ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย เถรคาถา

เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๓

ตอนที่ ๒

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ทุกนิบาต

เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๑

๑. อุตตรเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุตตรเถระ

[๒๕๘] ได้ยินว่า พระอุตตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ภพอะไรที่เที่ยงไม่มี แม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี

ขันธ์เหล่านั้น ย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป เรารู้โทษ

อย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ เราสลัดตน

ออกจากกามทั้งปวง บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 2

ทุกนิบาตอรรถวรรณนา

วรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาอุตตรเถรคาถา

พึงทราบวินิจฉัยในทุกนิบาต ดังต่อไปนี้ :-

คาถาของท่านพระอุตตรเถระ เริ่มต้นว่า นตฺถิ โกจิ ภโว นีโจ.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุเมธะ. เขาเป็นวิชาธร ท่องเที่ยวไป

โดยอากาศ.

ก็โดยสมัยนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา จึงเปล่งพระ-

พุทธรังสีมีวรรณะ ๖ ประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง เขาเหาะไปโดยอากาศ

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส ลงจากอากาศ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยดอกกรรณิการ์ อันสะอาดบริสุทธิ์ด้วยดี ไพบูลย์ ด้วยพุทธานุภาพ

(บันดาลให้) ดอกไม้ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในเบื้องบนของพระศาสดา โดยอาการ

ของฉัตร ด้วยพุทธานุภาพนั้น ทำให้เขามีจิตเลื่อมใสยิ่งกว่าประมาณ ต่อมา

กระทำกาละแล้ว เกิดในภพดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติอันโอฬาร ดำรงอยู่ใน

ภพดาวดึงส์นั้นจนตลอดอายุ ต่อแต่นั้น ก็ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ในพระนครราชคฤห์ในพุทธุป-

บาทกาลนี้ ได้มีนามว่า อุตตระ. เขาบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 3

วิชชาของพราหมณ์ เป็นผู้เกิดมาทำโลกให้เจริญโดยรูป โดยวิชา โดยวัย

และโดยศีลาจารวัตร. มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ชื่อว่า วัสสการะ เห็นสมบัติ

นั้นของเขาแล้ว เป็นผู้มีความประสงค์จะยกธิดาของตนให้ แจ้งความประสงค์

ของตนแล้ว. เขาปฏิเสธความหวังดีนั้น เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัย น้อมไป

ในพระนิพพาน เข้าไปนั่งใกล้พระธรรมเสนาบดี ฟังธรรมในสำนักตามเวลา

ที่เหมาะสม ได้เป็นผู้มีศรัทธาบวชแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติพระเถระ.

ก็โดยสมัยนั้น อาพาธบางอย่างเกิดแก่พระเถระ. เพื่อจะจัดยาถวาย

พระเถระ อุตตรสามเณร จึงถือเอาบาตรจีวรออกจากวิหารไปแต่เช้าทีเดียว

วางบาตรไว้ที่ริมฝั่งทะเลสาบ ในระหว่างทางเดินไปใกล้น้ำแล้วล้างหน้า.

ลำดับนั้น โจรทำลายอุโมงค์คนหนึ่งถูกเจ้าหน้าที่ติดตาม หนีออกจากพระนคร

โดยทางประตูด้านหน้านั่นแหละ ใส่ห่อรัตนะที่ตนลักมาไว้ในบาตรของสามเณร

แล้วหนีไป.

สามเณรเดินเข้าไปใกล้บาตร พวกราชบุรุษที่ติดตามโจรมา เห็นห่อ

ของในบาตรของสามเณร จึงกล่าวว่า สามเณรนี้เป็นโจร สามเณรนี้ประพฤติ

เป็นโจร แล้วจับสามเณรมัดมือไพล่หลัง ส่งให้วัสสการพราหมณ์. ก็ใน

ครั้งนั้น วัสสการพราหมณ์ ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งผู้วินิจฉัยคดีของพระราชา

สั่งการลงโทษประหารและทรมานได้. เขาไม่ยอมไต่สวน ทวนพยานเลย

สั่งให้เอาหลาวเสียบประจานสามเณรทั้งเป็น ๆ เพราะผูกอาฆาตว่า เมื่อก่อน

สามเณรไม่เอื้อเฟื้อคำของเรา ไปบวชในลัทธินอกรีตนอกรอย.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูความแก่รอบแห่งญาณ

ของอุตตรสามเณรแล้ว เสด็จไปสู่ที่นั้น ทรงวางพระหัตถ์ ซึ่งมีพระองคุลียาว

อ่อนนุ่ม คลุมด้วยเปลวรัศมี ประดุจสายธารทองคำสีแดงธรรมชาติ ที่กำลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 4

หลั่งอยู่ เพราะประกอบด้วยรัศมีสีขาว แพรวพราวไปด้วยแสงแห่งแก้วมณี

ที่นิ้วมืออันสั่นพริ้วอยู่บนศีรษะของอุตตรสามเณร แล้วตรัสว่า ดูก่อนอุตตระ

นี้เป็นผลของกรรมเก่า เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ เธอต้องทำความอดกลั้น ด้วยกำลัง

แห่งการพิจารณา ในผลของกรรมนั้น ดังนี้ แล้วทรงแสดงธรรมตามสมควร

แก่อัธยาศัย. อุตตรสามเณรกลับได้ปีติ และปราโมทย์อันโอฬาร เพราะความ

เป็นผู้มีความเลื่อมใส และโสมนัสอันเกิดแล้ว ด้วยสัมผัสแห่งพระหัตถ์ของ

พระศาสดา คล้ายกับทรงราดรดด้วยน้ำอมฤต ก้าวขึ้นสู่วิปัสสนามรรค ตาม

ที่สั่งสมไว้ ยังกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว ตามลำดับแห่งมรรคในทันใดนั้นเอง

เพราะถึงความแก่รอบแห่งญาณ และเพราะเทศนาอันงดงามไพเราะของพระ

ศาสดา. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า "สุเมธะ"

มีพระมหาปุริสลักษณะ อันประเสริฐ ๓๒ ประการ

พระองค์ทรงประสงค์ความสงัด จึงเสด็จไปป่า

หิมพานต์ พระมุนีผู้เลิศ ประกอบด้วยพระกรุณาเป็น

อุดมบุรุษ เสด็จถึงป่าหิมพานต์แล้ว ประทับนั่งขัด-

สมาธิ ครั้งนั้น เราเป็นวิทยาธร สัญจรไปในอากาศ

เราถือตรีศูล ซึ่งกระทำไว้ดีแล้ว เหาะไปในอัมพร

พระพุทธเจ้าส่องสว่างอยู่ในป่า เหมือนกับไฟบนยอด

ภูเขา เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ และเหมือนต้น

พระยารังที่มีดอกบาน เราออกจากป่าเหาะไปตาม

พระรัศมีของพระพุทธเจ้า เห็นคล้ายกับสีของไฟที่

ไหม้ไม้อ้อ ยังจิตให้เลื่อมใส เราเลือกเก็บดอกไม้อยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 5

ได้เห็นดอกกรรณิการ์ที่มีกลิ่นหอม จึงเก็บเอามา ๓

ดอก บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยอานุภาพ

แห่งพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น ดอกไม้ของเราทั้ง ๓ ดอก

เอาขั้วขึ้น เอากลีบลง ทำเป็นร่มเงาบังพระศาสดา

ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์

จำนง เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

วิมานของเราสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์ อันบุญ

กรรมทำให้อย่างสวยงาม ในดาวดึงส์นั้นปรากฏชื่อว่า

กรรณิการ์ แล่งธนูตั้งพันลูกคลีหนังตั้งร้อย คนถือธง

สำเร็จด้วยสีเขียวใบไม้ มีประตูหน้าต่างตั้งแสนปรากฏ

ในปราสาทของเรา บัลลังก์สำเร็จด้วยทองก็มี สำเร็จ

ด้วยแก้วมณีก็มี สำเร็จด้วยแก้วทับทิมก็มี สำเร็จด้วย

แก้วผลึกก็มี ตามแต่จะต้องการปรารถนา ที่นอนมี

ค่ามาก ยัดด้วยนุ่น มีผ้าลวดลายรูปสัตว์ต่าง ๆ มี

ราชสีห์เป็นต้น ผ้าลาดมีชายเดียว มีหมอนพร้อม

ปรากฏว่ามีอยู่ในปราสาทของเรา ในเวลาที่เรา

ปรารถนาจะออกจากภพ เที่ยวจาริกไปในเทวโลก

ย่อมเป็นผู้อันหมู่เทวดาแวดล้อมไป เราสถิตอยู่ภายใต้

ดอกไม้ เบื้องบนเรามีดอกไม้เป็นเครื่องกำบัง สถานที่

โดยรอบ ๑๐๐ โยชน์ ถูกคลุมด้วยดอกกรรณิการ์

ดนตรีหกหมื่น บำรุงเราทั้งเช้าและเย็น ไม่เกียจคร้าน

แวดล้อมเราเป็นนิตย์ ตลอดคืนตลอดวัน เรารื่นรมย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 6

ด้วยการฟ้อน การขับและด้วยกังสดาล เครื่องประโคม

เป็นผู้มักมากด้วยกาม บันเทิงอยู่ด้วยความยินดีในการ

เล่น ครั้งนั้น เราบริโภคและดื่มในวิมานนั้น บันเทิง

อยู่ในไตรทศ เราพร้อมด้วยหมู่นางเทพอัปสร บันเทิง

อยู่ในวิมานอันสูงสุด เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก

๕๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ครั้ง และ

ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับ

มิได้ เมื่อเรายังท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อม

ได้โภคทรัพย์มากมาย ความบกพร่องในโภคทรัพย์

ไม่มีแก่เราเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเกิดใน

สองสกุล คือ ในสกุลกษัตริย์ หรือสกุลพราหมณ์

ย่อมไม่เกิดในสกุลต่ำทราม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

ยานช้าง ยานม้า และวอคานหาบ นี้เราได้ทุกสิ่ง

ทุกอย่างทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา หมู่ทาส

หมู่ทาสี และนารีที่ประดับประดาแล้ว เราได้ทุกอย่าง

ทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ผ้าแพร ผ้าขนสัตว์

ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้ายเราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่ง

พุทธบูชา ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะมีรสอันเลิศ

ใหม่ ๆ เราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา คำว่า

เชิญเคี้ยวสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้ เชิญนอนบนที่นอนนี้

เราได้ทั้งนั้น นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเป็นผู้อันเขา

บูชาในที่ทุกสถาน เรามียศใหญ่ยิ่ง มีศักดิ์ใหญ่ มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 7

บริษัทไม่แตกแยกทุกเมื่อ เราเป็นผู้อุดมกว่าหมู่ญาติ

นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราไม่รู้จักหนาว ไม่รู้จักร้อน

ไม่มีความกระวนกระวาย อนึ่ง ทุกข์ทางจิต ย่อมไม่มี

ในหทัยของเราเลย เราเป็นผู้มีผิวพรรณดังทองคำ

เที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ความเป็นผู้มีวรรณะผิด-

แผกไป เราไม่รู้จักเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราอัน

กุศลมูลตักเตือนแล้ว จึงจุติจากเทวโลก มาเกิดใน

สกุลพราหมณ์ มหาศาลอันมั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี

ละกามคุณ ออกบวชเป็นบรรพชิต เรามีอายุได้ ๗

ขวบแต่กำเนิด ได้บรรลุพระอรหัต พระพุทธเจ้าผู้มี

ปัญญาจักษุ ทรงทราบคุณของเรา จึงรับสั่งให้เรา

อุปสมบท เรายังหนุ่มก็ควรบูชา นี้เป็นผลแห่งพุทธ-

บูชา ทิพยจักษุของเราบริสุทธิ์ เราฉลาดในสมาธิ ถึง

ความบริบูรณ์แห่งอภิญญา นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราบรรลุปฏิสัมภิทา ฉลาดหลักแหลมในอิทธิบาท

ถึงความบริบูรณ์ในพระสัทธรรม นี้เป็นผลแห่งพุทธ-

บูชา ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วย

การบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ-

บูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของ

พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็อุตตรสามเณร เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ลุกขึ้นจากหลาว แล้วยืนอยู่ใน

อากาศ แสดงปาฏิหาริย์ ด้วยความอนุเคราะห์ในผู้อื่น มหาชนได้เกิดมีจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 8

อัศจรรย์ในปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมี. แผล (เก่า) ของท่านได้ผุดขึ้นในทันใด

นั่นเอง. ท่านอันภิกษุทั้งหลาย ถามว่า อาวุโส ท่านเสวยทุกข์เช่นนั้นอยู่

สามารถขวนขวายวิปัสสนาได้อย่างไร ? เมื่อจะแสดงความว่า ดูก่อนอาวุโส

จะป่วยกล่าวไปใย ถึงโทษในสงสารของเรา ก็สภาพของสังขารทั้งหลาย ท่าน

ทั้งหลายก็เห็นดีแล้ว เราแม้เสวยทุกข์เช่นนั้น อยู่อย่างนี้ ก็ยังสามารถเจริญ

วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัตได้ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

ภพอะไรที่เที่ยงไม่มี แม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี

ขันธ์เหล่านั้น ย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป เรารู้โทษ

อย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ เราสลัดตน

ออกจากกามทั้งปวง บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นตฺถิ โกจิ ภโว นิจฺโจ ความว่า

ภพทั้งหลาย แยกประเภทออกไปอย่างนี้ คือ กรรมภพ อุปปัตติภพ กามภพ

รูปภพ อรูปภพ สัญญีภพ อสัญญีภพ เนวสัญญีนาสัญญีภพ เอกโวการภพ

จตุโวการภพ (และ) ปัญจโวการภพ. แม้ในบรรดาภพเหล่านั้น ภพอย่างใด

อย่างหนึ่ง ที่จำแนกออกไปอย่างนี้ว่า เลว ปานกลาง อุกฤษฏ์ มีอายุยืน

มากด้วยความสุข มีสุขและทุกข์คลุกเคล้ากันไป ดังนี้ จะเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง

มีอันไม่ต้องเพ่งดูเป็นธรรมดา ไม่มีเลย เพราะต้องอาศัยเหตุนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น

ประกอบความว่า ก็เพราะการณ์เป็นอย่างนี้แหละ ฉะนั้น แม้สังขารทั้งหลาย

จะชื่อว่าเที่ยงไม่มีเลย.

สังขารทั้งหลายนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นของเกิดแล้ว โดยการกำหนด

หมายรู้ เพราะอาศัยเบญจขันธ์ อันได้นามว่าสังขาร เพราะเหตุที่ปัจจัยทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 9

ปรุงแต่งแล้ว ย่อมเปลี่ยนแปลงไปเพราะชราและมรณะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า

ไม่เที่ยง มีการแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จริงอย่างนั้น วิปริณามธรรมเหล่านั้น

ท่านจึงกล่าวว่า สังขาร ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ขันธ์เหล่านั้น

ย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป โดยมีอธิบายว่า เบญจขันธ์ที่ท่านกล่าวไว้โดย

ปริยายแห่งภพ และโดยปริยายแห่งสังขารเหล่านั้น ย่อมเวียนเกิดไปตามปัจจัย

และเกิดแล้ว ถูกชราเบียดเบียนบีบคั้น ย่อมเคลื่อน คือ แตกสลายไป.

ด้วยบทว่า อุปฺปชฺชนฺติ จ เต ขนฺธา จวนฺติ อปราปร นี้

พระเถระแสดงความหมายว่า เบญจขันธ์ที่ได้ชื่อว่า ภพก็ดี สังขารก็ดี มีการ

เกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นสภาพ. เพราะเหตุที่เมื่อพระโยคาวจร ยกเบญจขันธ์

ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ภพแม้ทั้ง ๓ ย่อมปรากฏชัด

ดุจถูกไฟเผาแล้ว จะป่วยกล่าวไปใยถึงสังขารทั้งหลาย ที่พระโยคาวจรรู้อาทีนพ

คือ โทษในเบญจขันธ์ที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ว่าเป็นเหมือนเรือนที่ถูกไฟไหม้แล้ว

ด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นแล้วโดยเป็นอนิจจลักษณะ ย่อมปรากฏชัดกว่า

เพราะความที่สังขารเป็นทุกข์ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สิ่งใด

ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา.

เพราะเหตุที่ เมื่อพระโยคาวจรยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ แล้ว

พิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ภพแม้ทั้ง ๓ ย่อมปรากฏว่ามีภัยเฉพาะหน้าดุจเรือน

ที่ถูกไฟไหม้ ฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ภเวนมฺหิ อนตฺถิโก (เรารู้โทษ

อย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ). ประกอบความว่า ก็แม้เล่ห์เหลี่ยม

ที่มุ่งหมายในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ทำตนให้หมุนกลับจากภพ

ทั้งหลายได้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น พระเถระ จึงกล่าวว่า

นิสฺสโฏ สพฺพกาเมหิ เราเป็นผู้สลัดตนออกแล้วจากกามทั้งปวงดังนี้อธิบายว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 10

เราเป็นผู้มีจิตหมุนกลับจากกามทั้งหลายแม้เป็นทิพย์ (เห็น) เป็นเหมือนของ

มนุษย์.

บทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย ความว่า เพราะเหตุที่เราเป็นผู้มี

สังขารอันขจัดขัดเกลาดีแล้ว เห็นโทษในภพทั้งหลายโดยชัดเจน และมีใจ

ไม่ข้องแวะในกามทั้งหลาย ฉะนั้น ถึงแม้เราจะนั่งอยู่แล้วบนปลายหลาว เราก็

ได้บรรลุ คือ ถึงทับความสิ้นไปแห่งอาสวะ อันได้แก่พระนิพพาน และพระ-

อรหัตผล. พระเถระ ให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ก็เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย

เหล่าอื่น ผู้มีใจยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ พึงกระทำความอุตสาหะเพื่อ

บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะนั้น.

จบอรรถกถาอุตตรเถรคาถา

๒. ปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระปิณโฑลภารทวาชเถระ

[๒๕๙] ได้ยินว่า พระปิณโฑลภารทวาชเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่าง

นี้ว่า

ชีวิตของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไป โดยไม่สมควร

อาหารไม่ได้ทำจิตให้สงบ เราเห็นว่า ร่างกายจะดำรง

อยู่ได้ เพราะอาหาร จึงได้เที่ยวแสวงหาอาหารโดย

ทางที่ชอบ.

นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าว

การไหว้ และการบูชาในตระกูลทั้งหลายว่า เป็น

เปลือกตม เป็นลูกศรอันละเอียด ถอนขึ้นได้ยาก

สักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 11

อรรถกถาปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา

คาถาของท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระ เริ่มต้นว่า นยิท อนเยน.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

ได้ยินมาว่า พระเถระนี้ เกิดในกำเนิดราชสีห์ ในกาลของพระผู้มี

พระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ อยู่ในถ้ำแห่งภูเขา. พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จเข้าไปสู่ถ้ำเป็นที่นอน ในเวลาที่ราชสีห์หลีกออกไปหากิน เพื่อจะทรง

อนุเคราะห์เขา ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติแล้ว ราชสีห์คาบเอาเหยื่อกลับมา

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประตูถ้ำ เป็นผู้ร่าเริงยินดี กระทำการบูชาด้วยดอกไม้

ที่เกิดในน้ำและดอกไม้ที่เกิดบนบก ทำใจให้เลื่อมใส บันลือสีหนาทในเวลา

ทั้ง ๓ เพื่อให้สัตว์ร้ายในป่าหนีไป เพื่อถวายอารักขาพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืน

เฝ้าอยู่โดยมีพุทธานุสติเป็นอารมณ์ มันบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๗ วัน

เหมือนอย่างที่บูชาในวันแรก.

โดยล่วงไปได้ ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากนิโรธสมาบัติ

ทรงพระดำริว่า เท่านี้ก็จะพอเป็นอุปนิสัย เป็นไปแก่ราชสีห์ เมื่อมันเห็นอยู่

นั่นแล เสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศ เสด็จไปยังพระวิหารแล้ว. ราชสีห์ ไม่อาจอด

กลั้นความทุกข์ อันเกิดจากความพลัดพรากจากพระพุทธเจ้า กระทำกาละแล้ว

ดุจช้างปาลิเลยยกะ เกิดในตระกูลของคฤหบดีผู้มีโภคะมาก ในพระนครหงสาวดี

เจริญวัยแล้ว ไปสู่พระวิหารพร้อมกับชาวเมือง ฟังพระธรรมเทศนา บำเพ็ญ

มหาทานตลอด ๗ วัน แล้วกระทำบุญจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 12

อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรปุโรหิต ของพระเจ้าอุเทน ใน

พระนครโกสัมพี ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย โดยนาม

ชื่อว่า ภารทวาชะ.

เขาเจริญวัยแล้ว เรียนจบไตรเพท สอนมนต์กะมาณพ ๕๐๐ ถูก

มาณพเหล่านั้นทอดทิ้ง เพราะเป็นผู้มีอาจาระไม่เหมาะสม เพราะเป็นคนจะกละ

(กินจุ) ไปสู่พระนครราชคฤห์ เห็นลาภสักการะของพระผู้มีพระภาคเจ้า และ

ของภิกษุสงฆ์ จึงบวชในพระศาสนา เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ เที่ยวไป

อันพระศาสดาทรงทำให้ตั้งอยู่ ในความเป็นผู้รู้ประมาณได้ด้วยอุบายวิธี เริ่ม

ตั้งวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์

ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า

เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้อ ครั้งนั้นเราเที่ยวอยู่ใน

ป่าใหญ่ ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี

ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เราเลื่อมใส ได้เอาผลมะหาด

มาถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เป็นเขตแห่งบุญ

ผู้แกล้วกล้า ด้วยมือทั้งสองของตน ในกัปที่ ๓๑ แต่

ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการ

ถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ

ถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระเป็นผู้ได้อภิญญา ๖ แล้ว คิดว่า มรรคผลใด อันสาวก

ทั้งหลายพึงบรรลุ เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า มรรคผลนั้นเราก็

บรรลุแล้ว และบันลือสีหนาทในหมู่ภิกษุว่า ผู้ใดมีความสงสัยในมรรคหรือผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 13

ผู้นั้นจงถามเรา ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงตั้งท่านไว้ใน

เอตทัคคะ ด้วยพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระปิณโฑลภารทวาชะ

เป็นยอดแห่งภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ผู้บันลือสีหนาท.

วันหนึ่ง ท่านเมื่อจะอนุเคราะห์พราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความ

ตระหนี่ เคยเป็นสหายกันในสมัยเมื่อเป็นคฤหัสถ์ ผู้เข้าไปหาถึงสำนักจึงกล่าว

กถาพรรณนาอานิสงส์ของทานแก่พราหมณ์นั้น แม้เมื่อพราหมณ์ จะทำการ

ขมวดคิ้วสยิวหน้าว่า พระเถระนี้ ประสงค์จะยังทรัพย์ของเราให้พินาศ แล้ว-

กล่าวว่า เราจะถวายภัตรมื้อหนึ่งแก่ท่าน ดังนี้ จึงกล่าวว่า ท่านจงถวายภัตร

มื้อหนึ่งนั้นแก่พระสงฆ์ อย่าถวายเราเลย แล้วให้พราหมณ์น้อมนำภัตรนั้น ไป

ถวายสงฆ์ เมื่อพราหมณ์แสดงความไม่พอใจอีกด้วยคิดว่า พระเถระนี้ประสงค์

จะให้เราถวายทานแก่ภิกษุจำนวนมาก ดังนี้ พระเถระจึงยังพราหมณ์ให้เลื่อมใส

ด้วยการประกาศถึงความที่แห่งทักษิณาทาน ที่ถวายในสงฆ์ โดยพระธรรม

เสนาบดีในวันที่สองว่ามีผลมาก คิดว่าพราหมณ์นี้ สำคัญว่า พระเถระนี้ชักชวน

ให้เราถวายทาน ด้วยควานอยากในอาหาร เขาไม่รู้ความที่เราควบคุม (กำหนดรู้)

อาหารได้แล้วโดยประการทั้งปวง เอาเถิด เราจะทำให้เขารู้ ดังนี้ จึงได้กล่าว

คาถา ๒ คาถา ความว่า

ชีวิตของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปโดยไม่สมควร

อาหารไม่ได้ทำจิตให้สงบ เราเห็นว่า ร่างกายจะดำรง

อยู่ได้เพราะอาหาร จึงได้เที่ยวแสวงหาโดยทางที่ชอบ.

นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าวการ

ไหว้ การบูชา ในตระกูลทั้งหลายว่า เป็นเปลือก

ตม เป็นลูกศรอันละเอียด ถอนขึ้นได้ยาก สักการะ

อันบุรุษชั่วละได้ยาก ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 14

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นยิท อนเยน ชีวิต ความว่า ชีวิต

ของเรานี้ ชื่อว่า ย่อมไม่เป็นไปโดยไม่สมควรคือ โดยการแสวงหาที่ไม่สมควร

มีการให้ไม้ไผ่ และการให้ดอกไม้เป็นต้น เพราะไม่มีความใคร่ในชีวิต.

บทว่า นาหาโร หทยสฺส สนฺติโก ความว่า ก็อาหารที่เรานำมา

ย่อมไม่กระทำหทัย คือ จิต ให้สงบระงับ ดุจมรรคญาณและผลญาณ อธิบายว่า

แต่จะกระทำเพียงระงับความหิวได้โดยทันทีอย่างเดียว.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า นาหาโร หทยสฺส สนฺติโก ความว่า

อาหาร คือ วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความอยากในรส ไม่ได้ทำจิตของเราให้สงบ

คือไม่ทำจิตของเราให้ข้อง เพราะไม่มีความอยากในรสนั่นเอง อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า สนฺติเก ก็มี.

อธิบายว่า ผู้ที่มีความจะกละในอาหารนั้น ย่อมต้องขวนขวายหาลาภ

สักการะเที่ยวไป อาหารจึง ชื่อว่า มีอยู่ในใจของผู้นั้น เพราะต้องใส่ใจถึงอยู่

เนือง ๆ ส่วนผู้ใดรู้เท่าทัน (ควบคุม) อาหารได้ ผู้นั้น ชื่อว่าละฉันทราคะ

ในอาหารนั้นได้แล้ว อาหารชื่อว่าไม่มีอยู่ในใจของผู้นั้น เพราะไม่มีการกระทำ

ไว้ในใจ มีอาทิว่า ทำอย่างไรหนอ ถึงจะได้อาหารดังนี้โดยแท้ เพราะใส่ใจ

ถึงปัญหายอกย้อน อันจะมีขึ้นว่า ก็ถ้าท่านไม่มีความใคร่ในชีวิต และความอยาก

ในรสอาหารไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร ท่านจึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต

ดังนี้ พระเถระจึงกล่าวว่า ร่างกายจะดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร จึงได้เที่ยว

แสวงหาอาหารโดยทางที่ชอบ.

อาหาร คือ โภชนะเป็นที่ตั้ง คือ เป็นฐานได้แก่เป็นปัจจัยของร่างกาย

นั้น เพราะเหตุนั้น ร่างกายจึงชื่อว่า อาหารัฏฐิติกะมีอาหารเป็นที่ตั้ง อธิบายว่า

การสั่งสม คือร่างกาย มีความเป็นไปเนื่องด้วยอาการ เพราะเราเห็นอย่างนี้

รู้อย่างนี้ จึงยกเอาความข้อนี้ไว้ในสมอง ต้องเที่ยวแสวงหา คือ ทำการแสวงหา

อาหาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 15

พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ท่านไม่ควรคิดในคนเช่นเราอย่างนี้ว่าเข้าไป

สู่สกุลเพราะปัจจัยเป็นเหตุ และถูกลาภสักการะ คือการกราบไหว้บูชาในสกุล

นั้น ผูกมัดไว้ จึงได้กล่าวคาถาว่า ปงฺโก (การไหว้การบูชาในตระกูลเป็น

เปลือกตม).

คาถานั้นมีอธิบายว่า เพราะเหตุที่บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

ได้รู้ คือ รู้แจ้ง หรือได้แก่ประกาศการสรรเสริญคุณและการบูชา ของเหล่า

บรรพชิตผู้เข้าไปสู่สกุล เพราะมีปัจจัยเป็นเหตุที่จักเป็นไปในตระกูลทั้งหลาย

คือ ในหมู่ชาวบ้าน นี้นั้นว่าเป็นเปลือกตม คือเป็นหล่ม เพราะอรรถว่า

เป็นเหตุให้บรรพชิตผู้มีตนอันไม่ได้อบรมแล้วจมลง และเพราะกระทำความ

เศร้าหมองให้แก่บรรพชิตผู้มีตนอันไม่ได้อบรมแล้ว ฉะนั้นการสรรเสริญคุณ

และการบูชานั้น จึงไม่เป็นไปเพื่อผูกมัดสัตบุรุษทั้งหลาย จักป่วยกล่าวไปใย

ถึงการหวังสักการะเล่า เพราะท่านละได้แล้ว แต่สำหรับอสัตบุรุษ ความหวัง

ในสักการะ ย่อมชื่อว่าเป็นลูกศรอันละเอียด รู้ได้ยาก เพราะก่อให้เกิดความ

บีบคั้นโดยเป็นสภาพที่รู้ได้โดยยาก และเพราะไม่สามารถจะถอนออกได้เพราะ

เจาะลึกเข้าไปในภายใน เพราะเหตุนั้นแล สักการะจึงเป็นของอันบุรุษชั่วนั้น

ละได้ยาก คือดึงออกไปได้โดยยาก เพราะไม่ดำเนินปฏิปทา อันเป็นข้อปฏิบัติ

ให้ถึงการละสักการะนั้น ชื่อว่า เป็นคนเลว เพราะไม่ละความหวังในลาภ

สักการะ. พราหมณ์ฟังคำเป็นคาถานั้นแล้ว ได้เป็นผู้มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง

ในพระเถระ.

จบอรรถกถาปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 16

๓. วัลลิยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวัลลิยเถระ

[๒๖๐] ได้ยินว่า พระวัลลิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

วานรเข้าไปอยู่ในกระท่อม มีประตู ๕ ประตู

พยายามเวียนเข้าออกทางประตูนั้นเนือง ๆ จงหยุดนิ่ง

นะเจ้าลิง อย่าวิ่งไปดังกาลก่อนเลย เราจับเจ้าไว้ได้

ด้วยปัญญาแล้ว เจ้าจัก ไปไกลไม่ได้ละ.

อรรถกถาวัลลิยเถรคาถา

คาถาของท่านพระวัลลิยเถระ เริ่มต้นว่า มกฺกโฏ ปญฺจทฺวาราย.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมบุญมากหลายไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกัป

ที่ ๓๑ นับแต่ภัทรกัปนี้ บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่งเข้าไปสู่ป่าด้วยกรณียกิจ

บางอย่าง เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า นารทะ อยู่ที่โคนต้นไม้ในป่านั้น

เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ทำศาลาด้วยไม้อ้อ มุงบังด้วยหญ้าถวาย และแผ้วถางที่

สำหรับเดินจงกรมของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เกลี่ยทรายลง (จนเรียบ) ถวาย.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

เป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 17

ได้มีนามว่า วัลลิยะ. เขาเจริญวัยแล้ว ถึงความเป็นหนุ่มโดยลำดับ เป็น

ผู้ตกอยู่ใต้อำนาจของอินทรีย์ ท่องเที่ยวไป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

โดยการแนะนำของกัลยาณมิตร ฟังธรรมแล้ว ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว

เริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่

ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาลูกหนึ่ง ชื่อ

หารินะ ครั้งนั้นพระสยัมภูพุทธเจ้า นามว่า " นารทะ "

อยู่ใกล้ต้นไม้ เราทำเรือนไม้อ้อ มุงด้วยหญ้า เราได้

แผ้วถางทางจงกรม ถวายพระสยัมภู ด้วยกรรมที่เรา

ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละ

ร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บนสวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์นั้น วิมานของเราสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐

โยชน์ อันบุญกรรมเนรมิตขึ้นอย่างสวยงาม เพราะผล

แห่งการสร้างกุฎีไม้อ้อ เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๑๔

กัป ได้เสวยสมบัติในเทวโลก ๗๑ ครั้ง ได้เป็นพระ-

เจ้าจักรพรรดิ ๓๔ ครั้ง และได้เป็นเจ้าประเทศราช

อันไพบูลย์ โดยคณานับไม่ถ้วน เราขึ้นสู่ปราสาทคือ

ธรรมแล้ว เข้าถึงซึ่งอมตธรรมอันประเสริฐ ด้วยอาการ

ทั้งปวง อยู่ในศาสนาของพระศากยบุตร ตามปรารถนา

ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใดไว้ใน

กาลนั้น ด้วยธรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล

แห่งกุฏิไม้อ้อ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 18

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เพราะเหตุที่จิตของตนในเวลา

ที่เป็นปุถุชน เป็นไปตามความใคร่ในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปารมณ์เป็นต้น

บัดนี้ เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล โดยประกาศถึงความที่แห่งอารมณ์มีรูป

เป็นต้น อันตนข่มไว้ได้แล้ว ด้วยพระอริยมรรค จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา

ความว่า

วานรเข้าไปในกระท่อม มีประตู ๕ ประตู

พยายามเวียนเข้าออก ทางประตูนั้นเนือง ๆ จงหยุด

นิ่งนะเจ้าลิง อย่าวิ่งไปดังกาลก่อนเลย เราจับเจ้าไว้ได้

ด้วยปัญญาแล้ว เจ้าจักไปไกลไม่ได้ละ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆฏฺฏยนฺโต ความว่า พระโยคาวจร

ละอารมณ์อย่างหนึ่ง แล้วไปยึดอารมณ์อีกอย่างหนึ่ง ในอารมณ์ทั้งหลาย

มีรูปเป็นต้น ด้วยจักษุทวารเป็นต้นนั้น ๆ ไม่พอใจเพื่อจะอยู่นิ่ง ๆ ด้วย

สามารถแห่งการยึดมั่นของจิตสันดาน จึงพยายาม คือ ทำอารมณ์ให้ไหวอยู่

เนือง ๆ ย่อมไหวไปตาม คือเที่ยวไปตามความใคร่ ในอารมณ์มีรูปารมณ์

เป็นต้นนั้นแล ดุจลิงเข้าไปหาผลไม้กิน ยังต้นไม้ให้ไหวในที่นั้นหลายครั้ง

เพราะละกิ่งไม้กิ่งหนึ่งแล้ว ไปเกาะกิ่งไม้อีกกิ่งหนึ่ง เพราะความหลุกหลิก

ของตน ฉะนั้น. ก็ในคาถานี้ ท่านกล่าวความเป็นปัจจุบัน เพราะเป็นเรื่อง

ที่ใกล้กับสิ่งที่ดำเนินไปอยู่ ก็เมื่อลิง (คือจิต) วิ่งวนไปมาอยู่อย่างนี้ พระเถระ

จึงปรามว่า จงหยุดนะเจ้าลิง อย่าวิ่งไป หมายความว่า ดูก่อนลิงคือจิต บัดนี้

เจ้าจงหยุด อย่าวิ่งไป คือจำเดิมแต่นี้ไป เจ้าไม่สามรถจะวิ่งต่อไปได้ เพราะ

เหตุที่เรือนคืออัตภาพนั้น เจ้าจะเข้าไปคบหาไม่ได้ดังกาลก่อน เพราะปิดประตู

เรือนแล้ว ฉะนั้น เจ้าอย่าวิ่งไปดังกาลก่อนเลย เพราะเหตุไร ? เพราะเรา

จับเจ้าได้แล้วด้วยปัญญา คือ เจ้าถูกข่มไว้เรียบร้อยแล้ว ด้วยการตัดอุปาทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 19

๕ กล่าวคือกิเลสมาร และอภิสังขารมาร ด้วยมรรคปัญญา ในบัดนี้ เพราะ

เหตุนั้น พระเถระจึงแสดงว่า เจ้าจักไปไกลไม่ได้ คือเจ้าจะไปสู่อัตภาพที่

สองเป็นต้น ซึ่งไกลกว่าอัตภาพนี้ไม่ได้ ได้แก่การไปของเจ้าจะมีได้เพียงแต่

จริมกจิตเท่านั้น. ปาฐะว่า เนโต ทูร ดังนี้ก็มี. ความหมายก็อันนั้น.

จบอรรถกถาวัลลิยเถรคาถา

๔. คังคาตีริยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระคังคาตีริยเถระ

[๒๖๑] ได้ยินว่า พระคังคาตีริยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เราทำกระท่อมด้วยใบตาล ๓ ใบ ที่ริมฝั่งแม่น้ำ

คงคา บาตรของเราเหมือนดังหม้อ สำหรับตักน้ำรด

ศพ และจีวรของเราเป็นดังผ้าคลุกฝุ่น ในระหว่าง

๒ พรรษา เราพูดเพียงคำเดียวเท่านั้น ในภายใน

พรรษาที่ ๓ เราทำลายกองความมืดคืออวิชชาได้แล้ว.

อรรถกถาคังคาตีริยเถรคาถา

คาถาของท่านพระคังคาตีริยเถระ เริ่มต้นว่า ติณฺณ เม ตาลปตฺตาน.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

ได้ยินมาว่า พระเถระนี้เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มี

พระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ บรรลุความเป็นผู้รู้แล้วเป็นผู้มี

ความเลื่อมใสอย่างยิ่งในพระศาสนา ได้ถวายน้ำดื่มแด่ภิกษุสงฆ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 20

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาไปบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว

ไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของคฤหบดีคนหนึ่ง

ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า ทัตตะ. เขาเจริญวัย

แล้วอยู่ครอบครองเรือน ไม่รู้จักความเป็นอคมนียยัฏฐาน จึงทำการล่วงละเมิด

ต่อมารู้จักความเป็นอคมนียัฏฐานแล้ว จึงเกิดความสลดใจ บวชแล้ว รังเกียจ

กรรมนั้น ดำรงตนตามลูขปฏิปทา (ปฏิบัติอย่างเศร้าหมอง) ถือบังสุกุลจีวร

และบาตรดิน มีลักษณะคล้ายหม้อรดน้ำศพ กระทำกุฎีด้วยใบตาล ๓ ใบ

อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้สมญานามว่า คังคาตีริยะ.

ท่านอธิษฐานจิตว่า เรายังไม่ได้บรรลุพระอรหัต จะไม่สนทนากับใคร ๆ

แล้วเป็นผู้นิ่งอยู่ตลอดปีแรก ไม่ยอมทำวจีเภท (ไม่ยอมพูดจา) เลย อยู่แล้ว.

ในปีที่สอง ถูกหญิงคนหนึ่งในโคจรคาม ประสงค์จะทดลองว่า เป็นใบ้

หรือเปล่า จึงเมื่อจะเทน้ำนมลงในบาตร แกล้งทำเป็นมือพิการเทราดลงไป

เผลอเปล่งวาจาออกไปว่า พอละน้องหญิง แต่ในปีที่ ๓ เพียรพยายามอยู่

บรรลุพระอรหัตแล้วในระหว่างพรรษาทีเดียว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว

ไว้ในอปทานว่า

เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ในภิกษุสงฆ์

ผู้ยอดเยี่ยมของพระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ

จึงได้ตักน้ำใส่หม้อน้ำฉันจนเต็ม ในเวลาที่เราจะต้อง

การน้ำ จะเป็นยอดภูเขา ยอดไม้ ในอากาศ หรือพื้นดิน

น้ำย่อมเกิดแก่เราทันที ในกัปที่แสน แต่ภัทรกัปนี้

เราได้ให้ทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการให้น้ำเป็นทาน. เราเผากิเลส

ทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา

กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 21

ก็พระเถระครั้นเป็นพระอรหันต์แล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล

ด้วยมุขคือการชี้แจงข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นของตน ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา

ความว่า

เราทำกระท่อมด้วยใบตาล ๓ ใบ ที่ริมฝั่งแม่น้ำ

คงคา บาตรของเราเหมือนดังหม้อสำหรับรดน้ำศพ

และจีวรของเราเป็นดังผ้าคลุกฝุ่น ในระหว่าง๒พรรษา

เราพูดเพียงคำเดียว ในภายในพรรษาที่ ๓ เราทำลาย

กองความมืด คืออวิชชาได้แล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติณฺณ เม ตาลปตฺตาน คงฺคาตีเร

กุฏี กตา ความว่า เราสร้างกุฎีไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เพื่อป้องกันฝนด้วย

ใบตาล ๓ ใบ ซึ่งหล่นลงมาจากต้นตาล. พระเถระแสดงความสันโดษด้วย

เสนาสนะของตน ด้วยบทนั้น. สมจริงดังคำเป็นคาถาที่พระธรรมเสนาบดี

กล่าวไว้ว่า

สำหรับภิกษุผู้มีความเพียร นั่งขัดสมาธิ ไม่คุก-

เข่า เป็นการเพียงพอที่จะอยู่ได้สบาย.

ปาฐะว่า ตาลปตฺตีนปิ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้น.

บทว่า ฉวสิตฺโตว เม ปตฺโต ความว่า บาตรของเราเหมือนดัง

หม้อสำหรับตักน้ำรดศพ อธิบายว่า คล้ายหม้อน้ำสำหรับรดน้ำนมให้คนตาย.

บทว่า ปสุกูลญฺจ จีวร ความว่า และจีวรของเรา ก็เป็นดังผ้า

คลุกฝุ่น ที่ทำด้วยเศษผ้า (ผ้าขี้ริ้ว) ที่เขาทิ้งแล้วในที่ทั้งหลาย มีระหว่างทาง

และป่าช้าเป็นต้น. พระเถระแสดงความสันโดษด้วยบริขาร ด้วยบททั้งสอง.

บทว่า ทวินฺน อนฺตรวสฺสาน ความว่า ในระหว่างพรรษาทั้งสอง

คือ ในปีที่บรรลุพระอรหัต นับแต่บวชแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 22

บทว่า เอกา วาจา เม ภาสิตา ความว่า เราพูดเพียงคำเดียว

คือ กล่าวห้ามการถวายน้ำนมว่า พอละน้องหญิงเท่านั้น การเปล่งคำพูด

อย่างอื่น มิได้มีเลยในพรรษานั้น พระเถระแสดงการสำรวมกายวาจา อย่าง

อุกฤษฏ์ด้วยบทนั้น.

บทว่า ตติเย อนฺตรวสฺสมฺหิ ความว่า ในระหว่างปีที่ ๓ ได้แก่

ยังไม่ทันครบปีที่ ๓ นั่นเอง.

บทว่า ตโมขนฺโธ ปทาลิโต ความว่า กองแห่งความมืด อันเรา

ทำลายแล้ว ด้วยมรรคอันเลิศ อธิบายว่า กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ใน

สันดาน คือ อวิชชา อันเราตัดขาดแล้ว. ด้วยบทว่า ตโมขนฺโธ ปทาลิโต

นั้น พระเถระกล่าวถึงการละกิเลสทั้งปวงได้ โดยไม่เหลือ เพราะตั้งอยู่เป็น

อันเดียวกันกับอวิชชานั้น.

จบอรรถกถาคังคาตีริยเถรคาถา

๕. อชินเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอชินเถระ

[๒๖๒] ได้ยินว่า พระอชินเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ถึงแม้บุคคลจะมีวิชชา ๓ ละมัจจุราชแล้ว เป็นผู้

หาอาสวะมิได้ คนพาลทั้งหลายผู้ไม่มีความรู้ ก็ย่อมดู

หมิ่นบุคคลนั้นว่า เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ส่วนบุคคลใดใน

โลกนี้ เป็นผู้ได้ข้าวและน้ำ ถึงแม้ว่า บุคคลนั้นจะ

เป็นผู้ชั่วช้าเลวทราม ก็เป็นที่สักการะนับถือ ของคน

พาลทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 23

อรรถกภาอชินเถรคาถา

คาถาของท่านพระอชินเถระ เริ่มต้นว่า อปิ เจ โหติ เตวิชฺโช.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์-

ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในโลกที่ว่างจาก

พระพุทธเจ้า (สุญญกัป) บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว ไปป่าด้วยกรณียกิจบางอย่าง

เห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นามว่า สุจินติตะ ในป่านั้น ถูกอาพาธเบียดเบียน

บีบคั้นนั่งอยู่แล้ว จึงเข้าไปหาไหว้แล้ว เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ได้นำเอาขี้ตะกอน

เปรียงเข้าไปถวาย เพื่อประกอบยา.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้ว ท่องเที่ยว

เวียนไปมาอยู่ในสุคติภพเท่านั้น ถือปฏิสนธิในเรือนของพราหมณ์ผู้ยากจน

คนหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ในเวลาคลอด คนทั้งหลาย

รับเขาไว้ด้วยหนังเสือ ด้วยเหตุนั้น จึงขนานนานเขาว่า อชินะ นั่นแล.

เขาเกิดในตระกูลที่ยากจน เพราะไม่ได้กระทำกรรมอันเป็นเหตุยังโภคะ

ให้เป็นไป แม้เจริญวัยแล้ว ก็ยังเป็นผู้มีน้ำและข้าวไม่บริบูรณ์ เที่ยวไป

เห็นพุทธานุภาพ ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับพระเชตวันมหาวิหาร

เป็นผู้มีศรัทธาจิต บวชแล้ว กระทำกรรมในวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖

ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

พระผู้มีภาคะ ผู้มีเหตุอันดำริดีแล้ว เป็นเชษฐ-

บุรุษของโลก ประเสริฐกว่านรชน เข้าไปสู่ป่าใหญ่

ถูกอาพาธอันเกิดแต่ลมเบียดเบียน เราเห็นแล้ว จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 24

ทำจิตให้เลื่อมใส นำเอาขี้ตะกอนเปรียงเข้าไปถวาย

เพราะเราได้กระทำกุศลและได้บูชาพระพุทธเจ้าเนืองๆ

แม่น้ำคงคาชื่อภาคีรถีนี้ มหาสมุทรทั้ง ๔ และพื้นปฐพี

ที่น่ากลัว ผ ซึ่งจะประมาณมิได้ นับไม่ถ้วนนี้ ย่อม

สำเร็จเป็นเปรียงขึ้นได้ สำหรับ เรา น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด

ดังจะรู้ความดำริของเรา เกิดขึ้น ตอไม้ที่งอกขึ้น แต่

แผ่นดินในทิศทั้ง ๔ ดังจะรู้ความดำริของเรา ย่อมเกิด

เป็นต้นกัลปพฤกษ์ขึ้น เราได้เป็นจอมเทวดาเสวยราช-

สมบัติในเทวโลก ๕๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

๕๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดย

คณานับไม่ถ้วน ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ให้

ทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งขี้ตะกอนเปรียง. เราเผากิเลสทั้งหลาย

แล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จ

แล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระ แม้บรรลุพระอรหัตแล้ว ก็เป็นผู้มีลาภน้อย ไม่ปรากฏ

ชื่อเสียง เพราะผลแห่งกรรมที่มีในก่อน แม้อุทเทสภัตรและสลากภัตรที่ถึงท่าน

ก็ต่ำช้าทั้งนั้น ก็ภิกษุและสามเณรทั้งหลายที่เป็นปุถุชน ย่อมดูหมิ่นท่านว่า

เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง เพราะผลแห่งกรรมนั่นแล พระเถระเมื่อจะยังภิกษุเหล่านั้น

ให้สลดใจ ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ถึงแม้บุคคลจะมีวิชชา ๓ ละมัจจุราชแล้ว เป็นผู้

หาอาสวะมิได้ คนพาลทั้งหลายผู้ไม่มีความรู้ ก็ย่อม

ดูหมิ่นบุคคลนั้นว่า เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ส่วนบุคคลใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 25

ในโลกนี้ เป็นผู้ได้ข้าวและน้ำ ถึงแม้ว่าบุคคลนั้นจะ

เป็นคนชั่วช้าเลวทราม ก็เป็นที่สักการะนับถือของคน-

พาลทั้งหลาย ดังนี้.

ศัพท์ว่า อปิ ในคาถานั้น เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ยกย่องสรรเสริญ

ศัพท์ว่า เจ ใช้ในการคาดคะเน.

บทว่า โหติ แปลว่า ย่อมเป็น. บุคคลชื่อว่า เตวิชฺโช เพราะ

เป็นผู้มีวิชชา ๓.

ชื่อว่า มจฺจุหายี เพราะละมัจจุได้. ชื่อว่า ไม่มีอาสวะ เพราะไม่มี

อาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้น ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ถึงแม้ว่า บุคคล

จะเป็นผู้ชื่อว่า มีวิชชา ๓ เพราะบรรลุวิชชา ๓ เหล่านี้ คือ ทิพยจักขุญาณ

บุพเพนิวาสญาณ (และ) อาสวักขยญาณ ต่อแต่นั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีอาสวะ

เพราะอาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้น สิ้นไปรอบแล้วโดยประการทั้งปวง

ชื่อว่า ละมัจจุแล้ว เพราะไม่มีความตาย โดยที่ไม่ต้องถือเอาภพใหม่อีกต่อไป

แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น คนพาลทั้งหลาย คือบุคคลผู้มีปัญญาทราม ย่อมดูหมิ่น

บุรุษผู้สูงสุดนั้น แม้ถึงได้บรรลุประโยชน์ของตน ที่กุลบุตรทั้งหลาย

ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มุ่งหมายโดยชอบที่เดียว ว่าเป็นผู้ไม่มี

ชื่อเสียง ไม่มีนามปรากฏ เพราะไม่มีลาภที่เกิดขึ้นว่า เป็นผู้กล่าวสอนเรื่อง

ธุดงค์ เป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึก. เพราะเหตุไร ? เพราะไม่รู้ คือ

เพราะเหตุแห่งการไม่รู้ ท่านแสดงการไม่รู้คุณทั้งหลายนั่นแลว่าเป็นเหตุใน

ข้อนั้น.

พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ก็คนพาลทั้งหลายย่อมดูหมิ่นแม้ผู้ที่ควร

สรรเสริญ โดยที่เป็นคนหนักในลาภ (เห็นแก่ได้) เพราะไม่รู้คุณทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 26

ฉันใด ก็ย่อมสรรเสริญแม้ผู้ที่ควรดูหมิ่นอย่างนี้ โดยที่เป็นคนหนักในลาภ

เพราะไม่รู้คุณทั้งหลายฉันนั้น ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ไว้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้ บทว่า โย เป็นการกล่าว

แสดงถึงความไม่แน่นอน. จ ศัพท์เป็นนิบาตใช้ในพยดิเรก. ด้วย ศัพท์นั้น

ส่องให้รู้ ถึงความต่างกันที่กำลังกล่าวถึงบุคคลนี้อยู่นั่นแหละ ว่าแผกจากบุคคล

ตามที่กล่าวแล้ว ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาตลงในอวธารณะ (จำกัดความให้แน่ชัด).

บทว่า อนฺนปานสฺส เป็นเพียงตัวอย่าง. บทว่า ลาภี แปลว่า

มีลาภ.

บทว่า อิธ ความว่า ในโลกนี้. ชื่อว่า บุคคล เพราะเต็มและ

กลืนกินสัตตาวาส (ภพเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์) นั้น ๆ ด้วยชราและมรณะ.

บทว่า ปาปธมฺโม ได้แก่ ธรรมอันลามก. ก็ในคาถาที่ ๒ นี้

มีอรรถาธิบายว่า ส่วนบุคคลใด ย่อมเป็นผู้มีปกติได้เพียงปัจจัย มีจีวรเป็นต้น

เท่านั้น ไม่ได้มรรคผลมีฌานเป็นต้น บุคคลนั้นแม้ถึงจะเป็นผู้มีธรรมอันเลว

โดยความเป็นผู้ทุศีล เพราะมีความปรารถนาลามก แต่ก็ยังเป็นผู้อันคนพาล

ทั้งหลายในโลกนี้ สักการะ เคารพ เพราะความเป็นผู้หนักในลาภ.

จบอรรถกถาอชินเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 27

๖. เมฬชินเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเมฬชินเถระ

[๒๖๓] ได้ยินว่า พระเมฬชินเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เมื่อใดเราได้ฟังธรรมของพระศาสดาผู้ทรงแสดง

อยู่ เมื่อนั้น เราไม้รู่สึกมีความสงสัย ในพระศาสดาผู้รู้

ธรรมทั้งปวง ผู้อันใคร ๆ ชนะไม่ได้ ผู้นำหมู่ แกล้ว-

กล้าเป็นอันมาก ประเสริฐสุดกว่าสารถีทั้งหลาย หรือ

ว่าความสงสัยในมรรคปฏิปทา ย่อมไม่มีแก่เรา.

อรรถกถาเมฬชินเถรคาถา

คาถาของท่านพระเมฬชินเถระ เริ่มต้นว่า ยทาห ธมฺมมสฺโสสึ.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาล

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุเมธะ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผล

อาโมทะ มีรสอร่อย.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปเกิดในตระกูลกษัตริย์ กรุงพาราณสี

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า เมฬชินะ ถึงความสำเร็จในศิลปวิทยา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 28

เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง มีนามกระฉ่อนปรากฏไปทั่วทิศ. เมื่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนะ กรุงพาราณสี เขาไปสู่พระวิหาร เข้าเฝ้า

พระศาสดา ฟังธรรมแล้วได้ศรัทธาจิต บวชแล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระ

อรหัตในวันนั้นเอง. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สยัมภู ผู้มีพระรัศมีนับ

ด้วยพัน ไม่ทรงพ่ายแพ้อะไร ๆ ทรงออกจากวิเวกแล้ว

เสด็จออกโคจรบิณฑบาต เราถือผลไม้อยู่ได้เห็นแล้ว

จึงได้เข้าไปเฝ้าพระนราสภ เรามีจิตเลื่อมใส มีใจ

โสมนัส ได้ถวายผลไม้ ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้

เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น

เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เรา

เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า

เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ในเวลาต่อมา อันภิกษุทั้งหลาย

ถามว่า อาวุโส ท่านได้บรรลุอุตริมนุสธรรมแล้วหรือ เมื่อจะบันลือสีหนาท

ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

เมื่อใด เราได้ฟังธรรมของพระศาสดาผู้ทรง

แสดงอยู่ เมื่อนั้น เราไม่รู้สึกความสงสัยในพระศาสดา

ผู้รู้ธรรมทั้งปวง ผู้อันใคร ๆ ชนะไม่ได้ ผู้นำหมู่

แกล้วกล้าเป็นอันมาก ประเสริฐสุดกว่าสารถีทั้งหลาย

หรือว่าความสงสัยในมรรคปฏิปทา ย่อมไม่มีแก่เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา ได้แก่ ในกาลใด. พระเถระเรียก

ตัวเองว่า " เรา ".

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 29

บทว่า ธมฺม ได้แก่ธรรม คือ อริยสัจ ๔. บทว่า อสฺโสสึ แปลว่า

ฟังแล้ว.

บทว่า สตฺถุโน ความว่า ชื่อว่าศาสดา เพราะอรรถว่า ทรงสั่งสอน

เวไนยสัตว์ทั้งหลาย ด้วยประโยชน์ทั้งหลาย มีทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เป็นต้น.

บทว่า กงฺข แปลว่า ความสงสัย พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าเป็น

สัพพัญญู เพราะอรรถว่า ทรงรู้สังขตธรรมและอสังขคธรรม โดยไม่มีส่วนเหลือ

ชื่อว่า อปราชิเต เพราะไม่มีผู้ที่จะทำให้พ่ายแพ้ได้ ไม่ว่าที่ไหน ๆ ชื่อว่า

สตฺถวาเห เพราะอรรถว่า ขนสัตว์จากกันดาร คือสงสารไปสู่พระนิพพาน.

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้.

นับจำเดิมแต่เวลาที่พระศาสดาทรงแสดงธรรม เราได้ฟังคือเข้าไป

ทรงจำ ด้วยการแล่นไปตามแห่งโสตทวาร ได้แก่ ได้รับจตุสัจจธรรม เราไม่

มีความสงสัย ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ชื่อว่า ทรงหยั่งรู้พระสัพพัญญุตญาณ

โดยไม่มีอะไรขัดขวาง เพราะทรงรู้สมมติธรรมทั้งที่เป็นสังขตะและอสังขตะ

โดยไม่มีส่วนเหลือ ด้วยสยัมภูญาณ ชื่อว่า ผู้อันใคร ๆ ชนะไม่ได้ เพราะ

ความเป็นผู้อันมารเหล่านั้นชนะไม่ได้ โดยที่ทรงครอบงำมารแม้ทั้ง ๕ ไว้ได้

และเพราะความเป็นผู้มีจักรคือธรรม อันใคร ๆ กำจัดไม่ได้ในโลกพร้อมทั้ง

เทวโลก ชื่อว่าเป็นผู้นำหมู่ เพราะทรงนำเวไนยสัตว์ให้ผ่านพ้นกันดาร มีโลภ-

กันดารเป็นต้น ชื่อว่าแกล้วกล้าเป็นอันมาก เพราะทรงตัดกำกงแห่งสงสาร

อันใหญ่หลวงได้เด็ดขาด ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐ คือสูงสุดกว่าสารถีทั้งหลาย

เพราะทรงเป็นที่พึ่ง คือทรงฝึกบุรุษที่ควรฝึกอันคนอื่นฝึกได้ยาก ได้ด้วยการ

ฝึกที่ดีที่สุด ว่าเป็นพระพุทธเจ้า (จริง) หรือหนอ หรือไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า

เพราะไม่มีความเคลือบแฝงอย่างอื่นเป็นปัจจัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 30

ก็ข้อกังขา คือความสงสัยในอริยมรรคอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงแล้วเห็นปานนั้น และในปฏิปทามีศีลเป็นต้น อันเป็นปฏิปทาที่สมควร

แก่พระอริยมรรคนั้น ว่า จะเป็นธรรมนำสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้จริงหรือไม่หนอ

ดังนี้ ย่อมไม่มี คือไม่มีข้อสงสัย. ก็ในบาทคาถานี้ พึงทราบว่า ด้วยการกล่าว

ถึงความสงสัยในอริยธรรม ก็เป็นอันท่านกล่าวถึงความสงสัยแม้ในพระอริยสงฆ์

ไว้ด้วยแล้วทีเดียว เพราะความเป็นผู้ตั้งอยู่ในมรรคนั้น โดยไม่มีความเป็น

อย่างอื่น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาเมฬชินเถรคาถา

๗. ราธเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระราธเถระ

[๒๖๔] ได้ยินว่า พระราธเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เรือนที่บุคคลมุงไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดได้ ฉันใด

จิตที่ไม่ได้อบรมแล้ว ราคะย่อมรั่วรดได้ ฉันนั้น.

เรือนที่มุงดีแล้ว ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ ฉันใด จิตที่

อบรมดีแล้ว ราคะย่อมรั่วรดไม่ได้ ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 31

อรรถกถาราธเถรคาถา

คาถาของท่านพระราธเถระ เริ่มต้นว่า ยถา อคาร ทุจฺฉนฺน.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

ได้ยินมาว่า พระเถระนี้เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในพระนครหงสาวดี

ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ บรรลุความเป็นผู้รู้

แล้วไปสู่วิหาร เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง

เห็นพระศาสดาทรงแต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งของภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุ

ทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ ปรารถนาตำแหน่งนั้นด้วยตนเอง แล้วบำเพ็ญมหาทาน

และได้ทำการบูชาแด่พระศาสดาอย่างโอฬาร เขาตั้งปณิธานไว้อย่างนี้ จุติจาก

อัตภาพนั้นแล้ว สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาล

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่ง

เห็นพระศาสดาเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลมะม่วง มี

รสหวาน.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว

เวียนไปมาอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ ใน

พระนครราชคฤห์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลาย ได้นามว่า

ราธะ เจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือน ในเวลาแก่ตัวลง ถูกลูกเมียลบหลู่

ไปสู่วิหารด้วยคิดว่า ประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่ครองเรือนของเรา เราจักบวช

เข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระ ขอบรรพชา อันภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ห้ามว่า

พราหมณ์นี้แก่แล้ว ไม่สามารถจะบำเพ็ญวัตรปฏิบัติได้ จึงไปยังสำนักของ

พระศาสดา กราบทูลอัธยาศัยของตนให้ทรงทราบ อันพระศาสดาทรงตรวจดู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 32

ความสมบูรณ์แห่งอุปนิสัยแล้ว ตรัสสั่งให้พระธรรมเสนาบดี จัดแจงบวชให้

เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์

ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราได้ถวายผลมะม่วงกะล่อนทอง แด่พระสัม-

พุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณเหมือนทองคำ ผู้สมควรรับ

เครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่ ๙๑

แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวาย

ผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย

ผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ

พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้ .

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เที่ยววนเวียนไปมาอยู่ในสำนัก

ของพระบรมศาสดา เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้รู้ปฏิภาณ อันเป็นเหตุให้

มีความเข้าใจพระธรรมเทศนาของพระศาสดาอย่างแจ่มแจ้ง แท้จริง พระธรรม

เทศนาใหม่ ๆ ของพระทศพล อาศัยความปรากฏขึ้นแห่งทิฏฐิ ย่อมแจ่มแจ้ง

แก่พระเถระ.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระ

ราธะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปฏิภาณ. วันหนึ่ง พระเถระเมื่อจะ

ชมเชยภาวนา ว่าสัตว์เหล่านี้อันราคะครอบงำได้ เพราะไม่เจริญภาวนา เมื่อ

มีการเจริญภาวนา ราคะก็ครอบงำไม่ได้ ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา

ความว่า

เรือนที่บุคคลมุงไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดได้ ฉันใด

จิตที่ไม่ได้อบรมแล้ว ราคะย่อมรั่วรดได้ ฉันนั้น.

เรือนที่มุงดีแล้ว ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ฉันใด จิตที่อบรม

ดีแล้ว ราคะย่อมรั่วรดไม่ได้ ฉันนั้น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 33

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคาร ได้แก่ เรือนชนิดใดชนิดหนึ่ง.

บทว่า ทุจฺฉนฺน ได้แก่ มุงไว้ห่าง ๆ คือเป็นช่องน้อยช่องใหญ่. บทว่า

สมติวิชฺฌติ ความว่า ฝนที่ตกย่อมรั่วรดได้.

บทว่า อภาวิต ความว่า จิตที่ไม่ได้อบรมแล้ว เพราะเว้นจากภาวนา

เปรียบเหมือนฝนที่รั่วรดเรือนได้.

บทว่า ราโค สมติวิชฺฌติ ความว่า มิใช่ราคะจะรั่วรดได้อย่าง

เดียวเท่านั้น แม้สรรพกิเลสมี โทสะ โมหะ และมานะเป็นต้น ก็ย่อมรั่วรด

จิตเห็นปานนั้นได้เหมือนกัน.

บทว่า สุภาวิต ได้แก่ จิตที่อบรมดีแล้ว ด้วยสมถภาวนา และ

วิปัสสนาภาวนา กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ย่อมไม่สามารถจะรั่วรดจิต

เห็นปานนั้นได้ เหมือนเรือนที่มุงดีแล้ว ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ ฉะนั้น.

จบอรรถกถาราธเถรคาถา

๘. สุราธเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสุราธเถระ

[๒๖๕] ได้ยินว่า พระสุราธเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ชาติของเราสิ้นแล้ว คำสอนของพระชินเจ้า เรา

อยู่จบแล้ว ข่าย คือ ทิฏฐิและอวิชชา เราละได้แล้ว

ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ เราถอนได้แล้ว เราออกบวช

เป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นเราได้

บรรลุแล้ว ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง เราก็ได้บรรลุ

แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 34

อรรถกถาสุราธเถรคาถา

คาถาของท่านพระสุราธเถระ เริ่มต้นว่า ขีณา หิ มยฺห ชาติ.

เรื่องราวของท่าน เป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่ง

เห็นพระศาสดา มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลหมากงั่ว.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาไปบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว

วนไปเวียนมาอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดเป็นน้องชายของพระราธเถระ ที่

ข้าพเจ้ากล่าวไว้ติดต่อกันเป็นลำดับมา ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า

สุราธะ. เมื่อพระราธเถระผู้เป็นพี่ชายบวชแล้ว แม้ท่านเองก็ออกบวช เจริญ

วิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน

กล่าวไว้ในอปทานว่า

เราได้เห็นสมเด็จพระโลกนาถ ผู้โชติช่วงเหมือน

ต้นกรรณิการ์ รุ่งเรืองดังพระจันทร์ในวันเพ็ญ และ

เหมือนต้นไม้ประจำทวีปที่โพลงอยู่ เราเลื่อมใส ได้

เอาผลหมากงั่วถวาย แด่พระศาสดาผู้เป็นทักขิไณย-

บุคคล เป็นวีรบุรุษ ด้วยมือทั้งสองของตน ในกัปที่

๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วย

การถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง

การถวายผลไม้ เราเผากิเลสแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ

พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 35

ก็พระเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล

เพื่อแสดงความที่คำสั่งสอนเป็นนิยยานิกธรรม (นำสัตว์ออกจากทุกข์) จึงได้

กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ชาติของเราสิ้นแล้ว คำสอนของพระชินเจ้า เรา

อยู่จบแล้ว ข่ายคือทิฏฐิและอวิชชา เราละได้แล้ว

ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ เราถอนได้แล้ว เราออกบวช

เป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์นั้นเรา

ได้บรรลุแล้ว ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง เราก็ได้บรรลุ

แล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขีณา ความว่า ถึงแล้ว ซึ่งความสิ้นไป

คือความสิ้นสุด. บทว่า ชาติ ได้แก่ ภพ หรือการบังเกิดในภพ.

บทว่า วุสิต ชินสาสน ความว่า คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระ

นามว่า ชินะ ได้แก่ มรรคพรหมจรรย์ อันเราอยู่แล้ว คืออยู่จบแล้ว.

บทว่า ปหีโน ชาลสงฺขาโต ความว่า ทิฏฐิและอวิชชา ที่มีนามอันได้

แล้วว่า ชาลสังขาตะ เพราะครอบงำสันดานของสัตว์ และไม่ให้ (โอกาส)

เพื่อจะถอนขึ้น อันเราละแล้ว คือถอนขึ้นแล้วด้วยมรรค. บทว่า ภวเนตฺติ

สมูหตา ความว่า ตัณหาที่หมายรู้กันว่า นำสัตว์ไปสู่ภพ เพราะนำสัตว์ไป

สู่ภพมีกามภพเป็นต้น คือ ยังสัตว์ให้หมุนเป็นไป อันเราเพิกถอนแล้ว. บทว่า

ยทตฺถาย ปพฺพชิโต ความว่า เราออกบวช คือออกจากเรือน บรรพชา

คือบวช เป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์ใด คือเพื่อผลอันใด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 36

อธิบายว่า ประโยชน์ คือประโยชน์อย่างยิ่ง กล่าวคือพระนิพพาน

และประโยชน์ของตน กล่าวคือพระอรหัต อันเป็นธรรมเครื่องสิ้นไปแห่ง

สังโยชน์ทั้งหลาย ต่างโดยโอรัมภาคิยสังโยชน์และอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้งปวง

อันเป็นเครื่องพันธนาการ อันเราบรรลุแล้วโดยลำดับ คือถึงทับแล้ว.

จบอรรถกถาสุราธเถรคาถา

๙. โคตมเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโคตมเถระ

[๒๖๖] ได้ยินว่า พระโคตมเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

มุนีเหล่าใด ย่อมไม่พัวพันในหญิงทั้งหลาย มุนี

เหล่านั้นย่อมนอนหลับเป็นสุข สัจจะที่ได้ยากแสน

ยากในหญิงเหล่าใด หญิงเหล่านั้นอันบุคคลต้องรักษา

ทุกเมื่อแท้ ดูก่อนกาม เราประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อ

ฆ่าท่าน บัดนี้เราไม่เป็นหนี้ท่านอีก บัดนี้ เราไปถึง

พระนิพพาน อันเป็นที่บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 37

อรรถกถาฌคตมเถรคาถา

คาถาของท่านพระโคตมเถระ เริ่มต้นว่า สุข สุปนฺติ. เรื่องราว

ของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดใน

เรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี

บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่งเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีใจเลื่อมใส ได้ถวาย

ผลอาโมทะ.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว

ไป ๆ มา ๆ อยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์ กรุงราชคฤห์

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า โคตมะ ในเวลาที่มีอายุได้ ๗ ขวบ ทำ

เป็นคนตาพิการเที่ยวขอเงิน ได้ทรัพย์มาพันหนึ่ง เก็บทรัพย์นั้นไว้ในที่ ๆ

ปลอดภัย บำเพ็ญพรต ในเวลาที่มีอายุได้ ๑๖- ๑๗ ปี ถูกมิตรชั่วแนะนำไป

ในกามารมย์ ให้ของมีราคาหนึ่งพันนั้น แก่หญิงขายตัว (อาศัยรูปเลี้ยงชีพ)

คนหนึ่ง สูญเสียพรหมจรรย์ และเมื่อหญิงนั้นแสดงอาการคลายกำหนัด เพราะ

เห็นรูปแห่งพรหมจารีของเขา เป็นผู้มีรูปอิดโรยเหนื่อยหน่าย ด้วยการร่วม

หลับนอนเพียงคืนเดียวเท่านั้น นึกถึงความสูญเสียพรหมจรรย์ของตน และ

การเสียทรัพย์ ได้มีวิปฏิสารว่า เรากระทำกรรมอันไม่สมควรแล้ว. พระศาสดา

ทรงทราบเหตุสมบัติ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตของเขา จึงแสดงพระองค์ในที่

ใกล้ ๆ เขา. เขาเห็นพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใสเข้าไปเฝ้าแล้ว พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่เขาแล้ว เขาฟังธรรมแล้วได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา

บวช บรรลุพระอรหัต ในขณะที่ปลงผมเสร็จทีเดียว. สมดังคาถาประพันธ์

ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 38

เราได้ถวายผลอาโมทะ แด่พระสัมพุทธเจ้าผู้มี

พระฉวีวรรณปานดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา

กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้

เราได้ถวายผลไม่ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น

เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เรา

เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า

เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็สหายผู้เป็นคฤหัสถ์คนหนึ่ง เข้าไปหาพระเถระผู้บรรลุพระอรหัต

แล้วยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุขในฌาน ถามว่า อาวุโส ท่านเมื่อบวชได้ทำ

อย่างไรกะทรัพย์ ที่ได้มาเพราะขอเงิน. พระเถระฟังดังนั้นแล้ว ไม่ยอมบอก

ว่า เรากระทำกรรมชื่อนี้ ประกาศโทษในมาตุคาม เมื่อจะพยากรณ์พระ-

อรหัตผล ด้วยการชี้ถึงความที่ตนเป็นผู้มีราคะไปปราศแล้ว กล่าวคาถา ๒ คาถา

ความว่า

มุนีเหล่าใด ย่อมไม่พัวพันในหญิงทั้งหลาย

มุนีเหล่านั้น ย่อมนอนหลับเป็นสุข สัจจะที่ได้ยาก

แสนยากในหญิงเหล่าใด หญิงเหล่านั้น อันบุคคลต้อง

รักษาทุกเมื่อแท้ ดูก่อนกาม เราประพฤติพรหมจรรย์

เพื่อฆ่าท่าน บัดนี้ เราไม่เป็นหนี้ท่านอีก บัดนี้ เราไป

ถึงนิพพาน อันเป็นที่บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุข สุปนฺติ มุนโย เย อิตฺถีสุ น

พชฺฌเร ความว่า มุนีเหล่าใด ไม่ผูกพันในหญิงทั้งหลาย ที่เกิดเป็นอารมณ์

หรือเกิดเป็นนิมิต ด้วยเครื่องผูกพันคือราคะ มุนีเหล่านั้นเป็นผู้มีตบะ มี

อินทรีย์อันสำรวมแล้ว ย่อมหลับเป็นสุข คืออยู่เป็นสุข. อธิบายว่า ทุกข์ย่อม

ไม่มีแก่มุนีเหล่านั้น. ก็บทว่า สุปนฺติ นี้ เป็นเพียงตัวอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 39

บทว่า สทา เว รกฺขิตพฺพาสุ ความว่า อันบุคคลพึงรักษา

ตลอดกาลทั้งปวง โดยส่วนเดียว. อธิบายว่า หญิงทั้งหลายแม้จะให้อยู่ใน

ปราสาทชั้นบนที่ปราศจากบุรุษถึง ๗ ชั้น แม้จะเก็บรักษาไว้ภายใน (ห้อง)

ก็ไม่สามารถจะรักษาไว้ได้ เพราะเหตุนั้น หญิงเหล่านั้นจึงเป็นผู้ที่จะต้องเฝ้า

รักษาอยู่ตลอดเวลา ดุจแม่โคตัวกินข้าวกล้าเป็นอาหารฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง

หญิงเหล่านั้น ต้องเฝ้ารักษาตลอดเวลา เพราะความเป็นหญิงนอกใจสามี ด้วย

การเพิ่มให้ผ้าและเครื่องประดับเป็นต้น เพราะความเป็นหญิงหลายใจ. หรือ

ชื่อว่า ต้องเฝ้ารักษา เพราะความเป็นหญิงที่ต้องคอยถนอมน้ำใจ โดยการ

ปกปิดสภาพแห่งร่างกาย ด้วยระเบียบและของหอมเป็นต้น.

บทว่า ยาสุ สจฺจ สุทุลฺลภ ความว่า คำสัตย์ไม่สามารถเพื่อจะ

หาได้ในหญิงเหล่าใด อธิบายว่า ธรรมดาหญิงทั้งหลาย จะเข้าไปสู่กองไฟก็ได้

จะดื่มยาพิษก็ได้ จะนำศาสตรามาก็ได้ จะผูกคอตายก็ได้ แต่ไม่สามารถจะตั้ง

อยู่ในสัจจะได้ เพราะฉะนั้น พระเถระจึงแสดงความว่า มุนีทั้งหลาย เว้นหญิง

เห็นปานนี้ แล้วดำรงอยู่ ย่อมเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความสุขหนอ ดังนี้.

มุนีทั้งหลาย ยังผูกพันอยู่แม้ในหญิงทั้งหลายเห็นปานนี้ เพราะยัง

ละกามใดไม่ได้ บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงถึงความที่แห่งกามนั้น อันตน

ละได้แล้วด้วยดี และความเป็นผู้ไม่มีความปรารถนาโดยส่วนเดียว จงกล่าว

คาถาที่ ๒ ไว้.

บทว่า วธ จริมฺห เต กามา ความว่า ดูก่อนกามผู้เจริญ เรา

ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อฆ่าท่าน คือ ประพฤติถอนรากโดยส่วนเดียว ด้วย

อริยมรรค. ปาฐะว่า เอว จริมฺหเส ดังนี้ก็มี. ความก็ว่า เราได้ประพฤติ

มรรคพรหมจรรย์เพื่อฆ่า คือเพื่อประหาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 40

บทว่า อณนา ทานิ เต มย ความว่า ดูก่อนกาม บัดนี้ คือ

จำเดิมแต่เวลาที่เราได้บรรลุพระอรหัต เราไม่เป็นหนี้ท่าน คือเราไม่แบกหนี้

ของท่าน (ต่อไป). อธิบายว่า ผู้ที่ยังไม่ปราศจากราคะ ย่อมเป็นดุจแบกหนี้

ของกามไว้ เพราะยังเป็นไปในอำนาจของราคะ ส่วนผู้ที่ปราศจากราคะ ก้าว

ล่วงกามนั้นได้แล้ว ประกอบไปด้วยความเป็นอิสระแห่งจิตใจอย่างสูง เพราะ

เหตุที่ไม่ได้เป็นหนี้นั่นแล เราจึงชื่อว่า ไปถึงพระนิพพาน อันเป็นที่ ๆ บุคคล

ไปแล้วไม่เศร้าโศก ได้แก่ไม่ต้องเศร้าโศก เพราะไม่มีเหตุแห่งความโศกเศร้า

โดยประการทั้งปวง อันมีการไปในพระนิพพานเป็นเหตุ. อธิบายว่า บัดนี้

เราถึง คือ ถึงโดยลำดับ ซึ่งอนุปาทิเสสนิพพานั้นนั่นแล.

จบอรรถกถาโคตมเถรคาถา

๑๐. วสภเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวสภเถระ

[๒๖๗] ได้ยินว่า พระวสภเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

บุคคลผู้ลวงโลก ย่อมฆ่าตนก่อน ภายหลังจึงฆ่า

ผู้อื่น. บุคคลผู้ลวงโลกนั้น ย่อมฆ่าตนได้ง่ายดาย

เหมือนนายพรานนกที่หาอุบายฆ่านก และทำตนให้ได้

รับความทุกข์ในอบายภูมิ ฉะนั้น บุคคลผู้ลวงโลกนั้น

ไม่ใช่พราหมณ์ เพียงแต่มีเพศเหมือนพราหมณ์ ใน

ภายนอกเท่านั้น เพราะพราหมณ์มีเพศอยู่ภายใน

บาปกรรมทั้งหลายมีในบุคคลใด บุคคลนั้นเป็นคนดา

ดูก่อนท้าวสุชัมบดี ขอพระองค์จงทราบอย่างนี้.

จบวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 41

อรรถกถาวสภเถรคาถา

คาถาของท่านพระวสภเถระ เริ่มต้นว่า ปุพฺเพ หนติ อตฺตาน.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในโลกที่ว่างจาก

พระพุทธเจ้า (สุญญกัป) เจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จในวิชาและศิลปะของ

พราหมณ์ทั้งหลาย ละการอยู่ครองเรือนบวชเป็นดาบส เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัย

โน้มไปในเนกขัมมะ สร้างอาศรมอยู่ที่ภูเขา ชื่อว่า สมัคคะ ไม่ไกลป่าหิมพานต์

ยังฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว ให้โอวาทและอนุสาสน์แก่ดาบสทั้งหลายอยู่

วันหนึ่ง คิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ เราเองเป็นผู้อันดาบสเหล่านี้ สักการะ เคารพ

บูชาแล้วอยู่ แต่ยังหาผู้ที่เราควรบูชาไม่ได้ การอยู่โดยไม่มีครูผู้ควรเคารพนี้

เป็นทุกข์ในโลก.

ก็ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบูชาและสักการะ อันตนกระทำแล้ว

ในเจดีย์ ของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้มีอธิการ

อันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ว่า ไฉนหนอแล เราพึงก่อ-

พระเจดีย์ทราย อุทิศพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ แล้วทำการบูชา ดังนี้ เป็นผู้

ร่าเริงยินดีแล้ว เนรมิตพระสถูปทราย สำเร็จด้วยทอง ด้วยฤทธิ์ กระทำการ

บูชาทุก ๆ วัน ด้วยดอกไม้ประมาณ ๓,๐๐๐ อันสำเร็จด้วยทองเป็นต้น กระ

ทำบุญจนตลอดอายุ แล้วบังเกิดในพรหมโลก.

