ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย เถรคาถา

เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๓

ตอนที่ ๓

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เถรคาถา จตุกกนิบาต

๑. นาคสมาลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระนาคสมาลเถระ

[๓๒๓] เราเดินเข้าไปในบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิง

ฟ้อนรำคนหนึ่ง ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ นุ่งห่ม

ผ้าสวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์

ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่ามกลางพระนคร

เป็นดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะ-

ฉะนั้น การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึง

บังเกิดขึ้นแก่เรา อาทีนวโทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่าย

ก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้นจิตของเราก็หลุดพ้นจากสรรพกิเลส

ขอท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ เราได้

บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

จบนาคสมาลเถรคาถา</I

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 2

อรรถกถา จตุกกนิบาต

อรรถกถานาคสมาลเถรคาถาที่ ๑

บทว่า อลงฺกตา ได้แก่ คาถาของ ท่านพระนาคสมาลเถระ เรื่อง

นั้นมีเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ ท่านพระ-

นาคสมาลเถระนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา ใน

คิมหสมัย ได้เห็นพระศาสดาเสด็จดำเนินบนภาคพื้นอันร้อนระอุไปด้วย

แสงพระอาทิตย์ จึงได้ถวายร่ม.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสักยราชตระกูล ได้นามว่า นาคสมาละ

เจริญวัยแล้วได้ศรัทธาบวชในสมาคมแห่งพระญาติ ได้เป็นผู้อุปัฏฐากพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตลอดกาลเล็กน้อย. วันหนึ่งท่านเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร

เห็นหญิงนักฟ้อนคนหนึ่ง ประดับตกแต่งแล้วฟ้อนอยู่ ในเมื่อดนตรีกำลัง

ประโคมอยู่ในหนทางใหญ่ เริ่มตั้งความสิ้นไปและความเสื่อมไปว่า วาโย-

ธาตุอันกระทำให้วิจิตรนี้ ย่อมเปลี่ยนแปรกรัชกายไปโดยประการนั้น ๆ

ด้วยอำนาจความแผ่ไป น่าอัศจรรย์สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้แล้ว ได้

บำเพ็ญขวนขวายวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้

ในอปทานว่า

แผ่นดินร้อนดังเพลิง แผ่นดินดุจมีเถ้ารึงไหล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตระ เสด็จจงกรมอยู่

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๔๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 3

ที่กลางแจ้ง เรากั้นร่มขาวเดินทางไป ได้เห็นพระสัม-

พุทธเจ้าเข้าไปกลางแจ้งนั้น แล้วเกิดความคิดขึ้นว่า ภูมิ-

ภาคถูกพยับแดดแผ่คลุม แผ่นดินนี้จึงเป็นเหมือนถ่าน

เพลิง พายุใหญ่ทำสรีรกายให้ลอยขึ้นได้ตั้งขึ้นอยู่ หนาว

ร้อน ย่อมทำให้ลำบาก ขอได้โดยรับร่มนี้อันเป็นเครื่อง

ป้องกันลมและแดดเถิด ข้าพระองค์จักสัมผัสพระนิพพาน

พระชินเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ ผู้ทรงอนุเคราะห์

ประกอบด้วยพระกรุณา มีพระยศใหญ่ ทรงทราบความ

ดำริของเราแล้ว ทรงรับไว้ในกาลนั้น เราจักเป็นจอม

เทวดา เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ กัป ได้เป็นพระ-

เจ้าจักรพรรดิราช ๕๐๐ ครั้ง และได้เป็นเจ้าประเทศราช

อันไพบูลย์โดยคณานับมิได้ เราได้เสวยกรรมของตนซึ่ง

ก่อสร้างไว้ดีแล้วในปางก่อน นี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา

ภพที่สุดกำลังเป็นไปอยู่ ถึงทุกวันที่ชนทั้งหลายก็พากัน

กั้นเศวตฉัตรให้เราตลอดกาลทุกเมื่อ ในแสนกัปแต่ภัทร-

กัปนี้ เราได้ถวายร่มนั้นไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง

การถวายร่ม เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว... ฯลฯ ... พระ-

พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็แลครั้นท่านพระพระอรหัตแล้ว ได้พยากรณ์พระอรหัตผล โดย

ระบุข้อปฏิบัติของตนขึ้นเป็นประธานด้วย ๔ คาถาว่า

เราเดินทางเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิง

ฟ้อนรำคนหนึ่ง ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์นุ่งห่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 4

สวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยกระแจะจันทร์ ฟ้อน

รำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่านกลางพระนคร เป็น

ดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น

การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้น

แก่เรา อาทีนวโทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลง

มั่น ลำดับนั้น จิตของเราก็หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอ

ท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ เราได้บรรลุ

วิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลงฺกตา ความว่า มีตัวประดับด้วย

อาภรณ์มีกำไรมือเป็นต้น. บทว่า สุวสนา ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มผ้าดี คือ

นุ่งผ้างาม. บทว่า มาลินี ได้แก่ทัดทรงดอกไม้ คือมีพวงดอกไม้ประดับ

แล้ว. บทว่า จนฺทนุสฺสทา ได้แก่มีร่างกายลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์.

บทว่า มชฺเฌ มหาปเถ นารี ตูริเย นจฺจติ นฏฺฏกี ความว่า หญิงนักฟ้อน

คือหญิงฟ้อนรำคนหนึ่ง ในสถานที่ตามที่กล่าวแล้ว ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรี

มีองค์ ๕ ในท่ามกลางถนนพระนคร คือกระทำการฟ้อนรำอยู่ตาม

ปรารถนา. บทว่า ปิณฺฑิกาย ได้แก่ เพื่อภิกษา. บทว่า ปวิฏฺโมฺหิ

ได้แก่ เราเข้าไปยังพระนคร. บทว่า คจฺฉนฺโต น อุทิกฺขิส ความว่า เมื่อ

เดินไปบนถนนในพระนคร ตรวจดูถนนเพื่อกำจัดอันตราย ได้แลดูหญิง

นักฟ้อนนั้น. ถามว่าเหมือนอะไร ? แก้ว่า เหมือนบ่วงแห่งมัจจุราช อัน

ธรรมชาติมาดักไว้, อธิบายว่า อารมณ์มีรูปเป็นต้น อันเป็นบ่วงแห่ง

มัจจุ คือแห่งมัจจุราช อันธรรมชาติดักไว้ คือเที่ยวสัญจรอยู่ในโลก ย่อม

นำมาซึ่งความพินาศโดยส่วนเดียวฉันใด หญิงนักฟ้อนแม้นั้นก็ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 5

ย่อมนำมาซึ่งความพินาศโดยส่วนเดียวแก่ปุถุชนคนบอด เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่าเสมือนกับบ่วงแห่งมัจจุราช.

บทว่า ตโต แปลว่า เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ข้องอยู่

เสมือนบ่วงแห่งมัจจุราช. บทว่า เม ได้แก่ เรา. บทว่า มนสีกาโร

โยนิโส อุทปชฺชถ ความว่า การกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเกิดขึ้นแล้ว

อย่างนี้ว่า ร่างกระดูกนี้ อันเอ็นเกี่ยวพันไว้ อันเนื้อฉาบทาไว้ อันผิวหนัง

ปิดบังไว้ ไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดและปฏิกูล มีอันปิดบัง ย่ำยี

ทำลาย กำจัดความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา จึงแสดงอาการอันแปลกเช่นนี้.

บทว่า อาทีนโว ปาตุรหุ ความว่า เมื่อว่าโดยหัวข้อคือการเข้าไป

ทรงไว้ตามสภาวะของกายอย่างนี้ เมื่อเรามนสิการ ถือความเกิดขึ้นและ

ความเสื่อมไป และความผุพังไปพร้อมด้วยกิจ (ตามความเป็นจริง) แห่ง

กายนั้น และแห่งจิตและเจตสิกอันอาศัยกายนั้น และเมื่อจิตและเจตสิก

ปรากฏโดยความเป็นภัย เหมือนเมื่อยักษ์และรากษสเป็นต้นปรากฏ

อาทีนวโทษมีอาการเป็นอันมากปรากฏแก่เราในเพราะเหตุนั้น และย่อม

ได้รับอานิสงส์ในพระนิพพานโดยเป็นปฏิปักษ์ต่ออาทีนวโทษนั้น.

บทว่า นิพฺพิทา สมติฏฺถ ความว่า ความเบื่อหน่าย ย่อมสำเร็จ

ด้วยอานุภาพแห่งอาทีนวานุปัสสนา การตามพิจารณาเห็นโทษ คือ

นิพพิทาญาณย่อมสำเร็จแล้วในหทัยของเรา, จิตในการจับรูปธรรม และ

นามธรรมเหล่านั้น แม้เพียงครู่เดียวก็ไม่ปรากฏ, โดยที่แท้เกิด แต่เพียง

วางเฉยในรูปธรรมนามธรรมนั้นเท่านั้น ด้วยอำนาจความเป็นผู้ใคร่จะพ้น

เป็นต้น.

บทว่า ตโต ความว่า เบื้องหน้าแต่วิปัสสนาญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 6

บทว่า จิตฺต วิมุจฺจิ เม ความว่า จิตของเราได้หลุดพ้นแล้วจาก

สรรพกิเลสโดยลำดับแห่งมรรค ในเมื่อโลกุตรภาวนาเป็นไปอยู่. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงแสดงเหตุเกิดขึ้นแห่งผล. จริงอยู่ในขณะแห่งมรรคจิต

กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า ย่อมหลุดพ้น. ในขณะแห่งผลจิต กิเลสชื่อว่าหลุดพ้น

แล้ว ฉะนี้แล. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถานาคสมาลเถรคาถาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 7

๒. ภคุเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระภคุเถระ

[๓๒๔] ข้าพระองค์ถูกความง่วงเหงาหาวนอนครอบงำ ได้ออก

ไปจากวิหาร ขึ้นสู่ที่จงกรม ล้มลงที่แผ่นดิน ณ ที่ใกล้

บันไดจงกรมนั้นนั่นเอง ข้าพระองค์ลูบเนื้อลูบตัวแล้วขึ้นสู่

ที่จงกรมอีก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วในภายในเดินจงกรมอยู่

แต่นั้น การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย ได้

บังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ อาทีนวโทษปรากฏแก่ข้าพระองค์

ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้น จิตของข้าพระองค์

ก็หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอพระองค์จงทอดพระเนตร

ดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ ข้าพระองค์ได้บรรลุ

วิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

จบภคุเถรคาถา

อรรถกถาภคุเถรคาถาที่ ๒

คาถาแห่งท่านพระภคุเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อห มิทฺเธน ดังนี้. เรื่อง

นั้นมีเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตระ

ท่านพระภคุเถระนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา เมื่อ

พระศาสดาปรินิพพานแล้ว บูชาพระธาตุทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า

นั้นด้วยดอกไม้ทั้งหลาย.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทพชั้นนิมมานรดี ท่องเที่ยวไป ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 8

มา ๆ ในเทวโลก และมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสักย-

ราชตระกูล ได้นามว่าภคุ เจริญวัยแล้ว ออกบวชพร้อมท่านพระอนุรุทธะ

และพระกิมิละ อยู่ในพาลกโลณกคาม วันหนึ่ง เพื่อจะบรรเทาความที่ถูก

ถีนมิทธะครอบงำ จึงออกจากวิหาร ขึ้นสู่ที่จงกรมล้มลง ทำการล้มนั้น

นั่นแหละให้เป็นขอสับ บรรเทาถีนมิทธะ เจริญวิปัสสนาบรรลุพระ-

อรหัตแล้ว. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ ผู้มี

ยศใหญ่ปรินิพพานแล้ว เราได้เอาผอบอันเต็มด้วยดอกไม่

ไปบูชาพระสรีระ เรายังจิตให้เลื่อมใสในบุญกรรมนั้นแล้ว

ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นนิมมานรดี เราถึงจะไปอยู่ยังเทวโลก ก็

ยังประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ฝนดอกไม้ตกจากฟากฟ้า

เพื่อเราตลอดกาลทั้งปวง เราสมภพในมนุษย์ก็เป็นพระ-

ราชาผู้มียศใหญ่ ในอัตภาพนั้นฝนดอกโกสุมตกลงมาเพื่อ

เราทุกเมื่อ เพราะอำนาจที่เอาดอกไม้บูชาที่พระสรีระของ

พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นเหตุนี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายของ

เรา ภพที่สุดกำลังเป็นไป ถึงทุกวันนี้ ฝนดอกไม้ก็ตกลง

มาเพื่อเราทุกเวลา ในแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ เราเอาดอกไม้

ใดบูชา ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง

การบูชาพระสรีระ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...ฯลฯ...

พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็แลครั้น ท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ปล่อยให้กาลล่วงไปด้วยสุขอัน

เกิดแต่ผลจิต และสุขอันเกิดแต่พระนิพพาน อันพระศาสดาผู้เสด็จเข้าไป

๑. ม. ม. ๑๓/ข้อ ๑๙๕. กิมพิละ. ๒. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๔๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 9

ใกล้เพื่อทรงชื่นชมถึงการอยู่โดดเดี่ยวแล้วตรัสถามว่า ภิกษุ เธอเป็นผู้ไม่

ประมาทอยู่บ้างหรือ เมื่อจะประกาศการอยู่ด้วยความไม่ประมาทของตน

จึงได้ภาษิต ๔ คาถาเหล่านี้ว่า

ข้าพระองค์ถูกความง่วงเหงาหาวนอนครอบงำ ได้ออก

ไปจากวิหารขึ้นสู่ที่จงกรม ล้มลงที่แผ่นดิน ณ ที่ใกล้บันได

จงกรมนั้นนั่นเอง ข้าพระองค์ลูบเนื้อลูบตัวแล้วขึ้นสู่ที่

จงกรมอีก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วในภายใน เดินจงกรมอยู่

แต่นั้นการกระทำไว้ในใจ โดยอุบายอันแยบคาย ได้

บังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ อาทีนรโทษปรากฏแก่ข้า-

พระองค์ ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้น จิตของ

ข้าพระองค์ก็หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอพระองค์จง

ทอดพระเนตรดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ ข้า-

พระองค์ได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ ได้ทำกิจพระพุทธศาสนา

เสร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิทฺเธน ปกโต ความว่า ผู้ถูกมิทธะ

อันกำจัดความไม่สามารถเป็นสภาวะ กล่าวคือความเกียจคร้านแห่งกาย

ครอบงำ.

บทว่า วิหารา ได้แก่ จากเสนาสนะ.

บทว่า อุปนิกฺขมึ ได้แก่ออกไปเพื่อเดินจงกรม.

บทว่า ตตฺเถว ปปตึ ฉมา ความว่า ล้มลงที่ภาคพื้น เพราะถูก

ความหลับครอบงำ ที่บันไดจงกรมนั้นนั่นแล,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 10

บทว่า คตฺตานิ ปริมชฺชิตฺวา ความว่า ตามนวดอวัยวะแห่งร่างกาย

ตน โดยล้มลงที่ภาคพื้นเกลือกฝุ่นอยู่.

บทว่า ปุนปารุยฺห จงฺกมน ความว่า ไม่ถึงทำหน้าสะยิ้วว่า ยัดนี้

เราล้มแล้ว ขึ้นสู่ที่จงกรมแม้อีก.

บทว่า อชฺฌตฺต สุสมาหิโต ประกอบความว่า เรามีจิตตั้งมั่น

แล้วด้วยดี คือเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งจงกรม ด้วยการข่มนิวรณ์

ในกัมมัฏฐาน อันเป็นอารมณ์ภายใน. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล

ก็นี้แลเป็นการพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ.

จบอรรถกถาภคุเถรคาถาที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 11

๓. สภิยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสภิยเถระ

[๓๒๕] พวกอื่นเว้นบัณฑิตย่อมรู้สึกว่า พวกเราที่ทะเลาะ

วิวาทกันนี้ จะพากันยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้ พวกใด

มารู้ชัดในท่ามกลางสงฆ์นั้นว่า พวกเราพากันไปสู่ที่ใกล้

มัจจุราช ความทะเลาะวิวาท ย่อมระงับไปได้จากสำนัก

ของพวกนั้น เมื่อใด เขาไม่รู้ธรรมอันเป็นอุบายระงับการ

ทะเลาะวิวาทตามความเป็นจริง ประพฤติอยู่ดุจไม่แก่

ไม่ตาย เมื่อนั้น ความทะเลาะวิวาทก็ไม่สงบลงได้ ก็ชน

เหล่าใดมารู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริง เมื่อสัตว์ทั้งหลาย

พากันเร่าร้อนอยู่ ชนเหล่านั้นย่อมไม่เร่าร้อน ความ

ทะเลาะวิวาทของพวกเขา ย่อมระงับไปได้โดยส่วนเดียว

การงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน วัตรอันเศร้าหมอง

และพรหมจรรย์อันบุคคลพึงระลึกด้วยความสงสัย กรรม

๓ อย่างนั้น ย่อมไม่มีผลมาก ผู้ใดไม่มีความเคารพใน

เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ห่างไกลจาก

สัทธรรมเหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น.

จบสภิยเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 12

อรรถกถาสภิยคาถาที่ ๓

คาถาของท่านสภิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปเร จ ดังนี้. เรื่องนั้น

มีเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้สร้างบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

เมื่อสั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนาม

ว่ากกุสันธะ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่ง

เห็นพระศาสดาเสด็จไปเพื่อประทับอยู่พระสำราญในกลางวัน มีจิตเลื่อมใส

ได้ถวายรองเท้า.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก เมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อสุวรรณเจดีย์ประดิษฐานแล้ว

พร้อมด้วยกุลบุตร ๖ คน มีตนเป็นที่ ๗ บวชในพระศาสนา เรียนพระ-

กรรมฐานอยู่ในป่า เมื่อไม่สามารถให้คุณวิเศษบังเกิดได้ จึงกล่าวกะกุล-

บุตรนอกนี้ว่า พวกเราเมื่อเที่ยวไปบิณฑบาต ยังมีความอาลัยในชีวิต และ

เพราะมีความอาลัยในชีวิต พวกเราก็ไม่สามารถจะบรรลุโลกุตรธรรมได้.

และการกระทำกาละอย่างปุถุชนย่อมเป็นทุกข์ เอาเถอะพวกเราจะผูกบันได

ขึ้นสู่ภูเขา ไม่อาลัยในกายและชีวิต กระทำสมณธรรม. ภิกษุเหล่านั้น

ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น.

ลำดับนั้น พระมหาเถระได้อภิญญา ๖ ในวันนั้นนั่นเอง เพราะ

ความที่ตนเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยธรรมอันเป็นอุปนิสัย นำบิณฑบาตจาก

อุตตรกุรุทวีปเข้าไปให้แก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุนอกนี้กล่าวว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ท่านทำกิจเสร็จแล้ว กิจเพียงเจรจาปราศรัยกับท่านเป็นการ

เนิ่นช้า, พวกเราจะกระทำเฉพาะสมณธรรมเท่านั้น ขอท่านจงประกอบ

เนือง ๆ ซึ่งสุขวิหารธรรม ในธรรมที่ท่านเห็นแล้วเถิด ดังนี้แล้วได้ห้าม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 13

บิณฑบาต. พระเถระเมื่อไม่สามารถเพื่อจะให้ภิกษุเหล่านั้นรับได้จึงได้

ไปแล้ว.

ลำดับนั้น โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุ

รูปหนึ่ง ทำให้แจ้งพระอนาคามิผล มีอภิญญาเป็นเครื่องแวดล้อม ได้

กล่าวอย่างนั้นนั่นแล ถูกภิกษุเหล่านั้นห้ามแล้ว ก็ได้ไป. ในบรรดาภิกษุ

เหล่านั้น พระขีณาสพเถระปรินิพพานแล้ว. ภิกษุผู้อนาคามีเกิดในชั้น

สุทธาวาส. ภิกษุนอกนั้นกระทำกาลกิริยาอย่างปุถุชนนั้นเอง เสวยทิพย-

สมบัติโดยอนุโลมและปฏิโลมในกามาพจรสวรรค์ ๖ ชั้น ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา จุติจากเทวโลกแล้ว คนหนึ่งถือปฏิสนธิใน

มัลลราชตระกูล คนหนึ่งถือปฏิสนธิในคันธารราชตระกูล คนหนึ่งถือ

ปฏิสนธิในภายนอกประเทศ, คนหนึ่งถือปฏิสนธิในท้องของนางกุลทาริกา

คนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์, ฝ่ายสภิยะถือปฏิสนธิในท้องของนางปริพาชิกา

คนหนึ่ง.

ได้ยินว่า นางปริพาชิกานั้น เป็นธิดาของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง.

มารดาบิดาจึงได้มอบธิดานั้นให้แก่ปริพาชกคนหนึ่ง ด้วยพูดว่า ขอธิดา

ของเราจงรู้ลัทธิอื่นเถิด. ลำดับนั้น ปริพาชกคนหนึ่งปฏิบัติผิดกับนาง.

นางตั้งครรภ์กับปริพาชกนั้น ปริพาชกเห็นนางมีครรภ์ได้ออกไปแล้ว

นางไปในที่อื่นคลอดบุตรในสภาในระหว่างทาง. เพราะเหตุนั้น เขาจึง

ได้นามว่า สภิยะ นั่นเอง.

เขาเจริญวัยแล้ว บวชเป็นปริพาชก เรียนศาสตร์ต่าง ๆ เป็นมหาวาที

เที่ยวขวนขวายในวาทะ ไม่เห็นบุคคลผู้เสมือนกับตน จึงให้สร้างอาศรม

ใกล้ประตูพระนคร ให้ขัตติยกุมารเป็นต้นศึกษาศิลปะอยู่ ถือเอาปัญหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 14

๒๐ ข้อ ที่มารดาของตนผู้เกลียดความเป็นหญิงยังฌานให้เกิดขึ้นแล้ว เกิด

ในพรหมโลกปรุงแต่งให้ ถามสมณพราหมณ์เหล่านั้นๆ. ก็สมณพราหมณ์

เหล่านั้น ไม่อาจพยากรณ์ปัญหาเหล่านั้นของเขาได้ แต่ในอรรถกถาสภิย-

สูตร มาแล้วว่า สุทธาวาสพรหมได้แต่งปัญหาเหล่านั้น.

ก็ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประ-

เสริฐ เสด็จมายังกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหา-

วิหาร ท่านสภิยะได้ไปในที่นั้น เขาไปเฝ้าพระศาสดา ถามปัญหาเหล่านั้น.

พระศาสดาได้ทรงพยากรณ์ปัญหาเหล่านั้นของเขา เพราะฉะนั้น เรื่อง

ทั้งหมดพึงทราบโดยนัยที่มาแล้วในสภิยสูตร. ส่วนท่านสภิยะเมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ปัญหาเหล่านั้นแล้ว ท่านก็ได้ศรัทธาบวชแล้ว

เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวในอปทานว่า

เราได้ถวายการเหยียบแด่พระพุทธเจ้า ทรงพระนาม

ว่ากกุสันธะ ผู้เป็นนักปราชญ์ มีบาปอันลอยเสียแล้ว

ทรงอยู่จบพรหมจรรย์ ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปสู่ที่พัก

กลางวัน ในกัปนี้เองเราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย

ทานนั้น เราไม่ได้รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการเหยียบ

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . ฯลฯ . . . พระพุทธศาสนา

เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็ท่านเป็นพระอรหันต์ เมื่อพระเทวทัตพยายามเพื่อทำลายสงฆ์

เมื่อจะให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นฝักฝ่ายแห่งพระเทวทัต จึงแสดง

ธรรม ๔ คาถาเหล่านี้ว่า.

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๔๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 15

พวกอื่นเว้นบัณฑิตย่อมไม่รู้สึกว่า พวกเราที่ทะเลาะ

วิวาทกันนี้ จะพากันยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้ พวกใด

มารู้ชัดในท่ามกลางสงฆ์นั้นว่า พวกเราพากันไปสู่ที่ใกล้

มัจจุราช ความทะเลาะวิวาท ย่อมระงับไม่ได้จากสำนัก

ของพวกนั้น เมื่อใด เขาไม่รู้ธรรมอันเป็นอุบายระงับการ

ทะเลาะวิวาทตามความเป็นจริง ประพฤติอยู่ดุจไม่แก่

ไม่ตาย เมื่อนั้น ความทะเลาะวิวาทก็ไม่สงบลงได้ ก็ชน

เหล่าใดมารู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริง เมื่อสัตว์ทั้งหลาย

พากันเร่าร้อนอยู่ ชนเหล่านั้น ย่อมไม่เร่าร้อน ความ

ทะเลาะวิวาทของพวกเขา ย่อมระงับไปได้โดยส่วนเดียว

การงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน วัตรอันเศร้าหมอง

และพรหมจรรย์อันบุคคลพึงระลึกด้วยความสงสัย ธรรม

๓ อย่างนั้นย่อมไม่มีผลมาก ผู้ไม่มีความเคารพในเพื่อน

พรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ห่างไกลจากสัทธรรม

เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเร ความว่า ชนเหล่าอื่นเว้นจาก

บัณฑิตนั้น เป็นผู้ขวนขวายด้วยอำนาจ แสดงวัตถุอันกระทำความแตกแยก

มีอาทิว่า แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม และแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม

ชื่อว่าชนเหล่าอื่น. คนเหล่านั้น ก่อวิวาทในท่ามกลางสงฆ์นั้น ย่อมไม่

รู้ว่าพวกเรายุบยับ คือป่นปี้ ฉิบหาย ได้แก่ ไปยังสำนักของมัจจุราช

เนือง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 16

บทว่า เย จ ตฺตถ วิชานนฺติ ความว่า ในที่ประชุมนั้น บัณฑิต

ย่อมรู้ว่าพวกเราไปยังที่ใกล้มัจจุราช.

บทว่า ตโต สมฺมนฺติ เมธคา ความว่า ก็ชนเหล่านั้น เมื่อรู้อย่างนั้น

ยังโยนิโสมนสิการให้เกิด ย่อมปฏิบัติเพื่อความสงบ ความบาดหมางคือ

ความทะเลาะ. เมื่อเช่นนั้นความบาดหมางเหล่านั้น ของชนเหล่านั้น ย่อม

สงบด้วยการปฏิบัติของชนเหล่านั้น.

บทว่า อถวา ปเร จ ความว่า ชนเหล่าใด ชื่อว่า ปเร เหล่าอื่น

เพราะเป็นผู้อยู่ภายนอกแต่พระศาสนา โดยไม่รับโอวาทานุสาสนีของ

พระศาสดา ชนเหล่านั้นย่อมไม่รู้ว่า พวกเราถือผิด ย่อมยุบยับ คือย่อม

พยายาม ในการสละคืนพระศาสนาในโลกนี้ตราบใด ความวิวาทย่อมไม่

สงบเพียงนั้น ก็ในกาลใด เมื่อว่าด้วยอำนาจการสละการยึดถือพระศาสนา

นั้น และชนเหล่าใดย่อมรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งสภาวะมีอธรรมและธรรม

เป็นต้น โดยสภาวะมีอธรรมและธรรมเป็นต้น ในเมื่อชนเหล่านั้นขวน-

ขวายในการวิวาทในท่ามกลางสงฆ์นั้น ในกาลนั้น ความหมายมั่น กล่าว

คือความวิวาทย่อมสงบ เพราะอาศัยบุรุษผู้เป็นบัณฑิตเหล่านั้น จากสำนัก

ของบัณฑิตเหล่านั้น ในข้อนี้พึงทราบความดังว่ามาฉะนี้.

บทว่า ยทา แปลว่า ในกาลใด.

บทว่า อวิชานนฺตา ความว่า เมื่อไม่รู้ในการสงบวิวาท หรือไม่รู้

ธรรมและอธรรม โดยความเป็นจริง.

บทว่า อิริยนฺตฺยมรา วิย ความว่า มีความอวดดี มีความโลเล

มีปากกล้า มีวาจาพล่อย ๆ เป็นผู้มีความฟุ้งซ่าน เป็นไปอยู่ คือประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 17

อยู่ ได้แก่เที่ยวไปอยู่ เหมือนชนผู้จะไม่ตาย หรือเหมือนผู้ก้าวล่วงความ

แก่ความตายได้ฉะนั้น. ในกาลนั้น วิวาทไม่สงบเลย.

บทว่า วิชานนฺติ จ เย ธมฺม อาตุเรสุ อนาตุรา ความว่า ก็ชน

เหล่าใด ย่อมรู้ตามความเป็นจริงซึ่งศาสนธรรมของพระศาสดา ชนเหล่า

นั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายพากันเดือดร้อนเพราะโรคคือกิเลส เป็นผู้ไม่เดือด-

ร้อนหมดกิเลส ไม่มีทุกข์อยู่ อธิบายว่า ความวิวาทย่อมสงบโดยสิ้นเชิง

ด้วยอำนาจแห่งชนเหล่านั้น.

บทว่า ย กิญฺจิ สิถิล กมฺม ความว่า กุศลกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

อันกระทำการถือเอาโดยการกระทำย่อหย่อน คือกระทำแล้วประกอบด้วย

ความย่อหย่อน.

บทว่า สงฺกิลิฏฺ ได้แก่ การสมาทานวัตรอันเศร้าหมอง ด้วยการ

เที่ยวไปในที่อโคจรมีหญิงแพศยาเป็นต้น หรือด้วยมิจฉาชีพ มีการล่อลวง

เป็นต้น.

บทว่า สงฺกสฺสร ความว่า พึงระลึกด้วยความรังเกียจ คือคนอื่น

พึงได้ยินกรรมอันไม่สมควรอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวิหารแล้ว ไม่รังเกียจว่า

คนโน้นทำมิใช่หรือ หรือเห็นสงฆ์แม้ประชุมกันด้วยอำนาจกิจอย่างใด

อย่างหนึ่ง มีกิจคืออุโบสถเป็นต้นแล้ว ระลึก รังเกียจ ระแวง ด้วยความ

ระแวงของตนอย่างนี้ว่า ชนเหล่านี้รู้ความประพฤติของเราเป็นแน่ มีความ

ประสงค์จะยกวัตรเราจึงประชุมกัน.

บทว่า น ต โหติ ความว่า พรหมจรรย์ คือการกระทำสมณธรรม

นั้น คือเห็นปานนั้น ไม่มีผลมากแก่บุคคลนั้น คือไม่มีผลมากโดยภาวะ

ไม่มีผลมากแก่บุคคลนั้นนั่นเอง ไม่มีผลมากแม้แก่บุคคลผู้ให้ปัจจัยแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 18

บุคคลนั้น. เพราะฉะนั้นพึงเป็นผู้มีความประพฤติขัดเกลา อธิบายว่า ก็ผู้

ที่มีความประพฤติขัดเกลา ก็ไม่มีโอกาสวิวาทกันเลย.

บทว่า คารโว นูปลพฺภติ ความว่า บุคคลใด ไม่มีความเคารพ

คือไม่มีการกระทำความเคารพ ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้ควรเคารพ

โดยไม่ยึดถืออนุสาสนีโดยเคารพ.

บทว่า อารกา โหติ สทฺธมฺมา ความว่า บุคคลนั้น คือเห็นปาน

นั้น ย่อมอยู่ในที่ไกลจากปฏิบัติสัทธรรมบ้าง จากปฏิเวธสัทธรรมบ้าง ก็ครู

ทั้งหลายย่อมไม่ให้เขาศึกษาแม้ปฏิบัติสัทธรรม และปฏิเวธสัทธรรมนั้น,

เขาเมื่อไม่ศึกษา ไม่ถือเอา เขาก็ไม่ปฏิบัติ เมื่อไม่ปฏิบัติ ก็จักแทงสัจจะ

ได้จากไหน. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมห่างไกลจากพระสัทธรรม.

ถามว่า เหมือนอะไร ? แก้ว่า เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น, อธิบายว่า อยู่ใน

ที่ไกลจากสภาวะความเป็นจริงแห่งธาตุ เหมือนฟ้า คืออากาศกับแผ่นดิน

ฉะนั้น. คือไม่มีสภาวะเจือกันในบางคราว. ด้วยเหตุนั้นนั่นเอง ท่านจึง

กล่าวว่า

นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าฟ้ากับดินไกลกัน ฝั่งมหา-

สมุทรทั้งสอง ก็ไกลกัน ธรรมของอสัตบุรุษยังไกลกว่า

นั้นนะ พระราชา ดังนี้.

จบอรรถกถาสภิยเถรคาถาที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 19

๔. นันทกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระนันทกเถระ

[๓๒๖] เราติเตียนร่างกายอันเต็มไปด้วยของน่าเกลียด มีกลิ่น

เหม็น เป็นฝักฝ่ายแห่งมาร ชุ่มไปด้วยกิเลส มีช่อง ๙

ช่อง เป็นที่ไหลออกแห่งของไม่สะอาดเป็นนิตย์ ท่าน

อย่าคิดถึงเรื่องเก่า อย่ามาเล้าโลมอริยสาวกผู้บรรลุอริย-

สัจธรรม ให้ยินดีด้วยอำนาจกิเลส เพราะอริยสาวกของ

พระตถาคตเหล่านั้น ย่อมไม่ยินดีในกามคุณแม้ในสวรรค์

จะป่วยกล่าวไปไยถึงกามคุณ อันเป็นของมนุษย์เล่า ก็ชน

เหล่าใดแลเป็นคนพาล มีปัญญาทราม มีความคิดชั่ว

ถูกโมหะหุ้มห่อไว้แล้ว ชนเหล่านั้นจึงจะกำหนัดยินดีใน

เครื่องผูกที่มารดักไว้ ชนเหล่าใดคาย ราคะ โทสะ และ

อวิชาได้แล้ว ชนเหล่านั้นเป็นผู้คงที่ เป็นผู้ตัดเส้นด้าย

คือตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขาดแล้ว ไม่มีเครื่องผูกพัน

ย่อมไม่กำหนัดยินดีในบ่วงมารนั้น.

จบนันทกเถรคาถา

อรรถกถานันทกเถรคาถาที่ ๔

คาถาแห่งพระนันทกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ธีรตฺถุ ดังนี้. เรื่องนั้น

มีเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 20

พระเถระแม้นี้ เป็นเศรษฐีมีสมบัติมากในหังสวดีนคร กำลังฟังธรรมใน

สำนักของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ใน

ตำแหน่งอันเลิศ แห่งภิกษุผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย ปรารถนาตำแหน่ง

นั้น จึงบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยผ้ามีราคา ๑๐๐,๐๐๐ แล้วได้ตั้งความ

ปรารถนาไว้ และให้การบูชาด้วยประทีป ณ โพธิพฤกษ์แด่พระศาสดา.

จำเดิมแต่นั้นมา ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กกุสันธะ ได้เป็นนกการเวกส่งเสียง

กึกก้องไพเราะ กระทำประทักษิณพระศาสดา, ภายหลังเป็นนกยูง มีจิต

เลื่อมใส วันหนึ่งร้องเสียงอันไพเราะขึ้น ๓ ครั้ง อยู่ที่ประตูถ้ำอันเป็น

ที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ทำบุญในที่นั้น ๆ ด้วยอาการอย่างนี้

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย บังเกิดในเรือนมีตระกูล

ในกรุงสาวัตถี ได้นามว่า นันทกะ เจริญวัยแล้ว ฟังธรรมในสำนักพระ-

ศาสดา ได้ศรัทธาบรรพชาเจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ชูคบเพลิงไว้

๓ ดวง ที่ไม้โพธิพฤกษ์ของพระพุทธเจ้า พระนาม

ปทุมุตระ ซึ่งเป็นไม้สูงสุดกว่าไม้ทั้งหลาย ในแสนกัป

แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาคบเพลิงใด ด้วยการบูชาคบเพลิง

นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของการบูชาคบเพลิงเป็น

ทาน เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . ฯลฯ . . .พระพุทธ-

ศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๔๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 21

ก็แลท่านเป็นพระอรหันต์ ยับยั้งอยู่ด้วยสุขอันเกิดแต่วิมุตติ ถูก

พระศาสดาทรงสั่งให้โอวาทภิกษุทั้งหลาย ในอุโบสถวันหนึ่ง ได้ให้ภิกษุณี

๕๐๐ บรรลุพระอรหัตโดยโอวาทครั้งเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้

โอวาทนางภิกษุณี. ภายหลังวันหนึ่ง หญิงผู้เป็นภรรยาเก่าคนหนึ่ง แลดู

พระเถระผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ด้วยอำนาจแห่งกิเลสแล้ว

หัวเราะ. พระเถระเห็นกิริยานั้นของหญิงนั้น เมื่อจะกล่าวธรรม โดยยกเอา

การประกาศความเป็นของปฏิกูลแห่งสรีระ จึงได้กล่าวคาถาว่า

เราติเตียนร่างกายอันเต็มไปด้วยของน่าเกลียด มีกลิ่น

เหม็น เป็นฝักฝ่ายแห่งมาร ชุ่มไปด้วยกิเลส มีช่อง ๙

ช่อง เป็นที่ไหลออกแห่งของไม่สะอาดเป็นนิตย์ ท่าน

อย่าคิดถึงเรื่องเก่า อย่ามาเล้าโลมอริยสาวกผู้บรรลุอริย-

สัจธรรม ให้ยินดีด้วยอำนาจกิเลส เพราะพระอริยสาวก

ของตถาคตเหล่านั้น ย่อมไม่ยินดีในกามคุณแม้ในสวรรค์

จะป่วยกล่าวไปไยถึงกามคุณ อันเป็นของมนุษย์เล่า ก็ชน

เหล่าใดแลเป็นพาล มีปัญญาทราม มีความคิดชั่ว ถูก

โมหะหุ้มห่อไว้แล้ว ชนเหล่านั้นจะกำหนัดยินดี ในเครื่อง

ผูกที่มารดักไว้ ชนเหล่าใดคายราคะ โทสะ และอวิชชา

ได้แล้ว ชนเหล่านั้นเป็นผู้คงที่ เป็นผู้ตัดเส้นด้าย คือ

ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขาดแล้ว ไม่มีเครื่องผูกพัน ย่อม

ไม่กำหนัดยินดีในบ่วงมารนั้น.

๑. ขุ. เถร. ๒๖/๓๒๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 22

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า ธิ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า น่าติเตียน

อักษร ในบทว่า รตฺถุ กระทำการเชื่อมบท อธิบายว่า น่าติเตียน คือขอ

ติเตียนร่างกายนั้น อันเต็มไปด้วยของน่าเกลียด จงเป็นการติเตียนท่าน

เถิด.

บทว่า ปุเร เป็นต้น เป็นไวพจน์แห่งการร้องเรียก อันแสดงภาวะ

ที่พึงติเตียนหญิงนั้น . บทว่า ปุเร ได้แก่ ในร่างกายอันเต็มไปด้วยของ

อันน่าเกลียดอย่างยิ่ง คือซากศพนานาชนิด ได้แก่ ด้วยของอันไม่สะอาด

มีอย่างต่าง ๆ.

บทว่า ทุคฺคนฺเธ ได้แก่ มีสภาวะมีกลิ่นเหม็น เพราะเต็มไปด้วย

ซากศพนั่นเอง.

บทว่า มารปกฺเข ความว่า เพราะเหตุที่วัตถุอันวิสภาค (ที่เป็นข้าศึก

กัน) ย่อมยังกิเลสมารให้เจริญ เพราะปุถุชนคนบอด มีการใส่ใจโดยไม่

แยบคายเป็นนิมิต และย่อมให้โอกาสแก่เทวบุตรมารเข้าไป. เพราะฉะนั้น

จึงเป็นฝักฝ่ายแห่งมาร. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มารปกฺเข ดังนี้.

บทว่า อวสฺสุเต ความว่า อันชุ่มไปด้วยการไหลออกแห่งกิเลสและ

ด้วยการไหลออกแห่งของอันไม่สะอาด ในที่นั้น ๆ ตลอดกาลทั้งปวง.

บัดนี้ ท่านแสดงถึงฐานะเป็นที่ไหลออกแห่งของอันไม่สะอาดของ

หญิงนั้น ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยว่า ขี้ตาไหลออกจากตาเป็นต้น.

ก็หญิงนั้น เมื่อรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งกายอันมีช่อง ๙ ช่อง เต็ม

ไปด้วยของอันไม่สะอาด ไหลออกเป็นนิจด้วยอาการอย่างนี้ อย่าสำคัญการ

หัวเราะการเจรจาการเล่น อันเป็นไปในการไม่รู้ถึงเรื่องเก่าว่า อย่าคิด

สำคัญถึงเรื่องเก่า คืออย่าคิดว่า แม้บัดนี้ เธอจักปฏิบัติอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 23

บทว่า มาสาเทสิ ตถาคเต ความว่า ท่านอย่าเข้าประเล้าประโลม

ด้วยความดูหมิ่น และด้วยอำนาจกิเลสซึ่งพระอริยสาวก ผู้ดำเนินไปอย่าง

นั้น ด้วยมีมรรคผลเป็นที่มา เป็นอย่างนั้น คือโดยประการนั้น เหมือน

ปกติสัตว์ให้ยินดีว่า พุทธสาวกในปางก่อน มาด้วยความถึงพร้อมด้วย

ธรรมอันเป็นอุปนิสัยฉันใด หรือว่าพุทธสาวกเหล่านั้น ไปคือดำเนิน

ไปด้วยการปฏิบัติชอบฉันใด อนึ่งมาถึง คือบรรลุ ได้แก่ หยั่งรู้ ลักษณะ

อันถ่องแท้แห่งรูปธรรมและนามธรรม และธรรมอันถ่องแท้ คืออริยสัจ

ฉันใด แม้ชนเหล่านี้ก็ฉันนั้น. ท่านกล่าวเหตุแห่งความเป็นผู้ไม่ประเล้า

ประโลมยินดีว่า พระอริยสาวกย่อมไม่กำหนัดยินดีแม้ในสวรรค์ จะป่วย

กล่าวไปไยถึงพวกมนุษย์เล่า ดังนี้ อธิบายว่า พุทธสาวกเหล่านั้น ย่อม

ไม่กำหนัดยินดีในสุข แม้อันพระสัพพัญญูพุทธเจ้าไม่สามารถให้สิ้นลงได้

ด้วยการบอกทางก็ดี ในสวรรค์ก็ดี คือย่อมยังราคะให้เกิด เพราะเห็น

โทษในสังขารทั้งหลายดีแล้ว จะป่วยกล่าวไปไยถึงกามคุณ อันเป็นของ

มนุษย์ อันเป็นเสมือนกองคูถ คือไม่จำต้องกล่าวถึงเลยว่า ไม่กำหนัด

ยินดีในกามคุณนั้น.

บทว่า เย จ โข ความว่า ก็ชนเหล่าใด ชื่อว่าเป็นพาล เพราะ

ประกอบด้วยความเป็นพาล ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาทราม เพราะไม่มีปัญญา

อันมีโอชะเกิดแต่ธรรม ชื่อว่าผู้มีความคิดชั่ว เพราะครุ่นคิดแต่สิ่งที่ชั่ว

โดยคามเห็นในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ชื่อว่าถูกโมหะครอบงำ เพราะเป็นผู้มี

จิตถูกโมหะ คือความไม่รู้ปิดบังไว้ โดยประการทั้งปวง ปุถุชนคนบอด

ก็เช่นนั้น คือเห็นปานนั้น ย่อมกำหนัดยินดีในเครื่องผูกพัน อันสำคัญว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 24

เป็นหญิง อันมารซัดไป คืออันมารดักไว้ ได้แก่บ่วงมารนั้น ๆ ได้แก่

กำหนัด ติดอยู่ ข้องอยู่ สยบ หมกอยู่.

บทว่า วิราชิตา ความว่า ก็ชนเหล่าใดคือพระขีณาสพ คาย คือละ

ได้ตัดขาด ราคะ อันมีสภาวะเปลื้องได้ยาก เหมือนเครื่องย้อมที่หยอดด้วย

น้ำมัน โทสะ มีสภาวะประทุษร้าย เหมือนข้าศึกได้โอกาส และ อวิชชา

มีสภาวะไม่รู้ ด้วยการคายด้วยอริยมรรค โดยประการทั้งปวง ชนเหล่านี้

ก็เช่นนั้น ผู้มีตัณหาดุจเส้นด้ายเครื่องนำสัตว์ไปสู่ภพอันตัดได้แล้ว ด้วย

ศัสตราคืออรหัตมรรค ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสดุจเครื่องผูก เพราะไม่มีเครื่องผูก

แม้ในที่ไหน ๆ นั้นนั่นเอง ย่อมคายบ่วงของมารตามที่กล่าวแล้วนั้น พระ-

เถระแสดงธรรมแก่หญิงนั้น แล้วไป ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถานันทกเถรคาถาที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 25

๕. ชัมพุกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระชัมพุกเถระ

[๓๒๗] เราเอาธุลีและฝุ่นทาตัวอยู่ตลอด ๕๕ ปี บริโภคอาหาร

เดือนละครั้ง ถอนผมและหนวด ยืนอยู่ด้วยเท้าข้างเดียว

งดเว้นการนั่ง กินคูถแห้ง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชื้อเชิญ

เราได้ทำบาปกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติเป็นอันมากเช่น

นั้น ถูกโอฆะใหญ่พัดไปอยู่ ได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

ขอท่านจงดูสรณคมน์และความที่ธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ

วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว เราได้ทำกิจพระพุทธศาสนา

เสร็จแล้ว.

จบชัมพุกเถรคาถา

อรรถกถาชัมพุกเถรคาถาที่ ๕

คาถาแห่งท่านพระชัมพุกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปญฺจปญฺาส ดังนี้.

เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

ก่อสร้างบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

ติสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา เชื่อพระสัมมา-

สัมโพธิญาณของพระศาสดา ไหว้ต้นโพธิพฤกษ์แล้ว บูชาด้วยการพัดวี.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ บังเกิดในเรือนมีตระกูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 26

ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว บรรพชาในพระศาสนา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ใน

อารามอันอุบาสกคนหนึ่งได้สร้างไว้ อันอุบาสกนั้นอุปัฏฐากอยู่. ภายหลัง

วันหนึ่ง พระขีณาสพเถระรูปหนึ่ง ผู้ครองจีวรปอน ๆ มาจากป่าบ่ายหน้า

ไปยังบ้านเพื่อโกนผม อุบาสกนั้นเห็นเข้าแล้ว เลื่อมใสในอิริยาบถ ให้

ช่างกัลบกปลงผมและหนวด ให้บริโภคโภชนะอันประณีต ถวายจีวรดี ๆ

นิมนต์ให้อยู่ด้วยคำว่า ขอท่านจงอยู่ในที่นี้แหละขอรับ.

ภิกษุเจ้าอาวาสเห็นดังนั้น มีความริษยา และมีความตระหนี่เป็น

ปกติ กล่าวกะพระเถระผู้ขีณาสพว่า ดูก่อนภิกษุ การที่ท่านเอานิ้วมือ

ถอนผมเป็นอเจลก เลี้ยงชีพด้วยอาหารคือคูถและมูตรยังประเสริฐกว่า การ

อยู่ในที่นี้ด้วยอาการอย่างนี้ ของผู้อันอุบาสกลามกนี้บำรุงอยู่ ดังนี้. ก็แล

ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เข้าไปยังเวจกุฎีในขณะนั้นนั่นเอง เอามือกอบคูถ

กินและดื่มมูตรเหมือนคดข้าวปายาสฉะนั้น. ด้วยทำนองนี้ดำรงอยู่ตลอดอายุ

ทำกาละแล้วไหม้ในนรก มีคูถและมูตรเป็นอาหารอีก ด้วยเศษแห่งวิบาก

ของกรรมนั้นนั่นแล แม้เกิดในหมู่มนุษย์ได้เป็นนิครนถ์มีคูถเป็นภักษา

๕๐๐ ชาติ.

ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในกำเนิดมนุษย์อีก บังเกิดในตระกูล

แห่งคนทุกข์ยาก เพราะกำลังแห่งกรรมแห่งการว่าร้ายพระอริยเจ้า เขาให้

ดื่มน้ำนม นมสด หรือเนยใส ก็ทิ้งสิ่งนั้นแล้ว ดื่มเฉพาะน้ำมูตรเท่านั้น

เขาให้บริโภคข้าวสุกก็ทิ้งข้าวสุกนั้นแล้ว เคี้ยวกินแต่คูถเท่านั้น, เติบโต

ด้วยการบริโภคคูถและมูตรด้วยอาการอย่างนี้ แม้เจริญวัยแล้ว ก็บริโภค

แต่คูถและมูตรเท่านั้น. พวกมนุษย์เมื่อไม่อาจจะห้ามจากการบริโภคคูถและ

มูตรนั้นจึงละทิ้งเสีย. เขาอันพวกญาติละทิ้งเสียแล้ว จึงบวชเป็นนักบวช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 27

เปลือย ไม่อาบน้ำ, ครองผ้าเปื้อนด้วยธุลีและฝุ่น ถอนผมและหนวด ห้าม

อิริยาบถอื่น เดินด้วยเท้าเดียว ไม่ยินดีการนิมนต์ ถือเอาโภชนะที่ผู้ต้องการ

บุญ อธิษฐานเข้าอยู่ประจำเดือนให้ ด้วยปลายหญ้าคาเดือนละครั้ง กลางวัน

เลียด้วยปลายลิ้น, ส่วนกลางคืนไม่เคี้ยวกินด้วยคิดว่า คูถสดมีตัวสัตว์ จึง

เคี้ยวกินแต่คูถแห้งเท่านั้น เมื่อเขาทำอยู่อย่างนี้ล่วงไป ๕๕ ปี มหาชน

สำคัญว่า เป็นผู้มีตบะมาก มีความปรารถนาน้อยอย่างยิ่ง จึงได้น้อมไป

หาเขา โอนไปหาเขา.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นธรรมอันเป็น

อุปนิสัยแห่งพระอรหัต รุ่งเรืองอยู่ในภายในดวงหทัยของเขา เหมือน

ประทีปในหม้อฉะนั้น แล้วพระองค์เสด็จไปในที่นั้นแสดงธรรม ให้เขา

ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ให้เขาได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ให้

ขวนขวายวิปัสสนา ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัต.

ในเรื่องนี้มีความสังเขปเพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดาร พึงทราบ

โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งคาถาว่า มาเส มาเส กุสคฺเคน

ในพระธรรมบท. ก็ท่านดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว ในเวลาปรินิพพาน

เมื่อแสดงว่า แม้เราปฏิบัติผิดในชั้นต้น อาศัย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรลุ

ธรรมที่พระสาวกควรบรรลุ จึงกล่าว ๔ คาถานี้ว่า

เราเอาธุลีและฝุ่นทาตัวอยู่ตลอด ๕๕ ปี บริโภค

อาหารเดือนละครั้ง ถอนผมและหนวด ยืนอยู่ด้วยเท้า

ข้างเดียว งดเว้นการนั่ง กินคูถแห้ง ไม่ยินดีอาหารที

เขาเชื้อเชิญ เราได้ทำบาปกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ

๑. ขุ. เถร. ๒๖/๓๒๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 28

เป็นอันมากเช่นนั้น ถูกโอฆะพัดไปอยู่ ได้ถึงพระพุทธเจ้า

เป็นที่พึ่ง ขอท่านจงดูสรณคมน์และความที่ธรรมเป็นธรรม

อันดีเลิศ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว เราได้ทำกิจพระ-

พุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจปญฺาสวสฺสานิ รโชชลฺลมธารยึ

ความว่า มีกายทรงไว้ซึ่งธุลีกล่าวคือ ละอองอันจรมาติดอยู่ที่ร่างกาย

และฝุ่นกล่าวคือมลทินแห่งร่างกาย เกิน ๕๕ ปี โดยห้ามการอาบน้ำ ด้วย

การเข้าถึงการบวชเป็นคนเปลือย.

บทว่า ภุญฺชนฺโต มาสิก ภตฺต ความว่า เคี้ยวกินคูถในราตรี

ชื่อว่าเป็นผู้เข้าจำหนึ่งเดือนเพื่อจะลวงโลก บริโภคโภชนะที่ผู้ต้องการบุญ

ให้ โดยวางไว้ที่ปลายลิ้นเดือนละครั้ง.

บทว่า อโลจยึ ความว่า ใช้มือถอนผมและหนวดที่มีรากหย่อน

โดยเพิ่มขี้เถ้าเช่นนั้นเข้าไป.

บทว่า เอกปาเทน อฏฺาสึ อาสน ปริวชฺชยึ ความว่า เว้นการนั่ง

โดยประการทั้งปวง และเมื่อจะยืนก็ยกมือทั้งสองขึ้น ได้ยืนโดยเท้าเดียว

เท่านั้น.

บทว่า อุทฺเทส ได้แก่ เธอเชิญ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อุทิสฺสกต

ทำเจาะจง ดังนี้.

บทว่า น สาทิย ได้แก่ ไม่รับ อธิบายว่าปฏิเสธ.

บทว่า เอตาทิส กริตฺวาน พหุ ทุคฺคติคามิน ความว่า ได้กระทำ

บาปกรรมไว้มาก อันเป็นเหตุให้ไปทุคติ อันยังวิบากให้เกิดเช่นนั้น คือ

เห็นปานนั้นให้เกิดในชาติก่อน ๆ และในชาตินี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 29

บทว่า วุยฺหมาโน มโหเฆน ความว่า อันโอฆะใหญ่มีกาโมฆะ

เป็นต้น เมื่อว่าโดยพิเศษอันทิฏโฐฆะ คร่ามาเฉพาะสู่สมุทรคืออบาย.

บทว่า พุทฺธ สรณมาคม ความว่า ได้อัตภาพเป็นมนุษย์โดยยาก

เพราะขาดบุญกรรมเช่นนั้น บัดนี้ได้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะเพราะ

กำลังแห่งบุญ คือได้เลื่อมใสในพระศาสดา ด้วยความเลื่อมใสอันไม่

หวั่นไหวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสรู้เองโดยชอบด้วยพระองค์เอง.

บทว่า สรถเคมน ปสฺส, ปสฺส ธมฺมสุธมฺมต ความว่า ท่านจงดู

สรณคมน์ของเรา อันเป็นบ่อเกิด (ที่พำนัก) และจงดูภาวะที่ศาสนธรรม

เป็นธรรมดี ที่เราปฏิบัติผิดเช่นนั้น อันพระศาสดาทรงให้ถึงพร้อมซึ่ง

สมบัติเช่นนี้ โดยพระโอวาทครั้งเดียวเท่านั้น.

ด้วยบทว่า ติสฺโส วิชฺชา ดังนี้เป็นต้น ท่านแสดงถึงสมบัตินั้น.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เราไหว้โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระ-

นามว่าติสสะ ได้ทำธรรมาสนะและพัดสำหรับพัดในที่นั้น

ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายพัดทอง ด้วยกรรม

นั่นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของการพัด เราเผากิเลส

ทั้งหลายแล้ว...ฯลฯ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จ

แล้ว ดังนี้.

จบอรรถกถาชัมพุกเถรคาถาที่ ๕

๑. ข. อ. ๓๓/ข้อ ๔๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 30

๖. เสนกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเสนกเถระ

[๓๒๘] การที่เราได้มา ณ ที่ใกล้ท่าคยาในเดือนผัคคุณมาสนี้

เป็นการมาดีแล้วหนอ เพราะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ผู้แสดงธรรมอันสูงสุด มี

พระรัศมีมาก เป็นพระคณาจารย์ ถึงความเป็นผู้เลิศ

เป็นนายกวิเศษของมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก ผู้ชนะ

มาร ผู้มีการเห็นหาสิ่งจะเปรียบมิได้ มีอานุภาพมาก

เป็นมหาวีรบุรุษผู้รุ่งเรื่องใหญ่ ไม่มีอาสวะ สิ้นอาสวะ

ทั้งปวง เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ไม่มีภัยแต่

ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงปลดเปลื้องเรา

ผู้มีนามว่าเสนกะ ผู้เศร้าหมองมาแล้วนาน มีสันดาน

ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ จากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง.

จบเสนกเถรคาถา

อรรถกถาเสนกเถรคาถาที่ ๖

คาถาของท่านพระเสนกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สฺวาคต วต ดังนี้.

เรื่องนั้น มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี

๑. ผัคคุณมาส เดือน ๔ มีนาคม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 31

บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งเห็นพระ-

ศาสดา มีจิตเลื่อมใส บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกำหางนกยูง.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ บังเกิดในท้องของน้องสาว

ของพระอุรุเวลกัสสปเถระ ท่านได้นามว่าเสนกะ ท่านเจริญวัยแล้วถึง

ความสำเร็จในศิลปวิชาของพวกพราหมณ์ อยู่ครองฆราวาส.

ก็สมัยนั้น มหาชนพากันเล่นมหรสพในอุตตรผัคคุณีนักขัตฤกษ์ปลาย

เดือน ๔ ทุก ๆ ปี กระทำพิธีสรงน้ำที่ท่าใกล้แม่น้ำคยา, ด้วยเหตุนั้น

ชนทั้งหลายพากันเรียกมหรสพนั้นว่า คยาผัคคุณี ดังนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ใกล้ท่าแห่งแม่น้ำคยา

เพื่ออนุเคราะห์แก่เวไนยสัตว์ ในวันมหรสพเช่นนั้น, ฝ่ายมหาชนจากที่

นั้น ๆ เข้าไปยังที่นั้น ๆ ด้วยความประสงค์จะสรงสนานที่ท่าน้ำ. ในขณะ

นั้น แม้ท่านเสนกะเข้าไปยังที่นั้นเพื่อสรงสนานที่ท่าน้ำ เห็นพระศาสดา

กำลังทรงแสดงธรรม ฟังธรรมแล้วกลับได้ศรัทธาบวช เมื่อกระทำกรรม

เพื่อวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ใน

อปทานว่า

เราถือกำหางนกยูงเข้าไปเฝ้าพระโลกนายก เรามีจิต

เลื่อมใส ได้ถวายกำหางนกยูง ด้วยกำหางนกยูงนี้และ

ด้วยการตั้งเจตนาไว้ ไฟ ๓ กองของเราจึงดับสนิทแล้ว เรา

ได้สุขอันไพบูลย์ โอ พระพุทธเจ้า โอ พระธรรม โอ

สัมปทาแห่งพระศาสดาของเรา เราถวายกำหางนกยูงแล้ว

เราได้ความสุขอันไพบูลย์ ไฟ ๓ กองของเราดับสนิทแล้ว

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๔๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 32

เราถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว อาสวะทั้งปวงหมดสิ้นไป

แล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เรา

ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการถวายกำหางนกยูง เราเผากิเลสทั้งหมด

แล้ว...ฯลฯ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็แลครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้พิจารณาการปฏิบัติของตน

เกิดโสมนัส ได้กล่าว ๘ คาถา ด้วยอำนาจอุทานว่า

การที่เราได้มา ณ ที่ใกล้ท่าคยาในเดือนผัคคุณมาสนี้

เป็นการมาดีแล้วหนอ เพราะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ผู้แสดงธรรมอันสูงสุด มี

พระรัศมีมาก เป็นพระคณาจารย์ ถึงความเป็นผู้เลิศ

เป็นนายกวิเศษของมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก ผู้ชนะ

มาร ผู้มีการเห็นหาสิ่งจะเปรียบมิได้ มีอานุภาพมาก

เป็นมหาวีรบุรุษผู้รุ่งเรื่องใหญ่ ไม่มีอาสวะ สิ้นอาสวะทั้ง-

ปวง เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ไม่มีภัยแต่ที่ไหน

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงปลดเปลื้องเรา ผู้มี

นามว่าเสนกะ ผู้เศร้าหมองมานานแล้ว มีสันดานประกอบ

ด้วยมิจฉาทิฏฐิ จากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฺวาคต วต เม อาสิ ความว่า การที่

เราได้มา ณ ที่ใกล้ท่าคยาในเดือนผัคคุณมาสนี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ

หรือการมาของเราเป็นการดีหนอ.

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๒๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 33

บทว่า คยาย ได้แก่ ที่ใกล้แห่งท่าคยา,

บทว่า คยผคฺคุยา ความว่า ในอุตตรผัคคุณีนักขัตฤกษ์ปลายเดือน ๔

อันได้โวหารว่า คยาผัคคุ.

บทว่า ย เป็นต้น เป็นบทแสดงเหตุแห่งความเป็นผู้มาดี. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า  แก้เป็น ยสฺมา แปลว่า เพราะเหตุใด.

บทว่า อทสฺสาสึ แปลว่า ได้เห็นแล้ว.

บทว่า สมฺพุทฺธ ความว่า ซึ่งว่า สัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรม

ทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง.

บทว่า ทสฺเสนฺต ธมฺมมุตฺตม ความว่า ผู้ตรัสรู้ธรรมสูงสุด คือเลิศ

ประเสริฐกว่าธรรมทั้งปวง ได้แก่ ธรรมเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์โดย

แท้จริง ควรแก่อัธยาศัยของเวไนยสัตว์.

บทว่า มหปฺปภ ได้แก่ ประกอบด้วยรัศมีแห่งสรีระ. และด้วยรัศมี

แห่งญาณอันใหญ่.

บทว่า คณาจริย ความว่า ชื่อว่า คณาจริยะ เพราะให้คณะมีภิกษุ

บริษัทเป็นต้นศึกษาอาจาระโดยการฝึกอย่างสูงสุด. ซึ่งว่า ถึงความเลิศ

เพราะบรรลุคุณมีศีลเป็นต้นอันเป็นคุณสูงสุด. ซึ่งว่า เป็นผู้นำอันวิเศษ

เพราะฝึกเทวดาและมนุษย์เป็นต้นด้วยการฝึกอย่างยอดเยี่ยม และเพราะ

พระองค์เว้นจากผู้แนะนำ. เป็นผู้อันใคร ๆ ไม่ครอบงำ เพราะพระองค์

ครอบงำสัตว์โลกทั้งสิ้นดำรงอยู่ และชื่อว่า เป็นชินะแห่งโลกพร้อมด้วย

เทวโลก คือเป็นชินะผู้เลิศในโลกพร้อมด้วยเทวโลก เพราะพระองค์

ทรงชำนะมารทั้ง ๕, ชื่อว่า ผู้ทรงมีการเห็นหาผู้เปรียบปานมิได้ เพราะ

มีพระรูปกายอันประดับด้วย มหาปุริสลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 34

อนุพยัญชนะ ๘๐ เป็นต้น แลเพราะมีพระธรรมกายอันประดับด้วยคุณ มี

ทศพลญาณ และจตุเวสารัชญาณเป็นต้น และมีทัสสนะอันชาวโลกทั้งสิ้น

จะพึงประมาณมิได้ และเพราะมีทัสสนะหาผู้เสมอเหมือนมิได้.

ชื่อว่า มหานาคะ เพราะเป็นผู้เสมือนกุญชรเชือกประเสริฐใหญ่

เหตุเพียบพร้อมด้วยทุคติ กำลังและความบากบั่น และเพราะมีอานุภาพมาก

แม้ในบรรดาท่านผู้ประเสริฐคือพระขีณาสพ. ชื่อว่า มหาวีระ เพราะย่ำยี

มารและเสนามารเสียได้ และเพราะมีความกล้าหาญอย่างใหญ่หลวง.

บทว่า มหาชุตึ ความว่า ผู้มีเดชเกิดจากมีคลังทรัพย์จับจ่ายมาก

คือผู้มีเดชมาก. ชื่อว่า อนาสวะ ไม่มีอาสวะ เพราะท่านไม่มีอาสวะทั้ง ๔.

ชื่อว่า สิ้นอาสวะทั้งปวง เพราะอาสวะทั้งปวงพร้อมด้วยวาสนาของท่าน

หมดสิ้นแล้ว. เพราะจะแสดงว่า สาวกพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธะ

เป็นผู้ชื่อว่าสิ้นอาสวะโดยแท้ ถึงอย่างนั้น เฉพาะพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

ย่อมชื่อว่าย่อมทำอาสวะพร้อมด้วยวาสนาให้สิ้นไป ท่านจึงกล่าวว่า อนาสว

แล้วกล่าวอีกว่า สพฺพาสวปริกฺขีณ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ชื่อว่าผู้สิ้นอาสวะทั้งปวง เพราะท่านสิ้นอาสวะทั้งปวงพร้อมทั้งวาสนาสิ้น

แล้ว. มีวาจาประกอบความว่า ชื่อว่าเป็นศาสดา เพราะทรงพร่ำสอน

เวไนยสัตว์ตามสมควร ด้วยประโยชน์ในปัจจุบัน และด้วยประโยชน์ใน

สมัยปรายภพ ชื่อว่าผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ เพราะไม่มีภัยแม้แต่ที่ไหน ๆ

เหตุเป็นผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชญาณ ๔ เพราะเหตุได้เห็นพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ฉะนั้น เราจึงเป็นผู้ชื่อว่ามาดีแล้ว.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงคุณที่ตนได้แล้ว เพราะได้เห็นพระศาสดา จึง

ได้กล่าวคาถาที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 35

คำอันเป็นคาถามีอธิบายดังนี้ว่า ท่านเสนกะประกาศความเลื่อมใส

ยิ่งในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นศาสดา

ของเรา เมื่อจะปลดเปลื้องเรา ผู้เศร้าหมองมาตลอดกาลนาน ในสงสาร

อันหาเบื้องต้นและที่สุดตามรู้ไม่ได้ด้วยวัตถุ คือสังกิเลส เครื่องเศร้าหมอง

เหมือนน้ำเต้า เต็มด้วยน้ำข้าวฉะนั้น เหมือนตุ่มเต็มด้วยเปรียง และ

เหมือนท่อนผ้าเก่าอันน้ำมันเหลวดื่มแล้วฉะนั้น ผู้ถูกเครื่องผูกคือทิฏฐิผูก

ไว้ที่เสาคือสักกายทิฏฐิ เหมือนสุนัขถูกผูกไว้ที่เสาไม้มะสังฉะนั้น ให้พ้น

จากเครื่องผูกนั้น จึงปลดเปลื้องเราผู้ชื่อว่าเสนกะ จากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง

มีอภิชฌาเป็นต้น ด้วยมือคืออริยมรรค.

จบอรรถกถาเสนกเถรคาถาที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 36

๗. สัมภูตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสัมภูตเถระ

[๓๒๙] ผู้ใดรีบด่วนในเวลาที่ควรช้า และช้าในเวลาที่ควรรีบ

ด่วน ผู้นั้นเป็นพาลย่อมประสพทุกข์ เพราะไม่จัดแจงโดย

อุบายอันชอบ ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมเสื่อมไป เหมือน

พระจันทร์ข้างแรม เขาย่อมถึงความเสื่อมยศ และแตก

จากมิตรทั้งหลาย ผู้ใดช้า ในเวลาที่ควรช้า รีบด่วนในเวลา

ที่ควรรีบด่วน ผู้นั้นเป็นบัณฑิตถึงความสุข เพราะได้

จัดแจงโดยอุบายอันชอบ ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมบริบูรณ์

เหมือนพระจันทร์ข้างขึ้น เขาย่อมได้ยศ ได้เกียรติคุณ

และไม่แตกจากมิตรทั้งหลาย.

จบสัมภูตเถรคาถา

อรรถกถาสัมภูตเถรคาถาที่ ๗

คาถาของท่านพระสัมภูตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โย ทนฺธกาเล ดังนี้

เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

บำเพ็ญบุญในภพนั้น ๆ เมื่อโลกว่างพระพุทธเจ้า บังเกิดในกำเนิดกินนร

ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา วันหนึ่งเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งมีจิตเลื่อมใส

ไหว้แล้ว กระทำอัญชลีได้กระทำการบูชาด้วยดอกอัญชัน.

ด้วยบุญกรรมนั้น เธอท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ ฟังธรรมในสำนักของพระธรรมภัณฑาคาริกภายหลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 37

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพาน ได้ศรัทธาบวชแล้วกระทำสมณธรรม

เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหันต์. ด้วยเหตุนั้นจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ครั้งนั้นเราเป็นกินนร อยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ได้

เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี มีความเลื่อมใส

โสมนัสเกิดความปราโมทย์ ประนมอัญชลีแล้วถือเอาดอก

รกฟ้าขาวมาบูชาพระสยัมภู ด้วยกรรมที่เราทำไว้ดีแล้ว

นั้น และด้วยการตั้งเจตจำนงไว้ เราละร่างกินนรแล้ว

ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราได้เป็นจอมเทพเสวยราช-

สมบัติในเทวโลก ๓๖ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเสวย-

ราชสมบัติอันใหญ่ ๑๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราช

อันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้ พืชอันหว่านในเนื้อนาอันดี

คือพระสยัมภู ได้สำเร็จผลเป็นอันดีแก่เราแล้ว กุศลของ

เรามีอยู่ เราบวชเป็นบรรพชิต ทุกวันนี้ เราควรแก่การ

บูชาในศาสนาของพระศากยบุตร เราเผากิเลสทั้งหลาย

แล้ว . . .ฯลฯ . . . พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็แลท่านครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว อยู่ด้วยสุขอันเกิดแต่วิมุตติ เมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปี เมื่อภิกษุผู้เป็นบุตรแห่งเจ้าวัชชี

ชาวกรุงเวสาลี ยกย่องวัตถุ ๑๐๐ ประการ เมื่อพระขีณาสพ ๕๐๐ รูป ผู้

อันพระยสกากัณฑกบุตตรเถระกระตุ้นเตือนให้อาจหาญขึ้น ทำลายทิฏฐินั้น

ยกย่องพระสัทธรรม กระทำสังคายนาพระธรรมวินัย เพราะความสังเวช

ในธรรม ในการที่ภิกษุชาวเมืองวัชชีบุตรแสดงสัตถุศาสน์นอกธรรมนอก

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๐๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 38

วินัย พระเถระเมื่อจะกล่าวคาถาเหล่านี้พยากรณ์พระอรหัตผลว่า:-

ผู้ใดรีบด่วนในเวลาที่ควรช้า แลช้าในเวลาที่ควรรีบ-

ด่วน ผู้นั้นเป็นพาลย่อมประสพทุกข์ เพราะไม่จัดแจงโดย

อุบายอันชอบ ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมเสื่อมไป เหมือน

พระจันทร์ข้างแรม เขาย่อมถึงความเสื่อมยศ และแตก

จากมิตรทั้งหลาย ผู้ใดช้าในเวลาที่ควรช้า รีบด่วนในเวลา

ที่ควรรีบด่วน ผู้นั้นเป็นบัณฑิตถึงความสุข เพราะได้จัด-

แจงด้วยอุบายอันชอบ ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมบริบูรณ์

เหมือนพระจันทร์ข้างขึ้น เขาย่อมได้ยศ ได้เกียรติคุณ

และไม่แตกจากมิตรทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย ทนฺธกาเล ตรติ ความว่า เมื่อ

เกิดความสงสัยในพระวินัยในเพราะวัตถุไร ๆ ที่ควรทำขึ้นว่า สิ่งนี้ควร

หรือไม่ควรหนอ ดังนี้ ครั้นถามพระวินัยธรผู้เชี่ยวชาญแล้ว ยังบรรเทา

ความสงสัยนั้นไม่ได้ เพียงใด ย่อมด่วนคือย่ำยีกระทำ แม้ก้าวล่วงในเวลา

ช้า คือในสมัยที่ไม่ได้จะพึงให้กิจนั้นช้า เพียงนั้น.

บทว่า ตรณีเย จ ทนฺธเย ความว่า เมื่อกิจของคฤหัสถ์ มี

สรณคมน์และการสมาทานศีลเป็นต้น และกิจของบรรพชิต มีการกระทำ

วัตรและปฏิวัตรเป็นต้น และการตามประกอบสมถะและวิปัสสนาที่ควรรีบ

ด่วนมาถึงเข้า อย่ารีบประกอบกิจนั้น ควรให้ช้าด้วยคิดว่า เราจักกระทำใน

เดือนที่จะมาถึงหรือในวันปักษ์ เมื่อไม่ทำกิจนั้นเลย ชื่อว่า ปล่อยให้กาล

ผ่านไป.

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๒๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 39

บทว่า อโยนิสวิธาเนน ความว่า บุคคลผู้เป็นพาลคือผู้มีปัญญา

อ่อน เมื่อด่วนในเวลาที่ควรช้า และช้าในเวลาที่ควรรีบด่วน ย่อม

ประสพทุกข์ คือความพินาศ ในบัดเดี๋ยวนี้และในกาลต่อไป ด้วยการ

ไม่จัดแจงอุบาย คือเพราะไม่มีการจัดแจงอุบาย.

บทว่า ตสฺสตฺถา ปริหายนฺติ ความว่า ประโยชน์ทั้งหลายอัน

ต่างด้วยประโยชน์ในปัจจุบันเป็นต้น ของบุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น

ย่อมเสื่อมไปเหมือนพระจันทร์ข้างแรม คือย่อมถึงความหมดสิ้นไป

ทุกวัน ๆ ได้แก่ย่อมถึงคือย่อมประสพความเสื่อมยศ คือซึ่งความเป็นผู้

อันวิญญูชนพึงติเตียน โดยนัยมีอาทิว่า บุคคลโน้นเป็นผู้ไม่มีศรัทธาไม่มี

ความเลื่อมใส เกียจคร้านมีความเพียรเลว.

บทว่า มิตฺเตหิ จ ริรุชฺฌติ ความว่า ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่ยินดีด้วย

การรับโอวาทว่า พวกเราไม่ควรถูกว่ากล่าว (ดูหมิ่น) จากกัลยาณมิตรผู้

ให้โอวาทว่า ท่านจงปฏิบัติอย่างนี้ จงอย่าปฏิบัติอย่างนี้.

พึงทราบความโดยปริยายตรงกันข้าม แห่งคาถาทั้งสองที่เหลือ.

แต่ในที่นี้อาจารย์บางพวกยกเอาการยกย่อง และการข่มจิตอันประกอบด้วย

ภาวนาด้วยอัตภาพ (ความเป็นตัวตน) แห่งบทว่า ย่อมรีบด่วนในเวลาช้า

คำนั้นย่อมควรในคาถาหลัง. จริงอยู่ ๒ คาถาต้น พระเถระกล่าวหมาย

เอาภิกษุวัชชีบุตรผู้ไม่การทำสมณธรรมที่ควรประพฤติตั้งแต่บวช มาแสดง

วัตถุ ๑๐ ประการ เพราะความมีตนมีความสงสัยเป็นปกติ ถูกสงฆ์ขับไล่

ให้ออกไป แต่ ๒ คาถาหลังกล่าวหมายเอาผู้ปฏิบัติเหมือนกับตน ยังประ-

โยชน์ของตนให้สำเร็จแล้วดำรงอยู่ ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสัมภูตเถรคาถาที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 40

๘. ราหุลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระราหุลเถระ

[๓๓๐] ชนทั้งหลายย่อมรู้จักเราว่า พระราหุลผู้เจริญ สมบูรณ์

ด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ ชาติสมบัติ ๑ ปฏิบัติ-

สมบัติ ๑ เพราะเราเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า และ

เป็นผู้มีปัญญาเห็นธรรมทั้งหลาย อนึ่ง เพราะอาสวะของ

เราสิ้นไปและภพใหม่ไม่มีต่อไป เราเป็นพระอรหันต์ เป็น

พระทักขิไณยบุคคล มีวิชชา ๓ เป็นผู้เห็นอมตธรรม สัตว์

ทั้งหลายเป็นดังคนตาบอด เพราะเป็นผู้ไม่เห็นโทษใน

กาม ถูกข่ายคือตัณหาปกคลุมแล้ว ถูกหลังคาคือตัณหา

ปกปิดแล้ว ถูกมารผูกแล้วด้วยเครื่องผูกคือความประมาท

เหมือนปลาในปากไซ เราถอนกามนั้นขึ้นได้แล้ว ตัด

เครื่องผูกของมารได้แล้ว ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว

เป็นผู้มีความเยือกเย็นดับแล้ว.

จบราหุลเถรคาถา

อรรถกถาราหุลเถรคาถาที่ ๘

คาถาของท่านพระราหุลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อุภเยน ดังนี้.

เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมบุญในภพนั้น ๆ ในการแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

ปทุมุตตระบังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เห็นพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 41

ศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุผู้ใคร่ต่อ

การศึกษา แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น บำเพ็ญบุญเป็นอันมากมี

ชำระเสนาสนะให้สะอาดและตามประทีปให้สว่างเป็นต้น จึงตั้งความ

ปรารถนาไว้.

เธอเมื่อจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษย-

โลก ในพุทธุปบาทกาลนี้อาศัยพระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย บังเกิดใน

ท้องของพระนางยโสธราเทวีทรงพระนามว่าราหุล เจริญด้วยขัตติยบริหาร

เป็นอันมาก. วิธีบรรพชาของท่านมาแล้วในขันธกะนั่นเอง. ครั้นท่าน

บรรพชาแล้วได้รับพระโอวาทด้วยสุตตบทเป็นอันมาก ในสำนักของ

พระศาสดา มีญาณแก่กล้า บำเพ็ญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราได้ถวายเครื่องลาดในปราสาท ๗ ชั้น แด่พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก ผู้

คงที่ พระมหามุนีผู้เป็นจอมแห่งชน เป็นพระผู้ประเสริฐ

อันพระขีณาสพพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เสด็จเข้าพระคันธ-

กุฏี พระศาสดาผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็นนระผู้องอาจ

ทรงยังพระคันธกุฎีให้รุ่งเรือง ประทับยืนในท่ามกลาง

ภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ที่นอนนี้ผู้ใดให้

โชติช่วงแล้ว ดังกระจกเงาอันขัดดีแล้ว เราจักพยากรณ์ผู้

นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ปราสาททองอันงดงาม

หรือปราสาทแก้วไพฑูรย์เป็นที่รักแห่งใจ จักบังเกิดแก่ผู้

นั้น ผู้นั้นจักเป็นจอมเทวดา เสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๖๔

๑. ขุ อ. ๓๒/๑๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 42

ชาติ และเป็นพระเจ้าจักรพรรดิติดกันต่อหนึ่งพันชาติ. ใน

๒๒ กัป จักได้เป็นกษัตริย์พระนามว่าวิมล จักเป็นพระ-

เจ้าจักรพรรดิพระนานว่าวิชิตาวี ทรงครอบครองแผ่นดินมี

สมุทรสาคร ๔ เป็นขอบเขต พระนครชื่อเรณุวดีสร้างด้วย

แผ่นอิฐ โดยยาว ๓๐๐ โยชน์ สี่เหลี่ยมจตุรัส ปราสาท

ชื่อสุทัสนะ อันวิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตให้ ประกอบด้วย

เรือนยอดอันประเสริฐ ประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ อึกทึก

ด้วยเสียง ๑๐ อย่าง วิทยาธรมาเกลื่อนกล่นอยู่ เหมือน

จักเป็นนครชื่อสุทัสนะของเหล่าเทวดา รัศมีแห่งนครนั้น

เปล่งปลั่งดังเมื่อพระอาทิตย์อุทัย นครนั้นจะรุ่งเรืองเจิดจ้า

โดยรอบ ๘ โยชน์ อยู่เป็นนิจ ในแสนกัป พระศาสดา

ทรงพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์

พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้นอันกุศล-

มูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากภพดุสิต จักได้เป็นพระ-

ราชโอรสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม ถ้าจะ

พึงอยู่ครองเรือน ผู้นั้นพึงได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่

ข้อที่เธอจะคงที่ถึงความยินดีในเรือนนั้น ไม่เป็นฐานะที่

จะมีได้ เธอจักออกบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้มีวัตรอันงาม

จักได้เป็นพระอรหันต์มีนามว่าราหุล พระมหามุนีทรง

พยากรณ์เธอว่า มีปัญญาสมบูรณ์ด้วยศีล เหมือนนก

ต้อยตีวิดรักษาไข่ ดังจามรีรักษาขนหาง เรารู้ทั่วถึงธรรม

ของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในศาสนา เรากำหนดรู้อาสวะ

ทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 43

สัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัด

แล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำสำเร็จแล้ว ฉะนี้แล.

อนึ่ง ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาข้อปฏิบัติของตน

เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล จึงได้กล่าว ๔ คาถาว่า

ชนทั้งหลายย่อมรู้จักเราว่า พระราหุลผู้เจริญ สมบูรณ์

ด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ ชาติสมบัติ ๑ ปฏิบัติ-

สมบัติ ๑ เพราะเราเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า และเป็น

ผู้มีปัญญาเห็นธรรมทั้งหลาย อนึ่ง เพราะอาสวะของเรา

สิ้นไปและภพใหม่ไม่มีต่อไป เราเป็นพระอรหันต์ เป็น

พระทักขิไณยบุคคล มีวิชชา ๓ เป็นผู้เห็นอมตธรรม

สัตว์ทั้งหลายเป็นดังคนตาบอด เพราะเป็นผู้ไม่เห็นโทษ

ในกาม ถูกข่ายคือตัณหาปกคลุมแล้ว ลูบหลังคาคือ

ตัณหาปกปิดแล้ว ถูกมารผูกแล้วด้วยเครื่องผูก คือความ

ประมาท เหมือนปลาในปากไซ เราถอนกามนั้นขึ้นได้

แล้ว ตัดเครื่องผูกของมารได้แล้ว ถอนตัณหาพร้อมทั้ง

รากขึ้นแล้ว เป็นผู้มีความเยือกเย็นดับแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภเยเนว สมฺปนฺโน ความว่า สมบูรณ์

คือประกอบ แม้ด้วยสมบัติทั้งสอง คือชาติสมบัติ ปฏิบัติสมบัติ.

บทว่า ราหุลภทฺทโกติ ม วิทู ความว่า สพรหมจารีทั้งหลาย ย่อม

รู้จักเราว่า ราหุลผู้เจริญ. จริงอยู่ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงสดับ

ข่าวว่าพระราหุลประสูติแล้ว ทรงอาศัยถ้อยคำที่พระโพธิสัตว์กล่าวว่า

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๓๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 44

พระราหุลประสูติแล้ว เครื่องผูกเกิดแล้ว จึงทรงยึดพระนามว่าราหุล. ใน

ข้อนั้นพระองค์ทรงยึดเอาปริยายที่พระบิดาตรัสแล้วแต่ชั้นต้นนั่นแล จึง

ตรัสว่า ชนทั้งหลายย่อมรู้จักเราว่า ราหุลผู้เจริญ. ก็คำว่า ภทฺโท นี้เป็น

คำแสดงถึงความสรรเสริญ.

บัดนี้ เพื่อแสดงสมบัติทั้งสองนั้น ท่านจึงกล่าว ยญฺจมฺหิ ดังนี้

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย แก้เป็น ยสฺมา แปลว่า เพราะ

เหตุใด.

บทว่า อมฺหิ ปุตฺโต พุทฺธสฺส ความว่า เราเป็นราชโอรส ของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

บทว่า ธมฺเมสุ ได้แก่ ในธรรมทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ,

อธิบายว่าในธรรมคือ สัจจะ ๔.

บทว่า จกฺขุมา พึงประกอบว่า เราเป็นผู้มีจักษุ ด้วยจักษุคือปัญญา

อันสัมปยุตด้วยมรรค.

เพื่อจะแสดงสมบัติทั้งสองในพระองค์โดยปริยายแม้อื่น ๆ อีก จึง

กล่าวคาถาว่า ยญฺจ เม อาสวา ขีณา เพราะอาสวะของเราสิ้นแล้ว ดังนี้

เป็นต้น .

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขิเณยฺโย ได้แก่ควรซึ่งทักษิณา.

บทว่า อมตทฺทโส ได้แก่ ผู้เห็นพระนิพพาน คำที่เหลือรู้ได้ง่าย

ทีเดียว.

บัดนี้หมู่สัตว์ย่อมหมุนเวียนไปในสงสารเหมือนปลาที่ติดอยู่ในไซ

เพราะไม่มีวิชชาสมบัติและวิมุตติสมบัติใด เพื่อจะแสดงสมบัติทั้งสองนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 45

ในตน ท่านจึงกล่าว ๒ คาถาว่า กามนฺธา ดังนี้เป็นต้น, อธิบายว่าอัน

กิเลสกามซึ่งจำแนกว่าธรรมมีฉันทราคะเป็นต้น กระทำให้เป็นดังคนบอด

เพราะไม่เห็นโทษในวัตถุกามมีรูปเป็นต้น.

บทว่า ชาลปจฺฉนฺนา ความว่า ถูกข่ายคือตัณหาอันซ่านไปใน

อารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งตั้งปกคลุมภพ ๓ ทั้งสิ้นไว้ ปิดบัง คือผูกพันไว้โดย

ประการต่าง ๆ.

บทว่า ตณฺหาฉทนฉาทิตา ความว่า อันหลังคาคือตัณหานั้นนั่น

แล ปิดบังคือปกคลุมไว้โดยประการทั้งปวง.

บทว่า ปมตฺตพนฺธุนา พทฺธา มจฺฉาว กุมินามุเข ความว่า

สัตว์เหล่านี้ ถูกมารผูกไว้ด้วยความประมาท คือถูกเครื่องผูกคือกามอันใด

ผูกไว้ ย่อมไม่หลุดพ้นจากเครื่องผูกนั้น คือติดอยู่ในภายในเครื่องผูกนั้น

เอง เหมือนปลาติดอยู่ที่ปากลอบดักปลา แห่งปลาที่ติดอยู่ที่ปากไซฉะนั้น.

อธิบายว่า เราทิ้งกามนั้น คือเห็นปานนั้น อันเป็นเสมือนเครื่องผูก

คือละเสียด้วยการปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นแล้ว ตัดเครื่องผูกแห่งกิเลส-

มาร แล้วใช้ศัสตรา คืออริยมรรค ตัดได้เด็ดขาดแล้ว รื้อถอนตัณหามี

กามตัณหาเป็นต้น พร้อมทั้งรากกล่าวคืออวิชชานั้นนั่นแล ชื่อว่าถอน

ตัณหาพร้อมทั้งราก เป็นผู้เย็นเพราะไม่มีความกระวนกระวาย และความ

เร่าร้อนคือกิเลสทั้งปวง ดับสนิทด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

จบอรรถกถาราหุลเถรคาถาที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 46

๙. จันทนเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระจันทนเถระ

[๓๓๑] ภรรยาผู้ปกคลุมด้วยเครื่องประดับล้วนแต่เป็นทอง

ห้อมล้อมด้วยหมู่ทาสี อุ้มบุตรเข้ามาหาเรา ก็เวลาที่เรา

เห็นภรรยาผู้เป็นมารดาของบุตรของเรานั้นตกแต่งร่างกาย

นุ่งห่มผ้าใหม่เดินมา เป็นดุจบ่วงมัจจุราชดักไว้ ความ

ทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย ก็เกิดขึ้นแก่เรา โทษ

แห่งสังขารทั้งหลาย ก็เกิดปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่าย

ก็ตั้งมั่น ลำดับนั้น จิตของเราหลุดพ้นแล้วจากกิเลส ขอ

ท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมดีเลิศ วิชชา ๓ เรา

ได้บรรลุแล้ว เราได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

จบจันทนเถรคาถา

อรรถกถาจันทนเถรคาถาที่ ๙

คาถาของท่านพระจันทนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ชาตรูเปน ดังนี้.

เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เมื่อโลกว่างพระ-

พุทธเจ้า บังเกิดเป็นรุกขเทวดา เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า สุทัสสนะ

อยู่ในระหว่างภูเขา มีจิตเลื่อมใส ได้กระทำการบูชาด้วยดอกอัญชันเขียว.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 47

พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลเพียบพร้อมด้วยสมบัติ ในกรุง

สาวัตถี มีนามว่าจันทนะ เจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือนได้ฟังธรรมใน

สำนักพระศาสดา ได้เป็นพระโสดาบัน.

ท่านได้บุตรคนหนึ่ง ละฆราวาสบวชเรียนวิปัสสนากรรมฐานอยู่ใน

ป่า มายังกรุงสาวัตถีเพื่อถวายบังคมพระศาสดา อยู่ในป่าช้า, ภรรยาเก่า

ทราบว่าท่านมาแล้ว จึงประดับตกแต่งพาเด็กพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก

ไปยังสำนักของพระเถระด้วยคิดว่า เราจะประเล้าประโลมให้ท่านสึกด้วย

มายาหญิงเป็นต้น. พระเถระเห็นหญิงนั้นกำลังเดินมาแต่ที่ไกล คิดว่า

บัดนี้เราจักไม่ใช่เป็นวิสัยของนาง จึงบำเพ็ญวิปัสสนาตามที่เริ่มไว้ ได้มี

อภิญญา ๖ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอุปทานว่า

ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่ออัจจละ

พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุทัสสนะ ประทับอยู่ที่ซอกเขา

เราถือดอกไม้ที่เกิดในป่าหิมพานต์ เหาะขึ้นอากาศ ณ ที่

นั้น เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ข้ามพ้นโอฆะ ไม่มีอาสวะ

ครั้งนั้นเราถือเอาดอกอัญชันเขียว จบเหนือเศียรเกล้า

แล้ว บูชาแด่พระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้แสวงหาประโยชน์

ใหญ่ ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้เอาดอกไม้ใดบูชา

ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ-

บูชา เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . ฯ ล ฯ . . . พระพุทธ-

ศาสนาเราได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็ท่านได้อภิญญาแล้ว ยืนอยู่บนอากาศแสดงธรรมแก่นาง ให้นาง

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๐๗. ๒.อรรถกถาว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 48

ตั้งอยู่ในสรณะและศีลแล้ว ตนเองไปยังที่ ๆ ตนเคยอยู่ในกาลก่อน. ถูก

ภิกษุผู้เป็นสหายถามว่า อาวุโส อินทรีย์ของท่านผ่องใสนักแล ท่านแทง

ตลอดสัจจะได้แล้วกระมัง เมื่อจะแสดงประวัติของตน จึงพยากรณ์

พระอรหัตผลด้วยคาถานี้ว่า

ภรรยาผู้ปกคลุมด้วยเครื่องประดับล้วนแต่เป็นทอง

ห้อมล้อมด้วยหมู่ทาสี อุ้มบุตรเข้ามาหาเรา ก็เวลาที่เรา

เห็นภรรยาผู้เป็นมารดาของบุตรของเรานั้นตกแต่งร่างกาย

นุ่งห่มผ้าใหม่เดินมา เป็นดุจบ่วงมัจจุราชดักไว้ ความทำ

ไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย ก็เกิดขึ้นแก่เรา โทษแห่ง

สังขารทั้งหลาย ก็เกิดปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็

ตั้งมั่น ลำดับนั้น จิตของเราหลุดพ้นแล้วจากิเลส ขอ

ท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมดีเลิศ วิชชา๓ เราได้

บรรลุแล้ว เราได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาตรูเปน สญฺฉนฺน ความว่า มี

ร่างกาย อันเครื่องประดับมีเครื่องประดับศีรษะเป็นต้น อันล้วนแล้ว

ด้วยทองคำปกคลุมไว้ โดยเป็นเครื่องประดับ, อธิบายว่า ประดับด้วย

อาภรณ์ทั้งปวง.

บทว่า ทาสีคณปุรกฺขตา ความว่า การทำไว้ข้างหน้า คือแวดล้อม

ไปด้วยหมู่ทาสีของตน ที่ประดับตกแต่งแล้วตามสมควร.

บทว่า องฺเกน ปุตฺตมาทาย ความว่า อุ้มบุตรตนด้วยคิดว่า

บุตรนี้พึงมีความสำราญเพราะอาศัยเรือน เพราะอาศัยเราบ้าง.

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๓๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 49

บทว่า อายนฺตึ แปลว่า กำลังเดินมา.

บทว่า สกปุตฺตสฺส มาตร ได้แก่ หญิงผู้ให้บุตรคือโอรสของ

เราเกิด. อธิบายว่า ภรรยาเก่าของเรา. พระเถระสำคัญการตัดกามราคะ

ของตนทั้งหมดนี้ จึงได้กล่าวไว้มาก.

บทว่า โยนิโส อุทปชฺชถ ความว่า การกระทำไว้ในใจโดย

อุบายอันแยบคาย เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ว่า สมบัติชื่อแม้เห็นปานนี้ ถูกชรา

พยาธิและมรณะครอบงำ โอ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่เป็นที่

ไว้วางใจ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบอรรถกถาจันทนเถรคาถาที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 50

๑๐. ธัมมิกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระธัมมิกเถระ

[๓๓๒] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมอันบุคคล

ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรม

อันบุคคลประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่

ทุคติ สภาพทั้งสองคือ ธรรมและอธรรม ย่อมมีวิบาก

ไม่เสนอกัน อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมนำให้ถึง

สุคติ เพราะฉะนั้นแหละ บุคคลเมื่อบันเทิงอยู่ด้วยการ

ให้โอวาทที่พระตถาคตผู้คงที่ตรัสไว้อย่างนี้ ควรทำความ

พอใจในธรรมทั้งหลาย เพราะพระสาวกทั้งหลายของ

พระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็นนักปราชญ์ ตั้งอยู่แล้วใน

ธรรม นับถือธรรมว่าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐสุด ย่อมนำตน

ให้พ้นจากทุกข์ได้ ผู้ใดกำจัดรากเหง้าแห่งหัวฝี ถอนข่าย

คือตัณหาได้แล้ว ผู้นั้นเป็นผู้สิ้นสงสาร ไม่มีกิเลสเครื่อง

กังวลอีก เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญปราศจากโทษ

ฉะนั้น.

จบธัมมิกเถรคาถา

อรรถกถาธัมมิกเถรคาถาที่ ๑๐

คาถาของท่านพระธัมมิกเถระมีคำเริ่มต้นว่า ธมฺโม หเว ดังนี้.

เรื่องนั้น มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 51

สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

สิขี เป็นนายพรานเนื้อ วันหนึ่ง เมื่อพระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เทพ-

บริษัทในราวป่า ยึดเอานิมิตแห่งเทศนาว่า ธรรมนั้นพระองค์ตรัส ดังนี้.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในโกศลรัฐ ได้นามว่า

ธัมมิกะ เจริญวัยแล้ว ได้ความเลื่อมใสในการรับพระเชตวันมหาวิหาร

บวชแล้ว เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง เป็นผู้เพ่งโทษ

ในวัตรและมิใช่วัตรของภิกษุทั้งหลายผู้อาคันตุกะ อดทนไม่ได้ ด้วยเหตุ

นั้น ภิกษุทั้งหลายพากันละทิ้งวิหารนั้นหลีกไป, ท่านได้อยู่แต่ผู้เดียว

อุบาสกผู้เป็นเจ้าของวิหาร ฟังเหตุนั้นแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า. พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาตรัสถามความนั้น เมื่อภิกษุ-

นั้นกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ไม่อดทนแต่

ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนเธอก็เป็นผู้ไม่อดทน อันภิกษุ

ทั้งหลายทูลวิงวอนแล้ว จึงแสดงรุกขธรรม เมื่อจะทรงประทานโอวาท

แก่เธอยิ่ง ๆ ขึ้นไป จึงตรัส ๔ คาถาว่า

ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมอันบุคคล

ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรม

อันบุคคลผู้ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปทุคติ

สภาพทั้งสองคือ ธรรมและอธรรม ย่อมมีวิบากไม่เสมอ

กัน อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมนำไปสู่สุคติ

เพราะฉะนั้นแหละ บุคคลเมื่อบันเทิงอยู่ด้วยการให้

๑. รุกขธรรมชาดก. ๒. ขุ. เถร. ๖๒/๓๓๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 52

โอวาทที่พระตถาคตผู้คงที่ตรัสไว้แล้วอย่างนี้ ควรทำความ

พอใจในธรรมทั้งหลาย เพราะพระสาวกทั้งหลายของ

พระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็นนักปราชญ์ ตั้งอยู่แล้วในธรรม

นับถือธรรมว่าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐสุด ย่อมนำตนให้พ้น

จากทุกข์ได้ ผู้ใดกำจัดรากเหง้าแห่งหัวฝี ถอนข่ายคือ

ตัณหาได้แล้ว ผู้นั้นเป็นผู้สิ้นสงสาร ไม่มีกิเลสเครื่อง

กังวลอีก เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ ปราศจากโทษ

ฉะนั้น.

บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สุจริตธรรมทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ.

บทว่า รกฺขติ ความว่า ย่อมรักษาจากอบายทุกข์ และรักษาไว้

จากสังสารทุกข์ เป็นผู้มีพระนิพพานเป็นที่อาศัย.

บทว่า ธมฺมจารึ ได้แก่ ผู้ประพฤติคือปฏิบัติธรรมนั้น.

บทว่า สุจิณฺโณ ความว่า ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้ว คือ

เชื่อกรรมและผลแห่งกรรม การทำความยำเกรงโดยความเคารพสั่งสมไว้.

บทว่า สุข ได้แก่ ความสุขทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. ใน ๒

อย่างนั้น อันดับแรก โลกิยะ. ได้แก่ธรรมต่างด้วยกามาพจรธรรมเป็นต้น

ย่อมนำคือให้สำเร็จเป็นความสุขตามที่เป็นของตน ในปัจจุบัน ในการ

อุบัติ หรือในปริยายอื่นอีก. ส่วนโลกุตรสุขควรจะกล่าวได้ว่า ผู้ที่ตั้ง

อยู่ในธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานประพฤติแล้ว เพราะผู้ไม่มี

ธรรมอัน เป็นอุปนิสัยก็ไม่มีพระนิพพาน. บทว่า เอสานิสโส ธมฺเม

สุจิณฺเณ น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี ความว่า ธรรมจารีบุคคลเมื่อ

พระพฤติธรรมดีแล้ว ย่อมไม่ไปทุคติ อันมีการประพฤติธรรมดีนั้นเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 53

เหตุ เพราะเหตุนั้น ธรรมเมื่อบุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมมีอานิสงส์เป็น

กำไร.

เพราะเหตุที่การไปสู่สุคติก็เพราะธรรมนั่นแหละ และการไปสู่ทุคติ

ก็เพราะอธรรมนั่นแหละ ฉะนั้นเพื่อจะแสดงว่า สภาวะ ๒ เหล่านี้คือ

ธรรมและอธรรม มีผลไม่ระคนกันและกัน จึงตรัสคาถาที่ ๒ โดยนัยมี

อาทิว่า น หิ ธมฺโน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธมฺโม

ได้แก่ ทุจริตอันเป็นปฎิปักษ์ต่อธรรม. บทว่า สมวิปากิโน ได้แก่ มี

วิบากเสมอกัน คือมีผลเสมอกัน.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะธรรมและอธรรม มีวิบากต่างกัน

ตามที่กล่าวแล้วนี้.

บทว่า ฉนฺท ได้แก่ มีความพอใจในความเป็นผู้ใคร่จะทำ.

บทว่า อิติ โมทมาโน สุคเตน ตาทินา ประกอบความว่า

เมื่อบุคคลบันเทิง คือถึงความยินดีด้วยการให้โอวาท ที่พระตถาคตผู้เสด็จ

ไปดีแล้ว ผู้ปฏิบัติชอบแล้ว เป็นผู้คงที่ คือเป็นเหตุในการถึงความเป็นผู้

คงที่ มีประการดังกล่าวแล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ พึงทำความพอใจ

ในธรรมทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงวัฏฏะด้วยอันดับคำมีประมาณ

เท่านี้ บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงพระนิพพาน จึงตรัสคำมีอาทิว่า ธมฺเม

ิตา ตั้งอยู่แล้วในธรรม. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า เพราะเหตุที่พระสาวก

ของพระสุคตผู้ประเสริฐ และในบรรดาพระสุคตผู้ประเสริฐ แห่งพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นนักปราชญ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมของพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ถึงสรณะอันเลิศอย่างยิ่ง ย่อมนำออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 54

คือย่อมออกจากทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้น โดยภาวะเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม กล่าวคือ

สรณคมน์นั้นนั่นเอง เพราะฉะนั้นแล พึงการทำฉันทะในธรรมทั้งหลาย.

เมื่อพระศาสดาทรงแสดงธรรมด้วย ๓ คาถาเหล่านี้อย่างนี้ นั่งอยู่

อย่างไรเทียว โดยกระแสแห่งเทศนาเจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต ด้วย

เหตุนั้นท่านจงกล่าวไว้ในอปทานว่า

เมื่อก่อน เราเป็นพรานเนื้อเที่ยวอยู่ในไพรวันอันสงัด

เงียบ ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี อันหมู่

เทวดาห้อมล้อม กำลังทรงประกาศสัจจะ ๔ ทรงแสดง

อมตบท เราได้สดับธรรมอันไพเราะของพระพุทธเจ้า ผู้

เผ่าพันธุ์ของโลกพระนามว่าสิขี เรามีจิตเลื่อมใสในพระ-

สุรเสียง เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระองค์ท่าน ผู้ไม่มี

บุคคลเปรียบเสมอเหมือนแล้ว ข้ามพ้นภพที่ข้ามได้ยาก

ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัตรกัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วย

การได้สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญา

ในเสียง เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . ฯลฯ . . . พระ-

พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ท่านดำรงอยู่แล้วในพระอรหันโดยประการนั้น. ก็แล ครั้นท่าน

บรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะกราบทูลคุณวิเศษที่คนบรรลุแด่พระศาสดา

จึงได้พยากรณ์พระอรหัตผลด้วยคาถาสุดท้าย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปฺโผฏิโต แปลว่า กำจัดแล้ว อธิบาย

ว่า สลัดออกด้วยมรรคญาณ.

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๐๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 55

บทว่า คณฺฑมูโล ได้แก่ อวิชชา. จริงอยู่ อวิชชานั้นย่อมไหล

คือซ่านไป ? ดูก่อนภิกษุ บทว่า คณฺโฑ แล เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์ ๕

รวมความว่าเป็นมูล คือเป็นเหตุแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่า คัณฑะ

หัวฝี เพราะประกอบด้วยมูลแห่งทุกข์ เพราะเป็นที่ไหลออกของสิ่งอันไม่

สะอาด คือกิเลส เพราะเกิดขึ้น แก่ แตกดับ และพองขึ้น สุก แตกไป.

บทว่า ตณฺหาชาโล สมูหโต ความว่า ข่ายกล่าวคือตัณหา อัน

ถอนได้แล้วด้วยมรรค.

บทว่า โส ขีณสสาโร น จตฺถิ กิฺจน คือความ ความว่า เรานั้นชื่อว่า

เป็นผู้สิ้นสงสารแล้ว เพราะเราละตัณหาและอวิชชาได้เเล้วอย่างนี้ เพราะ

เราละมูลแห่งภพได้แล้วนั่นแล กิเลสเครื่องกังวลมีราคะเป็นต้น จึงไม่มี

และเกิดขึ้นไม่ได้.

บทว่า จนฺโท ยถา โทสินา ปุณฺณมาสิย ความว่า พระจันทร์

ปราศจากโทษมีเมฆและหมอกเป็นต้น ในเวลาพระจันทร์เต็มดวงในวัน

เพ็ญฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ปราศจากกิเลสเครื่องกังวลมีราคะ

เป็นต้น เพราะบรรลุพระอรหัต ได้เป็นผู้มีส่วนแห่งธรรมอันบริบูรณ์

ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาธัมมิกเถรคาถาที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 56

๑. สัปปกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสัปปกเถระ

[๓๓๓] เมื่อใด นกยางทั้งหลายมีขนอันขาวสะอาดถูกความ

กลัวต่อเมฆคุกคามแล้ว ปรารถนาจะหลบซ่อนอยู่ในรัง

บินเข้าไปสู่รัง เมื่อนั้น แม่น้ำอชกรณีย่อมยังเราให้ยินดี

เมื่อใด นกยางมีขนขาวสะอาดดี ถูกความกลัวต่อเมฆดำ

คุกคามแล้วไม่เห็นที่หลบลี้ จึงแสวงหาที่หลบลี้ เมื่อนั้น

แม่น้ำอชกรณีย่อมยังเราให้ยินดี ต้นหว้าทั้งหลาย

ทั้งสองข้างแห่งแม่น้ำอชกรณี ทำฝั่งแม่น้ำข้างหลังแห่ง

ถ้ำใหญ่ของเราให้งาม จะไม่ยังสัตว์อะไรให้ยินดี ในหมู่นั้น

ได้เล่า กบทั้งหลายมีปัญญาน้อย พ้นดีแล้วจากหมู่แห่งงู

มีพิษและงูไม่มีพิษ พากันร้องด้วยเสียงอันไพเราะ วันนี้

เป็นสมัยที่อยู่ปราศจากภูเขาและน้ำก็หามิได้ แม่น้ำ

อชกรณีนี้เป็นแม่น้ำปลอดภัย เป็นแม่น้ำเกษมสำราญ

รื่นรมย์ดี.

จบสัปปกเถรคาถา

อรรถกาถาสัปปกเถรคาถาที่ ๑๑

คาถาของท่านพระสัปปกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ยทา พลากา ดังนี้.

เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร .

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ บังเกิดเป็นนาคมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 57

อานุภาพมาก เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าสัมภวะ นั่งเข้าสมาบัติในกลาง

แจ้ง ท่านถือเอาดอกปทุมดอกใหญ่กั้นไว้เหนือศีรษะ ได้กระทำการบูชา.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกรุงสาวัตถี ได้นามว่า

สัปปกะ ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ฟังธรรมในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ศรัทธาบวชเรียนพระกรรมฐาน อยู่ ณ เลณคิริวิหาร ใกล้ฝั่งแม่น้ำ

ชื่อว่าอชกรณี ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้

ในอปทานว่า

ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อโรมสะ

ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าพระนามว่า สัมภวะ ประทับอยู่

กลางแจ้ง เราออกจากที่อยู่ไปถือเอาดอกปทุมบูชา เรา

ถือดอกปทุมบูชาอยู่วันหนึ่ง แล้วจึงได้กลับที่อยู่ ในกัป

ที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยการบูชา

นั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเผา

กิเลสทั้งหลายแล้ว ...ฯลฯ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำ

เสร็จแล้ว ดังนี้.

ท่านบรรลุพระอรหัตแล้วมายังกรุงสาวัตถี เพื่อถวายบังคมพระ-

ศาสดา อันญาติทั้งหลายอุปัฏฐากอยู่ในที่นั้น ๒-๓ วัน แสดงธรรม

ให้ญาติทั้งหลายตั้งอยู่ในสรณะและศีล ได้เป็นผู้ประสงค์จะไปตามที่กล่าว

แล้วนั้นแล. ญาติทั้งหลายอ้อนวอนว่า ขอท่านจงอยู่ในที่นี้เถิดขอรับ

๑. ขุ. อุ. ๓๓/ข้อ ๑๑๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 58

พวกกระผมจะปฏิบัติ. ท่านแสดงอาการไปแล้วยืนอยู่ เมื่อจะประกาศ

ความยินดียิ่งในวิเวก โดยการแสดงอ้างระบุถึงสถานที่ที่ตนอยู่ จึงได้

กล่าว ๔ คาถาว่า

เมื่อใด นกยางทั้งหลายมีขนอันขาวสะอาดถูกความ

กลัวต่อเมฆคุกคามแล้ว ปรารถนาจะหลบซ่อนอยู่ในรัง

บินเข้าไปสู่รัง เมื่อนั้น แม่น้ำอชกรณีย่อมยังเราให้ยินดี

เมื่อใดนกยางมีขนขาวสะอาดดี ถูกความกลัวต่อเมฆดำ

คุกคามแล้ว ไม่เห็นที่หลบลี้ จึงแสวงหาที่หลบลี้ เมื่อนั้น

แม่น้ำอชกรณีย่อมยังเราให้ยินดี ต้นหว้าทั้งหลาย

ทั้งสองข้างแห่งแม่น้ำอชกรณี ทำฝั่งสมน้ำข้างหลังแห่ง

ถ้ำใหญ่ของเราให้งาม จะไม่ยังสัตว์อะไรให้ยินดีในที่นั้น

ได้เล่า กบทั้งหลายมีปัญญาน้อย พ้นดีแล้วจากหมู่แห่ง

งูพิษและงูไม่มีพิษ พากันร้องด้วยเสียงไพเราะ วันนี้

เป็นสมัยที่อยู่ปราศจากภูเขาและแม่น้ำก็หามิได้ แม่น้ำ

อชกรณีนี้เป็นแม่น้ำปลอดภัย เป็นแม่น้ำเกษมสำราญ

รื่นรมย์ดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา แปลว่า ในกาลใด. บทว่า พลากา

แปลว่า นกยาง.

บทว่า สุจิปณฺฑรจฺฉทา แปลว่า มีขนขาวสะอาดบริสุทธิ์.

บทว่า กาฬสฺส เมฆสฺส ภเยน ตชฺชิตา ความว่า ถูกความกลัว

แต่ฝนจากการคำรามแห่งเมฆในฤดูฝน คล้ายภูเขาอัญชันดำเพราะน้ำ

จำนวนมากหุ้มห่อไว้ คุกคามทำให้หวาดกลัวแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 59

บทว่า ปเลหิติ ความว่า จักบินไปจากที่หากิน.

บทว่า อาลย แปลว่า ที่อยู่ คือรังของตน.

บทว่า อาลเยสินี ความว่า ปรารถนาจะหลบซ่อนอยู่ในรังเท่านั้น.

บทว่า ตทา นที อชกรณี รเมติ ม ความว่า ในฤดูฝนตกนั้น แม่น้ำ

ชื่อว่า อชกรณี เต็มไปด้วยน้ำใหม่ ได้แก่ ฝั่งแม่น้ำ ซึ่งพัดเอาสิ่งที่พัด

ไปได้ ย่อมยังเราให้ยินดี คือยังจิตของเราให้ยินดี เพราะฉะนั้น ท่านจึง

ประกาศความยินดียิ่งในวิเวก โดยแสดงอ้างพิเศษถึงฤดูและประเทศ.

บทว่า สุวิสุทฺธปณฺฑรา ได้แก่ มีสีขาวสะอาดหมดจด, อธิบายว่า

มีสีไม่เจือปน คือมีสีขาวล้วน.

บทว่า ปริเยสติ แปลว่า ย่อมแสวงหา.

บทว่า เลณ แปลว่า ที่เป็นที่อยู่.

บทว่า อเลณทสฺสินี ได้แก่ ไม่เห็นที่อยู่. อธิบายว่า ชื่อว่าไม่เห็น

ที่หลบลี้ เพราะเมื่อก่อนไม่มีที่อยู่ประจำ. บัดนี้ ในเวลาฤดูฝนตกถูก

ความกระหึ่มของเมฆคุกคาม จึงต้องจากรังแสวงหาที่อยู่ เพราะฉะนั้น

จึงต้องทำรังอันเป็นที่อยู่ประจำ.

บทว่า ก นุ ตตฺถ ฯเปฯ ปจฺฉโต ความว่า ต้นหว้าทั้งหลาย น้อมกิ่ง

ที่ทรงผลหนักลง มีใบเป็นร่มเงาสนิท ตลอดกาลเป็นนิตย์ ให้ฝั่งแม่น้ำ

คือให้ ๒ ฝั่งแม่น้ำอชกรณี ข้างหลังถ้ำใหญ่อันเป็นที่อยู่ของเราให้งามใน

ที่นั้น และทิ้งข้างโน้นข้างนี้ จะยังสัตว์อะไร ๆ ให้ไม่ยินดีในที่นั้นเล่า คือ

ย่อมให้สัตว์ทั้งปวงยินดีทีเดียว.

บทว่า ตามตมทสงฺฆสุปฺปหีนา ความว่า พิษงู ท่านเรียกว่า อมตะ

งูพิษทั้งหลายชื่อว่า อมตมทา เพราะอรรถว่า สัตว์ทั้งหลาย ย่อมตายด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 60

งูพิษนั้น หมู่แห่งงูเหล่านั้น ชื่อว่า หมู่แห่งงูพิษ. เราละแล้ว คือปราศจาก

แล้วด้วยดีจากงูพิษนั้น.

กบทั้งหลายมีปัญญาน้อย พากันร้องด้วยเสียงอันไพเราะ คือย่อมทำ

ที่นั้นให้เลื่อนลั่นด้วยเสียงอันไพเราะ.

บทว่า นาชฺช คิรินทีหิ วิปฺปวาสสมโย ความว่า วันนี้ คือบัดนี้

ไม่เป็นสมัยที่ปราศจากแม่น้ำซึ่งตกจากภูเขาแม้เหล่าอื่น แต่เมื่อว่าโดย

พิเศษ แม่น้ำอชกรณีปลอดภัย เพราะเว้นจากปลาร้ายและจระเข้เป็นต้น.

ชื่อว่าปลอดโปร่ง เพราะสมบูรณ์ด้วยพื้น ท่า และ หาดทรายที่ดี อธิบายว่า

น่ายินดีน่ารื่นรมย์ใจด้วยดี เพราะฉะนั้น ใจของเราย่อมยินดีในที่นั้น

นั่นแล.

ก็แล้วครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว สละญาติทั้งหลาย ไปยังที่อยู่ของตน

ตามเดิม. ด้วยการแสดงความยินดียิ่งในสุญญาคาร คำนี้แหละ เป็นคำ

พยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสัปปกเถรคาถาที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 61

๑๒. มุทิตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมุทิตเถระ

[๓๓๔] เรามีความต้องการเลี้ยงชีพ ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว

ภายหลังกลับได้ศรัทธา มีความเพียรบากบั่นมั่นคง โดย

ตั้งใจว่า ร่างกายของเรานี้จงแตกทำลายไป เนื้อหนัง

ของเราพึงเหือดแห้งไป แข้งขาทั้งสองของเราจะหลุดจาก

ที่ต่อแห่งเข่าทั้งสอง ตกลงไปที่พื้นดินก็ตามที เมื่อเรา

ยังถอนลูกศร คือ ตัณหาไม่ได้ เราจักไม่กิน ไม่ดื่ม

จักไม่ออกจากวิหาร และจักไม่เอนกายนอน ขอท่านจงดู

ความเพียรและความบากบั่นของเรา ผู้อยู่ด้วยความตั้งใจ

อย่างนั้น เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธ-

ศาสนาเสร็จแล้ว.

จบมุทิตเถรคาถา

พระเถระที่กล่าวคาถาองค์ละ ๔ คาถา รวมเป็น ๕๒ คาถา รวม

เป็นพระเถระ ๑๓ องค์ คือ :-

๑. พระนาคสมาลเถระ ๒. พระภคุเถระ ๓. พระสภิยเถระ

๔. พระนันทกเถระ ๕. พระชัมพุกถระ ๖. พระเสนกเถระ ๗. พระ-

สัมภูตเถระ ๘. พระราหุลเถระ ๙. พระจันทนเถระ ๑๐. พระธรรมิกเถระ

๑๑. พระสัปปกเถระ ๑๒. พระมุทิตเถระ.

จบจตุกกนิบาตที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 62

อรรถกถามุทิตเถรคาถาที่ ๑๒

คาถาแห่งท่านพระมุทิตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺพชึ ดังนี้.

เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

วิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งเห็น

พระศาสดามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายเตียง ๆ หนึ่ง.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในตระกูลคฤหบดี ในโกศลรัฐ ได้นามว่า มุทิตะ

ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา ก็สมัยนั้นตระกูลนั้นได้ถูกพระราชาพัวพันอยู่ด้วย

กรณียกิจบางอย่างทีเดียว. ท่านมุทิตะได้กลัวแต่ราชภัย ได้หนีเข้าไปสู่ป่า

เข้าไปยังที่อยู่ของพระขีณาสพเถระรูปหนึ่ง.

พระเถระรู้ว่าท่านกลัวจึงปลอบว่า อย่ากลัวเลย. ท่านถามว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ภัยของกระผมนี้จักสงบโดยกาลประมาณเท่าไรหนอ เมื่อ

พระเถระกล่าวว่า ล่วงไป ๗-๘ เดือน จึงกล่าวว่า กระผมไม่สามารถจะ

ยับยั้งอยู่ได้ตลอดกาลประมาณเท่านั้น กระผมจักบวชขอรับ ขอท่านจงบวช

ให้กระผมเถิดดังนี้แล้วจึงบวช เพื่อรักษาชีวิตไว้, พระเถระให้เธอบวชแล้ว .

ท่านครั้นบวชแล้ว ได้ศรัทธาในพระศาสนา แม้เมื่อภัยสงบแล้ว

การทำสมณธรรมนั่นแหละให้รุ่งโรจน์ เรียนพระกรรมฐาน เมื่อการทำ

วิปัสสนากรรม จึงกระทำปฏิญญาโดยนัยมีอาทิว่า เรายังไม่บรรลุพระอรหัต

แล้วจักไม่ออกไปภายนอกจากห้องที่อยู่นี้ จึงบำเพ็ญวิปัสสนาบรรลุพระ-

อรหัต. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๑๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 63

เราเลื่อมใส ได้ถวายเวจกุฎีหลังหนนึ่ง แด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ พระนามว่าวิปัสสี

ด้วยมือของตน เราได้ยานช้าง ยานม้าและยานทิพย์

เราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ก็เพราะการถวายเวจกุฎี

นั้น ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายเวจกุฎีใด ด้วยการ

ถวายเวจกุฎีนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ

ถวายเวจกุฎี เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว... ฯลฯ ... พระ-

พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็แล ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว เสวยวิมุตติสุข ถูกพวกภิกษุ

ผู้เป็นสหาย ถามถึงการที่ท่านบรรลุ เมื่อจะแสดงอาการที่ตนดำเนินจึง

กล่าว ๔ คาถาว่า

เรามีความต้องการเลี้ยงชีพ ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว

ภายหลังกลับได้ศรัทธา มีความเพียรบากบั่นมั่นคง โดย

ตั้งใจว่าร่างกายของเรานี้จงแตกทำลายไป เนื้อหนังของ

เราพึงเหือดแห้งไป แข้งขาทั้งสองของเราจะหลุดจาก

ที่ต่อแห่งเข่าทั้งสอง ตกลงไปที่พื้นดินก็ตามที เมื่อเรายัง

ถอนลูกศร คือ ตัณหาไม่ได้ เราจักไม่กิน ไม่ดื่ม จักไม่

ออกจากวิหาร และจักไม่เอนกายนอน ขอท่านจงดูความ

เพียรและความบากบั่นของเรา ผู้อยู่ด้วยความตั้งใจอย่าง

นั้น เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนา

เสร็จแล้ว.

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๓๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 64

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชีวิกตฺโถ ได้แก่ ผู้ต้องการเลี้ยงชีพ

คือประกอบการเลี้ยงชีพ. อธิบายว่า เราบวชเพื่อต้องเลี้ยงชีพอย่างนี้ว่า

เราบวชในที่นี้จักปลอดภัย ไม่ลำบากเป็นอยู่โดยสบาย. บทว่า ลทฺธาน

อุปสมฺปท ความว่า ตั้งอยู่ในบรรพชาเป็นสามเณรก่อนแล้ว ได้อุปสมบท

ด้วยญัตติจตุตถกรรม.

บทว่า ตโต สทฺธ ปฏิลภึ ความว่า ตั้งแต่เวลาที่ท่านอุปสมบท

แล้วนั้น ท่านก็คบหาแต่กัลยาณมิตร เรียน ๒ มาติกา, อนุโมทนา ๓, สูตร

บางสูตร สมถกรรมฐาน และวิปัสสนาวิธี เห็นความที่พระพุทธเจ้ามี

อานุภาพมาก ได้ศรัทธาในพระรัตนตรัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้เอง

โดยชอบ, พระธรรมอันพระองค์ตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว.

บทว่า ทฬฺหิวีริโย ปรกฺกมึ ความว่า เป็นผู้ได้ศรัทธาอย่างนี้แล้ว

กระทำกรรมวิปัสสนา ไม่นานนักก็เป็นผู้มั่นคงถาวร บากบั่นในการแทง

ตลอดสัจจะ เริ่มตั้งไว้โดยชอบในการละอกุศลธรรม ในการถึงพร้อมด้วย

กุศลธรรม.

ก็เพื่อแสดงประการที่เราบากบั่นจึงกล่าวคำมีอาทิว่า กาม ดังนี้.

บทว่า กาม ความว่า จงแตกไปตามปรารถนา หรือโดยส่วนเดียว.

บทว่า อย กาโย ความว่า กายเน่าของเรานี้ หากแตกไปด้วยความ

เพียรเครื่องเผากิเลสนี้ จงแตกไป คือจงขาดแตกไป.

บทว่า มสเปสี วิสียรุ ความว่า หากชิ้นเนื้อจะเหือดแห้งไปจาก

กายนี้ ด้วยความบากบั่นมั่นนี้ก็จงเหือดแห้งไป คือจงกำจัดไปจากที่นี้

และที่นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 65

บทว่า อุโภ ชณฺณุกสนฺธีหิ ชงฺฆาโย ปปตนฺตุ เม ความว่า

แข้งขาทั้งสองของเราพร้อมด้วยที่ต่อแห่งแข้ง จงแตกตกไปที่พื้นดิน

ก็ตามเถิด. บาลีว่า ม ดังนี้ก็มี บาลีนั้น ก็มีความอย่างนั้น. คำที่เหลือ

มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง.

จบอรรถกถามุทิตเถรคาถาที่ ๑๒

จบปรมัตถทีปนี

อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา

จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 66

เถรคาถา ปัญจกนิบาต

๑. ราชทัตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระราชทัตตเถระ

[๓๓๕] ภิกษุไปป่าช้าผีดิบ ได้เห็นซากศพหญิงคนหนึ่งซึ่งเขา

ทิ้งไว้ในป่าช้า มีหมู่หนอนฟอนกัดกินอยู่ ก็ธรรมดาคนที่

ชอบสวยชอบงาม บางพวกได้เห็นซากศพอันเป็นของเลว-

ทราม ย่อมเกลียด แต่ความกำหนัดรักใคร่ย่อมเกิดแก่เรา

เราเป็นเหมือนคนตาบอด เพราะไม่เห็นของไม่สะอาดที่

ไหลออกจากทวารทั้ง ๙ ในซากศพนั้น ภายในเวลาหุง

ข้าวหม้อหนึ่งสุก เราหลีกออกจากที่นั้น เรามีสติ-

สัมปชัญญะ เข้าไปสู่ที่ควรแห่งหนึ่ง ทีนั้น การกระทำ

ไว้ในใจโดยอุบายอันชอบจึงเกิดขั้นแก่เรา โทษปรากฏ

แก่เรา ความเหนื่อยหน่ายก็ตั้งมั่น ลำดับนั้น จิตของเรา

หลุดพ้นจากกิเลส ขอท่านจงดูความที่ธรรมเป็นธรรม

ดีเลิศเถิด เพราะวิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว เราได้ทำกิจ

พระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

จบราชทัตตเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 67

อรรถกถาปัญจกนิบาต

อรรถกถาราชทัตตเถรคาถาที่ ๑

ในปัญจกนิบาต คาถาของท่านพระราชทัตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า

ภิกฺขุ สีวถิก คนฺตฺวา ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่๑๔ แต่ภัทรกัปนี้ เมื่อโลกว่างพระพุทธเจ้า

บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่ง เข้าไป

ยังไพรวันด้วยกรณียกิจบางอย่าง เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งนั่งที่

โคนไม้ในไพรวันนั้น มีจิตเลื่อมใสได้ถวายผลมะกอก อันบริสุทธิ์ดี.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลแห่งพ่อค้าเกวียน ในกรุงสาวัตถี

มารดาบิดาได้ตั้งชื่อท่านว่า ราชทัตตะ เพราะอาราธนาท้าวเวสวัณมหาราช

ได้มา. ท่านเจริญวัยแล้วเอาเกวียน ๕๐๐ เล่มบรรทุกสินค้า ได้ไปยัง

กรุงราชคฤห์โดยการค้าขาย.

ก็สมัยนั้น หญิงแพศยาคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ มีรูปงามน่าดูน่าชม

เพราะประกอบด้วยความเป็นผู้เลอโฉมอย่างยิ่ง จึงได้ทรัพย์วันละ ๑,๐๐๐

ครั้ง บุตรของพ่อค้าเกวียนให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แก่หญิงแพศยานั้นทุก ๆ

วัน สำเร็จการอยู่ร่วมกัน ไม่นานนัก ทรัพย์ทั้งหมดก็สิ้นไป เป็นคนทุกข์

ยาก เมื่อไม่ได้ร่วมวัตถุแม้สักว่าอาหารและเครื่องนุ่งห่ม เที่ยวหมุนเวียนไป

ข้างโน้นข้างนี้ ได้ถึงความสังเวชแล้ว. วันหนึ่งท่านได้แก่ไปยังพระเวฬุวัน

มหาวิหารกับอุบาสกทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 68

ก็สมัยนั้น พระศาสดาแวดล้อมไปด้วยบริษัทเป็นอันมาก ประทับ

นั่งแสดงธรรมอยู่. ท่านนั่งอยู่ที่ท้ายบริษัท ฟังธรรมในสำนักพระศาสดา

ได้ศรัทธาบวชแล้ว สมาทานธุดงค์อยู่ในป่าช้า ในกาลนั้น บุตรของพ่อค้า

เกวียนคนหนึ่ง ได้ให้ทรัพย์พันหนึ่งแล้วอยู่ร่วมกับหญิงแพศยานั้น. และ

หญิงแพศยานั้น เห็นรัตนะมีค่ามากในมือของเขา ให้เกิดความโลภขึ้น

จึงให้ผู้เป็นนักเลงเหล่าอื่นฆ่าให้ตายแล้วถือเอารัตนะนั้น. ลำดับนั้น พวก

มนุษย์รู้เรื่องนั้นของบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นแล้ว จึงส่งพวกนั้นมนุษย์ผู้สอดแนม

ไป มนุษย์ผู้สอดแนมเหล่านั้นได้เข้าไปยังเรือนหญิงแพศยานั้น ในเวลา

ราตรี พากันฆ่านางให้ตายโดยไม่ทำผิวให้ถลอก แล้วทิ้งไว้ในป่าช้า.

พระราชทัตตเถระ เที่ยวอยู่ในป่าช้าเพื่อถือเอาอสุภนิมิต เข้าไปเพื่อ

ทำไว้ในใจซึ่งซากศพของหญิงเพศยานั้น โดยเป็นของปฏิกูล กระทำไว้

ในใจโดยแยบคายสิ้นวาระเล็กน้อย กระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย

โดยภาวะที่ตายแล้วไม่นาน โดยที่สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกไม่กระทบ

กระทั่งผิวเป็นต้น และเป็นวัตถุวิสภาคไม่ถูกส่วนกัน ให้เกิดกามราคะ

ขึ้นในร่างนั้น มีใจสลดยิ่งนัก อบรมจิตของตน หลีกไป ณ ที่สมควร

ส่วนข้างหนึ่ง โดยครู่เดียว แล้วถือเอาเฉพาะอสุภนิมิตที่ปรากฏตั้งแต่ต้น

เท่านั้น การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ทำฌานให้เกิดขึ้น ทำฌานนั้นให้

เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตในขณะนั้นนั่นเอง. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้อะไร

ในป่าใหญ่ จึงได้เอาผลมะกอกมาถวายแด่พระสยัมภู

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๑๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 69

ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น

ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง

การถวายผลไม้ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . ฯลฯ . . .

พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของตน เกิด

ปีติโสมนัส ได้กล่าว ๕ คาถาเหล่านี้ว่า

ภิกษุไปป่าช้าผีดิบ ได้เห็นซากศพผู้หญิงคนหนึ่ง ที่เขา

ทิ้งไว้ในป่าช้า มีหมู่หนอนฟอนกัดกินอยู่ ก็ธรรมดาคนหนึ่ง

ชอบสวยชอบงามบางพวกได้เห็นซากศพ อันเป็นของเลว-

ทราม ย่อมเกลียด แต่ความกำหนัดรักใคร่ย่อมเกิดแก่เรา

เราเป็นเหมือนคนตาบอด เพราะไม่เห็นของไม่สะอาดที่

ไหลออกจากทวารทั้ง ๙ ในซากศพนั้น ภายในเวลาหุงข้าว

หม้อหนึ่งสุก เราหลีกออกจากที่นั้น เรามีสติสัมปชัญญะ

เข้าไปสู่ที่ควรแห่งหนึ่ง ทีนั้น การกระทำไว้ในใจโดยอุบาย

อันชอบจึงเกิดขึ้นแก่เรา โทษปรากฏแก่เรา ความเหนื่อย

หน่ายก็ตั้งมั่น ลำดับนั้น จิตของเราก็หลุดพ้นจากกิเลส

ขอท่านจงดูความที่ธรรมเป็นธรรมดีเลิศเถิด เพราะวิชชา

๓ เราได้บรรลุแล้ว เราได้ทำกิจในพระพุทธศาสนาเสร็จ

แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขุ สีวถิก คนฺตฺวา ความว่า ชื่อว่า

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๓๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 70

ภิกษุ เพราะเห็นภัยในสงสาร เข้าไปใกล้ป่าช้าผีดิบ เพื่อต้องการอสุภ-

กรรมฐาน.

ก็คำว่า ภิกฺขุ นี้ พระเถระกล่าวคำนี้ด้วยตนเองหมายเอาตน.

พึงทราบวิเคราะห์ในบทว่า อิตฺถึ ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า ถี คือมาตุคาม

เพราะเป็นที่ไปคือไหลไปแห่งเลือดคือสุกกะ โดยภาวะเป็นที่สืบต่อแห่งสัตว์.

อนึ่ง เมื่อว่าด้วยภาษาเดิม ภาษาที่ถูกอย่างนี้ ท่านเรียกว่า อิตฺถี ดังนี้ก็มี

อนึ่ง ในบรรดาหญิงมีหญิงหมันเป็นต้นก็มีบัญญัติว่าหญิง เพราะเป็น

เสมือนกับหญิงนั้น และเพราะไม่ล่วงสภาวะความเป็นหญิงไปได้. ก็ด้วย

บทว่า อิตฺถี นี้ พระเถระกล่าวถึงซากศพหญิง.

บทว่า อุชฺฌิต แปลว่า อันสละแล้ว คืออันเขาทอดทิ้งแล้ว เพราะ

เป็นสิ่งที่น่าติเตียนนั่นเอง ได้แก่ อันเขาทิ้งแล้วโดยภาวะที่ไม่มีความอาลัย.

บทว่า ขชฺชนฺตึ กิมิหี ผุฏ ความว่า เป็นของเต็มไปด้วยหมู่หนอน

กัดกินอยู่.

