ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย เปตวัตถุ

เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. เขตตูปมาเปตวัตถุ

ว่าด้วยพระอรหันต์เปรียบเหมือนนา

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ความว่า

[๘๖] พระอรหันต์ทั้งหลายเปรียบด้วยนา ทายก

ทั้งหลายเปรียบด้วยชาวนา ไทยธรรมเปรียบด้วย

พืช ผลทานย่อมเกิดแต่การบริจาคไทยธรรมของ

ทายกแก่ปฏิคคาหก พืชนาและการหว่านพืชนั้น

ย่อมให้เกิดผลแก่เปรตทั้งหลายและทายก เปรต

ทั้งหลายย่อมบริโภคผลนั้น ทายกย่อมเจริญด้วย

บุญ ทายกทำกุศลในโลกนี้แล้ว อุทิศให้เปรต

ทั้งหลาย ครั้นทำกรรมดีแล้วย่อมไปสวรรค์.

จบ เขตตูปมาวัตถุที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

ปรมัตถทีปนี

อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ

กถาเริ่มต้นปกรณ์

ข้าพเจ้า ขอนมัสการ ซึ่งพระโลกนาถเจ้า

ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาคุณ ผู้บรรลุฝั่งแห่ง

สาครคือไญยธรรม ผู้มีเทศนานัยอันละเอียด

ลึกซึ้งและวิจิตร.

ข้าพเจ้า ขอนมัสการ ซึ่งพระธรรมเจ้า อัน

สูงสุดนั้น ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบูชาแล้ว

ซึ่งเป็นเครื่องนำสัตว์เพียบพร้อมด้วยวิชา และ

จรณะให้ออกจากโลก.

ข้าพเจ้า ขอนมัสการ ซึ่งพระอริยสงฆ์ ผู้

เพียบพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ผู้ดำรงอยู่ใน

มรรคและผล ผู้เป็นบุญเขต อันยอดเยี่ยม.

ด้วยเดชแห่งบุญ อันเกิดจากการนมัสการ

พระรัตนตรัย ดังกล่าวมาแล้วนี้ ขอข้าพเจ้า จง

เป็นผู้มีอันตรายอันห้วงบุญนั้น กำจัดแล้วในที่

ทุกสถาน ก็เทศนาใด ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ประกาศถึงกรรมที่เปรตทั้งหลาย กระทำไว้ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

ชาติก่อน อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเป็นเปรต

โดยความต่างกันแห่งผลกรรมของเปรตเหล่านั้น

อันนำความสังเวชให้เกิดโดยพิเศษ ทำกรรมและ

ผลของกรรมให้ประจักษ์ เทศนานั้นมีเรื่องที่

ทราบกันดีแล้ว โดยชื่อว่า เปตวัตถุ ที่ท่านผู้แสวง

หาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้สังคายนาไว้แล้ว ในขุททก-

นิกาย. ข้าพเจ้า จะยึดเอานัยแห่งอรรถกถาเก่า

ของเปตวัตถุนั้นมาชี้แจงถึงเหตุในเรื่องนั้น ๆ

ให้แจ่มแจ้งโดยพิเศษ จักกระทำอรรถสังวรรณนา

อันงดงามบริสุทธิ์ด้วยดี ไม่ปะปน มีอรรถและ

วินิจฉัยอันละเอียด ไม่ค้านกับลัทธิของพระมหา-

เถระผู้อยู่ในมหาวิหารตามกำลัง ขอสาธุชน

ทั้งหลายจงตั้งใจสดับ อรรถสังวรรณนานั้นของ

ข้าพเจ้า ผู้กล่าวอยู่โดยเคารพ เทอญ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เปตวตฺถุ ได้แก่ กรรมอันเป็นเหตุให้

สัตว์นั้น ๆ มีบุตรแห่งเศรษฐีเป็นต้น เกิดเป็นเปรต. ก็พระปริยัติธรรม

อันเป็นไปโดยประกาศถึงกรรมนั้น มีอาทิว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย

เปรียบด้วยนา ท่านประสงค์เอา เปตวัตถุในที่นี้.

ถามว่า เปตวัตถุนี้นั้น ใครกล่าว กล่าวที่ไหน กล่าวเมื่อไร

และเพราะเหตุไรจึงกล่าว ? ข้าพเจ้าจะเฉลย : จริงอยู่เปตวัตถุนี้

เกิดด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ด้วยเหตุที่เกิดขึ้นแห่งเรื่อง ๑ ด้วยอำนาจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

คำถามและคำตอบ ๑. ในสองอย่างนั้น ที่เกิดด้วยอัตถุปปัตติเหตุ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส นอกนั้น พระนารทเถระเป็นต้น เป็น

ผู้ถาม พวกเปรตนั้น ๆ เป็นผู้แก้. ก็เพราะเหตุที่เมื่อพระนารทเถระ

เป็นต้น กราบทูลถึงคำถามและคำตอบนั้น ๆ พระศาสดาจึงกระทำ

เรื่องนั้น ๆ ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว แสดงธรรมแก่บริษัท

พร้อมหน้ากัน. ฉะนั้น เปตวัตถุนั้นทั้งหมด จึงเป็นอันชื่อว่า พระ-

ศาสดาตรัสทั้งนั้น. จริงอยู่ เมื่อพระศาสดาทรงประกาศพระธรรม-

จักรอันบวร ประทับอยู่ในที่นั้น ๆ มีกรุงราชคฤห์เป็นต้น เปตวัตถุ

นั้น ๆ จึงขึ้นสู่เทศนา โดยกระทำกรรมและผลของกรรม แห่งสัตว์

ทั้งหลายให้ประจักษ์ ด้วยการถามและแก้ไขอัตถุปปัตติเหตุนั้น ๆ

โดยมาก ดังนั้น ในที่นี้เทศนานี้ จึงเป็นการตอบโดยทั่วไป แห่งบท

ทั้งหลายว่า เกน ภาสิต ดังนี้เป็นต้น เป็นอันดับแรก. แต่เมื่อว่า

โดยไม่ทั่วไป เทศนานี้ จักมาในอรรถวรรณนาแห่งเรื่องนั้น ๆ นั่นแล.

ก็เปตวัตถุนี้นั้น นับเนื่องในสุตตันตปิฎก ในบรรดาปิฎก ๓ คือ

วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธัมมปิฎก นับเนื่องในขุททกนิกาย

ในบรรดานิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย

อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย สงเคราะห์เข้าในคาถา ในบรรดา

ศาสนามีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน

อิติวุตตก ชาดก อัพภูตธรรม และเวทัลละ. สงเคราะห์เข้าใน

ธรรมขันธ์เล็กน้อย ในบรรดาธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

ที่พระอานนท์ผู้ธรรมภัณฑาคาริก ได้ปฏิญญาณไว้อย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

ข้าพเจ้าเรียนเอาพระธรรมขันธ์จากพุทธ--

สำนัก ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ จากสำนักภิกษุ

๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เป็นไปในหทัยของ

ข้าพเจ้า จึงมีจำนวน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

ดังนี้.

ว่าโดย ภาณวาร มีเพียง ๔ ภาณวาร ว่าโดยวรรค สงเคราะห์

เป็น ๔ วรรคคือ อุรควรรค อุพพริวรรค จูฬวรรค และมหาวรรค.

ใน ๔ วรรคนั้น วรรคแรกมี ๑๒ เรื่อง วรรคที่ ๒ มี ๑๓ เรื่อง

วรรคที่ ๓ มี ๑๐ เรื่อง วรรคที่ ๔ มี ๑๖ เรื่อง รวมความว่า เมื่อ

ว่าโดยเรื่อง ประดับด้วยเรื่อง ๕๑ เรื่อง. ในบรรดาวรรคของเรื่องนั้น

อุรควรรคเป็นวรรคต้น. ในบรรดาเรื่อง มีเรื่องเขตตูปมเปรต

เป็นเรื่องต้น คาถาของเรื่องต้นนั้น มีคำว่า เขตฺตูปมา อรหนฺโต

เป็นต้นเป็นคาถาแรก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

อุรควรรคที่ ๑

อรรถกถาเขตตูปมาเปตวัตถุที่ ๑

ก็ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน

กลันทกนิวาปวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์ จึงทรงปรารภเปรตบุตรเศรษฐี

คนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนั้นดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ ได้มีเศรษฐีคนหนึ่ง เป็นคน

มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีเครื่องปกรณ์แห่งทรัพย์ที่น่า

ปลื้มใจอย่างมากมาย สั่งสมทรัพย์ไว้เป็นจำนวนหลายโกฏิ. ได้มีบุตร

คนเดียว น่ารัก น่าชอบใจ. เมื่อบุตรนั้น รู้เดียงสา บิดามารดา

จึงพากันคิดอย่างนี้ว่า เมื่อบุตรของเราจ่ายทรัพย์ให้สิ้นเปลืองไป

วันละ ๑,๐๐๐ ทุกวัน แม้ถึงร้อยปี ทรัพย์ที่สั่งสมไว้นี้ ก็ไม่หมดสิ้นไป.

จะประโยชน์อะไร ด้วยการที่จะให้บุตรนี้ลำบากในการศึกษาศิลปะ

ขอให้บุตรนี้จงมีความไม่ลำบากกายและจิต บริโภคโภคสมบัติ

ตามสบายเถิด ดังนี้แล้ว จึงไม่ให้บุตรศึกษาศิลปะ. ก็เมื่อบุตร

เจริญวัยแล้ว มารดาบิดาได้นำหญิงสาวแรกรุ่น ผู้สมบูรณ์ด้วยสกุล

รูปร่างความเป็นสาว ละความงาม ผู้เอิบอิ่มด้วยกามคุณ บ่ายหน้า

ออกจากธรรมสัญญา. เขาอภิรมย์อยู่กับหญิงสาวนั้น ไม่ให้เกิดแม้

ความคิดถึงธรรม ไม่มีความเอื้อเฟื้อ ในสมณพราหมณ์และคนที่ควร

เคารพ ห้อมล้อมด้วยพวกนักเลง กำหนัด ยินดี ติดอยู่ในกามคุณ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

เป็นผู้มืดมนธ์ไปด้วยโมหะ ให้เวลาผ่านไป เมื่อมารดาบิดา ถึง

แก่กรรมลง ให้สิ่งที่ปรารถนาแก่ นักรำ นักร้อง เป็นต้น ผลาญ

ทรัพย์ให้วอดวายไป ไม่นานเท่าไรนัก ก็สิ้นเนื้อประดาตัว (เที่ยว)

ขอยืม (เงิน) เลี้ยงชีวิต ยืมหนี้ไม่ได้อีก ถูกพวกเจ้าหนี้ ทวงถาม

ก็ต้องให้ที่นาที่สวนและเรือนเป็นต้น ของตนแก่พวกเจ้าหนี้เหล่านั้น

ถือกระเบื้อง เที่ยวขอทานกิน พักอยู่ที่ศาลาคนอนาถา ในพระนคร

นั้นนั่นแล.

ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง พวกโจร มาประชุมกัน กล่าวกะเขา

อย่างนี้ว่า นายผู้เจริญ ท่านจะมีประโยชน์อะไรด้วยการเป็นอยู่

ลำบากอย่างนี้ ท่านยังเป็นหนุ่ม มีเรี่ยวแรงกำลังก็สมบูรณ์ เหตุไฉน

ท่านจึงอยู่เหมือนมีมือเท้าพิกล มาเถิด มาร่วมกับพวกเรา (เที่ยว)

ปล้นทรัพย์พวกชาวบ้านแล้ว เป็นอยู่สบายดี. ชายคนนั้น พูดว่า

เราไม่รู้วิธีทำโจรกรรม. พวกโจรตอบว่า พวกเราจะสอนให้เธอ

ขอให้เธอจงเชื่อคำของพวกเราอย่างเดียว. ชายนั้นรับคำแล้ว

ได้ไปกับพวกโจรเหล่านั้น. ลำดับนั้น พวกโจรเหล่านั้น ใช้ให้เขาถือ

ฆ้อนใหญ่ ตัดช่องย่องขึ้นเรือน ให้เขายืนตรงที่ปากช่องแล้วสอนว่า

ถ้าคนอื่นมาในที่นี้ เจ้าจงเอาไม้ฆ้อนนี้ทุบผู้นั้นทีเดียวให้ตายเลย.

เขาเป็นคนบอดเขลา ไม่รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์

ได้ยืนอยู่แต่ในที่นั้น มองดูทางมาของคนเหล่าอื่นอย่างเดียว. ฝ่าย

พวกโจร เข้าไปยังเรือนแล้ว ถือเอาสิ่งของที่ควรถือเอาไปด้วย

พอพวกคนในเรือนรู้ตัวเท่านั้น ก็พากันหนีไปคนละทิศ คนละทาง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

พวกคนในเรือน ลุกขึ้น ต่างก็พากันวิ่งขับโดยเร็ว พร้อมกับ

ข้างโน้นข้างนี้ เห็นชายคนนั้น ยืนอยู่ตรงช่องประตู เฮ้ย คนร้าย

แล้วพากันจับไว้ เอาไม้ฆ้อนเป็นต้น ทุบมือและเท้าแล้ว กราบทูล

แสดงแด่พระราชาว่า ขอเดชะ คนนี้เป็นโจร ข้าพระองค์จับได้ที่

ปากช่อง. พระราชาทรงมีพระบัญชาให้ผู้รักษาพระนครลงโทษ

ด้วยพระดำรัสว่า จงตัดศีรษะของผู้นี้. ผู้รักษาพระนคร รับสนอง

พระบรมราชโองการแล้ว จึงให้จับชายคนนั้นแล้ว ให้มัดไพล่หลัง

อย่างมั่นคง ให้ตระเวนเขา ผู้ถูกคล้องคอด้วยพวงมาลัยสีแดงห่าง ๆ

มีศีรษะเปื้อนด้วยผงอิฐ ตามทางที่เขาแสดงด้วยกลอง ตีประจาน

โทษ จากทางรถบรรจบทางรถ จากทางสี่แพร่งบรรจบทางสี่แพร่ง

แล้ว ให้เฆี่ยนด้วยหวาย พลางนำไปยังสถานที่ประหารชีวิต.

ประชาชนพากันแตกตื่นว่า ในพระนครนี้ เขาจับโจรปล้นสะดมภ์

คนนี้ได้.

ก็สมัยนั้นในพระนครนั้น มีหญิงงามเมือง คนหนึ่ง ชื่อว่า

สุลสา ยืนอยู่ที่ปราสาทมองไปตามช่องหน้าต่าง เห็นชายคนนั้น

ถูกนำไปอย่างนั้น เธอเคยถูกชายผู้นั้นบำเรอมาในกาลก่อน จึง

เกิดความสงสารชายคนนั้นขึ้นว่า ชายคนนี้ เคยเสวยสมบัติเป็น

อันมาก ในพระนครนี้เอง บัดนี้ถึงความพินาศวอดวายถึงเพียงนี้

จึงส่งขนมต้ม ๔ ลูก และน้ำดื่มไปให้. และได้แจ้งให้ผู้รักษา

พระนครทราบว่า ขอเจ้านาย จงรอจนถึงชายผู้นี้กินขนมต้มเหล่านี้

แล้วดื่มน้ำก่อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

ครั้นในระหว่างนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ตรวจดูด้วย

ทิพยจักษุ เห็นชายคนนั้นจะถึงความวอดวาย ด้วยแรงกรุณาเตือนใจ

คิดว่า ชายคนนี้ ไม่เคยทำบุญ ทำแต่บาป เพราะฉะนั้น ชายผู้นี้

จักเกิดในนรก ครั้นพอเราไป เขาถวายขนมต้มและน้ำดื่มแล้ว

จักเกิดในภุมมเทพ ไฉนหนอ เราจะพึงเป็นที่พึ่งของชายผู้นี้ ดังนี้

แล้วได้ไปปรากฏข้างหน้าของชายผู้นั้น ในขณะที่เขานำน้ำดื่ม

และขนมต้มเข้าไปให้. เขา ครั้นเห็นพระเถระก็มีจิตเลื่อมใส คิดว่า

เราผู้จะถูกคนเหล่านี้ฆ่าในบัดนี้เอง จะมีประโยชน์อะไร ด้วยขนมต้ม

ที่เราจะกินเข้าไป ก็ผลทานี้ จักเป็นเสบียงสำหรับคนไปสู่ปรโลก

จึงให้เขาถวายขนมต้มและน้ำดื่มแด่พระเถระ. เพื่อจะเจริญความ

เลื่อมใสของชายผู้นั้น เมื่อชายผู้นั้น กำลังดูอยู่นั่นแหละ พระเถระ

จึงนั่งในที่เช่นนั้น ฉันขนมต้มและดื่มน้ำแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป.

ฝ่ายชายผู้นั้น จกเพชฌฆาตนำไปสู่ที่ประหาร แล้วให้ถึงการตัด

ศีรษะ ด้วยบุญที่เขาทำไว้ในพระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้เป็น

บุญเขต อย่างยอดเยี่ยม แม้จะเป็นผู้ควรจะเกิดในเทวโลก ชั้นเยี่ยม

แต่เพราะเหตุที่เธอมีจิตเศร้าหมองในเวลาใกล้จะตาย เพราะความ

เสน่หาที่มุ่งถึงนางสุลสาว่า เราได้ไทยธรรมนี้ เพราะอาศัย

นางสุลสา ฉะนั้น เมื่อจะเกิดเป็นหมู่เทพชั้นต่ำ จึงเกิดเป็นรุกขเทวดา

ที่ต้นไทรใหญ่ มีร่มเงาอันสนิท อันเกิดแทบภูเขา.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "ได้ยินว่า ถ้าในปฐมวัย เขาจักได้

ขวนขวายในการดำรงวงศ์กุลไซร้ เขาจักเป็นผู้เลิศกว่าเศรษฐี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

ทั้งหลาย ในพระนครนั้นนั่นเอง ถ้าขวนขวายในมัชฌิมวัย เขาจัก

เป็นเศรษฐีวัยกลางคน ถ้าขวนขวายในปัจฉิมวัย เขาก็จักเป็น

เศรษฐีในวัยสุดท้าย. แต่ถ้าในปฐมวัยเขาจักได้บวชไซร้ เขาก็จัก

ได้เป็นพระอรหันต์. ถ้าบวชในมัชฌิมวัย เขาก็จักได้เป็นพระ-

สกทาคามี หรือพระอนาคามี. ถ้าบวชในปัจฉิมวัย เขาก็จักได้เป็น

พระโสดาบัน. แต่เพราะเขาคลุกคลีด้วยบาปมิตร เขาจึงเป็น

นักเลงหญิง นักเลงสุรา ยินดีแต่ในทุจริต เป็นคนไม่เอื้อเฟื้อ

เสื่อมจากสมบัติทั้งปวง ถึงความย่อยยับอย่างใหญ่หลวง โดยลำดับ."

ครั้นสมัยต่อมา เทพบุตรนั้นเห็นนางสุลสาไปสวน เกิด

กามราคะ เนรมิตให้มืดแล้วนำนางไปยังภพของตน สำเร็จการอยู่

ร่วมกับนางสิ้น ๗ วัน และได้แนะนำตนแก่นาง. มารดาของนาง

เมื่อไม่เห็นนาง ร้องไห้พลางวิ่งพล่านไปข้างโน้นข้างนี้. มหาชน

เห็นเข้าจึงกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้ามหาโมคคัลลานะ เป็นผู้มีฤทธิ์มาก

มีอานุภาพมาก จะพึงรู้คติของนาง ท่านพึงเข้าไปหาท่านแล้ว

ไต่ถามเถิด. นางรับคำแล้วเข้าไปหาท่าน ถามความนั้น. พระเถระ

กล่าวว่า ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม

ในพระเวฬุวันมหาวิหาร เธอจักเห็น ณ ที่สุดบริษัท. ลำดับนั้น

นางสุลสาได้กล่าวกะเทวบุตรนั้นว่า ข้อที่เราอยู่ในภพของท่าน

ไม่สมควร วันนี้ เป็นวันที่ ๗ มารดาของฉันเมื่อไม่เห็นฉัน ก็จัก

กึงความร่ำไรโศกเศร้า ดีละเทวดา ท่านจงพาฉันไปที่นั้นนั่นเถิด.

เทพบุตรพานางไปพักไว้ท้ายบริษัท ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

กำลังทรงแสดงธรรมอยู่ในพระเวฬุวัน ได้ยินไม่ปรากฏตัว.

ลำดับนั้น มหาชนเห็นนางสุลสา แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า แม่สุลสา

เธอไปไหนมาตลอดวันเท่านี้ มารดาของเธอ เมื่อไม่เห็นเธอ ก็ได้

ถึงความร่ำไรโศกเศร้าเหมือนคนบ้า. นางจึงแจ้งเรื่องนั้นแก่มหาชน

และเมื่อมหาชนถามว่า อย่างไรบุรุษนั้นการทำความขวนขวาย

แต่บาปเช่นนั้น ไม่ได้ทำกุศลไว้เลย ยังเกิดเป็นเทพได้ นางสุลสา

กล่าวว่า เขาได้ถวายขนมต้มและน้ำดื่มที่เราให้ แก่ท่านพระมหา-

โมคคัลลานะ ด้วยบุญนั้น จึงได้เกิดเป็นเทพบุตร มหาชนได้กระทำ

ดังนั้น จึงได้เกิดอัศจรรย์จิตไม่เคยมี จึงได้คิดว่า เขาได้กระทำ

บุญกรรมแม้น้อย ในพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ชื่อว่า เป็นบุญเขต

อันยอดเยี่ยมของชาวโลก จึงนำสัตว์มาเกิดเป็นเทพบุตร ดังนี้แล้ว

จึงได้เสวยปีติและโสมนัสอันโอฬาร ภิกษุทั้งหลาย กราบทูล

เนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ลำดับนั้น เพราะอัตถุปปัติเหตุนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงภาษิตคาถาเหล่านี้ว่า :-

พระอรหันต์ทั้งหลาย เปรียบด้วยนา

ทายกทายิกาทั้งพลาย เปรียบด้วยชาวนา ไทย

ธรรมเปรียบด้วยพืช ผลทาน ย่อมเกิด แต่การ

บริจาคไทยธรรม ของทายกทายิกาผู้ให้แก่

ปฏิคาหกผู้รับนั้น พืชนาและการหว่านพืชนี้

ย่อมให้เกิดผลแก่พวกเปรต และทายกทายิกา

ผู้ให้ เปรตทั้งหลาย ย่อมพากันบริโภคผลนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

ทายกทายิกาย่อมเจริญด้วยบุญ ทายกทายิกา

ทำกุศลในโลกนี้แล้ว อุทิศให้เปรตทั้งหลาย

ครั้นทำกรรมดีแล้ว ย่อมไปสวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขตฺตูปมา ได้แก่ ชื่อว่า นา

เพราะเป็นที่ต้านทานคือรักษา พืชที่ซัดคือที่หว่าน โดยทำภาวะ

ให้ทำผลมาก ได้แก่ สถานที่เป็นที่งอก แห่งพืชมีข้าวสาลีเป็นต้น.

พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่า เขตตูปมา เพราะมีนาเป็นอุปมา อธิบาย

ว่า เป็นเสมือนคันนา. บทว่า อรหนฺโต ได้แก่ ท่านผู้สิ้นอาสวะ

ทั้งหลาย. จริงอยู่ ท่านผู้สิ้นอาสวะทั้งหลายเหล่านั้น ท่านเรียกว่า

พระอรหันต์ เพราะกำจัดซี่กำแห่งกิเลสเป็นต้น และซี่กำแห่ง

สังขารจักร เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลสเป็นต้นนั้นนั่นแล เพราะเป็น

ผู้ควรแก่ไทยธรรมมีปัจจัยเป็นต้น และเพราะไม่มีที่ลับในการ

ทำบาป.

จริงอยู่ ในข้อนั้น สันดานของพระขีณาสพ เว้นจากโทษ

มีโลภเป็นต้น ประกอบด้วยปัจจัยอื่นมีกาลเป็นต้น ในเมื่อเขาหว่านพืช

คือไทยธรรมที่ตบแต่งไว้ดีแล้ว ย่อมมีผลมากแก่ทายก เปรียบเหมือน

นาเว้นจากโทษมีหญ้าเป็นต้น ประกอบด้วยปัจจัยอื่น มีฤดูและน้ำ

เป็นต้น ในเมื่อหว่านพืชที่เขาจัดแจงไว้ดี ย่อมมีผลมากแก่ชาวนา

ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เขตฺตูปมา

อรหนฺโต ดังนี้เป็นต้น. นี้เป็นนิเทศอย่างอุกฤษฏ์ เพราะไม่ปฏิเสธว่า

แม้พระอริยบุคคลมีพระเสขะเป็นต้นว่า เป็นเขตของทายกนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

บทว่า ทายกา ได้แก่ ผู้ให้ คือ ผู้บริจาค ปัจจัยมีจีวร เป็นต้น.

อธิบายว่า ผู้สละคือตัดกิเลสมีโลภะเป็นต้น ในสันดานของตน

โดยการบริจาคปัจจัยมีจีวรเป็นต้นนั้น อีกอย่างหนึ่ง ผู้ชำระและ

ผู้รักษา สันดานของตน จากกิเลสมีความโลภเป็นต้นนั้น. บทว่า

สฺสกูปมา ได้แก่ เสมือนชาวนา. ชาวนา ไถนาข้าวสาลีเป็นต้น

เมื่อไม่ประมาท ด้วยกิจมีการหว่าน การไขน้ำเข้า การเปิดน้ำออก

การปักดำ และการรักษา เป็นต้น ตามควรแก่เวลา ย่อมได้รับผล

แห่งข้าวกล้า อันโอฬารและไพบูลย์ ฉันใด แม้ทายกก็ฉันนั้น เมื่อ

ไม่ประมาทด้วยการบริจาคไทยธรรม และการปรนนิบัติในพระ-

อรหันต์ทั้งหลาย ย่อมได้รับผลแห่งทานอันโอฬารและไพบูลย์.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าทายกและทายิกา เปรียบด้วยชาวนา

ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า พีชูปม เทยฺยธมฺม ท่านกล่าวด้วยลิงควิปปลาส,

อธิบายว่า ไทยธรรมเป็นเหมือนพืช. จริงอยู่ คำว่า เทยฺยธมฺม นี้

เป็นชื่อของวัตถุที่จะพึงให้ ๑๐ อย่าง มีข้าวและน้ำเป็นต้น. บทว่า

เอตฺโต นิพฺพตฺตเต ผล ความว่า ผลแห่งทาน ย่อมบังเกิด และเกิดขึ้น

จากการบริจาคไทยธรรมของทายกแก่ปฏิคาหกนั้น ละย่อมเป็นไป

ด้วยอำนาจการสืบเนื่องตลอดกาลนาน.

ก็ในที่นี้ เพราะเหตุวัตถุมีข้าวและน้ำเป็นต้น ที่จัดแต่งด้วย

เจตนาเครื่องบริจาค ไม่ใช่ภาวะแห่งวัตถุนอกนี้ เพราะฉะนั้น ท่าน

จึงจัดไทยธรรมด้วยศัพท์ว่า พีชูปม เทยฺยธมฺม ดังนี้. เพราะเหตุนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

พึงเห็นเจตนาเครื่องบริจาค ซึ่งมีไทยธรรมวัตถุเป็นอารมณ์นั่นแหละ

ว่าเป็นพืช โดยอ้างถึงไทยธรรม. จริงอยู่ เจตนาเครื่องบริจาคนั้น

ให้สำเร็จผลต่างด้วยปฏิสนธิเป็นต้น และต่างด้วยอารมณ์อันเป็น

นิสสัยปัจจัย แห่งปฏิสนธิเป็นต้นนั้น ไม่ใช่ไทยธรรมแล.

บทว่า เอต พีช กสี เขตฺต ได้แก่ พืชตามที่หว่านแล้ว

และนาตามที่กล่าวแล้ว. อธิบายว่า กสิ กล่าวคือประโยคในการ

หว่านพืชนั้น ในนานั้น. การหว่านทั้ง ๓ อย่างนั้น จำปรารถนา

เพราะฉะนั้นท่านจงกล่าวว่า เปตาน ทายกสฺส จ เป็นต้น. ถ้าทายก

ให้ทานอุทิศให้เปรตทั้งหลาย. แก่พวกเปรต และทายก. ถ้าไม่ให้

ทานอุทิศให้พวกเปรต, อธิบายว่า พืชนั้น การหว่านนั้น และนานั้น

ย่อมมีเพื่อความอุปการะแก่ทายกเท่านั้น. บัดนี้ เพื่อจะแสดงถึง

อุปการะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พวกเปรต ย่อมบริโภคผลนั้น ผู้ให้

ย่อมเจริญด้วยบุญ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต เปตา ปริภุญฺชนฺติ ความว่า

เมื่อทายก ถวายทานอุทิศพวกเปรต เมื่อนา การหว่าน และพืช

ตามที่กล่าวแล้วสมบูรณ์ และมีการอนุโมทนา พวกเปรตย่อมบริโภค

ผลทานที่สำเร็จแก่เปรต บทว่า ทาตา ปญฺเน วฑฺฒติ ความว่า

แต่ผู้ให้ ย่อมเจริญด้วยผลแห่งบุญมีโภคสมบัติเป็นต้น ในเทวดาและ

มนุษย์ อันมีบุญที่สำเร็จจากทานของตนเป็นนิมิต. จริงอยู่ แม้ผล

แห่งบุญ ท่านก็เรียกว่า บุญ ในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อน ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

ทั้งหลาย บุญนี้ ย่อมเจริญอย่างนี้ เพราะเหตุแห่งการสมาทาน

กุศลธรรม.

บทว่า อิเธว กุสล กตฺวา ความว่า สั่งสมบุญอันสำเร็จ

ด้วยทาน ด้วยอำนาจการอุทิศแก่พวกเปรต ชื่อว่า กุศล เพราะ

อรรถว่า ไม่มีโทษและมีสุขเป็นผล ในอัตตภาพนี้เอง. บทว่า

เปเต จ ปฏิปูชิย ความว่า ต้อนรับด้วยทานอุทิศเปรต ให้เปรต

เหล่านั้น พ้นจากทุกข์ที่เสวยอยู่. จริงอยู่ ทานที่ให้อุทิศเปรต เป็น

อันชื่อว่า บูชา เปรต เหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็การบูชา ที่พวกญาติ ทำแล้วแก่พวกเรา และว่า การบูชา อัน

ยิ่งใหญ่ ที่พวกญาติทำแล้ว แก่พวกเปรต. ด้วย ศัพท์ ในบทว่า

เปเต จ นี้ จัดเข้าในอานิสงฆ์แห่งทาน ที่เป็นปัจจุบัน มีอาทิอย่างนี้

ว่า ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ถึงใจ เป็นที่ไว้วางใจ

เป็นผู้ยกย่อง เป็นผู้ที่ควรเคารพ และเป็นผู้อันวิญญูชนควรสรรเสริญ

ควรระบุถึง. บทว่า สคฺคญฺจ กมติฏฺาน กมฺม กตฺวาน ภทฺทก

ความว่า กระทำกัลยาณกรรม คือกุคลกรรม ย่อมก้าวถึง คือเข้าถึง

ด้วยอำนาจการเข้าถึงเทวโลก อันเป็นสถานที่เกิดของพวกตน

ได้ทำบุญไว้ อันได้นามว่า สวรรค์ เพราะมีอารมณ์ดี ด้วยฐานะ

๑๐ ประการ มี อายุทิพย์ เป็นต้น.

ก็ในบทเหล่านี้ ท่านกล่าวว่า ทำกุศลแล้วกล่าวซ้ำว่า อัน

กระทำกรรมดี พึงเห็นว่า เพื่อจะแสดงว่า แม้การบริจาคธรรม

เป็นทาน โดยการให้ส่วนบุญ เหมือนการบริจาคไทยธรรม จักเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

กุศลกรรมอันสำเร็จด้วยทานเหมือนกัน. ก็ในที่นี้ อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า พระอรหันต์ ท่านประสงค์เอาว่า เปรต. คำนั้นเป็นเพียง

มติของเกจิอาจารย์เหล่านั้น เพราะที่มาว่าพระขีณาสพนั้น เป็น

เปรตไม่มีเลย เพราะพระขีณาสพเหล่านั้น ไม่ประกอบภาวะ

มีพืชเป็นต้น เหมือนทายก และเพราะผู้เกิดในกำเนิดเปรตมีภาวะ

มีพืชเป็นต้นประกอบไว้.

ในเวลาจบเทศนา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ตั้งต้นแต่เทพบุตรและ

นางสุลสา ได้ตรัสรู้ธรรมแล้วแล.

จบ อรรถกถาเขตตูปมาเปตวัตถุที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

๒. สูกรเปตวัตถุ

ว่าด้วยกายงามปากเหม็น

ท่านพระนารทะถามเปรตตนหนึ่งว่า

[๘๗] กายของท่านล้วนมีสีเหมือนทองคำ รัศมี

กายของท่าน สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ แต่หน้า

ของท่านเหมือนหน้าสุกร เมื่อก่อนท่านได้ทำ

กรรมอะไรไว้

เปรตนั้นตอบว่า

ข้าแต่พระนารทะ เมื่อก่อนข้าพเจ้าได้

สำรวมกาย แต่ไม่ได้สำรวมวาจา เพราะเหตุนั้น

รัศมีกายของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นกันที่ท่านเห็นอยู่

นั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอกล่าวกะท่าน สรีระ

ของข้าพเจ้าท่านเห็นเองแล้ว ขอท่านอย่าทำบาป

ด้วยปาก อย่าให้หน้าสุกรเกิดมีแก่ท่าน.

จบ สูกรเปตวัตถุ

อรรถกถาสูกรเปตวัตถุ ๒

เมื่อพระศาสดา ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ใน

พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปวิหาร ทรงปรารภเปรตผู้มีหน้าเหมือน

สุกรตนหนึ่ง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า กาโย เต สพฺพโส วณฺโณ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่า กัสสปะ ได้มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้สำรวมทางกาย

แต่ไม่สำรวมทางวาจา ด่าปริภาษภิกษุทั้งหลาย มรณภาพแล้ว

ไปบังเกิดในนรก ไหม้ในนรกนั้น สิ้นพุทธันดรหนึ่ง จุติจากนรก

นั้นแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นเปรต ถูกความหิวกระหาย

ครอบงำ ด้วยเศษวิบากของกรรมนั้นนั่นแล ณ เชิงเขาคิชฌกูฏ

ใกล้กรุงราชคฤห์. ร่างของเปรตนั้นได้มีสีเหมือนทองคำ. แต่หน้า

ของเปรตนั้น เหมือนหน้าสุกร. ลำดับนั้น ท่านพระนารทะ อยู่ที่

เขาคิชฌกูฏ ชำระร่างกายแต่เช้าตรู่ ถือบาตรและจีวร กำลัง

เที่ยงบิณฑบาต ยังกรุงราชคฤห์ พบเปรตนั้นในระหว่างทาง

เมื่อจะถามถึงกรรมที่เปรตนั้นทำ จึงกล่าวคาถาว่า

กายของท่านล้วนมีสีดุจทองคำ รัศมีกาย

ของท่านสว่างไสวไปทุกทิศ แต่หน้าของท่าน

เหมือนหน้าสุกร เมื่อก่อนท่านได้ทำกรรมอะไร

ไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาโย เต สพฺพโส วณฺโณ ความว่า

กายคือร่างของท่าน ล้วนมีสีดุจทองคำ คือ คล้ายทองคำที่สุกปลั่ง.

บทว่า สพฺพา โอภาสเต ทิสา ความว่า รัศมีกายของเขาว่างไสว

โชติช่วง ไปโดยรอบทั่วทุกทิศ. อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า บทว่า

โอภาสเต นี้ มีเหตุเป็นเครื่องหยั่งลงในภายในเป็นอรรถ พึงเห็น

ความว่า กายของท่านล้วนมีสีดุจทองคำ สว่างไสว โชติช่วงไปทั่ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

ทุกทิศ. บทว่า มุข เต สูกรสุเสว ได้แก่ ก็หน้าของท่านเหมือนสุกร,

อธิบายว่า หน้าของท่านเสมือนหน้าสุกร. ด้วยบทว่า กึ กมฺมมกรี ปุเร

ความว่า ท่านพระนารทะถามว่า เมื่อก่อน คือ ในอดีตชาติท่าน

ได้ทำกรรมเช่นไรไว้.

เปรตนั้น ถูกพระเถระถามถึงกรรมที่คนทำอย่างนี้ เมื่อ

จะตอบด้วยคาถา จึงกล่าวว่า :-

ข้าแต่ท่านนารทะ เมื่อก่อนข้าพเจ้าได้

สำรวมทางกาย แต่ไม่สำรวมทางวาจา เพราะ

เหตุนั้น รัศมีกายของข้าพเจ้า จึงเป็นเช่นกับที่

ท่านเห็นอยู่นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเยน สญฺโต อาสึ ความว่า

ข้าพเจ้าสำรวม ด้วยการสำรวมทางกาย คือ ได้เป็นผู้สำรวมด้วยดี

ด้วยการสำรวมทางกายทวาร. บทว่า วาจายาสมสณฺณโต ความว่า

แต่ข้าพเจ้าไม่ได้สำรวมทางวาจา คือ ได้เป็นประกอบด้วยการ

ไม่สำรวมทางวาจา. บทว่า เตน ได้แก่ เพราะการสำรวมและ

การไม่สำรวมทั้งสองอย่างนั้น. บทว่า เม แปลว่า ของข้าพเจ้า.

บทว่า เอตาทิโส วณฺโณ ได้แก่ รัศมีกายของข้าพเจ้า จึงเป็นเช่นนี้

คือ เป็นเช่นกับที่ท่านเห็นประจักษ์อยู่นั่นแหละท่านนารทะ. มีวาจา

ประกอบความว่า ข้าพเจ้า มีกาย มีทรวดทรงเหมือนมนุษย์ มีสีดุจ

ทองคำ แต่มีหน้าเหมือนหน้าสุกร. ก็ วณฺณ ศัพท์ ในคาถานี้

พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า ผิวพรรณ ละทรวดทรง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

เปรตถูกพระเถระถามอย่างนี้ ครั้นแก้คำถามนั้นแล้ว เมื่อ

จะทำความนั้นนั่นแหละให้เป็นเหตุแล้วตักเตือนพระเถระ จึงกล่าว

คาถาว่า :-

ข้าแต่ท่านพระนารทะ เพราะเหตุนั้น

ข้าพเจ้าขอกล่าวแก่ท่าน สรีระของข้าพเจ้า ท่าน

เห็นเองแล้ว ขอท่านอย่าได้ทำบาปด้วยปาก อย่า

ให้หน้าสุกรเกิดมีแก่ท่านเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต แก้เป็น ตสฺมา แปลว่า

เพราะเหตุนั้น. บทว่า ติยาห ตัดเป็น เต อห. เปรตเรียกพระเถระ

ด้วยคำว่า นารทะ. บทว่า พฺรูมิ แปลว่า ข้าพเจ้าจะบอก. บทว่า

สาม แปลว่า ข้าพเจ้าเอง. ด้วยบทว่า อิท เปรตกล่าวหมายถึง

ร่างกายของตน. ก็ในคำนี้มีอธิบายดังนี้ ข้าแต่ท่านพระนารทะผู้เจริญ

เพราะเหตุที่ร่างกายของข้าพเจ้านี้ ตั้งแต่คอลงไปถึงกายท่อนล่าง

มีทรวดทรงเหมือนมนุษย์ กายท่อนบน มีทรวดทรงเหมือนสุกร

ที่ท่านเห็นประจักษ์อยู่นั่นแหละ. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า จะขอกล่าว

เตือนท่าน. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า เธอกล่าวอย่างไร ? เปรต

จึงกล่าวว่า ขอท่านอย่าได้ทำบาปด้วยปาก อย่าให้หน้าสุกรเกิด

มีแก่ท่านเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า มา เป็นนิบาตใช้ในอรรถ

ปฏิเสธ. บทว่า มุขสา แปลว่า ด้วยปาก. ศัพท์ว่า โข ใช้ในอวธารณะ

ห้ามเนื้อความอื่น, อธิบายว่า ท่านอย่าได้ทำ คือ จงอย่าทำธรรมชั่ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

ทางวาจาเลย. ด้วยบทว่า มา โข สูกรมุโข อหุ นี้ เปรตปฏิเสธ

เฉพาะเหตุ แม้โดยมุ่งถึงการปฏิเสธผลว่า หน้าสุกรเหมือนเรา

อย่าได้มีเลย ก็ถ้าว่าท่านเป็นคนปากกล้า พึงทำความชั่วด้วย

วาจาไซร้ ท่านก็จะพึงเป็นผู้มีหน้าเหมือนสุกรโดยส่วนเดียว เพราะ

ฉะนั้นท่านอย่าทำความชั่วด้วยปากเลย

ลำดับนั้น ท่านพระนารทะ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์

กลับจากบิณฑบาตภายหลังอาหาร กราบทูลเนื้อความนั้น แด่

พระศาสดา ผู้ประทับนั่งท่ามกลางบริษัท ๔. พระศาสดา ตรัสว่า

นารทะเมื่อก่อนแล เราได้เคยเห็นสัตว์นั้นแล้ว เมื่อจะทรงประกาศ

โทษอันต่ำทรามโดยอาการเป็นอเนก ซึ่งอาศัยวจีทุจริต และ

อานิสงส์อันเกี่ยวด้วยวจีสุจริต จึงทรงแสดงธรรม. เทศนานั้น

ได้มีประโยชน์แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้วแล.

จบ อรรถกถาสูกรเปตวัตถุที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

๓. ปูติมุขเปตวัตถุ

ว่าด้วยสำรวมกายแต่ไม่สำรวมวาจา

ท่านพระนารทะถามเปรตตนหนึ่งว่า

[๘๘] ท่านมีผิวพรรณงามดังทิพย์ ยืนอยู่ใน

อากาศกลางหาว แต่ปากของท่านมีกลิ่นเหม็น

หมู่หนอนพากันไชชอนอยู่ เมื่อก่อนท่านทำกรรม

อะไรไว้.

เปรตนั้นตอบว่า

เมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นสมณะลามก มีวาจา

ชั่วช้ายิ่งนัก ผู้มักกำจัด (สำรวมกายเป็นปกติ)

ไม่สำรวมปาก อนึ่ง ผิวพรรณดังทอง ข้าพเจ้า

ได้แล้ว เพราะพรหมจรรย์นั้น แต่ปากของ

ข้าพเจ้าเหม็นเน่า เพราะกล่าววาจาส่อเสียด

ข้าแต่ท่านพระนารทะ รูปของข้าพเจ้านี้ ท่าน

เห็นเองแล้ว ท่านผู้ฉลาดผู้อนุเคราะห์กล่าวไว้ว่า

ท่านอย่าพูดส่อเสียดและอย่าพูดมุสา ถ้าท่าน

ละคำส่อเสียดและคำมุสาแล้ว สำรวมวาจา ท่าน

จักเป็นเทพเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่น่าใคร่.

จบ ปูติมุขเปตวัตถุที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

อรรถกถาปูติมุขเปตวัตถุที่ ๓

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ที่เวฬุวันกลันทกนิวาปวิหาร

พระองค์ทรงปรารภเปรตผู้มีปากเน่า จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า นิพฺพ

สุภ ธาเรสิ วณฺณธาตุ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่า กัสสปะ ยังมีกุลบุตร ๒ คน บวชในพระศาสนา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สมบูรณ์ด้วยศีลและอาจาระ มีความ

ประพฤติขัดเกลา อยู่โดยความพร้อมเพรียงกัน ในอาวาสใกล้บ้าน

ตำบลหนึ่ง. ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง มีอัธยาศัยชั่ว ชอบส่อเสียด

เข้าไปยังสถานที่ที่อยู่ของภิกษุ ๒ รูปนั้น. พระเถระทำปฏิสันถาร

กับเธอ ให้ที่พัก ในวันที่ ๒ จึงพาเธอเข้าไปยังบ้านเพื่อบิณฑบาต.

พวกมนุษย์เห็นท่านเหล่านั้นแล้ว ทำการนอบน้อมอย่างยิ่ง ใน

พระเถระเหล่านั้น ได้ต้อนรับ ด้วยอาหารมีข้าวยาคู และภัตรเป็นต้น.

เธอเข้าไปยังวิหารคิดว่า "โคจรคามนี้ ดีหนอ. และพวกมนุษย์ ก็มี

ศรัทธาเลื่อมใส ถวายบิณฑบาตแสนจะประณีต. ก็วิหารนี้ สมบูรณ์

ด้วยร่มเงาและน้ำ เราสามารถจะอยู่ในที่นี้ได้อย่างสบาย แต่เมื่อ

ภิกษุเหล่านี้ อยู่ในที่นี้เราก็จักอยู่ไม่สบาย จักอยู่เหมือนจะอยู่อย่าง

อันเตวาสิก เอาเถอะ. เราจักทำโดยที่ภิกษุเหล่านี้แตกจากกันแล้ว

ไม่ได้อยู่ในที่นี้ต่อไป.

ภายหลังวันหนึ่ง เมื่อพระมหาเถระให้โอวาทแก่ภิกษุทั้ง ๒ รูป

แล้ว เข้าไปยังที่พักของตน ภิกษุมักส่อเสียด ยับยั้งอยู่ชั่วเวลาหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

จึงเข้าไปหาพระมหาเถระ. ไหว้แล้ว และเมื่อพระเถระถามว่า

ทำไม คุณมาผิดกาลเวลา จึงตอบว่า ครับ ผมมีเรื่องที่จะพูดอยู่

อย่างหนึ่ง พระเถระจึงอนุญาตว่า เล่าไปซิคุณ จึงเรียนว่า ท่านครับ

พระเถระผู้เป็นสหายของท่านนั่น ต่อหน้า (ท่าน) แสดงตนเหมือน

เป็นมิตร พอลับหลังก็กล่าวให้ร้ายคล้ายศัตรู. ถูกพระเถระถามว่า

เขาพูดว่าอย่างไร จึงเรียนว่า ฟังนะครับ พระมหาเถระรูปนั่น

กล่าวโทษทานว่า เป็นผู้โอ้อวด มีมายา หลอกลวง เลี้ยงชีพด้วย

มิจฉาชีพ. พระเถระตอบว่า อย่าพูดอย่างนั้นซิคุณ, ภิกษุรูปนั้น

จักไม่ว่าเราถึงอย่างนั้น ตั้งแต่เวลาเป็นคฤหัสถ์มาแล้ว เธอรู้สภาวะ

ของเราว่า มีศีลเป็นที่รัก มีกัลยาณธรรม. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ท่าน

ครับ ถ้าท่านคิดอย่างนั้น เพราะค่าที่ตนมีจิตบริสุทธิ์ ข้อนั้นเหมาะ

แก่ท่านทีเดียว แต่ผมก็ไม่มีเวรกับพระมหาเถระนั้น ทำไม ผมจึง

จะได้กล่าวคำที่พระมหาเถระไม่กล่าวว่า กล่าว ช่างเถอะ ท่านเอง

นั่นแหละ จักรู้ในเวลาต่อไป. ฝ่ายพระเถระเกิดสองอกสองใจ

เพราะค่าที่ตนเป็นปุถุชน เกิดมีความรังเกียจว่า เห็นที่จะเป็นอย่างนั้น

จึงได้คลายความไว้วางใจไปหน่อยหนึ่ง. ภิกษุนั้น เป็นคนพาล

ชั้นแรกยุยงพระมหาเถระแล้ว ไปยุยงพระเถระอีกรูปหนึ่ง โดย

นัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ลำดับนั้น พระเถระทั้งสองนั้น ในวันที่ ๒

ไม่ได้พูดกัน ต่างถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตในบ้าน ถือ

บิณฑบาตมาฉันในที่พักของตนนั่นเอง แม้มาตรว่าสามีจิกรรม

ก็ไม่ยอมทำ ตลอดวันนั้น อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ และพอราตรีสว่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

ไม่ยอมบอกกันและกันเลย ได้แยกกันไปสู่ที่ที่ตามความสำราญ.

ก็ภิกษุผู้มักรังเกียจ มีมโนรถเต็มเปี่ยม เข้าไปบิณฑบาต

ยังบ้าน พวกมนุษย์เห็นเข้า พากันกล่าวว่า พระเถระทั้งหลาย

พากันไปไหนเสียครับ. ภิกษุนั้นกล่าวว่า พระเถระทั้งสองทะเลาะ

กันและกันตลอดคืนยังรุ่ง ถึงอาตมาจะเตือนว่า อย่าทะเลาะกันเลยครับ

จงสามัคคีกันไว้เถิด ขึ้นชื่อว่า การทะเลาะกันมีแต่จะนำความพินาศ

มาให้ ก่อให้เกิดความทุกข์ในอนาคต เป็นทางแห่งอกุศล แม้คน

สมัยก่อน ก็เคยพลาดจากประโยชน์ใหญ่ เพราะการทะเลาะกัน ดังนี้

เป็นต้น ก็ไม่เชื่อคำของอาตมา พากันหลีกไป. ลำดับนั้น พวกมนุษย์

วิงวอนว่า ขอพระเถระจงไปก่อนเถอะ แต่ท่านอย่ารำคาญอยู่ในที่นี้

แหละ เพื่ออนุเคราะห์พวกกระผม. ท่านรับคำแล้ว อยู่ในที่นั้นนั่นเอง

ต่อมา ๒-๓ วัน จึงคิดว่า เรายุยงภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม

ด้วยอยากเป็นเจ้าอาวาส เราขวนขวายแต่กรรมชั่วไว้มากหนอ จึง

ถูกความเดือดร้อนอย่างแรงกล้าเข้าครอบงำ เป็นไข้เพราะกำลัง

แห่งความเศร้าโศก ไม่นานนักก็มรณภาพ บังเกิดในอเวจีมหานรก.

ฝ่ายพระเถระผู้เป็นสหายกัน ๒ รูป เที่ยวจาริกไปในชนบท

มาพบกันในอาวาสแห่งหนึ่ง จึงปราศรัยกันและกัน จึงบอกคำยุยง

ที่ภิกษุนั้นพูดแก่กันและกัน รู้ว่าเรื่องนั้นไม่เป็นจริง จึงได้พร้อมกัน

กลับมายังอาวาสนั้นนั่นแล โดยลำดับ. พวกมนุษย์เห็นพระเถระ

ทั้ง ๒ รูปแล้ว พากันปลื้มใจ เกิดความดีใจ อุปัฏฐากด้วยปัจจัย ๔.

ก็พระเถระทั้ง ๒ รูป เมื่ออยู่ในที่นั้นนั่นแหละ มีจิตเป็นสมาธิ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

ได้อาหารอันเป็นสัปปายะ เจริญวิปัสสนาแล้ว ไม่นานนักก็บรรลุ

พระอรหันต์.