เขาดำรงอยู่แม้ในพรหมโลกนั้น จนตลอดอายุแล้ว จุติจากพรหมโลก

นั้น บังเกิดในดาวดึงส์ ท่องเที่ยววนไปมาอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 42

เกิดในตระกูลเจ้าลิจฉวี ในกรุงเวสาลี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า วสภะ

เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพ ในคราวเสด็จไปพระนครไพศาลี ของพระผู้มี

พระภาคเจ้า ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้ว บรรลุ

พระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาลูกหนึ่ง ชื่อ

สมัคคะ เราได้ทำอาศรม สร้างบรรณศาลาไว้ที่ภูเขา

นั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะใหญ่ มีนามว่า นารทะ ศิษย์

สี่หมื่นคนบำรุงเรา ครั้งนั้น เราเป็นผู้หลีกออกเร้นอยู่

คิดอย่างนี้ว่า มหาชนบูชาเรา เราไม่บูชาอะไร ๆ เลย

ผู้ที่จะกล่าวสั่งสอนเราก็ไม่มี ใคร ๆ ที่จะตักเตือนเรา

ก็ไม่มี เราไม่มีอาจารย์และอุปัชฌาย์ อยู่ในป่า ศิษย์

ผู้ภักดีพุงบำรุงใจครูทั้งคู่ได้ อาจารย์เช่นนั้นของเรา

ไม่มี การอยู่ในป่าจึงไม่มีประโยชน์ สิ่งที่ควรบูชา

เราควรแสวงหา สิ่งที่ควรเคารพ ก็ควรแสวงหาเหมือน

กัน เราจักชื่อว่า เป็นผู้ที่มีที่พึ่งพำนักอยู่ ใครๆ จักไม่

เราได้ ในที่ไม่ไกลอาศรมของเรา มีแม่น้ำซึ่งมี

ชายหาด มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ เกลื่อนกล่น

ไปด้วยทรายที่ขาวสะอาด ครั้งนั้น เราได้ไปยังแม่น้ำ

ชื่อ อเมริกา กอบโกยเอาทรายมาก่อเป็นพระเจดีย์ทราย

พระสถูปของพระสัมพุทธเจ้า ผู้ทำที่สุดภพ เป็นมุนี

ที่ได้มีแล้วเป็นเช่นนี้ เราได้ทำพระสถูปนั้นให้เป็น

นิมิต เราก่อพระสถูปที่หาดทรายแล้วปิดทอง แล้วเอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 43

ดอกกระดึงทอง ๓,๐๐๐ ดอกมาบูชา เราเป็นผู้มีความ

อิ่มใจ ประนมกรอัญชลี นมัสการทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า

ไหว้พระเจดีย์ทราย เหมือนถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า

ในที่เฉพาะพระพักตร์ ฉะนั้น ในเวลาที่กิเลสและความ

ตรึก เกี่ยวด้วยกามเกิดขึ้น เราย่อมนึกถึง เพ่งดูสถูป

ที่ได้ทำไว้ เราอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้นำสัตว์

ออกจากที่กันดาร ผู้นำชั้นพิเศษตักเตือนตนว่า ท่าน

ควรระวังกิเลสไว้ ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ การยังกิเลส

ให้เกิดขึ้นไม่สมควรแก่ท่าน ครั้งนั้น เมื่อเราคำนึงถึง

พระสถูป ย่อมเกิดความเคารพขึ้นพร้อมกัน เราบรร-

เทาวิตกที่น่าเกลียดเสียได้ เปรียบเหมือนช้างตัว

ประเสริฐ ถูกเครื่องแทงหูเบียดเบียน ฉะนั้น เรา

ประพฤติอยู่เช่นนี้ ได้ถูกพระยามัจจุราชย่ำยี เราทำ

กาลกิริยา ณ ที่นั้นแล้ว ได้ไปยังพรหมโลก เราอยู่ใน

พรหมโลกนั้นตราบเท่าหมดอายุ แล้วมาบังเกิดใน

ไตรทิพย์ ได้เป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก

๘๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ครั้ง และได้

เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้

เราได้เสวยผลของดอกกระดึงทองเหล่านั้น ดอก

กระดึงทอง ๒๒,๐๐๐ ดอก แวดล้อมเราทุกภพ เพราะ

เราเป็นผู้บำเรอพระสถูป ฝุ่นละอองย่อมไม่ติด

ที่ตัวเรา เหงื่อไม่ไหล เรามีรัศมีซ่านออกจากตัว โอ

พระสถูปเราได้สร้างไว้ดีแล้ว แม่น้ำอเมริกา เราได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 44

เห็นดีแล้ว เราได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว ก็เพราะ

ได้ก่อพระสถูปทราย อันสัตว์ผู้ปรารถนาจะกระทำ

กุศล ควรยึดเอาสิ่งที่เป็นสาระ ไม่ใช่เป็นด้วยเขต

หรือไม่ใช่เขต ความปฏิบัตินั่นเองให้สำเร็จ บุรุษผู้มี

กำลัง มีความอุตสาหะที่จะข้ามทะเลหลวง พึงถือเอา

ท่อนไม้เล็ก วิ่งไปสู่ทะเลหลวงด้วยคิดว่า เราอาศัย

ท่อนไม้นี้ จักข้ามทะเลหลวงไปได้ นรชนพึงข้ามทะเล

หลวงไปด้วยความเพียรอุตสาหะ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น

เหมือนกัน อาศัยธรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้ทำไว้แล้ว

จึงได้ข้ามพ้นสงสารไปได้ เมื่อถึงภพสุดท้าย เราอัน

กุศลมูลตักเตือนแล้ว เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล

ที่มั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี มารดาบิดาของเราเป็น

คนมีศรัทธา นับถือพระพุทธเจ้า ท่านทั้งสองนี้เป็นผู้

เห็นธรรม ฟังธรรม ประพฤติตามคำสอน ท่านทั้งสอง

ถือเอาผ้าลาดสีขาว มีเนื้ออ่อนมากที่ต้นโพธิ มาทำ

พระสถูปทอง นมัสการในที่เฉพาะพระพักตร์ แห่ง

พระศากยบุตร ทุกค่ำเช้าในวันอุโบสถ ท่านทั้งสอง

นำเอาพระสถูปทองออก กล่าวสรรเสริญคุณพระ-

พุทธเจ้า ยับยั้งอยู่ตลอด ๓ ยาม เราได้เห็นพระสถูป

เสมอ จึงระลึกถึงเจดีย์ทรายขึ้นได้ นั่งบนอาสนะเดียว

ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว เราแสวงหาพระพุทธเจ้าผู้

เป็นปราชญ์นั้นอยู่ ได้เห็นพระธรรมเสนาบดี จึงออก

จากเรือนบรรพชาในสำนักของท่าน เราได้บรรลุพระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 45

อรหัตแต่อายุ ๗ ขวบ พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาจักษุ

ทรงทราบถึงคุณวิเศษของเรา จึงให้เราอุปสมบท เรา

มีการกระทำอันบริบูรณ์ดีแล้ว แต่ยังเป็นทารกอยู่

ทีเดียว ทุกวันนี้กิจที่ควรทำในศาสนาของพระศากย-

บุตร เราทำเสร็จแล้ว ข้าแต่พระฤๅษีผู้มีความเพียร

ใหญ่ สาวกของพระองค์เป็นผู้ล่วงพ้นเวรภัยทุกอย่าง

ล่วงพ้นความเกี่ยวข้องทั้งปวง นี้เป็นผลแห่งพระ-

สถูปทอง. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของ

พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะทำการอนุเคราะห์ทายก

จึงไม่ห้ามปัจจัยทั้งหลายที่ทายกเหล่านั้นนำมาถวาย บริโภคปัจจัยตามที่ได้มา

แล้วเท่านั้น. ผู้ที่ยังเป็นปุถุชนสำคัญท่านว่า พระเถระนี้ เป็นผู้มักมากไปด้วย

การบำรุงบำเรอร่างกาย ไม่รักษาสภาพจิต จึงพากันดูหมิ่น.

พระเถระอยู่อย่างไม่คำนึงถึงการดูหมิ่นนั้นเลย ก็ในที่ไม่ไกล ที่

พระเถระอยู่ มีภิกษุผู้โกหกรูปหนึ่ง เป็นผู้มีความปรารถนาลามก แสดงตน

เหมือนเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เหมือนเป็นผู้สันโดษ เที่ยวลวงโลกอยู่.

มหาชนพากันยกย่องภิกษุรูปนั้น เหมือนอย่างพระอรหันต์. ลำดับนั้น ท้าว

สักกะผู้เป็นจอมเทพ ทรงทราบพฤติการณ์นั้นของเธอแล้ว จึงเข้าไปหา

พระเถระ แล้วถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุผู้โกหก กระทำกรรมชื่อไร ?

พระเถระเมื่อจะตำหนิความปรารถนาลามก จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

บุคคลผู้ลวงโลก ย่อมฆ่าตนก่อน ภายหลังจึง

ฆ่าผู้อื่น บุคคลผู้ลวงโลกนั้น ย่อมฆ่าตนได้ง่ายดาย

เหมือนนายพรานนก ที่หาอุบายฆ่านก และทำตนให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 46

ได้รับความทุกข์ในอบายภูมิ ฉะนั้น บุคคลผู้ลวงโลก

นั้นไม่ใช่พราหมณ์ เพียงแต่มีเพศเหมือนพราหมณ์ใน

ภายนอกเท่านั้น เพราะพราหมณ์มีเพศอยู่ภายใน บาป

กรรมทั้งหลาย มีในบุคคลใด บุคคลนั้น เป็นคนดำ

ดูก่อนท้าวสุชัมบดี ขอจงทรงทราบอย่างนี้ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ หนติ อตฺตาน ความว่า

บุคคลผู้โกหก เพื่อลวงโลก ด้วยประพฤติเป็นคนโกหกของตน ชื่อว่า ย่อม

ฆ่าตน ด้วยธรรมอันลามก มีความเป็นผู้ปรารถนาลามกเป็นต้น ก่อนทีเดียว

คือยังส่วนแห่งความดีของตนให้พินาศไป.

บทว่า ปจฺฉา หนติ โส ปเร ความว่า บุคคลผู้โกหกนั้น ฆ่า

ตนเอง โดยนัยดังกล่าวแล้ว ก่อนเป็นปฐม ต่อมาภายหลังจึงฆ่าคนทั้งหลาย

ผู้สรรเสริญตนว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก เป็นพระอริยะ ดังนี้ แล้วกระทำ

สักการะ คือทำสักการะที่เขาถวายตน ให้ไม่มีผลมาก ให้พินาศไป โดยการ

พินาศแห่งปัจจัย. พระเถระเมื่อจะแสดงว่า แม้ในการฆ่าทั้งสองอย่าง ของคน

โกหกจะมีอยู่ แต่ ข้อแปลกในการฆ่าตนมีดังนี้ จึงกล่าวว่า สหต หนติ

อตฺตาน (บุคคลผู้ลวงโลกนั้นย่อมฆ่าตนได้ง่ายดาย).

คนโกหกนั้น เมื่อฆ่าตน ย่อมฆ่าคือทำให้พินาศได้ง่ายดาย. ถามว่า

เหมือนอะไร ? ตอบว่า เหมือนนายพรานนกที่หาอุบายฆ่านกฉะนั้น. นกต่อ

ชื่อว่า วีตโส. ด้วยนกต่อนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 47

บทว่า ปกฺขิมา ได้แก่ นายพรานนก. เปรียบเหมือนนายพรานนก

ลวงนกเหล่าอื่นไปฆ่าด้วยนกต่อนั้น ชื่อว่า ย่อมฆ่าตนแม้ในโลกนี้ เพราะเป็น

กรรมที่ท่านผู้รู้ตำหนิ และเป็นกรรมที่มีโทษเป็นสภาพเป็นต้น ส่วนในสัมปราย

ภพ ชื่อว่า ย่อมฆ่าตนด้วยความมืดมน มัวหมองของทุคติทีเดียว แต่ในภาย

หลัง ก็ไม่สามารถจะฆ่านกเหล่านั้นได้อีก ฉันใด คนโกหกก็ฉันนั้น ลวงโลก

ด้วยความเป็นคนโกหก ชื่อว่า ย่อมฆ่าตนเองแม้ในโลกนี้ เพราะวิปฏิสาร

และถูกตำหนิจากวิญญูเป็นต้น. แม้ในปรโลก ก็ชื่อว่าฆ่าตน เพราะความมืด

มน มัวหมองของทุคติ ใช่แต่เท่านั้น ยังชื่อว่า ทำทายกผู้ถวายปัจจัยเหล่านั้น

ให้ถึงทุกข์ในอบาย อีกด้วย.

อีกประการหนึ่ง คนโกหก ท่านกล่าวว่า ย่อมฆ่าทายก เพราะกระทำ

ทักษิณาไม่ให้มีผลมากเท่านั้น ไม่ใช่เพราะกระทำทักษิณาทานไม่ให้มีผล.

สมจริงดังพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ทักษิณาทานที่ให้แก่

มนุษย์ทุศีล พึงหวังผลได้พันเท่า ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า

บุคคลผู้ลวงโลกนั้น ย่อมฆ่าตนได้ง่ายดาย.

พระเถระเมื่อจะแสดงว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอัตภาพ เพียงทำให้สะอาด

ในภายนอกอย่างนี้ หาชื่อว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่ แต่จะชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะ

ความสะอาดในภายในเท่านั้น ดังนี้ จึงกล่าวคาถาที่สองว่า น พฺราหฺมโณ

เป็นต้น. คาถาที่ ๒ นั้นมีอธิบายว่า บุคคลหาชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะ

เหตุ เพียงสมบัติภายนอก มีการวางท่า (วางมาด) เป็นต้นไม่. ก็วัณณะ

ศัพท์ในคาถานี้ มีสมบัติเป็นอรรถ (หมายความถึงสมบัติ). ก็บุคคลย่อมชื่อว่า

เป็นพราหมณ์ เพราะสมบัติมีศีลเป็นต้นในภายใน โดยกระทำอธิบายว่า บุคคล

ผู้มีบาปอันลอยแล้ว ชื่อว่า พราหมณ์ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 48

ดูก่อนท่านสุชัมบดี ผู้เป็นจอมเทวัญ เพราะฉะนั้น ท่านจงรู้เถิดว่า

บาปคือกรรมอันลามกทั้งหลาย มีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าคนดำ คือเป็นคน

เลวทรามโดยส่วนเดียว ดังนี้. ท้าวสักกะฟังดังนั้นแล้ว ทรงคุกคามภิกษุผู้

โกหกแล้วโอวาทว่า ท่านจงประพฤติธรรม ดังนี้แล้ว เสด็จกลับพิภพของ

พระองค์.

จบอรรถกถาวสภเถรคาถา

จบวรรควรรณนาที่ ๑

ในอรรถกถา เถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปน

ในวรรคนี้ รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ

๑. พระอุตตรเถระ ๒. พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ๓. พระวัล-

ลิยเถระ ๔. พระคังคาตีริยเถระ ๕. พระอชินเถระ ๖. พระเมฬชินเถระ

๗. พระราธเถระ ๘. พระสุราธเถระ ๙. พระโคตมเถระ ๑๐. พระวสภ-

เถระ ล้วนมีมหิทธิฤทธิ์ และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 49

เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๒

๑. มหาจุนทเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมหาจุนเถระ

[๒๖๘] ได้ยินว่า พระมหาจุนทเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

การฟังดี เป็นเหตุให้การฟังเจริญ การฟังเป็น

เหตุให้เจริญปัญญา บุคคลจะรู้ประโยชนก็เพราะปัญญา

ประโยชน์ที่บุคคลรู้แล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ภิกษุควรซ่อง

เสพเสนาสนะ อันสงัด ควรประพฤติธรรมอันเป็นเหตุ

ให้จิตหลุดพ้นจากสังโยชน์ ถ้ายังไม่ได้ประสบความ

ยินดี ในเสนาสนะอันสงัดและธรรมนั้น ก็ควรเป็นผู้

มีสติรักษาตน อยู่ในหมู่สงฆ์.

วรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถามหาจุนทเถรคาถา

คาถาของท่านพระมหาจุนทเถระ เริ่มต้นว่า สุสฺสูสา. เรื่องราว

ของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในตระกูลช่างหม้อ ในกาลของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 50

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว เลี้ยงชีพด้วยงาน

ของนายช่างหม้อ วันหนึ่งเห็นพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใส ทำบาตรดินลูก

หนึ่ง ตกแต่งเป็นอย่างดี ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

เป็นบุตรของนางรูปสารีพราหมณี เป็นน้องชายคนเล็ก ของพระเถระชื่อว่า

สารีบุตร ในนาลกคาม แคว้นมคธ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า

จุนทะ. เขาเจริญวัยแล้ว บวชตามพระธรรมเสนาบดี อาศัยพระธรรมเสนาบดี

เริ่มตั้งวิปัสสนา เพียรพยายามอยู่ ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก.

สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ข้าพระองค์ เป็นช่างหม้ออยู่ในหงสาวดี ได้เห็น

พระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีโอฆะอันข้ามได้

แล้ว ไม่มีอาสวะ ข้าพระองค์ได้ถวายบาตรดินที่ทำ

ดีแล้ว แด่พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด ครั้นถวายบาตร

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรง คงที่แล้ว เมื่อข้าพระองค์

เกิดในภพ ย่อมได้ภาชนะทอง และจานที่ทำด้วยเงิน

ทำด้วยทอง และทำด้วยแก้วมณี ข้าพระองค์บริโภค

ในถาด นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม ข้าพระองค์เป็นผู้เลิศ

กว่าชนทั้งหลายโดยยศ พืชแม้มีน้อย แต่หว่านลงใน

นาดี เมื่อฝนยังท่อธารให้ตกลงทั่ว โดยชอบ ผลย่อม

ยังชาวนาให้ยินดีได้ฉันใด การถวายบาตรนี้ก็ฉันนั้น

ข้าพระองค์ได้หว่านลงในพุทธเขต เมื่อท่อธารคือปีติ

ตกลงอยู่ ผลจักทำข้าพระองค์ให้ยินดี เขตคือหมู่และ

คณะมีประมาณเท่าใด ที่จะให้ความสุขแก่สรรพสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 51

เสมอด้วยพุทธเขตไม่มีเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษ

อาชาไนย ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่

พระองค์ผู้เป็นอุดมบุรุษ ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่

พระองค์ ข้าพระองค์บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว ก็

เพราะได้ถวายบาตรใบหนึ่ง ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัป

นี้ ข้าพระองค์ได้ถวายบาตรใดในกาลนั้น ด้วยการ

ถวายบาตรนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล

แห่งการถวายบาตร. ข้าพระองค์เผากิเลสทั้งหลายแล้ว

ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ กระทำ

สำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว เมื่อจะสรรเสริญอุปนิสัยของครู

และการอยู่อย่างวิเวก อันเป็นเหตุแห่งสมบัติที่ตนได้แล้ว ได้กล่าวคาถา ๒

คาถา ความว่า

การฟังดีเป็นเหตุให้ฟังเจริญ การฟังเป็นเหตุให้

เจริญปัญญา บุคคลจะรู้ประโยชน์ ก็เพราะปัญญา

ประโยชน์ที่บุคคลรู้แล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ภิกษุควร

ซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด ควรประพฤติธรรมอันเป็น

เหตุให้จิตหลุดพ้นจากสังโยชน์ ถ้ายังไม่ได้ประสบ

ความยินดี ในเสนาสนะอันสงัด และธรรมนั้น ก็ควร

เป็นผู้มีสติ รักษาตนอยู่ในหมู่สงฆ์ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุสฺสูสา ได้แก่ ความปรารถนาเพื่อ

จะฟังสุตะทั้งปวง ที่ควรแก่การฟัง แม้ความอยู่ร่วมกับครู ก็ชื่อว่า สุสฺสูสา

อธิบายว่า อันกุลบุตรผู้ปรารถนาจะฟัง ข้อความที่มีประโยชน์ ต่างด้วยทิฏฐ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 52

ธรรมิกัตถประโยชน์เป็นต้น เข้าไปหากัลยาณมิตร เข้าไปนั่งใกล้ ด้วยการ

กระทำวัตร ในเวลาใด ยังกัลยาณมิตรเหล่านั้น ให้มีจิตโปรดปราน ด้วยการ

เข้าไปนั่งใกล้ ย่อมมีความประสงค์จะเข้าไปนั่งใกล้ ๆ กัลยาณมิตรบางคน

ครั้นกุลบุตรเข้าถึงตัว เข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตรเหล่านั้นแล้ว พึงเงี่ยโสต

ลงสดับ ด้วยความปรารถนาเพื่อจะฟัง เพราะเหตุนั้น แม้การอยู่ร่วมกับครู

ท่านจึงกล่าวว่า สุสฺสูสา (การฟังดี) เพราะเป็นต้นเหตุแห่งการฟังด้วยดี

ก็การฟังดีนี้นั้น ชื่อว่า สุตวทฺธนี เพราะเป็นเหตุให้สุตะ อันปฏิสังยุตด้วย

สัจจปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น เจริญคืองอกงาม แก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยการฟัง

นั้น. อธิบายว่า ทำให้เป็นพหูสูต.

บทว่า สุต ปญฺาย วทฺธน ความว่า พาหุสัจจะนั้นใดที่ท่าน

กล่าวไว้ โดยนัยมีอาทิว่า เป็นผู้ทรงสุตะ เป็นผู้สั่งสมสุตะก็ดี ว่า บุคคล

บางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ มาก ดังนี้ก็ดี

พาหุสัจจะนั้น ย่อมยังปัญญาอันเป็นเหตุให้ละความชั่ว บรรลุถึงความดีให้เจริญ

เพราะเหตุนั้น สุตะจึงชื่อว่า ยังปัญญาให้เจริญ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสุตะเป็นอาวุธแล ย่อมละอกุศลได้

ย่อมยังกุศลให้เจริญได้ ย่อมละธรรมที่มีโทษ ย่อมยังธรรมที่ไม่มีโทษให้เจริญ

ย่อมบริหารตนให้บริสุทธิ์ ดังนี้.

บทว่า ปญฺาย อตฺถ ปชานาติ ความว่า บุคคลผู้เป็นพหูสูต

ตั้งอยู่ในสุตมยญาณ ( ญาณอันสำเร็จด้วยการฟัง) แล้ว ปฏิบัติอยู่ซึ่งข้อปฏิบัติ

นั้น ย่อมรู้และแทงตลอดอรรถ อันต่างด้วยโลกิยะและโลกุตระ จำแนกออก

เป็นทิฏฐธรรมเป็นต้น และจำแนกออกโดยอริยสัจ มีทุกขสัจเป็นต้น ด้วยการ

สอบสวนข้อความตามที่ได้ฟังมา และด้วยภาวนาคือการเข้าไปเพ่งธรรม. สมดัง

พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลรู้เหตุ รู้ผล ของสุตะตามที่ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 53

เรียนมาแล้ว ย่อมปฏิบัติธรรมโดยสมควรแก่ธรรม ดังนี้. และตรัสว่า บุคคล

ย่อมพิจารณาอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาอรรถอยู่ ธรรม

ทั้งหลายย่อมควรซึ่งการเพ่ง เมื่อธรรมควรซึ่งการเพ่งมีอยู่ ฉันทะย่อมเกิด

ผู้ที่มีฉันทะเกิดแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมพิจารณา ครั้น

พิจารณาแล้ว ย่อมตั้งความเพียร ผู้ที่มีความเพียร ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง

ปรมัตถสัจ ด้วยกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดซึ่งปรมัตถสัจนั้นด้วยปัญญา.

บทว่า าโต อตฺโถ สุขาวโห ความว่า ประโยชน์มีทิฏฐธรรมิ-

กัตถประโยชน์เป็นต้น ก็ดี ประโยชน์ในทุกขสัจเป็นต้น ก็ดี ตามที่กล่าวแล้ว

ที่ตนรู้แล้ว คือบรรลุแล้วตามความเป็นจริง ย่อมนำมา คือให้สำเร็จความสุข

ต่างโดยโลกิยสุข และโลกุตรสุข.

ประโยชน์ย่อมไม่มี แก่ผู้ที่มีปัญญาภาวนาตามที่ตนทรงไว้ ด้วยเหตุ

เพียงการฟังอย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระเถระเมื่อจะแสดงถึงวิธีปฏิบัติ

แห่งภาวนาปัญญานั้น จึงกล่าวว่า ภิกษุควรซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด ควร

ประพฤติธรรมอันเป็นเหตุให้จิตหลุดจากสังโยชน์.

ในบรรดาบทเหล่านั้น พระเถระกล่าวถึงกายวิเวก ด้วยบทว่า เสเวถ

ปนฺตานิ เสนาสนานิ. ก็ด้วยบทนั้น กายวิเวกก็คือการอยู่อย่างสงัด ของ

ผู้ที่ควรแก่วิเวกนั่นเอง เพราะการละสังโยชน์จะกล่าวถึงต่อไป (ข้างหน้า)

เพราะฉะนั้น สังวรมีศีลสังวรเป็นต้น พึงทราบว่า สำเร็จแล้วโดยไม่ได้กล่าว

ไว้ในคาถานี้.

บทว่า จเรยฺย สโยชนวิปฺปโมกฺข ความว่า จิตย่อมหลุดพ้นจาก

สังโยชน์ได้โดยประการใด ภิกษุพึงประพฤติ คือ พึงปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

และมรรคภาวนา โดยประการนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 54

บทว่า สเจ รตึ นาธิคจฺเฉยฺย ตตฺถ ความว่า ภิกษุยังไม่ประสบ

ความยินดี ในเสนาสนะอันสงัด และในธรรมคือกุศลอันยิ่งเหล่านั้น คือไม่

ประสบความยินดียิ่ง เพราะไม่ได้คุณพิเศษ ติดต่อเป็นลำดับไป พึงเป็นผู้มีตน

อันรักษาแล้ว คือมีจิตอันรักษาแล้ว โดยกำหนดกรรมฐาน พึงเป็นผู้มีสติอยู่

ด้วยการเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งสติเป็นเครื่องรักษาในทวารทั้ง ๖ ในสงฆ์ คือ ในหมู่

แห่งภิกษุ. และเมื่อเธออยู่อย่างนี้ พึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์โดยแท้.

จบอรรถกถามหาจุนทเถรคาถา

๒. โชติทาสเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโชติทาสเถระ

[๒๖๙] ได้ยินว่า พระโชติทาสเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ชนเหล่าใดแล พยายามในทางร้ายกาจ ย่อม

เบียดเบียนมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยการกระทำอันเจือด้วย

ความผลุนพลันก็ดี ด้วยการกระทำ มีความประสงค์

ต่าง ๆ ก็ดี ชนเหล่านั้นกระทำทุกข์ ให้แก่ผู้อื่นฉันใด

แม้ผู้อื่นก็ย่อมทำทุกข์ให้แก่ชนเหล่านั้น ฉันนั้น เพราะ

นรชนกระทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้

รับผลแห่งกรรมที่ตนทำไว้นั้น โดยแท้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 55

อรรถกถาโชติทาสเถรคาถา

คาถาของท่านพระโชติทาสเถระ เริ่มต้นว่า โย โข เต. เรื่องราว

ของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี บรรลุนิติภาวะแล้ว วัน หนึ่ง เห็น

พระศาสดาเสด็จไปบิณฑบาต มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายผลมะลื่น.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

เป็นบุตรของพราหมณ์ ผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ ในปาทิยัตถชนบท ในพุทธุป-

บาทกาลนี้ ได้มีนามว่า โชติทาสะ. เขาบรรลุนิติภาวะแล้ว อยู่ครอบครอง

เรือน วันหนึ่ง เห็นพระมหากัสสปเถระ เที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านของตน

มีจิตเลื่อมใส ให้พระเถระฉันแล้ว ฟังธรรมในสำนักของพระเถระ ให้สร้าง

วิหารหลังใหญ่ บนภูเขาใกล้บ้านตน นิมนต์ให้พระเถระอยู่ในวิหารนั้น บำรุง

ด้วยปัจจัย ๔ ได้ความสลดใจ เพราะพระธรรมเทศนาของพระเถระ บวชแล้ว

เจริญวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์

ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราได้พบพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี

เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านรชน โชติช่วง

เหมือนต้นกรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่ ณ ซอกภูเขา

เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ประนมกรอัญชลี

เหนือเศียรเกล้า แล้วเอาผลมะลื่นถวายแด่พระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 56

ผู้ประเสริฐสุด ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวาย

ผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่

รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผา

กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า

เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว เรียนพระไตรปิฎก ถึงความเป็น

ผู้ฉลาดเฉลียวเชี่ยวชาญ ในพระวินัยปิฎกเป็นพิเศษ เป็นผู้มีพรรษา ๑๐ และ

เป็นผู้สงเคราะห์บริษัท บริวาร เดินทางไปพระนครสาวัตถี เพื่อถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก เข้าไปสู่อารามของ

พวกเดียรถีย์ในระหว่างทาง เพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง

แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง เห็นพราหมณ์คนหนึ่งกำลังเผาตบะ ๕ อยู่ จึงกล่าว

ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เมื่ออย่างหนึ่งถูกเผา อีกอย่างหนึ่งจะร้อนไปด้วยหรือ ?

พราหมณ์ฟังดังนั้นก็โกรธ พูดว่า ดูก่อนสมณะโล้นผู้เจริ อย่างอื่น

ที่จะต้องเผาคืออะไร ? พระเถระแสดงธรรมสอนพราหมณ์ ด้วยคาถาว่า

สิ่งที่ควรเผาเหล่านั้น คือ ความโกรธ ความริษยา

การเบียดเบียนผู้อื่น ความถือตัว ความแข่งดี ความ

มัวเมา ความประมาท ตัณหา อวิชชา และความข้อง

อยู่ในภพ ไม่ใช่รูปขันธ์.

พราหมณ์นั้นและอัญญเดียรถีย์ทั้งปวง ในอารามแห่งเดียรถีย์นั้น

ฟังโอวาทนั้นแล้ว พากันบวชในสำนักของพระเถระ. พระเถระไปสู่พระนคร

สาวัตถี พร้อมด้วยภิกษุเหล่านั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พักอยู่

ในพระนครสาวัตถี สิ้นวันเล็กน้อยแล้วย้อนกลับไปสู่ชาติภูมิของตนทีเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 57

กล่าวสอนผู้ที่ถือว่า จะบริสุทธิ์ได้เพราะยัญ (คือการบวงสรวง) ซึ่งมีลัทธิต่างๆ

กันในหมู่ญาติ ที่เข้าไปหาท่านเพื่อเยี่ยมเยียน ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ชนเหล่าใดแล พยายามในทางร้ายกาจ ย่อม

เบียดเบียนมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยการกระทำอันเจือด้วย

ความผลุนผลันก็ดี ด้วยการกระทำมีความประสงค์

ต่าง ๆ ก็ดี ชนเหล่านั้นกระทำทุกข์ให้ผู้อื่น ฉันใด

แม้ผู้อื่นก็ย่อมทำทุกข์ให้แก่ชนเหล่านั้น ฉันนั้น เพราะ

นรชนทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผล

แห่งกรรมที่ตนทำไว้นั้น โดยแท้ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เป็นคำแสดงความไม่แน่นอน. บทว่า

เต เป็นปฏินิทเทส คือคำรับสมอ้างแสดงโดยไม่แน่นอนเหมือนกัน. แม้บท

ทั้งสองก็สัมพันธ์เข้ากับบทว่า ชนา.

บทว่า โข เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า เวฐมิสฺเสน ความว่า ด้วยการขันชะเนาะที่อวัยวะ มีศรีษะ

เป็นต้น โดยการมัดด้วยเชือกหนังเป็นต้น บาลีเป็น เวธมิสฺเสน ดังนี้ก็มี.

ความก็อย่างเดียวกันนั้น.

บทว่า นานตฺเตน จ กมฺมุนา ความว่า ด้วยการฆ่า การประหาร

การตัดอวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้น และด้วยกรรมคือการเข้าไปฆ่าผู้อื่นมีอย่าง

ต่าง ๆ มีการแทงด้วยหอกทีละน้อย จนกว่าจะตายเป็นต้น.

บทว่า มนุสฺเส เป็นเพียงตัวอย่าง เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า

ได้แก่ ในสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า อุปรุนฺธนฺติ แปลว่า ย่อมเบียดเบียน.

บทว่า ผรสูปกฺกมา ได้แก่ ประโยคที่ทารุณ อธิบายว่า เป็นการ

กระทำของผู้ที่โหดร้าย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 58

บทว่า ชนา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย.

บทว่า เตปิ ตตฺเถว กีรนฺติ ความว่า บุคคลผู้มีประการดังกล่าว

แล้วเหล่านั้น เบียดเบียนผู้อื่น ด้วยการทรมานเหล่าใด ย่อมถูกกระทำ คือ

สนองตอบอย่างนั้นเหมือนกัน คือ ได้รับการทรมานอย่างนั้นแหละ อธิบายว่า

ย่อมเสวยทุกข์เห็นปานนั้นเหมือนกัน. ปาฐะว่า ตเถว กีรนฺติ ดังนี้ก็มี.

ความก็ว่า ตนเองทำทุกข์ให้แก่คนเหล่าอื่น ฉันใด ย่อมถูกคนเหล่าอื่นกระทำ

คือให้ถึงทุกข์อย่างนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุไร ? เพราะกรรมจะไม่สาบสูญ

ไปเลย. อธิบายว่า เพราะว่ากรรมที่ตนก่อไว้ โดยส่วนเดียวยังไม่ให้ผล จะ

ไม่จากไป คือจะให้ผลเมื่อประจวบกับปัจจัยที่ยังเหลืออยู่.

บัดนี้ พระเถระครั้นจำแนกข้อความที่กล่าวไว้โดยสังเขปว่า แม้

ผู้อื่นก็ย่อมทำทุกข์ให้แก่ชนเหล่านั้น ฉันนั้น ดังนี้แล้ว เพื่อจะประกาศความ

ที่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน จึงได้กล่าวคาถาว่า ย กโรติ ดังนี้.

คำเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า สัตว์กระทำกรรมใดที่ดี คือเป็นกุศล

หรือว่า ที่ชั่ว คือเป็นอกุศล และในกรรม ๒ อย่างนั้น เมื่อกระทำกรรมใด

ย่อมชื่อว่า กระทำคือสั่งสม โดยกรรมนั้นสามารถจะให้ผล.

บทว่า ตสฺส ตสฺเสว ทายาโท ความว่า เมื่อสัตว์ถือเอาผลแห่ง

กรรมนั้น ๆ แล ชื่อว่าย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งผลอันกรรมนั้นพึงให้. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน

มีกรรมเป็นทายาทดังนี้ เป็นต้น. ญาติทั้งหลายของพระเถระฟังคาถาเหล่านี้

แล้ว ตั้งอยู่แล้วในความเชื่อที่ว่า สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน.

จบอรรถกถาโชติทาสเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 59

๓. เหรัญญกานิเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเหรัญญกานิเถระ

[๒๗๐] ได้ยินว่า พระเหรัญญกานิเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า

วันและคืนย่อมล่วงไป ๆ ชีวิตย่อมดับไป อายุ

ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมสิ้นไป เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อย

ฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น คนพาลทำบาปกรรมอยู่

ย่อมไม่รู้สึกตัว ต่อภายหลัง เขาจึงได้รับทุกข์อัน

เผ็ดร้อน เพราะบาปกรรมนั้นมีวิบากเลวทราม.

อรรถกถาเหรัญญกานิเถรคาถา

คาถาของท่านพระเหรัญญกานิเถระ เริ่มต้นว่า อจฺจยนฺติ อโห-

รตฺตาว. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเถระนี้เกิดในเรือนแห่งตระกูล พระนครหงสาวดี

ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ บรรลุนิติภาวะแล้ว

รับจ้างผู้อื่นเลี้ยงชีพ วันหนึ่ง บริจาคผ้าครึ่งผืน ถวายสาวกของพระศาสดา

นามว่า สุชาตะ ผู้กำลังแสวงหาผ้าบังสุกุลอยู่.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดในดาวดึงส์พิภพท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ

อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของนายโจรโวสาสกะ ผู้เป็น

นายบ้านของพระเจ้าโกศลในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า เหรัญญกานิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 60

เขาเจริญวัยแล้ว พอบิดาล่วงลับไป ก็ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งนายบ้าน เห็น

พุทธานุภาพ ในคราวที่ทรงรับพระเชตวันมหาวิหาร ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา

มอบตำแหน่งนั้นให้แก่น้องชายของตน ทูลลาพระราชาบวชแล้ว เริ่มตั้งวิปัส-

สนา แล้วบรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน

กล่าวไว้ในอปทานว่า

ครั้งนั้น สาวกชื่อว่า สุชาตะ ของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ แสวงหาผ้าบังสุกุล

อยู่ที่กองหยากเยื่อ ใกล้ทางรก เราเป็นลูกจ้างของ

คนอื่นอยู่ในพระนครหงสาวดี ได้ถวายผ้าครึ่งผืนแล้ว

อภิวาทด้วยเศียรเกล้า ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้นและ

ด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์ได้ไปสวรรค์

ชั้นดาวดึงส์ เราเป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติใน

เทวโลก ๓๑ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๗ ครั้ง

และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนา-

นับมิได้ เพราะถวายผ้าครึ่งผืนเป็นทาน เราเป็นผู้ไม่มี

ภัยแต่ที่ไหน ๆ เบิกบานอยู่ ทุกวันนี้เราปรารถนาก็พึง

เอาผ้าเปลือกไม้คลุมแผ่นดินนี้ พร้อมทั้งป่าและภูเขา

ได้ นี้เป็นผลแห่งผ้าครึ่งผืน ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้

เราได้ให้ทานใด ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งผ้าครึ่งผืน.เราเผากิเลสทั้งหลาย

แล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จ

แล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 61

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว มีความประสงค์จะให้น้องชาย

ของตน เลิกจากการประกอบการงานนั้น เมื่อจะตักเตือนน้องชาย เพราะเห็นเขา

ยินดีอยู่แต่ในการงานนั้นแหละ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

วันและคืนย่อมล่วงไป ๆ ชีวิตย่อมดับไป อายุ

ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปเหมือนน้ำในแม่น้ำ

น้อย ฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น คนพาลทำบาปกรรมอยู่

ย่อมไม่รู้สึกตัว ต่อภายหลัง เขาจึงได้รับทุกข์อันเผ็ด-

ร้อน เพราะบาปกรรมนั้น มีวิบากเลวทราม ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺจยนฺติ แปลว่า ก้าวล่วงไป อธิบายว่า

กำลังจากไปอย่างรวดเร็ว.

บทว่า อโหรตฺตา แปลว่า ทั้งกลางคืนและกลางวัน.

บทว่า ชีวิต อุปรุชฺฌติ ความว่า ก็ชีวิตินทรีย์ ย่อมดับด้วย

สามารถแห่งการดับไปทุก ๆ ขณะ สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ เธอ

ย่อมแก่ ย่อมเจ็บ ย่อมตาย ย่อมจุติ และอุปบัติ ทุก ๆ ขณะดังนี้.

บทว่า อายุ ขียติ มจฺจาน ความว่า อายุของสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้

ที่ได้นามว่า มัจจะ เพราะมีอันจะต้องตายเป็นสภาพ ได้แก่ อายุที่กำหนด

เวลาอย่างสูงไว้ว่า สัตว์ใดมีชีวิตอยู่ได้นาน สัตว์นั้นก็อยู่ได้แค่ร้อยปี น้อยหรือ

มากไปบ้าง ย่อมสิ้นไป คือถึงความสิ้นไปและความแตกดับ เหมือนอะไร ?

เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อย ฉะนั้น ธรรมดาน้ำของแม่น้ำน้อย คือแม่น้ำเล็ก ๆ

ที่ไหลมาจากภูเขา ย่อมตั้งอยู่ได้ไม่นาน แห้งไปอย่างรวดเร็ว คือพอไหลมา

เท่านั้น ก็ขาดแห้งไป ฉันใด อายุของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมสิ้นไป

เร็วกว่า คือ ถึงความสิ้นไป ก็น้ำนั่นแล ในคาถานี้ ท่านเรียกว่า โอทกัง

เหมือนอย่างใจนั่นแลท่านเรียกว่า มานัส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 62

บทว่า อถ ปาปานิ กมฺมานิ กร พาโล น พุชฺฌติ ความว่า

เมื่อสงสารแม้เป็นของไม่เที่ยง มีอยู่อย่างนี้ คนพาลทำกรรมอันลามก ด้วย

สามารถแห่งความโลภหรือด้วยสามารถแห่งความโกรธ แม้เมื่อกระทำก็ไม่รู้ตัว

และกำลังกระทำความชั่วอยู่ จะไม่รู้ว่า เราทำชั่วอยู่ ย่อมไม่มี แต่เพราะไม่รู้ว่า

กรรมนี้ มีทุกข์เป็นวิบากเห็นปานนี้ ดังนี้ ท่านจึงกล่าวว่า น พุชฺฌติ

ย่อมไม่รู้ตัว ดังนี้.

บทว่า ปจฺฉาสฺส กฏุก โหติ ความว่า แม้ถ้าในขณะที่สั่งสม

กรรมอันลามกนั้น จะไม่รู้ว่า กรรมนี้มีผลอย่างนี้ แต่ภายหลังจากนั้น ทุกข์

อันเผ็ดร้อน ไม่น่าปรารถนานั่นแหละ จะมีแก่คนพาลนั้น ผู้บังเกิดในอบายภูมิ

มีนรกเป็นต้น.

เพราะบาปกรรมนั้น มีผลเลวทราม คือ เพราะขึ้นชื่อว่ากรรมอัน-

ลามกนั้น มีผลลามก เลวทราม ไม่น่าปรารถนานั่นเอง ก็น้องชายของพระ-

เถระครั้นฟังโอวาทนี้แล้ว ทูลลาพระราชา บวชแล้ว ยังประโยชน์ตนให้

สำเร็จแล้ว ต่อกาลไม่นานนัก.

จบอรรถกถาเหรัญญกานิเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 63

๔. โสมมิตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโสมมิตตเถระ

[๒๗๑] ได้ยินว่า พระโสมมิตตเถระไค้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เต่าตาบอดเกาะขอนไม้เล็ก ๆ จมลงไปในห้วง-

น้ำใหญ่ ฉันใด กุลบุตรอาศัยคนเกียจคร้านดำรงชีพ

ย่อมจมลงในสังสารวัฏ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น บุคคล

พึงเว้นคนเกียจคร้าน ผู้มีความเพียรเลวทรามเสีย ควร

อยู่กับบัณฑิตทั้งหลายผู้สงัด เป็นอริยะมีใจเด็ดเดี่ยว

เพ่งฌาน มีความเพียรอันปรารภแล้ว เป็นนิตย์.

อรรถกถาโสมมิตตเถรคาถา

คาถาของท่านพระโสมมิตตเถระ เริ่มต้นว่า ปริตฺต ทารุ. เรื่องราว

ของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์-

ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูลในกาลของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว สดับพระพุทธคุณ

มีใจเลื่อมใส วันหนึ่งเห็นต้นทองกวาวมีดอกบานสะพรั่ง จึงเก็บเอาดอกมา

แล้วเหวี่ยงขึ้นบนอากาศ (ตั้งใจ) บูชาเฉพาะพระศาสดา.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดใน

ตระกูลพราหมณ์ พระนครพาราณสี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า โสม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 64

มิตตะ เป็นผู้เรียนจบไตรเพท เป็นผู้มีความคุ้นเคยกับพระเถระ ชื่อว่า วิมละ

ไปสู่สำนักของพระเถระเนือง ๆ ฟังธรรมแล้ว ได้มีศรัทธาในพระศาสนา

บวชแล้ว ได้อุปสมบทแล้ว บำเพ็ญวัตรปฏิบัติเที่ยวไป.

ส่วนพระวิมลเถระ เป็นผู้เกียจคร้าน มากไปด้วยความหลับ ยังคืน

และวันให้ล่วงไป พระโสมมิตตะ คิดว่า จะมีคุณประโยชน์อะไร เพราะอาศัย

พระเถระผู้เกียจคร้าน (เช่นนี้) ดังนี้แล้ว จึงละพระวิมลเถระเข้าไปหาพระ-

กัสสปเถระ ตั้งอยู่ในโอวาทของพระกัสสปเถระแล้ว เริ่มเจริญวิปัสสนา ดำรงอยู่

ในพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทาน

ว่า

เราเห็นต้นทองกวาวมีดอก จึงประนมกรอัญชลี

นึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด แล้วบูชาในอากาศ

ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนง

ไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ใน

กัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น

ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ-

บูชา เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ภพทั้งปวง เราถอน

ขึ้นแล้ว เราเปรียบเหมือนช้างตัวประเสริฐ ตัดบ่วง

ได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่เรามาในสำนัก

แห่งพระพุทธเจ้าของเราเป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา

๓ เราได้บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา-

กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะคุกคามพระวิมลเถระ

โดยโอวาทได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 65

เต่าตาบอดเกาะไม้เล็กๆจมลงไปในห้วงน้ำใหญ่

ฉันใด กุลบุตรอาศัยคนเกียจคร้านดำรงชีพ ย่อมจม

ลงในสังสารวัฏ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลพึงเว้น

คนเกียจคร้าน ผู้มีความเพียรเลวทรามเสีย ควรอยู่กับ

บัณฑิตทั้งหลายผู้สงัดเป็นอริยะมีใจเด็ดเดี่ยวเพ่งฌาน

มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิตย์ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริตฺต ทารุมารุยฺห ยถา สีเท

มหณฺณเว ความว่า กุลบุตรแม้มีศีลเป็นที่รัก อาศัยคนเกียจคร้าน คือคน

ขี้เกียจ ย่อมจมลง คือตกไปในสงสาร ได้แก่ ไปไม่ถึงฝั่งแห่งมหรรณพ คือ

พระนิพพาน เพราะเหตุเป็นอย่างนี้ ฉะนั้น กุลบุตรพึงเว้นบุคคลนั้น ผู้ชื่อว่า

เกียจคร้าน เพราะจมลงสู่สภาพอันต่ำช้า โดยไม่ยกศีรษะขึ้น ด้วยสามารถแห่ง

กุศลธรรมอันยิ่ง ชื่อว่ามีความเพียรเลว เพราะไม่มีการปรารภความเพียร

อธิบายว่า ไม่พึงถึงทิฏฐานุคติของเขา (ไม่ควรเอาเยี่ยงเขา) พระเถระครั้น-

แสดงโทษของความเกียจคร้าน ด้วยคาถาอันเป็นบุคลาธิษฐานอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เพื่อจะแสดงอานิสงส์ในการปรารภความเพียร จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิวตฺเตหิ

ดังนี้.

คำเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า ก็บุคคลเหล่าใด ชื่อว่า เป็นผู้สงัดแล้ว

เพราะมีกายวิเวก ต่อแต่นั้นไปก็ชื่อว่าเป็นพระอริยะ เพราะเป็นผู้ไกลจาก

กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีตนอันส่งไปแล้ว เพราะความเป็นผู้มีตนอันส่งไป

แล้วสู่พระนิพพาน ชื่อว่าเป็นผู้มีฌาน ด้วยสามารถแห่งอารัมมณูปนิชฌาน

และด้วยสามารถแห่งลักขณูปนิชฌาน ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว

เพราะความเป็นผู้มีความเพียรอันประคองแล้ว ตลอดกาลทั้งปวง ชื่อว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 66

บัณฑิต เพราะประกอบด้วยปัญญา อันต่างด้วยโลกิยปัญญาและโลกุตรปัญญา

กุลบุตรผู้ประสงค์จะยังประโยชน์ตนให้สำเร็จ พึงอยู่กับบัณฑิตเหล่านั้น คือ

อยู่ร่วมกัน.

พระวิมลเถระ ฟังโอวาทนั้นแล้ว มีความสลดใจ เริ่มตั้งวิปัสสนา

ยังประโยชน์ตนให้สำเร็จแล้ว ความข้อนี้นั้นจักมีต่อไปข้างหน้าอีก.

จบอรรถกถาโสมมิตตเถรคาถา

๕. สัพพมิตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสัพพมิตตเถระ

[๒๗๒] ได้ยินว่า พระสัพพมิตตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

คนเกี่ยวข้องในคน คนยินดีกะคน คนถูกคน

เบียดเบียน และคนเบียดเบียนคน ก็จักต้องการอะไร

กับคน หรือกับสิ่งที่คน ทำให้เกิดแล้ว แก่คนเล่า

ควรละคนที่เบียดเบียนคน เป็นอันมากไปเสีย.

อรรถกถาสัพพมิตตเถรคาถา

คาถาของท่านพระสัพพมิตตเถระ เริ่มต้นว่า ชโน ชนมฺหิ

สมฺพทฺโธ เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อนๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ เกิดในตระกูลของนายพราน ในกาลของพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ติสสะ ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ เป็น

พรานป่า ฆ่าเนื้อในป่ากินเนื้อเลี้ยงชีวิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 67

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา จึงทรง

แสดงรอยพระบาท ไว้ในที่ใกล้ที่เขาอยู่ ๓ รอย แล้ว เสด็จหลีกไป. เขา

เห็นรอยพระบาท มีเครื่องหมายเป็นรูปกงจักร เพราะมีการสั่งสมอันกระทำไว้

ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในอดีตกาล มีใจเลื่อมใส ทำการบูชาด้วย

ดอกหงอนไก่ บังเกิดในภพดาวดึงส์ด้วยบุญกรรมนั้น ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ

อยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า สัพพมิตตะ. เขาบรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว เห็น

พุทธานุภาพ ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับมอบพระวิหาร ชื่อว่า

เชตวัน เป็นผู้มีศรัทธาจิต บวชแล้ว เรียนกรรมฐานอยู่ในป่า เข้าจำพรรษา

แล้ว ออกพรรษาแล้ว ไปสู่พระนครสาวัตถี เพื่อถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้เห็นลูกเนื้อติดอยู่ในบ่วง ที่นายพรานเนื้อดักไว้ในระหว่างทาง ส่วน

นางเนื้อผู้เป็นแม่ของลูกเนื้อนั้น ไม่ติดบ่วง (และ) ไม่หนีไปไกล เพราะ

ความรักห่วงใยในลูก (แต่) ไม่กล้าเข้าไปใกล้บ่วง เพราะกลัวตาย ส่วนลูก

เนื้อหวาดกลัว ดิ้นวนไปวนมาข้างโน้น ข้างนี้ ร้องขอความกรุณา. พระเถระ

เห็นดังนั้นแล้วคิดว่า โอ ! ทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย มีความรักห่วงใยเป็นเหตุ

ดังนี้ แล้วเดินต่อไป ต่อจากนั้นเมื่อโจรจำนวนมาก จับบุรุษคนหนึ่งได้ เอา

ฟ่อนฟางพันร่างกาย เผาทั้งเป็น และเห็นบุรุษนั้นร้องเสียงดังลั่น อาศัยเหตุ

๒ อย่างนั้น เกิดความสลดใจ เมื่อโจรทั้งหลายกำลังฟังอยู่นั้นแล ได้กล่าว

คาถา ๒ คาถา ความว่า

คนเกี่ยวข้องในคน คนยินดีกะคน คนถูกคน

เบียดเบียน และคนเบียดเบียนคน ก็จักต้องการอะไร

กับคน หรือกับสิ่งที่คนทำให้เกิดแล้ว แก่คนเล่า ควร

ละคนที่เบียดเบียนคน เป็นอันมากไปเสีย ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 68

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชโน ได้แก่ คนอันธพาล. บทว่า

ชนมฺหิ ได้แก่ ในคนอื่น. บทว่า สมฺพทฺโธ ได้แก่ เกี่ยวข้อง ด้วยเครื่อง

เกี่ยวข้องคือตัณหา คือเกี่ยวข้องผูกพัน โดยนัยเป็นต้นว่า ผู้นี้เป็นบุตรของ

เรา ผู้นี้เป็นมารดาของเรา.

อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะ อย่างนี้นั่นแหละ (แต่) มีความหมายว่า มีจิต

ผูกพัน อย่างนี้ว่า คนเหล่านี้เลี้ยงดูเรามา เราอาศัยคนเหล่านี้เลี้ยงชีพ.

บทว่า ชนเมวสฺสิโต ชโน ความว่า คนอื่น ยินดี คือติดแน่น

แล้วด้วยตัณหา ได้แก่ กำหนดยึดถือ เอาคนอื่นนั่นแลโดยนัยมีอาทิว่า ผู้นี้

เป็นธิดาของเรา.

บทว่า ชโน ชเนน เหียติ เหเติ จ ชโน ชน ความ

ว่า คนยินดีกะคน ด้วยสามารถแห่งความโลภ เพราะกัมมัสสกตาญาณ และ

เพราะความไม่มีความรู้ตามความเป็นจริง ฉันใด คนถูกคนอื่นเบียดเบียน คือ

ขัดขวาง ด้วยอำนาจโทสะก็ฉันนั้น และคนเมื่อไม่รู้ว่า กรรมที่เราทำนี้นั้น

จักเป็นกรรมตกทอดถึงเราเอง โดยเป็นผลสืบเนื่องจากการเบียดเบียนที่รุนแรง

ขึ้น ดังนี้ จึงเบียดเบียนกันเอง. บทว่า โก หิ ตสฺส ชเนนตฺโถ

ความว่า คนที่ยินดีกันด้วยอำนาจแห่งตัณหา หรือเบียดเบียนกันด้วยอำนาจ

แห่งโทสะ จะเกิดประโยชน์อะไรแก่คนอื่นเล่า ?

บทว่า ชเนน ชนิเตน วา ความว่า หรือคนที่เป็นมารดา บิดา

มีหน้าที่ยังคนอื่นให้เกิดนั้นจะมีประโยชน์อะไร ? บทว่า ชน โอหาย

คจฺฉ ต เหยิตฺวา พหุ ชน ความว่า เพราะเหตุที่ข้อปฏิบัติของคน

ผู้เที่ยวไปในสงสาร มีลักษณะอย่างนี้เหมือนกันหมด ฉะนั้น ควรละคนชนิดนั้น

เสีย คือ ตัณหาที่เบียดเบียนคนก็ดี โทสะที่ประทุษร้ายกันนั้นก็ดี เบียด

เบียนคนเป็นอันมากแล้วตั้งอยู่ พึงละ คือทิ้งตัณหาและโทสะนั้นโดยประการ

ทั้งปวงแล้วไปเสีย. อธิบายว่า พึงถึง คือบรรลุฐานะที่คนเหล่านั้น ตามเข้า

ไปประทุษร้ายไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 69

ก็พระเถระครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุพระ

อรหัตแล้วในขณะนั้นเอง. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า

เมื่อก่อนเรากับบิดาและปู่ เป็นคนทำการงานใน

ป่า เลี้ยงชีพด้วยการฆ่าปศุสัตว์ กุศลกรรมของเราไม่

มี ใกล้กับที่อยู่ของเรา พระพุทธเจ้าผู้นำชั้นเลิศของ

โลก พระนามว่า ติสสะ ผู้มีพระปัญญาจักษุ ได้ทรง

แสดงรอยพระบาทไว้ ๓ รอย เพื่ออนุเคราะห์ ก็เรา

ได้เห็นรอยพระบาทของพระศาสดา พระนามว่า

ติสสะ ที่พระองค์ทรงเหยียบไว้ เป็นผู้ร่าเริง มีจิต

ยินดี ยังจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาท เราเห็นต้น

หงอนไก่ ที่ขึ้นมาจากแผ่นดิน มีดอกบานแล้ว จึง

เด็ดมาพร้อมทั้งยอด บูชารอยพระบาทอันประเสริฐสุด

เพราะกรรมที่เราทำไว้แล้วดีนั้น และเพราะความตั้ง

เจตนาไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ไปสู่ดาวดึงส์พิภพ

เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ใน

กำเนิดนั้น ๆ เรามีผิวกายเหมือนสีดอกหงอนไก่ มี

รัศมีเป็นแดนซ่านออกจากตน ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทร

กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น

เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชารอยพระ

พุทธบาท. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ

พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็โจรเหล่านั้น ฟังธรรมในสำนักของพระเถระแล้ว เกิดความสลดใจ

บวชแล้ว พากันปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสัพพมิตตเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 70

๖. มหากาฬเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมหากาฬเถรคาถา

[๒๗๓] ได้ยินว่า พระมหากาฬเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

หญิงชื่อ กาฬี มีร่างกายใหญ่ ดำดังกา หักขาซ้าย

ขาขวา แขนซ้ายแขนขวา และทุบศีรษะของซากศพ

ให้มันสมองไหลออก ดังหม้อทธิ แล้ววางไว้ตามเดิม

นั่งอยู่ ผู้ใดไม่รู้แจ้ง เป็นคนเขลา ก่อให้เกิดกิเลส

ผู้นั้น ย่อมเข้าถึงทุกข์ร่ำไป เพราะฉะนั้น บุคคลรู้ว่า

อุปธิเป็นเหตุเกิดทุกข์ จึงไม่ควรก่อให้เกิดกิเลส เรา

อย่าถูกเขาทุบศีรษะ นอนอยู่อย่างนี้ อีกต่อไป.

อรรถกถามหากาฬเถรคาถา

คาถาของท่านพระมหากาฬเถระ เริ่มต้นว่า กาฬี อิตฺถี. เรื่องราว

ของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ

เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว ไปป่า

ด้วยกรณียกิจบางอย่าง เห็นผ้าบังสุกุลจีวรห้อยอยู่ที่กิ่งไม้ มีจิตเลื่อมใสว่า

ผ้ากาสาวพัสตร์ อันเป็นธงชัยของพระอริยเจ้าห้อยอยู่ แล้วเก็บเอาดอกกระดึง

มาบูชาผ้าบังสุกุลจีวร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 71

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

บังเกิดในตระกูลของพ่อค้าเกวียน ในเสตัพยนคร ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มี

นามว่า มหากาฬ บรรลุนิติภาวะแล้ว อยู่ครองเรือน บรรทุกสินค้าด้วย

เกวียน ๕๐๐ เล่ม ไปสู่พระนครสาวัตถี ด้วยกิจของการค้า พักกองเกวียนไว้

ณ ที่แห่งหนึ่ง บรรเทาความเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง นั่งอยู่กับบริษัท

ของตน เห็นพวกอุบาสก ถือเอาของหอมและระเบียบเป็นต้น ไปสู่พระเชตวัน

วิหาร ในเวลาเย็น แม้ตนเองก็ไปสู่วิหารกับพวกอุบาสกเหล่านั้น ฟังธรรมใน

สำนักของพระศาสดาแล้ว เป็นผู้ที่จิตศรัทธาบวชแล้ว อธิษฐานโสสานิกังค-

ธุดงค์ (ธุดงค์คือการถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร) แล้วอยู่ในป่าช้า.

ครั้นวันหนึ่ง มีหญิงคนหนึ่งนามว่า กาฬี เป็นคนเผาศพ (สัปเหร่อ)

หักขา หักแขน ของศพที่ตายใหม่ ๆ อย่างละ ๒ ข้าง และทุบศีรษะให้

มันสมองไหลออกดังหม้อทธิ แล้วต่ออวัยวะทุกชิ้นส่วนให้เหมือนเดิม เพื่อให้

พระเถระปลงกรรมฐาน ตั้งไว้ให้พระเถระพิจารณา ในที่สำหรับประกอบ

ความเพียร แล้วนั่ง ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง. พระเถระเห็นชิ้นส่วนของซากศพแล้ว

เมื่อจะสอนตน ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

หญิงชื่อกาฬี มีร่างกายใหญ่ ดำดังกา หักขาซ้าย

ขาขวา แขนซ้ายแขนขวา และทุบศีรษะของซากศพ

ให้มันสมองไหลออกดังหม้อทธิ แล้ววางไว้ตามเดิม

นั่งอยู่ ผู้ใดแลไม่รู้แจ้ง เป็นคนเขลาก่อให้เกิดกิเลส

ผู้นั้นย่อมเข้าถึงทุกข์ร่ำไป เพราะฉะนั้น บุคคลรู้ว่า

อุปธิเป็นเหตุเกิดทุกข์ จึงไม่ควรก่อกิเลสให้เกิด เรา

อย่าถูกเขาทุบศีรษะ นอนอยู่อย่างนี้อีกต่อไป ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 72

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาฬี เป็นชื่อของหญิงนั้น. อีกอย่างหนึ่ง

ท่านเรียกชื่อ (ว่ากาฬี) อย่างนี้ เพราะความเป็นหญิง มีร่างกายสีดำ

บทว่า พฺรหตี ได้แก่ มีร่างกายใหญ่ คือมีร่างกายกำยำล่ำสัน.

บทว่า ธงฺกรูปา ความว่า ชื่อว่า มีรูปเหมือนกา เพราะมีร่างกาย

สีดำนั่นเอง.

บทว่า สตฺถิฺจ เภตฺวา ความว่า หักขาซ้ายของคนตาย โดยวิธี

หักด้วยเข่า.

บทว่า อปรญฺจ สตฺถึ ความว่า และหักขาขวาอีกด้วย.

บทว่า พาหญฺจ เภตฺวา ความว่า หักกระดูกแขนที่ปลายแขน

นั่นแหละ.

บทว่า สีลญฺจ เภตฺวา ทธิกาลกว ความว่า ทุบศีรษะของซากศพ

เหมือนหม้อใส่นมส้ม ที่ไหลเยิ้มออกเพราะถูกทุบด้วยก้อนดินและท่อนไม้

นั่นเทียว อธิบายว่า ทุบให้มีมันสมองไหลออก.

บทว่า เอสา นิสินฺนา อภิสนฺทหิตฺวา ความว่า รวบรวมซากศพ

ที่มีอวัยวะถูกตัด ถูกหัก (กระจัดกระจาย) อยู่นั่นแล ทำให้ติดต่อกัน โดย

วางอวัยวะเหล่านั้นไว้ในตำแหน่งเดิมนั่นแหละ เหมือนกองทิ้งอยู่ตลาดเนื้อสด

นั่งอยู่แล้ว.

บทว่า โย เอว อวิทฺวา อุปธึ กโรติ ความว่า บุคคลใดแม้เห็น

กรรมฐาน อันปรากฏโดยสภาพของซากศพนี้แล้ว (แต่) ไม่รู้แจ้ง ไม่ฉลาด

ทิ้งกรรมฐาน ยังอุปธิคือกิเลสให้เกิด โดยไม่กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย

บุคคลนั้นเป็นคนเขลา คือมีปัญญาอ่อน ชื่อว่าย่อมเข้าถึงทุกข์ ในอบายมีนรก

เป็นต้น บ่อย ๆ คือ วนไปเวียนมา เพราะยังไม่ล่วงพ้นสงสาร. เพราะฉะนั้น

บุคคลรู้ว่าอุปธิเป็นเหตุเกิดทุกข์ จึงไม่ควรก่อกิเลสให้เกิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 73

บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะเหตุนั้นเป็นอย่างนี้.

บทว่า ปชาน อุปธึ ความว่า บุคคลใดรู้ว่า อุปธิเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

กระไว้ในใจโดยแยบคาย ไม่พึงกระทำ คือไม่พึงก่ออุปธิให้เกิด. เพราะ

เหตุไร ? เพราะเราอย่าถูกเขาทุบศีรษะ นอนอยู่อย่างนี้อีกต่อไป. อธิบายว่า

ซาศพนี้ถูกเขาทุบศีรษะ นอนอยู่ฉันใด เราอย่าเป็นคนรกป่าช้า ถูกทุบศีรษะ

นอนอยู่ ด้วยการบังเกิดขึ้นบ่อย ๆ ในสงสาร ด้วยการก่ออุปธิคือกิเลสเหมือน

อย่างนั้นเลย. เมื่อพระเถระกล่าวสอนตนอยู่อย่างนี้แล ขวนขวายวิปัสสนา

บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อ

อุทังคณะ ที่ภูเขานั้น เราได้เห็นผ้าบังสุกุลจีวร ห้อย

อยู่บนยอดไม้ ครั้งนั้น เราร่าเริง มีจิตยินดี เลือกเก็บ

ดอกกระดึงทอง ๓ ดอก มาบูชาผ้าบังสุกุลจีวร ด้วย

กรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้

เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในกัปที่

๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น เพราะ

บูชาผ้าบังสุกุลจีวร อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์

เราไม่รู้จักทุคติเลย. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

จบอรรถกถามหากาฬเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 74

๗. ติสสเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระติสสเถระ

[๒๗๔] ได้ยินว่า พระติสสเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ภิกษุศีรษะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิ ได้ข้าว น้ำ ผ้า

และที่นอน ที่นั่ง ย่อมชื่อว่าได้ข้าศึกไว้มาก ภิกษุ

รู้โทษในลาภสักการะว่า เป็นภัยอย่างนี้แล้ว ควรเป็น

ผู้มีลาภน้อย มีจิตไม่ชุ่มด้วยราคะ มีสติงดเว้นความ

ยินดีในลาภ.

อรรถกถาติสสเถรคาถา

คาถาของท่านพระติสสเถระ เริ่มต้นว่า พหู สปตฺเต ลภติ. เรื่องราว

ของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ

สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆเกิดในตระกูลพราหมณ์

ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปิยทัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว

ถึงความสำเร็จในศิลปะทั้งหลาย เห็นโทษในกามทั้งหลาย สละฆราวาสวิสัย

บวชเป็นดาบส ให้เขาสร้างอาศรมอยู่ในป่าดงรัง ใกล้ชัฏแห่งป่า. พระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงเข้านิโรธสมาบัติ ประทับนั่งที่ดงรังไม่ไกลอาศรม เพื่อจะ

ทรงอนุเคราะห์ดาบสนั้น. ดาบสออกจากอาศรม เดินไปหาผลาผล เห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 75

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีใจเลื่อมใส ปักเสา ๔ เสา ทำปะรำด้วยกิ่งรัง อัน

มีดอกบานสะพรั่ง ไว้เบื้องบนพระผู้มีพระภาคเจ้า ยืนบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยดอกรัง ทั้งใหม่ทั้งสดตลอด ๗ วัน ไม่ละปีติ มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์

เลย. พอล่วงไป ๗ วัน พระศาสดาเสด็จออกจากนิโรธ ทรงดำริถึงภิกษุสงฆ์

พระขีณาสพประมาณหนึ่งแสน มาแวดล้อมองค์พระศาสดาในทันใดนั้นเอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศสมบัติ ที่จะเกิดมีแก่ดาบสแล้ว ตรัสอนุโมทนา

แล้วเสด็จหลีกไป.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่

แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์ กรุงราชคฤห์ ในพุทธุปบาท-

กาลนี้ ได้นามว่า ติสสะ เจริญวัยแล้ว เรียนจบไตรเพท สอนมนต์กะ

มาณพประมาณ ๕๐๐ ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ เห็นพุทธานุภาพในคราวที่

พระศาสดาเสด็จไปพระนครราชคฤห์ ได้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา

บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน

อปทานว่า

เราเข้าสู่ป่ารัง สร้างอาศรมอย่างสวยงาม มุงบัง

ด้วยดอกรัง ครั้งนั้น เราอยู่ในป่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้สยัมภู เอกอัครบุคคลตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง พระ-

นามว่า ปิยทัสสี ทรงประสงค์ความสงัด จึงเสด็จ

เข้าสู่ป่ารัง เราออกจากอาศรมไปป่า เที่ยวแสวงหา

มูลผลาผลป่า ในเวลานั้น ณ ที่นั้น เราได้เห็นพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มีพระยศ

ใหญ่ ประทับนั่งเข้าสมาบัติ รุ่งโรจน์อยู่ในป่าใหญ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 76

เราปักเสา ๔ เสา ทำปะรำอย่างเรียบร้อย แล้วเอา

ดอกรังมุงเหนือพระพุทธเจ้า เราทรงปะรำซึ่งมุงด้วย

ดอกรังไว้ ๗ วัน ยังจิตให้เลื่อมใสในกรรมนั้น ได้

ถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด สมัยนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้อุดมบุรุษ เสด็จออกจากสมาธิ

ประทับนั่ง ทอดพระเนตรดูเพียงชั่วแอก สาวกของ

พระศาสดา พระนามว่า ปิยทัสสี ชื่อว่าวรุณะ กับ

พระอรหันตขีณาสพแสนองค์ ได้มาเฝ้าพระศาสดา

ผู้นำชั้นพิเศษ ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พิชิตมาร

ทรงพระนามว่า ปิยทัสสี เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ

กว่านรชน ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว

ได้ทรงกระทำการแย้มพระสรวลให้ปรากฏ พระ-

อนุรุทธเถระผู้อุปัฏฐาก ของพระศาสดาทรงพระนาม

ว่า ปิยทัสสี ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถาม

พระมหามุนีว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อะไรเล่า

หนอ เป็นเหตุให้พระศาสดาทรงแย้มพระสรวลให้

ปรากฏ เพราะมีเหตุ พระศาสดาจึงทรงแย้มพระสรวล

ให้ปรากฏ.

พระศาสดาตรัสว่า มาณพใดธารปะรำที่มุงด้วย

ดอกไม้ให้ตลอด ๗ วัน เรานึกถึงกรรมของมาณพนั้น

จึงได้ทำการยิ้มแย้มให้ปรากฏ เราไม่พิจารณาเห็น

ช่องทางที่ไม่ควรที่บุญจะไม่ให้ผล ช่องทางที่ควรใน

เทวโลก หรือมนุษยโลก ย่อมไม่ระงับไปเลย เขาผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 77

เพรียบพร้อมด้วยบุญกรรมอยู่ในเทวโลกมีบริษัทเท่าใด

บริษัทเท่านั้น จักถูกบังด้วยดอกรัง เขาเป็นผู้ประกอบ

ด้วยบุญกรรม จักรื่นเริงอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยการ

ฟ้อน การขับ การประโคม อันเป็นทิพย์ในกาลนั้น

ทุกเมื่อ บริษัทของเขาประมาณเท่าที่มี จักมีกลิ่น

หอมฟุ้ง และฝนดอกรัง จักตกลงทั่วไปในขณะนั้น

มาณพนี้ จุติจากเทวโลกแล้ว จักมาสู่ความเป็นมนุษย์

แม้ในมนุษยโลกนี้ หลังคาดอกรังก็จักทรงอยู่ ตลอด

กาลทั้งปวง ณ มนุษยโลกนี้ การฟ้อนและการขับที่

ประกอบด้วยกังสดาล จักแวดล้อมมาณพนี้อยู่เป็นนิตย์

นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา และเมื่อพระอาทิตย์อุทัย ฝน

ดอกรังก็จักตกลง ฝนดอกรังที่บุญกรรมปรุงแต่งแล้ว

จักตกลงทุกเวลา ในกัปที่ ๑,๘๐๐ พระศาสดา มีพระ

นามว่า " โคดม " จึงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกากราช

จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก มาณพนี้จักเป็นทายาทในธรรม

ของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรม

เนรมิต จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ

ปรินิพพาน เมื่อเขาตรัสรู้ธรรมอยู่ จักมีหลังคาดอกรัง

เมื่อถูกฌาปนกิจอยู่บนเชิงตะกอน ที่เชิงตะกอนนั้น

ก็จักมีหลังคาดอกรัง พระมหามุนี ทรงพระนามว่า

ปิยทัสสี ทรงพยากรณ์วิบากแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่

บริษัท ให้อิ่มหนำด้วยฝนคือธรรม เราได้เสวยราช

สมบัติในเทวโลก ในหมู่เทวดา ๓๐ กัป ได้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 78

พระเจ้าจักรพรรดิ ๖๗ ครั้ง เราออกจากเทวโลก มา

ในมนุษยโลกนี้ ได้ความสุขอันไพบูลย์ แม้ในมนุษย-

โลกนี้ ก็มีหลังคาดอกรัง นี้เป็นผลแห่งปะรำ นี้เป็น

การบังเกิดครั้งหลังของเรา ภพสุดท้ายกำลังเป็นไป

แม้ในภพนี้หลังคาดอกรัง ก็จักมีตลอดกาลทั้งปวง

เรายังพระมหามุนีพระนามว่า โคดม ผู้ประเสริฐกว่า

ศากยราชให้ทรงยินดี ได้ละความมีชัย และความ

ปราชัยเสียแล้ว บรรลุถึงฐานะที่ไม่หวั่นไหว ในกัป

ที่๑,๘๐๐ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าองค์ใด ด้วยพุทธบูชา

นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เรา

เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า

เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้เป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วย

ลาภ เลิศด้วยยศเป็นพิเศษ. ในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เป็นปุถุชนบางพวก

เห็นลาภสักการะของพระเถระแล้ว แสดงความไม่พอใจออกมาด้วยความเป็น

คนพาล. พระเถระรู้ดังนั้น เมื่อจะประกาศโทษในลาภสักการะ และความที่

ตนเป็นผู้ไม่ข้องอยู่ในลาภสักการะนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ภิกษุศีรษะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิได้ข้าว น้ำ ผ้า

และที่นอน ที่นั่ง ย่อมชื่อว่าได้ข้าศึกไว้มาก ภิกษุรู้

โทษในลาภสักการะว่า เป็นภัยอย่างนี้แล้ว ควรเป็นผู้

มีลาภน้อย มีจิตไม่ชุ่มด้วยราคะ มีสติงดเว้นความยินดี

ในลาภ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 79

คาถาทั้งสองนั้น มีอธิบายว่า ภิกษุแม้ถึงจะแสดงปลายผมก็ชื่อว่า

เป็นคนโล้น เพราะความเป็นผู้มีผมอันโกนแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ครองผ้าสังฆาฏิ

เพราะความเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งผ้ากาสาวพัสตร์ที่เขาตัดแล้ว เอามาเย็บติดกันไว้

บรรพชิตผู้เข้าถึงความเป็นผู้มีเพศแตกต่างจากคฤหัสถ์อย่างนี้ มีความเป็นอยู่

เนื่องด้วยผู้อื่น ถ้าผู้ใดยังอยากได้ข้าวและน้ำเป็นต้น แม้ผู้นั้นย่อมชื่อว่าได้ข้าศึก

ไว้มาก ภิกษุเป็นอันมาก จะพากันริษยาภิกษุนั้น.

เพราะเหตุนั้น ภิกษุรู้อาทีนพคือโทษ ในลาภสักการะทั้งหลายว่ามี

กำลังมากคือเป็นภัยอย่างใหญ่หลวง นี้ คือเห็นปานนี้ พึงตั้งความเป็นผู้มีความ

ปรารถนาน้อย และความสันโดษไว้ในหทัยแล้วพึงเป็นผู้มีลาภน้อย โดยเว้น

ลาภแม้ที่ให้เกิดขึ้นโดยความเป็นของหาโทษมิได้ อันเกิดขึ้นแล้ว ต่อจากนั้น

ก็จะชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีจิตชุ่มด้วยราคะ เพราะไม่มีความชุ่ม คือ ความอยากใน

ลาภนั้น ชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะเห็นภัยในสงสาร หรือเพราะความเป็นผู้มีกิเลส

อันทำลายแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ด้วยสามารถแห่งสติและสัมปชัญญะ อันเป็น

ที่ตั้งแห่งความสันโดษ พึงเว้นรอบคือเที่ยวไปอยู่ (ตามสบาย) ภิกษุทั้งหลาย

เหล่านั้น ฟังคำเป็นคาถานั้นแล้ว ยังพระเถระให้อดโทษในขณะนั้นเอง.

จบอรรถกถาติสสเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 80

๘. กิมพิลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระกิมพิลเถระ

[๒๗๕] ได้ยินว่า พระกิมพิลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

พระศากยบุตรทั้งหลาย ผู้เป็นสหายกันในปาจีน-

วังสทายวัน ได้พากันละโภคะไม่น้อย มายินดีในการ

เที่ยวบิณฑบาต ปรารภความเพียร มีจิตเด็ดเดี่ยว

มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ ละความยินดีในโลก มา

ยินดีอยู่ในธรรม.

อรรถกถากิมพิลเถรคาถา

คาถาของท่านพระกิมพิลเถระ เริ่มต้นว่า ปาจีนวสทายมฺหิ. เรื่องราว

ของท่านเป็นอย่างไร ?

เหตุเกิดความสังเวช และบรรพชา อันเป็นบุรพภาคของเรื่องราวที่

เกิดขึ้นนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในอรรถกถาแห่งคาถามีอาทิว่า อภิสตฺโต ใน

เอกนิบาตแล้วทั้งนั้น และด้วยคาถานั้น พระเถระแสดงเหตุแห่งการบรรลุคุณ

วิเศษของตนไว้ด้วย. แต่ในคาถานั้น พึงทราบว่า พระเถระแสดงการอยู่ร่วม

โดยความพร้อมเพรียงของตนผู้บรรลุคุณวิเศษแล้ว กับท่านพระอนุรุทธะและ

ท่านพระนันทิยะ. ก็พระเถระเมื่อจะแสดงถึงการที่พระเถระเหล่านั้นอยู่ร่วมกัน

โดยความพร้อมเพรียงจึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 81

พระศากยบุตรทั้งหลาย ผู้เป็นสหายกันในปาจีน-

วังสทายวัน ได้พากันละโภคะไม่น้อย มายินดีในการ

เที่ยวบิณฑบาต ปรารภความเพียร มีจิตเด็ดเดี่ยว

มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ ละความยินดีในโลก มา

ยินดีอยู่ในธรรม ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาจีนวสทายมฺหิ ได้แก่ ในป่าที่

กำหนดเขตรวมกัน มีคนรักษาคุ้มครอง มีชื่อว่า ปาจีนวังสะ. อธิบายว่า

ป่านั้น ท่านเรียกว่า ปาจีนวังสะ เพราะตั้งอยู่ในทิศปราจีนของหมู่บ้าน และ

เพราะแวดล้อมไปด้วยพุ่มไม้ไผ่ หรือเรียกว่า ปาจีนวังสะ เพราะเป็นป่าไม้ไผ่.

บทว่า สกฺยปุตฺตา ได้แก่ พวกราชกุมารของเจ้าศากยะ มีพระอนุ-

รุทธเถระเป็นต้น.

บทว่า สหายกา ความว่า ชื่อว่าเป็นสหายกัน เพราะเป็นทาง คือ

เป็นการดำรงอยู่ร่วมกัน โดยเกิดความสังเวชร่วมกัน บรรพชาร่วมกัน และ

บำเพ็ญสมณธรรมร่วมกัน.

บทว่า ปหายานปฺปเก โภเค ความว่า ทิ้งกองแห่งโภคะใหญ่

ที่ตนถึงทับด้วยบุญญานุภาพอันโอฬาร และมีมาโดยการสืบต่อแห่งตระกูล

บาลีว่า สหายานปฺปเก ดังนี้ก็มี.

