พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย เถรคาถา
เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๓
ตอนที่ ๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เถรคาถา
[๑๓๗] ขอท่านทั้งหลายจงฟังคาถาอันน้อมเข้าไป
สู่ประโยชน์ ของพระเถระทั้งหลาย ผู้มีตนอันอบรม
แล้วบันลืออยู่ ดุจการบันลือแห่งสีหะทั้งทลาย ซึ่ง
เป็นสัตว์ประเสริฐ ว่าเหล่าสัตว์ที่มีเขี้ยวทั้งหลาย ที่
ใกล้ถ้ำภูเขา ฉะนั้น ก็พระเถระเหล่านั้น มีชื่อ มีโคตร
มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีจิตน้อมไปแล้วในธรรมตามที่
ปรากฏแล้ว มีปัญญา เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน อยู่ใน
เสนาสนะอันสงัด มีป่า คนไม้ และภูเขาเป็นต้นนั้น ๆ
ได้เห็นธรรมแจ่มแจ้ง และได้บรรลุนิพพาน อันเป็น
ธรรมไม่แปรผัน เมื่อพิจารณาเห็นผล อันเป็นที่สุดกิจ
ซึ่งตนทำเสร็จแล้ว จึงได้ภาษิตเนื้อความนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 2
ปรมัตถทีปนี
อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา
คันถารัมภกถา
ข้าพเจ้าขอไหว้พระโลกนาถเจ้า ผู้มีพระทัย
เปี่ยมล้นไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จถึงฝั่งแห่ง
สาครคือไญยธรรมได้แล้ว ทรงแสดงธรรมอันละเอียด
ลึกล้ำ มีนัยอันวิจิตร.
ข้าพเจ้าขอไหว้พระธรรมอันสูงสุด ที่สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบูชาแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องนำผู้
สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะออกไปจากโลก.
ข้าพเจ้าขอไหว้พระอริยสงฆ์ ผู้สมบูรณ์ด้วย
คุณมีศีลเป็นต้น สถิตมั่นอยู่ในมรรคและผล เป็น
เนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม.
ด้วยเดชานุภาพแห่งบุญ ที่เกิดจากการไหว้-
พระรัตนตรัย ดังได้พรรณนามานี้ ขอข้าพเจ้าจงปลอด
จากอันตรายในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ. คาถา
เหล่านั้นใด ที่ปราศจากอามิส อันพระเถระทั้งหลาย
ผู้เสร็จกิจแล้ว ผู้คงที่ มีพระสุภูติเถระเป็นต้น และ
พระเถรีทั้งหลายภาษิตแล้ว และคาถาเหล่าใด ที่ลึกล้ำ
ละเอียดอ่อน สดับแล้วโดยวิธี มีอุทานเป็นต้น ปฏิ-
สังยุตด้วยสุญญตธรรม ประกาศธรรมของพระอริยเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 3
พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ผู้คงที่ ผู้แสวงหาคุณ
อันยิ่งใหญ่ รวบรวมคาถาเหล่านั้นไว้ ในคัมภีร์
ขุททกนิกาย โดยเรียกชื่อว่า เถรคาถา และ เถรคาถา.
อันที่จริงการแต่งอรรถกถา พรรณนาความลำดับบทที่
มีอรรถอันลึกซึ้ง ที่ข้าพเจ้าทำ มิใช่ของที่ทำได้ง่ายเลย
เพราะเป็นอรรถที่จะพึงหยั่งถึงได้ ก็ด้วยคัมภีรญาณ
แต่เพราะอรรถกถาจะช่วยทรงศาสนาของพระศาสดา
ไว้ได้ ทั้งวินิจฉัยของบรรดาบุรพาจารย์ ผู้เปรียบปาน
ด้วยราชสีห์ ก็จะยังคงดำรงอยู่ด้วย ฉะนั้น ข้าพเจ้า
จึงจักขอแต่งอรรถกถา "เถรคาถา" และ "เถรีคาถา"
เต็มกำลังความสามารถ โดยจะยึดวินิจฉัยของบรรดา
บุรพาจารย์นั้นเป็นหลัก ถือนิกาย ๕ เป็นเกณฑ์ อิง
อาศัยนัยจากโบราณอรรถกถา แม้จะเป็นเพียงคำบอก
กล่าว ที่ได้อาศัยอ้างอิงกันมา แต่บริสุทธิ์ก็ถูกต้อง
ไม่คลาดเคลื่อน เป็นการวินิจฉัยที่ละเอียด ของบรรดา
บุรพาจารย์คณะมหาวิหาร และข้อความของคาถา
เหล่าใด เว้นอนุปุพพิกถาเสียแล้วรู้ได้ยาก ข้าพเจ้า
จะนำอนุปุพพิกถานั้น ของคาถาเหล่านั้น มาแสดงให้
แจ่มแจ้ง ทั้งจะแสดงข้อวินิจฉัยอีกด้วย.
สาธุชนทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายได้โปรด
ตั้งใจสดับ การพรรณนาความแห่งอรรถกถา เถรคาถา
และเถรีคาถานั้น ซึ่งจะจำแนกต่อไป ของข้าพเจ้าผู้
หวังให้พระสัทธรรมดำรงมั่นอยู่ได้นาน ต่อไปเทอญ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 4
อารัมภกถาวรรณนา
ก็เถรคาถา และเถรีคาถา แต่ละคาถาเป็นอย่างไร ? และมีประวัติ
เป็นมาอย่างไร ? ถึงความข้อนี้ ท่านจะกล่าวไว้ในคาถาทั้งหลายแล้วก็จริง
แต่เถรคาถาที่พระสุภูติเถระเป็นต้น กล่าวแล้วในคาถานั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวซ้ำ
อีก เพื่อทำข้อความให้ปรากฏ. ก็พระเถระเหล่านั้นพิจารณาเห็นสุขอันเกิดแต่
มรรคผล ตามที่ตนบรรลุแล้ว ได้กล่าวคาถาบางอย่างไว้ ด้วยสามารถแห่ง
อุทาน ได้กล่าวคาถาบางอย่างด้วยสามารถแห่งการพิจารณาธรรมเป็นเครื่องอยู่
คือสมาบัติของตน ได้กล่าวคาถาบางอย่างไว้ด้วยสามารถแห่งคำถาม ได้กล่าว
คาถาบางอย่างไว้ด้วยสามารถ (ชี้ให้เห็น) ข้อที่คำสอนเป็นนิยยานิกธรรม. ใน
เวลาทำสังคายนา พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ร้อยกรองคาถาทั้งหมด
เหล่านั้นไว้ เป็นหมวดเดียวกัน (โดยให้ชื่อ) ว่า " เถรคาถา ". ส่วนเถรีคาถา
ท่านแสดงไว้เฉพาะพระเถรีทั้งหลาย.
ก็ในบรรดาปิฎกทั้ง ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก
คาถาเหล่านั้น นับเนื่องในสุตตันตปิฎก. ในบรรดานิกายทั้ง ๕ คือ ทีฆนิกาย
มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย (และ) ขุททกนิกาย คาถาเหล่านั้น
นับเนื่องในขุททกนิกาย. ในบรรดาสัตถุศาสน์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์
คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ สงเคราะห์เข้าเป็น
" คาถา ". ก็ในบรรดาธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ ที่พระอานนทเถระ
ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก ปฏิญาณไว้อย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 5
ธรรมเหล่าใด ที่เป็นไปแก่ข้าพเจ้า ธรรม
เหล่านั้น ข้าพเจ้าเรือนเอาจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐
จากภิกษุรูปอื่น ๒,๐๐๐ รวมเป็น ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์
ดังนี้ ก็สงเคราะห์เข้าในธรรมขันธ์จำนวนเล็กน้อย.
ในบรรดาเถรคาถา และเถรีคาถาเหล่านั้น เถรคาถาจะว่าโดยนิบาต
ก่อน เอกนิบาตจนถึงจุททสนิบาต โดยนับเกิน ๑ คาถาขึ้นไป รวมเป็น
จุททสนิบาต และนิบาต ๗ เหล่านี้ คือ โสฬสนิบาต วีสตินิบาต ติงสนิบาต
จัตตาฬีสนิบาต ปัญญาสนิบาต สัฏฐินิบาต ( และ) สัตตตินิบาต รวมเป็น ๒๑
นิบาต. ชื่อว่า นิบาต เพราะอรรถว่า ตั้งไว้ วางไว้. ชื่อว่า เอกนิบาต เพราะ
เป็นที่ตั้งไว้วางไว้ ซึ่งคาถานิบาตละหนึ่งคาถา. แม้ในนิบาตที่เหลือก็พึงทราบ
ความโดยนัยนี้.
ในบรรดานิบาตเหล่านั้น เอกนิบาตมี ๑๒ วรรค. ในวรรคหนึ่ง ๆ
แบ่งออกเป็นวรรคละ ๑๐ จึงมีพระเถระ ๑๒๐ รูป คาถาก็มีเท่านั้นเหมือนกัน
สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ในแต่ละนิบาต พระเถระ ๑๒๐ รูป ผู้เสร็จกิจ
แล้ว หาอาสวะมิได้พร้อมด้วยพระธรรมสังคาหกาจารย์
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ร้อยกรองไว้ดีแล้ว
ดังนี้.
ในทุกนิบาต มีพระเถระ ๔๙ รูป มีคาถา ๙๘ คาถา.
ในติกนิบาต มีพระเถระ ๑๖ รูป มีคาถา ๔๘ คาถา.
ในจตุกนิบาต มีพระเถระ ๑๓ รูป มีคาถา ๕๒ คาถา.
ในปัญจกนิบาต มีพระเถระ ๑๒ รูป มีคาถา ๖๐ คาถา.
ในฉักกนิบาต มีพระเถระ ๑๔ รูป มีคาถา ๘๔ คาถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 6
ในสัตตกนิบาต มีพระเถระ ๕ รูป มีคาถา ๓๕ คาถา.
ในอัฏฐกนิบาต มีพระเถระ ๓ รูป มีคาถา ๒๔ คาถา.
ในนวกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๙ คาถา.
ในทสกนิบาต มีพระเถระ ๗ รูป มีคาถา ๗๐ คาถา.
ในเอกาทสกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๑๑ คาถา.
ในทวาทสกนิบาต มีพระเถระ ๒ รูป มีคาถา ๒๔ คาถา.
ในเตรสกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๑๓ คาถา.
ในจุททสกนิบาต มีพระเถระ ๒ รูป มีคาถา ๒๘ คาถา.
ปัณณรสกนิบาต ไม่มี.
ในโสฬสกนิบาต มีพระเถระ ๒ รูป มีคาถา ๓๒ คาถา.
ในวีสตินิบาต มีพระเถระ ๑๐ รูป มีคาถา ๒๔๕ คาถา.
ในติงสนิบาต มีพระเถระ ๓ รูป มีคาถา ๑๐๕ คาถา.
ในจัตตาลีสนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๔๒ คาถา.
ในปัญญาสนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๕๕ คาถา.
ในสัฏฐิกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๖๘ คาถา.
แม้ในสัตตตินิบาต* มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๗๑ คาถา.
ก็เมื่อประมวลแล้ว มีพระเถระ ๒๖๔ รูป มีคาถา ๑,๓๖๐ คาถา
ฉะนี้แล และแม้ข้อนี้ ก็มีวจนะประพันธ์คาถา ที่ท่านกล่าวรับรองไว้ว่า
พระธรรมสังคาหกาจารย์ ประกาศไว้ว่า มีคาถา
๑,๓๖๐ คาถา มีพระเถระ ๒๖๔ รูป ดังนี้.
ส่วนเถรีคาถา สงเคราะห์เข้าในโสฬสนิบาต คือ นิบาต ๙ นิบาต
ได้แก่ เอกนิบาตจนถึงนวกนิบาต โดยเพิ่มขึ้นนิบาตละ ๑ คาถา และเอกาทสก-
* มหานิบาต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 7
นิบาต ทวาทสกนิบาต โสฬสกนิบาต วีสตินิบาต ติงสตินิบาต จัตตาลีสนิบาต
มหานิบาต.
ในเอกนิบาต มีพระเถรี ๑๘ รูป มีคาถา ๑๘ คาถาเท่ากัน.
ในทุกนิบาต มีพระเถรี ๑๐ รูป มีคาถา ๒๐ คาถา.
ในติกนิบาต มีพระเถรี ๘ รูป มีคาถา ๒๔ คาถา.
ในจตุกนิบาต มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๔ คาถา.
ในปัญจกนิบาต มีพระเถรี ๑๒ รูป มีคาถา ๖๐ คาถา.
ในฉักกนิบาต มีพระเถรี ๘ รูป มีคาถา ๔๘ คาถา.
ในสัตตกนิบาต มีพระเถรี ๓ รูป มีคาถา ๒๑ คาถา.
ตั้งแต่อัฏฐกนิบาตไป จนถึงโสฬสกนิบาต มีพระเถรีนิบาตละ ๑ รูป
คาถาก็มีจำนวนเท่ากับนิบาตนั้น ๆ.
ในวีสตินิบาต มีพระเถรี ๕ รูป มีคาถา ๑๑๘ คาถา.
ในติงสนิบาต มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๓๔ คาถา.
ในจัตตาลีสนิบาต มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๔๘ คาถา
แม้ในมหานิบาต ก็มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๗๕ คาถา.
ในเถรคาถา และเถรีคาถานี้ พึงทราบจำนวนแห่งนิบาต คาถาวรรค
และคาถาทั้งหลาย ดังพรรณนามานี้.
จบอารัมภกถาวรรณนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 8
นิทานกถาวรรณนา
ในเถรคาถา และเถรีคาถาเหล่านี้ ซึ่งมีจำนวนตามที่กำหนดไว้แล้ว
อย่างนี้ เถรคาถาเป็นคาถาต้น. แม้ในบรรดาเถรคาถาเหล่านั้น คาถาที่ท่าน
พระอานนท์ กล่าวไว้เพื่อชมเชยพระเถระเหล่านั้น ในคราวทำปฐมสังคายนา
นี้ว่า
ขอท่านทั้งหลายจงฟังคาถา อันน้อมเข้าไปสู่
ประโยชน์ ของพระเถระทั้งหลาย ผู้มีตนอันอบรมแล้ว
บันลืออยู่ ดุจการบันลือแห่งสีหะทั้งหลาย ซึ่งเป็น
สัตว์ประเสริฐว่าเหล่าสัตว์ที่มีเขี้ยวทั้งหลาย ที่ใกล้ถ้ำ
ภูเขา ฉะนั้น ดังนี้ เป็นคาถาแรก.
ศัพท์ว่า สีหะ ในบทว่า สีหาน ในคาถานั้นมาแล้ว ในความหมายว่า
พญาเนื้อ ดังในประโยคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราชสีห์เป็น พญาเนื้อ. มาใน
ความหมายว่า บัญญัติ ดังในประโยคว่า ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดี เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยที่ซึ่งพระองค์เสด็จประทับอยู่. มาในความหมายว่า
ตถาคต ดังในประโยคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า สีหะ นี้ เป็นชื่อของ
เราผู้ตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ในความหมาย ๓ อย่างนั้น ในความ
หมายว่าตถาคต สีหศัพท์มาแล้วในความหมายว่าคล้ายกัน ฉันใด แม้ในคาถานี้
ก็ฉันนั้น สีหศัพท์พึงทราบว่า มาแล้วด้วยสามารถแห่งความหมายว่าคล้ายกัน.
เพราะฉะนั้น บทว่า สีหาน ว จึงตัดบทเป็น สีหาน อิว (แปลว่า ดุจราชสี)
ลบสระเสียด้วยอำนาจสนธิ ดังในประโยคเป็นต้นว่า เอว ส เต ดังนี้. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า อิว เป็นบทนิบาต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 9
บทว่า สุณาถ เป็นบทอาขยาต. นอกนี้เป็นบทนาม. และบทว่า
สีหานว ในเวลาเชื่อมความใช้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ก็และการเชื่อมความในบทว่า
สีหานว นี้ ถึงท่านจะไม่ได้กล่าวไว้โดยสรุปก็จริง แต่โดยอรรถ ย่อมชื่อว่า
เป็นอันท่านกล่าวไว้แล้วทีเดียว. เพราะเหมือนอย่าง เมื่อพูดว่า โอฏฺสฺเสว
มุข เอตสฺส ดังนี้ ก็เท่ากับพูดความนี้ว่า หน้าของเขาเหมือนหน้าอูฐ ฉันใด
แม้ในข้อนี้ก็ฉันนั้น เมื่อพูดว่า สีหานว ก็เท่ากับพูดความนี้ว่า เหมือนการ
บันลือของสีหะ ฉะนั้น. ถ้าจะต่อศัพท์ว่า มุขะ เข้าในบทว่า โอฏฺสฺเสว
ได้ไซร้ แม้ในบทว่า สีหานว นี้ ก็ต่อบทว่า นทนฺตาน เข้าได้ (เหมือนกัน)
เพราะฉะนั้น บทว่า สีหาน ว จึงเป็นบทตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น.
บทว่า นทนฺตำน แสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกัน ของบทว่า สีหานว
นั้น โดยเป็นตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น.
บทว่า ทาีน เป็นวิเสสนะของบทว่า สีหาน. บทว่า คิริคพฺภเร
แสดงถึงที่ซึ่งราชสีห์นั้นเที่ยวไป. บทว่า สุณาถ เป็นคำเชิญชวนในการฟัง.
บทว่า ภาวิตตฺตาน แสดงถึงมูลเค้าของสิ่งที่ควรฟัง. บทว่า คาถา ได้แก่
คำที่แสดงถึงเรื่องที่น่าฟัง. บทว่า อตฺถูปนายิกา เป็นวิเสสนะของบทว่า
คาถา. แท้จริงคำว่า สีหาน นทนฺตาน ทาีน ในคาถานี้มาแล้ว โดย
เป็นปุงลิงค์โดยแท้ แต่เปลี่ยนลิงค์เสียแล้ว พึงทราบความ แม้โดยเป็นอิตถีลิงค์
ว่า สีหีน เป็นต้น. อีกอย่าง โดยรูปเอกเสสสมาส ทั้งราชสีห์ และนางราชสีห์
ชื่อว่าสีหะ. ก็บรรดาบทเหล่านั้น โดยบทมีอาทิว่า สีหานนิทานคาถาทั้ง ๓
คาถาเหล่านี้ ใช้ได้ทั่วไปทั้งเถรคาถา และเถรีคาถา.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า สีหานว นั้นต่อไป ชื่อว่า สีหะ เพราะ
อดทน และเพราะฆ่า. อธิบายว่า เปรียบเหมือนราชสีห์ ที่เป็นพญามฤค
ย่อมไม่มีอันตรายแม้จากสรภมฤค และช้างที่ตกมันแล้วเป็นต้น เพราะประกอบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 10
ไปด้วยพลังพิเศษ แม้อันตรายจากลมและแดดเป็นต้น ราชสีห์ก็อดทนได้ทั้งนั้น
แม้เมื่อออกหากิน พบช้างตระกูลคันธะตกมัน และกระบือป่าเป็นต้น ก็ไม่
หวาดหวั่น ไม่พรั่นพรึงผจญได้ เพราะผยองในเดช และเมื่อผจญก็จะฆ่าสัตว์
เหล่านั้นได้โดยแท้ แล้วกัดกินเนื้ออ่อน ในที่นั้น ๆ อยู่ได้อย่างสบายทีเดียว
ฉันใด พระมหาเถระทั้งหลาย แม้เหล่านี้ก็ฉันนั้น ไม่หวาดหวั่น ไม่พรั่นพรึง
แม้แต่ที่ไหน ๆ เพราะมีความผยองในเดช โดยละอันตรายแม้ทั้งปวงเสียได้
เพราะประกอบไปด้วยคุณพิเศษอันเป็นกำลังของพระอริยะ เพราะครอบงำพลัง
แห่งสังกิเลสมีราคะเป็นต้น แล้วฆ่าเสียคือละได้ ย่อมอยู่โดยสุขมีสุขในฌาน
เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สีหะ เพราะเป็นประดุจราชสีห์ โดยอดทน
และโดยการฆ่า. แต่โดยอรรถแห่งศัพท์ พึงทราบว่า ชื่อว่า สีหะ ด้วยอรรถว่า
เบียดเบียน เหมือนอย่างสิ่งที่ชาวโลก เรียกกันว่าเปรียง ด้วยอรรถว่าเป็นที่
ชอบใจ โดยย้ายอักษรข้างต้นมาไว้ข้างหลัง. แม้ที่ชื่อว่าราชสีห์ ด้วยอรรถว่า
อดกลั้น ก็พึงทราบอย่างนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ไกรสรราชสีห์พญามฤค ตัวเดียวเทียวไปอยู่ เพราะความ
ผยองในเดชของตน ไม่หวังเอาสัตว์ไร ๆ เป็นสหาย ฉันใด แม้พระเถระเหล่านี้
ก็ฉันนั้น ชื่อว่าสีหะ เพราะเป็นดุจสีหะ เพราะความเป็นผู้ยินดียิ่งในวิเวก
และแม้เพราะอรรถว่าเป็นผู้เดียวเที่ยวไป เพราะเที่ยวไปแต่ผู้เดียว โดยความ
เป็นผู้สูงด้วยเดช. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สีหเวกจร
นาค (เป็นเหมือนราชสีห์ และช้างใหญ่ เที่ยวไปโดดเดี่ยว) ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระมหาเถระเหล่านี้ ชื่อว่าสีหะ เพราะอรรถว่าเป็น
ดุจสีหะ. เพราะประกอบไปด้วยคุณพิเศษ มีความไม่สะดุ้ง ว่องไว และความ
พยายามเป็นต้น. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 11
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าฝ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำพวก
เป็นไฉน ? คือ ภิกษุผู้ขีณาสพ ๑ สีหมฤคราช ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ดังนี้ แม้ความว่องไวของราชสีห์
ก็ไม่สาธารณะทั่วไปกับสัตว์เหล่าอื่น แม้ความแกล้วกล้าก็เหมือนกัน ( คือไม่
เหมือนสัตว์อื่น). จริงอย่างนั้น ราชสีห์กระโดดไปได้ไกล ถึง ๑๐๐ อุสภะ
ตกลงในหมู่กระบือป่าเป็นต้น ถึงแม้จะเป็นลูกราชสีห์ ก็ยังต่อสู้ช้างที่ตกมัน
ซึ่งทำลายปลอกออกได้ เคี้ยวกินเนื้ออ่อนที่ติดโคนงาได้. ส่วนกำลังแห่ง
อริยมรรค และกำลังแห่งฤทธิ์ของพระมหาเถระเหล่านั้น ก็ไม่สาธารณะทั่วไป
กับภิกษุเหล่าอื่น เป็นทั้งความเพียรในสัมมัปปธาน ๔ เป็นทั้งบุญอันประเสริฐ
ยิ่ง. เพราะฉะนั้น บทว่า สีหานว จึงได้ความว่า ดุจเหมือนราชสีห์. ก็ใน
ข้อนี้ พึงทราบว่า ท่านอุปมาราชสีห์ไว้ต่ำ ๆ เพราะประโยชน์มีความอดกลั้น
เป็นต้น อันเป็นคุณพิเศษล่วงส่วน ได้ในพระเถระทั้งหลายเท่านั้น.
บทว่า นทนฺตาน ความว่า คำรามอยู่. อธิบายว่า ในเวลามุ่งหา
อาหาร และเวลายินดีเป็นต้น ราชสีห์ทั้งหลายออกจากถ้ำของตนแล้ว บิดกาย
บันลือสีหนาทน่าเกรงขาม ฉันใด แม้พระมหาเถระเหล่านี้ ก็ฉันนั้น จะบันลือลั่น
น่าเกรงขาม ในเวลาพิจารณาอารมณ์อันเป็นไปในภายใน และเวลาอุทาน
เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดุจการบันลือของราชสีห์ทั้งหลาย ดังนี้.
บทว่า ทาีน แปลว่า มีเขี้ยว. อธิบายว่า มีเขี้ยวประเสริฐ มีเขี้ยวงามยิ่ง.
อธิบายว่า ราชสีห์ทั้งหลายข่มขวัญปรปักษ์ ด้วยกำลังของเขี้ยวทั้ง ๔ ที่มั่นคง
และกล้าแข็งอย่างยิ่ง แล้วยังมโนรถของตนให้ถึงที่สุดได้ ฉันใด แม้พระ-
มหาเถระเหล่านี้ก็ฉันนั้น ข่มกิเลสอันเป็นปรปักษ์ ที่ตนยังครอบงำไม่ได้ใน
สงสาร ที่หาเบื้องต้นมิได้ ด้วยกำลังแห่งเขี้ยวคืออริยมรรคทั้ง ๔ ยังมโนรถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 12
ของตนให้ถึงที่สุดได้. แม้ในอธิการนี้ พระอริยมรรคชื่อว่าเขี้ยว เพราะเป็น
ดุจเขี้ยว เพราะฉะนั้น พึงทราบความโดยความหมายที่คล้ายกันเท่านั้น.
บทว่า คิริคพฺภเร แปลว่า ใกล้ถ้ำภูเขา. (บทว่า คิริคพฺภเร)
เป็นสัตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คิริควฺหเร.
ความว่า ที่ชัฎแห่งป่าคือไพรสณฑ์ ใกล้ภูเขา. ก็คำว่า คิริคพฺภเร นี้ เป็น
คำแสดงถึงสถานที่อันรุ่งโรจน์ และแสดงถึงภาคพื้นที่ควรบันลือสีหนาทของ
ราชสีห์เหล่านั้น. ประกอบความว่า ของราชสีห์ทั้งหลายซึ่งบันลืออยู่ ที่ใกล้ถ้ำ
ภูเขา ดังนี้.
ก็ราชสีห์ทั้งหลาย เมื่ออยู่ที่ใกล้ถ้ำภูเขา คือในที่ซึ่งสงัดจากผู้คน
เพราะราชสีห์เป็นสัตว์ที่คนและสัตว์อื่นเข้าใกล้ได้ยาก จะบันลือสีหนาทในเวลา
ไปหากิน เพื่อป้องกันความสะดุ้งกลัวของหมู่มฤคเล็ก ๆ ที่จะบังเกิดขึ้นเพราะ
เห็นตน ฉันใด แม้พระมหาเถระเหล่านี้ เมื่ออยู่ในสุญญาคาร เช่นเดียวกับ
ถ้ำภูเขา ที่คนเหล่าอื่นเข้าใกล้ได้ยากทีเดียว ก็บันลือ (สีหนาท) อย่างไม่
เกรงใคร กล่าวคือคาถาที่กล่าวไว้ เพื่อหลีกเว้นความสะดุ้งหวาดเสียวเล็ก ๆ
น้อย ๆ ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ ของปุถุชนผู้ด้อยคุณธรรม. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า สีทานว นทนฺตาน ทาีน คิริคพฺภเร ( แปลว่า ดุจ-
การบันลือของสีหะทั้งหลาย ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐกว่าเหล่าสัตว์ที่มีเขี้ยว
ทั้งหลาย ที่ใกล้ถ้ำภูเขา) ดังนี้.
บทว่า สุณาถ เป็นคำกล่าวบังคับให้ฟัง. พระอานนทเถระ ประสงค์
จะให้เกิดความเป็นผู้ใคร่จะฟัง ให้เกิดความสนใจในการฟัง ปลุกให้เกิดความ
อุตสาหะ. ให้เข้าไปตั้งไว้ซึ่งความเคารพและความนับถืออย่างมาก แก่บริษัทที่
มาประชุมกัน (เพื่อฟัง) คาถาทั้งหลายที่พระเถระนั้นกล่าวอยู่. อีกอย่างหนึ่ง
พึงทราบความแห่งบทว่า สีหาน เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งความสูงสุด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 13
อย่างเดียว โดยเว้นจากการกำหนดสัตว์ที่เสมอกัน. อธิบายว่า เพราะฉะนั้น
ท่านทั้งหลายจงพึงคาถาที่คล้ายกับการบันลือสีหนาทอย่างไม่หวั่นกลัว ของ
พระเถระเหล่านั้น เหมือนการบันลือสีหนาทของราชสีห์ ที่เป็นราชาของมฤค
บันลืออยู่ คือ คำรามอยู่ แบบราชสีห์คำรามที่ใกล้ถ้ำภูเขา ของสัตว์ชื่อว่า
มีเขี้ยวทั้งหลาย เพราะมีเขี้ยวประเสริฐ งดงาม โดยความเป็นเขี้ยวที่มั่นคง
แหลมคม. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ท่านทั้งหลายจงพึงคาถา อันกระทำความสะดุ้ง
หวาดเสียวแก่ชนผู้ประมาทแล้ว ชื่อว่าเป็นการบันลืออย่างไม่หวั่นเกรง เพราะ
เหตุแห่งภัยทั้งหลาย ท่านละได้แล้วด้วยดี โดยประการทั้งป่วง เช่นเดียวกับ
การบันลือสีหนาทของพระเถระทั้งหลาย ผู้มีตนอันอบรมแล้ว ผู้ไม่ประมาท
แล้ว เหมือนการบันลืออย่างไม่หวั่นเกรงนั้น การทำความหวาดเสียวแก่มฤค
อื่นจากราชสีห์นั้น เพราะไม่มีภัยแม้แต่ที่ไหน ๆ ของราชสีห์ ที่เป็นราชาแห่ง
หมู่มฤค บันลือสีหนาทอยู่ ฉะนั้น.
บทว่า ภาวิตตฺตาน ได้แก่ ผู้มีจิตอันอบรมแล้ว. อธิบายว่า จิต
ท่านเรียกว่าตน ดังในประโยคมีอาทิว่า ได้ยินว่าตนแลฝึกได้ยาก ผู้ใดแลมีจิต
ตั้งมั่นแล้ว จะเป็นผู้ซื่อตรงดุจกระสวยทอผ้าฉะนั้น และดุจในประโยคมีอาทิว่า
ตั้งใจไว้ชอบดังนี้. เพราะฉะนั้น จึงได้ความว่า ของพระอริยบุคคลผู้ยังจิตให้
เจริญยิ่งแล้วด้วยสมถะและวิปัสสนา โดยการประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต คือ
ท่านผู้ยังจิตให้ถึงที่สุด แห่งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา แล้วดำรงอยู่.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภาวิตตฺตาน ความว่า มีตนอันอบรมแล้วเป็นสภาพ.
อธิบายว่า มีตนอันอบรมแล้วด้วยคุณมีศีลเป็นต้น อันเป็นแล้วตามสภาพ.
ที่ชื่อว่า คาถา เพราะเป็นถ้อยคำอันท่านร้อยกรองไว้ ได้แก่ ถ้อยคำ ๔ บท
หรือ ๖ บท ที่ฤษีทั้งหลายประพันธ์ไว้โดยเป็นฉันท์ มีอนุฏฐุภฉันท์เป็นต้น.
เพราะเหตุที่ ฉันท์แม้อื่น มีลักษณะคล้ายกับอนุฏฐภฉันท์ ท่านจึงเรียกว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 14
คาถา (เหมือนกัน). คาถา ชื่อว่า อัตถูปนายิกา เพราะอรรถว่า น้อมเข้าไป
ซึ่งประโยชน์ทั้งหลาย มีประโยชน์ตนเป็นต้น หรือเพราะน้อมตนเข้าไปใน
ประโยชน์เหล่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภาวิตตฺตาน แปลว่า มีอัตภาพอันเจริญแล้ว.
อธิบายว่า อัตภาพท่านเรียกว่า อัตตา เพราะเป็นที่ตั้งแห่งมานะว่าเป็น " เรา "
ก็และอัตตานั้น อันอัตภาพเหล่านั้น อบรมแล้ว ด้วยอัปปมาทภาวนา (และ)
อนวัชชภาวนา คือให้ถือเอากลิ่น แห่งคุณธรรมได้โดยชอบทีเดียว. พระ-
อานนทเถระเจ้า แสดงความบริบูรณ์แห่งภาวนา แม้ทั้ง ๔ คือ กายภาวนา
ศีลภาวนา จิตภาวนา ปัญญาภาวนา เหล่านั้น ไว้ด้วยบทว่า ภาวิตตฺตาน
นั้น และทางดำเนินไปสู่พระสัมโพธิญาณ ในที่นี้ท่านประสงค์เอาว่าภาวนา
ก็การตรัสรู้ สัจจะนี้มี ๒ อย่าง คือ โดยการตรัสรู้ ๑ และโดยอรรถแห่งสัจจะ
นั้น ๑. ส่วนสัมโพธินั้น มี ๓ อย่าง คือ สัมมาสัมโพธิญาณ ๑ ปัจเจกสัม-
โพธิญาณ ๑ สาวกสัมโพธิญาณ ๑.
ในบรรดาสัมโพธิ ๓ อย่างนั้น ชื่อว่า สัมมาสัมโพธิ เพราะรู้ คือ
ตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยชอบด้วยพระองค์เอง. มรรคญาณที่เป็นปทัฏฐาน
ของสัพพัญญุตญาณ และสัพพัญญุตญาณที่เป็นปทัฏฐานของมรรคญาณ ท่าน
เรียกว่า สัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนทเถระจึงกล่าวว่า
พระนามว่า พุทฺโธ แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระสัพพัญญู ไม่มี
อาจารย์ ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งสัจจะทั้งหลายเอง ในธรรมทั้งหลายที่พระองค์
ไม่เคยได้ยินมาในกาลก่อน เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นพระสัพพัญญู ในธรรม
เหล่านั้น และถึงแล้ว ซึ่งความเป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย ดังนี้.
แท้จริง ความเป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย มีการตรัสรู้ธรรม
ที่ควรตรัสรู้เป็นอรรถ. ชื่อว่า ปัจเจกสัมโพธิ เพราะตรัสรู้ด้วยตนเองทีเดียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 15
เป็นส่วนตัว. อธิบายว่า ไม่ได้ตรัสรู้ตามใคร ได้แก่ ตรัสรู้สัจจธรรมด้วย
สยัมภูญาณ.
ความจริง การตรัสรู้สัจจธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
แม้เป็นไปอยู่ด้วยพระองค์เองทีเดียว โดยเป็นสยัมภูญาณ ชื่อว่า มีผู้ตรัสรู้ตาม
เพราะเป็นเหตุแห่งการตรัสรู้สัจจธรรมของสัตว์ทั้งหลาย หาประมาณไม่ได้.
ก็การบรรลุสัจจะนั้น ของเหล่าสัตว์ผู้หาประมาณมิได้ เหล่านี้ ย่อมไม่เป็นเหตุ
แห่งการตรัสรู้สัจจธรรมของสัตว์ แม้คนเดียว. ชื่อว่า สาวก เพราะเกิดในที่สุด
แห่งการฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา. การตรัสรู้สัจจธรรมของพระ-
สาวกทั้งหลาย ชื่อว่า สาวกสัมโพธิ.
ก็การตรัสรู้ ๓ อย่างแม้นี้ ของพระโพธิสัตว์ ๓ จำพวก พึงทราบว่า
ยังการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฏฐานเป็นต้น ให้บริบูรณ์
เพื่อถึงที่สุดแห่งปฏิปทาที่จะมาถึงตามลำดับของตน (รอความบริบูรณ์แห่งบารมี
ของตน) เพราะเว้นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้น การตรัสรู้นอกนี้จะมี
ไม่ได้. อธิบายว่า เว้นการตรัสรู้ด้วยสัจฉิกิริยากิจเสียแล้ว การตรัสรู้ด้วย
ภาวนากิจ จะเกิดไม่ได้เลย. และเมื่อมีการตรัสรู้ภาวนากิจ การตรัสรู้ด้วย
ปหานกิจ และการตรัสรู้ด้วยปริญญากิจ ย่อมชื่อว่า เป็นอันสำเร็จแล้วทีเดียว.
ก็ในเวลาที่พระมหาโพธิสัตว์เจ้า บำเพ็ญโพธิสมภารเสร็จบริบูรณ์แล้ว
ในภพสุดท้าย บำเพ็ญบุพกิจเสร็จสิ้นแล้ว เสด็จขึ้นสู่โพธิมณฑล ทรงตั้ง
ปฏิญญาว่า เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้ จนกว่าจิตของเราจักหลุดพ้นจากอาสวะ-
ทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น (ถือมั่น) ดังนี้แล้ว ประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์
(บัลลังก์ที่พญามารมิอาจผจญได้) ยังไม่ทันถึงเวลาเย็น ก็ทรงกำจัดมารและ
พลแห่งมารเสียได้ ทรงระลึกถึงขันธ์ที่พระองค์เคยอยู่อาศัยมาแล้วในก่อน ใน
โวการภพที่มีอาการมิใช่น้อย ด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ ในปุริมยาม (ยามต้น)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 16
ทรงบรรลุ จตูปปาตญาณและอนาคตังสญาณด้วยการชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์
ในมัชฌิมยาม (ยามกลาง) ทรงตั้งมั่นซึ่งวิปัสสนา โดยมุขคือปฏิจจสมุปบาท
จำเดิมแต่ชราและมรณะ โดยนัยมีอาทิว่า สัตวโลกนี้ ถึงความลำบากหนอ
ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ และอุปบัติ ก็และถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่รู้จัก (พระนิพพาน)
อันเป็นเครื่องสลัดทุกข์นี้ คือ ชราและมรณะ เป็นพระโลกนาถลับขวาน คือ
พระญาณ เพื่อจะตัดเสียซึ่งชัฎคือกิเลส ดุจลับขวานที่หินสำหรับลับ เพื่อจะ
ตัดชัฏใหญ่ (ถางป่าใหญ่) ฉะนั้น ทรงยังวิปัสสนาให้ตั้งท้อง โดยการบรรลุ
พระสัพพัญญุตญาณ เพราะเหตุสมบัติ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า ถึงความ
แก่กล้า ทรงเข้าสมาบัติต่าง ๆ ในระหว่าง ๆ ทรงยกนามรูปตามที่ทรงกำหนด
แล้วขึ้นสู่ไตรลักษณ์ พิจารณาสังขารในโวการภพมีอาการมิใช่น้อยด้วยสามารถ
แห่งการพิจารณาธรรมตามลำดับบท ยังสัมมสนวารให้พิสดารแล้ว โดยมุข
แห่งธรรม ๓๖ แสนโกฏิ. เมื่อวิปัสสนาญาณกล่าวคือมหาวชิรญาณ ในสัมม-
สนญาณนั้นแก่กล้า ผ่องใส เป็นไปโดยความเป็นวุฏฐานคามินี ทรงสืบต่อ
สัมมสนญาณนั้นด้วยมรรคได้ ในเวลาใด ในเวลานั้น ทรงยังกิเลส ๑,๕๐๐
ให้สิ้นไป โดยลำดับแห่งมรรค ชื่อว่า ย่อมตรัสรู้ พระสัมมาสัมโพธิญาณ
ในขณะแห่งมรรคอันเลิศ (อรหัตมรรค) จำเดิมแต่ขณะแห่งผลอันเลิศ
(อรหัตผล) ชื่อว่า ทรงบรรลุแล้วในปัจฉิมยาม (ยามสุดท้าย).
ก็แม้ทศพลญาณ และเวสารัชชญาณเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมอยู่ในเงื้อม
พระหัตถ์ของพระองค์ในเวลานั้น เพราะความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น
ข้อนี้ จึงจัดเป็นปฏิปทาแห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ โดยการตรัสรู้ก่อน
ส่วนโดยใจความแห่งสัมมาสัมโพธิปฏิปทานั้น ได้แก่ การเพิ่มพูนโพธิสมภาร
อันเป็นแล้วในระหว่างที่ทรงบังเกิดในดุสิตพิภพ จนถึงแสดงมหาภินิหาร. คำที่
ควรกล่าวถึงในการเพิ่มพูนพระโพธิสมภารนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว สมบูรณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 17
ด้วยอาการทั้งปวง ในอรรถกถาจริยาปิฎก เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษา พึงถือเอา
โดยนัยที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาแห่งจริยาปิฎกนั้นเทอญ.
ฝ่ายพระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งหลาย บำเพ็ญอภินิหาร เพื่อเป็นพระ-
ปัจเจกโพธิ มีปัจเจกโพธิสมภาร อันสร้างสมมาแล้วโดยลำดับ ดำรงอยู่ใน
อัตภาพสุดท้ายในเวลาเช่นนั้น ถือเอาสังเวคนิมิต อันปรากฏแล้วโดยความ
ที่ญาณถึงความแก่กล้า เห็นโทษในภพเป็นต้น โดยไม่แปลกกัน กำหนดปวัต-
ติกาลและเหตุแห่งปวัตติกาล นิวัตติกาลและเหตุแห่งนิวัตติกาลด้วยสยัมภูญาณ
เพิ่มพูนจตุสัจจกัมมัฏฐานมีสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ โดยนัยอันมาแล้ว มีอาทิว่า
ท่านมนสิการอยู่โดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ ดังนี้. พิจารณาทบทวนสังขารทั้งหลาย
ตามสมควรแก่อภินิหารของตน ขวนขวายวิปัสสนาโดยลำดับ บรรลุมรรค
อันเลิศตามลำดับมรรค ชื่อว่า ย่อมตรัสรู้ ปัจเจกสัมโพธิญาณ จำเดิมแต่
ขณะแห่งผลอันเลิศ (อรหัตผล) ไป ชื่อว่า เป็นพระปัจเจกสัมพุทธะ ย่อมเป็น
พระอรรคทักขิไณยบุคคลของโลก พร้อมทั้งเทวโลก. ส่วนสาวก หรือเพื่อน
สพรหมจารีของพระศาสดา ฟังกัมมัฏฐานอันมีสัจจธรรมทั้ง ๔. เป็นอารมณ์
ดำรงตาม คือ เพียรพยายามปฏิบัติ ข้อปฏิบัติเกิดแต่กัมมัฏฐานนั้น
ขวนขวายวิปัสสนาหรือเมื่อปฏิปทา เจริญขึ้น แทงตลอดสัจจะทั้งหลาย ชื่อว่า
ย่อมบรรลุสาวกสัมโพธิญาณ ในภูมิแห่งอรรคสาวกที่สำเร็จตามสมควรแก่-
อภินิหารของตน หรือในขณะแห่งมรรคอันเลิศอย่างเดียว. ต่อแต่นั้นย่อมชื่อว่า
เป็นการตรัสรู้ของสาวก เป็นอรรคทักขิไณยบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
ปัจเจกสัมโพธิ และสาวกสัมโพธิ พึงทราบโดยการตรัสรู้ ดังพรรณนามานี้ก่อน.
แต่โดยความหมายแห่งสัมมาสัมโพธิญาณ ของพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย
นั้น โดยกำหนดอย่างต่ำ ต้องปรารถนาการเพิ่มพูนโพธิสมภารตลอดเวลา ๔
อสงไขย (กำไร) แสนมหากัป. โดยกำหนดอย่างกลาง ต้องปรารถนาการเพิ่มพูน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 18
โพธิสมภาร ตลอดเวลา ๘ อสงไขย (กำไร) แสนมหากัป. โดยกำหนดอย่างสูง
ต้องปรารถนาการเพิ่มพูนโพธิสมภารตลอดเวลาถึง ๑๖ อสงไขย (กำไร)
แสนมหากัป. และข้อแตกต่างกันเหล่านี้ พึงทราบด้วยสามารถแห่งบารมีของ
พระโพธิสัตว์ ผู้ที่เป็นปัญญาธิกะ สัทธาธิกะ และวิริยาธิกะ.
อธิบายว่า ผู้ที่เป็นปัญญาธิกะ ย่อมมีศรัทธาอ่อน แต่มีปัญญากล้าแข็ง
และต่อจากนั้นไปไม่นาน บารมีก็จะถึงความบริบูรณ์ เพราะความเป็นผู้ฉลาด
ในอุบาย เป็นภาวะผ่องใส และละเอียดอ่อน.
ผู้ที่เป็นสัทธาธิกะ ย่อมมีปัญญาปานกลาง เพราะฉะนั้น บารมีของ
พระโพธิสัตว์ผู้เป็นสัทธาธิกะเหล่านั้น จึงถึงความบริบูรณ์ไม่เร็วเกินไป และ
ไม่ช้าเกินไป.
ส่วนผู้ที่เป็นวิริยาธิกะ ย่อมมีปัญญาน้อย เพราะฉะนั้น บารมีของ
พระโพธิสัตว์ ผู้วิริยาธิกะเหล่านั้น จึงถึงความบริบูรณ์ โดยการเนิ่นนาน
ทีเดียว.
สำหรับพระปัจเจกโพธิสัตว์ไม่อย่างนั้น อธิบายว่า ท่านเหล่านั้น
แม้ถึงจะมีบารมีเป็นปัญญาธิกะ ก็ยังต้องปรารถนาการเพิ่มพูนโพธิสมภาร
ตลอดเวลา ๒ อสงไขย (กำไร) แสนกัป (แต่) ไม่ต่ำกว่านั้น. แม้ท่านผู้เป็น
สัทธาธิกะ และวิริยาธิกะ ล่วงเลยกัปอื่นจากกำหนดที่กล่าวแล้ว ไปเล็กน้อย
เท่านั้น ก็ย่อมบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ แต่ไม่ถึงอสงไขยที่ ๓.
สำหรับพระโพธิสัตว์ ผู้เป็นสาวก บำเพ็ญอภินิหาร เพื่อความเป็น
อรรคสาวก ต้องปรารถนาการเพิ่มพูนโพธิสมภาร สิ้นเวลา ๑ อสงไขย
(กำไร) แสนกัป.
สำหรับผู้ที่เป็นมหาสาวก (บำเพ็ญอภินิหาร เพื่อความเป็นมหาสาวก)
ต้องปรารถนาการเพิ่มพูนโพธิสัมภาร สิ้นเวลาแสนกัปเท่านั้น. ถึงพระพุทธ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 19
มารดา พระพุทธบิดา พุทธอุปัฏฐากและพระพุทธชิโนรส ก็เหมือนกัน (คือ
ใช้เวลาเพิ่มพูนโพธิสมภารแสนกัป). ในอธิการนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
เมื่อพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้ตั้งปณิธานโดยรวบรวมธรรม ๘
ประการ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า
เพราะประชุมแต่งธรรม ๘ ประการ คือ ความ-
เป็นมนุษย์ ๑ ความสมบูรณ์ด้วยเพศ ๑ เหตุ ๑ การพบ
พระศาสดา ๑ บรรพชา ๑ คุณสมบัติ ๑ อธิการ ๑
ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑ อภินิหารจึงสำเร็จได้ ดังนี้.
จำเดิมแต่บำเพ็ญมหาภินิหาร ขวนขวายแล้ว ๆเล่า ๆ ในทานเป็นต้นเป็น
พิเศษถวายมหาทานเช่นกับทานของพระเวสสันดร ทุกๆวัน แม้สั่งสมอยู่ซึ่งบารมี
ธรรมทุกอย่าง มีศีลอันสมควรแก่มหาทานนั้นเป็นต้น ขึ้นชื่อว่าการบังเกิดขึ้น
แห่งพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มีในระหว่างได้เลย เพราะยังไม่ถึงกำหนดเวลาตามที่
กล่าวแล้ว. เพราะเหตุไร ? เพราะพระญาณยังไม่สุกเต็มที่. อธิบายว่า พระญาณ
ของพระพุทธเจ้า ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ตั้งท้อง ย่อมถึงความ
สุกงอม ดุจข้าวกล้าที่ให้สำเร็จแล้วในเวลาที่กำหนด ฉันใด ดังนั้น การบรรลุ
ปัจเจกสัมโพธิญาณและสาวกสัมโพธิญาณ ในระหว่างนั้น แหละโดยยังไม่ถึง
กำหนดเวลาตามที่กล่าวแล้วในที่นั้นๆ ย่อมไม่มีแก่พระปัจเจกโพธิสัตว์ ผู้กระทำ
อภินิหาร ประมวลธรรม ๕ ประการเหล่านั้น คือ
ความเป็นมนุษย์ ๑ ความสมบูรณ์ด้วยเพศ ๑
การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ๑ อธิการ ๑ ความ
เป็นผู้มีฉันทะ ๑ เหล่านี้ รวมเป็นเหตุแต่งอภินิหาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 20
และแก่พระโพธิสัตว์ผู้เป็นสาวก ผู้ตั้งปณิธานไว้ด้วยสามารถแห่งความปรารถนา
อันประกอบแล้วด้วยองค์ ๒ คือ อธิการ ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑ ก็ฉันนั้น.
เพราะเหตุใด ? เพราะญาณยังไม่สุกเต็มที่. อธิบายว่า ปัญญาบารมี ที่ส่งเสริม
เพิ่มเติมด้วยบารมีทั้งหลายมีทานบารมีเป็นต้น ของพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย
แม้เหล่านี้ ย่อมตั้งท้อง ถึงความสุกงอม ยังพระพุทธญาณให้บริบูรณ์โดยลำดับ
ฉันใด ปัญญาบารมีที่ส่งเสริมเพิ่มเติม ด้วยบารมีทั้งหลาย มีทานบารมีเป็นต้น
(ของพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
ตั้งท้อง ถึงความสุกงอม ยังพระปัจเจกโพธิญาณ และสาวกโพธิญาณให้บริบูรณ์
ตามสมควรโดยลำดับ.
แท้จริง โดยการสั่งสมทานไว้ ท่านเหล่านี้ จึงเป็นผู้มีใจไม่ข้องอยู่
ในกิเลสทั้งปวง เป็นผู้มีจิตไม่เพ่งเล็ง เพราะมีอัธยาศัยไม่ละโมบในภพนั้น ๆ
โดยการสั่งสมศีลไว้ จึงเป็นผู้มีกายวาจาและการงานบริสุทธิ์ด้วยดี เพราะมีกาย
วาจาสำรวมดีแล้ว มีอาชีพบริสุทธิ์ มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ย่อมตั้งจิตมั่นด้วยชาคริยานุโยค การประกอบ
ความเพียรของท่านเหล่านั้น นี้ พึงทราบด้วยสามารถแห่งปัจจาคติกวัตรที่ทำ
ไว้แล้ว.
ก็สมาบัติ ๘ อภิญญา ๕ อภิญญา ๖ และบุพภาควิปัสสนาอันเป็น
อธิฏฐานธรรม ย่อมอยู่ในเงื้อมมือ ของท่านผู้ปฏิบัติอยู่เช่นนี้ ได้โดยไม่ยาก
ทีเดียว ส่วนคุณธรรมมีความเพียรเป็นต้น ก็หยั่งลงสู่ภายในแห่งบุพภาควิปัส-
สนานั้นทีเดียว.
ก็ความอดทนอย่างยิ่ง ในการบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น เพื่อปัจเจก-
โพธิญาณ หรือสาวกโพธิญาณ นี้ ชื่อว่า วิริยะ. ความอดทนต่อความโกรธ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 21
นั้นใด นี้ชื่อว่า ขันติ. การให้ทาน การสมาทานศีลเป็นต้น และการไม่กล่าว
ให้คลาดเคลื่อน (จากความเป็นจริง) อันใด นี้ ชื่อว่าสัจจะ. การอธิฎฐาน
ใจที่ไม่หวั่นไหวแน่วแน่ อันให้สำเร็จประโยชน์ในที่ทั่วไปนั่นแหละ ชื่อว่า
อธิฏฐาน. การมุ่งประโยชน์ในหมู่สัตว์ อันเป็นพื้นฐานของความเป็นไปแห่ง
ทานและศีลเป็นต้น นี้ ชื่อว่า เมตตา. การวางเฉยในประการที่ไม่เหมาะสม
ที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว ชื่อว่า อุเบกขา. ดังนั้น เมื่อทาน ศีล ภาวนา
และศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่ บารมีทั้งหลาย มีวิริยบารมีเป็นต้น ย่อมชื่อว่า
สำเร็จแล้วทีเดียว ด้วยอาการอย่างนี้.
ปฏิปทามีทานเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ปัจเจกโพธิญาณก็ดี เพื่อ
ประโยชน์แก่สาวกโพธิญาณก็ดี นั้นแหละ ชื่อว่า ภาวนา เพราะอบรม คือ
บ่มสันดาน ของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น.
ปฏิปทาอันเนื่องด้วยสมถะและวิปัสสนา ที่เป็นไปแล้วในสันดาน
อันทานและศีลปรุงแต่งดีแล้ว โดยพิเศษ เป็นเหตุให้พระโพธิสัตว์เหล่านั้น
สมบูรณ์ด้วยธรรมเป็นที่ประชุมแห่งการบำเพ็ญเพียรในเบื้องต้น. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้
ย่อมมีในการบำเพ็ญเพียรเบื้องต้น ๕ ประการคืออะไร
บ้าง ? ดูก่อนอานนท์ คือ ผู้บำเพียรเบื้องต้นใน
พระธรรมวินัยนี้ ย่อมชื่นชมพระอรหัตผล ในปัจจุบัน
นี้แหละ พลันทีเดียว ๑ ถ้ายังไม่ได้ชื่นชมอรหัตผล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 22
ในทิฏฐธรรม โดยพลัน ต่อมาในมรณสมัย จะได้ชื่นชม
พระอรหัตผล ๑ ต่อไปเป็นเทพบุตร จะได้ชื่นชม
พระอรหัตผล ๑ ต่อไป จะได้เป็นผู้ตรัสรู้โดยฉับพลัน
ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ใน
กาลภายหลัง จะได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๑ ดังนี้.
ด้วยประการดังพรรณนามานี้ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้มีอัตภาพอันอบรมแล้ว ด้วยการอบรม
ธรรมเป็นเครื่องถึงซึ่งฝั่ง อันเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น ด้วยสมถภาวนาและวิปัส-
สนาภาวนา และด้วยมรรคภาวนากล่าวคือการตรัสรู้ อันเป็นนิโรธคามินีปฏิปทา
ย่อมได้ชื่อว่ามีตนอันอบรมแล้ว. ในวิเศษบุคคลเหล่านั้น สาวกของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ท่านประสงค์เอาในที่นี้.
ก็ด้วยบทว่า สีหาน ว นี้ ในคาถานี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์
แสดงถึงความที่พระเถระทั้งหลาย อันปรปักษ์ของตนครอบงำไม่ได้ และ
พฤติกรรมที่ข่มขี่ข้าศึกเหล่านั้น โดยการแสดงพฤติกรรมที่เสมอด้วยสีหะ.
ด้วยบาทคาถาว่า สีหานว นทนฺ ตาน ฯเปฯ คาถา นี้ ท่านแสดงถึง
ความที่พระเถระทั้งหลายเหล่านั้น อันข้าศึกทั้งหลาย ย่ำยีไม่ได้ โดยปรวาท
และพฤติกรรมที่ข่มขี่ข้าศึกเหล่านั้น โดยการแสดงว่าเถรคาถาทั้งหลาย เป็น
เช่นเดียวกับสีหนาท. ด้วยบทว่า ภาวิตตฺตาน นี้ ท่านแสดงถึงเหตุแห่งการ
บันลือสีหนาท ของพระเถระทั้งหลายเหล่านั้น. ในคาถานี้ พระเถระทั้งหลาย
ท่านเรียกว่า เป็นเช่นกับ สีหะ เพราะมีอัตภาพอันอบรมแล้ว และคาถาของ
พระเถระเหล่านั้น ท่านเรียกว่าเป็นเช่นกับด้วยสีหนาท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 23
ด้วยบทว่า อติถูปนายิกา นี้ ท่านแสดงถึงประโยชน์ในการข่มขี่.
ในบรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น สังกิเลสธรรม ชื่อว่า เป็นปรปักษ์ของพระเถระ
ทั้งหลาย. สมุจเฉทปหาน กับตทังควิกขัมภนปหาน ชื่อว่า การข่มขี่สังกิเลส-
ธรรมนั้น.
พระเถระเหล่านั้น ท่านเรียกว่า ผู้มีตนอันอบรมแล้ว เพราะเมื่อ
สมุจเฉทปหาน พร้อมด้วยตทังควิกขัมภนปหานมีอยู่ ปฏิปัสสัทธิปหาน และ
นิสสรณปหาน ย่อมชื่อว่า สำเร็จแล้วโดยแท้.
ท่านกล่าวอธิบายความไว้ดังนี้ ก็ในมรรคขณะ พระอริยะทั้งหลาย
ชื่อว่า ย่อมเจริญอัปปมาทภาวนา จำเดิมแต่ผลอันเลิศ (อรหัตผล) ไป ชื่อว่า
ผู้มีตนอันอบรมแล้ว.
ในบรรดาปหาตัพพธรรมเหล่านั้น ท่านแสดงความสมบูรณ์ด้วยศีล
ของพระเถระเหล่านั้น ด้วยตทังคปหาน แสดงความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ด้วย
วิกขัมภนปหาน แสดงความสมบูรณ์ด้วยปัญญา ด้วยสมุจเฉทปหาน แสดงผล
ของสัมปทาเหล่านั้น ด้วยบทนอกนี้.
ก็ท่านแสดง ความที่ข้อปฏิบัติของพระเถระเหล่านั้น งามในเบื้องต้น
ด้วยศีล. และศีลชื่อว่า งามในเบื้องต้น ด้วยข้อปฏิบัติ โดยพระบาลีว่า โก
จาทิ กุสลาน ธมฺมาน สีลญฺจ สุวิสุทฺธ (ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของ
กุศลธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ศีลที่บริสุทธิ์ดีแล้ว) บ้าง สีเล ปติฏฺาย
(นระตั้งอยู่แล้วในศีล) บ้าง สพฺพปาปสฺส อกรณ (การไม่ทำบาปทั้งปวง)
บ้าง เพราะความเป็นเหตุนำมาซึ่งคุณธรรม มีความไม่ต้องเดือดร้อนเป็นต้น.
ท่านแสดงความงามในท่ามกลางด้วยสมาธิ สมาธิชื่อว่า งามในท่าม-
กลางด้วยข้อปฏิบัติ โดยพระบาลีว่า จิตฺต ภาวย (ยังจิตให้เจริญอยู่) บ้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 24
กุสลสฺส อุปสมฺปทา (ยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม) บ้าง เพราะเป็นเหตุ
นำมาซึ่งคุณมีอิทธิวิธะเป็นต้น.
ท่านแสดงความงามในที่สุดด้วยปัญญา ปัญญาชื่อว่าเป็นที่สุดของข้อ
ปฏิบัติ โดยพระบาลีว่า สจิตฺตปริโยทปน (การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว)
บ้าง ปญฺญ ภาวย (ยังปัญญาให้เจริญ) บ้าง ปัญญานั่นแหละ ชื่อว่า
งาม โดยเหตุที่ปัญญาเหนือกว่ากุศลธรรมทั้งหลาย เพราะนำมาซึ่งความเป็นผู้
คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ทั้งหลาย สมดังที่ตรัสไว้ว่า
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและ
สรรเสริญทั้งหลาย เหมือนเขาหิน เป็นแท่งทึบ ไม่
สะท้านสะเทือน ด้วยลมฉะนั้น ดังนี้.
อนึ่ง ท่านแสดงความเป็นผู้มีวิชชา ๓ ด้วยสีลสัมปทา เพราะจะ
บรรลุวิชชา ๓ ได้ ต้องอาศัยสีลสมบัติ.
แสดงความเป็นผู้มีอภิญญา ๖ ด้วยสมาธิสัมปทา เพราะจะบรรลุ
อภิญญา ๖ ได้ ต้องอาศัยสมาธิสมบัติ.
แสดงความเป็นผู้มีปฏิสัมภิทาแตกฉาน ด้วยปัญญาสัมปทา เพราะจะ
บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ได้ ต้องอาศัยปัญญาสมบัติ.
ด้วยบทว่า อตฺถูปนายิกา นี้ พึงทราบว่า ท่านแสดงความนี้ไว้ว่า
บรรดาพระเถระเหล่านั้น บางท่านได้วิชชา ๓ บางท่านได้อภิญญา ๖ บางท่าน
ถึงปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.
อนึ่ง ท่านแสดงการงดเว้น ส่วนสุดกล่าวคือกามสุขัลลิกานุโยค ของ
พระเถระเหล่านั้น ด้วยสีลสัมปทา. แสดงการงดเว้น ส่วนสุด กล่าวคืออัต-
กิลมถานุโยค ด้วยสมาธิสัมปทา. แสดงการเสพมัชฌิมาปฏิปทา ด้วยปัญญา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 25
อนึ่ง พึงทราบว่า ท่านแสดงการละ โดยการก้าวล่วงกิเลสทั้งหลาย
ของพระเถระเหล่านั้น ด้วยสีลสัมปทา.
แสดงการละความกลุ้มรุมของกิเลสทั้งหลาย ด้วยสมาธิสัมปทา.
แสดงการละอนุสัยของกิเลสทั้งหลาย ด้วยปัญญาสัมปทา.
อีกอย่างหนึ่ง แสดงการชำระสังกิเลสคือทุจริต ด้วยสีลสัมปทา.
แสดงการชำระสังกิเลสคือตัณหา ด้วยสมาธิสัมปทา.
แสดงการชำระสังกิเลสคือทิฏฐิ ด้วยปัญญาสัมปทา.
อีกอย่างหนึ่ง แสดงการก้าวล่วงอบาย ของพระเถระเหล่านั้นด้วย
ตทังคปหาน.
แสดงการก้าวล่วงกามธาตุ ด้วยวิกขัมภนปหาน.
แสดงการก้าวล่วงภพทั้งปวง ด้วยสมุจเฉทปหาน.
อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ภาวิตตฺตาน นี้ พึงทราบว่า ได้แก่ภาวนา
๓ คือ สีลภาวนา จิตตภาวนา ปัญญาภาวนา เพราะกายภาวนา หยั่งลงสู่
ภายในแห่งภาวนา ๓ นั้น.
คำที่ว่า สีลภาวนา จ ปฏิปตฺติยา อาทิดังนี้ทั้งหมด เช่นกับคำ
ที่กล่าวแล้วในก่อน. ก็หมู่มฤคเหล่าอื่น ย่อมอดทนการบันลือของสีหะไม่ได้
ที่ไหนจะอดทนการข่มขู่คุกคามได้ การบันลือของสีหะนั่นแหละ จะข่มขู่คุกคาม
หมู่มฤคเหล่านั้น โดยแท้ฉันใด วาทะของอัญญเดียรถีย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น
เหมือนกัน จะทนวาทะของพระเถระทั้งหลายไม่ได้ ที่ไหนจะทนการครอบงำได้
ที่แท้วาทะของพระเถระนั่นแหละ จะครอบงำวาทะของเดียรถีย์เหล่านั้น. ข้อนั้น
เพราะเหตุไร ? เพราะเถรวาท เป็นไปตามพระไตรลักษณ์ และหลักธรรมว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง
เป็นอนัตตาบ้าง ว่านิพพานธาตุบ้าง เพราะโดยธรรมดาแล้ว ใคร ๆ ไม่สามารถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 26
จะคัดค้านให้เป็นอย่างอื่นไปได้. ก็คำใดที่จะพึงกล่าวในข้อนี้ คำนั้นจักแจ่มแจ้ง
ข้างหน้า ( คือในคัมภีร์ทั้งหลายเป็นอันมาก) ในอธิการนี้ พึงทราบการขยาย
ความของคาถาแรก โดยสังเขปเท่านี้ก่อน.
ส่วนในคาถาที่ ๒ พึงทราบการขยายความ โดยมุขคือการแสดงการ
สัมพันธ์ดังต่อไปนี้ ผู้ประสงค์จะสวดคาถาของพระเถระเหล่าใด ในบรรดา
พระเถระเหล่านั้น เพื่อจะระบุพระเถระเหล่านั้น โดยชื่อ โดยโคตร และโดย
คุณธรรม ด้วยสามารถแห่งสาธารณนาม ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยถานามา
ดังนี้. แต่ว่าโดยอสาธารณนามแล้ว เนื้อความจักแจ่มแจ้งในคาถานั้น ๆ ทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถานามา ความว่า มีชื่ออย่างไร.
อธิบายว่า ปรากฏโดยชื่อ โดยนัยมีอาทิว่า สุภูติ มหาโกฏฐิกะ ดังนี้.
บทว่า ยถาโคตฺตา ความว่า มีโคตรอย่างไร อธิบายว่า ปรากฏแล้ว
โดยกำเนิดใด ๆ โดยส่วนแห่งตระกูล โดยนัยมีอาทิว่า โคตมโคตร กัสสป-
โคตร ดังนี้.
บทว่า ยถาธมฺมวิหาริโน ความว่า มีปกติอยู่ด้วยธรรมเช่นใด
อธิบายว่า ไม่ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ยิ่งด้วยประยัติ (ไม่สนใจคันถธุระ) แต่
มีปกติอยู่ด้วยสมาบัติตามสมควรอยู่. (สนใจวิปัสสนาธุระ ).
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยถาธมฺมวิหาริโน ความว่า ผู้มีปกติอยู่ตาม
ธรรม และในบรรดาทิพวิหารธรรมเป็นต้น อยู่เนือง ๆ กับธรรมมีศีล
เป็นต้น เช่นใด คืออยู่กับธรรมประเภทใด.
บทว่า ยถาธิมุตฺตา ความว่า มีอธิมุตติเช่นใด คือในบรรดาสัทธา-
ธิมุตติ และปัญญาธิมุตติทั้งหลาย มีอธิมุตติอย่างใด อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
ยถาธีมุตฺตา เพราะน้อมไปสู่พระนิพพาน ด้วยประการใด ๆ ในมุขทั้งหลาย
มีสุญญตมุขเป็นต้น. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อาสวะของท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 27
ผู้มีจิตน้อมไปสู่พระนิพพาน ย่อมถึงความดับสูญ. ก็คำทั้งสองนี้ พึงทราบ
ด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นบุพภาค. เพราะว่า การน้อมไปตามที่กล่าวแล้ว
จะมีได้ในขณะก่อนได้บรรลุพระอรหัตเท่านั้น ต่อไปก็ไม่มี. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า นระใดไม่มีศรัทธา เป็นคนอกตัญญู
และตัดที่ต่อเป็นต้น ดังนี้. ปาฐะว่า ยถาวิมุตฺตา ดังนี้บ้าง. ความก็ว่า
พ้นแล้วด้วยประการใด ๆในบรรดาปัญญาวิมุตติ และอุภโตภาควิมุตติทั้งหลาย.
บทว่า สปฺปญฺา ความว่า มีปัญญา ด้วยปัญญาแม้ ๓ อย่างคือ
ติเหตุกปฏิสนธิปัญญา (ปัญญาที่ประกอบด้วยไตรเหตุ ) ๑ ปาริหาริกปัญญา
( ปัญญาสำหรับบริหารตน) ๑ ภาวนาปัญญา ( ปัญญาที่สำเร็จด้วยการภาวนา) ๑.
บทว่า วิหรึสุ ความว่า อยู่แล้วด้วยผาสุวิหาร ตามที่ได้แล้วนั่นแหละ เพราะ
ความเป็นผู้มีปัญญานั้นเอง.
บทว่า อตนฺทิตา แปลว่า ผู้ไม่เกียจคร้าน. อธิบายว่า มีความ
หมั่นขยัน ในข้อปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ตน และในข้อปฏิบัติที่เป็นประโยชน์
ผู้อื่นตามกำลัง. ก็ในพระคาถานี้ ท่านแสดงความที่พระเถระเหล่านั้น ปรากฏ
แล้วโดยการประกาศ ด้วยศัพท์ว่า นาม และโคตร. แสดงสีลสัมปทา และ
สมาธิสัมปทา ด้วยศัพท์ว่า พรหมวิหาร. แสดงปัญญาสัมปทา ด้วยบทว่า
ยถาธิมุตฺตา สปฺปญฺา นี้. แสดงวิริยสัมปทา อันเป็นเหตุแห่งสีลสัมปทา
เป็นต้น ด้วยบทว่า อตนฺทิตา นี้. แสดงความที่พระเถระเหล่านั้น มีชื่อ
โดยการประกาศ ด้วยบทว่า ยถานามา นี้. แสดงถึงการประชุม
แห่งสมบัติคือเหล่ากอพระอริยบุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี และธัมมานุสารี ด้วย
บทว่า ยถาโคตฺตา นี้. แสดงการประกอบด้วยสมบัติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยบทมีอาทิว่า ยถาธมฺมวิหาริโน. แสดงถึง
การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ของผู้ที่ดำรงอยู่ในอัตหิตสมบัติแล้ว ด้วยบทว่า
อตนฺทิตา นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 28
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยถานามา นี้ แสดงถึงชื่ออันมารดาบิดาทั้งหลาย
ตั้งแล้ว แก่พระเถระเหล่านั้น เพราะระบุเพียงชื่อ. บทว่า ยถาโคตฺตา นี้
แสดงถึงความเป็นกุลบุตร เพราะระบุส่วนของตระกูล. แสดงถึงความที่พระ-
เถระเหล่านั้น บวชด้วยศรัทธา ด้วยบทว่า ยถาโคตฺตา นั้น. บทว่า
ยถาธมฺมวิหาริโน นี้ แสดงถึงจรณสมบัติ เพราะแสดงถึงความพร้อมเพรียง
ด้วยคุณมีศีลสังวรเป็นต้น. บทว่า ยถาธิมุตฺตา สปฺปญฺา นี้ แสดงถึงวิชชา
สมบัติของพระเถระเหล่านั้น เพราะแสดงชัดถึงการบรรลุ ด้วยญาณสมบัติ
อันเป็นที่สุดของการสิ้นไปแห่งอาสวะ. บทว่า อตนฺทิตา นี้ แสดงถึงอุบาย
เป็นเครื่องบรรลุวิชชาสมบัติ และจรณสมบัติ.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านแสดงเหตุเพียงการประกาศชื่อของพระเถระเหล่านั้น
ด้วยบทว่า ยถานามา นี้. ส่วนด้วยบทว่า ยถาโคตฺตา นี้ ท่านแสดงถึงสมบัติ
คือจักร ๒ ข้างท้าย. เพราะการประชุมแห่งโคตรสมบัติ ของพระอริยบุคคล
ผู้เป็นสัทธานุสารี และธัมมานุสารี ผู้ไม่ได้ตั้งตนไว้โดยชอบ และไม่ได้
กระทำบุญไว้ในปางก่อน จะมีไม่ได้เลย.
แสดงถึงสมบัติ คือจักร ๒ ข้างต้น ของพระเถระเหล่านั้น ด้วยบทว่า
ยถาธมฺมวิหาริโน นี้. เพราะเมื่ออยู่ในประเทศที่ไม่สมควรก็ดี เว้นจากการ
คบหากับสัตบุรุษก็ดี คุณพิเศษเหล่านั้นจะมีไม่ได้เลย. แสดงถึงการประกอบ
ด้วยสมบัติ คือการฟังพระสัทธรรม ด้วยบทว่า ยถาธิมุตฺตา นี้. เพราะ
เว้นจากการประกาศของผู้อื่น (การฟังพระสัทธรรม) เสียแล้ว การแทงตลอด
ซึ่งสัจจธรรมของพระสาวกทั้งหลาย จะมีไม่ได้เลย. แสดงถึงเหตุแห่งการ
ประพฤติโดยขมีขมัน เพื่อคุณพิเศษตามที่กล่าวแล้ว ด้วยบทว่า สปฺปญฺา
อตนฺทิตา นี้ เพราะแสดงถึงการเริ่มต้น ของญายธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 29
อีกนัยหนึ่ง ในบทว่า ยถาโคตฺตา นี้ ท่านแสดงถึงความถึงพร้อม
ด้วยโยนิโสมนสิการ ของพระเถระเหล่านั้น ด้วยการระบุถึงโคตร เพราะผู้ที่
สมบูรณ์ด้วยโคตรตามที่กล่าวแล้ว จึงจะเกิดโยนิโสมนสิการ.
ด้วยศัพท์ว่า ธัมมวิหาระ ในบทว่า ยถาธมฺมวิหาริโน นี้ ท่าน
แสดงถึงการถึงพร้อมด้วยการฟังพระสัทธรรม เพราะเว้นจากการฟังธรรม
เสียแล้ว จะไม่มีธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้นได้เลย. แสดงถึงการปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรมถึงที่สุด ด้วยบทว่า ยถาธิมุตฺตา นี้ แสดงถึงความเป็นผู้มี
สัมปชัญญะในที่ทั้งปวง ด้วยบทว่า สปฺปญฺญา นี้ แสดงถึงผู้ที่บำเพ็ญ
อัตหิตสมบัติให้บริบูรณ์ ตามนัยที่กล่าวแล้ว ดำรงอยู่ จะเป็นผู้ไม่ลำบากใน
การปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ด้วยบทว่า อตนฺทิตา นี้.
อนึ่ง แสดงถึงความสมบูรณ์ด้วยสรณคมน์ ของพระเถระเหล่านั้น
ด้วยบทว่า ยถาโคตฺตา นี้ เพราะระบุถึงเหล่าพระอริยเจ้า ผู้สัทธานุสารี.
แสดงสมาธิขันธ์ อันเป็นประธานของสีลขันธ์ ด้วยบทว่า ยถาธมฺมวิหาริโน นี้.
ก็คุณของพระสาวกทั้งหลาย มีสรณคมน์ เป็นเบื้องต้น มีสมาธิเป็น
ท่ามกลาง มีปัญญาเป็นปริโยสาน เพราะฉะนั้น คุณของพระสาวกแม้ทั้งหมด
จึงเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยการแสดงคุณในเบื้องต้น ท่ามกลางและปริโยสาน.
ก็สมบัติแห่งคุณ เช่นนี้ อันพระเถระเหล่านั้นบรรลุแล้วด้วยสัมมา-
ปฏิบัติใด เพื่อจะแสดงสัมมาปฏิบัตินั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตตฺถ ตตฺถ-
วิปสฺสิตฺวา ดังนี้.
บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ได้แก่ ในเสนาสนะอันสงัดแล้วมีป่า โคนไม้
และภูเขาเป็นต้นนั้น ๆ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ได้แก่ ในเวลา
แห่งอุทาน เป็นต้นนั้น ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 30
บทว่า วิปสฺสิตฺวา แปลว่า เห็นแจ้งแล้ว. คือ ยังทิฏฐิวิสุทธิ
และกังขาวิตรณวิสุทธิ อันกำหนดนามรูป และกำหนดปัจจัยให้ถึงพร้อม
บรรลุวิสุทธิที่ ๕ ตามลำดับแห่งการพิจารณากลาปะเป็นต้น ยังวิปัสสนาให้
เขยิบสูงขึ้น ด้วยสามารถแห่งการบรรลุถึงยอด แห่งปฏิปทาญาณ และทัสสน-
วิสุทธิ.
บทว่า ผุสิตฺวา แปลว่า ถึงแล้ว คือทำให้แจ้งแล้ว.
บทว่า อจฺจุต ปท ได้แก่ พระนิพพาน อธิบายว่า พระนิพพาน
นั้นท่านเรียกว่า อัจจุตะ เพราะเป็นที่ ๆ ไม่มีจุติ โดยที่พระนิพพานนั้นมีการ
ไม่ต้องจุติเองเป็นธรรมดา และโดยที่ผู้บรรลุพระนิพพานแล้ว ไม่มีเหตุอัน
ทำให้ต้องจุติ. และเรียกว่า ปทะ เพราะความที่พระนิพพานนั้นไม่เจือด้วย
สังขตธรรมทั้งหลาย และเพราะเป็นแดนอันผู้มุ่งพระนิพพานนั้น พึงดำเนินไป.
บทว่า กตนฺต ได้แก่ ที่สุดแห่งกิจที่ตนทำเสร็จแล้ว อธิบายว่า
อริยมรรคที่พระโยคาวจรเหล่านั้น บรรลุแล้ว ชื่อว่า พระโยคาวจรการทำแล้ว
เพราะมรรคอันปัจจัยของตนให้เกิดแล้ว ส่วนผลอันเป็นที่สุดของพระอริยมรรค
นั้น ท่านประสงค์เอาว่า กตันตะ ( ที่สุดแห่งกิจอันตนทำแล้ว) อีกอย่างหนึ่ง
สังขตธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า กระทำแล้ว เพราะอันปัจจัยทั้งหลายกระทำแล้ว
คือ ให้สำเร็จแล้ว. ที่สุดแห่งสังขตธรรมอันปัจจัยกระทำแล้ว ชื่อว่า พระ-
นิพพาน เพราะเป็นแดนสลัดออกซึ่งสังขตธรรมนั้น. ซึ่งที่สุดแห่งกิจอันตน
ทำสำเร็จเสร็จแล้วนั้น.
บทว่า ปจฺจเวกฺขนฺตา ความว่า พิจารณาข้อปฏิบัติเฉพาะอริยผล
และนิพพาน ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะว่า อริยผลนี้ อันเราบรรลุแล้วหนอ ด้วย
การบรรลุอริยมรรค อสังขตธาตุ อันเราบรรลุแล้ว ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง
กิจ ๑๖ อย่าง มีปริญญากิจเป็นต้นอันใด ที่พระอริยเจ้าควรการทำ ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 31
อันท่านทำแล้ว เพราะอันพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลอันเลิศ ให้สำเร็จแล้ว
คือ ให้สำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดสัจจธรรม พิจารณา
อยู่ซึ่งโสฬสกิจนั้น อันท่านทำแล้วอย่างนี้. ด้วยบทว่า ปจฺจเวกฺขนฺตา นี้
ท่านแสดงถึงการพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว. ส่วนการพิจารณา ๑๙ อย่าง มี
อิตรปัจจเวกขณะเป็นต้น ย่อมชื่อว่าเป็นอันท่านแสดงแล้ว โดยนัยก่อน.
คำว่า อิม ในบทว่า อิมมตฺถ นี้ ท่านกล่าวไว้โดยประสงค์ว่า
เนื้อความแห่งเถรคาถา และเถรีคาถาทั้งสิ้น ใกล้เคียง และปรากฏชัดเจน
ทั้งแก่ตน และแก่พระมหาเถระผู้เป็นธรรมสังคาหกาจารย์ ที่มาประชุมกันแล้ว
ในที่นั้น เหล่าอื่น. บทว่า อตฺถ ได้แก่ เนื้อความอันปฏิสังยุตด้วยโลกิยะ
และโลกุตระ ทั้งที่น้อมเข้าไปสู่ตน น้อมเข้าไปสู่ผู้อื่น อันข้าพเจ้าจะกล่าว
ด้วยคาถาทั้งหลาย มีอาทิว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา ดังนี้.
บทว่า อภาสึสุ ความว่า กล่าวแล้วโดยผูกเป็นคาถา. ประกอบ
ความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังคาถาทั้งหลาย อันน้อมเข้าไปในตนของพระเถระ
เหล่านั้น ผู้มีตนอันอบรมแล้ว อันข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป ณ บัดนี้. ท่าน
พระอานนท์ ผู้เป็นธัมมภัณฑาคาริก แสดงความนี้ไว้ว่า ก็พระมหาเถระ
เหล่านั้น เมื่อกล่าวอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า น้อมเข้าไปโดยส่วนเดียว ซึ่งศาสนธรรม
(คำสอน) ด้วยคาถาทั้งหลาย อันประกาศความปฏิบัติชอบของตน (และ)
ชักชวนผู้อื่น ในการปฏิบัติชอบนั้น ด้วยการทำให้เป็นแจ้ง (แสดงธรรม)
และพึงทราบว่า เมื่อแสดงอย่างนั้น ย่อมแสดงให้เห็นถึงการยกย่องเชิดชูพระ-
เถระเหล่านั้น ด้วยคาถาเหล่านั้น และยกถ้อยคำของพระเถรีและพระเถระเหล่านั้น
ขึ้นตั้งโดยเป็นนิทาน ให้เป็นหลักฐานสืบไป.
จบนิทานกถาวรรณนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 32
เอกนิบาต
เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๑
๑. เสภูติเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุภูติเถระ
[๑๓๘] ได้ยินว่า ท่านพระสุภูติเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ ว่า
ดูก่อนฝน กุฎีเรามุ่งดีแล้ว มีเครื่องป้องกัน
อันสบาย มิดชิดดี ท่านจงตกลงมาตามสะดวกเถิด
จิตของเราตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นแล้ว เราเป็นผู้มี
ความเพียรอยู่ เชิญตกลงมาเถิดฝน.
เอกนิบาตอรรถวรรณนา
วรรควรรณนาที่๑
อรรถกถาสุภูติเถรคาถา
บัดนี้ (ข้าพเจ้า จะเริ่ม) พรรณนาความแห่งเถรคาถาทั้งหลาย อัน
เป็นไปแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา ดังนี้. ก็เพราะเหตุที่
เมื่อข้าพเจ้า กล่าวประกาศความเป็นไปแห่งเรื่องราวของคาถาเหล่านั้น ๆ การ
พรรณนาความนี้ จึงจะปรากฏและรู้ได้ง่าย ฉะนั้น ข้าพเจ้า จักประกาศ
เหตุเกิดแห่งเรื่องไว้ในคาถานั้น ๆ แล้วทำการพรรณนาความ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 33
บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา เป็นต้น
มีเรื่องราวเป็นอย่างไร ? ข้าพเจ้าจะกล่าว (พรรณนา) ดังต่อไปนี้ ดังได้
สดับมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นนาถะของโลก
ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น ในที่สุดแห่งแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ บุตรคนหนึ่งเกิดแล้ว
แก่พราหมณ์ผู้มหาศาลคนหนึ่งในนครชื่อหังสวดี พราหมณ์ได้ตั้งชื่อบุตรนั้นว่า
"นันทมาณพ" นันทมาณพเจริญวัยแล้ว เรียนไตรเพท เมื่อไม่เห็นสิ่งที่เป็น
สาระในไตรเพทนั้น จึงบวชเป็นฤษี (อยู่) ที่เชิงเขา พร้อมด้วยมาณพ
๔๔,๐๐๐ ผู้เป็นบริวารของตน ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว.
ทั้งยังบอกกัมมัฏฐานแก่อันเตวาสิกทั้งหลายอีกด้วย. แม้อันเตวาสิกเหล่านั้น
ต่างก็ได้ฌาน โดยกาลไม่นานเลย.
ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ เสด็จ
อุบัติแล้วในโลก อาศัยหังสวดีนครประทับอยู่ วันหนึ่ง ทรงตรวจดูหมู่สัตว์
ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัต ของเหล่าชฎิลผู้เป็นอันเตวาสิก
ของนันทดาบส และความปรารถนาตำแหน่งสาวก อันประกอบไปด้วยองค์
สองของนันทดาบส จึงทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระแต่เช้าทีเดียว ทรงถือ
บาตรและจีวร ไม่ทรงชวนภิกษุอื่นไร ๆ เป็นดุจสีหะ เสด็จไปเพียงผู้เดียว
เมื่ออันเตวาสิกของนันทดาบส ไปหาผลาผล เมื่อนันทดาบส มองเห็นอยู่
นั่นแล เสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนอยู่ที่พื้นดิน โดยทรงพระดำริว่า
ขอนันทดาบสจงรู้ความเป็นพระพุทธเจ้าของเรา ดังนี้.
นันทดาบส เห็นพุทธานุภาพ และความบริบูรณ์แห่งพระลักษณะ
พิจารณาดูมนต์สำหรับทำนายลักษณะ แล้วรู้ว่า ขึ้นชื่อว่า ผู้ประกอบด้วย
ลักษณะเหล่านี้ เมื่ออยู่ครอบครองเรือน จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อบวช
จะได้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ตัดวัฏฏะในโลกได้ขาด. บุรุษอาชาไนยผู้นี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 34
จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย แล้วการทำการต้อนรับ ไหว้โดยเบญ-
จางคประดิษฐ์ แล้วปูอาสนะถวาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับนั่ง บนอาสนะที่ดาบสปูลาดไว้แล้ว.
ฝ่ายนันทดาบส เลือกอาสนะที่สมควรแก่ตน แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
สมัยนั้น ชฎิล ๔๔,๐๐๐ คน ถือเอาผลาผลมีรสโอชะ ล้วนแต่ประณีต
มาถึงสำนักของอาจารย์ มองดูอาสนะที่พระพุทธเจ้า และอาจารย์นั่งแล้ว พูดว่า
ข้าแต่ท่านอาจารย์ พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย วิจารณ์กันว่า ในโลกนี้ ไม่มีใคร
ใหญ่กว่าท่าน แต่ชะรอยบุรุษผู้นี้ จักใหญ่กว่าท่าน.
นันทดาบสกล่าวว่า พ่อคุณ พวกท่านพูดอะไร (อย่างนั้น ) พวกท่าน
ประสงค์จะเปรียบ เขาสิเนรุราช ซึ่งสูง ๖๘๐,๐๐๐ โยชน์ กับเมล็ดพันธุ์
ผักกาด พวกท่านอย่าเอาเราเข้าไปเปรียบ กับพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเลย.
ลำดับนั้น ดาบสเหล่านั้น คิดว่า ถ้าท่านผู้นี้ จักเป็นคนต่ำต้อย
อาจารย์ของพวกเราคงไม่หาซึ่งข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ บุรุษอาชาไนยผู้นี้ ใหญ่
ขนาดไหนหนอ ดังนี้แล้ว พากันหมอบลงแทบเท้า แล้วนมัสการด้วย
เศียรเกล้า.
ลำดับนั้น อาจารย์กล่าวกะดาบสเหล่านั้นว่า พ่อทั้งหลาย ไทยธรรม
อันสมควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายของเราไม่มี และพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จ
มาในเวลาภิกษาจาร เพราะฉะนั้น พวกเราจักถวายไทยธรรมตามกำลังความ-
สามารถ พวกท่านจงนำเอาผลาผลอันประณีต บรรดามีที่ท่านทั้งหลายนำมาแล้ว
มาเถิด ดังนี้แล้ว ให้นำผลาผลมา ล้างมือแล้วใส่ลงในบาตรของพระตถาคต-
เจ้า ด้วยตนเอง.
เพียงเมื่อพระศาสดา ทรงรับผลาผลเท่านั้น เทวดาทั้งหลายก็ใส่โอชะ
อันเป็นทิพย์ลงไป. ดาบสกรองน้ำถวายด้วยตนเองทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 35
ลำดับนั้นเมื่อพระศาสดา เสวยเสร็จแล้ว ดาบสผู้เป็นอาจารย์จึงเรียก
อันเตวาสิกทั้งหมดมา กล่าวสาราณียกถาในสำนักของพระศาสดา นั่งแล้ว.
พระศาสดาดำริว่า ขอภิกษุสงฆ์จงมา. ภิกษุทั้งหลาย ที่เป็นพระ
ขีณาสพประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ รูป รู้ความดำริของพระศาสดาแล้ว พากันมา
ถวายบังคมพระศาสดา แล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
นันทดาบส เรียกอันเตวาสิกทั้งหลายมาแล้ว พูดว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย
แม้อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งแล้ว ก็ต่ำ อีกทั้งอาสนะ ของพระสมณะ
๑๐๐,๐๐๐ รูปก็ไม่มี วันนี้ ท่านทั้งหลายควรกระทำสักการะ แด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ให้โอฬาร ท่านทั้งหลาย จงนำดอกไม้อันสมบูรณ์ด้วย
สีและกลิ่นมาจากเชิงเขา. ดาบสทั้งหลายนำดอกไม้ที่สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นมา
โดยครู่เดียวเท่านั้น ปูอาสนะดอกไม้ ประมาณ ๑ โยชน์ ถวายพระพุทธเจ้า
แล้ว. เพราะเหตุที่วิสัยของท่านผู้มีฤทธิ์ เป็นอจินไตย. สำหรับพระอรรคสาวก
มีเนื้อที่ประมาณ ๓ คาวุต. สำหรับภิกษุทั้งหลายที่เหลือ มีเนื้อที่ประมาณ
กึ่งโยชน์เป็นต้นเป็นประเภท สำหรับสงฆนวกะ ได้มีเนื้อที่ประมาณ ๑ อุสภะ.
เมื่อดาบสทั้งหลาย ปูอาสนะเสร็จแล้วอย่างนี้ นันทดาบส ยืนประคอง
อัญชลีอยู่เบื้องหน้าพระตถาคต แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
พระองค์จงเสด็จขึ้นสู่อาสนะดอกไม้ นี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่
ข้าพเจ้าตลอดกาลนาน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้แล้ว.
เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้วอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายรู้อาการของพระศาสดา
แล้วจึงนั่ง บนอาสนะที่ถึงแล้วแก่ตน ๆ.
นันทดาบส ถือฉัตรดอกไม้ใหญ่ ยืนกั้นถวายบนพระเศียร ของ
พระตถาคตเจ้า. พระศาสดาทรงดำริว่า สักการะนี้ของดาบสทั้งหลายจงมีผล
มาก แล้วเข้านิโรธสมาบัติ แม้ภิกษุทั้งหลายรู้ว่าพระศาสดาเข้าสมาบัติแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 36
จึงพากันเข้าสมาบัติ. เมื่อพระตถาคตเจ้า ประทับนั่ง เข้านิโรธสมาบัติตลอด
๗ วัน เมื่อถึงเวลาภิกขาจาร อันเตวาสิกทั้งหลาย ต่างบริโภคมูลผลาผลในป่า
ในเวลาที่เหลือ ก็ยืนประคองอัญชลี แด่พระพุทธเจ้า.
ส่วนนันทดาบส ไม่ยอมไปภิกษาจาร ทรงฉัตรดอกไม้ (ถวายพระ-
ศาสดา) ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยปีติสุขอย่างเดียว ตลอด ๗ วัน. พระศาสดา
ตรัสสั่งพระสาวกรูปหนึ่ง ผู้ประกอบไปด้วยองค์ ๒ คือ องค์แห่ง
ภิกษุผู้อยู่โดยไม่กิเลส และองค์แห่งภิกษุผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ว่า เธอจง
กระทำอนุโมทนาถึงอาสนะที่สำเร็จด้วยดอกไม้ แก่หมู่ฤาษี. ภิกษุรูปนั้น มีใจ
ยินดีแล้ว ดุจทหารผู้ใหญ่ ได้รับพระราชทานลาภใหญ่ จากสำนักของพระเจ้า
จักรพรรดิ (เลือกสรร) เฉพาะพุทธวจนะ. คือ พระไตรปิฏก มาทำอนุโมทนา.
ในที่สุดแห่งเทศนาของภิกษุนั้น พระศาสดาทรงแสดงธรรมด้วยพระองค์เอง.
ในเวลาจบเทศนา ดาบส ๔๔,๐๐๐ ทั้งหมดบรรลุพระอรหัตแล้ว
พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ออก ตรัสว่า เธอทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด
ผมและหนวดของดาบสเหล่านั้น อันตธานไปในทันใดนั้นเอง. บริขาร ๘
สวมใส่อยู่แล้วในกาย (ของดาบสเหล่านั้น ) ครบถ้วน. ดาบสเหล่านั้นเป็นดุจ
พระเถระผู้มีพรรษา ๖๐ แวดล้อมพระศาสดาแล้ว. ส่วนนันทดาบส ไม่
ได้บรรลุคุณพิเศษ เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน. ได้ยินว่า นันทดาบสนั้น จำเดิม
แต่เริ่มฟังธรรม ในสำนักของพระเถระ ผู้อยู่อย่างปราศจากกิเลส ได้เกิดจิต-
ตุปบาทขึ้นว่า โอหนอ แม้เราพึงได้ธุระ อันพระสาวกนี้ได้แล้ว ในศาสนาของ
ของพระพุทธเจ้า ผู้จะเสด็จอุบัติในอนาคตกาล.
ด้วยปริวิตกนั้น นันทดาบสจึงไม่สามารถทำการแทงตลอดมรรค
และผลได้. แต่ท่านได้ถวายบังคมพระตถาคตเจ้า แล้วยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้กระทำอนุโมทนาถึงอาสนะที่ทำด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 37
ดอกไม้ ต่อหมู่ฤาษี นี้ มีชื่ออย่างไร ในศาสนาของพระองค์. พระศาสดา
ตรัสตอบว่า ภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงแล้วซึ่งเอตทัคคะ ในองค์แห่งภิกษุผู้อยู่อย่าง
ไม่มีกิเลส และในองค์แห่งภิกษุผู้เป็นพระทักขิไณยบุคคล. ท่านได้ทำความ
ปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักการะนี้ใดที่ข้าพระองค์ ผู้เข้าไปทรง
ไว้ ซึ่งฉัตร คือ ดอกไม้ ตลอด ๗ วัน กระทำแล้วด้วยอธิการนั้น ข้าพระ
องค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่น แต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงเป็นสาวกผู้
ประกอบด้วยองค์ ๒ ดุจพระเถระนี้ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์
หนึ่งเถิด. พระศาสดา ทรงส่งอนาคตังสญาณไปตรวจดูอยู่ว่า ความปรารถนา
ของดาบสนี้ จักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงตรวจดูอยู่ ทรงเห็นความปรารถนา
ของดาบสจะสำเร็จ โดยล่วงแสนกัปไปแล้ว จึงตรัสว่า ความปรารถนาของ
ท่านจักไม่เป็นโมฆะ ในอนาคตกาล ผ่านแสนกัปไปแล้ว พระพุทธเจ้า
พระนามว่า โคดม จักเสด็จอุบัติขึ้น ความปรารถนาของท่านจักสำเร็จในสำนัก
ของพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะนั้น แล้วตรัสธรรมกถา ทรงแวดล้อมไป
ด้วยภิกษุสงฆ์แล้วแล่นไปสู่อากาศ (เหาะไปแล้ว).
นันทดาบส ได้ยืนประคองอัญชลี อุทิศเฉพาะพระศาสดา และภิกษุ
สงฆ์ จนกระทั่งลับคลองจักษุ. ในเวลาต่อมา ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรม
ตามกาลเวลา. มีฌานไม่เสื่อมแล้วทีเดียว ทำกาละไปบังเกิดในพรหมโลก.
และจุติจากพรหมโลกนั้นแล้ว บวชอีก ๕๐๐ ชาติ ได้เป็นผู้มีการอยู่ป่าเป็น
วัตร. แม้ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กัสสปะ ก็ได้
บวช เป็นผู้มีการอยู่ป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ให้บริบูรณ์แล้ว.
ได้ยินว่า ผู้ที่ไม่ได้บำเพ็ญวัตรนี้ ชื่อว่า จะบรรลุถึงความเป็นพระมหาสาวกไม่
ได้เลย ท่านบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร อยู่ถึง ๑๒๐ ปี ทำกาละแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 38
บังเกิดในภพดาวดึงส์ ในเทวโลก ชั้นกามาพจร. สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาชื่อ นิสภะ
เราได้สร้างอาศรมไว้ที่ภูเขานิสภะนั้น อย่างสวยงาม
สร้างบรรณศาลาไว้ ในกาลนั้น เราเป็นชฎิล มีนาม
ว่าโกลิยะ มีเดชรุ่งเรือง ผู้เดียวไม่มีเพื่อน อยู่ที่
ภูเขาชื่อนิสกะ เวลานั้น เราไม่บริโภคผลไม้ เหง้ามัน
และใบไม้ ในกาลนั้น เราอาศัยใบไม้เป็นต้นที่เกิดเอง
และหล่นเอง เลี้ยงชีวิต เราย่อมไม่ยังอาชีพให้กำเริบ
แม้จะสละชีวิต ย่อมยังจิตของตนให้ยินดี เว้นอเนสนา
จิตสัมปยุตด้วยราคะเกิดขึ้นแล้วแก่เราเมื่อใด เมื่อนั้น
เราบอกตนเองว่า เราผู้เดียวทรมานจิตนั้น ท่านกำหนัด
ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ขัดเคืองใน
อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง และหลงใหลใน
อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลงใหล จงออกไปเสียจาก
ป่า ที่อยู่นี้เป็นของท่านผู้บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน มีตบะ
ท่านอย่าประทุษร้ายผู้บริสุทธิ์เลย จงออกไปเสียจากป่า
เถิด ท่านจักเป็นเจ้าของเรือน ได้สิ่งที่ควรได้เมื่อใด
ท่านอย่ายินดี แม้ทั้ง ๒ อย่างนั้นเลย จงออกไปจาก-
ป่าเถิด เปรียบเหมือนฟืนเผาศพ ใช้ทำกิจอะไร ๆ
ที่ไหนไม่ได้ ไม้นั้นเขาไม่ได้สมมติว่า เป็นไม้ในบ้าน
หรือในป่า ฉันใด ท่านก็เปรียบเหมือนฟืนเผาศพ
ฉันนั้น จะเป็นคฤหัสถ์ก็ไม่ใช่ จะเป็นสมณะก็ไม่ใช่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 39
วันนี้ ท่านพ้นจากเพศทั้งสอง จงออกไปจากป่าเสียเถิด
ข้อนี้พึงมีแก่ท่านหรือหนอ ใครจะรู้ข้อนี้ของท่าน
ใครจะนำธุระของท่านไปได้โดยเร็ว เพราะท่านมาก
ไปด้วยความเกียจคร้าน วิญญูชนจักเกลียดท่าน
เหมือนชาวเมืองเกลียดของไม่สะอาดฉะนั้น ฤาษี
ทั้งหลายจักคร่าท่านมา ประท้วงทุกเมื่อ วิญญูชนจัก
ประกาศท่านว่า มีศาสนาอันก้าวล่วงแล้ว ก็เมื่อไม่ได้
การอยู่ร่วม ท่านจักเป็นอยู่อย่างไรได้ ช้างมีกำลัง
เข้าไปหาช้างกุญชรตกมัน ๓ ครั้ง เกิดในตระกูลช้าง
มาตังคะ มีอายุ ๖๐ ด้อยกำลังแล้ว ถูกนำออกจากโขลง
มันถูกขับออกจากโขลงแล้ว ย่อมไม่ได้ความสุขสำราญ
เป็นสัตว์มีทุกข์ โศกเศร้า ซบเซาหวั่นไหวอยู่ ฉันใด
ชฏิลทั้งหลายจักขับแม้ท่านผู้มีปัญญาทรามออก ท่าน
ถูกชฎิลเหล่านั้นขับไล่แล้ว จักไม่ได้ความสุขสำราญ
ฉันนั้น ท่านเพรียบพร้อมแล้ว ด้วยลูกศร คือความ-
โศก ทั้งกลางวันและกลางคืน จักถูกความเร่าร้อน
แผดเผา เหมือนช้างลูกขับออกจากโขลง ฉะนั้น
เบ้าทองย่อมไม่ถูกเผาไหม้ที่ไหน ๆ ฉันใด ท่านมีศีล
วิบัติแล้ว ก็ฉันนั้น จักไม่ทำกิเลสให้ไหม้ได้ ในที่
ไหน ๆ แม้ท่านจะอยู่ครองเรือน ก็จักเป็นอยู่อย่างไร
ได้ แม้ทรัพย์อันเป็นของมารดาบิดา ที่เก็บไว้แล้วของ
ท่านก็ไม่มี ท่านต้องทำงานเอง ชนิดอาบเหงื่อต่างน้ำ
จักมีชีวิตอยู่ในเรือนอย่างนี้ ท่านไม่ชอบใจกรรมที่ดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 40
เราห้ามใจอันหมักหมมด้วยสังกิเลสอย่างนี้ ในที่นั้น
เรากล่าวธรรมกถานานาชนิด ห้ามจิตจากบาปธรรม
เมื่อเรามีปิติอยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้ เวลา ๓
หมื่นปี ล่วงเลยเราผู้อยู่ในป่าใหญ่ไปแล้ว พระสัมมา
สัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงเห็นเรา
ผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาท ผู้แสวงหาประโยชน์
อันอุดม จึงเสด็จมายังสำนักของเรา. พระพุทธเจ้าผู้มี
พระรัศมี ดังสีทองชมพูนุท ประมาณมิได้ ไม่มีใคร
เปรียบ ไม่มีใครเสมอด้วยพระรูปพระโฉม เสด็จ
จงกรมอยู่บนอากาศในเวลานั้น พระพุทธเจ้าผู้ไม่มี
ใครเสมอด้วยพระญาณ เสด็จจงกรมอยู่บนอากาศใน
เวลานั้น ดังพญารังมีดอกบานสะพรั่ง เหมือนสายฟ้า
(แลบ) ในกลุ่มเมฆ พระองค์เสด็จจงกรมอยู่บนอากาศ
ในเวลานั้น ดุจพญาราชสีห์ตัวไม่เกรงใคร ดุจพญาช้าง
ตัวองอาจ ดุจพญาเสื่อโคร่งตัวไม่ครั่นคร้าม พระพุทธเจ้า
ผู้มีพระรัศมีดังสิงคี ส่องสว่างดังถ่านเพลิงไม้ตะเคียน
มีพระรัศมีโชติช่วงดังดวงแก้วมณี เสด็จจงกรมอยู่บน
อากาศในเวลานั้น พระพุทธเจ้ามีพระรัศมีเปรียบดัง
เขาไกรลาสอันบริสุทธิ์ เสด็จจงกรมอยู่บนอากาศใน
เวลานั้น ดังพระจันทร์ในวันเพ็ญ ดุจพระอาทิตย์ใน
เวลาเที่ยง เวลานั้น เราได้เห็นพระองค์เสด็จจงกรมอยู่
บนอากาศ จึงคิดอย่างนี้ว่า สัตว์ผู้นี้เป็นเทวดาหรือว่า
เป็นมนุษย์ นระเช่นนี้ เราไม่เคยได้ยินได้ฟัง หรือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 41
ได้พบเห็นบนแผ่นดิน ชะรอยจะเป็นอำนาจเวทมนตร์
ผู้นี้คงจักเป็นพระศาสดา ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว ได้
ยังจิตของตนให้เลื่อมใส เรารวบรวมเอาดอกไม้และ
ของหอมต่างๆ ไว้ในเวลานั้น ได้ปูลาดอาสนะดอกไม้
อันวิจิตรดี เป็นที่รื่นรมย์ใจ แล้วได้ทูลคำนี้กะ
พระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่านระผู้เป็นสารถี ว่า ข้าแต่พระ
วีระ อาสนะอันสมควรแก่พระองค์นี้ ข้าพระองค์
ปูถวายไว้แล้ว ขอได้ทรงโปรดยังจิตของข้าพระองค์
ให้ร่าเริง ประทับนั่งบนอาสนะดอกโกสุมเถิด พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไม่ทรงหวาดหวั่น ดังพญาไกรสร
ประทับนั่งบนอาสนะดอกโกสุมอันประเสริฐนั้น เป็น
เวลา ๗ คืน ๗ วัน. พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก
เสด็จออกจากสมาธิแล้ว เมื่อทรงพยากรณ์ธรรมของ
เรา ได้ตรัสพระพุทธพจน์ ดังนี้ว่า ท่านจงเจริญพุทธา-
นุสติอันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย ครั้นเจริญ
พุทธานุสตินี้แล้ว จักยังมนัสให้สมบูรณ์ จักรื่นรมย์
ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็นจอมเทวดา
เสวยเทวสมบัติถึง ๘๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
อยู่ในแว่นแคว้น ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศ-
ราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้ จักได้เสวยสมบัติ
นั้นทั้งหมด นี้เป็นผลแห่งการเจริญพุทธานุสติ เมื่อ
ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จักได้โภคสมบัติเป็น
อันมาก จักไม่มีความบกพร่องด้วยโภคะ นี้เป็นผลแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 42
(การเจริญ) พุทธานุสติ แม้ (สิ้นเวลา) แสนกัป
พระศาสดาทรงพระนามว่า โคตมะ โดยพระโคตร ผู้
ทรงสมภพในองค์ของพระเจ้าโอกากราช จักเสด็จ
อุบัติในโลก. ท่านสละทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ข้าทาสและ
กรรมกรเป็นอันมาก จักบวชในศาสนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้า พระนามว่า โคดม จักยังพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าโคดม ศายบุตร ผู้ประเสริฐให้โปรดปราน
จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามว่า "สุภูติ"
พระศาสดา พระนามว่าโคดม ประทับนั่งท่ามกลาง
ภิกษุสงฆ์แล้ว จักทรงตั้งท่านว่าเป็นเลิศใน ๒
ตำแหน่ง คือ ในคุณคือความเป็นพระทักขิไณยบุคคล ๑
ในการอยู่โดยไม่มีข้าศึก ๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระนามสูงสุดกว่าสัตว์ผู้เกิดในน้ำ (และบนบก)
[ผู้เป็นมหาวีระ) ครั้นตรัสดังนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่
อากาศ ดุจพญาหงส์ในทิฆัมพร เราอันพระโลกนาถ
พร่ำสอนแล้ว ถวายบังคมพระตถาคตเจ้า มีจิตเบิกบาน
เจริญพุทธานุสติอันสูงสุดทุกเมื่อ ด้วยกุศลกรรมที่
เราทำดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เราละกาย
มนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ภพดาวดึงส์ ได้เป็นจอมเทพ เสวย
ทิพยสมบัติ ๘๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๑,๐๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดย
คณานับมิได้ ได้เสวยสมบัติเป็นอันดี นี้เป็นผลแห่ง
(การเจริญ) พุทธานุสติ เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 43
ภพใหญ่ เราย่อมได้โภคสมบัติมาก เราไม่มีความ
บกพร่องด้วยโภคะเลย นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ)
พุทธานุสติ ในแสนกัปแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดไว้
ในกาลนั้น ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสติ คุณพิเศษ
เหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๙ และอภิญญา ๖
เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้กระทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า พระสุภูติเถระเจ้า ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล
ก็นันทดาบสนั้น เสวยทิพยสมบัติ ด้วยสามารถแห่งการเกิด สลับ
กันไปในดาวดึงส์พิภพ จุติจากดาวดึงส์พิภพนั้นแล้ว เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
และเป็นเจ้าประเทศราชในมนุษยโลก นับ ๑,๐๐๐ ครั้ง เสวยมนุษยสมบัติอัน
โอฬาร ต่อมาในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เกิดเป็น
น้องชายของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในเรือนของสุมนเศรษฐี ณ กรุงสาวัตถี
ได้มีนามว่า "สุภูติ"
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก
ทรงประกาศธรรมจักร เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ทรงกระทำการ
อนุเคราะห์สัตวโลก โดยการรัมมอบพระวิหารเวฬุวันเป็นต้น ในกรุงราชคฤห์
นั้น อาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ในป่าสีตวัน. ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี ถือเอาเครื่องมือของผู้หมั่นขยันในพระนครสาวัตถี สร้างเรือนของ
เศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ สดับข่าวการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า จึงเข้าไป
เฝ้าพระศาสดา ผู้เสด็จประทับอยู่ ณ ป่าสีตวัน ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล
โดยการเข้าเฝ้าครั้งแรกทีเดียว แล้วทูลขอให้พระศาสดาเสด็จมากรุงสาวัตถีอีก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 44
ให้สร้างพระวิหาร โดยการบริจาคทรัพย์ ๑ แสน ไว้ในที่ห่างกันโยชน์หนึ่ง ๆ
ในระยะทาง ๔๕ โยชน์ ถัดจากกรุงสาวัตถีนั้น ซื้อที่สวนของพระราชกุมาร
ทรงพระนามว่า เชตะ ประมาณ ๘ กรีส โดยมาตราวัดหลวง ด้วยการเอาทรัพย์
ปูลาดไปเป็นโกฎิ ๆ. ในวันที่พระศาสดาทรงรับพระวิหาร สุภูติกุฎุมพีนี้ได้ไป
พร้อมกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีฟังเทศนาแล้ว ได้มีศรัทธา (ปสาทะ)
บรรพชาแล้ว.
ท่านอุปสมบทแล้ว ทำมาติกา ๒ ให้คล่องแคล่ว ให้อาจารย์บอก
กัมมัฏฐาน บำเพ็ญสมณธรรมในป่า เจริญวิปัสสนา มีเมตตาฌานเป็นบาท
บรรลุพระอรหัตแล้ว. ก็เพราะเมื่อท่านแสดงธรรม ย่อมแสดงธรรมไม่เจาะจง
ตามทำนองที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงได้นามว่า เป็นผู้เลิศ
กว่าภิกษุผู้อยู่โดยไม่มีข้าศึก. เมื่อเที่ยวบิณฑบาต ก็เข้าฌานแผ่เมตตาไปทุกๆ
บ้าน ออกจากฌานแล้วจึงรับภิกษา ด้วยคิดว่า. โดยวิธีนี้ ทายกทั้งหลาย จักมี
ผลมาก. เพราะฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นผู้เลิศกว่าทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พระสุภูติเลิศกว่าภิกษุ
สาวกของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่มีกิเลส พระสุภูติเลิศกว่าพวกภิกษุสาวก
ของเรา ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ดังนี้.
พระมหาเถระนี้ ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลแล้ว ถึงที่สุดแห่งผลของ
บารมีที่ตนได้บำเพ็ญแล้ว เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องในโลก เที่ยวจาริกไป
ตามชนบท เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่ชนหมู่มาก ถึงกรุงราชคฤห์แล้วโดยลำดับ
ด้วยประการฉะนี้.
พระเจ้าพิมพิสาร ทรงสดับการมาของพระเถระแล้ว เสด็จไปหา
ไหว้แล้ว ตรัสว่า ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านอยู่ในที่นี้แหละ ทรงพระดำริว่า
เราจักสร้างที่อยู่ถวาย ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไปแล้วก็ทรงลืมเสีย. พระเถระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 45
เมื่อไม่ได้เสนาสนะ ก็ยังเวลาให้ผ่านไปในอัพโภกาส (กลางแจ้ง) ด้วยอานุภาพ
ของพระเถระ ฝนไม่ตกเลย.
มนุษย์ทั้งหลาย ถูกภาวะฝนแล้ง บีบคั้น คุกคาม จึงพากันไปทำการ
ร้องทุกข์ ที่ประตูวังของพระราชา พระราชาทรงใคร่ครวญดูว่า ด้วยเหตุไร
หนอแล ฝนจึงไม่ตก แล้วทรงพระดำริว่า ชะรอยพระเถระจะอยู่กลางแจ้ง
ฝนจึงไม่ตก แล้วรับสั่งให้สร้างกุฎีมุงด้วยใบไม้ถวายพระเถระ แล้วรับสั่งว่า
" ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านอยู่ในบรรณกุฎี นี้แหละ" ไหว้แล้ว เสด็จหลีกไป.
พระเถระ เข้าไปสู่กุฎี แล้วนั่งขัดสมาธิบนอาสนะที่ปูลาดด้วยหญ้า.
ก็ในครั้งนั้น ฝนหยาดเม็ดลงมาเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ยังสายธารให้ชุ่มชื่นทั่วถึง.
ลำดับนั้น พระเถระประสงค์จะบำบัดภัยอันเกิดแต่ฝนแล้ง แก่ชาวโลก
จึงประกาศความไม่มีอันตราย ที่เป็นวัตถุภายในและภายนอกของตน จึงกล่าว
คาถาว่า
กระท่อของเรามุงแล้ว สะดวกสบายปราศจาก
ลม ดูก่อนฝน ท่านจงตกตามสบายเถิด จิตของเรา
ตั้งมั่นแล้ว หลุดพ้นแล้ว เรามีความเพียรเครื่องเผา-
กิเลสอยู่ ดูก่อนฝน ท่านจงตกเถิด ดังนี้.
ฉนฺน ศัพท์ในคาถานั้น มาแล้วในความเหมาะสม ดังในประโยค
มีอาทิว่า เด็กหญิงคนนั้น เหมาะสมกับเด็กชายคนนี้ และดังประโยคมีอาทิว่า
ไม่เหมาะสม (คือ) ไม่สมควร. มาแล้วในสังขยาพิเศษ ที่ทำถ้อยคำให้
สละสลวย ดังในประโยคมีอาทิว่า ฉนฺน เตฺวว ผคฺคุณผสฺสายตนาน.
มาแล้วในความว่ายึดถือ ดังในประโยคมีอาทิว่า ฝน คือ กิเสสย่อมรั่วรดผู้ที่
ยึดถือ ย่อมไม่รั่วรด ผู้ปราศจากกิเลส. มาในความว่า นุ่งห่มดังในประโยค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 46
มีอาทิว่า แม้เรา ก็ยังไม่ได้นุ่งห่ม จักทำอะไรให้ท่านได้. มาในต้นบัญญัติ ดังใน
ประโยคมีอาทิว่า ท่านฉันนะ ได้ประพฤติอนาจาร. มาในความว่า มุงบังด้วย
หญ้าเป็นต้น ดังในประโยคว่า เรามุงบังไว้หมดแล้ว เรามุงบังไว้เรียบร้อยแล้ว
และดังในประโยคว่า เรามุงบังกระท่อมไว้แล้ว ก่อไฟไว้แล้ว. แม้ในคาถานี้
พึงทราบว่า มาในความหมายว่า มุงบังด้วยหญ้าเป็นต้นอย่างเดียว เพราะฉะนั้น
จึงมีอธิบายว่า กุฎีที่มุงบังแล้วด้วยหญ้า หรือใบไม้ ชื่อว่า มุงบังไว้ดีแล้ว
ทีเดียว โดยประการที่ฝนจะไม่รั่ว คือฝนจะไม่หยดลงมา ได้แก่ รั่วรดไม่ได้เลย.
เม ศัพท์มาแล้วใน กรณะ (ตติยาวิภัตติ) ดังในประโยคมีอาทิว่า
บัดนี้ ไม่ควรเลย ที่จะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยแสนยาก อธิบายว่า
มีความหมายเท่ากับ มยา (อันเรา).
มาแล้ว ในความว่า มอบให้ ดังในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์นั้น โดย
ย่อ อธิบายว่า มีความหมายเท่ากับ มยฺห (แก่ข้าพระองค์). มาแล้วในอรรถ
แห่งฉัฏฐีวิภัตติ ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่กาลตรัสรู้
เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ดังนี้ แม้ในคาถานี้ พึงทราบว่า
ใช้ในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติอย่างเดียว อธิบายว่า มีความหมายเท่ากับ มม.
ขึ้นชื่อว่า สิ่งไร ๆ ที่จะพึงยึดถือว่า เป็นของเรา ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ
ทั้งหลาย เพราะพระขีณาสพเหล่านั้น อันโลกธรรมทั้งหลายเข้าไปแปดเปื้อน
ไม่ได้ก็จริง แต่โดยสมบัติของโลก แม้พระขีณาสพเหล่านั้น ก็ยังมีเพียงการ
กล่าวเรียกกันว่า เรา ว่าของเรา. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
สาวกทั้งหลายของเรา พึงเป็นธรรมทายาทเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลยด้วย
เหตุดังฤา. ก็ท้องมารดาก็ดี กรชกายก็ดี แม้ที่อาศัยซึ่งมุงบังด้วยหญ้าเป็นต้นก็ดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 47
ท่านเรียกว่า " กระท่อม". สมจริงตามนั้น ท้องมารดาท่านเรียกว่า กระท่อม
ดังในประโยคมีอาทิว่า
ท่านกล่าวมารดา ว่าเป็นกระท่อม ท่านกล่าว
ภรรยา ว่าเป็นรัง ท่านกล่าวบุตร ว่าเป็นเครื่องสืบ
ต่อไป ท่านกล่าวตัณหาว่าเป็นเครื่องผูกแก่เรา ดังนี้.
กรชกายอันเป็นที่ประชุมแห่งอาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น ท่านเรียกว่า
กระท่อม ดังในประโยคมีอาทิว่า
เราติเตียนกระท่อม คือสรีระร่าง อันสำเร็จด้วย
โครงกระดูก อันฉาบทาด้วยเนื้อ ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น
เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด
ที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจว่าเป็นของผู้อื่น และเป็นของตน
ดังนี้.
ที่อาศัยที่มุงบังด้วยหญ้า ท่านเรียกว่า กระท่อม ดังในประโยคมีอาทิว่า
ดูก่อนน้องหญิง กระท่อมของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ฝน
รั่วรดได้ ดังนี้ และดังในประโยคมีอาทิว่า ขึ้นชื่อว่า กระท่อม ฉาบแล้วก็มี
ยังไม่ได้ฉาบก็มี ดังนี้. แม้ในคาถานี้พึงทราบว่าได้แก่ ที่อาศัยอันมุงด้วยหญ้า
นั่นแหละ เพราะหมายถึงบรรณศาลา. เพราะว่า กระท่อม ก็คือกุฎีนั่นเอง.
อธิบายว่า กุฎี ที่ไม่ปรากฏ ท่านเรียกว่า กระท่อม.
ส่วนสุขศัพท์ มาในสุขเวทนา ดังในประโยคมีอาทิว่า บุคคลละสุข
และทุกข์ โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนได้ ดังนี้. มาในความว่าเป็นมูลของ
ความสุข ดังในประโยคมีอาทิว่า การบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
นำมาซึ่งความสุข การฟังพระธรรมเทศนานำมาซึ่งความสุข ดังนี้. มาใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 48
เหตุแห่งความสุข ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า บุญนี้
เป็นชื่อของความสุข ดังนี้. มาในอารมณ์ที่เป็นสุข ดังในประโยคมีอาทิว่า
ดูก่อนมหาลี ก็เพราะเหตุใดแล รูปจึงเป็นสุขอันสุขติดตามแล้ว ก้าวลงแล้ว
สู่ความสุ ดังนี้. มาในความไม่เพ่งเล็ง ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อน
จุนทะ. รูปสมาบัติเหล่านี้ เป็นสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน ในวินัยของพระ-
อริยเจ้า ดังนี้. มาในพระนิพพาน ดังในประโยคว่า พระนิพพานเป็นสุข
อย่างยิ่ง ดังนี้. มาในฐานะอันเป็นปัจจัยของความสุข ดังในประโยคมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมา โดยการบอกกล่าว จนถึง
สวรรค์เป็นสุข ก็ไม่ใช่ทำได้ง่ายนัก ดังนี้. มาในอารมณ์ ที่น่าปรารถนา
ดังในประโยคมีอาทิว่า เป็นไปเพื่อสวรรค์ มีสุขเป็นวิบาก ยังสวรรค์ให้เป็น
ไปพร้อม ดังนี้. แม้ในคาถานี้ พึงทราบว่ามาในอารมณ์ที่น่าปรารถนาหรือ
ในอารมณ์อันเป็นเหตุแห่งความสุข.
ก็กุฎีนั้น ยังความพอใจ ทั้งภายใน และภายนอก ให้ถึงพร้อมแล้ว
ท่านจึงเรียกว่า สุข เพราะอยู่อาศัยสบาย. อนึ่ง ท่านเรียกว่า " สุข "
เพราะเป็นปัจจัยแห่งความสุขทางกายและสุขทางใจ โดยประกอบไปด้วยความ
สมบูรณ์ด้วยความสุขทุกฤดู เพราะไม่หนาวเกินไป และไม่ร้อนเกินไป.
บทว่า นิวาตา แปลว่า ไม่มีลม อธิบายว่า เว้นจากอันตราย
อันเกิดแต่ลม เพราะมีช่องหน้าต่างอันปิดลงกลอนได้สนิท. บทว่า นิวาตา
นี้ เป็นบทแสดงถึงความที่กุฎีนั้นอำนวยความสุข. เพราะว่า ในเสนาสนะที่มี
ลม จะไม่ได้ฤดูเป็นที่สบาย ในเสนาสนะที่อับลม จึงจะได้ฤดูเป็นที่สบายนั้น.
บทว่า วสฺส แปลว่า ยังฝนให้ตก คือ ยังธารนำให้หลั่งลงมาโดยชอบ.
เทวศัพท์ ในบทว่า เทวา นี้ มาในความหมายว่า กษัตริย์
ผู้สมมติเทพ ดังในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระนครแปดหมื่นสี่พัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 49
อันมีเมืองกุสาวดีราชธานี เป็นประมุขเหล่านี้ ของพระองค์ ขอพระองค์จงยัง
ฉันทะให้เกิด ในพระนครเหล่านี้เถิด จงทำความใยดีในชีวิต ดังนี้. มาใน
อุปปัตติเทพ ดังในประโยคมีอาทิว่า เหล่าเทพชั้นจาตุมหาราชิกา มีวรรณะ
มากด้วยความสุข ดังนี้. มาในวิสุทธิเทพ ดังในประโยคมีอาทิว่า คำสอน
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้เป็นเทพเหนือเทพ ผู้เห็นไญยธรรม
ทั้งปวง ดังนี้. ก็ในเมื่อกล่าวถึงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเทพเหนือกว่า
วิสุทธิเทพทั้งหลาย เทพนอกนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงแล้วทีเดียว. มาในอากาศ
ดังในประโยคมีอาทิว่า ในอากาศที่แจ่มใส ปราศจากเมฆหมอก ดังนี้.
มาในเมฆหรือหมอก ดังในประโยคมีอาทิว่า ก็ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
ดังนี้. แม้ในคาถานี้ ได้แก่ เมฆหรือหมอก. ก็พระเถระกล่าวบังคับเมฆหมอก
เหล่านั้นว่า วัสสะ (จงยังฝนให้ตก).
บทว่า ยถาสุข แปลว่า ตามใจชอบ. พระเถระเมื่อจะอนุเคราะห์
เหล่าสัตว์ผู้อาศัยฝนเป็นอยู่ จึงกล่าวว่า อันตรายในภายนอกไม่มีแก่เรา เพราะ
การตกของท่าน เพราะฉะนั้น ท่านจงตกตามสบายเถิด ดังนี้.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงถึงความไม่มีอันตรายในภายใน จึงกล่าว
คำมีอาทิว่า จิตฺต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺต เม สุสมาหิต ความว่า จิตของเรา
ตั้งอยู่แล้วในอารมณ์ด้วยดี คือดียิ่ง โดยชอบ คือโดยความเป็นเอกัคคตารมณ์
อันถูกต้องทีเดียว.
แลจิตนั้น มิได้ตั้งมั่น ด้วยเหตุเพียงข่มนิวรณ์เป็นต้นไว้ได้เท่านั้น
โดยที่แท้ จิตนั้นหลุดพ้นแล้ว คือพ้นแล้วโดยพิเศษ จากสังโยชน์ทั้งปวง
อันสงเคราะห์ด้วยโอรัมภาคิยสังโยชน์ และอุทธัมภาคิยสังโยชน์ และจากกิเลส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 50
ธรรมทั้งปวง. อธิบายว่า ละกิเลสเหล่านั้นได้ ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทปหาน
แล้วตั้งอยู่.
บทว่า อาตาปี แปลว่า มีความเพียร. อธิบายว่า เราเป็นผู้มีความ
เพียรอันปรารภแล้ว เพื่อผลสมาบัติ และเพื่ออยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม โดยเริ่ม
บำเพ็ญวิปัสสนา แต่มิใช่เพื่อจะละกิเลส เพราะไม่มีกิเลสที่จะต้องละนั่นเอง.
พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ดูก่อนฝน ท่านอันข้าพเจ้าเชิญชวนให้ตก เพราะ
ไม่มีอันตรายในภายนอกฉันใด แม้อันตรายภายในก็ไม่มีฉันนั้น จึงกล่าวคำว่า
วสฺส เทว (ดูก่อนฝนท่านจงตกเถิด) ดังนี้ไว้อีก.
นัยอื่น บทว่า ฉนฺนา ได้แก่ ปิดแล้ว บังแล้ว. บทว่า กุฏิกา
ได้แก่ อัตภาพ. ก็อัตภาพนั่นมาแล้ว โดยความหมายว่า กาย ดังในประโยค
มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้เองของบุคคลซึ่งเป็นที่รวมแห่งอวัยวะ
มิใช่น้อย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น ประกอบแล้วด้วยตัณหา ประชุมกันแล้ว
และมีนามรูปในภายนอก. มาแล้วในความหมายว่า เรือ ดังในประโยคมี
อาทิว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงวิดเรือลำนี้ เรืออันเธอวิดแล้วจักถึงฝั่งได้เร็ว.
มาแล้วในความหมายว่า เรือน ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนนายช่างผู้ทำ
เรือน ยอดของเรือนเราหักแล้ว. มาโดยความหมายว่า ถ้ำ ดังในประโยคมี
อาทิว่า นรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย ถูกกิเลสเป็นอันมากปกปิดไว้แล้ว ดำรง
อยู่ด้วยอำนาจกิเลสมีราคะเป็นต้น หยั่งลงในกามคุณ เครื่องทำจิตให้ลุ่มหลง.
มาแล้วโดยความหมายว่า รถ ดังในประโยคมีอาทิว่า รถคืออัตภาพ มีศีล
อันหาโทษมิได้ มีหลังคาคือบริขารขาว มีกรรมคือสติอันเดียว แล่นไปอยู่.
มาแล้วในคำว่า ที่อยู่อาศัย ดังในประโยคว่า ท่านจักทำเรือน (ที่อยู่อาศัย) ไม่ได้
อีกแล้ว. มาแล้ว โดยความหมายว่า กุฎี ดังในประโยคมีอาทิว่า กุฎีคืออัตภาพ
มีหลังคาอันเปิดแล้ว ไฟดับสนิทแล้ว. เพราะฉะนั้น แม้ในคาถานี้ ท่านจึง
เรียกอัตภาพนั้นว่า " กุฏิกา" (กระท่อม). อธิบายว่า อัตภาพ จะมีได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 51
เพราะอาศัยปฐวีธาตุเป็นต้น และผัสสะเป็นต้น ที่หมายรู้กันว่า ได้แก่กระดูก
เป็นต้น เหมือนกระท่อมที่ได้นามว่า เรือน จะมีได้ เพราะอาศัยทัพสัมภาระ
มีไม้เป็นต้น ท่านจึงเรียกว่า กุฏิกา " กระท่อม" เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของ
ลิง คือ จิต. และสมกับที่ท่านกล่าวไว้ว่า
กระท่อมคือร่างกระดูกนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของลิง
คือจิต เพราะฉะนั้น ลิงคือจิต จึงกระเสือกกระสนจะ
ออกจากกระท่อม ที่มีประตู ๕ พยายามวิ่งวนไปมา
ทางประตูบ่อย ๆ ดังนี้.
ก็และกระท่อม คือ อัตภาพนี้นั้น ท่านกล่าวว่า อันพระเถระปิดบัง
แล้ว เพราะจิตที่กิเลสรั่วรด ชุ่มไปด้วยราคะเป็นต้น ด้วยสามารถแห่ง
อสังวรทวาร ทั้ง ๓ ช่อง ๖ ช่อง และ ๘ ช่อง อันพระเถระสำรวม
แล้วด้วยปัญญา คือ ปิดกั้นแล้วโดยชอบนั่นเอง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า เราตถาคต กล่าวการสำรวมระวังกระแสทั้งหลาย กระแส
เหล่านั้น ย่อมปิดกั้นได้ด้วยปัญญา ดังนี้. ชื่อว่ามีความสุข คือถึงแล้วซึ่ง
ความสุข เพราะปิดบังได้ตามนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล และเพราะความเป็นผู้
พร้อมเพรียงด้วยความสุขที่ปราศจากอามิส โดยไม่มีทุกข์ คือ กิเลส. ก็เพราะ
เหตุที่ถึงความสุขแล้วนั้นเอง จึงชื่อว่า สงัดจากลม ได้แก่ มีความประพฤติ
อ่อนน้อม เพราะมีความเมา คือ มานะ ความดื้อดัน และความแข่งดี อัน
ขจัดได้แล้ว. พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ก็แนวทางอันนี้ สำเร็จแก่ข้าพเจ้า
ด้วยเหตุเพียงระวังสังกิเลสธรรม (อย่างเดียว) ก็หามิได้ โดยที่แท้แล้ว สำเร็จ
เพราะความเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดี ด้วยสมาธิอันสัมปยุตแล้วด้วยมรรคอันเลิศ
และเพราะความเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว จากสังโยชน์ทั้งปวง ด้วยปัญญาอัน
สัมปยุตด้วยมรรคอันเลิศ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จิตฺต เม สุสมาหิต วิมุตฺต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 52
(จิตของเราตั้งมั่นแล้ว หลุดพ้นแล้ว) ดังนี้. พึงเห็นความในคาถานี้ อย่างนี้
ว่า ก็ข้าพเจ้าผู้เป็นอย่างนี้แล้ว จะเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ด้วยคิดว่า
บัดนี้เราทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ดังนี้ ก็หามิได้ โดยที่แท้แล้ว เราเป็นผู้มี
ความเพียรอยู่ คือเป็นผู้มีความอุตสาหะเกิดแล้ว ในการบำเพ็ญประโยชน์สุข
แก่สัตวโลก พร้อมทั้งเทวดา แม้ในเวลาเที่ยวภิกษาจาร ก็ยับยั้งอยู่ ด้วยพรหม-
วิหารธรรมอย่างเดียว ตามลำดับเรือน. เพราะฉะนั้น แม้ท่าน ก็จงยังฝน
ให้ตก คือ ยังสายฝนให้หลั่งไหลไปโดยชอบ เพื่อกระทำความน่ารัก สำหรับ
เรา อีกทั้งเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้เข้าไปอาศัยน้ำฝนเป็นอยู่.
ก็ด้วยบทว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา สุขา นิวาตา นี้ ในคาถานี้
พระเถระแสดงถึงอธิศีลสิกขาของตนโดยประเภทที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ.
ด้วยบทว่า จิตฺต เม สุสมาหิต นี้ แสดงถึงอธิจิตตสิกขา. ด้วยบทว่า
วิมุตฺต นี้ แสดงถึงอธิปัญญาสิกขา. ด้วยบทว่า อาตาปี วิหรามิ นี้
แสดงถึงการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา
สุขา นิวาตา นี้ แสดงถึงอนิมิตวิหาร เพราะแสดงการเพิกนิมิต มีนิมิต
ว่าเที่ยงเป็นต้น โดยมุขคือการปกปิดไว้ซึ่งฝนคือกิเลส. ด้วยบทว่า จิตฺต เม
สฺสมาหิต นี้ แสดงถึงอัปปณิหิตวิหาร. ด้วยบทว่า วิมุตฺต นี้ แสดงถึง
สุญญตวิหาร. ด้วยบทว่า อาตาปี วิหรามิ นี้ แสดงถึงอุบายเป็นเครื่อง
บรรลุวิหารธรรม ๓ อย่างเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยวิหารธรรมข้อแรก
แสดงถึงการละราคะ ๓ ด้วยวิหารธรรมข้อที่สอง แสดงถึงการละราคะ ด้วย
วิหารธรรมข้อที่ ๓ แสดงถึงการละโมหะ. อนึ่ง ด้วยวิหารธรรมข้อที่ ๒
หรือข้อที่ ๑ และข้อที่ ๒ แสดงถึงธรรมวิหารสมบัติ. ด้วยวิหารธรรมข้อที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 53
แสดงถึงวิมุตติสมบัติ. พึงทราบว่า ด้วยบทว่า อาตาปี วิหรามิ นี้ แสดงถึง
ความเป็นผู้ไม่เกียจคร้านในการปฏิบัติเพื่อประโยชน์เก่ผู้อื่น.
ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า อิตฺถ สุท ไว้เพื่อจะแสดงถึงชื่อ ในบรรดา
ชื่อและโคตรที่ยังไม่ได้แสดงไว้แล้วในคาถานั้น เพราะพระเถระผู้มีธรรมเป็น
เครื่องอยู่เป็นต้น กล่าวไว้แล้วด้วยคาถาว่า ยถานามา นี้ ดังพรรณนามานี้.
ก็พระเถระเหล่าใด ปรากฏเพียงชื่อ ท่านแสดงพระเถระเหล่านั้น โดยชื่อ
พระเถระเหล่าใด ปรากฏแล้วโดยโคตร ก็แสดงพระเถระเหล่านั้นโดยโคตร
พระเถระเหล่าใด ปรากฏทั้งสองอย่าง ก็แสดงพระเถระเหล่านั้น แม้ทั้งสอง
อย่าง (คือทั้งโดยชื่อและโคตร) ก็พระเถระนี้ ท่านกำหนดไว้แล้วโดยชื่อ
ไม่ได้กำหนดไว้โดยโคตรอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า
" อิตฺถ สุท อายสฺมา สุภูติ " ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺถ
เท่ากับ อิท ปการ ความก็ว่า โดยอาการนี้. บทว่า สุท ตัดบทเป็น
สุ อิท ลมอิออกเสียด้วยอำนาจสนธิ. และบทว่า สุ เป็นเพียงนิบาต.
ประกอบความว่า ซึ่งคาถานี้. บทว่า อายสฺมา นี้ เป็นคำกล่าวที่น่ารัก
คือคำนี้ เป็นคำกล่าว ของผู้ที่มีความเคารพยำเกรงในฐานะครู. บทว่า สุภูติ
เป็นคำระบุถึงชื่อ. ก็ท่านพระสุภูตินั้น แม้โดยสรีรสมบัติ ก็น่าชม แม้โดยคุณ-
สมบัติ ก็น่าเลื่อมใส. ด้วยประการฉะนี้ ท่านจึงปรากฏนามว่า สุภูติ เพราะ
ประกอบไปด้วย สรีระร่างกายงดงาม เป็นที่เจริญตา และคุณสมบัติมีศีลเป็นต้น
เป็นที่เจริญใจ. ปรากฏชื่อว่า เถระ เพราะประกอบไปด้วยคุณธรรมอันมั่นคง
มีสาระ คือ ศีลเป็นต้น. บทว่า อภาสิตฺถ แปลว่า กล่าวแล้ว. ถามว่า
ก็เพราะเหตุไร พระมหาเถระเหล่านี้ จึงประกาศคุณทั้งหลายของตน ?