บทว่า ย หิ เอเก ชิคุจฺฉนฺติ มต ทิสฺวาน ปาปก ความว่า ผู้ที่

มีชาติหลุดพ้นพวกหนึ่ง ย่อมเกลียด ทั้งไม่ปรารถนาจะดูซากศพที่ชั่วช้า

ลามก ซึ่งตายไปแล้ว เพราะปราศจากอายุไออุ่นและวิญญาณ.

บทว่า กามราโค ปาตุรหุ ความว่า กามราคะ ได้ปรากฏคือได้เกิด

แก่เราแล้ว เพราะไม่มีการใส่ใจโดยแยบคายเป็นกำลัง ในซากศพนั้น.

บทว่า อนฺโธว สวตี อหุ ความว่า ของอันไม่สะอาดไหลออกจาก

ทวารทั้ง ๙ ในซากศพนั้น เมื่อมันกำลังไหลอยู่ เราก็เป็นเหมือนคนบอด

เพราะไม่เห็นของอันไม่สะอาด. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 71

คนกำหนัดย่อมไม่รู้อรรถ คนกำหนัดย่อมไม่รู้เห็น

ธรรม ความมืดบอดย่อมมีในคราวที่คนถูกราคะครอบงำ.

และอาจารย์บางพวกกล่าวว่า "ดูก่อนพราหมณ์ กามฉันท์แล กระทำซึ่ง

ความเป็นดังคนบอด และว่ากระทำให้เป็นดังคนไม่มีจักษุ," แต่ในที่นี้

อาจารย์บางพวกลง อาคม แล้วกล่าวความว่า ความไม่เป็นไปในอำนาจ

เพราะถูกกิเลสกลุ้มรุม หรือเป็นไปในอำนาจแห่งกิเลส. อาจารย์อีกพวก

หนึ่งกล่าวบาลีว่า อนฺโธว อสติ อหุ เราเป็นผู้ไม่มีสติดังคนบอด แล้ว

กล่าวว่า เราเป็นผู้เว้นจากสติเหมือนคนบอดเพราะกามราคะ แต่คำทั้งสอง

นั้นไม่มีในบาลี.

บทว่า โอร โอทนปากมฺหา ความว่า ภายในเวลาที่หม้อข้าวสุก

ครั้งหนึ่ง คือข้าวสุกในทะนานแห่งข้าวสารที่ล้างเปียกชุ่มดีแล้ว ย่อมสุกโดย

เวลาเท่าใด ภายในเวลาแต่กาลเท่านั้นนั่นแล โดยกาลรวดเร็วแม้แต่กาล

นั้น เราเมื่อบรรเทาราคะหลีกออกจากที่นั้น ราคะเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้ยืน

อยู่ในที่ใด เราหลีกไปแล้ว ปราศไปแล้วจากที่นั้น.

เราหลีกไปมีสติมีสัมปชัญญะ เข้าไปตั้งสมณสัญญาไว้ ชื่อว่ามีสติ

โดยมนสิการถึงสติปัฏฐาน และเป็นผู้ชื่อว่ามีสัมปชัญญะ เข้าไปใกล้ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ได้นั่งเข้าสมาธิ เพราะรู้สภาวะแห่งธรรมโดยชอบนั่นเอง

คำว่า ก็เมื่อเรานั่งแล้ว แต่นั้นมนสิการเกิดขึ้นแก่เราแล้ว คือเกิดขึ้น

แล้วโดยแยบคาย ดังนี้เป็นต้นทั้งหมด มีนัยดังกล่าวในหนหลังนั้นแลฉะนี้.

จบอรรถกถาราชทัตตเถรคาถาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 72

๒. สุภูตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสุภูตเถระ

[๓๓๖] บุรุษผู้ประสงค์จะทำธุรกิจ เมื่อประกอบตนในกิจที่

ไม่ควรประกอบ ถ้าเมื่อขึ้นประพฤติอยู่อย่างนั้น ก็ไม่พึง

ได้สำเร็จผล การประกอบในกิจที่ไม่ควรประกอบนั้น มิใช่

ลักษณะบุญ ถ้าบุคคลใด ไม่ถอนความเป็นอยู่อย่าง

ลำบาก แล้วมาสละธรรมอันเอกเสีย บุคคลนั้นก็พึงเป็น

ดังคนกาลี ถ้าสละทิ้งคุณธรรมแม้ทั้งปวง ผู้นั้นก็พึงเป็น

เหมือนคนตาบอด เพราะไม่เห็นธรรมที่สงบและธรรมไม่

สงบ บุคคลพึงทำอย่างใด พึงพูดอย่างนั้นแล ไม่พึงทำ

อย่างใด ไม่พึงพูดอย่างนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมกำหนด

รู้ว่า บุคคลผู้ไม่ทำ ดีแต่พูดนั้นมีมาก ดอกไม้งาม มีสี

แต่ไม่มีกลิ่น ฉันใด วาจาอันเป็นสุภาษิต ย่อมไม่มีผลแก่

บุคคลผู้ไม่ทำอยู่ ก็ฉันนั้น ดอกไม้งาม มีสี มีกลิ่นฉันใด

วาจาอันเป็นสุภาษิตย่อมมีผลแก่บุคคลผู้ทำอยู่ฉะนั้น.

จบสุภูตเถรคาถา

อรรถกถาสุภูตเถรคาถาที่ ๒

คาถาของท่านพระสุภูตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อโยเค ดังนี้. เรื่อง

นั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 73

พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ

บังเกิดในตระกูลคหบดีมหาศาล ในกรุงพาราณสี ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา

แล้ว วันหนึ่ง ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดามีจิตเลื่อมใส ตั้งอยู่ใน

สรณะและศีล ได้ให้เช็ดทาพระคันธกุฎีของพระศาสดา ด้วยของหอม ๔

อย่าง (จันทน์แดง, กานพลู, กฤษณา, กำยาน) เดือนละ ๘ ครั้งทุก

เดือน.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเป็นผู้มีร่างกายหอมตลบในที่เกิดแล้ว ๆ

ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในตระกูลคฤหบดีในมคธรัฐ ได้นามว่า สุภูตะ

เจริญวัยแล้วละฆราวาส เพราะความที่ตนเป็นผู้มีอัธยาศัยในการสลัดออก

จึงบวชในเดียรถีย์ เมื่อไม่ได้สิ่งอันเป็นสาระในที่นั้น เห็นสมณพราหมณ์

เป็นอันมาก มีอุปติสสะโกสิตะและเสละเป็นต้น บวชในสำนักของพระ-

ศาสดาเสวยความสุขในความเป็นสมณะ ได้ศรัทธาในพระศาสนา จึงบวช

แล้วให้อาจารย์และอุปัชฌาย์ยินดี เรียนพระกรรมฐาน อยู่โดยวิเวก เจริญ

วิปัสสนาบรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้ามีพระนามว่า กัสสป ผู้เป็น

พงศ์พันธุ์พรหม ทรงยศใหญ่ ประเสริฐกว่านักปราชญ์

ทั้งหลาย ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระองค์สมบูรณ์ด้วย

อนุพยัญชนะ มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ

มีพระรัศมีล้อมรอบข้างละวา ประกอบด้วยข่ายรัศมี ทรง

๑. ขุ. อ ๓๓/ข้อ ๑๔๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 74

ยังสัตว์ให้ยินดีได้เหมือนพระจันทร์ แผดแสงเหมือน

พระอาทิตย์ ทำให้เยือกเย็นเหมือนเมฆ เป็นบ่อเกิดแห่ง

คุณเหมือนสาคร มีศีลเหมือนแผ่นดิน มีสมาธิเหมือน

ขุนเขาหิมวันต์ มีปัญญาเหมือนอากาศ ไม่ข้องเหมือน

กับลม ครั้งนั้น เราเกิดในสกุลใหญ่ มีทรัพย์และธัญญา-

หารมากมาย เป็นที่สั่งสมแห่งรัตนะต่าง ๆ ในพระนคร

พาราณสี เราได้เข้าเฝ้าพระองค์ผู้เป็นนายกของโลก ซึ่ง

ประทับนั่งอยู่กับบริวารมากมาย ได้สดับอมตธรรมอันนำ

มาซึ่งความยินดีแห่งจิต พระพุทธองค์ทรงพระมหาปุริส-

ลักษณะ ๓๒ ประการ มีนักขัตฤกษ์ดีเหมือนพระจันทร์

ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ บานเหมือนต้นพญารัง

อันข่ายคือพระรัศมีแวดวง มีพระรัศมีรุ่งเรื่อง เหมือน

ภูเขาทอง มีพระรัศมีล้อมรอบด้านละวา มีรัศมีนับด้วย

ร้อยเหมือนอาทิตย์ มีพระพักตร์เหมือนทองคำ เป็นพระ-

พิชิตมารผู้ประเสริฐ เป็นเหมือนภูเขาอันให้เกิดความ

ยินดี มีพระหฤทัยเต็มด้วยพระกรุณา มีพระคุณปานดัง

สาคร มีพระเกียรติปรากฏแก่โลก เหมือนเขาสิเนรุซึ่ง

เป็นภูเขาสูงสุด มีพระยศ เป็นที่ปลื้มใจ เป็นผู้ประกอบ

ด้วยปัญญาเช่นเดียวกับอากาศ เป็นนักปราชญ์ มีพระทัย

ไม่ข้องในที่ทั้งปวงเหมือนลม เป็นผู้นำ เป็นที่พึ่งของ

สรรพสัตว์ เหมือนแผ่นดิน เป็นมุนีผู้สูงสุด อันโลกไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 75

เข้าไปฉาบทาได้ เหมือนปทุมไม่คิดน้ำฉะนั้น เป็นผู้เช่น

กับกองไฟเผาหญ้าคือวาทะลวงโลก พระองค์เป็นเสมือน

ยาบำบัดโรค ทำให้ยาพิษคือกิเลสพินาศ ประดับด้วย

กลิ่นคือคุณเหมือนภูเขาคันธมาทน์ เป็นนักปราชญ์ที่เป็น

บ่อเกิดแห่งคุณ ดุจดังสาครเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย

ฉะนั้น และเป็นเหมือนม้าสินธพอาชาไนย เป็นผู้นำไป

ซึ่งมลทินคือกิเลส ทรงย่ำยีมารและเสนามารเสียได้

เหมือนนายทหารใหญ่ผู้มีชัยโดยพิเศษ ทรงเป็นใหญ่

เพราะรัตนะคือโพชฌงค์ เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ทรง

เป็นผู้เยียวยาพยาธิคือโทสะเหมือนกับหมอใหญ่ ทรง

เป็นหมอผ่าฝีคือทิฏฐิ เหมือนศัลยแพทย์ผู้ประเสริฐสุด

ครั้งนั้น พระองค์ทรงส่องโลกให้โชติช่วง อันมนุษย์และ

ทวยเทพสักการะ เป็นดังพระอาทิตย์ส่องแสงสว่างให้แก่

นรชน ทรงแสดงปฐมเทศนาในบริษัททั้งหลาย พระ-

องค์ทรงพร่ำสอนอย่างนี้ว่า บุคคลจะมีโภคทรัพย์มาก

ได้เพราะทำงาน จะเข้าถึงสุคติก็เพราะศีล จะดับกิเลส

ได้เพราะภาวนา ดังนี้ บริษัททั้งหลายฟังเทศนานั้น อัน

ให้เกิดความแช่มชื่นมาก ไพเราะทั้งเบื้องต้นท่ามกลาง

และที่สุด มีรสใหญ่ประหนึ่งน้ำอมฤต เราได้สดับพระ-

ธรรมเทศนาอันไพเราะดี ก็เลื่อมใสในพระศาสนาของ

พระพิชิตมาร จึงถึงพระสุคตเจ้าเป็นสรณะ นอบน้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 76

ตราบเท่าสิ้นชีวิต ครั้งนั้นเราได้เอาของหอมมีชาติ ๔ ทา

พื้นพระคันธกุฎีของพระมหามุนีเดือนหนึ่ง ๘ วัน โดยตั้ง

ปณิธานให้สรีระที่ปราศจากกลิ่นหอมได้มีกลิ่นหอม ครั้ง

นั้นพระพิชิตมาร ได้พยากรณ์เราผู้อยากได้กายมีกลิ่นหอม

ว่า นระใดเอาของหอมทาพื้นพระคันธกุฎีคราวเดียว ด้วย

ผลของกรรมนั้น นระนั้นเกิดในชาติใด ๆ จักเป็นผู้มีตัว

หอมทุกชาติไป จักเป็นผู้เจริญด้วยกลิ่นคือคุณ จักเป็นผู้

ไม่มีอาสวะปรินิพพาน เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และ

เพราะการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็ในภพสุดท้ายในบัดนี้ เราเกิดใน

สกุลอันมั่นคง เมื่อเรายังอยู่ในครรภ์มารดา มารดาเป็น

หญิงมีกลิ่นตัวหอม และในเวลาที่เราคลอดจากครรภ์

มารดานั้น พระนครสาวัตถีหอมฟุ้งเหมือนกับถูกอบด้วย

กลิ่นหอมทุกอย่าง ขณะนั้นฝนดอกได้อันหอมหวล กลิ่น

ทิพย์อันน่ารื่นรมย์ใจ และธุปมีค่ามาก หอมฟุ้งไป เรา

เกิดในเรือนหลังใด เรือนหลังนั้นเทวดาได้เอาธูปและ

ดอกไม้ ล้วนแต่มีกลิ่นหอม และเครื่องหอมมาอบ ก็ใน

เวลาที่เรายังเยาว์ ตั้งอยู่ในปฐมวัย พระศาสดาผู้เป็น

สารถีฝึกนระ ทรงแนะนำบริษัทของพระองค์ที่เหลือแล้ว

เสด็จมายังพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์

เหล่านั้นทั้งหมด ครั้งนั้น เราได้พบพุทธานุภาพจึงออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 77

บวช เราเจริญธรรม ๔ ประการคือ ศีล สมาธิ ปัญญา

และวิมุตติอันยอดเยี่ยม แล้วบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ

ในคราวที่เราออกบวช ในคราวที่เราเป็นพระอรหันต์ และ

ในคราวที่เราจักนิพพาน ได้มีฝนกลิ่นหอมตกลงมา ก็กลิ่น

สรีระอันประเสริฐสุดของเราครอบงำจันทน์อันมีค่า ดอก

จำปาและดอกอุบลเสีย และเราไปในที่ใด ก็ย่อมข่มขี่

กลิ่นเหล่านี้เสียโดยประการทั้งปวง ฟุ้งไปเช่นนั้นเหมือน

กัน เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . ฯลฯ . . . พระพุทธ-

ศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็แลครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว คิดถึงทุกข์ คือ อัตตกิลม-

ถานุโยค ที่คนบวชในพวกเดียรถีย์ได้รับมา และสุขอันเกิดแต่ฌานเป็นต้น

ที่ตนบวชในพระศาสนาได้มา เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล โดยยกเอา

การพิจารณาข้อปฏิบัติของตน จึงได้กล่าวคาถา ๕ คาถาเหล่านี้ว่า

บุรุษผู้ประสงค์จะทำธุรกิจ เมื่อประกอบตนในกิจที่

ไม่ควรประกอบ ถ้าเมื่อขึ้นประพฤติอยู่อย่างนั้น ก็ไม่พึงได้

สำเร็จผล การประกอบในกิจที่ไม่ควรประกอบนั้น มิใช่

ลักษณะบุญ ถ้าบุคคลใด ไม่ถอนความเป็นอยู่อย่างลำบาก

แล้วมาสละธรรมอันเอกเสีย บุคคลนั้นก็พึงเป็นดังคน

กาลี ถ้าสละทิ้งคุณธรรมแม้ทั้งปวง ผู้นั้นก็พึงเป็นเหมือน

คนตาบอด เพราะไม่เห็นธรรมที่สงบและเห็นธรรมไม่

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๓๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 78

สงบ บุคคลพึงทำอย่างใด พึงพูดอย่างนั้นแล ไม่พึงทำ

อย่างใด ไม่พึงพูดอย่างนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมกำหนด

รู้ว่า บุคคลผู้ไม่ต่ำ ดีแต่พูดนั้นมีมาก ดอกไม้งาม มีสี

แต่ไม่มีกลิ่นฉันใด วาจาอันเป็นสุภาษิต ย่อมไม่มีผล

แก่บุคคลผู้ไม่ทำอยู่ ก็ฉันนั้น ดอกไม้งามมีสี มีกลิ่น

ฉันใด วาจาอันเป็นสุภาษิต ย่อมมีผลแก่บุคคลผู้ทำอยู่

ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยเค ได้แก่ในที่สุด ๒ อย่าง ที่ไม่

ควรประกอบ คือไม่ควรเสพ. แต่ในที่นี้พึงทราบความ ด้วยสามารถแห่ง

อัตตกิลมถานุโยค ประกอบเนือง ๆ ในการทรมานตน.

บทว่า ยุญฺช ความว่า ประกอบตนในที่สุด ๒ อย่างนั้น คือปฏิบัติ

เหมือนอย่างนั้น.

บทว่า กิจฺจมิจฺฉโก ความว่า ปรารถนากิจที่นำประโยชน์ทั้งสองมา,

หากว่าพึงประพฤติอยู่ในกิจไม่ควรประกอบ โดยเป็นปฎิปักษ์ต่อกิจที่ควร

ประกอบนั้นไซร้.

บทว่า นาธิคจฺเฉยฺย ความว่า ชื่อว่า ญายะ เพราะไม่พึงบรรลุ

หิตสุขตามที่ประสงค์ เพราะฉะนั้น เราถูกหลอกลวงด้วยมติของพวก

เดียรถีย์ จึงประกอบในสิ่งไม่ควรประกอบ นั่นไม่ใช่ลักษณะบุญคือไม่ใช่

สภาวะแห่งบุญของเรา. ท่านแสดงว่า เราหลงเพราะกรรมเก่า จึงประกอบ

ในสิ่งไม่ควรประกอบ.

บทว่า อพฺพูฬฺห อฆคต วิชิต ความว่า กิเลสมีราคะเป็นต้น

ชื่อว่า อฆา เพราะมีการเบียดเบียนเป็นสภาวะ, ความเป็นอันลำบาก คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 79

อฆา ความเป็นอยู่แห่งกิเลสที่ลำบาก คือความเป็นไปในสงสาร ความ

เป็นอยู่แห่งกิเลสที่ลำบากเหล่านั้น ได้แก่ความครอบงำกุศลธรรม. ท่าน

กล่าว อฆคต วิชิต เพราะไม่ลบนิคคหิต. อธิบายว่า ผู้ใดยังละความ

เป็นอยู่อันลำบากไม่ได้ ผู้นั้นก็เป็นอยู่อย่างนั้น เพราะทำการเป็นอยู่ลำบาก

ที่ยังถอนไม่ได้นั้นให้เป็นแว่นแคว้น คือยังถอนกิเลสขึ้นไม่ได้.

บทว่า เอกญฺเจ โอสฺสเชยฺย ความว่า หากพึงละ คือพึงสละ

ความไม่ประมาทอันหนึ่ง และความประกอบชอบ ด้วยเป็นผู้ไม่มีเพื่อน ๒

และด้วยความเป็นผู้มีความเพียร. บุคคลนั้นเหมือนกาลี คือพึ่งเป็นเหมือน

คนกาลกิณี.

บทว่า สพฺพานิปิ เจ โอสฺสเชยฺย ความว่า หากบุคคลนั้น พึง

สละ. สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์

อันบ่มด้วยวิมุตติแม้ทั้งหมด, คือหากพึงทิ้งเสียด้วยการไม่อบรม, คนนั้น

ก็พึงเป็นเหมือนคนบอด เพราะไม่เห็นธรรมที่สงบและธรรมที่ไม่สงบ.

ศัพท์ว่า ยถา เป็นนิบาต ใช้ในอรรถเปรียบเทียบโดยอุปมา.

บทว่า วณฺณวนฺต แปลว่า สมบูรณ์ด้วยสีและสัณฐาน.

บทว่า อคนฺธก ได้แก่ เว้นจากกลิ่น อันต่างด้วยดอกทองกวาว

ดอกอัญชันเขียว ดอกชัยพฤกษ์เป็นต้น.

บทว่า เอว สุภาสิตา วาจา ความว่า พุทธพจน์คือปิฎก ๓ อัน

เสมือนกับดอกไม้อันสมบูรณ์ด้วยสีและสัณฐาน ชื่อว่าวาจาสุภาษิต เหมือน

อย่างว่า กลิ่นย่อมไม่แผ่ไปในสรีระของผู้ทัดทรงดอกไม้ที่ไม่มีกลิ่น ฉันใด

พระพุทธพจน์ก็ฉันนั้น ผู้ใดไม่ประพฤติให้สม่ำเสมอด้วยกิจ มีการฟังโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 80

เคารพเป็นต้น ย่อมไม่นำมาซึ่งกลิ่นคือสุตะ และกลิ่นคือการปฏิบัติ คือ

ไม่มีผลแก่ผู้นั้น ผู้ไม่ประพฤติโดยเคารพ ชื่อว่า แก่ผู้ไม่กระทำกิจที่พึง

กระทำในพระพุทธพจน์นั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วาจาอันเป็น

สุภาษิต ย่อมไม่มีผลแก่ผู้กระทำ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า สุคนฺธก ได้แก่ ดอกไม้หอมต่างด้วยดอกมะลิ ดอกจำปา

และดอกอุบลเขียวเป็นต้น.

บทว่า เอว ความว่า กลิ่นย่อมแผ่ไปในสรีระของบุคคลผู้ทัดทรง

ดอกไม้ฉันใด แม้วาจาอันเป็นสุภาษิตกล่าวคือพระพุทธพจน์ คือปิฎก ๓

ก็ฉันนั้น ย่อมมีผลคือย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก แก่บุคคลผู้การทำกิจ

ที่ควรกระทำในพระพุทธพจน์นั้น ด้วยกิจมีการฟังโดยเคารพเป็นต้น.

เพราะฉะนั้น พึงปฏิบัติในโอวาท คือพึงทำอย่างไร พึงกล่าวอย่างนั้น

คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

อรรถกถาสุภูตเถรคาถาที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 81

๓. คิริมานันทเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระคิริมานันทเถระ

[๓๓๗] ฝนตกเสียงไพเราะเหมือนเพลงขับ กุฎีของเรามุงดี

แล้ว มีประตูหน้าต่างมิดชิดดี เราเป็นผู้สงบอยู่ในกุฎีนั้น

ถ้าประสงค์จะตกก็ตกลงมาเถิดฝน ฝนตกไพเราะเหมือน

เพลงขับ กุฎีของเรามุงดีแล้ว มีประตูหน้าต่างมิดชิดดี

เราเป็นผู้มีจิตสงบอยู่ในกุฎีนั้น ถ้าประสงค์จะก็ตกลง

มาเถิดฝน ฯลฯ เราเป็นผู้ปราศจากราคะอยู่ในกุฏี

นั้น ฯลฯ เราเป็นผู้ปราศจากโทสะอยู่ในกุฎีนั้น ฯลฯ เรา

เป็นผู้ปราศจากโมหะอยู่ในกุฎีนั้น ถ้าประสงค์จะตกก็ตก

ลงมาเถิดฝน.

จบคิริมานันทเถรคาถา

อรรถกถาคิริมานันทเถรคาถาที่ ๓

คาถาของท่านพระคิริมานันทเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วสฺสติ เทโว

ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าสุเมธ

บังเกิดในเรือนมีตระกูล เจริญวัยแล้วอยู่ครองฆราวาส เมื่อภรรยาและบุตร

ของคนทำกาละแล้ว เพียบพร้อมไปด้วยลูกศรคือความโศก เข้าไปสู่ป่า

เมื่อพระศาสดาเสด็จไปในที่นั้นแสดงธรรม ถอนลูกศรคือความโศกได้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 82

มีจิตเลื่อมใสบูชาด้วยของหอมและดอกไม้ ถวายบังคมด้วยเบญจางค-

ประดิษฐ์ ประคองอัญชลีขึ้นเหนือเศียรแล้วกล่าวชมเชย.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ เกิดเป็นบุตรแห่งปุโรหิตของพระเจ้าพิมพิสารในกรุง

ราชคฤห์, ท่านได้นามว่าคิริมานันทะ, ท่านถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว

เห็นอานุภาพของพระพุทธเจ้าในการเสด็จไปกรุงราชคฤห์แห่งพระศาสดา

ได้ศรัทธาบรรพชา กระทำสมณธรรมอยู่ในหมู่บ้านสิ้น ๒-๓ วัน แล้ว

ได้ไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อถวายบังคมพระศาสดา.

พระเจ้าพิมพิสารมหาราช ทรงทราบการมาของท่าน จึงเสด็จเข้า

ไปหา ทรงปวารณาว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้แหละ ข้าพเจ้า

จะอุปัฏฐากด้วยปัจจัย ๔ ดังนี้แล้วเสด็จไปไม่ทรงระลึกถึงความที่พระองค์

มีกิจมาก เทวดาทั้งหลายคิดว่า พระเถระย่อมอยู่ในโอกาสกลางแจ้งจึงห้าม

ฝน เพราะกลัวพระเถรจะเปียก. พระราชาทรงกำหนดถึงเหตุที่ฝนไม่ตก

จึงให้สร้างกระท่อมสำหรับพระเถระ. พระเถระอยู่ในกระท่อมได้ทำความ

เพียรชอบ โดยได้เสนาสนะเป็นสัปปายะ ประกอบความเพียรสม่ำเสมอ

บำเพ็ญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ภริยาของเราทำกาละแล้ว บุตรของเราก็ไปสู่ป่าช้า

มารดา บิดา และพี่ชายของเราเผาที่เชิงตะกอนเดียวกัน

เพราะความเศร้าโศกนั้น เราเป็นผู้เร่าร้อน เป็นผู้ผอม

เหลือง จิตเราฟุ้งซ่าน เพราะเราประกอบด้วยความเศร้า-

โศกนั้น เรามากด้วยลูกศรคือความโศก จึงเข้าไปสู่ชาย

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๓๙๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 83

ป่า บริโภคผลไม้ที่หล่นเองอยู่ที่โคนต้นไม้ พระสัมพุทธ-

ชินเจ้าพระนามว่าสุเมธ ผู้กระทำที่สุดทุกข์ พระองค์

ประสงค์จะช่วยเหลือเรา จึงเสด็จมาในสำนักของเรา เรา

ได้ยินเสียงพระบาทของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธ ผู้

แสวงหาคุณอันใหญ่ยิ่ง จึงชะเง้อศีรษะดูพระมหามุนี

พระมหาวีรเจ้าเสด็จเข้ามา ปีติเกิดขึ้นแก่เรา ในกาลนั้น

เราได้เห็นพระองค์ผู้เป็นนายกของโลก แล้วมีใจไม่ฟุ้ง-

ซ่านกลับได้สติ แล้วได้ถวายใบไม้กำมือหนึ่ง พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้มีจักษุประทับนั่งบนใบไม้นั้นด้วยความอนุเคราะห์

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธ ผู้เป็นนายของโลก

ผู้ตรัสรู้แล้ว ครั้นประทับนั่งบนใบไม้นั้นแล้ว ทรงแสดง

ธรรมเครื่องบรรเทาลูกศรคือความโศกแก่เราว่า ชนเหล่า-

นั้น ใครไม่ได้เชื้อเชิญให้มาก็มาจากปรโลกนั้นเอง ใคร

ไม่ได้อนุญาตให้ไปก็ไปจากมนุษยโลกนี้แล้ว เขามาแล้ว

ฉันใด ก็ไปฉันนั้น จะปริเทวนาไปทำไมในการตายของ

เขานั้น สัตว์มีเท้า เมื่อฝนตกลงมา เขาก็เข้าไปอาศัย

ในโรงเพราะฝนตก เมื่อฝนหายแล้วเขาก็ไปตามปรารถนา

ฉันใด มารดาบิดาของท่านก็ฉันนั้น จะปริเทวนาไปทำไม

ในการตายของเขานั้น แขกผู้จรไปมา เป็นผู้สั่นหวั่น-

ไหวฉันใด มารดาบิดาของท่านก็ฉันนั้น จะปริเทวนาไป

ทำไมในการตายของเขานั้น งูละคราบเก่าแล้ว ย่อมไปสู่

กายเดิมฉันใด มารดาบิดาของท่านก็ฉันนั้น จะปริเทวนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 84

ไปทำไมในการตายของเขานั้น เราได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัส

แล้ว เว้นลูกศรคือความโศกได้ ยังความปราโมทย์ให้

เกิดแล้ว ได้ถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ครั้น

ถวายบังคมแล้ว ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ล่วงพ้นภูเขาคือ

กิเลส เป็นพระมหานาค ทรงสมบูรณ์ด้วยกลิ่นหอมอันเป็น

ทิพย์ พระนานว่าสุเมธ เป็นนายกของโลก ครั้นบูชา

พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ประนมกรอัญชลีขึ้นเหนือเศียร

อนุสรณ์ถึงคุณอันเลิศแล้ว ได้สรรเสริญพระองค์ผู้เป็น

นายกของโลกว่า ข้าแต่พระมุนีมหาวีรเจ้า พระองค์เป็น

สัพพัญญู เป็นนายกของโลก ทรงข้ามพ้นแล้วยังทรงรื้อ

ขนสรรพสัตว์ด้วยพระญาณอีก ข้าแต่พระมหามุนีผู้มีจักษุ

พระองค์ตัดความเคลือบแคลงสงสัยแล้ว ได้ทรงยังมรรค

ให้เกิดแก่ข้าพระองค์ ด้วยพระญาณของพระองค์ พระ-

อรหันต์ผู้ถึงความสำเร็จ ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มากเที่ยว

ไปในอากาศได้ เป็นนักปราชญ์ ห้อมล้อมอยู่ทุกขณะ

พระเสขะผู้กำลังปฏิบัติ และผู้ตั้งอยู่ในผลเป็นสาวกของ

พระองค์ สาวกทั้งหลายของพระองค์ย่อมบาน เหมือน

ดอกปทุมเมื่ออาทิตย์อุทัย มหาสมุทรประมาณไม่ได้ ไม่มี

อะไรเหมือน ยากที่จะข้ามได้ฉันใด แต่ข้าพระองค์ผู้มี

จักษุ พระองค์สมบูรณ์ด้วยพระญาณก็ประมาณไม่ได้ฉันนั้น

เราถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้ชนะโลกมีจักษุ มียศมาก

นมัสการทั่ว ๔ ทิศแล้วได้กลับไป เราเคลื่อนจากเทวโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 85

แล้วรู้สึกตัว กลับมีสติ ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ลงสู่

ครรภ์มารดาออกจากเรือนแล้วบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้มี

ความเพียร มีปัญญา มีการหลีกเร้นอยู่เป็นอารมณ์ ตั้ง

ความเพียร ยังพระมหามุนีให้ทรงโปรดปราน พ้นแล้วจาก

กิเลส ดังพระจันทร์พ้นแล้วจากกลีบเมฆอยู่ทุกเมื่อ เรา

เป็นผู้ขวนขวายในวิเวก สงบระงับ ไม่มีอุปธิ กำหนดรู้

อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัปที่ ๓ หมื่น

แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยการบูชานั้น เรา

ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเผากิเลส

ทั้งหลายแล้ว ...ฯลฯ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จ

แล้ว ดังนี้.

ครั้น เมื่อพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อฝนตกอยู่ดุจมีเสียงร่าเริง

ยินดี เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผลนั้น โดยประกอบข้อที่ฝนหลั่งลงมาแต่

เบื้องบน จึงได้กล่าวคาถา ๕ คาถานี้ว่า

ฝนตกเสียงไพเราะเหมือนเพลงขับ กุฎีของเรามุงดี

แล้ว มีประตูหน้าต่างมิดชิดดี เราเป็นผู้สงบอยู่ในกุฎีนั้น

ถ้าประสงค์จะตกก็ตกลงนาเถิดฝน ฝนตกไพเราะเหมือน

เพลงขับ กุฎีของเรามุงดีแล้ว มีประตูหน้าต่างมิดชิดดี

เราเป็นผู้มีจิตสงบอยู่ในกุฎีนั้น ถ้าประสงค์จะตกก็ตกลงมา

เถิดฝน. ฯลฯ เราเป็นผู้ปราศจากราคะอยู่ในกุฎีนั้น ฯลฯ

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๓๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 86

เราเป็นผู้ปราศจากโทสะอยู่ในกุฎีนั้น ฯลฯ เราเป็นผู้

ปราศจากโมหะอยู่ในกุฎีนั้น ถ้าประสงค์จะตกก็ตกลงมา

เถิดฝน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาสุคีต แปลว่า สมควรแก่เพลงขับ

ที่ไพเราะ, อธิบายว่า สมควรแก่เพลงขับแห่งเมฆฝนอันดีนั่นเอง. จริง

อยู่ เมฆเมื่อตั้งขึ้นโดยชั้นพันชั้นแล้วคำรนร้องกระหึ่ม แม้แลบอกจาก

สายฟ้าไม่ตกลงย่อมงาม เหมือนเมื่อไม่ร้องกระหึ่มตกลงอย่างเดียว ย่อม

ไม่งามฉะนั้น แต่เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้วตกลงย่อมงาม เพราะฉะนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า วสฺสติ เทโว ยถาสุคีต ฝนตกลงเหมือนเสียงเพลงขับ. เพราะ

เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เมฆที่เปล่งเสียงน่าชมเชยยิ่ง และว่าคำรามร้อง

และตกลง.

บทว่า ตสฺส วิหรามิ ความว่า ย่อมอยู่ในกระท่อมนั้น โดยห้อง

อริยวิหารธรรม คือโดยอิริยาบถวิหาร.

บทว่า วูปสนฺตจิตฺโต ได้แก่มีจิตสงบโดยชอบด้วยสมาธิอันสัมปยุต

ด้วยอรหัตผล.

วลาหกเทวบุตร รับการขวนขวายที่พระเถระกระทำหลายครั้งด้วย

เศียรเกล้าอย่างนี้ ยังที่ลุ่มและที่ดอนให้เต็ม ยังฝนใหญ่ให้ตก.

จบอรรถกถาคิริมานันทเถรคาถาที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 87

๔. สุมนเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสุมนเถระ

[๓๓๘] ท่านพระอุปัชฌายะปรารถนาธรรมใด ในบรรดาธรรม

ทั้งหลายเพื่อเรา อนุเคราะห์เราผู้จำนงหวังอมตนิพพาน

กิจที่ควรทำในธรรมนั้นเราทำเสร็จแล้ว ธรรมที่มิใช่สิ่งที่

อ้างว่า ท่านกล่าวมาอย่างนี้ เราได้บรรลุแล้ว ทำให้แจ้ง

แล้วด้วยตนเอง เรามีญาณอันบริสุทธิ์ หมดความสงสัย

จึงได้พยากรณ์ในสำนักของท่าน เรารู้จักขันธ์ที่เคยอยู่

อาศัยในก่อน ทิพยจักษุเราได้ชำระแล้ว ประโยชน์ของตน

เราได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำแล้ว

สิกขา ๓ อันเราผู้ไม่ประมาทได้ฟังดีแล้ว ในสำนักของ

ท่าน อาสวะทั้งปวงของเราสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี

ท่านเป็นผู้มีความเอ็นดู อนุเคราะห์สั่งสอนเราด้วยวัตรอัน

ประเสริฐ โอวาทของท่านไม่ไร้ประโยชน์ เราได้ศึกษา

อยู่ในสำนักของท่าน.

จบสมุนเถรคาถา

อรรถกถาสุมนเถรคาถาที่ ๔

คาถาของท่านพระสุมนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ย ปตฺถยมาโน ดังนี้.

เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 88

พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๙๕ แต่ภัทรกัปนี้ เมื่อโลกว่างพระ-

พุทธเจ้า บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งป่วยไข้ได้ถวายชิ้นสมอ.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลคฤหบดี ในโกศลรัฐ ได้นามว่า สุมน

เจริญด้วยความสุข. ก็ลุงของท่านบวชแล้วเป็นพระอรหันต์อยู่ในป่า เมื่อ

ท่านสุมนเจริญวัยแล้วจึงให้ท่านบรรพชา ได้ให้กัมมัฏฐานอันเหมาะแก่

จริต. ท่านประกอบความเพียรในที่นั้น ยังฌาน ๔ และอภิญญา ๕ ให้เกิด.

ลำดับนั้น พระเถระได้บอกวิปัสสนาวิธีแก่ท่าน, ก็ท่านเจริญวิปัสสนาโดย

ไม่นานเลย ดำรงอยู่ในพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้นจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

เรากำลังนำผลสมอ ผลมะขามป้อม ผลมะม่วง ผล

หว้า สมอพิเภก กระเบา ผลรกฟ้า มะตูม มาด้วยตนเอง

เราได้เห็นพระมหามุนีผู้มีปกติเพ่งพินิจ ยินดีในฌาน เป็น

นักปราชญ์ ลูกอาพาธเบียดเบียน เสด็จเดินทางไกล

ประทับอยู่ที่เงื้อมเขา จึงได้เอาผลสมอถวายแด่พระสยัมภู

ก็เราพอทำเภสัชเสร็จแล้ว พยาธิหายไปในทันใดนั้นเอง

พระพุทธเจ้าผู้มีความกระวนกระวายอันละได้แล้ว ได้

ทรงทำอนุโมทนาว่า ก็ด้วยการถวายเภสัชอันเป็นเครื่อง

ระงับพยาธินี้ ท่านเกิดเป็นเทวดา เป็นมนุษย์ หรือจะ

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๒๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 89

เกิดในชาติอื่น จงเป็นผู้ถึงความสุขในที่ทุกแห่ง และ

ท่านอย่าถึงความป่วยไข้ ครั้นพระสยัมภูพุทธเจ้าผู้ไม่ทรง

พ่ายแพ้อะไร เป็นนักปราชญ์ ตรัสดังนี้แล้วได้เสด็จเหาะ

ขึ้นสู่นภากาศ เหมือนพญาหงส์ในอัมพรฉะนั้น เฉพาะ

เราได้ถวายสมอแด่พระสยัมภูพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอัน

ยิ่งใหญ่ ความป่วยไข้จึงมิได้เกิดแก่เราเลยจนถึงชาตินี้

นี้เป็นความเกิดครั้งหลังของเรา ภพสุดท้ายกำลังเป็นไป

วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนา

เราได้ทำเสร็จแล้ว ในกัปที่ ๙๕ แต่กัปนี้ เราได้ถวายเภสัช

ในกาลนั้น ด้วยการถวายเภสัชนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งเภสัชทาน เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...ฯลฯ

... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็ท่านดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว วันหนึ่งได้ไปยังที่อุปัฏฐากพระ-

เถระผู้เป็นลุง. พระเถระถามถึงการบรรลุกะท่าน, ท่านเมื่อพยากรณ์การ

บรรลุนั้น จึงพยากรณ์พระอรหัตผล บันลือสีหนาทด้วย ๕ คาถา ดังนี้

ท่านพระอุปัชฌายะ ปรารถนาธรรมใด ในบรรดา

ธรรมทั้งหลายเพื่อเรา อนุเคราะห์เราผู้จำนงหวังอมต-

นิพพาน กิจที่ควรทำในธรรมนั้นเราทำเสร็จแล้ว ธรรมที่

มิใช่สิ่งที่อ้างว่า ท่านกล่าวมาอย่างนี้ เราได้บรรลุแล้ว ทำ

ให้แจ้งแล้วด้วยตนเอง เรามีญาณอันบริสุทธิ์ หมดความ

สงสัย จึงได้พยากรณ์ในสำนักของท่าน เรารู้จักขันธ์ที่

๑. ขุ. เถระ. ๒๖/ข้อ ๓๓๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 90

เคยอยู่อาศัยในก่อน ทิพยจักษุเราได้ชำระแล้ว ประโยชน์

ของตนเราได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเรา

ได้ทำแล้ว สิกขา ๓ อันเราผู้ไม่ประมาท ได้ฟังดีแล้ว

ในสำนักของท่าน อาสวะทั้งปวงของเราสิ้นแล้ว บัดนี้

ภพใหม่ไม่มี ท่านเป็นผู้มีความเอ็นดู อนุเคราะห์สั่งสอน

เราด้วยวัตรอันประเสริฐ โอวาทของท่านไม่ไร้ประโยชน์

ได้ศึกษาอยู่ในสำนักของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย ปตฺถยาโน ธมฺเมสุ อุปชฺณาโย

อนุคฺคหิ อมต อภิกงฺขนต ความว่า ในบรรดาธรรมหาโทษมิได้ มีสมถะ

และวิปัสสนาเป็นต้น พระอุปัชฌาย์ของเรา เมื่อปรารถนาคือหวังธรรมใด

ย่อมอนุเคราะห์เราผู้หวัง อมตะ คือพระนิพพานด้วยอำนาจโอวาท.

บทว่า กต กตฺตพฺพก มยา ความว่า เรากระทำกิจคือยังกิจมี ๑๖

อย่าง มีปริญญากิจเป็นต้น ที่พึงทำเพื่อบรรลุพระนิพพานนั้นให้สำเร็จแล้ว

ลำดับนั้นนั่นแล ท่านท่าให้แจ้งมรรคธรรม แม้ทั้ง ๔ มรรค ที่

บรรลุแล้วโดยลำดับ คือที่ถึงเฉพาะแล้ว

บทว่า สย ธมฺโม อนีติโห ความว่า ธรรมคือพระนิพพาน และ

ธรรมคือผล เราเองนั่นแลได้รู้เองแล้ว ไม่สงสัยแล้ว เห็นแจ้งด้วยตนแล้ว

ได้แก่อริยมรรค เฉพาะที่ถอนความสงสัย กล่าวคือคำสอนที่มาแล้วแต่

อาจารย์ในกาลก่อน ตามความเป็นไปว่า อิติห ธรรมนี้มีมาแต่ก่อนอย่างนี้

อิติ กิร ได้ยินว่า ธรรมนี้มีมาแต่ก่อนอย่างนี้เป็นไปอยู่. เพราะเหตุนั้นท่าน

จึงกล่าวว่า ผู้มีญาณอันหมดจด ผู้ข้ามความสงสัยได้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 91

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสุทฺธาโณ ชื่อว่า ผู้มีญาณอันหมดจด

เพราะหมดจดจากกิเลสทั้งปวง.

บทว่า ตวนฺติเก แปลว่า ในที่ใกล้ท่าน.

บทว่า สทตฺโถ ได้แก่พระอรหัต.

บทว่า สิกฺขา ได้แก่อธิศีลสิกขาเป็นต้น.

บทว่า สสฺสุตา ได้แก่ฟังด้วยดี ด้วยอำนาจการทำปริยัติพาหุสัจจะ

และปฏิเวธพาหุสัจจะให้บริบูรณ์.

บทว่า ตว สาสเน ได้แก่ ผู้ตั้งอยู่ในโอวาทในความพร่ำสอนของ

ท่าน.

บทว่า อริยวตา ความว่า สมาทานข้อปฏิบัติมีศีลที่บริสุทธิ์ดีเป็นต้น.

บทว่า อนฺเตวาสิมฺหิ สิกฺขิโต ความว่า เราชื่อว่า เป็นอันเตวาสิก

ศึกษาอธิศีลสิกขาเป็นต้นที่ศึกษาแล้ว ๆ เพราะอยู่จบพรหมจรรย์ที่ประพฤติ

มาในสำนักของท่าน ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสุมนเถรคาถาที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 92

๕. วัฑฒเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวัฑฒเถระ

[๓๓๙] โยมมารดาของเราดีแท้ เพราะได้แนะนำเราให้รู้สึก

ตัวเหมือนบุคคลแทงพาหนะด้วยปฏักฉะนั้น เราได้ฟังคำ

ของโยมมารดาที่พร่ำสอนแล้ว ได้ปรารภความเพียร มี

จิตตั้งมั่น ได้บรรลุโพธิญาณอย่างสูงสุด เราเป็นพระ-

อรหันต์ควรแก่ทักษิณา มีวิชชา ๓ ได้เห็นอมตธรรม

ชนะเสนาแห่งมารไม่มีอาสวะอยู่ อาสวะของเราเหล่าใด

ได้มีแล้วทั้งภายในทั้งภายนอก อาสวะเหล่านั้นทั้งหมด

เราตัดขาดแล้ว และไม่เกิดขึ้นอักต่อไป โยมมารดาของ

เราเป็นผู้แกล้วกล้า ได้กล่าวเนื้อความนี้กะเรา แม้เมื่อ

เราผู้เป็นบุตรของท่านไม่มีกิเลส กิเลสอันเป็นดังหมู่ไม้

ในป่าของท่านคงจะไม่มีเป็นแน่ ทุกข์เราทำให้สิ้นสุดแล้ว

อัตภาพนี้มีในที่สุด สงสาร คือความเกิดตายสิ้นแล้ว

บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

จบวัฑฒเถรคาถา

อรรถกถาวัฑฒเถรคาถาที่ ๕

คาถาของท่านพระวัฑฒเถระมีคำเริ่มต้นว่า สาธู หิ ดังนี้. เรื่อง

นั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 93

สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาท

กาลนี้ บังเกิดในตระกูลแห่งคฤหบดี ในภารุกัจฉนคร ได้นามว่าวัฑฒะ

เจริญโดยลำดับ. ลำดับนั้น มารดาของท่าน เกิดความสังเวชในสงสาร

ได้มอบบุตรให้แก่พวกญาติ บวชในสำนักนางภิกษุณีทั้งหลาย บำเพ็ญ

วิปัสสนากรรม บรรลุพระอรหัต สมัยต่อมาให้บุตรผู้ถึงความเป็นผู้รู้

เดียงสาแล้วบรรพชาในสำนักพระเวฬุทันตเถระ. ท่านบวชแล้วเรียน

พุทธพจน์เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก นำคันถธุระ วันหนึ่งคิดว่าเราผู้เดียว

เป็นผู้ยิ่งในภายใน จักไปเยี่ยมมารดาดังนี้แล้ว จึงได้ไปยังสำนักนางภิกษุณี

มารดาเห็นท่านแล้วท้วงว่า เพราะเหตุไร ท่านเป็นผู้ยิ่งโนภายในจึงมาใน

ที่นี้แต่ผู้เดียว. ท่านเมื่อถูกมารดาทักท้วงเกิดความสังเวชว่า เราทำกรรม

อันไม่ควร ไปยังวิหารนั่งในที่พักในกลางวัน เห็นแจ้งบรรลุพระอรหัต

เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผลแก่มารดา โดยยกการประกาศการถึงพร้อม

ด้วยโอวาทเป็นประธาน จึงได้กล่าวคาถาว่า

โยมมารดาของเราดีแท้ ได้แนะนำเราให้รู้สึกตัว

เหมือนบุคคลแทงพาหนะด้วยปฏักฉะนั้น เราได้ฟังคำ

ของโยมมารดาที่พร่ำสอนแล้ว ได้ปรารภความเพียรมีจิต

ตั้งมั่น ได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุด เราเป็นพระอรหันต์

ควรแก่ทักษิณา มีวิชขา ๓ ได้เห็นอมตธรรม ชนะเสนา

แห่งมารไม่มีอาสวะอยู่ อาสวะของเราเหล่าใด ได้มีแล้วทั้ง

ภายในทั้งภายนอก อาสวะเหล่านั้นทั้งหมด เราตัดขาดแล้ว

และไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป โยมมารดาของเราเป็นผู้แกล้วกล้า

๑. ขุ. ถร. ๒๖/ ข้อ ๓๓๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 94

ได้กล่าวเนื้อความนี้กะเรา แม้เมื่อเราผู้เป็นบุตรของท่าน

ไม่มีกิเลส กิเลสอันเป็นดังหมู่ไม้ในป่าของท่านคงไม่มี

เป็นแน่ ทุกข์เราทำให้สิ้นสุดแล้ว อัตภาพนี้มีในที่สุด

สงสารคือความเกิดตายสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธู หิ กโร เม มาตา ปโตท

อุปทสยิ ความว่า ดีหนอ โยมมารดา แสดงปฏักกล่าวคือโอวาทแก่เรา

เพราะฉะนั้น จึงให้เรามีความวีริยะกล้าหาญเจาะบนกระหม่อม คือ ปัญญา

อันสูงสุด

บทว่า ยสฺสา ได้แก่ มารดาของเราใด.

บทว่า สมฺโพธึ ได้แก่ พระอรหัต, ก็ในข้อนี้มีโยชนาดังนี้ว่า

เราอันมารดาผู้ที่ให้กำเนิดสั่งสอน ฟังคำที่ท่านพร่ำสอนแล้ว ปรารภความ

เพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ บรรลุสัมโพธิญาณอันสูง คือผลอันเลิศได้แก่

พระอรหัต; เราชื่อว่า อรหันต์ เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลสนั้นนั่นเอง

เป็นทักขิไณยบุคคล คือเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เพราะเป็นบุญเขต.

ชื่อว่า มีวิชชา ๓ เพราะมีวิชชา ๓ มีปุพเพนิวาสญาณเป็นต้น ชื่อว่า

ผู้เห็นอมตะเพราะทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ย่อมชำนะเสนาของมาร ชื่อว่า

นมุจิ คือพาหนะของกิเลส ด้วยเสนาคือโพธิปักขิยธรรม จึงเป็นผู้ชื่อว่า

ไม่มีอาสวะเพราะชำนะเสนาแห่งมารนั้นนั่นแลอยู่เป็นสุข.

บัดนี้ เมื่อจะกระทำเนื้อความที่ท่านกล่าวไว้ว่า อนาสโว ให้ปรากฏ

ชัด จึงกล่าวคาถาว่า อชฺฌตฺตญฺจ ดังนี้ เป็นต้น.

คำแห่งคาถานั้น มีอธิบายว่า กิเลสเหล่าใดมีวัตถุภายในเป็นที่ตั้ง

และมีวัตถุภายนอกเป็นที่ตั้งมีอยู่ก่อน คือเกิดก่อนแต่การบรรลุอริยมรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 95

แห่งเรา อาสวะเหล่านั้นทั้งหมด เราตัดแล้ว ตัดขาดแล้ว คือละได้แล้ว

โดยเด็ดขาด บัดนี้ แม้ในกาลบางคราวก็ไม่เกิดอีก คือจักไม่เกิดเลย.

บัดนี้ เมื่อจะทำคำมารดาให้เป็นดุจขอสับ จึงชมเชยมารดา เพราะ

เหตุที่ตนบรรลุพระอรหัต จึงกล่าวคาถาว่า วิสารทา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสารทา โข แปลว่า ปราศจากความ

ขลาดโดยส่วนเดียว. เมื่อจะยกภาวะที่ตนเป็นบุตรคือโอรสของพระศาสดา

เพราะมารดาและตนบรรลุพระอรหัต ด้วยอาการอย่างนี้ จึงกล่าวกะมารดา

ว่า ภคนี ดังนี้.

บทว่า เอตมตฺถ อภาสยิ ความว่า ได้กล่าวอรรถอัน เป็นโอวาท

แก่เรานี้. ก็มารดาเมื่อให้โอวาทเราอย่างนี้ ไม่จัดว่าเป็นผู้แกล้วกล้าอย่าง

เดียวเท่านั้น โดยที่แท้ ท่านก็เป็นผู้ไม่มีตัณหา ทั้งในบุตรของท่าน คือ

เห็นจะไม่สนิทสนม ทั้งในบุตรของท่าน, หรือจะประโยชน์อะไร ด้วยการ

กำหนดนี้ หมู่ไม้อันตั้งอยู่ในป่าไม่มีแก่ท่าน คือหมู่ไม้คือกิเลสมีอวิชชา

เป็นต้นไม่มีในสันดานของท่านเลย ซึ่งท่านแนะนำให้เราประกอบในความ

สิ้นภพ.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงว่า เราดำเนินตามโดยอาการที่ท่านแนะนำให้

นั่นเอง จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า ปริยนฺตกต ทุกข์เราทำให้สิ้นแล้วดังนี้.

ความของคำอันเป็นคาถานั้น รู้ได้ง่ายแล.

จบวัฑฒเถรคาถาที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 96

๖. นทีกัสสปเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระนทีกัสสปเถระ

[๓๔๐] พระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่แม่น้ำเนรัญชรา เพื่อประ-

โยชน์แก่เราหนอ เพราะเราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว

ละมิจฉาทิฏฐิได้ เมื่อเราเป็นปุถุชนยังมืดมนอยู่ สำคัญว่า

การบูชายัญนี้เป็นความบริสุทธิ์ จึงได้บูชายัญสูงๆ ต่ำๆ

และได้บูชาไฟ แล่นไปสู่การถือทิฏฐิ ลุ่มหลงไปด้วยการ

เชื่อถือ เป็นคนตาบอดให้รู้แจ้ง สำคัญความไม่บริสุทธิ์ว่า

เป็นความบริสุทธิ์ บัดนี้ เราละมิจฉาทิฏฐิได้แล้ว ทำลาย

ภพทั้งปวงหมดแล้ว เราบูชาไฟ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล เราขอนมัสการพระตถาคต ความ

ลุ่มหลงทั้งปวงเราละหมดแล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ

เราทำลายแล้ว ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่มิได้มี.

จบนทีกัสสปเถรคาถา

อรรถกถานทีกัสสปเถรคาถาที่ ๖

คาถาของท่านพระนทีกัสสปเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อตฺถาย วต เม

ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสสัยแห่งพระนิพพาน ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 97

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความ

เป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งเห็นพระศาสดากำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ มีจิต

เลื่อมใสได้ถวายผลมะม่วงผลหนึ่ง มีสีเหมือนมโนศิลา ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรก

ของต้นมะม่วงที่ตนปลูกไว้.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นน้องชายของอุรุเวลกัสสปะ ในตระกูล

พราหมณ์ ในมคธรัฐ เจริญวัยแล้ว ไม่ปรารถนาการอยู่ครองเรือน เพราะ

มีอัธยาศัยในการสลัดออก จึงบวชเป็นดาบส พร้อมด้วยดาบส ๓๐๐ คน

สร้างอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา. จริงอยู่ เพราะท่านอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ

และเพราะท่านเป็นกัสสปโคตร ท่านจึงได้นามว่า นทีกสัสปะ, พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ประทานอุปสมบทแก่ท่านพร้อมด้วยบริวาร โดยเอหิภิกษุ-

ภาวะ เรื่องทั้งหมดมาแล้วในขันธกะนั่นแล. ท่านดำรงอยู่ในพระอรหัต

ด้วยอาทิตตปริยายสูตร. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระเชษฐบุรุษของ

โลก ผู้คงที่ ผู้ทรงยศอันสูงสุด กำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาต

อยู่ ข้าพระองค์มีใจเลื่อมใส ได้ถือเอาผลชมพู่อย่างดีมา

ถวายแด่พระศาสดา ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล เป็นนัก-

ปราชญ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่าสัตว์ เชษฐบุรุษ

ของโลก ประเสริฐกว่านรชน เพราะกรรมนั้น ข้าพระองค์

จงเป็นผู้ละความชนะและความแพ้แล้ว ได้ถึงฐานะที่

ไม่หวั่นไหว ในแสนกัปแต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้ถวายทาน

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๓๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 98

ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้นข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้

เป็นผลแห่งการถวายผลไม้อย่างดีเป็นทาน ข้าพระองค์เผา

กิเลสทั้งหลายแล้ว ...ฯลฯ...พระพุทธศาสนาข้าพระองค์

ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็ท่านดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว ภายหลังพิจารณาการปฏิบัติของ

ตน เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล โดยระบุการถอนทิฏฐิขึ้นเป็นประธาน

จึงได้กล่าวคาถา ๕ คาถาเหล่านี้ว่า

พระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่แม่น้ำเนรัญชรา เพื่อประ-

โยชน์แก่เราหนอ เพราะเราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว

ละมิจฉาทิฏฐิได้ เมื่อเราเป็นปุถุชนยังมืดมนอยู่ สำคัญว่า

การบูชายัญนี้เป็นความบริสุทธิ์ จึงได้บูชายัญสูง ๆ ต่ำ ๆ

และได้บูชาไฟ แล่นไปสู่การถือทิฏฐิ ลุ่มหลงไปด้วยการ

เชื่อถือ เป็นคนตาบอดไม่รู้แจ้ง สำคัญความไม่บริสุทธิ์ว่า

เป็นความบริสุทธิ์ บัดนี้ เราละมิจฉาทิฏฐิได้แล้ว ทำลาย

ภพทั้งปวงหมดแล้ว เราบูชาไฟ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล เราขอนมัสการพระตถาคต ความ

ลุ่มหลงทั้งปวงเราละหมดแล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพเรา

ทำลายแล้ว ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่มิได้มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถาย วต เม ความว่า เพื่อ

ประโยชน์ คือเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เราหนอ.

บทว่า พุทฺโธ ได้แก่ พระสัพพัญูพุทธเจ้า.

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๔๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 99

บทว่า นทึ เนรญฺชร อคา ความว่า ได้ไปสู่แม่น้ำชื่อว่าเนรัญชรา.

อธิบายว่า ไปสู่อาศรมของอุรุเวลกัสสปะ พี่ชายของเรา ใกล้ฝั่งแห่ง

แม่น้ำนั้น .

บัดนี้ เพื่อจะไขความตามที่กล่าวแล้วจึงกล่าวว่า ยสฺสาห ดังนี้

เป็นต้น.

บทว่า ยสฺส ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด.

บทว่า ธมฺม สุตฺวา ความว่า ฟังธรรมอันเกี่ยวด้วยสัจจะ ๔ คือ

ได้รับฟังตามกระแสแห่งโสตทวาร.

บทว่า มิจฺฉาทิฏฺึ วิวชฺชยึ ความว่า ละซึ่งการเห็นผิดตรงกันข้าม

(ผิดแผก) อันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยยัญเป็นต้น

เพื่อจะแสดงให้พิสดาร ซึ่งความที่กล่าวด้วยบทว่า มิจฺฉาทิฏฺึ

วิวชฺชยึ นี้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยชึ ดังนี้ .

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยชึ อุจฺจาวเจ ยญฺเ ความว่า บูชายัญ

ที่ปรากฏ คือยัญต่าง ๆ มีการบวงสรวงพระจันทร์ และการบูชาด้วย

ข้าวตอกและน้ำที่ควรดื่มเป็นต้น.

บทว่า อคฺคิหุตฺต ชุหึ อห ความว่า เมื่อรับวัตถุที่เขานำมาบูชา

ด้วยอำนาจการบูชายัญเหล่านั้น จึงบำเรอไฟ.

บทว่า เอสา สุทฺธีติ มญฺนฺโต ความว่า สำคัญอยู่ว่า ยัญกิริยา

คือการบำเรอไฟนี้ เป็นการบริสุทธิ์โดยความเป็นเหตุให้บริสุทธิ์ คือเป็น

การหมดจดจากสงสารย่อมมีแก่เราด้วยอาการอย่างนี้.

บทว่า อนฺธภูโต ปุถุชฺชโน ความว่า ชื่อว่าเป็นปุถุชนคนบอด

เพราะบกพร่องทางจักขุคือปัญญา ได้แก่ เพราะไม่มีปัญญาจักษุ. การ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 100

ยึดถือคือทิฏฐิ ชื่อว่า ทิฏฐิคหนะ เพราะอรรถว่าล่วงได้โดยยาก เหมือน

พงหญ้าและชัฏภูเขาเป็นต้นฉะนั้น แล่นไป คือเข้าไปสู่รกชัฏคือทิฏฐินั้น

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิคหนปักขันทะ แล่นไปสู่ชัฏคือทิฏฐิ.

บทว่า ปรามาเสน ความว่า ด้วยการก้าวล่วงสภาวะแห่งธรรมเสีย

ยึดถือผิด กล่าวคือ การยึดถือโดยยึดถือว่า นี้เท่านั้นจริง.

บทว่า โมหิโต ความว่า ให้ถึงความเป็นผู้หลงงมงาย.

บทว่า อสุทฺธึ มญฺิส สุทฺธึ ความว่า สำคัญคือเข้าใจหนทาง

อันไม่บริสุทธิ์ ว่าทางบริสุทธิ์ ดังนี้.

ท่านกล่าวเหตุในข้อนั้นว่า เป็นคนบอด คือคนไม่รู้. เป็นคนบอด

เพราะอวิชชาใด คือไม่รู้ธรรมและอธรรม และสิ่งที่ควรและไม่ควรนั้น

นั่นแล ฉะนั้น จึงสำคัญอย่างนั้น.

บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิ ปหีนา เม ความว่า เมื่อเราฟังธรรมกถา คือ

สัจจะ ๔ ในที่พร้อมพระพักตร์พระศาสดาผู้เป็นอย่างนั้น ปฏิบัติอยู่โดย

อุบายอันแยบคาย เป็นอันละมิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด ด้วยสัมมาทิฏฐิอัน

สัมปยุตด้วยอริยมรรค โดยสมุจเฉทปหาน.

บทว่า ภวา ความว่า ภพทั้งปวงมีกามภพเป็นต้น เราทำลายเสีย

แล้ว คือกำจัดเสียแล้วด้วยศัสตรา คืออริยมรรค.

บทว่า ชุหามิ ทกฺขิเณยฺยคฺคึ ความว่า เราละไฟ มีไฟอันบุคคลพึง

นำมาบูชาเป็นต้น แล้วบูชาคือบำเรอไฟคือพระทักขิไณย คือพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระทักขิไณยบุคคลของโลกพร้อมทั้งเทวโลก และ

เพราะเผาบาปทั้งปวง การบำเรอไฟคือพระทักขิไณยของเรานี้นั้น มิได้มุ่ง

ถึงวัตถุมีนมส้ม เนยข้น เปรียง และเนยใสเป็นต้น เป็นการนมัสการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 101

พระศาสดาเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นมสฺสามิ ตถาคต

เราขอนมัสการพระตถาคต ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชุหามิ ทกฺขิเณยฺยคฺคึ ความว่า ย่อมบูชา

คือบำเรอตน อันเป็นทักขิเณยยัคคิ ด้วยการกระทำทักขิณาของทายกให้

มีผลมาก และด้วยการเผาบาป. ย่อมบำเรอด้วยประการนั้น ๆ คือจะ

นมัสการเทวดาคือไฟ แต่บัดนี้เราจะนมัสการพระตถาคต.

บทว่า โมหา สพฺเพ ปหีนา เม ความว่า โมหะทั้งปวงต่าง

ด้วยความไม่รู้ในทุกข์เป็นต้น เราละได้แล้ว คือตัดขาดแล้ว เพราะเหตุ

นั้นนั่นแล เราจึงชื่อว่า ทำลายภวตัณหาได้แล้ว.

เม ศัพท์ พึงนำมาประกอบเข้าในบททั้ง ๓ ว่าชาติสงสารของเรา

สิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ของเราไม่มี ดังนี้แล.

จบอรรถกถานทีกัสสปเถรคาถาที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 102

๗. คยากัสสปเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระคยากัสสปเถระ

[๓๔๑] เราลงไปลอยบาปในแม่น้ำคยา ที่ท่าคยผัคคุวันละ

๓ ครั้ง คือ เวลาเช้า เวลาเที่ยง เวลาเย็น เพราะคิด

เห็นว่า บาปใดที่เราทำไว้ในชาติก่อน บัดนี้ เราจะลอย

บาปนั้นในที่นี้ ความเห็นอย่างนี้ ได้มีแก่เราในกาลก่อน

บัดนี้ เราได้ฟังวาจาอันเป็นสุภาษิต เป็นบทอันประกอบ

ด้วยเหตุผล แล้วพิจารณาเห็นเนื้อความได้ถ่องแท้ตาม

ความเป็นจริง โดยอุบายอันชอบ จึงได้ล้างบาปทั้งปวง

เป็นผู้ไม่มีมลทิน หมดจด สะอาด เป็นทายาทผู้บริสุทธิ์

ของพระพุทธเจ้า เป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุทรของพระ-

พุทธเจ้า เราได้หยั่งลงสู่กระแสน้ำ คือมรรคอันมีองค์ ๘

ลอยบาปทั้งปวงแล้ว เราได้บรรลุวิชชา ๓ และได้ทำกิจ

พระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

จบคยากัสสปเถรคาถา

อรรถกถาคยากัสสปเถรคาถามีที่ ๗

คาถาของท่านพระคยากัสสปเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปาโต มชฺฌนฺหิก

ดังนี้. เรื่องนั้น มีเหตุเกิดขึ้น อย่างไร ?

พระเถระแม้น ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสสัยแห่งพระนิพพาน ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๓๑

แต่ภัทรกัปนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สิขี บังเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 103

ในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ละการครองเรือนเพราะ

มีอัธยาศัยในการสลัดออก บวชเป็นดาบสสร้างอาศรมในราวป่า มีรากไม้

และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร. ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

เดียวไม่มีเพื่อน ได้เสด็จไปใกล้อาศรมของท่าน. ท่านถวายบังคมแล้ว

มีจิตเลื่อมใส เข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งตรวจ

ดูเวลา แล้วได้น้อมผลพุทราอันน่ารื่นรมย์เข้าไปถวายแด่พระศาสดา. ด้วย

บุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาท

กาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว ละการครองเรือน

เพราะมีอัธยาศัยในการสลัดออก บวชเป็นดาบส พร้อมด้วยดาบส ๒๐๐ คน

อยู่ที่คยาประเทศ. ก็เพราะท่านอยู่ที่คยาประเทศ และเป็นกัสสปโคตร

ท่านจึงได้ชื่อว่า "คยากัสสปะ."

ท่านอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานเอหิภิกขุปสัมปทา พร้อม

ด้วยบริษัท แล้วทรงโอวาทด้วยอาทิตตปริยายสูตร ดำรงอยู่ในพระอรหัต.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ครั้งนั้น เรานุ่งหนังเสือ ห่มผ้าคากรอง บำเพ็ญ

วัตรจริยาอย่างหนัก ใกล้อาศรมของเรามีต้นพุทรา ใน

กาลนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี เป็นเอก ไม่มีผู้

เสมอสอง ทรงทำโลกให้ช่วงโชติอยู่ตลอดกาลทั้งปวง

เสด็จเข้ามายังอาศรมของเรา เรายังจิตของตนให้เลื่อมใส

และถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้มีวัตรอันงามแล้ว ได้เอามือ

ทั้งสองกอบพุทรา ถวายแด่พระพุทธเจ้า ในกัปที่ ๓๑

แต่กัปนี้ เราได้ถวายพุทราใด ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๓๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 104

เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายพุทรา เรา

เผากิเลสทั้งหลายแล้ว...ฯลฯ...พระพุทธศาสนาเราได้ทำ

เสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็ท่านดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของตน เมื่อจะ

พยากรณ์พระอรหัตผล โดยระบุการลอยบาปเป็นประธาน จึงได้กล่าว

๕ คาถาเหล่านั้นว่า

เราลงไปลอยบาปในแม่น้ำคยา ที่ท่าคยผัคคุวันละ

๓ ครั้ง คือ เวลาเช้า เวลาเที่ยง เวลาเย็น เพราะคิดเห็น

ว่า บาปใดที่เราทำไว้ในชาติก่อน บัดนี้เราจะลอยบาป

นั้นในที่นี้ ความเห็นอย่างนี้ ได้มีแก่เราในกาลก่อน

คน เราได้ฟังวาจาอันเป็นสุภาษิต เป็นบทอันประกอบ

ด้วยเหตุผล แล้วพิจารณาเห็นเนื้อความได้ถ่องแท้ตาม

ความเป็นจริง โดยอุบายอันชอบ จึงได้ล้างบาปทั้งหมด

เป็นผู้ไม่มีมลทิน หมดจดสะอาด เป็นทายาทผู้บริสุทธิ์

ของพระพุทธเจ้า เป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุทรของพระ-

พุทธเจ้า เราได้ฟังและหยั่งลงสู่กระแสน้ำ คือมรรค อันมีองค์ ๘

ลอยบาปทั้งปวงแล้ว เราได้บรรลุวิชชา ๓ และได้ทำกิจ

พระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

บรรดาคาถาเหล่านั้น อันดับแรก มีความสังเขปดังต่อไปนี้ว่า ใน

เวลาเช้า คือในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น. ในเวลาเที่ยงวัน คือในเวลากลางวัน.

ในตอนเย็น คือในเวลาเย็น. อธิบายว่า วันละ ๓ ครั้ง คือ ๓ วาระ

เราลงน้ำ และเรานั้นเมื่อลง ไม่ลงไปในเวลาใดเวลาหนึ่ง คือในบางครั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 105

บางคราว โดยที่แท้พากันกำหนดว่า การลอยบาปในแม่น้ำคงคา เมื่อถึง

ผัคคุนีนักขัตฤกษ์ ในอุตตรกาลแห่งผัคคุนีมาสอันได้นามว่า คยผัคคุ

เราได้ประกอบพิธีลงสู่น้ำในแม่น้ำคยผัคคุ.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงอุบายอันเป็นเหตุประกอบพิธีการลงสู่น้ำในกาล

นั้น จึงกล่าวคาถาว่า ย มยา ดังนี้เป็นต้น.

คำเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า เมื่อก่อน คือก่อนแต่การเข้าถึงศาสนา

ของพระศาสดาได้มีความเห็นอย่างนี้ คือได้เห็นผิดแผกไปอย่างนี้ว่าบาป-

กรรมอันใด ที่เราสั่งสมไว้ในกาลก่อน คือในชาติอื่นแต่ชาตินี้ บาปกรรม

อันนั้น บัดนี้ลอยเสีย คือทำให้ปราศไป คายเสีย ด้วยการลงสู่น้ำ ในท่า

แม่น้ำคยานี้ และในแม่น้ำคยาผัคคุนี้.

บทว่า ธมฺมตฺถสหิต ปท เป็นบทแสดงไขโดยไม่ลบวิภัตติ, อธิบายว่า

เราได้สดับวาจาอันเป็นภาษิต คือพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอัน

เป็นส่วนที่ประกอบด้วยธรรมและอรรถ คืออันประกอบด้วยเหตุและผล

ในเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด กระทำให้เป็นนิยยานิกะ นำสัตว์ออกด้วยดี

โดยแท้จริง แล้วพิจารณาอรรถแห่งทุกข์เป็นต้น ชื่อว่า ถ่องแท้ เพราะ

เป็นของแท้โดยความเป็นปรมัตถ์ ชื่อว่าตามความเป็นจริง เพราะไม่มี

ความประพฤติผิดแผกในความเป็นอุบายแห่งความเป็นไป (ทุกข์) และ

การกลับ (นิโรธ) ตามสมควร. โดยอุบายอันแยบคาย คือ โดยภาวะ

แห่งกิจมีการกำหนดรู้เป็นต้น คือพิจารณาว่า ทุกขสัจควรกำหนดรู้,

สมุทัยสัจ ควรละ, นิโรธสัจ ควรกระทำให้แจ้ง, มรรคสัจ ควรทำให้เกิด

อธิบายว่า เห็นแล้ว แทงตลอดแล้วด้วยญาณจักษุ.

บทว่า นินฺหาตสพฺพปาโปมฺหิ ความว่า เป็นผู้คายบาปทั้งปวงด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 106

อริยมรรค อริยผล เพราะแทงตลอดสัจจะนั้นเอง ด้วยอาการอย่างนี้,

เพราะเหตุนั้นนั่นแล เราจึงเป็นผู้ชื่อว่า หมดมลทินแล้ว เพราะไม่มีมลทิน

โดยไม่มีมลทินคือราคะเป็นต้น. เพราะเหตุนั้นนั่นแล เราจึงเป็นผู้ชื่อว่า

ล้างแล้วสะอาดหมดจด เพราะมีกายสมาจารหมดจด เพราะมีวจีสมาจาร

หมดจด และเพราะมีมโนสมาจารหมดจด ชื่อว่า เป็นทายาท เพราะเป็น

เบื้องต้นแห่งธรรมทายาทอันเป็นโลกุตระ ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

ผู้ชื่อว่า หมดจด เพราะหมดจดจากมลทินคือกิเลสทั้งปวงพร้อมด้วยวาสนา.

มีวาจา ประกอบความว่าเป็นโอรส คือเป็นบุตร ของพระผู้มีพระภาค-

พุทธเจ้านั้นนั่นเอง เพราะมีอภิชาติอันเกิดแต่ความพยายามคืออก อันมี

เทศนาญาณเป็นสมุฏฐาน. เพื่อจะประกาศความที่คนเป็นผู้อาบแล้วโดย

ปรมัตถ์แม้อีก จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า โอคยฺห เป็นต้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอคยฺห ความว่า ให้หยั่งลงแล้ว คือ

เข้าไปแล้วโดยลำดับ.

บทว่า อฏฺงฺคิก โสต ได้แก่ กระแสแห่งมรรค อันเป็นที่ประชุม

แห่งองค์ ๘ ด้วยองค์มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. บทว่า สพฺพปาป ปวาหยึ

ความว่า คายแล้วซึ่งมลทินคือบาปไม่มีส่วนเหลือ คือเป็นผู้อาบแล้วโดย

ปรมัตถ์ เพราะลอยเสียในแม่น้ำคืออริยมรรค. ต่อจากนั้นนั่นแล คำว่า

เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้ มี

อรรถดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.

จบอรรถกถาคยากัสสปเถรคาถาที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 107

๘. วักกลิเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวักกลิเถระ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

[๓๔๒] ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ป่าใหญ่ ซึ่งเป็นที่ปราศจาก

โคจรเป็นที่เศร้าหมอง ถูกโรคลมครอบงำ จักทำอย่างไร ?

ท่านพระวักกลิเถระกราบทูลว่า

ข้าพระองค์จะยังปีติและความสุขอันไพบูลย์ให้แผ่ไป

สู่ร่างกาย ครอบงำปัจจัยอันเศร้าหมองอยู่ในป่าใหญ่ จัก

เจริญสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ และโพชฌงค์ ๗

อยู่ในป่าใหญ่ เพราะได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ปรารภความ

เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ มีความ

พร้อมเพรียงกัน มีความเห็นร่วมกัน ข้าพระองค์จึงจัก

อยู่ในป่าใหญ่ เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้มี

พระองค์อันฝึกแล้ว มีพระหทัยตั้งมั่น จึงเป็นผู้ไม่เกียจ-

คร้านตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันอยู่ในป่าใหญ่.

จบวักกลิเถรคาถา

อรรถกถาวักกลิเถรคาถาที่ ๘

คาถาของท่านพระวักกลิเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วาตโรคาภินีโต

ดังนี้เป็นต้น. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ในหังสวดีนคร ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 108

แล้ว ไปยังวิหารกับอุบาสกทั้งหลายผู้ไปยังสำนักพระศาสดา ยืนอยู่ท้าย

บริษัท ฟังธรรมอยู่ เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง

เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้น้อมไปในศรัทธา แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น

จึงถวายทานตลอด ๗ วัน ได้ตั้งความปรารถนาไว้ พระศาสดาทอด

พระเนตรเห็นความปรารถนานั้นไม่มีอันตราย จึงได้ทรงพยากรณ์.

แม้ท่านกระทำกุศลตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษย-

โลก ในกาลแห่งพระศาสดาของเราทั้งหลาย บังเกิดในตระกูลพราหมณ์

ในกรุงสาวัตถี. ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อท่านว่า วักกลิ. ท่านเจริญแล้ว

เรียนเวท ๓ ถึงความสำเร็จในศิลปะแห่งพราหมณ์ เห็นพระศาสดาแล้ว

ไม่อิ่มเพราะเห็นสมบัติพระรูปกาย จึงเที่ยวไปกับพระศาสดาเท่านั้น. คิดว่า

เมื่อเราอยู่ในท่ามกลางเรือน จักไม่ได้เห็นพระศาสดาตลอดกาลเป็นนิจ

จึงบวชในสำนักพระศาสดา ยืนอยู่ในที่ ๆ ตนสามารถเห็นพระทศพล

ในเวลาที่เหลือ เว้นเวลาฉันอาหาร และเวลาทำกิจด้วยสรีระ จึงละกิจ

อย่างอื่น เที่ยวแลดูแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น.

พระศาสดาทรงรอความแก่กล้าแห่งญาณของเธอ เมื่อเธอเที่ยวไป

ด้วยการดูพระรูปเท่านั้น สิ้นกาลมากมาย ไม่ได้ตรัสอะไร ๆ รุ่งขึ้นวันหนึ่ง

จึงตรัสว่า วักกลิ จะประโยชน์อะไรด้วยการที่เธอเห็นกายที่เปื่อยเน่านี้

วักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา วักกลิ ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า

เห็นธรรม วักกลิ เพราะเมื่อบุคคลเห็นธรรมชื่อว่าเห็นเรา เมื่อบุคคล

เห็นเราชื่อว่าเห็นธรรม ดังนี้.

เมื่อพระศาสดาแม้ตรัสอยู่อย่างนั้น ท่านก็ไม่สามารถจะละการดู

พระศาสดาไปในที่อื่นได้. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงพระดำริว่า ภิกษุนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 109

ไม่ได้ความสังเวชจักไม่ตรัสรู้ ดังนี้ ในวันเข้าพรรษา จึงขับไล่พระเถระ

ด้วยตรัสว่า หลีกไป วักกลิ. พระเถระถูกพระศาสดาทรงขับไล่ จึงไม่อาจ

จะอยู่ในที่พร้อมพระพักตร์ได้ จึงคิดว่า จะประโยชน์อะไรด้วยความเป็น

อยู่ของเรา ที่จะไม่เห็นพระศาสดา ดังนี้แล้ว จึงขึ้นสู่ที่เหวที่ภูเขาคิชฌกูฏ.

พระศาสดาทรงทราบเรื่องนั้นของเธอ จึงทรงพระดำริว่า ภิกษุนี้เมื่อไม่ได้

ความเบาใจจากสำนักเรา จะพึงยังธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งมรรคและผล

ให้พินาศไป เมื่อจะทรงฉายพระรัศมีเพื่อแสดงพระองค์ จึงตรัส

พระคาถาว่า

ภิกษุผู้มากไปด้วยปราโมทย์ เลื่อมใสในพระพุทธ-

ศาสนาพึงบรรลุบทอันสงบ เป็นที่เข้าไปสงบแห่งสังขาร

เป็นสุข ดังนี้.

แล้วทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า มาเถิด วักกลิ. พระเถระคิดว่า เราเห็น

พระทศพลแล้ว แม้การตรัสเรียกว่า จงมา เราก็ได้แล้ว ดังนี้แล้วเกิดปีติ

และโสมนัสมีกำลัง ไม่รู้การไปของตนว่ามาจากไหน จึงแล่นไปในอากาศ

ในที่พร้อมพระพักตร์ของพระศาสดา ยืนอยู่บนเขาด้วยก้าวเท้าแรก รำพึง

ถึงคาถาที่พระศาสดาตรัส ข่มปีติในอากาศนั่นเอง บรรลุพระอรหัตพร้อม

ด้วยปฏิสัมภิทาดังนี้ เรื่องนี้มาแล้วในอรรถกถาอังคุตตรนิกาย และ

อรรถกถาแห่งธรรมบท.

ก็ในที่นี้ อาจารย์บางพวกกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ท่านพระวักกลิเถระ

อันพระศาสดาทรงโอวาทโดยนัยมีอาทิว่า เธอจะประโยชน์อะไร วักกลิ

ดังนี้ อยู่บนภูเขา เริ่มตั้งวิปัสสนา เพราะท่านมีศรัทธาเป็นกำลังนั่นเอง

วิปัสสนา จึงไม่ลงสู่วิถี พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบดังนั้น จึงได้ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 110

เธอชำระกรรมฐานให้หมดจดประทานให้ เธอไม่สามารถจะให้วิปัสสนาถึง

ที่สุดได้อีก. ลำดับนั้น โรคลมเพราะความบกพร่องอาหาร ได้เกิดขึ้น

แก่ท่าน, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าท่านถูกโรคลมเบียดเบียน จึง

เสด็จไปในที่นั้น เมื่อจะตรัสถาม จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ในป่าใหญ่ ซึ่งเป็นที่ปราศจาก

โคจร เป็นที่เศร้าหมอง ลูกโรคลมครอบงำ จักทำอย่างไร

พระเถระได้ฟังดังนั้น จงได้กล่าว ๔ คาถาว่า

ข้าพระองค์จะยังปีติและความสุขอันไพบูลย์ให้แผ่ไป

สู่ร่างกาย ครอบงำปัจจัยอันเศร้าหมองอยู่ในป่าใหญ่ จัก

เจริญสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ และโพชฌงค์

อยู่ในป่าใหญ่ เพราะได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ปรารภความ

เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ มีความ

พร้อมเพรียงกัน มีความเห็นร่วมกัน ข้าพระองค์จึงจักอยู่

ในป่าใหญ่ เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้มีพระ-

องค์อันฝึกแล้ว มีพระหฤทัยตั้งมั่น จึงเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน

ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันอยู่ในป่าใหญ่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาตโรคาภินีโต ความว่า ถูกโรคลม

ครอบงำ นำให้ถึงความไม่มีเสรีภาพ คือถูกพยาธิอันเกิดจากลมครอบงำ.

พระองค์เรียกพระเถระว่า ตว.

บทว่า วิหร ความว่า อยู่ด้วยอิริยาบถวิหารนั้น.

บทว่า กานเน วเน ความ ว่าในป่าอันเป็นดง อธิบายว่า ในป่าใหญ่.

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๔๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 111

บทว่า ปวิฏฺโคจเร แปลว่า เป็นที่ปราศจากโคจร คือเป็นที่หาปัจจัย

ได้ยาก, ชื่อว่า เศร้าหมอง คือเป็นที่เศร้าหมอง เพราะไม่มีเภสัชมีเนยใส

เป็นต้น อันเป็นสัปปายะของโรคลม และเพราะเป็นภูมิภาคมีดินเค็ม.

บทว่า กถ ภิกฺขุ กริสฺสสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

ภิกษุ เธอจักทำอย่างไร ?

พระเถระได้ฟังดังนั้น เมื่อจะประกาศการอยู่เป็นสุขแห่งตน ด้วย

ปีติและโสมนัสปราศจากอามิสดังนี้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปีติ สุเขน ด้วย

ปีติและสุข.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปีติ สุเขน ความว่า ด้วยปีติ อันมีความ

โลดลอย เป็นลักษณะ และมีการแผ่ซาบซ่านเป็นลักษณะ และด้วยสุข

อันสัมปยุตด้วยปีตินั้น.

บทว่า ผรมาโน สมุสฺสย ความว่า ข้าพระองค์จะยังรูปอันประณีต

อันเกิดจากปีติและสุขตามที่กล่าวแล้ว ให้แผ่ซ่านเข้าร่างกายทั้งสิ้น คือ

กระทำให้รูปถูกต้องไม่ขาดสาย.

บทว่า ลูขมฺปิ อภิสมฺโภนฺโต ความว่า ครอบงำ คือท่วมทับปัจจัย

อันเศร้าหมอง แม้อดกลั้นได้ยาก อันเป็นเหตุเป็นไปโดยความขัดเกลา

ซึ่งเกิดแต่การอยู่ป่า.

บทว่า วิหริสฺสามิ กานเน ความว่า ข้าพระองค์จักอยู่ในราวป่า

ด้วยสุขอันเกิดแต่ฌาน และสุขอันเกิดแต่วิปัสสนา. ด้วยเหตุนั้นท่าน

จึงกล่าวว่า และข้าพระองค์เสวยสุขด้วยกาย (นามกาย ) และว่า

บุคคลพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและดับแห่งขันธ์

ทั้งหลายในกาลใด ๆ ในกาลนั้น ๆ เขาย่อมได้ปีติและ

ปราโมช นั้นเป็นอมตะของบุคคลผู้รู้อยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 112

บทว่า ภาเวนฺโต สติปฏฺาเน ความว่า ยังสติปัฏฐาน ๔ มี

กายานุปัสสนาเป็นต้น อันนับเนื่องในมรรค ให้เกิดและให้เจริญ.

บทว่า อินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์ ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น อันนับ

เนื่องในมรรคนั้นเอง.

บทว่า พลานิ ได้แก่ พละ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น ก็เหมือนกัน. บทว่า

โพชฺฌงฺคานิ ได้แก่ โพชฌงค์ ๗ มีสติสัมโพชฌงค์เป็นต้นก็เหมือนกัน.

ด้วย ศัพท์ ท่านสงเคราะห์ สมัมัปปธาน อิทธิบาท และองค์มรรค.

จริงอยู่ การคำนวณธรรมเหล่านั้น ย่อมมีโดยการจัดธรรมเหล่านั้น

นั่นเอง เพราะไม่มีการเว้นธรรมเหล่านั้น. บทว่า วิหริสฺสามิ ความว่า

ข้าพระองค์ เมื่อเจริญโพธิปักขิยธรรมตามที่กล่าวแล้ว จักอยู่ด้วยสุขอัน

เกิดแต่มรรค สุขอันเกิดแต่ผลอันสำเร็จมาแต่การบรรลุมรรคนั้น และ

สุขอันเกิดแต่พระนิพพาน.

บทว่า อารทฺธวีริเย ความว่า ผู้ประกอบความเพียร ด้วยสามารถ

แห่งสัมมัปปธาน ๔. บทว่า ปหิตตฺเต ได้แก่ ผู้มีจิตส่งไปเฉพาะแล้วสู่

พระนิพพาน. บทว่า นิจฺจ ทฬฺหปรกฺกเน ได้แก่ ผู้มีความเพียรไม่ย่อหย่อน

ตลอดกาล. ชื่อว่า ผู้มีความพร้อมเพรียง ด้วยอำนาจไม่วิวาทกัน และ

ด้วยอำนาจการให้กายสามัคคี. เพราะเห็นเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย

ผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้เสมอกันด้วยทิฏฐิและศีล. ด้วยคำนั้นท่านแสดง

ถึงความเพียบพร้อมด้วยกัลยาณมิตร.

บทว่า อนุสรนฺโต สมฺพุทฺธ ความว่า ไม่เกียจคร้าน ระลึกถึง

พระองค์ผู้ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและ

ด้วยพระองค์เอง ชื่อว่า ผู้เลิศ เพราะเป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 113

ฝึกตนแล้วด้วยการฝึกอันสูงสุด ชื่อว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิอันยอดเยี่ยม

โดยนัยมีอาทิว่า แม้เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระอรหันต์

ดังนี้ ทั้งกลางคืนและกลางวันทุกเวลาอยู่. ด้วยคำนี้ ท่านจึงกล่าวการ

ประกอบพระกรรมฐานในที่ทั้งปวง เพราะแสดงถึงอาการประกอบในการ

เจริญพุทธานุสสติ กล่าวถึงการประกอบปาริหาริยกรรมฐาน ด้วยคำต้น.

ก็พระเถระครั้นกล่าวอย่างนี้แล จึงบำเพ็ญวิปัสสนา บรรลุ

พระอรหัต. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

สมเด็จพระผู้นำมีพระนามอันรุ่งเรือง มีพระคุณนับ

ไม่ได้ พระนามว่า ปทุมุตตระ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วใน

แสนกัป แต่ภัทรกัปนี้ พระองค์ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ

ก็เพราะมีพระพักตร์เหมือนดอกปทุม มีพระฉวีวรรณงาม

ไม่มีมลทินเหมือนดอกปทุม ไม่เปื้อนด้วยโลก เหมือนดอก

ปทุมไม่เปื้อนด้วยน้ำฉะนั้น เป็นนักปราชญ์ มีพระอินทรีย์

ดังใบปทุมและน่ารักเหมือนดอกปทุม ทั้งมีพระโอษฐ์มี

กลิ่นอุดม เหมือนกลิ่นในกลีบของดอกปทุม เพราะฉะนั้น

พระองค์จึงทรงพระนานว่า ปทุมุตตระ พระองค์เป็นผู้เจริญ

กว่าโลก ไม่ทรงถือพระองค์ เปรียบเสมือนเป็นนัยน์ตา

ให้คนตาบอด มีพระอิริยาบถสงบ เป็นที่เก็บพระคุณ เป็น

ที่รองรับกรุณาและมติ ถึงในครั้งไหน ๆ พระมหาวีรเจ้า

พระองค์นั้น ก็เป็นผู้อันพรหม อสูรและเทวดาบูชา เป็น

พระชินะผู้สูงสุดในท่ามกลางหมู่ชนและเกลื่อนกล่นไปทั้ง

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๒๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 114

เทวดาและมนุษย์ เพื่อจะยังบริษัททั้งปวงให้ยินดี ด้วย

พระสำเนียงอันเสนาะ และด้วยพระธรรมเทศนาอัน

เพราะพริ้ง จึงได้ชมสาวกของพระองศ์ว่า ภิกษุอื่นที่พ้น

กิเลสด้วยศรัทธามีมติดี ขวนขวายในการดูเรา เช่นกับ

วักกลิภิกษุนี้ ไม่มีเลย ครั้งนั้นเราเป็นบุตรของพราหมณ์

ในพระนครหังสาวดี ได้สดับพระพุทธสุภาษิตนั้น จึง

ชอบใจฐานันดรนั้น ครั้งนั้นเราได้นิมนต์พระตถาคตผู้

ทศจากมลทินพระองค์นั้น พร้อมด้วยพระสาวก ให้

เสวยตลอด ๗ วัน แล้วให้ครองผ้า เราหมอบศีรษะลงแล้ว

จบลงในสาคร คืออนันตคุณของพระศาสดาพระองค์นั้น

เต็มเปี่ยมไปด้วยปีติ ได้กราบทูล ดังนี้ว่า ข้าแต่พระมหา-

มุนี ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นเช่นกันกับภิกษุผู้ศรัทธาธิมุตติ

ที่พระองค์ทรงชมเชยว่าเป็นเลิศว่าภิกษุมีศรัทธาในพระ-

ศาสนานี้เถิด เมื่อเราได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระมหามุนีผู้มี

ความเพียรใหญ่ มีพระทัสสนะมิได้มีเครื่องกีดกัน ได้ตรัส

พระดำรัสนี้ในท่านกลางบริษัทว่า จงดูมาณพผู้นี้ ผู้นุ่งผ้า

เนื้อเกลี้ยงสีเหลือง นี้อวัยวะอันบุญสร้างสม ให้คล้าย

ทองคำ ดูดดื่มตาและใจของหมู่ชน ในอนาคตกาล มาณพ

ผู้นี้จักได้เป็นพระสาวกของพระโคดมผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง-

ใหญ่ เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายศรัทธาธิมุตติ เขาเป็น

เทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม จักเป็นผู้เว้นจากความเดือดร้อน

ทั้งปวง รวบรวมโภคทรัพย์ทุกอย่าง มีความสุขท่องเที่ยวไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 115

ในที่แสนกัปแต่กัปนี้ พระศาสดานี้พระนามว่า โคดม

ทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้น

ในโลก มาณพผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดา

พระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จักเป็นสาวก

ของพระศาสดามีนามว่า วักกลิ เพราะผลกรรมที่เหลือ

นั้น และเพราะตั้งเจตจำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว

ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรามีความสุขในที่ทุกสถาน

ท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่ ได้เกิดในตระกูลหนึ่งใน

พระนครสาวัตถี มารดาของเราถูกภัยแต่ปิศาจคุกคาม

มีใจหวาดกลัว จึงให้เราผู้ละเอียดอ่อนเหมือนเนยข้น นุ่ม

นิ่มเหมือนใบไม้อ่อน ๆ ซึ่งยังนอนหงาย ให้นอนลง

แทบบาทมูลของพระผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ กราบทูลว่า

ข้าแต่พระโลกนาถ หม่อมฉันขอถวายทารกนี้แด่พระองค์

ข้าแต่ พระโลกนายก ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของเขา

ด้วยเถิด ครั้งนั้น สมเด็จพระมุนีผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์

ผู้หวาดกลัว พระองค์ได้ทรงรับเราด้วยฝ่าพระหัตถ์อัน

อ่อนนุ่นมีตาข่าย อันท่านกำหนดด้วยจักรตั้งแต่นั้นมา

เราก็เป็นผู้ถูกรักษาโดยพระพุทธเจ้า จึงเป็นผู้พ้นจาก

ความป่วยไข้ทุกอย่าง อยู่โดยสุขสำราญ เราเว้นจาก

สุคตเสียเพียงครู่เดียวก็รำคาญใจ พออายุได้ ๗ ขวบ

เราก็ออกบวชเป็นบรรพชิต เราเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการดูพระ-

รูปอันประเสริฐเกิดเพราะบารมีทุกอย่าง มีดวงพระเนตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 116

สีนิล ล้วนเกลื่อนกล่นไปด้วยวรรณสัณฐานอันงดงาม ครั้ง

นั้น พระศาสดาทรงทราบว่าเรายินดีในพระพุทธรูป จึงได้

ตรัสสอนเราว่า อย่าเลยวักกลิ ประโยชน์อะไรในรูปที่น่า

เกลียด ซึ่งคนพาลชอบเล่า ก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรม

บัณฑิตนั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ไม่เห็นสัทธรรม ถึงจะเห็นเราก็

ชื่อว่าไม่เห็น กายมีโทษไม่สิ้นสุด เปรียบเสมอด้วยต้นไม้

มีพิษ เป็นที่อยู่ของโรคทุกอย่างล้วนเป็นที่ประชุมของทุกข์

เพราะฉะนั้น ท่านจงเบื่อหน่ายในรูป พิจารณาเห็นความ

เกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย จักถึงที่สุด

แห่งสรรพกิเลสได้โดยง่าย เราอันสมเด็จพระโลกนาย

ผู้แสวงหาประโยชน์พระองค์นั้น ทรงพร่ำสอนอย่างนี้

ได้ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ เพ่งดูอยู่ที่ซอกเขา พระพิชิตมาร ผู้

มหามุนีประทับยืนอยู่ที่เชิงเขา เพื่อจะทรงปลอบโยนเรา

ได้ตรัสเรียกว่า วักกลิ เราได้ฟังพระดำรัสนั้นเข้าก็เบิกบาน

ครั้นนั้นเราวิ่งลงไปที่เงื้อมเขา สูงหลายร้อยชั่วบุรุษ แต่

ถึงแผ่นดินได้โดยสะดวกทีเดียวด้วยพุทธานุภาพ พระผู้

มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา คือความเกิดขึ้น-

และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลายอีก เรารู้ธรรมนั้น

ทั่วถึงแล้ว จึงได้บรรลุอรหัต ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้มีพระปรีชาใหญ่ ทรงถึงที่สุดแห่งจรณะ ทรงประกาศใน

ท่ามกลางแห่งมหาบริษัทแห่งสัตบุรุษว่า เราเป็นผู้เลิศ

กว่าภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายศรัทธาธิมุตติ ในที่แสนกัปแต่กัปนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 117

เราได้ทำกรรมไว้ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้นเรานั้นเราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเผากิเลสทั้งหลาย

แล้ว...ฯลฯ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว แม้เมื่อพยากรณ์พระอรหัตผล

ก็ได้กล่าวคาถานี้เหมือนกัน. ลำดับนั้นพระศาสดา ประทับนั่งในท่ามกลาง

ภิกษุสงฆ์ จึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้น้อมไปใน

ศรัทธาฉะนี้แล.

จบอรรถกถาวักกลิเถรคาถาที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 118

๙. วิชิตเสนเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวิชิตเสนเถระ

[๓๔๓] เราจักระวังจิตนั้นไว้ เหมือนนายหัตถาจารย์ กักช้าง

ไว้ที่ประตูนครฉะนั้น เราจักไม่ประกอบจิตไว้ในธรรม

อันลามก จักไม่ย่อมให้จิตตกลงไปสู่ข่ายแห่งกามอันเกิด

ในร่างกาย เจ้าถูกเรากักไว้แล้ว จักไปตามชอบใจไม่ได้

เหมือนช้างได้ช่องประตูฉะนั้น ดูก่อนจิตผู้ชั่วช้า บัดนี้

เจ้าจักขืนยินดีในธรรมอันลามกเที่ยวไปเนือง ๆ ดังก่อนมิ

ได้ นายควาญช้างมีกำลังแข็งแรง ย่อมบังคับช้างที่จับได้

ใหม่ ยังไม่ได้ฝึก ให้อยู่ในอำนาจด้วยขอ ฉันใด เรา

จักบังคับเจ้าให้อยู่ในอำนาจ ฉันนั้น นายสารถีผู้ฉลาด

ในการฝึกม้าให้ดี เป็นผู้ประเสริฐ ย่อมฝึกม้าให้รอบรู้ได้

ฉันใด เราฝึกเจ้าให้ตั้งอยู่ในพละ ๕ ฉันนั้น จักผูกเจ้า

ด้วยสติ จักฝึกจักบังคับเจ้าให้ทำธุระด้วยความเพียร เจ้า

จักไม่ได้ไปไกลจากอารมณ์ภายในนี้ละนะจิต

จบวิชิตเสนเถรคาถา

อรรถกถาวิชิตเสนเถรคาถาที่ ๙

คาถาของท่านพระวิชิตเสนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โอลคฺเคสฺสามิ

ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 119

พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัต ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าอัตถทัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความ

เป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ละการครองเรือน บวชเป็นฤๅษีอยู่ในป่า เห็นพระผู้มี-

พระภาคเจ้า เสด็จไปทางอากาศ มีจิตเลื่อมใสแสดงอาการน่าเลื่อมใส

ประคองอัญชลีได้ยืนอยู่แล้ว. พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของท่าน จึง

เสด็จลงจากอากาศ. ท่านน้อมถวายผลไม้อันหวานน่ารื่นรมย์ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงรับด้วยความอนุเคราะห์.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลนายหัตถาจารย์ ในโกศลรัฐ ได้นาม

ว่าวิชิตเสนะ ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา, นายหัตถาจารย์ ๒ คน ชื่อว่าเสนะ

และอุปเสนะ ผู้เป็นลุงของท่านฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้ศรัทธา

แล้วบรรพชา บำเพ็ญวิปัสสนาธุระ บรรลุพระอรหัตแล้ว.

แม้ท่านวิชิตเสนะ ถึงความสำเร็จในศิลปะช้าง ไม่มีจิตข้องอยู่ใน

การครองเรือน เพราะความที่คนมีอัธยาศัยในการสลัดออก เห็นปาฏิหาริย์

ของพระศาสดา ได้ศรัทธาบวชในสำนักของพระเถระผู้เป็นลุง กระทำ

กรรมด้วยวิปัสสนา อันเป็นโอวาทานุสาสนีของพระเถระผู้เป็นลุงเหล่านั้น

ดำเนินตามวิปัสสนาวิถี เมื่อจะสอนจิตของตน อันพล่านไปในอารมณ์

ต่าง ๆ ในภายนอก จึงได้กล่าวคาถาว่า

เราจักระวังจิตนั้นไว้ เหมือนนายหัตถาจารย์ กักช้าง

ไว้ที่ประตูพระนครฉะนั้น เราจักไม่ประกอบจิตไว้ในธรรม

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๔๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 120

อันลามก จักไม่ยอมให้จิตตกลงไปสู่ข่ายแห่งกามอันเกิด

ในร่างกาย เจ้าถูกเรากักไว้แล้ว จักไปตามชอบใจ

ไม่ได้ เหมือนช้างได้ช่องประตูฉะนั้น ดูก่อนจิตผู้ชั่วช้า

บัดนี้ เจ้าจักขืนยินดีในธรรมอันลามกเที่ยวไปเนือง ๆ

ดังก่อนมิได้ นายควาญช้างมีกำลังแข็งแรง ย่อมบังคับ

ช้างที่จับได้ใหม่ยังไม่ฝึก ให้อยู่ในอำนาจด้วยขอฉันใด

เราจักบังคับเจ้าให้อยู่ในอำนาจฉันนั้น นายสารถีผู้ฉลาด

ในการฝึกม้าให้ดีผู้ประเสริฐ ย่อมฝึกม้าให้รอบรู้ฉันใด

เราจักฝึกเจ้าไว้ด้วยสติ จักฝึกจักบังคับเจ้าให้ทำธุระด้วย

ความเพียร เราจักไม่ได้ไปไกลจากอารมณ์ภายในนี้ละ

นะจิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอลคฺเคสฺสามิ ความว่า เราจักระวัง

คือจะห้าม. บทว่า เต แก้เป็น ต แปลว่า ซึ่งจิตนั้น จริงอยู่ บทว่า เต

นี้เป็น ฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง พึงนำ

บาลีที่เหลือมาเชื่อมเข้าด้วยบทว่า เต คมน อีกอย่างหนึ่ง บทว่า หตฺถิน

ความว่า ซึ่งช้าง. ท่านวิชิตเสนะเรียกจิตของตนว่า จิต.

เมื่อจะแสดงอาการที่ปรารถนาจะห้ามจิตนั้น จึงกล่าวว่า อาณิทฺวาเร

หตฺถิน. ประตูเล็กของพระนครซึ่งเนื่องกับกำแพง ชื่อว่าประตูพระนคร

ซึ่งเมื่อเขาใส่ลิ่มสลัก แม้ผู้อยู่ภายในเว้นเครื่องยนต์ ไม่สามารถจะเปิดได้

อันเป็นเหตุไม่สามารถให้มนุษย์, โค, ม้า, กระบือ เป็นต้นออกไป. เมื่อใด

นายหัตถาจารย์ปลอบใจช้างผู้ประสงค์จะออกไปภายนอกพระนคร จึงได้

ห้ามการไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 121

อีกอย่างหนึ่ง ประตูลิ่มชื่อว่า อาณิทวาร ก็ที่ประตูลิ่มสลักนั้น เขา

วางลิ่มขวางไว้ แล้วร้อยลิ่มกล่าวคือเข็มไม้ไว้ที่หัวลิ่มแล.

บทว่า ปาเป ความว่า จักไม่ประกอบจิตนั้นในบาปธรรมมีอภิชฌา

เป็นต้น อันเกิดขึ้นในอารมณ์ มีรูปเป็นต้น . บทว่า กามชาลา ความว่า

เป็นข่ายแห่งกาม. เหมือนอย่างว่า ชื่อว่า ข่ายของนายพรานเนื้อผู้จับปลา

ได้แก่การที่นายพรานเหล่านั้น ทำสัตว์มีปลาเป็นต้นให้สำเร็จการกระทำตาม

ปรารถนาฉันใด การที่มารทำจิตที่ตกไปตามอโยนิโสมนสิการ ให้สำเร็จ

การกระทำตามความปรารถนาก็ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้นแล มารนั้นจึงยัง

สัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในความพินาศ.

บทว่า สรีรช แปลว่า ผู้เกิดในสรีระ. จริงอยู่ จิตในปัญจโวการภพ

ท่านเรียกว่าเกิดในสรีระ เพราะมีความเป็นไปเนื่องด้วยรูป.

บทว่า ตว โอลคฺโค น คจฺฉสิ ความว่า ดูก่อนจิตชั่ว ท่านอัน

เราห้ามแล้วด้วยปฏักคือสติและสัมปชัญญะ บัดนี้จักไม่ไปตามความชอบใจ

คือจักไม่ได้เป็นไปตามความปรารถนาด้วยอำนาจอโยนิโสมนสิการ.

ถามว่า เหมือนอะไร ? แก้ว่า เหมือนช้างไม่ได้การเปิดประตูฉะนั้น

อธิบายว่า เหมือนช้าง เมื่อไม่ได้ผู้เปิดประตูเพื่อจะออกไปจากนคร หรือ

จากเครื่องปิดกั้นของช้าง.

บทว่า จิตฺตกลิ แปลว่า ดูก่อนจิตกาลกิณี.

บทว่า ปุนปฺปุน ได้แก่ ไป ๆ มา ๆ. บทว่า ปสกฺก ความว่า ด้วย

อำนาจการปลอบให้เบาใจด้วยการระลึกได้. บทว่า ปาปรโต แปลว่า

ยินดีในบาปกรรม, อธิบายว่า บัดนี้ จักประพฤติเหมือนในก่อนไม่ได้

คือเราจักไม่ให้เพื่อจะประพฤติเช่นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 122

บทว่า อทนฺต ความว่า ไม่ได้ฝึก คือยังไม่ศึกษาการศึกษาของ

ช้าง.

บทว่า นวคฺคห ได้แก่ ถือเอาไม่นาน.

บทว่า องฺกุสคฺคโห ได้แก่นายหัตถาจารย์. บทว่า พลวา ได้แก่

มีกำลัง ด้วยกำลังกายและกำลังญาณ. บทว่า อาวตฺเตติ อกาม ความว่า

ให้เจ้าผู้ไม่ปรารถนาอยู่นั่นแล กลับโดยการห้าม.

บทว่า เอว อาวตฺตยิสฺส ความว่า นายหัตถาจารย์จักให้ช้างตามที่

กล่าวกลับฉันใด เราจักให้จิตชั่วนั้นกลับจากการเกียดกันทุจริตฉันนั้น.

บทว่า วรหยทมกุสโล ความว่า เป็นผู้ฉลาดในการฝึกม้าที่ควรฝึก

ทั้งหลายอันสูงสุด. แต่นั้นนายสารถีผู้ประเสริฐ คือผู้วิเศษสุดในบรรดา

นายสารถีผู้ฝึกม้าที่ควรฝึก ย่อมฝึกม้าอาชาไนยคือม้าที่ควรฝึก คือย่อม

ทรมาน คือย่อมแนะนำด้วยคำอ่อนหวานและคำหยาบ ตามสมควรแก่กาละ

และเทศะ ได้แก่กระทำให้ละพยศ.

บทว่า ปติฏฺิโต ปญฺจสุ พเลสุ ความว่า เป็นผู้ตั้งอยู่แล้วในพละ ๕

มีศรัทธาเป็นต้น จักฝึกคือจักทรมานจิตนั้นด้วยการห้ามจากความเป็นผู้

ไม่ศรัทธาเป็นต้น.

บทว่า สติยา ต นิพนฺธิสฺส ความว่า ดูก่อนจิตชั่ว เราเมื่อไม่ให้

ไปในภายนอกจากอารมณ์อันเป็นภายในแล้ว จักผูกพันจิตนั้นที่เสาคือ

กรรมฐาน ด้วยเชือกคือสติ.

บทว่า ปยุตฺโต เต ทเมสฺสามิ ความว่า เราผูก คือประกอบขวน

ขวาย ที่เสาคือกรรมฐานนั้น แล้วฝึกเจ้า คือจักให้เจ้าหมดจดจากมลทิน

คือกิเลส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 123

บทว่า วีริยธุรนิคฺคหิโต ความว่า ม้าตามที่กล่าวแล้วนั้น อันนาย

สารถีผู้ฉลาดประกอบไว้ที่แอก คือข่มไว้ด้วยแอก อยู่ในระหว่างแอก ไม่

ล่วงแอกไปได้ฉันใด ดูก่อนจิต แม้เธอก็ฉันนั้น ถูกเราข่มไว้ที่แอกคือ

ความเพียร เมื่อไม่ได้เพื่อจะเป็นไปโดยประการอื่น เพราะมีการกระทำ

โดยเคารพ เพราะมีปกติกระทำเป็นไปติดต่อ จักไม่ออกไปข้างนอกไกล

จากอารมณ์อันเป็นภายในนี้ จริงอยู่ เมื่อจิตประกอบในภาวนา อารมณ์

อื่นจากกรรมฐาน แม้เป็นอารมณ์ใกล้ ก็จะอยู่ไกลแต่ลักษณะทีเดียว รวม

ความว่า พระเถระเมื่อข่มจิตด้วยคาถาเหล่านี้ เจริญวิปัสสนาบรรลุพระ-

อรหัตแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราตกแต่งเครื่องลาดที่ทำด้วยหญ้าแล้ว ได้ทูล

อาราธนาพระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณเหมือนทองคำ

มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ผู้ดุจพญารังที่

ดอกกำลังบาน เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด กำลัง

เสด็จไปทางท้ายป่าใหญ่ ขอพระพุทธเจ้าทรงโปรดอนุ-

เคราะห์ข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์ปรารถนาจะถวาย

ภิกษา พระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้อนุเคราะห์

ประกอบด้วยพระกรุณา มีพระยศใหญ่ ได้ทรงทราบความ

ดำริของเรา จึงเสด็จแวะที่อาศรมของเรา ครั้นแล้ว

พระองค์ได้ประทับบนเครื่องลาดที่ทำด้วยหญ้า เราได้

หยิบเอาผลไม้รกฟ้า มาถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๓๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 124

สุด เมื่อเรามองดูอยู่ พระพิชิตมารทรงเสวยในเวลานั้น

เราได้ยังจิตให้เลื่อมใสในทานนั้นแล้ว ได้ถวายบังคม

พระพิชิตมารในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่

รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ เราเผากิเลส

ทั้งหลายแล้ว . . . ฯลฯ. . .พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จ

แล้ว ดังนี้.

ก็ท่านครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล จึง

ได้กล่าวพระคาถาเหล่านี้.

จบอรรถกถาวิชิตเสนคาถาที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 125

๑๐. ยสทัตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระยสทัตตเถระ

[๓๔๔] คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของ

ท่านผู้ชนะมาร ย่อมเป็นผู้ไกลจากสัทธรรม เหมือนฟ้า

กับดินฉะนั้น คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำ

สอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม เหมือน

พระจันทร์ข้างแรมฉะนั้น คนมีปัญญาทราม มีจิตคิด

จะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเหี่ยวแห้ง

ในสัทธรรม เหมือนปลาในน้ำน้อยฉะนั้น คนมีปัญญา

ทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร

ย่อมไม่งอกงามในสัทธรรม เหมือนพืชเน่าในไร่นา

ฉะนั้น ส่วนผู้ใดมีจิตอันคุ้มครองแล้ว ฟังคำสอนของ

ท่านผู้ชนะมาร ผู้นั้นทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป ทำให้

แจ้งซึ่งธรรมอันไม่กำเริบ ฟังได้บรรลุความสงบอย่าง

ยอดเยี่ยม เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน.

จบยสทัตตเถรคาถา

อรรถกถายสทัตตเถรคาถาที่ ๑๐

คาถาของท่านพระยสทัตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อุปารมฺภจิตฺโต

ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 126

พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

ก่อสร้างกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ. จริงอย่าง

นั้น ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ ท่านบังเกิด

ในตระกูลพราหมณ์ ถึงความสำเร็จในศิลปวิชาของพวกพราหมณ์ ละกาม

ทั้งหลายบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่า. วันหนึ่ง ท่านเห็นพระศาสดา มีจิตเลื่อมใส

ประคองอัญชลีชมเชย. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลก

และมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลแห่งเจ้ามัลละ ใน

มัลลรัฐ ได้นามว่ายสทัตตะ ไปยังเมืองตักกศิลา ศึกษาศิลปะทั้งปวง

เที่ยวจาริกไปกับปริพาชกชื่อว่าสภิยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในกรุง

สาวัตถีโดยลำดับ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหาที่สภิยปริพาชกถาม

ตนเองก็นั่งฟังมุ่งเพ่งโทษว่า เราจักแสดงโทษในวาทะของพระสมณโคดม.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบวาระแห่งจิตของเขา เมื่อจะ

ประทานโอวาทในเวลาจบสภิยสุตตเทศนา จึงได้ตรัส ๕ คาถาเหล่านี้ว่า

คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอน

ของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเป็นผู้ไกลจากสัทธรรม เหมือน

ฟ้ากับดินฉะนั้น. คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ

ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม

เหมือนพระจันทร์ข้างแรมฉะนั้น. คนมีปัญญาทราม มีจิต

คิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเหี่ยว

แห้งในสัทธรรม เหมือนปลาในน้ำน้อยฉะนั้น. คนมี

๑. ขุ. สุ. ๒๕/ข้อ ๓๖๔. ๒. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๔๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 127

ปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะ

มาร ย่อมไม่งอกงามในสัทธรรม เหมือนพืชเน่าในไร่นา

ฉะนั้น. ส่วนผู้ใดมีจิตอันคุ้มครองแล้ว ฟังคำสอนของ

ท่านผู้ชนะมาร ผู้นั้นทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป ทำให้

แจ้งซึ่งธรรมอันไม่กำเริบ พึงบรรลุความสงบอย่างยอด

เยี่ยม เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปารมฺภจิตฺโต ได้แก่ มีจิตคิดจะยก

โทษ อธิบายว่า มีความประสงค์จะยกโทษ.

บทว่า ทุมฺเมโธ แปลว่า ผู้มีปัญญาทราม.

บทว่า อารกา โหติ สทฺธมฺมา ความว่า บุคคลนั้นคือผู้เช่นนั้น

ย่อมเป็นผู้อยู่ในที่ไกลจากสัทธรรม คือการปฏิบัติ เหมือนปฐพีไกลจาก

ฟ้าฉะนั้น. จะป่วยกล่าวไปไยถึงปฏิเวธสัทธรรมเล่า เมื่อท่านประกอบ

ถ้อยคำที่ขัดแย้งกัน โดยนัยมีอาทิว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ สัทธรรมคือ

การปฏิบัติอันสงบละเอียด จักมีแต่ที่ไหน ?

บทว่า ปริหายติ สทฺธมฺมา ความว่า ท่านเสื่อมจากโลกุตรธรรม ๙

ทั้งจากสัทธรรมมีศรัทธาเป็นต้น.

บทว่า ปริสุสฺสติ ความว่า ย่อมเหี่ยวแห้งจากความไม่มีธรรมอัน

เป็นกุศล มีปีติและปราโมทย์เป็นต้น ของตนผู้อิ่มกายอิ่มใจ.

บทว่า น วิรูหติ ความว่า ย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงาม.

บทว่า ปูติก ความว่า ถึงความเป็นของเน่า เพราะไม่มีการให้การ

ฉาบทาด้วยโคมัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 128

บทว่า ตุฏฺเน จิตฺเต เป็นตติยาวิภัตติใช้ในลักษณะแห่งอิตถัมภูตะ,

อธิบายว่า เป็นผู้มีใจยินดี เบิกบาน.

บทว่า เขเปตฺวา ได้แก่ ตัดขาดแล้ว.

บทว่า อกุปฺปต แปลว่า ไม่กำเริบ (พระอรหัต).

บทว่า ปปฺปุยฺย แปลว่า ถึงแล้ว. บทว่า ปรม สนฺตึ ได้แก่

อนุปาทิเสสนิพพาน. ก็การบรรลุอนุปาทิเสสนิพพานนั้น คือการรอกาละ

(ตาย) อย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่กาลไร ๆ เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดง

อนุปาทิเสสนิพพานนั้น ท่านจึงกล่าวว่าผู้ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน.

ท่านอันพระศาสดาทรงโอวาทอย่างนี้แล้ว ก็เกิดความสังเวช บวช

เจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต, เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวไว้ในอปทานว่า

เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ผู้รุ่งเรื่อง

เหมือนต้นกรรณิการ์ โชติช่วงดังดวงประทีป ไพโรจน์

ดุจทองคำ เราวางคณโฑน้ำ ผ้าเปลือกไม้กรองธมกรก ทำ

หนังเสือเฉวียงบ่า แล้วก็สดุดีพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

ว่า ข้าแต่พระมุนี พระองค์ทรงขจัดความมืดมิด ซึ่ง

อากูลไปด้วยข่ายคือโมหะ ทรงแสดงแสงสว่างแห่งพระ-

ญาณแล้ว เสด็จข้ามไป พระองค์ได้ยกโลกนี้ขึ้นได้แล้ว

สิ่งที่ยอดเยี่ยมซึ่งมีอยู่ทั้งหมด จะเปรียบปานกับพระญาณ

เป็นประมาณเครื่องไปจากโลกของพระองค์ไม่มี ด้วย

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๒๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 129

พระญาณนั้น โลกจึงขนานนามพระองค์ว่าสัพพัญญู ข้า-

พระองค์ ขอถวายบังคมพระองค์ผู้มีเพียรใหญ่ ทรงทราบ

ธรรมทั้งปวง ไม่มีอาสวะ ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ได้ เรา

สดุดีพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยการสดุดีนั้น เรา

ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสดุดีพระญาณ เรา

เผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . ฯลฯ . . . พระพุทธศาสนาเรา

ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว แม้เมื่อพยากรณ์พระอรหัตผล

ก็ได้กล่าวคาถาเหล่านี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถายสทัตตเถรคาถาที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 130

๑๑. โสณกุฏีกัณณเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโสณกุฏีกัณณเถระ

[๓๔๕] เราได้อุปสมบทแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลส ไม่มี

อาสวะ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า และได้อยู่ร่วมกับ

พระองค์ในวิหารเดียวกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่

ในที่แจ้งตลอดราตรีเป็นอันมากทีเดียว พระศาสดาผู้

ฉลาดในธรรมเป็นเครื่องอยู่ ได้เสด็จเข้าไปสู่พระวิหาร

เมื่อนั้นพระโคดมทรงลาดผ้าสังฆาฏิแล้ว สำเร็จสีหไสยา

ทรงละความขลาดกลัวเสียแล้ว เหมือนราชสีห์อยู่ในถ้ำ

ภูเขา ลำดับนั้น ท่านโสณะผู้เป็นสาวกของพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้า ผู้กล่าววาจาไพเราะ ได้ภาษิตสัทธรรมในที่

เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ท่านโสณะ

กำหนดรู้เบญจขันธ์แล้ว อบรมอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ

พึงได้บรรลุความสงบอย่างยิ่ง จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ

ปรินิพพาน.

จบโสณกุฏิกัณณเถรคาถา

อรรถกถาโสณกุฏิกัณณเถรคาถาที่ ๑๑

คาถาของท่านพระโสณกุฏิกัณณเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อุปสมฺปทา

จ เม ลทฺธา ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 131

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ

เป็นเศรษฐีสมบูรณ์ด้วยสมบัติในหังสวดีนคร ดำรงอยู่ด้วยอิสรสมบัติอัน

โอฬาร วันหนึ่งเห็นพระศาสดาแวดล้อมไปด้วยพระขีณาสพ ๑๐๐,๐๐๐

องค์ เสด็จเข้าไปสู่นครด้วยพุทธานุภาพใหญ่ ด้วยพุทธลีลาใหญ่ มีจิต

เลื่อมใส ถวายบังคมแล้วได้ยืนประคองอัญชลีอยู่ ในปัจฉาภัต ท่านพร้อม

ด้วยอุบาสกทั้งหลาย ไปยังวิหาร ฟังธรรมอยู่ในสำนักของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นผู้เลิศ แห่ง

ภิกษุผู้กล่าวถ้อยคำอันไพเราะ แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงได้

ถวายมหาทาน ได้ตั้งความปรารถนาไว้. พระศาสดาทรงทราบความที่ความ

ปรารถนาของท่านไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตเธอจักได้

เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้กล่าวถ้อยคำอันไพเราะ ในศาสนาของพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระนามว่าโคดม.

ท่านบำเพ็ญบุญในนครนั้นตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและ

มนุษยโลก ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าวิปัสสี บวชใน

ศาสนา บำเพ็ญวัตรปฏิวัตรให้บริบูรณ์ ได้เย็บจีวรถวายแก่ภิกษุรูปหนึ่ง.

เมื่อโลกว่างจากพระพุทธเจ้าอีก เป็นช่างหูกในกรุงสาวัตถี ได้ต่อคันกลด

ที่ขาดถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่ง, ท่านได้บำเพ็ญบุญในภพนั้นๆ

ด้วยอาการอย่างนี้ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรเศรษฐีมีสมบัติ

มาก ในกุลฆรนคร ในอวันตีรัฐ พวกญาติได้ตั้งชื่อท่านว่า โสณะ.

เพราะท่านทรงเครื่องประดับหูมีราคาโกฏิ เมื่อควรจะเรียกว่าโกฏิกัณณะ

กลับปรากฏชื่อว่า กุฏิกัณณะ.

๑. บาลีเป็น กุรรฆร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 132

ท่านเจริญโดยลำดับ เก็บรวบรวมทรัพย์ เมื่อท่านพระมหากัจจายนะ

อาศัยเรือนมีตระกูลอยู่ในปวัตตบรรพต ฟังธรรมในสำนักของท่าน ตั้งอยู่

ในสรณะและศีล อุปัฏฐากท่านด้วยปัจจัย ๔.

ครั้นจำเนียรกาลนานมา ท่านเกิดความสังเวช บรรพชาในสำนัก

ของพระเถระ ให้ประชุมสงฆ์ทสวรรคได้โดยาก โดยฝืดเคือง อุปสมบท

แล้วอยู่ในสำนักพระเถระสิ้นกาลเล็กน้อย ลาพระเถระเข้าไปยังกรุงสาวัตถี

เพื่อถวายบังคมพระศาสดา ได้อยู่ในคันธกุฎีเดียวกัน กับพระศาสดา ถูก

พระองค์เชื้อเชิญในเวลาใกล้รุ่ง ในที่สุดแห่งคาถาอุทานว่า เห็นโทษใน

โลกดังนี้ ที่พระองค์ให้สาธุการกล่าวไว้ ด้วยการกล่าวพระสูตร ๑๖ สูตร

ในอัฏฐกวรรคแล้ว เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวไว้ในอปทานว่า

ครั้งนั้น พระพิชิตมารผู้สมควรรับเครื่องบูชา พระ-

นามว่า ปทุมุตตระ ได้เสด็จเข้ารูปยังพระนคร พร้อมทั้ง

ภิกษุสงฆ์ผู้มีอินทรีย์อันสำรวมแล้วแสนรูป ขณะนั้น ได้

มีเสียงสนั่นก้องไพเราะ รับเสด็จพระพุทธเจ้าผู้สงบระงับ

ผู้คงที่ ซึ่งกำลังเสด็จเข้าพระนคร โดยทางรถด้วยพุทธา-

นุภาพ พิณที่ไม่ถูกทำเพลง ไม่ลูกเคาะ ก็บรรเลงขึ้นได้

เอง ในเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่บุรี เรานมัสการพระ

พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็น

พระมหามุนี และเห็นปาฏิหาริย์แล้ว ได้ยังจิตให้เลื่อมใส

ในปาฏิหาริย์นั้น โอ พระพุทธเจ้า โอ พระธรรม โอ

๑. ข. สุ. ๒๕/อัฏฐกวรรคที่ ๔ มี ๑๖ สูตร ตั้งแต่ข้อ ๔๐๘ ถึงข้อ ๔๒๓.

๒. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 133

สมบัติแห่งพระศาสดาของเรา ดนตรีถึงไม่มีเจตนาก็ยัง

บรรเลงได้เองเทียว ในกัปที่แสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ เราได้

สัญญาใดในกาลนั้น ด้วยการได้สัญญานั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า เราเผา

กิเลสทั้งหลายแล้ว . . . ฯลฯ. . . พระพุทธศาสนาเราได้

ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็ท่านดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว ขอพร ๕ ประการ คือ การ

อุปสมบทด้วยคณะ มีพระวินัยธรเป็นที่ ๕ ในชนบทปลายแดน โดย

ทำนองที่พระอุปัชฌาย์ของท่านได้บอกไว้ การอยู่ประจำ การลาดแผ่น

หนัง การสวมรองเท้าเป็นชั้น ๆ การไม่อยู่ปราศจากจีวร ได้พรเหล่านั้น

จากพระศาสดาแล้ว ไปยังที่ตนอยู่อีก บอกความนั้นแก่พระอุปัชฌาย์

ในเรื่องนี้มีความสังเขปเพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดารพึงทราบโดยนัยที่มา

แล้วในอรรถกถา. แต่ในอรรถกถาอังคุตตรนิกาย ท่านกล่าวไว้ว่า ท่าน

ได้อุปสมบทแล้ว เรียนพระกรรมฐานในสำนักพระอุปัชฌาย์ของตน เจริญ

วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต.

ครั้นกาลต่อมา ท่านอยู่ด้วยสุขอันเกิดแต่วิมุตติ พิจารณาข้อปฏิบัติ

ของตน เกิดโสมนัส ได้กล่าวคาถา ๕ คาถา ด้วยอำนาจอุทานว่า

เราได้อุปสมบทแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลส ไม่มี

อาสวะ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า และได้อยู่ร่วมกับ

พระองค์ในวิหารเดียวกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่

ในที่แจ้งตลอดราตรีเป็นอันมากทีเดียว พระศาสดาผู้

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๔๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 134

ฉลาดในธรรมเป็นเครื่องอยู่ ได้เสด็จเข้าไปสู่พระวิหาร

เมื่อนั้นพระโคดมทรงลาดผ้าสังฆาฏิแล้ว สำเร็จสีหไสยา

ทรงละความขลาดกลัวเสียแล้ว เหมือนราชสีห์อยู่ในถ้ำ

ภูเขา ลำดับนั้น ท่านโสณะผู้เป็นสาวกของพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้า ผู้กล่าววาจาไพเราะ ได้ภาษิตสัทธรรมในที่

เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ท่านโสณะ

กำหนดรู้เบญจขันธ์แล้ว อบรมอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ

พึงได้บรรลุความสงบอย่างยิ่ง จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ

ปรินิพพาน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปสมฺปทา ต เม ลทฺธา ความว่า

อุปสัมปทานั้นใด ที่ตนประชุมภิกษุสงฆ์ทสวรรคได้โดยยาก ก็แลอุปสัม-

ปทาใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตด้วยคณะ มีพระวินัยธรเป็นที่ ๕

ในชนบทปลายแดนทั้งหมด ด้วยอำนาจการประทานพร, กล่าวหมายเอา

อุปสัมปทาทั้งสองนั้น. ศัพท์ เป็นสมุจจยัตถะ. ด้วย ศัพท์นั้น ท่าน

สงเคราะห์เอาพรที่ได้จากสำนักพระศาสดา แม้นอกนี้.

บทว่า วิมุตฺโต จมฺหิ อนาสโว ความว่า และเราเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว

ด้วยการหลุดพ้นจากวัตถุคือกิเลสทั้งสิ้น ด้วยอรหัตมรรค. ประกอบ

ความว่า เราเป็นผู้ไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะเป็นต้นนั้นนั่นแล.

บทว่า โส จ เม ภควา ทิฏฺโ ความว่า เราจากรัฐอวันตีไปยัง

กรุงสาวัตถี เพื่อประโยชน์แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าใด ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ที่เราไม่เคยเห็น เราได้เห็นแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 135

บทว่า วิหาเร จ สหาวสึ ความว่า เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

นั้นอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ โดยที่แท้เราได้อยู่ร่วมกับพระศาสดาผู้กำหนด

เหตุการณ์ ประทับอยู่ในพระคันธกุฎีของพระศาสดาในวิหาร. อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า บทว่า วิหาเร แปลว่า ในที่ใกล้วิหาร.

บทว่า พหุเทว รตฺต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับยับยั้ง

ในโอกาสกลางแจ้ง ตลอดราตรีเป็นอันมากทีเดียว ด้วยการแสดงธรรม

แก่ภิกษุทั้งหลาย และด้วยการชำระพระกรรมฐานให้หมดจดตลอดปฐมยาม

และด้วยอำนาจตัดความสงสัย ของเทวดาและพรหมตลอดมัชฌิมยาม.

บทว่า วิหารกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในทิพยวิหาร พรหมวิหาร

อาเนญชวิหารและอริยวิหาร.

บทว่า วิหาร ปาวิสิ ความว่า เข้าไปสู่พระคันธกุฎี เพื่อบรรเทา

ความกระวนกระวายที่เกิดขึ้น เพราะการนั่งและการจงกรมเกินเวลา.

บทว่า สนฺถริตฺวาน สงฺฆาฏึ เสยฺย กปฺเปติ ความว่า ปูลาดสังฆาฏิ

๔ ชั้น แล้วทรงสำเร็จสีหไสยา. ด้วยเหตุนั้นจึงกล่าวว่า พระโคดมเป็น

ประดุจสีหะในถ้ำศิลา เป็นผู้ละความขลาดกลัวเสียได้.

พระเถระระบุพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยพระโคตรว่า โคตมะ ใน

พระคาถานั้น. บทว่า สีโห เสลคุหายว ได้แก่ ในถ้ำแห่งภูเขาอันล้วน

แล้วแต่หิน สีหมิคราชละความขลาดกลัวเสียได้ เพราะเป็นสัตว์มีเดชสูง

สำเร็จการนอนเหลื่อมเท้าโดยข้างขวา ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้โคดม

ก็ฉันนั้น เป็นผู้ละความขลาดกลัว เพราะตัดกิเลสอันเป็นเหตุให้หวาดเสียว

ขนพอง สยอง สะดุ้งแห่งจิต ทรงสำเร็จสีหไสยา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 136

บทว่า ตโต แปลว่า ในภายหลัง, อธิบายว่า สำเร็จสีหไสยาแล้ว

ลุกขึ้นจากที่นั้น ถูกพระศาสดาเชิญว่า ภิกษุ พระธรรมจงแจ่มแจ้งกะเธอ

เพื่อจะกล่าว.

บทว่า กลฺยาณวากฺกรโณ แปลว่า ผู้กล่าววาจาอันไพเราะ อธิบาย

ว่า ลำดับแห่งถ้อยคำเพียบพร้อมด้วยความงาม.

บทว่า โสโณ อภาสิ สทฺธมฺม ความว่า ท่านโสณกุฏิกัณณะ

ได้กล่าวพระสูตรในอัฏฐกวรรค ๑๖ สูตร โดยประจักษ์ เฉพาะพระพุทธ-

เจ้าผู้ประเสริฐ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเหตุนั้นพระเถระจึงกล่าว

สอนตนนั่นแหละเหมือนผู้อื่น.

บทว่า ปญฺจกฺขนฺเธ ปริญฺาย ความว่า กำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕

ด้วยปริญญาทั้ง ๓ แล้ว เมื่อกำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแหละ ทำ

หนทางคือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้เกิดแล้ว บรรลุความสงบอย่างยิ่ง คือ

พระนิพพานดำรงอยู่ เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จากนั้นนั่นแหละ จักปรินิพพาน

ณ บัดนี้ คือจักปรินิพพานด้วยอำนาจอนุปาทิเสสนิพพาน ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาโสณกุฏิกัณณเถรคาถาที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 137

๑๒. โกสิยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโกสิยเถระ

[๓๔๖] ผู้ใดเป็นธีรชน เป็นผู้รู้ถ้อยคำของครูทั้งหลาย อยู่ใน

โอวาทของครูนั้น และยังความเคารพให้เกิดในโอวาท

ของครูนั้น ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้มีภักดี และชื่อว่าเป็นบัณฑิต

และพึงเป็นผู้วิเศษ เพราะรู้ธรรมทั้งหลาย อันตราย

อันร้ายแรงเกิดขึ้นแล้ว ไม่ครอบงำบุคคลใดผู้พิจารณาอยู่

บุคคลนั้นย่อมชื่อว่ามีกำลัง ชื่อว่าเป็นบัณฑิต และพึงเป็น

ผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย ผู้ใดแลตั้งมั่นไม่หวั่นไหว

เหมือนมหาสมุทร มีปัญญาลึกซึ้ง เห็นเหตุผลอันละเอียด

ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ชื่อว่าเป็นบัณฑิต

และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย ผู้ใดเป็นพหูสูต

ทรงธรรมและประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้นั้นชื่อว่า

ผู้คงที่ เป็นบัณฑิต และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรม

ทั้งหลาย ผู้ใดรู้เนื้อความแห่งสุภาษิต ครั้นรู้แล้วทำตาม

ที่รู้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิต อยู่ในอำนาจเหตุผล และ

พึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย.