ภิกษุผู้มักส่อเสียด ไหม้ในนรกตลอดพุทธันดรหนึ่ง ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ เกิดเป็นเปรตปากเน่า ไม่ไกลแต่กรุงราชคฤห์.

กายของเขา ได้มีสีเหมือนทองคำ. แต่หนอนไต่ออกจากปาก พากัน

เจาะกินปากข้างโน้นข้างนี้. กลิ่นปากของเปรตนั้นเหม็นฟุ้งขจาย

ไปทั่วอากาศตั้งไกล.

ลำดับนั้น ท่านนารทะ ขณะลงจากเขาคิชฌกูฏ พบเปรตนั้น

จึงถามถึงกรรมที่เธอกระทำไว้ ด้วยคาถานี้ว่า :-

ท่านมีผิวพรรณงามดังทิพย์ ยืนอยู่ใน

อากาศกลางหาว แต่ปากของท่านมีกลิ่นเหม็น

หมู่หนอนพากันชอนไชอยู่ เมื่อก่อนท่านทำกรรม

อะไรไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพ แปลว่า เป็นทิพย์ คือนับ

เนื่องจากอัตตภาพของเทวดา. แต่ในที่นี้ชื่อว่าทิพย์ เพราะเป็น

เหมือนของทิพย์. บทว่า สุภ แปลว่า งาม, หรือ ความงาม. บทว่า

วณฺณธาตุ ได้แก่ ผิวพรรณ. บทว่า ธาเรสิ แปลว่า นำไป. บทว่า

เวหายส ติฏฺสิ อนฺตลิกฺเข ได้แก่ ยืนอยู่ในกลางหาว ที่เข้าใจกันว่า

อากาศ. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวปาฐะว่า วิหายส ติฏสิ อนฺตลิกฺเข

ดังนี้ แล้วกล่าวความของปาฐะนั้น โดยคำที่เหลือว่า ท่านยืนอยู่

กลางหาว ทำอากาศให้สว่างไสวอยู่. บทว่า ปูคิคนฺธ แปลว่า มีกลิ่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

เหมือนทรากศพ อธิบายว่า มีกลิ่นเหม็น. ด้วยบทว่า กึ กมฺมมกาสิ

ปุพฺเพ นี้ พระเถระถามว่า "หมู่หนอนชอนไชปาก ซึ่งมีกลิ่นเหม็น

อย่างยิ่งของเธอ, แต่กายของเธอมีสีเหมือนดังทองคำ ครั้งก่อน

เธอได้ทำกรรมเช่นไร อันเป็นเหตุแห่งอัตตภาพเช่นนี้ไว้.

เปรตนั้น ถูกพระเถระถามถึงกรรมที่ตนทำอย่างนี้ เมื่อ

จะแก้ความนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นสมณะลามก มีวาจา

ชั่วช้ายิ่งนัก เป็นผู้มักกำจัด ไม่สำรวมปาก อนึ่ง

ผิวพรรณดังทอง ข้าพเจ้าได้แล้ว เพราะพรหม-

จรรย์นั้น แต่ปากของข้าพเจ้าเหม็น เพราะกล่าว

วาจาส่อเสียด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมโณ อห ปาโป ได้แก่ เราได้เป็น

สมณะลามก คือเป็นภิกษุลามก. บทว่า อติทุฏฺวาโจ แปลว่า เป็น

ผู้มีคำพูดชั่วช้ายิ่งนัก เป็นผู้กล่าวล่วงเกินผู้อื่น อธิบายว่า เป็นผู้

กล่าวกำจัดคุณของคนอื่น. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า อติทุกฺขวาโจ

ก็มี, อธิบายว่า ผู้มีวาจาหยาบคายอย่างยิ่ง คือ ยินดีแต่วจีทุจจริต

มีการกล่าวเท็จและกล่าวส่อเสีย เป็นต้น. บทว่า ตปสฺสิรูโป

แปลว่า เป็นสมณะเทียม. บทว่า มุขสา ได้แก่ ด้วยปาก. บทว่า

ลทฺธา ได้แก่ ได้เฉพาะแล้ว. จ อักษร เป็นสัมปิณฑนัตถะ แปลว่า

อนึ่ง บทว่า เม แก้เป็น มยา แปลว่า อันเรา. บทว่า ตปสา ได้แก่

ด้วยพรหมจรรย์. บทว่า เปสุณิเยน ได้แก่ ด้วยปิสุณวาจา. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

ปูติ ได้แก่ มีกลิ่นเหม็นเน่า.

เปรตนั้น ครั้นบอกกรรมที่ตนได้ทำไว้อย่างนั้นแล้ว บัดนี้

เมื่อจะตักเตือนพระเถระ จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-

ข้าแต่ท่านพระนารทะ รูปร่างของข้าพเจ้า

ท่านได้เห็นเองแล้ว ท่านผู้ฉลาดผู้อนุเคราะห์

กล่าวไว้ว่า ท่านอย่าพูดส่อเสียด และอย่าพูดมุสา

สำรวมด้วยวาจาแล้ว ท่านจักได้เป็นเทพเจ้า ผู้

สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตยิท แปลว่า รูปร่างของเรานี้นั้น. บทว่า

อนุกมฺปกา เย กุสลา วเทยฺย ความว่า ท่านผู้ฉลาดในข้อปฏิบัติ

อันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น คือ ผู้ละเอียด มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

ผู้มีการอนุเคราะห์เป็นปกติ คือ ผู้ประกอบด้วยพระกรุณา กล่าว

คำอันใดไว้ อธิบายว่า เราจะกล่าวคำอันนั้นนั่นแล. บัดนี้ เปรตนั้น

เมื่อจะตักเตือน จึงกล่าวว่า ท่านอย่าพูดส่อเสียด และอย่าพูดมุสา

สำรวมด้วยวาจาแล้ว ท่านจักได้เป็นเทพเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่

น่าปรารถนา ดังนี้.

คำนั้น มีอธิบายดังนี้ ท่านอย่าพูด คืออย่ากล่าว คำส่อเสียด

คือ คำยุยง ละคำเท็จ. ก็ถ้าท่านละมุสาวาท และปิสุณวาจาได้แล้ว

สำรวมด้วยวาจา ท่านจักเป็นอันเขาบูชา หรือเป็นเทพองค์ใด

องค์หนึ่ง ผู้ได้ทิพยสมบัติ ที่โอฬารอันน่าใคร่ น่าปรารถนาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

ใคร่ในทิพยสมบัตินั้น คืออภิรมย์อยู่ด้วยการบำเรออินทรีย์ ตาม

ความสบาย.

พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว แต่นั้นจึงไปยังกรุงราชคฤห์ เที่ยว

บิณฑบาต กลับจากบิณฑบาตภายหลังอาหาร จึงกราบทูลความนั้น

แด่พระศาสดา. พระศาสดาทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปบัติเหตุ

แล้วแสดงธรรม. พระเทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่บริษัทผู้ถึงพร้อม

แล้วแล.

อรรถกถาปูติมุขเปตวัตถุที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ

ว่าด้วยบุคคลไม่ตระหนี่

[๘๙] บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ ควรทำเหตุอย่างใด

อย่างหนึ่ง คือปรารภถึงบุรพเปตชน เทวดาผู้

สิงอยู่ในเรือน หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษา

โลก ผู้มียศ คือ ท้าวธตรฐ ๑ ท้าววิรุฬหก ๑

ท้าววิรูปักษ์ ท้าวกุเวร ๑ ให้เป็นอารมณ์แล้ว

พึงให้ทาน ท่านเหล่านั้นเป็นอันบุคคลได้บูชา

แล้ว และทายกก็ไม่ไร้ผล ความร้องไห้ ความ

เศร้าโศก หรือความร่ำไห้อย่างอื่น ไม่ควรทำเลย

เพราะความร้องไห้เป็นต้นนั้น ย่อมไม่เป็น

ประโยชน์แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลายคง

ตั้งอยู่ตามธรรมดาของตน ๆ อันทักษิณาทานนี้

ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ให้แล้ว ย่อม

สำเร็จประโยชน์แก่บุรพเปตชนโดยทันที สิ้น

กาลนาน.

จบ ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

อรรถกถาปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุที่ ๔

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร กรุง-

สาวัตถี ทรงปรารภทานของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี ได้ตรัสคำนี้

เริ่มต้นว่า ยงฺกิญฺจารมฺมณ กตฺวา ดังนี้ :-

ได้ยินว่า พี่เลี้ยงของเด็กหญิง ธิดาของลูกสาวท่าน

อนาถปิณฑิกคฤหบดี ได้ให้ตุ๊กตาแป้งด้วยสั่งว่า นี้ลูกสาวของเจ้า

เจ้าจงอุ้มมันไปเล่นเถอะ. เด็กหญิงนั้นเกิดความเข้าใจในตุ๊กตาแป้ง

นั้นว่า เป็นลูกสาว. ครั้นวันหนึ่ง เมื่อเธออุ้มตุ๊กตานั้นเล่น ตุ๊กตา

ตกแตก เพราะความเลินเล่อ. แต่นั้นเด็กหญิงจึงร้องร่ำไห้ ลูกสาว

เราตายแล้ว. เธอกำลังร้องไห้อยู่ คนในเรือนบางคน ก็ไม่สามารถ

จะชี้แจงให้เธอเข้าใจได้. ก็สมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งบน

ปัญญัตาอาสน์ ในเรือนของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี. และท่าน

มหาเศรษฐี ก็ได้นั่งอยู่ ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า. หญิงพี่เลี้ยง

ได้พาเด็กหญิงนั้นไปหาท่านเศรษฐี. ท่านเศรษฐีเห็นเข้า จึงกล่าวว่า

เด็กหญิงนี้ร้องไห้ เพื่ออะไรกัน. พี่เลี้ยงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ท่าน

เศรษฐีแล้ว. เศรษฐีได้ให้เด็กหญิงนั้น นั่งบนตักแล้วให้เข้าใจว่า

ฉันจะให้ทานอุทิศแก่ลูกของหนู ดังนี้แล้วจึงกราบทูลแต่พระศาสดา

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะให้ทาน อุทิศแก่

ตุ๊กตาแป้ง ซึ่งเป็นลูกสาวของหลานของข้าพระองค์, ขอพระองค์

พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป จงรับทานนั้นของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้

เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

ครั้นในวันที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป

เสด็จไปยังเรือนของท่านเศรษฐี เสวยพระกระยาหารแล้ว เมื่อจะ

ทำอนุโมทนา จึงได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ ควรทำเหตุอย่างใด

อย่างหนึ่ง คือ ปรารภถึงบุรพเปตชน เทวดาผู้สิง

อยู่ในเรือน หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลก

ผู้มียศ คือท้าว ธตรฐ ๑ วิรุฬหก ๑ วิรูปักษ์ ๑

และท้าวกุเวร ๑ ให้เป็นอารมณ์แล้วพึงให้ทาน

ท่านเหล่านั้นเป็นผู้อันบุคคลบูชาแล้ว ทั้งทายก

ก็ไม่ไร้ผล ความร้องไห้ ความเศร้าโศกหรือความ

ร่ำไห้อย่างอื่น ไม่ควรทำเลย เพราะความร้องไห้

เป็นต้นนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว

ญาติทั้งหลาย คงตั้งอยู่ตามธรรมดาของตน ๆ

อันทักษิณาทานนี้ ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วใน

พระสงฆ์ให้แล้ว ย่อมสำเร็จประโยชน์ โดย

ฉับพลัน แก่บุรพเปตชนนั้น สิ้นกาลนาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยงฺกิญฺจารมฺมณ กตฺวา ความว่า

ปรารภ คือ อุทิศ เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาเหตุมีเหตุที่เป็น

มงคลเป็นต้น. บทว่า ทชฺชา แปลว่า พึงให้. บทว่า อมจฺฉรี ความว่า

ชื่อว่า อมัจฉรี เพราะไม่มีความตระหนี่ อันมีลักษณะไม่อดทน

ต่อสมบัติของตนที่ทั่วไปกับผู้อื่น, อธิบายว่า ผู้มีปกติบริจาค ทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

มลทินแห่งจิตมีมัจฉริยะและโลภะเป็นต้น ให้ห่างไกลแล้ว พึงให้ทาน.

บทว่า ปุพฺพเปเต จ อารพฺภ ได้แก่ อุทิศบุรพเปตชน. มีวาจาประกอบ

ความว่า บทว่า วตฺถุเทวดา ปรารภเทวดาผู้สิงอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ

มีที่เรือนเป็นต้น. ด้วยคำว่า อถ วา นี้ ทรงแสดงว่า ปรารภเปตชน

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีเทวดาและมนุษย์เป็นต้น แม้เหล่าอื่นแล้ว พึง

ให้ทาน.

ในคำเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเทพ

ผู้ปรากฏบางพวกในบรรดาเทพเหล่านั้นก่อน จึงตรัสว่า จตฺตาโร จ

มหาราเช เมื่อจะระบุเทพเหล่านั้น โดยชื่ออีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า

กุเวร ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุเวร ได้แก่ท้าวเวสสวรรณ.

บทว่า ธตรฏ เป็นต้น เป็นชื่อของท้าวโลกบาลทั้ง ๓ ที่เหลือ.

บทว่า เต เจว ปูชิตา โหนฺติ ความว่า ก็ท้าวมหาราชเหล่านั้น และ

บุรพเปตชนและวัตถุเทวดา เป็นผู้อันเขานับถือ ด้วยการทำอุทิศ.

บทว่า ทายกา จ อนิปฺผลา ความว่า และทายกผู้ให้ทาน ย่อมไม่ไร้ผล

เพราะเหตุเพียงการอุทิศแก่เปตชนเหล่าอื่น ทั้งเป็นผู้มีส่วนแห่ง

ผลทานของตนเหมือนกัน.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า การร้องไห้เป็นต้นนั้น ของเหล่านั้น

ร้องไห้ ร่ำไร เศร้าโศก เพราะญาติของตนตายไป ไม่มีประโยชน์

เป็นแต่เพียงทำตนให้เดือดร้อนเท่านั้น จึงตรัสคาถาว่า น หิ รุณฺณ วา

ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุณฺณ แปลว่า ร้องไห้

คือหลั่งน้ำตา. บาลีที่เหลือพึงนำมาเชื่อเข้าด้วยบทว่า น หิ กาตพฺพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

บทว่า โสโก ได้แก่ ความเศร้าโศก คือ ความเร่าร้อนภายในใจ,

อธิบายว่า ความหม่นไหม้ในภายใน. บทว่า ยา จญฺา ปริเทวนา

ได้แก่ ความพิไรรำพรรณอย่างอื่น จากการร้องไห้และความ

เศร้าโศกอย่างหนึ่ง ได้แก่ การบ่นเพ้อด้วยวาจามีอาทิว่า ลูกคนเดียว

อยู่ไหน ? อธิบายว่า แม้การบ่นเพ้อด้วยวาจานั้น ก็ไม่ควรทำ. วา

ศัพท์ในบททั้งปวง เป็นวิกัปปัตถะ แปลว่า บ้าง, หรือ, ก็ดี,. บทว่า

น ต เปตสฺส อตฺถาย ความว่า เหตุมีอาทิว่า การร้องไห้ก็ดี ความ

เศร้าโศกก็ดี การร่ำไรก็ดี ทั้งหมดนั้น ไม่มีประโยชน์ ไม่มีอุปการะ

แก่ผู้ละไปแล้ว คือ ผู้ตายไปแล้ว ฉะนั้น เหตุมีการร้องไห้เป็นต้นนั้น

จึงไม่ควรทำ, อธิบายว่า แม้ถึงอย่างนั้น พวกญาติก็ไม่รู้เรื่องด้วยคง

ดำรงอยู่อย่างนั้น.

พระคาสดาครั้นทรงแสดงถึงเหตุแห่งทุกข์ธรรมมีการร้องไห้

เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทักษิณาที่ทายกปรารภ

บุรพเปรตเป็นต้น แล้วถวายแด่พระสงฆ์ว่าเป็นสิ่งมีประโยชน์

จงตรัสคาถาว่า อยญฺจ โข ทกฺขิณา ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

ด้วยบทว่า อย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงถึงทานที่ทายก

ให้แล้วนั้น โดยประจักษ์จึงตรัสไว้. คัพท์ เป็น พยติเรกัตถะ

แปลว่า อัน. ด้วย ศัพท์นั้น ย่อมส่องอรรถอันพิเศษเฉพาะที่

กำลังจะกล่าวว่า ทักษิณานี้ หาได้เป็นเหมือนเหตุมีการร้องไห้

เป็นต้น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ใคร ๆ ผู้ละไปแล้วไม่ อันทักษิณานี้

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้จะไปแล้วนั้น ตลอดกาลนาน. ศัพท์ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

โข ใช้ในอรรถว่า อวธารณะ แปลว่า ห้ามเนื้อความอื่น. บทว่า

ทกฺขิณา ได้แก่ ทาน. บทว่า สงฺฆมฺหิ สุปติฏฺิตา ได้แก่ ตั้งไว้ดีแล้ว

ในพระสงฆ์ผู้เป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยม. บทว่า ทีฆรตฺต หิตายสฺส

ได้แก่ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เปรตนั้น ตลอดกาลนาน. บทว่า

านโส อุปกปฺปติ ได้แก่ ย่อมสำเร็จในขณะนั้นนั่นเอง. อธิบายว่า

ไม่ใช่ในกาลอื่น. จริงอยู่ นี้เป็นธรรมดาในข้อนั้นว่า หากเปรต

อนุโมทนาทาน ในเมื่อทายกถวายทานอุทิศเปรต เปรตก็จะหลุด

พ้นไปด้วยผลแห่งทานนั้น ในขณะนั้นนั่นเอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงธรรมอย่างนี้แล้ว ทรง

กระทำให้มหาชนมีใจยินดียิ่งในทานที่อุทิศเปรตแล้ว เสด็จลุกจาก

อาสนะ หลีกไป. วันรุ่งขึ้น ภริยาเศรษฐี และพวกญาติที่เหลือ

เมื่อคล้อยตามเศรษฐี จึงให้มหาทานเป็นไปประมาณ ๓ เดือน

ด้วยอาการอย่างนี้.

ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร ภิกษุ

ทั้งหลาย จึงไม่ไปเรือนของหม่อมฉัน ประมาณ ๑ เดือนแล้ว.

เมื่อพระศาสดา ตรัสบอกเหตุนั้นแล้ว ฝ่ายพระราชาเมื่อจะทรง

คล้อยตามเศรษฐี จึงให้มหาทานเป็นไปแก่ภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระ-

พุทธเจ้าเป็นประธาน. ชาวเมืองเห็นดังนั้น เมื่อจะอนุวัตรตาม

พระราชา จึงให้มหาทานเป็นไปประมาณ ๑ เดือน. ชาวเมืองให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

มหาทาน ซึ่งมีตุ๊กตาแป้งเป็นเหตุเป็นไปตลอด ๒ เดือน ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตให้พรแก่ผู้ให้ทานแล้วอุทิศให้ตน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระเจ้าพิมพิสารว่า :-

[๙๐] เปรตทั้งหลายพากันมา สู่เรือนของตน

แล้วยืนอยู่ภายนอกฝาเรือนที่ตรอก และทาง

๓ แพร่ง และยืนอยู่ที่ใกล้บานประตู เมื่อข้าว

น้ำ ของกิน ของบริโภคเป็นอันมาก เขาเข้าไป

ตั้งไว้แล้ว แต่ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้นระลึก

ไม่ได้ เพราะกรรมของสัตว์เป็นปัจจัย เหล่าชน

ผู้อนุเคราะห์ ย่อมให้น้ำและโภชนะอันสะอาด

ประณีต สมควรแก่ญาติทั้งหลายตามกาล ดุจทาน

ที่มหาบพิตรทรงถวายแล้วฉะนั้น ด้วยเจตนาอุทิศ

ว่า ขอทานนี้แลจงสำเร็จผลแก่ญาติทั้งหลายของ

เรา ขอชาติทั้งหลายของเราจงเป็นสุขเถิด ส่วน

เปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้น พากันมาชุมนุมในที่นั้น

เมื่อข้าวและน้ำมีอยู่เพียงพอ ย่อมอนุโมทนาโดย

เคารพว่า เราได้สมบัติเพราะเหตุแห่งชาติเหล่าใด

ขอญาติของเราเหล่านั้นจงมีชีวิตอยู่ยืนนาน การ

บูชาเป็นอันพวกญาติได้ทำแล้วแก่เราทั้งหลาย

และญาติทั้งหลายผู้ให้ก็ไม่ไร้ผล เพราะในเปต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

วิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรม ไม่มีโครักขกรรม การ

ค้าขายเช่นนั้นก็ไม่มี การซื่อการขายด้วยเงินก็

ไม่มี สัตว์ผู้ทำกาละจะไปในปิตติวิสัยนั้นย่อม

ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยทานที่ญาติหรือมิตรให้

แล้วแต่มนุษยโลกนี้ น้ำฝนอันตกลงในที่ดอน

ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานอันญาติหรือมิตร

ให้แล้วจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่เปรต

ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ห้วงน้ำใหญ่เต็มแล้ว

ย่อมยังสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด ทานอันญาติ

หรือมิตรให้แล้วแต่มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผล

แก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน กุลบุตรเมื่อ

หวนระลึกถึงอุปการะที่ท่านทำแล้วในกาลก่อน

ว่า คนโน้นให้สิ่งของแก่เรา คนโน้นได้ทำอุปการะ

แก่เรา ญาติ มิตรและสหายได้ให้สิ่งของแก่เรา

และได้ช่วยทำกิจของเรา ดังนี้ พึงให้ทักษิณาแก่

เปรตทั้งหลาย ด้วยว่าความร้องไห้ก็ดี ความ

เศร้าโศกก็ดี ความร่ำไร อย่างอื่นก็ดี ไม่ควรทำเลย

เพราะความร้องไห้เป็นต้นนั้น ไม่เป็นประโยชน์

แก่เปรตทั้งหลาย ญาติทั้งหลายย่อมดำรงอยู่อย่าง

นั้น อันทักษิณานี้แลที่ให้แล้ว เข้าไปตั้งไว้ดีแล้ว

ในสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่เปรตนั้นโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

พลัน สิ้นกาลนาน ญาติธรรมมหาบพิตรได้แสดง

ให้ปรากฏแล้ว การบูชาอันยิ่งเพื่อเปรตทั้งหลาย

มหาบพิตรทรงทำแล้ว และกำลังกายมหาบพิตรได้

เป็นให้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว บุญมีประมาณไม่

น้อยมหาบพิตรได้ทรงขวนขวายแล้ว.

จบ ติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕

อรรถกถาติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕

พระศาสดาเมื่อทรงประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ ทรงปรารภ

พวกเปรตเป็นอันมาก จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ติโรกุฑฺเฑสุ

ติฏฺนฺติ ดังนี้.

ในข้อนั้น มีกถาพิศดารดังต่อไปนี้ :- ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัททกัป

นี้ ได้มีนครหนึ่ง ชื่อว่า กาสี. พระราชาทรงประนามว่า ชัยเสน

ทรงครองราชสมบัติในพระนครนั้น. พระองค์ได้มีพระราชเทวี

ทรงพระนามว่า สิริมา. พระโพธิสัตว์นามว่า ผุสสะ บังเกิดใน

พระครรภ์ของพระนางแล้วตรัสรู้ พระสัมมาสัมโพธิญาณโดยลำดับ.

พระเจ้าชัยเสนเกิดความเห็นแก่ตัวขึ้นว่า บุตรของเรา ออกมหา-

ภิเนกษกรมเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นของเรา พระธรรม

เป็นของเรา พระสงฆ์ก็เป็นของเรา ดังนี้แล้ว ทรงอุปัฏฐากด้วย

พระองค์เองทุก ๆ กาล ไม่ทรงให้โอกาสแก่ชนเหล่าอื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

พี่น้อง ๓ คน ผู้ต่างมารดากัน เป็นพระกนิฐภาดา ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า พากันคิดว่า ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ย่อมอุบัติเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกทั้งมวล มิใช่เพื่อประโยชน์

เฉพาะบุคคลผู้เดียว และพระบิดาของพวกเราก็ไม่ย่อมให้โอกาส

แก่ชนเหล่าอื่นเลย ทำอย่างไรหนอ พวกเราจะพึงได้อุปัฏฐาก

พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. พี่น้องทั้ง ๓ พระองค์นั้นได้มี

ความคิดอย่างนี้ว่า เอาเถิด พวกเราจะทำอุบายสักอย่างหนึ่งให้ได้.

พี่น้อง ๓ พระองค์เหล่านั้น ได้สร้างสถานการณ์ชายแดน ประหนึ่ง

ว่า เกิดการปั้นป่วน. แต่นั้น พระราชาทรงสดับว่า แถบชายแดน

เกิดความปั่นป่วน จึงได้ส่งพระโอรสทั้ง ๓ พระองค์ไปปราบ

สงบจันตชนบท. พี่น้อง ๓ พระองค์เหล่านั้น ไปปราบให้ปัจจันตชนบท

สงบแล้วกลับมา. พระราชาทรงพอพระทัย ได้ประทานพรว่า

พวกลูกปรารถนาสิ่งใด ก็จงถือเองสิ่งนั้นเถิด. พี่น้องทั้ง ๓ พระองค์

นั้น กราบทูลว่า ข้าพระองค์ปรารถนาจะอุปัฏฐากพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. พระราชาตรัสว่า เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้านี้เสีย เธอจง

เลือกเอาอย่างอื่นเถิด. พี่น้อง ๓ พระองค์นั้นกราบทูลว่า พวก

ข้าพระองค์ไม่ต้องการสิ่งอื่น. พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น พวก

เธอจงกำหนดเวลามาแล้วถือเอาเถิด. พี่น้อง ๓ พระองค์นั้นทูลขอ

ถึง ๗ ปี พระราชาไม่ทรงอนุญาต. พี่น้อง ๓ พระองค์กราบทูลว่า

ขอ ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี ๗ เดือน ๖ เดือน ๕ เดือน

๔ เดือน จนกระทั่งขอเพียง ๓ เดือน ด้วยประการฉะนี้. ในกาลนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

พระราชาได้ทรงอนุญาตว่า จงถือเอาเถิด.

พี่น้อง ๓ พระองค์นั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะอุปัฏฐาก

พระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๓ เดือน, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงรับการอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนนี้

แก่ข้าพระองค์เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับด้วยดุษฎีภาพ.

พี่น้อง ๓ พระองค์นั้น จึงส่งลิขิตไปถึงนายเสมียนในชนบทของตนว่า

พวกเราพึงอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๓ เดือนนี้, ขอท่าน

จงจัดแจงสัมภาระสำหรับอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกอย่าง

เริ่มตั้งแต่วิหารไป. นายเสมียนนั้นได้จัดแจงทุกอย่างแล้ว ส่งลิขิต

ตอบไป. พี่น้อง ๓ พระองค์นั้น ต่างนุ่งผ้ากาสายะ พร้อมกับบุรุษ

๑,๐๐ คน ผู้ทำการขวนขวาย ได้พากันอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า

และภิกษุสงฆ์โดยเคารพ นำไปยังชนบท มอบถวายวิหารให้อยู่

จำพรรษา.

บุตรคฤหบดีคนหนึ่ง ผู้เป็นภัณฑาคาริกของพี่น้อง ๓ พระองค์

นั้น พร้อมด้วยภริยา เป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส. เขาได้ถวาย

ทานวัตรแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานโดยเคารพ.

นายเสมียนในชนบท พาเขาไปพร้อมกับชาวชนบทประมาณ

๑๑,๐๐๐ คน ได้ให้ทานเป็นไปโดยเคารพทีเดียว. ในคนเหล่านั้น

ชาวชนบทบางพวก ได้เกิดขัดใจกันขึ้น. เขาเหล่านั้น จึงพากัน

ทำอันตรายแก่ทาน พากันกินไทยธรรมด้วยตนเอง และเอาไฟเผา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

โรงครัว. ราชบุรุษผู้ปรารถนาแล้วก็พากันทำสักการะแด่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้า นำพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้เบื้องหน้า แล้วกลับ

มาหาบิดาตามเดิม. บรรดาท่านเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ไปแล้ว ก็ปรินิพพาน. ส่วนราชบุตร เสมียนในชนบท และผู้เป็น

ภัณฑาคาริกพร้อมด้วยบริษัททำกาละแล้ว ไปบังเกิดในสวรรค์

ตามลำดับ. เหล่าชนผู้ขัดใจกัน ก็พากันเกิดในนรก. เมื่อชนทั้ง ๒

พวกนั้น จากสวรรค์เข้าถึงสวรรค์ จากนรกเข้าถึงนรก ด้วยอาการ

อย่างนี้ ผ่านไป ๙๒ กัป.

ครั้นในภัททกัปนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

พระนามว่า กัสสปะ คนผู้ขัดใจกันเหล่านั้น เกิดในพวกเปรต.

ในกาลนั้น พวกมนุษย์พากันให้ทานอุทิศเพื่อประโยชน์แก่พวกเปรต

ผู้เป็นญาติของตนว่า ขอทานที่ให้นี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติของ

พวกเราเถิด. เปรตเหล่านั้น ได้เสวยสมบัติ. ลำดับนั้น เปรตเหล่านี้

ได้เห็นดังนั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า ทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พวกข้าพระองค์จะพึงได้สมบัติเห็นปานนี้

หรือไม่หนอ ? พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า บัดนี้ ท่านยังไม่ได้

แต่ในอนาคต จักมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า โคตม

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จักมีพระราชาทรง

พระนามว่า พิมพิสาร, ใน ๙๒ กัปแต่ภัททกัปนี้ พระองค์ได้เป็น

ญาติของพวกท่าน พระองค์ได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้ากลัวจัก

อุทิศแก่พวกท่าน. พวกท่านจักได้ในกาลนั้น. ได้ยินว่า เมื่อพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

กัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแล้วอย่างนี้ พระดำรัสนั้น ได้เป็น

เหมือนตรัสแก่พวกเปรตเหล่านั้นว่า จักได้ในวันพรุ่งนี้.

ครั้นพุทธันดรหนึ่งผ่านไป พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา

ทรงอุบัติขึ้นแล้ว. ราชบุตรทั้ง ๓ แม้เหล่านั้น พร้อมด้วยบุรุษ

๑,๐๐๐ คน ยุติจากเทวโลกแล้ว เกิดในสกุลพราหมณ์ ในมคธรัฐ

พากันบวชเป็นฤาษีตามลำดับ ได้เป็นชฎิล ๓ พี่น้อง ณ คยาสีส-

ประเทศ. นายเสมียนในชนบท ได้เป็นพระเจ้าพิมพิสาร คฤหบดีบุตร

ผู้เป็นขุนคลัง ได้เป็นเศรษฐี ชื่อว่า วิสาขะ. ภริยาของคฤหบดีบุตร

นั้น ได้เป็นธิดาของเศรษฐี นามว่าธรรมทินนา. ฝ่ายคนนอกนั้น

บังเกิดเป็นบริวารของพระราชานั่นเอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ของพวกเรา ก็ทรงอุบัติขึ้นในโลก

ล่วงไป ๗ สัปดาห์ ก็เสด็จมายังกรุงพาราณสีโดยลำดับ ทรง

ประกาศธรรมจักร ทรงแนะนำตั้งต้นแต่พระปัญจวัคคีย์ จนถึง

ชฎิล ๓ พี่น้อง พร้อมด้วยบริวาร ๑,๐๐๐ คน แล้วได้เสด็จไปยัง

กรุงราชคฤห์. ก็ในบรรดาชนเหล่านั้น พระองค์ทรงให้พระเจ้า

พิมพิสาร ผู้เข้าไปเฝ้าในวันนั้นนั่นเอง พร้อมกับพราหมณ์และ

คฤหบดีชาวอังคะและมคธะ ๑๑๐,๐๐๐ คน ให้ดำรงอยู่ในโสดา-

ปัตติผลแล้ว. ลำดับนั้น พระราชาทรงนิมนต์ด้วยภัตต์เพื่อเสวย

พระกระยาหารในวันพรุ่งนี้ พระองค์ทรงรับแล้วในวันที่ ๒ อัน

ท้าวสักกะจอมเทพผู้แปลงเพศเป็นมาณพน้อยนำเสด็จไป ชมเชย

ด้วยพระคาถามีอาทิอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงฝึกพระองค์

แล้ว พ้นวิเศษแล้ว มีวรรณะเพียงดังว่าลิ่มทอง

สิงคี พร้อมด้วยปุราณชฎิล ผู้ฝึกตนแล้ว ผู้พ้น

วิเศษแล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ดังนี้.

จึงเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ ทรงรับมหาทานในพระ-

ราชนิเวศน์. ส่วนพวกเปรตเหล่านั้น ได้พากันยืนล้อมด้วยหวังใจว่า

บัดนี้ พระราชาจักอุทิศทานแก่พวกเรา. บัดนี้พระราชาจักอุทิศ.

พระราชาทรงถวายทานแล้ว ทรงพระดำริเฉพาะสถานที่

ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า จะพึง

ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ดังนี้ จึงไม่ได้อุทิศทานนั้นแก่ใคร ๆ.

พวกเปรตเมื่อไม่ได้ทานนั้น อย่างนั้น ก็สิ้นหวัง ในเวลากลางคืน

จึงพากันส่งเสียงร้องอันน่าสะพึงกลัวอย่างยิ่ง ใกล้พระราชนิเวศน์.

พระราชาทรงถึงความสังเวชอันน่าสะพึงกลัว น่าหวาดเสียว เมื่อ

ราตรีผ่านไปจึงได้กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์

ได้สดับเสียงเห็นปานนี้, จักมีเหตุอะไรแก่ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าทรงกลัวเลยมหาบพิตร จักไม่มี

ความชั่วช้าลามกอะไรแก่พระองค์ดอก อนึ่ง ญาติเก่าก่อนของ

พระองค์ที่เกิดในพวกเปรตก็มี, ญาติเหล่านั้น หวังจะพบเฉพาะ

พระองค์แต่ผู้เดียวถึงพุทธันดรหนึ่ง ท่องเที่ยวไปด้วยหวังใจว่า

พระองค์ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้ว จักอุทิศแก่พวกเราบ้าง

เพราะพระองค์ถวายท่านเมื่อวันวานแล้ว มิได้อุทิศจึงพากันสิ้นหวัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

ส่งเสียงร้องเห็นปานนั้น. พระราชาตรัสถามว่า เมื่อหม่อมฉันถวาย

ทานแม้ในบัดนี้ เปรตเหล่านั้นจะพึงได้รับหรือ พระเจ้าข้า ? พระ-

ศาสดาตรัสว่า ได้ มหาบพิตร. พระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้นขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดรับทานของ

ข้าพระองค์เพื่อเสวยในวันนี้, ข้าพระองค์จักอุทิศแก่พวกเปรต

เหล่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับนิมนต์ด้วยดุษฎีภาพ.

พระราชาเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ ทรงให้จัดแจงมหาทาน

แล้ว ให้กราบทูลกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ประทับนั่งบน

อาสนะที่บรรจงจัดไว้. เปรตเหล่านั้นไปด้วยหวังว่า วันนี้ พวกเรา

จะพึงได้อะไรเป็นแน่ ดังนี้ จึงได้พากันยืนอยู่ในที่ต่าง ๆ มีภายนอก

ฝาเรือนเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงการทำโดยที่พวกเปรต

เหล่านั้นทั้งหมดมาปรากฏแด่พระราชา. พระราชาเมื่อจะทรงหลั่ง

น้ำทักษิโณทก จึงอุทิศว่า ทานที่ข้าพเจ้าให้นี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติ

เถิด. ในบัดดลนั้นเอง สระโบกขรณีอันดาระดาษด้วยกลุ่มดอกกมล

ได้บังเกิดแก่พวกเปรต. เปรตเหล่านั้นพากันอาบและดื่มในสระ

โบกขรณีนั้น ได้สงบระงับความกระวนกระวาย ความลำบาก และ

ความกระหาย ได้เป็นผู้มีสีดั่งทองคำ. พระราชา ถวายข้าวยาคู

ของเคี้ยว และของบริโภคแล้วทิศให้. ขณะนั้นนั่นเอง ข้าวยาคู

ของเคี้ยวและอาหารอันเป็นทิพย์ก็บังเกิดแก่เปรต เหล่านั้น. เปรต

เหล่านั้นพากันบริโภคข้าวยาคูเป็นต้นนั้นแล้ว ก็ได้เป็นผู้มีอินทรีย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

กระปรี้กระเปร่า. ลำดับนั้น พระองค์ได้ถวายผ้า, ที่นอน, และที่นั่ง

แล้วอุทิศให้. เครื่องประดับมีชนิดต่าง ๆ เช่น ผ้า ปราสาท เครื่องลาด

และที่นอน เป็นต้น อันเป็นทิพย์ ได้บังเกิดแก่เปรตเหล่านั้น. และ

สมบัติของเปรตเหล่านั้นทั้งหมดนั้น ได้ปรากฏแก่พระราชา โดย

ประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานไว้. พระราชาทรง

ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ทรงพอพระทัยยิ่งนัก. ลำดับนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า เสวยพระกระยาหารแล้ว ทรงห้ามภัตรแล้ว เพื่อจะ

ทรงอนุโมทนาแก่พระเจ้าพิมพิสาร จึงได้ตรัสติโรกุฑฑเปตวัตถุว่า

เปรตทั้งหลายพากันมาเรือนของตน

แล้วยืนอยู่ภายนอกฝาเรือน ที่ตรอก กำแพง และ

ทางสามแพร่ง และยืนอยู่ที่ใกล้บานประตู เมื่อ

ข้าว น้ำ ของกิน ของบริโภคเพียงพอ เขาเข้าไป

ตั้งไว้แล้ว แต่ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้นระลึก

ไม่ได้ เพราะกรรมของสัตว์เป็นปัจจัย เหล่าชน

ผู้อนุเคราะห์ ย่อมให้น้ำและโภชนะอันสะอาด

ประณีต สมควรแก่ญาติทั้งหลายตามกาล ดุจทาน

ที่มหาบพิตรถวายแล้วฉะนั้น ด้วยเจตนาอุทิศว่า

ขอทานนี้แล จงสำเร็จผล แก่ญาติทั้งหลายของ

เรา ขอญาติทั้งหลายของเรา จงเป็นสุขเถิด ส่วน

เปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้น พากันมาชุมนุมในที่นั้น

เมื่อข้าวและน้ำมีอยู่เพียงพอ ย่อมอนุโมทนาโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

เคารพว่า เราได้สมบัติเพราะเหตุแห่งญาติเหล่าใด

ขอญาติของเราเหล่านั้น จงมีอายุยืนนาน การ

บูชาเป็นอันพวกญาติได้ทำแล้ว แก่เราทั้งหลาย

และญาติทั้งหลาย ผู้ให้ก็ไม่ไร้ผล เพราะในเปต

วิสัยนั้น กสิกรรมและโครักขกรรมไม่มี การ

ค้าขายเช่นนั้นก็ไม่มี การซื้อการขายด้วยเงินตรา

ก็ไม่มี สัตว์ทั้งหลายผู้ทำกาละละไปแล้วในเปรต

วิสัยนั้น ย่อมยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยทานที่

ทายกให้แล้ว จากมนุษยโลกนี้ น้ำฝนอันตกลง

ในที่ดอนย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานอันญาติ

หรือมิตรให้แล้ว จากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผล

แก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ห้วงน้ำใหญ่

เต็มแล้วย่อมยังสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด ทานอัน

ญาติหรือมิตรให้แล้ว แต่มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จ

ผลแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน กุลบุตร

เมื่อหวนระลึกถึงอุปการคุณที่ท่านทำแล้วในกาล

ก่อนว่า คนโน้นได้ให้สิ่งของแก่เราแล้ว คนโน้น

ได้ทำอุปการคุณแก่เราแล้ว ญาติมิตรและสหาย

ได้ให้สิ่งของแก่เราและได้ช่วยทำกิจของเรา ดังนี้

พึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลาย ด้วยว่า การ

ร้องไห้ก็ดี ความเศร้าโศกก็ดี การพิไรร่ำไรก็ดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

ไม่ควรทำเลย เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น ไม่

เป็นไปเพื่อประโยชน์ แก่เปรตทั้งหลาย ญาติ

ทั้งหลายก็คงดำรงอยู่อย่างนั้น อันทักษิณานี้แล

ที่ให้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ ย่อมสำเร็จเพื่อ

ประโยชน์แก่เปรตนั้นโดยพลัน สิ้นกาลนาน.

ญาติธรรม มหาบพิตร ได้แสดงให้ปรากฏแล้ว

การบูชาอันยิ่งเพื่อเปรตทั้งหลาย มหาบพิตรก็

ทรงกระทำแล้ว และพลังกายมหาบพิตรก็ได้เพิ่ม

ให้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว บุญมีประมาณไม่น้อย

มหาบพิตรก็ได้ทรงขวนขวายแล้วแล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติโรกุฑฺเฑสุ ได้แก่ ที่ส่วนอื่น

ของฝา (เรือน). คำว่า ติฏฺนฺติ นี้ เป็นคำกำหนดการยืน โดย

ปฏิเสธการนั่งเป็นต้น, อธิบายว่า ยืนอยู่ภายนอกประตูบ้าน กำแพง

และฝาเรือน. บทว่า สนธิสงฺฆาฏเกสุ จ ได้แก่ ที่ตรอก ๔ แพร่ง

และที่ทาง ๓ แพร่ง. บทว่า สนฺธิ ได้แก่ ตรอก ๔ แพร่ง. เรียก

ที่ต่อเรือน ที่ต่อฝา และที่ต่อหน้าต่างก็มี. บทว่า สิงฺฆาฏกา ได้แก่

ตรอก ๓ แพร่ง. บทว่า ทฺวารพาหาสุ ติฏฺนฺติ ได้แก่ ยืนพิงฝา

ประตูเมืองและประเรือน. บทว่า อาคนฺตฺวาม สก ฆร ความว่า

เรือนของญาติในครั้งก่อนก็ดี เรือนที่ตนครอบครอง โดยความเป็น

เจ้าของก็ดี ชื่อว่าเรือนของตน เพราะเหตุที่พวกเปรตเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

มายังเรือนแม้ทั้งสองชนิดนั้น ด้วยความเข้าใจว่าเรือนของตน ฉะนั้น

จึงตรัสว่า มายังเรือนของตน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแก่พระราชาถึงพวกเปรต

เป็นอันมาก ผู้มีรูปแปลกไม่น่าดู ทั้งดูน่าสะพึงกลัวอย่างยิ่ง ผู้เสวย

ผลของความริษยาและความตระหนี่ ผู้มายังพระราชนิเวศน์ของ

พระเจ้าพิมพิสาร แม้ตนจะไม่เคยครอบครองอยู่ในกาลก่อน ด้วย

สำคัญว่าเป็นเรือนของตน เพราะเป็นเรือนของญาติในกาลก่อน

แล้ว ยืนอยู่ภายนอกฝาเรือนเป็นต้น ด้วยประการอย่างนี้ จึงตรัส

คาถาว่า ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺนฺติ เมื่อจะทรงแสดงซ้ำว่า กรรมที่

พวกเปรตเหล่านั้นทำเป็นของโหดร้าย จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า ปหูเต

อนฺนปานมฺหิ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหูเต แปลว่า ไม่น้อย คือ มาก,

อธิบายว่า เพียงพอแก่ความต้องการ. จริงอยู่ แปลง อักษร เป็น

อักษรก็ได้ เหมือนในประโยคทีมีอาทิว่า ปหุ สนฺโต น ภราติ

สัปบุรุษเป็นจำนวนมาก ย่อมไม่เต็ม (ด้วยความรู้). ส่วนอาจารย์

บางพวกกล่าวว่า พหุเก ดังนี้. ก็นั่น เป็นการกล่าวด้วยความเลินเล่อ.

บทว่า อนฺนปานมฺหิ แปลว่า เมื่อข้าวและน้ำ. บทว่า ขชฺชโภชฺเช

แปลว่า เมื่อของเคี้ยวและของบริโภค. ด้วยคำนี้ ทรงแสดงอาหาร

ทั้ง ๔ ชนิดคือ ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว และของลิ้ม. บทว่า

อุปฏฺิเต แปลว่า เข้าไปตั้งไว้ คือ ตระเตรียมไว้, อธิบายว่า

จัดแจงไว้. บทว่า น เตส โกจิ สรติ สตฺตาน ความว่า ใคร ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

จะเป็นมารดา บิดา บุตร หรือหลานก็ตาม ของสัตว์เหล่านั้น คือ

ผู้เกิดในเปตวิสัยระลึกไม่ได้. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า

เพราะกรรมเป็นปัจจัย, อธิบายว่า เพราะกรรมคือความตระหนี่

อันต่างโดยการไม่ให้และการปฏิเสธการให้เป็นต้น ที่ตนทำไว้

เป็นเหตุ. กรรมนั้นแหละ ทำให้พวกญาติเหล่านั้น ระลึกไม่ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความไม่มีแม้แต่การ

หวนระลึก ของพวกญาติเพราะผลกรรมของพวกเปรต ผู้หวังเฉพาะ

ต่อพวกญาติ ในเมื่อข้าวและน้ำเป็นต้น แม้มีประมาณไม่น้อย ก็มีอยู่

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงสรรเสริญทานที่พระราชาถวาย

อุทิศพวกญาติผู้เกิดในเปตวิสัย จึงตรัสคาถาที่ ๓ ว่า เอว ททนฺติ

าตีน ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว เป็นคำอุปมา. บทว่า เอว นั้น

เชื่อมความได้ ๒ ประการ คือ บรรดาญาติบางพวก แม้ที่ระลึกไม่ได้

เพราะกรรมของสัตว์เหล่านั้นเป็นปัจจัย ญาติบางพวกผู้อนุเคราะห์

อย่างนั้น ก็ย่อมให้แก่พวกญาติ และคือพวกญาติผู้อนุเคราะห์ ย่อม

ให้น้ำและข้าวอันสะอาด ประณีต อันสมควรตามกาลแก่ญาติทั้งหลาย

เหมือนทานที่มหาบพิตรถวายแล้วฉะนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

ททนฺติ แปลว่า ย่อมให้ คือ อุทิศให้ มอบให้. บทว่า าตีน ได้แก่

ชนผู้เกี่ยวเนื่องกัน ทางมารดาและบิดา. บทว่า เย ได้แก่ ชนเหล่าใด

เหล่าหนึ่งมีบุตรเป็นต้น. บทว่า โหนฺติ แปลว่า ย่อมเป็น. บทว่า

อนุกมฺปกา ได้แก่ ผู้ต้องการประโยชน์ คือ ผู้แสวงหาประโยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

เกื้อกูล. บทว่า สุจึ ได้แก่ บริสุทธิ์ ชื่นใจ และประกอบด้วยธรรม.

บทว่า ปณีต ได้แก่ โอฬาร. บทว่า. กาเลน ได้แก่ โดยกาลอัน

เหมาะสมแก่การบริโภคของพระทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย หรือโดย

กาลที่เปรตผู้เป็นญาติมายืนอยู่ที่ภายนอกฝาเรือนเป็นต้น. บทว่า

กปฺปิย ได้แก่ ควร คือเหมาะสม ได้แก่ สมควรเพื่อการบริโภค.

ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย. บทว่า ปานโภชน แปลว่า น้ำ และข้าว.

ก็ในที่นี้โดยการแสดงอ้างถึงบทว่า ปานโภชนะ นั้น พระองค์ตรัส

ถึงไทยธรรมทุกอย่าง.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงประการอันเป็นเหตุ ชื่อว่าเป็นอันญาติ

ให้แล้วแก่เปรตเหล่านั้น จึงตรัสกึ่งคาถาเบื้องต้น ด้วยคาถาที่ ๔ ว่า

อิท โว าตีน โหตุ สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย ดังนี้เป็นต้น. กึ่งเบื้องต้น

แห่งคาถาที่ ๔ นั้น พึงเชื่อมกับกึ่งเบื้องต้นแห่งคาถาที่ ๓ ว่า :-

ญาติผู้อนุเคราะห์ ย่อมให้แก่พวกญาติ

ด้วยเจตนาอุทิศอย่างนี้ว่า ขอทานนี้แลจงสำเร็จ

แก่ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลาย จงได้รับ

ความสุขเถิด.

ด้วย เอว ศัพท์นั้น อันมีอาการเป็นอรรถว่า ญาติทั้งหลาย

ย่อมให้โดยประการอย่างนี้ว่า ขอทานนี้แลจงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย

ไม่ให้โดยประการอื่น เป็นอันชื่อว่า กระทำการแสดงออกถึงอาการ

ที่จะพึงให้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท เป็นบทแสดงออกถึงไทยธรรม.

บทว่า โว เป็นเพียงนิบาต, เหมือน โว อักษร ในประโยคมีอาทิว่า

เยหิ โว อริยา. บทว่า าตีน โหตุ แปลว่า จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย

ผู้เกิดในเปตวิสัย. แต่บางอาจารย์กล่าวว่า โน าตีน, อธิบายว่า

แก่ญาติทั้งหลาย ของพวกเรา. บทว่า สุขิตา โหนฺตุ าตโย ความว่า

พวกญาติผู้เข้าถึงเปตวิสัยเหล่านั้น เมื่อเสวยผลนี้ คือ จงมีความสุข

ได้แก่ ได้รับความสุข.

เพราะเหตุที่กรรมอันบุคคลอื่นกระทำ แม้ในเมื่อพวกญาติ

กล่าวว่า ขอทานนี้แล จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่ให้ผล

แก่คนอื่น ก็สิ่งนั้นที่เขาให้อุทิศอย่างนั้น ล้วนเป็นปัจจัยแก่กุศลกรรม

แก่พวกเปรตผู้เป็นญาติ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงประการที่กุศลกรรม

อันบังเกิดผลแก่เปรตเหล่านั้นในที่นั้น คือ ในขณะนั้นนั่นเอง จึงตรัส

คำมีอาทิว่า เต จ ตตฺถ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ได้แก่ เปรตผู้เป็นญาติ.

บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในที่ที่พวกญาติให้ทาน. บทว่า สมาคนฺตฺวา

ได้แก่ เป็นผู้ประชุมกันในที่นั้น เพื่ออนุโมทนาว่า พวกญาติเหล่านี้

ของพวกเรา อุทิศทานเพื่อประโยชน์แก่พวกเรา. บทว่า ปหูเต

อนฺนปานมฺหิ ได้แก่ เมื่อสิ่งของนั้น ที่พวกญาติให้อุทิศตน. บทว่า

สกฺกจฺจ อนุโมทเร ความว่า เชื่อกรรมและผลของกรรม ไม่ละ

ความยำเกรง เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมบันเทิงใจ ย่อมเบิกบานใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

เกิดปีติโสมนัสขึ้นว่า ขอทานของพวกเรานี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์

สุขเถิด.