ตอบว่า พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีความมักน้อยอย่างยิ่ง ประกาศคุณของตน ด้วย
สามารถแห่งการพิจารณาถึงโลกุตรธรรม อันตนไม่เคยได้บรรลุ โดยกาล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 54
ยาวนานนี้ ล้ำลึกอย่างยิ่ง สงบ ประณีต เหลือประมาณ อันตนได้บรรลุแล้ว
เปล่งอุทาน โดยที่กำลังปีติ กระตุ้นเตือนแล้ว และด้วยสามารถแห่งการยกย่อง
คำสอนว่าเป็นนิยยานิกธรรม (นำสัตว์ออกจากภพ). พระโลกนาถ ประกาศ
คุณของพระองค์ ด้วยคำมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต ผู้ประกอบ
ด้วยพลญาณ ๑๐ เป็นผู้แกล้วกล้า เพราะเวสารัชชธรรม ๔ ดังนี้ ด้วย
สามารถแห่งพระอัธยาศัยที่เป็นไปเพื่อให้สัตว์ได้บรรลุ (มรรคผล) ฉันใด คาถา
พยากรณ์อรหัตผล ของพระเถระ นี้ ก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน ฉะนี้แล.
จบอรรถกถา สุภูติเถรคาถา
๒. มหาโกฏฐิตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมหาโกฏฐิตะ
[๑๓๙] ได้ยินว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บุคคลผู้สงบ งดเว้นจากการทำความชั่ว พูดด้วย
ปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมกำจัดบาปธรรมทั้งหลาย
เหมือนลมพัดใบไม่ไม่ให้ร่วงหล่นไป ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 55
อรรถกถามหาโกฏฐิตเถรคาถา
คาถาของท่านพระมหาโกฏฐิตเถระ เริ่มต้นว่า อุปสนฺโต. ท่านมี
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร ?
ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ แม้
พระเถระนี้ ก็บังเกิดในตระกูลที่มีโภคะมาก ในพระนครชื่อว่าหงสาวดี
เจริญวัยเติบใหญ่แล้ว สืบทอดสมบัติ โดยที่มารดาบิดาล่วงลับไป อยู่ครอบ-
ครองเรือน วันหนึ่งเห็นชาวเมืองหงสาวดี ถือของหอมและระเบียบเป็นต้น
มีจิตน้อมโน้ม โอนไปหาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เดินไปในเวลา
เป็นที่แสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ก็เดิน
เข้าไปพร้อมกับมหาชน เห็นพระศาสดาทรงแต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่ง เป็นเอตทัคคะ
เลิศกว่าภิกษุผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลายคิดว่า ได้ยินว่า ภิกษุนี้ เลิศกว่าภิกษุ
ทั้งหลายผู้ถึงปฏิสัมภิทาในพระศาสนานี้ ไฉนหนอ แม้เราก็พึงถึงความเป็นผู้เลิศ
ด้วยปฏิสัมภิทาญาณ เหมือนภิกษุนี้ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
ดังนี้ ในเวลาที่พระศาสดาจบพระธรรมเทศนาลง ก็ตรงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทูลอาราธนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงรับ
ภิกษาของข้าพระองค์ ในวันพรุ่งนี้ พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว.
เขาถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกระทำประทักษิณไปยังเรือน
ของตน ประดับตกแต่งที่สำหรับนั่งของพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ จัดแจง
ขาทนียโภชนียาหาร อันประณีตอยู่ตลอดคืนยังรุ่ง ครั้นรัตติกาลนั้นผ่านไป
ก็อังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้า มีภิกษุหนึ่งแสนรูปเป็นบริวาร ให้เสวยโภชนะ
แห่งข้าวสาลี อันหอมละมุน มีสูปะและพยัญชนะหลากรส มีข้าวยาคูและของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 56
เคี้ยวหลายอย่างเป็นบริวาร ในเวลาเสร็จภัตกิจแล้ว คิดว่า เราปรารถนา
ตำแหน่งใหญ่มากหนอ ก็การถวายทานเพียงวันเดียว แล้วปรารถนาตำแหน่ง
นั้น ไม่สมควรแก่เราเลย เราจักถวายทานตลอด ๗ วัน โดยลำดับ แล้วจึง
ปรารถนา ดังนี้.
เขาถวายมหาทานอยู่ตลอด ๗ วัน โดยทำนองนั้นแหละ ในเวลาเสร็จ
ภัตกิจแล้ว สั่งให้คนเปิดคลังผ้า วางผ้าเนื้อละเอียด พอทำจีวรอันมีราคาสูงสุด
ไว้ที่บาทมูลของพระพุทธเจ้า และถวายไตรจีวรแด่ภิกษุแสนรูป เข้าไปเฝ้า
พระตถาคตเจ้า แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับย้อนหลังจากนี้ไป
๗ วัน พระองค์ทรงตั้งภิกษุรูปใดไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ แม้ข้าพระองค์
ก็พึงบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้จะเสด็จอุบัติในอนาคตกาล แล้วพึง
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาญาณเถิด ดังนี้ แล้วหมอบลง
แทบบาทมูลของพระศาสดา ทำความปรารถนาแล้ว.
พระศาสดา ทรงเห็นความสำเร็จแห่งความปรารถนาของเขาแล้ว ทรง
พยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล ในที่สุดแห่งแสนกัป นับแต่กัปนี้ไป พระพุทธเจ้า
ทรงพระนามว่า โคดม จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก. ความปรารถนาของท่าน จัก
สำเร็จในศาสนาของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า โคดม นั้น. แม้ในอปทาน-
ท่านก็กล่าวคาถาประพันธ์นี้ไว้ว่า
ในกัปนับจากภัทรกัปนี้ไปแสนหนึ่ง พระพิชิต-
มาร ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวง
เป็นมุนี มีจักษุได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระองค์ตรัสสอน
ทรงแสดงให้สัตว์รู้ชัดได้ ทรงยังสรรพสัตว์ให้ข้าม
วัฏสงสาร ทรงฉลาดในเทศนา เป็นผู้เบิกบาน ทรง
ช่วยให้ประชาชนข้ามพ้นได้เป็นอันมาก พระองค์เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 57
ผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา แสวงหา
ประโยชน์ให้สรรพสัตว์ ทรงยังเดียรถีย์ที่มาเฝ้า ให้
ดำรงอยู่ในเบญจศีลได้ทุกคน เมื่อเป็นเช่นนี้ พระ-
ศาสนาจึงไม่มีความอากูล ว่างสูญจากเดียรถีย์ วิจิตร
ด้วยพระอรหันต์ผู้คงที่ มีความชำนิชำนาญ พระมหา
มุนีพระองค์นั้น สูงประมาณ ๕๘ ศอก มีพระฉวีวรรณ
งดงาม คล้ายทองคำล้ำค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ
๓๒ ประการ ครั้งนั้น อายุของสัตว์ยืนประมาณแสนปี
พระชินสีห์พระองค์นั้น เมื่อดำรงพระชนม์อยู่โดยกาล
ประมาณเท่านั้น ได้ทรงยังประชาชนเป็นอันมาก ให้
ข้ามพ้นวัฏสงสารไปได้ ครั้งนั้นเราเป็นพราหมณ์
ผู้เรียนจบไตรเพท ในพระนครหงสาวดี ได้เข้า
ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้เลิศกว่าโลกทั้งปวง แล้วสดับ
พระธรรมเทศนา ครั้งนั้นพระธีระเจ้าพระองค์นั้น
ทรงตั้งสาวกผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ฉลาดในอรรถ
ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณในตำแหน่งเอตทัคคะ เรา
ได้ฟังดังนั้นแล้วก็ชอบใจ จึงได้นิมนต์พระชินวรเจ้า
พร้อมด้วยพระสาวกให้เสวยและฉัน ถึง ๗ วัน ใน
กาลนั้น เรายังพระพุทธเจ้าผู้เปรียบด้วยสาคร พร้อม
ทั้งพระสาวกให้ครองผ้า แล้วหมอบลงแทบบาทมูล
ปรารถนาฐานันดรนั้น ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าผู้เลิศ
ว่าโลก ได้ตรัสว่า จงดูพราหมณ์ผู้สูงสุด ที่หมอบอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 58
แทบเท้าผู้นี้ มีรัศมีเหมือนกลีบดอกบัว พราหมณ์นี้
ปรารถนาตำแหน่งแห่งภิกษุผู้แตกฉาน ซึ่งเป็น
ตำแหน่งประเสริฐสุด เพราะการบริจาคทานด้วย
ศรัทธานั้น และเพราะการสดับพระธรรมเทศนา
พราหมณ์นี้จักเป็นผู้ถึงสุขในทุกภพ เที่ยวไปในภพ
น้อยภพใหญ่ จักได้สมมโนรถเช่นนี้ ในกัปนับแต่นี้ไป
แสนหนึ่ง พระศาสดามีพระนามว่า โคดม ซึ่งสมภพ
ในวงศ์พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
พราหมณ์นี้จักเป็นธรรมทายาท ของพระศาสดาพระ-
องค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมเนรมิต เป็นสาวกของ
พระศาสดา มีนามว่าโกฏิฐิตะ เราได้ฟังพระพุทธ-
พยากรณ์นั้นแล้ว เป็นผู้เบิกบาน มีจิตประกอบด้วย
เมตตา บำรุงพระชินสีห์เจ้า ตราบเท่าสิ้นชีวิตใน
ครั้งนั้น เพราะเราเป็นผู้มีสติประกอบไปด้วยปัญญา
เพราะผลแห่งกรรมนั้น และเพราะการตั้งเจตน์จำนง
ไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง ได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และได้เป็นเจ้าประเทศราช
อันไพบูลย์ โดยเวลาสุดคณานับ เพราะกรรมนั้นนำไป
เราจึงเป็นผู้ถึงความสุขในทุกภพ เราท่องเที่ยวไปแต่
ในสองภพ คือในเทวดาและมนุษย์ คติอื่นเราไม่รู้จัก
นี้เป็นผลแห่งกรรมที่สั่งสมไว้ดี เราเกิดแต่ในสอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 59
ตระกูล คือตระกูลกษัตริย์ และตระกูลพราหมณ์
หาเกิดในตระกูลต่ำทรามไม่มี นี้เป็นผลแห่งกรรมที่
สั่งสมไว้ดี เมื่อถึงภพสุดท้าย เราเป็นบุตรของพราหมณ์
เกิดในตระกูลที่มีทรัพย์สมบัติมา ในพระนครสาวัตถี
มารดาของเราชื่อจันทวดี บิดาชื่ออัสสลายนะ ใน
คราวที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำบิดาเรา เพื่อความ
บริสุทธิ์ทุกอย่าง เราเลื่อมใสในพระสุคตเจ้า ได้ออก
บวชเป็นบรรพชิต พระโมคคัลลานะ เป็นอาจารย์
พระสารีบุตร เป็นอุปัชฌาย์ เราตัดทิฏฐิพร้อมด้วย
มูลรากเสียได้ ในเมื่อกำลังปลงผม และเมื่อกำลัง
ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ก็ได้บรรลุพระอรหัต เรามี
ปรีชาแตกฉานในอรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าโลก จึงทรงตั้ง
เราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เราอันท่านพระอุปติสสะ
ไต่ถามในปฏิสัมภิทา ก็แก้ได้ไม่ขัดข้อง ฉะนั้น เรา
จึงเป็นผู้เลิศในพระศาสนา เราเผากิเลสทั้งหลายสิ้น
แล้ว ถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกพัน
ดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่เรา
ได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมา
ดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว โดยลำดับ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำเสร็จแล้ว คุณ
พิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า เราทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 60
เขาสั่งสมซึ่งบุญและญาณสมภาร ในภพนั้น ๆ อย่างนี้แล้ว ท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล
กรุงสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. มารดาบิดาได้ขนานนามเขาว่า "โกฏฐิตะ".
โกฏฐิตมาณพนั้น เจริญวัยแล้ว เรียนไตรเพท สำเร็จศิลปศาสตร์
ของพราหมณ์ วันหนึ่ง ไปยังสำนักของพระศาสดา ฟังธรรมแล้ว ได้มีศรัทธา
บวชแล้ว จำเดิมแต่เวลาที่ได้อุปสมบทแล้ว บำเพ็ญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต
พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เป็นผู้ชำนาญเชี่ยวชาญ ในปฏิสัมภิทาญาณ
เข้าไปหาพระมหาเถระผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายแล้ว ถามปัญหาก็ดี เข้าเฝ้าพระทศพล
แล้ว ทูลถามปัญหาก็ดี ก็ถามปัญหาเฉพาะในปฏิสัมภิทาเท่านั้น.
พระเถระรูปนี้ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะ
เป็นผู้มีอธิการอันการทำไว้แล้วในภพนั้น และเพราะเป็นผู้มีความชำนาญ ที่
สั่งสมไว้แล้ว ด้วยประการดังพรรณนามานี้
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงกระท่านหาเวทัลลสูตร ให้เป็นอัตถุปปัติ
ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้บรรลุปฏิสัมภิทาญาณ
โดยมีพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระมหาโกฏฐิตะเลิศกว่าพวก
ภิกษุสาวกของเราผู้บรรลุปฏิสัมภิทา. สมัยต่อมา เมื่อท่านเสวยวิมุตติสุขได้กล่าว
คาถา โดยเปล่งเป็นอุทาน ได้ยินว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ภาษิตคาถานี้
ไว้อย่างนี้ว่า
บุคคลผู้สงบ งดเว้นจากการทำความชั่ว พูดด้วย
ปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมกำจัดบาปธรรมทั้งหลาย
เหมือนลมพัดใบไม้ ให้ร่วงหล่นไปฉะนั้น ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 61
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปสนฺโต ความว่า บุคคล ชื่อว่า
สงบแล้ว เพราะกระทำความสงบระงับ อินทรีย์ทั้งหลายมีมนะเป็นที่ ๖ โดย
กระทำให้หมดพยศ.
บทว่า อุปรโต ความว่า งดคือเว้นจากการทำความชั่วทุกอย่าง.
บทว่า มนฺตภาณี ความว่า ปัญญา ท่านเรียกว่า มันตา ก็บุคคล
ชื่อว่า มันตภาณี เพราะพิจารณาด้วยปัญญานั้นแล้วจึงกล่าว. อธิบายว่า
กล่าวโดยไม่ละความเป็นผู้กล่าวในกาลเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลชื่อว่า
มนฺตภาณี เพราะกล่าวด้วยสามารถแห่งการกล่าวมนต์. อธิบายว่า เว้นคำ
ที่เป็นทุภาษิต กล่าวแต่คำที่เป็นสุภาษิต อันประกอบด้วยองค์ ๔ เท่านั้น
โดยการกล่าวของตน. บุคคลชื่อว่า อนุทฺธโต (ไม่ฟุ้งซ่าน) เพราะไม่ฟุ้งซ่าน
โดยการยกตน ด้วยสามารถแห่งชาติเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สงบแล้ว เพราะสงบกายทุจริต ๓ ได้ โดย
เว้นขาดจากกายทุจริตนั้น ชื่อว่า งดเว้น เพราะงดเว้น คือ ละมโนทุจริต
ทั้ง ๓ ได้. ชื่อว่า พูดด้วยปัญญา เพราะพูดละเมียดละไม ไม่ล่วงละเมิด
วจีทุจริต ๔. ชื่อว่า ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะไม่มีความฟุ้งซ่านอันเกิดแต่นิมิต คือ
ทุจริต ๓ อย่าง. ก็ผู้ที่ตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ โดยละทุจริต ๓ อย่างได้ เช่นนี้
เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น เพราะละอุทธัจจะได้กระทำสมาธินั้นแหละให้เป็นปทัฎฐาน
เจริญวิปัสสนาแล้ว ย่อมชื่อว่า กำจัดบาปธรรมทั้งหลายได้ คือ ขจัดสังกิเลส-
ธรรม ที่ชื่อว่าลามก เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความลามกได้แม้ทุกอย่าง ตามลำดับ
แห่งมรรค ได้แก่ ละได้ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทปหาน. เหมือนอะไร ?
เหมือนลมพัดใบไม้ให้ร่วงไปฉะนั้น. อุปมาเหมือนลม (มาลุตะ) ย่อมกำจัดใบ
คือ ใบที่เหลืองของต้นไม้ คือ ให้สลัดหลุดจากขั้ว ฉันใด ผู้ที่ตั้งอยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 62
ข้อปฏิบัติ ตามที่กล่าวแล้วก็ฉันนั้น ย่อมนำบาปธรรมทั้งปวงออกจากสันดาน
ของตนได้. พึงทราบว่า คาถานี้ของพระเถระ ก็จัดว่าเป็นคาถาพยากรณ์
อรหัตผลโดยการอ้างถึงพระอรหัตผล.
ก็ในคาถานี้ ท่านแสดงถึงความบริสุทธิ์แห่งประโยค ด้วยการกล่าวถึง
การละกายทุจริต และวจีทุจริต แสดงถึงความบริสุทธิ์แห่งอาสยะ ด้วยการ
กล่าวถึงการละมโนทุจริต แสดงถึงการละนิวรณ์ ของท่านผู้มีประโยคและ
อาสยะบริสุทธิ์อย่างนี้ เพราะตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่านนั้น ด้วยการกล่าวถึง
ความไม่มีอุทธัจจะ นี้ว่า "อนุทฺธโต" บรรดาประโยค และอาสยะเหล่านั้น
ศีลสมบัติย่อมแจ่มแจ้ง ด้วยความบริสุทธิ์แห่งประโยค. การกำหนดธรรมที่เป็น
อุปการะต่อสมถภาวนา ย่อมแจ่มแจ้ง ด้วยความบริสุทธิ์แห่งอาสยะ สมาธิภาวนา
ย่อมแจ่มแจ้ง ด้วยการละนิวรณ์. ปัญญาภาวนา ย่อมแจ่มแจ้ง ด้วยบาทคาถา
นี้ว่า ธุนาติ ปาปเก ธมฺเม (ย่อมกำจัดบาปธรรมทั้งหลายได้).
ด้วยประการดังพรรณนามานี้ สิกขา ๓ มีอธิศีลสิกขาเป็นต้น คำสอน
ที่งาม ๓ อย่าง ปหาน ๓ มีตทังคปหานเป็นต้น ข้อปฏิบัติโดยมัชฌิมาปฏิทา
พร้อมกับการเว้นส่วนสุด ๒ อย่าง และอุบายเป็นเครื่องก้าวล่วงภพในอบาย
เป็นต้น บัณฑิตพึงเอามาขยายประกอบความตามเหมาะสม. แม้ในคาถาที่เหลือ
ก็พึงทราบการประกอบความตามสมควรโดยนัยนี้. ก็ข้าพเจ้าจะพรรณนาเพียง
ใจความเท่านั้น ในตอนหลัง ในคาถานั้น ๆ. คำว่า อิตฺถ สุท อายสฺมา
มหาโกฏฺิโต ได้ยินว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตะ (ได้ภาษิตคาถานี้ไว้) อย่างนี้
นี้ เป็นคำกล่าวยกย่องอย่างเดียวกันกับกล่าวยกย่องพระมหาโมคคัลลานะ
ฉะนี้แล.
จบอรรถกถามหาโกฏฐิตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 63
๓. กังขาเรวตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกังขาเรวตเถระ
[๑๔๐] ได้ยินว่า ท่านพระกังขาเรวตเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้
อย่างนี้ว่า
ท่านจงดูปัญญานี้ ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
ดังไฟอันรุ่งเรืองในเวลาพลบค่ำ พระตถาคต เหล่าใด
ย่อมกำจัดความสงสัย ของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ผู้มา
เฝ้าถึงสำนักของพระองค์ พระตถาคตเหล่านั้น ย่อม
ชื่อว่า เป็นผู้ให้แสงสว่าง เป็นผู้ให้ดวงตา.
อรรถกถากังขาเรวตเถรคาถา
คาถาของท่านพระกังขาเรวตะ เริ่มต้นว่า ปญฺญ อิม ปสฺส.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ แม้
พระเถระนี้ ก็เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล กรุงหงสาวดี วันหนึ่งในเวลา
แสดงพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เขาไปวิหารพร้อมกับมหาชน
โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท เห็นพระศาสดาทรงตั้ง
ภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ยินดีในฌานคิดว่าในอนาคต
แม้เราก็ควรเป็นเช่นกับภิกษุรูปนี้ ดังนี้ ในเวลาจบเทศนา นิมนต์พระศาสดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 64
กระทำมหาสักการะ โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยการการทำอธิการนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนา
สมบัติอย่างอื่น ก็นับแต่นี้ไปในวันสุดท้ายของวันที่ ๗ พระองค์ตั้งภิกษุรูปนั้น
ไว้ในตำแหน่งของภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เพ่งฌาน ฉันใด ในอนาคตกาล
แม้ข้าพระองค์ ก็พึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เพ่งฌาน ในศาสนาของพระ-
พุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ดังนี้แล้ว ตั้งความปรารถนาไว้.
พระบรมศาสดา ทรงตรวจดูอนาคตกาลแล้ว ทรงเห็นความสำเร็จ
จึงทรงพยากรณ์ว่า พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคตมะ จักเสด็จอุบัติในที่สุด
แห่งแสนกัปในอนาคตกาล ดังนี้ แล้วเสด็จหลีกไป.
เขากระทำแต่กรรมดี จนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ตลอดเวลาแสนกัป บังเกิดในตระกูลที่มีสมบัติมาก ณ กรุงสาวัตถี
ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ไปสู่วิหารพร้อมด้วยมหาชน
ผู้เดินไปเพื่อฟังธรรม ภายหลังภัตร ยืนอยู่ท้ายบริษัท ฟังธรรมกถาของ
พระทศพลแล้ว ได้เฉพาะซึ่งศรัทธา บวชแล้ว ได้อุปสมบทแล้ว ให้อาจารย์
บอกกัมมัฏฐาน กระทำบริกรรมฌาน เป็นผู้ได้ฌาน กระทำฌานให้เป็นบาท
แล้วบรรลุพระอรหัต.
โดยมากท่านจะเข้าสมาบัติ ที่พระทศพลทรงเข้า ได้เป็นผู้มีชำนาญ
ที่สั่งสมแล้ว ในฌานทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืน.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุ
ผู้เพ่งฌานทั้งหลาย โดยพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระกังขา-
เรวตะเลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เพ่งฌาน ดังนี้. สมดังคาถาประพันธ์
ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 65
ในกัปที่แสน นับแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมาร
ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้มีจักษุในธรรมทั้งปวง
ทรงเป็นนายก มีพระหนุเหมือนราชสีห์ มีพระสุรเสียง
เหมือนพรหม มีสำเนียงคล้ายหงส์และกลองใหญ่
เสด็จดำเนินเยื้องกรายดุจช้าง มีพระรัศมีประหนึ่งรัศมี
ของจันทเทพบุตรเป็นต้น มีพระปรีชามาก มีความเพียร
มาก มีความเพ่งพินิจมาก มีพละมาก ประกอบด้วย
พระมหากรุณา เป็นที่พึ่งของสัตว์ กำจัดความมืดใหญ่
ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว คราวหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธ-
เจ้า ผู้เลิศกว่าไตรโลก เป็นมุนี ทรงรู้วารจิตของสัตว์
พระองค์นั้นทรงแนะนำเวไนยสัตว์เป็นอันมาก ทรง-
แสดงพระธรรมเทศนาอยู่ พระพิชิตมารตรัสสรรเสริญ
ภิกษุผู้เพ่งพินิจ ยินดีแล้วในฌาน มีความเพียรสงบ
ระงับไม่ขุ่นมัวในท่ามกลางบริษัท ทรงทำให้ประชาชน
ยินดี ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์เรียนจบไตรเพท อยู่ใน
พระนครหงสาวดี ได้สดับพระธรรมเทศนาก็ชอบใจ
จึงปรารถนาฐานันดรนั้น ทีนั้นพระพิชิตมาร ผู้เป็น
สังฆปริณายกยอดเยี่ยม ได้ตรัสพยากรณ์ในท่ามกลาง
สงฆ์ว่า จงดีใจเถิดพราหมณ์ ท่านจักได้ฐานันดรนี้
สมดังมโนรถปรารถนา ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระ-
ศาสดา พระนามว่าโคตมะ ผู้สมภพในวงศ์ของ
พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ท่านจักได้
เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 66
โอรสอันธรรมเนรมิต เป็นสาวกของพระศาสดา มี
ชื่อว่า " เรวตะ " เพราะกรรมที่ทำไว้ดี และเพราะการ
ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปยัง
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในภพสุดท้าย ในบัดนี้ เราเกิดใน
ตระกูลกษัตริย์ อันมั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มากมายใน
โกลิยนครในคราวที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงพระธรรม
เทศนาในพระนครกบิลพัสดุ์ เราเลื่อมใสในพระสุคต-
เจ้า จึงออกบวชเป็นบรรพชิต ความสงสัยของเราใน
สิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะนั้น ๆ มีมากมาย พระ-
พุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอันอุดม แนะนำข้อสงสัย
ทั้งปวงนั้น ต่อแต่นั้น เราก็ข้ามพ้นสงสารได้ เป็นผู้
ยินดีความสุขในฌานอยู่ ในครั้งนั้น พระพุทธเจ้า
ทอดพระเนตรเห็นเรา จึงได้ตรัสพุทธภาษิตนั่นว่า
ความสงสัยในโลกนี้ หรือโลกอื่น ในความรู้
ของตน หรือในความรู้ของผู้อื่น อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น
อันบุคคลผู้มีปกติเพ่งพินิจ มีความเพียรเผากิเลส
ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมละได้ทั้งสิ้น.
กรรมที่ทำไว้ในกัปที่แสน ได้แสดงผลแก่เรา
ในอัตภาพนี้ เราพ้นกิเลสแล้วเหมือนลูกศรที่พ้นจาก
แล่ง ได้เผากิเลสของเราเสียแล้ว ลำดับนั้น พระมุนีผู้
มีปรีชาใหญ่ เสด็จถึงที่สุดของโลก ทรงเห็นว่าเรายิน
ดีในฌาน จึงทรงแต่งตั้งว่า เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย
ฝ่ายที่ได้ฌาน เราเผากิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว ถอนภพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 67
ขึ้นได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกพัน ดังช้างตัด
เชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่เราได้มาใน
สำนักของพระพุทธเจ้า ของเรานี้ เป็นการมาดีแล้ว-
หนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำเสร็จแล้ว คุณพิเศษเหล่า
นี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖
เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา
กระทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระมหาเถระนี้ ผู้กระทำกิจเสร็จแล้วอย่างนั้น พิจารณาดู ข้อที่
ตนมีความคิดสงสัยอยู่เป็นปกติ และข้อที่ตนปราศจากความสงสัยได้โดยประการ
ทั้งปวง ในบัดนี้ บังเกิดความพอใจเป็นอันมากว่า อานุภาพของพระศาสดา
ของเรา น่าชื่นใจนัก ด้วยอานุภาพของพระองค์นั้น ทำให้เราปราศจากความ
สงสัย มีจิตสงบระงับแล้วในภายใน อย่างนี้ ดังนี้ เมื่อจะสรรเสริญปัญญา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ท่านจงดูปัญญานี้ ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
ดังไฟอันรุ่งเรือง ในเวลาพลบค่ำ พระตถาคตเหล่าใด
ย่อมกำจัดความสงสัย ของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ผู้มา
เฝ้าถึงสำนักของพระองค์ พระตถาคตเหล่านั้น ย่อม
ชื่อว่าเป็นผู้ให้แสงสว่าง เป็นผู้ให้ดวงตา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺ ความว่า ธรรมชาติชื่อว่า ปัญญา
เพราะอรรถว่า รู้ซึ่งประการทั้งหลาย และเพราะยังคนอื่นให้รู้ โดยประการ
ทั้งหลาย. อธิบายว่า รู้ประการมี อาสยะ อนุสัย จริยา และอธิมุตติ ของ
เวไนยสัตว์ทั้งหลาย และรู้ประการอันจะพึงแสดง ในบรรดาธรรมทั้งหลายมีกุศล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 68
เป็นต้น และขันธ์เป็นต้น คือแทงตลอดตามความเป็นจริง และยังผู้อื่นให้รู้
โดยประการนั้น.
ก็ในคาถานี้ ท่านประสงค์เอาญาณ คือ พระธรรมเทศนาของพระ-
ศาสดา ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อิม ดังนี้. อธิบายว่า เทศนาญาณนั้น
ท่านกล่าวว่า อิม โดยถือเอาปัญญาที่ปรากฏแล้ว ดุจเห็นได้เฉพาะหน้า
โดยการถือเอาซึ่งนัย ด้วยกำลังแห่งเทศนาอันสำเร็จแล้วในตน. อีกอย่างหนึ่ง
เทศนาญาณของพระศาสดา อันสาวกทั้งหลาย ย่อมถือเอาโดยนัย ด้วยมรรค
ผลอันเลิศใด แม้ปฏิเวธญาณ ในวิสัยของตน อันพระสาวกทั้งหลายก็ถือเอา
ได้โดยนัย ด้วยมรรคผลอันเลิศนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระธรรม
เสนาบดีจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้สภาพที่คล้อยตามธรรม อัน
ข้าพระองค์รู้แจ้งแล้ว ดังนี้.
บทว่า ปสฺส ความว่า ผู้ที่หมดความสงสัยแล้วย่อมเรียกร้องกัน
โดยคำที่ไม่กำหนดแน่นอน อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ จิตของตนนั่นเอง. เหมือน
อย่างพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะเปล่งอุทาน ก็ตรัสว่า ท่านจงดูโลกนี้ สัตว์
ทั้งหลายเป็นจำนวนมาก ถูกอวิชชาครอบงำ หรือยินดีแล้วในขันธบัญจกที่
เกิดแล้ว ไม่พ้นไปจากภพ ดังนี้.
บทว่า ตถาคตาน ความว่า ชื่อว่า ตถาคต ด้วยอรรถว่าเสด็จมา
แล้วอย่างนั้นเป็นต้น. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต
ด้วยเหตุ ๘ ประการเหล่านี้ คือ ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วอย่าง
นั้น ๑ ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น ๑ ชื่อว่า ตถาคต
เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้จริง ๑ ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้
จริงตามความเป็นจริง ๑ ชื่อว่า ตถาคต เพราะความเป็นผู้มีปกติเห็นอย่างนั้น ๑
ชื่อว่า ตถาคต เพราะความเป็นผู้มีปกติตรัสอย่างนั้น ๑ ชื่อว่า ตถาคต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 69
เพราะความเป็นผู้มีปกติกระทำอย่างนั้น ๑ ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า
ครอบงำ ๑.
ในอธิการนี้ มีความสังเขปดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
ตถาคต ด้วยเหตุ ๘ ประการ แม้อย่างนี้คือ ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จ
มาแล้ว โดยอาการอย่างนั้น ๑ ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้ว โดย
อาการอย่างนั้น ๑ ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วสู่ลักษณะอย่างนั้น ๑
ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วสู่ความเป็นอย่างนั้น ๑ ชื่อว่า ตถาคต
เพราะเป็นอย่างนั้น ๑ ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเป็นไปแล้วอย่างนั้น ๑
ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาแล้ว โดยอาการอย่างนั้น ๑ ชื่อว่า ตถาคต
เพราะความเป็นผู้เสด็จไปแล้ว โดยอาการอย่างนั้น ๑ ส่วนความพิสดาร พึง
ทราบ โดยนัยดังกล่าวแล้ว ในอรรถกถาอุทาน และในอรรถกถาอิติวุตตกะ
ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงคุณพิเศษอันไม่ทั่วไป แห่งพระปัญญานั้น ท่าน
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อคฺคิ ยถา ดังนี้. บทว่า ยถา อคฺคิ เป็นคำอุปมา.
บทว่า ยถา เป็นคำแสดง ถึงบทว่า อคฺคิ นั้นเป็นอุมา. บทว่า ปชฺชลิโต
แสดงถึงข้อความที่เนื่องกัน โดยอุปไมย. บทว่า นิสีเถ เป็นคำแสดงถึงเวลา
ที่ทำกิจ. ก็ในบทว่า นิสีเถ นี้ มีอธิบายดังนี้. เมื่อความมืดอันประกอบ
ด้วยองค์ ๔ ในยามพลบค่ำ คือ ยามราตรีย่างมาถึง ไฟที่ลุกโพลงแล้วในที่
ดอน ย่อมกำจัดความมืดตั้งอยู่ในประเทศนั้น ฉันใด ท่านจงดู พระปัญญา
ที่กำจัดความมืด คือ ความสงสัย ของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง
กล่าวคือ เทศนาญาณนี้ ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน
ฉะนี้แล. พระปัญญา ชื่อว่า ให้แสงสว่าง เพราะเป็นเหตุให้ซึ่งแสงสว่าง
อันสำเร็จด้วยญาณแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยลีลาแห่งพระธรรมเทศนา. ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 70
ผู้ให้ดวงตา เพราะให้ซึ่งจักษุอันสำเร็จด้วยปัญญา นั่นเอง. พระเถระเมื่อจะ
แสดงถึงปัญญาแม้ทั้ง ๒ ทำให้เป็นปทัฏฐานของการกำจัดความสงสัยเสียได้
เหมือนกัน จึงกล่าวว่า เย อาคตาน วินยนฺติ กงฺข ดังนี้.
พระตถาคตเจ้าเหล่าใด ย่อมกำจัด คือขจัด บำบัดเสียซึ่งกังขา คือ
ความสงสัย อันมีวัตถุ ๑๖ อันเป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ในอดีตอันยาวนาน
เราได้เคยมีมาแล้วหรือหนอ และมีวัตถุ ๘ ประการ อันเป็นไปแล้วโดยนัย
มีอาทิว่า ย่อมสงสัยในพระพุทธ ย่อมสงสัยในพระธรรม ดังนี้ แก่เหล่าเวไนย-
สัตว์ ผู้เข้าถึง คือ เข้าไปยังสำนักของพระองค์ โดยไม่มีส่วนเหลือด้วยอานุภาพ
แห่งเทศนา.
อีกนัยหนึ่ง ไฟที่รุ่งเรือง คือ มีแสงสว่างจ้า ลุกโชติช่วง ในยาม
พลบค่ำ คือ ยามราตรี ย่อมกำจัดความมืด ให้แสงสว่าง มองเห็น ที่เสมอ
และไม่เสมอได้ชัดเจน แก่ผู้ที่อยู่บนที่สูง แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในที่ต่ำ เมื่อกระทำ
แสงสว่างนั้นให้ปรากฏดีแล้ว ชื่อว่า ย่อมให้ซึ่งดวงตา เพราะกระทำกิจ คือ
การเห็น ฉันใด พระตถาคตเจ้าทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อทรงกำจัด
ความมืดคือโมหะ แก่ผู้ที่ตั้งอยู่ในที่ไกลจากธรรมกายของพระองค์ คือผู้ที่มี
อธิการยังไม่ได้กระทำไว้ ด้วยแสงสว่าง คือ ปัญญา แล้วทรงยังความเสมอ
และไม่เสมอ มีความเสมอทางกาย และความไม่เสมอทางกายเป็นต้น ให้แจ่ม
แจ้ง ชื่อว่า ย่อมให้แสงสว่าง. แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในที่ใกล้ เมื่อมอบธรรมจักษุ
ให้แก่ผู้ที่มีอธิการอันกระทำแล้ว ชื่อว่า ย่อมให้ซึ่งดวงตา.
ประกอบความว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเหล่าใดผู้เป็นอย่างนี้ ย่อม
กำจัดความสงสัย ของผู้มากไปด้วยความสงสัย แม้เช่นเรา ผู้มาฟังพระโอวาท
ของพระองค์ คือ ขจัดเสียได้ ด้วยการยังพระอริยมรรคให้เกิดขึ้น ท่านจงดู
พระปัญญา ที่มีพระญาณอันดียิ่งของพระตถาคตเจ้าเหล่านั้น. แม้คาถานี้ก็จัด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 71
เป็นคาถาพยากรณ์อรหัตผล ของพระเถระ โดยประกาศถึงการก้าวล่วงความ
สงสัยของตน.
ก็พระเถระนี้ ในเวลาที่เป็นปุถุชน เป็นผู้มีความรังเกียจแม้ในของที่
เป็นกัปปิยะ จึงปรากฏนามว่า " กังขาเรวตะ" เพราะความเป็นผู้มากไปด้วย
ความสงสัย. ภายหลังแม้ในเวลาที่เป็นพระขีณาสพ คนทั้งหลายก็เรียกท่านอย่าง
นั้นเหมือนกัน.
ด้วยเหตุนั้น ท่านพระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า ได้ยินว่า
ท่านพระกังขาเรวตเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้. คำนั้น มีเนื้อความดัง
ข้าพเจ้ากล่าวแล้วแล.
จบอรรถกถากังขาเรวตเถรคาถา
๔. ปุณณมันตานีปุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ
[๑๔๑] ได้ยินว่า พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้
อย่างนี้ว่า
บุคคลควรสมาคมกับสัตบุรุษ ผู้เป็นบัณฑิต
ชี้แจงประโยชน์เท่านั้น เพราะธีรชนทั้งหลายเป็นผู้ไม่-
ประมาท เห็นประจักษ์ด้วยปัญญา ย่อมได้บรรลุถึง
ประโยชน์อย่างใหญ่ ประโยชน์อย่างลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
ละเอียด สุขุม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 72
อรรถกถาปุณณมันตานีปุตตเถรคาถา
คาถาของพระปุณณเถระเริ่มต้นว่า สพฺภิเรว สมาเสถ. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้ เกิดในตระกูลพราหมณมหาศาล กรุงหงสาวดี
ก่อนกว่าการเสด็จอุบัติของพระทศพล พระนามว่า ปทุมุตตระ ทีเดียว ถึง
ความเป็นผู้รู้โดยลำดับ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ไปสู่วิหาร
พร้อมกับมหาชนโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง ในเวลาแสดงธรรมของพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย นั่งท้ายบริษัท ฟังธรรมอยู่ เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่ง
ไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุผู้เป็นพระธรรมกถึกทั้งหลาย คิดว่า
ในอนาคตกาล แม้เราก็ควรเป็นอย่างภิกษุรูปนี้ ในเวลาจบเทศนา เมื่อบริษัท
เลิกประชุมกันแล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลอาราธนาแล้วกระทำมหาสักการะ
โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยก่อสร้างอธิการนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติ
อย่างอื่น แต่ในอนาคตกาล ขอให้ข้าพระองค์ พึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นธรรมกถึก ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง เหมือนอย่างภิกษุ
รูปนั้น ที่พระองค์ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็น
พระธรรมกถึก ในสุดท้ายของวันที่ ๘ ดังนี้แล้ว ตั้งความปรารถนาไว้.
พระบรมศาสดาทรงตรวจดุอนาคตกาล ทรงเห็นความสำเร็จแห่งความ
ปรารถนาของเขา จึงทรงพยากรณ์ว่า ในที่สุดแห่งแสนกัป ในอนาคตกาล
พระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ จักเสด็จอุบัติ เธอบวชในศาสนาของ
พระองค์แล้ว จักเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายธรรมกถึก ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 73
เขาทำคุณงามความดีอยู่ในมนุษยโลกจนตลอดชีวิตจุติจากมนุษยโลกแล้ว
สั่งสมบุญและญาณสมภารอีกแสนกัป ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ครั้นถึงศาสนาแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย บังเกิดเป็นหลานชาย
ของพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ในตระกูลพราหมณมหาศาล ในหมู่บ้าน
พราหมณ์ นามว่า โทณวัตถุ ไม่ไกลจากพระนครกบิลพัสดุ์ ในวันตั้งชื่อ
ของเขา. คนทั้งหลายได้ขนานนามเขาว่า ปุณณะ.
เมื่อพระบรมศาสดา ตรัสรู้อภิสัมโพธิญาณ ทรงประกาศธรรมจักร
อันประเสริฐ เสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์โดยลำดับ ทรงเข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์
นั้นประทับอยู่ ปุณณมาณพ บวชในสำนักของพระอัญญาโกณฑัญญเถระ
ได้อุปสมบทแล้ว กระทำบุพกิจหมดทุกอย่างแล้ว ขวนขวายความเพียร ยังกิจ-
แห่งบรรพชิตให้ถึงที่สุดแล้วเทียว คิดว่า เราจักไปสู่สำนักของพระทศพล
แล้วได้ไปยังสำนักของพระศาสดา พร้อมกับพระเถระผู้เป็นลุง หยุดพักในที่
ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์แล้ว กระทำกรรมในโยนิโสมนสิการ ขวนขวายวิปัสสนา
แล้วบรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานเลย. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าว
ไว้ใน อปทานว่า
เราเป็นพราหมณ์ผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบ
ไตรเพท อันศิษย์ห้อมล้อมแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ผู้อุดมบุรุษ. พระมหามุนี พระนามว่า
ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก ทรงรับเครื่องบูชาแล้ว
ทรงประกาศกรรมของเราโดยย่อ เราได้ฟังธรรมนั้น
แล้ว ได้ถวายบังคมพระศาสดา ประคองอัญชลี มุ่ง
หน้าเฉพาะทิศทักษิณกลับไป ครั้นได้ฟังธรรมโดยย่อ
แล้ว แสดงได้โดยพิสดาร ศิษย์ทั้งปวงพอใจ ฟังคำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 74
ของเราผู้กล่าวอยู่ บรรเทาทิฏฐิของตนแล้ว ยังจิตให้
เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนเรา แม้ฟัง
โดยย่อก็แสดงได้โดยพิสดารฉะนั้น เราเป็นผู้ฉลาด
ในนับแห่งพระอภิธรรม เป็นผู้ฉลาดในความหมดจด
แห่งกถาวัตถุ ยังปวงชนให้รู้แจ้งแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ
อยู่ ในกัปที่ ๕๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระเจ้าจักรพรรดิ
๔ พระองค์ ผู้ปรากฏด้วยดี ทรงสมบูรณ์ด้วยรัตนะ
๗ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔. คุณพิเศษเหล่านี้
คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖
เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราทำเสร็จ
แล้ว ดังนี้.
ก็กุลบุตรผู้บวชในสำนักของพระปุณณเถระนั้น ได้มีประมาณ ๕๐๐
รูป. พระเถระ สั่งสอนภิกษุแม้ทั้ง ๕๐๐ รูปเหล่านั้น ด้วยกถาวัตถุ ๑๐
เพราะตัวท่านเองเป็นผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐. ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปเหล่านั้น ตั้งอยู่ใน
โอวาทของท่านแล้ว บรรลุพระอรหัต. ภิกษุเหล่านั้น รู้ว่ากิจแห่งบรรพชิต
ของตน ถึงที่สุดแล้ว จึงพากันไปหาพระอุปัชฌาย์ กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
กิจของกระผมทั้งหลาย ถึงที่สุดแล้ว ทั้งยังได้กถาวัตถุ ๑๐ อีกด้วย บัดนี้
เป็นโอกาสที่พวกกระผมจะเข้าเฝ้า พระทศพล.
พระเถระฟังคำของภิกษุเหล่านั้นและคิดว่า พระศาสดา ทรงทราบ
ข้อที่เราเป็นผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ เราเมื่อแสดงธรรม ก็แสดงไม่ละทิ้งกถาวัตถุ ๑๐
เลย เมื่อเราไป ภิกษุเหล่านี้แม้ทั้งหมด จักห้อมล้อมเราไป การเข้าไปเฝ้า
พระทศพล โดยระคนด้วยหมู่คณะอย่างนี้ ไม่สมควรแก่เราเลย ภิกษุเหล่านี้
จงไปเฝ้าก่อนเถิด ดังนี้ กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 75
ท่านทั้งหลายจงล่วงหน้าไปเฝ้าพระตถาคตเจ้า และจงถวายบังคมพระบาทของ
พระองค์ ตามคำของเราด้วย แม้เราก็จักติดตามไป ตามทางที่ท่านทั้งหลาย
ไปแล้ว.
พระเถระเหล่านั้น แม้ทุก ๆ รูป ล้วนเคยอยู่ในแคว้นอันเป็นชาติภูมิ
ของพระทศพล ทุก ๆ รูปล้วนมีปกติได้กถาวัตถุ ๑. รับโอวาทของพระ-
อุปัชฌาย์ของตน ๆ แล้ว ไหว้พระเถระ เที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ล่วงทาง
ประมาณ ๖๐ โยชน์ ตรงไปยังเชวตวันมหาวิหาร ในกรุงราชคฤห์ ถวายบังคม
พระบาทของพระทศพลแล้ว นั่งลง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
ก็การต้อนรับปราศรัย กับภิกษุผู้อาคันตุกะทั้งหลาย เป็นธรรมเนียม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สั่งสมแล้ว เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงทำปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพออดทนได้หรือ ดังนี้แล้ว ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลาย มาจากไหน ? ครั้นเมื่อภิกษุเหล่านั้น
กราบทูลให้ทรงทราบถึงชาติภูมิแล้ว จึงรับสั่งถามภิกษุผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้เป็นเพื่อนพรหมจารี ผู้มีชาติภูมิอยู่ใน
ถิ่นกำเนิดทั้งหลาย ใครหนอแล ที่ถูกยกย่องว่า มีความปรารถนาน้อยด้วยตน
และบอกสอนความปรารถนาน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย.
แม้ภิกษุ ก็พากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปุณณ-
มันตานีบุตร นามว่าปุณณะ พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตร ฟังคำนั้นแล้ว
ได้มีความประสงค์จะพบพระเถระ (ปุณณะ).
ลำดับนั้น พระศาสดา เสด็จจากกรุงราชคฤห์ ไปยังพระนครสาวัตถี
แล้ว. แม้พระปุณณเถระ ทราบว่า พระศาสดาเสด็จมาในที่นั้น แล้วไป ด้วย
คิดว่า เราจักเฝ้าพระศาสดา เข้าเฝ้าพระตถาคตเจ้า ภายในพระคันกุฏีทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 76
พระศาสดาทรงแสดงธรรม แก่พระเถระ. พระเถระฟังธรรมแล้ว
ถวายบังคมพระทศพล ไปสู่ป่าอันธวัน เพื่อหลีกเร้น แล้วนั่งพักกลางวันอยู่ที่
โคนต้นไม้ ต้นใดต้นหนึ่ง.
แม้พระสารีบุตรเถระ ทราบการมาของพระปุณณเถระ ไปจากสถานที่
ซึ่งเคยมองดูอยู่เป็นประจำ สบโอกาสแล้วจึงเข้าไปหาพระปุณณเถระ ผู้นั่งอยู่
ณ โคนต้นไม้ สังสนทนากับพระเถระแล้ว จึงสอบถามถึงวิสุทธิกถา ๗ กะท่าน.
แม้พระเถระ ก็พยากรณ์ปัญหาที่พระสารีบุตรนั้นถามแล้ว ๆ ยังจิต
ของพระสารีบุตรให้ยินดีด้วยข้ออุปมาด้วยสถานที่ซึ่งจะนำไปถึงได้ด้วยรถ. ท่าน
ทั้งสองนั้น ต่างฝ่ายต่างชื่นชมภาษิตของกันและกัน.
ครั้นในเวลาต่อมา พระศาสดาประทับ ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ทรงตั้ง
พระเถระไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ กว่าบรรดาภิกษุผู้เป็นพระธรรมกถึก
ทั้งหลาย ด้วยพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระปุณณะเลิศกว่า
พวกภิกษุสาวกของเรา ผู้กล่าวธรรม ดังนี้.
ในวันหนึ่ง ท่านพิจารณาถึงวิมุตติสมบัติ ของตนเกิดปีติและโสมนัส
ว่า เราและสัตว์เหล่าอื่นเป็นอันมาก อาศัยพระบรมศาสดา หลุดพ้นจาก
สังสารทุกข์แล้ว การคบหาท่านผู้เป็นสัตบุรุษ มีอุปการะมากหนอ ดังนี้
กล่าวคาถาที่ระบายกำลังของปีติออกไป ด้วยสามารถแห่งอุทานว่า
บุคคลควรสมาคมกับสัตบุรุษ ผู้เป็นบัณฑิต
แจงประโยชน์เท่านั้น เพราะธีรชนทั้งหลาย เป็นผู้
ไม่ประมาท เห็นประจักษ์ด้วยปัญญา ย่อมได้บรรลุ
ถึงประโยชน์อย่างใหญ่ ประโยชน์อย่างลึกซึ้ง เห็น-
ได้ยาก ละเอียด สุขุม ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 77
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺภิเรว แปลว่า ด้วยสัตบุรุษทั้งหลาย
เท่านั้น. ก็ในคาถานี้ พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ท่าน
ประสงค์เอาว่า สัตบุรุษ. ก็พระพุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น ละธรรมของอสัตบุรุษ
ทั้งหลายได้แล้วโดยไม่เหลือ และสรรเสริญคุณธรรมอันดียิ่ง เพราะบรรลุ
ถึงพระสัทธรรมอย่างอุกฤษฏ์ ท่านจึงเรียกว่า เป็นสัตบุรุษ ผู้สงบระงับแล้ว.
บทว่า สมาเสถ ความว่า พึงอยู่สม่ำเสมอ คืออยู่ร่วม. อธิบายว่า
เมื่อเข้าใกล้ท่านเหล่านั้น สดับรับฟัง และถึงทิฏฐานุคติของท่านเหล่านั้น
ชื่อว่า พึงเป็นผู้อยู่ร่วม.
บาทคาถาว่า ปณฺฑิเตหตฺถทสฺสิภิ เป็นคำกล่าว ยกย่องชมเชย
พระอริยเจ้าเหล่านั้น. ปัญญาท่านเรียกว่า ปณฺฑา ชื่อว่า เป็นบัณฑิต
เพราะมีปัญญา ชื่อว่า บัณฑา นั้น. ต่อจากนั้นไป ก็ชื่อว่า อตฺถทสฺสิโน
เพราะชี้ประโยชน์ต่างโดยประโยชน์ตนเป็นต้น โดยไม่วิปริต. พึงคบกับบัณฑิต
ผู้ชี้ประโยชน์เหล่านั้น.
ถ้ามีคำถามว่า เพราะเหตุไร ? ก็ตอบว่า เพราะสัตบุรุษเหล่านั้น
เป็นบัณฑิต อีกอย่างหนึ่ง เพราะ ท่านผู้เป็นบัณฑิต ย่อมบรรลุ จตุราริยสัจ
นี้ อย่างนี้คือ ชื่อว่า บรรลุประโยชน์ เพราะเมื่อคบท่านเหล่านั้นโดยชอบ
ก็มีแต่ประโยชน์ถ่ายเดียว และเพราะไม่ไกลจากมรรคญาณเป็นต้นทีเดียว ชื่อว่า
บรรลุความยิ่งใหญ่ เพราะมีคุณใหญ่ และเพราะความเป็นผู้สงบระงับ ชื่อว่า
ถึงความลึกซึ้ง เพราะหยั่งไม่ถึง และเพราะมีอารมณ์ คือ ญาณอันลึกซึ้ง
ชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะผู้ที่มีฉันทะเป็นต้นหยาบ ไม่สามารถจะเห็นได้ และ
เพราะคนนอกนี้ เห็นได้โดยยาก ชื่อว่า ละเอียด เพราะเห็นได้ยาก และเพราะ
เป็นสถานที่ละเอียดอ่อน โดยเป็นอารมณ์ของญาณที่ละเอียดอ่อน ชื่อว่า
บรรลุถึงพระนิพพาน ชื่อว่า สุขุม เพราะเป็นสภาวธรรมที่ละเอียดอ่อนและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 78
เพราะเป็นสภาพที่สุขุม หรือชื่อว่า บรรลุประโยชน์ เพราะมีประโยชน์อย่างยิ่ง
เป็นสภาพ โดยอรรถว่า ไม่แปรผัน ชื่อว่า ถึงความเป็นใหญ่ เพราะการทำ
ความเป็นพระอริยะ และเพราะเป็นนิมิตแห่งความยิ่งใหญ่ ชื่อว่า ลึกซึ้ง
เพราะมีความไม่ตื้นเป็นสภาพ ชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะเห็นได้โดยยาก คือ
ไม่สามารถจะเห็นได้โดยง่าย ชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง ชื่อว่า ลึกซึ้ง
เพราะเห็นได้ยาก จึงจัดเป็นสัจจธรรม ๔ โดยพิเศษแล้ว ได้แก่นิโรธสัจ
ที่ละเอียดสุขุม ได้แก่ นักปราชญ์ทั้งหลาย ขวนขวายกัมมัฏฐานภาวนา ที่มี
สัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ ย่อมบรรลุโดยชอบทีเดียว เพราะสมบูรณ์ด้วยธิติ.
บทว่า อปฺปมตฺตา ความว่า ยังข้อปฏิบัติ คือ ความไม่ประมาท
ให้บริบูรณ์ ด้วยการไม่อยู่ปราศจากสติ ในที่ทั้งปวง.
บทว่า วิจกฺขณา ความว่า เฉลียว ฉลาด ในวิปัสสนาภาวนา.
เชื่อมความว่า เพราะฉะนั้น พึงอยู่ร่วมกันด้วยสัตบุรุษทั้งหลายนั้นเทียว. อีก
อย่างหนึ่ง บทว่า ปณฺฑิเตหตฺถทสฺสิภิ นี้ เป็นปัญจมีวิภัตติ. เชื่อมความ
ว่า เพราะเหตุที่ธีรชนทั้งหลาย เป็นผู้ไม่ประมาท เห็นประจักษ์ด้วยปัญญา
ย่อมบรรลุประโยชน์พิเศษ มีความเป็นผู้ยิ่งใหญ่เป็นต้น เพราะบัณฑิตทั้งหลาย
ชี้ช่อง คือ เป็นต้นเหตุ ฉะนั้น พึงคบกับด้วยสัตบุรุษ เช่นนั้นอย่างเดียว.
คาถานี้ ของพระเถระ ก็จัดเป็นคาถาพยากรณ์อรหัตผล โดยการ
แสดงถึงปฏิเวธธรรม ฉะนี้แล.
จบอรรถกถา ปุณณมันตานีปุตตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 79
๕. ทัพพเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระทัพพเถระ
[๑๔๒] ได้ยินว่า ท่านพระทัพพเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เมื่อก่อนพระทัพพมัลลบุตรองค์ใด เป็นผู้อัน
บุคคลอื่น ฝึกฝนได้โดยยาก แต่เดี๋ยวนี้ พระทัพพ-
มัลลบุตรองค์นั้น เป็นผู้อันพระศาสดาได้ทรงฝึกฝน
ด้วยการฝึกฝนด้วยมรรคอันประเสริฐ เป็นผู้สันโดษ
ข้ามความสงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะกิเลส ปราศจาก-
ความขลาด มีจิตตั้งมั่น ดับความเร่าร้อนได้แล้ว.
อรรถกถาทัพพมัลลปุตตเถรคาถา
คาถาของท่านพระทัพพเถระเริ่มต้นว่า โย ทุทฺทมโย. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ เกิดในเรือนแห่งตระกูล กรุงหงสาวดี ในศาสนา-
ของพระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ เจริญวัยแล้ว ฟังพระธรรม-
เทศนาโดยดังกล่าวแล้วในบทหลังนั่นแล เห็นพระบรมศาสดาทรงตั้งภิกษุ
รูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุ ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผ้าปูลาดเสนาสนะ
จึงเสริมสร้างอธิการ ปรารถนาฐานันดรนั้น เป็นผู้อันพระบรมศาสดา ทรง
พยากรณ์แล้ว บำเพ็ญกุศลจนตลอดชีวิต แล้วท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายบวชในเวลาที่ศาสนาของพระทศพล พระนามว่า กัสสปะเสื่อมโทรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 80
ในครั้งนั้น ยังมีคนอีก ๖ คน พร้อมทั้งท่านจึงรวมเป็น ภิกษุ ๗ รูป
เป็นผู้มีความคิดอย่างเดียวกัน เห็นภิกษุเหล่าอื่นไม่กระทำความเคารพในพระ-
ศาสนา จึงคิดกันว่า ในที่นี้ พวกเราจักทำอะไรได้ พวกเราจักบำเพ็ญสมณธรรม
ในที่ส่วนข้างหนึ่ง แล้วจักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ดังนี้แล้ว จึงผูกบันได ปีน
ขึ้นสู่ยอดเขาสูง พูดกันว่า ผู้ที่รู้กำลังจิตของตน ๆ จักผลักบันไดลง ผู้ที่ยัง
มีความอาลัยในชีวิตจงลงไปเสีย อย่าเป็นผู้ต้องเดือดร้อนในภายหลังเลย ดังนี้
แล้ว ทุกรูปร่วมใจกัน ผลักบันไดลง ต่างโอวาทกันและกันว่า อาวุโสทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด แล้วนั่งในที่ ๆ ตนชอบใจ เริ่มบำเพ็ญ
สมณธรรม.
พระเถระบรรลุพระอรหัตผล ในวันที่ ๕ ในที่นั้นแหละ คิดว่า
กิจของเราสำเร็จแล้ว เราจักกระทำอะไรในที่นี้ ดังนี้แล้ว นำบิณฑบาตมาจาก
อุตตรกุรุทวีป ด้วยฤทธิ์ กล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านจงฉันบิณฑบาตนี้
กิจด้วยภิกษาจาร จงเป็นหน้าที่ของเรา พวกท่านจงทำหน้าที่ของตน ๆ เถิด.
ภิกษุทั้งหลาย ถามว่า ดูก่อนอาวุโส พวกเราผลักบนไดลง ได้พูดตกลง
กันอย่างนี้ว่า ผู้ใดทำให้แจ้งซึ่งธรรมก่อน ผู้นั้นจงนำอาหารมา ภิกษุที่เหลือ
จะบริโภคอาหารที่นำมาแล้วบำเพ็ญสมณธรรม ดังนี้หรืออย่างไร ? พระเถระ
ตอบว่า ไม่มีข้อตกลงดังนั้นหรอกอาวุโส. ภิกษุทั้งหลายจึงพูดว่า ท่านได้
(บรรลุธรรม) ด้วยบุพเหตุของตน แม้พวกเราทั้งหลายก็จักสามารถทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ ท่านจงไปเถิด ดังนี้. พระเถระเมื่อไม่อาจจะยังภิกษุเหล่านั้นให้
ยินยอมได้ จึงบริโภคบิณฑบาตในที่ ๆ ผาสุกแล้วหลีกไป. พระเถระอีกรูปหนึ่ง
บรรลุอนาคามิผล ในวันที่ ๗ จุติจากภพนั้นแล้ว บังเกิดในพรหมโลกชั้น
สุทธาวาส. พระเถระนอกนี้ จุติจากภพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ตลอดกาลพุทธันดรหนึ่ง แล้วต่างเกิดในตระกูลนั้น ๆ ในกาล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 81
เป็นที่บังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า พระองค์นี้ คือ รูปหนึ่ง เกิดในราช-
ตระกูล ในตักกศิลานคร แคว้นคันธาระ รูปหนึ่ง เกิดในท้องของนาง
ปริพาชิกาในมัชฌันติกรัฐ รูปหนึ่ง เกิดในเรือนของกุฏุมพี แคว้นพาหิยะ
รูปหนึ่ง เกิดในสำนักของนางภิกษุณี.
ส่วนพระทัพพเถระนี้ ถือปฏิสนธิในเรือนของเจ้ามัลละ องค์หนึ่งใน
อนุปิยนคร แคว้นมัลละ. มารดาของท่าน ตลอดลูกตาย (ตายทั้งกลม)
คนทั้งหลายจึงนำเอาร่างที่ตายไปป่าช้า ยกขึ้นสู่เชิงตะกอน ใส่ไฟแล้ว. เพราะ
กำลังความร้อนของไฟ ทำให้พื้นท้องของนางแยกออกเป็นสองส่วน. ทารก
ลอยขึ้นด้วยกำลังบุญของตนแล้วตกลงที่กองไม้. คนทั้งหลายจึงนำทารกนั้นมา
มอบให้ยาย. ผู้เป็นยาย เมื่อจะขนานนามของทารกนั้น ได้ตั้งชื่อว่า ทัพพะ
เพราะตกไปที่เสาไม้มีแก่น จึงรอดชีวิต.
ก็ในวันที่ทารกนั้น มีอายุได้ ๗ ขวบ พระบรมศาสดามีภิกษุสงฆ์
เป็นบริวาร เสด็จจาริกไปในแคว้นมัลละ ประทับอยู่ในอนุปิยัมพวัน. ทัพพ-
กุมารเห็นพระศาสดาแล้ว เลื่อมใสด้วยการเห็นเท่านั้น ประสงค์จะบวชบอกลา
ยายว่า ข้าพเจ้าจักบวชในสำนักของพระทศพล. ยายพูดว่า ดีแล้ว พ่อคุณ
แล้วพาทัพพกุมาร ไปยังสำนักของพระบรมศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงยังกุมารนี้ให้บรรพชาเถิด. พระศาสดาทรงให้สัญญา
แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงยังทารกนี้ให้บรรพชา พระเถระ
นั้นฟังคำของพระศาสดาแล้ว เมื่อจะยังทัพพกุมารให้บรรพชาบอกตจปัญจ-
กัมมัฏฐานแล้ว.
สัตว์ผู้สมบูรณ์ด้วยบุรพเหตุ มีอภินิหารอันกระทำแล้ว ดำรงอยู่แล้ว
ในโสดาปัตติผล ในขณะปลงเกลียวผมครั้งแรก เมื่อเกลียวผมที่สองถูกยกขึ้น
ก็ดำรงอยู่ในสกทาคามิผล เมื่อเกลียวผมที่สามถูกยกขึ้น ก็ดำรงอยู่ในอนาคามิผล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 82
ก็เวลาที่ปลงผมเสร็จ และการทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตผล ได้มีในเวลาไม่ก่อน
ไม่หลังกัน. พระบรมศาสดา เสด็จประทับสำราญพระอิริยาบถ ในแคว้นมัลละ
แล้ว เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ในเวฬุวันมหาวิหาร.
ท่านพระทัพพมัลลบุตรนี้ เร้นอยู่แล้วในที่ลับ ณ กรุงราชคฤห์นั้น
ตรวจดูความสำเร็จกิจของตน ประสงค์จะอุทิศกาย ช่วยขวนขวายกิจของสงฆ์
จึงคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงปูลาดเสนาสนะ และจัดภัตตาหารเพื่อพระภิกษุสงฆ์
ท่านไปยังสำนักของพระศาสดาแล้ว กราบทูลถึงปริวิตกของตน. พระบรมศาสดา
ทรงประทานสาธุการแล้ว ทรงมอบตำแหน่งปูลาดเสนาสนะ และตำแหน่ง
ภัตตุทเทสก์ แก่ท่าน.
ลำดับนั้น พระบรมศาสดา ทรงพระดำริว่า ทัพพสามเณรนี้ยังเล็กแท้
แต่ดำรงอยู่ในตำแหน่งใหญ่ ดังนี้แล้ว จึงโปรดให้ท่านอุปสมบท ในเวลาที่มี
อายุได้ ๗ ขวบเท่านั้น. นับจำเดิมแต่อุปสมบทแล้ว พระเถระจัดแจงเสนาสนะ
และแจกภิกษาแด่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมด ที่อาศัยกรุงราชคฤห์อยู่ ความที่ท่านเป็นผู้
จัดแจงเสนาสนะ ได้ปรากฏกระฉ่อนไปทั่วทุกทิศว่า ได้ยินว่า พระทัพพมัลล-
บุตร จัดแจงเสนาสนะแก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน ไว้ในที่เดียวกัน จัดแจงเสนาสนะ
ในที่ใกล้บ้าง ไกลบ้าง (บางครั้ง) เมื่อไม่สามารถจะไปได้ ก็ต้องนำไปด้วย
ฤทธิ์.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ขอให้ท่านทัพพมัลลบุตรจัดแจงเสนาสนะ ทั้ง
ในเวลา ทั้งนอกเวลา อย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านจงจัดแจงเสนาสนะในชีวกัมพ-
วันวิหาร ให้พวกเรา ท่านจงจัดเสนาสนะในมัทธกุจฉิมิคทายวัน ให้พวกเรา
ต่างพากันเห็นฤทธิ์ของพระทัพพมัลลบุตรนั้นแล้วจึงไป. แม้ท่านพระทัพพ-
มัลลบุตรก็เนรมิตกาย อันสำเร็จด้วยมโนมยิทธิ ให้ภิกษุที่เหมือนตนแต่ละรูป
แก่พระเถระแต่ละองค์ เดินนำหน้าใช้นิ้วมือที่เรื่องแสงชี้ว่า นี้เตียง นี้ตั่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 83
จัดแจงเสนาสนะแล้วจึงกลับยังที่อยู่ของตน นี้เป็นความสังเขปในเรื่องนี้. แต่
โดยพิสดาร เรื่องนี้ จะมีมาในพระบาลีเท่านั้น พระบรมศาสดา ทรงกระทำ
เหตุนี้แหละ ให้เป็นอัตถุปบัติ (เหตุเกิดแห่งเรื่อง) ในเวลาต่อมา เสด็จ
ประทับนั่ง ท่ามกลางหมู่พระอริยสงฆ์ แต่งตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งแห่ง
ภิกษุผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้จัดแจงเสนาสนะ ด้วยพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พระทัพพมัลลบุตรเลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้จัดแจงเสนาสนะ.
สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระพิชิตมาร พระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้
แจ้งโลกทั้งหมด เป็นมุนี มีพระจักษุ ได้เสด็จอุบัติ
ขึ้นในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระองค์ตรัสสอน
ทำให้สัตว์รู้ชัด ยังสรรพสัตว์ให้ข้ามวัฏสงสาร ทรง-
ฉลาดในเทศนา เป็นผู้เบิกบาน ทรงยังสรรพสัตว์ให้
ข้ามพ้น (สงสาร) พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ทรง
ประกอบด้วยพระกรุณา ทรงแสวงหาประโยชน์แก่
สรรพสัตว์ ยังเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทุกคนให้ดำรงอยู่ใน
เบญจศีล เมื่อเป็นเช่นนี้พระศาสนาจึงหมดความอากูล
ว่างจากพวกเดียรถีย์และวิจิตรด้วยพระอรหันต์ ผู้คงที่มี
ความชำนิชำนาญ พระมหามุนีพระองค์นั้นสูง ๕๘ ศอก
มีพระฉวีวรรณงามคล้ายทองคำอันล้ำค่า มีพระลักษณะ
อันประเสริฐ ๓๒ ประการ ครั้งนั้นเหล่าสัตว์มีอายุขัย
แสนปี พระชินสีห์พระองค์นั้น ดำรงพระชนม์อยู่
โดยกาลประมาณเท่านั้น ทรงยังประชาชนเป็นอันมาก
ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารไปได้ ครั้งนั้น เราเป็นบุตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 84
เศรษฐีมียศใหญ่ ในพระนครหงสาวดี เข้าไปเฝ้า
พระองค์ผู้ส่องโลกให้สว่างไปทั่ว แล้วได้สดับพระ-
ธรรมเทศนา เราได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดา ผู้-
ตรัสสรรเสริญสาวกของพระองค์ ผู้แต่งตั้งเสนาสนะ
ให้ภิกษุทั้งหลาย ก็ชอบใจ จึงทำอธิการแด่พระองค์
ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พร้อมทั้งพระสงฆ์แล้ว
หมอบลงแทบพระบาทด้วยเศียรเกล้า แล้วปรารถนา
ฐานันดรนั้น. ครั้งนั้น พระมหาวีรเจ้า พระองค์นั้น
ได้ทรงพยากรณ์กรรมของเราไว้ว่า เศรษฐีบุตรนี้ ได้
นิมนต์พระโลกนายกพร้อมทั้งพระสงฆ์ ให้ฉันตลอด
๗ วัน เขามีดวงตาดุจกลีบบัว มีจะงอยบ่าเหมือน
ของราชสีห์ มีผิวพรรณดุจทองคำ หมอบอยู่แทบเท้า
ของเรา ปรารถนาตำแหน่งอันสูงสุด ในกัปที่แสน
แต่กัปนี้ พระศาสดา พระนามว่า โคดม ผู้สมภพ
ในวงศ์ของพระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
เศรษฐีบุตรนี้จักได้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์
นั้น ปรากฏโดยชื่อว่า "ทัพพะ" เป็นภิกษุผู้เลิศฝ่าย
เสนาสนปัญญาปกะเหมือนปรารถนา ด้วยกรรมที่ทำ
ไว้ดีแล้ว และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่าง
มนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราได้เสวย-
เทพสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 85
โดยคณนานับมิได้ เพราะกรรมนั้นนำไป เราจึงมี
ความสุขในที่ทุกสถาน.
ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ พระผู้เป็นนายกทรง
พระนามว่า วิปัสสี ผู้มีพระเนตรงาม ทรงเห็นแจ้ง
ธรรมทั้งปวง ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เราเป็นผู้มีจิต
ขัดเคือง ได้พูดตู่สาวกของพระพุทธเจ้าผู้คงที่พระองค์
นั้น ผู้สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าท่านเป็น
ผู้บริสุทธิ์ และเราจับสลากแล้ว ถวายข้าวสุกที่หุงด้วย
น้ำนมแก่พระเถระทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่
ผู้เป็นสาวกของพระผู้แกล้วกล้ากว่านรชน พระองค์
นั่นแหละ ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นพงศ์พันธุ์
ของพรหม มีพระยศใหญ่ ประเสริฐกว่าวิญญูชน
ทรงพระนามว่า กัสสปะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระ-
องค์ทรงยังศาสนธรรมให้รุ่งโรจน์ ข่มขี่เดียรถีย์ผู้
หลอกลวงเสีย ทรงแนะนำเวไนยสัตว์แล้ว เสด็จ-
ปรินิพพาน พร้อมทั้งพระสาวก ครั้นเมื่อพระโลกนาถ
พร้อมทั้งพระสาวกปรินิพพานแล้วครั้นเมื่อศาสนธรรม
กำลังจะสูญสิ้นอันตรธาน ทวยเทพและมนุษย์พากัน
สลดใจ สยายผม มีหน้าเศร้าคร่ำครวญว่า ดวงตา
คือ พระธรรมจักดับแล้ว เราจักไม่ได้เห็นท่านผู้มีวัตร
ดีงามทั้งหลาย เราจักไม่ได้ฟังพระสัทธรรม โอหนอ
พวกเราเป็นคนมีบุญน้อย ครั้งนั้น พื้นปฐพีทั้งหมดนี้
ทั้งใหญ่ทั้งหนา ได้ไหวสั่นสะเทือน สาครสมุทรดุจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 86
เหือดแห้ง แม่น้ำครวญครางน่าสงสาร อมนุษย์ตีกลอง
ดังทั่ว ๔ ทิศ อสนีบาต อันน่ากลัว ตกลงโดยรอบ
อุกกาบาต ตกจากท้องฟ้า ดาวหางปรากฏ เกลียวแห่ง
เปลวไฟ มีควันพวยพุ่ง หมู่มฤคร้องครวญครางอย่าง
น่าสงสาร ครั้งนั้น เราทั้งหลาย เป็นภิกษุรวม ๗ รูป
ด้วยกัน ได้เห็นความอุบาทว์อันร้ายแรง แสดงเหตุว่า
พระศาสนาจะสิ้นสูญ จึงเกิดความสังเวช คิดกันว่า
เว้นพระศาสนาเสีย ไม่ควรที่เราจะมีชีวิตอยู่ เราทั้ง-
หลายจึงเข้าไปสู่ป่าใหญ่ บำเพียรตามคำสอนของ
พระชินสีห์ ครั้งนั้น เราทั้งหลายได้พบภูเขาหินใน
ป่าสูงลิ่ว เราไต่ภูเขาขึ้นทางพะอง แล้วผลักพะอง
ให้ตกลงเสีย ครั้งนั้น พระเถระได้ตักเตือนเราว่า
การอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าหาได้ยาก อีกประการหนึ่ง
ความเชื่อ ที่บุคคลได้แล้ว หาได้ยาก และพระศาสนา
ยังเหลืออีกเล็กน้อย ผู้ที่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเสีย จะ
ต้องตกลงไปในสาคร คือ ความทุกข์อันไม่มีสิ้นสุด
เพราะฉะนั้น พวกเราควรกระทำความเพียร ตลอดเวลา
ที่พระศาสนายังดำรงอยู่เถิด ดังนี้. ครั้งนั้น พระเถระ
นั้นเป็นพระอรหันต์ พระอนุเถระได้เป็นพระอนาคามี
พวกเราที่เหลือจากนี้ เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ประกอบ
ความเพียร จึงได้ไปยังเทวโลก องค์ที่ข้ามส่งสารไปได้
ปรินิพพานแล้ว อีกองค์หนึ่งเกิดในชั้นสุทธาวาส
เราทั้งหลาย คือตัวเรา ๑ พระปุกกุสาติ ๑ พระสภิยะ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 87
พระพาหิยะ ๑ พระกุมารกัสสปะ ๑ เกิดในที่นั้น ๆ
อันพระโคดมบรมศาสดา ทรงอนุเคราะห์ จึงหลุดพ้น
ไปจากเครื่องจองจำ คือ วัฏสงสารได้ เราเกิดใน
พวกมัลลกษัตริย์ ในพระนครกุสินารา เมื่อเรายังอยู่ใน
ครรภ์นั่นแล มารดาได้ถึงแก่กรรม เขาช่วยกันยกขึ้นสู่
เชิงตะกอน เราตกลงมาจากเชิงตะกอนนั้นตกลงไปใน
กองไม้ ฉะนั้น จึงปรากฏนามว่า ทัพพะ ด้วยผลแห่ง
การประพฤติพรหมจรรย์ เรามีอายุได้ ๗ ขวบ ก็หลุด
พ้นจากกิเลส ด้วยผลที่ถวายข้าวสุกผสมน้ำมัน เราจึง
เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ด้วยบาปเพราะกล่าวตู่พระ-
ขีณาสพ เราจึงลูกคนโจทมากมาย บัดนี้ เราล่วงบุญ
และบาปได้ทั้งสองอย่างแล้ว ได้บรรลุบรมสันติธรรม
เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ เราแต่งตั้งเสนาสนะ ให้ท่านผู้มี
วัตรอันดีงามทั้งหลายยินดี พระพิชิตมารทรงพอพระ-
ทัย ในคุณข้อนั้น จึงได้ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้
หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่เราได้มาในสำนัก
พระพุทธเจ้า ของเรานี้ เป็นการมาดีแล้ว วิชชา ๓
เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว คุณพิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔
วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเราได้กระทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 88
บาปกรรมที่ท่านการทำไว้ ด้วยสามารถแห่งการกำจัดพระเถระผู้เป็น
พระขีณาสพรูปหนึ่งในกาลก่อน ซึ่งเป็นเหตุให้หมกไหม้อยู่ในนรกหลายแสนปี
อันมีมาแล้วเหมือนภิกษุชื่อว่า เมตติยะ และภุมมชกะ ที่ถูกเตือนด้วย กมฺม-
ปิโลติกาย นั้นแหละ เข้าใจผิดว่า พวกเราถูกพระเถระนี้ ทำให้แตกกับคฤหบดี
ชื่อว่า กัลยาณภัตติยะ จึงกำจัดเสียด้วยปาราชิกธรรมอันหามูลมิได้. และเมื่อ
อธิกรณ์นั้น อันสงฆ์ระงับแล้วด้วยสติวินัย พระเถระนี้ เมื่อจะประกาศคุณ
ของตน เพื่ออนุเคราะห์สัตวโลก จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า
เมื่อก่อนพระทัพพมัลลบุตรองค์ใด เป็นผู้อัน
บุคคลอื่นฝึกฝนได้โดยยาก แต่เดี๋ยวนี้ พระทัพพมัลล-
บุตรองค์นั้นเป็นผู้อันพระศาสดาได้ทรงฝึกฝนด้วยการ
ฝึกฝนด้วยมรรคอันประเสริฐ เป็นผู้สันโดษข้ามความ
สงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะกิเลส ปราศจากความขลาด
มีจิตตั้งมั่น ดับความเร่าร้อนได้แล้ว ดังนี้.
ศัพท์ว่า โย ในคาถานั้น แสดงถึงบุคคลผู้ไม่ได้กำหนดแน่นอน.
ด้วยบทว่า โส นี้ พึงทราบว่า ท่านกำหนดความแน่นอนของบุคคลนั้นไว้
แล้ว. แม้ด้วยบททั้งสอง พระเถระ กล่าวหมายถึงตนเอง โดยทำให้เป็นดุจ
คนอื่น. บทว่า ทุทฺทมโย ความว่าฝึกได้โดยยาก คือ ไม่อาจเพื่อจะฝึกได้.
และพระเถระกล่าวบทนี้ไว้ เพราะคิดถึงความดิ้นรนแห่งจิตที่เคลื่อนไปด้วย
ความเมา ของเหล่ากิเลสที่เป็นข้าศึก คือ ทิฏฐิ และความไม่สงบแห่งอินทรีย์
ทั้งหลาย. บทว่า ทเมน ได้แก่ ฝึกฝนด้วยมรรคอันเลิศ สูงสุด อธิบายว่า
ผู้ที่ฝึกแล้ว ด้วยการฝึกด้วยมรรคอันเลิศนั้น สมควรกล่าวได้ว่า มีตนอันฝึก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 89
แล้ว ด้วยการฝึกด้วยมรรคอันเลิศนั้น สมควรกล่าวได้ว่า มีตนอันฝึกแล้ว
เพราะไม่มีสิ่งที่จะต้องอีก ไม่ใช่ฝึกด้วยอย่างอื่น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
ทเมน ความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ฝึกแล้ว.
บทว่า ทพฺโพ เท่ากับ ทฺรพฺโย ความว่า สมควร. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงมีถึงพระเถระนี้แหละ จึงตรัสไว้ว่า ดูก่อนทัพพะ ผู้ที่
สมควร จะไม่กล่าวแก้อย่างนี้ เลย. บทว่า สนฺตุสฺสิโต ความว่า สันโดษ
แล้ว ด้วยสันโดษในปัจจัยตามมีตามได้ ด้วยสันโดษในฌานสมาบัติ และด้วย
สันโดษในมรรคผล. บทว่า วิติณฺณกงฺโข ความว่า ชื่อว่า มีความสงสัย
ปราศไปแล้ว ด้วยความสงสัยในวัตถุ ๑๖ และในวัตถุ ๘ เพราะเพิกถอน
ความสงสัยได้แล้ว ด้วยปฐมมรรคนั่นแหละ. บทว่า วิชิตาวี ความว่า ชื่อว่า
ชนะแล้ว เพราะชนะแล้ว คือกำจัดได้แล้ว ซึ่งธรรมอันเป็นฝ่ายสังกิเลส แม้
ทั้งหมด อันบุรุษชาติอาชาไนย พึงชนะ
บทว่า อเปตเภรโว ความว่า ชื่อว่า ปราศจากความขลาด คือ
ชื่อว่า ปราศจากภัย เพราะภัย ๒๕ อย่าง ปราศไปแล้ว โดยประการทั้งปวง.
บทว่า ทพฺโพ เป็นคำระบุถึงชื่อ ซ้ำอีก. ในบทว่า ปรินิพฺพุโต นี้
ปรินิพพาน มี ๒ คือ กิเลสปรินิพพาน ซึ่งได้แก่ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
ขันธปรินิพพาน ซึ่งได้แก่ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑. ใน ๒ อย่างนั้น
ในคาถานี้ท่านหมายเอากิเลสปรินิพพาน เพราะฉะนั้น จึงได้ความว่า ชื่อว่า
ปรินิพพานแล้ว ด้วยกิเลสปรินิพพาน เพราะปหาตัพพธรรม (ธรรมที่ควรละ.)
อันมรรคละได้แล้วโดยประการทั้งปวง. บทว่า ิตตฺโต ความว่า เป็นผู้มี
จิตมั่นคง คือไม่หวั่นไหว ได้แก่ ไม่สั่นสะเทือน ด้วยโลกธรรมทั้งหลาย
เพราะถึงความเป็นผู้คงที่ ในอิฏฐารมณ์เป็นต้น. ศัพท์ว่า หิ เป็นนิบาต ลง
ในอรรถแห่งเหตุ. ด้วย หิ นิบาตนั้น ส่องความว่า เพราะเหตุที่ เมื่อก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 90
พระทัพพมัลลบุตร เป็นผู้อันบุคคลอื่นสอนได้ยาก แต่ท่านอันพระศาสดาทรง
ฝึก ด้วยการฝึกฝนด้วยมรรคอันสูงสุด เป็นผู้สันโดษ ข้ามความสงสัยได้แล้ว
เป็นผู้ชนะกิเลส ปราศจากความขลาด ฉะนั้น พระทัพพมัลลบุตรนั้น จึงดับ
กิเลสได้แล้ว และต่อแต่นั้น ก็เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น ทำจิตให้เลื่อมใส ในปรินิพ-
พานนั้น ที่มีแล้วอย่างนี้ ไม่ใช่ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างอื่น เพราะฉะนั้น พระ
เถระเมื่อจะอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ ผู้ที่จะตรัสรู้ได้ เพราะการแนะนำของผู้อื่น
จึงพยากรณ์อรหัตผล.
จบอรรถกถาทัพพมัลลปุตตเถรคาถา
๖. สัมภูตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสัมภูตเถระ
[๑๔๓] ได้ยินว่า พระสัมภูตเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ภิกษุใดมาสู่ป่าสีตวันแล้ว ภิกษุนั้นเป็น
ผู้อยู่แต่ผู้เดียว สันโดษ มีจิตตั้งมั่น ชนะกิเลส
ปราศจากขนลุกพอง มีปัญญา รักษากายคตา-
สติ อยู่.
อรรถกถาสัมภูตเถรคาถา
คาถาของท่านพระสัมภูตเถระเริ่มต้นว่า โย สีตวน ดังนี้. เรื่อง
ราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า นับถอยหลังจากนี้ไป ๑๑๘ กัป พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่า อัตถทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ยังหมู่สัตวโลก พร้อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 91
ทั้งเทวโลก ให้ข้ามโอฆะใหญ่ คือ สงสาร วันหนึ่ง เสด็จไปถึงฝั่งแม่น้ำ
คงคา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. ในครั้งนั้น พระเถระนี้เกิดในตระกูลคฤหบดี พบ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคานั้น มีใจเลื่อมใส เข้าไปเฝ้าแล้วถวาย
บังคม กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์มีพระพุทธประสงค์
จะข้ามไปสู่ฝั่งโน้นหรือ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า เราจัก
ไป. เขาจึงจัดผูกเรือขนาน น้อมถวายในทันใดนั้นเอง. พระบรมศาสดา
เมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา จึงพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จลงสู่เรือแล้ว เขานำ
เรือข้ามไปด้วยตนเอง ยังพระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ให้ถึงฝั่งโน้นโดย
สะดวกสบาย แล้วถวายมหาทานในวันที่สอง ตามส่งเสด็จ มีจิตเลื่อมใส
ถวายบังคมพระบรมศาสดา แล้วกลับไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจึงท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
นับแต่ภัทรกัปนี้ถอยหลังไป ๑๑๓ กัป. เกิดในตระกูลกษัตริย์ ได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ผู้ธรรมิกราช ท้าวเธอยังพสกนิกร ให้ตั้งอยู่ในแนวทางแห่งสุคติ
จุติจากมนุษยโลกนี้แล้ว บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
วิปัสสี ในกัปที่ ๙๑ สมาทายธุตธรรม (ธรรมคือธุดงค์) อยู่ในป่าช้าบำเพ็ญ
สมณธรรมแล้ว. แม้ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป
เขาก็ออกบวชพร้อมด้วยสหายทั้ง ๓ ในศาสนาของพระองค์อีก แล้ว
บำเพ็ญสมณะอยู่ถึงสองแสนปี ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอยู่
ตลอดพุทธันดรหนึ่ง แล้วเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ในพระนคร
ราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้. คนทั้งหลายตั้งชื่อท่านว่า สัมภูตะ ท่านเจริญ
วัยแล้ว ประสบความสำเร็จ ในศิลปศาสตร์ของพราหมณ์. ท่านได้ไปยังสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยสหายทั้ง ๓ คือ ภูมิชะ เชยยเสนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 92
และ อภิราธนะ สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ได้สัทธาปสาทะบรรพชาแล้ว
ซึ่งพระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายหมายเอา กล่าวไว้ว่า
มาณพทั้ง ๔ เหล่านี้ คือ ภูมิชะ ๑ เชยยเสนะ ๑
สัมภูตะ ๑ อภิราธนะ ๑. ได้ตรัสรู้ธรรมในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐและผู้คงที่.
ครั้งนั้น พระสัมภูตเถระ เรียนกายคตาสติกัมมัฏฐาน ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่ในป่าสีตวันเป็นประจำ. ด้วยเหตุนั้นแล ท่านจึงมีนาม
ปรากฏว่า " สีตวนียะ ". ก็โดยสมัยนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช เสด็จไปทาง
อากาศ มุ่งหน้าสู่ทิศทักษิณในชมพูทวีป ทอดพระเนตรเห็นพระเถระนั่งใน
อัพโภกาส มนสิการกัมมัฏฐานอยู่ จึงเสด็จลงจากวิมาน นมัสการพระเถระ
แล้วสั่งยักษ์ ๒ ตนว่า ถ้าพระเถระออกจากสมาธิในเวลาใด เจ้าจงบอกการมา
ของเราในเวลานั้น และจงถวายอารักขาพระเถระด้วย ดังนี้ แล้วเสด็จหลีกไป.
ยักษ์ทั้งสองเหล่านั้นยืนอยู่ใกล้พระเถระ แล้วบอกความนั้น ในเวลาที่พระเถระ
เลิกมนสิการนั่งอยู่แล้ว. พระเถระฟังคำนั้นแล้ว กล่าวว่า ท่านจงกราบทูล
ท้าวเวสวัณมหาราชตามคำของเรา ธรรมดาอารักขา คือ สติ ที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงวางไว้ สำหรับผู้ที่ดำรงอยู่ในศาสนาของพระองค์นั้นนั่นแหละ จะ
รักษาบุคคลเช่นเรา ท่านจงเลิกสนใจในอารักขานั้น กิจที่จะพึงกระทำด้วย
อารักขาเช่นนี้ ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ตั้งอยู่ในโอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้แล้ว
ส่งยักษ์ทั้งสองกลับไป เจริญวิปัสสนาแล้วกระทำให้แจ้ง ซึ่งหมวด ๓ แห่งวิชชา
ในทันใดนั้นเอง. ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณเสด็จกลับมา เข้าไปใกล้พระเถระ
รู้ว่า ท่านสำเร็จพระอรหัตแล้ว ด้วยการสังเกตอาการเฉพาะหน้า จึงเสด็จไป
กรุงสาวัตถี กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะยกย่องพระเถระ ต่อพระพักตร์
ของพระบรมศาสดา จึงพรรณนาคุณทั้งหลายของพระเถระ ด้วยคาถานี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 93
พระสัมภูตเถระ สมบูรณ์ด้วยสติ เป็นเครื่อง
รักษา มีปัญญา ประกอบด้วยความเพียร เป็นพุทธ-
ชิโนรส มีวิชชา ๓ ถึงฝั่งแห่งมัจจุแล้ว ดังนี้.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวเป็นคาถาประพันธ์ไว้ในอปทานว่า
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี
ผู้เป็นจอมแห่งสัตว์ ๒ เท่า ประเสริฐกว่านระ แวด-
ล้อมไปด้วยพระสาวกทั้งหลาย เสด็จไปสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา
แม่น้ำคงมีน้ำเอ่อเต็มฝั่ง กาพอที่จะดื่มได้ ข้ามได้ยาก
เราส่งพระพุทธเจ้าผู้สูงกว่าสัตว์ และภิกษุสงฆ์ ในกัป
ที่ ๑๑๘ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดไว้ในกาลนั้น
ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ข้ามส่งเสด็จพระพุทธเจ้า ในกัปที่ ๑๑๓ แต่กัปนี้
เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕ พระองค์ พระนามว่า
สัพโพภวะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก
และในภพสุดท้ายนั้น เราเกิดในตระกูลพราหมณ์
บวชในศาสนาของพระศาสดา พร้อมด้วยสหายทั้ง ๓
คุณพิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระ
พุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ครั้งนั้น ท่านพระสัมภูตะ เห็นภิกษุทั้งหลายเดินทางไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระบาท
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าตามคำของเราด้วย และจงกราบทูลอย่างนี้ ดังนี้แล้ว
เมื่อจะประกาศความที่ตนไม่เบียดเบียนพระศาสดา อันจัดเป็นธรรมาธิกรณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 94
จึงกล่าวคาถาว่า โย สีตวน ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วถวายบังคม เมื่อจะกราบทูลให้ทรงทราบถึงสาสน์ ของพระสัมภูตเถระ
จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสัมภูตะขอถวายบังคมพระบาท
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และกราบทูลอย่างนี้ ดังนี้แล้ว กราบทูลข้อความนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสัมภูตะเป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่เบียดเบียนเรา
ผู้เป็นธรรมาธิกรณ์ เรื่องราวของพระสัมภูตะนั้น ท้าวเวสวัณบอกเราแล้ว
ดังนี้. ก็ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลคาถาที่พระสัมภูตเถระกล่าวแล้ว แด่พระ-
บรมศาสดา ดังนี้ว่า
ภิกษุใดมาสู่ป่าสีตวันแล้ว ภิกษุนั้นเป็นผู้อยู่แต่ผู้
เดียว สันโดษ มีจิตตั้งมั่น ชนะกิเลสได้แล้ว ปราศ-
จากขนพองสยองเกล้า มีปัญญารักษากายคตาสติอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีตวน ได้แก่ ป่าช้า น่ากลัวกว้างใหญ่
ใกล้พระนครราชคฤห์ ที่ได้นามอย่างนี้.
บทว่า อุปคา ได้แก่ เข้าถึงแล้ว โดยถือเป็นที่อยู่. ด้วยบทว่า
อุปคา นี้ ท่านแสดงถึงที่เป็นที่อยู่อาศัย อันสมควรแก่บรรพชิต อันพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว.
บทว่า ภิกฺขู ความว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเห็นภัยในสงสาร และ
เพราะทำลายกิเลสได้แล้ว. บทว่า เอโก ความว่า ไม่มีเพื่อนสอง. ด้วยบทว่า
เอโก นี้ ท่านแสดงถึงกายวิเวก.
บทว่า สนฺตุสิโต ได้แก่ ผู้สันโดษ. ด้วยบทว่า สนฺตุสิโต นี้
ท่านแสดงถึงอริยวงศ์ อันมีความสันโดษในปัจจัย ๔ เป็นลักษณะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 95
บทว่า สมาทิตตฺโต ความว่า มีจิตตั้งมั่นแล้ว ด้วยสมาธิอันต่าง
ด้วยอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ. ด้วยบทว่า สมาหิตตฺโต นี้ ท่านแสดง
ถึงอริยวงศ์ อันมีภาวนาเป็นที่มายินดี โดยมีวิเวกภาวนาเป็นประธาน.
บทว่า วิชิตาวี ความว่า ชนะหมู่กิเลส อันพระโยคาวจรพึงชนะ
ด้วยการปฏิบัติชอบในพระศาสนา. ด้วยบทว่า วิชิตาวี นี้ ท่านแสดงถึง
อุปธิวิเวก. ภิกษุชื่อว่า อเปตโลมหโส (ปราศจากขนลุกพองสยองเกล้า)
เพราะมีกิเลสอันเป็นเหตุแห่งภัยปราศไปแล้ว. ด้วยบทว่า อเปตโลมหโส นี้
ท่านแสดงถึงผลแห่งสัมมาปฏิบัติ. บทว่า รกฺข แปลว่า รักษาอยู่.
บทว่า กายคตาสตึ ได้แก่ สติมีกายเป็นอารมณ์ คือไม่ละกายคตาสติ
กัมมัฏฐาน ด้วยสามารถแห่งการเพิ่มพูนไว้. บทว่า ธีติมา ได้แก่ ผู้มีปัญญา.
บทว่า ธีติมา นี้ แสดงถึงข้อปฏิบัติ อาศัยความที่ตนมีจิตตั้งมั่น หรือมี
ชัยชนะแจ้งชัดแล้ว ในคาถานี้ มีความสังเขปดังนี้
ภิกษุนั้น เป็นผู้ผู้เดียวมาสู่ป่าสีตวัน โดยมุ่งความสุขเกิดแต่วิเวก
และเข้าไปแล้วก็เป็นผู้สันโดษ เพราะไม่มีความโลเล มีปัญญา มีกายคตาสติ
เจริญกัมมัฏฐาน กระทำฌานที่ตนบรรลุแล้วอย่างนั้นให้เป็นบาท ขวนขวาย
วิปัสสนาที่ตนปรารภแล้ว มีจิตตั้งมั่น ด้วยมรรคอันเลิศที่ตนได้บรรลุแล้ว และ
ชนะกิเลสได้แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ปราศจากขนพองสยองเกล้า เพราะมีเหตุแห่งภัย
ไปปราศแล้ว โดยประการทั้งปวง โดยที่กระทำกิจสำเร็จแล้ว ดังนี้.
จบอรรถกถาสัมภูตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 96
๗. ภัลลิยเถร คาถา
ว่าด้วยคาถาของพระภัลลิยเถระ
[ ๑๔๔] ได้ยินว่า พระภัลลิยเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ผู้ได้ขจัดเสนาแห่งมัจจุราช เหมือนห้วงน้ำใหญ่
กำจัดสะพานไม้อ้อ อันแสนจะทรุดโทรมฉะนั้น ก็
ผู้นั้น จัดว่าเป็นผู้ชนะมาร ปราศจากความหวาดกลัว
มีตนอันฝึกแล้ว มีจิตตั้งมั่น ดับกิเลสและความเร่าร้อน
ได้แล้ว.
อรรถกถาภัลลิยเถรคาถา
คาถาของท่านพระภัลลิยเถระเริ่มต้นว่า โย ปานุทิ. เรื่องราวของท่าน
เป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เมื่อพระพุทธเจ้า
ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสถวายผลาผล แก่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นามว่า สุมนะ ท่องเที่ยวอยู่แต่ในสุคติภพทั้งหลายเท่านั้น เกิดในตระกูล
สัตถวาหะ พระนครอรุณวตี ในกาลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรง
พระนามว่า สิขี ได้สดับว่า บุตรพ่อค้า ๒ คน คือ ชื่อว่าอุปชิตะ และอุชิตะ
ได้ถวายอาหารครั้งแรก แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สุขี ผู้ได้
ตรัสธรรมาภิสมัยก่อนคนอื่น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยสหาย
ของตน ถวายบังคมแล้ว ทูลอาราธนาเพื่อเสวยพระกระยาหารในวันรุ่งขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 97
ถวายมหาทานแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
แม้ทั้งสอง พึงเป็นผู้ได้ถวายอาหารครั้งแรกแด่พระพุทธเจ้า ผู้เช่นกับพระองค์
ในอนาคตกาล ดังนี้. คนทั้งสอง กระทำบุญกรรมในภพนั้น ๆ แล้ว ท่องเที่ยว
ไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกาลของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
เกิดเป็นบุตรเศรษฐีผู้เลี้ยงวัว เป็นพี่น้องกัน ในสองพี่น้องนั้น ผู้เป็นพี่ชื่อ
ตปุสสะ ผู้เป็นน้องชื่อ ภัลลิยะ. เขาทั้งสองบรรทุกของเต็มเกวียน ๕๐๐ เล่ม
เดินทางไปค้าขาย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า แรกตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ
ทรงยับยั้งอยู่ตลอด ๗ สัปดาห์ ด้วยการพิจารณาธรรมคือสุขอันเกิดแต่วิมุตติ
ในสัปดาห์ที่ ๘ ทรงประทับนั่งอยู่ที่โคนต้นเกด ก็เดินทางล่วงทางใหญ่ ไป
ใกล้ต้นเกด ในสมัยนั้น เกวียนของเขาทั้งสองไม่ยอมเคลื่อนที่ แม้ในภูมิภาค
ที่ราบเรียบ ไม่มีหล่มไม่มีโคลน เมื่อพ่อค้าสองพี่น้องพากันคิดอยู่ว่า เหตุอะไร
หนอแล ดังนี้ เทวดาผู้เคยเป็นญาติสายโลหิต ก็แสดงตัวในระหว่างค่าคบไม้
บอกว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ตรัสรู้พระสัม-
โพธิญาณได้ไม่นาน ไม่ได้เสวยพระกระยาหารมาตลอด ๗ สัปดาห์ เสวย
วิมุตติสุขแล้ว บัดนี้ ประทับนั่งอยู่ที่โคนต้นเกด ข้อที่ท่านทั้งสองน้อมนำ
อาหารเข้าไปถวายพระองค์นั้น จะพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข
แก่ท่านทั้งหลายสิ้นกาลนาน.
พ่อค้าสองพี่น้อง ฟังคำนั้นแล้ว เสวยปีติโสมนัสอย่างยิ่ง สำคัญว่า
การจัดอาหารจักเป็นความเนิ่นช้า จึงถวายสัตตูผงและสัตตูก้อน แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ถึงเทววาจิกสรณคมน์ (ถึงพระพุทธและพระธรรมว่าเป็นสรณะ)
ได้พระเกศธาตุไปบูชา หลีกไปแล้ว. ก็พ่อค้าทั้งสองนั้น ได้เป็นอุบาสก
ก่อนผู้อื่น. ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปยังกรุงพาราณสี ประกาศ
พระธรรมจักร แล้วประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์โดยลำดับ ตปุสสะและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 98
ภัลลิยะ จึงเข้าไปสู่พระนครราชคฤห์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วถวาย-
บังคม นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่เขาทั้งสอง
ในพ่อค้าทั้งสองนั้น ตปุสสะ ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้วได้เป็นอุบาสกอย่างเดียว
ส่วนภัลลิยะ บวชแล้วได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว
ไว้ในอปทานว่า
ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
สุมนะ ประทับอยู่ในพระนครตักกรา เราได้ถือเอา
ผลไม้ชื่อวัลลิการะ ถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน
กัปที่ ๓๐ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น
ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งการถวายผลไม้ เราเผากิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว
ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ครั้นในวันหนึ่ง มารแสดงรูปน่ากลัว เพื่อจะหลอกพระภัลลิยเถระ
ให้สะดุ้งกลัว. พระเถระเมื่อจะประกาศข้อที่ตนล่วงความกลัวได้ทั้งหมด จึงได้
ภาษิตคาถานี้ว่า
ผู้ใดกำจัดเสนาแห่งมัจจุราช เหมือนห้วงน้ำใหญ่
กำจัดสะพานไม้อ้อ อันแสนจะทรุดโทรมฉะนั้น และ
ผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้ชนะมาร ปราศจากความหวาดกลัว
มีตนอันฝึกฝนแล้ว มีจิตตั้งมั่น ดับกิเลสและความ
เร่าร้อนได้แล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยปานุทิ ความว่า ผู้ใดกำจัด คือ
ซัดไป คือละได้แล้ว ได้แก่ ขจัดแล้ว. บทว่า มจฺจุราชสฺส ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 99
ความตาย คือความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า มัจจุ ก็มัจจุนั่นแหละ ชื่อว่า
ราชา เพราะอรรถว่า เป็นใหญ่ เพราะยังสัตว์ทั้งหลายให้เป็นไปในอำนาจ
ของตน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มัจจุราชา. แห่งมัจจุราชนั้น. บทว่า เสน
ได้แก่ เสนา มีความแก่และโรคเป็นต้น ก็ความแก่และโรคเป็นต้น ชื่อว่า
เสนา เพราะเป็นองค์ประกอบในการที่มัจจุราชนั้นยังสัตว์ให้เป็นไปในอำนาจ
ด้วยเหตุนั้น มัจจุราชนั้น ท่านจึงเรียกว่า มีเสนาใหญ่ เพราะมีเสนามาก
มีอย่างต่าง ๆ แพร่หลาย. สมดังที่ตรัสไว้ว่า น หิ โน สงฺครนฺเตน
มหาเสเนน มจฺจุนา จะขอผลัดเพี้ยนกับมัจจุราช ผู้มีเสนาใหญ่ มิได้เลย
ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง เทวบุตรมาร ท่านประสงค์เอาว่า มัจจุ ในพระคาถานี้
เพราะอรรถว่า ฆ่าเสียซึ่งคุณงามความดี กามเป็นต้น ท่านประสงค์เอาว่าเป็น
เสนา เพราะเข้าถึงความเป็นสหายกับมัจจุราชนั้น. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเป็นเสนาที่หนึ่งของท่าน
ความไม่ยินดี เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่สองของท่าน
ความหิวและความกระหาย เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่สาม
ของท่าน ตัณหาเรากล่าวว่าเป็นเสนาที่สี่ของท่าน
ถีนมิทธะ เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ห้าของท่าน ความ
ขลาดกลัวเรากล่าวว่าเป็นเสนาที่หกของท่าน ความ
สงสัยเรากล่าวว่าเป็นเสนาที่เจ็ดของท่าน ความลบหลู่
และความหัวดื้อ เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่แปดของท่าน
ดังนี้.
บาทคาถาว่า นฬเสตุว สุทุพฺพล มโหโฆ นี้ประกอบความว่า
ผู้ใดกำจัดแล้ว คือชนะแล้ว ซึ่งเสนาคือสังกิเลส ที่ชื่อว่า แสนจะทรุดโทรม
เพราะไม่มีกำลังมากมายเหมือนห้วงน้ำใหญ่กำจัดสะพานไม้อ้อ เพราะปราศจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 100
แก่นสาร ด้วยมรรคอันเลิศ เช่นกับห้วงน้ำใหญ่ เพราะโลกุตรธรรมทั้ง ๙
มีกำลังมาก ผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้ชนะมาร ปราศจากความกลัว มีตนอันฝึกแล้ว
มีจิตตั้งมั่น ดับความเร่าร้อนและความกระวนกระวายได้แล้ว ดังนี้. มารสดับ
คำนั้นแล้ว คิดว่า สมณะรู้ทันเรา ดังนี้ แล้วหายไปในที่นั้นเอง.
จบอรรถกถาภัลลิยเถรคาถา
๘. วีรเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวีรเถระ
[๑๔๕] ได้ยินว่า พระวีรเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ ในเวลาภรรยาเก่า
ไปเล้าโลม เพื่อให้สึกว่า
เมื่อก่อน ผู้ใด เป็นผู้อันบุคคลอื่นฝึกได้โดยยาก
แต่เดี๋ยวนี้ ผู้นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงฝึกฝน
ได้ดีแล้ว เป็นนักปราชญ์ มีความสันโดษ ข้ามความ
สงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะกิเลสมาร ปราศจากขนลุกพอง
ปราศจากความกำหนัด มีจิตตั้งมั่น ดับกิเลสและความ
เร่าร้อนได้แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 101
อรรถกถาวีรเถรคาถา
คาถาของท่านพระวีรเถระเริ่มต้นว่า โย ทุทฺทมโย ดังนี้. เรื่องราว
ของท่านเป็นมาอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกัปที่ ๙๐ นับถอยหลังแต่ภัตรกัปนี้ ท่านปฏิบัติที่ประทับ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี. อยู่มาวันหนึ่ง ท่านเก็บดอก
คนทิสอ มีลักษณะคล้ายกับดอกยางทราย มาบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วย
บุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล้วเกิดใน
ตระกูลกษัตริย์ ในกัปที่ ๓๕ ถอยหลังแต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
พระนามว่า มหาปตาปะ. ท้าวเธอเสวยราชย์โดยธรรมสม่ำเสมอ ยังหมู่สัตว์
ให้ตั้งอยู่ในทางสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นเศรษฐีมีสมบัติมาก ในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ. ในกัปนี้อีก บำเพ็ญทานแก่คน
กำพร้าและคนเดินทางไกลเป็นต้น ได้ถวายขีรภัตรแก่พระสงฆ์ ท่าน บำเพ็ญ
กองการบุญกุศลอันสำเร็จด้วยทาน และสั่งสมประโยชน์ คือ พระนิพพาน
นอกนี้ ในภพนั้น ดังพรรณนามานี้ แล้วท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย บังเกิดในตระกูลอมาตย์ของพระเจ้าปเสนทิ ในกรุงสาวัตถี ใน
พุทธุบาทกาลนี้ คนทั้งหลายขนานนามท่านว่า วีระ.
ท่านเจริญวัยแล้ว ประกอบด้วยคุณทั้งหลาย มีความสมบูรณ์ด้วยพละ
และชวนะเป็นต้น สมชื่อ เป็นผู้กล้าหาญในสงคราม เมื่อมารดาบิดา จัดหาภรรยา
ให้ โดยการทำความผูกพัน ก็ได้บุตรคนเดียวเท่านั้น อันเหตุแห่งบุรพกรรม
ตักเตือนอยู่เห็นโทษในกามทั้งหลายและในสงสารเกิดความสลดใจ บวชแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 102
เพียรพยายามอยู่ ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานเลย. สมดังคาถาประพันธ์
ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นคนเฝ้าพระอารามของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า วิปัสสี ได้ถือเอาดอกยางทรายไปบูชา
พระพุทธเจ้า ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชา
พระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่-
รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๓๕ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่ง เป็น
จอมประชามีนามว่า มหาปตาปะ มีพละมาก คุณวิเศษ
เหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖
เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำ
สำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ภรรยาเก่า (ของท่าน) ประสงค์จะให้พระเถระ ผู้บรรลุพระอรหัต
อย่างนี้แล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยความสุข อันเกิดแต่ผลสมาบัติ ให้สึก พยายาม
ประเล้าประโลม โดยนัยต่าง ๆ ในระหว่าง ๆ วันหนึ่งไปถึงที่ท่านพักในกลางวัน
เริ่มแสดงมายาหญิง มีเล่ห์มายาเป็นต้น. ลำดับนั้น ท่านพระวีระ คิดว่า
หญิงคนนี้ เป็นคนโง่แท้หนอ ประสงค์จะเล้าโลมเรา อุปมาดุจมีความประสงค์
ให้เขาสิเนรุราชสั่นสะเทือน ด้วยลมปีกของลิ่นไรฉะนั้น ดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดง
ความที่กิริยาของหญิงนั้น ไม่มีประโยชน์ จึงได้ภาษิตคาถาว่า
เมื่อก่อน ผู้ใด เป็นผู้อันบุคคลอื่นฝึกได้โดยยาก
แต่เดี๋ยวนี้ ผู้นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงฝึกฝน
ได้ดีแล้ว เป็นนักปราชญ์ มีความสันโดษ ข้ามความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 103
สงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะกิเลสมาร ปราศจากขนพอง
สยองเกล้า ปราศจากความกำหนัด มีจิตตั้งมั่น ดับ-
กิเลสและควานเร่าร้อนได้แล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น เนื้อความของบททั้งหลายมีอาทิว่า โย ทุทฺทมโย
ดังนี้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังแล้วทั้งนั้น. ส่วนคำ (ที่จะกล่าวต่อไป) นี้
เป็นเพียงโยชนา (คำประกอบความ) ในคาถานี้. เมื่อก่อนผู้ใด ชื่อว่าเป็นผู้
อันบุคคลอื่นฝึกได้ยาก เพราะยังมีกิเลสที่ยังไม่ได้ปราบ หรือเพราะอันข้าศึก
ทั้งหลาย ไม่สามารถเพื่อจะปราบ คือ เพื่อจะชนะในสนามรบได้ แต่บัดนี้
ผู้นั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ฝึกพระองค์แล้ว ทรงฝึกแล้วด้วยธรรมเครื่องฝึก
อันสูงสุด ชื่อว่า เป็นนักปราชญ์ เพราะถึงพร้อมด้วยความเพียร คือ สัมมัป-
ปธาน ๔ อย่าง จึงเป็นผู้มีความสันโดษ ข้ามความสงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะ
กิเลสมาร ปราศจากความขนพองสยองเกล้า เป็นปราชญ์ได้นามว่า วีระ ชื่อว่า
ดับกิเลสและความเร่าร้อนได้ เพราะดับกิเลสได้โดยไม่มีส่วนเหลือ ต่อแต่นั้นไป
ก็เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวด้วยมารเช่นท่านตั้ง ๑๐๐ ตน ๑,๐๐๐ ตน หญิง
นั้นฟังคำนั้นแล้ว คิดว่า เมื่อพระเถระผู้เป็นสามีของเรา ปฏิบัติได้เช่นนี้
การอยู่ครองเรือนของเราจะมีประโยชน์อะไร ดังนี้ เกิดความสลดใจ บวชใน
สำนักนางภิกษุณีทั้งหลาย เป็นผู้มีวิชชา ๓ ต่อกาลไม่นานเลย.
จบอรรถกถาวีรเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 104
๙. ปิลินทวัจฉเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปิลินทวัจฉเถระ
[๑๔๖] ได้ยินว่า พระปิลินทวัจฉเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
การที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดานี้ เป็นการ
มาดีแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ การที่เราคิดไว้ว่า จักฟัง
ธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักบวช
เป็นความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ เพราะเมื่อพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ทรงจำแนกธรรมทั้งหลายอยู่ เราได้บรรลุ
ธรรมอันประเสริฐแล้ว.
อรรถปิลินทวัจฉเถรคาถา
คาถาของท่านพระปิลินทวัจฉเถระ เริ่มต้นว่า สฺวาคต ดังนี้.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้ เกิดในตระกูลมีโภคะมาก ณ กรุงหงสาวดี ใน
กาลของพระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ฟังธรรมในสำนักของ
พระศาสดา โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง นั่นแล เห็นพระบรมศาสดาทรง
แต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ โดยเป็นที่รักเป็นที่พอใจ
ของเทวดาทั้งหลาย ปรารภนาตำแหน่งอันเลิศนั้น บำเพ็ญกุศลจนตลอดชีวิต
จุติจากอัตภาพนั้นแล้วท่องเที่ยวไป ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล้วบังเกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 105
ในมนุษยโลก ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุเมธะ. เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว กระทำการบูชาพระสถูปของ
พระบรมศาสดา และยังมหาทานให้เป็นไปในหมู่สงฆ์ จุติจากมนุษยโลก
นั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนั่นแหละ เมื่อพระพุทธเจ้า
ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ยังมหาชนให้ดำรงอยู่ในศีล ๕
ได้กระทำให้เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
เขา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทั้งหลาย ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น
นั่นแล บังเกิดในเรือนแห่งพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี. คนทั้งหลายขนาน
นามเขาว่า ปิลินทะ ส่วนคำว่า วัจฉะ เป็นโคตร. ด้วยเหตุนั้น เวลาต่อมา
เขาจึงมีนามปรากฏว่า ปิลินทวัจฉะ ก็เขาบวชเป็นปริพาชก เพราะเป็นผู้
มากไปด้วยความสลดใจในสงสาร สำเร็จวิชชา ชื่อว่า จูฬคันธาระ ท่องเที่ยว
ไปในอากาศได้ด้วยวิชชานั้น ทั้งเป็นผู้รู้จิตของผู้อื่น ถึงความเป็นผู้เลิศด้วย
ลาภ และยศ อาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์.
ครั้งนั้น จำเดิมแต่เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ตรัสรู้
พระสัมมาสัมโพธิญาณ เสด็จเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์โดยลำดับ ด้วยพระพุทธานุ-
ภาพ ทำให้วิชชานั้น ของเขาเสื่อมไป (ไม่สมบูรณ์) ไม่สามารถยังกิจของ
ตนให้สำเร็จได้. เขาคิดว่า ก็เราได้ฟังมาดังนี้ว่า เมื่ออาจารย์และปรมาจารย์
ทั้งหลาย กล่าวมนต์นี้อยู่ มหาคันธารวิชชาอยู่ในที่ใด จูฬคันธารวิชชาย่อม
เสื่อม (ไม่สมบูรณ์) ในที่นั้น ดังนี้. ก็นับจำเดิมแต่พระสมณโคดมเสด็จมาแล้ว
วิชชานี้ของเรา ไม่สมบูรณ์เลย พระสมณโคดม ต้องรู้มหาคันธารวิชชา
โดยไม่ต้องสงสัย ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปนั่งใกล้พระสมณโคดมนั้น แล้ว
เรียนวิชชานั้นในสำนักของพระองค์ ดังนี้. เขาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วกราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ ข้าพระองค์ประสงค์จะเรียนวิชชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 106
อย่างหนึ่งในสำนักของพระองค์ ขอพระองค์จงให้โอกาสแก่ข้าพระองค์ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงบวช. เขาสำคัญว่า บรรพชาเป็นการ
บริกรรมวิชชาจึงยอมบวช. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่ท่าน
แล้วทรงประทานกัมมัฏฐานอันเหมาะแก่จริต. ท่านเจริญวิปัสสนาบรรลุ
พระอรหัตแล้ว ต่อกาลไม่นานเลย เพราะความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย.
ก็เทวดาเหล่าใด ผู้ตั้งอยู่ในโอวาทของท่านในชาติก่อน แล้วเกิดในสวรรค์
เทวดาเหล่านั้นอาศัยความเป็นผู้รู้คุณนั้น จึงเกิดความนับถืออย่างมาก เข้าไป
หาพระเถระทุกเย็น ทุกเข้าแล้วจึงไป. เพราะเหตุนั้น พระเถระ จึงถึงความ
เป็นผู้เลิศ เพราะความเป็นผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเทวดาทั้งหลาย. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อพระโลกนาถ พระนามว่า สุเมธ เป็น
บุคคลผู้เลิศ นิพพานแล้ว เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสม-
นัส ได้ทำการบูชาพระสถูป. ในสมาคมนั้น พระขี-
ณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิมากเท่าใด เรานิมนต์
พระขีณาสพเหล่านั้น มาประชุมกันในสมาคมนั้นแล้ว
ได้ทำสังฆภัตถวาย เวลานั้นมีภิกษุผู้อุปัฏฐาน ของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุเมธ ท่านมีนามว่า
สุเมธ ได้อนุโมทนาในเวลานั้น ด้วยจิตอันเลื่อมใส
นั้น เราได้เข้าถึงวิมาน นางอัปสร แปดหมื่นหกพัน
ได้มีแก่เรา นางอัปสรเหล่านั้น ย่อมคล้อยตามความ
ประสงค์ทุกอย่างของเราเสมอ เราย่อมครอบงำ
เทวดาเหล่าอื่น นี่เป็นผลแห่งบุญกรรม. ในกัปที่ ๒๕
เราเป็นกษัตริย์ พระนามว่า วรุณ ในกาลนั้น เราได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 107
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เสวยโภชนะอันขาวผ่อง ชน
เหล่านั้นไม่ต้องหว่านพืช และไม่ต้องนำไถไปไถ
มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมบริโภคข้าวสาลีอันเกิดเอง สุก
เอง ในที่ไม่ได้ไถ เราได้เสวยราชสมบัติในภพนั้นแล้ว
ได้ถึงความเป็นเทวดาอีก ถึงเวลานั้น โภคสมบัติเช่น
นี้ก็บังเกิดแก่เรา สัตว์ทั้งปวงซึ่งเป็นมิตร หรือมิใช่
มิตร ย่อมไม่เบียดเบียนเรา เราเป็นที่รักของสัตว์ทุก
จำพวก นี้เป็นผลแห่งกรรม เราได้ให้ทานใดในกาล
นั้น ด้วยการให้ทานนั้น เราไม่พบทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งการไล้ทาด้วยของหอม ในภัทรกัปนี้ เราผู้เดียว
ได้เป็นอธิบดีของคน ได้เป็นราชฤาษีผู้มีอานุภาพมาก
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพลมาก เรานั้นตั้งอยู่ใน
ศีล ๕ ได้ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ถึงสุคติ ได้เป็นที่
รักของเทวดาทั้งหลาย คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิ-
ทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้ง
ชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
อนึ่ง เพราะเหตุที่ท่านเป็นผู้อันเทวดาทั้งหลาย รักใคร่สนิทสนมอย่าง
มากยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงตั้งพระเถระนี้ไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุ
ผู้เลิศ โดยความเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเทวดาทั้งหลาย โดยพระพุทธดำรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระปิลินทวัจฉะ เลิศกว่าภิกษุผู้เป็นมหาสาวกของเรา
ฝ่ายทำให้เทวดาทั้งหลายรักใคร่ ชอบใจ ดังนี้. วันหนึ่ง ท่านนั่งอยู่ในท่ามกลาง
ภิกษุสงฆ์ พิจารณาคุณทั้งหลายของตนแล้ว เมื่อจะสรรเสริญการมาในสำนัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 108
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าเป็นนิมิตของวิชชา อันเป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณ
เหล่านั้น จึงได้ภาษิตคาถาว่า
การที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดานี้เป็นการมา
ดีแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ การที่เราคิดไว้ว่า จักฟังธรรม
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักบวช เป็น
ความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงจำแนกธรรมทั้งหลายอยู่ เราได้บรรลุธรรมอัน
ประเสริฐแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฺวาคต ความว่า เป็นการมาที่ดี เชื่อม
ความว่า การที่เรามานี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สฺวาคต ความว่า อันเรามาดี
แล้ว ต้องเปลี่ยนวิภัตติเป็น มยา. บทว่า นาปคต ตัดบทเป็น น อปคต
ได้ความว่า ไม่ไปปราศจากการถึงความเจริญ คือประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า
นยิท ทุมฺมนฺติต มม ความว่า พระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่เรา
ไม่ถูกต้อง หรือ เราไตร่ตรองไม่ดี ก็หามิได้. ท่านกล่าวอธิบายไว้ ดังนี้ว่า
ความคิด คือความดำริ ได้แก่ ถ้อยคำที่เรากล่าวว่า เราฟังธรรมในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักบวชดังนี้ หรือสิ่งที่เราพิจารณาด้วยจิต แม้นี้
เป็นความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ บัดนี้ เมื่อจะแสดงเหตุ ในบทว่า ทุมฺมนฺติต
นั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปวิภตฺเตสุ ดังนี้. บทว่า ปวิภตฺเตสุ
ความว่า จำแนกแล้วโดยประการ (ต่าง ๆ). บทว่า ธมฺเมสุ ความว่า ใน
ไญยธรรม หรือในสมถธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ในธรรมที่เดียรถีย์ กล่าวไว้
ด้วยสามารถแห่งปกติเป็นต้น หรือในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ตรัสจำแนกไว้ ด้วยสามารถแห่งอริยสัจ มีทุกขสัจเป็นต้น. บทว่า ย เสฏฺ
ตทุปาคมึ ความว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมใดประเสริฐที่สุด เราเข้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 109
ถึงธรรมนั้น ซึ่งเป็นจตุราริยสัจจธรรม อีกอย่างหนึ่ง เราเข้าถึงซึ่งศาสน-
ธรรม อันเป็นเหตุนำสัตว์ให้ตรัสรู้ คือเข้าถึงว่า นี้ธรรม นี้วินัย. อีกอย่าง
หนึ่ง ในบรรดาสภาวธรรมทั้งหลาย อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นแหละ ทรง
จำแนกแล้ว ด้วยสามารถแห่งกุศลเป็นต้น (และ) ด้วยสามารถแห่งขันธ์เป็น
ต้น ตามความเป็นจริง ธรรมใด ประเสริฐ คือสูงสุด ได้แก่ ประเสริฐใน
ศาสนานั้น เราเข้าถึงแล้ว คือเข้าถึงแล้วโดยประจักษ์ในตน ได้แก่ ทำให้
แจ้งแล้ว ซึ่งธรรมนั้นอันประเสริฐ อันหมายถึงธรรม คือ มรรค ผล และ
นิพพาน. เพราะฉะนั้น จึงประกอบความว่า การที่เรามาสู่สำนักของพระ
ศาสดานี้ เป็นการมาดีแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ การที่เราคิดว่า จักฟังธรรมใน
สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักบวช เป็นความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ ดังนี้.
จบอรรถกถาปิลินทวัจฉเถรคาถา
๑๐. ปุณณมาสเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปุณณมาสเถระ
[๑๔๗] ได้ยินว่า พระปุณณมาสเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
ผู้ใดไม่ทะเยอทะยานในโลกนี้หรือโลกอื่น ผู้นั้น
เป็นผู้จบไตรเพท เป็นผู้สันโดษ สำรวมแล้วไม่ติดอยู่
ในธรรมทั้งปวง เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปของโลก ดังนี้.
จบวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 110
อรรถกถาปุณณมาสเถรคาถา
คาถาของท่านพระปุณณมาสเถระ เริ่มต้นว่า วิหริ อเปกฺข ดังนี้.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร.
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี พระ
เถระนั้น บังเกิดในกำเนิดแห่งนกจักรพรากเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป
มีจิตเลื่อมใสแล้ว จึงเอาจะงอยปากของตนคาบดอกสาหร่ายไป ทำการบูชา
แล้ว. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกัป
ที่ ๑๗ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิถึง ๘ ครั้ง. ส่วนในกัปนี้
เมื่อศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ เสื่อมลง บังเกิด
ในตระกูลกุฎุมพี บวชแล้ว บำเพ็ญสมณธรรมจุติจากนั้นแล้ว ท่องเที่ยว
ไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ นามว่า สมิทธะ
ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ในวันที่เขาเกิด หม้อเปล่าทุกใบ
ในเรือนนั้น ได้เต็มไปด้วยสุพรรณมาศ (ถั่วทอง). ด้วยเหตุนั้น คนทั้ง
หลายจึงขนานนามเขาว่า ปุณณมาส. เขาเจริญวัยแล้วประสบความสำเร็จ
ในวิชชาของพราหมณ์ทั้งหลาย กระทำการวิวาห์ ได้บุตรคนหนึ่ง เกิด
เบื่อหน่ายการอยู่ครองเรือน เพราะเป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฟังธรรม ได้เฉพาะแล้วซึ่งศรัทธา บรรพชาแล้ว ถึง
พร้อมแล้วด้วยกิจทุกอย่าง หมั่นประกอบเนือง ๆ ในกัมมัฏฐาน ๔ ขวนขวาย
วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์ นี้ไว้
ในอปทานว่า
ในกาลนั้น เราเป็นนกจักรพรากอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ
สินธุ เรามีสาหร่ายล้วน ๆ เป็นภักษา และสำรวมดีแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 111
ในสัตว์ทั้งหลาย เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี
เสด็จไปในอากาศ จึงเอาจะงอยปากคาบดอกสาหร่าย
บูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี ผู้ใด
ตั้งศรัทธาอันไม่หวั่นไหวไว้ด้วยดีในพระตถาคตเจ้า
ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น ผู้นั้นจะไม่ไปสู่ทุคติ การที่เรา
ได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นการ
มาดีหนอ เราเป็นนกจักรพรากได้ปลูกพืชไว้ดีแล้ว
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งพุทธบูชา. ในกัปที่ ๑๗ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๘ ครั้ง มีพลมา ทรงพระนามเดียวกันว่า สุจารุทัสสนะ.
คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ลำดับนั้น ภรรยาเก่าของท่าน ประสงค์จะเล้าโลมท่าน จึงประดับ
ตกแต่งเข้าไปหาพร้อมด้วยบุตร ปรารภเพื่อจะกระทำการเปลือย โดย
การกล่าวเล้าโลมที่ท่าน่ารัก. พระเถระเห็นเหตุการณ์ของนาง เพื่อจะประกาศ
ความที่ตนไม่เกี่ยวข้อง แม้ในอารมณ์ไหน ๆ จึงได้ภาษิตคาถาว่า
ผู้ใดไม่ทะเยอทะยาน ในโลกนี้ หรือโลกอื่น
ผู้นั้นเป็นผู้จบไตรเพท เป็นผู้สันโดษ สำรวมแล้ว
ไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปของโลก ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 112
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิหริ ความว่า นำไป คือ นำออกไป
ได้แก่ขจัดเสีย (ซึ่งทุกข์) โดยพิเศษ. บทว่า อเปกฺข ได้แก่ ตัณหา. บทว่า
อิธ ได้แก่ในโลก หรืออัตภาพนี้. บทว่า หุร ได้แก่ ในอนาคต หรือ
อัตภาพอื่น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิธ ได้แก่ อายตนะที่เป็นไปในภายใน.
บทว่า หุร ได้แก่ อายตนะที่เป็นไปในภายนอก. วา ศัพท์ เป็นสมุจจยัตถะ
มีความหมายรวมกับ ดังในประโยคมีอาทิว่า อปทา วา ทฺวิปทา วา
ไม่มีเท้าบ้าง มีสองเท้าบ้าง. ด้วยบทว่า โย ท่านแสดงถึงตนนั่นแหละ ทำเป็น
เหมือนผู้อื่น. บทว่า เวทคู ความว่า ถึงแล้วโดยเวท คือ ถึง ได้แก่บรรลุ
พระนิพพาน ด้วยมรรคญาณ หรือจบสัจจะทั้ง ๔ ด้วยสามารถแห่งปริญญากิจ
ปหานกิจ สัจฉิกิริยากิจ และภาวนากิจตั้งอยู่แล้ว. บทว่า ยตฺตโก ความว่า
มีการสำรวมด้วยมรรคสังวรเป็นสภาพ หรือมีการสำรวมด้วยสัมมาวายามะเป็น
สภาพ. บทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ อนุปลิตฺโต ความว่า ไม่ติดในธรรม
คือในอารมณ์ทั้งปวง ด้วยสามารถแห่งการติดด้วยตัณหาและทิฏฐิ. ท่านแสดง
ถึงการก้าวล่วงโลกธรรมทั้งหลาย มีลาภเป็นต้นได้ด้วยบทนั้น. บทว่า โลกสฺส
ได้แก่หมวด ๕ แห่งอุปาทานขันธ์. ก็หมวด ๕ แห่งอุปาทานขันธ์นั้น ชื่อว่า
โลก ด้วยอรรถว่า ชำรุดแตกหักไป. บทว่า ชญฺา แปลว่า รู้แจ้ง. บทว่า
อุทยพฺพยญฺจ ได้แก่ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป. ท่านแสดงถึงปฏิปทา
อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งคุณตามทีกล่าวแล้วด้วยบทนี้. ก็ในคาถานี้ มีอธิบาย
ดังนี้ ผู้ใดรู้ความเกิดขึ้นและความสิ้นไปแห่งโลกมีขันธโลกเป็นต้นทั้งสิ้น
ด้วยอาการครบทั้ง ๕๐ เป็นผู้จบไตรเพท เป็นผู้สำรวมแล้วไม่ติดอยู่ในธรรม
ไหน ๆ ผู้นั้นไม่ทะเยอทะยานในธรรมทั้งปวง คือ กำจัดเสียได้ สันโดษ
บรรดาอาการที่ไม่เหมาะสมเช่นนั้น จะไม่สำคัญประการที่ไม่เหมาะสมไร ๆ เลย
ดูก่อนมารผู้อันธพาล เพราะฉะนั้น ท่านจงไปตามทางที่ท่านมาแล้วนั้นแหละ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 113
ดังนี้. ครั้งนั้น หญิงนั้นรู้ว่า สมณะรูปนี้ หมดความต้องการในเราและบุตร
เราไม่อาจจะประเล้าประโลมสมณะรูปนี้ได้ จึงหลีกไป.
จบอรรถกถาปุณณมาสเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๑
แห่งอรรถกถาเถรคาถา นามว่า ปรมัตถทีปนี
ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ
๑. พระสุภูติเถระ ๒. พระมหาโกฏฐิตเถระ ๓. พระกังขาเรวต-
เถระ ๔. พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ๕. พระทัพพมัลลบุตรเถระ ๖. พระ
สัมภูตเถระ ๗. พระภัลลิยเถระ ๘. พระวีรเถระ ๙. พระปีลินทวัจฉเถระ
๑๐. พระปุณณมาสเถระ และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 114
เถรคาถา เอกนิบาตวรรคที่ ๒
๑. จูฬวัจฉเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระจูฬวัจฉเถระ
[๑๔๘] ได้ยินว่า พระจูฬวัจฉเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
ภิกษุ ผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ในธรรม อัน
พระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว พึงบรรลุสันตบท อัน
เป็นธรรมเข้าไปสงบระงับสังขาร เป็นสุข ดังนี้.
วรรควรรณนาที่ ๒
อรรถกถาจูฬวัจฉเถรคาถา
คาถาของท่านพระจูฬวัจฉเถระ เริ่มต้นว่า ปามุชฺชพหุโล. เรื่อง
ราวของท่านเป็นอย่างไร.
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ ท่านเกิดในตระกูลที่ยากจน สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้าง
คนอื่น เห็นพระเถระนามว่า สุชาตะ ผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แสวงหาผ้าบังสุกุลอยู่ มีใจเลื่อมใสเข้าไปหา ถวายผ้าแล้วกราบด้วยเบญจางค-
ประดิษฐ์. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวยราชย์ในหมู่เทพถึง ๓๓ ครั้ง ได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๗ ครั้ง เป็นเจ้าประเทศราช ในวาระเป็นอเนก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 115
(นับครั้งไม่ถ้วน). เมื่อท่านท่องเที่ยวไปมาในเทวดาและมนุษย์อยู่อย่างนี้
ในเมื่อศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ เสื่อมลง จึง
บวชแล้วบำเพ็ญสมณธรรม แล้วท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ ในคติแห่งเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ตลอดพุทธันดรหนึ่ง แล้วเกิดในตระกูลพราหมณ์ กรุงโกสัมพี
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ท่านได้มีนามว่า จูฬวัจฉะ.
จูฬวัจฉกุมารเจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จในศิลปวิทยาของพราหมณ์ทั้งหลาย
สดับพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้วมีใจเลื่อมใส เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่เขา. เขาได้ศรัทธาบรรพชาแล้วได้การ
อุปสมบทการทำกิจแห่งบรรพชิตสำเร็จแล้ว เรียนกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่
จริงแล้วภาวนาอยู่. ก็โดยสมัยนั้น ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีได้เกิดแตกกัน.
ครั้งนั้น พระจูฬวัจฉเถระ ไม่ยึดถือลัทธิของภิกษุทั้งสองฝ่าย ตั้งอยู่ในโอวาท
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานแล้ว เพิ่มพูนวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว.
สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ครั้งนั้น สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
พระนามว่า ปทุมุตตระ ชื่อสุชาตะ แสวงหาผ้าบังสุกุล
อยู่ที่กองหยากเยื่อ เราเป็นลูกจ้างของคนอื่นอยู่ใน
พระนครหงสาวดีได้ถวายผ้าครึ่งผืนแล้ว อภิวาทด้วย
เศียรเกล้า ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการ
ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์ ได้ไปสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์ เราเป็นจอมเทวดา เสวยเทพสมบัติในเทวโลก
๓๓ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๗ ครั้ง และได้
เป็นเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้
เพราะละวายผ้าครึ่งผืนเป็นทาน เราเป็นผู้ไม่มีภัยแต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 116
ไหน เบิกบานอยู่ ทุกวันนี้ เมื่อเราปรารถนา ก็เอาผ้า
เปลือกไม้คลุมแผ่นดินนี้ พร้อมทั้งป่าและภูเขาได้
นี้เป็นผลแห่งผ้าครึ่งผืน ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้
เราได้ให้ทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งผ้าครึ่งผืน เราเผากิเลสทั้งหลาย
แล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จ
แล้ว ดังนี้.
ครั้งนั้น พระจูฬวัจฉเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เห็นความพินาศจาก
ประโยชน์ตน ของผู้ที่ชอบการทะเลาะวิวาท ของภิกษุเหล่านั้น เกิดธรรมสังเวช
และพิจารณาถึงคุณวิเศษ ที่ตนได้บรรลุแล้วด้วยอำนาจปีติ และโสมนัสจึงได้
ภาษิตคาถาว่า
ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ ในธรรมอัน
พระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้วพึงบรรลุสันตบทอันเป็น
ธรรมเข้าไปสงบระงับสังขาร เป็นสุข ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาโมชฺชพหุโล ความว่า ชื่อว่าเป็น
ผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ ด้วยสามารถแห่งความยินดียิ่งในธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นอธิกุศล โดยความเป็นผู้ไม่มีวิปฏิสาร เพราะความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
ดีแล้ว.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธมฺเม พุทฺธปฺปเวทิเต ในธรรมอัน
พระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเม ได้แก่
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ หรือโลกุตรธรรม ๙ อย่าง. ก็พระธรรมนั้น
ชื่อว่าอันพระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว เป็นอย่างดีเลิศ เพราะเป็นพระธรรม
อันพระผู้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ทรงประกาศแล้ว ด้วยเทศนาที่พระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 117
ทรงยกขึ้นแสดงเอง. ส่วนแม้เทศนาธรรม ก็สงเคราะห์เข้าในบทว่า ธมฺเม นี้
เหมือนกัน เพราะความที่เทศนาธรรมนั้นเป็นอุบายให้สัตว์เข้าถึงพระธรรม.
พระเถระกล่าว บทว่า ปท สนฺต หมายถึงพระนิพพาน. ก็ภิกษุ
เห็นปานนี้ ย่อมบรรลุ คือประสบสันตบทอันเป็นส่วนสงบระงับแล้ว ได้แก่
พระนิพพาน ที่ชื่อเป็นที่เข้าสงบระงับสังขาร เพราะเข้าไปสงบระงับดับสังขาร
ทั้งปวงได้ ชื่อว่าเป็นสุข เพราะเป็นสุขอย่างยิ่ง.