จบโกสิยเถรคาถา

พระเถระ ๑๒ รูป กล่าวคาถารูปละ ๕ คาถา รวมเป็น ๖๐ คาถา

คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 138

๑. พระราชทัตตเถระ ๒. พระสุภูตเถระ ๓. พระคิริมานันทเถระ

๔. พระสุมนเถระ ๕. พระวัฑฒเถระ ๖. พระนทีกัสสปเถระ ๗. พระ-

คยากัสสปเถระ ๘. พระวักกลิเถระ ๙. พระวิชิตเถระ ๑๐. พระยสทัตต-

เถระ ๑๑. พระโสณกุฏิกัณณเถระ ๑๒. พระโกสิยเถระ.

จบปัญจกนิบาต

อรรถกถาโกสิยเถรคาถาที่ ๑๒

คาถาของท่านพระโกสิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โย เว ครูน ดังนี้.

เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความ

เป็นผู้รู้เดียงสา วันหนึ่งเห็นพระศาสดา มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายท่อนอ้อย.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เขาตั้งชื่อท่านด้วยอำนาจ

โคตรว่า โกสิยะ. ท่านถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เข้าไปหาท่านพระธรรม-

เสนาบดีเนืองนิตย์ ฟังธรรมในสำนักของท่าน. ท่านได้ศรัทธาในพระ-

ศาสนาเพราะได้ฟังธรรมนั้น ประกอบเนือง ๆ ซึ่งพระกรรมฐาน ไม่นาน

นักก็บรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๒๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 139

เราเป็นคนเฝ้าประตู อยู่ในพระนครพันธุมดี ได้เห็น

พระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เรามี

จิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถือเอาท่อนอ้อยมาถวายแด่พระ-

พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระนามว่า วิปัสสี ผู้แสวงหา

คุณอันยิ่งใหญ่ ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายอ้อยใด

ในกาลนั้น ด้วยการถวายอ้อยนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการถวายท่อนอ้อย เราเผากิเลสทั้งหลาย

แล้ว . . . ฯลฯ . . . พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว

ดังนี้.

ก็แลครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาข้อปฏิบัติของตน เมื่อจะ

สรรเสริญ การอยู่ร่วมกับครู และเข้าไปอาศัยสัปบุรุษจึงกล่าว ๕ คาถา

เหล่านี้ว่า

ผู้ใดเป็นธีรชน เป็นผู้รู้ถ้อยคำของครูทั้งหลาย อยู่ใน

โอวาทของครูนั้น และยังความเคารพให้เกิดในโอวาท

ของครูนั้น ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้มีภักดี และชื่อว่าเป็นบัณฑิต

และพึงเป็นผู้วิเศษ เพราะรู้ธรรมทั้งหลาย อันตรายร้าย

แรงเกิดแล้ว ไม่ครอบงำบุคคลใดผู้พิจารณาอยู่ บุคคล

นั้นย่อมชื่อว่ามีกำลัง ชื่อว่าเป็นบัณฑิต และพึงเป็นผู้

วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย ผู้ใดและตั้งมั่นไม่หวั่นไหว

เหมือนมหาสมุทร มีปัญญาลึกซึ้ง เห็นเหตุผลอันละเอียด

ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ชื่อว่าเป็นบัณฑิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 140

และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย ผู้ใดรู้เนื้อความ

แห่งสุภาษิต ครั้นรู้แล้วทำตามที่รู้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิต

อยู่ในอำนาจเหตุผล และพึงเป็นผู้วิเศษ เพราะรู้ธรรม

ทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย ได้แก่ ผู้ใดผู้หนึ่ง ในบรรดา

บริษัท ๔ มีขัตติยบริษัทเป็นต้น. บทว่า เว แปลว่า เป็นผู้ปรากฏ.

บทว่า ครูน ได้เเก่ บัณฑิตผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น.

บทว่า วจนญฺญู ได้แก่ ผู้รู้ถ้อยคำ คืออนุสาสนีของบัณฑิตเหล่านั้น

อธิบายว่า เมื่อปฏิบัติตามคำพร่ำสอน ก็แลครั้นปฏิบัติแล้วรู้ผลแห่งการ

ปฏิบัตินั้น.

บทว่า วเส จ ตมฺหิ ชนเยถ เปม ความว่า พึงอยู่ในคำ คือใน

โอวาทของครูทั้งหลาย คือพึงปฏิบัติตามคำพร่ำสอน ครั้นปฏิบัติแล้ว

พึงให้เกิดความรัก ความเคารพในคำพร่ำสอนเหล่านั้นว่า เราจักเป็นผู้

ล่วงพ้นทุกข์มีชาติทุกข์เป็นต้นนี้ ด้วยโอวาทนี้หนอ. ก็คำทั้งสองนี้เป็น

การกระทำความที่กล่าวแล้วนั่นแล ด้วยบททั้งสองว่า ธีรชนเป็นผู้รู้

ถ้อยคำของครูทั้งหลาย ดังนี้ ให้ปรากฏ.

บทว่า โส ความว่า ผู้ใดเป็นธีรชน รู้ถ้อยคำของครูทั้งหลาย ผู้นั้น

ชื่อว่าเป็นผู้มีความภักดีในครูเหล่านั้น ด้วยการปฏิบัติตามที่พร่ำสอน และ

ชื่อว่าบัณฑิตเพราะไม่ล่วงเลยข้อพร่ำสอนนั้น แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต.

บทว่า ตฺวา จ ธมฺเมสุ วิเสสิ อสฺส ความว่า ก็เมื่อปฏิบัติอย่าง

นั้น ถึงเป็นผู้วิเศษว่า เป็นผู้มีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ บรรลุปฏิสัมภิทา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 141

ด้วยสามารถแห่งวิชชา ๓ ในธรรมทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ เพราะ

เหตุแห่งการรู้อริยสัจ ๔ ด้วยข้อปฏิบัตินั้นนั่นแล.

บทว่า ย ความว่า อันตรายที่ปรากฏมีความเย็น ความร้อน ความ

หิว และความกระหายเป็นต้น และอันตรายที่ปกปิดมีราคะเป็นต้น อันได้

โวหารว่า อันตราย เพราะทำอันตรายต่อการปฏิบัติ อุบัติคือเกิดขึ้นมาก

มาย คือมีกำลัง ย่อมไม่ข่มขี่บุคคล คือไม่ทำใคร ๆ ให้หวั่นไหว.

ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะไม่ครอบงำผู้พิจารณา อธิบาย

ว่า ผู้พิจารณาอยู่ คือผู้ตั้งอยู่ในกำลังแห่งการพิจารณา. บทว่า โส

ความว่า ผู้ใดแม้ถูกอันตรายร้ายแรงยิ่งนักครอบงำ ผู้นั้นก็เป็นผู้ชื่อว่ามี

กำลัง มีปัญญา มีความบากบั่นมั่นคง และชื่อว่าเป็นบัณฑิต เพราะพรั่ง

พร้อมด้วยกำลังคือปัญญา อันข่มฝ่ายกิเลสไม่มีส่วนเหลือ.

คำว่า ก็ผู้เป็นเช่นนั้นแล พึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย

นั้น มีอรรถดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า สมุทฺโทว ิโต ความว่า มีความตั้งอยู่เป็นสภาวะ เหมือน

สมุทรฉะนั้น. เหมือนอย่างว่า มหาสมุทรใกล้เชิงเขาสิเนรุซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐

โยชน์ ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียงไปด้วยลมตามปกติ ซึ่งตั้งขึ้นจากทิศ

ทั้ง ๘ และลึกซึ้งฉันใด ธีรชนก็ฉันนั้น ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง

ด้วยลมคือกิเลส และด้วยลมคือวาทะของพวกเดียรถีย์. ธีรชนชื่อว่าเป็น

ผู้มีปัญญาอันลึกซึ้ง และผู้เห็นประโยชน์ เพราะรู้แจ้งอรรถแห่งปฏิจจ-

สมุปบาทเป็นต้น อันลึกซึ้งหยั่งลงไม่ได้ ด้วยญาณสมภารที่ไม่เคยสั่งสมมา

ละเอียดสุขุม, บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิตไม่ง่อนแง่น เป็นผู้คงที่ ชื่อว่า

เป็นผู้ไม่ง่อนแง่น เพราะไม่ง่อนแง่นด้วยกิเลส หรือด้วยเทวบุตรมาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 142

เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นบัณฑิตเพราะอรรถที่กล่าวแล้ว คำที่

เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า พหุสฺสุโต ความว่า ชื่อว่าเป็นพหูสูต ด้วยอำนาจความเป็น

พหูสูตในทางปริยัติ ชื่อว่า พหุสสุตะ เพราะได้สดับสุตตะและเคยยะ

เป็นต้นมาก และชื่อว่าทรงไว้ซึ่งธรรม เพราะทรงธรรมนั้นนั่นแหละไว้

ไม่ให้พินาศไป เหมือนน้ำมันเหลวแห่งราชสีห์ ที่เขาใส่ไว้ในภาชนะ

ทองคำฉะนั้น.

บทว่า ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี ความว่า ชื่อว่าประพฤติ

ธรรมสมควรแก่ธรรม เพราะรู้อรรถรู้ธรรม ตามที่ฟังมา ตามที่เรียนมา

แล้วประพฤติ คือปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่โลกุตรธรรม ๙ ธรรมต่าง

ด้วยปาริสุทธิศีล ธุดงค์และอสุภกรรมฐานเป็นต้น กล่าวคือปุพพภาค-

ปฏิปทา คือประพฤติหวังการแทงตลอดว่า วันนี้ วันนี้แหละ ดังนี้.

บทว่า โส ตาทิโส นาม จ โหติ ปณฺฑิโต ความว่า บุคคลใด

เป็นพหูสูต ทรงธรรมและประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม เพราะอาศัย

ครูใด บุคคลผู้นั้นแลเป็นผู้เช่นนั้น คือเป็นเสมือนกับครูนั้น ชื่อว่าเป็น

บัณฑิต เพราะมีภาวะแห่งการปฏิบัติเหมือนกัน.

ก็ข้อที่บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น พึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลุดนั้น

มีเนื้อความกล่าวไว้แล้วแล.

บทว่า อตฺถญฺจ โย ชานาติ ภาสิตสฺส ความว่า บุคคลใด ย่อม

รู้อรรถแห่งพระปริยัติธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแล้ว ก็เมื่อรู้ ย่อม

รู้อรรถตามที่กล่าวแล้วในธรรมนั้น ๆ ว่า ศีล ตรัสไว้ในที่นี้ สมาธิ ตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 143

ไว้ในที่นี้ ปัญญา ตรัสไว้ที่นี้ ดังนี้ แล้วการทำโดยประการนั้น คือย่อม

ปฏิบัติตามที่พระศาสดาทรงพร่ำสอน.

บทว่า อตฺถนฺตโร นาม ส โหติ ปณฺฑิโต ความว่า บุคคลนั้น

คือเห็นปานนั้น เป็นผู้อยู่ภายในแห่งเหตุผล กระทำเหตุเพียงการรู้เหตุผล

ศีลเป็นต้นเท่านั้น เพราะเหตุแห่งผล ย่อมชื่อว่าเป็นบัณฑิต คำที่เหลือ

มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ก็ในคาถาเหล่านี้ ด้วยคาถาต้น ท่านกล่าวถึงความเป็นผู้วิเศษอันมี

ศรัทธาเป็นอุปนิสัย โดยนัยมีอาทิว่า โย เว ครูน ดังนี้. ด้วยคาถาที่ ๒

ท่านกล่าวถึงความเป็นผู้วิเศษอันมีวิริยะเป็นอุปนิสัย โดยนัยมีอาทิว่า ย

อาปทา ดังนี้. ด้วยคาถาที่ ๓ ท่านกล่าวถึงความเป็นผู้วิเศษอันมีสมาธิ

เป็นอุปนิสัย โดยนัยมีอาทิว่า โย เว สมุทฺโทว ิโต ดังนี้. ด้วยคาถา

ที่ ๔ ท่านกล่าวถึงความเป็นผู้วิเศษอันมีสติเป็นอุปนิสัย โดยนัยมีอาทิว่า

พหุสฺสุโต ดังนี้. ด้วยคาถาที่ ๕ พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงความเป็น

ผู้วิเศษอันมีปัญญาเป็นอุปนิสัย โดยนัยมีอาทิว่า อตฺถญฺจ โย ชานาติ

ดังนี้.

จบอรรถกถาโกสิยเถรคาถาที่ ๑๒

จบปรมัตถทีปนี

อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา

ปัญจกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 144

เถรคาถา ฉักกนิบาต

๑. อุรุเวลกัสสปเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุรุเวลกัสสปเถระ

[๓๔๗] เรายังไม่เห็นปาฏิหาริย์ของพระโคดมผู้เรืองยศ

เพียงใด เราก็ยังเป็นคนลวงโลกด้วยความริษยาและมานะ

ไม่นอบน้อมเพียงนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสารถีฝึก

นรชน ทรงทราบความดำริของเรา ทรงตักเตือนเรา

ลำดับนั้น ความสลดใจได้เกิดแก่เรา เกิดความอัศจรรย์

ใจ ขนลุกชูชัน ความสำเร็จอันเล็กน้อยของเราผู้เป็นชฎิล

เคยมีอยู่ในก่อน เราได้สละความสำเร็จอันนั้นแล้ว บวช

ในศาสนาของพระชินเจ้า เมื่อก่อน เรายินดีการบูชายัญ

ห้อมล้อมด้วยกามารมณ์ ภายหลัง เราถอนราคะ โทสะ

และโมหะได้แล้ว เรารู้ขันธปัญจกอันอาศัยอยู่ในกาลก่อน

ชำระทิพยจักษุหมดจด เป็นผู้มีฤทธิ์ รู้จิตของผู้อื่น และ

บรรลุทิพโสต อนึ่ง เราออกบวชเป็นบรรพชิต เพื่อประ-

โยชน์ใด ประโยชน์นั้นเราได้บรรลุแล้ว ความสิ้นไป

แห่งสังโยชน์ทั้งปวงเราได้บรรลุแล้ว.

จบอุรุเวลกัสสปเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 145

อรรถกถาฉักกนิบาต

อรรถกถาอุรุเวลกัสสปเถรคาถาที่ ๑

ในฉักกนิบาต คาถาของท่านพระอุรุเวลกัสสปเถระ มีคำเริ่มต้น

ว่า ทิสฺวาน ปาฏิหีรานิ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร.

แม้พระเถระนี้ก็เป็นผู้มีบุญญาธิการ อันได้กระทำไว้ในพระพุทธเจ้า

ในปางก่อนทั้งหลาย ก่อสร้างกุศลอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพาน

ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ ได้

บังเกิดในเรือนของตระกูล ถึงความเจริญวัย ฟังธรรมในสำนักของพระ-

ศาสดา ได้เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศแห่ง

บริษัทใหญ่ แม้ตนเองก็ปรารถนาฐานันดรนั้น จึงได้ถวายมหาทานแล้ว

กระทำความปรารถนาไว้. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นว่าความ

ปรารถนาของเขาไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์ว่าในอนาคตกาล เขาจัก

เป็นเลิศแห่งบริษัทหมู่ใหญ่ในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า.

เขากระทำบุญในชาตินั้นจนตลอดอายุ จุติจากชาตินั้นแล้วท่องเที่ยว

ไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในที่สุด ๙๒ กัปแต่ภัทรกัปนี้ บังเกิด

เป็นน้องชายต่างมารดากันกับพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปุสสะ เขามี

น้องชายแม้อื่นอีก ๒ คน พี่น้องแม้ทั้ง ๓ คนนั้น บูชาพระสงฆ์มีพระพุทธ-

เจ้าเป็นประธานด้วยการบูชาอย่างยิ่ง การทำกุศลตลอดชั่วอายุ ท่องเที่ยว

ไปในเทวดาและมนุษย์ ก่อนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายจะอุบัติ

(เขา) เกิดเป็นพี่น้องชายกันโดยลำดับ ในตระกูลพราหมณ์ในกรุงสาวัตถี

แม้ทั้ง ๓ คนก็มีนามว่ากัสสปทั้งนั้นเนื่องด้วยโคตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 146

พี่น้องทั้ง ๓ นั้นเติบโตแล้วก็เล่าเรียนไตรเพท. บรรดาพี่น้องชาย

ทั้ง ๓ นั้น พี่ชายคนโตมีมาณพเป็นบริวาร ๕๐๐ คนกลาง ๓๐๐ คน

เล็ก ๒๐๐. พี่น้องทั้ง ๓ นั้น ตรวจดูสาระในคัมภีร์ของตน เห็นแต่

ประโยชน์ปัจจุบันเท่านั้น จึงชอบการบวช. บรรดาพี่น้องทั้ง ๓ นั้น

พี่ชายคนโตพร้อมกับบริวารของตน ไปยังตำบลอุรุเวลาบวชเป็นฤๅษี จึง

มีชื่อว่า อุรุเวลากัสสป น้องชายที่บวชอยู่ ณ โค้งแม่น้ำมหาคงคา จึงมี

ชื่อว่า นทีกัสสป น้องชายผู้ที่บวชอยู่ ณ คยาสีสประเทศ จึงมีชื่อว่า

คยากัสสป.

เมื่อพี่น้องทั้ง ๓ นั้นบวชเป็นฤาษี อยู่ในที่นั้น ๆ อย่างนี้แล้ว เมื่อ

วันเวลาล่วงไปเป็นอันมาก พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายเสด็จออกมหา-

ภิเนษกรมณ์ ทรงรู้แจ้งแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ทรงประกาศพระ-

ธรรมจักรไปโดยลำดับ ทรงให้พระเบญจวัคคีย์เถระดำรงอยู่ในพระอรหัต

ทรงแนะนำสหาย ๕๕ คนมียสะเป็นประธาน แล้วทรงส่งพระอรหันต์ ๖๐

องค์ ไปด้วยพระดำรัสมีว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป ดังนี้

เป็นต้น แล้วทรงแนะนำภัตทวัคคียกุมาร แล้วเสด็จไปยังที่อยู่ของอุรุเวล-

กัสสป เสด็จเข้าไปยังโรงบูชาไฟเพื่อจะประทับอยู่ ทรงแนะนำอุรุเวล-

กัสสปพร้อมทั้งบริษัท ด้วยปาฏิหาริย์ ๓,๕๐๐ ประการ มีการทรมาน

พระยานาคที่อยู่ในที่นั้นเป็นต้น แล้วทรงให้บรรพชา. ฝ่ายน้องชายทั้งสอง

รู้ว่าอุรุเวลกัสสปนั้นบวชแล้วพร้อมทั้งบริวาร พากันมาบวชในสำนักของ

พระศาสดา. ทั้งหมดนั่นแหละได้เป็นเอหิภิกขุ ทรงบาตรและจีวรอัน

สำเร็จด้วยฤทธิ์.

พระศาสดาทรงพาสมณะ ๑,๐๐๐ รูปนั้น ไปยังคยาสีสประเทศ แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 147

ประทับนั่งบนหินดาด ให้สมณะทั้งหมดดำรงอยู่ในพระอรหัต ด้วยอาทิตต-

ปริยายสูตรเทศนา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระพิชิตมารนามว่า ปทุมุตตระ

ผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวง เป็นนักปราชญ์มีจักษุ ได้เสด็จอุบัติ

ขึ้นแล้ว พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงให้สัตว์

รู้ชัด ได้ยังสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสาร ฉลาดใน

เทศนา เป็นผู้เบิกบาน ทรงช่วยประชุมชนให้ข้ามพ้นไป

เป็นอันมาก พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วย

พระกรุณาแสวงหาประโยชน์ให้สรรพสัตว์ ยังเดียรถีย์ที่

มาเฝ้าให้ดำรงอยู่ในเบญจศีลได้ทุกคน เมื่อเป็นเช่นนี้

พระศาสนาจึงไม่มีความอากูล ว่างสูญจากเดียรถีย์ วิจิตร

ด้วยพระอรหันต์ผู้คงที่ มีความชำนิชำนาญ พระมหามุนี

พระองค์นั้น สูงประมาณ ๕๘ ศอก มีพระฉวีวรรณงามดุจ

ทองคำอันล้ำค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ

ครั้งนั้น อายุของสัตว์แสนปี พระชินสีห์พระองค์นั้น

เมื่อดำรงพระชนม์อยู่โดยกาลประมาณเท่านั้น ได้ทรงยัง

ประชุมชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้นวัฏสงสารเป็นอันมาก

ครั้งนั้นเราเป็นพราหมณ์ชาวเมืองหังสวดี อันชนสมมติว่า

เป็นคนประเสริฐ ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ส่องโลก

แล้วสดับพระธรรมเทศนา ครั้งนั้นเราได้ฟังพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงตั้งสาวกของพระองค์ในตำแหน่งเอต-

ทัคคะในที่ประชุมใหญ่ ก็ชอบใจ จึงนิมนต์พระมหาชินเจ้า

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๒๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 148

กับบริวารเป็นอันมากแล้ว ได้ถวายทานพร้อมกันกับ

พราหมณ์อีก ๑,๐๐๐ คน ครั้นแล้วเราได้ถวายบังคมพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้นายก แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เป็นผู้ร่าเริง ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ด้วย

ความเชื่อในพระองค์และด้วยอธิการคุณ ขอให้ข้าพระ-

องค์ผู้เกิดในภพนั้น ๆ มีบริษัทมากเถิด ครั้งนั้นพระศาสดา

ผู้มีพระสุรเสียงเหมือนคชสารคำรน มีพระสำเนียง

เหมือนนกการเวก ได้ตรัสกะบริษัทว่า จงดูพราหมณ์ผู้นี้

ผู้มีวรรณะเหมือนทองคำ แขนใหญ่ ปากและตาเหมือน

ดอกบัว มีกายและใจสูงเพราะปีติ ร่าเริง มีความเชื่อใน

คุณของเรา เขาปรารถนาตำแหน่งแห่งภิกษุผู้มีเสียงก้อง

ดุจเสียงราชสีห์ในอนาคตกาล เขาจักได้ตำแหน่งนี้สม

ความปรารถนา ในกัปนับแต่นี้ขึ้นไป ๑ แสน พระศาสดามี

พระนามว่าโคดมซึ่งสมภพในวงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช

จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พราหมณ์นี้จักเป็นธรรมทายาท

ของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิตจัก

เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามว่ากัสสป พระอัครนายก

ของโลกพระนามว่าผุสสะ ผู้เป็นพระศาสดาอย่างยอด-

เยี่ยม หาผู้เปรียบมิได้ ไม่มีใครจะเสมอเหมือน ได้เสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดา

พระนามว่า ผุสสะ พระองค์นั้นแล ทรงกำจัดความมืด

ทั้งปวง ทรงสางรกชัฏใหญ่ ทรงยังฝนคืออมตธรรมให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 149

ตกลง ให้มนุษย์และทวยเทพอิ่มหนำ ครั้งนั้นเราสาม

คนพี่น้องเป็นราชอำมาตย์ในพระนครพาราณสี ล้วนแต่

เป็นที่ไว้วางพระทัยของพระมหากษัตริย์ รูปร่างองอาจ

แกล้วกล้า สมบูรณ์ด้วยกำลังไม่แพ้ใครเลยในสงคราม

ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินผู้มีเมืองชายแดนก่อการกำเริบ

ได้ตรัสสั่งเราว่า ท่านทั้งหลายจงไปชนบทชายแดน พวก

ท่านจงยังกำลังของแผ่นดินให้เรียบร้อย ทำแว่นแค้วน

ของเราให้เกษม แล้วกลับมา ลำดับนั้น เราได้กราบทูล

ว่า ถ้าพระองค์จะพึงพระราชทานพระนายกเจ้า เพื่อให้

ข้าพระองค์อุปัฏฐากไซร้ ข้าพระองค์ทั้งหลายก็จักทำกิจ

ของพระองค์ให้สำเร็จ ลำดับนั้น เราผู้รับพระราชทานพร

สมเด็จพระภูมิบาลส่งไปทำชนบทชายแดนให้วางอาวุธ

แล้วกลับมายังพระนครนั้น เราทูลขอการอุปัฏฐากพระ-

ศาสดาแด่พระราชา ได้พระศาสดาผู้เป็นนายกของโลก

ผู้ประเสริฐกว่ามุนี แล้วได้บูชาพระองค์ตราบเท่าสิ้นชีวิต

เราทั้งหลายเป็นผู้มีศีลประกอบด้วยกรุณา มีใจประกอบ

ด้วยภาวนา ได้ถวายผ้ามีค่ามาก รสอันประณีต เสนาสนะ

อันน่ารื่นรมย์ และเภสัชที่เป็นประโยชน์ที่ตนให้เกิดขึ้น

โดยชอบธรรม แก่พระมุนีพร้อมทั้งพระสงฆ์ อุปัฏฐาก

พระองค์ด้วยจิตเมตตาตลอดกาล ครั้นพระศาสดาผู้เลิศ

พระองค์นั้นนิพพานแล้ว ได้ทำการบูชาตามกำลัง เรา

ทุกคนจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 150

เสวยมหันตสุขในดาวดึงส์นั้น นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ เป็นเหมือนนายช่างดอกไม้

ได้ดอกไม้แล้วแสดงชนิดแห่งดอกไม้แปลก ๆ มากมาย

ฉะนั้น ได้เกิดเป็นพระเจ้าวิเทหราช เพราะถ้อยคำของ

คุณะอเจลก เราจึงมีอัธยาศัยอันมิจฉาทิฏฐิกำจัดแล้ว จึง

ขึ้นสู่ทางนรก ไม่เอื้อเฟื้อโอวาทของธิดาเราผู้ชื่อว่ารุจา

เมื่อถูกนารทพรหมสั่งสอนเสียมากมาย จึงละความเห็น

ที่ชั่วช้าเสียได้ บำเพ็ญกุศลธรรมบถ ๑๐ ให้บริบูรณ์โดย

พิเศษ ละทิ้งร่างกายแล้วได้ไปสวรรค์ เหมือนไปที่อยู่

ของตัวเองฉะนั้น เมื่อถึงภพสุดท้าย เราเป็นบุตรของ

พราหมณ์ เกิดในสกุลที่สมบูรณ์ ในกรุงพาราณสี เรา

กลัวต่อความตาย ความป่วยไข้และความแก่ชรา จึงเข้า

ป่าใหญ่แสวงหาหนทางนิพพาน ได้บวชในสำนักของชฎิล

ครั้งนั้น น้องชายทั้งสองของเราก็ได้บวชพร้อมกับเรา เรา

ได้สร้างอาศรม อาศัยอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา เรานี้นามตาม

โคตรว่ากัสสป แต่เพราะอาศัยอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา เราจึง

มีนามบัญญัติว่า อุรุเวลกัสสป เพราะน้องชายของเรา

อาศัยอยู่ที่ชายแม่น้ำ เขาจึงได้นามว่า นทีกัสสป และ

เพราะน้องชายของเราอีกคนหนึ่ง อาศัยอยู่ที่ตำบลคยา

เขาจึงถูกประกาศนามว่า คยากัสสป น้องชายคนเล็กมี

ศิษย์ ๒๐๐ คน น้องชายคนกลางมี ๓๐๐ คน เรามี ๕๐๐ คน

ถ้วน ศิษย์ทุกคนล้วนแต่ประพฤติตามเรา ครั้งนั้นพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 151

พุทธเจ้าผู้เลิศในโลก เป็นสารถีฝึกนรชน ได้เสด็จมา

หาเรา ทรงทำปาฏิหาริย์ต่าง ๆ แก่เราแล้ว ทรงแนะนำ

เรากับบริวารพันหนึ่งได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุ ได้บรรลุ

พระอรหัตพร้อมกับภิกษุเหล่านั้นทุกองค์ ภิกษุเหล่านั้น

และภิกษุพวกอื่นเป็นอันมากแวดล้อมเราเป็นยศบริวาร

และเราก็สามารถที่จะสั่งสอนได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าผู้สูงสุด จึงทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

ในความเป็นผู้มีบริวารมาก โอ สักการะที่ได้ทำไว้ในพระ-

พุทธเจ้าได้ก่อให้เกิดสิ่งที่มีผลแก่เราแล้ว เราเผากิเลสทั้ง-

หลายแล้ว...ฯลฯ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว.

ก็ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว จึงพิจารณาการปฏิบัติของตน เมื่อจะ

บันลือสีหนาท จึงได้กล่าวคาถา ๖ คาถาเหล่านี้ว่า

เรายังไม่เห็นปาฏิหาริย์ของพระโคดม ผู้เรืองยศ

เพียงใด เราก็ยังเป็นคนลวงโลกด้วยความริษยาและมานะ

ไม่นอบน้อมอยู่เพียงนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสารถี

ฝึกนรชน ทรงทราบความดำริของเรา ทรงตักเตือนเรา

ลำดับนั้น ความสลดใจได้เกิดแก่เรา เกิดความอัศจรรย์ใจ

ขนลุกชูชัน ความสำเร็จเล็กน้อยของเราผู้เป็นชฎิลเคยมี

อยู่ในกาลก่อน เราได้สละความสำเร็จนั้นเสีย บวช

ในศาสนาของพระชินเจ้า เมื่อก่อนเรายินดีการบูชายัญ

ห้อมล้อมด้วยกามารมณ์ ภายหลังเราถอนราคะ โทสะ

และโมหะได้แล้ว เรารู้บุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพยจักษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 152

หมดจด เป็นผู้มีฤทธิ์รู้จิตของผู้อื่นแล บรรลุทิพโสต อนึ่ง

เราออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น

เราได้บรรลุแล้ว ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง เราได้บรรลุ

แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวาน ปาฏิหีรานิ ความว่า ได้เห็น

ปาฏิหาริย์ ๓,๕๐๐ ประการ มีการทรมานพระยานาคเป็นต้น. จริงอยู่

บทว่าปาฏิหีร, ปาฏิเหร, ปาฏิหาริย. โดยใจความ เป็นอย่างเดียวกัน

ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

บทว่า ยสสฺสิโน ได้แก่ ผู้มีพระกิตติศัพท์แพร่ไปในโลกพร้อม

ทั้งเทวโลก โดยนัยมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้.

บทว่า น ตาวาห ปณิปตึ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้

ทรงกำราบเราเพียงใดว่า ดูก่อนกัสสป เธอยังไม่เป็นพระอรหันต์ ทั้งยัง

ไม่บรรลุพระอรหัตมรรค ทั้งเธอก็ยังไม่มีปฏิปทาเครื่องเป็นพระอรหันต์

หรือเครื่องบรรลุพระอรหัตมรรค ดังนี้ เราก็ยังไม่กระทำการนอบน้อม

เพียงนั้น. เพราะเหตุไร ? เพราะเราลวงด้วยความริษยาและมานะ.

อธิบายว่า เป็นผู้ลวง คือหลอกลวงด้วยความริษยาอันมีลักษณะไม่อดทน

คือสมบัติของผู้อื่นอย่างนี้ว่า เมื่อเรายอมเข้าเป็นสาวกของท่านผู้นี้ เราก็จัก

เสื่อมลาภสักการะ ลาภสักการะจักเพิ่มพูนแก่ท่านผู้นี้ และด้วยมานะมี

ลักษณะยกตนอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้อันชนจำนวนมากสมมติให้เป็นหัวหน้า

คณะ.

บทว่า มยฺห สงฺกปฺปมญฺาย ความว่า ทรงทราบความดำริผิด

ของเรา คือ แม้ทรงทราบความดำริผิดซึ่งเราได้เห็นปาฏิหาริย์ที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงจากอุตริมนุสธรรม แม้คิดว่า มหาสมณะมีฤทธิ์มาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 153

มีอานุภาพมาก ก็ยัง (มีมิจฉาวิตก) เป็นไปอย่างนี้ว่า ยังไม่เป็นพระ-

อรหันต์เหมือนเรา ก็ทรงรอความแก่กล้าของญาณจึงทรงวางเฉย ภายหลัง

ทรงทำน้ำให้แห้งโดยรอบ ๆ ตรงกลางแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จจงกรมที่พื้น

อันฟุ้งด้วยละอองธุลี แล้วประทับยืนในเรือที่ชฎิลนั้นนำมา แม้ในกาลนั้น

ก็ทรงรู้ความดำริผิดที่เราคิดมีอาทิว่า เป็นผู้มีฤทธิ์ ดังนี้ ก็ยังประกาศว่า

ยังไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา.

บทว่า โจเทสิ นรสารถี ความว่า ในกาลนั้น พระศาสดาผู้เป็น

สารถีฝึกบุรุษทรงทราบความแก่กล้าแห่งญาณของเราแล้ว จึงทรงทักท้วง

คือข่มเรา โดยนัยมีอาทิว่า ท่านยังไม่เป็นพระอรหันต์เลย ดังนี้.

บทว่า ตโต เม อาสิ สเวโค อพฺภุโต โลมหสโน ความว่า

แต่นั้น คือเพราะการทักท้วงตามที่กล่าวแล้ว เป็นเหตุเกิดความสลดใจ คือ

เกิดญาณความรู้พร้อมทั้งความเกรงกลัวบาปอันชื่อว่าไม่เคยเป็น เพราะไม่

เคยมีมาก่อนตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ชื่อว่าชนลุกชูชัน เพราะเป็นไป

โดยอำนาจขนพองสยองเกล้า ได้มีแก่เราว่า เราไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลย

สำคัญว่าเป็นพระอรหันต์.

บทว่า ชฏิลสฺส แปลว่า เป็นดาบส.

บทว่า สิทฺธิ ได้แก่ มั่งคั่งด้วยลาภสักการะ.

บทว่า ปริตฺติกา แปลว่า มีประมาณน้อย.

บทว่า ตาห ตัดเป็น ต อห.

บทว่า ตทา ได้แก่ ในเวลาเกิดความสลดใจ ด้วยการทักท้วง

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 154

บทว่า นิรากตฺวา ได้แก่ นำออกไป คือทิ้งไป อธิบายว่า เป็น

ผู้ไม่ห่วงใย.

บางอาจารย์กล่าวว่า บทว่า อิทฺธิ ได้แก่ ฤทธิ์อัน สำเร็จด้วยการ

เจริญภาวนา. คำนั้นไม่ถูก เพราะในเวลานั้นอุรุเวลกัสสปยังไม่ได้ฌาน.

จริงอย่างนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ห้อมล้อมด้วยกามารมณ์.

บทว่า ยญฺเน สนฺตุฏฺโ ความว่า ยินดี คือสำคัญกิจที่เสร็จ

แล้ว ด้วยการบูชายัญ โดยเข้าใจว่า เราบูชายัญแล้วจักได้เสวยสุขใน

สวรรค์ ได้การละด้วยการบูชายัญมีประมาณเท่านี้.

บทว่า กามธาตุปุรกฺขโต ความว่า ผู้มีความอยากอันปรารภกาม-

สุคติเกิดขึ้น คือมุ่งกามโลก อยู่ด้วยการบูชายัญ. หากว่ายัญนั้นประกอบ

พร้อมด้วยปาณาติบาต ใคร ๆ ไม่อาจได้สุคติด้วยยัญนั้น จริงอยู่ อกุศล

ไม่บังเกิดผลอันน่าปรารถนา น่าพึงใจ แต่เมื่อกุศลเจตนามีทานเป็นต้นมี

อยู่ในยัญนั้น บุคคลพึงไปสู่สุคติได้ เพราะปัจจัยประชุมกัน.

บทว่า ปจฺฉา ได้แก่ ในกาลภายหลังจากการบวชเป็นดาบส คือ

ในกาลที่ละลัทธิดาบสแล้ว ประกอบกรรมฐานอันสัมปยุตด้วยสัจจะ ๔

ตามพระโอวาทของพระศาสดา.

บทว่า สมูหนึ ความว่า เราบำเพ็ญวิปัสสนาแล้วถอนได้สิ้นเชิง.

ฟังราคะ โทสะ โมหะ โดยลำดับมรรค.

ก็เพราะเหตุที่พระเถระนี้ ถอนราคะเป็นต้นได้ด้วยอริยมรรคนั่น

แหละ. ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ฉะนั้น เมื่อจะแสดงว่าตนมีอภิญญา ๖ จึง

กล่าวคำว่า ปุพฺเพนิวาส ชานามิ ดังนี้เป็นต้น .

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพนิวาส ชานามิ ความว่า เรารู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 155

คือตรัสรู้โดยประจักษ์ ซึ่งขันธปัญจกที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนของตนและ

ของคนอื่น คือขันธ์ที่บังเกิดแล้วและสภาวะที่เนื่องด้วยขันธ์ในอดีตชาติ

ทั้งหลาย ด้วยปุพเพนิวาสญาณ เหมือนรู้ผลมะขามป้อมบนฝ่ามือ.

บทว่า ทิพฺพจกฺขุ วิโสธิต ความว่า เราชำระทิพยจักษุญาณให้

หมดจด คือเราได้ญาณอันสามารถทำรูปทั้งเป็นของทิพย์ทั้งเป็นของมนุษย์

ซึ่งอยู่ไกล อยู่ภายนอกฝา และอันละเอียดยิ่ง ให้เเจ่มแจ้ง ดุจรูปตาม

ปกติอันประจวบเข้า ด้วยนัยน์ตาตามปกติ โดยทำให้บริสุทธิ์ด้วยการ

เจริญภาวนา.

บทว่า อิทฺธิมา ได้แก่ ผู้มีฤทธิ์ด้วยฤทธิ์ทั้งหลายมีอธิษฐานฤทธิ์

และวิกุพพนฤทธิ์ (การแผลงฤทธิ์) เป็นต้น อธิบายว่า เป็นผู้ได้ญาณอัน

แสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ. ชื่อว่าผู้รู้จิตของคนอื่น เพราะรู้จิตของคนอื่นอัน

ต่างด้วยจิตมีราคะเป็นต้น ท่านอธิบายไว้ว่า เป็นผู้ได้เจโตปริยญาณ ญาณ

กำหนดรู้จิตของผู้อื่น.

บทว่า ทิพฺพโสตญฺจ ปาปุณึ ความว่า และได้ทิพโสตญาณ.

บทว่า โส เม อตฺโถ อนุปฺปตโต สพฺพสโยชนกฺขโย ความว่า

ประโยชน์อันเป็นตัวสิ้นไป หรือจะพึงได้ด้วยความสิ้นไปแห่งสังโยชน์

ทั้งปวง คือทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ของตนอื่น เราได้บรรลุแล้ว

ด้วยการบรรลุอริยมรรค. พึงทราบว่า พระเถระพยากรณ์พระอรหัตด้วย

คาถานี้ ด้วยประการอย่างนี้.

จบอรรถกถาอุรุเวลกัสสปเถรคาถาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 156

๒. เตกิจฉกานิเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเตกิจฉกานิเถระ

มารกล่าวว่า

[๓๔๘] ข้าวเปลือกเขาเก็บเข้ายุ้งฉางเสียแล้ว ข้าวสาลียังอยู่

ในลาน เราไม่พึงได้แม้ก้อนข้าว บัดนี้ จักทำอย่างไร.

พระเถระกล่าวว่า

ท่านจงระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้มีพระคุณหาประมาณ

มิได้ จักมีใจเลื่อมใส เป็นผู้มีสรีระอันปีติถูกต้องแล้ว มี

จิตเบิกบานแล้วเนือง ๆ ท่านจงระลึกถึงพระธรรม อันมี

คุณหาประมาณมิได้ จักมีใจเลื่อมใส เป็นผู้มีสรีระอันปีติ

ถูกต้องแล้ว มีจิตเบิกบานแล้วเนือง ๆ ท่านจงระลึกถึง

พระสงฆ์ผู้มีคุณหาประมาณมิได้ จักมีใจเลื่อมใส เป็น

ผู้มีสรีระอันปีติถูกต้องแล้ว มีจิตเบิกบานแล้วเนือง ๆ.

มารกล่าวว่า

ท่านอยู่ในที่แจ้ง ฤดูนี้เป็นฤดูหนาว ท่านอย่าถูก

ความหนาวครอบงำลำบากเลย นิมนต์ท่านเข้าไปสู่ที่อยู่

อันมีบานประตูและหน้าต่างมิดชิดเถิด.

ลำดับนั้น พระเถระกล่าวว่า

เราจักเจริญอัปปมัญญา ๔ และจักมีความสุขอยู่ด้วย

อัปปมัญญาเหล่านั้น เราจักเป็นผู้ไม่หวั่นไหวไม่ลำบาก

ด้วยความหนาว.

จบเตกิจฉกานิเถรคาถา

๑. อรรถกถาว่า เตกิจฉการีเถระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 157

อรรถกถาเตกิจฉการีเถรคาถาที่ ๒

คาถาของท่านพระเตกิจฉการีเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อติหิตา วีหิ

ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระก็ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าปางก่อนทั้ง-

หลาย สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ในกาล

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี บังเกิดในเรือนของตระกูล

รู้เดียงสาแล้วก็ได้สำเร็จเวชศาสตร์ ได้กระทำพระเถระนามว่า อโสกะ

ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี ซึ่งอาพาธให้หายโรค. และ

ได้ปรุงยาให้แก่สัตว์เหล่าอื่นผู้ถูกโรคครอบงำ ด้วยความอนุเคราะห์.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ ชื่อว่า สุพุทธะ. ญาติ

ทั้งหลายตั้งชื่อว่า เตกิจฉการี เพราะในเวลาที่เขาอยู่ในครรภ์ พวกหมอ

ได้พากันบริบาลรักษาให้ปราศจากอันตราย.

เขาศึกษาวิชาและศิลปอันสมควรแก่ตระกูลของตน จึงเจริญอยู่.

ในกาลนั้นพราหมณ์จาณักกะ ได้เห็นความเฉียบแหลมแห่งปัญญา และ.

ความฉลาดในอุบายในการกระทำต่าง ๆ ของสุพุทธพราหมณ์ ถูกความ

ริษยาครอบงำว่า สุพุทธะนี้ได้ที่พึ่งในราชสกุลนี้ จะพึงข่มขี่เรา จึงให้

พระเจ้าจันทคุตต์จับเขาขังในเรือนจำ.

นายเตกิจฉการี ได้ฟังว่าบิดาถูกขังในเรือนจำก็กลัว จึงหนีไปยัง

สำนักของพระสาณวาสีเถระ เล่าเหตุการณ์อันน่าสลดใจของตนแก่พระเถระ

แล้วบวชเรียนพระกัมมัฏฐาน เป็นผู้ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร และถือ

๑. บาลีว่า เตกิจฉกานิเถระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 158

การนั่งเป็นวัตรอยู่ ไม่ย่นย่อต่อความหนาวและความร้อน กระทำแต่

สมณธรรมเท่านั้น โดยพิเศษ หมั่นประกอบพรหมวิหารภาวนา.

มารผู้มีบาปเห็นดังนั้นจึงคิดว่า เราจักไม่ให้สมณะนี้ล่วงพ้นวิสัย

ของเราไปได้ ประสงค์จะทำให้ฟุ้งซ่าน ในเวลาเสร็จ (การทำ) ข้าวกล้า

จึงแปลงเพศเป็นคนเฝ้านา เข้าไปหาพระเถระ เพื่อจะเยาะเย้ยท่านจึง

กล่าวว่า

ข้าวเปลือกเขาเก็บเข้ายุ้งฉางเสียแล้ว ข้าวสาลีก็ยัง

อยู่ในลาน เราไม่พึงได้แม้แต่ก้อนข้าว บัดนี้ จักทำ

อย่างไร.

พระเถระได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า

ท่านจงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้มีพระคุณหาประมาณ

มิได้ จักมีความเลื่อมใส เป็นผู้มีสรีระอันปีติถูกต้องแล้ว

มีจิตเบิกบานแล้วเนือง ๆ ท่านจงระลึกถึงพระธรรมอันมี

คุณหาประมาณมิได้...ฯลฯ... ท่านจงระลึกถึงพระสงฆ์ผู้

มีคุณอันหาประมาณมิได้ จักมีใจเลื่อมใส เป็นผู้มีสรีระ

อันปีติถูกต้องแล้ว มีจิตเบิกบานแล้วเนือง ๆ.

มารได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า

ท่านอยู่ในที่แจ้ง ฤดูนี้เป็นฤดูหนาว ท่านอย่าถูก

ความหนาวครอบงำลำบากเลย นิมนต์ท่านเข้าไปยังที่อยู่

อันมีบานประตูและหน้าต่างมิดชิดเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 159

ลำดับนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า

เราจักเจริญอัปปมัญญา ๔ และจักมีความสุขอยู่

ด้วยอัปปมัญญา ๔ เหล่านั้น เราจักเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ไม่

ลำบากด้วยความหนาว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติหิตา วีหิ ความว่า ข้าวเปลือกที่

เขานำไปเก็บไว้ยังยุ้งฉาง อธิบายว่า เก็บงำไว้ในยุ้งฉางนั้น หรือนำจาก

ในมายังเรือน. ก็ในที่นี้ ท่านสงเคราะห์เอาธัญญาหารแม้อย่างอื่น ด้วย

วีหิ ศัพท์. ส่วนข้าวสาลีโดยมากสุกทีหลังข้าวเปลือก ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า ข้าวสาลียังอยู่ในลาน อธิบายว่า ไปสู่ลาน คือสถานที่เป็น

ที่นวดข้าว ได้แก่วางไว้ที่ลานนั้น โดยลอมเป็นกอง โดยการนวดและการ

เคลื่อนย้ายไปเป็นต้น. ท่านแสดงว่า ก็ในที่นี้ เพื่อจะแสดงความที่ข้าว

เปลือกเป็นประธาน จึงถือเอาข้าวสาลีแยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก. แม้ด้วย

ข้าวทั้งสองนั้น ธัญชาติก็ตั้งอยู่เต็มทั้งในบ้านและภายนอกบ้าน.

บทว่า น จ ลเภ ปิณฺฑ ความว่า มารได้ทำการหัวเราะเยาะว่า ใน

เมื่อธัญญาหารหาได้ง่ายอย่างนี้ คือ ในเวลามีภิกษาดี แม้มาตรว่าก้อน

ข้าว เราก็จักไม่ได้ บัดนี้ เราจักการทำอย่างไร อธิบายว่า เราจักทำ

อย่างไร คือจักเลี้ยงชีพอยู่ได้อย่างไร.

พระเถระได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า คนผู้น่าสงสารนี้ ประกาศประวัติ

ของตนด้วยตนแก่เรา ส่วนเราควรโอวาทตนด้วยตนเอง ไม่ควรพูดอะไรๆ

เมื่อจะแนะนำตนเข้าไปในการระลึกถึงวัตถุทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระ-

ธรรม พระสงฆ์ จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา โดยนัยมีอาทิว่า พระพุทธ-

เจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 160

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธมปฺปเมยฺย อนุสฺสร ปสนฺโน

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า พุทธะ เพราะไปปราศเด็ดขาดจาก

ความหลับ คืออวิชชาพร้อมทั้งวาสนา และเพราะเบิกบานแล้วด้วย

ความรู้ ชื่อว่า ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ เพราะไม่มีกิเลสมีราคะเป็นต้น

อันเป็นเครื่องกระทำประมาณ เพราะเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยพระคุณหา

ประมาณมิได้ และเพราะเป็นเนื้อนาบุญอันหาประมาณไม่ได้. มีความ

เลื่อมใส คือมีใจเลื่อมใสด้วยความเลื่อมใสยิ่ง อันมีความเชื่อเป็นลักษณะ

จงระลึกถึง คือจงยังสติอันมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ให้เป็นไปเนือง ๆ

โดยนัยมีอาทิว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็น

พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ท่านจักเป็นผู้มีสรีระอัน

ปีติถูกต้องแล้ว.

บทว่า สตตมุทคฺโค ความว่า ท่านเมื่อระลึกถึงอยู่นั่นแล เป็น

ผู้มีสรีระ อันปีติซึ่งมีลักษณะซาบซ่านถูกต้องแล้วเนือง ๆ คือทุก ๆ กาล

คือเป็นผู้มีสรีระถูกท่วมทับด้วยรูปอันประณีตซึ่งมีปีติเป็นสมุฏฐาน พึงมีใจ

เบิกบานด้วยอุเพงคาปีติ และสามารถทำการให้ลอยขึ้นสู่อากาศได้ พึง

เสวยปีติและโสมนัสอันยิ่ง มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ด้วยพุทธานุสสติ

อันเป็นเหตุจักไม่ให้แม้แต่ความหิวและความกระหายครอบงำได้ ประดุจ

ความหนาวและร้อนครอบงำไม่ได้ฉะนั้น.

บทว่า ธมฺม ได้แก่โลกุตรธรรมอันประเสริฐ.

บทว่า สงฺฆ ได้แก่พระสงฆ์ผู้บรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งเป็น

อริยสงฆ์. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 161

ก็ในบทว่า อนุสฺสร นี้ พึงประกอบความว่า จงระลึกถึงพระ-

ธรรมโดยนัยมีอาทิว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว และ

ระลึกถึงพระสงฆ์โดยนัยมีอาทิว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ปฏิบัติดีแล้ว.

เมื่อพระเถระโอวาทตนด้วยการชักนำเข้าในการระลึกถึงคุณพระ-

รัตนตรัยอย่างนี้แล้ว มารประสงค์จะให้พระเถระนั้นสงัดโดยการอยู่สงัดอีก

เมื่อจะแสดงคนประหนึ่งว่านี้หวังดี จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า จงอยู่ในที่แจ้ง

ดังนี้.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ภิกษุ ท่านจงอยู่ คือสำเร็จอิริยาบถอยู่ที่

เนินกลางแจ้ง อันอะไร ๆ ไม่ปิดบัง.

ราตรีหนาวเย็นนี้ นับเนื่องในสมัยหิมะตก กำลังดำเนินไปอยู่ ชื่อว่า

ฤดูหนาว. เพราะฉะนั้น ท่านอย่าถูกความหนาวครอบงำลำบากเลย คือ

อย่าได้ความคับแค้น อย่าลำบาก. ท่านจงเข้าไปยังเสนาสนะอันมีบาน-

ประตูและบานหน้าต่างอันมิดชิด คือมีบานประตูหน้าต่างอันปิดแล้ว ท่าน

จักอยู่เป็นสุขด้วยประการอย่างนี้.

พระเถระได้ฟังดังนั้น เมื่อจะแสดงว่า เราไม่มีประโยชน์ในการ

แสวงหาเสนาสนหะ เฉพาะในที่นี้ เรากอยู่สบาย จึงกล่าวคาถาที่ ๖ โดย

นัยมีอาทิว่า เราจักเจริญ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผุสิสฺส จตสฺโส อปฺปมญฺาโย

ความว่า เราจักเจริญ คือจักเข้าตามกาลอันควร ซึ่งพรหมวิหาร

ที่ได้ชื่อว่าอัปปมัญญา เพราะมีอารมณ์หาประมาณมิได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 162

บทว่า ตาหิ จ สุขิโต วิหริสฺส ความว่า เราจักเป็นผู้มีความสุข

คือ เกิดสุขอยู่ คือสำเร็จอิริยาบถแม้ทั้ง ๔ อยู่ด้วยอัปปมัญญาเหล่านั้น.

ด้วยเหตุนั้น เราจึงมีความสุขอย่างเดียวในทุกเวลา ความทุกข์ไม่มี.

เพราะเราจักไม่ลำบากด้วยความหนาว คือเราจักไม่ลำบากด้วย

ความหนาว ในฤดูหิมะตก แม้อันมีถัดจากเดือนที่ ๘ เพราะฉะนั้น เรา

จักไม่หวั่นไหวอยู่ คือจักเป็นมีความสุขอยู่ด้วยความสุขอันเกิดจากสมาบัติ

นั่นแหละ เพราะละได้เด็ดขาดซึ่งความพยาบาทเป็นต้น อันเป็นเหตุทำ

จิตให้หวั่นไหว และเพราะไม่มีความหวั่นไหวอันเกิดจากปัจจัย. พระเถระ

เมื่อกล่าวคาถานี้อย่างนี้ ได้เจริญวิปัสสนาทำให้แจ้งพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราเป็นหมอผู้ศึกษาดีแล้ว อยู่ในนครพันธุมดี เป็น

ผู้นำความสุขมาให้แก่มหาชนผู้มีทุกข์เดือดร้อน ในกาล

นั้น เราเห็นพระสมณะผู้มีศีล ผู้รุ่งเรืองใหญ่ป่วยไข้ มี

จิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้ถวายยาบำบัดไข้ พระสมณะ

ผู้สำรวมอินทรีย์ เป็นอุปัฏฐากของพระวิปัสสีสัมมาสัม-

พุทธเจ้า นามว่าพระอโสกะ หายจากโรคด้วยยานั้นแล

ในกัปที่ ๙๐ แต่ภัตรกัปนี้ ด้วยการที่เราได้ถวายยา เรา

ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายยา และในกัปที่ ๘

แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า

สัพโพสธะ มีผลมาก สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ. เรา

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๑๘๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 163

เผากิเลสได้แล้ว...ฯลฯ... เรากระทำตามคำสั่งสอนของ

พระพุทธเจ้าแล้ว.

ก็ในที่นี้ พึงทราบว่า พระสังคีติกาจารย์ได้ร้อยกรองคาถาเหล่านี้

ไว้ในคราวทำสังคายนาครั้งที่ ๓ เพราะพระเถระนี้เกิดขึ้นในรัชกาลของ

พระเจ้าพินทุสาร.

จบอรรถกถาเตกิจฉการีเถรคาถาที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 164

๓. มหานาคเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมหานาคเถระ

[๓๔๙] ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้

นั้นย่อมเสื่อมจากสัทธรรม เหมือนปลาในน้ำน้อยฉะนั้น

ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้นั้น

ย่อมไม่งอกงามในสัทธรรม เหมือนพืชที่เน่าในไร่นาฉะนั้น

ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้นั้น

เป็นผู้ไกลจากพระนิพพานในศาสนาของพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ผู้เป็นพระธรรมราชา ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อน

สพรหมจารีทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม

เหมือนปลาในน้ำมากฉะนั้น ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อน

สพรหมจารีทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมงอกงามในสัทธรรม

เหมือนพืชที่ดีในไร่นาฉะนั้น ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อน

สพรหมจารีทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมอยู่ใกล้พระนิพพานใน

ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระธรรมราชา.

จบมหานาคเถรคาถา

อรรถกถามหานาคเถรคาถาที่ ๓

คาถาของท่านพระมหานาคเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺส สพฺรหฺม-

จารีสุ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 165

แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าอันมีในกาล

ก่อน ก่อสร้างกุศลอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาล

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ ได้บังเกิดในเรือนของตระกูล

รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่ง ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะหยั่งลงยังป่า

ประทับนั่งอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ด้วยความสุขในฌาน จึงมีใจเลื่อมใส ได้

ถวายผลทับทิมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาเละมนุษย์ทั้งหลาย ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ นามว่า มธุวาเสฏฐะ

ในเมืองสาเกต เขาได้มีชื่อว่า มหานาค มหานาคนั้นรู้เดียงสาแล้ว เมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในป่าอัญชนวัน ใกล้เมืองสาเกต ได้เห็น

ปาฏิหาริย์ของท่านพระควัมปติเถระ ได้ศรัทธา จึงบวชในสำนักของ

พระเถระนั่นแหละ ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน จึงบรรลุพระอรหัต. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

พระกกุสันธะพระองค์นั้นผู้แกล้วกล้าใหญ่ ถึงฝั่งแห่ง

ธรรมทั้งปวง หลีกออกจากหมู่ ได้ไปยังระหว่างป่า เรา

ถือเอาเยื่อของพืชแล้วเอาเครือเถาร้อยไว้. สมัยนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าฌานอยู่ในระหว่างภูเขา ครั้นเราได้

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเทพของเทพ มีเลื่อมใส

ได้ถวายเยื่อของพืชแล้วพระวีรเจ้าผู้เป็นทักขิไณยบุคคล

ในกัปนี้แหละ เราได้ถวายเยื่อพืชใดในกาลนั้น ด้วยการ

คล้ายเยื่อพืชนั้น เราจึงไม่รู้จักทุคตินี้ เป็นผลแห่งเยื่อ

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๓๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 166

พืช เราเผากิเลสได้แล้ว ...ฯลฯ... เราได้กระทำตาม

คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ก็พระเถระครั้นได้บรรลุพระอรหัตแล้ว จึงอยู่ด้วยสุขอันเกิดแต่

วิมุตติ เห็นภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่กระทำความเคารพในเพื่อนสพรหมจารีทั้ง-

หลาย จึงกล่าวคาถา ๖ คาถานี้ เนื่องด้วยการให้โอวาทแก่ภิกษุฉัพพัคคีย์

นั้นว่า

ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนสพรหมจารี ผู้นั้นย่อม

เสื่อมจากพระสัทธรรม เหมือนปลาในน้ำน้อย ผู้ใดไม่มี

มีความเคารพในเพื่อนสพรหมจารี ผู้นั้นย่อมไม่งอกงาม

ในพระสัทธรรม เหมือนพืชที่เน่าในไร่นา ผู้ใดไม่มีความ

เคารพในเพื่อนสพรหมจารี ผู้นั้นย่อมอยู่ไกลจากพระ-

นิพพาน ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระ-

ธรรมราชา. ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อนสพรหมจารี ผู้นั้น

ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม เหมือนปลาในน้ำมาก

ฉะนั้น ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย

ผู้นั้นย่อมงอกงามในพระสัทธรรม เหมือนพืชดีในไร่นา

ฉะนั้น ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อนสพรหมจารี ผู้นั้นย่อม

อยู่ใกล้พระนิพพาน ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เป็นพระธรรมราชา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺรหฺมจารีสุ ความว่า ชื่อว่า เพื่อน

สพรหมจารี เพราะประพฤติธรรมอันประเสริฐมีศีลเป็นต้นที่มีอยู่, ผู้ที่ถึง

ความเสมอกันด้วยศีลและทิฏฐิ ชื่อว่า สหธรรมิก, ในเพื่อนสพรหมจารี

และสหธรรมิกเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 167

บทว่า คารโว ได้แก่ ความเป็นผู้มีความเคารพ คือกระทำความ

เคารพอันมีคุณมีศีลเป็นต้นเป็นเหตุ.

บทว่า นูปลพฺภติ ได้แก่ ไม่มี คือไม่เป็นไป อธิบายว่า ไม่เข้า

ไปตั้งอยู่.

บทว่า นิพฺพานา ได้แก่จากการทำกิเลสให้ดับ คือจากความสิ้น

กิเลส.

บทว่า ธมฺมราชสฺส ได้แก่ พระศาสดา. จริงอยู่ พระศาสดาชื่อว่า

พระธรรมราชา เพราะยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้ยินดีด้วยธรรมอันเป็น

โลกิยะ และโลกุตระ ตามสมควร.

ก็ด้วยคำว่า ในศาสนาของพระธรรมราชา นี้ ในคาถานั้น ชื่อว่า

พระนิพพานย่อมมีในศาสนาของพระธรรมราชาเท่านั้น ไม่มีในศาสนาอื่น.

ในคาถานั้น ท่านแสดงว่า ผู้ใดเว้นความเคารพในเพื่อนสพรหม-

จารี ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ห่างไกลแม้จากศาสนาของพระธรรมราชา เหมือน

อยู่ห่างไกลจากพระนิพพานฉะนั้น.

บทว่า พโหฺวทเก ได้แก่ ในน้ำมาก.

บทว่า สนฺติเก โหติ นิพฺพาน ความว่า พระนิพพานย่อมมีอยู่ใน

สำนัก คือในที่ใกล้บุคคลนั้น คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. ก็

คาถาเหล่านี้แหละ เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ.

จบอรรถกถามหานาคเถรคาถาที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 168

๔. กุลลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระกุลลเถระ

[๓๕๐] เราผู้ชื่อว่ากุลละ ไปที่ป่าช้าผีดิบ ได้เห็นซากศพ

หญิงคนหนึ่ง เขาทิ้งไว้ในป่าช้า มีหมู่หนอนฟอนกัดอยู่

ดูก่อนกุลละ ท่านจงดูร่างกายอันกระสับกระส่าย ไม่สะอาด

เป็นของเปื่อยเน่า มีของโสโครกไหลเข้าไหลออกอยู่

อันหมู่คนพาลพากันชื่นชมนัก. เราได้ถือเอาแว่นธรรม

แล้ว ส่องดูร่างกายอันไร้ประโยชน์ทั้งภายในและภาย

นอกนี้ ด้วยการบรรลุญาณทัสสนะ. สรีระเรานี้ฉันใด

ซากศพนั่นก็ฉันนั้น ซากศพนั้นฉันใด สรีระเรานี้ฉันนั้น

ร่างกายเบื้องต่ำฉันใด ร่างกายเบื้องบนก็ฉันนั้น ร่างกาย

เบื้องบนฉันใด ร่างกายเบื้องต่ำก็ฉันนั้น. กลางวันฉันใด

กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เมื่อ

ก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น ภายหลังฉันใด เมื่อก่อน

ก็ฉันนั้น. ความยินดีด้วยดนตรีเครื่อง ๕ เช่นนั้น ย่อม

ไม่มีแก่เรา ผู้มีจิตแน่วแน่ พิจารณาเห็นธรรมแจ่มแจ้ง

โดยชอบ.

จบกุลลเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 169

อรรถกถากุลลเถรคาถาที่ ๔

คาถาของท่านพระกุลลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า กุลฺโล สิวถิก ดังนี้.

เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าอันมีในกาล

ก่อน ได้ก่อสร้างบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิด

ในตระกูลกุฎุมพี ในนครสาวัตถี รู้เดียงสาแล้ว ฟังธรรมในสำนักของ

พระศาสดา ได้ศรัทธาจึงบวช และท่านเป็นผู้มีราคะกล้ามาแต่กำเนิด

เพราะเป็นผู้มีราคะจริต ด้วยเหตุนั้น กิเลสทั้งหลายจึงครอบงำจิตของท่าน

ตั้งอยู่เป็นเนืองนิตย์.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบจิตจริยาของท่าน จึงทรงประทาน

อสุภกรรมฐานแล้วตรัสว่า ดูก่อนกุลละ เธอพึงเที่ยวจาริกไปในป่าช้า

เนืองๆ. ท่านจึงเข้าป่าช้าเห็นอสุภทั้งหลายนั้น ๆ มีศพพองขึ้นเป็นต้น

จึงยังมนสิการถึงอสุภให้เกิดขึ้นในขณะนั้น แต่พอออกจากป่าช้าเท่านั้น

ก็ถูกกามราคะครอบงำเอา. พระศาสดาทรงทราบเรื่องนั้นของเธออีก

วันหนึ่ง ในเวลาที่เธอไปที่ป่าช้า จึงทรงเนรมิตแสดงรูปหญิงวัยรุ่นคนหนึ่ง

ผู้ตายยังไม่นาน มีผิวพรรณยังดีอยู่ พอเธอเห็นรูปหญิงนั้น ก็เกิดราคะ

ขึ้นฉับพลัน เหมือนเกิดราคะในสิ่งที่เป็นวิสภาคซึ่งมีชีวิตอยู่ฉะนั้น.

ลำดับนั้น เมื่อเธอกำลังเพ่งดูอยู่นั้นแล พระศาสดาจึงทรงแสดง

รูปหญิงนั้นให้มีของไม่สะอาดไหลออกจากปากแผลทั้ง ๙ (ทวาร ๙) มีหมู่

หนอนคลาคล่ำ น่ากลัว มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด ปฏิกูลยิ่ง, เธอเพ่งดู

รูปนั้นอยู่ ได้มีจิตคลายกำหนัดแล้ว. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงแผ่พระ-

โอภาสแสงสว่างไป เมื่อจะยังสติให้เกิดแก่เธอ จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 170

ดูก่อนกุลละ เธอจงดูร่างกายอันกระสับกระส่าย ไม่

สะอาด เปื่อยเน่า ไหลเข้าไหลออกอยู่ อันหมู่คนพาล

ชื่นชมกันยิ่งนัก.

พระเถระได้ฟังดังนั้น จึงพิจารณาสภาพของสรีระร่าง โดยชอบ

ทีเดียว กลับได้อสุภสัญญา ทำปฐมฌานให้บังเกิดในอสุภสัญญานั้น แล้ว

ทำปฐมฌานนั้นให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนาบรรลุพรอรหัตแล้ว พิจารณา

การปฏิบัติของตน จงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วยอำนาจอุทานว่า

เราผู้ชื่อว่ากุสละ ไปป่าช้าผีดิบ ได้เห็นซากศพหญิง

คนหนึ่ง เขาทิ้งไว้ในป่าช้า มีหมู่หนอนฟอนกัดอยู่.

ดูก่อนกุสละ ท่านจงดูร่างกายอันกระสับกระส่าย ไม่

สะอาด เป็นของเปื่อยเน่า มีของโสโครกไหลเข้าไหล

ออกอยู่ อันหมู่คนพาลชื่นชมกันยิ่งนัก. เราได้ถือเอา

แว่นธรรม ส่องดูร่างกายอันไร้ประโยชน์ทั้งภายในและ

ภายนอกนี้ ด้วยการบรรลุญาณทัสสนะ. สรีระของเรานี้

ฉันใด ซากศพนั้นก็ฉันนั้น ซากศพนั่นฉันใด สรีระของ

เรานี้ก็ฉันนั้น. ร่างกายเบื้องต่ำฉันใด ร่างกายเบื้องบน

ก็ฉันนั้น ร่างกายเบื้องบนฉันใด ร่างกายเบื้องต่ำฉันนั้น.

กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวัน

ก็ฉันนั้น เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น ภายหลังฉันใด

เมื่อก่อนก็ฉันนั้น. ความยินดีด้วยดนตรีเครื่อง ๕ เช่นนั้น

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๕๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 171

ย่อมไม่มีแก่เราผู้มีจิตแน่วแน่ ผู้พิจารณาเห็นธรรมแจ่ม

แจ้งโดยชอบอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กุลฺโล นี้ พระเถระกล่าวถึงเฉพาะ

คน ทำให้เป็นเหมือนคนอื่น.

บทว่า อาตุร ได้แก่ ถูกความทุกข์นานัปการบีบคั้นอยู่เนืองนิตย์.

บทว่า อสุจึ ได้แก่ เว้นจากความสะอาด คือน่าเกลียด เป็นของ

ปฏิกูล. บทว่า ปูตึ แปลว่า มีกลิ่นเหม็น.

บทว่า ปสฺส ความว่า จงตรวจดูโดยสภาวะ.

ด้วยบทว่า กุสละ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระเถระในเวลา

ประทานโอวาท. แต่ในเวลาเปล่งอุทาน พระเถระพูดกะตนด้วยตนเอง.

บทว่า สมุสฺสย ได้แก่ สรีระ. บทว่า อุคฺฆรฺนต ได้แก่ มีของ

ไม่สะอาดไหลออกทางปากแผลเบื้องบน. บทว่า ปตฺฆรนฺต ได้แก่ และ

มีของไม่สะอาดไหลออกรอบ ๆ ปากแผลเบื้องล่าง.

บทว่า พาลาน อภินนฺทิต ความว่า อันหมู่คนพาลคือพวกอันธ-

ปุถุชน ยึดมั่นชื่นชมว่าเรา ว่าของเรา ด้วยความชื่นชม คือทิฏฐิและ

ตัณหาทั้งหลาย.

บทว่า ธมฺมาทาส ได้แก่ แว่นอันล้วนแล้วด้วยธรรม. เหมือน

อย่างว่า สัตว์ทั้งหลายเห็นคุณและโทษ ที่หน้าหรือกายของตน ด้วยแว่น

ฉันใด วิปัสสนาญาณอันเป็นเหตุให้พระโยคาวจรเห็นตามเป็นจริงซึ่งธรรม

คือความเศร้าหมอง และความผ่องแผ้ว ในอัตภาพก็ฉันนั้น ท่านเรียกว่า

ธรรมาทาส แว่นธรรมในที่นี้. ทำวิปัสสนาญาณนั้นให้เกิดขึ้นในสันดาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 172

ของตน เพื่อบรรลุถึงญาณทัสสนะ คือดวงตาเห็นธรรม กล่าวคือมรรค-

ญาณ.

บทว่า ปจฺจเวกฺขึ อิม กาย ความว่า เราได้พิจารณาโดยเฉพาะ

คือเห็นด้วยญาณจักษุ ซึ่งกรัชกายนี้ ชื่อว่าไร้ประโยชน์ เพราะเว้นจาก

ความเที่ยงและแก่นสาร ชื่อว่า ทั้งภายในและภายนอก เพราะจำแนก

ออกเป็นสันดานตนและสันดานคนอื่น.

ก็เพื่อจะแสดงวิธีการที่เราพิจารณาเห็น จงกล่าวค่ามีอาทิว่า สรีระ

ของเรานี้ฉันใด ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา อิท ตถา เอต ความว่า อสุภ

กล่าวคือสรีระของเรานี้ แสดงกิริยาอันเปรียบด้วยมายาต่าง ๆ ชนิด เพราะ

อายุ ไออุ่น และวิญญาณยังไม่ปราศจากไปฉันใด สรีระที่ตายแล้วนี้ก็

ฉันนั้นเหมือนกัน ได้มีแล้วเพราะธรรมเหล่านั้นยังไม่ปราศจากไปในกาล

ก่อน. สรีระที่ตายแล้วในบัดนั้น ไม่แสดงกิริยาไร ๆ เพราะธรรม

เหล่านั้น (คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณ) ปราศจากไปฉันใด แม้สรีระ

ของเรานี้ก็ฉันนั้น จักพินาศไปเป็นแท้ เพราะธรรมเหล่านั้นปราศจากไป

เหมือนอย่างว่า บัดนี้ สรีระของเรานี้ ยังไม่ตาย ยังไม่นอนใน

ป่าช้า คือยังไม่เข้าถึงภาวะของศพที่พองขึ้นเป็นต้นฉันใด แม้สรีระที่ตาย

แล้วในบัดนี้ก็ฉันนั้น ในกาลก่อนได้มีแล้ว. อนึ่ง สรีระที่ตายแล้วใน

บัดนี้นั่น นอนอยู่ในป่าช้า เข้าถึงภาวะเป็นศพขึ้นพองเป็นต้นฉันใด

แม้สรีระของเรานี้ก็จักเป็นฉันนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง สรีระของเรานี้ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด

เป็นของปฏิกูล ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาฉันใด แม้สรีระที่ตาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 173

แล้วนั่นก็ฉันนั้น. อีกอย่างหนึ่ง สรีระที่ตายแล้วนั่น มีสภาวะไม่สะอาด

เป็นต้น และมีสภาวะไม่เที่ยงเป็นต้นฉันใด แม้สรีระของเรานี้ก็ฉันนั้น.

บทว่า ยถา อโธ ตถา อุทฺธ ความว่า กายนี้ เบื้องล่างคือเบื้องต่ำ

จากสะดือลงไป ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด ปฏิกูล ไม่เที่ยง เป็น

ทุกข์และเป็นอนัตตาฉันใด และในเบื้องบน คือเบื้องสูงจากสะดือขึ้นไป

ก็มีสภาวะไม่สะอาดเป็นต้นฉันนั้น.

บทว่า ยถา อุทฺธ ตถา อโธ ความว่า อนึ่ง ในเบื้องบนจากสะดือ

ขึ้นไป มีสภาวะไม่สะอาดเป็นต้นฉันใด ในเบื้องต่ำคือเบื้องล่างจากสะดือ

ลงไปก็ฉันนั้น.

บทว่า ยถา ทิวา ตถา รตฺตึ ความว่า กายนี้ ในตอนกลางวัน

มีของไม่สะอาดไหลออก โดยนัยเป็นว่า ขี้ตาไหลออกจากนัยน์ตาฉันใด

แม้ในตอนกลางคืนก็ฉันนั้น.

บทว่า ยถา รตฺตึ ตถา ทิวา ความว่า อนึ่ง ในตอนกลางคืน

กายนี้มีของไม่สะอาดไหลออกฉันใด แม้ในตอนกลางวันก็ฉันนั้น. โดย

การจำแนกกาล กายนี้ไม่มีความแตกต่างกัน.

บทว่า ยถา ปุเร ตถา ปจฺฉา ความว่า กายนี้ เมื่อก่อน คือใน

กาลก่อน ได้แก่ในเวลาเป็นเด็กหนุ่ม ก็เป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น

น่าเกลียด ปฏิกูล ฉันใด ภายหลังคือในเวลาแก่ก็ฉันนั้น และภายหลัง

คือในเวลาแก่ มีสภาวะไม่สะอาดเป็นต้นฉันใด เมื่อก่อนคือในตอนเป็น

เด็กหนุ่มก็ฉันนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้พึงทราบอรรถอย่างนี้ว่า เมื่อ

ก่อนคือในอดีตกาล ได้แก่ในเวลายังมีวิญาณ มีสภาวะไม่สะอาดเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 174

และมีสภาวะไม่เที่ยงเป็นต้นฉันใด. ภายหลังคือในอนาคตกาล ได้เเก่ใน

เวลาไม่มีวิญญาณก็ฉันนั้น.

บทว่า ปญฺจงฺคิเกน ตูริเยน ความว่า ความยินดีเช่นนั้น คือเห็น

ปานนั้น ได้แก่ความชอบใจในความสุข ย่อมไม่มีแก่อิสรชนผู้เพียบพร้อม

ด้วยกามสุข ซึ่งเขาบำเรออยู่ด้วยดนตรีเครื่อง ๕ คือประกอบด้วยองค์ ๕

อย่างนี้ คือ อาตตะ กลองหุ้มหนังหน้าเดียว คือรำมะนา, วิตตะ กลอง

หุ้มทั้งสองหน้า คือตะโพน. อาตตะวิตตะ หุ้มทั้งหมด คือบัณเฑาะว์,

สุสิระ ปี่, ฆนะ ฉิ่ง.

บทว่า ยถา เอกคฺคจิตฺตสฺส สมฺมา ธมฺม วิปสฺสโต ความว่า

ความยินดีในกามย่อมไม่เข้าถึงแม้แต่เสี้ยวของความยินดีในธรรม แห่ง

พระโยคาวจรผู้กระทำสมถะและวิปัสสนาให้ยุคนัทธรรม กระทำควบคู่กัน

ไป แล้วพิจารณาความเกิดและความดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย ด้วยวิปัสสนา

อันดำเนินตามวิถี โดยภาวะที่อินทรีย์ทั้งหลายมีรสะ คือหน้าที่เดียวกัน.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ในกาลใด ๆ พระโยคีพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและ

ความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้น ๆ ย่อมได้

ความปีติและปราโมทย์ นั้นเป็นอมตะของท่านผู้รู้แจ้ง

ทั้งหลาย.

และคาถาเหล่านี้แหละเป็นคาถาพยากรณ์อรหัตผลของพระเถระ.

จบอรรถกถากุลลเถรคาถาที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 175

๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมาลุงกยปุตตเถระ

[๓๕๑] ตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์ผู้ประพฤติประมาท เหมือน

เถาย่านทรายเจริญอยู่ในป่าฉะนั้น บุคคลผู้ตกอยู่ในอำนาจ

ของตัณหา ย่อมเร่ร่อนไปในภพน้อยภพใหญ่ เหมือน

วานรอยากได้ผลไม้ เร่ร่อนไปในป่าฉะนั้น ตัณหาอันชั่วช้า

ซ่านไปในโลก ครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลาย

ย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น เหมือนหญ้าคมบางที่ถูกฝนตก

เชยแล้วฉะนั้น ส่วนผู้ใดครอบงำตัณหาอันชั่วช้านี้ ซึ่ง

ยากที่จะล่วงได้ในโลก ความโศกทั้งหลายย่อมตกไปจาก

บุคคลนั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัวฉะนั้น เพราะ-

ฉะนั้น เราขอเตือนท่านทั้งหลาย ขอความเจริญจงมีแก่

ท่านทั้งหลายที่มาประชุมกันอยู่ในสมาคมนี้ทั้งหมด ท่าน

ทั้งหลายจงขุดรากแห่งตัณหา ดุจบุคคลผู้มีความต้องการ

ด้วยแฝกขุดแฝกอยู่ฉะนั้น มารอย่าได้ระรานท่านทั้งหลาย

บ่อย ๆ ดังกระแสน้ำพัดพาไม้อ้อฉะนั้น ท่านทั้งหลาย

จงทำตามพระพุทธพจน์ ขณะอย่าได้ล่วงท่านทั้งหลายไป

เสีย เพราะผู้มีขณะอันล่วงแล้ว ย่อมยัดเยียดกันในนรก

เศร้าโศกอยู่ ความประมาทดุจธุลี ธุลีเกิดขึ้นเพราะความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 176

ประมาท ท่านทั้งหลายพึงถอนลูกศรอันเสียบอยู่ในหทัย

ของตน ด้วยความไม่ประมาทและด้วยวิชชาเถิด.

จบมาลุงกยปุตตเถรคาถา

อรรถกถามาลุงกยปุตตเถรคาถาที่ ๕

คาถาของท่านพระมาลุงกยปุตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มนุชสฺส

ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธจ้า อันมีใน

ปางก่อนทั้งหลาย สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิด

เป็นบุตรนักดูเงิน ของพระเจ้าโกศลในกรุงสาวัตถี.

มารดาของเขาชื่อ มาลุงกยา. ด้วยอำนาจของนางมาลุงกยานั้น เขา

จึงปรากฏว่า มาลุงกยบุตร นั่นแล. เขาเติบโตขึ้นเพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยใน

การสลัดออกจากกิเลส จึงละฆราวาสออกบวชเป็นปริพาชกท่องเที่ยวไป

ได้ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้ความศรัทธาในพระศาสนา จึง

บวชบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็ได้อภิญญา ๖. ท่านได้ไปยัง

ตระกูลญาติ เพื่ออนุเคราะห์ญาติ. ญาติทั้งหลายได้อังคาสท่านด้วยขาทนีย-

โภชนียาหารอันประณีต ประสงค์จะล่อด้วยทรัพย์ จึงเอากองทรัพย์กอง

ใหญ่วางไว้ข้างหน้า แล้วอ้อนวอนว่า ทรัพย์นี้เป็นของท่าน ท่านจงสึกมา

ครอบครองลูกเมีย การทำบุญทั้งหลายด้วยทรัพย์นี้เถิด. พระเถระเมื่อจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 177

เปลี่ยนอัธยาศัยของญาติเหล่านั้น จึงยืนในอากาศแสดงธรรมด้วยคาถา ๖

คาถานี้ว่า

ตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์ผู้ประพฤติประมาท เหมือน

เถาย่านทรายเจริญอยู่ในป่าฉะนั้น บุคคลผู้ตกอยู่ใน

อำนาจของตัณหา ย่อมเร่ร่อนไปในภพน้อยภพใหญ่

เหมือนวานรปรารถนาผลไม้ เร่ร่อนไปในป่าฉะนั้น ตัณหา

อันชั่วช้า ซ่านไปในโลก ครอบงำบุคคลใด ความโศก

ทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น เหมือนหญ้าคมบางที่ฝน

ตกเชยแล้วฉะนั้น ส่วนผู้ใดครอบงำตัณหาอันชั่วช้านี้

ซึ่งยากที่จะล่วงไปได้ในโลก ความโศกทั้งหลายย่อมตก

ไปจากบุคคลนั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัวฉะนั้น

เพราะฉะนั้น เราขอเตือนท่านทั้งหลาย ขอความเจริญ

จงมีแก่ท่านทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในสมาคมนี้

ทั้งหมด ท่านทั้งหลายจงขุดรากตัณหา ดุจบุคคลผู้มี

ความต้องการแฝกขุดแฝกฉะนั้น มารอย่าได้ระรานท่าน

ทั้งหลายบ่อย ๆ ดังกระแสน้ำพัดพาไม้อ้อฉะนั้น ท่าน

ทั้งหลายจงทำตามพระพุทธพจน์ ขณะอย่าได้ล่วงท่าน

ทั้งหลายไปเสีย เพราะผู้มีขณะอันล่วงเลยไปแล้ว ย่อม

ยัดเยียดกันในนรกเศร้าโศกอยู่ ความประมาทดุจธุลี

ธุลีเกิดขึ้นเพราะความประมาท ท่านทั้งหลายพึงถอน

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๕๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 178

ลูกศรอันเสียบอยู่ในหทัยของตน ด้วยความไม่ประมาท

และด้วยวิชชาเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุชสฺส ได้แก่ สัตว์.

บทว่า ปมตฺตจาริโน ได้แก่ผู้ประพฤติประมาท ด้วยความประมาท

อันมีการปล่อยสติเป็นลักษณะ. ฌาน วิปัสสนา มรรคและผลทั้งหลายย่อม

ไม่เจริญ.

เหมือนอย่างว่า เถาย่านทรายรวบมัดรัดคลุมต้นไม้ ย่อมเจริญเพื่อ

ความพินาศแห่งต้นไม้นั้นฉันใด ตัณหาอันอาศัยทวาร ๖ เกิดขึ้นบ่อยๆ

ในอารมณ์ มีรูปเป็นต้น ย่อมเจริญแก่สัตว์นั้นฉันนั้น ตัณหาเมื่อเจริญ

อยู่แล ย่อมทำบุคคลผู้เป็นไปในอำนาจให้ตกลงในอบาย เหมือนเถาย่าน-

ทรายคลุมต้นไม้อันเป็นที่อาศัยของตน ให้โค่นลงฉะนั้น.

บทว่า โส ปฺลวติ ความว่า บุคคลผู้เป็นไปในอำนาจตัณหานั้น ย่อม

เร่ร่อน คือแล่นไปในภพน้อยภพใหญ่ไป ๆ มา ๆ. ถามว่า เหมือนอะไร ?

ตอบว่า เหมือนวานรอยากได้ผลไม้เร่ร่อนไปในป่าฉะนั้น. อธิบายว่า วานร

ผู้อยากได้ผลของต้นไม้แล่นไปในป่า จับกิ่งหนึ่งของต้นไม้ ปล่อยกิ่งนั้น

แล้วจับกิ่งอื่น แล้วก็ปล่อยกิ่งนั้นจับกิ่งอื่น (อีกต่อ ๆ ไป) เพราะเหตุนั้น

จึงย่อมไม่ถึงภาวะที่จะพึงพูดได้ว่า มันไม่ได้กิ่งไม้จึงนั่งจับเจ่า ดังนี้ฉันใด

บุคคลผู้เป็นไปในอำนาจตัณหาก็ฉันนั้นเหมือนกัน แล่นไปในภพน้อย

ภพใหญ่ จึงไม่ถึงความเป็นผู้ที่จะพึงกล่าวว่า เขาไม่ได้อารมณ์ จึงถึง

ความไม่เกิดตัณหา.

บทว่า ย โยคว่า บุคคลใด. ตัณหาอันเป็นไปในทวาร ๖ นั่น ถึง

ความนับว่า ชมฺมี เพราะความเป็นของลามก ถึงความนับว่า วิสตฺติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 179

เพราะมีอาหารเป็นพิษ เพราะมีดอกเป็นพิษ เพราะมีผลเป็นพิษ เพราะ

มีการบริโภคเป็นพิษ และเพราะส่ายคือข้องในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ย่อม

ครอบงำบุคคลนั้น. อธิบายว่า แฝกและหญ้าคมบางที่ฝนตกเชย เมื่อฝน

ตกบ่อยๆย่อมเจริญในป่าฉันใด ความโศกทั้งหลายอันมีวัฏฏะเป็นมูล

ย่อมเจริญคือถึงความเจริญฉันนั้น.

บทว่า โย เจต ฯเปฯ ทุรจฺจย ความว่า ส่วนบุคคลใด ยอมอด

กลั้นคือครอบงำตัณหา ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วอย่างนี้ ที่ชื่อว่าล่วงได้

ยาก เพราะเป็นธรรมชาติที่จะพึงทำได้ยากเพื่อจะล่วง คือเพื่อจะละความ

โศกมีวัฏฏะเป็นมูล ย่อมตกไปจากบุคคลนั้น อธิบายว่า ย่อมไม่ตั้งอยู่

เหมือนหยาดน้ำที่ตกลงในใบบัว คือใบปทุม ย่อมไม่ตั้งอยู่ฉะนั้น.

บทว่า ต โว วทามิ ความว่า เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวกะท่าน

ทั้งหลาย.

บทว่า ภทท โว ความว่า ความเจริญจงมีแก่พวกท่าน คือพวก

ท่านอย่าได้ถึงความพินาศ คือความฉิบหาย เหมือนคนผู้อนุวรรตน์ตาม

ตัณหา.

บทว่า ยาวนฺเนตตฺถ สมาคตา ความว่า มีประมาณเท่าที่มาประชุม

กันอยู่ในที่นี้. หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า พระเถระพูดอย่างไร ? เฉลยว่า

พระเถระพูดว่า ท่านทั้งหลายจงขุดรากของตัณหา คือท่านทั้งหลายจง

ขุด คือถอนราก็คือเหตุของตัณหาอันเป็นไปในทวาร ๖ นี้ ได้แก่ ชัฏแห่ง

กิเลสมีอวิชชาเป็นต้น ด้วยจอบคืออรหัตมรรคญาณ. ถามว่า เหมือน

อะไร ? ตอบว่า เหมือนคนต้องการแฝกขุดแฝกฉะนั้น อธิบายว่า ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 180

ทั้งหลายจงขุดรากของตัณหานั้น เหมือนบุรุษผู้ต้องการแฝกเอาจอบใหญ่

ขุดหญ้า ชื่ออุสีระ แฝก อันมีอีกชื่อว่า พีรณะ ฉะนั้น.

บทว่า มา โว นฬว โสโตว มาโร ภญฺชิ ปุนปฺปุน ความว่า

กิเลสมาร มัจจุมาร และเทวปุตตมาร อย่าระรานพวกท่านบ่อย ๆ เหมือน

กระแสน้ำไหลมาด้วยกำลังแรง ระรานไม้อ้อที่เกิดอยู่ริมฝั่งแม่น้ำฉะนั้น.

เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงกระทำตามพระพุทธพจน์ คือ จง

กระทำตามพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ซึ่งตรัสไว้โดยนัยมีอาทิ

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเพ่ง (พินิจ) อย่าเป็นผู้ประมาท คือ

จงยังข้อปฏิบัติให้ถึงพร้อมตามที่ทรงพร่ำสอน.

บทว่า ขโณ โว มา อุปจฺจคา ความว่า จริงอยู่ บุคคลใดไม่

กระทำตามพระพุทธพจน์ ขณะแม้ทั้งหมดนี้ คือ ขณะที่พระพุทธเจ้าเสด็จ

อุบัติขึ้น ๑ ขณะที่ได้เกิดขึ้นในปฏิรูปเทส ๑ ขณะที่ได้สัมมาทิฏฐิ ๑

ขณะที่มีอวัยวะทั้ง ๖ ไม่บกพร่อง ๑ ย่อมล่วงเลยบุคคลนั้น ขณะอันนั้น

อย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย.

บทว่า ขณาตีตา ความว่า ก็บุคคลใดล่วงเลยขณะนั้นไปเสีย หรือ

ว่าขณะอันนั้นล่วงเลยบุคคลใดไปเสีย บุคคลเหล่านั้นก็จะยัดเยียดกันอยู่ใน

นรก คือบังเกิดในนรกนั้นเศร้าโศกอยู่สิ้นกาลนาน.

บทว่า ปมาโท รโช ความว่า ความประมาทมีลักษณะปล่อยสติใน

อารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ชื่อว่า ดุจธุลี เพราะมีสภาพเศร้าหมอง และ

เพราะเจือปนด้วยธุลีมีธุลีคือราคะเป็นต้น.

บทว่า ปมาทานุปติโต รโช ความว่า ก็ชื่อว่าธุลีอย่างใดอย่างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 181

ราคะเป็นต้น มีธุลีทั้งหมดนั้นตกไปตามความประมาท คือเกิดขึ้นด้วย

อำนาจความประมาทนั่นแหละ.

บทว่า อปฺปมาเทน ได้แก่ ด้วยความไม่ประมาท คือด้วยการปฏิบัติ

โดยไม่ประมาท.

บทว่า วิชฺชาย ได้แก่ ด้วยวิชชาอันสัมปยุตด้วยอรหัตมรรค.

บทว่า อพฺพเห สลฺลมตฺตโน ความว่า พึงดึงขึ้น คือพึงถอนลูกศร

มีราคะเป็นต้น ที่อาศัยหทัยของตนออกเสีย.

จบอรรถกถามาลุงกยปุตตเถรคาถาที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 182

๖. สัปปทาสเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของสัปปทาสเถระ

[๓๕๒] นับตั้งแต่เราบวชมาแล้วได้ ๒๕ ปี ยังไม่เคยได้รับ

ความสงบใจ แม้ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเลย เราไม่ได้เอกัคคตา-

จิต ถูกกามราคะครอบงำแล้ว ประคองแขนทั้งสองร้องไห้

คร่ำครวญออกไปจากที่อยู่ด้วยคิดว่า จักนำศัสตรามา ชีวิต

ของเราจะมีประโยชน์อะไรเล่า ก็คนอย่างเราจะลาสิกขา

เสียอย่างไรได้ ควรตายเสียเถิดคราวนี้ เราได้ฉวยเอา

มีดโกนขึ้นไปนอนบนเตียง มีดโกนเล่มนั้นเรานำเข้าไป

จ่อไว้แล้ว สามารถจะตัดเส้นเอ็นให้ขาดได้ ขณะนั้น

โยนิโสมนสิการก็เกิดขึ้นแก่เรา โทษปรากฏแก่เรา ความ

เบื่อหน่ายในสังขารก็เกิดขึ้นแก่เรา เพราะความเบื่อหน่าย

ในสังขารนั้น จิตของเราหลุดพ้นแล้ว ขอท่านจงดูความ

ที่ธรรมเป็นธรรมดีเถิด วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.

จบสัปปทาสเถรคาถา

อรรถกถาสัปปทาสเถรคาถาที่ ๖

คาถาของท่านพระสัปปทาสเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปณฺณวีสติ ดังนี้.

เรื่องนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 183

แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน

ทั้งหลาย ได้ก่อสร้างกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ

ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรปุโรหิตของพระเจ้าสุทโธทนะใน

นครกบิลพัสดุ์ เขาได้มีชื่อว่า สัปปทาส. เขาเจริญวัยได้ความศรัทธาใน

คราวสมาคมพระญาติของพระศาสดา จึงบวช เพราะกิเลสครองงำ จึง

ไม่ได้เจโตสมาธิ ประพฤติพรหมจรรย์ เกิดสลดใจ ภายหลังจึงนำศัสตรา

มา เจริญโยนิโสมนสิการก็ได้บรรลุพระอรหัต เมื่อจะพยากรณ์อรหัตผล

จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

นับตั้งแต่เราบวชมาแล้วได้ ๒๕ ปี ยังไม่เคยได้รับ

ความสงบใจ แม้ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเลย เราไม่ได้

เอกัคคตาจิต ถูกกามราคะครอบงำ ประคองแขนทั้งสอง

ร้องไห้คร่ำครวญออกไปจากที่อยู่ด้วยคิดว่า จักนำศัสตรา

มา ชีวิตของเราจะมีประโยชน์อะไรเล่า ก็คนอย่างเรา

จะลาสิกขาเสียอย่างไรได้ ควรตายเสียเถิดคราวนี้ เรา

ได้ฉวยเอามีดโกนขึ้นไปนอนบนเตียง มีดโกนเล่มนั้น

เรานำเข้าไปจ่อไว้แล้ว สามารถจะตัดเส้นเอ็นให้ขาดได้

ขณะนั้น โยนิโสมนสิการเกิดขึ้นแก่เรา โทษปรากฏแก่เรา

ความเบื่อหน่ายในสังขารก็เกิดขึ้นแก่เรา เพราะความ

เบื่อหน่ายในสังขารนั้น จิตของเราหลุดพ้นแล้ว ขอท่าน

จงดูความที่ธรรมเป็นธรรมดีเถิด วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว

คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๕๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 184

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺณวีสติวสฺสานิ ยโต ปพฺพชิโต อห

ความว่า จำเดิมแต่ที่เราบวชนั้น เป็นเวลา ๒๕ ปี.

บทว่า อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตมฺปิ เจโตสนฺติ มนชฺณค ความว่า เรา

นั้นประพฤติพรหมจรรย์มาตลอดกาลเท่านี้ ยังไม่ได้ความสงบใจ ความ

ตั้งมั่นแห่งจิต ชั่วขณะแม้มาตรว่าลัดนิ้วมือเดียว คือแม้สักว่าดีดนิ้วมือ.

ก็พระเถระไม่ได้เอกัคคตาจิตด้วยประการอย่างนี้ จึงกล่าวเหตุใน

ข้อนั้นว่า ถูกกามราคะครอบงำ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฏิโต แปลว่า บีบคั้น อธิบายว่า

ครอบงำ.

บทว่า พาหา ปคฺคยฺห กนฺทนฺโต ความว่า แหงนหน้าประคอง

แขนทั้งสองข้างคร่ำครวญว่า ในกาลที่เราบวชในพระศาสนาอันเป็นเครื่อง

สลัดออกจากทุกข์แล้ว ไม่สามารถจะถอนตนขึ้นจากเปือกตมคือกิเลสได้นี้

เป็นไปไม่สมควรอย่างยิ่งในพระศาสนานี้.

บทว่า วิหารา อุปนิกฺขมึ แปลว่า ออกไปภายนอกจากวิหารที่อยู่.

เพื่อแสดงอุบายอันเป็นเหตุให้ออกไป ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า เราจักนำ

ศัสตรามา.

วา ศัพท์ในบทว่า สตฺถ วา อาหริสฺสามิ ในคาถานั้น เป็นวิกัป-

ปัตถะ (คำแสดงความหมายให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง) ด้วย วา ศัพท์

นั้น ท่านสงเคราะห์ชนิดของความ มีอาทิว่า โดดจากต้นไม้หรือผูกคอตาย.

บทว่า สิกฺข ได้แก่ อธิศีลสิกขา.

บทว่า ปจฺจกฺข แปลว่า บอกคืน คือละเสีย. บาลีว่า ปจฺจกฺขา

ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ด้วยการบอกคืนสิกขา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 185

บทว่า กาล แปลว่า ตาย. อธิบายว่า ชื่อว่าคนเช่นเราจะพึงตาย

ด้วยกายรบอกคืนสิกขาได้อย่างไรเล่า. จริงอยู่ การบอกคืนสิกขา ชื่อว่า

การตายในอริยวินัย.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่

ภิกษุบอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลวนั้น เป็นมรณะความตาย.

ก็ในบาลีว่า สิกฺข ปจฺจกฺขาย มีวาจาประกอบความว่า ชื่อว่า คนเช่นเรา

พึงบอกคืนสิกขาแล้วกระทำกาละได้อย่างไรเล่า แต่จะเป็นผู้เพียบพร้อม

ด้วยสิกขาการทำกาละ เพราะฉะนั้น เราจักนำศัสตรามา เราจะประโยชน์

อะไรด้วยความเป็นอยู่.

บทว่า ตทาห ได้แก่ ในคราวที่เราเบื่อหน่ายชีวิต เพราะไม่สามารถ

บำเพ็ญสมณธรรมได้ เพราะถูกกิเลสครอบงำ.

บทว่า ขุร ได้แก่ มีดโกนที่ลับแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ศัสตรา

ประดุจมีดโกน.

บทว่า มญฺจกมฺหิ อุปาวิสึ ความว่า เพราะกลัวผู้อื่นห้าม เราจึง

เข้าห้องแล้วนั่งบนเตียง.

บทว่า ปรินีโต ได้แก่ นำเข้าไปใกล้แล้ว อธิบายว่า พาดไว้ที่คอ.

ด้วยบทว่า ธมนึ นี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่าเส้นเอ็นที่คอ ชื่อว่า

กัณธมนิ ได้แก่ ลำคอ ดังนี้ก็มี.

บทว่า เฉตฺตุ แปลว่า เพื่อตัด.

บทว่า ตโต เม มนสิกาโร โยนิโส อุทปชฺชถ ความว่า เราคิดว่า

จักตายในคราวใด จึงเอามีดจ่อเพื่อตัดคอคือเส้นเอ็น ต่อจากนั้น เมื่อเรา

พิจารณาเห็นว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ปีติจึงเกิดขึ้นเพราะได้เห็นศีลบริสุทธิ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 186

ไม่ขาด ไม่ทะลุ, กายของตนผู้มีใจประกอบด้วยปีติก็สงบ เพราะจิตของ

คนมีกายสงบ ซึ่งเสวยสุขอันปราศจากอามิส เป็นจิตตั้งมั่น โยนิโส-

มนสิการ จึงเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตโต ความว่า ภายหลังจากเอามีดจ่อที่คอ

เมื่อเกิดบาดแผล จึงเกิดโยนิโสมนสิการอันข่มเวทนาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ

วิปัสสนา, บัดนี้ เพื่อจะแสดงการเกิดแห่งญาณ อันเป็นเครื่องพิจารณา

มรรคและผลที่ยิ่งกว่านั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า โทษปรากฏแก่เรา ดังนี้.

คำนั้นมีเนื้อความดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบอรรถกถาสัปปทาสเถรคาถาที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 187

๗. กาติยานเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระกาติยานเถระ

[๓๕๓] จงลุกขึ้นนั่งเถิดกาติยานะ อย่ามัวนอนหลับอยู่เลย

จงตื่นขึ้นเถิด อย่าให้มัจจุราชผู้เป็นพวกพ้องของตนประ-

มาทชนะท่านผู้เกียจคร้านด้วยอุบายอันโกงเลย กำลังคลื่น

แห่งมหาสมุทร ย่อมครอบงำบุรุษผู้ไม่อาจข้ามมหาสมุทร

นั้นได้ แม้ฉันใด ชาติและชราย่อมครอบงำท่านผู้ถูก

ความเกียจคร้านครอบงำแล้ว ฉันนั้น ขอท่านจงทำเกาะ

คืออรหัตผลแก่ตนเถิด เพราะที่พึ่งอย่างอื่นในโลกนี้และ

โลกหน้า ย่อมไม่มีแก่ท่าน ก็พระศาสดาได้ทรงบอกทาง

นี้ อันล่วงพ้นจากเครื่องข้องและจากภัยคือชาติและชรา

แก่ท่านแล้ว ท่านอย่าเป็นผู้ประมาทตลอดยามต้นและ

ยามหลัง จงพยายามทำความเพียรให้มั่นเถิด ท่านจง

ปลดเปลื้องเครื่องผูกทั้งหลายอันเป็นของเดิมเสีย จะใช้

สอยผ้าสังฆาฏิและโกนศีรษะด้วยมีดโกน ฉันอาหารที่ขอ

เขามาได้ จงอย่าเห็นแก่การเล่นสนุกสนาน อย่าเห็นแก่

นอน จงหมั่นเพ่งดูธรรมเถิดกาติยานะ จงเจริญฌาน จง

ชนะกิเลสเถิดกาติยานะ ท่านจงเฉลียวฉลาดในทางอัน

ปลอดโปร่งจากโยคะ จงบรรลุถึงความบริสุทธิ์อันยอด-

เยี่ยม จงดับเพลิงกิเลส ดังบุคคลดับไฟด้วยน้ำฉะนั้น

ประทีปที่ส่องแสง ถ้ามีแสงน้อยย่อมดับไปด้วยลม หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 188

เหมือนเถาวัลย์เล็กถูกลมขจัดฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีโคตร

เสมอกับพระอินทร์ ท่านก็ฉันนั้น จงเป็นผู้ไม่ถือมั่น กำจัด

มารเสียเถิด ก็เมื่อท่านกำจัดมารได้อย่างนี้แล้ว เป็นผู้

ปราศจากความกำหนัดพอใจในเวทนาทั้งหลาย เป็นผู้มี

ความเย็น รอคอยเวลานิพพานของตน ในอัตภาพนี้

ทีเดียว.

จบกาติยานเถรคาถา

อรรถกถากาติยานเถรคาถาที่ ๗

คาถาของท่านพระกาติยานเถระ มีคำเริ่มต้น ว่า อุฏฺเหิ ดังนี้.

เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน

ทั้งหลาย ก่อสร้างบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิด

เป็นบุตรของพราหมณ์โกสิยโคตรตระกูลหนึ่ง ในนครสาวัตถี แต่เนื่อง

ด้วยโคตรฝ่ายมารดา จึงได้นามว่า กาติยานะ พอเจริญวัยได้เป็นสหาย

คฤหัสถ์ของพระสามัญญกานิเถระ ได้เห็นพระเถระจึงบวชกระทำสมณ-

ธรรมอยู่ ในตอนกลางคืน ขึ้นสู่จงกรมด้วยหวังจักบรรเทาความง่วงที่

ครอบงำ. ท่านเดินจงกรมอยู่ถูกความหลับครอบงำ โงนเงนล้มลงไป

นอนที่พื้นราบ ณ ที่จงกรมนั้นนั่นเอง พระศาสดาทรงเห็นความเป็นไป

นั้นของเธอ จึงเสด็จไป ณ ที่นั้นด้วยพระองค์เอง ประทับยืนใน

อากาศ ได้ประทานสัญญาณว่า กาติยานะ ท่านได้เห็นพระศาสดาจึงลุก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 189

ขึ้นถวายบังคม เกิดความสลดใจจึงได้ยืนอยู่. ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อ

จะทรงแสดงธรรมแก่ท่าน จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ความว่า

จงลุกขึ้นนั่งเถิด กาติยานะ อย่ามัวนอนหลับอยู่เลย

จงตื่นขึ้นเถิด อย่าให้มัจจุราชผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของคนประ-

มาทชนะท่านผู้เกียจคร้านด้วยอุบายโกงเลย. กำลังคลื่น

แห่งมหาสมุทร ย่อมครอบงำบุรุษผู้ไม่อาจข้ามมหาสมุทร

นั้นได้ฉันใด ชาติและชราย่อมครอบงำท่านผู้ถูกความ

เกียจคร้านครอบงำแล้วฉันนั้น ขอท่านจงทำเกาะคืออรหัต-

ผลแก่ตนเถิด เพราะที่พึ่งอย่างอื่นในโลกนี้และโลกหน้า

ย่อมไม่มีแก่ท่าน ก็พระศาสดาได้ทรงบอกทางนี้อันล่วง

พ้นจากเครื่องข้อง และจากภัยคือชาติและชราแก่ท่าน

แล้ว ท่านอย่าเป็นผู้ประมาททั้งยามต้นและยามหลัง จง

พยายามกระทำความเพียรให้มั่นเถิด ท่านจงปลดเปลื้อง

เครื่องผูกทั้งหลายอันเป็นของเดิมเสีย จงใช้สอยผ้า

สังฆาฏิ โกนศีรษะด้วยมีดโกน และฉันอาหารที่ขอมาได้

จงอย่าเห็นแก่การเล่นสนุกสนาน อย่าเห็นแก่การนอน

จงหมั่นเพ่งธรรมเถิดกาติยานะ จงเจริญฌาน จงชนะ

กิเลสเถิด กาติยานะ ท่านจงเฉลียวฉลาดในทางอัน

ปลอดโปร่งจากโยคะ จงบรรลุถึงความบริสุทธิ์อันยอด

เยี่ยม จงดับเพลิงกิเลส ดังบุคคลดับไฟด้วยน้ำฉะนั้น

ประทีปที่ส่องแสง ถ้ามีแสงน้อย ย่อมดับไปด้วยลม หรือ

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๕๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 190

ดุจดังเถาวัลย์เล็กถูกลมขจัดได้ ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มี

โคตรเสมอด้วยพระอินทร์ ท่านก็ฉันนั้น จงเป็นผู้ไม่ถือมั่น

กำจัดมารเสียเถิด ก็เมื่อท่านกำจัดมารได้อย่างนี้แล้ว เป็น

ผู้ปราศจากความกำหนัดในเวทนาทั้งหลาย เป็นผู้มีความ

เย็น รอคอยเวลานิพพานของตนในอัตภาพนี้ทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฏฺเหิ ความว่า ท่านเมื่อลุกขึ้นจาก

การเข้าถึงความหลับ ชื่อว่า จงกระทำความเพียร คือความหมั่น. เพราะ

ธรรมดาว่าการนอน เป็นไปในฝักฝ่ายของความเกียจคร้าน เพราะฉะนั้น

ท่านอย่านอน.

บทว่า นิสีท ความว่า จงนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้

เฉพาะหน้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระเถระนั้น โดยชื่อว่า กาติยานะ.

บทว่า มา นิทฺทาพหุโล อหุ ความว่า อย่าเป็นผู้มากด้วยความ

หลับ คือถูกความหลับครอบงำ.

บทว่า ชาครสฺสุ แปลว่า จงตื่น คือจงเป็นผู้ประกอบความเพียร

ในความเป็นผู้ตื่นอยู่.

บทว่า มา ต อลส ความว่า มัจจุราชผู้เป็นพวกพ้องของคน

ประมาท จงอย่าชนะ คือจงอย่าครอบงำ อย่าท่วมทับท่านผู้เกียจคร้าน

ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ด้วยชราและโรค เหมือนนายพราน

อย่าชนะเนื้อและนกด้วยกลโกง คือด้วยฟ้าทับเหวฉะนั้น.

บทว่า เสยฺยถาปิ ตัดเป็น เสยฺยถา อปิ แปลว่า แม้ฉันใด.

บทว่า มหาสมุทฺทเวโค ได้แก่ กำลังคลื่นแห่งมหาสมุทร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 191

บทว่า เอว เป็นต้น ความว่า กำลังคลื่นแห่งมหาสมุทร ตั้งขึ้น

ซ้อน ๆ กัน ย่อมครอบงำบุรุษนั้นผู้ไม่สามารถว่าข้ามมหาสมุทรนั้นไปได้

ฉันใด ชาติและชราก็ฉันนั้น ย่อมครอบงำ คือย่อมย่ำยีท่านผู้ถูกความ

เกียจคร้านครอบงำ.

บทว่า โส กโรหิ ความว่า ดูก่อนกาติยานะ ท่านจงกระทำเกาะ

ที่ดี กล่าวคือพระอรหัตผลที่โอฆะทั้ง ๔ ท่วมทับไม่ได้แก่ตน คือจงให้

เกิดขึ้นในสันดานของตน.

ศัพท์ว่า หิ ในบทว่า น หิ ตาณ ตว วิชฺชเตว อฺ เป็นนิบาต

ใช้ในอรรถว่า เหตุ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ ชื่อว่าที่พึ่งของท่านอื่นจาก

พระอรหัตผลนั้น ย่อมไม่ได้ในโลกนี้หรือโลกหน้า ฉะนั้น ท่านจงกระทำ

เกาะที่ดีคือพระอรหัตผลนั้น.

บทว่า สตฺถา หิ วิเชสิ มคฺคเมต ความว่า พระศาสดาทรงครอบงำ

เทวปุตตมารเป็นต้นแล้วตรัสบอก คือทำอริยมรรคที่เป็นตัวเหตุแห่งเกาะ

ที่ดีนั้น อันล่วงพ้นจากกิเลสเครื่องข้อง ๕ ประการ และจากภัยมีชาติ

เป็นต้น ซึ่งพวกอัญญเดียรถีย์จำนวนมากไม่อาจให้สำเร็จต้องพ่ายแพ้นั้น

ให้สำเร็จแก่ท่าน. เพราะเหตุที่ของที่มีอยู่ของพระศาสดา สาวกควรครอบ

ครอง ไม่ควรละทิ้ง เพราะฉะนั้น เพื่อจะครอบครองของที่เป็นของ

พระศาสดานั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทตลอดราตรีก่อนและราตรีหลัง คือ

ตลอดยามต้นและยามหลัง คือจงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ หมั่นประกอบ

ความเพียรและการเจริญภาวนาให้มั่นคงไว้.

บทว่า ปุริมานิ ปมุญฺจ พนฺธนานิ ความว่า ท่านจงปล่อย คือละ

เครื่องผูกของคฤหัสถ์ ได้แก่ เครื่องผูกคือกามคุณที่มีอยู่ในกาลก่อน คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 192

ที่ผูกพันไว้ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ อธิบายว่า จงอย่าอาลัยในเครื่องผูกคือ

กามคุณนั้น.

บทว่า สงฺฆาฏิขุรมุณฺฑภิกฺขโภชี ได้แก่ เป็นผู้ครองผ้าสังฆาฏิ มี

ศีรษะโล้นที่เอามีดโกนปลงผม บริโภคอาหารที่ได้ด้วยการขอ คำแม้ทั้ง

๓ นี้เป็นคำกล่าวเหตุแห่งการปลดเปลื้องเครื่องผูกที่มีอยู่ในกาลก่อน และ

แห่งการไม่ประกอบตามความยินดีในการเล่นและการนอนหลับ. ประกอบ

ความว่า เพราะเหตุที่ท่านห่มผ้าสังฆาฏิ ศีรษะโล้น มีอาหารที่ได้ด้วย

การขอเขาเลี้ยงชีพ เพราะฉะนั้น การประกอบกามสุข และการประกอบ

ความยินดีในการเล่นและการนอนหลับ จึงไม่ควรแก่ท่าน ด้วยเหตุนั้น

ท่านจงปล่อยวางเครื่องผูกที่มีในกาลก่อนเสีย อย่าเห็นแก่การเล่นและการ

นอนหลับ.

บทว่า ฌาย ได้แก่ จงเพ่ง คือจงหมันประกอบอารัมมณูปนิชฌาน

เพ่งอารมณ์.

พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงว่า ก็เธอเมื่อจะประกอบตามฌานนั้น

จงประกอบตามลักขณูปนิชฌาน อันเป็นเหตุให้ชนะกิเลสอย่างสิ้นเชิง ซึ่งมี

การเข้าไปเพ่งลักษณะเป็นอารมณ์ จึงตรัสว่า เธอจงเพ่ง จงชนะ.

บทว่า โยคกฺเขมปเถสุ โกวิโทสิ ความว่า เธอจงเป็นผู้ฉลาด คือ

เฉลียวฉลาดในโพธิปักขิยธรรม อันเป็นทางแห่งพระนิพพานซึ่งปลอด

โปร่งจากโยคะทั้ง ๔ ก็เพราะฉะนั้น เธอเมื่อบำเพ็ญภาวนาจักบรรลุถึง

ความบริสุทธิ์อันยอดเยี่ยม คือปราศจากสิ่งที่เหนือกว่า ได้แก่พระนิพพาน

และพระอรหัตแล้วปรินิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 193

บทว่า วารินาว โชติ ความว่า จักดับกิเลสด้วยการตกลงแห่งฝน

คืออริยมรรค เหมือนกองไฟดับด้วยการตกลงแห่งน้ำฝนมากมายฉะนั้น.

บทว่า ปชฺโชตกโร ได้แก่ประทีปอันกระทำความสว่างโชติช่วง.

บทว่า ปริตฺตรโส แปลว่า มีเปลวน้อย.

บทว่า วินมฺยเต แปลว่า ย่อมดับไป คือปราศจากไป.

บทว่า ลตาว แปลว่า เหมือนเครือเถา. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า :-

ประทีปที่แสงน้อย คือมีรัศมีน้อย โดนขาดแคลนปัจจัยมีไส้เป็นต้น หรือ

เครือเถาอันเล็ก ๆ ถูกลมขจัด คือทำลายเสีย ฉันใด ดูก่อนท่านผู้ชื่อว่า

มีโคตรเสมอกับพระอินทร์ เพราะเป็นโกสิยโคตร แม้เธอก็ฉันนั้น ชื่อว่า

ผู้ไม่ถือมั่น เพราะไม่ตกอยู่ในอำนาจของมารนั้น และเพราะไม่ถือมั่น จง

ขจัดคือจงทำลายมารเสียเถิด ก็เธอนั้นเมื่อกำจัดได้อย่างนี้ เป็นผู้ปราศจาก

ฉันทราคะในเวทนาทั้งปวง ชื่อว่าเป็นผู้มีความเย็น คือดับร้อนแล้ว

เพราะไม่มีความเร่าร้อนคือความกระวนกระวาย เพราะกิเลสทั้งปวงใน

อัตภาพนี้ทีเดียว จงหวังได้คือจงรอคอยเวลาปรินิพพานของตน. พระ-

ศาสดาตรัสเทศนาให้ถึงอนุปาทิเสสนิพพานด้วยประการอย่างนี้ ในเวลา

จบเทศนา พระเถระเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.

ก็ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ตามนิยามที่

พระศาสดาทรงแสดงแล้วนั่นแล และคาถาเหล่านี้นั้นแลเป็นการพยากรณ์

พระอรหัตผลของพระเถระ.

จบอรรถกถากาติยานเถรคาถาที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 194

๘. มิคชาลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมิคชาลเถระ

[๓๕๔] ธรรมอันก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง เป็นธรรมยังวัฏฏะ

ให้พินาศหมดสิ้น เป็นเครื่องนำออกไปจากสงสาร เป็น

เครื่องข้ามพ้นสงสาร ทำรากตัณหาให้เหี่ยวแห้ง อันพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ผู้มีพระจักษุ ทรง

แสดงดีแล้ว ทำลายกรรมกิเลสเครื่องก่อภพก่อชาติ อันมี

รากเป็นพิษแล้ว ทำให้เราถึงความดับสนิท ธรรมอันเป็น

เครื่องกำจัดกรรมให้สิ้นสุด อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว

เพื่อทำลายรากเหง้าแห่งอวิชชา ญาณเพียงดังแก้ววิเชียร

ตกไป ในเมื่อกำหนดถือวิญญาณทั้งหลายปรากฏขึ้น

ธรรมเครื่องประกาศเวทนา ปลดเปลื้องอุปาทาน เป็น

เครื่องพิจารณาเห็นภพดุจหลุมถ่านเพลิงด้วยญาณ มีรส

มาก ลึกซึ้ง เป็นธรรมห้ามความแก่ความตาย อริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางสงบสุข ปลอดโปร่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ธรรมอันเป็นเครื่อง

เห็นแสงสว่างตามความเป็นจริง ถึงความปลอดโปร่งเป็น

อันมาก สงบระงับ เจริญในที่สุด พระพุทธเจ้าผู้มี-

พระจักษุ ทรงแสดงดีแล้ว เพราะทรงรู้กรรมว่าเป็นธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 195

ทรงรู้จักวิบากโดยความเป็นวิบากแห่งธรรมอันอาศัยกันและ

กันเกิดขึ้น.

จบมิคชาลเถรคาถา

อรรถกถามิคชาลเถรคาถาที่ ๘

คาถาของท่านพระมิคชาลเถระ มีค่าเริ่มต้นว่า สุเทสิโต ดังนี้.

เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน

ทั้งหลาย สั่งสมบุญอยู่ในภพนั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดเป็นบุตรของ

นางวิสาขามหาอุบาสิกา ในนครสาวัตถี ได้มีนามว่า มิคชาละ.

มิคชาละนั้นไปวิหาร เพราะได้ฟังธรรมเนือง ๆ จึงเกิดศรัทธาบวช

แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัต เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล

จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ความว่า

ธรรมอันล่วงพ้นจากสังโยชน์ทั้งปวง เป็นธรรมยัง

วัฏฏะให้พินาศหมดสิ้น เป็นเครื่องนำออกจากสงสาร

เป็นเครื่องข้ามพ้นสงสาร ทำรากตัณหาให้เหี่ยวแห้ง อัน

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ผู้มีพระจักษุ

ทรงแสดงดีแล้ว ทำลายธรรมและกิเลสเครื่องก่อภพ

ก่อชาติอันมีรากเป็นพิษ ทำให้เราถึงความดับสนิท ธรรม

อันเป็นเครื่องกำจัดกรรมให้สิ้นสุด อันพระพุทธเจ้าทรง

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๕๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 196

แสดงแล้ว เพื่อทำลายรากเหง้าแห่งอวิชชา ญาณเพียง

ดังแก้ววิเชียรตกไป ในเมื่อกำหนดถือเอาวิญญาณทั้งหลาย

ปรากฏขึ้น ธรรมเครื่องประกาศเวทนา ปลดเปลื้อง

อุปาทาน เป็นเครื่องพิจารณาเห็นภพเป็นดุจหลุมถ่านเพลิง

ด้วยญาณ มีรสมาก ลึกซึ้ง เป็นธรรมห้ามความแก่ความ

ตาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางสงบทุกข์

ปลอดโปร่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว. ธรรม

อันเป็นเครื่องเห็นแสงสว่างตามความเป็นจริง ถึงความ

ปลอดโปร่งมาก สงบระงับ เจริญในที่สุด อันพระพุทธ-

เจ้าผู้มีพระจักษุทรงแสดงไว้ดีแล้ว เพราะทรงทราบกรรม

ว่าเป็นกรรม และทรงทราบวิบากโดยความเป็นวิบากแห่ง

ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุเทสิโต แปลว่า ทรงแสดงดีแล้ว

อธิบายว่า ทรงแสดงโดยการประกาศตามเป็นจริงถึงประโยชน์ปัจจุบัน

ประโยชน์ในสัมปรายภพ และประโยชน์อย่างยิ่ง อันสมควรแก่อัธยาศัย

แห่งเวไนยสัตว์.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุเทสิโต ได้แก่ ทรงแสดงไว้โดยชอบ

อธิบายว่า ทรงภาษิต คือตรัสไว้ดีแล้ว โดยการประกาศทุกขสัจและ

นิโรธสัจ และเหตุของสัจจะทั้งสองนั้น โดยไม่ผิดแผกกัน.

บทว่า จกฺขุมตา ได้แก่ทรงมีพระจักษุด้วยจักษุ ๕ ประการนี้ คือ

มังสจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ พุทธจักษุ และสมันตจักษุ.

บทว่า พุทฺเธน ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 197

บทว่า อาทิจฺจพนฺธุนา ได้แก่ ผู้เป็นอาทิตยโคตร. จริงอยู่ วงศ์-

กษัตริย์ในโลกมี ๒ วงศ์ คือ อาทิตย์วงศ์ ๑. โสมวงศ์ ๑. ใน ๒ วงศ์นั้น

พึงทราบว่า วงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช เป็นอาทิตยวงศ์ เจ้าศากยะ

ทั้งหลายชื่อว่าอาทิตยโคตร เพราะมีสัญชาติมาจากวงศ์ของพระเจ้าโอก-

กากราชนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า อันชาวโลกเรียกกันว่า

อาทิจจพันธุ เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า อาทิจจพันธุ เพราะเป็น

เผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ดังนี้ก็มี, เนื้อความนี้นั้น ได้กล่าวไว้แล้วในหน

หลังนั่นแล.

ธรรมชื่อว่าเป็นไปล่วงสังโยชน์ทั้งปวง เพราะก้าวล่วงสังโยชน์

ทั้งมวล มีกามราคะสังโยชน์เป็นต้น ชื่อว่าทำวัฏฏะทั้งปวงให้พินาศ เพราะ

ทำให้พินาศ คือกำจัดกิเลส วัฏกรรม วัฏและวิปากวัฏนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า

นำออกจากทุกข์ เพราะนำออกไปจากการระหกระเหินไปในสังสาร ชื่อว่า

เป็นเครื่องข้ามพ้น เพราะอรรถว่า ข้ามพ้นจากโอฆะใหญ่คือสงสาร ชื่อว่า

ทำรากเหง้าของตัณหาให้เหี่ยวแห้ง เพราะทำรากเหง้าแห่งตัณหาทั้งปวง

มีกามตัณหาเป็นต้น อันได้แก่อวิชชาและอโยนิโสมนสิการ ให้เหี่ยวแห้ง

คือให้เหือดแห้ง. ตัด คือตัดอย่างเด็ดขาดซึ่งกรรมหรือกิเลส อันชื่อว่า

เป็นเครื่องต่อภพต่อชาติ เพราะเป็นสถานที่อุบัติขึ้นแห่งความพินาศของ

เหล่าสัตว์ ชื่อว่ามีรากเหง้าเป็นพิษ เพราะเป็นเหตุแห่งทุกข์อันเป็นพิษ

โดยกำจัดการรู้แจ้งเวทนาแม้ทั้ง ๓ ให้ถึงความดับ คือพระนิพพาน.

รากเหง้าของอวิชชา ได้แก่ อโยนิโสมนสิการและอาสวะทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 198

จริงอยู่ ท่านกล่าวว่า เพราะอาสวะเกิด อวิชชาจึงเกิด ดังนี้ เพื่อทำลาย

คือเพื่อต้องการทำลายรากเหง้าของอวิชชานั้น ด้วยญาณอันเปรียบเพชร.

อีกอย่างหนึ่ง เชื่อมความว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อ

ทำลายภวจักรอันชื่อว่า มีอวิชชาเป็นรากเหง้า เพราะมีอวิชชาเป็นมูลราก

โดยพระดำรัสว่า สังขารทั้งหลายเกิดมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นต้นนั้น

ด้วยเพชรคือมรรคญาณ.

บทว่า กมฺมยนฺตวิฆาฏโน ได้แก่ เป็นเครื่องกำจัดยนต์คืออัตภาพ

ซึ่งสืบต่อด้วยกรรม.

ในบทว่า วิญฺาณาน ปริคฺคเห นี้ พึงเชื่อมคำที่เหลือว่า เมื่อการ

ยึดถือวิญญาณปรากฏขึ้นตามกรรมของตนในกามภพเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อ

ถือปฏิสนธิในภพนั้นๆ แม้วิญญาณที่อาศัยภพนั้นๆ ก็ย่อมเป็นอันถือเอา

เหมือนกัน.

บทว่า าณวชิรนิปาตโน ได้แก่ ทำเพชรคือญาณให้ตกลง (ให้

สำเร็จ) คือทำเพชรคือญาณให้สำเร็จแล้วทำลายวิญญาณเหล่านั้น. จริงอยู่

โลกุตรธรรมเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นทำลายวิญญาณอันควรแก่การเกิด

ในภพที่ ๗. เป็นต้นเท่านั้น.

บทว่า เวทนาน วิญฺาปโน ความว่า ประกาศเวทนา ๓ มีสุข-

เวทนาเป็นต้น ตามความเป็นจริง ด้วยอำนาจเป็นทุกข์ เป็นดังลูกศร

และความไม่เที่ยง ตามลำดับ.

บทว่า อุปาทานปฺปโมจโน ความว่า ปลดเปลื้องจิตสันดานจาก

อุปาทานทั้ง ๔ มีกามุปาทานเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 199

บทว่า ภว องฺคารกาสุว าเณน อนุปสฺสโน ความว่า แสดงภพ

ทั้ง ๙ อย่าง มีกามภพเป็นต้น โดยประจักษ์เนืองๆด้วยมรรคญาณ ให้

เป็นดุจหลุมถ่านเพลิงลึกชั่วบุรุษ โดยถูกไฟ ๑๑ กองติดโชนแล้ว.

ชื่อว่า มีรสมาก เพราะอรรถว่า กระทำความไม่เบื่อโดยความเป็น

ธรรมละเอียดและประณีต อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มีรสคือกิจมาก เพราะ

เป็นธรรมมีกิจมากด้วยปริญญากิจเป็นต้น และเพราะเป็นธรรมมีสมบัติ

มากด้วยสามัญผลเป็นต้น ชื่อว่าเป็นธรรมลึกซึ้งมาก เพราะเป็นธรรมที่

หยั่งได้ยากด้วยสัมภาระที่ไม่ได้ก่อสร้างไว้ และเพราะเป็นที่พึ่งอันไม่ควร

จะได้ เป็นธรรมห้ามความแก่และความตาย คือเป็นธรรมปฏิเสธชราและ

มัจจุ โดยห้ามเกิดเฉพาะในภพต่อไป. บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงธรรม

อันประกอบด้วยคุณวิเศษตามที่กล่าวแล้วโดยสรุป จึงกล่าวว่า ประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ เพื่อจะประกาศซ้ำถึงคุณอันนิดหน่อยของธรรม

นั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เป็นทางสงบทุกข์ ปลอดโปร่ง.

คำนั้นมีเนื้อความว่า ชื่อว่า ประเสริฐ เพราะอรรถว่าบริสุทธิ์

ชื่อว่า ประกอบด้วยองค์ ๘ เพราะเป็นที่ประชุมธรรม ๘ ประการมีสัมมา-

ทิฏฐิเป็นต้น. ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่าแสวงหาพระนิพพาน ชื่อว่า

เป็นทางสงบทุกข์ เพราะอรรถว่าสงบระงับวัฏทุกข์ทั้งสิ้น ชื่อว่า ปลอด

โปร่ง เพราะปลอดภัย. เพราะรู้กรรมว่าเป็นกรรม และรู้วิบากโดยความ

เป็นวิบากแห่งธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น โดยไม่คลาดเคลื่อน เหมือนใน

ลัทธิภายนอกจากพระศาสนานี้ ปรากฏว่ากรรมและวิบากของกรรมปรากฏ

ว่าคลาดเคลื่อน เพราะผู้ที่ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศ คือเพราะ

เหตุที่รู้ด้วยญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้น จึงเป็นเครื่องเห็นแสงสว่างตามที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 200

เป็นจริง คือเป็นเครื่องเห็นแสงสว่าง คือโลกุตรญาณอันทำความรู้เห็นนั้น

เพราะกำจัดการยึดถือด้วยสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิเสียได้. ชื่อว่าถึงความ

ปลอดโปร่งเป็นอันมาก เพราะถึงและยังสัตว์ทั้งหลายให้ถึงพระนิพพาน

อันชื่อว่าปลอดโปร่งมาก เพราะใคร ๆ ไม่ประทุษร้ายใครๆ ทั้งในกาล

ไหนๆ.

มีวาจาประกอบความว่า ธรรมชื่อว่า สงบระงับ เพราะสงบระงับ

ความกระวนกระวาย และความเร่าร้อนอันเกิดจากกิเลสทั้งปวง ชื่อว่า

เจริญในที่สุด เพราะให้ถึงเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ และอนุปาทิเสส-

นิพพานธาตุ อันพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุทรงแสดงไว้แล้ว.

พระเถระเมื่อได้สรรเสริญอริยธรรมโดยนัยต่างๆด้วยประการอย่างนี้

จึงได้ประกาศความที่ตนได้บรรลุธรรมนั้น โดยอ้างถึงพระอรหัตผล.

จบอรรถกถามิคชาลเถรคาถาที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 201

๙. เชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเชนตปุโรหิตปุตตเถระ

[๓๕๕] เราเป็นผู้เมาด้วยความเมาเพราะชาติสกุล ด้วยโภคะ

และอิสริยยศ ด้วยทรวดทรง ผิวพรรณและรูปร่าง และ

เป็นผู้เมาแล้วด้วยความเมาอย่างอื่น เราจึงไม่สำคัญ

ใคร ๆ ว่าเสมอตน และยิ่งกว่าตน เราเป็นผู้มีกุศลอัน

อติมานะกำจัดแล้ว เป็นคนโง่เขลา มีใจกระด้าง ถือตัว

มีมานะจัด ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่กราบไหว้ใคร แม้เป็นมารดา

หรือบิดา แม้พี่ชายหรือพี่สาว และแม้สมณพราหมณ์

เหล่าอื่นที่โลกสมมติว่าเป็นครูบาอาจารย์ เราเห็นพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ผู้เลิศประเสริฐสุดกว่าสารถี

ทั้งหลาย ผู้รุ่งเรื่องดุจพระอาทิตย์ อันหมู่ภิกษุสงฆ์ห้อม

ล้อมแล้ว จึงละทิ้งมานะและความมัวเมา มีใจผ่องใส

ถวายบังคมพระองค์ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งหลาย ด้วยเศียร-

เกล้า การถือตัวว่าดีกว่าเขา ว่าเลวกว่าเขา และว่าเสมอ

เขา เราละแล้ว ถอนขึ้นแล้วด้วยดี การถือตัวว่าเป็นเรา

เป็นเขา เราตัดขาดแล้ว การถือตัวต่าง ๆ ทั้งหมด เรา

กำจัดแล้ว.

จบเชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา

๑. อรรถกถาเป็นปุโรหิตปุตตเชนตเถรคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 202

อรรถกถาปุโรหิตปุตตเชนตเถรคาถาที่ ๙

คาถาของท่านพระเชนตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ชาติมเทน มตฺโตห

ดังนี้. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร .

แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าปางก่อน

ทั้งหลาย สั่งสมบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิด

เป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้าโกศล ในนครสาวัตถี. ท่านมีนามว่า

เชนตะ. พอท่านเจริญวัยก็มัวเมาด้วยความเมาเพราะชาติและเมาในโภคะ

ความเป็นใหญ่ และรูป ดูหมิ่นคนอื่น ไม่ทำความยำเกรงแม้แก่ท่านผู้ตั้ง

อยู่ในฐานะที่ควรเคารพ มีมานะจัดเที่ยวไป. วันหนึ่ง นายเชนตะนั้นได้

เห็นพระศาสดา อันบริษัทหมู่ใหญ่ห้อมล้อมกำลังแสดงธรรมอยู่ เมื่อจะ

เข้าไปเฝ้า จึงทำความคิดให้เกิดขึ้นว่า ถ้าพระสมณโคดมนี้จักตรัสทักเรา

ก่อน แม้เราก็จักทักทายด้วย ถ้าไม่ตรัสทักเราก็จักไม่ทัก ดังนี้แล้วจึงเข้า

ไปเฝ้ายืนอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสทักก่อน แม้ตนเองก็ไม่ทักทาย

เพราะถือตัว แสดงอาการจะเดินไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสกะเขา

ด้วยพระคาถาว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ใครในโลกนี้มีมานะ ไม่ดีเลย ผู้ใด

มาด้วยประโยชน์ใด ผู้นั้นพึงเพิ่มพูนประโยชน์นั้น.