บทว่า จิร ชีวนฺตุ ได้แก่ ขอจงมีชีวิตยืนนาน คือมีอายุยืนนาน.

บทว่า โน าตี ได้แก่ ญาติทั้งหลายของพวกเรา. บทว่า เยส เหตุ

ได้แก่ เพราะเหตุแห่งญาติเหล่าใด คือ เพราะอาศัยญาติเหล่าใด.

บทว่า ลภามเส ความว่า ย่อมได้สมบัติเช่นนี้. จริงอยู่ บทนี้ เป็นบท

แสดงอาการที่พวกเปรตผู้เสวยสมบัติที่ได้ด้วยการอุทิศชมเชยพวก

ญาติของตน. จริงอยู่ ทักษิณาย่อมบังเกิดผลแก่พวกเปรตในขณะนั้น

ด้วยองค์ ๓ ประการคือ ด้วยตนอนุโมทนา ๑ ด้วยทายกอุทิศให้

ด้วยการถึงพร้อมด้วยพระทักขิไทยบุคคล ๑. ในองค์ทั้ง ๓ นั้น

ทายกเป็นเหตุพิเศษ. เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เยส เหตุ ลภามเส

ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า อมฺหากญฺจ กตา ปูชา ความว่า การบูชา เป็นอันทายก

ผู้อุทิศให้อย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายเถิด

กระทำแก่พวกเรา และทายกเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ไร้ผล เพราะ

ให้ผลในสันดานเป็นที่บังเกิดแห่งกรรมอันสำเร็จด้วยการบริจาค

นั้นนั่นแล.

ก็ในข้อนี้มีผู้ท้วงถามว่า ก็เฉพาะพวกญาติผู้เข้าถึงเปตวิสัย

ย่อมได้เหตุสมบัติเท่านั้นหรือ หรือว่า คนอื่นก็ได้. ก็ในข้อนี้ พวกเรา

ไม่จำต้องกล่าว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน (ทสกนิบาต

อังคุตรนิกาย) ว่า :-

ชานุสโสณีพราหมณ์ ทูลถามว่า "ท่านพระโคดมผู้เจริญ

พวกข้าพเจ้า ได้นามว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมให้ทาน ย่อมทำบุญด้วย-

เชื่อว่า ทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอญาติ-

สาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว จงบริโภคทานนี้. ท่านโคดมผู้เจริญ ทานนั้น

ย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วละหรือ ญาติสาโลหิต

ผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้น ย่อมได้บริโภคทานนั้นละหรือ ? พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อน พราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จใน

ฐานะอันควรแล ย่อมไม่สำเร็จในฐานะที่ไม่ควร.

ชานุสโสณี. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ฐานะที่ควรเป็นไฉน ฐานะ

ที่ไม่ควรเป็นไฉน ?

พระผู้มีพระภาคเจ้า ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้

เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตาย

เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงนรก เขาย่อมยังอัตตภาพให้เป็นไปในนรก

นั้น เขาตั้งอยู่ในนรกนั้น ด้วยอาหารของพวกสัตว์นรก ดูก่อน

พราหมณ์ นี้แลเป็นฐานะอันไม่สมควร ไม่เป็นที่สำเร็จแห่งทาน

แก่ผู้สถิตย์อยู่เลย.

ดูก่อนพราหมณ์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ

เป็นมิจฉาทิฏฐิ. เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึง

กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เขาย่อมยังอัตตภาพให้เป็นไปในกำเนิดสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

ดิรัจฉานนั้น ตั้งอยู่ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ด้วยอาหารของ

สัตว์ผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ดูก่อนพราหมณ์. นี้แล ก็จัด

เป็นฐานะอันไม่สมควร ไม่เป็นที่สำเร็จแห่งทานแก่ผู้สถิตย์อยู่เลย.

ก่อนพราหมณ์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจาก

ปาณาติปาต ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก

เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกมนุษย์ ฯลฯ ย่อมเข้าถึง

ความเป็นสหายของเทวดา เขาย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปในเทวโลก

นั้น ย่อมตั้งอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยอาหารของเทวดา ดูก่อนพราหมณ์

แม้นี้ก็เป็นฐานะอันไม่สมควร ไม่เป็นที่สำเร็จแห่งทาน แก่ผู้สถิตย์

อยู่เลย.

ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำปาณา-

ติบาต ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขา

ย่อมเข้าถึงเปตวิสัย เขาย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปในเปตวิสัยนั้น

ย่อมตั้งอยู่ในเปตวิสัยนั้น ด้วยอาหารของเหล่าสัตว์ ผู้เกิดในเปต-

วิสัยนั้น ก็หรือว่าย่อมยังอัตภาพให้เป็นไป ในเปตวิสัยนั้น ย่อม

ตั้งอยู่ในเปตวิสัยนั้น ด้วยปัตติทานมัย ที่พวกมิตร อำมาตย์ หรือ

พวกญาติสาโลหิตของเขา เพิ่มให้จากมนุษยโลกนี้, ดูก่อนพราหมณ์

นี้แล เป็นฐานะอันสมควร อันเป็นที่เข้าไปสำเร็จแห่งทาน แก่ผู้

สถิตย์อยู่แล.

ชานุสโสณีพราหมณ์. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิต

ผู้ละไปแล้วนั้น ย่อมไม่เข้าถึงฐานะอันสมควรนั้นไซร้ ใครเล่าจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

บริโภคฐานะอันสมควรนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ดูก่อนพราหมณ์ พวกญาติสาโลหิต

ผู้ละไปแล้วแม้เหล่าอื่น ของเขาย่อมเข้าถึงฐานะอันสมควรนั้น

ญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้วเหล่านั้น ย่อมบริโภคฐานะอันควรนั้น.

ชานุสโสณีพราหมณ์. ท่านโคดมผู้เจริญก็ถ้าญาติสาโลหิต

ผู้ละไปแล้วนั้นนั่นแล ย่อมไม่เข้าถึงฐานะอันสมควรนั้นไซร้ ทั้ง

ญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้ว แม้เหล่าอื่นของเขาก็ย่อมไม่เข้าถึงฐานะ

อันควรนั้น ใครเล่า จะบริโภคฐานะอันควรนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ดูก่อนพราหมณ์ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่

โอกาสแล ที่จะพึงว่าจากญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้ว โดยกาลนาน

เช่นนี้. ดูก่อนพราหมณ์ อนึ่ง ถึงทายกก็ย่อมเป็นผู้ไม่ไร้ผลแล.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดง ความไม่มีเหตุที่พวกผู้เกิดในเปรต-

วิสัย จะได้รับสมบัติ มีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น อย่างอื่น

ในเปตวิสัยนั้น และการยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยทานที่พวกญาติ

ให้แล้วแต่มนุษยโลกนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า น หิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หิ ตตฺถ กสิ อตฺถิ ความว่า

ในเปตวิสัยนั้น กสิกรรมที่พวกเปรตจะอาศัยเลี้ยงชีพอย่างสบาย

ไม่มีเลย. บทว่า โครกฺเขตฺถ น วิชฺชติ ความว่า ในเปตวิสัยนั้น

ไม่ใช่จะไม่มีแต่กสิกรรมอย่างเดียวเท่านั้น ถึงโครักขกรรม ที่

พวกเปรตเหล่านั้น อาศัยเลี้ยงชีพอย่างสบายก็ไม่มีเช่นกัน. บทว่า

วณิชฺชา ตาทิสี นตฺถิ ความว่า ถึงพาณิชยกรรมอันเป็นเหตุให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

เปรตเหล่านั้น ได้รับสมบัติ ก็ไม่มีเช่นกัน. บทว่า หิรญฺเน กยากย

ความว่า ในเปตวิสัยนั้น แม้การซื้อขายด้วยเงินตรา อันจะเป็นเหตุ

ให้เปรตเหล่านั้น ได้รับสมบัติก็ไม่มีเช่นกัน. บทว่า อิโต ทินฺเนน

ยาเปนฺติ เปตา กาลคตา ตหึ ความว่า อนึ่ง เปรตเหล่านั้น ย่อม

เลียงชีพคือ ยังอัตตภาพให้เป็นไป ด้วยทานที่ญาติหรือมิตร อำมาตย์

ให้แล้ว จากมนุษยโลกนี้อย่างเดียว. บทว่า เปตา ได้แก่ เหล่าสัตว์

ผู้เกิดในเปตวิสัย. บทว่า กาลคตา ได้แก่ ผู้จะไปตามเวลาตาย

ของตน. ปาฐะว่า กาลกตา ดังนี้ก็มี. ความว่า ผู้ทำกาละแล้ว คือ

ผู้ตายไปแล้ว ได้แก่ ผู้ถึงมรณะ. บทว่า ตหึ ได้แก่ ในเปตวิสัยนั้น.

บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศความตามที่กล่าวแล้ว โดยอุปมา

จึงตรัส ๒ คาถาว่า อุนฺนเม อุทก จุฏฺ ดังนี้เป็นต้น. ความ ๒ คาถา

นั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- ฝนตกลงในที่ดอน คือ ในประเทศที่ดอน

ย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม คือ ย่อมไหลไปตามภูมิภาคที่ลุ่ม ฉันใด

ทานที่พวกญาติให้จากมนุษยโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมสำเร็จ

แก่พวกเปรต คือ ย่อมไม่พรากพ้นไปจากการเกิดผล. จริงอยู่

เปตโลก เป็นฐานะอันสมควร เพื่อการสำเร็จแห่งทานเหมือนที่ตุ่ม

เป็นฐานะอันสมควรแก่การไหลไปแห่งน้ำ. สมจริงดังที่พระองค์

ตรัสไว้ว่า ก่อนพราหมณ์ นี้แหละ เป็นฐานะอันสมควร ซึ่งเป็นที่

สำเร็จแห่งทานของผู้สถิตอยู่. อนึ่งทานที่พวกมนุษย์ให้แล้วแต่

มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่พวกเปรต โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อน

เหมือนห้วงน้ำ คือแม่น้ำใหญ่ เต็มด้วยน้ำที่ไหลมาจากซอกเขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

ห้วงระแหง หนอง และบึงแล้ว ไหลบ่าไปเต็มสาครฉะนั้น.

เพราะเหตุที่เปรตทั้งหลายจกความหวังครอบงำว่า พวกเรา

จะได้อะไรอย่างจากที่นี้ แม้มายังเรือนของญาติก็ไม่อาจขอร้องว่า

ท่านทั้งหลายจงให้สิ่งชื่อนี้แก่พวกเรา ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงว่า

กุลบุตรเมื่อหวนระลึกถึงวัตถุที่ระลึกเหล่านี้ของญาติเหล่านั้น

จึงพึงให้ทักขิณา จึงตรัสคาถาว่า อทามิ เม ดังนี้เป็นต้น

คำแห่งคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ กุลบุตรเมื่อหวนระลึกถึงสิ่งนี้

ทั้งหมดว่า คนโน้นให้ทรัพย์หรือธัญญาหารชื่อนี้แก่เรา คนโน้น

ถึงความพยายามด้วยตนเอง ได้กระทำกิจชื่อนี้แก่เรา คนโน้นชื่อว่า

เป็นญาติเพราะเกี่ยวพันทางฝ่ายมารดาหรือบิดาของเรา คนโน้น

ชื่อว่าเป็นมิตร เพราะสามารถรักษาด้วยอำนาจความสิเนหา

คนโน้นชื่อว่าเป็นสหายเพื่อนเล่นฝุ่นด้วยกันของเรา จึงพึงให้

ทักษิณา คือพึงมอบให้ทานแก่เปรตทั้งหลาย. บาลีว่า ทกฺขิณา

ทชฺชา ดังนี้ก็มี. แปลว่า พึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลาย. ด้วย

บทว่า ทกฺขิณา ทชฺชา นั้น ท่านกล่าวอธิบายว่า กุลบุตรเมื่ออนุสรณ์

คือ หวนระลึกถึงอุปการะที่ญาติกระทำไว้ในกาลก่อน โดยนัย

มีอาทิว่า คนโน้นได้ให้เรา. จริงอยู่ บทว่า อนุสฺสร นี้ เป็นปฐมาวิภัติ

ใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัติ.

เมื่อจะทรงแสดงว่า ก็สัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีทุกขธรรม มี

ความร้องไห้และความเศร้าโศกเป็นต้น เป็นเบื้องหน้า เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

ความตายของญาตินั่นเอง คงดำรงอยู่ ไม่ให้อะไร ๆ แก่ญาติผู้

ล่วงลับไปแล้วนั้น ทุกขธรรมมีความร้องไห้และความเศร้าโศก

เป็นต้น นั้นของสัตว์เหล่านั้น เป็นเพียงทำตนให้เดือดร้อนอย่างเดียว

เท่านั้น ทุกขธรรมมีความร้องไห้สละความเศร้าโศกเป็นต้นนั้น

ย่อมไม่ยังประโยชน์อะไร ๆ ให้สำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย จึงตรัส

คาถาว่า น หิ รุณฺณ วา ดังนี้ เพื่อจะทรงแสดงย้ำถึงทักษิณาที่

พระเจ้ามคธถวายว่ามีประโยชน์ จึงตรัสความของคำเหล่านั้นมี

อาทิว่า อยญฺจ โข ดังนี้ในภายหลัง.

เพราะเหตุที่พระราชาเมื่อทรงถวายทักษิณานี้ ชื่อว่าแสดง

ออกถึงญาติธรรม โดยกระทำกิจที่พวกญาติพึงกระทำแก่พวกญาติ

ให้ปรากฏแก่ชนเป็นอันมาก คือทรงกระทำการแสดงออกให้ปรากฏ

ว่า แม้ท่านทั้งหลายก็พึงบำเพ็ญญาติธรรมในญาติทั้งหลายให้

บริบูรณ์ ด้วยอาการอย่างนี้แหละ. อนึ่ง เมื่อพระองค์ทำให้พวกเปรต

เหล่านั้นได้รับทิพยสมบัติ ชื่อว่าทำการบูชาแก่เปรตทั้งหลายให้ยิ่ง,

เมื่อให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้สำราญด้วยข้าว

และน้ำเป็นต้น ชื่อว่าตามเพิ่มให้พลังแก่ภิกษุทั้งหลาย, เมื่อทำ

จาคเจตนาอันมีคุณมีการอนุเคราะห์เป็นต้น เป็นเครื่องประกอบ

ให้เกิด ชื่อว่าทรงขวนขวายปัญหาประมาณมิได้ ฉะนั้น บัดนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทำพระราชาให้ร่าเริงด้วยคุณ

ตามที่เป็นจริงเหล่านี้ จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า โส าติธมฺโม

ดังนี้เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า าติธมฺโม ได้แก่ การกระทำ

กิจที่พวกญาติพึงกระทำแก่พวกญาติ. บทว่า อุฬารา แปลว่า

ให้แพร่หลาย กว้างขวาง. บทว่า พล ได้แก่ กำลังกาย. บทว่า

ปสุต แปลว่า สั่งสมแล้ว. ก็ในคำเหล่านี้ ด้วยคำว่า โส าติธมฺโม

จ อย นิทสฺสิโต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอ้างธรรมิกถา

กะพระราชา. จริงอยู่ การแสดงอ้างในที่นี้ หมายถึงการแสดง

ญาติธรรม. พระองค์ทรงชักชวนด้วยคำนี้ว่า และทรงกระทำ

การบูชาแก่พวกเปรตให้ยิ่ง. ก็การสรรเสริญในคำว่า ยิ่ง นี้ เป็น

การชักชวนให้ทำการบูชาบ่อย ๆ. ทรงให้อาจหาญด้วยคำนี้ว่า

และทรงเพิ่มให้พลังแก่ภิกษุทั้งหลาย. จริงอยู่ ในที่นี้ การเพิ่ม

ให้พลังแก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นการให้อาจหาญโดยการเพิ่มอุตสาหะ

ในการเพิ่มให้พลังแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้. ทรง

ให้ร่าเริงด้วยคำนี้ว่า พระองค์ชื่อว่าทรงขวนขวายบุญหาประมาณ

มิได้. ในที่นี้ พึงทราบโยชนาอย่างนี้ว่า ก็ในที่นี้ การระบุถึงการ

ประสพบุญ ก็คือการทำให้ร่าเริง โดยการสรรเสริญคุณตาม

ความเป็นจริงของบุญนั้น.

ก็ในเวลาจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐

ผู้มีใจสลดด้วยการพรรณนาโทษของการเกิดในเปตวิสัย ผู้เริ่ม

โดยอุบายอันแยบคาย. แม้ในวันที่ ๒ ก็ทรงแสดงติโรกุฑฑเทศนา

กัณฑ์นี้แหละ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรมาภิสมัย เช่นนั้น

นั่นแหละได้มีด้วยอาการอย่างนี้ ถึง ๗ วันแล.

จบ อรรถกถาติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ

ว่าด้วยความหิวของนางเปรต

พระสังฆเถระถามว่า :-

[๙๑] ท่านเปลือยกาย มีผิวพรรณเลวทราม มี

กลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป หมู่แมลงวันพากันตอม

เกลื่อนกล่น ท่านเป็นใครหนอมายืนอยู่ในที่นี้.

หญิงเปรตนั้นตอบว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต ถึงทุคติ

เกิดในยมโลก เพราะทำกรรมอันลามกจึงต้อง

จากโลกนี้ไปสู่เปตโลก เวลาเช้าคลอดบุตร ๕ คน

เวลาเย็นอีก ๕ คน แล้วกินลูกเหล่านั้นหมด ถึง

บุตร ๑๐ คนเหล่านั้นก็ยังไม่อาจบรรเทาความหิว

ของดิฉัน หัวใจของดิฉันเร่าร้อนอยู่เป็นนิจเพราะ

ความหิว ดิฉันไม่ได้ดื่มน้ำที่ควรดื่ม ขอท่านจงดู

ดิฉันผู้ถึงความพินาศเช่นนี้เถิด.

พระเถระถามว่า :-

เมื่อก่อน ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วย

กาย วาจา ใจ หรือท่านกินเนื้อบุตรทั้งหลาย

เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร.

หญิงเปรตนั้นตอบว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

เมื่อก่อน หญิงร่วมสามีของดิฉันคนหนึ่ง

มีครรภ์ ดิฉันคิดชั่วต่อเขา มีใจประทุษร้าย ได้ทำ

ให้ครรภ์ตกไป เขามีครรภ์ ๒ เดือนเท่านั้น ไหล

ออกเป็นโลหิต ครั้งนั้น มารดาของเขาโกรธดิฉัน

เชิญพวกญาติมาประชุมซักถาม ให้ดิฉันทำการ

สบถและขู่เข็ญให้กลัว ดิฉันได้กล่าวคำสบถและ

มุสาวาทอย่างแรงว่า ถ้าดิฉันทำชั่วอย่างนี้ ขอให้

ดิฉันกินเนื้อบุตรเถิด ฉันมีกายอันเปื้อนด้วยหนอง

และโลหิต กินเนื้อบุตรทั้งหลาย เพราะวิบากแห่ง

กรรม คือ การทำให้ครรภ์ตกและการพูดมุสา

ทั้งสองนั้น.

จบ ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุที่ ๖

อรรถกถาปัญจปุตตขาทกเปติวัตถุที่ ๖

เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ

ถึงนางเปรตผู้เคี้ยวกินบุตร ๕ คน จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า นคฺคา

ทุพฺพณฺณรูปาสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า มีภรรยาของกฏุมพีคนหนึ่ง ในหมู่บ้านไม่ไกล

แต่กรุงสาวัตถี เป็นหญิงหมัน. พวกญาติของกฏุมพีคนนั้น ได้พากัน

กล่าวดังนี้ว่า ภรรยาของเจ้าเป็นหมัน พวกเราจะนำหญิงสาวคนอื่น

มาให้เจ้า. เพราะความสิเนหาในภรรยานั้น เขาจึงไม่ปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

(ภรรยาอื่น). ลำดับนั้น ภรรยาของกฏุมพีนั้น ทราบเรื่องนั้นแล้ว

จึงกล่าวกะสามีอย่างนี้ว่า นาย ฉันเป็นหมัน ควรจะนำหญิงอื่นมา

(เป็นภรรยา) วงศ์ตระกูลของท่านจะได้ไม่ขาดสูญ เธอเมื่อถูก

ภรรยารบเร้าจะแต่งงานกะหญิงอื่น. ครั้นต่อมา นางได้ตั้งครรภ์.

หญิงหมันมีความริษยาเป็นปกติ คิดว่า หญิงนี้ได้บุตรแล้ว จักเป็น

ใหญ่แก่เรือนนี้ จึงหาอุบายให้ครรภ์ของนางตกไป จึงเกลี่ยกล่อม

ปริพาชิกาคนหนึ่งด้วยข้าวและน้ำเป็นต้น ให้ทำครรภ์ของนาง

ให้ตกไป นางเมื่อครรภ์ตกไปก็ไห้แจ้งให้มารดาของตนทราบ

มารดาให้ประชุมพวกญาติของตนแล้วแจ้งความนั้นให้ทราบ. ญาติ

เหล่านั้นได้กล่าวกะหญิงหมันดังนี้ว่า เจ้าทำครรภ์ของหญิงนี้

ให้ตก หญิงหมันตอบว่า ฉันไม่ได้ทำให้ตก ก็จงสบถ. หญิงหมัน

กล่าวเท็จทำการสบถว่า ถ้าฉันทำครรภให้ตก ฉันก็จะพึงมีทุคติ

เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ถูกความหิวกระหายครอบงำ ขอให้คลอดบุตร

ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ครั้งละ ๕ คน แล้วกินเสีย ก็ยังไม่อิ่ม ขอให้

ฉันมีกลิ่นเหม็นเป็นนิจ และถูกแมลงวันไต่ตอม. ไม่นานนักนาง

ก็ทำกาละบังเกิดเป็นนางเปรต มีรูปร่างขี้เหร่อยู่ไม่ไกลบ้านนั้น

นั่นเอง.

ในกาลนั้น พระเถระ ๘ รูป ออกพรรษาในชนบท มายังกรุง

สาวัตถี เพื่อเฝ้าพระศาสดา จึงเข้าไปพักในราวป่าอันสมบูรณ์

ด้วยร่มเงาและน้ำ ไม่ไกลแต่บ้านนั้น. ลำดับนั้น นางเปรตนั้นได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

แสดงตนแก่พระเถระทั้งหลาย. ในพระเถระเหล่านั้น พระสังฆเถระ

ได้ซักถามนางเปรตนั้นด้วยคาถาว่า

เจ้าเปลือยกาย มีรูปพรรณขี้เหร่ ส่งกลิ่น

เหม็นเน่าฟุ้ง แมลงวันจับเป็นกลุ่ม เจ้าเป็นใคร

มายืนอยู่ในที่นี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นคฺคา แปลว่า ผู้ไม่มีผ้า. บทว่า

ทุพฺพณฺณรูปาสิ ความว่า เจ้าเป็นผู้มีรูปขี้เหร่ คือประกอบด้วย

รูปน่าเกลียดพิลึก. บทว่า ทุคฺคนฺธา คือ มีกลิ่นไม่น่าปรารถนา.

บทว่า ปูติ วายสิ ได้แก่ มีกลิ่นเหมือนซากศพ เหม็นคลุ้งออกจากกาย.

บทว่า มกฺขิกาหิ ปริกิณฺณา ได้แก่ พวกแมลงวันหัวเขียวจับกลุ่มอยู่

โดยรอบ. บทว่า กา นุ ตฺว ติฎฺติ ความว่า เจ้าเป็นใคร มีรูปเห็น

ปานนี้ มายืนอยู่ที่นี้, อธิบายว่า เที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้

ลำดับนั้น นางเปรตนั้นถูกพระมหาเถระถามอย่างนั้น เมื่อ

จะประกาศตน จะให้เหล่าสัตว์เกิดความสลด จึงได้กล่าว ๓ คาถานี้ว่า

ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต ถึงทุคติเกิดใน

ยมโลก เพราะกระทำกรรมชั่วไว้จึงต้องจากโลก

นี้ไปสู่เปตโลก. เวลาเช้าดิฉันคลอดบุตร ๕ คน

เวลาเย็นอีก ๕ คน แล้วกินลูกเหล่านั้นทั้งหมด

ถึงลูก ๑๐ คนเหล่านั้น ก็ไม่อาจบันเทาความหิว

ของดิฉันได้ หัวใจของดิฉันเร่าร้อนหมกหมุ่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

เพราะความหิว ดิฉันไม่ได้ดื่มน้ำที่ควรดื่ม ขอ

ท่านจงดูดิฉันผู้ถึงความวอดวายเช่นนี้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น นางเปรตเรียกพระเถระด้วยความ

เคารพว่า ภทนฺเต. บทว่า ทุคฺคตา แปลว่า ถึงทุคติ. บทว่า

ยมโลกิกา ได้แก่ รู้แจ้งเปตโลกอันได้นามว่า ยมโลก โดยภาวะ

ที่นับเนื่องในเปตโลกนั้น. บทว่า อิโต คตา ความว่า จากมนุษยโลก

นี้แล้วไป คือเกิดยังเปตโลก.

บทว่า กาเลน ได้แก่ ในเวลาราตรีสว่าง. จริงอยู่ บทว่า

กาเลน นี้ เป็นตติยาวิภัติใช้ในอรรถสัตตมีวิภัติ. บทว่า ปญฺจ ปุตฺตานิ

แปลว่า ซึ่งบุตร ๕ คน. จริงอยู่ บทว่า ปุตฺตานิ นี้ ท่านกล่าวด้วย

ลิงควิปลาศ. บทว่า สาย ปญฺจ ปุนาปเร ได้แก่ คลอดบุตรอื่นอีก

ในเวลาเย็น. มีวาจาประกอบความว่า. กินบุตรทั้ง ๕ คน. บทว่า

วิชายิตฺวาน ความว่า คลอดบุตรวันละ ๑๐ คน. บทว่า เตปิ นา

โหนฺติ เม อล ความว่า บุตรทั้ง ๑๐ คนนั้น ไม่เพียงพอเพื่อบันเทา

ความหิวของเราสักวันหนึ่ง. ก็ในที่นี้ เพื่อสะดวกแก่คาถา ท่าน

จึงกล่าวให้เป็นทีฆะว่า นา. บทว่า ปริฑยฺหติ ธูมายติ ขุทาย หทย มม

ความว่า ส่วนแห่งหทัยของดิฉัน ผู้อันความหิวบีบคั้น ย่อมหม่นไหม้

เดือดร้อน คือเร่าร้อนอยู่ทุกด้าน ด้วยไฟในท้อง. บทว่า ปานีย

น ลเภ ปาตุ ความว่า ดิฉันถูกความกระหายครอบงำ เมื่อเที่ยวไป

ในที่นั้น ๆ ไม่ได้ เพื่อจะดื่มน้ำ. บทว่า ปสฺส ม พฺยสน คต ความว่า

นางเปรตได้ประกาศทุกข์ที่ตนเสวย แก่พระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

ขอท่านจงดูดิฉันถึงความวอดวายเช่นนี้ อันทั่วไปสละไม่ทั่วไป

แก่การเข้าถึงความเป็นเปรตเถิด.

พระเถระได้ฟังดังนั้น เมื่อจะถามถึงกรรมที่นางเปรตนั้น

กระทำ จึงกล่าวคาถาว่า

เมื่อก่อน เธอทำความชั่วอะไรไว้ด้วยกาย

วาจา และใจ หรือเธอกินเนื้อบุตรทั้งหลาย เพราะ

วิบากแห่งกรรมอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺกฏ ได้แก่ ทุจริต. บทว่า

กิสฺสกมฺมวิปาเกน ได้แก่ ด้วยวิบากแห่งกรรมเช่นไร อธิบายว่า

ด้วยวิบากแห่งปาณาติบาต หรืออทินนาทานเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เกน กมฺมวิปาเกน ด้วยวิบากแห่งกรรม

อะไร.

ลำดับนั้น นางเปรตเมื่อจะประกาศกรรมที่ตนกระทำแก่

พรเถระ จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า

เมื่อก่อน หญิงร่วมผัวของดิฉันคนหนึ่ง

มีครรภ์ ดิฉันคิดชั่วต่อเขา มีจิตคิดประทุษร้าย

ได้การทำครรภ์ให้ตกไป เขามีครรภ์ ๒ เดือน

เท่านั้น ไหลออกเป็นโลหิต ในกาลนั้น มารดา

ของเขาโกรธดิฉัน เชิญพวกญาติมาประชุมซัก

ถาม ให้ดิฉันทำการสบถ และขู่เข็ญให้ดิฉันกลัว

ดิฉันนั้นได้กล่าวคำสบถและมุสาวาทอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

ร้ายกาจว่า ถ้าดิฉันทำชั่วดังนั้น ขอให้ดิฉันกิน

เนื้อบุตรเถิด ดิฉันมีกายอันเปื้อนด้วยหนองและ

โลหิตกินเนื้อบุตรทั้งหลาย เพราะวิบากแห่งกรรม

คือการทำให้ครรภ์ตกและการพูดมุสาวาททั้ง ๒

นั้น.

หญิงผู้ร่วมผัว ท่านเรียกว่า สปตี ในคาถานั้น. บทว่า

ตสฺสา ปาป อเจตยึ ได้แก่ ได้คิดถึงกรรมชั่วหยาบแก่หญิงร่วมผัว

นั้น. บทว่า ปทุฏฺมนสา แปลว่า มีจิตคิดประทุษร้าย หรือมีจิตชั่ว.

บทว่า เทฺวมาสิโก ได้แก่ เขาตั้งครรภ์เพียง ๒ เดือน ชื่อว่า

เทฺวมาสิกะ มีครรภ์ ๒ เดือน. บทว่า โลหิตญฺเว ปคฺฆริ ความว่า

ครรภ์วิบัติไหลออกเป็นโลหิต. บทว่า ตทสฺสา มาตา กุปิตา มยฺห

าตี สมานยิ ความว่า ในกาลนั้น มารดาของหญิงร่วมผัวนั้น

โกรธดิฉัน จึงประชุมพวกญาติของตน. ปาฐะว่า ตตสฺสา ดังนี้ก็มี.

บทว่า ตตสฺสา นั้น แยกบทเป็น ตโต อสฺสา

บทว่า สปถ แปลว่า การสาปแช่ง. บทว่า ปริภาสาปยิ

ได้แก่ ขู่ให้กลัว. บทว่า สปถ มุสาวาท อภาสิส ความว่า เมื่อดิฉัน

แสดงถึงกรรมชั่วที่ตนทำนั้นแหละว่าไม่ได้ทำ กล่าวมุสาวาท

คือ คำที่ไม่เป็นจริง ได้แก่คำสบถว่า ถ้ากรรมชั่วนั้น ดิฉันได้ทำ

แล้ว ขอให้ดิฉันพึงเป็นเช่นนี้. บทว่า ปุตฺตมงฺสานิ ขาทามิ สเจ ต

ปกต มยา นี้ เป็นบทแสดงอาการที่กระทำสบถในเวลานั้น, อธิบาย

ว่า ถ้าดิฉันได้ทำความชั่ว คือ การทำครรภ์ให้ตกไปนั้น, ในอนาคต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

คือในการที่ดิฉันเกิดในภพใหม่ ขอให้ดิฉันพึงกินเฉพาะเนื้อบุตร

ของดิฉันเท่านั้น. บทว่า ตสฺส กมฺมสฺส ได้แก่ ปาณาติบาตกรรม

ที่หญิงหมันนั้นกระทำ ด้วยการทำให้ครรภ์ตกไปนั้น. บทว่า

มุสาวาทสฺส จ ได้แก่ มุสาวาทกรรมด้วย. บทว่า อุภย ได้แก่

ด้วยวิบากแห่งกรรมทั้ง ๒. จริงอยู่ บทว่า อุภย นี้ เป็นปฐมาภัติ

ใช้ในอรรถตติยาวิภัติ. มีวาจาประกอบความว่า บทว่า ปุพฺพ-

โลหิตมกฺขิตา ความว่า ดิฉันเปื้อนหนองและเลือดด้วยอำนาจการ

ไหลออกและด้วยอำนาจการแตกออก เคี้ยวกินเนื้อบุตร.

นางเปรตนั้น ครั้นประกาศวิบากแห่งกรรมของตนอย่างนี้แล้ว

จึงได้กล่าวกะพระเถระทั้งหลายอย่างนี้อีกว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลาย

ผู้เจริญ ดิฉันเป็นภรรยาของกฎุมพีชื่อโน้นในบ้านนี้เอง เป็นหญิง

มีความริษยาเปนปกติ กระทำกรรมชั่วจึงบังเกิดในกำเนิดเปรต

อย่างนี้. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดังดิฉันขอโอกาส ขอท่านทั้งหลาย

จงไปยังเรือนของกฏุมพีคนนั้นเถิด กฏุมพีนั้นจักถวายทานแก่ท่าน

ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงให้เขาอุทิศทักษิณานั้นแก่ดิฉัน เมื่อเป็น

เช่นนี้ ดิฉันจะหลุดพ้นจากเปตโลกนี้. พระเถระทั้งหลายได้ฟัง

ดังนั้นแล้ว เมื่อจะอนุเคราะห์นางตั้งอยู่ในสภาวะการยกขึ้น เข้าไป

บิณฑบาตยังบ้านกฏุมพีนั้น. กฏุมพีเห็นพระเถระทั้งหลายแล้วเกิด

ความเลื่อมใส ต้อนรับแล้วรับบาตร นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะ เริ่ม

ให้ฉันด้วยอาหารอันประณีต. พระเถระทั้งหลายแจ้งเรื่องนั้นแก่

กฏุมพี แล้วจึงให้เขาอุทิศทานนั้น แก่นางเปรตนั้น. ก็ขณะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

นั่นเอง นางเปรตนั้นปราศจากทุกข์นั้นแล้วได้รับสมบัติอันยิ่ง

แสดงตนแก่กฏุมพีในเวลาราตรี. ลำดับนั้น พระเถระทั้งหลาย

ไปยังกรุงสาวัตถีโดยลำดับ กราบทูลความนั้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้พร้อมมูลกันอยู่

โดยยกเรื่องนั้นขึ้นเป็นอุบัติเหตุ. ในเวลาจบเทศนา มหาชนได้รับ

ความสลดใจ เว้นขาดจากความริษยาและความตระหนี่. เทศนานั้น

ได้มีประโยชน์แก่มหาชนด้วยประการฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปัญจปุตตขาทกเปติวัตถุที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ

ว่าด้วยนางเปรตเปลือยกายมีกลิ่นเหม็น

พระเถระถามหญิงเปรตตนหนึ่งว่า

[๙๒] ท่านเปลือยกายมีผิวพรรณเลวทราม มี

กลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป หมู่แมลงวันพากันตอม

เกลื่อนกล่น ท่านเป็นใครหนอนายืนอยู่ที่นี่.

หญิงเปรตนั้นตอบว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต ถึงทุคติ

เกิดในยมโลก เพราะทำกรรมอันลามกจึงต้อง

จากโลกนั้นไปสู่เปตโลก เวลาเช้าตลอดบุตร ๗

คน เวลาเย็นอีก ๗ คน แล้วกินบุตรเหล่านั้นหมด

ทั้ง ๑๔ คนนั้น ก็ยังไม่อาจบรรเทาความหิว

ของดิฉันได้ หัวใจของดิฉันเร่าร้อนอยู่เป็นนิจ

เพราะความหิว ดิฉันเป็นดุจถูกเผาด้วยไฟในที่

อันร้อนยิ่ง ไม่ได้ประสบความเย็นเลย.

พระเถระถามว่า

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วย กาย วาจา

ใจ หรือท่านกินเนื้อบุตร เพราะวิบากแห่งกรรม

อะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

หญิงเปรตนั้นตอบว่า

เมื่อก่อนดิฉันมีบุตร ๒ คน บุตร ๒ คน

นั้นกำลังหนุ่มแน่น ดิฉันเป็นผู้เข้าถึงกำลังคือบุตร

(ถือตัวว่ามีบุตร) จึงได้ดูหมิ่นสามีของตน ภาย

หลังสามีของดิฉันโกรธ จึงได้หาภรรยามาใหม่

ก็ภรรยาใหม่นั้นมีครรภ์ ดิฉันคิดชั่วต่อเขา มีใจ

ประทุษร้าย ได้ทำให้ครรภ์ตกไป ภรรยาใหม่มี

ครรภ์ ๓ เดือนเท่านั้น ตกเป็นโลหิตเน่า มารดา

ของเขาโกรธดิฉัน แล้วเชิญพวกญาติมาประชุม

ซักถาม ให้ดิฉันทำการสบถและขู่เข็ญดิฉันให้

กลัว ดิฉันได้กล่าวคำสบถและมุสาวาทอย่างแรง

ว่า ถ้าดิฉันทำชั่วอย่างนี้ ขอให้ดิฉันกินเนื้อบุตร

เถิด ดิฉันมีกายเปื้อนหนองและโลหิต กินเนื้อ

บุตรทั้งหลาย เพราะวิบากแห่งกรรมคือการทำ

ครรภ์ให้ตกไป และมุสาวาททั้งสองนั้น.

จบ สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุที่ ๗

อรรถกถาสัตตปุตตขาทกเปติวัตถุที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ

นางเปรตผู้กินบุตร ๗ คน จึงตรัสคำนี้มีคำเริ่มต้นว่า นคฺคา

ทุพฺพณฺณรูปาสิ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

ได้ยินว่า อุบาสกคนหนึ่งในหมู่บ้านตำบลหนึ่งไม่ไกล

กรุงสาวัตถี ได้มีบุตร ๒ คน ตั้งอยู่ในปฐมวัย สมบูรณ์ด้วยรูปโฉม

ประกอบด้วยศีลและอาจาระ. มารดาของบุตรทั้ง ๒ นั้น คิดว่าเรา

เป็นผู้มีบุตร จึงดูหมิ่นสามีด้วยกำลังแห่งบุตร. สามีนั้นถูกภรรยา

ดูหมิ่น มีใจเบื่อหน่าย จึงนำหญิงอื่นมาครอง. ไม่นานนัก หญิงนั้น

ก็ตั้งครรภ์. ลำดับนั้น ภรรยาหลวงเป็นหญิงมีความริษยาเป็นปกติ

เอาอามิสไปล่อหมอคนหนึ่ง ให้หมอนั้นทำครรภ์ของหญิงนั้นซึ่ง

ตั้งมา ๓ เดือน ให้ตก. ลำดับนั้น หญิงนั้นอันพวกญาติและพี่น้องชาย

ถามว่า เธอทำครรภ์ของนางนี้ให้ตกไปหรือ จงกล่าวมุสาว่า

ไม่ได้ทำให้ตกไป คนเหล่านั้นไม่เชื่อจึงกล่าวว่า เธอจงสบถ แล้ว

ได้กระทำสบถว่า ขอให้ดิฉันคลอดบุตรทั้งเช้า ทั้งเย็น ครั้งละ ๗ คน

แล้วเคี้ยวกินเนื้อบุตร ขอให้ดิฉันมีกลิ่นเหม็น และแมลงวันจับกลุ่ม

อยู่เป็นนิจ.

ครั้นต่อมา นางทำกาละแล้วบังเกิดในกำเนินเปรต ด้วยวิบาก

ของการทำครรภ์ให้ตกไป และพูดมุสานั้นนั่นแล จึงเคี้ยวกินเนื้อบุตร

โดยนัยดังกล่าวแล้ว เที่ยวไปในที่ไม่ไกลบ้านนั้นนั่นเอง. ก็สมัยนั้น

พระเถระหลายรูปออกพรรษาในหมู่บ้าน มายังกรุงสาวัตถีเพื่อ

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พักแรมในส่วนหนึ่งไม่ไกลบ้านนั้น. ลำดับ

นั้น นางเปรตนั้นแสดงตนแก่พระเถระเหล่านั้น. พระมหาเถระ

ถามเธอด้วยคาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

เธอเปลือยกายมีผิวพรรณขี้เหร่ มีตัวเน่า

ส่งกลิ่นฟุ้ง แมลงวันจับกลุ่ม เธอเป็นใครหนอ

มายืนอยู่ในที่นี้.

หญิงเปรตถูกพระเถระถามจึงได้ให้คำตอบด้วย ๓ คาถาว่า

ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรตถึงทุคติเกิดใน

ยมโลก เพราะทำกรรมชั่ว จึงต้องจากโลกนี้ไป

ยังเปตโลก เวลาเช้าคลอดบุตร ๗ คน เวลาเย็น

อีก ๗ คน. แล้วเคี้ยวกินบุตรเหล่านั้นหมด

ทั้ง ๑๔ คนนั้นก็ยังไม่อาจบันเทาความหิว

ของดิฉันได้ หัวใจของดิฉันเร่าร้อนหม่นไหม้

อยู่เป็นนิตย์ เพราะความหิว ดิฉันเป็นดุจถูกไฟ

เผาอยู่กลางแดด ไม่ได้ประสบความเย็นเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพุตึ ได้แก่ ระงับทุกข์ อัน

เกิดแต่ความหิวกระหาย. บทว่า นาชิคจฺฉามิ แปลว่า ไม่ได้รับ.

ด้วยบทว่า อคฺคิทฑฺฒาว อาตเป นี้ มีวาจาประกอบความว่า เรา

เป็นเสมือนถูกไฟไหม้กลางแดดที่ร้อนจัด ย่อมไม่ได้รับความเย็น.

พระมหาเถระได้ฟังดังนั้น เมื่อจะถามถึงกรรมที่นางเปรต

นั้นกระทำ จึงกล่าวคาถาว่า :-

เธอทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วย กาย วาจา

ใจ หรือ เธอกินเนื้อบุตร เพราะวิบากแห่งกรรม

อะไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

ลำดับนั้น นางเปรตเมื่อจะบอกถึงการที่ตนเกิดในเปตโลก

และเหตุที่เคี้ยวกินเนื้อบุตร จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า :-

เมื่อก่อนดิฉัน มีบุตร ๒ คน บุตร ๒ คน

นั้น กำลังหนุ่มแน่น ดิฉันอาศัยกำลังคือบุตร จึง

ได้ดูหมิ่นสามีของตน ภายหลังสามีของดิฉันโกรธ

จึงได้หาภริยามาใหม่ และภริยาใหม่นั้นมีครรภ์

ดิฉันคิดชั่วต่อเขา มีจิตคิดประทุษร้าย ได้ทำให้

ครรภ์ตกไป ภริยาคนใหม่มีครรภ์ ๓ เดือนเท่านั้น

ตกเป็นโลหิตเน่า มารดาของเขาโกรธแล้ว เชิญ

พวกญาติของดิฉันมาประชุมกัน ซักถามให้ดิฉัน

ทำการสบถ และขู่เข็ญดิฉันให้กลัว ดิฉันได้กล่าว

คำสบถและมุสาวาทอย่างแรงว่า ถ้าดิฉันทำความ

ชั่วอย่างนี้ ขอให้ดิฉันกินเนื้อบุตรเถิด ดิฉันมีกาย

เปื้อนหนองและเลือด กินเนื้อบุตรทั้งหลาย เพราะ

วิบากแห่งกรรม คือการทำครรภ์ให้ตกไป และ

มุสาวาททั้ง ๒ นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺตพลูเปตา ได้แก่ อาศัยกำลัง

คือบุตร คือ ได้กำลังด้วยอำนาจบุตร. บทว่า อติมญฺิส แปลว่า

ดูหมิ่นเกินไป. บทว่า ปูติโลหิตโก ปติ ได้แก่ ครรภ์ไหลออกเป็น

โลหิตเน่า. คำที่เหลือทั้งหมด เป็นเสมือนคำที่เป็นลำดับมานั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

ในเรื่องนั้น มีพระเถระ ๘ รูป. แต่ในเรื่องนี้ มีพระเถระเป็นจำนวน

มาก. ในเรื่องนั้น มีบุตร ๕ คน แต่ในเรื่องนี้มีบุตร ๗ คน นี้แล

เป็นความแปลกกัน.

จบ อรรถกถาสัตตปุตตขาทกเปติวัตถุที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

๘. โคณเปตวัตถุ

ว่าด้วยเกี่ยวหญ้าอ่อนให้โคตายกิน

กฏุมพีเป็นบิดาถามสุชาตุกุมารว่า

[๙๓] เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือ จึงเกี่ยวหญ้าอัน

เขียวสดแล้วบังคับโคแก่อันเป็นสัตว์ตายแล้วว่า

จงกิน จงกิน อันโคตายแล้วย่อมไม่ลุกขึ้นกินหญ้า

และน้ำมิใช่หรือ เจ้าเป็นทั้งคนพาลทั้งมีปัญญา

ทราม เหมือนคนอื่นที่มีปัญญาทรามฉะนั้น.

สุชาตกุมารตอบว่า

โคตัวนี้ยังมีเท้าทั้ง ๔ มีศีรษะ มีตัวพร้อม

ทั้งหาง นัยน์ตาก็มีอยู่ตามเดิม ข้าพเจ้าคิดว่าโค

ตัวนี้พึงลุกขึ้นกินหญ้าสักวันหนึ่ง ส่วนมือ เท้า

กาย และศีรษะของปู่ไม่ปรากฏ แต่คุณพ่อมา

ร้องไห้ถึงกระดูกของปู่ที่บรรจุไว้ในสถูปดิน ไม่

เป็นคนโง่หรือ.

กุมพีได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวสรรเสริญสุชาตกุมารว่า

เจ้าดับความกระวนกระวายทั้งปวงของเรา

ผู้เร่าร้อนอยู่ให้หาย เหมือนบุคคลเอาน้ำดับไฟ

อันลาดด้วยน้ำมัน ฉะนั้นได้ถอนขึ้นแล้วหนอ ซึ่ง

ลูกศรคือความโศก อันเสียบแล้วที่หทัยของบิดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

บิดาผู้มีลูกศรอันเจ้าถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้เย็นสงบ

แล้ว ดูก่อนมาณพ ต่อไปนี้บิดาจะไม่เศร้าโศก

จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของเจ้า ชนเหล่าใด

ที่มีปัญญา มีความอนุเคราะห์ต่อมารดาบิดา ชน

เหล่านั้นย่อมทำอย่างนี้ ย่อมยังมารดาบิดาให้หาย

จากความเศร้าโศก ฉะนั้น.

จบ โคณเปตวัตถุที่ ๘

อรรถกถาโคณเปตวัตถุที่ ๘

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภกฎุมพี

คนหนึ่ง ผู้ที่บิดาตายไป จึงตรัสคำเริ่มต้นนี้ว่า กึ นุ อุมฺมตฺตรูโปว

ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี บิดาของกฏุมพีคนหนึ่งได้ตายไป.

เพราะบิดาตายไป เขาจึงเศร้าโศกร้อนรุ่มกลุ้มใจ เที่ยวร้องไห้

เหมือนคนบ้า ถามผู้ที่ตนพบเห็นว่า ท่านเห็นบิดาของฉันบ้างไหม ?

ใคร ๆ ไม่อาจจะบรรเทาความเศร้าโศกของเขาได้. แต่อุปนิสัย

แห่งโสดาปัตติผล ยังโพลงอยู่ในหทัยของเขา เหมือนประทีปที่

โพลงอยู่ในหม้อ.

ในเวลาเช้ามืด พระศาสดา ทรงตรวจดูสัตวโลก ทรงเห็น

อุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของเธอ ทรงพระดำริว่า เราควรจะ

นำเหตุที่เป็นอดีตของกุฏุมพีนี้มาแล้ว ระงับความเศร้าโศก ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

โสดาปัตติผลแก่เธอ ดังนี้แล้ว วันรุ่งขึ้น จึงกลับจากบิณฑบาต

ภายพลังภัตร ไม่ได้พาใครเป็นปัจฉาสมณะไป ไปยังประตูเรือน

ของกฏุมพีนั้น. เขาได้ทราบว่า พระศาสดา เสด็จมา จึงต้อนรับ

นิมนต์พระศาสดาให้เสด็จเข้าไปยังเรือน เมื่อพระศาสดา ประทับ

นั่งบนอาสนะที่เขาบรรจงจัดไว้ ตนเองก็ถวายบังคมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า แล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระองค์ทรงทราบสถานที่ที่บิดาของข้าพระองค์ไปแล้ว

หรือ ? ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า ดูก่อนุบาสก เธอ

ถามถึงบิดาในอัตตภาพนี้หรือ หรือว่า ในอัตตภาพที่ล่วงไปแล้ว.

เขาได้ฟังดังนั้น จึงคิดว่า ได้ยินว่า เรามีบิดามาก ดังนี้ จึงมีความ

เศร้าโศกเบาบาง ได้รับความเศร้าโศกเพียงปานกลาง. ลำดับนั้น

พระศาสดา ตรัสธรรมกถา อันเป็นเครื่องบรรเทาความเศร้าโศก

แก่เขา ทรงทราบเขาว่าปราศจากความเศร้าโศก มีจิตสมควร

จึงให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยสามุกังสิกธรรมเทศนาแล้ว ได้

เสด็จไปยังพระวิหาร.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย สั่งสนทนากันในธรรมสภาว่า

อาวุโส ท่านทั้งหลาย จงดูพุทธานุภาพเถิด อุบาสก ผู้เพียบพร้อม

ด้วยความเศร้าโศก และร่ำไรเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยัง

ทรงแนะนำในโสดาปัตติผล โดยขณะนั้นนั่นเองได้. พระศาสดา

เสด็จไปในที่นั้น ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาบรรจงจัดไว้

แล้ว จึงตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

ด้วยเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุทั้งหลาย จึงกราบทูลความนั้น แด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ ที่เรากำจัดความเศร้าโศกของ

กฏุมพีนี้ออกไป แม้ถึงในกาลก่อน ก็ได้กำจัดออกไปเหมือนกัน

ดังนี้แล้ว อันภิกษุเหล่านั้น ทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาว่า :-

ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี บิดาของคฤหบดีคนหนึ่ง ได้

ตายไป. เพราะบิดาตายไป เขาจึงเพียบพร้อมไปด้วยความเศร้าโศก

มีหน้านองไปด้วยน้ำตา นัยน์ตาแดง คร่ำครวญอยู่ เดินเวียนขวา

เชิงตะกอน. บุตรของเขาชื่อว่า สุชาตะ ยังเป็นเด็ก แต่เป็นคน

ฉลาดเฉียบแหลมสมบูรณ์ด้วยปัญญา จึงคิดหาอุบายเครื่องกำจัด

ความเศร้าโศกของบิดา วันหนึ่ง เห็นโคตัวหนึ่ง ตายภายนอกเมือง

แล้ว นำเอาหญ้าและน้ำมาวางไว้ข้างหน้าของโคที่ตายแล้วนั้น

พลางยืนกล่าวว่า เอาจงกิน จงกินเสีย จงดื่ม จงดื่มเถิด. คนผ่านไป

ผ่านมาเห็นเข้าจึงกล่าวว่า สหายสุชาตะ ท่านเป็นบ้าไปแล้วหรือ

ที่ท่านน้อมนำหญ้าและน้ำไปให้โคที่ตายแล้ว เขาไม่ได้โต้ตอบ

อะไร ๆ พวกมนุษย์ จึงพากันไปหาบิดาของเขาแล้ว กล่าวว่า

บุตรของท่านเป็นบ้าไปเสียแล้ว เอาหญ้าและน้ำให้โคที่ตายกิน.