บทว่า อุญฺเฉ ปตฺตาคเต รตา ความว่า ชื่อว่ายินดีแล้ว คือ

ยินดียิ่งแล้วในภาชนะสำหรับขอ เพราะความเป็นของที่นำมาได้ด้วยการเที่ยว

ขอเลี้ยงชีวิต ชื่อว่ามาในบาตร เพราะมาแล้วในบาตร ได้แก่ของที่นับเนื่อง

ในบาตร. อธิบายว่า ห้ามอติเรกลาภ มีสังฆภัตเป็นต้น แล้วยินดีด้วยภัต

ที่ระคนปนกันอันตนได้แล้ว ด้วยการเที่ยวภิกษา โดยอาศัยกำลังแข้งเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 82

บทว่า อารทฺธวิริยา ความว่า ตั้งความเพียรไว้ เพื่อบรรลุประโยชน์

อันสูงสุด แต่ต้นทีเดียว คือ ก่อนทีเดียว.

บทว่า ปหิตตฺตา ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตส่งไปแล้วสู่พระนิพพาน

เพราะความเป็นผู้น้อมไป โน้มไป โอนไป (สู่พระนิพพาน) และเพราะการ

เข้าถึงตามกาลเวลา.

บทว่า นิจฺจ ทฬฺหปรกฺกมา ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีความบากบั่น

ไม่ย่อหย่อนตลอดกาลทั้งปวง เพราะหมั่นประกอบการอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม

ในวัตรปฏิบัติทั้งหลาย.

บทว่า รมนฺติ ธมฺมรติยา หิตฺวา โลกิย รตึ ความว่า ละความ

ยินดีในรูปารมณ์เป็นต้น อันเป็นโลกิยะ เพราะรู้แจ้งโลก และเพราะถึงที่สุด

แห่งโลก คือละได้ด้วยมรรคปัญญา ย่อมยินดีคืออภิรมย์ ด้วยความยินดีใน

โลกุตรธรรม และด้วยความยินดียิ่งในพระนิพพานอันเป็นผลเลิศ.

จบอรรถกถากิมพิลเถรคาถา

๙. นันทเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระนันทเถระ

[๒๗๖] ได้ยินว่า พระนันทเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เรามัวแต่ประกอบการประดับตกแต่ง เพราะไม่มี

โยนิโสมนสิการ มีใจฟุ้งซ่านกลับกลอก ถูกกามราคะ

เบียดเบียน เราได้ปฏิบัติโดยอุบายที่ชอบ ตามที่พระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ฉลาดในอุบาย ได้

ทรงสั่งสอนแนะนำแล้ว ถอนจิตที่จมลงในภพขึ้นได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 83

อรรถกถานันทเถรคาถา

คาถาของท่านพระนันทเถระ เริ่มต้นว่า อโยนิโสมนสิกาโร.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเถระนี้เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในพระนครหงสาวดี

ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ บรรลุนิติภาวะแล้ว

ฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่ง

ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ ฝ่ายคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ปรารถนา

ตำแหน่งนั้น แม้ด้วยตนเอง บำเพ็ญมหาทานอันมากไปด้วยบูชาและสักการะ

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ ตั้งปณิธานว่า ในอนาคตกาล ขอข้า-

พระองค์ พึงเป็นเช่นสาวกเห็นปานนี้ ของพระพุทธเจ้าผู้เช่นกันด้วยพระองค์

ดังนี้แล้ว ต่อแต่นั้น ก็ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นเต่าใหญ่

ในแม่น้ำชื่อว่า วินดา ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า

อัตถทัสสี วันหนึ่งเห็นพระศาสดา ประทับยืนอยู่ที่ริมฝั่ง เพื่อจะข้ามฝั่งน้ำ

มีความประสงค์จะยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ข้ามด้วยตนเอง จึงหมอบลงแทบบาท

มูลของพระศาสดา พระศาสดาทรงเล็งดูอัธยาศัยของมัน แล้วเสด็จประทับขึ้น

สู่หลัง. มันร่าเริงยินดี แล้วว่ายตัดกระแสน้ำไปโดยเร็ว ยังพระศาสดาให้ถึงฝั่ง

อย่างฉับพลัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุโมทนา ตรัสบอกสมบัติที่จะเกิดแก่มัน

แล้วเสด็จหลีกไป.

ด้วยบุญกรรมนั้น มันท่องเที่ยวอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น แล้วบังเกิด

ในพระครรภ์ของพระนางมหาปชาบดีโคตมี โดยเป็นพระโอรสของพระ-

เจ้าสุทโธนมหาราช ในพระนครกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ในวันขนาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 84

พระนามพระกุมาร พระประยูรญาติได้ขนานพระนามว่า นันทะ ดังนี้ ก็

เพราะทรงยังหมู่ญาติให้ยินดีประสูติแล้ว ในเวลาที่นันทกุมารเจริญพระชนม์

พรรษา พระศาสดาทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐให้เป็นไป ทรงทำการอนุ-

เคราะห์สัตวโลก เสด็จไปพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงกระทำฝนโปกขรพรรษให้เป็น

อัตถุปบัติในญาติสมาคม ตรัสเวสสันดรชาดกแล้วเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในวันที่

๒ ยังพระชนกให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลด้วยพระคาถาว่า อุตฺติฏฺเ นปฺปม-

ชเชยฺย บุคคลไม่ควรประมาทในบิณฑบาตอันตนพึงลุกขึ้นยืนรับ ดังนี้แล้ว

เสด็จไปสู่นิเวศน์ ยังพระนางมหาปชาบดีให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล (และ) ยัง

พระราชาให้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล ด้วยพระคาถามีอาทิว่า บุคคลพึงประพฤติ

ธรรมให้สุจริต ในวันที่ ๓ เมื่อพิธีวิวาหมงคล คือการนำราชธิดาเข้าไปสู่

นิเวศน์โดยการอภิเษกของนันทกุมาร กำลังดำเนินไป เสด็จเข้าไปบิณฑบาต

แล้วทรงยังนันทกุมารให้ถือบาตร ตรัสมงคลแล้ว ไม่ทรงรับบาตรจากมือของ

นันทกุมาร เสด็จไปสู่พระวิหาร ยังนันทกุมารผู้ถือบาตร ตามมาสู่พระวิหาร

ผู้ไม่ปรารถนาอยู่นั่นเทียว ให้บรรพชาแล้ว ทรงทราบความที่นันทกุมารถูกความ

ไม่ยินดีบีบคั้น เพราะเหตุที่ให้บรรพชาโดยวิธีอย่างนั้น แล้วทรงบรรเทาความ

ไม่ยินดีนั้นของนันทกุมารโดยอุบาย พระนันทะพิจารณาโดยแยบคายแล้วเริ่มตั้ง

วิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้วต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน

กล่าวไว้ในอปทานว่า

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี

เป็นพระสยัมภู เป็นนายกของโลก เป็นพระตถาคต

ได้เสด็จไปที่ฝั่งน้ำวินดา เราเป็นเต่าเที่ยวไปในน้ำ

ออกไปจากน้ำแล้ว ประสงค์จะทูลเชิญพระพุทธเจ้า

เสด็จข้ามฟาก จึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ ผู้เป็นนายกของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 85

โลก (กราบทูลว่า) ขออัญเชิญพระพุทธเจ้าผู้เป็นมหา-

มุนี พระนามว่า อัตถทัสสี เสด็จขึ้นหลังข้าพระองค์

เถิด ข้าพระองค์จะนำพระองค์เสด็จข้ามฟาก ขอพระ-

องค์โปรดทรงทำที่สุดแห่งทุกข์ แก่ข้าพระองค์เถิด

พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่ ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี

ทรงทราบถึงความดำริของเรา จึงได้เสด็จขึ้นหลังเรา

แล้วประทับยืนอยู่ ความสุขของเราในเวลาที่นึกถึงตน

ได้ และในเวลาที่ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา หาเหมือน

กับสุขเมื่อพื้นฝ่าพระบาทสัมผัสไม่ พระสัมพุทธเจ้า

ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ เสด็จขึ้น

ประทับยืนที่ฝั่งน้ำแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

เราข้ามกระแสคงคา ชั่วเวลาประมาณเท่าจิตเป็นไป

ก็พระยาเต่ามีบุญนี้ ส่งเราข้ามฟากด้วยการส่งพระพุทธ-

เจ้าข้ามฟากนี้ และด้วยความเป็นผู้มีจิตเมตตา จัก

รื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๑,๘๐๐ กัป จากเทวโลก

มามนุษยโลกนี้ เป็นผู้อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว นั่ง ณ

อาสนะอันเดียว จักข้ามพ้นกระแสน้ำ คือความสงสัย

ได้ พืชแม้น้อย แต่เขาเอาหว่านลงในเนื้อนาดี เมื่อ

ฝนยังอุทกธาราให้ตกอยู่ โดยชอบ ผลย่อมทำชาวนา

ให้ยินดี แม้ฉันใด พุทธเขตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงแสดงไว้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อบุญเพิ่มอุทก-

ธาราโดยชอบ ผลจักทำเราให้ยินดี เราเป็นผู้มีตนอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 86

ส่งไปแล้วเพื่อความเพียร เป็นผู้สงบระงับ ไม่มีอุปธิ

กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

ในกัปที่ ๑,๘๐๐ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้นด้วย

กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการส่ง

พระพุทธเจ้าข้ามฟาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ

คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาสังกิเลสที่ตนละได้แล้ว

และความสุขที่ตนได้รับว่า น่าอัศจรรย์ ความเป็นผู้ฉลาดในอุบายของพระ

ศาสดา โดยที่พระองค์ ทรงยกเราจากเปลือกตมคือภพ แล้วให้ประดิษฐาน

อยู่บนบกคือพระนิพพาน ดังนี้แล้ว เกิดความโสมนัส ได้กล่าวคาถา ๒

คาถา ด้วยสามารถแห่งอุทาน ความว่า

เรามัวแต่ประกอบการประดับตกแต่ง เพราะไม่

มีโยนิโสมนสิการ มีใจฟุ้งซ่าน กลับกลอก ถูกกาม

ราคะเบียดเบียน เราได้ปฏิบัติโดยอุบายที่ชอบ ตามที่

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์ ฉลาดในอุบาย

ได้ทรงสั่งสอนแนะนำ แล้วถอนจิตที่จมลงในภพขึ้น

ได้ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยนิโส มนสิการา ความว่า

เพราะกระทำไว้ในใจซึ่งกายอันไม่งาม โดยความเป็นของงาม คือ เพราะ

เหตุแห่งการทำไว้ในใจ โดยความเป็นของงาม โดยมนสิการไม่ชอบด้วยอุบาย

อธิบายว่า เพราะเข้าใจร่างกายที่ไม่งามว่างาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 87

บทว่า มณฺฑาน ความว่า ซึ่งเครื่องประดับอัตภาพ ด้วยอาภรณ์

ทั้งหลายมีสร้อยข้อมือเป็นต้น และด้วยเครื่องประทินผิว มีระเบียบและของ

หอมเป็นต้น.

บทว่า อนุยุญฺชิส แปลว่า ประกอบแล้ว อธิบายว่า ได้เป็นผู้

ขวนขวาย การประดับตกแต่งร่างกาย.

บทว่า อุทฺธโต ความว่า เป็นผู้อันความเมาทั้งหลาย มีความเมา

เพราะชาติ โคตร รูป และความเป็นหนุ่ม เป็นสาวเป็นต้น ยกขึ้นแล้ว

คือเป็นผู้มีจิตไม่สงบแล้ว.

บทว่า จปโล ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้โลเล เพราะความเป็นผู้มีจิต

ไม่มั่นคง เหมือนลิงป่า และกลับกลอก เพราะประกอบในความเป็นผู้มีอารมณ์

หวั่นไหว ด้วยการประดับตกแต่งร่างกายและประดับด้วยผ้าเป็นต้น.

บทว่า อาสึ แปลว่า ได้เป็นแล้ว. บทว่า กามราเคน ประกอบ

ความว่า เป็นผู้อันฉันทราคะในวัตถุกามทั้งหลาย เบียดเบียน คือบีบคั้น

ได้แก่ เสียดแทง.

บทว่า อปายกุสเลน ความว่า มีพระพุทธเจ้าคือพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ฉลาดด้วยความฉลาด ในอุบายเป็นเครื่องทรมานเวไนยสัตว์ เป็นเหตุ.

ก็บทว่า อปายกุสเลน นี้เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งเหตุ. ก็พระเถระ

กล่าวบทว่า อปายกุสเลน นี้ หมายถึง การนำกามราคะของตนออกไปได้

ด้วยพระดำรัสที่ตรัสเตือน โดยข้ออุปมาที่ยกเอานางลิงหางด้วน และนางเทพ

อัปสรมาเปรียบเทียบ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังท่านพระนันทเถระ

ให้มีจิตคลายกำหนัดในนางชนบทกัลยาณี โดยเปรียบนางชนบทกัลยาณีก่อนว่า

นางลิงตัวนี้ฉันใด นางชนบทกัลยาณี เปรียบกับนางเทพอัปสร ผู้มีฝ่าเท้า

เหมือนนกพิราบ ก็ฉันนั้น แล้วทรงชี้ให้ดูนางเทพอัปสร ผู้มีเท้าเหมือนนก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 88

พิราบ อุปมาดุจนำเอาลิ่มอันเล็ก ออกจากลิ่มใหญ่แล้วทิ้งไปฉะนั้น และดุจ

นายแพทย์ทำสรีระให้ชุ่มด้วยการดื่มน้ำมัน แล้วนำเอาพิษออก ด้วยการให้

สำรอกและการขับถ่าย ฉะนั้น แล้วทรงยังจิตให้คลายกำหนัด แม้ในนางเทพ

อัปสร ผู้มีฝ่าเท้าเหมือนเท้านกพิราบ ด้วยการตรัสเปรียบเทียบอีกครั้ง แล้ว

ทรงยังพระเถระให้ตั้งอยู่ในพระอริยมรรค ด้วยการขวนขวายในสมถะ และ

วิปัสสนาโดยชอบทีเดียว. สมดังคำเป็นคาถาที่พระเถระกล่าวไว้ว่า โยนิโส

ปฏิปชฺชิตฺวา ภเว จิตฺต อุทพฺพหึ เราได้ปฏิบัติโดยอุบายที่ชอบ ตามที่

พระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ฉลาดในอุบาย ได้ทรงสั่งสอน

แนะนำ แล้วถอนจิตที่จมลงในภพขึ้นได้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำเนินวิสุทธิปฏิปทา ด้วยสมถะและวิปัสสนา

โดยชอบทีเดียว ด้วยอุบาย คือด้วยพระปรีชาญาณ ยกจิตของเราที่จมลงในภพ

ได้แก่ เปลือกตม คือสงสาร ด้วยพระหัตถ์ คือพระอริยมรรค อธิบายว่า

ให้ตั้งอยู่บนบก คือพระนิพพาน.

พระเถระเปล่งอุทานนี้แล้ว ในวันรุ่งขึ้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ค้ำ

ประกัน เพื่อให้ข้าพระองค์ได้นางอัปสร ๕๐๐ ผู้มีเท้าเหมือนเท้านกพิราบอันใด

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอเปลื้องพระผู้มีพระภาคเจ้า จากการเป็น

ผู้รับรองนั้น. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า ดูก่อนนันทะ การรับรองใดแล

เป็นเหตุให้จิตของเธอหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นในเวลานั้น

เราตถาคต ก็พ้นจากการเป็นผู้รับรองนั้นแล้ว. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบความที่พระนันทะ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย

พร้อมกับคุณพิเศษของท่าน เมื่อจะทรงประกาศคุณพิเศษนั้น จึงทรงตั้งท่านไว้

ในตำแหน่งของภิกษุผู้เลิศ โดยความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 89

โดยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระนันทะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้สาวก

ของเราฝ่ายคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย. แท้จริง พระเถระคิดว่า เราถึง

ประการอันแปลกนี้ เพราะอาศัยความไม่สำรวมอินทรีย์ทั้งหลายอันใดแล เรา

จักข่มความไม่สำรวมอันนั้นแลด้วยดี ดังนี้แล้ว เกิดความอุสาหะ เป็นผู้มีหิริ

โอตตัปปะ มีกำลัง ได้ถึงบารมีในอินทรีย์สังวรอย่างอุกฤษฏ์ เพราะความเป็น

ผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า

ปทุมุตตระ นั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถานันทเถรคาถา

๑๐. สิริมาเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสิริมาเถระ

[๒๗๗] ได้ยินว่า พระสิริมาเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ถ้าคนมีจิตไม่ตั้งมั่น ถึงชนเหล่าอื่นจะสรรเสริญ

ชนเหล่าอื่นก็สรรเสริญเปล่า เพราะตนมีจิตไม่ตั้งมั่น

ถ้าตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ถึงชนเหล่าอื่นจะติเตียน ชน

เหล่าอื่นก็ติเตียนเปล่า เพราะตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว.

จบวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 90

อรรถกถาสิริมาเถรคาถา

คาถาของท่านพระสิริมาเถระ เริ่มต้นว่า ปเร จ น ปสสนฺติ.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในตระกูลพราหมณ์ในเวลาที่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนานว่า ปทุมุตตระ ทรงบำเพ็ญบารมี แล้ว

ประทับอยู่ในภพชั้นดุสิต บรรลุนิติภาวะแล้ว เรียนจบไตรเพท เป็นผู้ชำนาญ

ในบทแห่งพระเวท ของสนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ สักขรศาสตร์ ปเภทศาสตร์

มีอิติหาสศาสตร์ เป็นที่ ๕ รู้แจ่มแจ้ง เข้าใจในโลกายศาสตร์ และมหาปุริส-

ลักขณศาสตร์ไม่บกพร่อง ละกามทั้งหลายแล้วบวชเป็นดาบส เพราะความเป็น

ผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในเนกขัมมะ อันหมู่ดาบสประมาณ ๘๔,๐๐๐ แวดล้อมแล้ว

ยังฌานและอภิญญาให้เกิด แล้วอยู่ในอาศรม อันเทวดาเนรมิตให้ ระลึกถึง

พระพุทธคุณ เพราะความเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ และเพราะมีแนวทางอันแน่นอน ที่มาแล้วในลักษณะแห่งมนต์ทั้งหลาย

ก่อพระเจดีย์ทรายที่คุ้งน้ำ อันมีน้ำไหลวนแห่งหนึ่ง อุทิศพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ในอดีต ได้เป็นผู้มีความยินดียิ่งในบูชาและสักการะ.

ดาบสทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงถามว่า บูชาสักการะนี้ท่านกระทำเจาะจง

ใคร. เขานำมนต์สำหรับดูลักษณะมาแจกแจงลักษณะของมหาบุรุษ เท่าที่มี

มาในพระคัมภีร์ แจ้งแก่ดาบสเหล่านั้น แล้วตั้งอยู่ในกำลังญาณของตน

ประกาศคุณของพระพุทธเจ้า ตามแบบฉบับแห่งตำราดูมหาปุริสลักษณะ

แม้ดาบสเหล่านั้นฟังดังนั้นแล้ว เป็นผู้มีใจเลื่อมใส จำเดิมแต่นั้น ก็พากัน

บูชาพระสถูป มุ่งเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 91

ก็โดยสมัยนั้น พระโพธิสัตว์พระนามว่า ปทุมุตตระ จุติจากหมู่เทพ

ในสวรรค์ชั้นดุสิต ก้าวลงสู่ครรภ์พระมารดา. พุทธนิมิต ๓๒ ประการ ในภพ

สุดท้ายปรากฏแล้ว และพุทธนิมิตทั้งปวง เป็นอัพภูตธรรมที่น่าอัศจรรย์

ดาบสแสดงพระพุทธนิมิตเหล่านั้นแก่อันเตวาสิกทั้งหลาย เพิ่มพูนความ

เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย แก่ดาบสเหล่านั้น เหลือประมาณ

กระทำกาละแล้ว บังเกิดในพรหมโลก เมื่อดาบสเหล่านั้นกำลังทำการบูชา

สรีระของตนอยู่ ก็มาปรากฏร่าง แล้วกล่าวว่า เราคืออาจารย์ของท่านทั้งหลาย

ไปบังเกิดในพรหมโลก ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท หมั่นประกอบการ

บูชาพระเจดีย์ทราย และจงหมั่นขวนขวายในการเจริญภาวนา ดังนี้แล้ว กลับ

ไปสู่พรหมโลก.

เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอยู่อย่างนี้ เกิดในตระกูล

คฤหบดี พระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ เพราะเหตุที่เขาเจริญด้วย

สิริสมบัติในตระกูลนั้น นับจำเดิมแต่วันที่เกิดแล้ว คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อเขาว่า

สิริมา ดังนี้. ในเวลาที่เขาเดินได้ น้องชายก็เกิด คนทั้งหลายก็ตั้ง

ชื่อน้องชายว่า สิริวัฑฒ์ โดยกล่าวว่า เด็กคนนี้ ยังสิริให้เจริญเกิดแล้ว.

แม้ทารกทั้งสองนั้น ก็เห็นพุทธานุภาพ ในคราวที่พระองค์ทรงรับพระวิหาร

ชื่อว่า เชตวัน เป็นผู้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว. ในพระเถระ ๒ รูปนั้น พระสิริ-

วัฑฒเถระ ยังไม่ได้บรรลุอุตริมนุสธรรมก่อน แต่เป็นผู้ได้ปัจจัย ๔ เป็นปกติ

เป็นผู้อันคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายสักการะเคารพแล้ว ส่วนพระสิริมาเถระ

จำเดิมแต่เวลาที่บวชแล้ว เป็นผู้มีลาภน้อย เพราะมีกรรมมาตัดรอน เช่นนั้น

แต่เป็นผู้อันชนส่วนใหญ่ยกย่องนับถือ กระทำกรรมในสมถะและวิปัสสนา

ทั้งหลาย แล้วเป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์

ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 92

เราเป็นดาบส ชื่อว่า เทวละ อาศัยอยู่ที่ภูเขา

หิมพานต์ ที่จงกรมของเรา เป็นที่อันเทวดาเนรมิตให้

ณ ภูเขานั้น ครั้งนั้น เรามุ่นมวยผม สะพายคนโทน้ำ

เมื่อจะแสวงหาประโยชน์อันสูงสุด ได้ออกจากป่าใหญ่

ไป ครั้งนั้น ศิษย์ ๘๔,๐๐๐คนอุปัฏฐากเรา เขาทั้งหลาย

ขวนขวายเฉพาะกรรมของตน อยู่ในป่าใหญ่ เราออก

จากอาศรม ก่อพระเจดีย์ทรายแล้ว รวบรวมเอาดอกไม้

นานาชนิดมาบูชาพระเจดีย์นั้น เรายังจิตให้เลื่อมใส

ในพระเจดีย์นั้น แล้วเข้าสู่อาศรม พวกศิษย์ได้มา

ประชุมพร้อมกันทุกคนแล้ว ถามถึงข้อความนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ สถูปที่ท่านนมัสการก่อด้วยทราย

แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็อยากจะรู้ ท่านอันข้าพเจ้า

ทั้งหลายถามแล้ว ขอจงบอกแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย.

เราตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีพระจักษุ

มียศใหญ่ ท่านทั้งหลายได้พบแล้ว ในบทมนต์ของเรา

มิใช่หรือ เรานมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด มี

ยศใหญ่เหล่านั้น ศิษย์เหล่านั้นได้ถามอีกว่า พระ-

พุทธเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่ รู้เญยยธรรมทั้งปวง ทรง

เป็นผู้นำโลกเหล่านั้น เป็นเช่นไร มีคุณเป็นอย่างไร

มีศีลเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าผู้มียศใหญ่เหล่านั้น มี

ศีลเป็นดังฤา เราได้ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมี

พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีพระทนต์ครบ

๔๐ ทัศ มีดวงพระเนตรดังตาแห่งโค และเหมือนผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 93

มะกล่ำ อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้น เมื่อเสด็จดำเนิน

ไป ก็ย่อมทอดพระเนตรดูเพียงชั่วแอก พระชานุของ

พระองค์ไม่ลั่น ใคร ๆ ไม่ได้ยินเสียงที่ต่อ อนึ่ง พระ

สุคตทั้งหลาย เมื่อเสด็จดำเนินไป ย่อมไม่รีบร้อน

เสด็จดำเนินไป ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน นี้เป็น

ธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และพระพุทธเจ้า

เหล่านั้น เป็นผู้ไม่หวาดกลัว เปรียบเหมือนไกรสร

มฤคราช ฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่ทรงยก

พระองค์ และไม่ทรงข่มขี่สัตว์ทั้งหลาย ทรงหลุดพ้น

จากการถือตัว และดูหมิ่น ทรงเป็นผู้มีพระองค์เสมอ

ในสัตว์ทั้งปวง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่ทรงยก

พระองค์ นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

และพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อเสด็จอุบัติขึ้น

พระองค์ทรงแสดงแสงสว่าง ทรงประกาศวิการ ๖

ทั่วพื้นแผ่นดินนี้ทั้งสั้น ทั้งพระองค์ทรงเห็นนรกด้วย

ครั้งนั้นไฟนรกดับ มหาเมฆยังฝนให้ตก นี้เป็นธรรมดา

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มหานาถะ

เหล่านั้นเป็นเช่นนี้ พระพุทธเจ้าผู้มียศใหญ่เหล่านั้น

ไม่มีใครเทียบเท่า พระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้มี

พระคุณหาประมาณมิได้ ใคร ๆ ไม่เกินพระองค์โดย

เกียรติคุณ.

ศิษย์ทุกคนเป็นผู้มีความเคารพ ชื่นชมถ้อยคำ

ของเรา ต่างได้ปฏิบัติเช่นนั้น ตามสติกำลัง พวกเขามี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 94

ความเพลิดเพลินในกรรมของตน เชื่อฟังถ้อยคำของ

เรา มีฉันทะอัธยาศัย น้อมไปในความเป็นพระพุทธเจ้า

พากันบูชาพระเจดีย์ทราย ในกาลนั้น เทพบุตรผู้มี

ยศใหญ่ จุติจากชั้นดุสิต บังเกิดในพระครรภ์ของ

พระมารดา หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว เรายืนอยู่ในที่

จงกรมไม่ไกลอาศรม ศิษย์ทุกคนได้มาประชุมพร้อม

กันในสำนักของเรา ถามว่า แผ่นดินบันลือลั่น ดุจ

โคอุสภะ คำรนดุจมฤคราช ร้องดุจจระเข้ จักมีผล

เป็นอย่างไร ? เราตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์ใดที่เราประกาศ ณ ที่ใกล้พระสถูป คือ

กองทราย บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีโชค เป็น

ศาสดาพระองค์นั้น เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา

แล้ว.

เราแสดงธรรมแก่พวกศิษย์เหล่านั้นแล้ว กล่าว

สดุดีพระมหามุนี ส่งศิษย์ของตนไปแล้ว นั่งขัดสมาธิ

และกำลังของเราก็สิ้นไป ด้วยความเจ็บไข้อย่างหนัก

เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดพระองค์นั้น

ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้นเอง ครั้งนั้น ศิษย์ทุกคนพร้อมกัน

ทำเชิงตะกอนแล้ว ยกซากศพของเราขึ้นเชิงตะกอน

พวกเขาล้อมเชิงตะกอน ประนมอัญชลีเหนือเศียร

อันลูกศรคือความโศกครอบงา พากันมาคร่ำครวญ

เมื่อศิษย์เหล่านั้น พิไรรำพันอยู่ เราได้ไปใกล้เชิง-

ตะกอน สั่งสอนพวกเขาว่า เราคืออาจารย์ของท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 95

ดูก่อนท่านผู้มีปัญญาดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้

เศร้าโศกเลย ท่านทั้งหลายไม่ควรเป็นผู้เกียจคร้าน

ควรพยายามในประโยชน์ของตน ทั้งกลางคืนและ

กลางวัน ท่านทั้งหลายอย่าได้ประมาท ควรทำขณะ

เวลาให้ถึงเฉพาะ เราพร่ำสอนศิษย์ของตนแล้วกลับไป

ยังเทวโลก เราได้อยู่ในเทวโลกถึง ๑๘ กัป ได้เป็น

พระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และได้เสวยสมบัติใน

เทวโลกเกิน ๕๐๐ ครั้ง ในกัปที่เหลือเราได้ท่องเที่ยว

ไปอย่างสับสน แต่ก็ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง

การก่อเจดีย์ทราย ในเดือนที่ดอกโกมุทบาน ต้นไม้

เป็นอันมากต่างก็ออกดอกบาน ฉันใด เราเป็นผู้อัน

พระศาสดาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ให้บานแล้วในสมัย

ฉันนั้นเหมือนกัน ความเพียรของเรานำธุระน้อยใหญ่

ไป นำมาซึ่งธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ เราตัด

กิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ

อยู่ ในกัปที่แสน แต่ภัทรกัปนี้ เราได้สรรเสริญพระ-

พุทธเจ้าใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ . เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว

ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว

ดังนี้.

ก็ภิกษุและสามเณรทั้งหลายผู้เป็นปุถุชน ไม่รู้ว่าท่านพระสิริมาเถระ

ผู้มีอภิญญา ๖ เป็นพระอริยะจึงไม่ยกย่อง จะพูดคุยอะไรกัน ก็พากันตำหนิ

เพราะความที่ท่านเป็นผู้มีลาภน้อย โดยที่ชาวโลกไม่สนใจ. แต่เมื่อจะยกย่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 96

ก็พากันสรรเสริญพระสิริวัฑฒเถระ เพราะความที่ท่านเป็นผู้อันชาวโลก

เคารพนับถือ โดยความที่ท่านเป็นผู้มีปัจจัยลาภ. พระเถระคิดว่า ธรรมดาผู้ที่

ควรตำหนิ กลับมีผู้กล่าวสรรเสริญ และผู้ที่ควรสรรเสริญกลับถูกกล่าวตำหนิ

นี้พึงเป็นโทษของความเป็นปุถุชน ดังนี้ เมื่อจะตำหนิความเป็นปุถุชน จึง

ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ถ้าตนมีจิตไม่ตั้งมั่น ถึงชนเหล่าอื่นจะสรรเสริญ

ชนเหล่าอื่นก็สรรเสริญเปล่า เพราะตนมีจิตไม่ตั้งมั่น

ถ้าตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ถึงชนเหล่าอื่นจะติเตียน ชน

เหล่าอื่นก็ติเตียนเปล่า เพราะตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเร ความว่า คนอื่นจากตน ชื่อว่า คนอื่น

ก็คนพาลทั้งหลายที่นอกจากบัณฑิต ท่านประสงค์เอาว่า เป็นคนอื่นในคาถานี้

อธิบายว่า แม้จะสรรเสริญก็เหมือนตำหนิไม่เป็นประมาณ เพราะคนเหล่านั้น

กล่าวโดยไม่รู้ คือ โดยไม่ตรึกตรอง. บทว่า น แปลว่า ซึ่งบุคคลนั้น.

บทว่า ปสสนฺติ ความว่า อีกอย่างหนึ่ง คนเหล่าอื่น

ชมเชยบุคคลผู้ไม่มีจริง ไม่เป็นจริงนั่นแหละ โดยยกย่องคุณที่ไม่มีจริงไม่

เป็นจริง ว่า ภิกษุชื่อโน้น เป็นผู้ได้ฌาน หรือว่าเป็นพระอริยะ เพราะความไม่รู้

หรือเพราะความเป็นผู้มีตัณหาวิบัติ. ก็ ศัพท์ที่มีอยู่ในคาถานี้นั้น มีการ

น้อมเข้ามาในตนเป็นอรรถ. ด้วย ศัพท์นั้น ท่านแสดงความนี้ว่า ก็คน

เหล่าอื่นย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น ก็แลการสรรเสริญนั้น เป็นเพียงการสรรเสริญ

ของคนเหล่านั้น แต่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสรรเสริญ ในบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น

นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 97

บทว่า อตฺตา เจ อสมาหิโต ความว่า บุคคลเหล่าอื่นย่อมสรรเสริญ

บุคคลใด ถ้าบุคคลนั้นคือตนนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น คือไม่ประกอบไปด้วยมรรคสมาธิ

ผลสมาธิ หรือเพียงอุปจารสมาธิและอัปปมาสมาธิเท่านั้น อธิบายว่า ถ้าตน

เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน คือมีจิตหมุนไปผิด เพราะความที่กิเลสทั้งหลาย อันเป็น

ปฎิปักษ์ต่อความตั้งใจมั่น อันตนยังละไม่ได้ ก็พระเถระแสดงความไม่มีคุณ

คือ สมาธินิมิต ด้วยบทว่า อสมาหิโต นี้.

บทว่า โมฆ แสดงถึงภาวะของนปุงสกลิงค์ ดุจในประโยคมีอาทิว่า

วิสม จนฺทิมสุริยา ปริวตฺตนฺติ พระจันทร์และพระอาทิตย์ ย่อมหมุนไป

ไม่เสมอกัน.

บทว่า ปเร ปสสนฺติ ความว่า คนเหล่าใดย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น

คือคนที่มีจิตไม่ตั้งมั่น คนเหล่านั้นย่อมสรรเสริญเป็นโมฆะ คือเปล่า ได้แก่

หามูลมิได้. เพราะเหตุไร ? เพราะคนมีจิตไม่ตั้งมั่น อธิบายว่า เพราะเหตุ

ที่จิตของบุคคลนั้นไม่ตั้งมั่น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สองดังต่อไปนี้ บทว่า ครหนฺติ ความว่า

ย่อมติเตียน คือนินทา ได้แก่ กล่าวโทษพระอริยเจ้า และบุคคลผู้ได้ฌาน

เพราะความไม่รู้ของตน หรือเพราะความมุ่งร้าย โดยการชี้แจงถึงความเป็นผู้

ไม่ประพฤติปฏิบัติ หรือโดยมุ่งทำลายคุณ โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุชื่อโน้น ไม่

หมั่นประกอบความเพียร โดยที่สุดแม้เพียงชั่วเวลารีดนมโค มากไปด้วยการ

ปรนเปรอร่างกาย ยินดีในการนอนหลับ ยินดีในการพูดสิ่งที่ไร้ประโยชน์

ยินดีด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะอยู่ ดังนี้. คำที่เหลือพึงทราบโดยปริยาย ที่

ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในคาถาที่ ๑. เมื่อพระเถระประกาศความที่ตนเป็นผู้หมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 98

กิเลส และความที่พระสิริวัฑฒเถระยังมีกิเลส ด้วยคาถาเหล่านี้อย่างนี้แล้ว

พระสิริวัฑฒเถระฟังคำเป็นคาถานั้นแล้ว เกิดความสลดใจ เริ่มตั้งวิปัสสนา

ยังประโยชน์ตนให้บริบูรณ์แล้วต่อกาลไม่นานนัก และบุคคลผู้ติเตียนทั้งหลาย

ก็ยังพระเถระให้อดโทษแล้ว.

จบอรรถกถาสิริมาเถรคาถา

จบวรรควรรณนาที่ ๒

ในอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี

ในวรรคนี้ รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ

๑. พระมหาจุนทเถระ ๒. พระโชติทาสเถระ ๓. พระเหรัญญกานิ

เถระ ๔. พระโสมมิตตเถระ ๕. พระสัพพมิตตเถระ ๖. พระมหากาฬเถระ

๗. พระติสสเถระ ๘. พระกิมพิลเถระ ๙. พระนันทเถระ ๑๑. พระสิริมา-

เถระ และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 99

เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๓

๑. อุตตรเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุตตรเถระ

[๒๗๘] ได้ยินว่า พระอุตตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ขันธ์ทั้งหลาย เรากำหนดรู้แล้ว ตัณหาเราถอน

ขึ้นแล้ว โพชฌงค์เราเจริญแล้ว ความสิ้นไปแห่ง

อาสวะเราบรรลุแล้ว ครั้นเรากำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลาย

แล้ว ถอนข่ายคือตัณหาได้แล้ว ยังโพชฌงค์ให้เจริญ

แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพาน.

วรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาอุตตรเถรคาถา

คาถาของท่านพระอุตตรเถระเริ่มต้นว่า ขนฺธา มยา ปริญฺาตา.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ เข้าไปสั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ

เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 100

สิทธัตถะ ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัตรกัปนี้ บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว ได้เป็นผู้มีความ

เลื่อมใสในพระศาสดา ประกาศตนเป็นอุบาสกแล้ว เรียกบรรดาผู้เป็นญาติของ

ตนมาประชุมกัน รวบรวมบูชาสักการะเป็นอันมาก กระทำการบูชาพระ

ธาตุแล้ว.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

ในตระกูลพราหมณ์ เมืองสาเกต ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า อุตตระ

เจริญวัยแล้ว ไปสู่พระนครสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางประการเห็นยมกปาฎิหาริย์

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำแล้ว ที่โคนไม้คัณฑามพฤกษ์ (ต้นมะม่วง)

เลื่อมใสแล้ว เป็นผู้เจริญศรัทธายิ่งขึ้น ด้วยเทศนากาฬการามสูตร บวชแล้ว

ไปสู่พระนครราชคฤห์กับพระศาสดา อยู่ที่พระนครราชคฤห์นั่นแหละ เริ่มตั้ง

วิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่

ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เมื่อพระโลกนาถผู้นำของโลก ทรงพระนามว่า

สิทธัตถะ ปรินิพพานแล้ว เราได้นำพวกญาติของเรา

มาทำการบูชาพระธาตุ. ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้

เราได้บูชาพระธาตุใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระธาตุ. เราเผากิเลส

ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา

กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว เมื่อพระศาสดาเสด็จประทับอยู่

ในพระนครสาวัตถี ก็ออกจากกรุงราชคฤห์ไปพระนครสาวัตถี เพื่อจะทำพุทธ-

อุปัฏฐาก อันภิกษุทั้งหลายถามว่า ดูก่อนอาวุโส กิจแห่งบรรพชิตอันท่านให้

ถึงที่สุดแล้วหรือ ? เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา

ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 101

ขันธ์ทั้งหลายเรากำหนดรู้แล้ว ตัณหาเราถอน

ขึ้นแล้ว โพชฌงค์เราเจริญแล้ว ความสิ้นไปแห่ง

อาสวะเราบรรลุแล้ว ครั้นเรากำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลาย

แล้ว ถอนข่าย คือตัณหาได้แล้ว ยังโพชฌงค์ให้เจริญ

แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพาน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนฺธา ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕. บทว่า

ปริญฺาตา ความว่า กำหนดรู้ คือยังทุกขสัจให้เจริญแล้วว่า นี้ทุกข์ ทุกข์

ยิ่งไปกว่านี้ไม่มี ดังนี้. ด้วยบทว่า ปริญฺาตา นั้น ท่านกล่าวหมายถึงการ

ตรัสรู้ โดยการกำหนดรู้ทุกขอริยสัจ.

บทว่า ตณฺหา ความว่า กิเลสชาติ ชื่อว่าตัณหา เพราะอรรถว่า

สะดุ้ง คือหวั่นไหว. บทว่า สุสมูหตา แปลว่า อันเราเพิกถอนขึ้นแล้ว

พระเถระกล่าวถึงการตรัสรู้ ด้วยการละสมุทัยสัจด้วยบทว่า สุสมูหตา นั้น.

บทว่า ภาวิตา มม โพชฺฌงฺคา ความว่า ธรรม ๗ ประการชื่อว่า

โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งธรรมสามัคคี มีสติเป็นต้น กล่าวคือธรรมเป็น

เครื่องตรัสรู้ หรือเพราะเป็นองค์แห่งพระอริยบุคคล ผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรม

สามัคคีนั้น คือที่ท่านกล่าวว่าธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้. ธรรมทั้งหลายอันนับ

เนื่องแล้วในมรรคกล่าวคือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิและ

อุเบกขา อันเราเจริญแล้ว คือให้เกิดแล้ว ได้แก่ เพิ่มพูนแล้ว. ก็ในคาถานี้

พึงทราบว่า ธรรมในองค์มรรคทั้งปวงก็ดี โพธิปักขิยธรรมทั้งหมดก็ดี พึง

ทราบว่า ท่านถือเอาแล้ว ด้วยศัพท์ว่าโพชฌังคะ เพราะเป็นประเภทธรรมที่

ไปร่วมกับโพชฌงค์นั้น. พระเถระแสดงความถึงพร้อมเฉพาะซึ่งภาวนา แห่ง

มรรคสัจด้วยบทว่า ภาวิตา มม โพชฺฌงฺคา นี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 102

บทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย ความว่า อสังขตธรรม อันได้

นามว่า อาสวักขยะ เพราะเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้น

อันเราถึงแล้ว คือบรรลุแล้ว. พระเถระกล่าวความถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งการ

ทำให้แจ้งนิโรธสัจ ด้วยบทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย นี้. พระเถระ

แสดงสมบัติคือ สอุปาทิเสสนิพพานของตน ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

ก็บัดนี้ พระเถระ เมื่อจะแสดงสมบัติคืออนุปาทิเสสนิพพาน จึงกล่าว

คาถาที่ ๒ ด้วยคำมีอาทิว่า โสห ดังนี้.

คาถาที่ ๒ นั้น มีอธิบายดังนี้ เรานั้น รู้แล้ว คือ กำหนดรู้ขันธ์

ทั้งหลาย โดยนัยดังกล่าวแล้วอย่างนี้ และเมื่อกำหนดรู้อย่างนั้นแล้ว จึงถอน

คือยกขึ้นซึ่งตัณหาอันได้นามว่า ชาลินี เพราะมีข่ายกล่าวคือความเกิดบ่อย ๆ

มีอาการร้อยรัดเหล่าสัตว์ไว้ ในอัตภาพของตนและอัตภาพของคนอื่น ใน

อายตนะภายในและอายตนะภายนอก อันต่างโดยประเภทมีอดีตเป็นต้น จาก

จิตสันดานของเรา เมื่อยกข่ายคือตัณหานั้นขึ้นได้อย่างนั้น ก็ยังโพชฌงค์มี

ประเภทดังกล่าวแล้วให้เจริญ คือยังโพชฌงค์เหล่านั้นให้ถึงความบริบูรณ์ด้วย

ภาวนา ต่อแต่นั้นไป จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะตั้งอยู่แล้ว บัดนี้ เราจักนิพพาน

คือจักดับรอบ ด้วยการดับแห่งจิตดวงสุดท้าย เหมือนเปลวไฟหมดเชื้อดับไป

ฉะนั้น.

จบอรรถกถาอุตตรเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 103

๒. ภัททชิเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระภัททชิเถระ

[๒๗๙] ได้ยินว่า พระภัตทชิเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

พระเจ้าปนาทะมีปราสาททอง กว้างโยชน์กึ่ง

สูง ๒๕ โยชน์ มีชั้นพันชั้น ร้อยพื้น สล้างสลอน

ไปด้วยธง แวดล้อมไปด้วยแก้วมณี สีเขียวเหลือง

ในปราสาทนั้น มีคนธรรพ์ ประมาณ ๖,๐๐๐ แบ่ง

เป็น ๗ พวก พากันฟ้อนรำอยู่.

อรรถกถาภัททชิเถรคาถา

คาถาของท่านพระภัททชิเถระ เริ่มต้นว่า ปนาโท นาม โส ราชา.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเถระนี้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว เรียนจบศิลปวิทยา

ของพราหมณ์ทั้งหลาย ละกามทั้งหลายแล้ว บวชเป็นดาบส ให้เขาสร้างอาศรม

อยู่ที่ชัฎป่า วันหนึ่ง เห็นพระศาสดาเสด็จไปโดยอากาศ เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ยืน

ประคองอัญชลีอยู่. พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของดาบสแล้ว เสด็จลงจาก

อากาศ. ดาบสน้อมเอาน้ำผึ้ง เหง้าบัว เนยใส และน้ำนม เข้าไปถวายแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์ดาบส จึง

ทรงรับไว้ตรัสอนุโมทนา แล้วเสด็จหลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 104

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในภพดุสิต ดำรงอยู่ในดุสิตพิภพนั้นจน

ตลอดอายุ แต่นั้นก็ท่องเที่ยววนไปเวียนมาอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น (เกิด)

เป็นเศรษฐี มีทรัพย์มาก ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า

วิปัสสี ยังภิกษุสงฆ์ ๖๘.๐๐๐ ให้ฉันภัตตาหาร แล้วให้ครองไตรจีวร.

เขาบำเพ็ญกุศลเป็นอันมากอย่างนี้แล้ว บังเกิดในเทวโลก ดำรงอยู่

ในเทวโลกนั้นจนตลอดอายุ จุติจากเทวโลกนั้นแล้วบังเกิดในมนุษย์ เมื่อโลก

ว่างจากพระพุทธเจ้า ก็บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า ประมาณ ๕๐๐ ด้วยปัจจัย

๔ จุติจากมนุษยโลกแล้ว บังเกิดในราชตระกูล สืบราชสมบัติมาโดยลำดับ

บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า (ของพระองค์) ผู้บรรลุปัจเจกโพธิญาณดำรงอยู่แล้ว

เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เก็บพระธาตุมาก่อพระเจดีย์บูชา เขา

กระทำบุญนั้น ๆ ไว้ในภพนั้น ๆ อย่างนี้แล้ว เกิดเป็นบุตรคนเดียวของ

ภัตทิยเศรษฐี ผู้มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในภัตทิยนคร ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้

มีนามว่า ภัททชิ ได้ยินมาว่า อิสริยสมบัติ โภคสมบัติ และบริวารสมบัติ

เป็นต้นของท่าน ได้มีเหมือนของพระโพธิสัตว์ในภพสุดท้าย.

ในครั้งนั้น พระศาสดาทรงจำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี เสด็จไป

ภัททิยนคร พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เพื่อจะทรงสงเคราะห์ภัททชิกุมาร

ทรงคอยความแก่กล้าแห่งญาณ ของภัททชิกุมาร จึงประทับอยู่ ณ ชาติยาวัน.

แม้ภัททชิกุมาร นั่งอยู่บนปราสาทชั้นบน เปิดสีหบัญชรมองดู เห็นมหาชน

เดินทางไปฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงถามว่า มหาชนกลุ่ม

นี้ไปที่ไหน ? ทราบเหตุนั้นแล้ว ไปสู่สำนักของพระศาสดา ด้วยบริวารเป็น

อันมาก แม้เอง ฟังธรรมอยู่ ทั้ง ๆ ที่ประดับประดาไปด้วยอาภรณ์ทั้งปวง

ยังกิเลสทั้งมวลให้สิ้นไป บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน

กล่าวไว้ในอปทานว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 105

ครั้งนั้น เราลงสู่สระโบกขรณี ที่ช้างนานาชนิด

เสพแล้ว ถอนเหง้าบัวในสระน้ำ เพราะเหตุจะกิน

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุ-

มุตตระ ผู้ตื่นแล้ว ทรงผ้ากัมพลสีแดง สลัดผ้าบังสุกุล

เหาะไปในอากาศ เวลานั้น เราได้ยินเสียงจึงแหงน

ขึ้นไปดู ได้เห็นพระผู้นำโลก เรายืนอยู่ในสระโบก-

ขรณีนั่นแหละ ได้ทูลอ้อนวอนพระผู้นำโลกว่า น้ำผึ้ง

กำลังไหลออกจากเกษรบัว น้ำนมและเนยใส กำลัง

ไหลจากเหง้าบัว ขอพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาจักษุ โปรด

ทรงรับเพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์เถิด ลำดับนั้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ศาสดา ทรงประกอบด้วยพระ-

กรุณา มียศใหญ่ มีพระปัญญาจักษุ เสด็จลงจากอากาศ

มารับภิกษาของเรา เพื่อความอนุเคราะห์ ครั้นแล้ว

ได้ทรงทำอนุโมทนาแก่เราว่า ดูก่อนท่านผู้มีบุญใหญ่

ท่านจงเป็นผู้มีความสุขเถิด คติจงสำเร็จแก่ท่านด้วยการ

ให้เหง้าบัวเป็นทานนี้ ท่านจงได้สุขอันไพบูลย์เถิด

ครั้นพระสัมพุทธชินเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ตรัส

ฉะนี้แล้ว ได้ทรงรับภิกษา แล้วเสด็จไปในอากาศ

ลำดับนั้น เราเก็บเหง้าบัวจากสระนั้น กลับมายังอาศรม

วางเหง้าบัวไว้บนต้นไม้ ระลึกถึงทานของเรา ครั้งนั้น

ลมพายุใหญ่ตั้งขึ้นแล้ว พัดเป่าให้สั่นสะเทือน อากาศ

ดังลั่นในเมื่อฟ้าผ่า ลำดับนั้น อสนีบาตได้ตกลงมาบน

ศีรษะของเรา ในกาลนั้น เราก็นั่งตายอยู่ ณ ที่นั้นเอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 106

เราเป็นผู้ประกอบด้วยบุญกรรม เข้าถึงสวรรค์ชั้นดุสิต

ซากศพของเราตกไป ส่วนเรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลก

นางเทพอัปสร ๘๔,๐๐๐ นาง ล้วนประดับประดาสวย-

งาม ต่างก็บำรุงเราทุกเช้าเย็น นี้เป็นผลแห่งการถวาย

เหง้าบัว ครั้งนั้น เรามาสู่กำเนิดมนุษย์ เป็นผู้ถึงความสุข

ความบกพร่องในโภคทรัพย์ไม่มีแก่เราเลย นี้เป็นผล

แห่งการถวายเหง้าบัว เราอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผู้ประเสริฐกว่าทวยเทพ ผู้คงที่ พระองค์นั้นทรงอนุ-

เคราะห์แล้ว จึงเป็นผู้สิ้นอาสวะทั้งปวง บัดนี้ภพใหม่

ไม่มีอีก ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายเหง้าบัว

ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายเหง้าบัวนั้น เราไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว. เราเผากิเลส

ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำ

สำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็เมื่อภัททชิกุมารนั้น บรรลุพระอรหัตแล้ว พระศาสดาตรัสเรียก

ภัททิยเศรษฐีมาว่า บุตรของท่าน ประดับตกแต่งแล้ว ฟังธรรมอยู่ ตั้งอยู่ใน

พระอรหัตแล้ว ด้วยเหตุนั้น การบวชของภัททชิกุมารนั้น ในบัดนี้เท่านั้น

สมควรแล้ว ถ้าไม่บวช จักต้องปรินิพพาน ดังนี้. ท่านเศรษฐี กราบทูลว่า

เมื่อบุตรของข้าพระองค์ยังเล็กอยู่เช่นนี้ ยังไม่ควรปรินิพพาน ขอพระองค์จง

ทรงยังเขาให้บวชเถิด พระศาสดาทรงยังภัททชิกุมารให้บรรพชาแล้วให้อุปสมบท

เสด็จประทับอยู่ในภัททิยนครนั้นตลอด ๗ วัน แล้วเสด็จถึงโกฏิคาม ก็บ้าน

(โกฏิคาม) นั้นอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา ชาวบ้านโกฏิคาม บำเพ็ญมหาทานถวาย

ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 107

พระภัททชิเถระ พอเมื่อพระศาสดาทรงปรารภเพื่อจะทรงกระทำอนุ-

โมทนา ก็ออกไปนอกบ้าน คิดว่า เราจักออกจากสมาบัติ ในเวลาที่พระศาสดา

เสด็จมาใกล้ทางที่ฝั่งน้ำคงคา แล้วนั่งเข้าสมาบัติ. แม้เมื่อพระมหาเถระทั้งหลาย

มาถึงก็ยังไม่ออกจากสมาบัติ ในเวลาที่พระศาสดาเสด็จมาแล้วนั่นแหละจึงออก

ภิกษุผู้เป็นปุถุชนทั้งหลาย พากันกล่าวยกโทษว่า พระภัททชินี้ บวชได้ไม่นาน

เมื่อพระมหาเถระทั้งหลายมาถึง กลับเป็นผู้กระด้างเพราะมานะ ไม่ยอมออกจาก

สมาบัติ พวกชาวโกฏิคาม ผูกเรือขนานจำนวนมากเพื่อพระศาสดาและภิกษุสงฆ์

พระศาสดาทรงพระดำริว่า เอาเถิด เราจักประกาศอานุภาพของพระภัททชิเถระ

ดังนี้แล้ว ประทับยืนบนเรือขนาน ตรัสถามว่า ภัททชิอยู่ไหน ? พระภัทท-

ชิเถระ ขานรับว่า ข้าพระองค์ภัททชิอยู่นี่พระพุทธเจ้าข้า แล้วเข้าไปเฝ้าพระ

ศาสดา ประนมมือยืนอยู่แล้ว พระศาสดาตรัสว่า มาเถิดภัททชิ ท่านจงขึ้น

เรือลำเดียวกันกับเรา พระภัททชิเถระ เหาะขึ้นแล้วไปยืนอยู่ในเรือลำที่พระ-

ศาสดาประทับ ในเวลาที่เรือไปถึงกลางแม่น้ำคงคา พระศาสดาตรัสว่า

ภัททชิ รัตนปราสาทที่เธอเคยอยู่ในเวลาที่เธอเป็นพระราชามีนามว่า มหาปนาทะ

อยู่ตรงไหน ? พระภัททชิเถระกราบทูลว่า จมอยู่ในที่นี้พระเจ้าข้า. ตรัสว่า

ภัททชิ ถ้าเช่นนั้น เธอจงตัดความสงสัยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย.

ในขณะนั้น พระเถระ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ไปด้วยกำลังฤทธิ์

ยกยอดปราสาทขึ้นด้วยหัวแม่เท้าแล้วชะลอปราสาท สูง ๒๕ โยชน์ เหาะขึ้น

บนอากาศ และเมื่อเหาะขึ้นได้ ๕๐ โยชน์ ก็ยกปราสาทขึ้นพ้นจากน้ำ ลำดับนั้น

ญาติทั้งหลายในภพก่อนของท่าน เกิดเป็นปลาเป็นเต่าและเป็นกบ ด้วยความ

โลภอันเนื่องอยู่ในปราสาท เมื่อปราสาทนั้น ถูกยกขึ้นก็หล่นตกลงไปในน้ำ

พระศาสดาเห็นสัตว์เหล่านั้นตกลงไป จึงตรัสว่า ภัททชิ ญาติทั้งหลายของเธอ

จะลำบาก. พระเถระจึงปล่อยปราสาท ตามคำของพระศาสดา ปราสาทกลับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 108

ตั้งอยู่ในที่เดิมนั่นเทียว. พระศาสดาเสด็จถึงฝั่ง อันภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปราสาทนี้ พระภัททชิเถระเคยอยู่เมื่อไร พระเจ้าข้า

จึงตรัสมหาปนาทชาดก แล้วยังมหาชนให้ดื่มน้ำอมฤต คือ พระธรรม. ก็พระ-

เถระครั้นแสดงปราสาททอง อันตนเคยอยู่อาศัยแล้ว พรรณนาด้วยคาถาทั้ง ๒

พยากรณ์พระอรหัตผลว่า

พระเจ้าปนาทะ มีปราสาททอง กว้างโยชน์กึ่ง

สูง ๒๕ โยชน์ มีชั้นพันชั้น ร้อยพื้น สร้างสลอนไป

ด้วยธง แวดล้อมไปด้วยแก้วมณีสีเขียวเหลือง ใน

ปราสาทนั้น มีคนธรรพ์ ประมาณหกพัน แบ่งเป็น

๗ พวก พากันฟ้อนรำอยู่ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปนาโท นาม โส ราชา ความว่า

พระเถระแสดงตนเหมือนคนอื่น เพราะความเป็นผู้มีอัตภาพอันตรธานแล้วว่า

ในอดีตกาลได้มีพระราชาทรงพระนามว่า ปนาทะ อธิบายว่าพระราชาพระ-

องค์นั้นแหละ ปรากฏพระนามว่า พระเจ้ามหาปนาทะ เพราะมีราชานุภาพมาก

และเพราะเป็นผู้ประกอบไปด้วยกิตติศัพท์ อันเกรียงไกรโดยนัยมีอาทิว่า

จำเดิมแต่เสวยราชย์ ทรงมีสมบัติคือพระอุตสาหะทุกเมื่อ ดังนี้.

บทว่า ยสฺส ยูโป สุวณฺณิโย ความว่า ปราสาทสำเร็จด้วยทองนี้

ของพระราชาใด.

บทว่า ตีริย โสฬสุพฺเพโธ ความว่า กว้างประมาณชั่วลูกศรตก

๑๖ ครั้ง ก็ปราสาทนั้นกว้างประมาณกึ่งโยชน์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 109

บทว่า อุจฺจมาหุ สหสฺสธา ความว่า เบื้องบน คือ ส่วนสูงของ

ปราสาทนั้น พันชั้น คือ ประมาณพันช่วงลูกศร ก็ปราสาทนั้นสูงประมาณ

๒๕ โยชน์ ก็ในคาถานี้ อาจารย์บางพวกกล่าวอธิบายว่า เพื่อความสะดวกใน

การประพันธ์คาถาท่านจึงทีฆะอหุเป็นอาหุ ได้รูปเป็นอาหุ.

บทว่า สหสฺสกณฺโฑ ได้แก่ มีชั้นพันชั้น.

บทว่า สตเคณฺฑุ ความว่า มีพื้น (หอคอย) หลายร้อย.

บทว่า ธชาลุ ความว่า สมบูรณ์ด้วยธงที่ติดที่ปลายไม้และธงปฎาก

เป็นต้น ที่เขาปักไว้ที่เนินเขาเป็นต้นนั้น ๆ.

บทว่า หริตามโย ความว่า สำเร็จด้วยทองคำธรรมชาติ. แต่

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คล้ายแก้วมณีสีเขียวสดธรรมชาติ.

บทว่า คนฺธพฺพา ได้แก่ นางฟ้อน.

บทว่า ฉ สหสฺสานิ สตฺตธา ความว่า คนธรรพ์ประมาณ

๖,๐๐๐ แบ่งเป็น ๗ กลุ่ม พากันฟ้อนรำ เพื่อสร้างความอภิรมย์แก่พระราชา

ในที่ทั้ง ๗ แห่ง.

คนธรรพ์เหล่านั้น แม้ร่ายรำอยู่อย่างนี้ ก็ไม่อาจทำพระราชาให้รื่นเริง

ได้ ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงส่งเหล่านางเทพอัปสร ผู้ชำนาญในการ

ร่ายรำ ไปให้แสดงมหรสพ ในครั้งนั้น พระราชาจึงทรงพระสำราญ ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาภัททชิเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 110

๓. โสภิตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโสภิตเถระ

[๒๘๐] ได้ยินว่า พระโสภิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เราเป็นผู้มีสติ มีปัญญา ปรารภความเพียรเป็น

กำลัง ระลึกชาติก่อนได้ ๕๐๐ กัป ดุจคืนเดียว เรา

เจริญสติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ ระลึกชาติ

ก่อนได้ ๕๐๐ กัป ดุจคืนเดียว.

อรรถกถาโสภิตเถรคาถา

คาถาของท่านพระโสภิตเถระ เริ่มต้นว่า สติมา ปญฺวา. เรื่อง

ราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในพระนคร

หงสาวดี ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ

เจริญวัยแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้ง

ภิกษุรูปหนึ่ง ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้บุพเพนิวาส-

ญาณ กระทำความปรารถนามุ่งตำแหน่งนั้น แม้ด้วยตนเอง ท่องเที่ยวไปใน

สุคติภพเท่านั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

พระนามว่า สุเมธะ บรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จ ในภาควิชาการและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 111

ศิลปศาสตร์ของพราหมณ์ทั้งหลาย มีใจน้อมไปในเนกขัมมะ ละฆราวาสวิสัย

แล้วบวชเป็นดาบส ให้เขาสร้างอาศรมไว้ที่ชัฏแห่งป่า ใกล้ภูเขาหิมวันต์ ยัง

อัตภาพให้เป็นไป ด้วยมูลผลาผลในป่า สดับข่าวความบังเกิดขึ้นแห่งพระ

พุทธเจ้า เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ที่ภัททวดีนคร ด้วยการพักอยู่ร่วมกันเพียง

ราตรีเดียวเท่านั้น ก็เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา

๖ คาถา มีอาทิว่า ตุว สตฺถา จ เกตุ จ พระองค์เป็นศาสดา เป็น

จอมเกตุ ดังนี้ และพระศาสดาก็ทรงประกาศยกย่องพระดาบส. ด้วยบุญกรรม

นั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์

พระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. คนทั้งหลายได้ตั้งชื่อเขาว่า โสภิตะ.

โดยสมัยต่อมา เขาฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา

บวชแล้วเจริญวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ และได้เป็นผู้มีวสีอันปฏิบัติ

แล้ว (มีความชำนาญพิเศษ) ในบุพเพนิวาสญาณ. สมดังคาถาประพันธ์ที่

ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า

เราสร้างอาศรมอย่างสวยงามไว้ ณ ทิศทักษิณ

แห่งภูเขาหิมวันต์ ครั้งนั้น เราแสวงหาประโยชน์อัน

สูงสุด จึงอยู่ในป่าใหญ่ เรายินดีด้วยลาภและความ

เสื่อมลาภ คือด้วยเหง้ามันและผลไม้ ไม่เบียดเบียน

ใคร ๆ เที่ยวไป เราอยู่คนเดียว ครั้งนั้น พระสัม

พุทธเจ้า พระนามว่า สุเมธะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วใน

โลก พระองค์กำลังรื้อขนมหาชน ประกาศสัจจะอยู่

เรานี้ได้สดับข่าวพระสัมพุทธเจ้า ถึงใคร ๆ ที่จะบอก

กล่าวให้เรารู้ก็ไม่มี เมื่อล่วงไปได้ ๘ ปี เราจึงได้

สดับข่าวพระนายกของโลก เรานำเอาไฟและฟืนออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 112

ไปแล้ว กวาดอาศรม ถือเอาหาบสิ่งของออกจากป่าไป

ครั้งนั้น เราพักอยู่ในบ้าน และนิคมแห่งละคืน เข้าไป

ใกล้พระนครจันทวดี โดยลำดับ สมัยนั้น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ผู้นำของโลกพระนามว่า สุเมธะ กำลังรื้อขน

เป็นอันมาก ทรงแสดงอมตบท เราได้ผ่านหมู่ชนไป

ถวายบังคมพระชินเจ้า ผู้เสด็จมาดี ทำหนังสัตว์

เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วสรรเสริญพระผู้นำของโลกว่า

พระองค์เป็นพระศาสดา เป็นจอมเกตุ เป็นธงชัยและ

เป็นสายัญของหมู่สัตว์ เป็นที่ยึดหน่วง เป็นที่พึ่ง

และเป็นที่เกาะของหมู่สัตว์ เป็นผู้สูงสุดกว่าประชา.

พระองค์เป็นผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์ในทัสสนะ ทรง

ช่วยประชุมชนให้ข้ามพ้นไปได้ ข้าแต่พระมุนี ผู้อื่น

ที่จะช่วยให้สัตว์ข้ามพ้นไปได้ ยิ่งกว่าพระองค์ไม่มีใน

โลก สาครแสนลึกที่สุด ก็พึงอาจที่จะประมาณได้

ด้วยปลายหญ้าคา ข้าแต่พระสัพพัญญู ส่วนพระญาณ

ของพระองค์ ใคร ๆ ไม่อาจประมาณได้เลย แผ่นดิน

ก็อาจที่จะวางในตราชั่งแล้วกำหนดได้ ข้าแต่พระองค์

ผู้มีจักษุ แต่สิ่งที่เสมอกับพระปัญญาของพระองค์ไม่

มีเลย อากาศก็อาจจะวัดได้ด้วยเชือกและนิ้วมือ ข้า

แต่พระสัพพัญญู ส่วนศีลของพระองค์ใคร ๆ ไม่อาจ

จะประมาณได้เลย น้ำในมหาสมุทร อากาศและพื้น

ภูมิภาค ๓ อย่างนี้ ประมาณเอาได้ ข้าแต่พระองค์

ผู้มีจักษุ พระองค์ย่อมเป็นผู้อันใคร ๆ จะประมาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 113

เอาไม่ได้ เรากล่าวสรรเสริญพระสัพพัญญู ผู้มีพระ

ยศใหญ่ ด้วยคาถา ๖ คาถาแล้ว ประนมกรอัญชลี

ยืนนิ่งอยู่ในเวลานั้น พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาเสมอ

ด้วยแผ่นดินเป็นเมธีชั้นดี เขาขนานพระนามว่าสุเมธะ

ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระ-

คาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดมีใจเลื่อมใส ได้กล่าวสรรเสริญ

ญาณของเรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง

เรากล่าว ผู้นี้จะรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๓๗ กัป จักเป็น

จอมเทวดาเสวยราชสมบัติอยู่ในเทวโลก ๑,๐๐๐ ครั้ง

จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเกิน ๑๐๐ ครั้ง และจักได้

เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้

เขาเป็นเทวดาหรือมนุษย์ จักเป็นผู้ตั้งมั่นในบุญกรรม

จักเป็นผู้มีความดำริแห่งใจไม่บกพร่อง มีปัญญากล้า

ในสามหมื่นกัป พระศาสดาทรงพระนามว่า โคตมะ

ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้น

ในโลก ผู้นี้จักไม่มีความกังวล ออกบวชเป็นบรรพชิต

จักบรรลุพระอรหัต แต่อายุ ๗ ขวบ ในระหว่างที่เรา

ระลึกถึงตน และได้บรรลุศาสนธรรม เจตนาที่ไม่น่า

รื่นรมย์ใจ เราไม่รู้จักเลย เราท่องเที่ยวไปเสวยสมบัติ

ในภพน้อยภพใหญ่ ความบกพร่องในโภคทรัพย์ ไม่มี

แก่เราเลย นี้เป็นผลในการสรรเสริญพระญาณ ไฟ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 114

กอง เราดับสนิทแล้ว เราถอนภพทั้งปวงขึ้นหมดแล้ว

เราเป็นผู้สิ้นอาสวะทุกอย่างแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก

ในกัปที่สามหมื่น เราได้สรรเสริญพระญาณใดด้วยการ

สรรเสริญนั้น เราไม่รู้จะจักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ

สรรเสริญพระญาณ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ

คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อระลึกถึงบุพเพนิวาสญาณ

ของตนโดยลำดับ ได้เห็นจนถึงอจิตตกปฏิสนธิ ในอสัญญภพ แต่นั้นก็ไม่

เห็นจิตตประวัติ ตลอด ๕๐๐ กัป เห็นเฉพาะในชาติสุดท้ายเท่านั้น เมื่อ

ตรวจดูอยู่ว่า นี้อะไร 9 จึงเข้าใจว่า จักเป็นอสัญญภพ ด้วยสามารถแห่งนัย

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาผู้มีอายุยืน

ชื่อว่า อสัญญสัตว์มีอยู่ พระโสภิตะ จุติจากอสัญญภพนั้นแล้ว มาบังเกิดใน

ภพนี้ เธอย่อมรู้ภพนั่น โสภิตะ ย่อมระลึกได้ พระศาสดาทรงเห็นความเป็น

ผู้ฉลาดในการระลึกชาติ ของพระเถระผู้ระลึกชาติอยู่ ด้วยสามารถแห่งนัย

อย่างนี้ จึงทรงตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ ของภิกษุผู้ระลึก

บุพเพนิวาสญาณ ก็ต่อแต่นั้นมา ท่านพระโสภิตะนี้พิจารณาบุพเพนิวาสานุสติ-

ญาณ ของตนพร้อมด้วยคุณพิเศษ และข้อปฏิบัติอันเป็นปัจจัยแห่งบุพเพนิ-

วาสานุสติญาณนั้น แล้วเกิดความโสมนัส เมื่อเปล่งอุทานอันแสดงถึงเหตุทั้ง

สองนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

เราเป็นภิกษุผู้มีสติ มีปัญญา ปรารภความเพียร

เป็นกำลัง ระลึกชาติก่อนได้ ๕๐๐ กัป ดุจคืนเดียว

เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ ระลึกชาติ

ก่อนได้ ๕๐๐ กัป ดุจคืนเดียว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 115

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สติมา ความว่า ชื่อว่าผู้มีสติเพราะ

ความบริบูรณ์ด้วยสติปัฏฐานภาวนา และเพราะถึงความไพบูลย์แห่งสติ อันถึง

พร้อมแล้วด้วยกาลเป็นที่ประชุมขึ้นเอง.

บทว่า ปญฺวา ความว่า ชื่อว่าผู้มีปัญญา เพราะความบริบูรณ์

ด้วยอภิญญา ๖ และเพราะถึงความบริบูรณ์ด้วยปัญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ

ทำลายกิเลสได้แล้ว. ภิกษุชื่อว่า มีความเพียร คือพลธรรมอันปรารภแล้ว

เพราะมีพละ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น และความเพียรอันประกอบด้วยสัมมัปปธาน

๔ อย่าง สำเร็จบริบูรณ์ดีแล้ว. อธิบายว่า แม้ถึงสติเป็นต้นจะเป็นพลธรรม

ในคาถานี้ ท่านก็ถือเอาศรัทธาเป็นต้น ด้วยพลศัพท์ เหมือนในประโยคว่า

โคพลิพทฺธา ปุญฺาณสมฺภารา โคพลิพัทธ์ เป็นองค์แห่งบุญและ

ปัญญา.

บทว่า ปญฺจ กปฺปสตานาห เอกรตฺตึ อนุสฺสรึ ความว่า

ระลึกชาติก่อนได้ ๕๐๐ กัป ดุจคืนเดียว ก็วิริยศัพท์ในคาถานี้ แสดงถึงการ

ลบออก ตัดออก พระเถระแสดงความที่ตนเป็นผู้ชำนาญญาณ ในบุพเพนิ-

วาสญาณ ด้วยวิริยศัพท์นี้.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงข้อปฏิบัติ อันเป็นเหตุแห่งความเป็นผู้มีสติเป็นต้น

ของตน และเป็นเหตุให้สำเร็จบุพเพนิวาสญาณอันยอดเยี่ยมนั้น พระเถระจึง

กล่าวคาถาที่ ๒ ด้วยคำมีอาทิว่า จตฺตาโร ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้ บทว่า จตฺตาโร

สติปฏฺาเน ได้แก่ สติปัฏฐาน กล่าวคือสติ อันเจือด้วยโลกิยะและโลกุตระ

มี ๔ อย่างโดยความต่างแห่งอารมณ์ของตน มีกายานุปัสสนาเป็นต้น. บทว่า

สตฺต ได้แก่ โพชฌงค์ ๗. บทว่า อฏฺ ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 116

อธิบายว่า โพชฌงค์ ๗ ของพระอริยบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ใน

สติปัฏฐานทั้งหลาย ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนาแน่นอน มรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ ก็เหมือนกัน.

สมจริงดังที่พระธรรมเสนาบดี สารีบุตร กล่าวไว้ว่า ในบรรดา

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ อันประกอบด้วยโกฏฐาส ๗ เมื่อโกฏฐาส

หนึ่ง ถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา ขึ้นชื่อว่าโกฏฐาสนอกนี้ จะไม่ถึงความ

บริบูรณ์ด้วยภาวนาไม่มี เพราะพระบาลีมีอาทิว่า พระอริยบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น

ดีแล้ว ในสติปัฏฐาน ๔ ยังโพชฌงค์ ๗ ให้เจริญแล้ว ตามความเป็นจริง

ดังนี้. บทว่า ภาวย ความว่า มีการเจริญเป็นเหตุ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว

แล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาโสภิตเถรคาถา

๔. วัลลิยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวัลลิยเถระ

[๒๘๐] ได้ยินว่า พระวัลลิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

สิ่งใดอันบุคคลผู้มีความเพียรมั่นพึงทำ กิจใดอัน

บุคคลผู้ปรารถนาจะตรัสรู้พึงทำ เราจักทำกิจนั้น ๆ

ไม่ให้ผิดพลาดตามคำพร่ำสอน ขอท่านจงดูความเพียร

ความบากบั่นของเรา อนึ่ง ขอท่านจงบอกหนทางอัน

หยั่งลงสู่อมตมหานิพพานให้เรา เราจักรู้ด้วยปัญญา

เหมือนกระแสแห่งแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาคร ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 117

อรรถกถาวัลลิยเถรคาถา

คาถาของท่านพระวัลลิยเถระ เริ่มต้นว่า ย กิจฺจ ทฬฺหวิริเยน.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์-

ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สุเมธะ บรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จ

ในวิชาและศิลปศาสตร์ ละสมบัติ ๘๐ โกฎิ บวชเป็นดาบส ให้เขาสร้าง

อาศรมไว้ที่ริมฝั่งน้ำแห่งหนึ่ง ที่ชัฏป่าใกล้เชิงเขา แล้วอยู่ เห็นพระศาสดา

ผู้เสด็จเข้าไป เพื่อจะทรงอนุเคราะห์ตน มีใจเลื่อมใส ลาดหนังเสือ (เป็น

อาสนะ) ถวาย บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับนั่งบนหนังเสือนั้น ด้วย

ดอกไม้และจันทน์ ถวายผลมะม่วง แล้วถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงประกาศสมบัติอันจะพึงได้ เพราะถวายอาสนะที่

ประทับนั่ง ทรงกระทำอนุโมทนาแก่ดาบสแล้วเสด็จหลีกไป.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดใน

ตระกูลพราหมณ์ ในพระนครไพศาลี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า กัณหมิตร

เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพในคราวที่พระศาสดาเสด็จไปพระนครไพศาลี

ได้มีจิตศรัทธาบวชในสำนักของพระมหากัจจานเถระ ท่านเป็นผู้มีปัญญาอ่อน

และย่อหย่อนในความเพียร อาศัยเพื่อนสพรหมจารี ผู้มีความรู้อยู่ตลอดกาลนาน.

ภิกษุทั้งหลาย ก็เรียกท่านตามลักษณนิสัยว่า วัลลิยะ นั้นเทียว

เพราะเหตุที่ท่านไม่อาศัยภิกษุผู้เป็นบัณฑิตบางรูป ก็ไม่สามารถจะเจริญ

งอกงามได้ เหมือนเถาวัลย์ ถ้าไม่อาศัยบรรดาพฤกษชาติ มีต้นไม้เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 118

บางชนิด ก็ไม่สามารถจะเจริญเติบโคได้ฉะนั้น. แต่ในเวลาต่อมา ท่านเข้าไป

หาพระเวณุทัตตเถระ ตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระแล้ว เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ

อยู่ เมื่อจะถามพระเถระถึงลำดับแห่งข้อปฏิบัติ เพราะมีญาณแก่กล้า จึงได้

กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

สิ่งใดอันบุคคลผู้มีความเพียรมั่นพึงทำ กิจใดอัน

บุคคลปรารถนาจะตรัสรู้พึงทำ เราจักทำกิจนั้น ๆ

ไม่ให้ผิดพลาด ตามคำพร่ำสอนของท่าน จงดูความ

เพียรความบากบั่นของเรา อนึ่ง ขอท่านจงบอกหนทาง

อันหยั่งลงสู่อมตมหานิพพานให้เรา เราจักรู้ด้วย

ปัญญา เหมือนกระแสแห่งแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาคร

ฉะนั้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย กิจฺจ ทฬฺหวิริเยน ความว่า สิ่งใด

อันบุคคลผู้มีความเพียรมั่น คือมีความขยันขันแข็งพึงทำ ได้แก่ กิจใดอันบุคคล

พึงทำ คือพึงปฏิบัติด้วยความเพียรมั่น หรือด้วยการเอาใจใส่ธุระของบุรุษ.

บทว่า ย กิจฺจ โพทฺธุมิจฺฉตา ความว่า กิจใดอันบุคคลผู้ปรารถนา

เพื่อจะรู้คือตรัสรู้ คือใคร่จะแทงตลอดอริยสัจ ๔ หรือพระนิพพานนั่นแหละ

พึงกระทำ.

บทว่า กริสฺส นาวรชฺฌิสฺส ความว่า บัดนี้ เราจักทำกิจนั้น ๆ

ไม่ให้ผิดพลาด คือ จักปฏิบัติตามคำสั่งสอน.

บทว่า ปสฺส วิริย ปรกฺกม ความว่า พระเถระแสดงความเป็นผู้ใคร่

เพื่อจะทำของตน ด้วยคำว่า ท่านจงดูความพยายามชอบ อันได้นามว่า " วิริยะ "

เพราะกระทำถูกต้องตามวิธี ในธรรมตามที่ปฏิบัติอยู่ และได้นามว่า ปรักกมะ

เพราะก้าวไปข้างหน้า ไม่ใช่แต่เพียงเชื่อเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 119

พระเถระเรียกพระเวณุทัตตเถระ ผู้ให้กรรมฐาน ผู้เป็นกัลยาณมิตร

ว่า ตว (ท่าน).

บทว่า มคฺคมกฺขาหิ ความว่า ท่านจงบอกอริยมรรค. อธิบายว่า

จงบอกกรรมฐานคือสัจจะ ๔ อันยังโลกุตรมรรคให้ถึงพร้อม.

บทว่า อญฺชส ได้แก่ ทางตรง โดยเป็นทางสายกลาง เพราะไม่

จดทางอันเป็นส่วนสุด ๒ อย่าง.

บทว่า โมเนน ได้แก่ ญาณ คือ มรรคปัญญา.

บทว่า โมนิสฺส ความว่า จักรู้ คือ จักแทงตลอด ได้แก่จักบรรลุ

พระนิพพาน.

บทว่า คงฺคาโสโตว สาคร ความว่า กระแสแห่งแม่น้ำคงคา

ไม่เบื่อหน่ายไหลลงสู่สาครคือสมุทร โดยส่วนเดียว ฉันใด พระวัลลิยเถระก็

ฉันนั้น ขอกรรมฐานกะพระเถระว่า ข้าพเจ้าประกอบเนือง ๆ ซึ่งกรรมฐาน

จักบรรลุถึงพระนิพพาน ด้วยมรรคญาณ เพราะฉะนั้น ท่านจงบอกกรรมฐาน

นั้น แก่ข้าพเจ้า.

พระเวณุทัตตเถระ ฟังคำขอนั้น แล้ว ได้ให้กรรมฐานแก่ท่านพระ-

วัลลิยเถระ. แม้ท่านพระวัลลิยเถระ หมั่นประกอบเนือง ๆ ซึ่งกรรมฐาน

ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถา

ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราละเบญจกามคุณอันน่ารัก น่ารื่นรมย์ใจ และ

ละทรัพย์ประมาณ ๘๐ โกฎิแล้ว บวชเป็นบรรพชิต

ครั้น บวชแล้ว ได้เว้นการทำความชั่วด้วยกาย ละความ

ประพฤติชั่วด้วยวาจา อยู่แทบฝั่งแม่น้ำ พระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 120

ผู้ประเสริฐสุด ได้เสด็จมาหาเราผู้อยู่คนเดียว เราไม่

รู้จักว่าเป็นพระพุทธเจ้า เราได้ทำปฏิสันถาร ครั้นทำ

ปฏิสันถารแล้ว จึงได้ทูลถามถึงพระนามและพระ-

โคตรว่า ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าว

สักกปุรินททะ ท่านเป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร

หรือเป็นท้าวมหาพรหมมาในที่นี้ ย่อมสว่างไสวไป

ทั่วทิศ เหมือนพระอาทิตย์อุทัยฉะนั้น ข้าแต่ท่านผู้

นิรทุกข์ จักรมีกำพันหนึ่งปรากฏที่เท้าของท่าน ท่าน

เป็นใคร เป็นบุตรของใคร เราจักรู้จักท่านอย่างไร

ขอท่านจงบอกชื่อและโคตร บรรเทาความสงสัยของ

เราเถิด พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า เราไม่ใช่เทวดา

ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ และความ

เป็นพรหมก็หามีแก่เราไม่ เราสูงสุดกว่าพรหมเหล่านั้น

ล่วงวิสัยของพรหมเหล่านั้น เราได้ทำลายเครื่องผูกพัน

คือกามได้แล้ว เผากิเลสเสียหมดสิ้น บรรลุสัมโพธิ-

ญาณอันอุดมแล้ว. เราได้สดับพระดารัสของพระองค์

แล้ว จึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหามุนี ถ้าพระองค์

เป็นพระสัพพัญญู พุทธเจ้า ขอเชิญพระองค์ประทับ

นั่งเถิด ข้าพระองค์จะขอบูชาพระองค์ ขอพระองค์

จงทำที่สุดทุกข์ แก่ข้าพระองค์เถิด.