เขาคิดว่า พระสมณโคดมรู้จิตใจของเรา มีความเลื่อมใสยิ่ง จึงซบ

ศีรษะลงที่พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า การทำอาการเคารพ

ยำเกรงอย่างยิ่ง แล้วทูลถามว่า

พราหมณ์ไม่ควรทำมานะในใคร ควรมีความเคารพ

ในใคร พึงยำเกรงใคร บูชาใครด้วยดีแล้ว จึงเป็นการดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 203

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงตอบปัญหาของเขา จึงทรงแสดง

ธรรมว่า

ไม่ควรทำมานะในมารดา บิดา พี่ชาย และในอาจารย์

เป็นที่ ๔ พึงมีความเคารพในบุคคลเหล่านั้น พึงยำเกรง

บุคคลเหล่านั้น บูชาบุคคลเหล่านั้น ด้วยดีแล้วจึงเป็น

การดี บุคคลพึงทำลายมานะเสีย ไม่ควรมีความกระด้าง

ในพระอรหันต์ผู้เย็นสนิท ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว หาอาสวะ

มิได้ พึงนอบน้อมท่านเหล่านั้นผู้ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า.

เขาได้เป็นพระโสดาบันด้วยเทศนานั้น บวชแล้วบำเพ็ญวิปัสสนา

จึงได้บรรลุพระอรหัต เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผลโดยมุ่งระบุข้อปฏิบัติ

ของตน จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ความว่า

เราเป็นผู้เมาด้วยความเมาเพราะชาติสกุล ด้วยโภคะ

และอิสริยยศ ด้วยทรวดทรง ผิวพรรณและรูปร่าง และ

เป็นผู้เมาด้วยความเมาอย่างอื่น เราจึงไม่สำคัญใคร ๆ

ว่าเสมอตนและยิ่งกว่าตน เราเป็นผู้มีกุศลอันอตินานะ

กำจัดแล้ว เป็นคนโง่เขลา มีใจกระด้าง ถือตัว มีมานะ

จัด ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่กราบไหว้ใคร แม้เป็นมารดาหรือ

บิดา แม้พี่ชายหรือพี่สาว และแม้สมณพราหมณ์เหล่าอื่น

ที่โลกสมมติว่าเป็นครูบาอาจารย์ เราเห็นพระพุทธเจ้าผู้

เป็นนายกของโลก ผู้เลิศประเสริฐสูงสุดกว่าสารถีทั้งหลาย

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๓๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 204

ผู้รุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ อันหมู่ภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมแล้ว

จึงละทิ้งมานะและความมัวเมา มีใจผ่องใส ถวายบังคม

พระองค์ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า การ

ถือตัวว่าดีกว่าเขา ว่าเลวกว่าเขา และว่าเสมอเขา เราละ

แล้ว ถอนขึ้นแล้วด้วยดี การถือตัวว่าเป็นเราเป็นเขา เรา

ตัดขาดแล้ว การถือตัวต่าง ๆ ทั้งหมด เรากำจัดได้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาติทเมน มตฺโตห มีวาจาประกอบ

ความว่า เราบังเกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง จึงเมาด้วยความถือ

ตระกูลว่า ไม่มีตนอื่นผู้เกิดดีแล้วจากบิดามารดาทั้งสองฝ่ายเช่นกับเรา จึง

ได้ถือตัวจัดเที่ยวไป.

บทว่า โภคอิสฺสริเยน จ ประกอบความว่า เราได้เป็นผู้เมาด้วย

ทรัพย์สมบัติ และด้วยความเป็นใหญ่ คือด้วยความเมาอันเกิดขึ้น เพราะ

อาศัยโภคสมบัติ และอิสริยสมบัติอันเป็นตัวเหตุเที่ยวไป.

บทว่า สณฺานวณฺณรูเปน ความว่า ทรวดทรง ได้แก่ ความ

สมบูรณ์ด้วยส่วนสูงและส่วนใหญ่. วรรณะ ได้แก่ ความสมบูรณ์ด้วยผิว

พรรณ มีผิวขาวและผิวคล้ำเป็นต้น, รูป ได้แก่ ความงามแห่งอวัยวะน้อย

ใหญ่. แม้ในบทว่า สณฺานวณฺณรูเปน นี้ ก็พึงทราบวาจาประกอบ

ความโดยนัยดังกล่าวแล้ว.

บทว่า มทมตฺโต ได้แก่ ผู้เมาด้วยความเมาแม้อื่นจากประการที่

กล่าวแล้ว.

บทว่า นาตฺตโน สมก กญฺจิ ความว่า เราจึงไม่สำคัญ คือไม่รับรู้

ใครๆว่าเสมอ คือเช่นกับตน ได้แก่เสมอด้วยชาติเป็นต้น หรือว่ายิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 205

กว่าตน อธิบายว่า แม้คนผู้เสมอกับตนเราก็ยังไม่สำคัญ (ว่าจะมี) คนที่

ยิ่งกว่านั้น เราจะสำคัญ (ว่าจะมี) มาแต่ไหน.

บทว่า อติมานหโต พาโล ความว่า เราเป็นคนพาล เพราะความ

เป็นคนพาลนั้น จึงเป็นผู้ถูกอติมานะกำจัดการบำเพ็ญกุศลเสีย เพราะเหตุ

นั้นนั่นแหละ เราจึงมีใจกระด้าง ถือตัว คือเป็นผู้กระด้างจัด ได้แก่

เกิดเป็นผู้กระด้าง โดยไม่ถ่อมตน เป็นคนถือตัวโดยไม่ทำการนอบน้อม

แม้แก่ครูทั้งหลายด้วยความหัวดื้อ.

เพื่อจะทำเนื้อความที่กล่าวแล้วนั่นแลให้ปรากฏชัดขึ้น จึงกล่าวคำว่า

มาตร เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺเ ได้แก่ พี่ชายเป็นต้น และ

สมณพราหมณ์.

บทว่า ครุสมฺมเต ได้แก่ ที่สมมติกันว่า ครู คือผู้ตั้งอยู่ในฐานะ

ครู.

บทว่า อนาทโร แปลว่า เว้นจากความเอื้อเฟื้อ.

บทว่า ทิสฺวา วินายก อคฺค มีวาจาประกอบความว่า เราเป็นผู้มี

มานะจัดอย่างนี้เที่ยวไป ได้เห็นพระศาสดาผู้ชื่อว่า ผู้แนะนำโดยวิเศษ

เพราะแนะนำเหล่าเวไนยสัตว์ด้วยทิฏฐธัมมิกประโยชน์ สัมปรายิกัตถ-

ประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ และเพราะภาวะเป็นผู้นำโดยความเป็น

พระสยัมภู ชื่อว่าผู้เลิศเพราะความเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก พร้อมทั้ง

เทวโลกด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ชื่อว่าผู้สูงสุดคือสูงสุดยิ่งแห่งสารถี เพราะ

ฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้โดยเด็ดขาด ผู้รุ่งเรืองคือสว่างไสวด้วยแสงสว่างด้วย

พระรัศมีด้านละวาเป็นต้น ดุจพระอาทิตย์ ผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ อันหมู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 206

ภิกษุแวดล้อมกำลังแสดงธรรมอยู่ ถูกพุทธานุภาพคุกคาม จึงละคือทิ้ง

มานะที่เกิดขึ้นว่า เราเท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ คนอื่นเลว และความเมา

มีเมาในโภคะเป็นต้น มีใจเลื่อมใส จึงอภิวาทด้วยเศียรเกล้า. ถามว่า

ก็นายเชนตะนี้เป็นผู้มีมานะจัด อย่างไรจึงละมานะด้วยเหตุสักว่าได้เห็นพระ-

ศาสดา ? ตอบว่า ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนั้น. เขาไม่ได้ละมานะด้วยสักว่า

เห็นพระศาสดา แต่ละมานะได้ด้วยเทศนา มีอาทิว่า ดูก่อนพราหมณ์

มานะไม่ดีเลย ดังนี้ ซึ่งท่านหมายกล่าวว่า เราละมานะและความมัวเมา

มีใจเลื่อมใส จึงอภิวาทด้วยเศียรเกล้า.

ก็ในบทว่า วิปฺปสนฺเนน เจตสา นี้ พึงเห็นว่าใช้ตติยาวิภัตติใน

อรรถว่า อิตถัมภูตะ แปลว่า มี.

บางอาจารย์กล่าวว่า มานะที่เกิดขึ้นว่า เราเท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ

สุด ดังนี้ เป็นอติมานะ สำคัญตัวว่ายิ่งกว่าเขา มานะของคนผู้ตั้งคนอื่น

ไว้โดยความเป็นคนเลวว่า ส่วนคนอื่นเป็นคนเลว ดังนี้เป็นโอมานะ

สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา. อนึ่ง มานะว่าดีกว่าเขา ที่เกิดแก่บุคคลผู้ล่วงเลย

คนอื่น แล้วตั้งตนว่าประเสริฐกว่าเขา เราเป็นผู้ประเสริฐกว่า ดังนี้ เป็น

อติมานะ. มานะว่าเลวกว่าเขาที่เกิดขึ้นว่า เราเป็นคนเลวกว่าเขา ดังนี้

เป็นโอมานะ.

บทว่า ปหีนา สุสมูหตา ความว่า เป็นผู้ละด้วยมรรคเบื้องต่ำ ถอน

ขึ้นได้เด็ดขาดด้วยอรหัตมรรค.

บทว่า อสฺมิมาโน ได้แก่ มานะที่เกิดด้วยอำนาจการยึดถือว่า

"เรา" ในขันธ์ว่า "เราเป็นนั่น. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 207

บทว่า สพฺเพ ความว่า มิใช่อติมานะ โอมานะ และอัสมิมานะ

อย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้ประเภทของมานะ คือส่วนแห่งมานะทั้งหมด

มีประเภทมานะ ๙ มีมานะว่าประเสริฐกว่าเขา แห่งคนผู้ประเสริฐกว่าเขา

และมานะหลายประเภท โดยประเภทอื่น ๆ เรากำจัดแล้ว คือถอนได้

เด็ดขาดแล้วด้วยอรหัตมรรค.

จบอรรถกถาปุโรหิตปุตตเชนตเถรคาถาที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 208

๑๐. สุมนเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสุมนเถระ

[๓๕๖] เมื่อครั้งเราบวชใหม่ มีอายุได้ ๗ ปีโดยกำเนิด ได้

ชนะพระยานาคผู้มีมหิทธิฤทธิ์ด้วยฤทธิ์ ได้ตักน้ำจาก

สระใหญ่ ชื่อว่าอโนดาต มาถวายพระอุปัชฌาย์ ลำดับนั้น

พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นเราแล้วตรัสว่า ดูก่อน

สารีบุตร เธอจงดูกุมารผู้ถือหม้อน้ำมานี้ มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว

ในภายใน สามเณรนี้มีวัตรอันน่าเลื่อมใส มีอิริยาบถ

งดงาม เป็นศิษย์ของพระอนุรุทธะ แกล้วกล้าด้วยฤทธิ์

เป็นผู้อันพระอนุรุทธะ ผู้เป็นบุรุษอาชาไนยฝึกให้รู้ได้

รวดเร็ว ผู้อันพระอนุรุทธะผู้เป็นคนดี ฝึกให้ดีแล้ว เป็น

ผู้อันพระอนุรุทธะผู้ทำกิจเสร็จแล้ว แนะนำแล้ว ให้ศึกษา

แล้ว สุมนสามเณรนั้น ได้บรรลุสันติธรรมอันยอดเยี่ยม

ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอันไม่กำเริบ ปรารถนาอยู่ว่า ใคร ๆ

อย่าพึงรู้จักเรา.

จบสุมนเถรคาถา

อรรถกถาสุมนเถรคาถาที่ ๑๐

คาถาของท่านพระสุมนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ยทา นโว ปพฺพชิโต.

เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน

ทั้งหลาย สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 209

พระนามว่าสิขี บังเกิดในตระกูลของนายมาลาการ รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่ง

ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าสิขี มีใจเลื่อมใสได้บูชาด้วยดอกมะลิ.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้ถือปฏิสนธิในเรือนของอุบาสกคนหนึ่ง และ

อุบาสกผู้นั้นได้เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอนุรุทธเถระ ก็ในกาลก่อนแต่

นั้น พวกเด็กของเขาพอเกิดก็ตายไป ด้วยเหตุนั้น เขาจึงเกิดความคิด

ขึ้นว่า บัดนี้ ถ้าเราจักได้บุตรชายคนเดียว จักให้บวชในสำนักของ

พระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธเถระ.

ก็เด็กในครรภ์นั้น พอล่วงไปได้ ๑๐ เดือนก็เกิด เป็นเด็กไม่ป่วยไข้

เจริญเติบโตมาโดยลำดับ มีอายุได้ ๗ ขวบ บิดาให้เขาบวชในสำนักของ

พระเถระ ครั้นบวชแล้วแต่นั้น เพราะเป็นผู้มีญาณแก่กล้าท่านจึงบำเพ็ญ

วิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักเป็นผู้มีอภิญญา ๖ เมื่อจะบำรุงพระเถระ

คิดว่าจักตักน้ำดื่ม จึงได้ถือหม้อน้ำไปยังสระอโนดาตด้วยฤทธิ์.

ลำดับนั้น นาคราชตัวหนึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อจะปิดสระอโนดาต

จึงเอาขนดวง ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่ไว้เบื้องบน ไม่ให้โอกาสท่าน

สุมนะตักน้ำ. ท่านสุมนะแปลงรูปเป็นครุฑ ชนะนาคราชนั้น แล้วจึง

ตักน้ำเหาะมุ่งไปยังที่อยู่ของพระเถระ.

พระศาสดาประทับนั่งอยู่ในพระเชตวัน ทรงเห็นพระสุมนะนั้นไป

โดยประการอย่างนั้น จึงตรัสเรียกพระธรรมเสนาบดีมาแล้ว ได้ตรัสคุณ

ของเธอด้วยคาถา ๖ คาถา โดยนัยมีอาทิว่า สารีบุตร เธอจงดูกุมารผู้นี้

ลำดับนั้น พระสุมนเถระได้กล่าวคาถา ๖ คาถา ด้วยการพยากรณ์พระ-อรหัตผลว่า

ขุ. เถร ๒๖/ ข้อ ๓๕๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 210

เมื่อครั้งเราบวชใหม่ มีอายุได้ ๗ ปีโดยกำเนิด ได้ชนะ

พระยานาคผู้มีมหิทธิฤทธิ์ด้วยฤทธิ์ ได้ตักน้ำจากสระใหญ่

ชื่อว่าอโนดาต มาถวายพระอุปัชฌาย์. ลำดับนั้น

พระศาสดาได้ทอดพระเนตรเห็นเราแล้วตรัสว่า ดูก่อน

สารีบุตร เธอจงดูกุมารผู้ถือหม้อน้ำมานี้ มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว

ในภายใน. สามเณรนี้มีวัตรน่าเลื่อมใส มีอิริยาบถงดงาม

เป็นศิษย์ของพระอนุรุทธะ แกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ เป็นผู้อัน

พระอนุรุทธะผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ฝึกให้รู้ได้รวดเร็ว

ผู้อันพระอนุรุทธะผู้เป็นคนดี ฝึกให้ดีแล้ว เป็นผู้อัน

พระอนุรุทธะผู้ทำกิจเสร็จแล้ว แนะนำแล้ว ให้ศึกษาแล้ว

สุมนสามเณรนั้นได้บรรลุสันติธรรมอันยอดเยี่ยม ทำให้

แจ้งธรรมอันไม่กำเริบแล้ว ปรารถนาอยู่ว่า ใคร ๆ อย่า

พึงรู้จักเรา.

บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถา ๒ คาถาข้างต้น พระสุมนเถระนั่นแล

กล่าวไว้ อีก ๔ คาถา พระศาสดาเมื่อทรงเห็นดังนั้นจึงตรัสไว้. พระสุมนเถระ

รวมคาถาทั้งหมดนั้นเข้าไว้แห่งเดียวกัน แล้วได้กล่าวเนื่องด้วยการพยากรณ์

พระอรหัตผลในชั้นหลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปนฺนคินฺท แปลว่า พระยานาค.

บทว่า ตโต ได้แก่ ในกาลนั้น อธิบายว่า ในคราวที่เรายังบวช

ใหม่ มีอายุได้ ๗ ปีโดยกำเนิด ได้ชนะพระยานาคผู้มีฤทธิ์มาก ด้วย

พลังแห่งฤทธิ์ นำน้ำจากอโนดาตมาถวายพระอุปัชฌาย์.

พระเถระ เมื่อจะแสดงพระดำรัสที่พระศาสดาของเราตรัสเจาะจงเรา

จงกล่าวคำอาทิว่า ดูก่อนสารีบุตร เธอจงดูกุมารนี้ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 211

บทว่า อชฺฌตฺต สุสมาหิต ความว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้วด้วยสมาธิ

อันสัมปยุตด้วยพระอรหัตผลอันเป็นอารมณ์ภายใน.

บทว่า ปาสาทิเกน วตฺเตน ได้แก่ ด้วยอาจารวัตรอันนำความ

เลื่อมใสมาให้แก่ผู้เห็นอยู่. คำว่า ปาสาทิเกน วตฺเตน นี้ เป็นตติยา-

วิภัติใช้ในอรรถแห่งกรณะ แปลว่า ด้วย.

บทว่า กลฺยาณอิริยาปโถ แปลว่า ผู้มีอิริยาบถเรียบร้อย. อีก

อย่างหนึ่ง บทว่า ปาสาทิเกน วตฺเตน นี้ เป็นตติยาวิภัติใช้ในลักษณะ

อิตถัมภูตะ แปลว่า มี. ความเป็นสมณะ ชื่อว่าสามัณยะ อธิบายว่า สามัญญะ.

ชื่อว่าสามเณร ได้แก่ สมณุทเทส เพราะไปคือเป็นไปเพื่อสามัญญะ

ความเป็นสมณะนั้น.

บทว่า อิทฺธิยา จ วิสารโท ได้แก่ เป็นผู้ฉลาด คือฉลาดดี

แม้ในฤทธิ์.

บทว่า อาชานีเยน ได้แก่ บุรุษอาชาไนย. อธิบายว่า ผู้อัน

พระอนุรุทธะผู้กระทำกิจเสร็จแล้ว ผู้ชื่อว่าคนดี เพราะทำประโยชน์ตน

และประโยชน์คนอื่นให้สำเร็จ กระทำคือฝึกให้เป็นคนดี คือให้สำเร็จ

ประโยชน์ทั้งสอง อีกอย่างหนึ่ง ทำคือฝึกให้เป็นผู้รู้รวดเร็วด้วยดี แนะนำ

แล้วด้วยวิชชาอันเลิศ ให้ศึกษาแล้วด้วยการให้บรรลุความเป็นพระอเสกขะ.

สุมนสามเณรนั้น ได้รับความสงบอย่างยิ่ง คือพระนิพพาน บรรลุ

แล้วด้วยการบรรลุพระอรหัตมรรค กระทำให้แจ้ง คือทำให้ประจักษ์แก่ตน

ซึ่งความเป็นธรรมอันไม่กำเริบ ได้แก่พระอรหัตผล เพราะเป็นผู้ถึงความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 212

มักน้อยอย่างยิ่งยวดจึงปรารถนา คือหวังอยู่ว่า อย่าพึงรู้เรา คือแม้ใคร ๆ

ก็อย่าพึงรู้จักเราว่า ผู้นี้มีอาสวะสิ้นแล้ว หรือว่า มีอภิญญา ๖ ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสุมนเถรคาถาที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 213

๑๑. นหาตกมุนีเถรคาถา

ว่าด้วยของพระนหาตกมุนีเถระ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

[๓๕๗] ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ในป่าใหญ่อันปราศจากโคจร

เป็นป่าเศร้าหมอง ถูกโรคลมครอบงำ จักทำอย่างไร.

พระนหาตกมุนีกราบทูลว่า

ข้าพระองค์จักยังปีติและความสุขอันไพบูลย์ให้แผ่ไป

สู่ร่างกาย ครอบงำปัจจัยอันเศร้าหมองอยู่ในป่าใหญ่ และ

จักเจริญโพชฌงค์ ๗ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ ถึงพร้อมด้วย

อรูปฌาน จักเป็นผู้หมดอาสวะอยู่ ข้าพระองค์จักพิจารณา

เนือง ๆ ซึ่งจิตอันบริสุทธิ์ หลุดพ้นแล้วจากกิเลส ไม่ขุ่นมัว

เป็นผู้หมดอาสวะอยู่ อาสนะทั้งปวงของข้าพระองค์ ซึ่งมี

อยู่ทั้งภายในและภายนอก ถูกถอนขึ้นหมดแล้ว ไม่เกิด

ขึ้นอีกต่อไป เบญจขันธ์ ข้าพระองค์กำหนดรู้แล้ว มีราก

อันขาดแล้วตั้งอยู่ ธรรมอันเป็นที่สิ้นทุกข์ ข้าพระองค์ได้

บรรลุแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี พระเจ้าข้า.

จบนหาตกมุนีเถรคาถา

อรรถกถานหาตกมุนีเถรคาถาที่ ๑๑

คาถาของท่านพระนหาตกมุนีเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วาตโรคาภินีโต

ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 214

แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน

ทั้งหลาย สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูล

พราหมณ์ในนครราชคฤห์ เติบใหญ่ขึ้นได้ถึงความสำเร็จในที่ตั้งแห่งวิชชา

เป็นต้น เขารู้กันทั่วว่า นหาตกะ เพราะประกอบด้วยลักษณะของผู้อาบ

แล้ว (คือหมดกิเลส).

ท่านนหาตกะนั้น บวชเป็นดาบสยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยลูกเดือย

ในราวป่าในที่ประมาณ ๓ โยชน์จากนครราชคฤห์ บำเรอไฟอยู่. พระ-

ศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของท่านอันโพลงอยู่ในภายในหทัย

เหมือนประทีปลุกโพลงอยู่ในหม้อ จงได้เสด็จไปยังอาศรมบทของท่าน.

ท่านได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ร่าเริงดีใจ จึงน้อมนำอาหาร

เข้าไปถวายโดยทำนองที่สำเร็จแก่ตน. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยอาหาร

นั้น ถวายในวันที่ ๒ ที่ ๓ ก็อย่างนั้น ในวันที่ ๔ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นผู้ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง ไฉนจึงยังอัตภาพ

ให้เป็นไปด้วยอาหารนี้ได้. พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศคุณแห่งอริย-

สันโดษแก่ท่าน จึงทรงแสดงธรรม.

ดาบสได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เป็นพระโสดาบัน บวชแล้วบรรลุพระ-

อรหัต. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทำดาบสนั้นให้ดำรงอยู่ในพระอรหัต

แล้วก็เสด็จไป. ฝ่ายดาบสนั้นอยู่ในที่นั้นแหละ ต่อมาถูกโรคลมเบียดเบียน.

พระศาสดาได้เสด็จไปในที่นั้น เมื่อจะตรัสถามธรรมเครื่องอยู่ของท่าน

โดยทางปฏิสันถาร จึงตรัสพระคาถาว่า

ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ในป่าใหญ่ อันปราศจากโคจร

เป็นป่าเศร้าหมอง ถูกโรคลมครอบงำจักทำอย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 215

ลำดับนั้น พระเถระจึงประกาศธรรมเครื่องอยู่ของตนแด่พระศาสดา

ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ข้าพระองค์จักยังปีติและสุขให้แผ่ไปสู่ร่างกาย ครอบ

งำปัจจัยอันเศร้าหมองอยู่ในป่าใหญ่ และจักเจริญโพช-

ฌงค์ ๗ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ ถึงพร้อมด้วยฌานโสขุมมะ

คืออรูปฌาน จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ข้าพระองค์จัก

พิจารณาเนือง ๆ ถึงจิตอันบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสแล้ว

ไม่ขุ่นมัว ไม่มีอาสวะอยู่. อาสวะทั้งปวงของข้าพระองค์

ซึ่งมีอยู่ทั้งภายในและภายนอก ถูกถอนขึ้นหมดแล้ว ไม่

เกิดขึ้นต่อไป เบญจขันธ์ข้าพระองค์กำหนดรู้แล้ว มีราก

ขาดแล้วตั้งอยู่ ธรรมอันเป็นที่สิ้นทุกข์ ข้าพระองค์ได้

บรรลุแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีพระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ณานโสขุมฺมสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้ประกอบ

ด้วยภาวะอันละเอียดอ่อนแห่งฌาน. อรูปฌาน ชื่อว่า ฌานสุขุมะ. เพราะ-

ฉะนั้น ท่านจึงอธิบายไว้ว่า เราเป็นผู้ได้สมาบัติ ๘. ด้วยบทว่า ฌาน-

โสขุมฺมสมฺปนฺโน นั้น ท่านพระดาบสแสดงถึงความที่ตนเป็นอุภโตภาค-

วิมุตติ. ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ด้วยบทว่า โสขุมฺม นี้ ท่าน

ประสงค์เอาอธิปัญญาสิกขาในอรหัตมรรคและอรหัตผล. แต่นั้น ท่าน

ประกาศถึงความที่ตนเป็นอุภโตภาควิมุตติ ด้วย ฌาน ศัพท์.

บทว่า วิปฺปมุตฺต กิเลเสหิ ความว่า ชื่อว่าหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง

เพราะปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ชื่อว่าจิตบริสุทธิ์ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๕๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 216

นั้นนั่นแหละ ชื่อว่าไม่ขุ่นมัว เพราะความเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว

ด้วยบททั้ง ๓ ท่านกล่าวถึงจิตอันสัมปยุตด้วยอรหัตผลนั่นเอง.

คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล และพระเถระได้มีการ

พยากรณ์พระอรหัตผลดังกล่าวมาฉะนี้แล.

จบอรรถกถานหาตกเถรคาถาที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 217

๑๒. พรหมทัตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระพรหมทัตเถระ

[๓๕๘] ที่ไหนความโกรธจะพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่โกรธ ผู้

ฝึกตนแล้ว เลี้ยงชีพโดยชอบ ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดย

ชอบ ผู้สงบ ผู้คงที่ บุคคลโกรธตอบบุคคลผู้โกรธ จัด

ว่าเป็นคนเลวกว่าบุคคลผู้โกรธ เพราะความโกรธตอบนั้น

บุคคลผู้ไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่

ชนะได้ยาก บุคคลใดรู้ว่าบุคคลอื่นโกรธแล้ว มีสติสงบ

ใจได้ บุคคลนั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย

คือแก่ตนและบุคคลอื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม

ย่อมสำคัญบุคคลผู้รักษาคนทั้งสองฝ่าย คือตนและบุคคล

อื่นว่า เป็นคนโง่เขลา ถ้าความโกรธเกิดขึ้น จงระลึกถึง

พระโอวาทอันอุปมาด้วยเลื่อย ถ้าตัณหาในรสเกิดขึ้น จง

ระลึกถึงพระโอวาทอันอุปมาด้วยเนื้อบุตร ถ้าจิตของท่าน

แล่นไปในกามและภพทั้งหลาย จงรีบข่มเสียด้วยสติ

เหมือนบุคคลห้ามสัตว์เลี้ยงโกงที่ชอบกินข้าวกล้าฉะนั้น.

จบพรหมทัตตเถรคาถา

อรรถกถาพรหมทัตตเถรคาถาที่ ๑๒

คาถาของท่านพระพรหมทัตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อกฺโกธสฺส

ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 218

แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

ทั้งหลาย สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นโอรส

ของพระเจ้าโกศลในนครสาวัตถี ได้มีชื่อว่า พรหมทัตตะ. พรหมทัตตะ

นั้นเจริญวัยแล้ว ได้เห็นพุทธานุภาพในคราวฉลองพระเชตวัน ได้มีศรัทธา

บวชแล้วบำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ไค้มีอภิญญา ๖ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.

วันหนึ่ง พราหมณ์คนหนึ่งด่าท่านผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในพระ-

นคร. พระเถระแม้จะได้ฟังการด่านั้นก็นิ่งเสีย คงเที่ยวบิณฑบาตอยู่นั่น

แหละ. พราหมณ์ก็ยังด่าอยู่แล้ว ๆ เล่าๆ. พวกมนุษย์จึงได้พูดกะพราหมณ์

ผู้ที่กำลังด่าอยู่อย่างนั้นว่า พระเถระนี้ไม่กล่าวคำอะไร ๆ.

พระเถระได้ฟังดังนั้น เมื่อจะแสดงธรรมแก่คนเหล่านั้น จึงได้กล่าว

คาถาเหล่านี้ว่า

ที่ไหนความโกรธจะพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่โกรธ ผู้

ฝึกตนแล้วเลี้ยงชีพโดยชอบ ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ

ผู้สงบ ผู้คงที่ บุคคลโกรธตอบบุคคลผู้ที่โกรธ จัดว่าเป็น

คนเลวกว่าบุคคลผู้โกรธ เพราะความโกรธตอบนั้น บุคคล

ผู้ไม่โกรธตอบคนที่โกรธ ชื่อว่าชนะสงความที่ชนะได้ยาก

บุคคลใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว มีสติสงบใจได้ บุคคลนั้น

ชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่ตนและ

บุคคลอื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญ

บุคคลผู้รักษาตนทั้งสองฝ่าย คือตนและคนอื่นว่าเป็นคน

โง่เขลา ถ้าความโกรธเกิดขึ้น จงระลึกถึงพระโอวาทอัน

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๕๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 219

อุปมาด้วยเลื่อย ถ้าตัณหาในรสเกิดขึ้น จงระลึกถึงพระ-

โอวาทอันอุปมาด้วยเนื้อบุตร ถ้าจิตของท่านแล่นไปใน

กามและภพทั้งหลาย จงรีบข่มด้วยสติ เหมือนบุคคลห้าม

สัตว์เลี้ยงโกง ที่ชอบกินข้าวกล้าฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺโกธสฺส ได้แก่ ผู้ปราศจากความ

โกรธ คือตัดความโกรธได้เด็ดขาดแล้วด้วยมรรค.

บทว่า กุโต โกโธ ความว่า ความโกรธอันเป็นเหตุจะพึงเกิดขึ้น

ได้จากที่ไหน อธิบายว่า ไม่มีเหตุแห่งการเกิดความโกรธนั้น.

บทว่า ทนฺตสฺส ได้แก่ ผู้ฝึกตนแล้วด้วยการฝึกชั้นสูง คือด้วย

การฝึกด้วยอรหัตมรรค.

บทว่า สมชีวิโน ได้แก่ ผู้ละความไม่สม่ำเสมอทางกายเป็นต้น โดย

ประการทั้งปวงแล้ว เลี้ยงชีพให้สม่ำเสมอด้วยความสม่ำเสมอทางกายเป็นต้น

คือดำเนินไปโดยชอบด้วยสัมปชัญญะอันเป็นที่ตั้งแห่งสัตติความสามารถ.

บทว่า สมฺมทญฺา วิมุตฺตสฺส ได้แก่ ผู้หลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง

เพราะรู้โดยชอบ คือเพราะรู้ธรรมมีอภิญเญยยธรรมเป็นต้น เพราะเหตุ

นั้นนั่นแล จึงชื่อว่าผู้สงบ เพราะสงบระงับความกระวนกระวายและความ

เร่าร้อน คือกิเลสทั้งปวง.

พระเถระกล่าวความที่คนไม่โกรธ และเหตุแห่งความไม่โกรธนั้น

ด้วยการอ้างพระอรหัตผลว่า ชื่อว่าผู้คงที่ คือผู้สิ้นอาสวะแล้ว เพราะถึง

ลักษณะแห่งความคงที่ในอิฏฐารมณ์เป็นต้น ความโกรธจะเกิดขึ้นแต่ที่ไหน

บัดนี้ เมื่อจะกล่าวธรรมโดยแสดงโทษและอานิสงส์ในความโกรธและ

ความไม่โกรธ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตสฺเสว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 220

บรรดาเหล่านั้น บทว่า โย กุทฺธ ปฏิกุชฺฌติ ความว่า บุคคล

ผู้โกรธตอบบุคคลผู้โกรธคือผู้กริ้วโกรธเหนือตนนั้นนั่นแหละ เลวกว่า คือ

ไม่ดีไม่งามกว่า โดยวิญญูชนติเตียนเป็นต้นในโลกนี้ และโดยทุกข์ใน

นรกเป็นต้นในโลกหน้า เพราะเหตุมีการโกรธตอบ การด่าตอบ และ

การประหารตอบเป็นต้นนั้น. ไม่มีคำที่จะควรกล่าวได้เลยว่า ก็บุคคลผู้ไม่

โกรธย่อมมีบาปเพราะความโกรธ. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวความว่า

บุคคลใดย่อมโกรธเพราะปรารภถึงบุคคลผู้โกรธตอบบุคคลผู้ไม่โกรธ.

ว่า กุทฺธ อปฺปฏิกุชฌนฺโต ความว่า ส่วนบุคคลใดรู้ว่า ผู้นี้

โกรธถูกความโกรธครอบงำ แล้วไม่โกรธตอบบุคคลที่โกรธ อดทนได้

บุคคลนั้นชื่อว่าชนะสงครามกิเลสที่ชนะได้ยาก. พระเถระเมื่อจะแสดงว่า

ก็บุคคลนั้นชนะสงครามกิเลสอย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ โดยที่แท้ยังได้ทำ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งสองฝ่ายด้วย จึงกล่าวว่า ประพฤติประโยชน์แก่

คนทั้งสองฝ่าย ฯลฯ สงบระงับได้ ดังนี้. บุคคลใดรู้บุคคลอื่นผู้โกรธ

แล้วว่า เขาถูกความโกรธครอบงำ จึงเมตตาบุคคลนั้นหรือวางอุเบกขาอยู่

เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ สงบระงับไว้ คืออดทนได้ ไม่โกรธตอบไป

บุคคลนั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์เกื้อกูลอันนำความสุขในโลกทั้งสองมา

ให้แก่ทั้งสองฝ่ายคือ แก่ตนและคนอื่น.

บทว่า อุภินฺน ติกิจฺฉนฺต ต ความว่า ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดธรรม

คือในธรรม คืออาจาระอันประเสริฐ เป็นคนโง่เขลาย่อมสำคัญบุคคล

ผู้เยียวยาด้วยการเยียวยาพยาธิคือความโกรธ คืออดทนต่อทั้งสองฝ่าย คือ

ต่อตนและคนอื่นว่า บุคคลผู้ไม่ทำอะไร ๆ แก่คนผู้ด่าตนประหารตน ผู้นี้

เป็นคนไม่ฉลาด อธิบายว่า นั้นเป็นความสำคัญโดยไม่แยบคายของชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 221

เหล่านั้น. บางอาจารย์กล่าวว่า ติกิจฺฉน การเยียวยารักษาดังนี้ก็มี.

อธิบายว่า มีการเยียวยารักษาเป็นสภาวะ

พราหมณ์ผู้ด่าได้ฟังธรรมที่พระเถระกล่าวอยู่อย่างนั้น เป็นผู้สลดใจ

และมีจิตเลื่อมใส ขอขมาพระเถระแล้วบวชในสำนักของพระเถระนั้น

นั่นแล. พระเถระเมื่อจะให้กรรมฐานแก่เธอจึงคิดว่า การเจริญเมตตา

กรรมฐาน เหมาะแก่ภิกษุนี้ จึงได้ให้เมตตากรรมฐาน เมื่อจะแสดงวิธี

พิจารณาเป็นต้น ในเวลาเกิดความโกรธกลุ้มรุมเป็นต้น จึงกล่าวคำว่า

ความโกรธพึงเกิดแก่ท่าน ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปชฺเช เต สเจ ความว่า ถ้าเมื่อ

เธอบำเพ็ญเพียรพระกรรมฐานอยู่ ความโกรธที่สะสมมานานอาศัยบุคคล

ไร ๆ พึงเกิดขึ้น เพื่อจะระงับความโกรธนั้น เธอจงระลึกถึงพระโอวาท

อันอุปมาด้วยเลื่อยที่พระศาสดาตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้พวกโจรผู้มีความประพฤติ

ต่ำทราม เอาเลื่อยมีด้ามทั้งสองข้างมาเลื่อยอวัยวะน้อย

ใหญ่ ผู้ใดทำใจให้เกิดประทุษร้ายในโจรแม้เหล่านั้น

ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่กระทำตามคำสอนของเรา

ดังนี้.

บทว่า อุปฺปชฺเช เจ รเส ตณฺหา ความว่า ถ้าตัณหาคือความยินดี

ในรส มีชนิดรสหวานเป็นต้น พึงเกิดขึ้นแก่เธอไซร้ เพื่อจะระงับความ

ยินดีนั้น จงระลึก คือหวนระลึกถึงพระโอวาทอันอุปมาด้วยเนื้อบุตรที่

ตรัสไว้อย่างนี้ว่า

ภรรยาและสามีเคี้ยวกินเนื้อบุตร ก็เพื่อข้ามให้พ้น

ทางกันดารเท่านั้น มิใช่เพื่อความอยากในรส ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 222

แม้กุลบุตรก็ฉันนั้น บวชแล้วเสพบิณฑบาต เพียงเพื่อ

...ฯลฯ... การอยู่ผาสุก ดังนี้.

บทว่า สเจ ธาวติ เต จิตฺต ความว่า ถ้าจิตของเธอมนสิการโดย

ไม่แยบคาย ย่อมวิ่งไป คืบซ่านไป แล่นไป ด้วยอำนาจฉันทราคะในกาม

คือกามคุณ ๕ และด้วยอำนาจปรารถนาภพ ในบรรดาภพทั้งหลายมี

กามภพเป็นต้น.

บทว่า ขิปฺป นิคฺคณฺห สติยา กิฏฺาท วิย ทุปฺปสุ ความว่า เธอ

เมื่อจะให้จิตวิ่งไปอย่างนั้น จงเอาสติ ได้แก่ เชือก คือสติผูกไว้ที่หลัก

คือสมาธิ รีบข่มเสียโดยรวดเร็ว เหมือนบุรุษเอาเชือกผูกสัตว์เลี้ยงตัวเกเร

คือโคตัวร้ายซึ่งเคี้ยวกินข้าวกล้า ไว้ที่หลักทำให้อยู่ในอำนาจของตนฉะนั้น

คือเธอจงทรมานโดยประการที่จะหมดพยศเพราะปราศจากกิเลส. ส่วน

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระเถระยังเป็นปุถุชนอยู่เลย อดกลั่นการด่า

เสียได้ เมื่อจะประกาศคุณอันประเสริฐ จึงกล่าวธรรมแก่มนุษย์เหล่านั้น

ภายหลังจึงโอวาทตนด้วยคาถา ๒ คาถา แล้วเจริญด้วยวิปัสสนาได้บรรลุ

พระอรหัต เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้นั่นแล.

จบอรรถกถาพรหมทัตตเถรคาถาที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 223

๑๓. สิริมัณฑเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสิริมัณฑเถระ

[๓๕๙] มุงบังไว้ฝนยิ่งรั่วรด เปิดไว้ฝนกลับไม่รั่วรด เพราะ

ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงเปิดที่มุงบังเสียเถิด ฝนจักไม่รั่ว

รดท่านด้วยอาการอย่างนี้ โลกถูกมัจจุกำจัด ถูกชรารุม

ล้อม ถูกศร คือตัณหาทิ่มแทง ถูกความปรารถนาแผด

เผาทุกเมื่อ โลกถูกมัจจุกำจัด และถูกชรารุมล้อม ไม่มี

สิ่งใดต้านทานได้ ย่อมเดือดร้อนอยู่เป็นนิตย์ เหมือนคน

กระทำความผิดได้รับอาชญา เดือดร้อนอยู่ฉะนั้น ชรา

พยาธิ และมรณะทั้ง ๓ เป็นดุจกองไฟตามครอบงำอยู่

สัตวโลกเหล่านั้นไม่มีกำลังต่อต้าน ไม่มีกำลังจะหนีไป

ควรทำวันไม่ให้ไร้ประโยชน์ ด้วยมนสิการวิปัสสนากรรม-

ฐานน้อยบ้างมากบ้าง เพราะราตรีล่วงไปเท่าใด ชีวิต

ของสัตว์ก็ล่วงไปเท่านั้น เวลาตายย่อมรุกร้นเข้าไปใกล้

บุคคลผู้เดิน ยืน นั่ง หรือนอน เพราะเหตุนั้น ท่าน

ไม่ควรประมาทเวลา.

จบสิริมัณฑเถรคาถา

อรรถกถาสิริมัณฑเถรคาถาที่ ๑๓

คาถาของท่านพระสิริมัณฑเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ฉนฺนมติวสฺสติ

ดังนี้. เรื่องนั้น มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 224

แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าปางก่อน

ทั้งหลาย สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูล

พราหมณ์ ในสุงสุมารคีรนคร ได้นามว่า สิริมัณฑะ เจริญวัยแล้ว เมื่อ

ขณะพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในเภสกลาวัน จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา

ฟังธรรมได้ศรัทธาจึงบวช แล้วได้อุปสมบทการทำสมณธรรมอยู่ ในวัน

อุโบสถวันหนึ่ง นั่งอยู่ในที่ที่แสดงปาติโมกข์ ในตอนจบนิทานุทเทส

พิจารณาใจความของบาลีที่ว่า ก็ภิกษุนั้นทำให้แจ้ง (อาบัติ) แล้วย่อมมี

ความผาสุก ไม่ทำให้แจ้งอาบัติที่ต้องแล้วปกปิดไว้ จึงต้องอาบัติเพิ่มขึ้นๆ

ครั้นมนสิการถึงความข้อนี้ว่า ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความผาสุก

ก็ภิกษุผู้ทำให้แจ้งแล้วปลงอาบัติตามธรรมย่อมมีความผาสุก ดังนี้ จึงได้

ความเลื่อมใสว่า น่าอัศจรรย์ คำสอนของพระศาสดาบริสุทธิ์จริง จึงข่ม

ปีติที่เกิดขึ้นอย่างนั้นแล้วเจริญวิปัสสนาก็ได้บรรลุพระอรหัต พิจารณาข้อ

ปฏิบัติของตนแล้วมีใจเลื่อมใส เมื่อจะให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย จึงได้

กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

มุงบังไว้ ฝนยิ่งรั่วรด เปิดไว้ ฝนกลับไม่รั่วรด เพราะ-

ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงเปิดที่มุงบังเสียเถิด ฝนจักไม่รั่ว

รดท่านด้วยอาการอย่างนี้ โลกถูกมัจจุกำจัด ถูกชรารุม

ล้อม ถูกลูกศร คือตัณหาทิ่มแทง ถูกความปรารถนา

แผดเผาทุกเมื่อ โลกถูกมัจจุกำจัด และถูกชรารุมล้อม

ไม่มีสิ่งใดต้านทานได้ ย่อมเดือดร้อนอยู่เป็นนิตย์ เหมือน

คนกระทำความผิดได้รับอาชญาเดือดร้อนอยู่ฉะนั้น ชรา

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๕๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 225

พยาธิ และมรณะทั้ง ๓ เป็นดุจกองไฟตามครอบงำอยู่

สัตวโลกเหล่านั้นไม่มีกำลังต่อต้าน ไม่มีกำลังจะหนีไป

ควรทำวันไม่ให้ไร้ประโยชน์ ด้วยมนสิการวิปัสสนากรรม-

ฐานน้อยบ้างมากบ้าง เพราะราตรีล่วงไปเท่าใด ชีวิตของ

สัตว์ก็ล่วงไปเท่านั้น เวลาตายย่อมรุกร้นเข้าไปใกล้บุคคล

ผู้เดิน ยืน นั่ง หรือนอน เพราะฉะนั้น ท่านไม่ควร

ประมาทเวลา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺน ได้แก่ ทุจริตที่ปิดบังไว้ คือไม่

เปิดเผย ไม่ประกาศตามเป็นจริง.

บทว่า อติวสฺสติ ความว่า ฝนคืออาบัติและฝนคือกิเลส ย่อมตก

รดจนโชกโชน. ท่านกล่าวการปกปิด คือเหตุแห่งการรั่วรดไว้ว่า จริงอยู่

การปิดอาบัติเป็นเช่นกับความเป็นคนอลัชชีเป็นต้นทีเดียว เพราะการปิด

อาบัติไว้ จึงพึงต้องอาบัติโดยประการอื่นจากนั้น หรืออาบัติเห็นปานนั้น

ซ้ำอีก หรืออาบัติที่ลามกกว่านั้น.

บทว่า วิวฏ ได้แก่เปิดเผย คือไม่ปิดบัง.

ศัพท์ว่า อติ ในบทว่า นาติวสฺสติ นี้เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า

ย่อมไม่รั่วรด. ก็ในที่นี้ พึงทราบการไม่รั่วรด โดยปริยายผิด ตรงกัน

ข้ามกับการรั่วรดที่กล่าวมาแล้ว เพราะทำจิตสันดานให้บริสุทธิ์.

บทว่า ตสฺมา ย่อมบ่งถึงเนื้อความที่กล่าวแล้วนั่นแหละ โดยความ

เป็นเหตุ อธิบายว่า เพราะฝนคืออาบัติเป็นต้น รั่วรดทุจริตที่ปิดบังไว้

และเพราะไม่รั่วรดทุจริตที่เปิดเผยแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 226

บทว่า ฉนฺน วิวเรถ ความว่า แม้เมื่อเกิดความประสงค์จะปิด โดย

ภาวะที่เป็นปุถุชน ท่านก็อย่าอนุวรรตน์ตามความประสงค์ พึงเปิด คือพึง

ทำให้แจ้ง พึงปลงอาบัติตามธรรม.

บทว่า เอว ได้แก่ ด้วยการเปิด คือด้วยการปฏิบัติตามธรรม.

บทว่า ต ได้แก่ทุจริตนั้น คือที่ปกปิดไว้.

ฝนย่อมไม่รั่วรด คือ ฝนคืออาบัติ และฝนคือกิเลส ย่อมไม่รั่ว

รด อธิบายว่า ย่อมยังบุคคลให้ดำรงอยู่ในความบริสุทธิ์.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงวัตถุที่ตั้งแห่งความสลดใจอันเป็นเหตุ

แห่งการปิดบังว่า พึงทำคนให้บริสุทธิ์โดยสิ้นเชิงและโดยรวดเร็ว ไม่ควร

ทำความประมาท จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สัตวโลกถูกมัจจุกำจัด ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มจฺจุนาพฺภาหโต โลโก ความว่า

สัตวโลกนี้ทั้งหมดถูกมัจจุ คือความตาย ผู้มีปกติทำสัตว์ให้ตกลงใน

วัฏฏะทั้งปวงกำจัดแล้ว ประดุจโจรถูกคนผู้ทำหน้าที่ฆ่าโจร ประหารชีวิต

ฉะนั้น คือย่อมไม่พ้นเงื้อมหัตถ์ของมัจจุนั้น.

บทว่า ชราย ปริวาริโต ความว่า สัตวโลกนี้ถูกความชราอันมีหน้าที่

นำเข้าหาความตายยิ่งกว่าการให้เกิด รุมล้อม คือครอบงำ อธิบายว่า หุ้ม

ห่อด้วยกองชรา.

บทว่า ตณฺหาสลฺเลน โอติณฺโณ ความว่า ถูกลูกศรคือตัณหาอันมี

ลักษณะยึดติด เหมือนลูกธนูกำซาบยาพิษ จมอยู่ในภายในร่างกายเสียบ

คือแทงลงตรงหัวใจ. จริงอยู่ ตัณหาท่านเรียกว่า ลูกศร เพราะให้เกิด

การบีบคั้น เพราะทิ่มแทงอยู่ภายใน และเพราะถอนได้ยาก.

บทว่า อิจฺฉาธูปายิโต ความว่า ถูกความอยากอันมีลักษณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 227

ปรารถนาอารมณ์แผดเผา. จริงอยู่ บุคคลผู้ปรารถนาอารมณ์นั้น เมื่อได้

อารมณ์ตามที่ปรารถนา หรือไม่ได้ก็ตาม ย่อมเป็นผู้เร่าร้อน คือได้รับ

ความเร่าร้อน ด้วยความปรารถนาอันมีลักษณะตามเผานั้นนั่นแหละ.

บทว่า สทา แปลว่า ทุกเวลา, ก็บทว่า สทา นี้ พึงประกอบเข้า

ทุกบท.

บทว่า ปริกฺขิตฺโต ชราย จ ความว่า ไม่ใช่มัจจุกำจัดอย่างเดียว

เท่านั้น โดยที่แท้ถูกชรารุมล้อมด้วย, อธิบายว่า ถูกชรากั้นไว้ ได้แก่

ล้อมด้วยกำแพงคือชรา ไม่ล่วงพ้นชรานั้นไปได้.

บทว่า หญฺติ นิจฺจมตฺตาโณ ความว่า เป็นผู้ไม่มีใครต้านทาน คือ

ไม่มีใครเป็นที่พึ่ง ย่อมเดือดร้อน คือถูกชราและมรณะเบียดเบียนเป็น

นิตยกาล. เหมือนอะไร ? เหมือนคนทำความผิดได้รับอาชญาเดือดร้อน

อยู่ฉะนั้น ท่านแสดงว่า โจรผู้กระทำความชั่ว การทำความผิดไว้ ได้รับ

การประหารชีวิตไม่มีใครต้านทาน ย่อมเดือดร้อนด้วยราชอาชญาฉันใด

สัตวโลกนี้ก็ฉันนั้น ย่อมเดือดร้อนด้วยชราและมรณะ.

บทว่า อาคจฺฉนฺตคฺคิขนฺธาว ความว่า ธรรม ๓ ประการนี้คือ

มัจจุ พยาธิ และชรา ชื่อว่ากองไฟเพราะอรรถว่าตามเผา ย่อมตามมา

ครอบงำสัตวโลกนี้ไว้ เหมือนกองไฟใหญ่ เมื่อป่าใหญ่ถูกไหม้อยู่ก็ครอบงำ

(เผา) ป่าใหญ่นั้นฉะนั้น, ก็สัตวโลกนี้ไม่มีกำลัง คือความอุตสาหะที่จะ

เป็นผู้สามารถต่อต้าน คือครอบงำธรรมทั้งสามนั้นได้, ไม่มีกำลังที่จะหนี

ไป คือสัตวโลกนี้ เมื่อธรรมมีมัจจุเป็นต้นแล่นไปครอบคลุม ไม่มีกำลัง

แข้งที่จะแสดงให้เห็นด้านหลัง หนีไปยังที่ที่มัจจุเป็นต้นครอบงำไม่ได้.

หากจะมีคำถามสอดเข้ามาว่า ตนเองไม่สามารถอย่างนั้น เมื่อมีปัจจามิตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 228

ผู้มีกำลัง ๓ จำพวก ซึ่งไม่มีใครโต้ตอบด้วยอุบายทั้งหลาย มีการลวง

เป็นต้น ปรากฏอยู่เป็นนิตย์ สัตวโลกควรการทำอย่างไร ? ตอบว่า

ควรทำวันไม่ให้ไร้ประโยชน์ด้วยมนสิการน้อยบ้างมากบ้าง อธิบายว่า

ควรทำวันไม่ให้เปล่าประโยชน์คือไม่ให้เป็นหมัน ด้วยการใส่ใจถึงวิปัสสนา

น้อยบ้าง คือเป็นไปโดยชั้นที่สุดชั่วกาลสักว่างูฉก มากบ้าง คือเป็นไป

ตลอดวันและคืน เพราะเหตุที่ราตรีล่วงไปเท่าใด ชีวิตของสัตว์ก็ล่วง

ไปเท่านั้น คือสัตว์นี้ละราตรีใด ๆ ไป คือทำให้พินาศไป ให้สิ้นไป

ชีวิตของสัตว์นั้นก็พร่องไปเท่าราตรีนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงว่า

ชื่อว่าการสิ้นไปแห่งราตรีเป็นการสิ้นไปแห่งอายุ เพราะราตรีนั้นจะไม่หวน

กลับมา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

สัตว์อยู่ในครรภ์มารดาก่อนตลอดราตรีใด ราตรีนั้น

ตั้งขึ้นแล้วก็ไป ราตรีนั้นเมื่อไปแล้ว ย่อมไม่หวนกลับมา.

มิใช่ด้วยอำนาจราตรีอย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้แม้ด้วยอำนาจอิริยาบถ

ก็พึงรองรับความสิ้นไปแห่งชีวิต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เดิน

เป็นต้น.

บทว่า จรโต ได้แก่ เดินไป.

บทว่า ติฏฺโต ได้แก่ สำเร็จการยืน.

บทว่า อาสีนสยนสฺส วา แยกเป็น อาสีนสฺส สยนสฺส วา แปลว่า

นั่ง หรือ นอน. บางอาจารย์กล่าวว่า อาสีทน ดังนี้ก็มี, ในบาลีว่า

อาสีทน นั้น พึงเห็นทุติยาวิภัตติใช้ในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.

บทว่า อุเปติ จริมา รตฺติ ความว่า ราตรีประกอบด้วยจิตดวงสุดท้าย

ย่อมเข้าถึง. ก็ศัพท์ว่า รตฺติ ในบทนั้น เป็นเพียงหัวข้อเทศนา. เวลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 229

สุดท้าย (คือเวลาตาย) ย่อมมีแก่คนผู้พรั่งพร้อมด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่าง

หนึ่ง ในบรรดาอิริยาบถมีการเดินเป็นต้น ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ขณะแห่ง

อิริยาบถของบุคคลนั้น จึงทำชีวิตให้หมดสิ้นไปด้วย. เพราะเหตุนั้น ท่าน

ไม่ควรประมาทเวลา คือท่านไม่ควรถึงความประมาทเวลานี้ เพราะไม่

ทราบได้ว่า ความตายจะมีในเวลาชื่อนี้. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีเครื่องหมาย

กำหนดรู้ไม่ได้เป็นของฝืดเคือง เป็นของเล็กน้อย และ

ประกอบด้วยทุกข์.

อธิบายว่า เพราะฉะนั้น ผู้ไม่ประมาทโอวาทตนอย่างนี้แล้ว พึงกระทำ

ความเพียรเนือง ๆ ในสิกขาทั้ง ๓ เถิด.

จบอรรถกถาสิริมัณฑเถรคาถาที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 230

๑๔. สัพพกามเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสัพพกามเถระ

[๓๖๐] สัตว์สองเท้านี้เป็นสัตว์ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น เต็ม

ไปด้วยซากศพต่าง ๆ มีของโสโครกไหลออกทั่วกาย

ของบริหารอยู่เป็นนิตย์ เบญจกามคุณอันน่ารื่นรมย์ใจ

เหล่านี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่มี

ปรากฏอยู่ในรูปร่างหญิง ย่อมล่อลวงปุถุชนให้ลำบาก

เหมือนพรานเนื้อแอบดักเนื้อด้วยเครื่องดัก พรานเบ็ดจับ

ปลาด้วยเบ็ด บุคคลจับวานรด้วยตังฉะนั้น ปุถุชน

เหล่าใด มีจิตกำหนัดเข้าไปซ่องเสพหญิงเหล่านั้น ปุถุชน

เหล่านั้นย่อมยังสงสารอันน่ากลัวให้เจริญ ย่อมก่อภพใหม่

ขึ้นอีก. ส่วนผู้ใดงดเว้นหญิงเหล่านั้น เหมือนบุคคลสลัด

หัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ระงับตัณหาอันซ่านไปใน

โลกเสียได้ เราเห็นโทษในกามทั้งหลาย เห็นการออก

บรรพชาโดยความเกษม สลัดตนจากกามทั้งปวง เราได้

บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว.

จบสัพพกามเถรคาถา

ในวรรคนี้รวมคาถาได้ ๘๔ คาถา พระเถระที่ภาษิตคาถา ๑๔

รูป คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 231

๑. พระอุรุเวลกสัสปเถระ ๒. พระเตกิจฉกานิเถระ ๓. พระมหา-

นาคเถระ ๔. พระกุลลเถระ ๕. พระมาลุงกยปุตตเถระ ๖. พระสัปป-

ทาสเถระ ๗. พระกาติยานเถระ ๘. พระมิคชาลเถระ ๙. พระเชนต-

ปุโรหิตปุตตเถระ ๑๐. พระสุมนเถระ ๑๑. พระนหาตกมุนิเถระ

๑๒. พระพรหมทัตตเถระ ๑๓. พระสิริมัณฑกเถระ ๑๔. พระสัพพ-

กามเถระ.

จบฉักกนิบาต

อรรถกถาสัพพกามีเถรคาถาที่ ๑๔

คาถาของท่านพระสัพพกามีเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ทฺวิปาทโก ดังนี้.

เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเถระนี้ได้เห็นพระเถระรูปหนึ่งชำระความแตกความ

สามัคคี อันเกิดขึ้นในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ แล้วจัด

ตั้งให้เป็นปกติตามเดิม จึงตั้งความปรารถนาว่า แม้เราก็พึงเป็นผู้สามารถ

ชำระความแตกความสามัคคี ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง

ในอนาคต แล้วปรารถนาจัดตั้งให้เป็นปกติตามเดิม ดังนี้ แล้วกระทำบุญ

ทั้งหลายอันสมควรแก่กรรมนั้น ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ในพุทธุปบาทกาลนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จปรินิพพาน บังเกิด

ในตระกูลกษัตริย์ ในนครเวสาลี ได้นามว่า สัพพกามะ พอเจริญวัยพวก

ญาติก็จัดให้มีเหย้าเรือน แต่เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในการออกจากทุกข์

๑. บาลีเป็น สัพพากามเถรคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 232

เกลียดการครองเรือน จึงบวชในสำนักของพระธรรมภัณฑาคาริก กระทำ

อยู่ ได้เข้าไปยังนครเวสาลีพร้อมกับพระอุปัชฌาย์ จึงได้ไปยังเรือนญาติ.

ณ เรือนญาตินั้น ภรรยาเก่าได้รับความทุกข์ เพราะพลัดพรากจากสามี

ซูบผอม ผิวพรรณหมองคล้ำ ไม่แต่งตัว นุ่งผ้าเก่า ๆ ไหว้ท่านแล้วได้ยืน

ร้องไห้อยู่ที่ส่วนสุดข้างหนึ่ง เมื่อพระเถระเห็นดังนั้นก็เกิดความเมตตา

อันมีกรุณาเป็นตัวนำ พลันกิเลสก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจอโยนิโสมนสิการใน

อารมณ์ที่ได้เสวยมาแล้ว.

ท่านเกิดความสลดใจเหมือนม้าอาชาไนยที่เขาหวดด้วยแส้ ทันใด

นั้นเอง จึงไปยังป่าช้ากำหนดเอาอสุภนิมิต กระทำฌานที่ได้ในป่าช้านั้น

ให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนาก็ได้บรรลุพระอรหัต.

ลำดับนั้น พ่อตาของท่านพาธิดาผู้ประดับตกแต่งมา ประสงค์จะ

ให้ท่านสึก จึงได้ไปยังวิหารพร้อมด้วยบริวารมากมาย. พระเถระรู้ความ

ประสงค์ของนางแล้ว เมื่อจะประกาศความที่ตนไม่กำหนัดในกามทั้งหลาย

และความที่คนเป็นผู้ไม่ติดในอารมณ์ทั้งปวง จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

สัตว์สองเท้านี้เป็นสัตว์ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น เต็ม

ไปด้วยซากศพต่าง ๆ มีของโสโครกไหลออกทั่วกาย ต้อง

บริหารอยู่เป็นนิตย์. เบญจกามคุณอันน่ารื่นรมย์ใจเหล่านี้

คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่มีปรากฏใน

รูปร่างหญิง ย่อมล่อลวงปุถุชนให้ลำบาก เหมือนพราน

เนื้อแอบดักเนื้อด้วยเครื่องดัก พรานเบ็ดจับปลาด้วยเบ็ด

บุคคลจับวานรด้วยตังฉะนั้น ปุถุชนเหล่าใดมีจิตกำหนัด

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๖๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 233

เข้าไปซ่องเสพหญิงเหล่านั้น ปุถุชนเหล่านั้นย่อมยัง

สงสารอันน่ากลัวให้เจริญ ย่อมก่อภพใหม่ขึ้นอีก ส่วน

ผู้ใดงดเว้นหญิงเหล่านั้น เหมือนบุคคลสลัดหัวงูด้วยเท้า

ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ระงับตัณหาอันซ่านไปในโลกเสียได้ เรา

เห็นโทษในกามทั้งหลาย เห็นการออกบรรพชาโดยความ

เกษม สลัดตนจากกามทั้งปวง เราได้บรรลุความสิ้น

อาสวะแล้ว.

บทว่า ทฺวิปาทโก ในคาถานั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- กายแม้ที่

ไม่มีเท้าเป็นต้น เป็นกายไม่สะอาดทั้งนั้น ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านกล่าว

อย่างนี้ ด้วยอำนาจวิสัยที่การทำให้ยิ่ง หรือด้วยการกำหนดอย่างสูง อีก

อย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่กายอื่น ๆ แม้ไม่สะอาด บุคคลเอาของเค็มและของ

เปรี้ยวเป็นต้นมาปรุงเข้า ก็ทำให้เป็นโภชนะสำหรับมนุษย์ทั้งหลายได้

แต่กายมนุษย์ทำให้เป็นโภชนะไม่ได้. เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงสภาวะ

อันไม่สะอาดยิ่งแห่งกายมนุษย์นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทฺวิปาทโก ดังนี้.

บทว่า อย นี้ ท่านกล่าวหมายเอารูปหญิงที่ปรากฏในเวลานั้น.

บทว่า อสุจิ แปลว่า ไม่สะอาดเลย อธิบายว่า ในรูปหญิงนี้ ไม่มี

ความสะอาดอะไรเลย.

บทว่า ทุคฺคนฺโธ ปริหีรติ ความว่า เป็นกายมีกลิ่นเหม็น เจ้าของ

ปรุงแต่งด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น บริหารอยู่.

บทว่า นานากุณปปริปูโร ได้แก่ เต็มด้วยซากศพอเนกประการ

มีผมเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 234

ในบทว่า วิสฺสวนฺโต ตโต ตโต นี้ เชื่อมความว่า กายนี้ แม้เมื่อ

ชนทั้งหลายพยายามเพื่อจะปกปิดความที่กายเป็นของน่าเกลียด ด้วยดอกไม้

และของหอมเป็นต้น ก็ทำความพยายามนั้นให้ไร้ผล ทำน้ำลายและน้ำมูก

เป็นต้นให้ไหลออกจากทวารทั้ง ๙ และทำเหงื่อที่หมักหมมให้ไหลออก

จากขุมขนทั้งหลายบริหารอยู่.

เมื่อจะแสดงว่า ก็กายนี้แม้เป็นของน่าเกลียดอย่างนี้ ก็ยังลวงปุถุชน

ผู้บอดเขลาด้วยรูปเป็นต้นของตน เหมือนพรานเนื้อลวงเนื้อเป็นต้น ด้วย

เครื่องดักมีหลุม (พราง) เป็นต้นฉะนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มิค ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิค นิลีน กูเฏน ความว่า เหมือน

พรานเนื้อแอบคือซ่อนดักเนื้อ ด้วยเครื่องดักมีบ่วงเป็นต้น. จริงอยู่ อิว

ศัพท์ที่กำลังจะกล่าวถึง แม้ในประโยคนี้ ก็ควรนำมาประกอบเข้า.

บทว่า พฬิเสเนว อมฺพุช ความว่า เหมือนพรานเบ็ดตกสัตว์ที่เกิด

ในน้ำคือปลา ด้วยเบ็ดที่เกี่ยวเหยื่อไว้ฉะนั้น.

บทว่า วานร วิย เลเปน ความว่า เบญจกามคุณย่อมลวงปุถุชนผู้

บอดให้ลำบาก เหมือนพรานเนื้อลวงจับลิงด้วยดังซึ่งวางไว้ที่ต้นไม้และ

ศิลาเป็นต้น.

เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามที่ว่า ใครทำให้ลำบาก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

รูป เสียง ดังนี้. จริงอยู่ ส่วนของกาม ๕ ส่วนมีรูปเป็นต้น โดยพิเศษ

เป็นที่อาศัยของวัตถุที่เป็นวิสภาคกัน ทำใจของปุถุชนผู้บอดผู้ถูกห้อมล้อม

ด้วยอโยนิโสมนสิการ อันเป็นที่เข้าไปอาศัยของวิปลาส ให้ยินดี ชื่อว่า

ย่อมยังอันธปุถุชนเหล่านั้นให้ลำบาก เพราะน่าความพินาศมาให้ โดย

ความที่รูปเป็นต้นเป็นวัตถุที่ตั้งของกิเลส. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 235

รูป เสียง ฯลฯ ปรากฏในรูปหญิง. ก็ศัพท์ หญิง ในคำนั่น พึงทราบว่า

ท่านกระทำด้วยอำนาจอารมณ์ที่ทำให้ยิ่ง. ด้วยเหตุนั้นแหละ ท่านจึง

กล่าวว่า ปุถุชนเหล่าใดซ่องเสพหญิงเหล่านั้น ดังนี้เป็นต้น .

คำนั้นมีเนื้อความว่า ปุถุชนเหล่าใดมีจิตกำหนัด คือมีจิตถูกราคะ

ความกำหนัดครอบงำ ย่อมซ่องเสพหญิงเหล่านั้น ด้วยการกำหนดว่าเป็น

เครื่องอุปโภคใช้สอย.

บทว่า วฑฺเฒนฺติ กฏสึ โฆร ความว่า ปุถุชนเหล่านั้นย่อมยัง

สงสาร กล่าวคือ กฏสิ การท่องเที่ยวเพราะคนอันธพาลยินดียิ่งนัก อัน

น่ากลัว คืออันนำความกลัวมาด้วยชาติเป็นต้น และด้วยนรกเป็นต้น ให้

เจริญด้วยการเกิดและการตายเป็นต้นบ่อย ๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ย่อมก่อภพใหม่ขึ้นอีก ดังนี้.

บทว่า โย เจตา ความว่า ส่วนบุคคลใดงดเว้นหญิงเหล่านั้นเสีย

ได้ด้วยการข่ม และการตัดขาดฉันทราคะในหญิงเหล่านั้น เหมือนคนสลัด

หัวงูด้วยเท้า เป็นผู้มีสติล่วงพ้นตัณหา กล่าวคือความซ่านไปในโลก เพราะ

ละโลกทั้งปวงได้แล้วดำรงอยู่.

บทว่า กาเมสฺวาทีนว ทิสฺวา ความว่า เห็นอาทีนพ คือโทษอันต่ำ

ช้าโดยประการมิใช่น้อยในวัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย โดยนัยมีอาทิ

ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยท่อนกระดูก มีความลำบากมาก มีความ

คับแค้นมาก.

บทว่า เนกฺขมฺม ทฏฺฐุ เขมโต ความว่า เห็นเนกขัมมะโดยภาวะ

อันออกจากกามและภพทั้งหลาย ได้แก่บรรพชาและพระนิพพาน โดย

ความเกษม คือโดยปลอดอันตราย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 236

สลัดออก คือพรากออกจากกรรมทั้งปวง ได้แก่ จากธรรมอันเป็น

ไปในภูมิ ๓. ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ แม้ทั้งหมดนี้ ชื่อว่ากาม เพราะ

อรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ก็พระเถระพรากแล้วจากกามเหล่านั้น.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว ดังนี้.

พระเถระกล่าวธรรมด้วยคาถา ๕ คาถาเบื้องต้น ด้วยประการอย่างนี้

แล้ว พยากรณ์พระอรหัตผลด้วยคาถาที่ ๖. พ่อตาได้ฟังดังนั้น คิดว่า

ท่านผู้นี้ไม่ติดในสิ่งทั้งปวง ใคร ๆ ไม่อาจที่จะให้ท่านผู้นี้หมุนไปในกาม

ทั้งหลายได้ จึงได้ไปตามทางที่มาแล้วนั่นแล. ฝ่ายพระเถระ เมื่อพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วได้ ๑๐๐ ปี อุปสมบทได้ ๑๒๐ พรรษา เป็น

พระเถระในแผ่นดิน ชำระเสนียดแห่งพระศาสนาที่ภิกษุวัชชีบุตรชาวเมือง

เวสาลีให้เกิดขึ้น สังคายนาร้อยกรองพระธรรมครั้งที่ ๒ แล้วจึงสั่งติสส-

มหาพรหมว่า ท่านจงชำระสะสางเสนียดอันจะเกิดขึ้น ในสมัยพระเจ้า

ธรรมาโศก ในอนาคตกาล แล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน-

ธาตุ.

จบอรรถกถาสัพพกามีเถรคาถาที่ ๑๔

จบปรมัตถทีปนี

จบอรรถกถาเถรคาถา ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 237

เถรคาถา สัตตกนิบาต

๑. สุนทรสมุทรเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสุนทรสมุทรเถระ

[๓๖๑] หญิงแพศยาผู้ประดับประดาร่างกาย นุ่งห่มผ้าใหม่

ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยเครื่องหอม เท้าย้อมด้วยสีแดง

อันงาม สวมรองเท้าทอง นางถอดรองเท้ายืนประคอง

อัญชลีอยู่ข้างหน้า กล่าวกะเราผู้เคยยำเกรง เล้าโลมด้วย

ถ้อยคำอันอ่อนหวานว่า ท่านเป็นบรรพชิตหนุ่ม ขอจงเชื่อ

ฟังคำดิฉัน ขอเชิญท่านสึกออกมาบริโภคถามอันเป็นของ

มนุษย์เถิด. ดิฉันขอให้สัตย์ปฏิญาณแก่ท่าน หรือดิฉันจะ

นำไฟมาทำสบถก็ได้ เมื่อใดเราทั้งสองแก่เฒ่าจนถือไม้เท้า

เมื่อนั้น เราทั้งสองจึงค่อยบวช เราทั้งสองถือเอาชัยใน

โลกทั้งสองก่อนเถิด. เราเห็นหญิงแพศยาคนนั้น ผู้ตก-

แต่งร่างกาย นุ่งห่มผ้าใหม่อันงามดีมาทำอัญชลี พูดจา

อ้อนวอนเรา เหมือนกับบ่วงมัจจุราชอันธรรมชาติดักไว้

ลำดับนั้น โยนิโสมนสิการเกิดขั้นแก่เรา เราได้เห็นโทษ

ของสังขารแล้ว เกิดความเบื่อหน่าย ลำดับนั้น จิตของ

เราก็หลุดพ้นจากกิเลส ขอท่านจงเห็นคุณวิเศษของพระ-

ธรรมอย่างนี้เถิด บัดนี้ เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 238

ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

จบสุนทรสมุทรเถรคาถา

อรรถกถาสุนทรสมุทรเถรคาถาที่ ๑

ในสัตตกนิบาต มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

คาถาของท่านพระสุนทรสมุทรเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อลงฺกตา ดังนี้.

เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ ในพระพุทธเจ้าปางก่อน

ทั้งหลาย สั่งสมบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิด

เป็นบุตรของเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติมากคนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ ได้มี

ชื่อว่า สมุทร. แต่ปรากฏชื่อว่า สุนทรสมุทร เพราะมีรูปสมบัติ.

ท่านดำรงอยู่ในปฐมวัย ได้เห็นพุทธานุภาพในคราวที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ ถึงได้ศรัทธา เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในการ

สลัดออก (จากทุกข์) จึงบวช ได้อุปสมบทแล้วสมาทานธุดงค์ จากกรุง-

ราชคฤห์ไปยังกรุงสาวัตถี เรียนวิปัสสนาในสำนัก ของภิกษุผู้เป็นกัลยาณ-

มิตร บำเพ็ญเพียรกรรมฐานอยู่. ในวันมีมหรสพในกรุงราชคฤห์ มารดา

ของท่านได้เห็นลูกเศรษฐีอื่นๆ พร้อมภรรยา พากันตกแต่งประดับประดา

เล่นมหรสพอยู่ หวนระลึกถึงบุตรจึงร้องไห้.

หญิงคณิกาคนหนึ่งเห็นดังนั้น จึงถามถึงเหตุที่ร้องไห้ นางจึงบอก

เหตุนั้น แก่หญิงคณิกาคนนั้น. หญิงคณิกาได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า ดิฉัน

จักนำเธอมา เบื้องต้นท่านจงเห็นแก่ความเป็นลูกผู้หญิงของดิฉันก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 239

นางจึงสัญญาว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น เราจักการทำเจ้าเท่านั้น ให้เป็น

ภรรยาเขาแล้วตั้งให้เป็นเจ้าของตระกูลนี้ ดังนี้แล้ว ให้ทรัพย์เป็นอันมาก

แล้วส่งไป นางจึงไปยังกรุงสาวัตถี ด้วยบริวารเป็นอันมากแล้วพักอยู่ใน

เรือนหลังหนึ่ง ใกล้ที่เที่ยวบิณฑบาตของพระเถระ ใช้ให้คนอื่น ๆ ถวาย

บิณฑบาตแก่พระเถระโดยเคารพ และ (ตนเอง) ตกแต่งประดับประดา

สวมรองเท้าทอง แสดงตนให้ (พระเถระเห็น).

ครั้นวันหนึ่ง นางเห็นพระเถระกำลังเดินไปทางประตูเรือน จึงถอด

รองเท้าทองประคองอัญชลีเดินไปข้างหน้า เชื้อเชิญพระเถระด้วยการเชื้อ

เชิญด้วยกาม มีประการต่าง ๆ. พระเถระได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า ธรรมดา

จิตของปุถุชนมักหวั่นไหว ถ้ากระไร เราพึงทำความอุตสาหะพยายามใน

บัดนี้แหละ ยืนอยู่ในที่นั้นนั่นเอง บำเพ็ญภาวนาก็ได้อภิญญา ๖ ซึ่งท่าน

หมายกล่าวไว้ว่า

หญิงแพศยาผู้ประดับร่างกาย นุ่งห่มผ่าใหม่อันงาม

ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยเครื่องหอม เท้าย้อมด้วยสีแดง

สวมรองเท้าทอง นางถอดรองเท้ายืนประคองอัญชลีอยู่

ข้างหน้า กล่าวกะเราผู้เคยยำเกรง ด้วยถ้อยคำอันอ่อน

หวานว่า

ท่านเป็นบรรพชิตหนุ่ม ขอจงเชื่อฟังคำของดิฉัน ขอ

เชิญท่านสึกออกมาบริโภคกามอันเป็นของมนุษย์เถิดดิฉัน

ขอให้สัตย์ปฏิญาณแก่ท่าน หรือดิฉันจะนำเอาไฟมาทำ

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๖๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 240

สบถก็ได้. เมื่อใด เราทั้งสองแก่เฒ่าจนถึงถือไม้เท้า เมื่อ

นั้นเราทั้งสองจึงค่อยบวช เราทั้งสองถือเอาชัยในโลกทั้ง-

สองก่อนเถิด.

เราเห็นหญิงแพศยาคนนั้น ผู้ตกแต่งร่างกาย นุ่งห่ม

ผ้าใหม่อันงามดี มาทำอัญชลีอ้อนวอนเรา เหมือนกับบ่วง

มัจจุราช อันธรรมชาติดักไว้. ลำดับนั้น โยนิโสมนสิการ

เกิดขึ้นแก่เรา เราได้เห็นโทษของสังขารแล้ว เกิดความ

เบื่อหน่าย. ลำดับนั้น จิตของเราก็หลุดพ้นจากกิเลส ขอ

ท่านจงเห็นคุณวิเศษของพระธรรมอย่างนี้เถิด บัดนี้ เราได้

บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลธารี ได้แก่ ทัดทรงระเบียบดอกไม้

คือประดับพวงดอกไม้.

บทว่า วิภูสิตา ได้แก่ ตกแต่งกายด้วยดอกไม้ และลูบไล้ด้วย

เครื่องหอมเป็นต้น โดยการทำที่พร่องให้เต็ม.

ด้วยบทว่า อลงฺกตา นี้. ท่านประสงค์เอาการประดับด้วยเครื่อง

อาภรณ์ทั้งหลาย มีสร้อยข้อมือและสร้อยคอเป็นต้น.

บทว่า อลตฺตกกตาปาทา ได้แก่ ผู้มีเท้าทั้งคู่ย้อมด้วยน้ำครั่ง อัน

มีสีดังดอกชัยพฤกษ์และดอกคำแก่จัด. จริงอยู่ บทว่า อลตฺตกกตาปาทา

นี้ เป็นบทสมาส (วิธีย่อศัพท์ทางภาษาบาลี) ควรจะกล่าวว่า อลตฺตกกต-

ปาทา แต่ท่านทำให้เป็นทีฆะ เพื่อสะดวกในการแต่งคาถา. แต่ในเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 241

ไม่เป็นบทสมาส จะต้องเข้าใจคำที่เหลือ (ซึ่งจะต้องเดิมเข้ามา) ว่า

ตสฺสา.

ในบทว่า ปาทุการุยฺห เวสิกา นี้ พึงเติมคำที่เหลือเข้ามาว่า หญิง

คนหนึ่งผู้อาศัยรูปเลี้ยงชีพ มีเพศตามที่กล่าวแล้ว สวมรองเท้าทองยืนอยู่.

บทว่า ปาหุกา โอรุหิตฺวาน แปลว่า ลงจากรองเท้า อธิบายว่า

ถอดรองเท้าทอง.

บทว่า ปญฺชลีกตา ความว่า นางคือหญิงแพศยา ประคองอัญชลี

กล่าวกะเรา อีกอย่างหนึ่ง เว้นคำอื่น ๆ ที่เนื่องกันมาเสีย นางได้กล่าวเอง

คือด้วยตนเองทีเดียว.

บทว่า สณฺเหน ได้แก่ กลมเกลี้ยง.

บทว่า มุทุนา แปลว่า อ่อนหวาน. แม้จะไม่กล่าวคำว่า วจเนน

ก็ย่อมเป็นอันกล่าว เพราะกล่าวคำว่า อภาสถ ไว้.

ด้วยบทว่า ยุวาสิ ตฺว ปพฺพชิโต นี้ ท่านแสดงความว่า ท่านเมื่อ

บวชก็เป็นคนหนุ่มแน่นบวช เมื่อจะบวชควรบวชในเมื่ออายุถึง ๗๐ ปี

มิใช่หรือ.

บทว่า ติฏฺาหิ มม สาสเน ความว่า ท่านจงตั้งอยู่ในถ้อยคำของ

เราเถิด. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า ก็คำนั้นเป็นอย่างไร ? นางจึงกล่าวว่า

จงบริโภคกามอันเป็นของมนุษย์เถิด. บุคคลผู้ประสงค์จะบริโภคกาม

ต้องปรารถนารูปสมบัติ วัยสมบัติ บริขารสมบัติ และโภคสมบัติ. ในสมบัติ

เหล่านั้น พระเถระจึงกล่าวว่า เราจักมีโภคสมบัติมาแต่ไหน เพราะเหตุนั้น

นางจึงกล่าวว่า ดิฉันจะให้ทรัพย์อันเป็นเครื่องปลื้มใจแก่ท่าน. พระเถระ

จะพึงสำคัญว่า คำนี้นั้นจะพึงเชื่อได้อย่างไร เพราะเหตุนั้น นางเมื่อจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 242

ให้พระเถระนั้นเชื่อถือจึงกล่าวว่า ดิฉันขอทำสัตย์ปฏิญาณแก่ท่าน หรือ

ว่าดิฉันจะนำเอาไฟมาทำสบถก็ได้. อธิบายว่า คำใดที่ดิฉันปฏิญาณไว้ว่า

ท่านจงบริโภคกามอันเป็นของมนุษย์เถิด ดิฉันจะให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ

แก่ท่าน คำนั้นดิฉันขอให้สัตย์ปฏิญาณไว้อย่างเด็ดขาด ถ้าท่านยังไม่ตกลง

ใจแก่ดิฉัน ดิฉันจะนำเอาไฟมาทำสบถก็ได้ คือดิฉันจะนำเอาไฟมาแล้ว

การทำสบถต่อหน้าไฟ.

บทว่า อุภยตฺถ กฏคฺคโห ความว่า การที่เราทั้งสองบวชในเวลา

แก่เฒ่า เป็นการถือชัยชนะในโลกทั้งสองไว้ได้ อธิบายว่า ข้อที่เราทั้งสอง

ใช้สอยโภคะไปจนตราบเท่าถือไม้เท้านั้น ชื่อว่าไม่เสื่อมจากโภคะแม้ใน

โลกนี้ ข้อที่เราทั้งสองจักบวชในภายหลังนั้น ชื่อว่าไม่เสื่อมจากโภคะแม้

ในโลกหน้า.

บทว่า ตโต แปลว่า เหตุนั้น คือเหตุแห่งคำที่หญิงแพศยานั้น ผู้

เชื้อเชิญ ด้วยกามทั้งหลาย กล่าวด้วยคำมีอาทิว่า ท่านยังเป็นหนุ่ม และด้วย

คำมีอาทิว่า เมื่อใด เราทั้งสองแก่เฒ่า ดังนี้. จริงอยู่ พระเถระกระทำ

คำนั้นให้เป็นดุจขอสับ การทำสมณธรรม ได้ทำประโยชน์ของตนให้.

บริบูรณ์แล้ว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.

จบอรรถกถาสุนทรสมุทรเถรคาถาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 243

๒. ลกุณฏกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระลกุณฏกเถระ

[๓๖๒] ภัททิยภิกษุอยู่ ณ อัมพาฏการามอันเลอเลิศใกล้ไพร-

สณฑ์ ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้เจริญ

ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น เพ่งฌานอยู่ในไพรสณฑ์นั้น กาม-

โภคีบุคคลบางพวกย่อมยินดีด้วยเสียงตะโพน เสียงพิณ

และบัณเฑาะว์ แต่ความยินดีของพวกเขานั้นไม่ประเสริฐ

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ส่วนเรายินดีแล้วในคำสอน

ของพระพุทธเจ้า ยินดีอยู่ที่โคนไม้ ถ้าพระพุทธเจ้าได้

ประทานพรแก่เรา เรารับพรนั้นแล้ว ถือเอากายคตาสติ

อันโลกทั้งปวงพึงเจริญเป็นนิตย์ ชนเหล่าใดถือรูปร่างเรา

เป็นประมาณ และถือเสียงเราเป็นประมาณ ชนเหล่านั้น

ตกอยู่ในอำนาจฉันทราคะ ย่อมไม่รู้จักเรา คนพาลถูก

กิเลสกั้นไว้รอบด้าน ย่อมไม่รู้ภายใน ทั้งไม่เห็นภาย-

นอก ย่อมลอยไปตามเสียงโฆษณา แม้บุคคลผู้เห็นผล

ภายนอก ไม่รู้ภายใน เห็นแต่กายนอก ก็ลอยไปตาม

เสียงโฆษณา ส่วนผู้ใดมีความเห็นไม่ถูกกั้น ย่อมรู้ชัด

ทั้งภายใน และเห็นแจ้งทั้งภายนอก ผู้นั้นย่อมไม่ลอย

ไปตามเสียงโฆษณา.

จบลกุณฏกเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 244

อรรถกถาลกุณฑกภัททิยเถรคาถาที่ ๒

คาถาของท่านพระลกุณฑกภัททิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปเร

อมฺพาฏการาเม ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ พระเถระนี้

บังเกิดในตระกูลมีโภคะมาก ในหังสวดีนคร พอเจริญวัย นั่งฟังธรรมอยู่

ในสำนักของพระศาสดา ในขณะนั้น ได้เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุ

รูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้มีเสียงไพเราะ แม้ตนเองก็

ปรารถนาฐานันดรนั้น จึงถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประธาน แล้วได้กระทำปณิธานความปรารถนาว่า โอหนอ แม้ข้าพระองค์

ก็พึงเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้มีเสียงไพเราะ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์

หนึ่งในอนาคต เหมือนภิกษุรูปนี้. และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นความ

ปรารถนานั้นไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์แล้วหลีกไป.

เขาการทำบุญในหังสวดีนั้นจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผุสสะ เกิดเป็นนกดุเหว่า

มีขนปีกวิจิตรงดงาม คาบผลมะม่วงหวานจากพระราชอุทยานบินไป ได้เห็น

พระศาสดา มีใจเลื่อมใส จึงเกิดความคิดว่าจักถวาย. พระศาสดาทรง

ทราบความคิดของนกดุเหว่านั้น จึงทรงนั่งถือบาตร. นกดุเหว่าได้ใส่ผล

มะม่วงสุกลงในบาตรของพระศาสดา. พระศาสดาเสวยผลมะม่วงสุกนั้น.

นกดุเหว่านั้นมีใจเลื่อมใสจึงยับยังอยู่ตลอดสัปดาห์ ด้วยสุขอันเกิดจากปีติ

นั้น และด้วยบุญกรรมนั้น จึงเป็นผู้มีเสียงไพเราะ.

๑. บาลีเป็น ลกุณฏกเถรคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 245

ก็ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อมหาชนปรารภจะสร้าง

พระเจดีย์ ว่าจะสร้างขนาดไหน, เมื่อเขากล่าวว่าประมาณ ๗ โยชน์ ก็

กล่าวว่าขนาดนั้นใหญ่เกินไป เมื่อใคร ๆ. กล่าวว่า ๖ โยชน์ ก็กล่าวว่า

แม้ขนาดนั้นก็ใหญ่เกินไป เมื่อใคร ๆ กล่าวว่า ๕ โยชน์ ๔ โยชน์ ๓ โยชน์

๒ โยชน์ ดังนี้ ในคราวนั้น พระเถระนี้เป็นหัวหน้าช่าง พูดขึ้นว่า มาเถิด

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ควรจะทำให้ปฏิบัติได้สะดวกในอนาคต ดังนี้แล้ว จึง

เอาเชือกวงแล้วหยุดอยู่ในที่สุดคาวุตหนึ่ง จึงกล่าวว่า ค้านหนึ่งๆ ได้คาวุต

หนึ่ง ๆ จักเป็นเจดีย์กลมโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่ง ชนเหล่านั้นก็เชื่อถือ

ถ้อยคำของหัวหน้าช่างนั้น ๆ ได้กระทำขนาดประมาณแห่งพระพุทธเจ้าผู้หา

ประมาณมิได้ ด้วยประการดังนี้แล. ก็ด้วยกรรมนั้น หัวหน้าช่างนั้น จึง

เป็นผู้มีขนาดต่ำกว่า อื่น ๆ ในที่ที่เกิดแล้ว ๆ.

ในกาลแห่งพระศาสดาของเราทั้งหลาย เขาบังเกิดในตระกูลที่มี

โภคะมากโนกรุงสาวัตถี. ไค้มีชื่อว่า ภัททิยะ แต่เพราะเป็นคนเตี้ย จึง

ปรากฏชื่อว่า ลกุณฑกภัททิยะ. ลกุณฑกภัททิยะนั้น ได้ฟังธรรมในสำนัก

ของพระศาสดา ได้ศรัทธาบวชแล้ว เป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึก

แสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่นด้วยเสียงอันไพเราะ. ครั้นในวันมหรสพวันหนึ่ง

หญิงคณิกาคนหนึ่งไปรถกับพราหมณ์คนหนึ่ง เห็นพระเถระจึงหัวเราะจน

เห็นฟัน. พระเถระถือเอานิมิตในกระดูกฟันของหญิงนั้นแล้วทำฌานให้

เกิดขึ้น กระทำฌานนั้นให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนาได้เป็นพระอนาคามี

ท่านอยู่ด้วยกายคตาสติเป็นเนืองนิตย์ วันหนึ่ง อันท่านพระธรรมเสนาบดี

โอวาทอยู่ ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ใน

อุปทานว่า

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๓๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 246

ในแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารพระนามว่า

ปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เป็นเพระผู้นำโลก ได้

เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ครั้งนั้น เราเป็นบุตรเศรษฐีมีทรัพย์

มากภายในพระนครหังสวดี เที่ยวเดินพักผ่อนอยู่ ได้ไป

ถึงสังฆาราม. คราวนั้น พระผู้นำโลก ผู้ทำโลกให้โชติ

ช่วงพระองค์นั้นทรงแสดงธรรม ได้ตรัสสรรเสริญพระ-

สาวกผู้ประเสริฐกว่าสาวกทั้งหลายผู้มีเสียงไพเราะ เรา

ได้ฟังดังนั้นแล้วก็ชอบใจ จึงได้ทำสักการะแก่พระพุทธเจ้า

ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ถวายบังคมพระบาททั้งสองของ

พระศาสดาแล้ว ปรารถนาฐานันดรนั้น ครั้งนั้น พระ-

พุทธเจ้าผู้แนะนำชั้นพิเศษ ได้ตรัสพยากรณ์ในท่านกลาง

สงฆ์ว่า ในอนาคตกาล ท่านจักได้ฐานันดรนี้สมดังมโนรถ

ความปรารถนา. ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดา

มีพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระ-

เจ้าโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก. เศรษฐีนี้จักได้เป็น

ธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอัน

ธรรมเนรมิต เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามว่า ภัททิยะ.

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการตั้งเจตจำนงไว้

เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. ในกัปที่ ๙๒

แต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารพระนามว่าผุสสะ พระผู้นำ

ยากที่จะหาผู้เสมอ ยากที่จะข่มขี่ได้ ผู้สูงสุดกว่าโลก

ทั้งปวง ได้เสด็จอุบัติขึ้น พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยจรณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 247

เป็นผู้ประเสริฐ เที่ยงตรง ทรงมีความเพียรเผากิเลส

ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงเปลื้อง

สรรพสัตว์เป็นอันมากให้พ้นจากกิเลสเครื่องจองจำ, เรา

เกิดเป็นนกดุเหว่าขาวอยู่ในพระอารามอันน่าเพลิดเพลินใจ

ขอพระผุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราอยู่ที่ต้น

มะม่วงใกล้พระคันธกุฎี ครั้งนั้นเราเห็นพระพิชิตมารผู้สูง

สุด เป็นพระทักขิไณยบุคคล เสด็จดำเนินไปบิณฑบาต

จักทำจิตให้เลื่อมใส แล้วร้องด้วยเสียงอันไพเราะ ครั้งนั้น

เราบินไปสวนหลวง คาบผลมะม่วงสุกดี มีผิวดังทองคำ

เอามาน้อมถวายแด่พระสัมพุทธเจ้า เวลานั้น พระ-

พระพิชิตมารผู้ประกอบด้วยพระกรุณา ทรงทราบวารจิต

ของเรา จึงทรงรับบาตรจากมือของภิกษุผู้อุปัฏฐาก เรามี

จิตร่าเริง ถวายผลมะม่วงแด่พระมหามุนี เราใส่บาตร

แล้วก็เอาปีกจบ ร้องด้วยเสียงอันไพเราะ เสนาะน่าฟัง

น่ายินดี เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าแล้วไปรังนอน. ครั้งนั้น

นกเหยี่ยวผู้มีใจชั่วช้าได้โฉบเอาเราผู้มีจิตเบิกบาน ผู้มี

อัธยาศัยไปสู่ความรักในพระพุทธเจ้าฆ่าเสีย เราจุติจาก

อัตภาพนั้น ไปเสวยสุขมากมายในสวรรค์ชั้นดุสิตแล้วมา

สู่กำเนิดมนุษย์ เพราะกรรมนั้นชักนำไป. ในภัทรกัปนี้

พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามตามพระโคตรว่า กัสสป เป็น

เผ่าพันธุ์พรหม มีพระยศใหญ่ ประเสริฐกว่านักปราชญ์

ได้อุบัติขึ้น พระองค์ทรงยังพระศาสนาให้โชติช่วง ครอบ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 248

งำพวกเดียรถีย์ผู้หลอกลวง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ทั้ง-

หลาย พระองค์พร้อมทั้งพระสาวกปรินิพพานแล้ว. เมื่อ

พระองค์ผู้เลิศในโลกปรินิพพานแล้ว ประชุมชนเป็นอัน

มากที่เลื่อมใส จักกระทำพระสถูปของพระศาสดา เพื่อ

บูชาพระพุทธเจ้า. เขาปรึกษากันอย่างนี้ว่า จักช่วยกัน

ทำพระสถูปของพระมเหสีเจ้า ให้สูง ๗ โยชน์ ประดับ

ด้วยรัตนะ ๗ ประการ ครั้งนั้น เราเป็นแม่ทัพของพระเจ้า

กาสีพระนามว่า กิกิ ได้พูดลดประมาณเจดีย์ของพระ-

พุทธเจ้าผู้หาประมาณมิได้ ครั้งนั้น ชนเหล่านั้นได้ช่วย

กันทำเจดีย์ของพระศาสดาผู้มีปัญญาว่านรชน สูงโยชน์

เดียวประดับด้วยรัตนะนานาชนิด ตามถ้อยคำของเรา.

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการตั้งเจตจำนงไว้

เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็ในภพ

สุดท้าย ในบัดนี้เราเกิดในสกุลเศรษฐีอันมั่งคั่ง สมบูรณ์

มีทรัพย์มาก ในนครสาวัตถีอันประเสริฐ เราได้เห็น

พระสุคตเจ้าคราวเสด็จเข้าพระนคร ก็อัศจรรย์ใจ จึง

บวช ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต. เพราะกรรมที่ได้ทำ

(การลด) ขนาดพระเจดีย์นั้น เราจึงมีร่างกายต่ำเตี้ยควร

แก่การดูหมิ่น เราบูชาพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๗ ด้วยสุรเสียง

อันไพเราะ. จึงได้ถึงความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มี

เสียงไพเราะ. เพราะการถวายผล (มะม่วง) แด่พระ-

พุทธเจ้า และเพราะการระลึกถึงพระพุทธคุณ เราจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 249

สมบูรณ์ด้วยสามัญผล ไม่มีอาสวะอยู่ เราเผากิเลส

ทั้งหลายแล้ว...ฯลฯ... คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้

ทำตามแล้ว.

ในกาลต่อมา เมื่อท่านจะพยากรณ์พระอรหัตผล จึงได้กล่าวคาถา๓คาถา*

เหล่านี้ว่า

ภัททิยภิกขุอยู่ ณ อัมพาฏการามอันเลิศใกล้ไพรสณฑ์

ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้เจริญด้วยคุณมี

ศีลเป็นต้น เพ่งฌานอยู่ในไพรสณฑ์นี้ กามโภคีบุคคล

บางพวก ย่อมยินดีเสียงตะโพน เสียงพิณ และบัณเฑาะว์

แต่ความยินดีของพวกเขานั้นไม่ประเสริฐไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ ส่วนเรายินดีแล้วในคำสอนของพระพุทธ-

เจ้า ยินดีอยู่โคนไม้. ถ้าพระพุทธเจ้าประทานพรแก่เรา

และเราก็รับพรนั้นแล้ว ถือเอากายคตาสติอันชาวโลก

ทั้งปวงพึงเจริญเป็นนิตย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเร แปลว่า ประเสริฐ คือยิ่ง อธิบายว่า

วิเศษ. จริงอยู่ ปร ศัพท์นี้ บอกถึงอรรถว่า ยิ่ง เหมือนในประโยคมี

อาทิว่า ดุจยิ่งกว่าประมาณ.

บทว่า อมฺพาฏการาเม ได้แก่ในอารามมีชื่ออย่างนี้ . ได้ยินว่า

อารามนั้นสมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ ประดับด้วยไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวให้พิเศษด้วยศัพท์ว่า ปเร. ส่วนอาจารย์บางพวก

กล่าวว่า ในอัมพาฏกวัน คือในป่าที่กำหนดหมายเอาด้วยต้นมะกอก.

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๖๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 250

บทว่า วนสณฺฑมฺหิ ได้แก่ในป่าชัฏ อธิบายว่า ในป่าเป็นที่รวม

ต้นไม้ กอไม้ และเครือเถาที่สะสมกันอยู่หนาแน่น.

บทว่า ภทฺทิโย ได้แก่ ผู้มีชื่ออย่างนี้. พระเถระพูดถึงตนเอง

เหมือนกะคนอื่น.

บทว่า สมูล ตณฺหมพฺพุยฺห ความว่า อวิชชา ชื่อว่ารากเหง้าของ

ตัณหา เพราะฉะนั้น จึงถอนตัณหาพร้อมทั้งวิชชาด้วยอรหัตมรรค.

บทว่า ตตฺถ ภทฺโทว ฌายติ ความว่า เป็นผู้เจริญ คืองดงามด้วยศีล

เป็นต้นอันเป็นโลกุตระ เพราะเป็นผู้ทำกิจเสร็จแล้ว จึงเพ่งอยู่ด้วยฌาน

อันสัมปยุตด้วยอรหัตผล โดยธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในไพร-

สณฑ์นั้น.

พระเถระครั้นแสดงความยินดีในวิเวกของคนว่า ยับยั้งอยู่ด้วยผลสุข

และฌานสมาบัติทั้งหลาย ดังนี้แล้ว จึงแสดงความนั้นนั่นแหละโดยพยัติ-

เรกมุข คือด้านขัดแย้ง แม้ด้วยคาถาว่า รมนฺเตเก กามโภคีบุคคลบาง

พวกยินดี ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุทิงฺเคหิ ได้เเก่ตะโพน ที่ประกอบ

เป็นตัวเป็นต้น

บทว่า วีณาหิ ได้แก่ พิณอันเป็นเครื่องบันเทิงเป็นต้น.

บทว่า ปณเวหิ ความว่า กามโภคีบุคคลพวกหนึ่งย่อมยินดีด้วย

ดนตรี ก็ความยินดีของกามโภคีบุคคลเหล่านั้นนั่น ไม่ประเสริฐ ไม่

ประกอบด้วยประโยชน์.

บทว่า อหญฺจ แก้เป็น อห ปน. อธิบายว่า เราผู้เดียวยินดีในคำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 251

สอนของพระพุทธเจ้า คือของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ

เราจึงยินดี คือยินดียิ่งอยู่ที่โคนไม้.

พระเถระระบุถึงความยินดีในวิเวกของตนอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อ

จะสรรเสริญกายคตาสติกรรมฐานที่เจริญแล้วบรรลุพระอรหัต จึงกล่าว

คาถาว่า พุทฺโธ เจ เม ดังนี้.

ความแห่งคาถานั้นว่า ข้าพระพุทธเจ้า คือพระผู้มีพระภาคเจ้าอัน

เราอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอพรอย่างหนึ่งกะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงปฏิเสธว่า ดูก่อนภิกษุ ตถาคตทั้งหลายล่วง

พ้นพรเสียแล้วแล แล้วพึงให้พรแก่เราตามที่ทูลขอ และพรนั้นเราได้เต็ม

ตามความประสงค์ของเรา คือพึงทำความปรารถนาแห่งใจของเราให้ถึง

ที่สุด พระเถระกล่าวด้วยความปริกัปด้วยประการดังกล่าวมานี้. พระเถระ

เมื่อจะแสดงว่า เรารับพรเพราะทำการขอพรว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอสัตวโลกทั้งมวลควรเจริญกายคตาสติกรรมฐานทุกกาลเวลา และว่า

สัตวโลกทั้งมวลควรเจริญกายคตาสติเป็นนิตย์ จึงกล่าวว่า เราถือเอา

กายคตาสติอันโลกทั้งปวงพึงเจริญเป็นนิตย์. บัดนี้ พระเถระเมื่อจะ

สรรเสริญการพิจารณาโดยมุข คือการติเตียนโดยไม่พิจารณา จึงได้กล่าว

คาถา ๔ คาถานี้ว่า

ชนเหล่าใดถือรูปร่างเราเป็นประมาณ และถือเสียง

เราเป็นประมาณ ชนเหล่านั้นตกอยู่ในอำนาจฉันทราคะ

ย่อมไม่รู้จักเรา, คนพาลถูกกิเลสกั้นไว้รอบด้าน ย่อมไม่รู้

ภายในทั้งไม่เห็นภายนอก ย่อมลอยไปตามเสียงโฆษณา.

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๖๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 252

แม้บุคคลผู้เห็นผลภายนอก ไม่รู้ภายใน เห็นแต่ภายนอก

ก็ลอยไปตามเสียงโฆษณา. ส่วนผู้ใดมีความเห็นไม่ถูก

กั้น ย่อมรู้ชัดทั้งภายใน และเห็นแจ้งทั้งภายนอก ผู้นั้น

ย่อมไม่ลอยไปตามเสียงโฆษณา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย ม รูเปน ปามึสุ ความว่า ชนเหล่าใด

ไม่รู้ คือประมาณเราผู้ทรามด้วยรูปของเราอันไม่น่าเลื่อมใส คือต่ำทราม

และด้วยสรีระคือธรรมว่า ปัญญาก็เช่นกับอาการ อธิบายว่า เยาะเย้ยว่า

ผู้นี้เลวทราม จึงสำคัญโดยการกำหนดเอา.

บทว่า เย จ โฆเสน อนฺวคู ความว่า ก็ข้อที่สัตว์สำคัญเราไปตาม

เสียงโฆษณา ด้วยอำนาจการยกย่องเป็นอันมากนั้น เป็นความผิดของสัตว์

เหล่านั้น เพราะเราอันบุคคลจะพึงดูหมิ่นด้วยเหตุสักว่ารูปก็หามิได้ หรือ

ไม่พึงรู้มากด้วยเหตุสักว่าเสียงโฆษณา เพราะฉะนั้น ชนเหล่านั้นผู้ตกอยู่

ในอำนาจฉันทราคะ ย่อมไม่รู้จักเรา อธิบายว่า ชนแม้ทั้งสองพวกนั้น

ผู้ตกลงสู่อำนาจของฉันทราคะ คือละฉันทราคะไม่ได้ จึงไม่รู้จักเราผู้ละ

ฉันทราคะได้โดยประการทั้งปวง.

เพื่อจะแสดงว่า คนเช่นเราไม่เป็นวิสัยของชนเหล่านั้น เพราะเป็น

ผู้มีวัตถุอันใคร ๆ กำหนดไม่ได้ทั้งภายในและภายนอก พระเถระจึงกล่าว

คำมีอาทิว่า อชฺฌตฺต ดังนี้.

บทว่า อชฺฌตฺต ได้แก่ ธรรมมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น ใน

สันดานของตน.

บทว่า พหิทฺธา ได้แก่ ในสันดานของคนอื่น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

อชฺฌตฺต ได้แก่ ศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสกขะเป็นต้น ในภายในของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 253

เรา. บทว่า พหิทฺธา ได้แก่ ความเป็นไปแห่งรูปธรรม และความเป็น

ไปแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น ในภายนอกอันประกอบด้วยความสมบูรณ์

แห่งมารยาทเป็นต้นของเราเท่านั้น.

บทว่า สมนฺตาวรโณ ความว่า เพราะไม่รู้ทั้งภายในและภายนอก

อย่างนี้ จึงเป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเครื่องกั้นโดยรอบ คือ เป็นผู้มีคติแห่ง

ญาณอันถูกกั้นแล้ว.

บทว่า ส เว โฆเสน วุยฺหติ ความว่า คนพาลผู้มีความรู้อันผู้อื่น

จะพึงแนะนำนั้น ย่อมลอยไป คือถูกนำออกไป ได้แก่ถูกคร่ามาตามเสียง

โฆษณา คือตามคำของตนอื่น.

บทว่า พหิทฺธา จ วิปสฺสติ ความว่า ก็บุคคลใดย่อมไม่รู้ภายใน

โดยนัยดังกล่าวแล้ว แต่ย่อมเห็นโดยแจ่มแจ้งในภายนอก ตามแนวที่ได้

ฟังแล้ว หรือตามที่ทรงไว้ซึ่งสมบัติแห่งมารยาทเป็นต้น คือย่อมเข้าใจว่า

เป็นผู้ประกอบด้วยคุณวิเศษ, บุคคลแม้นั้นผู้เห็นผลภายนอก คือถือเอาเพียง

ผล โดยการถือเอาตามนัย ย่อมลอยไปตามเสียงโฆษณา โดยนัยดังกล่าว

แล้ว แม้บุคคลนั้นก็ย่อมไม่รู้จักคนเช่นเรา.

ส่วนบุคคลใดย่อมรู้ภายใน คือคุณมีศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสกขะ

เป็นต้น ในภายในของพระขีณาสพ และเห็นการประกอบคุณวิเศษโดย

แจ่มแจ้งในภายนอกด้วยการกำหนดข้อปฏิบัติของพระขีณาสพนั้น. เป็น

ผู้มีความเห็นไม่ถูกกั้น คือเป็นผู้อันใคร ๆ กั้นไม่ได้ สามารถรู้เห็นคุณ

ของพระอริยะทั้งหลาย บุคคลนั้นย่อมไม่ลอยไปด้วยเหตุสักว่าเสียงโฆษณา

เพราะเห็นตามความเป็นจริง ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาลกุณฑกภัททิยเถรคาถาที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 254

๓. ภัททเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระภัททเถระ

[๓๖๓] เราเป็นบุตรคนเดียว ซึ่งเป็นที่รักของมารดาบิดา

เพราะเหตุว่ามารดาบิดาได้เรามาด้วยการประพฤติวัตร

และการอ้อนวอนขอเป็นอันมาก ก็มารดาและบิดาทั้งสอง

นั้น มุ่งหวังความเจริญแสวงหาประโยชน์เพื่ออนุเคราะห์

เรา จึงนำเรามาถวายแด่พระพุทธเจ้าแล้วทูลว่า บุตรของ

ข้าพระองค์นี้เป็นสุขุมาลชาติได้รับแต่ความสุข เป็นบุตร

ที่ข้าพระองค์ได้มาโดยยาก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนาถะ

ของโลก ข้าพระองค์ทั้งสองขอถวายบุตรสุดที่รักนี้ ให้

เป็นคนรับใช้ของพระองค์ ผู้ทรงชนะกิเลสมาร ก็

พระศาสดาทรงรับเราแล้ว รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่าจง

รีบให้เด็กคนนี้บรรพชาเถิด เพราะเด็กคนนี้จักเป็นผู้รอบรู้

รวดเร็ว. พระศาสดาผู้ทรงชนะมาร รับสั่งให้พระอานนท์

บรรพชาให้เราแล้วเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี เมื่อพระ-

อาทิตย์ยังไม่อัสดง จิตของเราก็พ้นจากอาสวกิเลส

ทั้งปวง ภายหลัง พระศาสดาทรงออกจากสมาบัติแล้ว

เสด็จออกจากที่เร้น รับสั่งกะเราว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด

ภัททะ การรับสั่งเช่นนั้น เป็นการอุปสมบทของเรา เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 255

เกิดมาได้ ๗ ปี ก็ได้อุปสมบท ได้บรรลุวิชชา ๓ น่า

อัศจรรย์ ความที่ธรรมเป็นธรรมดี.

จบภัททเถรคาถา

อรรถกถาภัททเถรคาถาที่ ๓

คาถาของท่านพระภัททเถระ มีคำเริ่มต้นว่า เอกปุตฺโต ดังนี้.

เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเถระนี้เอาปัจจัย มีจีวรเป็นต้น บูชาพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าปทุมุตตระ และภิกษุสงฆ์ประมาณหนึ่งแสน.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี ก็เมื่อจะเกิด

มารดาบิดาไม่มีบุตร แม้จะทำการอ้อนวอนขอต่อเทวดาเป็นต้นก็ไม่ได้

จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว กราบทูลอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ถ้าข้าพระองค์ทั้งสองจักได้บุตรสักคนหนึ่งไซร้ จักถวายบุตรนั้นแก่พระ-

องค์เพื่อต้องการให้เป็นทาส ดังนี้แล้วก็ไป. มีเทวบุตรตนหนึ่งจะหมดอายุ

รู้ความประสงค์ของพระศาสดา ดำรงอยู่แล้ว ท้าวสักกะเทวราชจึงรับสั่ง

ว่า เธอจงบังเกิดในตระกูลโน้น จึงบังเกิดในตระกูลเศรษฐีนั้น พวกญาติ

ตั้งชื่อท่านว่า ภัททะ.

เขาเกิดอายุได้ ๗ ขวบ มารดาบิดาได้แต่งตัวแล้วนำเข้าเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทารกที่ข้าพระองค์ทั้งสอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 256

ขอพระองค์ได้มานั้น คือเด็กคนนี้ ข้าพระองค์ทั้งสองขอมอบถวายเด็กคน

นี้แด่พระองค์.

พระศาสดาทรงสั่งพระอานนทเถระว่า เธอจงบวชเด็กคนนี้ ก็แล

ครั้นสั่งแล้วจึงเสด็จเข้าพระคันธกุฎี. พระเถระให้เขาบวชแล้ว บอกแนว

ทางวิปัสสนาโดยย่อ. เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เธอบำเพ็ญ-

วิปัสสนากรรมฐาน เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ทันขึ้น บำเพ็ญภาวนาก็ได้

อภิญญา ๖. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน*ว่า

หมู่ชนทั้งปวงเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

ปทุมุตตระผู้มีจิตเมตตา เป็นมหามุนีอัครนายกแห่งโลก

ทั้งปวง. ชนทั้งปวงย่อมถวายอามิส คือ สัตตุก้อน สัตตุผง

น้ำ และข้าวแด่พระศาสดา และในพระสงฆ์ผู้เป็นบุญ

เขตอันยอดเยี่ยม. แม้เราก็จักนิมนต์พระพุทธเจ้าผู้ประ-

เสริฐสุดและพระสงฆ์ผู้ยอดเยี่ยม แล้วจักถวายทานแด่

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ผู้คงที่. คนเหล่านี้เป็น

ผู้อันเราส่งไปให้นิมนต์พระตถาคต และภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้น

ผู้เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม. บัลลังก์ทองมีค่าแสนหนึ่ง

ลาดด้วยเครื่องลาดวิเศษมีขนยาว ด้วยเครื่องลาดยัดนุ่น

เครื่องลาดมีรูปดอกไม้ ผ้าเปลือกไม้และผ้าฝ้าย. เราได้

ให้จัดตั้งอาสนะอันควรค่ามาก สมควรแด่พระพุทธเจ้า.

พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลกประ-

เสริฐกว่าเทวดา ผู้องอาจกว่านระ แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์

๑. ขุ. อุ. ๓๒/ข้อ ๔๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 257

เสด็จเข้ามาสู่ประตูบ้าน เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส

ต้อนรับพระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก ผู้ทรงยศ

นำเสด็จเข้าสู่เรือนของตน. เรามีจิตเลื่อมใส มีใจ

โสมนัส อังคาสภิกษุ ๑ แสน และพระพุทธเจ้าผู้นายก

ของโลกให้อิ่มหนำด้วยข้าวชั้นพิเศษ. พระพุทธเจ้าพระ-

นามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงรับเครื่องบูชา

แล้วประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถา

เหล่านี้ว่า ผู้ใดถวายอาสนะทอง อันลาดด้วยเครื่องลาด

วิเศษมีขนยาวนี้ เราตถาคตจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่าน

ทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้นจักได้เป็นท้าวเทวราชอันนาง

อัปสรแวดล้อม เสวยสมบัติอยู่ ๗๔ ครั้ง จักได้เป็นเจ้า

ประเทศราชครอบครองพสุธา ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็น

พระเจ้าจักรพรรดิ ๕๑ ครั้ง จักเป็นผู้มีสกุลสูงในภพและ

กำเนิดทั้งปวง ภายหลัง ผู้นั้นอันกุศลมูลกระตุ้นเตือนแล้ว

จับบวชเป็นสาวกของพระศาสดา โดยชื่อว่าภัททิยะ. เรา

เป็นผู้ขวนขวายในวิเวก มีปกติอยู่ในเสนาสนะอันสงัด.

ผลทั้งปวงเราบรรลุแล้ว วันนี้เราเป็นผู้สละกิเลสได้แล้ว.

พระสัพพัญญูผู้นายกของโลก ทรงทราบคุณทั้งปวงของ

เราแล้ว ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ใน

ตำแหน่งเอตทัคคะ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔

วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้กระทำตามแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 258

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรามว่าอภิญญา ๖ เกิดขึ้นแก่ท่านแล้ว จึง

ตรัสว่า มาเถิดภัททะ. ทันใดนั้นเอง พระภัททะนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา

ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนประคองอัญชลีอยู่ในที่ใกล้พระศาสดา. ก็พระวาจา

ที่พระศาสดารับสั่งดังนั้นแหละได้เป็นอุปสมบทของเธอ. ได้ยินว่า การ

อุปสมบทนั่นชื่อว่าพุทธอุปสมบท อุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า. พระ-

เถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล โดยมุ่งกล่าวประวัติของตนตั้งแต่เกิด

จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

เราเป็นบุตรคนเดียว ซึ่งเป็นที่รักของมารดาบิดา

เพราะเหตุว่า มารดาบิดาได้เรามาด้วยการประพฤติวัตร

และการอ้อนวอนขอเป็นอันมาก ก็มารดาบิดาทั้งสองนั้น

มุ่งหวังความเจริญ แสวงหาประโยชน์เพื่ออนุเคราะห์เรา

จึงนำเรามาถวายแด่พระพุทธเจ้าแล้วทูลว่า บุตรของข้า-

พระองค์นี้เป็นสุขุมาลชาติได้รับแต่ความสุข เป็นบุตรที่

ข้าพระองค์ได้มาโดยยาก. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนาถะ

ของโลก ข้าพระองค์ทั้งสองขอถวายบุตรสุดที่รักนี้ ให้

เป็นคนรับใช้ของพระองค์ ผู้ทรงชนะกิเลสมาร. ก็

พระศาสดาทรงรักเราแล้ว รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า

จงรีบให้เด็กคนนี้บรรพชาเถิด เพราะเด็กคนนี้จักเป็นผู้

รอบรู้รวดเร็ว. พระศาสดาผู้ทรงชนะมารรับสั่งให้พระ-

อานนท์บรรพชาให้เรา แล้วเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี. เมื่อ

พระอานนท์บรรพชาให้เรา แล้วเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี. เมื่อ

พระอาทิตย์ยังไม่อัสดง จิตของเราก็พ้นจากอาสวกิเลส

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๖๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 259

ทั้งปวง ภายหลัง พระศาสดาทรงออกจากสมาบัติแล้ว

เสด็จออกจากที่เร้น รับสั่งกะเราว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด.

ภัททะ การรับสั่งเช่นนั้น เป็นการอุปสมบทของเรา เรา

เกิดมาได้ ๗ ปี ก็ได้อุปสมบท ได้บรรลุวิชชา ๓ น่า

อัศจรรย์ ความที่ธรรมเป็นธรรมดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วตจริยาหิ ความว่า ด้วยการได้ฟังคำ

ของสมณพราหมณ์ทั้งหลายที่กล่าวว่า ท่านทั้งหลายกระทำอย่างนี้แล้วจัก

ได้บุตร แล้วจึงประพฤติวัตรมีการดื่มนมสดไม่บริโภคอาหารเป็นต้น.

บทว่า อายาจนาหิ ได้แก่ ด้วยขอต่อเทวดาและขอต่อพระศาสดา,

ก็คำว่า อายาจนาหิ นี้เท่านั้นเป็นเหตุในเรื่องนี้ พระเถระกล่าวคำอื่น

เพื่อแสดงการปฏิบัติของมารดาบิดา และเพื่อแสดงภาวะที่มารดาบิดาได้

บุตรยาก.

บทว่า เต โยค มาตาปิตโร. บทว่า อุปนามยุ แปลว่า นำเข้า

ไปถวาย.

บทว่า สุเขธิโต ได้แก่ เจริญด้วยความสุข. บทว่า เต แปลว่า

แด่พระองค์. บทว่า ปริจาริก ได้แก่ ให้เป็นผู้กระทำกรณียกิจ.

บทว่า เหสฺสตฺยาชานิโย ย ความว่า เด็กคนนี้จักเป็นผู้รู้ได้

รวดเร็วในศาสนาของเรา. เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงได้ตรัสว่า จงรีบ

ให้บวชในวันนี้ทีเดียว.

บทว่า ปพฺพาเชตฺวาน ได้แก่ สั่งพระอานนทเถระให้บวชให้.

บทว่า วิหาร ได้แก่ พระคันธกุฎี.

บทว่า อโนคฺคตสฺมึ สูริยสฺมึ ได้แก่ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัสดง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 260

บทว่า ตโต จิตฺต วิมุจฺจิ เม ความว่า เบื้องหน้าแต่ปรารภ

วิปัสสนานั้น ไม่นานนักจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง คือเรา

เป็นผู้สิ้นอาสวะแล้ว.

บทว่า ตโต ได้แก่ ภายหลังแต่การสิ้นอาสวะของเรา.

บทว่า นิรากตฺวา ได้แก่ เข้าผลสมาบัติที่ตนเข้าแล้วออกจาก

ผลสมาบัตินั้น.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ออกจากที่เร้น. บทว่า สา เม

อาสูปสมฺปทา ความว่า พระวาจาของพระศาสดาที่ตรัสเจาะจงเราว่า มา

เถิดภัททะ นั้นนั่นแลเป็นอุปสมบทของเรา.

ด้วยบทว่า เราเกิดได้ ๗ ปีก็ได้อุปสมบท นี้ พระเถระแสดงถึง

การอนุเคราะห์อย่างดีที่พระศาสดาทรงกระทำ และความที่พระศาสนาเป็น

นิยยานิกธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์ด้วยประการอย่างนี้ . ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า น่าอัศจรรย์ความที่ธรรมเป็นธรรมดี ดังนี้.

ก็ในที่นี้ พระเถระแม้จะประกาศความเป็นพระขีณาสพด้วยคำว่า

" จิตของเราหลุดพ้นแล้ว" ก็ได้แสดงเอกเทศของโลกิยอภิญญาไว้ว่า เรา

บรรลุวิชชา ๓ โดยลำดับ เพื่อจะประกาศความที่ตนมีอภิญญา ๖. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า เราทำให้แจ้งอภิญญา ๖ แล้ว.

จบอรรถกถาภัททเถรคาถาที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 261

๔. โสปากเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโสปากเถระ

[๓๖๔] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้สูงกว่านรชน เป็นบุรุษอุดม

เสด็จจงกรมอยู่ที่ร่มเงาแห่งพระคันธกุฎี จึงเข้าไปเฝ้า

ถวายบังคม ณ ที่นั้น เราห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนม

มือเดินจงกรมตามพระองค์ผู้ปราศจากกิเลสธุลี ผู้สูงสุด

กว่าสัตว์ทั้งปวง ลำดับนั้น พระองค์ได้ตรัสถามปัญหาเรา

เราเป็นผู้ฉลาดรอบรู้ปัญหาทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีความ

หวาดหวั่นและไม่กลัว ได้พยากรณ์แด่พระศาสดา เมื่อ

เราวิสัชนาปัญหาแล้ว พระตถาคตทรงอนุโมทนา ทรง

ตรวจดูหมู่ภิกษุแล้ว ได้ตรัสเนื้อความนี้ว่า โสปากภิกษุนี้

บริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย ของ

ชาวอังคะและมคธะเหล่าใด เป็นลาภของชาวอังคะและ

มคธะเหล่านั้น อนึ่ง ได้ตรัสว่าเป็นลาภของชาวอังคะและ

ชาวมคธะ ที่ได้ต้อนรับและทำสามีจิกรรมแก่โสปากภิกษุ

ดูก่อนโสปากะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ให้เธอเข้ามาหา

เราได้ ดูก่อนโสปากะ การวิสัชนาปัญหานี้จงเป็นการ

อุปสมบทของเธอ เรามีอายุได้ ๗ ปีแต่เกิดมา ก็ได้

อุปสมบท ทรงร่างกายอันมีในชาติสุดท้ายไว้. น่าอัศจรรย์

ความที่ธรรมเป็นธรรมดี.

จบโสปากเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 262

อรรถกถาโสปากเถรคาถาที่ ๔

คาถาของท่านพระโสปากเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ทิสฺวา ปาสาท-

ฉายาย ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าปางก่อน

ทั้งหลาย สั่งสมบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ รู้เดียงสาแล้ว ถึงความ

สำเร็จในวิชาและศิลปะทั้งหลายของพวกพราหมณ์ เห็นโทษในกาม จึง

ละการครองเรือนบวชเป็นดาบสอยู่ ณ ภูเขาลูกหนึ่ง.

พระศาสดาทรงทรามว่าดาบสนั้นใกล้จะมรณะ จึงได้เสด็จเข้าไปยัง

สำนักของท่าน. ดาบสนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วมีจิตเลื่อมใส เมื่อ

จะประกาศความปีติและปราโมทย์อันยิ่งใหญ่ จึงได้ตกแต่งอาสนะดอกไม้

ถวาย. พระศาสดาประทับนั่งบนอาสนะนั้นแล้ว ตรัสธรรมีกถาอันสัมปยุต

ด้วยอนิจจตา เมื่อพระดาบสนั้นเห็นอยู่นั่นแล ได้เสด็จไปทางอากาศ.

ดาบสนั้นละการยึดถือว่าเที่ยงที่ตนเคยถือในกาลก่อน แล้วตั้งอนิจจสัญญา

ไว้ในหทัย กระทำกาละแล้วได้เกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่

ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในโสปาก-

กำเนิด ในเมืองราชคฤห์. ปรากฏโดยชื่ออันมีมาโดยกำเนิดว่า โสปากะ.

ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ท่านเกิดในตระกูลพ่อค้า ส่วนคำว่าโสปากะ

เป็นแต่เพียงชื่อ. คำนั้นผิดจากบาลีในอุทาน เพราะกล่าวไว้ว่า เมื่อถึง

ภพสุดท้าย เราเกิดในกำเนิดโสปากะ ดังนี้. เมื่อเขาเกิดได้ ๔ เดือน

บิดาก็ตาย อาจึงเลี้ยงไว้. ท่านเกิดได้ ๗ ปีโดยลำดับ วันหนึ่ง อา

๑. ผู้เกิดและเติบโตในป่าช้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 263

โกรธว่า ทะเลาะกับลูกของตน จึงนำเขาไปยังป่าช้า เอาเชือกผูกมือทั้ง

สองข้างเข้าด้วยกัน แล้วเชือกนั้นนั่นแหละผูกมัดอย่างแน่นหนาติดกับร่าง

ของคนตาย แล้วก็ไปเสียด้วยคิดว่า สุนัขจิ้งจอกเป็นต้นจงกัดกิน. เพราะ

เด็กนั้นเป็นผู้มีภพครั้งสุดท้าย เขาไม่อาจให้ตายได้เอง เพราะผลบุญของ

เด็ก แม้สัตว์ทั้งหลายมีสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นก็ไม่อาจครอบงำได้. ในเวลา

เที่ยงคืนเด็กนั้นเพ้ออยู่ว่า

คติของเราผู้ไม่มีคติจะเป็นอย่างไร หรือเผ่าพันธุ์ของ

เรา ผู้ไม่มีเผ่าพันธุ์จะเป็นใคร ใครจะเป็นผู้ให้อภัยแก่

เรา ผู้ถูกผูกอยู่ในท่ามกลางป่าช้า.

ในเวลานั้น พระศาสดาทรงตรวจดูเวไนยสัตว์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ ทรง

เห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตอันโพลงอยู่ในภายในหทัยของเด็ก จึงทรงแผ่

พระโอภาสทำให้เกิดสติแล้วตรัสอย่างนี้ว่า

มาเถิดโสปากะ อย่ากลัว จงแลดูตถาคต เราจะยัง

เธอให้ข้ามพ้นไป ดุจพระจันทร์พ้นจากปากราหูฉะนั้น.

ทารกตัดเครื่องผูกให้ขาดด้วยพุทธานุภาพ ในเวลาจบคาถา ได้เป็น

พระโสดาบัน ได้ยืนอยู่ตรงหน้าพระคันธกุฎี. มารดาของทารกนั้นไม่เห็น

บุตรจึงถามอา เมื่ออาเขาไม่บอกความเป็นไปของบุตรนั้น จึงไปค้น

หาในที่นั้น ๆ คิดว่า เขาเล่าลือว่าพระพุทธเจ้าทรงรู้อดีต อนาคต และ

ปัจจุบัน ถ้ากระไรเราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามความเป็นไป

แห่งบุตรของเรา จึงได้ไปยังสำนักของพระศาสดา. พระศาสดาทรงปกปิด

ทารกนั้นด้วยพระฤทธิ์ ทรงถูกนางถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า-

พระองค์ไม่เห็นบุตรของข้าพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 264

เป็นไปของเขาบ้างไหม พระเจ้าข้า. จึงตรัสธรรมว่า

บุตรทั้งหลายย่อมไม่มีเพื่อความเป็นผู้ต้านทาน บิดา

ก็ดี เผ่าพันธุ์ก็ดี ย่อมไม่มีเพื่อความเป็นผู้ต้านทาน

ความต้านทานในหมู่ญาติ ย่อมไม่มีแก่ผู้อันความตายถึง

ทับแล้ว.

นางได้ฟังธรรมนั้นแล้วได้เป็นพระโสดาบัน. ทารกได้บรรลุพระ-

อรหัต. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ เสด็จมายัง

สำนักของเรา ซึ่งกำลังชำระเงื้อมเขาอยู่ที่ภูเขาสูงอัน

ประเสริฐ เราเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามา ได้ตกแต่ง

เครื่องลาดแล้ว ได้ปูลาดอาสนะดอกไม้ถวายแด่พระ-

โลกเชษฐ์ผู้คงที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ

ผู้นายกของโลก ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้ทรงทราบ

คติของเรา ได้ตรัสความเป็นอนิจจังว่า สังขารทั้งหลาย

ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา

เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับ

เป็นสุข พระสัพพัญญูเชษฐบุรุษของโลก เป็นพระผู้

ประเสริฐ ทรงเป็นนักปราชญ์ ตรัสดังนี้แล้ว เสด็จเหาะ

ขึ้นไปในอากาศ ดังพระยาหงส์ในอัมพร เราละทิฏฐิของ

ตนแล้ว เจริญอนิจจสัญญา ครั้นเราเจริญอนิจจสัญญาได้

วันเดียว ก็ทำกาละ ณ ที่นั้นเอง เราเสวยสมบัติทั้งสอง

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๒๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 265

อันกุศลมูลกระตุ้นเตือนแล้ว เมื่อเกิดในภพที่สุด เกิดใน

โสปากกำเนิด (เกิดและเติบโตในป่าช้า) เราออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิต เรามีอายุได้ ๗ ปีโดยกำเนิด ได้

บรรลุพระอรหัต. เราปรารภความเพียรมีใจแน่วแน่ ตั้งมั่น

อยู่ในศีล ยังพระมหานาคให้ทรงยินดีแล้ว ได้อุปสมบท.

ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ ด้วยผลแห่งธรรมที่เราได้ทำไว้

ในกาลนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย

อาสนะดอกไม้. ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เจริญ

สัญญาใดไว้ในกาลนั้น เราเจริญสัญญานั้นอยู่ ได้บรรลุ

ถึงความสิ้นอาสนะแล้ว. คุณวิเศษเหล่านี้คือปฏิสัมภิทา ๔

. . .ฯลฯ. . . คำสอนพระพุทธเจ้าเราได้ทำตามแล้ว.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคลายพระฤทธิ์. ฝ่ายมารดาก็ได้

เห็นบุตร ร่าเริงดีใจ ได้ฟังว่าบุตรนั้นเป็นพระขีณาสพ จึงให้บวชแล้ว

ก็ไป ท่านโสปากะนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดาซึ่งกำลังเสด็จจงกรมอยู่ในร่ม

เงาแห่งพระคันธกุฎี ถวายบังคมแล้วจงกรมตามเสด็จ. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประสงค์จะทรงอนุญาตอุปสมบทแก่เธอ จึงมีพระดำรัสถามปัญหา ๑๐ ข้อ

โดยมีอาทิว่า เอก นาม กึ อะไรชื่อว่าหนึ่ง ดังนี้.

ฝ่ายท่านโสปากะนั้น ถือเอาพระพุทธประสงค์ เทียบเคียงกับพระ-

สัพพัญญุตญาณ ทูลแก้ปัญหาเหล่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพ สตฺตา

อาหารฏฺิติกา สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ดังนี้. ด้วย เหตุนั้นนั่นแล

ปัญหาเหล่านั้นจึงชื่อว่า กุมารปัญหา. พระศาสดาทรงมีพระทัยโปรดปราน

เพราะการพยากรณ์ปัญหาของเธอ จึงทรงอนุญาตการอุปสมบท, ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 266

เหตุนั้น อุปสมบทนั้นจึงชื่อว่า ปัญหพยากรณอุปสมบท อุปสมบทด้วย

การพยากรณ์ปัญหา. พระเถระครั้นประกาศประวัติของตนดังนี้แล้ว เมื่อ

จะพยากรณ์พระอรหัตผล จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านรชน เป็นอุดม

บุรุษ เสด็จจงกรมอยู่ในร่มเงาแห่งพระคันธกุฎี จึงเข้า

ไปเฝ้าพระองค์ ณ ที่นั้น แล้วถวายบังคม. เราห่มจีวร

เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือจงกรมตามพระองค์ผู้ปราศ-

จากกิเลสธุลี ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง. ลำดับนั้น พระองค์

ได้ตรัสถามปัญหาเรา เราเป็นผู้ฉลาดรอบรู้ปัญหาทั้งหลาย

เป็นผู้ไม่มีความหวาดหวั่น และไม่กลัว ได้พยากรณ์

(ปัญหา) แด่พระศาสดา เมื่อเราวิสัชนาปัญหาแล้ว พระ-

ตถาคตทรงอนุโมทนา ทรงตรวจดูหมู่ภิกษุแล้ว ได้ตรัส

เนื้อความนี้ว่า โสปากภิกษุนี้ บริโภคจีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ และคิลานปัจจัย ของชาวอังคะและมคธะ

เหล่าใด ก็เป็นลาภของชาวอังคะและมคธะเหล่านั้น. อนึ่ง

ได้ตรัสว่า เป็นลาภของชาวอังคะและมคธะ ที่ได้ต้อนรับ

และทำสามีจิกรรมแก่โสปากภิกษุ. ดูก่อนโสปากะ ตั้งแต่

วันนี้เป็นต้นไป ให้เธอเข้ามาหาเราได้ ดูก่อนโสปากะ

การวิสัชนาปัญหานี้ จงเป็นการอุปสมบทของเธอ. เรามี

อายุได้ ๗ ปีแต่เกิดมาก็ได้อุปสมบท ยังคงทรงร่างกายอันมี

ในชาติสุดท้ายนี้ไว้น่าอัศจรรย์ความที่พระธรรมเป็นธรรมดี.

๑. ขุ. เถร ๒๖/ข้อ ๓๖๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 267

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาสาทฉายาย ได้แก่ ในร่มเงาแห่ง

พระคันธกุฎี.

บทว่า วนฺทิสฺส แปลว่า ถวายบังคมแล้ว.

บทว่า สหริตฺวาน ปาณโย ได้แก่ การทำมือทั้งสองให้บรรจบกัน

โดยอาการดอกบัวตูม. อธิบายว่า การทำอัญชลี.