อธิบายว่า ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ เพราะ
ไม่มีวิปฏิสาร เป็นผู้หมั่นขวนขวายในพระสัทธรรมย่อมประสบสมบัติทุกอย่าง
มีวิมุตติเป็นปริโยสาน. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้มีอาทิว่า ดูก่อน
อานนท์ ศีลที่เป็นฝ่ายกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผลแล ความไม่เดือดร้อน
ย่อมเป็นไปเพื่อความปราโมทย์ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปามุชฺชพหุโล ความว่า เป็นผู้มากไปด้วย
ความชื่นบาน โดยมุ่งถึงพระรัตนตรัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เอง
โดยชอบ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว
ดังนี้. เพื่อจะเลี่ยงคำถามที่อาจมีขึ้นว่า ผู้นั้นมากไปด้วยความปราโมทย์ใน
อะไร ? หรือการทำอะไร ? พระเถระจงกล่าวบาทคาถามีอาทิว่า ธมฺเม
พุทฺธปฺปเวทิเต ในธรรมอันพระพุทธเจ้าประกาศดีแล้ว ดังนี้. อธิบายว่า
สมบัติทั้งหลาย ย่อมอยู่ในเงื้อมมือของผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศรัทธา โดยการเกิดขึ้น
โดยง่ายแห่ง (จักร ๔) คือ สัปปุริสูปสังเสวนะ การคบหาสัตบุรุษ ๑ สัท-
ธัมมัสสวนะ การฟังธรรมของสัตบุรุษ ๑ โยนิโสมนสิการ การกระทำไว้
ในใจโดยแยบคาย ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.
สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้เกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปหา เมื่อเข้าไปหา ย่อม
เข้าไปนั่งใกล้ ดังนี้เป็นต้น .
จบอรรถกถาจูฬวัจฉเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 118
๒. มหาวัจฉเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมหาวัจฉเถระ
[๑๔๙] ได้ยินว่า พระมหาวัจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
ภิกษุมีกำลังปัญญา สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร
มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน มีสติ บริโภคโภชนะตามมี
ตามได้ มีราคะไปปราศแล้ว พึงหวังได้ซึ่งกาล
ปรินิพพานในศาสนานี้ ดังนี้.
อรรถกถามหาวัจฉเถรคาถา
คาถาของท่านพระมหาวัจฉเถระเริ่มต้นว่า ปญฺาพลี. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านได้ถวายน้ำดื่มให้เป็นทาน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ และแก่ภิกษุสงฆ์. ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า สิขี ได้เป็นอุบาสกอีก ได้การทำบุญกรรมเป็นอันมาก
อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ด้วยบุญกรรมเหล่านั้น ท่านท่องเที่ยวไปใน
สุคติภพนั้น ๆ แล้ว เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์นามว่า สมิทธิ ในนาลคาม
แคว้นมคธ ในพุทธุปบาทกาลนี้. เขาจึงมีชื่อว่า มหาวัจฉะ. เขาเจริญวัย
แล้ว สดับความที่ท่านพระสารีบุตร เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วคิดว่า แม้ขึ้นชื่อว่าท่านพระสารีบุตรนั้น เป็นผู้มีปัญญามาก ยังเข้าถึง
ความเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ชะรอยพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 119
พระองค์นั้น แหละจักเป็นบุคคลผู้เลิศในโลกนี้ เกิดศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้า
บวชในสำนักของพระศาสดาแล้ว ประกอบเนือง ๆ ซึ่งกัมมัฏฐาน บรรลุพระ
อรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ในภิกษุสงฆ์
ผู้ยอดเยี่ยมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ จึงได้น้ำใส่หม้อน้ำฉันจนเต็ม ในเวลา
ที่เราจะต้องการน้ำ จะเป็นยอดภูเขา ยอดไม้ในอากาศ
หรือพื้นดิน น้ำย่อมเกิดแก่เราทันที ในกัปที่แสนแต่
กัปนี้ เราได้ให้ทานใด ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เรา
ไม่รู่จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการให้น้ำเป็นทาน เรา
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ภพทั้งปวงเราถอนขึ้นแล้ว ฯ ล ฯ
อภิญญา ๖ เรากระทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระ-
พุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ท่านครั้นบรรลุพระอรหัตอย่างนี้แล้ว เสวยวิมุตติสุขอยู่ เพื่อจะ
ให้เกิดความอุตสาหะแก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ด้วยการแสดงให้เห็นชัดซึ่ง
ข้อที่พระศาสนาเป็นนิยยานิกธรรม จึงได้ภาษิตคาถาว่า
ภิกษุมีกำลังปัญญา สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร
มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน มีสติ บริโภคโภชนะตามมี
ตามได้ มีราคะไปปราศแล้ว พึงหวังได้ซึ่งกาลปริ
นิพพานในศาสนานี้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺาพลี ความว่า ผู้ประกอบไปด้วย
ปัญญา อันดียิ่งเนือง ๆ ด้วยสามารถแห่งปาริหาริกปัญญาและวิปัสสนาปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 120
บทว่า สีลวตูปปนฺโน ความว่า เข้าถึงแล้ว คือ ประกอบแล้วด้วย
จาตุปาริสุทธิศีลอันอุกฤษุฏ์ และด้วยวัตรกล่าวคือ ธุดงคธรรม.
บทว่า สมาหิโต ความว่า ประกอบด้วยสมาธิ ต่างด้วยอุปจารสมาธิ
และอัปปนาสมาธิ.
บทว่า ฌานรโต ความว่า ต่อแต่นั้นไป จึงยินดี คือ หมั่นประกอบ
ติดต่อกันไป ในอารัมมณูปนิชฌานและในลักขณูปนิชฌาน. ชื่อว่า มีสติ
เพราะไม่อยู่ปราศจากสติในกาลทั้งปวง.
บทว่า ยทตฺถิยความว่า การบริโภคที่ไม่ปราศจากประโยชน์ ชื่อว่า
อัตถิยะ ชื่อว่า ยทัตถิยะ เพราะเหตุที่บริโภคโภชนะมีประโยชน์ หมายความว่า
การบริโภคของผู้ที่บริโภคปัจจัยเช่นใด ย่อมชื่อว่ามีประโยชน์ ก็บริโภคโภชนะ
เช่นนั้น.
คำว่า การบริโภคโภชนะที่มีประโยชน์ นั้นย่อมมีได้ ด้วยสามี-
บริโภค หรือด้วยทายาทบริโภค ไม่ใช่บริโภคโดยประการอื่น นี้ พึงเห็นเป็น
เพียงตัวอย่าง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า โภชนะ ด้วยอรรถว่า อันบุคคลพึงกิน
พึงบริโภค ได้แก่ ปัจจัย ๔.
ปาฐะว่า ยทตฺถิก ดังนี้บ้าง ปัจจัย ๔ อันพระศาสดาทรงอนุญาต
แล้ว เพื่ออันใด คือเพื่อประโยชน์อันใด เพื่อประโยชน์อันนั้น คือเพื่อ
ประโยชน์มีการตั้งอยู่แห่งกายเป็นต้น และการตั้งอยู่แห่งกายนั้น ก็เพื่ออนุปา-
ทิเสสนิพพาน เพราะฉะนั้น เมื่อภิกษุบริโภคปัจจัยคือโภชนะ เพื่อประโยชน์
แก่อนุปาทาทิเสสปรินิพพาน ต่อแต่นั้น ก็พึงหวัง กาลปรินิพพาน คือ พึง
คอยท่าอนุปาทาปรินิพพานกาล ของตน ชื่อว่ามีราคะไปปราศแท้ในที่นี้
คือ ในพระศาสนานี้ อธิบายว่า ก็คุณธรรมข้อนี้ย่อมไม่มี แก่คนภายนอกผู้
แม้มีราคะในกามทั้งหลายปราศไปแล้ว.
จบอรรถกถามหาวัจฉเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 121
๓. วนวัจฉเถร คาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวนวัจฉเถระ
[๑๕๐] ได้ยินว่า พระวนวัจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ภูเขาทั้งหลาย อันล้วนแล้วด้วยหิน มีสีเขียวดัง
เมฆ ดูรุจิเรกงามดี มีธารวารีเย็นใสสะอาด ดารดาษ
ไปด้วยแมลงค่อมทอง ภูเขาเหล่านั้น ย่อมทำให้เรา
รื่นรมย์ใจ ดังนี้.
อรรถกถาวนวัจฉเถรคาถา
คาถาของท่านพระวนวัจฉเถระ เริ่มต้นว่า นีลพฺภวณฺณา. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี
ท่านเกิดในกำเนิดของเต่า อาศัยอยู่ในแม่น้ำชื่อว่า วินตา อัตภาพของเต่านั้น
ได้มีประมาณเท่าเรือลำเล็กได้ยินว่าในวันหนึ่ง เต่านั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับยืนอยู่ที่ฝั่งแห่งแม่น้ำ คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชะรอยจะมีพระพุทธ
ประสงค์เสด็จไปสู่ฝั่งโน้น ประสงค์จะทูลเชิญเสด็จ โดยประทับบนหลังของตน
จึงหมอบลงแทบบาทมูล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของเต่านั้น
เมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา จึงเสด็จขึ้นประทับ. เขาเกิดปีติโสมนัส ว่ายแหวก
คลื่น ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ถึงฝั่งโน้นในทันใดนั้นเอง ดุจลูกศรที่ถูกยิง
ออกไปด้วยกำลังสาย ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 122
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพยากรณ์ผลแห่งบุญนั้น และสมบัติอันจะ
พึงบังเกิดในบัดนี้ แล้วเสด็จหลีกไป. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปใน
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บวชเป็นดาบส ตั้ง ๑๐๐ ครั้งเป็นเวลาไม่น้อย ได้
เป็นผู้มีปกติอยู่ในป่าอย่างเดียว ในกาลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรง
พระนามว่า กัสสปะ ไปเกิดในกำเนิดแห่งนกพิราบอีก เห็นภิกษุผู้อยู่ในป่า
รูปหนึ่ง มีปกติอยู่ด้วยเมตตา ยังจิตให้เลื่อมใสแล้ว และครั้นจุติจากกำเนิด
นกพิราบนั้นแล้ว บังเกิดในเรือนมีตระกูล ในพระนครพาราณสี เจริญวัย
แล้ว เกิดความสังเวช บวชแล้วเข้าไปสะสมบุญกรรมเป็นอันมาก ล้วนเป็น
อุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะ เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในภพนั้น ๆ
อย่างนี้ แล้วถือปฏิสนธิในเรือนของพราหมณ์ นามว่า วัจฉโคตร ในพระนคร
กบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ มารดาของเขามีครรภ์แก่รอบแล้ว เกิด
แพ้ท้อง ต้องการจะชมป่า จึงเข้าป่าท่องเที่ยวไป. ในทันใดนั้นเอง ลมกัม-
มัชวาทของนางปั่นป่วนแล้ว คนทั้งหลายจัดแจงขึงผ้าม่านให้แล้ว. นางคลอดบุตร
(สมบูรณ์) ด้วยลักษณะของผู้มีบุญ กุมารนั้นได้เป็นสหายเล่นฝุ่นกับพระ-
โพธิสัตว์ เขาได้มีโคตรและชื่อว่า วัจฉะ. (ต่อมา) ปรากฏนามว่า วนวัจฉะ โดย
ที่มีความยินดีในป่า ในเวลาต่อมา เมื่อพระมหาสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
บำเพ็ญมหาปธานอยู่ ก็ออกบวช ด้วยคิดว่า แม้เราก็จักอยู่ในป่า ร่วมกับ
สิทธัตถกุมาร ดังนี้ แล้วออกบวชเป็นดาบส อยู่ในป่าหิมวันต์ สดับว่า
พระสิทธัตถะตรัสรู้อภิสัมโพธิญาณแล้ว จึงไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า
บวชแล้วเรียนกัมมัฏฐานอยู่ในป่า ขวนขวายวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้ทำให้
แจ้งซึ่งพระอรหัต. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี
เป็นพระสยัมภู เป็นนายกของโลก เป็นพระตถาคต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 123
ได้เสด็จไปที่ฝั่งแม่น้ำ วินตา เราเป็นเต่า เที่ยวไปในน้ำ
โผล่จากน้ำ ประสงค์จะทูลเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จข้าม
ฟาก จึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ ผู้เป็นนาถะของโลก ( กราบ
ทูลว่า) ขออัญเชิญพระพุทธเจ้าผู้เป็นมหามุนี พระนาม
ว่า อัตถทัสสี เสด็จขึ้นหลังข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์
จักให้พระองค์เสด็จข้ามฟาก ขอพระองค์โปรดทรง
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ แกข้าพระองค์เถิด พระพุทธเจ้า
ผู้มีพระยศใหญ่ ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ทรงทราบ
ถึงความดำริของเรา จึงได้เสด็จขึ้นหลังเรา แล้ว
ประทับยืนอยู่ ความสุขของเราในเวลาที่นึกถึงตนได้
และในเวลาที่ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา หาเหมือนกับสุข
เมื่อพื้นพระบาทสัมผัสไม่ พระสัมพุทธเจ้าทรงพระ-
นามว่า อัตทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ เสด็จขึ้นประทับยืน
ที่ฝั่งแม่น้ำแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า เราข้าม
กระแสคงคา ชั่วเวลาประมาณเท่าจิตเป็นไป ก็พญาเต่า
ตัวมีบุญนี้ ส่งเราข้ามฟาก ด้วยการส่งพระพุทธเจ้าข้าม
ฟากนี้ และด้วยความเป็นผู้มีจิตเมตตา เขาจักรื่นรมย์
อยู่ในเทวโลกตลอด ๑๑๘ กัป จากเทวโลกมามนุษย-
โลกนี้ เป็นผู้อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว นั่ง ณ อาสนะ
เดียว จักข้ามพ้นกระแสน้ำ คือความสงสัยได้ พืช
แม้น้อยที่เขาเอาหว่านลงในเนื้อนาดี เมื่อฝนยังอุทก
ธารให้ตกอยู่โดยชอบ ผลย่อมทำชาวนาให้ยินดี แม้
ฉันใด พุทธเขตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 124
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อบุญเพิ่มอุทกธารโดยชอบ
ผลจักทำเราให้ยินดี เราเป็นผู้มีตนอันส่งไปแล้ว เพื่อ
ความเพียร เป็นผู้สงบระงับ ไม่มีอุปธิ กำหนดรู้อาสวะ
ทั้งปวงแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัปที่ ๑๑๘
เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการส่งพระพุทธเจ้าข้ามฟาก
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรลุพระอรหัต แล้วเสด็จประทับ
อยู่ในพระนครกบิลพัสดุ์ ท่านได้ไปที่พระนครกบิลพัสดุ์นั้น ถวายบังคม
พระศาสดา สมาคมกับภิกษุทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งปฏิสันถาร อันภิกษุ
ทั้งหลายถามว่า ดูก่อนอาวุโส การอยู่ในป่าอย่างผาสุก ท่านได้แล้วหรือ ?
ก็ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ทั้งป่าและภูเขาน่ารื่นรมย์ เมื่อจะพรรณนาถึงป่าที่
ตนอยู่แล้ว ได้ภาษิตคาถาว่า
ภูเขาทั้งหลาย อันล้วนแล้วด้วยหิน มีสีเขียวดัง
เมฆ ดูรุจิเรกงามดี มีธารวารีเย็นใสสะอาด เป็นที่
พำนักของผู้สะอาด ดารดาษไปด้วยแมลงค่อมทอง
ภูเขาเหล่านั้น ย่อมทำให้เรารื่นรมย์ใจ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นีลพฺภวณฺณา ความว่า มีสีดังวลาหก
ที่เขียวขจี และมีสัณฐานดังนีลวลาหก. บทว่า รุจิรา ความว่า มีแสงและ
รัศมีรุจิเรก. บทว่า สีตวารี ความว่ามีน้ำเย็นฉ่ำใสสะอาด. บทว่า สุจินฺธรา
ความว่า ชื่อว่าเป็นที่พำนักของผู้ที่สะอาด เพราะเป็นภูมิภาคที่สะอาดบริสุทธิ์
และเพราะเป็นที่พำนักของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้มีจิตบริสุทธิ์. ก็เพื่อสะดวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 125
แก่การประพันธ์คาถา ท่านจึงนิเทศนิคหิต เป็น น. ปาฐะว่า สีตวารี
สุจินฺธรา ดังนี้ก็มี. ความก็ว่า ทรงไว้ซึ่งน้ำเย็นใสสะอาด (และ) มีแอ่งน้ำเย็น
สนิท ใสสะอาด. บทว่า อินฺทโคปกสญฺฉนฺนา ความว่า ดารดาษไปด้วย
กิมิชาติสีแดง มีวรรณะดังแก้วประพาฬ อันได้นามว่า แมลงค่อมทอง ท่าน
กล่าวอย่างนี้ ด้วยสามารถแห่งเวลาที่มีฝนตก. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ได้แก่ ติณชาติ ที่มีสีแดง นามว่า อินทโคปกะ. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า
ได้แก่ ต้นกรรณิการ์. บทว่า เสลา ได้แก่ ภูเขาล้วนด้วยหิน อธิบายว่า ภูเขา
ที่ไม่มีฝุ่น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เปรียบเหมือนภูเขาที่ล้วนด้วยหิน.
บทว่า รมยนฺติ ม ความว่า ยังเราให้ยินดี คือเพิ่มพูนความยินดีในวิเวก
แก่เรา. พระเถระเมื่อจะประกาศถึงความยินดีในป่า ที่อบรมมาเป็นเวลานาน
ของตนอย่างนี้ จึงแสดงถึงความยินดีในวิเวก ๓ อย่างเท่านั้น. ในบรรดาวิเวก
๓ อย่างนั้น ด้วยอุปธิวิเวก เป็นอันพระเถระแสดงการพยากรณ์พระอรหัตผล
แล้วทีเดียว ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาวัจฉเถรคาถา
๔. วนวัจฉสามเณรคาถา
ว่าด้วยคาถาของสามเณรของพระวนวัจฉเถระ
[ ๑๕๑ ] ได้ยินว่า สามเณรของพระวนวัจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้
อย่างนี้ว่า
พระอุปัชฌาย์ของเราได้กล่าวกะเราว่า ดูก่อนสิว-
กะ เราจะไปจากที่นี้ กายของเราอยู่ในบ้าน แต่ใจ
ของเราอยู่ในป่า แม้เรานอนอยู่ก็จักไป ความเกี่ยว
ข้องด้วยหมู่ ย่อมไม่มีแก่ผู้รู้แจ้งชัด ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 126
อรรถกถาวนวัจฉสามเถรคาถา*
คาถาของวนวัจฉสามเณร เริ่มต้นว่า อุปชฺฌาโย. เรื่องราวของท่าน
เป็นมาอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ ท่านเกิดในเรือนแห่งตระกูลในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า เวสสภู วันหนึ่งเข้าสู่ป่าด้วยกรณียกิจ
บางอย่าง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนานว่า เวสสภู ประทับนั่งอยู่ ณ
ซอกภูเขาในป่านั้น มีจิตเลื่อมใส เข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้ว ประคองอัญชลี
ยืนอยู่แล้ว. เขาเห็นผลไม้มะรื่น น่าชื่นใจ ในป่านั้น จึงเก็บเอาผลมะรื่น
เหล่านั้นน้อมเข้าไปถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้า อาศัย
ความอนุเคราะห์ จึงทรงรับไว้.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อ
ผู้เป็นลุงบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ ก็
บวชพร้อมกับลุง สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน เป็นอันมาก
แล้วเกิดเป็นหลานของพระวนวัจฉเถระ ในพุทธุปบาทกาลนี้. ท่านได้นาม
ว่า สิวกะ เมื่อพระวนวัจฉเถระ ผู้เป็นที่ชอบของตน บวชในศาสนาแล้ว
ถึงที่สุดแห่งกิจของบรรพชิตแล้ว พำนักอยู่ในป่า มารดาของท่านฟังความ
เป็นไปนั้นแล้ว พูดกะบุตรว่า พ่อสีวกะ เจ้าจงบวชในสำนักของพระเถระ
เดี๋ยวนี้ พระเถระแก่แล้ว. เพราะคำพูดของมารดาเพียงคำเดียวเท่านั้น และ
เพราะอธิการ ที่ตนเคยทำไว้ในกาลก่อน ท่านจึงไปยังสำนักของพระเถระผู้
เป็นลุง บวชแล้ว บำรุงพระเถระ อาศัยอยู่ในป่า.
วันหนึ่ง เมื่อท่านไปสู่ท้ายบ้านด้วยกรณียกิจบางอย่าง เกิดอาพาธอย่าง
หนัก. แม้เมื่อผู้คนช่วยจัดยาถวาย อาพาธก็ไม่สงบ. เมื่อท่านชักช้าอยู่
* ฉบับพม่าเป็น สิวกสามเณร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 127
พระเถระคิดว่า สามเณรประพฤติล้าช้า จะมีเหตุอะไรหนอ ดังนี้ จึงไปที่ท้าย
บ้านนั้น เห็นท่านป่วย จึงการทำสิ่งที่ควรกระทำนั้น ๆ แก่ท่าน ยังส่วนแห่ง
วันให้ล่วงไปแล้ว ในเวลาใกล้รุ่ง ตอนกลางคืน จึงพูดว่า ดูก่อนสิวกะ นับ
จำเดิมแต่เราบวชแล้ว ไม่เคยอยู่ในบ้าน เราจะจากบ้านนี้ไปสู่ป่าเดี๋ยวนี้แหละ
ส่วนสามเณร ฟังดังนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ แม้ว่ากาย
ของผม จะอยู่ท้ายบ้าน แต่จิตอยู่ในป่า เพราะฉะนั้น แม้ถึงจะนอน ผมก็
จะไปป่าเหมือนกัน . พระเถระฟังดังนั้นแล้ว จึงจับแขนสามเณร นำไปสู่ป่า
ทันที แล้วให้โอวาท. สานเณรตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระ เห็นแจ้งแล้ว
บรรลุพระอรหัต. สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
เราได้พบพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี เป็น
เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านรชน โชติช่วง
เหมือนต้นกรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่ที่ซอกภูเขา เรามี
จิตเลื่อมใส มีใจโสมนัสประนมอัญชลีเหนือเศียร
เกล้า แล้วเอาผลมะรื่นถวาย แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
สุด ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้
ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้าเราทำ
เสร็จแล้ว ดังนี้.
สามเณร บรรลุพระอรหัตแล้ว เทียบเคียงเนื้อความ อันอุปัชฌาย์
และตน กล่าวแล้ว เมื่อจะประกาศความยินดียิ่งในวิเวกของตนและกิจที่ตน
ทำสำเร็จแล้ว จึงได้ภาษิตคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 128
พระอุปัชฌาย์ของเราได้กล่าวกะเราว่า ดูก่อนสิว-
ละ เราจะไปจากที่นี้ กายของเราอยู่ในบ้าน แต่ใจ
ของเราไปอยู่ในป่า แม้เรานอนอยู่ก็จักไป ความเกี่ยว
ข้องด้วยหมู่ ย่อมไม่มีแก่ผู้รู้แจ้ง ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปชฺฌาโย ความว่า ชื่อว่า อุปัชฌายะ
เพราะเข้าไปเพ่งโทษน้อยและโทษใหญ่ คือมุ่งแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแล้ว
เพ่งดูด้วยญาณจักษุ. สามเณรเรียกตัวเอง ด้วยบทว่า ม. บทว่า อวจาสิ
แปลว่า ได้กล่าวแล้ว.
บทว่า อิโต คจฺฉาม สิวก เป็นคำแสดงอาการที่กล่าวแล้ว.
อธิบายว่า ดูก่อนสิวกะ เราจะไปจากละแวกบ้านนี้ เราจงมาพากันไป สู่ที่ ๆ
เป็นป่าเท่านั้นเถิด ที่ ๆ เป็นป่าเท่านั้น เหมาะที่พวกเราทั้งหลายจะอยู่. ก็
สิวกสามเณรอันพระอุปัชฌาย์กล่าวอย่างนี้แล้ว เกิดความสลดใจ เหมือนม้า
อาชาไนยตัวเจริญ ที่ถูกหวดด้วยแส้ฉะนั้น เมื่อจะประกาศความที่ตนประสงค์
จะไปสู่ป่าอย่างเดียว จึงกล่าวว่า
กายของเราอยู่ป่านี้ แต่ใจของเราอยู่ในป่า แม้
เรานอนอยู่ก็จักไป ความเกี่ยวข้องด้วยหมู่ ย่อมไม่มี
แก่ผู้รู้แจ้ง ดังนี้.
คาถานั้น มีใจความดังนี้ เพราะเหตุที่ บัดนี้ แม้ร่างกายของเรานี้
ยังอยู่ที่ท้ายบ้าน แต่อัธยาศัยน้อมไปสู่ป่าอย่างเดียว ฉะนั้น เราแม้นอนอยู่ก็
จักไป คือ แม้ชื่อว่านอนอยู่เพราะไม่สามารถ ในการยืน นั่งและเดิน โดย
เป็นไข้ ก็จะคลาน กระเสือกกระสนไป เหมือนงู ทั้ง ๆ อาการที่นอนนี้
มาเถิดท่านขอรับ เราจงไปสู่ป่ากันเถิด เพราะเหตุไร ? เพราะความเกี่ยว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 129
ข้องด้วยหมู่ย่อมไม่มีแก่ผู้รู้แล้ว เพราะสภาพธรรมดา ความเกี่ยวข้องในที่
ไหน ๆ ย่อมไม่มีแก่ผู้รู้โทษในกาม และในสงสาร รู้อานิสงส์ในเนกขัมมะ
และพระนิพพาน ตามความเป็นจริง ฉะนั้น คำสั่งของอุปัชฌาย์ จึงดำรงมั่น
แก่สามเณรด้วยคำพูดหนเดียวเท่านั้น ท่านพยากรณ์พระอรหัตผลด้วยการ
อ้างถึงคำสั่งเพียงหนเดียว.
จบอรรถกถาวนวัจฉเถรสามเณรคาถา
๕. กุณฑธานเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกุณฑธานเถระ
[๑๕๒] ได้ยินว่า พระกุณฑธานเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
ภิกษุพึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์
เบื้องสูง ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น
ให้ยิ่งขึ้นไป ภิกษุผู้ล่วงธรรม เป็นเครื่องข้อง ๕ ประการ
ได้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข้ามโอฆะได้แล้ว.
อรรถกถากุณฑธานเถรคาถา
คาถาของท่านพระกุณฑธานเถระ เริ่มต้นว่า ปญฺจ ฉินฺเท ปญฺจ
ชเห. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
ท่านเกิดในเรือนมีตระกูล ในพระนครหงสาวดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล ฟังธรรมอยู่ เห็นภิกษุหนึ่ง อันพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 130
ศาสดาทรงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศ แห่งภิกษุผู้จับสลากก่อน ปรารถนา
ตำแหน่งนั้น กระทำสมควรแก่ฐานันดรนั้น ท่องเที่ยวไปแล้ว. ครั้นวันหนึ่ง
เขาได้น้อมถวาย เครือกล้วยใหญ่สีเหลืองเหมือนจุณแห่งมโนศิลา แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้วประทับนั่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับเครือกล้วยนั้น แล้วทรงเสวย.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาเสวยราชสมบัติทิพย์ ในหมู่เทพ ๑๑ ครั้ง
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๔ ครั้ง เขากระทำบุญบ่อย ๆ อย่างนี้ แล้วท่องเที่ยว
อยู่ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นภุมมเทวดา ในกาลของพระ-
พุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ.
ก็ธรรมดาพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุยืนทั้งหลาย ย่อมไม่มีอุโบสถ
ทุก ๆ กึ่งเดือน จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี
ได้มีอุโบสถในระหว่าง ๖ ปี. ส่วนพระทศพลทรงพระนามว่า กัสสปะ สวดปาฏิ-
โมกข์ทุก ๆ ๖ เดือน. ในการสวดพระปาฏิโมกข์นั้น ภิกษุผู้เป็นสหายกัน ๒ รูป
ผู้อยู่ประจำ เดินทางไปด้วยคิดว่า จักกระทำอุโบสถ. ภุมมเทวดาตนนี้ คิดว่า
ภิกษุ ๒ รูปนี้ รักกันแน่นหนาเหลือเกิน เมื่อมีผู้ทำลาย (ให้แตกกัน)
จะแตกกันหรือไม่หนอ มองหาโอกาส (ทำลาย) ภิกษุทั้งสองอยู่ เดินไปไม่ห่าง
ภิกษุสองรูปนั้นนัก. ครั้งนั้น พระเถระรูปหนึ่ง ให้พระเถระอีกรูปหนึ่งถือบาตร
และจีวรไว้ เดินไปสู่ที่ ๆ มีน้ำสะดวก เพื่อขับถ่ายสรีระ ล้างมือล้างเท้าแล้ว
ออกจากที่ใกล้พุ่มไม้ ภุมมเทวดาเดินตามหลังพระเถระนั้นไป แปลงเพศเป็น
หญิงรูปงาม ทำประหนึ่งสยายผมแล้วเกล้าใหม่ ทำประหนึ่งปัดฝุ่นที่หลัง และ
ทำเป็นประหนึ่ง จัดผ้านุ่งใหม่ เดินตามรอยเท้าพระเถระไป ออกจากพุ่มไม้
แล้ว. พระเถระผู้เป็นสหายยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง เห็นเหตุนั้นแล้วเกิดโทมนัส
คิดว่า บัดนี้ ความรักที่ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน กับภิกษุนี้ ฉิบหายแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 131
ถ้าเราพึงรู้ว่าเธอเป็นผู้มีกิเลสมากอย่างนี้ เราจักไม่ทำความคุ้นเคย กับภิกษุนี้
ตลอดกาลนานประมาณเท่านี้ ดังนี้ เมื่อพระเถระนั้นมาถึงเท่านั้น ก็กล่าวว่า
นิมนต์รับเอาบาตร จีวรของท่านไปเถิดอาวุโส เราไม่ปรารถนาจะร่วมทางกับ
ผู้ที่ลามกเช่นท่าน หทัยของภิกษุผู้ลัชชีนั้น ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว ได้เป็นประหนึ่ง
ถูกเขาเอาหอกที่คมกริบเสียบแล้ว. ลำดับนั้น ลัชชีภิกษุนั้นจึงพูดกับพระเถระ
ผู้เป็นสหายว่า อาวุโส ท่านพูดอะไร เช่นนั้น เรายังไม่รู้ (ว่าต้อง) อาบัติ
แม้เพียงทุกกฏตลอดเวลาที่ประมาณเท่านี้ ก็วันนี้ ท่านกล่าวเราเป็นคนลามก
ท่านเห็นอะไรหรือ ? พระเถระผู้เป็นสหายจึงพูดว่า เรื่องอื่นที่เห็นแล้ว จะมี
ประโยชน์อะไร ท่านออกในที่เดียวกันกับมาตุคาม ผู้ประดับแล้ว ตกแต่งแล้ว
อย่างนี้ หรือ (มิใช่). พระเถระผู้ลัชชี กล่าวว่า อาวุโส เรื่องนี้ไม่มีแก่เราเลย
เราไม่เห็นมาตุคามเห็นปานนี้เลย. แม้เมื่อพระเถระผู้ลัชชีจะกล่าวอย่างนี้ถึง
๓ ครั้ง พระเถระนอกนี้ ก็ไม่เชื่อถือถ้อยคำ ยึดถือเอาเหตุที่ตนเห็นแล้ว
นั่นแหละว่าเป็นเรื่องจริง ไม่เดินร่วมทางเดียวกับภิกษุนั้น ไปสู่สำนักของ
พระศาสดาโดยทางอื่น.
ต่อแต่นั้นมา ถึงเวลาที่ภิกษุสงฆ์เข้าสู่โรงอุโบสถ ภิกษุนั้นเห็นลัชชี
ภิกษุนั้น ในโรงอุโบสถ รู้ชัดแล้ว ก็ออกไปเสียด้วยคิดว่า ภิกษุเช่นนี้ มีอยู่
ในโรงอุโบสถนี้ เราจักไม่กระทำอุโบสถร่วมกับเธอ ดังนี้แล้ว ได้ยืนอยู่ใน
ภายนอก. ลำดับนั้น ภุมมเทวดาคิดว่า เราทำกรรมหนักหนอ แล้วแปลงเพศ
เป็นอุบาสกแก่ไปยังสำนักของภิกษุนั้น กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เหตุไฉน
พระคุณเจ้า จึงยืนอยู่ในที่นี้. ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนอุบาสก ภิกษุลามกรูปหนึ่ง
เข้าไปสู่โรงอุโบสถนี้ เราไม่กระทำอุโบสถร่วมกับเธอ เราคิดดังนี้ จึง
ออกมายืนอยู่ข้างนอก. ภุมมเทวดา จึงพูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าถือ
อย่างนี้เลย ภิกษุนี้ มีศีลบริสุทธิ์ ชื่อว่ามาตุคามที่ท่านเห็นแล้ว คือ ข้าพเจ้าเอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 132
เพื่อจะทดลองไมตรีของท่านทั้งสองว่า ไมตรีของพระเถระทั้งสองรูปนี้จะมั่นคง
หรือไม่มั่นคงหนอดังนี้ ข้าพเจ้าผู้อยากดูความที่ท่านทั้งสองจะแตกไมตรีกัน
หรือไม่ กระทำกรรมนั้นแล้ว. ภิกษุนั้น ถามว่า ดูก่อนสัปบุรุษก็ท่านเป็นอะไร ?
ภุมมเทวดา ตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นภุมมเทวดาคนหนึ่ง.
เทวบุตร เมื่อชี้แจงเสร็จ ก็ไม่ดำรงอยู่ในทิพพานุภาพ หมอบลงแทบเท้าของ
พระเถระ อ้อนวอนพระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอดโทษแก่
ข้าพเจ้าเถิด พระเถระไม่รู้โทษนั้น ขอท่านจงทำอุโบสถเถิด ดังนี้แล้วนิมนต์
ให้พระเถระเข้าสู่โรงอุโบสถ. พระเถระนั้น ลงทำอุโบสถในที่เดียวกัน
เท่านั้น แต่ไม่นั่งในที่เดียวกันกับภิกษุนั้น ด้วยสามารถแห่งความสนิทสนม
อย่างมิตรอีก ทั้งไม่พูดถึงกรรมของพระเถระนี้. ส่วนพระเถระที่ถูกโจท
บำเพ็ญวิปัสสนาบ่อย ๆ บรรลุพระอรหัตแล้ว.
ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ภุมมเทวดา ไม่รอดพ้นจากภัยในอบายตลอด
พุทธันดรหนึ่ง. ก็ถ้าในเวลาไร มาสู่ความเป็นมนุษย์ โทษที่กระทำไว้ด้วย
กรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอื่น ๆ จะหล่นทับถมเขาทีเดียว ในกาลแห่งพระผู้มี-
พระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เขาเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี
คนทั้งหลายได้ขนานนามเขาว่า ธานมาณพ. ธานมาณพเจริญวัยแล้ว เรียน
ไตรเพท ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาในเวลาแก่ มีศรัทธา บวชแล้ว.
จำเดิมแต่วันที่ท่านอุปสมบทแล้ว สตรีผู้ประดับแล้ว ตกแต่งแล้วนางหนึ่ง
จะปรากฏติดตามท่านอยู่เป็นนิตย์ อย่างนี้คือ เมื่อท่านเข้าบ้าน ก็เข้าบ้าน
พร้อมกับท่าน เมื่อท่านออกก็ออกด้วย เมื่อท่านเข้าวิหารก็เข้าไปด้วย แม้
เมื่อท่านยืนอยู่ ก็ยืนอยู่ด้วย.
พระเถระไม่เห็นนางเลย แต่ด้วยกรรมเก่าของท่าน นางจึงปรากฏ
แก่คนเหล่าอื่น สตรีทั้งหลาย เมื่อถวายข้าวยาคู ถวายภิกษาในบ้าน จะพากัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 133
พูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าวยาคูกระบวยหนึ่งนี้. สำหรับท่าน อีกกระบวยหนึ่ง
สำหรับหญิงผู้เป็นสหายของเราทั้งหลาย คนนี้ ดังนี้แล้ว ทำการเย้ยหยัน.
เป็นความลำบากอย่างยอดยิ่งแก่พระเถระ. ทั้งสามเณรและภิกษุหนุ่มทั้งหลาย
ก็พากันห้อมล้อมท่านผู้เข้าไปสู่วิหาร พูดเยาะเย้ยว่า พระธานะเป็นเหี้ย.
ครั้นนั้น ท่านจึงเกิดมีนามเพิ่มว่า กุณฑธานเถระ* ด้วยเหตุนั้นเอง
ท่านเพียรพยายามแล้วก็ไม่สามารถจะอดกลั้นความเยาะเย้ย อันสามเณรและ
ภิกษุหนุ่มเหล่านั้นกระทำอยู่ได้เกิดบ้าขึ้นมา พูดว่า พวกท่านสิเป็นเหี้ย อุปัชฌาย์
ของพวกท่านก็เป็นบ้า อาจารย์ก็เป็นบ้า. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ฟ้องท่านแด่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระโกณฑธานะกล่าวคำหยาบ
อย่างนี้ กับภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย พระศาสดาตรัสสั่งให้เรียกพระ-
โกณฑธานะเถระมา ตรัสถามว่า ดูก่อนธานะ ได้ยินว่า เธอกล่าวคำหยาบกับ
สามเณรทั้งหลายหรือ เมื่อพระโกณฑธานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เป็นความจริงพระเจ้าข้า ดังนี้ จึงตรัสว่า เหตุไฉน เธอจึงกล่าวอย่างนี้. พระ-
โกณฑธานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดกลั้นความลำบาก
(ที่เกิดขึ้น) เป็นประจำไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนี้. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอไม่สามารถจะยังกรรมที่เธอทำไว้ในก่อน ให้สลายไปได้จนถึงวันนี้ เธอ
อย่ากล่าวคำหยาบเห็นปานนี้อีก ดังนี้แล้วตรัสว่า
เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใคร ๆ ผู้ที่เธอ
กล่าวแล้ว พึงกล่าวตอบเธอ เพราะว่า ถ้อยคำแข่งดี
ให้เกิดทุกข์ อาชญาตอบพึงถูกต้องเธอ ถ้าเธอไม่ยังตน
ให้หวั่นไหวดุจกังสดาล ถูกขจัดแล้ว เธอจักเป็นผู้ถึง
พระนิพพาน ความแข่งดีย่อมไม่มีแก่เธอ ดังนี้.
* พม่า. เป็นโกณฑธานเถระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 134
และชาวเมืองทั้งหลาย ก็กราบทูลความที่พระเถระนั้นท่องเที่ยวไปกับ
มาตุคาม แม้แก่พระเจ้าโกศล. พระราชาส่งราชบุรุษไปด้วยตรัสว่า ดูก่อน
พนาย พวกท่านจงไป จงใคร่ครวญดู ดังนี้แล้ว แม้พระองค์เองก็เสด็จไป
สู่ที่อยู่ของพระเถระ ด้วยบริวารจำนวนน้อย แล้วเสด็จประทับยืนดูอยู่ ณ
ส่วนข้างหนึ่ง ในขณะนั้น พระเถระนั่งทำสูจิกรรมอยู่ แม้หญิงนั้น ก็ปรากฏ
เป็นเหมือนยืนอยู่ในที่ไม่ไกล. พระราชาทอดพระเนตรเห็นแล้ว ทรงพระดำริว่า
เหตุนี้มีอยู่ จึงเสด็จไปยังที่หญิงนั้นยืนอยู่ เมื่อพระราชาเสด็จมา หญิงนั้นก็
ทำเป็นเหมือนเข้าไปสู่บรรณศาลา อันเป็นที่อยู่ของพระเถระ.
แม้พระราชา ก็เสด็จเข้าไปสู่บรรณศาลานั้นแหละ พร้อมกับหญิงนั้น
ทรงตรวจดูทั่ว ๆ ไป ก็ไม่เห็น จึงเข้าพระทัยว่า นี้ ไม่ใช่มาตุคาม คงเป็น
กรรมวิบากอย่างหนึ่ง ของพระเถระ แม้ถึงจะเสด็จเข้าไปใกล้พระเถระก่อน
ก็ไม่ไหว้พระเถระ ทรงรู้ว่าเหตุนั้นไม่เป็นจริง จึงเสด็จมาไหว้พระเถระ
แล้วประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้า-
ไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาตบ้างหรือ ? พระเถระทูลว่า พอสมควรอยู่
มหาบพิตร. พระราชาตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมเข้าใจคำพูด
ของพระคุณเจ้า เมื่อพระคุณเจ้าเที่ยวไปกับสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองเช่นนี้ ใครเล่า
จะเสื่อมใส จำเดิมแต่นี้ไป พระคุณเจ้า ไม่ต้องมีกิจที่จะต้องไปในที่ไหน ๆ
โยมจะบำรุงพระคุณเจ้าด้วยปัจจัย ๔ ขอพระคุณเจ้า จงอย่าประมาทในโยนิ-
โสมนสิการดังนี้แล้ว เริ่มถวายภิกษาเป็นประจำ พระเถระได้พระราชาเป็นผู้
อุปถัมภ์ เป็นผู้มีจิตเป็นเอกัคคตารมณ์ เพราะมีโภชนะเป็นที่สบาย เจริญ-
วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต จำเดิมแต่นั้น หญิงนั้น ก็หายไป.
ครั้งนั้น มหาสุภัททาอุบาสิกา อยู่ในเรือนแห่งตระกูลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ในอุคคนคร อธิฏฐานอุโบสถด้วยคิดว่า ขอพระศาสดาจงทรงอนุเคราะห์เรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 135
เป็นหญิงปราศจากกลิ่นคาว ยืนอยู่บนพื้นปราสาทชั้นบน กระทำสัจจกิริยาว่า
ดอกไม้เหล่านี้ อย่าหยุดอยู่ในระหว่าง จงตั้งเป็นเพดาน ณ เบื้องบนของพระ
ทศพลด้วยสัญญานี้ ขอพระทศพลจงรับภิกษาของเรา พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป
ในวันพรุ่งนี้ แล้วเหวี่ยงกำแห่งดอกมะลิไป ๘ กำ. ดอกไม้ทั้งหลายลอยไป
ตั้งเป็นเพดาน ณ เบื้องบนของพระศาสดา ในเวลาที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนา.
พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นเพดานดอกมะลินั้นแล้ว ทรงรับภิกษาของนาง
สุภัททา ด้วยจิตอย่างเดียว ในวันรุ่งขึ้นเมื่ออรุณตั้งขึ้นแล้ว จึงตรัสกะพระ-
อานนทเถระว่า ดูก่อนอานนท์ วันนี้พวกเราจักไปภิกษาจารในที่ไกล เธอ
อย่าให้สลากแก่ภิกษุที่เป็นปุถุชน จงให้สลากแก่ภิกษุที่เป็นพระอริยะเท่านั้น
พระเถระแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย วันนี้พระศาสดาจักเสด็จ
ภิกษาจารในที่ไกล ภิกษุที่เป็นปุถุชนอย่ารับสลาก ภิกษุที่เป็นพระอริยเท่านั้น
จงรับสลากดังนี้. พระกุณฑธานเถระ เหยียดมือออกไปก่อนทีเดียว โดยพูดว่า
อาวุโส ท่านจงนำสลากมา. พระอานนท์กล่าวว่า พระศาสดาไม่ตรัสสั่งให้
ให้สลากแก่ภิกษุเช่นท่าน ตรัสสั่งให้ให้แก่ภิกษุที่เป็นพระอริยะเท่านั้น ดังนี้แล้ว
เกิดปริวิตก ไปกราบทูลพระศาสดาแล้ว. พระศาสดาตรัสว่า จงให้สลากแก่
ผู้ที่ขอ.
พระเถระคิดว่า ถ้าสลากไม่ควรให้แก่พระโกณฑธานะ เมื่อเป็นเช่น
นั้น พระศาสดาพึงห้ามไว้ ในเรื่องนี้ชะรอยจักมีเหตุ จึงย้อนกลับไปด้วยคิดว่า
เราจักให้สลากแก่พระกุณฑธานะ. ก่อนแต่พระอานนท์จะมาถึงนั่นแหละ
พระกุณฑธานเถระเจ้าจตุตถฌาน มีอภิญญาเป็นบาท ยืนอยู่ในอากาศด้วยฤทธิ์
กล่าวว่า อาวุโสอานนท์ พระศาสดาทรงรู้จักเรา พระศาสดาไม่ทรงห้ามภิกษุ
เช่นเรา ผู้จับสลากก่อนหรอก ดังนี้แล้วยื่นมือไปจับสลาก. พระศาสดาทรง
กระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปบัติ แต่งตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 136
ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้จับสลากก่อน. เพราะเหตุที่พระเถระนี้ ได้พระราชา
เป็นผู้อุปถัมภ์ เพราะได้อาหารเป็นที่สบาย จึงมีจิตเป็นสมาธิ เจริญวิปัสสนา
ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย ฉะนั้น ท่านจึงกล่าว
คำเป็นคาถาประพันธ์ไว้ในอปทานว่า
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้บำรุงพระ-
พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ตรัสรู้เอง เป็นอัครบุคคล ซึ่ง
ทรงหลีกเร้นอยู่ตลอด ๗ วัน เรารู้เวลาที่พระองค์เสด็จ
ออกจากที่หลีกเร้น ได้ถือผลกล้วยใหญ่เข้าไปถวาย
พระมหามุนีทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ พระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้สัพพัญญู ผู้นำของโลก เป็นมหามุนี
ทรงยังจิตของเราให้เลื่อมใส ทรงรับไว้แล้วเสวย
พระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงนำหมู่ยอดเยี่ยม เสวยแล้ว
ประทับนั่งบนอาสนะของพระองค์ ได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ว่า ยักษ์เหล่าใดประชุมกันอยู่ที่ภูเขานี้ และ
คณะภูตในป่าทั้งหมดนั้น จงฟังคำเรา ผู้ใดบำรุงพระ
พุทธเจ้าผู้เพียง ดังไกรสรราชสีห์ เราจักพยากรณ์ผู้นั้น
ท่านทั้งหลายจงพึงเรากล่าว ผู้นั้นจักได้เป็นท้าว
เทวราช ๑๑ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๔ ครั้ง
ในกัปที่แสน พระศาสดาทรงพระนามว่าโคดมโดย
พระโคดม ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกากราชจัก
เสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้นได้ด่าสมณะทั้งหลายผู้มีศีล
หาอาสวะมิได้ จักได้ชื่อ (อันเหมาะสม) ด้วยวิบาก
แห่งกรรมอันลามก เขาจักได้เป็นโอรสทายาทในธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 137
ของพระศาสดาพระองค์นั้น อันธรรมนิรมิตแล้ว จัก
เป็นสาวกมีชื่อว่า กุณฑธานะ เราประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
ความสงัด เพ่งฌาน ยินดีในฌาน ยังพระศาสดาให้
ทรงโปรดปราน ไม่มีอาสวะอยู่ พระชินเจ้าอันพระ-
สาวกทั้งหลายแวดล้อม ห้อมล้อมด้วยภิกษุสงฆ์
ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางสงฆ์แล้ว ทรงให้เรารับการ
แจกสลาก เราห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ถวายบังคม
พระศาสดาผู้นำของโลก เมื่อภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่
ได้รับสลากที่ ๑ ไว้ข้างหน้าของผู้ประเสริฐ ด้วยกรรม
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังหมื่นโลกธาตุให้
หวั่นไหว ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้ง
เราไว้ในอรรคฐาน เรามีความเพียรอันนำมาซึ่งธุระ
นำความเกษมจากโยคะมาให้ เราทรงกายเป็นที่สุดไว้
ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คุณพิเศษ
เหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖
เรากระทำให้แจ้งแล้ว เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นปุถุชนเหล่าใด ไม่รู้คุณของพระเถระนี้ แม้ผู้เป็น
(พระอรหันต์) แล้วเช่นนี้ ในการจับสลากที่ ๑ ในครั้งนั้นต่างพากันคิด
เหมือนกันว่า นี้อะไรหนอแล. พระเถระเพื่อจะกำจัดความสงสัยของภิกษุ
เหล่านั้น จึงเหาะขึ้นสู่อากาศแล้วแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ เมื่อจะพยากรณ์พระ-
อรหัตผล โดยการอ้างถึงพระอรหัตผล จึงได้ภาษิตคาถานี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 138
ภิกษุพึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์
เบื้องสูง ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นให้ยิ่ง
ขึ้นไป ภิกษุผู้ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ ประการ
ได้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข้ามโอฆะได้แล้ว
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจ ฉินฺเท ความว่า ภิกษุพึงตัด
คือพึงละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อันจะยังสัตว์ให้อุบัติและบังเกิดในอบาย ด้วย
ศาสตราคือด้วยมรรคทั้ง ๓ เบื้องต่ำ ดุจบุรุษตัดเชือกที่ผูกไว้ที่เท้าออกไปฉะนั้น.
บทว่า ปญฺจ ชเห ความว่า พึงละหรือพึงตัดสังโยชน์เบื้องสูง ๕
อันเป็นเหตุให้เข้าถึงเทวโลกชั้นสูง ด้วยพระอรหัตมรรค ดุจบุรุษตัดเชือกที่
ผูกไว้ที่คอฉะนั้น.
บทว่า ปญฺจ จุตฺตริ ภาวเย ความว่า พึงเจริญอินทรีย์ ๕ มี
ศรัทธาเป็นต้น เพื่อละสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องสูง เหล่านั้นแหละให้
ยิ่งขึ้นไป คือให้สูงกว่าการได้บรรลุพระอนาคามิมรรค ได้แก่พึงเจริญด้วย
สามารถแห่งการได้บรรลุมรรคอันสูงสุด.
บทว่า ปญฺจสงฺคาติโก ความว่า ภิกษุผู้เป็นอย่างนี้ คือผู้ก้าวล่วง
ธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ ประการได้แล้ว ด้วยการก้าวล่วง คือละ เครื่องข้อง
คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะและทิฏฐิ ๕ อย่างได้.
บทว่า ภิกขุ โอติณฺโณ วุจฺจติ ความว่า ท่านเรียกว่า ภิกษุ
เพราะทำลายกิเลสได้โดยประการทั้งปวง และเพราะข้ามโอฆะคือกาม โอฆะ
คือภพ โอฆะคือทิฏฐิ และโอฆะคืออวิชชา แล้วตั้งอยู่ในพระนิพพานอันเป็น
ฝั่งของกิเลสเหล่านั้น.
จบอรรถกถากุณฑธานเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 139
๖. เพลัฏฐสีสเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเพลัฏฐสีสเถระ
[๑๕๓] ได้ยินว่า พระเพลัฏฐสีสเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
โคอาชาไนยตัวสามารถเทียมไถแล้ว ย่อมลากไถ
ไปโดยไม่ลำบาก ฉันใด เมื่อเราได้ความสุข อันไม่
เจือด้วยอามิส คืนและวันทั้งหลาย ย่อมผ่านนั้นเราไป
โดยยาก ฉันนั้น.
อรรถกถาเพลัฏฐสีสเถรคาถา
คาถาของพระเพลัฏฐสีสเถระ เริ่มต้นว่า ยถาปิ ภทฺโท อาชญฺโ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
ท่านเกิดในเรือนมีตระกูล เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฟังธรรมแล้วเกิด
ศรัทธา บวชแล้ว บำเพ็ญสมณธรรม ไม่อาจจะยังคุณวิเศษให้เกิดได้ เพราะ
ไม่มีอุปนิสสยสมบัติ. ก็ท่านเข้าไปสั่งสมกุศลเป็นอันมาก อันเป็นอุปนิสัยแห่ง
พระนิพพาน ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เห็นพระผู้มีพระภาค-
เจ้า ทรงพระนามว่า เวสสภู ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส
แล้ว ได้ถวายผลมะงั่ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 140
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเกิดในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย สร้างสมบุญแล้ว
ก็เข้าถึงสุคติ จากสุคติ วนไปเวียนมา บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ พระนคร
สาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ก่อนแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จะได้ตรัสรู้
อภิสัมโพธิญาณ บวชเป็นดาบสในสำนักของอุรุเวลกัสลปดาบส ในเวลาที่ทรง
แสดงอาทิตตปริยายสูตร บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย ชฎิล พันหนึ่ง. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
เราได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เป็นนายกของโลกผู้
โชติช่วง เหมือนต้นกรรณิการ์ รุ่งเรืองดังพระจันทร์
ในวันเพ็ญ และเหมือนต้นไม้ประจำทวีป ที่รุ่งโรจน์
เราเลื่อมใส ได้เอาผลมะงั่วถวายแด่พระศาสดา ผู้
เป็นทักขิไณยบุคคล เป็นวีรบุรุษ ด้วยมือทั้งสองของ
ตน ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใด
ในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว
ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
พระเถระนี้ ผู้บรรลุพระอรหัตอย่างนี้แล้ว เป็นอุปัชฌาย์ ของท่าน
พระธรรมภัณฑาคาริก วันหนึ่งออกจากผลสมาบัติแล้ว พิจารณาถึงพระอรหัต
อันสงบ ประณีต เป็นนิรามิสสุข และบุรพกรรมของตน ด้วยอำนาจกำลังแห่ง
ปีติ จึงได้กล่าวคาถาว่า
โคอาชาไนย ตัวเจริญ เทียมไถแล้วย่อมลากไถ
ไปได้โดยไม่ลำบาก ฉันใด เมื่อเราได้ความสุขอันไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 141
เจือด้วยอามิส คืนและวันทั้งหลายย่อมผ่านพ้นเราไป
ได้โดยยาก ฉันนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปิ เป็นนิบาต ลงในอรรถที่ยัง
อุปมาให้ถึงพร้อม. บทว่า ภทฺโท ได้แก่ โคอาชาไนย ตัวงาม ที่สมบูรณ์
ด้วยเรี่ยวแรง กำลัง ความสามารถ เชาว์ และความเพียรเป็นต้น.
บทว่า อาชญฺโ ความว่า ชื่อว่า ชาติอาชาไนย เพราะรู้เหตุ
และสิ่งที่มิใช่เหตุ. สัตว์อาชาไนยนั้น มี ๓ ประเภทคือ โคผู้อาชาไนย ๑
ม้าผู้อาชาไนย ๑ ช้างผู้อาชาไนย ๑. ใน ๓ ประเภทนั้น โคผู้อาชาไนย
ท่านประสงค์เอาแล้วในคาถานี้. ก็โคผู้อาชาไนยนั้นแหละ ประกอบแล้วในกิจ
ของผู้ชำนาญการไถ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมลากไถไปได้โดยไม่ยาก
เพราะยังไถพร้อมทั้งผาลให้หมุนไป อธิบายว่า ไถนาให้ ไถหมุนไปข้างโน้น
ด้วย ข้างนี้ด้วย. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นังคลาวัตตะ เพราะอรรถว่า เป็นที่
ยังไถให้หมุนไป ได้แก่ หมุนไปตามรอยไถในนา. แต่ในคาถานี้ ท่านกล่าว
เป็นทีฆะว่า วตฺตนี เพื่อสะดวกในการประพันธ์คาถา.
บทว่า สิขี ความว่า ชื่อว่า สิขา เพราะคล้ายกับหงอน โดยกำหนดเอา
ในที่สุด ได้แก่ สิงคะ (เขา) ชื่อว่า สิงคะ เพราะมีเขานั้น (เป็นสัญญลักษณ์)
ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ยอดท่านประสงค์เอาว่า สิขา ในคาถานี้.
บทว่า สิขี นี้ ระบุถึงส่วนที่เป็นประธาน แม้ทั้งสองฝ่าย. บทว่า อปฺปก-
สิเรน ความว่า โดยลำบากน้อย. บทว่า รตฺตินฺทิวา ได้แก่ ทั้งในกลางคืน
และกลางวัน. ประกอบความว่า ย่อมผ่านคืนและวันนี้ไป โดยไม่ยากอย่างนี้.
ท่านอธิบายความไว้ ดังนี้ เปรียบเหมือนโคผู้อาชาไนย ที่เขาเทียมไถแล้ว
ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก ในรอยไถ ที่มีรากหญ้าเป็นฟ่อน ๆ เป็นต้น เดิน
เปลี่ยนรอยไถไปข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง จนแสดงถึงการปรับเข้าในแนวไถได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 142
ราบเสมอ ฉันใด แม้วันและคืนทั้งหลาย ย่อมละคือผ่านเราไปได้โดยยาก
ฉันนั้น. ท่านกล่าวถึงเหตุในข้อนั้นไว้ว่า สุเข ลทฺเธ นิรามิเส เมื่อเรา
ได้ความสุขอันไม่เจือด้วยอามิส ดังนี้. อธิบายว่า เพราะเหตุที่ ความสุขคือ
ผลสมาบัติ อันไม่เจือด้วยอามิสคือกาม อามิสคือโลก และอามิสคือวัฏฏะ อัน
สงบระงับ ประณีต เราได้แล้ว. ก็บทนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ แต่ลงในอรรถแห่ง
ปฐมาวิภัตติ. เหมือนอย่างในประโยคว่า วนปคุมฺเพ (พุ่มไม้) และในประโยค
ว่า เตน วต เร วตฺตพฺเพ (เรื่องที่จะพึงกล่าวอื่นยังมีอยู่อีก) ดังนี้ อีก
อย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า เมื่อเราได้ความสุขอันไม่เจือด้วยอามิส ดังนี้ ก็โดย
พิจารณาว่า จำเดิมแต่นั้น วันและคืน ก็ผ่านไปโดยยาก ดังนี้. อธิบายว่า
เมื่อสุขที่ปราศจากอามิสอันเราได้แล้ว มีอยู่ จำเดิมแต่เวลาที่เราได้ นิรามิสสุข
นั้น ดังนี้.
จบอรรถกถาเพลัฏฐสีสเถรคาถา
๗. ทาสกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระทาสเถระ
[๑๕๔] ได้ยินว่า พระทาสกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
เมื่อใด บุคคลเป็นผู้ง่วงเหงา และกินมาก มัก
นอนหลับ กลิ้งเกลือกไปมา เมื่อนั้น เขาเป็นคนเขลา
ย่อมเข้าห้องบ่อย ๆ เหมือนสุกรใหญ่ ที่เขาปรนปรือ
ด้วยเหยื่อฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 143
อรรถกถาทาสกเถรคาถา
คาถาของท่านพระทาสกเถระเริ่มต้นว่า มิทฺธี ยทา. เรื่องราวของท่าน
เป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เมื่อพระตถาคตเจ้ายังไม่ได้เสด็จ
อุบัติขึ้น ท่านได้ถวายผลมะม่วง อันน่าพึงใจแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า
อชิตะ ผู้ลงจากเขาคันธมาทน์มาสู่คลองแห่งมนุษย์ แล้วเที่ยวบิณฑบาตในบ้าน
แห่งใดแห่งหนึ่ง ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย แล้วบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ
ได้กระทำบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมาก.
ท่านขวนขวายกุศลกรรมอย่างนี้ ละจากสุคติเข้าถึงสุคติ เกิดในเรือน
มีตระกูล ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ท่านอันอนาถบิณฑิก
เศรษฐี แต่งตั้งไว้ในหน้าที่ปฏิบัติพระวิหาร ก็ปฏิบัติพระวิหารโดยเคารพ
ได้มีศรัทธา โดยได้เห็นพระพุทธเจ้า และโดยการฟังพระสัทธรรมเนือง ๆ
บวชแล้ว. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระทาสกเถระนี้เกิดในเรือนมี
ตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ เจริญวัยแล้ว
บำรุงพระเถระผู้เป็นพระขีณาสพรูปใดรูปหนึ่ง มีความประสงค์จะให้ท่านช่วย
ทำกิจบางอย่าง จึงสั่งบังคับท่าน ด้วยกรรมนั้น เขาเกิดในท้องของหญิงทาสี
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในพระนครสาวัตถี ในกาลแห่งพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เจริญวัยแล้ว อันท่านเศรษฐีแต่งตั้งไว้ในตำแหน่ง
ผู้ปฏิบัติพระวิหาร ได้เป็นผู้มีศรัทธาแล้ว โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ท่าน-
มหาเศรษฐีสดับ ศีลาจารวัตร และอัธยาศัยของเขาแล้ว กระทำให้เขาเป็นไท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 144
(พ้นจากทาส) แล้วบอกว่า ขอท่านจงบวชตามสบาย ภิกษุทั้งหลายให้เขา
บรรพชาแล้ว. จำเดิมแต่บวชแล้ว เขากลับเป็นผู้เกียจคร้าน เป็นผู้ที่มีความ-
เพียรเสื่อม ไม่กระทำวัตรปฏิบัติใด ๆ ที่ไหนจะบำเพ็ญสมณธรรมเล่า มุ่งแต่
บริโภคจนเต็มที่ มักมากไปด้วยการนอนอย่างเดียว. แม้ในเวลาฟังธรรม
ก็เข้าไปสู่มุมแห่งหนึ่ง นั่งท้ายบริษัท หลับกรนครอก ๆ ตลอดเวลา. ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูบุรพนิสัยของท่านแล้ว เพื่อจะให้ท่านเกิดความ
สังเวช จึงได้ตรัสพระคาถาว่า
เมื่อใด บุคคลเป็นผู้ง่วงเหงา และกินมาก มัก
นอนหลับ กลิ้งเกลือกไปมา เมื่อนั้น เขาเป็นคนเขลา
ย่อมเข้าห้อมบ่อย ๆ เหมือนสุกรใหญ่ ที่เขาปรนปรือ
ด้วยเหยื่อ ฉะนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิทฺธี ความว่า เป็นผู้อันถีนะและมิทธะ
ครอบงำแล้ว. อธิบายว่า มิทธะครอบงำผู้ใด แม้ถีนะก็ย่อมครอบงำผู้นั้นด้วย
เหมือนกัน. บทว่า ยทา แปลว่า ในกาลใด.
บทว่า มหคฺฆโส ความว่า บริโภคมาก เหมือนพราหมณ์อาหรหัตถะ
พราหมณ์อลังสาฎกะ พราหมณ์ตัตถวัฏฏกะ พราหมณ์กากมาสกะ พราหมณ์
ภุตตวมิตกะคนใดคนหนึ่ง. บทว่า นิทฺทายิตา แปลว่า ผู้มักหลับ. บทว่า
สมฺปริวตฺตสายี ความว่า นอนกลิ้งไปกลิ้งมา. ท่านแสดงว่า ประกอบเนือง ๆ
ซึ่งความสุขในการนอน ความสุขในผัสสะ และความสุขในความง่วงเหงา-
หาวนอน แม้ด้วยบททั้งสอง. บทว่า นิวาปปุฏฺโ ความว่า อันเขาเลี้ยง
คือ บำรุงเลี้ยง ด้วยสูกรภัต มีรำข้าวเป็นต้น. อธิบายว่า สุกรในเรือนที่เขาเลี้ยง
แต่เวลายังเล็ก ๆ เวลามีร่างกายอ้วนพีไม่ได้ออกไปนอกคอก ย่อมนอนกลิ้ง
ไปมา ในที่ต่าง ๆ มีเตียงข้างล่างเป็นต้น ทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 145
ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ ในเวลาใด บุรุษย่อมเป็นผู้ง่วงเหงาหาวนอน
และกินมาก ไม่สามารถจะผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่นได้ มักนอนหลับ
กลิ้งเกลือกไปมา เหมือนสุกรใหญ่ที่เขาปรนปรือด้วยเหยื่อ ในเวลานั้น บุรุษนั้น
ย่อมไม่อาจมนสิการไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะไม่ได้
มนสิการไตรลักษณ์เหล่านั้น เขาจึงเป็นผู้มีปัญญาน้อย ย่อมเข้าห้องบ่อย ๆ
หรือไม่พ้นจากที่อยู่ คือ ห้องไปได้. พระทาสกเถระ ฟังพระคาถานั้นแล้ว
เกิดความสลดใจ เริ่มตั้งวิปัสสนา แล้วได้กระทำให้แจ้งพระอรหัต ต่อกาล
ไม่นานเลย. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
อชิตะ ผู้สมบูรณ์ด้วยจรณะ และเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ
ประทับอยู่ในป่าหิมพานต์ เราได้ถวายผลมะม่วง ใน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีฉวีวรรณเหมือนทองคำ ผู้-
สมควรรับเครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน
ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาล
นั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู่จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งการถวายผลไม้ เราเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว
ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้กล่าวยืนยันพระคาถานั้น
แหละว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนเราด้วยพระคาถานี้ พระคาถานี้เป็นดังขอ
สับสำหรับเรา. นี้เป็นการพยากรณ์พระอรหัตผล โดยปริวัตตาหารนัย ของ
พระเถระนั้น.
จบอรรถกถาทาสกเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 146
๘. สิงคาลปิตาเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของสิงคาลปิตาเถระ
[๑๕๕] ได้ยินว่า พระสิงคาลปิตาเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ภิกษุ ผู้อยู่ในป่าเภสกฬาวัน พิจารณาแผ่นดินนี้
ด้วยความสำคัญว่า กระดูกอย่างเดียวเป็นอารมณ์ จัก
ได้เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เราเข้าใจว่า เขาจะละ
กามราคะได้โดยเร็วพลัน.
อรรถกถาสิงคาลปิตาเถรคาถา
คาถาของท่านพระสิงคาลปิตาเถระ เริ่มต้นว่า อหุ พุทฺธสฺส
ทายาโท. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกัปที่ ๙๔ นับถอยหลังแต่ภัทรกัปนี้ ท่านเห็นพระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้า นามว่า สตรังสี เที่ยวบิณฑบาตอยู่ มีใจเลื่อมใส ไหว้แล้ว ได้ถวาย
ผลตาลที่อยู่ในมือของตน ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเกิดในเทวโลก กระทำบุญ
แล้วท่องเที่ยวอยู่ในสุคติภพนั่นแหละไป ๆ มา ๆ เกิดในกำเนิดมนุษย์ ในกาล-
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ได้เป็นผู้มีความเชื่อมั่น
ในพระศาสนา บวชแล้ว เจริญอัฏฐิกสัญญา ท่านกลับไปเกิดในเรือนมี
ตระกูล พระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้อีก เจริญวัยแล้ว แต่งงานได้
บุตรคนหนึ่ง ให้นามบุตรว่า สิงคาละ ด้วยเหตุนั้น คนทั้งหลายจึงเรียกเขาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 147
สิงคาลกปิตา (พ่อของสิงคาลมาณพ) ในเวลาต่อมา เขาสละความผูกพัน
ในเรือน แล้วบวชในพระศาสนา. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูอัธยาศัย
ของท่าน ได้ทรงประทานอัฏฐิกสัญญากัมมัฏฐานแล้ว ท่านรับกัมมัฏฐาน
นั้นแล้ว อาศัยอยู่ในป่าเภสกฬาวัน ณ สุสุมารคิริชนบท แคว้นภัคคะ. ลำดับนั้น
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในป่านั้น เพื่อจะยังความอุตสาหะให้เกิดแก่ท่าน เมื่อประกาศ
ความนี้ว่า ท่านจักกระทำผลแห่งภาวนา (อรหัตผล) ให้อยู่ในเงื้อมมือต่อกาล-
ไม่นานเลย ดังนี้ โดยอ้างถึงพระอรหัตผล จึงกล่าวคาถาว่า
ภิกษุผู้อยู่ในป่าเภสกฬาวัน พิจารณาแผ่นดินนี้
ด้วยความสำคัญว่า กระดูกทั้งสิ้นเป็นอารมณ์ จักได้
เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เราเข้าใจว่า เขาจะละ
กามราคะได้โดยพลันที่เดียว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ เท่ากับ โหติ แปลว่า ย่อมเป็น.
ก็บทนี้เป็นคำกล่าวถึงอดีตกาล แต่ใช้ในอรรถแห่งปัจจุบันกาล. บทว่า พุทฺธสฺส
ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า.
บทว่า ทายาโท ความว่า เป็นธรรมทายาท คือ เป็นผู้ถือเอา คือ
รับไว้ ซึ่งทายาท คือ โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ด้วยการปฏิบัติชอบของตน.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อหุ เท่ากับอโหสิ แปลว่าได้เป็นแล้ว. อธิบาย
ว่า ภิกษุบางรูป จักเป็นผู้นับเนื่องในความเป็นทายาทของพระพุทธเจ้า ผู้มี
พระนามอย่างนี้ ในบัดนี้ทีเดียว. ด้วยเหตุนั้น เทวดาจึงกล่าวว่า เราเข้าใจว่า
เธอจะละกามราคะได้โดยพลันทีเดียว ดังนี้.
บทว่า เภสกฬาวเน ความว่า ในป่า อันได้นามว่า เภสกฬาวัน
เพราะเหตุที่ยักษ์ชื่อว่า เภสกะ ได้แล้วคือยึดครองไว้ หรือเพราะมากไปด้วย
สัตว์ร้าย มีช้างรุ่นเป็นต้น อันน่าสะพึงกลัว. เทวดาเมื่อจะบอกเหตุในความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 148
เป็นทายาทของพระพุทธเจ้าแก่ภิกษุนั้น จึงกล่าวว่า พิจารณาแผ่นดินนี้ ด้วย
ความสำคัญว่า กระดูกทั้งสิ้นเป็นอารมณ์ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกวล แปลว่า ทั้งสิ้นคือไม่มีส่วนเหลือ.
บทว่า อฏิกสญฺาย ได้แก่ ด้วยการภาวนาว่าเป็นกระดูก.
บทว่า อผริ ความว่า แผ่ไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งการน้อมใจเอาว่า
เป็นกระดูก.
บทว่า ปวี ได้แก่ ปฐพีคืออัตภาพ. อธิบายว่า อัตภาพท่านเรียกว่า
ปฐพีในคาถานี้ ดุจในประโยคมีอาทิว่า โก อิม ปวึ วิเจสฺสติ ใครจัก
พิจารณาแผ่นดินนี้. บทว่า มญฺเห ตัดบทเป็น มญฺเ อห. ปาฐะว่า
มญฺาห ดังนี้ก็มี.
บทว่า โส ได้แก่ภิกษุนั้น. เราเข้าใจว่า เธอจักทิ้ง คือจักละกามราคะ
ได้โดยพลัน คือต่อกาลไม่นานเลย. เพราะเหตุไร ? เพราะอัฏฐิกสัญญาเป็น
ปฏิปักษ์โดยตรงต่อกามราคะ ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ ภิกษุใดพิจารณา
แผ่นดินนี้ ด้วยความสำคัญว่ากระดูก อันตนได้แล้วในส่วนหนึ่ง หรือทั้งสิ้น
คือทั่วอัตภาพของตน ว่าเป็นกระดูกทั้งนั้น ภิกษุนั้นกระทำฌานมีกระดูกเป็น
อารมณ์นั้นให้เป็นบาท พิจารณาอยู่ จักละกามราคะได้ด้วยอนาคามิมรรค
โดยกาลไม่นานเลย หรือจักละตัณหา อันได้ชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่าใคร่
ได้ชื่อว่าราคะ เพราะอรรถว่า กำหนัดทั้งหมดได้. พระเถระนั้นสดับคาถานี้
แล้ว คิดว่า เทวดานี้กล่าวอย่างนี้ เพื่อจะยังความอุตสาหะให้เกิดแก่เราดังนี้
แล้ว อธิษฐานความเพียรรุดหน้าไม่ถอยกลับ เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต
แล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 149
พระผู้มีภาคะ สยัมภู นามว่าสตรังสี ผู้ไม่พ่าย
แพ้อะไร ๆ ออกจากที่สงัดแล้ว ออกโคจรบิณฑบาต
เราถือผลไม้อยู่ ได้เห็นแล้วจึงเข้าไปหาพระนราสภ
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ถวายผลตาล ใน
กัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาล
นั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้
เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว
ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว นับถือคำที่เทวดากล่าวแล้ว ได้
กล่าวคาถานั้นแหละ โดยเปล่งเป็นอุทาน. คาถานั้นแหละ ได้เป็นการพยากรณ์
พระอรหัตผลของพระเถระนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสิงคาลปิตาเถรคาถา
๙. กุฬเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกุฬเถระ
[๑๕๖] ได้ยินว่า พระกุฬเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
พวกคนไขน้ำก็ไขน้ำไป ช่างศรก็ดัดลูกศร
พวกช่างถากก็ถากไม้ พวกบัณฑิตผู้มีวัตรอันงาม
ก็ฝึกฝนตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 150
อรรถกถากุฬเถรคาถา
คาถาของท่านพระกุฬเถระ เริ่มต้นว่า อุทก หิ นยนฺติ. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้แม้ในกาลก่อน ก็สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่ง
พระนิพพานไว้เป็นอันมาก ถึงพร้อมด้วยอธิการ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่า วิปัสสี เสด็จไปในอากาศ มีใจเลื่อมใสแล้ว ใคร่จะถวายผลขนุน
สำมะลอ แล้วจัดถวาย.
พระบรมศาสดาทรงทราบวารจิตของเขาแล้ว เสด็จลงทรงรับแล้ว.
เขาเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสเหลือเกิน เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลขอบรรพชาแล้ว
โดยการได้เฉพาะซึ่งศรัทธานั่นเอง. พระศาสดาตรัสสั่งกะภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ให้บวชเขา โดยพระพุทธดำรัสว่า เธอจงยังบุรุษนี้ให้บวช ดังนี้.
เขาบรรพชาแล้วได้อุปสมบท บำเพ็ญสมณธรรม จุติจากภพนั้นแล้ว
ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ตลอด ๖ พุทธันดร เกิดในตระกูล
พราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้มีนามว่า กุละ.*
เขาเจริญวัยแล้ว มีความเลื่อมใสในพระศาสนา บวชในสำนักของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ไม่สามารถจะยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ เพราะเป็นผู้มากไปด้วย
ความฟุ้งซ่าน. ครั้นวันหนึ่ง ท่านเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เห็นคนทั้งหลาย
กำลังขุดดิน ทำให้เป็นแอ่งน้ำ ชักน้ำให้ไหลไปในที่ ๆ ตนปรารถนาแล้ว ๆ
ในระหว่างทาง กำหนดแม้เหตุนั้นไว้ เข้าไปสู่บ้านเห็นช่างศรคนใดคนหนึ่ง
ใส่ลูกศรเข้าไปแล่งศร เล็งด้วยหางตา แล้วกระทำให้ตรง จึงกำหนดเหตุนั้น
ไว้ เดินต่อไป เห็นช่างถากกำลังถากชิ้นส่วนของล้อรถ มีกำ กง และดุม
* พระสูตร เป็น กุฬะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 151
เป็นต้น ก็กำหนดเหตุแม้นั้นไว้ เข้าไปสู่วิหารกระทำภัตกิจแล้ว เก็บบาตร
และจีวร นั่งในที่สำหรับพักกลางวัน ถือเอานิมิตที่ตนเห็นแล้ว โดยเป็นอุปมา
น้อมเข้าไปในการฝึกจิตของตน แล้วคิดว่า มนุษย์นำเอาน้ำที่ไม่มีจิตใจ ไปสู่
ที่ตนปรารถนาแล้ว ๆ ถึงช่างศรก็เหมือนกัน ดัดลูกศรที่ปราศจากจิตใจ แม้คด
ให้ตรงได้ด้วยอุบาย ช่างถากก็เหมือนกัน ย่อมกระทำไม้ที่คด มีท่อนไม้เป็นต้น
ที่หาเจตนามิได้ ให้ตรง โดยทำเป็นกงเป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร เรา
จึงไม่ทำจิตของเราให้ตรงเล่า ดังนี้แล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา เพียรพยายามอยู่
บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
ครั้งนั้น เราเป็นคนเฝ้าสวนอยู่ ในพระนคร
พันธุมดี ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี
เสด็จเหาะไปในอากาศ เราได้หยิบเอาขนุนสำมะลอ
ถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระพุทธเจ้าผู้มี
พระยศยิ่งใหญ่ ทำให้เราเกิดความปลาบปลื้มใจ นำ
ความสุขมาให้ในปัจจุบัน ประทับอยู่ในอากาศนั่นเอง
ได้ทรงรับประเคน เราถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า
ด้วยใจอันเลื่อมใสแล้ว ได้ประสบปีติอันไพบูลย์ เป็น
สุขยอดเยี่ยมในครั้งนั้น รัตนะเกิดขึ้นแก่เราผู้เกิดในที่
นั้น ๆ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใด
ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งการถวายผลไม้ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 152
ท่านทำนิมิตเหล่าใดให้เป็นดังขอสับ เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต
แล้วอย่างนี้ ท่านเทียบเคียงการฝึกจิตของตนกับนิมิตเหล่านั้นแล้ว เมื่อจะ
พยากรณ์พระอรหัตผล ได้ภาษิตคาถาว่า
พวกคนไขน้ำก็ไขน้ำไป ช่างศรก็ดัดลูกศร พวก
ช่างถากก็ถากไม้ พวกบัณฑิตผู้มีวัตรอันงาม ก็ฝึกตน
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น หิ ศัพท์ในบทว่า อุทก หิ เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า นยนฺติ ความว่า พวกคนไขน้ำ ขุดที่ ๆ ดอนนั้น ๆ แล้วถมที่ลุ่ม
ทำเหมือง หรือวางรางไม้ ย่อมชักน้ำไปสู่ที่ ๆ ตนปรารถนาแล้ว ๆ. ชื่อว่า
คนไขน้ำ เพราะนำน้ำไปด้วยอาการอย่างนั้น.
บทว่า เตชน แปลว่า ลูกศร. ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ พวกคน
ไขน้ำ ก็ไขน้ำไปสู่ที่ที่ตนปรารถนาแล้ว ๆ ตามชอบใจของตน แม้พวกช่าง
ศรก็ลนไม้ดัดลูกศร คือทำให้ตรง ช่างถากเมื่อถากไม้เพื่อประโยชน์แก่ดุม
เป็นต้น โดยให้โน้มไป ชื่อว่าย่อมถากไม้ คือทำให้ตรงหรือคดตามชอบใจ
ของตน บัณฑิตทั้งหลายผู้มีพรตดี คือมีวัตรอันงาม ด้วยศีลเป็นต้น ตามที่
สมาทานแล้ว การทำเหตุมีประมาณเท่านี้ให้เป็นอารมณ์อย่างนี้ เมื่อยังโสดา
ปัตติมรรคเป็นต้น ให้บังเกิดขึ้น ชื่อว่า ย่อมฝึกตน และเมื่อได้บรรลุพระ
อรหัตแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ฝึกตนได้เป็นเอก ดังนี้.
จบอรรถกถากุฬเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 153
๑๐. อชิตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอชิตเถระ
[๑๕๗] ได้ยินว่า พระอชิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราไม่มีความกลัวตาย ไม่มีความอาลัยในชีวิต
จักเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ละทิ้งกายนี้ไป.
จบวรรคที่ ๒
อรรถกถาอชิตเถรคาถา
คาถาของท่านพระอชิตเถระ เริ่มต้นว่า มรเณ เม ภย นตฺถิ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกัปที่ ๙๑ ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
วิปัสสี มีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้ถวายผลมะขวิด. แม้เบื้องหน้าแต่นั้น ก็ได้
กระทำบุญ นั้น ๆ ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ยังไม่เสด็จอุบัติในกัปนี้ ได้เกิดเป็นบุตรของ
อัคคาสนียพราหมณ์ ของพระเจ้ามหาโกศล ในพระนครสาวัตถี. เขาได้มีนาม
ว่า อชิตะ.
ก็แลในสมัยนั้น พาวรีพราหมณ์ผู้มีปกติอยู่ในพระนครสาวัตถี เป็นผู้
ประกอบไป ด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓ ประการ เรียนจบไตรเพท ออก
จากเมืองสาวัตถี แล้วบวชเป็นดาบส อาศัยอยู่ในกปิตถาราม ริมฝั่งน้ำโคธาวรี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 154
ครั้งนั้น อชิตมาณพ บวชในสำนักของพาวรีพราหมณ์นั้น อันเทวดา
ผู้หวังประโยชน์ ตักเตือนแล้ว ถูกส่งไปยังสำนักของพระบรมศาสดา เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยมาณพทั้งหลาย มีติสสเมตเตยยมาณพเป็นต้น
ทูลถามปัญหาทั้งหลายด้วยใจอย่างเดียว เมื่อปัญหาเหล่านั้นอันพระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงวิสัชนาแล้ว มีจิตเลื่อมใส บวชในสำนักของพระบรมศาสดา เรียน
กรรมฐานแล้ว เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์
ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้ถวายผลมะขวิด แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณงามดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้
เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เรา
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะบันลือสีหนาท ได้ภาษิตคาถาว่า
เราไม่มีความกลัวตาย ไม่มีความอาลัยในชีวิต
จักเป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะ ละทิ้งกายนี้ไป ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มรเณ ได้แก่ มรณนิมิต คือ เหตุ
แห่งความตาย.
บทว่า เม แปลว่า แก่เรา คือ ภัยไม่มีแก่เรา เพราะเราเป็นผู้มี
ชาติสิ้นแล้ว โดยที่รากเหง้าแห่งภพเราถอนขึ้นได้แล้ว. อธิบายว่า สำหรับ
ผู้ที่ยังถอนภพขึ้นไม่ได้ จะพึงกลัวตายว่า การเกิดต่อไปของเรา เป็นเช่นไร
หนอแล ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 155
บทว่า นิกนฺตี ได้แก่ ความเพ่งเล็ง คือตัณหา ความเพ่งเล็งใน
ชีวิต ชื่อว่าย่อมไม่มี เพราะเข้าไปปรากฏด้วยดี โดยความที่อุปาทานขันธ์
ทั้งหลายเป็นทุกข์ และหาสาระมิได้ เพราะความที่สังขารถูกพิจารณา ขยำขยี้
มาแล้วเป็นอย่างดี. เราผู้เป็นแล้วอย่างนี้ จักทิ้ง คือจักทอดทิ้ง ร่างกายของ
ตน คือสรีระ หรือร่างของตนกล่าวคือ เทหะ อันเป็นภาระ คือทุกข์
และเมื่อจะทอดทิ้ง ก็คิดว่า กิจที่จะพึงยังประโยชน์ให้สำเร็จ ด้วยร่างกายนี้
เราให้สำเร็จแล้ว บัดนี้ รางกายนั้นควรทิ้งไปได้โดยแท้ ดังนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มี
สัมปชัญญะ เพราะถึงความไพบูลย์ด้วยปัญญา ชื่อว่า มีสติ เพราะถึงความ
ไพบูลย์ด้วยสติ จักทอดทิ้งไป ดังนี้. ก็พระเถระ ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว
เข้าฌาน ปรินิพพานแล้ว ในระหว่างนั้นเอง ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอชิตเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๒
แห่งอรรถถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี.
ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ รูปคือ
๑. พระจูฬวัจฉเถระ ๒. พระมหาวัจฉเถระ ๓. พระวนวัจฉเถระ
๔. พระสิวกเถระ ๕. พระกุณฑธานเถระ ๖. พระเพลัฏฐสีสเถระ
๗. พระทาสกเถระ ๘. พระสิงคาลปิตาเถระ ๙. พระกุฬเถระ ๑๐. พระ-
อชิตเถระ และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 156
เถรคาถา เอกนิบาตวรรคที่ ๓
๑. นิโครธเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระนิโครธเถระ
[๑๕๘] ได้ยินว่า พระนิโครธเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราไม่กลัวภัย พระศาสดาของเราทั้งหลาย เป็น
ผู้ฉลาดในธรรมอันไม่ตาย ภัยย่อมไม่ตั้งอยู่ในหน
ทางใด ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไป โดยหนทางนั้น.
วรรควรรณนาที่ ๓
อรรถกถานิโครธเถรคาถา
คาถาของท่านพระนิโครธเถระเริ่มต้นว่า นาห ภยสฺส ภายามิ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกัปที่ ๑๑๘ นับแต่ภัทรกัปนี้ ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์
มหาศาล เจริญวัยแล้ว เห็นโทษในกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการออกบวช
ละสิ่งผูกพันในเรือน เข้าไปสู่ราวป่า กระทำบรรณศาลาในหมู่ไม้สาละในป่า
บวชเป็นดาบส มีมูลผลาผลในป่าเป็นอาหารอยู่.
สมัยนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
ในโลก ทรงยังความเร่าร้อน คือกิเลส ของโลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้ดับได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 157
ด้วยสามารถแห่งน้ำอมฤต คือ พระธรรม วันหนึ่ง ด้วยมีพุทธประสงค์จะทรง
อนุเคราะห์ดาบส จึงเสด็จเข้าไปสู่หมู่ไม้สาละนั้น ประทับนั่งแล้ว เข้านิโรธ-
สมาบัติ.
ดาบสเดินไปหามูลผลาผลในป่า เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีใจ
เลื่อมใส ถือเอากิ่งรังซึ่งมีดอกบานสะพรั่งทำเป็นปะรำกิ่งไม้ คลุมปะรำนั้น
ทั้งหมด ด้วยดอกรังล้วน ๆ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไม่ออกไปหา
อาหาร ยืนนมัสการอยู่แล้ว ด้วยอำนาจแห่งปีติและโสมนัสนั้นเอง พระศาสดา
เสด็จออกจากนิโรธแล้ว เพื่อจะทรงอนุเคราะห์ดาบสนั้น จึงทรงพระดำริว่า
ขอภิกษุสงฆ์จงมา โดยมีพุทธประสงค์ว่า ดาบสจักยังจิตให้เลื่อมใสแม้ในพระ-
ภิกษุสงฆ์ ดังนี้. ภิกษุสงฆ์มาแล้วในทันใดนั้นเอง แม้ดาบสเห็นภิกษุสงฆ์แล้ว
มีใจเลื่อมใส ไหว้แล้วประคองอัญชลียืนอยู่แล้ว.
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศสมบัติอันเป็นส่วนของดาบสนั้น
โดยทรงอ้างถึงการทำความแย้มให้ปรากฏ ทรงแสดงธรรมแล้วหลีกไปพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นอันมาก แล้วบังเกิดในตระกูล
พราหมณ์มหาศาล ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้มีนามว่า
นิโครธ. เขาเกิดความเลื่อมใส ด้วยการเห็นพุทธานุภาพ ในวันที่ทรงรับ
พระวิหารเชตวัน บวชแล้วปรารภวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ โดยกาล
ไม่นานเลย. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเข้าสู่ป่ารัง สร้างอาศรมอย่างงดงาม มุงบัง
ด้วยดอกรัง ครั้งนั้น เราอยู่ในป่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เป็นสยัมภู เอกอัครบุคคล ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
พระนามว่า ปิยทัสสี ทรงพระประสงค์ความสงัด จึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 158
ได้เสด็จเข้าสู่ป่ารัง เราออกจากอาศรมในป่า เที่ยว
แสวงหามูลผลาผลป่า ในเวลานั้น ณ ที่นั้น เราได้เห็น
พระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่
ประทับนั่ง เข้าสมาบัติ รุ่งโรจน์อยู่ในป่าใหญ่ เรา
ปักเสา ๔ เสาทำปะรำอย่างเรียบร้อย แล้วเอาดอกรัง
มุงเหนือพระพุทธเจ้า เราทรงปะรำซึ่งมุงด้วยดอกรังไว้
๗ วัน ยังจิตให้เลื่อมใสในกรรมนั้น ได้ถวายบังคม
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค-
เจ้าผู้อุดมบุรุษ เสด็จออกจากสมาธิประทับนั่ง ทอด-
พระเนตรดูเพียงชั่วแอก สาวกของพระศาสดา พระ
นามว่า ปิยทัสสี ชื่อว่า วรุณ กับพระอรหันตขีณาสพ
แสนองค์ ได้เข้ามาเฝ้าพระบรมศาสดา ผู้เป็นนายก
วิเศษสุด ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พิชิตมาร พระ-
นามว่า ปิยทัสสี เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่า
นรชน ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ทรง
กระทำการแย้มพระสรวลให้ปรากฏ พระอนุรุทธเถระ
ผู้อุปัฏฐาก ของพระศาสดาพระนามว่า ปิยทัสสี ห่ม
จีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระมหามุนีว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อะไรเล่าหนอ เป็นเหตุให้
พระศาสดาทรงแย้มพระสรวลให้ปรากฏ เพราะเมื่อมี
เหตุ พระศาสดาจึงจะทรงแย้มพระสรวลให้ปรากฏ
พระศาสดาตรัสว่า มาณพใดทรงปะรำที่มุงด้วยดอกไม้
ไว้ตลอด ๗ วัน เรานึกถึงกรรมของมาณพนั้น จึงได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 159
ทำการยิ้มแย้มให้ปรากฏ เราไม่พิจารณาเห็นช่องทาง
ที่ไม่ควรที่บุญจะไม่ให้ผล ช่องทางที่ควรในเทวโลก
หรือในมนุษยโลก ย่อมไม่ระงับไปเลย เขาผู้เพรียบ-
พร้อมด้วยบุญกรรมอยู่ ในเทวโลกมีบริษัทเท่าใด
บริษัทเท่านั้นจักถูกบังด้วยดอกรัง เขาเป็นผู้ประกอบ
ด้วยบุญกรรม จักรื่นเริงอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยการ
ฟ้อน การขับ การประโคม อันเป็นทิพย์ในกาลนั้น
ทุกเมื่อ บริษัทของเขาประมาณเท่าที่มี จักมีกลิ่น
หอมฟุ้ง และฝนดอกรังจักตกลงทั่วไปในขณะนั้น
มาณพนี้จุติจากเทวโลกแล้วจักมาสู่ความเป็นมนุษย์แม้
ในมนุษยโลกนี้ หลังคาดอกรังก็จักทรงอยู่ตลอดกาล
ทั้งปวง ณ มนุษยโลกนี้ การฟ้อน และการขับที่
ประกอบไปด้วยกังสดาล จักแวดล้อมมาณพนี้อยู่เป็น-
นิตย์ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา และเมื่อพระอาทิตย์อุทัย
ฝนดอกรังก็จัดตกลง ฝนดอกรังที่บุญกรรมปรุงแต่ง
แล้ว จักตกลงทุกเวลา ในกัปที่ ๑,๘๐๐ พระศาสดา
ทรงพระนามว่า โคดม ซึ่งสมภพในวงศ์ของพระเจ้า
โอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก มาณพนี้จักเป็น
ทายาทในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรส
อันธรรมเนรมิต จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มี
อาสวะจักนิพพาน เมื่อเขาตรัสรู้ธรรมอยู่ จักมีหลังคา
ดอกรัง เมื่อลูกทำฌาปนกิจอยู่ บนเชิงตะกอน ที่เชิง
ตะกอนนั้น ก็จักมีหลังคาดอกรัง พระมหามุนี ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 160
พระนามว่า ปิยทัสสี ทรงพยากรณ์วิบากแล้ว ทรง
แสดงธรรมแก่บริษัท ให้อิ่มหนำด้วยฝน คือ ธรรม
เราได้เสวยราชสมบัติ ในเทวโลก ในหมู่เทวดา ๓๐ กัป
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๗ ครั้ง เราออกจากเทวโลก
มาในมนุษยโลกนี้ ได้ความสุขอันไพบูลย์ แม้ใน
มนุษยโลกนี้ ก็มีหลังคาดอกรัง นี้เป็นผลแห่งปะรำ
นี้เป็นความเกิดครั้งหลังของเรา ภพสุดท้ายกำลัง
เป็นไป แม้ในภพนี้ หลังคาดอกรังก็จักมีตลอดกาล
ทั้งปวง เรายังพระมหามุนีทรงพระนามว่า โคดม
ผู้ประเสริฐกว่าศากยราชให้ทรงยินดีได้ ละความมีชัย
และความปราชัยเสียแล้ว บรรลุถึงฐานะที่ไม่หวั่นไหว
ในกัปที่ ๑๑๘ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ด้วย
พุทธบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้
หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็น
ไม่มีอาสวะอยู่ การที่เราได้มาในสำนักของพระ-
พุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓
เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำสำเร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔
วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำ
สอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ท่านเป็นผู้มีอภิญญา ๖ อย่างนี้ ยังคืนและวันให้ล่วงไปด้วยผลสุข
เพื่อจะประกาศความที่พระศาสนาเป็นนิยยานิกธรรม โดยเป็นการพยากรณ์
พระอรหัตผล จึงภาษิตคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 161
เราไม่กลัวภัย พระศาสดาของพวกเราทั้งหลาย
เป็นผู้ฉลาดในธรรมอันไม่ตาย ภัยย่อมไม่ตั้งอยู่ในหน
ทางใด ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไป โดยหนทางนั้น ดังนี้.
ในคาถานั้น ที่ชื่อว่า ภัย เพราะเป็นแดงแห่งความกลัว ได้แก่
ชาติและชราเป็นต้น. บทว่า ภยสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งปัญจมี-
วิภัตติ อธิบายว่า เราไม่กลัว นิมิตอันพึงกลัวโดยเป็นภัย ด้วยเหตุมีชาติ
ชราและมรณะเป็นต้น พระเถระกล่าวถึงเหตุไว้ในคาถานั้นว่า สตฺถา โน
อมตสฺส โกวิโท พระศาสดาของพวกเราทั้งหลายเป็นผู้ฉลาด ในธรรมอัน
ไม่ตาย คือ พระศาสดา ของพวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ฉลาดในอมตธรรม
ได้แก่ ฉลาดในการให้ธรรมที่เป็นอมฤต แก่ไวเนยสัตว์ทั้งหลาย. บทว่า
ยตฺถ ภย นาวติฏติ ความว่า ภัยตามที่กล่าวแล้ว ย่อมไม่ตั้งอยู่ คือ
ไม่ได้โอกาสในพระนิพพานใด.
บทว่า เตน ได้แก่ พระนิพพานนั้น. บทว่า วชนฺติ ความว่า
ย่อมถึงที่ ๆ เป็นภัยทีเดียว. อธิบายว่า พระนิพพาน ชื่อว่าที่ ๆ ไม่มีภัย. ถามว่า
ด้วยเหตุไร พระเถระจึงกล่าวว่า วชนฺติ ย่อมไป ตอบว่า เพราะว่า
ภิกษุทั้งหลายย่อมไปโดยทางนั้น อธิบายว่า ภิกษุทั้งหลาย คือผู้ที่เห็นภัยใน
สงสาร ผู้การทำตามโอวาทของพระบรมศาสดา ย่อมไป โดยทางของพระ-
อริยเจ้ามีองค์ ๘. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยตฺถ ความว่า ภัยแม้ทั้ง ๒๕ อย่าง
มีการเข้าไปตำหนิตนเองเป็นต้น ย่อมไม่ตั้งลง คือ ไม่ได้ที่พำนัก เพราะ
การบรรลุอริยมรรคใด ภิกษุในพระศาสนา ย่อมไปสู่ที่ ๆ ไม่มีภัย ด้วยอริย-
มรรคนั้น แม้เราเองก็ไปแล้วโดยทางนั้น. เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงพยากรณ์
พระอรหัตว่า เราไม่กลัวภัย ดังนี้.
จบอรรถกถานิโครธเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 162
๒. จิตตกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระจิตตกเถระ
[๑๕๙] ได้ยินว่า พระจิตตกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
นกยูงทั้งหลายมีขนเขียว ขนคองาม หงอน
งาม พากันร่ำร้องอยู่ในป่าการวี นกยูงเหล่านั้น
พากันร่ำร้องในเวลามีลมหนาว เจือด้วยฝน ย่อมปลุก
บุคคลผู้เจริญฌานซึ่งหลับอยู่ให้ดิน.
อรรถกถาจิตตกเถรคาถา
คาถาของท่านพระจิตตกเถระเริ่มต้นว่า นีลา สุคีวา. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านสั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน จำเดิมแต่
กาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ในกัปที่ ๙๑ นับ
แต่ภัทรกัปนี้ เกิดในกำเนิดมนุษย์ รู้เดียงสาเสียแล้ว เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า วิปัสสี มีใจเลื่อมใสแล้ว กระทำการบูชาด้วยดอกไม้ ถวาย
บังคมแล้ว น้อมใจเชื่อในพระบรมศาสดาและในพระนิพพานว่า ขึ้นชื่อว่า
ธรรมอันสงบระงับแล้ว พึงมีในพระศาสนานี้ ดังนี้. ด้วยบุญกรรมนั้น เขา
จุติจากนั้นแล้ว เกิดในภพดาวดึงส์ หมั่นการทำบุญบ่อย ๆ ท่องเที่ยวไปใน
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล้วเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ ผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ
ในพระนครราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ โดยนามมีชื่อว่า จิตตกะ เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปสู่พระนครราชคฤห์ ประทับอยู่ในเวฬุวันวิหาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 163
เขาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฟังธรรมแล้วได้ศรัทธา บรรพชาแล้วเรียน
กัมมัฏฐาน ที่เหมาะแก่จริต เข้าไปสู่ราวป่า หมั่นเจริญภาวนาทำฌาน
ให้เกิด แล้วเจริญวิปัสสนาที่มีฌานเป็นบาท บรรลุพระอรหัต โดยกาล
ไม่นานเลย. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี ทรงพระ-
นามว่า วิปัสสี ผู้เป็นนายกของโลก โชติช่วงเหมือนต้น
กรรณิการ์ ประทับนั่งที่ซอกเขา เราเก็บดอกกระดึง
ทอง ๓ ดอกมาบูชา ครั้นบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้วเดินบ่ายหน้าไปทางทิศทักษิณ ด้วยกรรมที่ทำไว้
ดีแล้วนั้น และด้วยเจตน์จำนงที่ตั้งไว้ เราละร่าง
มนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในกัปที่ ๙๑
แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ด้วย
พุทธบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ-
บูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ท่านครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เข้าไปสู่พระนครราชคฤห์ เพื่อ
ถวายบังคมพระบรมศาสดา อันภิกษุทั้งหลายในวิหารนั้น ถามว่า อาวุโส
ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว อยู่ในป่าหรือ ? เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
โดยประกาศถึงการอยู่อย่างไม่ประมาทของตน จึงได้ภาษิตคาถาว่า
นกยูงทั้งหลาย มีขนเขียว ขนคองาม พากัน
ร่ำร้องอยู่ในป่าการวี นกยูงเหล่านั้น พากันร่ำร้อง
ในเวลามีลมหนาวเจือด้วยฝน ย่อมปลุกบุคคลผู้เจริญ
ฌาน ซึ่งหลับอยู่ให้ตื่น ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 164
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นีลาสุคีวา ถอดออกเป็น นีลสุคีวา.
แต่ในคาถานี้ ท่านทำเป็นทีฆะ เพื่อสะดวกในการประพันธ์คาถา. อธิบายว่า
ประกอบด้วยคออันงดงาม เพราะมีขนเป็นแนวยาว. ก็นกยูงเหล่านั้น ชื่อว่า
มีสีเขียว เพราะโดยมากจะมีสีเขียว. ชื่อว่า สุคีวา เพราะเป็นสัตว์ที่มีลำคองาม.
บทว่า สิขิโน ความว่า มีหงอนโดยความมีสิริงามที่หงอน ซึ่งเกิดที่
ศีรษะ. บทว่า โมรา ได้แก่ นกยูงทั้งหลาย. บทว่า การวิย ความว่า
ที่ต้นกาลัมพะ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า การมฺพิย เป็นชื่อของป่านั้น. เพราะฉะนั้น
บทว่า การมฺพิยะ จึงได้ความว่า ในป่าชื่อว่า การัมพะ.
บทว่า อภินนฺทนฺติ ความว่า นกยูงเหล่านั้นฟังเสียงฟ้าร้อง ใน
เวลาใกล้ฝนจะตก จะพากันส่งเสียงร้องระงม ดุจจะข่มสรรพสัตว์ มีหงส์เป็นต้น
ด้วยเสียงประสานขานรับความถึงพร้อมของฤดูกาล. บทว่า เต ได้แก่
นกยูงเหล่านั้น.
บทว่า สีตวาตกีฬิตา ความว่า นกยูงเหล่านั้น อันความหนาว
คือลมฝน โชยมาชวนให้ร่าเริง จึงร้องระงมอย่างไพเราะ.
บทว่า สุตฺต ได้แก่ หลับเพื่อจะบรรเทาความเมาอาหาร หรือหลับ
เพื่อระงับความเหมื่อยล้าแห่งร่างกาย ในเวลาที่ทรงอนุญาตไว้.
บทว่า ฌาน ความว่า ผู้มีปกติเพ่งด้วยฌานคือสมถะและวิปัสสนา
ได้แก่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งภาวนา.
บทว่า นิโพเธนฺติ ความว่า ปลุกให้ตื่น. อธิบายว่า ปลุกให้ลุกจาก
ที่นอน ด้วยการยังสัมปชัญญะให้เกิดอย่างนี้ว่า แม้นกยูงเหล่านี้ ยังไม่นอน
ตื่นอยู่ ย่อมกระทำกิจที่คนควรกระทำ ส่วนตัวเราเล่า จะนอนเอาประโยชน์อะไร
ดังนี้.
จบอรรถกถาจิตตกเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 165
๓. โคสาลเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโคสาลเถระ
[๑๖๐] ได้ยินว่า พระโคสาลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราฉันข้าวมธุปายาส ที่พุ่มกอไผ่ แล้วพิจารณา
ความเกิดและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย โดย
เคารพ จักกลับไปสู่สานุบรรพตที่เราเคยอยู่ แล้วเจริญ
วิเวกต่อไป.
อรรถกถาโคสาลเถรคาถา
คาถาของท่านพระโคสาลเถระเริ่มต้นว่า อห โข เวฬุคุมฺพสฺมึ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกัปที่
๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เห็นบังสุกุลจีวรของพระปัจเจกพุทธเจ้า ห้อยอยู่ที่โคนไม้
ที่ภูเขาลูกใดลูกหนึ่ง มีจิตเลื่อมใสว่า ผ้าบังสุกุลนี้ เป็นธงชัยของพระอรหันต์
หนอ ดังนี้แล้ว บูชาด้วยดอกไม้. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านไปบังเกิดในดาวดึงส์
พิภพ. จำเดิมแต่นั้น ก็ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดใน
ตระกูลที่มั่งคั่ง แคว้นมคธ ในพุทธุปบาทกาลนี้ โดยนามมีชื่อว่า โคสาล
ก็เพราะเหตุที่ท่านมีความคุ้นเคย อันการทำไว้กับพระโสณโกฏิกัณณะ ครั้น
สดับว่า พระโสณโกฏิกัณณะนั้นบวชแล้ว เกิดความสลดใจว่า ก็ขึ้นชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 166
พระโสณโกฏิกัณณะแม้นั้น มีสมบัติมาก ยังบวชไซร้ ส่วนตัวเราเล่ามีอะไร
เป็นเหตุ ดังนี้แล้ว บวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า เรียนกัมมัฏฐาน
อันเหมาะแก่จริยา (ของตน) เมื่อแสวงหาที่อยู่ ก็เลือกอยู่ที่ภูเขา ชื่อว่า สานุ
แห่งหนึ่ง ไม่ไกลจากบ้านเกิดของตน. มารดาของท่านถวายภิกษาทุก ๆ วัน.
วันหนึ่ง มารดาได้ถวายข้าวปายาส ที่เขาหุงด้วยน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด
แก่ท่านผู้เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ท่านรับข้าวมธุปายาสนั้นแล้ว นั่งฉัน
ที่โคนพุ่มไม้ไผ่แห่งใดแห่งหนึ่ง ใต้ร่มเงาของภูเขานั้น ล้างบาตรและมือแล้ว
เริ่มเจริญวิปัสสนา. ท่านเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น เพราะมีกายและจิตสบาย โดยได้
โภชนะเป็นที่สบาย เมื่อญาณมีอุทยัพพยญาณเป็นต้น แข็งกล้าดำเนินไปอยู่
ขวนขวายวิปัสสนา แล้วยังภาวนาให้ถึงที่สุด ตามลำดับแห่งมรรค กระทำ
ให้แจ้งซึ่งพระอรหัต โดยไม่ยากลำบากเลย. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน
กล่าวไว้ในอปทานว่า
ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อ
อุทังคณะ ที่ภูเขานั้น เราได้เห็นผ้าบังสุกุลจีวรห้อยอยู่
บนยอดไม้ ครั้งนั้น เราร่าเริง มีจิตยินดี เลือกเก็บ
เอาดอกกระดึงทอง ๓ ดอก มาบูชาผ้าบังสุกุลจีวร
ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้
เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ใน
กัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น
เพราะบูชาธงชัยแห่งพระอรหันต์ เราไม่รู้จักทุคติเลย.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 167
ก็ท่านครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว มีความประสงค์จะไปยังภูเขาชื่อว่า
สานุเท่านั้น เพื่อต้องการจะอยู่เป็นสุขในทิฎฐธรรม เมื่อจะประกาศข้อปฏิบัติ
ของตน จึงได้ภาษิตคาถาว่า
เราฉันข้าวมธุปายาส ที่พุ่มกอไผ่แล้ว พิจารณา
ความเกิดและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย โดย
ความเคารพ จักกลับไปสู่สานุบรรพต ที่เราเคยอยู่
แล้วเจริญวิเวกต่อไป ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬุคุมฺพสฺมึ ความว่า ใกล้พุ่มไม้ไผ่
คือที่ร่มเงา แห่งพุ่มไผ่นั้น.
บทว่า มธุปายาส ความว่า บริโภคข้าวปายาสที่เขาหุงด้วยน้ำผึ้ง.
บทว่า ปทกฺขิณ ความว่า ด้วยการรับเอาโดยเบื้องขวา อธิบายว่า ด้วยการ
รับเอาพระโอวาทของพระศาสดาโดยชอบ.
บทว่า สมฺมสนฺโต ขนฺธาน อุทยพฺพย ความว่า พิจารณา
ความเกิดขึ้น และความสิ้นไปแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ อธิบายว่า แม้ถ้าว่า ทำกิจ
เสร็จแล้วในบัดนี้ แต่ต้องเริ่มตั้งวิปัสสนาเพื่อเข้าผลสมาบัติ.
บทว่า สาน ปฏิคฺคณฺหิสฺสามิ ความว่า เราจักมุ่งไปสานุบรรพต
อันเราเคยอยู่แล้วในก่อน.
บทว่า วิเวกมนุพฺรูทเย ความว่า เพิ่มพูนปฏิปัสสัทธิวิเวก และ
กายวิเวกคือผลสมาบัติ หรือจักไป โดยมีการเพิ่มพูนวิเวกนั้นเป็นเหตุ. ก็
พระเถระครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ไปที่สานุบรรพตนั้นนั่นแหละ. ก็คาถานี้แล
ได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระนั้น.
จบอรรถกถาโคสาลเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 168
๔. สุคันธเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุคันธเถระ
[๑๖๑] ได้ยินว่า พระสุคันธเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ภิกษุบวชยังไม่ครบพรรษา ได้เห็นธรรมเป็น
ธรรมดีงาม บรรลุวิชชา ๓ ได้ทำคำสอนของพระ
พุทธเจ้า สำเร็จแล้ว.
อรรถกถาสุคันธเถรคาถา
คาถาของท่านพระสุคันธเถระเริ่มต้นว่า อนุวสฺสิโก ปพฺพชิโต.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกัปที่ ๙๒ นับแต่ภัทรกัปนี้ ท่านเกิดในกำเนิดมนุษย์
ในกาลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ติสสะ รู้เดียงสาแล้ว
เที่ยวไปล่าเนื้อในป่า. พระบรมศาสดา เสด็จไปแสดงรอยพระบาทให้ปรากฏ
เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา.
เขาเห็นเจดีย์ คือ พระบาทของพระศาสดาแล้ว เพราะมีอธิการอัน
กระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ จึงเกิดปีติโสมนัสว่า เท้าเหล่านี้
เป็นเท้าของบุคคลผู้เลิศในโลก พร้อมทั้งเทวโลก จึงถือเอาดอกหงอนไก่
มาทำการบูชา แล้วยังจิตให้เลื่อมใส. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาเกิดในเทวโลก
จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว หมั่นกระทำบุญ ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 169
ทั้งหลายไป ๆ มา ๆ (เกิด) เป็นกุฏุมพี ในกาล ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า กัสสปะ บำเพ็ญมหาทาน แด่พระบรมศาสดา และภิกษุสงฆ์
ส่งจันทน์ขาวที่มีราคามาก ไปยังพระคันธกุฎี แล้วทำการอบด้วยจันทน์นั้น
ตั้งความปรารถนาว่า ในที่ ๆ ข้าพเจ้าเกิดแล้ว ๆ ขอให้สรีระของข้าพเจ้าจงมี
กลิ่นหอมอย่างนี้. เขากระทำบุญกรรม แม้อื่นเป็นอันมากไว้ในภพนั้น ๆ
ท่องเที่ยวไปในสุคติภพทั้งหลาย นั่นแล เกิดในเรือนของพราหมณ์ ผู้สมบูรณ์
ด้วยสมบัติในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้.
ก็นับจำเดิมแต่เวลาที่เขาผู้จะบังเกิดอยู่ในท้องมารดา สรีระของมารดา
แม้ทั้งสิ้น ก็หอมขจรไปทั่วทั้งเรือน. ส่วนในวันที่เขาเกิด กลิ่นหอมอย่างยิ่ง
ก็หอมฟุ้งไป แม้ในเรือนใกล้เคียงเป็นพิเศษทีเดียว. มารดา บิดาของเขา
กล่าวว่า บุตรของเราตั้งชื่อของตนด้วยตนเอง มาเกิดแล้ว จึงตั้งชื่อเขาว่า
สุคันธะ เหมือนกัน.
เขา เจริญเติบโตขึ้นโดยลำดับ เห็นพระมหาเสลเถระ แล้วฟังธรรม
ในสำนักของท่าน บวชแล้ว เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ภายใน ๗
วันเท่านั้น. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อก่อน เรากับบิดาและปู่ เป็นคนทำการงาน
ในป่า เลี้ยงชีพด้วยการฆ่าปศุสัตว์ กุศลกรรมของเรา
ไม่มี ใกล้กับที่อยู่ของเรา พระพุทธเจ้าผู้นำชั้นเลิศ
ของโลก ทรงพระนามว่า ติสสะ ผู้มีพระปัญญาจักษุ
ได้ทรงแสดงรอยพระบาทไว้ ๓ รอย เพื่ออนุเคราะห์
เราได้เห็นรอยพระบาท ของพระธรรมศาสดา ผู้ทรง
พระนามว่า ติสสะ ที่พระองค์ทรงเหยียบไว้ เป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 170
ร่าเริง มีจิตยินดี ยังจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาท
เราเห็นต้นหงอนไก่ ที่ขึ้นมาจากแผ่นดิน มีดอกบาน
แล้ว จึงเด็ดมาพร้อมทั้งยอด บูชารอยพระบาทอัน
ประเสริฐสุด เพราะกรรมที่เราทำไว้ดีแล้วนั้น และ
เพราะความตั้งเจตนาไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ไปสู่
ดาวดึงสพิภพ เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ เป็นเทวดา
หรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้น ๆ เรามีผิวกายเหมือนสีดอก
หงอนไก่ มีรัศมี เป็นแดนซ่านออกจากตน ในกัป
ที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น
ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
บูชารอยพระพุทธบาท เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผลได้
ภาษิต คาถานี้ว่า
ภิกษุบวชยังไม่ทันครบพรรษา มองเห็นธรรม
เป็นธรรมดีงาม บรรลุวิชชา ๓ ได้ทำคำสอนของพระ
พุทธเจ้า เสร็จแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุวสฺสิโก ความว่า ไปทีหลัง คือเพิ่ง
เข้าจำพรรษา จึงชื่อว่า อนุวสฺโส ทำ อนุวสฺโสนั่นแหละ เป็นอนุวสฺสิโก.
บทว่า ปพฺพชิโต ความว่า เข้าถึงบรรพชา อธิบายว่า เป็นผู้บวช
แล้ว แต่เพียงเข้าจำพรรษา คือมีพรรษาเดียว. อีกอย่างหนึ่ง หมายความว่า
ตามไป คือไปที่หลังยังไม่ได้พรรษา จึงชื่อว่า อนุวัสสะ. อนุวัสสะ นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 171
มีแก่ภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนุวสฺสิโก (ยังไม่ทันได้พรรษา).
ภิกษุใดที่บวชแล้วยังไม่ถึงการนับพรรษา เพราะมีพรรษายังไม่บริบูรณ์
ภิกษุนั้นท่านจึงเรียกอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อวสฺสิโก (ยังไม่
ทันครบพรรษา).
บทว่า ปสฺส ธมฺมสุธมฺมต ความว่า ท่านผู้บวชยังไม่ได้พรรษา
มองเห็นธรรมแห่งพระศาสดาของท่าน เป็นธรรมที่ดี คือ เป็นสวากขาตธรรม
ได้แก่ เป็นนิยยานิกธรรมโดยถ่ายเดียว. วิชชา ๓ คือ บุพเพนิวาสญาณ
ทิพยจักขุญาณ อาสวักขยญาณ อันท่านถึงแล้วโดยลำดับ คือกระทำให้แจ้งแล้ว
ต่อแต่นั้นไป ศาสนาของพระพุทธเจ้า คือคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันเรากระทำเสร็จแล้ว ได้แก่ พระอนุสาสนี คือ พระโอวาท ของพระองค์
เราตามศึกษาแล้ว เพราะเหตุนั้น พระเถระผู้เกิดปีติโสมนัส เพราะอาศัย
ความเป็นผู้มีกิจอันตนทำเสร็จแล้ว จึงกล่าวถึงตน โดยทำให้เป็นเหมือนคน
อื่น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสุคันธเถรคาถา
๕. นันทิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระนันทิยเถระ
[๑๖๒] ได้ยินว่า พระนันทิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
จิตของภิกษุใด ได้บรรลุผลญาณ สว่างรุ่งเรือง
อยู่เป็นนิตย์ ท่านมาเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า จัดได้รับ
ทุกข์แน่นอน นะมาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 172
อรรถกถานันทิยเถรคาถา
คาถาของท่านพระนันทิยเถระเริ่มต้นว่า โอภาสชาต. เรื่องราวของ
ท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เมื่อ
พระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ท่านให้เขาทำไพรที ด้วยไม้แก่นจันทน์ไว้
ในพระเจดีย์ ยังการบูชาสักการะอัน โอฬาร ให้เป็นไปแล้ว จำเดิมแต่นั้น ท่าน
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอัธยาศัย สั่งสมบุญกรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
ไว้ในภพนั้น ๆ เป็นอันมาก ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล้ว
บังเกิดในตระกูลแห่งศากยราช ในกรุงกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้.
มารดาบิดาของท่าน เกิดความชื่นชมยินดี เพราะฉะนั้น จึงให้ชื่อว่า
นันทิยะ. นันทิยกุมาร เจริญวัยแล้ว เมื่อพวกเจ้าศากยะทั้งหลายมีเจ้าอนุรุทธะ
เป็นต้น บวชในสำนักของพระบรมศาสนา แม้ตัวท่านเองก็บรรพชาแล้ว
เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก เพราะเป็นผู้มีอธิการ
อันกระทำไว้แล้ว. สมด้วยคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุ-
มุตตระ ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก ผู้ประเสริฐกว่านระ
รุ่งเรืองดุจกองอัคคี ปรินิพพานแล้ว เมื่อพระมหาวีระ
เจ้านิพพานแล้ว ได้มีสถูปอันกว้างใหญ่ ชนทั้งหลาย
เอาสิ่งของที่จะพึงถวายเข้าไปตั้งไว้ที่สถูป ในห้อง
พระธาตุอันประเสริฐสุดในกาลนั้น เรามีจิตเลื่อมใส
มีใจโสมนัสได้ทำไพรที่ไม้จันทน์อันหนึ่ง อันสมบูรณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 173
แก่สถูป และถวายธูปและของหอม ในภพที่เราเกิด
คือ ในอัตภาพเทวดาหรือมนุษย์ เราไม่เห็นความที่
เราเป็นผู้ต่ำทรามเลย นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม. ในกัปที่
๑,๕๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ พระ-
องค์ ทรงพระนามว่า สมัตตะ ทุกพระองค์มีพลมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖
เราทำให้แจ้งชัดแล้ว เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็เมื่อพระเถระนี้ บรรลุพระอรหัตแล้ว อยู่ในปาจีนวังสมิคทายวัน
ร่วมกับ พระเถระทั้งหลาย มีพระเถระชื่อว่า อนุรุทธะเป็นต้น. วันหนึ่ง มารผู้มี
บาป มีความประสงค์จะทำให้ท่านกลัว จึงสำแดงรูปที่น่ากลัวแก่ท่าน. พระเถระ
รู้ทันว่า เป็นมารนั่นเอง เมื่อแสดงว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป พระอริยบุคคล
เหล่าใด ล่วงพ้นบ่วงแห่งมารได้แล้ว กิริยาของท่าน จักทำอะไรพระอริยบุคคล
เหล่านั้นได้ ตัวท่านนั่นแหละ จักถึงความคับแค้น ความฉิบหาย มีการกระทำ
นั้นเป็นเหตุ จึงได้ภาษิตคาถาว่า
จิตของภิกษุใด ได้บรรลุผลญาณ สว่างรุ่งเรือง
อยู่เป็นนิตย์ ท่านมาเบียดเบียนภิกษุนั้นเข้า จักได้รับ
ทุกข์มหันต์ นะมาร ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอภาสชาต ความว่า ชื่อว่ามีแสงสว่าง
เกิดแล้ว ด้วยโอภาสคือญาณ เพราะได้บรรลุมรรคญาณอันเลิศแล้ว. อธิบายว่า
ชื่อว่าผ่องใสเหลือเกิน เพราะความมืดคือกิเลส ถูกญาณอันเลิศนั้น กำจัด
หมดสิ้นแล้วโดยไม่เหลือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 174
บทว่า ผลคฺค ความว่า ถึง คือเข้าถึงแล้วซึ่งผล อธิบายว่า ประกอบ
ด้วยอัครผลญาณ.
พระเถระเรียกจิตของพระขีณาสพว่า จิต โดยความเป็นสภาพสามัญ
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อภิณฺหโส. ก็จิตนั้นของพระขีณาสพทั้งหลาย
ไหวอยู่เป็นนิตย์ เพราะน้อมไปในนิโรธ จึงควรที่จะกล่าวว่า ประกอบแล้ว
ด้วยผล เพราะเข้าถึงอรหัตผลสมาบัติ.
บทว่า ตถารูป ความว่า มีอย่างนั้นเป็นรูป อธิบายว่า ได้แก่
พระอรหันต์ทั้งหลาย.
บทว่า อาสชฺช ได้แก่ ข่มขู่ คุกคาม.
พระเถระ เรียกมารว่า กัณหะ อธิบายว่า มารนั้น ท่านเรียกว่า
กัณหะ เพราะมีกรรมหยาบช้าและเพราะมีชาติเลวทราม.
บทว่า ทุกฺข นิคจฺฉติ ความว่า ท่านจักเข้าถึง คือ ประสบทุกข์
อันทำกายให้ลำบาก ไร้ประโยชน์ โดยการเข้าไปสู่ท้อง (มารดา) เป็นต้น
ในชาตินี้ และอบายทุกข์อันก่อความเดือดร้อน. ในภพหน้า. มารฟังดังนั้นแล้ว
รู้ว่า พระสมณะรู้จักเรา จึงหายไปที่นั้นเอง ฉะนี้แล.
จบอรรถกถานันทิยเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 175
๖. อภัยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอภัยเถระ
[๑๖๓] ได้ยินว่า พระอภัยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราได้ฟังพระวาจาอันเป็นสุภาษิต ของพระ-
พุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ จึงได้รู้แจ้ง
แทงตลอดซึ่งธรรมอันละเอียด เหมือนบุคคลยิงปลาย
ขนทราย ด้วยลูกศร ฉะนั้น.
อรรถกถาอภัยเถรคาถา
คาถาของท่านพระอภัยเถระเริ่มต้นว่า สุตฺวา สุภาสิต วาจ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ เป็นพระธรรมกถึก ในเวลาจะแสดงธรรม กล่าวชมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ด้วยคาถา ๔ คาถาก่อน แล้วจึงแสดงธรรมในภายหลัง. ด้วยกำลัง
แห่งบุญกรรมนั้น ขึ้นชื่อว่า การปฏิสนธิในอบาย ไม่เคยมีแก่ท่านตลอดแสน
แห่งกัป. สมดังที่ท่านกล่าวคำเป็นคาถาไว้ว่า
พระอภัยเถระ ผู้มีจิตเลื่อมใสแล้ว กล่าว
สรรเสริญพระชินเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 176
ผู้เป็นพระสยัมภู ท่านเป็นผู้มีศรัทธาโอฬาร ไม่ต้อง
ไปสู่อบายภูมิ ตลอดแสนกัป ดังนี้.
ท่านเป็นผู้มีห้วงแห่งบุญ ห้วงแห่งกุศล หาประมาณมิได้ ได้เป็น
เช่นนั้น เพราะสมบัติมีเขตสมบัติเป็นต้น และเพราะบุรพเจตนา ปัจฉิมเจตนา
และสันนิฏฐานเจตนา ของท่านโอฬารเหลือเกิน. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
วิบากของผู้ที่เลื่อมใสในอจินไตย ย่อมเป็นอจินไตย ดังนี้. ก็บุญที่ท่านสั่งสม
ไว้ในภพนั้น ๆ ย่อมเป็นอุปัตถัมภกปัจจัยแก่ท่าน. จริงอย่างนั้น ท่านได้ทำการ
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ด้วยดอกลำเจียก ด้วยผลบุญ
อันพิเศษโอฬารเช่นนี้ ท่านท่องเที่ยวไปแต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดเป็นพระโอรส
ของพระเจ้าพิมพิสาร ในพุทธปบาทกาลนี้ ท่านได้มีนามว่า อภัย. เรื่องราว
ของท่าน จักแจ่มแจ้งข้างหน้า (ต่อไป). ท่านอันนิครนถนาฏบุตรให้ศึกษา
ปัญหา ๒ เงื่อน แล้วถูกส่งไปด้วยสั่งว่า ท่านจงถามปัญหานี้ แล้วยกวาทะข่ม
พระสมณโคดม ดังนี้ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทูลถามปัญหานั้น
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงความที่ปัญหานั้น เป็นอเนกังสพยากรณ์
ความปราชัยจึงมีแก่พวกนิครนถ์ และท่านก็รู้ความที่พระศาสดาเป็นพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า จึงประกาศความเป็นอุบาสก.
ต่อแต่นั้น เมื่อพระเจ้าพิมพิสารสวรรคตแล้ว ท่านเกิดความสังเวช
แล้ว บวชในพระศาสนาเป็นพระโสดาบัน เพราะทรงแสดง ตาลัจฉิคคฬูปมสูตร
ปรารภวิปัสสนากระทำให้แจ้งพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน
กล่าวไว้ในอปทานว่า
พระพุทธเจ้าผู้อุดมบุรุษ ประทับอยู่ ณ ฝั่งน้ำ
วินตานที เราได้พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 177
เป็นเอกอรรคบุคคล มีพระทัยตั้งมั่นดี ครั้งนั้น เรามี
จิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
สุด ด้วยดอกลำเจียก ซึ่งมีกลิ่นหอมเหมือนน้ำผึ้ง ใน
กัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาด้วยดอกไม้ใด
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ท่านครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล โดย
ประกาศข้อปฏิบัติของตน จึงได้ภาษิตคาถาว่า
เราได้ฟังพระวาจาอันเป็นสุภาษิตของพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ จึงได้รู้แจ้งแทงตลอด
ซึ่งพระธรรม อันละเอียดเหมือนบุคคลยิงปลาย-
ขนทราย ด้วยลูกศรฉะนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุตฺวา ความว่า เงี่ยโสตลง เข้าไปทรงไว้
ด้วยการแล่นไปตามแห่งโสตทวาร.
บทว่า สุภาสิต ความว่า ตรัสดีแล้ว คือตรัสแล้วโดยชอบนั่นเอง
ได้แก่ ธรรมกถาที่ประกาศอริยสัจ ๘ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่ทรงยังอะไร ๆ
ให้ผิดพลาด ตรัสแล้ว โดยยังประโยชน์ ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ให้สำเร็จ
โดยส่วนเดียว เพราะความเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ และเพราะความเป็นผู้มี
มหากรุณา. อธิบายว่า พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าที่พ้นไปจากสัจจธรรม
ไม่มีเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 178
บทว่า พุทฺธสฺส ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า. บทว่า อาทิจฺจ-
พนฺธุโน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อาทิจจพันธุ์ เพราะ
อรรถว่า มีพระอาทิตย์เป็นเผ่าพันธุ์ เพราะประสูติในอาทิตยวงศ์. ของพระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์พระองค์นั้น. อีกอย่างหนึ่ง พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อาทิจจพันธุ์ เพราะอรรถว่า เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระอาทิตย์ เพราะความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นโอรสแห่งพระ-
อาทิตย์นั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสง การทำความสว่างในที่
มืดมิด มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง ดูก่อนราหู
ท่านอย่ากลืนกินสุริยะนั้น ผู้เที่ยวไปในอากาศ ดูก่อน
ราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ ผู้เป็นบุตรของเรา ดังนี้.
บทว่า ปจฺจพฺยธึ แปลว่า แทงตลอดแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า
หิ เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า นิปฺณ ความว่า ละเอียดอ่อน คือ สุขุมอย่างยิ่ง ได้แก่
นิโรธสัจ หรืออริยสัจนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า หิ เป็นนิบาต ลงใน
อรรถแห่งเหตุ. ความก็ว่า เพราะแทงตลอดแล้ว ซึ่งสัจจธรรมทั้ง ๔ อัน
ละเอียดอ่อน ฉะนั้น สิ่งอะไรที่จะต้องแทงตลอดอีก ในบัดนี้จึงไม่มี. เพื่อ
จะตอบคำถามที่ว่า เหมือนแทงตลอดซึ่งอะไร พระเถระจึงกล่าวว่า เหมือน
บุคคลแทงปลายขนทรายด้วยลูกศร ฉะนั้น. ประกอบความว่า แทงตลอด
อริยสัจ ๔ อันละเอียดอ่อน เหมือนนายขมังธนูผู้ฉลาด ผู้ศึกษาดีแล้ว ยิง
ปลายขนทราย ที่ผ่าแล้ว ๗ ส่วน ด้วยลูกศร คือลูกเกาทัณฑ์ไม่ให้พลาดฉะนั้น.
จบอรรถกถาอภัยเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 179
๙. โลมสกังคิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโลมสกังคิยเถระ
[๑๖๔] ได้ยินว่า พระโลมสกังคิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราจักเอาอุระแหวกป่าหญ้าแพรก หญ้าคา
หญ้าดอกเลา แฝก หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย
พอกพูนวิเวก.
อรรถกถาโลมสกังคิยเถรคาถา
คาถาของท่านพระโลมสกังคิยเถระ เริ่มต้นว่า ทพฺพ กุส. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า วิปัสสี มีใจเลื่อมใส บูชาด้วยดอกไม้ต่าง ๆ ด้วยบุญกรรมนั้น
บังเกิดในเทวโลก การทำบุญแล้วท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวโลกนั่นเองอีก
บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ แล้วบำเพ็ญ
สมณธรรม. ก็โดยสมัยนั้น เมื่อพระบรมศาสดาตรัสภัทเทกรัตตปฏิปทาแล้ว
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง สนทนากับท่านด้วยเรื่องภัทเทกรัตตสูตร. ท่านไม่เข้าใจ
(ไม่สันทัด) ภัทเทกรัตตสูตรนั้น เมื่อไม่เข้าใจ จึงตั้งปณิธานว่า ในอนาคต
เราพึงเป็นผู้สามารถ เพื่อจะกล่าวภัทเทกรัตตสูตรแก่ท่าน ภิกษุนอกนี้พึงถาม
ดังนี้. ในบรรดาภิกษุ ๒ รูปนี้ รูปแรกท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 180
ตลอดพุทธันดรหนึ่ง แล้วเกิดในตระกูลแห่งศากยราช ในกรุงกบิลพัสดุ์ ใน
กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย.
โดยความเป็นสุขุมาลชาติของท่าน จึงมีขนเกิดที่ฝ่าเท้า ดุจพระโสณะ
ด้วยเหตุนั้น เขาจึงขนานนามท่านว่า โลมสกังคิยะ.
อีกรูปหนึ่ง เกิดในเทวโลก ปรากฏนามว่า จันทนะ เมื่อศากยกุมาร
ทั้งหลาย มีเจ้าอนุรุทธะเป็นต้น บวชอยู่ ส่วนโลมสกังคิยะไม่ปรารถนาจะบวช.
ลำดับนั้น เทพบุตรชื่อว่า จันทนะ เข้าไปหาเขาแล้วถามถึง ภัทเทก-
รัตตปฏิปทา เพื่อจะให้เขาสลดใจ. เขาตอบว่า ไม่รู้. เทพบุตรจึงท้วงขึ้นอีกว่า
ถ้าอย่างนั้น เหตุไฉน ท่านจึงทำความผัดเพี้ยนไว้ว่า เราพึงกล่าวภัทเทกรัตต
ปฏิปทา (ในอนาคต ) แต่บัดนี้ แม้แต่ชื่อก็จำไม่ได้.
โลมสกังคิยมาณพ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมกับจันทน-
เทพบุตรนั้น แล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า ข้าพระองค์
กระทำความผัดเพี้ยนไว้ในภพก่อนว่า เราจักกล่าวภัทเทกรัตตปฏิปทา แก่
เทพบุตรนี้ หรือพระเจ้าข้า ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ใช่แล้วกุลบุตร
ท่านทำความผัดเพี้ยนไว้อย่างนี้ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระ-
นามว่า กัสสปะ.
ความเรื่องนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบโดยพิสดาร โดยนัยอันมาแล้ว ใน
อุปริปัณณาสก์. ลำดับนั้น โลมสกังคิยมาณพ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์จงทรงยังข้าพระองค์ให้บวชเถิด ดังนี้. แม้พระผู้มี
พระภาคเจ้า ก็ตรัสห้ามว่า พระตถาคตทั้งหลาย จะไม่ยังบุตรที่มารดาบิดา
ยังไม่อนุญาตให้บรรพชา. เขาไปยังสำนักของมารดาแล้ว กล่าวว่า ข้าแต่แม่
ขอแม่จงอนุญาตให้ฉันบวชเถิด เมื่อมารดาพูดว่า ลูกเอ๋ย เจ้าเป็นสุขุมาลชาติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 181
จักบวชอย่างไรได้ ดังนี้ เมื่อจะประกาศความที่คนอดกลั้นอันตรายได้ จึง
กล่าวคาถาว่า
เราจักเอาอุระแหวกป่าหญ้าแพรก หญ้าคา
หญ้าดอกเลา แฝก หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย
พอกพูน วิเวก ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ท่านเรียกหญ้าแพรกว่า ทัพพะ ซึ่งบางท่านก็
เรียกว่า สัททุละ.
บทว่า กุส ได้แก่ หญ้าคา ซึ่งบางท่านเรียกว่า กาส. บทว่า
โปฏกิลได้แก่ กอหญ้า ทั้งที่มีหนาม และไม่มีหนาม แต่ในที่นี้ท่าน
ประสงค์เอาเฉพาะที่มีหนามเท่านั้น ติณชาติมีหญ้าคมบางเป็นต้น รู้ได้ง่าย.
หญ้าทั้งหลาย มีหญ้าแพรกเป็นต้น จัดเป็นหญ้าคมบาง แม้เมื่อเหยียบด้วย
เท้าทั้งสองก็จะยังทุกข์ให้เกิด ทั้งจะกระทำอันตรายในเวลาเดินไป ก็แต่ว่า
ตัวเราจะเอาอกต้านหญ้าเหล่านั้น คือแหวกหญ้าเหล่านั้นไปด้วยอุระ. ท่าน
แสดงถึงว่า เมื่อต้องเอาอกแหวกหญ้า ต้องกดกลั้นทุกข์ อันมีหญ้านั้นเป็นเหตุ
ได้อย่างนี้ ก็จักสามารถเข้าไปสู่พุ่มไม้ในราวป่า บำเพ็ญสมณธรรมได้.
บทว่า วิเวกมนุพฺรูหย ความว่า เพิ่มพูน กายวิเวก จิตตวิเวก
และอุปธิวิเวก. อธิบายว่า จิตตวิเวกย่อมมีแก่ผู้ที่ละการคลุกคลีด้วยหมู่ แล้ว
เพิ่มพูนกายวิเวกอยู่อย่างเดียว ยังจิตให้ตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ใน
บรรดาอารมณ์ ๓๘ ประการ ไม่มีแก่ผู้ที่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่. การบรรลุ
อุปธิวิเวก ด้วยการยังกิเลสให้สิ้นไป ย่อมมีแก่ผู้มีจิตเป็นสมาธินั่นแหละ ผู้
บำเพ็ญวิปัสสนา กระทำสมถะและวิปัสสนาให้เป็นคู่ ๆ ไม่มีแก่ผู้ที่ไม่มีจิตเป็น
สมาธิ. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า บทว่า วิเวกมนุพฺรูหย ได้แก่ เพิ่มพูน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 182
กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก. ก็เมื่อโลมสกังคิยมาณพ ผู้เป็นบุตรกล่าว
อย่างนี้แล้ว มารดาจึงยอมอนุญาตว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงบวชเถิด พ่อคุณ ดังนี้.
เขาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอบรรพชาแล้ว พระศาสดาให้
เขาบวชแล้ว. ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านพระโลมสกังคิยะผู้บวชแล้ว กระทำ
บุรพกิจเสร็จแล้ว เรียนกรรมฐานแล้ว จะเข้าไปสู่ป่าว่า ดูก่อนอาวุโส ท่าน
เป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ จะสามารถเข้าไปอยู่ในป่าได้อย่างไร ?