เราได้ลาดหนังเสือถวายพระศาสดาแล้ว พระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือหนังเสือนั้น ดังสีหราช

นั่งอยู่ที่ซอกภูเขาฉะนั้น เราขึ้นภูเขาเก็บเอาผลมะม่วง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 121

ดอกรังอันสวยงาม และแก่นจันทน์อันมีค่ามาก เรา

ถือประคองของทั้งหมด เข้าไปเฝ้าพระผู้นำของโลก

ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า แล้วเอาดอกรังบูชา ก็เรา

มีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส มีปีติอันไพบูลย์ ได้เอา

แก่นจันทน์ลูบไล้แล้ว ถวายบังคมพระศาสดาผู้นำของ

โลก พระนามว่า สุเมธะ ประทับนั่งบนหนังเสือ เมื่อ

จะยังเราให้ร่าเร้ง ได้ทรงพยากรณ์กรรมของเราใน

ครั้งนั้นว่า ด้วยการถวายผลไม้กับของหอม และ

ดอกไม้ทั้งสองอย่างนี้ ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก

๒,๕๐๐ กัป เขาจักเป็นผู้มีความดำริทางใจไม่บกพร่อง

ยังอำนาจให้เป็นไป ในกัปที่ ๒,๖๐๐ จักไปสู่ความ

เป็นมนุษย์ จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรง

มหิทธิฤทธิ์ มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต วิสสุกรรม

เทพบุตร นิรมิตพระนคร อันมีนามว่า เวภาระ จัก

ให้พระนครนั้นสำเร็จด้วยทองล้วน ๆ ประดับประดา

ด้วยรัตนะนานาชนิด เขาจักท่องเที่ยวไปยังกำเนิด

ทั้งหลาย โดยอุบายนี้เทียว เขาจักเป็นผู้ถึงความสุข

ในทุกภพ คือในความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ เมื่อถึง

ภพสุดท้าย เขาจักเป็นบุตรพราหมณ์ จักออกบวช

เป็นบรรพชิต จักเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งอภิญญา ไม่มีอาสวะ

ปรินิพพาน พระสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า สุเมธะ

ผู้นำของโลก ครั้นตรัสดังนี้ เมื่อเรากำลังเพ่งดูอยู่

ได้เสด็จเหาะไปในอากาศ ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 122

และด้วยความตั้งเจตนาไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้

เข้าถึงสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากดุสิตแล้ว ไปเกิดใน

ครรภ์ของมารดา ในครรภ์ที่เราอยู่ ไม่มีความบกพร่อง

ด้วยโภคทรัพย์แก่เราเลย เมื่อเรายังอยู่ในครรภ์ของ

มารดา ข้าว น้ำ โภชนาหารเกิดตามความปรารถนา

แก่มารดาของเราตามใจชอบ เราออกบวชเป็นบรรพชิต

แต่อายุ ๕ ขวบ เมื่อปลงผมเสร็จเราก็ได้บรรลุพระ-

อรหัต เราค้นหาบุรพกรรมอยู่ ก็มิได้เห็นโดยกัปที่

ใกล้ ๆ (แต่) เราระลึกถึงกรรมของเราได้ถึง ๓๐,๐๐๐

กัป ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระองค์

ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าพระองค์อาศัยคำสอนของ

พระองค์ จึงได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว ในกัปที่

๓๐,๐๐๐ เราบูชาพระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ด้วยการ

บูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา

พระพุทธเจ้า. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล

ก็ได้กล่าวคาถาเหล่านี้แหละ ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาวัลลิยเถรคาถา*

* ในอปทานเรียกชื่อว่า จันทนมาลิยเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 123

๕. วีตโสกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวีตโสกเถระ

[๒๘๒] ได้ยินว่า พระวีตโสกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ช่างกัลบกเข้ามาหาเรา ด้วยคิดว่า จักตัดผม

ของเรา เราจึงรับเอากระจกจากช่างกัลบกนั้นมาส่องดู

ร่างกาย ร่างกายของเรานี้ได้ปรากฏเป็นของว่างเปล่า

ความมืดคืออวิชชา ในกายอันเป็นต้นเหตุแห่งความ

มืดมน ได้หายหมดสิ้นไป กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง เรา

ตัดขาดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่มิได้มี.

อรรถกถาวีตโสกเถรคาถา

คาถาของท่านพระวีตโสกเถระ เริ่มต้นว่า เกเส เม โอลิขิสฺสนฺติ.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมบุญมากมายไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาล

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ถึงความสำเร็จในวิชา

และศิลปศาสตร์ของพราหมณ์ แล้วละกามทั้งหลาย บวชเป็นฤๅษี อันหมู่ฤๅษี

เป็นอันมากแวดล้อมแล้ว อยู่ในป่า สดับข่าวความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า

ร่าเริงยินดีแล้ว ดำริว่า พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาโอกาสเฝ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 124

ได้ยาก อุปมาเหมือนดอกมะเดื่อ เราควรเข้าเฝ้าในบัดนี้แหละ ดังนี้แล้ว

แล้วเดินทางไปเฝ้าพระศาสดาพร้อมกับบริษัทหมู่ใหญ่ เมื่อเหลือทางอีกหนึ่ง

โยชน์ครึ่งจะถึงก็ล้มป่วยถึงความตาย โดยสัญญา อันส่งไปแล้วในพระพุทธเจ้า

บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เกิดเป็นน้องชายคนเล็กของพระเจ้าธรรมาโศกราช ในที่สุดแห่งปีพุทธศักราช

๒๑๘ ในพุทธุปบาทกาลนี้. ท่านได้มีพระนามว่า วีตโสกะ.

วีตโสกราชกุมาร เจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จในวิชาและศิลปศาสตร์

ที่พึงศึกษาร่วมกับขัตติยกุมารทั้งหลายแล้ว (ศึกษาจนแตกฉานเชี่ยวชาญ)

แกล่วกล้าในสุตตันตปิฎกและในพระอภิธรรมปิฎก ทั้ง ๆ ที่เป็นคฤหัสถ์ โดย

อาศัยพระคิริทัตตเถระ วันหนึ่งรับกระจกจากมือของช่างกัลบก ในเวลาปลง

พระมัสสุ มองดูพระวรกาย เห็นอวัยวะที่มีหนังเหี่ยวและผมหงอกเป็นต้น

บังเกิดความสลดพระทัย ยังจิตให้หยั่งลงในวิปัสสนา แล้วยกขึ้นสู่ภาวนา เป็น

พระโสดาบัน บนอาสนะนั้นเอง บวชในสำนักของพระคิริทัตตเถระ แล้ว

บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน

อปทานว่า

เราเป็นคนเล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท

ชานาญในคัมภีร์ทานายมหาปุริสลักษณะ คัมภีร์อิติ

หาสะพร้อมด้วยคัมภีร์นิคัณฑุศาสตร์และคัมภีร์เกตุภ-

ศาสตร์ ครั้งนั้นพวกศิษย์มาหาเราปานดังกระแสน้ำ

เราไม่เกียจคร้าน บอกมนต์แก่ศิษย์เหล่านั้นทั้งกลาง

วันและกลางคืน ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้า ทรง

พระนามว่า สิทธัตถะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 125

ทรงกำจัดความมืดมิดให้พินาศแล้ว ยังแสงสว่างคือ

พระญาณให้เป็นไป ครั้งนั้น ศิษย์ของเราคนหนึ่ง ได้

บอกแก่ศิษย์ทั้งหลายของเรา พวกเขาได้ฟังความนั้น

จึงได้บอกเรา เราคิดว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้เป็น

นายกของโลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ชนย่อมอนุวัตรตาม

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราไม่มีลาภ พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย เป็นผู้มีการอุบัติเลิศลอย มีจักษุ ทรงยศใหญ่

ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด

เป็นผู้นำของโลก เราถือหนังเสือผ้าเปลือกไม้กรอง

และคนโทน้ำของเราแล้ว ออกจากอาศรม เชิญชวน

พวกศิษย์ว่า ความเป็นผู้นำโลกหาได้ยาก เหมือนกับ

ดอกมะเดื่อ กระต่ายในดวงจันทร์ หรือเหมือนกับน้ำ

นมกา ฉะนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก

แม้ความเป็นมนุษย์ก็หาได้ยาก และเมื่อความเป็นผู้นำ

โลก และความเป็นมนุษย์ทั้งสองอย่างมีอยู่ การได้

ฟังธรรมก็หาได้ยาก พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

พวกเราจักได้ดวงตาอันเป็นของพวกเรา มาเถิดท่าน

ทั้งหลาย เราจักไปยังสำนักของพระพุทธเจ้า ด้วยกัน

ทุกคน ศิษย์ทุกคนแบกคนโทน้ำ นุ่งหนังเสือทั้งเล็บ

พวกเขาเต็มไปด้วยภาระ คือ ชฎา พากันออกไปจากป่า

ใหญ่ในครั้งนั้น พวกเขามองดูประมาณชั่วแอก แสวง

หาประโยชน์อันสูงสุด เดินมาเหมือนลูกช้าง เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 126

ไม่สะดุ้ง ประหนึ่งไกรสรสีหราช ฉะนั้น เขาทั้งหลาย

ไม่มีความสะดุ้ง หมดความละโมบ มีปัญญา มีความ

ประพฤติสงบ เที่ยวเสาะแสวงหาโมกขธรรม ได้พากัน

เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด (ก่อนจะถึงที่-

หมาย) เหลือระยะทางอีกหนึ่งโยชน์ครึ่ง เราเกิดเจ็บ

ป่วยขึ้น เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดแล้ว

ตาย ณ ที่นั้น ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้

สัญญาใดในกาลนั้น ด้วยการได้สัญญานั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า. เราเผา

กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า

เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล

ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ช่างกัลบกเข้ามาหาเรา ด้วยคิดว่า จักตัดผมของเรา

เราจึงเอากระจก จากช่างกลับนั้น มาส่องดูดูร่างกาย

ร่างกายของเรามิได้ปรากฏเป็นของเปล่า ความมืดคือ

อวิชชาในกาย อันเป็นต้นเหตุแห่งความมืดมน ได้

หายหมดสิ้นไป กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง เราตัดขาด

แล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกเส เม โอลิขิสฺลนฺติ กปฺปโก

อุปสงฺกมิ ความว่า ในเวลาที่เราเป็นคฤหัสถ์ ในเวลาโกนหนวด ช่าง

กัลบก คือช่างทำผม คิดว่า จักตัด จะแต่งผมของเรา จึงเข้ามาหาเรา โดย

เตรียมจะตัดผมเป็นต้น. บทว่า ตโต ได้แก่ จากช่างกัลบกนั้น. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 127

สรีร ปจฺจเวกฺขิสฺส ความว่า พิจารณาร่างกายที่ชราครอบงำแล้ว ด้วยตน

เองว่า ร่างกายของเราถูกชราครอบงำแล้วหนอ ดังนี้ ด้วยมุข คือการดูนิมิต

บนใบหน้า ที่มีผมหงอกและหนังเหี่ยวย่นเป็นต้น ในกระจก ได้ทั่วทั้งร่าง.

ก็เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ ร่างกายของเราก็ปรากฏเป็นของว่างเปล่า

คือร่างกายของเราได้ปรากฏ คือเห็นชัดว่าเป็นของว่างเปล่า จากสภาพต่าง ๆ

มีสภาพที่เที่ยง ยั่งยืนและเป็นสุข เป็นต้น. เพราะเหตุไร ? เพราะความมืด

คืออวิชชาในกาย อันเป็นต้นเหตุแห่งความมืดมน ได้หายหมดสิ้นไป อธิบายว่า

คนทั้งหลาย ที่อยู่ในอำนาจของความมืด ในกายของตน ด้วยความมืดกล่าว

คือ อโยนิโสมนสิการใด เมื่อไม่เห็นสภาพมีสภาพที่ไม่งามเป็นต้น แม้มีอยู่

ย่อมถือเอาอาการว่าเป็นของงามเป็นอันไม่มีอยู่ ความมืดคืออวิชชา ในกาย

อันเป็นต้นเหตุแห่งความมืดมน คือเป็นที่ตั้งแห่งการกระทำความมืดนั้น ได้

หายหมดสิ้นไป ด้วยแสงสว่างแห่งญาณ กล่าวคือ โยนิโสมนสิการ ต่อจาก

นั้น กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง เราก็ตัดได้ขาด คือกิเลสทั้งหลายอันได้นามว่า

โจฬา เพราะเป็นดุจพวกโจร โดยการเข้าไปตัดภัณฑะคือกุศล หรือเป็นดุจ

ผ้าขี้ริ้ว เพราะความเป็นท่อนผ้าเก่า ๆ ที่เขาทิ้งแล้วในกองขยะเป็นต้น โดย

เป็นเศษผ้าที่ติดลูกไฟ (หรือ) โดยเป็นผ้าที่คนดีไม่ต้องการ เพราะความเป็น

ของอันอิสรชน คือคนเจริญรังเกียจ อันเราตัดขาดแล้ว ก็เพราะความที่

กิเลสเพียงดังผ้าขี้ริ้วเหล่านั้น เป็นของอันเราเพิกถอนได้แล้ว ด้วยมรรคอัน

เลิศ นั่นแล บัดนี้ภพใหม่จึงมิได้มี ได้แก่การจะไปเกิดในภพใหม่ ไม่มีอีก

ต่อไป.

จบอรรถกถาวีตโสกเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 128

๖. ปุณณมาสเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระปุณณมาสเถระ

[๒๘๓] ได้ยินว่า พระปุณณมาสเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เราละนิวรณ์ ๕ เพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ

แล้วถือเอาแว่นธรรม คือญาณทัสสนะของตน ส่องดู

ร่างกายนี้ทั่วทั้งหมด ทั้งภายในภายนอกร่างกาย ของ

เรานี้ ปรากฏเป็นของว่างเปล่า ทั้งภายในและภายนอก.

อรรถกถาปุณณมาสเถรคาถา

คาถาของพระปุณณมาสเถระ เริ่มต้นว่า ปญฺจ นีวรเณ หิตฺวา.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์-

ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง เมื่อ

พระศาสดา ประทับอยู่ในป่า คล้องบังสุกุลจีวรไว้ที่กิ่งไม้ แล้วเสด็จเข้าไปสู่

พระคันธกุฎี เขาถือธนู เข้าไปสู่ชัฏป่า เห็นผ้าบังสุกุลจีวรของพระศาสดา

แล้วมีใจเลื่อมใส วางธนูแล้วระลึกถึงพระพุทธคุณไหว้ผ้าบังสุกุล.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

บังเกิดในตระกูลกุฎุมพี ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ได้ยินว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 129

ในวันที่เขาเกิด ภาชนะทุกอย่างในเรือนนั้น ได้เต็มบริบูรณ์ไปด้วยถั่วเขียว

อันสำเร็จไปด้วยทองและรัตนะทั้งหลาย เขาเจริญวัยแล้ว มีครอบครัว เมื่อ

บุตรคนที่หนึ่งเกิดแล้ว สละฆราวาสวิสัย บวชอยู่ในอาวาสใกล้บ้าน เพียร

พยายามอยู่ ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน

อปทานว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สยัมภู ทรงเป็นบุคคลผู้เลิศ

พระนามว่า ติสสะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระพิชิตมาร

ทรงวางบังสุกุลจีวรไว้แล้ว เสด็จเข้าสู่พระวิหาร เรา

สะพายธนูที่มีสายและกระบอกน้ำ ถือดาบเข้าป่าใหญ่

ครั้งนั้น เราได้เห็นบังสุกุลจีวร ซึ่งแขวนอยู่บนยอดไม้

ในป่านั้น จึงวางธนูลง ณ ที่นั้นเอง ประนมกรอัญชลี

เหนือเศียรเกล้า เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส และ

มีปีติเป็นอันมาก ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

แล้วได้ไหว้บังสุกุลจีวร ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้

เราได้ไหว้บังสุกุลจีวรใด ด้วยการไหว้บังสุกุลจีวรนั้น

เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการไหว้ (บังสุกุล

จีวร). เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระ เป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว เข้าไปสู่พระนครสาวัตถี

ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว อยู่ในป่าช้า ก็เมื่อท่านไปได้ไม่นานนัก บุตร

ของท่านก็ได้ทำกาละ มารดาของทารกสดับข่าวว่า พระเถระมาแล้ว มีความ

ประสงค์จะยังพระเถระให้สึกด้วยคิดว่า พระราชาอย่าริบสมบัติของเราผู้หาบุตร

มิได้นี้ไปเลย ไปสู่สำนักของพระเถระด้วยบริวารเป็นอันมาก ทำการปฏิสันถาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 130

แล้ว เริ่มจะประเล้าประโลม. พระเถระยืนอยู่ในอากาศ เพื่อจะให้นางรู้ความ

ที่ตนเป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว เมื่อจะแสดงธรรมแก่นาง ด้วยมุขคือการประกาศ

ข้อปฏิบัติ ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

เราละนิวรณ์ ๕ เพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ

แล้วถือเอาแว่นธรรม คือญาณทัสสนะของตน ส่องดู

ร่างกายนี้ทั่วทั้งหมด ทั้งภายใน ภายนอก ร่างกาย

ของเรานี้ ปรากฏเป็นของว่างเปล่าทั้งภายในและภาย-

นอก ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจ นิวรเณ หิตฺวา ความว่า ละ

คือ กำจัด นิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะเป็นต้น ด้วยการบรรลุฌาน.

บทว่า โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยา ความว่า เพื่อบรรลุพระนิพพาน

อันเป็นแดนเกษมจากโยคะทั้งหลาย ๔ มีกามโยคะเป็นต้น คือ อันโยคะเหล่านั้น

ไม่เข้าไปประทุษร้ายแล้ว.

บทว่า ธมฺมาทาส ได้แก่ แว่นอันเป็นองค์ธรรม. อธิบายว่า

กระจก ย่อมส่องให้เห็นคุณและโทษในรูปกายของผู้มองดูอยู่ฉันใด แว่นธรรม

กล่าวคือวิปัสสนาก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นญาณทัสสนะ เพราะเป็นเหตุให้รู้ความ

แตกต่างแห่งสามัญญลักษณะของธรรมทั้งหลาย ย่อมส่องให้เห็นคุณในกาย

ที่ชื่อว่าโดยแตกต่างกัน เพราะแจกแจงสังกิเลสธรรมอย่างแจ่มแจ้ง และยัง

การละสังกิเลสธรรมนั้นให้สำเร็จ สำหรับท่านที่พิจารณาเห็นอยู่ ด้วยเหตุนั้น

พระเถระจึงกล่าวว่า

ธมฺมาทาส คเหตฺวาน าณทสฺสนมตฺตโน

ปจฺจเวกฺขึ อิม กาย สพฺพ สนฺตรพาหิร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 131

ถือเอาแว่นธรรม คือ ญาณทัสสนะของตน

ส่องดูร่างกายนี้ทั่วทั้งหมด ทั้งภายในภายนอก.

คือ ถือเอาแว่นธรรม แล้วพิจารณาโดยเฉพาะว่า ไม่เที่ยงบ้าง

เป็นทุกข์บ้าง เป็นอนัตตาบ้าง เห็นร่างกา คือ อัตภาพของเรานี้ อันเป็น

ที่ประชุมแห่งธรรม ชื่อว่าทั้งภายในภายนอก เพราะความเป็นอายตนะที่เป็นไป

ในภายในและภายนอก ทั้งหมดคือไม่มีส่วนเหลือ ด้วยญาณจักษุ ก็เราผู้เห็น

อยู่อย่างนี้ ทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ ร่างกายคืออัตภาพ กล่าวคือขันธ-

ปัญจกะ ที่เว้นสาระมีความเที่ยงเป็นต้น จึงชื่อว่าเป็นของว่างเปล่า เราได้เห็น

แล้วตามความเป็นจริงด้วยญาณจักษุ.

แท้จริง ขันธปัญจกะแม้ทั้งสิ้น ท่านเรียกว่ากาย ดังในประโยคมีอาทิว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้ เป็นที่มาประชุมของคนเขลา ผู้อันอวิชชาครอบงำ

แล้ว ประกอบแล้วด้วยตัณหาอย่างนี้.

ก็พระเถระเมื่อจะแสดงความที่ตนเป็นผู้มีกิจอันกระทำสำเร็จแล้วว่า

ขันธปัญจกะใดแลอันเราพึงเห็นในกายนี้ ขันธปัญจกะนั้นอันเราเห็นแล้ว ไม่มี

ส่วนใดๆ ของขันธปัญจกะนั้นที่เราจะต้องเห็นอีก ดังนี้ พยากรณ์พระอรหัตผล

แล้ว ด้วยบทว่า อทิสฺสถ นี้.

พระเถระแสดงธรรมแก่หญิงผู้เป็นภรรยาเก่าด้วยคาถาเหล่านี้ อย่างนี้-

แล้ว ยังนางให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์และศีลทั้งหลายแล้วส่งไป.

จบอรรถกถาปุณณมาสเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 132

๗. นันทกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระนันทกเถระ

[๒๘๔] ได้ยินว่า พระนันทกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

โคอาชาไนยที่ดี ถึงพลาดแล้วก็ตั้งตัวได้ ได้

ความสังเวชอย่างยิ่งแล้ว ไม่ย่นย่อ นำภาระต่อไปได้

ฉันใด ท่านทั้งหลายจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นอา-

ชาไนยผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะ เป็นสาวกของพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้า เป็นบุตรผู้เกิดแต่อุระแห่งพระพุทธเจ้า.

อรรถาถกานันทกเถรคาถา

คาถาของท่านพระนันทกเถระ เริ่มต้นว่า ยถาปิ ภทฺโท อาชญฺโ.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ กระทำบุญไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในปัจจันตประเทศ ในกาลของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นนายพรานป่า

เที่ยวไป วันหนึ่ง เห็นที่สำหรับจงกรมของพระศาสดา แล้วมีจิตเลื่อมใส เกลี่ย-

ทราย (ให้เสมอ).

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

บังเกิดในตระกูลแห่งคฤหบดี ในจัมปานคร ในพุทธุปบาทกาลนี้ คนทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 133

ตั้งชื่อเขาว่า นันทกะ. ส่วนพี่ชายของเขาชื่อว่า ภรตะ ประวิติตอนต้นของเขา

จักแจ่มแจ้งในเรื่องต่อไป แม้เขาทั้งสองบรรลุนิติภาวะแล้ว ฟังข่าวว่าท่าน-

พระโสณโกฬิวิสะบวชแล้ว พูดกันว่า แม้ขึ้นชื่อว่า พระโสณะเป็นสุขุมาลชาติ

เห็นปานนั้น ก็ยังบวช เราทั้งสองจะมัวลังเลอยู่ใย ? ดังนี้ บวชแล้ว บรรดา

พระเถระสองพี่น้องนั้น พระภรตเถระ เจริญวิปัสสนาแล้วได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖

ต่อกาลไม่นานนัก.

ส่วนพระนันทกเถระ ไม่อาจจะยังวิปัสสนาให้ก้าวสูงขึ้นได้ก่อนเพราะ

เหตุที่กิเลสทั้งหลายมีกำลัง ได้แก่กระทำกรรมในวิปัสสนาอย่างเดียว ลำดับนั้น

พระภรตเถระ รู้อาสยกิเลสของพระนันทกเถระผู้น้องชายประสงค์จะเป็นที่พึ่ง

พำนัก จึงให้พระนันทกเถระเป็นปัจฉาสมณะ (พระติดตาม) ออกจากวิหารแล้ว

นั่งที่ใกล้ทาง บอกวิปัสสนากถาแล้ว.

ก็โดยสมัยนั้น เมื่อพวกกองเกวียนเดินทางไป วัวที่เขาเทียมเกวียน

ตัวหนึ่ง ไม่สามารถจะยกเกวียนขึ้นในที่ ๆ เป็นหล่มได้ล้มลง. ลำดับนั้น

นายกองเกวียนจึงปลดมันออกจากเกวียน แล้วให้หญ้าและน้ำดื่ม ให้พักเหนื่อย

แล้วเทียมที่แอกอีก ลำดับนั้น โคพักหายเหนื่อยแล้ว พอมีกำลัง ก็ยกเกวียน

นั้นขึ้นจากที่หล่มให้ตั้งอยู่ในทางได้.

ลำดับนั้น พระภรตเถระ จึงแสดงโคนั้นเป็นตัวอย่างแก่พระนันทกะว่า

ดูก่อนอาวุโสนันทกะ เธอเห็นการกระทำของโคนี้หรือไม่ เมื่อพระนันทกะ

ตอบว่า เห็นขอรับ จึงกล่าวว่า เธอจงใคร่ครวญความข้อนี้ให้จงดี พระนันทก-

เถระ กระทำโคนั้นแหละให้เป็นอารมณ์ว่า โคนี้พักเหนื่อยแล้ว ย่อมยกของ

หนักออกจากที่ซึ่งเป็นหล่มได้ ฉันใด แม้เราก็พึงยกตนออกจากหล่มคือสงสาร

ฉันนั้น ดังนี้แล้ว การทำกรรมในวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก.

สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 134

เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้อ เราเที่ยวหาเนื้อสมัน

อยู่ในอรัญราวป่า ได้พบที่จงกรม เรามีจิตเลื่อมใส

มีใจโสมนัส กอบเอาทรายใส่พกมาโรยลง ในที่จงกรม

ของพระสุคตเจ้าผู้มีสิริ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้

เราได้โรยทราย (ในที่จงกรม) ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งทราย. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว

ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว

ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล

ในสำนักของพระภรตเถระผู้เป็นพี่ชายของตน ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

โคอาชาไนยที่ดี ถึงพลาดแล้วก็ตั้งตัวได้ ได้

ความสังเวชอย่างยิ่งแล้ว ไม่ย่นย่อ นำภาระต่อไปได้

ฉันใด ท่านทั้งหลายจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น

อาชาไนย ผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะ เป็นสาวกของพระ-

สัมมาสัมพุพธเจ้า เป็นบุตรผู้เกิดแต่อุระแห่งพระพุทธ-

เจ้า ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิยฺโย ลทฺธาน สเวค อทีโน วหเต

ธุร ความว่า ได้ความสลดใจว่า การไม่นำภาระอันมาถึง (เฉพาะ) นี้ไปนั้น

เป็นสิ่งไม่เหมาะสำหรับเราผู้มีกำลังและความเพียรโดยชาติเลย ดังนี้แล้ว เป็นผู้

ไม่ย่นย่อ คือ มีใจไม่ท้อถอย ได้แก่ มีจิตไม่ห่อเหี่ยว. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า

อลีโน (ก็มี). ความก็อันนั้นแหละ คือ นำไป ได้แก่ เข็นไปซึ่งธุระคือภาระ

ของตนโดยยิ่ง คือ ยิ่งกว่าประมาณได้บ่อย ๆ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวไว้ใน

อรรถกถาแห่งรมณียวิหาริเถรคาถา หนหลังแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถานันทกเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 135

๘. ภรตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระภรตเถระ

[๒๘๕] ได้ยินว่า พระภรตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

มาเถิดนันทกะ เราจงพากันไปยังสำนักของพระ

อุปัชฌายะเถิด เราจักบันลือสีหนาท เฉพาะพระพักตร์

ของพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้

ผู้เป็นมุนี มีความเอ็นดูเรา ทรงให้บรรพชาเพื่อ

ประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้น เราก็ได้บรรลุแล้ว

ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง เราก็ได้บรรลุแล้ว.

อรรถกถาภรตเถรคาถา

คาถาของท่านพระภรตเถระ เริ่มต้นว่า เอหิ นนฺทก คจฺฉาม.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

ได้ยินมาว่า พระเถระนี้ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้

มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง

ถือเอาคู่แห่งรองเท้า น่าพึงใจและน่าดู มีสัมผัสที่อ่อนนุ่ม สวมใส่สบาย

เดินทางไป เห็นพระศาสดากำลังทรงจงกรมอยู่ มีใจเลื่อมใส น้อมเอารองเท้า

เข้าไปถวาย กราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงสวมรองเท้า อันจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 136

พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสวมรองเท้า เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

ในตระกูลแห่งคฤหบดี ในจัมปานคร ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า

ภรตะ. เขาบรรลุนิติภาวะแล้ว ฟังความที่พระโสณเถระบวชแล้ว เกิดความ

สลดใจว่า แม้ขึ้นชื่อว่า พระโสณเถระก็ยังบวช ดังนี้ แล้วออกบวช กระทำ

บุรพกิจเสร็จแล้ว กระทำกรรมในวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาล

ไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี

เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านรชน มีพระจักษุ

เสด็จออกจากที่ประทับสำราญกลางวันแล้ว เสด็จขึ้น

ถนน เราสวมรองเท้าที่ทำอย่างดีออกเดินทางไป ณ ที่

นั้น เราได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า งามน่าดูน่าชม

เสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า เรายังจิตของตนให้

เลื่อมใส ถอดรองเท้าออกวางไว้แทบพระบาท แล้ว

กราบทูลว่า ข้าแต่พระสุคตผู้เป็นมหาวีรบุรุษ เป็นใหญ่

เป็นผู้นำชั้นพิเศษ ขอเชิญพระองค์ทรงสวมรองเท้า

เถิด ข้าพระองค์จักได้ผลจากรองเท้าคู่นี้ ขอความ

ต้องการของข้าพระองค์จงสำเร็จเถิด พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี เชษฐบุรุษของโลก

ประเสริฐกว่านรชน ทรงสวมรองเท้าแล้ว ได้ตรัส

พระดำรัสนี้ว่า ผู้ใดเลื่อมใสถวายคู่แห่งรองเท้าแก่เรา

ด้วยมือทั้งสองของตน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 137

หลายจงฟังเรากล่าว เทวดาทุก ๆ องค์ได้ทราบพระ

พุทธดำรัสแล้ว มาประชุมกัน ต่างก็มีจิตปีติ ดีใจ

เกิดความโสมนัส ประนมกรอัญชลี พระผู้มีพระภาค

เจ้าได้ตรัสว่า เพราะการถวายรองเท้านี้แล ผู้นี้จักเป็น

ผู้ถึงความสุข จักเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๕๕ ครั้ง

จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง และจัก

ได้เป็นพระเจ้าประเทศราช อันไพบูลย์ โดยคณนา

นับมิได้ ในกัปซึ่งนับไม่ถ้วน แต่ภัทรกัปนี้ สกุล-

โอกากราช จักสมภพพระศาสดา มีพระนามว่า โคดม

จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ผู้นี้จักเป็นทายาทในธรรม

ของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนร-

มิต จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักเป็นผู้ไม่มี

อาสวะ ปรินิพพาน ผู้นี้เกิดในเทวโลก หรือในมนุษย-

โลก จักเป็นผู้มีปัญญา จักได้ยานอันเปรียบด้วยยาน

ของเทวดา ปราสาท วอ ช้าง ที่ประดับประดาแล้ว

และรถที่เทียมแล้วด้วยม้าอาชาไนย ย่อมเกิดปรากฏ

แก่เราทุกเมื่อ แม้เมื่อเราออกบวช ก็ได้ออกบวชด้วย

รถ ได้บรรลุพระอรหัต เมื่อกำลังปลงผม นี้เป็นลาภ

ของเรา เราได้ดีแล้ว คือ การค้าขายเราได้ประกอบ

ถูกทางแล้ว เราถวายรองเท้าคู่หนึ่ง จึงได้บรรลุบทอัน

ไม่หวั่นไหว ในกัปอันประมาณมิได้ นับแต่ภัทรกัป

นี้ เราได้ถวายรองเท้าใด ด้วยการถวายรองเท้านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 138

เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายรองเท้า.

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระ-

พุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว เมื่อพระนันทกเถระผู้เป็นน้องชาย

ของตน กระทำการพยากรณ์พระอรหัตผล โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง

เมื่อจะบอกถึงความปริวิตก อันเกิดขึ้นแล้ว แก่พระนันทกเถระว่า บัดนี้แม้

พระนันทกะ ก็เป็นพระอรหัตแล้ว เอาเถิด เราแม้ทั้งสองไปสู่สำนักของพระ

ศาสดาแล้ว จักกราบทูลความที่เราทั้งสองเป็นผู้มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว

ดังนี้ ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

มาเถิดนันทกะ เราจงพากันไปยังสำนักของพระ

อุปัชฌาย์เถิด เราจักบันลือสีหนาท เฉพาะพระพักตร์

ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้

เป็นมุนีมีความเอ็นดูเรา ทรงให้บรรพชาเพื่อประโยชน์

อันใด ประโยชน์อันนั้นเราก็ได้บรรลุแล้ว ความสิ้น

ไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง เราก็ได้บรรลุแล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นนฺทก เป็นอาลปนะ (คำเรียกร้อง).

บทว่า เอหิ เป็นคำเรียกให้พระนันทกเถระมายังสำนักของตน. บทว่า คจฺฉาม

เป็นคำชวนให้พระนันทกเถระ กระทำกิจที่ควรทำร่วมกับตน.

บทว่า อุปชฺฌายสฺส หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อธิบายว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมควรเรียกขานว่าเป็นพระอุปัชฌาย์โดยพิเศษ เพราะ

ทรงเข้าไปเพ่งโทษน้อยและโทษใหญ่ ของสัตวโลกพร้อมทั้งเทวโลก โดยทรง

ตรวจดูอัธยาศัย อนุสัย และจริตเป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายตามความเป็นจริง

ด้วยพระสมันตจักษุ และด้วยพุทธจักษุ เพื่อจะแสดงถึงประโยชน์ของการไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 139

พระเถระจึงกล่าวว่า สีหนาท นทิสฺสาม พุทฺธเสฏฺสฺส สมฺมุขา เรา

จะบันลือสีหนาท เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ ดังนี้.

อธิบายว่า เราจักบันลืออรรถพจน์อันชื่อว่า สีหนาท เพราะเป็นการบันลือ

อย่างไม่เกรงขาม โดยการประมวลมาซึ่งคุณพิเศษตามความเป็นจริงต่อหน้า

คือเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ชื่อว่า

ประเสริฐที่สุด เพราะความเป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง นั้นแล หรือประเสริฐ

สุดกว่าท่านผู้รู้ทั้งหลาย มีสาวกของพระพุทธเจ้าเป็นต้น.

ก็พระเถระเมื่อจะแสดงความเป็นผู้ประสงค์จะบันลือสีหนาท จึง

กล่าวคาถามีอาทิว่า ยาย ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สองดังต่อไปนี้ บทว่า ยาย ความว่า

เพื่อประโยชน์อันใด อธิบายว่า เพื่อข้อปฏิบัติอันสมควรแก่ประโยชน์อันใด.

บทว่า โน เท่ากับ อมฺหาก แปลว่า แก่เราทั้งหลาย. บทว่า อนุกมฺปาย

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า. ยังเราแม้ทั้งสองให้บรรพชา คือให้บวช ด้วย

ทรงอนุเคราะห์. บทว่า มุนี ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า โส โน

อตฺโถ อนุปฺปตฺโต มีอธิบายว่า ประโยชน์นั้น ได้แก่พระอรหัตผล อัน

เป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง อันเราทั้งหลาย คือเราทั้งสอง ถึงแล้วโดย

ลำดับ คือบรรลุแล้ว.

จบอรรถกถาภรตเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 140

๙. ภารทวาชเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระภารทวาชเถระ

[๒๘๖] ได้ยินว่า พระภารทวาชเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ธีรชนผู้มีปัญญา ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว

ชื่อว่าผู้ชนะสงครามย่อมบันลือสีหนาท ดังราชสีห์ใน

ถ้ำภูเขา ฉะนั้น เราได้ทำความคุ้นเคยกับพระศาสดา

แล้ว พระธรรมกับพระสงฆ์ เราได้บูชาแล้ว และ

เราปลาบปลื้มใจ เพราะเห็นบุตรหมดอาสวะกิเลส

แล้ว.

อรรถกถาภารทวาชเถรคาถา

คาถาของท่านพระภารทวาชเถระ เริ่มต้นว่า นทนฺติ เอว สปฺปญฺา.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไ ร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกัปที่ ๓๑ แต่

ภัทรกัปนี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่งเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า

สุมนะ เที่ยวบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลวัลลิการะ อันสุกงอม.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

ในตระกูลพราหมณ์ กรุงราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ มีชื่อตามโคตรปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 141

ว่า ภารทวาชะ. เขาเจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือนได้บุตรคนหนึ่ง เขาได้ตั้ง

ชื่อบุตรว่า กัณหทินนะ ในเวลาที่กัณหทินนกุมาร บรรลุนิติภาวะแล้ว

เขาส่งเธอไปยังกรุงตักกศิลา ด้วยสั่งว่า ลูกเอ๋ย เจ้าจงไปศึกษาศิลปวิทยาใน

สำนักของอาจารย์ชื่อโน้น แล้วจงกลับมา. กัณหทินนพราหมณ์ เดินทางไป

ในระหว่างทาง ได้พระมหาเถระรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นสาวกของพระศาสดา เป็น

กัลยาณมิตร ฟังธรรมในสำนักของพระมหาเถระแล้ว ได้เป็นผู้มีศรัทธาจิต

บวชแล้ว กระทำบุรพกิจเสร็จแล้ว กระทำกรรมในวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต

ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ครั้งนั้น พระสัมพุทธะนามว่า " สุมนะ " อยู่ใน

พระนครตักกรา เราได้ถือเอาผลวัลลิการะ น้อมถวาย

แด่พระสยัมภู ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวาย

ผลไม้ใด ในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่

รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผา

กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา

กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ครั้งนั้น ภารทวาชพราหมณ์ ผู้เป็นบิดาของพระกัณหทินนเถระ

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร ฟังธรรม

แล้วบวช การทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. ลำดับนั้น พระ-

กัณหทินนเถระผู้เป็นบุตรมาสู่พระนครราชคฤห์ เพื่อถวายบังคมพระศาสดา เห็น

พระภารทวาชะผู้เป็นบิดา นั่งอยู่แล้วในสำนักของพระศาสดา เป็นผู้มีจิตยินดี

แล้ว เมื่อจะทดลองว่า แม้บิดาของเราก็บวชแล้ว กิจแห่งบรรพชาอันพระเถระ

ผู้เป็นบิดา ให้ถึงที่สุดแล้วหรือยังหนอ ดังนี้ ก็รู้ความที่พระเถระเป็นพระ

ขีณาสพแล้ว ประสงค์จะให้พระเถระผู้บิดาบันลือสีหนาท จึงถามว่า เป็นการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 142

ดีแล้วแล ที่ท่านบวชได้ แต่กิจแห่งบรรพชา อันท่านให้ถึงที่สุดแล้วหรือ

พระภารทวาชเถระเมื่อจะแสดงการบรรลุพระอรหัต แก่พระเถระผู้เป็นบุตร

จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ธีรชนผู้มีปัญญา ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว

ชื่อว่าผู้ชนะสงความ ย่อมบันลือสีหนาท ดังราชสีห์

ในถ้ำภูเขา ฉะนั้น เราได้ทำความคุ้นเคยกับพระศาสดา

แล้ว พระธรรมกับพระสงฆ์ เราได้บูชาแล้ว และเรา

ปลาบปลื้มใจ เพราะเห็นบุตรหมดอาสวกิเลสแล้ว

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นทนฺติ ความว่า บันลือ คือแผดเสียง

บันลืออย่างไม่เกรงขาม ด้วยสามารถแห่งการประมวลมาซึ่งคุณพิเศษตามความ

เป็นจริง.

บทว่า เอว เป็นบทแสดงอาการของข้อความที่จะพึงกล่าวในบัดนี้.

บทว่า สปฺปญฺา ความว่า ถึงความไพบูลย์ด้วยปัญญาทั้งปวง

เพราะได้บรรลุปัญญาคือมรรคอันเลิศ จึงชื่อว่าบรรลุถึงซึ่งปัญญาทุกประการ.

บทว่า วีรา ความว่า ชื่อว่า มีความเพียร เพราะสมบูรณ์ด้วยความเพียร

คือ สัมมัปปธาน ๔ อย่าง. เชื่อมความว่า เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาชนะ

กิเลสมาร อภิสังขารมาร และเทวบุตรมาร พร้อมทั้งพาหนะ ด้วยการทำลาย

ธรรมอันเป็นฝ่ายสังกิเลสได้โดยไม่เหลือ ชื่อว่าเป็นผู้ชนะสงครามแล้ว โดย

ประการทั้งปวง ย่อมบันลือสีหนาท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 143

พระเถระครั้นแสดงสีหนาท ด้วยการชนะกิเลสที่จะพึงชนะอย่างนี้แล้ว

บัดนี้ เพื่อจะแสดงสีหนาทนั้น โดยการแสดงความยินดีต่อสิ่งที่ควรยินดี และ

โดยความสำเร็จเป็นพระอรหันต์ตามที่ตนปรารถนา จึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า

สตฺถา จ ปริจิณฺโณ เม และเราได้ทำความคุ้นเคยกับพระศาสดาแล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺถา จ ปริจิณฺโณ เม ความว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาของเรา อันเราคุ้นเคยแล้ว คือ เข้าไป

ใกล้ชิดแล้ว โดยการกระทำตามพระโอวาทานุสาสนี ตามที่พระองค์ทรงสั่งสอน

แล้ว. อธิบายว่า ไม่ใช่บรรลุคุณพิเศษ เพราะเหตุแห่งธรรม.

บทว่า ธมฺโม สงฺโฆ จ ปูชิโต ความว่า โลกุตรธรรมแม้ทั้ง ๙

อันเราบูชาแล้ว นอบนบแล้ว ด้วยการบรรลุซึ่งมรรค อันมาแล้วตามข้อปฏิบัติ

และพระอริยสงฆ์ อันเราบูชาแล้ว นับถือแล้ว ด้วยการถึงความเป็นผู้เสมอ

โดยศีลและทิฏฐิ.

บทว่า อหญฺจ วิตฺโต สุมโน ปุตฺต ทิสฺวา อนาสว ความว่า

แม้เราก็ปลาบปลื้ม คือยินดีแล้ว ด้วยปีติที่ปราศจากอามิส เพราะเห็น คือ

เพราะเหตุที่ประสบว่า บุตรของเราหาอาสวะมิได้ คือมีอาสวะสิ้นแล้ว โดย

ประการทั้งปวง. อธิบายว่า เพราะเหตุนั้นแล. เราจึงดีใจด้วยความโสมนัส

อันปราศจากอามิส.

จบอรรถกถาภารทวาชเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 144

๑๐. กัณหทินนเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระกัณหทินนเถระ

[๒๘๗] ได้ยินว่า พระกัณหทินนเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

สัปบุรุษเราเข้าไปหาแล้ว ธรรมทั้งหลายเราฟัง

อยู่เป็นประจำ ครั้นฟังธรรมแล้ว จักดำเนินไปสู่ทาง

อันหยั่งลงสู่อมตธรรม เมื่อเรามีสติ กำจัดความกำหนัด

ยินดีในภพได้แล้ว ความกำหนัดยินดีในภพ ย่อมไม่มี

แก่เราอีก ไม่ได้มีแล้วในอดีต จักไม่มีในอนาคต ถึง

แม้เดี๋ยวนี้ก็ไม่มีแก่เราเลย.

จบวรรคที่ ๓

อรรถกถากัณหทินนเถรคาถา

คาถาของท่านพระกัณหทินนเถระ เริ่มต้นว่า อุปาสิตา สปฺปุริสา.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกัปที่ ๙๔ แต่

ภัทรกัปนี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า โสภิตะ

มีจิตเลื่อมใส ได้ทำการบูชาด้วยดอกบุนนาค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 145

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

ในตระกูลพราหมณ์ กรุงราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า กัณห-

ทินนะ เจริญวัยแล้ว อันอุปนิสสยสมบัติตักเตือนอยู่ เข้าไปหาพระธรรม

เสนาบดี ฟังธรรมแล้วได้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต

แล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้านามว่าโสภิตะ อยู่ที่ภูเขา

จิตกูฏ เราได้ถือเอาดอกบุนนาคเข้ามาบูชาพระสยัมภู

ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระสัมพุทธเจ้า

ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง

พุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ

พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล

จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

สัปบุรุษเราเข้าไปหาแล้ว ธรรมทั้งหลายเราฟัง

แล้วเป็นประจำ ครั้นฟังธรรมแล้ว จักดำเนินไปสู่ทาง

อันหยั่งลงสู่อมตธรรม เมื่อเรามีสติกำจัดความกำหนัด

ยินดีในภพได้แล้ว ความกำหนัดยินดีในภพ ย่อมไม่มี

แก่เราอีก ไม่ได้มีแล้วในอดีต จักไม่มีในอนาคต ถึง

แม้เดี๋ยวนี้ก็ไม่มีแก่เราเลย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปาสิตา ความว่า สัปบุรุษอันเราบำเรอ

แล้ว คือเข้าไปนั่งใกล้โดยการปรนนิบัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 146

บุรุษทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ผู้สงบระงับแล้ว ชื่อว่า

สัปบุรุษ ได้แก่ พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระสารีบุตรเถระเป็นต้น.

ด้วยบทว่า สปฺปุริสา นี้ พระเถระแสดงถึงความถึงพร้อม ด้วยจักร

ทั้งสองข้อแรกของตน. อธิบายว่า เว้นจากจักรคือการอยู่ในปฏิรูปเทศแล้ว

(จักร คือ) การเข้าไปคบหาสัปบุรุษย่อมเกิดมีไม่ได้.

บทว่า สุตา ธมฺมา ความว่า ธรรมอันปฏิสังยุตด้วยสัจจะ และ

ปฏิจจสมุปบาท อันข้าพเจ้าเข้าไปทรงไว้แล้ว ด้วยการแล่นไปตามโสตทวาร.

พระเถระเมื่อจะแสดงความเป็นพหูสูตของตน ย่อมแสดงสมบัติคือจักร ๒ ข้อ

หลัง ด้วยบทว่า สุตา ธมฺมา นี้.

บทว่า อภิณฺหโส ความว่า โดยมาก คือไม่ใช่เป็นครั้งเป็นคราว.

ก็บทนี้ บัณฑิตพึงประกอบเข้าแม้ในบทว่า อุปาสิตา สปฺปุริสา ด้วย.

บทว่า สุตฺวาน ปฏิปชฺชิสฺส อญฺชส อมโตคธ ความว่า เราฟัง

ธรรมเหล่านั้นแล้ว กำหนดรูปธรรม และอรูปธรรม ตามที่ตรัสไว้ในเทศนา

นั้น โดยลักษณะของตนเป็นต้น เจริญวิปัสสนาโดยลำดับ ดำเนินไปคือ

บรรลุถึงหนทาง คืออริยอัฏฐังคิกมรรค อันหยั่งลงสู่อมตะ คือเป็นที่ตั้งแห่ง

พระนิพพาน ได้แก่ยังพระนิพพานให้ถึงพร้อม.

บทว่า ภวราคหตสฺส เม สโต ความว่า เมื่อเรามีสติสมบูรณ์แล้ว

กำจัด คือ เข้าไปทำลาย ความยินดีในภพคือตัณหา ในสงสารอันมีเบื้องต้น

และที่สุด อันบุคคลตามเข้าไปกำหนดรู้ไม่ได้ อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ มีความ

กำหนัดในภพ อันมรรคอันเลิศกำจัดแล้ว.

บทว่า ภวราโค ปุน เม น วิชฺชติ ความว่า เพราะเหตุนั้นแล

ความกำหนัดในภพ ย่อมไม่มีแก่เราอีกในบัดนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 147

บทว่า น จาหุ น เม ภวิสฺสติ น จ เม เอตรหิ วิชฺชติ

ความว่า แม้ถ้าความกำหนัดในภพได้มีแก่เรา ในเวลาที่เราเป็นปุถุชน และ

ในเวลาที่เรายังเป็นเสกขบุคคลในกาลก่อน ก็จริง แต่จำเดิมแต่เราได้บรรลุมรรค

อันเลิศแล้ว ความกำหนัดในภพจะไม่มี และไม่มีแล้ว คือจะไม่มีแก่เรา และ

จะหาไม่ได้ในปัจจุบัน คือ บัดเดี๋ยวนี้ อธิบายว่า เราละภวราคะได้แล้ว. ก็

ด้วยคำว่า ภวราคะ นั่นแล เป็นอันพระเถระกล่าวความไม่มีแม้แห่งกิเลส

มีมานะเป็นต้นไว้ด้วย เพราะความที่แห่งกิเลสมีมานะเป็นต้น ตั้งอยู่ในที่เดียว

กันกับภวราคะนั้น เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงแสดงความที่ตนเป็นผู้มีสังโยชน์

ในภพสิ้นรอบแล้ว โดยประการทั้งปวง.

จบอรรถกถากัณหทินนเถรคาถา

จบวรรควรรณนาที่ ๓

แห่งอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี

ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ

๑. พระอุตตรเถระ ๒. พระภัททชิเถระ ๓. พระโสภิตเถระ ๔.

พระวัลลิยเถระ ๕. พระวีตโสกเถระ ๖. พระปุณณมาสเถระ ๗. พระ-

นันทกเถระ ๘. พระภรตเถระ ๙. พระภารทวาชเถระ ๑๐. พระกัณห-

ทินนเถระ และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 148

เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๔

๑. มิคสิรเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมิคสิรเถระ

[๒๘๘] ได้ยินว่า พระมิคสิรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เมื่อใด เราได้บวชในศาสนาของพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าแล้ว หลุดพ้นจากกิเลส ได้บรรลุธรรมอัน

ผ่องแผ่วแล้ว ล่วงเสียซึ่งถามธาตุ เมื่อนั้น จิตของเรา

ผู้เพ่งธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นดังพรหม

หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง และมารู้ชัดว่า วิมุตติ

ของเราไม่กำเริบ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์

ทั้งปวง.

วรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถามิคสิรเถรคาถา

คาถาของท่านพระมิคสิรเถระ เริ่มต้นว่า ยโต อห ปพฺพชิโต.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 149

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง

เห็นพระศาสดาแล้วมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายหญ้าคา ๘ กำ.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถือ

ปฏิสนธิในตระกูลพราหมณ์ ในโกศลรัฐ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า

มิคสิระ เพราะเกิดในฤกษ์มิคสิรนักษัตร เจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จใน

วิชาและศิลปศาสตร์ของพราหมณ์ทั้งหลาย ศึกษามนต์ชื่อว่า ฉวสีสะ (มนต์

ดูกระโหลกหัวผี) คือ ร่ายมนต์แล้ว เอาเล็บเคาะศีรษะของผู้ที่ตายไปแล้ว

แม้ที่สุดถึง ๓ ปี ก็รู้ได้ว่า สัตว์ผู้นี้ เกิดในที่ชื่อโน้น.

เขาไม่ปรารถนาการอยู่อย่างฆราวาส บวชเป็นปริพาชกอาศัยวิชานั้น

เป็นผู้อันชาวโลก สักการะ เคารพ มีลาภ เที่ยวไปเดินทางถึงกรุงสาวัตถี

แล้วไปสู่สำนักของพระศาสดา เมื่อจะประกาศอานุภาพของตน จึงกราบทูลว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้สถานที่ซึ่งผู้ทายแล้วไปเกิด เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสถามว่า ก็เธอรู้ได้อย่างไร ? จึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์ให้เขา

นำเอากระโหลกศีรษะหัวผีมา แล้วร่ายมนต์ เอาเล็บเคาะศีรษะ ย่อมรู้สถานที่

ซึ่งสัตว์เหล่านั้น ๆ ไปเกิด มีนรกเป็นต้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งให้เขานำเอากระโหลกศีรษะของ

ภิกษุผู้ปรินิพพานแล้ว มาให้มิคสิรปริพาชก ตรัสสั่งว่า เธอจงบอกถึงคติของ

กระโหลกศีรษะนั้นก่อน นี้เป็นกระโหลกศีรษะของผู้ใด เขาร่ายมนต์สำหรับ

ดูกะโหลกศีรษะนั้นแล้ว เคาะด้วยเล็บ ไม่เห็นที่สุด ไม่เห็นเงื่อนงำ. ลำดับนั้น

เขาเมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า เธอไม่อาจ (จะเห็น) หรือ จึงกราบทูลว่า

จักขอตรวจสอบดูก่อน แล้วแม้ร่ายมนต์อยู่บ่อย ๆ ก็มองไม่เห็นอยู่นั่นเอง.

ก็ผู้ประกอบพิธีกรรมภายนอกพระพุทธศาสนา จักรู้คติของพระขีณาสพได้อย่าง-

ไร ? ลำดับนั้น เหงื่อไหลออกจากศีรษะและรักแร้ของมิคสิรปริพาชก เขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 150

ละอายยืนนิ่งอยู่ พระศาสดาตรัสว่า เธอลำบากหรือปริพาชก. เขาทูลตอบว่า

พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ลำบาก ข้าพระองค์ไม่รู้คติของกระโหลกศีรษะนี้ ก็

พระองค์เล่า ทรงรู้หรือพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราตถาคต

รู้คติของกระโหลกศีรษะนี้ แม้ยิ่งกว่านี้ เราตถาคตก็รู้ ดังนี้แล้ว ตรัสต่อไปว่า

ผู้เป็นเจ้าของกระโหลกศีรษะนั้น ไปสู่พระนิพพาน. ปริพาชก กราบทูลว่า

ขอพระองค์จงให้วิชานี้ แก่ข้าพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น

เธอจงบวช ดังนี้แล้วให้ปริพาชกนั้นบวช ให้ประกอบความเพียรในสมถกรรม-

ฐานก่อน แล้วทรงแนะนำวิปัสสนากรรมฐาน แก่เธอผู้ตั้งอยู่ในฌานและอภิญญา

แล้ว เธอบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน แล้วบรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก.

สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า*

เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายหญ้าคา ๘ กำ

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ ผู้มี

บาปอันลอยเสียแล้ว มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว ใน

กัปนี้นั่นเอง เราได้ถวายหญ้าคา ๘ กำ ด้วยการถวาย

หญ้าคานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย. เราเผากิเลสทั้งหลาย

แล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จ

แล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผลได้กล่าว

คาถา ๒ คาถา ความว่า

เมื่อใด เราได้บวชในศาสนาของพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าแล้ว หลุดพ้นจากกิเลส ได้บรรลุธรรมอัน

ผ่องแผ้วแล้ว ล่วงเสียซึ่งกามธาตุ เมื่อนั้น จิตของเรา

* ใน ขุ.อ. ๓๓/๖๖ เรียกชื่อว่า กุสัฏฐกทายกเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 151

ผู้เพ่งธรรม ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นดังพรหม

หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง และมารู้ชัดว่า วิมุตติของเรา

ไม่กำเริบ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต อห ปพฺพชิโต สมฺมาสมฺ-

พุทฺธสาสเน ความว่า เราบวชในพระศาสนา จำเดิมแต่กาลใด คือ จำเดิม

แต่เวลาที่เราบวชแล้ว.

บทว่า วิมุจฺจมาโน อุคฺคญฺฉึ ความว่า เราเมื่อหลุดพ้นจากธรรม

อันเป็นฝ่ายสังกิเลส ด้วยสมถะและวิปัสสนาเป็นปฐมก่อน ชื่อว่า ตั้งตนได้ด้วย

สามารถแห่งธรรมอันผ่องแผ้ว เมื่อตั้งตนได้อย่างนี้แล้ว ชื่อว่าล่วงเสียซึ่ง

กามธาตุ คือก้าวล่วงกามธาตุได้ด้วยอนาคามิมรรค โดยส่วนเดียวทีเดียว.

บทว่า พฺรหฺมุโน เปกฺขมานสฺส ตโต จิตฺต วิมุจฺจิ เม ความว่า

จิตของเราผู้เพ่งธรรม ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้ชื่อว่าเป็น

พรหม โดยอรรถว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด เพราะความเป็นผู้เลิศกว่าโลกพร้อมทั้ง

เทวโลก โดยประกอบไปด้วยพระมหากรุณาว่า กุลบุตรนี้ บวชในศาสนา

ของเรา จะปฏิบัติอย่างไรหนอแล ดังนี้ หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวงโดย

ส่วนเดียวนั่นเทียว เพราะเหตุที่ได้บรรลุพระอนาคามิมรรคนั้น (และ) เพราะ

บรรลุมรรคอันเลิศในภายหลัง.

บทว่า อกุปฺปา เม วิมุตฺติ ความว่า พระเถระพยากรณ์พระ-

อรหัตผลว่า เพราะเหตุที่จิตของเราหลุดพ้นแล้ว อย่างนั้นนั่นแล คือเพราะ

สิ้นไป ได้แก่ สิ้นไปรอบ แห่งสังโยชน์ทั้งหลายทั้งปวง วิมุตติของเราจึงไม่

กำเริบอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถามิคสิรเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 152

๒. สิวกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสิวกเถระ

[๒๘๙] ได้ยินว่า พระสิวกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เรือนคืออัตภาพที่เกิดในภพนั้นบ่อย ๆ เป็นของ

ไม่เที่ยง เราแสวงหานายซ่าง คือ ตัณหาผู้สร้างเรือน

เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร สิ้นชาติมิใช่น้อย

การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ร่ำไป ดูก่อนนายช่างผู้สร้าง

เรือน บัดนี้ เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้องสร้างเรือน

ให้เราอีก ซี่โครงคือกิเลสของท่านเราหักเสียหมดแล้ว

และช่อฟ้าคืออวิชชาแห่งเรือนของท่าน เราทำลายแล้ว

จิตของเราไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว จักดับอยู่ใน

ภพนี้เอง.

อรรถกถาสิวกเถรคาถา

คาถาของท่านพระสิวกเถระ เริ่มต้นว่า อนิจฺจานิ คหกานิ.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์-

ก่อนๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง เห็นพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 153

ผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส รับบาตรแล้วได้ถวาย

ขนมกุมมาสจนเต็มบาตร.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิด

ในตระกูลพราหมณ์ ได้มีนามว่า สีวกะ. เขาเจริญวัยแล้วสำเร็จการศึกษาใน

วิชาการและศิลปศาสตร์ทั้งหลาย ละกามทั้งหลายแล้วบวชเป็นปริพาชก เพราะ

ความเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในเนกขัมมะ เที่ยวไป เข้าเฝ้าพระศาสดาฟังธรรม

เป็นผู้ได้ศรัทธาจิต บวชแล้วกระทำกรรมในวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัต

ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราเห็นบาตรอันว่างเปล่า ของพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระนามว่า วิปัสสี

เสด็จเที่ยวแสวงหาบิณฑบาตอยู่ จึงใส่ขนมกุมมาส

จนเต็มบาตร ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวาย

ภิกษาใด ด้วยการถวายภิกษานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งขนมกุมมาส. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว

ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเรากระทำสำเร็จ

แล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผลได้กล่าว

คาถา ๒ คาถา ความว่า

เรือน คือ อัตภาพที่เกิดในภพนั้น ๆ บ่อย ๆ

เป็นของไม่เที่ยง เราแสวงหานายช่างคือตัณหาผู้สร้าง-

เรือน เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสารสิ้นชาติมิใช่

น้อย การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ร่ำไป ดูก่อนนายช่างผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 154

สร้างเรือน บัดนี้ เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้อง

สร้างเรือนให้เราอีก ซี่โครงคือกิเลสของท่าน เราหัก

เสียหมดแล้ว และช่อฟ้าคืออวิชชาแห่งเรือนท่าน เรา

ทำลายเสียแล้ว จิตของเราไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา

แล้ว จักดับอยู่ในภพนี้เอง ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจานิ คหกานิ ตตฺถ ตตฺถ

ปุนปฺปุน ความว่า เรือนทั้งหลายได้แก่เรือนคืออัตภาพ อันบังเกิดในภพนั้น ๆ

บ่อย ๆ เป็นของไม่เที่ยง คือไม่มั่นคง ไม่คงทน ได้แก่ มีอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อย.

บทว่า คหการ คเวสนฺโต มีอธิบายว่า เมื่อเราแสวงหานายช่าง

ผู้กระทำเรือนคืออัตภาพนี้ ได้แก่ นายช่างผู้สร้างเรือน คือ ตัณหา ได้ท่อง-

เที่ยวไปตลอดเวลามีประมาณเท่านี้.

บทว่า ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุน นี้เป็นคำแสดงเหตุแห่งการแสวงหา

นายช่างผู้สร้างเรือน เพราะเหตุที่ ขึ้นชื่อว่าชาตินี้ ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพื่อการ

เข้าถึงบ่อย ๆ เพราะเจือไปด้วย ชรา พยาธิ และมรณะ ก็เมื่อเรายังหาช่าง

ผู้สร้างเรือนนั้นไม่พบ ชาตินั้นย่อมไม่สูญหาย ฉะนั้น เมื่อเราแสวงหาช่าง

ผู้สร้างเรือนนั้น เราจึงเที่ยวไปแล้ว.

บทว่า คหการก ทิฏฺโสิ ความว่า ดูก่อนช่างผู้สร้างเรือน ก็บัดนี้

ท่านเป็นผู้อันเราสามารถเห็นได้ ด้วยดวงตา คือ พระอริยมรรคนั้นแล้ว.

บทว่า ปุน เคห ความว่า เจ้าจะไม่กระทำ คือจักไม่สร้างเรือน

ของเรา กล่าวคืออัตภาพในสังสารวัฎนี้ต่อไปได้อีก.

บทว่า สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา ความว่า ซี่โครง คือ กิเลส

ทั้งปวงของเจ้า อันเราหักแล้วโดยไม่มีส่วนเหลือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 155

บทว่า ถูณิกา จ วิทาลิตา ความว่า และบัดนี้เราทำลายช่อฟ้า

กล่าวคือ อวิชชา แห่งเรือนคืออัตภาพ อันท่านพึงกระทำเสียแล้ว.

บทว่า วิมริยาทิกต จิตฺต ความว่า จิตของเราอันเรากระทำให้มี

ที่สุดไปปราศแล้ว คือให้ถึงความไม่ต้องเกิดต่อไปเป็นธรรมดา อธิบายว่า

เพราะเหตุนั้นแล จิตของเราจักดับอยู่ในภพนี้เอง คือจักถูกกำจัดเสียในภพ

นี้แหละ ได้แก่จักดับไปด้วยการดับแห่งจิตดวงสุดท้าย.

จบอรรถกถาสีวกเถรคาถา

๓. อุปวาณเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุปวาณเถระ

[๒๙๐] ได้ยินว่า พระอุปวาณเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็น

พระอรหันต์ ผู้เสด็จไปดีแล้วในโลก เป็นมุนี ถูกลม

เบียดเบียนแล้ว ถ้าท่านมีน้ำร้อนขอจงถวายแด่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นมุนีเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น เป็นผู้อันบุคคลบูชาแล้ว กว่าเทวดาและ

พรหมทั้งหลาย แม้บุคคลควรบูชา อันบุคคลสักการะ

แล้ว กว่าพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าโกศล ผู้อัน

บุคคลพึงสักการะ อันบุคคลนอบน้อมแล้ว กว่าเหล่า

พระขีณาสพที่บุคคลควรนอบน้อม เราปรารถนาจะนำ

น้ำร้อนไปถวายพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 156

อรรถกถาอุปวาณเถรคาถา

คาถาของท่านพระอุปวาณเถระ เริ่มต้นว่า อรห สุคโต. เรื่องราว

ของท่านเป็นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเถระนี้บังเกิดในตระกูลที่ยากจน ในกาลของพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ บรรลุนิติภาวะแล้ว เมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อมวลมนุษย์ เทวดา นาค ครุฑ กุมภัณฑ์

ยักษ์ และคนธรรพ์ทั้งหลาย เก็บพระธาตุของพระองค์มากระทำพระสถูป

สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ สูง ๗ โยชน์ เขาได้เอาผ้าอุตราสงค์ของตน ซึ่งขาวสะอาด

บริสุทธิ์ ผูกปลายไม้ไผ่ทำเป็นธงแล้วทำการบูชา. ยักษ์ผู้เสนาบดี นามว่า

อภิสัมมตะ อันเทวดาทั้งหลายแต่งตั้งไว้ เพื่ออารักขาสถานที่บูชาพระเจดีย์

มีกายไม่ปรากฏ ถือธงนั้น ทรงไว้ในอากาศ กระทำประทักษิณพระเจดีย์

๓ รอบ. เขาเห็นดังนั้น ได้เป็นผู้มีใจเลื่อมใส เกินประมาณ.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

ในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า

อุปวาณะ เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพในคราวที่ทรงรับมอบพระวิหาร

ชื่อว่า เชตวัน เป็นผู้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว กระทำกรรมในวิปัสสนา บรรลุ

พระอรหัตแล้ว ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน

อปทานว่า

พระสัมพุทธชินเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ

ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟ เสด็จ

ปรินิพพาแล้ว มหาชนมาประชุมกันบูชาพระตถาคต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 157

กระทำจิตกาธารอย่างสวยงามแล้ว ปลงพระสรีระ

มหาชนทั้งหมดพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ทำสรีรกิจ

เสร็จแล้ว รวบรวมพระธาตุไว้ ณ ที่นั้น ได้สร้าง

พระสถูปขึ้นไว้ ชั้นที่ ๑ แห่งพระพุทธสถูปนั้น สำเร็จ

ด้วยทอง ชั้นที่ ๒ สำเร็จด้วยแล้วมณี ชั้นที่ ๓ สำเร็จ

ด้วยเงิน ชั้นที่ ๔ สำเร็จด้วยแก้วผลึก ชั้นที่ ๕ ใน

พระพุทธสถูปนั้น สำเร็จด้วยแก้วทับทิม ชั้นที่ ๖

สำเร็จด้วยแก้วลาย (เพชรตาแมว) ชั้นบนสำเร็จด้วย

รัตนะล้วน ทางเดินสำเร็จด้วยแก้วมณี ไพทีสำเร็จ

ด้วยรัตนะ พระสถูปสำเร็จด้วยทองล้วน ๆ สูงสุด

๑ โยชน์ เวลานั้นเทวดาทั้งหลายมาร่วมประชุมปรึกษา

กัน ณ ที่นั้นว่า แม้พวกเราก็จักสร้างพระสถูปถวายแด่

พระโลกนาถผู้คงที่ พระธาตุจะได้ไม่เรี่ยราย พระ-

สรีระจะรวมเป็นอันเดียวกัน เราทั้งหลายจะทำกุญแจ

ใส่ในพระสถูปนี้ เทวดาทั้งหลายจึงยังโยชน์อื่น ให้

เจริญด้วยรัตนะ ๗ ประการ (คือเทวดานิรมิตพระสถูป

ให้สูงขึ้นอีกโยชน์หนึ่ง ด้วยรัตนะ ๗ ประการ) พระ-

สถูปจึงสูง ๒ โยชน์ สว่างไสวขจัดความมืดได้ นาค

ทั้งหลายมาประชุมร่วมปรึกษากัน ณ ที่นั้น ในเวลา

นั้นว่า มนุษย์และเทวดาได้สร้างพระสถูปแล้ว เรา

ทั้งหลายอย่าได้ประมาทเลย ดังมนุษย์กับเทวดาไม่

ประมาท แม้พวกเราก็จักสร้างพระสถูปถวายแด่พระ

โลกนาถผู้คงที่ นาคเหล่านั้น จึงร่วมกันรวบรวมแก้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 158

อินทนิล แก้วมหานิล และแก้วมณีมีรัศมี โชติช่วง

ปกปิดพระพุทธสถูป พระพุทธเจดีย์ประมาณเท่านั้น

สำเร็จด้วยแก้วมณีล้วน สูงสุด ๓ โยชน์ ส่องแสง

สว่างไสวในเวลานั้น ฝูงครุฑมาประชุมร่วมปรึกษากัน

ในเวลานั้นว่า มนุษย์เทวดาและนาค ได้สร้างพระพุทธ-

สถูปแล้ว เราทั้งหลายอย่าประมาทเลย ดังมนุษย์

เป็นต้น กับเทวดาไม่ประมาท แม้พวกเราก็จักสร้าง

สถูปถวายแด่พระโลกนาถผู้คงที่ ฝูงครุฑจึงได้สร้าง

พระสถูปอันสำเร็จด้วยแก้วมณีล้วน และกุญแจก็เช่น

นั้น ได้สร้างพระพุทธเจดีย์ต่อขึ้นไป ให้สูงขึ้นอีก

โยชน์หนึ่ง พระพุทธสถูปสูงสุด ๔ โยชน์ รุ่งเรืองอยู่

ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว ดังพระอาทิตย์อุทัย ฉะนั้น

และพวกกุมภัณฑ์ก็มาประชุมร่วมปรึกษากัน ในเวลา

นั้นว่า พวกมนุษย์และพวกเทวดา ฝูงนาคและฝูงครุฑ

ได้สร้างพระสถูปอันอุดม ถวายเฉพาะแด่พระพุทธเจ้า

ผู้ประเสริฐ พวกเราอย่าได้ประมาทเลย ดังมนุษย์

เป็นต้นกับเทวดาไม่ประมาท แม้พวกเราก็จักสร้าง

พระสถูปถวาย แด่พระโลกนาทผู้คงที่ พวกเราจักปิด

พระพุทธเจดีย์ ต่อขึ้นไปด้วยรัตนะ พวกกุมภัณฑ์ได้

สร้างพระพุทธเจดีย์ต่อขึ้นไปในที่สุดอีกโยชน์หนึ่ง

เวลานั้นพระสถูปสูงสุด ๕ โยชน์ สว่างไสวอยู่ พวก

ยักษ์มาประชุมร่วมปรึกษากัน ณ ที่นั้น ในเวลานั้นว่า

เวลานั้น มนุษย์ เทวดา นาค กุมภัณฑ์ และครุฑ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 159

ได้พากันสร้างสถูปอันอุดมถวาย เฉพาะพระพุทธเจ้า

ผู้ประเสริฐสุด พวกเราอย่าได้ประมาทเลย ดังมนุษย์

เป็นต้น พร้อมกับเทวดาไม่ประมาท แม้พวกเราก็จัก

สร้างสถูปถวายแด่พระโลกนาถผู้คงที่ พวกเราจัก

ปกปิดพระพุทธเจดีย์ต่อขึ้นไปด้วยแก้วผลึก พวกยักษ์

จึงสร้างพระพุทธเจดีย์ต่อขึ้นไป ในที่สุดอีกโยชน์หนึ่ง

เวลานั้น พระสถูปจึงสูงสุด ๖ โยชน์ สว่างไสวอยู่ พวก

คนธรรพ์มาประชุมร่วมปรึกษากัน ในเวลานั้นว่า สัตว์

ทั้งปวง คือ มนุษย์ เทวดา นาค ครุฑ กุมภัณฑ์ และ

ยักษ์ พากันสร้างพระสถูปแล้ว บรรดาสัตว์เหล่านี้

พวกเรายังไม่ได้สร้าง แม้พวกเราก็จักสร้างสถูป

ถวายแด่พระโลกนาถเจ้าผู้คงที่ พวกคนธรรพ์จึงพากัน

สร้างไพที ๗ ชั้น ได้สร้างตลอดทางเดิน เวลานั้น

พวกคนธรรพ์ได้สร้างสถูปสำเร็จด้วยทองคำล้วน ใน

กาลนั้น พระสถูปจึงสูง ๗ โยชน์ สว่างไสวอยู่

กลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ แสงสว่างมีอยู่เสมอไป

พระจันทร์และพระอาทิตย์ พร้อมทั้งดาว ครอบงำรัศมี

พระสถูปนั้นไม่ได้ ก็แสงสว่างโพลงไปไกล ๑๐๐

โยชน์โดยรอบ (พระสถูป) ในเวลานั้น มนุษย์เหล่าใด

จะบูชาพระสถูป พวกเขาไม่ต้องขึ้นพระสถูป พวก

เขายกขึ้นไว้ในอากาศ ยักษ์ตนหนึ่งพวกเทวดาตั้งไว้

ชื่อว่า อภิสมมตะ มันยกธงหรือพวงดอกไม้ขึ้นไปใน

เบื้องสูง มนุษย์เหล่านั้น มองไม่เห็นยักษ์ มองเห็นแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 160

พวงดอกไม้ขึ้นไป ครั้นเห็นเช่นนี้แล้วกลับไป มนุษย์

ทั้งหมดย่อมไปสู่สุคติ มนุษย์เหล่าใดชอบใจในปาพจน์

และเหล่าใดเลื่อมใสในพระศาสนา ต้องการจะเห็น

ปาฏิหาริย์ ย่อมบูชาพระสถูป เวลานั้นเราเป็นคน

ยากไร้ อยู่ในเมืองหงสาวดี เราได้เห็นหมู่ชนเบิกบาน

จึงคิดอย่างนี้ในเวลานั้นว่า เรือนพระธาตุเช่นนี้ ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นี้โอฬาร ก็หมู่ชนเหล่านี้ มีใจยินดี ไม่รู้จักอิ่ม

ในสักการะที่ทำอยู่ แม้เราก็จักทำสักการะ แด่พระ-

โลกนาถผู้คงที่บ้าง เราจักเป็นทายาทในธรรมของ

พระองค์ในอนาคต เราจึงเอาเชือกผูกผ้าห่มของเรา

อันซักขาวสะอาดแล้ว คล้องไว้ที่ยอดไม้ไผ่ ยกเป็นธง

ขึ้นไว้ในอากาศ ยักษ์อภิสัมมตะ ยกธงของเรานำขึ้น

ไปไว้ในอัมพร เราเห็นธงอันลมสะบัด ได้เกิดความ

ยินดีอย่างยิ่ง เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระสถูปนั้นแล้ว

เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง กราบไหว้ภิกษุนั้นแล้ว ได้

สอบถามถึงผลในการถวายธง ท่านยังความเพลิดเพลิน

และปีติให้เกิดแก่เรา กล่าวแก่เราว่า ท่านจักได้เสวย

วิบากของธงนั้น ในกาลทั้งปวง จตุรงคเสนา คือ

พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า จักแวดล้อม

ท่านอยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายธง ดนตรี

หกหมื่น และกลองเภรีอันประดับสวยงาม จะประโคม

แวดล้อมท่านเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายธง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 161

หญิงสาวแปดหมื่นหกพัน อันประดับงดงาม มีผ้าและ

อาภรณ์อันวิจิตร สวมใส่แก้วมณี และกุณฑล หน้า-

แฉล้ม แย้มยิ้ม มีตะโพกผึ่งผาย เอวบาง จักแวดล้อม

(บำเรอ) ท่านเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายธง ท่าน

จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ตลอดสามหมื่นกัป จักได้

เป็นจอมเทวดา เสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๘๐ ครั้ง จักได้

เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า

ประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับมิได้ ในแสนกัป

พระศาสดาพระนามว่า โคดม ซึ่งมีสมภพในวงศ์

พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ท่านอันกุศล

มูลตักเตือน เคลื่อนจากเทวโลกแล้ว ประกอบด้วย

บุญกรรม จักเกิดเป็นบุตรพราหมณ์ ท่านจักละทรัพย์

๘๐ โกฏิ ทาสและกรรมกรเป็นอันมาก ออกบวชใน

พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า โคดม

ท่านจักยังพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โคดมศากยบุตร

ผู้ประเสริฐให้โปรดปรานแล้ว จักได้เป็นพระสาวก

ของพระศาสดา มีชื่อว่า อุปวาณะ กรรมที่เราทำไว้

แล้ว ในแสนกัป ให้ผลแก่เราในที่นี้แล้ว เราเผากิเลส

ของเราแล้ว ดุจกำลังลูกศรพ้นจากแล่งไปแล้ว เมื่อ

เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ ธง

ทั้งหลายจักยกขึ้นโดยรอบ ๓ โยชน์ทุกเมื่อ ในแสนกัป

แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใดไว้ในเวลานั้น ด้วยผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 162

แห่งกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ

ถวายธง. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของ

พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ครั้งนั้น ท่านพระอุปวาณะ ได้เป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า. ก็โดย

สมัยนั้น อาพาธอันเกิดแต่ลม บังเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. และ

พราหมณ์ชื่อว่า เทวหิตะ เป็นสหายของพระเถระแต่ครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ อาศัย

อยู่ในพระนครสาวัตถี. เขาปวารณาพระเถระด้วยปัจจัย ๔.

ลำดับนั้น ท่านพระอุปวาณะ นุ่งสบงแล้วถือบาตรจีวร เข้าไปยัง

ที่อยู่ของพราหมณ์นั้น พราหมณ์รู้ว่า พระเถระมาโดยวัตถุประสงค์บางประการ

จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านประสงค์สิ่งใดจงบอกเถิด. พระเถระเมื่อ

จะบอกวัตถุประสงค์แก่พราหมณ์ ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระ-

อรหันต์ ผู้เสด็จไปดีแล้วในโลกเป็นมุนี ถูกลม

เบียดเบียนแล้ว ถ้าท่านมีน้ำร้อน ขอจงถวายแด่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นมุนีเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น เป็นผู้อันบุคคลบูชาแล้ว ยิ่งกว่าเทวดา

และพรหมทั้งหลาย แม้บุคคลควรบูชา อันบุคคล

สักการะแล้ว ยิ่งกว่าพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้า

โกศล ผู้อันบุคคลพึงสักการะ อันบุคคลนอบน้อมแล้ว

ยิ่งกว่าเหล่าพระขีณาสพ ที่บุคคลควรนอบน้อม เรา

ปรารถนาจะนำน้ำร้อนไปถวายพระองค์ ดังนี้.