บทว่า อนุจงฺกมิสฺส ความว่า เราเดินจงกรมโดยการเดินตามไป

เบื้องพระปฤษฎางค์ แห่งพระศาสดาผู้ทรงจงกรมอยู่.

บทว่า วิรช แปลว่า ปราศจากธุลีมีราคะเป็นต้น.

บทว่า ปญฺเห ได้แก่ กุมารปัญหา.

บทว่า วิทู ได้แก่รู้สิ่งที่ควรรู้ อธิบายว่า รู้สิ่งทั้งปวง. ชื่อว่าผู้

ไม่สะดุ้งและไม่กลัว เพราะเราละความสะดุ้งและความกลัวที่เกิดขึ้นว่า

พระศาสดาจักตรัสถามเราดังนี้ ด้วยพระอรหัตมรรคแล้ว จึงพยากรณ์.

บทว่า เยสาย โยคว่า เยส องฺคมคธาน อย โสปาโก

โสปากะบริโภคจีวร ฯลฯ ของชาวอังคะและมคธะเหล่าใด.

บทว่า ปจฺจย ได้แก่ คิลานปัจจัย.

บทว่า สามีจึ ได้แก่ กระทำสามีจิกรรม มีการหลีกทางให้

และการพัดวีเป็นต้น.

อักษรในบทว่า อชฺชทคฺเค นี้ กระทำการเชื่อมบท. อธิบายว่า

กระทำวันนี้ให้เป็นต้นไป คือจำเดิมแต่วันนี้. บาลีว่า อชฺชตคฺเค ดังนี้

ก็มี อธิบายว่า กระทำกาลมีในวันนี้ให้เป็นต้นไป.

บทว่า ทสฺสนาโยปสงฺกม ความว่า เธออย่าคิดว่า มีชาติต่ำ หรือ

อ่อนวัยกว่า จงเข้าไปพบเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 268

บทว่า เอสา เจว มีวาจาประกอบความว่า ก็พระศาสดาได้

ตรัสว่า ข้อที่เธอเทียบเคียงกับสัพพัญญุตญาณของเราแล้ว การทำการแก้

ปัญหานี้นั่นแล จงเป็นอุปสมบทของเธอ. บาลีว่า ลทฺธา เม อุปสมฺ-

ปทา เราได้อุปสมบทแล้ว ดังนี้ก็มี. สำหรับอาจารย์นางพวกที่กล่าวว่า

ลทฺธาน อุปสมฺปท ได้อุปสมบทแล้วดังนี้นั้น . บทว่า สตฺตวสฺเสน

ได้แก่ โดยปีที่ ๗. อีกอย่างหนึ่ง พึงเดิมคำที่เหลือว่า สตฺตวสฺเสน

หุตฺวา เป็นผู้มีอายุ ๗ ปี. ส่วนคำที่ไม่ได้กล่าวไว้ในที่นี้ ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาโสปากเถรคาถาที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 269

๕. สรภังคเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสรภังคเถระ

[๓๖๕] เราหักต้นแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะ-

ฉะนั้น เราจึงมีชื่อโดยสมมติว่า สรภังคะ วันนี้เราไม่

ควรหักต้นแขนด้วยมือทั้งสองอีก เพราะพระสมณโคดม

ผู้เรืองยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่เราทั้งหลาย. เมื่อก่อน

เราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ ๕

ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของ

พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ได้เห็นแล้ว. พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระ-

เวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ

ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ-

นามว่าโคดม ก็ได้เสร็จไปแล้วโดยทางนั้น. พระพุทธเจ้า

๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรง

หยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติโดยธรรมกาย ผู้คงที่

ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ

อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์

ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางที่ทุกข์ไม่เป็นไป อันไม่มีที่สุด

ในสงสาร เพราะกายนี้แตก และเพราะความสิ้นชีวิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 270

การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว

จากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.

จบสรภังคเถรคาถา

รวมพระคาถา

พระเถระ ๕ องค์ได้กล่าวคาถาองค์ละ ๗ คาถา รวมเป็น ๓

คาถา คือ

๑. พระสุนทรสมุททเถระ ๒. พระลกุณฏกภัตทิยเถระ ๓. พระ-

ภัททเถระ ๔. พระโสปากเถระ ๕. พระสรภังคเถระ.

จบสัตตกนิบาต

อรรถกถาสรภังคเถรคาถาที่ ๕

คาถาของท่านพระสรภังคเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สเร หตฺเถหิ ดังนี้.

เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ

สั่งสมกุศลอันเป็นที่เข้าไปอาศัยวิวัฏฏะ คือพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ

ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรพราหมณ์คนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์

ได้มีชื่อตามวงศ์สกุลว่า อนภิลักขิต.

เขาเจริญวัยแล้ว ละกามบวชเป็นดาบส หักไม้แขมและหญ้าด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 271

ตนเอง เอามาทำบรรณศาลาอยู่. ตั้งแต่นั้น ดาบสนั้นจึงมีสมัญญานามว่า

สรภังคะ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้

ทรงเห็นอุปนิสัยพระอรหัตของดาบสนั้น จึงเสด็จไปในที่นั้น ทรงแสดง

ธรรม. ดาบสนั้นได้ศรัทธาจึงบวช บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นาน

นักก็บรรลุพระอรหัต แล้วอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ. ครั้งนั้น บรรณศาลา

ที่พระเถระนั้นสร้างไว้ในคราวเป็นดาบส ได้ชำรุดพะเยิบพะยาบ. พวก

มนุษย์เห็นดังนั้นจึงกล่าวกันว่า ท่านขอรับ พวกกระผมจะซ่อมแซมกุฎีนี้

เพื่อใคร. พระเถระเมื่อจะประกาศกิจทั้งปวงนั้นว่า บัดนี้ เราไม่อาจทำ

กุฎีเหมือนในคราวเป็นดาบส จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

เราหักต้นแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะ-

ฉะนั้น เราจึงมีชื่อโดยสมมติว่า สรภังคะ วันนี้ เราไม่ควร

หักต้นแขมด้วยมือทั้งสองอีก เพราะพระสมณโคดมผู้

เรืองยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่เราทั้งหลายไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเร หตฺเถหิ ภญฺชิตฺวา ความว่า ใน

กาลก่อน คือในคราวเป็นดาบส เราเอามือทั้งสองหักไม่เเขมและหญ้า

สร้างเป็นกุฎีหญ้าอาศัย คืออยู่นั่งและนอน.

บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยการหักไม้แขมทั้งหลายมาสร้างกุฎี.

บทว่า สมฺมุติยา ความว่า ได้มีชื่อว่า สรภังคะ ตามสมมติเรื่อง

ราวโดยลำดับ.

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๖๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 272

บทว่า น มยฺห กปฺปเต อชฺช ความว่า วันนี้ คือบัดนี้ เรา

อุปสมบทแล้ว ไม่ควรหักไม้แขมด้วยมือทั้งสอง เพราะเหตุไร ? เพราะ

พระสมณโคดมผู้เรื่องยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แก่เราทั้งหลาย. ด้วย

คำนั้นพระเถระแสดงว่า สิกขาบทที่พระศาสดาทรงบัญญัติไว้ แก่เรา

ทั้งหลายนั้น เราทั้งหลายย่อมไม่ล่วงละเมิด แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต.

พระเถระแสดงเหตุในการไม่ซ่อมแซมกุฎีหญ้าโดยประการหนึ่ง ด้วย

ประการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงเหตุนั้นโดยปริยายอื่นอีก จึงกล่าว

คาถานี้ว่า

เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่ได้เห็นโรค คือ

อุปาทานขันธ์ ๕ ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนี้นั้นอันเราผู้

กระทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพเจ้าผู้

ยิ่งใหญ่ได้เห็นแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกล แปลว่า ทั้งสิ้น.

บทว่า สมตฺต แปลว่า ครบบริบูรณ์ อธิบายว่า ไม่เหลือจากส่วน

ทั้งปวง.

ด้วยบทว่า โรค นี้ พระเถระกล่าวหมายเอาอุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่า

เป็นโรค เพราะอรรถว่าเสียดแทงโดยความเป็นตัวทุกข์เป็นต้น.

บทว่า นาทฺทส ปุพฺเพ ความว่า ในกาลก่อนแต่ได้รับโอวาทของ

พระศาสดา เราไม่เคยเห็น.

บทว่า โสย โรโค ทิฏฺโ วจนกเรนาติเทวสฺส ความว่า โรค

กล่าวคือเบญขันธ์นี้นั้น อันพระสรภังคะผู้ตอบแทนพระโอวาทของพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 273

สัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้เป็นเทพยิ่งใหญ่ เพราะล่วงเทพแม้ทั้งปวง คือ

สมมติเทพ อุปปัตติเทพ และวิสุทธิเทพ ด้วยคุณมีศีลเป็นต้นของตน

ดำรงอยู่ ได้เห็นแล้ว คือกำหนดรู้แล้วโดยความเป็นเบญจขันธ์ ด้วยปัญญา

อันสัมปยุตด้วยมรรค อันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา. ด้วยบทว่า โสย

โรโค เป็นต้นนี้ พระเถระแสดงว่า แม้กุฎีคืออัตภาพก็ยิ่งไม่ห่วงใยอย่างนี้

อย่างไรจักซ่อมแซมกุฎีหญ้าภายนอก.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะพยากรณ์การบรรลุพระอรหัตของตนอย่างนี้ว่า

หนทางที่เราผู้เมื่อปฏิบัติก็ได้เห็นโรค คืออัตภาพตามความเป็นจริงนี้นั้น

เป็นทางทั่วไปสำหรับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์. เพราะเหตุที่เราตั้งอยู่ใน

ธรรมคือโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น อันเป็นดุจทองคำหักกลาง

(เป็น ๒ ท่อน) จึงได้ถึงความสิ้นทุกข์ ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถาเหล่านั้น

ความว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี พระสิขี

พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และพระ-

กัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใด พระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าพระนามว่าโคดม ก็เสด็จไปทางนั้น. พระพุทธเจ้า ๗

พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่ง

ถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติโดยธรรมกาย ผู้คงที่ ทรง

เอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ

อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์

ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางที่ทุกข์ไม่เป็นรูป อันไม่มีที่สุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 274

ในสงสาร. เพราะกายนี้แตก และเพราะความสิ้นชีวิต

การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นย่อมไม่มี เราเป็นผู้หลุดพ้น

แล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยเนว มคฺเคน ได้แก่ อริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ ใดแล อันเป็นส่วนเบื้องต้น.

บทว่า คโต แปลว่า ถึง คือบรรลุพระนิพพาน.

บทว่า วิปสฺสี ได้แก่ พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า

บทว่า กกุสนฺธ เป็นบทแสดงไขที่ไม่มีวิภัตติ. บาลีว่า กกุสนฺธ-

โกนาคมน ดังนี้ก็มี.

บทว่า เตนญฺชเสน ได้แก่ ทาง คืออันทางประเสรินั้นนั่นแหละ.

บทว่า อนาทานา ได้แก่ ผู้ไม่ถือมั่น หรือผู้ไม่มีปฏิสนธิ.

บทว่า ขโยคธา ได้แก่ ผู้หยั่งลงสู่พระนิพพาน คือมีพระนิพพาน

เป็นที่พึ่ง.

บทว่า เยหาย เทสิโต ธมฺโม ความว่า ศาสนธรรมนี้ พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์เหล่าใดทรงแสดงแล้ว คือทรงประกาศแล้ว.

บทว่า ธมฺมภูเตหิ ได้แก่ มีธรรมเป็นสภาวะ เพราะเป็นธรรมกาย

คือเกิดจากโลกุตรธรรม ๙ หรือบรรลุธรรม.

บทว่า ตาทิภิ ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้คงที่ไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์

เป็นต้น.

ด้วยบทว่า จตฺตาริ อริยสจฺจานิ เป็นต้น พระเถระแสดงถึงธรรม

ที่พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงแสดง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 275

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาริ เป็นการกำหนดการนับ.

บทว่า สจฺจานิ เป็นเครื่องแสดงถึงธรรมที่กำหนดไว้ แต่โดย

วจนัตถะ คือวิเคราะห์ความหมายของศัพท์ ชื่อว่า อริยสัจ เพราะประเสริฐ

และจริง เพราะอรรถว่าแท้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อริยสัจ เพราะพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงสัจจะ หรือเพราะสัจจะอันกระทำความ

เป็นพระอริยะ. ชื่อว่า ทุกข์ เพราะเป็นของน่าเกลียด และเพราะเป็น

ของว่างเปล่า ได้แก่อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕. ชื่อว่า สมุทัย ได้แก่ตัณหา

เพราะเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์. ชื่อว่า มรรค เพราะฆ่ากิเลสทั้งหลายไป

หรือเพราะผู้ต้องการพระนิพพานจะต้องแสวงหา ได้แก่ธรรม ๘ ประการ

มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. ชื่อว่า นิโรธ เพราะในพระนิพพานนั้นไม่มีฝั่ง กล่าว

คือสงสารเป็นที่เที่ยวไป หรือว่าเมื่อบุคคลบรรลุพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อม

ไม่มีฝั่ง หรือเป็นที่ดับทุกข์ ได้แก่พระนิพพาน.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุกฺขกฺขโย เป็นที่สิ้นทุกข์ ในที่นี้

มีความสังเขปเพียงเท่านี้ ส่วนความพิสดารพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว

ในวิสุทธิมรรคนั้นแล.

บทว่า ยสฺมึ ความว่า เมื่อบรรลุนิโรธ คือพระนิพพานใด.

บทว่า นิวตฺตเต มีวาจาประกอบความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทั้งหลายผู้มีธรรมกาย ทรงแสดงธรรมนี้ว่า เมื่ออริยมรรคภาวนามีอยู่

ทุกข์มีชาติเป็นต้นอันหาที่สุดมิได้ คือไม่มีที่สุด ย่อมไม่เป็นไปในสงสารนี้

คือย่อมขาดสูญ ความที่ทุกข์ขาดสูญนั้น เป็นนิโรธ. พระเถระแสดงโดย

สรุปถึงการบรรลุพระอรหัตของตน อันบ่งบอกด้วยกำหนดรู้ทุกข์ว่า เรา

เห็นโรคคือเบญจขันธ์ โดยมีนัยอาทิว่า เภทา เพราะกายแตก ดังนี้. ส่วน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 276

ในบาลีว่า ทุกข์ย่อมเกิดในสงสารใด ประกอบความแห่งคาถาทั้งปวง

ในบาลีนั้นว่า ทุกข์มีชาติเป็นต้นอันหาที่สุดมิได้นี้ ย่อมเกิดในสงสาร

ที่เข้าใจกันว่าลำดับแห่งขันธ์เป็นต้นใด สงสารนั้น อื่นจากการถึงทุกข์นี้

ชื่อว่าภพใหม่เพราะเกิดบ่อยๆ. เพราะมีชีวิตินทรีย์นี้สูญสิ้นไปเพราะความ

แตก คือความพินาศแห่งขันธ์ ๕ กล่าวคือกาย นอกเหนือขึ้นไปย่อม

ไม่มี (อะไร) เพราะฉะนั้น เราจึงหลุดพ้น คือพรากจากสิ่งทั้งปวง

คือจากกิเลสและภพทั้งปวงแล.

จบอรรถกถาสรภังคเถรคาถาที่ ๕

จบปรมัตถทีปนี

อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา

สัตตกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 277

เถรคาถา อัฏฐกนิบาต

๑. มหากัจจายนเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมหากัจจายนเถระ

[๓๖๖] ภิกษุไม่ควรทำการงานให้มาก ควรหลีกเร้นหมู่ชน

ไม่ควรขวนขวายเพื่อยังปัจจัยให้เกิด เพราะภิกษุใดเป็นผู้

ติดรสอาหาร ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้ขวนขวายเพื่อยังปัจจัย

ให้เกิด และชื่อว่าละทิ้งประโยชน์อันจะนำความสุขมาให้

พระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวการไหว้

การบูชาในสกุลทั้งหลายว่า เป็นเปือกตม เป็นลูกศรอัน

ละเอียดที่ถอนได้ยาก เพราะสักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก

ภิกษุไม่ควรแนะนำสัตว์อันให้ทำกรรมอันเป็นบาป และ

ไม่พึงซ่องเสพกรรมนั้นด้วยตนเอง เพราะสัตว์มีกรรม

เป็นเผ่าพันธุ์ คนเราย่อมไม่เป็นโจรเพราะคำของบุคคล

อื่น ไม่เป็นมุนีเพราะคำของบุคคลอื่น บุคคลรู้จักตนเอง

ว่าเป็นอย่างไร แม้เทพเจ้าทั้งหลายก็รู้จักบุคคลนั้นว่าเป็น

อย่างนั้น ก็คนพวกอื่นย่อมไม่รู้สึกตัวว่า พวกเราที่สมาคม

นี้ จักพากันยุบยับในหมู่ชนพวกนั้น พวกใดมารู้สึกตัวว่า

พวกเราจักพากันไปสู่ที่ใกล้มัจจุราช ความทะเลาะวิวาท

ย่อมระงับไปเพราะพวกนั้น บุคคลผู้มีปัญญา ถึงจะสิ้น

ทรัพย์ก็ยังเป็นอยู่ได้ ส่วนบุคคลถึงจะมีทรัพย์ก็เป็นอยู่

ไม่ได้ เพราะไม่ได้ปัญญา บุคคลย่อมได้ยินเสียงทุกอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 278

ด้วยหู ย่อมเห็นสิ่งทั้งปวงด้วยจักษุ แต่นักปราชญ์ย่อม

ไม่ควรละทิ้งสิ่งทั้งปวงที่ได้เห็นได้ฟังมาแล้ว ผู้มีปัญญา

ถึงมีตาดี ก็ทำเหมือนคนตาบอด ถึงมีหูดี ก็ทำเหมือน

คนหูหนวก ถึงมีปัญญา ก็ทำเหมือนคนใบ้ ถึงมีกำลัง

ก็ทำเหมือนคนทุรพล แต่เมื่อประโยชน์นี้เกิดขึ้น ถึงจะ

นอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย ก็ยังทำประโยชน์นั้นได้.

จบมหากัจจายนเถรคาถา

อรรถกถาอัฏฐกนิบาต

อรรถกถามหากัจจายนเถรคาถาที่ ๑

ในอัฏฐกนิบาต คาถาของท่านพระมหากัจจายนเถระ มีคำเริ่มต้น

ว่า กมฺม พหุก ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ท่านพระมหากัจจายนเถระแม้นี้ เป็นผู้มีอธิการได้บำเพ็ญมาแล้ว

ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

พระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล เจริญวัยแล้ว

วันหนึ่ง กำลังฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา พบภิกษุรูปหนึ่งที่พระ-

ศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้จำแนกอรรถ

ที่พระศาสดาตรัสไว้โดยย่อ ให้พิสดาร แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สุเมธะ เป็นผู้ทรงวิชา ไป

ทางอากาศ เห็นพระศาสดาประทับนั่งในไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง ใกล้ภูเขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 279

หิมวันต์ มีใจเลื่อมใส ทำการบูชาด้วยดอกกรรณิการ์หลายดอก.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านวนเวียนไป ๆ มาๆ ในสุคตินั้นนั่นแหละ ใน

กาลแห่งพระทศพลเจ้า ทรงพระนามว่ากัสสปะ (ท่าน) ได้บังเกิดใน

เรือนมีตระกูล ในกรุงพาราณสี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว

ทำการบูชาในที่สร้างเจดีย์ทองคำ ด้วยแผ่นอิฐทองคำ อันมีค่าแสนหนึ่ง

แล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอให้สรีระของ

ข้าพระองค์ จงมีสีเหมือนทองคำ ในที่ที่ข้าพระองค์เกิดแล้วเถิด.

ต่อแต่นั้นมา ก็บำเพ็ญแต่กุศลกรรมจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไป

ในเทวโลกและมนุษยโลก ตลอดพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้

ท่านบังเกิดในบ้านปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี, ใน

วันตั้งชื่อทารกนั้น มารดาคิดว่า บุตรของเรามีสีกายเหมือนทองคำ พา

เอาชื่อของตนมาแล้ว ดังนี้ จึงตั้งชื่อว่า กัญจนมาณพ นั่นแล. ทารกนั้น

เจริญวัยแล้ว ก็ศึกษาเล่าเรียนไตรเพทจนจบ พอบิดาล่วงไป ก็ได้ตำแหน่ง

เป็นปุโรหิต. เขาปรากฏชื่อว่า กัจจายนะ ด้วยอำนาจแห่งโคตร. พระเจ้า

จัณฑปัชโชตทรงสดับว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น จึงส่งเขาไปว่า อาจารย์

ท่านจงไปในที่นั้น นำเสด็จพระศาสดามาในที่นี้เถิด.

กัจจายนะนั้น มีตนเป็นที่ ๘ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา. พระศาสดา

ทรงแสดงธรรมแก่เขา ในที่สุดแห่งเทศนา เขาพร้อมทั้งชนอีก ๗ คน

ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวไว้ในอปทานว่า:-

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๒๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 280

พระพิชิตมารพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ปราศจากตัณหา

ทรงชำนะสิ่งที่ใคร ๆ เอาชนะไม่ได้ เป็นพระผู้นำ ได้เสด็จ

อุบัติขึ้นในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระองค์เป็นผู้แกล้วกล้า

สามารถ มีพระอินทรีย์เสมือนใบบัว มีพระพักตร์ปราศ-

จากมลทินคล้ายพระจันทร์ มีพระฉวีวรรณปานดังทองคำ

มีพระรัศมีซ่านออกจากพระองค์ เหมือนรัศมีพระอาทิตย์

เป็นที่ติดตาตรึงใจของสัตว์ ประดับด้วยพระลักษณะอัน

ประเสริฐ ล่วงทางแห่งคำพูดทุกอย่าง อันหมู่มนุษย์และ

อมรเทพสักการะ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงยังสัตว์ให้

ตรัสรู้ ทรงนำไปได้อย่างรวดเร็ว มีพระสุรเสียงไพเราะ

มีพระสันดานมากไปด้วยพระกรุณา ทรงแกล้วกล้าในที่

ประชุม พระองค์ทรงแสดงธรรมอันไพเราะ ซึ่งประกอบ

ด้วยสัจจะ ๔ ทรงฉุดขึ้นซึ่งหมู่สัตว์ที่จมอยู่ในเปือกตม

คือโมหะ.

ครั้งนั้น เราเป็นดาบสสัญจรไปแต่คนเดียว มีป่า

หิมพานต์เป็นที่อยู่อาศัย เมื่อไปสู่มนุษยโลกทางอากาศ

ก็ได้พบพระพิชิตมาร เราได้เข้าไปเฝ้าพระองค์ แล้วสดับ

พระธรรมเทศนาของพระธีรเจ้า ผู้ทรงพรรณนาคุณอัน

ใหญ่ของพระสาวกอยู่ว่า เราไม่เห็นสาวกองค์อื่นใด ใน

พระธรรมวินัยนี้ ที่จะเสมอเหมือนกับกัจจายนภิกษุนี้ ผู้

ซึ่งประกาศธรรมที่เราแสดงแล้วแต่โดยย่อ ได้โดยพิสดาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 281

ทำบริษัทและเราให้ยินดี เพราะฉะนั้น กัจจายนภิกษุนี้จึง

เลิศกว่าภิกษุผู้เลิศในการกล่าวธรรมได้โดยพิสดาร ซึ่ง

อรรถแห่งภาษิตที่เรากล่าวไว้แต่โดยย่อนี้ ภิกษุทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายจงทรงจำไว้อย่างนี้เถิด.

ครั้งนั้น เราได้ฟังพระดำรัสอันรื่นรมย์ใจแล้ว เกิด

ความอัศจรรย์ จึงไปป่าหิมพานต์ นำเอากลุ่มดอกไม้มา

บูชาพระผู้เป็นที่พึ่งของโลก แล้วปรารถนาฐานันดรนั้น

ครั้งนั้น พระผู้ทรงละกิเลสเป็นเหตุให้ร้องไห้ ทรงทราบ

อัธยาศัยของเราแล้ว ได้ทรงพยากรณ์ว่า จงดูฤๅษีผู้ประ-

เสริฐนี้ ซึ่งเป็นผู้มีผิวพรรณเหมือนทองคำที่ไล่มลทินออก

แล้ว มีโลมชาติชูชันและใจโสมนัส ยืนประณมอัญชลีนิ่ง

ไม่ไหวติง ร่าเริง มีนัยน์ตาเต็มดี มีอัธยาศัยน้อมไปใน

คุณของพระพุทธเจ้า มีธรรมเป็นธง มีหทัยร่าเริง เหมือน

กับถูกรดด้วยน้ำอมฤต เขาได้สดับคุณของกัจจายนภิกษุ

เข้า จึงได้ปรารถนาฐานันดรนั้น ในอนาคตกาล ฤๅษีผู้นี้จัก

ได้เป็นธรรมทายาทของพระโคดม มหามุนี เป็นโอรส

อันธรรนเนรมิต จักเป็นพระสาวกของพระศาสดา มีนามว่า

กัจจายนะ เขาจักเป็นพหูสูตมีญาณใหญ่ รู้อธิบายแจ้งชัด

เป็นนักปราชญ์ จักถึงฐานันดรนั้น ดังที่เราได้พยากรณ์

ไว้แล้ว.

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น

ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 282

เราท่องเที่ยวอยู่แต่ในสองภพ คือในเทวดาและมนุษย์

คติอื่นเราไม่รู้ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเกิดในสอง

สกุล คือสกุลกษัตริย์และสกุลพราหมณ์ เราไม่เกิดใน

สกุลที่ต่ำทราม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

และในภพสุดท้าย เราเกิดเป็นบุตรของติริติวัจฉ-

พราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ใน

พระนครอุชเชนีอันน่ารื่นรมย์ เราเป็นคนฉลาดเรียนจบ

ไตรเพท ส่วนมารดาของเราชื่อจันทนปทุมา เราชื่อ

กัจจายนะ เป็นผู้มีผิวพรรณงาม เราอันพระเจ้าแผ่นดิน

ทรงส่งไปเพื่อพิจารณาพระพุทธเจ้า ได้พบพระผู้นำซึ่ง

เป็นประตูของโมกขบุรี เป็นที่สั่งสมคุณ และได้สดับ

พระพุทธภาษิตอันปราศจากมลทิน เป็นเครื่องชำระล้าง

เปือกตมคือคติ จึงได้บรรลุอมตธรรมอันสงบ ระงับ พร้อม

กับบุรุษ ๗ คนที่เหลือ เราเป็นผู้รู้อธิบายในพระมติอัน

ใหญ่ ของพระสุคตเจ้าได้แจ้งชัด และพระศาสดา

ทรงตั้งไว้ตำแหน่งเอตทัคคะ เราเป็นผู้มีความปรารถนา

สำเร็จด้วยดีแล้ว เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ...ฯลฯ...

พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า ท่านทั้งหลาย

จงเป็นภิกษุมาเถิด. ในขณะนั้นนั่นเอง ท่านเหล่านั้นมีผมและหนวดเพียง

๒ องคุลี ทรงบาตรและจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นผู้คล้ายพระเถระมี

๑. บางแห่งเป็น จันทิมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 283

พรรษา ๖๐ พรรษา พระเถระทำประโยชน์ของตนให้สำเร็จด้วยประการ

ฉะนี้แล้ว จึงกราบทูลแด่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้า-

จัณฑปัชโชตทรงปรารถนาเพื่อจะไหว้ที่พระบาท และเพื่อจะทรงสดับ

ธรรมของพระองค์. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุ เธอนั่นแหละ จงไปในที่นั้น

แม้เมื่อเธอไปแล้ว พระราชาก็จักเลื่อมใสเอง.

พระเถระมีตนเป็นที่ ๘ ไปในที่นั้นตามพระดำรัสสั่งของพระศาสดา

ทำให้พระราชาทรงเลื่อมใสแล้ว ให้ประดิษฐานพระศาสนาในแคว้น

อวันตีชนบทแล้ว ไปเฝ้าพระศาสดาอีกครั้งหนึ่ง วันหนึ่ง ท่านเห็นภิกษุ

เป็นอันมากละสมณธรรมมายินดีในการงาน ยินดีในการคลุกคลี พอใจ

ในรสตัณหา และอยู่ด้วยความประมาท ด้วยการที่จะโอวาทภิกษุเหล่านั้น

จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ภิกษุไม่ควรทำการงานให้มาก ควรหลีกเร้นหมู่ชน

ไม่ควรขวนขวายเพื่อให้ปัจจัยเกิดขึ้น เพราะภิกษุใดเป็น

ผู้ติดรสอาหาร ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้ขวนขวาย เพื่อให้

ปัจจัยเกิดขึ้น และข้อว่าละทิ้งประโยชน์อันจะนำความสุข

มาให้ พระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าว

การไหว้ การบูชาในสกุลทั้งหลายว่า เป็นเปือกตม เป็น

ลูกศรอันละเอียด ถอนได้ยาก เพราะสักการะอันบุรุษชั่ว

ละได้ยาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺม พหุก น การเย ความว่า ภิกษุ

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๓๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 284

ไม่พึงปรารถนานวกรรมที่ใหญ่ มีการให้สร้างที่อยู่ใหม่เป็นต้น อันเป็น

เหตุพัวพันต่อการบำเพ็ญสมณะธรรม, ส่วนการปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดทรุด-

โทรมที่จะลงมือทำเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อบูชาพระดำรัสของพระศาสดาก็ควร

ทำทีเดียว.

บทว่า ปริวชฺเชยฺย ชน ความว่า ควรหลีกเว้นหมู่ชน ด้วยอำนาจ

การคลุกคลีด้วยหมู่คณะ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชน ความว่า เมื่อภิกษุ

เสวนาคบหา เข้าไปนั่งใกล้บุคคลเช่นใด กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป อกุศล-

ธรรมย่อมเจริญขึ้น ภิกษุควรหลีกเว้นหมู่ชนผู้ไม่ใช่กัลยาณมิตรเช่นนั้น

เสีย.

บทว่า น อุยฺยเม ความว่า ภิกษุไม่พึงพยายาม ด้วยการสงเคราะห์

สกุลเพื่อให้ปัจจัยเกิดขึ้น. เพราะบทว่า โส อุสฺสุกฺโก รสานุคิทฺโธ อตฺถ

ริญฺจติ โย สุขาธิวาโห ความว่า ภิกษุใดเป็นผู้ติดรสอาหาร คือติดรส

อาหารด้วยอำนาจตัณหา เป็นผู้ขวนขวายเพื่อให้ปัจจัยเกิดขึ้น ภิกษุนั้น

ย่อมเป็นผู้ขวนขวายเพื่อสงเคราะห์สกุล เมื่อสกุลมีความสุข ตนเองก็พลอย

มีความสุข เมื่อสกุลประสบความทุกข์ ตนเองก็พลอยมีความทุกข์ไปด้วย

เมื่อกิจการงานของสกุลเกิดขึ้น ก็เอาตนเข้าไปพัวพัน ย่อมละเว้น ประโยชน์

มีศีลเป็นต้น อันจะนำความสุขมาให้ คืออันจะนำความสุขที่เกิดจากสมถะ

วิปัสสนา มรรคผล และนิพพานมาให้ คือแตกตนออกจากประโยชน์นั้น

โดยส่วนเดียว.

พระเถระโอวาทว่า ท่านจงเว้นความยินดีในการงาน ความยินดีใน

การคลุกคลี และความติดใจในปัจจัย ด้วยคาถาแรกอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะติเตียนถึงความมุ่งหวังสักการะ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 285

เนื้อความแห่งคาถาที่ ๒ นั้นว่า การไหว้และการบูชานี้ใด ที่หมู่ชน

ตามเรือนในสกุล ทำเพื่อยกย่องคุณของบรรพชิตผู้เข้าไปเพื่อภิกษา เพราะ

พระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวชี้แจงหรือประกาศให้รู้ถึง

การไหว้และการบูชานั้นว่า เป็นเปือกตม เพราะอรรถว่า ยังผู้ที่มิได้อบรม

ตนให้จมลง และเพราะอรรถว่าทำความมัวหมองให้ และเพราะกล่าวถึง

การมุ่งสักการะ ของอันธปุถุชนผู้ยังไม่รู้ทั่วถึงขันธ์ ว่าเป็นลูกศรอัน

ละเอียดที่ถอนขึ้นได้ยาก เพราะเกิดเป็นความเบียดเบียน เพราะข่มขื่นภายใน

และเพราะถอนขึ้นได้ยาก ด้วยเหตุเป็นสภาวะอันบุคคลรู้ได้โดยยาก ฉะนั้น

นั่นแล สักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก คือพึงละได้โดยยาก เพราะไม่

ดำเนินไปตามข้อปฏิบัติเป็นเครื่องละสักการะนั้น, เพราะสักการะ จะเป็น

อันบุรุษละได้ ก็ด้วยการละความมุ่งสักการะ ฉะนั้น ท่านจึงแสดงว่า

การประกอบความเพียร เพื่อการละสักการะนั้น เป็นกรณียะที่ภิกษุควร

ทำแล.

ภิกษุไม่ควรแนะนำสัตว์อื่นให้ทำกรรมชั่ว และไม่พึง

ซ่องเสพกรรมนั้นด้วยตนเอง เพราะสัตว์มีกรรมเป็น

เผ่าพันธุ์ คนเราย่อมไม่เป็นโจรเพราะคำของบุคคลอื่น

ไม่เป็นมุนีเพราะคำของบุคคลอื่น บุคคลอื่นรู้จักตนเองว่า

เป็นอย่างไร แม้เทพเจ้าทั้งหลายก็รู้อักบุคคลนั้นว่าเป็น

อย่างนั้น ก็คนพวกอื่นย่อมไม่รู้สึกตัวว่า พวกเราที่สมาคม

นี้ จักพากันย่อยยับ ในหมู่ชนพวกนั้น พวกใดมารู้สึก

ตัวว่า พวกเราจักพากันไปสู่ที่ใกล้มัจจุราช ความทะเลาะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 286

วิวาท ย่อมระงับไปเพราะพวกนั้น บุคคลผู้มีปัญญาถึง

จะสิ้นทรัพย์ก็ยังเป็นอยู่ได้ ส่วนบุคคลถึงจะมีทรัพย์ก็เป็น

อยู่ไม่ได้ เพราะไม่ได้ปัญญา บุคคลย่อมได้ยินเสียงทุก

อย่างด้วยหู ย่อมเห็นสิ่งทั้งปวงด้วยจักษุ แต่นักปราชญ์

ย่อมไม่ควรละทิ้งสิ่งทั้งปวง ที่ได้เห็นได้ฟังมาแล้ว ผู้มี

ปัญญาถึงมีตาดี ก็ทำเหมือนคนตาบอด ถึงมีหูดี ก็ทำ

เหมือนคนหูหนวก ถึงมีปัญญา ก็ทำเหมือนคนใบ้ ถึง

มีกำลัง ก็ทำเหมือนคนทุรพล แต่เมื่อประโยชน์เกิดขึ้น

ถึงจะนอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย ก็ยังทำประโยชน์นั้นได้.

ได้ยินว่า พระราชาพระองค์นั้น ทรงเชื่อพวกพราหมณ์ แล้วรับสั่ง

ให้ฆ่าสัตว์บูชายัญ ไม่ทรงสอบสวนการกระทำให้ถ่องแท้ ลงอาชญาผู้คน

หลายคนที่มิใช่โจร ด้วยความสำคัญผิดคิดว่าเป็นโจร และในการตัดสิน

คดีความ ก็ทรงตัดสินทำผู้คนที่มิได้เป็นเจ้าของ ให้เป็นเจ้าของ และทรง

ตัดสินทำผู้ที่เป็นเจ้าของเดิม ไม่ให้ได้เป็นเจ้าของ. เพราะเหตุนั้น เพื่อ

จะชี้แจงความนั้นกะพระราชา พระเถระจึงกล่าวคาถา ๖ คาถา โดยมีนัย

เป็นต้นว่า น ปรสฺส ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ปรสฺสุปนิธาย กมฺม มจฺจสฺส

ปาปก ความว่า ภิกษุไม่ควรทำการแนะนำสัตว์อื่น ให้ซ่องเสพกรรมชั่ว

มีการฆ่าและการจองจำเป็นต้น คือไม่ควรชักชวนบุคคลอื่นให้ทำ.

บทว่า อตฺตนา ต น เสเวยฺย ความว่า แม้ตนเองก็ต้องไม่ทำ

กรรมชั่วนั้น. เพราะอะไร ? เพราะสัตว์มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 287

สัตว์เหล่านี้ย่อมเป็นทายาทของกรรม เพราะฉะนั้น ตนเองต้องไม่ทำกรรม

ชั่วอะไรๆเลย ทั้งไม่ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมชั่วนั้นด้วย.

บทว่า น ปเร วจนา โจโร ความว่า ตนเองไม่ได้กระทำโจรกรรม

จะชื่อว่าเป็นโจรเพียงถ้อยคำของบุคคลอื่นนั้นหามิได้. ไม่เป็นมุนีเพราะคำ

ของบุคคลอื่น ก็เช่นกัน คือมุนีจะเป็นผู้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร และ

มโนสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี ด้วยเหตุเพียงถ้อยคำของบุคคลอื่นนั้นไม่ได้

เลย.

ก็บทว่า ปเร ในคาถานี้ ท่านแสดงไว้เพราะไม่ทำการลบวิภัตติ.

ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อท่านควรจะกล่าวว่า ปเรส แต่แสดงไว้

ว่า ปเร เพราะทำการลบ ส อักษรเสีย.

บทว่า อตฺตา จ น ยถา เวที ความว่า บุคคลรู้คน คือจิตที่ข้อง

แล้วนั้นว่าเป็นอย่างไร คือรู้แจ้ง รู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า เราบริสุทธิ์

หรือว่าไม่บริสุทธิ์ ดังนี้.

บทว่า เทวาปิ น ตถา วิทู ความว่า วิสุทธิเทพ และอุปปัตติเทพ

ย่อมรู้แจ่มชัดบุคคลนั้นว่าเป็นเช่นนั้น เพราะฉะนั้น ตนเองและเทพเช่นนั้น

จึงเป็นประมาณแห่งความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ ในเพราะการรู้ว่า

บริสุทธิ์ และไม่บริสุทธิ์ อธิบายว่า สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่ถูกความอยาก

และโทสะครอบงำแล้ว หารู้แจ่มชัดได้ไม่.

บทว่า ปเร ความว่า เว้นบัณฑิตเสีย คนพวกอื่นนอกจากบัณฑิต

นั้น คือผู้ไม่รู้จักกุศล อกุศล กรรมอันมีโทษและไม่มีโทษ กรรมและผล

แห่งกรรม ความไม่งดงามแห่งร่างกาย และความที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง

ชื่อว่า คนพวกอื่นในที่นี้. พวกเราในสมาคมนี้นั้น คือในชีวโลกนี้จักพา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 288

กันยุบยับ คือจักพากันละเว้น ได้แก่ไม่รู้ว่า พวกเราจักพากันไปสู่ที่ใกล้

มัจจุราช อัน เป็นสถานที่สงบแล้วเนือง ๆ.

บทว่า เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ ความว่า ก็ในหมู่ชนพวกนั้น พวกใด

คือพวกที่เป็นบัณฑิตย่อมรู้สึกตัวว่า พวกเราจักไปสู่ที่ใกล้แห่งมัจจุราช.

บทว่า ตโต สมฺมนฺติ เมธคา ความว่า ก็ชนพวกนั้น ที่รู้จักตัว

แล้วอย่างนั้น ย่อมปฏิบัติเพื่อสงบระงับการทะเลาะวิวาท คือการเบียดเบียน

ผู้อื่นได้ขาด ทั้งคนพวกอื่นนอกจากตนเอง ย่อมไม่ทะเลาะวิวาทกัน ไม่

เบียดเบียนกัน. ท่านแม้ทำคนที่มิใช่เป็นโจรให้เป็นโจร เพราะเหตุแห่ง

ชีวิต ด้วยการลงอาชญา ทั้งทำคนที่เป็นเจ้าของ ไม่ให้ได้เป็นเจ้าของ

เบียดเบียนจนถึงความเสื่อมทรัพย์ เพราะความบกพร่องแห่งปัญญา.

บุคคลผู้ไม่ทำตามนั้น ชื่อว่า ผู้มีปัญญา ถึงจะสิ้นทรัพย์ก็ยังเป็นอยู่ได้ คือ

ถึงทรัพย์จะหมดสิ้นไป แต่ก็ยังมีปัญญา สันโดษยินดีด้วยปัจจัยตามมีตาม

ได้ เลี้ยงชีวิตด้วยการงานที่ปราศจากโทษอย่างเดียวนี้ ชื่อว่า ชีวิตของ

บุคคลผู้มีปัญญา.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย

กล่าวความเป็นอยู่ด้วยปัญญาว่า เป็นชีวิตที่ประเสริฐสุด. ส่วนบุคคลผู้มี

ปัญญาทราม ถึงจะมีทรัพย์ ก็ทำทรัพย์ที่เป็นทิฏฐธรรมและสัมปรายิกธรรม

ให้ล้มเหลวไป เป็นอยู่ไม่ได้ เพราะไม่ได้ปัญญา คือจะชื่อว่าเป็นอยู่ด้วย

ความเป็นไปแห่งถ้อยคำมีคำครหาเป็นต้น หามิได้ แต่กลับทำทรัพย์ที่

ได้แล้วให้พินาศไป แม้ชีวิตก็ไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้ เพราะค่าที่ตนไร้

อุบาย.

ได้ยินว่า พระเถระได้กล่าวคาถาทั้ง ๔ คาถาเหล่านี้ แด่พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 289

ผู้กำลังทรงบรรทมอยู่. พระราชาทรงเห็นพระสุบิน กำลังนมัสการพระ-

เถระอยู่นั้นแล ก็ทรงตื่นขึ้น พอราตรีล่วงแล้ว เสด็จเข้าไปหาพระเถระ

ทรงไหว้แล้ว ทรงเล่าถึงความฝันตามที่พระองค์ทรงเห็นแล้วให้ฟัง พระ-

เถระสดับเรื่องความฝันนั้นแล้ว ภาษิตเฉพาะคาถานั้นแล้ว จึงโอวาท-

พระราชาด้วยคาถา ๒ คาถา มีคำเริ่มต้นว่า สพฺพ สุณาติ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สพฺพ สุณาติ โสเตน ในที่นี้

หมายความว่า บุคคลผู้ไม่หนวกย่อมได้ยินเสียงที่พอจะได้ยินชัด ทั้งหมด

ที่มาปรากฏ คือทั้งที่เป็นคำสุภาษิต ทั้งที่เป็นคำทุพภาษิตได้ ด้วยโสต-

ประสาท. บุคคลผู้ไม่บอดก็เหมือนกัน ย่อมเห็นรูปทั้งหมด คือที่ดีและ

ไม่ดีได้ด้วยจักษุประสาทนี้ จัดว่าเป็นสภาวะแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย.

ก็บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น จ ทิฏฺ สุต ธีโร สพฺพ อุชฺฌิตุ

นี้ เป็นเพียงอุทาหรณ์เท่านั้น ความว่า นักปราชญ์ คือผู้มีปัญญา ไม่ควร

ละทิ้ง สละ หรือยึดถือ รูปทั้งหมดที่ได้เห็นมา หรือเสียงทั้งหมดที่ได้ยิน

มาแล้ว. ก็นักปราชญ์พิจารณาถึงคุณและโทษ ในรูปและเสียงนั้นแล้ว

ควรละทิ้งเฉพาะสิ่งที่ควรจะทิ้ง และควรยึดถือสิ่งที่ควรยึดถือ เพราะฉะนั้น

คนมีปัญญา ถึงมีตาดี ก็ทำเหมือนคนตาบอด คือแม้จะมีตาดีก็ทำเหมือน

คนตาบอด คือทำทีเหมือนว่ามองไม่เห็น ในสิ่งที่เห็นแล้ว ควรละทิ้ง

แม้จะมีหูดีก็เช่นเดียวกัน ทำเหมือนคนหูหนวก คือทำทีเหมือนว่าไม่ได้

ยิน ในสิ่งที่ได้ยินแล้ว ควรละทิ้ง.

บทว่า ปฺวาสฺส ยถา มูโค ความว่า คนมีปัญญา แม้จะฉลาด

ในถ้อยคำ ก็พึงทำเหมือนคนใบ้ ในเมื่อไม่ควรจะพูด เพราะมีปัญญาเป็น

เครื่องพิจารณา. คนมีกำลัง คือถึงพร้อมด้วยกำลัง ก็พึงทำเหมือนคน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 290

ทุรพล ในเมื่อไม่ควรจะทำ. อักษร กระทำการเชื่อมบท ได้แก่พึง

ทำเหมือนคนไร้ความสามารถ.

บทว่า อถ อตฺเถ สมุปฺปนฺเน สเยถ มตสายิก ความว่า เมื่อ

ประโยชน์ที่ตนควรทำให้เกิดขึ้น คือปรากฏขึ้น ถึงจะนอนอยู่ในเวลาใกล้

ตาย ได้แก่แม้จะอยู่ในเวลาใกล้จะตาย ก็ยังต้องพิจารณาถึงประโยชน์นั้น

นั่นแล คือไม่ยอมให้ประโยชน์นั้นล้มเหลวไป.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อถ อตฺเถ สมุปฺปนฺเน ความว่า เมื่อ

ประโยชน์ คือกิจที่ตนไม่ควรทำให้เกิดขึ้น คือปรากฏขึ้น ถึงจะนอนอยู่

ในเวลาใกล้ตาย ได้แก่แม้จะนอนอยู่ในเวลาใกล้จะตายแล้ว ก็ไม่ยอมทำ

สิ่งที่ไม่ควรทำนั้นเลย. พระราชาได้รับโอวาทจากพระเถระอย่างนี้ว่า ก็

บัณฑิตไม่ควรทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ดังนี้แล้ว ทรงละสิ่งที่ไม่ควรทำ ได้ทรง

ประกอบเฉพาะสิ่งที่ควรทำเท่านั้นแล.

จบอรรถกถามหากัจจายนเถรคาถาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 291

๒. สิริมิตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสิริมิตตเถระ

[๓๖๗] ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มีมายา ไม่

ส่อเสียด ภิกษุนั้นแลเป็นผู้คงที่ ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าว

มาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า

ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกธรไว้ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด

ภิกษุนั้นเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วทุกเมื่อ ด้วยข้อ

ปฏิบัติตามที่กล่าวแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้น ย่อมไม่เศร้าโศก

ในโลกเบื้องหน้า ภิกษุใดไม่นักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มี

มายา ไม่ส่อเสียด มีศีลงาม ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าว

มาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า

ภิกษุใดไม่มักโกรธไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด

มีกัลยาณมิตร ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้

ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า ภิกษุใดไม่

มักโกรธ ไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด มีปัญญา

งาม ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้น

ย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า ผู้ใดมีศรัทธาไม่หวั่น

ไหวในพระตถาคต ตั้งมั่นดีแล้ว มีศีลอันงาม อันพระ-

อริยะใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์

และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า เป็น

ผู้ไม่ขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่ไร้ประโยชน์ เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 292

นักปราชญ์เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ก็ควรประกอบศรัทธา ศีล ปสาทะ และการเห็นธรรม

เนือง ๆ เถิด.

จบสิริมิตตเถรคาถา

อรรถกถาสิริมิตตเถรคาถาที่ ๒

คาถาของท่านพระสิริมิตตเถระ มีว่า อกฺโกธโน ดังนี้เป็นต้น.

เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ท่านพระสิริมิตตเถระแม้นี้ เป็นผู้มีอธิการได้บำเพ็ญมาแล้ว ใน

พระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ในภพนั้น ๆ ได้สั่งสมกุศลซึ่งเป็นอุปนิสัย

แห่งพระนิพพานไว้ ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดเป็นลูกชายของกุฎุมพีผู้มี

ทรัพย์มาก ในกรุงราชคฤห์ ได้มีนามว่า สิริมิตต์.

ได้ยินว่า มารดาของท่านสิริมิตต์นั้น เป็นน้องสาวของท่านสิริคุตต์

เรื่องของสิริคุตต์นั้น มาแล้วในอรรถกถาธรรมบทนั่นแล. สิริมิตต์ผู้เป็น

หลานชายของท่านสิริคุตต์นั้น พอเจริญวัยแล้ว ได้มีความเลื่อมใสต่อ

พระศาสดา ในเพราะการทรมานช้างธนบาล บรรพชาแล้ว บำเพ็ญ

วิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต วันหนึ่งท่านขึ้นสู่อาสนะเพื่อ

สวดพระปาฏิโมกข์ จึงนั่งจับพัดวีชนีอันวิจิตร บอกธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย

ท่านเมื่อจะบอก และเมื่อจะจำแนกแสดงคุณอันโอฬารยิ่ง จึงกล่าวคาถา

เหล่านี้ว่า :-

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๖๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 293

ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มีมายา ไม่

ส่อเสียด ภิกษุนั้นแล เป็นผู้คงที่ ด้วยข้อปฏิบัติตามที่

กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นละโลกไปแล้ว ย่อมไม่

เศร้าโศก. ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มีมายา

ไม่ส่อเสียด ภิกษุนั้นเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วทุกเมื่อ

ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นละโลก

ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก. ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูก

โกรธไว้ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด มีศีลงาม ด้วยข้อปฏิบัติ

ตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นละโลกไปแล้ว ย่อม

ไม่เศร้าโศก. ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มี

มายา ไม่ส่อเสียด มีกัลยาณมิตร ด้วยข้อปฏิบัติตามที่

กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นละโลกไปแล้ว ย่อมไม่

เศร้าโศก. ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มีมายา

ไม่ส่อเสียด มีปัญญางาม ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมา

แล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นละโลกไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.

ผู้ใดมีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระตถาคตเจ้า ตั้งมั่นดีแล้ว

มีศีลอันงาม อันพระอริยะชอบใจ สรรเสริญแล้ว มีความ

เลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่ไร้

ประโยชน์ เพราะฉะนั้น นักปราชญ์เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ควรประกอบศรัทธา ศีล

ความเลื่อมใส และการเห็นธรรมเนือง ๆ เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 294

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺโกธโน ได้แก่ ผู้มีปกติไม่โกรธ,

อธิบายว่า ก็เมื่อมีเหตุที่จะให้เกิดความโกรธปรากฏขึ้น ก็ดำรงอยู่ใน

อธิวาสนขันติ ไม่ยอมให้ความโกรธเกิดขึ้น.

บทว่า อนุปนาหี ได้แก่ ผู้ไม่ผูกโกรธไว้, อธิบายว่า เพราะอาศัย

ความผิดที่คนพวกอื่นกระทำไว้ เป็นผู้มีปกติไม่ผูกโกรธ โดยนัยเป็นต้นว่า

เขาได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา ได้ลักสิ่งของของเรา ดังนี้.

ชื่อว่า ผู้ไม่มีมายา เพราะมายาซึ่งมีลักษณะปกปิดความสงบและ

โทสะ ไม่มี.

ชื่อว่า ผู้ไม่ส่อเสียด เพราะเว้นขาดจากวาจาส่อเสียด.

บทว่า ส เว ตาทิสโก ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุนั้น คือผู้เห็นปานนั้น

มีชาติอย่างนั้น เป็นผู้ประกอบด้วยคุณตามที่กล่าวมาแล้ว อธิบายว่า ด้วย

ข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นละโลกไปแล้ว ย่อมไม่

เศร้าโศกในโลกหน้า เพราะว่าไม่มีเครื่องหมายแห่งความเศร้าโศก.

ชื่อว่า ผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว เพราะมีจักษุทวารเป็นต้น และ

มีกายทวารเป็นต้น อันคุ้มครองรักษาป้องกันแล้ว.

บทว่า กลฺยาณสีโล ได้แก่ ผู้มีศีลดี คือมีศีลอันบริสุทธิ์ดี.

บทว่า กลฺยาณมิตฺโต ความว่า กัลยาณมิตร เพราะอรรถว่า

มีมิตรดีงาม ซึ่งมีลักษณะตามที่ท่านแสดงไว้อย่างนี้ว่า :-

เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่น่ายกย่อง กล่าวแนะ

นำพร่ำสอน อดทนต่อถ้อยคำ อธิบายถ้อยคำที่ลึกซึ้งได้

ไม่ชักนำเพื่อนไปในทางที่ไม่ควร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 295

บทว่า กลฺยาณปญฺโ ได้แก่ ผู้มีปัญญาดี อธิบายว่า ธรรมดา

ปัญญาที่ไม่ดี แม้จะไม่มีก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ ก็ด้วย

อำนาจปัญญาอันเป็นเหตุนำออกจากสงสาร.

พระเถระครั้นแสดงถึงสัมมาปฏิบัติ ด้วยคาถาที่เป็นบุคลาธิษฐาน

โดยยกเอาความไม่โกรธเป็นต้นขึ้นเป็นประธาน ด้วยอำนาจการข่ม และ

ด้วยอำนาจการตัดเด็ดขาดซึ่งกิเลสมีความโกรธเป็นต้น ในคาถานั้นอย่าง

นี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะยกเอาศรัทธาที่เป็นโลกุตระ อันตนได้สำเร็จแล้ว

เป็นต้นขึ้นแสดงถึงสัมมาปฏิบัติ ด้วยคาถาที่เป็นบุคลาธิษฐานล้วน ๆ

จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ยสฺส สทฺธา ดังนี้.

เนื้อความแห่งบาทคาถานั้นว่า บุคคลใดมีศรัทธาที่มาโดยมรรค ซึ่ง

เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า แม้เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ดังนี้ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ จึงไม่หวั่นไหว คือไม่เอนเอียงใน

พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งมั่นแล้วด้วยดี. บัณฑิตพึงนำบทว่า อตฺถิ

มาเชื่อมเข้าด้วย.

บทว่า อริยกนฺต ได้แก่ อันพระอริยะทั้งหลายชอบใจ รักใคร่

เพราะไม่ละแม้ในระหว่างภพ.

บทว่า ปสสิต มีวาจาประกอบความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายมีพระ-

พุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้ว คือมีความยกย่อง ชมเชย. ก็ศีลนี้นั้น

มี ๒ อย่างคือ ศีลของคฤหัสถ์ และศีลของบรรพชิต.

ในบรรดาศีล ๒ อย่างเหล่านั้น ศีลคือสิกขาบท ๔ ที่คฤหัสถ์

สามารถจะรักษาได้ ชื่อว่าศีลของคฤหัสถ์. ปาริสุทธิศีล ๔ ทั้งหมด จน

ถึงศีลคือสิกขาบท ๑๐ ชื่อว่าศีลของบรรพชิต ศีลนี้นั้นแม้ทั้งหมด บัณฑิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 296

พึงทราบว่างาม. เพราะไม่ถูกความวิบัติมีความที่ศีลขาดเป็นต้น ถูก

ต้องแล้ว.

บทว่า สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความว่า บุคคลใด มีความ

เลื่อมใส คือมีศรัทธาไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีแล้วในพระอริยสงฆ์ โดยนัย

มีอาทิว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดี ดังนี้.

บัณฑิตพึงนำคำว่า อจโล สุปฺปติฏฺิโต ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีแล้ว ดังนี้

มาประกอบเข้าด้วย.

บทว่า อุชุภูตญฺจ ทสฺสน มีวาจาประกอบความว่า บุคคลใด

มีความเห็นแม้ทั้งสองอย่าง คือความเห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน และ

ความเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย ตรง คือไม่งอ ไม่คด เพราะไม่มีความคด

คือทิฏฐิ และเพราะไม่มีความคดคือกิเลส บุคคลนั้นชื่อว่า มีความ

ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีแล้ว.

บทว่า อทลิทฺโท ความว่า พระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า

เป็นต้น กล่าวผู้นั้น คือบุคคลเช่นนั้นว่า เป็นผู้ไม่ขัดสน เพราะเขา

มีทรัพย์อันหมดจดด้วยดีเหล่านี้คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์

คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ และทรัพย์คือปัญญา.

บทว่า อโมฆ ตสฺส ชีวิต ความว่า ชีวิตของผู้นั้น คือผู้เห็น

ปานนั้น ไม่ไร้ประโยชน์ คือไม่ว่างจากการบรรลุถึงประโยชน์ มีประโยชน์

ที่เป็นทิฏฐิธรรมเป็นต้น ได้แก่บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า มีผลเท่านั้น.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะบุคคลผู้ประกอบด้วยคุณมีศรัทธา

ตามที่กล่าวไว้แล้วเป็นต้น บัณฑิตเรียกว่า เป็นผู้ไม่ขัดสน มีชีวิตไม่ไร้

ประโยชน์ ฉะนั้น ถึงตัวเรา ก็พึงเป็นผู้เช่นนั้นบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 297

บทว่า สทฺธจ ฯเปฯ สาสน ความว่า กุลบุตร เมื่อหวนระลึก

ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ตรัสไว้แล้ว โดยนัยเป็นต้นว่า

การไม่การทำบาปทั้งปวง ดังนี้ พึงประกอบ คือพึงพอกพูน ศรัทธา

ศีล เหตุแห่งการเห็นธรรม ความหลุดพ้น ด้วยความปรารถนาดีในธรรม

และความเลื่อมใส ให้เจริญขึ้นเถิด.

พระเถระเมื่อจะประกาศคุณที่มีอยู่ในตน ด้วยมุ่งแสดงธรรมแก่ภิกษุ

ทั้งหลายอย่างนั้น จึงพยากรณ์พระอรหัตผล.

จบอรรถกถาสิริมิตตเถรคาถาที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 298

๓. มหาปันถกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมหาปันถกเถระ

[๓๖๘] เมื่อใด เราได้เห็นพระศาสดาผู้ปลอดภัยเป็นครั้งแรก

เมื่อนั้นความสลดใจได้เกิดมีแก่เรา เพราะได้เห็นพระ-

ศาสดาผู้อุดมบุรุษ ผู้ใดนอบน้อมพระศาสดาผู้ทรงสิริ ที่

พระบาทด้วยมือทั้งสอง ผู้นั้นพึงทำพระศาสดาให้ทรงยินดี

โปรดปราน ครั้งนั้นเราได้ละทิ้งบุตร ภรรยา ทรัพย์

และธัญญาหาร ปลงผมและหนวดออกบวชเป็นบรรพชิต

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ สำรวมดีแล้วในอินทรีย์

ทั้งหลาย ถวายบังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ไม่

พ่ายแพ้ต่อมาร ครั้งนั้น ความตั้งใจปรารถนาสำเร็จแก่เรา

เราไม่ได้นั่งอยู่เปล่าแม้เพียงครู่เดียว ในเมื่อยังถอนลูกศร

คือตัณหาขึ้นไม่ได้ ขอจงดูความเพียร ความบากบั่น

ของเราผู้อยู่ด้วยความตั้งใจอย่างนั้น เราได้บรรลุวิชชา ๓

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว เราระลึก

ชาติก่อน ๆ ได้ ได้ชำระทิพยจักษุหมดจดแล้ว เป็น

พระอรหันต์ ผู้ควรแก่ทักษิณา หลุดพ้นแล้ว ไม่มีอุปธิ

ต่อเมื่อราตรีสิ้นไปแล้ว พระอาทิตย์อุทัยขึ้นมา เราทำ

ตัณหาทั้งปวงให้เหือดแห้งไป จึงเข้าไปสู่ภายในกุฎีโดย

บัลลังก์.

จบมหาปันถกเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 299

พระเถระ ๓ องค์ ได้กล่าวคาถาไว้ในอัฏฐกนิบาตองค์ละ ๘ คาถา

รวมเป็น ๒๔ คาถา คือ ๑.พระมหากัจจายนเถระ ๒.พระสิริมิตตเถระ

๓.พระมหาปันถกเถระ.

จบอัฏฐกนิบาต

อรรถกถามหาปันถกเถรคาถาที่ ๓

มีคาถา ของท่านพระมหาปันถกเถระว่า ยทา ปมมทฺทกฺขึ

ดังนี้เป็นต้น. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร.

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ

ท่านมหาปันถกนี้ เป็นกุฎุมพี สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ ในหังสวดีนคร

วันหนึ่งกำลังฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดากำลังตั้งภิกษุ

รูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาดในการเปลี่ยน

แปลงทางสัญญา แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงบำเพ็ญมหาทาน

ให้เป็นไปตลอด ๗ วัน แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแล้ว ตั้ง

ความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในที่สุด ๗ วันแต่วันนี้ไป

พระองค์ทรงแต่งตั้งภิกษุใดไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ภิกษุนี้เป็นผู้เลิศ

กว่าภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางสัญญา ในศาสนาของเรา

ดังนี้ ขอด้วยพลังแห่งกุศลกรรมที่สั่งสมไว้นี้ แม้ข้าพระองค์ก็พึงเป็น

ผู้เลิศในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล เหมือน

ภิกษุนั้นเถิด.

ฝ่ายน้องชายของท่านกุฎุมพีนั้น บำเพ็ญกุศลกรรมสั่งสมไว้ใน

พระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ แล้วตั้งปณิธานไว้ โดยนัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 300

ดังกล่าวแล้วนั่นแล คือด้วยองค์ ๒ ได้แก่การนิรมิตร่างกายที่สำเร็จด้วย

ใจ และความเป็นผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางใจ. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเห็นว่าความปรารถนาของตนทั้งสองจะสำเร็จโดยไม่มีอันตราย จึงทรง

พยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล ในที่สุดแห่งแสนกัป ในศาสนาของพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ความปรารถนาของพวกเธอจักสำเร็จ.

คนทั้งสองนั้น บำเพ็ญบุญเป็นอันมากในอัตภาพนั้นจนตลอดชีวิต

จุติจากอัตภาพนั้น ก็พากันไปบังเกิดในเทวโลก. ในคนสองคนนั้นท่าน

ไม่ได้กล่าวถึงกัลยาณธรรม ที่มหาปันถกกระทำไว้ในระหว่างเลย.

ฝ่ายจูฬปันถก บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระ-

นามว่ากัสสปะ ทำโอทาตกสิณตลอด ๒๐,๐๐๐ ปีแล้ว บังเกิดในเทวบุรี.

ส่วนในอปทาน มาแล้วว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

ปทุมุตตระ จูฬปันถกเป็นดาบสอยู่ในหิมวันตประเทศ พบพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าในที่นั้นแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยฉัตรดอกไม้. เมื่อคนสองคนนั้น

ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์นั่นแล แสนกัปล่วงไป. ต่อมาพระศาสดา

ของพวกเรา บรรลุอภิสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงยังพระธรรมจักร

อันบวรให้เป็นไป ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน-

มหาวิหาร.

ก็สมัยนั้น ลูกสาวของท่านธนเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ลักลอบได้

กันกับทาสของตน กลัวพวกญาติ จึงถือเอาทรัพย์ที่พอเป็นสาระติดมือ

หนีไปกับทาสคนนั้น อยู่กันในที่อื่น อาศัยการอยู่ร่วมกันนั้น จึงตั้งครรภ์

พอครรภ์แก่เต็มที่ คิดว่าเราจักไปตลอดยังเรือนของญาติ แล้วก็เดินไป

คลอดบุตรในระหว่างทางนั่นเอง ถูกสามีตามให้กลับแล้ว ก็อยู่ในที่ที่ตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 301

อยู่ก่อน ได้ทำการตั้งชื่อบุตรว่า ปันถก เพราะเกิดในหนทาง. ในเวลา

ที่นางย้อนกลับมา กลับไปอยู่นั้น อาศัยเหตุนั้นนั่นแล จึงได้ตั้งครรภ์ขึ้น

เป็นครั้งที่สอง พอครรภ์แก่เต็มที่ ก็คลอดบุตรในระหว่างหนทาง โดย

นัยดังกล่าวแล้วในตอนต้นเหมือนกัน ถูกสามีตามให้กลับแล้ว ตั้งชื่อ

ลูกชายคนโตว่า มหาปันถก ตั้งชื่อลูกชายคนเล็กว่า จูฬปันถก อยู่ในที่

ที่เคยอยู่แล้วนั่นแล. เมื่อเด็กทั้งสองเจริญวัยโดยลำดับ ถูกเด็กทั้งสองคน

นั้นรบเร้าอยู่ว่า แม่ ! บอกตระกูลคุณตาคุณยายแก่พวกผมบ้างเถิด จึงส่ง

เด็กทั้งสองคนไปหามารดาบิดา. จำเดิมแต่กาลนั้นมา เด็กทั้งสองคน

ก็เจริญวัย ในเรือนของท่านธนเศรษฐี.

ในเด็กทั้งสองคนนั้น จูฬปันถก ยังเป็นเด็กเล็กนัก ส่วนมหาปันถก

ไปสู่สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้ากับคุณตาแล้ว เห็นพระศาสดาแล้ว

พร้อมกับการเห็นก็ได้เกิดศรัทธา ฟังธรรมแล้ว เพราะค่าที่ตนสมบูรณ์

ด้วยอุปนิสัย เป็นผู้มีความประสงค์จะบรรพชา จึงบอกลาท่านตา. ท่านตา

นั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระศาสดาแล้ว ก็ให้เขาบรรพชา. เขา

บรรพชาแล้ว เล่าเรียนพระพุทธพจน์ได้เป็นจำนวนมาก พอมีอายุครบ

๒๐ ปี อุปสมบทแล้ว ทำมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยพิเศษ เป็น

ผู้ได้อรูปฌาน ๔ ออกจากอรูปฌาน ๔ นั้นแล้ว ก็พยายามยกจิตขึ้นสู่

วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเป็นเลิศกว่าภิกษุ

ทั้งหลายผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางสัญญา ท่านยับยั้งอยู่ด้วยความสุข

อันเกิดแต่ฌาน และความสุขอันเกิดแต่ผล. วันหนึ่งจึงพิจารณาถึงข้อปฏิบัติ

ของตน อาศัยข้อปฏิบัติที่คนได้บรรลุแล้ว ได้เกิดโสมนัส เมื่อจะบันลือ

สีหนาท จึงกล่าวคาถาเหล่านั้นว่า

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๖๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 302

เมื่อใด เราได้เห็นพระศาสดาผู้ปลอดภัยเป็นครั้งแรก

เมื่อนั้นความสลดใจได้เกิดมีแก่เรา เพราะได้เห็นพระ-

ศาสดาผู้อุดมบุรุษ ผู้ใดนอบน้อมพระศาสดาผู้ทรงสิริ ที่

พระบาทด้วยมือทั้งสอง ผู้นั้นพึงทำพระศาสดาให้ทรง

ยินดีโปรดปราน ครั้งนั้นเราได้ละทิ้งบุตร ภรรยา ทรัพย์

และธัญญาหาร ปลงผมและหนวดออกบวชเป็นบรรพชิต

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ สำรวมดีแล้วในอินทรีย์

ทั้งหลาย ถวายบังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ไม่

พ่ายแพ้ต่อมาร ครั้งนั้นความตั้งใจปรารถนาสำเร็จแก่เรา

เราไม่ได้นั่งอยู่เปล่าแม้เพียงครู่เดียว ในเมื่อยังถอนลูกศร

คือตัณหาขึ้นไม่ได้ ขอจงดูความเพียร ความบากบั่น

ของเราผู้อยู่ด้วยความตั้งใจอย่างนั้น เราได้บรรลุวิชชา ๓

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว เราระลึก

ชาติก่อน ๆ ได้ ได้ชำระทิพยจักษุหมดจดแล้ว เป็น

พระอรหันต์ผู้ควรแก่ทักษิณา หลุดพ้นแล้ว ไม่มีอุปธิ

ต่อเมื่อราตรีสิ้นไปแล้ว พระอาทิตย์อุทัยขึ้นมา เราทำ

ตัณหาทั้งปวงให้เหือดแห้งไป จึงเข้าไปสู่ภายในกุฎีโดย

บัลลังก์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา แปลว่า ในกาลใด. บทว่า ปม

แปลว่า ตั้งแต่ครั้งแรก. บทว่า อทฺทกฺขึ แปลว่า ได้เห็นแล้ว. บทว่า

สตฺถาร ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 303

บทว่า อกุโตภย แปลว่า ผู้ไม่มีภัย. ก็เนื้อความในข้อนั้น มี

ดังต่อไปนี้ :- ในเวลาที่เราไปพร้อมกับคุณตาของเราได้เห็นเป็นครั้งแรก

ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้ชื่อว่า สัตถา เพราะทรงพร่ำสอน

เวไนยสัตว์ ด้วยทิฏฐธรรมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ และ

ปรมัตถประโยชน์ ตามสมควร พระองค์ผู้ไม่มีภัย มีความแกล้วกล้าด้วย

เวสารัชญาณ พระองค์ชื่อว่าเป็นผู้ปลอดภัย เพราะไม่มีภัยแม้ในที่ไหน ๆ

เพราะเหตุแห่งภัยทั้งหมด พระองค์ละได้แล้ว ที่ควงไม้มหาโพธินั่นแล,

เพราะได้เห็นพระศาสดานั้น ผู้อุดมบุรุษ คือผู้เป็นบุคคลชั้นยอดในโลก

พร้อมทั้งเทวโลก เพราะเหตุแห่งการเห็นนั้น คือเพราะการเห็นนั้น

ภายหลังความสลดใจจึงได้เกิดมีแก่เราว่า ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ เรา

ไม่ได้โอกาสเพื่อจะเห็นพระศาสดา และเพื่อจะได้ฟังธรรมเลย คือมีญาณ

พร้อมด้วยโอตตัปปะบังเกิดขึ้นแล้ว. ก็เรามีความสลดใจเกิดขึ้นแล้ว จึงได้

คิดอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงแสดงด้วยคาถาว่า สิรึ หตฺเถหิ

ดังนี้เป็นต้น.

เนื้อความแห่งบาทคาถานั้น มีดังต่อไปนี้ :- บุคคลใดคือบุรุษผู้

ต้องการด้วยความเจริญคิดว่า เราจักเป็นผู้อุปัฏฐากอยู่ในสำนักของพระองค์

ดังนี้แล้ว ใช้มือบีบนวดพระบาทนอบน้อม คือพึงนำร่างกายมีสิริเข้าไป

ไว้บนที่นอน บุรุษผู้อาภัพนั้น ต่อเห็นปานนั้น จะให้พระศาสดา

คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้เช่นนั้นทรงยินดีแล้ว คือให้ได้เพียง

ใน ๙ ขณะนี้แล้ว พึงให้โปรดปราน ข้อนั้นพึงผิดหวัง เพราะบุรุษ

นั้นไม่ทำตามพระโอวาท อธิบายว่า ส่วนข้าพเจ้าไม่ได้ทำอย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 304

เลย, ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ตทาห ฯเปฯ อนคาริย ดังนี้

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉฑฺฑยึ แปลว่า เราละแล้ว. บาลีว่า

ฉฑฺฑิย ดังนี้ก็มี. ถามว่า พระเถระนี้ ไม่ได้เคยมีภรรยาครอบครองมา

บวช (แต่เล็ก ๆ) แล้ว มิใช่หรือ เพราะเหตุไร ท่านจึงได้กล่าวว่า เรา

ละทิ้งบุตรและภรรยาเล่า ? ตอบว่า เปรียบเหมือนบุรุษ ตัดต้นไม้ที่ยัง

ไม่เกิดผล เมื่อตัดแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เสื่อมจากผลที่ได้แล้วจากต้นไม้

นั้นฉันใด คำอุปมาเป็นเครื่องยังอุปไมยให้ถึงพร้อมนี้ บัณฑิตก็พึงทราบ

ฉันนั้น.

บทว่า สิกฺขาสาชีวสมาปนฺโน ความว่า ในที่ที่ภิกษุทั้งหลายเป็น

อยู่ร่วมกัน มีชีวิตอย่างเดียวกัน มีความประพฤติเสมอกัน ด้วยอธิศีลสิกขา

ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้น จึงเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสาชีพ คือสิกขาบท

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยความเป็น

ภิกษุ ทำสิกขาให้บริบูรณ์ และเป็นผู้ไม่ยอมก้าวล่วงสาชีพ ชื่อว่าเป็นผู้

ทำสิกขาและสาชีพทั้งสองนั้นให้ถึงพร้อม. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงแสดง

ถึงความตั้งมั่นในศีลคือพระปาติโมกข์ อันหมดจดด้วยดี.

บทว่า อินฺทฺริเยสุ สุสวุโต ความว่า เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยดี ใน

อินทรีย์ทั้งหลายที่มีใจเป็นที่ ๖ คือผู้มีจักษุทวารเป็นต้น อันปิดดีแล้ว

ด้วยบานประตูคือสติ ด้วยอำนาจการห้ามความเป็นไป แห่งกิเลสมีอภิชฌา

เป็นต้น ที่จะมาปรากฏในอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น.

ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อว่าโดยเนื้อความ แม้ศีลที่นอกไปจากนี้ ก็เป็น

อันพระเถระได้แสดงไว้แล้วทีเดียว ด้วยการแสดงความถึงพร้อมแห่งศีล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 305

คือปาฏิโมกขสังวรและอินทรียสังวร เพราะเหตุนั้น พระเถระครั้นแสดง

ความถึงพร้อมแห่งจตุปาริสุทธิศีลของตนแล้ว จึงกล่าวถึงภาวนานุโยค

ในพุทธานุสสติ ด้วยคำเป็นต้นว่า นมสฺสมาโน สมฺพุทฺธ นี้.

บทว่า วิหาสึ อปราชิโต ความว่า เราเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ต่อมาร

มีกิเลสมารเป็นต้นอยู่, คือไม่ถูกมารมีกิเลสมารเป็นต้นเหล่านั้น ครอบงำได้

จนได้บรรลุถึงพระอรหัต ได้แก่ โดยที่แท้ เราครอบงำกิเลสมารเป็นต้น

เหล่านั้นนั่นแลอยู่.

บทว่า ตโต ความว่า เพราะเป็นผู้มีศีลหมดจดด้วยดี เลื่อมใสยิ่ง

ในพระศาสดา ดำรงอยู่ในข้อปฏิบัติเพื่อครอบงำกิเลส.

บทว่า ปณิธี ได้แก่ ปณิธาน ความตั้งใจแน่วแน่, หรือเพราะ

มีความปรารถนาที่ตั้งใจจริง.

บทว่า อาสิ คือ อโหสิ แปลว่า ได้มีแล้ว.

บทว่า เจตโส อภิปตฺถิโต ได้แก่ ความปรารถนาทางใจของเรา.

เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า ก็ความปรารถนานั้น เป็นเช่นไร ? ท่านจึง

กล่าวว่า เราไม่ได้นั่งอยู่เปล่าแม้เพียงครู่เดียว ในเมื่อยังถอนลูกศรคือ

ตัณหาขึ้นไม่ได้ ความว่า ความปรารถนาที่ตั้งใจจริง ได้มีแก่เราอย่างนี้ว่า

เราไม่พึงนั่ง คือไม่พึงสำเร็จการนั่งอยู่เปล่า แม้เพียงครู่เดียว ในเมื่อยัง

ถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้จากหัวใจของเรา ด้วยแหนบคืออรหัตมรรค.

ก็พระเถระอธิษฐานจิตอย่างนี้แล้ว เริ่มเจริญภาวนา ให้ราตรี

ล่วงไปด้วยการยืนและการจงกรมเท่านั้น ออกจากรูปสมาบัติแล้ว เริ่มตั้ง

วิปัสสนา โดยมีองค์ฌานเป็นประธานแล้ว ก็ทำให้แจ้งได้ซึ่งพระอรหัต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 306

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตสฺส เม ดังนี้เป็นต้น . บทว่า นิรูปธิ

ได้แก่ ไม่มีอุปธิ เพราะไม่มีอุปธิกิเลสเป็นต้น.

บทว่า รตฺยาวิวสาเน ได้แก่ ในเมื่อส่วนแห่งราตรีสิ้นไปแล้ว คือ

เมื่อราตรีสว่างแล้ว.

บทว่า สูริยุคฺคมน ปติ ได้แก่ ทำการขึ้นไปแห่งพระอาทิตย์

ให้เป็นลักษณะ.

บทว่า สพฺพ ตณฺห ได้แก่ ทำกระแสแห่งตัณหาทั้งหมด อันต่าง

โดยประเภทมีกามตัณหาเป็นต้น ให้แห้ง คือให้แห้งเหือดไปด้วยพระ-

อรหัตมรรคได้ ก็เพราะท่านมั่นคงต่อคำปฏิญาณว่า เราไม่ได้นั่งอยู่เปล่า

ในเมื่อยังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้.

บทว่า ปลฺลงฺเกน อุปาวิสึ ความว่า เรานั่งคู้บังลังก์. คำที่เหลือ

มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถามหาปันถกเถรคาถา

จบปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา

อัฏฐกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 307

เถรคาถา นวกนิบาต

๑. ภูตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระภูตเถระ

[๓๖๙] เมื่อใด บัณฑิตกำหนดรู้ทุกข์ในเบญจขันธ์ที่ปุถุชน

ทั้งหลายไม่รู้แจ้งว่า ความแก่และความตาย นี้เป็นทุกข์

แล้วจมอยู่ เป็นผู้มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้นย่อมไม่ประ-

สบความยินดีในเบญจขันธ์นั้น ยิ่งไปกว่าความยินดีใน

วิปัสสนาและในมรรคผล เมื่อใด บัณฑิตละตัณหาอัน

นำทุกข์มาให้ ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ นำมาซึ่งทุกข์

อันเกิดเพราะความต่อเนื่องแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า

เป็นผู้มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดี

ยิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น เมื่อใด บัณฑิตถูกต้องทาง

อันสูงสุดเป็นทางปลอดโปร่ง ให้ถึงอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อันเป็นที่ชำระกิเลสทั้งปวง ด้วยปัญญา มีสติ

เพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดียิ่งไป

กว่าการเพ่งพิจารณานั้น เมื่อใด บัณฑิตเจริญสันตบทอัน

ไม่ทำให้เศร้าโศก ปราศจากธุลีอันปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่ง

ไม่ได้ ให้หมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นเครื่องตัดกิเลส

เครื่องผูกพันคือสังโยชน์ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบ

ความยินดียิ่งไปกว่าการเจริญสันตบทนั้น เมื่อใด กลอง

คือเมฆอันเกลื่อนกล่นด้วยสายฝน ย่อมคำรนร้องอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 308

นภากาศ อันเป็นทางไปแห่งฝูงนกอยู่โดยรอบ และภิกษุ

ไปเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่เงื้อมเขา เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้

ประสบควานยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการเพ่งธรรมนั้น

เมื่อใด บัณฑิตมีจิตเบิกบาน นั่งเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่ฝั่ง

แม่น้ำทั้งหลาย อันดารดาษไปด้วยดอกโกสุม และดอก

มะลิที่เกิดในป่า อันวิจิตรงดงาม ย่อมไม่ได้ประสบความ

ยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการนั่งเพ่งพิจารณาธรรมนั้น

เมื่อใด มีฝนฟ้าร้องในเวลาราตรี ฝูงสัตว์ที่มีเขี้ยวก็พากัน

ยินดีอยู่ในป่าใหญ่ และภิกษุไปเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่

เงื้อมเขา เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่ง

ไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น เมื่อใด ภิกษุกำจัดวิตกทั้ง-

หลายของตน เข้าไปสู่ถ้ำภายในภูเขา ปราศจากความ

กระวนกระวายใจ ปราศจากกิเลสอันตรึงใจ เพ่งพิจารณา

ธรรมอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น

ยิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น เมื่อใด ภิกษุมีความสุข

ยังมลทินกิเลส อันตรึงจิตและความโศกให้พินาศ ไม่มี

กลอนประตู คืออวิชชา ไม่มีป่า คือตัณหา ปราศจาก

ลูกศร คือกิเลส เป็นผู้ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เพ่ง-

พิจารณาธรรมอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบวามยินดี

อย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการเพ่งพิจารณาธรรมนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 309

พระภูตเถระผู้เห็นธรรมโดยถ่องแท้ เป็นผู้เดียวดุจนอแรด

ได้ภาษิตคาถา ๙ คาถานี้ไว้ในนวกนิบาต ฉะนี้แล.

จบภูตเถรคาถา

จบนวกนิบาต

อรรถกถานวกนิบาต

อรรถกถาภูตเถรคาถาที่ ๑

ในนวกนิบาต มีคาถาของท่านพระภูตเถระ เริ่มต้นว่า ยทาทุกฺข

ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ท่านพระภูตะแม้นี้ เป็นผู้มีอธิการได้บำเพ็ญมาแล้วในพระพุทธเจ้า

พระองค์ก่อน ๆ ในภพนั้น ๆ ได้สั่งสมบุญซึ่งเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน

ไว้ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ เกิดในตระกูล

พราหมณ์ได้นามว่า เสนะ พอรู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่ง พบพระศาสดา มีใจ

เลื่อมใส จึงชมเชยด้วยคาถา ๔ คาถา มีนัยเป็นต้นว่า อุสภ ปวร ดังนี้.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก

ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นลูกชายของเศรษฐี ผู้มีทรัพย์สมบัติมาก

ในบ้านใกล้ประตูนครสาเกต. ได้ยินว่า ท่านเศรษฐีนั้นมีเด็ก ๆ เกิดขึ้น

แล้วหลายคน หากแต่ถูกยักษ์ตนหนึ่ง จับกินเสีย เพราะผูกใจอาฆาตไว้.

แต่สำหรับเด็กคนนี้ พวกภูตพากันยึดถือการรักษาไว้ได้ ก็เพราะความที่

เด็กนี้ เป็นผู้เกิดในชาติสุดท้าย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 310

ฝ่ายยักษ์ไปสู่ที่บำรุงของท้าวเวสวัณแล้วก็ไม่ได้ไปอีกเลย. ก็ใน

วันตั้งชื่อ พวกญาติทั้งหลายได้พากันตั้งชื่อเด็กคนนี้ว่า ภูตะ เพราะเมื่อ

ตั้งชื่ออย่างนี้แล้ว พวกอมนุษย์จะอนุเคราะห์บริหารคุ้มครอง. ก็ด้วยผลบุญ

ของตนเอง เด็กนั้นจึงไม่มีอันตราย เจริญวัยแล้ว คำว่าปราสาท ๓ หลัง

ได้มีแล้ว ดังนี้เป็นต้นทั้งหมด พึงทราบราวกะการระบุถึงสมบัติของ

กุลบุตรผู้ทรงยศนั้น.

เด็กนั้นรู้เดียงสาแล้ว เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระนครสาเกต

เขาพร้อมกับพวกอุบาสกพากันไปยังวิหาร ฟังธรรมในสำนักของพระ-

ศาสดาแล้วได้เกิดมีศรัทธา บวชแล้วอยู่ในถ้ำใกล้ฝั่งแม่น้ำชื่อว่า อชกรณี

เริ่มเจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวไว้ในอปทานว่า :-

ผู้ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้องอาจ ผู้ประเสริฐ

ผู้แกล้วกล้า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ทรงชนะวิเศษ มีพระ-

ฉวีวรรณดังทองคำแล้ว ใครจะไม่เลื่อมใสเล่า ผู้เห็น

พระฌานของพระพุทธเจ้า อันเปรียบเหมือนภูเขาหิมวันต์

อันประมาณไม่ได้ ดังสาครอันข้ามได้ยากแล้ว ใครจะ

ไม่เลื่อมใสเล่า ผู้เห็นศีลของพระพุทธเจ้า ซึ่งเปรียบ

เหมือนแผ่นดินอันประมาณไม่ได้ ดุจมาลัยประดับศีรษะ

อันงดงาม ฉะนั้นแล้ว ใครจะไม่เลื่อมใสเล่า ผู้เห็น

พระญาณของพระพุทธเจ้า ซึ่งเปรียบดุจอากาศอันไม่

กำเริบ ดุจอากาศอันนับไม่ได้ ฉะนั้นแล้ว ใครจะไม่

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๖๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 311

เลื่อมใสเล่า พราหมณ์ชื่อว่าเสนะ ได้สรรเสริญพระ-

พุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด พระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ไม่ทรง

พ่ายแพ้อะไร ด้วยคาถา ๔ คาถานี้แล้ว ไม่ได้เข้าถึง

ทุคติเลยตลอด ๙๘ กัป เราได้เสวยสมบัติอันดีงามมิใช่

น้อย ในสุคติทั้งหลาย ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราสรร-

เสริญพระพุทธเจ้า ผู้นำของโลกแล้ว ไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ ในกัปที่ ๑๔ แต่กัปนี้ได้มี

พระเจ้าจักรพรรดิ ๔ พระองค์ผู้สูงศักดิ์ ทรงสมบูรณ์ด้วย

รัตนะ ๗ ประการ มีหมู่พลมาก, กิเลสทั้งหลายของเรา

ถูกเผาไหม้ไปแล้ว . . .ฯ ล ฯ . . . พระพุทธศาสนาเราได้

ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว สมัยต่อมา เมื่อจะทำการ

อนุเคราะห์หมู่ญาติ จึงไปยังพระนครสาเกต ได้รับการบำรุงจากพวกญาติ

๒-๓ วัน ก็ไปอยู่ในป่าไม้อัญชันแล้ว มีความประสงค์จะไปสู่ที่ที่ตนเคย

อยู่แล้วนั่นแลอีก จึงแสดงอาการว่าจะไป. พวกญาติจึงพากันอ้อนวอน

พระเถระว่า นิมนต์อยู่ในที่นี้แหละเจ้าข้า, ตัวท่านเองก็จักไม่ลำบาก, ถึง

พวกผมก็จักได้เจริญบุญเพิ่มขึ้น.

พระเถระเมื่อจะประกาศการยินดียิ่งในความสงัดและความอยู่ผาสุก

สบายในป่านั้นของตน จึงกล่าวคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า :-

เมื่อใด บัณฑิตกำหนดรู้ทุกข์ในเบญจขันธ์ที่ปุถุชนทั้ง

หลายไม่รู้แจ้งว่า ความแก่และความตาย นี้เป็นทุกข์ แล้ว

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๖๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 312

จมอยู่ เป็นผู้มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความ

ยินดีในเบญจขันธ์นั้น ยิ่งไปกว่าความยินดีในวิปัสสนา

และในมรรคผล เมื่อใด บัณฑิตละตัณหาอันนำทุกข์มา

ให้ ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ นำมาซึ่งทุกข์อันเกิดเพราะ

ความต่อเนื่องแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า เป็นผู้มีสติ

เพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดี ยิ่งไป

กว่าการพิจารณาธรรมนั้น เมื่อใด บัณฑิตถูกต้องทางอัน

สูงสุด เป็นทางปลอดโปร่ง ให้ถึงองค์ ๒ และองค์ ๔

เป็นที่ชำระกิเลสทั้งปวงด้วยปัญญา มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อ

นั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดียิ่งไปกว่าการเพ่งพิจารณา

นั้น เมื่อใด บัณฑิตเจริญสันตบทอันไม่ทำให้เศร้าโศก

ปราศจากธุลี อันปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้ ให้หมดจด

จากกิเลสทั้งปวง เป็นเครื่องตัดกิเลสเครื่องผูกพัน คือ

สังโยชน์ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดียิ่งไปกว่า

การเจริญสันตบทนั้น เมื่อใด กลองคือเมฆอันเกลื่อนกล่น

ด้วยสายฝน ย่อมคำรนร้องอยู่บนนภากาศ อันเป็นทาง

ไปแห่งฝูงนกอยู่โดยรอบ และภิกษุไปเพ่งพิจารณาธรรม

อยู่ที่เงื้อมเขา เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่าง

อื่น ยิ่งไปกว่าการเพ่งธรรมนั้น เมื่อใด บัณฑิตมีจิต

เบิกบาน นั่งเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ฝั่งแม่น้ำทั้งหลาย

อันดารดาษไปด้วยดอกโกสุม และดอกมะลิที่เกิดในป่า

อันวิจิตรงดงาม ย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 313

ยิ่งไปกว่าการนั่งเพ่งพิจารณาธรรมนั้น เมื่อใด มีฝนฟ้า

ร้องในเวลาราตรี ฝูงสัตว์ที่มีเขี้ยวก็พากันยินดีอยู่ในป่า

ใหญ่ และภิกษุไปเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่เงื้อมเขา เมื่อ

นั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการ

พิจารณาธรรมนั้น เมื่อใด ภิกษุกำจัดวิตกทั้งหลายของตน

เข้าไปสู่ถ้ำภายในภูเขา ปราศจากความกระวนกระวายใจ

ปราศจากกิเลสอันตรึงใจเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ เมื่อนั้น

ย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการ

พิจารณาธรรมนั้น เมื่อใด ภิกษุมีความสุข ยังมลทิน

กิเลสอันครั้งจิตและความเศร้าโศกให้พินาศ ไม่มีกลอน

ประตูคืออวิชชา ไม่มีป่า คือตัณหา ปราศจากลูกศร คือ

กิเลส เป็นผู้ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เพ่งพิจารณา

ธรรมอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น

ยิ่งไปกว่าการเพ่งพิจารณาธรรมนั้น.

บรรดาคาถาเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบการพรรณนาเนื้อความแห่ง

คาถาแรก ซึ่งมีวาจาประกอบความเฉพาะบทที่เป็นประธานดังต่อไปนี้ :-

ความแก่รอบแห่งขันธ์ทั้งหลายชื่อว่า ชรา. ความแตก (แห่งขันธ์ทั้งหลาย)

ชื่อว่า มรณะ. ก็ธรรมดาที่มีความแก่และความตาย ในที่นี้ท่านสงเคราะห์

มุ่งถึงชราและมรณะ.

ในกาลใด บัณฑิตคือภิกษุในศาสนานี้ กำหนดรู้ทุกข์นั้น ด้วย

มรรคปัญญา ที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์, สิ่งมี

ประมารเท่านี้ เป็นทุกข์ ไม่มีสิ่งอื่นที่ยิ่งไปกว่าทุกข์นี้ ดังนี้ ในอุปาทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 314

เบญจขันธ์ ที่ปุถุชนทั้งหลายไม่รู้แจ้ง คือไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า ความ

แก่และความตายนี้เป็นทุกข์ ดังนี้แล้ว จมอยู่ คือผูกพันแนบแน่น เป็น

ผู้มีสติ คือมีสัมปชัญญะเพ่งพินิจอยู่ ด้วยลักขณูปนิชฌาน.

เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบ คือไม่ได้ ความยินดียิ่งไปกว่า คือสูงสุด

กว่าความยินดีในวิปัสสนา และความยินดีในมรรคและผล. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ในกาลใด ๆ ภิกษุพิจารณาความเกิดขึ้นและความ

เสื่อมไป แห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้น ๆ เธอย่อมได้

ปีติปราโมทย์ ข้อนั้นเป็นอมตะของบัณฑิตผู้รู้ทั้งหลาย

โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้

เป็นเอกราชในแผ่นดิน กว่าการไปสวรรค์ และกว่าความ

เป็นใหญ่ ในโลกทั้งปวง.

พระเถระครั้น แสดงถึงราตรีที่สงัด โดยมุ่งถึงการรู้ชัดด้วยการหยั่งรู้

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงถึงข้อนั้น โดยมุ่งถึงการละเป็นต้นไป

จึงกล่าวคาถา ๓ คาถามีคาถาที่ ๒ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขสฺสาวหนึ ได้แก่ เป็นไปเพื่อ

ความทุกข์ในเบื้องหน้า อธิบายว่า เผล็ดผลเป็นทุกข์

บทว่า วิสตฺติก คือ ตัณหา. ก็ตัณหานั้น ท่านเรียกว่า วิสัตติกา

เพราะอรรถว่า แผ่ซ่านไป, เพราะอรรถว่า กว้างขวาง, เพราะอรรถว่า

หลั่งไหลไปทั่ว เพราะอรรถว่า ไม่อาจหาญ, เพราะอรรถว่า นำไปสู่สิ่ง

มีพิษ. เพราะอรรถว่า หลอกลวง. เพราะอรรถว่า มีรากเป็นพิษ,

เพราะอรรถว่า มีผลเป็นพิษ, เพราะอรรถว่า บริโภคเป็นพิษ, ก็อีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 315

อย่างหนึ่ง ตัณหานั้น ที่กว้างขวางใหญ่โต ท่านเรียกว่าวิสัตติกา เพราะ

อรรถว่า แพร่กระจายไป ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมะ

ตระกูล และหมู่คณะ.

บทว่า ปปญฺจสงฺฆาตทุขาธิราหินึ ความว่า ชื่อว่า ปปัญจะ เพราะ

อรรถว่า ทำความสืบต่อแห่งสัตว์ในสงสารให้ชักช้า คือให้ยืดยาว ได้แก่

ราคะเป็นต้น และได้แก่มานะเป็นต้น. ปปัญจธรรมทั้งหลายเหล่านั้นนั่น

แล ชื่อว่า สังฆาตา เพราะอรรถว่า รวบรวมทุกข์ที่เกิดขึ้นไว้, และ

ชื่อว่าทุกข์ เพราะมีสภาวะกระวนกระวายและเร่าร้อน เหตุนั้น จึงชื่อว่า

ปปัญจสังฆาตทุขาธิวาหินี เพราะนำมาเฉพาะ คือ เพราะเกิดความทุกข์ที่

รวบรวมไว้ซึ่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า. บทว่า ตณฺห ปหนฺตฺวาน ได้แก่ ตัด

ได้เด็ดขาดซึ่งตัณหานั้น ด้วยอริยมรรค.

บทว่า สิว ได้แก่ เกษม, อธิบายว่า ด้วยการตัดได้เด็ดขาดซึ่ง

กิเลสทั้งหลาย อันเป็นตัวทำความไม่ปลอดโปร่งให้ บัณฑิตเหล่านั้นจึงไม่

เดือดร้อน.

ทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ ด้วยอำนาจแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ชื่อว่า

เทฺวจตุรงฺคคามิน เพราะอรรถว่า ให้พระอริยะทั้งหลายถึงพระนิพพาน

ก็ในคาถาม พึงเห็นว่า ท่านทำการลบวิภัตติเสีย ก็เพื่อสะดวกแก่รูปคาถา.

ชื่อว่า มคฺคุตฺตม เพราะเป็นทางสูงสุด ในบรรดาทางทั้งหมดมี

ทางที่เกิดขึ้นแห่งรูปเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส

ว่า มรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย เป็นต้น. ชื่อว่า สพฺพ-

กิเลสโสธน เพราะชำระสัตว์ทั้งหลายให้สะอาดจากมลทินคือกิเลสทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 316

บทว่า ปญฺาย ปสฺสิตฺวา ได้แก่ เข้าถึงแล้ว ด้วยอำนาจการ

รู้เฉพาะภาวนา โดยปฏิเวธปัญญา.

ชื่อว่า อโสก เพราะความเศร้าโศกในที่นี้ไม่มี เพราะเหตุแห่ง

ความเศร้าโศกไม่มี และเพราะเหตุที่บุคคลไม่มีความเศร้าโศก.

ชื่อว่า วิรช เพราะธุลีมีราคะเป็นต้นไปปราศแล้วอย่างนั้น.

ชื่อว่า อสงฺขต เพราะอันปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้.

ชื่อว่า สนฺต ปท เพราะสงบระงับกิเลสทั้งปวง และทุกข์ทั้งปวง

ได้ และเพราะพึงบรรลุคือเว้นจากการถูกเบียดเบียนในสังสารทุกข์.

ชื่อว่า สพฺพกิเลสโสธน เพราะมีการชำระสันดานของสัตว์ให้

สะอาดจากมลทินคือกิเลสทั้งปวงเป็นเครื่องหมาย.

บทว่า ภาเวติ ความว่า ย่อมบรรลุ ด้วยอำนาจสัจฉิกิริยาภิสมัย.

ก็เมื่อบุคคลนั้น ปรารภพระนิพพานมากครั้งแล้ว ยังสัจฉิกิริยาสมัยให้เป็น

ไป เมื่ออารมณ์ที่จะพึงยึดหน่วงคุณวิเศษที่จะได้มีอยู่ จึงยกขึ้นกล่าวอย่าง

นี้. ชื่อว่า สัญโญชนพันธนัจฉิทะ เพราะตัดเครื่องผูกพันทั้งหลาย คือ

สังโยชน์ได้.

จริงอยู่ ในที่นี้ ท่านใช้เครื่องหมาย โดยความเป็นกัตตุวาจก

เหมือนสัจจะทั้งหลาย ที่ทำความเป็นอริยะ. ท่านเรียกว่า อริยสัจ ฉะนั้น

มีวาจาประกอบความว่า ในคาถานี้ ในเวลาที่เจริญสันตบท ย่อมไม่ได้

ประสบความยินดีที่ยิ่งไปกว่าการเจริญสันตบทนั้น เหมือนมีวาจาประกอบ

ความว่า ในคาถาก่อน ๆ ในเวลาที่เพ่งพินิจ ย่อมไม่ได้ประสบความ

ยินดียิ่งไปกว่าการเพ่งพิจารณานั้นฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 317

พระเถระ ครั้นน้อมนำตนให้เข้าไปด้วยคาถา ๔ คาถาอย่างนี้แล้ว

จึงพยากรณ์ความเป็นพระอรหันต์ โดยระบุถึงการตรัสรู้สัจจะ ๔ ประการ

บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงความผาสุกแห่งสถานที่ที่ตนอยู่แล้ว โดยความสงัด

เงียบ จึงกล่าวคาถาทั้งหลาย มีคาถาเริ่มต้นว่า ยทา นเภ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นเภ ได้แก่ ในอากาศ. กลองคือเมฆ

ชื่อว่า เมฆทุนฺทุภิ เพราะมีเสียงนุ่มนวล กังวาน และกึกก้อง.

ชื่อว่า ธารากุลา เพราะเกลื่อนกล่น ด้วยสายน้ำที่ไหลมาจากทุกทิศ

มีวาจาประกอบความว่า ในนภากาศ อันชื่อว่าเป็นทางไปแห่งฝูงนก

เพราะเป็นทางไปแห่งฝูงนกเหล่าปักษี. บทว่า ตโต โยค ฌานรติโต

แปลว่า กว่าความยินดีในการเพ่ง.

บทว่า กุสุมากุลาน ได้แก่ ดารดาษด้วยดอกโกสุมที่หล่นแล้ว

จากต้น.

บทว่า วิจิตฺตสาเนยฺยวฏสกาน ความว่า ชื่อว่า ดอกมะลิป่า

เพราะเกิดในป่า แม่น้ำมีพวงมาลัยดอกมะลิป่าอันวิจิตร ชื่อว่า วิจิตฺตวา-

เนยฺยวฏสกา อธิบายว่า แม่น้ำมีพวงมาลัยดอกไม้ป่านานาชนิด. ชื่อว่า

ผู้มีใจเบิกบาน เพราะเขามีใจดี ด้วยอำนาจอุตริมนุสธรรมเพ่งอยู่.

บทว่า นิสีเถ ได้แก่ ในเวลาราตรี. บทว่า รหิตมฺหิ ได้แก่

ในที่สงัดเงียบ ปราศจากความเบียดเสียดแห่งหมู่ชน.

บทว่า เทเว ได้แก่ เมฆ. บทว่า คฬนฺตมฺหิ ได้แก่ มีสายน้ำฝน

หลั่งไหล ตกลง.

บทว่า ทาิโน ได้แก่ ฝูงสัตว์ที่เป็นปฏิปักษ์ มีราชสีห์และ

เสือโคร่งเป็นต้น. จริงอยู่ สัตว์เหล่านั้น มีเขี้ยวเป็นอาวุธ ท่านจึงเรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 318

ทาิโน. คำว่า นทนฺติ ทาิโน แม้นี้ ท่านถือเอาก็เพื่อจะแสดงชี้ถึง

ความสงัดเงียบจากหมู่ชนเท่านั้น.

บทว่า วิตกฺเก อุปรุนฺธิยตฺตโน ความว่า กำจัดมิจฉาวิตกทั้งหลาย

มีกามวิตกเป็นต้น โดยพลังแห่งความเป็นปฎิปักษ์ของตน เพราะนับ

เนื่องในสันดานของตน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อตฺตโน นี้ พึงประกอบ

เข้าด้วยบทว่า วินฺทติ นี้ว่า เมื่อนั้นย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น

ยิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น ดังนี้.

บกว่า นคนฺตเร แปลว่า ภายในภูเขา.

บทว่า นควิวร ได้แก่ ถ้ำภายในภูเขา หรือเงื้อมเขา.

บทว่า สมสฺสิโต ได้แก่ เข้าไปโดยการอาศัยอยู่.

บทว่า วีตทฺทโร ได้แก่ ปราศจากกิเลสเป็นเหตุให้กระวนกระวาย

ได้.

บทว่า วีตขิโล ได้แก่ ละกิเลสดุจตะปูตรึงใจเสียได้.

บทว่า สุขี ได้แก่ มีความสุข ด้วยสุขอันเกิดแต่ฌานเป็นต้น.

บทว่า มลขิลโสกนาสโน ได้แก่ ละมลทินมีราคะเป็นต้น ละ

กิเลสดุจตะปูตรึงใจ ๕ ประการ และละความเศร้าโศก มีความพลัดพราก

จากญาติเป็นต้นเป็นเหตุได้.

บทว่า นิรคฺคโฬ ได้แก่ อวิชชา ท่านเรียกว่า กลอนประตู

เพราะห้ามการเข้าไปใกล้พระนิพพาน, เรียกว่า นิรคฺคโฬ เพราะไม่มี

กลอนประตูคืออวิชชานั้น.

บทว่า นิพฺพนโถ ได้แก่ ไม่มีตัณหา. บทว่า วิสลฺโล ได้แก่

ปราศจากลูกศรคือกิเลสมีราคะเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 319

บทว่า สพฺพาสเว ได้แก่ ทำอาสวะทั้งหมดมีกามาสวะเป็นต้น

(ให้สิ้นไป).

บทว่า พฺยนฺติกโต มีวาจาประกอบความว่า เมื่อใดภิกษุทำ

(อาสวะ) ให้สิ้นไป คือทำกิเลสให้ปราศไปด้วยอริยมรรค ดำรงอยู่ เพ่งพินิจ

เพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดี

อย่างอื่น ยิ่งไปกว่าความยินดีในการเพ่งพิจารณาธรรมนั้น. ก็พระเถระ

ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็มุ่งตรงไปสู่ฝั่งแม่น้ำอชกรณีแล.

จบอรรถกถาภูตเถรคาถา

จบปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา

นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 320

เถรคาถา ทสกนิบาต

๑. กาฬุทายีเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระกาฬุทายีเถระ

[๓๗๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ หมู่ไม้ทั้งหลาย มีดอก

และใบ มีสีแดงดังถ่านเพลิง ผลิผลสลัดใบเก่าร่วงหล่น

ไป หมู่ไม้เหล่านั้นงามรุ่งเรืองดังเปลวเพลิง ข้าแต่

พระองค์ผู้มีความเพียรใหญ่ เวลานี้เป็นเวลาสมควร

อนุเคราะห์หมู่พระญาติ ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า หมู่

ไม้ทั้งหลายมีดอกบานงามดี น่ารื่นรมย์ใจส่งกลิ่นหอม

ฟุ้งตลบไปทั่วทิศโดยรอบ ผลัดใบเก่า ผลิดอกออกผล

เวลานี้เป็นเวลาสมควรจะหลีกออกไปจากที่นี้ ขอเชิญ

พระพิชิตมารเสด็จไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์เถิด ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ฤดูนี้เป็นฤดูที่ไม่หนาวนัก ไม่ร้อนนัก เป็นฤดู

พอสบาย ทั้งมรรคาก็สะดวก ขอพวกศากยะและโกลิยะ

ทั้งหลาย จงได้เข้าเฝ้าพระองค์ที่แม่น้ำโรหิณี อันมีปากน้ำ

อยู่ทางทิศใต้ ชาวนาไถนาด้วยความหวังผล หว่านพืช

ด้วยความหวังผล พ่อค้าผู้เที่ยวหาทรัพย์ ย่อมไปสู่สมุทร

ด้วยความหวังทรัพย์ ข้าพระองค์อยู่ในที่นี้ ด้วยความหวัง

ผลอันใด ขอความหวังผลอันนั้นจงสำเร็จแก่ข้าพระองค์

เถิด ชาวนาหว่านพืชบ่อย ๆ ฝนตกบ่อย ๆ ชาวนาไถนา

บ่อย ๆ แว่นแคว้นสมบูรณ์ด้วยธัญญาหารบ่อย ๆ พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 321

ยาจกเที่ยวขอบ่อย ๆ ผู้เป็นทานบดีให้บ่อย ๆ ครั้นให้

บ่อย ๆ แล้ว ย่อมถึงสวรรค์บ่อย ๆ.

บุรุษผู้มีความเพียร มีปัญญากว้างขวาง เกิดในสกุล

ใด ย่อมยังสกุลนั้นให้บริสุทธิ์สะอาดตลอด ๗ ชั่วคน

ข้าพระองค์ย่อมเข้าใจว่าพระองค์เป็นเทพเจ้าประเสริฐ

กว่าเทพเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงสามารถทำให้สกุลบริสุทธิ์

เพราะพระองค์เกิดแล้วโดยอริยชาติ ได้สัจนามว่า เป็น

นักปราชญ์ สมเด็จพระบิดาของพระองค์ทรงแสวงหาคุณ

อันยิ่งใหญ่ ทรงพระนามว่าสุทโธทนะ สมเด็จพระนางเจ้า

มายาพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระพุทธ-

มารดา ทรงบริหารพระองค์ผู้เป็นพระโพธิสัตว์มาด้วย

พระครรภ์ เสด็จสวรรคตไปบันเทิงอยู่ในไตรทิพย์ สมเด็จ

พระนางเจ้ามายาเทวีนั้น ครั้นสวรรคตจุติจากโลกนี้แล้ว

ทรงพรั่งพร้อมด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์ มีหมู่นางฟ้าห้อม

ล้อมบันเทิงอยู่ด้วยเบญจกามคุณ อาตมภาพเป็นบุตรของ

พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีสิ่งใดจะย่ำยีได้ มีพระรัศมีแผ่ซ่านจาก

พระกาย ไม่มีผู้จะเปรียบปาน ผู้คงที่ ดูก่อนมหาบพิตร

พระองค์เป็นพระบิดาของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบิดา

แห่งอาตมภาพ ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เป็นพระอัยกา

ของอาตมภาพโดยธรรม.

จบกาฬุทายีเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 322

อรรถกถาทสกนิบาต

อรรถกถากาฬุทายีเถรคาถาที่ ๑

ในทสกนิบาต มีคาถาของท่านพระกาฬุทายีเถระ ว่า องฺคาริโน

ดังนี้เป็นต้น. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ในกาลแห่งพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านพระ-

กาฬุทายีเถระแม้นี้ เกิดในเรือนอันมีสกุล ในพระนครหังสวดี เมื่อฟัง

พระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้

ในตำแหน่งแห่งผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส แล้วทำกรรมตั้งความปรารถนาเพื่อ

ตำแหน่งนั้นแล้ว.

เขาทำกุศลกรรมจนตลอดชีวิตแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและ

มนุษยโลก จึงถือปฏิสนธิในเรือนอำมาตย์ ในกรุงกบิลพัสดุ์นั้นแล ในวัน

เดียวกันกับพระโพธิสัตว์ของพวกเราถือปฏิสนธิในพระครรภ์พระมารดา,

เกิดก็เกิดในวันเดียวกันกับพระโพธิสัตว์เหมือนกัน ดังนั้น ในวันนั้น

นั่นแหละ พวกญาติจึงให้เด็กนั้นนอนบนเทริดที่ทำด้วยเนื้อผ้าดีชนิดหนึ่ง

พากันนำไปสู่ที่บำรุงของพระโพธิสัตว์.

จริงอยู่ สหชาติ ๗ เหล่านั้นคือ ต้นโพธิพฤกษ์ ๑ พระมารดาของ

พระราหุล ๑ ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ ขุม ๑ ช้างตระกูลอาโรหนิยะ ๑ ม้า

กัณฐกะ ๑ นายฉันนะ ๑ กาฬุทายี ๑ ได้เกิดพร้อมดับพระโพธิสัตว์

เพราะเกิดในวันเดียวกันนั่นแล. ครั้นในวันตั้งชื่อ พวกญาติก็พากันตั้งชื่อ

เขาว่าอุทายี เพราะเกิดในวันที่ชาวพระนครทั้งสิ้นมีจิตรื่นเริงเบิกบาน แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 323

เพราะมีผิวพรรณค่อนข้างดำไปหน่อย จึงปรากฏชื่อว่า กาฬุทายี. กาฬุ-

ทายีนั้น ถึงความเจริญขึ้นแล้ว เมื่อจะเล่นตามประสาเด็ก ก็เล่นกับพระ-

โพธิสัตว์.

ต่อมาภายหลัง เมื่อพระโลกนาถเจ้าเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์แล้ว

บรรลุพระสัพพัญญุตญาณตามลำดับ ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร

ให้เป็นไปแล้ว ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร,

พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชทรงสดับความเป็นไปนั้นแล้ว ทรงส่งอำมาตย์

ผู้หนึ่ง มีบุรุษ ๑,๐๐๐ คน เป็นบริวารไป ด้วยตรัสสั่งว่า จงนำลูกเรา

มาในที่นี้. กาฬุทายีอำมาตย์นั้นไปเฝ้าพระศาสดาในเวลาทรงแสดงธรรม

จึงยืนฟังธรรมอยู่ข้างท้ายบริษัท พร้อมด้วยบุรุษก็บรรลุพระอรหัต.

ลำดับนั้น พระศาสดาจึงทรงเหยียดพระหัตถ์ ตรัสกะทุกคนนั้น

ว่า พวกเธอ จงเป็นภิกษุมาเถิด. ในขณะนั้นนั่นเอง คนทั้งหมด

ก็ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นดังพระเถระมีอายุ ๖๐ ปี

ก็จำเดิมแต่บรรลุพระอรหัตแล้ว พระอริยะทั้งหลายก็เป็นผู้มีตนเป็นกลาง,

เพราะฉะนั้น จึงมิได้กราบทูลแด่พระทศพลให้ทรงทราบ ถึงสาสน์ที่

พระราชาส่งไป. พระราชาทรงดำริว่า ส่วนแห่งกำลังคนที่มอบหมาย

หน้าที่ให้ ก็ไม่ยอมกลับมา ข่าวสาสน์ก็ไม่ได้ยินเลย, ดังนี้แล้ว จึงทรงส่ง

อำมาตย์อีกคนหนึ่ง พร้อมด้วยบุรุษ ๑,๐๐๐ คนไปอีก. เมื่ออำมาตย์นั้น

ปฏิบัติตามกันอย่างนั้น พระราชาจึงทรงส่งอำมาตย์คนอื่นไปอีก รวมส่ง

บุรุษถึง ๙,๐๐๐ คน พร้อมกับอำมาตย์อีก ๙ คน ด้วยประการฉะนี้, คน

ทั้งหมดบรรลุพระอรหัตแล้ว ก็พากันนิ่งเฉยเสีย.

ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า คนมีประมาณตั้งเท่านี้ ช่างไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 324

ความรักเยื่อใยในเราเสียเลย ไม่ยอมกราบทูลคำอะไร ๆ แด่พระทศพล

เพื่อการเสด็จมาในที่นี้, แต่อุทายีคนนี้แล เป็นผู้มีวัยเสมอกันกับพระ-

ทศพล เคยร่วมเล่นฝุ่นมาด้วยกัน และจักมีความรักเยื่อใยในเรา เราจัก

ส่งเจ้าคนนี้ไป ดังนี้ จึงทรงมีรับสั่งให้เรียกอุทายีนั้นมาแล้ว ตรัสว่า

พ่อคุณเอ๋ย ! พ่อ พร้อมด้วยบุรุษเป็นบริวาร ๑,๐๐๐ คน จงไปยังกรุง

ราชคฤห์แล้ว นำพระทศพลมาให้ได้ ดังนี้แล้ว จึงทรงส่งไป. ฝ่าย

กาฬุทายีอำมาตย์นั้น เมื่อจะไปจึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลี

พระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม หากข้าพระองค์จักได้การบวชไซร้

ข้าพระองค์จึงจักนำพระผู้มีพระภาคเจ้ามาในที่นี้ ดังนี้ มีพระดำรัสตอบว่า

เธอจะทำอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ขอให้แสดงบุตรแก่เราก็แล้วกัน ดังนี้แล้ว

จึงไปยังกรุงราชคฤห์ พอดีในเวลาพระศาสดาทรงแสดงธรรม จึงยืนฟัง

ธรรมอยู่ข้างท้ายบริษัท พร้อมด้วยบริวารก็บรรลุพระอรหัต ดำรงอยู่ใน

ความเป็นเอหิภิกขุ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า :-

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เชษฐ-

บุรุษของโลก ผู้คงที่ เสด็จดำเนินทางไกล เที่ยวจาริก

ไปในเวลานั้น เราได้ถือเอาดอกปทุม ดอกอุบล และ

ดอกมะลิซ้อนอันบานสะพรั่ง และถือข้าวสุกชั้นพิเศษมา

ถวายแด่พระศาสดา พระมหาวีรชินเจ้า เสวยข้าว

ชั้นพิเศษ อันเป็นโภชนะที่ดี และทรงรัดดอกไม้นั้นแล้ว

ทรงยังเราให้รื่นเริงว่า ผู้ใดได้ถวายดอกปทุมอันอุดม

เป็นที่ปรารถนา เป็นที่น่าใคร่ในโลกนี้แก่เรา ผู้นั้นทำ

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๓๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 325

กรรมที่ทำได้ยากนัก ผู้ใดได้บูชาดอกไม้ และได้ถวาย

ข้าวชั้นพิเศษแก่เรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลาย

จงฟังเรากล่าว ผู้นั้นจักได้เสวยเทวรัชสมบัติ ๑๘ ครั้ง

ดอกอุบล ดอกปทุม และดอกมะลิซ้อน จะมีในเบื้องบน

ผู้นั้น ด้วยผลแห่งบุญนั้น ผู้นั้นจักสร้างหลังคาอันประกอบ

ด้วยของหอมอันเป็นทิพย์ไว้ในอากาศ จักทรงไว้ในเวลา

นั้น จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๕ ครั้ง จักได้เป็น

พระราชาในแผ่นดินครอบครองพสุธา ๕๐๐ ครั้ง ในกัปที่

แสน พระศาสดามีพระนานว่าโคดม ซึ่งมีสมภพในวงศ์

พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้นปรารถนา

ในกรรมของตน อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักได้เป็นบุรุษ

ผู้มีชื่อเสียง ทำความเพลิดเพลินให้เกิดแก่เจ้าศากยะ

ทั้งหลาย แต่ภายหลังผู้นั้นอันกุศลมูลตักเตือนแล้วจักบวช

จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะ นิพพาน

พระโคดมผู้เผ่าพันธุ์ของโลก จักทรงตั้งผู้นั้นซึ่งบรรลุ

ปฏิสัมภิทา ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะใน

เอตทัคคสถาน ผู้นั้นมีตนส่งไปแล้วเพื่อความเพียร สงบ

ระงับ ไม่มีอุปธิ จักเป็นสาวกของพระศาสดา มีนามว่า

อุทายี เรากำจัดราคะ โทสะ โมหะ มานะ และมักขะ

ได้แล้ว กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่ เรา

ยังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ทรงโปรดปราน มีความเพียร

มีปัญญา และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเลื่อมใส ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 326

ตั้งเราไว้ในเอตทัคคสถาน คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา

๔ ...ฯลฯ... คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จ

แล้ว ดังนี้.

ก็ท่านพระกาฬุทายี ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว จึงคิดว่า รอก่อน

กาลนี้ยังไม่สมควร เพื่อการเสด็จไปสู่พระนครอันเป็นสกุลเดิมของพระ-

ทศพล, แต่เมื่อถึงฤดูฝนแล้ว ไพรสณฑ์จะมีดอกไม้บานสะพรั่ง จึงจัก

เป็นกาลเหมาะเพื่อการเสด็จไป บนภูมิภาคที่ดารดาษด้วยติณชาติเขียวขจี

ดังนี้แล้ว จึงเฝ้ารอกาล เมื่อถึงฤดูฝนแล้ว พอจะพรรณนาชมหนทางไป

เพื่อการเสด็จไปยังพระนครอันเป็นสกุลเดิมของพระศาสดา จึงกล่าวคาถา

เหล่านี้ว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ หมู่ไม้ทั้งหลาย มีดอก

และใบสีแดงดุจถ่านเพลิง ผลิผลสลัดใบเก่าร่วงหล่นไป

หมู่ไม้เหล่านั้นงดงามรุ่งเรื่องดุจเปลวเพลิง ข้าแต่พระองค์

ผู้มีความเพียรใหญ่ เวลานี้เป็นเวลาสมควรอนุเคราะห์หมู่

พระญาติ ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า หมู่ไม้ทั้งหลายมี

ดอกบานงดงามดี น่ารื่นรมย์ใจ ส่งกลิ่นหอมพุ่งตลบไป

ทั่วทิศโดยรอบ ผลัดใบเก่า ผลิดอกออกผล เวลานี้เป็น

เวลาสมควรจะหลีกออกไปจากที่นี้ ขอเชิญพระพิชิตมาร

เสด็จไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฤดูนี้

ก็เป็นฤดูที่ไม่หนาวนัก ไม่ร้อนนัก เป็นฤดูพอสบาย ทั้ง

มรรคาก็สะดวก ขอพวกศากยะและโกลิยะทั้งหลาย จง

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๗๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 327

ได้เข้าเฝ้าพระองค์ที่แม่น้ำโรหิณี อันมีปากน้ำอยู่ทางทิศใต้

เถิด ชาวนาไถนาด้วยความหวังผล หว่านพืชด้วยความ

หวังผล พ่อค้าผู้เที่ยวหาทรัพย์ ย่อมไปสู่สมุทรด้วยความ

หวังทรัพย์ ข้าพระองค์อยู่ในที่นี้ ด้วยความหวังผลอันใด

ขอความหวังผลอันนั้น จงสำเร็จแก่ข้าพระองค์เถิดชาวนา

หว่านพืชบ่อย ๆ ฝนตกบ่อย ๆ ชาวนาไถนาบ่อย ๆ แว่น

แคว้นสมบูรณ์ด้วยธัญญาหารบ่อย ๆ พวกยาจกเที่ยวขอ

ทานบ่อย ๆ ผู้เป็นทานบดีให้บ่อย ๆ ครั้นให้บ่อย ๆ

แล้ว ย่อมเข้าถึงสวรรค์บ่อย ๆ บุรุษผู้มีความเพียร มี

ปัญญากว้างขวาง เกิดในสกุลใด ย่อมยังสกุลนั้นให้

บริสุทธิ์สะอาดตลอด ๗ ชั่วคน ข้าพระองค์ย่อมเข้าใจว่า

พระองค์เป็นเทพเจ้าประเสริฐกว่าเทพเจ้าทั้งหลาย ย่อม

ทรงสามารถทำให้สกุลบริสุทธิ์ เพราะพระองค์เกิดแล้ว

โดยอริยชาติ ได้สัจนามว่า เป็นนักปราชญ์ สมเด็จ

พระบิดาของพระองค์ ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรง

พระนามว่าสุทโธทนะ สมเด็จพระนางเจ้ามายาพระมเหสี

ของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระพุทธมารดา ทรงบริหาร

พระองค์ผู้เป็นพระโพธิสัตว์มาด้วยพระครรภ์ เสด็จ

สวรรคตไปบันเทิงอยู่ในไตรทิพย์ สมเด็จพระนางเจ้า

มายาเทวีนั้น ครั้นสวรรคตจุติจากโลกนี้แล้ว ทรงพรั่ง-

พร้อมด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์ มีหมู่นางฟ้าห้อมล้อม

บันเทิงอยู่ด้วยเบญจกามคุณ อาตมภาพเป็นบุตรของพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 328

พุทธเจ้า ผู้ไม่มีสิ่งใดจะย่ำยีได้ มีพระรัศมีแผ่ซ่านจาก

พระกาย ไม่มีผู้จะเปรียบปาน ผู้คงที่ ดูก่อนมหาบพิตร

พระองค์เป็นพระบิดาของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบิดาแห่ง

อาตมภาพ ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เป็นพระอัยกา

ของอาตมภาพโดยธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า องฺคาริโน ได้แก่ถ่านเพลิง ซึ่งแปลว่า

ดุจถ่านเพลิง, ชื่อว่า องฺคาริโน เพราะอรรถว่า หมู่ไม้ทั้งหลายเหล่านั้น

มีดอกและใบ มีสีดังแก้วประพาฬแดง, อธิบายว่า ดุจฝนถ่านเพลิง เกลื่อน

กล่นด้วยตุ่มดอกไม้โกสุมสีแดงเข้ม.

บทว่า อิทานิ แปลว่า ในกาลนี้.

บทว่า ทุมา แปลว่า ต้นไม้ทั้งหลาย.

บทว่า ภทนฺเต ได้แก่ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน

เพราะเหตุนั้น ท่านผู้ประกอบด้วยคุณวิเศษ เขาจึงเรียกว่า ภทนฺเต

เพราะทำการลบ อักษรเสียอักษรหนึ่ง, แต่พระศาสดาเป็นผู้เลิศกว่าผู้

ประกอบด้วยคุณวิเศษทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น คำว่า ภทนฺเต จึงเป็นคำ

ร้องเรียกสำหรับพระศาสดา. ก็คำว่า ภทนฺเต นี้ เป็นคำปฐมาริภัตติ มี

ที่สุดอักษรเป็น เอ ดุจในประโยค เป็นต้นว่า ถ้าทำกรรมดีบ้าง กรรม

ชั่วบ้าง ก็ได้รับความสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ดังนี้. แต่ในที่นี้ บัณฑิตพึงเห็นว่า

ภทนฺเต ลงในอรรถว่า การตรัสรู้ชอบ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ภทนฺเต เป็นอาลปนะ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ภทนฺต ศัพท์เดียวที่มี

ในระหว่างบท มีความหมายเสมอกับ ภทฺท ศัพท์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 329

ชื่อว่า ผเลสิโน เพราะอรรถว่า ย่อมต้องการเผล็ดผล. อธิบายว่า

จริงอยู่ แม้เมื่อไม่มีเจตนา แต่กลับยกขึ้นสู่กิริยาที่มีเจตนาแล้ว กล่าว

เหมือนปรารภที่จะเด็ดผล จนถึงเวลาที่เด็ดเอาผลอันเผล็ดแล้ว ย่อมมุ่งจะ

ให้เหล่ากอสูญสิ้นไปฉะนั้น.

บทว่า ฉทน วิปฺปหาย ได้แก่ สลัดใบไม้เก่า ๆ คือใบไม้เหลือง

ทั่วไปทิ้งเสีย. บทว่า เต โยค ทุมา แปลว่า ต้นไม้เหล่านั้น.

บทว่า อจฺจิมนฺโต ว ปภาสยนฺติ ความว่า ย่อมส่องสว่างทั่วทุกทิศ

ดุจเปลวไฟ หรือดุจกองไฟที่ลุกโพลง.

บทว่า สมโย ได้แก่กาล คือกาลพิเศษแห่งคำว่า เพื่ออนุเคราะห์.

บทว่า มหาวีร ได้แก่ ข้าแต่พระองค์ผู้มีความกล้าหาญมาก.

บทว่า ภาคี รสาน ได้แก่ ผู้มีส่วนแห่งอรรถรส สมจริงดังคำที่

พระธรรมเสนาบดีกล่าวไว้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์เป็น

ผู้มีส่วนแห่งอรรถรส และธรรมรส ดังนี้เป็นต้น . ก็คำว่า มหาวีร ภาคี

แม้นี้ บัณฑิตพึงทราบทั้งสองคำว่า กล่าวมุ่งถึงการตรัสรู้. ก็พระราชา

องค์ต้น ชื่อว่า ภคีรถ ในปาฐะว่า ภาคีรถาน, อธิบายว่า พวกเจ้าศากยะ

เป็นพระราชาก่อน เพราะตั้งวงศ์ก่อนกว่าเขา เพื่ออุปการะพระราชา

เหล่านั้น.

บทว่า ทุมานิ ท่านกล่าวไว้โดยความเป็นลิงควิปลาส, ได้แก่ ทุมา

แปลว่า ต้นไม้ทั้งหลาย.

บทว่า สมนฺตโต สพฺพทิสา ปวนฺติ ความว่า หมู่ไม้ทั้งหลาย มี

ดอกบานแล้ว ในทิศทั้งปวง โดยรอบ คือโดยทุกพื้นที่ เพราะบานแล้ว

อย่างนั้น จึงส่งกลิ่น คือปล่อยกลิ่นหอมฟุ้งไปทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 330

บทว่า อาสมานา ได้แก่ หวังอยู่ คือต้องการจะเก็บเอาผล. พระ-

เถระครั้นแสดงถึงความรื่นรมย์แห่งหนทางที่จะไป เพราะงดงามด้วยหมู่ไม้

อย่างนี้แล้ว บัดนี้จึงแสดงถึงความสมบูรณ์แห่งฤดู ด้วยคำว่า เนวาติสีต

ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า สุขา ฤดูที่สบาย คือน่าปรารถนา เพราะความเป็นฤดูไม่

หนาวนัก ไม่ร้อนนัก.

บทว่า อุตุ อทฺธนิยา ได้แก่ ฤดูประกอบด้วยหนทางไกล ที่ควรไป.

บทว่า ปสฺสนฺตุ ต สากิยา โกลิยา จ ปจฺฉามุข โรหินิย ตรนฺต

ความว่า แม่น้ำชื่อว่า โรหิณี มีปากน้ำอยู่ทางทิศใต้ ไหลไปทางทิศเหนือ

ระหว่างสากิยะชนบทและโกลิยะชนบท. และไหลจากทิศตะวันออกเฉียงใต้

แห่งแม่น้ำนั้นไปยังกรุงราชคฤห์ เพราะฉะนั้น เมื่อจะข้ามแม่น้ำจากกรุง

ราชคฤห์ไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ จึงต้องข้ามที่ปากน้ำทางทิศใต้. เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ปสฺสนฺตุ ต ฯเปฯ ตรนฺต ดังนี้เป็นต้น. พระเถระพยายาม

อ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อการเสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ว่า ชาว

สากิยะและโกลิยะชนบท จะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อล่วงถึงปากแม่น้ำ

โรหิณี ทางทิศใต้.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะประกาศความปรารถนาของตนด้วยข้ออุปมา

จึงกล่าวคาถาว่า อาสาย กสเต ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า อาสาย กสเต เขตฺต ความว่า ชาวนา เมื่อจะไถนา ก็

ไถนาด้วยความหวังผล.

บทว่า พีช อาสาย วปฺปติ ความว่า ก็ครั้นไถแล้ว เมื่อจะหว่าน

พืช ก็หว่าน คือหยอดพืชด้วยความหวังผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 331

บทว่า อาสาย วาณิชา ยนฺติ ความว่า พวกพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์

ย่อมแล่นเรือไปสู่มหาสมุทร เพื่อข้ามมหาสมุทร คือเพื่อเข้าไปยังประเทศ

หนึ่ง ด้วยความหวังทรัพย์.

บทว่า ยาย อาสาย ติฏฺามิ ความว่า พระเถระกราบทูลว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ข้าพระองค์ก่อยู่ในที่นี้ด้วยความหวัง คือความ

ปรารถนาผลอันใด คือด้วยความต้องการจะให้พระองค์เสด็จไปกรุงกบิล-

พัสดุ์, ขอความหวังข้อนั้นของข้าพระองค์จงสำเร็จเถิด. พระองค์ควร

เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ได้แล้ว ดังนี้, ก็ในข้อนี้ พระเถระกล่าวถึงความ

พอใจคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำว่า อาสา เพราะเป็นเช่นกับความหวัง.

พระเถระเพื่อจะแสดงถึงเหตุแห่งการอ้อนวอนตั้งหลายครั้ง โดยมี

การพรรณนาถึงหนทางที่จะเสด็จไปเป็นต้น จึงกล่าวคำว่า ปุนปฺปุน ดังนี้

เป็นอาทิ.

ความแห่งบาทคาถานั้นว่า :- เมื่อหว่านพืชด้วยเพียงการหว่านครั้ง

เดียวยังไม่สมบูรณ์ พวกชาวนา ย่อมหว่านพืชบ่อย ๆ คือหว่านซ้ำเป็น

ครั้งที่ ๒ ที่ ๓ อีก, แม้เทพเจ้าผู้เป็นเจ้าแห่งฝนไม่ตกครั้งเดียวเท่านั้น

แต่ตกบ่อย ๆ คือตกตามฤดูกาลที่สมควร. ถึงพวกชาวนา ก็มิใช่ไถนา

เพียงครั้งเดียวเท่านั้น แต่ไถนาบ่อยๆ เพื่อทำดินให้ร่วน หรือทำโคลนให้

เป็นเทือก อันจะมีประโยชน์ทำให้ข้าวกล้าสมบูรณ์, แว่นแคว้นย่อมเข้าถึง

คือเข้าถึงความสมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร มีข้าวสาลีเป็นต้นบ่อย ๆ ที่พวก

มนุษย์น้อมนำเข้าไป ด้วยอำนาจการเก็บไว้ในยุ้งฉางเป็นต้น เพราะทำการ

สงเคราะห์ธัญชาติครั้งเดียวเท่านั้น ไม่ยินดีว่า เท่านี้ก็เพียงพอละ.

แม้พวกยาจกเที่ยวไป คือเข้าไปขอยังสกุลทั้งหลายบ่อย ๆ มิใช่ขอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 332

เพียงครั้งเดียวเท่านั้น, ฝ่ายพวกทานบดี ที่ถูกพวกยาจกเหล่านั้นขอแล้ว

ก็ให้บ่อย ๆ มิใช่ให้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น.

ก็พวกทานบดี ครั้นให้ไทยธรรมบ่อย ๆ อย่างนั้นแล้ว คือสั่งสม

บุญที่สำเร็จด้วยทานไว้แล้ว ย่อมเข้าถึงสวรรค์บ่อย ๆ คือไป ๆ มา ๆ

ได้แก่ ย่อมเข้าไปถึงเทวโลก ด้วยอำนาจการถือปฏิสนธิ, อธิบายว่า

เพราะฉะนั้น แม้ข้าพระองค์ ก็จะอ้อนวอนบ่อย ๆ ข้าแต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ขอพระองค์จงยังมโนรถของข้าพระองค์ให้ถึงที่สุดเถิด.