ท่านกล่าวคาถานั้นแหละ แม้แก่ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปสู่ป่า หมั่น
ประกอบภาวนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมด้วยคาถาประพันธ์
ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้เอาดอก ( กากะทิง ) บูชาพระสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณเปล่งปลั่งดังทองคำ ผู้สมควรรับ
เครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนินไปในถนน ในกัปที่ ๙๑
แต่ภัทรกัปนี้ ด้วยการที่เราได้เอาดอกไม้บูชา พระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
ก็ได้กล่าวคาถานั้นแหละ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาโลมสกังคิยเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 183
๘. ชัมพุคามิกปุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระชัมพุคามิกบุตรเถระ
[๑๖๕] ได้ยินว่า พระชัมพุคามิกบุตรเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้
อย่างนี้ว่า
ท่านเป็นผู้ขวนขวาย ในเรื่องผ้าหรือไม่ ยินดีใน
เครื่องประดับหรือไม่ ท่านทำกลิ่นอันสำเร็จด้วยศีล
ให้ฟุ้งไปใช่ไหม หมู่ชนนอกนี้ ไม่อาจทำกลิ่นที่สำเร็จ
ด้วยศีลให้ฟุ้งไปได้.
อรรถกถาชัมพุคามิกปุตตเถรคาถา
คาถาของพระชัมพุคามิกบุตรเถระ เริ่มต้นว่า กตฺถจิ โน วตฺถปสุ-
โต. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัย แห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ใน
กาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า เวสสภู ในกัปที่ ๓๑ นับแต่
ภัทรกัปนี้ ในวันหนึ่งท่านเห็นดอกทองกวาว จึงเก็บดอกทองกวาวเหล่านั้นไป
ระลึกถึงพระพุทธคุณ เหวี่ยงดอกไม้ไปในอากาศ อุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า
บูชาแล้ว. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านได้ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์.
ต่อแต่นั้น กระทำบุญเป็นอันมาก ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายไป ๆ มา ๆ เกิดเป็นบุตรของอุบาสก ชื่อว่า ชัมพุคามิกะ ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 184
จัมปานคร ด้วยเหตุนั้นเขาจึงได้นามว่า ชัมพุคามิกบุตร เหมือนกัน. เขา
เจริญวัยแล้ว ฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเกิดความสลดใจ
กระทำบุรพกิจ เรียนกรรมฐาน อาศัยอยู่ในป่าอัญชนวัน ใกล้เมืองสาเกต.
ลำดับนั้น บิดาของท่าน เพื่อจะทดสอบว่า พระลูกชายของเรายังยินดี
ในพระศาสนาอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ จึงเขียนคาถาส่งไปใจความว่า ท่านเป็น
ผู้ขวนขวายในเรื่องผ้าหรือไม่ ดังนี้เป็นต้น. ท่านอ่านหนังสือนั้นแล้ว เกิด
ความสลดใจว่า โยมบิดารังเกียจ การอยู่อย่างประมาทของเรา ก็แม้ถึงในวันนี้
เราก็ยังล่วงพ้นภูมิแห่งปุถุชนไปไม่ได้ จึงเพียรพยายาม ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖
ต่อกาลไม่นานเลย สมด้วยคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเห็นต้นทองกวาวมีดอกบานจึงประนมอัญชลี
นึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด แล้วบูชาในอากาศ
ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
คง เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาล
นั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา . เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ไปสู่นครที่อยู่ของหมู่ญาติ เมื่อจะ
ประกาศความที่พระศาสนา เป็นนิยยานิกธรรม ได้แสดงปาฏิหาริย์แล้ว.
ญาติทั้งหลายเป็นจำนวนมาก เห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส ให้สร้าง
สังฆารามแล้ว. แม้พระเถระก็กระทำคาถาที่บิดาของตน ส่งไปแล้วให้เป็นดัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 185
ขอสับ (สำหรับสับหัวช้าง) เพียรพยายามอยู่ ได้กระทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต
แล้ว. แม้เมื่อจะพยากรณ์อรหัตผล เพื่อจะบูชาคุณของบิดา ท่านได้กล่าวคาถา
นั้นแหละ ใจความว่า
ท่านเป็นผู้ขวนขวายในเรื่องผ้า หรือไม่ ยินดีใน
เครื่องประดับหรือไม่ ท่านทำกลิ่นอันสำเร็จด้วยศีลให้
ฟุ้งไปหรือไม่ หมู่ชนโฉดนอกนี้ ทำกลิ่นศีลให้ฟุ้งไป
ไม่ได้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า กจฺจิ เป็นนิบาตใช้ในคำถาม. บทว่า
วตฺถปสุโต ความว่า ผู้ขวนขวายในผ้า ชื่อวัตถปสุตะ ได้แก่ ยินดีการ
ประดับตกแต่งด้วยจีวรเป็นต้น. ก็บทว่า วตฺถปสุโต นี้ เป็นเพียงตัวอย่าง
เพราะท่านประสงค์ถึงการห้าม การคึกคะนองมีการตกแต่งบาตรเป็นต้นด้วย.
ปาฐะว่า กจฺจิ น วตฺถปสุโต ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างเดียวกันนี้.
บทว่า ภูสนารโต ความว่า ยินดีแล้ว คือยินดียิ่งนักในการประดับ
ตกแต่งอัตภาพ. เหมือนอย่างภิกษุบางรูปแม้บวชแล้ว ก็ยังกลับกลอก มากไป
ด้วยการบำเรอกาย ย่อมขวนขวายประดับตกแต่งบริขารมีจีวรเป็นต้น และ
สรีระของตน. แม้ใจความของบททั้งสองในคาถานี้ ก็มีดังนี้ว่า ไม่ได้เป็นผู้
ขวนขวายในบริขาร และไม่ได้ยินดีในการประดับตกแต่ง บ้างหรือ ?.
บทว่า สีลมย คนฺธ ความว่า ท่านยังกลิ่นอันสำเร็จด้วยศีล ที่
ท่านกล่าวไว้แล้วว่า ก็กลิ่นของท่านผู้มีศีลย่อมฟุ้งขจรไป เป็นกลิ่นสูงสุดในหมู่
เทพ ดังนี้ ให้ฟุ้งไปด้วยสามารถแห่งศีลแม้มีอย่าง ๔ อันบริสุทธิ์ด้วยดี
โดยการยังความเป็นผู้มีศีลไม่ขาดเป็นต้น ให้เกิดขึ้น (บ้างหรือ) อธิบายว่า
ท่านมีกิตติศัพท์อันงาม ระบือไปสู่ทิศทั้งปวง ด้วยมูลเค้าแห่งศีลสมบัติ บ้าง
หรือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 186
บทว่า เนตรา ปชา ความว่า หมู่ชนผู้ทุศีลนอกนี้ ยังกลิ่นศีลให้
ฟุ้งไปไม่ได้ คือชื่อว่า ยังกลิ่นเหม็น อันสำเร็จด้วยความเป็นผู้ทุศีลให้ฟุ้ง
ไป เพราะความเป็นผู้ทุศีลนั่นเอง อธิบายว่า ท่านไม่ยังกลิ่นเหม็นให้ฟุ้งไป
อย่างนี้ แล้วยังกลิ่นสำเร็จด้วยศีลให้ฟุ้งไปได้บ้างหรือ.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เนตรา ปชา ความว่า หมู่ชนผู้ทุศีลนอกนี้
ยังกลิ่นศีลให้ฟุ้งไปไม่ได้ ข้อนั้นไม่มีดอกหรือ เพราะกลิ่นสำเร็จด้วยศีลย่อม
ฟุ้งไปได้. เพราะเหตุนั้น กลิ่นแห่งศีลเท่านั้น จึงปรากฏชัดเจน โดยแปลก
ออกไป ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาชัมพุคามิกปุตตเถรคาถา
๙. หาริตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระหาริตเถระ
[๑๖๖] ได้ยินว่า พระหาริตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
แน่ะท่านหาริตะ ท่านจงยกตนของท่านขึ้นจาก
ความเกียจคร้าน เหมือนช่างศรยกลูกศรขึ้นดัด ฉะนั้น
ท่านจงทำจิตให้ตรงแล้วทำลายอวิชชาเสีย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 187
อรรถกถาหาริตเถรคาถา
คาถาของท่านพระหาริตเถระ เริ่มต้นว่า สมุนฺนมยมตฺตาน. เรื่อง
ราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการ อันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า-
องค์ก่อน ๆ เข้าไปสั่งสมกองการบุญกุศล อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้
ในภพนั้น ๆ เห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นามว่า สุทัสสนะ ในกัปที่ ๓๑
แต่ภัทรกัปนี้ เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้ว กระทำการบูชาด้วยดอกอัญชันเขียว
ท่องเที่ยวไปในสุคติภพอย่างเดียว ด้วยบุญกรรมนั้น บังเกิดในตระกูลพราหมณ์
มหาศาล ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ท่านได้มีนามว่า หาริตะ
เมื่อเขาเจริญวัยแล้ว มารดาบิดาได้นำกุมารีผู้เป็นบิดาของพราหมณ์
ซึ่งสมควรกันโดยตระกูลและรูปเป็นต้นมาให้. เขาเสวยโภคทรัพย์ร่วมกับกุมารี
นั้น มองดูรูปสมบัติของตนและของนางแล้ว อันธรรมดาตักเตือนอยู่ ได้ความ
สลดใจว่า ขึ้นชื่อว่า รูปเช่นนี้ จะถูกชราและมัจจุราชย่ำยีต่อกาลไม่นานเลย.
โดยล่วงไปไม่กี่วันนัก งูเห่า กัดภรรยาของเขาจนถึงตาย เขาเกิด
ความสลดใจด้วยเหตุนั้น เกินประมาณ ไปสำนักของพระศาสดาแล้ว ฟังธรรม
ตัดความผูกพันในเรือนได้แล้ว ออกบวช เมื่อท่านเรียนกรรมฐานอันสมควร
แก่จริงอยู่ กรรมฐานก็ไม่สำเร็จ จิตไม่แล่นไปตรงทาง ท่านเข้าไปสู่บ้าน
เพื่อบิณฑบาต เห็นช่างศรคนหนึ่ง ใส่ลูกศรเข้าในเครื่อง ทำการดัดให้ตรง
ก็คิดว่า ช่างศรเหล่านี้ ยังดัดลูกศรแม้ชื่อว่าหาเจตนามิได้ให้ตรง เหตุไรเราจึง
ไม่ทำจิต (ของตน) ให้ตรงเล่า ดังนี้แล้ว กลับแค่นั้นเองนั่งปรารภวิปัสสนา
ในที่พักกลางวัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 188
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งในอากาศเบื้องบนของท่าน
เมื่อจะประทานโอวาท ได้ตรัสพระคาถาความว่า
ดูก่อนหาริตะ เธอจงยกตนของเธอขึ้นจากความ
เกียจคร้าน เหมือนช่างศรยกลูกศรขึ้นดัด ฉะนั้น
เธอจงทำจิตให้ตรง แล้วทำลายอวิชชาเสีย ดังนี้.
ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระเถระนี้แหละ เมื่อจะสอนตนเหมือน
สอนคนอื่น ได้กล่าว (คาถานี้) ไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุนฺนมย ความว่า เมื่อจะยกตนขึ้น
โดยชอบ อธิบายว่า เมื่อยกตนจากความเกียจคร้านนั้น ไม่ให้ตกไปในฝ่าย
โกสัชชะ ด้วยอำนาจแห่งสมาบัติ ประกอบให้บริบูรณ์ด้วยความเพียร.
บทว่า อตฺตาน ได้แก่ จิต. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
สมุนฺนมยความว่า ยกตนขึ้นจากธรรมที่เป็นฝ่ายโกสัชชะ. ม อักษร กระทำการเชื่อมบท.
อธิบายว่า ถ้าจิตของเธอไม่ดำเนินไปตรงแนวกรรมฐาน เพราะความเป็น
ผู้มีความเพียรเลวไซร้ เธอจงยกจิตนั้นขึ้นโดยชอบ ด้วยสามารถแห่งการ
ปรารภความเพียร คือ กระทำไม่ให้ย่อหย่อน ไม่ให้มีปมด้อย ความก็ว่า
ดูก่อนหาริตะ เมื่อเธอทำอย่างนี้ ชื่อว่า (ยกตนขึ้นจากความเกียจคร้าน)
เหมือนช่างศรยกลูกศรขึ้นดัดฉะนั้น เธอจงทำจิตให้ทรงแล้ว ทำลายอวิชชาเสีย
เปรียบเหมือนช่างศร เมื่อจะดัดลูกศรที่คดและไม่ตรง แม้นิดหน่อยย่อมดัดให้
ตรง เพื่อจะยิงได้ตรงเป้า ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเมื่อจะดัดจิตที่หดหู่ เพราะ
ตกไปในโกสัชชะ โดยไม่ได้รักษาไว้ จิตที่หดหู่ เพราะตกไปในอุทธัจจะ
โดยที่ไม่ได้รักษาไว้ ต้องทำจิตให้ตรง โดยการถึงอัปปนา เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 189
แล้ว ขวนขวายวิปัสสนา จงทำลาย คือ ขจัดอวิชชา ด้วยมรรคญาณอันเลิศ
โดยพลัน. พระเถระฟังพระคาถามนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนา ได้เป็นพระอรหันต์
โดยกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาลูกหนึ่ง ชื่อว่า
วสละ พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า สุทัสสนะ
อยู่ที่ซอกเขา เราถือดอกไม้ที่เกิดในป่าหิมพานต์ เหาะ
ขึ้นสู่อากาศ ณ ที่นั้น เราได้เห็นพระสัมพุทธะผู้ข้ามพ้น
โอฆะ ไม่มีอาสวะ ครั้งนั้น เราถือเอาดอกอัญชันเขียว
จบเหนือเศียรเกล้าแล้ว บูชาพระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้แสวง
หาประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้เอาดอกไม้ใดบูชา ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลาย
แล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว แม้เมื่อพยากรณ์อรหัตผลก็ได้
กล่าวคาถานั้นแหละ.
จบอรรถกถาหาริตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 190
๑๐. อุตติยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอุตติยเถระ
[๑๖๗] ได้ยินว่า พระอุตติยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เมื่ออาพาธบังเกิดขึ้นแก่เรา สติก็เกิดขึ้นแก่เราว่า
อาพาธเกิดขึ้นแก่เราแล้ว เวลานี้ เป็นเวลาที่เราไม่ควร
ประมาท.
จบวรรคที่ ๓
อรรถกถาอุตติยเถรคาถา
คาถาของท่านพระอุตติยเถระเริ่มต้นว่า อาพาเธ เม สมุปฺปนฺเน.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ เป็นอันมาก เกิดเป็น
จระเข้มีรูปร่างใหญ่โต ณ แม่น้ำจันทภาคา ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่า สิทธัตถะ ในกัปที่ ๙๔ นับแต่ภัทรกัปนี้ถอยหลังไป.
มันเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปสู่ฝั่งแม่น้ำ เพื่อจะข้ามฟาก
มีจิตเลื่อมใส ประสงค์จะนำเสด็จข้ามฟาก จึงนอนในที่ใกล้ฝั่งน้ำ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ประทับยืนบนหลัง เพื่อจะทรงอนุเคราะห์มัน. มันร่าเริงชื่นชม
โสมนัส ด้วยกำลังแห่งปีติ ทำให้มีอุตสาหะเป็นทวีคูณ ว่ายตัดกระแสน้ำ
นำพระผู้มีพระภาคเจ้า ไปสู่ฝั่งโน้น ด้วยกำลังอันรวดเร็ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงตรวจดูความเลื่อมใสแห่งจิตของเขาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า จระเข้นี้
จุติจากภพนี้แล้ว ไปบังเกิดในเทวโลก จำเดิมแต่นั้น ก็ท่องเที่ยวไปในสุคติภพ
อย่างเดียว จักบรรลุอมตธรรม ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ ดังนี้แล้ว เสด็จ
หลีกไป. เขาวนไปวนมาอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น ด้วยอาการอย่างนั้น เกิดเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 191
บุตรของพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้
ได้มีนามว่า อุตติยะ.
เขาเจริญวัยแล้ว คิดว่า เราจักแสวงหาอมตธรรม จึงบวชเป็น
ปริพาชก เที่ยวไป วันหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฟังธรรมแล้ว
ถึงแม้จะบวชในพระศาสนา ก็ไม่อาจจะยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ เห็นภิกษุ
เหล่าอื่น ยังคุณวิเศษให้เกิดแล้วพยากรณ์พระอรหัตผล จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา
ทูลขอโอวาท โดยสังเขปเท่านั้น.
แม้พระบรมศาสดา ก็ได้ทรงประทานโอวาทแก่ท่าน โดยย่อ ๆ เท่านั้น
มีอาทิว่า ดูก่อนอุตติยะ เพราะฉะนั้น เธอในธรรมวินัยนี้ จงชำระศีลให้บริสุทธิ์
เป็นเบื้องต้นทีเดียว. ท่านตั้งอยู่ในโอวาทของพระศาสดาแล้ว ปรารภวิปัสสนา.
อาพาธเกิดแก่ท่านผู้เริ่มวิปัสสนาแล้ว ก็เมื่ออาพาธเกิดขึ้นแล้ว ท่านเกิดความ
สังเวช เริ่มตั้งความเพียร ทำกรรมในวิปัสสนา ขวนขวายวิปัสสนา แล้วบรรลุ
พระอรหัต. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เวลานั้นเราเป็นจระเข้อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
เราขวนขวายหาเหยื่อของตน ได้ไปยังท่าน้ำ สมัยนั้น
พระสยัมภูผู้อรรคบุคคล พระนามว่า สิทธัตถะ พระ
องค์ประสงค์จะเสด็จข้ามแม่น้ำ จึงเสด็จเข้ามาสู่ท่าน้ำ
ก็เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาถึง แม้เราก็มาถึงที่
ท่าน้ำนั้น เราได้เข้าไปใกล้พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้
กราบทูลดังนี้ว่า ขอเชิญเสด็จขึ้น (หลังข้าพระองค์)
เถิดพระมหาวีรเจ้า ข้าพระองค์จักส่งพระองค์ให้ข้าม
ไป ขอพระองค์ทรงอนุเคราะห์ วิสัยอันเป็นส่วนของ
บิดาของข้าพระองค์เถิด พระมหามุนี ทรงสดับคำทูล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 192
เชิญของเราแล้ว เสด็จขึ้น (หลัง) เราร่าเริง มีจิตยินดี
ได้ข้ามส่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายกของโลกที่
ฝั่งแม่น้ำโน้น พระผู้มีพระภาคเจ้า สิทธัตถะ นายก
ของโลก ทรงยังเราให้พอใจ ณ ที่นั้นว่า ท่านจะได้
บรรลุอมตธรรม เราเคลื่อนจากกายนั้นแล้ว ได้ไปสู่
เทวโลก แวดล้อมไปด้วย นางอัปสร เสวยสุขอันเป็น
ทิพย์อยู่ เราได้เป็นจอมเทวดา เสวยเทวรัชสมบัติอยู่
๗ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็นใหญ่ในแผ่น
ดิน ๓ ครั้ง เราขวนขวายในวิเวก มีปัญญาและสำรวม
ดีแล้ว ทรงกายอันเป็นที่สุดอยู่ ในศาสนาของพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้
ส่งพระนราสภให้ข้ามไป ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการส่งพระนราสภให้ข้ามไป
คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว กิเลสทั้งหลายเรา
เผาหมดแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำ
สำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
โดยมุขคือการประกาศอาการที่บริบูรณ์ ด้วยสัมมาปฏิบัติของตน จึงได้ภาษิต
คาถาว่า
เมื่ออาพาธบังเกิดแก่เรา สติก็เกิดขึ้นแก่เราว่า
อาพาธเกิดขึ้นแก่เราแล้ว เวลานี้เป็นเวลาที่เราไม่ควร
ประมาท ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 193
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาพาเธ สมุปฺปนฺเน ความว่า เมื่อ
โรคอันเป็นเหตุแห่งความกำเริบของธาตุ อันมีส่วนที่ไม่เสมอกัน อันได้นามว่า
อาพาธ เพราะยังสรีระให้ถูกเบียดเบียนยิ่ง เกิดแล้วแก่เรา.
บทว่า สติ เม อุปปชฺชถ ความว่า อาพาธเกิดแล้วแก่เราแล
ข้อที่อาพาธพึงกำเริบขึ้นนี้ มีทางเป็นไปได้ เอาเถิดเราจะปรารภความเพียร
ตราบเท่าที่อาพาธนี้ยังไม่กำเริบ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ได้ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อการทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง ด้วยประการ
ฉะนี้ สติอันเป็นที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียร จึงเกิดขึ้นแก่เรา ผู้อัน
ทุกขเวทนาเบียดเบียนอยู่ ด้วยสามารถแห่งอาพาธนั้นแหละ ด้วยเหตุนั้น
พระเถระจึงกล่าวว่า อาพาธเกิดขึ้นแล้วแก่เรา เวลานี้เป็นเวลาที่เราไม่ควร
ประมาท ดังนี้. ก็พระเถระนี้ การทำสติอันบังเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ให้เป็น
ดังขอสับแล้วบรรลุพระอรหัต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอุตติยเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๓ ในอรรถกถาเถรคาถา
ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี
ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ
๑. พระนิโครธเถระ ๒. พระจิตตกเถระ ๓. พระโคสาลเถระ
๔. พระสุคันธเถระ ๕. พระนันทิยเถระ ๖. พระอภัยเถระ ๗. พระโลม-
สกังคิยเถระ ๘. พระชัมพุคามิกบุตรเถระ ๙. พระมหาริตเถระ ๑๐. พระ-
อุตติยเถระ และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 194
เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๔
๑. คหวรตีริยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระคหวรตีริยเถระ
[๑๖๘] ได้ยินว่า พระคหวรตีริยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บุคคล ถูกยุง และเหลือบกัดแล้ว ในป่าใหญ่
พึงเป็นผู้มีสติ อดทนต่อสัมผัสแห่งยุง และเหลือบ
ในป่าใหญ่นั้น เหมือนช้างอดทนต่อการถูกอาวุธใน
สงคราม ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 195
วรรควรรณนาที่ ๔
อรรถกถาคหวรตีริยเถรคาถา
คาถาของพระคหวรตีริยเถระเริ่มต้นว่า ผฺฏโ ฑเสติ. เรื่องราว
เป็นอย่างไร.
ได้ยินว่า ท่านมีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี ในกัปที่ ๓๑ แต่
ภัทรกัปนี้ (เกิด) เป็นนายพรานเนื้อ เที่ยวไปในป่าได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า สิขี ทรงแสดงธรรมแก่เทวดา นาค และยักษ์ทั้งหลายที่โคน
ต้นไม้แห่งใดแห่งหนึ่ง. ก็ครั้นเห็นแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใส ได้ถือเอานิมิตใน
เสียงว่า ธรรมนี้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ ด้วยการที่มีจิตเลื่อมใสนั้น
ท่านเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไปๆ มา ๆ อยู่ในสุคติภพนั่นแหละอีก แล้วเกิด
ในตระกลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า
อัคคิทัตตะ เจริญวัยแล้ว เห็นยมกปาฏิหาริย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เกิด
ความเลื่อมใส บวชในพระศาสนา เรียนกรรมฐาน อยู่ในราวป่า ชื่อว่า
" คหวรตีระ" ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้นามว่า " คหวรตีริยะ."
ท่านเจริญวิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดัง
คาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อก่อน เราเป็นพรานเนื้อ เที่ยวอยู่ในป่าอัน
สงัดเงียบ ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี อัน
หมู่เทวดาห้อมล้อม กำลังทรงประกาศสัจจะ ๔ ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 196
แสดงอมตบท เราได้สดับธรรมอันไพเราะของพระ-
พุทธเจ้า ผู้เผ่าพันธุ์ของโลก พระนามว่า สิขี เรายัง
จิตให้เลื่อมใสในพระสุรเสียง เรายังจิตให้เลื่อมใสใน
พระองค์ ท่านผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอเหมือนแล้ว
ข้ามพ้นภพที่ข้ามได้ยาก ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วยการได้สัญญานั้น เรา
ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในเสียง. เราเผา
กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา
กระทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระนั้น ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ได้ไปสู่พระนครสาวัตถีแล้ว. ญาติทั้งหลายพึงข่าวว่าท่านมาแล้ว
พากันเข้าไปหา บำเพ็ญมหาทานแล้ว. ท่านพักอยู่ชั่ววันเล็กน้อย ประสงค์จะ
กลับไปสู่ป่านั่นอีก. ญาติทั้งหลายได้พูดกะท่านว่า ท่านเจ้าข้า ขึ้นชื่อว่าป่า
มีอันตรายมาก ด้วยสามารถแห่งยุงและเหลือบเป็นต้น ขอท่านจงอยู่ในที่นี้
แหละ. พระเถระฟังดังนั้นแล้ว กล่าวว่า ป่าอย่างเดียวเท่านั้น เป็นที่ชอบใจ
ของเรา เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล ด้วยมุขคือการประกาศความยินดีใน
วิเวก ได้ภาษิตคาถาว่า
บุคคลถูกยุงและเหลือบกัดแล้ว ในป่าใหญ่
พึงเป็นผู้มีสติ อดทนต่อสัมผัสแห่งยุงและเหลือบใน
ป่าใหญ่นั้น เหมือนช้างอดทนต่อการถูกอาวุธใน
สงคราม ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 197
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผุฏฺโ ฑเสติ มกเสหิ ความว่า
บุคคลที่ถูกแมลงที่แฝงตัวอยู่ในความมืด อันได้นามว่า ยุง เพราะชอบกัด
และสัตว์ที่มีปากคมเหมือนเข็ม ที่รู้จักกันว่าเหลือบ สัมผัสดือกัดแล้ว.
บทว่า อรญฺสฺมึ ความว่า ชื่อว่าในป่า เพราะประกอบด้วยลักษณะ
ของป่า อันท่านกล่าวไว้ว่า หลังจากหมู่บ้านไป ๕๐๐ ช่วงธนู.
บทว่า พฺรหาวเน ความว่า ในป่าใหญ่ชื่อว่า อรัญญานี เพราะ
รกชัฏไปด้วยต้นไม้ใหญ่ และสุมทุมพุ่มพฤกษ์.
บทว่า นาโคว สงฺคามสีเสว ความว่า เหมือนช้างตัวประเสริฐ
ที่เข้าสู่สงคราม อดทนการถูกอาวุธของทหารฝ่ายข้าศึกในสนามรบ. บุคคลผู้
เกิดอุตสาหะว่า ขึ้นชื่อว่าการอยู่ป่า อันบัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ทรงสรรเสริญแล้ว ชมเชยแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า สโต คือเป็นผู้มีสติในที่นั้น
คือในป่าใหญ่นั้น. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสัมผัสแห่งยุงเป็นต้นนั้นปรากฏแล้ว
พึงอดทนคืออดใจ ได้แก่อดกลั้น. อธิบายว่า ไม่พึงละการอยู่ป่าเสีย ด้วยคิดว่า
ยุงเป็นต้น เบียดเบียนเรา ดังนี้.
จบอรรถกถาคหวรตีริยเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 198
๒. สุปปิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุปปิยเถระ
[๑๖๙] ได้ยินว่า พระสุปปิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บุคคลผู้มีความเพียร ถึงจะแก่ แต่เผากิเลสให้
เร่าร้อน พึงบรรลุนิพพานอันไม่รู้จักแก่ ไม่มีอามิส
เป็นธรรมสงบอย่างยิ่ง เกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม.
อรรถกถาสุปปิยเถรคาถา
คาถาของท่านพระสุปปิยเถระเริ่มต้นว่า อชร ชีรมาเนน. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
ท่านเกิดในเรือนมีตระกูล บวชเป็นดาบส อยู่ในราวป่า เห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ในราวป่านั้น มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลาผล แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
และแก่ภิกษุสงฆ์.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
แล้วเกิดในตระกูลกษัตริย์ ในกาลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า
กัสสปะ ถึงความเป็นผู้รู้โดยลำดับ ได้ความสังเวช โดยอาศัยคบหากัลยาณมิตร
บวชในพระศาสนา ได้เป็นพหูสูต ท่านทั้งยกตน ทั้งข่มผู้อื่น เพราะความ
เมาในชาติ และเพราะความเมาใน สุตะ อยู่แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 199
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านเกิดในตระกูลคนเฝ้าป่าช้า อันเป็นตระกูล
ที่คนเหยียดหยาม ในพระนครสาวัตถี ด้วยผลแห่งกรรมนั้น. ท่านได้มีนามว่า
สุปปิยะ ครั้งนั้น ท่านถึงความเป็นผู้รู้แล้ว เข้าไปหาพระโสปากเถระผู้เป็น
สหายของตน ฟังธรรมในสำนักของพระโสปากเถระนั้น แล้วได้ความสังเวช
บวชแล้ว บำเพ็ญสัมมาปฏิบัติ ได้ภาษิตคาถาว่า
บุคคลผู้มีความเพียร ถึงจะแก่ แต่เผากิเลสให้
เร่าร้อน พึงบรรลุนิพพาน อันไม่รู้จักแก่ ไม่มีอามิส
เป็นธรรมสงบอย่างยิ่ง เกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชร ได้แก่ เว้นจากชรา. ท่านกล่าว
หมายถึงพระนิพพาน. อธิบายว่า พระนิพพานนั้น ชื่อว่า ไม่แก่ เพราะเหตุที่
พระนิพพานนั้นไม่มีเกิด จึงไม่มีแก่ หรือชื่อว่าไม่แก่ แม้เพราะเหตุที่ไม่มี
ความแก่ เพราะเมื่อบุคคลบรรลุพระนิพพานนั้นแล้ว ชรานั้นย่อมไม่มี.
บทว่า ชิรมาเนน ความว่าแก่อยู่ คือถึงความแก่เข้าไปทุก ๆ ขณะ.
บทว่า ตปฺปมาเนน ความว่า เผากิเลสให้เร่าร้อน คือ ยังไฟ
๑๑ กองมีราคะเป็นต้นให้ไหม้อยู่.
บทว่า นิพฺพุตึ ได้แก่พระนิพพาน อันชื่อว่า มีการดับกิเลสเป็น
สภาพ เพราะไม่มีความเร่าร้อน ตามที่กล่าวแล้ว.
บทว่า นิมิย ความว่า พึงให้เป็นไป คือ พึงเลือกสรร.
บทว่า ปรม สนฺตึ ความว่า ชื่อว่า สงบอย่างสูง เพราะเข้าไป
สงบความกระวนกระวายแก่อภิสังขาร คือ กิเลสที่เหลือได้เป็นธรรมดา.
ชื่อว่าเกษมจากโยคะ เพราะไม่ถูกผูกพันด้วยโยคะทั้ง ๔.
ชื่อว่ายอดเยี่ยม เพราไม่มีธรรมอะไร ๆ ที่จะเหนือกว่าตนไปได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 200
ก็ในคาถานี้ มีความสังเขปดังต่อไปนี้ บุคคลชื่อว่าแก่ เพราะความ
เป็นผู้อันชราครอบงำอยู่ทุก ๆ ขณะ อนึ่ง ชื่อว่าถึงความชรา เพราะถูกไฟ
คือ ราคะเป็นต้นเผาผลาญ ชื่อว่า มีอุปัทวะ. เพราะความเป็นผู้ยังไม่เข้าไป
สงบระงับโดยประการทั้งปวง โดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และไม่มีสาระอย่างนี้
พึงบรรลุพระนิพพานที่ชื่อว่า ไม่แก่ เพราะความเป็นปฏิปักษ์ต่อชรานั้น
อันเป็นแดนเข้าไปสงบระงับอย่างยิ่ง อันอะไร ๆ เข้าไปประทุษร้ายไม่ได้
ยอดเยี่ยม ไม่มีอามิส กลับได้คิดว่า ลาภก้อนใหญ่ โผล่ขึ้นอยู่ในเงื้อมมือ
เรามากมายจริงหนอ ดังนี้. เปรียบเหมือนมนุษย์ทั้งหลาย แลกเปลี่ยนสินค้า
อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่สนใจ (ไม่เพ่งเล็ง) ย่อมได้รับความพอใจ สินค้าที่ตน
ได้มา ฉันใด พระเถระนี้ก็ฉันนั้น เป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่. เมื่อจะประกาศ
ความที่ตน ไม่เพ่งเล็งในกายและชีวิตของตน และความที่ตนมีใจอันส่งไปสู่
พระนิพพาน จึงกล่าวว่า พึง บรรลุพระนิพพานอันไม่รู้จักแก่ ไม่มีอามิส
เป็นธรรมสงบอย่างยิ่ง เกษมจากโยคะ ยอดเยี่ยม ดังนี้ เพิ่มพูนข้อปฏิบัติ
นั้นแลอยู่ ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์
ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์ มีนามว่า วรุณ
เป็นผู้เรียนจบมนต์ ทิ้งบุตร ๑๐ คนเข้าไปกลางป่า
สร้างอาศรมอย่างสวยงาม สร้างบรรณศาลจัดไว้เป็น
ห้อ ง ๆ น่ารื่นรมย์ใจ อาศัยอยู่ในป่าใหญ่ พระพุทธ-
เจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้
สมควรรับเครื่องบูชา ทรงพระประสงค์จะช่วยเหลือ
เรา พระองค์จึงได้เสด็จมายังอาศรมของเรา พระรัศมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 201
ได้แผ่กว้างใหญ่ตลอดไพรสณฑ์ ครั้งนั้น ป่าใหญ่
โพลงไปด้วยพุทธานุภาพ เราเห็นปาฏิหาริย์ของ
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้คงที่ ได้เก็บเอาดอกไม้
มาเย็บเป็นกระทง แล้วเอาผลไม้ใส่จนเต็มหาบเข้าไป
เฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วได้ถวายพร้อมทั้งหาบ
เพื่อทรงอนุเคราะห์เรา พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่เราว่า
ท่านจงถือเอาหาบเดินตามหลังเรามา เมื่อสงฆ์บริโภค
แล้ว บุญจักมีแก่ท่าน เราได้เอาหาบผลไม้ไปถวายแด่
ภิกษุสงฆ์ เรายังจิตให้เลื่อมใสในภิกษุสงฆ์แล้ว ได้เข้า
ถึงสวรรค์ชั้นดุสิตเป็นผู้ประกอบด้วยการฟ้อน การขับ
การประโคมอันเป็นทิพย์ เสวยยศในสวรรค์ชั้นดุสิต
นั้นโดยบุญกรรม เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ เป็นเทวดา
หรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้น ๆ เราไม่มีความบกพร่อง
ในเรื่องโภคทรัพย์เลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
เพราะได้ถวายผลไม้ แด่พระพุทธเจ้า เราจึงได้เป็น
ใหญ่ตลอดทวีปทั้ง ๔ พร้อมด้วยสมุทร พร้อมทั้งภูเขา
ถึงฝูงนกมีเท่าใดที่บินอยู่ในอากาศ นกเหล่านั้นก็ตกอยู่
ในอำนาจของเรา นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ ยักษ์
ภูต รากษส กุมภัณฑ์ และครุฑ เท่าที่มีอยู่ในไพร-
สณฑ์ ต่างก็บำรุงบำเรอเรา ถึงพวกเต่า หมาไน ผึ้ง
และเหลือบยุง ก็ตกอยู่ในอำนาจของเรา นี้เป็นผล
แห่งการถวายผลไม้ แม้เหล่าสกุณปักษีที่มีกำลัง ชื่อ
สุบรรณ ก็นับถือเรา นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
ถึงพวกนาคที่มีอายุยืน มีฤทธิ์ มียศใหญ่ ก็ตกอยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 202
อำนาจของเรา นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ ราชสีห์
เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาป่า หมาจิ้งจอก
ก็ตกอยู่ในอำนาจของเรา นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
ผู้ที่อยู่ ณ ต้นโอสถ และต้นหญ้า กับผู้ที่อยู่ใน
อากาศ ล้วนนับถือเราทั้งหมด นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ผลไม้ ธรรมที่เห็นได้ยาก ละเอียด ลึกซึ้ง ซึ่งพระ-
ศาสดาทรงประกาศไว้ดีแล้ว เราถูกต้องแล้วอยู่นี้เป็น
ผลแห่งการถวายผลไม้ เราถูกต้องวิโมกข์ ๘ เป็นผู้ไม่มี
อาสวะ เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส และมีปัญญา
รักษาตนอยู่ นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ เราเป็น
ผู้หนึ่งในจำนวนโอรสของพระพุทธเจ้า ที่ดำรงอยู่ใน
ผล สิ้นโทสะ มียศใหญ่ นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
เราถึงความบริบูรณ์ ในอภิญญา อันกุศลมูลตักเตือน
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ เราเป็น
ผู้หนึ่งในจำนวนพระโอรสของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ได้
วิชชา ๓ บรรลุฤทธิ์ มียศใหญ่ สมบูรณ์ด้วยทิพโสต
ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาล
นั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้
เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว
ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระแม้บรรลุพระอรหัตแล้ว ก็ได้กล่าวคาถานั่นแหละ โดย
นับเป็นการพยากรณ์พระอรหัตผล.
จบอรรถกถาสุปปิยเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 203
๓. โสปากเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโสปากเถระ
[๑๗๐] ได้ยินว่า พระโสปากเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บุคคลพึงมีเมตตา ในบุตรคนเดียว ผู้เป็นที่รัก
ฉันใด ภิกษุพึงมีเมตตาในสัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน
ฉันนั้น.
อรรถกถาโสปากเถรคาถา
คาถาของท่านพระโสปากเถระเริ่มต้นว่า ยถาปิ เอกปุตฺตสฺมึ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมกุศล อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดเป็น
บุตรของกุฏุมพีคนใดคนหนึ่ง ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนาม
ว่า กกุสันธะ วันหนึ่งเห็นพระบรมศาสดา แล้วมีจิตเลื่อมใส แล้วน้อม
ถวายเมล็ดพืชเครือเถา แด่พระบรมศาสดา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัย
ความอนุเคราะห์ จึงทรงรับไว้. และท่านมีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในภิกษุสงฆ์
เริ่มตั้งสลากภัต ถวายขีรภัตแด่ภิกษุ ๓ รูป โดยตั้งใจอุทิศเป็นสังฆทานจน
ตลอดชีวิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 204
ด้วยบุญกรรมเหล่านั้น ท่านเสวยสมบัติไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย คราวหนึ่งเกิดในกำเนิดมนุษย์ ได้ถวายขีรภัต แด่พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง. ท่านทำบุญไว้มากในภพนั้น ๆ อย่างนี้ ท่องเที่ยว
ไปในสุคติภพอย่างเดียว ถือปฏิสนธิในท้องของหญิงยากจนคนใดคนหนึ่ง ใน
พระนครสาวัตถี ด้วยผลแห่งกรรมที่มีในก่อน ในพุทธุปบาทกาลนี้. มารดา
ของท่านบริหารครรภ์ได้ ๑๐ เดือน เมื่อครรภ์แก่รอบ ในเวลาจะคลอดก็ไม่
สามารถจะคลอดได้ ถึงกับสลบไป นอนเหมือนคนตายแล้ว ตลอดเวลานาน.
ญาติทั้งหลาย นำนางไปป่าช้า ด้วยสำคัญว่าตายแล้ว ยกขึ้นสู่เชิงตะกอน
เมื่อลมฝนตั้งขึ้นด้วยอำนาจของเทวดา จึงไม่ยอมใส่ไฟ หลีกไปแล้ว. ทารก
เป็นผู้ไม่มีโรคออกจากต้องมารดา ด้วยอานุภาพแห่งเทวดา เพราะเป็นผู้จะ
กระทำให้แจ้งพระอรหัตในภพสุดท้าย. ส่วนมารดากระทำกาละแล้ว.
เทวดาอุ้มทารกไปวางไว้ในเรือนของคนเฝ้าป่าช้า ด้วยรูปของมนุษย์
เลี้ยงดูด้วยอาหาร อันสมควรตลอดเวลาเล็กน้อย. และต่อจากนั้น คนเฝ้าป่าช้า
ก็ทำทารกนั้นให้เป็นบุตรของตน เลี้ยงดูให้เติบใหญ่. เขาเจริญเติบโตอย่างนั้น
เที่ยวเล่นอยู่กับทารกชื่อว่า สุปปิยะ ผู้เป็นบุตรของคนเฝ้าป่าช้า. เพราะความ
ที่เขาเกิดเจริญเติบโตในป่าช้า จึงได้นามว่า โสปากะ.
ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่ข่าย คือพระญาณไป
ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งเวไนยสัตว์ ทรงเห็นเขาหยั่งลงสู่
ภายในข่ายคือพระญาณ จึงได้เสด็จไปสู่ที่แห่งป่าช้า. ทารกอันบุพเหตุตักเตือน
อยู่ เป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ถวายบังคมแล้วยืนอยู่.
พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เขา. เขาฟังธรรมแล้ว ทูลขอบรรพชา
อันพระบรมศาสดาตรัสถามว่า ท่านเป็นผู้อันบิดาอนุญาตแล้วหรือ จึงนำบิดา
ไปสู่สำนักของพระบรมศาสดา. บิดาของเขาเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ถวาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 205
บังคมแล้ว อนุญาตว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงยังทารกนี้
ให้บวชเถิด. พระบรมศาสดาให้เขาบวชแล้ว ทรงแนะนำในเมตตาภาวนา-
กรรมฐาน.
ท่านเรียนกรรมฐานมีเมตตาเป็นอารมณ์ อยู่ในป่าช้า ยังฌานมีเมตตา
เป็นอารมณ์ให้เกิดแล้ว ต่อกาลไม่นานนัก กระทำฌานให้เป็นบาท เจริญ-
วิปัสสนา กระทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว
ไว้ในอปทานว่า
พระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่ ทรงรู้จบธรรม
ทั้งปวง ทรงพระนามว่า กกุสันธะ พระองค์เสด็จหลีก
ออกจากหมู่ ไปสู่ภายในป่า เราถือเมล็ดพืชเครือเถา
เที่ยวมา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าฌานอยู่
ณ ระหว่างภูเขา เราเห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพของ
ทวยเทพแล้ว มีใจเลื่อมใส ได้ถวายเมล็ดพืชแด่พระ-
พุทธเจ้า ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล เป็นนักปราชญ์ ใน
กัปนี้เอง เราได้ถวายพืชใดในกาลนั้น ด้วยการถวาย
พืชนั้น เราไม่รู่จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งเมล็ดพืช.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ท่านเป็นพระอรหันต์ เมื่อจะแสดงวิธีแห่งการเจริญเมตตา แก่ภิกษุ
ทั้งหลายผู้มีปกติอยู่ในป่าช้าเหล่าอื่น ได้ภาษิตคาถาว่า
บุคคลพึงมีเมตตา ในบุตรคนเดียวผู้เป็นที่รัก
ฉันใด ภิกษุพึงมีเมตตาในสัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน
ฉันนั้น ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 206
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งอุปมา.
บทว่า เอกปุตฺตสฺมึ ความว่า ที่ชื่อว่าบุตร ด้วยอรรถว่า ทำให้บริสุทธิ์
และดำรง (ต้านทาน) ไว้ซึ่งวงศ์ตระกูล ได้แก่บุตร มีบุตรที่เกิดแต่อก
เป็นต้นเป็นประเภท. บุตรคนเดียวชื่อว่า เอกปุตฺโต ในบุตรคนเดียวนั้น.
บทว่า เอกปุตฺตสฺมึ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในวิสัย (อารมณ์เป็นที่ยึดเหนี่ยว).
บทว่า ปิยสฺมึ ความว่า ชื่อว่าเป็นฐานที่ตั้งแห่งเหตุของความรัก
เพราะเป็นผู้มีความประพฤติน่ารัก เพราะเป็นบุตรคนเดียว และเพราะรูป
ศีล และอาจาระเป็นต้น.
บทว่า กุสลี ความว่า ความเกษม ความสวัสดี ท่านเรียกว่า กุศล
บุคคลชื่อว่า กุสลี เพราะเป็นผู้มีกุศลอันจะพึงได้ คือผู้แสวงประโยชน์ต่อสัตว์
ทั้งหลาย ได้แก่ผู้มีอัธยาศัยประกอบด้วยเมตตา.
บทว่า สพฺเพสุ ปาเณสุ ได้แก่ ในสัตว์ทั่วไป. บทว่า สพฺพตฺถ
ความว่า ในทิศทั้งปวง คือในที่ทั้งปวงมีภพเป็นต้น หรือในทิศทั้งปวงที่ไม่
ได้กำหนดไว้. ท่านอธิบายว่า มารดาบิดาพึงเป็นผู้มีเมตตา คือ พึงแสวงหา
ประโยชน์โดยส่วนเดียว ในบุตรคนเดียวผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น พึงเป็นผู้มีเมตตา โดยมุ่งประโยชน์เกื้อกูลโดยส่วนเดียว ใน
สัตว์ทั่วไป ผู้ตั้งอยู่แล้วในทิศทั้งปวง ต่างด้วยทิศบูรพาเป็นต้น ในภพทั้งปวง
ต่างด้วยกามภพเป็นต้น และในวัยทั้งปวงไม่มีกำหนด ต่างโดยวัยหนุ่มเป็นต้น
คือพึงแผ่เมตตาซึ่งมีรสเดียวกัน ไปในที่ทั้งปวง โดยไม่แบ่งชั้นไม่จำกัดเขต
ว่าเป็นมิตร เป็นคนกลาง ๆ หรือเป็นศัตรู. ก็พระเถระครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว
ได้ให้โอวาทว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพึงประกอบเนือง ๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 207
ซึ่งเมตตาภาวนาอย่างนี้ ท่านทั้งหลายพึงเป็นผู้มีส่วน แห่งอานิสงส์ของเมตตา
๑๑ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ย่อมหลับ
เป็นสุข ดังนี้ โดยส่วนเดียว.
จบอรรถกถาโสปากเถรคาถา
๔. โปสิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโปสิยเถระ
[๑๗๑] ได้ยินว่า พระโปสิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
หญิงเหล่านี้ ดีแต่เมื่อยังไม่เข้าใกล้ เมื่อเข้าใกล้
นำความฉิบหายมาให้เป็นนิตย์ทีเดียว เราออกจากป่า
มาสู่บ้าน เข้าไปสู่เรือนแห่งญาติแล้ว ไม่ได้บอกลา
ใคร ๆ ออกจากเรือนนั้นหนีมาแล้ว.
อรรถกถาโปสิยเถรคาถา
คาถาของท่านพระโปสิยเถระเริ่มต้นว่า อนาสนฺนวรา. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ เป็น
อันมาก ท่องเที่ยวอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดเป็นนายพรานเนื้ออยู่ในป่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 208
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ติสสะ ในกัปที่ ๓๖ แต่
ภัทรกัปนี้.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปสู่ป่า เพื่อจะทรงการทำการ
อนุเคราะห์เขา แสดงพระองค์ให้ปรากฏในคลองแห่งจักษุของเขาแล้ว. เขาเห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้า มีจิตเลื่อมใสแล้ว วางอาวุธเข้าไปเฝ้า ประคองอัญชลี
ยืนอยู่แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระประสงค์จะประทับนั่ง. เขาถือ
เอากำหญ้ามาปูลาดถวายในภูมิภาคที่ราบเสมอ โดยความเคารพในขณะนั้น
ทีเดียว. พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ในเขา จึงประทับนั่ง
แล้ว. ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งแล้ว เขาเสวยปีติและโสมนัสมิใช่น้อย
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ตนเองก็นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า พืชคือกุศล มีประมาณ
เท่านี้ สมควรแก่พรานผู้นี้. ทรงลุกจากอาสนะเสด็จหลีกไปแล้ว เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พญาสีหราชฆ่าเขาแล้ว. เขาตายไปเกิด
ในเทวโลก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเหตุการณ์ว่า นัยว่า เมื่อเราไม่เข้า
ไปหา เขาถูกพญาราชสีห์ฆ่าแล้ว จักตกนรก ดังนี้ จึงเสด็จเข้าไปหา เพื่อ
จะช่วยให้เขาได้บังเกิดในสุคติ และเพื่อจะทรงปลูกพืชคือกุศล.
เขาสถิตอยู่ในเทวโลก จนตลอดอายุจุติจากเทวโลกนั้นแล้ว ก็ท่องเที่ยว
อยู่ในสุคติภพเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดเป็นบุตรของเศรษฐีผู้มีสมบัติ
มาก คนใดคนหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี เป็นน้องชายคนเล็กของพระสังคามชิตเถระ.
เขาได้มีนามว่า " โปสิยะ " เขาเจริญวัยแล้ว ก็มีภรรยา ได้บุตรคนหนึ่ง
อันธรรมดาที่กระทำไว้ในภพสุดท้ายตักเตือนอยู่ อาศัยเหตุมีชาติเป็นต้น เกิด
ความสลดใจ บวชแล้วเข้าป่า เป็นผู้หลีกออกจากหมู่ ประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
จตุสัจจกัมมัฏฐานภาวนา ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นาน
นัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 209
ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อ
ลัมพกะ ที่ภูเขาลัมพกะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงพระนามว่า ติสสะ เสด็จจงกรมอยู่กลางแจ้ง
เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้ออยู่ในอรัญราวป่า ได้พบ
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดกว่าทวยเทพ จึงได้ถวาย-
หญ้ากำหนึ่ง แด่พระพุทธเจ้า เพื่อเป็นที่ประทับนั่ง
ครั้นแล้วยังจิตให้เลื่อมใส ถวายบังคมพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าแล้ว บ่ายหน้ากลับทางทิศอุดร เราเดินไป
ไม่นานก็ถูกราชสีห์ฆ่าตาย เราเป็นผู้ถูกราชสีห์ฆ่าตาย
ในที่นั้นนั่นเอง เราได้ทำอาสนกรรม ณ ที่ใกล้พระ-
พุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดไม่มีอาสวะ เราได้ไปยัง
เทวโลก เหมือนลูกศรที่พ้นจากแล่ง ฉะนั้น ปราสาท
ในเทวโลกนั้น ซึ่งบุญกรรมเนรมิตให้ เป็นของงดงาม
มีแล่งธนูตั้งพัน มีลูกหนังเป็นจำนวนร้อย มีธงประจำ
ปราสาทเป็นสีเขียว รัศมีของปราสาทนั้นแผ่ซ่านไป
เหมือนพระอาทิตย์อุทัย เราเป็นผู้เพรียบพร้อม ด้วย
เหล่านางเทพกัญญา เพรียบพร้อมด้วยกามคุณารมย์
บันเทิงเริงรมย์อยู่ เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จุติจาก
เทวโลกมาเป็นมนุษย์ เป็นผู้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ
ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายหญ้าสำหรับ
รองนั่ง ด้วยการถวายหญ้านั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายหญ้ากำหนึ่ง. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้
ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 210
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว มาสู่พระนครสาวัตถี เพื่อ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ไปยังเรือนแห่งญาติ เพื่ออนุเคราะห์ญาติ.
บรรดาญาติเหล่านั้น ภรรยาเก่าไหว้ท่านแล้ว แสดงวัตรเหมือนคนเข้าใกล้กัน
ครั้งแรก ด้วยการให้อาสนะเป็นต้น ไม่รู้อัธยาศัยของพระเถระ ได้มีความ
ประสงค์จะประเล้าประโลม ด้วยเล่ห์มายาของหญิงเป็นต้น ในภายหลัง. พระ-
เถระคิดว่า โอ หญิงนี้เป็นอันธพาล ปฏิบัติอย่างนี้ แม้กับคนเช่นเรา ดังนี้แล้ว
ไม่พูดอะไร ลุกจากอาสนะแล้ว มุ่งไปป่าทีเดียว. ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในป่า
ถามท่านว่า อาวุโส ท่านทำไมถึงกลับเร็วนัก ไม่พบญาติหรือ. พระเถระ
เมื่อจะบอกความเป็นไปในเรื่องนั้น ได้ภาษิตคาถาความว่า
หญิงเหล่านี้ ดีแต่เมื่อยังไม่เข้าไปใกล้ เมื่อเข้า
ไปใกล้ นำความฉิบหายมาให้เป็นนิตย์ทีเดียว เราออก
จากป่ามาสู่บ้าน เข้าไปสู่เรือนแห่งญาติแล้ว ไม่ได้ลา
ใคร ๆ ลุกจากเตียงนั้น หนีมาแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนาสนฺนวรา ความว่า หญิงเหล่านี้
ไม่ใกล้ชิด คือไม่เข้าไปหา หรืออยู่ห่างไกลเป็นของดี คือประเสริฐ นำ
ประโยชน์มาให้บุรุษ ก็ข้อนั้นแลเป็นของมีเป็นประจำทีเดียว คือตลอดกาล
ทั้งปวง ไม่เฉพาะกลางคืน ไม่เฉพาะแม้ในกลางวัน ไม่เฉพาะในที่เร้นลับ.
บทว่า วิชานตา แปลว่า รู้อยู่. บาลีว่า อนาสนฺนปรา ดังนี้ก็มี.
ความก็อย่างเดียวกัน ก็ในคาถานี้มีอธิบายดังนี้ ช้าง ม้า กระบือ ราชสีห์
เสือโคร่ง ยักษ์ รากษส และปีศาจ แม้ที่ดุร้าย มนุษย์ทั้งหลายไม่เข้าใกล้
เป็นดี คือ เป็นสิ่งประเสริฐ ไม่นำความฉิบทายมาให้ แต่สัตว์เหล่านั้น
เมื่อเข้าไปใกล้ ก็จะพึงทำความฉิบหายให้เฉพาะในปัจจุบันอย่างเดียวเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 211
ส่วนหญิงทั้งหลาย เข้าไปใกล้แล้ว ยังประโยชน์แม้นับเนื่องแล้วใน
พระนิพพาน อันเป็นปัจจุบัน และภายหน้าให้ฉิบหาย คือให้ถึงความพินาศ
อย่างใหญ่หลวง เพราะฉะนั้น หญิงเหล่านี้ ไม่เข้าไปใกล้ได้เป็นดี เมื่อเข้าใกล้
นำความฉิบหายมาให้เป็นนิตย์ทีเดียว. บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงความนั้น
โดยนำตนเข้าไปเปรียบ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า คามา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า คามา เท่ากับ คาม แปลว่า สู่บ้าน. ก็บทนี้เป็นปัญจมีวิภัตติ ลงใน
อรรถแห่งทุติยาวิภัตติ.
บทว่า อรญฺมาคมฺม ความว่า มาจากป่า. ม อักษรทำการเชื่อมบท.
ก็บทนี้เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ.
บทว่า ตโต ความว่า ลุกจากเตียงนั้น.
บทว่า อนามนฺเตตฺวา ความว่า ไม่บอกลา คือ ไม่พูดกับภรรยาเก่า
แม้เพียงคำเท่านี้ว่า เจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้.
พระเถระพูดกับตนเองว่า โปสิยะ เหมือนพูดกับคนอื่น. ก็อาจารย์
เหล่าใดกล่าวว่า ปกฺกามึ คำประกอบความของอาจารย์เหล่านั้นก็ว่า เราชื่อว่า
โปสิยะ หลีกไปแล้ว. ส่วนอาจารย์เหล่าใดกล่าวว่า หญิงนั้นให้พระเถระผู้เข้า
ไปสู่เรือนฉันแล้ว ประสงค์จะเล้าโลม พระเถระเห็นดังนั้น ก็ออกจากเรือนไป
วิหารในทันใดนั้นเอง นั่งบนเตียงในที่เป็นที่อยู่ของตน. แม้หญิงนั้นเล่า ก็
ประดับตกแต่ง เข้าไปสู่ที่อยู่ของพระเถระในวิหารภายหลังภัต. พระเถระ
เห็นหญิงนั้นแล้ว ไม่พูดอะไรเลย ลุกขึ้นแล้ว ตรงไปยังที่พักกลางวันทันที
ดังนี้ เนื้อความแห่งบาทคาถาว่า คามา อรญฺมาคมฺน เราออกจากป่า
มาสู่บ้าน ดังนี้ ของพระอาจารย์เหล่านั้น ต้องนำไป (ประกอบ) ด้วย
สามารถแห่งความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ก็ในคาถานี้ วิหารท่านประสงค์
เอาว่า ป่า.
จบอรรถกถาโปสิยเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 212
๕. สามัญญกานิเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของสามัญญกานิเถระ
[๑๗๒] ได้ยินว่า พระสามัญญกานิเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
บุคคลผู้ต้องการความสุข เมื่อประพฤติให้สมควร
แก่ความสุขนั้น ย่อมได้ความสุข ผู้ใดเจริญอริยมรรค
อันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางตรง เพื่อบรรลุอมต-
ธรรม ผู้นั้นย่อมได้ความสรรเสริญและเจริญด้วยยศ.
อรรถกถาสามัญญกานิเถรคาถา
คาถาของท่านพระสามัญญกานิเถระ เริ่มต้นว่า สุข สุขตฺโถ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในกำเนิดมนุษย์ ในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี แล้วเป็นผู้มีใจเลื่อมใส
ได้ถวายเตียง หลังหนึ่ง. ด้วยบุญกรรมนั้นท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของปริพาชกคนใดคนหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้
ท่านได้มีนามว่า สามัญญกานี เขารู้เดียงสาแล้ว เห็นยมกปาฏิหาริย์ของพระ-
ศาสดา เป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว บวชในพระศาสนาแล้ว เรียนกรรมฐาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 213
อันเหมาะแก่จริต ยังฌานให้เกิดแล้ว กระทำฌานให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนา
บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเลื่อมใส ได้ถวายเตียงหลังหนึ่ง แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่
พระนามว่า วิปัสสี ด้วยมือของตน เราได้ยานช้าง
ยานม้า และยานทิพย์ เราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้น
อาสวะ ก็เพราะการถวายเตียงนั้น ในกัปที่ ๙๑ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายเตียงใด ด้วยการถวายเตียงนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายเตียง. เรา
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ส่วนปริพาชก ชื่อว่า กาติยานะ ผู้เป็นสหาย (สมัยเป็น) คฤหัสถ์
ของพระเถระ ไม่ได้แม้เพียงของกินและเครื่องนุ่งห่ม เพราะจำเดิมแต่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอุบัติขึ้น พวกเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็มีลาภและสักการะ
เสื่อมหมด เข้าไปหาพระเถระทั้ง ๆ ที่มีเพศเป็นอาชีวก ถามว่า พวกท่าน
ชื่อว่าเป็นศากยบุตร ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศ อย่างใหญ่หลวง
ย่อมเป็นอยู่โดยง่าย ส่วนพวกเราตกยาก มีชีวิตลำเค็ญ ความสุขที่เป็นปัจจุบัน
และความสุขที่มีในสัมปรายภพ จะสำเร็จแก่ผู้ปฏิบัติ (ตาม) อย่างไรหนอแล
ดังนี้.
ลำดับนั้น พระเถระบอกกับปริพาชกว่า ความสุขอันเป็นโลกุตระ
อย่างเดียวเท่านั้น ชื่อว่า เป็นสุขโดยตรง และสุขนั้นจะมีแก่ผู้ปฏิบัติ ปฏิปทา
อันสมควรแก่โลกุตรสุขเท่านั้น ดังนี้แล้ว เมื่อจะประกาศความที่โลกุตรสุข
นั้นอันตนได้บรรลุแล้ว ได้ภาษิตคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 214
บุคคลผู้ต้องการความสุข เมื่อประพฤติให้
สมควรแก่ความสุขนั้น ย่อมได้ความสุข ผู้ใดเจริญ
อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางตรง เพื่อ
บรรลุอมตธรรม ผู้นั้นย่อมได้ความสรรเสริญ และ
เจริญด้วยยศ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุข ความว่า ในคาถานี้ ท่านประสงค์
เอาความสุขที่ปราศจากอามิส. ก็นิรามิสสุขนั้น ก็ได้แก่ผลสมาบัติ และพระ-
นิพพาน. สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า สมาธินี้ เป็นทั้งปัจจุบันสุข เป็นทั้งสุข-
วิบาก ในขั้นต่อไป และว่า พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้.
บทว่า สุขตฺโถ ความว่า มีความสุขเป็นประโยชน์ คือ มีความต้องการ
ด้วยความสุข ตามที่กล่าวแล้ว.
บทว่า ลภเต ความว่า ย่อมถึง. ความสุขนี้จะถึงแก่ผู้ที่ต้องการ
เท่านั้น ไม่ถึงแก่บุคคลนอกนี้ ท่านกล่าวว่า ตทาจร ประพฤติให้สมควร
แก่ความสุขนั้น ดังนี้ เพื่อจะแก้คำถามที่ว่า ก็ใครเล่าที่ต้องการ อธิบายว่า
ผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัตินั้นด้วยปฏิบัติอันใด ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ เพื่อข้อปฏิบัตินั้น
ผู้นั้นจะได้ความสุขที่ประพฤติให้สมควรแก่ข้อปฏิบัตินั้นอย่างเดียวก็หามิได้โดย
ที่แท้จะประสบเกียรติอีกด้วย ได้แก่บรรลุถึงชื่อเสียง คือ ความเป็นผู้มียศแผ่ไป
ในที่ลับหลัง โดยนัยมีอาทิว่า เป็นผู้มีศีล มีกายกรรมวจีกรรมบริสุทธิ์ด้วยดี
มีอาชีวะบริสุทธิ์ด้วยดี เป็นผู้มีความเพ่ง เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยฌาน แม้ด้วย
ประการฉะนี้.
บทว่า ยสสฺส วฑฺฒติ ความว่า ยศกล่าวคือความยกย่องสรรเสริญคุณ
ในที่ต่อหน้า และยศกล่าวคือความถึงพร้อมด้วยบริวาร ย่อมเพิ่มพูนแก่ผู้นั้น.
บัดนี้ พระเถระ เมื่อจะแสดงประโยชน์ที่กล่าวไว้ โดยความเป็นของสามัญว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 215
ตทาจร โดยสรุป จึงกล่าวว่า ผู้ใดเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘
เป็นทางตรง เพื่อบรรลุอมตธรรม ผู้นั้นย่อมได้ความสรรเสริญและเจริญ
ด้วยยศ ดังนี้.
ความของพระคาถานั้น มีดังนี้ บุคคลใด ย่อมเจริญปฏิปทาอันเป็น
เหตุให้ถึงความดับทุกข์ อันชื่อว่า อริยะ เพราะอรรถว่าบริสุทธิ์ เพราะไกล
จากกิเลสทั้งหลาย และเพราะอรรถว่ากระทำความเป็นพระอริยะแก่ผู้ปฏิบัติอยู่
ชื่อว่าประกอบด้วยองค์ ๘ เพราะเป็นที่ประชุมแห่งมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ
เป็นต้น ชื่อว่า อัญชสะ ด้วยอรรถว่าไม่คด เพราะเป็นข้อปฏิบัติกลาง ๆ
ที่เว้นจากส่วนสุด ๒ อย่าง ชื่อว่า ตรง เพราะละความคดทางกายเป็นต้นได้
ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่า ผู้ต้องการพระนิพพานพึงดำเนินไป และเพราะ
อรรถว่า ฆ่ากิเลสไปด้วย เดินไปด้วย เพื่อถึง คือ บรรลุอมตธรรม คือ
อสังขตธาตุ ได้แก่ ให้เกิดและเจริญขึ้นในสันดานของตน บุคคลนั้น ท่าน
เรียกว่า สุขตฺโถ ตทาจร (บุคคลผู้ต้องการความสุข เมื่อประพฤติให้
สมควรแก่ความสุขนั้น ) ดังนี้. ปริพาชกฟังคาถานั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส
แล้วบวช ปฏิบัติอยู่โดยชอบ เจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัตต่อกาล
ไม่นานนัก. คาถาทั้งสองนี้แหละได้เป็นการพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ.
จบอรรถกถาสามัญญิกานิเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 216
๖. กุมาปุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกุมาบุตรเถระ
[๑๗๓] ได้ยินว่า พระกุมาบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
การฟังเป็นความดี ความประพฤติมักน้อยเป็น
ความดี การอยู่โดยไม่ห่วงใยเป็นความดีทุกเมื่อ การ-
ถามสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นความดี การทำตามโอวาท
โดยเคารพ เป็นความดี กิจมีการฟังเป็นต้นนี้ เป็น
เครื่องสงบของผู้ไม่มีกังวล.
อรรถกถากุมาปุตตเถรคาถา
คาถาของท่านพระกุมาบุตรเถระ เริ่มต้นว่า สาธุ สุต. เรื่องราวของ
ท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เป็นดาบสผู้นุ่งห่มหนึ่งเสือ อยู่ในราช
อุทยาน ณ พันธุมตีนคร เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี
เป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว ได้ถวายน้ำมันสำหรับนวดพระบาท.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทวโลก. จำเดิมแต่นั้นมา ท่านก็
ท่องเที่ยวอยู่ เฉพาะในสุคติภพเท่านั้น บังเกิดในตระกูลคหบดี ในเวฬุกัณฏก-
นคร แคว้นอวันตี ในพุทธุปบาทกาลนี้. คนทั้งหลายได้ขนานนามเขาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 217
นันทะ. ส่วนมารดาของนันทกุมารนี้ ชื่อว่า กุมา. ด้วยเหตุนั้น เขาจึงมี
ชื่อปรากฏว่า กุมาปุตตะ. เขาฟังธรรมในสำนักของท่านพระสารีบุตร ได้ความ
เลื่อมใสแล้วบวช กระทำบุรพกิจเสร็จแล้ว บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่ท้ายภูเขา
ไม่สามารถจะยังคุณพิเศษให้เกิดขึ้นได้ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฟังธรรม
ชำระกรรมฐานแล้ว อยู่ในที่ ๆ เป็นสัปปายะ ยังวิปัสสนาให้เจริญแล้ว
กระทำให้แจ้งพระอรหัต. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราอยู่ใกล้พระราชอุทยาน ในพระนครพันธุมดี
ครั้งนั้นเรานุ่งหนังเสือเหลือง ถือคณโฑน้ำ เราได้พบ
พระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี ผู้ไม่ทรงพ่าย
แพ้อะไร ๆ มีความเพียรเผากิเลส มีพระหฤทัยแน่ว
แน่ มีปกติเพ่งพินิจ ยินดีในฌาน เป็นนักบวชผู้สำเร็จ
ความประสงค์ทั้งปวง ข้ามพ้นโอฆะแล้ว ไม่มีอาสวะ
ครั้นเราพบแล้วก็เลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายน้ำมัน
สำหรับนวด. ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวาย
น้ำมันสำหรับนวด ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งน้ำมันสำหรับนวด. เราเผากิเลสทั้งหลาย
แล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำสำเร็จ
แล้ว ดังนี้.
ก็ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว เห็นภิกษุทั้งหลายมีร่างกายกำยำ
ล่ำสันเป็นอันมาก ในป่า กล่าวสอนภิกษุเหล่านั้นอยู่ เมื่อจะประกาศความที่
พระศาสนาเป็นนิยยานิกธรรม จึงได้ภาษิตคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 218
การฟังเป็นความดี ความประพฤติมักน้อยเป็น
ความดี การอยู่โดยไม่มีห่วงใย เป็นความดีทุกเมื่อ
การถามสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นความดี การทำตาม
โอวาทโดยเคารพ เป็นความดี กิจมีการฟังเป็นต้นนี้
เป็นเครื่องสงบของผู้ไม่มีกังวล ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ แปลว่า เป็นความดี. บทว่า สุต
แปลว่า การฟัง. ก็ฟังกถาวัตถุ ๑๐ อันปฏิสังยุตด้วยความเป็นผู้มีความปรารถนา
น้อยเป็นต้น โดยพิเศษอันเข้าไปอาศัยพระนิพพานนั้นแล ท่านประสงค์เอา
แล้วในคาถานี้.
บทว่า สาธุ จริตก ความว่า ความประพฤติมีความมักน้อยเป็นต้น
นั้นแหละ ที่ประพฤติแล้ว เป็นความดี อธิบายว่า ความประพฤติดีนั้นแหละ
ท่านเรียกว่า จริตกะ. พระเถระแสดงพาหุสัจจะ และความปฏิบัติอันสมควร
แก่พาหุสัจจะนั้น ว่าเป็นความดี แม้ด้วยบททั้งสอง.
บทว่า สทา ความว่า ในกาลทั้งปวง คือในกาลที่เป็นพระนวกะ
มัชฌิมะ และเถระ หรือในขณะแห่งอิริยาบถทั้งปวง.
บทว่า อนิเกตวิหาโร ความว่า กามคุณ ๕ หรือธรรมคืออารมณ์
๖ อันเป็นโลกิยะ ชื่อว่า นิเกตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง โดยเป็นที่อยู่อาศัย
ของกิเลสทั้งหลาย. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ผู้ที่มีความ
ผูกพันในเบญจกามคุณที่มีรูปเป็นนิมิต อย่างกว้างขวาง เรากล่าวว่า นิเกตสารี
ดังนี้เป็นอาทิ ข้อปฏิบัติเพื่อจะละเบญจกามคุณเหล่านั้น ชื่อว่า อนิเกตวิหาโร.
บทว่า อตฺถปุจฺฉน ความว่า การถามของผู้ที่อยากจะรู้ความนั้น
เข้าไปหากัลยาณมิตร แล้วถามถึงประโยชน์ อันต่างด้วยทิฎฐธัมมิกประโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 219
สัมปรายิกประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ หรือการถามถึงประโยชน์ของ
สภาวธรรม ต่างโดยกุศลเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อะไร
เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ ดังนี้ ชื่อว่า การ
ถามสิ่งที่เป็นประโยชน์.
บทว่า ปทกฺขิณกมฺม ความว่า ก็ครั้นถามสิ่งที่เป็นประโยชน์นั้น
แล้ว ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน โดยความเคารพ ชื่อว่า เป็นการปฏิบัติชอบ.
บทว่า สาธุ แม้ในคาถานี้พึงนำมาประกอบเข้าด้วย.
บทว่า เอต สามญฺ ความว่า การฟังใดที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมี
อาทิว่า สาธุ สุต ดังนี้ ก็ดี ความประพฤติมักน้อยใดก็ดี การอยู่โดย
ไม่มีห่วงใยใดก็ดี การถามสิ่งที่เป็นประโยชน์ใดก็ดี การกระทำตามโอวาท
โดยเคารพใดก็ดี นี้เป็นเครื่องหมายของสมณะ คือ บ่งถึงความเป็นสมณะ.
เพราะความเป็นสมณะ ย่อมมีด้วยปฏิปทานี้เท่านั้น ไม่มีด้วยปฏิปทาอื่น ฉะนั้น
บทว่า สามญฺ จึงเป็นชื่อของมรรคและผลโดยตรง. ก็หรือข้อปฏิบัตินี้
ชื่อว่า อปัณณกปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด) สำหรับภิกษุนั้น. ก็คุณคือ
เครื่องหมายแห่งความเป็นสมณะนี้นั้น ย่อมเกิดมีแก่ภิกษุเช่นใด เพื่อจะแสดง
ภิกษุเช่นนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อกิญฺจนสฺส (ผู้ไม่มีกังวล) ดังนี้ ได้แก่
ผู้ไม่เข้าไปยึดถือเกี่ยวข้อง อธิบายว่า เว้นจากการถือครอบครองสมบัติ
มี นา สวน เงิน ทอง ทาสี และทาสเป็นต้น.
จบอรรถกถากุมาปุตตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 220
๗. กุมาปุตตสหายเถร คาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกุมาบุตรสหายเถระ
[๑๗๔] ได้ยินว่า พระกุมาบุตรสหายเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่าง
นี้ว่า
ภิกษุทั้งหลายไม่สำรวม กาย วาจา ใจ พากัน
เที่ยวไปสู่ชนบทต่าง ๆ ทอดทิ้งสมาธิ การเที่ยวไปสู่
แคว้นต่าง ๆ จักสำเร็จประโยชน์อะไรเล่า เพราะฉะนั้น
ภิกษุพึงกำจัดความแข่งดี อย่าให้มิจฉาวิตกและกิเลส
มีตัณหาเป็นต้นครอบงำ พึงเจริญฌาน.
อรรถกถากุมาปุตตสหายเถรคาถา
คาถาของท่านพระกุมาบุตรสหายเถระ เริ่มต้นว่า นานาชนปท
ยนฺติ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านมีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
เข้าไปสั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือน
มีตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ
ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว เข้าไปสู่ป่า ตัดท่อนไม้เป็น
อันมาก ทำไม้เท้าถวายสงฆ์. และเขาการทำบุญตามสมควรแก่สมบัติอย่างอื่น
(อีก) แล้วเกิดในหมู่เทพ จำเดิมแต่นั้นก็ท่องเที่ยวอยู่ในสุคติอย่างเดียวเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 221
เกิดในตระกูลที่มั่งคั่ง ในเวฬุกัณฎกนคร ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้มีนามว่า
" สุทันตะ". อาจารย์บางพวกเรียกว่า "วาสุละ". เขาเป็นสหายรักของท่าน
พระกุมาบุตรเถระ (เคย) ท่องเที่ยว (มาด้วยกัน ) ฟังข่าวว่า กุมาบุตรกุมาร
บวชแล้ว คิดว่า ก็กุมาบุตรกุมารบวชแล้วในพระธรรมวินัยใด ธรรมวินัย
นั้นคงไม่ต่ำต้อยเป็นแน่ ดังนี้แล้ว ด้วยความผูกพันในท่านพระกุมาบุตรเถระ
ผู้เคยเป็นสหายรักนั้น ก็มีความประสงค์จะบวชแม้ด้วยตนเอง เข้าไปสู่สำนัก
ของพระบรมศาสดาแล้ว. พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เขาแล้ว เขาเกิดมี
ฉันทะในบรรพชาเหลือประมาณ บวชแล้ว เป็นผู้ขวนขวายในภาวนาอยู่ท้ายภูเขา
ร่วมกับพระกุมาบุตรเถระนั่นแหละ. ก็โดยสมัยนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน เที่ยว
จาริกไปยังชนบท ในชนบทต่าง ๆ ไปบ้าง มาบ้าง เข้าไปถึงที่นั้นแล้ว.
ด้วยเหตุนั้น จึงเกิดโกลาหลขึ้นที่ท้ายภูเขานั้น. พระสุทันตเถระเห็นดังนั้น ก็
เกิดความสลดใจว่า ภิกษุเหล่านี้ บวชในพระศาสนาที่เป็นนิยยานิกธรรม
ระเริงไปกับวิตกในชนบท ย่อมทำจิตที่เป็นสมาธิให้เคลื่อนคลาด กระทำความ
สังเวชนั้นแหละให้เป็นขอสับ ฝึกจิตของตนได้ภาษิตคาถาว่า
ภิกษุทั้งหลายไม่สำรวม กาย วาจา ใจ พากัน
เที่ยวไปสู่ชนบทต่าง ๆ ทอดทิ้งสมาธิ การเที่ยวไปสู่
แคว้นต่าง ๆ จักสำเร็จประโยชน์อะไรเล่า เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุพึงกำจัดความแข่งดี อย่าให้มิจฉาวิตก
และกิเลส มีตัณหาเป็นต้นครอบงำ พึงเจริญฌาน
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นานาชนปท ได้แก่ชนบทที่แตกต่างกัน
ลักษณะต่าง ๆ กัน. อธิบายว่า ได้แก่แคว้นเป็นอเนก มีแคว้นกาสี และ
แคว้นโกศลเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 222
บทว่า ยนฺติ แปลว่า ย่อมไป. บทว่า วิจรนฺตา ความว่า
เที่ยวจาริกไปสู่ชนบท ด้วยสามารถแห่งวิตก มีอาทิว่า ชนบทโน้นหาภิกษา
ได้ง่าย หาอาหารได้ง่าย ชนบทโน้นปลอดภัย ไม่มีโรค.
บทว่า อสญฺญตา ความว่า ชื่อว่ามีจิตไม่สำรวมแล้ว เพราะละไม่ได้
ซึ่งวิตกในชนบทนั้นนั่นแหละ.
บทว่า สมาธิญฺจ วิราเธนฺติ ความว่า และชื่อว่ายังสมาธิ อันต่าง
ด้วยอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ อันเป็นพื้นฐานของอุตริมนุสธรรม
แม้ทั้งปวงให้เคลื่อนคลาด. จ ศัพท์ใช้ในอรรถ แห่งความสรรเสริญ. เมื่อไม่ได้
บรรลุสมาธิที่ยังไม่ได้บรรลุ เพราะไม่มีโอกาสเพื่อจะเพ่ง โดยมัวท่องเที่ยวไป
ระหว่างประเทศ ทั้งยังชื่อว่า ทำสมาธิที่ถึงแล้วให้เคลื่อนคลาด เพราะเสื่อมไป
โดยยังไม่ถึงความชำนาญ.
บทว่า สุ ในบาทคาถาว่า กึสุ รฏฺจริยา กริสฺสติ เป็นเพียง
นิบาต. พระเถระเมื่อจะตำหนิ จึงกล่าวว่า การท่องเที่ยวไปสู่แว่นแคว้น คือ
ท่องเที่ยวไปตามชนบท ของภิกษุผู้เป็นอย่างนี้ จักกระทำอะไรได้ คือ จักยัง
ประโยชน์อย่างไหนให้สำเร็จ เพราะเป็นสิ่งไร้ประโยชน์.
บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะการเที่ยวไปสู่ประเทศอื่นเช่นนี้ ย่อมไม่
นำประโยชน์มาให้แก่ภิกษุ ทั้งยังชื่อว่า นำซึ่งความฉิบหายมาให้โดยแท้แล
เพราะทำให้พลาดจากสมบัติทั้งหลาย.
บทว่า วิเนยฺย สารมฺภ ความว่า กำจัดคือเข้าไปสงบระงับความ
แข็งดี อันได้แก่ความเศร้าหมองแห่งจิตที่บังเกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งความ
ยินดีในประเทศที่อยู่ ด้วยการพิจารณาอันสมควรแก่ความเศร้าหมองแห่งจิตนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 223
บทว่า ฌาเยยฺย ความว่า พึงเพ่งด้วยฌานแม้ทั้งสองอย่าง คือ
อารัมมณูปนีชฌาน และลักขณูปนิชฌาน.
บทว่า อปุรกฺขโต ความว่า ไม่ยอมให้มิจฉาวิตก หรือกิเลสมีตัณหา
เป็นต้นครอบงำได้. อธิบายว่า ไม่เข้าไปสู่อำนาจแห่งกิเลสเหล่านั้น พึงกระทำ
ไว้ในใจ เฉพาะกรรมฐานอย่างเดียว.
ก็พระเถระครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว กระทำความสังเวชนั้นแหละให้เป็น
ขอสับ เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน
กล่าวไว้ในอปทานว่า
ครั้งนั้น เราเข้าไปยังป่าใหญ่ ตัดเอาไม้ไผ่มา
ทำเป็นไม้เท้า ถวายแด่พระสงฆ์ เรากราบไหว้ท่าน
ผู้มีวัตรอันงาม ด้วยจิตเลื่อมใสนั้น เราถวายไม้เท้าแล้ว
เดินบ่ายหน้าไปทางทิศอุดร ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้ถวายไม้เท้าใดในกาลนั้น ด้วยการถวายไม้เท้า
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายไม้เท้า
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระนี้ กระทำเนื้อความใดให้เป็นขอสับ บรรลุพระอรหัตแล้ว
ท่านตั้งใจเฉพาะเนื้อความนี้เท่านั้น ถึงบรรลุพระอรหัตแล้ว ก็ได้กล่าว
คาถานี้แหละ. เพราะเหตุนั้น การกล่าวคาถานั้นแหละ จึงเป็นการพยากรณ์
พระอรหัตของพระเถระนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถากุมาปุตตสหายเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 224
๘. ควัมปติเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระควัมปติเถระ
[๑๗๕] ได้ยินว่า พระควัมปติเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พากันนอบน้อม
พระควัมปติ ผู้ห้ามแม่น้ำสรภูให้หยุดไหลได้ด้วยฤทธิ์
ไม่ติดอยู่ในกิเลส และตัณหาไร ๆ ไม่หวั่นไหวต่อสิ่ง
อะไรทั้งสิ้น เป็นผู้ผ่านพ้นเครื่องข้องทั้งปวง เป็น
มหามุนี ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ.
อรรถกถาควัมปติเถรคาถา
คาถาของท่านพระควัมปติเถระเริ่มต้นว่า โย อิทฺธิยา สรภุ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เห็นพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี
มีใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชาด้วยดอกไม้. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดใน
เทวโลก กระทำบุญไว้มากอย่าง ให้สร้างฉัตร และไพรที ไว้บนเจดีย์ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า โกนาคมนะ. ก็ท่านบังเกิดในเรือนมี
ตระกูลแห่งใดแห่งหนึ่ง ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
กัสสปะ. ก็ในตระกูลนั้น ได้มีฝูงโคเป็นอันมาก. พวกนายโคบาลก็เฝ้ารักษา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 225
ฝูงโคนั้น ถึงมาณพผู้นี้ ก็เที่ยวตรวจดูกิจกรรมที่พวกนายโคบาลขวนขวาย
ประกอบแล้ว ทุกซอกมุมในฝูงโคนั้น. เขาเห็นพระเถระผู้ขีณาสพรูปหนึ่ง
เที่ยวบิณฑบาตในบ้าน แล้วทำภัตกิจนอกบ้าน ณ ประเทศแห่งหนึ่งทุก ๆ วัน
คิดว่า พระคุณเจ้าจักลำบาก ด้วยความร้อนของแดด ดังนี้ จึงให้ยกท่อนซึก
๔ ท่อน มาวางซ้อนกิ่งซึก ๔ กิ่ง บนต้นซึกเหล่านั้น ได้กระทำสาขามณฑป
ถวายแล้ว. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปลูกต้นซึกไว้ใกล้มณฑป เพื่อจะ
อนุเคราะห์เขา พระเถระจึงนั่งใต้ต้นซึกนั้นทุก ๆ วัน.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว บังเกิดในวิมานชั้น
จาตุมหาราชิกะ. ป่าไม้ซึกใหญ่อันระบุถึงกรรมเก่าของเขาเกิดใกล้ประตูวิมาน
มีดอกไม้เหล่าอื่นที่สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่น เข้าไปช่วยเสริมความงามทุกฤดูกาล
ด้วยเหตุนั้น วิมานนั้นจึงปรากฏนามว่า " เสรีสกวิมาน". เทวบุตรนั้นท่องเที่ยว
ไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ตลอดพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้
เป็นผู้มีชื่อว่า ควัมปติ ในบรรดาสหายผู้เป็นคฤหัสถ์ทั้ง ๔ ของพระยสเถระ
สดับว่า ท่านพระยสบวชแล้ว จึงได้ไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อม
ด้วยสหายของตน. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เขาแล้ว ในเวลาจบพระ-
ธรรมเทศนา เขาดำรงอยู่ในอรหัตผล พร้อมด้วยสหายทั้งหลาย. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้อเที่ยวอยู่ในป่า ได้พบ
พระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง
เรามีจิตเลื่อมใส โสมนัสในพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประกอบไปด้วยพระมหากรุณา ทรงยินดีในประ-
โยชน์ เกื้อกูลสรรพสัตว์ จึงได้บูชาด้วยดอกอัญชัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 226
เขียว ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้า
ด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เสวยวิมุตติสุขอยู่ในอัญชนวัน
เมืองสาเกต. ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
เสด็จไปยังเมืองสาเกต แล้วประทับอยู่ในพระวิหารอัญชนวัน เสนาสนะไม่พอ
อาศัย. ภิกษุเป็นอันมากพากันนอนที่เนินทราย ริมน้ำสรภู ใกล้ ๆ พระวิหาร
ครั้งนั้น เมื่อห้วงน้ำหลากมาในเวลาเที่ยงคืน พวกสามเณรเป็นต้น ส่งเสียงร้อง
ดังลั่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเหตุนั้นแล้ว สั่งท่านพระควัมปติไปว่า
ดูก่อนควัมปติ เธอจงไปจงสะกด (ข่ม) ห้วงน้ำไว้ ทำให้ภิกษุทั้งหลายอยู่
อย่างสบาย. พระเถระรับพระพุทธดำรัสว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วสะกด
กระแสน้ำให้หยุดด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ห้วงน้ำนั้นได้หยุดตั้งอยู่ดุจยอดเขา แต่
ไกลทีเดียว. จำเดิมแต่นั้นมา อานุภาพของพระเถระ ได้ปรากฏแล้วในโลก.
ครั้นวันหนึ่ง พระบรมศาสดาทอดพระเนตรเห็นพระเถระ นั่งท่ามกลางเทว-
บริษัทจำนวนมาก แล้วแสดงธรรมอยู่ เมื่อจะทรงสรรเสริญพระเถระ เพื่อ
ประกาศคุณของท่าน ด้วยความอนุเคราะห์สัตวโลก จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พากันนอบน้อมพระ
ควัมปติ ผู้ห้ามแม่น้ำสรภูให้หยุดไหลได้ด้วยฤทธิ์
ไม่ติดอยู่ในกิเลสและตัณหาไร ๆ ไม่หวั่นไหวต่ออะไร
ทั้งสิ้น เป็นผู้ผ่านพ้นเครื่องข้องทั้งปวง เป็นมหามุนี
เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 227
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธิยา ได้แก่ ฤทธิที่สำเร็จด้วยอธิฏฐาน.
บทว่า สรภุ ได้แก่ แม่น้ำที่มีนามอย่างนี้ว่า สรภู ตามที่กล่าวขานเรียกกัน
ในโลก. บทว่า อฏเปสิ ความว่า บังคับไม่ให้น้ำไหล คือให้ไหลกลับ ให้
ตั้งอยู่เป็นกองน้ำใหญ่ ดุจยอดเขา.
บทว่า อสิโต ตัดบทเป็น น สิโต แปลว่าไม่ติดอยู่ คือเว้นจาก
กิเลสเป็นที่อาศัย คือตัณหาและทิฏฐิ หรือไม่ผูกพัน ด้วยกิเลสเครื่องผูกพัน
แม้ไร ๆ เพราะถอนสังโยชน์กล่าวคือกิเลสเป็นเครื่องผูกพันทั้งหมดได้ ต่อ
แต่นั้นเทวดาและมนุษย์แม้ทั้งปวง ก็พากันนอบน้อมพระควัมปติ ผู้ชื่อว่า
ไม่หวั่นไหว เพราะไม่มีกิเลสเครื่องหวั่นไหวทั้งหลาย ผู้ผ่านพ้นเครื่องข้อง
ทั้งปวง นั้นคือผู้เช่นนั้น ชื่อว่าผู้พ้นเครื่องข้องทั้งปวง เพราะก้าวล่วงธรรม
เป็นเครื่องข้องคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิเสียได้แล้วตั้งอยู่
ชื่อว่าเป็นมหามุนี เพราะเป็นมุนีผู้อเสกขะ ต่อแต่นั้น ชื่อว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง
แห่งภพ เพราะถึงพระนิพพาน อันเป็นฝั่งแห่งภพ แม้ทั้งสิ้น อันต่างด้วย
กามภพ และกรรมภพเป็นต้น. บทว่า เทวา นมสฺสนฺติ ความว่า แม้
เทวดาทั้งหลาย ยังนอบน้อม จะป่วยกล่าวไปไยถึงสัตว์นอกนี้.
ในเวลาจบพระคาถา ธรรมาภิสมัยได้มี แก่หมู่ชนเป็นอันมาก. พระ
เถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล ก็ได้กล่าว คาถานี้แหละ ด้วยคิดว่า เรา
จักบูชาพระศาสดา ดังนี้.
จบอรรถกถาควัมปติเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 228
๙. ติสสเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระติสสเถระ
[๑๗๖] ได้ยินว่า พระติสสเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บุรุษถูกแทงด้วยหอก หรือถูกไฟไหม้ที่กระหม่อม
แล้วรีบรักษาฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติเว้นรอบ เพื่อ
ความกำหนัด ยินดีในกามฉันนั้น.
อรรถกถาติสสเถรคาถา
คาถาของท่านพระติสสเถระ เริ่มต้นว่า สตฺติยา วิย โอมฏฺโ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระ
พุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เข้าไปสั่งสมบุญ อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ใน
ภพนั้น ๆ นำใบไม้เก่า ๆ ที่โคนไม้อันเป็นที่ตรัสรู้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า ติสสะ ออกแล้วชำระสะสางจนสะอาด. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่าน
ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นโอรสของพระปิตุจฉา ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ในพระนครกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ โดยนาม มี
ชื่อว่า ติสสะ.
ท่านบวชตามพระผู้มีพระภาคเจ้า อุปสมบทแล้วอยู่ในราวป่า อาศัย
พระชาติ มีการถือตัว มากไปด้วยความโกรธ และความคับแค้น และมากไป
ด้วยการยกโทษเที่ยวไป ไม่ทำการขวนขวายในสมณะธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 229
ครั้นในวันหนึ่ง พระศาสดาทรงเล็งเห็นท่าน นอนหลับ อ้าปากอยู่
ในที่พักกลางวัน ด้วยทิพยจักษุ เสด็จจากพระนครสาวัตถีไปทางอากาศ ประทับ
ยืนอยู่ในอากาศนั่นเอง เบื้องบนของพระเถระ แผ่โอภาสไปแล้ว ยังสติให้
เกิดแก่พระเถระผู้ตื่นแล้ว ด้วยโอภาสนั้น เมื่อจะประทานพระโอวาท ตรัส
พระคาถาว่า
บุรุษถูกแทงด้วยหอก หรือไฟไหม้ที่กระหม่อม
แล้วรีบรักษาฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติเว้นรอบ เพื่อ
ละความกำหนัดยินดีในกาม ฉันนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺติยา นี้ เป็นหัวข้อเทศนา. อธิบายว่า
ได้แก่ ศาสตรา ที่มีคมข้างเดียวเป็นต้น. บทว่า โอมฏฺโ แปลว่า ประหาร
แล้ว. อธิบายว่าเครื่องประหารมี ๔ อย่างคือ โอมัฏฐะ ๑ อุมมัฏฐะ ๑
มัฏฐะ ๑ วิมัฏฐะ ๑.
ในบรรดาเครื่องประหาร ๔ อย่างนั้น เครื่องประหารที่ตั้งอยู่ข้างบน
ให้หน้าคว่ำลง ชื่อว่า โอมัฏฐะ. เครื่องประหารที่ตั้งอยู่ข้างล่าง ให้หน้าหงาย
ขึ้น ชื่อว่า อุมมัฏฐะ. เครื่องประหารที่แทงทะลุไป ดุจลิ่ม และเข็ม ชื่อว่า
มัฏฐะ. เครื่องประหารที่เหลือแม้ทุกอย่าง ชื่อว่า วิมัฏฐะ.
แต่ในที่นี้ ทรงหมายถึง เครื่องประหารชื่อว่า โอมัฏฐะ อธิบายว่า
เครื่องประหารชื่อ โอมัฏฐะนั้น ทารุณกว่าทุก ๆ อย่าง เป็นหอกที่ถอนขึ้นได้
ยาก แก้ไขเยียวยาได้ยาก มีโทษในภายในทำให้น้ำเหลืองและเลือดตกใน.
น้ำเหลืองและเลือดที่ไม่ไหลออกจะ (จับเป็นก้อน) ปิดปากแผล แล้วตั้งอยู่.
ผู้ประสงค์จะเอาน้ำเหลืองและเลือดออก ต้องมัดตัวติดกับเตียงให้นอนห้อยหัว.
สัตว์ทั้งหลายย่อมถึงตาย หรือทุกข์ปางตาย. บทว่า ฑยฺหมาเน แปลว่า
อันไฟเผาอยู่. บทว่า มตฺถเก แปลว่า บนศีรษะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 230
ท่านกล่าวอธิบายว่า บุรุษผู้ถูกแทงด้วยหอก ย่อมปรารภความเพียร
เพื่อถอนหอกออก และทำการเยียวยารักษาแผล คือประกอบความพยายาม
เช่นนั้น พากเพียรไป ฉันใด หรือเปรียบเหมือน เมื่อถูกไฟไหนกระหม่อม
บุรุษผู้ถูกไหม้ศีรษะ ย่อมเพียรพยายามเพื่อจะดับไฟนั้น คือกระทำความ
พยายามเช่นนั้น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงเป็นผู้มีสติ คือไม่ประมาท
เพื่อจะละกามราคะ ได้แก่ พึงเป็นผู้มีความอุสาหะอย่างเหลือเกิน อยู่.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงประทานโอวาท เพื่อความเข้าไปสงบ
ระงับความโกรธและความคับแค้น แก่พระเถระนั้นอย่างนี้แล้ว ทรงยังเทศนา
ให้จบลง ด้วยอดคือการละกามราคะ เพราะตั้งอยู่ในฐานอันเดียวกัน. พระ
เถระฟังพระคาถานั้นแล้ว เป็นผู้มีใจสังเวช หมั่นขวนขวายในวิปัสสนาอยู่แล้ว.
พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของท่านแล้ว ทรงแสดงติสสเถรสูตร ในสัง-
ยุตตกนิกาย. ในเวลาจบเทศนา พระเถระดำรงอยู่ในพระอรหัตผลแล้ว. สม
ด้วยคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
เราเสวยยศทั้งสองอย่าง ในเทวโลกและมนุษย-
โลก ในอวสาน เราได้บรรลุศิวโมกข์มหานฤพานอัน
ยอดเยี่ยม บุรุษใดประสบบุญ เพราะเจาะจงพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า หรือโพธิพฤกษ์ ของพระศาสดาพระองค์
นั้น สำหรับบุรุษเช่นนั้น สิ่งอะไรเล่าที่เขาจะหาได้
ยาก เขาย่อมเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าคนอื่น ๆ ในเพราะ
มรรคผลนิกายเป็นที่มา และคุณคือฌานและอภิญญา
ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน. เมื่อก่อนเรามีใจยินดี
เก็บเอาใบโพธิ์ไปทิ้ง จึงเป็นผู้เพรียบพร้อม ด้วยองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 231
๒๐ ประการ นี้ทุกทิพาราตรีกาล เราเผากิเลสทั้งหลาย
แล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จ
แล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
ได้กล่าวคาถานั้นแหละ เพื่อบูชาพระบรมศาสดา.
จบอรรถกถาติสสเถรคาถา
๑๐. วัฑฒมานเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของวัฑฒมานเถระ
[๑๗๗] ได้ยินว่า พระวัฑฒมานเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บุรุษที่ถูกแทงด้วยหอก หรือถูกไฟไหม้ที่กระ-
หม่อม แล้วรีบรักษาฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติเว้นรอบ
เพื่อละความกำหนัดยินดีในภพ ฉันนั้น.
จบวรรคที่ ๔
อรรถกถาวัฑฒมานเถรคาถา
คาถาของท่านพระวัฑฒมานเถระ. เริ่มต้นว่า สตฺติยา วิย โอ-
มฏฺโ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า แม้พระเถระนี้ ก็ได้เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ใน
พระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ในกัปที่ ๙๒ นับแต่ภัทรกัปนี้ ในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึง
ความเป็นผู้รู้แล้ว เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ติสสะ เสด็จเที่ยว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 232
บิณฑบาตอยู่ เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้ว ถวายผลมะม่วงที่สุกงอมหลุดออกจากขั้ว.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทวโลก สั่งสมบุญกรรมสม่ำเสมอ ในพุทธุ-
ปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลเจ้าลิจฉวี ในพระนครไพศาลี. ท่านได้มีนามว่า
วัฑฒมานะ.
เขาเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นทายก ยินดีในทาน
เป็นการก เป็นสังฆอุปัฏฐาก เมื่อพระศาสดาตรัสสั่งให้กระทำการคว่ำบาตร
ในเพราะความผิดเห็นปานนั้น เป็นประดุจว่า เหยียบไฟ ยังพระสงฆ์ให้ยก
โทษแล้ว ยังกรรมให้เข้าไปสงบระงับแล้ว เป็นผู้เกิดความสังเวช บวชแล้ว
ก็ครั้นท่านบวชแล้ว ได้เป็นผู้ถูกถิ่นมิทธะ ครอบงำอยู่แล้ว. พระศาสดา
เมื่อจะให้ท่านสลดใจ จึงตรัสพระคาถาว่า
บุรุษที่ถูกแทงด้วยหอก หรือถูกไฟไหม้ที่กระ-
หม่อม แล้วรีบรักษาฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติเว้นรอบ
เพื่อละความกำหนัดยินดีในภพฉันนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภวราคปฺปหานาย ความว่า เพื่อละ
เสียซึ่ง ภวราคะ รูปราคะ และอรูปราคะ. แม้ถ้ายังละสังโยชน์ที่เป็นไปใน
ภายในไม่ได้แล้ว ชื่อว่า จะละสังโยชน์ที่เป็นไปในภายนอกได้ ไม่มีก็จริง
แต่ถึงอย่างนั้น แม้การละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ก็ย่อมชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้แล้ว ด้วยกล่าวถึงการละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ เพราะมีในลำดับต่าง ๆ
กัน. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่อุทธัมภาคิยสังโยชน์ อันพระอริยบุคคลบาง
พวก แม้จะตัดขาดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว ก็ยังละได้ยาก ฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเฉพาะสังโยชน์ที่ละได้ยาก จึงตรัสการละ
อุทธัมภาคิยสังโยชน์แม้ทั้งหมดไว้ ด้วยการละภวราคะเป็นสำคัญ เพราะเป็น
ของละได้โดยง่าย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 233
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ด้วยสามารถแห่งอัธยาศัย
ของพระเถระนั้นเอง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถาวัฑฒมานเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๔
ในอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี
ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ
๑. พระคหวรตีริยเถระ ๒. พระสุปปิยเถระ ๓. พระโสปากเถระ
๔. พระโปสิยเถระ ๕. พระสามัญญกานิเถระ ๖. พระกุมาบุตรเถระ
๗. พระกุมาบุตรเถรสหายเถระ ๘. พระควัมปติเถระ ๙. พระติสสเถระ
๑๐. พระวัฑฒมานเถระ และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 234
เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๕
๑. สิรวัฑฒเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสิริวัฑฒเถระ
[๑๗๘] ได้ยินว่า พระสิริวัฑฒเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
สายฟ้าแลบ ส่องแสงลอดเข้าไป ตามช่องแห่ง
ภูเขาเวภาระ และภูเขาปัณฑวะ ฉันใด ภิกษุผู้เป็น
บุตรแห่งพระพุทธเจ้าผู้คงที่ ไม่มีผู้เปรียบปาน อยู่ใน
ช่องแห่งภูเขา เจริญฌานอยู่ก็ฉันนั้น.
วรรควรรณนาที่ ๕
อรรถกถาสิริวัฑฒเถรคาถา
คาถาของท่านพระสิริวัฑฒเถระเริ่มต้นว่า วิวรมนุปตนฺติ วิชฺชุตา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนั้น ก็เป็นผู้มีอธิการอันการทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิด
ในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี
ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่า วิปัสสี กระทำการบูชาด้วยดอกหงอนไก่ ด้วยบุญกรรมนั้นไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 235
บังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ในสุคติภพนั่นแหละ
เกิดในตระกูลพราหมณ์ ผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ ในพระนครราชคฤห์ ใน
พุทธุปบาทกาลนี้. เขาได้มีนามว่า "สิริวัฑฒะ".
สิริวัฑฒกุมาร เจริญวัยแล้ว เกิดความเลื่อมใสในพระบรมศาสดา
และในพระสัทธรรม ในสมาคมของพระเจ้าพิมพิสาร บวชแล้ว เพราะสมบูรณ์
ด้วยเหตุ. ก็ครั้นท่านบวชแล้ว กระทำบุพกิจเสร็จแล้ว เป็นผู้ขวนขวายใน
กรรมฐาน อยู่ในถ้ำของภูเขา ในราวป่าแห่งใดแห่งหนึ่ง ไม่ไกลจากภูเขา
เวภารบรรพต.
ก็ในสมัยนั้น ฝนนอกฤดูเริ่มตั้งเค้าขึ้นหนาแน่น. สายฟ้าแลบแผ่ไปทั่ว
ดุจจะลอดเข้าไปสู่ช่องเขา. ความร้อนในฤดูร้อน ของพระเถระผู้ถูกความร้อน
ในฤดูร้อนครอบงำ ก็สงบลง เพราะลมที่พัดเมฆลอยไปเป็นกลุ่มใหญ่. จิต
ได้เป็นเอกัคคตารมณ์ เพราะได้ฤดูเป็นที่สบาย. พระเถระมีจิตตั้งมั่นแล้ว
ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้
ในอปทานว่า
พระสัพพัญญูผู้เป็นนายกของโลก เช่นกับด้วย
ทองคำอันล้ำค่า พระองค์เป็นผู้นำของโลก
เสด็จลงสระน้ำสรงสนานอยู่ เรามีจิตเบิกบานมีใจ
โสมนัส ได้ถือเอาดอกหงอนไก่ไปบูชา แด่พระ-
สัพพัญญู พระนามว่า วิปัสสี ผู้จอมประชา ผู้คงที่ ใน
กัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๒๗ แต่ภัทรกัปนี้ ได้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 236
พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงพระนามว่า ภิมรถะ ทรง
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระ-
ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะเปล่งอุทาน อันเนื่องด้วยตน
โดยอ้างถึงพระอรหัตผล ได้ภาษิตคาถาว่า
สายฟ้าแลบ ส่องแสงลอดเข้าไปตามช่องแห่ง
ภูเขาเวภาระและภูเขาปัณฑวะ ฉันใด ภิกษุผู้เป็นบุตร
แห่งพระพุทธเจ้าผู้คงที่ ไม่มีผู้เปรียบปราน อยู่ใน
ช่องแห่งภูเขาเจริญฌานอยู่ ฉันนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวร ได้แก่ ช่องที่มีในระหว่าง คือ
ตรงกลาง. บทว่า อนุปตนฺติ ความว่า ตกไป คือเป็นไปในลักษณะคล้อยตาม.
อธิบายว่า สว่างจ้า. ก็ที่ชื่อว่าความเป็นไปของสายฟ้า ก็คือฟ้าแลบนั่นเอง.
เพราะประกอบอนุศัพท์เข้าไป ในบทว่า วิวร นี้ จึงใช้เป็นทุติยาวิภัตติ เหมือน
ในประโยคว่า รุกฺขมนุวิชฺโชตนฺติ (สายฟ้าแลบไปตามช่องต้นไม้).
บทว่า วิชฺชุลตา แปลว่า สายฟ้า. บทว่า เวภารสฺส จ ปณฺฑวสฺส
จ ประกอบความว่า ส่องแสงลอดเข้าไปตามช่องแห่งภูเขาเวภาระ และปัณฑวะ.
บทว่า นควิวรคโต ความว่า เข้าไปสู่ช่องแห่งภูเขา คือถ้ำของภูเขา.
บทว่า ฌายติ ความว่า เพ่งด้วยอารัมมณูปนิชฌาน และลักขณูปนิชฌาน
คือเมื่อขวนขวายสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่า ย่อมยังฌานให้เจริญ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 237
บทว่า ปุตฺโต อปฺปฏิมสฺส ตาทิโน ความว่า เป็นบุตรผู้เกิด
แต่พระอุระ ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้ไม่มีที่เปรียบ คือ เว้นจาก
ข้อเปรียบเทียบ ด้วยความถึงพร้อมแห่งธรรมกาย มีกองแห่งศีลเป็นต้น และ
ด้วยความถึงพร้อมแห่งรูปกาย ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะถึงพร้อมด้วยลักษณะของผู้
คงที่. พึงทราบความว่า ก็ด้วยคำว่า ปุตฺตศัพท์ ในคาถานี้นั่นแล ชื่อว่าเป็นอัน
พระเถระพยากรณ์พระอรหัตผลแล้ว เพราะแสดงถึงความที่คนเป็นผู้เกิดตาม
พระบรมศาสดา.
จบอรรถกถาสิริวัฑฒเถรคาถา
๒. ขทิรวนิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระขทิรวนิยเถระ
[๑๗๙] ได้ยินว่า พระขทิรวนิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ดูก่อนสามเณรหลา* อุปหลา สีลุปหลา เธอทั้ง
สามเป็นผู้มีสติเฉพาะหน้าอยู่หรือ พระสารีบุตรผู้เป็น
ลุงของพวกท่าน มีปัญญาว่องไว หยั่งรู้เหตุผลได้
โดยถูกต้อง แม่นยำ เปรียบดังนายขมังธนูผู้ชำนาญ
ยิงปลายขนทรายมาแล้ว.
* พม่า และอังกฤษว่า สามเณรชื่อ จาลา อุปจาลาและสีสูปวาจา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 238
อรรถกถาขทิรวนิยเรตเถรคาถา
คาถาของท่านพระขทิรวนิยเรวตเถระ* เริ่มต้นว่า จาเล อุปจาเล.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
พระเถระนี้เกิดในตระกูลของนายเรือประจำท่า ณ เมืองหงสาวดี ทำงานอยู่
ในเรือประจำท่า ณ ท่าน้ำชื่อว่า ปยาคะ วันหนึ่งเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมด้วยหมู่สาวก เสด็จไปสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา เป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว ประกอบ
เรือขนาน ส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยสาวกให้ถึงฝั่งโน้น แล้วเห็น
ภิกษุรูปหนึ่ง อันพระศาสดาทรงแต่งตั้งไว้ ในต่ำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ กว่า
บรรดาภิกษุผู้อยู่ในป่า ตั้งความปรารถนาเพื่อได้ตำแหน่งนั้น บำเพ็ญมหาทาน
ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพยากรณ์ความปรารถนาของเขาว่าไม่เป็น
หมัน. จำเดิมแต่นั้น เขาบำเพ็ญกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ใน
ภพนั้น ๆ ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้
เกิดในต้องของนางพราหมณี ชื่อว่า รูปสารี ในนาลกคาม แคว้นมคธ. มารดา
บิดาของเขามีความประสงค์จะผูกพันเขาผู้เจริญวัยแล้ว ด้วยเครื่องผูกคือ
เรือน เขาสดับความที่พระสารีบุตรเถระบวชแล้ว คิดว่า พระคุณเจ้าอุปติสสะ
ผู้เป็นพี่ใหญ่ของเรา ทิ้งสมบัตินี้ไว้บวชแล้ว เราจักกลืนกินก้อนเขฬะ ที่พระ
คุณเจ้าอุปติสสะนั้นบ้วนทิ้งไว้ในภายหลังอย่างไรได้ ดังนี้แล้ว เกิดความสลดใจ
ทำเป็นเหมือนเนื้อที่กำลังเข้าไปติดบ่วง ลวงหมู่ญาติอันเหตุสมบัติเตือนอยู่
ไปสู่สำนักของภิกษุทั้งหลาย แจ้งความที่ตนเป็นน้องชายของพระธรรมเสนาบดี
* พระสูตรเรียกว่า พระขทิรวนิยเถระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 239
บอกความพอใจในบรรพชาของตน. ภิกษุทั้งหลายให้บรรพชาแล้ว พอเขา
อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ก็ให้อุปสมบท แนะนำกรรมฐาน. ท่านเรียน
กรรมฐานแล้วเข้าไปสู่ป่าไม้ตะเคียน คิดว่า เราบรรลุพระอรหัตแล้ว
จึงจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และพบพระธรรมเสนาบดี ดังนี้แล้ว เพียร-
พยายามอยู่ ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก เพราะมีญาณถึงความ
แก่รอบ. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
แม่น้ำคงคา ชื่อภาคีรถี เกิดแต่ประเทศหิมวันต์
เราเป็นนายเรืออยู่ที่ท่าอันขรุขระ ข้ามส่งคนจากฝั่งนี้
ไปฝั่งโน้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ ผู้เป็นนายกของโลก สูงสุดกว่าสรรพสัตว์
กับพระขีณาสพหนึ่งแสน จักข้ามกระแสแม่น้ำคงคา
เรานำเรือมารวมไว้เป็นอันมาก แล้วทำประทุนเรือที่
นายช่างตกแต่งเป็นอันดี ไว้ต้อนรับพระนราสภ ก็
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว เสด็จขึ้นเรือ พระ-
ศาสดาประทับยืนอยู่ท่ามกลางวารี ได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ว่า ผู้ใดข้ามส่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ
พระสงฆ์ผู้ไม่มีอาสวะ ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก
ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น วิมานอันบุญกรรมทำไว้อย่าง
สวยงาม มีสัณฐานดังเรือจักเกิดแต่ท่าน หลังคาดอกไม้
จักกั้นอยู่บนอากาศทุกเมื่อ ในกัปที่ ๕๘ ผู้นี้จักได้เป็น
กษัตริย์ พระนามว่า ตารกะ จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ทรงครอบครองแผ่นดิน มีสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ใน
กัปที่ ๕๗ จักได้เป็นกษัตริย์ พระนามว่า จัมมกะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 240
ทรงพระกำลังมาก จักรุ่งเรือง ดังพระอาทิตย์อุทัย
ฉะนั้นในกัปที่แสน พระศาสดาทรงพระนามว่า โคดม
โดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกากราช
จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้เคลื่อนจากไตรทศแล้ว จัก
ถึงความเป็นมนุษย์ จักเป็นบุตรแห่งพราหมณ์ มีนาม
ชื่อว่าเรวตะ อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักออกจากเรือน
บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนาม
ว่า โคดม ภายหลังเขาบวชแล้ว จักประกอบความเพียร
เจริญวิปัสสนา กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มี
อาสวะ นิพพาน เรามีความเพียรอันนำไปซึ่งธุระ อัน
นำมาซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ เราทรงกายอัน
มีในที่สุด ในศาสนาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กรรม
ที่เราทำไว้ในแสนแห่งกัป แสดงผลแก่เราในชาตินี้
ช่วยเผากิเลสของเราให้ไหม้ ดุจลูกศรที่พ้นจากแล่ง
ไปอย่างรวดเร็ว ลำดับนั้น พระมุนีผู้เป็นมหาปราชญ์
รู้ที่สุดแห่งโลก เห็นเรายินดีแล้วในป่า จึงทรงแต่งตั้ง
เราเป็นยอดแห่งภิกษุผู้อยู่ป่า เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว
คำสอน ของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระได้อภิญญา ๖ แล้ว จัดเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรไปเพื่อ
จะเฝ้าพระศาสดาและพบพระธรรมเสนาบดี ถึงพระนครสาวัตถี โดยลำดับ
เข้าไปสู่พระเชตวันวิหารแล้ว ถวายบังคมพระบรมศาสดา และไหว้พระธรรม
เสนาบดีแล้ว อยู่ในพระเชตวันวิหาร สิ้นวันเล็กน้อย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 241
ลำดับนั้น พระศาสดาประทับอยู่กลางหมู่พระอริยสงฆ์ ทรงแต่งตั้ง
ท่านไว้ในฐานะที่เป็นยอดของภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลาย ด้วยพระพุทธดำรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเรวตะ ขทิรวนิยะ เลิศกว่าพวกภิกษุผู้สาวกของเรา
ผู้อยู่ปา ดังนี้. ต่อมาท่านกลับไปยังบ้านเกิดของตน นำหลาน ๓ คน คือ
เด็กชื่อจาลา ชื่ออุปจาลา ชื่อสีสูปจาลา ผู้เป็นบุตรของพี่สาวทั้ง ๓ คือ นาง
จาลา นางอุปจาลา และนางสีสูปจาลา มาแล้วให้บวช แนะนำกรรมฐาน
ทารกทั้ง ๓ ก็ประกอบเนือง ๆ ซึ่งกรรมฐานอยู่.
ก็ในสมัยนั้น อาพาธบางอย่างเกิดแก่พระเถระ. พระสารีบุตรเถระ
ฟังข่าวนั้นแล้ว เข้าไปหาพระเรวตะ ด้วยคิดว่า เราจักถามอาการไข้และถาม
มรรคผลที่พระเรวตะได้บรรลุ. พระเรวตเถระ เห็นพระธรรมเสนาบดีเดินมา
แต่ไกล เมื่อจะกล่าวสอนสามเณรเหล่านั้น โดยจะให้เกิดสติ จึงกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนสามเณร จาลา อุปจาลา สีสูปจาลา
เธอทั้ง ๓ เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้าอยู่หรือ พระสารีบุตร
ผู้เป็นลุงของพวกเธอ มีปัญญาว่องไว หยั่งรู้เหตุผลได้
โดยถูกต้องแม่นยำ เปรียบดัง นายขมังธนู ผู้ชำนาญ
ยิงปลายขนทรายมาแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จาเล อุปจาเล สีสูปจาเล เป็นคำ
เรียกสามเณรเหล่านั้น อธิบายว่า ทารกทั้ง ๓ เหล่านั้น ได้ชื่อด้วยสามารถ
แห่งเพศหญิงว่า จาลา อุปจาลา สีสูปจาลา แม้บวชแล้ว ก็เรียกกันอย่างนั้น.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อของสามเณรเหล่านั้นว่า จาลี อุปจาลี สีสูปจาลี
การเรียกชื่อด้วยคำเป็นต้นว่า จาเล ดังนี้ เพื่อประโยชน์อันใด พระเถระ
เมื่อจะแสดงประโยชน์อันนั้น จึงกล่าวว่า เธอทั้ง ๓ เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 242
อยู่หรือ ดังนี้แล้ว แสดงเหตุในการเรียกนั้นว่า พระสารีบุตรผู้เป็นลุงของ
พวกเธอ มีปัญญาว่องไว หยั่งรู้เหตุผลได้โดยถูกต้องแม่นยำ เปรียบดังนาย
ขมังธนู ผู้ชำนาญยิงปลายขนทรายมาแล้ว ดังนี้. บทว่า ปติสฺสตา แปลว่า
มีสติเฉพาะหน้า. ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาต ลงในอวธารณะ.
บทว่า อาคโต แปลว่า มาแล้ว. บทว่า โว แปลว่า ของท่าน
ทั้งหลาย.
บทว่า วาล วิย เวธิ ความว่า ดุจนายขมังธนูยิงปลายขนทราย.
ในบาทแห่งคาถานี้ มีความย่อดังนี้ พระเถระผู้เป็นลุงของเธอทั้งหลาย ผู้ชื่อว่า
เหมือนนายขมังธนูผู้ยิงปลายขนทราย เพราะมีปัญญากล้า มีปัญญาไว
มีปัญญาแทงตลอด ผู้เป็นที่สองรองพระศาสดา มาแล้ว เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลาย
จงเข้าไปตั้งสมณสัญญา เป็นผู้ประกอบไปด้วยสติสัมปชัญญะอยู่เถิด คือจงเป็น
ผู้ไม่ประมาท ในวิหารธรรม ที่ตนได้บรรลุแล้วอย่างไร.
สามเณรเหล่านั้น ฟังดังนั้นแล้ว กระทำวัตร มีการลุกขึ้นต้อนรับ
พระธรรมเสนาบดีเป็นต้น แล้วนั่งเข้าสมาธิ ในที่ไม่ไกล ในเวลาปฏิสัณฐาร
ของพระเถระผู้เป็นลุงทั้งสอง พระธรรมเสนาบดีกระทำปฏิสัณฐารอยู่กับพระ-
เรวตเถระ ลุกจากอาสนะแล้ว เข้าไปหาสามเณรเหล่านั้น. สามเณรเหล่านั้น
ลุกขึ้นไหว้พระเถระผู้กำลังเดินเข้าไปหาอยู่ทีเดียว ยืนอยู่แล้ว เพราะทำการ
กำหนดเวลาไว้อย่างนั้น. พระเถระถามว่า พวกเธออยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่
อย่างไหน ๆ เมื่อสามเณรเหล่านั้นตอบว่า ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ ชื่อนี้ ชื่อนี้
สรรเสริญพระเถระว่า พระเถรผู้เป็นน้องชายของเรา แนะนำอย่างนี้ แม้กับ
สามเณรผู้ยังเล็ก ชื่อว่า ถึงเฉพาะแล้วซึ่งธรรมสมควรแก่ธรรมหนอ ดังนี้แล้ว
หลีกไป.
จบอรรถกถาขทิรวนิยเรวตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 243
๓. สุมังคลเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุมังคลเถระ
[๑๘๐] ได้ยินว่า พระสุมังคลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราพ้นดีแล้ว เราเป็นผู้พ้นดีแล้ว จากความ
ค่อมทั้ง ๓ คือ เราพ้นแล้วจากการเกี่ยวข้าว จากการ
ไถนา จาลการถางหญ้า ถึงแม้ว่ากิจมีการเกี่ยวหญ้า
เป็นต้น จะอยู่ในที่ใกล้ ๆ เรานี่เอง แต่ก็ไม่สมควร
แก่เราทั้งนั้น ท่านจงเจริญฌานไปเถิดสุมังคละ จง
เจริญฌานไปเถิดสุมังคละ ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท
อยู่เถิด สุมังคละ.
อรรถกถาสุมังคลเถรคาถา
คาถาของท่านพระสุมังคลเถระเริ่มต้นว่า สุมุตฺติโก. เรื่องราวของท่าน
เป็นมาอย่างไร ?
แม้พระเถระนั้น ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ เกิดเป็น
รุกขเทวดา ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ
ในวันหนึ่ง เขาเห็นพระศาสดา สรงน้ำแล้วทรงจีวรผืนเดียว ยืนอยู่ มีใจโสมนัส
ปรบมือแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 244
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลเข็ญใจ ด้วยผลแห่งกรรมเช่นนั้น ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ไม่ไกลจาก
กรุงสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้นามว่า สุมังคละ. สุมังคละเจริญวัยแล้ว
เป็นผู้มีเดียว มีไถ มีจอบ อันเป็นสมบัติของคนค่อม เป็นบริขาร เลี้ยงชีพ
ด้วยการไถ. วันหนึ่ง เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศล บำเพ็ญมหาทานถวายพระผู้มี-
พระภาคเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ เขาถือหม้อนมส้มเดินร่วมมากับมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้ถือเอาเครื่องทานเดินมา เห็นสักการะและสัมมานะของภิกษุทั้งหลายแล้ว
คิดว่า พวกพระสมณศากยบุตรเหล่านี้ นุ่งห่มผ้าเนื้อละเอียด บริโภคโภชนะที่ดี
อยู่ในเสนาสนะสงัดลม แม้ไฉนหนอ เราพึงบวช ดังนี้ แล้วเข้าไปหา
พระมหาเถระรูปใดรูปหนึ่ง แล้วแจ้งความประสงค์ในการบรรพชาของตน.
พระเถระ เอ็นดูเขา ให้บวชแล้วบอกกรรมฐาน.
ท่านอยู่ในป่า เบื่อหน่ายในการอยู่ผู้เดียว เป็นผู้กระสันแล้ว ประสงค์
จะสึก จึงไปบ้านญาติ เห็นชาวนานุ่งหยักรั้งไถนาอยู่ นุ่งผ้าเศร้าหมอง ร่างกาย
เต็มไปด้วยฝุ่นละออง ถูกลมและแดด (แผดเผาอยู่) ในระหว่างทาง กลับได้
ความสลดใจว่า สัตว์เหล่านี้ เสวยทุกข์ มีการเลี้ยงชีพเป็นเหตุ เป็นอันมากหนอ
กรรมฐาน ที่ท่านเรียนมา ปรากฏแล้ว เพราะญาณถึงความแก่รอบแล้ว
ท่านเข้าไปสู่โคนไม้ต้นหนึ่ง ได้ความสงัดมีโยนิโสมนสิการ เจริญวิปัสสนาแล้ว
บรรลุพระอรหัต ตามลำดับมรรค. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
พระชินวรทรงพระนามว่า อัตถทัสสี เชษฐบุรุษ
ของโลก ประเสริฐกว่านระ เสด็จออกจากพระวิหาร
แล้ว เสด็จเข้าไปใกล้สระน้ำ พระผู้มีพระภาค-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสรงสนานและดื่มแล้ว ทรงห่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 245
จีวรผืนเดียว เฉวียงพระอังสา ประทับยืนเหลียวดูทิศ
น้อยทิศใหญ่อยู่ ณ ที่นั้นในกาลนั้น เราเข้าไปในที่อยู่
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นนายกของโลก เรามี
จิตร่าเริงโสมนัสได้ปรบมือ เราประกอบการฟ้อน
การขับร้อง และดนตรีมีองค์ ๕ ถวายพระองค์ผู้โชติ-
ช่วงดังดวงอาทิตย์ ส่งแสงเรืองเหลืองดังทองคำ
เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ใน
กำเนิดใด ๆ ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งปวง ยศอันไพบูลย์
มีแก่เรา ขอนอบน้อมแด่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย
ขอนอบน้อมแด่พระองค์ผู้อุดมบุรุษ พระองค์ผู้เป็นมุนี
ทรงยังพระองค์ให้ยินดีแล้วทรงยังผู้อื่นให้ยินดีอีกด้วย
เรากำหนดใจ นั่งลงทำความร่าเริง มีวัตรอันดี บำรุง
พระสัมพุทธเจ้าแล้ว เข้าถึงชั้นดุสิต ในกัปที่ ๑,๖๐๐
แต่ภัทรกัปนี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิหลายพระองค์
มีพระนามเหมือนกันว่า ทวินวเอกจินติตะ ทรงสมบูรณ์
ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลาย
แล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จ
แล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะเปล่งอุทาน ด้วยสามารถ
แห่งการประกาศสมบัติ และการพ้นทุกข์ของตน จึงกล่าวคาถาว่า
เราพ้นดีแล้ว เราเป็นผู้พ้นดีแล้ว จากความค่อม
ทั้ง ๓ คือเราพ้นแล้วจากการเกี่ยวข้าว จากการไถนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 246
จากการถางหญ้า ถึงแม้ว่ากิจมีการเกี่ยวหญ้าเป็นต้น
จะอยู่ที่ใกล้ ๆ เรานี้เอง แต่ก็ไม่สมควรแก่เราทั้งนั้น
ท่านจงเจริญฌานไปเถิด สุมังคละ จงเจริญฌานไปเถิด
สุมังคละ ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่เถิด ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุมุตฺติโก ความว่า ชื่อว่า มีความ
หลุดพ้นด้วยดี เพราะหลุดพ้นดี คือไม่ต้องเกิดอีก เพราะกระทำที่สุดได้แล้ว
ก็พระเถระเมื่อจะปรบมือ เพราะความหลุดพ้นของท่านน่าสรรเสริญ และ
น่าอัศจรรย์ จึงกล่าวว่า สุมุตฺติโก เมื่อจะแสดงความที่ความเลื่อมใสของตน
ในวิมุตตินั้น มั่นคงอีก จึงกล่าวว่า สาหุ สุมุตฺติโกมฺหิ อธิบายว่า สาธุ
เราพ้นดีแล้วหนอ ดังนี้. ถามว่า ก็พระเถระนี้ กระทำให้พ้นดีแล้วจากอะไร ?
ตอบว่า ถึงพระเถระนี้ หลุดพ้นดีแล้ว จากวัฏทุกข์แม้ทั้งปวง ก็จริง แต่
เมื่อท่านจะแสดงถึงทุกข์ที่ปรากฏแล้วก่อน ของตนอันเป็นทุกข์ที่ไม่น่าปรารถนา
อย่างยิ่ง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตีหิ ขุชฺชเกหิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขุชฺชเกหิ ความว่าจากสภาพความค่อม
หรือจากอาการค่อม. คำนั้นเป็นคำเปล่งออกด้วยความเบิกบานแห่งเสียงที่เปล่ง
ออก. ด้วยว่าชาวนาแม้ไม่เป็นคนค่อม ก็แสดงตนเป็นค่อมในฐานะ ๓ คือ
ในการเกี่ยว ในการไถ และในการขุด ก็แลชาวนาใดทำการเกี่ยวเป็นต้น
อาการมีการเกี่ยวเป็นต้น แม้นั้นของชาวนานั้น ก็ชื่อว่าความค่อมโดยอาการงอ
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตีหิ ขุชฺชเกหิ.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงทุกข์เหล่านั้น โดยสรูปจึงกล่าวว่า เรา
พ้นแล้วจากการเกี่ยวข้าว จากการไถนา จากการถางหญ้า ดังนี้.
ความของบทว่า อสิตาสุ มยา ในคาถานั้นก็ว่า เราพ้นแล้วจาก
เดียวทั้งหลาย. บทว่า อสิตาสุ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 247
แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า
อสิตาสุ มยา ความว่า อันเราถึงแล้วซึ่งความเป็นคนค่อม เพราะเดียว
ทั้งหลาย คือมีเคียวเป็นเหตุ. ตามมติของเกจิอาจารย์เหล่านั้น บทว่า อสิตาสุ
เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งกรณะหรือในเหตุ.
บทว่า นงฺคลาสุ ท่านกล่าวไว้โดยทำเป็นลิงควิปวาส. อธิบายว่า
เพราะไถทั้งหลายอันลำเค็ญ ท่านกล่าวว่า ขฺทฺกกกุทฺทาลาสุ เพราะไถที่ตน
ใช้สอย กร่อนโดยสภาพ หรือโดยการใช้สอย. บาลีว่า กุณฺกุทฺทาลาสุ
ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า มีคมสึกไปโดยการใช้นั่นเอง.
ม อักษร ในบทว่า อิธเมว นี้ กระทำการต่อบท.
วา ศัพท์ในบทว่า อถ วาปิ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ถึงแม้ว่า
เดียวเป็นต้นเหล่านั้น จะอยู่ในที่นี้แหละ คือในที่ใกล้เรานี่เอง เพราะตั้งอยู่
ในบ้าน แม้อย่างนั้น ก็ไม่สมควรแก่เราทั้งนั้น ก็คำนี้เป็นคำกล่าวซ้ำด้วยสามารถ
แห่งตุริตศัพท์ (เช่นตุริตตุริต ด่วน ๆ).
บทว่า ฌาย ความว่า จงเจริญฌาน ด้วยสามารถแห่งฌานอันสัมปยุต
ด้วยผลสมาบัติ และด้วยสามารถแห่งทิพวิหารฌานเป็นต้น เพื่ออยู่เป็นสุขใน
ทิฏฐธรรม.
พระเถระเรียกตนเองว่า สุมังคละ ก็เพื่อจะแสดงความเอื้อเฟื้อในฌาน
ท่านจึงกล่าวย้ำไว้.
บทว่า อปฺปมตฺโต วิหร ความว่า ท่านต้องเป็นผู้ไม่ประมาท
ในที่ทั่วไปทีเดียว ด้วยการถึงความไพบูลย์แห่งสติและปัญญา ดูก่อนสุมังคละ
บัดนี้ท่านจงอยู่เป็นสุขเถิด. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระเถระรังเกียจ
ความทุกข์ของฆราวาสตามความเป็นจริง โดยเกิดความยินดีในพระศาสนา
อันดำเนินไปตามแนวของวิปัสสนา เพราะยังไม่บรรลุพระอรหัตนั่นเอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 248
ภายหลังเจริญวิปัสสนาแล้ว จึงได้บรรลุพระอรหัต. ตามมติของเกจิอาจารย์
เหล่านั้น ความของบททั้งหลายที่ว่า จงเจริญฌานไปเถิด สุมังคละ ท่านจง
เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่เถิด ดังนี้ ย่อมถูกต้องโดยแท้ แม้ด้วยสามารถแห่ง
วิปัสสนามรรค.
จบอรรถกถาสุมังคลเถรคาถา
๔. สานุเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสานุเถระ
[๑๘๑] ได้ยินว่า พระสานเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
คุณโยมแม่ ชนทั้งหลายพากันร้องไห้ถึงคนที่ตาย
แล้ว ร้องไห้ถึงคนที่ยังเป็นอยู่ แต่หายหน้าจากไป
ส่วนฉันยังชีวิตอยู่ ทั้งปรากฏตัวอยู่ เหตุไรคุณโยม
จึงมาร้องไห้ถึงฉันเล่า ?.
อรรถกถาสานุเถรคาถา
คาถาของท่านพระสานุเถระเริ่มต้นว่า มต วา อมฺม โรทนฺติ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระสานุเถระ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
เข้าไปสั่งสมบุญ อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๙๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 249
แต่ภัทรกัปนี้ เขานำน้ำเข้าไปถวาย เพื่อประโยชน์แก่การล้างพระหัตถ์ ล้าง
พระบาท และบ้วนพระโอฐ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ
ในเวลาจะเสวย พระศาสดามีพระประสงค์จะทรงล้างพระหัตถ์ และล้างพระ
บาท. เขาคอยกำหนดอาการของพระศาสดา แล้วนำน้ำเข้าไปถวาย. พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงล้างพระหัตถ์และพระบาทแล้ว ทรงเสวย ได้มีพุทธประสงค์
จะบ้วนพระโอฐ. ท่านก็รู้แม้พระอาการนั้น เข้าไปถวายน้ำล้างพระโอฐ
พระศาสดาทรงล้างพระโอฐแล้ว ทำการชำระพระโอฐเสร็จแล้ว พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงอาศัยความอนุเคราะห์จึงทรงยินดีไวยาวัจกิจที่เขาจัดถวาย
ด้วยอาการอย่างนี้.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญ แล้วท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิ
ในเรือนของอุบาสกคนหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี เมื่อเขาอยู่ในท้องมารดา
บิดาก็จากไป (อยู่ที่อื่น) พอครบ ๑๐ เดือน อุบาสิกาก็คลอดบุตร ตั้งชื่อ
เขาว่า สานุ.
เมื่อสานุกุมารเติบโตขึ้นโดยลำดับ อุบาสิกาก็จัดให้สานุกุมารผู้มีอายุ
ได้ ๗ ขวบเท่านั้น บรรพชาในสำนักของภิกษุทั้งหลาย ด้วยคิดว่า สานุกุมาร
นี้จักเป็นผู้ไม่มีอันตราย เจริญเติบโต มีความสุขโดยส่วนเดียว ด้วยอุบาย
อย่างนี้. เขามีนามปรากฏว่า สานุสามเณร เป็นผู้มีปัญญา สมบูรณ์ด้วย
วัตรเป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึก เป็นผู้มีอัธยาศัยประกอบด้วยเมตตาใน
สัตว์ทั้งหลาย ได้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้
เรื่องราวทั้งหมด พึงทราบ (อย่างพิสดาร) โดยนัยที่มาแล้วในสานุสูตรนั่นแล.
ในอดีตชาติ มารดาของสานุสามเณรนั้น เกิดในกำเนิดแห่งยักษ์ ยักษ์ทั้งหลาย
ซึ่งเป็นผู้มากไปด้วยความเคารพ ยำเกรง ย่อมนับถือนาง ด้วยคิดว่า หญิงนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 250
เป็นมารดาของพระสานุเถระ เมื่อกาลเวลาผ่านไปอย่างนี้ จิตคิดอยากจะสึก
ก็เกิดขึ้นแก่สานุสามเณร ผู้ฟุ้งซ่านอยู่ เพราะไม่มีโยนิโสมนสิการ ดุจ
ประกาศโทษของความเป็นปุถุชน. ยักษิณีผู้เป็นมารดาของสานุสามเณร รู้เหตุ
นั้น จึงบอกแก่มารดาผู้เป็นมนุษย์ว่า สานุสามเณรผู้เป็นบุตรของท่าน เกิด
ความคิดว่า เราจะสึก. เพราะฉะนั้น ท่านจงไปกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านพึงบอกสานุสามเณรผู้ฟื้นขึ้นแล้ว ยักษ์สั่ง
คำนี้ไว้ว่า ท่านอย่าได้กระทำกรรมอันลามก ทั้งในที่
แจ้งและที่ลับ ถ้าท่านจะกระทำหรือกำลัง กระทำกรรม
อันลามกไซร้ ถึงท่านจะเหาะหนีไป ไม่พ้นจากทุกข์
ดังนี้.
ก็และครั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว นางยักษิณีผู้เป็นมารดา ก็อันตรธานไปใน
ที่นั้นเอง. ส่วนมารดาผู้เป็นมนุษย์ ฟังคำนั้นแล้ว ถึงความปริเทวนาการ และ
ความเศร้าโศก ได้เป็นผู้มีใจเต็มไปด้วยความทุกข์.
ครั้นในเวลาเช้า สานุสามเณร นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยัง
สำนักของมารดา เห็นมารดาร้องไห้อยู่ จึงกล่าวว่า แม่จ๋า แม่ร้องไห้เพราะ
อาศัยอะไร และมารดาตอบว่า เพราะอาศัยเจ้า จึงได้กล่าวคาถาแก่มารดาว่า
แม่จ๋า คนทั้งหลาย เขาพากันร้องไห้ถึงคนที่ตาย
แล้ว ร้องไห้ถึงคนที่ยังเป็นอยู่ แต่หายหน้าจากไป
ส่วนฉันยังมีชีวิตอยู่ ทั้งปรากฏตัวอยู่ เหตุไร แม่จึงมา
ร้องให้ถึงฉันเล่า ?
คาถานั้น มีใจความดังนี้ แม่จ๋า ธรรมดาญาติหรือมิตร ผู้ร้องไห้
ก็ย่อมร้องไห้ถึงญาติหรือมิตรของตนผู้ตายไปแล้ว เพราะล่วงลับไปสู่ปรโลก
แล้ว อีกอย่างหนึ่ง ญาติก็ดี มิตรก็ดี คนใด ยังมีชีวิตอยู่ ไม่ปรากฏเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 251
เดินทางไปประเทศอื่น ก็ย่อมร้องไห้ถึงญาติหรือมิตรผู้นั้น ก็เหตุแม้ทั้งสอง
อย่างนี้ไม่มีในฉัน เมื่อเป็นเช่นนั้น แม่เห็นฉัน ผู้ยังมีชีวิตอยู่ ทรงร่างอยู่
ยืนอยู่ข้างหน้า จะร้องไห้ไปทำไมเล่าแม่จ๋า คือการที่แม่ร้องไห้ถึงฉัน ไม่มี
เหตุ (อันควร) เลย ดังนี้.