คาถาทั้งสองนั้น มีอธิบายว่า บรรดาบุคคลผู้ควรบูชาในโลกนี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด อันบุคคลบูชาแล้ว (ยิ่ง) กว่าเทวดาทั้งหลาย มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 163

ท้าวสักกะเป็นต้น ยิ่งกว่าพรหมทั้งหลาย มีท้าวมหาพรหมเป็นต้น ผู้ควรบูชา

บรรดาผู้ที่ควรสักการะทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด อันบุคคล

สักการะแล้ว ยิ่งกว่าพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าโกศลเป็นต้น ผู้ควรสักการะ

บรรดาบุคคลผู้ควรนอบน้อมทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด อัน

บุคคลนอบน้อมแล้ว ยิ่งกว่าพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

ผู้ควรนอบน้อมชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะพระคุณมีความเป็นผู้ไกลจาก

กิเลสเป็นต้น ชื่อว่า เป็นพระสุคต เพราะเสด็จไปงามเป็นต้น เป็นพระ-

สัพพัญญู เป็นมุนี เป็นศาสดาของเรา เป็นเทพเหนือเทพ เป็นสักกะเหนือ

ท้าวสักกะทั้งหลาย เป็นพรหมเหนือพรหมทั้งหลาย.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระประชวรเพราะโรคลม

คือเพราะลมเป็นเหตุ ได้แก่เหตุเพราะลมกำเริบ.

ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านมีน้ำร้อน เราปรารถนาจะนำไปถวายเพื่อ

ระงับวาตาพาธ คือเพื่อบำบัดโรคลม ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

พราหมณ์ฟังดังนั้นแล้ว นำน้ำร้อน และเภสัช อันเหมาะแก่อาการ

ของโรค และสมควรแก่การระงับโรคลม เข้าไป น้อมถวายแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. โรคของพระศาสดาสงบแล้ว เพราะน้ำร้อนและเภสัชนั้น. พระผู้มี

พระภาคเจ้าได้ทรงกระทำอนุโมทนาแก่พราหมณ์นั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาอุปวาณเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 164

๔. อิสิทินนเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอิสิทินนเถระ

[๒๙๑] ได้ยินว่า พระอิสิทินนเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

อุบาสกทั้งหลาย ผู้ทรงธรรมกล่าวว่า กามทั้ง-

หลายไม่เที่ยง เราได้เห็นแล้ว อุบาสกเหล่านั้นเป็นผู้

กำหนัด รักใคร่ ห่วงใยในแก้วมณี บุตรธิดา และ

ภรรยา เราได้เห็นแล้ว เพราะอุบาสกเหล่านั้น ไม่รู้

ธรรมภายในพระพุทธศาสนานี้แน่แท้ แม้ถึงอย่างนั้นก็ได้

กล่าวว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง แต่กำลังญาณเพื่อจะตัด

ราคะของอุบาสกเหล่านั้น ไม่มี เพราะฉะนั้น อุบาสก

เหล่านั้น จึงติดอยู่ในบุตร ภรรยาและในทรัพย์.

อรรถกถาอิสิทินนเถรคาถา

คาถาของท่านพระอิสิทินนเถระ เริ่มต้นว่า ทิฏฺา มยา. เรื่อง

ราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ ทั้งหลาย กระทำบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ใน

กาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี บรรลุความเป็นผู้รู้

แล้วถือพัดโบก บูชาโพธิพฤกษ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 165

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

ในตระกูลเศรษฐี ในสุนาปรันตชนบท ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า อิสิ-

ทินนะ เจริญวัยแล้ว เห็นปาฎิหาริย์ในคราวที่พระศาสดาทรงรับไม้จันทน์

และระเบียบดอกไม้ มีใจเลื่อมใส เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรมแล้วเป็นพระ

โสดาบันอยู่ครองเรือน. เทวดาผู้มุ่งประโยชน์ต่ออิสิทินนเศรษฐี เมื่อจะเตือน

เขาได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

อุบาสกทั้งหลาย ผู้ทรงธรรมกล่าวว่า กามทั้ง-

หลายไม่เที่ยง เราได้เห็นแล้ว อุบาสกเหล่านั้น เป็นผู้

กำหนัด รักใคร่ ห่วงใยในแก้วมณี บุตรธิดา และ

ภรรยา เราได้เห็นแล้ว เพราะอุบาสกเหล่านั้น ไม่รู้

ธรรมในพระพุทธศาสนานี้แน่แท้ แม้ถึงอย่างนั้นก็ได้

กล่าวว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง แต่กำลังญาณเพื่อจะ

ตัดราคะของอุบาสกเหล่านั้น ไม่มี เพราะฉะนั้น

อุบาสกเหล่านั้น จึงติดอยู่ในบุตร ภรรยา และใน

ทรัพย์ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺา มยา ธมฺมธรา อุปาสกา

กามา อนิจฺจา ความว่า อุบาสกทั้งหลาย ผู้ทรงปริยัติธรรมบางคนในโลก-

นี้ เราเห็นแล้ว คือเพราะเหตุที่เขาเป็นผู้ทรงพระปริยัติธรรมนั้นแล เมื่อ

กล่าวธรรม อันปฏิสังยุตด้วยโทษในกามทั้งหลายว่า ขึ้นชื่อว่า กามเหล่านี้

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดังนี้ แต่ตัวเองกลับ

กำหนัดแล้ว กำหนัดนักแล้ว ในแก้วมณีและแก้วกุณฑลทั้งหลาย มีความ

ห่วงใย ในบุตรและภรรยาทั้งหลาย ได้แก่ เป็นผู้มีความกำหนัดแล้ว คือเป็น

ผู้มากไปด้วยความกำหนัดยินดี ในแก้วมณีและแก้วกุณฑลทั้งหลาย หรือใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 166

แก้วมณี และแก้วกุณฑลอันตนสั่งสมไว้แล้ว มีความเสน่หาอย่างท้วมท้น ใน

บุตรธิดา และในภรรยาทั้งหลาย อธิบายว่า คนที่พูดอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง

เราเห็นแล้ว.

บทว่า ยโต ความว่า เพราะเหตุที่อุบาสกเหล่านั้น ยังมีความ

กำหนัดยินดี ในแก้วมณีและแก้วกุณฑลทั้งหลาย มีความห่วงใย ในบุตร

และภรรยาทั้งหลาย ฉะนั้น อุบาสกเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าไม่รู้จริงซึ่งธรรมในพระ

พุทธศาสนานี้ ตามความเป็นจริง อย่างแน่แท้ คือโดยส่วนเดียว. อธิบายว่า

ก็อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นแล้วอย่างนี้ แม้ถึงจะได้กล่าวว่า กามทั้งหลาย เป็น

ของไม่เที่ยง ก็ (เพราะ) เป็นปกติวิสัยของสัตว์ (เพราะ) กามทั้งหลายมีความ

งดงามเป็นสภาพ.

บทว่า ราคญฺจ เตส น พลตฺถิ เฉตฺตุ ความว่า เพราะเหตุ

ที่กำลังแห่งญาณ เพื่อจะตัด คือเพื่อจะเข้าไปถอนขึ้นซึ่งราคะเช่นนั้น ของ

อุบาสกเหล่านั้นไม่มี ฉะนั้น คือด้วยเหตุนั้น อุบาสกเหล่านั้น จึงติด คือ

เนื่องอยู่แล้วด้วยอำนาจแห่งตัณหา ได้แก่ ติดแน่น ไม่สามารถจะสละลูกเมีย

และทรัพย์สมบัติได้ เพราะเหตุนั้น เทวดาจึงกล่าวคาถา ๒ คาถา นี้ทั้งหมด

หมายถึง (อิสิทินนะ) อุบาสกนั้นแล (แต่) เอาคนอื่นมาอ้าง.

อุบาสกฟังคำเป็นคาถามนั้นแล้ว เกิดความสลดใจ บวชแล้วบรรลุพระ

อรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า

เราเป็นผู้มีใจโสมนัส จับพัดวีชนี พัดไม้โพธิ-

อันอุดม ที่ไม้โพธิของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

วิปัสสี ซึ่งเป็นไม้สูงสุด ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้

เราได้พัดไม้โพธิอันอุดม ด้วยการพัดไม้โพธินั้น เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 167

ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการพัดไม้โพธิ. เราเผา

กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา

กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล ก็ได้

กล่าวคาถาเหล่านี้แหละ ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาอิสินนเถรคาถา

๕. สัมพุลกัจจานเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสัมพุลกัจจานเถระ*

[๒๙๒] ได้ยินว่า พระสัมพุลกัจจานเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่าง

นี้ว่า

ฝนก็ตก ฟ้าก็ร้องครืน ๆ เราอยู่ในถ้ำอันน่า

กลัวแต่คนเดียว ความกลัว ความสะดุ้ง หวาดเสียว

หรือขนลุกขนพอง มิได้มีเลย การที่เราอยู่ในถ้ำอัน

น่ากลัวแต่ผู้เดียว ไม่มีความกลัว หรือสะดุ้งหวาดเสียว

นี้ เป็นของธรรมดาของเรา.

* อรรถกถาเป็น สัมพุลกัจจายนเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 168

อรรถกถาสัมพุลกัจจายนเถรคาถา

คาถาของพระสัมพุลกัจจายนเถระ เริ่มต้นว่า เทโว จ. เรื่องราว

ของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ กระทำบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในที่สุดแห่งกัป

ที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

นามว่า สตรังสี ออกจากนิโรธแล้วเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใสแล้ว ได้

ถวายผลตาล.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิด

ในตระกูลคฤหบดี แคว้นมคธ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า สัมพุละ

เพราะความที่ท่านเป็นกัจจายนโคตร จึงมีนามปรากฏว่า สัมพุลกัจจายนะ.

เขาเจริญวัยแล้ว ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้มีศรัทธา

จิต บวชแล้วเจริญวิปัสสนาอยู่ในถ้ำแห่งภูเขาชื่อว่า เภรวะ ครั้นวันหนึ่ง

เมฆที่เกิดขึ้นในสมัยใช่กาลกลุ่มใหญ่ หนาตั้งร้อยชั้นพันชั้น ร้อง คำราม

ยังสายฟ้าให้แลบแปลบปลาบ ร้องครืน ๆ ตั้งขึ้น ตั้งท่าจะตก. สัตว์

ทั้งหลาย มีหมี หมาไน ควายป่า และช้างเป็นต้น ฟังเสียงนั้นแล้ว สะดุ้ง

ตกใจกลัว รองลั่น อย่างหวาดกลัว.

ส่วนพระเถระ ไม่มีความอาลัยในร่างกายและชีวิต ปราศจากความ

ขนพองสยองเกล้า ไม่สนใจเสียงนั้น มุ่งกระทำกรรมในวิปัสสนาอย่างเดียว

เท่านั้น เพราะความเป็นผู้มีวิปัสสนาอันปรารภแล้ว เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว

เพราะความร้อนในฤดูร้อนผ่านไป และเพราะได้ฤดูเป็นที่สบาย ขวนขวาย

วิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยอภิญญา ๖ ในขณะนั้นเอง. สมดัง

คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 169

พระผู้มีพระภาคะ ผู้สยัมภู นามว่า สตรังสี

ไม่พ่ายแพ้อะไร ๆ ใคร่ต่อความวิเวก ตรัสรู้ด้วยตนเอง

ออกบิณฑบาต เราถือผลไม้อยู่ได้เห็นแล้ว จึงได้เข้า

ไปเฝ้าพระนราสภ เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้

ถวายผลตาล ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวาย

ผลไม้ใด ในกาลนั้น ด้วยการถวายผลตาลนั้น เรา

ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลตาล. เรา

เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า

เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระ บรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาดูข้อปฏิบัติของตน เกิด

ความโสมนัส เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล ด้วยสามารถแห่งอุทาน ได้กล่าว

คาถา ๒ คาถา ความว่า

ฝนก็ตก ฟ้าก็ร้องครืน ๆ เราอยู่ในถ้ำอันน่า

กลัวแต่คนเดียว ความกลัว ความสะดุ้ง หวาดเสียว

หรือขนลุกขนพอง มิได้มีเลย การที่เราอยู่ในถ้ำอัน

น่ากลัว แต่ผู้เดียว ไม่มีความหวาดกลัว หรือสะดุ้ง

หวาดเสียว นี้ เป็นธรรมดาของเรา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทโว จ วสฺสติ เทโว จ คฬค-

ฬายติ ความว่า ฝนคือเมฆ ก็ตก ฟ้าก็ร้องเสียงดังครืน ๆ ก็บทว่า

คฬคฬา นี้ กระทำเสียง ตามเสียงฟ้าร้องคำราม. บทว่า เอกโก จาห

เภรเว พิเล วิหรามิ ความว่า ก็เราตัวคนเดียว ไม่มีเพื่อน อยู่ในถ้ำ

แห่งภูเขา อันมีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า เมื่อเรานั้นเป็นอย่างนี้ ความกลัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 170

ความหวาดเสียว ความขนลุกขนพอง ย่อมไม่มีแก่เราผู้มีสติ ได้แก่ ความ

กลัวที่หมายรู้กันว่า ความสะดุ้งแห่งจิตก็ดี ความหวาดเสียวแห่งร่างกาย อัน

มีความกลัวนั้นเป็นนิมิตก็ดี ความเป็นผู้มีขนพองสยองเกล้าก็ดี ย่อมไม่มี

(แก่เรา). เพราะเหตุไร ? เพราะ พระเถระกล่าวเหตุในข้อนั้นไว้ว่า ธมฺมตา

มเมสา (นี้เป็นธรรมดาของเรา).

แท้จริง พระเถระพยากรณ์พระอรหัตผลว่า อันภัยเป็นต้น พึงมี

แก่บุคคลผู้ไม่ได้กำหนดรู้วัตถุ เพราะยังละฉันทราคะในวัตถุนั้นไม่ได้ แต่

ภัยในวัตถุนั้น เรากำหนดรู้แล้วโดยประการทั้งปวง ทั้งฉันทราคะในวัตถุนั้น

เราก็ตัดขาดแล้ว เพราะฉะนั้น ภัยเป็นต้นจึงไม่มี นี้เป็นธรรมดาของเรา คือ

ข้อนี้ เป็นสภาพแห่งธรรมของเรา.

จบอรรถกถาสัมพุลกัจจยนเถรคาถา

๖. ขิตกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระขิตกเถระ

[๒๙๓] ได้ยินว่า พระขิตกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

จิตของใครตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวดังภูเขา ไม่กำ-

หนัดแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่

ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ผู้ใด

อบรมจิตได้อย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงผู้นั้น แต่ที่ไหน จิต

ของเราตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ดังภูเขา จิตของเราไม่

กำหนัดแล้ว ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

ไม่ขัดเคืองในอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง เรา

อบรมจิตได้แล้วอย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงเราแต่ที่ไหน ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 171

อรรถกถาขิตกเถรคาถา

คาถาของท่านพระขิตกเถระ เริ่มต้นว่า กสฺส เสลูปม จิตฺต.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์-

ก่อน ๆ กระทำบุญไว้ในภพนั้น ๆ เป็นคนเฝ้าสวน ดำเนินชีวิตอยู่ในพันธุมดี

นคร ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี วันหนึ่งเห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปทางอากาศ มีใจโสมนัส ได้เป็นผู้มีความประสงค์

จะถวายขนุนสำมะลอ พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา ประทับยืนอยู่ใน

อากาศนั่นแหละ รับประเคนแล้ว. เขาถวายขนุนสำมะลอนั้นแล้ว เสวยปีติ

โสมนัสอย่างโอฬาร.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเกิดใน

ตระกูลพราหมณ์ แคว้นโกศล ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า ขิตกะ

บรรลุนิติภาวะแล้ว ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา

บวชแล้ว เรียนกรรมฐานแล้วอยู่ในป่า เพียรพยายามอยู่ บรรลุพระอรหัตแล้ว.

สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ครั้งนั้น เราเป็นคนเฝ้าสวนอยู่ในพระนครพัน-

ธุมดี ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี เสด็จ

เหาะไปในอากาศ เราได้หยิบเอาผลขนุนสำมะลอ

ถวายแด่พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด พระพุทธเจ้าผู้มี

พระยศใหญ่ ให้เกิดความปลื้มใจแก่เรา นำความสุข

มาให้ในปัจจุบัน ประทับอยู่ในอากาศนั่นเอง ได้ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 172

รับประเคน เราถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้าด้วยใจอัน-

เลื่อมใสแล้ว ได้ประสบปีติอันไพบูลย์ เป็นสุขยอด-

เยี่ยมในครั้งนั้น รัตนะเกิดขึ้นแก่เราผู้เกิดในที่นั้น ๆ

ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาล

นั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง

การถวายผลไม้ ทิพยจักษุของเราบริสุทธิ์แล้ว เราเป็น

ผู้ฉลาดในสมาธิ ถึงแล้วซึ่งฝั่งแห่งอภิญญา นี้เป็น

ผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ

คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็เมื่อพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่

ผลและความสุขในพระนิพพาน ท่านกำหนดความเพียรไปสู่ราวป่านั้น เพื่อจะ

สงเคราะห์ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในราวป่านั้น จึงกล่าวคาถา ๑ คาถา ความว่า

จิตของใครตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ดังภูเขา ไม่กำ-

หนัดแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัด-

เคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ผู้ใดอบรม

จิตได้อย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงผู้นั้นได้แต่ที่ไหน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺส เสลูปม จิตฺต ิต นานุกมฺปติ

ความว่า เมื่อเธอทั้งหลายอยู่ในราวป่านี้ จิตของภิกษุไร ชื่อว่าตั้งมั่น เพราะ

ได้บรรลุผลอันเลิศ และเพราะถึงความเป็นผู้มีวสี โดยไม่มีความหวั่นไหว

ทุกอย่าง อุปมาดังภูเขาหินล้วนเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหว คือไม่สั่นสะเทือน

ด้วยโลกธรรมแม้ทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 173

บัดนี้ เพื่อจะแสดงอาการอันไม่หวั่นไหวของจิตนั้น พร้อมกับเหตุ

พระเถระจึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิรตฺต ไม่กำหนัดแล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหลานั้น บทว่า วิรตฺต รชนีเยสุ ความว่า ไม่กำหนัด

แล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด คือในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓

อันเป็นเหตุแห่งความบังเกิดขึ้นของความกำหนัด ด้วยอริยมรรค กล่าวคือ

วิราคธรรม (ความคลายกำหนัด ) อธิบายว่า มีความกำหนัดในธรรมอันเป็น

ไปในภูมิ ๓ นั้น อันเธอถอนขึ้นแล้ว โดยประการทั้งปวง.

บทว่า กุปฺปนีเย ความว่า ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขึ้งเคียด

ได้แก่ ในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความอาฆาต แม้ทั้งปวง.

บทว่า น กุปฺปติ ความว่า ไม่ประทุษร้าย คือไม่ถึงอาการที่แปลก.

บทว่า ยสฺเสว ภาวิต จิตฺต ความว่า จิตคือใจอันพระอริยบุคคลใด

อบรมแล้ว อย่างนี้ คือโดยนัยดังกล่าวแล้ว ได้แก่ โดยความเป็นผู้คงที่.

บทว่า กุโต ต ทุกฺขเมสฺสติ ความว่า ทุกข์จักเข้าถึงบุคคลนั้น

แต่ที่ไหน คือแต่สัตว์ หรือสังขารเล่า ? อธิบายว่า ทุกข์ย่อมไม่มีแก่บุคคล

เช่นนั้น.

พระขิตกเถระ เมื่อจะวิสัชนาปัญหาที่มีเพียงผู้ถามขึ้น โดยไม่กำหนด

แน่นอนอย่างนี้ ทำให้น้อมเข้าไปในตน พยากรณ์พระอรหัตผลด้วยคาถาที่สอง

มีอาทิว่า มม เสลูปม จิตฺต จิตของเราตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ดังภูเขา ดังนี้.

บทนั้นมีเนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าวอธิบายไว้แล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาขิตกเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 174

๗. โสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโสณโปฏิริยบุตรเถระ

[๒๙๔] ได้ยินว่า พระโสณโปฏิริยบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้

อย่างนี้ว่า

ราตรีอันประกอบด้วยฤกษ์มาลินีเช่นนี้ ย่อมไม่

เป็นราตรี เพื่อจะหลับโดยแท้ ราตรีเช่นนี้ ย่อมเป็น

ราตรีอันผู้รู้แจ้งปรารถนาแล้วเพื่อประกอบความเพียร.

ครั้นพระเถระได้ฟังดังนั้น ก็สลดใจ ยังหิริโอตตัปปะให้เข้าไปตั้งไว้

แล้วอธิษฐานอัพโภกาสิกังคธุดงค์ กระทำกรรมในวิปัสสนา ได้กล่าวคาถาที่ ๒

นี้ว่า

ถ้าช้างพึงเหยียบเราผู้ตกลงจากคอช้าง เราตาย

เสียในสงครามประเสริฐกว่า แพ้แล้ว เป็นอยู่จะประ-

เสริฐอะไร.

อรรถกถาโสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา

คาถาของท่านพระโสณโปฏิริยบุตรเถระ เริ่มต้นว่า น ตาว สุปิตุ

โหติ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ เป็นพรานป่า เลี้ยงชีพ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 175

นามว่า สิขี วันหนึ่ง เห็นพระศาสดา แล้วมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายผลมะหาด

แด่พระศาสดา.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

เป็นบุตรของนายบ้าน ชื่อว่า โปฎิริยะ ในเมืองกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้

ได้มีนามว่า โสณะ. เขาเจริญวัยแล้ว ได้เป็นเสนาบดี ของพระราชา พระ-

นามว่า ภัตทิยะ สากิยะ.

ครั้นต่อมา เมื่อพระเจ้าภัททิยะ ทรงผนวชแล้วโดยนัยดังกล่าวแล้ว

ในหนหลัง เสนาบดี ก็บวชตาม ด้วยคิดว่า ขึ้นชื่อว่า แม้พระราชาก็ยังทรง

ออกผนวช การอยู่ครองเรือนของเราจะมีประโยชน์อะไร ? ก็ครั้นบวชแล้ว

เป็นผู้มีการนอนหลับเป็นที่มายินดี ไม่หมั่นประกอบภาวนา พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงประทับอยู่ ในอนุปิยอัมพวันวิหาร ทรงแผ่โอภาสของพระองค์ไป ยังสติ

ให้เกิดแก่พระโสณโปฏิริยเถระ ด้วยพระโอภาสนั้น เมื่อจะทรงโอวาทพระเถระ

ด้วยพระคาถานี้ ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า

ราตรีอันประดับด้วยฤกษ์มาลินีเช่นนี้ ย่อมไม่

เป็นราตรีเพื่อจะหลับโดยแท้ ราตรีเช่นนี้ ย่อมเป็น

ราตรีอันผู้รู้แจ้งปรารถนาแล้ว เพื่อประกอบความเพียร.

ถ้าช้างพึงเหยียบเรา ผู้ตกลงจากคอช้าง เราตาย

เสียในสงคราม ประเสริฐกว่า แพ้แล้ว เป็นอยู่จะ

ประเสริฐอะไร ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตาว สุปิตุ โหติ รตฺติ นกฺขตฺ-

มาลินี. ความว่า เมื่อภิกษุผู้มีชาติแห่งวิญญูชน ได้ขณะที่ ๙ อันเว้นจาก

ขณะที่ไม่ใช่กาล ๘ อย่าง ตั้งอยู่แล้ว ยังทำพระอรหัตให้อยู่ในเงื้อมมือไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 176

ตราบใด ตราบนั้น ราตรีอันประกอบด้วยฤกษ์มาลินีเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นราตรี

เพื่อจะหลับโดยแท้ คือไม่ใช่เวลาจะมามัวนอนหลับ.

อีกประการหนึ่งแล ราตรีเช่นนี้ ย่อมเป็นราตรีอันผู้รู้แจ้งปรารถนา

แล้ว เพื่อจะประกอบความเพียร โดยอรรถได้แก่ ขึ้นชื่อว่าราตรีเช่นนี้เป็น

เวลาที่มีเสียงสงัดเงียบเป็นพิเศษ เพราะเป็นเวลาที่พวกมนุษย์เหล่ามฤคและ

ปักษีทั้งหลาย ย่างเข้าสู่ความหลับ จึงเป็นเวลาอันวิญญูชน ผู้รู้แจ้ง ปรารถนา

เพื่อเอาใจใส่ดูแลข้อปฏิบัติในตน คือเพื่อจะขวนขวายบำเพ็ญความเพียรของผู้มี

ธรรมเป็นเครื่องตื่นอยู่นั่นเอง.

พระโสณเถระฟังพระโอวาทนั้นแล้ว เป็นผู้มีใจสลดแล้ว เริ่มตั้ง

หิริโอตตัปปะ อธิษฐานอัพโภกาสิกังคธุดงค์ (องค์คุณของภิกษุผู้ถือการอยู่ใน

ที่แจ้งเป็นวัตร) กระทำกรรมในวิปัสสนา กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า หตฺถิกฺขนฺ-

ธาวปติต ดังนี้ เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวปติต ได้แก่ ตกคว่ำหน้า คือ มีเท้า

ขึ้นเบื้องบน มีหน้าลงเบื้องล่าง ตกไปแล้ว.

บทว่า กุญฺชโร เจ อนุกฺกเม ความว่า ถ้าช้างพึงเหยียบเรา.

ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ถ้าในเวลาที่เราขึ้นคอช้างเข้าสู่สงคราม ตกจาก

คอช้าง ได้ถูกช้างนั้นเหยียบตายในสงคราม ความตายนั้นของเราประเสริฐกว่า

พ่ายจากกิเลสทั้งหลายในบัดนี้แล้วเป็นอยู่ จะประเสริฐอะไร คือ ความเป็น

อยู่นั้นไม่ประเสริฐเลย เมื่อพระเถระกล่าวคาถานี้อยู่นั่นแล ขวนขวายวิปัสสนา

บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้อ ครั้งนั้น เราเที่ยวอยู่

ในป่าใหญ่ ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี

ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เราเลื่อมใส ได้เอาผลมะหาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 177

มาถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เป็นเขตแห่งบุญ

ผู้แกล้วกล้า ด้วยมือทั้งสองของตน ในกัปที่ ๓๑ แต่

ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการ

ถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ

ถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว กล่าวทบทวนคาถาทั้งสองนั่นแล

คือ (คาถาที่ ๑) อันพระศาสดาตรัสแล้ว (และคาถาที่ ๒) อันตนกล่าวแล้ว

โดยนัยมีอาทิว่า หตฺถิกฺขนธาวปติต ดังนี้. ด้วยการกล่าวซ้ำคาถานั้นเป็นอัน

พระเถระพยากรณ์พระอรหัตผลนี้แล้วทีเดียว.

จบอรรถกถาโสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา

๘. นิสภเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระนิสภเถระ

[๒๙๕] ได้ยินว่า พระนิสภเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

วิญญูชน ละเบญจกามคุณอันน่ารัก น่ารื่นรมย์

ใจแล้ว ออกบวชด้วยศรัทธา แล้วพึงทำที่สุดแห่งทุกข์

ได้.

เราไม่อยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ และเรามีสติ

มีสัมปชัญญะ รอเวลาอันควรเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 178

อรรถกถานิสภเถรคาถา

คาถาของท่านพระนิสภเถระ เริ่มต้นว่า ปญฺจ กามคุเณ หิตฺวา.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธะจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาล

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง

เห็นพระศาสดาเสด็จเที่ยวบิณฑบาต มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายผลมะขวิด.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปแต่ในสุคติภพอย่างเดียว เกิดใน

เรือนแห่งตระกูลในโกลิยชนบท ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า นิสภะ

เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพในสงคราม ของเจ้าศากยะ และเจ้าโกลิยะ

ทั้งหลาย แล้วได้ศรัทธาจิต บวชแล้ว บรรลุพระอรหัตในวันนั้นเอง. สมดัง

คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราได้ถวายผลมะขวิด แด่พระสัมพุทธเจ้า ผู้มี

พระฉวีวรรณปานดังทองคำ สมควรรับเครื่องบูชา

กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้

เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น

เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เรา

เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า

เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เห็นภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสหายของตน

ยังกาลเวลาให้ล่วงไป ด้วยการอยู่อย่างประมาท เมื่อจะโอวาทภิกษุเหล่านั้น

ได้กล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 179

วิญญูชน ละเบญจกามคุณอันน่ารัก น่ารื่นรมย์

ใจแล้ว ออกบวชด้วยศรัทธา แล้วพึงทำที่สุดแห่งทุกข์

ได้ ดังนี้.

คาถาที่ ๑ นั้น มีอธิบายดังนี้ วิญญูชนละ คือ เลิกละได้แก่สละกามคุณ

คือ กามโกฏฐาสทั้ง ๕ มีรูปเป็นต้น อันชื่อว่าน่ารัก เพราะมีสภาพที่ยั่วยวน

ชวนให้พาลชนรักใคร่ ชื่อว่าน่ารื่นรมย์ใจ เพราะมีสภาพเป็นที่เจริญใจ ออก

คือหลุดพ้นจากเรือน คือ จากเครื่องผูกพันคือเรือน เข้าสู่บรรพชาเพศ จำเดิม

แต่บวชแล้ว ก็เพียรพยายาม พึงเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในวัฏฏะได้.

พระเถระกล่าวสอนภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นอย่างนี้ แล้วกล่าวว่า ท่าน

ทั้งหลายอย่าคิดว่า คนผู้นี้ดีแต่สอนคนอื่นเท่านั้น ส่วนตนเองไม่กระทำ ดังนี้

แล้ว เมื่อจะประกาศความที่ตนเป็นผู้ปฏิบัติแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงพยากรณ์

พระอรหัตผล ด้วยคาถาที่สอง ความว่า

เราไม่อยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ แต่เรามีสติ

มีสัมปชัญญะ รอเวลาอันควรอยู่ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาภินนฺทามิ มรณ ความว่า เราไม่

มุ่งหมายความตาย.

ก็บทว่า นาภินนฺทามิ ชีวิต นี้ เป็นคำบอกเหตุของบทว่า

" นาภินนฺทามิ มรณ " นั้น เพราะเรายังไม่อยากมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น จึงไม่

นิยมยินดีความตาย. อธิบายว่า บุคคลใดก่อ คือเข้าไปสั่งสมการปรุงแต่ง

กิเลส (อันเป็นเหตุ) แห่งชาติชรา และมรณะสืบต่อไป บุคคลนั้นเมื่อยินดี

การเกิดในภพใหม่ ชื่อว่าย่อมยินดีแม้ซึ่งความตายของตน เพราะเป็นผลให้

เกิดในภพติดต่อกันไป เพราะยังละเหตุไม่ได้ ส่วนพระขีณาสพ ละอาจยคามิ-

ธรรม (ธรรมอันเป็นเหตุให้ถึงการก่อภพก่อชาติ) ตั้งอยู่ในอปจยคามิธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 180

(ธรรมอันเป็นเหตุให้หมดภพหมดชาติ) เป็นผู้กำหนดรู้วัตถุ ชื่อว่าย่อมไม่

ยินดีแม้ซึ่งความตาย เพราะความที่แห่งเหตุนั้นแล อันตนละได้แล้วด้วยดี.

ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า นาภินนฺทามิ มรณ นาภินน์ทามิ ชีวิต

เรายังไม่อยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่.

ถามว่า ถ้าพระขีณาสพ มีความจำนงมุ่งหมายพระนิพพานอยู่อย่างนี้

ก็การดำรง (ชีวิตของท่าน) จนกว่าจะปรินิพพาน จะเป็นอย่างไร ?

พระเถระจึงกล่าว (เฉลย) ว่า และเรามีสติสัมปชัญญะ รอเวลาอัน

ควรเท่านั้น (โดยมีอธิบายว่า) เมื่อเราบรรลุกิเลสปรินิพพานแล้ว เราชื่อว่า

มีสติ มีสัมปชัญญะ เพราะถึงความไพบูลย์ด้วยสติและปัญญา รอเวลาขันธ-

ปรินิพพานอย่างเดียว เราชะเง้อคอยเวลาแห่งขันธปรินิพพานนั้นอยู่ แต่เรา

ไม่มีความยินดีในความตาย หรือในชีวิตความเป็นอยู่ เพราะทั้งความตายและ

ชีวิตนั้น เราเพิกถอนขึ้น ด้วยอรหัตมรรคแล้วแล.

จบอรรถกถานิสภเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 181

๙. อุสภเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุสเถระ

[๒๙๖] ได้ยินว่า พระอุสภเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เราฝันว่า ได้ห่มจีวรสีอ่อนเฉวียงบ่า นั่งบน

คอช้าง เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน พอเข้าไปก็ถูก

มหาชนพากันมารุมมุงดูอยู่ จึงลงจากคอช้าง กลับ

ลืมตาตื่นขึ้นแล้ว ครั้งนั้นได้ความสลดใจว่า ความฝัน

นี้เราไม่มีสติสัมปชัญญะ นอนหลับฝันเห็นแล้ว

ครั้งนั้น เราเป็นผู้กระด้างมัวเมา เพราะชาติสกุล ได้

ความสังเวชแล้ว จึงบรรลุความสิ้นอาสวะ.

อรรถกถาอุสภเถรคาถา

คาถาของท่านพระอุสภเถระ เริ่มต้นว่า อมฺพปลฺลวสงฺกาส.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ กระทำบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่งเห็นพระศาสดา

เสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลสะคร้อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 182

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

ในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ กรุงกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า

อุสภะ เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพในสมาคมพระญาติของพระศาสดา

ได้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว.

จำเดิมแต่เวลาที่บวชแล้ว พระอุสภะไม่บำเพ็ญสมณธรรม ยินดีใน

การคลุกคลีด้วยหมู่ในกลางวัน ชอบนอนหลับตลอดทั้งคืน ยังเวลาให้ล่วงไป.

วันหนึ่ง ท่านปล่อยสติ ขาดสัมปชัญญะนอนหลับ ฝันเห็นตนเอง ปลงผมและ

หนวดแล้ว ห่มจีวรสีใบมะม่วงอ่อน นั่งบนคอช้าง เข้าไปสู่พระนครเพื่อ

บิณฑบาต เพื่อมนุษย์ทั้งหลายมาชุมนุมกันในที่นั้นนั่นแล จึงลงจากคอช้าง

ด้วยความละอาย ตื่นขึ้น เกิดความสลดใจว่า เราปล่อยสติไม่มีสัมปชัญญะ

นอนหลับฝันเห็นเป็นเช่นนี้ไป ดังนี้ แล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต

ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในกาลนั้น เราได้ถวายผลสะคร้อ แด่พระ-

นราสภผู้ประเสริฐกว่าทวยเทพ งามเหมือนต้นรกฟ้า

ขาว กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่ ๓๑ แต่

ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการ

ถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ

ถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ลำดับนั้น พระเกระทำความฝันตามที่ตนเห็นแล้วนั่นแล ให้เป็นข้อ

พยากรณ์พระอรหัตผล โดยระบุถึงความฝันนั้นนั่นแล เพราะความที่ตนได้

บรรลุพระอรหัตผลแล้ว ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

เราฝันว่า ได้ห่มจีวรสีอ่อนเฉวียงบ่า นั่งบน

คอช้าง เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน พอเข้าไปก็ถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 183

มหาชนพากันมารุมมุงดูอยู่ จึงลงจากคอช้าง กลับ

ลืมตาตื่นขึ้นแล้ว ครั้งนั้น เราได้ความสลดใจว่า ความ

ฝันนี้ เราไม่มีสติสัมปชัญญะ นอนหลับฝันเห็นแล้ว

ครั้งนั้น เราเป็นผู้กระด้าง ด้วยความมัวเมา เพราะ

ชาติสกุล ได้ความสังเวชแล้ว ได้บรรลุความสิ้นอาสวะ

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺพปลฺลวสงฺกาส อเส กตฺวาน

จีวร ความว่า เอาจีวรมีสีดังแก้วประพาฬ มีอาการดังใบมะม่วงอ่อนคล้องคอ

โดยทำเป็นเฉวียงบ่า.

บทว่า คาม ความว่า นั่งบนคอช้าง เข้าไปสู่ราชธานีของตน เพื่อ

บิณฑบาต พอเข้าไปแล้วเท่านั้น ก็ถูกมหาชน (ห้อมล้อม) แลดู จึงลงจาก

คอช้าง ยืนอยู่ ตื่นขึ้นแล้ว พอตื่นแล้วเท่านั้น ก็ได้ความสลดใจในครั้งนั้นว่า

ความฝันนั้นเกิดแล้ว เพราะเราปล่อยสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับ

ดังนี้.

ส่วนอาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า พระอุสภเถระยังเป็นพระราชาอยู่นั่นแล

เห็นความฝันเช่นนี้ ในเวลากลางคืน เมื่อราตรีสว่างแล้ว จึงขึ้นสู่คอช้าง

เสด็จเที่ยวไปในถนนของพระนคร ทรงระลึกถึงความฝันนั้น จึงเสด็จลงจาก

คอช้าง ได้ความสลดพระทัย ทรงผนวชในสำนักของพระศาสดา บรรลุพระ-

อรหัตแล้ว เมื่อเปล่งอุทาน ได้กล่าวคาถาเหล่านี้แล้ว.

บทว่า ทิตฺโต ประกอบความว่า ในเวลาที่ได้เสวยราชย์นั้น เรา

เป็นผู้กระด้าง ด้วยความมัวเมา เพราะชาติและความมัวเมาเพราะโภคะเป็นต้น

ได้ความสลดใจแล้ว.

จบอรรถกถาอุสภเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 184

๑๐. กัปปฏกุรเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระกัปปฏกุรเถระ

[๒๙๖] ได้ยินว่า พระกัปปฏกุรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

กัปปฏกุรภิกษุ เกิดความวิตกผิด ๆ ว่า เราจัก

นุ่งห่มผ่าผืนนี้แล้ว จักเลี้ยงชีพตามมีตามเกิด เมื่อน้ำ

ใสคืออมตธรรมของเรา มีอยู่ เต็มเปี่ยมในหม้ออมตะ

เราเอาบาตรตักน้ำคืออมตธรรม ใส่ในหม้ออมตะ

เพื่อสั่งสมฌานทั้งหลาย ดูก่อนกัปปฏะ ท่านอย่ามา

นั่งโงกง่วงอยู่ด้วยคิดว่า จักฟังธรรม เมื่อเราแสดง

ธรรมอยู่ ในที่ใกล้หูของท่านเช่นนี้ ท่านอย่ามัวนั่ง

โงกง่วงอยู่ ดูก่อนกัปปฏะ ท่านนั่งโงกง่วงอยู่ ใน

ท่ามกลางสงฆ์เช่นนี้ ไม่รู้จักประมาณเลย.

จบวรรคที่ ๔

อรรถกถากัปปฏกุรเถรคาถา

คาถาของพระกัปปฏกุรเถระ เริ่มต้นว่า อยมิติ กปฺปโฏ. เรื่อง

ราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 185

ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่งเห็นพระผู้

มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ใกล้ฝั่งแม่น้ำชื่อว่า วินตา

มีใจเลื่อมใส ทำการบูชาด้วยดอกเกตก์ (ดอกการะเกด หรือดอกลำเจียก).

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มา

เกิดในตระกูลที่ยากจน กรุงสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ จนตราบเท่าเจริญวัย

ก็ไม่รู้จักอุบาย. (หากิน) อย่างอื่น นุ่งห่มเศษผ้าเปื้อน ๆ ถือขัน เที่ยวแสวง

หาข้าวสุกในที่นั้น ๆ ด้วยเหตุนั้น จึงปรากฏนามว่า กัปปฏกุระ. เขาเจริญ

วัยแล้วขายหญ้า เลี้ยงชีวิต วันหนึ่งไปสู่ป่าเพื่อเกี่ยวหญ้า เห็นพระเถระผู้เป็น

พระขีณาสพรูปหนึ่งในป่านั้น เข้าไปหาพระเถระไหว้แล้ว นั่งอยู่แล้ว. พระ

เถระแสดงธรรมแก่เขา.

เขาฟังธรรมแล้ว ได้มีศรัทธาคิดว่า ประโยชน์อะไรแก่เราด้วยการ

ขายหญ้านี้เลี้ยงชีวิต ดังนี้แล้ว จึงบวช ทิ้งท่อนผ้าเปื้อน ๆ ที่ตนนุ่งแล้ว

ไว้ในที่แห่งหนึ่ง. ก็ในเวลาที่พระเถระนั้นเกิดความกระสัน ในเวลานั้น เมื่อ

ท่านมองดูท่อนผ้าเปื้อนฝุ่นนั้น ความกระสันก็หายไป ได้ความสลดใจแล้ว.

ท่านทำอยู่อย่างนี้ สึกแล้วถึง ๗ ครั้ง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเหตุนั้น ของ

ท่านแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่มาวันหนึ่ง พระกัปปฏกุรภิกษุ นั่งอยู่ท้ายบริษัท

ในโรงประชุมฟังธรรมหลับอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงเตือนท่าน ได้

ตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า

กัปปฏกุรภิกษุ เกิดความวิตกผิดว่า เราจะห่มผ้า

ผืนนี้แล้ว จักเลี้ยงชีพตามมีตามเกิด เมื่อน้ำใสคือ

อมตธรรมของเรา มีอยู่ เต็มเปี่ยมในหม้ออมตะ เรา

เอาบาตรตักน้ำคืออมตธรรม ใส่หม้ออมตะ เพื่อสั่งสม

ฌานทั้งหลาย ดูก่อนกัปปฏะ เธออย่ามานั่งโงกง่วง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 186

อยู่ด้วยคิดว่า จักฟังธรรม เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ใน

ที่ใกล้หูของท่านเช่นนี้ ท่านอย่ามัวนั่งโงกง่วงอยู่ ดู-

ก่อนกัปปฏะ เธอนั่งโงกง่วงอยู่ในท่ามกลางสงฆ์เช่นนี้

ไม่รู้จักประมาณเลย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยมิติ กปฺปโฏ กปฺปโฏกุโร ความว่า

ภิกษุชื่อว่า กัปปฏกุระ มีวิตกที่ผิด ๆ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราจะนุ่งห่มผ้า

เปื้อนเก่า ๆ ของเรานี้ จักเลี้ยงชีพตามมีตามเกิด เมื่อน้ำใสคืออมตธรรม

ของเรา มีอยู่เต็มเปี่ยมในหม้ออมตะ คือเมื่อหม้ออมตะของเรา กำลังหลั่งน้ำคือ

พระธรรมอยู่ในที่นั้น ๆ ได้แก่ เมื่อเรายังน้ำอมฤต คือพระธรรมให้ตกลงด้วย

การประกาศไปโดยคำมีอาทิว่า เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม ให้สัตวโลก

ได้บรรลุอมตธรรม เมื่อสัตวโลกมืดมนมหันธการ เราจะบรรเลงกลองชัยเภรี

คืออมตะ ทางที่เราทำไว้ เพื่อสั่งสมฌานทั้งโลกีย์และโลกุตระ คือทางที่เราแผ้ว

ถาง ได้แก่มรรคภาวนาที่จัดแจงไว้เพื่อเป็นแนวทาง นี้เป็นคำสอนของเรา แม้

ถึงอย่างนั้น พระกัปปฏกุระ ก็เป็นเพียงกากของพระธรรม คือเป็นผู้มีจิตกระสัน

มีใจเหินห่างจากศาสนธรรมของเรา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น

เตือนเธอแล้ว เมื่อจะแสดงการอยู่อย่างผู้ประมาทของเธอแม้อีกครั้งหนึ่ง

เหมือนจับโจรได้พร้อมของกลาง จึงตรัสพระคาถาว่า มา โข ตฺว กปฺปฏ

ปจาเลสิ ดูก่อนกัปปฎะ เธออย่ามัวมานั่งโงกง่วงอยู่เลย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา โข ตฺว กปฺปฏ ปจาเลสิ

ความว่า ดูก่อนกัปปฏกุระ เธออย่ามัวนั่งโงกง่วงอยู่เลย คืออย่านั่งสัปหงก

ได้แก่ อย่าเข้าถึงความหลับด้วยคิดว่า เราจักฟังธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 187

บทว่า มา ตฺว อุปกณฺณมฺหิ ตาเฬสฺสนฺติ ความว่า เราอย่า

ต้องทุบท่านผู้หลับอยู่ ด้วยมือคือเทศนา ในที่ใกล้หู คือใกล้ ๆ หู อธิบายว่า

ต่อแต่นี้ไป ท่านจงปฏิบัติ โดยไม่ต้องให้เราสั่งสอน เพื่อการละกิเลสอีก.

บทว่า น หิ ตฺว กปฺปฏ มตฺตมญฺาสิ ความว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงเตือนว่า ดูก่อนกัปปฎะ เธอมัวโงกง่วงสัปหงกอยู่ในท่าม

กลางสงฆ์ ย่อมไม่สำคัญประมาณ คือความพอดี คือไม่รู้แม้เหตุเพียงเท่านี้ว่า

ขณะเช่นนี้ หาได้ยากอย่างยิ่ง ขณะนั้นอย่าล่วงเลยเราไปเสียเลย ดังนี้ และ

เธอจงดูความผิดของเธอ.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงข่ม แล้วทรงเตือนกัปปฏกุรภิกษุ คาด-

คั้นด้วยพระคาถา ๒ คาถา อย่างนี้แล้ว กัปปฏกุรภิกษุ เกิดความสลดใจ

เหมือนถูกศรแทงจดกระดูก และเหมือนช้างตัวดุ (ที่หลงผิด) เดินตรงทาง

ฉะนั้น เริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้วต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถา

ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า

พระพุทธเจ้าผู้อุดมบุรุษ ประทับนั่งอยู่ ณ ที่ฝั่ง

แม่น้ำวินตานที เราได้พบพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจาก

กิเลสธุลี เป็นเอกอัครบุคคล มีพระทัยตั้งมั่นดี ครั้ง-

นั้น เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส บูชาพระพุทธเจ้า

ผู้ประเสริฐสุด ด้วยดอกเกตก์ ซึ่งมีกลิ่นหอมเหมือน

น้ำผึ้ง ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาด้วยดอก

ไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผล

แห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 188

ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว กล่าวยืนยันพระคาถาทั้งสองที่พระ

ศาสดาตรัสแล้วนั่นแหละว่า เป็นขอสับแห่งการบรรลุพระอรหัตผลของตน.

ด้วยพระคาถาทั้งสองนั้น ได้นับเป็นการพยากรณ์พระอรหัตผลของพระกัปปฏ-

กุรเถระ นั้นด้วยอีกเหมือนกัน.

จบอรรถกถากัปปฏกุรเถรคาถา

จบวรรควรรณนาที่ ๔

แห่งอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี

ในวรรคนี้ รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ

๑. พระมิคสิรเถระ ๒. พระสิวกเถระ ๓. พระอุปวาณเถระ

๔. พระอิสิทินนเถระ ๕. พระสัมพุลกัจจานเถระ ๖ พระขิตกเถระ

๗. พระโสณปฏิริยบุตรเถระ ๘. พระนิสภเถระ ๙. พระอุสภเถระ ๑๐.

พระกัปปฏกุรเถระ และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 189

เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๕

๑. กุมารกัสสปเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระกุมารกัสสปเถระ

[๒๙๘] ได้ยินว่า พระกุมารกัสสปเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

น่าอัศจรรย์หนอ พระพุทธเจ้า พระธรรม และ

พระคุณสมบัติของพระศาสดาของเราทั้งหลาย ซึ่งเป็น

ที่อยู่อาศัยประพฤติพรหมจรรย์ ของพระสาวกผู้จักทำ

ให้แจ้งซึ่งธรรมเช่นนี้ พระสาวกเหล่าใด เป็นผู้ยังไม่

ปราศจากขันธ์ ๕ ในอสังไขยกัป พระกุมารกัสสปะ

นี้เป็นรูปสุดท้าย แห่งพระสาวกเหล่านั้น ร่างกายนี้มี

ในที่สุด สงสารคือ การเกิด การตาย มีในที่สุด

บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 190

วรรควรรณนาที่ ๕

อรรถกถากุมารกัสสปเถรคาถา

คาถาของท่านพระกุมารกัสสปเถระ เริ่มต้นว่า อโห พุทฺธา อโห

ธมฺมา. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ ทั้งหลาย สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ใน

กาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ถึงความเป็นผู้รู้

แล้ว แต่ในอรรถกถาอังคุตตรนิกาย ท่านกล่าวว่า เกิดในเรือนแห่งตระกูล.

เขาไปสู่สำนักของพระศาสดา แล้วฟังธรรมอยู่เห็นพระศาสดา ทรง

ตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่า บรรดาภิกษุผู้กล่าวธรรมอัน

วิจิตร หวังตำแหน่งนั้น แม้ด้วยตนเองตั้งประณิธานไว้ กระทำบุญสมควรแก่

ประณิธานที่ตั้งไว้ บำเพ็ญสมณธรรม ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระ

นามว่า กัสสปะ ท่องเที่ยวอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น ถือปฏิสนธิในครรภ์แห่ง

ธิดาของเศรษฐี ณ กรุงราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้.

ได้ยินมาว่า ธิดาของท่านเศรษฐีนั้น เป็นหญิงมีความประสงค์จะ

บวชแต่ในเวลาที่ยังเป็นกุมารีอยู่ทีเดียว ขออนุญาตมารดาบิดา ไม่ได้รับอนุญาต

ให้บรรพชา แม้ไปสู่ตระกูลผัว ก็ไม่รู้ว่าตนตั้งครรภ์ ทำสามีให้โปรดปราน

จนสามีอนุญาต จึงบวช (ในสำนัก) นางภิกษุณีทั้งหลาย (ต่อมา) ภิกษุณี

ทั้งหลายเห็นนางมีครรภ์ จึงถามพระเทวทัต. พระเทวทัต ตัดสินว่าไม่เป็น

สมณะ. จึงพากัน ไปทูลถามพระทศพลอีก พระศาสดาทรงมอบให้พระอุบาลี

เถระ (จัดการ).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 191

พระเถระให้เรียกตระกูลทั้งหลาย ที่อยู่ในพระนครสาวัตถี และ

อุบาสิกาชื่อว่าวิสาขา มาแล้ววินิจฉัยในบริษัทพร้อมด้วยพระราชา ตัดสินว่า

นางภิกษุณีตั้งครรภ์มาก่อนบวช บรรพชา บริสุทธิ์. พระศาสดาทรงประทาน

สาธุการพระเถระว่า อธิกรณ์ อันพระอุบาลีเถระวินิจฉัยถูกต้องดีแล้ว.

นางภิกษุณีนั้น คลอดบุตรมีรูปเหมือนทองคำ พระราชาพระนามว่า

ปเสนทิโกศล ทรงเลี้ยงดูบุตรของนาง และตั้งชื่อกุมารนั้นว่า กัสสปะ

ในเวลาต่อมา ทรงจัดแจงตกแต่งประดับประดากุมารแล้ว นำไปสู่สำนักของ

พระศาสดา ให้บรรพชาแล้ว เพราะเหตุที่เขาบวชแต่ในเวลาที่ยังเป็นเด็ก

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอทั้งหลายจงเรียกกัสสปะมา จงให้ผลไม้

หรือของควรเคี้ยวนี้แก่กัสสปะ ดังนี้ เมื่อเขาทูลถามว่า กัสสปะไหน ? ก็

ตรัสว่า กุมารกัสสปะ. ท่านมีนามปรากฏว่า กุมารกัสสปะ นั่นแหละแม้ใน

เวลาที่มีอายุมาก เพราะมีนามที่ถือเอาตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอย่าง

นี้ และเพราะเหตุที่ เป็นพระราชบุตรบุญธรรมที่พระราชาทรงชุบเลี้ยง.

จำเดิมแต่เวลาที่บวชแล้ว ท่านทำกรรมในวิปัสสนา และเล่าเรียน

พระพุทธวจนะ ครั้งนั้นท้าวมหาพรหม ผู้เคยบำเพ็ญสมณธรรมบนยอดเขา

ร่วมกับพระกุมารกัสสปะ เป็นพระอนาคามี บังเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส

ทรงพระดำริว่า เราจักกระทำอุบาย เพื่อการบรรลุมรรคผล โดยแสดงมุข

แห่งวิปัสสนา ดังนี้แล้ว จัดแจงแต่งปัญหา ๑๕ ข้อ แล้วไปบอกแก่ท่าน

ผู้อยู่ในป่าอันธวันว่า ท่านจงทูลถามปัญหาเหล่านี้กะพระศาสดา พระเถระทูล

ถามปัญหาเหล่านั้น กะพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรง

พยากรณ์ปัญหาแก่พระเถระ. พระเถระเรียนปัญหาเหล่านั้น โดยทำนองที่พระ

ศาสดาตรัสบอกแล้ว นั่นแล ยังวิปัสสนาให้ถือเอาซึ่งห้อง บรรลุพระอรหัต

แล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 192

ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้นายก ทรงเกื้อกูลแก่สัตวโลกทั้งปวง เป็นนักปราชญ์

มีพระนามว่า ปทุมุตตระได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ครั้งนั้น

เราเป็นพราหมณ์มีชื่อเสียงโด่งดัง รู้จบไตรเพท เที่ยว

ไปในที่พักสำราญกลางวัน ได้พบพระพุทธเจ้าผู้เป็น

นายกของโลก กำลังทรงประกาศสัจจะ ๔ ทรงยัง

มนุษย์พร้อมด้วยทวยเทพให้ตรัสรู้ กำลังทรงสรรเสริญ

พระสาวกของพระองค์ ผู้กล่าวธรรมกถาอันวิจิตรอยู่

ในหมู่มหาชน ครั้งนั้น เราชอบใจ จึงได้นิมนต์พระ-

ตถาคตแล้ว ประดับประดามณฑปให้สว่างไสว ด้วย

รัตนะนานาชนิด ด้วยผ้าอันย้อมด้วยสีต่าง ๆ นิมนต์

พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ ให้เสวยและฉันใน

มณฑปนั้น เรานิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก

ให้เสวยและฉันโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ถึง ๗ วัน แล้ว

เอาดอกไม้ที่สวยงามต่าง ๆ ชนิด บูชาแล้วหมอบลง

แทบบาทมูลปรารภฐานันดรนั้น ครั้งนั้น พระมุนีผู้

ประเสริฐ มีความเอ็นดู เป็นที่อาศัยอยู่แห่งกรุณา

ได้ตรัสว่า จงดูพราหมณ์นี้ ผู้มีปากและตาเหมือน

ดอกปทุม มากด้วยความปรีดาปราโมทย์ มีกายและใจ

สูงเพราะโสมนัส นำความร่าเริงมา จักษุกว้างใหญ่

มีความอาลัยในศาสนาของเรา เขาปรารถนาฐานันดร

นั้น คือ การกล่าวธรรมกถาอันวิจิตร ในกัปที่แสน

แต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดามีนามว่าโคดม ซึ่งสมภพใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 193

วงศ์พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ผู้นี้

จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้นจักเป็น

โอรสอันธรรมเนรมิต จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา

มีนามว่า กุมารกัสสปะ เพราะอำนาจดอกไม้ และผ้า

อันวิจิตรกับรัตนะ เขาจักถึงความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ

ทั้งหลาย ผู้กล่าวธรรมกถาอันวิจิตร เพราะกรรมที่

ทำไว้ดีแล้ว และเพราะการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละ

ร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราท่องเที่ยว

ไปในภพน้อยภพใหญ่ เหมือนตัวละครหมุนเวียนอยู่

กลางเวทีเต้นรำฉะนั้น เราเป็นบุตรของเนื้อชื่อว่าสาขะ

หยั่งลงในครรภ์แห่งแม่เนื้อ ครั้งนั้นเราอยู่ในท้อง

มารดาของเรา ถึงเวรที่จะต้องถูกฆ่า มารดาของเรา

ถูกเนื้อสาขะทอดทิ้ง จึงยึดเอาเนื้อนิโครธเป็นที่พึ่ง

มารดาของเราอันพระยาเนื้อนิโครธ ช่วยให้พ้นจาก

ความตาย สละเนื้อสาขะแล้ว ตักเตือนเราผู้เป็นบุตร

ของตัวในครั้งนั้นอย่างนี้ว่า ควรคบหาแต่เนื้อนิโครธ

เท่านั้น ไม่ควรเข้าไปคบหาเนื้อสาขะ ตายในสำนัก

เนื้อนิโครธประเสริฐกว่า มีชีวิตอยู่ในสำนักเนื้อสาขะ

จะประเสริฐอะไร ?

เรามารดาของเรา และเนื้อนอกนี้ อันเนื้อ

นิโครธตัวเป็นนายฝูงพร่ำสอน อาศัยโอวาทของเนื้อ-

นิโครธนั้น จึงได้ไปยังที่อยู่อาศัย คือ สวรรค์ชั้นดุสิต

อันรื่นรมย์ ประหนึ่งว่า ไปยังเรือนของตัวที่ทิ้งจากไป

ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 194

เมื่อพระศาสนาของพระกัสสปวีรเจ้า กำลัง

ถึงความสิ้นสูญอันตรธาน เราได้ขึ้นภูเขาอันล้วนด้วย

หิน บำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระพิชิตมาร ก็บัดนี้

เราเกิดในตระกูลเศรษฐี ในพระนครราชคฤห์ มารดา

ของเรามีครรภ์ ออกบวชเป็นภิกษุณี พวกภิกษุณีรู้ว่า

มารดาของเรามีครรภ์ จึงนำไปหาพระเทวทัต พระ-

เทวทัตกล่าวว่า จงนาศนะภิกษุณีผู้ลามกนี้เสีย ถึงใน

บัดนี้ มารดาบังเกิดเกล้าของเรา เป็นผู้อันพระพิชิต

มารจอมมุนี ทรงอนุเคราะห์ไว้ จึงได้ถึงความสุขใน

สำนักของภิกษุณี พระเจ้าแผ่นดินพระนามว่า โกศล

ได้ทรงทราบเรื่องนั้น จึงทรงเลี้ยงดูเราไว้ ด้วยเครื่อง

บริหารแห่งกุมาร และตัวเรามีชื่อว่า กัสสปะ เพราะ

อาศัยพระมหากัสสปเถระ เราจึงถูกเรียกว่า กุมาร-

กัสสปะ เพราะได้สดับพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธ-

เจ้าทรงแสดงถึงกายเช่นเดียวกับจอมปลวก จิตของเรา

จึงพ้นจากอาสวกิเลส ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน โดย

ประการทั้งปวง เราได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ ก็เพราะ

ทรมานพระเจ้าปายาสิ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ

คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว อันพระศาสดาทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะ

โดยความเป็นผู้กล่าวธรรมอันวิจิตร พิจารณาข้อปฏิบัติของตนแล้ว เมื่อจะ

พยากรณ์พระอรหัตผล ด้วยมุขคือประกาศคุณของพระรัตนตรัย ได้กล่าวคาถา

๒ คาถา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 195

น่าอัศจรรย์หนอ พระพุทธเจ้า พระธรรมและ

พระคุณสมบัติ ของพระศาสดาของเราทั้งหลาย ซึ่งเป็น

ที่อยู่อาศัยประพฤติพรหมจรรย์ของพระสาวก ผู้จักทำ

ให้แจ้งซึ่งธรรมเช่นนี้ พระสาวกเหล่าใด เป็นผู้ยังไม่

ปราศจากขันธ์ ๕ ในอสงไขยกัป พระกุมารกัสสปะ

นี้เป็นรูปสุดท้าย แห่งพระสาวกเหล่านั้น ร่างกายนี้มี

ในที่สุด สงสาร คือ การเกิด การตายมีในที่สุด บัดนี้

ภพใหม่ไม่มี ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโห เป็นนิบาตลงในอรรถแสดงความ

อัศจรรย์.

บทว่า พุทฺธา ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า เป็นพหูพจน์โดยเป็น

คำแสดงความเคารพ ความก็ว่า โอ ! พระสัมพุทธเจ้ามีพระคุณน่าอัศจรรย์.

บทว่า ธมฺมา ได้แก่ โลกุตรธรรม ๙ กับพระปริยัติธรรม.

บทว่า อโห โน สตฺถุ สมฺปทา ความว่า น่าอัศจรรย์สมบัติของ

พระทศพล ผู้เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย.

บทว่า ยตฺถ ความว่า ด้วยสามารถแห่งการประพฤติพรหมจรรย์

ในพระศาสดาใด.

บทว่า เอตาทิส ธมฺม สาวโก สจฺฉิกาหิติ ความว่า แม้ขึ้นชื่อว่า

พระสาวก จักกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมเช่นนี้ คือ เห็นปานนี้ ได้แก่ ธรรมที่นำ

มาซึ่งความสิ้นไปแห่งกิเลสโดยไม่เหลือ อันเป็นบริวารแห่งฌานและอภิญญา

อันบริสุทธิ์พิเศษด้วยดี สงบ ประณีต ยอดเยี่ยม เพราะเหตุนั้น พระเถระ

จึงประกาศให้ทราบถึงการน้อมใจไปในคุณของพระรัตนตรัยว่า โอ พระผู้มี-

พระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย มีคุณน่าอัศจรรย์ เป็นเหตุแห่งการตรัสรู้คุณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 196

พิเศษอย่างนี้ คุณของพระธรรมน่าอัศจรรย์ สมบัติแห่งพระศาสดาของเรา

ทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ ก็ความปฏิบัติชอบของพระสงฆ์ ย่อมเป็นอันพระเถระ

ประกาศแล้ว ด้วยการประกาศสมบัติของพระธรรมนั่นเอง.

พระเถระแสดงการทำให้แจ้งซึ่งพระธรรม อันตนแสดงแล้ว ด้วย

สามารถแห่งคุณสมบัติทั่วไปอย่างนี้ บัดนี้มุ่งจะให้น้อมเข้าไปในตนจึงกล่าวคาถา

มีอาทิว่า อสงฺเขยฺเยสุ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสงฺเขยฺเยสุ ได้แก่ในมหากัปทั้งหลาย

ที่ล่วงพ้นคลองแห่งการนับ.

บทว่า สกฺกายา ได้แก่อุปาทานขันธ์ ๕. อธิบายว่า อุปาทานขันธ์ ๕

เหล่านั้น โดยปรมัตถ์ ท่านเรียกว่า สักกายะ เพราะเป็นที่ประชุมแห่งธรรม

ของท่านผู้รู้.

บทว่า อหุ ความว่า บัณฑิตผู้ยังไม่ไปปราศ (จากสักกายทิฏฐิ)

เพราะยังไม่ประสบอุบายเป็นเครื่องยังสักกายทิฏฐิให้กลับ ได้มีแล้ว.

บทว่า เตสมย ปจฺฉิมโก จริโมย สมุสฺสโย ความว่า เพราะ

เหตุพระกุมารกัสสปนี้เป็นรูปสุดท้าย แห่งพระสาวกเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นแล

ร่างกายนี้จึงนับว่าเป็นร่างกายอันมีในที่สุด ฉะนั้น สงสารอันประกอบด้วยชาติ

และมรณะ อันบัณฑิตหมายรู้กันว่า เป็นลำดับแห่งขันธ์เป็นต้น เป็นสงสาร

ที่มีในที่สุด บัดนี้ คือ ต่อไป ภพใหม่จึงชื่อว่าไม่มี เพราะไม่มีภพต่อไปอีก.

อธิบายว่า ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย.

จบอรรถกถากุมารกัสสปเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 197

๒. ธรรมปาลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระธรรมปาลเถระ

[๒๙๙] ได้ยินว่า พระธรรมปาลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ภิกษุหนุ่มรูปใดแล เพียรพยายามอยู่ในพระพุทธ-

ศาสนา ก็เมื่อสัตว์ทั้งหลายนอกนี้ พากันหลับแล้ว

ภิกษุหนุ่มนั้นตื่นอยู่ ชีวิตของเธอไม่ไร้ประโยชน์

เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา ระลึกถึงคำสอนของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา ศีล ความ

เลื่อมใส และการเห็นธรรมเนือง ๆ เถิด.

อรรถกถาธรรมปาลเถรคาถา

คาถาของท่านพระธรรมปาลเถระ เริ่มต้นว่า โย หเว ทหโร ภิกฺขุ.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์-

ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มี

พระภาคเจ้า พระนามว่า อัตถทัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว เข้าไปสู่ป่าลึก

ด้วยกรณียกิจบางอย่าง เห็นพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลไม้

ปิลักขะ (ผลดีปลี).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 198

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อ

พระศาสดาในพุทธุปบาทกาลนี้ เสด็จปรินิพพานแล้ว บังเกิดในตระกูลพราหมณ์

แคว้นอวันตี ได้นามว่า ธรรมปาละ เจริญวัยแล้ว ไปสู่เมืองตักกศิลา เรียน

ศิลปศาสตร์แล้ว เมื่อเวลากลับพบพระเถระรูปหนึ่งในวิหารแห่งหนึ่ง ฟังธรรม

ในสำนักของพระเถระแล้ว ได้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว เจริญวิปัสสนาได้เป็นผู้มี

อภิญญา ๖. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราได้เห็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า อัตถทัสสี

มียศใหญ่ ในระหว่างป่า เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส

ได้ถวายผลปิลักขะ (ผลดีปลี) ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่

ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น

เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เรา

เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า

เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุข

อันเกิดแต่สมาบัติ วันหนึ่ง เห็นสามเณร ๒ รูปในวิหารนั้น ขึ้นเก็บดอกไม้

อยู่บนยอดไม้ เมื่อกิ่งที่ยืนงอกออกไปหักแล้วก็ตกลงมา จึงยื่นมือออกไปรับ

ด้วยอานุภาพแห่งฤทธิ์ ให้สามเณรทั้งสอง ยืนอยู่บนพื้นดินได้โดยปลอดภัย

เมื่อจะแสดงธรรมแก่สามเณรเหล่านั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถานี้ ความว่า

ภิกษุหนุ่มรูปใดแลเพียรพยายามอยู่ในพระพุทธ-

ศาสนา ก็เมื่อสัตว์ทั้งหลายนอกนี้พากันหลับแล้ว

ภิกษุหนุ่มนั้นตื่นอยู่ ชีวิตของเธอไม่ไร้ประโยชน์เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 199

ฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา ระลึกถึงคำสอนของพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา ศีล ความ

เลื่อมใส และการเห็นธรรมเนือง ๆ เถิด ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย เป็นคำแสดงความไม่แน่นอน.

บทว่า หเว เป็นนิบาต ลงในอรรถว่ามั่นคง.

บทว่า ทหโร แปลว่า หนุ่ม. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ย่อมขอ.

บทว่า ยุญฺชติ ความว่า ย่อมพากเพียรพยายาม.

บทว่า ชาคโร ได้แก่ ประกอบไปด้วยธรรมของภิกษุผู้ตื่น.

บทว่า สุตฺเตสุ ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายนอนหลับอยู่. ท่านกล่าว

อธิบายไว้ว่า ภิกษุใดยังหนุ่มอยู่ คืออายุยังน้อย ไม่คิดว่า เราจักบำเพ็ญ-

สมณธรรมอย่างนั้น ในภายหลัง เพียรพยายามปฏิบัติ ด้วยความไม่ประมาท

กระทำความเพียร ในสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ในศาสนาของพระพุทธ-

เจ้าทั้งหลาย เมื่อสัตว์ทั้งหลายนอกนี้หลับแล้ว คือหลับด้วยความหลับคืออวิชชา

ได้แก่ ประมาทแล้ว ภิกษุนั้นตื่นอยู่ ด้วยการประกอบธรรมของผู้ตื่นอยู่

มีศรัทธาเป็นต้น ชีวิตของเธอไม่ไร้ประโยชน์คือไม่เป็นหมัน เพราะบริบูรณ์

ด้วยประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านนั้นแล ก็เพราะเหตุที่ชีวิตนี้ เป็นอย่างนี้

ฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา คือภิกษุผู้ประกอบด้วยปัญญามีโอชาอันเกิดแต่ธรรม

ระลึกถึงคำสอน คือพระโอวาท ได้แก่พระอนุสาสนีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

มองเห็นศีรษะของตนว่า อันไฟติดทั่วแล้ว พึงประกอบตาม ซึ่งศรัทธา และ

ความเชื่อ เชื่อกรรมและผลแห่งกรรม อันเป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า กรรม

มีอยู่ ผลแห่งกรรมมีอยู่ ดังนี้ ซึ่งจตุปาริสุทธิศีลอันเข้าไปอาศัยซึ่งศรัทธานั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 200

เพราะความที่แห่งศีลเข้าไปผูกพันกับศรัทธา และซึ่งความเลื่อมใสในพระรัตน-

ตรัย อันเป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ดังนี้

และซึ่งการเห็นจตุราริยสัจจธรรม ด้วยสามารถแห่งการกำหนดรู้ด้วยมรรค

ปัญญา อันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญาเป็นต้น อธิบายว่า พึงกระทำความ

ขวนขวาย คือความเพียรในธรรมมีศรัทธาเป็นต้นนั้น.

จบอรรถกถาธรรมปาลเถรคาถา

๓. พรหมาลิเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระพรหมาลิเถระ

[๓๐๐] ได้ยินว่า พระพรหมาลิเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

อินทรีย์ของใครถึงความสงบแล้ว เหมือนม้าอัน

นายสารถีฝึกดีแล้ว แม้เทวดาทั้งหลาย ย่อมรักใคร่

ต่อผู้นั้น ผู้มีมานะอันละแล้ว ไม่มีอาสวะ ผู้คงที่

อินทรีย์ทั้งหลายของเราก็ถึงความสงบแล้ว เหมือนม้า

อันนายสารถีฝึกดีแล้ว แม้เทวดาทั้งหลายก็พากันรัก

ใคร่ต่อเรา ผู้มีมานะอันละแล้ว ไม่มีอาสวะ ผู้คงที่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 201

อรรถกถาพรหมาลิเถรคาถา

คาถาของท่านพระพรหมาลิเถระ เริ่มต้นว่า กสฺสินฺทฺริยานิ สมลงฺ-

คตานิ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ ทั้งหลาย สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ

เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี

บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง เห็นพระศาสดาเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส

ถวายบังคมแล้วได้ถวายผลมะม่วงกะล่อนทอง. พระศาสดาทรงกระทำ

อนุโมทนาแล้วเสด็จหลีกไป.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

ในตระกูลพราหมณ์ แคว้นโกศล ในพุทธุปบาทกาลนี้ ไดมีนามว่า พรหมาลี

บรรลุนิติภาวะแล้ว อันเหตุสมบัติตักเตือนอยู่ เกิดความสลดใจในสงสาร

บวชในพระพุทธศาสนา โดยอาศัยกัลยาณมิตรเช่นนั้น เรียนกรรมฐานที่

เหมาะสม อยู่ในป่า เจริญวิปัสสนาแล้ว ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นาน

นัก เพราะความที่ตนเป็นผู้มีญาณแก่กล้าแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว

ไว้ในอปทานว่า

เราได้ถวายผลมะม่วงกะล่อนทอง แด่พระสัม-

พุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณเหมือนดังทองคำ ผู้สมควร

รับเครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่

๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 202

การถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง

การถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำ

สอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว ยังกาลเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุข

อันเกิดแต่มรรค และด้วยความสุขอันเกิดแต่ผล วันหนึ่ง เมื่อจะกำหนดการ

ประกอบความเพียร อันพระเถระผู้กำหนดความเพียรกล่าวไว้ เจาะจงเฉพาะ

ภิกษุทั้งหลาย (ผู้อยู่) ในราวป่านั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

อินทรีย์ของใครถึงความสงบแล้ว เหมือนม้าอัน

นายสารถีฝึกดีแล้ว แม้เทวดาทั้งหลาย ย่อมรักใคร่

ต่อผู้นั้น ผู้มีมานะอันละแล้ว ไม่มีอาสวะ ผู้คงที่

อินทรีย์ทั้งหลายของเราก็ถึงความสงบแล้ว เหมือนม้า

อันนายสารถีฝึกดีแล้ว แม้เทวดาทั้งหลายก็พากัน

รักใคร่ต่อเรา ผู้มีมานะอันละแล้ว ไม่มีอาสวะเป็น

ผู้คงที่ ดังนี้.

คาถาทั้งสองนั้น มีอธิบายว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายอยู่กันในราวป่านี้

อินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ ๖ ของใคร คือ ของภิกษุผู้เป็นเถระ หรือนวกะ

หรือมัชฌิมะ ถึงความสงบ คือความเป็นอินทรีย์ที่ฝึกแล้ว ได้แก่ ความเป็น

อินทรีย์ที่หมดพยศ เหมือนม้าอัสดรที่ถูกนายสารถีผู้ฉลาดฝึกแล้ว ฉะนั้น.

แม้เทวดาก็กระหยิ่ม แม้มนุษย์ทั้งหลายก็ปรารถนาดี โดยการแสดงสัมมาปฏิบัติ

เป็นต้น ต่อใคร ผู้ชื่อว่ามีมานะอันละได้แล้ว เพราะละมานะมีอย่าง ๙ ได้

แล้วตั้งอยู่ ผู้ชื่อว่าไม่มีอาสวะ เพราะไม่มีอาสวะแม้ทั้ง ๔ อย่าง ผู้ชื่อว่าคงที่

ด้วยการปฏิบัติลักษณะของผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 203

ก็โดยกึ่งหนึ่งของบาทแรกในคาถานั้น พระเถระถามถึงการบรรลุ

พระอนาคามิมรรค อธิบายว่า อินทรีย์ทั้งหลายแม้ของพระอนาคามี ย่อมชื่อว่า

ถึงความสงบ คือหมดพยศ เพราะละกามราคะและพยาบาทได้แล้ว. การได้

เฉพาะซึ่งพระอรหัตมรรคย่อมมี ด้วยบาทคาถานอกนี้ เพราะว่า พระอรหันต์

ท่านเรียกว่า เป็นผู้ละมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ และเป็นผู้คงที่.

ครั้งนั้น ท่านพระพรหมาลิเถระ กล่าวย้ำคาถามีอาทิว่า กสฺสินฺทฺริ-

ยานิ ซึ่งพระเถระผู้กำหนดความเพียรกล่าวไว้แล้ว เมื่อจะวิสัชนาความแห่ง

คาถานั้น ด้วยสามารถแห่งการน้อมเข้ามาในตน จึงพยากรณ์พระอรหัตผล

ด้วยคาถาที่ ๒ มีอาทิว่า มยฺหินฺทฺริยานิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มยฺหินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์มีจักษุ

เป็นต้นของเรา. บทที่เหลือมีนัยดังข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาพรหมาลิเถรคาถา

๔. โมฆราชเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโมฆราชเถระ

[๓๐๑] ได้ยินว่า พระโมฆราชเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ดูก่อนโมฆราชภิกษุ ผู้มีผิวพรรณเศร้าหมอง

แต่มีจิตผ่องใส เธอเป็นผู้มีใจตั้งมั่นเป็นนิตย์ จักทำ

อย่างไร ตลอดราตรีแห่งเวลาอันหนาวเย็นเช่นนี้ ?

ข้าพระองค์ได้ฟังมาว่า ประเทศมคธ ล้วนแต่

สมบูรณ์ด้วยข้าวกล้า ข้าพระองค์พึงคลุมกายด้วยฟาง

แล้วนอนให้เป็นสุข เหมือนคนเหล่าอื่นที่มีการเป็นอยู่

เป็นสุข ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 204

อรรถกถาโมฆราชเถรคาถา

คาถาของท่านพระโมฆราชเถระ เริ่มต้นว่า ฉวิปาปก จิตฺตภทฺทก.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนาม

ว่า ปทุมุตตระ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา

อยู่ เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ บรรดา

ภิกษุผู้ทรงจีวรเศร้าหมองทั้งหลาย มุ่งหมายตำแหน่งนั้นอยู่ ตั้งประณิธานบำเพ็ญ

บุญไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ถึงความสาเร็จในวิชา และศิลปะของพราหมณ์

ทั้งหลาย ยังมาณพผู้เป็นพราหมณ์ ให้ศึกษาวิชาและศิลปศาสตร์ วันหนึ่ง

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว

เสด็จไปอยู่ มีใจเลื่อมใสแล้ว ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ประนมกร

อัญชลีไว้เหนือเศียร แล้วชมเชยพระศาสดาด้วยคาถา ๖ คาถา มีอาทิว่า ยาวตา

รูปิโน สตฺตา ดังนี้ แล้วน้อมน้ำผึ้งเข้าไปถวายจนเต็มภาชนะ. พระศาสดา

ทรงรับประเคนน้ำผึ้งแล้ว ทรงกระทำอนุโมทนา.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น

อมาตย์ของพระราชา พระนามว่า กัฏฐวาหนะ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่า กัสสปะ เป็นผู้อันพระราชาทรงส่งไปพร้อมกับบุรุษหนึ่งพัน

เพื่อทูลอาราธนาพระศาสดา ไปสู่สำนักของพระศาสดาแล้ว ฟังธรรมได้มี

ศรัทธาบวชแล้ว บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ๒๐,๐๐๐ ปี จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 205

เกิดหมุนเวียนอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพุทธุปบาท-

กาลนี้ ได้นามว่า โมฆราชะ เรียนศิลปวิทยาอยู่ในสำนักของพราหมณ์

พาวรี เกิดความสลดใจ บวชเป็นดาบส มีดาบสหนึ่งพันเป็นบริวาร ถูกส่ง

ไปยังสำนักของพระศาสดา พร้อมกับดาบสทั้งหลาย มีอชิตดาบสเป็นต้น เป็น

คนที่ ๑๕ ของดาบสเหล่านั้น ทูลถามปัญหาแล้ว ในเวลาจบการวิสัชนาปัญหา

บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สยัมภู พระนามว่า

อัตถทัสสี ไม่ทรงแพ้อะไร ๆ แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์

เสด็จดำเนินไปในถนน เราแวดล้อมด้วยพวกศิษย์

ทั้งหลาย ออกจากเรือนไป ครั้นแล้วได้พบพระผู้มี

พระภาคเจ้า ผู้เป็นนายกของโลกที่ถนนนั้น เราได้

ประนมอัญชลีบนเศียรเกล้า ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า

ยังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว ชมเชยพระองค์ผู้เป็น

นายกของโลก สัตว์มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญา

ก็ดี ประมาณเท่าใด สัตว์เหล่านั้นย่อมเข้าไปภายใน

พระญาณของพระองค์ทั้งหมด เปรียบเหมือนสัตว์

ในน้ำเหล่าใดเหล่าหนึ่ง สัตว์เหล่านั้นย่อมติดอยู่ภาย

ในข่ายของคนที่เอาข่ายตาเล็ก ๆ เหวี่ยงลงในน้ำ

ฉะนั้น อนึ่ง สัตว์เหล่าใด คือ สัตว์มีรูป และไม่มีรูป

มีเจตนา (ความตั้งใจ) สัตว์เหล่านั้นย่อมเข้าไปภายใน

พระญาณของพระองค์ทั้งหมด พระองค์ทรงถอนโลก

อันอากูล ด้วยความมืดมนนี้ขึ้นได้แล้ว สัตว์เหล่านั้น

ได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ย่อมข้ามกระแสความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 206

สงสัยได้ โลกอันอวิชชาหุ้มห่อแล้ว อันความมืด

ท่วมทับ ทรงกำจัดความมืดได้ ส่งแสงโชติช่วงอยู่

เพราะพระญาณของพระองค์ พระองค์ผู้มีพระจักษุ

เป็นผู้ทรงบรรเทาความมืดมนของสัตว์ทั้งปวง ชนเป็น

อันมากฟังธรรมของพระองค์แล้ว จักนิพพานดังนี้แล้ว

เราเอาน้ำผึ้งรวง อันไม่มีตัวผึ้งใส่เต็มหม้อแล้ว ประ-

คองด้วยมือทั้งสอง น้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระมหาวีรเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง ทรงรับ

ด้วยพระหัตถ์อันงาม ก็พระสัพพัญญูเสวยน้ำผึ้งนั้น

แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่นภากาศ พระศาสดาพระนามว่า

อัตถทัสสีนราสภ ประทับอยู่ในอากาศ ทรงยังจิต

ของเราให้เลื่อมใส ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใด

ชมเชยญาณนี้ และชมเชยพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น ผู้นั้นจะไม่ไปสู่ทุคติ และผู้นั้น

จักเสวยเทวรัชสมบัติ ๔๖ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า

ประเทศราช ครอบครองแผ่นดิน ๘๐๐ ครั้ง จักได้

เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า

ประเทศราช เสวยสมบัติอยู่ในแผ่นดินนับไม่ถ้วน

จักเป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์รู้จบไตรเพท จักบวช

ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า

โคดม จักพิจารณาอรรถอันลึกซึ้ง อันละเอียดได้ด้วย

ญาณ จักเป็นสาวกของพระศาสดา มีนามว่า 'โมฆราช'

จักถึงพร้อมวิชชา ๓ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 207

อาสวะ พระโคดมผู้ทรงเป็นยอดของผู้นำหมู่ จักทรง

ตั้งผู้นั้นไว้ ในเอตทัคคสถาน เราละกิเลสเครื่อง

ประกอบของมนุษย์ ตัดเครื่องผูกพันในภพ กำหนดรู้

อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่. เราเผากิเลส

ทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระ-

ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว ทรงผ้าบังสุกุลจีวร อันประกอบ

ด้วยความเศร้าหมอง ครบทั้ง๓ อย่างคือ เศร้าหมองด้วยมีด เศร้าหมองด้วย

ด้าย (และ) เศร้าหมองด้วยน้ำย้อม ด้วยเหตุนั้น พระศาสดาจึงทรงตั้งท่านไว้

ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้ทรงจีวรอันเศร้าหมองทั้งหลาย.

