ่ง มี ๒ พวก

คืออัปปณิหิตวิมุตต์ และปัญญาวิมุตต์. ก็เมื่อว่าด้วยอนิมิตตวิมุตต์เป็นต้น

พระเถระมี ๗ จำพวก ด้วยประเภทแห่งท่านผู้หลุดพ้นโดยปริยาย ด้วย

ประการอย่างนี้.

จริงอยู่ ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุตต์ ๕ คือท่านผู้กระทำอรูปสมาบัติ

หนึ่ง ๆ ในอรูปสมาบัติ ๔ ให้เป็นบาทแล้วเจริญวิปัสสนาบรรลุพระ-

อรหัต เป็น ๔ และท่านผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้วบรรลุพระอรหัต ๑

และท่านผู้เป็นปัญญาวิมุตต์ ๒ คือสัทธาธุระและปัญญาธุระ รวมเป็น ๗

พวก โดยชนิดแห่งวิมุตติ ด้วยประการอย่างนี้.

มี ๘ พวก โดยวิภาคแห่งธุระและปฏิปทา. จริงอยู่ ท่านผู้ใดออก

จากทุกข์ ด้วยทุกขปฏิปทา ทันธาภิญญา ท่านผู้นั้นเป็น ๒ อย่าง โดย

สัทธาธุระและปัญญาธุระ, แม้ในปฏิปทาที่เหลือก็เหมือนกัน พระเถระมี

๘ พวก ด้วยการวิภาคโดยธุระและปฏิปทา อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

มี ๙ พวก โดยชนิดแห่งวิมุตติ. มี ๙ พวกอย่างนี้ คืออุภโตภาค-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 569

วิมุตต์ ๕ ปัญญาวิมุตต์ ๒ พระอัครสาวกทั้งสองผู้บรรลุบารมีในปัญญา-

วิมุตติและเจโตวิมุตติ.

มี ๑๐ พวกโดยวิมุตตินั่นแหละ. ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุตต์ ๕ คือ

ท่านผู้กระทำอรูปาวจรฌานหนึ่ง ๆ ในบรรดาอรูปาวจรฌาน ๔ ให้เป็น

บาทแล้วบรรลุพระอรหัต เป็น ๔ และท่านผู้เป็นสุกขวิปัสสก ๑ กับท่าน

ผู้เป็นอุภโตภาควิมุตต์ตามที่กล่าวมาแล้ว ๕ รวมเป็นพระเถระ ๑๐ พวก

โดยชนิดแห่งวิมุตตินั่นแล ด้วยประการอย่างนี้.

พระเถระ ๑๐ พวกนั้น เมื่อแตกออกด้วยประเภทธุระตามที่กล่าว

แล้ว ย่อมเป็น ๒๐ พวก.

เมื่อแตกออกโดยประเภทปฏิปทา ย่อมเป็น ๔๐ พวก เมื่อแตก

ออกอีกโดยประเภทปฏิปทาและโดยประเภทธุระ ก็เป็น ๘๐ พวก. ถ้าว่า

พระเถระ ๔๐ พวกนั้น แตกออกโดยจำแนกเป็นสุญญตวิมุตต์เป็นต้น เป็น

๒๘๐ พวก ท่านทั้ง ๒๔๐ พวกนั้น เมื่อแตกออกไปโดยความเป็นผู้ยิ่ง

ด้วยอินทรีย์ เป็น ๑,๒๐๐ พวก. บรรดาพระอริยสาวกผู้ดำรงอยู่ในมรรค

และผล ซึ่งจำแนกออกไปหลายประเภท ด้วยอำนาจแห่งคุณของตน ๆ

อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

พระอริยสาวกเหล่าใดประกาศเรื่องราวแห่งข้อปฏิบัติเป็นต้นของตน

และพระอริยสาวกเหล่าใดได้กล่าวคาถาด้วยอำนาจอุทานเป็นต้น มีอาทิว่า

ฉนฺนา เม กุฏิกา กุฎีเรามุงบังแล้ว และพระอริยสาวกเหล่านั้น ท่าน

ยกขึ้นสังคายนาในที่นี้ โดยมุขคือคาถา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 570

สีหานว น ทนฺตาน ฯ เป ฯ ผุสิตฺวา อจฺจุต ปท ดังนี้เป็นต้น. พึงทราบ

กถาเบ็ดเตล็ดในเรื่องนี้ ด้วยประการอย่างนี้.

จบอรรถกถาวังคีสเถรคาถาที่ ๑

จบปรมัตถทีปนี

อรรถกถาเถรคาถา มหานิบาต

พระอาจารย์ธัมมปาลเถระ ผู้อยู่ในพทรติตถมหาวิหาร

รจนา