มารดาของสานุสามเณร ฟังคำนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงว่าการสึก จัด
เป็นมรณะในวินัยของพระอริยเจ้า โดยทำนองแห่งสุดบทที่ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ภิกษุใด ลาสิกขาเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว นั่นเป็นมรณะของ
เธอ ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ลูกเอ๋ย ญาติและมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคน
ที่ตายแล้ว หรือยังเป็นอยู่แต่หายไป แต่คนใดละกาม
ทั้งหลายแล้ว จะกลับมาในกามนี้อีก ลูกรัก ญาติและ
มิตรทั้งหลาย ย่อมร้องไหถึงคนนั้น เพราะเขาเป็นอยู่
ต่อไปอีก ก็เหมือนตายแล้ว แน่ะพ่อ เรายกเจ้าขึ้นจาก
เถ้ารึงที่ยังร้อนระอุแล้ว ท่านอยากจะตกลงไปสู่เถ้ารึง
อีกหรือ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเม จชิตฺวาน ความว่า ละวัตถุกาม
ทั้งหลาย โดยมีอัธยาศัยน้อมไปในเนกขัมมะ ก็การละวัตถุกามนั้น พึงทราบ
ด้วยสามารถแห่งการละกิเลสกาม ด้วยองค์แห่งมรรคนั้น. ก็บรรพชาท่าน
ประสงค์เอาว่า เป็นการสละกาม ในคาถานี้.
บทว่า ปุนราคจฺฉเต อิธ ความว่า กลับมาในเรือนนี้อีกนั่นเอง.
ท่านกล่าวหมายถึง การเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว. บทว่า ต วาปิ ความว่า
บุคคลใดบวชแล้วสึก พวกเราย่อมร้องไห้ถึงบุคคลแม้นั้นแหละ ซึ่งเป็นดุจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 252
ตายแล้ว. ถ้าจะมีคำถามขึ้นว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะถึงเขาจะเป็น
อยู่ต่อไปอีก ก็เหมือนคนตายแล้ว คือ ผู้ใด หลังจากสึกไป ยังมีชีวิตอยู่
ผู้นั้นชื่อว่า ตายแล้วจากประโยชน์ทีเดียว เพราะตายจากคุณธรรม. บัดนี้เพื่อ
จะให้สานุสามเณรนั้นเกิดความสลดใจยิ่งขึ้น มารดาจึงกล่าวคำ มีอาทิว่า
กุกฺกุฬา ดังนี้.
ใจความของคาถานั้น ก็ว่า ภาวะของคฤหัสถ์ ชื่อว่าเป็นดุจเถ้ารึง
เพราะคล้ายกับนรก ชื่อว่า กุกกุฬะ ด้วยอรรถว่าเผาไหม้ เพราะดุจถูกไฟเผา
แล้วทั้งกลางวันและกลางคืน อันเราผู้มีความอนุเคราะห์ ยกขึ้นแล้ว คือถอน
ขึ้นแล้ว ดูก่อนพ่อสานุ ท่านยังปรารถนาเพื่อจะตกไปสู่เถ้ารึง คือประสงค์จะ
ตกไปสู่เถ้ารึงหรือ ดังนี้.
สานุสามเณรฟังคำนั้นแล้ว เกิดความสลดใจ เริ่มวิปัสสนา แล้ว
บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ใน
อปทานว่า
เราเห็นพระสมณะผู้ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว กำลังเสวย
อยู่ ได้เอาน้ำในหม้อถวาย แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า สิทธัตถะ วันนี้เราเป็นผู้ไม่เศร้าหมอง
ปราศจากมลทิน สิ้นสงสัย ผลย่อมเกิดแก่เราในภพ
ที่เกิดอยู่ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายน้ำใน
กาลนั้น ด้วยการถวายน้ำนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้
เป็นผลแห่งการถวายน้ำ ในกัปที่ ๖๑ แต่ภัทรกัปนี้ ได้
มีพระเจ้าจักรพรรดิ พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า
วิมละ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 253
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธ-
เจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว คิดว่า การเริ่มเจริญวิปัสสนา
และการบรรลุพระอรหัต เกิดแก่เรา ด้วยสามารถแห่งคาถานี้ ดังนี้ แล้ว
จึงได้ยกคาถานั้นแหละ โดยเป็นคาถาอุทาน.
จบอรรถกถาสานุเถรคาถา
๕. รมณียวิหารีเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระรมณียวิหารีเถระ
[๑๘๒] ได้ยินว่า พระรมณียวิหารีเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
โคอาชาไนยตัวสมบูรณ์ พลาดล้มแล้ว ย่อมกลับ
ลุกขึ้นตั้งตัวได้ ฉันใด ท่านทั้งหลายจงทรงจำเราไว้
ว่า เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วย
ทัสสนะ ฉันนั้นเถิด.
อรรถกถารมณียวิหารีเถรคาถา
คาถาของท่านพระรมณียวิหารีเถระ เริ่มต้นว่า ยถาปิ ภทฺโท
อาชญฺโ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 254
แม้พระเถระนั้น ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้เป็นอันมากในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี แล้วมีจิตเลื่อมใส ถวายบังคม
ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วทำการบูชาด้วยดอกหงอนไก่ ด้วยบุญกรรมนั้น
เขาเกิดในเทวโลกแล้วกระทำบุญ ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของเศรษฐีคนใดคนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ ถึงความหมกมุ่นในกามคุณ เพราะความเมาในความเป็น
หนุ่มอยู่.
วันหนึ่ง เขาเห็นบุรุษคนหนึ่ง เป็นชู้กับเมียเขา ถูกลงโทษมีอย่างต่าง ๆ
เกิดความสลดใจ ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้วบวช ถึงจะบวชแล้ว
เพราะความเป็นคนมีราคจริต จึงปัดกวาดบริเวณจนสะอาด ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้
ไว้อย่างดี ตกแต่งเตียงตั่งอย่างเรียบร้อย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงมีนามปรากฏว่า
" รมณียวิหารี ".
เพราะเป็นผู้หนาแน่นด้วยราคะ ท่านจึงทำกิจโดยไม่แยบยล ต้องอาบัติ
ในเพราะตั้งใจทำน้ำสุกกะให้เคลื่อนแล้ว มีวิปฏิสารว่า น่าตำหนิตัวเราจริงหนอ
เราเป็นอย่างนี้ พึงบริโภคอาหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา (ได้อย่างไร) เดินไป
โดยคิดว่า จักสึก นั่งพักที่โคนไม้ในระหว่างทาง. ก็เมื่อหมู่เกวียนเดินผ่านทาง
นั้นไป โคที่เขาเทียมเกวียนตัวหนึ่งเหน็ดเหนื่อย ลื่นตกไปในทางที่ไม่สม่ำเสมอ
เจ้าของเกวียนจึงปลดมันออกจากแอก ให้หญ้าให้น้ำ พอหายเหนื่อยแล้ว ก็
เทียมมันเข้าที่แอกอีก เดินทางต่อไป. พระเถระเห็นดังนั้นก็คิดว่า โคตัวนี้
แม้พลาดไปแล้วหนหนึ่ง ยังลุกขึ้นนำธุระของตนไปได้ ฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น
แม้จะพลั้งพลาดไปบ้าง ครั้งหนึ่ง ด้วยอำนาจกิเลส ก็ควรจะลุกขึ้นบำเพ็ญ
สมณธรรม ดังนี้แล้ว เกิดโยนิโสมนสิการ กลับไปแจ้งข่าวความเป็นไปของตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 255
แก่พระอุบาลีเถระ ออกจากอาบัติโดยวิธีที่กล่าวแล้วนั้น กระทำศีลให้บริสุทธิ์
ดุจเดิม เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้เห็นรอยพระบาท อันประดับด้วยจักรและ
เครื่องอลังการ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
วิปัสสี ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ทรงเหยียบไว้ จึงเดินตาม
รอยพระบาทไป เราได้เห็นต้นหงอนไก่ มีดอกบาน
จึงเก็บเอามาบูชาพร้อมทั้งราก เราร่าเริง มีจิตโสมนัส
ได้ไหว้รอยพระบาทอันอุดม ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้บูชารอยพระพุทธบาทด้วยดอกไม้ใด ด้วยการ
บูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา
ในกัปที่ ๕๗ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง
ทรงพระนามว่า วีตมละ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗
ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เสวยวิมุตติสุข ได้กล่าวคาถา
อันแสดงถึงการบรรลุอริยธรรม พร้อมกับข้อปฏิบัติเบื้องต้นของตนว่า
โคอาชาไนยตัวสมบูรณ์ พลาดล้มแล้ว ย่อมกลับ
ลุกขึ้นตั้งตัวได้ ฉันใด ท่านทั้งหลายจงทรงจำเราไว้ว่า
เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วย
ทัสสนะนั้นเถิด ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 256
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขลิตฺวา แปลว่า พลาดแล้ว. บทว่า
ปฏิติฏฺติ แปลว่า กลับลุกขึ้นตั้งหลักได้ คือ กลับยืนอยู่ในที่เดิมได้อีก.
บทว่า เอว ความว่า โคอาชาไนยตัวเจริญ นำภาระไปถึงแหล่งที่มี
อันตราย ลื่นล้มลงไปครั้งหนึ่ง เพราะเหตุที่ไม่เสมอกัน ไม่ทอดทิ้งธุระด้วย
เหตุนั้น แม้ถึงจะพลาดไป ก็กลับลุกขึ้นตั้งตัวได้ เพราะสมบูรณ์ด้วยกำลัง
ความปราดเปรียว และความพยายามยืนหยัดอยู่ได้ โดยสภาพของตนนั่นแล
แล้วนำภาระไปได้ ฉันใด ภิกษุผู้ประสบความลำบากเพราะกิเลสก็ฉันนั้น.
ท่านทั้งหลายจงทรงจำข้าพเจ้า ผู้ชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยทัสสนะ เพราะถึงจะพลาด
พลั้งไป เพราะความผิดพลาดจากการกระทำ ก็ยังทำความพลาดพลั้งนั้น ให้
กลับบริสุทธิ์ดุจเดิม เพราะสมบูรณ์ด้วยกำลังและความเพียร โดยมีความเห็น
ชอบในมรรค. เพราะเหตุนั้นแล จึงชื่อว่า เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพราะเกิดแล้วโดยอริยชาติในภพสุดท้าย ชื่อว่าเป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุระ
เพราะความเป็นผู้มีอภิชาติอันความพยายามให้เกิดแล้ว ที่พระอุระของพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้านั้นและชื่อว่าเป็นอาชาไนย เพราะมีหน้าที่คล้ายกับโคอาชาไนย
ตัวเจริญ.
จบอรรถกถารมณียวิหารีเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 257
๖. สมิทธิเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสมิทธิเถระ
[๑๘๓] ได้ยินว่า พระสมิทธิเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยศรัทธา มีสติ
และปัญญาอันเจริญ มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ดูก่อนมาร
ถึงท่านจักบันดาลรูปต่าง ๆ ที่น่ากลัวให้เกิดขึ้น แต่ก็
ไม่สามารถทำให้เราสะดุ้งกลัวได้เลย.
อรรถกถาสมิทธิเถรคาถา
คาถาของท่านพระสมิทธิเถระ เริ่มต้นว่า สทฺธายาห ปพฺพชิโต.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญไว้เป็นอันมากในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เป็นผู้มีใจ
เลื่อมใสแล้ว ถือเอาดอกไม้พร้อมทั้งขั้ว ผูกให้เป็นช่อบูชาแล้ว.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาเกิดในเทวโลก การทำบุญเป็นอันมาก ท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ อยู่แต่ในสุคติภพ เกิดในเรือนมีตระกูล ในพุทธุปบาทกาลนี้.
จำเดิมแต่เขาเกิดแล้ว ตระกูลนั้นก็เจริญมั่งคั่ง ด้วยทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น
และอัตภาพของเขา ก็สวยงาม น่าดู มีคุณสมบัติ. เพราะฉะนั้น เขาจึงมีนาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 258
ปรากฏว่า " สมิทธิ " เพราะเจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์สมบัติ และสมบูรณ์
ด้วยคุณสมบัติ.
เขาเห็นพุทธานุภาพ ในสมาคมของพระเจ้าพิมพิสาร ได้มีศรัทธา
บวชแล้ว หมั่นขวนขวายในภาวนาอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ใน
ตโปทาราม วันหนึ่งท่านคิดอย่างนี้ว่า เป็นลาภแล้วหนอ พระศาสดาของเรา
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และเราก็บวชในพระธรรมวินัย ที่พระองค์
ตรัสดีแล้ว ทั้งเพื่อนสพรหมจารี ของเราก็เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม เมื่อ
ท่านคิดอยู่อย่างนี้ ก็เกิดปีติโสมนัสเป็นล้นพ้น. มารผู้ลามก ไม่พอใจ จึง
ส่งเสียงร้องดังน่ากลัว ในที่ไม่ห่างพระเถระ ได้เป็นประหนึ่งว่าแผ่นดินจะถล่ม.
พระเถระกราบทูลความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มารจงใจทำลวงตาเธอ ไปเถิดภิกษุ
เธอไม่ต้องคิดในข้อนั้น จงอยู่ไปเถิด. พระเถระไปในที่นั้น แล้วอยู่ขวนขวาย
วิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่
ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
สิทธัตถะ เป็นสารถีฝึกนระ ผู้โชติช่วงดังดอก-
กรรณิการ์ ประทับนั่งในระหว่างภูเขา ยังทิศทั้งปวง
ให้สว่างอยู่ ในกาลนั้น เราเอาธนูพาดสายแล้ว ยิง
ลูกธนูไป ตัดดอกไม้พร้อมทั้งขั้ว บูชาแด่พระพุทธเจ้า
ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๕๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่ง พระนามว่า ชุตินธระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 259
ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผา
กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ส่วนมารไม่รู้ว่าพระเถระผู้อยู่ในที่นั้น บรรลุพระอรหัตแล้ว เป็น
พระขีณาสพ ก็ได้ส่งเสียงร้องดังน่ากลัว โดยนัยก่อนนั่นแหละ. พระเถระฟัง
เสียงนั้นแล้วไม่สะดุ้งกลัว ไม่หวาดเสียว กล่าวว่า มารเช่นท่านตั้งร้อย ตั้งพัน
ก็ไม่ทำให้แม้ขนของเราหวั่นไหวได้ ดังนี้แล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
ได้ภาษิตคาถาว่า
เราออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยศรัทธา มีสติและ
ปัญญาเจริญ มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ดูก่อนมาร ถึงท่านจัก
บันดาลรูปต่าง ๆ ที่น่ากลัวให้เกิดขึ้น แต่ก็ไม่อาจทำ
เราให้สะดุ้งกลัวได้เลย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธาย ความว่า ด้วยความเชื่อกรรม
และผลแห่งกรรม และด้วยความเชื่อในพระรัตนตรัย อันมีความพอใจในธรรม
เป็นสมุฏฐาน.
พระเถระเรียก (แสดง) ตนเอง ด้วยบทว่า อห. บทว่า ปพฺพชิโต
ความว่า เข้าถึง (บรรพชา).
บทว่า อคารสฺมา ความว่า จากเรือน หรือจากการอยู่ครองเรือน.
บทว่า อนคาริย ได้แก่ บรรพชา. ก็บรรพชานั้น ท่านเรียกว่า
อนคาริยะ เพราะไม่มีกสิกรรมแลพาณิชยกรรมเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง อัน
เป็นประโยชน์ต่อการครองเรือน ซึ่งเป็นเหตุให้ชื่อว่า "อคาริยะ".
ด้วยบทว่า สติ ปญฺญา จ เม วุฑฺฒา นี้ พระเถระแสดงว่า
จำเดิมแต่ขณะแห่งวิปัสสนา จนถึงพระอรหัตตามลำดับมรรคธรรมเหล่านี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 260
คือ สติที่มีการระลึกได้เป็นลักษณะ ปัญญาที่มีการรู้ทั่วเป็นลักษณะ เจริญแล้ว
คืองอกงามแล้วแก่เรา บัดนี้ จะมีธรรมที่ต้องเจริญ (อีก) ก็หามิได้ สติปัญญา
ของเราถึงความไพบูลย์แล้ว ดังนี้.
ด้วยบทว่า จิตฺตญฺจ สุสมาหิต นี้ พระเถระแสดงว่า จิตของเรา
ตั้งมั่นดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งสมาบัติ ๘ และด้วยสามารถแห่งโลกุตรสมาธิ
บัดนี้ไม่มีกิจที่จะต้องทำจิตนั้นให้ตั้งมั่น (เพราะ) สมาธิถึงความไพบูลย์แล้ว.
บทว่า กาม กรสฺสุ รูปานิ ความว่า ดูก่อนมารผู้ลามก เพราะ
ฉะนั้น ท่านมากระทำอาการที่น่ารังเกียจอย่างใดอย่างหนึ่ง หลอกเราตาม-
ชอบใจ แต่อาการที่น่ารังเกียจเหล่านั้น ไม่อาจทำให้เราสะดุ้งกลัวได้เลย คือ
ไม่สามารถจะกระทำ แม้เพียงควานหวั่นไหวแห่งร่างกายของเราได้เลย ที่ไหน
จักทำจิตให้เป็นอย่างอื่นไปได้. พระเถระคุกคามมารว่า เพราะฉะนั้น กิริยานั้น
จะมีผลเพียงทำความคับแค้น แก่จิตของท่านเท่านั้น. มารฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า
พระเถระรู้ทันเรา แล้วหายไปในที่นั้นเอง.
จบอรรถกถาสมิทธิเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 261
๗. อุชชยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอุชชยเถระ
[๑๘๔] ได้ยินว่า พระอุชชยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ช้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์
ขอนอบน้อมแด่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
จากสิ่งทั้งปวง เมื่อข้าพระองค์อยู่ในพระบัญชาของ
พระองค์ จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะ อยู่เป็นสุขสำราญ.
อรรถกถาอุชชยเถรคาถา
คาถาของท่านพระอุชชยเถระเริ่มต้นว่า นโม เต พุทฺธ วีรตฺถุ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
กระทำบุญเป็นอันมากไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ เห็นพระผู้มี-
พระภาคเจ้า พระนามว่า ติสสะ มีใจเลื่อมใส ทำการบูชาด้วยดอกกรรณิการ์
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ
ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ ชื่อว่า โสตถิยะ
คนใดคนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า อุชชยะ.
เขาเจริญเติบใหญ่แล้ว เป็นผู้เรียนจบไตรเพท มองไม่เห็นสาระใน
ไตรเพทนั้น อันอุปนิสยสมบัติ ตักเตือนอยู่ ไปยังเวฬุวันวิหาร ฟังธรรมใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 262
สำนักของพระศาสดา ได้มีศรัทธาบรรพแล้ว เรียนกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต
อยู่ในป่า เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานเลย. สมดังคาถา-
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ในกาลนั้น เราเห็นต้นกรรณิการ์มีดอกบาน
จึงเก็บมาบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
ติสสะ ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ผู้คงที่ ในกัปที่ ๙๒ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชาในกัปที่ ๓๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
มีพลมาก ปรากฏนามว่า อรุณปาณี สมบูรณ์
ด้วยแก้ว ๗ ประการ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ไปยังสำนักของพระศาสดา นั่ง ณ
ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล ด้วยอาการชมเชยพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ได้กล่าวคาถาว่า
ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์
ขอนอบน้อมแต่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
จากสิ่งทั้งปวง เมื่อข้าพระองค์อยู่ในพระโอวาทของ
พระองค์ จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะ อยู่เป็นสุขสำราญ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นโม แสดงถึงการประณาม. บทว่า
เต แสดงถึงการมอบให้ด้วยกิริยานอบน้อม อธิบายว่า ขอนอบน้อมแด่
พระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 263
ก็บทว่า พุทฺธ วีร เป็นคำเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า. อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิตเรียกว่า พุทธะ เพราะตรัสรู้อรรถ ต่างด้วย
อภิญญาเป็นต้น ด้วยพระสยัมภูญาณ ต่างด้วยอภิญญาเป็นต้น ฉันใด แม้ที่
บัณฑิตเรียกว่า วีระ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะทรงประกอบไปด้วยความเพียร
ใหญ่ ที่ทรงเริ่มตั้งด้วยสามารถแห่งการย่ำยีมารแม้ทั้ง ๕.
บทว่า อตฺถุ แปลว่า จงมี. บทว่า อตฺถุ นั้นสัมพันธ์เข้ากับ
บทว่า นโม.
บทว่า วิปฺปมุตฺโตส สพฺพธิ ความว่า ได้เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว คือ
พรากแล้ว จากกิเลสทั้งปวง และในสังขารทั้งปวง คือ ไม่มีอะไรเลย ที่พระองค์
ยังไม่ทรงหลุดพ้น เพราะเหตุที่ข้าพระองค์อยู่ในโอวาทของพระองค์ จึงเป็นผู้
ไม่มีอาสวะ อยู่เป็นสุข อธิบายว่า ข้าพระองค์อยู่ในพระบัญชา คือ ในพระ-
โอวาท ได้แก่ ในมรรคที่ถึงแล้วของพระองค์ ปฏิบัติอยู่ตามสติ ตามกำลัง
ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีอาสวะ เพราะละอาสวะ แม้ทั้ง ๔ มีกามาสวะเป็นต้นได้หมดแล้ว
อยู่ ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ผู้เช่นนั้น.
จบอรรถกถาอุชชยเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 264
๘. สัญชยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสัญชยเถระ
[๑๘๕] ได้ยินว่า พระสัญชยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ตั้งแต่เราออกบวช เป็นบรรพชิต เราไม่รู้สึกถึง
ความดำริ อันไม่ประเสริฐ ประกอบด้วยโทษเลย.
อรรถกถาสัญชยเถรคาถา
คาถาของท่านพระสัญชยเถระเริ่มต้นว่า ยโต อห. เรื่องราวของท่าน
เป็นอย่างไร ?
แม้ท่านก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่งสม
บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ได้รวบรวมสิ่งของที่เรี่ยราดกระจัดกระจายอยู่
ในที่ประชุมใหญ่ ๆ กระทำบุญอุทิศพระรัตนตรัย ตัวเองเป็นคนจน จึงได้เป็น
ผู้ขวนขวายในการบำเพ็ญบุญของหมู่คณะเป็นต้นเหล่านั้น ท่านเข้าไปเฝ้าพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ตามกาลเวลา ถวายบังคมแล้ว มีจิตเลื่อมใสได้ทำหน้าที่
ไวยาวัจกร ต่าง ๆ ต่อภิกษุทั้งหลาย ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านไปบังเกิดใน
เทวโลก กระทำบุญไว้มาก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ในสุคติภพด้วยเท่านั้น ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ ผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ ในพระ-
นครราชคฤห์ โดยนามมีชื่อว่า สัญชัย. เขาเจริญวัยแล้ว เห็นพราหมณ์ผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 265
ชื่อเสียง มีพรหมายุพราหมณ์ และโปกขรสาติพราหมณ์เป็นต้น เลื่อมใสใน
พระศาสนา ก็บังเกิดความเลื่อมใส เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา.
พระบรมศาสดา ทรงแสดงธรรมแก่เขาแล้ว เขาฟังธรรมแล้วได้เป็น
พระโสดาบัน แล้วบรรพชาในเวลาต่อมา ก็และเมื่อบรรพชา พอปลายมีดจด
เท่านั้น ก็ได้อภิญญา ๖. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ได้มีการประชุมใหญ่ (มหาสันนิบาต) แห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี เราได้
เป็นไวยาวัจกรผู้รับใช้ในกิจทุกอย่าง ก็ไทยธรรม
ที่จะถวายแด่พระสุคตเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ของเราไม่มี เรามีจิตผ่องใสได้ถวายบังคมพระบาท
ของพระศาสดา ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้
กระทำไวยาวัจกร ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการทำหน้าที่ไวยาวัจกร และในกัปที่ ๘
แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นามว่า
สุจินตติะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธ-
เจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ท่านเป็นผู้มีอภิญญา ๖ เมื่อพยากรณ์พระอรหัตผล ได้กล่าวคาถาว่า
ตั้งแต่เราออกบวชเป็นบรรพชิต เราไม่รู้สึกถึง
ความดำริอันไม่ประเสริฐ ประกอบด้วยโทษเลย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต อห ปพฺพชิโต ความว่า
จำเดิมแต่ คือนับแต่เราได้บวชแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 266
(อธิบายว่า) จำเดิมแต่เวลาที่เราบวชแล้ว เราไม่รู้จักความดำริอันไม่
ประเสริฐ ประกอบด้วยโทษเลย โดยความหมายก็ว่า เราไม่รู้จักความดำริ
ที่ประกอบด้วยโทษมีราคะเป็นต้น เพราะเหตุนั้นแล จึงชื่อว่าไม่ประเสริฐ คือ
เลว อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าไม่ใช่ของพระอริยเจ้า เพราะพระอริยะเจ้าทั้งหลาย
ไม่ประพฤติ และเพราะผู้ที่ไม่ใช่พระอริยประพฤติ คือเป็นของลามก ได้แก่
มิจฉาวิตก มีกามวิตกเป็นต้น อันได้นามว่า สังกัปปะ เพราะดำริถึงคุณที่
ไม่มีจริงเป็นต้นในอารมณ์ อันตนให้เกิดแล้ว พระเถระพยากรณ์พระอรหัตผล
ว่า เราบรรลุพระอรหัตแล้ว ในเวลาที่ปลายมีดโกนจดเท่านั้น.
จบอรรถกถาสัญชยเถรคาถา
๙. รามเณยยกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระรามเณยยกเถระ
[๑๘๖] ได้ยินว่า พระรามเณยยกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ดูก่อนมาร บุคคลบางจำพวก ย่อมสะดุ้งกลัว
เพราะเสียงคำรามของท่าน และเสียงร้องคำรามแห่ง
เทวดา แต่จิตของเราไม่หวั่นไหว เพราะเสียงเหล่านั้น
เพราะจิตของเรายินดีความเป็นผู้เดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 267
อรรถกถารามเณยยกเถรคาถา
คาถาของท่านพระรามเณยยกเถระ เริ่มต้นว่า จิหจิหาภินทิเต.
เรื่องราวของท่านเป็นมาอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เป็นอันมาก เกิดในเรือนแห่งตระกูลในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี. บรรลุถึงความเป็นผู้รู้แล้ว เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้เลื่อมใสแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยดอกไม้ทั้งหลาย.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดแล้วในเทวโลก กระทำบุญแล้ว เกิด
หมุนเวียนไป ๆ มา ๆ อยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดใน
ตระกูลอันมั่งคั่งในพระนครสาวัตถี เจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีความเลื่อมใสเกิดแล้ว
บรรพชา ในกาลที่ทรงรับมอบพระวิหารชื่อว่า เชตวัน เรียนกรรมฐาน
อันสมควรแก่จริต แล้วอยู่ในป่า. ท่านได้มีชื่อว่า รามเณยยกะ เพราะ
สมบัติของตน และข้อปฏิบัติอันสมควร แก่บรรพชิตของท่านเป็นเหตุนำมา
ซึ่งความเลื่อมใส. วันหนึ่ง มารประสงค์ จะหลอกให้พระเถระสะดุ้ง จึงได้
ส่งเสียงร้องน่ากลัว.
พระเถระฟังเสียงนั้นแล้ว ไม่สะดุ้งกลัว เพราะเสียงนั้น รู้ทันว่า นี้
เป็นมาร เมื่อจะแสดงความไม่อาทรในเสียงนั้น ได้กล่าวคาถาว่า
ดูก่อนมารผู้ลามก จิตของเรานั้นย่อมไม่หวั่น
ไหวดิ้นรน เพราะเสียงร้องของนกกระจาบ และเพราะ
เสียงร้องของลิงทั้งหลาย เพราะจิตของเรายินดียิ่งแล้ว
ในพระนิพพาน ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 268
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิหจิหาภินทิเต ความว่า เพราะเหตุ
แห่งการส่งเสียงร้องของนกกระจาบ ที่ได้นามว่า จิหะ จิหะ เพราะส่งเสียง
ร้องอยู่เนือง ๆ ว่า จิหะ จิหะ อธิบายว่า มีเสียงร้องเป็นเหตุ. บทว่า
สิปฺปิกาภิรุเต จ ความว่า ลิงที่มีอาการเหมือนเด็กผอมโซอมโรค มีชื่อ
อย่างอื่น คือขี้เล่น ท่านเรียกว่า สิปปิกะ. บางอาจารย์เรียกว่า มหากลันทกร
เพราะลิงทั้งหลาย อ้าปากกว้าง ร้องตัวสั่น ก็บทนี้เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถ
แห่งเหตุ อธิบายว่า การร้องของลิงนั่นเป็นเหตุ. บทว่า น เม ต ผนฺทติ
จิตฺต ความว่า จิตของเราย่อมไม่ดิ้นรน คือไม่หวั่นไหว.
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ดูก่อนมารผู้ลามก จิตของเราย่อมไม่ตกไป
จากกรรมฐาน เพราะเหตุแห่งการส่งเสียงร้องของท่าน ดุจเพราะเหตุแห่งการ
ร้อง คือเพราะเหตุแห่งการส่งเสียงร้องของลิงในป่า. พระเถระกล่าวถึงเหตุใน
การที่จิตไม่ตกไปจากกรรมฐานว่า เอกตฺต นิรต หิ เม เพราะจิตของ
เรายินดียิ่งแล้วในพระนิพพาน. หิ ศัพท์ มีเหตุเป็นอรรถ ได้แก่
เพราะเหตุที่จิตของเรา ละการคลุกคลีด้วยหมู่ อยู่ในความเป็นผู้ ๆ เดียว คือ
ในเอกีภาพ หรือเพราะเหตุที่จิตของเรา ละความฟุ้งซ่านในภายนอก แล้วถึง
ความเป็นหนึ่งในเอกัคคตารมณ์ หรือเพราะเหตุที่จิตของเรายินดียิ่งแล้ว คือ
อภิรมย์แล้วใน เอคัคตารมณ์ คือในเอกีภาพ ได้แก่ ในพระนิพพาน ฉะนั้น
จิตของเราจึงไม่ดิ้นรน คือไม่ขาดจากกรรมฐาน ได้ยินว่า พระเถระเมื่อ
กล่าวคาถานี้อยู่นั่นแล เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถา
ประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี มีพระ
ฉวีวรรณดังทอง มีพระรัศมีอันประเสริฐดังพระอาทิตย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 269
มีพระหฤทัยเมตตา มีพระสติ เสด็จขึ้นที่จงกรม เรา
มีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ชมเชยพระญาณอันอุดม
แล้ว ถือดอกเทียนขาวไปบูชา แด่พระพุทธเจ้า ใน
กัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้
เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๒๙ แต่ภัทรกัปนี้ ได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นามว่า สุเมฆฆนะ สมบูรณ์
ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก เราเผากิเลสทั้งหลาย
แล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จ
แล้ว ดังนี้.
ก็แลคาถานี้นั่นแหละ ได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ.
จบอรรถกถารามเณยยเถรคาถา
๑๐. วิมลเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวิมลเถระ
[๑๘๗] ได้ยินว่า พระวิมลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
แผ่นดินชุ่มฉ่ำด้วยน้ำฝน ลมก็พัด สายฟ้าก็แลบ
อยู่ทั่วไปในท้องฟ้า วัตถุทั้งหลาย ย่อมสงบไป จิต
ของเราตั้งมั่นแล้ว เป็นอันดี.
จบวรรคที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 270
อรรถกถาวิมลเถรคาถา
คาถาของท่านพระวิมลเถระ เริ่มต้นว่า ธรณี จ สิญฺจติ วา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้ท่านก็ได้เป็นผู้มีอธิการอันได้กระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ เกิดใน
ตระกูลของคนเป่าสังข์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
วิปัสสี ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว สำเร็จการศึกษาในศิลปะนั้น วันหนึ่งพบพระผู้
มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี มีใจเลื่อมใสแล้ว ทำการบูชาด้วยการ
เป่าสังข์ถวาย จำเดิมแต่นั้น ได้ทำการบำรุงพระศาสดา ตลอดกาลเวลา.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาเกิดในเทวโลก การทำบุญไว้มาก ท่องเที่ยวไปๆ
มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ตั้งอธิฐานไว้ในศาสนาของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ ว่า ในอนาคตกาล ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีร่างกาย
บริสุทธิ์ ปราศจากมลทิน ดังนี้ แล้วรดต้นโพธิ์ด้วยน้ำหอม ซักฟอกอาสนะ
ที่เป็นเจดีย์ และเนินโพธิ ซักสมณบริขารที่เศร้าหมอง แม้ของภิกษุทั้งหลาย.
ก็ครั้น จุติจากมนุษยโลกแล้ว ก็ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิดในตระกูลที่มั่งคั่ง ณ พระนครราชคฤห์ ในพุทธุ-
ปบาทกาลนี้ ก็เมื่อท่านอยู่ในท้องมารดาก็ดี ออกจากท้องมารดาก็ดี ร่างกาย
ของท่านไม่เศร้าหมองด้วยดี และเสมหะเป็นต้น ไม่แปดเปื้อน ดุจหยาดน้ำ
ฝักบัว ได้เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ดังพระโพธิสัตว์ผู้ประสูติในภพสุดท้าย ด้วย
เหตุนั้น คนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า วิมละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 271
วิมลมาณพ เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพ ในคราวที่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ ได้เฉพาะซึ่งศรัทธา บรรพชาแล้ว เรียน
กรรมฐาน อยู่ในถ้ำแห่งภูเขา แคว้นโกศล. อยู่มาวันหนึ่ง มหาเมฆที่
เกิดในทวีปทั้ง ๔ ได้ยังฝนให้ตก แผ่คลุม ทั่วท้องจักรวาล. ได้ยินว่า
ฝนย่อมตกอย่างนี้ ในเวลาที่พระพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ ยังทรง
ดำรงอยู่ ในวิวัฏฏัฏฐายีกัป. จิตของพระเถระได้ตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
เพราะฝนช่วยสงบ ระงับ ดับความร้อนในฤดูร้อน และเพราะได้ฤดูเป็น
ที่สบาย. ท่านจึงมีจิตตั้งมั่น ขวนขวายวิปัสสนาในขณะนั้นเองแล้วบรรลุ
พระอรหัต ตามลำดับมรรค. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นผู้เป่าสังข์บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
นามว่าวิปัสสี เป็นผู้ประกอบการบำรุงพระสุคตเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เป็นนิตย์ เราเห็นผลแห่งการ
บำรุงพระโลกนาถผู้คงที่ ดนตรีหกหมื่น ห้อมล้อมเรา
ทุกเมื่อ ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราบำรุงพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบำรุง ในกัปที่ ๒๔ แต่
ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ พระองค์
นามว่า " มหานิโฆษะ" มีพลมาก. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำ
สำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 272
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เป็นผู้มีใจยินดีแล้ว เพราะ
ทำกิจสำเร็จแล้ว เมื่อจะเปล่งอุทาน ได้กล่าวคาถาว่า
แผ่นดินชุ่มชื่นด้วยน้ำฝน ลมก็พัด สายฟ้าก็แลบ
อยู่ทั่วไปในท้องฟ้า วิตกทั้งหลายย่อมสงบไป จิตของ
เราตั้งมั่นแล้ว เป็นอันดี ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธรณี แปลว่า แผ่นดิน. ก็แผ่นดินนั้น
ท่านเรียกว่า " ธรณี " เพราะทรงไว้ซึ่งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งสิ้น.
บทว่า สิญฺจติ ความว่า เมื่อมหาเมฆยังฝนให้ตกเต็มทั่วท้องฟ้า
โดยรอบ ผืนดินก็ชุ่มชื่นด้วยน้ำฝน.
บทว่า วาติ มาตุโล ความว่า ลมที่เยือกเย็นเพราะสัมผัสกับ
บรรยากาศที่ฝนโปรยลงมา ก็พัด.
บทว่า วิชฺชุลตา จรติ นเภ ความว่า ลมที่เยือกเย็นเพราะสัมผัสกับ
บรรยากาศที่ฝนโปรยลงมา ก็พัด.
บทว่า วิชฺชุลตา จรติ นเภ ความว่า สายฟ้าที่แลบออกจาก
กลุ่มเมฆหนา ร้องคำรามกระหึ่ม ครวญครางในที่นั้น ๆ ก็แลบไปในอากาศ
ด้านโน้น และด้านนี้รอบทิศ.
บทว่า อุปสมนฺติ วิตกฺกา ความว่า มหาวิตก ๙ แม้ทั้งหมดมี
กามวิตกเป็นต้น ชื่อว่าเป็นอันสงบแล้ว ด้วยสามารถแห่งองค์มรรคนั้น ใน
ชั้นต้น โดยการที่พระเถระได้บรรลุสมถะและวิปัสสนา อันสำเร็จแล้วเพราะมี
ฤดูเป็นที่สบาย ชื่อว่าย่อมเข้าไปสงบ เพราะการได้บรรลุอริยมรรค. คือ ย่อม
ขาดสูญไปโดยไม่มีส่วนเหลือ พระเถระกล่าวถึงขณะแห่งอริยมรรค ทำให้เป็น
ปัจจุบัน เพราะใกล้ปัจจุบัน. อีกอย่างหนึ่ง บทนี้ เป็นคำกล่าวถึงปัจจุบัน ใน
ข้อความที่ผ่านมาแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 273
บทว่า จิตฺต สุสมาหิต มม ความว่า พระเถระพยากรณ์พระ-
อรหัตผลว่า ต่อจากนั้นมา จิตของเราก็ตั้งมั่นด้วยดี ด้วยโลกุตรสมาธิ บัดนี้
ไม่มีกิจอะไรที่จะต้องกระทำในการตั้งจิตนั้น ดังนี้.
จบอรรถกถาวิมลเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๕
ในอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี
ในวรรคนี้ รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ
๑. พระสิริวัฑฒเถระ ๒. พระขทิรวนียเรวตเถระ ๓. พระสุมังคล
เถระ ๔. พระสานุเถระ ๕. พระรมณียวิหารีเถระ ๖. พระสมิทธิเถระ
๗. พระอุชชยเถระ ๘. พระสัญชยเถระ ๙. พระรามเณยยกเถระ ๑๐.
พระวิมลเถระ และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 274
เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๖
๑. โคธิกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโคธิกเถระ
[๑๘๘] ได้ยินว่า พระโคธิกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ฝนตกลงมา มีเสียงไพเราะ ดังเสียงเพลงขับ
กุฎีของเรามุงดีแล้ว มีประตูหน้าต่างมิดชิดดี จิตของ
เราก็ตั้งมั่นดีแล้ว ถ้าท่านปรารถนาจะตก ก็เชิญตก
ลงมาเถิดฝน.
วรรควรรณนาที่ ๖
อรรถกถาโคธิกาทิจตุเถรคาถา
คาถาของพระเถระทั้ง ๔ เหล่านี้ คือ พระโคธิกะ พระสุพาหุ พระ-
วัลลิยะ พระอุตติยะ ทั้ง ๔ คาถาเริ่มต้นว่า วสฺสติ เทโว. เรื่องราวของ
ท่านเหล่านั้นเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระเหล่านี้ ก็ได้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้มากในภพนั้น ๆ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ในกัปที่ ๙๔ นับแต่ภัทรกัปนี้ ได้เกิดในเรือนมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 275
ตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว ได้เป็นสหายกันเที่ยวไป. ในบรรดาสหายเหล่านั้น
สหายคนหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิทธัตถะ เสด็จเที่ยว
บิณฑบาต ได้ถวายอาหารทัพพี ๑. สหายคนที่ ๒ มีจิตเลื่อมใส ถวายบังคม
ด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้ว ประคองอัญชลี. สหายคนที่ ๓ มีจิตเลื่อมใส
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยดอกอุบลกำมือหนึ่ง สหายคนที่ ๔ ทำการบูชา
ด้วยดอกมะลิ. สหายเหล่านั้นบังเกิดในเทวโลก ด้วยบุญกรรม ที่ทำจิตให้
เลื่อมใสในพระศาสดา ขวนขวายแล้วอย่างนี้ กระทำบุญไว้มากแล้วท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล้วเกิดในเรือนมีตระกูล
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ เป็นสหายกัน
บวชในพระศาสนา บำเพ็ญสมณธรรม แล้วเกิดเป็นโอรสของเจ้ามัลละทั้ง ๔
ในเมืองปาวา ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย. พวกเจ้ามัลละ
ได้ขนานนามของพระโอรสเหล่านั้นว่า โคธิกะ สุพาหุ วัลลิยะ (และ) อุตติยะ.
พระโอรสทั้ง ๔ ได้เป็นสหายรักกัน. พระโอรสเหล่านั้น ได้พากันไปยังเมือง
กบิลพัสดุ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง. ก็ในสมัยนั้น พระศาสดาเสด็จไปยังเมือง
กบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ในนิโครธาราม ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ทรมานเจ้า
ศากยะ มีพระเจ้าสุทโธทนะเป็นประมุข. ครั้งนั้น แม้โอรสแห่งเจ้ามัลละ
ทั้ง ๔ เหล่านั้น เห็นปาฏิหาริย์แล้ว ได้ความเลื่อมใส บวชแล้ว เจริญวิปัสสนา
บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ต่อกาลไม่นานนัก. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า พระโคธิกเถระกล่าวคาถานี้ว่า
เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้มีผิวพรรณดังทอง
สมควรรับเครื่องบูชา เสด็จออกจากป่าอันสงัด จาก
ตัณหาเครื่องร้อยรัดมาสู่ความดับ จึงถวายภิกษาทัพพี
หนึ่ง แด่พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 276
ปัญญา ผู้สงบระงับ ผู้แกล้วกล้ามาก ผู้คงที่ เราตาม
เสด็จพระองค์ ผู้ทรงยังมหาชนให้ดับ เรามีความยินดี
เป็นอันมากในพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์
ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาล
นั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายภิกษา ในกัปที่ ๘๗ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระ-
เจ้าจักรพรรดิ ๗ พระองค์ มีพระนามเหมือนกันว่า
มหาเรณุ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ. เราเผา
กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุพาหุเถระ กล่าวคาถานี้ว่า
เราได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณดังทอง
ผู้องอาจดุจม้าอาชาไนย ดังช้างมาตังคะ ตกมัน ๓
ครั้ง ผู้แสวงหาพระคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงยังทิศทั้งปวง
ให้สว่างไสวเหมือนพญารัง มีดอกบาน เป็นเชษฐบุรุษ
ของโลก สูงสุดกว่านระ เสด็จดำเนินไปในถนน
จึงยังจิตให้เลื่อมใสในพระญาณ ประนมอัญชลี มีจิต
เลื่อมใส มีใจโสมนัส ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า สิทธัตถะ ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เรา
ได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระญาณ ในกัปที่
๗๓ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ พระ-
องค์ มีนามว่า นรุตตมะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 277
ประการ มีพลมาก เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระวัลลิยเถระ กล่าวคาถานี้ว่า
ในกาลนั้น เราเป็นช้างดอกไม้ อาศัยอยู่ในนคร
ติวรา ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี ทรงพระนาม
ว่า สิทธัตถะ อันชาวโลกบูชา มีใจเลื่อมใสโสมนัส
ได้ถวายดอกอุบลกำมือหนึ่ง เราอุบัติในภพใด ๆ
เพราะผลของกรรมนั้น เราได้เสวยผลอันน่าปรารถนา
ที่ตนทำไว้ดีแล้วในปางก่อน แวดล้อมด้วยพวกมัลละ
ชั้นดี นี้เป็นผลแห่งการถวายดอกไม้ ในกัปที่ ๙๔
แต่ภัทรกัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา
ด้วยดอกไม้ ในกัปใกล้เคียงที่ ๙๔ เว้นกัปปัจจุบัน
ได้เป็นพระราชา ๕๐๐ พระองค์ มีนามเหมือนกันว่า
นัชชสมะ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระอุตติยเถระ กล่าวคาถานี้ว่า
เราได้ถวายดอกมะลิแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
พระนามว่า " สิทธัตถะ " ดอกมะลิ ๗ ดอกเราโปรย
ลงแทบพระบาท ด้วยความยินดี ด้วยกรรมนั้น วันนี้
เราได้เสวยอมตธรรม เราทรงกายที่สุด อยู่ในศาสนา
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้
เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 278
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้
ในกัปที่ ๕ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๓
พระองค์ ได้มีนามว่า สมันตคันธะ ครอบครอง
แผ่นดิน มีสมุทรสาคร ๔ เป็นที่สุด เป็นจอมประชา.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธ-
เจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระแม้ทั้ง ๔ เหล่านี้ ครั้น บรรลุพระอรหัตแล้ว ปรากฏ
ชื่อเสียงโค่งดังในโลก เป็นผู้อันพระราชามหาอมาตย์แห่งพระราชา สักการะ
เคารพแล้ว อยู่ร่วมกันในป่านั่นแหละ. ครั้นในกาลวันหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสาร
เข้าไปหาพระเถระทั้ง ๔ รูปเหล่านั้น ผู้เข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ ไหว้แล้ว นิมนต์
ให้อยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส รับสั่งให้สร้างกุฏิถวายพระเถระเหล่านั้นแยกกัน
(องค์ละหลัง) (แต่) ไม่ได้มุงหลังคาเพราะหลงลืม. พระเถระเหล่านั้นก็อยู่ใน
กุฏิทั้งหลายที่ยังไม่ได้มุง ถึงฤดูฝน ฝนก็ไม่ตก พระราชาทรงพระดำริว่า
เพราะเหตุไรหนอแล ฝนจึงไม่ตก ทรงทราบเหตุนั้น แล้วรับสั่งให้มุงหลังคา
กุฏิเหล่านั้น ให้ฉาบด้วยดินเหนียว และตกแต่งให้งดงาม ทำการฉลองกุฏิ
แล้วได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่.
เพื่อจะอนุเคราะห์พระราชา พระเถระทั้งหลายจึงเข้าไปยังกุฏีทั้งหลาย
แล้วเข้าสมาบัติเมตตาเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น มหาเมฆตั้งขึ้นด้านทิศอุดรและ
ทิศปราจีน ตั้งเค้าจะตกในขณะที่พระเถระทั้งหลายออกจากสมาบัติทีเดียว ใน
บรรดาพระเถระเหล่านั้น พระโคธิกเถระออกจากสมาบัติพร้อมกับเมฆร้องคำราม
ได้กล่าวคาถานี้ว่า
ฝนตกลงมา มีเสียงไพเราะดังเสียงเพลงขับ กุฎี
ของเรามุงดีแล้ว มีประตูหน้าต่างมิดชิดดี จิตของเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 279
ก็ตั้งมั่นดีแล้ว ถ้าท่านปรารถนาจะตก ก็เชิญตกลงมา
เถิดฝน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสติ ความว่า ฝนตก คือ ยังสายฝน
ให้โปรยลงมา.
บทว่า เทโว ได้แก่ เมฆ.
บทว่า ยถา สุคีต มีอธิบายว่า ส่งเสียงครวญครางเหมือนเสียง
เพลงขับอันเสนาะ ก็ในเวลาฝนจะตก เมฆตั้งขึ้นหนาตั้งร้อยชั้นพันชั้น ทำให้
ฟ้าร้องเปล่งแสงแปลบปลาบไปทั่วทิศ ย่อมงดงาม มิใช่อย่างเดียว เพราะฉะนั้น
พระเถระจึงแสดงว่า ฝนตกส่งเสียงดังสนิทไพเราะกังวานลึก (อีกด้วย). ด้วย
เหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวถึงการที่ไม่ถูกรบกวนด้วยเรียกว่ากุฎีของเรามุงดีแล้ว
มีประตูหน้าต่างมิดชิดดี คือ พระเถระกล่าวว่า กุฏิของเรานี้ มุงด้วยหญ้า
เป็นต้นแล้ว ตราบเท่าที่ฝนยังไม่ตก ด้วยเหตุนั้นจึงไม่ถูกฝนรบกวน. กุฎีชื่อว่า
นำสุขมาให้ เพราะมีสุขในการใช้สอย และมีฤดูเป็นที่สบาย มีฤดูเป็นสุขครบ
ทุกอย่าง ทั้งเว้นจากอันตรายอันเกิดแต่ลม เพราะมีประตูหน้าต่างปิดสนิทดี
พระเถระจึงกล่าวว่า ไม่ถูกเบียดเบียนด้วยสามารถแห่งที่อยู่เป็นสัปปายะครบทั้ง
๒ อย่าง.
บทว่า จิตฺต สุสมาหิตญฺจ มยฺห ความว่า จิตของเราตั้งมั่นแล้ว
ด้วยดี ด้วยอนุตรสมาธิ คือ แนบแน่นดีแล้วในอารมณ์ คือ พระนิพพาน.
ด้วยบทนี้ พระเถระแสดงถึงความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย เพราะไม่มี
อันตรายในภายใน.
บทว่า อถ เจ ปตฺถยสิ ความว่า บัดนี้ ถ้าท่านปรารถนาจะตก
คือ ถ้าท่านอยากจะตก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 280
บทว่า ปวสฺส ความว่า จงพรมน้ำ คือ หลั่งสายฝนลงมา.
พระเถระเรียกเมฆว่า เทว.
จบอรรถกถาโคธิกาทิจตุเถรคาถา
๒. สุพาหุเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุพาหุเถระ
[๑๘๙] ได้ยินว่า พระสุพาหุเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ฝนตกลงมา มีเสียงไพเราะดังเสียงเพลงขับ กุฎี
ของเรามุงดีแล้ว มีประตูหน้าต่างมิดชิดดี จิตของเรา
ก็ตั้งมั่นดีแล้ว ถ้าท่านปรารถนาจะตก ก็เชิญตกลงมา
เถิดฝน.
อรรถกถาสุพาหุเถรคาถา
ในคาถาที่พระเถระอีก ๓ องค์นอกนี้กล่าวไว้ แปลกกันเฉพาะใน
บทที่ ๓. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺต สุสมาหิตญฺจ กาเย ในคาถา
ที่พระสุพาหุเถระกล่าวไว้ ความว่า จิตของเราตั้งมั่นแล้วด้วยดี คือแนบแน่น
อยู่แล้วโดยชอบในกรชกาย ด้วยสามารถแห่งการเจริญกายคตาสติ อธิบายว่า
พระสุพาหุเถระนี้ กระทำฌานที่ตนได้แล้ว ด้วยสามารถแห่งการเจริญ
กายคตาสติ ให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว พระเถระ
หมายถึงการเจริญกายคตาสตินั้น จึงกล่าวว่า จิตฺต สุสมาหิตญฺจ กาเย และ
จิตของเราตั้งมั่นดีแล้วในกาย ดังนี้.
จบอรรถกถาสุพาหุเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 281
๓. วัลลิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวัลลิยเถระ
[๑๙๐] ได้ยินว่า พระวัลลิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ฝนตกลงมา มีเสียงไพเราะดังเสียงเพลงขับ กุฎี
ของเรามุงดีแล้ว มีประตูหน้าต่างมิดชิดดี เราเป็นผู้
ไม่ประมาทอยู่ในกุฎีนั้น ถ้าท่านปรารถนาจะตกก็เชิญ
ตกลงมาเถิดฝน.
อรรถกถาวัลลิยเถรคาถา
บทว่า ตสฺส วิหรามิ อปฺปมตฺโต ในวัลลิยเถรคาถา มีอธิบายว่า
เราชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว เพราะบรรลุถึงที่สุดแห่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความ
ไม่ประมาท อยู่ผัดเปลี่ยนอิริยาบถ คือยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการเข้าไป
ประกอบด้วยธรรมอันเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า และด้วยการประกอบด้วย
ธรรมมีทิพวิหารธรรมเป็นต้น ในกุฎีนั้น.
จบอรรถกถาวัลลิยเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 282
๔. อุตติยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอุตติยเถระ
[๑๙๑] ได้ยินว่า พระอุตติยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ฝนตกลงมา มีเสียงไพเราะดังเสียงเพลงขับ กุฎี
ของเรามุงดีแล้ว มีประตูหน้าต่างมิดชิดดี เราผู้เดียว
ไม่มีเพื่อนอยู่ในกุฎีนั้น ถ้าท่านปรารถนาจะตก ก็เชิญ
ตกลงมาเถิดฝน.
อรรถกถาอุตติยเถรคาถา
บทว่า อทุติโย ในคาถาที่พระอุตติยเถระกล่าวแล้ว ความว่า
เราเป็นผู้ไม่มีสหาย คือ เว้นจากการคลุกคลีด้วยกิเลส และการคลุกคลีด้วยคณะ.
จบอรรถกถาอุตติยเถรคาถา
จบอรรถกถาคาถาของพระเถระทั้ง ๔
๕. อัญชนวนิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอัญชนวนิยเถระ
[๑๙๒] ได้ยินว่า พระอัญชนวนิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราเข้าไปสู่ป่าอัญชนวัน ทำตั่งให้เป็นกุฎีแล้ว
ได้บรรลุวิชชา ๓ เราได้กระทำคำสอนของพระพุทธ-
เจ้าเสร็จแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 283
อรรถกถาอัญชนวนิยเถรคาถา
คาถาของท่านพระอัญชนวนิยเถระเริ่มต้นว่า อาสนฺทึ กุฏิก กตฺวา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตระ
ท่านเป็นช่างดอกไม้ นามว่า สุทัสสนะ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกมะลิ
กระทำบุญอย่างอื่นไว้ในภพนั้น ๆ เป็นอันมาก บวชในศาสนาของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ แล้วได้บำเพ็ญสมณธรรม ครั้นใน-
พุทธุปบาทกาลนี้ เกิดในตระกูลเจ้าวัชชี ในพระนครเวสาลี ในเวลาที่เขา
เจริญเติบใหญ่แล้ว ภัยทั้ง ๓ คือ ภัยเกิดแต่ฝนแล้ง ๑ ภัยเกิดแต่ความเจ็บไข้ ๑
ภัยเกิดแต่อมนุษย์ ๑ บังเกิดแล้วในแคว้นวัชชี. ภัยทั้งหมดนั้นพึงทราบโดยนัย
ดังกล่าวแล้วในอรรถกถารัตนสูตร ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงเมืองเวสาลี
เมื่อภัยทุกอย่างสงบแล้ว และเมื่อธรรมาภิสมัยเกิดแล้วแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย จำนวนมาก ในการแสดงธรรมของพระบรมศาสดา ราชกุมารนี้เห็น
พุทธานุภาพ ได้มีศรัทธา บรรพชาแล้ว.
ก็ราชกุมารนี้ มีประวัติอย่างไร แม้พระราชาอีก ๔ องค์ ที่จะกล่าว
ต่อไป ก็มีประวัติอย่างนั้น ก็ราชกุมารแห่งเจ้าลิจฉวีผู้เป็นพระสหายของ
ราชกุมารนี้ แม้เหล่านั้น ก็บรรพชาแล้วโดยทำนองนี้แหละด้วยอาการอย่างนี้
คือ ราชกุมารเหล่านั้นเป็นสหายกัน แม้ในกาลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
พระนามว่า กัสสปะ บวชแล้ว ก็ได้บำเพ็ญสมณธรรมร่วมกันกับราชกุมารนี้
ได้กระทำบุญมีการปลูกพืชคือกุศลเป็นต้นไว้แทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ พระอัญชนวนิยเถระนี้ การทำบุรพกิจเสร็จแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 284
อยู่ที่ป่าช้า ในป่าอัญชนวัน ในเมืองสาเกตนั้น เมื่อจวนถึงเวลาใกล้เข้าพรรษา
ได้ตั่งเก่า ๆ ที่มนุษย์ทั้งหลายทิ้งแล้ว วางตั่งนั้นไว้บนแผ่นหินทั้ง ๔ ปกปิด
ด้านบน และด้านกว้างด้วยหญ้าเป็นต้น แล้วประกอบประตูอยู่จำพรรษา.
ท่านเพียรพยายามอยู่ ก็ได้บรรลุพระอรหัต ในเดือนแรกเท่านั้น. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ในกาลนั้นเราเป็นนายมาลาการมีชื่อว่าสุทัสสนะ
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี เชษฐบุรุษของโลก
ประเสริฐกว่านระ เรามีจักษุบริสุทธิ์ มีใจโสมนัส
ถือดอกมะลิไปบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
ปทุมุตตระ ผู้ตรัสรู้แล้วมีจักษุทิพย์ ด้วยบุปผบูชานี้
และด้วยการตั้งจิตไว้ เราไม่เข้าถึงทุคติเลย ตลอดแสน
กัป ในกัปที่ ๓๖ แต่ภัทรกัปมิได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๑๖ พระองค์ มีพระนามเหมือนกันว่า เทวุตตระ มี
พลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว เสวยวิมุตติสุข ออกจากสมาบัติแล้ว
พิจารณาสัมบัติตามที่ได้ เมื่อจะเปล่งอุทานด้วยกำลังปีติ จึงได้กล่าวคาถาว่า
เราเข้าไปสู่ป่าอัญชนวัน ทำตั่งให้เป็นกุฎีแล้ว
ได้บรรลุวิชชา ๓ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำ
สำเร็จแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสนฺทิกุฏิก กตฺวา ความว่า ตั่ง ๔
เหลี่ยม ขายาว ชื่อว่า อาสันทิ แม้ตั่ง ๔ เหลี่ยมกว้างก็มีเหมือนกัน. พระ
เถระกระทำตั่ง ที่สามารถเพื่อจะนั่งได้อย่างเดียว นอนไม่ได้ ให้เป็นกุฎี
เพื่ออยู่อาศัย โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง คือกระทำให้เป็นกุฎี โดยประการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 285
ที่ เมื่อนั่งบนตั่งนั้นแล้ว สามารถบำเพ็ญสมณธรรมได้โดยสะดวกเพราะไม่มี
อันตรายอันเกิดแต่ฤดู. พระเถระแสดงถึงความมักน้อย และความสันโดษ
อย่างยอดเยี่ยมในเสนาสนะของตน ด้วยบทนี้. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่าน
พระธรรมเสนาบดีกล่าวไว้ว่า
การนั่งขัดสมาธิ นับว่าพอเป็นการอยู่อย่างสบาย
ของภิกษุ ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ดังนี้.
อาจารย์อีกพวกหนึ่ง อ้างปาฐะว่า อาสนฺทิกุฏิก แล้วกล่าวอธิบายว่า
กระทำกุฎีขนาดเท่าตั่ง. ส่วนอาจารย์เหล่าอื่น กล่าวอธิบายว่า กุฎีที่ทำไว้บน
เตียงเฉพาะ คนจะนั่งทำเป็นอาสนะเป็นต้น (วอหาม) ชื่อว่า อาสันทิ กระทำ
อาสันทินั้นให้เป็นกุฎี.
บทว่า โอคยฺห ความว่า หยั่งลง คือเข้าไปแล้วโดยลำดับ. บทว่า
อญฺชนวน ได้แก่ป่าที่มีชื่ออย่างนี้ อธิบายว่า เถาวัลย์ ท่านเรียกว่า อัญชนะ
เพราะมีดอกมีสีเหมือนดอกอัญชัน ป่านั้นได้นามว่า อัญชนวัน เพราะมากไป
ด้วยเถาวัลย์นั้น. ส่วนอาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า กอไม้ใหญ่ ชื่อว่าอัญชนวัน
ต้องนำคำที่เหลือว่า วิหรโต มยา มาประกอบความว่า เราเข้าไปสู่ป่าอัญชนวัน
นั้น กระทำตั่งให้เป็นกุฎี บรรลุวิชชา ๓ โดยลำดับ กระทำคำสอนของพระ
พุทธเจ้าแล้วอยู่. ก็คำเป็นคาถานี้แหละ ได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผล
ของพระเถระ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอัญชนวนิยเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 286
๖. กุฏีวิหารีเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกุฏีวิหารีเถระ
[๑๙๓] ได้ยินว่า พระกุฏิวิหารีเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ใครนั่งอยู่ในกุฎี ภิกษุผู้ปราศจากราคะ มีจิตตั้ง
มั่นอยู่ในกุฎี ขอท่านจงรู้อย่างนี้เถิดอาวุโส กุฎีที่ท่าน
ทำไว้แล้ว ไม่ไร้ประโยชน์เลย.
อรรถกถากุฎีวิหารีเถรคาถา
คาถาของท่านพระกุฏิวิหารีเถระ เริ่มต้นว่า โก กุฏีกาย. เรื่อง
ราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เสด็จ
ไปทางอากาศ ท่านถือหม้อน้ำเย็นไปด้วยคิดว่า เราจักถวายน้ำเป็นทาน แล้ว
เกิดปีติโสมนัส แหงนหน้าขึ้น โยนหม้อน่าขึ้นไป (บนอากาศ) พระศาสดา
ทรงทราบอัธยาศัยของท่าน แล้วประทับยืนอยู่ในอากาศรับหม้อน้ำ เพื่อเจริญ
ศรัทธาปสาทะ. ด้วยการรับน้ำนั้น ท่านเสวยปีติโสมนัสมิใช่น้อย. ข้อความที่
เหลือ คล้ายกับที่กล่าวไว้ในเรื่องของพระอัญชนวนียเถระ ทั้งนั้น. ส่วนข้อ
ที่แปลกกันมีดังนี้
ได้ยินว่า ท่านบวชโดยนัยดังกล่าวแล้ว กระทำบุรพกิจเสร็จแล้ว
ขวนขวายวิปัสสนา ในเวลาเย็นเดินทางไปใกล้ที่นา เมื่อฝนลงเม็ด เห็นกุฎี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 287
อันเกิดด้วยบุญ ของคนเฝ้านา จึงนั่งบนอาสนะที่ลาดด้วยหญ้า. พอท่านนั่งลง
ก็ได้ฤดูเป็นที่สบาย ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคำที่
ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระฉวีวรรณ
ดังทอง ผู้รุ่งเรืองดังกองไฟ เหมือนพระอาทิตย์ เป็น
ที่รับรองเครื่องบูชาเสด็จไปในอากาศ จึงเอามือทั้งสอง
กอบน้ำแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ พระพุทธเจ้าผู้มหา-
วีระ มีพระกรุณาในเรา ทรงรับไว้ พระศาสดาทรง
พระนามว่า ปทุมุตตระ ประทับยืนอยู่ในอากาศ ทรง
ทราบความดำริของเรา จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ด้วยการถวายน้ำนี้และด้วยเกิดปีติ เขาจะไม่ถึงทุคติเลย
ตลอดแสนกัป. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาเชษฐ-
บุรุษของโลก ผู้นราสภ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์
ละความชนะและความแพ้แล้ว บรรลุฐานะอันไม่หวั่น
ไหว ในกัปที่ ๖,๕๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ๓ พระองค์ มีพระนามว่า สหัสสราช เป็น
จอมคน ปกครองแผ่นดิน มีสมุทรสาครเป็นที่สุด.
กิเลสทั้งหลายเราเผาแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธ-
เจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็เมื่อพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว นั่งอยู่ในกระท่อมนั้น คนเฝ้า
นากลับมา ถามว่า ใครอยู่ในกระท่อม. พระเถระได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคำมี
อาทิว่า ภิกษุอยู่ในกระท่อม. คำของคนเฝ้านา และของพระเถระนี้นั้น ท่าน
รวบรวมไว้เป็นหมวดเดียวกันแล้ว ยกขึ้นสู่สังคีติ โดยรูปอย่างนั้น ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 288
ใครนั่งอยู่ในกระท่อม ภิกษุผู้ปราศจากราคะ มี
จิตตั้งมั่นอยู่ในกระท่อม ขอท่านจงรู้อย่างนี้เถิดอาวุโส
กระท่อมที่ท่านทำไว้แล้ว ไม่ไร้ประโยชน์เลย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก กุฏิกาย เป็นคำถามของคนเฝ้านาว่า
ใครนั่งอยู่ในกุฏินี้. บทว่า ภิกฺขุ กุฏิกาย เป็นคำให้คำตอบของพระเถระ แก่
คนเฝ้านา. ลำดับนั้น พระเถระ ยังคนเฝ้านาให้อนุโมทนา การใช้สอยกระท่อม
โดยความที่ ตนเป็นพระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ เพื่อจะทำบุญนั้นให้ดำรงมั่นคง
โอฬาร จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วีตราโค. คาถานั้น มีใจความดังนี้ ภิกษุผู้ทำ
ลายกิเลสได้แล้วรูปหนึ่ง นั่งอยู่แล้วในกระท่อมของท่าน เพราะเหตุนั่นแหละ
ภิกษุนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปราศจากราคะแล้ว เพราะมีราคะอันถอนขึ้นแล้ว โดย
ประการทั้งปวง ด้วยมรรคอันเลิศ ชื่อว่าผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว เพราะเป็นผู้มีจิต
ตั้งมั่นแล้วด้วยดี โดยกระทำพระนิพพาน ให้เป็นอารมณ์ ด้วยสมาธิอันยอด
เยี่ยม ดูก่อนคนเฝ้านา ผู้มีอายุ เรากล่าวความนี้ อย่างไร ท่านจงรู้ คือ
จงเชื่ออย่างนั้น ท่านจงพ้น (ทุกข์).
กระท่อมอันท่านทำแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์เลย คือกระท่อมที่ท่านสร้าง
ไว้ ไม่เป็นโมฆะ ไม่เป็นหมัน มีแต่ผล มีแต่กำไร เพราะพระอรหันตขีณาสพ
ได้ใช้สอย. ถ้าท่านจะอนุโมทนา ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และ
เพื่อความสุขแก่ท่านตลอดกาลนาน.
คนเฝ้านา ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า เป็นลาภของเราแล้วหนอ เพราะ
ในกุฎีของเรา มีพระผู้เป็นเจ้า เช่นนี้เข้าไปนั่ง แล้วมีจิตเลื่อมใส ได้ยืนอนุ-
โมทนาแล้ว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับถ้อยคำสนทนา ของพระเถระและ
คนเฝ้านาเหล่านั้นนี้ ด้วยทิพโสตธาตุ และทรงทราบการอนุโมทนาของคนเฝ้านา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 289
เมื่อจะทรงยังสมบัติอันคนเฝ้านา จะพึงได้เสวย ให้แจ้งชัด จึงได้ตรัสกะคน
เฝ้านาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ด้วยผลแห่งการที่ภิกษุ ผู้มีจิตสงบแล้ว ไม่มี
อาสวะ อยู่ในกระท่อมของท่านนั้น ท่านจักได้เป็น
จอมเทพ ท่านจะได้เป็นจอมเทวัญ เสวยราชสมบัติใน
หมู่เทพ ๓๖ ครั้ง จักได้เป็นจอมจักรพรรดิ ในแว่น
แคว้น ๓๔ ครั้ง จักได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้
ปราศจากราคะ นามว่า รัตนกุฏี ดังนี้.
จำเดิมแต่นั้นมา พระเถระ ก็ได้เกิดสมัญญานามว่า กุฏิวิหารีเถระ
ทีเดียว เพราะเป็นนามพิเศษที่ท่านได้ในกระท่อม. ก็คาถานี้แหละ ได้เป็น
คาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถากุฏิวิหารีเถรคาถา
๗. ทุติยกุฏิวิหารีเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกุฏิวิหารีเถระ
[๑๙๔] ได้ยินว่า พระกุฏิวิหารีเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
กุฎีนี้เป็นกุฎีเก่า ท่านปรารถนากุฎีใหม่ ก็จงละ
ความหวังในกุฎีใหม่เสีย ดูก่อนภิกษุ กุฎีใหม่นำทุกข์
มาให้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 290
อรรถกถาทุติยกุฏิวิหารีเถรคาถา
คาถาของท่านพระกุฏิวิหารีเถระเริ่มต้นว่า อยมาหุ ปุราณิยา. เรื่อง
ราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายพัดที่สานอย่างวิจิตรด้วย
ผลิตภัณฑ์ไม้อ้อ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ในฤดู
ร้อน พระศาสดาทรงยังเขาให้รื่นเริง ด้วยพระคาถาอนุโมทนา ในข้อความใด
ที่ยังมีข้อหลงเหลืออันควรกล่าวถึง ข้อความนั้นก็เหมือนกับที่กล่าวไว้แล้ว ใน
เรื่องของพระอัญชนวนิยเถระ ส่วนข้อที่แปลกกันมีดังนี้
ได้ยินว่า พระเถระนี้บวชแล้ว โดยนัยดังกล่าวแล้วอยู่ในกุฏิเก่าหลัง-
หนึ่ง ไม่คิดจะบำเพ็ญสมณธรรม คิดแต่จะก่อสร้างอย่างเดียวว่า กุฏิของเรา
เก่าแล้ว เราควรทำกุฏิหลังใหม่. เทวดาผู้ใคร่ประโยชน์ต่อท่าน กล่าวคาถานี้
ที่มีความชวนให้สลดใจ ภาษาง่าย ๆ แต่มีใจความลึกซึ้งว่า
กุฎีนี้เป็นกุฎีเก่า ท่านปรารถนากุฎีใหม่หลังอื่น
ก็จงละความหวังในกุฎีใหม่เสีย ดูก่อนภิกษุ กุฎีใหม่
นำทุกข์มาให้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อย เป็นคำชี้ให้เห็นสิ่งที่อยู่ใกล้. บทว่า
อหุ มีความหมายว่า ได้มีแล้ว เพื่อความสะดวกในการประพันธ์คาถา ท่านจึง
กล่าวเป็นทีฆะ.
บทว่า ปุราณิยา ความว่า มีมาในกาลก่อน คือ มีมานานแล้ว.
บทว่า อญฺ ปตฺถยเส นว กุฏึ ความว่า ท่านปรารถนา คือ
ประสงค์ ได้แก่อยากได้กุฏิชื่อว่าหลังใหม่ เพราะเป็นกุฎิที่จะพึงบังเกิดในบัดนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 291
อื่นจากหลังนี้ เพราะความที่กุฏิหลังนี้ทรุดโทรมโดยความเป็นของเก่า ก็ท่าน-
จงละความหวังในกุฏิหลังใหม่เสียทั้งหมด คือ จงคลายความหวังคือ ความอยาก
ได้แก่ ความเห่อ แม้ในกุฏิหลังใหม่เหมือนในหลังเก่า ย่อมเป็นผู้มีจิตปราศ-
จากความอยากได้ในกุฏิหลังใหม่นั้น โดยประการทั้งปวง. เพราะเหตุไร ?
เพราะกุฏิหลังใหม่นำทุกข์มาให้ คือ ดูก่อนภิกษุ เพราะกุฏิที่ชื่อว่าใหม่ คือ
ที่จะพึงให้เกิดในบัดนี้ ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะนำทุกข์มาให้ ฉะนั้น เธออย่า
ทำทุกข์ใหม่อย่างอื่นให้เกิด จงอยู่ในกุฏิหลังเก่านั่นแหละ กระทำกิจที่ตนควร
กระทำ ก็ในคาถานี้มีอธิบายดังนี้ ดูก่อนภิกษุ ท่านคิดว่า กุฏิที่มุงด้วยหญ้า
หลังนี้ ชำรุดทรุดโทรม จึงหวังจะสร้างกุฏิที่มุงด้วยหญ้าใหม่หลังอื่น ไม่-
บำเพ็ญสมณธรรม ก็เมื่อปรารถนาอย่างนี้ ชื่อว่ายังปรารถนากุฏิคืออัตภาพ
ต่อไป เพราะไม่พ้นจากการเกิดในภพใหม่ โดยไม่ได้ขวนขวายในภาวนา
จึงชื่อว่ายังปรารถนาเพื่อจะสร้างอยู่นั่นเอง. ก็กุฏิคืออัตภาพนั้น เปรียบเหมือน
กุฏิที่มุงด้วยหญ้าหลังใหม่ ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเกี่ยวข้องกับทุกข์ต่าง ๆ มีชรา
มรณะ โศกะ และปริเทวะเป็นต้น ยิ่งเสียกว่าทุกข์ในการสร้างกุฏิ เพราะ
ต้องลำบากในการกระทำ เพราะฉะนั้น ท่านจงคลายความหวัง ความเพ่ง
ในกุฏิคืออัตภาพเหมือนคลายความหวังในการสร้างกุฏิหญ้าฉะนั้น คือ จงเป็น
ผู้มีจิตปราศจากความกำหนัดในอัตภาพนั้น โดยประการทั้งปวง วัฏทุกข์
จักไม่มีแก่ท่านด้วยอาการอย่างนี้ ก็พระเถระฟังคำของเทวดาแล้ว เกิดความ
สลดใจ เริ่มตั้งวิปัสสนา เพียรพยายามอยู่ ดำรงอยู่แล้วในพระอรหัตผลต่อกาล
ไม่นานเลย. สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่สงบระงับ มั่นคง ประทับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 292
นั่งบนอาสนะที่ลาดด้วยหญ้า เราเอาดอกอ้อมาผูกเป็น
พัด แล้วน้อมถวายแด่พระพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมประชา
ผู้คงที่ พระสัพพัญญูผู้เป็นนายกของโลก ทรงรับพัด
แล้ว ทรงทราบความดำริของเรา ได้ตรัสพระคาถานี้
ว่า กายของเราดับแล้ว ความเร่าร้อนไม่มี ฉันใด
จิตของท่านจงหลุดพ้นจากกองไฟ ๓ กอง ฉันนั้น
เทวดาบางเหล่าที่อาศัยต้นไม้อยู่ มาประชุมกันทั้งหมด
ด้วยหวังว่า จักได้ฟังพระพุทธพจน์ อันยังทายกให้
ยินดี พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ที่นั้น แวดล้อม
ด้วยหมู่เทวดา เมื่อจะทรงยังทายกให้รื่นเริง จึงได้
ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ด้วยการถวายพัดนี้ และด้วย
การตั้งจิตไว้ ผู้นี้จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพระ-
นามว่า สุพพตะ ด้วยกรรมที่เหลือนั้น อันกุศลมูล
ตักเตือนแล้ว จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพระนาม
ว่า " มาลุตะ " ด้วยการถวายพัดนี้ และด้วยการนับถือ
อันไพบูลย์ ผู้นี้จักไม่เข้าถึงทุคติตลอดแสนกัป ในกัป
ที่สามหมื่น จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๘ พระองค์
มีพระนามว่า สุพพตะ ในกัปที่สองหมื่นเก้าพัน
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า มาลุตะ
อีก ๘ ครั้ง. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 293
ก็พระเถระ ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลแล้ว ได้กล่าวคาถานั้นแหละ
ซ้ำอีกว่า คาถานี้เป็นขอสับในการบรรลุพระอรหัตผลของเรา. ก็คาถานั้นแหละ
ได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ. ก็พระเถระนั้น ได้มีนามว่า
กุฏิวิหารีเถระ เพราะท่านได้คุณพิเศษ เพราะโอวาทเรื่องกุฏิ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาทุติยกุฏิวิหารีเถรคาถา
๘. รมณียกุฏิกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระรมณียกุฏิกเถระ
[๑๙๕] ได้ยินว่า พระรมณียกุฏิกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
กุฎีของเรา น่ารื่นเริงบันเทิงใจ เป็นกุฏิที่ทายก
ให้ด้วยศรัทธา ดูก่อนนารีทั้งหลาย เราไม่ต้องการ
ด้วยกุมารีทั้งหลาย ชนเหล่าใดมีความต้องการ เธอ
ทั้งหลายก็จงไปในสำนักของชนเหล่านั้นเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 294
อรรถกถารมณียกุฎิกเถรคาถา
คาถาของท่านพระรมณียกุฏิกเถระ เริ่มต้นว่า รมณียา เม กุฏิกา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า แม้พระเถระนั้น กระทำการหว่านพืช คือ กุศลไว้ในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่องเที่ยวไปในเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ในที่สุดแห่งกัป ๑,๘๐๐ จำเดิมแต่ภัทรกัปนี้ ถึง
ความเป็นผู้รู้แล้ว ได้ถวายอาสนะอันสมควรแก่พระพุทธเจ้า แด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า และบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ถวายบังคมด้วย
เบญจางคประดิษฐ์ กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ข้อความที่เหลือคล้ายกับที่
กล่าวไว้แล้ว ในเรื่องของพระอัญชนวนิยเถระนั่นแหละ. ส่วนความที่พิเศษ
ออกไป มีดังนี้.
ได้ยินว่า พระเถระนี้ บวชโดยนัยดังกล่าวแล้ว กระทำบุพกิจแล้ว
อยู่ในกระท่อมในอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง ในแคว้นวัชชี กระท่อมหลังนั้น
จัดเป็นกระท่อมสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฝาและพื้น ตกแต่งเรียบร้อย
สมบูรณ์ด้วยทัศนียภาพ มีสวนรื่นรมย์และสระโบกขรณีเป็นที่น่ายินดีเป็นต้น มี
ภูมิภาคดาษเต็มไปด้วยทรายคล้ายข่ายแห่งแก้วมุกดา เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์
ยิ่งกว่าประมาณ โดยมีบริเวณลานที่กวาดเกลี้ยงเกลาดีแล้วเป็นต้น เพราะ
พระเถระเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร ตั้งอยู่. พระเถระอยู่ในกระท่อมนั้น เริ่มตั้ง
วิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน
กล่าวไว้ในอปทานว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 295
เราเข้าป่าชัฏ สงัดเสียง ไม่อาดูร ได้ถวายอาสนะ
อันสมควรแก่พระพุทธเจ้า ผู้สีหะแด่พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ผู้คงที่ เราถือดอกไม้
กำหนึ่ง แล้วทำประทักษิณพระองค์ เข้าเฝ้าพระศาสดา
แล้ว กลับมุ่งหน้าไปทางทิศอุดร ข้าแต่พระองค์ผู้เป็น
จอมประชา เชษฐบุรุษของโลกประเสริฐกว่านระ ด้วย
กรรมนั้น ข้าพระองค์ยังตนให้ดับ (กิเลส) ถอนภพได้
ทั้งหมดแล้ว ในกัปที่ ๑,๘๐๐ ข้าพระองค์ได้ถวายทาน
ใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้นข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายสีหาสนะ ในกัปที่ ๗๐๐ แต่
ภัทรกัปนี้ ข้าพระองค์ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จอม-
กษัตริย์พระนามว่า สันนิพาปกะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว
๗ ประการ มีพลมาก เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็เมื่อพระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ยังคงอยู่ที่กระท่อมนั้น
มนุษย์ทั้งหลายผู้อยากจะดูวิหาร เพราะกระท่อมเป็นสถานที่ ๆ น่ารื่นรมย์
มาจากที่นั้น ๆ ดูชมกระท่อม.
ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง พวกผู้หญิงที่มีนิสัยนักเลงจำนวนเล็กน้อย ไปที่
กระท่อมนั้น เห็นความที่กระท่อมเป็นสถานน่ารื่นรมย์ จึงกล่าวว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ สถานที่อยู่ของพระคุณเจ้าน่ารื่นรมย์ แม้พวกดิฉันทั้งหลาย ก็มี
รูปร่างน่าเล้าโลม ตั้งอยู่ในวัยสาวรุ่นกำดัด ดังนี้ โดยมีประสงค์ว่า พระเถระ
ผู้อยู่ในกระท่อมรูปนี้ พึงเป็นผู้มีใจอันพวกเราทั้งหลายเหนี่ยวรั้งมาได้ แล้วเริ่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 296
แสดงอาการต่าง ๆ มีมายาหญิงเป็นต้น พระเถระเมื่อจะประกาศความที่ตน
เป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว จึงได้กล่าวคาถาว่า
กุฏีของเรา น่ารื่นรมย์บันเทิงใจ เป็นกุฎีที่ทายก
ให้ด้วยศรัทธา ดูก่อนนารีทั้งหลาย เราไม่ต้องการด้วย
กุมารีทั้งหลาย ชนเหล่าใดมีความต้องการ เธอ
ทั้งหลายก็จงไปในสำนักของชนเหล่านั้นเถิด ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รมณียา เม กุฏิกา ความว่า คำที่
พวกเธอทั้งหลายกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า กุฏิของท่านน่ารื่นรมย์ ดังนี้นั้น เป็น
ความจริง กุฏิที่อยู่ของเราหลังนี้ น่ารื่นรมย์ชื่นชมยินดี ก็กุฏิหลังนั้นแล
แม้นกุฏิที่ทายกถวายด้วยศรัทธา คือชื่อว่าเป็นสัทธาไทยธรรม เพราะทายก
เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมว่า ผลชื่อนี้ ย่อมมีแก่ทายกผู้ถวายกุฏิแก่บรรพชิต
เพราะทำความพอใจให้ในกุฏิเห็นปานนี้ แล้วจึงถวายด้วยศรัทธา คือด้วยความ
พอใจในธรรม มิใช่ให้เกิดด้วยทรัพย์. กุฏิชื่อว่า มโนรมา เพราะทำใจของ
ผู้ที่เห็นสัทธาไทยธรรมที่ให้แล้วอย่างนั้นให้ยินดีเอง และทำใจของผู้บริโภค
ให้ยินดีอีกด้วย.
อธิบายว่า ก็กุฏิชื่อว่า มโนรมา เพราะเป็นของที่เขาถวายด้วยศรัทธา
นั่นเอง คือทายกบรรจงจัดไทยธรรมด้วยความเคารพ ถวายด้วยศรัทธาจิตเป็น
ต้น และสัตบุรุษผู้บริโภค ของที่ทายกถวายด้วยศรัทธา ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยประโยคสมบัติและอาสยสมบัติ ไม่ทำให้ทายกผิดหวัง ไม่ใช่วิบัติด้วยประ-
โยคสมบัติ และอาสยสมบัติ โดยอาการอย่างที่ท่านทั้งหลายคิด.
บทว่า น เม อตฺโถ กุมารีหิ ความว่า เพราะเหตุที่เรามีใจ
หันออกจากกามทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง ฉะนั้น เราจึงไม่มีความต้องการ
ด้วยกุมารีทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 297
อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลายจะมาช่วยทำประโยชน์ แม้โดยทำ
หน้าที่กัปปิยการก ก็ย่อมไม่มีแก่คนเช่นเรา จะป่วยกล่าวไปไย ถึงประโยชน์
ด้วยการปลดเปลื้องราคะเล่า เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ต้องการด้วยกุมารีทั้งหลาย.
ก็กุมารีศัพท์ในคาถานี้ พึงเห็นเป็นการกำหนด. พระเถระเมื่อจะแสดงว่า กิริยา
อย่างนี้ จะพึงงามก็ต่อหน้าของตนที่มีอัธยาศัยเหมือนกับพวกท่าน ผู้กระทำ
กรรมอันไม่สมควรโดยคิดว่า ต้องปฏิบัติอย่างนี้ในสำนักของคนเช่นเราจนเกิด
ผิดพลาดขึ้น ดังนี้ (แล้ว) กล่าวว่า ชนเหล่าใดมีความต้องการ เธอทั้งหลาย
ก็จงไปสำนักของคนเหล่านั้นเถิด ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยส ได้แก่ ของคนที่ยังไม่ปราศจาก
ความกำหนัดในกามทั้งหลาย.
บทว่า อตฺโถ แปลว่า ประโยชน์.
บทว่า ตหึ แปลว่า ในที่นั้น คือ สำนักของคนเหล่านั้น.
บทว่า นาริโย เป็นอาลปนะ. หญิงทั้งหลายฟังคำเป็นคาถานั้นแล้ว
เป็นผู้เก้อเขิน คอตก หลีกไปตามทางที่ตนมาแล้วนั่นแหละ ก็คำว่า เราไม่มี
ความต้องการด้วยกุมารีทั้งหลายในคาถานี้ พึงทราบว่า อันพระเถระพยากรณ์
พระอรหัตผลแล้ว เพราะกล่าวถึงความที่ตนไม่ต้องการด้วยกามทั้งหลายนั่นแล.
จบอรรถกถารมณียกุฏิกเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 298
๙. โกสัลลวิหารีเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโกสัลลวิหารีเถระ
[๑๙๖] ได้ยินว่า พระโกสัลสวิหารีเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราบวชแล้วด้วยศรัทธา เราทำกุฎีไว้ในป่า เรา
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ.
อรรถกถาโกสลวิหารีเถรคาถา
คาถาของท่านพระโกสลวิหารีเถระ เริ่มต้นว่า สทฺธายาห ปพฺพชิโต.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็หว่านพืช คือ กุศลไว้ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า ปทุมตตระ ได้กระทำบุญนั้น ๆ ไว้ เรื่องที่เหลือก็คล้ายกัน
กับเรื่องของพระอัญชนวนิยเถระนั่นแหละ. ส่วนข้อที่แปลกออกไป มีดังนี้
ได้ยินว่า พระเถระนี้ บวชโดยนัยดังกล่าวแล้ว กระทำบุพกิจเสร็จแล้ว
อยู่ในป่า โดยอาศัยตระกูลของอุบาสกคนหนึ่ง ในบ้านหลังหนึ่งในแคว้นโกศล.
อุบาสกนั้นเห็นพระเถระอยู่ที่โคนไม้ จึงสร้างกุฏิถวาย พระเถระอยู่ในกุฏิ
ได้สมาธิ เพราะมีอาวาสเป็นที่สบาย ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต
ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราอยู่บนเครื่องลาดใบไม้ ในที่ไม่ไกลภูเขา-
หิมวันต์ในกาลนั้น เราถึงความลำบากในการหาอาหาร
จึงมีการนอนเป็นปกติ เราขุดจาวมะพร้าว มันอ้วน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 299
มันมือเสือ และมันนกมาไว้ เรานำเอาผลพุทรา ไม่
รกฟ้า ผลมะตูม มาจัดแจงไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก สมควร-
รับเครื่องบูชา ทรงทราบความดำริของเราแล้ว เสด็จมา
สู่สำนักเรา เราได้เห็นพระองค์ผู้มหานาค ประเสริฐ
กว่าเทวดาเป็นนราสภ เสด็จมาแล้ว จึงหยิบเอามันมือ
เสือมาใส่ลงในบาตร ในกาลนั้น พระสัพพัญญูมหา-
วีรเจ้า จะทรงยังเราให้ยินดีจึงเสวย ครั้นเสวยเสร็จแล้ว
ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า ท่านยังจิตให้เลื่อมใสแล้ว ได้
ถวายมันมือเสือแก่เรา ท่านจะไม่เข้าถึงทุคติตลอด-
แสนกัป ภพที่สุดย่อมเป็นไปแก่เรา เราถอนภพขึ้นได้
หมดแล้ว เราทรงกายที่สุดไว้ในศาสนาของพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าในกัปที่ ๕๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า สุเมขลิยะ สมบูรณ์
ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลาย
แล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็ครั้นท่านสำเร็จพระอรหัตแล้ว เมื่อจะเปล่งอุทาน ด้วยกำลังแห่ง
ปิติอันบังเกิดแล้ว ด้วยการเสวยวิมุตติสุข จึงได้กล่าวคาถาว่า
เราบวชแล้วด้วยศรัทธา เราทำกุฎีไว้ในป่า เรา
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีสติสัมปชัญญะ
ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 300
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธาย ความว่า เราเห็นอานุภาพใน
การเสด็จเข้าไปยังพระนครเวสาลีของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงบวช คือ เข้าถึง
เพศบรรพชา ด้วยสามารถแห่งศรัทธาที่เกิดขึ้นแล้วว่า ศาสนานี้ นำสัตว์ออก
จากทุกข์ โดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น เราจักพ้นจากชราและมรณะได้ ด้วย
ข้อปฏิบัตินี้แน่แท้ ดังนี้.
ด้วยบทว่า อรญฺเ เม กุฏิกา กตา นี้ พระเถระแสดงว่า
เราผู้อยู่ในป่า สร้างกุฏิไว้ โดยเหมาะสมแก่เพศบรรพชานั้น คือ เราเป็นผู้มี
ปกติอยู่ในป่า หลีกออกจากหมู่ อยู่ตามสมควรแก่เพศบรรพชา ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีสติสัมปชัญญะ ดังนี้.
พระเถระ เมื่อขวนขวายชาคริยธรรม ด้วยกายวิเวกอันได้จากการ
อยู่ในป่า จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว โดยการไม่อยู่ปราศจากสติในป่านั้น.
ชื่อว่าปรารภความเพียร เพราะมีความเพียรอันปรารภแล้ว เจริญวิปัสสนาโดย
บริบูรณ์ไปด้วยสติและสัมปชัญญะอันเป็นธรรมส่วนเบื้องต้น ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ
มีสัมปชัญญะอยู่โดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะถึงความไพบูลย์ด้วยปัญญาและสติ
โดยบรรลุพระอรหัตผล ก็คาถานี้แหละ ได้เป็นการพยากรณ์พระอรหัตผลของ
พระเถระในการประกาศความเป็นผู้ไม่ประมาทเป็นต้น ก็เพราะเหตุที่ท่านอยู่
แคว้นโกศลมาเป็นเวลานาน จึงเกิดเป็นสมัญญานามว่า โกสลวิหารีเถระ
ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาโกสลวิหารีเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 301
๑๐. สีวลีเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสีวลีเถระ
[๑๙๗] ได้ยินว่า พระสีวลีเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราเข้าไปสู่กุฎีเพื่อประโยชน์อันใด เมื่อเราแสวง
หาวิชชา และวิมุตติได้ถอนขึ้นซึ่งมานานุสัย ความ-
ดำริของเราเหล่านั้นสำเร็จแล้ว.
จบวรรควรรณนาที่ ๖
อรรถกถาสีวลีเถรคาถา
คาถาของท่านพระสีวลีเถระ. เริ่มต้นว่า เต เม อิชฺฌึสุ สงฺกปฺปา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ แม้
พระเถระนี้ ก็ไปสู่พระวิหาร โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง ยืนฟังธรรมอยู่
ท้ายบริษัท เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ
กว่าภิกษุผู้มีลาภทั้งหลาย คิดว่า ในอนาคตกาล แม้เราก็ควรเป็นผู้เช่นนี้
ดังนี้แล้ว นิมนต์พระทศพลแล้วถวายมหาทานแด่พระบรมศาสดา พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ตลอด ๗ วัน แล้วตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยการกระทำอธิการนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอย่างอื่น แต่ใน
อนาคตกาล ขอให้ข้าพระองค์พึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภ ดุจภิกษุ
ที่พระองค์ทรงแต่งตั้งไว้ในเอตทัคคะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 302
พระศาสดา ทรงเห็นความปรารถนาไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์ว่า
ความปรารถนาของท่านนี้จักสำเร็จในสำนักของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า
โคตมะ ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป แม้กุลบุตรนั้น ก็กระทำกุศลจนตลอดชีวิต
ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถือปฏิสนธิในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
ไม่ไกลพระนครพันธุมดี ในกาลของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี.
ในสมัยนั้น ชาวเมืองพันธุมดีนคร แข็งขันกับพระราชา ถวายทานแด่พระ-
ทศพล. วันหนึ่ง ชาวเมืองเหล่านั้นทั้งหมด ร่วมใจกันถวายทาน พูดกันว่า
อะไรหนอแล ไม่มี ในทานพิธีของพวกเรา แล้วไม่เห็นน้ำอ้อยงบและนมส้ม..
คนเหล่านั้นจึงพูดกันว่า พวกเราจักหามาจากที่ใดที่หนึ่ง แล้ววางบุรุษไว้ที่
หนทางอันผู้มาจากชนบทจะต้องผ่าน ครั้งนั้น กุลบุตรนั้น ถือเอาน้ำอ้อยงบ
และหม้อนมส้ม มาจากบ้าน คิดว่า เราจักไปเอาของบางอย่าง จึงเดินเข้าเมือง
แล้วคิดว่า เราล้างหน้าล้างมือล้างเท้าแล้วจึงจักเข้าไป มองหาที่เป็นที่ผาสุก
เห็นรังผึ้ง ที่ปราศจากตัวอ่อน ขนาดเท่างอนไถ คิดว่า ผึ้งรังนี้เกิดแก่เรา
ด้วยบุญ ดังนี้แล้ว จึงถือเอาแล้วเข้าไปยังเมือง. บุรุษที่ชาวเมืองตั้งไว้
เห็นเขาแล้ว จึงถามว่า พ่อมหาจำเริญ ท่านนำของนี้ไปให้ใคร ? เขาตอบว่า
นาย เราไม่ได้นำของนี้มาให้ใคร แต่นำมาเพื่อจะขาย. บุรุษนั้นจึงพูดว่า
พ่อมหาจำรูญ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงรับกหาปณะนี้ไป แล้วขายน้ำผึ้งและน้ำอ้อย
งบให้เรา เขาคิดว่า ของนี้มีราคาไม่มาก แต่บุรุษนี้ให้ราคามาก โดยตีราคา
หนเดียวเท่านั้น ควรเราจะลองดู . ลำดับนั้น เขาจึงพูดกับบุรุษนั้นว่า เราไม่ขาย
ด้วยราคากหาปณะเดียว. บุรุษนั้นกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น จงรับไป ๒ กหาปณะ
แล้วขายเถิด. แม้สองกหาปณะก็ไม่ขาย. โดยอุบายนี้ บุรุษนั้น ขึ้นราคาไป
จนถึงหนึ่งพันกหาปณะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 303
เขาคิดว่า ของนี้ไม่ควรจะมีราคามาก. ข้อนี้จงยกไว้ก่อน เราจักถาม
ถึงกิจการที่เขาต้องทำด้วยของนี้. ลำดับนั้น เขาจึงถามชายผู้นั้นว่า ของนี้มีราคา
ไม่มากแต่ท่านให้ราคามาก ท่านจะซื้อของนี้ไปทำอะไร ? ชายผู้นั้นตอบว่า
พ่อมหาจำเริญ ชาวพระนครในเมืองนี้ พนัน กับพระราชา ถวายทานแด่
พระทศพลทรงพระนามว่า วิปัสสี ไม่เห็นของสองอย่างนี้ ในทานพิธีจึงแสวง
หา ถ้าไม่ได้ของสองสิ่งนี้ไป ชาวเมืองจะแพ้ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า จึงซื้อ
ให้ราคาถึงพันกหาปณะ. เขาถามว่า ก็ทานนี้ควรแก่ชาวเมืองเท่านั้นไม่สมควร
แก่คนอื่นหรือ ? บุรุษนั้นตอบว่า ทานนี้ใคร ๆ จะถวายก็ได้ไม่มีข้อห้าม.
เขาถามว่า ในการถวายทานของชาวเมือง วันหนึ่ง ๆ มีคนให้ทรัพย์ตั้งพัน
กหาปณะ บ้างหรือไม่ ? ไม่มีเลยสหาย. ก็ท่านรู้ว่า ของสองอย่างนี้ มีราคา
ถึงพันกหาปณะมิใช่หรือ ? ใช่แล้ว ข้าพเจ้ารู้. ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไป จง
บอกแก่ชาวเมืองทั้งหลายว่า บุรุษคนหนึ่งไม่ยอมขายของสองอย่างนี้ โดยราคา
ประสงค์จะถวายด้วยมือของตนเท่านั้น พวกท่านก็จะหมดวิตกกังวล เพราะเหตุ
แห่งของสองอย่างนี้ ส่วนท่านจงเป็นประจักษ์พยาน ข้อที่เราเป็นหัวหน้าใน
ทานพิธีนี้. เขาถือ ปัญจกฏุฐกะ (เครื่องเผ็ดทั้ง ๕) ด้วยเงินมาสกที่พกติด
มาเพื่อเป็นเสบียงเดินทาง แล้วบดจนละเอียด ใส่น้ำส้มคั้นรวงผึ้งลงไปในน้ำ
ส้มนั้น ผสมกับปัญจกฏุกะที่บดละเอียด ใส่ไว้ในบัวใบหนึ่ง บรรจงจัดใบบัว
นั้น ถือไปแล้วนั่งในที่ไม่ไกลพระทศพล เมื่อมหาชนนำสักการะมา ก็คอยดู
วาระที่ถึงตน ไม่ไกลกัน ได้โอกาส ก็เข้าไปใกล้พระศาสดา กราบทูลว่า นี้
เป็นทุคตบรรณาการบังเกิดแล้ว ขอพระองค์ทรงอาศัยความอนุเคราะห์ จง
รับทุคตบรรณาการนี้ของข้าพระองค์ด้วยเถิด. พระศาสดา ทรงอาศัยความ
อนุเคราะห์เขา ทรงรับบรรณาการนั้น ด้วยบาตรศิลา ที่ท้าวจตุมหาราชถวายไว้
แล้ว ทรงอธิษฐานไม่ให้ไทยธรรมที่ถวายแก่ภิกษุ ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป หมดสิ้นไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 304
กุลบุตรนั้น ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้การทำภัตกิจเสร็จแล้ว
ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า สักการะที่
ชาวเมืองพันธุมดี นำมาถวายพระองค์ ข้าพระองค์ ประสบแล้วในวันนี้ ด้วย
ผลแห่งกรรมนี้ ขอข้าพระองค์ พึงเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความเป็นผู้มี
ลาภ ในภพที่เกิดแล้ว ๆ ดังนี้. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนกุลบุตร ความ
ปรารถนาของท่านจงสำเร็จอย่างนั้น ดังนี้แล้ว ทรงกระทำภัตตานุโมทนาแก่เขา
และชาวเมืองแล้วเสด็จหลีกไป.
แม้กุลบุตรนั้น กระทำกุศลจนตลอดชีวิตท่องเที่ยวไปในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ถือปฏิสนธิในครรภ์ของราชธิดา นามว่า สุปปวาสา ใน
พุทธุปบาทกาลนี้. นับแต่วันที่เขาถือปฏิสนธิ มีคนถือเอาเครื่องบรรณาการมา
ให้นางสุปปวาสา วันละร้อยเล่มเกวียน ทั้งในเวลาเย็นและในเวลาเช้า. ครั้ง
นั้น เพื่อจะทดลองบุญนั้น คนทั้งหลาย จึงให้นางเอามือจับกระเช้าพืช.
พืชแต่ละเมล็ด ผลิตผลออกมาเป็นพืชดังร้อยกำ พันกำ พืชที่หว่าน
ลงไปในที่นาแต่ละกรีส ก็เกิดผลประมาณ ๕๐ เล่มเกวียนบ้าง ๖๐ เล่มเกวียน
บ้าง. แม้ในเวลาขนข้าวใส่ยุ้ง คนทั้งหลาย ก็ให้นางเอามือจับประตูยุ้ง. ด้วย
บุญของราชธิดา เมื่อมีคนมารับของไป ที่ซึ่งคนถือเอาของไปแล้ว ๆ กลับ
เต็มเหมือนเดิม. เมื่อคนทั้งหลายพูดว่า บุญของราชธิดา แล้วให้ของแก่ใคร ๆ
จากภาชนภัตรที่เต็มบริบูรณ์ ภัตรย่อมไม่สิ้นไป จนกว่าจะยกของพ้นจากที่ตั้ง
เพราะทารกยังอยู่ในท้องนั่นแหละ เวลาล่วงไปถึง ๗ ปี.
ก็เมื่อครรภ์แก่รอบแล้ว นางเสวยทุกข์หนักตลอด ๗ วัน. นางเรียก
สามีมาพูดว่า ดิฉัน ยังมีชีวิตจักถวายทานก่อนแต่จะตาย แล้วส่งสามีไปยังสำนัก
พระศาสดา ว่า ท่านจงไป จงกราบทูลความเป็นไปนี้ แด่พระศาสดา จงทูล
เชิญพระศาสดา ถ้าพระศาสดาตรัสคำใด จงกำหนดคำนั้นให้ดี แล้วรีบมาบอก
แก่ดิฉัน. สามีไปกราบทูลข่าวของนาง แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 305
พระศาสดาตรัสว่า นางสุปปวาสา ธิดาของเจ้าโกลิยะ จงมีความสุข
หาโรคมิได้ จงประสูติโอรส ผู้ไม่มีโรค. พระราชาสดับดังนั้นแล้ว ถวาย
อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมุ่งหน้าไปยังพระราชวัง ของพระองค์. เด็ก
คลอดจากครรภ์ของนางสุปปวาสา ง่ายเหมือนเทน้ำออกจากธรมกรก (ที่กรอง-
น้ำ) ก่อนหน้าพระราชาเสด็จมาถึงหน่อยเดียวเท่านั้น ผู้คนที่นั่งแวดล้อม
กำลังมีน้ำตานองหน้า ก็เริ่มหัวเราะได้ มหาชนพากันยินดีร่าเริง ได้พากันไป
ส่งข่าวพระราชา.
พระราชา ทอดพระเนตรเห็นการมาของคนเหล่านั้น ทรงพระดำริว่า
ชะรอยถ้อยคำที่พระทศพลตรัสไว้ จักเป็นผลสำเร็จ. พระองค์รีบเสด็จมา แจ้ง
ข่าวของพระศาสดา ต่อราชธิดา. ราชธิดากราบทูลว่า ชีวิตภัต ที่พระองค์
จัดนิมนต์ไว้นั่นแหละจักเป็นมงคลภัต ขอพระองค์จงไปนิมนต์พระทศพล
(ให้เสวย) ตลอด ๗ วัน. พระราชาทรงกระทำอย่างนั้น. คนทั้งหลายพา
กันบำเพ็ญมหาทาน แก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน
ทารกผู้ยังจิตที่เร่าร้อนของหมู่ญาติทั้งปวงให้ดับลงได้ ประสูติแล้ว เพราะ
ฉะนั้น คนทั้งหลายจึงขนานทารกว่า สีวลีทารก ดังนี้แล. เพราะอยู่ใน
ท้องมารดามานานถึง ๗ ปี ทารกนั้น จึงแข็งแรง (อดทนต่องานทุกชนิด).
พระธรรมเสนาบดี สารีบุตร ได้ทำการสนทนาปราศัยกับเขา ในวันที่ ๗
แม้พระบรมศาสดา ก็ได้ทรงภาษิตพระคาถาไว้ในธรรมบทว่า
เรากล่าวผู้ล่วงทางลื่น ทางไปได้ยาก สงสาร
และโมหะนี้เสียได้ เป็นผู้ข้ามแล้ว ถึงฝั่ง เพ่ง (ฌาน)
ไม่หวั่นไหว ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย ดับแล้ว
ด้วยไม่ยึดถือ ว่าเป็นพราหมณ์ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 306
ลำดับนั้น พระเถระกล่าว (ชวน) เขาอย่างนี้ว่า ก็การที่เธอเสวย
กองทุกข์เห็นปานนี้ แล้วบวช ไม่สมควรหรือ ? ทารกตอบว่า (ถ้า) ได้รับ
อนุญาต ก็บวชท่านเจ้าข้า. พระนางสุปปวาสา เห็นทารกพูดกับพระเถระ
แล้วคิดในใจว่า บุตรของเรา พูดกับท่านพระธรรมเสนาบดี ว่าอย่างไรหนอ
แล จึงเข้าไปหาพระเถระแล้วเรียนถามว่า ท่านเจ้าข้า บุตรของดิฉันพูดอะไร
กับท่าน. พระเถระตอบว่า บุตรของท่านกล่าวถึงทุกข์ที่อยู่ในครรภ์ อันตน
เสวยแล้ว พูดว่า ถ้าท่านอนุญาตก็จักบวช. นางตอบว่า ท่านเจ้าข้า ดีแล้ว
ขอท่านจงให้เขาบวชเถิด. พระเถระนำสีวลีกุมารไปวิหารเมื่อบอกตจปัญจก-
กรรมฐานแล้ว ให้บวช กล่าวสอนว่า ดูก่อนสีวลี การให้โอวาทอย่างอื่น
ไม่มีแก่เธอ เธอจงพิจารณา ถึงทุกข์ที่เธอเสวยมาตลอด ๗ ปี เท่านั้น
สีวลีสามเณร กล่าวว่า ท่านขอรับ ภาระของท่าน คือการให้ข้าพเจ้าบวช
ส่วนกิจกรรมอันใด ที่ข้าพเจ้าสามารถที่จะทำได้ ข้าพเจ้าจักรู้กิจกรรมนั้นเอง.
ก็สีวลีสามเณรตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ในขณะที่ขมวดผมปมแรก ถูกตัดออก
นั่นเทียว ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล ในขณะที่เกลียวผมปมที่ ๒ ถูกตัดออก
ตั้งอยู่ในอนาคามิผล ในขณะที่เกลียวผมปมที่ ๓ ถูกนำออก ส่วนการปลงผม
สำเร็จ และการกระทำให้แจ้งพระอรหัต ได้มีไม่ก่อนไม่หลังกัน. จำเดิมแต่
วันที่สีวลีสามเณรบรรลุพระอรหัต ปัจจัย ๔ ย่อมเกิดแก่ภิกษุสงฆ์ เพียง
พอแก่ความต้องการ. ในข้อนี้ มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างนี้ ในเวลาต่อมา พระ
บรมศาสดาได้เสด็จไปยังพระนครสาวัตถี. พระสีวลีเถระถวายอภิวาทพระบรม
ศาสดาแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักทดลองบุญของ
ข้าพระองค์ ขอพระองค์จงมอบภิกษุ ๕๐๐ รูปแก่ข้าพระองค์ พระศาสดา
ตรัสสั่งว่า จงรับไปเถิด สีวลี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 307
ท่านพาภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางบ่ายหน้าไปสู่หิมวันตประเทศ เดิน
ทางผ่านดง เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไทร ที่ท่านเห็นเป็นครั้งแรก ได้ถวายทาน
ตลอด ๗ วัน. เทวดาทั้งหลายได้ถวายทานทุก ๆ ๗ วัน ในสถานที่ทั่ว ๆ
ไป ที่ท่านเห็นต่างกรรม ต่างวาระ กันดังนี้ คือ
ท่านเห็นต้นไทรเป็นครั้งแรก เห็นภูเขาชื่อว่า
ปัณฑวะเป็นครั้งที่ ๒ เห็นแม่น้ำอจิรวดี เป็นครั้งที่ ๓
เห็นแม่น้ำวรสาครเป็นครั้งที่ ๔ เห็นภูเขาหิมวันต์เป็น
ครั้งที่ ๕ ถึงป่าฉัททันต์ เป็นครั้งที่ ๖ ถึงภูเขาคันธ-
มาทน์เป็นครั้งที่ ๗ และพบพระเรวตะ เป็นครั้งที่ ๘.
ส่วนเทวดาผู้พระราชาทรงพระนามว่า นาคทัตตะ สถิตอยู่ ณ ภูเขา
คันธมาทน์ ได้ถวายทานในวันทั้ง ๗ (คือ) ถวายขีรบิณฑบาต ในวันหนึ่ง
ถวายสัปปิบิณฑบาตในวันหนึ่ง (สลับกันไป). ภิกษุสงฆ์ถามว่า แม่โคที่จะ
รีดนม ของเทวดาผู้พระราชานี้ก็ไม่ปรากฏ การกวนนมส้มก็ไม่ปรากฏ ดูก่อน
เทวดาผู้พระราชา ของนี้เกิดขึ้นแก่ท่านได้อย่างไร ? ท้าวเทวราชตอบว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้เป็นผลแห่งการถวายสลากภัตรน้ำนมแด่พระทศพล ทรง
พระนามว่า กัสสปะ. ในกาลต่อมา พระศาสดาทรงกระทำการต้อนรับ ของ
พระขทิรวนิยเรวตเถระให้เป็นอัตถุปบัติ (เหตุเกิดแห่งเรื่อง) ทรงแต่งตั้ง
พระสีวลีเถระไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ ในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และ
เลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 308
ส่วนอาจารย์บางพวก กล่าวถึงการบรรลุพระอรหัตของพระเถระนี้
ผู้บรรลุถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ เลิศด้วยศอย่างนี้ไว้ดังนี้ว่า เมื่อพระธรรม
เสนาบดีสารีบุตร ให้โอวาทโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง เมื่อสีวลีกุมาร
กล่าวว่า กระผมจักรู้กิจกรรมที่กระผมสามารถจักกระทำได้ (ด้วยตนเอง)
ดังนี้แล้ว บรรพชาเรียนวิปัสสนากรรมฐาน เห็นกุฏีหลังหนึ่งว่าง (สงบสงัด)
จึงเข้าไปสู่กุฏินั้นในวันนั้นแหละ ระลึกถึงทุกข์ที่ตนเสวยแล้ว ในท้องมารดา
ตลอด ๗ ปี แล้วพิจารณาทุกข์นั้น ในอดีตและอนาคต โดยทำนองนั้นแหละ
อยู่ ภพทั้ง ๓ ก็ปรากฏว่า เป็นเสมือนไฟติดทั่วแล้ว. สีวลีสามเณรหยั่งลงสู่
วิปัสสนาวิถี เพราะญาณถึงความแก่รอบ ทำอาสวะแม้ทั้งปวงให้สิ้นไป ตาม
ลำดับมรรค บรรลุพระอรหัตแล้ว ในขณะนั้นเอง. การบรรลุพระอรหัต
ของพระเถระนั้นแล ท่านประกาศ (ระบุไว้) โดยสภาพแม้ทั้งสอง ส่วน
พระเถระก็เป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ได้อภิญญา ๖. สมดังคาถาประพันธ์
ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ในกาลนั้น เราเป็นท้าวเทวราช มีนามว่า วรุณะ
พรั่งพร้อมด้วยยาน พลทหารและพาหนะ บำรุงพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระโลกนาถ ทรงพระนามว่า
อรรถทัสสี ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ เสด็จนิพพานแล้ว เราได้
นำเอาดนตรีทั้งปวงไปประโคมไม้โพธิ์อันอุดม เรา
ประกอบด้วยการประโคม การฟ้อนรำ และกังสดาล
ทุกอย่าง บำรุงไม้โพธิ์พฤกษ์อันอุดม ดังบำรุงพระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 309
สัมมาสัมพุทธเจ้า เฉพาะพระพักตร์ ครั้นบำรุง
โพธิพฤกษ์ อันงอกขึ้นที่ดิน ดื่มรสด้วยรากนั้นแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์ แล้วทำกาลกิริยา ณ ที่นั่นเอง เราปรารภ
ในกรรมของตน เลื่อมใสในโพธพฤกษ์อันอุดม ได้
อุบัติยังชั้นนิมมานรดี ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น ดนตรี
หกหมื่นแวดล้อมเราทุกเมื่อ เป็นรูปในภพน้อยภพใหญ่
ทั้งในมนุษย์และเทวดา ไฟ ๓ กองของเราดับแล้ว
ภพทั้งปวงเราถอนขึ้นได้แล้ว เราทรงกายสุดท้ายใน
ศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกัปที่ ๕๐๐ แต่
ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์ ๓๔
พระองค์ มีพระนามว่า สุพาหุ สมบูรณ์ด้วยแก้ว
๗ ประการ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระสีวลีเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อเปล่งอุทาน ด้วย
กำลังแห่งปีติ ได้กล่าวคาถาว่า
เราเข้าไปสู่กุฏิ เพื่อประโยชน์อันใด เมื่อเรา
แสวงหาวิชชาและวิมุตติ ได้ถอนขึ้นซึ่งมานุสัย ความ
ดำริของเราเหล่านั้น สำเร็จแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต เม อิชฺฌึสุ สงฺกปฺปา ยทตฺโถ ปาวิสึ
กุฏึ วิชฺชาวิมุตฺตึ ปจฺเจสฺส ความว่า ความดำริในการออกจากกามเป็นต้น
ที่กระทำการถอนขึ้น ซึ่งความดำริในกามเป็นต้น ในกาลก่อนเหล่าใด อันเรา
ปรารถนายิ่งนักว่า เมื่อไรหนอแล เราจักเข้าไปสงบ ตทายตนะ (พระนิพพาน)
ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายเข้าถึงแล้วในปัจจุบัน คือความดำริที่มุ่งวิมุตติ ที่หมายรู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 310
กันว่าเป็นความประสงค์เพื่อความหลุดพ้น ได้แก่มโนรถ เราไม่ประมาทเนื่องๆ
เข้าไปสู่กุฎี คือ สุญญาคาร เพื่อต้องการสิ่งใด คือ เพื่อประโยชน์อันใด
คือ เพื่อยังประโยชน์อันใดให้สำเร็จ ได้แก่เพื่อเห็นแจ้ง มุ่งแสวงหาวิชชา ๓ และ
ผลวิมุตติ ความดำริเหล่านั้นสำเร็จแล้วแก่เรา คือความดำริเหล่านั้นสำเร็จแล้ว
คือสมบูรณ์สงค์เราแล้ว ทุกประการในบัดนี้ อธิบายว่า เป็นผู้มีความดำริที่เป็น
กุศลสำเร็จแล้ว คือมีมโนรถบริบูรณ์แล้ว เพื่อจะแสดงถึงความสำเร็จ แห่ง
ความดำริเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวบทว่า มานานุสยมฺชฺชห (เราได้ถอนขึ้น
ซึ่งมานานุสัย) ดังนี้. ประกอบความว่า เพราะเหตุที่เราถอนขึ้น คือละ ได้แก่
ตัดขาดซึ่งมานานุสัย ฉะนั้น ความดำริทั้งหลายเหล่านั้น ของเราจึงสำเร็จ.
อธิบายว่า เมื่อละมานานุสัยได้แล้ว ขึ้นชื่อว่า อนุสัยที่ยังละไม่ได้ไม่มี และ
พระอรหัต ย่อมชื่อว่าเป็นอันได้บรรลุแล้วอีกด้วย เพราะฉะนั้น การละ
มานานุสัย ท่านจึงกล่าวกระทำให้เป็นเหตุ แห่งความสำเร็จของความดำริ
ตามที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสีวลีเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๖
แห่งอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี
ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ
๑. พระโคธิกเถระ ๒. พระสุพาหุเถระ ๓. พระวัลลิยเถระ ๔.
พระอุตติยเถระ ๕ พระอัญชนวนิยเถระ ๖. พระกุฎิวิหารีเถระ ๗. พระทุติย-
กุฎิวิหารีเถระ ๘. พระรมณียกุฏิกเถระ ๙. พระโกสัลลวิหารีเถระ ๑๐.
พระสีวลีเถระ และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 311
เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๗
๑. วัปปเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวัปปเถระ
[๑๙๘] ได้ยินว่า พระวัปปเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ ย่อมเห็นคนอันธ-
พาล ผู้เห็นอยู่ด้วย ย่อมเห็นคนอันพาล ผู้ไม่เห็นอยู่
ด้วย ส่วนคนอันธพาลผู้ไม่สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ ย่อม
ไม่เห็นคนอันธพาลผู้ไม่เห็น และคนอันธพาลผู้เห็น.
วรรควรรณนาที่ ๗
อรรถกถาวัปปเถรคาถา
คาถาของท่านพระวัปปเถระ เริ่มต้นว่า ปสฺสติ ปสฺโส. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูล ในพระนครหงสาวดี ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว
ฟังคำชมเชยว่า พระเถระรูปโน้น และรูปโน้น ได้เป็นผู้รับพระธรรมของ
พระศาสดาเป็นปฐม ดังนี้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ตั้งความ
ปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในอนาคตกาล ขอให้ข้าพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 312
พึงเป็นภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง บรรดาภิกษุผู้รับ พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เช่นพระองค์เป็นปฐม ดังนี้ แล้วประกาศการถึงสรณคมน์ ในสำนักของ
พระศาสดา. ท่านทำบุญจนตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไป
ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนั่นแล เกิดเป็นบุตรพราหมณ์ นามว่า " วาเสฏฐะ "
ในกรุงกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านได้มีนามว่า วัปปะ. วัปปพราหมณ์
(เมื่อ) อสิตฤษีพยากรณ์ว่า สิทธัตถกุมาร จักเป็นพระสัพพัญญู จึงพร้อม
ด้วยบุตรของพราหมณ์ มีพราหมณ์ชื่อว่าโกณฑัญญะเป็นประมุข ละฆราวาส
วิสัย ออกบวชเป็นดาบส คิดว่า เมื่อสิทธัตถกุมารนั้นบรรลุพระสัพพัญ-
ญุตญาณแล้ว เราฟังธรรมในสำนักของพระองค์ แล้วจักบรรลุอมตธรรม จึง
เข้าไปอุปัฏฐาก พระมหาสัตว์ผู้ประทับอยู่ในอุรุเวลานิคม บำเพ็ญเพียรอยู่
ตลอด ๖ ปี เกิดเบื่อหน่าย โดยเหตุที่พระมหาสัตว์กลับเสวยอาหารหยาบ จึง
(หลีก) ไปสู่ป่าอิสิปตนะ.
เมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้ (สัมมาสัมโพธิญาณ) แล้วทรงยังเวลาให้
ผ่านไปตลอด ๗ สัปดาห์ แล้วจึงเสด็จไปสู่ป่าอิสิปตนะ ทรงแสดงธรรมจักร.
ท่านวัปปดาบส ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ในวันปาฏิบท แล้วบรรลุพระอรหัตผล
พร้อมด้วยอัญญาโกณฑัญญพราหมณ์เป็นต้น ในดิถีที่ ๕ แห่งปักษ์. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
สงครามปรากฏแก่ท้าวเทวราชทั้งสอง (พระยา-
ยักษ์) กองทัพประชิดกันเป็นหมู่ ๆ เสียงอันดังกึกก้อง
ได้เป็นไป พระศาสดาทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลก สมควรรับเครื่องบูชา ทรงยังมหาชน
ให้เกิดสังเวช เทวดาทั้งปวงมีใจยินดี ต่างวางเกราะ
และอาวุธ ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า รวมเป็นอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 313
เดียวกันได้ในขณะนั้น พระศาสดาผู้ทรงอนุเคราะห์
ทรงรู้แจ้งโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ทรง
เปล่งวาจาสัตบุรุษ ทรงยังมหาชนให้เย็นใจว่า ผู้เกิด
เป็นมนุษย์ มีจิตประทุษร้าย เบียดเบียนสัตว์เพียง
ตัวเดียว จะต้องเข้าถึงอบาย เพราะจิตประทุษร้ายนั้น
เปรียบเหมือนช้างในค่ายสงคราม เบียดเบียนสัตว์เป็น
อันมาก ท่านทั้งหลายจงยังจิตของตนให้เยือกเย็น อย่า
เดือดร้อนบ่อย ๆ เลย แม้พวกเสนาของพระยายักษ์
ทั้งสอง ได้ประชุมกัน นับถือพระโลกเชษฐ์ผู้คงที่
เป็นอันดี เป็นสรณะ ส่วนพระศาสดาผู้มีจักษุ ทรง
ยังหมู่ชนให้ยินยอมแล้ว ทรงเพ่งดูในเบื้องบนจาก
เทวดาทั้งหลาย บ่ายพระพักตร์ไปทางทิศอุดร เสด็จ
กลับไป เราได้นับถือพระองค์ผู้จอมประชา ผู้คงที่เป็น
สรณะก่อนใคร ๆ เราไม่ได้เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป
ในกัปที่สามหมื่นแต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๑๖ พระองค์ มีพระนามว่า มหาทุนทุภิ และพระนาม
ว่า รเถสภะ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระวัปปเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาถึงความที่
พระคุณของพระศาสดาเป็นของยิ่งใหญ่ โดยมุขคือการพิจารณาถึงสมบัติที่ตน
ได้แล้ว เมื่อจะแสดงว่า เราร้องเรียกพระศาสดา ผู้ (มีพระคุณ) เช่นนี้ ด้วย
วาทะว่า เวียนไปเพื่อความเป็นคนมักมาก โอ ขึ้นชื่อว่า ความเป็นปุถุชนกระทำ
ให้เป็นคนมืดมน กระทำให้เป็นคนไม่มีแวว ความเป็นพระอริยเจ้าเท่านั้น
กระทำให้เกิดดวงตา (เห็นธรรม) ดังนี้ ได้กล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 314
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ ย่อมเห็นคนอันธ-
พาล ผู้เห็นอยู่ด้วย ย่อมเห็นคนอันธพาลผู้ไม่เห็นอยู่
ด้วย ส่วนคนอันพาลผู้ไม่สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ ย่อม
ไม่เห็นคนอันธพาลผู้ไม่เห็น และคนอันธพาลผู้เห็น
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสติ ปสฺโส ความว่า บุคคล ชื่อว่า
ปัสสะ เพราะเห็น คือรู้ ได้แก่ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายได้ ไม่ผิดพลาดด้วย
สัมมาทิฏฐิ หมายถึงพระอริยบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ พระอริยบุคคลนั้น
ย่อมเห็นคนอันธพาลผู้เห็นอยู่ คือเห็นโดยไม่ผิดพลาด ว่าผู้นี้มีปกติเห็นธรรม
ไม่ผิดพลาด คือย่อมรู้ธรรม สมควรแก่ธรรม ด้วยปัญญาจักษุตามความ
เป็นจริง มิใช่เห็นเฉพาะคนอันธพาลผู้เห็นอยู่อย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้แล้ว
ย่อมเห็นคนอันธพาลผู้ไม่เห็นอยู่ด้วย คือผู้ใดปราศจากปัญญาจักษุ ไม่เห็นธรรม
ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ย่อมเห็นปุถุชนผู้ไม่เห็นอยู่แม้นั้น ด้วยปัญญา
จักษุของตนว่า ผู้นี้เป็นคนมืดมน เป็นคนไม่มีดวงตา (เห็นธรรม) ดังนี้.
บทว่า อปสฺสนฺโต อปสฺสนฺต ปสฺสนฺตญฺจ น ปสฺสติ
ความว่า ส่วนคนอันธพาลผู้ปราศจากปัญญาจักษุ ผู้ไม่เห็นอยู่ ย่อมไม่เห็น
คนอันธพาลผู้เช่นนั้น ผู้ไม่เห็นอยู่ว่า ผู้นี้ไม่เห็นธรรมและอธรรมตามความ
เป็นจริง คือไม่รู้อยู่ ฉันใด ผู้ที่ไม่เห็นคือไม่รู้ธรรมและอธรรม ด้วยปัญญา
จักษุของตน และบัณฑิตผู้เห็นอยู่ตามความเป็นจริงว่า ผู้นี้เป็นอย่างนั้นก็ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น พระเถระจึงแสดงข้อปฏิบัติอันไม่วิปริตของตน ในบุคคลที่ควรคบ
และไม่ควรคบว่า แม้เราผู้ปราศจากทัสสนะในกาลก่อน ไม่เห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ผู้ทรงเห็นอยู่ซึ่งไญยธรรมทั้งสิ้น เหมือนเห็นมะขามป้อมในมือ (และ)
ศาสดาทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปะเป็นต้น ผู้ไม่เห็น(ธรรม) อยู่ ตามความเป็นจริงดังนี้.
จบอรรถกถาวัปปเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 315
๒. วัชชีปุตตกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวัชชีปุตตกเถระ
[๑๙๙] ได้ยินว่า พระวัชชีปุตตกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว เหมือนท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้
ในป่า ชนเป็นอันมากพากันรักใคร่เรา เหมือนสัตว์-
นรก พากันรักใคร่บุคคลผู้ไปสู่สวรรค์ฉะนั้น.
อรรถกถาวัชชีปุตตกเถรคาถา
คาถาของท่านพระวัชชีปุตตกเถระ เริ่มต้นว่า เอกกา มย อรญฺเ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ก็พระเถระนี้ เป็นผู้มีอธิการอันเคยกระทำไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดแล้วในเรือนมี
ตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ในกัปที่
๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า วิปัสสี เป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยเกสรดอก-
กระถินพิมาน. ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยบุญกรรมนั้น
เห็นพุทธานุภาพ ในคราวเสด็จไปพระนครไพศาลี ในพุทธุปบาทกาลนี้ มี
ศรัทธา บวชแล้ว กระทำบุรพกิจเสร็จแล้ว เรียนกัมมัฏฐานอยู่ในไพรสณฑ์
แห่งหนึ่ง ไม่ไกลพระนครไพศาลี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 316
สมัยนั้น ได้มีมหรสพในพระนครไพศาลี การฟ้อนรำ ขับร้อง
ประโคมดนตรี ได้มีไปทั่วทุกแห่งหน. มหาชนพากันรื่นเริงยินดี ชื่นชม
ความสมบูรณ์ของมหรสพ ภิกษุนั้นฟังเสียงนั้นแล้ว ดื่มด่ำตามไปโดยไม่แยบ-
คาย ขาดวิเวก สละกรรมฐาน เมื่อจะประกาศความไม่ยินดียิ่งของตน จึงกล่าว
คาถาว่า
เราอยู่ในป่าแต่เพียงผู้เดียว เหมือนท่อนไม้ที่เขา
ทอดทิ้งไว้ในป่า ใครเล่าหนอจะเลว ไปยิ่งกว่าเราใน
ยามราตรีเช่นนี้ ดังนี้.
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในไพรสณฑ์ ฟังคำเป็นคาถานั้นแล้ว จะอนุเคราะห์
ภิกษุนั้น เมื่อจะแสดงความนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าท่านถูกพวกที่อยู่ในป่า
เบียดเบียนบีบคั้น จึงกล่าว ส่วนผู้มีปรีชา ปรารถนาวิเวก ย่อมนับถือท่าน
เป็นอันมากทีเดียว ดังนี้ จึงกล่าวคาถาว่า
ท่านอยู่ในป่า แต่ผู้เดียว เหมือนท่อนไม้ที่เขา
ทอดทิ้งไว้ในป่า คนเป็นอันมาก ย่อมกระหยิ่ม ยินดี
ต่อท่าน เหมือนเหล่าสัตว์นรก ชื่นชมยินดีต่อผู้ที่ไปสู่
สวรรค์ ฉะนั้น ดังนี้.
แล้วขู่สำทับให้เธอสลดใจว่า ดูก่อนภิกษุ ก็เธอบวชในศาสนาของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันนำสัตว์ออกไปจากทุกข์ จักตรึกถึงวิตก ที่ไม่นำสัตว์
ออกไปจากทุกข์ อย่างไรเล่า ?
ภิกษุนั้นอันเทวดานั้นให้สลดใจแล้วอย่างนี้ ได้เป็นเหมือนม้าอาชาไนย
ตัวเจริญ ที่ถูกนายสารถีหวดแล้วด้วยแส้ฉะนั้น หยั่งลงสู่แนวแห่งวิปัสสนา
ขวนขวายวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้ว ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 317
เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า มีพระฉวีวรรณดัง
ทองคำ มีพระรัศมีเปล่งปลั่ง ดุจพระอาทิตย์ ยังทิศ
ทั้งปวงให้สว่างไสว ดังพระจันทร์วันเพ็ญ อันพระสาวก
ทั้งหลายแวดล้อม ดุจแผ่นดินอันแวดล้อมด้วยสาคร
จึงถือเอาดอกกระถินพิมานไปบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า วิปัสสี ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกกระถินพิมานได้ ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา
ในกัปที่ ๔๕ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
จอมกษัตริย์ พระนามว่า เรณุ สมบูรณ์ด้วยแก้ว
๕ ประการ มีพลมาก เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระวัชชีปุตตกเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว คิดว่า คาถานี้
เป็นขอสับ สำหรับบรรลุพระอรหัตของเรา ดังนี้แล้ว หวนระลึกถึงนัยอันเทวดา
กล่าวแล้วแก่ตน ได้กล่าวคาถาว่า
เราอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว เหมือนท่อนไม้ที่เขาทอด-
ทิ้งไว้ในป่า คนเป็นอันมากกระหยิ่มต่อเรา เหมือน
สัตว์นรกกระหยิ่มยินดีต่อผู้ไปสวรรค์ ฉะนั้น ดังนี้.
คาถานั้น มีใจความดังนี้ แม้ถึงเราจะเป็นผู้ ๆ เดียววังเวง ไม่มีเพื่อน
อยู่ในป่า อุปมาเหมือนท่อนไม้ที่เขาทอดทิ้งไว้ในป่า เพราะไม่มีคนเหลียวแล
แต่คนเป็นอันมากย่อมกระหยิ่มต่อเราผู้อยู่อย่างนี้ คือยังมีกุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์
เป็นอันมาก ปรารถนาเรายิ่งนักว่า โอหนอ แม้เราทั้งหลาย พึงละเครื่อง
ผูกพันในเรือนแล้ว อยู่ในป่าเหมือนพระวัชชีปุตตกเถระ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 318
เหมือนอะไร ? เหมือนสัตว์นรกกระหยิ่มยินดีต่อผู้ไปสวรรค์ ฉะนั้น
อธิบายว่า เปรียบเหมือน สัตว์นรก ต่อสัตว์ผู้เกิดแล้วในนรก ด้วยบาปกรรม
ของตน ย่อมยินดีต่อผู้ไปสวรรค์ คือผู้เข้าถึงสวรรค์ว่า โอหนอ แม้พวกเรา
ละทุกข์ในนรกแล้ว พึงเสวยความสุขในสวรรค์ ชื่อฉันใด ข้ออุปมานี้ก็ฉันนั้น
ก็ในคาถานี้ เพราะท่านมุ่งทำประโยคเป็นพหุพจน์ แสดงความหนัก
ในตนว่า เอกกา มย วิหราม จึงทำประโยคเป็นเอกพจน์อีกว่า ตสฺส เม
โดยที่ความของบทนั้น หมายความอย่างเดียวกัน พึงทราบการแสดงจตุตถีวิภัตติ
ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ โดยเพ่ง แม้บททั้งสองที่ว่า ตสฺส เม และสคฺคคามิน
(และ) บทว่า ปิหยนฺติ. ก็บทว่า อภิปตฺเถนฺติ นั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้
โดยกระทำอธิบายว่า คนเป็นอันมาก ชื่อว่า ย่อมปรารถนา คุณมีการอยู่ป่า
เป็นต้น เช่นนั้น ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตสฺส เม มีอธิบายว่า ซึ่งคุณทั้งหลายใน
สำนักของเรานั้น
จบอรรถกถาวัชชีปุตตกเถรคาถา
๓. ปักขเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปักขเถระ
[๒๐๐] ได้ยินว่า พระปักขเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เหยี่ยวทั้งหลาย ย่อมโฉบลง ชิ้นเนื้อหลุดจาก
ปากของเหยี่ยวตัวหนึ่งตกลงพื้นดินและเหยี่ยวอีกพวก-
หนึ่ง มาคาบเอาไว้อีก ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้หมุนเวียน
ไปในสงสาร ก็ฉันนั้น เคลื่อนจากกุศลธรรมแล้ว ไปตก
ในนรกเป็นต้น ความสุขย่อมติดตามเราผู้สำเร็จกิจแล้ว
ผู้ยินดีต่อพระนิพพาน ด้วยความสุข.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 319
อรรถกถาปักขเถรคาถา
คาถาของท่านพระปักขเถระ เริ่มต้นว่า จุตา ปตนฺติ. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้ท่านก็มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ กระทำ
บุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ (เกิด) เป็นยักษ์ผู้เสนาบดี
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี มีใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชา
ด้วยผ้าทิพย์. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เกิดในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ ในเทวทหนิคม ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนาม
ว่า สัมโมทกุมาร.
ในเวลาที่ท่านยังเล็ก เท้าเดินไม่ได้ด้วยโรคลม (อัมพาต) เขาเที่ยว
ไปเหมือนคนง่อย ตลอดเวลาเล็กน้อย. ด้วยเหตุนั้นเขาจึงมีนามใหม่ว่า ปักขะ.
ภายหลังในเวลาที่หายโรค คนทั้งหลายก็ยังเรียกชื่อเขาอย่างนั้นเหมือนกัน.
เขาเห็นปาฏิหาริย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในสมาคมแห่งพระญาติ ได้ศรัทธา
บรรพชาแล้ว กระทำกิจเบื้องต้นเสร็จแล้ว เรียนกรรมฐานอยู่ในป่า.
ครั้นวันหนึ่ง ท่านเดินทางเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต นั่งอยู่ที่โคนไม้
แห่งหนึ่งในระหว่างทาง. ก็ในสมัยนั้น เหยี่ยวตัวหนึ่ง คาบชิ้นเนื้อบินไปทาง
อากาศ, เหยี่ยวเป็นอันมากบินตามเหยี่ยวตัวนั้น รุมแย่งจนเนื้อตกลงมา.