ในเวลาต่อมา โรคทั้งหลายมีหิดเปื่อยและต่อมน้ำเหลืองเป็นต้น เกิดลุกลาม

ไปตามร่างกายของพระเถระ เพราะกรรมเก่าเป็นปัจจัย (และ) เพราะไม่ทำ

ความสะอาดร่างกาย. พระเถระคิดว่า เสนาสนะทำให้ร่างกายเดือดร้อน จึง

เอาเครื่องลาดที่ทำด้วยฟาง ในนาของชาวมคธ มาปูลาดนอนแม้ในเหมันตฤดู

วันหนึ่ง พระศาสดาตรัสถามท่าน ผู้เข้าไปสู่ที่บำรุง ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วน

ข้างหนึ่ง โดยทำนองปฏิสันถาร ด้วยพระคาถาที่ ๑ ใจความว่า

ดูก่อนโมฆราชภิกษุ ผู้มีผิวพรรณเศร้าหมอง

แต่มีจิตผ่องใส ท่านเป็นผู้มีใจตั้งมั่นเป็นนิตย์ จักทำ

อย่างไรตลอดราตรี แห่งเวลาหนาวเย็นเช่นนี้ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉวิปาปก ความว่า ดูก่อนท่านผู้ชื่อว่า

มีผิวพรรณเศร้าหมอง คือ ชื่อว่า มีผิวพรรณไม่ผ่องใส เพราะความเป็นผู้

มีผิวพรรณ แตกไหลเยิ้มไปด้วย หิดเปื่อย หิตด้าน และต่อมน้ำเหลืองเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 208

บทว่า จิตฺตภทฺทก ความว่า ดูก่อนท่านผู้ชื่อว่า มีจิตงามคือมีจิต

อันสุนทร เพราะละกิเลสได้โดยไม่เหลือ และเพราะมีพรหมวิหารธรรมเป็น

เครื่องเสพ.

บทว่า โมฆราช เป็นคำเรียกพระเถระนั้น.

บทว่า สตต สมาหิโต ความว่า เป็นผู้มีมนัสประกอบแล้ว ด้วย

อัครผลสมาธิ ตลอดกาลเป็นนิตย์ คือเป็นประจำ.

บทว่า เหมนฺตกสีตกาลรตฺติโย ความว่า ตลอดรัตติกาลอัน

หนาวเย็นในเหมันตสมัย. ก็บทนี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอัจจันตสังโยคะ.

(บางแห่ง) บาลีเป็น เหมนฺติกาสีตกาลรตฺติโย ก็มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เหมนฺติกา ความว่า ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว

คือนับเนื่องในฤดูเหมันต์.

บทว่า ภิกฺขุ ตฺวสิ ความว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจะเป็นอย่างไร

คือเธอมีสภาพเป็นอย่างนี้ เมื่อผู้อื่นไม่ทำเสนาสนะให้ท่าน และท่านก็ไม่เข้า

ไปสู่เสนาสนะอันเป็นของสงฆ์.

บทว่า กถ กริสฺสสิ ความว่า พระศาสดาตรัสถามว่า เธอจักยัง

อัตภาพให้เป็นไปได้อย่างไร ในฤดูกาลอันหนาวเย็นเช่นที่กล่าวแล้ว. ก็พระเถระ

อันพระศาสดาตรัสถามแล้วอย่างนี้ เมื่อจะกราบทูลความนั้น จึงกล่าวคาถา

ความว่า

ข้าพระองค์ได้ฟังมาว่า ประเทศมคธล้วนแต่

สมบูรณ์ด้วยข้าวกล้า ข้าพระองค์พึงคลุมกายด้วยฟาง

แล้วนอนให้เป็นสุข เหมือนคนเหล่าอื่น ที่มีการเป็น

อยู่อย่างเป็นสุข ฉะนั้น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 209

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนสฺสา ความว่า มีข้าวกล้า

สำเร็จแล้ว (คือสุกพอจะเก็บเกี่ยวได้แล้ว).

พระเถระเรียกแคว้นมคธว่า มคธา ราชกุมารชาวชนบททั้งหลาย

ชื่อว่า มคธ ชนบทแม้แห่งเดียวอันเป็นที่อยู่ของราชกุมารชาวชนบทเหล่านั้น

ท่านก็เรียกเป็นพหุวจนะว่า มคธา เหมือนกัน โดยเป็น รุฬหี ศัพท์.

บทว่า เกวลา ความว่า ไม่มีส่วนเหลือ.

บทว่า อิติ เม สุต ความว่า อันข้าพระองค์ฟังมาแล้วอย่างนี้.

บทว่า สุต ท่านกล่าวแล้ว ด้วยสามารถแห่งประเทศที่ท่านยังไม่

เคยเห็น ในบรรดาประเทศเหล่านั้น. ด้วยบทว่า อิติ เม สุต นี้ พระเถระ

แสดงความหมายว่า ในกาล (อันหนาวเย็น) เช่นนี้ เราสามารถจะอยู่ใน

แคว้นมคธ ได้ทุกแห่งหน.

บทว่า ปลาลจฺฉนฺนโก เสยฺย ยถฺเ สุขชีวิโน ความว่า

พระเถระประกาศยถาลาภสันโดษของตนว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่สุขสบายเหล่าอื่น

ได้เสนาสนะอันเป็นที่สบายแล้ว ย่อมนอนโดยมีความสุข เพราะเครื่องลาด

และผ้าห่มที่ดีฉันใด แม้ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น ชื่อว่า คลุมกายด้วยฟาง เพราะ

เบื้องล่างก็ปูลาดด้วยฟางอย่างเดียว ข้างบนและด้านขวาง ก็คลุมร่างด้วย

เครื่องปกคลุมคือฟางเท่านั้น นอนได้อย่างสบาย คือ นอนได้เป็นสุข.

จบอรรถกถาโมฆราชเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 210

๕. วิสาขปัญจาลีปุตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวิสาขปัญจาลีบุตรเถระ*

[๓๐๒] ได้ยินว่า พระวิสาขปัญจาลีบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้

อย่างนี้ว่า

พระธรรมกถึกประกอบด้วยองค์ ดังนี้คือ ไม่พึง

ยกตน ๑ ไม่ข่มบุคคลเหล่าอื่น ๑ ไม่พึงกระทบกระทั่ง

บุคคลเหล่าอื่น ๑ ไม่กล่าวคุณความดีของตนในที่

ชุมนุมชน เพื่อมุ่งลาภผล ๑ ไม่มีจิตฟุ้งซ่านกล่าวแต่

พอประมาณ มีวัตร ๑ ภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก พึงเป็น

ผู้มีปกติเห็นเนื้อความอันสุขุมละเอียด มีปัญญา

เฉลียวฉลาด ประพฤติอ่อนน้อม มีศีลตามเยี่ยงอย่าง

ของพระพุทธเจ้านั้น พึงได้พระนิพพานไม่ยากเลย.

อรรถกถาวิสาขปัญจาลปุตตเถรคาถา

คาถาของท่านพระวิสาขปัญจาลบุตรเถระ เริ่มต้นว่า น อุกฺขิเป โน

จ ปริกฺขิเป ปเร. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ ทั้งหลาย สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ

เกิดในตระกูลที่ยากจน ในปัจจันตคาม ในพุทธกัปต่อแต่นี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว

วันหนึ่ง ไปป่า พร้อมกับคนทั้งหลายในปัจจันตคาม ผู้เที่ยวหาผลไม้ เห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ในป่านั้น มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลวัลลิ.

* อรรถกถาเป็น วิสาขปัญจาลบุตรเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 211

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

ในตระกูลของพระเจ้ามัณฑลิกะ แคว้นมคธ ในพุทธุปบาทกาลนี้ได้มีนามว่า

วิสาขะ ภายหลังปรากฏนามว่า ปัญจาลปุตตะ เพราะความเป็นพระโอรส

แห่งราชธิดาของพระเจ้าปัญจาละ เมื่อพระชนกสวรรคตแล้ว เขาก็เสวยราช

สมบัติ เมื่อพระศาสดาเสด็จมาใกล้วังของพระองค์ ก็ไปสู่สำนักของพระศาสดา

ฟังธรรมแล้ว ได้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว ไปสู่พระนครสาวัตถีกับพระศาสดา

เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้ว ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถา

ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในกาลนั้น ชนทั้งปวงชักชวนกันมาสู่ป่า เขา

เหล่านั้นแสวงหาผลไม้ ก็หาผลไม้ได้ในกาลนั้น ใน

ป่านั้น เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้สยัมภู ผู้ไม่เคย

พ่ายแพ้ เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ถวายผล

วัลลิ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใด

ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ

คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว ได้กลับไปภูมิลำเนาเดิม เพื่อ

อนุเคราะห์หมู่ญาติ มนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น เข้าไปหาพระเถระแล้ว ฟังธรรม

ตามกาลตามโอกาส วันหนึ่ง ถามพระเถระถึงลักษณะของพระธรรมกถึกว่า ข้า

แต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณเท่าไรหนอแล จึงจะเป็นพระธรรม-

กถึกได้ พระเถระเมื่อจะบอกลักษณะของพระธรรมกถึก แก่เขาเหล่านั้น ได้

กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 212

พระธรรมกถึกประกอบด้วยองค์ ดังนี้คือ ไม่พึง

ยกตน ๑ ไม่พึงข่มบุคคลเหล่าอื่น ๑ ไม่พึงกระทบ

กระทั่งบุคคลเหล่าอื่น ๑ ไม่กล่าวคุณความดีของตน

ในที่ชุมนุมชน เพื่อมุ่งลาภผล ๑ ไม่มีจิตฟุ้งซ่าน

กล่าวแต่พอประมาณ มีวัตร ๑ ภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก

พึงเป็นผู้มีปกติ เห็นเนื้อความอันสุขุมละเอียด มี

ปัญญาเฉลียวฉลาด ประพฤติอ่อนน้อม มีศีลตาม

เยี่ยงอย่างของพระพุทธเจ้านั้น พึงได้นิพพานไม่ยาก

เลย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น อุกฺขิเป ความว่า ไม่พึงยกขึ้นซึ่ง

ตน คือไม่พึงทำการยกตน ด้วยตระกูลมีชาติเป็นต้น และด้วยคุณสมบัติ มี

พาหุสัจจะเป็นต้น.

บทว่า โน จ ปริกฺขิเป ปเร ความว่า ไม่พึงข่มผู้อื่น คือ

บุคคลอื่น ด้วยชาติเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแล คือไม่พึงกดผู้อื่นโดยปกปิดคุณ

หรือไม่พึงกดผู้อื่น ด้วยสามารถแห่งการทำลายคุณความดี. พึงเชื่อมความ

อย่างนี้ว่า ไม่พึงกระทบกระทั่งบุคคลเหล่าอื่น คือไม่กระทบกระทั่งบุคคลอื่น

ด้วยสามารถแห่งการเพ่งโทษ ได้แก่ ไม่พึงมองผู้อื่นอย่างเหยียดหยาม อธิบาย

ว่า น อุกฺขิเป ความก็อย่างนั้นแหละ.

บทว่า ปารคต ความว่า ไม่พึงกระทบกระทั่ง คือไม่พึงห้าม

ไม่พึงเสียดสี ได้แก่ ไม่พึงดูหมิ่น ซึ่งพระขีณาสพผู้ถึงฝั่งแห่งวิชชา ดุจถึง

ฝั่งแห่งสงสาร ผู้มีวิชชา ๓ หรือมีอภิญญา ๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 213

บทว่า น จตฺตวณฺณ ปริสาสุ พฺยาหเร ความว่า ผู้มุ่งลาภ

สักการะและความสรรเสริญ ไม่พึงกล่าวสรรเสริญคุณของตน ในบริษัทของ

กษัตริย์เป็นต้น.

บทว่า อนุทฺธโต ความว่า เว้นจากความฟุ้งซ่าน อธิบายว่า

พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ยินดีด้วยคำของผู้ที่ฟุ้งซ่าน.

บทว่า สมฺมิตภาณี ความว่า กล่าวด้วยคำพอประมาณ โดยชอบ

นั่นเทียว อธิบายว่า มีปกติกล่าวถ้อยคำที่ประกอบไปด้วยประโยชน์เท่านั้น

มีที่อ้างอิง มีที่สุด ตามกาล. ถ้อยคำของผู้ที่กล่าว นอกเหนือไปจากนี้ ย่อม

ไม่เป็นที่เชื่อถือ.

บทว่า สุพฺพโต ผู้มีวัตรอันงาม คือสมบูรณ์ด้วยศีล พึงนำบท

กิริยาว่า สิยา มาประกอบเข้าด้วย.

พระเถระกล่าวลักษณะของพระธรรมกถึก โดยสังเขปเท่านั้น อย่างนี้

แล้ว น้อมใจนึกถึงความที่คุณเหล่านั้น เป็นเหตุให้ตนได้รับความยกย่องนับถือ

รู้ว่า มหาชนมีความเลื่อมใสจนเกินประมาณ เมื่อจะแสดงความว่า พระนิพพาน

ไม่เป็นคุณอันพระธรรมกถึกผู้มีลักษณะอย่างนี้ อาศัยวิมุตตายตนะแล้วจะพึง

ได้โดยยาก คือหาได้ง่ายโดยแท้แล จึงกล่าวคาถาที่ ๒ มีอาทิว่า สุสุขุม-

นิปุณตฺถทสฺสินา ดังนี้.

ความแห่งคาถาที่สองนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาวิสาขปัญจาลปุตตเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 214

๖. จูฬกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระจูฬกเถระ

[๓๐๓] ได้ยินว่า พระจูฬกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

นกยูงทั้งหลาย มีหงอนงาม ปีกก็งาม มีสร้อยคอ

เขียวงาม ปากก็งาม มีเสียงไพเราะ ส่งเสียงร่ำร้อง

รื่นรมย์ใจ อนึ่ง แผ่นดินใหญ่นี้ มีหญ้าเขียวชอุ่มดูงาม

มีน้ำเอิบอาบทั่วไป ท้องฟ้าก็มีวลาหกอันงาม ท่านก็

มีใจเบิกบานควรแก่งาน จงเพ่งฌาน ที่พระโยคาวจร

ผู้มีใจดีเจริญแล้ว มีความบากบั่น ในพระพุทธศาสนา

เป็นอันดี จงบรรลุธรรมอันสูงสุด อันเป็นธรรมขาว

ผุดผ่อง ละเอียด เห็นได้ยาก เป็นธรรมไม่จุติแปรผัน.

อรรถกถาจูฬกเถรคาถา

คาถาของท่านพระจูฬกเถระ เริ่มต้นว่า นทนฺติ โมรา สุสิขา

สุเปขุณา. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ ทั้งหลาย เข้าไปสั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพ

นั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

สิขี ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง เห็นพระศาสดา

มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายผลฉัตตปาณี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 215

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ กรุงราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า

จูฬกะ เจริญวัยแล้ว ได้ความเลื่อมใสในพระศาสดา ในคราวที่ทรงทรมาน

ช้าง ชื่อ ธนบาล บวชแล้ว บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในถ้ำอินทสาระ วันหนึ่ง

ท่านนั่งอยู่ที่ประตูถ้ำ แลดูนาของชาวมคธ.

ในขณะนั้น เมฆที่ยังฝนให้ตกตามฤดูกาล ส่งเสียงร้องดังก้องไพเราะ

หนาตั้งร้อยชั้น พันชั้น ยังฝนให้ตกเต็มทั่วท้องฟ้า งามสกาวเหมือนยอดอัญชัน

และฝูงนกยูง ฟังเสียงเมฆคำรน พากันร่าเริงยินดี ส่งเสียงร่ำร้องรื่นรมย์

พากันเที่ยวรำแพนไปในประเทศนั้น ๆ. ในเมื่อกรชกายสงบระงับแล้ว เพราะ

ความร้อนในฤดูร้อนผ่านไป โดยสัมผัสแห่งลมฝน ทำให้ห้องอันเป็นที่อยู่

แม้ของพระเถระถึงความเยือกเย็น จิตก็เป็นเอกัคคตารมณ์ เพราะได้ฤดูเป็น

ที่สบาย หยั่งลงสู่แนวกรรมฐาน. พระเถระรู้ดังนั้นแล้ว เมื่อจะยังจิตให้มี

อุตสาหะในภาวนา โดยมุขคือการแสดงความถึงพร้อมแห่งกาลเป็นต้น ได้กล่าว

คาถา ๒ คาถา ความว่า

นกยูงทั้งหลาย มีหงอนงาม ปีกก็งาม มีสร้อยคอ

เขียวงาม ปากงาม มีเสียงไพเราะ ส่งเสียงร่ำร้องรื่นรมย์

ใจ อนึ่ง แผ่นดินใหญ่นี้ มีหญ้าเขียวชอุ่ม ดูงาม มี

น้ำเอิบอาบทั่วไป ท้องฟ้าก็มีวลาหกงดงาม ท่านก็มีใจ

เบิกบานควรแก่การงาน จงเพ่งฌานที่พระโยคาวจร

ผู้มีใจดีเจริญแล้ว มีความบากบั่นในพระพุทธศาสนา

เป็นอันดี จงบรรลุธรรมอันสูงสุด อันเป็นธรรมขาว

ผุดผ่อง ละเอียด เห็นได้ยาก เป็นธรรมไม่จุติแปรผัน

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 216

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นทนฺติ โมรา สุสิขา สุเปขุณา

สนีลคีวา สุมุขา สุคชฺชิโน ความว่า นกยูงทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า มี

หงอนงาม เพราะประกอบไปด้วยหงอน ซึ่งตั้งอยู่บนหัวงดงาม ชื่อว่า มีปีก

งดงาม เพราะประกอบไปด้วยขนหางอันเจริญ มีสีต่าง ๆ กันมิใช่น้อย งดงาม

น่าดู ชื่อว่า มีสร้อยคอเขียวงาม เพราะประกอบไปด้วยคอมีสีเขียวงาม คล้าย

กับมีสีลายพร้อย. ชื่อว่ามีปากงาม เพราะมีปากงดงาม ชื่อว่ามีเสียงไพเราะ

เพราะมีเสียงร้องเสนาะจับใจ. นกยูงทั้งหลาย มีหงอน ร้องไพเราะ

เหมือนเสียงดนตรี เปล่งศัพท์สำเนียง ร้องเสียงรื่นรมย์ใจ.

บทว่า สุสทฺทลา จาปิ มหามหี อย ความว่า ก็ผืนแผ่นดินใหญ่นี้

มีหญ้าแพรกดารดาษ มีติณชาติเขียวชอุ่ม.

บทว่า สุพฺยาปิตมฺพู ความว่า มีน้ำเอิบอาบทั่วไป คือมีชลาลัย

ไหลแผ่ไป เพราะมีน้ำเหนือไหลหลาก แผ่ซ่านไปในที่นั้น ๆ โดยมีฝนตก

ทำให้เกิดน้ำใหม่. ปาฐะว่า สุสุกฺกตมฺพุ ดังนี้ก็มี โดยมีอธิบายว่า มีชลาลัย

ใสสะอาดบริสุทธิ์.

บทว่า สุวลาหก นก ความว่า ก็นภากาศนี้ ชื่อว่ามีวลาหกงดงาม

เพราะมีวลาหกคือเมฆ งดงามตั้งอยู่คล้ายกับมีกลีบอุบลเขียว แผ่กระจายเต็ม

ไปโดยรอบ.

บทว่า สุกลฺลรูโป สุมนสฺส ฌายต ความว่า บัดนี้ ท่านก็มีความ

เหมาะสม คือมีสภาพที่ควรแก่การงาน เพราะได้ฤดูเป็นที่สบาย จงเพ่งฌาน

ที่พระโยคาวจรผู้ชื่อว่ามีใจดี เพราะมีจิตงอกงาม โดยไม่ถูกนิวรณ์ทั้งหลาย

เบียดเบียน เพ่งอยู่ด้วยสามารถ แห่งอารัมมณูปนิชฌาน และลักขณูปนิชฌาน.

บทว่า สุนิกฺกโม ฯ เป ฯ อจฺจุต ปท ความว่า ก็ท่านเพ่งฌาน

อยู่อย่างนี้ เป็นความดี คือเป็นผู้มีความพยายามดี ในพระศาสนาของพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ดีแล้ว จงกระทบคือจงกระทำให้แจ้ง ด้วยสัมมาปฏิบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 217

โดยกระทำให้ประจักษ์ด้วยตนเอง ซึ่งพระนิพพาน ชื่อว่า บริสุทธิ์ด้วยดี เพราะ

ความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ดีแล้ว ชื่อว่า สว่างไสว เพราะไม่เข้าไปถึงความโคจร

ของความเศร้าหมองแม้ทั้งปวง ชื่อว่า ละเอียด เพราะความเป็นอารมณ์ของ

ญาณอันละเอียด ชื่อว่าเห็นได้โดยยาก เพราะความที่ธรรมลึกซึ้งอย่างยิ่ง ชื่อว่า

สูงสุด เพราะความเป็นของประณีต และเพราะความเป็นของประเสริฐ ชื่อว่า

เป็นอัจจุตบท คือเป็นธรรมที่ไม่จุติแปรผัน เพราะความเป็นสภาพที่เที่ยง.

ก็พระเถระเมื่อกล่าวสอนตนอยู่อย่างนี้แล เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว เพราะ

ได้ฤดูเป็นที่สบาย ขวนขวายวิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัตผล. สมดังคาถา

ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราได้เห็นพระศาสดา ผู้เป็นนายกของโลก ทรง

รุ่งเรืองดังดอกกรรณิการ์ โชติช่วงเหมือนพระจันทร์

วันเพ็ญ และดังดวงประทีป เรามีจิตเลื่อมใส มีใจ

โสมนัส ได้ถือเอาผลกล้วยไปถวายแด่พระศาสดา

ถวายบังคมแล้วกลับไป ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้

เราได้ถวายผลไม่ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้นเราไม่

รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผา

กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา

กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาข้อปฏิบัติของตน เกิดปีติ

และโสมนัส กล่าวซ้ำคาถาเหล่านั้นแหละ โดยนัยมีอาทิว่า นทนฺติ โมรา

ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น คาถาทั้งสองนั้นแล จึงได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผล

ของพระเถระ.

จบอรรถกถาจูฬกเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 218

๗. อนูปมเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอนูปมเถระ

[๓๐๔] ได้ยินว่า พระอนูปมเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

จิตถึงความเพลิดเพลิน เพราะธรรมใด ธรรมใด

ยกขึ้นสู่หลาว และจิตเป็นดังหลาว เป็นดังท่อนไม้

ขอท่านจงเว้นธรรมนั้น ๆ ให้เด็ดขาด ดูก่อนจิต เรา

กล่าวธรรมนั้นว่าเป็นธรรมมีโทษ เรากล่าวธรรมนั้น

ว่าเป็นเครื่องประทุษร้ายจิต พระศาสดาที่บุคคลหาได้

โดยยาก ท่านก็ได้แล้ว ท่านอย่ามาชักชวนเราในทาง

ฉิบหายเลย.

อรรถกถาอนูปมเถรคาถา

คาถาของท่านพระอนูปมเถระ เริ่มต้นว่า นนฺทมานาคต จิตฺต.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ ทั้งหลาย เข้าไปสั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพ

นั้น เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ บรรลุนิติภาวะ

แล้ว วันหนึ่งเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า ปทุมะ เที่ยวบิณฑบาตไปใน

ถนน มีใจเลื่อมใส บูชาด้วยดอกปรู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 219

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

ในตระกูลอันมั่งคั่ง แคว้นโกศล ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า อนูปโม

เพราะสมบูรณ์ด้วยรูปสมบัติ ละกามทั้งหลาย บวชแล้ว เพราะความเป็นผู้

สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย กระทำกรรมในวิปัสสนา อยู่ในป่า จิตของท่านแล่นไป

ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้น ในภายนอก กรรมฐานก็หมุนเปลี่ยน

แปลงไป. พระเถระเมื่อจะข่มจิตอันวิ่งไปอยู่ กล่าวเตือนตน ด้วยคาถา ๒

คาถาเหล่านี้ ความว่า

จิตถึงความเพลิดเพลินเพราะธรรมใด ธรรมใด

ยกขึ้นสู่หลาว และจิตเป็นดังหลาว เป็นดังท่อนไม้

ขอท่านจงเว้นธรรมนั้น ๆ ให้เด็ดขาด ดูก่อนจิต

เรากล่าวธรรมนั้น ว่าเป็นธรรมที่มีโทษ เรากล่าวธรรม

นั้นว่า เป็นเครื่องประทุษร้ายจิต พระศาสดาที่บุคคล

หาได้โดยยาก ท่านก็ได้แล้ว ท่านอย่ามาชักชวนเรา

ในทางฉิบหายเลย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นนฺทมานาคต จิตฺต ความว่า จิต

มาสู่ความเพลิดเพลิน ได้แก่ จิตที่ยินดีเพลิดเพลินภพนั้น ๆ แห่งตัณหาอัน

เป็นตัวเหตุแห่งความยินดีเพลิดเพลินในภพนั้น ๆ มาถึงความยินดี ความ

เพลิดเพลิน จากภพนั้นไปสู่ภพนี้.

บทว่า สูลมาโรปมานก ความว่า จิตอันกรรมกิเลสทั้งหลาย ยก

ขึ้นสู่ภพนั้น ๆ อันชื่อว่าหลาว เพราะเป็นเช่นกับหลาว โดยฐานะเป็นที่เกิด

แห่งทุกข์ ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้.

บทว่า เตน เตเนว วชสิ เยน สูล กลิงฺคร ความว่า

ภพกล่าวคือหลาว แสะกามคุณกล่าวคือท่อนไม้ อันได้นามว่า เขียงสำหรับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 220

สำเร็จโทษ มีอยู่ในฐานะใด ๆ ท่านจะดำเนินไป คือเข้าถึงฐานะนั้น ๆ แหละ

ด้วยบาปจิตนั้น ๆ ทีเดียว ได้แก่ ไม่กำหนดความฉิบหายของตน.

บทว่า ตาห จิตฺตกลึ พฺรูมิ ความว่า เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าว

ธรรมนั้นว่า เป็นโทษของจิต คือเป็นกาลกรรณีของจิต เพราะเป็นความ

ประมาท คือเราจะกล่าว คือจะบอกซ้ำถึงธรรมนั้น ว่าเป็นเครื่องประทุษร้าย

จิต คือบ่อนทำลายจิต เพราะนำมาซึ่งความฉิบหาย แก่สันดานอันมีอุปการะ

มากแก่ตน กล่าวคือจิต. บางอาจารย์กล่าวว่า จิตฺตทุพฺภคา บ้าง หมาย

ความว่า สภาพจิตที่ไม่มีบุญวาสนา (หรือ) จิตที่มีบุญน้อย. ถ้าจะมีผู้ถามว่า

จะบอกว่าอย่างไร ? ตอบว่า จะบอกว่า พระศาสดาที่บุคคลหาได้โดยยาก

ท่านก็ได้แล้ว คือ โลกว่างจากพระพุทธเจ้า มาเป็นเวลาหลายกัปนับไม่ถ้วน

แม้เมื่อพระศาสดาเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว สมบัติคือความเป็นมนุษย์ และการได้

เฉพาะซึ่งศรัทธาเป็นต้น ก็ยังเป็นของที่หาได้ยากโดยแท้ และเมื่อได้สมบัติ

เหล่านั้นแล้ว แม้พระศาสดาก็ยังหาไม่ได้อยู่นั่นเอง พระศาสดาผู้ที่บุคคลหา

ได้อย่างนี้ ท่านได้แล้วในบัดนี้ เมื่อเราได้พระศาสดานั้นแล้ว ท่านอย่ามา

ชวนเราในอกุศล อันมีแต่โทษหาประโยชน์มิได้ในปัจจุบัน และนำความฉิบ

หาย นำความเดือดร้อนมาให้ ในเวลาต่อไป. พระเถระเมื่อกล่าวสอนจิตของ

ตนอยู่อย่างนี้ นั่นแล เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถา

ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้านามว่า ปทุมะ อยู่

ที่ภูเขาจิตตกูฏ เราได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้า นั้นแล้ว

จึงเข้าไปเฝ้า ขณะนั้น เราเห็นต้นปรูมีดอกบาน จึง

เลือกเก็บแล้ว เอามาบูชาพระชินสัมพุทธเจ้า นามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 221

ปทุมะ ในกัปที่ ๓๗ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใด

ไว้ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้

เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสแล้ว ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

จบอรรถกถาอนูปมเถรคาถา

๔. วัชชิตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวัชชิตเถระ

[๓๐๕] ได้ยินว่า พระวัชชิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เมื่อเรายังเป็นปุถุชน มืดมนอยู่ไม่เห็นอริยสัจ

จึงได้ท่องเที่ยววนเวียนไปมาอยู่ในคติทั้งหลาย ตลอด

กาลนาน บัดนี้ เราเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว กำจัดสงสาร

ได้แล้ว คติทั้งปวงเราก็ตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่

มิได้มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 222

อรรถกถาวัชชิตเถรคาถา

คาถาของท่านพระวัชชิตเถระ เริ่มต้นว่า สสร ทีฆมทฺธาน.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ ทั้งหลาย เข้าไปสั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในปัจจันตคามแห่ง

หนึ่ง ในกัปที่ ๖๕ แต่ภัทรกัปนี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นพรานป่าท่องเที่ยว

ไป วันหนึ่ง ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า อุปสันตะ ผู้อยู่ในถ้ำแห่ง

ภูเขา เขาเห็นความสงบระงับของท่าน แล้วมีใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชาด้วย

ดอกจำปา.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

ในตระกูลที่มั่งคั่ง แคว้นโกศล ในพุทธุปบาทกาลนี้ จำเดิมแต่วันที่เขาเกิด

พอถึงมือมาตุคาม ก็ร้องไห้ ได้ยินว่า เขาจุติจากพรหมโลก มาในมนุษย-

โลกนี้ เพราะเหตุที่เขาทนการถูกต้องของมาตุคามไม่ได้ ฉะนั้น จึงได้นามว่า

วัชชิตะ เพราะเว้นจากการถูกต้องของมาตุคาม เขาเจริญวัยแล้ว เห็นยมก-

ปาฏิหาริย์ของพระศาสดา แล้วได้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา

ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ในวันนั้นเอง. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน

อปทานว่า

พระสัมพุทธเจ้า ผู้สงบระงับ อาศัยอยู่ใน

ระหว่างภูเขา เราถือเอาดอกจำปาดอกหนึ่ง เข้าไป

หาท่านผู้สูงสุดกว่านระ มีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส

ประคองด้วยมือทั้งสอง บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 223

เป็นมุนีอันอุดม ผู้ไม่เคยพ่ายแพ้ ในกัปที่ ๖๕ แต่

ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยดอกไม้

ได้ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง

พุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว ระลึกบุพเพนิวาสญาณ ของตนได้

ได้กล่าวคาถาสองคาถา ด้วยธรรมสังเวช ความว่า

เมื่อเรายังเป็นปุถุชน มืดมนอยู่ ไม่เห็นอริยสัจ

จึงได้ท่องเที่ยววนเวียนไปมาอยู่ ในคติทั้งหลาย ตลอด

กาลนาน บัดนี้ เราเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว กำจัด

สงสารได้แล้ว คติทั้งปวงเราก็ตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพ

ใหม่ ไม่มี ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสร แปลว่า ท่องเที่ยวไปอยู่ ได้แก่

วิ่งไป ๆ มา ๆ ในภพนั้น ๆ ด้วยสามารถแห่งการยึดถือไว้ และการปล่อย

วาง.

บทว่า ทีฆมทฺธาน ความว่า ท่องเที่ยวไปในสงสาร อันมีเบื้อง-

ต้นและที่สุดไม่ปรากฏ ตลอดกาลนาน คือตลอดกาลหาประมาณมิได้. บทว่า

คตีสุ ความว่า ในสุคติและทุคติทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งกรรมทั้งหลาย

ที่คนทำดี ทำชั่ว บทว่า ปริตสฺส ความว่า เมื่อหมุนไปรอบ ๆ ดุจเครื่อง

สูบน้ำ ชื่อว่า วนเวียนไป ๆ มา ๆ ด้วยสามารถแห่งการจุติและอุปบัติ.

ก็พระเถระกล่าวเหตุแห่งการท่องเที่ยววนเวียนนั้นว่า เมื่อเรายังเป็นปุถุชน

มืดมนอยู่ ไม่เห็นอริยสัจทั้งหลาย ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 224

ประกอบความว่า บุคคลเมื่อไม่เห็นอริยสัจทั้งหลาย มีทุกขสัจ

เป็นต้น ด้วยญาณจักษุ เพราะยังไม่ได้แทงตลอด ชื่อว่า เป็นคนบอด

เพราะความมืดมน คืออวิชชานั่นเอง ชื่อว่า เป็นปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลาย

อันให้เกิดความหนา (กิเลส) เป็นต้น จักวนเวียนไปในคติทั้งหลาย เพราะ

ความที่ตนยังเป็นปุถุชน. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะเหตุที่ยังไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดซึ่งอริยสัจ ๔ ทั้งเรา

และเธอทั้งหลาย จึงวิ่งไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว อย่างนี้ตลอดกาลนาน ดังนี้.

เมื่อเรานั้น ยังเป็นปุถุชน อยู่ในกาลก่อน โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล

บัดนี้ ไม่ประมาทแล้ว โดยนัยอันพระศาสดาทรงประทานแล้ว ยังสมถภาวนา

และวิปัสสนาภาวนา ให้ถึงที่สุดแล้ว ด้วยข้อปฏิบัติคือความไม่ประมาท ตั้ง

อยู่แล้ว.

บทว่า สสารา วนฬีกตา ความว่า กรรมกิเลสทั้งหลายอันได้

นามว่า สงสาร เพราะเป็นที่ท่องเที่ยวไปของสัตว์ทั้งหลาย อันเรากระทำให้

หมดราก เพราะตัดขาดได้แล้วด้วยมรรคอันเลิศ ดังไม้อ้อที่มีรากปราศไปแล้ว.

บทว่า สพฺพา คตี สมุจฺฉินฺนา ความว่า คติทั้งหลายแม้ทั้งปวง

มีนรกเป็นต้น ชื่อว่า อันเราตัดขาดแล้ว คือ กำจัดแล้ว โดยชอบทีเดียว

เพราะกรรมวัฏ และกิเลสวัฎทั้งหลาย เราตัดได้ขาดแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุ

นั้นแล บัดนี้จึงไม่มีภพใหม่อีกต่อไป. ก็และคาถาทั้งสองนี้แหละ ได้เป็น

คาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ ดังพรรณนามานี้แล.

จบอรรถกถาวัชชิตเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 225

๙. สันธิตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสันธิตเถระ

[๓๐๖] ได้ยินว่า พระสันธิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เราเป็นผู้มีสติ ได้อนิจจสัญญาอันสหรคตด้วย

พุทธานุสติหนึ่ง อยู่ที่โคนอัสสัตถพฤกษ์อันสว่างไสว

ด้วยแสงแห่งไฟ แก้วมณี และผ้ามีสีเขียวงาม ความสิ้น

อาสวะเราได้บรรลุแล้วเร็วพลัน เพราะสัญญาที่เราได้

แล้วในครั้งนั้น ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้.

จบวรรคที่ ๕

จบทุกนิบาต

อรรถกถาสันธิตเถรคาถา

คาถาของท่านพระสันธิตเถระ เริ่มต้นว่า อสฺสตฺเถ หริโตภาเส.

เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ ทั้งหลาย เข้าไปสั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ได้เกิดเป็นนายโคบาลผู้หนึ่ง

ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สิขี. เมื่อพระศาสดาเสด็จ

ปรินิพพานแล้ว เขาเข้าไปหาพระเถระรูปหนึ่ง ฟังธรรมอันปฏิสังยุตด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 226

พระพุทธคุณในสำนักของพระเถระ มีใจเลื่อมใส ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ ณ ที่ไหน ฟังความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว

กลับได้อนิจจสัญญาว่า แม้ขึ้นชื่อว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอานุภาพมากอย่างนี้

ยังต้องดำเนินไปสู่อำนาจแห่งความเป็นของไม่เที่ยง โอ สังขารทั้งหลายไม่

ยั่งยืนหนอ. พระเถระให้เขาเกิดอุตสาหะ ในการบูชาโพธิพฤกษ์. เขาไปสู่ที่ใกล้

โพธิพฤกษ์ ตามกาลอันเหมาะสม เจริญวิปัสสนา ระลึกถึงพระพุทธคุณ

กราบไหว้ต้นโพธิ์.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด

ในตระกูลที่มั่งคั่ง ในแคว้นโกศล ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า สันธิตะ

เจริญวัยแล้ว ฟังธรรมกถาอันปฏิสังยุตด้วยอนิจจตา เกิดความสลดใจบวชแล้ว

เริ่มตั้งวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก เพราะญาณถึงความ

แก่กล้าแล้ว.

ท่านเมื่อระลึกถึงบุพเพนิวาสญาณของตน ระลึกถึงการกราบไหว้

โพธิพฤกษ์ และการได้เฉพาะซึ่งอนิจจสัญญา มีพุทธานุสติเป็นอารมณ์ เมื่อ

จะประกาศการบรรลุคุณพิเศษของตน ด้วยการเข้าไปอาศัยเหตุ ๒ ประการนั้น

ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

เราเป็นผู้มีสติ ได้อนิจสัญญาอันสหรคต ด้วย

พุทธานุสติหนึ่ง อยู่ที่โคนอัสสัตถพฤกษ์ อันสว่างไสว

ไปด้วยแสงแห่งไฟ แก้วมณี และผ้ามีสีเขียวงาม ความ

สิ้นอาสวะเราได้บรรลุแล้วเร็วพลัน เพราะสัญญาที่เรา

ได้แล้วในครั้งนั้น ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสตฺเถ ได้แก่ ในที่เป็นที่ประดิษฐาน

ไม้อัสสัตถะ. ไม้อัสสัตถะอันเป็นไม้ที่ตรัสรู้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 227

ทั้งหลาย ในบัดนี้ ตั้งอยู่ในที่ใด ในที่ซึ่งมีไม้อัสสัตถพฤกษ์ตั้งอยู่นั้น ครั้งนั้น

มีไม้บุณฑริก อันเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า

สิขี ตั้งอยู่แล้ว เพราะเหตุนั้น ไม้โพธิพฤกษ์นั้น ท่านจึงเรียกว่า อัสสัตถะ

เพราะเป็นที่ตั้งแห่งไม้อัสสัตถะ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อสฺสตฺโถ ได้แก่

ไม้อัสสัตถะ ที่ยังความเบาใจให้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย. แต่อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า พระเถระกล่าวว่า อสฺสตฺเถ เพราะเหตุที่ท่านนั่ง ณ โคนต้นอัสสัตถะ

แล้วเจริญพุทธานุสติในครั้งนั้น.

บทว่า หริโตภาเส ความว่า สว่างไสวอยู่ด้วยสีแห่งแก้วผลึกอัน

เขียวสด.

บทว่า สวรุฬฺหมฺหิ ความว่า งอกงามดีแล้ว คือประดิษฐานอยู่แล้ว

ด้วยดี.

บทว่า ปาทเก ได้แก่ ต้นไม้.

บทว่า เอก พุทฺธคต สญฺ อภิลตฺถ สญฺ ปฏิสฺสโต

ความว่า เราชื่อว่าเป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า เพราะมีพระพุทธคุณเป็นที่พึ่ง ได้

แล้วซึ่งสัญญา อันสหรคตด้วยพุทธานุสติอันเป็นไปแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า

อิติปิ โส ภควา ดังนี้ มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ชื่อว่า หนึ่ง เพราะความ

เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นหนเดียว.

ก็พุทธานุสติสำเร็จแล้ว ด้วยสัญญามีประมาณเท่าใด สัญญานั้นอัน

เราได้แล้ว ในครั้งนั้น เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า เอกตึเส อิโต

กปฺเป ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ คือ ในกัปที่ ๓๑ โดยการจัดอันดับ นับ

แต่ภัทรกัปนี้ถอยหลังไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 228

บทว่า ย สญฺ ได้แก่ ได้สัญญาอันสหรคตด้วยพุทธานุสติใด หรือ

ได้อนิจจสัญญา ในสังขารทั้งหลายทั้งปวง ในครั้งนั้น ด้วยการตามระลึกถึง

พระพุทธคุณนั้น เพราะเห็นความเป็นของไม่เที่ยงของพระพุทธเจ้าทั้งหลายใด.

บทว่า ตสฺสา อญฺาย วาหสา ความว่า กระทำสัญญานั้นให้

เป็นอุปนิสัย เพราะความเป็นเหตุแห่งสัญญาตามที่กล่าวแล้วนั้น.

บทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย ความว่า ความสิ้นคือความดับ

แห่งอาสวะทั้งหลาย อันเราบรรลุแล้วในบัดนี้. แม้คาถาอปทานของพระเถระนี้

ก็คือ ๒ คาถานี้แหละ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เรามีสติเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ได้สัญญาอันสหรคต

ในพระพุทธเจ้าอย่างหนึ่ง ที่ไม้อัสสัตถพฤกษ์ อันมี

รัศมีเขียวสดงดงามดี ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เรา

ได้สัญญาใดในกาลนั้น เพราะการได้สัญญานั้นเป็น

เหตุนำมา เราได้บรรลุความสิ้นอาสวะ ในกัปที่ ๑๓

แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์

พระนามว่า " ธัมมิกะ " สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗

ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ

คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

จบอรรถกถาสันธิตเถรคาถา

จบวรรควรรณนาที่ ๕

แห่งอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี

จบอรรถกถาทุกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 229

ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๙ รูป คือ

๑. พระกุมารกัสสปเถระ ๒. พระธรรมปาลเถระ ๓. พระพรหมาลิ

เถระ ๔. พระโมฆราชเถระ ๕. พระวิสาขปัญจาลีบุตรเถระ ๖. พระจูฬก

เถระ ๗. พระอนูปมเถระ ๘. พระวัชชิตเถระ ๙. พระสันธิตเถระ และ

อรรถกถา.

ในทุกนิบาตนี้ รวมคาถาได้ ๙๘ คาถา และรวมพระเถระผู้ฉลาด

ในนัย ผู้ภาษิตคาถาไว้ได้ ๔๙ รูป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 230

ติกนิบาต

เถรคาถา ติกนิบาต วรรคที่ ๑

๑.อังคณิกภารทวาชเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอังคณิกภารทวาชเถระ

[๓๐๗] ได้ยินว่า พระอังคณิกภารทวาชเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้

อย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าตามหาความบริสุทธิ์อยู่ โดยอุบายไม่

แยบคาย จึงได้บูชาไฟอยู่ในป่า เมื่อไม่รู้จักทางแห่ง

ความบริสุทธิ์ จึงได้บำเพ็ญอมรตบะ ความสุขนั้น

ข้าพเจ้าได้มาโดยง่ายดาย ท่านจงดูความที่พระธรรม

เป็นธรรมที่ดีเถิด วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้ว คำ-

สั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้ว เมื่อก่อน

ข้าพเจ้าเป็นเผ่าพันธุ์ของพระพรหม แต่เดี๋ยวนี้แล

ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ มีวิชชา ๓ ล้างบาปแล้ว เป็นผู้

มีความสวัสดี และจบพระเวทแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 231

ติกนิบาตวรรณนา

อรรถกถาอังคณิกภารทวาชคาถา

ในติกนิบาต คาถาของท่านพระอังคณิกภารทวาชเถระ มีคำเริ่มต้นว่า

สุทฺธิมเนฺวส ดังนี้. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้ท่านพระอังคณิกภารทวาชเถระนี้ ก็ได้ทำบุญญาธิการไว้แล้วใน

พระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เมื่อสั่งสมบุญที่เป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะ ในภพนั้น ๆ

ในกัปที่ ๓๑ นับถอยหลัง แต่กัปนี้ไป ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ผู้มีสกุล ใน

กาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี รู้เดียงสาแล้ว

อยู่มาวันหนึ่ง ได้เห็นพระศาสดาเสด็จบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส ประคองอัญชลี

ไหว้ ด้วยเบญจางคประดิษฐ์.

ด้วยบุญกรรมอันนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ของพราหมณ์ ผู้มีสมบัติสมบูรณ์

ในพระนครอุกกัฏฐะ เจริญวัยแล้ว ได้นามว่า อังคณิกภารทวาชะ เรียน

สำเร็จวิชาและศิลปะทั้งหลาย บวชเป็นปริพาชก เพราะมีอัธยาศัยในเนกขัมมะ

ประพฤติอมรตบะ (ตบะเพื่อไม่ตาย) ท่องเที่ยวไปมาในที่นั้น ๆ ได้เห็น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังเสด็จจาริกชนบท มีใจเลื่อมใส สดับพระ-

ธรรมเทศนาในสำนักของพระศาสดา แล้วละการถือผิดนั้น บวชในพระศาสนา

บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานเลยก็ได้เป็นพระขีณาสพ ผู้มีอภิญญา ๖.

ด้วยเหตุนั้น ในคัมภีร์อปทานท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 232

ข้าพเจ้าผู้ชื่อว่า สุมนะ มีจิตเลื่อมใสแล้ว ขอ

วันทาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงพระนามว่า

เวสสภู ผู้ประเสริฐ องอาจ กล้าหาญ ทรงมีชัยชนะ

ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าได้ทำกรรมใดไว้

ในกาลครั้งนั้น เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้คือผลแห่งการวันทา ในกัปที่ ๒๔ ข้าพเจ้า

ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นามว่าวิกตานันทะ สมบูรณ์

ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลังมาก. กิเลสทั้งหลาย

ข้าพเจ้าได้เผาแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า

ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง ข้าพเจ้าได้เป็นพระขีณาสพผู้มีอภิญญา๖ พักผ่อนอยู่ด้วยวิมุตติ-

สุข เพื่ออนุเคราะห์ญาติทั้งหลาย จึงได้ไปยังชาติภูมิของตน ให้ญาติจำนวน

มากประดิษฐานอยู่ในสรณะ และศีลทั้งหลาย แล้วกลับจากชาติภูมินั้นมาอยู่

ในป่า ไม่ไกลจากนิคมชื่อว่า กุณฑิยะ ในแคว้นกุรุ ได้ไปยังอุคคาราม

ด้วยกรณียกิจบางอย่างเท่านั้น และได้พบพวกพราหมณ์ผู้เคยเห็นกันมาจาก

อุตตราปถนิคม ถูกพราหมณ์เหล่านั้น ถามว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ

ท่านเห็นประโยชน์อะไร จึงได้ละทิ้งลัทธิพราหมณ์ไปถือลัทธินี้ ? เมื่อจะชี้แจง

แก่พราหมณ์เหล่านั้นว่า ไม่มีความบริสุทธิ์ภายนอกจากพุทธศาสนานี้ ดังนี้

จึงได้กล่าวคาถาแรกไว้ว่า

ข้าพเจ้าตามหาความบริสุทธิ์อยู่ โดยอุบายไม่

แยบคาย จึงได้บูชาไฟอยู่ในป่า เมื่อไม่รู้จักทางแห่ง

ความบริสุทธิ์ จึงได้บำเพ็ญอมรตบะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 233

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยนิ ความว่า โดยไม่แยบคาย คือ

ไม่ใช่โดยอุบาย. บทว่า สุทธึ ได้แก่ สังสารสุทธิ คือการแล่นออกไปจากภพ.

บทว่า อเนฺวส ความว่า เมื่อเสาะหาอยู่ คือแสวงหาอยู่. บทว่า อคฺคึ

ปริจรึ วเน ความว่า ข้าพเจ้าสร้างเรือนไฟแล้วสรรเสริญการบูชาไปพลาง

บำเรอพระอัคนิเทพไปพลาง คือบูชาตามวิธีที่กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์พระเวท

ณ สถานที่ ๆ อยู่ในป่าคือโรงบูชาไฟ โดยอธิบายว่า นี้เป็นทางแห่งความ

บริสุทธิ์.

ข้อว่า สุทฺธิมคฺค อชานนฺโต อกาสึ อมร ตป (ข้าพเจ้าเมื่อ

ไม่รู้จักทางแห่งความบริสุทธิ์ ได้บำเพ็ญอมรตบะ) ความว่า ข้าพเจ้าเมื่อไม่

รู้จักทางแห่งความบริสุทธิ์คือพระนิพพาน จึงได้บำเพ็ญคือได้ประพฤติ ได้แก่

ได้ปฏิบัติอัตตกิลมถานุโยค มีการทรมานตนด้วยตบะ ๕ อย่างเป็นต้นต้น เหมือน

การบูชาไฟ ด้วยเข้าใจว่าเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์.

พระเถระครั้นแสดงความไม่มีแห่งความบริสุทธิ์ในภายนอกแล้ว บัดนี้

เมื่อจะแสดงว่า ก็ความบริสุทธิ์ ข้าพเจ้าบรรลุได้ในศาสนานี้เท่านั้น เพราะ

ความบริสุทธิ์ คนไม่ขยันแล้วจะบรรลุไม่ได้ ด้วยการบูชาไฟเป็นต้น ตามวิธี

ที่กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์พระเวท เหมือนไปสู่อาศรมจากอาศรม จึงได้กล่าว

คาถาที่ ๒ ไว้ว่า

ความสุขนั้น ข้าพเจ้าได้มาโดยง่ายดาย ท่านจง

ดูความที่พระธรรมเป็นธรรมที่ดีเถิด วิชชา ๓ ข้าพเจ้า

ได้บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าปฏิบัติ

แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต เป็นต้น ความว่า ข้าพเจ้าตามแสวงหา

อยู่ซึ่งความบริสุทธิ์ เพื่อประโยชน์แก่พระนิพพานใด เมื่อไปสู่ทางแห่งพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 234

นิพพานนั้น จึงได้บำเรอไฟ จึงได้ประพฤติอมรตบะ ความสุขคือพระนิพพาน

นั้น ข้าพเจ้าได้มาแล้วคือถึงแล้ว ได้แก่บรรลุแล้วอย่างง่ายดาย คือด้วยสมถะ

วิปัสสนา ที่เป็นปฏิปทาง่าย ๆ ไม่อาศัยอัตตกิลมถานุโยค.

บทว่า ปสฺส ธมฺมสุธมฺมต ความว่า พระเถระเอ่ยถึงพระธรรม

หรือเอ่ยถึงตนเองว่า ท่านจงดูเถิด คือจงรู้เถิด ซึ่งศาสนธรรมของพระศาสดา

ว่าเป็นธรรมดี คือ ซึ่งสภาพของนิยยานิกธรรมที่ไม่ผิดพลาด ดังนี้ แต่เมื่อ

จะแสดงถึงธรรมนั้น ว่าได้มาแล้ว จึงได้กล่าวไว้ว่า

วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของ

พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้ว.

คำนั้นมีอรรถาธิบายดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเอง. พระเถระเมื่อจะ

แสดงว่า ตั้งแต่นี้ไปข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์ เพราะว่าได้บรรลุความ

บริสุทธิ์ ด้วยประการอย่างนี้ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ไว้ว่า

เมื่อก่อนข้าพเจ้า เป็นเผ่าพันธุ์ของพระพรหม

แต่เดี๋ยวนี้แล ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ มีวิชชา ๓ ล้าง

บาปแล้ว เป็นผู้มีความสวัสดีและจบพระเวทแล้ว.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า เมื่อก่อนนี้ข้าพเจ้าได้ชื่อว่า เป็นเผ่าพันธุ์ของ

พระพรหม ตามสมัญญาของพวกพราหมณ์ เพราะเป็นพราหมณ์เพียงแต่โดย

กำเนิด. แต่บัดนี้แล ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์ เพราะได้บรรลุพระ

อรหัตแล้ว. ก่อนแต่นี้ ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้มีวิชชา ๓ เพียงแต่ชื่อ เพราะ

เรียนวิชชา ๓ เมื่อพระเวท ๓ คัมภีร์ ที่ทำการสั่งสมภพ แต่บัดนี้ ข้าพ-

เจ้ามีวิชชา ๓ โดยปรมัตถ์ เพราะได้บรรลุวิชชา ๓ ด้วยสามารถแห่งวิชชา

ที่ทำความสิ้นภพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 235

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้ล้างบาปแล้ว เพียงแต่ชื่อ เพราะ

สำเร็จด้วยพรตของผู้อาบน้ำแล้ว ที่ยึดถือไว้ด้วยความชอบใจในภพ แต่บัดนี้

ได้ชื่อว่าเป็นผู้ล้างบาปแล้ว โดยปรมัตถ์ เพราะมลทินคือกิเลสถูกล้างสะอาด

แล้ว ด้วยผลอันเกิดแต่อัษฏางคิกมรรค.

เมื่อก่อนนี้ ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้มีความสวัสดี โดยเหตุเพียงการร้อง-

เรียกกัน เพราะการเรียนมนต์ที่มีความชอบใจในภพ ยังไม่หลุดพ้นไป แต่บัดนี้

ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสวัสดีโดยปรมัตถ์ เพราะการเรียนธรรมที่มีความชอบใจ

ในภพ อันหลุดพ้นไปแล้ว.

ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้จบพระเวท ด้วยเหตุเพียงจบพระเวท

ที่ยังสลัดบาปธรรมออกไปไม่ได้ แต่บัดนี้ ได้กลายเป็นผู้จบพระเวทโดยปรมัตถ์

เพราะไปถึงคือลุถึง ได้แก่รู้ฝั่งแห่งห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร ด้วยมรรคญาณ

กล่าวคือพระเวท และฝั่งแห่งพระเวท คือสัจจะ ๔.

พราหมณ์ทั้งหลายครั้นได้ฟังคำนั้นแล้ว ได้พากันประกาศความเลื่อม

ใสในพระพุทธศาสนา อย่างโอฬาร.

จบอรรถกถาอังคณิกภารทวาชเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 236

๒. ปัจจยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระปัจจยเถระ

[๓๐๘] ได้ยินว่า พระปัจจยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าบวชได้ ๕ วัน ได้เป็นพระเสขะ แต่

ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตผล ข้าพเจ้าได้เข้าไปวิหาร

แล้ว ได้มีความตั้งใจไว้ว่า ในเมื่อถอนลูกศรคือตัณหา

ออกยังไม่ได้ ข้าพเจ้าก็จักไม่ฉัน ไม่ดื่ม ไม่ออกไป

จากวิหาร จักไม่ให้แม้แต่สีข้างตกถึงพื้น ไม่เอน

หลัง เมื่อข้าพเจ้าพักอยู่อย่างนี้ คนจะเห็นความเพียร

และความก้าวหน้า วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้ว

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้ว.

อรรถกถาปัจจยเถรคาถา

คาถาของท่านพระปัจจยเถระมีคำเริ่มต้นว่า ปญฺจาหาห ปพฺพ-

ชิโต ดังนี้. มีเรื่องเกิดขึ้น อย่างไร ?

แม้ท่านพระปัจจยเถระ นี้ ก็มีบุญญาธิการที่ทำไว้แล้วในพระพุทธ-

เจ้าองค์ก่อน ๆ เมื่อสั่งสมบุญในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้

ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่า วิปัสสี รู้เดียงสาแล้ว อยู่มาวันหนึ่งได้เห็นพระศาสดากำลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 237

เสด็จไปที่ฝั่งแม่น้ำชื่อว่า วินตา มีใจเลื่อมใส ได้เลือกเก็บผลมะเดื่อผลใหญ่ ๆ

มีรสชื่นใจ น้อมเข้าไปถวาย.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมาในสุคติเท่านั้น ในภัทรกัปที่มี

พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

กัสสปะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักร ทรงทำการ

อนุเคราะห์เวไนยชน ได้บวชในพระศาสนาของพระองค์ เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา

ประกอบการภาวนาเนือง ๆ อยู่มาวันหนึ่ง คิดถึงทุกข์ในสงสาร เกิดความ

สังเวชอย่างยิ่ง นั่งอยู่ในวิหารอธิษฐานจิตว่า เราไม่ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว

จักไม่ออกไปจากที่นี้ พยายามอยู่ ก็ไม่สามารถให้วิปัสสนาเลื่อนสูงขึ้นได้

เพราะญาณยังไม่แก่กล้า. ท่านมรณภาพแล้ว ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและ

มนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้ถือกำเนิดในขัตติยสกุล ในพระนคร-

โรหินี ได้รับพระนามว่า ปัจจยะ ทรงเจริญวัยแล้ว สิ้นรัชสมัยของพระ

ชนก ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ อยู่มาวันหนึ่ง ได้ทรงปรารภจะทรง

ประกอบพลีกรรมเพื่อเป็นมหาราช. มหาชนได้มาชุมนุมกัน ณ สถานที่นั้น.

เพื่อจะให้เกิดความเลื่อมใส แก่มหาชนนั้น ในสมาคมนั้น พระศาสดา

ประทับนั่งบนรัตนสิงหาสน์ ในรัตนกูฎาคาร ที่ท้าวเวสวัณ เนรมิตถวายแล้ว

ได้ทรงแสดงธรรมแก่มหาซน ผู้เฝ้ามองอยู่นั่นแหละ. การบรรลุธรรมได้มีแก่

ชุมนุมชนหมู่ใหญ่.

แม้พระเจ้าปัจจยราช ครั้นทรงสดับพระธรรมเทศนาแล้ว ได้ทรง

สละราชสมบัติ ถูกเหตุเก่าก่อนกระตุ้นเตือน จึงได้ทรงผนวช. พระองค์ได้

ทรงทำปฏิญญา เหมือนที่ได้กระทำไว้แล้ว ในครั้งกาลของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ เสด็จเข้าพระวิหาร เจริญวิปัสสนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 238

แล้ว ได้ทรงบรรลุพระอรหัต ในทันใดนั่นเอง เพราะทรงทำพระญาณให้

แก่กล้า. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในคัมภีร์ อปทานว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงเป็นอุดม

บุรุษ ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรง

เป็นเอกอัครบุรุษ มีพระทัยตั้งมั่นดีแล้ว ทรงคลาย

ความกำหนัดแล้ว ข้าพเจ้ามีใจเลื่อมใสในพระองค์ ผู้

ทรงชำระมลทินคือกิเลส ได้ถือผลมะเดื่อ ขอเป็นทาส

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด. ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้

ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้อันใดไว้ในครั้งนั้น เพราะการ

ถวายผลไม้นั้น ข้าพเจ้าจึงไม่รู่จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลของการถวายผลไม้. ในภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้า

สังเวชสลดใจ ได้บวชในพระศาสนาของพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ. อนึ่ง ข้าพเจ้า

บวชแล้วตั้งใจไว้ว่า จักไม่ออกจากวิหาร ได้พร่ำ

บำเพ็ญภาวนา ไม่ได้บรรลุประโยชน์สูงสุด ถึงจะไม่

ได้บรรลุในทันใดนั้น แต่บัดนี้ ข้าพเจ้าก็ดับกิเลสได้

แล้ว สัมผัสทางที่ไม่จุติ ได้ลุถึงสถานที่ที่ไม่หวั่นไหว

แล้ว. กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าได้เผาแล้ว ฯ ล ฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล

โดยการสรรเสริญข้อปฏิบัติของตนเป็นหลัก จึงได้ภาษิตคาถา ๓ คาถาเหล่า

นี้ไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 239

ข้าพเจ้าบวชได้ ๕ วัน ได้เป็นพระเสขะ แต่ยัง

ไม่ได้บรรลุพระอรหัตผล ข้าพเจ้าเข้าไปวิหารแล้ว

ได้มีความตั้งใจไว้ว่า ในเมื่อถอนลูกศรคือตัณหาออก

ยังไม่ได้ ข้าพเจ้าก็จักไม่ฉัน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจาก

วิหาร จักไม่ให้แม้แต่สีข้างตกถึงพื้น ไม่เอนหลังเมื่อ

ข้าพเจ้านั้นพักอยู่อย่างนี้ คนจะเห็นความเพียร และ

ความก้าวหน้า วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้ว คำ

สั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจาหาห ปพฺพชิโต ความว่า ข้าพเจ้า

เป็นพระเสขะ ๕ วัน อธิบายว่า บวชแล้ว ๕ วัน ในวันที่ ๕ นับแต่

บวชแล้ว ก็ได้สำเร็จ.

บทว่า เสโข อปฺปตฺตมานโส ความว่า ชื่อว่าเป็นพระเสขะ

เพราะศึกษาอธิสีลสิกขาเป็นต้น. ธรรมใดสิ้นมานะ คือ ตัดมานะขาดออกไป

โดยไม่มีเหลือไว้ เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า มานโส ได้แก่ มรรค

ชั้นยอด (อรหัตมรรค) สิ่งที่มาจากธรรมที่สิ้นมานะ เพราะเกิดจากธรรมนั้น

ชื่อว่า มานัส ได้แก่พระอรหัตผล ผู้ยังไม่บรรลุพระอรหัตผลนั้น อีกอย่างหนึ่ง

มานัส (คืออรหัต) นั้น ข้าพเจ้านี้ยังไม่ได้บรรลุ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึง

ชื่อว่า อัปปัตตมานสะ (ผู้ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตผล).

บทว่า วิหาร เม ปวิฏฺสฺส เจตโส ปณิธี อหุ (ข้าพเจ้าเข้าวิหาร

แล้วได้มีความตั้งใจไว้ว่า) ความว่า เมื่อข้าพเจ้าผู้เป็นพระเสขะ เข้าไปสู่วิหาร

อันเป็นที่อยู่คือกระท่อมอย่างนี้ ได้มีความตั้งใจ ที่มีอาการดังที่กำลังกล่าวอยู่

ในบัดนี้ อธิบายว่า ข้าพเจ้าได้ตั้งใจไว้อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 240

ด้วยบทว่า นาสิสฺส เป็นต้นนี้ ท่านแสดงถึงความตั้งใจ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาสิสฺส ความว่า ข้าพเจ้าจักไม่ฉัน

คือจักไม่บริโภคโภชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเมื่อข้าพเจ้าถอนลูกศรคือกิเลส

ที่ปักใจข้าพเจ้า ยังไม่ออก คือ ถอนยังไม่ได้ ผู้ศึกษาควรประกอบคำดังที่ว่า

มานี้เข้าในทุก ๆ บท. บทว่า น ปิวิสฺสามิ ความว่า เราจักไม่ดื่มน้ำ

อย่างใดอย่างหนึ่งที่ควรดื่ม. บทว่า วิหารโต น นิกฺขเม ความว่า

ข้าพเจ้าจะไม่ออกไปจากที่นี้ คือจากห้องที่ข้าพเจ้านั่งอยู่แล้วในขณะนี้.

บทว่า นปิ ปสฺส นิปาเตสฺส ความว่า บรรดาสีข้างทั้ง ๒

ของร่างกายข้าพเจ้า แม้ข้างเดียวข้าพเจ้าก็จักไม่เอน เพื่อบรรเทาความลำบาก

กาย อธิบายว่า จักไม่นอน แม้โดยข้าง ๆ เดียว. บทว่า ตสฺส เมว

วิหรโต ความว่า เมื่อข้าพเจ้านั้น ตั้งจิตไว้อย่างนี้แล้ว พักอยู่ด้วยอำนาจ

แห่งการตั้งวิริยาธิษฐานไว้อย่างมั่นคง แล้วพร่ำบำเพ็ญวิปัสสนา.

บทว่า ปสฺส วิริยปรกฺกม ความว่า คนจะเห็น คือจะรู้ความ

พยายามที่ได้นามว่า วิริยะ เพราะจะต้องให้เคลื่อนไหวไปตามวิธี และได้

นามว่า ปรักกมะ เพราะก้าวไปสู่ที่ข้างหน้า ที่เป็นความอุตสาหะ. แต่ว่า

วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติ

แล้ว ด้วยอานุภาพความเพียรใด เพราะฉะนั้น ความเพียรนั้น มีเนื้อความ

ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาปัจจยเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 241

๓. พากุลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระพากุลเถระ

[๓๐๙] ได้ยินว่า พระพากุลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ผู้ใดไม่ทำงานที่จะต้องทำก่อน แต่มุ่งจะทำใน

ภายหลัง ผู้นั้น จะพลาดจากที่ที่จะให้เกิดความสุข และ

จะเดือดร้อนในภายหลัง เพราะว่าข้าพเจ้าบอกงานที่

บุคคลควรทำ ไม่บอกงานที่ไม่ควรทำ เมื่อคนทั้งหลาย

บอกงานที่ไม่ใช่กำลังทำ บัณฑิตทั้งหลายก็รู้ทัน พระ-

นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้แล้ว

เป็นธรรมไม่มีความโศก สำรอกแล้ว เป็นแดนเกษม

เป็นที่ดับทุกข์ แสนจะเป็นสุขหนอ.

อรรถกถาพากุลเถรคาถา

คาถาของท่านพระพากุลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โย ปุพฺเพ กรณียานิ.

มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

เล่ากันมาว่า แม้ท่านพระพากุลเถระนี้ ในอดีตกาล สุดอสงไขย

แสนกัป ก่อนแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อโนมทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นนั่นเอง

ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว ได้เรียนไตรเพทจบ ไม่เห็นสาระ

ในไตรเพทนั้น จึงบวชเป็นฤๅษี ด้วยคิดว่า เราจักแสวงหาประโยชนภาย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 242

ภาคหน้า พักอยู่ที่เชิงเขาได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ อยู่มาได้ทราบการอุบัติ

ขึ้นของพระพุทธเจ้า ได้ไปยังสำนักของพระศาสดา สดับพระธรรมเทศนา

แล้วตั้งอยู่ในสรณะ เมื่อพระศาสดาเกิดประชวรพระนาภีขึ้น ได้นำยาจากป่า

มาถวาย ให้พระโรคสงบแล้ว ได้น้อมซึ่งบุญในการถวายยานั้นไป เพื่อ

ประโยชน์แก่ความไม่มีโรค จุติจากอัตภาพนั้น แล้วได้ไปเกิดในพรหมโลก

ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก สิ้นเวลาอสงไขยหนึ่ง ในกาล

ของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล ใน

พระนครหงสาวดี เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งให้ดำรงตำแหน่งผู้เลิศ

กว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีอาพาธน้อย ตนเองต้องการตำแหน่งนั้น ได้ตั้งประณิธาน

ไว้ สั่งสมกุศลตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปมาในสุคติอย่างเดียว ก่อนแต่พระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี เสด็จอุบัติขึ้นนั่นเอง ได้เกิดในสกุล

พราหมณ์ ในพระนครพันธุมดี บวชเป็นฤาษี ตามนัยก่อนนั่นแหละ ได้

ฌานและอภิญญา พำนักอยู่ที่เชิงเขา ได้ทราบ(ข่าว) พระพุทธเจ้าอุบัติแล้ว

ได้ไปยังสำนักพระศาสดา สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ตั้งอยู่ในสรณะ เมื่อ

ภิกษุทั้งหลายเกิดอาพาธเพราะหญ้าและดอกไม้ (ไข้ป่า) เขารักษาโรคนั้นให้

สงบ แล้วอยู่ ณ ที่นั้นตลอดชีวิต จุติจากชาตินั้นไปเกิดในพรหมโลก ท่องเที่ยว

ไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก สิ้นเวลา ๙๑ กัป ในกาลของพระผู้มี

พระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล

ในเมืองพาราณสี ครองเรือนอยู่เห็นวัดใหญ่เก่า ๆ วัดหนึ่งกำลังจะร้าง จึงได้

สร้างที่อยู่ทั้งหมด มีโรงอุโบสถเป็นต้น ปรุงยาทุกอย่างถวายพระสงฆ์ในวัด

นั้น สร้างกุศลตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก ตลอด

เวลาหนึ่งพุทธันดร ก่อนแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เสด็จอุบัติ

ขึ้นนั่นเอง ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ของเศรษฐี ในเมืองโกสัมพี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 243

ท่านที่พี่เลี้ยงกำลังอาบน้ำให้ที่แม่น้ำมหายมุนา เพื่อความไม่มีโรค

ถูกปลาฮุบไปจากมือของพี่เลี้ยง เมื่อปลาตกถึงมือของพรานเบ็ด ภรรยาของ

เศรษฐีเมืองพาราณสีรับซื้อเอาไป แม้ถูกผ่าท้อง (เอาออกมา) ก็ยังมีชีวิตอยู่

นั่นเอง เพราะกำลังบุญ นางจึงรับเอาเป็นลูกเลี้ยงไว้ ได้นามว่า พากุละ

(คนสองตระกูล) เพราะเมื่อมารดาบิดาผู้ให้กำเนิด ได้ทราบประวัตินั้นแล้ว

ทวงถามบ่อย ๆ ว่า เด็กคนนี้เป็นลูกของเรา ขอจงให้ลูกแก่พวกเรา พระราชา

ทรงมีพระราชวินิจฉัยให้ตั้งอยู่ โดยความเป็นทายาทของ ๒ ตระกูลว่า เด็ก

คนนี้เป็นเหตุทั่วไป สำหรับตระกูลแม้ทั้ง ๒ ตระกูล เจริญวัยแล้ว จึงได้เสวย

สมบัติมากมาย มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ได้สดับพระธรรมเทศนาในสำนักของพระ-

ศาสดาแล้ว กลับได้ความเชื่อ บวชแล้ว เป็นปุถุชนชั่ว ๗ วัน เท่านั้น รุ่งอรุณ

วันที่ ๘ ก็ได้บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า

ในที่ไม่ไกลป่าหิมพานต์ มีภูเขาชื่อ โสภิตะ

ข้าพเจ้าพร้อมด้วยศิษย์ทั้งหลาย ได้สร้างอาศรมไว้

อย่างดี ที่ภูเขานั้นมณฑปก็มีมาก ต้นยางทรายก็ออก

ดอกบานสะพรั่ง บนเขานั้นมะขวิดก็มีมาก เทียนดำ

เทียนขาวก็ออกดอกบานสะพรั่ง คนทิสอ, พุทรา

มะขามป้อมก็ชุกชุม สวนหย่อมก็มีหลาย น้ำเต้าก็มาก

บัวขาวออกดอกบานสะพรั่ง มะหวด, มะตูม, กล้วย

มะงั่วก็มีมาก สะท้อน อัญชัน และประยงค์ในที่นั้น

ก็ชุม โกสุม ต้นสน สะเดา ต้นไทร ต้นกระสังก็มาก

อาศรมของข้าพเจ้าก็เป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าพร้อมทั้งศิษย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 244

ได้อยู่ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นสยัมภู

ทรงเป็นผู้นำสัตวโลก พระนามว่า อโนมทัสสี เมื่อ

ทรงแสวงหาที่หลีกเร้น ได้เสด็จมาถึงอาศรมของ

ข้าพเจ้า เมื่อพระมหาวีระเสด็จเข้าถึงแล้ว อาพาธ

เกิดแต่ลม ได้เกิดขึ้นชั่วขณะแก่พระองค์ผู้พระนามว่า

อโนมทัสสี มีพระยศมาก ทรงเป็นนาถะของโลก

ก็ครั้งนั้น ข้าพเจ้านั่นครั้นได้เห็นความเคลื่อนไหว

แล้ว ก็กำหนดได้ว่า ความจริง พยาธิได้เกิดขั้นแก่

พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายโดยไม่สงสัย ข้าพเจ้าได้

รีบมายังอาศรม ประสงค์จะปรุงยา ในสำนักศิษย์

ของข้าพเจ้า ครั้งนั้นจึงได้นิมนต์ศิษย์ทั้งหลาย ศิษย์

ทุกคนเชื่อฟังถ้อยคำของข้าพเจ้า มีคารวะประชุม

ร่วมกัน เพราะมีความเคารพในพระศาสดาของเรา

ข้าพเจ้าจึงรีบขึ้นภูเขา บันเทิงใจกับยาทุกขนาน

ข้าพเจ้าผสมยากับน้ำดื่มแล้ว (ถวาย) ได้เป็นทาสของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประเสริฐที่สุด เมื่อพระมหาวีร-

สรรเพชญ์ผู้เป็นโลกนารถเสวยแล้ว โรคลมของพระ-

ศรีสุคตมหาฤๅษี ก็สงบลงโดยเร็ว พระอโนมทัสสี

สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทอดพระเนตร

เห็นความกระวนกระวายที่สงบลงแล้ว จึงได้ประทับ

นั่งบนพุทธอาสน์ ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดถวาย

เภสัชแก่เราตถาคต และให้พยาธิของเราสงบไป เรา

ตถาคตจักสรรเสริญผู้นั้น เมื่อเราตถาคตกล่าวอยู่ ขอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 245

เธอทั้งหลายจงฟังเถิด เขาจักรื่นเริงบนเทวโลก สิ้น

เวลาแสนกัป ผู้นี้จักบันเทิงใจทุกเมื่อบนเทวโลกนั้น

เพราะเสียงบรรเลง เสียงประโคม เขามาสู่มนุษยโลก

แล้ว ถูกบุญเก่าตักเตือนแล้ว จักได้เป็นพระเจ้า

จักรพรรดิถึงพันชาติ ในกัปที่ ๕๕ จักได้เป็นกษัตริย์

นามว่า อโนมะ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่

เพรียบพร้อมด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีพลพยุหโยธามากมาย

ทรงชนะดินแดนชมพูทวีป เสวยไอศุริยสมบัติ แม้

เทวดาชั้นดาวดึงส์ก็กระเทือน เป็นเทวดาหรือเป็น

มนุษย์ ก็จักมีอาพาธน้อย เว้นความยึดมั่นถือมั่นแล้ว

จักข้ามพยาธิในโลกได้ตลอดกัป นับไม่ถ้วน แต่กัปนี้ไป

เขาจักได้เป็นโอรสผู้เป็นธรรมทายาท ที่เนรมิตขึ้น

โดยธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงสมภพใน

ตระกูลโอกกากราช เป็นศาสดาในโลก พระนามว่า

โคดม โดยพระโคตร จักดับกิเลสเป็นผู้หาอาสวะมิได้

เพราะกำหนดรู้อาสวะทั้งมวล ครั้นเผากิเลสแล้ว จัก

ข้ามกระแสตัณหาไป เป็นสาวกของพระศาสดา มี

นามว่า พากุละ พระสมณโคดม ผู้สูงสุดแห่งศากยวงศ์

ทรงทราบประวัติทั้งหมดนี้แล้ว จักประทับนั่งในหมู่

พระสงฆ์ ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ พระสยัมภู

ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี นายกโลก เมื่อ

ทรงตรวจดูที่วิเวก ได้เสด็จเข้ามายังอาศรมของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 246

ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าให้พระมหาวีรสรรเพชญ์ นายกโลก

ผู้เสด็จเข้ามาแล้ว ให้พอพระทัยด้วยโอสถทุกอย่าง ขอ

พระองค์จงทรงพอพระทัยด้วยมือ (ของข้าพระองค์)

ข้าพเจ้าได้ทำกรรมดีแด่พระองค์ไว้ ความสมบูรณ์แห่ง

พืช ข้าพเจ้าได้ทำไว้แล้วในบุญเขตที่ดี ข้าพเจ้าไม่อาจ

จะให้หมดสิ้นไปได้เลย เพราะในครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้

ทำกรรมไว้ดีแล้ว เป็นลาภของเรา เป็นโชคดีของเรา

ที่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงเป็นนายก ด้วยผล

กรรมที่เหลือ ข้าพเจ้าจึงได้ลุถึงทางที่ไม่หวั่นไหว

พระสมณโคดมผู้สูงสุดแห่งศากยวงศ์ ได้ทรงทราบ

เรื่องทั้งหมดนี้แล้ว ได้ประทัปนั่งในหมู่สงฆ์ ทรงตั้ง

ข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตัคคะ ข้าพเจ้าได้ทำกรรม

อันใดไว้ในครั้งนั้น เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่

รู้จักทุคติตลอดกัป นับไม่ถ้วนนับถอยหลังแต่กัปนี้ไป

นี้เป็นผลแห่งเภสัช. กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้เผาแล้ว

ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง ครั้นได้บรรลุพระอรหัตแล้ว อยู่มาวันหนึ่ง ท่านเป็นผู้อัน

พระศาสดา ผู้กำลังทรงตั้งพระสาวกทั้งหลายของพระองค์ไว้ในฐานันดร ตาม

ลำดับได้ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีอาพาธน้อย เมื่อจะ

พยากรณ์อรหัตผล ด้วยโอวาทที่สำคัญแก่ภิกษุทั้งหลาย ท่ามกลางสงฆ์ ใน

สมัยปรินิพพาน จึงได้กล่าวคาถาไว้ ๓ คาถา ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 247

ผู้ใดไม่ทำงานที่จะต้องทำก่อน แต่มุ่งจะทำใน

ภายหลัง ผู้นั้นจะพลาดจากเหตุที่จะให้เกิดสุข และจะ

เดือดร้อนภายหลัง เพราะว่า ข้าพเจ้าบอกงานที่บุคคล

ควรทำ ไม่บอกงานที่ไม่ควรทำ เมื่อคนทั้งหลาย

บอกงานที่ไม่ใช่กำลังทำ บัณฑิตทั้งหลายก็รู้ทัน พระ-

นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว เป็น

ธรรมไม่มีความโศก สำรอกแล้ว เป็นแดนเกษม เป็น

ที่ดับทุกข์ แสนจะเป็นสุขหนอ.