บัดนี้ พระเถระอ้อนวอนพระศาสดา จะให้เสด็จไปยังกรุงกบิล-

พัสดุ์เพื่อประโยชน์ใด เพื่อจะแสดงซึ่งประโยชน์นั้น จึงกล่าวคาถาว่า

วีโร หเว ดังนี้เป็นต้น.

ความแห่งบาทคาถานั้นว่า :- บุรุษผู้มีความเพียร มีความอาจหาญ

มีปัญญากว้างขวาง คือมีปัญญามากเกิด คือเกิดในสกุลใด ย่อมชำระต้น

ในสกุลนั้นตลอด ๗ ชั่วคนคือคู่แห่งบุรุษ ๗ จนถึงปิตามหยุคะที่ ๗ ให้

บริสุทธิ์สะอาดด้วยสัมมาปฏิบัติ โดยส่วนเดียว เพราะเหตุนั้น จะป่วย

กล่าวไปไยถึงวาทะของชาวโลก ที่เป็นคำติเตียน จักมีในชนเหล่าอื่นเล่า.

ข้าพระองค์ย่อมเข้าใจว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็น

เทพเจ้าผู้ประเสริฐ เพราะพระองค์เป็นเทพเจ้าผู้สูงสุดกว่าเทพเจ้าทั้งปวง

ย่อมทรงอาจสามารถเพื่อทำสกุลแม้ที่นอกเหนือไปกว่านั้นให้บริสุทธิ์ได้

ด้วยการห้ามเสียจากความชั่ว และด้วยการให้ดำรงอยู่ในความดี.

เพราะเหตุไร ? เพราะพระองค์เกิดแล้วโดยอริยชาติ ได้สัจนามว่า

เป็นนักปราชญ์ อธิบายว่า เพราะความที่พระองค์ผู้พระศาสดาเกิดแล้ว

โดยอริยชาติ เป็นนักปราชญ์ พระองค์เป็นผู้รู้ จึงได้พระนามตามความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 333

จริงว่า มุนี เพราะอรรถว่า รู้ประโยชน์ส่วนพระองค์ และประโยชน์

ส่วนสังคม และเพราะอรรถว่า รู้ซึ่งโลกนี้และโลกหน้า. อีกอย่างหนึ่ง

ผู้มีความรู้ ชื่อว่ามุนิ, พระองค์มีพระนามตามความเป็นจริงว่า สมณะ

บรรพชิต ฤาษี ดังนี้ ฉะนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุแห่ง

การได้เฉพาะซึ่งประโยชน์โดยส่วนเดียว แก่ปวงสัตว์ ข้าพระองค์จึงทูล

อ้อนวอนพระองค์ เพื่อการเสด็จไปในกรุงกบิลพัสดุ์นั้น.

บัดนี้ เมื่อพระเถระกล่าวว่า สตฺตยุค ดังนี้แล้ว เพื่อจะแสดงยุคะ

แห่งบิดา จึงกล่าวคำว่า สุทฺโธทโน นาม ดังนี้เป็นต้น. ชื่อว่า สุทฺโธทโน

เพราะอรรถว่า ผู้มีข้าวบริสุทธิ์เป็นชีวิต. จริงอยู่ พระพุทธบิดา ผู้มีกาย

สมาจาร วจีสมาจาร และมโนสมาจาร อันบริสุทธิ์พิเศษ โดยส่วนเดียว

จึงเป็นผู้มีอาชีพอันบริสุทธิ์ดี เพราะพระองค์เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอภินิหาร

อย่างนั้น.

บทว่า มายนามา ได้แก่ ได้นามว่ามายา เพราะพระองค์มีพระคุณ

ที่หมู่ญาติและมิตรเป็นต้น จะพึงกล่าวว่า อย่าไปเลย ดังนี้ เหตุสมบูรณ์

ด้วยคุณ มีสกุล, รูปร่าง, ศีล และมารยาท เป็นต้น.

บทว่า ปริหริยา แปลว่า ประคับประคอง.

บทว่า กายสฺส เภทา ได้แก่ เบื้องหน้าแต่กายของตนล่วงลับไป

ก็เป็นเช่นกับเจดีย์ของชาวโลก พร้อมทั้งเทวโลก.

บทว่า ติทิวมฺหิ ได้แก่ ในดุสิตเทวโลก.

บทว่า สา โยค มายาเทวี แปลว่า สมเด็จพระนางเจ้ามายาเทวีนั้น .

บทว่า โคตมี ความว่า พระเถระ ระบุถึงพระนางเจ้า โดย

พระโคตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 334

บทว่า ทิพฺเพหิ กาเมหิ ได้แก่ ด้วยวัตถุกามอันเป็นทิพย์ ที่นับ

เนื่องด้วยภพชั้นดุสิต,

บทว่า สมงฺคิภูตา แปลว่า ประกอบพร้อมแล้ว.

บทว่า กามคุเณหิ ได้แก่ด้วยส่วนแห่งกามคุณทั้งหลาย, ก็ครั้น

กล่าวว่า กาเมหิ ดังนี้แล้ว จึงแสดงว่า ย่อมบำรุงบำเรอด้วยวัตถุกาม

อันมีส่วนมากมาย ด้วยคำว่า กามคุเณหิ ดังนี้.

บทว่า เตหิ ความว่า บังเกิดแล้วในหมู่เทพชั้นใด อันหมู่เทพ

ชั้นดุสิตเหล่านั้น ห้อมล้อมหรือบันเทิงอยู่ด้วยกามคุณเหล่านั้น. ก็คำว่า

สมงฺคิภูตา ปริวาริตา นี้ ท่านแสดงเป็นอิตถีลิงค์ ที่หมายถึงอัตภาพใน

กาลก่อนซึ่งสำเร็จเป็นหญิง หรือหมายถึงความเป็นเทวดา, ส่วนการอุปบัติ

ของเทพเกิดโดยความเป็นบุรุษเท่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกพระเถระอ้อนวอนแล้วอย่างนั้น ทรงเห็นว่า

ประชาชนเป็นอันมากจะได้บรรลุคุณวิเศษ ในเพราะการเสด็จไปในกรุง

กบิลพัสดุ์นั้น จึงมีพระขีณาสพ ๒๐,๐๐๐ รูปแวดล้อมแล้ว เสด็จดำเนิน

ไปยังหนทางที่จะไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ โดยการเสด็จออกจากกรุงราชคฤห์

ไม่รีบด่วนนัก . พระเถระเข้าไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ด้วยฤทธิ์ ยืนท่ามกลาง

อากาศ ข้างหน้าพระราชา พระราชาทรงเห็นเพศที่ไม่เคยเห็นมาก่อน จึง

ตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร เมื่อจะแสดงว่า ถ้าพระองค์จำอาตมภาพผู้เป็น

บุตรอำมาตย์ที่พระองค์ส่งไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ไซร้ ขอพระองค์

จงทรงรู้อย่างนี้เถิด ดังนี้ จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า

อาตมภาพ เป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีสิ่งใด

ย่ำยีได้ มีพระรัศมีแผ่ซ่านจากพระกาย ไม่มีผู้เปรียบปาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 335

ผู้คงที่ ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เป็นพระบิดาของพระ-

พุทธเจ้า ผู้เป็นพระบิดาแห่งอาตมภาพ ดูก่อนมหาบพิตร

พระองค์เป็นพระอัยกาของอาตมภาพโดยธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธสฺส ปุตฺโตมฺหิ ความว่า อาตมภาพ

เป็นบุตรผู้เป็นโอรส ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพราะเกิดในอก.

บทว่า อสยฺหสาหิโน ความว่า ชื่อว่าไม่มีใครจะย่ำยีได้ เพราะคน

เหล่าอื่น ไม่อาจเพื่อจะอดกลั้นนำไปซึ่งพระมหาโพธิสัตว์ เว้นไว้แต่ใน

กาลก่อนแต่การตรัสรู้ คือเพราะการอดกลั้น การนำไปซึ่งโพธิสมภาร

และบุญญาธิการที่เป็นส่วนพระมหากรุณาทั้งสิ้น ใคร ๆ ย่ำยีไม่ได้, แม้ที่

ยิ่งไปกว่านั้น เพราะข่มครอบงำมาร ๕ ที่ใคร ๆ ไม่อาจจะครอบงำได้

เด็ดขาด เพราะคนเหล่าอื่นไม่สามารถจะข่มครอบงำได้ และเพราะอดทน

ต่อพุทธกิจ ที่คนเหล่าอื่นอดทนไม่ได้ กล่าวคือคำพร่ำสอน ด้วยทิฏฐ-

ธรรมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ แก่

เวไนยสัตว์ผู้สมควร ด้วยการหยั่งรู้ถึงการจำแนกสัตว์ต่าง ๆ ตามอาสยะ

อนุสัย จริต และอธิมุตติ เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อสัยหสาหิโน

เพราะความที่พระองค์ทรงบำเพ็ญคุณงามความดีในข้อนั้นไว้.

บทว่า องฺคีรสสฺส ได้แก่ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณมีศีลที่พระองค์

ทรงบำเพ็ญมาแล้วเป็นต้น. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า มีพระรัศมีแผ่ซ่าน

ออกจากพระวรกายทุกส่วน ดังนี้. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อ

๒ ชื่อ คือพระอังคีรส และพระสิทธัตถะ นี้ พระพุทธบิดาเท่านั้น ทรง

ขนานพระนามถวาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 336

บทว่า อปฺปฏิมสฺส ได้แก่ ไม่มีผู้เปรียบเสมอ. ชื่อว่า ตาทิโน

เพราะสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะที่คงที่ ในอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์.

บทว่า ปิตุปิตา มยฺห ตุวสิ ความว่า โดยโลกโวหาร พระองค์

เป็นพระบิดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบิดาของอาตมภาพ โดย

อริยชาติ.

พระเถระเรียกพระราชาโดยชาติว่า สกฺก.

บทว่า ธมฺเมน ได้แก่โดยสภาวะ คืออริยชาติ และโลกิยชาติ.

พระเถระเรียกพระราชาโดยพระโคตรว่า โคตม.

บทว่า อยฺยโกสิ ความว่า พระองค์เป็นพระบิดาใหญ่ (ปู่). ก็

ในคาถานี้ พระเถระเมื่อจะกล่าวคำเริ่มต้นว่า พุทฺธสฺส ปุตฺโตมฺหิ ดังนี้

จึงได้พยากรณ์ความเป็นพระอรหัตไว้.

ก็พระเถระครั้นแสดงตนให้พระราชาทรงรู้จักอย่างนั้นแล้ว ได้รับ

การนิมนต์จากพระราชาผู้ทรงเบิกบานสำราญพระทัย ให้นั่งบนบัลลังก์อัน

มีค่ามากแล้ว พระราชาก็ทรงบรรจุโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ที่เขาจัดแจงไว้

เพื่อพระองค์ ถวายแล้ว จึงแสดงอาการจะไป. ก็เมื่อพระราชาตรัสถามว่า

เพราะเหตุไร ท่านจึงประสงค์จะไปเสียเล่า ? จงฉันก่อนเถอะ. พระเถระ

จึงตอบว่า อาตมภาพจักไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว จึงจักฉัน. พระราชาตรัส

ถามว่า ก็พระศาสดาประทับอยู่ที่ไหน ? พระเถระตอบว่า พระศาสดามี

ภิกษุจำนวนประมาณ ๒๐,๐๐๐ รูป กำลังเสด็จดำเนินมาตามหนทาง เพื่อ

เฝ้าพระองค์แล้ว. พระราชาตรัสว่า นิมนต์ท่านฉันบิณฑบาตนี้เสียก่อน

ที่บุตรของเราจะมาถึงพระนครนี้ แล้วถึงค่อยนำบิณฑบาตจากที่จนไปเพื่อ

บุตรของเราตอนหลัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 337

พระเถระ กระทำภัตกิจเสร็จแล้ว บอกธรรมถวายแด่พระราชา

และบริษัท ก่อนหน้าพระศาสดาเสด็จมานั่นเทียว ก็ทำคนในพระราช

นิเวสน์ ทั้งหมดให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เมื่อคนทั้งหมดกำลังเห็นอยู่

นั่นแหละ ก็ปล่อยบาตรที่เต็มด้วยภัตร อันคนนำมาเพื่อถวายพระศาสดา

ในท่ามกลางอากาศ แม้ตนเองก็เหาะขึ้นสู้เวหาแล้ว น้อมเอาบิณฑบาต

เข้าไปวางบนพระหัตถ์ ถวายพระศาสดา. พระศาสดาทรงเสวยบิณฑบาต

นั้นเสร็จแล้ว. เมื่อพระเถระเดินทางวันละ ๑ โยชน์ สิ้นหนทาง ๑๐๐ โยชน์

อย่างนี้ นำเอาภัตตาหารจากกรุงราชคฤห์มาถวายแด่พระศาสดา.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่า

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ทำสกุลให้เลื่อมใสว่า เธอทำตนในพระราชนิเวศน์ทั้งหมด

ของพระมหาราชเจ้าผู้พระบิดาของเรา ให้เลื่อมใสได้ ดังนี้แล.

จบอรรถกถากาฬุทายีเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 338

๒. เอกวิหาริยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเอกวิหาริยเถระ

[๓๗๑] ถ้าไม่มีผู้อื่นอยู่ข้างหน้าหรือข้างหลังเรา ความสบาย

ใจอย่างยิ่งคงจะมีแก่เราผู้อยู่ในป่าผู้เดียว มิฉะนั้น เรา

ผู้เดียวจักไปสู่ป่าอันพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า ความ

ผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุผู้อยู่แต่ผู้เดียว มีใจเด็ดเดี่ยว เรา

ผู้เดียวเป็นผู้ชำนาญในสิ่งที่เป็นประโยชน์ จักเข้าไปสู่ป่า

ใหญ่ อันทำให้เกิดปีติแก่พระโยคาวจร น่ารื่นรมย์ เป็น

ที่อยู่ของหมู่ช้างตกมัน โดยเร็วพลัน เราผู้เดียวจักอาบน้ำ

ในซอกเขาอันเยือกเย็น ในป่าอันเย็น มีดอกไม้บาน

สะพรั่ง จักจงกรมให้เป็นที่สำราญใจ เมื่อไรเราจึงจักได้

อยู่ในป่าใหญ่อันน่ารื่นรมย์แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสอง จัก

เป็นผู้ทำกิจสำเร็จ หาอาสวะมิได้ ขอความประสงค์ของ

เราผู้ปรารถนาจะทำอย่างนี้จงสำเร็จเถิด เราจักยังความ

ประสงค์ของเราให้สำเร็จจงได้ ผู้อื่นไม่อาจทำผู้อื่นให้

สำเร็จได้เลย.

เราจักผูกเกราะคือความเพียร จักเข้าไปสู่ป่าใหญ่

เรายังไม่บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว จักไม่ออกไปจาก

ป่านั้น เมื่อลมพัดเย็นมา กลิ่นดอกไม้ก็หอมฟุ้งมา เรา

จักนุ่งอยู่บนยอดเขาทำลายอวิชชา เราจักได้รับความสุข

รื่นรมย์อยู่ด้วยวิมุตติสุข ในถ้ำที่เงื้อมเขาซึ่งดารดาษไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 339

ด้วยดอกโกสุม มีภาคพื้นเยือกเย็น อันมีอยู่ในป่าใหญ่

เป็นแน่ เรามีความดำริอันเต็มเปี่ยม เหมือนพระจันทร์

ในวันเพ็ญ เป็นผู้สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว บัดนี้ ภพใหม่

มิได้มี.

จบเอกวิหาริยเถรคาถา

อรรถกถาเอกวิหาริยเถรคาถาที่ ๒

คาถาของท่านพระเอกวิหาริยเถระ เริ่มต้นว่า ปุรโต ปจฺฉโต วาปิ

ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเอกวิหาริยะแม้นี้ เป็นผู้มีอธิการได้บำเพ็ญมาแล้ว ในพระ-

พุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ในภพนั้นๆ ได้สั่งสมบุญเป็นอันมากไว้ ในกาล

แห่งพระทศพลทรงพระนามว่า กัสสปะ บังเกิดในเรือนมีสกุล ถึงความรู้

เดียงสาแล้ว ได้ฟังธรรมในสำนักพระศาสดาแล้ว ได้มีความเลื่อมใส

บรรพชาแล้วเข้าไปสู่ป่า อยู่แบบสงบสงัด.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก

ตลอดพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ปรินิพพานแล้ว ได้บังเกิดเป็นพระกนิษฐภาดา ของพระเจ้าธรรมา-

โศกราช.

ได้ยินว่า ในปีที่ ๒๑๘ นับแต่พระศาสดาได้ปรินิพพานมา พระ-

เจ้าอโศกมหาราช ทรงได้รับการอภิเษกเป็นเอกราชในชมพูทวีปทั้งสิ้น

แล้ว ทรงสถาปนาติสสกุมารผู้พระกนิษฐภาดาของพระองค์ ไว้ในตำแหน่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 340

อุปราช ทรงใช้พระอุบายอย่างหนึ่ง ทำพระกนิษฐภาดานั้น ให้มีความ

เลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา. วันหนึ่ง ติสสกุมารนั้นเข้าไปหานายพรานเนื้อ

แล้ว มองเห็นพระโยนกมหาธรรมรักขิตเถระในป่า ซึ่งช้างตัวประเสริฐ

กำลังจับกิ่งไม้สาละนั่งพัดถวาย จึงเกิดความเลื่อมใสคิดว่า โอ ! หนอ เรา

บวชแล้ว พึงเป็นดุจพระมหาเถระนี้ อยู่ในป่าบ้าง.

พระเถระทราบถึงความเป็นไปแห่งจิตของเขา เมื่อเขากำลังเห็นอยู่

นั่นแหละ จึงเหาะขึ้นสู่อากาศแล้วมายืนบนน้ำแห่งสระโบกขรณี ใน

อโศการาม ไม่ทำให้น้ำแตกแยกกันแล้ว คล้องจีวรและผ้าอุตราสงค์บน

อากาศ เริ่มจะอาบน้ำ.

พระกุมาร เห็นอานุภาพของพระเถระแล้ว มีความเลื่อมใสเป็น

อย่างยิ่ง กลับจากป่าแล้วเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ แล้วกราบทูลแด่พระราชา

ว่า หม่อมฉันจักบวช ดังนี้. พระราชาทรงอ้อนวอนพระกุมารนั้นมีประการ

ต่าง ๆ ก็ไม่อาจจะล้มเลิกความประสงค์ที่จะบวชได้. พระกุมารนั้นเป็น

อุบาสก เมื่อปรารถนาถึงความสุขในการบวช จึงกล่าวคาถา ๖ คาถา

เหล่านี้ว่า :-

ถ้าไม่มีผู้อื่นอยู่ข้างหน้าหรือข้างหลังเรา ความสบาย

ใจอย่างยิ่ง คงจะมีแก่เราผู้อยู่ในป่าผู้เดียว มิฉะนั้นเรา

ผู้เดียวจักไปสู่ป่าอันพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า ความ

ผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุผู้อยู่แต่ผู้เดียว มีใจเด็ดเดี่ยว เรา

ผู้เดียว เป็นผู้ชำนาญในสิ่งที่เป็นประโยชน์ จักเข้าไปสู่

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๗๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 341

ป่าใหญ่ อันทำให้เกิดปีติแก่พระโยคาวจร น่ารื่นรมย์

เป็นที่อยู่ของหมู่ช้างตกมัน โดยเร็วพลัน เราผู้เดียวจัก

อาบน้ำในซอกเขาอันเยือกเย็น ในป่าอันเย็น มีดอกไม้

บานสะพรั่ง จักจงกรมให้เป็นที่สำราญใจ เมื่อไรเราจึง

จักได้อยู่ในป่าใหญ่อันน่ารื่นรมย์แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสอง

จักเป็นผู้ทำกิจสำเร็จ หาอาสวะมิได้ ขอความประสงค์

ของเราผู้ปรารถนาจะทำอย่างนี้ จงสำเร็จเถิด เราจักยัง

ความประสงค์ของเราให้สำเร็จจงได้ ผู้อื่นไม่อาจทำผู้อื่น

ให้สำเร็จได้เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุรโต ปจฺฉโต วา ความว่า ถ้าคนอื่น

ไม่มีอยู่ข้างหน้าหรือข้างหลังตน คือเพราะการที่ต้องกำหนดเสียง หรือ

การที่ต้องมองดูก็ไม่มี. ความสุขสบายใจอย่างยิ่งจะมีแก่เรา. แก่เราผู้เดียว

คือไม่มีสหายโดยความเป็นอยู่ผู้เดียว.

บทว่า วสโต วเน ความว่า อุบาสกนั้นมีหัวใจอันอัธยาศัยในความ

สงบที่ตนสั่งสมมาแล้วเป็นเวลานาน ชักชวนอยู่เสมอ เมื่อตนมีมหาชน

แวดล้อมอยู่ทั้งกลางคืนกลางวัน จึงพลันเกิดความเบื่อหน่ายต่อการอยู่

คลุกคลีด้วยคณะ สำคัญหมายถึงความสุขอันเกิดแต่ความสงัด และความ

สุขเป็นอันมาก จึงกล่าวไว้.

ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า สละวาง. ด้วยเหตุนั้น

บัดนี้ เขาจึงกล่าวถึงกิริยาที่ตนกำลังทำ ซึ่งละหมู่คณะไปสู่ป่า.

บทว่า เอโก คมิสฺสามิ ความว่า เราผู้เดียว ไม่มีเพื่อน จักไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 342

คือจักเข้าไป โดยความประสงค์จะอยู่ป่า ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ

ไว้ โดยพระดำรัสมีอาทิว่า ดูก่อนคฤหบดี พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมยินดี

ยิ่งในเรือนว่างแล. เพราะความผาสุกในการอยู่ป่า ย่อมมีแก่ภิกษุผู้อยู่แต่

ผู้เดียว คือผู้อยู่คนเดียว เพราะไม่มีเพื่อนในที่ทั้งหลายเป็นต้น ผู้มีตน

อันส่งไปแล้ว ได้แก่ผู้ศึกษาสิกขา ๓ มีอธิศีลสิกขาเป็นต้น เพราะตน

มีจิตส่งไปเฉพาะพระนิพพาน อธิบายว่า นำสิ่งที่น่าปรารถนาและความ

สุขมาให้.

บทว่า โยคีปีติกร ได้แก่ ชื่อว่า อันกระทำให้เกิดปีติแก่พระ-

โยคาวจร เพราะการนำมาซึ่งปีติที่เกิดแต่ฌานและวิปัสสนาเป็นต้น แก่

พระโยคาวจรทั้งหลาย ผู้ประกอบความเพียรในการภาวนา ด้วยความไม่มี

ศรัทธาเป็นต้น.

ชื่อว่า รมฺม เพราะเป็นสถานที่สมควรแก่การหลีกเร้น โดยที่ไม่มี

วิสภาคารมณ์.

บทว่า มตฺตกุญฺชรเสวิต ได้แก่ เป็นที่เที่ยวไปของหมู่ช้างตกมัน,

ด้วยบทนี้ ท่านแสดงถึงที่อยู่อันสงัดจากหมู่ชนเท่านั้น เพราะมีป่าขึ้น

หนาแน่น.

สมณธรรม ท่านประสงค์ถึงประโยชน์ ในบทว่า อตฺถวสี นี้, ได้แก่ 1

ไปสู่อำนาจของประโยชน์นั้นว่า ทำอย่างไรหนอ สมณธรรมนั้นจะพึงมี

แก่เรา ดังนี้.

บทว่า สุปุปฺผิเต ได้แก่ มีดอกไม้อันบานสะพรั่งด้วยดี.

บทว่า สีตวเน ได้แก่ ในป่าที่เย็น เพราะมีร่มเงาและน่าสมบูรณ์.

ด้วยบทแม้ทั้งสอง ท่านแสดงถึงสถานที่นั้นว่า ร่มรื่นเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 343

บทว่า คิริกนฺทเร ได้แก่ ในซอกระหว่างแห่งภูเขา. จริงอยู่ น้ำ

ท่านเรียกว่า ก, สถานที่ลุ่มอันน้ำนั้นเซาะแล้ว ชื่อว่า กันทระ. ท่าน

แสดงถึงความประพฤติที่ไม่ครอบครองที่อยู่อาศัย ในที่ไหน ๆ ว่า เรา

ผู้เดียวบรรเทาความเร่าร้อนในฤดูร้อนเสีย ในซอกเขาอันเยือกเย็นเช่นนั้น

แล้ว ราดรด อาบตัวของตัวแล้วจักจงกรม ดังนี้.

บทว่า เอกากิโย ได้แก่ ผู้ผู้เดียวไม่มีเพื่อน.

บทว่า อทุติโย ได้แก่ ไม่มีเพื่อน เพราะไม่มีเพื่อนกล่าวคือตัณหา

จริงอยู่ ตัณหาชื่อว่าเป็นเพื่อนของบุรุษ เพราะอรรถว่า ไม่ละทิ้งในกาล

ทั้งปวง. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุรุษมีตัณหาเป็น

เพื่อน ท่องเที่ยวไปอยู่ตลอดกาลอันยาวนาน ดังนี้.

บทว่า เอว เม กตฺตุกามสฺส ความว่า ขอความประสงค์ของเราผู้

ปรารถนาจะไปป่าทำการประกอบความเพียรเจริญภาวนา โดยวิธีที่กล่าว

แล้ว เป็นต้นว่า เอาเถอะ เราผู้เดียวจักไป ดังนี้.

บทว่า อธิปฺปาโย สมิชฺฌตุ ความว่า ขอมโนรถที่เป็นไปแล้ว

อย่างนี้ว่า ในคราวนั้น เราจักเป็นผู้เสร็จกิจ ไม่มีอาสวะ ดังนี้ จงสำเร็จ

คือจงถึงซึ่งความสำเร็จเถิด. ก็เพราะการบรรลุพระอรหัต จะสำเร็จด้วย

เพียงการอ้อนวอน ก็หามิได้ ทั้งผู้อื่นจะพึงให้สำเร็จ ก็หามิได้ ฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า เราจักทำความประสงค์ของเราให้สำเร็จให้ได้, ผู้อื่นไม่

อาจจะทำผู้อื่นให้สำเร็จได้เลย ดังนี้เป็นต้น.

พระราชาทรงทราบว่า อุปราชมีความปรารถนามั่นคงในการ

บรรพชาอย่างนั้น จึงทรงมีรับสั่งให้คนประดับทนทางที่จะไปยังอโศการาม

แล้ว ทรงนำพาพระกุมารผู้ประดับด้วยอลังการพร้อมสรรพ ไปยังพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 344

วิหาร ด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ ด้วยเสนาหมู่ใหญ่. พระกุมารไปยังเรือน

ที่บำเพ็ญเพียรแล้ว บวชในสำนักของพระมหาธรรมรักขิตเถระ, พวก

มนุษย์หลายร้อยคน พากันบวชตามพระกุมารนั้นแล้ว. แม้ท่านอัคคิพรหม

ผู้เป็นราชภาคิไนย และผู้เป็นพระสวามีของพระนางสังฆมิตตา ก็ออกบวช

ตามพระกุมารนั้นเหมือนกัน. พอพระกุมารนั้นบวชแล้วเป็นผู้มีจิตร่าเริง

ยินดี เมื่อจะประกาศถึงกิจที่ตนควรจะกระทำ จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า

เราจักผูกเกราะคือความเพียร จักเข้าไปสู่ป่าใหญ่ เรา

ยังไม่บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว จักไม่ออกไปจากป่า

นั้น เมื่อลมพัดเย็นมา กลิ่นดอกไม้ก็หอมฟุ้งมา เราจัก

นั่งอยู่บนยอดเขาทำลายอวิชชา เราจักได้รับความสุข

รื่นรมย์อยู่ด้วยวิมุตติสุข ในถ้ำที่เงื้อมเขาซึ่งดารดาษไป

ด้วยดอกโกสุม มีภาคพื้นเยือกเย็น อันมีอยู่ในป่าใหญ่

เป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอส พนฺธามิ สนฺนาห ความว่า

เรานั้นจักผูกเกราะคือความเพียร ได้แก่เราไม่ห่วงใยในร่างกายและชีวิต

จะผูกไว้ด้วยเกราะคือความเพียร. มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เปรียบ

เสมือนบุรุษผู้กล้าหาญ มีความประสงค์จะเอาชนะเหล่าข้าศึกที่ลุกขึ้นตั้งรับ

จึงละทิ้งกิจอื่นแล้วผูกสอดเครื่องรบ มีเสื้อเกราะเป็นต้น และไปยังยุทธภูมิ

แล้ว ยังไม่ชนะเหล่าข้าศึกแล้ว ก็ไม่ยอมกลับมาจากที่นั้น ชื่อฉันใด แม้

เราเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน มุ่งเพื่อจะเอาชนะเหล่าข้าศึกคือกิเลส ไม่ห่วงใย

ศีรษะและผ้า ถึงว่าจะถูกความร้อนแผดเผาทั่วก็ตาม จะผูกสอดเกราะคือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 345

ความเพียร อันได้แก่สัมมัปปธาน ๔ อย่างไว้, ยังไม่ชนะเหล่ากิเลส จะ

ไม่ยอมสละละทิ้งที่อันสงัด สำหรับทำความเพียรเพื่อชนะกิเลสให้ได้. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราจักเข้าไปสู่ป่าใหญ่ เรายังไม่บรรลุถึงความ

สิ้นอาสวะแล้ว จักไม่ยอมออกไปจากป่านั้น ดังนี้เป็นต้น.

ด้วยบทว่า มาลุเต อุปวายนฺเต ดังนี้เป็นต้น ท่านกล่าวถึงสถานที่

อยู่ในป่า เหมาะแก่การเจริญกัมมัฏฐาน, ประกอบความว่า เราจักรื่นรมย์

อยู่ในถ้ำที่เงื้อมเขาแน่นอน, อธิบายว่า ท่านกล่าวกำหนดความที่เป็น

อนาคตกาลว่า เราเห็นจักอภิรมย์ที่เชิงบรรพต. คำที่เหลือพึงรู้ได้โดยง่าย

ทีเดียว.

พระเถระกล่าวอย่างนั้นแล้ว เข้าไปสู่ป่า บำเพ็ญสมณธรรมพร้อม

กับพระอุปัชฌาย์ ได้ไปยังแคว้นกลิงคะ. ในแคว้นนั้น พระเถระเกิดเป็น

โรคผิวหนังขึ้นที่เท้า. หมอคนหนึ่งเห็นท่านแล้วจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ท่านหาเนยใสมาเถิด, ผมจะรักษาเยียวยาให้ท่าน. พระเถระไม่

ยอมแสวงหาเนยใส มุ่งแต่จะบำเพ็ญวิปัสสนาถ่ายเดียว. โรคกำเริบขึ้น

หมอเห็นว่าพระเถระมีความขวนขวายน้อยในที่นั้นแล้ว ตนเองจึงแสวงหา

เนยใสเสียเองแล้ว ได้ทำพระเถระให้หายขาดจากโรค. พระเถระนั้นไม่มี

โรค ต่อกาลไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้

อปทานว่า :-

ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ โดย

พระโคตร เป็นเผ่าพรหม มีพระยศใหญ่ ประเสริฐกว่า

นักปราชญ์ทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระองค์ไม่มี

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๒๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 346

ธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า ไม่มีเครื่องยึดหน่วง มีพระทัย

เสมอด้วยอากาศ มากด้วยสุญญตสมาธิ คงที่ ยินดีใน

อนิมิตตสมาธิ ประทับอยู่แล้ว พระองค์ผู้มีพระทัยรังเกียจ

ไม่มีตัณหาเครื่องฉาบทา ไม่เกี่ยวข้องในสกุล ในคณะ

ประกอบด้วยพระกรุณาใหญ่ เป็นนักปราชญ์ ทรงฉลาด

ในอุบายเครื่องแนะนำ ทรงขวนขวายในกิจของผู้อื่น ทรง

แนะนำในหนทางอันยิ่งสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ซึ่งเป็น

เหตุทำเปือกตมคือคติ ให้แห้ง ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก

ประทับนั่งแสดงอมตธรรม อันเป็นความแช่มชื่นอย่างยิ่ง

ซึ่งเป็นเครื่องห้ามชราและมรณะ ในท่ามกลางบริษัทใหญ่

ยังสัตว์ให้ข้ามโลก พระวาจาไพเราะเหมือนนกการะเวก

เป็นนาถะของโลก มีพระสุรเสียงก้องประหนึ่งเสียงพรหม

ผู้เสด็จมาด้วยประการนั้น ถอนพระองค์ขึ้นจากมหันตทุกข์

ในเมื่อโลกปราศจากผู้แนะนำ ทรงแสดงธรรมที่ปราศจาก

ธุลี นำสัตว์ออกจากโลก เราได้เห็นแล้ว ได้ฟังธรรม

ของพระองค์ จึงออกบวชเป็นบรรพชิต ครั้นเราบวชแล้ว

ในกาลนั้น คิดถึงคำสั่งสอนของพระชินเจ้า ถูกความ

เกี่ยวข้องบีบคั้น จึงได้อยู่เสียในป่าที่น่ารื่นรมย์แต่ผู้เดียว

เท่านั้น การที่เรามีกายหลีกออกมาได้ เป็นเหตุแห่งการ

หลีกออกแห่งใจของเราผู้เห็นภัย ในความเกี่ยวข้อง เรา

เผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .ฯลฯ. . .พุทธศาสนาเราได้ทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 347

เสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็เมื่อพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว อยู่ในที่นั้น พระราชาทรง

บริจาคทรัพย์ ๑ โกฏิ แล้วให้ทรงสร้างวิหารชื่อว่า โภชกคิริวิหาร แล้ว

ทรงนิมนต์พระเถระให้อยู่ในพระวิหารนั้น.

พระเถระนั้น อยู่ในพระวิหารนั้น ในเวลาใกล้จะปรินิพพาน ได้

กล่าวคาถาสุดท้ายว่า

เรานั้น มีความดำริอันเต็มเปี่ยมแล้ว เหมือนพระ-

จันทร์ในวันเพ็ญ เป็นผู้สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว บัดนี้ ภพ

ใหม่มิได้มีอีก.

คาถานั้น มีเนื้อความง่ายแล้วแล. ก็การพยากรณ์พระอรหัตนั้นนั่นแล ได้

มีแล้วแก่พระเถระแล.

จบอรรถกถาเอกกวิหาริยเถรคาถาที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 348

๓. มหากัปปินเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมหากัปปินเถระ

[๓๗๒] ผู้ใดพิจารณาเห็นแจ้งหรือแสวงหาประโยชน์ ย่อม

พิจารณาเห็นกิจทั้งสอง คือที่เป็นประโยชน์และไม่เป็น

ประโยชน์ อันยังไม่มาถึง ได้ก่อนอมิตรหรือศัตรูของผู้นั้น

ซึ่งคอยแสวงหาช่องอยู่ไม่ทันเห็น ผู้นั้นเรียกว่า ผู้มีปัญญา

ผู้ใดเจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ด้วยดีแล้ว อบรมแล้ว

โดยลำดับตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมยัง

โลกนี้ให้สว่างไสวเหมือนพระจันทร์เพ็ญพ้นออกจากกลีบ

เมฆฉะนั้น จิตของเราผ่องใสแล้วหนอ อบรมดีแล้ว หา

ประมาณมิได้ เป็นจิตประคองไว้แล้วเป็นนิตย์ ย่อมยังทิศ

ทั้งปวงให้สว่างไสวบุคคลผู้มีปัญญาถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็ยังมี

ชีวิตอยู่ได้เป็นแน่แท้ ส่วนบุคคลผู้ไม่มีปัญญาถึงจะมี

ทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้ ปัญญาเป็นเครื่องตัดสินสิ่งที่ตนฟัง

มาแล้ว เป็นเครื่องเจริญชื่อเสียงและความสรรเสริญ.

นรชนในโลกนี้ ผู้ประกอบด้วยปัญญา แม้ในเวลาที่

ตนตกทุกข์ ก็ย่อมได้รับความสุข ธรรมนี้มิใช่มีในวันนี้

ไม่ใช่น่าอัศจรรย์ และไม่ใช่เคยมีมาแล้ว แต่ดูเหมือน

เป็นของที่ไม่เคยมีในโลก ซึ่งเป็นที่เกิดที่ตาย เมื่อสัตว์

เกิดมาแล้ว ก็มีความเป็นอยู่กับความตายแน่แท้ สัตว์ที่

เกิดมาแล้ว ๆ ในโลกนี้ ย่อมตายไปทั้งนั้น เพราะสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 349

ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา ชีวิตอันใดเป็นประโยชน์

แก่บุรุษเหล่าอื่น ชีวิตอันนั้นย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้

ที่ตายไปแล้ว อันการร้องไห้ถึงผู้ตายไปแล้ว ย่อมไม่ทำ

ให้เกิดผล ไม่ทำให้เกิดความสรรเสริญ สมณะและ

พราหมณ์ไม่สรรเสริญเลย การร้องไห้ย่อมเบียดเบียน

จักษุและร่างกาย ทำให้เสื่อมวรรณะ กำลัง และความ

คิด ชนทั้งหลายผู้เป็นข้าศึกย่อมมีจิตยินดี ส่วนชนผู้

เป็นมิตรก็พลอยเป็นทุกข์ไปด้วย เพราะฉะนั้น บุคคล

พึงปรารถนาท่านผู้เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต ให้อยู่ใน

สกุลของตน เพราะกิจทุกอย่างจะสำเร็จได้ ก็ด้วยกำลัง

ปัญญาของท่านที่เป็นนักปราชญ์ และเป็นพหูสูตเท่านั้น

เหมือนบุคคลข้ามแม่น้ำอันเต็มฝั่งด้วยเรือฉะนั้น.

จบมหากัปปินเถรคาถา

อรรถกถามหากัปปินเถรคาถาที่ ๓

คาถาของท่านพระมหากัปปินเถระ มีเริ่มต้นว่า อนาคต โย

ปฏิกจฺจ ปสฺสติ ดังนี้เป็นต้น. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ท่าน

พระมหากัปปินเถระนี้ บังเกิดในเรือนมีสกุล ในนครหังสาวดี รู้เดียงสา

แล้ว ฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 350

ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุ จึงกระทำบุญญาธิการ

ที่จะเป็นเหตุให้เกิดตำแหน่งนั้นแล้ว ปรารถนาตำแหน่งนั้น.

เขาทำกุศลในภพนั้นจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและ

มนุษยโลก ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ บังเกิด

ในเรือนมีสกุล ในกรุงพาราณสี รู้เดียงสาแล้ว เป็นหัวหน้าหมู่คน ๑,๐๐๐

คน ร่วมช่วยกันสร้างบริเวณใหญ่ อันประดับด้วยห้อง ๑,๐๐๐ ห้อง.

ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ทำกุศลจนตลอดชีวิต มอบหน้าที่ให้อุบาสกนั้น

พร้อมด้วยบุตรและภริยา พากันบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไปในเทวโลก

เป็นหัวหน้าและมนุษยโลก ตลอดพุทธันดรหนึ่ง.

ในคนเหล่านั้น หัวหน้าคณะ ก่อนหน้าแต่พระศาสดาของพวกเรา

ทรงบังเกิดขึ้นนั่นแล ทรงบังเกิดในพระราชวัง ในพระนครชื่อว่า กุกกุฏะ

ในปัจจันตประเทศ พระกุมารนั้นมีพระนามว่า กัปปินะ.

พวกบุรุษที่เหลือ พากันบังเกิดในตระกูลอำมาตย์ ในนครนั้นนั่น

แหละ. พอพระราชบิดาเสด็จล่วงไป กัปปินกุมารทรงได้รับเศวตฉัตร

เป็นพระเจ้ามหากัปปินะ. พระเจ้ามหากัปปินะนั้น เพราะพระองค์ได้ฟัง

สมบัติอันน่าปลื้มใจ พอเช้าตรู่ก็ทรงส่งพวกราชทูตไปตามประตูเมืองทั้ง ๔

โดยพลันว่า พวกเจ้ากลับจากที่ที่พบเห็นพวกพหูสูตแล้ว จงบอกให้เรา

ทราบเถิด.

ก็โดยสมัยนั้น พระศาสดาของพวกเราเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ทรง

อาศัยกรุงสาวัตถีประทับอยู่. ในกาลนั้น พวกพ่อค้าชาวกรุงสาวัตถี พา

กันถือเอาสิ่งของที่เกิดขึ้นในกรุงสาวัตถี ไปสู่พระนครนั้นแล้ว เก็บสิ่ง

ของแล้ว พากันคิดว่า พวกเราจักเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว แล้วพากันถือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 351

บรรณาการไป กราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงให้เรียกเขาเหล่านั้นมา

แล้ว เมื่อพวกเขามอบถวายบรรณาการแล้วยืนไหว้ จึงตรัสถามว่า พวกเจ้า

พากันมาจากไหน ? พวกเขากราบทูลว่า จากกรุงสาวัตถี พระเจ้าข้า.

พระราชาจึงตรัสถามว่า ที่แว่นแคว้น มีภิกษาหาได้ง่ายแลหรือ พระราชา

ทรงตั้งอยู่ในธรรมหรือเปล่า ? พวกเขากราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่

สมมติเทพ. พระราชาตรัสถามว่า ในประเทศของพวกเจ้า มีธรรมเช่นไร

ที่กำลังเป็นไปในบัดนี้. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้อนั้น

พวกข้าพระองค์มิอาจจะกราบทูลด้วยทั้งใบหน้าอันเศร้าหมอง พระเจ้าข้า.

พระราชาจึงทรงพระราชทานน้ำด้วยพระสุวรรณภิงคาร. พวกพ่อค้า

เหล่านั้น ล้างหน้าแล้ว จึงบ่ายหน้าไปทางพระทศพล ประคองอัญชลี

แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดาว่า พระพุทธรัตนะอุบัติ

ขึ้นแล้ว ในประเทศของพวกข้าพระองค์.

เพียงได้สดับคำว่า พุทฺโธ เท่านั้น ปีติก็เกิดขึ้น แผ่ไปทั่วพระ-

สรีระทั้งสิ้นของพระราชา. ต่อแต่นั้น พระราชาก็ตรัสว่า พ่อคุณทั้งหลาย

พ่อจงกล่าวคำว่า พุทฺโธ อีกเถิด. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่

สมมติเทพ พวกข้าพระองค์ขอกล่าวย้ำอีกว่า พุทฺโธ. พระราชารับสั่ง

ให้พวกพ่อค้ากล่าวอย่างนั้นถึง ๓ ครั้ง ทรงเลื่อมใส ในบทนั้นนั่นแล

ว่า บทว่า พุทฺโธ เป็นบทที่มีคุณหาประมาณมิได้ ดังนี้แล้ว พระราชทาน

ทรัพย์จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ ให้แล้ว ตรัสถามว่า พ่อคุณ จงพากันกล่าว

บทอื่นอีกเถิด. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดาว่า

พระธรรมรัตนะ อุบัติขึ้นแล้วในโลก. พระราชาทรงสดับบทแม้นั้นแล้ว

พระราชทานทรัพย์จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ ให้เหมือนอย่างนั้นแล แล้วตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 352

ถามว่า พ่อคุณ จงพากันกล่าวบทอื่นอีกเถิด. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ พระสังฆรัตนะอุบัติขึ้นแล้ว. พระราชาทรงสดับบทแม้

นั้นแล้ว พระราชทานทรัพย์จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ ให้แล้ว เสด็จออกจาก

ที่นั้นด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักบวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า.

แม้พวกอำมาตย์ ก็ออกไปแล้วอย่างนั้นเหมือนกัน. พระราชา

พร้อมด้วยอำมาตย์ ๑,๐๐๐ คน เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำคงคาแล้ว ทรงกระทำ

สัจจะอธิษฐานว่า ถ้าพระศาสดาทรงเป็นสัมมาสัมพุทธะจริงไซร้, ขอน้ำ

จงอย่าเปียกแม้เพียงกีบเท้าม้าเหล่านี้เลย แล้วเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาอัน

เต็มเปี่ยมไปบนหลังน้ำนั่นแล เสด็จข้ามแม่น้ำแม้อื่นอีกที่กว้างตั้งกึ่งโยชน์

ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เสด็จถึงแม่น้ำใหญ่สายที่ ๓ ชื่อว่า จันทภาคาแล้ว

เสด็จข้ามแม่น้ำแม้นั้น ด้วยการทำสัจจะอธิษฐานนั้นเหมือนกัน.

ในเวลาใกล้รุ่งวันนั้นเอง แม้พระศาสดาทรงออกจากพระมหา-

กรุณาสมาบัติแล้ว ทรงตรวจดูสัตวโลก ทรงเห็นว่า วันนี้พระเจ้า

มหากัปปินะ จะทรงสละละราชสมบัติ พร้อมด้วยอำมาตย์ผู้เป็นบริวาร

๑,๐๐๐ คน จักเดินทางมาสิ้นหนทาง ๓๐๐ โยชน์ เพื่อบวชในสำนักของ

เรา แล้วทรงดำริว่า เราควรทำการต้อนรับพวกเขาเหล่านั้น แล้วทรงทำ

การชำระพระสรีระแต่เช้าตรู่ มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว เสด็จเที่ยวไป

บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต เฉพาะพระ-

องค์เองเท่านั้น เสด็จไปทางอากาศ ประทับนั่งขัดสมาธิบัลลังก์ที่โคนต้น

นิโครธใหญ่ ทรงเปล่งพระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ ประการไป ณ ที่เฉพาะ

ต่อท่า ที่พระราชาเป็นต้นเหล่านั้นข้าม ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 353

พระราชาและอำมาตย์เหล่านั้น กำลังพากันข้ามท่านั้นอยู่ ก็พลัน

แลดูพระพุทธรัศมีที่แผ่ซ่านไปทางโน้นทางนี้ ทรงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงความตกลงใจด้วยการเห็นเท่านั้นว่า พวกเรามาเพื่อมุ่งพระศาสดาพระ-

องค์ใด นี่คือพระศาสดาพระองค์นั้นแน่นอน ดังนี้แล้ว ตั้งแต่ที่ที่เห็นแล้ว

ก็น้อมกายลง กระทำการนอบน้อมเป็นอย่างยิ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. พระราชาทรงจับที่ข้อพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ถวาย

บังคมพระศาสดา แล้วประทับนั่งพร้อมกับอำมาตย์ ๑,๐๐๐ คน ณ ที่

สมควรข้างหนึ่ง. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่ชนเหล่านั้นแล้ว. ใน

เวลาจบพระธรรมเทศนา พระราชาพร้อมกับบริษัท ทรงดำรงอยู่ในพระ-

อรหัตผล. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า :-

พระพิชิตมาร ผู้ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง พระนามว่า

ปทุมุตตระ ปรากฏในอัษฎากาศเหมือนพระอาทิตย์ปรากฏ

ในอากาศ ในสรทกาลฉะนั้น พระองค์ยังดอกบัวคือ

เวไนยสัตว์ให้บานด้วยพระรัศมี คือพระดำรัส สมเด็จ

พระโลกนายกทรงยังเปือกตม คือกิเลส ให้แห้งไปด้วย

พระรัศมี คือพระปรีชา ทรงกำจัดยศของพวกเดียรถีย์

เสียด้วยพระญาณปานดังเพชร เหมือนพระอาทิตย์กำจัด

ความมืดฉะนั้น สมเด็จพระทิพากรเจ้า ทรงส่องแสง

สว่างจ้า ทั้งกลางคืนและกลางวัน ในที่ทุกหนทุกแห่ง

เป็นบ่อเกิดแห่งคุณ เหมือนสาครเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ

ทรงยังเมฆ คือธรรมให้ตกลงเพื่อหมู่สัตว์ เหมือนเมฆ

ยังฝนให้ตกฉะนั้น.

๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 354

ครั้งนั้น เราเป็นผู้พิพากษาอยู่ในพระนครหังสวดี ได้

เข้าไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้มีพระนามว่า ปทุมุตตระ

ซึ่งกำลังประกาศคุณของพระสาวกผู้มีสติ ผู้กล่าวสอน

ภิกษุทั้งหลายอยู่ ทรงยังใจของเราให้ยินดี เราได้ฟังแล้ว

เกิดมีปีติโสมนัส นิมนต์พระตถาคต พร้อมด้วยศิษย์ ให้

เสวยและฉันแล้ว ปรารถนาฐานันดรนั้น.

ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีส่วนเสนอด้วย

หงส์ มีพระสุรเสียงเหมือนหงส์และมโหระทึก ได้ตรัสว่า

จงดูมหาอำมาตย์ผู้นี้ ผู้แกล้วกล้าในการตัดสิน หมอบ

อยู่แทบเท้าของเรา มีกายประดุจลอยขึ้นและมีใจฟูด้วย

ปีติ มีวรรณะเหมือนแสงแห่งแก้วมุกดา งดงามนัยน์ตา

และหน้าผ่องใส มีบริวารเป็นอันมาก ทำราชการ

มียศใหญ่ มหาอำมาตย์นี้ เขาปรารถนาตำแหน่งภิกษุ

ผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ เพราะพลอยยินดีด้วยการบริจาค

บิณฑบาตนี้ และด้วยการตั้งเจตจำนงไว้ เขาจักไม่เข้า

ถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป จักเสวยความเป็นผู้มีโชคดีใน

หมู่ทวยเทพ และจักเสวยความเป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์

จักบรรลุถึงพระนิพพานด้วยผลกรรมส่วนที่เหลือ ในแสน

กัปแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามว่าโคดม ทรงสมภพ

ในวงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

มหาอำมาตย์นี้ จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระ-

องค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จักเป็นสาวกของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 355

พระศาสดามีนามว่า กัปปินะ ต่อแต่นั้น เราก็ได้ทำ

สักการะด้วยดีในพระศาสนาของพระชินสีห์ ละร่าง

มนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดุสิต.

เราครองราชย์ในเทวดาและมนุษย์ โดยเป็นส่วน ๆ.

แล้ว เกิดในสกุลช่างหูก ที่ตำบลบ้านใกล้พระนคร

พาราณสี เรากับภรรยามีบริวารแสนคน ได้อุปัฏฐากพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ได้ถวายโภชนาหารตลอด

ไตรมาส แล้วให้ครองไตรจีวร เราทั้งหมดจุติจากอัตภาพ

นั้นแล้ว ได้เข้าถึงสวรรค์ชั้นไตรทศ เราทั้งหมดจุติจาก

สวรรค์นั้นแล้ว กลับมาเป็นมนุษย์อีก พวกเราเกิดใน

กุกกุฏบุรี ข้างป่าหิมพานต์ เราได้เป็นราชโอรสผู้มียศ

ใหญ่ พระนามว่า กัปปินะ พวกที่เหลือเกิดในสกุล

อำมาตย์ เป็นบริวารของเรา เราเป็นผู้ถึงความสุข อัน

เกิดแต่ความเป็นมหาราชา ได้สำเร็จสิ่งที่ต้องประสงค์

ทุกประการ ได้สดับข่าวสาสน์อุบัติของพระพุทธเจ้า ที่

พวกพ่อค้าบอกดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าผู้เอกอัครบุคคลไม่มี

ใครเสมอเหมือน เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์ทรง

ประกาศพระสัทธรรม อันเป็นธรรมไม่ตาย เป็นอุดมสุข

และสาวกของพระองค์เป็นผู้หมั่นขยัน พ้นทุกข์ ไม่มี

อาสวกิเลส

ครั้นเราได้สดับคำของพ่อค้าเหล่านั้นแล้ว ได้ทำการ

สักการะพวกพ่อค้าสละราชสมบัติ พร้อมด้วยอำมาตย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 356

เป็นพุทธมามกะ พากันออกเดินทาง ได้พบแม่น้ำมหา-

จันทานที มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง ทั้งไม่มีท่าน้ำ

ไม่มีแพ ข้ามได้ยาก มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว เราระลึก

ถึงพระพุทธคุณแล้ว ก็ข้ามแม่น้ำไปได้โดยสวัสดี ถ้า

พระพุทธองค์ทรงข้ามกระแสน้ำคือภพไปได้ ถึงที่สุดแห่ง

โลก ทรงรู้แจ้งชัดไซร้ ด้วยสัจจวาจานี้ ก็ขอให้การ

ไปของเราจงสำเร็จ ถ้ามรรคเป็นเครื่องให้สัตว์ถึงความ

สงบได้ เป็นเครื่องให้โมกขธรรม เป็นธรรมสงบระงับ

นำความสุขมาให้ได้ไซร้ ด้วยสัจจวาจานี้ ก็ขอให้การไป

ของเราจงสำเร็จ ถ้าพระสงฆ์เป็นผู้ข้ามพ้นหนทางกันดาร

ไปได้ เป็นเนื้อนาบุญอันเยี่ยมไซร้ ด้วยสัจจวาจานี้ ก็

ขอให้การไปของเราจงสำเร็จ พร้อมกับที่เราได้ทำสัจจะ

อันประเสริฐ ดังนี้ น้ำได้ไหลหลีกออกไปจากหนทาง.

ลำดับนั้น เราได้ข้ามไปขึ้นฝั่งแม่น้ำอันน่ารื่นรมย์ใจ

ได้โดยสะดวก ได้พบพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ เหมือน

พระอาทิตย์ที่กำลังอุทัย ดังภูเขาทองที่ลุกโพลง เหมือน

ไม้ประทีปที่ถูกไฟไหม้โชติช่วง ผู้อันสาวกแวดล้อม

เปรียบดังพระจันทร์ที่ประกอบด้วยดวงดาว ยังเทวดา

และมนุษย์ให้เพลิดเพลิน ปานท้าววาสวะผู้ยังฝน คือ

รัตนะให้ตกลง เราพร้อมด้วยอำมาตย์ถวายบังคมแล้ว

เฝ้าอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 357

ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของเรา ได้

แสดงพระธรรมเทศนา เราฟังธรรมอันปราศจากมลทิน

แล้ว ได้กราบทูลพระพิชิตมารว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า

ขอได้ทรงโปรดให้พวกข้าพระองค์ได้บรรพชาเถิด พวก

ข้าพระองค์เป็นผู้ลงสู่ภพแล้ว พระมหามุนีผู้สูงสุดได้ตรัส

ว่า ท่านทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดี

แล้ว ท่านทั้งหลายจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุด

แห่งทุกข์เถิด พร้อมกันกับพระพุทธดำรัส เราทุกคนล้วน

ทรงเพศเป็นภิกษุ เราทั้งหลายอุปสมบทแล้ว เป็นภิกษุผู้

โสดาบันในพระศาสนา ต่อแต่นั้น พระผู้นำชั้นพิเศษ ได้

เสด็จเข้าพระเชตวันมหาวิหารแล้ว ทรงสั่งสอนเรา เราอัน

พระพิชิตมารทรงสั่งสอนแล้วได้บรรลุพระอรหัต ลำดับนั้น

เราได้สั่งสอนภิกษุพันรูป แม้พวกเขาทำตามคำสอนของ

เรา ก็เป็นผู้ไม่มีอาสนะ พระพิชิตมารทรงพอพระทัยใน

คุณข้อนั้น จึงทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ณ

ท่ามกลางมหาชนว่า ภิกษุกัปปินะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย

ผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ ธรรมที่ได้ทำไว้ในแสนกัป ได้

แสดงผลให้เราในครั้งนี้ เราพ้นจากกิเลสดุจดังลูกศรที่

พ้นจากแล่ง เราได้เผากิเลสของเราแล้ว เราเผากิเลส

ทั้งหลายแล้ว . . . ฯ ล ฯ . . .พระพุทธศาสนา เราได้ทำ

เสร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 358

ก็ชนเหล่านั้นทั้งหมด ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว จึงพากันขอ

บวชกะพระศาสดา. พระศาสดาตรัสกะชนเหล่านั้นว่า พวกเธอ จงเป็น

ภิกษุมาเถิด. การบรรพชาและอุปสมบทนั้นนั่นแล จึงได้มีแล้วแก่ชน

เหล่านั้น. พระศาสดาทรงอาศัยภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปนั้น จึงได้เสด็จไปยัง

พระเชตวัน โดยอากาศ.

ต่อมาวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามพวกภิกษุผู้เป็นอันเต-

วาสิกของท่านมหากัปปินะนั้นว่า ภิกษุทั้งหลายกัปปิยนะแสดงธรรมแก่ภิกษุ

ทั้งหลายบ้างไหม ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระเถระย่อมไม่แสดง, ท่านเป็นผู้ขวนขวายน้อยประกอบความเพียรอยู่ด้วย

ความสุขในทิฏฐิธรรมอยู่ ไม่ยอมให้แม้เพียงแต่โอวาท ดังนี้. พระศาสดา

จึงทรงให้เรียกหาพระเถระมาแล้ว ตรัสถามว่า กัปปินะ ได้ยินว่า เธอ

ไม่ยอมให้แม้เพียงโอวาทแก่พวกอันเตวาสิก จริงไหม ? พระเถระกราบทูล

ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริง พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า

พราหมณ์ เธออย่าทำอย่างนั้น, ตั้งแต่วันนี้ไป เธอจงแสดงธรรมแก่

พวกภิกษุผู้เข้าไปหาแล้ว. พระเถระรับพระดำรัสพระศาสดา ด้วย

เศียรเกล้าว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า แล้วให้พระสมณะ ๑,๐๐๐ รูปดำรงอยู่

ในพระอรหัต ด้วยโอวาทเพียงครั้งเดียวเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระ-

ศาสดาเมื่อจะตั้งตำแหน่งพระเถระผู้สาวกของพระองค์ ตามลำดับ จึงทรง

ตั้งเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย. ต่อมาวัน

หนึ่ง พระเถระ เมื่อจะกล่าวสอนนางภิกษุณีทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาเหล่า

นี้ว่า :-

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๗๒. ั้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 359

ผู้ใดพิจารณาเห็นแจ้ง หรือแสวงหาประโยชน์ ย่อม

พิจารณาเห็นกิจทั้งสอง คือสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็น

ประโยชน์อันยังไม่มาถึง ได้ก่อนอมิตรหรือศัตรูของผู้นั้น

ซึ่งคอยแสวงหาช่องอยู่ไม่ทันเห็น ผู้นั้นเรียกว่าผู้มีปัญญา

ผู้ใดเจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ด้วยดีแล้ว อบรมแล้ว

โดยลำดับตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมยัง

โลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์เพ็ญพ้นจากกลีบเมฆ

ฉะนั้น จิตของเราผ่องใสแล้วหนอ อบรมดีแล้วหาประมาณ

มิได้ เป็นจิตประคองไว้แล้วเป็นนิตย์ ย่อมยังทิศทั้งปวง

ให้สว่างไสว บุคคลผู้มีปัญญาถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็ยังมีชีวิต

อยู่ได้เป็นแน่แท้ ส่วนบุคคลผู้ไม่มีปัญญา ถึงจะมีทรัพย์

ก็เป็นอยู่ไม่ได้ ปัญญาเป็นเครื่องตัดสินสิ่งที่ตนฟังมาแล้ว

เป็นเครื่องเจริญชื่อเสียงและความสรรเสริญ.

นรชนในโลกนี้ ผู้ประกอบด้วยปัญญา แม้ในเวลาที่

ตนตกทุกข์ ก็ย่อมได้รับความสุข ธรรมนี้มิใช่มีในวันนี้

ไม่ใช่น่าอัศจรรย์ และไม่ใช่ไม่เคยมีมาแล้ว แต่ดู

เหมือนเป็นของที่ไม่เคยมีในโลก ซึ่งเป็นที่เกิดที่ตาย

เมื่อสัตว์เกิดมาแล้ว ก็มีความเป็นอยู่กับความตายแน่แท้

สัตว์ที่เกิดมาแล้ว ๆ ในโลกนี้ ย่อมตายไปทั้งนั้น เพราะ

สัตว์ทั้งหลาย มีอย่างนี้เป็นธรรมดา ชีวิตอันใดเป็นประ-

โยชน์แก่บุรุษเหล่าอื่น ชีวิตอันนั้นย่อมไม่เป็นประโยชน์

แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว อันการร้องไห้ถึงที่ตายไปแล้ว ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 360

ไม่ทำให้เกิดผล ไม่ทำให้เกิดความสรรเสริญ สมณะ

และพราหมณ์ไม่สรรเสริญเลย การร้องไห้ ย่อม

เบียดเบียนจักษุและร่างกายทำให้เสื่อมวรรณะ กำลัง

และความคิด ชนทั้งหลายผู้เป็นข้าศึก ย่อมมีจิตยินดี

ส่วนชนผู้เป็นมิตร ก็พลอยเป็นทุกข์ไปด้วย เพราะฉะนั้น

บุคคลพึงปรารถนาท่านผู้เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูตให้

อยู่ในสกุลของตน เพราะกิจทุกอย่างจะสำเร็จได้ ก็ด้วย

กำลังปัญญาของท่านที่เป็นนักปราชญ์ และเป็นพหูสูต

เท่านั้น เหมือนบุคคลข้ามแม่น้ำอันเต็มฝั่งด้วยเรือฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนาคต ความว่า ยังไม่มาถึง คือยัง

ไม่ประสบ.

บทว่า ปฏิกจฺจ แปลว่า ก่อนกว่านั่นเทียว.

บทว่า ปสฺสติ แปลว่า ย่อมเห็น.

บทว่า อตฺถ ได้แก่ กิจ.

บทว่า ต ทฺวย ได้แก่ สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์.

บทว่า วิทฺเทสิโน ได้แก่ อมิตร.

บทว่า หิเตสิโน ได้แก่ มิตร.

บทว่า รนฺธ ได้แก่ ช่อง.

บทว่า สเมกฺขมานา แปลว่า ผู้แสวงหา. มีคำที่ท่านกล่าวอธิบาย

ไว้ว่า บุคคลใด เห็นไตร่ตรองพิจารณาถึงกิจทั้ง ๒ อย่างคือ สิ่งที่จะนำ

ประโยชน์ และไม่นำประโยชน์มาให้แก่ตน อันยังไม่มาถึง ด้วยปัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 361

จักษุเหมือนเรา ได้ก่อนกว่า, อมิตรของบุคคลผู้นั้น หรือมิตรโดยมี

อัธยาศัยไม่เกื้อกูลกัน แสวงหาช่อง โดยอัธยาศัยที่เกื้อกูลกัน ย่อมไม่เห็น

ได้, บุคคลผู้มีปัญญาเช่นนั้น มีความประพฤติไม่ขาดสาย เพราะฉะนั้น

พวกท่าน พึงเป็นผู้ประพฤติเช่นนั้นเถิด.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงคุณในการเจริญอานาปานสติ เพื่อจะ

ประกอบบทเหล่านั้นในคาถานั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า อานาปานสตี

ยสฺส ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาน ได้แก่ ลมหายใจออก. บทว่า

อปาน ได้แก่ ลมหายใจเข้า. สติมีการกำหนดลมหายใจออก และลม

หายใจเข้าเป็นอารมณ์ ชื่อว่า อานาปานสติ. ก็ในที่นี้ เมื่อว่าถึงหัวข้อ

แห่งสติ ท่านประสงค์ถึงการเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสตินั้น.

บทว่า ยสฺส ได้แก่ พระโยคีรูปใด.

บทว่า ปริปุณฺณา สุภาวิตา ความว่า อบรมให้เจริญด้วยดี บริบูรณ์

โดยประการทั้งปวง ด้วยความบริบูรณ์แห่งสติปัฏฐาน ๔ และอาการ ๑๖

และด้วยความบริบูรณ์แห่งโพชฌงค์ ๗ วิชชาและวิมุตติทั้งหลาย.

บทว่า อนุปุพฺพ ปริจิตา ยถา พุทฺเธน เทสิตา ความว่า อบรม

แล้ว คือเสพ ได้แก่ เจริญตามลำดับ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ โดย

เนื้อความเป็นต้นว่า ภิกษุนั้น มีสติกำหนดลมหายใจออก ดังนี้.

บทว่า โสม โลก ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา ความว่า

พระโยคาจรนั้น พ้นจากอุปกิเลสมีอวิชชาเป็นต้นแล้ว ย่อมยังสังขารโลก

ที่ตกลงสู่สันดานของตน และที่ตกลงสู่สันดานของบุคคลอื่น ให้สว่างไสว

แจ่มแจ้งด้วยแสงสว่างแห่งญาณ เปรียบเหมือนพระจันทร์ พ้นแล้วจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 362

ความหม่นหมองมีเมฆหมอกเป็นต้น ย่อมยังโอกาสโลกนี้ให้สว่างไสว

ด้วยแสงสว่างแห่งดวงจันทร์ ฉะนั้น. อธิบายว่า เพราะฉะนั้น พวกท่าน

พึงพากันเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด.

บัดนี้ พระเถระครั้นทำตนให้เป็นอุทาหรณ์แล้ว เมื่อจะแสดงการ

ประกอบความเพียรในภาวนาว่ามีผล จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า โอทาต วต

เม จิตฺต ดังนี้เป็นต้น.

ความแห่งบาทคาถานั้นว่า จิตของเราผ่องใส บริสุทธิ์แล้วหนอ

เพราะปราศจากมลทินคือนีวรณธรรม, ชื่อว่า อบรมดีแล้ว หาประมาณ

มิได้ เพราะค่าที่ตนอบรมแล้ว โดยประการที่ราคะเป็นต้น ที่เป็นตัวทำ

ประมาณ อันตนละได้แล้ว และนิพพานอันหาประมาณมิได้ อันตนได้

ทำให้ประจักษ์แจ้งแล้ว. ต่อแต่นั้น ก็ตรัสรู้คือแทงตลอดสัจจะ ๔ ประการ

เป็นผู้มีจิตอันประคองไว้แล้ว จากฝ่ายแห่งสังกิเลสทั้งปวง ย่อมยังทิศ

มีทิศตะวันออกเป็นต้น ที่ส่องสว่างได้ยากเป็นต้น ให้สว่างไสว เพราะ

ข้ามพ้นความสงสัยในธรรมนั้นได้ และเพราะปราศจากโมหะในธรรม

ทั้งปวงได้, เพราะฉะนั้น พระเถระจึงแสดงว่า ถึงพวกท่าน ก็พึงอบรม

จิตอย่างนั้นเถิด.

พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ปัญญาแม้นอกนี้ ก็เหมือนอย่างปัญญาที่

สำเร็จด้วยภาวนา ซึ่งมีอุปการะเป็นอันมากแก่บุรุษ ด้วยเป็นเครื่องชำระ

มลทินแห่งจิตให้สะอาดเป็นต้นได้ จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า ชีวเต วาปิ

สปฺปญฺโ ดังนี้เป็นต้น.

ความแห่งบาทคาถานั้นว่า คนมีปัญญาแม้จะสิ้นทรัพย์ สันโดษด้วย

ปัจจัยตามมีตามได้ ก็ยังเป็นอยู่ได้ ด้วยการเลี้ยงชีพอันปราศจากโทษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 363

จริงอยู่ ชีวิตของคนมีปัญญา ชื่อว่า เป็นอยู่ได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พุทธาทิบัณฑิตกล่าวถึงคนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่า มี

ชีวิตประเสริฐ ดังนี้เป็นต้น.

ส่วนคนมีปัญญาทราม เพราะไม่ได้ปัญญา ย่อมทำประโยชน์ที่เป็น

ไปในทิฏฐิธรรม และประโยชน์ที่เป็นไปในสัมปรายิกภพ ให้ฉิบหายไป

แม้จะมีทรัพย์สมบัติ ก็เป็นอยู่ไม่ได้ เพราะได้รับการติเตียนเป็นต้น ชื่อ

ว่า ความเป็นอยู่ ย่อมไม่มีแก่เขา, อีกอย่างหนึ่ง เพราะตนไม่รู้จักอุบาย

ทรัพย์ตามที่สะสมไว้ ก็ย่อมพินาศไป แม้ชีวิต ก็ไม่สามารถเพื่อจะรักษา

ไว้ได้เลย, เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า แม้ปาริหาริยปัญญา พวกท่าน

ก็พึงให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงอานิสงส์แห่งปัญญา พระเถระจึงกล่าวคาถาที่ ๕

ว่า ปญฺา สุตวินิจฺฉินี ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺา สุตวินิจฺฉินี ความว่า ธรรมดา

ว่า ปัญญานี้นั้น เป็นเครื่องตัดสินสิ่งที่ตนฟังมาแล้ว คือตัดสินชี้ขาดใน

ประโยชน์ที่ตนฟังมาแล้ว คือที่มาปรากฏทางโสตประสาท โดยใจความ

เป็นต้นว่า นี้เป็นอกุศล, นี้เป็นกุศล, นี้เป็นสิ่งมีโทษ, นี้เป็นสิ่งไม่มีโทษ

ดังนี้.

บทว่า กิตฺติสิโลกวทฺธนี ความว่า เป็นความเจริญด้วยเกียรติคุณ

และความสรรเสริญต่อหน้า คือมีความสรรเสริญแผ่ไปทั่วเป็นสภาพ จริง

อยู่ เกียรติคุณเป็นต้น ย่อมมีแก่ผู้มีปัญญาเท่านั้น เพราะมีวิญญูชนทั้งหลาย

สรรเสริญเป็นธรรมดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 364

บทว่า ปญฺาสหิโต ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยปาริหาริยปัญญา

และวิปัสสนาปัญญา.

บทว่า อปิ ทุกฺเขสุ สุขานิ วินฺทติ ความว่า ย่อมได้เฉพาะซึ่ง

ความสุข แม้ที่ไม่มีอามิส เพราะการหยั่งลงสู่สภาวะที่เป็นจริง ด้วยสัมมา

ปฏิบัติในขันธ์และอายตนะเป็นต้น ที่มีความทุกข์เป็นสภาวะโดยส่วนเดียว.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะกล่าวสอนธรรม อันปฏิสังยุตด้วยอนิจจตา

อันจะนำมาซึ่งความเป็นนักปราชญ์ แก่นางภิกษุณีเหล่านั้น จึงกล่าวคาถา

ที่เหลือ โดยมีใจความเป็นต้นว่า นาย อชฺชตโน ธมฺโม ดังนี้.

ในบาทคาถานั้น มีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้ :- ธรรมนี้ใด มี

ความเกิดและความตายเป็นสภาวะแก่ปวงสัตว์ ธรรมนี้นั้น มิใช่จะเพิ่งมี

ในวันนี้ คือมิใช่มีมาไม่นาน, ไม่ใช่น่าอัศจรรย์ เพราะเป็นไปทุก ๆ วัน.

ทั้งไม่ใช่ไม่เคยมีมาแล้ว เพราะความไม่เคยมีมาแล้วในกาลก่อน หามิได้.

เพราะฉะนั้น พึงเป็นเหมือนสิ่งที่เคยมีมาในโลก ซึ่งเป็นที่เกิดที่ตาย

คือที่สัตว์พึงเกิด และพึงตายโดยส่วนเดียว เพราะมีความตายเป็นสภาวะ.

จริงอยู่ เหตุอะไร ๆ ย่อมไม่มีแก่ขณิกมรณะ.

เพราะเมื่อสัตว์เกิดมาแล้ว ก็มีความเป็นอยู่กับความตายแน่แท้ คือ

เมื่อสัตว์เกิดมาแล้ว ก็มีความตายเป็นที่สุดอย่างเดียว ต่อจากความเกิด

เพราะขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว มีความแตกไปเป็นธรรมดาโดยส่วน

เดียว. ก็คำว่า มีชีวิตเป็นอยู่ในคาถานั้นอันใด อันนั้นจัดเป็นโลกโวหาร,

โลกโวหารนั้นมีที่สุดเป็นอเนก เพราะเนื่องด้วยปัจจัยมากมายแห่งอุปาทาน

นั้น เพราะกล่าวคำนี้อย่างนี้แล้ว ฉะนั้น จึงกล่าวว่า สัตว์ที่เกิดมาแล้ว

ในโลกนี้ ย่อมตายไปทั้งนั้น เพราะสัตว์ทั้งหลาย มีอย่างนี้เป็นธรรมดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 365

ได้แก่ เป็นปกติของสัตว์ทั้งหลาย คือความตายย่อมมีแก่สัตว์ทั้งหลายที่

เกิดมาแล้ว จึงกล่าวว่า ความตายเนื่องด้วยความเกิดขึ้น.

บัดนี้ เพราะเพื่อจะทำการกำจัดความเศร้าโศกของพวกนางภิกษุณี

แม้ผู้ที่มีจิตถูกความเศร้าโศกผูกพันแล้ว ฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวคำเป็น

ต้นว่า น เหตทตฺถาย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เหตทตฺถาย มตสฺส โหติ ความว่า

ชีวิตที่จะเป็นประโยชน์ คือเป็นเครื่องหมายแห่งชีวิต ของตนที่ตายไปแล้ว

การร้องไห้ เป็นประโยชน์แก่บุรุษเหล่าอื่นอันใด ข้อนั้นที่จะเป็นประโยชน์

แห่งชีวิต ของหมู่สัตว์ที่ตายไปแล้วนั้น ขอพักไว้ก่อน, เพราะไม่มี

ประโยชน์แก่ใคร ๆ เลย, ก็คนเหล่าใด ย่อมพากันร้องไห้, การร้องไห้ถึง

คนตาย คือมีคนตายเป็นเครื่องหมายของตนเหล่านั้น ย่อมไม่ทำให้เกิด

ผล ไม่ทำให้เกิดความสรรเสริญ คือย่อมไม่นำเกียรติยศ และความ

บริสุทธิ์ใจมาให้เลย.

บทว่า น วณฺณิต สมณพฺราหฺมเณหิ ได้แก่ แม้วิญญูชนจะ

สรรเสริญก็ไม่มี คือโดยที่แท้ วิญญูชนจะติเตียนถ่ายเดียว.

พระเถระเมื่อจะแสดงว่า โทษของคนผู้ที่ร้องไห้อยู่ มิใช่จะมีเพียง

อย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้แม้นอกนี้ก็ยังมีอยู่ ดังนี้ จึงกล่าวคาถาว่า จกฺขุ

สรีร อุปหนฺติ ดังนี้เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อจะชักชวนนางภิกษุณี

เหล่านั้น ในการเข้าไปหากัลยาณมิตร เพื่อป้องกันเสียซึ่งสิ่งไม่เป็น

ประโยชน์มีความเศร้าโศกเป็นต้น จึงได้กล่าวคาถาสุดท้ายโดยใจความ

เป็นต้นว่า ตสฺมา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะการร้องไห้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 366

ย่อมกระทบกระทั่ง คือเบียดเบียนจักษุและสรีระ ของบุคคลผู้ร้องไห้อยู่

เพราะการร้องไห้นั้น จึงทำให้ วรรณะ กำลัง และความคิด เสื่อมไป

คือพินาศไป, โจร คือผู้ที่เป็นข้าศึกของบุคคลผู้ร้องไห้อยู่ ย่อมมีจิต

ยินดี ปราโมทย์ เอิบอิ่มใจ, ส่วนมิตรผู้มุ่งประโยชน์เกื้อกูล ก็พลอยมี

ทุกข์ลำบากใจไปด้วย ฉะนั้น บุคคลพึงปรารถนา ท่านผู้ชื่อว่าเป็น

นักปราชญ์ เพราะประกอบพร้อมด้วยปัญญาที่เกิดในธรรม และท่านผู้

ชื่อว่า เป็นพหูสูต เพราะเพียบพร้อมด้วยพาหุสัจจะอันอิงอาศัยประโยชน์

มีทิฏฐธรรมิกัตถประโยชน์เป็นต้น ให้อยู่ในสกุลของตน คือพึงมุ่งหวัง

ได้แก่ พึงทำให้เป็นผู้เข้าถึงสกุล.

บทว่า เยส มีวาจาประกอบความว่า กุลบุตรทั้งหลาย จะข้ามพ้น

กิจของตน คือจะถึงซึ่งฝั่งได้ก็ด้วยกำลังปัญญา เพราะปัญญาเป็นสมบัติของ

ท่านผู้ที่เป็นนักปราชญ์ และบัณฑิตพหูสูตเหล่าใด พึงปรารถนานักปราชญ์

เป็นต้นเหล่านั้นให้อยู่ในสกุลเถิด เปรียบเหมือนบุคคลจะข้ามน้ำ อัน

เต็มเปี่ยมของห้วงน้ำใหญ่ได้พ้นก็ด้วยเรือฉะนั้น.

พระเถระ ครั้นกล่าวสอนธรรมแก่นางภิกษุณีเหล่านั้นอย่างนี้แล้ว

จึงหยุดเทศนา. นางภิกษุณีเหล่านั้น ตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระ

บรรเทาความเศร้าโศกแล้ว ปฏิบัติโดยแยบคายอยู่ ทำประโยชน์ของตน

ให้บริบูรณ์ได้แล้วแล.

จบอรรถกถามหากัปปินเถรคาถาที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 367

๔. จูฬปันถกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระจูฬปันถกเถระ

[๓๗๓] เมื่อก่อน ญาณคติเกิดแก่เราช้า เราจึงถูกดูหมิ่น

และพี่ชายจึงขับไล่เราว่า จงกลับไปเรือนเดี๋ยวนี้เถิด เรา

ถูกพี่ชายขับไล่แล้ว ไปยืนร้องไห้อยู่ที่ใกล้ซุ้มประตู

สังฆาราม เพราะยังมีความอาลัยในพระศาสนา พระผู้-

มีพระภาคเจ้าได้เสด็จมา ณ ที่นั้น ทรงลูบศีรษะเรา ทรง

จับแขนเราพาเข้าไปสู่สังฆาราม พระศาสดาทรงอนุ-

เคราะห์ ประทานผ้าเช็ดพระบาทให้แก่เราตรัสว่า จง

อธิษฐานผ้าสะอาดผืนนี้ ให้ตั้งมั่นดี โดยมนสิการว่า

รโชหรณ ๆ ผ้าสำหรับเช็ดธุลี ๆ จงตั้งจิตให้มั่น นั่ง ณ

ที่ควรข้างหนึ่ง เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว เกิด

ความยินดีในพระศาสนา ได้บำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้นเพื่อ

บรรลุประโยชน์อันสูงสุด เราระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้

ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว ได้บรรลุวิชชา ๓ คำ

สั่งสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.

พระจูฬปันถกเถระได้เนรมิตตนขึ้นพันหนึ่ง นั่งอยู่ที่

ชีวกัมพวันอันรื่นรมย์ จนถึงเวลาเขามาบอกนิมนต์ ครั้ง

นั้น พระศาสดาทรงส่งทูตไปบอกเวลาภัตตาหารแก่เรา

เมื่อทูตบอกเวลาภัตตาหารแล้ว เราได้เข้าไปเฝ้าโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 368

ทางอากาศ ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระศาสดาทรง

รับรองเราผู้ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ เราเป็นผู้ควรบูชาของ

ชาวโลกทั้งปวง เป็นผู้ควรรับของอันเขานำมาบูชา เป็น

นาบุญแห่งหมู่มนุษย์ ได้รับทักษิณาทานแล้ว.

จบจูฬปันถกเถรคาถาจบ

อรรถกถาจูฬปันถกเถรคาถาที่ ๔

มีคาถาของท่านพระจูฬปันถกเถระว่า ทนฺธา มยฺห คติ ดังนี้

เป็นต้น. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ท่านกล่าวคำที่จะพึงกล่าวในเรื่องนี้ ด้วยอำนาจเหตุเกิดแห่งเรื่อง

ไว้ในอัฏฐกนิบาต เรื่องมหาปันถกแล้วนั่นแล. ส่วนความแปลกกัน

มีดังต่อไปนี้ :-

พระมหาปันถกเถระ บรรลุพระอรหัตแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยความสุข

อันเกิดแต่พระอรหัตผล คิดแล้วว่า ทำอย่างไรหนอ เราจะสามารถให้

จูฬปันถก ดำรงอยู่ในความสุขอย่างนี้บ้าง.

พระมหาปันถกเถระนั้น จึงเข้าไปหาธนเศรษฐีผู้เป็นโยมตาของตน

แล้ว กล่าวว่า โยมตาผู้เป็นมหาเศรษฐี ถ้าโยมจะอนุญาตไซร้, อาตมภาพ

จะพึงให้จูฬปันถกบวชบ้าง. โยมตาเรียนว่า นิมนต์ให้เขาบวชเถิดพระคุณ

ท่าน. พระเถระจึงให้จูฬปันถกนั้นบวชแล้ว. จูฬปันถกนั้นดำรงมั่นอยู่ใน

ศีล ๑๐ ประการแล้ว เรียนคาถาในสำนักของพระพี่ชายว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 369

ดอกบัวชื่อว่า โกกนุท มีกลิ่นหอมฟุ้ง เบ่งบาน

ตั้งแต่เช้าตรู่ พึงเป็นดอกไม้มีกลิ่นหอมยังไม่สิ้นไปฉันใด

เธอจงดูพระอังคีรสเจ้า พระองค์รุ่งเรื่องอยู่ดุจพระอาทิตย์

รุ่งโรจน์อยู่ในกลางหาวฉันนั้น ดังนี้.

โดย ๔ เดือน ก็ไม่สามารถจะจดจำได้, บทที่เรียนแล้วท่องแล้ว

ไม่ได้ติดอยู่ในหัวใจท่านเสียเลย. ต่อมาพระมหาปันถกจึงกล่าวแก่ท่านว่า

ปันถกเอ๋ย เธอเป็นคนอาภัพในศาสนานี้เสียแล้ว, ตั้ง ๔ เดือนล่วงไป

แล้ว เธอก็ไม่สามารถจะจดจำแม้คาถาเดียวได้, ก็เธอจักทำกิจแห่ง

บรรพชิตให้ถึงที่สุดได้อย่างไรเล่า เธอจงออกไปเสียจากที่นี้เถอะ.

จูฬปันถกนั้นถูกพระเถระขับไล่ จึงไปยืนร้องไห้อยู่ใกล้ซุ้มประตู.

ก็โดยสมัยนั้น พระศาสดาประทับอยู่ที่อัมพวนารามของหมอชีวก.

ลำดับนั้น หมอชีวกส่งบุรุษไปว่า เธอจงนิมนต์พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุ

๕๐๐ รูปมา. ก็สมัยนั้น ท่านมหาปันถกเป็นพระภัตตุทเทสก์ (ผู้แจกภัต).

พระมหาปันถกนั้น ผู้อันทายกนิมนต์ว่า ขอท่านจงรับภิกษาเพื่อภิกษุ

๕๐๐ รูปเถิด ดังนี้ก็กล่าวว่า อาตมภาพจะรับภิกษาเพื่อภิกษุทั้งหลายที่

เหลือ ยกเว้นจูฬปันถก. พระจูฬปันถกได้ฟังดังนั้น ได้มีความโทมนัส

เพิ่มขึ้น.

พระศาสดาทรงทราบว่า จูฬปันถกมีความทุกข์ใจแล้ว จึงทรงดำริว่า

จูฬปันถกจักตรัสรู้ ด้วยอุบายที่เราสร้างขึ้นมา ดังนี้แล้ว จึงแสดงพระองค์

ในที่ไม่ไกลจูฬปันถกนั้นแล้ว ตรัสถามว่า ปันถกเป็นอะไร เธอจึงร้องไห้.

จูฬปันถกกราบทูลว่า พระพี่ชายขับไล่ข้าพระองค์พระเจ้าข้า. พระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 370

ตรัสว่า ปันถกเอ๋ย อย่าคิดอะไรไปเลย, เธอบวชแล้วในศาสนาของเรา,

เธอจงมาเถิด จงรับเอาสิ่งนี้แล้วจงทำบริกรรมในใจว่า รโชหรณ รโชหรณ

ดังนี้ จึงทรงตระเตรียมท่อนผ้าอันสะอาดด้วยฤทธิ์ แล้วทรงพระราชทาน

ให้. พระจูฬปันถกนั้น นั่งเอามือลูบท่อนผ้าที่พระศาสดาพระราชทาน

บริกรรมว่า รโชหรณ รโชหรณ ดังนี้.

เมื่อเธอบริกรรมลูบท่อนผ้านั้นอยู่ ความเศร้าหมองก็เกิดขึ้น. เมื่อ

ลูบไปอีก ท่อนผ้านั้นก็กลายเป็นเช่นกับผ้าเช็ดหม้อข้าว, เพราะเธอมีญาณ

แก่รอบแล้ว เธอจึงคิดอย่างนี้ว่า ท่อนผ้านี้แต่เดิมเป็นของสะอาด, กลาย

เป็นอย่างอื่น เศร้าหมองไป เพราะอาศัยอุปาทินนกสรีระนี้, เพราะฉะนั้น

ท่อนผ้านี้เป็นอนิจจังแม้ฉันใด ถึงจิตก็เป็นอนิจจังฉันนั้น ดังนี้แล้ว จึง

เริ่มตั้งความสิ้นไปเสื่อมไป ทำฌานให้เกิดขึ้น ในเพราะนิมิตนั้นนั่นแล

เริ่มตั้งวิปัสสนา อันมีฌานเป็นบาทแล้ว บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า :-

เวลานั้น พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรับ

เครื่องบูชาแล้ว พระองค์เสด็จหลีกออกจากหมู่ ประทับ

อยู่ ณ ภูเขาหิมวันต์ แม้เวลานั้น เราก็อยู่ในอาศรมใกล้

ภูเขาหิมวันต์ เราได้เข้าไปเฝ้าพระมหาวีระเจ้า ผู้เป็น

นายกของโลก ซึ่งเสด็จมาไม่นาน เราถือเอาฉัตรอัน

ประดับด้วยดอกไม้ เข้าไปเฝ้าพระนราสภ เราได้ทำ

อันตรายแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งกำลังเสด็จเข้าสมาธิ

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๑๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 371

เราประคองฉัตรดอกไม้ด้วยมือทั้งสอง ถวายแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ามหามุนี พระนามว่า

ปทุมุตตระทรงรับแล้ว เทวดาทั้งปวงมีใจชื่นบานเข้ามาสู่

ภูเขาหิมวันต์ ยังสาธุการให้เป็นไปว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ผู้มีจักษุทรงอนุโมทนา ครั้นเทวดาเหล่านี้กล่าว

เช่นนี้แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สูงสุด

กว่านระ เมื่อเรากั้นฉัตรดอกบัวอันอุดมอยู่ในอากาศ

(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า) ดาบสได้ประคองฉัตรใบบัว

๗ ใบ ให้แก่เรา เราจักพยากรณ์ดาบสนั้น ท่านทั้งหลาย

จงฟังเรากล่าว.

ดาบสนี้จักเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ตลอด ๒๕ กัป และ

จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ๓๕ ครั้ง จะท่องเที่ยวไปสู่

กำเนิดใด ๆ คือความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิด

นั้น ๆ จักทรงไว้ซึ่งดอกปทุมอันตั้งอยู่ในอากาศ ในแสน

กัป พระศาสดาพระนามว่า โคดม โดยพระโคตร ซึ่ง

มีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก

เมื่อพระศาสดาทรงประกาศพระศาสนา ดาบสผู้มีจักได้

ความเป็นมนุษย์ เขาจักเป็นผู้อุดมในกายอันบังเกิดแล้ว

ด้วยใจ จักมีพี่น้องชาย ๒ คน มีชื่อว่าปันถก แม้ทั้งสอง

คน เสวยประโยชน์อันสูงสุดแล้ว จักยังพระศาสนาให้

รุ่งเรือง เรานั้นมีอายุ ๑๘ ปี ออกบวชเป็นบรรพชิต เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 372

ยังไม่ได้คุณวิเศษในศาสนาของพระศากยบุตร เรามี

ปัญญาเขลา เพราะเราอบรมอยู่ในบุรี พระพี่ชายจึงขับไล่

เราว่า จงไปสู่เรือนเดี๋ยวนี้ เราถูกพระพี่ชายขับไล่แล้ว

น้อยใจ ได้ยืนอยู่ที่ซุ้มประตูสังฆาราม ไม่หวังในความ

เป็นสมณะ.

ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จมา ณ ที่นั้น ทรงลูบศีรษะ

เรา ทรงจับเราที่แขน พาเขาไปในสังฆาราม พระศาสดา

ได้ทรงอนุเคราะห์ ประทานผ้าเช็ดพระบาทให้แก่เราว่า

จงอธิษฐานผ้าอันสะอาดอย่างนี้ วางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง

เราจับผ้านั้นด้วยมือทั้งสองแล้ว จึงระลึกถึงดอกบัวได้

จิตของเราปล่อยไปในดอกบัวนั้น เราจึงได้บรรลุพระ-

อรหัต เราถึงที่สุดในฌานทั้งปวง ในกายอันบังเกิดแล้ว

แต่ใจ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่ คุณ

วิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ... ฯลฯ... พระพุทธ-

ศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ด้วยอรหัตมรรคนั้นแล พระไตรปิฎกและอภิญญา ๕ ได้มาถึงแล้ว

แก่พระจูฬปันถกนั้น. พระศาสดาเสด็จไปพร้อมกับภิกษุ ๔๙๙ รูป แล้ว

ประทับนั่งบนอาสนะ. ที่บุคคลจัดแจงไว้แล้ว ในบ้านของหมอชีวก, ส่วน

พระจูฬปันถกไม่ได้ไป เพราะพระพี่ชายไม่ได้รับนิมนต์เพื่อภิกษาไว้

สำหรับตน. พอหมอชีวกเริ่มจะถวายข้าวยาคู, พระศาสดาทรงเอาพระหัตถ์

ปิดบาตรเสีย. เมื่อหมอชีวกกราบทูลว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 373

ทรงรับ พระเจ้าข้า ดังนี้ พระองค์จึงตรัสว่า ในวิหารยังมีภิกษุอยู่ ๑ รูป

ชีวก.

หมอชีวกนั้นจึงส่งคนใช้ไปว่า แน่ะ พนาย เธอจงไปพาพระคุณเจ้า

ที่นั่งอยู่ในวิหาร แล้วนำมา. แม้พระจูฬปันถกเถระ ก็นั่งนิรมิตภิกษุ

๑,๐๐๐ รูปให้ไม่เหมือนกัน แต่ละรูปมีรูปร่างและการกระทำคนละอย่าง

คนใช้นั้นเห็นว่าภิกษุในวิหารมีมากรูป จึงไปบอกหมอชีวกว่า ในวิหาร

มีภิกษุสงฆ์มากกว่าภิกษุสงฆ์นี้, กระผมไม่รู้จักพระคุณเจ้าที่ให้ไปนิมนต์

มา. หมอชีวกทูลถามพระศาสดาอีกครั้งว่า ภิกษุที่นั่งอยู่ในวิหารชื่ออะไร

พระเจ้าข้า ? พระศาสดาตรัสว่า ชื่อจูฬปันถก ชีวก. หมอชีวกสั่งคนใช้

อีกว่า แน่ะ พนาย เธอจงไปแล้วถามว่า รูปไหนชื่อจูฬปันถก แล้วจง

นิมนต์ท่านรูปนั้นมา.

คนใช้นั้นไปยังวิหาร แล้วถามว่า รูปไหนชื่อจูฬปันถก ขอรับ ?

ภิกษุทั้ง ๑,๐๐๐ รูปก็ตอบพร้อมกันทีเดียวว่า เราชื่อจูฬปันถก เราชื่อ

จูฬปันถก. คนใช้นั้นกลับมาบอกความเป็นไปแก่หมอชีวกอีก. เพราะ

ความที่ตนแทงตลอดสัจจะแล้ว หมอชีวกจึงรู้โดยนัยว่า พระคุณเจ้านี้เห็น

จะมีฤทธิ์ แล้วกล่าวว่า แน่ะ พนาย เธอจงไปกล่าวกะพระคุณเจ้าด้วยการ

พูดครั้งเดียวว่า พระศาสดารับสั่งหาท่าน แล้วจงจับที่ชายจีวรเถิด. คนใช้

นั้นไปวิหารแล้ว ได้ทำตามนั้น, ในขณะนั้นนั่นเอง ภิกษุที่นิรมิตแล้ว

ทั้งหลายก็หายไป. คนใช้นั้นได้พาพระเถระไปแล้ว.

ในขณะนั้น พระศาสดาทรงรับประเคนข้าวยาคู และอาหารต่าง

ชนิด มีของที่ควรเคี้ยวเป็นต้น. เมื่อพระทศพลทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว

ก็เสด็จกลับไปยังวิหาร การสนทนากันก็เกิดขึ้นในโรงธรรมสภาว่า โอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 374

หนอ อานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งได้การทำให้จูฬปันถก ผู้แม้

ไม่สามารถจะเล่าเรียนคาถา ๑ ใน ๔ เดือนได้ ทำให้ท่านมีฤทธิ์มาก

อย่างนั้น โดยขณะอันเร็วพลันทีเดียว. พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำสนทนา

ของภิกษุเหล่านั้น จึงเสด็จมาประทับนั่งบนพุทธอาสน์แล้ว ตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกำลังพูดกันถึงเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลว่า เรื่องนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้

จูฬปันถกตั้งอยู่ในโอวาทของเราแล้ว ได้โลกุตรสมบัติ. ส่วนในชาติก่อน

ได้โลกิยสมบัติ ดังนี้ ถูกภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนแล้ว จึงได้ตรัสจูฬ-

เศรษฐีชาดก.

ในกาลต่อมา พระศาสดาอันหมู่แห่งพระอริยเจ้าแวดล้อมแล้ว

ประทับนั่งบนธรรมาสน์แล้ว ดังจูฬปันถกนั้นไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุ

ทั้งหลาย ผู้นิรมิตกายอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ทางใจ และผู้ฉลาดในการพลิก

กลับทางใจ. สมัยต่อมา พระจูฬปันถกนั้นถูกภิกษุทั้งหลายถามว่า ท่าน

เป็นคนโง่ทึบถึงอย่างนั้นแล้ว ตรัสรู้แจ้งสัจจะทั้งหลายได้อย่างไร ? ท่าน

เมื่อจะประกาศถึงข้อปฏิบัติของตน ตั้งต้นแต่ถูกพระพี่ชายขับไล่มา จึง

กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

เมื่อก่อน ญาณคติเกิดแก่เราช้า เราจึงถูกดูหมิ่น

และพระพี่ชายจึงขับไล่เราว่า จงกลับไปเรือนเดี๋ยวนี้เถิด

เราถูกพระพี่ชายขับไล่แล้ว ไปยืนร้องไห้อยู่ที่ใกล้ซุ้ม

ประตูสังฆาราม เพราะยังมีความอาลัยในพระศาสนา

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๗๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 375

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จมา ณ ที่นั้น ทรงลูบศีรษะเรา

ทรงจับแขนเราพาเข้าไปสู่สังฆาราม พระศาสดาทรง

อนุเคราะห์ ประทานผ้าเช็ดพระบาทให้แก่เรา ตรัสว่า

จงอธิษฐานผ้าสะอาดผืนนี้ ให้ตั้งมั่นดี โดยมนสิการว่า

รโชหรณ ๆ ผ้าสำหรับเช็ดธุลี ๆ จงตั้งจิตให้มั่น นั่ง ณ

ที่ควรข้างหนึ่ง เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว เกิด

ความยินดีในพระศาสนา ได้บำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้นเพื่อ

บรรลุประโยชน์อันสูงสุด เราระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้

ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว ได้บรรลุวิชชา ๓ คำ

สั่งสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.

พระจูฬปันถกเถระได้นิรมิตตนขึ้นพันหนึ่ง นั่งอยู่ที่

ชีวกัมพวันอันรื่นรมย์ จนถึงเวลาเขามานิมนต์ ครั้งนั้น

พระศาสดาทรงส่งทูตไปบอกเวลาภัตตาหารแก่เรา เมื่อ

ทูตบอกเวลาภัตตาหารแล้ว เราได้เข้ารูปเฝ้าโดยทาง

อากาศ ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้ว นั่ง

ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระศาสดาทรงรับรองเรา

ผู้ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ เราเป็นผู้ควรบูชาของชาวโลก

ทั้งปวง เป็นผู้ควรรับของอันเขานำมาบูชา เป็นนาบุญ

แห่งหมู่มนุษย์ ได้รับทักษิณาทานแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทนฺธา ได้แก่ เขลา, คืออ่อนกำลัง

เพราะว่าไม่สามารถจะใช้เวลา ๔ เดือนเล่าเรียนคาถา อันประกอบด้วยบาท

ทั้ง ๔ ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 376

บทว่า คตี ได้แก่ ญาณคติ. บทว่า อาสิ ได้แก่อโหสิ แปลว่า

ได้มีแล้ว.

บทว่า ปริภูโต ได้แก่ถูกดูหมิ่นจากพระพี่ชายนั้นนั่นแลว่า เป็น

คนหลงลืม ไม่มีความรู้ ดังนี้.

บทว่า ปุเร ได้แก่ ในกาลก่อน คือในเวลาเป็นปุถุชน.

ศัพท์ ในบทว่า ภาตา จ นี้ เป็นสมุจจยัตถะ, ความว่า มิใช่

เราจะถูกดูหมิ่นอย่างเดียวเท่านั้น, โดยที่แท้แม้พระพี่ชายยังขับไล่เรา คือ

ฉุดคร่าเราออกไปว่า ปันถก เธอเป็นคนโง่เขลา เห็นจะไม่มีเหตุ (ในการ

ตรัสรู้), เพราะฉะนั้น เธอจึงไม่สามารถเพื่อจะทำกิจแห่งบรรพชิตให้ถึง

ที่สุดได้, เธอไม่สมควรเพื่อพระศาสนานี้. บัดนี้ เธอจงไปสู่เรือนของ

คุณตาของเธอเถิด. บทว่า ภาตา ได้แก่พระพี่ชาย.

บทว่า โกฏฺเก ได้แก่ ใกล้ซุ้มประตู.

บทว่า ทุมฺมโน ได้แก่ถึงความโทมนัสใจ.

บทว่า สาสนสฺมึ อเปกฺขวา ได้แก่ ยังมีความอาลัยในพระศาสนา

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือยังไม่ต้องการจะสึก.

บทว่า ภควา ตตฺถ อาคจฺฉิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

มีพระมนัสอันพระมหากรุณาคุณตักเตือนแล้ว เมื่อจะทรงอนุเคราะห์เรา

จึงได้เสด็จมา ณ ที่ที่เรายืนอยู่. ก็แล ครั้นพระองค์เสด็จมาแล้ว ทรง

ปลอบใจว่า ปันถกเอ๋ย เราเป็นศาสดาของเธอ, มหาปันถกไม่ใช่เป็น

ศาสดาของเธอ, การบรรพชาของเธอ ก็มุ่งเพื่ออุทิศเรา ดังนี้ ทรงลูบ

ศีรษะเรา คือเมื่อจะแสดงว่า จักเป็นลูกของเรา ณ บัดนี้ทีเดียว ดังนี้

จึงทรงลูบศีรษะเรา ด้วยฝ่าพระหัตถ์ อันมีรูปกงจักรเป็นเครื่องหมาย ซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 377

ผูกพันสลับมีลายดุจตาข่าย อ่อนนุ่มเอิบอิ่ม และมีนิ้วมือแผ่ออกงดงาม

เสมอกันเป็นอย่างดี มีพระสิริงดงามปานดอกปทุมที่แย้มบานแล้ว.

บทว่า พาหาย ม คเหตฺวาน ความว่า พระศาสดาตรัสถามเราว่า

ทำไมเธอจึงมายืนในที่นี้เล่า ? ดังนี้แล้ว เอาพระหัตถ์ของพระองค์จับเรา

ที่แขน นำเข้าไปยังภายในสังฆาราม อันมีกลิ่นหอมด้วยไม้จันทน์.

บทว่า ปาทาสิ ปาทปุญฺฉนึ ความว่า พระองค์พระราชทานผ้าที่

ทำผ้าเช็ดเท้าให้ คือพระราชทานให้ด้วยตรัสสั่งว่า เธอจงทำไว้ในใจว่า

รโชหรณ ผ้าสำหรับเช็ดธุลี ดังนี้. บาลีว่า อทาสิ และ ปาทปุญฺฉนึ

ดังนี้ก็มี. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ได้พระราชทานท่อนผ้าสำหรับ

เช็ดเท้า ซึ่งเรียกกันว่า ปาทปุญฺฉนึ ดังนี้. คำนั้นไม่เหมาะ เพราะท่อน

ผ้านั้น พระองค์ปรุงแต่งขึ้นด้วยฤทธิ์พระราชทานให้.

บทว่า เอต สุทฺธ อธิฏฺเหิ เอกมนฺต สฺวธิฏฺิต ความว่า เธอจง

นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งที่มุขคันธกุฎีอันสงัด จงอธิษฐานท่อนผ้าสะอาดผืนนี้

ทำให้มั่นด้วยมนสิการว่า รโชหรณ รโชหรณ คือทำจนให้จิตเป็นสมาธิ

เป็นไป.

บทว่า ตสฺสาห วจน สุตฺวา ความว่า เราฟังพระดำรัสอันเป็น

โอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว ยินดีในคำสั่งสอน คือใน

โอวาทนั้นแล้ว เป็นผู้ยินดียิ่งอยู่ คือปฏิบัติตามคำสั่งสอน. ก็เมื่อจะปฏิบัติ

ตาม ได้บำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้นเพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุด ความว่า

ชื่อว่าประโยชน์อันสูงสุด ได้แก่พระอรหัต, เราทำรูปฌานให้เกิดขึ้นแล้ว

ด้วยอำนาจการบริกรรมกสิณ เพื่อบรรลุพระอรหัตนั้นแล้ว เริ่มเจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 378

วิปัสสนา มีฌานเป็นบาทแล้ว ทำอรหัตมรรคสมาธิ ให้ถึงพร้อมแล้ว

ด้วยข้อปฏิบัติแห่งมรรค.

ก็คำว่า สมาธิ ในที่นี้ ได้แก่ สมาธิที่ท่านหมายถึงสมาธิทั่วไป

ตั้งแต่อุปจารสมาธิ จนถึงอรหัตมรรคสมาธิ ส่วนอรหัตผลสมาธิ ท่าน

หมายถึงศัพท์ว่า ประโยชน์อย่างสูงสุด, ก็ความฉลาดในสมาธินี้ จัดเป็น

ความดีอันประเสริฐ, เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สมาธึ ปฏิปาเทสึ

ดังนี้เป็นต้น.

จริงอยู่ ท่านพระจูฬปันถกรูปนี้ เพราะเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ จึง

กลายเป็นผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางใจ, ส่วนพระมหาปันถกเถระ

เพราะท่านเป็นผู้ฉลาดในวิปัสสนา จึงเป็นผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทาง

ปัญญา. ท่านพรรณนาไว้ว่า ก็ในพระเถระ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งเป็นผู้ฉลาด

ในลักษณะแห่งสมาธิ, รูปหนึ่งเป็นผู้ฉลาดในลักษณะแห่งวิปัสสนา, รูป

หนึ่งยึดมั่นทางสมาธิ, รูปหนึ่งยึดมั่นทางวิปัสสนา, รูปหนึ่งเป็นผู้ฉลาด

ในการย่นย่ออวัยวะ, รูปหนึ่งเป็นผู้ฉลาดในการย่นย่อทางอารมณ์, รูป

หนึ่งเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดอวัยวะ รูปหนึ่งเป็นผู้ฉลาดในการกำหนด

อารมณ์.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า พระจูฬปันถกเถระเป็นผู้ฉลาดในการ

เปลี่ยนแปลงทางใจ เพราะท่านได้รูปาวจรฌาน ๔ อย่างดียิ่ง, พระมหา-

ปันถกเถระ เป็นผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางสัญญา เพราะท่านได้

อรูปาวจรฌาน ๔ อย่างดียิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง องค์ที่ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการ

เปลี่ยนแปลงทางใจว่า เราเป็นผู้ได้รูปาวจรฌาน ออกจากองค์ฌานทั้งหลาย

แล้ว บรรลุพระอรหัต, อีกองค์นอกจากนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเปลี่ยน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 379

แปลงทางสัญญาว่า เราเป็นผู้ได้อรูปาวจรฌาน ออกจากองค์ฌานทั้งหลาย

แล้ว บรรลุพระอรหัต.

ก็พระเถระเมื่อจะทำกายที่สำเร็จด้วยใจให้เกิดขึ้น ย่อมทำให้เกิด

เป็นคนเหล่าอื่น คือ ๓ คนบ้าง ๔ คนบ้าง, มิใช่ทำให้เกิดเป็นคนจำนวน

มาก ย่อมทำให้เกิดเป็นเช่นกับคนคนเดียวเท่านั้น ในการงานที่กำลังทำ

อย่างเดียวกัน. ส่วนพระเถระนี้ นิรมิตเว้นจากคนเดียว ทำให้เป็น

สมณะ ๑,๐๐๐ รูปได้, แม้คน ๒ คน ก็ทำให้ร่างกายไม่เหมือนกันได้

ในการงานที่กำลังทำคนละอย่างกัน . เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเป็นผู้เลิศกว่า

ภิกษุทั้งหลาย ผู้นิรมิตกายที่สำเร็จด้วยใจ.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงถึงคุณวิเศษที่ตนบรรลุแล้ว ท่านจึงกล่าวคำ

เป็นต้นว่า ปุพฺเพนิวาส ชานามิ ดังนี้. พระเถระนี้ เป็นผู้ได้อภิญญา ๖

ก็จริง, ถึงอย่างนั้น เพื่อจะแสดงอภิญญาที่มีอุปการะมากแก่การบรรลุ

อาสวักขยญาณ จึงกล่าวว่า เราระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้ ชำระทิพยจักษุ

ให้หมดจดแล้ว ดังนี้แล้วกล่าวว่า ได้บรรลุวิชชา ๓ เป็นต้น . จริงอยู่

ปุพเพนิวาสญาณ ยถากัมมุปคญาณ และอนาคตังสญาณ ย่อมมีอุปการะ

มากแก่การบำเพ็ญวิปัสสนา, ญาณนอกนี้หามีอุปการะเหมือนอย่างนั้นไม่.

บทว่า สหสฺสกฺขตฺตุ แปลว่า ๑,๐๐๐. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

๑,๐๐๐ ครั้ง ดังนี้ก็มี. ก็พระเถระนิรมิตกายที่สำเร็จด้วยใจเป็น ๑,๐๐๐

ร่าง ด้วยการนึกครั้งเดียว, มิใช่ด้วยวาระ. ก็ร่างกายที่นิรมิตแล้วเหล่านั้น

แล ย่อมทำการงานเช่นเดียวกัน และต่างกันได้. ถามว่า ก็การนิรมิต

ด้วยฤทธิ์เห็นปานนี้ ย่อมมีได้แม้แก่พระสาวกทั้งหลายหรือ ? ตอบว่า

หามีแก่พระสาวกทั้งปวงไม่, ก็พระเถระรูปนี้เท่านั้น ได้ทำได้อย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 380

เพราะความถึงพร้อมแห่งอภินิหาร, จริงอยู่ ด้วยเหตุนี้ พระเถระนั้นจึง

ได้รับเอตทัคคะอย่างนั้น.

บทว่า ปนฺถโก นิสีทิ ความว่า ย่อมกล่าวเปรียบคนอื่นเหมือนกับ

ตนนั่นแล.

บทว่า อมฺพวเน ได้แก่ ในอัมพวัน ซึ่งเป็นวิหารที่หมอชีวกสร้าง

อุทิศถวาย.

บทว่า เวหาสา ในบทว่า เวหาสาหุปสงฺกมิ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ

ใช้ลงในตติยาวิภัตติ, ความว่า โดยอากาศ. อักษร การทำการต่อบท.

ศัพท์ว่า อถ ได้แก่ ภายหลังแต่การนั่งของเรา.

บทว่า ปฏิคฺคหิ ได้แก่ ทรงรับน้ำทักษิโณทก.

บทว่า อายาโค สพฺพโลกสฺส ความว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานะที่ชาว

โลกทั้งปวง พร้อมทั้งเทวโลก พึงนำไทยธรรมมาบูชา เพราะความที่ตน

เป็นพระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ.

บทว่า อาหุตีน ปฏิคฺคโห ความว่า เป็นผู้ควรรับทักษิณาอันเขา

นำมาบูชา โดยทำให้มีผลมาก.

บทว่า ปฏิคฺคณฺหิตฺถ ทกฺขิณ ความว่า ได้รับทักษิณา อันต่าง

ด้วยข้าวยาคูและของควรเคี้ยวเป็นต้น ที่หมอชีวกน้อมนำมาถวาย.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรง

สั่งท่านพระจูฬปันถกว่า เธอจงทำอนุโมทนา. พระเถระนั้น เพราะ

ความที่ตนบรรลุปฏิสัมภิทาอย่างแตกฉาน เมื่อจะทำพระพุทธพจน์ คือ

พระไตรปิฎกให้กระฉ่อน เรียนแบบอัธยาศัยของพระศาสดา การทำการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 381

อนุโมทนา เป็นราวกะว่า จับภูเขาสิเนรุเอามากวนคนมหาสมุทรฉะนั้น .

จริงอยู่ ท่านรูปนี้ แม้จะเพียบพร้อมด้วยอุปนิสัยถึงอย่างนั้น ก็ยังถูกเศษ

กรรมเก่าเห็นปานนั้นเบียดเบียนเอาได้ คือไม่สามารถจะใช้เวลา เดือน

เล่าเรียนคาถาอันประกอบด้วย ๔ บาทได้ ก็พระศาสดาทรงเล็งเห็นอุปนิสัย

สมบัติของท่านนั้นแล้ว ทรงชักชวนให้ใช้โยนิโสมนสิการ อันเหมาะแก่

ความประพฤติที่เคยมีมาในกาลก่อน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ

นั่งในนิเวศน์ของหมอชีวกในกาลนั้นอย่างนั้นนั่นแล ทรงทราบว่า จิต

ของพระจูฬปันถกเป็นสมาธิแล้ว, ปฏิบัติถูกทางเป็นวิปัสสนาแล้ว ดังนี้

ทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏทั้งที่ประทับนั่งอยู่นั่นแล เมื่อจะแสดงว่า

ปันถก แม้ท่อนผ้านี้จะเป็นของเศร้าหมอง ปะปนคละด้วยธุลี, แต่ธรรมอื่น

นั่นแหละ ที่เศร้าหมองและมีธุลี ในวินัยของพระอริยเจ้า จัดว่าเป็นความ

เศร้าหมองยิ่งกว่าท่อนผ้านี้ ดังนี้. จึงตรัสคาถาสุดท้าย ๓ คาถานี้ว่า :-

ราคะ ชื่อว่า ธุลี, แต่เรณู (ละออง) ท่านไม่เรียกว่า

ธุลี, คำว่า ธุลี นั่นเป็นชื่อของราคะ, ภิกษุเหล่านั้น ละ

ธุลีนั่นได้เด็ดขาดแล้ว อยู่ในพระศาสนาของพระพุทธ-

เจ้าผู้ปราศจากธุลี. โทสะ ชื่อว่า ธุลี แต่เรณู (ละออง)

ท่านไม่เรียกว่า ธุลี, คำว่า ชุลี นั่นเป็นชื่อของโทสะ,

ภิกษุเหล่านั้นละธุลีนั่นได้เด็ดขาดแล้ว อยู่ในพระศาสนา

ของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี. โมหะ ชื่อว่า ธุลี แต่

เรณู (ละออง) ท่านไม่เรียกว่า ธุลี, คำว่า ธุลี นั่นเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 382

ชื่อของโมหะ, ภิกษุเหล่านั้น ละธุลีนั้นได้เด็ดขาดแล้ว

อยู่ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.

ในเวลาจบคาถา พระจูฬปันถกบรรลุพระอรหัต อันมีอภิญญา

และปฏิสัมภิทาเป็นบริวารแล.

จบอรรถกถาจูฬปันถกเถรคาถาที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 383

๕. กัปปเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระกัปปเถระ

[๓๙๔] ร่างกายนี้ เต็มไปด้วยของอากูลและของอันเป็นมลทิน

ต่าง ๆ มีหลุมคูถใหญ่เป็นที่เกิด เป็นดุจบ่อน้ำครำอันมีมา

นาน เป็นดุจฝีใหญ่ เป็นดุจแผลใหญ่ เต็มไปด้วยหนอง

และเลือด เต็มไปด้วยหลุมคูถ มีน้ำไหลออกเป็นนิตย์

มีของเน่าไหลออกทุกเมื่อ กายอันเปื่อยเน่านี้รัดรึงด้วย

เอ็นใหญ่ ๖๐ เส้น ฉาบทาด้วยเครื่องฉาบทา คือ เนื้อ

หุ้มห่อด้วยเสื้อ คือหนัง เป็นของทาประโยชน์มิได้ เป็น

ของสืบต่อกันด้วยร่างกระดูก เกี่ยวร้อยด้วยด้าย คือ

เส้นเอ็น เปลี่ยนอิริยาบถได้ เพราะยังมีเครื่องประกอบ

พร้อม นรชนผู้ยังคลุกคลีอยู่ในกามคุณ เป็นผู้ตระเตรียม

ไปสู่ความตายเป็นนิตย์ เป็นผู้ตั้งอยู่ในที่ใกล้มัจจุราช

จักต้องทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้เอง กายนี้เอง อวิชชาหุ้มห่อ

แล้ว ผูกรัดด้วยเครื่องผูก ๔ ประการ จมอยู่ในห้วงน้ำ

คือ กิเลส ปกคลุมไว้ด้วยตาข่าย คือ กิเลสอันนอนเนื่อง

อยู่ในสันดาน ประกอบแล้วด้วยนิวรณ์ ๕ เพียบพร้อมด้วย

วิตก ประกอบด้วยรากเง่าแห่งภพ คือ ตัณหา ปกปิดด้วย

เครื่องปกปิด คือโมหะ หมุนไปอยู่ด้วยเครื่องหมุน คือ

กรรม ร่างกายนี้ย่อมมีสมบัติเป็นคู่กัน มีความเป็นต่าง ๆ

กันเป็นธรรมดา ปุถุชนคนอันธพาลเหล่าใด มายึดถือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 384

ร่างกายนี้ว่าเป็นของเรา ย่อมยังสงสารอันน่ากลัวให้

เจริญ ปุถุชนเหล่านั้นย่อมถือเอาภพใหม่อีก กุลบุตรผู้เป็น

บัณฑิตเหล่าใด ละเว้นร่างกายนี้อันฉาบทาแล้วด้วยคูถ

ดังบุรุษผู้ประสงค์ความสุข อยากมีชีวิตอยู่ เห็นอสรพิษ

แล้วหลีกหนีไปฉะนั้น กุลบุตรเหล่านั้นละอวิชชาอันเป็น

รากเง่าแห่งภพแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสนะจักปรินิพพาน.

จบกัปปเถรคาถา

อรรถกถากัปปเถรคาถาที่ ๕

คาถาของท่านพระกัปปเถระมีว่า นานากุลมลสมฺปุณฺโณ ดังนี้

เป็นต้น. เรื่องนั้นนี้เหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ท่านพระกัปปะแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการมาในพระพุทธเจ้า

พระองค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญเป็นอันมากไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิตธัตถะ ได้บังเกิดในตระกูลที่สมบูรณ์

ด้วยสมบัติเป็นอันมาก พอบิดาล่วงไป รู้เดียงสาแล้ว ประดับประดา

ต้นกัลปพฤกษ์ ด้วยผ้าอันวิจิตรด้วยสีที่ไม่สดนานาชนิด, ด้วยอาภรณ์

หลากชนิด, ด้วยแก้วมณีต่างชนิด, และด้วยมาลาพวงดอกไม้เป็นต้น

มากมายหลายชนิดแล้ว บูชาสถูปของพระศาสดา ด้วยสิ่งของนั้น.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในราชสกุลที่พรั่งพร้อมด้วยเครื่องประดับ

ในมคธรัฐ พอพระราชบิดาสวรรคตแล้ว ทรงดำรงอยู่ในพระราชสมบัติ

แล้ว ทรงเป็นผู้ยินดีมักมากในกามทั้งหลายอย่างเหลือประมาณอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 385

พระศาสดา ทรงออกจากพระมหากรุณาสมาบัติแล้ว ทรงตรวจ

ดูสัตวโลก ทอดพระเนตรเห็นเธอผู้มาปรากฏในข่ายคือพระญาณแล้ว ทรง

คำนึงว่า จักมีอะไรหนอแล ดังนี้ ทรงทราบว่า พระราชาพระองค์นี้

ได้ฟังอสุภกถาในสำนักของเราแล้ว จะเป็นผู้มีจิตคลายความกำหนัดใน

กามทั้งหลายเสียได้ พอทรงผนวชแล้วจักได้บรรลุพระอรหัต ดังนี้แล้ว

เสด็จไปในที่นั้นโดยอากาศแล้ว ตรัสอสุภกถาแก่พระราชาองค์นั้น ด้วย

พระคาถาเหล่านี้ว่า :-

ร่างกายนี้ เต็มไปด้วยของอากูล และของอันเป็น

มลทินต่าง ๆ มีหลุมคูถใหญ่เป็นที่เกิด เป็นดุจบ่อน้ำครำ

อันมีมานาน เป็นดุจฝีใหญ่ เป็นดุจแผลใหญ่ เต็มไปด้วย

หนองและเลือด เต็มไปด้วยหลุมคูถ มีน้ำไหลออก

เป็นนิตย์ มีของเน่าไหลออกทุกเมื่อ กายอันเปื่อยเน่านี้

รัดรึงด้วยเอ็นใหญ่ ๖๐ เส้น ฉาบทาด้วยเครื่องฉาบทา

คือเนื้อ หุ้มห่อด้วยเสื้อ คือหนัง เป็นของหาประโยชน์

มิได้ เป็นของสืบต่อกันด้วยร่างกระดูกเกี่ยวร้อยด้วยด้าย

คือเส้นเอ็น เปลี่ยนอิริยาบถได้ เพราะยังมีเครื่องประกอบ

พร้อม นรชนผู้ยังคลุกคลี อยู่ในกามคุณ เป็นผู้ตระเตรียม

ไปสู่ความตายเป็นนิตย์ เป็นผู้ตั้งอยู่ในที่ใกล้มัจจุราช

จักต้องทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้เอง กายนี้เอง อวิชชา

หุ้มห่อแล้ว ผูกรัดด้วยเครื่องผูก ๔ ประการ จมอยู่ใน

ห้วงน้ำคือกิเลส ปกคลุมไว้ด้วยตาข่าย คือกิเลสอันนอน

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๗๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 386

เนื่องอยู่ในสันดาน ประกอบแล้วในนิวรณ์ ๕ เพียบพร้อม

ด้วยวิตก ประกอบด้วยรากเหง่าแห่งภพคือตัณหา ปกปิด

ด้วยเครื่องปกปิดคือโมหะ หมุนไปอยู่ด้วยเครื่องหมุน

คือกรรม ร่างกายนี้. ย่อมมีสมบัติกับวิบัติเป็นคู่กัน มี

ความเป็นต่าง ๆ กันเป็นธรรมดา ปุถุชนคนอันธพาล

เหล่าใด มายึดถือร่างกายนี้ว่าเป็นของเรา ย่อมยังสงสาร

อันน่ากลัวให้เจริญ ปุถุชนเหล่านั้นย่อมถือเอาภพใหม่อีก

กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตเหล่าใด ละเว้นร่างกายนี้ อันฉาบ

ทาแล้วด้วยคูถ ดังบุรุษผู้ประสงค์ความสุขอยากมีชีวิตอยู่

เห็นอสรพิษแล้วหลีกหนีไปฉะนั้น กุลบุตรเหล่านั้น ละ

อวิชชาอันเป็นรากเหง่าแห่งภพแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ

จักปรินิพพาน.

พระราชาพระองค์นั้น ทรงสดับอสุภกถาจนแจ่มแจ้ง ถึงสภาวะ

แห่งสรีระอย่างแท้จริง ซึ่งขันธ์มีอาการเป็นอเนก ต่อพระพักตร์พระศาสดา

อึดอัด ละอาย รังเกียจ มีพระทัยสังเวชต่อร่างกายของพระองค์ ถวาย

บังคมพระศาสดาแล้ว ทูลขอบรรพชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ-

องค์พึงได้บรรพชาในสำนัก พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงมีรับสั่งให้

ภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ ด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุ เธอจงไป

จงให้พระราชานี้ได้บรรพชา อุปสมบทแล้วจึงมาเถิด.

ภิกษุรูปนั้น ให้ตจปัญจกกัมมัฏฐานแล้ว ให้พระราชาพระองค์นั้น

ได้รับบรรพชา พระราชาพระองค์นั้น ในขณะจรดมีดโกนเท่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 387

ก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวไว้ในอปทานว่า :-

เราได้คล้องผ้าอันวิจิตรหลายผืน ไว้ตรงหน้าพระสถูป

อันประเสริฐ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ

แล้วตั้งต้นกัลปพฤกษ์ไว้ เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือความ

เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้น ๆ ต้นกัลปพฤกษ์

อันงาม ย่อมประดิษฐานอยู่ใกล้ประตูเรา เวลานั้น เราเอง

บริษัท เพื่อน และคนคุ้นเคย ได้ถือเอาผ้าจากต้นกัลป-

พฤกษ์นั้นมานุ่งห่ม ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ตั้งต้น

กัลปพฤกษ์ไว้ ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้สึกทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งการตั้งต้นกัลปพฤกษ์ และในกัปที่ ๗ แต่กัปนี้ ได้

มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ พระองค์ ทรงพระนามว่า คุณวิเศษ

ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก คุณวิเศษ

เหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ ... ฯลฯ... พระพุทธศาสนา

เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระราชาบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้อุปสมบทแล้ว เข้าไปเฝ้า

พระศาสดา ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง เมื่อจะพยากรณ์ความเป็น

พระอรหัต จึงตรัสคาถาเหล่านั้นนั่นแลไว้. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ คาถา

เหล่านั้น จึงชื่อว่า เถรคาถา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นานากุลมลสมฺปุณฺโณ ความว่า อัน

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๔๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 388

เต็มไปด้วยของอาการต่าง ๆ และของอันเป็นมลทินมีส่วนต่างๆ คือเต็มไป

ด้วยส่วนที่ไม่สะอาดนานาชนิด มีผม และขน เป็นต้น.

หลุมคูถ ท่านเรียกว่า อุกการะ ในบทว่า มหาอุกฺการสมฺภโว นี้.

ครรภ์ของมารดา ท่านประสงค์ว่าหลุมคูถใหญ่ ในที่นี้ เพราะตลอดกาล

ที่อยู่ในครรภ์มารดา จะเป็นเช่นกับหลุมคูถที่อบอวลด้วยกลิ่นไม่สะอาด.

ครรภ์นั้นเป็นแดนเกิด คือเป็นที่อุบัติขึ้นแห่งสัตว์นั่น เหตุนั้นจึงชื่อว่า

มหาอุกการสัมภวะ มีหลุมคูถใหญ่เป็นที่เกิด.

บทว่า จนฺทนิกว ความว่า สถานที่เป็นที่สำหรับเททิ้งน้ำไม่สะอาด

และมลทินแห่งครรภ์เป็นต้น ซึ่งเต็มไปด้วยของไม่สะอาดเพียงเข่า ที่เช่น

นั้น ชื่อว่า บ่อน้ำครำ.

บทว่า ปริปกฺก ได้แก่ เก่าแก่ มีมานาน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

แสดงว่า เปรียบเหมือนเมื่อฝนมีเม็ดโต ตกลงในฤดูร้อน ใกล้ประตูบ้าน

คนจัณฑาล สิ่งปฏิกูลอันเต็มไปด้วยซากศพนานาชนิด มีปัสสาวะ อุจจาระ

กระดูก หนัง เส้นเอ็น น้ำลาย และน้ำมูก เป็นต้น ประสมเข้ากับน้ำ

ก็จะขุ่นไปด้วยน้ำปนโคลน พอล่วงไป ๒-๓ วัน ก็เกิดเป็นหมู่หนอน

มีน้ำเดือดเป็นฟองเพราะถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผา ข้างบนมีฟองน้ำและ

ต่อมน้ำผุดขึ้น มีสีคล้ำ มีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่ง น่ารังเกียจ เป็นบ่อน้ำครำ

ไม่ควรจะเข้าไปใกล้ ทั้งไม่ควรจะเห็น ต้องยืนอยู่ห่าง ๆ, ร่างกายก็เป็น

เช่นนั้น. ชื่อว่า เป็นดุจฝีใหญ่ เพราะเปรียบเหมือนฝีใหญ่ เหตุมีการ

ผุดขึ้น เจริญ แก่รอบ และแตกไปเป็นสภาวะ มีความเกิดขึ้น แก่

และตายไป เพราะประกอบด้วยต้นเค้าคือความเป็นทุกข์ และเพราะ

หลั่งออกซึ่งสิ่งไม่สะอาด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 389

ชื่อว่าเป็นดุจแผลใหญ่ เพราะเปรียบเหมือนแผลใหญ่ เพราะต้อง

อดทนต่อแผล และเพราะเป็นที่หลั่งไหลออกซึ่งสิ่งไม่สะอาด มีทุกขเวทนา

ติดตาม.

บทว่า คูถกูเปน คาฬิโต ได้แก่ เต็มด้วยหลุมคูถ หรือเต็มด้วย

คูถ. บาลีว่า คูถกูปนิคาฬฺหิโต ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า ไหลออกจาก

หลุมคูถ.

บทว่า อาโปปคฺฆรโณ กาโย สทา สนฺทติ ปูติก ความว่า

ร่างกายนี้ มีอาโปธาตุไหลออกเป็นปกติทุกเมื่อ, สรีระนั้นแล มีแต่สิ่ง

เปื่อยเน่า เช่น ดี เสมหะ เหงื่อ และมูตร เป็นต้น คือสิ่งไม่สะอาด

เท่านั้นไหลออกอยู่, ในกาลไหน ๆ สิ่งที่สะอาดไม่เคยไหลออกเลย.

บทว่า สฏฺิกณฺฑรสมฺพนฺโธ ความว่า ชื่อว่ารัดรึงด้วยเอ็นใหญ่

๖๐ เส้น เพราะมีเส้นเอ็นใหญ่ ๖๐ เส้น ผูกพันรัดรึงทุกแห่ง คือเส้นเอ็น

ที่รัดรึงสรีระ ตั้งแต่ส่วนบนแห่งคอ ที่ข้างหน้า ข้างหลัง ที่ข้างขวา

และข้างซ้าย แห่งสรีระ ที่ละ ๕ เส้น รวม ๒๐ เส้น, รัดรึงที่มือและ

เท้า ที่ข้างหน้ามือ และที่ข้างหลังมือ ที่ฝ่าเท้า และหลังเท้า ที่ละ ๕ เส้น

รวมเป็น ๔๐ เส้น. (มือ ๑ ข้าง นับข้างหน้ามือ ๕ รวมเป็น ๑๐ ฉะนั้น

มือมี ๒ ข้าง เท้ามี ๒ ข้าง จึงรวมเส้นเอ็นได้ ๔๐ เส้น ).

บทว่า มสเลปนเลปิโต ได้แก่ ฉาบทาด้วยเครื่องฉาบทาคือเนื้อ,

อธิบายว่า ฉาบทาด้วยชิ้นเนื้อ ๙๐๐ ชิ้น.

บทว่า จมฺมกญฺจุกสนฺนทฺโธ ได้แก่ หุ้มห่อคลุม ปกปิด ในที่

ทั้งปวงด้วยเสื้อคือหนัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 390

บทว่า ปูติกาโย ได้แก่ ร่างกายที่มีกลิ่นเหม็นเน่า ทั่วทั้งหมด.

บทว่า นิรตฺถโก ได้แก่ ไม่มีประโยชน์, อธิบายว่า จริงอยู่

ร่างกายของหมู่สัตว์เหล่าอื่น จะพึงมีประโยชน์ได้ ก็ด้วยการจำแนกถึงคุณ

มีธรรมเป็นต้น. ร่างกายของมนุษย์ ไม่มีประโยชน์อย่างนั้นเลย.

บทว่า อฏฺิสงฺฆาตฆฏิโต ได้แก่ เป็นของสืบต่อกัน โดยการ

สืบต่อด้วยร่างแห่งกระดูก ๓๐๐ กว่าท่อน.

บทว่า นฺหารุสุตฺตนิพนฺธโน ได้แก่ ร้อยพันแล้วด้วยเส้นเอ็น

๙๐๐ เส้น อันเป็นเช่นกับเส้นด้าย.

บทว่า เนเกส สงฺคตีภาวา ความว่า สำเร็จอิริยาบถ มียืนเป็นต้น

เปรียบเหมือนยนต์ คือสรีระเปลี่ยนแปลงได้ก็ด้วยกลุ่มแห่งเส้นด้าย ที่ผูก

พันเกี่ยวข้องด้วยมหาภูตรูป ๔ ชีวิตินทรีย์ ลมอัสสาสะ ลมปัสสาสะและ

วิญญาณ เป็นต้น.

บทว่า ธุวปฺปยาโต มรณาย ความว่า เป็นผู้เตรียมตัวเพื่อความ

ตายโดยส่วนเดียว. คือจำเดิมแต่เกิดมาก็ตกไป บ่ายหน้าไปสู่ความตาย.

ได้แก่ ตั้งแต่เกิดมาแล้วนั้นเอง ก็ตั้งอยู่ใกล้มัจจุราชคือความตาย.

บทว่า อิเธว ฉฑฺฑยิตฺวาน ความว่า อันสัตว์นี้ ทิ้งร่างกายไว้

ในโลกนี้นั้นแล แล้วก็ไปสู่สถานที่คนชอบใจ เพราะฉะนั้น ท่านจึง

แสดงว่า บุคคลไม่พึงทำความเกี่ยวข้อง แม้อย่างนี้ว่า เราพึงละร่างกาย

นี้ไป ดังนี้.

บทว่า อวิชฺชาย นิวุโต ได้แก่ ร่างกายนี้ถูกเครื่องปิดกั้นคืออวิชชา

หุ้มห่อแล้ว คือมีโทษเพราะถูกปิดกั้นไว้, อธิบายว่า โดยประการอื่น

ใครจะพึงรู้ความเกี่ยวข้องในข้อนี้ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 391

บทว่า จตุคนฺเถน ได้แก่ ผูกรัดด้วยคันถะเครื่องผูก ๔ อย่าง มีเครื่อง

ผูกคืออภิชฌากายคันถะเป็นต้น. คือร้อยรัด โดยความเป็นเครื่องผูก.