เหยี่ยวตัวหนึ่ง คาบเอาชิ้นเนื้อที่ตกบินไป. เหยี่ยวตัวอื่นชิงเอาชิ้นเนื้อนั้น
คาบต่อไป พระเถระเห็นดังนั้น ก็คิดว่า ชิ้นเนื้อนี้ฉันใด ขึ้นชื่อว่า กาม
ทั้งหลายก็ฉันนั้น ทั่วไปแก่คนหมู่มาก มีทุกข์มาก คับแค้นมาก ดังนี้ แล้ว
พิจารณาเห็นโทษในกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการออกบวช เริ่มตั้งวิปัสสนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 320
มนสิการอยู่โดยนัยมีอาทิว่า อนิจจัง เที่ยวไปบิณฑบาต กระทำภัตกิจเสร็จ
แล้ว นั่งในที่พักกลางวัน เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
วิปัสสี เชษฐบุรุษของโลก เป็นพระผู้องอาจ กับภิกษุ
สงฆ์ ๖๘,๐๐๐ เสด็จเข้าไปสู่พันธุมวิหาร เราออกจาก
นครแล้ว ได้ไปที่ทีปเจดีย์ ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้
ปราศจากธุลี สมควรรับเครื่องบูชา พวกยักษ์ในสำนัก
ของเรา มีประมาณ ๘๔,๐๐๐ บำรุงเราโดยเคารพ
ดังหมู่เทวดาชาวไตรทศ บำรุงพระอินทร์ โดยเคารพ
ฉะนั้น เวลานั้น เราถือผ้าทิพย์ออกจากที่อยู่ไปอภิวาท
ด้วยเศียรเกล้า และได้ถวายผ้าทิพย์นั้น แด่พระพุทธ-
เจ้า โอพระพุทธเจ้า โอพระธรรม โอความถึงพร้อม
แห่งพระศาสดาหนอ ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
แผ่นดินนี้ หวั่นไหว เราเห็นความอัศจรรย์ อันไม่
เคยมี ชวนให้ขนพองสยองเกล้า นั้นแล้ว จึงยังจิตให้
เลื่อมใส ในพระพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมนุษย์ ผู้คงที่
ครั้งนั้น เรายังจิตให้เลื่อมใส และถวายผ้าทิพย์ แด่
พระศาสดาแล้ว พร้อมทั้งอำมาตย์ และบริวารชน
ยอมนับถือพระพุทธเจ้าเป็นสมณะ ในกัปที่ ๙๑ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรม
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 321
กัปที่ ๑๕ แต่ภัทรกัปนี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖
พระองค์ มีพระนามว่า วาหนะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว
๗ ประการ มีพลมาก เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระอรหัตผล ที่พระเถระ ผู้บรรลุพระอรหัต กระทำสังเวควัตถุ
ใดแล ให้เป็นขอสับ แล้วเจริญวิปัสสนา บรรลุแล้ว พระเถระเมื่อพยากรณ์
พระอรหัตผล โดยมุขคือการประกาศสังเวควัตถุนั้น จึงได้กล่าวคาถาว่า
เหยี่ยวทั้งหลายโฉบลง ชิ้นเนื้อหลุดจากปากของ
เหยี่ยวตัวหนึ่ง ตกลงพื้นดิน และเหยี่ยวอีกพวกหนึ่ง
มาคาบ เอาไว้อีก ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้หมุนเวียนไป
ในสงสาร ก็ฉันนั้น เคลื่อนจากกุศลธรรมแล้ว ไป
ตกในนรกเป็นต้น ความสุขย่อมติดตามเราผู้สำเร็จกิจ
แล้วผู้ยินดีต่อนิพพาน ด้วยความสุข ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จุตา แปลว่า หลุดแล้ว. บทว่า ปตนฺติ
แปลว่า โฉบลง. บทว่า ปติตา ความว่า ชิ้นเนื้อตกลงที่พื้นดิน ด้วยสามารถ
แห่งการพลัดหล่น หรือตกลง ด้วยสามารถแห่งการหลุดร่วงไปในอากาศ.
บทว่า คิทฺธา ความว่า ถึงความยินดี. บทว่า ปุนราคตา ความว่า เข้า
มาคาบไปอีก. พึงประกอบ จ ศัพท์ควบไปด้วยทุก ๆ บท มีคำอธิบายว่า
เหยี่ยวทั้งหลายในที่นี้ โฉบลงและร่อนลง และชิ้นเนื้อก็หลุดจากปากของเหยี่ยว
นอกนี้ ก็ชิ้นเนื้อที่หลุดแล้ว ก็ตกลงไปที่พื้นดิน เหยี่ยวทั้งหลาย อยากได้ชิ้น
เนื้อ (ถึงความอยาก) เหยี่ยวทั้งหมดนั่นแหละ จึงมารุมคาบเอาไปอีก. ก็
เหยี่ยวเหล่านี้ มีอุปมาฉันใด เหล่าสัตว์ที่หมุนไปในสงสาร ก็ฉันนั้น สัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 322
เหล่าใด เคลื่อนจากธรรมที่เป็นกุศล สัตว์เหล่านั้น ย่อมตกลงไปในอบายมี
นรกเป็นต้น ก็เหล่าสัตว์ที่ตกลงไปแล้วอย่างนี้ ผู้ที่ตั้งอยู่ในสัมปัตติภพ ถึงความ
ยินดีและย้อนกลับมาอีก ด้วยสามารถแห่งความใคร่ในภพ ทั้งในกามภพ
รูปภพ และอรูปภพ โดยยังข้องอยู่ ในกามสุขัลลิกานุโยค ในภพนั้น ๆ
ชื่อว่า กลับมาสู่ทุกข์ ที่หมายรู้กันว่าภพนั้น ๆ อีก ด้วยกรรมที่ทำให้ถึงภพ
นั้น ๆ เพราะยังไม่หลุดพ้นจากภพไปได้. สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นอย่างนี้.
ส่วนเราเอง กระทำกิจมีปริญญากิจเป็นต้นแล้ว แม้กิจทั้ง ๑๖ อย่าง เราก็
ทำสำเร็จแล้ว บัดนี้ไม่มีกิจนั้นที่เราจะต้องทำอีก.
พระนิพพาน อันเป็นแดนที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสลัดสังขตธรรมได้
ทั้งหมด ที่น่ายินดี น่าอภิรมย์ น่ารื่นรมย์ เรายินดีแล้ว อภิรมย์แล้ว
รื่นรมย์แล้ว. ก็ด้วยบทว่า รต รมฺม นั้น พึงทราบอธิบายว่า ความสุข
ย่อมติดตามเราผู้สำเร็จกิจแล้ว โดยสะดวก คือพระนิพพาน อันเป็นสุขโดย
ส่วนเดียว ติดตามมา คือ เข้าถึงโดยเป็นสุขเกิดแต่ผลสมาบัติ อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ ผลสุขและนิพพานสุข อันติดตามมา ด้วยสุขเกิดแต่วิปัสสนา และสุข
เกิดแต่มรรค โดยสะดวก.
จบอรรถกถาปักขเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 323
๔. วิมลโกณฑัญญเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวิมลโกณฑัญญเถระ
[๒๐๑] ได้ยินว่า พระวิมลโกณฑัญญเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้เป็นบุตรของนางอัมพปาลี ที่หมู่ชนเรียก
กันว่า ทุมะ เกิดเพราะพระเจ้าพิมพิสาร ท่านเป็น
บุตรของท่านผู้ทรงไว้ซึ่งธงคือพระเจ้าแผ่นดิน ทำลาย
ธงใหญ่ คือกิเลสได้ด้วยปัญญาแล้ว.
อรรถกถาวิมลโกณฑัญญเถรคาถา
คาถาของท่านพระวิมลโกณฑัญญเถระ เริ่มต้นว่า ทุมวฺหยาย
อุปปนฺโน. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในตระกูลที่
สมบูรณ์ด้วยสมบัติ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี
ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า วิปัสสี อันบริษัทใหญ่ห้อมล้อมแล้ว ทรงแสดงธรรมอยู่
มีใจเลื่อมใส แล้วบูชาด้วยดอกไม้ทอง ๔ ดอก. เพื่อจะเจริญศรัทธาปสาทะ
ของเขา พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้มีรูปอย่างรัศมี
ทองคำ ปกคลุมทั่วประเทศนั้นทั้งสิ้น. เขาเห็น พุทธลักษณะอันสำเร็จด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 324
อิทธาภิสังขารนั้นแล้ว มีใจเลื่อมใสเกินประมาณ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว กระทำพุทธลักษณะนั้นให้เป็นนิมิต แล้วไปสู่เรือนของตน ไม่ละปีติที่มี
พระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ กระทำกาละด้วยโรคลมบางอย่าง บังเกิดในสวรรค์
ชั้นดุสิต แล้วกระทำบุญอื่น ๆ อีก ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในท้องของนางอัมพปาลี อาศัยพระเจ้าพิมพิสาร.
พระเจ้าพิมพิสาร ในคราวยังเป็นหนุ่ม ฟัง (ข่าว) รูปสมบัติของ
นางอัมพปาลี เกิดความกำหนัดยินดี มีคนติดตาม ๒-๓ คน ไปสู่พระนคร
ไพศาลี โดยเพศที่คนจำไม่ได้ สำเร็จการอยู่ร่วมกับนางในคืนวันหนึ่ง ครั้งนั้น
พระเถระนี้ถือปฏิสนธิในท้องของนาง และนางอัมพปาลี ได้กราบทูลข้อที่นาง
ตั้งครรภ์ ต่อพระเจ้าพิมพิสาร.
แม้พระราชา ก็แสดงพระองค์ พระราชทานสิ่งของที่ควรพระราชทาน
แล้วเสด็จหลีกไป นางอาศัยความแก่รอบของครรภ์คลอดบุตรแล้ว. ทารกนั้น
ได้นามว่า วิมละ ต่อมาภายหลังจึงปรากฏนามว่า วิมลโกณฑัญญะ. เขาเจริญ
วัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพ ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปพระนครไพศาลี
มีใจเลื่อมใส บรรพชาแล้ว กระทำบุรพกิจแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระ-
อรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี
เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ประทับนั่ง
แสดงอมตบทแก่หมู่ชนอยู่ เราฟังธรรมของพระองค์
ผู้เป็นจอมประชาผู้คงที่แล้ว ได้โปรยดอกไม้ทอง ๔ ดอก
บูชาแด่พระพุทธเจ้า ดอกไม้ทองนั้นกลายเป็นหลังคา
ทอง บังร่มตลอดทั้งบริษัท ในกาลนั้น รัศมีของ
พระพุทธเจ้า และรัศมีทอง รวมเป็นแสงสว่างโชติช่วง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 325
ไพบูลย์ เรามีจิตเบิกบาน ดีใจ เกิดโสมนัส ประนม
อัญชลี เกิดปีติ เป็นผู้นำความสุขปัจจุบันมาให้แก่คน
เหล่านั้น เราทูลวิงวอนพระสัมพุทธเจ้า และถวาย
บังคมพระองค์ผู้มีวัตรอันงาม ยังความปราโมทย์ให้
เกิดแล้ว กลับเข้าสู่ที่อยู่ของตน ครั้นกลับเข้าสู่ที่อยู่
แล้ว ยังระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐอยู่ ด้วยจิต
อันเลื่อมใสนั้น เราได้เข้าถึงสวรรค์ชั้นดุสิต ในกัปที่
๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ทอง
ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา ในกัปที่ ๔๓ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้า-
จักรพรรดิราช ๑๖ พระองค์ ทรงพระนามว่า เนมิ-
สมมตะ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้น บรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
โดยอ้างถึงพระอรหัตผล ได้กล่าวคาถาว่า
ภิกษุเป็นบุตรของนางอัมพปาลี ที่หมู่ชนเรียก
กันว่า ทุมะ เกิดเพราะพระเจ้าพิมพิสาร ท่านผู้เป็น
บุตรของท่านผู้ทรงไว้ซึ่งธงคือพระเจ้าแผ่นดิน ทำลาย
ธงใหญ่ คือกิเลส ได้ด้วยปัญญาแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุมวฺหยาย ได้แก่ หญิงที่เขาเรียกว่า
ทุมะ คืออัมพะ อธิบายว่า ของหญิงชื่อว่า อัมพปาลี. ก็บทว่า ทุมวฺหยาย นี้
เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอาธาระ. บทว่า อุปปนฺโน ความว่า เกิดแล้ว และ
เข้าถึงในท้องของนางอัมพปาลีนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 326
บทว่า ชาโต ปณฺฑรเกตุนา ได้แก่ เกิดเพราะท่านผู้ทรงไว้ซึ่ง
เศวตฉัตร คือเกิด เพราะพระเจ้าพิมพิสาร ผู้ปรากฏว่า เป็นราชันย์ผู้มี
เศวตฉัตร เป็นเหตุ อธิบายว่า อาศัยพระเจ้าพิมพิสารนั้นเกิดแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อุปปนฺโน เป็นบทแสดงถึงการบังเกิดครั้งแรก.
เพราะต่อจากนั้น บทว่า ชาโต แสดงถึงอภิชาติ (เกิดโดยชาติของพระอริยเจ้า).
อธิบายว่า จำเดิมแต่เวลาตลอด เรียกว่าเกิดแล้วในโลก. ก็ในคาถานี้ ท่าน
หลีกเลี่ยงการยกย่องตน ด้วยบทว่า ทุมวฺหยาย อุปปนฺโน นี้ และแสดงถึง
สภาพที่ได้บรรลุคุณพิเศษ แม้ของบุตรของผู้ที่เป็นใหญ่เป็นอเนก. หลีกเลี่ยง
การข่มท่าน ด้วยการแสดงถึงปีติที่รู้กันแล้วด้วยบทว่า ชาโต ปณฺฑุรเกตุนา
นี้.
บทว่า เกตุหา แปลว่า ละเสียซึ่งมานะ. อธิบายว่า ชื่อว่า เกตุ
ด้วยอรรถว่า เป็นดุจธง เพราะมีการถือตัว (จองหอง) เป็นลักษณะ. จริง-
อย่างนั้น มานะนั้นท่านกล่าวว่า มีความประสงค์จะยกตนให้สูงเป็นเครื่องปรากฏ.
บทว่า เกตุนาเยว ได้แก่ ด้วยปัญญานั่นเอง. อธิบายว่า ปัญญา
ชื่อว่า เป็นธงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะอรรถว่าสูงยิ่งในบรรดาธรรม
อันหาโทษมิได้ทั้งหลาย และเพราะอรรถว่าถึงก่อน ด้วยการย่ำยีเสนามาร
ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า ธมฺโม หิ อิสิน ธโช ก็ธรรมเป็นธงชัย
ของฤาษีทั้งหลาย.
บทว่า มหาเกตุ ปธสยิ ความว่า กิเลสธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าใหญ่
เพราะมีอารมณ์มาก และชื่อว่ามีมานะมากมายหลายประการ เพราะต่างโดย
มานะ มีมานะว่า เราประเสริฐกว่า และมาฆะเพราะชาติเป็นต้น และกิเลส
ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า มหาเกตุ ด้วยอรรถว่า เป็นดุจธง เพราะอรรถว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 327
ยังมานะนั้นให้ยกขึ้น ได้แก่ มารผู้ลามก ท่านได้ครอบงำมารนั้น ทำให้
หมดพยศ ด้วยการกำจัดพลแห่งมาร และก้าวล่วงวิสัยแห่งมารเสียได้. พระเถระ
เมื่อจะแสดงตน เป็นเหมือนคนอื่น พยากรณ์พระอรหัตผล โดยการอ้าง
พระอรหัตผลว่า ทำลายธงใหญ่ คือ กิเลสได้ด้วยปัญญา ดังนี้.
จบอรรกถาวิมลโกณฑัญญเถรคาถา
๕. อุกเขปกตวัจฉเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอุกเขปกตวัจฉเถระ
[๒๐๒] ได้ยินว่า พระอุกเขปกตวัจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้สงบดีแล้ว มีความปราโมทย์อย่างยิ่ง
ย่อมกล่าวพระพุทธวจนะ ที่ได้เล่าเรียนมาหลายปี ใน
สำนักของอุกเขปกตวัจฉภิกษุแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย.
อรรถกถาอุกเขปกตวัจฉเถรคาถา
คาถาของท่านพระอุกเขปกตวัจฉเถระ เริ่มต้นว่า อุกฺเขปกตฺ-
วจฺฉสฺส. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า แม้พระเถระนั้น ก็มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ ทั้งหลาย สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ
เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 328
สิทธัตถะ ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว ให้เสาแก่อุบาสก
ผู้สร้างเรือนยอดถวายพระศาสดา ขาดเสาอยู่ต้นหนึ่ง ได้กระทำหน้าที่ของผู้ร่วม
กิจการ ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก หมั่นกระทำบุญบ่อย ๆ
ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์คนหนึ่ง
ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขามีนามที่ได้มาตามโคตรว่า วัจฉะ.
เขาฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้เฉพาะแล้วซึ่งศรัทธาบรรพชา
แล้ว อยู่ในอาวาสใกล้บ้าน แคว้นโกศล เล่าเรียนธรรม ในสำนักของภิกษุ
ทั้งหลาย ผู้มาแล้ว ๆ. แต่ท่านไม่รู้ ปริเฉท (ขั้นตอน) ว่านี้เป็นวินัย นี้เป็น
พระสูตร นี้เป็นพระอภิธรรม วันหนึ่ง เรียนถามท่านพระธรรมเสนาบดีแล้ว
กำหนดพระพุทธพจน์ทั้งหมดตามขึ้นตอน แม้ในกาลก่อน แต่การสังคายนา
พระธรรม ท่านก็กำหนดชื่อแห่งปิฎกเป็นต้นไว้ ในพระปริยัติสัทธรรมที่เป็น
เหตุให้มีการเรียกชื่อภิกษุทั้งหลายว่า พระวินัยธรเป็นต้น ท่านเล่าเรียนสอบถาม
พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกอยู่ กำหนดรูปธรรมและอรูปธรรม ที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในพระไตรปิฎกนั้น เริ่มตั้งวิปัสสนา พิจารณาอยู่
บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
ได้มีการประชุมมหาสมาคม อุบาสกของพระผู้
มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ และอุบาสก
เหล่านั้น ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ มีความเชื่อเลื่อม
ใสพระตถาคต อุบาสกทั้งหมดมาประชุมปรึกษากัน
จะสร้างศาลาถวายแด่พระศาสดา ยังไม่ได้เสาอีกต้น
หนึ่ง จึงพากันเที่ยวหาอยู่ในป่าใหญ่ เราพบอุบาสก
เหล่านั้น ในป่าแล้ว จึงเข้าไปหาคณะอุบาสกในเวลา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 329
นั้น เราประนมอัญชลีสอบถามคณะอุบาสก. อุบาสก
ผู้มีศีลเหล่านั้น อันเราถามแล้ว ตอบให้ทราบว่า เรา
ต้องการจะสร้างศาลา ยังหาเสาไม่ได้อีกต้นหนึ่ง ขอ
ท่านจงให้เสากะเราต้นหนึ่งเถิด เราตอบว่า ฉันจัก
ถวายแด่พระศาสดาเอง ฉันจักนำเสามาให้ ท่านทั้ง
หลายไม่ต้องขวนขวายหา อุบาสกเหล่านั้น เลื่อมใสมี
ใจยินดี มอบเสาให้เรา แล้วกลับจากป่ามาสู่เรือนของ
ตน ๆ เมื่อคณะอุบาสกไปแล้วไม่นาน เราได้ถวายเสา
ในกาลนั้น เรายินดี มีจิตร่าเริง ยกเสาขึ้นก่อนเขา
ด้วยจิตอันเสื่อมใสนั้น เราได้เกิดในวิมาน ภพของ
เราตั้งอยู่โดดเดี่ยว ๗ ชั้น สูงตระหง่าน เมื่อกลอง
ดังกระหึ่มอยู่ เราบำเรออยู่ทุกเมื่อ ในกัปที่ ๕๕ เรา
ได้เป็นพระราชา พระนามว่า ยโสธร แม้ในกาล
นั้น ภพของเรา ก็สูงสุด ๗ ชั้น ประกอบด้วยเรือน
ยอดอันประเสริฐ มีเสาต้นหนึ่ง น่ารื่นรมย์ใจ ในกัป
ที่ ๒๑ เราเป็นกษัตริย์ พระนามว่า อุเทน แม้ใน
กาลนั้น ภพของเราก็มี ๗ ชั้น ประดับอย่างสวยงาม
เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือความเป็นเทวดา หรือความ
เป็นมนุษย์ เราย่อมเสวยผลนั้น ๆ ทั้งหมด นี้เป็นผล
แห่งการถวายเสาต้นเดียว. ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้ถวายเสาใดในกาลนั้น ด้วยบุญกรรมนั้น เราไม่
รู้จักทุคติเสีย นี้เป็นผลแห่งการถวายเสาต้นเดียว. เรา
ตัดกิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 330
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ตั้งมั่นอยู่ในความขยันหมั่น
เพียร เพราะมุ่งกิจที่ตนทำไว้แล้ว อาศัยความอนุเคราะห์ คฤหัสถ์และบรรพชิต
ทั้งหลาย ที่เข้าไปสู่สำนักของตน ใคร่ครวญพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก
แล้วแสดงธรรม. และในวันหนึ่ง แสดงธรรมอยู่ เมื่อจะแสดงเปรียบตน
เหมือนคนอื่น ได้กล่าวคาถาว่า
ภิกษุสงบดีแล้ว มีความปราโมทย์อย่างยิ่ง ย่อม
กล่าวพระพุทธวจนะ ที่ได้เล่าเรียนมาเป็นเวลาหลายปี
ในสำนักของอุกเขปกตวัจฉภิกษุแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุกฺเขปกตวจฺฉสฺส ได้แก่ อันภิกษุ
ชื่อว่า อุกเขปวัจฉะ กระทำแล้ว อธิบายว่า อันภิกษุชื่อว่า วัจฉะ บรรจุ
ลงไว้ในปิฎกนั้น ๆ นั่นแหละ ตั้งอยู่แล้ว โดยที่ท่านกำหนดพิเคราะห์ส่วน
แห่งพระวินัย ส่วนแห่งพระสูตร และส่วนแห่งพระอภิธรรม ที่ตนแยก ๆ
เรียนในสำนักของภิกษุ แล้วสาธยายพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม
นั่นแหละ ตาม (จำนวน) ปริจเฉท. ก็บทว่า อุกฺเขปกตวจฺฉสฺส นี้เป็น
ฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ.
บทว่า สงฺกลิต พหฺหิ วสฺเสหิ ความว่า ตั้งไว้ในหทัย (ท่อง-
จนขึ้นใจ) ด้วยสามารถแห่งการประมวลมาเป็นเวลาหลายปี. ปาฐะว่า สงฺขลิต
ดังนี้บ้าง. ได้แก่ท่องจนคล่องปาก โดยว่าติดต่อเนื่องเป็นอันเดียวกันไป.
กระทำให้เป็นดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว. ปาฐะว่า ย พุทฺธวจน เป็นปาฐะที่
เหลือจากบาทคาถา. บทว่า ต ความว่า กล่าวคือแสดงพระปริยัติธรรมนั้น. .
บทว่า คหฏฺาน ท่านกล่าวไว้ เพราะคฤหัสถ์เหล่านั้น มีจำนวนมากกว่า.
บทว่า สุนิสินฺโน ความว่า นั่งสงบไม่ไหวติงอยู่ในธรรมวินัยนั้น. อธิบายว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 331
ไม่มุ่งหวังลาภและสักการะเป็นต้น ตั้งอยู่ในหัวข้อธรรม คือวิมุตตายตนะ
อย่างเดียวเท่านั้น แล้วกล่าว.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุฬารปาโมชฺโช ซึ่งมีความว่า ผู้มี
ความปราโมทย์อันโอฬาร อันเกิดแล้ว ด้วยสามารถแห่งความสุขในผลสมาบัติ
และด้วยสามารถแห่งความสุขในธรรม. สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ มีอาทิว่า
ดูก่อนอาวุโส ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ฟังมา
แล้ว ตามที่เรียนมาแล้ว แก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ด้วยประการใด ๆ เธอย่อมได้ความแตกฉานในอรรถ
ในธรรมนั้น ย่อมได้ความปราโมทย์อันเขาไปประกอบ
แล้วด้วยธรรม ด้วยประการนั้น ๆ ดังนี้.
จบอรรถกถาอุกเขปตวัจฉเถรคาถา
๖. เมฆิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเมฆิยเถระ
[๒๐๓] ได้ยินว่า พระเมฆิยะได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
พระมหาวีรเจ้า ผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ได้
สั่งสอนเรา เราฟังธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ใน
สำนักของพระองค์ เราได้บรรลุวิชชา ๓ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เรากระทำเสร็จแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 332
อรรถกถาเมฆิยเถรคาถา
คาถาของท่านพระเมฆิยเถระ เริ่มต้นว่า อนุสาสิ มหาวีโร. เรื่อง
ราวเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
หว่านพืชคือกุศลไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนมีตระกูล ในกาลของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้บรรลุ
ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว. ก็ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี
ทรงบรรลุถึงความสิ้นสุดแห่งพุทธกิจแล้ว ทรงปลงอายุสังขาร. เมื่อเกิดแผ่น
ดินไหวเป็นต้น เพราะเหตุที่ทรงปลงอายุสังขารนั้น มหาชนได้สะดุ้งตกใจ
กลัวแล้ว.
ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช ทรงเข้าใจเหตุการณ์นั้นอย่างแจ้งชัด
จึงทรงยังมหาชนให้เบาใจ. มหาชนฟังเหตุการณ์นั้น ได้ถึงความสังเวชแล้ว.
กุลบุตรนี้ สดับพุทธานุภาพ ในที่นั้นแล้ว เกิดความเคารพนับถืออย่างมาก
ในพระศาสดา เสวยปีติโสมนัสอย่างโอฬาร. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยว
ไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ ในพระนคร
กบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้. เขาได้นามว่า เมฆิยะ.
เมฆิยมาณพนั้น เจริญวัยแล้ว บวชในสำนักของพระบรมศาสดา
อุปัฏฐากพระพุทธเจ้าอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ชาลิกาวัน
เห็นป่ามะม่วง น่ารื่นรมย์ ริมฝั่งน้ำ กิมิกาลา ประสงค์จะอยู่ที่ป่ามะม่วงนั้น
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไว้ถึง ๒ ครั้ง แล้วปล่อยให้ไปในครั้งที่ ๓
จึงไปที่ป่ามะม่วงนั้น อันแมลงคือมิจฉาวิตก รุมเกาะกิน ไม่ได้จิตสมาธิ ไป
ยังสำนักของพระศาสดา กราบทูลความนั้นแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 333
ลำดับนั้น พระบรมศาสดา ได้ทรงประทานพระโอวาท แก่เธอ
โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนเมฆิยะ ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่
กล้า แห่งเจโตวิมุตติยังไม่แก่กล้า ดังนี้. ท่านตั้งอยู่ในโอวาทนั้นแล้ว เจริญ
วิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ใน
อปทานว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี
ผู้เลิศในโลก ทรงปลงอายุสังขารนั้น พื้นแผ่นดิน
และน้ำก็หวั่นไหว ฟ้าก็คะนอง แม้ภพอันสวยงาม
น่าปลื้มใจ สะอาด วิจิตรของเราก็หวั่นไหว
ในขณะที่พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร เมื่อภพ
หวั่นไหวแล้ว ความสะดุ้งเกิดขึ้นแก่เราว่า ความ
หวั่นเกิดขึ้นเพื่ออะไรหนอ แสงสว่างอันไพบูลย์ได้
มีแล้ว ท้าวเวสวัณมา ณ ที่นี้แล้วยังมหาชนให้หาย
ความเศร้าโศกว่า ภัยไม่มีในหมู่สัตว์ ท่านทั้งหลาย
จงมีอารมณ์ตั้งมั่น ทำใจให้สงบเถิด เราประกาศ
พระพุทธานุภาพว่า โอพระพุทธเจ้า โอพระธรรม
โอความถึงพร้อมแห่งสัตถุศาสน์หนอ เมื่อ
พระพุทธเจ้า อุบัติ แผ่นดินก็หวั่นไหว ดังนี้แล้ว
บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัป ในกัปทั้งหลายที่เหลือ
เราได้ทำกุศล ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้สัญญา
ใดในกาลนั้น ด้วยสัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า ในกัปที่ ๑๔ แต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 334
ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชผู้ประเสริฐ
มีนามว่า สมิตะ มีพลมาก เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว
ฯ ล ฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้รับโอวาทเฉพาะพระพักตร์
พระบรมศาสดา เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผลว่า เราบรรลุพระอรหัตแล้ว
ได้กล่าวคาถาว่า
พระมหาวีรเจ้า ผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ได้
สั่งสอนเรา เราฟังธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ใน
สำนักของพระองค์ เราได้บรรลุวิชชา ๓ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุสาสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงโอวาท คือ ได้ประทานอนุสาสนี ด้วยคำมีอาทิว่า ดูก่อนเมฆิยะ ธรรม
๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า ดังนี้.
บทว่า มหาวีโร ได้แก่ผู้มีความกล้าหาญมาก. อธิบายว่า ผู้มีความ
เพียรใหญ่ ด้วยองค์ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเพียร อันประกอบด้วยองค์ ๔
ซึ่งเป็นเครื่องเสริมสร้างวิริยบารมี และด้วยความถึงพร้อมแห่งสัมมัปปธาน
๔ อย่าง อันไม่ทั่วไปแก่ธรรมประเภทอื่น.
บทว่า สพฺพธมฺมาน ปารคู ความว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า
เป็นผู้ถึงซึ่งฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง เพราะทรงถึง คือ บรรลุถึงซึ่งฝั่ง คือ ที่สุดแห่ง
ไญยธรรมทั้งปวง ด้วยการถึงแห่งพระญาณ อธิบายว่า เป็นพระสัพพัญญู.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทรงถึงซึ่งฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง เพราะทรงถึง คือ บรรลุถึง
พระนิพพาน อันเป็นฝั่งแห่งสังขตธรรมทั้งหลายทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 335
บทว่า ตสฺสาห ธมฺม สุตฺวาน ความว่า เราฟังสัจธรรม ๔ นั้น
อันพระองค์ทรงยกขึ้นแสดงเอง (ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้พุทธเจ้าพระองค์นั้น.
บทว่า วิหาสึ สนฺติเก ความว่า เราถูกมิจฉาวิตกรบกวนแล้วใน
ป่าอัมพวัน (กลับ ) ไปยังจาลิกาวิหาร พักอยู่ในที่ใกล้พระบรมศาสดานั่นแล.
บทว่า สโต แปลว่า มีสติ. อธิบายว่า ไม่ประมาทแล้วด้วยการ
เจริญสมถะและวิปัสสนา.
บทว่า อห นี้ พึงเปลี่ยนเป็น มยา เพิ่มเข้าในบทว่า วิชฺชา
อนุปฺปตฺตา กต พุทฺธสฺส สาสน วิชชา ๓ อันเราบรรลุแล้ว คำสอน
ของพระพุทธเจ้าอันเรากระทำแล้วดังนี้ เหมือนบทว่า ม ที่ต้องเพิ่มเข้าใน
บทว่า อนุสาสิ นี้. พระเถระประกาศการบรรลุวิชชา ๓ ตามที่กล่าวแล้ว
ด้วยบทว่า กต พุทฺธสฺส สาสน โดยแสดงถึงความที่พระศาสดาทรงให้
โอวาท ด้วยปุริยายอื่น. อธิบายว่า การบำเพ็ญให้บริบูรณ์ในกองศีลเป็นต้น
นั่นแล ข้าพเจ้ากระทำแล้วตามคำสอนของพระศาสดา.
จบอรรถกถาเมฆิยเถรคาถา
๗. เอกธัมมสวนียเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเอกธัมมสวนียเถระ
[๒๐๔] ได้ยินว่า พระเอกธัมมสวนียเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
กิเลสทั้งหลาย เราเผาแล้ว ภพทั้งปวงเราถอน
ขึ้นแล้ว ชาติสงสารของเราสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่
มิได้มีต่อไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 336
อรรถกถาเอกธัมมสวนียเถรคาถา
คาถาของท่านพระเอกธัมมสวนียเถระ เริ่มต้นว่า กิเลสา ฌาปิตา
มยฺห. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
ท่านเกิดเป็นรุกขเทวดา เห็นภิกษุ ๒-๓ รูป หลงทางเดินเที่ยวไปในป่าใหญ่
เมื่อจะอนุเคราะห์ จึงลงจากภพของตน ปลอบโยนภิกษุเหล่านั้น ให้ฉัน
แล้วพาไปส่งจนถึงที่ตามที่ประสงค์ ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปใน
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก บำเพ็ญพุทธกิจเสร็จแล้ว ปรินิพพาน ได้ (เกิด) เป็น
พระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงพระนามว่า กิกี ในกาลนั้น.
เมื่อท้าวเธอสวรรคตแล้ว พระราชโอรสของพระองค์ ทรงพระนามว่า
ปุถุวินทราช ได้เสวยราชย์ต่อมา. พระราชโอรสของพระเจ้าปุถุวินทราช ทรง-
พระนามว่า สุยามะ (เสวยราชย์ต่อมา) พระราชโอรสของพระเจ้าสุยามะ ทรง-
พระนามว่า พระเจ้ากิกีพรหมทัต เสวยราชย์ เมื่อพระศาสนาอันตรธานแล้ว
ไม่ได้ฟังพระธรรมเทศนา จึงรับสั่งให้ประกาศว่า ผู้ใดแสดงธรรมได้ เราจัก
ให้ทรัพย์แสนกหาปณะแก่ผู้นั้น เมื่อหาผู้แสดงธรรมไม่ได้ แม้แต่คนเดียว
จึงทรงพระดำริว่า ในรัชสมัยแห่งพระเจ้าปู่เป็นต้นของเรา ธรรมยังเป็นไปอยู่
ผู้แสดงธรรมก็หาได้ง่าย แต่ในกาลบัดนี้ ผู้ที่จะกล่าวคาถาแม้เพียง ๔ บาท
ก็หาได้ยาก ตราบใดที่ธรรมสัญญายังไม่พินาศ ตราบนั้นเราจักบวช ดังนี้.
ท้าวสักกเทวราช เสด็จลงมาแล้วแสดงธรรมโดยคาถาว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ดังนี้ กะพระเจ้ากิกีพรหมทัต ผู้เดินทางมุ่งหน้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 337
ไปยังหิมวันตประเทศ แล้วให้ท้าวเธอเสด็จกลับ. พระเจ้ากิกีพรหมทัตเสด็จกลับ
บำเพ็ญบุญ ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลเศรษฐี
ในเสตัพยนครในพุทธุปบาทกาลนี้ เจริญวัยแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ในสีสปาวัน ณ เสตัพยนคร เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว
นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
พระศาสดาทรงตรวจดูอัธยาศัยของเขาแล้ว ทรงแสดงธรรมด้วยคาถา
นี้ว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ดังนี้ เมื่ออนิจจ-
สัญญาปรากฏชัด ท่านจึงได้ความสลดใจ เพราะท่านมีอธิการอันกระทำไว้แล้ว
ในภพนั้น ๆ เริ่มพิจารณา การทำทุกขสัญญา และอนัตตสัญญาไว้ในใจ
ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว
ไว้ในอปทานว่า
สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ เที่ยวไปในป่า เป็นผู้หลงทาง เหมือนคน
ตาบอดเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ บุตรของพระมุนีเหล่านั้น
ระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ
ผู้เป็นนายกของโลก หลงทางอยู่ในป่าใหญ่ ข้าพระองค์
(เป็นเทพบุตร) ลงจากภพมาในสำนักของภิกษุ บอก-
ทางให้แก่พระสาวกเหล่านั้น และได้ถวายโภชนาหาร
ข้าแต่พระองค์ผู้จอมประชา เชษฐบุรุษของโลก ประ-
เสริฐกว่านระ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ได้บรรลุ
พระอรหัตแต่อายุ ๗ ขวบเท่านั้น โดยกำเนิด ในกัปที่
๕๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๒ พระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 338
มีพระนามว่า สจักขุ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
ข้าพระองค์เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า ข้าพระองค์กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
เพราะเหตุที่ท่าน สำเร็จกิจ (บรรลุพระอรหัต) ด้วยการฟังธรรม
ครั้งเดียวเท่านั้น จึงได้นามว่า เอกธัมมสวนียเถระ ดังนี้แล. ท่านได้
เป็นพระอรหันต์แล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล ได้กล่าวคาถาว่า
กิเลสทั้งหลายเราเฝ้าแล้ว ภพทั้งปวง เราถอนขึ้น
แล้ว ชาติสงสารของเราสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้
มีต่อไป ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิเลสา ความว่า อกุศลธรรม ชื่อว่า
กิเลส เพราะเหตุว่า บังเกิดแล้วในสันดานใด ย่อมยังสันดานนั้นให้เศร้าหมอง
หรือเบียดเบียน เข้าไปทำให้เดือดร้อน ได้แก่ กิเลสมีราคะเป็นต้น.
บทว่า ณาปิตา ความว่า กิเลสทั้งหลาย อันเราเฝ้าแล้วพร้อมทั้งราก
ด้วยไฟคืออริยมรรคญาณ ดุจกอไม้เป็นต้น ถูกเผาด้วยสายอสุนิบาต.
บทว่า มยฺห แปลว่าอันเรา หรือในสันดานของเรา.
บทว่า ภวา สพฺเพ สมูหตา ความว่า ภพทั้งปวงมีกามภพและ
กรรมภพเป็นต้น ชื่อว่าอันเราถอนขึ้นแล้ว เพราะกิเลสทั้งหลายอันเราเฝ้าแล้ว
เพราะเหตุที่ถอนกรรมภพได้แล้วนั่นแล แม้อุปปัตติภพก็ชื่อว่าเป็นอันถอนขึ้น
แล้วด้วย เพราะให้ถึงความไม่ต้องเกิดขึ้นอีกเป็นธรรมดา.
บทว่า วิกฺขีโณ ชาติสสาโร ความว่า สงสารมีชาติเป็นต้น
มีลักษณะอันท่านกล่าวแล้วว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 339
ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ และอายตนะทั้งหลาย
ที่ยังตัดไม่ขาด หมุนเวียนไปอยู่ ท่านเรียกว่า สงสาร
ดังนี้
สิ้นไปแล้ว โดยพิเศษ เพราะฉะนั้น ภพใหม่จึงไม่มีในบัดนี้. พึงวกกลับมา
พูดว่า เพราะเหตุที่ภพใหม่ไม่มีต่อไป ฉะนั้น สงสาร คือ ชาติจึงสิ้นไป และ
ภพใหม่ไม่มี เพราะภพทั้งปวงถูกถอนขึ้นแล้ว ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ประกอบ
ความว่า สงสารคือชาติสิ้นไปแล้ว เพราะเหตุนั่นแล ภพใหม่จึงไม่มีในบัดนี้ .
จบอรรถกถาเอกธัมมสวนียเถรคาถา
๘. เอกุทานิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเอกุทานิยเถระ
[๒๐๕] ได้ยินว่า พระเอกุทานิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุ ผู้มีจิตมั่น
ไม่ประมาท เป็นมุนีศึกษาอยู่ในคลองแห่งโมไนย
ผู้คงที่ ผู้สงบระงับ มีสติทุกเมื่อ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 340
อรรถกถาเอกุทานิยเถรคาถา
คาถาของท่านพระเอกุทานิยเถระเริ่มต้นว่า อธิเจตโส อปฺปมชฺชโต.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการ อันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดเป็นยักษ์ผู้
เสนาบดี ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี
เมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ได้ถึงความเศร้าโศกปริเทวนาการว่า
เราไม่มีลาภหนอ เราหาโอกาสได้ยากหนอ เพราะในเวลาที่พระศาสดายังทรง
พระชนม์อยู่ เราไม่ได้กระทำบุญมีทานเป็นต้นไว้.
ครั้งนั้น สาวกของพระศาสดา นามว่า สาคระ บรรเทาความโศก
นั้น แนะนำให้บูชาพระสถูปของพระศาสดา. เขาบูชาพระสถูปอยู่ตลอด ๕ ปี
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย นั่นแหละ
ด้วยบุญนั้น เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
พระนามว่า กัสสปะ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว เข้าไปสู่สำนักของพระศาสดา ตาม
กาลเวลา.
ก็ในสมัยนั้น พระศาสดา ทรงโอวาทพระสาวกทั้งหลาย เนือง ๆ
ด้วยคาถาว่า อธิเจตโส. เขาได้ฟังโอวาทนั้น เกิดศรัทธาบวชแล้ว ก็แหละครั้น
บวชแล้ว ร่ายพระคาถานั้นนั่นแหละบ่อย ๆ. ท่านบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ใน
พระโอวาทนั้น ตลอดสองหมื่นปี ไม่อาจจะยังคุณพิเศษให้เกิดขึ้นได้ เพราะ
ญาณยังไม่แก่กล้า. ก็ท่านจุติจากภพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ อยู่ในสุคติภพนั่นแหละ แล้วเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ ผู้สมบูรณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 341
ด้วยสมบัติ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว
เห็นพุทธานุภาพ ในคราวที่พระองค์ทรงรับพระวิหารชื่อว่า เชตวัน ได้มี
ศรัทธา บรรพชาแล้ว กระทำบุรพกิจเสร็จแล้ว อยู่ในป่าได้ไปยังสำนักของ
พระศาสดา. ก็แลในสมัยนั้น พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตร
ขวนขวายอธิจิตอยู่ในที่ไม่ไกลพระองค์ ทรงเปล่งอุทานนี้ว่า อธิเจตโส. พระ
เถระนี้ฟังพุทธอุทานนั้นแล้ว แม้จะอยู่ในป่า เพื่อเจริญภาวนาตลอดกาลนาน
ก็เปล่งอุทานคาถานั้นแหละ ตามกาลเวลา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้เกิดสมัญญา
นามว่า เอกุทานิยเถระ ครั้นในวันหนึ่ง ท่านได้จิตเตกัคคตารมณ์ เจริญ
วิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัต. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
ในลำดับกาล เมื่อพระสุคตเจ้าทรงพระนามว่า
อัตถทัสสี เสด็จนิพพาน ในกาลนั้นข้าพระองค์ เข้า
ถึงกำเนิดยักษ์ และบรรลุถึงยศ ข้าพระองค์คิดว่า การ
ที่เมื่อเรามีโภคสมบัติ พระสุคตเจ้าผู้มีพระจักษุ
ปรินิพพานเสียแล้วนั้น เป็นการเสื่อมลาภ อันได้
แสนยากของเราหนอ ดังนี้ พระสาวกนามว่า
สาคระ รู้ความดำริของข้าพระองค์ ท่านต้องการจะ
ถอนข้าพระองค์ขึ้น จึงมาในสำนักของข้าพระองค์
กล่าวว่า จะโศกเศร้าทำไมหนอ อย่ากลัวเลย จง
ประพฤติธรรมเถิด ท่านผู้มีเมธาดี พระพุทธเจ้าทรง
ส่งเสริมวิทยาสมบัติ ของชนทั้งปวงว่า ผู้ใดพึงบูชา
พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ยังดำรงพระ-
ชนม์อยู่ก็ดี พึงบูชาพระธาตุ แม้ประมาณเท่าเมล็ด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 342
ผักกาดของพระพุทธเจ้า แม้นิพพานแล้วก็ดี เมื่อจิต
อันเลื่อมใสของผู้นั้นเสมอกัน บุญก็มีผลมากเสมอกัน
เพราะฉะนั้น ท่านจงทำสถูปบูชาพระธาตุ ของพระชิน
เจ้าเถิด ข้าพระองค์ได้ฟังวาจาของท่านพระสาคระแล้ว
ได้ทำพุทธสถูป ข้าพระองค์บำรุงพระสถูป อันอุดม
ของพระมุนีอยู่ ๕ ปี ข้าแต่พระองค์ผู้จอมประชา
เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ด้วยกรรมนั้น
ข้าพระองค์เสวยสมบัติแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต ในกัป
ที่ ๗๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔
พระองค์ มีพระนามว่า ภูริปัญญา สมบูรณ์แล้ว
ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก ข้าพระองค์เผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพระ-
องค์กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยวิมุตติสุข วันหนึ่งถูก
ท่านพระธรรมภัณฑาคาริก เชื้อเชิญว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านจงแสดงธรรมแก่
เรา ดังนี้ เพื่อจะทดสอบปฏิภาณ (ของท่าน) เพราะเหตุที่ท่านได้อบรมมา
เป็นเวลานาน จึงได้กล่าวคาถานี้แหละ ความว่า
ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้มีจิตมั่น
ไม่ประมาท เป็นมุนีศึกษาอยู่ในคลองแห่งโมไนย ผู้
คงที่ ผู้สงบระงับ มีสติทุกเมื่อ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 343
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิเจตโส แปลว่า มิจิตตั้งมั่น อธิบายว่า
ประกอบด้วยอรหัตผลจิต อันยิ่งกว่าจิตทั้งปวง. บทว่า อปฺปมชฺชโต แปลว่า
ผู้ไม่ประมาทอยู่. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ประกอบไปด้วยการกระทำเป็นไป
ติดต่อ ในธรรมที่หาโทษมิได้ทั้งหลาย ด้วยความไม่ประมาท. บทว่า มุนิโน
ความว่า พระขีณาสพ ชื่อว่า เป็นมุนี เพราะรู้ซึ่งโลกทั้งสองอย่างนี้ คือ ผู้
ใดรู้โลกทั้งสอง ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นท่านจึงเรียกว่า มุนี อีกอย่างหนึ่ง ญาณ
ท่านเรียกว่า โมนะ พระขีณาสพ ชื่อว่า เป็นมุนี เพราะประกอบด้วยโมนะ
กล่าวคือปัญญาในพระอรหัตผลนั้น. แก่ภิกษุผู้เป็นมุนี นั้น.
บทว่า โมนปเถสุ สิกฺขโต ความว่า ผู้ศึกษาอยู่ในคลองแห่ง
โมนะ กล่าวคือญาณในพระอรหัตผล ได้แก่ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
อันเป็นบรรดาแห่งอุบาย หรือศึกษาอยู่ในสิกขา ๓. ก็คำนี้ท่านกล่าวไว้ โดย
ถือเอาปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น อธิบายว่า ได้แก่ พระอรหันต์ผู้สำเร็จ
การศึกษาแล้ว เพราะฉะนั้นในบทว่า โมนปเถสุ สิกฺขโต นี้ พึงเห็น
ความอย่างนี้ว่า แก่ภิกษุผู้ศึกษาอยู่อย่างนี้ คือ แก่มุนี ผู้ถึงความเป็นมุนี
ด้วยสิกขานี้. เพราะเหตุที่คำนี้ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ ฉะนั้น บททั้งสองเหล่านี้
ควรประกอบความอย่างนี้ว่า แก่ภิกษุผู้มีใจสูง ด้วยสามารถแห่งมรรคจิต และ
ผลจิตเบื้องต่ำ ผู้ไม่ประมาท ด้วยสามารถแห่งความไม่ประมาท ในข้อปฏิบัติ
ธรรมเครื่องตรัสรู้ คืออริยสัจ ๔ ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะประกอบด้วยมรรคญาณ
อันเลิศ. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ท่านกล่าวเหตุแห่งความเพียรไว้ด้วยบท
ว่า อปฺปมชฺชโต สิกฺขโต ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงได้ความว่า แก่ภิกษุผู้
มีใจส่ง เพราะเหตุแห่งความไม่ประมาท และเพราะเหตุแห่งการศึกษา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 344
บทว่า โสกา น ภวนฺติ ตาทิโน ความว่า ความเศร้าโศก
ทั้งหลาย อันมีความพลัดพรากจากสิ่งที่ปรารถนาแล้วเป็นต้น เป็นวัตถุ ได้แก่
ความเร่าร้อนแห่งจิต ย่อมไม่มีในภายในของภิกษุผู้เช่นนั้น คือของมุนีผู้พระ
ขีณาสพ. อีกอย่างหนึ่ง ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่พระมุนี ผู้อเสกขะ
ผู้ถึงแล้วซึ่งลักษณะแห่งตาทีบุคคล. บทว่า อุปสนฺตสฺส ความว่า ผู้เข้าไป
สงบระงับแล้ว ด้วยการเข้าไปสงบกิเลสมีราคะเป็นต้นได้ตลอดไป. บทว่า สทา
สตีมโต ความว่า ผู้ไม่เว้นจากสติ ตลอดกาลเป็นนิจ เพราะถึงแล้วซึ่งความ
ไพบูลย์แห่งสติ.
ก็ในคาถานี้ ด้วยบทว่า อธิเจตโส พึงทราบว่า ได้แก่ อธิจิตตสิกขา.
ด้วยบทว่า อปฺปมชฺชโต พึงทราบว่า ได้แก่ อธิสีลสิกขา. ด้วยบทว่า
มุนิโน โมนปเถสุ สิกฺขโต พึงทราบว่า ได้แก่ อธิปัญญาสิกขา. อีก
อย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ท่านประกาศอธิปัญญาสิกขา ด้วยบทว่า มุนิโน.
ประกาศปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น แห่งโลกุตรสิกขาทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย
บทว่า โมนปเถสุ สิกฺขโต. ประกาศอานิสงส์แห่งการทำสิกขาให้บริบูรณ์
ด้วยบทมีอาทิว่า โสกา น ภวนฺติ. ก็พระคาถานี้แหละ. ได้เป็นคาถา
พยากรณ์พระอรหัตผล ของพระเถระ.
จบอรรถกถาเอกุทานิยเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 345
๙. ฉันนเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระฉันนเถระ
[๒๐๖] ได้ยินว่า พระฉันนเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราฟังธรรมมีรสอันประเสริฐ ของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้เป็นมหาสมณะ ได้ดำเนินไปสู่ทางอันพระ
พุทธเจ้าผู้มีญาณอันประเสริฐ กล่าว คือ ความเป็นผู้รู้
ธรรมทั้งปวง ทรงแสดงไว้แล้ว เพื่อบรรลุอมตธรรม
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ฉลาดใน
ทาง อันเกษมจากโยคะ.
อรรถกถาฉันนเถรคาถา
คาถาของท่านพระฉันนเถระ เริ่มต้นว่า สุตฺวาน ธมฺม มหโต
มหารส. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่ง
ตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ถึง
ความเป็นผู้รู้แล้ว ในวันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิทธัตถะ
เข้าไปสู่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง มีจิตเลื่อมใส ได้ปูอาสนะที่ลาดด้วยใบไม้ มีสัมผัส
อันอ่อนนุ่มถวาย และโรยด้วยดอกไม้รอบ ๆ ทำการบูชา ด้วยบุญกรรมนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 346
เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแม้อื่นอีกเป็นอันมาก ท่องเที่ยวอยู่ในสุคติภพ
นั่นแหละ เกิดในท้องของนางทาสี ในพระราชวังของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ได้มีนามว่า ฉันนะ เป็น
สหชาตกับพระโพธิสัตว์.
นายฉันนะได้มีศรัทธาจิต ในสมาคมแห่งพระญาติ ของพระบรมศาสดา
บวชแล้ว ด้วยความจงรักในพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดการถือตัว (มมังการ)
ขึ้นว่า พระพุทธเจ้าของเรา พระธรรมของเรา ไม่สามารถจะตัดสิเนหา
ได้ ไม่บำเพ็ญสมณธรรม เมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ถูกคุกคาม
ด้วยพรหมทัณฑ์ อันพระศาสดาทรงกระทำ โดยวิธีนัดหมายถึงความสลดใจ
ตัดสิเนหาออกได้ พิจารณาเห็นแจ้ง บรรลุพระอรหัต โดยกาลไม่นานนัก.
สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้ถวายอาสนะที่ลาดด้วยใบไม้ แด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ และได้เอา
ดอกโกสุม ที่นำมาโปรยลงโดยรอบ เราได้เสวยห้อง
อันน่ารื่นรมย์ มีค่ามาในปราสาท ดอกไม้มีค่ามาก
ตกลงบนที่นอนของเรา เรานอนบนที่นอนอันงดงาม
ลาดด้วยดอกไม้ และฝนดอกไม้ ตกลงบนที่นอน
ของเราในกาลนั้น ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราถวาย
อาสนะที่ลาดด้วยใบไม้ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งถวายเครื่องลาด เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ๗ พระองค์ พระนามว่า ติณสันถรกะ
เป็นจอมคนอุบัติแล้ว ในกัปที่ ๕ แต่ภัทรกัปนี้. เรา
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 347
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เป็นผู้เอิบอิ่มไปด้วยวิมุตติสุข
เมื่อจะเปล่งอุทาน ระบายกำลังแห่งปีติ ได้กล่าวคาถาว่า
เราฟังธรรมมีรสอันประเสริฐ ของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้เป็นมหาสมณะ ได้ดำเนินไปสู่ทาง อัน
พระพุทธเจ้าผู้มีพระญาณอันประเสริฐ ด้วยพระ
สัพพัญญุตญาณทรงแสดงไว้แล้ว เพื่อบรรลุอมตธรรม
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ฉลาดใน
ทางอันเกษมจากโยคะ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุตฺวาน แปลว่า ฟังแล้ว ได้แก่เงี่ยโสต
ลงสดับ ตามคลื่นเสียงเข้าไปทรงไว้โดยสมควรแก่โสตทวาร.
บทว่า ธมฺม ได้แก่ อริยสัจจธรรมทั้ง ๔. บทว่า มหโต ได้แก่
พระผู้มีพระภาคเจ้า แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชาวโลกขนานพระนามว่า มหา
ผู้ยิ่งใหญ่ เพราะประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น อันยิ่งใหญ่คือโอฬารที่สุด และ
เพราะเป็นผู้อันชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกควรบูชา เป็นเหตุให้พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระองค์นั้น เกิดสมัญญาพระนามว่า พระมหาสมณะ. ก็บทว่า
มหโต ธมฺม สุตฺวาน นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ.
บทว่า มหารส ความว่า ชื่อว่ามีรสโอฬาร เพราะเป็นธรรมที่ให้
วิมุตติรส.
บทว่า สพฺพญฺญุตาณวเรน เทสิต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า สัพพัญญู เพราะทรงรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง ความมีแห่งพระ
สัพพัญญูนั้น ชื่อว่า สัพพัญญุตา พระญาณนั่นแหละประเสริฐ หรือประเสริฐ
ในพระญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ญาณวร พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 348
พระนามว่า สัพพัญญุตญาณวระ เพราะพระองค์ทรงมีพระญาณอันประเสริฐ
ประกอบความว่า ฟังธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระญาณอันเลิศ กล่าว
คือ พระสัพพัญญุตญาณนั้นทรงแสดงแล้ว คือ ตรัสแล้ว หรือทรงแสดง
เพราะมีเหตุ. ก็คำใดที่ควรกล่าวในอธิการนี้ คำนั้นพึงทราบ โดยนัยดังกล่าว
แล้ว ในอรรถกถาอิติวุตตกะ ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี.
บทว่า มคฺค ได้แก่ อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘.
บทว่า ปปชฺชึ แปลว่า ดำเนินไปแล้ว.
บทว่า อมตสฺส ปตฺติยา ประกอบความว่า ดำเนินไปสู่ทางอันเป็น
อุบาย แห่งการบรรลุพระนิพพาน.
บทว่า โส แก้เป็น โส ภควา แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
บทว่า โยคกฺเขมสฺส ปถสฺส โกวิโท ความว่า เป็นผู้ฉลาด
ในทางแห่งพระนิพพาน อันโยคะทั้ง ๔ ไม่ประทุษร้ายแล้วนั้น คือเป็นผู้ฉลาด
ด้วยดี ในทางแห่งพระนิพพานนั้น. ก็ในบาทคาถาว่า โยคกฺเขมสฺส ปถสฺส
โกวิโท นี้ มีอธิบายว่า เราฟังการแสดงอริยสัจ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วดำเนินไปสู่ทางอันเป็นอุบายเครื่องบรรลุอมตธรรม คือ เราทำแนวทาง
แห่งข้อปฏิบัติ ได้แก่ แม้เราเองก็อาศัยวิธีการของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้นแหละ ผู้ฉลาดในทางอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ โดยประการ
ทั้งปวง คือ ฉลาดในสันดานของผู้อื่น หรือฉลาดในการฝึกใจผู้อื่น
ดำเนินไปตรงทาง. ก็คาถานี้แหละ ได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของ
พระเถระ.
จบอรรถกถาฉันนเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 349
๑๐. ปุณณเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปุณณเถระ
[๒๐๗] ได้ยินว่า พระปุณณเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ในโลกนี้ ศีลเท่านั้นเป็นเลิศ แต่ว่าผู้มีปัญญาเป็น
ผู้สูงสุด ความชนะย่อมมี เพราะศีลและปัญญา ทั้ง
ในหมู่มนุษย์และเทวดา.
จบวรรคที่ ๗
อรรคกถาปุณณเถรคาถา
คาถาของท่านพระปุณณเถระเริ่มต้นว่า สีลเมว. เรื่องราวของท่าน
เป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนั้น ก็มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัย แห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในตระกูล
พราหมณ์ ในโลกที่ว่างจากพระพุทธเจ้า ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัตรกัปนี้ เจริญวัย .
แล้ว สำเร็จการศึกษาในศิลปศาสตร์ของพราหมณ์ เห็นโทษในกามทั้งหลาย
ละฆราวาสวิสัย แล้วบวชเป็นดาบส สร้างบรรณกุฎิ แล้วอยู่อาศัย ณ หิมวันต-
ประเทศ.
ณ ที่เงื้อมเขาแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลจากที่ซึ่งพระดาบสนั้นอยู่. พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า อาพาธ ปรินิพพานแล้ว. ในสมัยที่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น
ปรินิพพาน ได้มีแสงสว่างลุกโพลงขึ้น. ดาบสเห็นแสงสว่างนั้นแล้ว เหลียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 350
มองดูข้างโน้น ข้างนี้ โดยจะพิสูจน์ว่า แสงสว่างนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรหนอแล
เห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปรินิพพานที่เชิงเขา จึงลากเอาไม้ฟืนที่มีกลิ่นหอม
มาเผาร่าง (พระปัจเจกพุทธเจ้า) แล้วพรมด้วยน้ำหอม. ที่เงื้อมเขานั้นมี
เทวบุตรองค์หนึ่ง ยืนอยู่ในอากาศ กล่าวอย่างนี้ว่า สาธุ สาธุ ท่านสัตบุรุษ
กรรมที่ยังสัตว์ให้ไปสู่สุคติ อันท่านผู้ประสบบุญใหญ่ บำเพ็ญแล้ว ด้วยบุญนั้น
ท่านจักบังเกิดในสุคติภพเท่านั้น และท่านจักมีนามว่า ปุณณะ ดังนี้.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิด
ในตระกูลคฤหบดี ที่ท่าชื่อว่า สุปปารกะ ในสุนาปรันตชนบท ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ เขาได้มีนามว่า " ปุณณะ ". ปุณณมาณพเจริญวัยแล้ว ไปสู่พระนคร
สาวัตถี พร้อมกับกองเกวียนหมู่ใหญ่ ด้วยธุรกิจทางการค้า.
ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี
ลำดับนั้น ปุณณมาณพไปยังพระวิหาร พร้อมกับเหล่าอุบาสกผู้อยู่ในพระนคร
สาวัตถี ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว ยังอาจารย์
และพระอุปัชฌาย์ให้โปรดปราน ด้วยข้อวัตรปฏิบัติอยู่แล้ว วันหนึ่งท่านเข้า
ไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอโอกาส
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงประทานโอวาทโดยย่อ ซึ่งจะเป็นเหตุให้ข้า
พระองค์สดับแล้ว ไปอยู่ในสุนาปรันตชนบทได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ประทานโอวาทแก่ท่าน โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนปุณณะ รูปทั้งหลายที่พึงรู้ด้วย
จักษุ มีอยู่แล แล้วทรงบันลือสีหนาท ส่ง (ท่าน) ไป.
ท่านถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไปสู่สุนาปรันตชนบท
อยู่ที่ท่าชื่อว่า สุปปารกะ ขวนขวายสมถะและวิปัสสนา กระทำวิชชา ๓ ให้
แจ้งแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 351
พระปัจเจกะผู้สยัมภู ไม่พ่ายแพ้อะไร ๆ
อาพาธ อาศัยยอดเงื้อม อยู่ในระหว่างภูเขา ขณะนั้น
ได้มีเสียงบันลือลั่น โดยรอบอาศรมของเรา เมื่อพระ-
ปัจเจกะนิพพาน ได้มีแสงสว่างในขณะนั้น หมี หมาป่า
เสือดาว เนื้อร้ายและราชสีห์ มีอยู่ในไพรสณฑ์ประมาณ
เท่าใด สัตว์ทั้งหมดนั้นได้พากันส่งเสียงร้องขึ้น ใน
ขณะนั้น เราเห็นความอัศจรรย์นั้นแล้ว ได้ไปสู่เงื้อม
ณ ที่นั้นเราได้เห็นพระปัจเจกะ ผู้ไม่พ่ายแพ้อะไร ๆ
นิพพานแล้ว เหมือนพระยารัง มีดอกบานสะพรั่ง เช่น
พระอาทิตย์อุทัย ดังถ่านเพลิงปราศจากเปลวภัย ผู้ดับ
สนิทแล้ว ไม่แพ้อะไร ๆ เรานำเอาหญ้า และไม่มา
กองให็เต็มแล้ว ได้ทำเชิงตะกอนขึ้นบนนั้น ครั้นทำ
เชิงตะกอนดีแล้ว ได้ถวายเพลิงพระปัจเจกพุทธสรีระ
ครั้นถวายเพลิงพระสรีระแล้ว ได้นำเอาน้ำอบ
ประพรม ในขณะนั้น เทวดายืนอยู่ในอากาศได้
ระบุชื่อว่า ท่านเป็นมุนีในกาลใด ท่านมีนามว่า
ปุณณกะในกาลนั้น ท่านบำเพ็ญกิจนั้น แก่พระปัจเจกะ
ผู้สยัมภูแล้ว เราจุติจากกายนั้นแล้ว ได้ไปสู่เทวโลก
ในเทวโลกนั้น กลิ่นอันสำเร็จด้วยทิพย์ ย่อมตกลง
จากอากาศ แม้ในเทวโลกนั้น เราก็ชื่อว่า ปุณณกะ
ในกาลนั้น เราเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ย่อมยังความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 352
ดำริให้บริบูรณ์ ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของเรา ภพที่สุด
ย่อมเป็นไป แม้ในภพนี้ นามของเราก็ยังปรากฏว่า
ปุณณกะ เรายังพระสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โคดม
ศายบุตร ให้ทรงโปรดแล้ว กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง
แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่
รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายเพลิงพระปัจเจก
พุทธสรีระ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ยังมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก
ให้มีความเลื่อมใส ในพระศาสนา โดยที่บุรุษประมาณ ๕๐๐ คน ประกาศ
คนเป็นอุบาสก และสตรีประมาณ ๕๐๐ คน ประกาศตนเป็นอุบาสิกา. ท่าน
ให้เขาสร้างพระคันธกุฏี ชื่อว่า จันทนมาลา ด้วยไม้จันทน์แดงที่สุนาปรันต-
ชนบทนั้น อาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยทูตคือดอกไม้ว่า ขอพระบรมศาสดา
จงทรงรับพวงดอกไม้พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ ดังนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จไปที่พระคันธกุฏี ชื่อว่า จันทนมาลานั้น พร้อมกับภิกษุทั้งหลายมีประมาณ
เท่านั้น ด้วยอานุภาพแห่งฤทธิ์ ทรงรับพระคันธกุฏี ชื่อว่า จันทนมาลา
เมื่อยังไม่ทันรุ่งอรุณก็เสด็จกลับ ในเวลาต่อมา พระเถระเมื่อจะพยากรณ์
พระอรหัตผลในสมัยเป็นที่ปรินิพพาน ได้กล่าวคาถาว่า
ในโลกนี้ ศีลเท่านั้นเป็นเลิศ แต่ว่าผู้มีปัญญา
เป็นผู้สูงสุด ความชนะย่อมมี เพราะศีล และปัญญา
ทั้งในหมู่มนุษย์ และหมู่เทวดา ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 353
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีล ความว่า ชื่อว่า ศีล ด้วยอรรถว่า
ละเว้น อธิบายว่า ชื่อว่า ศีล ด้วยอรรถว่า เป็นที่ตั้ง และด้วยอรรถว่า สมาทาน.
แท้จริง ศีลเป็นที่ตั้งแห่งคุณทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
นรชน ตั้งอยู่แล้วในศีลเป็นผู้มีปัญญา ดังนี้ อธิบายว่า ศีลนั้นย่อมตั้งมั่น
และทำกายวาจาให้เรียบร้อย ศีลนี้นั้นเท่านั้น ชื่อว่าเป็นเลิศ เพราะความเป็น
พื้นฐาน และเพราะความเป็นประธาน แห่งคุณทั้งปวง. สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้
มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงยังเบื้องต้นในกุศลธรรม
ทั้งหลายให้บริสุทธิ์ก่อน เบื้องต้นของกุศลธรรมคืออะไร ? คือศีลที่บริสุทธิ์ดี
ดังนี้ด้วย และว่า ที่ชื่อว่า ปาฏิโมกข์ ได้แก่ศีลที่เป็นประธาน และศีลที่เป็น
ประมุข ดังนี้ด้วย.
บทว่า อิธ เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า ปญฺวา แปลว่า ถึงพร้อมด้วยญาณ. ผู้ที่สมบูรณ์ด้วย
ญาณนั้น เป็นผู้สูงสุด คือประเสริฐสุด ได้แก่ บวร เพราะฉะนั้น พระเถระ
จึงแสดงความที่ปัญญานั่นแหละประเสริฐที่สุด ด้วยคาถาอันเป็นบุคลาธิษฐาน
เพราะว่า กุศลธรรมทั้งหลายมีปัญญาเป็นยอด.
พระเถระแสดงความที่ศีลและปัญญาเป็นเลิศและประเสริฐนั้น โดยเหตุ
ในบัดนี้ว่า ความชนะย่อมมีทั้งศีลและปัญญา ทั้งในหมู่มนุษย์และหมู่เทวดา
ดังนี้.
อธิบายว่า จะชนะปรปักษ์ได้ จะชนะกามกิเลสได้ เพราะศีลและ
ปัญญาเป็นเหตุ ดังนี้.
จบอรรถกถาปุณณเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๗
ในอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 354
ในวรรคนี้ รวมพระเถระ ๑๐ รูปคือ
๑. พระวัปปเถระ ๒. พระวัชชีปุตตกเถระ ๓. พระปักขเถระ
๔. พระวิมลโกณฑัญญเถระ ๕. พระอุกเขปกตวัจฉเถระ ๖. พระเมฆิยเถระ
๗. พระเอกธัมมสวนียเถระ ๘. พระเอกุทานิยเถระ ๙. พระฉันนเถระ
๑๐. พระปุณณเถระ และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 355
เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๘
๑. วัจฉปาลเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวัจฉปาลเถระ
[๒๐๘] ได้ยินว่า พระวัจฉปาลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
พระโยคาวจรผู้มีปกติเห็นเนื้อความอันสุขุมและ
ละเอียด ผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ผู้ประพฤติศีลของ
พระพุทธเจ้าโดยเอื้อเฟื้อ พึงได้บรรลุพระนิพพาน
โดยไม่ยาก.
วรรควรรณนาที่ ๘
อรรถกถาวัจฉปาลเถรคาถา
คาถาของท่านพระวัจฉปาลเถระ เริ่มต้นว่า สุสุขุมนิปุณตฺถทสฺสินา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิดใน
ตระกูลพราหมณ์ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ประสบความสำเร็จในศิลปศาสตร์
ของพราหมณ์ บำเรอไฟอยู่ วันหนึ่ง เอาถาดสำริดใบใหญ่ใส่ข้าวปายาสไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 356
แสวงหาพระทักขิไณยบุคคลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี
เสด็จจงกรมอยู่ในอากาศ เกิดอัศจรรย์บันดาลใจ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า แสดงความประสงค์จะถวาย (ข้าวปายาส). พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง-
อาศัยความอนุเคราะห์ รับข้าวปายาสไว้.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
เป็นบุตรของพราหมณ์ ผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติในพระนครราชคฤห์ ในพุทธุป-
บาทกาลนี้ ได้มีนามว่า วัจฉปาละ เมื่อพระอุรุเวลกัสสปเถระ แสดงอิทธิ-
ปาฏิหาริย์ ในสมาคมแห่งพระเจ้าพิมพิสาร แล้วแสดงความนอบน้อมถ่อมตน
แด่พระบรมศาสดา วัจฉปาลพราหมณ์เห็นดังนั้น ได้ศรัทธาจิต บวชแล้ว
พอบวชได้ ๗ วันเท่านั้น ก็เจริญวิปัสสนา ได้อภิญญา ๖. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราต้องการจะบวงสรวงบูชายัญ จึงคดข้าว
ปายาสใส่ในถาดสำริด ด้วยมือของตนแล้วไปสู่ป่างิ้ว
ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า มีพระฉวีวรรณดังทองคำ มี
พระลักษณะประเสริฐ ๓๒ ประการ แวดล้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ เสด็จออกจากป่าใหญ่ สมัยนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ
เสด็จขึ้นเดินจงกรมในอากาศ อันเป็นทางลม เราเห็น
ความอัศจรรย์ อันไม่เคยเป็นขนลุกชูชันนั้นแล้ว
วางถาดสำริดลง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง.
พระนามว่า วิปัสสี ทูลว่า ข้าแต่มหามุนี พระองค์
เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
และมนุษยโลก ขอจงทรงอนุเคราะห์ รับข้าวปายาส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 357
ของข้าพระองค์เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้า สัพพัญญู
ผู้นำของโลก เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงทราบ
ความดำริของเราแล้ว ทรงรับ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัป
นี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เรา
ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวปายาส
ในกัปที่ ๔๑ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
จอมกษัตริย์ พระนามว่า พุทโธ สมบูรณ์ด้วย
แก้ว ๗ ประการ มีพลมาก เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว
ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะประกาศความที่พระ-
นิพพานอันตนบรรลุแล้วโดยง่ายดาย จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า
พระโยคาวจรผู้มีปกติ เห็นเนื้อความอันสุขุม
และละเอียด ผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ผู้ประพฤตินอบ-
น้อม ถ่อมตน ผู้ประพฤติศีลของพระพุทธเจ้า โดย
เอื้อเฟื้อ พึงบรรลุพระนิพพานได้โดยไม่ยาก ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุสุขุมนิปุณตฺถทสฺสินา ความว่า
พระโยคาวจรยกสังขารขึ้นสู่ไตรลักษณ์ มีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นแล้วเห็น
เนื้อความในธรรมมีอริยสัจและปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น ที่ชื่อว่า สุขุม เพราะ
อรรถว่า เห็นได้ยากอย่างยิ่ง ชื่อว่า ละเอียด เพราะอรรถว่า ละเอียดอ่อน.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สุสุขุมนิปุณตฺถทสฺสี อันพระโยคาวจรผู้มีปกติ
เห็นเนื้อความอันสุขุมและละเอียดนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 358
บทว่า มติกุสเลน ความว่า ผู้มีปรีชา คือ ปัญญาฉลาดเฉียบแหลม
ได้แก่ ฉลาดในการยังธรรมวิจยสัมโพชฌังคปัญญาให้เกิดขึ้นว่า ปัญญาย่อม
เจริญแก่ผู้ประพฤติอย่างนี้ ไม่เจริญแก่ผู้ประพฤติอย่างนี้ ดังนี้.
บทว่า นิวาตวุตฺตินา ความว่า มีปกติประพฤตินอบน้อมถ่อมตน
ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย และประพฤติปฏิบัติโดยสมควรในพระเถระผู้สูง
อายุและในภิกษุใหม่.
บทว่า สเสวิตพุทฺธสีลินา ความว่า ศีลของพระพุทธเจ้า
อันพระโยคาวจรช่องเสพแล้ว คือประพฤติแล้วโดยเอื้อเฟื้อ ชื่อว่า ผู้มีศีล
ของพระพุทธเจ้าอันประพฤติแล้วโดยเอื้อเฟื้อ อันพระโยคาวจรผู้มีศีลของ
พระพุทธเจ้า อันประพฤติแล้วโดยเอื้อเฟื้อนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ศีลของพระ-
พุทธเจ้า อันพระโยคาวจรนั้น ช่องเสพแล้ว คือเข้าไปบำเรอแล้ว เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า มีศีลของพระพุทธเจ้าอันเสพแล้ว อันพระโยคาวจรผู้มี
ศีลของพระพุทธเจ้าอันเสพแล้วนั้น.
หิ ศัพท์ มีเหตุเป็นอรรถ ขยายความว่า เพราะพระโยคาวจรมีความ
ประพฤติถ่อมตน มีศีลของพระพุทธเจ้าอันช่องเสพแล้ว มีปัญญาเฉียบแหลม
มีปกติเห็นเนื้อความอันสุขุมและละเอียด ฉะนั้น พระนิพพานอันพระโยคาวจร
นั้น จึงได้โดยไม่ยาก. อธิบายว่า บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสำคัญพระโยคาวจร
นั้นว่า ควรโอวาท ควรสั่งสอน เพราะเป็นผู้มีปกติประพฤติอ่อนน้อม และ
เพราะเป็นผู้มีศีลของพระพุทธเจ้าอันตนช่องเสพแล้ว ทั้งพระโยคาวจรนี้ ก็ตั้ง
อยู่ในโอวาทของบัณฑิตเหล่านั้น บำเพ็ญวิปัสสนา ย่อมบรรลุพระนิพพาน
ต่อกาลไม่นานนัก เพราะเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม และเพราะเป็นผู้มีปกติ
เห็นเนื้อความอันสุขุมและละเอียด ดังนี้ ก็คาถานี้นั่นแหละ ได้เป็นคาถา
พยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาวัจฉปาลเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 359
๒. อาตุมเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอาตุมเถระ
[๒๐๙] ได้ยินว่า พระอาตุมเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
หน่อไม้มียอดอันงอกงาม เจริญด้วยกิ่งก้านโดย-
รอบ ย่อมเป็นของที่บุคคลขุดขึ้นได้โดยยาก ฉันใด
เมื่อโยมมารดานำภรรยามาให้ฉันแล้ว ถ้าฉันมีบุตร
หรือธิดาขึ้น ก็ยากที่จะถอนตนออกบวชได้ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น ฉันจึงบวชแล้วในบัดนี้.
อรรถกถาอาตุมเถรคาถา
คาถาของท่านพระอาตุมเถระ เริ่มต้นว่า ยถา กฬีโร สุสุ
วฑฺฒิตคฺโค เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้ท่านก็มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญ
อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ บังเกิด
ในเรือนแห่งตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนาม
ว่า วิปัสสี ทรงดำเนินไปในระหว่างถนน มีใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชาด้วย
น้ำหอม และด้วยจุณแห่งของหอม. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทวโลก
ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวโลกเท่านั้น บวชในศาสนาของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ แล้วบำเพ็ญสมณธรรม แต่ไม่สามารถจะ
ทำคุณพิเศษให้เกิดขึ้นได้ เพราะญาณยังไม่แก่กล้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 360
ครั้นในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดเป็นเศรษฐีบุตร ในพระนครสาวัตถี
ได้มีนามว่า " อาตุมะ" เมื่อท่านเจริญวัยแล้ว มารดาปรึกษากับหมู่ญาติว่า
พวกเราจักนำภรรยามาให้บุตรของเรา เขาพิจารณาใคร่ครวญดูเหตุนั้นแล้ว
อันเหตุสมบัติทักท้วงไว้ จึงคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ครองเรือนแก่เรา
เราจักบวชในบัดนี้แหละ ดังนี้แล้ว ไปยังสำนักของภิกษุทั้งหลายบวชแล้ว.
มารดามีความประสงค์จะยังท่านผู้แม้บวชแล้วให้สึก เล้าโลมโดยนัยต่าง ๆ.
ท่านไม่ยอมให้โอกาสแก่มารดา เมื่อจะประกาศอัธยาศัยของตน ได้กล่าวคาถาว่า
คนหนุ่มเหมือนหน่อไม้มียอดอันงอกงาม เจริญ
ด้วยกิ่งก้านโดยรอบ ย่อมเป็นของที่บุคคลขุดขึ้นได้
โดยยาก ฉันใด เมื่อโยมมารดานำภรรยามาให้อาตมา
แล้ว ถ้าอาตมามีบุตรหรือธิดาขึ้น ก็ยากที่จะถอนตน
ขึ้นออกบวชได้ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น อาตมาจึงไม่
ยินยอม บวชแล้ว ในบัดนี้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กฬีโร แปลว่า หน่อไม้. แต่ในคาถานี้
หมายเอาหน่อคือเชื้อสาย.
บทว่า สุสุ แปลว่า คนหนุ่ม.
บทว่า วฑฺฒิตคฺโค ความว่า มีกิ่งก้านเจริญงอกงาม.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุสุวฑฺฒิตคฺโค ความว่า แผ่กิ่งก้านสาขา
ออกไปด้วยดี คือ มีใบและกิ่งเกิดแล้ว.
บทว่า ทุนฺนิกฺขโม ความว่า ไม่สามารถเพื่อจะถอน คือนำออก
จากกอไผ่ได้. บทว่า ปสาขชาโต ความว่า มีกิ่งเล็กกิ่งใหญ่เกิดแล้ว คือ
แม้แต่ละกิ่ง ก็เกิดกิ่งเล็ก ๆ ขึ้นทุก ๆ ปล้อง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 361
บทว่า เอว อห ภริยายานีตาย ความว่า หน่อคือยอดที่แตกกอ
ได้แก่กิ่งเล็กกิ่งน้อย ที่เกี่ยวประสานกันในระหว่างหน่อ ย่อมเป็นของนำออก
ได้โดยยาก จากพุ่มไผ่ ฉันใด แม้ตัวอาตมาเองก็ฉันนั้น เมื่อโยมมารดานำ
ภรรยามาให้ พึงเป็นผู้มีหน่อเจริญงอกงาม โดยเป็นบุตรและธิดาเป็นต้น
พึงเป็นของยาก ที่จะปลีกตนออกจากฆราวาสวิสัยได้ ด้วยอำนาจแห่งตัณหา
(รัดรึงไว้).
ก็หน่อคือเชื้อสาย ที่เนื่องกับกิ่งที่ยังไม่เกิด ย่อมนำออกจากพุ่มไม้ไผ่
ได้ง่ายฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น เนื่องด้วยหน่อมีบุตรและธิดา ที่ยังไม่เกิดแล้ว
เป็นต้น ย่อมนำออกได้ง่าย เพราะฉะนั้น เมื่อมารดายังไม่นำภรรยามามอบให้
ข้าพเจ้าจึงไม่ยินดี คือไม่ยอมรับรู้ด้วยตนเอง.
บทว่า ปพฺพชิโตมฺห ทานิ ความว่า พระเถระประกาศความยินดี
ในการออกบวชของตนว่า ก็บัดนี้ ข้าพเจ้าบวชแล้ว คือการที่ข้าพเจ้าบวชแล้ว
นั้น เป็นการดีคือดีแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง พระเถระบอกแก่มารดาว่า ข้าพเจ้า
ไม่ยินดี จึงออกบวชในบัดนี้. ก็ในบาทคาถานี้ มีอธิบายดังนี้ แม้ถ้าโยม
มารดาไม่ยินยอมในตอนต้น แต่บัดนี้ ข้าพเจ้าก็ได้บวชแล้ว เพราะฉะนั้น
ท่านจงยินยอมอนุญาต เพื่อให้ข้าพเจ้าดำรงอยู่ในสมณภาพนั่นแล. ก็เมื่อ
พระเถระกล่าวอย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่นั่นแหละ เจริญวิปัสสนา ยังกิเลสให้
สิ้นไปตามลำดับแห่งมรรค ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว. สมดังคาถาประพันธ์
ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เรานั่งอยู่ในปราสาทอันประเสริฐ ได้เห็นพระ-
ชินเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี งามดังไม้รกฟ้า ผู้
เป็นสัพพัญญู เป็นผู้นำอันอุดม พระองค์ผู้นำของโลก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 362
เสด็จดำเนินไปในที่ไม่ไกลปราสาท รัศมีของพระองค์
สว่างไสว ในเมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว เราประคอง
น้ำหอม ประพรม (บูชา) พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น ใน
กัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ประพรมน้ำหอมใด ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา
ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
จอมกษัตริย์ พระนามว่า สุคนธ์ สมบูรณ์ด้วยแก้ว
๗ ประการ มีพลมาก. เราทำลายกิเลสทั้งหลายแล้ว
ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระเป็นผู้ได้อภิญญา ๖ แล้ว อำลามารดา เมื่อมารดาจ้อง
มองดูอยู่นั่นแล เหาะหลีกไปทางอากาศ. แม้เลยเวลาที่ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว
ท่านก็ได้กล่าวแต่คาถานั้นอย่างเดียวในระหว่าง ๆ.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยการชี้ (บท) นี้ว่า ปพฺพชิโตมฺหิ แม้คาถานี้
ก็จัดว่าเป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ เพราะแสดงถึงความที่
แห่งมลทินมีราคะเป็นต้น ในสันดานของตน อันพระเถระละเว้นทั่วแล้ว.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ผู้ที่ไล่มลทินของตนได้ ฉะนั้น
จึงเรียกว่า บรรพชิต ดังนี้.
จบอรรถกถาอาตุมเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 363
๓. มาณวเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมาณวเถระ
[๒๑๐] ได้ยินว่า พระมาณวเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ฉันเห็นคนแก่ คนเจ็บหนัก และคนตายตาม
อายุขัยแล้ว จึงละได้ซึ่งกามารมย์ อันเป็นของรื่นรมย์
ใจ แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต.
อรรถกถามาณวเถรคาถา
คาถาของท่านพระมาณวเถระ เริ่มต้นว่า ชิณฺณญฺจ ทิสฺวา ทุกฺขิ-
ตญฺจ พฺยาธิต. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถรนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
เข้าไปสั่งสมกุศล อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ เกิดใน
ตระกูลพราหมณ์ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เป็นหมอดูลักษณะ ตรวจดู
ลักษณะ แห่งพระอภิชาติของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี
ประกาศบุรพนิมิต แล้วพยากรณ์ว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว
ดังนี้ แล้วชมเชยโดยนัยต่าง ๆ ถวายบังคมแล้ว การทำประทักษิณแล้วหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวอยู่แต่ในสุคติอย่างเดียว เกิดในเรือน
แห่งพราหมณ์มหาศาล ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ เจริญเติบโต
อยู่แต่ภายในเรือนอย่างเดียว จนถึง ๗ ปี ในปีที่ ๗ พวกบริวารนำพาไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 364
ชมสวน เห็นคนแก่ คนเจ็บ และคนตายในระหว่างทาง จึงถามบริวารชน
เหล่านั้น เพราะไม่เคยเห็นคนแก่ คนเจ็บ และคนตาย ฟังสภาพของชรา
พยาธิ และมรณะ แล้วเกิดความสลดใจหันหลังกลับ ไปสู่วิหารฟังธรรมใน
สำนักของพระบรมศาสดา ให้มารดาบิดาอนุญาตแล้วบวช เริ่มตั้งวิปัสสนา
บรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
เมื่อพระวิปัสสีโพธิสัตว์ ประสูติ เราได้พยากรณ์
นิมิตว่า จักยังหมู่ชนให้ดับเข็ญ จักเป็นพระพุทธเจ้า
ในโลก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ
หมื่นโลกธาตุย่อมหวั่นไหว บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น เป็นศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรม
อยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ ได้มี
แสงสว่างอันไพบูลย์ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
องค์นั้น เป็นศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ แม่น้ำ
ทั้งหลายไม่ไหล บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น เป็นศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่ เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ ไฟในอเวจี
นรก ไม่ลุกโพลง บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น เป็นศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่ เมื่อ
พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดประสูติ หมู่นกไม่สัญจร
ไป บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 365
ผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์ใดประสูติ กองลมย่อมไม่พัดฟุ้งไป บัดนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดาผู้มีพระ
จักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคพระองค์
ใดประสูติ แก้วทุกชนิด ส่งแสงโชติช่วง บัดนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดาผู้มีพระ
จักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์ใดประสูติ ทรงย่างพระบาทก้าวไป ๗ ก้าว
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดาผู้มี
พระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่ พอพระสัมพุทธเจ้า
ประสูติแล้วเท่านั้น ก็ทรงเหลียวแลดูทิศทั้งปวง ทรง
เปล่งอาสภิวาจา นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย เรายังหมู่ชนให้เกิดสังเวช ชมเชยพระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้นำของโลก ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า
แล้ว บ่ายหน้ากลับไปทางทิศปราจีน ในกัปที่ ๙๑
แต่ภัทรกัปนี้ เราชมเชยพระพุทธเจ้าใด ด้วยการ
ชมเชยนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ชมเชย ในกัปที่ ๙๐ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ มีนามว่า สัมมุขาถวิกะ สมบูรณ์ด้วย
แก้ว ๗ ประการ มีพลมาก ในกัปที่ ๘๙ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีนามว่า ปฐวี ทุนทุภิ
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก ในกัปที่ ๘๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 366
แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
มีนามว่า โอกาส สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พลมาก ในกัปที่ ๘๗ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ มีนามว่า สริตัจเฉทนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว
๗ ประการ มีพลมาก ในกัปที่ ๘๖ แต่ภัทรกัปนี้ เรา
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีนามว่า อัคคินิพพาปนะ
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก ในกัปที่ ๘๕
แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีนามว่า
กติปัจฉาทนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก
ในกัปที่ ๘๗ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
มีนามว่า วาตสมะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พลมาก ในกัปที่ ๘๓ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ มีนามว่า รัตนปัชชละ สมบูรณ์ด้วยแก้ว
๗ ประการ มีพลมาก ในกัปที่ ๘๒ แต่ภัทรกัปนี้ เรา
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มีนามว่า ปทวิกกมนะ
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก ในกัปที่ ๘๑
แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มีนาม
ว่า วิโลกนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก
ในกัปที่ ๘๐ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
มีนามว่า คิรสาระ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 367
ก็พระเถระผู้บรรลุพระอรหัตแล้ว อันภิกษุทั้งหลายถามว่า ดูก่อน
อาวุโส ท่านยังเป็นเด็กนัก บวชด้วยความสลดใจอะไร เมื่อจะพยากรณ์
พระอรหัตผล โดยอ้างถึงการสรรเสริญนิมิตแห่งบรรพชาด้วยตน ได้กล่าว
คาถาว่า
ข้าพเจ้าเห็นคนแก่ คนเจ็บหนัก และคนที่ตาย
ตามอายุขัยแล้ว จึงได้ละซึ่งกามารมย์ อันเป็นของ
รื่นรมย์ใจ แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิณฺณ ความว่า อันชราครอบงำแล้ว
คือ เป็นร่างอันชราธรรม มีฟันหัก ผมหงอก และความเป็นผู้มีหนังเหี่ยวย่น
เป็นต้น ประชุมแล้ว. บทว่า ทุกฺขิต ได้แก่ ถึงความลำบากที่หมายรู้กันว่า
เป็นทุกข์. บทว่า พฺยาธิต ได้แก่ คนเจ็บ. ก็ในบทว่า พฺยาธิต นี้ย่อมให้
สำเร็จ (ความหมายถึง) ความประสบทุกข์ แม้ในเวลาพูดว่า ถึงความเจ็บไข้.
คำว่า ทุกฺขิต ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงถึงความเป็นผู้มีไข้หนักของผู้ที่ถึงทุกข์นั้น.
บทว่า มต แปลว่า คนผู้ตายแล้ว เพราะเหตุที่ผู้ที่การทำกาละแล้ว ย่อม
ชื่อว่า ถึงความสิ้น ความเสื่อม ความแตกดับแห่งอายุ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
คตมายุสงฺขย คนที่ตายตามอายุขัย ดังนี้. เพราะเหตุนั้น คือเพราะเหตุที่
คนแก่ คนเจ็บและคนตาย ท่านได้เห็นแล้ว ได้แก่ เพราะเหตุที่ท่านถึงความ
สลดใจว่า ขึ้นชื่อว่า ความแก่ เป็นต้นเหล่านี้ ไม่มีเฉพาะแก่สัตว์เหล่านั้นเท่านั้น
โดยที่แท้ มีทั่วไปแก่สัตว์ทั้งปวง เพราะฉะนั้น แม้เราก็ไม่ล่วงพ้นความแก่
เป็นต้นไปได้.
บทว่า นิกฺขมิตูน แปลว่า ออกแล้ว. ถึงบาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.
(ความก็ว่า) ออกจากเรือน ด้วยความประสงค์จะบรรพชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 368
บทว่า ปพฺพชึ ความว่า เข้าถึงบรรพชาในพระศาสนา ของพระ-
ศาสดา.
บทว่า ปหาย กามานิ มโนรมานิ ความว่า ละวัตถุกามที่ชื่อว่า
เป็นของรื่นรมย์ใจ เพราะทำใจของผู้ที่ยังไม่ปราศจากราคะให้ยินดี โดยความ
เป็นของน่าปรารถนาน่าใคร่เป็นต้น อธิบายว่า ละทิ้ง ฉันทราคะ อันเนื่องด้วย
วัตถุกามนั้น โดยตัดขาดด้วยพระอริยมรรค คือโดยความไม่เพ่งเล็ง. ก็คำเป็น
คาถานี้ ได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ โดยมุข คือ การชี้ชัด
ถึงการละกามทั้งหลาย. พระเถระนี้ เกิดสมัญญานามว่า มาณวะ ดังนี้เทียว
เพราะเหตุที่ท่าน บวชแล้วในเวลาที่ยังเป็นมาณพ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถามาณวเถรคาถา
๔. สุยามนเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุยามนเถระ
[๒๑๑] ได้ยินว่า พระสุยามนเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ความพอใจในเบญจกามคุณ ความพยาบาท
ความง่วงเหงาหาวนอน ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจและ
ความสงสัย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 369
อรรถกถาสุยามนเถรคาถา
คาถาของท่านพระสุยามนเถระ เริ่มต้นว่า กามจฺฉนฺโท จ
พฺยาปาโท. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เป็นอันมาก เกิดในตระกูลพราหมณ์ในธัญญวดีนคร
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ในกัปที่ ๙๑ แต่
ภัทรกัปนี้ สำเร็จการศึกษาในศิลปศาสตร์ของพราหมณ์ เป็นอาจารย์สอนมนต์
แก่พวกพราหมณ์ ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี
เสด็จเข้าไปสู่พระนครธัญญวดี เพื่อบิณฑบาต พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่.
พราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายก็มีจิตเลื่อมใส
นำเสด็จไปสู่เรือนของตน ตกแต่งอาสนะ ลาดเครื่องลาดคือดอกไม้บนอาสนะ
นั้น ถวายแล้ว. เมื่อพระศาสดาประทับนั่งบนอาสนะนั้นแล้ว อังคาสให้ทรง
อิ่มหนำสำราญ ด้วยอาหารอันประณีต แล้วบูชาพระศาสดาผู้เสวยเสร็จแล้ว
ด้วยดอกไม้และของหอม. พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาแล้ว เสด็จหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวโลก กระทำบุญทั้งหลายแล้ว
ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล้วเกิดเป็นบุตร
ของพราหมณ์ คนหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้มี
นามว่า สุยามนะ. สุยามนพราหมณ์เจริญวัยแล้ว เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งไตรเพท
เป็นผู้ประกอบไปด้วยความใคร่ครวญอย่างยิ่ง รังเกียจการซ่องเสพกามารมณ์
มีอัธยาศัยน้อมไปในฌาน ได้มีศรัทธาจิต ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ-
ไปพระนครเวสาลี บวชแล้ว บรรลุพระอรหัต ขณะจรดมีดโกนทีเดียว.
สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 370
ในกาลนั้น เราเป็นพราหมณ์อยู่ในนครธัญญวดี
รู้จบไตรเพท เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์
เป็นผู้ฉลาดในตำรา ทำนายลักษณะ คัมภีร์อิติหาส
และตำราทายนิมิต พร้อมทั้งคัมภีร์นิคัณฑุ และคัมภีร์
เกฏุภะ บอกมนต์กะศิษย์ทั้งหลาย เราวางดอกอุบล
๕ กำไว้บนหลัง เราประสงค์จะบวงสรวงบูชายัญ ใน
สมาคมบิดามารดา ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่า วิปัสสี ผู้ประเสริฐกว่านระ แวดล้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ ทรงยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว เสด็จมา
เราปูลาดอาสนะแล้ว ลาดดอกอุบลนั้นแล้ว นิมนต์
พระมหามุนี นำมาสู่เรือนของตน อามิสอันใดที่เรา
เตรียมไว้ มีอยู่ในเรือนของตน เราเลื่อมใส ได้ถวาย
อามิสนั้น แด่พระพุทธเจ้าด้วยมือทั้งสองของตน
เราทราบเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว ได้ถวาย
ดอกอุบลกำหนึ่ง พระสัพพัญญูทรงอนุโมทนาแล้ว
บ่ายพระพักตร์กลับไปยังทิศอุดร ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทร-
กัปนี้ เราได้ถวายดอกไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวาย
ดอกไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ดอกไม้ ในกัปลำดับต่อแต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักร-
พรรดิราชพระนามว่า วรทัสสนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว
๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 371
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
โดยมุขคือการชี้ถึงการละนิวรณ์ ได้กล่าวคาถาว่า
ความพอใจในเบญจกามคุณ ความพยาบาท
ความง่วงเหงาหาวนอน ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจและ
ความสงสัย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุ โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามจฺฉนฺโท ได้แก่ ความพอใจใน
กามทั้งหลาย ชื่อว่า กามฉันทะ แม้เพราะเป็นทั้งกาม และเป็นทั้งความพอใจ
ได้แก่ กามราคะ ความกำหนัดในกาม ก็ราคะแม้ทั้งหมด ชื่อว่า กามฉันทะ
ในคาถานี้ เพราะท่านประสงค์เอาแม้ราคะที่ถูกฆ่าด้วยมรรคอันเลิศ ด้วยเหตุนั้น
พระเถระจึงกล่าวว่า ย่อมไม่มีแก่ภิกษุ โดยประการทั้งปวง ดังนี้. อธิบายว่า
ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ แม้ทั้งหมด ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้ง
แห่งความใคร่ ราคะที่เป็นไปในกามนั้น ชื่อว่า กามฉันทะ ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะอาศัยกามฉันทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์
อุทธัจจนิวรณ์ อวิชชานิวรณ์ จึงเกิดขึ้นในอรูปภพ ดังนี้.
ที่ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า เป็นเหตุถึงความเสื่อมเสีย คือ
ถึงความเน่าแห่งจิต ได้แก่ อาฆาตที่เป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ผู้นี้ได้ประพฤติ
ความฉิบหายแก่เรา ดังนี้.
ที่ชื่อว่า ถีนะ คือความที่จิตไม่ควรแก่การงาน ได้แก่ ความหดหู่
ไม่มีอุตสาหะ.
ที่ชื่อว่า มิทธะ คือความที่กายไม่ควรแก่การงาน ได้แก่ ขาดความ
กระตือรือร้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 372
ทั้งถีนะและมิทธะแม้ทั้งสองอย่าง รวมเรียกว่า ถีนมิทธะ ท่านกล่าว
รวมกันไว้ เพราะความเป็นปฎิปักษ์ต่อหน้าที่การงานอย่างเดียวกัน.
ความที่จิตฟุ้งขึ้น ชื่อว่า อุทธัจจะ คือ จิตถูกยกขึ้น คือ ไม่สงบด้วย
ธรรมใด ธรรมนั้นจัดว่าเป็นความฟุ้งซ่านแห่งใจ ได้แก่อุทธัจจะ ก็แม้กุกกุจจะ
(ความรำคาญ) พึงทราบว่าท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า อุทธัจจะ ในคาถานี้
เพราะความที่กุกกุจจะนั้นเหมือนกัน โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่การงาน กุกกุจจะ
นั้น มีการทำให้เดือดร้อนในภายหลังเป็นลักษณะ อธิบายว่า กุกกุจจะนั้น
ได้แก่ ความเดือดร้อน ที่เข้าไปอาศัยความดีความชั่วที่กระทำแล้วและยังไม่ได้
กระทำ.
บทว่า วิจิกิจฺฉา ความว่า ชื่อว่า วิจิกิจฉา เพราะเป็นเหตุให้ถึง
ความสงสัยว่า เป็นอย่างนี้หรือหนอแล ไม่ใช่อย่างนี้หรือหนอแล อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า วิจิกิจฉา เพราะเมื่อค้นคว้าหาสภาพธรรม ย่อมเป็นเหตุให้ยุ่งยาก คือ
ลำบาก ได้แก่ ความสงสัย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเป็นวัตถุ.
บทว่า สพฺพโส ความว่า โดยไม่มีส่วนเหลือ.
บทว่า น วิชฺชติ แปลว่า ย่อมไม่มี คือ พระเถระพยากรณ์
พระอรหัตผล โดยชี้ถึงพระอรหัตผลว่า กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ
อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ย่อมไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะความที่
กิเลสเหล่านั้น อันมรรคถอนขึ้นได้หมดแล้ว กิจที่จะพึงกระทำอย่างอื่นไม่มี
แก่เธอ หรือกิจที่เธอทำแล้ว ไม่มีผลตอบสนอง ดังนี้ อธิบายว่า เมื่อนิวรณ์
ทั้ง ๕ อันเธอถอนขึ้นแล้วด้วยมรรค กิเลสแม้ทั้งปวงย่อมชื่อว่าเป็นอันเธอ
ถอนขึ้นได้หมดแล้ว เพราะตั้งอยู่ในที่เดียวกันกับนิวรณ์นั้น ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านี้ทั้งปวง ละนิวรณ์ ๕ อันเป็น
อุปกิเลสแห่งใจได้แล้ว ดังนี้.
จบอรรถกถาสุยามนเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 373
๕. สุสารทเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุสารทเถระ
[๒๑๒] ได้ยินว่า พระสุสารทเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
การเห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้เพรียบพร้อมด้วย
ศีลาทิคุณ ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ เป็นเหตุตัดความ
สงสัยเสียได้ ทำความรู้ให้เจริญงอกงาม สัตบุรุษ
ทั้งหลาย ย่อมกระทำพาลชนให้เป็นบัณฑิตได้
เพราะฉะนั้น การสมาคมกับสัตบุรุษจึงยังประโยชน์ให้
สำเร็จได้.
อรรถกถาสุสารทเถรคาถา
คาถาของท่านพระสุสารทเถระ เริ่มต้นว่า สาธุ สุวิหิตาน ทสฺสน.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ ประสบความสำเร็จในบางส่วนของวิชชา เห็น
โทษในกามทั้งหลาย ละฆราวาสวิสัย แล้วบวชเป็นดาบส ให้เขาสร้างอาศรม
อยู่ที่ชัฏแห่งป่า ในหิมวันตประเทศ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เมื่อจะ
ทรงอนุเคราะห์เขา จึงเสด็จเข้าไปในเวลาภิกษาจาร. เขาเห็นพระผู้มีพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 374
ภาคเจ้าแต่ไกลทีเดียว มีใจเลื่อมใส ลุกขึ้นต้อนรับ รับบาตร แล้วใส่ผลไม้
ที่มีรสหวาน แล้วน้อมถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับบาตรนั้นแล้ว
ทรงทำอนุโมทนา แล้วเสด็จหลีกไป. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปใน
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้เป็นญาติของพระธรรม
เสนาบดี ในพุทธุปบาทกาลนี้ มีนามตามที่เขาขนานให้ว่า สุสารทะ เพราะ
เป็นคนมีปัญญาน้อย ในเวลาย่อมาฟังธรรมในสำนักของพระธรรมเสนาบดี
ได้มีศรัทธา บวชแล้ว เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นพราหมณ์ผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบ
ไตรเพท อยู่ในอาศรม ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์
เครื่องบูชาไฟ และเมล็ดบัวขาวของเรามีอยู่ เราใส่ไว้
ในห่อ แล้วห้อยไว้บนยอดไม้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก สมควร
รับเครื่องบูชา พระองค์ทรงพระประสงค์จะถอนเราขึ้น
จึงเสด็จมาภิกขาเรา เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส
ได้ถวายเมล็ดบัวแด่พระพุทธเจ้า พระศาสดาสัมมาสัม
พุทธเจ้า มีพระฉวีวรรณดังทองคำ สมควรรับเครื่อง
บูชา ทรงยังปีติให้เกิดแก่เรา ทรงนำสุขมาให้ใน
ปัจจุบัน ประทับยืนอยู่ในอากาศ ได้ตรัสพระคาถานี้
ว่า ด้วยการถวายเมล็ดบัวนี้ และด้วยการตั้งเจตนาไว้
ชอบ ท่านจักไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป ด้วย
กุศลมูลนั้นนั่นแล เราได้เสวยสมบัติแล้ว ละความชนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 375
และความแพ้ บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว ในกัปที่
๗๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชา
มีนามว่า สุมังคละ สมบูรณ์ด้วยแล้ว ๗ ประการ
มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เราการทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
โดยการชี้ถึงอานิสงส์ และกิตติคุณในการพบท่านผู้เป็นสัตบุรุษ ได้กล่าว
คาถาว่า
การเห็นสัตบุรุษทั้งหลายผู้เพรียบพร้อม ด้วย
ศิลาทิคุณ ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ เป็นเหตุตัดความ
สงสัยเสียได้ ทำความรู้ให้เจริญงอกงาม สัตบุรุษทั้ง
หลาย ย่อมกระทำพาลชน ให้เป็นบัณฑิตได้ เพราะ
ฉะนั้น การสมาคมกับสัตบุรุษ จึงยังประโยชน์ให้
สำเร็จได้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ ได้แก่ เป็นความดีงาม. อธิบายว่า
เป็นความเจริญ. บทว่า สุวิหิตาน ทสฺสน ความว่า การเห็นสัตบุรุษ
ทั้งหลาย ผู้เพรียบพร้อมแล้ว เพื่อสะดวกในการประพันธ์คาถา ท่านจึงลบนิคหิต
เสีย. ประกอบความว่า การเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้มีอัตภาพอันอบรมดี
แล้ว ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ผู้มีการแสดงธรรม อันจำแนกแจกจ่ายดีแล้ว
ด้วยความอนุเคราะห์ในผู้อื่น เป็นความดี. บทว่า ทสฺสน พึงทราบว่าเป็น
ตัวอย่าง เพราะเหตุที่ แม้การฟังเป็นต้นก็นับว่ามีอุปการะมาก. สมดังคำที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 376
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดถึงพร้อมแล้ว
ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
เป็นผู้กล่าวสอน ทำให้รู้แจ้ง ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง เป็นผู้สามารถบอกพระสัทธรรม
ได้เป็นอย่างดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว
การเห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี การฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่า
นั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี ว่ามีอุปการะ
มาก ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ในคาถานี้ท่านกล่าวความเห็นไว้อย่างเดียว เพราะเหตุ
คุณสมบัตินอกนี้ มีความเห็นเป็นมูล. บทว่า กงฺขา ฉิชฺชติ เป็นต้น เป็น
คำบอกเหตุในการเห็นนั้น. อธิบายว่า เมื่อการเห็นกัลยาณมิตรเช่นนั้น มีอยู่
กุลบุตร ผู้มุ่งหาความรู้ ผู้ใคร่ประโยชน์ ย่อมเข้าไปหา ย่อมเข้าไปนั่งใกล้
กัลยาณมิตรเหล่านั้น ย่อมไต่ถามปัญหาโดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อะไร
เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล ดังนี้. และกัลยาณมิตรเหล่านั้น ย่อมบรรเทา
ความสงสัย ในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างมิใช่น้อย แก่เขาได้
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กงฺขา ฉิชฺชติ เป็นเหตุตัดความสงสัยเสียได้
ดังนี้. และเพราะเหตุที่กัลยาณมิตรเหล่านั้น ครั้นบรรเทาความสงสัยของกุลบุตร
เหล่านั้นได้ ด้วยการแสดงธรรมแล้ว ย่อมยังความเห็นชอบในกรรมบถ และ
ยังความเห็นชอบในวิปัสสนา ให้บังเกิดขึ้นในส่วนเบื้องต้น ฉะนั้น ความรู้ย่อม
เจริญแก่กุลบุตรเหล่านั้น (อีกด้วย).
ก็ในกาลใด กุลบุตรเหล่านั้น เจริญวิปัสสนาแล้ว แทงตลอดสัจจะ
ทั้งหลาย (อริยสัจ) ในกาลนั้น วิจิกิจฉามีวัตถุ ๑๖ และมีวัตถุ ๘ ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 377
ถูกตัด คือถูกถอนขึ้น ปัญญาคือความรู้ ย่อมเจริญโดยตรง สัตบุรุษทั้งหลาย
ย่อมกระทำพาลชนให้เป็นบัณฑิตได้ ฉะนี้. บทว่า ตสฺมา เป็นต้น เป็น
คำเครื่องกล่าวซ้ำ (คำลงท้าย) อธิบายว่า เพราะเหตุที่ การเห็นสาธุชน
ทั้งหลาย เป็นเหตุตัดความสงสัยเสียได้ ทำความรู้ให้เจริญงอกงาม สัตบุรุษ
ทั้งหลาย ย่อมทำพาลชน ให้เป็นบัณฑิตได้ เพราะฉะนั้น คือ ด้วยเหตุนั้น
การสมาคมกับสัตบุรุษ คือคนดี ได้แก่ พระอริยเจ้าทั้งหลาย จึงยังประโยชน์
ให้สำเร็จ คือเป็นความดี หมายความว่า การประชุมร่วมกับสัตบุรุษเหล่านั้น
เป็นความเจริญโดยชอบ ดังนี้.
จบอรรถกถาสุสารทเถรคาถา
๖. ปิยัญชหเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปิยัญชหเถระ
[๒๑๓] ได้ยินว่า พระปิยัญชหเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เมื่อผู้อื่นยกตน ควรถ่อมตน เมื่อผู้อื่นตกต่ำ
ควรยกตนขึ้น เมื่อผู้อื่นไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ควร
ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อผู้อื่นยินดีในกามคุณ ไม่ควร
ยินดีในกามคุณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 378
อรรถกถาปิยัญชหเถรคาถา
คาถาของท่านพระปิยัญชหเถระ เริ่มต้นว่า อุปฺปตนฺเตสุ นิปเต.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนั้น ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ (เกิด) เป็น
รุกขเทวดา อยู่ในป่าหิมวันต์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนาม
ว่า วิปัสสี ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ (อาศัย) อยู่ในซอกเขา ในคราวประชุม
เทวดา ยืนอยู่ท้ายบริษัท เพราะความเป็นผู้มีอานุภาพน้อย ฟังธรรมแล้ว
ได้มีศรัทธาจิตในพระศาสดา วันหนึ่ง เห็นเนินทราย ในแม่น้ำคงคาใสสะอาด
บริสุทธิ์ น่ารื่นรมย์ ระลึกถึงคุณของพระศาสดาว่า คุณของพระศาสดา สะอาด
บริสุทธิ์ (ยิ่งกว่า) เนินทรายนี้ เป็นพระคุณหาที่สุดมิได้ หาประมาณมิได้
ดังนี้. เทวดานั้นปรารภถึงคุณของพระศาสดา อย่างนี้แล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิดในตระกูล
แห่งเจ้าลิจฉวี ในพระนครไพศาลี เจริญวัยแล้ว เป็นนักรบไม่เคยพ่ายแพ้
ในสงคราม ปรากฏพระนามว่า ปิยัญชโห เพราะเป็นที่เกรงขามของศัตรู
ทั้งหลาย.
ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปพระนครไพศาลี ท้าวเธอได้มี
จิตศรัทธาบวชแล้ว อยู่ในป่าเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราอยู่ในระหว่างภูเขาใกล้ภูเขาหิมวันต์ ได้เห็น
กองทรายอันงามแล้ว ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 379
สุด ไม่มีอะไรเปรียบได้ในพระญาณ สงครามไม่มีแก่
พระศาสดา พระศาสดาทรงรู้ทั่วถึงธรรมทั้งปวงแล้ว
ทรงน้อมไป ด้วยญาณ ขอนอบน้อมแด่พระองค์
ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมแด่พระองค์
ผู้อุดมบุรุษ ไม่มีผู้เสมอ ด้วยพระญาณของพระองค์
โดยที่ทรงมีพระญาณอันสูงสุด. เรายังจิตให้เลื่อมใส
ในพระญาณแล้ว บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัป ใน
กัปทั้งหลายที่เหลือเราทำกุศล ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัป
นี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วยสัญญานั้น เราไม่
รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระญาณ ใน
กัปที่ ๗๐ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
องค์หนึ่ง มีนามว่า ปุลินปุปผิยะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว
๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
ด้วยสามารถแห่งการแสดงความนี้ว่า ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้าทั้งหลาย แยก
กันกับข้อปฏิบัติของอันธพาลปุถุชน ได้กล่าวคาถาว่า
เมื่อผู้อื่นยกตน ควรถ่อมตน เมื่อผู้อื่นตกต่ำ
ควรยกตนขึ้น เมื่อผู้อื่นไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ควร
ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อผู้อื่นยินดีในกามคุณ ไม่ควร
ยินดีในกามคุณ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 380
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปตนฺเตสุ ได้แก่ ยกตนให้สูง คือ
เมื่อสัตว์ทั้งหลายไม่เข้าไปสงบแล้ว โดยยกตนขึ้น ด้วยกิเลสมีมานะ. อุทธัจจะ
ถัมภะ และสารัมภะเป็นต้น.
บทว่า นิปเต ได้แก่ พึงน้อมตนลง คือพึงเป็นผู้มีความประพฤติ
นอบน้อม โดยเว้นบาปธรรมเหล่านั้นเสียทุกอย่าง.
บทว่า นิปตนฺเตสุ ได้แก่ ตกต่ำ คือ เมื่อสัตว์ทั้งหลายเสื่อมจากคุณ
เพราะกระทำอธิมุตติให้ต่ำ และเพราะความเกียจคร้าน.
บทว่า อุปฺปเต ได้แก่ พึงยกขึ้น คือ พึงสนับสนุนขวนขวายโดยคุณ
เพรากระทำให้มีอธิมุตติประณีต และเพราะการปรารภความเพียร.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อุปฺปตนฺเตสุ ได้แก่ โอหัง คือ ยกศีรษะขึ้น
(ชูคอ) ด้วยสามารถแห่งความกลุ้มรุมของกิเลสทั้งหลาย.
บทว่า นิปเต ความว่า พึงถ่อมตนด้วยการพิจารณาอันสมควร
โดยประการที่กิเลสเหล่านั้น จะไม่เกิดขึ้นด้วยกำลังแห่งการพิจารณา.
บทว่า นิปตนฺเตสุ ความว่า ตกไปโดยรอบ คือ เมื่อความเพียร
และความพยายามอ่อน ในเพราะการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย หรือเมื่อธรรม
คือสมถะ และวิปัสสนา ตามที่ปรารภแล้วเสื่อมไป.
บทว่า อุปฺปเต ความว่า พึงยังคนเหล่านั้นให้เข้าไปตั้งไว้ คือให้เกิด
และพึงให้เจริญ ด้วยโยนิโสมนสิการ และด้วยการถึงพร้อมแห่งวิริยารัมภะ
(ปรารภความเพียร).
บทว่า วเส อวสมาเนสุ ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายไม่อยู่อย่างผู้
ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ และอยู่อย่างพระอริยเจ้า ตนเองพึงอยู่แบบมรรค-
พรหมจรรย์ และแบบพระอริยะนั้น อีกอย่างหนึ่ง หมายความว่า เมื่อพระ
อริยเจ้าทั้งหลายไม่อยู่อย่างผู้มีกิเลส คือไม่อยู่อย่างผู้มีคู่ (มีบุตรมีภรรยา) คน
เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมอยู่อย่างผู้มีกิเลส (ส่วน) ตนเองต้องอยู่อย่างพระอริยเจ้านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 381
บทว่า รมมาเนสุ โน รเม ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายยินดีอยู่
ด้วยควานยินดีในกามคุณ (และ) ด้วยความยินดีในกิเลส ตนเองไม่พึงยินดี
คือไม่พึงพอใจอย่างนั้น อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระอริยเจ้าทั้งหลาย ยินดีอยู่
ด้วยความยินดีในฌานเป็นต้น ที่ปราศจากอามิส แม้ตนเองก็พึงยินดีอย่างนั้น.
แต่ไม่พึงยินดี คือไม่พึงอภิรมย์ โดยประการอื่นจากความยินดีในฌานเป็นต้นต้น
นั้น แม้ในบางครั้งบางคราว.
จบอรรถกถาปิยัญชหเถรคาถา
๗. หัตถาโรหปุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระหัตถาโรหบุตรเถระ
[๒๑๔] ได้ยินว่า พระหัตถาโรหบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่าง
นี้ว่า
แต่ก่อน จิตนี้เคยจาริกไป ในอารมณ์ต่างๆ ตาม
ความปรารถนา ตามความต้องการ ตามความสบาย
วันนี้ เราข่มจิตนั้น โดยอุบายอันชอบ เหมือนนาย-
ควาญช้างผู้ฉลาด ข่มขี่ช้างตกมันไว้ได้ด้วยขอสับ
ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 382
อรรถกถาหัตถาโรหปุตตเถรคาถา
คาถาของพระหัตถาโรหบุตรเถระ เริ่มต้นว่า อิท ปุเร จิตฺตมจาริ
จาริก. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนั้นเป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ เข้าไปสั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น เกิด
ในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี
ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่ง เห็นพระศาสดา แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์
เสด็จออกจากพระวิหาร กระทำการบูชาด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ถวายบังคมด้วย
เบญจางคประดิษฐ์ กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลแห่งนายควาญช้าง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถึง
ความเป็นผู้รู้แล้ว ถึงความสำเร็จในหัตถิศิลปศาสตร์ วันหนึ่ง เขาฝึกช้าง
ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ อันเหตุสมบัติตักเตือนอยู่ คิดว่า การฝึกช้างนี้ จะมีประโยชน์
อะไรแก่เรา การฝึกตนนั่นแหละประเสริฐกว่า ดังนี้ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ฟังธรรมแล้ว ได้มีศรัทธาจิตบวชแล้ว เรียนกรรมฐานที่เหมาะ
แก่จริต เจริญวิปัสสนา ข่มจิตที่วิ่งไปในภายนอกจากกรรมฐาน ได้ด้วยขอ
สับคือการพิจารณา เพราะได้อบรมมาเป็นเวลานาน ดุจนายหัตถาจารย์ฝึกช้าง
ตัวประเสริฐที่ตกมัน ดุร้ายได้ด้วยขอสับ ฉะนั้น ได้กล่าวคาถาว่า
แต่ก่อน จิตนี้ เคยท่องเที่ยวไปในอารมณ์ต่าง ๆ
ตามความปรารถนา ตามความต้องการ ตามความ
สบาย วันนี้ เราจักข่มจิตนั้น โดยอุบายอันชอบ เหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 383
นายควาญช้างผู้ฉลาด ข่มขี่ช้าง ตกมันไว้ด้วยขอสับ
ฉะนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท พระเถระกล่าวไว้ เพราะเหตุที่จิต
ซึ่งจะกล่าวต่อไปประจักษ์แก่ตน.
บทว่า ปุเร ได้แก่ ในกาลก่อนแต่การที่ข่มจิต.
บทว่า อจาริ ได้แก่ ท่องเที่ยวไปแล้ว. คือหมุนไปแล้วในอารมณ์
ต่าง ๆ เพราะความเป็นจิตที่ยังไม่ตั้งมั่น.
บทว่า จาริก ได้แก่ ท่องเที่ยวไปตามความปรารถนา ด้วยเหตุนั้น
พระเถระจึงกล่าวว่า (จิตนี้เคยจาริกไปในอารมณ์ต่าง ๆ) ตามความปรารถนา
ตามความต้องการ ตามความสบาย ดังนี้. บทว่า ต ได้แก่ จิตนั้น. บทว่า
อชฺช ได้แก่ ในบัดนี้.
บทว่า นิคฺคณฺหิสฺสามิ แปลว่า เราจักข่ม คือกระทำให้ปราศจาก
การเสพผิด.
บทว่า โยนิโส ได้แก่ โดยอุบาย. ถามว่า เหมือนอะไร ? ตอบว่า
เหมือนนายควาญช้างผู้ฉลาด ข่มขี่ช้างตกมันไว้ได้ด้วยขอสับ ฉะนั้น ท่านกล่าว
อธิบายไว้ ดังนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า จิตของเรานี้ ก่อนแต่นี้ ได้ท่องเที่ยวไปตลอด
กาลนาน ตามปรารถนา โดยประการที่มันปรารถนา เพื่อจะยินดีในอารมณ์
มีรูปเป็นต้น ตามความต้องการ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ที่มันต้องการ ชื่อว่า
ตามสบาย เพราะท่องเที่ยวไปตามอารมณ์ที่ให้เกิดความสุข แม้บัดนี้ เราจัก
ข่มจิตนั้น ด้วยโยนิโสมนสิการ เหมือนนายควาญช้างผู้ฉลาด กล่าวคือนาย
หัตถาจารย์ ข่มขี่ช้างตกมันด้วยขอสับ ฉะนั้น ดังนี้. ก็พระเถระกล่าวอยู่
อย่างนี้แหละ เจริญวิปัสสนา กระทำให้แจ้งพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 384
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี
มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้ควรแก่ทักษิณา แวดล้อม
ด้วยพระสาวกเป็นอันมาก เสด็จออกจากพระอาราม
เราได้เห็นพระสัพพัญญู พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด หา
อาสวะมิได้ มีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้บูชาด้วย
พวกดอกไม้ ด้วยจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เป็นจอมนระ ผู้คงที่นั้น เราร่าเริง มีจิตโสมนัส
ถวายบังคมพระตถาคตอีก ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่
๔๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จอม-
กษัตริย์ มีนามว่า จรณะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็คาถานี้นั่นแหละ ได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ
ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาหัตถาโรหปุตตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 385
๘. เมณฑสิรเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเมณฑสิรเถระ
[๒๑๕] ได้ยินว่า พระเมณฑสิรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เมื่อเรายังไม่ได้ประสบญาณ ได้ท่องเที่ยวไปใน
สงสาร สิ้นชาติมิใช่น้อย เรานั้นเกิดมาแล้วในกองทุกข์
กำจัดกองทุกข์ได้แล้ว.
อรรถกถาเมณฑสิรเถรคาถา
คาถาของท่านพระเมณฑสิรเถระ เริ่มต้นว่า อเนกชาติสสาร.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า แม้พระเถระนั้น ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธ-
เจ้าองค์ก่อน ๆ กระทำบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ
เป็นอันมาก ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว
ละกามวิสัย แล้วบวชเป็นดาบส อยู่ในป่าหิมวันต์พร้อมด้วยฤาษีหมู่ใหญ่
เห็นพระบรมศาสดาแล้วมีใจเลื่อมใส ยังหมู่ฤาษีให้นำดอกปทุมมาทำพุทธบูชา
ด้วยดอกไม้ สั่งสอนสาวกทั้งหลาย ในอัปปมาทปฏิปทา ทำกาละแล้วบังเกิด
ในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ เกิดในตระกูลคฤหบดี ในเมืองสาเกต ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ ได้สมัญญานามว่า เมณฑสิระ ดังนี้แล เพราะความที่เขา
มีศีรษะคล้ายแกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 386
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในอัญชนวนวิหาร ในเมืองสาเกต
เขาเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ได้มีจิตศรัทธา บรรพชาแล้ว เจริญสมถกรรมฐาน
และวิปัสสนากรรมฐานได้เป็นผู้มีอภิญญาหกแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่าน
กล่าวไว้ในอปทานว่า
ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมวันต์มีภูเขาชื่อว่าโคตมะ
ดารดาษด้วยต้นไม้นานาพรรณ เป็นที่อยู่ของหมู่มหา-
ภูต (ยักษ์) ในท่ามกลางภูเขานั้น มีอาศรมที่เรา
สร้างไว้ เราแวดล้อมด้วยหมู่ศิษย์ของตนอยู่ในอาศรม
ได้สั่งศิษย์ทั้งหลายว่า คณะศิษย์ของเรา (เมื่อมาหาเรา)
ขอจงนำเอาดอกบัวมาให้เรา เราจักทำพุทธบูชา แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้จอมประชา ผู้คงที่ ศิษย์เหล่านั้น
รับคำที่เราสั่งอย่างนี้แล้ว นำเอาดอกบัวมาให้เรา เรา
กระทำดอกบัวให้เป็นนิมิตอย่างนั้นแล้ว บูชาพระ-
พุทธเจ้า ในกาลนั้นเราประชุมศิษย์ทั้งหลายแล้ว พร่ำ
สอนด้วยดีว่า ท่านทั้งหลายอย่าประมาทนะ เพราะว่า
ความไม่ประมาทนำสุขมาให้ ครั้นเราพร่ำสอน
บรรดาศิษย์ของตน ผู้อดทนต่อคำสอนอย่างนี้แล้ว
ประกอบตนในคุณ คือ ความไม่ประมาท ได้ทำกาละ
ในกาลนั้น ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราบูชาพระ-
พุทธเจ้า ด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๕๑ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มีนามว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 387
ชลุตตมะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระเถระ เมื่อระลึกถึงขันธบัญจก ที่ตนเคยอาศัยมาในก่อนของตน
ได้กล่าวคาถาว่า
เมื่อเรายังไม่ได้ประสบญาณ ได้ท่องเที่ยวไปใน
สงสาร สิ้นชาติมิใช่น้อย เรานั้นเกิดมาแล้วในกองทุกข์
กำจัดกองทุกข์ได้แล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกชาติ สสาร ความว่า สังสารวัฏ
นี้ นับจำนวนตั้งแสนชาติมิใช่น้อย บทนี้เป็นทุติยาวิภัตติเอกวจนะ เพราะ
หมายถึงการเดินทางไกล.
บทว่า สนฺธาวิสฺส แปลว่า แล่นไปแล้ว ได้แก่ หมุนไปแล้ว
ไป ๆ มา ๆ ด้วยสามารถแห่งการจุติ และอุปบัติ.
บทว่า อนิพฺพิส ความว่า เมื่อไม่ประสบ คือไม่ได้ซึ่งญาณเป็น
เครื่องหยุดวัฏฏะนั้น.
บทว่า ตสฺส เม ความว่า แก่เราผู้ท่องเที่ยวไปอยู่อย่างนี้.
บทว่า ทุกฺขชาตสฺส ได้แก่ ทุกข์ที่เกิดแล้วด้วยสามารถแห่งชาติ
เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ มีทุกข์เป็นสภาพด้วยสามารถแห่งความเป็นทุกข์
๓ อย่าง.
บทว่า ทุกฺขกฺขนฺโธ ได้แก่ กองแห่งทุกข์ ต่างด้วยกรรมวัฏ
กิเลสวัฎ และวิปากวัฏ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 388
บทว่า อปรทฺโธ ความว่า นับจำเดิมแต่ได้บรรลุพระอรหัตมรรค
ก็จักไม่หมุนไป ไม่จุติ ไม่เกิด. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า อปรฏฺโ ดังนี้
(ก็มี). อธิบายว่า ไม่ปราศจากความสำเร็จ คือไม่ไปปราศจากเหตุแห่งการ
ถอนกิเลสขึ้น. ก็คำเป็นคาถานี้แหละ ได้เป็นการพยากรณ์พระอรหัตผล ของ
พระเถระ.
จบอรรถกถาเมณฑสิรเถรคาถา
๙. รักขิตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระรักขิตเถระ*
[๒๑๖] ได้ยินว่า พระรักขิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราละราคะได้หมดแล้ว ถอนโทสะได้หมดแล้ว
เรามีโมหะทั้งปวงไปปราศแล้ว เป็นผู้เยือกเย็น ดับ-
ความร้อนได้แล้ว.
อรรถกถารักขิตเถรคาถา
คาถาของท่านพระรักขิตเถระ เริ่มต้นว่า สพฺโพ ราโค ปหีโน เจ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่ง
สดับพระธรรมเทศนา ของพระศาสดา แล้วมีใจเลื่อมใส ได้กระทำการชมเชย
โดยปรารภพระญาณในเทศนา. พระศาสดาทรงตรวจดู ความเลื่อมใสแห่งจิต
* ในอปทานเรียกว่า พระโสภิต ไม่เรียกว่า พระรักขิตเถระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 389
ของท่านแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ในที่สุดแห่งแสนกัปนับแต่กัปนี้ เธอจักได้
เป็นสาวกชื่อว่า รักขิตะ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า โคตมะ.
ท่านสดับคำพยากรณ์นั้นแล้ว เป็นผู้มีใจเลื่อมใสยิ่งเกินประมาณ กระทำ
บุญเป็นอันมาก แล้วท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบังเกิด
ในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ ในเทวทหนิคม ในพุทธุปบาทกาลนี้. ได้มีนามว่า
รักขิตะ. ท่านเป็นราชกุมารองค์หนึ่งในบรรดาราชกุมารทั้ง ๕๐๐ ที่พวกเจ้า-
ศากยะและเจ้าโกลิยะทั้งหลาย ทูลถวายเพื่อเป็นบริวารของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วบวช. ก็ราชกุมารเหล่านั้น ไม่ถูกความกระสันครอบงำ เพราะบวชด้วย
ความสังเวช ในเวลาที่พระศาสดาทรงนำไปสู่ฝั่งแม่น้ำกุณาลทหะ ทรงประกาศ
โทษในกามทั้งหลาย โดยทรงสำแดงโทษของพวกสตรี ในเทศนาว่าด้วย
กุณาลชาดกแล้ว ทรงให้ประกอบในกรรมฐาน เวลานั้น แม้พระรักขิตเถระนี้
ก็ขวนขวายกรรมฐาน เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เชษฐ-
บุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ทรงแสดง อมตบท
แก่หมู่ซนเป็นอันมาก เวลานั้นเราได้ฟังพระดำรัสอัน
เป็นอาสภิวาจา ที่พระองค์ทรงเปล่งแล้ว ประนม
อัญชลีเป็นผู้มีใจเป็นอารมณ์เดียว (กล่าวว่า) สมุทร
เลิศกว่าทะเลทั้งหลาย เขาสุเมรุ ประเสริฐกว่าเขา
ทั้งหลาย เป็นที่สั่งสมหิน ฉันใด ชนเหล่าใดย่อม
เป็นไปตามอำนาจจิต ชนเหล่านั้นย่อมไม่เข้าถึงเสี้ยว
แห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้น พระพุทธเจ้า ทรงเป็นฤษี
ประกอบด้วยพระกรุณา ทรงหยุดการแสดงธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 390
ประทับนั่ง ในท่ามกลางสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ว่า ผู้ใดสรรเสริญพระพุทธญาณ ผู้นำของโลก
ผู้นั้นจะต้องไม่ไปสู่ทุคติตลอดแสนกัป ผู้นั้นจักเผา
กิเลสทั้งปวงได้ จักเป็นผู้มีอารมณ์เดียว มีจิตมั่นคง
จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามว่า โสภิตะ
ในกัปที่ ๕๐,๐๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๗ พระองค์ พระนามว่า ยสุคคตะ สมบูรณ์ด้วย
แก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว
ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อพิจารณาถึงกิเลสที่ตน
ละได้แล้ว ได้กล่าวคาถาว่า
เราละราคะได้หมดแล้ว ถอนโทสะได้หมดแล้ว
เรามีโมหะทั้งปวงไปปราศแล้วเป็นผู้เยือกเย็นดับความ
ร้อนได้แล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺโพ ราโค ได้แก่ ราคะแม้ทั้งหมด
มีกามราคะเป็นต้นเป็นประเภท.
บทว่า ปหีโน ได้แก่ ละแล้ว ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทปหานด้วย
อริยมรรคภาวนา.
บทว่า สพฺโพ โทโส ได้แก่ พยาบาทแม้ทั้งหมดต่างโดยประเภท
เป็นอเนก โดยความเป็นอาฆาตวัตถุเป็นต้น.
บทว่า สมูหโต ได้แก่ ถอนขึ้นแล้ว ด้วยมรรค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 391
บทว่า สพฺโพ เม วิกโต โมโห ได้แก่ โมหะ ๘ ประเภท
โดยต่างกันทางวัตถุ มีไม่รู้ทุกข์เป็นต้น คือโมหะแม้ทั้งหมด จำแนกออกไป
ได้ไม่ใช่น้อย โดยวิภาคแห่งสังกิเลสวัตถุของเรา ชื่อว่า ไปปราศแล้ว เพราะ
ถูกเรากำจัดแล้วด้วยมรรค.
บทว่า สีติภูโตสฺมิ นิพฺพุโต ความว่า พระเถระพยากรณ์พระ-
อรหัตผลว่า ด้วยการละกิเลสที่เป็นมูลได้อย่างนี้ เราชื่อว่าถึงแล้วซึ่งความ
เยือกเย็น เพราะไม่มีความกระวนกระวาย และความเร่าร้อนหลงเหลืออยู่
เพราะความที่สังกิเลสทั้งหลาย โดยตั้งอยู่ที่เดียวกันกับกิเลสมูลนั้น สงบระงับ
แล้วโดยชอบนั่นแหละ เพราะเหตุนั้นแล เราจึงชื่อว่าเป็นผู้ปรินิพพานแล้ว
เพราะดับกิเลสได้ โดยประการทั้งปวง.
จบอรรถกถารักขิตเถรคาถา
๑๐. อุคคเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอุคคเถระ
[๒๑๗] ได้ยินว่า พระอุคคเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
กรรมใดที่เราได้ทำไว้แล้ว น้อยหรือมากก็ตาม
กรรมทั้งหมดนั้นสิ้นไปแล้ว บัดนี้ การเกิดในภพใหม่
ไม่มี.
จบวรรคที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 392
อรรถกถาอุคคเถรคาถา
คาถาของท่านพระอุคคเถระ เริ่มต้นว่า ย มยา ปกต กมฺม.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ การทำบุญไว้ในภพนั้น ๆ เป็นอันมาก เกิดในเรือนแห่งตระกูล ใน
กาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้
ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี
เป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยดอกการะเกด.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่
แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดเป็นบุตรเศรษฐี ในอุคคนิคม ณ แคว้นโกศล ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้นามว่า อุคคะ ดังนี้แล. เขาเจริญวัยแล้ว เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ที่ภัททารามในนิคมนั้น ไปวิหารฟังธรรมใน
สำนักของพระศาสดา ได้เป็นผู้มีศรัทธาจิต บวชแล้วบำเพ็ญวิปัสสนา บรรลุ
พระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ไม้การะเกดกำลังมีดอก มีอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกว้าง
ข้าพระองค์แสวงหาต้นการะเกดนั้นอยู่ ได้เห็นพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของโลก ในกาลนั้น ข้าพระองค์
เห็นต้นการะเกดมีดอกบาน จึงตัดที่ขั้วแล้ว
บูชาแด่พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี ผู้เป็น
เผ่าพันธุ์ของโลก ข้าแต่พระมหามุนีพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงบรรลุอมตบทอันไม่เคลื่อน ด้วยพระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 393
ญาณใด ข้าพระองค์บูชาพระญาณนั้น ข้าพระองค์
กระทำการบูชาพระญาณแล้ว ได้เห็นดอกการะเกด
ข้าพระองค์เป็นผู้ได้สัญญานั้น นี้เป็นผลแห่งการบูชา
พระญาณ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพระองค์บูชา
พระพุทธญาณด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น
ข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา
พระญาณ ในกัปที่ ๑๓ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ๑๒ พระองค์ พระนามว่า ผลุคคตะ
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผา
กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา
กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
โดยแสดงการเข้าไปกำหนดวัฏฏะของตน ได้กล่าวคาถาว่า
กรรมใดที่เราได้ทำไว้แล้ว น้อยหรือมากก็ตาม
กรรมทั้งหมดนั้นสิ้นไปแล้ว บัดนี้ การเกิดในภพใหม่
ไม่มี ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย มยา ปกต กมฺม ความว่า กรรมใด
คือกรรมที่เป็นวิบากใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว คือเข้าไปสั่งสมแล้ว ได้แก่ให้
เกิดแล้ว ในสงสารอันมีที่สุดและเบื้องต้น อันบุคคลตามไปอยู่รู้ไม่ได้ โดย
ประการมิใช่น้อย คือ โดยเป็นอกุศลมีบาปเป็นต้น และโดยเป็นกุศลมีทาน
เป็นต้น ด้วยกรรมทวาร ๓ ด้วยอุปปัตติทวาร ๖ (และ) ด้วยอสังวรทวาร ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 394
บทว่า อปฺป วา ยทิวา พหุ ความว่า ก็กรรมนั้นชื่อว่าน้อย
เพราะวัตถุ เจตนา ประโยค และกิเลสเป็นต้น มีกำลังน้อยก็ตาม ชื่อว่ามาก
เพราะวัตถุ เจตนา ประโยค และกิเลสเป็นต้นเหล่านั้นมีกำลัง และเพราะ
ประพฤติเนือง ๆ ก็ตาม.
บทว่า สพฺพเมต ปริกฺขีณ ความว่า ก็กรรมนี้ทั้งหมดนั่นแล ชื่อว่า
ถึงความสิ้นไปรอบ เพราะมรรคอันเลิศ อันกระทำให้กรรมหมดสิ้นไป เรา
บรรลุแล้ว อธิบายว่า เพราะละกิเลสวัฏได้ กรรมวัฏ ย่อมชื่อว่า เป็นอันเรา
ละได้แล้วด้วย เพราะวิบากวัฏจะเกิดขึ้นไม่ได้. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึง
กล่าวว่า บัดนี้การเกิดในภพใหม่ไม่มี ดังนี้. อธิบายว่า การเกิดในภพใหม่
ไม่มีแก่เราอีกต่อไป. ปาฐะว่า สพฺพเมต ดังนี้ก็มี. แยกบทออกเป็น
สพฺพมฺปิ เอต.
จบอรรถกถาอุคคเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๘
ในอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี
ในวรรคนี้รวมพระเถระ ๑๐ รูป คือ
๑. พระวัจฉปาลเถระ ๒. พระอาตุมเถระ ๓. พระมาณวเถระ
๔. พระสุยามนเถระ ๕. พระสุสารทเถระ ๖. พระปิยัญชหเถระ ๗.
พระหัตถาโรหบุตรเถระ ๘. พระเมณฑสิรเถระ ๙. พระรักขิตเถระ ๑๐.
พระอุคคเถระ และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 395
เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๙
๑. สมิติคุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสมิติคุตตเถระ
[๒๑๘] ได้ยินว่า พระสมิติคุตตเถระไค้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บาปกรรมใดที่เราได้กระทำไว้แล้ว ในชาติอื่น ๆ
ในกาลก่อน เราจึงได้เสวยผลของบาปกรรมนั้น ใน
อัตภาพนี้เอง เรื่องบาปกรรมอื่นจักไม่มีอีกต่อไป.