ก็เพราะได้ฟังดังนั้น กฏุมพีก็คลายความเศร้าโศก ที่เกิดขึ้นเพราะ

ปรารภถึงบิดา. เขาถึงความสลดใจว่า ได้ยินว่า บุตรของเรากลาย

เป็นคนบ้าไป จึงรีบไป พลางท้วงว่า นี่แน่ พ่อสุชาตะ เจ้าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

ผู้ฉลาดเฉียบแหลมสมบูรณ์ด้วยปัญญามิใช่หรือ แต่เหตุไฉน

เจ้าจึงเอาหญ้าและน้ำ ให้โคที่ตายกิน จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-

เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือ จึงเกี่ยวหญ้าที่

เขียวสดแล้ว บังคับโคแก่ที่เป็นสัตว์ตายแล้วว่า

จงกิน จงกิน อันโคตายแล้ว ย่อมไม่ลุกขึ้นกิน

หญ้าและน้ำมิใช่หรือ เจ้าเป็นทั้งคนพาล ทั้งเป็น

คนทรามปัญญา เหมือนคนอื่นที่มีปัญญาทราม

ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ นุ เป็นคำถาม. บทว่า

อุมฺมตฺตรูโปว ได้แก่ เจ้าเป็นเหมือนสภาพคนบ้า คือ ถึงความ

ฟุ้งซ่านแห่งจิต. บทว่า ลายิตฺวา แปลว่า เกี่ยว. บทว่า หริต ติณ

แปลว่า หญ้าสด. บทว่า ลปสิ แปลว่า บังคับ. บทว่า คตสตฺต

ได้แก่ ปราศจากชีวิต. บทว่า ชรคฺคว แปลว่า โคแก่ที่หมดกำลัง.

บทว่า อนฺเนน ปาเนน ได้แก่ หญ้าที่เขียวสด และน้ำดื่มที่ท่านให้.

บทว่า มโต โคโณ สมุฏฺเห ได้แก่ โคที่ตายแล้ว หามีชีวิตลุกขึ้น

ได้ไม่. บทว่า ตฺวสิ พาโล จ ทุมฺเมโธ ความว่า เจ้าชื่อว่าเป็นคนพาล

เพราะประกอบด้วยความเป็นคนพาล และชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาทราม

เพราะปัญญากล่าวคือ เมธาไม่มี. บทว่า ยถา ตญฺโว ทุมฺมติ

ความว่า แม้คนอื่นที่ไร้ปัญญา ก็พึงบ่นเพ้อไปฉันใด ตัวเจ้าก็บ่นเพ้อ

ถึงสิ่งไร้ประโยชน์ ฉันนั้น บทว่า ยถา ต เป็นเพียงนิบาต. อีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

อย่างหนึ่ง บทว่า ทุมฺมติ ความว่า เจ้าแม้เป็นผู้มีปัญญา ก็เงยหน้า

บ่นเพ้อ เหมือนคนบ้าอื่น ๆ.

สุชาตกุมารได้ฟังดังนั้น เมื่อจะประกาศความประสงค์

ของตนเพื่อให้บิดายินยอม จึงได้กล่าว ๒ คาถาว่า :-

โคตัวนี้ ยังมีเท้าทั้ง ๔ ข้าง มีศีรษะ มีตัว

พร้อมทั้งหาง นัยน์ตา ก็มีอยู่ตามเดิม ข้าพเจ้าคิด

ว่า โคตัวนี้ จะพึงลุกขึ้นกินหญ้าสักวันหนึ่ง ส่วน

มือ เท้า กาย และศีรษะ ของคุณปู่ ไม่ปรากฏ แต่

คุณพ่อมาร้องไห้ถึงกระดูกของปู่ที่บรรจุไว้ใน

สถูปดิน จะไม่เป็นคนโง่ไปดอกหรือ.

ความแห่งคาถานั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ :-

โคตัวนี้มีเท้า ๔ ข้างนี้ มีศีรษะ มีกายพร้อมด้วยหาง เพราะ

เป็นไปกับด้วยหางและมีเนตรคือนัยน์ตา มีทรวดทรงไม่แตกสลาย

ยังทรงอยู่เหมือนก่อนแต่ตาย. บทว่า อย โคโณ สมุฏฺเห ความว่า

เพราะเหตุนี้ ผมจึงคิดว่า โคตัวนี้ จะพึงลุกขึ้น คือจะพึงยืนขึ้นได้เอง.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า โคเห็นจะลุกขึ้นได้. เพราะเหตุนั้นเรา

จึงเข้าใจว่า โคตัวนี้พึงพยุงกายให้ลุกขึ้นได้โดยพลัน อธิบายว่า

ข้าพเจ้ามีความเข้าใจอย่างนี้. สุชาตกุมาร กล่าวธรรมแก่บิดาว่า

ก็ มือ เท้า กาย ศีรษะ ของคุณปู่ของผมย่อมไม่ปรากฏ แต่คุณพ่อ

ร้องไห้ที่สถูปดิน ที่สร้างไว้บรรจุกระดูกของคุณปู่อย่างเดียว

เป็นผู้ทรามปัญญา คือไม่มีปัญญา ตั้งร้อยเท่า พันเท่า สังขาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

ทั้งหลายมีความแตกไปเป็นธรรมดา ย่อมแตกไป ผู้รู้แจ้งในข้อนั้น

จะมีความร่ำไรไปทำไม.

บิดาของพระโพธิสัตว์ได้ฟังนั้นแล้ว จึงคิดว่า บุตรของเรา

เป็นบัณฑิต ได้ทำกรรมนี้เพื่อให้เราเข้าใจ เมื่อจะสรรเสริญบุตร

ว่า พ่อสุชาต เอ๋ย เราได้รู้แล้วว่า สัตว์ทั้งปวงมีความตายเป็น

ธรรมดา ตั้งแต่นี้ไป เราจะไม่เศร้าโศก ต้นมีปัญญาอันชื่อว่า

สามารถขจัดความเศร้าโศกเสียได้ พึงเป็นเช่นกับเจ้านี่แหละ

จึงได้กล่าว คาถาว่า :-

เจ้าดับความกระวนกระวายทั้งปวงของเรา

ผู้เร่าร้อนอยู่ให้หายเหมือนบุคคลเอาน้ำดับไฟ ที่

ราดด้วยน้ำมัน ได้ถอนขึ้นแล้วหนอ ซึ่งลูกศรคือ

ความเศร้าโศก อันเสียบหทัยของบิดา บิดาผู้มี

ลูกศรอันถอนได้แล้ว เป็นผู้เย็นสงบแล้ว ดูก่อน

มาณพ ต่อไปนี้ บิดาจะไม่เศร้าโศก จะไม่ร้องไห้

เพราะฟังคำของเจ้า ชนเหล่าใดทีมีปัญญา มีความ

อนุเคราะห์ต่อมารดาบิดา ชนเหล่านั้น ย่อมทำ

อย่างนี้ ย่อมยังมารดาบิดาให้หายจากความเศร้า-

โศก เหมือนพ่อสุชาตะทำให้บิดาหายเศร้าโศก

ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทิตฺต ได้แก่ อันไฟคือความ

เศร้าโศกติดทั่วแล้ว คือลุกโพลงแล้ว. บทว่า สนฺต แปลว่า มีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

บทว่า ปาวก แปลว่า ไฟ. บทว่า วารินา วิย โอสิญฺจ แปลว่า เหมือน

เอาน้ำราด. บทว่า สพฺพ นิพฺพาปเย ทร ความว่า ให้ความกระวน

กระวายแห่งจิตของเราทั้งหมดดับ. บทว่า อพฺพหี วต แปลว่า

ถอนขึ้นแล้ว. บทว่า สลฺล ได้แก่ ลูกศรคือความโศก. บทว่า

หทยนิสฺสิต ได้แก่ เป็นดังลูกศรอันแทงหัวใจ. บทว่า โสกปเรตฺสฺส

ได้แก่ ถูกความโศกครอบงำ. บทว่า ปิตุโสก ได้เก่ ซึ่งความ

เศร้าโศกอันเกิดขึ้นปรารภบิดา. บทว่า อปานุทิ แปลว่า ได้ขจัดแล้ว

บทว่า ตว สุตฺวาน มาณว ความว่า พ่อกุมาร เพราะได้ฟังคำของเจ้า

แล้ว แต่บัดนี้ พ่อจึงไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้. บทว่า สุชาโต ปิตร ยถา

ความว่า สุชาตกุมารนี้ให้บิดาของตนพ้นจากความโศก ฉันใด

แม้ชนเหล่าอื่นก็ฉันนั้น ผู้อนุเคราะห์มีความอนุเคราะห์เป็นปกติ

มีปัญญากระทำอย่างนั้น คือกระทำอุปการะแก่บิดาและชนเหล่าอื่น.

บิดาฟังคำของมาณพแล้ว เป็นผู้ปราศจากความโศก จึง

สนานศีรษะ บริโภคอาหาร ประกอบการงาน ทำกาละแล้วได้เป็น

ผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรม-

เทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะแก่ภิกษุเหล่านั้น. เมื่อจบ

สัจจะ ชนเป็นอันมากบรรลุโสดาปัตติผลเป็นตัน. ในกาลนั้น สุชาตกุมาร

ได้เป็นพระโลกนาถในบัดนี้แล.

จบ อรรถกถาโคณเปตวัตถุที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

๙. มหาเปสการเปติวัตถุ

ว่าด้วยเปรตกินมูตรคูณเพราะด่าสามี

ภิกษุรูปหนึ่งถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า :-

[๙๔] หญิงเปรตนี้กินคูถ มูตร โลหิต และหนอง

นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร หญิงเปรตนี้ เมื่อ

ก่อนได้ทำกรรมอะไรไว้จึงมีเลือดและหนองเป็น

ภักษาเป็นนิจ ผ้าทั้งหลายอันใหม่และงาม อ่อน

นุ่ม บริสุทธิ์ มีขนอ่อน อันท่านให้แล้วแก่หญิง

เปรตนี้ ย่อมกลายเป็นเหล็กไป เมื่อก่อนหญิง

เปรตนี้ได้ทำกรรมอะไรไว้หนอ.

เทพบุตรนั้นตอบว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อน หญิงเปรตนี้

เป็นภรรยาของข้าพเจ้า มีความตระหนี่เหนียว

แน่น ไม่ให้ทาน นางได้ด่าและบริภาษข้าพเจ้า

ผู้กำลังให้ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า จง

กินคูถ มูตร เลือด และหนองอันไม่สะอาดตลอด

กาลทุกเมื่อ คูถ มูตร เลือด และหนอง จงเป็น

อาหารของท่านในปรโลก แผ่นเหล็กจงเป็นผ้า

ของท่าน นางนาเกิดในที่นี้จึงกินแต่คูถและมูตร

เป็นต้นตลอดกาลนาน เพราะประพฤติชั่วเช่นนี้.

จบ มหาเปสการเปติวัตถุที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

อรรถกถามหาเปสการเปติวัตถุที่ ๙

เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ

นางเปรตผู้เป็นช่างหูกคนหนึ่ง จึงตรัสคำนี้มีคำเริ่มต้นว่า คูถญฺจ

มุตฺต รุธิรญฺจ ปุพฺพ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุประมาณ ๑๒ รูป เรียนพระกรรมฐาน

ในสำนักพระศาสดา พิจารณาถึงสถานที่อันเหมาะสมแก่การอยู่

เมื่อจวนจะเข้าพรรษา เห็นราวป่าอันน่ารื่นรมย์ สมบูรณ์ด้วย

ร่มเงาและน้ำแห่งหนึ่ง ละโคจรคามไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นักแต่ราวป่า

นั้น จึงอยู่ในที่นั้นราตรีหนึ่ง รุ่งขึ้นจึงเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้าน.

ช่างหูก ๑๑ คน อาศัยอยู่ในบ้านนั้น เห็นเหล่าภิกษุนั้น ๆ เกิดความ

โสมนัส จึงนำมายังเรือนของตน ๆ เลี้ยงดูด้วยอาหารอันประณีต

แล้วเรียนว่า ไปไหนกันขอรับ. ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า เราจักไป

ในที่ที่เรามีความสบาย. พวกช่างหูกพากันกล่าวว่า ท่านขอรับ

ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้าจงอยู่ที่นี้แหละ ดังนี้แล้ว จึง

ขอร้องให้อยู่จำพรรษา. ภิกษุทั้งหลายก็รับคำ. อุบาสกอุบาสิกา

ทั้งหลายได้พากันสร้างกระท่อมในป่าในที่นั้นแล้วมอบถวายแก่

ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในที่นั้นแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

บรรดาช่างหูกเหล่านั้น ช่างหูกผู้เป็นหัวหน้า อุปัฏฐากภิกษุ

๒ รูป ด้วยปัจจัย ๔ โดยเคารพ นอกนั้นได้อุปัฏฐากภิกษุคนละรูป.

ภรรยาของช่างหูกผู้เป็นหัวหน้า ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส

เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความตระหนี่ ไม่อุปัฏฐากภิกษุทั้งหลายโดย

เคารพ. ช่างหูกผู้เป็นหัวหน้าเห็นดังนั้น จึงนำน้องสาวของภรรยา

นั้นนั่นแลมาแล้วมอบความเป็นใหญ่ในเรือนของตน. น้องสาวนั้น

เป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส ปรนนิบัติภิกษุทั้งหลายโดยเคารพ

ช่างหูกทั้งหมดนั้นได้ถวายผ้าสาฎกแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษารูปละผืน.

ในบรรดาภรรยานั้น ภรรยาของช่างหูกผู้เป็นหัวหน้า ผู้มีความ

ตระหนี่ มีจิตคิดประทุษร้าย ด่าบริภาษสามีของตนว่า ทานคือ

ข้าวและน้ำที่ท่านให้แก่สมณะศากยบุตรนั้น จงบังเกิดเป็นคูถ มูตร

เป็นหนอง และโลหิต แก่ท่านในปรโลก และผ้าสาฎกจงเป็น

แผ่นเหล็กลุกโพลง

สมัยต่อมา บรรดาคนเหล่านั้น ช่างหูกผู้เป็นหัวหน้าทำกาละ

แล้วบังเกิดเป็นรุกขเทวดาถึงพร้อมด้วยอานุภาพ ในดงไฟไหม้

แต่ภรรยาผู้ตระหนี่ของเขา ทำกาละแล้วบังเกิดเป็นนางเปรต

ในที่ไม่ไกลแต่ที่อยู่ของรุกขเทวดานั้นนั่นเอง นางเป็นคนเปลือย

รูปร่างขี้เหร่ ถูกความหิวกระหายครอบงำ ไปยังสำนักของภุมมเทพ

นั้นแล้วกล่าวว่า นาย ฉันไม่มีผ้า ถูกความหิวและความกระหาย

ครอบงำอย่างเหลือเกินเที่ยวไป ท่านจงให้ผ้า ข้าว และน้ำ ก็ฉันเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

ภุมมเทพจึงน้อมข้าวและน้ำอันเป็นทิพย์อย่างยิ่งเข้าไปให้นางเปรตนั้น

กลายเป็นคูถและมูตร หนอง ละโลหิต ผ้าสาฎกที่ให้ไป พอนางนุ่งห่ม

ก็กลายเป็นแผ่นเหล็กลุกโซน นางเสวยทุกข์อย่างมหันต์ ทิ้งผ้านั้น

คร่ำครวญเที่ยวไป.

ก็สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งออกพรรษาแล้ว เดินไปเพื่อจะเฝ้า

พระศาสดา ดำเนินไปถึงดงไฟไหม้ พร้อมกับที่เกวียนหมู่ใหญ่.

ในราตรี พวกหมู่เกวียนเดินทางไป เวลากลางวันเห็นประเทศ

แห่งหนึ่งสมบูรณ์ด้วยร่มเงาอันสนิทและน้ำในป่า จึงปลดเกวียน

แล้วพักอยู่ครู่หนึ่ง. ฝ่ายภิกษุหลีกไปหน่อยหนึ่ง เพราะใคร่ต่อ

ความวิเวก ปูสังฆาฏิลงที่โคนไม้อันปิดบังด้วยพงป่า มีร่มเงาสนิท

ต้นหนึ่งแล้วนอน มีร่างกายอ่อนเพลียเพราะเหน็จเหนื่อยในการ

เดินทางตอนกลางคืน จึงหลับไป. หมู่เกวียนครั้นพักแล้วก็เดินทาง

ต่อไป ภิกษุนั้นยังไม่ตื่น ครั้นเวลาเย็น เธอลุกขึ้นไม่เห็นพวกเกวียน

เหล่านั้น จึงเดินผิดทางไปสายหนึ่ง ถึงที่อยู่ของเทวดานั้นโดยลำดับ.

ลำดับนั้น เทพบุตรนั้นเหล่าภิกษุนั้นแล้ว แปลงเป็นรูปคนเข้าไปหา

กระทำปฏิสันถาร นิมนต์ให้เข้าไปยังวิมานของตน ถวายเภสัช

มียาทาเท้าเป็นต้น แล้วเข้าไปนั่งใกล้. ก็สมัยนั้น นางเปรตมา

กล่าวว่า นาย ท่านจงให้ข้าว น้ำ และผ้าสาฎกแก่ฉันเถิด. เทพบุตร

นั้นได้ให้ของเหล่านั้นแก่นางเปรตนั้น ก็ของเหล่านั้น พอนางเปรต

รับ ก็กลายเป็นคูถ มูตร หนอง เลือด และแผ่นเหล็ก อันลุกโชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

ทีเดียว. ภิกษุนั้นเห็นดังนั้น เกิดความสลดใจ จึงสอบถามเทพบุตร

นั้นด้วย ๒ คาถาว่า

หญิงเปรตนี้กินคูถ มูตร เลือด และหนอง

นี้เป็นวิบากของกรรมอะไร หญิงเปรตนี้ เมื่อ

ก่อนได้กระทำกรรมอะไรไว้ จึงมีเลือดและ

หนองเป็นภักษาเป็นนิตย์. ผ้าใหม่สวยงามอ่อน

นุ่ม บริสุทธิ์ มีขนอ่อนอันท่านให้แก่หญิงเปรตนี้

ย่อมกลายเป็นเหล็กไป เมื่อก่อน หญิงเปรตนี้ได้

กระทำกรรมอะไรไว้หนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสฺส อย วิปาโก ความว่า นี้เป็น

วิบากแห่งกรรมอะไร ที่หญิงเปรตเสวยอยู่ในบัดนี้. บทว่า อย นุ กึ

กมฺมมกาสิ นารี ความว่า เมื่อก่อนหญิงนี้ได้กระทำกรรมอะไร

ไว้หนอ. บทว่า ยา สพฺพทา โลหิตปุพฺพภกฺขา ความว่า หญิงนี้

ย่อมกินคือบริโภคเลือดและหนองเท่านั้น ตลอดกาลทีเดียว. บทว่า

นวานิ แปลว่า ใหม่ คือ ปรากฏในขณะนั้นเอง. บทว่า สุภานิ

แปลว่า งาม คือ น่าดู. บทว่า มุทูนิ แปลว่า มีสัมผัสสบาย. บทว่า

สุทฺธานิ. แปลว่า มีวรรณะบริสุทธิ์. บทว่า โลมสานิ แปลว่า

มีขนอ่อน คือมีสัมผัสสบาย, อธิบายว่า ดี. บทว่า ทินฺนานิ มิสฺสา

กิตกา ภวนฺติ ความว่า เป็นเช่นกับหนามที่เรียงราย คือ เป็นเช่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

กับแผ่นโลหะ อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า กีฏกา ภวนฺติ ดังนี้ก็มี

อธิบายว่า มีสีเหมือนตัวสัตว์กัดกิน.

เทพบุตรนั้นถูกภิกษุนั้นถามอย่างนี้ เมื่อจะประกาศกรรม

ที่นางเปรตทำในชาติก่อน จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-

ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนหญิงเปรตนี้ได้เป็น

ภรรยาของข้าพเจ้า ไม่ให้ทาน มีความตระหนี่

เหนียวแน่น นางได้ด่าและบริภาษข้าพเจ้าผู้

กำลังให้ทานแก่สมณะพราหมณ์ทั้งหลายว่า

จงกินคูถ มูตร เลือด และหนองอันไม่สะอาด

ตลอดกาลทุกเมื่อ คูถ มูตร เลือด และหนองนั้น

จงเป็นอาหารของท่านในปรโลก แผ่นเหล็กจง

เป็นผ้าของท่าน นางนาเกิดในที่นี้ กินแต่คูถและ

มูตร เป็นต้นตลอดกาลนาน เพราะประพฤติชั่ว

เช่นนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทายิกา ได้แก่ มีปกติไม่ให้ทาน

แม้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ. บทว่า มจฺฉรินี กทริยา ความว่า ชื่อว่ามี

ความตระหนี่ เพราะชั้นแรกมีมลทิน คือความตระหนี่เป็นสภาวะ

และชื่อว่ามีความตระหนี่เหนียวแน่น เพราะมีการเสพคุ้นบ่อย ๆ

ซึ่งความตระหนี่นั้น. มีวาจาประกอบความว่า นางได้เป็นผู้มีความ

ตระหนี่ ด้วยความตระหนี่เหนียวแน่นนั้น. บัดนี้เทพบุตรเมื่อจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

แสดงความที่นางเป็นผู้มีความตระหนี่นั้นนั่นแล จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

สาม ททนฺต. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตาทิส ได้แก่ ประพฤติ

วจีทุจริต เป็นต้นตามที่กล่าวแล้วเห็นปานนั้น. บทว่า อิธาคตา

ได้แก่ มายังเปตโลกนี้ คือเข้าถึงอัตภาพแห่งเปรต. บทว่า

จิรรตฺตาย ขาทติ ได้แก่ เคี้ยวกินแต่คูถเท่านั้น ตลอดกาลนาน.

จริงอยู่ นางด่าโดยอาการใดผลก็เกิดโดยอาการนั้นเหมือนกัน

นางด่าเจาะจงผู้ใด จากผู้นั้นไป ก็ตกลงเบื้องบนตัวเหมือนอสนีบาต

ตกลงในที่สุด คือกระหม่อมในแผ่นดิน.

เทวบุตรนั้น ครั้นแสดงกรรมที่นางเปรตกระทำไว้ในชาติก่อน

อย่างนี้แล้ว จึงได้กล่าวกะภิกษุนั้นอีกว่า ท่านขอรับ ก็อุบายอะไร ๆ

ที่จะทำให้นางเปรตนี้พ้นจากเปตโลกมีอยู่หรือ. และเมื่อภิกษุนั้น

กล่าวว่ามีอยู่ จึงกล่าวว่า จงแสดงเถิด ขอรับ. ภิกษุกล่าวว่า ถ้า

ท่านถวายทานแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า และแก่พระอริยสงฆ์ หรือ

แก่ภิกษุรูปเดียวเท่านั้น แล้วอุทิศให้หางเปรตนี้ ทั้งนางเปรตนี้

ได้อนุโมทนาทานนั้น ด้วยอาการอย่างนี้ นางก็จะพ้นจากความทุกข์

นี้ไปได้. เทพบุตรได้ฟังดังนั้น จึงได้ถวายข้าวและน้ำอันประณีต

แก่ภิกษุนั้น แล้วให้ทักษิณานั้นอุทิศแก่นางเปรตนั้น. ทันใดนั้นเอง

นางเปรตนั้นมีใจอิ่มเอิบ มีอินทรีย์กระปรี้กระเปร่า ได้เป็นผู้อิ่ม

ด้วยอาหารอันเป็นทิพย์ เทพบุตรนั้นได้ถวายคู่ผ้าทิพย์ในมือของ

ภิกษุนั้นอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วและอุทิศทักษิณานั้นแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

นางเปรต ก็ในขณะนั้นนั่นเอง นางนุ่งผ้าทิพย์ ประดับเครื่องประดับ

อันเป็นทิพย์ พรั่งพร้อมด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวง ได้เป็นผู้

มีส่วนเปรียบด้วยนางเทพอัปสร. และภิกษุนั้นก็ได้ถึงกรุงสาวัตถี

ในวันนั้นเอง ด้วยฤทธิ์ของเทพบุตรนั้น เข้าไปยังพระเชตวันแล้ว

เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ได้ถวายคู้ผ้าสาฎก

นั้นแล้ว กราบทูลเรื่องนั้น. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ

เรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แสดงธรรมแก่บริษัทผู้ประชุมกัน

อยู่พร้อมแล้ว เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชนแล.

จบ อรรถกถามหาเปสการเปติวัตถุที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

๑๐. ขัลลาติยเปติวัตถุ

ว่าด้วยพ่อค้าให้ผ้าแก่นางเปรต

หัวหน้าพ่อค้าถามหญิงเปรตตนหนึ่งว่า

[๙๕] ท่านเป็นใครหนออยู่ภายในวิมานนี้ ไม่

ออกจากวิมานเลย ก่อนนางผู้เจริญ เชิญท่าน

ออกมาเถิด ข้าพเจ้าจะขอดูท่านผู้ยืนอยู่ข้างนอก.

นางเวมานิกเปรตฟังคำถามดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า

ดิฉันเป็นหญิงเปลือยกาย มีแต่ผมปิดบังไว้

กระดากอายที่จะออกภายนอก ดิฉันได้ทำบุญ

ไว้น้อยนัก.

พ่อค้ากล่าวว่า

ดูก่อนนางผู้มีรูปงาม เอาเถอะ ข้าพเจ้า

จะให้ผ้าเนื้อดีแก่ท่าน เชิญท่านนุ่งผ้านี้ แล้วจง

ออกมาภายนอก เชิญออกมาภายนอกวิมานเถิด

ข้าพเจ้าจะขอดูท่านผู้ยืนอยู่ข้างนอก.

นางเวมานิกเปรตตอบว่า

ผ้านั้นถึงท่านจะให้ที่มือของดิฉันเอง ก็ไม่

สำเร็จแก่ดิฉัน ถ้าในหมู่ชนนี้มีอุบาสกผู้มีศรัทธา

เป็นสาวกของพระสัมมาสมพุทธเจ้า ขอท่านจง

ให้อุบาสกนั้นนุ่งห่มผ้าที่ท่านจะให้ดิฉัน แล้วอุทิศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

ส่วนกุศลให้ดิฉัน เมื่อท่านทำอย่างนั้น ดิฉันจึงจะ

ได้นุ่งห่มผ้านี้ตามปรารถนา ประสบความสุข

พ่อค้าทั้งหลายได้ฟังดังนี้แล้ว จึงให้อุบาสกนั้นอาบน้ำ

ลูบไล้แล้วให้นุ่งห่มผ้า แล้วอุทิศส่วนกุศลให้นางเวมานิกเปรตนั้น

พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น ได้กล่าวคาถา

๓ คาถา ความว่า :-

ก็พ่อค้าเหล่านั้นยังอุบาสกนั้นให้อาบน้ำ

ลูบไล้ด้วยของหอม แล้วให้นุ่งห่มผ้า แล้วอุทิศ

ส่วนกุศลไปให้นางเวมานิกเปรตนั้น ในทันตา

เห็นนั้นเอง วิบากย่อมบังเกิดขึ้นแก่นางเวมานิก

เปรตนั้น โภชนะ เครื่องนุ่งห่ม และน้ำดื่ม ย่อม

บังเกิดขึ้น นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ลำดับนั้น นาง

มีสรีระบริสุทธิ์ นุ่งห่มผ้าสะอาด งามดีกว่าผ้าที่

ทำจากแคว้นกาสี เดินยิ้มออกมาจากวิมาน

ประกาศว่า นี้เป็นผลแต่งทักษิณา.

พ่อค้าเหล่านั้นถามว่า

วิมานของท่านงดงาม มีรูปภาพวิจิตรดี

สว่างไสว ดูก่อนนางเทพธิดา พวกข้าพเจ้าถาม

แล้วขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.

นางเทพธิดาตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

เมื่อดิฉันเป็นมนุษย์อยู่นั้น มีจิตเลื่อมใส

ได้ถวายแป้งคั่วอันเจือด้วยน้ำมัน แก่ภิกษุเที่ยว

บิณฑบาต ผู้มีจิตซื่อตรง ดิฉันเสวยวิบากแห่ง

กุศลกรรมนั้นในวิมานนี้สิ้นกาลนาน ก็ผลบุญนั้น

เดี๋ยวนี้ยังเหลือนิดหน่อย พ้น ๔ เดือนไปแล้ว

ดิฉันจักจุติจากวิมานนี้ จักไปตกนรกอันเร่าร้อน

สาหัส มี ๔ เหลี่ยม มี ๔ ประตู จำแนกเป็น

ห้อง ๆ ล้อมด้วยกำแพงเหล็ก ครอบด้วยแผ่น

เหล็ก พื้นนรกนั้นล้วนเป็นเหล็กแดง ลุกเป็น

เปลวเพลิง ประกอบด้วยความร้อน แผ่ไปตลอด

ร้อยโยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ ดิฉันจักต้อง

เสวยทุกขเวทนาในนรกนั้นตลอดกาลนาน ก็การ

เสวยทุกข์เช่นนี้เป็นผลแห่งกรรมชั่ว เพราะ

ฉะนั้น ดิฉันจึงเศร้าโศกที่จะไปเกิดในนรกนั้น.

จบ ขัลลาติยเปติวัตถุที่ ๑๐

อรรถกถาขัลลาฏิยะเปติวัตถุที่ ๑๐

พระคาสดาเมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ

นางเปรตขัลลาฏิยะตนหนึ่ง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า กา นุ อนฺโต

วิมานสฺมึ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี ยังมีหญิงผู้อาศัยรูป

เลี้ยงชีพคนหนึ่ง รูปร่างสวย น่าดู น่าชม ประกอบด้วยผิวพรรณ

อันงดงามยิ่งนัก มีกำแห่งผมน่ารื่นรมย์ใจ. จริงอยู่ ผมของนางดำ

ยาว ละเอียด อ่อนนุ่ม สนิท มีปลายตวัดขึ้น เกล้าเป็นสองแฉก

สยาย ห้อยย้อยลงจนถึงสายรัดเอว. คนหนุ่มเห็นความงามแห่ง

เส้นผมของนางนั้น โดยมากมีจิตปฏิพัทธ์ในนาง. ลำดับนั้น หญิง

๒-๓ คน ถูกความริษยาครอบงำ ทนต่อความงามของผมนางนั้น

ไม่ได้ จึงพากันปรึกษา เอาสิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ล่อหญิงคนใช้

ของนางนั่นเอง ให้หญิงคนใช้ให้ยาอันเป็นเหตุทำเส้นผมของนาง

ให้หลุดร่วงไป. ได้ยินว่า หญิงคนใช้นั้น ประกอบยานั้นกับผง

สำหรับอาบน้ำ ในเวลานางไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา ก็ได้ให้แก่นาง.

นางเอาผงนั้นจุ่มที่รากผมแล้วดำลงไปในน้ำ. พอนางดำน้ำเท่านั้น

เส้นผมพร้อมทั้งรากผม ได้หลุดร่วงไป. และศีรษะของนางได้เป็น

เช่นกับกระโหลกน้ำเต้าขม. ลำดับนั้น นางหมดเส้นผมโดยประการ

ทั้งปวง เหมือนนกพิราบจกถอนขนหัว ฉะนั้น น่าเกลียดพิลึก

เพราะความละอาย จึงไม่อาจเข้าไปในเมือง เอาผ้าคลุมศีรษะ

สำเร็จการอยู่ในที่แห่งหนึ่งนอกเมือง พอ ๒-๓ วันผ่านไป นางหมด

ความละอาย กลับจากที่นั้นบีบเมล็ดงา กระทำการค้าน้ำมัน และ

ทำการค้าสุรา เลี้ยงชีพ. วันหนึ่ง เมื่อคน ๒-๓ คน เมาสุรา

หลับสนิท นางจึงลักเอาผ้าที่คนเหล่านั้นนุ่งไว้หลวม ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

ภายหลังวันหนึ่ง นางเห็นพระขีณาสพเถระรูปหนึ่ง กำลัง

เที่ยวบิณฑบาต มีจิตเลื่อมใสจึงนำท่านไปยังเรือนของตน ให้นั่ง

บนอาสนะที่ตบแต่งไว้ ได้ถวายแป้งที่บีบในรางผสมกับน้ำมันงา.

เพื่อจะอนุเคราะห์นาง พระเถระจึงรับประเคนแป้งผสมน้ำมันงา

นั้นฉัน. นางมีจิตเลื่อมใส ได้ยินกั้นร่ม. และพระเถระนั้น เมื่อจะ

ทำนางให้มีจิตร่าเริง จึงทำอนุโมทนากถาแล้วหลีกไป. ก็ในเวลา

ที่อนุโมทนานั่นแหละ หญิงนั้น ได้ตั้งความปรารถนาว่า พระคุณเจ้า

ขอให้เส้นผมของดิฉันยาวละเอียด นุ่มสนิท ตวัดปลายเถิด.

กาลต่อมา นางถึงแก่กรรม เพราะผลของกรรมที่คละกัน

จึงเกิดเป็นหญิงอยู่โดดเดี่ยวในวิมานทอง ท่ามกลางมหาสมุทร.

เส้นผมของนางสำเร็จตามอาการที่เธอปรารถนานั้นแหละ. แต่

เพราะนางลักเอาผ้าของพวกมนุษย์ นางจึงได้เป็นหญิงเปลือย.

นางเกิดบ่อย ๆ ในวิมานทองนั้น เป็นหญิงเปลือยอยู่ตลอดพุทธันดร

หนึ่ง.

ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา เสด็จอุบัติ

ในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี

โดยลำดับ พ่อค้าชาวกรุงสาวัตถี ๗๐๐ คน แล่นเรือไปสู่มหาสมุทร

มุ่งไปยังสุวรรณภูมิ. นาวาที่พวกพ่อค้านั้นขึ้นไป ถูกกำลังลม

พัดผันให้ปั่นป่วน จึงหมุนไปข้างโน้นข้างนี้ จนถึงประเทศที่นาง

เวมานิกเปรตนั้นอยู่. ลำดับนั้นนางเวมานิกเปรตนั้น จึงแสดงตนแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

พวกพ่อค้านั้น พร้อมด้วยวิมาน. หัวหน้าพ่อค้าเห็นดังนั้น เมื่อจะถาม

จึงกล่าวคาถาว่า :-

น้องสาวเป็นใครหนอ อยู่ในวิมานนี้ ไม่

ยอมออกจากวิมานเลยนี่ น้องสาว จงออกมาเถิด

น้อง พี่อยากจะเห็นน้องข้างนอก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กา นุ อนฺโตวิมานสฺมึ ติฏฺนฺตี

ความว่า หัวหน้าพ่อค้าถามว่า น้องอยู่ภายในวิมาน เป็นใครหนอ

เป็นหญิงมนุษย์ หรืออมนุษย์. บทว่า นูปนิกฺขมิ ความว่า น้อง

ไม่ยอมออกจากวิมานเลย. บทว่า อุปนิกฺขมสฺสุ ภทฺเท ปสฺสาม ต

พหิฏฺิต ความว่า น้อง พวกเราปรารถนาจะเห็นน้องออกมา

อยู่ข้างนอก เพราะฉะนั้น น้องจงออกมาจากวิมานเถิด. บาลีว่า

อุปนิกฺขมสฺส ภทฺทนฺเต ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ขอความเจริญจงมี

แก่น้องสาวเถิด.

ลำดับนั้น นางเวมานิกเปรตนั้น เมื่อจะประกาศ ตามที่ตน

ไม่อาจจะออกไปข้างนอกแก่พ่อค้านั้น จึงกล่าวคาถาว่า :-

ดิฉัน เป็นหญิงเปลือยกาย มีแต่ผมปิดบัง

ไว้ อึดอัด ละอาย ที่จะออกไปข้างนอก ดิฉันได้

ทำบุญไว้น้อยนัก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฏียามิ ความว่า ดิฉันเป็น

หญิงเปลือยกาย อึดอัดใจ ลำบากที่จะออกไปข้างนอก. บทว่า

หรายามิ แปลว่า ละอาย. บทว่า เกเสหมฺหิ ปฏิจฺฉนฺนา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

ดิฉันมีเส้นผมปิดบังไว้ คือ มีผมคลุมร่างกาย. บทว่า ปุญฺ เม

อปฺปก กต ความว่า ดิฉันทำกุศลกรรมไว้น้อย คือ เล็กน้อย อธิบายว่า

เพียงถวายแป้งผสมน้ำมันเท่านั้น.

ลำดับนั้น พ่อค้า ประสงค์จะให้ผ้าห่มของตนแก่นางเวมานิก

เปรตนั้น จึงกล่าวคาถาว่า :-

แน่ะ น้องสาว คนสวย เอาเถอะ พี่จะให้

ผ้าห่มเนื้อดีแก่น้อง เชิญน้องนุ่งผ้าผืนนี้แล้ว จง

ออกมาข้างนอก เชิญออกมาข้างนอกวิมานเถิด

น้อง พี่จะขอพบน้องข้างนอก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หนฺท แปลว่าเชิญเถิด. บทว่า

อุตฺตรีย แปลว่า ผ้าคลุมกาย. อธิบายว่า ผ้าห่ม. บทว่า ททามิ เต

แปลว่า พี่จะให้แก่น้อง. บทว่า อิท ทุสฺส นิวาสย ได้แก่ น้องจง

นุ่งผ้าห่มผืนนี้ของพี่เถิด. บทว่า โสภเณ แปลว่า แน่ะน้องผู้มี

รูปร่างสวย.

ก็แล พ่อค้า ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงนำเอาผ้าห่มของตน

ไปให้แก่นาง. นางเวมานิกเปรต เมื่อจะแสดงความที่พ่อค้าผู้มอบ

ผ้าห่มให้อย่างนั้น เป็นการอนุเคราะห์แก่ตน และการที่พ่อค้าให้

ผ้าห่มอย่างนั้น สำเร็จประโยชน์ จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-

ผ้านั้น ถึงพี่จะให้ที่มือของดิฉันเอง ด้วย

มือของพี่ ก็ไม่สำเร็จแก่น้องได้ดอก ถ้าในหมู่

มนุษย์นี้ มีอุบาสกผู้มีศรัทธา เป็นพระสาวกของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอพี่จงให้แก่อุบาสกนั้น

นุ่งห่มผ้าที่พี่จะให้แก่น้องแล้ว ค่อยอุทิศส่วนกุศล

ให้น้อง เมื่อพี่ทำอย่างนั้น น้องก็จะได้นุ่งห่มผ้านี้

ตามปรารถนา ประสพความสุข.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺเถน หตฺเถ เต ทินฺน น มยฺห

อุปกปฺปติ ความว่า ดูก่อน ท่านผู้นิรทุกข์ ทานที่พี่ให้ในมือของน้อง

ย่อมไม่สำเร็จ คือ ย่อมไม่เผล็ดผล ได้แก่ ไม่ควรเป็นเครื่องอุปโภค

แก่ดิฉัน. บทว่า เอเสตฺถุปาสโก สทฺโธ ความว่า ผู้นี้ชื่อว่า อุบาสก

เพราะถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และชื่อว่า ผู้มีศรัทธา เพราะ

ประกอบด้วยความเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม ย่อมอยู่ในที่นี้ คือ

ในหมู่ประชุมชนนี้. บทว่า เอต อจฺฉาทยิตฺวาน มม ทกฺขิณมาทิสา

ความว่า หัวหน้าพ่อค้า ให้อุบาสกนั้นนุ่งห่มผ้า ที่จะให้แก่เรา แล้ว

ให้ทักษิณานั้น คือ ปัตติทานมัย อุทิศถึงฉัน. บทว่า ตถาห สุขิต

เหสฺส ความว่า เมื่อท่านทำอย่างนั้น ดิฉันก็จะมีความสุข นุ่งห่ม

ผ้าทิพย์ จักได้รับความสุข.

พวกพ่อค้าได้ฟังดังนั้น จึงให้อุบาสกนั้นอาบลูบไล้แล้ว

ให้นุ่งผืนหนึ่งห่มผืนหนึ่ง. พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะประกาศ

ข้อความนั้น จึงได้กล่าว ๓ คาถาว่า:-

ก็พ่อค้าเหล่านั้น ยังอุบาสกนั้นให้อาบน้ำ

ลูบไล้ด้วยของหอม แล้วให้นุ่งห่มผ้า อุทิศส่วน

กุศลไปให้นางเวมานิกเปรตนั้น ในทันตาเห็นนั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

เอง วิบากย่อมเกิดขึ้นแก่นางเวมานิกเปรตนั้น

โภชนะเครื่องนุ่งห่ม และน้ำดื่ม ย่อมเกิดขึ้น นี้

เป็นผลแห่งทักษิณา ในลำดับนั้น นางมีร่างกาย

บริสุทธิ์ นุ่งห่มผ้าอันสะอาด งามกว่าผ้าแคว้น

กาสี เดินยิ้มออกมาจากวิมานประเทศว่า นี้เป็น

ผลแห่งทักษิณา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต ได้แก่ ยังอุบาสกนั้น. ศัพท์

เป็นเพียงนิบาต. มีวาจาประกอบความว่า บทว่า เต ได้แก่ พ่อค้า

เหล่านั้น. บทว่า วิลิมฺเปตฺวาน ได้แก่ ไล้ทาด้วยของหอมชนิดดีเลิศ.

บทว่า วตฺเถหจฺฉาทยิตฺวาน ความว่า ให้บริโภคโภชนะพร้อมทั้ง

กับข้าว อันสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส แล้วให้นุ่งห่มผ้า คือ

ให้นุ่งผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ได้แก่ ให้ผ้า ๒ ผืน. บทว่า ตสฺสา

ทกฺขิณมาทิสุ ได้แก่ อุทิศส่วนบุญแก่นางเวมานิกเปรตนั้น.

บทว่า อนุ ในบทว่า สมนนฺภนุทฺทิฏฺเ นี้ เป็นเพียงนิบาต,

อธิบายว่า ในทันใดที่ได้เห็นทักษิณานั้นนั่นแล. บทว่า วิปาโก

อุปปชฺชถ ความว่า วิบาก คือผลแห่งทักษิณา ได้เกิดขึ้นแก่

นางเวมานิกเปรตนั้น. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า วิบากเป็นเช่นไร

นางเวมานิกเปรตจึงกล่าวว่า โภชนะเครื่องนุ่งห่ม และน้ำดื่ม เกิด

ขึ้นแล้ว. มีวาจาประกอบความว่า โภชนะอันเช่นกับโภชนะทิพย์

มีประการต่าง ๆ ผ้าอันเช่นกับผ้าทิพย์ ซึ่งรุ่งโรจน์ด้วยสีหลายหลาก

และน้ำดื่มมีหลายชนิด ผลเช่นนี้ย่อมเกิดเพราะทักษิณา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

บทว่า ตโต ได้แก่ ภายหลังแก่การได้รับวัตถุมีโภชนะ

ตามที่ได้กล่าวแล้ว. บทว่า สุทฺธา ได้แก่ มีร่างกายสะอาด ด้วย

การอาบน้ำ. บทว่า สุจิวสนา ได้แก่ นุ่งห่มผ้าอันสะอาดดี. บทว่า

กาสิกุตฺตมธารินี ได้แก่ นุ่งห่มผ้าชนิดดี แม้กว่าผ้าของชาวกาสี.

บทว่า หสนฺตี ความว่า หางเวมานิกเปรต พลางยิ้มแย้มออกมาจาก

วิมาน พร้อมการประกาศว่า ดูซิ ท่านทั้งหลาย นี่เป็นผลพิเศษ

แห่งทักษิณาของพวกท่านเป็นอันดับแรก.

ลำดับนั้น พวกพ่อค้านั้น ได้เห็นผลบุญโดยประจักษ์

อย่างนี้ จึงเกิดอัศจรรย์จิต อย่างไม่เคยมีมาก่อน เกิดความเคารพ

นับถือมาก ในอุบาสกนั้น พากันการทำอัญชลีกรรมเข้าไปยัง

ใกล้อุบาสกนั้น. ฝ่ายอุบาสก ให้พ่อค้าเหล่านั้น เลื่อมใสในธรรมกถา

โดยประมาณยิ่ง และให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีล. พวกพ่อค้านั้น จึง

ถามถึงกรรมที่นางเวมานิกเปรตนั้นกระทำไว้ ด้วยคาถานี้ว่า :-

วิมานของท่านช่างงดงาม มีรูปภาพอัน

วิจิตรด้วยดี สว่างไสว ก่อนนางเทพธิดา อัน

พวกข้าพเจ้าทั้งหลายถามแล้ว ขอท่านจงบอก

เถิดว่า นี้เป็นผลของกรรมอะไร ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุจิตฺตรูป ได้แก่ มีรูปภาพอันวิจิตร

ที่เขาจัดแจงไว้ด้วยดีแล้ว โดยเป็นรูปช้าง ม้า สตรี และบุรุษเป็นต้น

และโดยมาลากรรมและลดากรรมเป็นต้น. บทว่า รุจิร ได้แก่ น่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

รื่นรมย์ น่าชมเชย. บทว่า กิสฺส กมฺมสฺสิท ผล ความว่า นี้เป็น

ผลของกรรมเช่นไร คือ เป็นผลของทานมัย หรือของศีลมัย.

นางเทพธิดานั้น ถูกพวกพ่อค้านั้นถามอย่างนี้แล้ว เมื่อ

จะบอกผลกรรมทั้ง ๒ อย่างนั้นว่า นี้เป็นผลของกุศลกรรมนิดหน่อย

ที่ดิฉันกระทำไว้เป็นอันดับแรก แต่สำหรับอกุศลกรรม จักเป็นเช่นนี้

ในนรกต่อไป ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า :-

เมื่อดิฉันเป็นมนุษย์อยู่นั้น มีจิตเลื่อมใส

ได้ถวายแป้งคั่วอันเจือด้วยน้ำมัน แก่ภิกษุผู้เที่ยว

บิณฑบาต มีจิตซื่อตรง ดิฉันได้เสวยวิบากแห่ง

กุศลกรรมนั้น ในวิมานนี้ สิ้นกาลนาน ก็ผลบุญ

นั้น เดี๋ยวนี้ ยังเหลืออยู่นิดหน่อย พ้น ๔ เดือนไป

แล้ว ดิฉันจักจุติจากวิมานนี้ จักไปตกนรกอันเร่า

ร้อนแสนสาหัส มี ๔ เหลี่ยม ๔ ประตู แบ่งเป็น

ห้อง ๆ ล้อมด้วยกำแพงเหล็ก ครอบด้วยแผ่น

เหล็ก พื้นแห่งนรกนั้น ล้วนแล้วด้วยเหล็กแดง

ลุกเป็นเปลวเพลิง ประกอบด้วยความร้อน แผ่ไป

ตลอด ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ ดิฉันจัก

ต้องเสวยทุกขเวทนาในนรกนี้น ตลอดกาลนาน

ก็การเสวยทุกข์เช่นนี้ เป็นผลของกรรมชั่ว เพราะ

ฉะนั้นดิฉันจึงเศร้าโศกอย่างแรงกล้า ที่จะไปเกิด

ในนรกนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขุโน จรมานสฺส ได้แก่ แก่

ภิกษุผู้ทำลายกิเลสรูปหนึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาต. บทว่า โทณินิมฺ-

มชฺชน ซึ่งแป้งคั่วมีน้ำมันซึมซาบอยู่. บทว่า อุชุภูตสฺส ความว่า

ชื่อว่าถึงความเป็นผู้ซึ่งตรง เพราะไม่มีกิเลสเครื่องทำความคดโกง

แห่งจิต. บทว่า วิปฺปสนฺเนน เจตสา ความว่า ผู้มีจิตเลื่อมใสดี

ด้วยการเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม.

ม อักษรในบทว่า ทีฆมนฺตร นี้กระทำการต่อบท, อธิบายว่า

ระยะกาลนาน คือตลอดกาลนาน. บทว่า ตญฺจ ทานิ ปริตฺตก ความว่า

ผลบุญ ๕ อย่าง บัดนี้ มีนิดหน่อย คือเหลืออยู่น้อย เพราะวิบาก

แห่งกรรมมีผลสุกงอม ไม่นานนักก็จากที่นี้ไป. ด้วยเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า พ้น ๔ เดือนไปแล้ว ดิฉันจักจุติจากวิมานนี้ ดังนี้เป็นต้น.

นางเปรตชี้แจงว่า พ้นจาก ๔ เดือน คือ ในเดือนที่ ๕ ถัดจาก ๔ เดือน

ไป ดิฉันจักจุติจากวิมานนี้. บทว่า เอกนฺตกุฏก ความว่า จักมีทุกข์

แสนสาหัส เพราะจะต้องรับผลที่ไม่น่าปะรารถนาอย่างแสนสาหัส

นั่นแล. บทว่า โฆร แปลว่า ร้ายแรง. บทว่า นิรย ความว่า นรก

อันได้นามว่า นิรยะ เพราะทำวิเคราะห์ว่า เป็นที่ไม่มีความเจริญ

คือความสุข. บทว่า ปปติสฺสห ตัดเป็น ปปติสฺสามิ อห ข้าพเจ้า

จักตกนรก. ก็ท่านกล่าวว่า จตุกฺกณฺณ ดังนี้เป็นต้น เพื่อจะแสดง

นรกนั้นโดยสรุป เพราะท่านแสดงถึงอเวจีมหานรก ในคำว่า นริย

นี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุกฺกณฺณ แปลว่า ๔ เหลี่ยม. บทว่า

จตุทฺวาร ได้แก่ ประกอบด้วยประตู ๔ ด้าน ใน ๔ ทิศ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

วิภตฺต แปลว่า จำแนกด้วยดี. บทว่า ภาคโส แปลว่า โดยจำแนก.

บทว่า มิต แปลว่า เป็นห้อง ๆ บทว่า อโยปาการปริยนฺต แปลว่า

ล้อมด้วยกำแพงที่ทำด้วยเหล็ก. บทว่า อยสา ปฏิกุชฺชิต แปลว่า

ครอบแผ่นเหล็กล้วน ๆ.