บทว่า โอฆสสีทโน ได้แก่ เป็นผู้จมลงในโอฆะ ๔ มีกาโมฆะ

เป็นต้น โดยความเป็นที่ควรรวมลง, อธิบายว่า ชื่อว่า อนุสัย เพราะ

อรรถว่า นอนเนื่องในสันดาน โดยความที่ยังละไม่ได้, ได้แก่ กิเลส

อันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน มีกามราคะเป็นต้น.

ชื่อว่า อนุสยาชาลโมตฺถโต เพราะปกคลุมคือครอบงำสัตว์เหล่านั้น

ไว้ด้วยตาข่าย. อักษรทำการต่อบท, ท่านทำทีฆะ กล่าวไว้ก็เพื่อ

สะดวกแก่รูปคาถา. ชื่อว่า ประกอบแล้วด้วยนิวรณ์ ๕ เพราะประกอบ

แล้ว คือน้อมใจไปแล้ว ด้วยนิวรณธรรม ๕ อย่าง มีกามฉันทะเป็นต้น,

ก็คำว่า ปญฺจนีวรเณ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ.

เพียบพร้อมแล้ว คือสมบูรณ์แล้ว ด้วยมิจฉาวิตก มีกามวิตกเป็นต้น

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เพียบพร้อมด้วยวิตก ประกอบด้วยมูลราก

แห่งภพคือตัณหา คือถูกมูลรากแห่งภพคือตัณหาผูกพันไว้.

บทว่า โมหจฺฉาทนฉาทิโต ได้แก่ ปกคลุม ด้วยเครื่องปกปิด

คือสัมโมหะ. สวิญญาณกะนั้นทั้งหมด ท่านกล่าวหมายถึงกรัชกาย. จริงอยู่

อัตภาพที่มีวิญญาณครอง ท่านเรียกว่า กาย เช่นประโยคว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาในภพขาดสิ้นแล้ว ย่อมตั้งอยู่,

กายนี้เท่านั้นเป็นภายนอก มีนามรูป ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า เอวาย วตฺตเต กาโย ความว่า กายนี้ ย่อมหมุนไป โดย

ประการที่กล่าวแล้วเป็นต้นว่า กายนี้เต็มไปด้วยมลทินอันอากูลต่าง ๆ และ

เป็นต้นว่า กายนี้ ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ดังนี้ ก็แล เมื่อหมุนไป ก็หมุน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 392

ไปด้วยเครื่องหมุน คือกรรมที่คนทำดีและทำชั่วไว้ จึงหมุนไป คือท่องเที่ยว

ไปในสุคติและทุคติ เพราะฟุ้งไปโดยที่ไม่สามารถจะไปสู่แดนเกษมได้.

บทว่า สมฺปตฺติ จ วิปตฺยนฺตา ได้แก่ สมบัติที่มีอยู่ในร่างกายนี้

ย่อมมีวิบัติเป็นที่สุด. จริงอยู่ ความหนุ่มและความสาวทั้งหมด มีความ

แก่เป็นที่สุด, ความไม่มีโรคทั้งหมด มีความเจ็บไข้เป็นที่สุด, ชีวิตทั้งหมด

มีความตายเป็นที่สุด, ความประชุมแห่งสังขารทั้งหมด มีความแตกแยก

จากกันเป็นที่สุด. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นานาภาโว วิปชฺชติ

ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า นานาภาโว ได้แก่ ความเป็นต่างๆกัน คือความพลัดพราก

จากกัน. อธิบายว่า ร่างกายนั้นย่อมถึง คือย่อมบรรลุถึงความเป็นต่าง ๆ

กัน คือบางคราวด้วยอำนาจแห่งคนที่พลัดพรากจากไป, บางคราวด้วย

อำนาจแห่งสิ่งของที่จะต้องพลัดพรากจากไป.

บทว่า เยม กาย มนายนฺติ ความว่า ปุถุชนคนอันธพาล

เหล่าใด มายึดถือร่างกายนี้ อันไม่งาม ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน เป็นทุกข์ หา

สาระมิได้ว่า สรีระนี้ เป็นของเรา ดังนี้ คือยังฉันทราคะให้เกิดขึ้น, ได้แก่

ย่อมยังสงสาร คือตัณหาให้เจริญ ด้วยการเกิดและการตายเป็นต้นบ่อย ๆ

เพราะคนมิใช่บัณฑิตพึงยินดีภัยอันน่ากลัวแต่ชาติเป็นต้น และนรกเป็นต้น

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปุถุชนคนอันธพาลเหล่านั้น ย่อมถือเอา

ภพใหม่อีก ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า เยม กาย วิวชฺเชนฺติ คูถลิตฺตว ปนฺนค ความว่า เปรียบ

เหมือนบุรุษผู้ประสงค์ความสุขอยากมีชีวิตอยู่ เห็นคูถแล้วหลีกหนี คือ

หลบไปเสีย เพราะเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ หรือเห็นอสรพิษแล้วหลีกหนี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 393

คือเลี่ยงไปเสีย เพราะความกลัวเฉพาะหน้า ชื่อฉันใด กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิต

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน หลีกร่างกายนี้อันน่ารังเกียจ เพราะเป็นสิ่งไม่สะอาด

และอันมีภัยเฉพาะหน้า เพราะเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นต้น คือ ละด้วยการ

ประหารฉันทราคะเสีย การทิ้งซึ่งอวิชชาอันเป็นมูลรากแห่งภพ และตัณหา

ในภพ ละได้เด็ดขาด ต่อแต่นั้นก็เป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยประการทั้งปวง

จักปรินิพพาน ด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพาน-

ธาตุ แล.

จบอรรถกถากัปปเถรคาถาที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 394

๖. อุปเสนวังคันตปุตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุปเสนวังคันตปุตตเถระ

[๓๗๕] ภิกษุซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด ปราศจากเสียง

อื้ออึง เป็นที่อยู่อาศัยแห่งสัตว์ร้ายเพราะการหลีกเร้น

ออกเป็นเหตุ ภิกษุพึงเก็บผ้ามาจากกองหยากเยื่อ จาก

ป่าช้า จากตรอกน้อยตรอกใหญ่ แล้วทำเป็นผ้านุ่งห่ม

พึงทรงจีวรอันเศร้าหมอง ภิกษุควรทำใจให้ต่ำ คุ้มครอง

ทวาร สำรวมดีแล้ว เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก

คือตามลำดับสกุล ภิกษุพึงยินดีด้วยของ ๆ ตนแม้จะเป็น

ของเศร้าหมอง ไม่พึงปรารถนารสอาหารอย่างอื่นมาก

เพราะใจของบุคคลผู้ติดในรสอาหาร ย่อมไม่ยินดีใน

ฌาน ภิกษุควรเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบ

สงัด เป็นมุนี ไม่คลุกคลีด้วยพวกคฤหัสถ์ และพวก

บรรพชิตทั้งสอง ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ควรแสดงตนให้

เป็นดังคนบ้าและคนใบ้ ไม่ควรพูดมากในท่ามกลางสงฆ์

ไม่ควรเข้าไปกล่าวว่าใคร ๆ ควรละเว้นการเข้าไปกระทบ

กระทั่ง เป็นผู้สำรวมในพระปาติโมกข์ และพึงเป็นผู้รู้จัก

ประมาณในโภชนะ เป็นผู้ฉลาดในการเกิดขึ้นแห่งจิต

มีนิมิตอันถือเอาแล้ว พึงประกอบสมถะและวิปัสสนา

ตามเวลาอันสมควรอยู่เนือง ๆ พึงเป็นบัณฑิตผู้ถึงพร้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 395

ด้วยความเพียรเป็นนิตย์ เป็นผู้ประกอบภาวนาทุกเมื่อ

ด้วยความตั้งใจว่า ถ้ายังไม่ถึงที่สุดทุกข์ ไม่พึงถึงความ

วางใจ อาสวะทั้งปวงของภิกษุผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์

เป็นอยู่อย่างนี้ ย่อมสิ้นไป และภิกษุทั้งหลายย่อมบรรลุ

นิพพาน.

จบอุปเสนวังคันตปุตตเถรคาถา

อรรถกถาอุปเสนวังคันตปุตตเถรคาถาที่ ๖

มีคาถาท่านพระอุปเสนเถระว่า วิวิตฺต อปฺปนิคฺโฆส ดังนี้เป็นต้น.

เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ

ท่านพระอุปเสนเถระรูปนี้ บังเกิดในเรือนอันมีสกุล ในหังสวดีนคร พอ

เจริญวัยแล้วไปฟังธรรมยังสำนักของพระศาสดาเห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุ

รูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความเลื่อมในโดยรอบ

แล้ว จึงกระทำบุญญาธิการไว้ในสำนักของพระศาสดาแล้ว ปรารถนา

ตำแหน่งนั้น ตลอดชีวิตทำแต่กุศล จึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและ

มนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในท้องของนางพราหมณีชื่อว่า

รูปสารี ในนาลกคาม และเขาได้มีชื่อว่า อุปเสนะ.

อุปเสนะนั้น เจริญวัยแล้ว พอเรียนไตรเพทจบแล้ว ฟังธรรมใน

สำนักของพระศาสดา ได้มีศรัทธาบวชแล้ว มีพรรษาเดียว ต้องการเพื่อ

ให้อุปสมบท จึงให้กุลบุตรคนหนึ่ง อุปสมบทในสำนักของตน ด้วยคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 396

เราจะยังห้องแห่งพระอรหัตให้เจริญ ดังนี้แล้ว ไปสู่สำนักของพระศาสดา

พร้อมกับกุลบุตรนั้น พระศาสดาทรงสดับว่า ภิกษุนั้นยังไม่มีพรรษาแต่มี

ลัทธิวิหาริก จึงทรงติเตียนว่า เร็วนักแล โมฆบุรุษ เธอเวียนมาเพื่อการ

เป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย เธอจึงคิดว่า บัดนี้เราถูกพระศาสดาทรงติเตียน

เพราะอาศัยบุรุษนี้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เราอาศัยบุรุษนี้แหละ จักให้

พระศาสดาตรัสสรรเสริญบ้าง ดังนี้แล้ว จึงบำเพ็ญวิปัสสนา ไม่นานนัก

ก็บรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า :-

เราได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

ปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก เป็นนระผู้ประเสริฐ สูง

สุดกว่านระ ประทับนั่งอยู่ที่เงื้อมภูเขา เวลานั้น เราได้

เห็นดอกกรรณิการ์กำลังบาน จึงเด็ดขั้วมันแล้ว เอามา

ประดับที่ฉัตร โปรย (กั้น) ถวายแด่พระพุทธเจ้า และ

เราได้ถวายบิณฑบาต มีข้าวชั้นพิเศษ ที่จัดว่าเป็นโภชนะ

อย่างดี ได้นิมนต์พระ ๘ รูป เป็น ๙ รูปทั้งพระพุทธเจ้า

ให้ฉันที่บริเวณนั้น พระสยัมภูมหาวีระเจ้า ผู้เป็นบุคคล

ผู้เลิศ ทรงอนุโมทนาว่า ด้วยการถวายฉัตรนี้ (และ)

ด้วยจิตอันเลื่อมใสในการถวายข้าวชั้นพิเศษนั้น ท่านจัก

เป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติ ๓๖ ครั้ง และจักได้

เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๑ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศ-

ราชอันไพบูลย์ โดยคณานับไม่ถ้วน ในแสนกัปแต่กัปนี้

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๑๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 397

วงศ์พระเจ้าโอกกากราชจักสมภพ จักเป็นพระพุทธเจ้า

พระนามว่า โคดม โดยพระโคตร เมื่อพระศาสนากำลัง

รุ่งเรือง ผู้นี้จักถึงความเป็นมนุษย์ เป็นทายาทในธรรม

เป็นโอรส น้อมไปในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น

จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีพระนามว่าอุปเสนะ

จักตั้งอยู่ในเอตทัคคะ ที่เป็นผู้นำความเลื่อมใสมาโดยรอบ

เมื่อกาลเป็นไปถึงที่สุด เราถอนภพได้ทั้งหมด เราชนะ

มารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ทรงกายอันเป็นที่สุดไว้ คุณ-

วิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ . . .ฯลฯ. . . พระพุทธ-

ศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล

ก็ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว แม้ตนเองสมาทานธุดงคธรรมทั้งหมด

เป็นไปอยู่ ทั้งชักชวนให้ภิกษุพวกอื่นสมาทาน เพื่อประโยชน์แก่ธุดงค-

ธรรมนั้นด้วย, ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงดังเธอไว้ ใน

ตำแหน่งที่เลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้นำความเลื่อมใสมาโดยรอบ. สมัยต่อมา

เมื่อเกิดการทะเลาะกันขึ้นในกรุงโกสัมพี และภิกษุสงฆ์แตกแยกเป็น ๒

ฝ่าย เธอถูกภิกษุรูปหนึ่งผู้ประสงค์จะหลีกเลี่ยงการทะเลาะนั้น ถามว่า

บัดนี้เกิดการทะเลาะกันขึ้นแล้วแล, พระสงฆ์แตกแยกเป็น ๒ ฝ่าย, กระผม

จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอแล ดังนี้ เมื่อจะกล่าวถึงข้อปฏิบัติแก่ภิกษุรูปนั้น

ตั้งต้นแต่การอยู่อย่างสงบ จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ภิกษุซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด ปราศจากเสียงอื้ออึง

เป็นที่อยู่อาศัยแห่งสัตว์ร้าย เพราะการหลีกเร้นออกเป็น

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๗๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 398

เหตุ ภิกษุพึงเก็บผ้ามาจากกองหยากเยื่อ จากป่าช้า จาก

ตรอกน้อยตรอกใหญ่แล้ว ทำเป็นผ้านุ่งห่ม พึงทรงจีวร

อันเศร้าหมอง ภิกษุควรทำใจให้ต่ำ คุ้มครองทวาร สำรวม

ดีแล้ว เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก คือตามลำดับ

สกุล ภิกษุพึงยินดีด้วยของ ๆ ตน แม้จะเป็นของเศร้า-

หมอง ไม่พึงปรารถนารสอาหารอย่างอื่นมาก เพราะใจ

ของบุคคลผู้มีติดในรสอาหาร ย่อมไม่ยินดีในฌาน ภิกษุ

ควรเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด เป็น

มุนี ไม่คลุกคลีด้วยพวกคฤหัสถ์ และพวกบรรพชิต

ทั้งสอง ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ควรแสดงตนให้เป็นดังคนบ้า

และคนใบ้ ไม่ควรพูดมากในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ควรเข้า

ไปกล่าวว่าใคร ๆ ควรละเว้นการเข้าไปกระทบกระทั่ง

เป็นผู้สำรวมพระปาติโมกข์ และพึงเป็นผู้รู้จักประมาณ

ในโภชนะ เป็นผู้ฉลาดในการเกิดขึ้นแห่งจิต มีนิมิต

อันถือเอาแล้ว พึงประกอบสมณะและวิปัสสนา ตามเวลา

อันสมควรอยู่เนือง ๆ พึงเป็นบัณฑิต ผู้ถึงพร้อมด้วย

ความเพียรเป็นนิตย์ เป็นผู้ประกอบภาวนาทุกเมื่อ ด้วย

ความตั้งใจว่า ถ้ายังไม่ถึงที่สุดทุกข์ ไม่พึงถึงความวางใจ

อาสนะทั้งปวงของภิกษุผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์ เป็นอยู่

อย่างนี้ ย่อมสิ้นไป และภิกษุนั้นย่อมบรรลุนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 399

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวิตฺต ได้แก่ เสนาสนะอันสงัดจากหมู่

ชน ว่าง มีป่าเป็นต้น.

บทว่า อปฺปนิคฺโฆส ได้แก่ เงียบจากเสียง คือเว้นจากที่เสียดสี

มากด้วยเสียง.

บทว่า วาฬฺมิคนิเสวิต ได้แก่ อันมีราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง

และสัตว์ร้าย อยู่อาศัย. แม้ด้วยบทนี้ ท่านแสดงถึงสถานที่อันสงบจาก

หมู่คนนั้นแล เพราะแสดงว่าเสนาสนะสงัด.

บทว่า เสนาสน ได้แก่ สถานที่อยู่โดยความสมควรเพื่อจะนอน

และเพื่อจะอาศัย ท่านประสงค์เอาว่า เสนาสนะ. ในที่นี้.

บทว่า ปฏิสลฺลานการณา ได้แก่ มีการหลีกเร้นออกเป็นเครื่อง

หมาย คือเพื่อจะชักจิตกลับจากอารมณ์ต่าง ๆ แล้ว ให้จิตแอบแนบอยู่

โดยถูกต้อง เฉพาะในกัมมัฏฐานเท่านั้น.

พระเถระครั้นชี้แจงถึงเสนาสนะ อันสมควรแก่การเจริญภาวนา

แสดงความสันโดษในเสนาสนะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงความสันโดษ

นั้น แม้ในปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น จึงกล่าวคำว่า สงฺการปุญฺชา ดังนี้

เป็นต้น .

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺการปุญฺชา ได้แก่ กองแห่งหยากเยื่อ

ทั้งหลาย ชื่อว่า กองแห่งหยากเยื่อ. จากที่กองหยากเยื่อนั้น.

บทว่า อาหตฺวา แปลว่า เก็บมาแล้ว .

บทว่า ตโต แปลว่า จากท่อนผ้าเศษที่นำมาแล้วเช่นนั้น. จริงอยู่

คำนี้เป็นปัญจมีวิภัตติ ใช้ลงในเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 400

บทว่า ลูข ได้แก่ เศร้าหมอง ด้วยความเศร้าหมองในการตัด และ

ด้วยความเศร้าหมองในการย้อมเป็นต้น คือมีสีไม่สะอาด และถูกจับต้อง

แล้ว .

บทว่า ธาเรยฺย ความว่า ท่านกล่าวว่าเป็นผู้สันโดษในจีวร เพราะ

พึงบริหารด้วยอำนาจการนุ่งห่มเป็นต้น.

บทว่า นีจ มน กริตฺวาน ความว่า อนุสรณ์ถึงโอวาทของพระ-

สุคตเจ้าเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นที่สุดแห่งชีวิต ดังนี้ แล้ว

ทำจิตให้ร่าเริงในการทำลายมานะ.

บทว่า สปทาน ได้แก่ เว้นจากการเกี่ยวข้องในเรือนทั้งหลาย

อธิบายว่า ตามเรือน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กุลา กุล ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า กุลา กุล ได้แก่ จากตระกูลสู่ตระกูล อธิบายว่า ตามลำดับ

ตระกูล คือตามลำดับเรือน.

บทว่า ปิณฺฑิกาย ความว่า ท่านกล่าวความสันโดษในบิณฑบาต

ด้วยภิกษาที่เจือปนกันนี้.

บทว่า คุตฺตทฺวาโร ได้แก่ คุ้มครองจักษุทวารเป็นต้นดีแล้ว .

บทว่า สุสวุโต ได้แก่ สำรวมแล้วด้วยดี เพราะไม่มีความคะนอง

มือเป็นต้น.

อปิ ศัพท์ ในคำว่า ลูเขนปิ วา นี้ เป็นสมุจจยัตถะ. วา ศัพท์

เป็นวิกัปปิตถะ. ความว่า พึงยินดีโดยชอบสม่ำเสมอในความสันโดษ ด้วย

ปัจจัยตามมีตามได้ ที่ได้มาโดยง่าย ไม่เลือกว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้

ทั้งสองอย่างคือ ทั้งเศร้าหมอง ทั้งเป็นของน้อย ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า นาญฺ ปตฺเถ รส พหุ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 401

บทว่า นาญฺ ปตฺเถ รส พหุ ความว่า ไม่พึงปรารถนา คือพึง

ละบิณฑบาตที่มากและประณีต อันมีรสอร่อยเป็นต้นอย่างอื่น จากที่ตน

ได้แล้วเสีย ด้วยบทนี้ ท่านย่อมแสดงถึงความสันโดษ แม้ในคิลานปัจจัย

ด้วย.

ก็ท่านเมื่อจะกล่าวถึงเหตุ เพื่อห้ามความติดใจในรสทั้งหลาย จึง

กล่าวว่า ใจของบุคคลผู้ติดในรสอาหาร ย่อมไม่ยินดีในฌาน ดังนี้

เป็นต้น . อธิบายว่า บุคคลผู้ไม่ทำอินทรีย์สังวรให้บริบูรณ์ จะทำจิตให้

สงบจากความฟุ้งซ่านได้ แต่ที่ไหนเล่า.

พระเถระ ครั้นแสดงถึงข้อปฏิบัติในการขัดเกลา ในเพราะปัจจัย

ทั้ง ๔ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงถึงกถาวัตถุที่เหลือทั้งหลาย จึงกล่าว

คำเป็นต้นว่า อปฺปิจฺโฉ เจว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปิจฺโฉ ได้แก่ ไม่มีความปรารถนา

คือเว้นจากความปรารถนาในปัจจัย ๔. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงการ

ข่มตัณหาที่จะเกิดขึ้น ในเพราะปัจจัยทั้ง ๔ อย่าง. บทว่า สนฺตุฏฺโ

ได้แก่ ความสันโดษ ด้วยความยินดีปัจจัย ๔ ตามที่ได้มา.

ก็บุคคลใด ไม่พึงเศร้าโศกถึงเรื่องที่แล้วมา ไม่พึง

คิดถึงเรื่องที่ยังไม่มาถึง แต่พึงยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วย

เหตุในปัจจุบัน บุคคลนั้นท่านเรียกว่า เป็นผู้สันโดษแล.

บทว่า ปวิวิตฺโต ได้แก่ละจากความคลุกคลีด้วยหมู่คณะแล้ว ปลีก

กายเข้าไปหาความสงัดสงบ. จริงอยู่ ในเรื่องความสงัดทางจิตเป็นต้น

ข้าพเจ้าจะกล่าวข้างหน้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 402

บทว่า วเส ความว่า พึงประกอบในที่ทั้งปวง. ชื่อว่า มุนิ เพราะ

ประกอบพร้อมด้วยโมไนยธรรม.

บทว่า อสสฏฺโ ได้แก่ ไม่คลุกคลี เพราะไม่มีความคลุกคลีทาง

การเห็น การฟัง การเจรจา การสมโภค และทางกาย คือเว้นจากความ

คลุกคลีตามที่กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า อุภย ได้แก่ ไม่คลุกคลีด้วยชนทั้งสองพวก คือด้วยคฤหัสถ์

และด้วยบรรพชิต. จริงอยู่ คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ ใช้ลงในเหตุ.

บทว่า อตฺตาน ทสฺสเย ตถา ความว่า ถึงจะไม่เป็นบ้า เป็นใบ้

แต่ก็พึงแสดงคนเหมือนดังคนบ้าหรือคนใบ้, ด้วยบทนั้น ท่านกล่าวถึง

การละความอวดดีเสีย.

บทว่า ชโฬว มูโค วา นี้ ท่านทำเป็นรัสสะ เพื่อสะดวกแก่รูป

คาถา, และ วา ศัพท์เป็นสมุจจยัตถะ.

บทว่า นาติเวล สมฺภาเสยฺย ความว่า ไม่ควรพูดเกินเวลา คือพูด

เกินประมาณ. ได้แก่ พึงเป็นผู้พูดแต่พอประมาณ.

บทว่า สงฺฆมชฺฌมฺหิ ได้แก่ ในหมู่ภิกษุสงฆ์ หรือในประชุมชน.

บทว่า น โส อุปวเท กญฺจิ ความว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติตามที่กล่าว

แล้วนั้น ไม่ควรเข้าไปกล่าวว่าใคร ๆ ที่ต่ำ ที่ปานกลาง หรือที่สูงสุด.

บทว่า อุปฆาต วิวชฺชเย ความว่า ควรละเว้นการเข้าไปกระทบ

กระทั่ง คือการเบียดเบียนทางกายเสีย.

บทว่า สวุโต ปาฏิโมกฺขสฺมึ ความว่า พึงเป็นผู้สำรวมในพระปาติ-

โมกข์ คือในพระปาติโมกขสังวรศีล ได้แก่ พึงเป็นผู้ปกป้องกายวาจา

ด้วยความสำรวมในพระปาติโมกข์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 403

บทว่า มตฺตญฺู จสฺส โภชเน ความว่า พึงเป็นผู้รู้จักประมาณใน

โภชนะ ในเพราะการแสวงหา การรับ การบริโภค และการเสียสละ.

บทว่า สุคฺคหีตนิมิตฺตสฺส ความว่า เมื่อจะกำหนดอาการของจิต

นั้นว่า เมื่อเราทำไว้ในใจอย่างนี้ จิตได้เป็นสมาธิตั้งมั่นแล้ว ดังนี้ พึง

เป็นผู้มีนิมิตอันจิตถือเอาแล้วด้วยดีเป็นสมาธิ, บาลีว่า สุคฺคหีตนิมิตฺโต

โส ดังนี้ก็มี, คำว่า โส นั้น โยค คำว่า โยคี แปลว่า พระโยคีนั้น.

บทว่า จิตฺตสฺสุปฺปาทโกวิโท ความว่า พึงเป็นผู้ฉลาดในเหตุที่เกิด

ขึ้นกับจิต ทั้งที่หดหู่ และฟุ้งซ่านว่า เมื่อเจริญภาวนาอยู่ จิตมีความหดหู่

อย่างนี้, มีความฟุ้งซ่านอย่างนี้ ดังนี้. จริงอยู่ เมื่อจิตหดหู่ พึงเจริญ

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ และปีติสัมโพชฌงค์เถิด, เมื่อ

จิตฟุ้งซ่าน พึงเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์และอุเบกขา-

สัมโพชฌงค์เถิด. ส่วนสติสัมโพชฌงค์ พึงปรารถนาทุกเมื่อเถิด ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึง

เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ในสมัยที่จิตหดหู่เถิด ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า สมถ อนุยุญฺเชยฺย ความว่า พึงเจริญสมถภาวนา คือพึง

ทำสมาธิที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น ได้แก่ พึงเจริญ คือพึงพอกพูนสมาธิ

ที่เกิดขึ้นแล้ว จนให้ถึงความชำนิชำนาญเถิด.

บทว่า กาเลน จ วิปสฺสน ความว่า ไม่พึงทำสมาธิตามที่ตนได้

แล้ว ให้เสื่อมไปหรือให้คงอยู่ ด้วยการไม่ครอบงำความชอบใจเสีย แต่

พึงทำให้อยู่ในส่วนแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้ และพึงประกอบซึ่งวิปัสสนา

ตามกาลอันสมควรเนือง ๆ เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 404

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กาเลน จ วิปสฺสน ความว่า เมื่อประกอบ

สมถะ ไม่พึงถึงความรังเกียจ ในกาลที่จิตนั้นมีความตั้งมั่น แต่พึงประกอบ

วิปัสสนาเนือง ๆ เพื่อบรรลุอริยมรรคเป็นต้นเถิด. สมดังที่ท่านกล่าวไว้

ว่า :-

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุถึงแล้วซึ่งความคุ้นเคย ด้วยการ

ได้สมาธิ หรือด้วยการอยู่อย่างสงัด ไม่ได้บรรลุความ

สิ้นไปแห่งอาสวะได้ ดังนี้.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า วีรยสาตจฺจสมฺปนฺโน ดังนี้.

ความเป็นไปติดต่อ ชื่อว่า สาตัจจะ ผู้ถึงพร้อมแล้ว คือประกอบพร้อม

แล้วด้วยความเพียรที่เป็นไปติดต่อ คือความเพียรที่เป็นไปแล้วติดต่อกัน

อธิบายว่า ความเพียรที่คอยประคับประคองจิตอยู่เป็นนิตย์.

บทว่า ยุตฺตโยโค สทา สิยา ความว่า พึงเป็นผู้ประกอบภาวนา

ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด.

บทว่า ทุกฺขนฺต ความว่า ยังไม่ถึงที่สุดแห่งวัฏทุกข์ คือนิโรธ

นิพพาน อันเป็นที่สุดแล้ว ไม่พึงถึง คือไม่พึงถึง ความวางใจ, หรือ

ไม่พึงวางใจว่า เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ได้ฌาน ได้อภิญญา ให้วิปัสสนา

ถึงที่สุด หยุดอยู่ดังนี้เลย.

บทว่า เอว วิหรมานสฺส ความว่า เป็นอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ คือ

ด้วยวิธีอันถึงที่สุด เพราะตนมีความเพียร ประกอบด้วยอำนาจวิปัสสนา

มีการเสพเสนาสนะอันสงัดเป็นต้น.

บทว่า สุทฺธกามสฺส ได้แก่ ของภิกษุผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์แห่ง

ญาณทัสสนะ ความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง พระนิพพาน และพระอรหัต,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 405

อธิบายว่า อาสวะทั้งหมดมีกามาสวะเป็นต้น ของภิกษุผู้เห็นภัยในสงสาร

ย่อมสิ้นไป คือย่อมถึงความสิ้นไป คือความตั้งอยู่ไม่ได้, ย่อมถึง คือย่อม

บรรลุพระนิพพาน แม้ทั้งสองอย่างคือ สอุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิ-

เสสนิพพาน ด้วยการถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะเหล่านั้นนั่นแล.

พระเถระ เมื่อจะแสดงว่าคนมีข้อปฏิบัติอย่างนั้น ด้วยการแสดงการ

ให้โอวาทแก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ จึงได้พยากรณ์ความเป็นพระอรหัตไว้แล้ว.

จบอรรถกถาอุปเสนวังคันตปุตตเถรคาถาที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 406

๗. โคตมเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโคตมเถระ

[๓๗๖] บุคคลพึงรู้จักประโยชน์ของตน พึงตรวจดูคำสั่งสอน

ของพระศาสดา และพึงตรวจดูสิ่งที่สมควรแก่กุลบุตร

ผู้เข้าถึงซึ่งความเป็นสมณะในพระศาสนานี้ การมีมิตรดี

การสมาทานสิกขาให้บริบูรณ์ การเชื่อฟังต่อครูทั้งหลาย

ข้อนี้ล้วนแต่สมควรแก่สมณะ ในพระศาสนานี้ ความ

เคารพในพระพุทธเจ้า ความยำเกรงในพระธรรมและ

พระสงฆ์ตามความเป็นจริง ข้อนี้ล้วนแต่สมควรแก่สมณะ

การประกอบในอาจาระและโคจร อาชีพที่หมดจด อัน

บัณฑิตไม่ติเตียน การตั้งจิตไว้ชอบนี้ ล้วนแต่สมควร

แก่สมณะ จาริตศีลและวาริตศีล การเปลี่ยนอิริยาบถ

อันน่าเลื่อมใส และการประกอบในอธิจิต ก็ล้วนแต่

สมควรแก่สมณะ เสนาสนะป่าอันสงัด ปราศจากเสียง

อึกทึก อันมุนีพึงคบหา นี้เป็นสิ่งที่สมควรแก่สมณะ จตุ-

ปาริสุทธศีล พาหุสัจจะ การเลือกเฟ้นธรรมตามความจริง

การตรัสรู้อริยสัจ นี้ก็ล้วนแต่สมควรแก่สมณะ ข้อที่บุคคล

มาเจริญอนิจจสัญญาในสังขารทั้งปวงว่า สังขารทั้งปวง

ไม่เที่ยง เจริญอนัตตสัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

และเจริญอสุภสัญญาว่ากรัชกายนี้ไม่น่ายินดีในโลก นี้ก็

ล้วนแต่สมควรแก่สมณะ การที่บุคคลมาเจริญโพชฌงค์ ๗

อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ และอริยมรรค ๘ ก็ล้วนแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 407

สมควรแก่สมณะ การที่บุคคลผู้เป็นมุนีมาละตัณหา

ทำลายอาสวะพร้อมทั้งมูลราก เป็นผู้หลุดพ้นจากอาสวะ

กิเลสอยู่ ก็ล้วนแต่สมควรแก่สมณะ.

จบโคตมเถรคาถา

อรรถกถาโคตมเถรคาถาที่ ๗

มีคาถาของท่านพระโคตมเถระอีกรูปหนึ่งว่า วิชาเนยฺย สก อตฺถ

ดังนี้เป็นต้น. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ท่านพระโคตมเถระรูปนี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้า

พระองค์ก่อน ๆ ในภพนั้น ๆ ได้สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะไว้

ก่อนหน้าแต่กาลอุบัติขึ้นแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย (ท่าน)

บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ชื่อว่า อุทิจจะ ในกรุงสาวัตถี พอเจริญวัยแล้ว

เป็นผู้เรียนจบไตรเพท ฝึกฝนวิธีการพูด เมื่อไม่ได้คนอื่นที่มีคำพูดที่

เหนือกว่าคำพูดของตน จึงเที่ยวทำการพูด หาเรื่องทะเลาะกับคนเหล่า

นั้น ๆ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย อุบัติขึ้นแล้วในโลก

ทรงแสดงพระธรรมจักรอันบวรให้เป็นไปแล้ว ทรงฝึกเวไนยสัตว์ทั้งหลาย

มีสกุลบุตรเป็นต้น โดยลำดับแล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงสาวัตถี เพื่อ

ฝึกอบรมอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในคราวที่มอบถวายพระเชตวันแด่พระ-

ศาสดา ท่านได้มีศรัทธา เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรมแล้วทูลขอ

บรรพชา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 408

พระศาสดา ทรงบังคับรับสั่งให้ภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็น

วัตรรูปหนึ่ง ด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอ จงให้กุลบุตรผู้นี้บวชเถิด.

ท่าน เมื่อภิกษุนั้นจะให้บรรพชา พอมีดโกนจรดเส้นผมเท่านั้น ก็บรรลุ

พระอรหัตแล้ว ไปสู่โกศลชนบท อยู่ที่โกศลชนบทนั้นนานแล้ว กลับมา

ยังกรุงสาวัตถีอีก. พวกญาติผู้เป็นพราหมณ์มหาศาลเป็นอันมาก เข้าไป

หาท่านพระโคดมเถระนั้นแล้ว เข้าไปนั่งใกล้ พากันถามว่า พวกสมณ-

พราหมณ์เป็นอันมากในโลกนี้ มีวาทะอันบริสุทธิ์ในสงสาร, ในสมณ-

พราหมณ์เหล่านั้น พวกไหนมีวาทะที่แน่นอน, ปฏิบัติอย่างไร จึงจะ

บริสุทธิ์จากสงสารได้ ดังนี้. พระเถระเมื่อจะประกาศเนื้อความนั้นแก่ญาติ

เหล่านั้น จึงกล่าวคาถาเหล่านั้นว่า :-

บุคคลพึงรู้จักประโยชน์ของตน พึงตรวจตราดูคำ

สั่งสอนของพระศาสดา และพึงตรวจตราดูสิ่งที่สมควร

แก่กุลบุตร ผู้เข้าถึงซึ่งความเป็นสมณะในพระศาสนานี้

การมีมิตรดี การสมาทานสิกขาให้บริบูรณ์ การเชื่อฟัง

ต่อครูทั้งหลาย ข้อนี้ล้วนแต่สมควรแก่สมณะ ในพระ-

ศาสนานี้ ความเคารพในพระพุทธเจ้า ความยำเกรงใน

พระธรรมและพระสงฆ์ ตามความเป็นจริง ข้อนี้ล้วน

สมควรแก่สมณะ การประกอบในอาจาระและโคจรอาชีพ

ที่หมดจด อันบัณฑิตไม่ติเตียน การตั้งจิตไว้ชอบนี้ ล้วน

แต่สมควรแก่สมณะ จาริตศีลและการิตศีล การเปลี่ยน

อิริยาบถ อันน่าเลื่อมใส และการประกอบในอธิจิต

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๗๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 409

ก็ล้วนแต่สมควรแก่สมณะ เสนาสนะป่าอันสงัด ปราศจาก

เสียงอึกทึก อันมุนีพึงคบหา นี้เป็นสิ่งสมควรแก่สมณะ

จตุปาริสุทธศีล พาหุสัจจะ การเลือกเฟ้นธรรม ตามความ

เป็นจริง การตรัสรู้อริยสัจ นี้ก็ล้วนแต่สมควรแก่สมณะ

ข้อที่บุคคลมาเจริญอนิจจสัญญา ในสังขารทั้งปวงว่า

สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เจริญอนัตตสัญญาว่า ธรรม

ทั้งปวงเป็นอนัตตา และเจริญอสุภสัญญาว่า กรัชกายนี้

ไม่น่ายินดีในโลก นี้ก็ล้วนแต่สมควรแก่สมณะ การที่

บุคคลมาเจริญโพชฌงค์ ๗ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕

พละ ๕ และอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็ล้วนแต่สมควรแก่

สมณะ การที่บุคคลผู้เป็นมุนีมาละตัณหา ทำลายอาสวะ

พร้อมทั้งมูลราก เป็นผู้หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสอยู่ ก็ล้วน

แต่สมควรแก่สมณะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิชาเนยฺย สก อตฺถ ความว่า บุรุษ

มีชาตินักรู้ พึงตรวจตราดูประโยชน์ของตนตามความเป็นจริงแล้ว พึงรู้.

ก็เมื่อจะตรวจตรา พึงตรวจตราดูคำสั่งสอนของพระศาสดา คือคำสั่งสอน

ของพระศาสดา ที่สมณพราหมณ์ผู้เป็นปุถุชนทั้งหลาย และที่พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในโลกนี้ คือการจะตรัสรู้. ได้แก่ พึงดู คือพึงเห็น

ด้วยปัญญาจักษุ ซึ่งผู้ที่จะนำออกไปจากสงสาร.

จริงอยู่ สมณพราหมณ์ผู้เป็นเดียรถีย์ต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นผู้ยึดมั่น

ผิดซึ่งสังขารทั้งหลายที่ไม่เที่ยงว่า เที่ยง ซึ่งสิ่งซึ่งไม่ใช่ตัวตนว่า เป็นตัวตน

และซึ่งหนทางที่ไม่บริสุทธิ์ ว่าเป็นหนทางที่บริสุทธิ์ และเป็นผู้มีวาทะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 410

แย้งกันและกันเอง; เพราะฉะนั้น วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงเป็น

วาทะที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน, ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ทั่ว ด้วย

ความรู้ยิ่งตามความเป็นจริง ด้วยพระสยัมภูญาณว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง.

ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา, ความสงบคือพระนิพพานดังนี้ เพราะฉะนั้น

วาทะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น จึงเป็นวาทะที่เที่ยงแท้แน่

นอน, อธิบายว่า พึงตรวจตราดูคำสั่งสอนที่ยิ่งใหญ่ของพระศาสดาแล.

บทว่า ยญฺเจตฺถ อสฺส ปฏิรูป สามญฺ อชฺฌูปคตสฺส ความว่า

พึงเป็นผู้ตรวจตราดูสิ่งที่สมควร คือสิ่งที่เหมาะสมแก่กุลบุตรผู้เข้าถึงความ

เป็นสมณะ คือการบวชในพระศาสนานี้ หรือในความเป็นบรรพชิต.

เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า ก็ข้อนั้นเป็นอย่างไร ? ท่านจึงกล่าวคำ

เป็นต้นว่า มิตฺต อิธ จ กลฺยาณ การมีมิตรดี ดังนี้. มีวาจาประกอบ

ความว่า การคบหากัลยาณมิตรในพระศาสนานี้ นับเป็นการสมควรแก่

สมณะ. แม้นัยที่นอกจากนี้ ก็เช่นนี้. จริงอยู่ กุลบุตรย่อมละอกุศล

ย่อมเจริญกุศล ย่อมบริหารตนให้หมดจดสะอาดได้ ก็เพราะได้อาศัย

กัลยาณมิตร.

บทว่า สิกฺขา วิปุล สมาทาน ได้แก่ การสมาทานสิกขาให้

บริบูรณ์, อธิบายว่า ปฏิบัติในสิกขามีอธิศีลสิกขาเป็นต้น อันจะนำมา

ซึ่งคุณอันใหญ่ คือพระนิพพาน.

บทว่า สุสฺสูสา จ ครูน ความว่า การเชื่อฟัง และการประพฤติ

ตามโอวาทของครูทั้งหลาย คือของกัลยาณมิตรทั้งหลาย มีอาจารย์และ

อุปัชฌาย์เป็นต้น.

บทว่า เอต ได้แก่ การคบหากัลยาณมิตรเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 411

บทว่า พุทฺเธสุ สคารวตา ความว่า กระทำความเคารพยำเกรง

ในพระสัพพัญญูพุทธเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้.

บทว่า ธมฺเม อปจิติ ยถาภูต ได้แก่ อ่อนน้อม คือบูชาโดย

ความเอื้อเฟื้อในพระอริยธรรม ตามความเป็นจริง.

บทว่า สงฺเฆ ได้แก่ ในพระอริยสงฆ์.

บทว่า จิตฺตีกาโร ได้แก่ สักการะ คือสัมมานะ.

บทว่า เอต ได้แก่ กระทำความเคารพในพระรัตนตรัย.

บทว่า อาจารโคจเร ยุตฺโต ความว่า การละอนาจาร คือการ

ก้าวล่วงทางกายและทางวาจา และการละสถานที่อโคจรมีหญิงแพศยา

เป็นต้น อันเป็นสถานที่ไม่สมควร เพื่อเข้าไปบิณฑบาตเป็นต้นแล้ว

ประกอบคือถึงพร้อมด้วยอาจาระ คือการไม่ก้าวล่วงทางกายและทางวาจา

และด้วยโคจรอันเป็นสถานที่สมควรเพื่อเข้าไปบิณฑบาตเป็นต้น. ชื่อว่า

ผู้มีอาจาระและโคจรสมบูรณ์.

บทว่า อาชีโว โสธิโต ความว่า เมื่อภิกษุละอเนสนากรรม มี

การขอไม้ไผ่เป็นต้น ที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจแล้ว เสพแต่ปัจจัยที่เกิด

ขึ้นไม่มีโทษ ชื่อว่า ผู้มีอาชีพะที่หมดจด คือบริสุทธิ์ด้วยดี เพราะความ

เป็นผู้มีอาชีพอันหมดจดนั่นเอง วิญญูชนทั้งหลาย จึงไม่ติเตียน.

บทว่า จิตฺตสฺส จ สณฺปน ความว่า การตั้งจิตไว้ชอบด้วยอำนาจ

รูปที่เห็นแล้ว และอารมณ์ที่ทราบแล้วเป็นต้น โดยที่ไม่ให้กิเลสมีอภิชฌา

เป็นต้น เป็นไปในอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น ทางทวารมีจักษุทวารเป็นต้น.

บทว่า เอต ได้แก่ ความถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร อาชีพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 412

อันหมดจด และความมีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย

ดังนี้นั้น.

บทว่า จาริตฺต ได้แก่ ศีลที่พึงประพฤติให้บริบูรณ์.

บทว่า วาริตฺต ได้แก่ ศีลที่พึงให้บริบูรณ์ ด้วยการเว้นไม่ทำ.

บทว่า อิริยาปถิย ปสาทนีย ความว่า เพียบพร้อมด้วยอากัปกิริยา

เป็นเครื่องหมาย อันนำมาซึ่งความเลื่อมใสแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยอิริยาบถ

มีความรู้ทั่วพร้อม.

บทว่า อธิจิตฺเต จ อาโยโค ได้แก่ การประกอบ คือการเจริญ

ในสมถะและวิปัสสนา.

บทว่า อารญฺกานิ ได้แก่ เสนาสนะอันนับเนื่องแล้วในป่า.

บทว่า ปนฺตานิ แปลว่า สงัดแล้ว.

บทว่า สีล ได้แก่ จตุปาริสุทธิศีล. จริงอยู่ ศีลที่ทำลายแล้ว

ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังในที่นี้ ท่านกล่าวถึงศีลที่ยังไม่ทำลาย.

บทว่า พาหุสจฺจ ได้แก่ ความเป็นผู้สดับตรับฟังมาก, จริงอยู่

พาหุสัจจะนั้น ย่อมมีอุปการะมาก แก่ผู้ประกอบการเจริญภาวนา, การ

ประกอบสมถะวิปัสสนา ย่อมสำเร็จแก่ผู้มากไปด้วยความใคร่ครวญโดย

ชอบ ในความเป็นผู้ฉลาดในโพชฌงค์ ความเย็นอย่างยอดเยี่ยม และความ

เป็นผู้ประกอบในอธิจิตเป็นต้น.

บทว่า ธมฺมาน ปวิจโย ยถาภูต ความว่า การไตร่ตรอง โดย

ลักษณะที่ตรงกันข้ามจากรูปธรรมและอรูปธรรม และโดยสามัญญลักษณะ,

ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงอธิปัญญา ธรรมและวิปัสสนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 413

บทว่า สจฺจาน อภิสมโย ได้แก่ การแทงตลอด ด้วยอำนาจ

การตรัสรู้ คือการหยั่งรู้ถึงอริยสัจ มีทุกข์เป็นต้น.

การตรัสรู้แจ้งอริยสัจนี้นั้น ย่อมมีโดยประการใด เพื่อจะแสดง

อริยสัจนั้น โดยประการนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า ภาเวยฺย ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาเวยฺย จ อนิจฺจ ความว่า บุคคล

พึงทำให้มี ให้เกิดขึ้นและให้เจริญอนิจจสัญญาในสังขารทั้งปวง โดยการ

ไม่จำแนกว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น หรือโดยการจำแนกว่า

รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า อนตฺตสญฺ มีวาจาประกอบความว่า พึงเจริญอนัตตสัญญา

ที่เป็นไปแล้วว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาดังนี้. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลาย

ก็อย่างนี้.

บทว่า อสุภสญฺ ความว่า สัญญาที่เป็นไปแล้วว่า ไม่งาม เพราะ

สิ่งไม่สะอาดคือกิเลสในกรัชกาย หรือในสังขารอันเป็นไปในภูมิ ๓ แม้

ทั้งหมด ไหลออกรอบด้าน. จริงอยู่ อสุภสัญญานี้ มีทุกขสัญญาเป็นบริวาร

ก็ด้วยบทนั้นนั่นแหละ ถึงทุกขสัญญา ท่านก็สงเคราะห์ไว้ในอสุภสัญญา

นี้เอง, บัณฑิตพึงทราบดังว่ามานี้แล.

บทว่า โลกมฺหิ จ อนภิรตึ ได้แก่ สัญญาในเพราะการไม่ยินดียิ่ง

ในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปในภูมิ ๓ ในโลกทั้งปวง, ด้วยบทนี้ ท่าน

กล่าวถึง อาทีนวานุปัสสนา เเละนิพพิทานุปัสสนา.

ก็พระเถระผู้ประกอบการเจริญวิปัสสนาอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะให้หมู่

ญาติเกิดความขวนขวาย คือเมื่อจะแสดงว่า พึงเจริญธรรมเหล่านี้ ดังนี้

จึงกล่าวคาถาว่า ภาเวยฺย จ โพชฺฌงฺเค ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 414

เนื้อความแห่งบาทคาถานั้นว่า :- ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า

เป็นองค์แห่งความพรั่งพร้อมของธรรม ๗ อย่างมีสติเป็นต้น เพื่อการตรัสรู้

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เป็นองค์แห่งบุคคลผู้

พรั่งพร้อมด้วยธรรมนั้น เพื่อการตรัสรู้ คือธรรมทั้งหลาย มีสติเป็นต้น.

ธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ ประการ มีสติเป็นต้น, อิทธิบาท ๔ มี

ฉันทะเป็นต้น, อินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น, พละ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น

เหมือนกัน และอริยมรรคมีองค์ ๘ คือมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. ด้วย

ศัพท์ ท่านสงเคราะห์เอาสติปัฏฐานและสัมมัปปธานเข้าด้วย เพราะเหตุนั้น

พึงทำให้มี พึงทำให้เกิด และพึงเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประเภท

แม้ทั้งหมดเถิด. ในข้อนั้น การทำโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประเภทเหล่านั้น

ให้เกิดขึ้นในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค และการเจริญในขณะแห่งอรหัต

มรรค. ข้อนั้นเป็นการสมควรแก่สมณะ คือภิกษุแล.

พระเถระ ชี้แจงโพธิปักขิยธรรมอย่างนั้น เมื่อจะแสดงว่า บุคคล-

จะตรัสรู้สมุทัยสัจ ก็ด้วยอำนาจการตรัสรู้ด้วยการละ, จะตรัสรู้นิโรธสัจ

ก็ด้วยการตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง, เหมือนจะตรัสรู้มรรคสัจได้ ก็ด้วย

อำนาจการตรัสรู้ด้วยการเจริญดังนี้ จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า ตณฺห ปชเหยฺย

ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตณฺห ปชเหยฺย ความว่า พึงตัด

ตัณหาทั้งหมด มีประเภทเช่นกามตัณหาเป็นต้น โดยไม่ให้เหลือ ด้วย

อริยมรรค, ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ชื่อว่า มุนิ เพราะประกอบพร้อม

ด้วยญาณนั้น.

บทว่า สมูลเก อาสเว ปทาเลยฺย ความว่า พึงทำลาย คือพึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 415

ตัดอาสวะแม้ทั้งหมด มีกามาสวะเป็นต้น พร้อมทั้งมูลราก มีกามราคานุสัย

เป็นต้น.

บทว่า วิหเรยฺย วิปฺปมุตฺโต ความว่า เพราะละกิเลสทั้งหลายได้

โดยประการทั้งปวงอย่างนี้ จึงเป็นผู้หลุดพ้นในที่ทั้งปวง กระทำให้แจ้ง

ซึ่งนิโรธ คือนิพพาน อันสละขาดซึ่งอุปธิกิเลสทั้งหมดได้อยู่.

บทว่า เอต ความว่า ข้อที่การอยู่เช่นนั้น นับว่าเป็นการสมควร

แก่สมณะ คือภิกษุผู้ลอยบาปได้แล้ว.

พระเถระชี้แจงว่า พระศาสนาเป็นนิยยานิกะ โดยระบุถึงข้อปฏิบัติ

อันสมควรเเก่สมณะ และชี้แจงว่าลัทธิภายนอก เป็นอนิยยานิกะ เพราะ

ย้อน (ทวน, ตรงกันข้าม) พระศาสนานั้น. พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้น

มีความเลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา พากันดำรงอยู่ในสรณะเป็นต้นแล้ว.

จบอรรถกถาโคตมเถรคาถาที่ ๗

จบปรมัตถทีปนี

อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา

ทสกนิบาต

ในทสกนิบาตนี้ พระเถระ ๗ องค์ คือ พระกาฬุทายีเถระ ๑

พระเอกวิหาริยเถระ ๑ พระมหากัปปินเถระ ๑ พระจูฬปันถกเถระ ๑

พระกัปปเถระ ๑ พระอุปเสนวังคันตปุตตเถระ ๑ พระโคตมเถระ ๑

ได้เปล่งอุทานคาถาองค์ละ ๑๐ คาถา รวมเป็น ๗๐ คาถา ฉะนี้แล.

จบทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 416

เถรคาถา เอกาทสกนิบาต

๑. สังกิจจเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสังกิจจเถระ

อุบาสกคนหนึ่ง ได้อ้อนวอนขอให้สังกิจจสามเณรอยู่ในวิหารแห่ง

หนึ่งด้วยคาถาว่า

[๓๗๗] ดูก่อนพ่อสามเณร จะมีประโยชน์อะไรในป่า ภูเขา

ชื่อ อุชชุหานะ เป็นที่ไม่สบายในฤดูฝน เพราะฉะนั้น

ภูเขาอุชชุหานะจะมีประโยชน์อะไรแก่ท่าน ลมหัวด้วน

พัดมาอยู่ ท่านพอใจหรือ เพราะความเงียบสงัดเป็นที่

ต้องการของผู้เจริญฌาน.

สังกิจจสามเณรตอบว่า

ลมหัวด้วนในฤดูฝน ย่อมพัดผันเอาวลาหกไปฉันใด

สัญญาอันประกอบด้วยวิเวก ย่อมคร่าเอาจิตอาตมามาสู่

ความสงัดก็ฉันนั้น กายคตาสติกัมมัฏฐาน อันประกอบ

ด้วยความคลายกำหนัดในร่างกาย ย่อมเกิดขึ้นแก่อาตมา

ทันที เหมือนกาอันเป็นสัตว์เกิดแต่ฟองไข่ มีสีดำ เที่ยว

อาศัยอยู่ในป่าช้าฉะนั้น บุคคลเหล่าอื่นย่อมไม่รักษา

บรรพชิต และบรรพชิตก็ไม่รักษาคนเหล่าอื่น ภิกษุนั้นแล

เป็นผู้ไม่ห่วงใยในกามทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นสุข แอ่ง

ศิลาซึ่งมีน้ำใส ประกอบด้วยหมู่ชะนีและค่าง ดารดาษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 417

ไปด้วยสาหร่าย ย่อมยังอาตมาให้ยินดี การที่อาตมาอยู่

ในเสนาสนะป่า คือ ซอกเขาและถ้ำอันเป็นที่สงัด เป็น

ที่ซ่องเสพอาศัยแห่งมวลมฤค ย่อมทำให้อาตมายินดี

อาตมาไม่เคยรู้สึกถึงความดำริอันไม่ประเสริฐ ประกอบ

ด้วยโทษเลยว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกเบียดเบียน จงถูกฆ่า

จงได้รับทุกข์ อาตมาได้ทำความคุ้นเคยกับพระศาสดาแล้ว

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อาตมาทำเสร็จแล้ว อาตมา

ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

แล้ว บรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิต

ด้วยศรัทธาต้องการแล้ว ถึงความสิ้นไปแห่งสังโยชน์

ทั้งปวงแล้ว อาตมาไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิดเพลิน

ความเป็นอยู่ และรอเวลาอยู่ เหมือนลูกจ้างรอให้สิ้น

เวลาทำงานฉะนั้น อาตมาไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิด-

เพลินความเป็นอยู่ และเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอเวลา

ตายอยู่.

ในเอกาทสกนิบาตนี้ พระสังกิจจเถระองค์เดียวเท่านั้น

ผู้เสร็จกิจแล้ว หมดอาสวะ ได้ภาษิตคาถาไว้ ๑๑ คาถา

ถ้วน ฉะนี้แล.

จบสังกิจจเถรคาถา

จบเอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 418

อรรถกถาเอกาทสกนิบาต

อรรถกถาสังกิจจเถรคาถาที่ ๑

ในเอกาทสกนิบาต มีคาถาของท่านพระสังกิจจเถระ มีคำเริ่มต้น

ว่า กึ ตวตฺโถ วเน ตาต ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะ (พระนิพพาน) ในภพนั้น ๆ ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในกรุงสาวัตถี

เมื่อท่านอยู่ในท้องนั้นเอง มารดาป่วยไข้ทำกาละไป. เมื่อมารดาถูกนำไป

ป่าช้าเผาอยู่ มดลูกไม่ไหม้ พวกมนุษย์เอาหลาวแทงท้อง กระทบที่สุด

ดวงตาของเด็ก. มนุษย์เหล่านั้นแทงท้องนั้นแล้ว เอาถ่านเพลิงกลบไว้

แล้วก็หลีกไป. แม้ส่วนแห่งท้องก็ไหม้, ส่วนเด็กเสมือนกับรูปพิมพ์ทองคำ

บนอังคาร ได้เป็นเสมือนนอนอยู่บนกลีบปทุมฉะนั้น. จริงอยู่ ธรรมดา

ว่าสัตว์ผู้เกิดในภพสุดท้าย ถึงจะถูกภูเขาสิเนรุท่วมทับไว้ ยังไม่บรรลุ

พระอรหัตสิ้นชีวิตไปย่อมไม่มี.

รุ่งขึ้นพวกมนุษย์ไปสู่ที่ป่าช้า เห็นเด็กนอนอยู่อย่างนั้น เกิดอัศจรรย์

จิตไม่เคยมี จึงพาเด็กไปยังบ้าน ถามพวกทำนายนิมิต พวกทำนายนิมิต

กล่าวว่า ถ้าเด็กนี้จักอยู่ครองเรือนไซร้ ตลอดชั่วคนตระกูลที่ ๗ ได้รับ

ทุกข์ยาก ถ้าจักบวชไซร้ ก็จักแวดล้อมไปด้วยสมณะ ๕๐๐ เที่ยวไป.

พวกญาติกล่าวว่า เอาเถอะในเวลาเขาเจริญวัย พวกเราจักให้บวชใน

สำนักท่านพระสารีบุตรเถระของเรา พลางกล่าวว่าสังกิจจะ เพราะถูกขอ

แทงที่ลูกตา ภายหลังจึงตั้งชื่อว่า สังกิจจะ.

๑. ฉบับภาษาอังกฤษว่า ไม่มีความทุกข์ยาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 419

ในเวลาเธอมีอายุ ๗ ขวบ ได้ยินเรื่องที่ตนอยู่ในครรภ์ และการ

ตายของมารดา ก็เกิดความสลดใจจึงกล่าวว่า ฉันจักบวช. พวกญาติ

กล่าวว่า ดีละพ่อ ดังนี้แล้วนำไปยังสำนักของพระธรรมเสนาบดี ได้มอบ

ให้ด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โปรดให้เด็กนี้บวชเถิด. พระเถระได้ให้

ตจปัญจกกรรมฐานแล้วให้เธอบวช. เธอบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทาในขณะปลงผมนั้นเอง อยู่ในป่ากับภิกษุประมาณ ๓๐ รูป ให้

ภิกษุเหล่านั้นพ้นจากมือโจร แม้ตนเองก็ทรมานโจรเหล่านั้นให้บวชแล้ว

อยู่กับภิกษุเป็นอันมากในวิหารแห่งหนึ่ง เห็นภิกษุเหล่านั้นมัวทะเลาะกัน

จึงบอกภิกษุเหล่านั้นด้วยคำว่า เราจะไปในที่อื่น ในเรื่องนี้มีความสังเขป

เพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดารพึงรู้โดยนัยอันมาแล้วในเรื่องแห่งพระ-

ธรรมบทนั่นแล.

ลำดับนั้น อุบาสกคนหนึ่งประสงค์จะอุปัฏฐากเธอ จึงอ้อนวอนให้

เธออยู่ในที่ใกล้ ๆ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า

ดูก่อนพ่อสามเณร จะมีประโยชน์อะไรในป่า ภูเขา

ชื่ออุชชุหานะ เป็นที่ไม่สบายในฤดูฝน เพราะฉะนั้น

ภูเขาอุชชุหานะจะมีประโยชน์อะไรแก่ท่าน ลมหัวด้วน

พัดมาอยู่ ท่านพอใจหรือ เพราะความเงียบสงัดเป็นที่

ต้องการของผู้เจริญฌาน.

สังกิจจสามเณรได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ลมหัวด้วนในฤดูฝน ย่อมพัดผันเอาวลาหกไปฉันใด

สัญญาอันประกอบด้วยวิเวก ย่อมคร่าเอาจิตอาตมามาสู่

ความสงัดก็ฉันนั้น กายคตาสติกัมมัฏฐาน อันประกอบ

๑. ขุ. เถร ๒๖/ข้อ ๓๗๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 420

ด้วยความคลายกำหนัดในร่างกาย ย่อมเกิดขึ้นแก่อาตมา

ทันที เหมือนกาอันเป็นสัตว์เกิดแต่ฟองไข่ มีสีดำ เที่ยว

อาศัยอยู่ในป่าช้าฉะนั้น บุคคลเหล่าอื่นย่อมไม่รักษา

บรรพชิต และบรรพชิตก็ไม่รักษาคนเหล่าอื่น ภิกษุ

นั้นแลเป็นผู้ไม่ห่วงใยในกามทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นสุข

แอ่งศิลาซึ่งมีน้ำใส ประกอบด้วยหมู่ชะนีและค่าง ดาร-

ดาษไปด้วยสาหร่าย ย่อมยังอาตมาให้ยินดี การที่อาตมา

อยู่ในเสนาสนะป่า ซอกเขาและถ้ำอันเป็นที่สงัด เป็นที่

ซ่องเสพแห่งมวลมฤค ย่อมทำให้อาตมายินดี อาตมา

ไม่เคยรู้สึกถึงความดำริอันไม่ประเสริฐประกอบด้วยโทษ

เลยว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกเบียดเบียน จงถูกฆ่า จงได้

รับทุกข์ อาตมาได้ทำความคุ้นเคยกับพระศาสดาแล้ว คำ

สั่งสอนของพระพุทธเจ้า อาตมาทำเสร็จแล้ว อาตมา

ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

แล้ว บรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิต

ด้วยศรัทธาต้องการแล้ว ถึงความสิ้นไปแห่งสังโยชน์

ทั้งปวงแล้ว อาตมาไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิดเพลิน

ความเป็นอยู่ และรอเวลาอยู่ เหมือนลูกจ้างรอให้สิ้น

เวลาทำงานฉะนั้น อาตมาไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิด-

เพลิน ความเป็นอยู่ และเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอ

เวลาตายอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 421

ศัพท์ กึ ในบทว่า กึ ตวตฺโถ วเน นี้ ในคาถานั้น ท่านกล่าว

ด้วยลิงควิปัลลาส. อธิบายว่า ท่านจะประโยชน์อะไรในป่า, คือจะเป็น

ประโยชน์อะไร ?

บทว่า อุชฺชุหาโนว ปาวุเส ความว่า ภูเขาลูกหนึ่ง ชื่อว่า อุชฺชุ-

หานะ. ก็ภูเขานั้นดารดาษไปด้วยรกชัฏ มีแอ่งน้ำและซอกเขามาก, มี

น้ำไหลในที่นั้น ๆ ไม่เป็นสัปปายะในฤดูฝน, เพราะฉะนั้น ภูเขาชื่อว่า

อุชชุหานะ จึงมีประโยชน์ในบัดนี้คือในฤดูฝน. แต่ในที่นี้อาจารย์บาง

พวกกล่าวว่า นกตัวหนึ่งชื่อว่า อุชชุหานะ จึงอดทนความหนาวไม่ได้,

ในฤดูฝนมันจึงแอบอยู่ในพุ่มป่า, ตามมติของอาจารย์บางพวกนั้น ท่าน

จะมีความพอใจในป่าหรือ เหมือนนกชื่อว่า อุชชุหานะ ในฤดูฝนฉะนั้น.

บทว่า เวรมฺภา รมณิยา เต มีวาจาประกอบความว่า ลมหัวด้วน

พัดมาอยู่ ท่านจะมีความพอใจหรือ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ถ้าใน

ภูเขาลูกหนึ่ง ชื่อว่า เวรัมภา และว่าเงื้อมเขา. ก็ในที่นั้นประกอบด้วย

คมนาคม เว้นจากความแออัดแห่งหมู่ชน และเพียบพร้อมด้วยร่มเงาและ

น้ำ, เพราะฉะนั้น ถ้ำเวรัมภาจึงเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ สมควรที่จะอยู่ในป่า,

เพราะเหตุไร ? เพราะเป็นที่สงัดสำหรับผู้เข้าฌาน, เพราะเหตุที่ผู้เข้าฌาน

เช่นนั้น จำต้องปรารถนาเฉพาะความสงัด ในที่ใดที่หนึ่ง ฉะนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า เจ้าอย่าไปสู่ป่าอันไกล จงอยู่ในถ้ำเวรัมภาเถิดพ่อ.

ก็ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า เพราะเหตุเมื่อผู้เข้าฌาน ได้เสนาสนะ

อันผาสุกแก่การอยู่ ควรเป็นที่สงัดนั่นแล ฌานเป็นต้นย่อมสำเร็จ เมื่อ

ไม่ได้ หาสำเร็จไม่ ฉะนั้น ในฤดูฝนเห็นปานนั้น ท่านไม่ควรอยู่ในป่า

แห่งใดแห่งหนึ่ง แต่อาจอยู่ได้ในถ้ำและเงื้อมเขาเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 422

เมื่ออุบาสกกล่าวอย่างนั้น พระเถระเมื่อแสดงว่า ป่าเป็นต้นเท่านั้น

ย่อมยังเราให้ยินดี จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยถา อพฺภานิ ดังนี้.

คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า ในฤดูฝนลมหัวด้วนบันลือลั่น ทำเมฆหมอก

ให้ตกลงมาไปฉันใด สัญญาอันเกี่ยวด้วยวิเวก ย่อมทำจิตของเราให้กระจัด

กระจาย ย่อมรั้งมาสู่เฉพาะสถานที่สงัดเท่านั้นฉันนั้น.

เหมือนอะไรเล่า ? เหมือนกาอันเป็นสัตว์เกิดแต่ฟองไข่ไม่ขาวคือ

สีดำ เที่ยวอาศัยอยู่ในป่าช้าฉะนั้น.

บทว่า อุปฺปาทยเตว เม สตึ สนฺเทหสฺมึ วิราคนิสฺสิต ความว่า

กายคตาสติกรรมฐานอันประกอบด้วยความคลายกำหนัดในกายนี้ ย่อมเกิด

ขึ้นแก่อาตมาทันที. ได้ยินว่า วันหนึ่งพระเถระเห็นซากมนุษย์ที่กาจิกกิน

กลับได้อสุภสัญญา ที่ท่านหมายเอาจึงกล่าวอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงแสดงว่า เราปรารถนาจะอยู่ในป่าเท่านั้น เพราะฉันทราคะในกายไม่มี

โดยประการทั้งปวง.

ก็ศัพท์ว่า ยญฺจ เป็นสมุจจยัตถะ ด้วย ศัพท์นั้น ท่านแสดงว่า

ท่านจงฟังเหตุแห่งการอยู่ในป่าของเราแม้อื่น. ชนเหล่าอื่นมีเสวกเป็นต้น

ย่อมไม่รักษาบรรพชิตใด เพราะไม่มีผู้ที่จะพึงรักษา เหตุเป็นผู้อยู่ด้วย

กรรมฐานมีเมตตาเป็นอารมณ์ และเหตุไม่มีเครื่องบริขารอันเป็นที่ตั้งแห่ง

ความโลภ, อนึ่ง บรรพชิตใดไม่รักษา ชนเหล่าอื่นอันพัวพันด้วยเครื่อง

กังวลอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีบุคคลเช่นนั้นนั่นเอง.

บทว่า ส เว ภิกฺขุ สุข เสติ ความว่า ภิกษุนั้น ไม่มีความอาลัย

คือเว้นจากความห่วงใยในวัตถุกามโดยประการทั้งปวง เพราะตัดกิเลสกาม

ได้เด็ดขาด ย่อมอยู่เป็นสุขในที่ใดที่หนึ่ง, อธิบายว่า เป็นเสมือนในป่า

ใกล้บ้าน เพราะผู้นั้นไม่มีความระแวงรังเกียจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 423

บัดนี้ เพื่อแสดงความที่ภูเขาและป่าเป็นต้นเป็นที่น่ารื่นรมย์ และ

ความเป็นที่ ๆ ตนเคยอยู่อาศัย ท่านจึงกล่าวว่า อจฺเฉทิกา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสิต เม ได้แก่สถานที่ๆ เราเคยอยู่

บทว่า วาฬมิคนิเสวิเต ได้แก่ ในป่าที่มีเนื้อร้าย มีราชสีห์และเสือ

เป็นต้น.

ด้วยบทว่า สงฺกปฺป นาภิชานามิ ท่านแสดงถึงความเป็นผู้อยู่ด้วย

กรรมฐานมีเมตตาเป็นอารมณ์ว่า อาตมาไม่รู้สึกถึงการให้เกิดความดำริชั่ว

ต่างด้วยความพยาบาทและวิหิงสาเป็นต้นอันไม่ประเสริฐ จากจิตที่ประกอบ

ด้วยโทษนั่นเองอย่างนี้ว่า ขอสัตว์ผู้มีปราณเหล่าใดเหล่าหนึ่ง จงถูกฆ่า

คือจงถูกประหารด้วยเครื่องประหารมีลูกศรและหอกเป็นต้น จงถูกฆ่า

จงถูกเบียดเบียนด้วย เครื่องประหารด้วยค้อนเป็นต้น หรือจงถึงคือประสบ

ทุกข์ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ความดำริผิดไม่เคยเกิดขึ้นเลย.

บัดนี้ ท่านแสดงถึงความที่กิจที่ตนทำ โดยนัยมีอาทิว่า ปริจิณฺโณ

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริจิณฺโณ ได้แก่ บำเรอแล้วด้วย

อำนาจการทำตามโอวาทานุสาสนี.

บทว่า โอหิโต แปลว่า ปลงลงแล้ว.

บทว่า ครุโก ภาโร ได้แก่ ขันธภาระอันหนักกว่า.

บทว่า นาภินนฺทามิ มรณ ความว่า ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาความตาย

ว่า เราจะตายอย่างไรหนอ.

บทว่า นาภินนฺหามิ ชีวิต ความว่า เราไม่ปรารถนาแม้ชีวิตว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 424

อย่างไรหนอแล เราพึงมีชีวิตอยู่ได้นาน. ด้วยคำนี้ท่านแสดงถึงความที่

เรามีจิตเสมอกันในความตายและในชีวิต.

บทว่า กาลญฺจ ปฏิกงฺขามิ ความว่า เรารอการปรินิพพานเท่านั้น.

บทว่า นิพฺพิส แปลว่า ไม่เพลิดเพลิน คือการทำการงานเพื่อ

ค่าจ้าง.

บทว่า ภตโก ยถา ความว่า ลูกจ้างกระทำการงานเพื่อคนอื่น แม้

ไม่เพลิดเพลินซึ่งความสำเร็จแห่งการงาน ก็คงกระทำการงานอยู่นั่นแล

อ้างถึงความสิ้นไปแห่งวัน ฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น จะไม่เพลิดเพลินถึงชีวิต

ก็ดี จะไม่เพลิดเพลินถึงความตาย โดยยังอัตภาพให้เป็นไปก็ดี ก็ย่อม

หวังเฉพาะกาลสิ้นสุด, คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาสังกิจจเถรคาถาที่ ๑

จบปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา

เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 425

เถรคาถา ทวาทสกนิบาต

๑. สีลวเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสีลวเถระ

[๓๗๘] ท่านทั้งหลายพึงศึกษาศีลในศาสนานี้ ด้วยว่าศีลอัน

บุคคลศึกษาดีแล้ว สั่งสมดีแล้ว ย่อมนำสมบัติทั้งปวง

มาให้ในโลกนี้ นักปราชญ์เมื่อปรารถนาความสุข ๓

ประการ คือความสรรเสริญ ๑ การได้ความปลื้มใจ ๑

ความบันเทิงในสวรรค์เมื่อละไปแล้ว ๑ พึงรักษาศีล ด้วย

ว่าผู้มีศีล มีความสำรวม ย่อมได้มิตรมาก ส่วนผู้ทุศีล

ประพฤติแต่กรรมอันลามก ย่อมแตกจากมิตร นรชน

ผู้ทุศีล ย่อมได้รับการติเตียนและความเสียชื่อเสียง ส่วน

ผู้มีศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญและชื่อเสียงทุกเมื่อ

ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดี

ทั้งหลาย และเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง เพราะ

ฉะนั้น พึงชำระศีลให้บริสุทธิ์ สังวรศีลเป็นเครื่องกั้น

ความทุจริต ทำจิตให้ร่าเริง เป็นท่าที่หยั่งลงมหาสมุทร

คือนิพพานของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เพราะฉะนั้น พึงชำระ

ศีลให้บริสุทธิ์ ศีลเป็นกำลังหาที่เปรียบมิได้ เป็นอาวุธ

อย่างสูงสุด เป็นอาภรณ์อันประเสริฐ เป็นเกราะอันน่า

อัศจรรย์ ศีลเป็นสะพาน เป็นมหาอำนาจ เป็นกลิ่นหอม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 426

อย่างยอดเยี่ยม เป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ บุคคลผู้

สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ศีลเป็นเสบียง

อันเลิศ เป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม เป็นพาหนะอัน

ประเสริฐยิ่งนัก เป็นเครื่องหอมฟุ้งไปทั่วทิศานุทิศ คน

พาลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นในศีล ย่อมได้รับการนินทาในเวลา

ที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมได้รับทุกข์

โทมนัสในอบายภูมิ ย่อมได้รับทุกข์โทมนัสในที่ทั่วไป

ธีรชนผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีในศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญ

ในเวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ครั้นตายไปแล้ว ก็ได้รับ

ความสุขโสมนัสในสวรรค์ ย่อมรื่นเริงใจในที่ทุกสถาน

ในโลกนี้ ศีลเท่านั้นเป็นยอด และผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด

ในโลกนี้ ความชนะในมนุษยโลกและเทวโลก ย่อมมีได้

เพราะศีลและปัญญา.

จบสีลวเถรคาถา

อรรถกถาทวาทสกนิบาต

อรรถกถาสีลวเถรคาถาที่ ๑

ในทวาทสกนิบาต คาถาของท่านพระสีลวเถระ มีคำเริ่มต้นว่า

สีลเมว ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 427

สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาท-

กาลนี้ บังเกิดเป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสารในกรุงราชคฤห์ ได้เป็น

ผู้มีพระนามว่า สีลวะ. ครั้นเธอเจริญวัยแล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูประสงค์

จะฆ่าเธอ จึงยกขึ้นสู่ช้างตัวซับมันดุร้าย แม้พยายามอยู่ด้วยอุบายต่างๆ

ก็ไม่สามารถจะให้ตายได้ เพราะท่านเกิดในปัจฉิมภพ ไม่มีอันตรายต่อชีวิต

ในระหว่างยังไม่บรรลุพระอรหัต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นความเป็น

ไปของเธอ จึงตรัสสั่งพระมหาโมคคัลลานเถระว่า เธอจงนำสีลวกุมารมา.

พระเถระได้นำเธอมาพร้อมด้วยช้างด้วยกำลังแห่งฤทธิ์.

กุมารลงจากช้างถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม อันสมควรแก่อัธยาศัย

ของเธอ. เธอฟังธรรมแล้วได้ศรัทธา บรรพชาบำเพ็ญวิปัสสนากรรม

ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต อยู่ในโกศลรัฐ. ลำดับนั้นพระเจ้าอชาตศัตรู

ทรงสั่งบังคับบุรุษทั้งหลายว่า พวกท่านจงฆ่า. ราชบุรุษเหล่านั้นไปยัง

สำนักของพระเถระยืนอยู่แล้ว ฟังธรรมกถาที่พระเถระแสดง เกิดความ

สังเวชมีจิตเลื่อมใสบวชแล้ว. พระเถระได้แสดงธรรมแก่บรรพชิตเหล่านั้น

ด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า

ท่านทั้งหลายพึงศึกษาศีลในศาสนานี้ ด้วยว่าศีลอัน

บุคคลศึกษาดีแล้ว สั่งสมดีแล้ว ย่อมนำสมบัติทั้งปวงมา

ให้ในโลกนี้ นักปราชญ์เมื่อปรารถนาความสุข ๓ ประการ

คือ ความสรรเสริญ ๑ การได้ความปลื้มใจ ๑ ความ

บันเทิงในสวรรค์เมื่อละไปแล้ว ๑ พึงรักษาศีล ด้วยว่า

๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๗๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 428

ผู้มีศีล มีความสำรวม ย่อมได้มิตรมาก ส่วนผู้ทุศีล

ประพฤติแต่กรรมอันลามก ย่อมแตกจากมิตร นรชนผู้

ทุศีล ย่อมได้รับการติเตียนและการเสียชื่อเสียง ส่วนผู้

มีศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญและชื่อเสียงทุกเมื่อ ศีล

เป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย

และเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น พึงชำระ

ศีลให้บริสุทธิ์ สังวรศีลเป็นเครื่องกั้นความทุจริต ทำจิต

ให้ร่าเริง เป็นท่าที่หยั่งลงมหาสมุทร คือนิพพานของ

พระพุทธเจ้าทั้งปวง เพราะฉะนั้น พึงชำระศีลให้บริสุทธิ์

ศีลเป็นกำลังหาที่เปรียบมิได้ เป็นอาวุธอย่างสูงสุด เป็น

อาภรณ์อันประเสริฐ เป็นเกราะอันน่าอัศจรรย์ ศีลเป็น

สะพาน เป็นมหาอำนาจ เป็นกลิ่นหอมอย่างยอดเยี่ยม

เป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

ย่อมหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ศีลเป็นเสบียงอันเลิศ เป็น

เสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม เป็นพาหนะอันประเสริฐยิ่งนัก

เป็นเครื่องหอมฟุ้งไปทั่วทิศานุทิศ คนพาลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น

ในศีล ย่อมได้รับการนินทาในเวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้

เมื่อตายไปแล้ว ย่อมได้รับทุกข์โทมนัสในอบายภูมิ ย่อม

ได้รับทุกข์โทมนัสในที่ทั่วไป ธีรชนผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดี

ในศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญในเวลาที่มีชีวิตอยู่ใน

โลกนี้ ครั้นตายไปแล้ว ก็ได้รับความสุขโสมนัสใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 429

สวรรค์ ย่อมรื่นเริงในที่ทุกสถานในโลกนี้ ศีลเท่านั้นเป็น

ยอด และผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุดในโลกนี้ ความชนะใน

มนุษยโลกและเทวโลก ย่อมมีได้เพราะศีลและปัญญา.

บทว่า อิธ ในบทว่า สีลเมวิธ สิกฺเขถ, อสฺมึ โลเก นี้ ในคาถา

นั้น เป็นเพียงนิบาต. กุลบุตรผู้ใคร่ต่อประโยชน์ในสัตวโลกนี้ พึงศึกษา

เฉพาะศีลในเบื้องต้น ต่างด้วยจาริตศีลและวาริตศีลเป็นต้น, และเมื่อจะ

ศึกษาศีลนั้นให้เป็นอันศึกษาแล้วด้วยดี พึงศึกษากระทำให้บริสุทธิ์บริบูรณ์

ด้วยดี โดยให้ถึงภาวะที่ศีลไม่ขาดเป็นต้น.

บทว่า อสฺมึ โลเก ความว่า ในเบื้องต้น พึงศึกษาศีล ในธรรม

ที่ควรศึกษาในสังขารโลกนี้.

ท่านกล่าวว่า สีล หิ เป็นต้น เพราะความที่ศีลเป็นที่ตั้งมั่นแม้แห่ง

ทิฏฐิสมบัติ.

ศัพท์ว่า หิ ในคาถานั้น เป็นตติยาวิภัตติ. เพราะศีลอันบุคคลเสพ

แล้ว อบรมแล้ว รักษาแล้ว ย่อมน้อมนำมาซึ่งสมบัติทั้งปวงคือ มนุษย-

สมบัติ ทิพยสมบัติ นิพพานสมบัติ แก่สัตว์ผู้พร้อมด้วยศีลนั้น.

เมื่อจะแสดงข้อความที่ท่านกล่าวไว้โดยสังเขปว่า ศีลย่อมน้อมนำ

สมบัติทั้งปวงมาให้โดยพิสดาร จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สีล รกฺเขยฺย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รกฺเขยฺย แปลว่า พึงรักษา. จริงอยู่

บุคคลเมื่องดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น และบำเพ็ญวัตรปฏิวัตรให้

บริบูรณ์ ชื่อว่า ย่อมรักษาศีลนั้น โดยครอบงำธรรมอัน เป็นข้าศึกเสียได้.

บทว่า เมธาวี แปลว่า ผู้มีปัญญา. บทนี้เป็นบทแสดงอุบายเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 430

รักษาศีลนั้น, จริงอยู่ การสมาทานศีลนั้น และการที่ศีลนั้นไม่กำเริบ

ย่อมมีได้ด้วยกำลังแห่งญาณ.

บทว่า ปตฺถยมาโน แปลว่า เมื่อปรารถนา.

บทว่า ตโย สุเข ได้แก่ สุข ๓ อย่าง. อีกอย่างหนึ่ง เหตุแห่ง

ความสุข ท่านประสงค์ว่าความสุข.

บทว่า ปสส แปลว่า ซึ่งเกียรติ, หรืออันวิญญูชนสรรเสริญ.

บทว่า วิตฺติลาภ แปลว่า ได้ความยินดี. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

วิตฺตลาภ ได้ความปลื้มใจ, อธิบายว่า ได้ทรัพย์. จริงอยู่ ผู้มีศีลย่อม

ประสบกองโภคะใหญ่ เพราะเป็นผู้ไม่ประมาท.

บทว่า เปจฺจ ได้แก่ ทำกาละแล้ว.

บทว่า สคฺเค ปโมทน เชื่อมความว่า ปรารถนาการบันเทิงด้วย

กามคุณที่ชอบใจในเทวโลก. มีวาจาประกอบความว่า เมื่อปรารถนาความ

สรรเสริญ คือได้ความปลื้มใจในโลกนี้ และความบันเทิงด้วยทิพยสมบัติ

ในโลกหน้า พึงรักษาศีล.

บทว่า สญฺเมน ได้แก่ การสำรวมกายเป็นต้น . จริงอยู่ เมื่อ

สำรวม ไม่เบียดเบียนใคร ๆ ด้วยกายทุจริตเป็นต้น ให้อภัยทาน ชื่อว่า

ย่อมผูกมิตรไว้ได้ เพราะเป็นที่รักและเป็นที่พอใจ.

บทว่า ธสเต แปลว่า ย่อมกำจัด.

บทว่า ปาปมาจร ได้แก่ กระทำบาปกรรม มีปาณาติบาตเป็นต้น.

จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ต่อประโยชน์ ย่อมไม่คบบุคคลผู้ทุศีล, โดย

ที่แท้ย่อมเว้นขาด.

บทว่า อวณฺณ แปลว่า ซึ่งโทษมิใช่คุณ, หรือการครหาต่อหน้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 431

บทว่า อกิตฺตึ ได้แก่ โทษมิใช่ยศ คือไม่มีชื่อเสียง บทว่า

วณฺณ แปลว่า คุณ.

บทว่า กิตฺตึ ได้แก่ ชื่อเสียง ความเป็นผู้ปรารถนายศ.

บทว่า ปสส ได้แก่ ความชมเชยต่อหน้า.

บทว่า อาทิ แปลว่า เป็นมูล. จริงอยู่ ศีลเป็นเบื้องต้นแห่งกุศล-

ธรรม อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุ เธอจงชำระศีล

อันเป็นเบื้องต้นเท่านั้น ให้หมดจดในกุศลธรรม. ก็อะไรเป็นเบื้องต้น

แห่งกุศลธรรม ก็ศีลที่บริสุทธิ์ด้วยดีเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรม.

บทว่า ปติฏฺา ได้แก่ ตั้งมั่น, จริงอยู่ ศีลเป็นที่ตั้งแห่งอุตริ-

มนุสธรรมทั้งหมด. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตั้งอยู่ในศีล

เป็นต้น.

บทว่า กลฺยาณญฺจ มาตุก ความว่า เป็นบ่อเกิด คือให้กำเนิด

แห่งกัลยาณธรรม มีสมถะและวิปัสสนาเป็นต้น.

บทว่า ปมุข สพฺพธมฺมาน ได้แก่ เป็นประมุข คือเป็นประธาน

อธิบายว่า เป็นทวารแห่งความเป็นไปแห่งธรรมอันหาโทษมิได้ทั้งหมด

มีปราโมทย์เป็นต้น.

บทว่า ตุสฺมา แปลว่า โดยความเป็นเบื้องต้นเป็นต้น.

บทว่า วิโสธเย ได้แก่ พึงให้สำเร็จ โดยความเป็นศีลไม่ขาด

เป็นต้น.

บทว่า เวลา ได้แก่ เป็นแดน อธิบายว่า เป็นเขต เพราะอรรถว่า

ไม่ก้าวล่วงจากทุจริต. หรือว่าชื่อว่า เวลา เพราะทำความเป็นผู้ทุศีลให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 432

3ล่วงเลยไป คือกำจัดความเป็นผู้ทุศีล. ศีลชื่อว่า สังวร เพราะปิดทวาร

แห่งการเกิดขึ้นแห่งกายทุจริตเป็นต้น.

บทว่า อภิหาสน ความว่า ชื่อว่า ยินดี เพราะความบันเทิงยิ่งแห่ง

จิต โดยความเป็นเหตุไม่ต้องเดือดร้อน.

บทว่า ติตฺถญฺจ สพฺพพุทฺธาน ความว่า และเป็นดุจท่าในการลอย

มลทินคือกิเลส และในการหยั่งลงสู่มหาสมุทรคือพระนิพพาน แห่ง

พระพุทธเจ้าทั้งปวง คือพระสาวกพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระ-

สัทมาสัมพุทธเจ้า.

บทว่า สีล พล อปฺปฏิม ได้แก่ เป็นกำลัง และเป็นเรี่ยวแรงแห่ง

จอมทัพอันไม่มีผู้เสมอเหมือน ในการย่ำยีมารและเสนาแห่งมาร.

บทว่า อาวุธมุตฺตม ได้แก่ เป็นเครื่องประหารอันสูงสุด ในการ

ตัดสังกิเลสธรรม. ชื่อว่า อาภรณ์ เพราะเพิ่มความงามแก่สรีระ.

บทว่า เสฏฺ ความว่า เป็นสมบัติอันสูงสุด ตลอดกาลทั้งสิ้น. เป็น

ประดุจเกราะ เพราะป้องกันสัตว์มีชีวิต, อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ไม่แตก

กระจาย อธิบายว่า ไม่ทำลาย. ชื่อว่า เป็นสะพาน เพราะอรรถว่า

ไม่จมลงด้วยกิเลส เพราะก้าวล่วงห้วงน้ำใหญ่คืออบาย และเพราะก้าวล่วง

ห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร.

บทว่า มเหสกฺโข แปลว่า ผู้มีกำลังมาก.

บทว่า คนฺโธ อนุตฺตโร ความว่า กลิ่นอันยอดเยี่ยม เพราะฟุ้งทวน

ลมไปในทิศทั้งปวง เหตุเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจของชนทั้งปวง. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า เยน วาติ ทิโสทิส ความว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกลิ่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 433

คือศีลนั้น ย่อมฟุ้งไปทั่วทิศน้อยทิศใหญ่ คือสู่ทิศทั้งปวง บาลีว่า ทิโสทิสา

ดังนี้ก็มี อธิบายว่า สู่ทิศ ๑๐.

บทว่า สมฺพลเมวคฺค ได้แก่ ข้าวห่อ ชื่อว่า เสบียง. บุรุษถือเอา

ข้าวห่อเดินทางไป ไม่ลำบากด้วยความทุกข์เพราะความหิวในระหว่าง

ทางฉันใด แม้ผู้สมบูรณ์ด้วยศีลก็ฉันนั้น ถือเอาเสบียงคือศีลอันบริสุทธิ์

ดำเนินสู่ทางกันดารคือสงสาร ย่อมไม่ลำบากในที่ ๆ ไปแล้ว ๆ เพราะ

เหตุนั้น ศีลจึงชื่อว่า เป็นเสบียงอันเลิศ, อนึ่ง ศีลชื่อว่า เป็นเสบียงเดิน

ทางอันยอดเยี่ยม เพราะไม่ทั่วไปกับโจรเป็นต้น และเพราะให้สำเร็จ

สมบัติที่ปรารถนาในที่นั้น ๆ เมื่อก้าวล่วงไป ชื่อว่านำไปให้ถึงที่นั้นๆ หรือ

ที่ตามที่ปรารถนา. ชื่อว่า อติวาหะ นำไปยิ่ง, ได้แก่ ยานพาหนะ. ศีลเป็น

ธรรมชาติอันใคร ๆ ประทุษร้ายไม่ได้ เป็นคุณชาติประเสริฐ เป็นพาหนะ

อันประเสริฐยิ่ง เพราะเหตุให้ถึงฐานะที่ปรารถนาได้.

บทว่า เยน ได้แก่ ด้วย พาหนะอันประเสริฐยิ่งนัก. บทว่า ยาติ

ทิโสทิส ความว่า ย่อมฟุ้งนำทั้งผู้มาทั้งผู้ไปสู่ทิศนั้น ๆ โดยสะดวกทีเดียว.

บทว่า อิเธว นินฺท ลภติ ความว่า คนมีปัญญาทรามแม้ในโลกนี้

เป็นผู้มีจิตอันกิเลสมีราคะเป็นต้นประทุษร้ายแล้ว ย่อมได้รับความนินทา-

ครหาว่า ผู้นี้เป็นคนทุศีล เป็นคนมีธรรมอันลามก. ละไปแล้วแม้ใน

ปรโลก ย่อมได้รับความนินทาจากยมบุรุษเป็นต้นในอบาย โดยนัยมีอาทิ

ว่า เป็นชาติคนกาลี เป็นอวชาต ดังนี้. ย่อมได้รับแต่ความนินทาอย่าง

เดียวเท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้ เขาชื่อว่าเป็นคนพาลมีใจชั่วในที่ทุกสถาน

คือเป็นผู้มีจิตอันประพฤติชั่วในโลกนี้ ประทุษร้ายแล้ว เพราะให้เกิดทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 434

ด้วยอำนาจเหตุแห่งกรรมเป็นต้น เพราะเหตุนั้น เขาจึงเป็นผู้ชื่อว่า เป็น

คนพาล เป็นผู้โทมนัสในที่ทุกสถาน.

อย่างไร ? เพราะเขาเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นในศีลทั้งหลาย คือมีจิตไม่

ตั้งอยู่ ไม่ประดิษฐานอยู่ในศีลทั้งหลายโดยชอบ.

บทว่า อิเธว กิตฺตึ ลภติ ความว่า ฝ่ายผู้มีใจดีในโลกนี้ ก็ย่อมได้

รับเกียรติว่า เป็นสัปบุรุษ มีศีลมีกัลยาณธรรม. เขาละไปแล้วแม้ในปรโลก

ในสวรรค์ ย่อมได้รับเกียรติยศว่า ผู้นี้เป็นสัปบุรุษ มีศีลมีกัลยาณธรรม

จริงอย่างนั้น เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทพทั้งหลาย. ย่อมได้รับ

แต่เกียรติยศอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ โดยที่แท้ เขาได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์

เพียบพร้อมด้วยปัญญา มีจิตตั้งมั่นอิ่มเอิบด้วยดี ประดิษฐานอยู่ด้วยดีใน

ศีลทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีใจดี คือถึงพร้อมด้วยโสมนัส เพราะการประพฤติ

สุจริตในโลกนี้ ในที่ทุกสถาน เพราะได้รับสมบัติในโลกหน้า.

ศีลในบทว่า สีลเมว อิธ อคฺค นี้ มี ๒ อย่าง คือโลกิยศีล ๑

โลกุตรศีล ๑. ในศีล ๒ อย่างนั้น โลกิยศีล อันดับแรก ย่อมนำคุณวิเศษ

อันให้เกิดในความเป็นกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น ในกามโลก และเป็นเหตุ

แห่งความเป็นบุคคลผู้ได้การอุบัติอันพิเศษ ในเทวโลก และพรหมโลก

เป็นต้น. ส่วนโลกุตรศีลย่อมให้ก้าวล่วงวัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้นเสียได้ เพราะ-

ฉะนั้น ศีลชื่อว่าเป็นยอดโดยแท้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ด้วยพรหมจรรย์

อย่างเลว ย่อมเข้าถึงความเป็นเทพด้วยพรหมจรรย์อย่าง

กลาง และย่อมหมดจดด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 435

และว่า ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพึงหวังว่า เราพึงได้จีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร และว่า ภิกษุพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์

ในศีลทั้งหลายเท่านั้น, และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นของผู้มี

ศีลย่อมสำเร็จ เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์ ดังนี้.

แต่ในภาวะที่เลิศ โลกุตรศีลละธรรมอันเป็นข้าศึกเสียได้โดยประการ

ทั้งปวง ล่วงสังสารทุกข์เสียได้ดังแต่ภพที่ ๗ จึงไม่จำต้องกล่าวถึงเลย

ด้วยบทว่า ปญฺวา ปน อุตฺตโม นี้ ท่านกล่าวถึงความที่ปัญญา

นั่นแหละประเสริฐสุด โดยบุคลาธิษฐานว่า ก็บุคคลผู้มีปัญญา ย่อมเป็น

ผู้สูงสุด คือประเสริฐสุดอย่างยิ่ง.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงภาวะที่ศีลและปัญญาประเสริฐสุดโดยกิจ ท่านจึง

กล่าวว่า ชัยชนะในมนุษยโลกและเทวโลก ย่อมมีได้เพราะศีลและปัญญา.

ก็บทว่า ชย นี้ พึงเห็นว่า เป็นลิงควิปลาส, บาลีที่เหลือว่า อหุ

บัณฑิตพึงนำมาเชื่อมเข้า.

ชื่อว่า ปญฺาณ เพราะอรรถว่ารู้ทั่ว ในคาถานั้นเป็นอันชื่อว่า

ชนะธรรมอันเป็นข้าศึก เพราะศีลและปัญญา.

จริงอยู่ ปัญญาเว้นศีลเสียเกิดไม่ได้ และศีลเว้นปัญญาแล้ว ย่อม

กระทำหน้าที่เอง, ก็ธรรมทั้งสองนั้นสนับสนุนซึ่งกันและกัน, สมจริง

ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ปัญญาอันศีลชำระแล้ว ศีลอันปัญญาชำระแล้ว

บทว่า มนุสฺเสสุ จ เทเวสุ นี้ เป็นบทแสดงความพิเศษแห่งฐานะ

ของศีลและปัญญานั้น, ความจริงในข้อนั้น ธรรมเหล่านั้น ย่อมมีความ

แปลกกันเป็นไปอยู่ ก็ในข้อนั้น สมาธิย่อมเห็นด้วยศีล เพราะเป็นฐาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 436

ของปัญญา หรือย่อมเห็นด้วยปัญญา เพราะทำให้เกิดและเป็นฐานของศีล

เป็นต้น.

พระเถระเมื่อแสดงธรรมโดยยกศีลขึ้นเป็นประธาน แก่ภิกษุเหล่านั้น

ด้วยอาการอย่างนี้ จึงพยากรณ์พระอรหัตผล โดยแสดงถึงความที่ตนเป็น

ผู้มีคุณธรรม มีศีลบริสุทธิ์ด้วยดีเป็นต้น.

จบอรรถกถาสีลวเถรคาถาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 437

๒. สุนีตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสุนีตเถระ

[๓๗๙] เราเกิดมาในสกุลต่ำ เป็นคนยากจน มีเครื่องบริโภค

น้อย การงานของเราเป็นการงานต่ำ เราเป็นคนเทดอกไม้

เราถูกมนุษย์เกลียดชัง ดูหมิ่น และแช่งด่า เราถ่อมตน

ไหว้หมู่ชนเป็นอันมาก ครั้งนั้น เราได้เห็นพระพุทธเจ้า

ผู้เป็นมหาวีรบุรุษ ห้อมล้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้า

ไปสู่พระนครอันอุดมของชาวมคธเพื่อบิณฑบาต เราจึง

วางกระเช้าลงแล้วเข้าไปถวายบังคม พระองค์ผู้เป็นอุดม

บุรุษได้ประทับยืนอยู่เพื่ออนุเคราะห์เรา ครั้งนั้นเราได้

ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้ว ยืนอยู่ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงทูลขอบรรพชากะพระองค์ผู้

สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง ลำดับนั้น พระศาสดาผู้มีพระ-

กรุณาอนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งปวง ได้ตรัสเรียกเราว่า จง

เป็นภิกษุมาเถิด พระดำรัสนั้นเป็นอุปสมบทของเรา เมื่อ

เราอุปสมบทแล้ว อยู่ในป่าแต่ผู้เดียวไม่เกียจคร้าน ได้

ทำตามพระดำรัสของพระศาสดาผู้พิชิตมารที่ทรงสั่งสอน

เรา ในราตรีปฐมยาม เราก็ระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้ ใน

มัชฌิมยาม ก็ได้ทิพยจักษุ ในปัจฉิมยาม เราก็ทำลาย

กองแห่งความมืด คืออวิชชาได้ ครั้นรุ่งราตรีพระอาทิตย์

อุทัย เทพเจ้าเหล่าอินทร์และพรหมทั้งหลาย พากัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 438

ประนมอัญชลีนมัสการเรา พร้อมกับกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้

เป็นอุดมบุรุษ ขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์

ท่านเป็นผู้สิ้นอาสวะ เป็นทักขิไณยบุคคล ลำดับนั้น

พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นเราห้อมล้อมด้วยหมู่เทพเจ้า

จึงทรงยิ้มแย้ม แล้วตรัสเนื้อความนี้ว่า บุคคลชื่อว่าเป็น

พราหมณ์เพราะคุณธรรม ๔ ประการ คือ ตบะ ๑ พรหม-

จรรย์ ๑ สัญญมะ ๑ ทมะ ๑ ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวบุคคล

ผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ๔ ประการ มีตบะเป็นต้นนั้นว่า

เป็นพราหมณ์ผู้อุดม.

จบสุนีตเถรคาถา

ในทวาทสกนิบาตนี้ พระเถระ ๒ รูป คือ พระสีลวเถระ ๑

พระสุนีตเถระ ๑ ล้วนแต่มีมหิทธิฤทธิ์ ได้ภาษิตคาถารูปละ ๑๒ คาถา

รวมเป็น ๒๔ คาถา ฉะนี้.

จบทวาทสกนิบาต

อรรถกถาสุนีตเถรคาถาที่ ๒

คาถาของท่านพระสุนีตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นีเจ กุลมฺหิ ดังนี้

เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 439

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ท่องเที่ยวไปในเทวโลก และมนุษยโลก ใน

กาลว่างพระพุทธเจ้า บังเกิดในเรือนมีตระกูล เจริญวัยแล้ว ขวนขวาย

ในการเล่นกีฬากับคนพาลทั้งหลายเที่ยวไป เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์

หนึ่ง กำลังเที่ยวบิณฑบาตในบ้าน จึงคำว่า ท่านจะประโยชน์อะไร ด้วย

การปกปิดกายทั้งสิ้นแล้วเที่ยวภิกขาจารโดยประการทั้งปวง เหมือนร่าง

ของหญิงสาว ควรจะหาเลี้ยงชีพด้วยกสิกรรมและวาณิชกรรมเป็นต้น มิใช่

หรือ หากท่านไม่สามารถจะทำกสิกรรมเป็นต้นนั้นไซร้ ท่านจงนำปัสสาวะ

และอุจจาระเป็นต้นในทุกๆ เรือนออกไป จงเลี้ยงชีพโดยการชำระล้างพื้น

ในภายหลัง.

เพราะกรรมนั้น ท่านจึงไหม้ในนรก ด้วยเศษแห่งกรรมนั่นเอง

จึงบังเกิดในตระกูลแห่งบุคคลผู้เทดอกไม้ สิ้นหลายร้อยชาติแม้ในมนุษย-

โลก. เลี้ยงชีพโดยอาการเช่นนั้น ก็ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดใน

ตระกูลแห่งบุคคลผู้เทดอกไม้นั้นเอง เมื่อไม่ได้วัตถุสักว่าอาหารและเครื่อง

นุ่งห่ม ก็เลี้ยงชีพด้วยกรรมคือการชำระล้างอุจจาระ.

ครั้งในปัจฉิมยาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ

ที่พระพุทธเจ้าเคยประพฤติมา ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ทรงตรวจดู

สัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ทรงเห็นธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัต อัน

ลุกโพลงในภายในหทัยของสุนีตะ เหมือนประทีปลุกโพลงในหม้อฉะนั้น

เมื่อราตรีสว่างแล้ว ทรงครองผ้าแต่เช้า ถือบาตรและจีวรแวดล้อมไปด้วย

ภิกษุสงฆ์ เสด็จเที่ยวบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ เสด็จดำเนินไปตามถนน

ที่สุนีตะกระทำกรรมคือการชำระล้างอุจจาระ.

ฝ่ายสุนีตะ กระทำอุจจาระและหยากเยื่อและอาหารที่เป็นเดนเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 440

ในที่นั้น ๆ ให้เป็นกอง แล้วใส่ในตะกร้าหาบหลีกไป เห็นพระศาสดา

แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์กำลังเสด็จมาอยู่ พรั่นพรึงมีหทัยวุ่นวายชื่นชมอยู่

และเมื่อไม่ได้โอกาสเป็นที่แอบซ่อน จึงวางหาบไว้ที่ข้างฝาเรือน ได้ยืน

แอบฝาประคองอัญชลีโดยข้างหนึ่ง เหมือนตามเข้าไป อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า ท่านประสงค์จะหลีกไปโดยทางช่องฝาก็มี.

พระศาสดาเสด็จถึงที่ใกล้เธอ ทรงพระดำริว่า ผู้นี้ชื่นชมเราผู้อัน

กุศลมูลกระตุ้นเตือนตนอยู่ แม้ในที่พร้อมหน้าก็ยังละอาย เพราะมีชาติ

และกรรมเลว เอาเถิด เราจะให้เธอเกิดความแกล้วกล้า ดังนี้. จึงตรัส

เรียกว่าสุนีตะ ด้วยพระสุรเสียงดุจเสียงพรหมอันลึกซึ้ง บันลือไปทั่วนคร

ด้วยเสียงไพเราะอ่อนหวานดังเสียงนกการะเวก แล้วตรัสว่า เพราะความ

เป็นอยู่ลำบากนี้ เธอจักอาจเพื่อจะบวชได้ไหม ?. สุนีตะถูกพระดำรัสของ

พระศาสดารดเฉพาะ เหมือนถูกรดด้วยน้ำอมฤต จึงเสวยปีติและโสมนัส

อย่างยิ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าแม้บุคคลทั้งหลายผู้

เช่นข้าพระองค์ ย่อมได้บวชในที่นี้ไซร้ เพราะเหตุไร ถ้าพระองค์จักไม่

บวช ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงให้ข้าพระองค์ได้บวชเถิด.

พระศาสดาตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด ในขณะนั้นนั่นเอง ท่านได้

บรรพชาและอุปสมมทโดยเอหิภิกษุภาวะ ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วย

ฤทธิ์ เป็นราวกะว่าพระเถระ ๖๐ พรรษา ได้อยู่ในสำนักพระศาสดา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำท่านไปยังวิหาร ตรัสบอกกรรมฐานแล้ว . ท่าน

ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้บังเกิดก่อน แล้วเจริญวิปัสสนา ได้

เป็นผู้ได้อภิญญา ๖ เทพมีท้าวสักกะเป็นต้น และพรหมเข้าไปหาท่านแล้ว

นมัสการ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 441

เทวดา ๗๐๐ และพรหมเป็นอันมาก และพระอินทร์

มีจิตเลื่อมใสเข้าไปนมัสการท่านสุนีตะ ผู้เป็นดังม้า

อาชาไนย ถูกชาติและชราครอบงำ ดังนี้เป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นท่านแวดล้อมไปด้วยหมู่เทพ ทรงกระทำ

การแย้มแล้วทรงสรรเสริญ ทรงแสดงธรรมด้วยพระคาถาว่า ตเปน

พฺรหฺมจริเยน. ลำดับนั้น ภิกษุเป็นอันมากประสงค์จะให้ท่านบันลือ

สีหนาท จึงถามท่านว่า อาวุโสสุนีตะ เพราะเหตุไร ท่านจึงออกจากตระกูล

บวช หรือท่านบวชได้อย่างไร และท่านแทงตลอดสัจจะได้อย่างไร ? ท่าน

เมื่อจะประกาศเรื่องนั้นทั้งหมด จึงบันลือสีหนาทด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

เราเกิดมาในสกุลต่ำ เป็นคนยากจน มีเครื่องบริโภค

น้อย การงานของเราเป็นการงานต่ำ เราเป็นคนเทดอกไม้

เราถูกมนุษย์เกลียดชัง ดูหมิ่น และแช่งด่า เราถ่อมตน

ไหว้หมู่ชนเป็นอันมาก ครั้งนั้น เราได้เห็นพระพุทธเจ้า

ผู้เป็นมหาวีรบุรุษ ห้อมล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไป

สู่นครอันอุดมของชาวมคธเพื่ออบิณฑบาต เราจึงวาง

กระเช้าลงแล้วเข้าไปถวายบังคม พระองค์ผู้เป็นอุดมบุรุษ

ได้ประทับยืนอยู่เพื่ออนุเคราะห์เรา ครั้งนั้นเราได้ถวาย

บังคมพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงทูลขอบรรพชากับพระองค์ผู้สูงสุด

กว่าสัตว์ทั้งปวง ลำดับนั้น พระศาสดาผู้มีพระกรุณา

อนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งปวง ได้ตรัสเรียกเราว่า จงเป็น

ภิกษุมาเถิด พระดำรัสนั้นเป็นอุปสมบทของเรา เมื่อเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 442

อุปสมบทแล้ว อยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ไม่เกียจคร้าน ได้ทำ

ตามดำรัสของพระศาสดาผู้พิชิตมารที่ทรงสั่งสอนเรา ใน

ราตรีปฐมยาม เราก็ระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้ ในมัชฌิม-

ยาม ก็ได้ทิพยจักษุ ในปัจฉิมยาม เราก็ทำลายกองแห่ง

ความมืด คืออวิชชาได้ ครั้นรุ่งราตรีพระอาทิตย์อุทัย

เทพเจ้าเหล่าอินทร์และพรหมทั้งหลาย พากันประนม

อัญชลีนมัสการเรา พร้อมกับกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็น

บุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็น

อุดมบุรุษ ขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์

ท่านเป็นผู้สิ้นอาสวะ เป็นทักขิไณยบุคคล ลำดับนั้น

พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นเราห้อมล้อมด้วยหมู่เทพเจ้า

จงได้ทรงยิ้มแย้มและได้ตรัสเนื้อความนี้ว่า บุคคลชื่อว่า

เป็นพราหมณ์เพราะคุณธรรม ๔ ประการ คือ ตบะ ๑

พรหมจรรย์ ๑ สัญญมะ ๑ ทมะ ๑ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย

กล่าวบุคคลผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ๔ ประการ มีตบะ

เป็นต้นนั้นว่า เป็นพราหมณ์ผู้อุดม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นีเจ ได้แก่ ลามก คือเลวกว่าตระกูล

ทั้งปวง. จริงอยู่ ภาวะที่ตระกูลสูงและต่ำหมายเอาสัตว์ทั้งหลาย. ก็พระ-

เถระนี้ เมื่อจะแสดงความที่ตนเกิดในตระกูลเลวทราม ซึ่งเลวกว่าตระกูล

ทั้งปวง จึงกล่าวว่า เราเกิดในตระกูลต่ำ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

นีเจ ซึ่งแปลว่า ลามก คือเลวกว่าตระกูลทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 443

บทว่า ทลิทฺโท แปลว่า ผู้ทุกข์ยาก. จริงอยู่ คนเข็ญใจบางพวก

ได้อาหารและผ้านุ่งห่มในบางคราว มีความเป็นไปอย่างฝืดเคือง, ก็เรา

ชื่อว่าเป็นคนเลว เพราะมีความเป็นไปโดยฝืดเคืองทุก ๆ เวลา เป็นเหมือน

บุคคลยกหม้อข้าวขึ้นสู่เตาไฟ เมื่อจะแสดงคำที่ควรแสดงว่า แม้เพียงน้ำ

หน่อยหนึ่ง เราก็ไม่ได้เห็นเลย จึงกล่าวว่า มีโภชนะน้อย.

เมื่อจะแสดงว่า บางคนเกิดในตระกูลต่ำทั้งเป็นคนจน แต่การงาน

และอาชีพไม่ต่ำ ส่วนเราไม่เป็นอย่างนั้น จึงกล่าวว่า เราเป็นผู้มีการ

งานเลว ดังนี้. หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า เป็นเช่นไร ? ตอบว่า เรา

เป็นคนเทดอกไม้ เหมือนบุคคลมีมือพิการ ผู้นี้มีชื่อเช่นนี้ด้วยอำนาจแห่ง

ความประพฤติว่าเป็นคนเทดอกไม้, หรือถูกกล่าวอย่างนั้นด้วยชั้นคนชำระ

อุจจาระ เพราะเป็นผู้มีสีเหมือนที่นอนที่ปูด้วยดอกไม้เหี่ยวแห้ง.

บทว่า ชิคุจฺฉิโต ถูกเขาดูหมิ่นโดยชาติและการงาน. บทว่า มนุสฺสาน

แปลว่า อันพวกมนุษย์. บทว่า ปริภูโต แปลว่า ดูหมิ่น. บทว่า วมฺภิโต

ได้แก่ อันเขาข่มขู่.

บทว่า นีจ มน กริตฺวาน ความว่า ยกมนุษย์เหล่าอื่นขึ้น เหมือนยก

ขึ้นสู่ภูเขาสิเนรุ กระทำตนให้เป็นคนเลวกว่าขี้เท้าของมนุษย์เหล่านั้น คือ

กระทำใจให้ต่ำ คือเลวตามปกติ.

บทว่า วนฺทิสฺส พหุก ชน ความว่า เราไหว้ คือประคองอัญชลี

เหนือเศียรเกล้านอบน้อม ในกาลที่ตนเห็นมหาชนหนาแน่น.

ศัพท์ว่า อถ เป็นนิบาต ใช้ในการแสดงระหว่างถึงหน้าที่.

บทว่า อทฺทสาสึ แปลว่า ได้เห็นแล้ว.

บทว่า มคธาน ความว่า พระราชกุมาร ชาวชนบท ชื่อว่า มคธะ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 444

ชนบทแม้หนึ่งอันเป็นที่อยู่ของพระราชกุมารเหล่านั้น เขาเรียกว่า มาคธะ

เพราะเจริญ, อธิบายว่า แห่งชนบทชื่อว่า มคธะ.

บทว่า ปุรุตฺตม ได้แก่ นครสูงสุด.

บทว่า พฺยาภงฺคึ แปลว่า หาบ.

บทว่า ปพฺพชฺช อหมายาจึ ความว่า เมื่อพระศาสดาทรงกระทำ

โอกาสว่า สุนีตะ เธอจะบวชไหม. เราจึงได้ขอบรรพชา.

บทว่า อาสูปสมฺปทา ความว่า เป็น อุปสมฺปทา ด้วยเหตุเพียง

พระดำรัสของพระศาสดาว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด.

บทว่า รตฺติยา เป็นต้น เป็นบทแสดงกิจแห่งข้อปฏิบัตินั้น. ใน

คำนั้นท่านกล่าว ทุติยาวิภัตติด้วยอำนาจอัจจันตสังโยคว่า ตลอดปฐมยาม

ตลอดมัชฌิมยาม เพราะปุพเพนิวาสญาณ และอนาคตังสญาณมีกิจมาก.

อาสวักขยญาณหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะเป็นไปด้วยอำนาจการตรัสรู้คราว

เดียว เพราะฉะนั้น บทว่า ปจฺฉิเม ยาเม พึงเห็นว่าท่านกล่าวด้วย

อำนาจสัตตมีวิภัตติ.

บทว่า อินฺโท ได้แก่ ท้าวสักกเทวราช.

บทว่า พฺรหฺมา ได้แก่ท้าวมหาพรหม. ด้วยศัพท์ว่า อินฺทพฺรหฺม

พึงเห็นว่าท่านกล่าวถึงการมาแห่งกามเทพ และพรหมเหล่าอื่นนั่นเอง.

จริงอยู่ นิเทศอย่างอุกฤษฏ์นั้น ย่อมเป็นเหมือนอุทาหรณ์ว่า พระราชา

เสด็จมาแล้ว.

บทว่า นนสฺสึสุ ได้แก่ กระทำนมัสการด้วยกายและด้วยวาจา.

ในคำนั้น พระเถระเมื่อจะแสดงการนอบน้อมที่กระทำด้วยกาย จึง

กล่าวคำมีอาทิว่า นโมเต ดังนี้ เพื่อจะกล่าวว่า ปญฺชลี แล้วแสดงถึง

การนมัสการที่กระทำด้วยวาจา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 445

ด้วยศัพท์ว่า เทวสงฺฆปุรกฺขต ท่านถือเอาพวกพรหม เพราะเป็น

อุปปัตติเทพ.

บทว่า สิต ปาตุกริตฺวาน ความว่า พระศาสดาทรงอาศัยความที่

โอวาทของพระองค์มีผลมาก และคุณสมบัติของเทพและพรหม จึงได้ทรง

กระทำการแย้มให้ปรากฏ. ก็แลเมื่อจะทรงกระทำให้ปรากฏ ไม่ทรงแสดง

พระทนต์เหมือนคนเหล่าอื่น แต่ทรงแย้มพระโอษฐ์หน่อยหนึ่ง และรัศมี

แห่งแก้วผลึกและแก้วมุกดาอันเป็นทิพย์ที่ถูกเหตุเพียงเท่านั้นครอบงำ รัศมี

แห่งดวงดาวและพระจันทร์ที่แย้มลงมา รัศมีทึบซึ่งเกิดแต่พระทาฐะสุกปลั่ง

เปล่งออกกระทำประทักษิณพระโอษฐ์ของพระศาสดา ๓ ครั้ง เทพและ

พรหมเห็นพระศาสดาแล้ว แม้ไปข้างหลังก็รู้ได้ว่า พระศาสดาทรงกระทำ

การแย้มให้ปรากฏ.

บทว่า ตเปน ได้แก่ ด้วยความสำรวมอินทรีย์ อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า ด้วยการสมาทานธุดงค์.

บทว่า สยเมน ได้แก่ ด้วยศีล. บทว่า ทเมน ได้แก่ ด้วยปัญญา.

บทว่า พฺรหฺมจริเยน ได้แก่ ด้วยการประพฤติอันวิเศษประเสริฐ

สุด.

บทว่า อเตน ได้แก่ ด้วยตบะเป็นต้น ตามที่กล่าวแล้ว.

ชื่อว่า เป็นพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาป.

บทว่า เอต ได้แก่ ตบะเป็นต้นตามที่กล่าวแล้ว.

บทว่า พฺราหฺมณมุตฺตม ได้แก่ พราหมณ์ผู้สูงสุด, หรือในบรรดา

พราหมณ์ทั้งหลาย ท่านเป็นผู้สูงสุด คือประเสริฐกว่าพราหมณ์ทั้งหมด.

บาลีที่เหลือว่า อหุ พึงนำมาเชื่อมเข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 446

อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าว พฺรหฺมญฺ ความเป็นพรหมว่า พราหมณ์,

ท่านเป็นพรหมผู้สูงสุดด้วยอาการอย่างนี้, อธิบายว่า ไม่ใช่ชาติเป็นต้น.

จริงอยู่ ชาติตระกูล ประเทศ โคตร และสมบัติเป็นต้น หาเป็น

เหตุแห่งความเป็นพระอริยะไม่, แต่อธิศีลสิกขาเป็นต้นเท่านั้นเป็นเหตุ,

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ดอกบัวมีกลิ่นหอม พึงเกิดในกองหยากเยื่อ อัน

บุคคลทิ้งแล้วใกล้ทางใหญ่ ดอกบัวนั้น พึงเป็นที่ชอบใจ

ฉันใด สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อปุถุชนเป็น

ดังกองหยากเยื่อเกิดแล้ว ย่อมไพโรจน์ล่วงซึ่งปุถุชน

ผู้มืดทั้งหลาย ด้วยปัญญาฉันนั้น.

พระเถระ อันภิกษุเหล่านั้นถามแล้วอย่างนี้ เมื่อจะแก้เนื้อความนั้น

ด้วยคาถาเหล่านี้ จึงบันลือสีหนาท ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสุนีตเถรคาถาที่ ๒

จบปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา

ทวาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 447

เถรคาถา เตรสกนิบาต

๑. โสณโกฬิวิสเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโสณโกฬิวิสเถระ

[๓๘๐] ผู้ใดเป็นผู้สำเร็จความปรารถนา เป็นผู้สูงสุดในแว่น-

แคว้นของพระเจ้าอังคะ วันนี้ ผู้นั้นมีนามว่าโสณะ เป็น

ผู้เยี่ยมในธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ภิกษุพึง

ตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์เบื้องบน ๕ และ

พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุผู้ล่วงธรรมเป็นเครื่อง

ข้อง ๕ ท่านเรียกว่า ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ศีล สมาธิ

และปัญญา ของภิกษุผู้มีมานะเพียงดังว่าไม้อ้อยกขึ้นแล้ว

ผู้ประมาท ยินดีในอายตนะอันมีในภายนอก ย่อมไม่ถึง

ความบริบูรณ์ กิจใดที่ควรทำ ภิกษุเหล่านี้มาละทิ้งกิจอัน

นั้นเสีย แต่มาทำกิจที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายย่อม

เจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้มีมานะเพียงดังไม้อ้ออันยกขึ้น

แล้ว เป็นผู้ประมาท ส่วนภิกษุเหล่าใดปรารภกายคตาสติ

ด้วยดีเป็นนิตย์ ภิกษุเหล่านั้นกระทำกรรมที่ควรทำเนือง-

นิตย์ ย่อมไม่เสพกรรมมิใช่กิจ อาสวะของภิกษุเหล่านั้น

ผู้มีสติสัมปชัญญะ ย่อมถึงความสิ้นสูญ เมื่อมีทางตรง

พระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้แล้ว ขอท่านทั้งหลายจงดำเนินไป

เถิด อย่าพากันกลับ จงตักเตือนตนด้วยตนเอง พึงน้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 448

ตนเข้าไปสู่นิพพาน เมื่อเราปรารภความเพียร พระ-

ศาสดาผู้มีพระจักษุยอดเยี่ยมในโลก ได้ทรงแสดงธรรม

อุปมาด้วยสายพิณสอนเรา เราฟังพระดำรัสของพระองค์

แล้ว ยินดีอยู่ในพระศาสนา ยังสมถภาวนาให้เกิดขึ้น

เพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุด เราบรรลุวิชชา ๓ แล้ว

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว จิตของ

เราผู้น้อมไปในเนกขัมมะ ในความวิเวกแห่งจิต ในความ

ไม่เบียดเบียน ในความสิ้นไปแห่งอุปาทาน ในความสิ้น

ตัณหา และในความไม่หลงใหลแห่งใจ ย่อมหลุดพ้น

โดยชอบ เพราะเห็นความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ การสั่งสม

ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบ มีจิตสงบ

ระงับ เสร็จกิจแล้ว กิจอื่นที่จะพึงทำอีกไม่มี ภูเขาศิลา

ล้วนเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่สะเทือนด้วยลมฉันใด รูป เสียง

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งสิ้น ทั้งที่เป็น

อิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ย่อมไม่ทำจิตของบุคคล

ผู้คงที่ให้หวั่นไหวได้ฉันนั้น จิตของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้ง

มั่นไม่หวั่นไหว ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไร ๆ เพราะ

ผู้คงที่นั้นพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งอารมณ์นั้น.

จบโสณโกฬิวิสเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 449

ในเตรสกนิบาตนี้ พระโสณโกฬิวิสเถระผู้มีมหิทธิฤทธิ์รูปเดียว

เท่านั้น ได้ภาษิตคาถาไว้ ๑๓ คาถา ฉะนี้แล.

จบเตรสกนิบาต

อรรถกถาเตรสกนิบาต

อรรถกถาโสณโกฬิวิสเถรคาถาที่ ๑

ในเตรสกนิบาต คาถาของท่านพระโสณโกฬิวิสเถระ มีคำเริ่ม

ต้นว่า ยาหุ รฏฺเ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมบุญในภพนั้น ๆ. ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

พระนามว่า อโนมทัสสี พระเถระนี้เป็นเศรษฐีมีสมบัติมาก ไปสู่วิหารกับ

อุบาสกทั้งหลาย ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา มีจิตเลื่อมใส ให้กระทำ

บริกรรมด้วยปูนขาว ในที่เป็นที่เสด็จจงกรมของพระศาสดา ลาดด้วย

ดอกไม้มีสีต่างๆ ให้ผูกเพดานด้วยผ้าย้อมด้วยสีต่าง ๆ ในเบื้องบน อนึ่ง

ได้สร้างศาลายาวมอบถวายแด่พระศาสดาและภิกษุสงฆ์.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เกิดในตระกูลเศรษฐี

ในหังสวดีนคร ท่านได้นามว่า สิริวัฑฒะ. ท่านเจริญวัยแล้ว ไปสู่วิหาร

กำลังฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้

ในตำแหน่งอันเลิศ แห่งภิกษุผู้ปรารภความเพียร แม้ตนเองก็ปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 450

ตำแหน่งนั้น จึงบำเพ็ญมหาทานให้เป็นไปตลอด ๗ วัน แล้วตั้งความ

ปรารถนาไว้.

ฝ่ายท่านบำเพ็ญกุศลตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษย-

โลก เมื่อพระทศพลพระนามว่ากัสสปปรินิพพานแล้ว เมื่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าของเราทั้งหลายยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น บังเกิดในเรือนมีตระกูล ใน

กรุงพาราณสี ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว สร้างบรรณศาลาใกล้ฝั่งแม่น้ำ

คงคา อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งโดยเคารพ ด้วยปัจจัย ๔

ตลอด ๓ เดือน.

พระปัจเจกพุทธเจ้าออกพรรษาแล้ว มีบริขารครบถ้วน ไปยัง

ภูเขาคันธมาทน์. กุลบุตรแม้นั้น บำเพ็ญบุญในที่นั้นตลอดชีวิต จุติจาก

อัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ถือปฏิสนธิในเรือนแห่งอุสภเศรษฐี

ในจัมปานคร จำเดิมแต่กาลที่ท่านถือปฏิสนธิ กองแห่งโภคะเป็นอันมาก

เจริญยิ่งแก่เศรษฐี. ในวันที่ท่านเกิด ท่านได้เป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยมหา-

สักการะในนครทั้งสิ้น, เพราะเหตุที่ท่านบริจาคผ้ากัมพลแดงมีค่า ๑๐๐,๐๐๐

แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าในกาลก่อน ท่านได้มีอัตภาพมีสีดังทองคำ และ

ละเอียดอ่อนยิ่งนัก ด้วยเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า โสณะ,

ท่านเจริญด้วยบริวารใหญ่ พื้นฝ่ามือและฝ่าเท้าของท่าน ได้มีสีดังดอก-

ชะบา. ขนทั้งหลายวนเป็นวงดังรูปต่างหูเพชรเกิดที่ฝ่าเท้า สัมผัสอ่อน

เหมือนฝ้ายที่ชีแล้วตั้งร้อยครั้ง เมื่อท่านเจริญวัยแล้ว พวกญาติได้พากัน

สร้างปราสาท ๓ หลัง อันสมควรแก่ ๓ ฤดู ให้บำรุงด้วยฟ้อนรำ. ท่าน

เสวยสมบัติใหญ่ในที่นั้น ย่อมอยู่อาศัยเหมือนเทพกุมาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 451

ครั้นเมื่อพระศาสดาของเราทั้งหลาย บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว

ทรงประกาศธรรมจักรอันบวร เสด็จเข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์อยู่ ท่านถูก

พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้เข้าเฝ้า ท่านจึงไปยังกรุงราชคฤห์พร้อมด้วย

ชาวบ้าน ๘๐,๐๐๐ คน ไปยังสำนักพระศาสดา ฟังธรรมแล้วได้ศรัทธา

ให้มารดาบิดาอนุญาตแล้ว ได้บรรพชาอุปสมบทในพระศาสนา เรียน

กรรมฐานในสำนักพระศาสดา อยู่ในสีตวัน เพื่อหลีกเลี่ยงการคลุกคลีด้วย

หมู่ชน คิดว่า ร่างกายของเราละเอียดอ่อน เราไม่อาจบรรลุสุขได้โดย

ง่ายเลย เราควรจะทำกายให้ลำบากกระทำสมณธรรม ดังนี้แล้ว อธิษฐาน

เฉพาะที่จงกรมเท่านั้น หมั่นประกอบความเพียร แม้ฝ่าเท้าพุพองขึ้น

ได้มุ่งเพ่งเอาเวทนา กระทำความหมั่น ก็ไม่สามารถเพื่อให้คุณวิเศษเกิด

ขึ้นได้ เพราะปรารภความเพียรเกินไป จึงคิดว่า เราแม้พยายามอยู่อย่างนี้

ก็ไม่อาจให้มรรคหรือผลเกิดขึ้นได้ เราจะประโยชน์อะไรด้วยการบรรพชา

เราจะสึกบริโภคโภคะและจักบำเพ็ญบุญ.

พระศาสดาทรงทราบวาระจิตของท่าน จึงเสด็จไปในที่นั้น ทรง

โอวาทด้วยพระโอวาทที่เปรียบด้วยพิณ เมื่อจะทรงแสดงวิธีประกอบความ

เพียรให้สม่ำเสมอ จึงให้ชำระพระกรรมฐานแล้วเสด็จไปยังเขาคิชฌกูฏ.

ฝ่ายพระโสณเถระได้โอวาทในที่พร้อมพระพักตร์พระศาสดา ประกอบ

ความเพียรให้สม่ำเสมอ บำเพ็ญวิปัสสนาดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า :-

เราได้ให้ทำที่จงกรม ซึ่งทำการฉาบทาด้วยปูนขาว

ถวายแด่พระมุนีพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้เป็นเชษฐบุรุษ

๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๔๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 452

ของโลก ผู้คงที่ เราได้เอาดอกไม้ต่าง ๆ สี ลาดที่จงกรม

ทำเพดานบนอากาศแล้ว ทูลเชิญพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดให้

ทรงเสวย เวลานั้น เราประนมอัญชลีถวายบังคมพระองค์

ผู้มีวัตรอันงาม แล้วมอบถวายศาลารายแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศาสดายอดเยี่ยมแห่ง

โลก พระจักษุ ทรงรู้ความดำริของเรา จึงอนุเคราะห์รับ

ไว้ พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นทักขิไณยบุคคลในโลก พร้อม

ทั้งเทวโลก ครั้นทรงรับแล้ว ประทับนั่ง ณ ท่ามกลาง

ภิกษุสงฆ์แล้ว ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดมีจิตโสมนัส

ได้ถวายศาลารายแก่เรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่าน

ทั้งหลายจงฟังเรากล่าว รถอันเทียมด้วยม้าพันหนึ่ง

จักปรากฏแก่ผู้นี้พร้อมเพรียงด้วยบุญกรรม ในเวลา

ใกล้ตาย ผู้นี้จักไปสู่เทวโลกด้วยยานนั้น เทวดา

ทั้งหลายจักพลอยบันเทิง ในเมื่อผู้นี้ไปถึงภพอันดี

วิมานอันควรค่ามาก เป็นวิมานประเสริฐฉาบทาด้วยต้น

แก้ว ประกอบด้วยปราสาทอันประเสริฐ จักครอบงำ

วิมานอื่น ผู้นี้จะรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัป

จักได้เป็นท้าวเทวราชตลอด ๒๕ กัป และจักได้เป็น

พระเจ้าจักรพรรดิตลอด ๗๗ กัป พระเจ้าจักรพรรดินั้น

แม้ทั้งหมดมีพระนามเดียวกันว่า ยโสธร ผู้นี้ได้เสวย

สมบัติทั้งสองแล้ว ก่อสร้างสั่งสมบุญ จักได้เป็นพระเจ้า

จักรพรรดิใน ๒๘ กัป [อีก] แม้ในภพนั้น จักมีวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 453

อันประเสริฐ ที่วิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตให้ ผู้นี้จักครอง

บุรี มีเสียง ๑๐ อย่างต่าง ๆ กัน ในกัปจะนับประมาณ

มิได้แต่กัปนี้ ผู้นี้จักได้เป็นพระราชารักษาแผ่นดิน มี

ฤทธิ์มาก มีพระนามชื่อว่า โอกกากะ อยู่ในแว่นแคว้น

นางกษัตริย์ผู้มีวัยอันประเสริฐ มีชาติสูงกว่าหญิง ๖ หมื่น

ทั้งหมด จักประสูติเป็นพระราชบุตรและพระราชบุตรี ๘

พระองค์ ครั้นประสูติพระราชบุตรและพระราชบุตรี ๙

พระองค์แล้ว จักสิ้นพระชนม์ พระเจ้าโอกกากราชจักทรง

อภิเษกนางกัญญาผู้เป็นที่รัก กำลังรุ่น เป็นมเหสี พระนาง

จักยังพระเจ้าโอกกากราชให้โปรดปรานแล้วได้พร ครั้น

พระนางได้พรแล้ว จักให้ขับไล่พระราชบุตรและพระราช-

บุตรี พระราชบุตรและพระราชบุตรีทั้งหมดนั้นถูกขับไล่

แล้ว จักไปยังภูเขา เพราะกลัวความปะปนด้วยชาติ

พระราชบุตรทั้งหมดจะสมสู่กับพระกนิษฐภคินี ส่วน

พระเชษฐภคินีพระองค์หนึ่งจักเป็นที่เคารพ. เพราะเป็น

โรคพยาธิ กษัตริย์ทั้งหลาย นำ (พระพี่นาง) ไปประทับ

ในโพรงใต้ดิน ชาติของเราอย่าปะปนเลย. กษัตริย์องค์หนึ่ง

(โกลิยะ) จึงทรงนำมาแล้ว จักสมสู่กับพระเชษฐภคินีนั้น

ตั้งแต่นั้น ความปะปนแห่งสกุลโอกกากะได้มีแล้ว

พระโอรสของกษัตริย์เหล่านั้นจักมีพระนามว่าโกลิยะ โดย

ชาติ จักได้เสวยโภคสมบัติ อันเป็นของมนุษย์มิใช่น้อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 454

ในภพนั้น ผู้นี้เคลื่อนจากกายนั้นแล้วจักไปสู่เทวโลก แม้

ในเทวโลกนั้น จักได้วิมานอันประเสริฐ เป็นที่รื่นรมย์ใจ

ผู้นี้อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากเทวโลกมาสู่

ความเป็นมนุษย์ จักมีชื่อว่าโสณะ จักปรารภความเพียร

มีใจแน่วแน่ ตั้งความเพียร ในศาสนาของพระศาสดา

กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะนิพพาน พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดมศากยบุตร ผู้ประเสริฐ

ผู้รู้วิเศษ เป็นมหาวีระ ทรงเห็นคุณอนันต์ จักตั้งไว้ใน

ตำแหน่งเลิศ เมื่อฝนตกในที่ประมาณ ๔ นิ้ว หญ้า

ประมาณ ๔ นิ้ว ลมซัด เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้คงที่

ซึ่งทรงประกอบความเพียร ความถึงที่สุดไม่มียิ่งขึ้นไป

กว่านั้น เรามีตนฝึกแล้ว ในการฝึกอันอุดม เราตั้งจิตไว้

ดีแล้ว เราปลงภาระทั้งปวงลงแล้ว เป็นผู้มีอาสวะดับแล้ว

พระอังคีรสมหานาค มีพระชาติสูงดังพระยาไกรสร

ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในเอต-

ทัคคสถาน คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘

และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนา

เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็แลครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของตน จึงได้

กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยอำนาจอุทาน และด้วยอำนาจการพยากรณ์พระ-

อรหัตผลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 455

ผู้ใดเป็นผู้สำเร็จความปรารถนา เป็นผู้สูงสุดในแว่น-

แคว้นของพระเจ้าอังคะ วันนี้ ผู้นั้นนั่นมีนามว่าโสณะ

เป็นผู้เยี่ยมในธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ภิกษุ

พึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์เบื้องบน ๕

และพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุผู้ล่วงธรรมเป็นเครื่อง

ข้อง ๕ ท่านเรียกว่า ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ศีล สมาธิ และ

ปัญญา ของภิกษุผู้มีนานะเพียงดังว่าไม้อ้ออันยกขึ้นแล้ว

ผู้ประมาท ยินดีในอายตนะอันมีในภายนอก ย่อมไม่ถึง

ความบริบูรณ์ กิจใดที่ควรทำ ภิกษุเหล่านี้มาละทิ้งกิจ

อันนั้นเสีย แต่มาทำกิจที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายย่อม

เจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้มีมานะเพียงดังไม้อ้ออันยกขึ้น

แล้ว เป็นผู้ประมาท ส่วนภิกษุเหล่าใดปรารภกายคตาสติ

ด้วยดีเป็นนิตย์ ภิกษุเหล่านั้นกระทำกรรมที่ควรทำเนือง-

นิตย์ ย่อมไม่เสพกรรมมิใช่กิจ อาสวะของภิกษุเหล่านั้น

ผู้มีสติสัมปชัญญะ ย่อมถึงความสิ้นสูญ เมื่อมีทางตรง

พระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้แล้ว ขอท่านทั้งหลายจงดำเนิน

ไปเถิด อย่าพากันกลับ จงตักเตือนตนด้วยตนเอง พึง

น้อมตนเข้าไปสู่นิพพาน เมื่อเราปรารภความเพียร พระ-

ศาสดาผู้มีจักษุยอดเยี่ยมในโลก ได้ทรงแสดงธรรมอุปมา

ด้วยสายพิณสอนเรา เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว

ยินดีอยู่ในพระศาสนา ยังสมถภาวนาให้เกิดขึ้น เพื่อบรรลุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 456

ประโยชน์อันสูงสุด เราบรรลุวิชชา ๓ แล้ว คำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว จิตของเราผู้น้อมไป

ในเนกขัมมะ ในความวิเวกแห่งจิต ในความไม่เบียด-

เบียน ในความสิ้นไปแห่งอุปาทาน ในความสิ้นตัณหา

และความไม่หลงใหลแห่งใจ ย่อมหลุดพ้นโดยชอบ

เพราะเห็นความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ การสั่งสมย่อมไม่มี

แก่ภิกษุนั้น ผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบ มีจิตรักสงบ เสร็จ

กิจแล้ว กิจอื่นที่จะพึงทำอีกไม่มี ภูเขาศิลาล้วนเป็นแท่ง

ทึบ ย่อมไม่สะเทือนด้วยลมฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส

โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งสิ้น ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์

และอนิฏฐารมณ์ ย่อมไม่ทำจิตของบุคคลผู้คงที่ให้หวั่น-

ไหวได้ฉันนั้น จิตของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว

ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไร ๆ เพราะผู้คงที่นั้นพิจารณา

เห็นความเสื่อมไปแห่งอารมณ์นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาหุ รฏฺเ สมุกฺกฏฺโ ความว่า ผู้ใด

เป็นผู้สูงสุด คือประเสริฐสุดโดยชอบ คืออย่างยิ่ง ด้วยโภคสมบัติและด้วย

อิสริยสมบัติ พร้อมด้วยชาวบ้าน ๘๐,๐๐๐ คนในอังครัฐ.