วรรควรรณนาที่ ๙
อรรถกถาสมิติคุตตเถรคาถา
คาถาของท่านพระสมิติคุตตเถระ เริ่มต้นว่า ย มยา ปกต ปาป.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนั้น ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เป็นอันมาก บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว พบ
พระผู้มีพระภาคเจ้า มีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยดอกมะลิ.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจะเกิดในภพใด ๆ ก็ได้ตั้งอยู่ในฐานะ ที่มี
กุลสมบัติ รูปสมบัติ และบริวารสมบัติ เหนือสัตว์เหล่าอื่นในภพนั้น ๆ. ก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 396
ในอัตภาพหนึ่ง เขาเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เที่ยวบิณฑบาตอยู่ คิดว่า
สมณะโล้นรูปนี้ ชะรอยจะเป็นโรคเรื้อน ด้วยเหตุนั้น สมณะรูปนี้จึงต้องเอา
ผ้าคลุมตัวเที่ยวไป ดังนี้แล้ว ถ่มน้ำลายรด หลีกไปแล้ว.
ด้วยกรรมนั้น เขาหมกไหม้อยู่ในนรก ตลอดกาลเป็นอันมาก แล้ว
บังเกิดในมนุษยโลก ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสป
เขาบวชเป็นปริพาชก เห็นอุบาสกผู้สมบูรณ์ด้วยสีลาจารวัตรคนหนึ่ง แล้ว
ขุ่นเคือง ได้ด่าว่า เจ้าคงเป็นโรคเรื้อน ดังนี้ และทำลายจุณสำหรับอาบน้ำ
ที่มนุษย์ทั้งหลายวางไว้ที่ท่าน้ำ.
ด้วยกรรมนั้น เขาบังเกิดในนรกอีก เสวยทุกข์สิ้นปีเป็นอันมาก
แล้วเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์คนหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ ได้มีนามว่า สมิติคุตตะ. เขาเจริญวัยแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของ
พระบรมศาสดา ได้เป็นผู้มีศรัทธาจิต บวชแล้วเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์หมดจดดี
อยู่ด้วยผลแห่งกรรมเก่าของท่าน โรคเรื้อนเกิดขึ้นแล้ว. ด้วยโรคเรื้อนนั้น
ทำให้อวัยวะร่างกายของท่านแตกเป็นริ้วรอยโดยทั่วไปแล้ว มีน้ำเหลืองไหล
ออก. ท่านพักอยู่ในศาลาสำหรับภิกษุอาพาธ.
ครั้นวันหนึ่ง พระธรรมเสนาบดีไปเยี่ยมไข้ สอบถามภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นไข้ในที่นั้น ๆ เห็นภิกษุนั้นแล้ว บอกกรรมฐานที่มีเวทนานุปัสสนาเป็น
อารมณ์ว่า ดูก่อนอาวุโส ตราบใดขันธ์ยังเป็นไปอยู่ ก็ต้องเสวยทุกข์ทั้งปวง
อยู่ตราบนั้น แต่เมื่อขันธ์ทั้งหลายไม่มีอยู่นั่นแหละ ทุกข์จึงหมดไปดังนี้แล้ว
ได้หลีกไปแล้ว. ท่านตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระแล้ว เจริญวิปัสสนา ได้
กระทำให้แจ้งอภิญญา ๖ แล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อพระวิปัสสีโพธิสัตว์ ประสูติจากพระครรภ์
แสงสว่างได้มีอย่างไพบูลย์ และพื้นปฐพี พร้อมทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 397
สมุทรสาคร และภูเขาก็หวั่นไหว อนึ่ง พวกโหราจารย์
ก็พยากรณ์ว่า พระพุทธเจ้าจักอุบัติในโลก เป็นผู้เลิศ
กว่าสรรพสัตว์ จักรื้อถอนหมู่ชน เราได้ฟังคำของ
พวกโหราจารย์แล้ว ได้ทำการบูชาพระชาติ ด้วยดำริว่า
การบูชาพระชาติเช่นนี้ไม่มี เรารวบรวมกุศลแล้ว ได้
ยังจิตของตนให้เลื่อมใส ครั้นเราทำการบูชาพระชาติ-
แล้ว ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ
ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้น ๆ เราย่อม
ล่วงสรรพสัตว์ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระชาติ พี่เลี้ยง
นางนม ย่อมบำรุงเรา เป็นไปตามอำนาจจิตของเรา
เขาไม่อาจยังเราให้โกรธเคือง นี้เป็นผลแห่งการบูชา
พระชาติ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำการบูชาใด
ในกาลนั้น ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งการบูชาพระชาติ ในกัปที่เหมาะสมถอยหลัง
แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๔ พระองค์
เป็นจอมคน มีพระนานว่า " สุปาริจริยา " มีพลมาก.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นเป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว ระลึกถึงบาปกรรมอันตน
กระทำแล้วในชาติก่อน ๆ ด้วยสามารถแห่งโรคที่ตนกำลังเสวยอยู่ในปัจจุบัน
โดยมุขคือการพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะประกาศความที่กิเลสนั้น
อันตนละได้แล้ว โดยประการทั้งปวง ได้กล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 398
บาปกรรมใดที่เรากระทำไว้แล้ว ในชาติอื่น ๆ
ในกาลก่อน เราจึงได้เสวยผลของบาปกรรมนั้น ใน
อัตภาพนี้เอง เรื่องบาปกรรมอื่น จะไม่มีอีก ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาป ได้แก่ อกุศลกรรม. ก็อกุศลกรรม
นั้นท่านเรียกว่า บาป เพราะอรรถว่า ลามก. บทว่า ปุพฺเพ แปลว่า ใน
กาลก่อน. บทว่า อญฺาสุ ชาติสุ ความว่า ในชาติเหล่าอื่น จากชาตินี้
ได้แก่ ในอัตภาพอื่น. ก็ในคาถานี้ มีใจความ ดังนี้ว่า
แม้ถ้าว่า บาปกรรมเช่นนั้น อันเรากระทำไว้แล้วในอัตภาพนี้ ไม่มี
ไซร้ บาปกรรมนั้นย่อมเกิดไม่ได้เลย ในบัดนี้ ส่วนบาปกรรมใด ที่เราทำไว้
ในชาติอื่น แต่ชาตินี้ยังมีอยู่ บาปกรรมนั้น เรากำลังเสวยอยู่ในอัตภาพนี้แหละ
อธิบายว่า กรรมนั้น คือผล ที่เรากำลังเสวย คือประสบอยู่ ในชาตินี้แหละ
คือในอัตภาพนี้เอง. เพราะเหตุไร ? เพราะเรื่องบาปกรรมอื่นจะไม่มี (อีกต่อ-
ไป). เพราะฉะนั้น โอกาสที่จะเสวยกรรมนั้น คือความเกี่ยวพันธ์ของขันธ์อื่น
จึงไม่มี ก็ขันธ์เหล่านี้หาปฏิสนธิมิได้ ย่อมดับไป ด้วยการดับแห่งจริมกจิต
เพราะละอุปทานได้แล้ว โดยประการทั้งปวง เหมือนเปลวไฟ ไม่มีเชื้อดับไป
ฉะนั้น. พระเถระพยากรณ์พระอรหัตผลแล้ว ด้วยประการดังพรรณนามานี้.
จบอรรถกถาสมิติคุตตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 399
๒. กัสสปเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกัสสปเถระ
[๒๑๙] ได้ยินว่า พระกัสสปเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ทางทิศาภาคใด ๆ มีภิกษาหาได้ง่าย มีความ
เกษม และไม่มีภัย เจ้าจงไปทางทิศาภาคนั้น ๆ เถิด
ลูก ขออย่าให้เจ้า ประสบความเศร้าโศกเสียใจเลย.
อรรถกถากัสสปเถรคาถา
คาถาของท่านพระกัสสปเถระ เริ่มต้นว่า เยน เยน สุภิกฺขานิ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เรียนจบไตรเพท และสำเร็จการ
ศึกษาในศิลปศาสตร์ของพราหมณ์ วันหนึ่ง เขาเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
มีใจเลื่อมใส ทำการบูชาด้วยดอกมะลิ. และเมื่อทำการบูชา ก็โยนกำดอกไม้
ขึ้นไปบน (อากาศ) รอบ ๆ พระศาสดา. ด้วยพุทธานุภาพ ดอกไม้ทั้งหลาย
ได้ประดิษฐานเป็น (อาสนะ) ของพระศาสดาโดยอาการแห่งอาสนะดอกไม้.
เขาเห็นเหตุอัศจรรย์นั้นแล้ว ได้มีใจเลื่อมใสเป็นล้นพ้น. เขากระทำบุญไว้มาก
ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่แต่ในสุคติภพอย่างเดียว ตลอดแสนกัป เป็นบุตร
ของอุทิจจพราหมณ์ คนหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 400
มีนามว่า กัสสปะ. บิดาทำกาละ ในเวลาที่เขายังเล็กอยู่ทีเดียว มารดาจึงเลี้ยง
ดูเขาต่อมา.
ในวันหนึ่ง เขาไปยังพระวิหารเชตวัน แล้วฟังพระธรรมเทศนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า (สำเร็จ) เป็นพระโสดาบัน บนอาสนะนั้นแล เพราะ
ความที่เขาเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุ กลับไปสู่สำนักมารดา ให้มารดาอนุญาต
แล้วบวช เมื่อพระศาสดา ทรงปวารณาในวันออกพรรษา แล้วเสด็จจาริกไป
ในชนบท ประสงค์จะตามเสด็จไปกับพระศาสดา แม้ด้วยตนเอง ได้ไปยัง
สำนักของมารดา เพื่ออำลา. มารดาเมื่อจะชี้แจ้ง จึงกล่าวเป็นคาถา โดยเป็น
คำสอนว่า
ทางทิศาภาคใด ๆ มีภักษาหาได้ง่าย มีความ
เกษม และไม่มีภัย เจ้าจงไปทางทิศาภาคนั้น ๆ เถิด
ลูก ขออย่าให้เจ้า ประสบความเศร้าโศกเสียใจเลย
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน เยน แปลว่า ในที่ใด ๆ. ก็บทว่า
เยน เยน นี้ เป็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. ความก็ว่า ใน
ทิศาภาคใด ๆ. บทว่า สุภิกฺขานิ ความว่า มีอาหารหาได้ง่าย อธิบายว่า
เป็นที่อยู่ของชาวเมือง. บทว่า สิวานิ ความว่า ปลอดภัย ไม่มีโรค.
บทว่า อภยานิ ความว่า ไม่มีภัยที่เกิดจากโจรภัยเป็นต้น ก็โรคภัย
และทุพภิกขภัย ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยบททั้งสอง ว่า สุภิกฺขานิ สิวานิ
แล้วทีเดียว. บทว่า เตน เท่ากับ ตตฺถ ความว่า ในทิศาภาค
นั้น ๆ. มารดาผู้มีความเอ็นดู เรียกพระเถระนั้นว่า ลูก ศัพท์ว่า มา เป็น
นิบาต บ่งถึงความปฏิเสธ. บทว่า โสกาปหโต ความว่า อย่าไปสู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 401
แคว้นที่ปราศจากคุณดังกล่าวแล้ว อย่าได้ถูกความเศร้าโศก อันเกิดแต่ทุพ-
ภิกขภัยเป็นต้น เข้าไปกำจัดเสียเลย.
พระเถระฟังโอวาทนั้นแล้ว เกิดความอุตสาหะว่า มารดาของเรา
หวังการไปสู่ที่ซึ่งปราศจากความเศร้าโศกแก่เรา เอาเถิด การถึงฐานะที่
ปราศจากความเศร้าโศก ล่วงส่วนโดยประการทั้งปวงนั่นแล ควรแล้วแก่เรา
ดังนี้ แล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานเลย. สมดังคำที่
ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นพราหมณ์ ผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์
รู้จบไตรเพท ยืนอยู่ที่กลางแจ้ง ได้เห็นพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ผู้นำของโลก เสด็จเที่ยวอยู่ในป่า ดังราชสีห์
ไม่ทรงสะดุ้งกลัว ดังพระยาเสือโคร่ง ทรงแสวงหา
คุณอันใหญ่หลวง ดังช้างกุญชรมาตังคะ ซับมัน ๓
ครั้ง เราจึงหยิบเอาดอกไม้ซึกโยนขึ้นไป (บูชา) ใน
อากาศ ด้วยพุทธานุภาพ ดอกไม้ซึกทั้งหลายแวดล้อม
อยู่โดยประการทั้งปวง พระสัพพัญญูมหาวีระผู้นำของ
โลก ทรงอธิษฐานว่า จงเป็นหลังคาดอกไม้โดยรอบ
ชนทั้งหลายได้บูชาพระนราสภ ในลำดับนั้น แผ่น
ดอกไม้นั้น มีขั้วข้างใน มีดอกข้างนอก เป็นเพดาน
บังร่มอยู่ตลอด ๗ วัน แล้วหายไปจากที่นั้น เราได้
เห็นความอัศจรรย์อันไม่เคยมี น่าขนพองสยองเกล้า
นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสในพระสุคตเจ้า ผู้เป็นนายก
ของโลก ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราอันกุศลมูลตัก-
เตือนแล้ว ไม่ได้เข้าถึงทุคติเลย ตลอดแสนกปะ ในกัป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 402
ที่ ๑๕,๐๐๐ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๕ พระองค์
มีพระนามเหมือนกันว่า วีตมลาสะ มีพลมาก. เรา
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว คิดว่า คำสอนของมารดานี้
แหละ เป็นขอสับแห่งการบรรลุพระอรหัต ดังนี้แล้ว ได้กล่าวซ้ำคาถานั้น
แล.
จบอรรถกถากัสสปเถรคาถา
๓. สีหเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสีหเถระ
[๒๒๐] ได้ยินว่า พระสีหเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ดูก่อนสีหะ ท่านจงอย่าประมาท อย่าเกียจคร้าน
ทั้งกลางคืนและกลางวัน จงอบรมกุศลธรรมให้เกิดขึ้น
จงละฉันทราคะ ในอัตภาพเสียโดยเร็วพลันเถิด.
อรรถกถาสีหเถรคาถา
คาถาของท่านพระสีหเถระ เริ่มต้นว่า สีหปฺปมตฺโต วิหร. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนั้น เป็นผู้มีอธิการอันการทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 403
ในที่สุดแห่งกัปที่ ๑๑๘ แต่ภัทรกัปนี้ เกิดในกำเนิดกินนร เป็นผู้มีดอกไม้เป็น
ภักษา เป็นผู้กินดอกไม้ พักอยู่ริมฝั่งแม่น้ำจันทภาคา เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จไปทางอากาศ มีจิตเลื่อมใส มีความประสงค์จะบูชา ได้ยืนประคองอัญชลี
อยู่แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบอัธยาศัยของเขา จึงเสด็จลงจากอากาศ
ประทับนั่งโดยบัลลังก์ ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง กินนร บดแก่นจันทน์ แล้วทำการ
บูชาด้วยกลิ่นแห่งไม้จันทน์ และด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ถวายบังคม กระทำ
ประทักษิณแล้วหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เกิดในตระกูลเจ้ามัลละในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า สีหะ. สีหกุมารเห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีใจเลื่อมใส ถวายบังคม แล้วนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง
พระศาสดาทรงตรวจดูอัธยาศัยของเขาแล้ว ทรงแสดงธรรม เขาฟังธรรมแล้ว
ได้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว เรียนกรรมฐาน อยู่ในป่า. จิตของท่านวิ่งพล่าน
ไปในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง จึงไม่อาจยังประโยชน์ตนให้สำเร็จได้
พระศาสดาทรงเห็นดังนั้นแล้ว ประทับยืนในอากาศ โอวาทด้วยพระคาถาว่า
ดูก่อนสีหะ ท่านจงอย่าประมาท อย่าเกียจคร้าน
ทั้งกลางคืนและกลางวัน จงอบรมกุศลธรรมให้เกิดขึ้น
จงละฉันทราคะ ในอัตภาพเสียโดยเร็วพลันเถิด ดังนี้.
ในเวลาจบพระคาถา ท่านเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว.
สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เวลานั้นเราเป็นกินนร อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ จันทภาคา
และเรามีดอกไม้เป็นภักษา เป็นผู้กินดอกไม้ ก็พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า อัตถทัสสี เชษฐบุรุษ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 404
ของโลก ประเสริฐกว่านรชน เสด็จเหาะไปบนยอดป่า
ดังพระยาหงส์ในอัมพร (เรากล่าวว่า) ขอความนอบ-
น้อมจงมี แด่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย จิตของ
พระองค์บริสุทธิ์ดี พระองค์มีสีพระพักตร์ผ่องใส พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน มีเมธาดี เสด็จ
ลงจากอากาศ ทรงปูลาดผ้าสังฆาฏิแล้ว ประทับนั่ง
โดยบัลลังก์ เราถือเอาแก่นจันทน์หอมไปในสำนัก
พระชินเจ้า เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้บูชาพระ-
พุทธเจ้า ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า เชษฐบุรุษของ
โลก ประเสริฐกว่านระ ยังความปราโมทย์ให้เกิดแล้ว
บ่ายหน้ากลับไปทางทิศอุดร ในกัปที่ ๑๑๘ แต่กัปนี้
เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยแก่นจันทน์ใด ด้วยการ
บูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา
ในกัปที่ ๑,๔๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓
พระองค์ มีพระนามว่า โรหิณี มีพลมาก. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา
กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระคาถาว่า สีหปฺปมตฺโต เป็นต้นอันใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสแล้วโดยเป็นโอวาท บทว่า สีหะ ในคาถานั้น เป็นคำเรียกชื่อของ
พระเถระนั้น.
บทว่า อปฺปมตฺโต วิหร ความว่า ท่านจงเป็นผู้เว้นจากความ
ประมาทด้วยการไม่อยู่ปราศจากสติ คือเป็นผู้ประกอบไปด้วยสติและสัมปชัญญะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 405
ในทุก ๆ อิริยาบถอยู่เถิด. บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงอัปปมาทวิหารธรรมนั้น
พร้อมทั้งผลโดยสังเขป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า รตฺตินฺทิว ดังนี้.
ใจความของบทนั้นมีดังนี้ เธออย่าเกียจคร้าน คือ อย่าลืมสติ ได้แก่ จงเป็น
ผู้ปรารภความเพียร ด้วยสามารถแห่งสัมมัปปธานมีองค์ ๔ โดยนัยที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า จงยังจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม (ธรรมเป็นเครื่องกางกั้นความดี)
ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ดังนี้ แล้วจงยังธรรมคือสมถะและวิปัสสนาอันเป็น
กุศล และยังโลกุตรธรรมให้เห็นแจ้ง คือ ให้บังเกิด ได้แก่ ให้เจริญอีกด้วย
ก็ครั้นให้เจริญอย่างนี้แล้ว จงละฉันทราคะในอัตภาพเสียโดยพลัน คือ จงละ
ร่างกายอันได้แก่อัตภาพของท่านโดยพลัน คือ โดยไม่เนิ่นช้าด้วยการละฉันท-
ราคะ อันเนื่องแล้วในอัตภาพนั้น เสียก่อนเป็นปฐม ก็ครั้นเป็นอย่างนี้แล้ว
จักละ (ฉันทราคะ) ได้ ด้วยการดับสนิทแห่งจิตดวงหลัง และโดยไม่มีส่วน
เหลือได้ในภายหลัง ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์
พระอรหัตผล ได้กล่าวย้ำอยู่แต่คาถานั้นเท่านั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสีหเถรคาถา
๔. นีตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระนีตเถระ
[๒๒๑] ได้ยินว่า พระนีตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
คนโง่เขลา มัวแต่นอนหลับตลอดทั้งคืน และ
คลุกคลีอยู่ในหมู่ชนตลอดวันยังค่ำ เมื่อไรจักทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้เล่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 406
อรรถกถานีตเถรคาถา
คาถาของท่านพระนีตเถระ เริ่มต้นว่า สพฺพรตฺตึ สุปิตฺวาน. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้ เป็นพราหมณ์ชื่อว่า สุนันทะ ในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ สอนมนต์กะพราหมณ์
หลายร้อยคน บูชายัญ ชื่อว่า วาชเปยฺยะ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรง
อนุเคราะห์พราหมณ์นั้น เสด็จไปสู่ที่บูชายัญ แล้วเสด็จจงกรมในอากาศ
พราหมณ์เห็นพระศาสดาแล้วมีใจเลื่อมใส ให้ศิษย์ทั้งหลายนำดอกไม้มาแล้ว
โยนขึ้นไปในอากาศ ทำการบูชาแล้ว ด้วยพุทธานุภาพ ที่นั้นและพระนคร
ทั้งสิ้น ได้เป็นประดุจถูกคลุมไว้ด้วยแผ่นผ้า คือ ดอกไม้. มหาชนต่างเสวยปีติ
โสมนัสอย่างโอฬารในพระศาสดา.
ด้วยกุศลกรรมนั้น สุนันทพราหมณ์ ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์คนหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุป-
บาทกาลนี้ ได้มีนามว่า นีตะ. เขาถึงความเป็นผู้รู้แล้ว คิดว่า สมณศากยบุตร
เหล่านี้มีศีลสะอาด มีมรรยาทงาม บริโภคโภชนะอย่างดี อยู่ในเสนาสนะที่อับลม
เราอาจบวชแล้วอยู่ในเสนาสนะเหล่านี้ได้ โดยสบายดังนี้ จึงบวชด้วยปรารถนา
ความสบาย เรียนกรรมฐานในสำนักของพระศาสดา แล้วมนสิการ
กรรมฐานได้ ๒-๓ วันเท่านั้น ก็ละทิ้งกรรมฐานนั้น ฉันเต็มตามต้องการ
จนร่างกายไม่เรียกร้องหาอาหาร ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่วันยังค่ำ ยังเวลา
ให้ล่วงไป ด้วยการสนทนากันด้วยเรื่องไร้สาระ แม้ในเวลากลางคืน ก็ถูก
ถีนมิทธะครอบงำ นอนหลับคืนยังรุ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูความสุกงอม
แห่งเหตุของเธอแล้ว เมื่อจะทรงประทานโอวาท ได้ตรัสพระคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 407
คนโง่เขลา มัวแต่นอนหลับตลอดทั้งคืน และ
คลุกคลีอยู่ในหมู่ชนตลอดวันยังค่ำ เมื่อไรจักทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้เล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพรตฺตี ได้แก่ ตลอดคืนทั้งสิ้น.
บทว่า สุปิตฺวาน แปลว่า นอนหลับแล้ว. อธิบายว่า ไม่ขวนขวาย
ความตื่น ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากอาวรณียธรรม
โดยการจงกรม โดยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ดังนี้ แล้วก้าวลงสู่
ความหลับ แม้ในยามทั้ง ๓ แห่งราตรีทั้งสิ้น.
บทว่า ทิวาแปลว่า ทั้งวัน อธิบายว่า ตลอดส่วนแห่งวันทั้งสิ้น.
บทว่า สงฺคณิเกความว่า การมั่วสุมกับบุคคลผู้มากไปด้วยความ
มั่นคงทางกาย ด้วยการสนทนากันด้วยเรื่องไร้สาระ. ชื่อว่า การคลุกคลี ผู้ที่ยินดี
คือ อภิรมย์ในการคลุกคลีนั้น ได้แก่ ผู้ที่ยังไม่ขาดความพอใจในการคลุกคลี
นั้น ท่านกล่าวว่ายินดีแล้วในการคลุกคลี. บาลีว่า สงฺคณิการโต ดังนี้ก็มี.
บทว่า กุทาสฺสุ นาม เท่ากับ กุทา นาม. บทว่า อสฺสุ เป็น
นิบาต. อธิบายว่า ได้แก่ ในกาลชื่อไร ? บทว่า ทุมฺเมโธ ได้แก่ คน
ไม่มีปัญญา. บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ ทุกข์ในวัฏฏะ.
บทว่า อนฺต แปลว่า ซึ่งที่สุด. อธิบายว่า เมื่อไรจักกระทำ
การไม่เข้าไปยึดมั่นได้ โดยส่วนเดียวเล่า คือ การกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ย่อม
ไม่มีแก่คนเช่นนี้ . บาลีว่า ทุมฺเมธ ทุกฺขสฺสนฺต กริสฺสิ ดังนี้ก็มี.
ก็เมื่อพระศาสดาตรัสพระคาถาอย่างนี้แล้ว พระเถระเกิดความสลดใจ
เริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์
ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 408
เราเป็นพราหมณ์ มีนามว่า สุนันทะ ผู้รู้จบมนต์
เป็นผู้คงแก่เรียน เป็นผู้ควรขอ ได้บูชายัญ ชื่อว่า
วาชเปยยะ ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้เลิศ เป็นพระฤาษี
ประกอบด้วยพระกรุณา ทรงเอ็นดูหมู่ชน เสด็จจงกรม
อยู่ในอากาศ พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นนายก
ของโลก เสด็จจงกรมแล้ว ทรงแผ่เมตตาไปในบรรดา
สัตว์ หาประมาณมิได้ ไม่มีอุปธิ พราหมณ์ผู้รู้จบมนต์
เด็ดดอกไม้ที่ขั้วแล้ว ประชุมศิษย์ทั้งหมด ให้ศิษย์
ช่วยกันโยนดอกไม้ขึ้นไปในอากาศ ในกาลนั้น หลังคา
ดอกไม้ ได้มีตลอดทั่วพระนครไม่หายไป ตลอด ๗ วัน
ด้วยพุทธานุภาพ ด้วยกุศลมูลนั้น พราหมณ์ผู้รู้จบมนต์
ได้เสวยสมบัติแล้ว กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง ข้ามโลก ๓
และตัณหาได้แล้ว ในกัปที่ ๑,๑๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์ ๓๕ พระองค์ มีพระนาม
เหมือนกันว่า อัมพรังสสะ มีพลมาก. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำ
สำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อพยากรณ์พระอรหัตผล
ก็ได้กล่าวย้ำซ้ำพระคาถานั้นแล.
จบอรรถกถานีตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 409
๕. สุนาคเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุนาคเถระ
[๒๒๒] ได้ยินว่า พระสุนาคเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ผู้ฉลาดในการถือเอา ซึ่งนิมิตแห่งภาวนาจิต
เสวยรสแห่งวิเวก เพ่งฌาน ฉลาดในการรักษากรรมฐาน
มีสติตั้งมั่น พึงบรรลุนิรามิสสุขอย่างแน่นอน.
อรรถกถาสุนาคเถรคาถา
คาถาของท่านพระสุนาคเถระ เริ่มต้นว่า จิตฺตนิมิตฺตสฺส โกวิโท.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
เข้าไปสั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในตระกูล
พราหมณ์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี ในกัปที่
๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เจริญวัยแล้ว เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งไตรเพท อยู่ในอาศรม
ใกล้ชัฏป่า สอนมนต์กะพราหมณ์ ๓,๐๐๐ คน. ครั้นวันหนึ่ง เมื่อเขาเห็น
พระศาสดาจึงตรวจดูพระลักษณะแล้วร่ายมนต์สำหรับทำนายลักษณะ ก็บังเกิด
ความเลื่อมใสอย่างโอฬาร ปรารภพระพุทธญาณว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะ
เช่นนี้ จักเป็นพระพุทธเจ้าผู้พิชิตมาร มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 410
ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ
อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์คนหนึ่ง ใน
นาลกคาม ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า สุนาคะ. เขาเป็นสหายครั้งเป็น
คฤหัสถ์ของพระธรรมเสนาบดี ไปสู่สำนักของพระเถระ ฟังธรรมแล้วตั้งอยู่
ในทัสสนภูมิ เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์
ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ภูเขาชื่อว่า วสภะ มีอยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์
ที่เชิงเขาวสภะนั้น มีอาศรมที่เราสร้างไว้ในกาลนั้น
เราเป็นพราหมณ์บอกมนต์กะศิษย์ประมาณ ๓,๐๐๐ เรา
สั่งสอนศิษย์เหล่านั้นแล้ว เข้าอยู่ (ในที่สงัด ) ณ ที่
สมควรข้างหนึ่ง แสวงหาพุทธเวท มีจิตเลื่อมใสใน
พระญาณ ครั้นเรายังจิตให้เลื่อมใสในพระญาณแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์อยู่บนเครื่องลาดหญ้า กระทำกาลกิริยา
ณ ที่นั้น ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้สัญญาใด
ในกาลนั้น ด้วยสัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งสัญญาในพระญาณ ในกัปที่ ๒๗ แต่ภัทรกัปนี้
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช พระนามว่า สิริธร
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผา
กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
ด้วยประกาศการแสดงธรรมของภิกษุทั้งหลาย ได้กล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 411
ผู้ฉลาดในการถือเอาซึ่งนิมิต แห่งภาวนาจิต
เสวยรสแห่งวิเวก เพ่งฌาน ฉลาดในการรักษากรรมฐาน
มีสติตั้งมั่น พึงบรรลุนิรามิสสุขอย่างแน่นอน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตนิมิตฺตสฺส โกวิโท ความว่า
ผู้ฉลาดในการถือเอาซึ่งนิมิตแห่งภาวนาจิต คือฉลาดในการถือเอาซึ่งจิตนิมิต
อันควรแก่การยกย่องเป็นต้น อย่างนี้ว่า พึงยกย่องจิตในสมัยนี้ พึงให้จิต.
ร่าเริงในสมัยนี้ พึงวางเฉยในสมัยนี้ ดังนี้.
บทว่า ปวิเวกรส วิชานิย ความว่า รู้รสแห่งจิตวิเวก อันยัง
กายวิเวกให้เจริญแล้ว อธิบายว่า เสวยวิเวกสุข. ท่านอธิบายว่า ได้แก่ดื่ม
วิมุตติรส. บทว่า ณาย ได้แก่ เพ่งด้วยอารัมมณูปนิชฌานก่อน และเพ่ง
ด้วยลักขณูปนิชฌานในภายหลัง.
บทว่า นิปโก ได้แก่ ฉลาดในการบริหารกรรมฐาน.
บทว่า ปติสฺสโต ได้แก่ เข้าไปตั้งสติไว้.
บทว่า อธิคจฺเฉยฺย สุข นิรามิส ความว่า ตั้งอยู่แล้วในสุขอัน
เกิดแต่จิตวิเวก อันจะพึงได้ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในสมถนิมิตเป็นต้นอย่างนี้
เป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เพ่งอยู่ด้วยวิปัสสนาฌานนั่นแล พึงบรรลุ คือพึง
เข้าไปถึงพร้อม ซึ่งนิพพานสุขและผลสุข อันชื่อว่าไม่มีอามิส เพราะไม่เจือปน
ด้วยอามิสคือกาม และอามิสคือวัฏฏะ.
จบอรรถกถาสุนาคเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 412
๖. นาคิตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระนาคิตเถระ
[๒๒๓] ได้ยินว่า พระนาคิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ในลัทธิแห่งเดียรถีย์ ภายนอกพระศาสนานี้ ย่อม
ไม่มีทางไปสู่พระนิพพาน เหมือนอริยอัฏฐังคิกมรรค
นี้เลย พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระบรมครู ทรง-
พร่ำสอนภิกษุสงฆ์ด้วยพระองค์เอง เหมือนดังทรง
แสดงผลมะขามป้อม ในฝ่าพระหัตถ์ ฉะนั้น.
อรรถกถานาคิตเถรคาถา
คาถาของท่านพระนาคิตเถระ เริ่มต้นว่า อิโต พหิทฺธา ปุถุอญฺ-
วาทิน. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้ เป็นพราหมณ์ชื่อว่า นารทะ ในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ วันหนึ่งนั่งอยู่ในโรง
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้วเสด็จไป มีใจเลื่อมใส
ชมเชยด้วยคาถา ๓ คาถา.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ
ในพระนครกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า นาคิตะ เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระนครกบิลพัสดุ์ เขาฟังมธุปิณฑิกสูตร ได้มี
ศรัทธาจิตบวชแล้ว เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 413
เรานั่งอยู่ในโรงอันกว้างใหญ่ ได้เห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นนายก
ของโลก ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้บรรลุพลธรรม แวดล้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์. ภิกษุสงฆ์ประมาณหนึ่งแสน ผู้บรรลุ
วิชชา ๓ ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก แวดล้อมพระ-
พุทธเจ้า ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส ในมนุษยโลก
พร้อมทั้งเทวโลก ไม่มีอะไรเปรียบ ในพระญาณของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ใครได้เห็นพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณไม่สิ้นสุด
แล้ว จะไม่เลื่อมใสเล่า ชนทั้งหลายไม่สามารถเพื่อ
กำจัดพระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงแสดง
ธรรมกาย และผู้เป็นบ่อเกิดแห่งพระรัตนตรัยอย่าง
เดียวได้ ใครเล่าเห็นพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว
จะไม่เลื่อมใส พราหมณ์นามว่า นารทะ ผู้มีใจภักดี
ชมเชยพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ไม่
พ่ายแพ้ ด้วยคาถาทั้ง ๓ เหล่านี้ ด้วยจิตที่เลื่อมใส
และด้วยการกล่าวชมเชยพระสัมพุทธเจ้านั้น เราไม่
เข้าถึงทุคติตลอดแสนกัป ในกัปที่ ๓,๐๐๐ แต่ภัทรกัปนี้
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์ พระนามว่า
สุมิตตะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 414
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว อาศัยความที่เทศนาของพระ-
ศาสดาเป็นของจริง และความที่พระธรรมกระทำสัตว์ให้พ้นทุกข์ เป็นผู้มีปีติ
และโสมนัสเกิดแล้ว เมื่อจะเปล่งอุทาน อันแผ่ซ่านไปด้วยกำลังแห่งปีติ ได้
กล่าวคาถาว่า
ในลัทธิแห่งเดียรถีย์ ภายนอกพระศาสนานี้
ย่อมไม่มีทางไปสู่พระนิพพาน เหมือนอริยอัฏฐังคิก-
มรรคนี้เลย พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระบรมครู
ทรงพร่ำสอนภิกษุสงฆ์ด้วยพระองค์เอง เหมือนดัง
ทรงแสดงผลมะขามป้อม ในฝ่าพระหัตถ์ ฉะนั้น
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิโต พหิทฺธา ความว่า ในศาสนาอื่น
จากพระพุทธศาสนานี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า (ในลัทธิ) แห่งเดียรถีย์
ภายนอก อธิบายว่า ได้แก่เดียรถีย์ต่าง ๆ.
บทว่า มคฺโค น นิพฺพานคโม ขถา อย ความว่า ทางอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐนี้ ชื่อว่าเป็นทางไปสู่พระนิพพาน คือยังสัตว์
ให้ถึงพระนิพพาน เพราะเป็นทางที่ไปพระนิพพานได้ทางเดียว ฉันใด มรรค
ที่จะให้ถึงพระนิพพานก็ฉันนั้น ย่อมไม่มีในลัทธินอกพระพุทธศาสนา เพราะ
เป็นมรรคที่เจ้าลัทธิอื่น ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในพระธรรมวินัยนี้
เท่านั้น สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ สมณะที่ ๔ ก็มีใน
ธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะผู้รู้ ดังนี้.
บทว่า อิติ แปลว่า อย่างนี้. บทว่า อสฺสุ เป็นเพียงนิบาต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 415
บทว่า สงฺฆ ได้แก่ ภิกษุสงฆ์ นี้เป็นการแสดงอย่างอุกฤษฏ์ เหมือน
อย่างในประโยคว่า สตฺถา เทวมนุสสาน (เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย). อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สงฺฆ เป็นสมูหนาม (ชื่อที่กล่าวรวม) อธิบาย
ว่าได้แก่ชนที่เป็นเวไนยสัตว์.
บทว่า ภควา ความว่า ชื่อว่า ภควา ด้วยเหตุทั้งหลาย มีความ
เป็นผู้มีโชคเป็นต้น นี้เป็นความสังเขปในบทว่า ภควา นี้. ส่วนความพิสดาร
พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในอรรถกถาอิติวุตตกะ ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี.
บทว่า สตฺถา ความว่า ชื่อว่า ศาสดา ด้วยอรรถว่า ทรงสั่งสอน
ด้วยประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในสัมปรายิกภพ และประโยชน์อย่างยิ่ง
คือพระนิพพาน ตามสมควร.
บทว่า สย แปลว่า ด้วยพระองค์เองทีเดียว. ก็ในคาถานี้มีอธิบายว่า
พระศาสดา คือพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงบันลือพระสีหนาทว่า
อริยมรรคอันจะยังสัตว์ให้ไปสู่พระนิพพาน มีองค์ ๘ ด้วยสามารถแห่งองค์
ทั้งหลาย ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น สงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ มีศีลขันธ์เป็นต้น มีอยู่
ในศาสนาของเราฉันใด ขึ้นชื่อว่ามรรค ย่อมไม่มีในลัทธิภายนอก ฉันนั้น
ดังนี้ เป็นผู้รู้ด้วยพระสยัมภูญาณเองทีเดียว หรือเป็นผู้อันพระมหากรุณา
ตักเตือนแล้ว เองทีเดียว ย่อมทรงพร่ำสอน คือกล่าวสอนภิกษุสงฆ์คือชุมนุม
แห่งเวไนยสัตว์ ด้วยสมบัติคือการยักย้ายพระธรรมเทศนาของพระองค์ ดุจ
ทรงแสดงมะขมป้อมในฝ่าพระหัตถ์ ฉะนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถานาคิตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 416
๗. ปวิฏฐเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปวิฏฐเถระ
[๒๒๔] ได้ยินว่า พระปวิฏฐเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราเห็นเบญจขันธ์ ตามเป็นจริงได้แล้ว ทำลาย
ภพทั้งปวงได้แล้ว ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่
ไม่มี.
อรรถกถาปวิฏฐเถรคาถา
คาถาของท่านพระปวิฏฐเถระ เริ่มต้นว่า ขนฺธา ทิฏฺา ยถาภูต.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ กระทำบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ ในภพนั้น ๆ (เกิด)
เป็นดาบสนามว่า เกสวะ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
อัตถทัสสี วันหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรมแล้ว มีใจเลื่อมใส ถวาย
อภิวาท ประคองอัญชลี กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญไว้มาก ท่อง
เที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล้วเกิดในตระกูล
พราหมณ์ ณ มคธรัฐ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถึงความเป็นผู้รู้โดยลำดับ บวช
เป็นปริพาชก เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในเนกขัมมะ ศึกษาสิ่งที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 417
ควรศึกษาในลัทธินั้น ฟังความที่อุปติสสปริพาชก และโกลิตปริพาชก
บวชแล้วในพระพุทธศาสนา คิดว่า ธรรมดาท่านทั้ง ๒ แม้นั้นเป็นผู้มีปัญญา
มาก บวชแล้วในที่ใดก็ตาม ที่นั้นชะรอยจะประเสริฐเป็นแน่ ดังนี้แล้ว ไปสู่
สำนักของพระศาสดา ฟังธรรมแล้วได้มีศรัทธาจิต บวชแล้ว. พระศาสดา
ตรัสบอกวิปัสสนาแก่ท่าน. ท่านปรารภวิปัสสนา แล้วได้กระทำให้แจ้งพระ
อรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
ชนทั้งหลาย รู้จักเราว่า เกสวะ โดยนามชื่อว่า
นารทะ เราแสวงหากุศลและอกุศลอยู่ ได้ไปสู่สำนัก
ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นมหามุนี พระนามว่า อัตถทัสสี
ทรงมีจิตเมตตา ประกอบด้วยพระกรุณา พระองค์
ผู้มีพระจักษุ เมื่อทรงปลอบสัตว์ทั้งหลายให้เบาใจ
ทรงแสดงธรรมอยู่ เรายังจิตของตนให้เลื่อมใสประนม
กรอัญชลี บนเศียรเกล้า ถวายบังคมพระศาสดา บ่าย
หน้ากลับไปยังทิศปัจฉิม ในกัปที่ ๑,๗๐๐ แต่ภัทรกัป
นี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
พระนามว่า อมิตตตาปันนะ มีพลมาก. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระ-
ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อพยากรณ์พระอรหัตผล ได้
กล่าวคาถาว่า
เราเห็นเบญจขันธ์ ตามเป็นจริงได้แล้ว ทำลาย
ภพทั้งปวงได้แล้ว ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่
ไม่มี ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 418
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนฺธา ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ อธิบาย
ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้น อันพระโยคาวจรพึงเห็นแจ้ง โดยการเข้า
ไปกำหนดหมายวิปัสสนา และด้วยสามารถแห่งการรอบรู้ ด้วยญาตปริญญา
เป็นต้น.
บทว่า ทิฏฐา ยถาถูต ความว่า เห็นแล้วโดยไม่ผิดพลาด โดย
นัยมีอาทิว่า นี่ทุกข์ ดังนี้ ด้วยมรรคปัญญา อันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา.
บทว่า ภวา สพฺเพ ปทาลิตา ความว่า กรรมภพ และอุบัติภพ
ทั้งปวง มีกามภพเป็นต้น อันเราทำลายแล้ว คือกำจัดแล้ว ด้วยศาสตราคือ
มรรคญาณ. อธิบายว่า กรรมภพ และอุบัติภพ ย่อมชื่อว่า เป็นอันเราทำ
ลายแล้ว ด้วยการทำลายกิเลสได้ นั่นเอง. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า
ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี ดังนี้. ความของคาถานั้น ข้าพเจ้า
กล่าวไว้ในหนหลังแล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปวิฏฐเถรคาถา
๘. อัชชุนเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอัชชุนเถระ
[๒๒๕] ได้ยินว่า พระอัชชุนเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราอาจยกตนจากน้ำ คือ กิเลส ขึ้นบนบก คือ
พระนิพพพานได้ เหมือนคนที่ถูกห้วงน้ำใหญ่พัดไปแล้ว
ยกตนขึ้นจากน้ำ ฉะนั้น เราแทงตลอดสัจจะ ทั้ง-
หลายแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 419
อรรถกถาอัชชุนเถรคาถา
คาถาของท่านพระอัชชุนเถระ เริ่มต้นว่า อสกฺขึ วต อตฺตาน.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมกุศล อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิด
ในกำเนิดราชสีห์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี
วันหนึ่ง เห็นพระศาสดาประทับนั่ง ณ โคนไม้ต้นหนึ่งในป่า คิดว่า พระ
ศาสดาพระองค์นี้แล เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง เป็นบุรุษผู้สีหะในกาลนี้
ดังนี้แล้ว เป็นผู้มีใจเลื่อมใส หักกิ่งรังที่มีดอกบานสะพรั่ง แล้วบูชาพระศาสดา.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลเศรษฐี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า อัชชุนะ. เขาถึงความ
เป็นผู้รู้แล้ว เป็นผู้มีความสนิทสนมกับพวกนิครนถ์ บวชใน (ลัทธิ) นิครนถ์
แต่ในเวลาที่ยังเล็กอยู่นั่นแล ด้วยคิดว่า เราจักบรรลุอมตธรรมด้วยอุบายอย่างนี้
เมื่อไม่ได้สาระในลัทธินั้น เห็นยมกปาฏิหาริย์ ได้มีศรัทธาจิตแล้ว บวชใน
พระศาสนา ปรารภวิปัสสนา ได้เป็นพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เวลานั้นเราเป็นราชสีห์ พระยาเนื้อมีสกุล เรา
แสวงหาห้วงน้ำแห่งภูเขา ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เป็นนายกของโลก จึงดำริว่า พระมหาวีรเจ้าพระ-
องค์นี้ ย่อมยังมหาชนให้ดับเข็ญ อยู่เย็นเป็นสุขได้
ถ้าเช่นนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ ผู้ประเสริฐกว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 420
เทวดา ผู้องอาจกว่านระเถิด เราจึงหักกิ่งรัง แล้วนำ
เอาดอกมาพร้อมด้วยกระออมน้ำ เข้าไปเฝ้าพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ถวายดอกรังอันงามในกัปที่
๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด
ด้วยการบูชานี้ เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายดอกไม้ และในกัปที่ ๙ แต่ภัทรกัปนี้ ได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ พระองค์ มีนามว่า วิโรจนะ
มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อเปล่งอุทานด้วยกำลังแห่ง
ปีติ อันเกิดจากการบรรลุความสุขอันยอดเยี่ยม ได้กล่าวคาถาว่า
เราอาจยกตนจากน้ำ คือ กิเลส ขึ้นบนบก คือ
พระนิพพานได้ เหมือนคนที่ถูกห้วงน้ำใหญ่พัดไปแล้ว
ยกตนขึ้นจากน้ำ ฉะนี้ เราแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย
แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสกฺขึ แปลว่า เราสามารถ. ศัพท์ว่า
วต เป็นนิบาต ใช้ในการแสดงความอัศจรรย์. เพราะว่า การแทงตลอด
อริยสัจนี้ พึงเป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ? อย่างไหนจะทำได้
ยากกว่ากัน หรือจะทำให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน คือ การแทงปลายขนทราย
ด้วยปลายขนทราย ที่แบ่งออกแล้วเป็น ๗ ส่วน ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 421
บทว่า อตฺตาน ท่านกล่าวหมายถึงจิตที่เป็นไปในภายในอันแน่นอน
เพราะไม่มีสภาพอื่น ที่จะเป็นอัตตา. บทว่า อุทฺธาตุ แปลว่า เพื่อยกขึ้น.
บางแห่ง ปาฐะ เป็น อุทฺธฏ. บทว่า อุทกา ได้แก่ จากน้ำ กล่าวคือ
ห้วงแห่งสงสาร. บทว่า ถล ความว่า สู่บกคือพระนิพพาน.
บทว่า วุยฺหมาโน มโหโฆว ความว่า เหมือนคนที่ลอยไปใน
ห้วงน้ำใหญ่. ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ เปรียบเหมือนบุรุษที่ถูกกระแสน้ำพัด
ลอยไปโดยเร็ว ในห้วงน้ำใหญ่ ทั้งลึก ทั้งกว้าง ไม่มีเกาะแก่งอันเป็นแหล่ง
พักพิง ได้เรือที่มั่นคง แข็งแรง สมบูรณ์ด้วยพายและถ่อ ที่ผู้หวังจะช่วย
เหลือบางคน นำไปให้ พึงสามารถเพื่อยกตนขึ้นจากน้ำนั้น คือถึงฝั่งโดยง่าย
ทีเดียวฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ลอยไปด้วยกำลังแห่งอภิสังขาร คือ
กิเลส ในห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร ได้เรือคืออริยมรรค อันเข้าถึงสมถะ และ
วิปัสสนา อันพระบรมศาสดาทรงนำไปมอบให้ สามารถเพื่อจะยกตนขึ้นจาก
น้ำคือกิเลสนั้น คือเพื่อบรรลุถึงฝั่ง คือพระนิพพาน เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์.
พระเถระกล่าวว่า เราแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย ดังนี้ เพื่อแสดงถึงความ
สามารถตามที่ตนได้แสดงแล้ว. ประกอบความว่า เพราะเหตุที่เราแทงตลอด
อริยสัจ ๔ มีทุกขสัจเป็นต้น ด้วยการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ การละ
การทำให้แจ้ง และการเจริญ คือได้รู้แล้วด้วยอริยมรรคญาณ ฉะนั้น เราจึง
อาจเพื่อยกตนขึ้นจากน้ำ คือ กิเลส สู่บก คือ พระนิพพาน.
จบอรรถกถาอัชชุนเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 422
๙. เทวสภเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเทวสภเถระ
[๒๒๖] ได้ยินว่า พระเทวสภะถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
กามราคะเพียงดังเปลือกตม และฉันทราคะ
เพียงดังหล่ม เราข้ามพ้นแล้ว เราเว้นทิฏฐิราคะเพียง
ดังบาดาลแล้ว เราพ้นจากโอฆะ และกิเลสเครื่อง
ร้อยรัด ทั้งกำจัดมานะหมดสิ้นแล้ว.
อรรถกถาเทวสภเถรคาถา
คาถาของท่านพระเทวสภเถระ. เริ่มต้นว่า อุตฺติณฺณา ปงฺกปลิปา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนั้น ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดใน
กำเนิดแห่งพรานผู้ฆ่าสัตว์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
สุขี วันหนึ่ง เห็นพระศาสดาแล้ว เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ได้น้อมผลมะหาดไปถวาย.
เพื่อจะเจริญศรัทธาปสาทะของเขา พระศาสดาจึงทรงเสวยผลมะหาดนั้น. เขา
เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสเกินประมาณ ด้วยการเสวยผลมะหาดนั้น เข้าไปเฝ้าตาม
กาลเวลา ทำจิตให้เลื่อมใสแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 423
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาเกิดในเทวโลก กระทำบุญไว้มาก ท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นโอรสของพระราชา ทรง-
พระนามว่า มณฑลิกะ องค์หนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ
แต่ในเวลาที่ยังทรงพระเยาว์ทีเดียว เสวยความสุขในราชสมบัติ ทรงพระ-
ชราภาพ เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่ท้าวเธอ.
พระองค์ฟังธรรมแล้ว ได้มีศรัทธาจิต เกิดความสลดพระทัย สละราชสมบัติ
ทรงผนวช แล้วเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ในกาลนั้น เราเป็นพรานเที่ยวฆ่าสัตว์อื่นเป็น
อันมาก สำเร็จการนอนอยู่ที่เงื้อมเขาไม่ไกลพระ-
ศาสดาพระนามว่า สุขี เราเห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น
อัครนายกของโลก ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ก็เราไม่มี
ไทยธรรม สำหรับถวายแด่ศาสดาผู้จอมประชา ผู้คงที่
เราได้ถือเอาผลมะหาดไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เชษฐบุรุษของโลกผู้ประเสริฐกว่านระ
ทรงรับ ต่อแต่นั้น เราได้ถือเอาผลมะหาด ไปบำเรอ
พระองค์ซึ่งเป็นผู้นำที่วิเศษ ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น
เราได้ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้นเอง ในกัปที่ ๓๑ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลมะหาดใด ด้วยกรรมนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ ใน
กัปที่ ๑๕ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓
พระองค์ มีพระนามว่า ปิยาลิน สมบูรณ์ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 424
แก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว
ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว บังเกิดความโสมนัสด้วย
สามารถแห่งการพิจารณาถึงกิเลสที่ละแล้ว เมื่อจะเปล่งอุทานได้กล่าวคาถาว่า
กามราคะเพียงดังเปลือกตม และฉันทราคะ
เพียงดังหล่ม เราข้ามพ้นแล้ว เราเว้นทิฏฐิราคะเพียง
ดังบาดาลแล้ว เราพ้นจากโอฆะและกิเลสเครื่องร้อย-
รัด ทั้งกำจัดมานะหมดสิ้นแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺติณฺณา ความว่า ก้าวล่วงพ้นไปแล้ว.
บทว่า ปงฺกปลิปา ได้แก่ ทั้งเปลือกตม และทั้งหล่ม. เปลือกตมโดยปกติ
ท่านเรียกว่า ปังกะ เปลือกตมใหญ่ทั้งลึกทั้งกว้าง ท่านเรียกว่า ปลิปะ แต่
ในคาถานี้ หมายเอาสภาพที่ชื่อว่า ปังกะ เพราะเป็นดุจเปลือกตม ได้แก่
กามราคะ เพราะจิตถูกฉาบทาด้วยการเพิ่มให้ซึ่งความไม่สะอาด (และหมายเอา)
สภาพที่ชื่อว่า ปลิปะ เพราะเป็นประดุจถูกลูบไล้ ได้แก่ ฉันทราคะที่หนาแน่น
มีลูกเมียเป็นต้นเป็นอารมณ์ เพราะถูกฉาบทาด้วยของไม่สะอาด และเพราะ
ข้ามพ้นได้ยาก โดยนัยดังกล่าวแล้ว ฉันทราคะเป็นต้นเหล่านั้น เราก้าวล่วง
แล้วโดยประการทั้งปวงด้วยพระอนาคามิมรรค เพราะเหตุนั้น พระเถระจึง
กล่าวว่า กามราคะเพียงดังเปลือกตม และฉันทราคะเพียงดังหล่ม เราข้ามพ้นแล้ว
ดังนี้.
บทว่า ปาตาลา ความว่า ที่ชื่อว่า ปาตาลา เพราะเป็นเหมือน
เมืองบาดาล ได้แก่ประเทศที่ต่อเนื่องกันในมหาสมุทร. ส่วนอาจารย์บางพวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 425
กล่าวนาคพิภพว่า บาดาล. แต่ในคาถานี้หมายเอา สภาพที่ชื่อว่าบาดาล
เพราะเป็นเหมือนเมืองบาดาล ด้วยอรรถว่า จับต้องไม่ได้ ทำให้เกิดแตก
หมู่คณะ และข้ามได้โดยยาก ได้แก่ ทิฏฐิทั้งหลาย. ก็ทิฏฐิเหล่านั้นอันเรา
เว้นแล้ว คือตัดขาดแล้ว โดยประการทั้งปวง โดยการได้บรรลุปฐมมรรค
นั่นเทียว เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า เราเว้นทิฏฐิราคะเพียงดังบาดาล
แล้ว ดังนี้.
บทว่า มุตฺโต โอฆา จ คนฺถา จ ความว่า เราพ้นแล้ว คือ
พ้นรอบแล้ว จากโอฆะมีโอฆะคือกามเป็นต้น และจากเครื่องร้อยรัด มีเครื่อง
ร้อยรัดกาย คือ อภิชฌาเป็นต้น ด้วยมรรคนั้น ๆ อธิบายว่า ก้าวล่วงแล้ว
โดยไม่มีกิเลสเครื่องวุ่นวายและกิเลสเครื่องร้อยรัดอีก.
บทว่า สพฺเพ มานา สวิหิตา ความว่า กิเลสแม้ทั้ง ๙ อย่าง
ถึงการฆ่า คือความพินาศ คือถูกถอนขึ้นโดยพิเศษ ด้วยการบรรลุมรรคชั้นสูง.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มานวิธาหตา (มานะบางอย่างถูกฆ่าแล้ว) อธิบายว่า
ได้แก่ มานะบางส่วนถูกทำลาย. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า มานวิสา (มี
มานะเป็นพิษ) ก็บัณฑิตพึงเข้าใจความหมายของอาจารย์เหล่านั้นว่า ชื่อว่า
มีมานะเป็นพิษเพราะผลแห่งทุกข์ ที่มีมานะเป็นพิษ.
จบอรรถกถาเทวสภเถรคาถา (ที่ ๑)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 426
๑๐. สามิทัตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสามิทัตตเถระ
[๒๒๗] ได้ยินว่า พระสามิทัตตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เบญจขันธ์ เรากำหนดรู้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว
ตั้งอยู่ ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี.
จบวรรคที่ ๙
อรรถกถาสามิทัตตเถรคาถา
คาถาของท่านพระสามิทัตตเถระเริ่มต้นว่า ปญฺจกฺขนฺธา ปริญฺาตา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง-
พระนามว่า วิปัสสี ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว เมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว
กระทำฉัตรเป็นชั้น ๆ ด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ไว้ที่สถูปของพระองค์ ได้ทำการ
บูชาแล้ว.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว
ไป ๆ มาๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์คนหนึ่ง
ในกรุงราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า สามิทัตตะ.
เขาถึงความเป็นผู้รู้โดยลำดับ ฟัง ( ข่าวเรื่อง ) อานุภาพของพระ-
พุทธเจ้าแล้ว ไปสู่วิหารพร้อมด้วยอุบาสกทั้งหลาย เห็นพระศาสดากำลังทรง
แสดงพระธรรมเทศนาอยู่ เป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 427
พระศาสดาทรงตรวจดูอัธยาศัยของเขาแล้ว ทรงแสดงธรรมอนุโลม
ตามอัธยาศัย อันเป็นเหตุให้เขาได้ศรัทธา และความสลดใจในสงสาร เขาได้
มีศรัทธาจิต เกิดความสังเวชแล้ว บวช อยู่อย่างคนเกียจคร้านตลอดเวลา
เล็กน้อย เพราะญาณยังไม่แก่กล้า เป็นผู้อันพระศาสดาทรงแสดงพระธรรม
เทศนาเร่งเร้าให้อาจหาญอีก จึงเรียนกรรมฐาน หมั่นขวนขวายในกรรมฐาน
บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า อัตถ-
ทัสสี ผู้สูงสุดกว่านระ ปรินิพพานแล้ว เราให้ช่าง
ทำฉัตรเป็นชั้น ๆ บูชาไว้ที่พระสถูป ได้มานมัสการ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ตามกาลอันสมควร
ให้ทำหลังคาดอกไม้บูชาไว้ที่ฉัตร ตลอดเวลา
๑,๗๐๐ กัป เราได้เสวยเทวราชสมบัติ ไม่ต้องไปสู่
ความเป็นมนุษย์เลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสถูป
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ภพทั้งปวงเราถอนขึ้นแล้ว
ตัดบ่วงได้แล้ว จึงอยู่อย่างผู้หาอาสวะมิได้ ดุจนาคผู้
พ้นจากบ่วงฉะนั้น การที่เราได้มาในสำนักของพระ-
พุทธเจ้าผู้ประเสริฐ นับว่าเป็นการมาที่ดีหนอ วิชชา ๓
เราได้บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำ
สำเร็จแล้ว ดังนี้.
ครั้นในเวลาต่อมา ท่านถูกภิกษุทั้งหลายถามว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านได้
บรรลุอุตริมนุสธรรมแล้วหรือ ? เมื่อจะประกาศความที่พระศาสนาเป็น
นิยยานิกธรรม และการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมของตน แก่ภิกษุเหล่านั้น
จึงได้กล่าวโดยเป็นการพยากรณ์พระอรหัตผลว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 428
เบญจขันธ์เรากำหนดรู้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว
ตั้งอยู่ ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจกฺขนฺธา ปริญฺาตา ความว่า
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันเรากำหนดแล้ว คือ รู้แล้ว แจ้งแล้ว ได้แก่
แทงตลอดแล้วด้วยปริญญา ๓ คือ รู้ว่านี้ทุกข์ ทุกข์มีเท่านี้ ไม่มีทุกข์ยิ่งไป
กว่านี้ ดังนี้. บทว่า ติฏฺนฺติ ฉินฺนมูลา ความว่า บัดนี้ เบญจขันธ์
เหล่านั้น ชื่อว่า มีรากอันเราตัดขาดแล้ว ตั้งอยู่จนถึงความดับแห่งจิตดวงสุดท้าย
เพราะเบญจขันธ์เหล่านั้น เรากำหนดรู้แล้วด้วยอาการอย่างนั้นนั่นแหละ (และ)
เพราะสมุทัยอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เราละได้แล้วโดยประการทั้งปวง. ส่วน
เบญจขันธ์ที่หาปฏิสนธิมิได้ ย่อมดับไปด้วยการดับสนิทแห่งจิตดวงหลัง ด้วย
เหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ดังนี้.
ความของคาถานั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังทั้งหมดแล้วทีเดียว.
จบวรรควรรณนาที่ ๙
ในอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี
ในวรรคนี้ รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ
๑. พระสมิติคุตตเถระ ๒. พระกัสสปเถระ ๓. พระสีหเถระ
๔. พระนีตเถระ ๕. พระสุนาคเถระ ๖. พระนาคิตเถระ ๗. พระปวิฏฐ-
เถระ ๘. พระอัชชุนเถระ ๙. พระเทวสภเถระ ๑๐. พระสามิทัตตเถระ
และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 429
เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๑๐
๑. ปริปุณณกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปริปุณณกเถระ
[๒๒๘] ได้ยินว่า พระปริปุณณกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
สุธาโภชน์ มีรสตั้งร้อยที่เราบริโภคในวันนี้
ก็ไม่เหมือนอมตธรรมที่เราได้บริโภค พระธรรมอัน
พระพุทธเจ้าผู้โคตมโคตร ทรงเห็นซึ่งธรรมหา
ประมาณมิได้ ทรงแสดงไว้แล้ว.
วรรควรรณนาที่ ๑๐
อรรถกถาปริปุณณกเถรคาถา
คาถาของท่านพระปริปุณณกเถระ เริ่มต้นว่า น ตถา มต สตรส.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า ธรรมทัสสี บรรลุถึงความเป็นผู้รู้แล้ว เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน
แล้ว ได้ทำการบูชาอย่างมโหฬาร ด้วยเครื่องสักการะไรดอกไม้เป็นต้น ที่เจดีย์
ของพระศาสดา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 430
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในหมู่เทพทั้งหลาย กระทำบุญแล้ว
ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่แต่ในสุคติภพอย่างเดียว เกิดในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ
ในพระนครกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว ปรากฏนาม
ว่า ปริปุณณกะ เพราะความเป็นผู้มีสมบัติบริบูรณ์.
เขาบริโภคอาหาร ชื่อว่า สตรส ตลอดกาลทั้งปวง เพราะเป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยสมบัติ สดับข่าวว่า พระบรมศาสดาทรงเสวยพระกระยาหารที่
ระคนกัน เกิดความสลดใจในสงสารว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เป็นกษัตริย์
สุขุมาลชาติ ทรงเพ่งเล็งถึงความสุขในพระนิพพาน ทรงยังอัตภาพให้เป็นไป
(ด้วยพระกระยาหาร) ตามมีตามได้ก่อน เพราะเหตุไร พวกเราจึงพากัน
ละโมบในอาหาร จักต้องเป็นผู้มีอาหารที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยเล่า สมควรที่พวก
เราพึงแสวงหาความสุขคือนิพพานอย่างเดียว ดังนี้ ละฆรวาสวิสัย แล้วบวช
ในสำนักของพระศาสดา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำในกายคตาสติ
กรรมฐาน ดำรงอยู่ในกายคตาสติกรรมฐานนั้น การทำฌานที่ได้แล้วให้เป็น
บาท กระทำกรรมในวิปัสสนา แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐาน บรรลุพระอรหัต
แล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อพระองค์ผู้เป็นนาถะของโลก ทรงพระนาม
ว่า ธรรมทัสสี ผู้ประเสริฐกว่านระ ปรินิพพานแล้ว
เราได้ยกเสาธงขึ้นไว้ ที่เจดีย์ของพระพุทธองค์ผู้
ประเสริฐที่สุด ได้ให้ช่างสร้างบันไดสำหรับประ-
ชาชน จะได้ขึ้นสู่พระสถูปอันประเสริฐ แล้วถือเอา
ดอกมะลิไปโปรยบูชาที่พระสถูป พระพุทธเจ้าน่า
อัศจรรย์หนอ พระธรรมน่าอัศจรรย์หนอ ความถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 431
พร้อมแห่งพระศาสดา น่าอัศจรรย์หนอ เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสถูป ในกัปที่ ๙๔
แต่ภัทรกัปนี้ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑๖ พระองค์
พระนามว่า " ถูปสิขะ " มีพลมาก. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำ
สำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะเปล่งอุทานที่เปล่งออก
ด้วยกำลังแห่งปีติ โดยมีความเคารพและความนับถืออย่างมากในพระธรรม
ได้กล่าวคาถาว่า
สุธาโภชน์ มีรสตั้งร้อยที่เราบริโภคในวันนี้ ก็
ไม่เหมือนอมตธรรมที่เราได้บริโภค พระธรรมที่พระ-
พุทธเจ้าผู้โคตมโคตร ทรงเห็นซึ่งธรรมทาประมาณ
มิได้ ทรงแสดงไว้แล้ว ดังนี้.
บทว่า สตรส ได้แก่ โภชนะมีรสตั้ง ๑๐๐. บางอาจารย์กล่าวว่า
โภชนะที่เขาจัดปรุง ด้วยเนยใสที่หุงแล้วตั้ง ๑๐๐ ครั้งเป็นต้น ชื่อว่า สตรส-
โภชนะ โภชนะที่มีรสตั้ง ๑๐๐. อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า สต มีอรรถเป็นอเนก
ดังในประโยคมีอาทิว่า สตโส สหสฺสโส. เพราะเหตุนั้น โภชนะใดมีสูปะ
เป็นอเนก มีโภชนะเป็นอเนก โภชนะนั้น ท่านเรียกว่า สตรส เพราะมีรส
มิใช่น้อย. อธิบายว่า ได้แก่โภชนะที่มีรสต่าง ๆ กัน. ข้าวที่สะอาดนั่นเอง
เรียกว่า สุธาโภชน์ ชื่อว่าเป็นอาหารของเทวดาทั้งหลาย.
บทว่า ย มยชฺช ปริภุตฺต ความว่า สุธาโภชน์ที่มีรสตั้ง ๑๐๐ ใด
อันเราบริโภคแล้วในวันนี้. ก็บทว่า ย มยา ปริภุตฺต นี้ พึงประกอบเข้า
แม้ในบทว่า สตรส สุธนฺน นี้ด้วย. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 432
ก็นิพพานสุขใด อันสงบประณีตล่วงส่วนทีเดียว อันเราเสวยอยู่ใน
วันนี้ คือในบัดนี้ ด้วยสามารถแห่งการเข้านิโรธสมาบัติ นิพพานสุขนั้น อัน
เรารู้แล้ว คือกำหนดแล้ว ได้แก่อบรมดีแล้ว ฉันใด โภชนะมีรสตั้ง ๑๐๐
อันเราบริโภคแล้ว ในเวลาครองราชย์ก็ดี และสุธาโภชน์ที่เราบริโภคแล้ว
ในอัตภาพของเทวดาก็ดี ก็ฉันนั้น ประมาณไม่ได้ คือกำหนดไม่ได้. เพราะ
เหตุไร เพราะนิพพานสุขนี้ อันพระอริยเจ้าทั้งหลายเสพแล้ว ไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งกิเลสทั้งหลาย แต่โภชนะมีรสตั้งร้อยนั้น อันปุถุชนเสพแล้ว เป็นไปกับ
ด้วยอามิส (และ) เป็นที่ตั้งของกิเลสทั้งหลาย โภชนะที่มีรสตั้งร้อย จึงไม่เข้า
ถึงการนับ คือไม่ถึงเสี้ยว ได้แก่ไม่เข้าถึงส่วนแห่งเสี้ยวของนิพพานสุขนั้น.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงธรรมที่ท่านกล่าวว่า สุธาโภชน์ที่มีรสตั้งร้อย ที่เรา
บริโภคในวันนี้ ดังนี้ จึงกล่าวว่า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าผู้โคตมโคตร
ทรงเห็นซึ่งประมาณมิได้ ทรงแสดงไว้แล้ว ดังนี้.
ความของคาถานั้น ประกอบสัมพันธ์ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
เห็นพระนิพพาน อันหาประมาณมิได้ กำหนดไม่ได้ ชื่อว่าสงบแล้ว เพราะ
ไม่มีความเกิดขึ้นและความสิ้นไป เป็นอสังขตธาตุ ด้วยพระสยัมภูญาณ คือ
ทรงเห็นซึ่งไญยธรรม อันหาประมาณมิได้ คือมีประมาณหาที่สุดมิได้ เพราะ
เหตุนั้น ธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้โคตมโคตร ผู้มีปกติเห็นธรรมอัน
หาประมาณมิได้พระองค์นั้น ทรงแสดงแล้วด้วยดี โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเป็น
ที่สิ้นไป เป็นที่สำรอกกิเลส ไม่ตาย ประณีต ดังนี้บ้าง ว่า ทำให้สร่างเมา
กำจัดความระหาย ดังนี้บ้าง ว่าเป็นที่เข้าไปสงบแห่งสังขารทั้งปวง ดังนี้บ้าง
พระนิพพาน (นั้น ) อันเราเสวยแล้วในวันนี้.
จบอรรถกถาปริปุณณกเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 433
๒. วิชยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวิชยเถระ
[๒๒๙] ได้ยินว่า พระวิชยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ผู้ได้มีอาสวะสิ้นแล้ว ไม่ติดอยู่ในอาหาร มี
สุญญตวิโมกข์ และอนิมิตตวิโมกข์ เป็นโคจร รอยเท้า
ของผู้นั้นรู้ได้ยาก เหมือนรอยเท้าของฝูงนกในอากาศ
ฉะนั้น.
อรรถกถาวิชยเถรคาถา
คาถาของท่านพระวิชยเถระ เริ่มต้นว่า ยสฺสาสวา ปริกฺขีณา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
เกิดในตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
พระนามว่า ปิยทัสสี บรรลุถึงความเป็นผู้รู้แล้ว เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน
แล้ว ให้ช่างกระทำไพที (แท่นที่วางเครื่องสักการะ) อันขจิตด้วยรัตนะ สำหรับ
พระสถูปของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปิยทัสสี แล้วให้ทำการฉลอง
ไพทีอย่างโอฬาร ที่พระสถูปนั้น.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปด้วยแสงสว่างแห่งแก้วมณี ใน
หลายร้อยอัตภาพ. เมื่อเขาท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 434
บังเกิดแล้วในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้
มีนามว่า วิชยะ. วิชยพราหมณ์เจริญวัยแล้ว สำเร็จการศึกษาในวิชชาของ
พราหมณ์ทั้งหลาย บวชเป็นดาบส เป็นผู้ได้ฌาน อยู่ชายป่าฟังข่าวการบังเกิด
ขึ้นของพระพุทธเจ้าแล้ว เกิดความเลื่อมใส เข้าไปสู่สำนักของพระศาสดา
ถวายบังคมพระศาสดา แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระศาสดาทรงแสดงธรรม
แก่เขาแล้ว เขาฟังธรรมแล้วบวช เริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ต่อกาล
ไม่นานนัก สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อพระโลกนาถทรงพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้สูง
กว่านระ ปรินิพพานแล้ว เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส
ได้กระทำแท่นบูชาพระพุทธเจ้า แวดล้อมด้วยแก้วมณี
แล้ว ได้กระทำการฉลองอย่างมโหฬาร ครั้นทำการ
ฉลองแท่นบูชาแล้ว เราได้ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น เรา
เข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ใน
กำเนิดนั้น ๆ เทวดาทั้งหลาย ย่อมทรงแก้วมณีไว้ใน
อากาศ นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม ในกัปที่ ๑,๖๐๐ แต่
ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๓๒ พระองค์
พระนามว่า " มณิปภา " มีพลมาก. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระ-
ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
ได้กล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 435
ผู้ใดมีอาสวะสิ้นแล้ว ไม่ติดอยู่ในอาหาร มี
สุญญตวิโมกข์ และอนิมิตตวิโมกข์ เป็นโคจร รอยเท้า
ของผู้นั้น รู้ได้ยาก เหมือนรอยเท้าของฝูงนกในอากาศ
ฉะนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺสาสวา ปริกฺขีณา ความว่า อาสวะ
๔ มีกามาสวะเป็นต้น ของบุคคลผู้สูงสุดใด สิ้นแล้วโดยประการทั้งปวง คือ
ให้สิ้นไปแล้วด้วยพระอริยมรรค.
บทว่า อาหาเร จ อนิสฺสิโต ความว่า บุคคลใดไม่ติดอยู่แล้ว
คือไม่ลุอำนาจของความอยาก ได้แก่ไม่ถึงความละโมบในอาหาร ด้วยธรรม
เป็นเครื่องติด คือ ตัณหาและทิฏฐิ บทนี้เป็นเพียงตัวอย่าง พึงทราบว่าใน
คาถานี้ ท่านถือเอาปัจจัยแม้ทั้ง ๔ ไว้ด้วยศัพท์ที่เป็นประธาน คืออาหารศัพท์
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่าในคาถานี้ อาหารศัพท์เป็นปริยายแห่งปัจจัย.
ในบทว่า สุญฺโต อนิมิตฺโต จ นี้ ท่านหมายเอาอัปปณิหิตวิโมกข์
เข้าไว้ด้วย. ก็วิโมกข์ทั้ง ๓ แม้เหล่านี้ เป็นชื่อของพระนิพพานทั้งนั้น อธิบาย
ว่า พระนิพพานชื่อว่า ว่าง เพราะไม่มีกิเลสมีราคะเป็นต้น ท่านเรียกว่า
สุญญตวิโมกข์ เพราะว่างและพ้นจากกิเลสมีราคะเป็นต้นเหล่านั้น อนึ่ง พระ-
นิพพาน ชื่อว่า หานิมิตมิได้ เพราะไม่มีนิมิตมีราคะเป็นต้น และเพราะไม่มี
สังขารนิมิต ท่านเรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เพราะไม่มีกิเลสเหล่านั้นเป็นนิมิต
และว่างจากกิเลสเหล่านั้น พระนิพพานชื่อว่า หาที่ตั้งมิได้ เพราะไม่มีที่ตั้งมี
กิเลสเป็นต้น ท่านเรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ เพราะกิเลสเหล่านั้นตั้งไม่ได้
และหลุดพ้นจากกิเลสเหล่านั้น. วิโมกข์ทั้ง ๓ อย่างแม้นี้ เป็นโคจรของภิกษุใด
ผู้กระทำพระนิพพานนั้นให้เป็นอารมณ์ แล้วอยู่ด้วยสามารถแห่งผลสมาบัติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 436
บทว่า อากาเสเยว สกุณาน ปท ตสฺส ทุรนฺวย ความว่า
รอยเท้าของนกทั้งหลายที่บินไปในอากาศ อันบุคคลไม่สามารถเพื่อจะรู้ได้ว่า
นกทั้งหลายใช้เท้าเหยียบในที่นี้แล้วบินไป กระทบที่ตรงนี้ด้วยท้องแล้วบินไป
กระทบที่ตรงนี้ ด้วยศีรษะแล้วบินไป กระทบที่ตรงนี้ ด้วยปีกแล้วบินไป ดังนี้
ฉันใด สำหรับภิกษุเห็นปานนี้ ก็ฉันนั้น อันบุคคลไม่สามารถเพื่อจะรู้ได้ว่า
ไปแล้วในทางทั้งหลาย มีทางนรกเป็นต้น ด้วยทางชื่อนี้ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาวิชยเถรคาถา
๓. เอรกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเอรกเถระ
[๒๓๐] ได้ยินว่า พระเอรกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ดูก่อนเอรกะ กามเป็นทุกข์ ดูก่อนเอรกะ กาม
ไม่เป็นสุขเลย ผู้ใดใคร่กาม ผู้นั้น ชื่อว่าใคร่ทุกข์ ผู้
ใดไม่ใคร่ถาม ผู้นั้น ชื่อว่า ไม่ใคร่ทุกข์.
อรรถกถาเอรกเถรคาถา
คาถาของท่านเอรกเถระ เริ่มต้นว่า ทุกฺขา กามา เอรกา. เรื่อง
ราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ มาก บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่ง
เห็นพระศาสดา เป็นผู้มีใจเลื่อมใส เมื่อหาอะไร ๆ ที่ควรถวายพระบรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 437
ศาสดาไม่ได้ จึงคิดว่า เอาเถิด เราจะเอาร่างกายบำเพ็ญบุญ ดังนี้แล้ว แผ้ว
ถางทางเสด็จพระดำเนินของพระศาสดา กระทำให้เรียบเสมอ. พระศาสดา
เสด็จดำเนินไปสู่ทางที่เขากระทำไว้แล้วอย่างนั้น. เขาเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จไปที่ทางนั้น เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ถวายบังคมแล้วประคองอัญชลี แล้ว
เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส จนกระทั่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จล่วงทัสนูปจาร ก็ไม่ละ
ปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ได้ยืนอยู่แล้ว.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ อยู่แต่ในสุคติภพอย่างเดียวเท่านั้น เกิดเป็นบุตรของกุฏุมพี
ชื่อว่า สัมภาวนียะ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ มีนามว่า
เอรกะ เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ใน
กิจการใหญ่น้อยทั้งหลาย. มารดาบิดาของเขา นำหญิงสาวที่สมควรกัน ด้วย
ตระกูล รูปร่าง มรรยาท วัย และความฉลาด มาทำการวิวาหะ เขาอยู่ใน
เรือนโดยร่วมสังวาสกับนาง แล้วเกิดความสลดใจในสงสาร ด้วยอารมณ์อัน
เป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจบางประการ เพราะเป็นภพสุดท้าย ไปสู่สำนักของ
พระศาสดา ฟังธรรมแล้ว ได้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว. พระศาสดาได้ทรงประทาน
กรรมฐานแก่เขา. เขาเรียนกรรมฐานแล้ว ถูกความกระสันครอบงำ โดยผ่าน
ไปไม่กี่วันอยู่แล้ว ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบความเป็นไปแห่งจิตของ
ท่าน ได้ตรัสพระคาถาเป็นพระโอวาทว่า ทุกฺขา กามา เอรก ดูก่อนเอรกะ
กามเป็นทุกข์ ดังนี้เป็นอาทิ. ท่านฟังคาถานั้นแล้ว เกิดความสลดใจว่า การ
ที่เราเรียนกรรมฐานในสำนักของพระศาสดาเห็นปานนี้ แล้วสละกรรมฐานนั้น
อยู่อย่างผู้มากไปด้วยมิจฉาวิตก นั้น ชื่อว่า กระทำกรรมอันไม่สมควรเลย
ดังนี้ แล้วหมั่นประกอบวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สม
ดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 438
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุเสด็จไปสู่ท่า
น้ำแล้ว เสด็จดำเนินไปสู่ป่า เราได้เห็นพระสัมมาสัม
พุทธเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ มีพระลักษณะ
อันประเสริฐพระองค์นั้น จึงได้ถือเอาจอบและปุ้งกี๋มา
ปราบหนทางให้ราบเรียบ เราได้ถวายบังคมพระศาสดา
แล้ว ยังจิตของตนให้เลื่อมใส ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทร
กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เรา
ไม่รู้จักทุคติเลย ในกัปที่ ๕๗ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จอมประชา องค์หนึ่งมี
นามว่า สุปปพุทธะ เป็นนายก เป็นใหญ่กว่านระ
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นเป็นพระอรหันต์แล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผลได้
กล่าวซ้ำพระคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วนั่นแหละ ว่า
ดูก่อนเอรกะ กามเป็นทุกข์ ดูก่อนเอรกะ กาม
ไม่เป็นสุขเลย ผู้ใดใคร่กาม ผู้นั้นชื่อว่า ใคร่ทุกข์
ผู้ใดไม่ใคร่กาม ผู้นั้นชื่อว่า ไม่ใคร่ทุกข์ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขา กามา ความว่า วัตถุกามและ
กิเลสกามเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ และเพราะมีวิปริ-
ณามทุกข์ และสังขารทุกข์เป็นสภาพ คือยังทุกข์ให้เกิดขึ้นแน่นอน. สมดังคำ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ มีอาทิว่า กามมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก ในกามนี้ ไม่มีโทษ (อะไร) จะยิ่งไปกว่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 439
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกพระเถระนั้นว่า เอรกะ เป็นครั้งแรก
ก่อน แต่ภายหลัง พระเถระจึงเรียกตนเองโดยนามว่า เอรกะ.
บทว่า น สุขา กามา ความว่า ขึ้นชื่อว่ากามนี้ ไม่เป็นความสุข
เลย สำหรับบุคคลผู้รู้อยู่ แต่สำหรับคนไม่รู้ ย่อมปรากฏโดยเป็นสุข. สมดัง
ที่ท่านกล่าวไว้ มีอาทิว่า ผู้ใดเห็นความสุข โดยเป็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าได้เห็น
ทุกข์ โดยความเป็นลูกศร.
บทว่า โย กาเม กามยติ ทุกฺข โส กามยติ ความว่า สัตว์
ผู้ใด ใคร่กิเลสกาม และ วัตถุกาม ความใคร่นั้นของสัตว์ผู้นั้น ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเร่าร้อนในปัจจุบัน ทั้งชื่อว่า เป็นทุกข์ในเวลาต่อไป เพราะเป็น
เหตุแห่งทุกข์ในอบาย และเหตุแห่งทุกข์ในวัฏฏะ. ก็วัตถุกาม ชื่อว่าเป็นที่
ตั้งแห่งทุกข์ ด้วยประการฉะนี้. สัตว์ผู้นั้น ท่านจึงเรียกว่า ใคร่วัตถุกาม
ที่มีทุกข์เป็นสภาพ มีทุกข์เป็นนิมิต และเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์. ทุกข์นอกนี้
ท่านกล่าวไว้ เพื่อให้รู้เนื้อความนั้นแหละ โดยตรงข้าม เพราะฉะนั้น ใจ
ความของทุกข์นั้น พึงทราบโดยปริยายดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว.
จบอรรถกถาเอรกเถรคาถา
๔. เมตตชิเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเมตตชิเถระ
[๒๓๑] ได้ยินว่า พระเมตตชิเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศากย-
บุตร ผู้มีพระสิริพระองค์นั้น พระองค์ผู้ถึงแล้วซึ่ง
ธรรมอันสูงสุด ได้ทรงแสดงอัครธรรมนี้ ด้วยดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 440
อรรถกถาเมตตชิเถรคาถา
คาถาของท่านพระเมตตชิเถระ เริ่มต้นว่า นโม หิ ตสฺส ภควโต.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยิ่งในพระศาสดา
ก่อแท่นบูชาของโพธิพฤกษ์ ด้วยอิฐทั้งหลาย แล้วให้ทาด้วยปูนขาว. พระ
ศาสดาได้ทรงกระทำอนุโมทนาแก่เขาแล้ว.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์คน
หนึ่ง ในแคว้นมคธ ในพุทธุปบาทกาลนี้ได้มีนามว่า เมตตชิ.
เมตตชิพราหมณ์เจริญวัยแล้ว เห็นโทษในกามทั้งหลาย บวชเป็น
ดาบสอยู่ในป่า สดับข่าวการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแล้ว อันบุพเหตุตัก
เตือนอยู่ ไปสู่สำนักของพระศาสดา ทูลถามปัญหาปรารภความเป็นไป และ
การกลับมา เมื่อพระศาสดาทรงวิสัชนาปัญหาแล้ว ได้มีศรัทธาจิต บวช
แล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว
ไว้ในอปทานว่า
เราได้ทำไพที ( แท่นบูชา) ที่โพธิพฤกษ์ แห่ง
พระมหามุนี พระนามว่า อโนมทัสสี เราใส่ก้อนปูน
ขาวแล้ว ได้กระทำกิจด้วยมือของตนเอง พระศาสดา
ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้อุดมกว่านระ ทอดพระ
เนตรเห็น กุศลกรรมที่เราทำแล้วนั้น ประทับอยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 441
ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า ด้วยสุธา-
กรรมนี้ และด้วยการตั้งเจตนาไว้ ผู้นี้เสวยสมบัติแล้ว
จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เราได้เป็นผู้มีสีหน้า
ผ่องใส มีอารมณ์เดียว มีจิตมั่นคง ทรงกายที่สุดไว้
ในพระศาสนาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกัปที่ ๑๐๐
แต่ภัทรกัปนี้ เต็มบริบูรณ์ไม่บกพร่อง เราได้เป็นพระ
เจ้าจักรพรรดิราช นามว่า สัพพฆนะ มีพล
มาก. เราฆ่ากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระ
พุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะชื่นชมพระบรมศาสดา
ได้กล่าวคาถาว่า
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคศากยบุตร ผู้มี
พระสิริพระองค์นั้น พระองค์ผู้ถึงแล้วซึ่งธรรมอันสูง
สุด ได้ทรงแสดงอัครธรรม นี้ไว้ด้วยดี ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นโม ได้แก่ ทำการนอบน้อม. บทว่า
หิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ตสฺส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นใด ทรงบำเพ็ญบารมีมาครบ ๓๐ ทัศ. ทรงหักกิเลสทั้งปวง แล้วตรัสรู้
พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ชื่อว่าเป็นศากยบุตร เพราะเป็นบุตรของพระ
เจ้าศากยะ ทรงเจริญแล้วด้วยบุญสมบัติ อันไม่สาธารณ์ทั่วไป แก่สัตว์อื่น
และชื่อว่า ผู้มีพระสิริ เพราะประกอบไปด้วยสิริ คือรูปกาย และสิริคือธรรม-
กายอันสูงสุด ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีศากยบุตร
ผู้มีพระสิริพระองค์นั้น ความว่า ข้าพเจ้าขอน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 442
บทว่า เตน แก้เป็น เตน ภควตา แปลว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น. พระเถระกล่าวว่า อย เพราะความที่ธรรมนั้นประจักษ์แก่ตน.
บทว่า อคฺคปฺปตฺเตน ได้แก่ เลิศ คือ ทรงรู้สรรพธรรม อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ผู้ถึงซึ่งความเป็นผู้เลิศ คือความเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยพระคุณทั้งหลาย
ทั้งปวง. บทว่า อคฺคธมฺโม ได้แก่ นวโลกุตรธรรม ๙ อันเลิศ คือ
สูงสุด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว คือทรงประกาศแล้วด้วยดี คือ
ไม่ผิดพลาด ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาเมตตชิเถรคาถา
๕. จักขุปาลเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระจักขุปาลเถระ
[๒๓๒] ได้ยินว่า พระจักขุปาลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราเป็นคนบอด มีนัยน์ตาอันโรคกำจัดแล้ว
เดินทางไกลอยู่ เราย่อมนอน อยู่ ณ ที่นี้ จักไม่ไป
กับเพื่อนผู้ลามก.
อรรถกถาจักขุปาลเถรคาถา
คาถาของท่านพระจักขุปาลเถระ เริ่มต้นว่า อนฺโธห หตเนตฺโตมฺหิ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนั้น ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ กระทำบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 443
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อมหาชนกำลังทำการฉลองพระสถูป
อยู่ ถือเอาดอกไม้ไปบูชาพระสถูปแล้ว.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้ว ท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของกุฏุมพี ชื่อว่า
มหาสุวัณณะ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า ปาละ.
ในเวลาที่เขาเที่ยววิ่งเล่นไปมาได้ มารดาก็คลอดบุตรอีกคนหนึ่ง.
มารดาบิดา ตั้งชื่อบุตรคนใหม่ว่า จุลปาละ เรียกบุตรคนก่อนว่า มหาปาละ.
ครั้นบุตรทั้งสองเจริญวัยแล้ว มารดาบิดา ก็ผูกพันไว้ด้วยเครื่องผูก คือ เรือน
ในสมัยนั้น พระศาสดาประทับอยู่ในพระวิหาร ชื่อว่า เชตวัน ณ กรุงสาวัตถี.
ในพี่น้องสองคนนั้น มหาปาลกุฏุมพีผู้พี่ ไปสู่วิหารพร้อมกับอุบาสกทั้งหลาย
ผู้ไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้มีศรัทธาจิต
แล้ว มอบทรัพย์สมบัติให้เป็นภาระของน้องชายคนเล็กแต่ผู้เดียว ตนเองบรรพ-
ชาได้อุปสมบทแล้ว อยู่ในสำนักของอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ตลอด ๕ พรรษา
ครั้นออกพรรษาปวารณาแล้ว เรียนกรรมฐานในสำนักของพระศาสดา ได้ภิกษุ
ผู้เป็นสหายประมาณ ๖๐ รูป แสวงหาที่อยู่อันเหมาะแก่การเจริญภาวนา พร้อม
กับภิกษุเหล่านั้น อาศัยปัจจันตคาม (บ้านชายแดน) แห่งหนึ่ง อยู่ในบรรณ-
ศาลา ราวป่า ที่เหล่าอุบาสกผู้มีปกติอยู่ในบ้านสร้างถวาย บำเพ็ญสมณธรรม.
โรคตาเกิดแก่ท่านแล้ว หมอก็จัดยาถวาย ท่านไม่ปฏิบัติตามวิธีที่
หมอสั่ง ด้วยเหตุนั้น โรคของท่านจึงกำเริบ ท่านคิดว่า สำหรับเราการเข้าไป
ระงับโรค คือ กิเลสเท่านั้น ประเสริฐกว่าการบำบัดโรคตา ดังนี้แล้ว
ไม่สนใจ (การเยียวยารักษา) โรคตา ได้เป็นผู้หมั่นประกอบขวนขวายเฉพาะ
ในวิปัสสนาอย่างเดียวเท่านั้น. เมื่อท่านขวนขวายการเจริญภาวนาอยู่ ตาทั้งสอง
ก็แตก และกิเลสทั้งหลายก็ดับ ไม่ก่อนไม่หลังกัน (พร้อมกัน ) ท่านได้สำเร็จ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 444
เป็นพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสกแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้เป็นโลกนาถ สมควรรับเครื่องบูชา นิพพานแล้ว
ได้มีการฉลองพระสถูปอย่างมโหฬาร เมื่อการฉลอง
พระสถูป แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
สิทธัตถะ กำลังดำเนินไปอยู่ เรานำเอาดอกผักตบไป
บูชาที่พระสถูป ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราบูชา
พระสถูปด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสถูปด้วยดอกไม้
และในกัปที่ ๙ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๘๕ พระองค์ ทรงพระนามเหมือนกันว่า โสมเทวะ
มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ครั้งนั้น เมื่อพระเถระเข้าอยู่ในวิหารด้วยโรคตา พวกอุบาสกอุบาสิกา
เห็นภิกษุทั้งหลายเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตจึงถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระ
จึงไม่มา ทราบความนั้นแล้ว เป็นผู้อันความเศร้าโศกครอบงำ นำบิณฑบาต
ไปถวาย พูด (ปลอบใจ) ว่าท่านขอรับ ขอท่านอย่าได้คิดอะไรเลย บัดนี้
พวกกระผมนำบิณฑบาตมาถวายแล้ว จักปรนนิบัติท่านเอง ดังนี้แล้ว ก็กระทำ
ตามนั้น ภิกษุทั้งหลาย ( ๖๐ รูป) ตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระแล้ว บรรลุ
พระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก ครั้นออกพรรษาปวารณาแล้ว กล่าวกะพระเถระ
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกกระผมจะไปพระนครสาวัตถี เพื่อถวายบังคม
พระศาสดา. พระเถระกล่าวว่า เราเป็นคนทุพพลภาพ ไม่มีจักษุทั้งหนทางก็มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 445
อันตราย เมื่อท่านทั้งหลายไปพร้อมกับเราจักมีอันตราย ท่านทั้งหลายจงล่วงหน้า
ไปเถิด ครั้นถึงแล้วจงถวายบังคมพระศาสดา และไหว้พระมหาเถระทั้งหลาย
แทนเราด้วย จงบอกเรื่องราวของเราแก่จูลปาลกุฏุมพี (ผู้เป็นน้องชาย) ให้ส่ง
คนมาให้. ภิกษุเหล่านั้นวิงวอนซ้ำอีก ไม่ได้โอกาสที่จะนำพระเถระไปด้วย
(พระเถระไม่ยอมไป) จึงรับคำพระเถระว่า ดีละขอรับ ต่างเก็บงำเสนาสนะแล้ว
บอกลาอุบาสก ไปสู่เชตวันมหาวิหารโดยลำดับ ถวายบังคมพระศาสดา และ
ไหว้พระมหาเถระทั้งหลาย แทนพระเถระ ( ตามคำสั่ง) ในวันที่สองจึงเที่ยว
บิณฑบาตในพระนครสาวัตถี บอกข่าวนั้นแก่จูฬปาลกุฏุมพี เมื่อเขาพูดว่า
ท่านขอรับ หลานชายของผมคนนี้ ชื่อว่า ปาลิตะ ผมจักส่งหลานชายไป
จึงพูดว่า หนทางมีอันตราย ลำพังคฤหัสถ์คนเดียวไม่สามารถจะไปได้ เพราะ
ฉะนั้น ควรให้เขาบรรพชาเสียก่อน แล้วยังนายปาลิตให้บรรพชา ส่งไปแล้ว.
ปาลิตสามเณรเดินทางไปยังสำนักของพระเถระโดยลำดับ แนะนำตน
แก่พระเถระ แล้วพาพระเถระเดินทางมา ในระหว่างทางได้ฟังเสียงเพลงที่หญิง
เก็บฟืนคนหนึ่งขับอยู่ ที่ราวป่าใกล้บ้านหลังหนึ่ง เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ (ในนาง)
จึงปล่อยปลายไม้เท้า กล่าวว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงยืนรอสักครู่ จนกว่า
ผมจะมา แล้วตรงไปยังสำนักของนาง แล้วถึงศีลวิบัติในที่นั้น. พระเถระ
ก็คิดว่า เราได้ยินเสียงหญิงขับเพลงในบัดนี้นี่เอง และสามเณรก็ช้าอยู่
ชะรอยสามเณรจักถึงศีลวิบัติเป็นแน่.
ฝ่ายสามเณร มาแล้ว กล่าวว่า ท่านขอรับเราไปกันเถิด. พระเถระ
ถามว่า เธอเกิดเป็นคนลามกเสียแล้วหรือ ? สามเณรก็นิ่งเสีย แม้พระเถระ
จะถามบ่อย ๆ ก็ไม่ตอบ. พระเถระจึงกล่าวว่า คนลามกอย่างเธอไม่มีหน้าที่
ถือไม้เทพของเรา เธอจงไปเสียเถิด ดังนี้ เมื่อสามเณรกล่าวว่า หนทางมี
อันตรายมาก ทั้งท่านก็ตาบอด ท่านจักเดินไปอย่างไรได้ เมื่อจะแสดงความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 446
นี้ว่า ดูก่อนคนพาล แม้เมื่อเรานอนตายอยู่ในที่นี้ก็ดี นอนดิ้นไปมาอยู่ก็ดี
ขึ้นชื่อว่า การเดินทางไปกับคนเช่นเธอไม่มี ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถาว่า
เราเป็นคนบอด มีนัยน์ตาอันโรคกำจัดแล้ว
เดินทางไกลอยู่ เรายอมนอนอยู่ ณ ที่นี้ จักไม่ไป
กับเพื่อนผู้ลามก ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺโธ ได้แก่ เป็นผู้มีตาพิการ. บทว่า
หตเนตฺโต ได้แก่ เป็นผู้มีจักษุพินาศแล้ว. ด้วยบทว่า หตเนตฺโต นั้น
ย่อมส่งความให้พิเศษออกไปถึงความเป็นคนบอดตามที่กล่าวแล้วว่า เราเป็น
คนบอด เพราะความเป็นผู้มีตาอันลมกำจัดแล้ว ด้วยสามารถแห่งประโยควิบัติ.
อีกอย่างหนึ่ง เพื่อจะแสดงว่า บทว่า อนฺโธ นี้ เป็นการแสดงความพิกล
พิการของตาเนื้อ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้ชรา ตาบอด ดังนี้
ไม่ใช่แสดงถึงความวิกลพิการ ของปัญญาจักษุ ดังในประโยคมีอาทิว่าปริพาชก
ทั้งหลายเหล่านี้ แม้ทั้งปวง เป็นคนบอด เป็นผู้ไม่มีดวงตา (เห็นธรรม)
และดุจในประโยคมีอาทิว่า เป็นคนบอด มีตาข้างเดียว มีตาสองข้าง ดังนี้
พระเถระจึงกล่าวบทว่า หตเนตฺโตสฺมิ ไว้ด้วย พระเถระแสดงถึงความเป็น
คนบอดอย่างสูงยิ่ง (บอดสนิท) ด้วยบทว่า หตเนตฺโตสฺมิ นั้น.
บทว่า กนฺตารทฺธานปกฺขนฺโท ความว่า เข้าไปตามทางไกลใน
ป่าใหญ่อันกันดาร อธิบายว่า ไม่ใช่ดำเนินไปสู่ทางไกลคือสงสาร อันรกชัฏ
ไปด้วยกันดารมีชาติกันดารเป็นต้น เพราะว่า พระเถระนี้ ก้าวล่วงทางไกล
อันกันดารเช่นนั้นได้แล้ว ดำรงอยู่. บทว่า สยมาโนปิ ความว่า แม้นอนอยู่
คือว่าเมื่อเท้าทั้งสองข้างไม่นำมา ถึงจะนอนเกลือกกลิ้งไปมาอยู่ที่พื้นดินด้วยอก
และสู่ด้วยเข่าทั้งสอง ก็จะไปเอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 447
บทว่า น สหาเยน ปาปเกน ประกอบความว่า จักไม่ไปกับ
คนลามก ผู้เป็นสหายเช่นท่าน.
ปาลิตสามเณร ฟังดังนั้นแล้ว เกิดความสลดใจ คิดว่า กรรมอันมี
โทษสาหัส หนักมากหนอ อันเรากระทำแล้วดังนี้ ประคองแขนทั้งสองร้องไห้
คร่ำครวญ วิ่งเข้าชัฏป่าไปแล้ว.
ครั้งนั้น ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ (ของท้าวสักกะ) แสดงอาการเร่าร้อน
ด้วยเดชแห่งศีลของพระเถระ ด้วยเหตุนั้น ท้าวสักกะ ทรงทราบเหตุนั้นแล้ว
เสด็จไปยังสำนักของพระเถระ ให้พระเถระรู้จักพระองค์ ดุจคนเดินทางไป
กรุงสาวัตถี ถือปลายไม้เท้า ย่นหนทางแล้วนำพระเถระไปในพระนครสาวัตถี
ในตอนเย็นวันนั้นเอง แล้วนิมนต์ให้พระเถระนั่งพักบนแผ่นกระดานในบรรณ-
ศาลา ที่จูลปาลิตกุฎมพีสร้างไว้ใกล้พระเชตวันนั้นแล้ว (บอก) ให้พระเถระ
รู้ความที่ตนมาแล้วโดยเพศแห่งสหาย (ผู้ร่วมทาง) ของท่านแล้วเสด็จหลีกไป.
แม้จูลปาลิตกุฏุมพี ก็อุปัฏฐากพระเถระด้วยความเคารพจนตลอดชีวิตฉะนี้แล.
จบอรรถกถาจักขุปาลเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 448
๖. ขัณฑสุมนเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระขัณฑสุมนเถระ
[๒๓๓] ได้ยินว่า พระขัณฑสุมนเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
เพราะเสียสละดอกไม้ เพียงดอกเดียว เราได้
รับการบำเรออยู่ในสวรรค์ถึง ๘๐ โกฏิปี ที่สุดได้บรรลุ
นิพพาน เพราะผลกรรมที่เหลือ.
อรรถกถาขัณฑสุมนเถรคาถา
คาถาของท่านพระขัณฑสุมนเถระ เริ่มต้นว่า เอกปุปฺผ จชิตฺวาน.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว เมื่อพระศาสดา
ปรินิพพานแล้ว สร้างไพทีสำเร็จด้วยไม้จันทน์ ล้อมรอบพระสถูปนั้นแล้ว
ได้ทำการบูชาใหญ่.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาเสวยสมบัติอันโอฬาร ในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เกิดในตระกูลกุฏุมพี ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
กัสสปะ เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อพระราชาทรงการทำการบูชาด้วย
ดอกไม้ อุทิศถวายพระสถูปทอง เขาหาดอกไม้ไม่ได้ เห็นดอกมะลิกิ่งหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 449
จึงซื้อมะลิกิ่งนั้นด้วยราคาแพง ถือไปทำการบูชาที่พระเจดีย์ เกิดปีติโสมนัส
อย่างมโหฬารหาที่เปรียบมิได้.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก เสวยความสุขในสวรรค์อยู่
๘๐ โกฏิปี แล้วเกิดในตระกูลแห่งเจ้ามัลละ ณ เมืองปาวา ในพุทธุปบาทกาลนี้.
ในเวลาที่เขาเกิด น้ำอ้อยและน้ำตาลกรวด และดอกมะลิทั้งหลาย ได้เกิดแล้ว
ในเรือนด้วยเหตุนั้น คนทั้งหลายจึงขนานนามเขาว่า ขัณฑสุมนะ. เขาถึงความ
เป็นผู้รู้แล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในสวนอัมพวัน ของนายจุนทะ
ณ เมืองปาวา เข้าไปเฝ้าแล้วฟังธรรม ได้มีศรัทธาจิตบวชแล้ว บำเพ็ญวิปัสสนา
ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
พระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ
รุ่งเรืองดังกองอัคคี ปรินิพพานแล้ว เมื่อพระมหาวีระ
ปรินิพพานแล้ว ได้มีพระสถูปอันกว้างใหญ่ ชนทั้งหลาย
เอาสิ่งของที่จะพึงถวายเข้าไปตั้งไว้ที่สถูปในห้องพระ-
ธาตุอันประเสริฐสุด ในกาลนั้น เรามีจิตเลื่อมใส มีใจ
โสมนัส ได้ทำไพที่ไม้จันทน์อันหนึ่ง อันสมบูรณ์แก่
พระสถูป และถวายธูปและของหอม ในภพที่เราเกิด
คือในความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ เราไม่เห็นความที่เรา
เป็นผู้ต่ำทรามเลย นี้เป็นผลแห่งบุรพกรรม ในกัปที่
๑,๕๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘
พระองค์มีนามว่า สมัตตะ ทุกพระองค์ มีพลมาก.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 450
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อระลึกถึงชาติก่อนของตน
เห็นการบริจาคดอกมะลิของตน ในชาติก่อนนั้น เป็นนิมิตแห่งสวรรค์สมบัติ
และเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน เมื่อจะประกาศความนั้นด้วยสามารถแห่ง
อุทาน ได้กล่าวคาถาว่า
เพราะสละดอกไม้เพียงดอกเดียว เราได้รับ
การบำเรออยู่ในสวรรค์ ถึง ๘๐ โกฎิปี ที่สุดได้บรรลุ
พระนิพพาน เพราะผลกรรมที่เหลือ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกปุปฺผ ได้แก่ ดอกโกสุมดอกหนึ่ง
แต่บทว่า เอกปุปฺผ นั้นในคาถานี้ ท่านหมายเอาดอกมะลิ.
บทว่า จชิตฺวาน ความว่า เพราะสละ คือเพราะเหตุแห่งการ
บริจาคดอกไม้ดอกเดียว โดยกระทำเป็นเครื่องบูชาพระสถูปของพระศาสดา.
บทว่า อสีติ วสฺสโกฏิโย ความว่า สิ้น ๘๐ โกฏิปี โดยนับปีแบบ
ของมนุษย์. ก็บทว่า อสีติวสฺสโกฏิโย นี้ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอัจจันตสัง-
โยคะ. ก็แลบทนี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้ ด้วยสามารถแห่งการอุปบัติแล้ว ๆ
เล่า ๆ ในสวรรค์กามาวจรชั้นที่ ๒. เพราะเหตุนั้น บทว่า สคฺเคสุ จึงได้แก่
ในโลกสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. ก็ในคาถานี้ บทนี้เป็นพหุพจน์ โดยที่เป็นการ
บังเกิดขึ้นบ่อย ๆ ครั้ง.
บทว่า ปริจาเรตฺวา ความว่า บำรุงบำเรออินทรีย์ในอารมณ์ทั้งหลาย
มีรูปารมณ์เป็นต้น แล้วเสวยความสุข อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ให้นางเทพอัปสร
บำเรอบำรุงตน.
ด้วยบทว่า เสสเกนมฺหิ นิพฺพุโต นี้ พระเถระกล่าวหมายถึง
กุศลกรรม อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในอัตภาพนั้น ด้วยกรรมที่เหลือ
จากกรรมที่ให้ภวสมบัติ ในกุศลเจตนาอันเป็นไปแล้ว ด้วยสามารแห่งการบูชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 451
ด้วยดอกไม้. อธิบายว่า ได้แก่เจตนามากหลาย ที่เป็นไปแล้วด้วยสามารถ
แห่งบุรพเจตนา และอปรเจตนาในกุศลกรรมนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เสสเกน ความว่า เมื่อกรรมวิบากนั้นยังไม่ทัน
สิ้นไป ด้วยวิบากที่ยังเหลืออยู่ของกรรมนั้นนั่นแหละ เราก็เป็นผู้ดับแล้ว คือ
เราปรินิพพานแล้ว ด้วยกิเลสปรินิพพาน. ด้วยบทว่า เสสเกน นี้ พระเถระ
แสดงว่า พระอรหัตอันตนตั้งอยู่แล้วในอัตภาพใด กระทำให้แจ้งแล้ว อัตภาพ
ครั้งสุดท้าย แม้นั้น เป็นกรรมวิบาก ของกุศลกรรมอันนั้น.
คำว่า ด้วยวิบากที่ยังเหลืออยู่ของกรรมนั้นนั่นแหละ. ดังนี้ ที่ท่าน
กล่าวไว้แม้ในที่อื่น ก็หมายถึงอัตภาพสุดท้ายเช่นนั้น.
จบอรรถกถาขัณฑสุมนเถรคาถา
๗. ติสสเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระติสสเถระ
[๒๓๔] ได้ยินว่า พระติสสเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราได้สละภาชนะทองคำ มีน้ำหนักประมาณ
๑๐๐ ปละ วิจิตรด้วยลวดลายตั้งร้อยชนิด มาถือบาตร
ดิน นี้เป็นการอภิเษกครั้งที่ ๒ ของเรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 452
อรรถกถาติสสเถรคาถา
คาถาของท่านพระติสสเถระเริ่มต้นว่า หิตฺวา สตปล กส. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ เกิดในตระกูลของคนทำยานพาหนะ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่ง
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วมีใจเลื่อมใส ทำแผ่นกระดานด้วยท่อนไม้จันทน์
แล้วน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงใช้สอย
แผ่นกระดานนั้น.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว
ไปๆ มาๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิดในราชตระกูล ในโรรุวนคร
ในพุทธุปบาทกาลนี้. พระราชกุมารเจริญพระชนพรรษาแล้ว เมื่อพระราชบิดา
สวรรคต ก็ดำรงอยู่ในราชสมบัติ เป็นอทิฏฐสหายของพระเจ้าพิมพิสาร ส่ง
บรรณาการมีแก้วมณี แก้วมุกดา และผ้าเป็นต้น ไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร.
พระเจ้าพิมพิสาร ทรงสดับความมีบุญของพระเจ้ากรุงโรรุวะนั้น จึงทรงส่ง
เครื่องราชบรรณาการตอบไป แล้วให้จารึกพระพุทธจริยาลงในจิตรบัตร และ
จารึกปฏิจจสมุปบาท ลงในพระสุพรรณบัตรส่งไปถวาย. พระเจ้าโรรุวะ ทรง
ตรวจดูพระพุทธจรรยา ที่เขียนแสดงไว้ในจิตรบัตร และลำดับแห่งปฏิจจ-
สมุปบาท ที่จารึกไว้ในพระสุพรรณบัตร ทรงกำหนดประวัตกาล ที่เป็นอยู่ใน
ปัจจุบัน และนิวัติกาล ที่ผ่านมาในอดีต ทบทวนลำดับแห่งพระราชสาสน์ใน
พระทัย แล้วเกิดความสลดพระทัย เพราะพระองค์เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้
แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ และเพราะภพนี้เป็นภพสุดท้าย จึงทรงพระดำริ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 453
ว่า เพศพรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเราพบแล้ว และความคืบหน้าของ
พระราชสาสน์ เราก็รู้แล้ว กามทั้งหลายมีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
ประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ครอบครองราชสมบัติในบัดนี้ จึงทรงสละราชสมบัติ
ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ บวชอุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถือเอาบาตรที่ทำด้วยดิน ประพฤติเหมือนคนเทขยะ เมื่อมหาชนกำลังปริเทวนา
การอยู่นั่นแล ออกจากพระนคร เสด็จถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับอยู่ที่เงื้อมเขา ชื่อว่าสัปปโสณฑิกะ ในพระนคร
ราชคฤห์นั้น ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
พระศาสดาทรงแสดงธรรมแล้ว ท่านสดับพระธรรมเทศนา ถือเอา
กรรมฐานในวิปัสสนา หมั่นประกอบเนือง ๆ อยู่ ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุ
พระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นนายช่างทำยานอยู่ในเมือง เป็นผู้ศึกษาดี
แล้ว ในงานของช่างไม้ เราได้ทำแผ่นกระดานด้วย
ไม้จันทน์ ถวายแด่พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของ
โลก วิมานอันบุญกรรมนิรมิตดีแล้ว ด้วยทองคำนี้
ย่อมสว่างไสว ยานช้าง ยานม้า อันเป็นยานทิพย์
ปรากฏแก่เรา ปราสาทและวอ และแก้วอันประมาณ
มิได้ ย่อมบังเกิดแก่เราตามปรารถนา นี้เป็นผลแห่ง
การถวายแผ่นกระดาน ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เรา
ได้ถวายแผ่นกระดานใด ด้วยการถวายแผ่นกระดาน
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแต่งการถวายแผ่น
กระดาน ในกัปที่ ๕๗ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ๔ พระองค์ มีนามว่า " นิมมิตะ "
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 454
กิเลสทั้งทลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะกล่าวถึงข้อปฏิบัติของตน
ด้วยสามารถแห่งอุทาน จึงได้กล่าวคาถาว่า
เราได้สละภาชนะทองคำ มีน้ำหนักประมาณ
๑๐๐ ปละ วิจิตรด้วยลวดลายตั้งร้อยชนิด มาถือบาตร
ดิน นี้เป็นการอภิเษกครั้งที่สองของเรา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิตฺวา แปลว่า สละแล้ว.
บทว่า สตปล ได้แก่ภาชนะทองคำ ที่มีน้ำหนักประมาณ ๑๐๐ ปละ.
บทว่า กส ได้แก่ กังสดาล. บทว่า โสวณฺณ แปลว่า สำเร็จด้วยทอง.
บทว่า สตราชิก ความว่า ประกอบด้วยลวดลายมิใช่น้อย เพราะ
ความเป็นภาชนะที่มีฝาอันวิจิตร และงดงามด้วยแนวแห่งลายเขียนเป็นอเนก.
บทว่า อคฺคหึ มตฺติกามตฺต ความว่า พระเถระในกาลก่อน เคยฉัน
ในภาชนะมีค่ามากเห็นปานนี้ เมื่อกระทำตามพระพุทธโอวาท คิดว่า บัดนี้
เราละภาชนะทอง แล้วถือบาตรดิน โอ ! เราทำกรรมดีแล้วหนอ ธรรมเนียม
ของพระอริยเจ้า ดำรงมาแล้วโดยลำดับดังนี้แล้ว กล่าวอนุโมทนาการสละราช
สมบัติ และการเข้าถึงบรรพชาเพศ โดยแถลงยกย่องภาชนะ (ดิน). ด้วยเหตุนั้น
พระเถระจึงกล่าวว่า นี้เป็นการอภิเษกครั้งที่ ๒ ของเรา ดังนี้. อธิบายว่า
การเข้าถึงบรรพชาเพศนี้ ชื่อว่าเป็นการอภิเษกครั้งที่สองของเรา โดยถือเอา
ราชาภิเษก เป็นการอภิเษกครั้งแรก. เพราะว่าการอภิเษกครั้งแรกนั้น เป็น
กรรมที่เศร้าหมองไปด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น สับสนวุ่นวาย ประกอบไปด้วย
อนัตถโทษ เนื่องด้วยทุกข์ เป็นกรรมทีเลวทราม. ส่วนการอภิเษกครั้งที่ ๒
ของเรานี้ ชื่อว่า สูงสุด ประณีต เพราะผิดตรงข้ามจากการอภิเษกครั้งแรกนั้น.
จบอรรถกถาติสสเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 455
๘. อภัยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอภัยเถระ
[๒๓๕] ได้ยินว่า พระอภัยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เมื่อบุคคลได้เห็นรูปแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์
อันเป็นที่รัก สติก็หลงลืม ผู้ใดมีจิตกำหนัดยินดีเสวย
รูปารมณ์ รูปารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะทั้งหลาย
ย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งมูลแห่งภพ.
อรรถกถาอภัยเถรคาถา
คาถาของท่านพระอภัยเถระ เริ่มต้นว่า รูป ทิสฺวา สติ มุฎฺา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนั้น ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดใน
เรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า "สุเมธะ"
ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สุเมธะ ในวันหนึ่ง
ได้ทำการบูชาด้วยดอกช้างน้าว.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในหมู่เทพ กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว
ไป ๆ มาๆ อยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์ พระนครสาวัตถี
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า " อภัย " ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว อันเหตุสมบัติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 456
ตักเตือนอยู่ วันหนึ่งไปยังพระวิหาร ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว
ได้มีศรัทธาจิตบวชแล้ว กระทำบุรพกิจเสร็จแล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่.
วันหนึ่ง ท่านเข้าไปสู้บ้านเพื่อบิณฑบาต เห็นมาตุคามแต่งตัวสวยงาม
แล้วเกิดฉันทราคะ ปรารภรูปของหญิงนั้น ด้วยสามารถแห่งอโยนิโสมนสิการ
ท่านเข้าไปสู่วิหารแล้วข่มจิตของตนว่า เมื่อเราละสติแลดูอยู่ กิเลสในรูปารมณ์
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เรากระทำกรรมอันไม่สมควรแล้ว ดังนี้ เจริญวิปัสสนาใน
ทันใดนั้นเอง บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
พระสยัมภูผู้ไม่เคยพ่ายแพ้ มีพระนามว่า สุเมธะ
เมื่อทรงพอกพูนวิเวก จึงเสด็จเข้าสู่ป่าใหญ่ เราเห็น
ดอกช้างน้าวกำลังบาน จึงเอามาร้อยเป็นพวงมาลัย
บูชาแด่พระพุทธเจ้า ผู้เป็นนายของโลก เฉพาะ
พระพักตร์ ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชา
พระพุทธเจ้า ด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่
รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๑,๙๐๐
แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ พระองค์
มีนามว่า "สุนิมมิตะ" สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะแสดงว่า สำหรับผู้ที่
(ประพฤติ) คล้อยตามกิเลส ไม่มี (โอกาส) ที่จะยกศีรษะขึ้นจากวัฏทุกข์ได้เลย
ส่วนตัวเราไม่ประพฤติตามกิเลสเหล่านั้น ดังนี้ ด้วยการชี้ให้เห็นการบังเกิดขึ้น
แห่งกิเลสของตน ได้กล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 457
เมื่อบุคคลได้เห็นรูปแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์อัน
เป็นที่รัก สติก็หลงลืม ผู้ใดมีจิตกำหนัด ยินดีเสวย
รูปารมณ์ รูปารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะทั้งหลาย
ย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งมูลแห่งภพ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูป ได้แก่ รูปายตนะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด. ก็รูปายตนะนั้นในคาถานี้ ท่านหมายถึงรูปแห่งหญิง.
บทว่า ทิสฺวา ได้แก่ เห็นด้วยจักษุ คือ ยึดถือรูปนั้นด้วยสามารถ
แห่งการกำหนดโดยนิมิต และโดยอนุพยัญชนะ ด้วยการแล่นไปตามแห่งจักษุ-
ทวาร อธิบายว่า เพราะการถือเอารูปนั้นว่าเป็นอย่างนั้นเป็นเหตุ.
บทว่า สติ มุฏฺฐา ได้แก่ สติที่เป็นไปในกาย ที่มีความไม่งาม
เป็นสภาพ ว่าไม่งามนั่นแล หายไปแล้ว ก็พระเถระเมื่อจะแสดงถึงสติที่หายไป
เพราะเห็นรูปนั้น จึงกล่าวว่า มัวใส่ใจถึงอารมณ์อันเป็นที่รัก ดังนี้ ประกอบ
ความว่า เมื่อมัวใส่ใจอารมณ์ตามที่เข้ามาปรากฏ ด้วยอโยนิโสมนสิการ กระทำ
ปิยารมณ์ให้เป็นนิมิต โดยนัยมีอาทิว่า งาม เป็นสุข ดังนี้ สติก็หายไป.
ต่อแต่นั้น ก็จะมีจิตยินดีเสวยรูปารมณ์ ได้แก่ เป็นผู้มีจิตกำหนัด
แล้วด้วยดี เสวย คือ เพลิดเพลินรูปารมณ์นั้น ก็เมื่อมัวเพลิดเพลินอยู่ รูปารมณ์
ก็ครอบงำผู้นั้น คืออารมณ์จะครอบงำผู้นั้น ทำให้ลำบาก ให้ถึงที่สุดหมุนไป
ทีเดียว และอาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่เขาผู้เป็นแล้วอย่างนี้ คือ ชื่อว่า
ผู้เข้าถึงซึ่งมูลแห่งภพ ได้แก่ อาสวะทั้งหลาย แม้ทั้ง ๔ มีกามาสวะเป็นต้น
ที่มีการเข้าถึงซึ่งความเป็นมูล คือความเป็นเหตุแห่งภพ คือ สงสาร เป็นสภาพ
ย่อมเจริญแก่บุคคลนั้นยิ่ง ๆ ขึ้นไฝทีเดียว คือไม่เสื่อมเลย แต่อาสวะแม้ทั้ง ๔
เหล่านั้น อันเราผู้ตั้งอยู่แล้วในการพิจารณา เจริญวิปัสสนาแล้วแทงตลอดอยู่
ซึ่งสัจจะทั้งหลาย ละแล้วโดยไม่เหลือ ตามลำดับแห่งมรรค คือสิ้นไปรอบแล้ว
จบอรรถกถาอภัยเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 458
๙. อุตติยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอุตติยเถระ
[๒๓๖] ได้ยินว่า พระอุตติยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บุคคลผู้ได้สดับเสียงแล้ว พึงใส่ใจถึงอารมณ์
อันเป็นที่รัก สติก็หลงลืม ผู้ใดมีจิตกำหนัดยินดี
เสวยสัททารมณ์ สัททารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะ
ย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งสงสาร.
อรรถกถาอุตติยเถรคาถา
คาถาของท่านพระอุตติยเถระ เริ่มต้นว่า สทฺท สุตฺวา สติ มุฏฺา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดใน
เรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สุเมธะ
ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่งพบพระศาสดา เป็นผู้มีจิตเสื่อมใสแล้ว ตกแต่ง
บัลลังก์อัน ปูลาดด้วยพรมทำด้วยขนสัตว์เป็นต้น พร้อมทั้งผ้าสำหรับปิดเบื้องบน
(เพดาน) อันสมควรแก่พระพุทธเจ้า แล้วได้ถวายไว้ในพระคันธกุฎี.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เกิดในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ ในกรุงกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 459
อุตติยะ. เขาเจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพ ในสมาคมแห่งพระญาติ ของพระ-
บรมศาสดา ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา บรรพชาแล้ว บำเพ็ญสมณธรรม วันหนึ่ง
เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ฟังเสียงเพลงขับของมาตุคามในระหว่างทางเมื่อเกิด
ฉันทราคะขึ้นในเสียงเพลงขับนั้น ด้วยสามารถแห่งอโยนิโสมนสิการ จึงระงับ
ฉันทราคะนั้น ด้วยกำลังแห่งการพิจารณา แล้วเข้าไปสู่วิหาร เกิดความสังเวช
นั่งในที่พักกลางวัน เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ในขณะนั้นเอง. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ก็เราได้ถวายบัลลังก์ พร้อมทั้งผ้าสำหรับปิด
เบื้องบน (เพดาน) แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระ-
นามว่า สุเมธะ เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ในกาลนั้น
บัลลังก์นั้นได้เป็นบัลลังก์ประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ
รู้ความดำริของเรา บังเกิดแล้วแก่เราที่เมื่อ ในกัปที่
๑,๐๓๐ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายบัลลังก์ใดในกาลนั้น
ด้วยธรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของการ
ถวายบัลลังก์ ในกัปที่ ๑,๐๒๐ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ ๓ พระองค์ มีนามว่า สุวรรณาภา
สมบูรณ์ด้วยแล้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำ
สำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระ ครั้น บรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะแสดงความว่า เมื่อบุคคล
ไม่รังเกียจกิเลสทั้งหลาย ย่อมไม่มีทางที่จะยกศีรษะขึ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้
ส่วนเรารังเกียจกิเลสเหล่านั้นแล้วทีเดียว ดังนี้ โดยมุ่งแสดงให้เห็นการบังเกิด
ขึ้นแห่งกิเลสของตน ได้กล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 460
บุคคลได้สดับเสียงแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์เป็น
ที่รัก สติก็หลงลืม ผู้ใดมีจิตกำหนัดยินดี เสวยสัท-
ทารมณ์ สัททารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะทั้งหลาย
ย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งสงสาร ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺท ได้แก่ สัททารมณ์อันเป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด.
บทว่า สสารอุปคามิโน ความว่า ชื่อว่าผู้เข้าถึงซึ่งสงสาร เพราะ
เข้าถึงสงสารอันเป็นตัวเหตุแห่งสังสารวัฏ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ ยังเป็นไปไม่ขาด
สาย ท่านก็เรียกว่า สงสาร ดังนี้.
ปาฐะว่า สสารูปคามิโน ดังนี้ ก็มี. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว
ในคาถาติดต่อกันไป.
จบอรรถกถาอุตติยเถรคาถา
๑๐. เทวสภเถรคาถา (ที่ ๒)
ว่าด้วยคาถาของพระเทวสภเถระ
[๒๓๗] ได้ยินว่า พระเทวสภเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรชอบ มีสติปัฏฐาน
เป็นอารมณ์ ประดับประดาด้วยดอกไม้ คือ วิมุตติ
จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน.
จบวรรคที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 461
อรรถกถาเทวสภเถรคาถา
คาถาของท่านพระเทวสภเถระ เริ่มต้นว่า สมฺมปฺปธานสมฺปนฺโน.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดใน
เรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี ถึงความ
เป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่งเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี เป็นผู้มีใจ
เลื่อมใสแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยดอกชบา.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิด
ในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ ในพระนครกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มี
นามว่า เทวสภะ. เขาเจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพ ในคราวเมื่อพระบรม-
ศาสดาเสด็จมาเพื่อระงับการทะเลาะกันเรื่องเทริด เป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว
ตั้งอยู่ในสรณคมน์ เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในนิโครธาราม เข้าไปเฝ้าพระ-
ศาสดาอีก ได้เป็นผู้มีศรัทธาแล้วบวช กระทำบุรพกิจเสร็จแล้ว เจริญวิปัสสนา
บรรลุพระอรหัตแล้วต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
สิขี ผู้ปราศจากมลทินบริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ดัง
พระจันทร์มีความยินดีในราคะสิ้นแล้ว ทรงข้ามตัณหา
ในโลกแล้ว ทรงยังหมู่ชนให้ดับเข็ญ ทรงข้ามเองแล้ว
ยังผู้อื่นให้ข้าม เป็นมุนีผู้ประเสริฐ เพ่งฌานอยู่ในป่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 462
มีจิตแน่วแน่ ตั้งมั่นดีแล้ว เราร้อยดอกชบาทำเป็น
พวงมาลัยแล้วบูชาพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้ทำกรรมใดไว้ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้-
จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๗ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่า
สมันตจักษุ เป็นจอมมนุษย์ มียศมาก มีพลมาก.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เป็นผู้มีปีติโสมนัสบังเกิดแล้ว
เพราะอาศัยวิมุตติสุขที่ตนได้บรรลุแล้ว ได้กล่าวคาถาด้วยสามารถแห่งอุทานว่า
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรชอบ มีสติปัฏฐาน
เป็นอารมณ์ ประดับประดาด้วยดอกไม้ คือ วิมุตติ
จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมปฺปธานสมฺปนฺโน ความว่า
ผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมัปปธานมีอย่าง ๔ อธิบายว่า ยังกิจที่จะต้องทำด้วยสัมมัปป-
ธานเหล่านั้น ให้ถึงพร้อมแล้วตั้งอยู่.
บทว่า สติปฏฺานโคจโร ความว่า ภิกษุชื่อว่า สติปัฏฐานโคจโร
เพราะมีสติปัฏฐาน ( ๔ ) มีกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นต้นเป็นอารมณ์ คือเป็น
ที่ตั้งแห่งความประพฤติ อธิบายว่า เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ในสติปัฏฐาน ๔.
ดอกไม้ คือ วิมุตตินั่นแล ชื่อว่า มีกลีบหอมตลบอบอวล เพราะ
งามด้วยคุณธรรม ภิกษุ ชื่อว่า ประดับแล้วคือตกแต่งแล้ว ได้แก่ กระทำ
ให้พอแล้ว ด้วยวิมุตติเหล่านั้น โดยประการทั้งปวง คือโดยชอบทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 463
บทว่า วิมุตฺติกุสุมสญฺฉนฺโน ปรินิพฺพิสฺสตฺยนาสโว ความว่า
ภิกษุเมื่อปฏิบัติอยู่โดยชอบอย่างนี้ เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักปรินิพพานด้วยสอุปา-
ทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุต่อกาลไม่นานเลย.
ก็คำเป็นคาถานี้แหละ ได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ.
จบอรรถกถาเทวสภเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๑๐
ในอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี
ในวรรคนี้ รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ
๑. พระปริปุณณกเถระ ๒. พระวิชยเถระ ๓. พระเอรกเถระ
๔. พระเมตตชิเถระ ๕. พระจักขุปาลเถระ ๖. พระขัณฑสุมนเถระ
๗. พระติสสเถระ ๘. พระอภัยเถระ ๙. พระอุตติยเถระ ๑๐. พระเทวสภเถระ
(ที่ ๒) และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 464
เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๑๑
๑. เพลัฏฐกานิเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเพลัฏฐกานิเถระ
[๒๓๘] ได้ยินว่า พระเพลัฏฐกานิเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ท่านละความเป็นคฤหัสถ์มาแล้ว ยังไม่ทันสำเร็จ
กิจ เป็นผู้มีปากดังไถ เห็นแก่ท้อง เป็นคนเกียจคร้าน
เป็นคนโง่เขลา เข้าห้องบ่อย ๆ เหมือนสุกรตัวใหญ่
ที่เขาปรนปรือด้วยเหยื่อ ฉะนั้น.
วรรควรรณนาที่ ๑๑
อรรถกถาเพลัฏฐกานิเถรคาถา
คาถาของท่านพระเพลัฏฐกานิเถระ เริ่มต้นว่า หิตฺวา คิหิตฺต
อนโวสิตตฺโต. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า เวสสภู เจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จ
ในศิลปวิทยาของพราหมณ์ทั้งหลาย ละฆราวาสวิสัยแล้ว บวชเป็นดาบส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 465
อันหมู่ฤาษีแวดล้อมแล้วท่องเที่ยวไป วันหนึ่งเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
พระนามว่า เวสสภู เกิดปีติโสมนัส อาศัยพระญาณสมบัติของพระศาสดา
จึงเป็นผู้มีใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชาด้วยดอกไม้ทั้งหลาย อุทิศพระญาณ.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบังเกิด
ในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า
เพลัฏฐานิกะ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา
ได้เป็นผู้มีศรัทธาจิต บวชแล้วเรียนกรรมฐานอยู่ในป่าแคว้นโกศล เป็นผู้
เกียจคร้าน มีร่างกายกำยำ มีวาจาหยาบคาย ไม่ยังจิตให้เกิดขึ้นในสมณธรรม
ได้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูความแก่กล้าของญาณแล้ว
ยังเพลัฏฐานิกภิกษุให้สลดใจ ด้วยพระคาถาชี้โทษนี้ว่า
เธอละความเป็นคฤหัสถ์มาแล้ว ยังไม่ทัน
สำเร็จกิจ เป็นผู้มีปากดังไถ เห็นแก่ท้อง เป็นคน
เกียจคร้าน เป็นคนโง่เขลา เข้าห้องบ่อย ๆ เหมือน
สุกรตัวใหญ่ที่เขาปรนปรือด้วยเหยื่อ ฉะนั้น ดังนี้.
เธอเห็นพระศาสดา เหมือนหนึ่งประทับนั่งอยู่ตรงหน้า และฟังคาถา
นั้นแล้ว เกิดความสลดใจ แล้วเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่
นานนัก เพราะเหตุที่ญาณถึงความแก่กล้าแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน
กล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
"เวสสภู" ผู้โชติช่วงดังดอกกรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่
ณ ที่ระหว่างภูเขา ทรงยังทิศทั้งปวงให้สว่าง ดังดาว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 466
ประกายพฤกษ์ มีมาณพ ๓ คนเป็นผู้ศึกษาดี ในศิลปะ
ของตน หาบสิ่งของเต็มหาบ ไปตั้งข้างหลังเรา เรา
ผู้มีตบะใส่ดอกจำปา ๗ ดอกไว้ในห่อ ถือดอกจำปา
เหล่านั้น บูชา ในพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า " เวสสภู " ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้
เราบูชาพระพุทธญาณด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระญาณ
ในกัปที่ ๒๙ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
มีนามว่า " วิปุลาภา " สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อปฏิบัติพระโอวาทของพระ-
ศาสดาก็ดี เมื่อพยากรณ์พระอรหัตผล ด้วยมุขที่แปลกออกไปก็ดี ก็ได้กล่าวซ้ำ
พระคาถานั้นแหละ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิตฺวา คิหิตฺต ความว่า สละความเป็น
คฤหัสถ์ อธิบายว่า บวชแล้ว.
บทว่า อนโวสิตตฺโต ความว่า ยังไม่สำเร็จกิจตามสมควร. อธิบายว่า
ชื่อว่ายังไม่สำเร็จกิจ คือ มีกรณียกิจยังทำไม่สำเร็จ เพราะยังไม่สำเร็จปริญญา
ตามสมควร แก่ผู้บวชในพระศาสนามุ่งหมายไว้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อนโวสิตตฺโต ความว่า ยังไม่สำเร็จกิจ
โดยลำดับ และยังไม่ได้กระทำการอยู่จบพรหมจรรย์ ตามลำดับแห่งมรรคอัน
บริสุทธิ์ทั้งหลาย อธิบายว่า ยังไม่อยู่จบในอริยวาสครบทั้ง ๑๐. ภิกษุชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 467
มุขนังคลี เพราะมีไถกล่าวคือปาก อธิบายว่า ขุดตนอยู่ด้วยประโยคคือการ
กล่าวคำหยาบในผู้อื่นทั้งหลาย ดุจขุดดินอยู่ด้วยไถ ฉะนั้น.
บทว่า โอทริโก ความว่า ขวนขวายในเรื่องท้อง คือ เอาใจใส่แต่
เรื่องกินเป็นใหญ่.
บทว่า กุสีโต แปลว่า เกียจคร้าน คือไม่หมั่นประกอบภาวนา.
พระเถระเมื่อจะแสดงถึงความสำเร็จ ของภิกษุผู้เป็นอย่างนี้ จึงกล่าวว่า
เป็นคนโง่เขลา เข้าห้องบ่อย ๆ เหมือนสุกรตัวใหญ่ ที่เขาปรนปรือด้วยเหยื่อ
ฉะนั้น ดังนี้.
อรรถาธิบายของคาถานั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังแล้วทั้งนั้น ก็ใน
คาถานี้ พึงเข้าใจว่า ภิกษุบวชแล้ว เป็นคนโง่ ชื่อว่าย่อมเข้าห้องบ่อย ๆ
เพราะความเป็นผู้ยังไม่ได้อยู่จบพรหมจรรย์เป็นต้น เป็นสภาพ ฉันใด ภิกษุ
เช่นเราเป็นบัณฑิต ย่อมไม่เป็นฉันนั้น ก็พระเถระพยากรณ์พระอรหัตผล
ด้วยมุขที่แปลกออกไปว่า ปรินิพพาน เพราะถึงที่สุดแห่งสัมมาปฏิบัติ อันมี
สภาพตรงข้ามจากปฏิบัติดังกล่าวแล้ว ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาเพลัฏฐกานิเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 468
๒. เสตุจฉเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเสตุจฉเถระ
[๒๓๙] ได้ยินว่า พระเสตุจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ชนทั้งหลายถูกมานะหลอกลวงแล้ว เศร้าหมอง
อยู่ในสังขารทั้งหลาย ถูกความมีลาภ และความเสื่อม
ลาภย่ำยีแล้ว ย่อมไม่ได้บรรลุสมาธิเลย.
อรรถกถาเสตุจฉเถรคาถา
คาถาของท่านพระเสตุจฉเถระ เริ่มต้นว่า มาเนน วญฺจิตา. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือน
แห่งตระกูล ในกาลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ ถึง
ความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ
มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลขนุนที่มีรสหวานสนิท (และ) ของขบเคี้ยวคือผล
มะพร้าวที่ตระเตรียมไว้.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่
ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นโอรสของพระเจ้ามัณฑลิกะพระองค์หนึ่ง
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีพระนามว่า เสตุจฉะ เมื่อพระชนกสวรรคตแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 469
ท้าวเธอได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ (สืบแทน) ทำให้ราชกิจล้มเหลว เพราะไม่มี
ความอุตสาหะ และความสามารถทำให้ราชสมบัติตกอยู่ในเงื้อมมือฝ่ายตรงข้าม
เกิดความสลดพระทัย เพราะถึงความทุกข์ระทม ทอดพระเนตรเห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปตามชนบท ได้เป็นผู้มีศรัทธาจิต ทรงผนวชแล้ว
กระทำบริกรรม บรรลุพระอรหัตในวันนั้นเอง. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน
กล่าวไว้ในอปทานว่า
ในกาลก่อนเราได้ถวายผลไม้ แด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงพระนามว่า "ติสสะ" และได้ถวายผล
มะพร้าว ที่สมมติกันว่าของควรเคี้ยว ครั้นถวายผล
มะพร้าวนั้น แด่พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ
ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวงแล้ว ย่อมบันเทิง มี
ความประสงค์สิ่งที่ต้องการ ก็เข้าถึงได้ตามปรารถนา
ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาล
นั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายผลไม้ ในกัปที่ ๑๓ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิราช มีนามว่า "อินทสมะ" สมบูรณ์
ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา
กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะตำหนิกิเลสทั้งหลายได้
กล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 470
ชนทั้งหลายถูกมานะหลอกลวงแล้ว เศร้าหมอง
อยู่ในสังขารทั้งหลาย ถูกความมีลาภและความเสื่อม
ลาภย่ำยีแล้ว ย่อมไม่ได้บรรลุสมาธิเลย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาเนน วญฺจิตาเส ความว่า อันมานะ
ที่เป็นไปแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ดังนี้ ทำให้วิปัลลาส
ไปโดยการเข้าไปตัดภัณฑะคือกุศล ด้วยสามารถแห่งกิเลส มีการยกตนข่มผู้อื่น
เป็นต้น.