บทว่า เตชสา ยุตา ได้แก่ มีเปลวไฟลุกโพลงอยู่ไม่ขาดระยะ

ด้วยไฟกองใหญ่ที่โพลงรอบด้าน. บทว่า สมฺนฺตา โยชนสต ได้แก่

แผ่ไปตั้ง ๑๐๐ โยชน์ ในทุกทิศภายนอกโดยรอบอย่างนี้. บทว่า

สพฺพทา แปลว่า ตลอดกาลทุกเมื่อ. บทว่า ผริตฺวา ติฏฺติ แปลว่า

ซึมซาบตั้งอยู่. บทว่า ตตฺถ โยค มหานรกนั้น. บทว่า เวทิสฺส

แปลว่า จักได้รับ คือจักได้เสวย. บทว่า ผลญฺจ ปาปกมฺมสฺส

ความว่า การเสวยทุกข์เช่นนี้นี้ เป็นผลของกรรมชั่ว ที่ฉันได้ทำไว้.

เมื่อนางเทพธิดานั้น ประกาศผลแห่งกรรมที่ตนได้ทำไว้

และภัยที่จะตกนรกในอนาคต อย่างนี้แล้ว อุบาสกนั้นมีความกรุณา

เตือนใจ ให้คิดว่า เอาเถอะเราจักเป็นที่พึ่งของนาง แล้วกล่าวว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา เธอสำเร็จความปรารถนาทุกอย่าง กลายเป็น

ผู้ประกอบด้วยสมบัติอันยิ่ง ด้วยอำนาจทานของเราผู้เดียวเท่านั้น

แต่บัดนี้ เจ้าให้ทานแก่อุบาสกเหล่านี้แล้ว หวนระลึกถึงคุณแห่ง

พระศาสดา จักหลุดพ้นจากความเกิดในนรกได้. นางเปรตนั้น มีใจ

ร่าเริง ยินดีกล่าวว่า ดีละ แล้วให้อุบาสกเหล่านั้น อิ่มหนำด้วยข้าว

และน้ำอันเป็นของทิพย์ ได้ให้ผ้าทิพย์ และแก้วหลากชนิด. นางได้

ถวายคู่ผ้าทิพย์ มุ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ในมือของอุบาสกเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านเจริญ นางเวมานิกเปรตตนหนึ่ง ขอฝาก

ไหว้ด้วยเศียรเกล้าแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล้ว

จึงไปกรุงสาวัตถีแล้วส่งการถวายบังคมไปถึงพระคาสดาว่า ขอ

ท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระศาสดา ตามคำของเราเถิด. และ

ในวันนั้นนั่นเอง นางได้นำเอาเรือนั้นไปจอดยังท่าที่อุบาสกเหล่านั้น

ปรารถนา ด้วยอิทธานุภาพของตน.

ลำดับนั้น พ่อค้าเหล่านั้น ออกจากท่านั้นแล้ว ถึงกรุงสาวัตถี

โดยลำดับ เข้าไปยังพระเชตวัน ถวายคู่ผ้านั้นแด่พระศาสดา และ

ได้ให้พระองค์ทรงทราบถึงการฝากไหว้ของนางแล้วกราบทูล

เรื่องนั้น ตั้งแต่ต้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงกระทำ

เรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปัตติเหตุแล้ว ทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร

แก่บริษัทผู้พรั่งพร้อมกันอยู่. พระธรรมเทศนานั้น ได้มีประโยชน์

แก่มหาชน. ก็ในวันที่ ๒ อุบาสกเหล่านั้น ได้ถวายมหาทาน แก่

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแล้ว อุทิศส่วนบุญให้แก่

นางเปรตนั้น. และนางได้จุติจากเปตโลกนั้นแล้ว บังเกิดในวิมาน

ทอง ในภพชั้นดาวดึงส์ อันโชติช่วงไปด้วยรัตนะต่าง ๆ มีนางอัปสร

๑๐๐๐ นางเป็นบริวาร.

จบ อรรถกถาขัลลาฏิยะเปติวัตถุที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

๑๑. นาคเปตวัตถุ

ว่าด้วยกรรมทำให้เป็นเทพและเป็นเปรต

สามเณรถามว่า :-

[๙๖] คนหนึ่งขี่ช้างเผือกไปข้างหน้า คนหนึ่ง

ขี่รถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดรไปท่านกลาง นางสาว

น้อยขึ้นวอไปข้างหลัง เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่ว

ทั้ง ๑๐ ทิศ ส่วนท่านทั้งหลายมือถือฆ้อนเดิน

ร้องไห้ มีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา มีตัวเป็นแผลแตก

พัง ท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบาปอะไรไว้ ท่าน

ทั้งหลายดื่มกินโลหิตของกันและกัน เพราะกรรม

อะไร.

เปรตทั้งสองได้ฟังสามเณรถามจึงตอบว่า :-

ผู้ใดขี่ช้างเผือกชาติกุญชรมี ๔ เท้าไปข้าง

หน้า คนนั้นเป็นบุตรหัวปีของข้าพเจ้าทั้งสอง เมื่อ

เป็นมนุษย์เขาได้ถวายทานแก่สงฆ์ จึงได้รับความ

สุขบันเทิงใจ ผู้ใดขี่รถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดร ๔

ตัว แล่นเรียบไปท่ามกลาง ผู้นั้นเป็นบุตรคนกลาง

ของข้าพเจ้าทั้งสอง เมื่อเขาเป็นมนุษย์เป็นคนไม่

ตระหนี่ เป็นทานบดีรุ่งโรจน์อยู่ นารีที่มีปัญญา

ดวงตากลมงาม ดุจตาเนื้อ ขึ้นวอนข้างหลัง ผู้นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

เป็นธิดาคนสุดท้ายของข้าพเจ้าทั้งสอง นางมี

ความสุขเบิกบานใจ เพราะส่วนแห่งทานกึ่งส่วน

เมื่อก่อนเขาทั้งสามมีจิตเลื่อมใส ได้ให้ทานแก่

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ส่วนข้าพเจ้าทั้งสองเป็น

คนตระหนี่ บริภาษสมณพราหมณ์ทั้งหลาย เขา

ทั้งสามนี้ถวายทานแล้ว บำรุงบำเรอด้วยกามคุณ

อันเป็นทิพย์ ส่วนข้าพเจ้าทั้งสองซูบซีดอยู่ ดุจ

ไม้อ้อที่เขาตัดทิ้ง ฉะนั้น.

สามเณรถามว่า :-

อะไรเป็นโภชนะของท่าน อะไรเป็นที่

นอนของท่าน และท่านมีบาปธรรมอย่างยิ่ง ยัง

อัตภาพให้เป็นไปอย่างไร เมื่อโภคะเป็นอันมาก

มีอยู่ไม่น้อย ท่านหน่ายสุข ได้รับแต่ทุกข์ในวันนี้.

เปรตทั้งสองตอบว่า :-

ข้าพเจ้าทั้งสองตีซึ่งกันและกัน แล้วกิน

หนองและเลือดของกันและกัน ได้ดื่มหนองและ

เลือดเป็นอันมาก ก็ยังไม่หายอยาก มีความหิว

อยู่เป็นนิจ สัตว์ทั้งหลายไม่ให้ทาน ละไปแล้ว

เกิดในยมโลก ย่อมร่ำไรอยู่ เหมือนข้าพเจ้าทั้ง

สองฉะนั้น สัตว์เหล่าใด ได้ประสบโภคะต่าง ๆ

แล้ว ไม่ใช้สอยเอง ทั้งไม่ทำบุญ สัตว์เหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

จักต้องหิวกระหายในปรโลก ภายหลังถูกความ

หิวแผดเผาไหม้อยู่สิ้นกาลนาน ครั้นทำกรรม

ทั้งหลายมีผลเผ็ดร้อน มีทุกข์เป็นกำไรแล้ว ย่อม

ได้เสวยทุกข์ ก็บัณฑิตทั้งหลายรู้ทรัพย์และข้าว

เปลือกเป็นอย่างหนึ่ง รู้ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายใน

มนุษยโลกนี้เป็นอย่างหนึ่ง รู้ทรัพย์และข้าว

เปลือกและชีวิตมนุษย์เป็นอีกอย่างหนึ่ง จากสิ่ง

นอกนี้แล้ว พึงทำที่พึ่งของตน ชนเหล่าใดเป็นผู้

ฉลาดในธรรม มารู้ชัดอย่างนี้ ชนเหล่านั้นย่อม

ไม่ประมาทในทาน เพราะได้ฟังคำของพระ-

อรหันต์ทั้งหลาย.

จบ นาคเปตวัตถุที่ ๑๑

อรรถกถานาคเปตวัตถุที่ ๑๑

เมื่อพระคาสดาประทับอยู่ในพระวิหารชื่อว่า เชตวัน ทรง

พระปรารภพราหมณ์เปรต ๒ ตน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า ปุรโต ว เสเตน ปเลติ หตฺถินา ดังนี้.

ได้ยินว่า ท่านสังกิจจะ ผู้มีอายุได้ ๗ ขวบ บรรลุพระอรหัต

ในขณะจรดมีดโกนที่ปลายผมนั่นแล ดำรงอยู่ในภูมิสามเณร อยู่ใน

ราวป่าพร้อมกับภิกษุประมาณ ๓๐ รูป ห้ามความตายที่มาถึงแก่

ภิกษุเหล่านั้น จากมือของพวกโจร ๕๐๐ คน และฝึกโจรเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

แล้ว ให้บรรพชา ได้พาไปยังสำนักของพระศาสดา. พระศาสดา

ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น. ในเวลาจบพระธรรมเทศนา

ภิกษุเหล่านั้น ก็ได้บรรลุพระอรหัต. ลำดับนั้น ท่านสังกิจจะ มี

พรรษาครบ ได้อุปสมบทแล้ว พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป เหล่านั้น

พากันไปยังกรุงพาราณสี อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน. พวก

มนุษย์พากันไปหาพระเถระ ได้ฟังธรรมแล้ว มีจิตเลื่อมใส ได้

ถวายอาคันตุกทาน เป็นพวก ๆ ตามลำดับถนน. ในบรรดามนุษย์

เหล่านั้น มีอุบาสกคนหนึ่ง ได้ชักชวนพวกมนุษย์ในนิตยภัตร.

มนุษย์เหล่านั้น ได้เริ่มตั้งนิตยภัตตามกำลัง.

ก็สมัยนั้น ในกรุงพาราณสี มีพราหมณ์มิจฉาทิฏฐิคนหนึ่ง

ได้มีบุตรชาย ๒ คน บุตรหญิง ๑ คน. ในบุตรเหล่านี้ บุตรคนโต

ได้มีอุบาสกเป็นมิตร. อุบาสกนั้น พาบุตรคนโต (ของพราหมณ์)

นั้น ไปพาท่านสังกิจจะ. ท่านสังกิจจะแสดงธรรมแก่เธอ. เธอได้

เป็นผู้มีจิตอ่อน. ลำดับนั้น อุบาสกนั้นกล่าวกะเธอว่า เธอจงให้

นิตยภัตรแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. บุตรพราหมณ์กล่าวว่า พวกเราผู้เป็น

พราหมณ์ไม่เคยประพฤตินิตยภัตรทานแก่พระสมณผู้ศากยบุตร

เลย เพราะฉะนั้น เราจักไม่ยอมให้. อุบาสกกล่าวว่า ถึงเราท่าน

ก็จักไม่ให้ภัตรบ้างหรือ บุตรพราหมณ์กล่าวว่า ทำไม ฉันจักไม่ให้.

อุบาสกพูดว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น สิ่งที่เธอจะให้เรา เธอจงถวาย

แก่ภิกษุรูปหนึ่งเถิด. เขารับคำแล้ว ในวันที่ ๒ ได้ไปยังวิหาร

แต่เช้าตรู่ นิมนต์ภิกษุมารูปหนึ่งให้ฉันแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

เมื่อเวลาผ่านไปอย่างนี้ น้องชายและน้องสาวของเขา เห็น

การปฏิบัติของภิกษุทั้งหลาย และได้ฟังธรรมแล้ว มีความเลื่อมใส

ยิ่งในพระศาสนา และได้มีความยินดีในบุญกรรม. ชนทั้ง ๓ คน

เหล่านั้น เมื่อให้ทานตามกำลังทรัพย์อย่างนี้ ได้สักการะเคารพ

นับถือบูชา สมณพราหมณ์ทั้งหลาย. ส่วนมารดาและบิดาของ

พวกเรา เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส ไม่เคารพในสมณ-

พราหมณ์ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่พอใจในการบำเพ็ญบุญ. พวกญาติจึงได้

ขอเด็กหญิงผู้เป็นธิดา แห่งมารดาบิดาเหล่านั้น มาเพื่อประโยชน์

แก่บุตรของลุง. ก็บุตรคนโตนั้น ฟังธรรมในสำนักของท่านสังกิจจะ

แล้วเกิดความสังเวช บรรพชาแล้ว ไปยังเรือนของมารดาตน

เพื่อฉันเป็นนิตย์. มารดาปลอบใจเธอด้วยเด็กรุ่นสาว ผู้เป็นมารดา

ของพี่ชายตน. ด้วยเหตุนั้น เธอเป็นผู้กลุ้มใจจึงเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์

เรียนว่า ท่านครับ ผมจักสึก ขอท่านจงอนุญาตให้ผมสึกเถิด.

พระอุปัชฌาย์ เห็นเธอผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย จึงกล่าวว่า พ่อ

สามเณร รอสักเดือนก่อนเถอะ. พามเณรรับคำท่านแล้ว ผ่านไปได้

เดือนหนึ่ง จึงได้แจ้งให้ทราบอย่างนั้นเหมือนกัน. พระอุปัชฌาย์

ก็กล่าวซ้ำอีกว่ากึ่งเดือนเถิด. พอกึ่งเดือนผ่านไป เมื่อสามเณร

กล่าวอย่างนั้น พระเถระก็กล่าวอีกว่า รอสัก ๗ วัน เถอะ. สามเณร

รับคำแล้ว. ครั้นภายใน ๗ วันนั้น เรือนของน้าหญิงสามเณร

หลังพังไป ทรุดโทรม ฝาเรือนชำรุด ถูกลมพัดและฝนสาดเข้า

ก็พังลง. ในคนเหล่านั้น ท่านพราหมณ์ พราหมณี ลูกชาย ๒ คน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

ลูกหญิง ๑ คน ถูกเรือนพังทับตายไปหมด. ในคนที่ตายไปเหล่านั้น

พราหมณ์ และนางพราหมณี บังเกิดในกำเนิดเปรต. ลูกชาย ๒ คน

ลูกหญิง ๑ คน บังเกิดในภุมมเทวดา. ในบุตรเหล่านั้น บุตรคนโต

เกิดมีช้างเป็นพาหนะ. บุตรคนเล็กเกิดมีรถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดร.

บุตรหญิงมีวอทองคำเป็นเครื่องแห่แหน. พราหมณ์และนาง

พราหมณี ถือเอาฆ้อนเหล็กชนิดใหญ่มาทุบกัน. ที่ที่ถูกทุบแล้ว

มาประมาณเท่าหม้อลูกใหญ่ ผุดขึ้นครู่เดียวเท่านั้น หัวฝีก็แก่เต็มที่

แล้วแตกผุพังไป. พราหมณ์สองผัวเมียนั้น ต่างช่วยกันผ่าฝีของกัน

และกัน ถูกความโกรธครอบงำ ไร้ความกรุณาตะคอกด้วยวาจา

หยาบ พากันดื่มหนองและเลือด, และไม่ได้รับความอิ่ม.

ลำดับนั้น สามเณร ถูกความกลุ้มใจกลุ้มรุมจึงเข้าไปหา

พระอุปัชฌาย์ เรียนว่า ท่านครับ กระผมผ่านวันปฏิญญาณไป

แล้ว ผมจักกลับไปเรือน ขอท่านจงอนุญาตผมเถิด. ลำดับนั้น

พระอุปัชฌาย์กล่าวแก่เธอว่า เมื่อถึงวันแรม ๑๔ ค่ำ เวลาพระ-

อาทิตย์ตกดิน เธอจงมาเถิด. ดังนี้แล้ว ได้เดินไปหน่อยหนึ่งแล้ว

ยืนอยู่ด้านอิสิปตนวิหาร. ก็สมัยนั้น เทพบุตร ๒ องค์นั้น พร้อมด้วย

น้องสาว เดินผ่านไปทางนั้นนั่นแล เพื่อจะอวดอ้างสมาคมยักษ์.

ฝ่ายมารดาบิดาของพวกเขา ต่างก็ถือไม้ฆ้อน พูดวาจาหยาบ

รูปร่างดำ มีเส้นผมยุ่งรุงรังเศร้าหมองยาว เช่นกับต้นตาลที่ถูก

ไฟไหม้ มีหนองและโลหิตไหล มีตัวหดเหี่ยวเห็นเข้าน่าเกลียด

น่ากลัวพิลึก ติดตามพวกบุตรไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

ลำดับนั้น ท่านสังกิจจะสำแดงฤทธิ์โดยประการที่สามเณร

นั้นจะได้พบเห็นพวกเหล่านั้น ผู้กำลังเดินไปทั้งหมดแล้วกล่าวกะ

สามเณรว่า เห็นไหม ? พ่อสามเณร พวกเหล่านี้กำลังเดินไป.

สามเณรเรียนว่า เห็นขอรับ. ท่านสังกิจจะกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น

เธอจงสอบถามถึงกรรมที่พวกเหล่านี้ กระทำไว้เถิด. สามเณร

สอบถามพวกที่ไปด้วยยานช้างเป็นต้น ตามลำดับ. คนเหล่านั้น

กล่าวว่า ท่านจงสอบถามพวกเปรตที่มาภายหลังเถิด. สามเณร

กล่าวกะเปรตเหล่านั้น ด้วยคาถาทั้งหลายว่า :-

คนหนึ่งขี่ช้างเผือกไปข้างหน้า คนหนึ่ง

ขี่รถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดร ไปในท่ามกลาง

นางสาวน้อยขึ้นวอไปข้างหลัง เปลงรัศมีสว่าง

ไสวไปทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ ส่วนท่านทั้งหลาย มือถือ

ฆ้อนเดินร้องไห้ มีใบหน้าพุ่มไปด้วยน้ำตา มีตัว

เป็นแผลแตกพัง ท่านเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำกรรม

ชั่วอะไรไว้ ท่านทั้งหลายดื่มกินโลหิตของกัน

และกัน เพราะกรรมอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุรโต ได้แก่ก่อนเขาทั้งหมด.

บทว่า เสเตน แปลว่า ขาว. บทว่า ปเลติ แปลว่า เดินไป.

บทว่า มชฺเฌ ปน ได้แก่ ในระหว่างเทพบุตรผู้ขึ้นช้าง และเทพธิดา

ผู้ขึ้นวอ. มีวาจาประกอบความว่า บทว่า อสฺสตรีรเถน ความว่า

ไปด้วยรถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดร. บทว่า นียติ แปลว่า นำไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

บทว่า โอภาสยนฺติ ทส สพฺพโส ทิสา ความว่า เปล่งรัศมีสว่าง

ไสวไปทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ โดยรอบ ด้วยรัศมีแห่งสรีระของตน และด้วย

รัศมีแห่งผ้าและเครื่องอาภรณ์เป็นต้น. บทว่า มุคฺครหตฺถปาณิโน

ได้แก่ ส่วนท่านทั้งหลายมีมือถือไม้ฆ้อน. ฝ่ามือนั่นแหละ แปลกออก

ไปกว่าศัพท์ว่า มือ เพราะได้โวหารว่าฝ่ามือ ในกิจที่จะพึงทำ

พื้นดินให้ละเอียดเป็นต้น. บทว่า ฉินฺนปภินฺนคติตา ได้แก่ มีตัว

เป็นแผลแตกพังในที่นั้น ๆ ด้วยการใช้ไม้ฆ้อนทุบ. บทว่า ปิวาถ

แปลว่า ขอท่านทั้งหลาย จงดื่มกินเถิด.

เปรตเหล่านั้น ถูกสามเณร ถามอย่างนั้น จึงได้กล่าวตอบ

เรื่องนั้นทั้งหมด ด้วย ๔ คาถาว่า :-

ผู้ใดขี่ช้างเผือกชาติกุญชร มี ๔ เท้า ไป

ข้างหน้า คนนั้นเป็นบุตรหัวปีของข้าพเจ้าทั้ง ๒

เมื่อเป็นมนุษย์ เขาได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ จึง

ได้รับความสุข บันเทิงใจ ผู้ใดขี่รถเทียมด้วย

แม่ม้าอัสดร ๔ ม้า แล่นเรียบไปท่ามกลาง ผู้นั้น

เป็นบุตรคนกลาง ของข้าพเจ้าทั้ง ๒ เมื่อเขาเป็น

มนุษย์ เขาเป็นคนไม่ตระหนี่ เป็นทานบดีรุ่งเรือง

อยู่ นารีใดที่มีปัญญา มีดวงตากลมงดงาม รุ่งเรือง

ดุจตาเนื้อ ขึ้นวอมาข้างหลัง นารีนั้นเป็นธิดาคน

สุดท้าย ของข้าพเจ้าทั้ง ๒ นางมีความสุขเบิก

บานใจ เพราะส่วนแห่งทานกึ่งส่วน เมื่อก่อนเขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

ทั้ง ๓ คน มีจิตเลื่อมใส ได้ให้ทานแก่สมณ-

พราหมณ์ทั้งหลาย ส่วนข้าพเจ้าทั้ง ๒ เป็นคน

ตระหนี่ บริภาษสมณพราหมณ์ทั้งหลาย เขาทั้ง

๓ คนนี้ ถวายทานแล้วบำรุงบำเรอ ด้วยกามคุณ

อันเป็นทิพย์ ส่วนข้าพเจ้าทั้ง ๒ ซูบซีดอยู่เหมือน

ไม้อ้อที่เขาตัดทิ้งไว้ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุรโต ว โย คจฺฉติ ความว่า

บรรดาคนที่เดินไปเหล่านี้ ผู้ที่เดินไปข้างหน้า. บาลีว่า โยโส

ปุรโต คจฺฉติ ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า ผู้ที่ไปข้างหน้านั้น. บทว่า

กุญฺชเรน ได้แก่ ช้างอันได้นามว่า กุญชร เพระอรรถว่า ยังพื้น

ปฐพี คือแผ่นดินให้เจริญขึ้น หรือเพราะยินดี คือเที่ยวไปในท้อง

ภูเขาที่สะสมด้วยหญ้าและเถาวัลย์เป็นต้น. บทว่า นาเคน ได้แก่

ชื่อว่า นาค เพราะเป็นสัตว์ไม่ควรล่วงละเมิด ไม่ควรดูหมิ่น.

ด้วยช้างเชือกประเสริฐนั้น. บทว่า จตุกฺกเมน ได้แก่ มี ๔ เท้า.

บทว่า เชฏฺโก แปลว่า ผู้เกิดก่อน.

บทว่า จตุพฺภิ ได้แก่ ด้วยแม้ม้าอัสดร ๔ ม้า. บทว่า

สุวคฺคิเตน ได้แก่ ซึ่งมีการแล่นเรียบ คือ แล่นไปอย่างสวยงาม.

บทว่า นิคมนฺทโลจนา ได้แก่ ผู้มีดวงตางามดุจดวงตาเนื้อ. บทว่า

ภาคฑฺฒภาเคน ได้แก่ เพราะส่วนแห่งทานกึ่งส่วน คือ เพราะทาน

กึ่งส่วนจากส่วนแห่งทานที่ตนได้แล้วเป็นเหตุ. บทว่า สุขี แปลว่า

ได้รับความสุข. จริงอยู่ คำว่า สุขี นี้ ท่านกล่าวโดยเป็นลิงควิปลาส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

บทว่า ปริภาสกา แปลว่า ผู้ด่า. บทว่า ปริจารยนฺติ ความ ว่า

ชนเหล่านั้น ย่อมยังอินทรีย์ของตนให้เที่ยวไป ในกามคุณอันเป็นทิพย์

ตามความสุข ทั้งข้างโน้น ข้างนี้, หรือ ยิ่งชนผู้เป็นบริวารให้ทำการ

บำเรอตน ด้วยวิบากเป็นเครื่องไหลออกแห่งบุญญานุภาพของตน.

บทว่า มยญฺจ สุสฺสาม นโฬว ฉินฺโน ความว่า ส่วนข้าพเจ้าทั้ง ๒

ซูบซีดอยู่เหมือนไม้อ้อที่เขาตัดทิ้ง คือ ที่เขาโยนไปกลางแดด ฉะนั้น

ได้แก่ เป็นผู้เหือดแห้ง แห้งผาก ด้วยความหิวกระหายและด้วยการ

ใช้ไม้ทำร้ายกัน.

เปรตเหล่านั้น ครั้นประกาศความชั่วของตนอย่างนี้แล้ว

จึงแจ้งว่า พวกเราเป็นลุงและงาของท่าน. สามเณรได้ฟังดังนั้นแล้ว

เกิดความสลดใจ เมื่อจะถามว่า ทำอย่างไรหนอ โภชนะจึงจะสำเร็จ

แก่พวกคนทำความชั่วเห็นปานนี้ได้ จึงกล่าวคาถานี้ว่า

อะไรเป็นโภชนะของท่าน อะไรเป็นที่

นอนของท่าน และท่านมีบาปธรรมเป็นอย่างยิ่ง

ยังอัตภาพให้เป็นไปอย่างไรได้ และโภคะเป็น

อันมากมีอยู่ไม่น้อย ท่านเบื่อหน่ายความสุข ได้

ประสบทุกข์ในวันนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ ตุมฺหาก โภชน ความว่า

สิ่งเช่นไร เป็นโภชนะของท่าน. บทว่า กึ สยาน ความว่า สิ่งเช่นไร

เป็นที่นอนของท่าน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า กึ สยานา ดังนี้ก็มี,

อธิบายว่า สิ่งเช่นไร เป็นที่นอนของท่าน คือ ท่านนอนในที่นอน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

เช่นไร บทว่า กถญฺจ ยาเปถ ความว่า ท่านยังอัตภาพให้เป็นไป

ด้วยประการไร. บาลีว่า กถ โว ยาเปถ ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า

ท่านยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยอาการอย่างไร. บทว่า สุปาปธมฺมิโน

ได้แก่ ผู้มีบาปธรรม ด้วยดี คืออย่างยิ่ง. บทว่า ปหูตโภเคสุ

ความว่า เมื่อโภคะอันหาที่สุดมิได้ คืออย่างยิ่ง มีอยู่. บทว่า

อนปฺปเกสุ แปลว่า ไม่น้อย คือมาก. บทว่า สุข วิราธาย ได้แก่

เบื่อหน่าย คือไม่ยินดีความสุข เพราะไม่ทำบุญอันเป็นเหตุให้เกิด

ความสุข. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สุขสฺส วิราเธน ก็มี. บทว่า

ทุกฺขชฺช ปตฺตา ความว่า วันนี้คือบัดนี้ ท่านได้รับความทุกข์อัน

นับเนื่องในกำเนิดเปรตนี้.

เปรตทั้งหลาย ถูกสามเณรถามอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะแก้

ข้อความที่สามเณรถาม จึงได้ภาษิตคาถา ๕ คาถาว่า :-

ข้าพเจ้าทั้งสอง ตีซึ่งกันและกันแล้ว กิน

หนองและเลือดของกันและกัน ได้ดื่มหนองและ

เลือดเป็นอันมาก ก็ยังไม่หายอยาก มีความหิว

อยู่เป็นนิตย์ สัตว์ทั้งหลายไม่ได้ให้ทาน ละไป

แล้ว เกิดในยมโลก ย่อมร่ำไรอยู่ เหมือนข้าพเจ้า

ทั้ง ๒ ฉะนั้น สัตว์เหล่าใดได้ประสพโภคะต่าง ๆ

แล้วไม่ใช้สอยเอง ไม่ทำบุญ สัตว์เหล่านั้น จัก

ต้องหิวกระหายในปรโลก ภายหลังถูกความหิว

แผดเผาไหม้อยู่สิ้นกาลนาน ครั้นทำกรรมทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

หลายมีผลเผ็ดร้อน เป็นทุกข์ เป็นกำไรแล้ว ย่อม

ได้เสวยทุกข์ บัณฑิตทั้งหลาย รู้ทรัพย์และข้าว

เปลือกเป็นอย่างหนึ่ง รู้ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ใน

มนุษยโลกนี้ เป็นอย่างหนึ่ง รู้ทรัพย์ ข้าวเปลือก

และชีวิตมนุษย์ เป็นอีกอย่างหนึ่ง จากสิ่งนอกนี้

แล้ว พึงทำที่พึ่งของตน ชนเหล่าใด เป็นผู้ฉลาด

ในธรรม ฟังคำของพระอรหันต์ทั้งหลายแล้ว มา

รู้ชัดอย่างนี้ ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ไม่ประมาทใน

ทาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ธาตา โหม ความว่า ข้าพเจ้า

ยังไม่หายอยาก คือ ยังไม่หายอิ่มหนำ. บทว่า นจฺฉาทิมฺหเส แปลว่า

ยังไม่อิ่มใจ, คือ ไม่ยังความชอบใจให้เกิดขึ้น, อธิบายว่า พวกเรา

ไม่ได้ดื่มหนองและเลือดนั้นตามความชอบใจของตน. บทว่า อิจฺเจว

แก้เป็น เอวเมว แปลว่า ฉันนั้นนั่นแล. บทว่า มจฺจา ปริเทวยนฺติ

ความว่า พวกมนุษย์แม้เหล่าอื่น ผู้ทำบาปไว้ ย่อมรำพัน ย่อม

คร่ำครวญ เหมือนพวกเรา. บทว่า อทายกา ได้แก่ เป็นผู้ไม่ให้

เป็นปกติ คือเป็นผู้ตระหนี่. บทว่า ยมสฺส ายิโน ได้แก่ เป็นผู้

มีปกติตั้งอยู่ ในฐานะแห่งพระยายม อันเข้าใจกันว่า ยมโลก คือ

ในเปตวิสัย. บทว่า เย เต วิทิจฺจ อธิคมฺม โภเค ความว่า ชนเหล่านั้น

เหล่าใด ได้ประสบคือได้รับ โภคะต่าง ๆ อันเป็นความสุขพิเศษ

ในบัดนี้ และในต่อไป. บทว่า น กุญฺชเร นาปิ กโรนฺติ ปุญฺ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

ความว่า ย่อมไม่บริโภค แม้ด้วยตนเองเหมือนพวกเรา เมื่อจะให้

แก่ชนเหล่าอื่น ก็ไม่ทำบุญอันสำเร็จด้วยทาน.

บทว่า เต ขุปฺปิปาสุปคตา ปรตฺถ ความว่า สัตว์เหล่านั้น

จะต้องถูกความหิวกระหายครอบงำ ในโลกหน้า คือ ในปรโลก

ได้แก่ในเปตวิสัย. บทว่า จิร ฌายเร ฑยฺหมานา ความว่า ถูกไฟ

คือทุกข์ อันมีความหิวเป็นต้น เป็นเหตุ คือ ถูกไฟคือความเดือดร้อน

อันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า พวกเราไม่ได้กระทำกุศลไว้เลย ทำแต่

ความชั่ว ดังนี้ แผดเผาไหม้อยู่คือ ทอดถอนอยู่. บทว่า อนุโภนฺติ

ทุกฺข กฎุกปฺผลานิ ความว่า คนเหล่านั้นครั้นทำบาปกรรม อันมีผล

ไม่น่าปรารถนาแล้ว ย่อมเสวยทุกข์ คือทุกข์อันเป็นไปในอบาย

ตลอดกาลนาน.

บทว่า อิตฺตร ความว่า ไม่ตั้งอยู่ตลอดกาลนาน คือ ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา. บทว่า อิตฺตร อิธ ชีวิต ความว่า

แม้ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ในมนุษยโลกนี้ นิดหน่อย คือมีประมาณ

เล็กน้อย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ผู้ใดเป็นอยู่

ได้นาน ผู้นั้นก็เป็นอยู่เพียง ๑๐๐ ปี หรือเกินไปเพียงเล็กน้อย.

บทว่า อิตฺตร อิตฺตรโต ตฺวา ความว่า ใคร่ครวญด้วยปัญญาว่า

เครื่องอุปกรณ์มีทรัพย์และธัญญาหารเป็นต้น และชีวิตของมนุษย์

ทั้งหลาย มีนิดหน่อยคือ มีชั่วขณะ ได้แก่ไม่นาน. บทว่า ทีป

กยิราถ ปณฺฑิโต ความว่า บุรุษผู้มีปัญญา พึงทำเกาะคือที่พึ่ง

ของตนให้เป็นที่ตั้งอาศัย แห่งหิตสุขในปรโลก. บทว่า เย เต เอว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

ปชานนฺติ ความว่า ชนเหล่านั้น เหล่าใด ย่อมรู้ตามความเป็นจริง

ว่า โภคะและชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นของนิดหน่อย ชนเหล่านั้น

ย่อมไม่ประมาทในทานตลอดกาลทุกเมื่อ. บทว่า สุตฺวา อรหต

วโจ ความว่า ได้ฟังคำของพระอรหันต์ทั้งหลาย คือของพระ-

อริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น, อธิบายว่าเพราะฟัง. คำที่

เหลือ ปรากฏชัดแล้วทีเดียว.

เปรตเหล่านั้น ถูกสามเณรถามแล้วอย่างนี้ จึงบอกความ

นั้นแล้ว ประกาศว่า พวกเราเป็นลุงและป้าของท่าน. สามเณรได้ฟัง

ดังนั้นแล้ว เกิดความสลดใจ บันเทาความกลุ้มใจเสียได้ ซบศีรษะ

ลงที่แทบเท้าทั้ง ๒ ของพระอุปัชฌาย์แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ข้อที่ท่านผู้อนุเคราะห์ อาศัยความเอ็นดูพึงกระทำนั้น

เป็นอันท่านกระทำแล้ว แก่กระผม กระผมจะรักษาไว้ โดยไม่ให้

ตกไปสู่ความพินาศเป็นอันมาก, บัดนี้ เราไม่มีความต้องการ

ด้วยการครองเรือน เราจักยินดียิ่งในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์.

ลำดับนั้น ท่านสังกิจจะ ได้บอกกัมมัฏฐานอันเหมาะสมแก่อัธยาศัย

ของสามเณรนั้น. สามเณรนั้นหมั่นประกอบพระกัมมัฏฐาน ไม่นาน

นักก็บรรลุพระอรหัต. ฝ่ายท่านสังกิจจะ ได้กราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. พระศาสดา ทรงกระทำเรื่องนั้น

ให้เป็นอัตถุปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร แก่บริษัทผู้

พรั่งพร้อมแล้ว. พระเทศนานั้น ได้มีประโยชน์แก่มหาชนฉะนี้แล.

จบ อรรถกถานาคเปตวัตถุที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

๑๒. อุรคเปตวัตถุ

ว่าด้วยมาอย่างไรไปอย่างนั้น

พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะบอกเหตุแห่งการไม่เศร้าโศก

จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า

[๙๗] บุตรของเรา ละสรีระอันคร่ำคร่าของตน

ไป เหมือนงูลอกคราบฉะนั้น เมื่อสรีระแห่งบุตร

ของเรา ใช้สอยไม่ได้ ละไปแล้ว มีกาละอัน

กระทำแล้วอย่างนี้ บุตรของเราเมื่อญาติเผาอยู่

ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของญาติทั้งหลาย

เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา คติอันใด

ของเขามีอยู่ เขาได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.

นางพราหมณีกล่าวว่า

บุตรของดิฉัน ดิฉันไม่ได้เชิญมา ก็มาแล้ว

จากปรโลก ดิฉันไม่ได้อนุญาตให้ไป ก็ไปแล้ว

จากมนุษยโลกนี้ เขามาอย่างไร เขาก็ไปอย่างนั้น

ทำไมจะต้องไปร่ำไรในการไปจากโลกนี้ของเขา

เล่า บุตรของดิฉันเมื่อพวกญาติเผาอยู่ ย่อมไม่

รู้สึกถึงความร่ำไรของหมู่ญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉัน

จึงไม่ร้องไห้ถึงบุตรนั้น คติอันใดของเขามีอยู่

เขาได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

น้องสาวกล่าวว่า

ถ้าดิฉันร้องไห้ ก็จะเป็นผู้ซูบผอม ผล

อะไรจะพึงมีแก่ดิฉันในการร้องไห้นั้น ความไม่

สบายใจก็จะพึงมีแก่ญาติและมิตรสหายทั้งหลาย

โดยยิ่ง พี่ชายของดิฉันอันญาติเผาอยู่ ย่อมไม่

รู้สึกถึงความร่ำไรของญาติทั้งหลาย เพราะฉะนั้น

ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงพี่ชายของดิฉันนั้น คติอันใด

ของเขามีอยู่ เขาได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.

ส่วนภรรยาของเขากล่าวว่า

ผู้ใดเศร้าโศกถึงคนที่ล่วงลับไปแล้ว ผู้

นั้นก็เปรียบเหมือนทารกร้องไห้ถึงพระจันทร์

อันลอยอยู่ในอากาศฉะนั้น สามีของดิฉันอันญาติ

เผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของพวกญาติ

เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงเขา คติอันใด

ของเขามีอยู่ เขาได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.

ส่วนนางทาสีกล่าวว่า

ข้าแต่ท่านผู้เป็นเหล่ากอแห่งพรหม หม้อ

น้ำอันแตกแล้ว พึงประสานให้ติดอีกไม่ได้ ฉันใด

ผู้ใดเศร้าโศกถึงผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้นั้นก็เปรียบ

เหมือนฉันนั้น นายของดิฉันอันพวกญาติเผาอยู่

ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของญาติทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงท่าน คติอันใด

ของท่านมีอยู่ ท่านได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.

จบ อุรคเปตวัตถุที่ ๑๒

อรรถกถาอุรคเปตวัตถุที่ ๑๒

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภ

อุบาสกคนหนึ่ง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า อุรโคว ตจ ชิณฺณ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี บุตรของอุบาสกคนหนึ่ง ได้ถึง

แก่กรรมลง. เพราะเหตุที่บุตรตายลง อุบาสกนั้น จึงถึงความ

เศร้าโศกร่ำไร ออกไปข้างนอก ไม่อาจจะทำการงานอะไร ๆ ได้

จึงอยู่แต่ในเรือนเท่านั้น. ครั้นในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาเสด็จ

ออกจากพระมหากรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ

ทรงเห็นอุบาสกนั้น ในเวลาเช้า ทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและ

จีวร ได้เสด็จไปยังเรือนของอุบาสกนั้นแล้ว ประทับยืนอยู่ที่ประตู.

ฝ่ายอุบาสก ทราบว่าพระศาสดาเสด็จมา จึงรีบลุกขึ้นไปต้อนรับ

แล้ว รับบาตรจากพระหัตถ์ แล้วให้เสด็จเข้าบ้าน ให้คนปูลาด

อาสนะถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งบนอาสนะที่เขา

ปูลาดไว้แล้ว ฝ่ายอุบาสกไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ส่วน

ข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะอุบาสกนั้นว่า ดูก่อนอุบาสก

ทำไมจึงปรากฏดูเหมือนเศร้าโศกไป. อุบาสกกราบทูลว่า พระเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บุตรที่รักของข้าพระองค์ตายไป เพราะ

เหตุนั้น ข้าพระองค์จึงเศร้าโศก. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงบันเทาความเศร้าโศกของเขา จึงตรัสอรุคชาดกว่า :-

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ได้มี

ตระกูลพราหมณ์ ชื่อว่า ธรรมปาละ. ในตระกูลพราหมณ์นั้น

มีคนเหล่านี้คือ พราหมณ์ พราหมณี บุตร ธิดา ลูกสะใภ้ และทาสี

ทั้งหมดได้มีความยินดีในการเจริญมรณานุสสติ. บรรดาชนเหล่านั้น

คนผู้ที่จะออกไปจากเรือน จะให้โอวาทคนที่เหลือแล้ว ไม่ห่วงใย

ออกไป. ครั้นวันหนึ่ง พราหมณ์กับบุตรออกจากเรือนไปไถนา.

บุตร สุมหญ้าใบไม้สละฟืนแห้ง ๆ อยู่. งูเห่าตัวหนึ่งในที่นั้น

เลื้อยออกจากโพรงไม้ เพราะกลัวถูกเผาไฟจึงกัดบุตรคนนี้ของ

พราหมณ์. เขาสลบไปเพราะกำลังพิษล้มลงตรงนั้นเอง ตายแล้ว เกิด

เป็นท้าวสักกเทวราช. พราหมณ์เห็นบุตรตายแล้ว จึงพูดกะบุรุษ

คนหนึ่ง ผู้เดินไปใกล้ที่ทำงานอย่างนี้ว่า สหายเอ๋ย ท่านจงไปเรือน

ของเรา แล้วบอกนางพราหมณีอย่างนี้ว่า จงอาบน้ำ นุ่งผ้าขาว

ถือเอาภัตรและดอกไม้ของหอมเป็นต้น สำหรับคนผู้เดียวแล้วจง

รีบมา. บุรุษนั้นไปที่เรือนนั้นแล้ว บอกให้ทราบอย่างนั้น. ฝ่ายชน

ในเรือนก็ได้ทำตาม. พราหมณ์ อาบน้ำ บริโภคอาหารแล้วลูบไล้

มีชนบริวารห้อมล้อม ยกร่างของบุตรขึ้นเชิงตะกอน จุดไฟเผา

ไม่เศร้าโศก ไม่เดือดร้อน ได้ยินมนสิการถึงอนิจจสัญญา เหมือน

เผาท่อนไม้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

ลำดับนั้น บุตรของพราหมณ์ บังเกิดเป็นท้าวสักกะ. และ

ท้าวสักกะนั้น ก็ได้เป็นพระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย. พระองค์

ทรงพิจารณาชาติก่อนของพระองค์ และบุญที่ได้ทำไว้ เมื่อจะ

อนุเคราะห์บิดาและพวกญาติ จึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์มาใน

ที่นั้น เห็นพวกญาติไม่เศร้าโศก จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญเผามฤค

จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้าบ้าง ข้าพเจ้าหิวจริง. พราหมณ์กล่าวว่า

ไม่ใช่มฤค แต่เป็นมนุษย์นะพราหมณ์. ท้าวสักกะกล่าวว่า ผู้นี้

เป็นศัตรูของพวกท่านหรือไง. พราหมณ์กล่าวว่า ไม่ใช่ศัตรู

เขาเป็นบุตรรุ่นหนุ่ม มีคุณมาก เป็นโอรสเกิดในอก. ท้าวสักกะ

กล่าวว่า เมื่อบุตรรุ่นหนุ่มมีคุณเห็นปานนั้นตายไป ทำไมพวกท่าน

จึงไม่เศร้าโศกกันเล่า. พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น เมื่อจะบอกเหตุที่

ไม่เศร้าโศก จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-

บุตรของเรา ละสรีระอันคร่ำคร่าของตน

ไป เหมือนงูลอกคราบ เมื่อสรีระใช้สอยไม่ได้

ละไปแล้วทำกาละไปแล้วอย่างนี้ บุตรของเรา

เมื่อญาติเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ถึงความร่ำไรของพวก

ญาติได้ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา.

คติอันใดของเขามีอยู่ เขาก็ได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุรโค ความว่า ชื่อว่า อุรคะ

เพราะไปด้วยอก. คำว่า อุรโค นี้ เป็นชื่อของงู. บทว่า ตจ ชิณฺณ

ได้แก่ หนังคือคราบของตน อันคร่ำคร่าคือเก่า เพราะความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

ทรุดโทรม. บทว่า หิตฺวา คจฺฉติ สนฺตนุ ความว่า งูลอกละทิ้ง

คราบเก่าของตนจากร่าง ในระหว่างต้นไม้ ในระหว่างไม้ฟืน

ในระหว่างโคนต้นไม้ หรือในระหว่างแผ่นหิน เหมือนคนถอดเสื้อ

แล้วไปตามความต้องการ ฉันใด สัตว์ผู้หมุนเวียนไปในสงสาร

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ละร่างของตน คือสรีระของตน อันชื่อว่า

เป็นของคร่ำคร่า เพราะกรรมเก่าหมดสิ้นไป คือ ไปตามกรรม.

อธิบายว่า อุบัติ โดยภพใหม่. พราหมณ์เมื่อจะแสดงถึงร่างกาย

ของบุตรที่กำลังพากันเผาอยู่ จึงกล่าวว่า เอว ดังนี้เป็นต้น. บทว่า

สรีเร นิพฺโภเค ได้แก่ เมื่อร่างกายแม้ของตนเหล่าอื่น ที่ใช้สอยไม่ได้

อย่างนี้ ก็ไม่เกิดประโยชน์ เหมือนร่างกายของบุตรนี้. บทว่า

เปเต ได้แก่ ปราศจาก อายุ ไออุ่น และวิญญาณ. บทว่า กาลกเต สติ

ได้แก่ ตายไปแล้ว. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะร่างกายที่ถูกเผา

ย่อมไม่รู้สึกถึงการร้องไห้ ทั้งความร่ำไรของพวกญาติ เหมือน

บุตรของเรา ไม่รู้ความทุกข์ที่เกิดแต่การเผา เพราะปราศจาก

วิญญาณ ฉะนั้น เราทำบุตรคนนี้ของเราให้เป็นเหตุ จึงไม่ร้องไห้.

บทว่า คโต โส ตสฺส ยา คติ ความว่า หากว่า สัตว์ที่ตายไปแล้ว

ทั้งหลาย ไม่ขาดศูนย์ไซร้ ถึงกระนั้น ผู้ตายพึงหวังคติใด ด้วย

อำนาจกรรมที่มีโอกาสได้กระทำไว้ เขาก็ไปสู่คตินั้น ถัดจาก

การจุติทีเดียว, อธิบายว่า เขาย่อมไม่หวัง การร้องไห้ หรือความ

ร่ำไร ของพวกญาติคนก่อน ๆ ทั้งการร้องไห้ของพวกญาติคน

ก่อน ๆ ก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไร ๆ เสียโดยมาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

เมื่อพราหมณ์ได้กล่าวถึงเหตุที่ตนไม่เศร้าโศก เมื่อได้

ประกาศถึงความฉลาดในมนสิการโดยปริยายอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะ

ผู้มาในรูปร่างพราหมณ์ จึงตรัสกะนางพราหมณีว่า แม่คุณ

ผู้ตายนั้น เป็นอะไรกับท่าน. พราหมณีกล่าวว่า นาย เขาเป็น

บุตรของฉัน ฉันบริหารครรภ์มาถึง ๑๐ เดือน ให้ดื่มน้ำนม ประคบ

ประหงมมือและเท้า จนเติบโต. ท้าวสักกะตรัสว่า ถ้าเมื่อเป็น

เช่นนี้ เริ่มแรกบิดา ไม่ร้องไห้ เพราะเขาเป็นผู้ชาย, แต่ธรรมดา

ว่ามารดามีหทัยอ่อนโยน เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่รู้องไห้เล่า.

นางได้ฟังดังนั้น เมื่อจะบอกเหตุที่ไม่รู้องไห้ จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-

บุตรของดิฉัน ดิฉันไม่ได้เชิญมาก็มาจาก

ปรโลกนั้น ดิฉันไม่ได้อนุญาตให้ไป ก็ไปแล้ว

จากมนุษยโลกนี้ เขามาอย่างใด เขาก็ไปอย่าง

นั้น ทำไมจะต้องไปร่ำไร ในการไปจากโลกนี้ของ

เขาเล่า. เขาถูกพวกญาติเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึก

ถึงความร่ำไร ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉัน

จึงไม่ร้องไห้ถึงเขา, คติอันใดของเขามีอยู่ เขาก็

ได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนพฺภิโต แปลว่า ไม่ได้เรียกมา

คือ ไม่ได้ร้องเรียกอย่างนี้ว่า เจ้าจงมาเป็นบุตรของเราเถิด. บทว่า

ตโต ได้แก่ จากปรโลกที่เขาเคยอยู่มาก่อน. บทว่า อาคา แปลว่า

มาแล้ว. บทว่า นานุญฺาโต แปลว่า ไม่ได้อนุมัติ คือ พวกเรามิได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

ปล่อยไปอย่างนี้ว่า จงไปปรโลกเถิดพ่อ. บทว่า อิโต โยคว่า

อิธโลกโต แปลว่า จากโลกนี้. บทว่า คโต แปลว่า ไปปราศแล้ว.

บทว่า ยถาคโต ได้แก่ มาแล้วโดยอาการใด, อธิบายว่า พวกเรา

ไม่ได้เรียกก็มา. บทว่า ตถา คโต ได้แก่ ไปแล้ว โดยอาการนั้น

เหมือนกัน. พราหมณีแสดงถึงกรรมที่บุตรนั้นกระทำว่า เขามา

ด้วยกรรมของตนเองอย่างใด เขาก็ไปด้วยกรรมของตนเองอย่างนั้น.

บทว่า ตตฺถ กา ปริเทวนา ความว่า ทำไมจะไปมัวร่ำไร เพราะ

อาศัยความตายในการเวียนว่ายอยู่ในสงสาร ที่ไม่อยู่ในอำนาจ

อย่างนี้เล่า. พราหมณีแสดงว่า ความร่ำไรนั้น ไม่สมควร ผู้มีปัญญา

ไม่พึงกระทำ.

ท้าวสักกะครั้นได้สดับคำของนางพราหมณีอย่างนี้แล้ว

จึงถามน้องสาวของเขาว่า แม่คุณ เขาเป็นอะไรกับเธอหรือ ?

น้องสาวตอบว่า เขาเป็นพี่ชายของฉันจ๊ะนาย. ท้าวสักกะถามว่า

แน่ะแม่ ธรรมดาว่าน้องสาว จะต้องรักพี่ชาย เพราะเหตุไร

เธอจึงไม่รู้องไห้เล่า. ฝ่ายนางเมื่อจะบอกเหตุที่ไม่ร้องไห้ จึงกล่าว

๒ คาถาว่า :-

ถ้าดิฉันร้องไห้ ก็จะฝ่ายผอม ผลอะไรจะ

พึงมีแก่ฉัน ในการร้องให้นั้น ความไม่สบายใจ

ก็จะพึงมีแก่ญาติมิตรและสหายยิ่งขึ้น. พี่ชาย

ของดิฉันถูกเผาอยู่ ยังไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

พวกญาติเลย เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึง

เขา คติอันใดของเขามีอยู่ เขาก็ไปสู่คติอันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ โรเท กิสา อสฺส ความว่า

ถ้าเราจะพึงร้องไห้ คือ เราก็จะซูบผอม มีร่างกายเหี่ยวแห้ง.