บรรดบทเหล่านั้น บทว่า โย ปุพฺเพ กรณียานิ ปจฺฉา โส

กาตุมิจฺฉติ (ผู้ไม่ทำงานที่จะต้องทำในตอนต้น ภายหลังประสงค์จะทำ)

ความว่า ผู้ใดเมื่อก่อน คือ เมื่อเวลาก่อนแต่ที่ชราและโรคเป็นต้น จะครอบงำ

นั่นเอง ไม่ทำงานที่ควรทำ ที่จะนำประโยชน์เกื้อกูล และความสุขมาให้ตน

ภายหลังแล คือ เลยเวลาที่จะต้องทำไปแล้วจึงอยากทำ. คำว่า โส เป็นเพียง

นิบาต. แต่ในกาลนั้น เขาไม่อาจจะทำได้ ไม่อาจทำได้ เพราะว่าเขาถูก

ชราและโรคเป็นต้น ครอบงำแล้ว.

บทว่า สุขา โส ธสเต านา ปจฺฉา จ มนุตปฺปติ (ผู้นั้น

จะพลาดจากที่ที่จะให้เกิดความสุขและจะเดือดร้อนภายหลัง) ความว่า บุคคล

นั้นจะเสื่อมจากที่ที่เป็นสุข คือจากสวรรค์ และจากนิพพาน เพราะอุบายที่จะ

ให้ถึงสถานที่นั้น ตนยังไม่ได้ให้เกิดขึ้น ทั้งจะเดือดร้อน คือถึงความวิปฏิสาร

ภายหลัง โดยนัยมีอาทิว่า เราไม่ได้ทำกรรมดีไว้.

อักษรทำการเชื่อมบท. ก็พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ข้าพเจ้าทำกิจ

ที่ควรจะทำแล้วนั่นแหละ จึงบอกท่านทั้งหลายอย่างนี้ ดังนี้แล้ว จึงได้กล่าว

คาถาที่ ๒ ว่า ยญฺหิ กยิรา เป็นต้นไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 248

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริชานนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย

รู้เด็ดขาดว่า คนนี้มีเท่านี้ อธิบายว่า ไม่รู้มากไปกว่านี้. ด้วยว่า คนพูด

อย่างใด ทำอย่างนั้นเท่านั้น ย่อมงดงามโดยอำนาจสัมมาปฏิบัติ ไม่ใช่งาม

โดยอย่างอื่นจากสัมมาปฏิบัตินั้น บัดนี้ เพื่อจะแสดงเนื้อความที่ท่านได้กล่าว

มาแล้ว โดยตรงคือกิจที่จะต้องทำโดยทั่วไปไว้โดยสรุป พระเถระจึงได้กล่าว

คาถาที่ ๓ ไว้ โดยนัยมีอาทิว่า สุสุข วต ดังนี้.

คาถาที่ ๓ นั้น มีเนื้อความว่า พระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนานว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้พระธรรมทั้งมวล ด้วยพระองค์เอง

โดยชอบ ทรงแสดงไว้แล้ว ชื่อว่าไม่มีความเศร้าโศก เพราะไม่มีเหตุแห่ง

ความเศร้าโศก โดยประการทั้งปวง ชื่อว่าสำรอกแล้ว เพราะสำรอกราคะ

เป็นต้นออกไปแล้ว เป็นสุขดีจริงหนอ เพราะเหตุไร ? เพราะพระนิพพาน

เป็นที่ดับไปโดยไม่มีเหลือ คือ เป็นที่สงบระงับไป โดยส่วนเดียวนั่นเอง แห่ง

วัฏทุกข์ทั้งสิ้น.

จบอรรถกถาพากุลเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 249

๔. ธนิยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระธนิยเถระ

[๓๑๐] ได้ยินว่า พระธนิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ถ้าภิกษุมุ่งความเป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อ

ดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ ไม่ควรดูหมิ่นจีวร ปานะและ

โภชนะที่เขาถวายเป็นของสงฆ์ ถ้าหากภิกษุมุ่งความ

เป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ

ควรใช้ที่นอนและที่นั่ง (ง่าย ๆ) เหมือนงูอาศัยรูหนู

ฉะนั้น ถ้ามุ่งความเป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อดำรง

ชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ พอใจด้วยปัจจัยตามมีตามได้ และ

ควรเจริญธรรมอย่างเอกด้วย.

อรรถกถาธนิยเถรคาถา

คาถาของท่านพระธนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุขญฺจ ชีวิตุ อิจฺเฉ.

มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้ท่านพระธนิยเถระ ก็ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ

เมื่อสั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ได้บังเกิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล ในกาล

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี มีนามว่า ธนิยะ เจริญวัย

แล้ว เลี้ยงชีพด้วยการเป็นช่างหม้อ. ก็สมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งที่ศาลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 250

ของนายธนิยะช่างหม้อ ทรงแสดงฉธาตุวิภังคสูตร แก่กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ.

เขาได้ฟังพระสูตรนั้นแล้ว ได้สำเร็จกิจ. (ส่วน) นายธนิยะได้ทราบว่า ท่าน

ปุกกุสาตินั้นปรินิพพานแล้ว กลับได้ศรัทธา ด้วยคิดว่า พระพุทธศาสนานี้

นำออกไป (จากวัฏฎะ) จริงหนอ ถึงแม้ด้วยการอบรมคืนเดียว ก็สามารถ

พ้นจากวัฏทุกข์ได้ ดังนี้ บวชแล้ว ขยันแต่งกุฎีอยู่ ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงตำหนิ เพราะอาศัยการสร้างกุฏี จึงอยู่ที่กุฏีของสงฆ์ เจริญวิปัสสนาแล้ว

ได้บรรลุพระอรหัตผล. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า

ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระ-

ฉวีวรรณประดุจสีทอง ทรงรับสิ่งของที่เขาบูชาอยู่

ผู้ทรงเป็นนายกโลก กำลังเสด็จไปทางปลายป่าใหญ่

และข้าพเจ้าได้ถือเอาดอกเลา เดินออกไป ทันใดนั้น

ได้เห็นพระสัมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว

หาอาสวะมิได้ ณ ที่นั้น ได้มีจิตเลื่อมใสดีใจ จึงได้

บูชาพระองค์ผู้มหาวีระ ผู้ทรงเป็นทักขิไณยบุคคล

ทรงอนุเคราะห์สัตวโลกทุกถ้วนหน้า ในกัปที่ ๓๑

แต่กัปนี้ ข้าพเจ้าได้ร้อยดอกไม้ใด (บูชา) ด้วยผล

ของการร้อยดอกไม้นั้น ข้าพเจ้าจึงไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลของพุทธบูชา.กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าเผาแล้ว

ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง ครั้นได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว ท่านเมื่อจะพยากรณ์พระ-

อรหัตผล โดยตรงคือการให้โอวาทแก่เหล่าภิกษุ ผู้ยกตนขึ้นข่มภิกษุเหล่าอื่น

ผู้ยินดีสังฆภัตเป็นต้น ด้วยการสมาทานธุดงค์ จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถาไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 251

ถ้าภิกษุมุ่งความเป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อ

ดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ ไม่ควรดูหมิ่นจีวร ปานะและ

โภชนะที่เขาถวายเป็นของสงฆ์ ถ้าหากภิกษุมุ่งความ

เป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ

ควรใช้ที่นอนและที่นั่งง่าย ๆ เหมือนงูอาศัยรูหนู

ฉะนั้น ถ้ามุ่งความเป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อดำรง

ชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ พอใจด้วยปัจจัยตามมีตามได้ และ

ควรเจริญธรรมอย่างเอกด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขญฺจ ชีวิตุ อิจฺเฉ สามญฺสฺมึ

อเปกฺขวา (ผู้มุ่งความเป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ

ด้วย) ความว่า ภิกษุเป็นผู้มุ่งความเป็นสมณะ คือสมณภาวะ ได้แก่เป็นผู้มี

ความเคารพแรงกล้าในสิกขา ถ้าหากปรารถนาเพื่อดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ

ไซร้ อธิบายว่า ถ้าหากต้องการจะละอเนสนามีชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ ตามสามัญ

ไซร้.

บทว่า สงฺฆิก นาติมญฺเยฺย จีวร ปานโภชน (ไม่ควรดูหมิ่นจีวร

ปานะและโภชนะที่เขาถวายเป็นของสงฆ์) ความว่า ไม่ควรดูหมิ่นจีวร อาหาร

ที่นำมาจากสงฆ์ อธิบายว่า ธรรมดาว่าลาภที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ เป็นการเกิดขึ้น

โดยบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น เมื่อจะบริโภคลาภนั้น ความสุขอย่างสามัญก็เป็น

อันอยู่ในเงื้อมมือทีเดียว เพราะเกิดจากอาชีวปาริสุทธิศีล.

บทว่า อหิ มูลิกโสพฺภว ความว่า ควรเสพคือใช้สอยเสนาสนะ

เหมือนงูใช้รูที่หนูขุดไว้. อธิบายว่า อุปมาเสมือนว่างูไม่ทำที่อยู่อาศัยเอง

สำหรับตน แต่อาศัยที่อยู่ที่หนูหรือสัตว์อื่นทำไว้แล้ว ต้องการอย่างใดก็หลีก

ไปได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ควรต้องความเศร้าหมอง เพราะ

การสร้างเสนาสนะอยู่เอง อยู่ได้ทุกแห่งแล้วก็หลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 252

บัดนี้ ท่านพระธนิยเถระเมื่อจะแสดงว่า ความสุขอย่างสามัญย่อมมี

โดยความพอใจปัจจัยตามที่ได้มา ทั้งที่กล่าวมาแล้วและไม่ได้กล่าวถึงเท่านั้น

ไม่ใช่มีโดยประการอื่นดังนี้ จึงได้กล่าวไว้ว่า อิตเรน อิจฺเฉยฺย อธิบายว่า

ภิกษุควรถึงความพอใจ (สันโดษ) ด้วยปัจจัยทุกอย่างตามที่ได้มา ไม่ว่าเลว

หรือประณีต.

บทว่า เอกธมฺม ได้แก่ความไม่ประมาท. เพราะว่าความไม่ประมาท

นั้น ไม่มีโทษสำหรับผู้หมั่นประกอบ และทั้งโลกิยสุขและโลกุตรสุขทั้งหมด

เป็นอันอยู่ในเงื้อมมือทีเดียว. เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า

เพราะผู้ไม่ประมาทเพ่งอยู่ ย่อมประสบความสุขอันไพบูลย์.

จบอรรถกถาธนิยเถรคาถา

๕. มาตังคปุตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมาตังคบุตรเถระ

[๓๑๑] ได้ยินว่า พระมาตังคบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ขณะทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนทั้งหลาย ผู้ทอดทิ้ง

การงาน โดยอ้างเลศว่า เวลานี้ หนาวนัก ร้อนนัก

เย็นมากแล้ว ส่วนผู้ใดไม่สำคัญหนาวและร้อนให้ยิ่ง

ไปกว่าหญ้า ผู้นั้นจะทำงานอยู่อย่างลูกผู้ชาย จะไม่

พลาดไปจากความสุข ข้าพเจ้าเมื่อจะเพิ่มพูนวิเวก

จักแหวกแฝกคา หญ้าดอกเลา หญ้าปล้อง และหญ้ามุง

กระต่ายด้วยอุระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 253

อรรถกถามาตังคปุตตเถรคาถา

คาถาของท่านพระมาตังคบุตรเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อติสีต. มีเรื่อง

เกิดขึ้นอย่างไร ?

เล่ากันมาว่า ท่านพระมาตังคบุตรเถระนี้ ในกาลของพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เกิดเป็นพญานาค ผู้มีอานุภาพ

มากในนาคพิภพใหญ่ ภายใต้ชาตสระใหญ่ ใกล้ป่าหิมพานต์ อยู่มาวันหนึ่ง

ออกจากนาคพิภพไปเที่ยว (หากิน) เห็นพระศาสดาผู้เสด็จมาทางอากาศ มีใจ

เลื่อมใส ได้ทำการบูชาด้วยแก้วมณีที่หงอนของตน.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดเป็นบุตรของกุฎุมพี ชื่อ มาตังคะ ในโกศลรัฐ

จึงปรากฏนามว่า มาตังคบุตรนั่นเอง. ท่านรู้เดียงสาแล้ว กลายเป็นคน

เกียจคร้าน ไม่ทำการงานอะไร ถูกญาติและคนเหล่าอื่นพากันตำหนิ คิดเห็นว่า

สมณศากยบุตรเหล่านี้ เป็นอยู่อย่างง่าย ๆ มุ่งหวังจะเป็นอยู่ง่าย ๆ เป็นผู้ที่

ภิกษุทั้งหลายทำการอบรมแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดาฟังพระธรรมเทศนา

มีศรัทธาแล้วบวช เห็นภิกษุอื่น ๆ มีฤทธิ์ ปรารถนาพลังฤทธิ์ จึงเรียน

กรรมฐานในสำนักของพระศาสดา หมั่นประกอบภาวนา แล้วได้อภิญญา ๖.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า

พระชินศรีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า

ปทุมุตตระ ทรงถึงฝั่งแห่งพระธรรมทั้งหมด ทรง

ประสงค์วิเวก กำลังเสด็จไปในอากาศ ภพที่อยู่ของ

ข้าพเจ้าที่ประกอบพร้อมด้วยบุญกรรม ได้มีอยู่ที่ชาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 254

สระใหญ่ ที่อยู่ไม่ไกลป่าหิมพานต์ ข้าพเจ้าออกจาก

ที่อยู่ไปได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นนายกโลก

เหมือนดวงไฟที่ลุกโชน โชติช่วงดังแก้ววิเชียรของ

พระอินทร์ ข้าพเจ้าเมื่อไม่เห็นดอกไม้ที่จะเลือกเก็บ

จึงยังจิตของตนให้เลื่อมใส ในพระองค์ผู้ทรงเป็นนายก

แล้วได้ไหว้พระศาสดา ด้วยคิดว่า เราจักบูชา ข้าพเจ้า

จึงหยิบเอาแก้วมณีบนหงอนของข้าพเจ้าแล้ว บูชา

พระองค์ผู้ทรงเป็นนายกโลก ผลของการบูชาด้วย

แก้วมณีนี้ เป็นผลที่จำเริญ พระปทุมุตตระ ศาสดา

ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงรับเครื่องบูชา ประทับบนอากาศ

ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า ขอให้ความดำริของเธอจงสำเร็จ

ขอจงได้รับความสุขอันไพบูลย์ ขอจงเสวยยศยิ่งใหญ่

ด้วยการบูชาด้วยแก้วมณีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น

ตรัสพระคาถานี้แล้ว ทรงมีพระนามว่า ชลชุตตมะ

(ผู้สูงสุดกว่าสัตว์น้ำพญานาค) ทรงเป็นพระพุทธเจ้า

ผู้ประเสริฐที่สุด ได้เสด็จไปยังที่ ๆ ตั้งพระทัยจะทรง

วางแก้วมณีไว้ ข้าพเจ้าได้เป็นท้าวสักกะจอมเทพ

เสวยเทวราชสมบัติเป็นเวลา ๖๐ กัป และได้เป็น

พระเจ้าจักรพรรดิหลายร้อยชาติเมื่อข้าพเจ้าเป็นเทวดา

ระลึกถึงบุรพกรรม แก้วมณีเกิดแก่ข้าพเจ้า ส่องแสง

สว่างให้ข้าพเจ้า สนมนารี ๘๖,๐๐๐ นางที่ห้อมล้อม

ข้าพเจ้า มีวัตถาภรณ์แพรวพราวประดับแก้วมณีและ

แก้วกุณฑล มีขนตางอน, ยิ้มแย้ม, เอวบางร่างน้อย,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 255

ตะโพกผาย, ห้อมล้อมข้าพเจ้าเนืองนิจ นี้เป็นผลของ

การบูชาด้วยแก้วมณี อนึ่ง สิ่งของเครื่องประดับของ

ข้าพเจ้า ตามที่ข้าพเจ้าต้องประสงค์ ทำด้วยทอง

ประดับด้วยแก้วมณีและทับทิม เป็นสิ่งที่ช่างประดิษฐ์

ดีแล้ว ปราสาทเรือนที่รื่นรมย์ และที่นอนที่ควรค่า

มาก รู้ความดำริของข้าพเจ้าแล้ว เกิดขึ้นตามที่ต้องการ

ชนเหล่าใด ได้รับการสดับตรับฟัง เป็นลาภ และเป็น

การได้อย่างดีของชนเหล่านั้น การได้นั้นเป็นบุญเขต

ของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นโอสถของปวงปาณชาติ แม้

ข้าพเจ้าก็มีกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว ที่ได้เห็นพระพุทธเจ้า

ผู้ทรงเป็นนายก ข้าพเจ้าพ้นแล้วจากวินิบาต ได้บรรลุ

พระนิพพานที่ไม่หวั่นไหว ข้าพเจ้าเข้าถึงกำเนิดใด ๆ

จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม แสงสว่างของข้าพเจ้า

จะมีอยู่ทุกเมื่อในภพนั้น ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน

ด้วยการบูชาด้วยแก้วมณีนั้นนั่นเอง ข้าพเจ้าจึงได้เสวย

สมบัติ แล้วได้เห็นแสงสว่างคือญาณ และได้บรรลุ

พระนิพพานที่ไม่หวั่นไหว ในกัปที่แสน แต่กัปนี้

เพราะข้าพเจ้าได้บูชาด้วยแก้วมณีไว้ จึงไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยแก้วมณี. กิเลส

ทั้งหลายข้าพเจ้าเผาแล้ว ฯ ล ฯ คำสั่งสอนของพระ-

พุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา เมื่อจะตำหนิความเกียจคร้าน สรรเสริญ

การปรารภความเพียรของตนด้วยบุคลาธิษฐาน จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถาไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 256

ขณะทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนทั้งหลาย ผู้ทอดทิ้ง

การงาน โดยอ้างเลศว่า เวลานี้ นาวนัก ร้อนนัก

เย็นมากแล้ว ส่วนผู้ใดไม่สำคัญหนาวและร้อนให้ยิ่ง

ไปกว่าหญ้า ผู้นั้นจะทำงานอยู่อย่างลูกผู้ชาย ไม่พลาด

ไปจากความสุข ข้าพเจ้าเมื่อจะเพิ่มพูนวิเวก จักแหวก

แฝกคา หญ้าดอกเลา หญ้าปล้อง และหญ้ามุงกระต่าย

ด้วยอุระ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติสีต ความว่า นำความมาเชื่อมกันว่า

หนาวเหลือเกิน เพราะหิมะตกและฝนพรำเป็นต้น คนเกียจคร้านอ้างข้อนี้.

บทว่า อติอุณฺห ความว่า ร้อนเหลือเกิน เพราะแดดแผดเผาใน

ฤดูร้อนเป็นต้น. แม้ด้วยคำทั้ง ๒ นี้ พระเถระได้กล่าวถึงเหตุเป็นที่ตั้งแห่ง

ความเกียจคร้าน ด้วยอำนาจฤดู.

บทว่า อติสาย ความว่า เย็นมากแล้ว เพราะกลางวันผ่านพ้นไป

ก็ด้วยว่าสายนั้นเทียว แม้เวลาเช้า ก็เป็นอันสงเคราะห์เข้าในคาถานี้ด้วย ด้วย

คำทั้งสองนั้น (สาย และ ปาโต) พระเถระได้กล่าวถึงเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความ

เกียจคร้าน ด้วยอำนาจกาลเวลา.

บทว่า อิติ ความว่า ด้วยประการฉะนี้. ด้วยอิติศัพท์นี้ พระเถระ

สงเคราะห์เอาเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านเข้าไว้ด้วย ที่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ได้ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม (การงาน)

เป็นสิ่งที่ภิกษุ ในพระศาสนานี้ควรทำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 257

บทว่า วิสฺสฏฺกมฺมนฺเต ได้แก่ ผู้สลัดทิ้งซึ่งการงานที่ประกอบ.

บทว่า ขณา ได้แก่ โอกาสแห่งการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีโอกาสเกิด

ขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า มาณเว ได้แก่ สัตวโลกทั้งหลาย.

บทว่า ติณา ภิยฺโย น มญฺติ ความว่า ไม่สำคัญเหนือไปกว่าหญ้า

คือสำคัญ (หนาว,ร้อน) เหมือนหญ้า ได้แก่ ข่มหนาวและร้อนไว้ ทำ

งานที่ตนจะต้องทำไป. บทว่า กร ได้แก่ กโรนฺโต แปลว่า ทำอยู่. บทว่า

ปุริสกิจฺจานิ ได้แก่ ประโยชน์ของตนและของผู้อื่น อันวีรบุรุษจะต้องทำ.

บทว่า สุขา ได้แก่ จากความสุข อธิบายว่า จากนิพพานสุข. เนื้อความ

ของคาถาที่ ๓ ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบอรรถกถามาตังคบุตรเถรคาถา

๖. ขุชชโสภิตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระขุชชโสภิตเถระ

[๓๑๒] ได้ยินว่า พระขุชชโสภิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

สมณะเหล่าใดกล่าวธรรมอันวิจิตร เป็นปกติ

เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่านขุชชโสภิตะ

ซึ่งยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ นี้เป็นรูปหนึ่งในจำนวนสมณะ

เหล่านั้น. สมณะเหล่าใดเป็นผู้กล่าวธรรม อันวิจิตร

เป็นปกติ เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่าน

รูปนี้ ผู้มากด้วยฤทธิ์ ดุจลมพัด ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 258

ผู้หนึ่งในจำนวนสมณะเหล่านั้น. ท่านผู้นี้ประสบความ

สุข ด้วยอาการอย่างนี้คือ ด้วยการรบอย่างดี ด้วย

ความปรารถนาดี (ของกัลยาณมิตร) ด้วยชัยชนะใน

สงคราม และด้วยพรหมจรรย์ ที่ประพฤติมาแล้ว

ตามลำดับ.

อรรถกถาขุชชโสภิตเถรคาถา

คาถาของท่านพระขุชชโสภิตเถระ มีคำขึ้นต้นว่า เย จิตฺตกถี

พหุสฺสุตา. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ทราบว่า ท่านพระขุชชโสภิตเถระนี้ ในกาลของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ทรงนามว่า ปทุมุตตระ ได้เกิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล รู้เดียงสาแล้ว

วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปกับภิกษุสงฆ์จำนวนมาก มีใจ

เลื่อมใสได้กล่าวชมเชยด้วยคาถา ๑๐ คาถา.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านได้ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก

มาในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในนครปาฏลีบุตร ได้

มีนามว่าโสภิตะ. แต่เพราะเป็นผู้ค่อมเล็กน้อย จึงปรากฏ ชื่อว่าขุชชโสภิตะ

นั่นเทียว. ท่านเจริญวัยแล้ว เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้บวช

ในสำนักของท่านพระอานนทเถระ ได้อภิญญา ๖. ด้วยเหตุนั้นใน

อปทาน ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 259

พระนราสภ ผู้ทรงเป็นเทพเจ้าของเทพทั้งหลาย

เสด็จดำเนินไปบนถนน งดงามเหมือนเครื่องราชกกุธ-

ภัณฑ์ ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส พระสัมมาสัม-

พุทธเจ้า ผู้ทรงยังความมืดมนอนธการให้พินาศไป

ให้คนจำนวนมากข้ามฟากได้ ทรงโชติช่วงอยู่ด้วยแสง

สว่าง คือ พระญาณ ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นนายกโลก ทรงนำ

สัตวโลกไป ทรงยกสัตวโลกจำนวนมากขึ้นด้วย (พระ

ปรีชาญาณ) จำนวนแสน ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อม

ใส พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงย่ำกลอง คือ พระธรรม

บดขยี้หมู่เดียรถีย์ บันลือสีหนาทอยู่ ใครเล่าเห็นแล้ว

จะไม่เลื่อมใส ทวยเทพพร้อมทั้งพระพรหม ตั้งแต่

พรหมโลก พากันมาทูลถามปัญหาที่ละเอียด ใครเล่า

เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส เหล่ามนุษย์พร้อมทั้งเทวดาพา

กันมาประนมมือทูลวิงวอนต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ

องค์ใด ก็ได้บุญ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ

องค์นั้น ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส ปวงชนพากัน

มาชุมนุม ห้อมล้อมพระองค์ผู้มีพุทธจักษุ พระองค์ผู้

อันเขาทูลเชิญแล้ว ก็ไม่ทรงสะทกสะท้าน ใครเล่า

เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ

องค์ใด เสด็จเข้าพระนคร กลองจะดังขึ้นมากมาย

ช้างพลายที่เมามัน ก็พากันบันลือ ใครเล่าเห็นพระสัม-

มาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นแล้ว จะไม่เลื่อมใส เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 260

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด เสด็จดำเนินไปตาม

ถนน พระรัศมีของพระองค์ จะพวยพุ่งขึ้นสูง สม่ำ

เสมอทุกเมื่อ ใครเล่าเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระ

องค์นั้น แล้วจะไม่เลื่อมใส เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสออก

ไป จะได้ยินกันทั้งจักรวาล ให้สรรพสัตว์เข้าใจกัน

ทั่ว ใครเล่าเห็นพระองค์แล้วจะไม่เลื่อมใส ในกัปที่

แสน แต่กัปนี้ ข้าพเจ้าได้สรรเสริญพระพุทธเจ้า

พระองค์ใดไว้ ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติเลย นี้คือผลแห่ง

การสรรเสริญพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น. กิเลสทั้งหลาย

ข้าพเจ้าได้เผาแล้ว ฯ ล ฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง ท่านเป็นผู้มีอภิญญา ๖ ในสมัยมหาสังคายนาครั้งแรก ท่าน

ถูกพระสงฆ์ ผู้ประชุมกันที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ มีบัญชาว่า ท่าน

จงไปนิมนต์ท่านพระอานนทเถระมา จึงได้ดำดินลงไป โผล่ขึ้นตรงหน้าพระ

เถระ กราบเรียนให้ทราบแล้ว ตนเองได้ล่วงหน้าไปทางอากาศถึงประตูถ้ำ

สัตตบรรณคูหาก่อน. ก็สมัยนั้น เทวดาบางองค์ ที่หมู่เทวดาส่งไปเพื่อห้าม

พญามาร และพรรคพวกของพญามาร ได้ยืนที่ประตูถ้ำสัตตบรรณคูหา พระ

ขุชชโสภิตเถระ เมื่อจะบอกการมาของตนแก่เทวดาองค์นั้นได้กล่าวคาถาแรก

ไว้ว่า

สมณะเหล่าใดกล่าวถ้อยคำไพเราะ เป็นปกติ

เป็นพหสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่านพระขุชช-

โสภิตะ ซึ่งยืนอยู่ที่ประตูถ้ำนี้ เป็นรูปหนึ่งในจำนวน

สมณะเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 261

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตกถี คือเป็นผู้แสดงธรรมไพเราะ

เป็นปกติ อธิบายว่า เป็นผู้มีปกติพูดธรรม เหมาะกับอัธยาศัยของผู้อื่น

โดยนัยต่าง ๆ มีอาทิอย่างนี้คือ ย่อ พิสดาร ทำให้ลึกซึ้ง ทำให้ตื้น (ง่าย)

บรรเทาความสงสัยได้ ให้ผู้ฟังตั้งมั่นอยู่ในธรรมได้.

บทว่า พหุสฺสุตา ความว่า ชื่อว่าเป็นพหูสูต เพราะบริบูรณ์ด้วย

ความเป็นพหูสูต ทั้งทางปริยัติและปฏิเวธ ชื่อว่า เป็นสมณะ เพราะระงับบาป

ได้ โดยประการทั้งปวง.

บทว่า ปาฏลิปุตฺตวาสิโน เตสญฺตฺโร ความว่า ภิกษุทั้งหลาย

ชื่อว่าอยู่ประจำกรุงปาฏลีบุตร เพราะอยู่ที่นครปาฏลีบุตร เป็นปกติ บรรดา

ภิกษุเหล่านั้น ท่านผู้มีอายุ คือท่านผู้มีอายุยืนนี้ เป็นรูปใดรูปหนึ่ง.

บทว่า ทฺวาเร ติฏฺิ ความว่า ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำสัตตบรรณคูหา

อธิบายว่า เพื่อจะเข้าไปตามอนุมัติของสงฆ์. เทวดาครั้นได้ฟังคำนั้นแล้ว จึง

ประกาศการมาของพระเถระให้พระสงฆ์ทราบ ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า

สมณะเหล่าใด เป็นผู้กล่าวธรรมวิจิตร เป็น

เป็นปกติ เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่าน

รูปนี้มาด้วยฤทธิ์ ดุจลมพัด ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ เป็นรูป

หนึ่งในจำนวนสมณะเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลุเตริโต ความว่า ผู้มาแล้ว ด้วย

ลมที่เกิดจากฤทธิ์ของจิต อธิบายว่า มาแล้วด้วยกำลังฤทธิ์.

พระเถระผู้ที่พระสงฆ์ให้โอกาสแล้ว ตามที่เทวดาองค์นั้น ได้ประกาศ

ให้ทราบอย่างนี้แล้ว เมื่อไปสำนักสงฆ์ ได้พยากรณ์พระอรหัตผล ด้วยคาถา

ที่ ๓ นี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 262

ท่านผู้นี้ ประสบความสุข ด้วยอาการอย่างนี้

คือ ด้วยการรบอย่างดี ด้วยความปรารถนา (ของกัล

ยาณมิตร) ด้วยชัยชนะในสงคราม และด้วยพรหม

จรรย์ ที่ประพฤติมาแล้ว ตามลำดับ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุยุทฺเธน ความว่า ด้วยการรบอย่างดี

กับกิเลสทั้งหลาย ด้วยอำนาจแห่งตทังคปหาน (การละได้ด้วยองค์นั้น)

และวิกขัมภนปหาน (การละด้วยการข่มไว้).

บทว่า สุยิฏฺเน ความว่า ด้วยธรรมทานเป็นที่สบาย ที่กัลยาณมิตร

ทั้งหลายให้แล้ว ในระหว่าง ๆ. บทว่า สงฺคามวิชเยน จ ความว่า และ

ด้วยชัยชนะในสงความที่ได้แล้ว ด้วยอำนาจแห่งสมุจเฉทปหาน (การละได้โดย

เด็ดขาด). บทว่า พฺรหฺมจริยานุจิณฺเณน ความว่า ด้วยมรรคพรหมจรรย์

ชั้นยอด ที่พระพฤติมาแล้วตามลำดับ. บทว่า เอวาย สุขเมธติ ความว่า

ท่านพระขุชชโสภิตเถระนี้ ย่อมประสบ อธิบายว่า เสวยอยู่ซึ่งความสุขคือพระ

นิพพานและความสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ ด้วยประการอย่างนี้ คือ ด้วยประการ

ดังที่กล่าวมาแล้ว.

จบอรรถกถาขุชชโสภิตเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 263

๗. วารณเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวารณเถระ

[๓๑๓] ได้ยินว่า พระวารณเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

บรรดามนุษย์ในโลกนี้ นรชนใดเบียดเบียน

สัตว์เหล่าอื่น นรชนนั้นจะกำจัดหิตสุขในโลกทั้ง ๒

คือ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ส่วนนรชนใด มีเมตตาจิต

อนุเคราะห์สัตว์ทั้งมวล นรชนนั้นผู้เช่นนั้น จะประสบ

บุญตั้งมากมาย เขาควรศึกษาธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัส

ไว้ดีแล้ว การเข้าไปนั่งใกล้สมณะ การอยู่แต่ผู้เดียว

ในที่ลับ และธรรมเครื่องสงบระงับจิต.

อรรถกถาวารณเถรคาถา

คาถาของพระวารณเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โยธ โกจิ มนุสฺเสสุ.

มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้ท่านพระวารณเถระนี้ มีบุญญาธิการที่ได้ทำไว้แล้ว ในพระ-

พุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เมื่อทำบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๙๒ (นับถอยหลัง)

แต่กัปนี้ไป ก่อนแต่การเสด็จอุบัติขึ้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

ติสสะนั่นเอง ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ เป็นผู้ถึงฝั่งในวิชาและศิลปะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 264

ของพราหมณ์ บวชเป็นฤาษี บอกมนต์แก่อันเตวาสิก ประมาณ ๕๔,๐๐๐ คน

อยู่.

ก็สมัยนั้น ได้มีการไหวแห่งมหาปฐพี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า ติสสะ ผู้ยังเป็นพระโพธิสัตว์ จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิต ก้าวลงสู่

คัพโภทรของพระพุทธมารดาในภพสุดท้าย. มหาชนเห็นเหตุการณ์นั้นแล้ว

ตกใจกลัว จึงพากันไปหาฤาษี ถามถึงเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหว. ท่านบอกถึง

บุรพนิมิตแห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าว่า พระมหาโพธิสัตว์ก้าวลงสู่

คัพโภทรของพระพุทธมารดา แผ่นดินไหวนี้มีด้วยเหตุนั้น เพราะฉะนั้น อย่าพา

กันกลัว แล้วให้เขาเบาใจกัน และได้ประกาศให้ทราบถึงปีติ มีพระพุทธเจ้า

เป็นอารมณ์.

เขา ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก ด้วยบุญกรรมนั้น มา

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในแคว้นโกศล มีชื่อว่า

วารณะ เจริญวัยแล้ว ได้ฟังธรรมในสำนักของพระเถระผู้อยู่ป่ารูปหนึ่ง ได้

ความเลื่อมใส บวชบำเพ็ญสมณธรรม. อยู่มาวันหนึ่ง ท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

เห็นงูเห่ากับพังพอนต่อสู้กัน ตายที่ระหว่างทาง สังเวชสลดใจว่า สัตว์เหล่านี้

ถึงความสิ้นชีวิต เพราะโกรธกันดังนี้แล้ว ได้ไปถึงสำนักของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงทราบอาจาระอันงามของท่านแล้ว

เมื่อจะทรงประทานพระโอวาทให้ เหมาะกับอาจาระนั้นนั่นแหละ จึงได้ทรง

ภาษิตพระคาถา ๓ คาถาว่า

บรรดามนุษย์ในโลกนี้ นรชนใดเบียดเบียน

สัตว์เหล่าอื่น นรชนนั้นย่อมกำจัดหิตสุขในโลกทั้ง ๒

คือ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ส่วนนรชนใดมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 265

เมตตาจิต อนุเคราะห์สัตว์ทั้งมวล นรชนนั้นผู้เช่น

นั้น ย่อมประสบบุญตั้งมากมาย เขาควรศึกษาธรรม

ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว การเข้าไปนั่งใกล้สมณะ

การอยู่แต่ผู้เดียวในที่ลับ และธรรมเครื่องสงบระงับ

จิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยธ โกจิ มนุสฺเสสุ ความว่า บรรดา

มนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้ คนใดคนหนึ่งจะเป็นกษัตริย์ก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม

แพศย์ก็ตาม ศูทรก็ตาม คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม. ศัพท์ว่า มนุสฺส

ในคำว่า โยธ มนุสฺเสสุ นี้ พึงทราบว่า เป็นตัวอย่างของสัตว์ชั้นอุกฤษฎ์.

บทว่า ปรปาณานิ หึสติ ความว่า ฆ่าและเบียดเบียนสัตว์อื่น. บทว่า

อสฺมา โลกา ความว่า ในโลกนี้. บทว่า ปรมฺหา ความว่า ในโลกหน้า.

บทว่า อุภยา ธสเต ความว่า ย่อมกำจัด (หิตสุข) ในโลกทั้ง ๒

อธิบายว่า ย่อมเสื่อมจากความเกื้อกูลและความสุขที่นับเนื่องในโลกทั้ง ๒.

บทว่า นโร ได้แก่ สัตว์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงบาปธรรมที่มีลักษณะเบียดเบียน

ผู้อื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงกุศลธรรม ที่มีลักษณะห้ามการ

เบียดเบียนผู้อื่น จึงได้ตรัสคาถาที่ ๒ ไว้โดยนัยมีอาทิว่า โย จ เมตฺเตน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เมตฺเตน จิตฺเตน ความว่า มีจิตที่

ประกอบด้วยเมตตา หรือมีจิตนอกจากนี้ ที่ถึงอัปปนา.

บทว่า สพฺพปาณานุกมฺปติ ความว่า เมตตาสัตว์ทั้งหมดเหมือน

บุตรเกิดแต่อกของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 266

บทว่า พหุ หิ โส ปสวติ ปุญฺ ตาทิโส นโร ความว่า

บุคคลนั้นคือ ผู้อยู่ด้วยเมตตาแบบนั้น ย่อมประสบคือได้เฉพาะ ได้แก่บรรลุ

กุศลมาก คือมากมาย ได้แก่ไม่น้อย.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกอบท่านไว้ในธรรม

คือ สมถะและวิปัสสนา พร้อมด้วยองค์ประกอบ จึงได้ตรัสคาถาที่ ๓ ไว้

โดยนัยมีอาทิว่า สุภาสิตสฺส ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภาสิตสฺส สิกฺเขถ ความว่า พึงศึกษา

สุภาษิตซึ่งแยกเป็นกถาของผู้มักน้อยเป็นต้น คือปริยัติธรรม ด้วยสามารถแห่ง

การฟัง การทรงจำและการสอบถามเป็นต้น.

บทว่า สมณูปาสนสฺส จ ความว่า พึงศึกษาการเข้าไปนั่งใกล้

สมณะผู้ระงับบาปแล้ว (และ) อุบาสกผู้เป็นกัลยาณมิตร ตามกาลเวลาที่สมควร

และจริยาที่ใกล้เคียงของท่านเหล่านั้น ด้วยข้อปฏิบัติ.

บทว่า เอกาสนสฺส จ รโห จิตฺตวูปสมสฺส จ ความว่า พึงศึกษา

อาสนะ คือที่นั่งของคน ๆ เดียว ผู้ไม่มีเพื่อน หมั่นพอกพูนกายวิเวก ด้วย

อำนาจการหมั่นประกอบกรรมฐานในที่ลับ. เมื่อหมั่นประกอบกรรมฐานอยู่

อย่างนี้ และยังภาวนาให้ถึงที่สุด ศึกษาความสงบแห่งกิเลส และความสงบ

แห่งจิต ด้วยอำนาจการตัดขาด (สมุจเฉทปหาน). กิเลสทั้งหลายที่สงบไปแล้ว

โดยส่วนเดียวนั่นเอง เป็นอันท่านละได้แล้ว ด้วยสิกขาเหล่าใด มีอธิสีลสิกขา

เป็นต้น เมื่อท่านศึกษาสิกขาเหล่านั้น คือสิกขาที่เกี่ยวเนื่องกับมรรคและผล

จิตก็ชื่อว่าสงบไปแล้วโดยส่วนเดียว. ในที่สุดแห่งคาถา ท่านเจริญวิปัสสนา

แล้ว ได้บรรลุพระอรหัตผล. ด้วยเหตุนั้น ในอปทานท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 267

ครั้งนั้น ข้าพเจ้ายึดอาศัยป่าหิมพานต์ สอนมนต์

ศิษย์ของข้าพเจ้า จำนวน ๕๔,๐๐๐ คน ได้อุปัฏฐาก

ข้าพเจ้า เขาเหล่านั้นทั้งหมดได้สำเร็จ จบพระเวทถึง

บารมี มีองค์ ๖ ควรจะบรรลุด้วยวิชาของตน จึงพา

กันอยู่ในป่าหิมพานต์ เทพบุตรผู้มียศมาก จุติจากหมู่

เทวดาชั้นดุสิต มีสติมีสัมปชัญญะ เกิดในท้องของ

มารดา เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นมา

หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว คนตาบอดได้ดวงตา ในเมื่อ

พระผู้เป็นนายกโลกเสด็จอุบัติขึ้น ผืนแผ่นดินนี้ทั้งผืน

หวั่นไหวไปทั่วทุกอาการ มหาชนได้สดับเสียงกึกก้อง

หวาดกลัว มวลชนหลั่งมาชุมนุมกันยังสำนักของ

ข้าพเจ้า (ถามว่า) พสุธานี้ไหว จักมีผลอย่างไร ?

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้บอกพวกเขาว่า สูเจ้าทั้งหลายอย่า

พากันนอน สูเจ้าทั้งหลายจะไม่มีภัย สูเจ้าแม้ทุกคน

จะประเสริฐ นี้เป็นการเกิดขึ้นที่อำนวยความสวัสดี

พสุธานี้ไหวต้องด้วยเหตุ ๘ ประการ นิมิตอย่างนั้น

แสดงให้เห็น จะมีแสงสว่างที่ไพบูลย์มาก พระพุทธ-

เจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้มีพุทธจักษุ จักเสด็จอุบัติขึ้นแน่

ไม่ต้องสงสัย พระองค์จะตรัสบอกศีล ๕ ให้ชุมนุมชน

เข้าใจ เขาเหล่านั้นได้ยินศีล ๕ และการเกิดขึ้นแห่ง

พระพุทธเจ้าที่หาได้ยาก เกิดความตื่นเต้นดีใจ ได้พา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 268

กันร่าเริงหรรษา ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ ข้าพเจ้าได้

พยากรณ์นิมิตใดไว้ ด้วยการพยากรณ์นิมิตนั้น ข้าพเจ้า

จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการพยากรณ์. กิเลส

ทั้งหลายข้าพเจ้าเผาแล้ว ฯ ล ฯ คำสั่งสอนของพระ-

พุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

จบอรรถกถาวารณเถรคาถา

๘. ปัสสิกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระปัสสิกเถระ

[๓๑๔] ได้ยินว่า พระปัสสิกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

คนผู้มีศรัทธา มีปัญญา ดำรงอยู่ในธรรม ถึง

พร้อมด้วยศีลแม้คนเดียว ก็มีประโยชน์แก่ญาติ

พวกพ้องทั้งหลาย ผู้ไม่มีศรัทธาในโลกนี้ ญาติทั้งหลาย

เหล่านั้น ที่ข้าพระองค์ขู่ตักเตือน ด้วยความอนุเคราะห์

เพราะความรักกันฉันญาติและเผ่าพันธุ์ จึงพากันทำ

สักการะแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงแก่กรรมล่วงลับไปแล้ว

ก็ประสบความสุขที่เป็นไตรทิพย์ พี่น้องและโยมผู้หญิง

ของข้าพระองค์ผู้รักกามสุข ก็พากันบันเทิงใจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 269

อรรถกถาปัสสิกเถรคาถา

คาถาของพระปัสสิกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า เอโกปิ สทฺโธ เมธาวี

ดังนี้. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ มีบุญญาธิการได้ทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ เมื่อทำบุญทั้งหลายไว้ ในภพนั้น ๆ มาในกาลของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ได้เกิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล

บรรลุนิติภาวะแล้ว อยู่มาวันหนึ่ง ได้เห็นพระศาสดา มีจิตเลื่อมใส ได้ถวาย

ผลไม้มิลักขะ (แด่พระองค์).

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเมื่อท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก

ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์มีนามว่า ปัสสิกะ เจริญวัยแล้ว ได้เห็นยมกปาฎิ-

หาริย์ของพระศาสดา กลับมีศรัทธา บวชแล้ว บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ได้เป็น

ผู้อาพาธ ครั้งนั้น ญาติทั้งหลายได้พากันอุปัฏฐากท่านให้หายโรค ตามวิธียา

ที่หมอได้รอบรู้เห็นมาแล้ว ท่านหายอาพาธแล้ว เกิดสลดใจรีบเร่งภาวนาขึ้น

ได้เป็นพระอริยเจ้า ผู้มีอภิญญา ๖. ด้วยเหตุนั้นในอปทาน ท่านจึงได้กล่าว

ไว้ว่า

ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า อัตถ-

ทัสสี ผู้มีพระยศมาก ที่ระหว่างป่า มีจิตเลื่อมใส ดีใจ

ได้ถวายผลไม้มิลักขะในกัปที่ ๑,๘๐๐ ข้าพเจ้าได้ถวาย

ผลไม้ใดในครั้งนั้น ด้วยทานนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลของการถวายผลไม้นั้น. กิเลสทั้งหลาย

ข้าพเจ้าได้เผาแล้ว ฯลฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 270

อนึ่ง ท่านมีอภิญญา ๖ แล้ว ได้ไปสำนักของพวกญาติทางอากาศ

สถิตอยู่แล้วบนอากาศ แสดงธรรมให้ญาติเหล่านั้นดำรงอยู่ในสรณะและศีล

ทั้งหลาย บรรดาญาติเหล่านั้น บางพวกถึงแก่กรรมแล้ว ได้เกิดในสวรรค์

เพราะได้ดำรงอยู่แล้วในสรณะและศีลทั้งหลาย. ครั้งนั้น พระศาสดาได้ตรัส

ถามท่านปัสสิกเถระนั้น ผู้เข้ามาถึงที่บำรุงของพระพุทธเจ้าว่า ดูก่อนปัสสิกะ

ญาติทั้งหลายของเธอไม่มีโรคหรือ ? ท่านเมื่อจะทูลถึงอุปการะ ที่ตนได้ทำแก่

ญาติทั้งหลาย แด่พระศาสดา จึงได้กล่าวคาถาไว้ ๓ คาถาว่า

คนผู้มีศรัทธา มีปัญญา ดำรงอยู่ในธรรม ถึง

พร้อมด้วยศีล แม้คนเดียว ก็มีประโยชน์แก่ญาติพวก

พ้องทั้งหลาย ผู้ไม่มีศรัทธาในโลกนี้ ญาติทั้งหลาย

เหล่านั้นที่ข้าพระองค์ขู่ตักเตือน ด้วยความอนุเคราะห์

เพราะความรักกันฉันญาติและเผ่าพันธุ์ จึงพากันทำ

สักการะแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงแก่กรรมล่วงลับไปแล้ว

ก็ประสบความสุขที่เป็นไตรทิพย์ พี่น้องและโยมผู้

หญิงของข้าพระองค์ ผู้รักกามสุข ก็พากันบันเทิงใจ.

บรรดาคาถาเหล่านั้น ในคาถาแรก มีเนื้อความดังต่อไปนี้ ผู้ใดมี

ศรัทธา ด้วยอำนาจความเชื่อในกรรมและผลของกรรม และความเชื่อในพระ-

รัตนตรัย ชื่อว่าผู้มีปัญญา เพราะประกอบด้วยกัมมัสสกตาญาณ เป็นต้นนั้น

นั่นเอง ชื่อว่าผู้ดำรงในธรรม เพราะตั้งอยู่ในพระธรรม คือพระพุทธโอวาท

ได้แก่ นวโลกุตรธรรม ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยอำนาจศีลที่เนื่องด้วย

อาจาระ ศีลที่เนื่องด้วยมรรค และศีลที่เนื่องด้วยผล ผู้นั้นแม้คนเดียว ก็มี

ประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกพ้อง ผู้ได้นามว่า ชื่อว่าญาติ เพราะหมายความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 271

ต้องรู้กันว่า คนเหล่านี้เป็นคนของเรา และชื่อว่าเผ่าพันธุ์ เพราะหมายความว่า

ผูกพันกันด้วยเครื่องผูกมัด คือ ความรักอย่างนั้น ในที่นี้คือในโลกนี้ ผู้ชื่อว่า

ไม่มีศรัทธาดังที่กล่าวมาแล้ว.

เพื่อแสดงเนื้อความที่ท่านกล่าวไว้แล้ว โดยทั่วไปอย่างนี้แล้ว ให้น้อม

เข้ามาสู่ตน ท่านพระปัสสิกเถระ จึงได้กล่าวคาถานอกจากนี้ไว้ โดยนัยว่า

นิคฺคยฺห ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิคฺคยฺห อนุกมฺปาย โจทิตา ญาตโย

มยา ความว่า ญาติทั้งหลายอันข้าพระองค์ ได้ขู่ตักเตือนไว้ว่า แม้ในปัจจุบันนี้

ท่านทั้งหลายเป็นคนยากจน เพราะไม่ได้ทำกุศลไว้ ต่อไป อย่าได้เสวยผล ที่

เศร้าหมองต่ำต้อยอีก. ญาติเหล่านั้น เมื่อไม่สามารถฝ่าฝืนโอวาทของข้าพระองค์

ได้ เพราะความรักกันฉันญาติและเผ่าพันธุ์ คือ เพราะความรักที่เป็นไปแล้ว

อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นเผ่าพันธุ์ของพวกเราดังนี้ จึงพากันทำสักการะ แล้วเป็นผู้มี

จิตเลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย คือ พากันทำสักการะและความนับถือในภิกษุ

ทั้งหลาย ด้วยการถวายปัจจัยมีจีวรเป็นต้น และด้วยการอุปัฏฐาก เป็นผู้ถึงแก่

กรรมล่วงลับไปแล้ว ได้ผ่านโลกนี้ไปแล้ว. คำว่า เต (ที่กล่าว) อีก เป็น

เพียงนิบาต.

บทว่า ติทิว สุข ได้แก่ความสุขที่นับเนื่องในเทวโลก. อีกอย่าง

หนึ่ง ได้ประสบความสุขที่เป็นไตรทิพย์ ที่น่าปรารถนา. (เพื่อจะแก้คำถาม)

ว่า ก็ท่านเหล่านั้น คือใคร ? พระเถระจึงได้กล่าวว่า พี่น้องและโยมผู้หญิง

ของข้าพระองค์ ผู้รักความสุข พากันบันเทิงใจ อธิบายว่า เป็นผู้พรั่งพร้อม

ด้วยวัตถุกาม ตามที่ตนต้องการพากันรื่นเริงใจ.

จบอรรถกถาปัสสิกเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 272

๙. ยโสชเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระยโสชเถระ

[๓๑๕] ได้ยินว่า พระยโสชเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

นรชนผู้มีใจไม่ย่อท้อ เป็นผู้รู้จักประมาณในข้าว

และน้ำ ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น เหมือน

กับเถาหญ้านาง ภิกษุถูกเหลือบและยุงในป่าใหญ่กัด

ควรเป็นผู้มีสติอดกลั้นในอันตรายเหล่านั้น เหมือน

ช้างในสงคราม ภิกษุอยู่รูปเดียวย่อมเป็นเหมือนพรหม

อยู่ ๒ รูปเหมือนเทวดา อยู่ ๓ รูปเหมือนชาวบ้าน

อยู่ด้วยกันมากกว่านั้น ย่อมมีความโกลาหลมากขึ้น

เพราะฉะนั้น ภิกษุควรเป็นผู้อยู่แต่รูปเดียว.

อรรถกถายโสชเถรคาถา

คาถาของท่านพระยโสชเถระ มีคำเริ่มต้นว่า กาลปพฺพงฺคสงฺ-

กาโส. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้ท่านพระยโสชเถระนี้ มีบุญญาธิการที่ได้ทำไว้แล้ว ในพระ-

พุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เมื่อสั่งสมบุญทั้งหลายในภพนั้น ๆ มาในกาลของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี ได้เกิดในตระกูลของผู้เฝ้าสวน

รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่ง ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี

กำลังเสด็จมาทางอากาศ มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลขนุนสำมะลอ (แด่พระองค์).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 273

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก มา

ในพุทธุปบาทกาลนี้ จึงได้เกิดเป็นบุตรของชาวประมง ผู้เป็นหัวหน้าของตน

๕๐๐ สกุล ในหมู่บ้านของชาวประมง ใกล้ประตูพระนครสาวัตถี. มารดาบิดา

ได้ขนานนามท่านว่า ยโสชะ. ท่านเจริญวัยแล้ว ได้ไปลงอวนที่แม่น้ำอจิรวดี

เพื่อจะเอาปลาพร้อมกับลูกชาวประมง ที่เป็นเพื่อนของตน. บรรดาปลาเหล่านั้น

ปลาใหญ่ตัวหนึ่ง มีสีเหมือนทองเข้าอวน. ชาวประมงเหล่านั้น พากันเอาปลา

ไปให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ทอดพระเนตร. พระองค์ตรัสว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้า (เท่านั้น) จึงจะทรงทราบเหตุแห่งสีของปลาสีทองตัวนี้ แล้ว

ทรงให้พวกเขาเอาปลาไปให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทอดพระเนตร. พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ปลาตัวนี้ เมื่อพระศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

เสื่อมถอยลง บวชแล้วปฏิบัติผิด ทำให้ศาสนาเสื่อมถอยลง (มรณภาพแล้ว)

ไปเกิดในนรก ไหม้อยู่ในนรกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง จุติจากนรกนั้นแล้ว จึงมา

เกิดเป็นปลาในแม่น้ำอจิรวดี แล้วทรงให้ปลานั้นนั่นเอง บอกความที่เขาและ

น้องของเขาเกิดในนรก และบอกความที่พระเถระผู้เป็นพี่ชายของเขาปรินิพพาน

แล้ว จึงทรงแสดงกบิลสูตร เพราะเกิดเรื่องนี้ขึ้น.

นายยโสชะ ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เกิด

สังเวชสลดใจ จึงได้บวชในสำนักของพระศาสดา พร้อมด้วยสหายของตน

พักอยู่ ณ ที่ ๆ สมควร อยู่มาวันหนึ่ง เป็นผู้มีบริวารได้ไปยังพระเชตวัน

เพื่อถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า. ในการมาของท่าน ได้มีเสียงอึกทึกคึก

โครมไปด้วยการปูเสนาสนะเป็นต้น ในวิหาร ผู้ศึกษาควรทราบเรื่องทั้งหมด

โดยนัยที่มีมาแล้วในคัมภีร์อุทานว่า พระศาสดาครั้นได้ทรงสดับเสียงนั้นแล้ว

ได้ทรงประณามท่านยโสชะ พร้อมด้วยบริวาร ส่วนท่านยโสชะผู้ถูกประณาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 274

แล้วสลดใจ เหมือนม้าอาชาไนย ตัวดีถูกหวดด้วยแส้ จึงพักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ

วัดคุมุทา พร้อมด้วยบริษัทบริวาร พยายามสืบต่อบำเพ็ญวิปัสสนา แล้วได้

เป็นพระอริยเจ้า ผู้มีอภิญญา ๖ ในภายในพรรษานั่นเอง. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงได้กล่าวไว้ในอปทานว่า

ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เป็นคนเฝ้าสวน ในนคร

พันธุมดี ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรงปราศจากความ

กำหนัด กำลังเสด็จดำเนินไป ข้าพเจ้าไม่ได้หลีกไป

ได้เอาผลขนุนสำมะลอไปถวายพระพุทธเจ้า ผู้ประ-

เสริฐที่สุด พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ มีพระทัยสงบ

แล้ว ประทับบนอากาศนั่นเอง ทรงรับเอาผลไม้นั้น

พระองค์ทรงยังความปลื้มใจให้เกิดแก่ข้าพเจ้า ทรง

นำความสุขในปัจจุบันมาให้ข้าพเจ้า เพราะถวายผลไม้

แด่พระพุทธเจ้า ด้วยใจเลื่อมใส ในครั้งนั้น ข้าพเจ้า

จึงประสบปีติที่ไพบูลย์ และความสุขอย่างสูงสุด รัตนะ

เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าผู้เกิดในภพนั้น ๆทีเดียว ในกัปที่ ๙๑

แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติเลย เพราะเหตุที่ได้

ถวายผลไม้แก่พระพุทธเจ้า ในครั้งนั้น นี้คือผลแห่ง

การให้ทานผลไม้. กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าได้เผาแล้ว

ฯ ล ฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

ก็พระศาสดาได้ตรัสสั่งให้หาท่านยโสชะ พร้อมด้วยบริวารผู้มีอภิญญา

๖ แล้ว ได้ทรงทำการต้อนรับด้วยอาเนญชสมาบัติ (สมาบัติที่ไม่หวั่นไหว)

ท่านสมาทานธุดงค์ธรรมแม้ทุกข้อแล้วประพฤติ. ด้วยเหตุนั้น ร่างกายของท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 275

จึงผ่ายผอม เศร้าหมอง ผิวพรรณคล้ำไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง

สรรเสริญท่าน ด้วยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยอย่างยิ่ง จึงได้ตรัส

พระคาถาที่ ๑ ไว้ว่า

นรชนผู้มีใจไม่ย่อท้อ เป็นผู้รู้จักประมาณในข้าว

และน้ำ ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น เหมือน

กับเถาหญ้านาง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาลปพฺพงฺสงฺกาโส ความว่า มีตัว

คล้ายข้อเถาหญ้านาง เพราะมีอวัยวะร่างกายผอม ดำรงอยู่โดยยาก โดย

ปราศจากกล้ามเนื้อ ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงได้ตรัสไว้ว่า กิโส ธมนิสนฺถโต

ผอมมีตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น.

บทว่า กิโส ได้แก่ มีรูปร่างผอม เพราะบำเพ็ญโมเนยยปฏิปทา ข้อ

ปฏิบัติเพื่อเป็นมุนีให้บริบูรณ์.

บทว่า ธมนิสนฺถโต ความว่า มีตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น อธิบายว่า

มีรูปร่างเกลื่อนไปด้วยเส้นเอ็นใหญ่ ๆ ที่ปรากฏชัด เพราะมีเนื้อและเลือดน้อย.

บทว่า มตฺตญฺญู ได้แก่ เป็นผู้รู้ประมาณในการแสวงหา การรับ

การฉัน และการเสียสละ.

บทว่า อทีนมานโส ได้แก่ ผู้มีใจไม่หดหู่ เพราะไม่ถูกความ

เกียจคร้านเป็นต้นครอบงำ คือเป็นผู้มีพฤติกรรมไม่เกียจคร้าน.

บทว่า นโร ได้แก่ ผู้ชาย คือผู้สมบูรณ์ด้วยลักษณะของผู้ชาย เพราะ

นำธุระของลูกผู้ชายไปได้ อธิบายว่า ชายที่เอางานเอาการ.

พระเถระผู้อันพระศาสดาทรงสรรเสริญอย่างนี้แล้ว เมื่อจะกล่าวธรรม

ที่เหมาะสมกับความที่ตนเป็นผู้อันพระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว แก่ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 276

ทั้งหลาย โดยการสรรเสริญอธิวาสนขันติ วิริยารัมภะ และความยินดีในวิเวก

ของตนเป็นสำคัญ จึงได้ภาษิตคาถา ๒ คาถาไว้ว่า

ภิกษุถูกเหลือบและยุงในป่าใหญ่กัด ควรเป็นผู้

มีสติอดกลั้นในอันตรายเหล่านั้น เหมือนช้างใน

สงความ ภิกษุอยู่รูปเดียว ย่อมเป็นเหมือนพรหม อยู่

๒ รูป เหมือนเทวดา อยู่ ๓ รูป เหมือนชาวบ้าน อยู่

ด้วยกันมากกว่านั้น ย่อมมีความโกลาหลมากขึ้น

เพราะฉะนั้น ภิกษุควรเป็นผู้อยู่แต่รูปเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาโค สงฺคามสีเสว ความว่า อุปมา

เสมือนหนึ่งว่า ช้างตัวประเสริฐอาชาไนย สู้ทนเครื่องประหัตประหาร มีดาบ

หอกแทงและหอกซัดเป็นต้นในสนามรบแล้ว กำจัดแสนยานุภาพฝ่ายข้าศึก

(ปรเสนา) ได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น ควรมีสติสัมปชัญญะ อดทนอันตราย

มีเหลือบเป็นต้นในป่าใหญ่ คือพงไพรไว้ และครั้นทนได้แล้ว ก็จะพึงกำจัด

มารและพลมารได้ ด้วยกำลังแห่งภาวนา.

บทว่า ยถา พฺรหฺมา ความว่า พระพรหมโดดเดี่ยวเดียวดาย เว้นจาก

ผู้กวนใจ อยู่สำราญด้วยฌานสุขเนืองนิจทีเดียว ฉันใด. บทว่า ตถา เอโก

ความว่า แม้ภิกษุอยู่รูปเดียว ไม่มีเพื่อนก็เช่นนั้นเหมือนกัน จะเพิ่มพูนความสุข

เกิดแต่วิเวกอยู่อย่างสำราญ. จริงดังที่กล่าวไว้ว่า ความสุขธรรมดาสามัญของ

คน ๆ เดียว เป็นความสุขที่ประณีต. ด้วยคำว่า ยถา พฺรหฺมา ตถา เอโก นี้

พระเถระชื่อว่าให้โอวาทว่า ภิกษุผู้อยู่รูปเดียวเป็นปกติ เป็นผู้เสมอเหมือน

พระพรหม.

บทว่า ยถา เทโว ตถา ทุเว ความว่า เทวดาทั้งหลายก็คงมีความ

วุ่นวายใจเป็นระยะ ๆ ฉันใด แม้การกระทบกระทั่งกัน เพราะการอยู่ร่วมกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 277

ก็คงมีแก่ภิกษุ ๒ รูป ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น ภิกษุท่านกล่าวว่า เป็นผู้เสมอ

เหมือนเทวดา โดยการอยู่มีเพื่อนสอง.

บทว่า ยถา คาโม ตถา ตโย ความว่า ในบาลีแห่งนี้เท่านั้น

การอยู่ร่วมกันของภิกษุ ๓ รูป เป็นเสมือนการอยู่ของชาวบ้าน อธิบายว่า

ไม่ใช่การอยู่อย่างวิเวก.

บทว่า โกลาหล ตรุตฺรึ ความว่า การอยู่ร่วมกันเกิน ๓ คน

หรือมากกว่านั้น เป็นความโกลาหล อธิบายว่า เป็นเสมือนการชุมนุมของคน

จำนวนมาก ที่มีเสียงอึกทึกครึกโครม เพราะฉะนั้น ภิกษุควรจะเป็นผู้อยู่

คนเดียวเป็นปกติ.

จบอรรถกถายโสชเถรคาถา

๑๐. สาฏิมัตติกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสาฏิมัตติกเถระ

[๓๑๖] ได้ยินว่า พระสาฏิมัตติกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนโยมทั้งหลายได้มีศรัทธา แต่วันนี้ศรัทธา

นั้นของโยมไม่มี สิ่งใดเป็นของโยม สิ่งนั้นก็เป็นของ

โยมนั่นแหละ ทุจริตของอาตมาไม่มี เพราะศรัทธา

ไม่เที่ยงแท้ กลับกลอก ศรัทธานั้นอาตมาเคยเห็นมา

แล้ว คนทั้งหลายประเดี๋ยวรัก ประเดี๋ยวหน่าย ผู้เป็น

มุนีจะเอาชนะได้อย่างไร ? ในเพราะความรักความ-

หน่ายของเขานั้น บุคคลย่อมหุงหาอาหารไว้ เพื่อมุนี

ทุก ๆ สกุล สกุลละเล็กละน้อย อาตมาจักเที่ยว

บิณฑบาต เพราะกำลังแข้งของอาตมายังมีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 278

อรรถกถาสาฏิมัตติกเถรคาถา

คาถาของท่านพระสาฏิมัตติกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อหุ ตุยฺห ปุเร

สทฺธา. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้ท่านสาฏิมัตติกเถระ ได้มีบุญญาธิการที่ได้ทำไว้ ในพระพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ เมื่อสั่งสมบุญในภพนั้น ๆ ได้ไปเกิดในสกุลพราหมณ์ ในแคว้น

มคธ ในพุทธุปบาทกาลนี้ มีชื่อว่า สาฏิมัตติกะ เจริญวัยแล้ว ได้บวชใน

สำนักของพระวัดป่า เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยเหตุ บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน

ได้เป็นพระอริยบุคคลผู้มีอภิญญา ๖. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ใน

อปทานว่า

ข้าพเจ้าได้ถวายพัดใบตาล แด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ กั้นเครื่องกั้นที่

คลุมด้วยดอกมะลิที่มีค่ามาก ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทร

กัปนี้ ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติเลย เพราะเหตุที่ได้ถวาย

พัดใบตาล นี้คือผลของการถวายพัดใบตาล. กิเลส

ทั้งหลายข้าพเจ้าได้เผาแล้ว ฯ ล ฯ คำสั่งสอนของ

พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง ท่านครั้นเป็นพระอริยบุคคล ผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว จึงกล่าว

ตักเตือนภิกษุทั้งหลาย และให้สัตว์จำนวนมาก ดำรงอยู่ในสรณะและศีล โดย

กล่าวธรรมกถา ทั้งได้ทำตระกูลอื่นที่ไม่มีศรัทธาให้มีศรัทธา ที่ไม่เลื่อมใสให้

เลื่อมใส เพราะเหตุนั้น คนทั้งหลายในตระกูลนั้น จึงได้เลื่อมใสในพระเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 279

มาก. บรรดาคนเหล่านั้น หญิงสาวคนหนึ่ง มีรูปร่างงามน่าทัศนา อังคาส

พระเถระผู้เข้าไปบิณฑบาต ด้วยโภชนะโดยเคารพ.

ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง มารคิดว่า ความเสื่อมยศจักมีแก่พระเถระนี้ ด้วย

วิธีการอย่างนี้ พระเถระนี้ก็จักดำรงอยู่ไม่ได้ ในพระศาสนานี้ แล้วได้ปลอม

เป็นรูปพระเถระไปจับมือหญิงสาวคนนั้น. หญิงสาวรู้ได้ว่า นี้ไม่ใช่สัมผัสของ

มนุษย์ และได้ให้เขาปล่อยมือ คนในเรือน ได้เห็นเหตุการณ์นั้นแล้ว เกิด

ความไม่เลื่อมใสในพระเถระ.

ในวันรุ่งขึ้น พระเถระเมื่อไม่ทราบเหตุการณ์นั้น ก็ได้ไปยังเรือน

หลังนั้น (เช่นเคย) คนทั้งหลายในเรือนหลังนั้น ไม่ได้ทำความเอื้อเฟื้อ.

พระเถระเมื่อรำลึกหาเหตุการณ์นั้นอยู่ ก็ได้เห็นกิริยาของมาร จึงได้อธิษฐาน

ว่า ขอให้ศพลูกสุนัขจงไปสวม ที่คอของมารนั้น ได้ให้มารผู้เข้ามาหา เพื่อให้

แก้ศพลูกสุนัขออก บอกกิริยาที่ตนทำแล้ว ในวันที่แล้วมา แล้วได้ขู่มารนั้น

แล้วจึงแก้ให้. เจ้าของเรือนได้เห็นเหตุการณ์นั้น แล้วได้พากันขอขมาพระเถระ

ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอได้กรุณาให้อภัยโทษเถิด แล้วจึงเรียนท่านว่า ข้าแต่-

ท่านผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป กระผมคนเดียวขออุปัฏฐากพระคุณเจ้า.

พระเถระเมื่อกล่าวธรรมกถาแก่เขา ได้กล่าวคาถา ๓ คาถาไว้ว่า

เมื่อก่อนโยมทั้งหลายได้มีศรัทธา แต่วันนี้ศรัทธา

นั้นของโยมไม่มี สิ่งใดเป็นของโยม สิ่งนั้นก็เป็นของ

โยมนั่นแหละ ทุจริตของอาตมาไม่มี เพราะศรัทธา

ไม่เที่ยงแท้ กลับกลอก ศรัทธานั้นอาตมาเคยเห็นมา

แล้ว คนทั้งหลายประเดี๋ยวรัก ประเดี๋ยวหน่าย ผู้เป็น

มุนีจะเอาชนะได้อย่างไร ? ในเพราะความรักและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 280

ความหน่ายของเขานั้น บุคคลย่อมหุงหาอาหารไว้

เพื่อมุนีทุก ๆ สกุล สกุลละเล็กละน้อย อาตมาจัก

เที่ยวบิณฑบาต เพราะกำลังแข้งของอาตมายังมีอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ ตุยฺห ปุเร สทฺธา สา เต อชฺช

น วิชฺชติ (เมื่อก่อนโยมทั้งหลายได้มีศรัทธา แต่วันนี้ศรัทธานั้นของโยม

ไม่มี) ความว่า ดูก่อนอุบาสก ก่อนแต่นี้ โยมได้มีศรัทธาในอาตมา โดยนัย

มีอาทิว่า พระผู้เป็นเจ้าประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ แต่วันนี้คือเดี๋ยวนี้

ศรัทธานั้นของโยมคือท่านหามีไม่ เพราะเหตุนั้น บทว่า ย ตุยฺห ตุยฺหเม-

เวต จึงมีอธิบายว่า การถวายปัจจัย ๔ อันใด อันนี้ก็เป็นของโยมนั่นแหละ

อาตมาไม่มีความต้องการสิ่งนั้น เพราะว่า ธรรมดาทานผู้มีจิตเลื่อมใสโดยชอบ

จึงควรให้.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ย ตุยฺห ตุยฺหเมเวต มีเนื้อความว่า วันนี้

ความไม่เคารพในอาตมาอันใดของโยม ความไม่เคารพอันนั้นก็เป็นของโยม

นั่นแหละ ผลของความไม่เคารพ โยมนั่นเองต้องเป็นผู้เสวย ไม่ใช่อาตมา.

บทว่า นตฺถิ ทุจฺจริต มยา ความว่า ก็ขึ้นชื่อว่า ทุจริตของอาตมา

ไม่มี เพราะกิเลสทั้งหลายที่เป็นเหตุของทุจริต อาตมาตัดขาดแล้ว ด้วย

อริยมรรค.

บทว่า อนิจฺจา หิ จลา สทฺธา ความว่า เพราะเหตุที่ศรัทธา

ซึ่งเป็นของปุถุชน เป็นของไม่เที่ยง ไม่เป็นไปโดยส่วนเดียว ฉะนั้นเองจึง

เป็นของกลับกลอกไป เหมือนลูกฟักวางไว้บนหลังม้า และไม่หนักแน่นเหมือน

หลักที่ปักไว้บนกองแกลบ.

บทว่า เอว ทิฏฺา หิ สา มยา ความว่า และศรัทธานั้นที่เป็น

อย่างนี้ อาตมาเห็นแล้ว คือ ทราบประจักษ์ชัดแล้วในตัวโยม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 281

บทว่า รชฺชนฺติปิ วิรชฺชนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้

บางครั้งรัก คือทำแม้ซึ่งความเสน่หา ในบางอย่าง ด้วยอำนาจความคุ้นเคย

ฉันมิตร แต่บางคราวก็หน่าย คือ มีจิตคลายรัก เพราะศรัทธาไม่มั่นคง ด้วย

ประการอย่างนี้.

บทว่า ตตฺถ กึ ชิยฺยเต มุนิ ความว่า ก็ผู้เป็นมุนี คือผู้บวชแล้ว

จะชนะได้อย่างไร อธิบายว่า มุนีนั้นจะมีความเสื่อมเสียอะไร ในเพราะความ

รักและความหน่ายของปุถุชนนั้น.

พระเถระเมื่อจะแสดงว่า โยมอย่าคิดอย่างนี้ว่า ถ้าหากพระคุณเจ้าไม่

รับปัจจัยของเรา พระคุณเจ้าจะยังชีวิตให้เป็นไปได้อย่างไร จึงได้กล่าวคาถา

ว่า ปจฺจติ เป็นต้นไว้.

เนื้อความของคาถานั้นมีว่า ธรรมดาว่า ภัตตาหารของมุนีคือผู้บวช

แล้ว คนเขาหุงหาไว้ทุกวัน ตระกูลละเล็กละน้อย ตามลำดับเรือน ไม่ใช่หุง

แต่ในบ้านของโยมเท่านั้น.

บทว่า ปิณฺฑิกาย จริสฺสามิ อตฺถิ ชงฺฆพล (อาตมาจักเที่ยว

บิณฑบาต เพราะกำลังแข้งของอาตมายังมีอยู่) ความว่า พระเถระแสดงว่า

อาตมายังมีกำลังแข้ง อาตมาไม่ใช่คนแข้งหัก ไม่ใช่คนเปลี้ย และไม่ใช่คนมี

โรคเท้า เพราะฉะนั้น อาตมาจักเดินไปบิณฑบาต เพื่อภิกษาหารที่เจือปนกัน

คือ อาตมาจักเดินบิณฑบาตเลี้ยงชีพ ตามนัยที่พระศาสดาตรัสไว้ว่า ยถาปิ

ภมโร ปุปผ เหมือนภมร ไม่ทำดอกไม้ให้ชอกช้ำ ฉะนั้น.

จบอรรถกถาสาฏิมัตติกเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 282

๑๑. อุบาลีเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุบาลีเถระ

[๓๑๗] ได้ยินว่า พระอุบาลีเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ภิกษุผู้ออกบวชใหม่ ๆ ด้วยศรัทธา ยังใหม่ต่อ

การศึกษา ควรคบหากัลยาณมิตร ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์

ไม่เกียจคร้าน. ภิกษุผู้ออกบวชใหม่ ๆ ด้วยศรัทธา

ยังใหม่ต่อการศึกษา ควรพำนักอยู่ในหมู่สงฆ์ เป็นผู้

ฉลาดศึกษาพระวินัย. ภิกษุผู้ออกบวชใหม่ ๆ ด้วย

ศรัทธา ยังใหม่ต่อการศึกษา ต้องเป็นผู้ฉลาดในสิ่งที่

ควรและไม่ควร ไม่ควรประพฤติตนเป็นคนออกหน้า

ออกตา.

อรรถกถาอุบาลีเถรคาถา

คาถาของท่านพระอุบาลีเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สทฺธาย อภินิกฺ-

ขมฺม. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้ท่านพระอุบาลีเถระนี้ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เกิดขึ้นในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล ในนครหงสา-

วดี วันหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ได้เห็นพระศาสดาทรงแต่งตั้ง

ภิกษุรูปหนึ่งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงไว้ซึ่งพระวินัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 283

ทำกรรมคือบุญญาธิการแล้ว ได้ปรารถนาฐานันดรนั้น. ท่านบำเพ็ญกุศลตลอด

ชีวิตแล้ว ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก มาในพุทธุปบาทกาลนี้

ได้ถือปฏิสนธิในเรือนของช่างกัลบก มารดาและบิดาได้ขนานนามของท่านว่า

อุบาลี. ท่านเจริญวัยแล้ว เป็นที่เลื่อมใสของกษัตริย์ทั้ง ๖ มีท่านอนุรุทธะ

เป็นต้น เมื่อพระตถาคตเจ้า ประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน ได้ออกบวช

พร้อมกับกษัตริย์ทั้ง ๖ องค์ ที่ออกไปเพื่อต้องการบวช. วิธีบวชของท่านมี

มาแล้วในพระบาลี.

ท่านครั้นบรรพชาอุปสมบทแล้ว ได้รับเอากรรมฐาน ในสำนักของ

พระศาสดาแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงอนุญาต

ให้ข้าพระองค์อยู่ป่าเถิด พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ป่า ธุระ

อย่างเดียวเท่านั้นจักเจริญ แต่เมื่อปฏิบัติอยู่ในสำนักของเราทั้งหลาย ทั้งคันถ-

ธุระและวิปัสสนาธุระ จักบริบูรณ์. พระเถระรับพระพุทธดำรัสแล้ว บำเพ็ญ

วิปัสสนากรรมฐานอยู่ไม่นานเลย ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงได้กล่าวไว้ในอปทานว่า

ในหงสาวดีนคร พราหมณ์ชื่อว่า สุชาต สะสม

ทรัพย์ไว้ ๘๐ โกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกเพียงพอ

เป็นนักศึกษา จำทรงมนต์ไว้ได้ ถึงฝั่งแห่งไตรเพท

จบลักษณะอิติหาส และบารมีในธรรมของตน สาวก

ของพระโคดมพุทธเจ้า เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องเว้น

มีสิกขาอย่างเดียวกัน เป็นทั้งผู้จาริก เป็นทั้งดาบส

ท่องเที่ยวไปตามพื้นดินในครั้งนั้น. ท่านเหล่านั้นห้อม

ล้อมข้าพเจ้า ชนจำนวนมากบูชาข้าพเจ้า ด้วยสำคัญว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 284

เป็นพราหมณ์ ผู้เปรื่องปราชญ์ แต่ข้าพเจ้าไม่บูชาอะไร.

ในกาลครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีมานะ กระด้าง ไม่เห็นผู้ที่ควร

บูชา คำว่า พุทฺโธ ไม่มีตลอดเวลาที่พระชินเจ้า ยังไม่

เสด็จอุบัติขึ้น. วันคืนล่วงไปๆ พระพุทธเจ้าพระนาม

ว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงมีจักษุ เสด็จอุบติขึ้นในโลก ทรง

ขจัดความมืดทั้งมวลออกไป. เมื่อศาสนาแผ่ออกไปใน

หมู่กษัตริย์และหนาแน่นขึ้น ในครั้งนั้น พระพุทธเจ้า

ได้เสด็จเข้ามายังนครหงสาวดี. พระองค์ผู้ทรงมีจักษุ

ได้ทรงแสดงธรรม เพื่อประโยชน์แก่พระบิดา เวลา

นั้นบริษัททั้งหลายโดยรอบประมาณ ๑ โยชน์. บรรดา

มนุษย์ทั้งหลาย ท่านผู้เขาสมมติแล้วในครั้งนั้น ได้แก่

ดาบส ชื่อสุนันทะ ได้ใช้ดอกไม้บัง (แสงแดด)

ตลอดทั่วทั้งพุทธบริษัท ในครั้งนั้น. และเมื่อพระ

พุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ทรงประกาศสัจจะทั้ง ๔ ที่

ปะรำดอกไม้ บริษัทแสนโกฏิได้บรรลุธรรม. พระ

พุทธเจ้า ทรงหลั่งฝนคือพระธรรม เป็นเวลา ๗ วัน

๗ คืน ครั้นถึงวันที่ ๘ พระชินเจ้า ทรงสรรเสริญ

สุนันทดาบส. สุนันทดาบส นี้ เมื่อท่องเที่ยวไปมา

ในภพที่เป็นเทวโลกหรือมนุษยโลก จักเป็นผู้ประเสริฐ

กว่าสรรพสัตว์ ท่องเที่ยวไปในภพทั้งหลาย. ในแสน

กัปจักมีพระศาสดาในโลก ผู้ทรงสมภพจากราชตระ-

กูลพระเจ้าโอกกากราช พระนามว่า โคดม โดยพระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 285

โคตร. พระองค์จักทรงมีพุทธชิโนรส ผู้เป็นธรรม

ทายก ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นพุทธสาวกโดย

นามว่า ปุณณมันตานีบุตร. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อ

จะทรงให้ชนทั้งหมดกระหยิ่มใจ ทรงแสดงพระญาณ

ของพระองค์ จึงได้ทรงสรรเสริญสุนันทดาบส อย่าง

นี้ในครั้งนั้น. ชนทั้งหลายพากันประนมมือนมัสการ

สุนันทดาบส กระทำสักการะในพระพุทธเจ้า แล้ว

ชำระคติของตนให้ผ่องใส. ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัส

ของพระมุนีแล้ว ได้มีความดำริในเรื่องนั้นว่า แม้เรา

จักทำสักการะ โดยวิธีที่จะเห็นพระโคดมพุทธเจ้า.