บทว่า สงฺขาเรสุ สงฺกิลิฏฺมานาเส ความว่า เศร้าหมองอยู่ใน
อินทรีย์ทั้งหลายมีจักษุเป็นต้น ที่เป็นไปในภายใน และภายนอก และใน
สังขตธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น คือ ถึงความเศร้าหมอง ด้วยสามารถการถือ
เอานิมิตนั้น โดยเป็นตัณหาเป็นต้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ตัวตนของเรา ดังนี้.
บทว่า ลาภาลาเภน มถิตา ความว่า อันลาภคือการได้บริขาร
มีบาตรและจีวรเป็นต้น และพัสดุมีผ้าเป็นต้น และอันความเสื่อมลาภ คือไม่ได้
สิ่งเหล่านั้นนั่นแล ย้ำยีแล้ว คือเหยียบย้ำ ได้แก่ครอบงำแล้ว เพราะเป็นปฏิฆะ
กับความยินดี อันบังเกิดขึ้นแล้วด้วยสามารถแห่งกิเลสมีตัณหาเป็นต้น. ก็บทว่า
ลาภาลาเภน มถิตา นี้ เป็นเพียงตัวอย่าง และในอธิการนี้ บัณฑิตพึง
สงเคราะห์เอาโลกธรรมแม้ทั้ง ๘ เข้าด้วย.
บทว่า สมาธึ นาธิคจฺฉนฺติ ความว่า บุคคลเห็นปานนี้เหล่านั้น
ผู้ไม่มีจิตเป็นสมาธิ ด้วยสามารถแห่งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน
แม้ในกาลไหน ๆ ก็ย่อมไม่ประสบ คือไม่ได้ ได้แก่ไม่ถึงซึ่งสมาธิ เพราะไม่มี
ธรรมอันเป็นไปเพื่อสมาธิ และเพราะมีแก่อกุศลธรรมนอกนี้ แม้ในคาถานี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 471
คำว่า ผู้ไม่มีปรีชา ถูกกิเลสมีมานะเป็นต้นครอบงำแล้ว ถึงจะเข้าสมาธิอยู่
นั่นแล ชื่อว่าย่อมไม่ถึงสมาธิ ฉันใด ผู้มีปรีชาทั้งหลาย หาเป็นฉันนั้นไม่
ก็ผู้มีปรีชาเหล่านั้นเป็นเช่นกับเรา ไม่ถูกกิเลสมีมานะเป็นต้นครอบงำแล้ว
ย่อมได้บรรลุสมาธิโดยถ่ายเดียว ดังนี้ พึงทราบว่าเป็นคำพยากรณ์พระอรหัตผล
(ของพระเถระ) โดยมุขที่แปลกออกไป.
จบอรรถกถาเสตุจฉเถรคาถา
๓. พันธุรเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระพันธุรเถระ
[๒๔๐] ได้ยินว่า พระพันธุรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราไม่มีความต้องการด้วยลาภ คือ อามิสนั้น มี
ความสุขพอแล้ว เป็นผู้อิ่มเอิบแล้ว ด้วยรสแห่งธรรม
ครั้นได้ดื่มรสอันล้ำเลิศเช่นนี้แล้ว จะไม่กระทำความ
สนิทสนมด้วยรสอื่น อีก.
อรรถกถาพันธุรเถรคาถา
คาถาของท่านพระพันธุรเถระ เริ่มต้นว่า นาห เอเตน อตถิโก.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ เป็นผู้คุ้มครองในพระราชวัง ของพระราชาพระองค์หนึ่ง ในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ในวันหนึ่ง เห็นพระผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 472
พระภาคเจ้า พร้อมด้วยบริษัทเสด็จผ่านสนามหน้าพระราชวัง มีจิตเลื่อมใส
เก็บดอกชบาไปบูชา พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของโลก พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาไปบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ
อยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดเป็นบุตรแห่งเศรษฐี ในสีลวดีนคร ในพุทธุป-
บาทกาลนี้ ได้มีนามว่า พันธุระ. เขาถึงความเป็นผู้รู้แล้ว ไปในกรุงสาวัตถี
ด้วยกรณียกิจบางอย่าง แล้วไปสู่พระวิหาร พร้อมด้วยอุบาสกทั้งหลาย ฟัง
พระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ได้เป็นผู้มีศรัทธาจิต บวชแล้ว เริ่มตั้ง
วิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก เพราะเป็นผู้มีญาณแก่กล้า
แล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ
เชษฐบุรุษของโลก เสด็จดำเนินไปสู่พระนคร เราเป็น
พระสาวกทั้งหลาย เสด็จดำเนินไปสู่พระนคร เราเป็น
ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้คุ้มครอง ในภายในพระราช-
วัง เราเข้าไปในปราสาท ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้นำของโลก จึงถือเอาดอกชบา ไปโปรยลงในภิกษุสงฆ์
แยกพระพุทธเจ้าไว้แผนหนึ่ง โปรยดอกชบาลงบูชา
ยิ่งกว่านั้น ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชา
พระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้
จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๘๗ แต่
ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีนามว่า
มหิทธิกะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 473
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีกตัญญู
ไปสู่พระนครสีลวดี เพื่อสนองพระคุณพระราชา ผู้มีอุปการะแก่ตน เมื่อจะ
แสดงธรรมแก่พระราชา ประกาศสัจจะทั้งหลายแล้ว. ในเวลาจบสัจจะ พระ
ราชาเป็นพระโสดาบัน ให้สร้างวิหารใหญ่ ชื่อว่า สุทัสสนะ ในพระนคร
ของพระองค์ มอบถวายแก่พระเถระ. พระเถระ ได้เป็นผู้มีลาภสักการะอย่าง
ใหญ่หลวง.
พระเถระมอบวิหาร และลาภสักการะทั้งหมด แก่สงฆ์ (ส่วน) ตน
เอง เทียวบิณฑบาตยังอัตภาพให้เป็นไป โดยทำนองก่อนนั่นแล พักอยู่ใน
สีลวดีนครนั้น สิ้นวันเล็กน้อย ได้เป็นผู้มีความประสงค์จะไปสู่พระนครสาวัตถี.
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้แหละ
ถ้าบกพร่องด้วยปัจจัยทั้งหลาย พวกข้าพเจ้าจักยังปัจจัยนั้นให้บริบูรณ์. พระ
เถระเมื่อจะแสดงความว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราไม่มีความต้องการด้วย
ปัจจัยอันโอฬาร เรายังอัตภาพให้เป็นไปด้วยปัจจัยตามมีตามได้ เราเป็นผู้มี
ความพอใจด้วยรสพระธรรมอย่างเดียวเท่านั้น ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาว่า
เราไม่มีความต้องการด้วยลาภ คืออามิสนั้น มี
ความสุขพอแล้ว อิ่มเอิบแล้วด้วยรสพระธรรม ครั้น
ได้ดื่มรสอันล้ำเลิศเช่นนี้แล้ว จะไม่กระทำความสนิท
สนมด้วยรสอื่นอีก ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาห เอเตน อตฺถิโต ความว่า
ท่านทั้งหลายมีความประสงค์จะให้เราอิ่มหนำ ยินดีด้วยอามิสใด จึงกล่าวว่า
พวกข้าพเจ้า จักทำปัจจัยให้บริบูรณ์ เราไม่มีความต้องการด้วยลาภคืออามิสนี้
อันมีอามิสคือปัจจัยเป็นรส เราคำนึงอยู่ว่า เราไม่มีความต้องการด้วยลาภคือ
อามิสนี้ (เพราะ) ความสันโดษเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้ จึงยังอัตภาพให้เป็นไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 474
ด้วยปัจจัยตามมีตามได้. บัดนี้พระเถระเมื่อจะประกาศเหตุอันเป็นหลัก ใน
ความไม่ต้องการ ด้วยลาภคืออามิสนั้น จึงกล่าวว่า เรามีความสุขพอเพียงแล้ว
อิ่มเอิบแล้วด้วยรสพระธรรม ดังนี้. อธิบายว่า เราอิ่มเอิบแล้ว คือยินดีแล้ว
คือถึงความสุข ได้แก่ มีความพอใจโดยมีสุข ด้วยรสแห่งโพธิปักขิยธรรม
๓๗ ประการ และด้วยรสแห่งโลกุตรธรรม ๙.
บทว่า ปิตฺวา รสคฺคมุตฺตม ความว่า ดื่มรสแห่งพระธรรมอันสูงสุด
ตามที่ท่านกล่าวไว้ว่า เลิศ คือประเสริฐที่สุดในรสทั้งปวงเท่านั้นดำรงอยู่แล้ว.
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า รสแห่งพระธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
ดังนี้. บทว่า น จ กาหามิ วิเสน สนฺถว ความว่า การดื่มรสพระ
ธรรม อันเป็นรสล้ำเลิศเห็นปานนี้ ตั้งอยู่แล้วจักไม่ทำความสนิทสนม คือ
การคลุกคลีด้วยรสอื่น คือรสอันเป็นพิษ เช่นกับยาพิษ อธิบายว่า ไม่มีเหตุ
ให้ต้องกระทำอย่างนั้น.
จบอรรถกถาพันธุรเถรคาถา
๔. ขิตกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระขิตกเถระ
[๒๔๑] ได้ยินว่า พระขิตกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
กายของเราเป็นกายเบาหนอ อันปีติและสุขอย่าง
ไพบูลย์ถูกต้องแล้ว ย่อมเลื่อนลอยได้เหมือนนุ่น ที่
ถูกลมพัดไป ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 475
อรรถกถาชิตกเถรคาถา
คาถาของท่านพระขิตกเถระ เริ่มต้นว่า ลหุโก วต เม กาโย.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ ทั้งหลาย สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดเป็นยักษ์ผู้เสนาบดี ในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ วันหนึ่ง นั่งอยู่ในสมาคม-
ยักษ์ เห็นพระศาสดาประทับนั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงเข้าไปเฝ้า ถวายบัง-
คมพระศาสดา แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เขา.
เขาฟังธรรมแล้ว แสดงความปีติและโสมนัสอันโอฬาร ปรบมือ ลุกขึ้นถวาย
บังคมพระศาสดา การทำประทักษิณ แล้วหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า
ขิตกะ. เขาถึงความเป็นผู้รู้แล้ว สดับความที่พระมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้มี
ฤทธิ์มาก คิดว่า เราจักเป็นเช่นพระเถระนี้ อันบุรพเหตุตักเตือนอยู่ บวชแล้ว
เรียนกรรมฐาน ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า การทำกรรมในสมถะและ
วิปัสสนาทั้งหลาย ได้สำเร็จอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประ-
พันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นจอมประชา ประเสริฐ
กว่านระ ทรงพระนามว่า ปทุม ผู้มีพระจักษุ เสด็จ
ออกจากป่าใหญ่แล้วแสดงธรรมอยู่ ในขณะนั้นได้มี
การชุมนุมเทวดาในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 476
เทวดาทั้งหลายได้มาประชุมกันด้วยกิจบางอย่าง เรา
ได้เห็นอย่างชัดเจน เราได้ยินพระสุรเสียง ที่ทรง
แสดงอมตธรรมของพระพุทธเจ้า มีจิตเลื่อมใส มีใจ
โสมนัส ปรบมือแล้ว เข้าไปบำรุง เราเห็นผลแห่ง
การบำรุงพระศาสดาที่เราประพฤติดีแล้ว ใน ๓๐,๐๐๐
กัปที่ผ่านมา เราไม่รู้จักทุคติเลย ในกัปที่ ๑๒๙ ได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีนามว่า สมลังกตะ
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระ-
ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อเสวยเฉพาะอิทธิวิธี อัน
มีความพิเศษ มีอย่างมิใช่น้อย เพราะความเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ทั้งหลาย
กระทำการอนุเคราะห์พระศาสดา ด้วยอิทธิปาฎิหาริย์ และด้วยอนุสาสนีปาฏิ-
หาริย์ อยู่. ท่านอันภิกษุทั้งหลายถามว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านใช้อิทธิฤทธิ์ได้
อย่างไร ? เมื่อจะบอกความนั้น ได้กล่าวคาถาว่า
กายของเราเป็นกายเบาหนอ อันปีติและสุขอย่าง
ไพบูลย์ ถูกต้องแล้ว ย่อมเลือนลอยได้เหมือนนุ่น ที่
ถูกลมพัดไป ฉะนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลหุโก วต เม กาโย มีอธิบายว่า
รูปกายของเรา ชื่อว่าเบาพร้อมหนอ เพราะการฝึกจิตมีอย่าง ๑๔ ได้ ด้วยการ
ข่มกิเลสมีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะความชำนาญ อันเราอบรมมาดีแล้ว ด้วย
การเจริญอิทธิบาท ๔ โดยที่เราน้อมกรชกายนี้ ที่ชื่อว่า มีมหาภูตรูปให้
เป็นปัจจัยได้ด้วยอำนาจจิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 477
บทว่า ผุฏฺโ จ ปีติสุเขน วิปุเลน ประกอบความนี้ ก็ร่างกาย
ของเรา อันความสุขที่ประกอบด้วยปีติ อันโอฬารใหญ่ยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งร่าง
ถูกต้องแล้ว ก็คำนี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อจะแสดงเหตุที่ทำให้กายเบาพร้อม. อธิบายว่า
การก้าวลงสู่ความหมายว่า กายและจิตเบาย่อมมีพร้อมกับการก้าวลงสู่ความ-
หมายว่า เป็นสุข ก็ในอธิการนี้ พึงทราบการแผ่ไปของความสุข ด้วยสามารถ
แห่งรูปอันเป็นสมุฏฐานของการก้าวลงความหมายว่ากายและจิตเบา.
ถ้าจะมีคำถามขึ้นว่า ก็ผู้ที่เพรียบพร้อมด้วยจตุตถฌาน จะมีการแผ่
ปีติสุขไปได้อย่างไร เพราะว่าจตุตถฌานนั้น มีปีติสุขสงบระงับแล้ว. ตอบว่า
ข้อนั้นเป็นความจริง แต่การแผ่ไปแห่งปีติสุขนี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่ง
ลักษณะของจตุตถฌาน โดยที่แท้ ก็คือกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งข้อความที่เป็น
บุรพภาคนั่นเอง. ก็บทว่า ปีติสุเขน ได้แก่ ความสุขที่คล้ายกับสุขประกอบ
ด้วยปีติ. อธิบายว่า ในอธิการนี้ อุเบกขาท่านประสงค์เอาว่าเป็นสุข เพราะ
ความเป็นสภาพที่สงบระงับ และเพราะประกอบไปด้วยญาณวิเศษ. สมดังที่
ท่านกล่าวไว้ว่า พระอริยบุคคลก้าวลงสู่สุขสัญญา และลหุสัญญา. ในบทนั้น
มีอรรถาธิบายดังนี้ว่า พระอริยบุคคลย่อมก้าวลง คือ ย่อมเข้าไปสัมผัส ได้แก่
ถึงพร้อมซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา ที่เกิดพร้อมกับอิทธิจิต อันมีฌานเป็น
เบื้องบาทเป็นอารมณ์ หรือมีรูปกายเป็นอารมณ์.
และสมดังที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า สัญญาอันสัมปยุตด้วยอุเบกขา
ชื่อว่า สุขสัญญา เพราะว่าอุเบกขาท่านกล่าวว่า เป็นสุขอันสงบแล้ว สัญญา
นั้นแหละ พึงทราบว่า ชื่อว่า ลหุสัญญา เพราะพ้นแล้วจากนิวรณ์ทั้งหลาย
และจากธรรมอันเป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้น. ก็แม้กรชกายของพระอริยบุคคล
ผู้ก้าวลงสู่สัญญานั้น ย่อมเป็นกรชกายเบาพร้อมเหมือนปุยนุ่น พระอริยบุคคล
ย่อมไปสู่พรหมโลก ด้วยกายที่ปรากฏว่าเบาพร้อมเหมือนปุยนุ่นที่ฟุ้งไปแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 478
ตามแรงลมอย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า กายของเราย่อมเลื่อนลอย
ได้เหมือนปุยนุ่น ที่ถูกลมพัดไปฉะนั้น ดังนี้. คาถานั้นมีใจความว่า ในเวลาใด
เรามีความประสงค์ จะไปสู่พรหมโลก หรือโลกอื่นด้วยฤทธิ์ ในเวลานั้น กาย
ของเราก็จะโลดไปสู่อากาศทันที เหมือนปุยนุ่น ที่วิจิตร อันลม คือ พายุพัดไป
ฉะนั้น.
จบอรรถกถาขิตกเถรคาถา
๕. มลิตวัมภเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมลิตวัมภเถระ
[๒๔๒] ได้ยินว่า พระมลิตวัมภเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราเกิดความกระสันขึ้นในที่ใด เราย่อมไม่อยู่ใน
ที่นั้น แม้เราจะยินดีอย่างนั้น ก็พึงหลีกไปเสีย แต่
เราเห็นว่า การอยู่ในที่ใดจะไม่มีความเสื่อมเสีย เราก็
พึงอยู่ในที่นั้น.
อรรถกถามลิตวัมภเถรคาถา
คาถาของท่านพระมลิตวัมภเถระ เริ่มต้นว่า อุกฺกณฺิโต. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้ เกิดเป็นนก ในสระธรรมชาติแห่งหนึ่ง ไม่ไกล
จากป่าหิมพานต์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เมื่อจะทรงอนุเคราะห์นกนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 479
จึงเสด็จไปที่สระนั้นแล้ว เสด็จจงกรมอยู่ที่ริมสระธรรมชาติ. นกเห็นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าแล้ว มีใจเลื่อมใส คาบเอาดอกโกมุทในสระไปบูชาพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
เป็นบุตรของพราหมณ์คนหนึ่ง ในกุรุกัจฉนครในพุทธุปบาทกาลนี้ได้มีนามว่า
มลิตวัมภะ. เขาถึงความเป็นผู้รู้แล้ว เข้าไปหาพระปัจฉาภูมหาเถระ ฟังธรรม
ในสำนักของพระเถระ ได้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่ ก็พระเถระ
นั้นมีสภาพอย่างนี้ คือ ในที่ใดหาโภชนะเป็นที่สบายได้ยาก ปัจจัยนอกนี้
หาได้ง่าย ท่านจะไม่หลีกไปจากที่นั้น แต่ในที่ใด หาโภชนะเป็นที่สบายได้ง่าย
ปัจจัยนอกนี้หาได้ยาก ท่านจะไม่อยู่ในที่นั้น จะหลีกไปทันที ก็เมื่อท่านอยู่
อย่างนี้ เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว ต่อกาลไม่นานนัก เพราะความ
ที่ท่านเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุ และเพราะความที่ท่านเป็นผู้มีชาติแห่งมหาบุรุษ.
สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ณ ที่ใกล้ภูเขาหิมวันต์ มีสระใหญ่สระหนึ่ง
(สระธรรมชาติ) ดาดาษด้วยดอกปทุม ในกาลนั้นเรา
เป็นนก มีนามชื่อว่า กุกกุฏะ อาศัยอยู่ในสระนั้น
เป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยวัตร ฉลาดในบุญและมิใช่บุญ
พระมหามุนีทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก
สมควรรับเครื่องบูชา เสด็จสัญจรไปในที่ไม่ไกลสระ
นั้น เราหักดอกโกมุทน้อมถวายแด่พระองค์ พระองค์
ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ทรงรับไว้ ครั้นเรา
ถวายทานนั้นแล้ว และอันกุศลมูลตักเตือน เราไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 480
เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป ในกัปที่ ๑๑๖ แต่ภัทรกัปนี้
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ พระองค์ นามว่า วรุณะ
มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาข้อปฏิบัติของตน เมื่อ
จะเปล่งอุทาน ได้กล่าวคาถาว่า
เราเกิดกระสันขึ้นในที่ใด เราย่อมไม่อยู่ในที่นั้น
แม่เราจะยินดีอย่างนั้น ก็พึงหลีกไปเสีย แต่เราเห็นว่า
การอยู่ในที่ใดจะไม่มีความเสื่อมเสีย เราก็พึงอยู่ใน
ที่นั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุกฺกณฺิโตปิ น วเส ความว่า
ความกระสัน คือ ความไม่ยินดีในกุศลธรรมทั้งหลาย อันยิ่งด้วยการได้โภชนะ
เป็นที่สบาย ย่อมเกิดแก่เราผู้อยู่ในอาวาสใด เราแม้กระสันจะอยู่ในอาวาสนั้น
ถ่ายเดียว ก็ต้องถอยหนี คือไม่ก้าวต่อไป เพราะการได้โภชนะเป็นที่สบาย
นอกนี้.
ในบทว่า น วเส นี้ พึงเอา น อักษรมาเชื่อมเข้ากับ บทว่า
ปกฺกเม.
บทว่า วสมาโนปิ ปกฺกเม ความว่า ส่วนความกระสัน เพราะ
ความขาดแคลนปัจจัย ย่อมไม่มีแก่เราผู้อยู่ในอาวาสใด เราย่อมยินดียิ่งใน
อาวาสนั้นโดยแท้ แม้ถึงเราจะยินดียิ่งอยู่อย่างนี้ ก็ต้องถอยกลับ คือ
ไม่ควรอยู่ เพราะได้ปัจจัยอันเป็นสัปปายะที่เหลือ เราผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้แหละ
ได้ถึงเฉพาะแล้วซึ่งประโยชน์ตน ต่อกาลไม่นานเลย ก็ในอธิการนี้ มีการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 481
ประกอบความในการพิจารณาข้อปฏิบัติส่วนตน ดังกล่าวมานี้ ส่วนในการให้
โอวาทแก่ผู้อื่น พึงประกอบความโดยการสร้างประโยคว่า ต้องอยู่ คือ ไม่หลีกไป
ดังนี้.
บทว่า น เตฺววานตฺถสหิต วเส วาส วิจกฺขโณ ความว่า
ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ คือผู้มีชาติแห่งวิญญูชน ประสงค์จะบำเพ็ญประโยชน์
ตนให้บริบูรณ์ ก็ไม่พึงอยู่ประจำอาวาสอันประกอบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ในพระธรรมวินัยนี้ เพราะการทำคำอธิบายว่า ในอาวาสใดมีปัจจัยหาได้ง่าย
สมณธรรมย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ในอาวาสนั้น และในอาวาสใด ปัจจัยหาได้
ยาก แม้สมณธรรมก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ในอาวาสนั้น อาวาสเห็นปานนี้ ชื่อว่า
ประกอบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ คือ ประกอบไปด้วยความไม่เจริญงอกงาม
ในพระธรรมวินัยนี้ อธิบายว่า ก็ในที่ใดภิกษุได้อาวาสประกอบด้วยองค์ ๕
ย่อมชื่อว่าได้สัปปายะแม้ทั้ง ๗ ด้วย พึงอยู่ประจำในอาวาสนั้นแหละ.
จบอรรถกถามลิตวัมภเถรคาถา
๖. สุเหมันตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุเหมันตเถระ
[๒๔๓] ได้ยินว่า พระสุเหมันตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
คนโง่เขลา มักเห็นเนื้อความอันมีความหมาย
ตั้งร้อย ทรงไว้ซึ่งลักษณะตั้งร้อย ว่ามีความหมายและ
ลักษณะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนคนฉลาดย่อมเห็น
ได้ตั้งร้อยอย่าง ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 482
อรรถกถาสุเหมันตเถรคาถา
คาถาของท่านพระสุเหมันตเถระเริ่มต้นว่า สตลิงฺคสฺส อตฺถสฺส.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เป็น
พรานอยู่ในป่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ติสสะ ใน
กัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปสู่ป่า เพื่อจะทรง
อนุเคราะห์เขา จึงประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง ในที่ใกล้เขา. เขาเห็นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส เลือกเก็บดอกบุนนาค ที่มีกลีบหอมมาบูชา
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้ว ท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ผู้สมบูรณ์
ด้วยสมบัติ ในถิ่นชายแดน ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า สุเหมันตะ.
เขาถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับอยู่ที่
มฤคทายวัน ในสังกัสสนคร ฟังธรรมแล้ว ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว
เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก เริ่มตั้งวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ถึงความเชี่ยว
ชาญแตกฉานในปฏิสัมภิทาต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว
ไว้ในอปทานว่า
เราเป็นนายพราน เข้าไปสู่ป่าใหญ่ เห็นดอก
บุนนาคกำลังบาน จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ
สุด ได้เก็บเอาดอกบุนนาคนั้น อันมีกลิ่นหอมตลบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 483
อบอวลแล้วได้ก่อสถูปที่กองทราย บูชาพระพุทธเจ้า
ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วย
กอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง มีนามว่า ตโมนุทะ
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำ
สำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้น บรรลุพระอรหัตแล้ว คิดอย่างนี้ว่า กิจแห่งบรรพชิตใด
อันเราผู้เป็นสาวกพึงบรรลุ กิจแห่งบรรพชิตนั้นเราได้บรรลุแล้ว โดยลำดับ
ไฉนหนอแล เราพึงทำการอนุเคราะห์ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว
เพราะความที่ท่านเป็นผู้แตกฉานในปฎิสัมภิทา และเพราะความที่ท่านเป็นผู้ไม่
เกียจคร้าน จึงโอวาทอนุศาสน์ ตัดความสงสัย แสดงธรรมมอกกรรมฐาน
กะภิกษุทั้งหลาย ผู้เข้าไปสู่สำนักแห่งตน ทำให้ปลอดโปร่ง หมดข้อกังขา
อยู่. ในวันหนึ่ง เมื่อจะบอกคุณพิเศษแก่ภิกษุ และบุคคลชั้นวิญญูชน ผู้เข้า
ไปสู่สำนักของตน จึงได้กล่าวคาถาว่า
คนโง่เขลา มักเห็นเนื้อความอันมีความหมาย
ตั้งร้อย ทรงไว้ซึ่งลักษณะตั้งร้อย ว่ามีความหมายและ
ลักษณะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนคนฉลาด ย่อม
เห็นได้ตั้งร้อยอย่าง ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตลิงฺคสฺส ความว่า สภาวธรรมชื่อว่า
ลิงฺคานิ เพราะถึงอรรถอันลี้ลับ ได้แก่นิมิตของศัพท์ ที่เป็นไปในอรรถ
ทั้งหลาย ก็นิมิตเหล่านั้นชื่อว่า สตลิงคะ เพราะมีความลี้ลับตั้งร้อย มิใช่น้อย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 484
อธิบายว่า สตศัพท์ในที่นี้เป็นอเนกัตถะ (มีความหมายมาก) ไม่ใช่ระบุความ
พิเศษโดยสังขยา ดังในประโยคมีอาทิว่า สต (ร้อย) สหสฺส (พัน). ซึ่ง
เนื้อความอันลี้ลับตั้งร้อยนั้น.
บทว่า อตฺถสฺส ได้แก่ ไญยธรรม. ก็ไญยธรรมท่านเรียกว่า อรรถ
เพราะพึงรู้แจ้งได้ด้วยญาณ. ก็อรรถนั้น แม้ข้อเดียวก็มีความหมายมิใช่น้อย
เหมือนศัพท์ว่า สกฺโก ปุรินฺทโท มฆวา และศัพท์ว่า ปญฺา วิชฺชา
เมธา าณ. อินทศัพท์ เป็นไปในอรรถว่าผู้เป็นใหญ่แห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
โดยอรรถอันลี้ลับ คือเครื่องหมายแห่งความเป็นไปอันใด ศัพท์ทั้งหลายมีสักก
ศัพท์เป็นต้น ในบทว่า สกฺโก ปุรินฺทโท มฆวา นั้น ก็มิได้เป็นไปโดย
อรรถอันลี้ลับ คือเครื่องหมายแห่งความเป็นไปนั้น โดยที่แท้ เป็นไปโดย
ประการอื่น อนึ่ง ปญฺาศัพท์ เป็นไปในอรรถว่า สัมมาทิฏฐิ โดยอรรถ
อันลี้ลับ คือเครื่องหมายแห่งความเป็นไปอันใด ศัพท์ทั้งหลายมีวิชชาศัพท์
เป็นต้น ก็มิได้เป็นไปโดยอรรถอันลี้ลับนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า
สตลิงฺคสฺส อตฺถสฺส เนื้อความอันมีความหมายตั้งร้อย ดังนี้.
บทว่า สตลกฺขณธาริโน ความว่า มีลักษณะมิใช่น้อย ชื่อว่า
ลักษณะเพราะเป็นเหตุอันท่านกำหนดไว้. ความที่แห่งเนื้อความอันเป็นตัว
ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาศัยผลของตนมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นแล ความเป็นปัจจัยนั้น
ท่านจึงกำหนดไว้ว่า เนื้อความนี้เป็นเหตุของเนื้อความนี้ และประเภทแห่ง
เนื้อความอันเดียวนั้นแหละ ที่จะพึงเข้าไปได้มีเป็นอเนก ด้วยเหตุนั้น พระเถระ
จึงกล่าวว่า ทรงไว้ซึ่งลักษณะตั้งร้อย. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ลักษณะ เพราะ
อันท่านกำหนด ได้แก่ประการอันพิเศษ มีความที่แห่งเนื้อความนั้น ๆ เป็น
สังขตธรรมเป็นต้น. ก็แลประการอันพิเศษเหล่านั้น โดยเนื้อความพึงทราบว่า
ได้แก่ข้อความที่ไม่แตกต่างกัน. ส่วนประการพิเศษนั้น ท่านเรียกว่า ลิงฺคานิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 485
เพราะวิเคราะห์ว่า ทำให้หมายรู้ คือให้เข้าใจสามัญลักษณะมีความไม่เที่ยง
แห่งสังขารเหล่านั้นเป็นต้น. ข้อความนั้นมีอาการดังกล่าวมานี้ เพราะเหตุที่
เนื้อความแม้อย่างเดียว บัณฑิตย่อมเข้าใจความหมายได้มิใช่น้อย ด้วยเหตุนั้น
พระเถระจึงกล่าวว่า (คนโง่เขลานักเห็นเนื้อความ) อันมีความหมายตั้งร้อย
ทรงไว้ซึ่งลักษณะตั้งร้อย ดังนี้. สมดังที่ท่านพระธรรมเสนาบดีกล่าวไว้ว่า
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ย่อมมาสู่คลองในมุขแห่งพระญาณ ของพระผู้มีพระ-
ภาคผู้พระพุทธเจ้า.
บทว่า เอกงฺคทสฺสี ทุมฺเมโธ ความว่า เมื่อเนื้อความที่มีความหมาย
มิใช่น้อย มีลักษณะเป็นอเนกเช่นนี้มีอยู่ ผู้ใดมีปกติเห็นได้เพียงส่วนเดียว
เพราะมีปัญญาไม่กว้างขวาง คือเห็นว่ามีความหมายเพียงอย่างเดียว และมี
ลักษณะเพียงอย่างเดียว จะเชื่อมั่นสิ่งที่ตนเห็นแล้วเท่านั้น ว่า "สิ่งนี้เท่านั้น
จริง " ปฏิเสธสิ่งนอกนี้ว่า " สิ่งอื่นเป็นโมฆะ" บุคคลผู้นั้นชื่อว่า เป็นคน
โง่เขลา คือมีปัญญาทราม จะถือเอาได้เพียงอย่างเดียว เพราะไม่รู้ประการ
อันต่าง ๆ กัน ซึ่งมีอยู่ในอรรถนั้นนั่นแล และเพราะเชื่อมั่นอย่างผิด ๆ อุปมา
เหมือนคนตาบอดคลำช้าง ฉะนั้น.
บทว่า สตทสฺสี จ ปณฺฑิโต ความว่า ส่วนบัณฑิตย่อมเห็น
ประการทั้งหลายแม้มิใช่น้อย อันมีอยู่ในอรรถนั้น โดยประการทั้งปวงด้วย
ปัญญาจักษุของตน. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใดรู้ข้อความเป็นอเนก อันจะพึงหา
ได้ในอรรถนั้น ด้วยปัญญาจักษุแม้ด้วยตนเอง ทั้งยังแสดงและประกาศ แม้
แก่คนเหล่าอื่นได้อีกด้วย บุคคลนั้นเป็นบัณฑิต คือ ชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญาเห็น
ประจักษ์ ฉลาดในอรรถทั้งหลาย.
พระเถระ ยังสมบัติคือปฏิสัมภิทาญาณอันยอดเยี่ยมของตน ให้
เเจ่มแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสุเหมันตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 486
๗. ธรรมสังวรเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระธรรมสังวรเถระ*
[๒๔๔] ได้ยินว่า พระธรรมสังวรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราได้พิจารณาแล้ว จึงออกบวชเป็นบรรพชิต
เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว บำเพ็ญกิจในพระศาสนา
เสร็จแล้ว.
อรรถกถาธรรมสวเถรคาถา
คาถาของท่านพระธรรมสวเถระ เริ่มต้นว่า ปพฺพชึ ตุลยิตฺวาน.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้เป็นพราหมณ์ นามว่า สุวัจฉะ ในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เรียนจบไตรเพท เห็น
โทษในการอยู่ครองเรือน จึงบวชเป็นดาบส ให้สร้างอาศรมในซอกเขา ชายป่า
อยู่ร่วมกับดาบสเป็นอันมาก.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะทรงปลูกพืชคือกุศล
แก่เขา จึง (เสด็จไป) ประทับยืนอยู่บนอากาศ ใกล้อาศรม แล้วทรงแสดง
อิทธิปาฏิหาริย์. สุวัจฉดาบสเห็นอิทธิปาฎิหาริย์นั้น เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ใคร่จะ
บูชา จึงเก็บเอาดอกสารภี (มาถวาย). พระศาสดาทรงพระดำริว่า พอแล้ว
สำหรับพืชคือกุศลมีประมาณเท่านี้ แห่งดาบสผู้นี้ ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป.
* อรรถกถาเรียกว่า พระธรรมสวเถระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 487
พระดาบสเก็บดอกไม้มาโรยทาง ที่พระบรมศาสดาเสด็จผ่านไป แล้วยังจิตให้
เลื่อมใส ยืนประคองอัญชลีอยู่แล้ว.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่
แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์ แคว้นมคธ ในพุทธุปบาท
กาลนี้ ได้นามว่า ธรรมสวะ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว อันเหตุสมบัติตักเตือนอยู่
เห็นโทษในการอยู่ครองเรือน และอานิสงส์ในบรรพชา เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้ประทับอยู่ในทักขิณาคิรีชนบท ฟังธรรมแล้วได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา
บรรพชาแล้ว เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้วต่อกาลไม่นานนัก. สมดัง
คาถาพยากรณ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นพราหมณ์ นามว่า สุวัจฉะ เป็นผู้รู้เจน
จบมนต์ แวดล้อมด้วยศิษย์ของตน อยู่ ณ ระหว่างภูเขา
พระชินเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้สมควรรับ
เครื่องบูชา พระองค์ทรงประสงค์ จะรื้อถอน (ช่วย
เหลือ) เรา จึงเสด็จมายังสำนักเรา เสด็จจงกรมอยู่บน
เวหาส เหมือนประทีปอันโพลงฉะนั้น ทรงทราบว่า
เรายินดีแล้ว บ่ายพระพักตร์กลับไปทางทิศประจิม
ก็เราได้เห็นความอัศจรรย์อันไม่เคยมี น่าขนพอง-
สยองเกล้านั้นแล้ว ได้เก็บเอาดอกสารภีไปโปรยลงที่
ทางเสด็จผ่าน ในกัปที่แสน แต่ภัทรกัปนี้ เราโปรย
ดอกไม้ใด ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราไม่เข้าถึงทุคติ
เลย ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิราช มีพระนามว่า "มหารถะ" สมบูรณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 488
ด้วยแล้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลาย
แล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จ
แล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาข้อปฏิบัติของตน ถึง
ความโสมนัส ได้กล่าวคาถาด้วยสามารถแห่งอุทานว่า
เราได้พิจารณาเห็นแล้ว จึงออกบวชเป็น
บรรพชิต เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว บำเพ็ญกิจใน
พระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชึ ตุลยิตฺวาน ความว่า พิจารณา
คือสอดส่องซึ่งโทษในฆราวาส โดยนัยมีอาทิว่า การอยู่ครองเรือนคับแคบ
เป็นทางแห่งละอองธุลี ดังนี้ ได้แก่พิจารณาโทษในกามทั้งหลาย โดยนัยมี
อาทิว่า กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ดังนี้
และอานิสงส์ในการออกบวช โดยตรงข้ามกับโทษในกามนั้น ด้วยปัญญาอัน
เป็นดุจตราชั่ง.
คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวในหนหลังแล้วทั้งนั้น. ก็คำเป็นคาถานี้แหละ
ได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผล ของพระเถระ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาธรรมสวเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 489
๘. ธรรมสฏปิตุเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระธรรมสฏปิตุเถระ*
[๒๔๕] ได้ยินว่า พระธรรมสฏปิตุเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เรามีอายุ ๑๒๐ ปี จึงออกบวชเป็นบรรพชิต
ได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว บำเพ็ญกิจในพระพุทธศาสนา
เสร็จแล้ว.
อรรถกถาธัมมสวปิตุเถรคาถา
คาถาของท่านพระธัมมสวปีตุเถระ เริ่มต้นว่า ส วีสวสฺสสติโก.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ เมื่อโลกว่างจากพระพุทธเจ้า (สุญญกัป) บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล
ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า อยู่บนภูเขาชื่อว่า
ภูตคณะ มีใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชาด้วยดอกมะลิซ้อน.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาไปบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ
อยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์ แคว้นมคธ ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว มีครอบครัว ได้บุตรชื่อว่า ธัมมสวะ เมื่อบุตร
บวชแล้ว แม้ตนเอง (ก็ย่างสู่วัยชรา) มีอายุ ๑๒๐ ปี แล้วเกิดความสลด
ใจว่า บุตรของเรายังหนุ่ม บวชก่อนแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร เราจักไม่
* อรรถกถาว่า พระธัมมสวปีตุเถระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 490
บวชเล่า ? ดังนี้แล้ว ไปสู่สำนักของพระศาสดา ฟังธรรมแล้ว บวช เริ่ม
ตั้งวิปัสสนา ได้กระทำให้แจ้งพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
มีภูเขาชื่อว่า ภูตคณะ อยู่ในที่ไม่ไกล ภูเขา
หิมวันต์ พระชินปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง สละโลกแล้ว
มาอยู่ ณ ภูเขานั้น เราจึงเอาดอกมะลิซ้อนไปบูชา
ท่าน ไม่ตกลงจตุราบาย ตลอดแสนกัปหย่อนหนึ่ง
ในกัปที่ ๑๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
องค์หนึ่ง มีนามว่า ธรณีรุหะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗
ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ
คำสอนของพระพุทธจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้น บรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาข้อปฏิบัติของตน
บังเกิดความโสมนัส เมื่อจะเปล่งอุทาน ได้กล่าวคาถาว่า
เรามีอายุ ๑๒๐ ปี จึงออกบวชเป็นบรรพชิต
ได้บรรลุวิชชา ๓ แล้วบำเพ็ญกิจในพระศาสนา เสร็จ
แล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ส วีสวสฺสสติโก ความว่า เรามี
อายุ ๑๒๐ ปี คือเรานั้นนับแต่เกิดมา มีอายุครบ ๑๒๐ ปี. บทว่า ปพฺพชึ
ความว่า เข้าถึงบรรพชาเพศ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น. ก็คำเป็น
คาถานี้แหละ ได้เป็นคำพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระนี้.
จบอรรถกถาธัมมสวปิตุเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 491
๙. สังฆรักขิตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสังฆรักขิตเถระ
[๒๔๖] ได้ยินว่า พระสังฆรักขิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัดนี้ เห็นจะไม่คำนึงถึงคำสอน
ของพระศาสดา ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตวโลก ด้วยประ-
โยชน์อย่างเยี่ยมเป็นแน่ จึงไม่สำรวมอินทรีย์ เหมือน
แม่เนื้อลูกอ่อนในป่า ฉะนั้น.
อรรถกถาสังฆรักขิตเถรคาถา
คาถาของท่านพระสังฆรักขิตเถระ เริ่มต้นว่า น นูนาย ปรมหิ-
ตานุกมฺปิโน. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนั้น ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกัปที่ ๙๔
แต่ภัทรกัปนี้ ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่ง เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
๗ องค์อยู่ที่เชิงเขา เป็นผู้มีใจโสมนัส เก็บเอาดอกกระทุ่มไปบูชา.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาไปบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้ว ท่อง
เที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น บังเกิดในตระกูลของผู้มั่งคั่ง
ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า สังฆรักขิต. เขาบรรลุ
นิติภาวะแล้ว ได้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว เรียนกรรมฐาน กระทำภิกษุรูปหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 492
ให้เป็นสหายแล้วอยู่ในป่า. ในที่ไม่ไกลจากที่ซึ่งพระเถระพำนักอยู่ มีแม่เนื้อ
ตัวหนึ่ง ตกลูกอยู่ที่พุ่มไม้ เฝ้ารักษาลูกน้อยที่ยังเล็ก แม้จะถูกความหิวครอบ
งำ ก็ไม่ไปหากินไกล เพราะความห่วงไยในลูก และต้องระกำลำบาก เพราะ
หาหญ้าและน้ำในที่ใกล้ไม่ได้. พระเถระเห็นดังนั้น เกิดความสลดใจว่า โอ
หนอ สัตวโลกนี้ อันเครื่องผูกคือตัณหารัดรึงไว้ ย่อมเสวยทุกข์หนัก ไม่
สามารถจะตัดเครื่องผูกตัณหานั้นได้ ดังนี้แล้ว กระทำเหตุการณ์นั้นแหละ
ให้เป็นขอสับ เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่
ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
มีภูเขาชื่อว่า กุกกุฏะ อยู่ในที่ไม่ไกลภูเขา
หิมพานต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๗ องค์อยู่ที่เชิงเขานั้น
เราเห็นต้นกระทุ่มมีดอกบาน ดังพระจันทร์พุ่งขึ้นสู่
ท้องฟ้า จึงประคองด้วยมือทั้งสอง บูชาพระปัจเจก
พุทธเจ้าทั้ง ๗ องค์ ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เรา
ได้บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชา
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระ
ปัจเจกพุทธเจ้า ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระ
เจ้าจักรพรรดิ ๗ พระองค์ นามว่า ปุปผะ
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำ
สำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว รู้ว่า ภิกษุผู้เป็นเพื่อนของ
ตนอยู่อย่างผู้มากไปด้วยมิจฉาวิตก จึงกระทำนางเนื้อนั้นแหละให้เป็นอุปมา
แล้ว ได้กล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 493
ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัดนี้ เห็นจะไม่คำนึงถึงคำสอน
ของพระศาสดา ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตวโลก ด้วย
ประโยชน์อย่างยอดเยี่ยมเป็นแน่ จึงไม่สำรวมอินทรีย์
เหมือนแม้เนื้อลูกอ่อนในป่า ฉะนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น น ศัพท์ ในบทว่า น นูนาย นี้ เป็นนิบาต
ลงในอรรถว่า ปฎิเสธ. บทว่า นูน เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ปริวิตก. ตัด
บทเป็น นูน อย. บทว่า ปรมหิตานุกมฺปิโน ความว่า ของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ผู้มีปกติอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายอย่างยอดเยี่ยม คือเปรียบไม่ได้ หรือ
ด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง คือ อย่างเยี่ยม. บทว่า รโหคโต ตัดบทเป็น
รหสิ คโต (อยู่ในที่ลับ) อธิบายว่า อยู่ในสุญญาคาร คือเป็นผู้ประกอบ
ด้วยกายวิเวก.
ในบทว่า อนุวิคเณติ นี้ ต้องนำเอาบททั้งสองว่า น นนู มา
เชื่อมเข้าเป็น นานุวิคเณติ นูน ได้ความว่า เห็นจะไม่คิด คือไม่ตรึก
ตรองว่า จะต้องขวนขวาย. บทว่า สาสน ความว่า คำสอนคือข้อปฏิบัติ
อธิบายว่า ได้แก่ การเจริญจตุสัจจกรรมฐาน. บทว่า ตถา หิ ความว่า
เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ได้แก่ เพราะไม่ขวนขวายคำสอนของพระศาสดานั่น
เอง. บทว่า อย แก้เป็น อย ภิกฺขุ แปลว่า ภิกษุนี้.
บทว่า ปากตินฺทฺริโย ความว่า ชื่อว่า ผู้มีอินทรีย์อันเป็นแล้ว
ตามสภาพ เพราะปล่อยอินทรีย์ทั้งหลาย มีใจเป็นที่ ๖ ไปในอารมณ์ทั้งหลาย
ตามใจของตน. อธิบายว่า เป็นผู้ไม่สำรวมจักษุทวารเป็นต้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า
อยู่อย่างผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ เพราะไม่ตัดกิเลสเครื่องข้องคือตัณหาใด พระ
เถระเมื่อจะแสดงข้ออุปมาแห่งกิเลสเครื่องข้องคือตัณหานั้น จึงกล่าวว่า มิคี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 494
ยถา ตรุณชาติกา วเน (เหมือนแม่เนื้อลูกอ่อนในป่าฉะนั้น) อธิบายว่า
แม่เนื้อยังมีลูกเล็กดังนี้ ย่อมเสวยทุกข์ในป่า เพราะตัดความสิเนหาในลูก
ไม่ขาด ได้แก่ ไม่ล่วงพ้นความทุกข์นั้น ฉันใด แม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้น เมื่อ
อยู่อย่างผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ เพราะตัดกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องไม่ได้ ชื่อว่า ย่อม
ไม่ล่วงพ้นทุกข์ในวัฏฏะ ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า ตรุณวิชาติกา ก็มี.
ความก็ว่า มีลูกอ่อน ที่จะต้องทะนุถนอม. ภิกษุนั้น ฟังดังนั้นแล้วเกิดความ
สลดใจ เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก.
จบอรรถกถาสังฆรักขิตเถรคาถา
๑๐. อุสภเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอุสภเถระ
[๒๔๗] ได้ยินว่า พระอุสภเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
พฤกษชาติทั้งหลายบนยอดเขา ที่ถูกน้ำฝนใหม่
ตกรดแล้ว ย่อมงอกงาม จิตอันควรแก่ภาวนา ย่อม
เกิดทวีขึ้นแก่เรา ผู้ชื่อว่าอุสภะ ผู้ใคร่ต่อวิเวก ผู้มี
ความสำคัญในป่า.
จบวรรคที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 495
อรรถกถาอุสภเถรคาถา
คาถาของท่านพระอุสภเถระเริ่มต้นว่า นคา นคคฺเคสุ สุสวิรุฬฺหา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ กระทำบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดเป็น
เทพบุตรในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี ในกัปที่ ๓๑
แต่ภัทรกัปนี้ วันหนึ่งเห็นพระศาสดาแล้ว เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชา
ด้วยดอกไม้ทิพย์ การบูชาด้วยดอกไม้นั้น ได้ตั้งอยู่โดยอาการดังมณฑปดอกไม้
ตลอด ๗ วัน. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายได้มีการประชุมเป็นมหาสมาคม.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิด
ในตระกูลของผู้มั่งคั่ง แคว้นโกศลในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า อุสภะ. เขา
ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เป็นผู้มีความเลื่อมใสอันได้แล้วในพระศาสดา ใน
คราวรับมอบพระวิหารชื่อว่า เชตวัน บรรพชาแล้ว กระทำบุรพกิจเสร็จแล้ว
อยู่ที่เชิงเขาในป่า. ก็โดยสมัยนั้น เมื่อเมฆในฤดูฝนพัดผ่านทำให้ฝนตกลงมา
กองใบไม้ที่สุมกันจนหนาทึบ เพราะเครือเถาของกิ่งไม้ จะมี (กองอยู่) ที่ยอดเขา
ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง พระเถระออกจากถ้ำ มองเห็นป่าที่น่ารื่นรมย์ และภูเขา
ที่น่ารื่นรมย์นั้นแล้ว คิดอยู่โดยโยนิโสมนสิการว่า ธรรมชาติมีต้นไม้เป็น
ชื่อแม้เช่นนี้ หาเจตนามิได้ ย่อมถึงความเจริญงอกงาม เพราะความสมบูรณ์
ของฤดู เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไฉน เราได้ฤดูเป็นที่สบายแล้ว จักไม่เจริญด้วย
คุณธรรมทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 496
พฤกษชาติทั้งหลายบนยอดเขา ที่ถูกฝนใหม่
ตกรดแล้ว ย่อมงอกงาม จิตอันควรแก่ภาวนา ย่อม
เกิดทวีขึ้นแก่เรา ผู้มีนามว่า " อสภะ " ผู้ใคร่วิเวก
ผู้มีความสำคัญในป่า ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นคา แปลว่า ต้นไม้. บางอาจารย์
เรียกว่า นาคา หมายถึงต้นกากะทิง.
บทว่า นคคฺเคสุ แปลว่า บนยอดเขา.
บทว่า สุสวิรุฬฺหา ความว่า เป็นต้นไม้มีรากงอกงามด้วยดี คือ
แผ่ขยายไปโดยรอบ อธิบายว่า แตกกิ่งก้านสาขาทั้งอ่อนทั้งแก่ แลดูสล้างไป
โดยรอบทั้งข้างล่างและข้างบน.
บทว่า อุทคฺคเมเฆน นเวน สิตฺตา ความว่า อันเมฆที่ทำให้
ฝนตก ที่เกิดขึ้นครั้งแรกห่าใหญ่ ตกรดชุ่มโชก.
บทว่า วิเวกกามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจิตตวิเวก อันสงัดแล้วจาก
กิเลส คือ ปรารถนาจิตควิเวกนั้นว่า กายวิเวกอันผู้อยู่ในป่าได้แล้วก่อน บัดนี้
เราพึงได้จิตตวิเวก อันเป็นนิสสยปัจจัย แห่งการบรรลุอุปธิวิเวก อธิบายว่า
ได้แก่การหมั่นประกอบเนือง ๆ ซึ่งชาคริยธรรม ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึง
กล่าวว่า อรฺสญฺิโน (ผู้มีความสำคัญในป่า) ดังนี้ อธิบายว่า ผู้มีความ
สำคัญในการอยู่ในป่า คือมากไปด้วยเนกขัมมสังกัปปะ อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า
การอยู่ป่า อันพระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว ทรงชมเชยแล้ว ก็และการอยู่ป่า
นั้น ก็เพียงเพื่อทำสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนาให้บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น
สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนานั้น เราควรกระทำให้อยู่ในเงื้อมมือ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 497
บทว่า ชเนติ เท่ากับ อุปฺปาเทนฺติ แปลว่า ย่อมให้เกิดขึ้น ก็
บทว่า ชเนติ นี้ เป็นเอกวจนะ ใช้ในอรรถแห่งพหุวจนะ. ส่วนอาจารย์
บางพวกกล่าวว่า ชเนนฺติ. บทว่า ภิยฺโย แปลว่า ยิ่ง ๆ ขึ้นไป.
พระเถระเรียกตนเองนั่นแหละ ด้วยบทว่า อุสภสฺส เหมือนเรียก
คนอื่น.
บทว่า กลฺยต ความว่า ความที่จิตสมควร คือความที่จิตควรแก่
การงาน ได้แก่ความที่จิตควรแก่ภาวนา. ความข้อนี้นั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ใน
หนหลังแล้วทั้งนั้น. พระเถระกล่าวคาถานี้อยู่อย่างนี้นั่นแล ขวนขวายวิปัสสนา
แล้ว บรรลุพระอรหัต. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นเทพบุตร ได้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้
เป็นนายก พระนามว่า สิขี ได้น้อมบูชาพระพุทธองค์
ด้วยดอกมณฑารพ พวงมาลัยทิพย์ เป็นหลังคาบังร่ม
ในพระตถาคตตลอด ๗ วัน. ชนทั้งปวงมาประชุมกัน
นมัสการพระตถาคต ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้
บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เรา
ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๑๐
แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช พระ-
นามว่า "ชุตินธระ" สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 498
มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ก็คาถานี้แหละได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผล ของพระเถระ.
จบอรรถกถาอุสภเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๑๑
แห่งอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี
ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ รูปคือ
๑. พระเพลัฏฐกานิเถระ ๒. พระเสตุจฉเถระ ๓. พระพันธุรเถระ
๔. พระขิตกเถระ ๕. พระมลิตวัมภเถระ ๖. พระสุเหมันตเถระ ๗.
พระธรรมสังวรเถระ ๘. พระธัมมสวปิตุเถระ ๙. พระสังฆรักขิตเถระ
๑๐. พระอุสภเถระ และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 499
เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๑๒
๑. เชนตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเชนตเถระ
[๒๔๘] ได้ยินว่า พระเชนตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
การบวชกระทำได้ยากแท้ การอยู่ครองเรือนก็
ยากแท้ ธรรมเป็นของลึก การหาทรัพย์เป็นของยาก
การเลี้ยงชีพของเราด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้ ก็เป็น
ของยาก ควรคิดถึงอนิจจตาเนือง ๆ.
วรรควรรณนาที่ ๑๒
อรรถกถาเชนตเถรคาถา
คาถาของท่านพระเชนตเถระ เริ่มต้นว่า ทุปฺปพฺพชฺช เว ทุรธิวาสา
เคหา. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดเป็น
เทพบุตร ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี. วันหนึ่งเขา
เห็นพระศาสดา มีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยดอกฟักทิพย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 500
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
เป็นโอรสของเจ้ามัณฑลิกราช พระองค์หนึ่ง ในเชนตคาม แคว้นมคธ
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีพระนามว่า เชนตะ. ท้าวเธอบรรลุนิติภาวะแล้ว
อันเหตุสมบัติตักเตือนอยู่ แต่ในเวลาที่ยังทรงพระเยาว์ทีเดียว เป็นผู้มีพระทัย
น้อมไปในบรรพชาแล้ว ทรงพระดำริใหม่ว่า ขึ้นชื่อว่า บรรพชาเป็นของทำ
ได้ยาก แม้เรือนก็อยู่ครองลำบาก ธรรม (วินัย) ก็เป็นของลึกซึ้ง และโภค-
สมบัติก็ประสบได้โดยยาก เราพึงทำอย่างไรดีหนอ ดังนี้. ก็พระองค์เป็นผู้
มากไปด้วยความคิดคำนึงอย่างนี้ เที่ยวไป วันหนึ่งไปสู่สำนักของพระศาสดา
ฟังธรรมแล้ว จำเดิมแต่เวลาที่ทรงสดับธรรมแล้ว ก็กลับเป็นผู้มีความยินดี
อย่างยิ่งในบรรพชา บวชในสำนักของพระศาสดา เรียนกรรมฐานแล้วเจริญ
วิปัสสนา กระทำให้แจ้งพระอรหัตผลแล้ว ด้วยสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา การ
ปฏิบัติสะดวก และตรัสรู้ได้ง่าย. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นเทพบุตร ได้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้
เป็นนายก พระนามว่า สิขี ได้ถือเอาดอกฟักทิพย์ไป
บูชาพระพุทธเจ้า ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้
บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เรา
ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา และในกัปที่
๙ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพระนามว่า
"สัตตุตตมะ" สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 501
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อพิจารณาดูข้อปฏิบัติของตน
ก็เกิดความโสมนัสว่า เราไม่สามารถจะตัดวิตกอันบังเกิดขึ้นแก่เราแต่ตอนแรก
ได้หนอ ดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดงอาการที่วิตกเกิดขึ้น และความที่ตนตัดวิตก
นั้นได้โดยชอบนั่นแล จึงได้กล่าวคาถาว่า
การบวชทำได้ยากแท้ การอยู่ครองเรือนก็ลำบาก
ธรรมเป็นของลึก การหาทรัพย์เป็นของยาก การ
เลี้ยงชีพของเราด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้ ก็เป็นของ
ยาก ควรคิดถึงอนิจจตาเนือง ๆ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุปฺปพฺชฺช ความว่า การเว้นชั่วชื่อว่า
ทำได้ยาก เพราะการสละกองโภคสมบัติ และความห้อมล้อมของหมู่ญาติน้อย-
ก็ตาม มากก็ตาม แล้วบวชถวายชีวิตในพระศาสนานี้ ชื่อว่า ยาก เพราะ
กระทำได้โดยยาก คือการบรรพชาทำได้โดยยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
" ทุปฺปพฺพชฺช " (การบวชทำได้ยาก).
บทว่า เว เป็นเพียงนิบาต. อีกอย่างหนึ่ง เวศัพท์มี ทฬฺหศัพท์
เป็นอรรถ (คือส่งความให้หนักแน่น) ว่าการบวชเป็นของยาก ดังนี้. ที่ที่พัก
อาศัย ชื่อว่า เรือน เรือนชื่อว่าอยู่ครองได้ยาก คือเรือนชื่อว่าอยู่ยาก คือ
ปกครองลำบาก โดยกระทำอธิบายว่า เพราะราชกิจอันพระราชาจะต้องทรง
ปฏิบัติ (ก็ดี) อิสรกิจ อันอิสรชนต้องกระทำ (ก็ดี) คหปติกิจ อันคฤหบดี
ต้องจัดแจง (ก็ดี) ผู้อยู่ครองเรือนต้องกระทำทั้งนั้น ทั้งบริวารชน และสมณ
พราหมณ์ ผู้อยู่ครองเรือนก็ต้องสงเคราะห์ ก็เมื่อมัวกระทำกิจที่ต้องบำเพ็ญ
นั้น ๆ อยู่ การอยู่ครองเรือนจึงทำให้เต็มได้ยาก เหมือนหม้อน้ำที่ทะลุ และ
เหมือนมหาสมุทร เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่าเรือนเหล่านี้ จึงชื่อว่ายากที่จะอยู่
ยากที่จะครอบครอง คือกระทำได้โดยยาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 502
บรรพชาพึงดำรงในภายหลัง ธรรมเป็นของลึกคือบรรพชา มีสิ่งใด
เป็นประโยชน์ สิ่งนั้นได้แก่ปฏิเวธสัทธรรม อันผู้บวชแล้วพึงบรรลุ เป็น
ของลึก คือเห็นได้ยาก เพราะเป็นอารมณ์ของญาณที่ลึกซึ้ง ได้แก่แทงตลอด
ได้โดยยาก เพราะเป็นของแทงตลอดได้โดยยาก โดยความที่พระธรรมเป็น
ของลึกซึ้ง ที่เป็นที่อยู่อาศัยชื่อว่าเรือน โภคะทั้งหลายแสวงหาได้โดยยาก
ผู้อยู่ครอบครองเรือน เว้นจากโภคะเหล่าใด ไม่สามารถจะอยู่ครองเรือนได้
โภคะเหล่านั้น ชื่อว่าแสวงหาได้ยาก เพราะความเป็นโภคะที่แสวงหาได้โดยยาก
คือลำบาก.
เมื่อเป็นเช่นนั้น การละฆราวาสแล้วบวชนั่นแล ชื่อว่า พึงดำรงใน
ภายหลัง การเลี้ยงชีพของพวกเราทั้งหลายด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้ ในพระ-
ธรรมวินัยนี้ เป็นของยากแม้อย่างนี้ คือ การครองชีพ ได้แก่ความเป็นอยู่
ของพวกเราทั้งหลาย ในพระพุทธศาสนานี้ ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ คือตาม
ที่ได้มา เป็นของยากคือลำบาก คือว่า การเลี้ยงชีวิตของพวกเราทั้งหลาย ชื่อว่า
ยาก คือลำบาก เพราะต้องยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ใน
เรือนของฆราวาสทั้งหลาย เพราะความที่เขาเหล่านั้นอยู่กันอย่างลำบาก ทั้ง
โภคะทั้งหลายก็หาได้ยาก. ถามว่า ในข้อนั้นควรจะทำอย่างไร ? ตอบว่า
ควรคิดว่า เป็นของไม่เที่ยงเป็นนิตย์ คือธรรมชาติอันเป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า
เป็นของไม่เที่ยง ตลอดวันทั้งสิ้น และก่อนรัตติกาล และหลังรัตติกาล. ต่อ
แต่นั้น ก็ควรคิดว่า ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะมีเบื้องต้น
และที่สุด และเพราะเป็นไปชั่วขณะ ฉะนั้น การคิดและการพิจารณาว่าไม่เที่ยง
จึงสมควรแล้ว. เมื่อการพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงสำเร็จแล้ว การ
พิจารณาโดยลักษณะนอกนี้ ย่อมสำเร็จโดยง่ายทีเดียว เพราะเหตุนั้น ใน
คาถานี้ ท่านจึงกล่าวไว้แต่อนิจจานุปัสสนาอย่างเดียว เพราะอนิจจลักษณะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 503
กินความถึงทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ และเพราะศาสนิกชนกำหนดถือ
เอาได้สะดวก.
สมดังที่ตรัสไว้ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเป็นอนัตตาบ้าง ว่าสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมี
ความดับเป็นธรรมดาบ้าง ว่า สังขารทั้งหลายมีความสิ้นไปเป็นธรรมดาบ้าง.
พระเถระเมื่อข่มกิเลสที่เกิดขึ้น ไป ๆ มา ๆ ด้วยสามารถแห่งธรรมอันเป็น
ปฏิปักษ์ซึ่งกันและกันได้อย่างนี้แล้ว เริ่มปรารภวิปัสสนาโดยมีอนิจจตาเป็น
สำคัญ แล้วแสดงว่า เป็นผู้เสร็จกิจแล้วในบัดนี้ ด้วยบทว่า " สตตมนิจฺจต "
นี้. สมดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า "อตฺตโน ปฏิปตฺตึ " (พระเถระพิจารณาอยู่)
ซึ่งข้อปฏิบัติของตน ดังนี้เป็นอาทิ. คำเป็นคาถานี้แหละ ได้เป็นการพยากรณ์
พระอรหัตผลของพระเถระ.
จบอรรถกถาเชนตเถรคาถา
๒. วัจฉโคตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวัจฉโคตตเถระ
[๒๔๙] ได้ยินว่า พระวัจฉโคตตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราเป็นผู้ได้ไตรวิชชา มักเพ่งธรรมอันประณีต
ฉลาดในอุบาย สงบใจ ได้บรรลุประโยชน์ของตน
เสร็จกิจพระพุทธศาสนาแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 504
อรรถกถาวัจฉโคตตเถรคาถา
คาถาของพระวัจฉโคตตเถระ เริ่มต้นว่า เตวิชฺโชห มหาฌายี.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์-
ก่อน ๆ ปลูกพืช คือ กุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ
บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในพระนครพันธุมดี ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า วิปัสสี ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา ในวันหนึ่ง กระทำพุทธบูชา
ร่วมกับพระราชา และชาวเมืองทั้งหลาย ต่อแต่นั้น ก็ท่องเที่ยวไปในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ ผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติในพระนคร-
ราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า วัจฉโคตตะ เพราะความ
ที่เขาเป็นเหล่าวัจฉโคตร.
เขาบรรลุนิติภาวะแล้ว ประสบความสำเร็จในวิชชาของพวกพราหมณ์
ไม่เห็นสาระในวิชชาเหล่านั้น จึงบวชเป็นปริพาชก เที่ยวไป เข้าไปเฝ้าพระ-
ศาสดาแล้ว ทูลถามปัญหา เมื่อพระศาสดาทรงวิสัชนาปัญหานั้นแล้ว เป็นผู้มี-
จิตเลื่อมใส บวชในสำนักของพระศาสดา เจริญวิปัสสนา ได้สำเร็จอภิญญา ๖
ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ภิกษุสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ ล้วนเป็นพระขีณาสพแวดล้อม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นผู้นำของโลก เป็นจอม-
ประชา ประเสริฐกว่านระ มีพระรัศมีตั้งร้อย ดัง
อาทิตย์อุทัยเหลืองอร่าม เสด็จดำเนินไปเหมือน
พระจันทร์ในวันเพ็ญ เมื่อพระองค์ผู้เป็นผู้นำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 505
ของโลก เสด็จดำเนินไป เราปัดกวาดถนนนั้น ได้ยาก
ธงขึ้นที่ถนนนั้น ด้วยใจอันเสื่อมใส ในกัปที่ ๙๑ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้ยกธงใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายธง ในกัปที่ ๔ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระราชา มีพลมาก สมบูรณ์
ด้วยอาการทั้งปวง ปรากฏนามว่า สุธชะ. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำ
สำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา ๖ พิจารณาข้อปฏิบัติของตนแล้ว เกิดความ
โสมนัส ได้กล่าวคาถา ด้วยสามารถแห่งอุทานว่า
เราเป็นผู้ได้ไตรวิชชา มักเพ่งธรรมอันประณีต
ฉลาดในอบายสงบใจ ได้บรรลุประโยชน์ของตน
เสร็จกิจพระพุทธศาสนาแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตวิชฺโชห ความว่า แม้ถ้าคนทั้งหลาย
จะรู้จักเราว่า เป็นพราหมณ์ผู้มีวิชชา ๓ เพราะถึงฝั่งแห่งไตรเพทในครั้งก่อน
แต่วิชชาทั้ง ๓ นั้นเป็นเพียงชื่อ เพราะเป็นสภาพแห่งกิจของวิชชาในพระเวท
ทั้งหลาย.
แต่บัดนี้ เราชื่อว่าเป็นผู้มีวิชชา ๓ โดยปรมัตถ์ เพราะได้บรรลุวิชชา ๓
มีบุพเพนิวาสญาณเป็นต้น ชื่อว่าเป็นผู้มีปกติเพ่งธรรมอันประณีต เพราะเพ่ง
หมู่กิเลส อันเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งสมุทัย เป็นจำนวนมาก คือไม่มีส่วนเหลือ
และเพราะเพ่งพระนิพพาน อันใหญ่หลวง คือ โอฬาร ได้แก่ ประณีต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 506
บทว่า เจโตสมถโกวิโท ความว่า เป็นผู้ฉลาดในอุบายเครื่อง
ทำใจให้สงบ ด้วยการเข้าไปสงบระงับสังกิเลสธรรม อันกระทำความกำเริบ
แห่งจิต. พระเถระกล่าวถึงเหตุแห่งความเป็นผู้มีวิชชา ๓ ด้วยบทว่า เจโต-
สมถโกวิโท นี้. อธิบายว่า ความเป็นผู้มีวิชชา ๓ จะมีได้ก็ด้วยความสิ้นไป
แห่งอาสวะ อันประกอบไปด้วยความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ มิใช่ด้วย (อย่างอื่น)
โดยสิ้นเชิง.
บทว่า สทตฺโถ แปลว่า ประโยชน์ของตน. บทนี้ท่านทำ ก อักษร
ให้เป็น ท อักษร ดังในประโยคมีอาทิว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ (มีประโยชน์
ตนอันบรรลุแล้วโดยลำดับ). ก็พระอรหัต พึงทราบว่า เป็นประโยชน์ของตน.
อธิบายว่า พระอรหัตนั้น ท่านเรียกว่า เป็นประโยชน์ของตน เพราะความที่
พระอรหัตนั้นเป็นประโยชน์ของตน ด้วยอรรถว่า เนื่องกับตน ด้วยอรรถว่า
ไม่ละซึ่งตน ด้วยอรรถว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งของตน. ประโยชน์ของตนนี้นั้น
อันเรา คือ ตัวเรา บรรลุแล้วโดยลำดับ คือ ถึงทับแล้ว พระเถระแสดงถึง
ความเป็นผู้เพ่งธรรมอันประณีต ตามที่กล่าวแล้ว กระทำให้ถึงซึ่งยอด (คือ
พระอรหัต) ด้วยบทว่า สทตฺโถ นี้.
จบอรรถกถาวัจฉโคตตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 507
๓. วนวัจฉเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวนวัจฉเถระ
[๒๕๐] ได้ยินว่า พระวนวัจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ภูเขากว้างใหญ่ มีน้ำใสสะอาด เกลื่อนกล่นไป
ด้วยลิงและค่าง ดาษดื่นไปด้วยน้ำและสาหร่าย ย่อม
ทำใจของเราให้รื่นรมย์.
อรรถกถาวนวัจฉเถรคาถา
คาถาของท่านพระวนวัจฉเถระ เริ่มต้นว่า อจฺโฉทิกา ปุถุสิลา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์-
ก่อนๆ ปลูกพืช คือ กุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิด-
ในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี ถึง
ความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ทำงานรับจ้างเลี้ยงชีพ ทำความผิดมีมลทินต่อคนบางคน
อันความกลัวตายคุกคามแล้วหลบหนีไป เห็นโพธิพฤกษ์ในระหว่างทาง เป็นผู้
มีจิตเลื่อมใส ปัดกวาดโคนโพธิพฤกษ์นั้น ทำการบูชาด้วยดอกอโศกอันติดกัน
เป็นกลุ่ม ไหว้แล้ว หันหน้าไปสู่โพธิพฤกษ์ นมัสการอยู่ นั่งขัดสมาธิ
เห็นศัตรูเดินทางมาเพื่อจะฆ่าตน ไม่ทำจิตให้โกรธในศัตรูเหล่านั้น เมื่อรำลึก
ถึงโพธิพฤกษ์นั่นแหละ ก็ตกไปในเหวลึกชั่วร้อยบุรุษ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 508
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญเป็นอันมากแล้ว
ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของ
พราหมณ์ ผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ ในพระนครราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้
ได้มีนามว่า วัจฉะ. เขาเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีศรัทธาจิตอันได้แล้ว ในสมาคม
ของพระเจ้าพิมพิสาร บวชแล้ว บรรลุพระอรหัต. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน
กล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเกี่ยวข้องในคดีประทุษร้ายผู้อื่น ได้กระทำ
ความผิดไว้ เพรียบพร้อมไปด้วยภัยและผู้เป็นศัตรู
ได้เห็นต้นไม้มีดอกเป็นกลุ่มก้อน บานสะพรั่ง จึงถือ
เอาดอกมันแดงไปเกลี่ยลงที่โพธิพฤกษ์ ปัดกวาดไม้
แคฝอยอันเป็นไม้ตรัสรู้นั้นแล้ว เข้าไปนั่งขัดสมาธิที่
โคนโพธิ์ ชนทั้งหลายแสวงหาช่องทางที่เราหลบไป
ได้เข้ามาใกล้เราและเราก็เห็นเขาเหล่านั้นในที่นั้นแล้ว
รำพึงถึงแต่โพธิพฤกษ์อันอุดม ด้วยใจอันผ่องใสแล้ว
ไหว้โพธิพฤกษ์แล้ว ได้ตกลงไปในเหว อันน่ากลัว
ลึกหลายชั่วลำตาล ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้
บูชาโพธิพฤกษ์ด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เรา
ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาโพธิพฤกษ์
และในกัปที่ ๓ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้า-
จักพรรดิราช พระนามว่า สุสัญญตะ* สมบูรณ์ด้วย
แก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว
ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
* พระสูตรเป็น สัมมสิตะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 509
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ยังคงอยู่ในป่านั่นแหละด้วยความ
ยินดียิ่งในวิเวก จึงได้เกิดสมัญญานามใหม่ว่า วนวัจฉะ จะเป็นบางครั้งบางคราว
ที่พระเถระไปสู่พระนครราชคฤห์เพื่ออนุเคราะห์หมู่ชนผู้เป็นญาติ อันญาติ
ทั้งหลายบำรุงอยู่ในพระนครราชคฤห์นั้น พักอยู่ไม่กี่วัน ก็แสดงอาการที่จะ
กลับไป ญาติทั้งหลายอ้อนวอนท่านว่า ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงพักอยู่ในวิหาร
ที่ใกล้ ๆ เพื่ออนุเคราะห์พวกกระผมเถิด พวกกระผมจักทำนุบำรุงท่านเอง
ดังนี้ พระเถระเมื่อจะประกาศความยินดีในวิเวก ด้วยการชี้ให้เห็นคุณของ
ความเป็นผู้มีภูเขาเป็นที่มายินดี แก่คนเหล่านั้น ได้กล่าวคาถาว่า
ภูเขากว้างใหญ่ มีน้ำใสสะอาด เกลื่อนกล่นไป
ด้วยลิงและค่าง ดาษดื่นไปด้วยน้ำและสาหร่าย ย่อม
ทำใจของเราให้รื่นรมย์ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺโฉทิกา ความว่า เมื่อควรจะกล่าวว่า
อจฺโฉทกา เพราะเป็นที่มีน้ำใส ไม่ขุ่น (และ) สะอาด ท่านกล่าวเสียว่า
อจฺโฉทิกา เพราะเป็นลิงควิปัลลาส. พระเถระแสดงถึงความสมบูรณ์ของน้ำ
แห่งภูเขาเหล่านั้น ด้วยบทว่า อจฺโฉทิกา นี้.
บทว่า ปุถุสิลา ความว่า ภูเขาชื่อว่า ปุถุสิลา เพราะเป็นภูเขา
กว้างใหญ่ มีสัมผัสนุ่มสบาย พระเถระแสดงถึงความสมบูรณ์ด้วยที่อันเป็น
ที่นั่ง ด้วยบทว่า ปุถุสิลา นี้. ชื่อว่า โคนงฺคุลา เพราะเป็นสัตว์มีหางงอน
เหมือนหางโค ได้แก่ ลิงที่มีสีดำ แม้อาจารย์บางพวกก็กล่าวว่า ได้แก่ ลิง
ธรรมดานั่นเอง. ชื่อว่า โคนงฺคุลมิคายุตา เพราะระคนเกลื่อนกล่นไปด้วย
ลิงค่างและอีเก้งเป็นต้น ที่วิ่งพลุกพล่านอยู่ในที่นั้น ๆ พระเถระแสดงถึงความ
ที่ธรรมชาติเหล่านั้นเข้าถึงลักษณะของความเป็นป่า เพราะภูเขาเหล่านั้นเป็น
อุปจารของพวกอมนุษย์ ด้วยบทว่า โคนงฺคุลมิคายุตา นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 510
บทว่า อมฺพุเสวาลสญฺฉนฺนา ความว่า ชื่อว่า ดาษดื่นไปด้วยน้ำ
และสาหร่ายในที่นั้น ๆ เพราะมีน้ำไหลหลั่ง โดยมีน้ำไหลออกตลอดเวลา.
บทว่า เต เสลา รมยนฺติ ม มีอธิบายว่า เราอยู่ที่ภูเขาใด
ภูเขานั้น เป็นภูเขาหินมีสภาพเช่นนี้ ทำให้เรายินดีด้วยความยินดียิ่งในวิเวก
เพราะเหตุนั้น เราจะไปที่ภูเขานั้นแหละ. ก็คำเป็นคาถานี้แหละ ได้เป็นการ
พยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ.
จบอรรถกถาวนวัจฉเถรคาถา
๔. อธิมุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอธิมุตตเถระ
[๒๕๑] ได้ยินว่า พระอธิมุตตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เมื่อชีวิตจะสิ้นไป ความเป็นสมณะที่ดีจักมีแก่
ภิกษุผู้เกียจคร้าน ผู้ติดอยู่ในความสุขในร่างกาย แต่
ที่ไหน ?
อรรถกถาอธิมุตตเถรคาถา
คาถาของท่านพระอธิมุตตเถระ เริ่มต้นว่า กายทุฏฐุลฺลครุโน.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า ปทุมุตตระ บรรลุนิติภาวะแล้ว ประสบความสำเร็จ ใน
วิชชาทั้งหลายของพราหมณ์ เห็นโทษในกามทั้งหลาย ละฆราวาสวิสัยแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 511
บวชเป็นดาบส อยู่ในป่า ฟังข่าวการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า จึงเข้าไปสู่
ที่อันเป็นบริเวณของมนุษย์ เห็นพระศาสดาอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว เสด็จ
ไปอยู่ เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ปูลาดผ้าเปลือกไม้กรองของตน ที่บาทมูลของพระ
ศาสดา. พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของดาบส จึงเสด็จประทับยืนบนผ้า
เปลือกไม้กรองนั้น. ดาบสบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับยืนอยู่บนผ้า
เปลือกไม้กรองนั้นด้วยของหอม อันสมควรด้วยสักการะ แล้วชมเชยด้วยคาถา
๑๐ คาถา มีอาทิว่า สมุทฺธรสิม โลก ดังนี้. พระศาสดาทรงพยากรณ์
พระดาบสว่า ในอนาคตกาล ในที่สุดแห่งแสนกัป แต่กัปนี้. ดาบสนี้จัก
บวชในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ จักเป็นผู้มี
อภิญญา ๖ ดังนี้ แล้วเสด็จหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก ต่อแต่นั้นก็ท่องเที่ยวไปใน
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จนถึงเวลาเป็นที่บังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าพระ-
องค์นี้ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้
ได้มีนามว่า อธิมุตตะ บรรลุนิติภาวะแล้ว ประสบความสำเร็จแล้วในวิชชา
ทั้งหลายของพราหมณ์ ไม่เห็นสาระในวิชชาเหล่านั้น แสวงหาทางสิ้นทุกข์
และความที่ภพนั้นเป็นภพสุดท้าย เห็นพุทธานุภาพ ในคราวที่ทรงรับ
พระวิหาร ชื่อว่า เชตวัน ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา บวชในสำนักของพระศาสดา
เริ่มตั้งวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์
ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นพราหมณ์ผู้ทรงชฎาและหนังสัตว์ เป็นผู้
ซื่อตรงมีตบะ ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายของโลก
ทรงรุ่งเรืองดังดอกกรรณิการ์ โชติช่างดังดวงไฟ รุ่ง-
โรจน์ดังดาวประกายพฤกษ์ เปรียบเหมือนสายฟ้าใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 512
อากาศ ไม่ทรงครั่นคร้าม ไม่ทรงสะดุ้งกลัว ดังพระ
ยาไกรสรราชสีห์ ทรงประกาศแสงสว่างแห่งพระญาณ
ทรงย่ำยีพวกเดียรถีย์ ทรงช่วยเหลือสัตวโลกนี้ ทรง
ตัดความสงสัยทั้งปวง ไม่ทรงหวาดหวั่น ดังพระยา-
เนื้อ จึงถือเอาฝ้าเปลือกไม้กรอง ลาดลง ณ ที่ใกล้
พระบาท หยิบเอากลัมพักมา ชโลมทาพระตถาคต
ครั้นชโลมทาพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ชมเชยพระองค์
ผู้เป็นนายกของโลกว่า ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์
ข้ามพ้นโอฆะแล้ว ทรงยังโลกนี้ให้ข้ามพ้น โชติช่วง
ด้วยแสงสว่างแห่งพระญาณ ทรงมีพระญาณประเสริฐ
สุด ทรงประกาศธรรมจักร ทรงย่ำยีเดียรถีย์อื่น ทรง
เป็นผู้กล้าหาญ ทรงชนะสงครามแล้ว ยังแผ่นดินให้
หวั่นไหว คลื่นในมหาสมุทร ย่อมแตกในที่สุดฝั่ง
ฉันใด ทิฏฐิ ทั้งปวงย่อมแตกทำลายในเพราะพระญาณ
ของพระองค์ฉันนั้น ข่ายตาเล็ก ๆ ที่เขาเหวี่ยงลงไป
ในสระแล้ว สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ภายในข่าย เป็นผู้ถูก
บีบคั้นในขณะนั้น ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
พวกเดียรถีย์ ในโลกผู้หลงงมงาย ไม่อาศัยสัจจะ ย่อม
เป็นไปในภายในพระญาณ อันประเสริฐของพระองค์
ฉันนั้น พระองค์เท่านั้นเป็นที่พึ่งของผู้ที่ว่ายอยู่ ใน
ห้วงน้ำ เป็นนาถะของผู้ไม่มีเผ่าพันธุ์ เป็นสรณะของ
ผู้ที่ตั้งอยู่ในภัย เป็นผู้นำหน้าของผู้ต้องการความพ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 513
เสด็จเที่ยวไปผู้เดียว ไม่มีใครเหมือน ทรงประกอบ
ด้วยพระเมตตากรุณา หาผู้เสมอเหมือนมิได้ เป็นผู้
สม่ำเสมอ สงบระงับแล้ว มีความชำนาญ คงที่ มีชัย-
ชนะสมบูรณ์ เป็นนักปราชญ์ ปราศจากความหลง
ไม่ทรงหวั่นไหว ไม่มีความสงสัย เป็นผู้พอพระทัย
มีโทสะอันคลายแล้ว ไม่มีมลทิน ทรงสำรวม มีความ
สะอาด ล่วงธรรมเครื่องข้อง มีความเมาอันกำจัดแล้ว
มีวิชชา ๓ ถึงที่สุดแห่งภพทั้ง ๓ ทรงก้าวล่วงเขต
แดน เป็นผู้หนักในธรรม มีประโยชน์อันถึงแล้ว ทรง
หว่านประโยชน์ ทรงยังสัตว์ให้ข้าม เปรียบเหมือน
เรือ ทรงมีขุมทรัพย์ ทรงทำความเบาใจ ไม่ทรงครั่น
คร้ามดังราชสีห์ เหมือนพระยาคชสารอันฝึกแล้ว ใน
กาลนั้น ครั้นเราสรรเสริญพระมหามุนี พระนามว่า
ปทุมุตตระ ผู้มียศใหญ่ ด้วยคาถา ๑๐ คาถา ถวาย
บังคมพระบาทพระศาสดาแล้ว ได้ยืนนิ่งอยู่. พระ-
ศาสดาพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้งโลก สมควร
รับเครื่องบูชา ประทับอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดสรรเสริญ ศีล ปัญญา และ
สัทธรรมของเรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจง
ฟังเรากล่าว ผู้นั้นจะรื่นรมย์ อยู่ในเทวโลกตลอดหก
หมืนกัป จักเสวยไอศวรรย์ ล่วงเทวดาเหล่าอื่น ภาย
หลังอันกุศลมูล ตักเตือนแล้ว เขาจักออกบวชใน
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า โคดม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 514
ครั้นบวชแล้ว เว้นบาปกรรมด้วยกาย กำหนดรู้อาสวะ
ทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน เมฆคราง
กระหึ่ม ย่อมยังพื้นดินให้อิ่ม ฉันใด ข้าแต่พระมหา
วีรเจ้า พระองค์ทรงยังข้าพระองค์ ให้อิ่มด้วยธรรม
ฉันนั้น ครั้นเราชมเชย ศีล ปัญญา ธรรม และพระ
องค์ผู้เป็นนายกของโลกแล้ว ได้บรรลุพระนิพพาน
อันเป็นธรรมสงบระงับอย่างยิ่ง เป็นอัจจุตบท โอหนอ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีจักษุพระองค์นั้น พึงดำรงอยู่
นานแน่ เราจะพึงรู้แจ้ง พึงเห็นอมตบท ชาตินี้เป็น
ชาติที่สุดของเรา เราถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว กำหนด
รู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัปที่แสน
แต่ภัทรกัปนี้ เราได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าใด ด้วยการ
สรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
สรรเสริญ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย
ผู้มากไปด้วยความเกียจคร้าน ซึ่งอยู่ร่วมกับตน ได้กล่าวคาถาว่า
เมื่อชีวิตจะสิ้นไป ความเป็นสมณะที่ดี จักมีแก่
ภิกษุผู้เกียจคร้าน ผู้ติดอยู่ในความสุข ในร่างกาย แต่
ที่ไหน ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 515
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายทุฏฺฐุลฺลครุโน ความว่า การ
ประกอบความไม่ดีงาม ชื่อว่า ความชั่วหยาบ ความชั่วหยาบทางกาย ชื่อว่า
กายทุฏฐุลละ กายทุฏฐลละอันหนักมีอยู่แก่ภิกษุใด ภิกษุนั้น ชื่อว่า
กายทุฏฐุลลครุ ผู้มีความเกียจคร้าน. อธิบายว่า เป็นผู้หมดอำนาจ ปราศจาก
ปัญญา คือขวนขวายแต่การพอกพูนเลี้ยงกาย ได้แก่ เป็นผู้เกียจคร้าน. แก่ภิกษุ
ผู้มีความเกียจคร้านนั้น.
บทว่า หิยฺยมานมฺหิ ชีวิเต ความว่า เมื่อชีวิตและสังขาร กำลัง
สิ้นไปโดยเร็ว ดุจน้ำของแม่น้ำน้อย กำลังขอดแห้งไป ฉะนั้น. บทว่า
สรีรสุขคิทฺธสฺส ความว่า ถึงความโลภ เพราะความสุขทางกายของตน มี
อาหารอันประณีตเป็นต้น.
บทว่า กุโต สมณสาธุตา ความว่า ความดี โดยความเป็น
สมณะ คือความเป็นสมณะที่ดี จะพึงมีแก่บุคคลเห็นปานนี้ ด้วยเหตุนั้น แต่
ที่ไหน ? อธิบายว่า ก็ความเป็นสมณะที่ดี จะมีแก่ภิกษุ ผู้ปราศจากความ
เพ่งเล็ง ในร่างกายและชีวิต ผู้สันโดษแล้ว ด้วยความสันโดษ ด้วยปัจจัย
ตามมีตามได้ ผู้ปรารภความเพียร แล้วโดยส่วนเดียวเท่านั้น.
จบอรรถกถาอธิมุตตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 516
๕. มหานามเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมหานามเถระ
[๒๕๒] ได้ยินว่า พระมหานามเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ดูก่อนมหานาม ท่านนี้จะเสื่อมจากภูเขา ชื่อ
เนสาทกะ ที่สะพรั่งไปด้วยต้นโมกมัน และไม้อ้อยช้าง
เป็นภูเขาที่สมบูรณ์ด้วยร่มเงา และน้ำเป็นอันมาก
ประดับด้วยต้นไม้และเถาวัลย์ โดยรอบ.
อรรถกถามหานามเถรคาถา
คาถาของท่านพระมหานามเถระ เริ่มต้นว่า เอสาวหิยฺยเส ปพฺพเตน.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์-
ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สุเมธะ ถึงความสำเร็จในวิชชาของ
พราหมณ์ทั้งหลายแล้ว ละฆราวาสวิสัย สร้างอาศรมอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง
สอนมนต์ให้พวกพราหมณ์เป็นจำนวนมาก อยู่มาวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จไปยังอาศรมบทของเขา เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา. เขาเห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส จัดแจงปูอาสนะถวาย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับนั่งแล้ว เข้าไปถวายน้ำผึ้งที่มีรสหวานสนิทดี. พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 517
เสวยน้ำผึ้งนั้นแล้ว ทรงพยากรณ์อนาคตโดยนัยดังกล่าวไว้ในเรื่องของพระ-
อธิมุตตเถระแล้ว.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่แต่
ในสุคติภพเท่านั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์ พระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ ได้นามว่า มหานามะ ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เข้าไปยังสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ฟังธรรมแล้วได้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว เรียนกรรมฐาน อยู่ที่
ภูเขาชื่อว่า เนสาทกะ ไม่สามารถจะข่มความกลุ้มรุมของกิเลสได้ คิดว่า ชีวิต
ของเราผู้มีจิตอันเศร้าหมองแล้วนี้ จะมีประโยชน์อะไร แล้วเบื่อหน่ายอัตภาพ
ปีนขึ้นสู่ยอดเขาสูง เมื่อจะแสดงตนให้เป็นเหมือนคนอื่นว่า เราจักให้เจ้าตกลง
จากภูเขานี้ตาย ดังนี้ ได้กล่าวคาถาว่า
ดูก่อนมหานาม ท่านนี้จักเสื่อมจากภูเขา ชื่อว่า
เนสาทกะ ที่สะพรั่งไปด้วยต้นโมกมัน และไม้อ้อยช้าง
เป็นภูเขาที่สมบูรณ์ด้วยร่มเงา และน้ำเป็นอันมาก
ประดับด้วยต้นไม้ และเถาวัลย์โดยรอบ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอสาวหิยฺยเส ความว่า ดูก่อนมหานาม
ท่านนั้น จะละ คือ จะเสื่อม.
บทว่า ปพฺพเตน ความว่า จากภูเขานี้ อันเป็นที่อยู่อาศัย.
บทว่า พหุกุฏชสลฺลริเกน ความว่า ประกอบด้วยไม้โมกมัน และ
ไม้อ้อยช้าง หรือว่าด้วยไม้ช้างน้าว และไม้อ้อยช้างทั้งหลาย.
บทว่า เนสาทเกน ได้แก่ ภูเขาที่มีชื่ออย่างนี้.
บทว่า ครินา ได้แก่ ภูเขา. อธิบายว่า ภูเขาท่านเรียกว่า บรรพต
เพราะตั้งอยู่ด้วยข้อ กล่าวคือที่ต่อ (ติดต่อกันเป็นชั้นเชิง) และเรียกว่า คิรี
เพราะกลืนกินวัตถุทั้งหลายมียาเป็นต้นอันเป็นสาระ. แต่ในคาถานี้ ท่านเรียกว่า
บรรพต และเรียกว่า คิรี เพราะมีความหมายทั้งสองอย่าง (รวมกัน).
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 518
บทว่า ยสสฺสินา ความว่า ปรากฏ คือ รู้ชัดด้วยคุณทั้งปวง.
บทว่า ปริจฺเฉเทน ได้แก่ ประดับประดาไปด้วยต้นไม้ พุ่มไม้
และเถาวัลย์หลากหลาย หรือได้แก่ เป็นขอบเขต เพราะความเป็นสถานที่อยู่
ของท่าน. ก็ในคาถานี้มีอธิบายดังนี้ ดูก่อนมหานาม ถ้าท่านสละกรรมฐาน
เป็นผู้มากไปด้วยวิตกไซร้ ท่านจะเสื่อมจากภูเขา ชื่อว่า เนสาทกะ อันเป็น
สถานที่อยู่ สมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ เป็นสัปปายะอย่างนี้ บัดนี้เราจักผลักท่าน
ให้ตกจากภูเขานี้ตาย เพราะเหตุนั้น ท่านต้องไม่ตกอยู่ในอำนาจของวิตก ดังนี้.
พระเถระข่มขู่คุกคามตนอยู่อย่างนี้นั่นแล ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุ
พระอรหัตแล้ว . สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้สร้างอาศรมสวยงามไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำ สินธุ
เราบอกคัมภีร์ อิติหาสะ พร้อมทั้งตำราทายลักษณะ
กะพวกศิษย์ที่อาศรมนั้น ศิษย์เหล่านั้นเป็นผู้ใคร่ธรรม
อันเราแนะนำดีแล้ว เป็นผู้ใคร่สดับคำสั่งสอนที่ดี บรรลุ
ถึงบารมีในองค์ ๖ ประการ อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำสินธุ เป็นผู้
ฉลาดในการทำนายการมาเกิดและในลักษณะทั้งหลาย
แสวงหาประโยชน์อันสูงสุดอยู่ในป่าใหญ่ ในกาลนั้น
ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า สุเมธะ
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นผู้นำที่วิเศษ จะทรง
อนุเคราะห์พวกเรา จึงเสด็จเข้ามา เราได้เห็นพระ-
มหาวีระ พระนามว่า สุเมธะ ผู้เป็นนายกของโลก
เสด็จมาถึง จึงได้ปูหญ้าลาดถวายแด่พระองค์ ผู้เป็น
เชษฐบุรุษของโลก เราถือเอาน้ำผึ้งมาจากป่าใหญ่
ถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระสัมพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 519
เสวยแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ผู้ใดมีความเลื่อมใส
ได้ถวายน้ำผึ้งแก่เรา ด้วยมือทั้งสองของตน เราจัก
พยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ด้วยการ
ถวายน้ำผึ้ง และด้วยการลาดหญ้าถวายนี้ ผู้นั้นจัก
รื่นรมย์ อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป ในกัปที่สาม
หมื่น พระศาสดาพระนามว่า โคตมะ ทรงสมภพในวงศ์
พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้นจักเป็น
ทายาทในธรรมของพระศาสดา พระองค์นั้น จักเป็น
โอรสอันธรรมเนรมิต จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน เมื่อเราจากเทวโลกมา
ในมนุษยโลกนี้ เข้าอยู่ในครรภ์มารดา เมล็ดฝนได้ตก
ลงมา ปกปิดแผ่นดิน ด้วยน้ำผึ้ง แม้ในขณะเมื่อเรา
ออกจากครรภ์นั้น ฝนน้ำผึ้งก็ตกให้แก่เราเต็มเปี่ยมหม้อ
ตลอดกาลเป็นนิตย์ เมื่อเราออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตแล้ว ย่อมได้ข้าวและน้ำ นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายน้ำผึ้ง เราเกิดเป็นเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยกามทั้งปวง ได้บรรลุความสิ้นอาสวะ เพราะการ
ถวายน้ำผึ้งนั้นแล.
เมื่อฝนตกแล้ว หญ้างอกยาว ๔ นิ้ว เมื่อต้นไม้
ในแถวฝั่งแม่น้ำมีดอกบานสะพรั่ง เราผู้ไม่มีอาสวะเป็น
สุขอยู่เป็นนิตย์ ในเรือนว่างเปล่า ที่มณฑปและโคนไม้
เราก้าวล่วงภพที่ประณีต ปานกลาง และเลวได้ทั้งหมด
อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้วในวันนี้ บัดนี้ ภพใหม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 520
มิได้มีอีก ใน ๓๐,๐๐๐ กัป แต่ภัทรกัปนี้ เราได้
ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติ
เลย นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำผึ้ง. เราเผากิเลสทั้งหลาย
แล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็คาถานี้แหละ ได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผล ของพระเถระ
ฉะนี้แล.
จบอรรถกถามหานามเถรคาถา
๑. ปาราปริยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปาราปริยเถระ
[๒๕๓] ได้ยินว่า พระปาราปริยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราละผัสสายตนะ ๖ ประการได้แล้ว เป็นผู้คุ้ม-
ครองทวารสำรวมด้วยดี กำจัดเสียได้ซึ่งสรรพกิเลส
อันเป็นมูลรากแห่งวัฏทุกข์ บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 521
อรรถกถาปาราปริยเถรคาถา
คาถาของท่านพระปาราปริยเถระ เริ่มต้นว่า ฉผสฺสายตเน หิตฺวา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์-
ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในกำเนิดนายพราน ในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปิยทัสสี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ-
นามว่า ปิยทัสสี ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ที่ชัฏป่าแห่งหนึ่ง ในที่เป็นที่
ท่องเที่ยวของเขาผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา.
และเขาก็กำลังแสวงหาเนื้อ ไปสู่ที่นั้น พบพระศาสดา เป็นผู้มีใจ-
เลื่อมใส ใช้ดอกปทุม มุงบังมณฑปที่ทำด้วยกิ่งไม้ ซึ่งสร้างไว้สำหรับให้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับโดยอาการแห่งเรือนยอด แล้วเสวยปีติและ
โสมนัสอย่างโอฬาร ยืนนมัสการอยู่ตลอด ๗ วัน และเขาจะนำเอาดอกไม้
ที่เหี่ยว ๆ ออก มุงบังด้วยดอกไม้ที่ใหม่ ๆ สด ๆ ทุก ๆ วัน. พอครบ ๗ วัน
พระศาสดาก็เสด็จออกจากนิโรธสมาบัติ ทรงระลึกถึงภิกษุสงฆ์ ในทันใดนั้นเอง
ภิกษุทั้งหลายประมาณ ๘๐,๐๐๐ รูป ก็พากันมาแวดล้อมพระศาสดา เทวดา
ทั้งหลาย มาประชุมกันด้วยคิดว่า พวกเราจักฟังพระธรรมกถา อันไพเราะ
ได้เป็นมหาสมาคมแล้ว. พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนา ทรงพยากรณ์สมบัติ
อันจะบังเกิดในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย และสาวกโพธิญาณในพุทธุปบาทกาลนี้
แก่เขาแล้ว เสด็จหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวอยู่ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บรรลุนิติภาวะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 522
แล้ว เป็นผู้เรียนจบไตรเพท ได้สมัญญานามว่า ปาราปริยะ เพราะเป็น
เผ่าพันธุ์แห่งปราปรโคตร สอนมนต์กะพราหมณ์ทั้งหลาย จำนวนมาก เห็น
พุทธานุภาพ คราวเมื่อพระศาสดาเสด็จมาพระนครราชคฤห์ ได้ศรัทธาจิต
แล้วบวช เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว ต่อกาลไม่นานนัก. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า "วิปัสสี" ผู้
สยัมภู เป็นนายกของโลก ตรัสรู้แล้วเอง ทรงใคร่ใน
วิเวก ฉลาดในสมาธิ เป็นมุนี พระมหามุนี พระนามว่า
ปิยทัสสี ผู้อุดมบุรุษ เสด็จไปสู่ไพรสณฑ์ ทรงลาดผ้า-
บังสุกุล แล้วประทับนั่งอยู่ ในกาลก่อน เราเป็น
พรานเนื้ออยู่ในป่าใหญ่ ในกาลนั้น เราเที่ยวแสวงหา
เนื้อฟาน (อีเก้ง) อยู่ในป่านั้น เราได้เห็นพระสัม-
พุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะแล้ว ไม่มีอาสวะ เปรียบเหมือน
พระยารัง มีดอกบาน เหมือนพระอาทิตย์อุทัย ครั้น
เห็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มียศมากแล้ว
เราจึงลงไปสู่สระบัว นำเอาดอกปทุมมาในขณะนั้น
ครั้นนำเอาดอกปทุมอันเป็นที่รื่นรมย์ใจมาแล้ว จึง
สร้างเรือนมียอด (ปราสาท) แล้วมุงบังด้วยดอกปทุม
พระพุทธชินเจ้า พระนามว่า ปิยทัสสี เป็นมหามุนี
ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา ประทับ
อยู่ในกูฏาคาร ๗ คืน ๗ วัน เราเอาดอกปทุมที่เก่า ๆ
ทิ้งเสียแล้ว มุงบังด้วยดอกปทุมใหม่ ๆ ขณะนั้นเราได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 523
ยืนประนมกรอัญชลีอยู่ พระมหามุนี พระนามว่า
ปิยทัสสี ผู้เป็นนายกของโลก เสด็จออกจากสมาธิแล้ว
ประทับนั่งเหลียวแลดูทิศอยู่ ในกาลนั้น พระเถระผู้
อุปัฏฐาก นามว่าสุทัสสนะ มีฤทธิ์มาก รู้พระดำริของ
พระพุทธเจ้า พระนามว่า ปิยทัสสี ผู้ศาสดา อันภิกษุ
๘๐,๐๐๐ แวดล้อมแล้ว เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้เป็น
นายกของโลก ซึ่งประทับนั่ง ทรงพระสำราญอยู่ที่
ชายป่า และในกาลนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในไพรสณฑ์
ประมาณเท่าใด เทวดาเหล่านั้น ทราบพระพุทธดำริ
แล้ว พากันมาประชุมทั้งหมด เมื่อพวกยักษ์กุมภัณฑ์
พร้อมทั้งผีเสื้อน้ำมาพร้อมกัน และเมื่อภิกษุสงฆ์มาถึง
พร้อมแล้ว พระชินเจ้าได้ตรัสพระคาถาว่า ผู้ใดบูชา
เราตถาคตตลอด ๗ วัน และได้สร้างอาวาสถวายเรา
เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว เรา
จักพยากรณ์สิ่งที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก ลึกซึ้ง
ปรากฏดีด้วยญาณ ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้น
จะได้เสวยสมบัติในเทวโลก ตลอด ๑๔ กัป เทวดา
ทั้งหลายจักทรงกูฏาคารอันประเสริฐ ที่มุงบังด้วยดอก
ปทุมไว้แก่ผู้นั้นในอากาศ นี้เป็นผลแห่งกรรมคือการ
บูชาด้วยดอกไม้ เขาจักเที่ยวอยู่ตลอด ๑,๔๐๐ กัปเต็ม
แล้วใน ๑,๔๐๐ กัปนั้น วิมานดอกไม้จักทรงอยู่ในอากาศ
น้ำย่อมไม่ติดใบบัว ฉันใด กิเลสก็ไม่ติดอยู่ในญาณ
ของผู้นั้น ฉันนั้น ผู้นี้หมุนกลับนิวรณ์ทั้ง ๕ ออกไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 524
ด้วยใจ ยังจิตให้เกิดในเนกขัมมะแล้ว จักออกบวช
ในกาลนั้น วิมานดอกไม้อันทรงอยู่ ก็จักออกไปด้วย
เมื่อผู้นั้นมีปัญญา มีสติ อยู่ที่โคนต้นไม้ ที่โคนต้นไม้
นั้น วิมานดอกไม้จักทรงอยู่เหนือศีรษะของผู้นั้น จัก
ถวายจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจัย ที่นอนและที่นั่งแก่
ภิกษุสงฆ์แล้ว จักไม่มีอาสวะนิพพาน เมื่อผู้นั้นเที่ยว
ไป พร้อมด้วยกูฏาคารออกบวชแล้ว กูฎาคารย่อมทรง
ผู้นั้นแม้อยู่ที่โคนไม้ เจตนาในจีวรและบิณฑบาต
ย่อมไม่มีแก่เรา เราประกอบด้วยบุญกรรม จึงได้จีวร
และบิณฑบาตที่สำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายก
ของโลก ล่วงเราไปเปล่า ๆ พ้นไปแล้วด้วยดี ตลอด
โกฏิกัปเป็นอันมาก โดยจะนับประมาณมิได้ ในกัปที่
๑,๘๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ เราจึงได้เฝ้าพระพุทธเจ้า พระ-
นามว่า ปิยทัสสี ผู้แนะนำอย่างวิเศษ แล้วจึงเข้าถึง
กำเนิดนี้ เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
อโนมะ ผู้มีจักษุ ได้เข้าเฝ้าพระองค์แล้ว บวชเป็น
บรรพชิต พระพุทธชินเจ้า ผู้กระทำที่สุดทุกข์ได้ทรง
แสดงพระสัทธรรม เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว
ได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว เรายังพระสัมพุทธเจ้า
พระนามว่า โคดมศากยบุตร ให้ทรงโปรด กำหนดรู้
อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัปที่
๑,๘๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 525
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาดูข้อปฏิบัติของตน
เกิดความโสมนัสแล้ว ได้กล่าวคาถาด้วยสามารถแห่งอุทานว่า
เราละผัสสายตนะ ๖ ประการได้แล้ว เป็นผู้
คุ้มครองทวาร สำรวมด้วยดี กำจัดเสียได้ซึ่งสรรพ-
กิเลสอันเป็นมูลรากแห่งวัฏทุกข์ บรรลุความสิ้นอาสวะ
แล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉผสฺสายตเน หิตฺวา ความว่า ละซึ่ง
อายตนะอันเป็นไปในภายใน ๖ มีจักษุเป็นต้น อันได้นามว่า ผัสสายตนะ
เพราะเป็นที่บังเกิดขึ้น แห่งสัมผัสทั้งหลาย ๖ มีจักษุสัมผัสเป็นต้น ได้ด้วย
สามารถแห่งการละความเศร้าหมองอันเนื่องด้วยอายตนะที่เป็นไปในภายในนั้น.
บทว่า คุตฺตทฺวาโร สุสวุโต ความว่า เพราะเหตุนั้นแลจึงชื่อว่า
เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว สำรวมแล้วด้วยดี เพราะคุ้มครองทวารทั้งหลาย
มีจักษุทวารเป็นต้น (และ) เพราะปกปิดไว้แล้วด้วยดี ซึ่งการกระทำอันเป็น
ไปในจักษุทวารเป็นต้นนั้น ด้วยประตูคือสติอันห้ามเสียซึ่งการเข้าไป แห่ง
บาปธรรมทั้งหลาย มีอภิชฌาเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า คุตฺตทฺวาโร
สุสวุโต นี้ พึงทราบความอย่างนี้ว่า ชื่อว่า มีทวารอันคุ้มครองแล้ว เพราะ
รักษาทวารทั้ง ๖ อันเป็นอิฏฐารมณ์ คือ ใจไว้ได้โดยนัยดังกล่าวแล้ว ชื่อว่า
สำรวมดีแล้ว เพราะสำรวมแล้วด้วยดี ด้วยทวารทั้งหลายมีกายทวารเป็นต้น.
บทว่า อฆมูล วมิตฺวาน ความว่า กำจัดเสียได้ซึ่งโทษกล่าวคือ
อวิชชาและภวตัณหา อันเป็นรากเหง้าของทุกข์ คือ วัฏทุกข์ หรือคายกิเลสโทษ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 526
ทั้งปวง คือ กระทำให้ออกไปนอกสันดานด้วยน้ำสำหรับสำรอก กล่าวคือพระ-
อริยมรรค หรือเพราะเหตุ คือ การกระทำให้มีในภายนอก.
บทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย ความว่า ชื่อว่า อาสวักขัย
เพราะเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้น หรือเพราะพึงบรรลุ
ด้วยการสิ้นไปแห่งอาสวะเหล่านั้น ได้แก่ พระนิพพาน และพระอรหัตผล.
พระเถระนั้น พยากรณ์พระอรหัตผลด้วยสามารถแห่งอุทานว่า เราบรรลุ คือ
ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว ดังนี้.
จบอรรถกถาปาราปริยเถรคา
๗. ยสเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระยสเถระ
[๒๕๔] ได้ยินว่า พระยสเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราเป็นผู้ลูบไล้ดีแล้ว มีเครื่องนุ่งห่มอันงดงาม
ประดับด้วยสรรพาภรณ์ ได้บรรลุวิชชา ๓ บำเพ็ญกิจ
พระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 527
อรรถกถายสเถรคาถา
คาถาของท่านพระยสเถระ เริ่มต้นว่า สุวิลิตฺโต สุวสโน. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์-
ก่อน ๆ เข้าไปสั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ (เกิด)
เป็นพระยานาคผู้มีอานุภาพมาก ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
สุเมธะ นำภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข มาสู่ภพของตน แล้วยัง
มหาทานให้เป็นไป ถวายให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองไตรจีวรมีค่ามาก
และให้ภิกษุแต่ละรูปนุ่งห่มผ้าที่มีค่ามากเหมือนกันรูปละคู่ (พร้อมด้วย)
สมณบริขารทุกอย่าง. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย (เกิด) เป็นบุตรเศรษฐี ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
สิทธัตถะ บูชาบริเวณต้นมหาโพธิด้วยรัตนะ ๗. ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า กัสสปะ เขาได้บวชในพระศาสนา แล้วบำเพ็ญสมณธรรม. เขา-
ท่องเที่ยวไปแต่ในสุคติภพอย่างเดียว ด้วยอาการอย่างนี้ แล้วเกิดเป็นบุตร
เศรษฐี มีสมบัติมาก ในกรุงพาราณสี ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา
ทั้งหลายนี้ โดยนามมีชื่อว่า ยสะ เป็นสุขุมาลชาติ (ละเอียดอ่อน) อย่างยิ่ง.
เรื่องทั้งหมดเป็นต้นว่า ยสกุลบุตรมีปราสาท ๓ หลัง พึงทราบโดยนัยอันมาแล้ว
ในขันธกะ.
ยสกุลบุตร อันบุรพเหตุตักเตือนอยู่ เห็นประการอันแปลกของ
บริวารชน ผู้อันความหลับครอบงำแล้ว ในเวลากลางคืน เกิดความสลดใจ
สวมรองเท้าทอง หลบออกจากเรือน ออกไปทางประตูเมือง ที่เทวดาเปิดให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 528
ไปใกล้ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน กล่าวว่า วุ่นวายจริงหนอ ท่านผู้เจริญ
ขัดข้องจริงหนอ ท่านผู้เจริญดังนี้. โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่
ที่ป่าอิสิปตนะ เสด็จจงกรมอยู่ในอัพโภกาส เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เข้านั่นแล
ตรัสว่า มาเถิดยสะ ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ดังนี้ เขาจึงเกิดโสมนัสว่า
ได้ยินว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มีอยู่ จึงถอดรองเท้าทอง เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อพระศาสดาตรัสอนุปุพพิกถา
ทรงแสดงสัจจเทศนาอยู่ เป็นพระโสดาบันในเวลาจบสัจจะ เมื่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงสัจจเทศนาแก่บิดาผู้ตามหา ได้กระทำให้แจ้งพระอรหัตแล้ว.
สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ภพของเราหยั่งลงสู่มหาสมุทร ตกแต่งดีแล้ว
สระโบกขรณีตกแต่งสวยงาม มีนกจักรพรากส่งเสียง
ร้องอยู่ ดารดาษด้วยบัวขม บัวเผื่อน บัวหลวง และ
อุบล ในสระนั้นมีน้ำไหล มีท่าน้ำราบเรียบ น่า-
รื่นรมย์ใจ มีปลาและเต่าชุกชุม มีเนื้อต่าง ๆ มาลง
กินน้ำ มีนกยูง นกกระเรียน และนกดุเหว่าเป็นต้น
ร่ำร้องด้วยเสียงอันไพเราะ นกเขา นกเป็ดน้ำ นก
จักรพราก นกกาน้ำ นกต้อยตีวิด นกสาลิกา นก
ค้อนหอย นกโพระดก หงส์ นกกระเรียน นกแสก
นกขมิ้นเหลืองอ่อน เที่ยวอยู่มากมาย สระโบกขรณี
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีแก้วมณี ไข่มุก และ
ทราย ต้นไม้ทั้งหลายก็เป็นสีทองทั้งหมด มีกลิ่นหอม
ต่าง ๆ ฟุ้งขจรไป ส่องภพของเราให้สว่างไสวตลอด
กาลทั้งปวง ทั้งกลางวันกลางคืน ดนตรีหกหมื่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 529
ประโคมอยู่ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า หญิง ๑๖,๐๐๐ คน
ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ เราออกจากภพแล้ว ได้เห็น
พระพุทธเจ้า พระนามว่า สุเมธะ ผู้นำของโลก มีจิต
เลื่อมใส โสมนัส ได้ถวายบังคมพระองค์ผู้มียศใหญ่
ครั้นถวายบังคมแล้ว ได้ทูลอาราธนาพระองค์ พร้อม
ด้วยศิษย์พระพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์ พระนามว่า
สุเมธะ พระผู้นำของโลกทรงรับ พระมหามุนีกล่าว
ธรรมกถาแก่เรา แล้วส่งเราไป เราถวายบังคมพระ
สัมพุทธเจ้า เสร็จแล้วกลับเข้าภพของเรา เราเรียก
บริวารชนมาสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงมาประชุมกัน
เวลาเช้าพระพุทธเจ้าจะเสด็จมาสู่ภพของเรา การที่เรา
ทั้งหลายจะได้อยู่ในสำนักของพระองค์ เป็นลาภที่เรา
ทั้งหลายได้ดีหนอ แม้เราทั้งหลายจักทำการบูชาแด่
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้ศาสดา เราตระเตรียม
ข้าวและน้ำเสร็จแล้ว จึงกราบทูลเวลาเสวยภัตตาหาร
พระพุทธเจ้าผู้นำของโลก เสด็จเข้ามาพร้อมด้วย
พระอรหันต์หนึ่งแสน เราได้ทำการต้อนรับ ด้วย
สังคีตและดนตรี พระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ ประทับ
นั่งบนตั่งทองล้วน ในกาลนั้น หลังคาเบื้องบนก็มุง
ด้วยทองล้วน ๆ คนทั้งหลายโบกพัดถวาย ในระหว่าง
ภิกษุสงฆ์ เราได้อังคาสภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำ ด้วยข้าว
และน้ำเพียงพอ ได้ถวายผ้าแด่ภิกษุสงฆ์รูปละหนึ่งคู่
พระพุทธเจ้าที่เขาเรียกกันว่า สุเมธะ ผู้สมควรรับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 530
เครื่องบูชาของโลก ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดอังคาสเราให้
อิ่มหนำ ด้วยข้าวและน้ำทั้งปวง เราจักพยากรณ์ผู้นั้น
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้น จักรื่นรมย์อยู่ใน
เทวโลก ตลอด ๑๘๐๐ กัป จักได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง ผู้นั้นเข้าถึงกำเนิดใด คือ
เป็นเทวดาหรือมนุษย์ในกำเนิดนั้น หลังคาทองล้วนๆ
จักกั้นเป็นร่มให้ในทุกขณะ ใน ๓๐,๐๐๐ กัป พระ-
ศาสดาทรงพระนามว่า โคตมะ ซึ่งสมภพในวงศ์
พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้นจักเป็น
ทายาทในธรรมของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็น
โอรสอันธรรมนิรมิต จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะนิพพาน จักนั่งในท่ามกลางสงฆ์แล้ว
บันลือสีหนาท ชนทั้งหลายจักกั้นฉัตรไว้ที่เชิงตะกอน
จักเผาภายใต้ฉัตร สามัญผลอันเราบรรลุแล้ว โดย
ลำดับ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ความเร่าร้อนไม่มี
แก่เรา ที่มณฑปหรือโคนไม้ ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง. เราเผา
กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา
กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาออกแล้ว
ตรัสกะท่านผู้มีอายุ ชื่อว่า ยสะ ว่าจงเป็นภิกษุมาเถิด. ในระหว่างที่มีพระพุทธ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 531
ดำรัสนั่นเอง ท่านพระยสะได้เป็นผู้มีผมและหนวด สักว่าเป็นองค์สองก็อันตร-
ธานไป ได้เป็นประดุจพระเถระผู้มีพรรษา ๖๐ ทรงไว้ซึ่งบริขาร ๘. พระเถระ
พิจารณาดูข้อปฏิบัติของตนแล้ว เมื่อจะเปล่งอุทาน ได้กล่าวคาถาด้วยสามารถ
แห่งเนื้อความอันมีมาก่อน แต่จะถึงความเป็น เอหิภิกขุว่า
เราเป็นผู้ลูบไล้ดีแล้ว มีเครื่องนุ่งห่มอันงดงาม
ประดับด้วยสรรพาภรณ์ ได้บรรลุวิชชา ๓ บำเพ็ญกิจ
พระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวิลิตฺโต ความว่า มีร่างกายอัน
ลูบไล้แล้ว ด้วยหญ้าฝรั่น จันทน์แดง อันงดงาม.
บทว่า สุวสโน ความว่า นุ่งห่มด้วยผ้าของชาวกาสีอย่างดีมีราคาแพง.
บทว่า สพฺพาภรณภูสิโต โดยความว่า ประดับแล้วด้วยอาภรณ์ทั้งปวง
มีเครื่องประดับศีรษะเป็นต้น.
บทว่า อชฺฌคมึ แปลว่า ได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถายสเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 532
๘. กิมพิลเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของกิมพิลเถระ
[๒๕๕] ได้ยินว่า พระกิมพิลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
วัยย่อมล่วงไปพลัน รูปที่มีอยู่โดยอาการนั้น
ย่อมปรากฏแก่เรา เหมือนเป็นอย่างอื่น เราระลึกถึง
ตนของเรา ผู้ไม่อยู่ปราศจากสติ เหมือนของผู้อื่น.
อรรถกถากิมพิลเถรคาถา
คาถาของท่านพระกิมพิลเถระ เริ่มต้นว่า อภิสตฺโตว นิปตติ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์-
ก่อน ๆ กระทำบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยพวงดอกสน โดยทำ
เป็นมณฑป อุทิศพระธาตุของพระศาสดา.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเกิดในภพดาวดึงส์ ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ
ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิดในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ ในพระนคร-
กบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า กิมพิละ. เจ้ากิมพิละเจริญวัยแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 533
สมบูรณ์ด้วยโภคสมบัติอยู่ พระศาสดาเสด็จประทับอยู่ที่อนุปิยนคร ทรงเห็น
ความแก่กล้าแห่งญาณของเขาแล้ว เพื่อจะให้เขาเกิดความสลดใจ จึงทรงเนรมิต
รูปหญิงผู้ตั้งอยู่ในวัยสาวรุ่นกำดัด งามน่าดู ทรงแสดงต่อหน้า ทำให้ปรากฏ
ว่าเหมือนถูกวิบัติอันเกิดแต่ชราและโรคร้ายครอบงำ โดยลำดับ. กิมพิลกุมาร
เห็นดังนั้น เมื่อจะประกาศความสลดใจอย่างเหลือเกิน ได้กล่าวคาถาว่า
วัยย่อมล่วงไปพลัน รูปที่มีอยู่โดยอาการนั้น
ย่อมปรากฏแก่เรา เหมือนเป็นอย่างอื่น เราระลึกถึง
ตนของเรา ผู้ไม่อยู่ปราศจากสติ เหมือนของผู้อื่น
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิสิตฺโตว ความว่า เป็นเหมือน
อันเทพยเจ้า พร่ำสั่ง คือ บังคับว่า จงล่วงไปโดยเร็วอย่าอยู่ชักช้า. ปาฐะว่า
อภิสฏฺโ ว ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เป็นเหมือนถูกใคร ๆ สาปแช่งไว้ว่า
จงล่วงไปโดยเร็ว ดังนี้.
บทว่า นิปตติ ความว่า ย่อมร่วงโรย คือแปรไปเร็ว ไม่ตั้งอยู่ได้
อธิบายว่า ถึงความเสื่อมไปสิ้นไปทุก ๆ ขณะ.
บทว่า วโย ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงที่แผกออกไปของร่างกาย
มีความเป็นเด็กอ่อน ความเป็นหนุ่ม เป็นสาวเป็นต้น แต่ในบทนี้ ท่านหมายถึง
ความเป็นหนุ่มเป็นสาวของร่างกายนั้น เพราะความเป็นหนุ่มเป็นสาวของ
ร่างกายนั้น เวลาร่วงโรย เวลาสลายจะเป็นของปรากฏชัดเจน.
พระเถระเรียกความสมบูรณ์ของรูปว่ารูป ก็สรีระชื่อว่ารูปดังในประโยค
มีอาทิว่า อากาศ (ช่องว่าง) ที่อาศัยกระดูก อาศัยเอ็น และอาศัยเนื้อหุ้มห่อไว้
ย่อมถึงการนับว่ารูปทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 534
บทว่า อญฺมิว ตเถว สนฺตึ ได้แก่รูปเท่าที่มีอยู่นี้. อธิบายว่า
รูปนี้ที่มีอยู่ คือ ปรากฏอยู่อย่างนั้นแล คือโดยอาการนั้นแหละ ย่อมปรากฏ
แก่เราเหมือนเป็นอย่างอื่น ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ตเทว สนฺต รูปนั้นแล
มีอยู่.
บทว่า ตสฺเสว สโต ได้แก่ ระลึกถึงตนของเรานั่นแหละ ที่มีอยู่
ไม่เหมือนของคนอื่น.
บทว่า อวิปฺปวสโต ความว่า ไม่อยู่ปราศจากสติ อธิบายว่า ก็รูป
แม้ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเพราะอยู่มานาน ย่อมปรากฏแก่เราผู้มีสติเหมือนเป็น
อย่างอื่น แม้รูปนี้ก็ไม่มีในสรีระนี้.
บทว่า อญฺสฺเสว สรามิ อตฺตาน ความว่า เราย่อมระลึก คือ
เข้าไปทรงจำ ได้แก่ รู้ชัดซึ่งอัตภาพของเรานี้ ว่าเหมือนอัตภาพของสัตว์อื่น.
ความสังเวชที่หนักแน่น เกิดขึ้นแล้ว แก่กิมพิลกุมารนั้น ผู้ใส่ใจถึงความเป็น
ของไม่เที่ยงอยู่อย่างนี้ เขาเกิดความสังเวชแล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรม
แล้ว ได้มีศรัทธา บวชแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้วต่อกาล
ไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กกุสันธะ มี
พระชาติเป็นพราหมณ์ มีธรรมอยู่จบแล้ว นิพพานแล้ว
เราได้เก็บเอาพวงดอกสนมา ทำเป็นมณฑป เราเป็น
ผู้ไปสู่ดาวดึงส์ ย่อมได้วิมานอันอุดม ย่อมครอบงำ
เทวดาเหล่าอื่น นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม เราเดินและยืน
อยู่ในเวลากลางวันหรือกลางคืน เป็นผู้อันดอกสน
กำบังไว้ นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม ในกัปนี้เอง เราได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 535
บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติ
เลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว
ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระ แม้จะบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะประกาศถึงการทำไว้ใน
ใจซึ่งอนิจจตา อันเกิดขึ้นแล้วในก่อนของตน ได้กล่าวซ้ำเฉพาะคาถานั้นแหละ
ด้วยเหตุนั้น คำเป็นคาถานี้ จึงนับเป็นการพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระนี้.
จบอรรถกถากิมพิลเถรคาถา
๙. วัชชีปุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวัชชีบุตรเถระ
[๒๕๖] ได้ยินว่า พระวัชชีบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ ไว้ อย่างนี้ว่า
ดูก่อนอานนท์ ผู้โคตมโคตร ท่านจงเข้าไปสู่
ชัฎแห่งโคนไม้ จงหน่วงพระนิพพานไว้ในหทัย แล้ว
จงเพ่งฌาน และอย่าประมาท การใส่ใจถึงประชุมชน
จักทำประโยชน์อะไรให้แก่ท่านได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 536
อรรถกถาวัชชีปุตตเถรคาถา
คาถาของท่านพระวัชชีบุตรเถระ เริ่มต้นว่า รุกฺขมูลคหน ปสกฺกิย.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๙๔ แต่
ภัทรกัปนี้ เห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เดินไปเพื่อภิกษา เป็นผู้มีใจ
เลื่อมใสแล้ว ได้ถวายผลกล้วย.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นโอรสแห่งเจ้าลิจฉวี
ในเมืองเวสาลี ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้มีสมัญญานามว่า วัชชีบุตร
เพราะความเป็นโอรสของเจ้าวัชชี. เขาเจริญเป็นหนุ่ม แม้ในเวลาศึกษาศิลปะ
มีศิลปะที่จะต้องศึกษาในเพราะช้างเป็นต้น ก็เป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในทาง
พ้นทุกข์ เพราะความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุ ท่องเที่ยวไปในเวลาเป็นที่
ฟังพระธรรมเทศนา ไปสู่วิหาร นั่งอยู่ท้ายบริษัทฟังธรรม ได้เป็นผู้มีศรัทธาจิต
บวชในสำนักของพระศาสดา เจริญวิปัสสนาได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่
นานนัก. สมดังคาถาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระผู้มีพระภาค ผู้สยัมภู ผู้มีรัศมีนับด้วยพัน ไม่
พ่ายแพ้อะไร ๆ ออกจากวิเวกแล้ว ออกโคจรบิณฑบาต
เราถือผลไม้อยู่ได้เห็นแล้ว จึงได้เข้าไปหาพระนราสภ
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ถวายผลไม้ในกัปที่
๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 537
การถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ท่านเป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว ในเวลาต่อมา เมื่อพระศาสดาเสด็จ
ปรินิพพานได้ไม่นาน เมื่อพระมหาเถระทั้งหลาย ตั้งข้อสังเกตเพื่อจะสังคายนา
พระธรรมวินัย พักอยู่ในที่นั้น ๆ วันหนึ่ง ท่านเห็นพระอานนท์ ยังเป็นพระ-
เสขะอยู่นั่นแล อันบริษัทใหญ่แวดล้อมแล้ว แสดงธรรมอยู่ เมื่อจะยังความ
อุตสาหะให้เกิดแก่พระอานนท์นั้น เพื่อได้บรรลุมรรคชั้นสูง ๆ ขึ้นไป ได้กล่าว
คาถาว่า
ดูก่อนอานนท์ ผู้โคตมโคตร ท่านจงเข้าไปสู่ชัฎ
แห่งโคนไม้ จงหน่วงพระนิพพานไว้ในหทัย แล้วจง
เพ่งฌาน และอย่าประมาท การใส่ใจถึงประชุมชน
จักทำประโยชน์อะไรให้แก่ท่านได้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุกฺขมูลคหน ได้แก่ ชัฏ คือ สุมทุม
พุ่มพฤกษ์ อันเป็นโคนไม้ อธิบายว่า สุมทุมพุ่มพฤกษ์มีอยู่ ไม่มีโคนไม้
และโคนไม้มีอยู่ (แต่) ไม่มีสุมทุมพุ่มพฤกษ์ ในสองอย่างนั้น พระเถระ
แสดงความไม่มีอันตรายด้วยลมและแดด เพราะความเป็นที่สมบูรณ์ด้วยร่มและ
เงา ด้วยศัพท์ว่า รุกขมูล แสดงความไม่มีอันตรายจากลม เพราะความเป็น
ที่อับลม และความไม่พลุกพล่านด้วยประชาชน ด้วยศัพท์ว่า คหนะ และ
แสดงถึงความเป็นสถานที่เหมาะแก่การเจริญภาวนา ด้วยศัพท์ทั้งสองนั้น.
บทว่า ปสกฺกิย แปลว่า เข้าไป.
บทว่า นิพฺพาน หทยสฺมึ โอปิย ความว่า ตั้งพระนิพพานไว้ใน
หทัย คือทำไว้ในใจว่า เราปฏิบัติอยู่อย่างนี้ พึงบรรลุพระนิพพานได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 538
บทว่า ฌาย ความว่า จงเพ่งด้วยลักขณูปนิชฌาน คือ จงยังมรรค
ภาวนา อันประกอบด้วยวิปัสสนาภาวนาให้เจริญ พระเถระเรียกพระอานนท์
ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริกด้วยโคตรว่า โคตมะ.
บทว่า มา จ ปมาโท ความว่า อย่าถึงความประมาทในอธิกุศล-
ธรรมทั้งหลาย พระเถระเมื่อจะแสดงโดยการห้ามความประมาทของพระ
(อานนท) เถระ เท่าที่เป็นไปในปัจจุบัน จึงกล่าวว่า กึ เต พิลิพิลิกา กริสฺสติ
(การใส่ใจถึงประชุมชน จักทำประโยชน์อะไรให้แก่ท่านได้ ดังนี้).
บทว่า พิลิพิลิกา ในบาทคาถานั้น ได้แก่กิริยาที่พิรี้พิไร พระเถระ
ได้ให้โอวาทว่า เสียงที่เป็นไปอย่างพิรี้พิไร ย่อมไร้ประโยชน์ฉันใด บัญญัติ
ของหมู่ชน อันเป็นเช่นกับการกระทำที่พิรี้พิไรก็ฉันนั้น จักทำประโยชน์อะไร
ให้แก่ท่านได้ คือจักยังประโยชน์เช่นไรให้สำเร็จแก่ท่าน เพราะเหตุนั้น
ผู้ขวนขวายในประโยชน์ของตน จึงต้องละบัญญัติของหมู่ชนเสีย.
พระอานนทเถระ ฟังคาถาอันเป็นโอวาทนั้นแล้ว เกิดความสลดใจ
ด้วยอรรถพจน์ที่ระบายกลิ่นอันเป็นพิษที่คนเหล่าอื่นกล่าวไว้ออกไปได้ ยังเวลา
ให้ล่วงไปด้วยการเดินจงกรม ตลอดคืนยังรุ่ง ขวนขวายวิปัสสนา เข้าไปสู่
เสนาสนะ พอจะเอนตัวลงนอนบนเตียงเท่านั้น ก็ได้บรรลุพระอรหัต.
จบอรรถกถาวัชชีปุตตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 539
๑๐. อิสิทัตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอิสิทัตตเถระ
[๒๕๗] ได้ยินว่า พระอิสิทัตตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เบญจขันธ์ ข้าพระองค์กำหนดรู้แล้ว ตัดราก
ขาดแล้ว ตั้งอยู่ ข้าพระองค์บรรลุถึงความสิ้นทุกข์แล้ว
บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว.
จบวรรคที่ ๑๒
จบเอกนิบาต
อรรถกถาอิสิทัตตเถรคาถา
คาถาของท่านพระอิสิทัตตเถระ เริ่มต้นว่า ปญฺจกฺขนฺธา ปริญฺ-
าตา. เรื่องราวของท่านเป็นอย่าง ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือน
แห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ถึงความ
เป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปในถนน มีใจ
เลื่อมใส ได้ถวายผลไม้มีกลิ่นหอม มีรสอร่อย.
ื ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวโลก กระทำบุญ แล้วท่อง
เที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของนาย
เกวียนคนหนึ่ง ในวัฑฒคาม แคว้นอวันตี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า
อิสิทัตตะ. เขาเจริญวัยแล้ว เป็นอทิฏฐสหายของจิตตคฤหบดี ในมัจฉิกาสัณฑ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 540
ชนบท ได้รับข่าวสาสน์ที่จิตตคฤหบดี เขียนพรรณนาพระพุทธคุณส่งไปให้
เกิดความเลื่อมใสในพระศาสดา บวชในสำนัก ของพระมหากัจจายนเถระ
ปรารภวิปัสสนาแล้ว ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้ถวายผลไม้ มีกลิ่นหอม แด่พระสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณปานดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่อง
บูชา กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่ ๙๑ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการ
ถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ท่านเป็นผู้มีอภิญญา ๖ คิดว่า จักไปสู่ที่บำรุงของพระพุทธเจ้า
อำลาพระเถระ แล้วเดินทางไปสู่มัชฌิมประเทศโดยลำดับ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง อันพระศาสดาทรงทำปฏิสันถาร ด้วย
พระดำรัสมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ ยนต์คือสรีระ มีจักร ๔ มีทวาร ๙ อันเธอ
พอทนได้ พอให้เป็นไปได้หรือ ดังนี้ เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล ด้วย
มุขคือการทูลตอบพระดำรัส โดยประกาศให้ทรงรู้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
จำเดิมแต่เวลาที่ข้าพระองค์ได้รับข่าวของพระองค์ ทุกข์ทั้งปวงของข้าพระองค์
ก็ปราศไปสิ้น อันตรายทั้งปวงก็สงบระงับไปหมด ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาว่า
เบญจขันธ์ ข้าพระองค์กำหนดรู้แล้ว ตัดราก
ขาดแล้ว ตั้งอยู่ ข้าพระองค์บรรลุถึงความสิ้นทุกข์แล้ว
บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจกฺขนฺธา ปริญฺาตา ความว่า
อุปาทานขันธ์แม้ทั้ง ๕ อันเรากำหนดรู้แล้ว โดยประการทั้งปวง ด้วยมรรค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 541
ปัญญา อันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า นี้ทุกข์ ทุกข์มีเท่านี้ ทุกข์ยิ่งกว่า
นี้ไม่มี ดังนี้ มีอธิบายว่า ไม่มีทุกข์ไร ๆ ในเบญจขันธ์เหล่านั้น ที่จะต้อง
กำหนดรู้ (อีก).
บทว่า ติฏฺนฺติ ฉินฺนมูลกา ความว่า ทุกข์เหล่านั้นย่อมตั้งอยู่
จนกว่าจิตดวงหลังจะดับ เพราะทุกข์เหล่านั้นอันเรากำหนดรู้แล้วโดยประการ
ทั้งปวง คือ เพราะมูลแห่งกิเลส มีอวิชชาและตัณหาเป็นต้น อันเราตัดขาด
แล้ว ได้แก่ เพราะเหตุแห่งทุกข์อันเราละได้แล้ว ด้วยอริยมรรค.
บทว่า ทุกฺขกฺขโย อนุปฺปตฺโต ความว่า ก็ความสิ้นไป คือ
ความหมดไปแห่งวัฎทุกข์ ชื่อว่าอันเราถึงแล้วโดยลำดับ เพราะความที่แห่ง
ทุกข์เหล่านั้น มีรากอันเราตัดแล้ว ได้แก่ พระนิพพาน อันเราบรรลุแล้ว.
บทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย ความว่า พระอรหัตที่ชื่อว่า มี
นามอันได้แล้วว่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะเป็นผล อันพระอริยบุคคล
พึงได้เฉพาะ ในที่สุดแห่งความสิ้นไปของอาสวะทั้งหลายทั้งปวง มีกามาสวะ
เป็นต้น อันเราบรรลุแล้ว. อธิบายว่า ได้เฉพาะแล้ว. ส่วนอาจารย์บางพวก
กล่าวว่า อนฺติมาย สมุสฺสโย (ร่างกายนี้มีเป็นครั้งสุดท้าย). อธิบายว่า
ร่างกาย คือ อัตภาพของเรานี้ ชื่อว่า มีในที่สุด คือ เป็นภพสุดท้ายของภพ
ทั้งปวง เพราะความที่พระนิพพานอันเราบรรลุแล้วนั่นเอง.
ก็คำใด ที่ข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวไว้ ในบทนั้น ๆ คำนั้นง่ายทั้งนั้นแล
เพราะมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง.
จบอรรถกถาอิสิทัตตเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๑๒
ในอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี
จบอรรถกถาเอกนิบาต
อันประดับประดาไปด้วยเถรคาถา ๑๒๐ คาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 542
ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ
๑. พระเชนตเถระ ๒. พระวัจฉโคตตเถระ ๓. พระวนวัจฉเถระ
๔. พระอธิมุตตเถระ ๕. พระมหานามเถระ ๖. พระปาราปริยเถระ ๗.
พระยสเถระ ๘. พระกิมพิลเถระ ๙. พระวัชชีบุตรเถระ ๑๐. พระอิสิ-
ทัตตเถระ และอรรถกถา.
รวมหัวข้อที่มีในเอกนิบาต
พระสังคีติกาจารย์ ผู้หวังประโยชน์ส่วนใหญ่ ได้รวบรวมพระเถระ
ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว หาอาสวะมิได้ มีจำนวน ๑๒๐ รูป ไว้ในเอกนิบาต.