บทว่า ตตฺถ เม กึ ผล สิยา ความว่า จะมีผลชื่อไร จะมีอานิสงส์

ชื่อไร ในการร้องไห้ ซึ่งมีการตายของพี่ชายฉันเป็นเหตุนั้น, อธิบายว่า

พี่ชายของฉันก็จะไม่พึงมา เพราะการร้องไห้นั้น ทั้งเขาก็จะ

ไม่ไปสู่สุคติ เพราะการร้องไห้นั้น. บทว่า าติมิตฺตสุหชฺชาน

ภิยฺโย โน อรตี สิยา ความว่า ความไม่สบายใจ คือความลำบาก

เท่านั้น แม้ที่ยิ่งกว่าความทุกข์ในเพราะการตายของพี่ชาย จะพึง

มีแก่ญาติ มิตร และสหาย ของพวกเรา เพราะความเศร้าโศกของ

ดิฉัน.

ท้าวสักกะ ได้สดับคำของน้องสาวอย่างนั้นแล้ว จึงกล่าว

กะภริยาของเขาว่า เธอเป็นอะไรกะเขา ? นางตอบว่า เขาเป็น

สามีของดิฉันจ๊ะนาย. ท้าวสักกะตรัสว่า นางผู้เจริญ ธรรมดา

สตรีย่อมมีความเสน่หาในสามี และหญิงหม้ายในสามีนั้น ย่อมเป็นคน

ไร้ที่พึ่ง เพราะเหตุไร เธอจึงไม่ร้องไห้. ฝ่ายนาง เมื่อจะบอกเหตุ

ที่ตนไม่ร้องไห้ จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-

ผู้ใดเศร้าโศก ถึงคนที่ล่วงลับไปแล้ว ผู้

นั้นก็เปรียบเหมือนทารก ร้องไห้ถึงพระจันทร์

อันลอยอยู่ในอากาศ ฉะนั้น. สามีดิฉันถูกพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

ญาติเผาอยู่ ยังไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของพวกญาติ

เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงเขา คติอันใด

ของเขามีอยู่ เขาก็ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทารโก ได้แก่ เด็กอ่อน. บทว่า

จนฺท ได้แก่ ดวงจันทร์. บทว่า คจฺฉนฺต ได้แก่ ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า.

บทว่า อนุโรทติ ความว่า ย่อมร้องไห้ว่า จงจับล้อรถให้ฉันเถิด.

บทว่า เอว สมฺปหเมเวต ความว่า ผู้ใดย่อมเศร้าโศกถึงผู้ล่วง

ลับไปแล้ว คือ ตายไปแล้ว, ความเศร้าโศกของผู้นั้น ก็เปรียบเหมือน

อย่างนั้น คือเห็นปานนั้น, อธิบายว่า เหมือนมีความต้องการจะจับ

พระจันทร์ ซึ่งลอยอยู่กลางอากาศ เพราะความอยากได้ในสิ่งที่

ไม่ควรจะได้.

ท้าวสักกะครั้นฟังคำภริยาของเขาอย่างนั้นแล้ว จึงถามทาสี

ว่า เธอเป็นอะไรกะเขา ทาสีตอบว่า เขาเป็นนายของดิฉันจ๊ะ

ท้าวสักกะกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น เธอคงจักถูกเขาโปยตีแล้ว

ใช้ให้ทำการงาน เพราะฉะนั้น เธอเห็นจะไม่ร้องไห้ ด้วยคิดว่า

เราพ้นดีแล้วจากเขา. นางทาสีกล่าวว่า นาย อย่าได้พูดอย่างนั้น

กะดิฉันเลย ทั้งข้อนั้นก็ไม่สมควรแก่ดิฉัน, บุตรของเจ้านายดิฉัน

พร้อมด้วยขันติ เมตตา และความเอ็นดู เป็นอย่างยิ่ง ชอบกล่าว

ความถูกต้อง ได้เป็นเหมือนบุตรที่เติบโตในอก. ท้าวสักกะกล่าวว่า

เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร เธอจึงไม่ร้องไห้. ฝ่ายนางทาสี

เมื่อจะบอกเหตุที่ตนไม่รู้องไห้ จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

ข้าแต่ท่านผู้เป็นเหล่ากอของพรหม หม้อ

น้ำที่แตกแล้ว จะพึงประสานให้ติดอีกไม่ได้

ฉันใด ผู้ใดเศร้าโศกถึงผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้นั้นก็

เปรียบเหมือนฉันนั้น นายของดิฉันถูกพวกญาติ

เผาอยู่ ก็ยังไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของพวกญาติ

เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องให้ถึงท่าน คติอันใด

ของท่านมีอยู่ ท่านก็ได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปิ พฺรหฺเม อุทกุมฺโภ ภินฺโน

อปฺปฏิสนธฺโย ความว่า ก่อนพราหมณ์ หม้อน้ำที่แตกไปด้วย

การทุบด้วยไม้ฆ้อนเป็นต้น จะประสานให้ติดกันอีกไม่ได้ คือจะ

ให้เป็นปกติอย่างเดิมไม่ได้. คำที่เหลือในคาถานี้ มีเนื้อความง่าย

ทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวไว้แล้ว.

ท้าวสักกะ ครั้นได้ฟังถ้อยคำของตนเหล่านั้นแล้ว มีจิต

เสื่อมใส จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลาย เจริญมรณัสสติชอบทีเดียว ตั้งแต่

นี้ไป ท่านทั้งหลาย ไม่มีกิจที่จะทำมีการไถนาเป็นต้น ดังนี้แล้ว

จึงทำเรือนของชนเหล่านั้น ให้เต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ โอวาทว่า

ท่านทั้งหลาย อย่าประมาทจงให้ทาน รักษาศีล ทำอุโบสถกรรม

และบอกให้คนเหล่านั้นรู้จักพระองค์แล้ว เสด็จไปสู่ที่ของพระองค์

แล. แม้ชนเหล่านั้น มีพราหมณ์เป็นต้น ทำบุญมีทานเป็นต้น ดำรง

อยู่ชั่วอายุแล้ว บังเกิดในเทวโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

พระศาสดา ครั้นทรงนำชาดกนี้มาแล้ว ทรงถอนลูกศร

คือความเศร้าโศกของอุบาสกนั้นแล้ว ทรงประกาศสัจจะให้สูง ๆ

ขึ้น. ในเวลาจบสัจจะ อุบาสก ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล.

จบ อรรถกถาอุรคเปตวัตถุที่ ๑๒

จบ ปรมัตถทีปนี

อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ

รวมเรื่องในอุรควรรค คือ

๑. เขตตูปมาเปตวัตถุ ๒. สูกรเปตวัตถุ ๓. ปูติมุขเปติวัตถุ

๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ ๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ ๖. ปัญจปุตตขา-

ทิกเปติวัตถุ ๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ ๘. โคณเปตวัตถุ

๙. มหาเปสการเปติวัตถุ ๑๐. ขัลลาติยเปติวัตถุ ๑๑. นาคเปตวัตถุ

๑๒. อุรคเปตวัตถุ.

จบ อุรควรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

อุพพรีวรรคที่ ๒

๑. สังสารโมจกเปติวัตถุ

ว่าด้วยไม่ทำบุญเกิดเป็นนางเปรต

ท่านพระสารีบุตรเถระถามนางเปรตตนหนึ่งว่า

[๙๘] ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด

ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ก่อนนางผู้

ซูบผอมมีแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครเล่ามายืนอยู่ใน

ที่นี้.

นางเปรตนั้นตอบว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต เข้าถึง

ทุคติเกิดในยมโลก ได้ทำกรรมอันชั่วไว้ จึงจาก

มนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก.

พระเถระถามว่า

ท่านทำกรรมชั่วอะไรด้วยกาย วาจา ใจ

เล่า ท่านจากมนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก เพราะ

วิบากแห่งกรรมอะไร.

นางเปรตนั้นตอบว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่าใดเป็นบิดาก็ดี

มารดาก็ดี หรือแม้เป็นญาติ ผู้มีจิตเลื่อมใส พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

ชักชวนดิฉันว่า จงให้ทานแก่สมณพราหมณ์

ทั้งหลาย ชนผู้อนุเคราะห์แก่ดิฉันเช่นนั้น มิได้มี,

ตั้งแต่นี้ไป ดิฉันจึงเป็นเปรตเปลือยกาย ถูกความ

หิวและความกระหายเบียดเบียน เที่ยวไปเช่นนี้

ตลอด ๕๐๐ ปี นี่เป็นผลแห่งบาปกรรมของดิฉัน

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันมีจิตเลื่อมใสจะขอไหว้

ท่าน ข้าแต่ท่านผู้แกล้วกล้า มีอานุภาพมาก ขอ

ท่านจงอนุเคราะห์แก่ดิฉันเถิด ขอท่านจงให้ทาน

อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วจงอุทิศกุศลมาให้ดิฉัน

บ้าง ขอท่านจงเปลื้องดิฉันจากทุคติด้วยเถิด.

ท่านพระสารีบุตรเถระผู้มีใจอนุเคราะห์ รับคำ

ของนางเปรตนั้นแล้ว จึงถวายข้าวคำหนึ่ง ผ้า

ประมาณเท่าฝ่ามือผืนหนึ่ง และน้ำดื่มขันหนึ่ง

แก่ภิกษุรูปหนึ่งแล้ว อุทิศส่วนบุญไปให้นางเปรต

นั้น พอท่านพระสารีบุตรเถระอุทิศส่วนบุญให้

ข้าว น้ำและเครื่องนุ่งห่ม ก็บังเกิดขึ้นทันที นี้เป็น

ผลแห่งทักษิณา ภายหลังนางเปรตนั้นมีร่างกาย

บริสุทธิ์ นุ่งห่มผ้าอันสะอาด มีค่ามากยิ่งกว่าผ้า

แคว้นกาสี มีวัตถาภรณ์อันวิจิตรงดงาม เข้าไปหา

ท่านพระสารีบุตรเถระ.

พระสารีบุตรเถระถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

ดูก่อนนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่ง

นัก ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาว

ประกายพรึก ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรม

อะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะ

กรรมอะไร และโภคะทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นที่รัก

แห่งใจ ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะกรรมอะไร ดู

ก่อนนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก เราขอถามท่าน

ท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ อนึ่ง ท่านมี

อานุภาพอันรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว

ทุกทิศอย่างนี้ เพราะกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้นตอบว่า

เมื่อก่อนดิฉันเป็นเปรต พระคุณเจ้าเป็นมุนี

มีความกรุณาในโลก ได้เห็นดิฉันซูบผอมเหลือง

ถูกความหิวแผดเผา เปลือยกาย มีหนังแตกเป็น

ริ้วรอย เสวยทุกขเวทนา ได้ถวายข้าวคำหนึ่ง ผ้า

ประมาณเท่าฝ่ามือผืนหนึ่ง น้ำดื่มขันหนึ่ง แก่

ภิกษุ แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ดิฉัน ขอท่านจงดู

ผลแห่งข้าวคำหนึ่งที่พระเจ้าถวายแล้ว ดิฉัน

เป็นผู้ประกอบด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา บริโภค

อาหารมีกับข้าวมีรสหลายอย่าง ตั้งพัน ๆ ปี ขอ

พระคุณเจ้าจงดูผลแห่งการถวายผ้าประมาณเท่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

ฝ่ามือ ที่ดิฉันได้รับนี้เถิด ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ

ผ้าในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทราชมีประมาณ

เท่าใด ผ้านุ่งผ้าห่มของดิฉันมีมากกว่านั้นอีก คือ

ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าฝ้าย ผ้าแม้เหล่านั้น

ทั้งกว้างทั้งยาว ทั้งมีค่ามาก ห้อยอยู่ในอากาศ

ดิฉันเลือกเอาแต่ผืนที่พอใจนุ่งห่ม ขอพระคุณเจ้า

จงดูผลแห่งการถวายน้ำดื่มขันหนึ่งซึ่งดิฉันได้รับ

อยู่นี้ สระโบกขรณี ๔ เหลี่ยมลึก อันบุญกรรม

สร้างให้ดีแล้ว มีน้ำใส มีท่าราบเรียบ มีน้ำเย็น

มีกลิ่นหอม หาสิ่งเปรียบมิได้ ดารดาษไปด้วย

ดอกปทุมและดอกอุบล เต็มไปด้วยน้ำอันดารดาษ

ไปด้วยเกษรบัว ดิฉันปราศจากภัย ย่อมรื่นรมย์

ชื่นชมบันเทิงใจ ข้าแต่พระคุณจ้าผู้เจริญ ดิฉันมา

เพื่อจะไหว้พระคุณเจ้าผู้เป็นมุนี ผู้มีความกรุณา

ในโลก.

จบ สังสารโมจกเปติวัตถุที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

อุพพรีวรรคที่ ๒

อรรถกถาสังสารโมจกเปติวัตถุที่ ๑

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภ

นางเปรตตนหนึ่ง ในบ้านชื่อว่า อิฏฐกวดี แคว้นมคธ จึงตรัสคำเริ่มต้น

ว่า นคฺคา ทุพฺพณฺณรูปาสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในแคว้นมคธ ได้มีหมู่บ้าน ๒ หมู่ คือ หมู่บ้าน

อิฏฐกวดี และหมู่บ้านทีฆราชิ. ใน ๒ หมู่บ้านนั้น มีพวกคนมิจฉา-

ทิฏฐิ. พวกสังสารโมจกะเป็นอันมากอยู่ประจำ. ก็ในอดีตกาล

ในที่สุด ๕๐๐ ปี มีหญิงคนหนึ่ง บังเกิดในตระกูลสังสารโมจกะ

ตระกูลหนึ่ง ในบ้านอิฏฐกวดีนั้นแหละ ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ

ฆ่าแมลงชนิดตั๊กแตนเป็นจำนวนมาก แล้วบังเกิดเป็นเปรต.

นางเสวยทุกข์มีความหิวกระหายเป็นต้น ถึง ๕๐๐ ปี เมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรง

ประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จเข้าไปอาศัยเมืองราชคฤห์

ประทับอยู่ในพระเวฬุวันโดยลำดับ นางกับมาเกิดในตระกูล

สังสารโมจกะนั้นแล ตระกูลหนึ่ง ในหมู่บ้านอิฏฐกวดี ในเวลา

ที่นางมีอายุ ๗-๘ ขวบ ได้สามารถเล่นรถกับพวกเด็กหญิงอื่น ๆ

ได้ ท่านพระสารีบุตรเถระ. อาศัยบ้านนั้นนั่นเหละ อยู่ในอรุณวดี-

วิหาร วันหนึ่ง พร้อมด้วยภิกษุ ๑๒ รูป เดินเลยไปตามนางใกล้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

ประตูบ้านนั้น. ในขณะนั้น เด็กหญิงชาวบ้านเป็นจำนวนมาก

ออกจากบ้านไปเล่นอยู่ใกล้ประตู มีใจเลื่อมใส จึงรีบมาไหว้

พระเถระและภิกษุเหล่านั้น ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ตามที่เห็น

มารดาบิดาปฏิบัติ. ส่วนหญิงคนนี้นั้น เป็นธิดาแห่งตระกูลที่ไม่มี

ศรัทธา ขาดความประพฤติของคนดี เพราะไม่ได้สั่งสมกุศลไว้

เสียนาน จึงไม่เอื้อเฟื้อ ยืนอยู่เหมือนคนไม่มีโชค. พระเถระเห็น

ความประพฤติในกาลก่อนของนาง การที่นางมาเกิดในตระกูล

สังสารโมจกะในบัดนี้ และการที่นางสมควรแก่การเกิดในนรก

ต่อไป ทราบว่า ถ้าหญิงคนนี้ จักไหว้เราไซร้ จักไม่บังเกิดในนรก

แม้เมื่อเกิดเป็นเปรต จักได้สมบัติเพราะอาศัยเราเหมือนกัน ดังนี้

เป็นผู้มีใจถูกกรุณาตักเตือน จึงกล่าวกะเด็กหญิงเหล่านั้นว่า

พวกเจ้าไหว้ภิกษุทั้งหลาย แต่เด็กหญิงคนนี้ ยืนอยู่เหมือนคนไม่มี

โชค. ลำดับนั้น เด็กหญิงเหล่านั้น จึงพากันจับมือนางฉุดคร่ามา

ให้ไหว้เท้าพระเถระโดยพลการ.

สมัยต่อมา นางเจริญวัย บิดามารดายกให้แก่กุมารคนหนึ่ง

ในตระกูลสังขารโมจกะ ในบ้านทีฆราชิ พอครรภ์แก่เต็มที่ก็ตายไป

บังเกิดเป็นเปรต เปลือยกายรูปร่างน่าเกลียด ถูกความหิวกระหาย

ครอบงำ พบเห็นเข้า น่าเกลียดเป็นอย่างยิ่ง เที่ยวไปในตอน

กลางคืน แสดงตนแก่ท่านพระสารีบุตรเถระแล้ว ยืนอยู่ ณ ส่วน

ข้างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

พระเถระเห็นนางนั้น จึงถามด้วยคาถาว่า :-

ท่านเปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด ซูบ

ผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูก่อนนางผู้ซูบผอม

มีแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครเล่า มายืนอยู่ในที่นี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมนิสนฺถตา ได้แก่ มีตัวสะพรั่ง

ไปด้วยหมู่แห่งเส้นเอ็น เพราะไม่มีเนื้อและเลือด. บทว่า อุปฺผาสุลิเก

ได้แก่ มีซี่โครงโผล่ขึ้นมา. บทว่า กิสิเก ผู้มีร่างกายผ่ายผอม.

เมื่อตอนแรกพระเถระกล่าวว่า กิสา แล้วกล่าวซ้ำว่า กิสิเก อีก

เพื่อจะแสดงว่า นางเป็นผู้ผอมอย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้มีร่างกาย

เหลือเพียงกระดูกหนังและเส้นเอ็น. นางเปรตได้ฟังดังนี้แล้ว

เมื่อจะประกาศตน จึงกล่าวคาถาว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรตเข้าถึง

ทุคติ เกิดในยมโลก เพราะทำบาปกรรมไว้ จึง

จากมนุสสโลกนี้ไปสู่เปตโลก.

ถูกพระเถระถามถึงกรรมที่ทำไว้อีกว่า :-

ท่านทำกรรมชั่วอะไร ด้วยกาย วาจา และ

ใจ ไว้เล่า เพราะวิบากของกรรมอะไร ท่านจึง

จากมนุสสโลกนี้ ไปสู่เปตโลกดังนี้.

เมื่อนางจะแสดงว่า ดิฉันไม่เคยให้ทานเลย เป็นคนตระหนี่

จึงเกิดในกำเนิดเปรต เสวยทุกข์มหันต์ถึงอย่างนี้ จึงได้กล่าว

๓ คาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่าใดเป็นบิดา

ก็ดี มารดาก็ดี หรือว่าเป็นญาติก็ดี มีจิตเลื่อมใส

จึงชักชวนดิฉันว่า จงให้ทานแก่สมณพราหมณ์

คนผู้อนุเคราะห์แก่ดิฉันเช่นนั้น มิได้มี. ตั้งแต่

นี้ไป ดิฉันจึงเป็นเปรตเปลือยกาย มีความหิว

และความกระหายเบียดเบียน เที่ยวไปเช่นนี้ ถึง

๕๐๐ ปี นี้ เป็นผลแห่งบาปกรรมของดิฉัน. ข้าแต่

พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันมีจิตเลื่อมใสจะขอไหว้ท่าน

ข้าแต่ท่านผู้แกล้วกล้า มีอานุภาพมาก ขอท่านจง

อนุเคราะห์แก่ดิฉันเถิด ขอท่านจงให้ทานอย่างใด

อย่างหนึ่ง แล้วอุทิศกุศลมาให้ดิฉัน ขอท่านจง

เปลื้องดิฉันจากทุคคติด้วยเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุกมฺปกา ได้แก่ ผู้อนุเคราะห์

ด้วยประโยชน์อันจะเป็นไปในภพหน้า. นางเรียกพระเถระว่า

ท่านผู้เจริญ. มีวาจาประกอบความว่า บทว่า เย ม นิโยเชยฺยุ

ความว่า ชนเหล่าใด จะเป็นมารดาบิดา หรือญาติก็ตาม เป็นผู้

มีจิตเลื่อมใสเช่นนี้ จะพึงชักจูงเราว่า จงให้ทานแก่สมณพราหมณ์

เถิด, ชนผู้อนุเคราะห์เช่นนั้น ไม่ได้มีแก่ดิฉันเลย.

บทว่า อิโต อห วสฺสสตานิ ปญฺจ ย เอวรูปา วิจรามิ นคฺคา

นี้ นางเปรตนั้น หวนระลึกถึงอัตตภาพเปรตของตน โดยชาติที่ ๓

แต่ชาตินี้ จึงกล่าวโดยความประสงค์ว่า แม้ขณะนี้ดิฉัน ก็เที่ยวไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

ถึง ๕๐๐ ปี อย่างนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย แปลว่า เพราะ

เหตุใด. มีวาจาประกอบความว่า ดิฉันเป็นเปรตเปลือยกาย เห็น

ปานนี้ เพราะไม่ได้ทำบุญมีทานเป็นต้นไว้ตั้งแต่นี้ไป ก็จะเที่ยว

ไปถึง ๕๐๐ ปี. บทว่า ตณฺหาย แปลว่า กัดกิน, อธิบายว่า เบียดเบียน.

บทว่า วนฺทามิ ต อยฺย ปสนฺนจิตฺตา ความว่า ข้าแต่พระผู้

เป็นเจ้า ดิฉันเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ขอไหว้ท่าน. นางเปรตแสดงว่า

บัดนี้ ดิฉันอาจจะทำบุญได้ ประมาณเท่านี้แหละ. บทว่า อนุกมฺป ม

ความว่า ขอท่านจงอนุเคราะห์ คือ จงทำความเอ็นดู เฉพาะดิฉัน

บทว่า ทตฺวา จ เม อาทิส ย หิ กิญฺจิ ความว่า ขอท่านจงให้ไทยธรรม

อะไร ๆ ก็ได้ แก่สมณพราหมณ์ แล้วจงอุทิศทักษิณานั้น แก่ดิฉัน

เถิด. นางเปรตกล่าวด้วยประสงค์ว่า เราจักพ้นจากกำเนิดเปรตนี้

ด้วยการให้ทักษิณานั้น. เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ นางเปรตจึงกล่าวว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงปลดเปลื้องดิฉันจากทุคคติเถิด

เมื่อนางเปรตกล่าวอ้อนวอนอย่างนั้น เพื่อจะแสดงประการที่

พระเถระปฏิบัติ พระสังคีติกาจารย์ จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-

พระสารีบุตรผู้มีใจอนุเคราะห์ จึงรับคำ

ของนางแล้ว ถวายคำข้าว ๑ คำ และผ้าประมาณ

เท่าฝ่ามือผืนหนึ่ง และน้ำดื่ม ๑ ขัน แก่ภิกษุรูป

หนึ่ง แล้วอุทิศทักษิณาไปให้นางเปรตนั้น. พอ

ท่านพระสารีบุตรอุทิศส่วนบุญให้ วิบากคือข้าว

นำและเครื่องนุ่งห่ม ก็เกิดทันที นี้เป็นผลแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

ทักษิณา. ภายหลังนางเปรตนั้น มีร่างกายบริสุทธิ์

นุ่งห่มผ้าอันสะอาด มีค่ามากยิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี

มีวัตถาภรณ์วิจิตรงดงาม เข้าไปทาท่านพระ-

สารีบุตรเถระ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขูน ได้แก่ ภิกษุรูปหนึ่ง.

จริงอยู่ คำว่า ภิกฺขูน นี้ ท่านกล่าวโดยวจนวิปลาส. อาจารย์บาง

พวกกล่าวว่า อาโลป ภิกฺขุโน ทตฺวา ถวายข้าว ๑ คำ แก่ภิกษุ

รูปหนึ่ง. บทว่า อาโลป ได้แก่คำข้าว, อธิบายว่า โภชนะประมาณ

๑ คำ. บทว่า ปาณิมตฺตญฺจ โจลก ความว่า ท่อนผ้าประมาณ

ฝ่ามือ ๑. บทว่า ถาลกสฺส จ ปานีย ความว่า น้ำประมาณเต็มขัน

ใบ ๑. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าว ในขัลลาฏิยเปติวัตถุแล.

ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร เห็นนางเปรตนั้น มีอินทรีย์

ผ่องใส มีผิวพรรณผุดผ่อง มีผ้าและอาภรณ์เครื่องประดับอันเป็น

ทิพย์ ส่องสว่างไปรอบด้าน ด้วยรัศมีของตน ผู้เข้าไปหาแล้ว

ยืนอยู่ ประสงค์จะให้นางเปรตนั้น ประกาศผลกรรม โดยประจักษ์

จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-

ดูก่อน นางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม

ยิ่งนัก ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่ดุจ

ดาวประกายพรึก ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะ

กรรมอะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมาน

นี้ เพราะกรรมอะไร และโภคะทุกสิ่งทุกอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

อันเป็นที่น่ารัก เกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะกรรม

อะไร ? ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีอานุภาพมาก เราขอ

ถามท่า ท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้

อนึ่ง ท่านมีอานุภาพอันรุ่งเรือง และมีรัศมีอัน

สว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะกรรมอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิกฺกนฺเตน แปลว่า มีใจเอิบอาบ

ยิ่ง อธิบายว่า มีรูปงาม. บทว่า วณฺเณน ได้แก่ มีผิวพรรณ. บทว่า

โอภาเสนฺตี ทิสา สพฺพา ได้แก่ โชติช่วงทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ คือ ทำให้

มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. เมื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า เปรียบ

เหมือนอะไร ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า เหมือนดาวประกายพรึก

อธิบายว่า ท่านส่องทิศทั้งปวงให้สว่างไสวอยู่ เหมือนดาวอันได้

นามว่า โอสธี เพราะเป็นเครื่องทรงรัศมีอันหนาแน่นไว้ หรือ

เพราะเพิ่มให้กำลังแก่โอสถทั้งหลาย ทำให้มีแสงสว่างรอบด้าน

ตั้งอยู่ฉะนั้น.

ก็ กึ ศัพท์ ในบทว่า เกน นี้ ใช้ในคำถาม. ก็บทว่า เกน นี้

เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งเหตุ อธิบายว่า เพราะเหตุไร.

บทว่า เต แปลว่า ของท่าน. บทว่า เอตาทิโส แปลว่า เช่นนี้,

ท่านกล่าวอธิบายว่า ตามที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้. บทว่า เกน เต

อิชมิชฺฌติ ความว่า ผลแห่งสุจริตที่ท่านได้ในบัดนี้ ย่อมสำเร็จคือ

เผล็ดผล ในที่นี้เพราะบุญพิเศษอะไร. บทว่า อุปฺปชฺชนฺติ แปลว่า

บังเกิด. บทว่า โภคา ความว่า อุปกรณ์พิเศษแห่งทรัพย์ เครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

ปลื้มใจมีผ้าและอาภรณ์เป็นต้น อันได้นามว่าโภคะ เพราะอรรถว่า

จะต้องใช้สอย. ด้วยบทว่า เย เกจิ นี้ ท่านพระสารีบุตรสงเคราะห์

เอาโภคะทุกอย่างโดยไม่เหลือ. เหมือนนิเทศที่รวบรวมเอาทั้งหมด

นี้ว่า สังขารทุกอย่าง ดังนี้เป็นต้น. บทว่า มนโส ปิยา ความที่ใจ

พึงรัก อธิบาย เป็นที่ชอบใจ.

บทว่า ปุจฺฉามิ แปลว่า เราขอถาม อธิบายว่า อยากจะรู้.

บทว่า ต ได้แก่ ตฺว แปลว่า ซึ่งท่าน. บทว่า เทวิ ความว่า ชื่อว่า

เทพธิดา เพราะเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอานุภาพอันเป็นทิพย์.

ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ผู้มีอานุภาพมาก. บทว่า

มนุสฺสภูตา ได้แก่ เกิดในหมู่มนุษย์ คือ ได้ความเป็นมนุษย์.

คำว่า มนุสฺสภูตา นี้ ท่านกล่าวเพราะประสงค์ว่า โดยมากสัตว์

ผู้ดำรงอยู่ในอัตภาพมนุษย์จึงทำบุญได้. คาถาเหล่านี้ มีความ

สังเขปเพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดารพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้ใน

อรรถกถาวิมานวัตถุ ชื่อปรมัตถทีปนี.

นางเปรตถูกพระเถระถามซ้ำอย่างนี้ เมื่อจะประกาศเหตุที่

ตนได้สมบัตินั้น จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

เมื่อก่อนดิฉันเป็นเปรต พระคุณเจ้าเป็น

มุนีผู้มีความกรุณาในโลก ได้เห็นดิฉันซูบผอม

เหลือง ถูกความหิวแผดเผา เปลือยกาย มีหนัง

แตก เป็นริ้วรอย เสวยทุกขเวทนา จึงได้ถวาย

ข้าวคำหนึ่ง ผ้าประมาณเท่าฝ่ามือ ๑ ผืน น้ำดื่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

๑ ขัน แต่ภิกษุ แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ดิฉัน ขอ

ท่านจงดูแลแห่งข้าวคำหนึ่ง ที่พระเจ้าถวาย

แล้ว ดิฉันเป็นผู้ที่ได้รับสิ่งที่น่าปรารถนา บริโภค

อาหารมีกับข้าวมีรสหลายอย่าง ตั้งพัน ๆ ปี ขอ

พระคุณเจ้า จงดูผลแห่งการถวายผ้าประมาณเท่า

ฝ่ามือ ที่ดิฉันได้รับนี้เถิด ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ

ผ้าในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทราช มีประมาณ

เท่าใด ผ้านุ่งผ้าห่มของดิฉันมีมากกว่านั้นอีก คือ

ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าฝ้าย ผ้าแม้เหล่านั้น

ทั้งกว้าง ทั้งยาว ทั้งมีค่ามาก ห้อยอยู่ในอากาศ

ดิฉันเลือกเอาแต่ผืนที่พอใจมานุ่งห่ม ขอพระคุณ

เจ้าจงดูผลแห่งการถวายน้ำดื่ม ๑ ขัน ซึ่งดิฉันได้

รับอยู่นี้ สระโบกขรณี ๔ เหลี่ยมลึก อันบุญกรรม

สร้างให้ดีแล้ว มีน้ำใส มีท่าราบเรียบ น้ำเย็น มี

กลิ่นหอมหาสิ่งเปรียบมิได้ ดาระดาษไปด้วยดอก

ปทุมและดอกอุบล เต็มไปด้วยน้ำอันดาระดาษไป

ด้วยเกสรดอกบัว ดิฉันปราศจากภัย รื่นรมย์

ชื่นชม บันเทิงใจอยู่ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ

ดิฉันนาเพื่อจะไหว้พระคุณเจ้า ผู้เป็นมุนี มีความ

กรุณาในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปณฺฑุกึ แปลว่า มีตัวเหลือง.

บทว่า ฉาต ได้แก่ ผู้หิวกระหาย คือถูกความหิวครอบงำ. บทว่า

สมฺปติตจฺฉวึ ได้แก่ ผู้มีผิวแห่งร่างกายแตกออกเป็นริ้ว. บทว่า

โลเก นี้ เป็นบทแสดงอารมณ์ของกรุณาที่กล่าวไว้ในบทว่า

การุณิโก นี้. บทว่า ต ม ได้แก่ ซึ่งดิฉันผู้เป็นเช่นนั้น คือ ดิฉัน

ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรกรุณา โดยส่วนเดียว ตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า ทุคฺคต แปลว่าถึงทุคคติ.

บทว่า ภิกฺขูน อาโลป ทตฺวา ดังนี้เป็นต้น เป็นเครื่องแสดง

อาการที่พระเถระทำความกรุณาแก่ตน. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

ภตฺต ได้แก่ ข้าวสุก, อธิบายว่า โภชนะอันเป็นทิพย์. บทว่า

วสฺสสต ทส ได้แก่ ร้อยปี ๑๐ ครั้ง อธิบายว่า ๑,๐๐๐ ปี. ก็คำนี้

เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ แปลว่า ตลอด.

มีวาจาประกอบความว่า บทว่า ภุญฺชามิ กามกามินี อเนกรสพฺยญฺชน

ความว่า ดิฉันประกอบด้วยสิ่งที่น่าต้องการ แม้อื่น ๆ จึงบริโภค

อาหารมีกับข้าวมีรสต่าง ๆ.

ด้วยคำว่า โจฬสฺส นี้ นางเปรตแสดงเฉพาะบุญอันสำเร็จ

ด้วยทาน ซึ่งมีผ้านั้นเป็นอารมณ์ โดยมุ่งเอาไทยธรรมเป็นหลัก .

บทว่า วิปาก ปสฺส ยาทิส ได้แก่ ขอท่านจงดูผลกล่าวคือวิบาก

ของการถวายผ้าเป็นทานนั้นเถิด. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า ก็

ผลนั้นเป็นเช่นไร นางเปรตจึงกล่าวคำว่า ยาวตา นนฺทราชสฺส

ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

ในคำนั้น ใคร ชื่อว่า นันทราชาองค์นี้ ได้ยินว่า ในอดีตกาล

ในหมู่มนุษย์ผู้มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี มีกฏุมพีชาวเมืองพาราณสี

คนหนึ่ง เที่ยวเดินเล่นในป่า ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่ง

ที่ในป่า. พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนั้น กำลังทำจีวรอยู่ในป่านั้น

เมื่อผ้าอนุวาตไม่พอ ก็เริ่มจะพับเก็บ. กุมพีนั้นเห็นดังนั้นจึง

กล่าวว่า ท่านทำอะไรขอรับ แม้ท่านจะไม่พูดอะไร ๆ เพราะท่าน

เป็นผู้มักน้อย ก็รู้ว่าทำผ้าจีวรไม่พอ จึงวางผ้าห่มของตน ที่ใกล้

เท้าของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วก็ไป. พระปัจเจกพุทธเจ้า ถือเอา

ผ้าอุตราสงค์นั้นมาใช้เป็นผ้าอนุวาตทำจีวรห่ม. ในเวลาสิ้นชีวิต

กฏุมพีนั้น ตายไปเกิดในภพดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติอยู่ในภพ

ดาวดึงส์นั้นตลอดชั่วอายุ จุติจากภพดาวดึงส์นั้นไปบังเกิดในตระกูล

อำมาตย์ บ้านหนึ่ง ในที่ประมาณ ๑ โยชน์ จากเมืองพาราณสี.

ในเวลาเขาเจริญวัย ได้มีการป่าวร้องงานนักขัตตฤกษ์

ในบ้านนั้น เขาพูดกะมารดาว่า คุณแม่ จงให้ผ้าสาฎกแก่ฉันบ้าง

ฉันจักเล่นงานนักขัตฤกษ์. มารดาได้นำเอาผ้าที่ซักไว้สะอาด

ดีออกมาให้. เขาพูดว่า ผ้าผืนนี้ เนื้อหยาบจ๊ะแม่. มารดาจึงได้

นำผ้าอื่นมาให้, แม้ผ้าผืนนั้น เขาก็ปฏิเสธเสียอีก. ลำดับนั้น

มารดาจึงกล่าวกะเขาว่า พ่อเอ๋ย พวกเราเกิดในเรือนที่ไม่มีบุญ

จะได้ผ้าที่เนื้อละเอียดกว่านี้. เขากล่าวว่า ฉันจะไปยังที่ที่จะได้

นะแม่. มารดากล่าวว่า ไปเถอะลูก แม่ปรารถนาจะให้เจ้าได้

ราชสมบัติ ในเมืองพาราณสีในวันนี้แหละ. เขารับพรแล้ว ไหว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

มารดา ทำปทักษิณแล้วกล่าวว่า ฉันไปดูแม่. แม่ก็พูดว่า ไปเถอะ

ลูก. ได้ยินว่า มารดานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เขาจักไปไหน

เขาก็จักนั่งอยู่ในเรือนนี้ หรือ เรือนนั้น. ส่วนเขาถูกนิยามแห่งบุญ

ตักเตือนอยู่ จึงออกจากบ้านไปเมืองพาราณสีแล้ว นอนคลุ่มศีรษะ

บนแผ่นศิลาอันเป็นมงคล. ก็วันนั้นเป็นวันที่พระเจ้าพาราณสี

สวรรคตได้ ๗ วัน.

พวกอำมาตย์และปุโรหิต พากันถวายพระเพลิงพระบรมศพ

ด้วย นั่งปรึกษากันที่พระลานหลวงว่า พระราชา มีพระราชธิดา

๑ พระองค์, แต่พระราชโอรสไม่มี, ราชสมบัติที่ไม่มีพระราชา

ครอบครอง ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้, พวกเราจักปล่อยบุษยรถ (รถสีขาว)

ไป. มีสีเหมือนดอกโกมุทเทียมรถแล้ว วางเครื่องราชกกุธภัณฑ์

๕ อย่าง มีเศวตฉัตรเป็นประธาน วางไว้ในรถนั่นแหละ แล้วปล่อย

รถไป ให้ประโคมดนตรีตามมาข้างหลัง. รถออกจากประตูด้าน

ทิศตะวันออก ได้มุ่งตรงไปยังพระราชอุทยาน. อำมาตย์บางพวก

กล่าวว่า รถมุ่งหน้าไปทางอุทยาน เพราะความเคยชิน, พวกเรา

จะให้กลับ. ปุโรหิตกล่าวค้านว่า อย่าให้กลับเลย. รถทำปทักษิณ

กุมารแล้ว ทำท่าจะขึ้นก็ได้หยุดเสีย. ปุโรหิต ดึงชายผ้าห่มออก

ตรวจดูฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้าง กล่าวว่า ทวีปนี้ จงยกไว้ กุมารนี้สมควร

เพื่อจะครอบครองเอกราช ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐

เป็นบริวาร ดังนี้แล้ว จึงให้ประโคมดนตรีขึ้น ๓ ครั้งว่า จงประโคม

ดนตรี จงประโคมอีก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

ลำดับนั้น กุมารเปิดหน้าแลดูแล้วกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย

พวกท่านพากันมา ด้วยการงานอะไร. พวกอำมาตย์กล่าวว่า

ข้าแต่สมมุติเทพ ราชสมบัติถึงแก่ท่าน. กุมารถามว่า พระราชา

ของพวกท่านไปไหนเสียเล่า ? พวกอำมาตย์กล่าวว่า ทิวงคต

เสียแล้วนาย. กุมารถามว่า ล่วงไปกี่วันแล้ว ? พวกอำมาตย์

กล่าวว่า วันนี้เป็นวันที่ ๗. กุมารถามว่า พระราชโอสร พระราชธิดา

ไม่มีดอกหรือ ? พวกอำมาตย์กล่าวว่า มีแต่พระราชธิดา พระ-

ราชโอรสไม่มี. กุมารกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เราจักครอบครอง

ราชสมบัติ. พวกอำมาตย์เหล่านั้น พากันทำมณฑปสำหรับอภิเษก

ในทันทีทันใด แล้วประดับพระราชธิดาด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง

แล้ว นำมายังพระราชอุทยาน ทำการอภิเษกกุมาร.

ลำดับนั้น พวกอำมาตย์ น้อมนำผ้ามีค่าแสนหนึ่ง เข้าไป

ถวายพระราชกุมารผู้อภิเษกแล้วนั้น. พระราชาพระองค์ใหม่นั้น

ตรัสถามว่า นี่อะไรกันพ่อ ? พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ผ้าสำหรับ

นุ่งพระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งว่า ผ้าเนื้อหยาบมิใช่หรือ พ่อ.

พวกอำมาตย์ทูลว่า ข้าแต่สมมุติเทพ ในบรรดากระบวนผ้าที่พวก

มนุษย์ใช้สอยกัน ผ้าที่ละเอียดกว่านี้ไม่มี พระเจ้าข้า. พระราชา

ตรัสถามว่า พระราชาพระองค์เก่าของพวกท่าน ทรงนุ่งผ้าเห็น

ปานนี้หรือ ? พวกอำมาตย์ทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่สมมุติเทพ.

พระราชาตรัสว่า พระราชาของพวกท่านเห็นจะไม่มีบุญ พวก

ท่านจงนำเอาพระเต้าทองมา เราจักได้ผ้า. พวกอำมาตย์ จึงนำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

เอาพระเต้าทองมา. พระราชาเสด็จลุกขึ้นล้างพระหัตถ์ ด้วย

พระองค์ บ้วนพระโอษฐ์ แล้วเอาพระหัตถ์กอบน้ำ สาดไปทาง

ทิศตะวันออก. ในคราวนั้น ต้นกัลปพฤกษ์ ๘ ต้น ทำลาย

แผ่นดินหนาผุดขึ้น. ทรงกอบน้ำอีกแล้วสาดไปในทิศใต้ ทิศตะวันตก

ทิศเหนือ ทรงสาดไปทั้ง ๔ ทิศ อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ ต้น

กัลปพฤกษ์ทิศละ ๘ ต้น ๘ ต้น รวมเป็น ๓๒ ต้น ผุดขึ้น

ทั่วทุกทิศ. บางอาจารย์กล่าวว่า ต้นกัลปพฤกษ์ผุดขึ้น ๖๔ ต้น

โดยแบ่งเป็นทิศละ ๑๖ ต้น. พระราชาทรงนุ่งผ้าทิพย์ผืนหนึ่ง

ห่มผืนหนึ่งแล้วตรัสว่า พวกท่านจงเที่ยวตีกลองป่าวประกาศว่า

ในแว้นแคว้นของพระเจ้านันทราช พวกผู้หญิงที่กรอด้าย ไม่ต้อง

กรอด้าย ดังนี้แล้ว จึงให้ยกเศวตฉัตรขึ้น ทรงตกแต่งประดับ

ประดา เสด็จขึ้นคอช้างตัวประเสริฐ เข้าพระนคร ขึ้นสู่ปราสาท

แล้ว เสวยมหาสมบัติ.

เมื่อเวลาล่วงไปอย่างนี้ วันหนึ่ง พระเทวีเห็นสมบัติของ

พระราชาแล้ว ทรงแสดงอาการแห่งความกรุณาว่า พุทโธ่

ท่านผู้มีตปะ และถูกย้อนถามว่า นี่อะไรกัน พระเทวี จึงทูลว่า

ข้าแต่สมมุติเทพ สมบัติของพระองค์ใหญ่ยิ่ง พระองค์ได้กระทำ

กรรมอันงามไว้ในอดีตกาล, บัดนี้ ไม่ทรงทำกุศลไว้เพื่อประโยชน์

แก่อนาคตกาล. พระราชาตรัสว่า เราจะให้แก่ใคร ไม่มีท่านผู้มีศีล.

พระเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่สมมุติเทพ ชมพูทวีป ไม่ว่างเปล่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

จากพระอรหันต์ทั้งหลาย ขอพระองค์ทรงจักเตรียมทานไว้เท่านั้น

หม่อมฉันจักได้พระอรหันต์: ในวันรุ่งขึ้น พระราชาสั่งให้ตระเตรียม

ทานอันควรแก่ค่ามากไว้. พระเทวีทรงอธิษฐานว่า ถ้าในทิศนี้

มีพระอรหันต์ไซร้ ขอนิมนต์มารับภิกษาหารของดิฉันทั้งหลาย

ในที่นี้เถิด แล้วทรงนอนราบผินหน้าไปทางทิศเหนือ. เมื่อพระเทวี

นอนลงเท่านั้น บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ผู้เป็นพระ-

ราชโอรสของนางปทุมวดี ซึ่งอยู่ในป่าหิมพานต์ พระมหาปทุม-

ปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นพี่ชาย เรียกพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้น้องชาย

มาว่า ท่านผู้นิรทุกข์ พระเจ้านันทราชนิมนต์พวกท่าน ขอพวกท่าน

จงรับนิมนต์ของพระองค์เถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น รับ

นิมนต์แล้ว เหาะไปทันที แล้วลงที่ประตูด้านทิศเหนือ. พวกมนุษย์

กราบทูลแต่พระราชาว่า ข้าแต่สมมุติเทพ พระปัจเจกพุทธเจ้า

๕๐๐ องค์มาแล้ว. พระราชาพร้อมกับพระเทวีเสด็จมาไหว้ รับ

บาตรแล้วนิมนต์ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ขึ้นยังปราสาท

ถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น บนปราสาท ในเวลาเสร็จ

ภัตตกิจ พระราชาทรงหมอบที่ใกล้เท้าของพระสังฆเถระ พระเทวี

ทรงหมอบที่ใกล้เท้าของพระสังฆนวกะ ให้ทรงกระทำปฏิญญาว่า

พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จักไม่ลำบากด้วยปัจจัย ข้าพเจ้าทั้งหลาย

จักไม่เสื่อมจากบุญ ขอท่านทั้งหลายจงให้ปฏิญญาแก่ข้าพเจ้า

ทั้งหลาย เพื่อจะอยู่ในที่นี้ ดังนี้ แล้วให้สร้างสถานที่อยู่ในพระ-

ราชอุทยาน บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ตลอดชั่วอายุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ปรินิพพานแล้ว ให้เล่นสาธุกีฬา

แล้ว ให้ทำการฌาปนกิจด้วยไม้หอมเป็นต้น แล้วให้เก็บธาตุ

บรรจุเป็นพระเจดีย์ เกิดความสังเวชว่า ความตายยังมีแก่ท่าน

ผู้มีอานุภาพมาก แม้เห็นปานนี้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงคนเช่น

พวกเราเล่า จึงทรงตั้งพระราชโอรสองค์ใหญ่ ไว้ในราชสมบัติ

ส่วนพระองค์เองทรงผนวชเป็นดาบส. ฝ่ายพระเทวีคิดว่า เมื่อ

พระราชา ทรงผนวชแล้ว เราจักทำอะไร ดังนี้ จึงทรงผนวช.

แม้ทั้ง ๒ พระองค์ก็อยู่ในพระราชอุทยาน ทำฌานให้บังเกิดแล้ว

ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌาน ในเวลาสิ้นอายุ บังเกิดในพรหมโลก.

ได้ยินว่า พระเจ้านันทราชนั้น ได้เป็นพระมหากัสสปเถระ พระ

สาวกผู้ใหญ่ แห่งพระศาสดา ของเราทั้งหลาย. พระอัครมเหสี

ของพระเจ้านันทราชนั้น ได้เป็นผู้ชื่อว่า ภัททากาปิลานี.

ก็พระเจ้านันทราชนี้ทรงนุ่งห่มผ้าทิพย์ ด้วยพระองค์เอง

ถึง ๑๐,๐๐๐ ปี ทรงทำแว่นแคว้นของพระองค์ทั้งหมดทีเดียว

ให้เป็นเหมือนอุตตรกุรุทวีป ได้ให้ผ้าทิพย์แก่พวกมนุษย์ผู้มาถึง

แล้ว ๆ. นางเปรตนั้นหมายเอาความสำเร็จผ้าทิพย์นี้นั้น และความ

สำเร็จแห่งผ้าทั้งปวง จึงกล่าวว่า ยาวตา นนฺทราชสฺส วิชิตสฺมึ

ปฏิจฺฉทา วัตถุเครื่องปกปิดในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทราช

มีประมาณเท่าไร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิชิตสฺมึ แปลว่า

ในแว่นแคว้น. บทว่า ปฏิจฺฉทา ได้แก่ ผ้าทั้งหลาย. จริงอยู่ ผ้า

เหล่านั้น เขาเรียกว่า ปฏิจฉทา เพราะเป็นเครื่องปกปิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

บัดนี้ นางเปรตนั้น เมื่อจะแสดงว่า บัดนี้ ความสำเร็จ

ของเราไพบูลย์กว่าความสำเร็จของพระเจ้านันทราช จึงกล่าวคำ

มีอาทิว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผ้าและเครื่องปกปิดของเรา มากกว่า

ผ้าของพระเจ้านันทราชนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต

ความว่า ผ้าและเครื่องปกปิดของเรา ยังมากกว่าผ้าอันเป็นเครื่อง

หวงแหนของพระเจ้านันทราช บทว่า วตฺถานจฺฉาทนานิ ได้แก่

ผ้าสำหรับนุ่งและผ้าสำหรับห่ม. บทว่า โกเสยยกมฺพลียานิ

ได้แก่ ผ้าไหมและผ้ากัมพล. บทว่า โขมกปฺปาสิกานิ ได้แก่

ผ้าเปลือกไม้และผ้าอันสำเร็จด้วยฝ้าย.

บทว่า วิปุลา ได้แก่ กว้างทั้งส่วนยาวและส่วนกว้าง.

บทว่า มหคฺฆา ได้แก่ มากโดยมีค่ามาก คือ ควรแก่ค่ามาก.

บทว่า อากาเสวลมฺพเร ได้แก่ ห้อยไว้บนอากาศนั้นเอง. บทว่า

ย ย หิ มนโส ปิย มีวาจาประกอบความว่า เราถือเอาผ้าที่เรา

พอใจแล้วนุ่งและห่ม.

บทว่า ถาลกสฺส จ ปานีย วิปาก ปสฺส ยาทิส ได้แก่

น้ำดื่มพอเต็มขันที่เขาให้ คือ ที่เขาอนุโมทนา. ก็นางเปรตเมื่อ

จะแสดงว่า ท่านจงดูวิบากของน้ำดื่มนั้น เช่นใด คือมีมากเพียงใด

จึงกล่าวคำมีอาทิว่า คมฺภีรา จตุรสฺสา จ. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า คมฺภีรา แปลว่า หยั่งไม่ถึง. บทว่า จตุรสฺสา แปลว่า มี

ทรวดทรง ๔ เหลี่ยม. บทว่า โปกฺขรญฺโ ได้แก่ สระโบกขรณี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

บทว่า สุนิมฺมิตา ได้แก่ เนรมิตด้วยดีด้วยอานุภาพแห่งกรรม

นั่นเอง.

บทว่า เสโตทกา แปลว่า น้ำมีสีขาว. คือ เกลื่อนกล่นไปด้วย

ทรายขาว. บทว่า สุปฺปติตฺถา แปลว่า ท่างาม. บทว่า สีตา

ได้แก่ น้ำเย็น. บทว่า อปฺปฏิคนฺธิยา แปลว่า มีกลิ่นหอมระรื่น

เว้นจากกลิ่นปฏิกูล. บทว่า วาริกิญฺชกฺขปูริตา ความว่า เต็มไปด้วย

น้ำอันดารดาษ ด้วยเกษรดอกบัว และบัวสายเป็นต้น.

บทว่า สห ตัดเป็น สา อห แปลว่า เรานั้น. บทว่า รมามิ

แปลว่า ประสบความยินดี. บทว่า กีฬามิ ได้แก่ บำเรออินทรีย์.

บทว่า โมทามิ ได้แก่ เป็นผู้บันเทิงด้วยโภคสมบัติ. บทว่า

อกุโตภยา แปลว่า ไม่เกิดภัยแม้แต่ที่ไหน ๆ คือ เราเป็นผู้มีเสรี

อยู่อย่างเป็นสุข. บทว่า ภนฺเต วนฺทิตุมาคตา ความว่า ท่านผู้เจริญ

ดิฉันมา คือเข้ามาหาท่านผู้เป็นเหตุให้ได้ทิพยสมบัตินี้. ก็ในที่นี้

คำใดที่ข้าพเจ้าไม่ได้จำแนกไว้โดยอรรถ คำนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าว

ไว้แล้วในที่นั้น ๆ แล.