ข้าพเจ้าครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงได้คิดถึงกิริยาของข้าพ-

เจ้าว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจะประพฤติธรรม ในบุญ

เขตที่ยอดเยี่ยม. ก็ภิกษุผู้เป็นนักปาฐกรูปนี้ พูดได้

ทุกอย่าง ในพระศาสนาถูกยกย่องว่า เป็นผู้เลิศใน

พระวินัย เราปรารถนาตำแหน่งนั้น. โภคะของเรา

ไม่มีผู้นับได้ ไม่มีผู้ให้กระเทือนได้ เปรียบเหมือน

สาคร เราจะสร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า ด้วยโภคะ

นั้น. ข้าพเจ้าได้ชื้อสวนชื่อว่า โสภณะ ด้านหน้าพระ-

นครด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง สร้างสังฆารามถวาย. ข้าพ-

เจ้าได้สร้างสังฆารามแต่งเรือนยอดปราสาท มณฑป

ถ้ำ คูหา และที่จงกรมให้เรียบร้อย. ข้าพเจ้าได้สร้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 286

เรือนอบกาย โรงไฟ โรงเก็บน้ำและห้องอาบน้ำ

ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์. ข้าพเจ้าได้ถวายปัจจัยนี้ทุก

อย่างคือ ตั่ง เตียง ภาชนะ เครื่องใช้สอยและยา

ประจำวัด. ข้าพเจ้าครั้นเริ่มตั้งอารักขา ก็ให้สร้างกำ-

แพงอย่างมั่นคง ขออะไร ๆ อย่าได้เบียดเบียนท่าน

เลย ข้าพเจ้าได้สร้างที่อยู่อาศัย ให้ท่านผู้มีจิตสงบ

ผู้คงที่ไว้ในสังฆาราม ด้วยทรัพย์จำนวนแสน สร้างที่

อยู่อาศัยนั้นอย่างไพบูลย์แล้ว ได้น้อมถวายพระสัม-

มาสัมพุทธเจ้าว่า ข้าพระองค์สร้างพระอารามสำเร็จ

แล้ว ข้าแต่พระมุนี ขอพระองค์จงทรงรับ ข้าพระ-

องค์จักถวายพระอารามนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงมี

ความเพียร ผู้ทรงมีจักษุ ขอพระองค์ทรงรับพระ

วิหารนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ

ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นนายก ทรงทราบความดำริ

ของข้าพเจ้าแล้ว ทรงรับเครื่องบูชาทั้งหลาย ทรงรับ

พระอารามนั้น. ข้าพเจ้าได้ทราบการทรงรับ ของพระ

สรรเพชญ์ผู้แสวงหาพระคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว ได้เตรียม

โภชนะไว้ ได้ทูลให้ทรงทราบเวลาแห่งภัต. เมื่อข้าพ-

เจ้าทูลให้ทรงทราบเวลาแล้ว พระปทุมุตตรพุทธเจ้า

ผู้ทรงเป็นนายก พร้อมด้วยพระขีณาสพพันหนึ่ง ได้

เสด็จเข้าไปสู่อารามของข้าพเจ้า. ข้าพเจ้ารู้กาลเวลาที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 287

พระองค์และพระขีณาสพทั้งหลาย ประทับนั่งแล้ว

จึงได้ให้ท่านเหล่านั้นอิ่มหนำสำราญ ด้วยข้าวและน้ำ

ครั้นทราบกาลเวลาที่เสวยแล้ว จึงได้ทูลคำนี้ว่า อา-

รามซึ่งว่า โสภณะ ข้าพระองค์ ซื้อด้วยทรัพย์แสน

หนึ่ง สร้างด้วยทรัพย์จำนวนเท่านั้นเหมือนกัน ข้าแต่

พระมุนีเจ้า ขอพระองค์จงทรงรับอารามนั้น. ด้วย

การถวายอารามนี้ และด้วยเจตนาและประณิธาน ข้า-

พระองค์เมื่อเกิดในภพ ขอให้ได้สิ่งที่ข้าพระองค์

ปรารถนา. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นทรงรับสัง-

ฆารามที่สร้างเรียบร้อยแล้ว ได้ประทับนั่งที่ท่ามกลาง

สงฆ์ ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า เขาผู้ใด ได้มอบถวาย

สังฆารามที่สร้างเรียบร้อยแล้ว แด่พระพุทธเจ้า เรา

ตถาคตจะกล่าวสรรเสริญเขาผู้นั้น ขอท่านทั้งหลายจง

ฟังคำของเรา ผู้กล่าวอยู่. จตุรงคเสนา คือ พล

ช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า จักแวดล้อม

ผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายสังฆาราม.

เครื่องดุริยางค์หกหมื่น และกลองทั้งหลาย ที่ตกแต่ง

ไว้อย่างเหมาะสม จักประโคม ห้อมล้อมผู้นี้อยู่

เป็นนิจ นี้เป็นผลของการถวายสังฆาราม. หญิงสาว

แปดหมื่นหกพันนางแต่งตัวอย่างสวยสม นุ่งห่มพัส-

ตราภรณ์ที่สวยงาม ประดับประดาด้วยแก้วมณี และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 288

แก้วกุณฑล มีขนตางอน หน้าตายิ้มแย้ม มีตะโพก

ผึ่งผาย เอวบางร่างน้อย ห้อมล้อมผู้นี้เป็นนิจ

นี้เป็นผลของการถวายสังฆาราม. ผู้นี้จักรื่นเริงใจ

อยู่ในเทวโลกเป็นเวลาสามหมื่นกัป จักเป็นท้าวสักกะ

เสวยเทวราชสมบัติถึงพันครั้ง จักได้เสวยสมบัติทั้ง-

หมด ที่ราชาแห่งทวยเทพจะพึงประสบ จักเป็นผู้มี

โภคทรัพย์ไม่บกพร่อง เสวยเทวราชสมบัติ จักเป็น

พระเจ้าจักรพรรดิ ในแว่นแคว้นตั้งพันครั้ง เสวย

ราชสมบัติอันไพบูลย์ในแผ่นดิน นับครั้งไม่ถ้วน. ใน

(อีก) แสนกัป จักมีพระศาสดาในโลก ผู้ทรงสมภพ

ในราชตระกูลโอกกากราช พระนามว่า โคตมะ โดย

พระโคตร. พระองค์จักทรงมีพุทธชิโนรส ผู้เป็นธรรม

ทายาท ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นพุทธสาวกโดย

นามว่า อุบาลี. เธอจักบำเพ็ญบารมีในพระวินัย เป็น

ผู้ฉลาดในฐานะ และอฐานะ ดำรงไว้ซึ่งพระศาสนา

ของพระชินะ และเป็นผู้หาอาสวะมิได้. พระสมณ-

โคดมผู้ล้ำเลิศในหมู่ศากยะ ทรงรู้ยิ่งซึ่งสิ่งทั้งหมดนี้

แล้ว จักประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงแต่ง

ตั้งเธอไว้ในเอตทัคคะ. ข้าพระองค์ปรารถนาคำสั่งสอน

ของพระองค์ โดยหมายเอาประโยชน์ใดที่นับไม่ถ้วน

ประโยชน์นั้นคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 289

ข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว. คนต้องราชทัณฑ์ถูกหลาว

แทง เมื่อไม่ประสบความสบายเพราะหลาวก็ปรารถนา

จะให้พ้นไปทีเดียว ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีระ ข้า-

พระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ต้องอาชญาของภพ ถูก

หลาวคือกรรมแทง ถูกเวทนาคือความหิวระหาย

รบกวน ไม่ประสบความสำราญในภพ ข้าพระองค์

ถูกไฟ ๓ กองเผาลน จึงแสวงหาความรอดพ้น ดุจผู้

ต้องราชทัณฑ์ฉะนั้น ชายผู้กล้าหาญถูกยาเบื่อ เขาจะ

เสาะแสวงหายาขนานศักดิ์สิทธิ์ ที่จะแก้ยาเบื่อรักษา

ชีวิตไว้ เมื่อแสวงหาก็จะพบยาขนานศักดิ์สิทธิ์ที่แก้

ยาเบื่อได้ ครั้นดื่มยานั้นแล้วก็จะสบาย เพราะรอดพ้น

ไปจากพิษยาเบื่อ ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นเหมือนนรชนผู้ถูกยาเบื่อ ถูก

อวิชชาบีบคั้นแล้ว ต้องแสวงหายาขนานศักดิ์สิทธิ์

คือพระสัทธรรม เมื่อแสวงหายาขนานศักดิ์สิทธิ์ คือ

พระธรรม ก็ได้พบคำสั่งสอนของพระศากยมุนี คำ-

สั่งสอนนั้นล้ำเลิศกว่าโอสถทุกอย่าง บรรเทาลูกศร

ทั้งมวลได้ ครั้นดื่มธรรมโอสถที่ถอนพิษทุกอย่างได้

แล้ว ข้าพระองค์ก็สัมผัสพระนิพพาน ที่ไม่แก่ไม่ตาย

มีภาวะเยือกเย็น คนที่ถูกผีสิงเดือดร้อนเพราะเคราะห์

คือผี ต้องเสาะแสวงหาหมอไล่ผี เพื่อให้รอดพ้นจากผี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 290

เมื่อแสวงหาก็พึงพบหมอผู้ฉลาดในทางภูตวิทยา หมอ

นั้นต้องขับภูตผีพร้อมทั้งมูลเหตุให้เขา เพื่อให้พินาศ

ไป ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน เดือดร้อนเพราะเคราะห์คือความมืด เสาะ

แสวงหาแสงสว่างคือญาณ เพื่อให้รอดพ้นจากความ

มืด จึงได้พบพระศากยมุนี ผู้ทรงกำจัดความมืด คือ

กิเลสออกไปได้ พระองค์ได้ทรงกำจัดความมืดให้ข้า

พระองค์เหมือนหมอผี ขับผีฉะนั้น ข้าพระองค์ตัดทอน

กระแสแห่งสงสารได้ขาด กั้นกระแสตัณหาไว้ได้

ถอนภพทั้งหมดขึ้นได้ เหมือนหมอผีขับผีออกไปโดย

มูลเหตุฉะนั้น นกครุฑโฉบเอางูไปเป็นอาหารของตน

ยังสระใหญ่ร้อยโยชน์ โดยรอบให้กระเพื่อม มันจับงู

ได้แล้ว จะจิกให้ตายเอาหัวห้อยลงพาบินหนีไป ตาม

ที่นกต้องการฉันใด ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์

ก็เช่นนั้นเหมือนกัน เป็นเหมือนนกครุฑที่มีกำลัง เมื่อ

แสวงหาอสังขตธรรม ข้าพระองค์คายโทสะออกไป

แล้ว ได้เห็นสันติบทที่เป็นธรรมอันประเสริฐ อย่าง

ยอดเยี่ยม นำเอาพระธรรมนั้นไปพำนักอยู่ เหมือน

นกครุฑนำเอางูไปพักอยู่ฉะนั้น เถาวัลลี ชื่อ อาสาวดี

เกิดในสวนจิตรลดา เถาวัลลีนั้น หนึ่งพันปีจึงจะออก

ผล ๑ ผล ทวยเทพจะพากันเฝ้าแหนผลของเถาอาสาวดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 291

นั้น เมื่อมันมีผลระยะนานขนาดนั้น เถาวัลลีนั้นจึง

เป็นที่รักของทวยเทพ เมื่อเป็นอย่างนี้ เถาอาสาวดี

จึงเป็นเถาวัลลีชั้นยอด ข้าแต่พระมุนี ข้าพระองค์

หมายใจไว้แสนกัป ขอบำรุงพระองค์ นมัสกาลทั้งเช้า

ทั้งเย็น เหมือนทวยเทพมุ่งหมายเถาอาสาวดีฉะนั้น

การปรนนิบัติและการนมัสการของข้าพระองค์ ไม่

เป็นหมันไม่เป็นโมฆะ ข้าพระองค์ผู้สงบแล้ว แม้มา

แต่ไกลก็ไม่แคล้วคลาดขณะไปได้ ข้าพระองค์ค้นหา

อยู่ก็ไม่พบปฏิสนธิในภพ ข้าพระองค์ปราศจากอุปธิ

หลุดพ้นแล้ว สงบระงับแล้ว ท่องเที่ยวไปอยู่ อุปมา

เสมือนว่า ดอกปทุมบานเพราะแสงพระอาทิตย์ฉันใด

ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์ก็เช่นนั้นเหมือนกัน

เบิกบานแล้ว เพราะพุทธรัศมี ในกำเนิดนกกระยาง

จะไม่มีตัวผู้ ทุกครั้งที่ฟ้าร้อง มันจะตั้งท้องทุกคราว

ตั้งท้องอยู่นาน จนกว่าฟ้าจะไม่ร้อง จะพ้นจากภาระ

(ตกฟอง) ต่อเมื่อฝนตกฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ได้ตั้งครรภ์คือพระธรรม เพราะเสียงฟ้า

คือพระธรรม ที่ร้องเพราะเมฆคือพระธรรมของพระ

ปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าพระองค์ทรงครรภ์คือ

บุญอยู่ เป็นเวลาแสนกัป จะพ้นภาระ (คลอด) จนกว่า

ฟ้าคือพระธรรมจะหยุดร้อง ข้าแต่พระศากยมุนี เมื่อใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 292

พระองค์ (ผู้เสมือนฟ้า) ทรงร้องที่กรุงกบิลพัสดุ์

บุรีรมย์ เมื่อนั้น ข้าพระองค์จึงจะพ้นจากภาระ เพราะ

ฟ้าคือพระธรรม (หยุดร้อง) ข้าพระองค์ได้คลอด

พระธรรมทั้งหมด เหล่านี้ คือ สุญญตะ (วิโมกข์) ๑

อนิมิตตะ (วิโมกข์) ๑ และอปณิหิตะ (วิโมกข์) ๑

(โลกุตระ) ผล ๔ อย่าง ๑.

ข้าพระองค์ปรารถนาคำสั่งสอนของพระองค์

มุ่งหมายถึงประโยชน์อันใด ที่นับประมาณไม่ถ้วน

ประโยชน์นั้นคือสันติบท (พระนิพพาน) อันยอด

เยี่ยม ข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว ข้าพระองค์ไม่มี

ผู้เสมอเหมือน ข้าพระองค์ประสบบารมีในพระวินัย

แล้ว จำทรงคำสอนไว้ได้ เหมือนภิกษุผู้แสวงหาคุณ

ผู้เป็นนักพูดแม้ฉะนั้น ข้าพระองค์ไม่มีความเคลือบ-

แคลง ในพระวินัยทั้ง ๕ คัมภีร์ คือทั้งขันธกะและที่

แบ่งออกเป็น ๓ คัมภีร์ (จุลวรรค มหาวรรค และ

บริวารวรรค) หรือทั้งในอักขระ ทั้งในพยัญชนะ

ในพระวินัยนี้ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาด ทั้งในนิคคห-

กรรม ปฏิกรรม ฐานะและอฐานะ โอสารณกรรม และ

วุฏฐาปนกรรม ถึงบารมีในพระวินัยทั้งหมด อีกอย่าง

หนึ่ง ข้าพระองค์ยกบทขึ้นมาตั้งแล้ว ไขความออกไป

โดยกิจ ๒ อย่าง แล้ววางไว้ในขันธกะ ในพระวินัย

ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดล้ำในนิรุตติศาสตร์ ฉลาดทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 293

ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ไม่มีสิ่ง

ที่ข้าพระองค์ไม่รู้ ข้าพระองค์เป็นผู้เลิศผู้หนึ่งใน

พระศาสนาของพระศาสดา วันนี้ ข้าพระองค์เป็นผู้

ฉลาดในรูป บรรเทาข้อกังขาทุกอย่าง ตัดความสงสัย

ทั้งสิ้นในพระศาสนาของพระสมณศากยบุตร ทั้งที่

เป็นบท (ใหญ่) บทย่อย ทั้งที่เป็นอักขระเป็นพยัญชนะ

ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในทุกอย่าง ทั้งในเบื้องต้น

ทั้งในเบื้องปลาย พระราชาผู้ทรงมีกำลัง ทรงกำราบ

การรบกวนของผู้อื่น ทรงชนะสงครามแล้ว ทรงให้

สร้างพระนครขึ้น ณ ที่นั้น ทรงให้สร้างกำแพงบ้าง

คูบ้าง เสาเขื่อนบ้าง ซุ้มประตูบ้าง ป้อมบ้าง นานา

ชนิด เป็นจำนวนมากไว้ในพระนครนั้น ทรงให้สร้าง

ทางสี่แยก สนาม ตลาดจ่าย และสภาสำหรับวินิจฉัย

สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ไว้ในพระนคร

นั้นพระองค์ทรงตั้งเสนาและอำมาตย์ไว้ เพื่อปราบหมู่

อมิตร เพื่อรู้ช่องทางและมิใช่ช่องทาง และเพื่อรักษา

พลนิกายไว้ พระองค์ทรงตั้งคนผู้ฉลาดในการเก็บ

สิ่งของให้เป็นภัณฑารักษ์ไว้ เพื่อให้เป็นผู้เฝ้าสิ่งของ

ด้วยพระราชประสงค์ว่า สิ่งของของเราอย่าได้สูญหาย

ไป ผู้ใดสำเร็จ (การศึกษา) แล้ว และปรารถนา

ความเจริญแก่พระราชาพระองค์ใด พระราชาพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 294

นั้น จะประทานเรื่องให้เขา เพื่อปฏิบัติต่อมิตร (ประ-

ชาชน). เมื่อนิมิตเกิดขึ้น พระองค์จะทรงตั้งผู้ฉลาด

ในลักษณะทั้งหลาย ผู้เป็นนักศึกษาและจำทรงมนต์

ไว้ได้ ให้ดำรงอยู่ในความเป็นปุโรหิต ผู้สมบูรณ์ด้วย

องค์คุณเหล่านี้ เรียกว่ากษัตริย์ พวกเขาจะพากัน

พิทักษ์รักษาพระราชาทุกเมื่อ เหมือนนกจากพรากรักษา

ญาติตนที่เป็นทุกข์ฉะนั้น ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีระ

พระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงเป็นเสมือนกษัตริย์

ผู้กำจัดอมิตรได้แล้ว เรียกได้ว่า พระธรรมราชาของชาว

โลกพร้อมทั้งเทวโลก พระองค์ทรงกำจัดเหล่าเดียรถีย์

บ้าง มารพร้อมทั้งเสนาบ้าง ความมืดมนอนธการบ้าง

ได้แล้ว ได้ทรงเนรมิตนครธรรมขึ้น ทรงทำศีลให้เป็น

กำแพง ทรงทำพระญาณของพระองค์ให้เป็นซุ้มประตู

ไว้ที่พระนครนั้น ข้าแต่พระธีรเจ้า สัทธาของ

พระองค์เป็นเสาระเนียด การสังวรเป็นนายทวารบาล

สติปัฏฐานเป็นป้อม ข้าแต่พระมุนี พระปัญญาของ

พระองค์เป็นสนาม และพระองค์ได้ทรงสร้างธรรมวิถี

มีอิทธิบาทเป็นทางสี่แยก พระวินัย ๑ พระสูตร ๑

พระอภิธรรม ๑ พระพุทธพจน์ทั้งสิ้นมีองค์ ๙ นี้เป็น

ธรรมสภาของพระองค์ สุญญตวิหารสมาบัติ ๑

อนิมิตตวิหารสมาบัติ ๑ อปณิหิตสมาบัติ ๑ อเนญช-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 295

ธรรม ๑ นิโรธธรรม ๑ นี้เป็นกุฎีธรรมของพระองค์

ธรรมเสนาบดีของพระองค์ มีนามว่า สารีบุตร ผู้ถูก

ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศทางปัญญา และเป็นผู้ฉลาดใน

ปฏิภาณ ข้าแต่พระมุนี ปุโรหิตของพระองค์ มีนามว่า

โกลิตะ ผู้ฉลาดในจุตูปปาตญาณ ผู้ถึงบารมีด้วยฤทธิ์

ข้าแต่พระมุนี ผู้พิพากษาของพระองค์ มีนามว่า

กัสสปะ เป็นผู้เลิศในธุดงค์คุณเป็นต้น เป็นผู้ทรงไว้

ซึ่งวงศ์เก่าแก่ มีเดชสูงยากที่จะเข้าถึงได้ ข้าแต่พระ-

มุนี ผู้รักษา (คลัง) พระธรรมของพระองค์ มีนามว่า

อานนท์ เป็นพหูสูต ทรงจำพระธรรมไว้ได้ และรู้

ปาฐะทุกอย่างในพระศาสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้

ทรงเป็นมหาฤๅษี ทรงตั้งพระเถระเหล่านั้นไปทั้งหมด

แล้วทรงมอบหมายการวินิจฉัย (อธิกรณ์) ที่ท่านผู้เป็น

ปราชญ์แสดงไว้แล้ว ในพระวินัยให้แก่ข้าพเจ้า

พุทธสาวกรูปใดรูปหนึ่งก็ตาม ถามปัญหาในพระวินัย

ข้าพเจ้าไม่มีความคิดในเรื่องนั้น ว่าจะบอกเรื่องอื่น

นั่นแหละแก่เขาในพุทธเขต มีพุทธสาวกประมาณเท่า

ใดในพุทธสาวกจำนวนเท่านั้น ไม่มีผู้เสมอกับข้าพเจ้า

ในทางพระวินัย เว้นไว้แต่พระมหามุนี และผู้ยิ่งกว่า

จักมีแต่ที่ไหน พระสมณโคดมประทับนั่ง ณ (ท่าม

กลาง) ภิกษุสงฆ์ทรงเปล่งพระสุรเสียงอย่างนี้ ว่า พระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 296

อุบาลีไม่มีผู้เสมอเหมือน ทั้งในพระวินัยและขันธกะ

ทั้งหลาย นวังคสัตถุศาสน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

ทั้งหมดนั้น หยั่งลงในพระวินัย พุทธสาวกมีประมาณ

เท่าใด มีปกติเป็นพระวินัยว่า พระวินัยเป็นรากเหง้า

(ของนวังคสัตถุศาสน์นั้น) พระสมณโคดมผู้ประเสริฐ

กว่าศากยราช ทรงระลึกถึงกรรมของข้าพเจ้าแล้ว ได้

ประทับนั่ง (ท่ามกลาง) ภิกษุสงฆ์ ทรงแต่งตั้งข้าพเจ้า

ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ข้าพเจ้าได้ปรารถนาตำแหน่ง

นี้มาเป็นเวลาแสนกัป ข้าพเจ้าได้บรรลุประโยชน์นั้น

แล้วถึงบารมีในพระวินัยแล้ว ข้าพเจ้าได้เป็นช่างกัล-

บกผู้สร้างความเพลิดเพลินให้ศากยราชมาก่อน ละ

ทิ้งชาตินั้นแล้ว มาเกิดเป็นบุตรพระมหาฤาษี (พุทธ-

ชิโนรส) ในกัปที่ ๒ นับถอยหลังแต่กัปนี้ไป ได้มี

กษัตริย์ผู้ปกครองแผ่นดิน พระนามว่า อัญชสะ ผู้มี

เดชไม่มีที่สิ้นสุด มีพระบริวารนับไม่ถ้วน มีทรัพย์มาก

ข้าพเจ้าได้เป็นขัตติยราชสกุลของพระองค์ มีนามว่า

จันทนะ เป็นผู้เย่อหยิ่ง เพราะความเมาในชาติ และ

ความเมาในยศ และโภคะ ช้างจำนวนแสน ประดับ

ประดาด้วยคชาภรณ์พร้อมสรรพ ตระกูลมาตังคะ

ตกมัน ๓ แห่ง ห้อมล้อมข้าพเจ้าทุกเมื่อ ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 297

ประสงค์จะไปอุทยาน มีพลนิกายของตนออกหน้าไป

จึงได้ขึ้นช้างต้น (ช้างมิ่งขวัญ) ออกจากพระนครไป

ในครั้งนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นามว่า เทวละ

ถึงพร้อมด้วยจรณะ มีทวารอันคุ้มครองแล้ว สังวร

ดีแล้ว. ได้มาข้างหน้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงได้ไส

ข้างต้นเข้าไปได้ล่วงเกินพระพุทธเจ้าในครั้งนั้น ต่อ

จากนั้น ช้างต้นนั้น ก็เกิดเดือดดาลขึ้น ไม่ย่างเท้าไป

ข้าพเจ้าเห็นช้างไม่พอใจ จึงได้โกรธพระพุทธเจ้า

เบียดเบียนพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ไปยังพระ-

อุทยาน ข้าพเจ้าไม่พบความสำราญ ณ ที่นั้น เหมือน

คนถูกไฟไหม้ศีรษะ ถูกความกระวนกระวายแผดเผา

เหมือนปลาติดเบ็ด พื้นแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต

เป็นเสมือนไฟลุกไปทั่วสำหรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเข้าไป

เฝ้าพระบิดา จึงได้ทูลคำนี้ไว้ว่า หม่อมฉันล่วงเกิน

พระสยัมภูองค์ใด เหมือนยุอสรพิษให้เดือดดาล

เหมือนโหมกองไฟ และเหมือนฝึกช้างตกมัน พระ-

ชินพุทธเจ้าองค์นั้น ผู้มีพระเดชสูงแรงกล้า ข้าพเจ้า

ได้ล่วงเกินแล้ว ก่อนที่พวกเราทุกคนจะพินาศไป พวก

เราจักพากันขอขมาพระมุนีนั้น ถ้าหากพวกเราจักไม่

ยังพระมุนีนั้น ผู้ทรงฝึกองค์แล้ว มีหฤทัยตั้งมั่นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 298

ให้ทราบไซร้ รัฐของเราจักแหลกลาญ ไม่เกิน

วันที่ ๗ พระราชาทั้งหลาย คือ สุเมขละ ๑

โกสิยะ ๑ สิคควะ ๑ สัตตกะ ๑ พร้อมด้วยเสนา

ตกทุกข์ได้ยาก เพราะล่วงเกินฤาษีทั้งหลาย เมื่อใด

ฤาษีทั้งหลายผู้สำรวมแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์

โกรธ เมื่อนั้น ฤาษีเหล่านั้น จะบันดาลให้ (โลกนี้)

พร้อมทั้งเทวโลกทั้งสาครและบรรพต ให้พินาศไปได้

ข้าพเจ้าจึงประชุมราชบุรุษทั้งหลายในที่ประมาณสาม

พันโยชน์ เข้าไปหาพระสยัมภู เพื่อต้องการแสดง

โทษผิด ทุกคนมีผ้าเปียก และศีรษะเปียกน้ำเหมือน

กันหมด กระทำอัญชลี หมอบแทบบาทพุทธเจ้า

แล้วได้กล่าวคำวิงวอนนี้ว่า ข้าแต่มหาวีระ ขอท่าน

โปรดประทานอภัยโทษแก่ชนที่ร้องขอ ขอพระ-

มหาวีระบรรเทาความเร่าร้อน และอย่าให้รัฐ

ของพวกข้าพเจ้าพินาศเลย มวลสัตว์พร้อมทั้งเทวดา

และมนุษย์ พร้อมทั้งอสูรเผ่าทานพ พร้อมด้วย

รากษส พึงพากันเอาค้อนเหล็กมาตีศีรษะของ

ข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ ความโกรธจะไม่เกิดขึ้นในพระ

พุทธเจ้า เหมือนไฟสถิตอยู่ในน้ำไม่ได้ เหมือนพืช

ไม่งอกบนหิน เหมือนกิมิชาติ ดำรงชีวิตอยู่ในยา

ขนานวิเศษไม่ได้ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 299

กระเทือนหฤทัย เหมือนแผ่นดินไม่กระเทือน สาคร

ที่นับจำนวนน้ำไม่ได้ก็ไม่กระเพื่อม และอากาศที่ไม่

มีที่สุด ก็ไม่ปั่นป่วน พระมหาวีระทั้งหลาย ผู้

ฝึกฝนดีแล้ว อดกลั้นได้แล้ว และมีตบะ เจ้า

ประคุณทั้งหลาย ผู้อดทนและอดกลั้นได้แล้ว

จะไม่มีการไป พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวคำ

นี้แล้ว เมื่อจะบรรเทาความเร่าร้อน จึงเหาะ

ขึ้นฟ้า ต่อหน้ามหาชนในครั้งนั้น ข้าแต่พระ-

มหาวีระ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ได้เข้าถึงความเป็น

คนชั้นต่ำ ล่วงเลยกำเนิดนั้นมาแล้ว จึงเข้าไปยัง

อภยบุรี ข้าแต่พระมหาวีระ แม้ในครั้งนั้น พระองค์

ทรงแก้ไขความเร่าร้อน ที่แผดเผาข้าพระองค์ คือ

สถิตมั่นอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ได้ให้

พระสยัมภู อดโทษแล้ว ข้าแต่พระมหาวีระ แม้

วันนี้ พระองค์ก็ทรงดับไฟ ๓ กอง ให้ข้าพระองค์ผู้

กำลังถูกไฟ ๓ กองเผาลนอยู่ และข้าพระองค์ก็ถึง

ความเยือกเย็น ท่านเหล่าใด มีการเงี่ยโสตลงฟัง

ข้าพเจ้าจะบอกเนื้อความ คือ บท (พระนิพพาน)

ตามที่ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว แก่ท่านเหล่านั้น ขอ

ท่านทั้งหลายจงฟังคำของข้าพเจ้าผู้กล่าวอยู่ ด้วยกรรม

ที่ข้าพเจ้าได้ดูหมิ่นพระสยัมภู ผู้มีหฤทัยสงบ ผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 300

หฤทัยมั่นคงแล้ว วันนี้ข้าพเจ้าจึงได้เกิดในกำเนิดที่ต่ำ

ทราม ท่านทั้งหลายอย่าพร่าขณะเวลาเลย เพราะผู้

ปล่อยขณะเวลาให้ล่วงเลยไปแล้ว ย่อมเศร้าโศกเสียใจ

ท่านทั้งหลายควรพยายามในประโยชน์ของตน ท่าน

ทั้งหลายจึงจะให้ขณะเวลาประสบผล ไม่ล่วงไปเปล่า

ก็ยาเหล่านี้ คือ ยาสำรอก เป็นพิษร้ายกาจสำหรับคน

บางพวก แต่เป็นโอสถสำหรับคนบางเหล่า ส่วนยา

ถ่าย เป็นพิษร้ายกาจสำหรับคนบางพวก แต่เป็นโอสถ

สำหรับคนบางเหล่า (ฉันใด) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ก็ฉันนั้น เป็นเสมือนยาสำรอก สำหรับผู้ปฏิบัติ (ผู้

เจริญมรรค) เป็นเสมือนยาถ่ายสำหรับผู้ตั้งอยู่ในผล

เป็นเสมือนโอสถสำหรับผู้ได้ผลแล้ว และเป็นบุญเขต

สำหรับผู้แสวงหา (โมกขธรรม) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เป็นเสมือนยาพิษที่ร้ายกาจ สำหรับผู้ประพฤติผิดจาก

คำสั่งสอน เผาคน ๆ นั้นเหมือนอสรพิษ ต้องยาพิษ

ยาพิษชนิดแรงที่คนดื่มแล้วจะผลาญชีวิต (เขาเพียง)

ครั้งเดียว ส่วนคนผิดพลาดจากคำสั่งสอน (พุทธ-

ศาสนา) แล้ว จะหมกไหม้ (ในนรก) นับโกฏิกัป

เขาย่อมข้ามโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลกได้ ด้วยขันติธรรม

อวิหิงสาธรรม และด้วยความเป็นผู้มีเมตตาจิต เพราะ

ฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงทรงเป็นผู้ไม่มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 301

ขึ้งเคียด พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเสมือนปฐพีไม่ทรง

ข้องอยู่ในลาภและความเสื่อมลาภทั้งในการนับถือและ

การดูหมิ่น เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้นจึงทรง

เป็นผู้ไม่มีความขึ้งเคียด พระมหามุนีทรงมีพระทัย

เท่า ๆ กัน สำหรับ สรรพสัตว์ ทั้งในพระเทวทัต นาย

ขมังธนู องค์คุลิมาลโจร พระราหุลและช้างธนบาล

พระพุทธเจ้าเหล่านี้ ไม่ทรงมีความแค้นเคือง ไม่ทรง

มีความรัก สำหรับสัตว์ทั้งหมดคือ ทั้งเพชรฆาตและ

พระโอรส พระพุทธเจ้าทรงมีพระทัยเท่า ๆ กัน คน

เห็นอันตรายแล้วพึงประนมมือเหนือศีรษะไหว้ผ้ากา-

สาวพัสตร์ ที่เปื้อนอุจจาระอันเจ้าของทิ้งแล้ว ซึ่งเป็น

ธงของฤาษี พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งในอดีตแสนนาน

ในปัจจุบัน และในอนาคต ทรงบริสุทธิ์เพราะธงนี้

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านี้นั้น จึงเป็นผู้ควร

นมัสการ ข้าพเจ้าย่อมจำทรงพระวินัยที่ดี ที่เป็น

กำหนดหมายของพระศาสดาไว้ด้วยใจ ข้าพเจ้า

จักน้อมนมัสการพระวินัยพักผ่อนอยู่ทุกเมื่อ พระวินัย

เป็นอัธยาศัยของข้าพเจ้า พระวินัยเป็นที่ยืนและที่

จงกรมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าสำเร็จการอยู่ในพระวินัย

พระวินัยเป็นอารมณ์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าบรรลุถึง

บารมีในพระวินัย ทั้งเป็นผู้ฉลาดในสมถะ ข้าแต่

พระมหาวีระ ด้วยเหตุนั้น พระอุบาลีจึงไหว้แทบ

พระยุคลบาทของพระศาสดา ข้าพระองค์นั้นจัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 302

ออกจากบ้าน (นี้) ไปบ้าน (โน้น) จากเมือง (นี้)

ไปเมือง (โน้น) เที่ยวหานมัสการพระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี. กิเลสทั้งหลาย

ข้าพระองค์เผาแล้ว ภพทั้งหมดข้าพระองค์ถอนแล้ว

อาสวะทั้งหลายสิ้นไปหมดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี

การมาของข้าพระองค์ในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประ-

เสริฐ เป็นการมาดีจริง ๆ วิชชา ๓ ข้าพระองค์ได้

บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์

ได้ปฏิบัติแล้ว ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖

เหล่านี้ ข้าพระองค์ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของ

พระพุทธเจ้าข้าพระองค์ได้ปฏิบัติแล้ว ดังนี้.

ก็ ณ ที่นั้น พระศาสดาทรงให้ท่านเรียนพระวินัยปิฎกทั้งหมดด้วย

พระองค์เอง ต่อมาภายหลัง ท่านได้วินิจฉัยเรื่อง ๓ เรื่องเหล่านี้คือ เรื่องภารุ-

กัจฉุกะ ๑ เรื่องอัชชุกะ ๑ เรื่องพระกุมารกัสสปะ ๑ เมื่อวินิจฉัยเสร็จแต่ละเรื่อง

พระศาสดาได้ทรงประทานสาธุการ ทรงทำการวินิจฉัยทั้ง ๓ เรื่อง ให้เป็นอุบัติ

เหตุแล้ว ทรงตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าพระวินัยธรทั้งหลาย อยู่มา

ภายหลังในวันอุโบสถ วันหนึ่ง เวลาแสดงปาติโมกข์ ท่านเมื่อโอวาทภิกษุ

ทั้งหลาย จึงได้กล่าวคาถาไว้ ๓ คาถาว่า

ภิกษุผู้ออกบวชใหม่ๆ ด้วยศรัทธายังใหม่ต่อการ

ศึกษา ควรคบหากัลยาณมิตร ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่

เกียจคร้าน. ภิกษุออกบวชใหม่ๆ ด้วยศรัทธายังใหม่

ต่อการศึกษาควรพำนักอยู่ในหมู่สงฆ์ผู้ฉลาด ศึกษา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 303

พระวินัย (ให้เข้าใจ). ภิกษุผู้ออกบวชใหม่ ๆ ด้วย

ศรัทธา ยังใหม่ต่อการศึกษาต้องเป็นผู้ฉลาด ในสิ่งที่

ควรและไม่ควร ไม่ควรประพฤติตนเป็นคนออกหน้า

ออกตา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธาย ความว่า เพราะศรัทธา

อธิบายว่า ไม่ใช่เพื่อเลี้ยงชีพ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สทฺธาย ได้แก่เชื่อผล

กรรมและคุณพระรัตนตรัย.

บทว่า อภินิกฺขมฺม ความว่า ออกจากการครองเรือน.

บทว่า นวปพฺพชิโต ได้แก่ เป็นผู้บวชใหม่ คือบวชในปฐมวัย

นั่นเอง.

บทว่า นโว ได้แก่ ยังใหม่ คือยังรุ่นหนุ่ม ต่อการศึกษาศาสนา.

บทว่า มิตฺเต ภเวยฺย กลฺยาเณ สุทฺธาชีเว อตนฺทิเต (ควร

คบหากัลยาณมิตร ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน) ความว่า ควรคบคือ

เข้าไปหากัลยาณมิตร ผู้มีลักษณะดังที่ตรัสไว้ โดยนัยมีอาทิว่า เป็นที่รัก

น่าเคารพนับถือ ชื่อว่ามีอาชีพบริสุทธิ์ เพราะเว้นจากมิจฉาชีพ และชื่อว่าผู้

ไม่เกียจคร้าน เพราะเป็นผู้ปรารภความเพียรแล้ว ได้แก่ ควรคบหาสมาคม

โดยการรับเอาโอวาทานุสาสนีของท่าน.

บทว่า สงฺฆสฺมึ วิหร ได้แก่ พักอยู่ในหมู่ คือในชุมนุมสงฆ์

โดยการบำเพ็ญวัตรและปฏิวัตร (วัตรต่าง ๆ).

บทว่า สิกฺขถ วินย พุโธ ความว่า ต้องเป็นผู้ฉลาดในความรู้

และความเข้าใจ ศึกษาปริยัติคือพระวินัย ด้วยว่า พระวินัยเป็นอายุ (ชีวิต)

ของพระศาสนา เมื่อพระวินัยยังคงอยู่ พระศาสนา ก็เป็นอันยังดำรงอยู่. แต่

บางอาจารย์กล่าวว่า พุโธ ความหมายก่อย่างนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 304

บทว่า กปฺปากปฺเปสุ ความว่า เป็นผู้ฉลาด ในสิ่งที่ควรและไม่

ควร คือเป็นผู้ฉลาดละเมียดละไม (ในสิ่งเหล่านั้น) ด้วยอำนาจพระสูตร และ

ด้วยอำนาจอนุโลมตามพระสูตร.

บทว่า อปุรกฺขโต ได้แก่ ไม่ควรเป็นผู้ออกหน้าออกตา คือไม่

มุ่งหวังการเป็นหัวหน้าจากที่ไหนด้วยตัณหาเป็นต้นอยู่.

จบอรรถกถาอุบาลีเถรคาถา

๑๒. อุตตรปาลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุตตรปาลเถระ

[๓๑๘] ได้ยินว่า พระอุตตรปาลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เบญกามคุณ ทำเราผู้เป็นบัณฑิต สามารถ

คิดค้นประโยชน์ได้ให้ลุ่มหลงหนอ ให้เราตกอยู่ใน

โลก เราได้แล่นไปในวิสัยของมาร ถูกลูกศรปักอยู่

อย่างเหนียวแน่น แต่ก็สามารถเปลื้องตนออกจาก

บ่วงมัจจุราชได้ กามทั้งหมดเราละได้แล้ว ภพทั้ง-

หลายเราทำลายได้หมดแล้ว การเวียนเกิด (ชาติสง-

สาร) สิ้นสุดลงแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 305

อรรถกถาอุตตรปาลเถรคาถา

คาถาของท่านพระอุตตปาลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปณฺฑิต วต ม

สนฺต ดังนี้. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้ท่านพระอุตตรปาลเถระ นี้ ก็มีบุญญาธิการได้ทำไว้แล้ว ใน

พระพุทธเจ้า องค์ก่อน ๆ เมื่อสั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ได้ให้สร้างสะพาน

ไว้ ที่ทางเสด็จพุทธดำเนิน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก

มาในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในเนืองพาราณสี มีชื่อว่า

อุตตรปาละ เติบโตแล้ว ได้เห็นยมกปาฏิหาริย์ ได้ศรัทธาบวชแล้ว

บำเพ็ญสมณธรรม. อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อท่านระลึกถึงภูตารมณ์เนือง ๆ ด้วย

สามารถกระทำไว้ในใจ โดยไม่แยบคาย กามราคะก็เกิดขึ้น. ทันใดนั้น ท่าน

ข่มจิตของตนไว้ได้ เหมือนคนจับโจรพร้อมกับของกลางไว้ได้ เกิดความสลด

ใจขึ้น ข่มกิเลสไว้ ด้วยการมนสิการถึงธรรม ที่เป็นปฏิปักษ์ ต่อกิเลสนั้น

แล้ว บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ให้ภาวนาก้าวหน้าขึ้นไป บรรลุพระอรหัต-

ผล. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี

เสด็จจงกรมอยู่ต่อหน้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ดีใจ

ได้สร้างสะพานถวาย ในกัปที่ ๙๑ นับถอยหลังไปแต่-

กัปนี้ เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าได้สร้างสะพานควาย จึงไม่

รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน. กิเลส

ทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้เผาแล้ว ฯ ล ฯ คำสั่งสอนของ

พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 306

อนึ่ง ครั้นได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว พิจารณาดูข้อปฏิบัติของตน

แล้ว เมื่อจะบันลือสีหนาท จึงได้กล่าวคาถาไว้ ๓ คาถาว่า

เบญจกามคุณ ทำเราผู้เป็นบัณฑิต สามารถคิด

ค้นประโยชน์ได้ ให้ลุ่มหลงหนอ ให้เราตกอยู่ในโลก

เราได้แล่นไปในวิสัยของมาร ถูกลูกศรปักอยู่อย่าง

เหนียวแน่น แต่ก็สามารถเปลื้องตนออกจากบ่วง

มัจจุราชได้. กามทั้งหมดเราละได้แล้ว ภพทั้งหลาย

เราทำลายได้หมดแล้ว การเวียนเกิด สิ้นสุดลงแล้ว

บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑิต วต ม สนฺต ความว่า

เพราะว่าให้เราผู้ชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยปัญญา ด้วยอำนาจปัญญา ที่สำเร็จด้วยการ

ฟังและการคิด ที่มีอยู่.

บทว่า อลมตฺถวิจินฺตก ความว่า สามารถเพื่อจะคิดค้นประโยชน์

เกื้อกูลทั้งของตนเอง ทั้งของคนอื่น. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เป็นผู้ควรคิดค้น

เนื้อความตามความต้องการ หรือสามารถกำจัดกิเลสได้ สำหรับผู้เห็นเนื้อความ

เป็นปกติ. พระเถระให้ทุกสิ่งทุกอย่างนี้ เพราะว่าตนเป็นผู้มีภพเป็นครั้งสุดท้าย.

บทว่า ปญฺจ กามคุณา ได้แก่ กามคุณจำนวน ๕ ส่วน มีรูป

เป็นต้น.

คำว่า โลเก เป็นคำแสดงถึงสถานที่ ๆ กามเหล่านั้นเป็นไป.

บทว่า สมฺโมหา ความว่า มีสัมโมหะเป็นนิมิต (เพราะงมงาย)

คือ เหตุที่ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สมฺโมหา

ได้แก่ เพราะงมงาย คือ เพราะทำให้งมงาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 307

บทว่า ปาตยึสุ ความว่า ให้ตกต่ำลงไป จากความเป็นปราชญ์

อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ให้เราผู้ประสงค์จะเป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าสัตว์โลก ตก

ไปอยู่ในโลก.

บทว่า ปกฺขนฺโท ได้แก่ ตามเข้าไป.

บทว่า มารวิสเย ได้แก่ สถานที่ ๆ กิเลสมารเป็นไป อธิบายว่า

ไปสู่อำนาจของกิเลสมารนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ติดตามมารนั้นเข้าไป

ดำรงอยู่ในอิสริยสถาน ของเทวบุตมาร. บทว่า ทฬฺหสลฺลสมฺมปฺปิโต

ความว่า ถูกลูกศรปักไว้อย่างมั่นคง คือเหนียวแน่น อีกอย่างหนึ่ง ต้องศร

ที่เหนียวแน่น คือถูกลูกศร คือราคะปักถึงหัวใจ.

บทว่า อสกฺขึ มจฺจุราชสฺส อห ปาสา ปมุจฺจิตุ (ข้าพเจ้า

สามารถจะพ้นจากบ่วง ของพญามัจจุราชได้แล้ว ) ความว่า ข้าพเจ้า ใช้คีม

คือมรรคอันเลิศ (อรหัตมรรค) ถอนลูกศรมีราคะเป็นต้น ขึ้นได้แล้ว ไม่มี

เหลืออยู่เลย สามารถพ้นจากบ่วงของพญามัจจุราช ได้แก่ เครื่องผูกคือราคะ

ได้แล้ว คือเปลื้องคนออกจากบ่วงนั้นได้แล้ว.

และควรทราบวินิจฉัย ต่อจากนั้น ไปนั่นเองว่า บทว่า สพฺเพ กามา

ปหีนา เม ภวา สพฺเพ ปทาลิตา (กามทั้งหมด ข้าพเจ้าละได้แล้ว

ภพทั้งหลาย ข้าพเจ้าทำลายหมดแล้ว ) ความว่า กิเลสกาม ที่แตกต่างกัน

ออกไปหลายประเภท โดยแยกไปตามวัตถุและอารมณ์ ข้าพเจ้าละได้ทั้งหมด

แล้ว โดยการตัดขาดด้วยอริยมรรค. เพราะว่า เมื่อละกิเลสกามทั้งหลายได้แล้ว

แม้วัตถุกามก็เป็นอันละได้แล้วเหมือนกัน. อนึ่ง ภพทั้งหลายมีกามภพ และ

กรรมภพเป็นต้น ข้าพเจ้าทำลายคือกำจัดได้ทั้งหมดแล้ว ด้วยดาบคือมรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 308

เพราะว่า เมื่อทำลายกรรมภพได้แล้ว อุปปัตติภพ ก็เป็นอันทำลายได้แล้ว

เหมือนกัน. เพราะทำลายกรรมภพได้อย่างนี้นั่นเอง สงสารคือชาติ (การ-

เวียนเกิด) ได้สิ้นสุดลงแล้ว บัดนี้ภพใหม่ก็ไม่มี. เนื้อความของบทนั้นได้

อธิบายไว้ในตอนหลังแล้ว. ก็นี้แหละ คือคำพยากรณ์พระอรหัตผลของพระ

เถระ.

จบอรรถกถาอุตตรปาลเถรคาถา

๑๓. อภิภูตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอภิภูตเถระ

[๓๑๙] ได้ยินว่า พระอภิภูตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระญาติทั้งหลาย เท่าที่มาประชุมกัน ณ

ที่นี้ทั้งหมด ขอจงทรงสดับ อาตมาภาพจักแสดงธรรม

แก่ท่านทั้งหลาย การเกิดแล้วเกิดอีกเป็นทุกข์

ขอท่านทั้งหลาย จงเริ่มลงมือ จงออกบวช

ประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนา

ของพญามัจจุราช เหมือนกุญชร ทำลายเรือนไม้อ้อ

ฉะนั้น ผู้ใดจักเป็นผู้ไม่ประมาท อยู่ในพระธรรม

วินัย (ศาสนา) นี้ ผู้นั้นจักละการเวียนเกิด ทำที่สุด

แห่งทุกข์ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 309

อรรถกถาอภิภูตเถรคาถา

คาถาของท่านพระอภิภุตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุณาถ าตโย

สพฺเพ. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้ท่านพระอภิภูตเถระ นี้ ก็มีบุญญาธิการได้ทำไว้แล้ว ในพระ-

พุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เมื่อสั่งสมบุญในภพนั้น ได้เกิดในคฤหาสน์ของผู้มี

ตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า เวสสภู รู้

เดียงสาแล้ว ได้เป็นผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระศาสนา เพราะอาลัยกัลยาณมิตร

เช่นนั้น เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว มหาชนพากันทำความอุตสาหะเพื่อ

จะรับเอาพระธาตุของพระองค์ ท่านได้ใช้น้ำหอมดับเชิงตะกอนก่อนกว่าทุกคน

ด้วยตนเอง.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลกมาใน

พุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในราชตระกูล ในนครเวฏฐปุระ ได้รับขนานนาม

ว่า อภิภู สิ้นรัชกาลของพระชนก ก็ได้เสวยราชสมบัติ และในสมัยนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกชนบท ลุถึงพระนครนั้น ครั้งนั้นพระราชานั้น

ได้ทรงสดับว่า ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึงพระนคร แล้วได้

เสด็จไปยังสำนักของพระศาสดา สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ในวันที่ ๒ ได้

ทรงถวายมหาทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเสร็จภัตกิจแล้ว เมื่อจะทรง

ทำการอนุโมทนาที่เหมาะสมกับพระราชอัธยาศัยนั่นแหละ จึงได้ทรงแสดง

พระธรรมเทศนาโดยพิสดาร พระองค์ทรงสดับพระธรรมเทศนาแล้ว กลับได้

พระราชปสาทศรัทธา สละราชสมบัติผนวชแล้ว ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตผล.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในอปทานว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 310

เมื่อมหาชนถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ของ

พระมหาฤาษีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า เวสสภู

ข้าพเจ้าได้ดับไฟเชิงตะกอน ในกัปที่ ๓๑ นับถอยหลัง

แต่กัปนี้ไป เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าได้ดับไฟเชิงตะกอน

จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของน้ำหอมที่ข้าพเจ้า

ได้ดับไฟเชิงตะกอน. กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้

เผาแล้ว ฯลฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้า

ได้ปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง เมื่อพระองค์ทรงบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ประทับอยู่ด้วย

วิมุตติสุข อาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ทั้งหมด คือ พระบรมวงศานุวงศ์

อำมาตย์ข้าราชบริพาร ชาวนครและชาวชนบท พากันนาชุมนุมกันโอดครวญ

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุไฉน พระองค์จึงทรงผนวช ทรงทำให้พวกข้า

พระองค์เป็นอนาถาไร้ที่พึ่งกัน พระเถระเจ้าเห็นคนเหล่านั้นมีพระญาติเป็น

หัวหน้า พากันโอดครวญอยู่ เมื่อจะกล่าวธรรมกถา (ปลอบ) คนเหล่านั้น

ด้วยการประกาศเหตุแห่งการบรรพชาของตน จึงได้ภาษิตคาถา ๓ คาถาไว้ว่า

ข้าแต่พระญาติทั้งหลาย เท่าที่มาประชุมกัน ณ

ที่นี้ทั้งหมด ขอจงทรงสดับ อาตมาภาพจักแสดง

ธรรมแก่ท่านทั้งหลาย การกำจัดแล้วเกิดอีกเป็นทุกข์

ขอท่านทั้งหลายจงเริ่มลงมือ จงออกบวชประกอบ

ความเพียร ในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนาของ

พญามัจจุราช เหมือนกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อฉะนั้น.

ผู้ใดจักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในพระธรรมวินัย (ศาสนา)

นี้ ผู้นั้นจักละการเวียนเกิด ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 311

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุณาถ ความว่า จงสงบใจฟัง อธิบายว่า

จงจำทรงเอาถ้อยคำที่อาตมาภาพ กำลังกล่าวอยู่เดี๋ยวนี้ตามแนวทางของโสตทวาร

ที่ได้เงี่ยลงฟังแล้ว. คำว่า าตโย เป็นคำร้องเรียกคนเหล่านั้นทั้งหมด มี

พระญาติเป็นหัวหน้า ด้วยคำนี้พระเถระเจ้าได้กล่าวว่า ขอพระญาติทั้งหมด

มีจำนวนเท่าที่มาพร้อมกัน ณ ที่นี้ อธิบายว่า ข้าแต่พระญาติวงศ์ทั้งหลาย

มีจำนวนเท่าใด คือมีประมาณเท่าใด พระญาติวงศ์ทั้งหลายมีประมาณเท่านั้น

ที่มาพร้อมเพรียงกันแล้วในสมาคมนี้ หรือที่มาพร้อมเพรียงกันในการบวชของ

อาตมาภาพนี้.

บัดนี้ พระเถระเจ้ากล่าวรับคำที่ตนหมายเอาแล้ว กล่าวคำเป็นเชิง

บังคับให้ฟังว่า ท่านทั้งหลายจงพึงดังนี้ว่า อานุภาพจักแสดงธรรมแก่ท่าน

ทั้งหลายดังนี้แล้ว ได้ปรารภเพื่อแสดงโดยนัยมีอาทิว่า การเกิดแล้วเกิดอีก

เป็นทุกข์.

พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้นต่อไป ขึ้นชื่อว่าความเกิด ในคำว่า

ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุน นี้ ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์

มากอย่าง ต่างประเภทมีการก้าวลงสู่ครรภ์เป็นมูลฐาน และแยกประเภทออก

เป็นชราเป็นต้น ความเกิดที่เป็นไปแล้ว ๆ เล่า ๆ เป็นทุกข์เหลือหลาย แต่

พระเถระเจ้า เมื่อจะแสดงว่า ความพยายามเพื่อจะระงับความเกิดนั้น เป็นกิจ

ที่ควรทำ จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า อารมฺภถ ไว้.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อารมฺภถ ความว่า จงทำความเพียร

ได้แก่ อารัมภธาตุ (ความริเริ่ม).

บทว่า นิกฺกมถ ความว่า จงทำความเพียรให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ได้แก่

นิกกมธาตุ (การก้าวออกไป) เพราะเป็นผู้ก้าวออกไปแล้วจากอกุศลธรรมที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 312

เป็นฝ่ายของความเกียจคร้าน. บทว่า ยุญฺเชถ พุทฺธสาสเน ความว่า

เพราะเหตุที่อารัมภธาตุและนิกกมธาตุทั้งหลาย ย่อมสมบูรณ์แก่ผู้ดำรงมั่นอยู่ใน

ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ คือ ความสำรวมในศีล ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครอง

แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคและความรู้ตัว

อย่างยิ่งได้ ก็ด้วยสามารถแห่งการประกอบความเพียรเนือง ๆ ฉะนั้น ท่าน

ทั้งหลายที่เป็นแล้วอย่างไร จงเป็นผู้ขะมักเขม้นในคำสั่งสอนของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า กล่าวคือสมถะและวิปัสสนา หรือกล่าวคือสีลสิกขาเป็นต้น.

บทว่า ธุนาถ มจฺจุโน เสน นฬาคารว กุญฺชโร ความว่า

ก็ท่านทั้งหลายปฏิบัติอยู่อย่างนี้ จะกำจัด คือ ขยี้ อธิบายว่า ทำลายได้ซึ่งกลุ่ม

กิเลส กล่าวคือเสนาของพญามัจจุราชนั้น เพราะนำสัตว์ทั้งหลายไปสู่อำนาจ

ของพญามัจจุราชซึ่งเป็นใหญ่กว่าโลกธาตุทั้ง ๓ ที่ไม่มีกำลัง คือ มีกำลังทราม

อุปมาเสมือนช้างเชือกที่ประกอบด้วยกำลังวังชา พังเรือนที่สร้างด้วยไม้อ้อให้

ทะลายไปในทันใดนั้นเอง.

อนึ่ง พระเถระเจ้า เมื่อจะแสดงแก่ผู้ทำความอุตสาหะในพระพุทธ-

ศาสนาอย่างนี้ว่า ผู้อยู่คนเดียวเป็นผู้ก้าวล่วงชาติทุกข์ได้ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓

ไว้ ด้วยคำมีอาทิว่า โย อิมสุมึ. คำนั้นเข้าใจง่ายอยู่แล้วแล.

จบอรรถกถาอภิภูตเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 313

๑๔.โคตมเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโคตมเถระ

[๓๒๐] ได้ยินว่า พระโคตมเถระได้ภาษิตคาถาม ไว้ อย่างนี้ว่า

อาตมาภาพเมื่อท่องเที่ยวไปมา ได้ไปสู่นรกบ้าง

เปรตโลกบ้าง ชาติแล้วชาติเล่า แม้ในกำเนิดเดียรฉาน

ที่สุดแสนจะทนได้ อาตมาภาพก็อยู่มานานมากมาย

หลายประการ และภพของมนุษย์ อาตมาภาพก็ได้

ผ่านมามากแล้ว และได้ไปสวรรค์เป็นครั้งเป็นคราว

อาตมาภาพดำรงอยู่ในรูปภพบ้าง อรูปภพบ้าง อสัญ-

ญีภพบ้าง เนวสัญญีนาสัญญีภพบ้าง ภพทั้งหลาย

อาตมาภาพรู้ชัดแล้ว ว่าไม่มีแก่นสาร อันปัจจัยปรุง

แต่งขึ้น เป็นของแปรปรวน กลับกลอก ถึงความ

แตกหัก ทำลายไปทุกเมื่อ ครั้นรู้แจ้งภพนั้น อันเป็น

ของเกิดในตนแล้ว อาตมาภาพจึงเป็นผู้มีสติ บรรลุ

สันติธรรมแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 314

อรรถกถาโคตมเถรคาถา

คาถาของท่านพระโคตมเถระ มีคำเรีมต้นว่า สสร. มีเรื่องเกิดขึ้น

อย่างไร ?

ได้ทราบว่า ท่านพระโคตมเถระ นี้ มีบุญญาธิการได้ทำไว้แล้ว

ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทำบุญในภพนั้น ๆ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า สิขี ปรินิพพานแล้ว ครั้นเทวดาและคนทั้งหลายพากันบูชาเชิง

ตะกอน ก็ได้บูชาเชิงตะกอนด้วยดอกจำปา ๘ ดอก

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมา ในเทวโลกและมนุษยโลก

มาในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือกำเนิดในตระกูลศากยราชมีพระนามที่ได้กำหนดไว้

โดยเฉพาะแล้ว ด้วยสามารถแห่งพระโคตรว่า โคตมะนั่นเอง ทรงเจริญวัยแล้ว

ในคราวชุมนุมพระญาติของพระศาสดา ได้ศรัทธาผนวชแล้ว บำเพ็ญวิปัสสนา

กรรมฐาน ได้เป็นพระอริยบุคคล ผู้มีอภิญญา ๖. ด้วยเหตุนั้น ในอปทาน

ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า

เมื่อประชาชนพากันถวายพระเพลิงพระพุทธ-

สรีระ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุขี ผู้ทรง

เป็นเผ่าพันธุ์ของชาวโลก ข้าพเจ้าได้โปรยดอกจำปา

๘ ดอกบูชาเชิงตะกอน ในกัปที่ ๓ นับถอยหลัง

แต่กัปนี้ไป เพราะเหตุที่ข้าพเจ้า ได้โปรยดอกไม้บูชา

จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาเชิงตะกอน.

กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าเผาแล้ว ฯ ล ฯ คำสั่งสอนของ

พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 315

อนึ่ง ท่านครั้นเป็นพระอริยบุคคลผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว เมื่อพักผ่อน

อยู่ด้วยวิมุตติสุข วันหนึ่ง ถูกพระญาติทั้งหลายตรัสถามว่า เหตุไฉน ท่านจึง

ละทิ้งพวกเราไปบรรพชา เมื่อจะประกาศทุกข์ที่ตนได้เสวยแล้วในสงสาร

นั่นแหละ และนิพพานสุขที่ตนได้บรรลุในปัจจุบัน จึงได้แสดงธรรมถวาย

พระญาติเหล่านั้นด้วยคาถา ๓ คาถาว่า

อาตมาภาพเมื่อท่องเที่ยวไปมา ได้ไปสู่นรกบ้าง

ไปสู่เปรตโลกบ้าง ชาติแล้วชาติเล่า แม้ในกำเนิด

เดียรฉานที่สุดแสนจะทนได้ อาตมาภาพก็อยู่มานาน

มากมายหลายประการ และภพของมนุษย์ อาตมาภาพ

ก็ได้ผ่านมามากแล้ว และได้ไปสวรรค์เป็นครั้งเป็น

คราว อาตมาภาพดำรงอยู่ในรูปภพบ้าง อรูปภพบ้าง

อสัญญีภพบ้างเนวสัญญานาสัญญีภพบ้าง ภพทั้งหลาย

อาตมาภาพรู้ชัดแล้วว่าไม่มีแก่นสาร อันปัจจัยปรุง

แต่งขึ้น เป็นของแปรปรวน กลับกลอก ถึงความ

แตกหักทำลายไปทุกเมื่อ ครั้นรู้แจ้งภพนั้น อันเป็น

ของเกิดในตนแล้ว อาตมาภาพจึงเป็นผู้มีสติบรรลุ

สันติธรรมแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสร ความว่า ท่องเที่ยวไปมาใน

สงสารที่ไม่มีเบื้องต้น อธิบายว่า ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ ด้วยสามารถแห่งการ

จุติและอุบัติขึ้นในคติทั้ง ๕ ด้วยกรรมและกิเลสทั้งหลาย. หิ ศัพท์ เป็นเพียง

บทว่า นิริย อคจฺฉิสฺส ความว่า เข้าถึงนรกใหญ่ทั้ง ๘ ขุม มี

สัญชีวนรกเป็นต้น และอุสสทนรก ๑๖ ขุม มีกุกกุฬนรกเป็นต้น ด้วยสามารถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 316

แห่งปฏิสนธิ. คำว่า ปุนปฺปุน นี้ ก็ควรนำมา (ประกอบ) ในคำว่า นิริย

อคจฺฉิสฺส นี้ด้วย.

บทว่า เปตโลก ได้แก่ เปรตวิสัย อธิบายว่า ได้แก่ อัตภาพเปรต

มีขุปปิปาสาเปรตเป็นต้น.

บทว่า อาคม ได้แก่ เข้าถึงคือเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งปฏิสนธิ.

บทว่า ปุนปฺปุน ได้แก่ ไป ๆ มา ๆ.

บทว่า ทุกฺขมมฺหิปิ ความว่า แม้ที่สุดแสนจะทนได้ เพราะทุกข์

ทั้งหลายมีการโบยด้วยหวายที่แข็งและปฏักที่คมเป็นต้น. ก็คำว่า ทุกฺขมมฺ-

หิปิ นี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งลิงควิปลาส (คือเป็นทุกฺขมายปิ เพราะ

เป็นวิเสสนะของติรจฺฉานโยนย). บทว่า ติรจฺฉานโยนิย ได้แก่ ในกำเนิด

เดียรฉาน แยกประเภทเป็นเนื้อและนกเป็นต้น.

บทว่า เนกธา หิ ความว่า อาตมาภาพอยู่มาเนิ่นนานแล้ว คือ

ตลอดกาลยึดยาวนานแล้ว มากมายหลายประการ ทั้งด้วยสามารถแห่งสัตว์

๔ เท้า มีอูฐ โค และแพะเป็นต้น ทั้งด้วยสามารถแห่งสัตว์มีปีกทั้งหลายมีกา

นกตระกุมและเหยี่ยวเป็นต้น และหลายวาระด้วยกัน คือ เสวยทุกข์ด้วยอำนาจ

แห่งภัยมีความมีใจหวาดส่ะดุ้งเป็นต้นเนืองนิจ เพื่อแสดงให้เห็นว่า สัตว์ที่เกิด

ในกำเนิดเดียรฉานวกกลับไปกลับมา ในกำเนิดเดียรฉานนั้นนั่นเองนานเท่านาน

เพราะงมงายมาก ท่านจึงได้กล่าวคำว่า จิร ไว้ในที่นี้.

บทว่า มานุโสปิ จ ภโวภิราธิโต ความว่า ถึงอัตภาพมนุษย์

อาตมาภาพก็ชอบใจมาแล้ว คือสำเร็จมาแล้ว ได้แก่ เผชิญมาแล้วด้วยกุศลกรรม

เช่นนั้นประชุมกันเป็นเหตุ. ในเรื่องนี้ควรยกญาณกัจฉโปปมสูตรมาเป็น

อุทาหรณ์.

บทว่า สคฺคกายมคม สกึ สกึ ความว่า อาตมาภาพได้เข้าถึง

ฝูงทวยเทพชั้นกามาพจร กล่าวคือการไปสู่สวรรค์ ด้วยสามารถแห่งการเกิดขึ้น

เป็นครั้งเป็นคราว คือ บางกาลบางสมัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 317

บทว่า รูปธาตุสุ ได้แก่ ในรูปภพมีภวัคคพรหมที่เป็นปุถุชน เป็น

ที่สุด.

บทว่า อรูปธาตุสุ ได้แก่ ในอรูปภพทั้งหลาย.

บทว่า นาสญฺิสุ อสญฺิสุฏฺิต ความว่า ไม่ใช่เพียงแต่เกิดขึ้น

ในรูปภพและอรูปภพล้วน ๆ เท่านั้น โดยที่แท้แล้วในเนวสัญญีนาสัญญีภพ

และในอสัญญีภพ ก็เกิดขึ้นสถิตอยู่แล้ว. ควรนำบทว่า มยา (อันเรา) มา

ประกอบเข้าด้วย. ก็ด้วยศัพท์ว่า เนวสัญญี ในคาถานี้ท่านถือเอาอสัญญีภพ

ด้วย พึงทราบว่า ถึงแม้ว่า ภพทั้ง ๒ เหล่านี้ ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า รูปธาตุ

และอธูปธาตุ แต่ว่า สัตว์เหล่าใดที่เป็นภายนอกจากนี้ มีความสำคัญในภพ

นั้นว่า เที่ยงแท้ และมีความสำคัญว่า เป็นความหลุดพ้นในภพ เพื่อแสดงให้

เห็นถึงความที่ความสำคัญนั้นของสัตว์เหล่านั้นว่าผิด ท่านจึงได้ถือเอาแยก

ออกไปต่างหาก.

พระเถระเจ้าครั้นแสดงการเสวยวัฏทุกข์ของตนในสงสารที่ไม่มีเบื้องต้น

เพราะความที่ท่านตัดขาดมูลรากของภพ ด้วยคาถา ๒ คาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะแสดงการะสวยวิวัฏสุข (ความสุขในวิวัฏฏะ) จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ไว้

โดยนัยมีอาทิว่า สมฺภวา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺภวา ได้แก่ ภพทั้งหลาย เพราะว่า

ภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้นเท่านั้น มีอยู่โดยการชุมนุมแห่งเหตุปัจจัย เพราะ

ฉะนั้น ในคาถานี้ ภพท่านจึงกล่าวว่า สัมภวะ.

บทว่า สุวิทิตา ความว่า รู้ดีแล้วด้วยมรรคปัญญา ที่ประกอบด้วย

วิปัสสนาปัญญา.

คำว่า อสารกา เป็นต้น เป็นคำแสดงถึงอาการที่ท่านเหล่านั้นรู้ดี

แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 318

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสารกา ความว่า เว้น จากสาระมีสาระ

คือ เที่ยงเป็นต้น.

บทว่า สงฺขตา ความว่า อันปัจจัยทั้งหลาย ประมวลปรุงแต่งขึ้น.

บทว่า ปจลิตา ความว่า หวั่นไหวไปโดยประการ (ต่าง ๆ) คือ

ไม่ตั้งอยู่มั่นคงแล้ว เพราะความเกิดและความแก่เป็นต้น เหตุที่ถูกปัจจัยปรุง

แต่งนั่นเอง.

บทว่า สเทริตา ความว่า หวั่นไหวแล้ว คือ เป็นของต่ำช้าเพราะ

แตกทำลายไป ได้แก่ ถึงความแตกหักไป อธิบายว่า พังทะลายไปทุกเมื่อ

คือ ตลอดกาลทุกเมื่อ.

บทว่า ต วิทิตฺวา มหมตฺตสมฺภว ความว่า ข้าพเจ้าครั้นรู้ข้อนั้น

คือ สภาพที่ถูกปรุงแต่ง ตามที่กล่าวมาแล้วอันเกิดในตน คือ สมภพแล้วใน

ตน ได้แก่ ที่เนื่องด้วยตน ไม่เนื่องด้วยผู้อื่น โดยเป็นอิสระเป็นต้น ด้วย

อำนาจการบรรลุด้วยการกำหนดรู้แล้ว จึงเป็นผู้มีสติ ด้วยสติที่สัมปยุตด้วย

มรรคปัญญา ได้บรรลุ คือ ถึงทับ ได้แก่ ถึงแล้วโดยลำดับ ซึ่งสันติธรรม

นั่นแหละ คือ พระนิพพานนั่นเองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสังขตธรรมนั้น. พระ-

เถรเจ้าได้พยากรณ์พระอรหัตผล แก่พระญาติเหล่านั้น ด้วยธรรมเทศนาที่

สำคัญโดยประการดังที่พรรณนามานี้.

จบอรรถกถาโคตมเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 319

๑๕. หาริตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระหาริตเถระ

[๓๒๑] ได้ยินว่า พระหาริตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ผู้ใดมุ่งจะทำงานที่ควรทำก่อน ไพล่ไปทำใน

ภายหลัง ผู้นั้นย่อมพลาดจากฐานะ อันนำมาซึ่งความ

สุข และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง. งานใดควรทำ ก็

พึงพูดถึงแต่งานนั้นเถิด งานใดไม่ควรทำ ก็ไม่ควร

พูดถึงงานนั้น คนไม่ทำมีแต่พูด บัณฑิตทั้งหลาย

ก็รู้ทัน. พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง

แล้ว เป็นสุขจริงหนอ ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี

คือกิเลส เป็นธรรมเกษม เป็นที่ดับทุกข์ ดังนี้.

อรรถกถาหาริตเถรคาถา

คาถาของท่านพระหาริตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โย ปุพฺเพ กรณี-

ยานิ. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้ท่านพระหาริตเถระ นั้น เกิดแล้ว ในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล

ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมตตระ รู้เดียงสา

แล้ว เมื่อพระศาสดา ปรินิพพานแล้ว เมื่อประชาชนพากันบูชาที่เชิงตะกอน

ของพระองค์ ได้ทำการบูชาด้วยของหอม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 320

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมา ในเทวโลกและมนุษยโลก

มาในพุทธุปบาทกาล ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ มีนามว่า หาริตะ เจริญ

วัยแล้ว อาศัยความถือตัวเพราะชาติ จึงร้องเรียกคนอื่น ด้วยวาทะว่า คนถ่อย

ถึงบวชแล้ว ก็ไม่เลิกละการร้องเรียกว่า คนถ่อย เพราะพระพฤติมานานแล้ว

อยู่มาวันหนึ่ง ท่านได้ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา เกิดความสลดใจ เริ่ม

ตั้งวิปัสสนากรรมฐาน ตรวจตราดูความเป็นไปแห่งจิตของตน ได้เห็นจิตถูก

มานะและอุทธัจจะยึดแล้ว จึงละทิ้งมานะและอุทธัจจะ ยังวิปัสสนาให้ก้าว

หน้าขึ้นไปแล้ว ได้บรรลุพระอรหัตผล. ด้วยเหตุนั้น ในอปทาน ท่านจึงได้

กล่าวไว้ว่า

เมื่อมหาชนทำเชิงตะกอน นำของหอมนานา

ชนิดมา ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ดีใจ ได้บูชาด้วยของ

หอมกำมือ ๑ ในกัปที่แสน นับถอยหลัง แต่กัปนี้ไป

เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าได้บูชาเชิงตะกอน จึงไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาเชิงตะกอน. กิเลสทั้งหลาย

ข้าพเจ้าเผาแล้ว ฯลฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง ท่านครั้นเป็นพระอรหันต์แล้ว เมื่อเสวยวิมุตติสุข ได้พยากรณ์

พระอรหัตผล โดยการให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายโดยตรง ด้วยคาถา ๓

คาถา ว่า

ผู้ใดมุ่งจะทำงานที่ควรทำก่อน ไพล่ไปทำในภาย

หลัง ผู้นั้นย่อมพลาดจากฐานะ อันนำมาซึ่งความสุข

และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง. งานใดควรทำ ก็พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 321

พูดถึงแต่งานนั้นเถิด งานใดไม่ควรทำ ก็ไม่ควรพูด

ถึงงานนั้น คนไม่ทำมีแต่พูด บัณฑิตทั้งหลายก็รู้ทัน.

พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว

เป็นสุขจริงหนอ ไม่มีความโศก ปราศจากธุลีคือกิเลส

เป็นธรรมเกษมเป็นที่ดับทุกข์ ดังนี้.

เนื้อความของคาถาเหล่านั้น ได้กล่าวไว้ในหนหลังแล้วแล.

จบอรรถกถาหาริตเถรคาถา

๑๖. วิมลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวิมลเถระ

[๓๒๒] ได้ยินว่า พระวิมลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

บุคคลผู้ปรารถนาความสุขอันถาวร ควรเว้นบาป

มิตร คบหาแต่บุคคลผู้สูงสุด และควรตั้งอยู่ในโอวาท

ของท่าน. คนเกาะไม้เล็ก ๆ ต้องจมอยู่ใน

ห้วงมหรรณพ ฉันใด คนแม้ดำรงชีพอย่างดี แต่

อาศัยคนเกียจคร้าน ก็ต้องจมอยู่ใน (ในวัฏสงสาร)

ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงควรเว้นคนเกียจคร้าน มี

ความเพียรเลวทราม ควรอยู่ร่วมกับบัณฑิตทั้งหลาย

ผู้สงัดเป็นอริยะ มีใจเด็ดเดี่ยว เข้าฌานเป็นปกติ

ปรารภความเพียรเป็นนิจ.

จบวรรคที่ ๑

จบติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 322

อรรถกถาวิมลเถรคาถา

คาถาของท่านพระวิมลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปาปมิตฺเต. มีเรื่อง

เกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้ท่านพระวิมลเถระ นี้ มีบุญญาธิการได้ทำไว้แล้ว ในพระ-

พุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เมื่อสั่งสมบุญที่เป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะ ในภพนั้น ๆ

มาในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เกิด

ในคฤหาสน์ของผู้มีตระกูล รู้เดียงสาแล้ว เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว วัน

เล่นสนุกสนานผ่านไปแล้ว เมื่ออุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย รับเอาพระพุทธ-

สรีระไปสู่ที่ถวายพระเพลิง รำลึกถึงพระคุณของพระศาสดาแล้ว มีจิตเลื่อมใส

ได้ทำการบูชา ด้วยดอกมะลิ.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านได้ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก

มาในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมืองพาราณสี มีชื่อ

ว่า วิมละ เจริญวัยแล้ว อาศัยท่านโสมมิตเถระ บวชในพระศาสนา ถูก

ท่านพระโสมมิตเถระนั่นเอง กระตุ้นเตือน เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา ไม่ช้านัก

ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในอปทานว่า

เมื่อกลองดังกระหึ่มขึ้น ในเมื่อชนทั้งหลาย นำ

พระพุทธสรีระออกไป ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ดีใจ ได้

บูชาด้วยดอกไม้โลทแดง ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เพราะ

เหตุที่ข้าพเจ้าบูชาด้วยดอกไม้ จึงไม่รู้จักทุคติเลย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 323

นี้เป็นผลของการบูชาพระพุทธสรีระ. กิเลสทั้งหลาย

ข้าพเจ้าเผาแล้ว ฯลฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง ท่านครั้นบรรลุพระอรหัตผลแล้ว เมื่อจะให้โอวาทแก่ภิกษุผู้

เป็นสหายของตน ได้ภาษิตคาถาไว้ ๓ คาถาว่า

บุคคลปรารถนาความสุขอันถาวร ควรเว้นบาป

มิตร คบหาแต่บุคคลผู้สูงสุด และควรตั้งอยู่ในโอวาท

ของท่าน. คนเกาะไม้เล็ก ๆ ต้องจมลงในห้วง

มหรรณพ ฉันใด คนแม้ดำรงชีพอย่างดี แต่อาศัย

คนเกียจคร้าน ก็ต้องจมอยู่ (ในวัฏสงสาร) ฉันนั้น

เพราะฉะนั้น จึงควรเว้นคนเกียจคร้าน มีความเพียร

เลวทราม ควรอยู่ร่วมกับบัณฑิตทั้งหลาย ผู้สงัดเป็น

อริยะ มีใจเด็ดเดี่ยว เข้าฌานเป็นปกติ ปรารภความ

เพียรเป็นนิจ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปมิตฺเต ได้แก่ ผู้ไม่เป็นกัลยาณมิตร

คือ ผู้ไม่ใช่สัตบุรุษ มีความเพียรเสื่อมแล้ว.

บทว่า วิวชฺเชตฺวา ความว่า เว้นบาปมิตรนั้นแต่ไกล โดยการ ไม่

คบหา.

บทว่า ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคล ความว่า ควรส้องเสพกัลยาณมิตร

ที่เป็นสัตบุรุษเป็นบัณฑิต ด้วยการรับเอาโอวาทานุสาสนี.

บทว่า โอวาเท จสฺส ติฏฺเยฺย ความว่า ควรตั้งอยู่ในโอวาท

ของกัลยาณมิตรนั้น โดยการปฏิบัติ ตามที่สอน คือตามที่อนุศาสน์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 324

บทว่า ปฏฺเนฺ โต ได้แก่ จำนงอยู่.

บทว่า อจล สุข ได้แก่ ทั้งนิพพานสุข ทั้งผลสุข. ด้วยว่า ความสุข

นั้นท่านเรียก อจละ เพราะเป็นความสุขไม่กำเริบ. คำที่เหลือ มีเนื้อความ

ดังกล่าวมาแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาวิมลเถรคาถา

จบภาค ๑

ในติกนิบาตนี้ รวมพระเถระได้ ๑๖ รูป คือ

๑. พระอังคณิกภารทวาชเถระ ๒. พระปัจจยเถระ ๓. พระพากุล

เถระ ๔. พระธนิยเถระ ๕. พระมาตังคบุตรเถระ ๖. พระขุชชโสภิตเถระ

๗. พระวารณเถระ ๘. พระปัสสิกเถระ ๙. พระยโสชเถระ ๑๐. พระสา-

ฏิมัตติกเถระ ๑๑. พระอุบาลีเถระ ๑๒. พระอุตตรปาลเถระ ๑๓. พระ

อภิภูตเถระ ๑๔. พระโคตมเถระ ๑๕. พระหาริตเถระ ๑๖. พระวิมลเถระ

เป็นคาถาที่ท่านรจนาไว้รวม ๔๘ คาถา ฉะนี้แล และอรรถกถา.