บทว่า รญฺโ อคฺคสฺส ปทฺธคู ประกอบความว่า เป็นบริวาร

แห่งพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นอธิบดีในอังครัฐ เพราะอรรถว่าเป็นที่ยินดี

แห่งบริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔ เป็นคหบดีวิเศษ เป็นกุฎุมพีในรัฐของ

พระเจ้าพิมพิสารนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 457

บทว่า สฺาชฺชฺ ธมฺเมสุ อุกฺกฏฺโ ความว่า พระโสณะนั้นเป็นผู้

สูงสุดในโลกุตรธรรมในวันนี้ คือในบัดนี้ แม้ในกาลเป็นคฤหัสถ์ ท่าน

ก็เป็นผู้สูงสุดกว่าใครๆ ทีเดียว บัดนี้แม้ในเวลาเป็นบรรพชิต ท่านก็เป็น

ผู้สูงสุดเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงตนให้เหมือนคนอื่น.

บทว่า ทุกฺขสฺส ปารคู ความว่า ท่านถึงฝั่ง คือถึงที่สุดแห่งทุกข์

ในวัฏฏะทั้งสิ้น, ด้วยคำนั้นท่านจึงยังความเป็นผู้สูงสุดที่กล่าวแล้ว โดย

ไม่แปลกกันให้แปลกกัน เพราะแสดงถึงการบรรลุพระอรหัต.

บัดนี้ท่านเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ด้วยข้อปฏิบัติใด เมื่อจะแสดงข้อ

ปฏิบัตินั้น โดยอ้างถึงพระอรหัตผล จึงกล่าวคาถาว่า ปญฺจ ฉินฺเท ตัด

สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕.

คำแห่งคาถานั้นมีอธิบายว่า บุรุษพึงตัดสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ

๕ อย่าง อันให้ถึงอบายและกามสุคติ ด้วยมรรค ๓ เบื้องต่ำ เหมือนตัด

เชือกที่ผูกไว้ที่เท้าด้วยศัสตราฉะนั้น. บุรุษพึงละสังโยชน์อัน เป็นส่วนเบื้อง

สูง ๕ อัน ให้ถึงรูปภพและอรูปภพ ด้วยอรหัตมรรค เหมือนตัดเชือกที่ผูก

ไว้ที่คอฉะนั้น, ก็แลครั้นละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูงเหล่านั้นได้แล้ว

พึงเจริญ คือพึงทำอินทรีย์ ๕ มีสิทธินทรีย์เป็นต้น ให้เกิดยิ่ง ๆ ขึ้นไป,

ก็ภิกษุผู้เป็นอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ คือธรรม

เครื่องข้องคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ ท่านจึงเรียกว่า

ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว เพราะข้ามโอฆะ ๔ คือ กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ

และอวิชชาโอฆะ.

เมื่อแสดงว่า ก็ปฏิปทานี้ชื่อว่าเป็นความบริบูรณ์แห่งศีล อันข้อ

ปฏิบัติเครื่องข้ามโอฆะนั่นแล และศีลเป็นต้น ย่อมถึงความบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 458

เพราะการละมานะเป็นต้น, ไม่ใช่โดยประการอื่น ท่านจึงกล่าวคาถาว่า

อุนฺนฬสฺส ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุนฺนฬสฺส แปลว่า มีมานะคือความ

ว่างเปล่าอันยกสูงขึ้น.

จริงอยู่ มานะ ท่านเรียกว่า นัฏฐะ ฉิบหาย เพราะเป็นเหมือน

ฉิบหายแล้ว เพราะความเป็นเปล่าโดยความเป็นไปของใจที่ฟูขึ้น

บทว่า ปมตฺตสฺส ได้แก่ ถึงซึ่งความประมาท เพราะการปล่อยสติ.

บทว่า พาหิราสสฺส ความว่า ไหลไปทั่วในอายตนะภายนอก

อธิบายว่า ปราศจากราคะในกามทั้งหลาย.

บทว่า สีล สมาธิ ปญฺา จ, ปาริปูรึ น คจฺฉติ ความว่า เมื่อ

บุคคลนั้นเสพธรรมอันเป็นข้าศึกต่อศีลเป็นต้น อันดับแรกคุณมีศีลเป็นต้น

แม้ที่เป็นโลกิยะ ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ จะป่วยกล่าวไปไยถึงโลกุตร-

ธรรมเล่า.

ในข้อนั้นท่านกล่าวเหตุด้วยคำว่า ก็กิจใด ดังนี้เป็นต้น จริงอยู่

กรรมมีอาทิอย่างนี้ว่า การรักษาศีลขันธ์อันหาประมาณมิได้ จำเดิมแต่

เวลาที่ภิกษุบวชแล้ว การอยู่ป่า การรักษาธุดงค์ ความเป็นผู้มีภาวนา

เป็นที่มายินดี ชื่อว่า กิจ. ก็กิจตามที่กล่าวมาแล้วนี้ อันภิกษุไม่กำหนด

แล้ว คือทิ้งเสียแล้วโดยไม่การทำ.

ชื่อว่า อกิจจะ ได้แก่ กรรมมีอาทิอย่างนี้ว่า การตบแต่งบาตร

จีวร ประคดเอว การผูกอังสะ ร่ม การประดับรองเท้า พัดใบตาล ธมกรก.

กรรมมีอาทิอย่างนี้ว่า การประดับบริขาร ความเป็นผู้มากด้วยปัจจัย

ชื่อว่าไม่ใช่กิจของภิกษุ กิจนั้นภิกษุเหล่าใดการทำ อาสวะทั้ง ๔ ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 459

เจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้ชื่อว่ามีมานะดังไม้อ้อยกขึ้นแล้ว เพราะยกมานะ

เพียงว่าไม้อ้อขึ้นประพฤติ ชื่อว่าผู้ประมาทเพราะปล่อยสติ.

ส่วนคุณมีปัญญาเป็นต้น เจริญแก่ภิกษุเหล่าใด เพื่อจะแสดงภิกษุ

เหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า เยส ดังนี้ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุสมารทฺธา ความว่า ประคองความ

เพียรไว้ดีแล้ว.

บทว่า กายคตาสติ ได้แก่ กายานุปัสสนาภาวนา.

บทว่า อกิจฺจ เต ความว่า กิจของท่านนั้น คือกิจมีการตบแต่ง

บาตรเป็นต้น.

บทว่า น เสวนฺติ ได้แก่ ย่อมไม่ทำ.

บทว่า กิจฺเจ ได้แก่ กิจมีการคุ้มครองคุณคือศีลอันหาประมาณ

มิได้ อันภิกษุพึงทำ จำเดิมแต่กาลที่ตนบวชแล้ว.

บทว่า สาตจฺจการิโน แปลว่า ผู้มีอันกระทำติดต่อ อธิบายว่า

อาสวะทั้ง ๔ ย่อมถึงความพินาศ คือถึงความสิ้นไป ถึงความไม่มีแก่สัตว์

เหล่านั้น ผู้ชื่อว่า มีสติ เพราะไม่อยู่ปราศจากสติ. ชื่อว่า ผู้มีสัมปชัญญะ

ด้วยสัมปชัญญะ ๔ คือ สาตถกสัมปชัญญะ สัปปายสัมปชัญญะ โคจร-

สัมปชัญญะ อสัมโมหสัมปชัญญะ.

บัดนี้ เมื่อจะให้โอวาทแก่ภิกษุผู้อยู่ในสำนักของตน จึงกล่าวคาถา

ว่า อุชุมคฺคมฺหิ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุชุมคฺคมฺหิ อกฺขาเต ความว่า เมื่อ

พระศาสดาตรัสพระอริยมรรค อันเป็นมัชฌิมปฏิปทา เพราะเว้นที่สุด ๒

อย่าง และเพราะละความคดกายเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 460

บทว่า คจฺฉถ แปลว่า จงดำเนินไป.

บทว่า มา นิวตฺตถ ได้แก่ จงอย่าหยุดเสียในระหว่าง.

บทว่า อตฺตนา โจทยตฺตาน ความว่า กุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์

ในพระศาสนานี้ ตักเตือนอยู่ซึ่งตนด้วยตนเอง มีการพิจารณาภัยในอบาย

เป็นต้น.

บทว่า นิพฺพานมภิหารเย ความว่า พึงนำตนไปสู่พระนิพพาน

คือพึงเข้าไปใกล้พระนิพพาน อธิบายว่า พึงปฏิบัติโดยประการที่จะทำ

พระนิพพานนั้นให้แจ้ง.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงการปฏิบัติของตนว่า แม้เราปฏิบัติอย่างนี้แหละ

ท่านจึงกล่าวว่า อจฺจารทฺธมฺหิ ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า อจฺจารทฺธมฺหิ วีริยมฺหิ ความว่า เมื่อเราเจริญวิปัสสนา ไม่

กระทำความเพียรให้กิจเสมอด้วยสมาธิ ประคองความเพียรอย่างเหลือเกิน

ก็ความที่ผู้นั้นปรารภความเพียรเกินไป ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า วีโณปม กริตฺวา เม ความว่า เมื่อท่านพระโสณะเกิดความ

คิดขึ้นว่า สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งเเล ปรารภความ

เพียรย่อมอยู่ เราเป็นผู้หนึ่งในสาวกเหล่านั้น ก็ถ้าว่า จิตของเราย่อมหลุด

พ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น เพราะฉะนั้น เราจักสึก. พระ-

ศาสดาทรงแสดงพระองค์ในที่เฉพาะหน้าของท่านโสณะนั้น จึงตรัสถามว่า

เพราะเหตุไร โสณะ เธอจึงเกิดความคิดขึ้นว่าจักสึก เมื่อก่อนเธอเป็น

ผู้ครองเรือนฉลาดในเสียงแห่งสายพิณ. เมื่อท่านทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า

จึงตรัสว่า โสณะ เธอสำคัญข้อนั้นเป็นอย่างไร ? ในกาลใดสายพิณของเธอ

ตึงเกินไป อนึ่ง สายพิณของเธอย่อมมีเสียงหรือควรแก่การงานในสมัยนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 461

บ้างหรือ เมื่อท่านโสณะทูลว่า ก็ข้อนั้นไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า จึง

ตรัสว่า โสณะ เธอสำคัญข้อนั้นเป็นอย่างไร ในกาลใดสายพิณของเธอ

หย่อนเกินไป ในสมัยนั้นพิณของเธอย่อมมีเสียง หรือควรแก่การงานบ้าง

หรือ เมื่อท่านโสณะทูลว่า ก็ข้อนั้นไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า

โสณะ เธอสำคัญข้อนั้นเป็นอย่างไร ก็ในกาลใดสายพิณของเธอไม่ตึงเกิน

ไปและไม่หย่อนเกินไป ตั้งอยู่ในคุณอันเสมอ ในสมัยนั้นสายพิณของเธอ

มีเสียง หรือควรแก่การงานบ้างละหรือ เมื่อท่านโสณะทูลว่า เป็นอย่างนั้น

พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า อย่างนั้นนั่นแหละ โสณะ ความเพียรอันปรารภ

เกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรอันหย่อนเกินไป ย่อม

เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้นนั่นแล โสณะ เธอจงตั้งความ

เพียรให้สม่ำเสมอ และจงรู้แจ้งความที่อินทรีย์มีความสม่ำเสมอกัน ดังนี้

ครั้นทรงกระทำพิณให้เป็นอุปมาอย่างนี้แล้ว จึงแสดงธรรมแก่เรา ด้วย

โอวาทอันเปรียบด้วยพิณอันให้เป็นแล้ว.

บทว่า ตสฺสาห วจน สุตฺวา ความว่า เราได้ฟังวีโณปโมวาทสูตร

อันเป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว จึงละความที่ตนเป็น

ผู้ใคร่เพื่อจะสึก อันเกิดขึ้นในระหว่างเสีย ยินดีแล้ว คือยินดียิ่งแล้วใน

ศาสนาของพระศาสดา.

ก็เมื่อจะอยู่ เราจะบำเพ็ญสมถะให้พร้อมมูล ประกอบความเพียรให้

สม่ำเสมอ ยังความที่สมาธิกับวีริยะมีกิจเสมอให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาสมาธิ

ซึ่งมีฌานเป็นที่ตั้งให้ถึงพร้อม บำเพ็ญวิปัสสนา จึงกล่าวประโยชน์ในข้อ

นั้นว่า ด้วยการบรรลุประโยชน์อันสูงสุด.

บทว่า อุตฺตมสฺส ปตฺติยา ความว่า เพื่อบรรลุพระอรหัต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 462

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงประการที่สมถะและวิปัสสนาสำเร็จแก่ผู้ปฏิบัติ

โดยอ้างถึงพระอรหัตผล จึงกล่าวคำว่า เนกฺขมฺเม ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า อธิมุตฺตสฺส ความว่า ผู้ประกอบขวนขวาย โดยภาวะ น้อม

ไป โอนไป เงื้อมไปในเนกขัมมะนั้น อธิบายว่า อันดับแรก เป็นผู้มุ่ง

หน้าต่อบรรพชาก่อน แล้วละกามทั้งหลายและบรรพชา ประกอบการ

ขวนขวายในธรรมอันหาโทษมิได้ มีอาทิอย่างนี้คือ การชำระศีลให้หมด

จด การอยู่ป่า การรักษาธุดงค์ และการประกอบยิ่งในภาวนา.

บทว่า ปวิเวกญฺจ เจตโส ความว่า มีสติน้อมใจไปสู่ความสงัด

และน้อมไปในเนกขัมมะอย่างนี้อยู่ คือประกอบขวนขวายในวิเวก โดยยัง

ฌานหมวดสี่และฌานหมวดห้าให้บังเกิด.

บทว่า อพฺยาพชฺฌาธิมุตฺตสฺส ความว่า น้อมใจไปโดยความเป็นผู้

หมดทุกข์ ในเพราะไม่เบียดเบียน คือยังฌานสมาบัติให้เกิดแล้ว ขวนขวาย

ในความสุขอันเกิดแต่สมถะ.

บทว่า อุปาทานกฺขยสฺส จ ความว่า น้อมใจไปในที่สุดแห่งความ

สิ้นไปแห่งอุปาทานทั้ง ๔ คือในพระอรหัต. จริงอยู่ บทว่า อุปาทา

นกฺขยสฺส นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่า

กระทำฌานตามที่ตนบรรลุแล้วนั้น ให้เป็นบาทแล้ว ตามประกอบ

วิปัสสนา เพื่อบรรลุพระอรหัต.

บทว่า ตณฺหกฺขยาธิมุตฺตสฺส ความว่า ชื่อว่า ตัณหักขยะ เพราะ

เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา, ได้แก่พระนิพพาน, น้อมไปในพระนิพพานนั้น

คือน้อมไป โอนไป เงื้อมไปในนิโรธ โดยเห็นอุปาทานโดยความเป็นภัย

และเห็นความไม่มีอุปาทานโดยปลอดภัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 463

บทว่า อสมฺโมหญฺจ เจตโส ความว่า น้อมจิตไปสู่ความเป็นไป

โดยไม่หลง ด้วยสามารถเเห่งสัมปชัญญะ คือความไม่หลง. หรือน้อมจิต

ไปสู่อริยมรรคอันเป็นความไม่หลง ด้วยการถอนความหลงได้โดย

เด็ดขาด.

บทว่า ทิสฺวา อายตนุปฺปาท ความว่า เพราะเหตุที่ได้เห็นการเกิด

ขึ้นแห่งอายตนะทั้งหลาย มีจักษุเป็นต้น โดยปัจจัยตามที่เป็นของตน

และเห็นความดับ โดยเป็นข้าศึกกับความเกิดนั้น ด้วยมรรคปัญญา อัน

ประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา.

บทว่า สมฺมา จิตฺต วิมุจฺจติ ความว่า จิตย่อมหลุดพ้น จากอาสวะ

ทั้งปวง โดยชอบ คือโดยเหตุ โดยญายะ โดยลำดับแห่งมรรค.

ในคำว่า ตสฺส สมฺมา วิมุตฺตสฺส เป็นต้น มีความสังเขปดังต่อไป

นี้ว่า :-

จิตนั้นหลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง โดยนัยที่กล่าวแล้ว คือโดย

ชอบแท้ เพราะเหตุนั้นนั่นแล ความก่อขึ้นแห่งกุศลหรืออกุศลที่ภิกษุ

ผู้ขีณาสพ มีจิตสงบเพราะสงบโดยส่วนเดียว กระทำไว้ย่อมไม่มี เพราะ

ถอนขึ้นด้วยมรรคนั่นเอง กิจที่ควรทำต่างด้วยปริญญากิจเป็นต้น ย่อมไม่มี

เพราะทำกิจเสร็จแล้ว ภูเขาอันล้วนแล้วด้วยหินเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่

สะเทือน ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยลมตามปกติฉันใด ธรรมคืออารมณ์มีรูป

เป็นต้น อันน่าปรารถนาและไม่ปรารถนา ของจิตของภิกษุผู้ขีณาสพ

ก็ฉันนั้น ไม่ยังจิตของท่านผู้คงที่ คือผู้ถึงความเป็นผู้คงที่ ดำรงมั่นไม่

เอนเอียง เป็นจิตปราศจากกิเลสเครื่องประกอบ เพราะความเป็นผู้ละ

ความโศกได้ทั้งหมด ไม่หวั่น ไม่ไหวได้ และท่านย่อมเข้าผลสมาบัติเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 464

แจ้งอยู่ตลอดกาลโดยกาล แห่งธรรมคืออารมณ์นั้น ย่อมตามเห็นความ

เสื่อมคือความดับ ได้แก่มีสภาวะแตกไปทุกขณะ เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงพยากรณ์พระอรหัตผล.

จบอรรถกถาโสณโกฬิวิสเถรคาถาที่ ๑

จบปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา

เตรสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 465

เถรคาถา จุททสกนิบาต

๑. เรวตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเรวตเถระ

[๓๘๑] นับแต่เราออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ไม่รู้สึกถึงความ

ดำริอันไม่ประเสริฐประกอบด้วยโทษเลย ในระยะกาล

นานที่เราบวชอยู่นี้ เราไม่รู้สึกถึงความดำริว่า ขอให้สัตว์

เหล่านั้น จงถูกฆ่า ถูกเขาเบียดเบียน จงได้รับทุกข์

เรารู้สึกแต่การเจริญเมตตาอันหาประมาณมิได้ อบรมสั่ง-

สมดีแล้วโดยลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว

เราได้เป็นมิตรเป็นสหายของสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้อนุเคราะห์

สัตว์ทั้งปวง ยินดีแล้วในการไม่เบียดเบียน เจริญเมตตา-

จิตอยู่ทุกเมื่อ เรายังจิตอันไม่ง่อนแง่น ไม่กำเริบให้

บันเทิงอยู่ เจริญพรหมวิหารอันบุรุษผู้เลวทรามไม่ซ่องเสพ

สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เข้าทุติยฌานอัน

ไม่มีวิตกวิจาร ประกอบด้วยความเป็นผู้นิ่งเป็นอริยะ โดย

แท้จริง ภูเขาศิลาล้วนไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่คงที่ แม้ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้น ย่อมไม่หวั่นไหวดุจบรรพตเพราะสิ้นโมหะ

ความชั่วแม้มีประมาณเท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏ

เหมือนประมาณเท่าหมอกเมฆ แต่ท่านผู้ไม่มีกิเลสเครื่อง

ยั่วยวน ผู้แสวงหาความสะอาดเป็นนิตย์ เมืองหน้าด่าน

เป็นเมืองอันเขาคุ้มครองแล้วทั้งภายในและภายนอกฉันใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 466

ท่านทั้งหลายจงคุ้มครองตนฉันนั้นเถิด ขณะอย่าได้ล่วง

เลยท่านทั้งหลายไปเสีย เราไม่ยินดีต่อความตาย ไม่

เพลิดเพลินต่อความเป็นอยู่ แต่เรารอเวลาตาย เหมือน

ลูกจ้างคอยให้หมดเวลาทำงานฉะนั้น เราไม่ยินดี ความตาย

ไม่เพลิดเพลินต่อความเป็นอยู่ แต่เรามีสติสัมปชัญญะรอท่า

เวลาตาย พระศาสดาเราคุ้นเคยแล้ว เราทำคำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว

ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพแล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ที่

กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการแล้ว บรรลุถึงความ

สิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาท

ให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นคำสอนของเรา เราจักอำลาท่าน

ทั้งหลายปรินิพพานในบัดนี้ เพราะเราเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว

จากกิเลสทั้งปวง.

จบเรวตเถรคาถา

อรรถกถาจุททสกนิบาต

อรรถกถาขทิรวนิยเรวตเถรคาถาที่ ๑

ใน จุททสกนิบาต คาถาของท่านพระขทิรวนิยเรวตเถระ มีคำ

เริ่มต้นว่า ยถา อห ดังนี้, เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 467

คาถาของท่าน บางอย่างมาแล้วในเอกนิบาตในหนหลัง, ก็ในเรื่อง

นั้นท่านแสดงถึงเหตุเพียงให้เกิดสติในหลาน ๆ ของตน เพราะฉะนั้น

คาถาท่านจึงสงเคราะห์เข้าในเอกนิบาต แต่คาถาเหล่านี้ ท่านประกาศถึง

ข้อปฏิบัติจำเดิมแต่พระเถระบวชแล้ว จนถึงปรินิพพาน ยกขึ้นสังคายนา

ในจุททสกนิบาตนี้.

ในข้อนั้น เหตุเกิดเรื่องท่านกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. แต่ข้อนี้

มีความแปลกกันดังต่อไปนี้ว่า ได้ยินว่าพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว ไป

ยังที่อุปัฏฐากพระศาสดาและของพระมหาเถระ มีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้น

อยู่ในที่นั้นเพียงวันเล็กน้อยเท่านั้น ก็กลับมาป่าไม้ตะเคียนนั่นแล ยับยั้ง

อยู่ด้วยสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ และด้วยพรหมวิหารธรรม.

เมื่อกาลล่วงไปด้วยอาการอย่างนี้ วัยถึงคร่ำคร่าเจริญโดยลำดับ.

วันหนึ่งท่านไปยังที่บำรุงพระพุทธเจ้า อยู่ในที่ไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี ใน

ระหว่างทาง. ก็โดยสมัยนั้น พวกโจรกระทำการปล้นในพระนคร ถึงพวก

มนุษย์ผู้อารักขาไล่ติดตาม พากันหนีไปทิ้งห่อสิ่งของที่ลักมาในที่ใกล้พระ-

เถระ. พวกมนุษย์ติดตามเห็นภัณฑะในที่ใกล้พระเถระ แล้วพาไปด้วย

หมายว่าเป็นโจร จึงแสดงแด่พระราชาว่า ผู้นี้เป็นโจรพระเจ้าข้า. พระราชา

รับสั่งให้ปล่อยพระเถระแล้วตรัสถามว่า ท่านขอรับ ท่านกระทำโจรกรรมนี้

หรือไม่ ? พระเถระเพื่อจะประกาศกรรมเช่นนั้น ที่ตนไม่เคยกระทำตั้งแต่

เกิดมาก็จริง ถึงกระนั้นกรรมนั้นอาตมาก็มิได้ทำ เพราะตัดกิเลสได้เด็ด

ขาด และไม่ควรกระทำในกรรมเช่นนั้น เมื่อจะแสดงธรรมแก่ภิกษุผู้อยู่ใน

ที่ใกล้และแก่พระราชา จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 468

นับแต่เราออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ไม่รู้สึกถึงความ

ดำริอันไม่ประเสริฐ ประกอบด้วยโทษเลย ในระยะกาล

นานที่เราบวชอยู่นี้ เราไม่รู้สึกถึงความดำริว่า ขอให้

สัตว์เหล่านั้นจงถูกฆ่า ถูกเขาเบียดเบียน จงได้รับทุกข์

เรารู้สึกแต่การเจริญเมตตาอันหาประมาณมิได้ อบรม

สั่งสมดีแล้วโดยลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้

แล้ว เราได้เป็นมิตรเป็นสหายของสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้

อนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง ยินดีแล้วในการไม่เบียดเบียน

เจริญเมตตาจิตอยู่ทุกเมื่อ เรายังจิตอันไม่ง่อนแง่น ไม่

กำเริบให้บันเทิงอยู่ เจริญพรหมวิหารอันบุรุษผู้เลวทราม

ไม่ซ่องเสพ สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เข้า

ทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร ประกอบด้วยความเป็นผู้นิ่ง

เป็นอริยะ โดยแท้จริง ภูเขาศิลาล้วนไม่หวั่นไหว ตั้ง

อยู่คงที่ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น ย่อมไม่หวั่นไหวดุจ

บรรพต เพราะสิ้นโมหะ ความชั่วแม้มีประมาณเท่า

ปลายขนทราย ย่อมปรากฏเหมือนประมาณเท่าหมอก-

เมฆ แก่ท่านผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ผู้แสวงหาความ

สะอาดเป็นนิตย์ เมืองหน้าด่านเป็นเมืองอันเขาคุ้มครอง

แล้วทั้งภายในและกายนอกฉันใด ท่านทั้งหลายจงคุ้ม-

ครองตนฉันนั้นเถิด ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไป

เสีย เราไม่ยินดีต่อความตาย ไม่เพลิดเพลินต่อความ

เป็นอยู่ แต่เรารอเวลาตาย เหมือนลูกจ้างคอยให้หมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 469

เวลาทำงานฉะนั้น เราไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิดเพลิน

ความเป็นอยู่ แต่เรามีสติสัมปชัญญะรอท่าเวลาตาย

พระศาสดาเราคุ้นเคยแล้ว เราทำคำสั่งสอนของพระ-

พุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหา

เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว ได้บรรลุประโยชน์ที่กุลบุตรออก

บวชเป็นบรรพชิตต้องการแล้ว บรรลุถึงความสิ้นสังโยชน์

ทั้งปวง ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม

เถิด นี้เป็นคำสอนของเรา เราจักอำลาท่านทั้งหลาย

ปรินิพพานในบัดนี้ เพราะเราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลส

ทั้งปวง.

ในคาถานั้น มีการพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้ว่า บทว่า

อิมสฺมึ ทีฆมนฺตเร ประกอบความว่า ในกาลใดเราเป็นบรรพชิต ตั้งแต่

นั้นมาก็นี้เป็นกาลนานของเรา ในกาลระยะยาวเช่นนี้ เราไม่รู้ความตรึก

อันประกอบด้วยโทษอันไม่ประเสริฐ ด้วยอำนาจอภิชฌาว่า นี้เป็นเหตุ

ของเรา หรือด้วยอำนาจพยาบาทว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า.

บทว่า เมตฺตญฺจ อภิชานามิ ความว่า ชื่อว่า เมตตา เพราะเป็น

เหตุเยื่อใยคือสิเนหา ได้แก่ความไม่พยาบาท, ชื่อว่า เมตตา เพราะมี

ความรักใคร่ ความเจริญเมตตา ได้แก่ พรหมวิหารธรรมมีเมตตาเป็น

อารมณ์, ซึ่งเมตตานั้น, ท่านสงเคราะห์พรหมวิหารนอกนี้ ด้วยศัพท์ว่า

เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา.

บทว่า อภิชานามิ ความว่า เรารู้โดยเฉพาะหน้า, จริงอยู่ เมื่อ

พิจารณาถึงฌานที่บรรลุแล้ว เป็นอันชื่อว่ามุ่งหน้าต่อปัจจเวกขญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 470

เพื่อเลี่ยงคำถามว่าประมาณเท่าไร ท่านจึงกล่าวว่า หาประมาณมิได้เป็นต้น.

ก็ฌานนั้นนั้นชื่อว่าหาประมาณมิได้ เพราะมีสัตว์หาประมาณมิได้เป็น

อารมณ์ เหมือนฌานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

ประกอบความว่า เรารู้เฉพาะฌานนี้ที่ชื่อว่า เจริญดีแล้ว เพราะ

เจริญด้วยดี ที่ชื่อว่าอบรม คือเสพคุ้นแล้วโดยลำดับ คือตามลำดับ

อย่างนี้ คือเมตตาที่หนึ่ง จากนั้นกรุณา จากนั้นมุทิตา ภายหลังอุเบกขา,

ชื่อว่าเป็นมิตรของคนทั้งปวง เพราะเป็นมิตรของสัตว์ทั้งปวง หรือคน

ทั้งปวงเป็นมิตรของเรา, จริงอยู่ ผู้เจริญเมตตา ย่อมเป็นที่รักของสัตว์

ทั้งหลาย.

แม้ในบทว่า สพฺพสโข นี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า สพฺพภูตานุกมฺปโก ได้แก่ผู้อนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง.

บทว่า เมตฺตจิตฺตญฺจ ภาเวมิ ความว่า เรายังจิตให้เกิด คือยังจิตที่

ประกอบคือที่สัมปยุตด้วยเมตตาให้เจริญโดยพิเศษ หรือประกาศเพราะ

ถึงความสูงสุดในภาวนาแม้ในเมื่อไม่กล่าว. อีกอย่างหนึ่งว่า เราเจริญเมตตา

จิต, ความแห่งคำนั้นมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.

บทว่า อพฺยาปชฺชรโต ความว่า ยินดียิ่งในความเบียดเบียน คือ

ในการนำประโยชน์เกื้อกูลเข้าไปให้แก่สัตว์ทั้งหลาย.

บทว่า สทา แปลว่า ทุกๆ กาล ด้วยคำนั้นท่านแสดงถึงการกระทำ

ความเพียรเป็นไปติดต่อในกาลนั้น.

บทว่า อสหิร แปลว่า ไม่ง่อนแง่น คือไม่ถูกราคะอันเป็นข้าศึก

ใกล้ไม่คร่ามา.

บทว่า อสงฺกุปฺป แปลว่า ไม่กำเริบ คือไม่กำเริบด้วยพยาบาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 471

อันเป็นข้าศึกไกล. ครั้นกระทำให้เป็นอย่างนี้ ย่อมบันเทิงทั่ว คือบันเทิง

ยิ่ง ซึ่งเมตตาจิตของเรา คือเจริญพรหมวิหาร

บทว่า อกาปุริสเสวิต ความว่า เราทำให้เกิดคือเจริญซึ่งเมตตา

พรหมวิหารเป็นต้นอันประเสริฐ คือเลิศ ได้แก่ หาโทษมิได้ อันคนชั่ว

คือต่ำช้าไม่เสพแล้ว หรืออันคนไม่ชั่วคือพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า

เป็นต้นเสพแล้ว .

ครั้นแสดงข้อปฏิบัติของตนด้วย ๕ คาถา โดยยกตนขึ้นแสดงอย่างนี้

บัดนี้เมื่อจะแสดงข้อปฏิบัตินั้น โดยอ้างถึงพระอรหัตผล จึงได้กล่าว ๔

คาถา โดยนัยมีอาทิว่า อวิตกฺก ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิตกฺก สมาปนฺโน ความว่า ถึง

พร้อมซึ่งฌานมีทุติยฌาณเป็นต้น อันเว้นแล้วจากวิตก, ด้วยคำนั้น

พระเถระกล่าวการบรรลุฌานมีทุติยฌานเป็นต้นด้วยตนเอง โดยอ้างถึง

พระอรหัตผล ด้วยพรหมวิหารภาวนา ก็เพราะเหตุที่พระเถระกระทำ

ฌานนั้นนั่นแลให้เป็นบาทแล้ว เจริญวิปัสสนาแล้วยึดเอาพระอรหัต โดย

อาสนะเดียวนั่นเอง ฉะนั้นเมื่อจะแสดงความนั้น โดยอ้างเอาพระอรหัตผล

นั่นแล จึงกล่าวว่า อวิตกฺก สมาปนฺโน ดังนี้แล้วกล่าวว่า สาวกของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เข้าถึงความเป็นผู้นิ่งแบบพระอริยะในขณะ-

นั้น.

ในข้อนั้น สมาบัติอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะไม่มีวจีสังขาร

พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า เป็นความนิ่งแบบพระอริยะ ก็สมาบัติอย่างใด

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า เป็นความนิ่งแบบพระอริยะ เพราะพระบาลีว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อพวกเธอประชุมกัน พึงทำกิจ ๒ อย่าง คือเป็นผู้กล่าวธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 472

หรือเป็นผู้นิ่งแบบพระอริยะ แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาสมาบัติอันสัมปยุต

ด้วยอรหัตผลอันประกอบด้วยฌานที่ ๔.

บัดนี้ เมื่อจะประกาศความที่ตนไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมด้วยอุปมา

เพราะความที่ตนบรรลุพระอรหัตผลนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาว่า ยถาปิ

ปพฺพโต ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปิ ปพฺพโต เสโล ความว่า ภูเขา

อันล้วนแล้วแต่หิน คืออันล้วนแล้วแต่หินเป็นแท่งทึบฉันใด อธิบายว่า

ไม่ใช่ภูเขาดินร่วน ไม่ใช่ภูเขาปนดิน.

บทว่า อจโล สุปฺปติฏฺิโต ความว่า เป็นภูเขามีรากตั้งอยู่แล้ว

ด้วยดี ไม่หวั่นไหวสะเทือนด้วยลมตามปกติ เพราะฉะนั้น พระอรหัตและ

นิพพาน ชื่อว่า ละโมหะได้เด็ดขาด เพราะภิกษุไม่หวั่นไหว เหตุโมหะ

สิ้นไปด้วยอาการอย่างนี้ ดุจภูเขาฉะนั้น คือภิกษุละอกุศลทั้งปวงได้แล้ว

เพราะอกุศลทั้งปวงมีโมหะเป็นมูล ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้งหลาย

เหมือนภูเขานั้นย่อมไม่สะเทือนด้วยลมฉะนั้น อีกอย่างหนึ่งอธิบายว่า เพราะ

เหตุที่พระอรหัต และพระนิพพานท่านเรียกว่าธรรมเป็นที่สิ้นโมหะ ฉะนั้น

จึงชื่อว่าโมหักขยา เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ตั้งอยู่ด้วยดีแล้วในอริยสัจ ๔

เพราะเหตุธรรมเป็นที่สิ้นโมหะ และเพราะบรรลุพระนิพพานและอรหัต

แม้ในเวลาไม่เข้าสมาบัติก็ไม่หวั่นไหว เหมือนภูเขา จะป่วยกล่าวไปไย

ถึงผู้เข้าสมาบัติเล่า.

บัดนี้เมื่อจะแสดงว่า ชื่อว่าบาปนี้ ภิกษุผู้มีศีลไม่สะอาดเท่านั้นย่อม

ประพฤติ ส่วนภิกษุผู้มีศีลสะอาดหาประพฤติไม่ ก็บาปสำหรับผู้มีศีลสะอาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 473

นั้น แม้มีประมาณน้อย ก็ปรากฏเป็นของหนัก จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า

อนงฺคณสฺส ดังนี้.

คำแห่งคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ว่า ความชั่วมีประมาณเท่าปลาย

ขนทราย ประมาณเท่าปลายผม แม้มีประมาณเล็กน้อยแห่งบาป ของ

สัปบุรุษผู้ชื่อว่าไม่มีกิเลสเครื่องยียวน เพราะไม่มีกิเลสเครื่องยียวนมีราคะ

เป็นต้น ผู้แสวงหาธรรมอันสะอาดหาโทษมิได้ ตั้งแผ่ทั่วโลกธาตุปรากฏ

เป็นเพียงอากาศ เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ไม่พึงหวังบุคคลผู้เช่นเรา

ในกรรมเห็นปานนี้.

เมื่อจะให้โอวาทว่า เพราะเหตุที่พวกคนอันธพาลทำความว่าร้าย

เห็นปานนั้น ให้เกิดขึ้นแม้ในผู้ไม่มีกิเลส ฉะนั้นผู้ใคร่ต่อประโยชน์

พึงรักษาตนโดยเคารพ. จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า นคร ยถา ดังนี้.

คาถานั้นมีอธิบายว่า เหมือนอย่างว่าปัจจันตนคร อันมนุษย์ชาว

เมืองปัจจันตนครกระทำประตูและกำแพงเป็นต้นให้มั่นคง ชื่อว่าทำให้

มั่นคงในภายใน เมื่อกระทำเชิงเทินแลคูเป็นต้นให้มั่นคง ชื่อว่าทำให้

มั่นคงในภายนอก เพราะฉะนั้น ชื่อว่ากระทำให้เป็นอันคุ้มครองทั้งภายใน

และภายนอกฉันใด พวกเธอทั้งหลายก็ฉันนั้น จงอย่าปล่อยสติที่เธอ

เข้าไปตั้งไว้ ปิดทวารทั้ง ๖ ที่เป็นไปในภายในแล้ว รักษาทวารไว้แล้ว

กระทำทวารเหล่านั้นให้มั่นคง ด้วยการไม่ยึดถือโดยประการที่อายตนะ

ภายนอก ๖ ที่ยึดถือไว้ เป็นไปเพื่อกระทบอายตนะภายใน ไม่ละสติที่

รักษาทวาร โดยไม่ให้เข้าไปสู่อายตนะเหล่านั้น เที่ยวไปอยู่ ชื่อว่าคุ้ม-

ครองตน. เพราะเหตุไร ? เพราะขณะอย่าได้ล่วงเธอทั้งหลายไปเสีย.

จริงอยู่ ขณะทั้งหมดนี้ คือขณะเป็นที่อุบัติแห่งพระพุทธเจ้า ขณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 474

ได้อัตภาพเป็นมนุษย์ ขณะอุบัติในมัชฌิมประเทศ ขณะได้สัมมาทิฏฐิ

ขณะไม่บกพร่องอายตนะ ๖ ย่อมล่วงบุคคลผู้ไม่คุ้มครองตนด้วยอาการ

อย่างนี้, ขณะนั้น อย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสียดังนี้แล.

พระเถระ ครั้นโอวาทบริษัทพร้อมด้วยราชบริพารด้วยคาถานี้ ด้วย

อาการอย่างนี้แล้ว เมื่อจะประกาศความที่ตนมีจิตเสมอในมรณะและชีวิต

และกิจที่ตนทำเสร็จแล้วอีก จึงกล่าวคำว่า นาภินฺนฺทามิ มรณ ไม่ยินดี

ยิ่งซึ่งความตายดังนี้เป็นต้น. คำนั้นมีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เห็นกาลปรินิพพานแห่งตนปรากฏ

จึงให้โอวาทแก่พวกเหล่านั้นโดยสังเขปนั่นแล เมื่อจะประกาศพระนิพพาน

จึงกล่าวคาถาสุดท้าย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปาเทถปฺปมาเทน ความว่า เธอ

ทั้งหลายจงยังสิกขา ๓ มีทานและศีลเป็นต้น ที่ควรให้ถึงพร้อม ให้ถึง

พร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด, จงเป็นผู้ไม่ประมาทในการตามรักษาศีล

อันเป็นไปแก่คฤหัสถ์ อันต่างด้วยประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์

ในเบื้องหน้า ในการตามประกอบสมถะ และวิปัสสนาภาวนา.

บทว่า เอสา เม อนุสาสนี ความว่า การพร่ำสอนว่า ท่านทั้งหลาย

จงไม่ประมาทในทานและศีลเป็นต้น นี้เป็นคำพร่ำสอน คือเป็นโอวาท

ของเรา.

ครั้นแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะถือ

เอาที่สุดแห่งข้อปฏิบัติอันเป็นประโยชน์ตน จึงกล่าวว่า เอาเถอะ เราจัก

ปรินิพพาน เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วในที่ทุกสถาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 475

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปฺปมุตฺโตมฺหิ สพฺพธิ ความว่า เรา

เป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสและภพทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง เพราะ

เหตุนั้น เราจักปรินิพพานโดยส่วนเดียวฉะนี้แล.

ก็แล ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว นั่งขัดสมาธิเข้าฌานมีเตโชธาตุเป็น

อารมณ์ เมื่อไฟลุกโพลงอยู่ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

จบอรรถกถาขทิรวนิยเรวตเถรคาถาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 476

๒. โคทัตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโคทัตตเถระ

[๓๘๒] โคอาชาไนยที่ดี อันเขาเทียมแล้วที่แอกเกวียน ย่อม

อาจนำแอกเกวียนไปได้ ไม่ย่อท้อต่อภาระอันหนัก ไม่

ทอดทิ้งเกวียนอันเขาเทียมแล้ว แม้ฉันใด บุคคลเหล่าใด

บริบูรณ์ด้วยปัญญา เหมือนมหาสมุทรอันเต็มด้วยน้ำ

บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ฉันนั้น ย่อมเป็นดัง

อริยธรรมของสัตว์ทั้งหลาย นรชนผู้ตกอยู่ในอำนาจของ

เวลา ตกอยู่ในอำนาจภพน้อยภพใหญ่ ย่อมเข้าถึงความ

ทุกข์และต้องเศร้าโศก คนพาลไม่พิจารณาเห็นตามความ

เป็นจริง ย่อมเดือดร้อนด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ มีใจฟูขึ้น

เพราะเหตุแห่งสุข ๑ มีใจฟุบลงเพราะเหตุแห่งทุกข์ ๑

เหล่าใด ก้าวล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัดในทุกขเวทนา ใน

สุขเวทนา และในอทุกขมสุขเวทนา ชนเหล่านั้นเป็นผู้

ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเหมือนเสาเขื่อน เป็นผู้ไม่ฟูขึ้นและไม่

ฟุบลง ชนเหล่านั้นย่อมไม่คิดอยู่ในลาภ ความเสื่อมลาภ

ในยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์

ทั้งหมด ดังหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัวฉะนั้น.

นักปราชญ์ทั้งหลาย มีความสุขและได้ชัยชนะในที่

ทุกแห่งไป การไม่ได้ลาภโดยชอบธรรม กับการได้ลาภโดย

ไม่ชอบธรรม ทั้งสองอย่างนี้ การไม่ได้ลาภอันขอบธรรม

จะประเสริฐกว่า การได้ลาภอันไม่ชอบธรรมจะประเสริฐ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 477

อะไร คนไม่มีความรู้ มียศ กับคนมีความรู้แต่ไม่มียศ

คนมีความรู้ไม่มียศประเสริฐกว่า คนไม่มีความรู้มียศ

จะประเสริฐอะไร การสรรเสริญจากคนพาลกับการติเตียน

จากนักปราชญ์ การติเตียนจากนักปราชญ์ประเสริฐกว่า

การสรรเสริญจากคนพาลจะประเสริฐอะไร ความสุขอัน

เกิดจากกามคุณกับความทุกข์อันเกิดจากวิเวก ความทุกข์

อันเกิดจากวิเวกประเสริฐกว่า ความสุขอันเกิดจากกาม-

คุณจะประเสริฐอะไร ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรมกับ

ความตายโดยธรรม ความตายโดยธรรมประเสริฐกว่า

ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร ชน

เหล่าใดละกามและความโกรธได้แล้ว มีจิตสงบระงับ

เที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ไม่ติดอยู่ในโลก ชนเหล่านั้น

ไม่มีความรักความชัง บุคคลเจริญโพชฌงค์ ๗ อินทรีย์ ๕

พละ ๕ แล้วบรรลุถึงความสงบอันยอดเยี่ยม หาอาสวะ

มิได้ ย่อมปรินิพพาน.

จบโคทัตตเถรคาถา

ในจุททสกนิบาตนี้ พระเถระ ๒ รูป ผู้มีฤทธิ์มาก คือ พระ-

เรวตเถระ ๑ พระโคทัตตเถระ ๑ ได้ภาษิตคาถารูปละ ๑๔ คาถา

รวมเป็น ๒๘ คาถา ฉะนี้แล.

จบจุททสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 478

อรรถกถาโคทัตตเถรคาถาที่ ๒

คาถาของท่านพระโคทัตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ยถาปิ ภทฺโท

อาชญฺโ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพาน ในภพนั้น ๆ ท่องเที่ยวไปใน

เทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลแห่ง

พ่อค้าเกวียน ในกรุงสาวัตถี โดยชื่อว่า โคทัตตะ เจริญวัยแล้ว เมื่อ

บิดาตายแล้ว รวบรวมทรัพย์ เอาเกวียน ๕๐๐ เล่มบรรทุกสินค้า ท่องเที่ยว

ไป ๆ มา ๆ เลี้ยงชีพด้วยการค้าขาย กระทำบุญตามกำลังสมบัติ.

วันหนึ่ง เมื่อโคที่เทียมที่แอกในระหว่างทาง ไม่สามารถลากไปได้

เมื่อพวกมนุษย์ไม่สามารถจะให้โคนั้นออกไปได้ ท่านจึงไปเอง แทงโค

นั้นที่หางให้มั่น โคคิดว่า ผู้นี้เป็นอสัปบุรุษ ไม่รู้กำลังอันสมควรแก่

กำลังของเรา จึงแทงอย่างหนัก ดังนี้จึงโกรธ ใช้ภาษามนุษย์ด่าโดยสมควร

แก่ความปรารถนาว่า ดูก่อนโคทัตตะผู้เจริญ เราไม่ออมกำลังของตนตลอด

กาลมีประมาณเท่านี้ นำภาระของท่านไป แต่วันนี้ท่านเบียดเบียนเรา

อย่างรุนแรง โดยภาวะที่เราไม่สามารถ เอาเถิด เราจุติจากอัตภาพนี้แล้ว

พึงเป็นศัตรูสามารถเบียดเบียนท่านในที่เกิดแล้ว ๆ.

โคทัตตะได้ฟังดังนั้นคิดว่า จะประโยชน์อะไรด้วยการเบียดเบียน

สัตว์ทั้งหลาย แล้วเป็นอยู่นี้ ด้วยอาการอย่างนี้ เกิดความสังเวช ละสมบัติ

ทั้งหมด บวชในสำนักของพระมหาเถระรูปหนึ่ง บำเพ็ญวิปัสสนากรรม

ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ยับยั้งอยู่ด้วยสุขอันเกิดแต่สมาบัติ วันหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 479

จึงปรารภโลกธรรม ของหมู่พระอริยะผู้เป็นคฤหัสถ์และบรรพชิต ผู้มา

ยังสำนักตน เมื่อจะแสดงธรรม จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

โคอาชาไนยที่ดี อันเขาเทียมแล้วที่แอกเกวียนไปได้

ไม่ย่อท้อต่อภาระอันหนัก ไม่ทอดทิ้งเกวียนอันเขาเทียม

แล้ว แม้ฉันใด บุคคลเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา เหมือน

มหาสมุทรอันเต็มด้วยน้ำ บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ดูหมิ่นผู้

อื่น ฉันนั้น ย่อมเป็นดังอริยธรรมของสัตว์ทั้งหลาย นรชน

ผู้ตกอยู่ในอำนาจของเวลา ตกอยู่ในอำนาจของภพน้อย

ภพใหญ่ ย่อมเข้าถึงความทุกข์และต้องเศร้าโศก คนพาล

ไม่พิจารณาเห็นตามความเป็นจริง ย่อมเดือดร้อนด้วย

เหตุ ๒ อย่าง คือมีใจฟูขึ้นเพราะเหตุแห่งสุข ๑ มีใจฟุบลง

เพราะเหตุแห่งทุกข์ ชนเหล่าใด ก้าวล่วงตัณหาเครื่อง

ร้อยรัดในทุกขเวทนา ในสุขเวทนา และในอทุกขมสุข

เวทนา ชนเหล่านั้นเป็นผู้ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเหมือนเสา

เขื่อน เป็นผู้ไม่ฟูขึ้นและฟุบลง ชนเหล่านั้นย่อมไม่ติดอยู่

ในลาภ ความเสื่อมลาภ ในยศ การเสื่อมยศ นินทา สรร-

เสริญ สุข และทุกข์ทั้งหมด ดังหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว

ฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายมีความสุข และได้ชัยชนะในที่

ทุกแห่งไป การไม่ได้ลาภโดยชอบธรรม กับการได้ลาภ

โดยไม่ชอบธรรม ทั้งสองอย่างนี้ การไม่ได้ลาภอันชอบ

ธรรมประเสริฐกว่า การได้ลาภอันไม่ชอบธรรมจะประ-

เสริฐอะไร คนไม่มีความรู้ มียศ กับคนมีความรู้ แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 480

ไม่มียศ คนมีความรู้ไม่มียศประเสริฐกว่า คนไม่มี

ความรู้มียศจะประเสริฐอะไร การสรรเสริญจากคนพาล

กับการติเตียนจากนักปราชญ์ การติเตียนจากนักปราชญ์

ประเสริฐกว่า การสรรเสริญจากคนพาลจะประเสริฐอะไร

ความสุขอันเกิดจากกามคุณ กับความทุกข์อันเกิดจากวิเวก

ความทุกข์อันเกิดจากวิเวกประเสริฐกว่า ความสุขอันเกิด

จากกามคุณจะประเสริฐอะไร ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบ

ธรรมกับความตายโดยธรรม ความตายโดยธรรมประเสริฐ

กว่า ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร ชน

เหล่าใดละกามและความโกรธได้แล้ว มีจิตสงบระงับ

เที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ไม่ติดอยู่ในโลก ชนเหล่านั้น

ไม่มีความรักความชัง บุคคลเจริญโพชฌงค์ ๗ อินทรีย์. ๕

และพละ ๕ แล้วบรรลุถึงความสงบอันยอดเยี่ยม หา

อาสนะมิได้ ย่อมปรินิพพาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาชญฺโ ได้แก่โดยผู้อาชาไนย.

บทว่า ธุเร ยุตฺโต ได้แก่ เทียมไว้ในแอกแห่งเกวียน.

บทว่า ธุรสฺสโห แปลว่า ผู้นำแอกไป ก็ในที่นี้เพื่อสะดวกแก่คาถา

ท่านกระทำนิเทศโดยข้อนี้ อักษร อธิบายว่า สามารถเปื้อนจะนำแอก

เกวียนไป.

บทว่า มถิโต อติภาเรน ความว่า ถูกเบียดเบียนด้วยภาระอันยิ่ง ๆ

คือด้วยภาระอันหนัก.

บาลีว่า มทฺทิโต ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 481

บทว่า สยุค ความว่า แอกที่เขาเทียมไว้ที่คอของตน ไม่ว่างเลย

คือไม่ปลงลงเลย. โคใดยกขึ้นให้ดี ไม่ทอดทิ้งแอกยืนอยู่.

บทว่า เอว ความว่า โคนั้นนำแอกไปไม่ทอดทิ้ง คือไม่สละภาระ

ของตน เพราะตนเป็นโคอาชาไนยที่ดี และเพราะตนเป็นนักปราชญ์

ผู้แกล้วกล้าฉันใด ชนเหล่าใด ทรงไว้ บริบูรณ์ด้วยปัญญา ทั้งที่เป็นโลกิยะ

และโลกุตระ เหมือนมหาสมุทรบริบูรณ์ด้วยน้ำฉันนั้น ชนเหล่านั้น ย่อม

ไม่ดูหมิ่น คือย่อมไม่ข่มขู่ผู้มีปัญญาทราม ท่านกล่าวเหตุในข้อนั้นไว้ด้วย.

บทว่า อริยธมฺโมว ปาณิน ความว่า ธรรมของพระอริยะทั้งหลายนี้

ของสัตว์ทั้งหลาย คือในสัตว์ทั้งหลาย ก็คือความไม่ดูหมิ่นคนเหล่าอื่น

ด้วยความไม่มีลาภเป็นต้น ด้วยการยกตนด้วยลาภเป็นต้น เพราะถึงความ

บริบูรณ์ด้วยปัญญาของพระอริยะเหล่านั้น.

เพื่อจะแสดงการอยู่เป็นสุขของพระอริยะทั้งหลาย ด้วยความบริบูรณ์

ด้วยปัญญาอย่างนี้ แล้วจึงแสดงการอยู่เป็นทุกข์ ของบุคคลผู้ไม่ใช่

พระอริยะทั้งหลาย จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กาเล ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเล ความว่า ในกาลมีความ

พรั่งพร้อม ด้วยการมีลาภและการเสื่อมลาภเป็นต้น.

บทว่า กาลวส ปตฺตา ความว่า เข้าถึงอำนาจแห่งกาลมีลาภ

เป็นต้น . อธิบายว่า เกิดโสมนัสด้วยลาภเป็นต้น และเกิดโทมนัสด้วยการ

เสื่อมลาภเป็นต้น.

บทว่า ภวาภววส คตา ความว่า คนเหล่านั้นเข้าถึงอำนาจภพน้อย

ภพใหญ่ คือเป็นไปตามความเจริญและความเสื่อม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 482

บทว่า นรา ทุกฺข นิคจฺฉนฺติ เตธ โสจนฺติ มาณวา ความว่า คน

เหล่านั้น คือสัตว์ผู้ได้นามว่า มาณวา ถึงความยินดีและความยินร้าย

ด้วยอำนาจมีลาภและเสื่อมลาภ คือด้วยอำนาจความเจริญและความเสื่อม

ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ และย่อมถึง คือย่อมประสบทุกข์มีทุกข์ในนรก

เป็นต้นในโลกหน้า.

แม้ด้วยบทว่า อุนฺนตา เป็นต้น ท่านแสดงเฉพาะความประสบ

ความพินาศของสัตว์ทั้งหลายด้วยอำนาจโลกธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุนฺนตา สุขธมฺเมน ความว่า ถึงความ

ฟูขึ้น ด้วยเหตุแห่งสุข คือด้วยปัจจัยแห่งความสุข ได้แก่ด้วยโภคสมบัติ

เป็นต้น อธิบายว่า เป็นผู้เมาด้วยความเมาในโภคะเป็นต้น

บทว่า ทุกฺขธมฺเมน โจนตา ความว่า ถึงความเป็นผู้เสื่อม เพราะ

เหตุแห่งทุกข์ คือเพราะปัจจัยแห่งความทุกข์ ได้แก่เพราะความวิบัติแห่ง

โภคะเป็นต้น คือถึงความเป็นผู้ควรกรุณา ด้วยความเป็นคนจนเป็นต้น.

บทว่า ทฺวเยน ความว่า พาลปุถุชนทั้งหลาย ย่อมเดือดร้อนด้วย

การฟูขึ้น และการยุบลงทั้งสองอย่าง คือด้วยเหตุ ๒ อย่าง มีลาภและเสื่อม

ลาภเป็นต้น คือถูกบีบคั้นและถูกเบียดเบียนด้วยอำนาจความยินดีและความ

ยินร้าย.

เพราะเหตุไร ? อธิบายว่า เพราะผู้ไม่เห็นตามความเป็นจริงเหล่า

นั้น ไม่รู้ยิ่งสภาวะแห่งธรรมตามความเป็นจริง และเป็นผู้ไม่กำหนดรู้ขันธ์

และยังละกิเลสไม่ได้. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ไม่เห็นตามความเป็นจริง

ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เพราะการไม่รู้เป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 483

บทว่า เย จ ทุกฺเข สุขสฺมิญฺจ มชฺเฌ สิพฺพินิมจฺจคู ความว่า

ก็พระอริยะเหล่าใดไม่ล่วงถึง คือก้าวล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัด อันเป็น

ฉันทราคะ อันเนื่องด้วยทุกขเวทนา สุขเวทนา และอุเบกขาเวทนานั้น

ด้วยการบรรลุอรหัตมรรค พระอริยะเหล่านั้น ดำรงอยู่ไม่หวั่นไหวด้วย

โลกธรรม เหมือนเสาเขื่อนไม่หวั่นไหวด้วยลมฉะนั้น ผู้ไม่ชื่อว่า ไม่ฟู

ไม่ยุบ แม้ในบางคราวไม่ฟูหรือไม่ยุบ เพราะไม่มีความยินดีและความ

ยินร้ายโดยประการทั้งปวง.

ครั้นแสดงการไม่เข้าไปฉาบทาของพระอรหันต์ อันเป็นที่ตั้งแห่ง

เวทนาอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะจำแนกโลกธรรม แล้ว แสดงการไม่เข้าไป

ฉาบทาแห่งพระอรหันต์ อันมีประโยชน์ทั้งปวงนั่นแล จึงกล่าวคำมี

อาทิว่า นเหว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลาเภ ความว่า ได้เฉพาะปัจจัยมีจีวร

เป็นต้น.

บทว่า อลาเภ ความว่า ไม่ได้เฉพาะ คือไม่พึงประสบปัจจัย

มีจีวรเป็นต้นนั้นนั่นแล.

บทว่า น ยเส ได้แก่ เสื่อมจากบริวารและไม่มีเกียรติยศ.

บทว่า กิตฺติยา ความว่า ในความเป็นผู้ปรารถนาเกียรติยศใน

ที่ลับหลัง

บทว่า นินฺทาย ได้แก่ ในการครหานินทาต่อหน้า.

บทว่า ปสสาย ได้แก่ ในการชมเชยคุณโดยซึ่งหน้า.

บทว่า ทุกฺเข ได้แก่ เมื่อทุกข์เกิดขึ้น.

แม้ในบทว่า สุเข นี้ก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 484

บทว่า สพฺพตฺถ ความว่า พระขีณาสพเหล่านั้น ย่อมไม่ติดอยู่ใน

อารมณ์มีรูปเป็นต้น เพราะละกิเลสได้โดยประการทั้งปวง.

เหมือนอะไร ? เหมือนหยาดน้ำบนใบบัว ความว่า หยาดน้ำบน

ใบบัว แม้ตั้งแนบอยู่ก็ไม่ฉาบทาติดอยู่ที่ใบบัวนั้น และใบบัวย่อมคิดอยู่ด้วย

หยาดน้ำ ปล่อยจากกันไปโดยแท้ทีเดียวฉันใด พระขีณาสพแม้เหล่านั้น

ก็ฉันนั้น เป็นผู้ปล่อยวางลาภเป็นต้นที่ปรากฏ และปล่อยวางอารมณ์

มีรูปเป็นต้นอันมาปรากฏเหมือนกันนั่นแล.

เพราะเหตุนั้นนั่นแล นักปราชญ์คือบัณฑิต ชื่อว่าได้รับความสุขใจ

เพราะลาภเป็นต้น ในที่ทุกสถาน เพราะไม่มีอารมณ์อันเป็นที่รัก และ

ทุกขธรรมมีความโศกเป็นต้นด้วยญาณมุข และย่อมเป็นผู้ไม่แพ้ในที่ทุก

สถาน เพราะไม่ถูกลาภเป็นต้นครอบงำ.

บัดนี้เมื่อจะแยกแสดงความประเสริฐกว่ากัน ในเพราะมีลาภและ

เสื่อมลาภเป็นต้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ธมฺเมน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน อลาโภ โย ความว่า การไม่ได้

นิมิตของผู้รักษาธรรมอันใด อันนั้นคือความไม่มีลาภ ได้แก่ความเสื่อมลาภ,

และลาภอันใดอันไม่ประกอบด้วยธรรม เกิดขึ้นโดยอธรรมโดยไม่มีปัญญา

โดยวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงติเตียน, ใน ๒ อย่างนั้น การไม่มีลาภ เป็นอาการ

ประกอบด้วยธรรม คือนำมาซึ่งธรรมประเสริฐกว่า, เมื่อบุคคลเว้นลาภ

เช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญ การไม่มีลาภ

เช่นนั้น น่าสรรเสริญ นำมาซึ่งประโยชน์.

บทว่า ยญฺเจ ลาโภ อธมฺมิโก อธิบายว่า ลาภใดเกิดขึ้นโดย

อธรรม ลาภนั้นไม่ประเสริฐเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 485

บทว่า ยโส จ อปฺปพุทฺธีน วิญูน อยโส จ โย ความว่า บุคคล

ได้ยศ ด้วยอำนาจบุคคลผู้มีความรู้น้อย คือไม่มีความรู้ และความไม่ได้ยศ

คือความเสื่อมยศ ด้วยอำนาจบุคคลมีความรู้ คือบัณฑิต. บรรดาบุคคล

ทั้งสองพวกเหล่านี้ คนมีความรู้ ไม่มียศประเสริฐกว่า. เพราะว่า บุคคล

ผู้มีความรู้เหล่านั้นพึงปรารถนาความไม่มียศ เพียงเพื่อให้อกุศลธรรมเสื่อม

กุศลธรรมเจริญ. เหมือนอย่างบุคคลผู้มีชาติสมบูรณ์ พึงละธรรมที่ไม่มีคุณ

นั้นแล้วตั้งอยู่ในธรรมที่มีคุณ.

บทว่า นยโส อปฺปพุทฺธีน ความว่า ยศย่อมไม่ประเสริฐ ด้วย

อำนาจบุคคลผู้ไม่มีความรู้ ก็บุคคลผู้ไม่มีความรู้นั้น พึงยังยศนั้นให้เกิดขึ้น

แม้ด้วยอำนาจนำมาซึ่งความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยคุณอันไม่เป็นจริง ยศนั้น

ย่อมนำมาซึ่งความพินาศแก่เขา ด้วยการนินทาจากวิญญูชนในโลกนี้ และ

ด้วยความลำบากอันเกิดจากทุกข์เป็นต้น ในทุคติในโลกหน้า ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ลาภ ชื่อเสียง สักการะ และยศที่ได้มาโดยผิด ๆ

และว่า ลาภสักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่วเสีย.

บทว่า ทุมฺเมเธหิ แปลว่า ด้วยไม่มีปัญญา.

บทว่า ยญฺเจ พาลปฺปสสนา ความว่า อันคนพาลทั้งหลาย คือ

ผู้ไม่รู้สรรเสริญ.

บทว่า กามมยิก แปลว่า อันสำเร็จมาแต่วัตถุกาม คืออาศัยกามคุณ

เกิดขึ้น.

บทว่า ทุกฺขญฺจ ปวิเรกิย ความว่า ความทุกข์ทางกายอันเกิดแต่ความ

สงัดคือที่เป็นไปด้วยอำนาจความลำบากกาย อันมีความเดือดร้อนในการนั่ง

ไม่สม่ำเสมอเป็นต้นเป็นเหตุ แต่ทุกข์นั้นเป็นการสรรเสริญสำหรับวิญญูชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 486

เพราะเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานอันปราศจากอามิส. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า ปวิเวกทุกฺข เสยฺโย ดังนี้.

บทว่า ชีวิตญฺจ อธมฺเมน ความว่า การเลี้ยงชีวิตโดยไม่ชอบธรรม

คือการไม่ประพฤติธรรม เพราะเหตุแห่งชีวิตเป็นต้น. ชื่อว่าความตายโดย

ธรรม ได้แก่เมื่อใคร ๆ กล่าวว่า เราจักทำผู้นั้น ผู้ไม่กระทำบาปชื่อนี้ให้ตาย

แม้เมื่อผู้นั้นตายไป ไม่การทำบาป ไม่ยังธรรมให้กำเริบ การตายซึ่งมีธรรม

เป็นเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นการประเสริฐ เพราะฉะนั้น ความตาย

เช่นนั้นชื่อว่า ประกอบด้วยธรรม เพราะไม่ปราศจากธรรม อันวิญญูชน

สรรเสริญกว่า เพราะให้ถึงสวรรค์ และเพราะเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพาน.

สมจริงตั้งคำที่ตรัสไว้ว่า

บุคคลพึงสละทรัพย์ เพราะเหตุแห่งอวัยวะอันประ-

เสริฐ เมื่อจะรักษาชีวิตไว้พึงสละอวัยวะ เมื่อระลึกถึง

ธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ แม้กระทั่งชีวิตทั้งหมด ดังนี้.

บทว่า ยญฺเจ ชีเว อธมฺมิก อธิบายว่า บุรุษพึงยังชีวิตอัน

ปราศจากธรรมให้เป็นอยู่ ชีวิตนั้นชื่อว่าไม่ประเสริฐ เพราะถูกวิญญูชน

ติเตียนและให้ถึงอบาย.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงการไม่เข้าไปฉาบทาของพระขีณาสพตามที่กล่าว

แล้วโดยเหตุ จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า กามโกปปหีนา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามโกปปหีนา ความว่า ละความยินดี

ยินร้ายได้โดยเด็ดขาดด้วยอริยมรรค.

บทว่า สนฺตจิตฺตา ภวาภเว ความว่า ชื่อว่ามีจิตเข้าไปสงบใน

ภพน้อยและภพใหญ่ เพราะละกิเลสเครื่องเร่าร้อนได้เด็ดขาด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 487

บทว่า โลเก ได้แก่ ในขันธโลกเป็นต้น.

บทว่า อสิตา ได้แก่ ผู้อันตัณหาไม่อาศัยแล้ว ด้วยอำนาจอาศัย

ตัณหาและทิฏฐิ.

บทว่า นตฺถิ เตส ปิยาปิย ความว่า อารมณ์อันเป็นที่รัก หรือ

ไม่เป็นที่รัก ในที่ไหนๆ มีลาภเป็นต้น และมีรูปารมณ์เป็นต้น ย่อมไม่มี

แก่พระขีณาสพ ทั้งหลาย.

บัดนี้ครั้นแสดงประการที่ธรรมนั้น คือเห็นปานนั้น อันเป็นเหตุเกิด

ด้วยภาวนาแล้ว เมื่อจะถือเอายอดแห่งเทศนา ด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน-

ธาตุ จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า ภาวยิตฺวาน ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปปฺปุยฺย แปลว่า ถึงแล้ว . คำที่เหลือ

มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ก็คาถาเหล่านี้เท่านั้น ได้เป็นคาถาพยากรณ์

พระอรหัตผลของพระเถระ.

จบอรรถกถาโคทัตตเถรคาถาที่ ๒

จบปรมัตถทีปนี

อรรถกถาเถรคาถา จุททสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 488

เถรคาถา โสฬสกนิบาต

๑. อัญญาโกณฑัญญเถรคาถา

ว่าด้วยการบรรลุประโยชน์ที่ต้องการ

[๓๘๓] ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะประกาศความเลื่อมใสของ

พระองค์ จึงตรัสพระคาถาที่ ๑ ว่า

ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมมีรสอันประเสริฐ จึงเกิดความ

เลื่อมใสอย่างยิ่ง ธรรมอันคลายความกำหนัด เพราะ

ไม่ยึดถือมั่นโดยประการทั้งปวง พระผู้เป็นเจ้าได้แสดง

แล้ว.

ท้าวเธอตรัสชมเชยเทศนาของพระเถระดังนี้แล้ว ทรงนมัสการ

พระเถระ แล้วเสด็จกลับไปสู่ที่อยู่ของพระองค์ ภายหลังวัน หนึ่ง พระเถระ

เห็นวาระจิตของปุถุชนบางจำพวก ซึ่งถูกมิจฉาวิตกครอบงำ และระลึกถึง

คำสอนอันเป็นปฏิปักษ์ต่อมิจฉาวิตกนั้นแล้ว นึกถึงความที่คนมีใจอัน

พรากแล้วจากการฟังทั้งปวง จึงได้ภาษิตคาถา ๒ คาถา อันแสดงซึ่งเนื้อ

ความนั้นว่า

อารมณ์อันวิจิตรมีอยู่ในโลกเป็นอันมาก ชะรอยจะย่ำยี

บุคคลผู้คิดถึงอารมณ์ว่างาม อันประกอบด้วยราคะใน

ปฐพีมณฑลนี้ ฝนตกลงมาในฤดูฝน พึงระงับธุลีที่ถูกลม

พัดไปได้ฉันใด เมื่อใด พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วย

ปัญญา เมื่อนั้น ความดำริของพระอริยสาวกนั้นย่อม

ระงับไปฉันนั้น เมื่อใด พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 489

ปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น พระอริยสาวก

นั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด เมื่อใด

พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวง

เป็นทุกข์ เมื่อนั้น พระอริยสาวกนั้นย่อมหน่ายในทุกข์

นี้เป็นทางแห่งความหมดจด เมื่อใด พระอริยสาวก

พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

เมื่อนั้น พระอริยสาวกนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทาง

แห่งความหมดจด พระโกณฑัญญเถระองค์ใดเป็นผู้ตรัสรู้

ตามพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีความบากบั่นอย่างแรงกล้า

ละความเกิดและความตายได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย

พรหมจรรย์อันได้ด้วยยาก พระโกณฑัญญเถระองค์นั้น

ได้ตัดบ่วง คือโอฆะ ตะปูตรึงจิตอันมั่นคง และภูเขาที่

ทำลายได้ยากแล้ว ข้ามไปถึงฝั่ง คือนิพพาน เป็นผู้เพ่ง

ฌาน หลุดพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.

ภายหลังวันหนึ่ง ท่านพระโกณฑัญญเถระได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งซึ่ง

เป็นสัทธิวิหาริกของท่าน เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรทราม มีใจฟุ้งซ่าน

มักใหญ่ใฝ่สูง เพราะการคบหาด้วยมิตรชั่วช้า จึงไปยังที่นั้นด้วยฤทธิ์ แล้ว

ตักเตือนว่า ท่านอย่าทำอย่างนี้ต่อไป ขอท่านจงละมิตรชั่วช้าเสียแล้วคบหา

กัลยาณมิตรทำสมณธรรมเถิด ภิกษุนั้นไม่เชื่อฟังคำของท่าน ท่านจึงเกิด

ความสลดใจ เมื่อจะติเตียนข้อปฏิบัติอันผิด และสรรเสริญการปฏิบัติชอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 490

และการอยู่สงัด ด้วยถ้อยคำอันเป็นบุคลาธิษฐาน จึงได้ภาษิตคาถานี้

ใจความว่า

ภิกษุมีใจฟุ้งซ่าน กลับกลอก คบแต่มิตรที่เลวทราม

ถูกคลื่นซัดให้จมอยู่ในห้วงน้ำ คือสงสาร ส่วนภิกษุมีใจ

ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กลับกลอก มีปัญญารักษาตัวรอด สำรวม

อินทรีย์ คบหากัลยาณมิตร เป็นนักปราชญ์ พึงทำที่สุด

แห่งทุกข์ได้ นรชนผู้ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น

ดังเถาหญ้านาง เป็นผู้รู้จักประมาณในข้าวและน้ำ มีใจ

ไม่ย่อท้อ ถูกเหลือบยุงทั้งหลายกัดอยู่ในป่าใหญ่ ย่อม

เป็นผู้มีสติอดกลั้นได้อยู่ในป่านั้น เหมือนช้างที่อดทน

ต่อศาสตราวุธในยุทธสงครามฉะนั้น เราไม่ยินดีความตาย

ไม่เพลิดเพลินความเป็นอยู่ เรารอเวลาตาย เหมือน

ลูกจ้างรอให้หมดเวลาทำงานฉะนั้น เราไม่ยินดีความตาย

ไม่เพลิดเพลินความเป็นอยู่ แต่เรามีสติสัมปชัญญะรอ

เวลาตาย พระศาสดาเราได้คุ้นเคยแล้ว เราทำคำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว

ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นแล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์

ที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการแล้ว

เพราะฉะนั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยสัทธิวิหาริกผู้ว่ายาก

แก่เรา.

จบอัญญาโกณฑัญญเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 491

อรรถกถาโสฬสกนิบาต

อรรถกถาอัญญาโกณฑัญญเถรคาถาที่ ๑

ในโสฬสกนิบาต คาถาของท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ มีคำ

เริ่มต้นว่า เอส ภิญฺโ ปสีทามิ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นเป็น

อย่างไร ?

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระเถระแม้นี้

บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล ในหังสวดีนคร ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา

แล้ว วันหนึ่ง ฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุ

รูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศ แห่งภิกษุผู้รัตตัญญูในธรรมที่ตนได้ครั้งแรก

ในพระศาสนา แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น บำเพ็ญมหาทานให้

เป็นไปตลอด ๗ วัน แด่พระศาสดาผู้มีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร

แล้วตั้งความปรารถนาไว้. ฝ่ายพระศาสดาทรงเห็นความที่เธอไม่มีอันตราย

จึงพยากรณ์สมบัติอันเป็นเครื่องเจริญ. ท่านบำเพ็ญบุญจนตลอดชีวิต เมื่อ

พระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อให้สร้างเจดีย์ สร้างเรือนแก้วไว้ในภายใน

เจดีย์ และให้สร้างเรือนไฟแก้ว มีราคา ๑,๐๐๐ กหาปณะล้อมเจดีย์.

ท่านทำบุญอย่างนี้แล้ว จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปใน

เทวโลกและมนุษยโลก ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี

เป็นกุฎุมพี นามว่ามหากาล จัดแจงข้าวปายาสด้วยน้ำนมไม่ผสมน้ำ ด้วย

ข้าวสารแห่งข้าวสาลีที่ตนฉีกท้องข้าวสาลี ในที่นาประมาณ ๘ กรีส จึงใส่

น้ำผึ้ง เนยใส น้ำตาลกรวดเป็นต้นในข้าวปายาสนั้น แล้วได้ถวายสงฆ์มี

พระพุทธเจ้าเป็นประมุข. ที่ ๆ ตนฉีกท้องข้าวสาลีถือแล้ว ๆ ได้เต็มอีก, ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 492

กาลที่ข้าวเป็นข้าวเม่า ได้ถวายชื่อภัตอันเลิศคือข้าวเม่า ในกาลเป็นที่เก็บ

เกี่ยวข้าว ได้ถวายภัตอันเลิศในกาลเก็บเกี่ยว ในกาลทำเขน็ด ได้ถวายภัต

อันเลิศในกาลทำเขน็ด ในกาลกระทำฟ่อนเป็นต้น ได้ถวายภัตอันเลิศใน

การทำฟ่อน ถวายภัตอันเลิศในกาลทำลาน เลิศในกาลทำเป็นสิ่งของขาย

เลิศในกาลนับ เลิศในกาลนำเข้าฉาง รวมความว่า ท่านได้ถวายชื่อทานอัน

เลิศ ๙ ครั้ง ในกาลข้าวกล้าครั้งเดียวข้าวแม้นั้นได้สมบูรณ์อย่างเหลือเกิน.

ท่านบำเพ็ญบุญตลอดชีวิตด้วยอาการอย่างนี้ จุติจากอัตภาพนั่นแล้ว

บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก บังเกิดใน

ตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในพราหมณคาม ชื่อว่าโทณวัตถุ ไม่ไกลกรุง

กบิลพัสดุ์ ก่อนแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายทรงอุบัตินั่นแล.

ท่านได้มีนามตามโคตรว่า โกณฑัญญะ, ท่านเจริญวัยแล้ว เรียน

เวท ๓ ได้ถึงฝั่งในมนต์สำหรับทายลักษณะ. สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของ

เราทั้งหลาย จุติจากดุสิตบุรี บังเกิดในพระตำหนักของพระเจ้าสุทโธทน-

มหาราช ในกรุงกบิลพัสดุ์ ในวันขนานพระนามพระองค์ เมื่อพราหมณ์

๑๐๘ คนถูกเรียกให้เข้าไปเฝ้า ท่านเป็นผู้ใหม่กว่าเขาทั้งหมดในบรรดา

พราหมณ์ ๘ คน ที่ให้นำเข้าไปยังพื้นใหญ่เพื่อกำหนดลักษณะ เห็นความ

สำเร็จพระลักษณะของพระมหาบุรุษ จึงถึงความตกลงว่า ผู้นี้จักเป็นพระ-

พุทธเจ้าโดยส่วนเดียว จึงได้เที่ยวมองเห็นการออกมหาภิเนษกรมณ์ของ

พระมหาสัตว์.

ฝ่ายพระมหาสัตว์แล เจริญด้วยบริขารมาก ถึงความเจริญโดยลำดับ

ถึงความแก่กล้าแห่งพระญาณ ในปีที่ ๒๙ ก็เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์

บรรพชาที่ฝั่งแม่น้ำอโนมานที เสด็จไปอุรุเวลาประเทศโดยลำดับ แล้วเริ่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 493

ตั้งความเพียร ในกาลนั้น โกณฑัญญมาณพ ทราบว่าพระมหาสัตว์บวช

แล้ว พร้อมกับวัปปมาณพเป็นต้น ผู้บุตรของพราหมณ์ผู้กำหนดพระ-

ลักษณะ มีตนเป็นที่ ๕ บวชแล้วเข้าไปยังสำนักพระโพธิสัตว์โดยลำดับ

อุปัฏฐากพระองค์อยู่ ๖ พรรษา เบื่อหน่ายเพราะการที่พระองค์บริโภค

อาหารหยาบ จึงได้หลีกไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน. ครั้งนั้นแล พระ-

โพธิสัตว์ได้กำลังกายเพราะบริโภคอาหารหยาบ ประทับนั่งบนอปราชิต-

บัลลังก์ ณ ควงแห่งโพธิพฤกษ์ ในวันวิสาขบูรณมี ทรงย่ำยีที่สุดแห่ง

มาร ๓ ได้เป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งเอง ปล่อยให้ ๗ สัปดาห์ล่วงไป ณ โพธิมัณฑ์

นั่นเอง ทรงทราบความแก่กล้าแห่งญาณของภิกษุปัญจวัคคีย์ จึงเสด็จ

ไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันอาสาฬหบูรณมี แล้วทรงแสดง

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ในเวลาจบเทศนา

พระโกณฑัญญเถระ ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วยพรหม ๑๘ โกฏิ.

ลำดับนั้น พระอัญญาโกณฑัญญเถระ ก็ได้กระทำให้แจ้งพระอรหัตผล

ด้วยอนัตตลักขณสูตร ในดิถีที่ ๕ แห่งปักษ์ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงกล่าวไว้

ในอปทานว่า

เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ

เชษฐบุรุษของโลก เป็นนายกอย่างวิเศษ บรรลุพุทธภูมิ

แล้ว เป็นครั้งแรก เทวดาประมาณเท่าไร มาประชุมกัน

ที่ควงไม้โพธิทั้งหมด แวดล้อมพระสัมพุทธเจ้า ประณม

กรอัญชลีไหว้อยู่ เทวดาทั้งปวงมีใจยินดี เที่ยวประกาศ

ไปในอากาศว่า พระพุทธเจ้านี้ ทรงบรรเทาความมืดมน

๑. ขุ. เถร. ๓๒/ข้อ ๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 494

อนธการแล้ว ทรงบรรลุแล้ว เสียงบันลือลั่นของเทวดา

ผู้ประกอบด้วยความร่าเริงเหล่านั้นได้เป็นไปว่า เราจัก

เผากิเลสทั้งหลาย ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เรารู้ (ได้ฟัง) เสียงอันเทวดาเปล่งแล้วด้วยวาจา ร่าเริง

แล้วมีจิตยินดี ได้ถวายภิกษาก่อน พระศาสดาผู้สูงสุด

ในโลก ทรงทราบความดำริของเรา แล้วประทับนั่ง ณ

ท่ามกลางหมู่เทวดา ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

เราออกบวชได้ ๗ วันแล้ว จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ

ภัตอันเป็นปฐมของเรานี้ เป็นเครื่องยังชีวิตให้เป็นไปของ

ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เทพบุตรได้จากดุสิตมา ณ ที่นี้

ได้ถวายภิกษาแก่เรา เราจักพยากรณ์เทพบุตรนั้น ท่าน

ทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้นจักเสวยเทวราชสมบัติ อยู่

ประมาณ ๓ หมื่นกัป จักครอบครองไตรทิพย์ ครอบงำ

เทวดาทั้งหมด เคลื่อนจากเทวโลกแล้ว จักถึงความเป็น

มนุษย์ จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เสวยราชสมบัติใน

มนุษยโลกนั้นพันครั้ง ในแสนกัป พระศาสดาพระนาม

ว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกาก-

ราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้นเคลื่อนจากไตรทศแล้ว

จักถึงความเป็นมนุษย์ จักออกบวชเป็นบรรพชิตอยู่ ๖ ปี

แต่นั้นในปีที่ ๗ พระพุทธเจ้าจักตรัสจตุราริยสัจ ภิกษุมี

นามชื่อว่าโกณฑัญญะ จักทำให้แจ้งเป็นปฐม เมื่อเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 495

ออกบวช ได้บวชตามพระโพธิสัตว์ ความเพียรเราทำดี

แล้ว เราบวชเป็นบรรพชิตเพื่อต้องการจะเผากิเลส พระ-

สัพพัญญูพุทธเจ้าเสด็จมา ตีกลองอมฤตในโลกพร้อม

ทั้งเทวโลกในป่าใหญ่กับด้วยเราได้ บัดนี้ เราบรรลุ

อมตบทอันสงบระงับ อันยอดเยี่ยมนั้นแล้ว เรากำหนดรู้

อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้คือ

ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้ง

แล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

อารมณ์อันวิจิตรมีอยู่ในโลกเป็นอันมาก ชะรอยจะย่ำยี

บุคคลผู้คิดถึงอารมณ์ว่างาม อันประกอบด้วยราคะใน

ปฐพีมณฑลนี้ ฝนตกลงมาในฤดูฝน พึงระงับธุลีที่ถูกลม

พัดไปได้ฉันใด เมื่อใดพระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วย

ปัญญา เมื่อนั้น ความดำริของพระอริยสาวกนั้น ย่อม

ระงับไปฉันนั้น.

ครั้นกาลต่อมา พระศาสดาประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ ที่เขาจัดไว้

ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ในเชตวันมหาวิหาร เมื่อจะทรงแสดงภาวะที่เธอได้

เป็นครั้งแรก จึงทรงตั้งท่านไว้ในเอตทัคคะว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ

ผู้รัตตัญญู อัญญาโกณฑัญญะเป็นเลิศ ท่านประสงค์จะหลีกเลี่ยงความเคารพ

อย่างยิ่ง ที่พระอัครสาวกทั้งสองกระทำในตน และการอยู่เกลื่อนกล่นใน

เสนาสนะใกล้บ้าน และประสงค์จะอยู่ด้วยความยินดียิ่งในวิเวก สำคัญ

การเนิ่นช้า อันเป็นการกระทำปฏิสันถารต่อบรรพชิตและคฤหัสถ์ ผู้มา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 496

ยังสำนักตน จึงทูลลาพระศาสดาเข้าไปยังป่าหิมวันต์ อันช้างชื่อว่า ฉัท-

ทันตะ อุปัฏฐากอยู่ จึงได้อยู่ที่ฝั่งสระฉัททันตะสิ้น ๑๒ ปี. วันหนึ่ง

ท้าวสักกเทวราชเสด็จเข้าไปหาพระเถระผู้อยู่ในที่นั้น ด้วยอาการอย่างนั้น

ทรงบังคมแล้วประทับยืนอยู่ จึงตรัสอย่างนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดีละ ขอ

พระผู้เป็นเจ้าจงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า. พระเถระแสดงธรรม ด้วยพุทธ-

ลีลา อันมีห้องคือสัจจะ ๔ อันลักษณะ ๓ กระทบแล้ว อันเกี่ยวด้วยภาวะ

ที่ว่างเปล่า วิจิตรด้วยนัยต่าง ๆ อันหยั่งลงในอมตธรรม.

ท้าวสักกเทวราช ทรงสดับดังนั้นแล้ว เมื่อจะทรงประกาศความ

เลื่อมใสของตน จึงตรัสคาถาที่ ๑ ว่า

ข้าพเจ้านั้นได้ฟังธรรมมีรสอันประเสริฐ จึงเกิดความ

เลื่อมใสอย่างยิ่ง ธรรมอันคลายความกำหนัด เพราะ

ไม่ยึดถือมั่น โดยประการทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้แสดงไว้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอส ภิยฺโย ปสีทามิ สุตฺวา ธมฺม

มหารส ความว่า แม้ถ้าเราฟังธรรมในสำนักพระศาสดาหลายครั้ง แล้ว

เลื่อมใสยิ่งในธรรมนั้น ก็บัดนี้ เรานั้นฟังธรรมที่ท่านแสดงแล้วมีรสมาก

เพราะวิจิตรด้วยนัยต่าง ๆ และเพราะมีการเสพคุ้นโดยมาก จึงเลื่อมใส

อย่างยิ่งกว่านั้น .

บทว่า วิราโค เทสิโต ธมฺโม อนุปาทาย สพฺพโส ความว่า

ชื่อว่า ผู้ปราศจากราคะ เพราะคลายจากสังกิเลสทั้งปวง และสังขารทั้งปวง

ได้แก่ ยังวิราคธรรมให้เกิด. เพราะเหตุนั้นนั่นแล ชื่อว่า แสดงธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 497

เพราะไม่ยึดมั่นโดยประการทั้งปวง เพราะไม่ยึดมั่น คือไม่ยึดถือธรรม

อะไร ๆ ในบรรดาธรรมมีรูปเป็นต้น แล้วเป็นไปด้วยสามารถยิ่งวิมุตติ

ให้สำเร็จเป็นต้น.

ท้าวสักกเทวราช ครั้นทรงชมเชยเทศนาของพระเถระอย่างนี้แล้ว

ทรงอภิวาทพระเถระ แล้วเสด็จไปสู่ที่ประทับของพระองค์ตามเดิม

ภายหลังวันหนึ่ง พระเถระเห็นวาระแห่งจิตของปุถุชนบางพวก

ผู้ถูกมิจฉาวิตกครอบงำ ระลึกถึงลำดับของจิตนั้น อันเป็นปฏิปักษ์ต่อ

มิจฉาวิตกนั้น และนึกถึงความที่ตนมีจิตพ้นจากมิจฉาวิตกนั้นโดยประการ

ทั้งปวง จึงแสดงความนั้นแล้วกล่าว ๒ คาถาว่า

อารมณ์วิจิตรมีอยู่ในโลกเป็นอันมาก ชะรอยจะย่ำยี

บุคคลผู้คิดถึงอารมณ์ว่างาม อันประกอบด้วยราคะในปฐพี

มณฑลนี้ ฝนตกลงมาในฤดูฝน พึงระงับธุลีที่ถูกลมพัด

ไปได้ฉันใด เมื่อใดพระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วย

ปัญญา เมื่อนั้นความดำริของพระอริยสาวกนั้น ย่อม

ระงับไปฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหูนิ โลเก จิตฺรานิ ความว่า อารมณ์

อันวิจิตรด้วยจิตมีอยู่ในโลกเป็นอันมาก ด้วยสามารถแห่งรูปารมณ์เป็นต้น

ด้วยอำนาจสีเขียว สีเหลือง เป็นต้นแม้ในอารมณ์นั้น และด้วยสามารถ

แห่งหญิงและชายเป็นต้น. ด้วยบทว่า อสฺมิ ปวิมณฺฑเล นี้ ท่านกล่าว

หมายเอามนุษยโลกอันปรากฏชัด. บทว่า มเถนฺติ มญฺเ สงฺกปฺป

ความว่า มิจฉาสังกัปปะ ความดำริผิด อันตบแต่งด้วยอโยนิโสมนสิการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 498

ชะรอยว่าจะย่ำยี คือตั้งอยู่ เหมือนย่ำยีอารมณ์อันเกิดแต่จิตนั้น คืออารมณ์

อันประกอบด้วยความเพียรของบุรุษ เหมือนไฟประกอบด้วยไม้สีไฟ

ฉะนั้น. เหมือนอะไร ? เหมือนอารมณ์ว่างาม อันประกอบด้วยราคะ

อธิบายว่า กามวิตก. ก็กามวิตกนั้นท่านเรียกว่างาม เพราะถือเอาอาการ

ว่างาม.

ศัพท์ว่า ในบทว่า รชมุหตญฺจ วาเตน นี้ เป็นเพียงนิบาต,

มหาเมฆ (ฝนใหญ่) ตกลง พึงระงับ คือพึงสงบระงับธุลีที่ลมพัดไป

คือให้ตั้งขึ้น ในเดือนสุดท้ายแห่งคิมหันตฤดูฉันใด ความดำริย่อมระงับ

ฉันนั้น. บทว่า ยทา ปญฺาย ปสฺสติ ความว่า เมื่อใดพระอริยสาวก

ย่อมพิจารณาเห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริง ซึ่งอารมณ์เหล่านั้นอัน

วิจิตรในโลก โดยการเกิด โดยไม่ยินดี โดยเป็นโทษ และโดยเป็นที่

สลัดออก เมื่อนั้นมิจฉาสังกัปปะแม้ทั้งหมด ย่อมระงับไป เหมือนเมฆฝน

ระงับธุลีที่ลมพัดไปฉะนั้น. เพราะเมื่อสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว มิจฉา-

สังกัปปะทั้งหลายก็ไม่ได้ที่พึ่ง แต่เมื่อแสดงโดยประการที่ตนเห็นด้วย

ปัญญา จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า

เมื่อใด พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า

สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้นพระอริยสาวกนั้น ย่อม

หน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด เมื่อใดพระ-

อริยสาวกพิจารถเาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็น

ทุกข์ เมื่อนั้นพระอริยสาวกย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทาง

แห่งความหมดจด เมื่อใดพระอริยสาวกพิจารณาเห็น

ด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้นพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 499

อริยสาวกนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความ

หมดจด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพ สงฺขารา ได้แก่ขันธ์ทั้ง ๕ อัน

เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมดอันสงเคราะห์ด้วยอารมณ์ ๖. บทว่า อนิจฺจา

ความว่า เมื่อใดพระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลาย

ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด เพราะมีความไม่เที่ยง

เป็นที่สุด เพราะเป็นไปในกาลชั่วคราว เพราะแตกไปในที่นั้น ๆ. บทว่า

อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข ความว่า เมื่อนั้นพระอริยสาวกนั้น ย่อมเบื่อหน่าย

ในวัฏทุกข์ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมแทงตลอดสัจจะ โดยวิธีกำหนดรู้ทุกข์

เป็นต้น. บทว่า เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา ความว่า วิปัสสนาวิธีที่กล่าวแล้ว

นั้น ย่อมเป็นทางคือเป็นอุบายเครื่องบรรลุญาณทัสสนวิสุทธิ และอัจจันต-

วิสุทธิ ความหมดจดโดยส่วนเดียว.

บทว่า ทุกฺขา ความว่า ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นไปกับด้วยภัย

เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะถูกความเกิดขึ้นและดับไปบีบคั้นเสมอ เพราะ

ทนได้ยาก และเพราะขัดต่อสุข. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ความว่า ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔

แม้ทั้งหมดเป็นอนัตตา แต่ในที่นี้ควรถือเอาเฉพาะธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓

จริงอยู่ ธรรมเหล่านั้นพึงพิจารณาเห็นว่าเป็นสุญญตะ ว่างเปล่า เพราะ

ไม่มีแก่นสาร เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ และชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะ

ปฏิเสธอัตตา. คำที่เหลือเช่นกับคำมีในก่อนนั่นแล.

ครั้นแสดงวิปัสสนาวิธีอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงกิจที่ตนทำด้วยวิธี

นั้น ทำคนให้เหมือนผู้อื่น จึงกล่าว ๒ คาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 500

พระอัญญาโกณฑัญญเถระใด เป็นผู้ตรัสรู้ตามพระ-

พุทธเจ้า เป็นผู้มีความบากบั่นอย่างแรงกล้า ละความเกิด

และความตายได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยพรหมจรรย์

พระอัญญาโกณฑัญญเถระนั้น ได้ตัดบ่วงคือโอฆะ ถอน

ตะปูตรึงจิตอันมั่นคง และทำลายภูเขาที่ได้ยากแล้ว

ข้ามไปถึงฝั่งคือนิพพาน เป็นผู้เพ่งฌาน หลุดพ้นจาก

เครื่องผูกแห่งมาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธานุพุทฺโธ ได้แก่ ผู้ตรัสรู้ตาม

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. อธิบายว่า ตรัสรู้สัจจะ ๔ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ตรัสรู้แล้ว ตามกระแสเทศนาแห่งพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. ชื่อว่าเถระ

เพราะประกอบด้วยสาระมีศีลสาระเป็นต้น อันเป็นอเสกขะ มั่นคง.

บทว่า โกณฺฑญฺโ ได้แก่ การระบุถึงโคตร. บทว่า ติพฺพนิกกฺโม

ได้แก่ผู้มีความเพียรอันมั่นคง คือมีความบากบั่นมั่นคง. ชื่อว่าผู้มีชาติ

และมรณะอันละแล้ว เพราะเหตุแห่งชาติและมรณะอันละได้แล้ว. บทว่า

พฺรหฺมจริยสฺส เกวลี ความว่า มรรคพรหมจรรย์ไม่มีส่วนเหลือ หรือ

มรรคพรหมจรรย์บริบูรณ์โดยไม่มีส่วนเหลือ, อีกอย่างหนึ่ง มรรคญาณ

และผลญาณ ชื่อว่า เกวลี เพราะไม่เจือด้วยกิเลส มรรคญาณและ

ผลญาณนั้น มีอยู่ในมรรคพรหมจรรย์นี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เกวลี

ก็เพราะเหตุที่มรรคญาณและผลญาณทั้งสองอย่างนั้น ย่อมมีอยู่ในมรรค-

พรหมจรรย์นี้ เพราะเหตุนั้น มรรคพรหมจรรย์นี้จึงชื่อว่า เกวลี. และ

เพราะมรรคญาณและผลญาณแม้ทั้งสองนั้น ย่อมมีด้วยอำนาจของมรรค-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 501

พรหมจรรย์ หามีโดยประการอื่นไม่. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พฺรหฺมจริยสฺส เกวลี ดังนี้.

โอฆะ ๔ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า โอฆะคือกาม โอฆะคือภพ

โอฆะคือทิฏฐิ โอฆะคืออวิชชา และบ่วงที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บ่วงที่

เที่ยวไปในอากาศคือมานัส, ตะปูตรึงจิต ๕ อย่างอันมั่นคง ที่ท่านกล่าว

ไว้อย่างนี้ว่า ย่อมสงสัยในพระศาสดา ย่อมสงสัยในพระธรรม ย่อมสงสัย

ในพระสงฆ์ ย่อมสงสัยในสิกขา เป็นผู้วุ่นวายในพระสงฆ์ ไม่มีใจเป็น

ของ ๆ ตน มีจิตถูกอารมณ์กระทบแล้ว เป็นดังเสาเขื่อน ความไม่รู้ในทุกข์

เป็นต้นที่ทำลายได้ยาก เพราะชนผู้เจริญไม่สามารถจะทำลายได้ เพราะ

เหตุนั้นนั่นแล จึงถึงการนับว่า ปพฺพโต เพราะเป็นเสมือนภูเขา และ

ประเภทแห่งการไม่มีญาณ (ปัญญา) ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า ความ

ไม่รู้ในทุกข์.

ผู้ใดใช้ดาบคืออริยมรรคญาณตัดตะปูตรึงจิตและบ่วงในธรรม คือ

สังกิเลส ๔ อย่างนี้ ที่ท่านกล่าวไว้ว่า เฉตฺวา ขิลญฺจ ปาสญฺจ ทั้งหมด

นี้ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า เสล เภตฺวา น ทุพฺภิท ความว่า ใช้ญาณอันเปรียบด้วยเพชร

ตัดภูเขาอันล้วนแล้วแต่หิน คือความไม่รู้ อันใคร ๆ ไม่สามารถจะตัดได้

ด้วยญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วข้ามโอฆะทั้ง ๔ ชื่อว่าข้ามได้แล้ว คือ

ถึงฝั่งแล้ว เพราะตั้งอยู่ในพระนิพพาน อันเป็นฝั่งโน้นแห่งโอฆะทั้ง ๔

นั้น ชื่อว่าผู้เพ่งฌาน ด้วยฌานทั้งสอง คือฌานเข้าไปเพ่งอารมณ์เป็น

ลักษณะ ๑ ฌานเข้าไปเพ่งลักษณะเป็นลักษณะ ๑. บทว่า ปุตฺโต โส

มารพนฺธนา ความว่า พระขีณาสพนั้น คือเห็นปานนั้น พ้นแล้ว พ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 502

ขาดแล้ว ปราศจากแล้ว จากเครื่องผูกคือกิเลสมารแม้ทั้งหมด เพราะ

เหตุนั้น พระเถระกล่าวหมายเอาตนนั่นเอง.

ภายหลังวันหนึ่ง พระเถระเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ผู้สัทธิวิหาริกของตน

เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลว มีจิตฟุ้งซ่าน มีจิตดังไม้อ้ออันยกขึ้น

อยู่ด้วยการคลุกคลีด้วยบุคคลผู้ไม่เป็นกัลยาณมิตร จึงไปในที่นั้นด้วยฤทธิ์

แล้วโอวาทภิกษุนั้นว่า อย่ากระทำอย่างนี้เลยอาวุโส จงละบุคคลผู้ไม่เป็น

กัลยาณมิตร คบหาบุคคลผู้เป็นกัลยาณมิตรทั้งหลาย. ภิกษุนั้นไม่เอื้อเฟื้อ

คำของพระเถระ. พระเถระถึงธรรมสังเวช ด้วยการไม่เอื้อเฟื้อของภิกษุ

นั้น จึงติเตียนการปฏิบัติผิด ด้วยถ้อยคำเป็นบุคลาธิษฐาน เมื่อจะ

สรรเสริญการปฏิบัติชอบ และการอยู่ด้วยความสงัด จึงได้กล่าวคาถา

เหล่านี้ว่า

ภิกษุมีใจฟุ้งซ่าน กลับกลอก คบหาแต่มิตรที่เลว-

ทราม ถูกคลื่นซัดให้จมอยู่ในห้วงน้ำคือสงสาร ส่วนภิกษุ

ผู้มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กลับกลอก มีปัญญารักษาตัวรอด

สำรวมอินทรีย์ คบหากัลยาณมิตร เป็นนักปราชญ์ พึง

ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นรชนผู้ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วย

เส้นเอ็นดังเถาหญ้านาง เป็นผู้รู้จักประมาณในข้าวและน้ำ

มีใจไม่ย่อท้อ ถูกเหลือบยุงทั้งหลายกัดอยู่ในป่าใหญ่

ย่อมมีสติอดกลั้นได้อยู่ในป่านั้น เหมือนช้างที่อดทนต่อ

ศาตราวุธในยุทธสงครามฉะนั้น เราไม่ยินดีความตาย

ไม่เพลิดเพลินความเป็นอยู่ เรารอเวลาตาย เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 503

ลูกจ้างรอให้หมดเวลาทำงานฉะนั้น เราไม่ยินดีความตาย

ไม่เพลิดเพลินความเป็นอยู่ แต่เรามีสติสัมปชัญญะรอ

เวลาตาย พระศาสดาเราได้คุ้นเคยแล้ว เราทำคำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอน

ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นแล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ที่

กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการแล้ว

เพราะฉะนั้น จะมีประโยชน์อะไร ด้วยสัทธิวิหาริกผู้ว่า

ยากแก่เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺธโต ความว่า ประกอบด้วยความ

ฟุ้งซ่าน คือมีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตฟุ้งซ่าน.

บทว่า จปโล ความว่า ประกอบด้วยความโยกโคลง มีการตบแต่ง

บาตรและจีวรเป็นต้น คือเป็นผู้มีจิตโลเลเป็นปกติ.

บทว่า มิตฺเต อาคมฺม ปาปเก ความว่า อาศัยบุคคลไม่เป็น

กัลยาณมิตรแล้วไม่กระทำสมณธรรม. บทว่า สสีทติ มโหฆสฺมึ อูมิยา

ปฏิกุชฺชิโต ความว่า บุรุษผู้ตกไปในมหาสมุทร อันคลื่นในมหาสมุทร

ท่วมทับ เมื่อไม่สามารถจะยกศีรษะขึ้นได้ ก็จมไปในมหาสมุทรนั่นเอง

ฉันใด บุคคลผู้วนเวียนอยู่ในโอฆะใหญ่ ในสงสารก็ฉันนั้น ถูกคลื่นคือ

โกธะและอุปายาสครอบงำ คือท่วมทับ เมื่อไม่สามารถเพื่อจะยกศีรษะคือ

ปัญญาขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา จึงจมลงไปในโอฆะใหญ่คือสงสารนั้น

นั่นเอง.

บทว่า นิปโก ได้แก่ ผู้ละเอียดอ่อน คือเป็นผู้ฉลาดในประโยชน์

คนและประโยชน์ผู้อื่น. บทว่า สวุตินฺทฺริโย ความว่า ผู้มีอินทรีย์อันปิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 504

แล้ว ด้วยการปิดอินทรีย์มีใจเป็นที่ ๖. บทว่า กลฺยาณมิตฺโต ได้แก่

ผู้ประกอบด้วยกัลยาณมิตรทั้งหลาย.

บทว่า เมธาวี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญา มีโอชะอันเกิดแต่ธรรม

บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกโร สิยา ความว่า บุคคลเช่นนั้น พึงกระทำที่สุด

แห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น.

บทว่า กาลปพฺพงฺคสงฺกาโส เป็นต้น เป็นบทระบุถึงความยินดี

ในวิเวก. ส่วนบทว่า นาภินนฺทามิ เป็นต้น เป็นบทแสดงภาวะแห่งกิจ

ที่ทำเสร็จแล้ว. คำทั้งหมดมีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล ก็ในที่สุด

ท่านกล่าวหมายเอาสัทธิวิหาริกของตนด้วยคำว่า กึ เม สทฺธิวิหารินา.

เพราะฉะนั้น จะประโยชน์อะไรแก่เรา ด้วยสัทธิวิหาริกผู้ว่ายาก ผู้ไม่

เอื้อเฟื้อเช่นนั้น อธิบายว่า เราชอบใจการอยู่โดดเดี่ยวเท่านั้น.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้ไปสู่สระฉันทันตะนั่นแล. ท่านอยู่

ในที่นั้นสิ้น ๑๒ ปี เมื่อจวนปรินิพพาน จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว จึงไปปรินิพพานในที่นั้นนั่นเอง

จบอรรถกถาอัญญาโกณฑัญญเถรคาถาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 505

๒. อุทายีเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุทายีเถระ

[๓๘๔] เราเคยได้ฟังมาจากพระอรหันต์ทั้งหลายว่า มนุษย์ทั้ง

หลายย่อมนอบน้อมบุคคลใด ผู้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นพระ-

พุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เอง มีตนอันได้ฝึกฝนแล้ว มีจิตตั้งมั่น

ดำเนินไปในทางของพรหม ยินดีในการสงบระงับจิต ถึง

ฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง แม้เทวดาทั้งหลายก็พากันนอบน้อม

บุคคลนั้น เทวดาและมนุษย์ย่อมนอบน้อมพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง ออกจาก

ป่า คือกิเลสมาสู่นิพพาน ออกจากกามมายินดีในเนก-

ขัมมะ เหมือนทองคำอันพ้นแล้วจากหินฉะนั้น พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นแลเป็นนาค รุ่งเรืองพ้น

โลกนี้กับทั้งเทวโลก เหมือนขุนเขาหิมวันต์รุ่งเรืองล่วง

ภูเขาเหล่านั้น เราจักแสดงช้างตัวประเสริฐ ซึ่งเป็นนาค

นี้ชื่อโดยแท้จริง เป็นเยี่ยมกว่าบรรดาผู้มีชื่อว่านาคทั้ง

หมด แก่ท่านทั้งหลาย เพราะผู้ใดไม่ทำบาป ผู้นั้นชื่อ

ว่า นาค ความสงบเสงี่ยมและการไม่เบียดเบียน ๒ อย่าง

นี้ เป็นเท้าหน้าทั้งสองของนาค สติสัมปชัญญะเป็นเท้า

หลัง ช้างตัวประเสริฐควรบูชา มีศรัทธาเป็นงวง มี

อุเบกขาเป็นงาอันขาว มีสติเป็นคอ มีปัญญาเครื่อง

พิจารณาค้นคว้าธรรมเป็นศีรษะ มีธรรม คือสมาวาสะเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 506

ท้อง มีวิเวกเป็นหาง ช้างตัวประเสริฐ คือพระพุทธเจ้า

นั้น เป็นผู้มีปกติเพ่งฌาน ยินดีในนิพพาน มีจิตตั้งมั่น

ดีแล้วในภายใน คือเมื่อเดินก็มีจิตตั้งมั่น เมื่อยืนก็มีจิต

ตั้งมั่น นอนก็มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้สำรวมในที่ทั้งปวง อัน

นี้เป็นคุณสมบัติของช้างตัวประเสริฐ คือพระพุทธเจ้า ช้าง

ตัวประเสริฐ คือพระพุทธเจ้านั้น บริโภคของอันหาโทษ

มิได้ ไม่บริโภคของที่มีโทษ ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่ม

แล้ว ก็ไม่สั่งสมไว้ ตัดเครื่องเกาะเกี่ยวผูกพันน้อยใหญ่

ทั้งสิ้น ไม่มีความห่วงใยเลย เที่ยวไปในที่ทุกแห่ง เปรียบ

เหมือนดอกบัวขาบ มีกลิ่นหอมหวานชวนให้รื่นรมย์ เกิด

ในน้ำ เจริญในน้ำ ย่อมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ ฉันใด พระ-

พุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก อยู่ในโลก ไม่ติดอยู่ด้วย

โลก เหมือนดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ ฉันนั้น ไฟกอง

ใหญ่ลุกโชนเมื่อหมดเชื้อก็ดับไป ก็เมื่อเถ้ายังมีอยู่ เขา

ก็เรียกกันว่าไฟดับแล้ว ฉันใด อุปมาอันทำให้รู้เนื้อความ

แจ่มแจ้งนี้ วิญญูชนทั้งหลายแสดงไว้แล้ว ก็ฉันนั้น

พระมหานาคทั้งหลายจักรู้แจ้งนาคด้วยนาค อันพระพุทธ-

เจ้าทรงแสดงแล้ว พระพุทธนาคเป็นผู้ปราศจาก ราคะ

โทสะ และโมหะ หมดอาสวะ เมื่อละสรีระร่างกายนี้แล้ว

ก็จักไม่มีอาสวะปรินิพพาน.

จบอุทายีเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 507

ในโสฬสกนิบาตนี้ พระเถระผู้มีมหิทธิฤทธิ์ ๒ รูป

คือ พระโกณฑัญญเถระ กับ พระอุทายีเถระ ได้ภาษิต

คาถาไว้องค์ละ ๑๖ คาถา รวมเป็น ๓๒ คาถา ฉะนี้แล.

จบโสฬสกนิบาต

อรรถกถาอุทายีเถรคาถาที่ ๒

คาถาของ ท่านพระอุทายีเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มนุสฺสภูต สมฺพุทฺธ

ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน สั่ง

สมบุญกุศลอันเป็นอุปนิสัยในภพนั้นๆ ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษย-

โลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกรุงกบิลพัสดุ์

ได้นามว่า อุทายี เจริญวัยแล้ว เห็นพระพุทธานุภาพในสมาคมพระญาติของ

พระศาสดา ได้ศรัทธาบวชแล้วบำเพ็ญวิปัสสนากรรม ไม่นานนักก็บรรลุ

พระอรหัต, ก็พระอุทายีเถระทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ กาฬุทายี มาในก่อนเป็นบุตร

ของอำมาตย์, ลาลุทายีบุตรของโกวริยพราหมณ์, พระเถระนี้เป็นบุตรของ

พราหมณ์ ชื่อว่า มหาอุทายี, วันหนึ่ง ท่านอุทายีนี้นั่น เมื่อพระศาสดาทรง

แสดงนาโคปมสูตร กระทำช้างเผือก ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง

อันมหาชนพากันสรรเสริญ ให้เป็นอัตถุปบัติเหตุ ในเวลาจบเทศนานึก

ถึงคุณของพระศาสดา อันสมควรแก่กำลังญาณของตน ผู้มีใจอันปีติ

ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์กระตุ้นเตือน จึงคิดว่า มหาชนนี้สรรเสริญ

นาค ซึ่งเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ไม่ใช่สรรเสริญมหานาคคือพระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 508

เอาเถอะ เราจักกระทำคุณแห่งช้างมหาคันธะ คือพระพุทธเจ้าให้ปรากฏ

ดังนี้แล้ว เมื่อจะชมเชยพระศาสดา จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

เราเคยได้ฟังมาจากพระอรหันต์ทั้งหลายว่า มนุษย์

ทั้งหลายย่อมนอบน้อมบุคคลใด ผู้เกิดเป็นมนุษย์ เป็น

พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เอง มีตนอันได้ฝึกฝนแล้ว มีจิตตั้ง

มั่น ดำเนินไปในทางของพรหม ยินดีในการสงบระงับ

จิต ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง แม้เทวดาทั้งหลายก็พากัน

นอบน้อมบุคคลนั้น เทวดาและมนุษย์ย่อมนอบน้อมพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง

ออกจากป่า คือกิเลสมาสู่นิพพาน ออกจากกามมายินดี

ในเนกขัมมะ เหมือนทองคำอันพ้นแล้วจากหินฉะนั้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแลเป็นนาค รุ่งเรื่องพ้น

โลกนี้กับทั้งเทวโลก เหมือนภูเขาหิมวันต์ รุ่งเรืองล่วง

ภูเขาเหล่าอื่นฉะนั้น เราจักแสดงนาค ซึ่งเป็นนาคมีชื่อ

โดยแท้จริง เป็นเยี่ยมกว่าบรรดาผู้มีชื่อว่านาคทั้งหมด แก่

ท่านทั้งหลาย เพราะผู้ใดไม่ทำบาป ผู้นั้นชื่อว่านาค ความ

สงบเสงี่ยมและการไม่เบียดเบียน ๒ อย่างนี้ เป็นเท้าหน้า

ทั้งสองของนาค สติสัมปชัญญะ เป็นเท้าหลัง นาคคือช้าง

ตัวประเสริฐควรบูชา มีศรัทธาเป็นงวง มีอุเบกขาเป็นงาอัน

ขาว มีสติเป็นคอ มีปัญญาเครื่องค้นคว้าธรรมเป็นศีรษะ

มีธรรม คือสมาวาสะเป็นท้อง มีวิเวกเป็นหาง ช้างตัว

ประเสริฐคือพระพุทธเจ้านั้น เป็นผู้มีปกติเพ่งฌาน ยินดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 509

ในนิพพาน มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในภายใน คือเมื่อเดินก็มี

จิตตั้งมั่น เมื่อยืนก็มีจิตตั้งมั่น นอนก็มีจิตตั้งมั่น แม้เมื่อ

นั่งก็มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้สำรวมในที่ทั้งปวง อันนี้คือสมบัติ

ของช้างตัวประเสริฐคือพระพุทธเจ้า ช้างตัวประเสริฐคือ

พระพุทธเจ้านั้นบริโภคของอันหาโทษมิได้ ไม่บริโภคของ

ที่มีโทษ ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มแล้ว ก็ไม่สั่งสมไว้

ตัดเครื่องเกาะเกี่ยวผูกพันน้อยใหญ่ทั้งสิ้น ไม่มีความห่วง

ใยเลย เที่ยวไปในที่ทุกหนทุกแห่ง เปรียบเหมือนดอกบัว

ขาบ มีกลิ่นหอมหวลชวนให้รื่นรมย์ เกิดในน้ำ เจริญใน

น้ำ ย่อมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำฉันใด พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ

แล้วในโลก อยู่ในโลก ไม่ติดอยู่ด้วยโลก เหมือนดอก

ปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ ฉันนั้น ไฟกองใหญ่ลุกโชน เมื่อ

หมดเชื้อก็ดับไป ก็เมื่อเถ้ายังมีอยู่เขาเรียกกันว่า ไฟดับ

แล้วฉันใด อุปมาอันทำให้รู้เนื้อความแจ่มแจ้งนี้ วิญญูชน

ทั้งหลายแสดงไว้แล้ว ก็ฉันนั้น พระมหานาคทั้งหลาย

จักรู้แจ้งนาคด้วยนาคอันพระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว พระ-

พุทธนาคผู้ปราศจากราคะ โทสะ และโมหะ หมดอาสวะ

เมื่อละสรีระร่างกายนี้แล้ว ก็จักไม่มีอาสวะปรินิพพาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุสฺสภูต ความว่า เป็นคือบังเกิดใน

มนุษย์ หรือถึงอัตภาพมนุษย์. จริงอยู่พระศาสดา แม้ทรงพ้นจากคติ

ทั้งปวง ด้วยทรงบรรลุอาสวักขยญาณ เขาก็เรียกว่ามนุษย์เหมือนกัน ด้วย

อำนาจที่พระองค์ทรงถือปฏิสนธิในภพสุดท้าย ก็พระองค์เป็นเทพยิ่งกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 510

เทพ เป็นพรหมยิ่งกว่าพรหม ด้วยอำนาจคุณ. บทว่า สมฺพุทฺธ ความว่า

เป็นพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เองทีเดียว.

บทว่า อตฺตทนฺต ได้แก่ ผู้ฝึกตนด้วยตนเอง. จริงอยู่พระผู้มีพระภาค

เจ้า ทรงฝึกพระองค์ด้วยการฝึกอย่างสูงสุด โดยจักษุบ้าง ฯลฯ โดยใจบ้าง

ด้วยอริยมรรคที่พระองค์ให้เกิดขึ้นด้วยพระองค์เอง. บทว่า สมาหิต ความ

ว่า ตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิ ๘ อย่าง และด้วยสมาธิอันเกิดจากมรรคและผล.

บทว่า อิริยมาน พฺรหฺมปเถ ความว่า ในคลองแห่งพรหมวิหาร-

ธรรมทั้ง ๔ หรือเป็นไปในคลองแห่งผลสมาบัติ อันประเสริฐคือสูงสุด

ด้วยอำนาจการเข้าสมาบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่ดำเนินในคลองอัน

ประเสริฐ ตามที่กล่าวแล้วตลอดกาลทั้งสิ้นก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น ท่าน

ก็กล่าวว่า อิริยมาน เพราะอาศัยความเป็นผู้น้อมไปในอริยสมาบัตินั้น.

บทว่า จิตฺตสฺสูปสเม รต ความว่า ยินดียิ่ง ในการสงบสังขาร

ทั้งปวงคือในพระนิพพาน อันเป็นเหตุสงบแห่งจิต.

บทว่า ย มนุสฺสา นมสฺสนฺติ สพฺพธมฺมาน ปารคุ ความว่า

มนุษย์ทั้งหลายมีกษัตริย์และบัณฑิตเป็นต้น ย่อมนอบน้อมซึ่งพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าใด ผู้มีสมบัติอันสูงสุดอย่างยอดเยี่ยม ผู้ถึงฝั่งทั้ง ๖ คือถึงฝั่งแห่ง

อภิญญาแห่งธรรมมีขันธ์และอายตนะเป็นต้นทั้งหมด ๑ ถึงฝั่งแห่งปริญญา

๑ ถึงฝั่งแห่งภาวนา ๑ ผู้ถึงฝั่งแห่งการกระทำให้แจ้ง ๑ ถึงฝั่งแห่งสัมมา-

ปฏิบัติ ๑ ถึงฝั่งแห่งปหานะ ๑ เมื่อบูชาด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่

ธรรมย่อมเป็นผู้น้อมไป โอนไป เงื้อมไป ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่น

ด้วยกาย วาจา และใจ.

บทว่า เทวาปิ ต นมสฺสนฺติ ความว่า ไม่ใช่พวกมนุษย์อย่างเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 511

เท่านั้น โดยที่แท้ แม้เทวดาทั้งหลาย ในโลกธาตุหาประมาณมิได้ ก็ย่อม

นอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

ด้วยบทว่า อิติ เม อรหโต สุต นี้ ท่านแสดงว่า คำอย่างนี้

คือคำที่เราสดับมาแล้วอย่างนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อรหันต์

และของพระธรรมเสนาบดีเป็นต้น ผู้กล่าวคำมีอาทิว่า สตฺถา เทวมนุสฺ-

สาน ด้วยเหตุมีความเป็นผู้ไกล (จากกิเลส) เป็นต้น.

บทว่า สพฺพสโยชนาตีต ความว่า ผู้ก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งหมด ๑๐

ด้วยมรรค ๔ ตามสมควรพร้อมด้วยวาสนา.

บทว่า วนา นิพฺพนมาคต ความว่า ผู้เข้าถึงความเบื่อหน่าย อัน

เว้น จากป่าคือกิเลสนั้น.

บทว่า กาเมหิ เนกฺขมฺมรต ความว่า ออกจากกามโดยประการทั้ง

ปวง แล้วยินดีในเนกขัมมะ ต่างด้วยบรรพชา ฌานและวิปัสสนาเป็นต้น.

บทว่า มุตฺต เสลาว กญฺจน ความว่า เหมือนทองคำอันพ้นแล้ว

จากหิน เพราะมีสภาวะเป็นทองแท้ที่กำจัดสิ่งมิใช่ทองออกแล้ว. มีวาจา

ประกอบความว่า แม้เทวดาทั้งหลายก็ย่อมนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์นั้น.

บทว่า ส เว อจฺจรุจิ นาโค ความว่า พระองค์ไม่กระทำบาปโดย

ส่วนเดียว ย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่ เป็นผู้มีกำลังเหมือนช้าง เพราะฉะนั้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้พระนามว่า นาค.

บทว่า อจฺจรุจิ ความว่า พระองค์รุ่งเรื่องพ้นโลกนี้พร้อมทั้งเทว-

โลก ด้วยความรุ่งเรื่องแห่งพระกายและพระญาณของพระองค์. เหมือน

อะไร ? เหมือนขุนเขาหิมวันต์รุ่งเรื่องล่วงภูเขาเหล่าอื่นฉะนั้น อธิบายว่า

พระองค์ทรงรุ่งเรืองยิ่ง เหมือนขุนเขาหิมวันต์ รุ่งเรื่องล่วงภูเขาเหล่าอื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 512

ด้วยคุณ มีภาวะที่ตนมีสาระมั่นคงหนักและใหญ่เป็นต้นฉะนั้น.

บทว่า สพฺเพส นาคนามาน ได้แก่ อหินาค นาคคืองู, หัตถินาค

นาคคือช้าง, ปุริสนาค นาคคือคน อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ เสขนาค

นาคคือพระเสขะ, อเสขนาค นาคคือพระอเสขะ, ปัจเจกพุทธนาค

นาคคือพระปัจเจกพุทธ, พุทธนาค นาคคือพระพุทธเจ้า.

บทว่า สจฺจนาโม ได้แก่ ชื่อว่านาความเป็นจริง, ก็พระอุทายี

ย่อมกล่าวซึ่งความที่นาคเป็นชื่อตามจริง ด้วยตนเองทีเดียว ด้วยคำว่า

"เพราะผู้ใดไม่ทำบาป ผู้นั้นชื่อว่านาค" ดังนี้เป็นต้น.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงพระพุทธนาคโดยอวัยวะ และเพื่อจะแสดง

โดยชื่อก่อน จงกล่าวว่า "เพราะผู้ใดไม่ทำบาป ผู้นั้นชื่อว่านาค."

อธิบายว่า ชื่อว่า นาค เพราะไม่กระทำบาปโดยประการทั้งปวง.

บทว่า โสรจฺจ ได้แก่ ศีล.

บทว่า อวิหึสา ได้เเก่ กรุณา. ความที่พระพุทธนาคเป็นดัง

เท้าหน้า สมควรแล้วสำหรับนาคนั้น เพราะการทำวิเคราะห์ว่า โสรัจจะ

และอวิหิงสาทั้งสองนั้น เป็นประธานแห่งกองคุณแม้ทั้งปวง เพราะฉะนั้น

ท่านพระอุทายีจึงกล่าวว่า "ความสงบเสงี่ยมและความไม่เบียดเบียน

๒ อย่างนี้ เป็นเท้าหน้าทั้งสองของนาคคือช้างตัวประเสริฐ" เมื่อจะ

กล่าวโดยความเป็นดังเท้าหลัง จึงกล่าวว่า "สติและสัมปชัญญะเป็น

เท้าหลัง." บาลีว่า ตฺยาปเร ดังนี้ก็มี. จำแนกบทว่า เต อปเร ดังนี้ เหมือน

กัน . ศรัทธาในการยึดถือธรรมอันหาโทษมิได้เป็นดังงวงของช้างนั้น เหตุ

นั้นช้างนั้นชื่อว่ามีศรัทธาเป็นดังงวง. อุเบกขาอันต่างด้วยญาณ (ปัญญา)

อันเป็นเวทนาบริสุทธิ์ดี เป็นงาขาวของช้างนั้นมีอยู่ เหตุนั้นช้างนั้น ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 513

มีอุเบกขาเป็นงาขาว. มีปัญญาเป็นศีรษะ มีสติเป็นที่ตั้งมั่นของปัญญานั้น

เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีสติเป็นคอ มีปัญญาเป็นศีรษะ.

บทว่า วีมสา ธมฺมจินฺตนา ความว่า การลูบคลำ และการสูด

กลิ่น สิ่งที่ควรกินและไม่ควรกินด้วยงวง ชื่อว่าปัญญาเครื่องพิจารณา

ของหัตถินาคฉันใด ความคิดซึ่งธรรมมีกุศลเป็นต้น ชื่อว่าปัญญาเครื่อง

พิจารณาของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐฉันนั้น. ชื่อว่า สมาวาสะ เพราะ

เป็นที่อยู่ร่วมกันเสมอ ได้แก่การอยู่ร่วมกัน คือท้องอันเป็นที่รองรับ ได้แก่

ธรรมกล่าวคือสมถะและวิปัสสนา เพราะเป็นที่รองรับอภิญญา และสมถะ,

ธรรมเป็นที่อยู่เสมอคือท้องของนาคมีอยู่ เหตุนั้น นาคจึงเป็นผู้ชื่อว่า

กุจฉิสมาวาสะ มีธรรมเป็นที่อยู่คือท้อง.

บทว่า วิเวโก ได้แก่ อุปธิวิเวก.

บทว่า ตสฺส ได้แก่ พระพุทธนาค. ชื่อว่าเป็นหาง เพราะหางเป็น

อวัยวะที่สุด.

บทว่า ฌายี ได้แก่ ผู้มีปกติเพ่งฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์

บทว่า อสฺสาสรโต ความว่า ยินดีแล้วในพระนิพพานอันเป็น

ที่โล่งใจอย่างยิ่ง.

บทว่า อชฺฌตฺต สุสมาหิโต ความว่า มีจิตตั่งมั่นด้วยดีในผล-

สมาบัติ อันเป็นอารมณ์ภายใน เพราะแสดงว่า การตั้งมั่นนี้นั่นเป็นไป

ได้ทุกกาลด้วยดี ท่านจึงกล่าวว่า ช้างตัวประเสริฐเมื่อเดินก็จิตตั้งมั่น.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระทัยตั้งมั่นด้วยดีเป็นนิจ เพราะ

ไม่มีความฟุ้งซ่าน เหตุละอุทธัจจะเสียได้. เพราะฉะนั้น พระองค์สำเร็จ

อิริยาบถใด ๆ มีพระหทัยตั้งมั่นสำเร็จอิริยาบถนั้น ๆ แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 514

บทว่า สพฺพตฺถ ได้แก่ ในอารมณ์ทั้งปวง และปิดกั้นความเป็น

ไปโดยประการทั้งปวงในทวารทั้งปวง. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวคำมีอาทิ

ว่า กายกรรมทั้งปวงเป็นตัวนำแห่งญาณ (ปัญญา) คือเป็นไปตามญาณ.

บทว่า เอสา นาคสฺส สมฺปทา ความว่า นี้เป็นคุณสมบัติ คือ

เป็นความบริบูรณ์ด้วยคุณแห่งช้างตระกูลคันธะคือพระพุทธเจ้า ตามที่

กล่าวแล้วและกำลังจะกล่าวอยู่ โดยนัยมีอาทิว่า สมฺพุทฺธ.

บทว่า ภุญฺชติ อนวชฺชานิ มีวาจาประกอบว่า บริโภคสิ่งที่ไม่ถูก

ติเตียน เพราะเพียบพร้อมอย่างยิ่งแห่งสัมมาอาชีวะ และไม่บริโภคสิ่งที่มี

โทษ คือสิ่งที่ถูกติเตียน เพราะละมิจฉาชีพพร้อมด้วยวาสนาโดยประการ

ทั้งปวง. และเมื่อจะบริโภคสิ่งที่ไม่มีโทษ ย่อมบริโภคสิ่งที่สะสมพร้อม

คือสิ่งที่ควรเว้น.

บทว่า สโยชน ได้แก่ สังโยชน์ทั้ง ๑๐ อันสามารถจะให้สัตว์จม

ลงในวัฏฏะ เพราะประกอบสัตว์ไว้กับด้วยวัฏทุกข์.

บทว่า อณุ ถูล แปลว่า เล็กและใหญ่.

บทว่า สพฺพ เฉตฺวาน พนฺธน ความว่า ตัดเครื่องผูกคือกิเลส

ได้เด็ดขาดด้วยมรรคญาณ.

บทว่า เยน ได้แก่ โดยทิสาภาคใด ๆ มีโยชนาว่า เหมือนดอกบัว

ขาบที่เกิดในน้ำ ย่อมงอกงาม ไม่คิดอยู่ในน้ำ เพราะมีสภาวะไม่เข้าไป

ติดด้วยน้ำฉันใด พระพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดในโลกแล้วย่อมอยู่

ในโลก ย่อมไม่ติดด้วยโลก เพราะไม่มีเครื่องฉาบทาคือตัณหา ทิฏฐิ และ

มานะ.

บทว่า คินิ แปลว่า ไฟ. บทว่า อนาหาโร แปลว่า ไม่มีเชื้อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 515

บทว่า อตฺถสฺสาย วิญฺาปนี ความว่า การทำให้ผู้อื่นรู้ คือการ

ประกาศอรรถแห่งอุปไมย กล่าวคือคุณของพระศาสดา นี้ชื่อว่าเป็นอุปมา

แห่งนาคคือช้างตัวประเสริฐ

บทว่า วิญฺูหิ ได้แก่ ผู้กำหนดรู้สัจธรรมที่พระศาสดาทรงตรัสรู้

แล้ว ด้วยคำนี้ท่านกล่าวหมายถึงตน.

บทว่า วิญฺิสฺสนฺติ เป็นต้น เป็นคำกล่าวถึงเหตุ, อธิบายว่า

เพราะเหตุที่พระมหานาคคือพระขีณาสพ ตั้งอยู่ในวิสัยของตน จักรู้แจ้ง

ซึ่งช้างคือช้างผู้มีกลิ่นหอมคือพระตถาคต อันนาคคือเราแสดงแล้ว ฉะนั้น

เพื่อจะประกาศแก่ผู้ปุถุชนเหล่าอื่น เราจึงกล่าวอุปมานี้.

บทว่า สรีร วิชห นาโค ปรินิพฺพิสฺสตฺยนาสโว ความว่า ช้าง

คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้ไม่มีอาสวะ ด้วยสอุปาทิเสสปรินิพพาน

ณ ควงโพธิพฤกษ์ บัดนี้เมื่อทรงละร่างกาย คืออัตภาพ จักปรินิพพาน

ด้วยขันธปรินิพพาน.

พระเถระครั้นประดับด้วยอุปมา ๑๔ อย่างนี้แล้ว จึงพรรณนา

พระคุณของพระศาสดา ด้วยคาถา ๑๖ คาถา มี ๖๔ บาท แล้วให้เทศนา

จบลง ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

จบอรรถกถาอุทายีเถรคาถาที่ ๒

จบปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา

โสฬสกนิบาต