เมื่อนางเปรตกล่าวอย่างนั้น ท่านพระสารีบุตรแสดงความนั้น

โดยพิสดาร ในเมื่อพวกคนชาวบ้านทั้ง ๒ คือ บ้านอิฏฐกวดี และ

บ้านทีฆราชี ผู้มายังสำนักตน ให้พวกเขาสลดใจ ให้พ้นจาก

สงสารและกรรมชั่ว ให้ตั้งอยู่ในภาวะเป็นอุบาสก. เรื่องนั้นปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

แล้วในหมู่ภิกษุ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแก่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปัตติเหตุ

แล้วทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว เทศนานั้นได้มี

ประโยชน์แก่มหาชนแล.

จบ อรรถกถาสังสารโมจกเปติวัตถุที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

๒. สาริปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ

ว่าด้วยนางเปรตเคยเป็นมารดาพระสารีบุตร

พระสารีบุตรเถระถามนางเปรตตนหนึ่งว่า

[๙๙] ดูก่อนนางเปรตผู้ผอมมีแต่ซี่โครง ท่าน

เป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด ซูบผอม

มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ท่านเป็นใครหรือ

มายืนอยู่ในที่นี้.

นางเปรตนั้นตอบว่า

เมื่อก่อนดิฉันเป็นมารดาของท่าน ในชาติ

อื่น ๆ ดิฉันเข้าถึงเปตวิสัย เพียบพร้อมไปด้วย

ความหิวและความกระหาย เมื่อถูกความหิว

ครอบงำแล้ว ย่อมกินน้ำลาย น้ำตก เสมหะอัน

เขาถ่มทิ้งแล้ว และกินมันเหลวแห่งซากศพที่เขา

เผาอยู่ที่เชิงตะกอน กินโลหิตของหญิงทั้งหลาย

ที่คลอดบุตรและโลหิตแห่งบุรุษทั้งหลายที่ถูก

ตัดมือ เท้า และศีรษะ ที่เป็นแผล กินเนื้อ เอ็น

และข้อมือข้อเท้าเป็นต้นของชายหญิง กินหนอง

และเลือดแห่งปศุสัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย ไม่มี

ที่พึ่ง ไม่มีที่อยู่อาศัย นอนบนเตียงของคนตาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

ซึ่งเขาทิ้งไว้ในป่าช้า ลูกเอ๋ย ขอลูกจงให้ทานแล้ว

ทิศส่วนบุญมาให้แม่บ้าง ไฉนหนอ แม่จึงจะพ้น

จากการกินหนองและเลือด.

ท่านพระสารีบุตรเถระผู้มีจิตอนุเคราะห์

ได้ฟังคำของมารดาแล้ว จึงปรึกษากับท่านพระ-

โมคคัลลานเถระ ท่านพระอนุรุทธะ และท่าน

พระกัปปินะ แล้วให้สร้างกุฎี ๔ หลัง แล้วถวาย

กุฎี ทั้งข้าวและน้ำแก่สงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ อุทิศ

ส่วนกุศลไปให้มารดา ในทันใดนั้นเอง วิบาก คือ

ข้าว นำและผ้าก็เกิดขึ้น นี้เป็นผลแห่งทักษิณา

ภายหลังนางมีร่างกายบริสุทธิ์สะอาด นุ่งห่ม

ผ้าอันมีค่ายิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี ประดับด้วยวัต-

ถาภรณ์อันวิจิตรเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัล-

ลานเถระ.

ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระจึงถามว่า

ดูก่อนนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่ง

นัก ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาว

ประกายพรึก ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรม

อะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะ

กรรมอะไร และโภคะทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นที่

พอใจ ย่อมบังเกิดแก่ท่านเพราะกรรมอะไร ดู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

ก่อนนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่าน เมื่อท่านเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ อนึ่ง

ท่านมีอานุภาพรุ่งเรื่องและมีรัศมีกายสว่างไสว

ไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร.

นางเทพธิดานั้นตอบว่า

เมื่อก่อน ดิฉันเป็นมารดาของท่านพระ

สารีบุตรเถระ ในชาติอื่น ๆ เกิดในเปตวิสัย

เพียบพร้อมไปด้วยความหิวและความกระหาย

เมื่อถูกความหิวครอบงำแล้ว จึงกินน้ำลาย น้ำมูก

เสมหะอันเขาถ่มทิ้งไว้ และกินมันเหลวแห่งซาก

ศพ ที่เขาเผาอยู่บนเชิงตะกอน กินโลหิตของหญิง

ที่คลอดบุตร และโลหิตแห่งบุรุษทั้งหลายซึ่งถูก

ตัดมือ เท้า และศีรษะ ที่เป็นแผล กินเนื้อ เอ็น

ข้อมือและข้อเท้าของชายหญิง กินหนองและ

เลือดของปศุสัตว์และมนุษย์ ดิฉันไม่มีที่พึ่ง ไม่มี

ที่อยู่อาศัย นอนบนเตียงของคนตาย ที่เขาทิ้งไว้

ในป่าช้า ดิฉันเป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ บันเทิง

อยู่ เพราะทานของท่านพระสารีบุตร ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ดิฉันมาตรงนี้ เพื่อจะไหว้ท่านพระสารี-

บุตรผู้เป็นนักปราชญ์ มีความกรุณาในโลก.

จบ สาริปุตตเถรมาตุเปติวัตถุที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

อรรถกถาสาริปุตตเถรมาตุเปติวัตถุที่ ๒

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร

ทรงปรารภนางเปรตผู้มารดาของท่านพระสารีบุตรเถระ โดยชาติ

ที่ ๕ แต่ปัจจุบันชาตินี้ จึงตรัสคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า นคฺคา

ทุพฺพณฺณรูปาสิ ดังนี้.

วันหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

ท่านพระอนุรุทธะ และท่านพระกัปปินะ ได้อยู่ในราวป่าแห่งหนึ่ง

ไม่ไกลแต่กรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้นแล ในกรุงพาราณสี มีพราหมณ์

คนหนึ่ง เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เป็นดุจบ่อที่ดื่มกิน

ของสมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจก ได้ให้

สิ่งของมีข้าว น้ำ ผ้า และที่นอนเป็นต้น และเมื่อจะให้ ย่อมปฏิบัติ

ตามความพอใจทุกอย่าง ตามลำดับของการให้มีน้ำล้างเท้า และ

ผ้าเช็ดเท้าเป็นต้น ตามเวลาและตามความเหมาะสมแก่คนผู้มาถึง

แล้ว ๆ. ในเวลาก่อนอาหารได้อังคาสภิกษุทั้งหลายด้วยข้าวและ

น้ำเป็นต้น โดยเคารพ. เธอเมื่อจะไปถิ่นอื่นจึงกล่าวกะภรรยาว่า.

นางผู้เจริญ เธออย่าได้ทำทานวิธีนี้ตามที่บัญญัติให้เสื่อมเสีย

จงหมั่นดำรงไว้โดยเคารพ. ภรรยารับคำแล้ว พอสามีหลีกไป

เท่านั้น ก็ตัดขาดวิธีที่บัญญัติไว้เพื่อภิกษุทั้งหลาย เป็นอันดับแรก

แต่เมื่อคนเดินทางเข้าไปเพื่ออยู่อาศัย ก็แสดงศาลาที่เก่าที่ทอดทิ้ง

ไว้หลังเรือนด้วยคำว่า พวกท่านจงอยู่ที่ศาลานี้. เมื่อคนเดินทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

มาในที่นั้นเพื่อต้องการข้าวและน้ำเป็นต้น จึงกล่าวว่า จงกินคูถ

ดื่มมูตร ดื่มโลหิต กินมันสมองของมารดาท่าน แล้วจึงระบุชื่อ

ของสิ่งที่ไม่สะอาด น่าเกลียด แล้วถ่มน้ำลาย

สมัยต่อมา นางทำกาละแล้ว อันอานุภาพกรรมซัดไป บังเกิด

ในกำเนิดเปรต เสวยทุกข์อันเหมาะสมแก่วจีทุจริตของตน หวน

ระลึกถึงความสัมพันธ์กันในชาติก่อน มีความประสงค์จะมายัง

สำนักของท่านพระสารีบุตร จึงถึงประตูวิหาร. เทวดาผู้สิงอยู่

ที่ประตูวิหารของท่านพระสารีบุตรนั้น ห้ามเข้าวิหาร. ได้ยินว่า

นางเปรตนั้นได้เคยเป็นมารดาของพระเถระ ในชาติที่ ๕ แต่ปัจจุบัน

ชาตินี้. เพราะฉะนั้น เธอจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเป็นมารดาของ

พระผู้เป็นเจ้าสารีบุตรเถระ ในชาติที่ ๕ แต่ปัจจุบันชาติ ขอท่าน

จงให้ดิฉันเข้าประตู เพื่อเยี่ยมพระเถระ. เทวดาได้ฟังดังนั้นจึง

อนุญาตให้นางเข้าไป นางครั้นเข้าไปแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สุดที่

จงกรมแสดงตนแก่พระเถระ. พระเถระครั้นได้เห็นนางเปรตนั้น

เป็นผู้มีใจอันความกรุณาตักเตือน จึงถามด้วยถาคาว่า

ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด

ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูก่อนนาง

ผู้ซูบผอม มีแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครหรือ จึงมา

ยืนอยู่ในที่นี้.

นางเปรตนั้นถูกพระเถระถาม เมื่อจะให้คำตอบจึงได้กล่าว

ถาคา ๕ คาถา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

เมื่อก่อนดิฉันเป็นมารดาของท่าน ในชาติ

อื่น ๆ ดิฉันเข้าถึงเปตวิสัย เพียบพร้อมไปด้วย

ความหิว และความกระหาย เมื่อถูกความหิว

ครอบงำ ย่อมกินน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ ที่เขาถ่ม

ทิ้ง และกินมันเหลวของซากศพ ที่เขาเผาที่เชิง

ตะกอน กินโลหิตของพวกหญิงที่คลอดบุตร และ

โลหิตของพวกบุรุษที่ถูกตัดมือ เท้า และศีรษะ

ที่เป็นแผล กินเนื้อ เอ็น และข้อมือข้อเท้าเป็นต้น

ของชายหญิง กินหนองและเลือดของปศุสัตว์

และมนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีที่เร้น ไม่มีที่อยู่อาศัย

นอนบนเตียงของคนตายที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ลูก

เอ๋ย ขอลูกจงให้ทานแล้วอุทิศส่วนบุญแก่เราบ้าง

ไฉนหนอแม่จึงจะพ้นจากการกินหนองและเลือด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อห เต สกิยา มาตา ความว่า

เราเองเป็นมารดาของท่านโดยกำเนิด. ด้วยคำว่า ปุพฺเพ อญฺาสุ

ชาตีสุ นี้ พึงเห็นว่า เราไม่ใช่จะเป็นมารดาแม้แต่ในชาตินี้ โดย

ที่แท้ในชาติก่อน คือ ในชาติอื่น ๆ เราก็ได้เป็นมารดาในชาติที่ ๕

แต่ชาติปัจจุบันนี้. บทว่า อุปปนฺนา เปตฺติริสย ความว่า เข้าถึง

เปตโลกโดยปฏิสนธิ. บทว่า ขุปฺปิปาสสมปฺปิตา แปลว่า ถูกความหิว

และความกระหายครอบงำ อธิบายว่า ถูกความหิวและความกระหาย

ครอบงำอยู่ไม่ขาดระยะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

บทว่า ฉฑฺฑิต ได้แก่ เป็นเดน อธิบายว่า อันเขาคายกลัว.

บทว่า ขิปิต ได้แก่ มลทินที่ออกจากปากพร้อมกับอาหารที่เขาทิ้ง.

บทว่า เขฬ แปลว่า การถ่มน้ำลาย. บทว่า สงฺฆาณิก ได้แก่ มลทิน

ที่ไหลออกจากสมอง แล้วไหลออกทางจมูก. บทว่า สิเลสุม ได้แก่

เสมหะ. บทว่า วสญฺจ ฑยฺหมานาน ได้แก่ น้ำมันเหลวของซากศพ

ที่ถูกเผาบนเชิงตะกอน. บทว่า วิชาตานญฺจ. โลหิต ได้แก่ โลหิต

ของหญิงผู้คลอด มลทินครรภ์ท่านสงเคราะห์ด้วย จ ศัพท์. บทว่า

วณิกาน ได้แก่ แผลที่เกิดขึ้นเอง. บทว่า ย เชื่อมด้วยบทว่า

ย โลหิต. บทว่า ฆานสีสจฺฉินนาน ได้แก่ โลหิตใด ของผู้ถูกตัดจมูก

และถูกตัดศีรษะ. มีวาจาประกอบความว่า เรากินซึ่งโลหิตนั้น.

บทว่า ฆานสีสจฺฉินฺนาน นี้ เป็นหัวข้อแห่งเทศนา ด้วยบทว่า

ฆานสีสจฺฉินฺนาน นี้ พึงเห็นว่า เพราะเหตุที่โลหิต แม้ของคนที่

ถูกตัดมือและเท้าเป็นต้น เราก็กินเหมือนกัน อนึ่งด้วยบทว่า วณิกาน

นี้ พึงเห็นว่า ท่านสงเคราะห์เอาโลหิตของคนที่ถูกตัดมือและเท้า

เป็นต้นแม้เหล่านั้น. บทว่า ขุทาปเรตา ได้แก่ เป็นผู้ถูกความหิว

ครอบงำ. ด้วยบทว่า อิตฺถีปุริสนิสฺสิต นี้ ท่านแสดงว่า เราจะกิน

หนัง เนื้อ เอ็น และหนองเป็นต้น ที่อาศัยร่างกายของสตรีและ

บุรุษ และอย่างอื่นตามที่กล่าวแล้ว.

บทว่า ปสูน ได้แก่ แห่งแพะ โค และกระบือ เป็นต้น. บทว่า

อเลณา แปลว่า ไม่มีที่พึ่ง. บทว่า อนคารา แปลว่าไม่มีที่อยู่.

บทว่า นีลมญฺจปรายนา ได้แก่ นอนบนเตียงที่สกปรก ที่เขาทิ้งไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

ในป่าช้า. อีกอย่างหนึ่ง พื้นที่ป่าช้าที่มากไปด้วยเถ้าและถ่านเพลิง

ท่านประสงค์เอาว่า นีล, อธิบายว่า นอนทับพื้นที่ป่าช้านั้นนั่นแหละ

เหมือนนอนบนเตียง. บทว่า อนฺวาทิสฺหิ เม ความว่า ท่าน

จงให้ปัตติทานอุทิศ โดยประการที่ส่วนบุญที่ให้แล้วจะสำเร็จ

แก่เราได้. ทว่า อปฺเปว นาม มุจฺเจยฺย ปุพฺพโลหิตโภชนา ความว่า

ไฉนหนอ เราพึงพ้นจากชีวิตเปรต อันมีหนองและเลือดเป็นอาหาร

นั่นเพราะการอุทิศของท่าน.

ท่านพระสารีบุตรเถระ ได้สดับดังนั้นแล้ว ในวันที่สอง

จึงเรียกพระเถระ ๓ รูป มีท่านพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้นมา

พร้อมด้วยพระเถระเหล่านั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์

ได้ไปถึงพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร. พระราชาเห็น

พระเถระแล้ว จึงถามถึงเหตุแห่งการมาว่า ท่านขอรับ ท่านมา

ทำไม ? ท่านพระมหาโมคคัลลานะ จึงได้ทูลเรื่องนั้นแด่พระราชา

พระราชาตรัสว่า โยมรู้แล้ว แล้วจึงละพระเถระ รับสั่งให้เรียก

อำมาตย์ผู้สำเร็จราชการ ทรงพระบัญชาว่า เธอจงสร้างกุฎี ๔

หลังในที่นี้อันสมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ อันวิจิตร ไม่ไกลแต่เมือง

และในภายในพระราชวัง ให้แบ่งเป็น ๓ ส่วน โดยที่มีความพิเศษ

เพียงพอแล้วให้รับกุฎี ๔ หลัง. และพระองค์เองก็ได้เสด็จไปในที่นั้น

ได้ทรงกระทำพระราชกรณียกิจที่ควรทำ. เมื่อกุฎีสำเร็จแล้ว

จึงให้ตระเตรียมพลีกรรมทั้งหมด เข้าไปตั้งข้าวนำและผ้าเป็นต้น

และเครื่องบริขารทุกอย่างที่สมควรแก่ภิกษุสงฆ์ที่มาจากทิศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

ทั้ง ๔ มี พระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วมอบถวายสิ่งทั้งหมดนั้น

แต่ท่านพระสารีบุตรเถระ. ลำดับนั้น พระเถระ ได้ถวายสิ่งทั้งหมด

นั้น แต่ภิกษุสงฆ์มาจากทิศทิ้ง ๔ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน

อุทิศแก่นางเปรตนั้น. นางเปรตนั้น ได้อนุโมทนาส่วนบุญนั้นแล้ว

บังเกิดในเทวโลก เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทุกอย่าง

ในวันต่อมา ก็ได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ไหว้แล้ว

ยืนอยู่. พระเถระสอบถามนางเปรตนั้น. นางเปรตนั้น ได้แจ้ง

เหตุที่ตนเข้าถึงความเป็นเปรต และเข้าถึงความเป็นเทวดาอีก.

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า :-

ท่านพระสารีบุตรเถระผู้มีจิตอนุเคราะห์

ได้ฟังคำของมารดาแล้ว จึงปรึกษากับท่านพระ-

มหาโมคคัลลานะเถระ ท่านพระอนุรุทธะและ

ท่านพระกัปปินะ แล้วให้สร้างกุฏิ ๔ หลัง ถวาย

กุฎีทั้งข้าวและน้ำแด่พระสงฆ์มาจากทิศทั้ง ๔

อุทิศส่วนกุศลไปให้แก่มารดา. ในทันใดนั้นเอง

วิบากคือ ข้าว น้ำ และผ้าก็เกิดขึ้น นี้เป็นผลแห่ง

ทักษิณา ภายหลังนางมีร่างกายบริสุทธิ์สะอาด

นุ่งห่มผ้าอันมีค่า ยิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี ประดับ

ด้วยวัตถาภรณ์อันวิจิตร เข้าไปทาท่านพระมหา-

โมคคัลลานะเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺเฆ จาตุทฺทิเส อทา ความว่า

ได้ถวาย คือมอบถวาย แก่สงฆ์ ผู้มาแต่ทิศทั้ง ๔. คำที่เหลือมีนัย

ดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ถามนางเปรตนั้นว่า

ดูก่อน นางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่ง

นัก ส่องสว่างไสวไปทุกทิศ สถิตอยู่ ดุจดาว

ประกายพรึก. ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรม

อะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะ

กรรมอะไร และโภคะทุกสิ่งทุกอย่าง อันเป็นที่

พอใจ ย่อมบังเกิดแก่ท่าน เพราะกรรมอะไร.

ดูก่อน นางเทพธิดา ผู้มีอานุภาพมาก

อาตมภาพขอถามท่าน เมื่อท่านเป็นมนุษย์ ได้ทำ

บุญอะไรไว้ อนึ่งท่านมีอานุภาพรุ่งเรือง และมี

รัศมีกายสว่างไสวไปทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญ

อะไร.

ลำดับนั้น นางเปรตจึงตอบโดยนัยมีอาทิว่า ดิฉัน เป็น

มารดาของท่านพระสารีบุตร. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเถระ ได้กราบทูลเรื่องนั้น

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำเรื่องนั้น

ให้เป็นอัตถุปปัตติเหติแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้เข้าถึง

พร้อมแล้ว. เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชน ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาสาริปุตตเถรมาตุเปติวัตถุที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

๓. มัตตาเปติวัตถุ

ว่าด้วยผู้ดุร้ายตายเป็นนางเปรต

นางติสสาถามหญิงเปรตตนหนึ่งว่า

[๑๐๐] ดูก่อนนางเปรตผู้ซูบผอมมีแต่ซี่โครง ท่าน

เป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด ซูบผอม มี

ตัวสพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ท่านเป็นใคร มายืนอยู่

ในที่นี้.

นางเปรตนั้นตอบว่า

เมื่อก่อน ท่านชื่อติสสา ส่วนฉันชื่อมัตตา

เป็นหญิงร่วมสามีกับท่าน ได้ทำกรรมอันลามก

ไว้ จึงจากมนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก

นางติสสาถามว่า

ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา

ใจ หรือ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึงจาก

มนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก.

นางเปรตนั้นตอบว่า

ฉันเป็นหญิงดุร้ายและหยาบคาย มักหึง-

หวง มีความตระหนี่ เป็นคนโอ้อวด ได้กล่าววาจา

ชั่วกะท่าน จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

นางติสสากล่าว

เรื่องทั้งหมดนั้นเป็นความจริง แม้ฉันก็รู้

ว่า ท่านเป็นหญิงดุร้ายอย่างไร แต่อยากจะถาม

ท่านทุกอย่างหนึ่ง ท่านมีสรีระเปื้อนฝุ่นเพราะ

กรรมอะไร.

นางเปรตนั้นตอบว่า

ท่านกับฉันพากันอาบน้ำแล้ว นุ่งห่มผ้า

สะอาด ตบแต่งร่างกายแล้ว แต่ฉันแต่งร่างกาย

เรียบร้อยยิ่งกว่าท่าน เมื่อฉันแลดูท่านคุยอยู่กับ

สามี ลำดับนั้น ความริษยาและความโกรธได้เกิด

แก่ฉันเป็นอันมาก ทันใดนั้นฉันจึงกวาดเอาฝุ่น

โปรยลงรดท่าน ฉันมีสรีระเปื้อนด้วยฝุ่น เพราะ

วิบากแห่งกรรมนั้น.

นางติสสากล่าวว่า

เรื่องทั้งหมดนั้นเป็นความจริง แม้ฉันก็รู้

ว่า ท่านเอาฝุ่นโปรยใดฉัน แต่ฉันอยากจะถาม

ท่านสักอย่างหนึ่ง ท่านเป็นหิดคันไปทั่วตัว

เพราะกรรมอะไร.

นางเปรตนั้นตอบว่า

เราทั้งสองเป็นคนหายา ได้พากันไปป่า

ส่วนท่านหายามาได้ แต่ฉันนำเอาผลหมามุ่ยมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

เมื่อท่านเผลอ ฉันได้โปรยหมามุ่ยลงบนที่นอน

ของท่าน ฉันเป็นหิดคันไปทั้งตัวเพราะวิบากแห่ง

กรรมนั้น.

นางติสสากล่าวว่า

เรื่องทั้งหมดนั้นเป็นความจริง แม้ฉันก็รู

ว่า ท่านโปรยผลหมามุ่ยลงบนที่นอนของฉัน แต่

ฉันอยากจะถามท่านสักอย่างหนึ่ง ท่านเป็นผู้

เปลือยกายเพราะกรรมอะไร.

นางเปรตนั้นตอบว่า

วันหนึ่ง ได้มีการประชุมพวกมิตรสหาย

และญาติทั้งหลาย ส่วนท่านได้รับเชิญ แต่ฉันซึ่ง

สามีกับท่านไม่มีใครเชิญ เมื่อท่านเผลอฉันได้ลัก

ผ้าของท่านซ่อนเสีย ฉันเป็นผู้เปลือยกายเพราะ

วิบากแห่งกรรมนั้น.

นางติสสากล่าวว่า

เรื่องทั้งหมดนั้นเป็นความจริง แม้ฉันก็รู้

ว่า ท่านได้ลักผ้าของฉันไปซ่อน แต่ฉันอยากจะ

ถามท่านสักอย่างหนึ่ง ท่านมีกลิ่นกายเหม็นดัง

คูถ เพราะกรรมอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

นางเปรตนั้นตอบว่า

ฉันได้ลักของหอม ดอกไม้ และเครื่อง

ลูบไล้ อันมีค่ามากของท่านทิ้งลงในหลุมคูถ บาป

นั้นฉันได้ทำไว้แล้ว ฉันมีกลิ่นกายเหม็นดังคูถ

เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น.

นางติสสากล่าวว่า

เรื่องทั้งหมดนั้นเป็นความจริง แม้ฉันก็รู้

ว่า บาปนั้นท่านทำไว้แล้ว แต่ฉันอยากจะถาม

ท่านสักอย่างหนึ่ง ท่านเป็นคนยากจนเพราะกรรม

อะไร.

นางเปรตนั้นตอบว่า

ทรัพย์สิ่งใดมีอยู่ในเรือน ทรัพย์นั้นของเรา

ทั้งสองมีเท่า ๆ กัน เมื่อไทยธรรมมีอยู่ แต่ฉัน

ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน ฉันเป็นคนยากจนเพราะ

วิบากแห่งกรรมนั้น ครั้งนั้น ท่านได้ว่ากล่าวตัก-

เตือนฉัน ห้ามไม่ให้ทำบาปกรรมว่า ท่านจะไม่ได้

สุคติ เพราะกรรมอันลามก.

นางติสสากล่าวว่า

ท่านไม่เชื่อถือเราและริษยาเรา ขอท่านจง

ดูวิบากแห่งกรรมอันลามกเช่นนี้ เมื่อก่อนนาง

ทาสีและเครื่องอาภรณ์ทั้งหลายได้ดีแล้วในเรือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

ของท่าน แต่เดี๋ยวนี้ นางทาสีเหล่านั้นพากันห้อม

ล้อมคนอื่น โภคะทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ท่านแน่

แท้ บัดนี้ กฏุมพีผู้เป็นบิดาของบุตรเรา ยังไปใน

ตลาดอยู่ ท่านอย่าเพิ่งไปจากที่นี้เสียก่อน บางที

เขาจะให้อะไรแก่ท่านบ้าง.

นางเปรตนั้นกล่าวว่า

ฉันเป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด

ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น การเปลือยกาย

และมีรูปร่างน่าเกลียดเป็นต้นนี้ เป็นการยังความ

ละอายของหญิงทั้งหลายให้กำเริบ ขออย่าให้

กฏุมพีได้เห็นฉันเลย.

นางติสสากล่าวว่า

ถ้าอย่างนั้น ฉันจะให้สิ่งไร หรือทำบุญ

อะไรให้แก่ท่าน ท่านจึงจะได้ความสุขสำเร็จ

ความปรารถนาทั้งปวง.

นางเปรตนั้นกล่าวว่า

ขอท่านจงนิมนต์ภิกษุจากสงฆ์ ๔ รูป และ

จากบุคคล ๔ รูป รวมเป็น ๘ รูป ให้ฉันภัตตาหาร

แล้วอุทิศส่วนบุญให้ฉัน เมื่อทำอย่างนั้นฉันจึงจะ

ได้ความสุข สำเร็จความปรารถนาทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

นางติสสารับคำแล้ว นิมนต์ภิกษุ ๘ รูป

ให้ฉันภัตตาหาร ให้ครองไตรจีวรแล้ว อุทิศส่วน

กุศลไปให้นางเปรต ข้าว น้ำและเครื่องนุ่งห่มอัน

เป็นวิบาก ได้บังเกิดขึ้นในทันใดนั้นนั่นเอง นี้เป็น

ผลแห่งทักษิณา ในขณะนั้นนั่นเอง นางเปรตมี

ร่างกายบริสุทธิ์สะอาด นุ่งห่มผ้าอันมีค่ายิ่งกว่า

ผ้าแคว้นกาสี ประดับด้วยผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร

เข้าไปหานางติสสาผู้ร่วมสามี.

นางติสสาจึงถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก

ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาวประ-

กายพรึก ท่านมีวรรณะเช่นนี้ อิฐผลย่อมสำเร็จ

แก่ท่านในวิมานนี้ และโภคะทุกสิ่งทุกอย่าง อัน

เป็นที่พอใจ ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะกรรมอะไร

ดูก่อนนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ฉันขอถาม

ท่านเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ อนึ่ง

ท่านมีอานุภาพอันรุ่งเรื่อง และมีรัศมีสว่างไสว

ไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะกรรมอะไร.

นางมัตตาเทพธิดาตอบว่า

เมื่อก่อน ท่านชื่อติสสา ฉันชื่อมัตตา เป็น

หญิงร่วมสามีกันกับท่าน ฉันได้ทำกรรมอันลามก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

ไว้ จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก ฉันอนุโมทนาทาน

ที่ท่านให้แล้ว จึงไม่มีภัยแต่ที่ไหน คุณพี่ ขอท่าน

พร้อมด้วยญาติทุกคนจงมีอายุยืนนานเถิด คุณพี่

ผู้งดงาม ท่านจงประพฤติธรรมและให้ทานใน

โลกนี้แล้ว จะเข้าถึงฐานะอันไม่เศร้าโศก ปราศ-

จากธุลี ปลอดภัย อันเป็นที่อยู่แห่งท้าววสวัสดี

ท่านกำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมด้วยราก

แล้ว อันใคร ๆ ไม่ติเตียนได้ จักเข้าถึงโลก

สวรรค์.

จบ มัตตาเปติวัตถุที่ ๓

อรรถกถามัตตาเปติวัตถุที่ ๓

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภนางเปรตชื่อว่า มัตตา จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

นคฺคา ทุพฺพณฺณรูปาสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี ได้มีกฎุมพีผู้หนึ่ง เป็นคนมีศรัทธา

มีความเลื่อมใส. แต่ภริยาของเขา ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส

มักโกรธและเป็นหมัน โดยชื่อมีชื่อว่า มัตตา. ลำดับนั้น กฏุมพีนั้น

เพราะกลัววงศ์สกุลจะขาดศูนย์ จึงได้นำหญิงอื่นชื่อว่า ติสสา

มาจากสกุลเสมอกัน. นางเป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส ทั้งเป็น

ที่รัก เป็นที่ชอบใจของสามี. ไม่นานนัก นางก็ตั้งครรภ์ โดยล่วงไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

๑๐ เดือน นางจึงคลอดบุตรคนหนึ่ง บุตรคนนั้นมีชื่อว่า ภูตะ.

นางเป็นแม่บ้าน อุปัฏฐากภิกษุ ๔ รูป โดยเคารพ, ส่วนหญิงหมัน

ริษยานาง.

วันหนึ่ง หญิงทั้งสองคนนั้น สระผม ได้ยินผมเปียกอยู่แล้ว.

กฎุมพีมีความเสน่หาผูกพันในนางชื่อว่า ติสสา ด้วยอำนาจคุณ

ความดี มีใจฟูขึ้น ได้ยินเจรจามากมาย กับนางติสสานั้น. นางมัตตา

อดทนต่อเหตุการณ์นั้นไม่ได้ ถูกความริษยาครอบงำ จึงเอาหยาก-

เหยื่อที่กวาดสุมไว้ในเรือนมาโปรยลงบนกระหม่อมของนางติสสา.

สมัยต่อมา นางมัตตา ทำกาละแล้ว บังเกิดในกำเนิดเปรต เสวย

ทุกข์ ๕ ประการ เพราะพลังแห่งกรรมของตน. ก็ทุกข์นั้น จะรู้ได้

ตามพระบาลีนั่นเอง. ภายหลัง ณ วันหนึ่ง นางเปรตนั้น เมื่อการ

ก่อกรรมผ่านไป จึงแสดงตนแก่นางติสสา ผู้กำลังอาบน้ำ อยู่

ด้านหลังเรือน. นางติสสา เห็นนางนั้น จึงสอบถามด้วยคาถาว่า :-

ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด

ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูก่อนนาง

ผู้ซูบผอม มีแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครมายืนอยู่ใน

ที่นี้.

ฝ่ายนางเปรต ได้ให้คำตอบด้วยคาถาว่า :-

เมื่อก่อน ฉันชื่อมัตตา ท่านชื่อติสสา เป็น

หญิงร่วมสามีกับท่าน ได้ทำกรรมชั่วไว้ จึงจาก

มนุษยโลกนี้ไปยังเปตโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อห มตฺตา ตุว ติสฺสา ความว่า

ดิฉันชื่อมัตตา, ท่านชื่อติสสา. บทว่า ปุเร แปลว่า ในอัตภาพ

ก่อน. บทว่า เต ความว่า ดิฉันได้เป็นผู้ร่วมสามีกับท่าน. นางติสสา

จึงถามถึงกรรมที่เขาทำไว้ ด้วยคาถาอีกว่า :-

ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา

ใจ เพราะวิบากของกรรมอะไร ท่านจึงจาก

มนุษยโลกนี้ไปยังเปตโลก.

ฝ่ายนางเปรตจึงบอกกรรมที่ตนทำไว้ ด้วยคาถาอีกว่า :-

ดิฉันเป็นหญิงดุร้าย และหยาบช้า มัก

ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด ได้กล่าววาจาชั่วกะท่าน

ไว้ จึงจากมนุษยโลกนี้ ไปยังเปตโลก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จณฺฑี แปลว่า ผู้มักโกรธ.

บทว่า ผรุสา แปลว่า ผู้มักกล่าวคำหยาบ. บทว่า อาสึ แปลว่า

ได้เป็นแล้ว. บทว่า ตาห ตัดเป็น ต อห. บทว่า ทุรุตฺต แปลว่า กล่าว

คำชั่ว คือ คำที่ไม่มีประโยชน์. เบื้องหน้าแต่นี้ไป หญิงทั้งสอง

คนนั้น ได้ประกาศคาถาว่าด้วยการกล่าวและการกล่าวโต้ตอบกัน

เท่านั้นว่า :-

ติสสา : เรื่องทั้งหมดนั้น แม้ฉันก็รู้ว่าท่านเป็นคนดุร้ายอย่างไร

แต่อยากจะถามท่านสักอย่างหนึ่งว่า ท่านมีสรีระเปื้อน

ฝุ่น เพราะกรรมอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

นางเปรต : ท่านกับฉันพากันอาบน้ำแล้ว นุ่งห่มผ้าสะอาด ตบแต่ง

ร่างกายแล้ว แต่ฉันแต่งร่างกายเรียบร้อยยิ่งกว่าท่าน

เมื่อฉันแลดูท่านคุยอยู่กับสามี ลำดับนั้น ความริษยา

และความโกรธ ได้เกิดแก่ฉันเป็นอันมาก ทันใดนั้น ฉัน

จึงกวาดเอาฝุ่นโปรยรดท่าน ฉันมีร่างกายเปื้อนฝุ่น

เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น.

ติสสา : เรื่องทั้งหมดนั้นเป็นความจริง แม้ฉันก็รู้ว่า ท่านเอาโปรย

โปรยใส่ฉัน แต่ฉันอยากจะถามท่านสักอย่างหนึ่ง ท่าน

เป็นหิดคันไปทั้งตัว เพราะกรรมอะไร

นางเปรต : เราทั้งสอง เป็นคนหายา ได้พากันไปป่า ส่วนท่านหา

ยามาได้ แต่ฉันนำเอาผลหมามุ่ยมา เมื่อท่านเผลอ ฉัน

ได้โปรยหมามุ่ยนั้นลงบนที่นอนของท่าน ฉันเป็นหิด

คันไปทั้งตัว เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น.

ติสสา : เรื่องทั้งหมดเป็นความจริง แม้ฉันก็รู้ว่า ท่านโปรย

ผลหมามุ่ยลงบนที่นอนของฉัน แต่ฉันอยากจะถามท่าน

สักอย่างหนึ่ง ท่านเป็นผู้เปลือยกาย เพราะกรรมอะไร

นางเปรต : วันหนึ่งได้มีการประชุมพวกมิตรสหายและญาติ

ส่วนท่านได้รับเชิญ แต่ฉันผู้ร่วมสามีกับท่าน ไม่มี

ใครเชิญ เมื่อท่านเผลอ ฉันได้ลักผ้าของท่านไปซ่อน

เสีย ฉันเป็นผู้เปลือยกาย เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

ติสสา : เรื่องทั้งหมดนั้น เป็นความจริง แม้ฉันก็รู้ว่า ท่านได้

ลักผ้าของฉันไปซ่อน แต่ฉันอยากจะถามท่านสักอย่าง

หนึ่ง ท่านมีกลิ่นกายเหม็นดังคูถ เพราะกรรมอะไร.

นางเปรต : ฉันได้ลักของหอม ดอกไม้ และเครื่องลูบไล้ อันมีค่า

มากของท่านไป ทิ้งลงในหลุมคูถ บาปนั้นฉันได้ทำไว้

แล้ว ฉันมีกลิ่นกายเหม็นดังคูถ เพราะวิบากกรรมนั้น.

ติสสา : เรื่องทั้งหมดนั้น เป็นความจริง แม้ฉันก็รู้ว่า บาปนั้น

ท่านทำไว้แล้ว แต่ฉันอยากจะถามท่านสักอย่างหนึ่ง

ว่า ท่านเป็นคนยากจน เพราะกรรมอะไร

นางเปรต : ทรัพย์สิ่งใด มีอยู่ในเรือน ทรัพย์นั้น ของเราทั้งสอง

มีอยู่เท่า ๆ กัน เมื่อไทยธรรมมีอยู่ แต่ฉันไม่ได้ทำที่พึ่ง

แก่ตน ฉันเป็นคนยากจน เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น

ครั้งนั้น ท่านได้ว่ากล่าวตักเตือนฉัน ห้ามไม่ให้ทำ

กรรมชั่วว่า ท่านจักไม่ได้สุคติเพราะกรรมชั่ว.

ติสสา : ท่านไม่เชื่อถือเรา เพราะริษยาเรา ขอท่านจงดูวิบาก

แห่งกรรมชั่วเช่นนี้ เมื่อก่อนนางทาสี และเครื่อง

อาภรณ์ทั้งหลาย ได้มีแล้วในเรือนของท่าน แต่เดี๋ยวนี้

ทาสีเหล่านั้น พากันห้อมล้อมคนอื่น โภคะทั้งหลาย

ก็ไม่มีแก่ท่านแน่แท้ บัดนี้กฏุมพีผู้เป็นบิดาของบุตร

เรา ยังไปตลาดอยู่ ท่านอย่าเพิ่งไปจากที่นี่เสียก่อน

บางที่เขาจะให้อะไรแก่ท่านบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

นางเปรต : ฉันเป็นผู้เปลือยกายมีรูปร่างน่าเกลียด ซูบผอม

สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น การเปลือยกายและมีรูปร่าง

น่าเกลียด เป็นต้นนี้ เป็นการทำความละอาย ของหญิง

ทั้งหลายให้กำเริบ ขออย่าให้ท่านกฏุมพีได้เห็นฉันเลย.

ติสสา : ถ้าอย่างนั้น ฉันจะให้สิ่งไรหรือทำบุญอะไร ให้แก่

ท่าน ท่านจึงจะได้ความสุขสำเร็จความปรารถนา

ทั้งปวงได้.

นางเปรต : ขอท่านจงนิมนต์ภิกษุจากสงฆ์มา ๔ รูป จากบุคคล

๔ รูป รวมเป็น ๘ รูป ให้ฉันภัตตาหาร แล้วอุทิศส่วน

บุญให้ฉัน เมื่อทำอย่างนั้น ฉันจึงจะได้ความสุข สำเร็จ

ความปรารถนาทั้งปวงได้. นางติสสารับคำแล้ว

นิมนต์ภิกษุ ๘ รูป ให้ฉันภัตตาหาร ให้ครองไตรจีวร

แล้ว อุทิศส่วนกุศลไปให้นางเปรต ในทันตาเห็นนั่น

เอง วิบาก คือ ข้าว น้ำ และเครื่องนุ่งห่ม ได้เกิดขึ้น

นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ในขณะนั้นเอง นางเปรตมี

ร่างกายบริสุทธิ์สะอาด นุ่งห่มผ้าอันมีค่ายิ่งกว่าผ้า

แคว้นกาสี ประดับด้วยผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร เข้า

ไปหานางติสสา ผู้เป็นหญิงร่วมสามี.

ติสสา : ดูก่อนนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ส่อง

สว่างไสวไปทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาวประกายพรึก ท่าน

มีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรมอะไร อิฐผลสำเร็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

แก่ท่านในวิมานนี้ เพราะกรรมอะไร และโภคะทุกสิ่ง

ทุกอย่าง เพราะกรรมอะไร ดูก่อน นางเทพธิดา ผู้มี

อานุภาพมาก ฉันขอถามท่าน เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์

ได้ทำบุญอะไรไว้ อนึ่ง ท่านมีอานุภาพอันรุ่งเรื่อง และ

มีรัศมีอันสว่างไสวไปทุกทิศอย่างนี้ เพราะกรรมอะไร.

เทพธิดา : เมื่อก่อนฉันชื่อมัตตา ท่านชื่อ ติสสา เป็นหญิงร่วม

สามีกับท่าน ได้ทำกรรมชั่วไว้ จึงจากมนุษยโลกนี้

ไปยังเปตโลก.

ฉันอนุโมทนาทานที่ท่านให้แล้ว จึงไม่มีภัยแต่ที่ไหน

คุณพี่ ขอท่านพร้อมด้วยญาติทุกคน จงมีอายุยืนนาน

คุณพี่ ผู้งดงาม

ท่านจงประพฤติธรรมและให้ทานในโลกนี้แล้ว จัก

เข้าถึงฐานะอันไม่เศร้าโศก ปราศจากธุลี อันเป็นที่

อยู่แห่งท้าววสวัตตี ท่านกำจัดมลทินคือความตระหนี่

พร้อมทั้งราก อันใคร ๆ ติเตียนไม่ได้ จะเข้าถึงโลก

สวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพ อหมฺปิ ชานามิ ยถา

ตฺว จณฺฑิกา อหุ ความว่า คำที่ท่านกล่าว เราเป็นผู้ดุร้ายและ

มีวาจาหยาบทั้งหมดนั้น แม้ข้าพเจ้าก็รู้ว่าท่านเป็นผู้ร้าย มักโกรธ

มีวาจาหยาบ มักริษยา ตระหนี่ และโอ้อวด. บทว่า อญฺญฺจ โข

ต ปุจฺฉามิ ความว่า บัดนี้ เราขอถามท่านสักอย่างหนึ่งอีก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

บทว่า เกนาสิ ปสุกุนฺถิตา ความว่า ท่านเป็นผู้เปื้อนด้วยหยากเยื่อ

และฝุ่น เป็นผู้มีร่างกายเกลื่อนกล่นโดยประการทั้งปวง เพราะ

กรรมอะไร.

บทว่า สีส นฺหาตา ปลว่า ท่านสระผมแล้ว. บทว่า

อธิมตฺต แปลว่า มีประมาณยิ่งกว่า. บทว่า สมลงฺกตตรา

แปลว่า ประดับด้วยดี คือดียิ่ง. บาลีว่า อธิมตฺตา ดังนี้ก็มี.

อธิบายว่า เป็นผู้เมา คือ เป็นผู้เมาด้วยมานะอย่างยิ่ง คืออาศัย

มานะ. บทว่า ตยา แปลว่า อันนางผู้เจริญ. บทว่า สามิเกน สมนฺตยิ

ความว่า ท่านกล่าวเจรจาปราศัยกับสามี.

บทว่า ขชฺชสิ กจฺฉุยา ความว่า ท่านถูกโรคหิดกัด คือ

เบียดเบียน. บทว่า เภสชฺชหารี แปลว่า ผู้หายา คือ ผู้นำโอสถ

มา. บทว่า อุภโย แปลว่า ทั้งสองคน, อธิบายว่า ท่านกับเรา

บทว่า วนนฺต แปลว่าสู่ป่า. บทว่า ตฺวญฺจ เภสชฺชมาหริ ความว่า

ส่วนท่านหายาที่นำอุปการะมาแก่ตน ตามที่หมอบอกให้. บทว่า

อหญฺจ กปิกจฺฉุโน ความว่า แต่ฉันได้นำเอาผลหมามุ่ย คือผลไม้

ที่มีผัสสะชั่วมาให้. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เครือเถาที่เป็นเอง

ท่านเรียกว่า กปิกจฺฉุ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงนำเอาใบและผลของ

เครือเถาที่เป็นเองมา. บทว่า เสยฺย ตฺยาห สโมกิรึ ความว่า ดิฉัน

เอาผลและใบหมามุ่ยโปรยรอบที่นอนท่าน.

บทว่า สหายาน แปลว่า มิตร. บทว่า สมโย แปลว่า การ

ประชุม. บทว่า าตีน ได้แก่ พวกพ้อง. บทว่า สมิติ แปลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

การประชุม. บทว่า อามนฺติตา ความว่า ท่านอันดิฉันเชิญโดย

การกระทำมงคล. บทว่า สสามินี ความว่า หญิงผู้ร่วมสามี คือ

ผู้ร่วมผัว. มีวาจาประกอบความว่า บทว่า โน จ โขห ความว่า

ส่วนเราเขามิได้เชื้อเชิญเลย. บทว่า ทุสฺส ตฺยาห ตัดเป็น ทุสฺส

เต อห. บทว่า อปานุทึ ได้แก่ ดิฉันได้ลัก คือ ได้ถือเอาโดยอาการ

ขะโมย.

บทว่า ปุจฺจคฺฆ ได้แก่ ใหม่เอี่ยม. หรือมีค่ามาก. บทว่า

อตาเรสึ ได้แก่ ทิ้งไป. บทว่า คูถคนฺธินี ได้แก่ ผู้มีกลิ่นเหมือน

กลิ่นคูถ คือ ฟุ้งไปด้วยกลิ่นอุจจาระ.

บทว่า ย เคเห วิชฺชเต ธน ความว่า เราทั้งสอง คือ ท่านและ

ฉัน มีทรัพย์ที่เกิดขึ้นในเรือนเสมอกัน คือ เท่ากันทีเดียว. บทว่า

สนฺเตสุ แปลว่า มีอยู่. บทว่า ทีป ได้แก่ ที่พึ่ง. ท่านกล่าวหมายเอา

บุญกรรม.

นางเปรตนั้นครั้นบอกเนื้อความที่นางติสสาถามอย่างนี้แล้ว

เมื่อจะประกาศความผิดที่ตนไม่กระทำตามคำของนางติสสานั้น

ในกาลก่อนกระทำอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ในเวลานั้นนั่นเอง

ท่านได้กล่าวสอนเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเทว แปลว่า ในกาลนั้นนั่นแหละ

คือ ในเวลาที่เราตั้งอยู่ในอัตภาพมนุษย์นั่นเอง. บาลีว่า ตเถว

ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า กรรมที่เกิดขึ้นในบัดนี้ ฉันใด กรรมนั้นก็เป็น

อย่างนั้นเหมือนกัน. นางเปรตแสดงอ้างถึงตนว่า ม. บทว่า ตฺว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

ได้แก่ ซึ่งนางติสสา. บทว่า อวจ แปลว่า ได้กล่าวแล้ว. ก็เพื่อ

จะแสดงถึงอาการที่นางติสสากล่าว จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า ปาปกมฺม

กรรมชั่ว. บาลีว่า ปาปกมฺมานิ ดังนี้ก็มี. นางเปรตกล่าวว่า ท่าน

กระทำกรรมชั่วอย่างเดียว แต่ท่านไม่ได้สุคติด้วยดี เพราะกรรมชั่ว

โดยที่แท้ ได้แต่สุคติเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านได้กล่าว คือโอวาท

เราในกาลก่อน โดยอาการใด กรรมนั้นก็ย่อมมีโดยอาการนั้น

เหมือนกัน.

นางติสสาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าว ๓ คาถา โดยนัยมี

อาทิว่า วามโต ม ตฺว ปจฺเจสิ ท่านไม่เชื่อถือเรา ดังนี้. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า วามโต น ตฺว ปจฺเจสิ ความว่า ท่านเชื่อเรา

โดยอาการผิดตรงกันข้าม คือ ท่านยืดถือเราแม้ผู้แสวงหาประโยชน์

แก่ท่าน ก็ทำให้เป็นข้าศึก. บทว่า ม อุสูยสิ แปลว่า ท่านริษยาเรา

คือ ทำความริษยาเรา. ด้วยบทว่า ปสฺส ปาปาน กมฺมาน วิปาโก

โหติ ยาทิโส นี้ นางเปรตแสดงว่า ท่านจงดูวิบากของกรรมชั่ว

ที่ร้ายกาจมากนั้น โดยประจักษ์.

บทว่า เต อญฺเ ปริจาเรนฺติ ความว่า ทาสีในเรือนของท่าน

และเครื่องอาภรณ์เหล่านี้ที่ท่านหวงแหนไว้ในกาลก่อน บัดนี้

บำเรอคนอื่น คือ คนอื่นใช้สอย. จริงอยู่ บทว่า อิเม นี้ ท่านกล่าว

โดยเป็นลิงควิปลาส. บทว่า น โภคา โหนฺติ สสฺสตา ความว่า

ธรรมดาว่าโภคะเหล่านี้ ไม่แน่นอน คือไม่ยั่งยืนเป็นของชั่วกาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

มีอันจะต้องละทิ้งไป อธิบายว่า เพราะฉะนั้น ไม่ควรทำความริษยา

และความตระหนี่เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่โภคะนั้น.

บทว่า อิทานิ ภูตสฺส ปิตา ความว่า บัดนี้ กฏุมพีผู้เป็นบิดา

ของเจ้า ภูตะผู้เป็นบุตรของเรา. บทว่า อาปณา ความว่า เขาจักมา

คือจักกลับจากตลาดมายังเรือน. บทว่า อปฺเปว เต ทเท กิญฺจิ

ความว่า กฏุมพีมาถึงเรือนแล้วคงจะให้ไทยธรรมบางอย่าง อันควร

ที่จะให้แก่ท่านบ้าง. บทว่า มา สุ ตาว อิโต อคา ความว่า นางติสสา

เมื่อจะอนุเคราะห์นางเปรตนั้นจึงกล่าวว่า อันดับแรก ท่านอย่าได้

ไปจากนี้ คือจากที่ดินหลังเรือนนี้.

นางเปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะประกาศอัธยาศัยของตน จึง

กล่าวคาถามีอาทิว่า ดิฉันเปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกปีนเมต อิตฺถีน ความว่า ความเป็น

คนเปลือยกายและมีรูปร่างน่าเกลียดเป็นต้นนี้ เป็นของน่าละอาย

คือ ควรจะปกปิดสำหรับหญิงทั้งหลาย เพราะเป็นอวัยวะควรจะต้อง

ปกปิด. บทว่า มา ม ภูตปิตาทฺทส ความว่า นางเปรตละอายพลาง

กล่าวว่า เพราะฉะนั้น กฏุมพีผู้เป็นบิดาของเจ้าภูตะ อย่าได้พบ

ดิฉันเลย.

นางติสสา ครั้นได้ฟังดังนั้น จึงเกิดความสงสารกล่าวคาถาว่า

เอาเถอะ เราจะให้อะไรแก่ท่านสักอย่าง. บรรดาบทเหล่านั้น

ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิปาต ใช้ในอรรถว่า ตักเตือน. บทว่า กึ วา

ตฺยาห ทมฺมิ ความว่า เราจะให้อะไรแก่ท่าน คือ จะให้ผ้าหรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

อาหาร. บทว่า กึ วา เตธ กโรมห ความว่า เราจะทำอุปการะอะไร

แก่ท่านสักอย่าง ในที่นี้ คือในเวลานี้.

นางเปรตได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาว่า จตฺตาโร ภิกฺขู

สงฺฆโต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาโร ภิกฺขู สงฺฆโต

จตฺตาโร ปน ปุคฺคเล ความว่า ท่านจงให้ภิกษุ ๘ รูป บริโภความ

ความพอใจ อย่างนี้คือ จากภิกษุสงฆ์ คือ จากสงฆ์ ๔ รูป จาก

บุคคล ๔ รูป ดังนี้แล้วอุทิศส่วนบุญนั้นแก่เรา คือ จงให้ปัตติทาน

แก่เราเถิด. บทว่า ตทาห สุขิตา เหสฺส ความว่า ในเวลาที่ท่าน

อุทิศส่วนบุญแก่เรา เราได้รับความสุข คือถึงความสุขแล้ว จัก

เป็นผู้สำเร็จสิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่าง.

นางติสสา ครั้นได้ฟังดังนั้น จึงได้แจ้งความนั้น แก่สามี

ของตน ในวันที่ ๒ จึงให้ภิกษุ ๘ รูป ฉันแล้ว อุทิศส่วนบุญแก่

นางเปรต, ทันใดนั้นเอง นางเปรตก็ได้รับทิพยสมบัติ จึงกลับไปหา

นางติสสา. เพื่อจะแสดงความนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย

จึงได้ตั้ง ๓ คาถามีอาทิว่า นางรับคำแล้ว.

ฝ่ายนางติสสา ได้สอบถามนางเปรตผู้เข้าไปยืนอยู่แล้ว

ด้วย ๓ คาถา มีอาทิว่า มีวรรณะงามยิ่งนัก. ฝ่ายนางเปรต จึงแจ้ง

เรื่องของตนด้วยคาถาว่า เราชื่อมัตตา แล้วได้ให้อนุโมทนาแก่

นางติสสา ด้วยคาถาเป็นต้นว่า ขอท่านจงมีอายุยืนเถิด ดังนี้แล้ว

ได้ให้โอวาท ด้วยคาถาว่า จงประพฤติธรรมในโลกนี้ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตว ทินฺเนน ได้แก่ ทานที่ท่านให้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

บทว่า อโสก วิรช าน ความว่า ชื่อว่า อโสกะ เพราะไม่มีความ

เศร้าโศก อนึ่ง ฐานะอันเป็นทิพย์ ชื่อว่า วีรชะ เพราะไม่มีธุลี คือ

เหงื่อไคล ทั้งหมดนั้น นางเทพธิดา กล่าวหมายเอาเทวโลก. บทว่า

อาวาส ได้แก่สถานที่. บทว่า วสวตฺติน ได้แก่ เทพทั้งหลาย

ผู้แผ่อำนาจของตน โดยความเป็นอธิบดี อันเป็นทิพย์. บทว่า สมูล

ได้แก่ เป็นไปกับด้วยโลภะและโทสะ. จริงอยู่ โลภะและโทสะ ชื่อว่า

เป็นมูลของความตระหนี่. บทว่า อนินฺทิตา ได้แก่ใคร ๆ ไม่ติเตียน

คือ ควรสรรเสริญ. บทว่า สคฺคมุเปหิ าน ความว่า จงดำรงฐานะ

อันเป็นทิพย์ อันได้นามว่า สัคคะ เพราะเลิศด้วยดี ด้วยอารมณ์

ทั้งหลายมีรูป เป็นต้น, อธิบายว่า มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

คำที่เหลือ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

ลำดับนั้น นางติสสา บอกเรื่องราวนั้นแก่กฏุมพี. กฏุมพี

จึงได้เรียนแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล แด่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็น

อัตถุปปัตติเหตุ จึงทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว.

มหาชนได้ฟังธรรมนั้น กลับได้ความสลดใจ จึงกำจัดมลทินมีความ

ตระหนี่เป็นต้น เป็นผู้ยินดีในทานและศีลเป็นต้น มีสุคติเป็นที่ไป

ในเบื้องหน้า ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามัตตาเปติวัตถุที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

๔. นันทาเปติวัตถุ

ว่าด้วยผู้ดุร้ายตายเป็นนางเปรต

นันทิเสนอุบาสกถามว่า

[๑๐๑] ท่านมีผิวพรรณดำ มีรูปร่างน่าเกลียด

ตัวขรุขระดูน่ากลัว มีตาเหลือง เขี้ยวงอกออก

เหมือนหมู เราไม่เข้าใจว่าท่านเป็นมนุษย์.

นางเปรตตอบว่า

ข้าแต่ท่านนันทิเสน เมื่อก่อน ฉันชื่อ

นันทา เป็นภรรยาของท่าน ได้ทำกรรมอันลามก

ไว้จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก.

นันทิเสนถามว่า

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ

เพราะวิบากแห่งกรรมอะไรท่านจึงจากโลกนี้

ไปสู่เปตโลก.

นางเปรตนั้นตอบว่า

เมื่อก่อนฉันเป็นหญิงดุร้าย หยาบคาย ไม่

เคารพท่าน พูดคำชั่วหยาบกะท่าน จึงจากโลกนี้

ไปสู่เปตโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

นันทิเสนถามว่า

เอาละ เราจะให้ผ่านุ่งแก่ท่าน ขอท่านจง

นุ่งผ้านี้แล้วจงมา เราจักนำท่านไปเรือน ท่าน

ไปเรือแล้วจักได้ผ้า ข้าวและน้ำ ทั้งจักได้ชม

บุตรและลูกสะใภ้ของท่าน.

นางเปรตนั้นตอบว่า

ผ้านั้นถึงท่านจะให้ที่มือของฉัน ด้วยมือ

ของท่าน ก็ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์แก่ฉัน ขอ

ท่านจงเลี้ยงดูภิกษุทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำด้วยข้าว

และน้ำ แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ฉัน เมื่อท่านทำ

อย่างนั้น ฉันจักมีความสุข สำเร็จความปรารถนา

ทั้งปวง. เมื่อนันทิเสนอุบาสกรับคำแล้ว ได้ให้

ทานเป็นอันมาก คือ ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า เสนา-

สนะ ร่ม ของหอม ดอกไม้ และรองเท้าต่าง ๆ

และเลี้ยงดูภิกษุทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ปราศ-

จากราคะ เป็นพหูสูตให้อิ่มหยกด้วยข้าวและน้ำ

แล้วทิศส่วนกุศลไปให้นางนันทา ข้าว น้ำ และ

เครื่องนุ่งห่มอันเป็นวิบาก ย่อมบังเกิดในทันตา

นั้นนั่นเอง นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ในขณะนั้นนั่น

เอง นางเปรตนั้นมีร่างกายบริสุทธิ์สะอาด นุ่งห่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

ผ้าอันดีมีค่ายิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี ประดับด้วย

วัตถาภรณ์อันวิจิตร เข้าไปหาสามี.

นันทิเสนอุบาสกจึงถามว่า

ดูก่อนนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่ง

นักส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาว

ประกายพรึก ท่านมีวรรณะงามเช่นนี้ อิฐผลย่อม

สำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ และโภคะทุกสิ่งทุกอย่าง

อันเป็นที่พอใจ ย่อมเกิดแก่ท่านเพราะกรรมอะไร

ดูก่อนนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ฉันขอถาม

ท่าน เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไร อนึ่ง

ท่านมีอานุภาพรุ่งเรื่อง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว

ทุกทิศอย่างนี้ เพราะกรรมอะไร.

นางนันทาเทพธิดาตบว่า

ข้าแต่ท่านนันทิเสน เธอก่อน ฉันชื่อ

นันทาเป็นภรรยาของท่าน ได้ทำกรรมชั่วช้า จึง

จากมนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก ฉันอนุโมทนาทาน

ที่ท่านให้แล้ว จึงไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ ดูก่อน

คฤหบดี ขอท่านพร้อมด้วยญาติทั้งปวงจงมีอายุ

ยืนนานเถิด ดูก่อนคฤหบดี ท่านประพฤติธรรม

และให้ทานในโลกนี้แล้ว จะเข้าถึงถิ่นฐานอันไม่

เศร้าโศก ปราศจากธุลี ปลอดภัย อันเป็นที่อยู่ของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

ท้าวสวัตตี ท่านกำจัดมลทิน คือความตระหนี่

พร้อมด้วยรากแล้ว อันใคร ๆ ไม่ติเตียนได้ จัก

เข้าถึงโลกสวรรค์.

จบ นันทาเปติวัตถุที่ ๔

อรรถกถานันทาเปติวัตถุที่ ๔

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภนางเปรตชื่อว่า นันทา จึงตรัสคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

กาฬี ทุพฺพณฺณรูปาสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถีนัก

ยังมีอุบาสกคนหนึ่ง ชื่อว่า นันทิเสน เป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส.

ส่วนภริยาของเขา ชื่อว่า นันทา ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส

เป็นคนตระหนี่ ดุร้าย กล่าววาจาหยาบ ไม่เคารพยำเกรงสามี

ด่าบริภาษแม่ผัว ด้วยวาจาว่าเป็นโจร. สมัยต่อมานางนันทานั้น

ทำกาละแล้ว ไปบังเกิดในกำเนิดเปรต แสดงตนในที่ไม่ไกลหมู่บ้าน

นั้นนั่นเอง. นันทิเสนอุบาสกเห็นนางนั้น จึงได้กล่าวคาถาว่า :-

ท่านมีผิวพรรณดำ มีรูปร่างน่าเกลียด ตัว

ขรุขระดูน่ากลัว มีตาเหลือง มีเขี้ยวงอกออก

เหมือนหมู เราไม่เข้าใจว่า ท่านจะเป็นมนุษย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาฬี แปลว่า มีสีดำ. จริงอยู่

วรรณะของนางเปรตนั้น เป็นเสมือนถ่านที่ถูกเผาแล้ว. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

ผรุสา ได้แก่ มีตัวขรุขระ. บทว่า ภีรุทสฺสนา แปลว่า น่าสะพึงกลัว

คือ มีอาการน่ากลัว. บาลีว่า ภารุทสฺสนา ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า

เห็นเข้าน่ากลัวอย่างหนัก คือ ไม่น่าดู เพราะมีผิวพรรณน่าเกลียด

เป็นต้น. บทว่า ปิงฺคลา แปลว่า ผู้มีนัยน์ตาเหลือง. บทว่า กฬารา

ผู้มีเขี้ยวเหมือนหมู. บทว่า น ต มญฺานิ มานุสึ ความว่า เราไม่

สำคัญท่านว่าเป็นมนุษย์ แต่เราสำคัญท่านว่า เป็นนางเปรต.

นางเปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะประกาศตนจึงกล่าวคาถาว่า :-

ท่านนันทิเสน เมื่อก่อนดิฉันชื่อนันทา

เป็นภรรยาของท่าน ได้ทำกรรมชั่วไว้ จึงจาก

มนุษยโลกนี้ ไปสู่เปตโลก.

บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า อห นนฺทา นนฺทิเสน ความว่า

พี่นันทิเสนขา ดิฉันชื่อว่า นันทา. บทว่า ภริยา เต ปุเร อหุ ความว่า

ในชาติก่อน ดิฉันได้เป็นภรรยาของพี่. เบื้องหน้าแต่นี้ไป อุบาสก

นั้นจึงถามว่า :-

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา

ใจ เพราะวิบากของกรรมอะไร ท่านจึงจาก

มนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก.

ลำดับนั้นนางเปรต จึงได้ตอบกะนันทิเสนอุบาสกว่า

ดิฉัน เป็นหญิงดุร้าย มีวาจาหยาบคาย ไม่

เคารพพี่ กล่าวคำชั่วหยาบกะพี่ จึงจากมนุษยโลก

นี้ ไปสู่เปตโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

นันทิเสนอุบาสก จึงถามอีกว่า :-

เอาเถอะ เราจะให้ผ้านุ่งแก่เจ้า เจ้าจงนุ่งผ้า

นี้ ครั้นนุ่งผ้านี้แล้ว จงมา ฉันจะนำเจ้าไปสู่เรือน

เจ้าไปเรือนแล้ว จักได้ผ้า ข้าว และน้ำ ทั้งจักได้

ชมบุตรและลูกสะใภ้ของเธออีกด้วย.

ลำดับนั้น นางเปรตจึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา แก่นันทิเสน

อุบาสกนั้นว่า :-

ผ้านั้น ถึงพี่จะให้ที่มือของฉัน ด้วยมือ

ของพี่เอง ก็ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ฉันได้ ขอพี่

จงเลี้ยงดูภิกษุทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ผู้

ปราศจากราคะ ผู้เป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำด้วยข้าว

และน้ำ แล้วอุทิศส่วนบุญไปให้ดิฉัน เมื่อท่านทำ

อย่างนั้น ดิฉันจักมีความสุข สำเร็จความปรารถนา

ทั้งปวง.

ลำดับนั้น พระสังคีติกาจารย์ กล่าว ๔ คาถานี้ว่า :-

นันทิเสนอุบาสก รับคำแล้ว ได้ให้ทาน

เป็นอันมาก คือข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า และ

เสนาสนะ ร่ม ของหอม ดอกไม้ และรองเท้า

หลากชนิด เลี้ยงดูภิกษุทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วย

ศีล ปราศจากราคะเป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำด้วยข้าว

และน้ำแล้ว อุทิศส่วนบุญไปให้นางในทันตาเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

วิบาก คือข้าว เครื่องนุ่งห่ม และน้ำดื่ม ก็เกิดขึ้น

นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ลำดับนั้น นางเปรตมี

ร่างกายบริสุทธิ์สะอาด นุ่งห่มผ้าอย่างดี มีค่ายิ่ง

กว่าผ้าแคว้นกาสี ประดับด้วยวัตถาภรณ์อันวิจิตร

เข้าไปหาสามี.

ต่อแต่นั้น เป็นคาถากล่าวโต้ตอบระหว่างอุบาสกกับนางเปรต

ว่า :-

ดูก่อน เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก

ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาวประกาย

พรึก ท่านมีวรรณะงดงามเช่นนี้ เพราะกรรม

อะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะ

กรรมอะไร และโภคะทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นที่

พอใจ เกิดขึ้นแก่ท่านเพราะกรรมอะไร ดูก่อน

เทพธิดา ผู้มีอานุภาพมาก เราขอถามท่าน เมื่อ

เป็นมนุษย์ ท่านทำบุญอะไรด้วย ท่านมีอานุภาพ

รุ่งเรืองและมีรัศมีสว่างไสวไปทุกทิศอย่างนี้

พี่นันทิเสน เมื่อก่อนดิฉันชื่อนันทา

เป็นภริยาของท่าน ได้ทำกรรมชั่วช้า จึงจาก

มนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก ดิฉันได้อนุโมทนา

ทานที่ท่านให้แล้ว จึงไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ ก่อน

คฤหบดี ขอท่านพร้อมด้วยชาติทั้งปวง จงมีอายุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

ยืนนานเถิด ดูก่อนคฤหบดี ท่านประพฤติธรรม

และให้ทานในโลกนี้แล้ว จะเข้าถึงถิ่นฐานอันไม่

เศร้าโศก ปราศจากธุลี ปลอดภัย อันเป็นที่อยู่

ของท้าววสวัตตี กำจัดมลทินคือความตระหนี่

พร้อมทั้งราก ใคร ๆ ไม่ติเตียนได้ จักเข้าถึง

โลกสวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทาน วิปุลมากิริ ความว่า ท่าน

พึงยังมหาทานให้เป็นไป ในเขตแห่งพระทักขิไณยบุคคล เหมือน

หว่านพืชคือไทยธรรม. คำที่เหลือ เหมือนเรื่องที่ถัดกันมานั่นแล.

นางเทพธิดานั้น ครั้นประกาศทิพยสมบัติของตน และเหตุแห่ง

ทิพยสมบัตินั้น แก่นันทิเสนอุบาสกอย่างนี้แล้ว จึงได้ไปยังสถานที่

อยู่ของตนตามเดิม. อุบาสกแจ้วเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ

ทั้งหลาย จึงกราบทูล แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรมแก่

บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้น ได้มีประโยชน์แก่มหาชน

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถานันทาเปติวัตถุที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

๕. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ

พราหมณ์ถามว่า

[๑๐๒] ท่านตกแต่งร่างกาย ใส่ต่างหูเกลี้ยง ฯลฯ

(เหมือนในมัฏฐกุณฑลีวิมานที่ ๙ สุนิกขิตตวรรค

ที่ ๗ ในวิมานวัตถุ)

จบ มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุที่ ๕

อรรถกถามัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุที่ ๕

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า อลงฺกโต

มฏฺกุณฺฑลี ดังนี้. ข้อที่จะพึงกล่าวในเรื่องมัฏฐกุณฑลีนั้น ท่านได้

กล่าวไว้แล้วในอรรถกถา มัฏฐกุณฑลีวิมานวัตถุ ในอรรถกถา

วิมานวัตถุ ชื่อ ปรมัตถทีปนี เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าว

ไว้ในอรรถกถาวิมานวัตถุนั้นนั่นแหละ.

ก็ในที่นี้ เรื่องของมัฏฐกุณฑลีนั้น ท่านยกขึ้นรวบรวมไว้ใน

บาลีวิมานวัตถุ เพราะมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรเป็นเทวดาในวิมานก็จริง

ถึงกระนั้น เพราะเหตุที่เทพบุตรนั้น เพื่อจะกำจัดความเศร้าโศกของ

อทินนปุพพกะพราหมณ์ ผู้ไปป่าช้า เดินเวียนรอบป่าช้าร้องไห้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

เพราะความเศร้าโศกถึงบุตร จึงแปลงรูปเทวดาของตน เป็นคน

มีร่างกายประพรมด้วยจันทน์เหลือง ประคองแขนทั้ง ๒ คร่ำครวญ

อยู่ แสดงตนโดยอาการที่ถูกทุกข์ครอบงำ เหมือนเปรต. แม้จะ

เป็นเปรตโดยอ้อม ก็ย่อมได้ เพราะปราศจากอัตตภาพมนุษย์ ดังนั้น

พึง เห็นว่า เรื่องของมัฏฐกุณฑลีนั้น ท่านจึงยกขึ้นรวบรวมไว้ใน

บาลีเปตวัตถุ.

จบ อรรถกถามัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

๖. กัณหเปตวัตถุ

ว่าด้วยความปรารถนากระต่ายจากดวงจันทร์

โรหิไณยอำมาตย์กราบทูลว่า

[๑๐๓] ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหโคตร ขอพระองค์

จงลุกขึ้นเถิด จะมัวบรรทมอยู่ทำไม จะมี

ประโยชน์อะไรแก่พระองค์ด้วยการบรรทม

อยู่เล่า ข้าแต่พระเกสวะ บัดนี้พระภาคาร่วมพระ

อุทรของพระองค์ ซึ่งเป็นดุจพระหทัยและนัยน์-

เนตรเบื้องขวาของพระองค์ มีลมกำเริบคลั่งเพ้อ

ถึงกระต่ายไปเสียแล้ว. พระเจ้าเกสวะ ได้ทรง

ฟังคำของโรหิไณยอำมาตย์แล้ว อันความเศร้า-

โศกถึงพระภาดาครอบงำ ก็รีบเสด็จลุกขึ้นทันที

จับพระหัตถ์ทั้งสองของฆฏบัณฑิตไว้มั่นแล้ว

เมื่อจะทรงปราศรัย จึงตรัสพระคาถา มีความว่า

เหตุไรหนอ เธอจึงทำดุจเป็นคนบ้าเที่ยว

ไปทั่วนครทวารกะนี้ เพ้ออยู่ว่า กระต่าย ๆ เธอ

ปรารถนากระต่ายเช่นไร ฉันจักให้นายช่างทำ

กระต่ายทอง กระต่ายแก้วมณี กระต่ายโลหะ

กระต่ายรูปิยะ กระต่ายสังข์ กระต่ายหิน กระต่าย

แก้วประพาฬ ให้แก่เธอ หรือว่ากระต่ายอื่น ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

ที่เที่ยวหากินอยู่ในป่ามีอยู่ ฉันจักให้เขานำ

กระต่ายเหล่านั้นมาให้เธอ เธอปรารถนากระต่าย

เช่นไร.

ฆฏบัณฑิตกราบทูลว่า

ข้าพระองค์ไม่ปรารถนากระต่ายที่อาศัย

แผ่นดิน ข้าพระองค์ปรารถนากระต่ายจากพระ-

จันทร์ ข้าแต่พระเจ้าเกสวะ ขอพระองค์ได้ทรง

พระกรุณา นำกระต่ายนั้นลงนาประทานแก่ข้า-

พระองค์เถิด.

พระเจ้าวาสุเทพตรัสว่า

ดูก่อนพระญาติ เธอจักละชีวิตที่สดชื่น

ไปเสียเป็นแน่ เพราะเธอปรารถนากระต่ายจาก

ดวงจันทร์ ชื่อว่าปรารถนาสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา.

ฆฏบัณฑิตกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหโคตร ถ้าพระองค์

ทรงพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ขอให้พระองค์ทรงทราบ

ฉันนั้นเถิด เพราะเหตุไฉน พระองค์จงทรงพระ-

กรรแสงถึงราชโอรสที่ทิวงคตแล้ว แต่ก่อนมา

แม้จนวันนี้เล่า มนุษย์หรืออมนุษย์ไม่พึงได้ตาม

ปรารถนาว่า บุตรของเราที่เกิดมาแล้วจงอย่าตาย

พระองค์จะทรงได้ราชโอรสที่ทิวงคตแล้ว ซึ่งไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

ควรได้แต่ที่ไหน ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหโคตร

พระองค์ทรงกรรแสงถึงราชโอรสที่ทิวงคตแล้ว

ไม่สามารถจะนำคืนมาด้วยมนต์ รากยา โอสถ

หรือทรัพย์ได้ แม้กษัตริย์ทั้งหลายมีแว่นแคว้น

มาก มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทรัพย์และข้าว

เปลือกมาก จะไม่ทรงชราและไม่สวรรคต ไม่มี

เลย แม้กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คน

จัณฑาล คนเทหยากเยื่อ จะไม่แก่และไม่ตาย

เพราะชาติของตน ก็ไม่มีเลย ชนเหล่าใด ร่าย

มนต์อันประกอบด้วยองค์ ๖ อันพราหมณ์คิดแล้ว

ชนเหล่านั้นจะไม่แก่และไม่ตายเพราะวิชาของ

ตน ก็ไม่มีเลย แม้พวกฤาษีเหล่าใดเป็นผู้สงบ

มีตนอันสำรวมแล้ว มีตบะ แม้พวกฤาษีผู้มีตบะ

เหล่านั้น ย่อมละร่างกายไปตามกาล พระอรหันต์

ทั้งหลายมีตนอันอบรมแล้ว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มี

อาสวะ สิ้นบุญและบาป ย่อมทอดทิ้งร่างกายนี้ไว้.

พระเจ้าวาสุเทพตรัสว่า

เธอดับความกระวนกระวายทั้งปวงของเรา

ผู้เร่าร้อนอยู่ให้หายเหมือนบุคคลเอาน้ำดับไฟ

ที่ราดด้วยน้ำมันฉะนั้น เธอบรรเทาความโศกถึง

บุตรของเราผู้ถูกความโศกครอบงำ ได้ถอนขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

แล้วหนอซึ่งลูกศร คือ ความโศกอันเสียบแทง

แล้วที่หทัยของเรา เราเป็นผู้มีลูกศร คือ ความ

โศกอันถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้เย็น สงบแล้ว เราจะ

ไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้อีก เพราะได้ฟังคำของเธอ

ชนเหล่าใดผู้มีปัญญา ผู้อนุเคราะห์กันและกัน

ชนเหล่านั้นย่อมทำอย่างนี้ ย่อมยังกันและกัน

ให้หายโศก เหมือนเจ้าชายฆฏะยังพระเชษฐาให้

หายโศกฉะนั้น พวกอำมาตย์ผู้เป็นบริจาริกาของ

พระราชาใด เป็นเช่นนี้ ย่อมแนะนำด้วยสุภาษิต

เหมือนเจ้าชายฆฏะแนะนำพระเชษฐาของตน

พระราชานั้นจะมีความโศกมาแต่ไหน.

จบ กัณหเปตวัตถุที่ ๖

อรรถกถากัณหเปตวัตถุที่ ๖

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภอุบาสกคนหนึ่งลูกตาย จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้น

ว่า อุฏฺเหิ กณฺห กึ เสสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี ยังมีบุตรของอุบาสกคนหนึ่ง

ทำกาละแล้ว. อุบาสกนั้น เพียบพร้อมไปด้วยลูกศรคือ ความ

เศร้าโศก เพราะการตายของลูกนั้น ไม่อาบน้ำ ไม่กินข้าว ไม่

จัดแจงการงาน ไม่ไปยังที่อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า บ่นเพ้ออย่างเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

พลางกล่าวว่า พ่อ เป็นลูกที่รัก เจ้า ละทิ้งพ่อไปไหนเสียก่อน.

ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นอุปนิสัย

แห่งโสดาปัตติผล ของอุบาสกนั้น รุ่งขึ้นแวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์

เสด็จไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ทรงเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว

จึงทรงส่งภิกษุทั้งหลายไป ส่วนพระองค์มีพระอานนทเถระเป็น

ปัจฉาสมณะ ได้เสด็จไปยังประตูเรือนของอุบาสกนั้น คนทั้งหลาย

จึงได้แจ้งแก่อุบาสกว่า พระศาสดาเสด็จมาถึงแล้ว. ลำดับนั้น

คนในเรือนของอุบาสกนั้น จึงพากันตบแต่งเสนาสนะที่ประตู

เรือน แล้วนิมนต์พระศาสดาให้ประทับนั่ง ประคองุบาสกพาเข้า

ไปเฝ้าพระศาสดา. พระศาสดาทรงเห็นเธอนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง

จึงตรัสถามว่า อุบาสก ท่านเสียใจอะไรหรือ ? เมื่ออุบาสกกราบทูล

ให้ทรงทราบ จึงตรัสว่า อุบาสก โปราณกบัณฑิตทั้งหลาย ฟัง

ถ้อยคำของบัณฑิตทั้งหลายแล้ว ไม่เศร้าโศกถึงบุตรที่ตายไป

ดังนี้แล้ว อันอุบาสกนั้นทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาว่า :-

ในอดีตกาล ในกรุงทวารวดี มีพระราชาพี่น้องกัน ๑๐ คน

คือ พระเจ้าวาสุเทพ พลเทพ จันทเทพ สุริยเทพ อัคคิเทพ

วรุณเทพ อัชชุนเทพ ปัชชุนเทพ ฆฏบัณฑิตเทพ และอังกุรเทพ.

ในเจ้าเหล่านั้น โอรสผู้เป็นที่รักของวาสุเทพมหาราช ได้ทิวงคตลง.

เพราะเหตุนั้น พระราชา จึงถูกความเศร้าโศกครองงำ ทรงละ

พระราชกรณียกิจทุกอย่าง ยึดแม่แคร่เตียง ทรงบรรทมบ่นเพ้อไป.

ในเวลานั้น ฆฏบัณฑิตเทพ ทรงพระดำริว่า เว้นเราเสียคนอื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

ใครเล่า ที่ชื่อว่า สามารถจะหลีกเลี่ยงความเศร้าโศกพี่ชายเรา

ย่อมไม่มี เราจะขจัดความเศร้าโศกของพี่ชายเราด้วยอุบาย.

ท่านฆฏบัณฑิต จึงแปลงเพศเป็นคนบ้า แหงนดูอากาศ เที่ยวไปทั่ว

พระนครพลางกล่าวว่า ท่านจงให้กระต่ายแก่เรา ท่านจงให้กระต่าย

แก่เราเถิด. ชาวพระนครทั้งสิ้น พากันแตกตื่นว่า ฆฏบัณฑิตเป็นบ้า

เสียแล้ว.

เวลานั้น อำมาตย์ชื่อว่า โรหิไณยไปเฝ้าพระเจ้าวาสุเทพ

เมื่อจะสั่งสนทนากับพระเจ้าวาสุเทพ จึงกล่าวคาถานี้ว่า:-

ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหโคตร ขอพระองค์

จงลุกขึ้นเถิด จักมัวบรรทมอยู่ทำไม จะมีประ-

โยชน์อะไรแก่พระองค์ ด้วยการบรรทมอยู่เล่า

ข้าแต่พระเกสวะ บัดนี้ พระภาดาร่วมอุทรของ

พระองค์ผู้เป็นดุจพระทัย และนัยน์เนตรเบื้องขวา

ของพระองค์ มีลมกำเริบคลั่งเพ้อถึงกระต่าย.

บรรดาบทเหล่านั้น อำมาตย์เรียกพระเจ้าวาสุเทพ โดย

พระโคตรว่า กัณหะ. บทว่า โก อตฺโถ สุปเนน เต ได้แก่ ความ

เจริญอะไร จะมีแก่พระองค์ด้วยการบรรทม. บทว่า สโก ภาตา

ได้แก่ พระภาดาร่วมอุทร. บทว่า หทย จกฺขุ จ ทกฺขิณ ความว่า

เสมือนกับดวงหทัย และพระเนตรเบื้องขวา. บทว่า ตสฺส วาตา

พลียนฺติ ความว่า ลมบ้าหมู เกิดแก่พระภาดาร่ำไป มีกำลังแรง

กำเริบ ครอบงำ. บทว่า สส ชปฺปติ ความว่า บ่นเพ้อว่า จงให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

กระต่ายแก่เราเถิด. ด้วยบทว่า เกสวะ ได้ยินว่า ฆฏบัณฑิตนั้น

เขาเรียกว่า เกสวะ เพราะมีผมงาม เพราะเหตุนั้น เขาจึงเรียก

พระองค์โดยพระนาม.

พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงความที่พระเจ้าวาสุเทพ ได้

สดับคำของอำมาตย์นั้นแล้ว เสด็จลุกขึ้นจากที่บรรทม พระองค์

เป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง จึงตรัสคาถานี้ว่า :-

พระเจ้าเกสวะ ได้สดับคำของโรหิไณย-

อำมาตย์นั้นแล้ว ผู้ถูกความเศร้าโศกถึงพระภาดา

ครอบงำ ก็รีบเสด็จลุกขึ้นทันที.

พระราชา เสด็จลุกขึ้นแล้ว รีบลงจากปราสาท แล้วเสด็จไป

หาฆฏบัณฑิต จับมือทั้ง ๒ ของฆฏบัณฑิตไว้มั่น เมื่อจะเจรจากับ

ท่าน จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-

เหตุไรหนอ เธอจึงทำตัวเหมือนคนบ้า

เที่ยวไปทั่วนครทวารกะนี้ บ่นเพ้อว่า กระต่าย

กระต่าย เธอปรารถนากระต่ายเช่นไร ฉันจะให้

นายช่างทำกระต่ายทองคำ กระต่ายแก้วมณี กระ

ต่ายโลหะ กระต่ายเงิน กระต่ายสังข์ กระต่าย

สิลา กระต่ายแก้วประพาฬ ให้แก่เธอ หรือกระ-

ต่ายอื่นที่เที่ยวหากินอยู่ในป่าก็มีอยู่ ฉันจะให้เขา

นำกระต่ายเหล่านั้นมาให้แก่เธอ เธอปรารถนา

กระต่ายเช่นไรเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุมฺมตฺตรูโปว แปลว่าเป็นเหมือน

คนบ้า. บทว่า เกวล แปลว่า ทั้งสิ้น. บทว่า ทฺวารก ได้แก่เที่ยวไป

ตลอดทวารวดีนคร. บทว่า สโส สโสติ ลปสิ ความว่า บ่นเพ้อว่า

กระต่าย กระต่าย. บทว่า โสวณฺณมย แปลว่า สำเร็จด้วยทองคำ.

บทว่า โลหมย แปลว่า สำเร็จด้วยโลหะทองแดง. บทว่า รูปิยมย

แปลว่า สำเร็จด้วยเงิน. ท่านปรารถนาสิ่งใด ก็จงบอกมาเถอะ.

เมื่อเป็นเช่นนั้นเธอเศร้าโศก เพราะอะไร. พระเจ้าวาสุเทพเชื้อเชิญ

ฆฏบัณฑิตด้วยกระต่ายว่า กระต่ายแม้เหล่าอื่น ที่เที่ยวหากินอยู่

ในป่าก็มีอยู่ในป่า เราจักนำกระต่ายนั้นมาให้แก่เธอ เจ้า ผู้มีหน้า

อันเจริญ เธอปรารถนากระต่ายเช่นไร ก็จงบอกมาเถอะ ดังนี้

ด้วยความประสงค์ว่าฆฏบัณฑิต ต้องการกระต่าย. ฆฏบัณฑิต

ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาว่า :-

ข้าพระองค์ ไม่ปรารถนากระต่ายที่อาศัย

อยู่บนแผ่นดิน ข้าพระองค์ปรารถนากระต่ายจาก

ดวงจันทร์ ข้าแต่พระเจ้าเกสวะ ขอพระองค์โปรด

นำกระต่ายนั้นมาประทานแก่ข้าพระองค์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอหร แปลว่า โปรดให้นำลงมา.

พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นจึงถึงความโทมนัสว่า พระภาดา

ของเราเป็นบ้าเสียแล้ว โดยมิต้องสงสัย จึงตรัสคาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

ดูก่อน พระญาติ เธอจักละชีวิตอันสดชื่น

ไปเสียเป็นแน่ เพราะเธอปรารถนากระต่ายจาก

ดวงจันทร์ ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา.

พระเจ้าเกสวะตรัสเรียกน้องชายว่า ญาติ ในพระคาถานั้น.

ในพระคาถานี้มีอธิบายดังนี้ว่า :- ญาติกันเป็นที่รักของเราผู้

ปรารถนาสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา เห็นจะละชีวิตอันน่ารื่นรมย์ยิ่ง

ของตนเสียเป็นแน่.

ฆฏบัณฑิตได้ฟังพระดำรัสของพระราชาก็ได้ยืนนิ่งเสีย เมื่อ

จะแสดงความนี้ว่า ข้าแต่พี่ชาย พระองค์เมื่อรู้ว่า หม่อมฉันปรารถนา

กระต่ายจากดวงจันทร์ ครั้นไม่ได้กระต่ายนั้น จักสิ้นชีวิต เพราะ

เหตุไร พระองค์ไม่ได้โอรสที่ตายไปแล้วจึงเศร้าโศกถึง จึงกล่าว

คาถาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหโคตร ถ้าพระองค์

ทรงพร่ำสอนผู้อื่นอย่างที่ทรงทราบไซร้ เพราะ

เหตุไร แม้ทุกวันนี้พระองค์ก็ยังทรงเศร้าโศก

ถึงบุตรที่ตายแล้ว ในกาลก่อนเล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว เจ กณฺห ชานาสิ ความว่า

ข้าแต่ท้าวกัณหมหาราชผู้พี่ชาย ผิว่า พระองค์ทรงทราบอย่างนี้ว่า

ชื่อว่า วัตถุที่ไม่พึงได้ ก็ไม่พึงปรารถนา. บทว่า ยถญฺ ความว่า

ท่านพอรู้อย่างนี้ อย่าได้กระทำโดยประการที่ท่านพร่ำสอนผู้อื่น.

บทว่า กสฺมา ปุเร มต ปุตฺต ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

แม้ในวันนี้ ท่านก็ยังเศร้าโศกถึงบุตรที่ตายไป ในที่สุด ๔ เดือน

แต่เดือนนี้.

ฆฏบัณฑิต ยืนอยู่ที่ระหว่างถนนอย่างนั้นแล ทูลว่า อันดับแรก

หม่อมฉันปรารถนาสิ่งที่ปรากฏอยู่อย่างนี้ ส่วนพระองค์เศร้าโศก

เพื่อต้องการสิ่งที่ไม่ปรากฏ เมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชา จึง

กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ก็มนุษย์ หรืออมนุษย์ ไม่พึงได้ตาม

ปรารถนาว่า ขอบุตรของเราที่เกิดมาจงอย่าตาย

เลย พระองค์จะพึงได้โอรสที่ทิวงคตแล้ว ที่ไม่

ควรได้แต่ที่ไหน. ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหะโคตร

พระองค์ทรงกันแสงถึงโอรสที่ทิวงคตแล้ว ซึ่ง

ไม่สามารถจะนำคืนมาด้วยมนต์ รากยา โอสถ

หรือทรัพย์ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย ความว่า ดูก่อนพี่ชาย มนุษย์

หรือว่า เทวดา ไม่พึงได้ คือไม่อาจได้ตามที่พระองค์ปรารถนาว่า

ของบุตรของเรา ผู้เกิดมาอย่างนี้แล้ว อย่าตายไปเลย. อธิบายว่า ก็

ความปรารถนานั้น ท่านจะได้แต่ที่ไหน คือ ท่านอาจจะได้ด้วย

เหตุไร เพราะเหตุที่ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่ไม่ควรได้นี้ เป็นสิ่งที่ไม่ควร

จะได้.

บทว่า มนฺตา แปลว่า ด้วยการประกอบมนต์. บทว่า

มูลเภสชฺชา แปลว่า ด้วยรากยา. บทว่า โอสเธหิ ได้แก่ โอสถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

นานาชนิด. บทว่า ธเนน วา ได้แก่ แม้ด้วยทรัพย์นับได้ร้อยโกฏิ.

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า ใคร ๆ ไม่อาจจะนำโอรสผู้ละไป

แล้ว ที่พระองค์ทรงเศร้าโศกถึงนั้นมา ด้วยการประกอบมนต์เป็นต้น

อย่างนั้น.

ฆฏบัณฑิต เมื่อจะแสดงอีกว่า ข้าแต่พี่ชาย ขึ้นชื่อว่า ความ

ตายนี้ ใคร ๆ ไม่อาจจะห้ามได้ ด้วยทรัพย์ ด้วยชาติ ด้วยวิชชา

ด้วยศีล หรือด้วยภาวนาได้ จึงแสดงธรรมแด่พระราชาด้วยคาถา

๕ คาถาว่า :-

กษัตริย์ทั้งหลาย แม้จะมีแว่นแคว้น มี

ทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทรัพย์และธัญญาหาร

มาก จะไม่ทรงชรา จะไม่ทรงสวรรคต ไม่มีเลย.

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คน

จัณฑาล และคนเทหยากเยื่อ และคนอื่น ๆ จะ

ไม่แก่ จะไม่ตาย เพราะชาติของตน ก็ไม่มีเลย

ชนเหล่าใด ร่ายมนต์อันประกอบด้วยองค์

๖ อันพราหมณ์คิดไว้แล้ว ชนเหล่านั้นและชน

เหล่าอื่นจะไม่แก่ และไม่ตาย เพราะวิชาของตน

ก็ไม่มีเลย.

แม้พวกฤาษีเหล่าใด เป็นผู้สงบ มีตน

สำรวมแล้ว มีตปะ แม้พวกฤาษี ผู้มีตปะเหล่านั้น

ย่อมละร่างกายไปตามกาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

พระอรหันต์ทั้งหลาย มีตนอันอบรมแล้ว

ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ สิ้นบุญและบาป ยัง

ทอดทิ้งร่างกายนี้ไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหทฺธนา ได้แก่ ชื่อว่า ผู้มีทรัพย์

มาก เพราะมีทรัพย์ที่ฝังไว้นั่นแหละมาก. บทว่า มหาโภคา ได้แก่

ประกอบด้วยโภคสมบัติมาก เช่นกับโภคสมบัติของเทพ. บทว่า

รฏวนฺโต แปลว่า มีแว่นแคว้นมาก. บทว่า ปหูตธนธญฺาเส

ได้แก่ ผู้มีทรัพย์และธัญญาหาร หาที่สุดมิได้ โดยทรัพย์และธัญญา-

หาร ซึ่งจะต้องใช้จ่ายเป็นประจำ ที่เก็บฝังไว้ เพื่อใช้ได้ถึง ๓ ปี

หรือ ๔ ปี บทว่า เตปิ โน อชรามรา ความว่า กษัตริย์มีพระเจ้า

มันธาตุ และพระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นต้น ผู้มีสมบัติมากถึงอย่างนั้น

จะเป็นผู้ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่มีเลย คือ ตั้งอยู่ใกล้ปากมรณะ โดยแท้

ทีเดียว.

บทว่า เอเต ได้แก่ กษัตริย์ตามที่กล่าวแล้ว เป็นต้น. บทว่า

อญฺเ ได้แก่ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีอัมพัฏฐะมาณพเป็นต้น

ผู้เป็นอยู่อย่างนั้น. บทว่า ชาติยา ความว่า เป็นผู้ไม่แก่ ไม่ตาย

ไม่มีเลย เพราะชาติของตนเป็นเหตุ.

บทว่า มนฺต ได้แก่เวท. บทว่า ปริวตฺเตนฺติ แปลว่า ย่อม

สาธยาย และย่อมบอก, อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปริวตฺเตนฺติ ได้แก่

ร่ายเวททำการบูชาเพลิง พร้อมพร่ำมนต์ไปด้วย. บทว่า ฉฬงฺค

ได้แก่ออกเสียงอ่านถูกจังหวะ คล่อง และไพเราะ กัปปะ ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

รู้จักแบบแผนทำกิจวิธีต่าง ๆ นิรุตติ ได้แก่ รู้จักมูลศัพท์ และ

คำแปลศัพท์ ไวยากรณ์ ได้แก่ รู้จักตำราภาษา โชติศาสตร์ ได้แก่

รู้จักดาวหาฤกษ์ และผูกดวงชะตา ฉันโทวิจิติ ได้แก่ รู้จักคณะฉันท์

และแต่งได้. บทว่า พฺรหฺมจินฺติต ได้แก่ พรหมคิด คือกล่าวเพื่อ

ประโยชน์แก่พวกพราหมณ์. บทว่า วิชฺชาย ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย

วิชาเสมือนพรหม, อธิบายว่า แม้ท่านเหล่านั้น จะไม่แก่ ไม่ตาย

ไม่มีเลย.

บทว่า อิสโย ความว่า ชื่อว่าฤาษี เพราะอรรถว่า แสวงหา

พรตที่ประพฤติประจำ และพรตที่ประพฤติตามกาลกำหนดเป็นต้น

และปฏิกูลสัญญา เป็นต้น. บทว่า สนฺตา ได้แก่ สงบกายวาจา

เป็นสภาวะ. บทว่า สญฺตตฺตา ได้แก่ มีจิตสำรวม ด้วยการสำรวม

กิเลส มีราคะเป็นต้น. ชื่อว่า ตปัสสี เพราะมี ตปะ กล่าวคือ ทำกาย

ให้เร่าร้อน. อนึ่ง บทว่า ตปสฺสิโน แปลว่า ผู้สำรวม. ด้วยคำว่า

ตปสฺสิโน นั้น ท่านแสดงว่า เป็นผู้อาศัยตปะอย่างนั้น และเป็น

ผู้ปรารถนา เพื่อจะหลุดพ้นจากสรีระ ก็เป็นผู้สำรวม ย่อมละ

สรีระได้ทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิสโย ชื่อว่า อิสยะ เพราะ

อรรถว่า แสวงหาอธิสีลสิกขาเป็นต้น, ชื่อว่า ผู้สงบ เพราะเข้าไป

สงบบาปธรรม อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออธิสีลสิกขานั้น ก็เพื่อประโยชน์

แก่อธิสีลสิกขานั้น. ชื่อว่า มีตนสำรวมแล้ว เพราะสำรวมจิตไว้

ในอารมณ์อันเดียวกัน ชื่อว่า ตปัสสี เพราะมีความเพียรเครื่อง

เผาบาป โดยประกอบความเพียรชอบ. บัณฑิตพึงประกอบความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

ที่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ ชื่อว่า ตปัสสี เพราะทำกิเลส

มีราคะเป็นต้น ให้เร่าร้อน. บทว่า ภาวิตฺตตา ได้แก่ ผู้มีจิตอันอบรม

แล้ว ด้วยกัมมัฏฐานภาวนา อันมีสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์.

เมื่อฆฏบัณฑิตกล่าวธรรมอย่างนี้ พระราชาได้ทรงสดับ

ดังนั้น เป็นปราศจากลูกศรคือความโศก มีใจเลื่อมใส เมื่อจะ

สรรเสริญฆฏบัณฑิต จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า

เธอดับความกระวนกระวายทั้งปวงของ

เราผู้เร่าร้อนให้หายไป เหมือนบุคคลเอาน้ำดับไฟ

ที่ราดด้วยน้ำมัน ฉะนั้น เธอบรรเทาความโศก

ถึงบุตรของเรา ผู้ถูกความโศกครอบงำ ได้ถอน

ขึ้นแล้วหนอ ซึ่งถูกศรคือความโศกอันเสียบแทง

ที่หทัยของเรา เราเป็นผู้มีลูกศรคือความโศก

อันถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้เย็นสงบแล้ว เราจะไม่

เศร้าโศก ไม่ร้องไห้อีก เพราะได้ฟังคำของเธอ

ชนเหล่าใดผู้มีปัญญา ผู้อนุเคราะห์กันแลกัน

ชนเหล่านั้น ย่อมทำอย่างนี้ ย่อมยังกันและกัน

ให้หายโศก เหมือนเจ้าชายฆฏบัณฑิตทำพระ-

เชษฐา ให้หายโศก ฉะนั้น

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆโฏ เชฏฺ ว ภาตร ความว่า

เหมือนฆฏบัณฑิต ทำพระเชษฐาของตน ผู้ถูกความเศร้าโศก เพราะ

บุตรตายไปครอบงำ ให้พ้นจากความเศร้าโศกเพราะบุตรนั้น ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

ความที่ตนเป็นผู้ฉลาดในอุบาย และด้วยธรรมกถา ฉันใด แม้ผู้อื่น

ผู้มีปัญญา มีความอนุเคราะห์ก็ฉันนั้น ย่อมกระทำอุปการะแก่ญาติ

ทั้งหลาย.

บทว่า ยสฺส เอตาทิสา โหนติ นี้ เป็นคาถาแห่งพระองค์

ผู้ตรัสรู้ยิ่ง. คำแห่งคาถานั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ฆฏบัณฑิต ย่อม

ไปตาม คือติดตาม พระเจ้าวาสุเทพ ผู้อันความเศร้าโศก เพราะ

บุตรครอบงำ ด้วยคำอันเป็นสุภาษิต เพื่อกำจัดความเศร้าโศก

ด้วยประการใด คือ ด้วยเหตุใด. อำมาตย์ เป็นบัณฑิต ก็เช่นนั้น

อันผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงได้ ความเศร้าโศกของท่านจักมีแต่ที่ไหน

ฉะนี้แล. คาถาที่เหลือ มีอรรถดังกล่าวแล้ว ในหนหลังนั่นแล.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึง

ตรัสว่า อย่างนั้นอุบาสก โปราณกบัณฑิตทั้งหลาย ฟังถ้อยคำของ

บัณฑิตทั้งหลายแล้ว ขจัดความเศร้าโศกเพราะบุตรเสียได้ ดังนี้แล้ว

จงประกาศสัจจะประชุมชาดก. ในที่สุดสัจจะ อุบาสกดำรงอยู่

ในโสดาปัตติผลแล.

จบ อรรถกถากัณหเปตวัตถุที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

๗. ธนปาลเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตหิว ๕๕ ปี

พวกพ่อค้าถามเปรตตนหนึ่งว่า

[๑๐๔] ท่านเปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด

ผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น เห็นกระดูกซี่โครง

แน่ะเพื่อนยาก ท่านเป็นใครหนอ.

เปรตนั้นตอบว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็น

เปรต ทุกข์ยาก เกิดอยู่ในยมโลก ได้ทำกรรมอัน

ลามกไว้ จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก.

พวกพ่อค้าถามว่า

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกายวาจาใจ

หรือ เพราะวิบากแห่งอะไร ท่านจึงจากโลกนี้ไป

สู่เปตโลก.

เปรตนั้นตอบว่า

มีพระนครของพระเจ้าทสันนราช ปรากฏ

นานว่า เอรกัจฉะ เมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นเศรษฐีอยู่

ในนครนั้น ประชาชนเรียกข้าพเจ้าว่า ธนปาล-

เศรษฐี ข้าพเจ้ามีเงิน ๘๐ เล่มเกวียน ทองคำ แก้ว-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

มุกดา แก้วไพฑูรย์ ก็มีมากมายเหลือที่จะนับ

แม้ข้าพเจ้าจะมีทรัพย์มากมายถึงเพียงนั้น ก็ไม่รัก

ที่จะให้ทาน ปิดประตูบริโภคอาหารด้วยคิดว่า

พวกยาจกอย่าได้เป็นเรา ข้าพเจ้าไม่มีศรัทธา เป็น

คนตระหนี่เหนียวแน่น ได้ด่าว่าพวกยาจก และ

ห้ามปรามมหาชนผู้ให้ทานทำบุญ เป็นต้น ด้วยคำ

ว่า ผลแห่งทานไม่มี ผลแห่งการสำรวมจักมีแต่

ที่ไหน ได้ทำลายสระน้ำ บ่อนำที่เขาขุดไว้ สวน

ดอกไม้ สวนผลไม้ ศาลาน้ำ และสะพานในที่ดิน

ลำบาก ที่เขาปลูกสร้างให้พินาศ ข้าพเจ้านั้นไม่ได้

ทำความดีไว้เลย ทำแต่ความชั่วไว้ จุติจากชาติ

นั้นแล้ว บังเกิดในปิตติวิสัย เพียบพร้อมไปด้วย

ความหิวกระหายตลอด ๕๕ ปี ตั้งแต่ตายแล้ว

ข้าพเจ้ายังไม่ได้กินข้าวและน้ำเลยแม้แต่น้อย การ

สงวนทรัพย์ คือ ไม่ให้แก่ใคร ๆ เป็นความพินาศ

ของสัตว์ทั้งหลาย ความฉิบหายก็คือการสงวน

ทรัพย์ ได้ยินว่าเปรตทั้งหลายรู้ว่า การสงวน

ทรัพย์คือการไม่ให้แก่ใคร ๆ เป็นความพินาศ

เมื่อก่อนข้าพเจ้าสงวนทรัพย์ไว้ เมื่อทรัพย์มีอยู่

เป็นอันมาก ไม่ให้ทาน เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ไม่ทำ

ที่พึ่งแก่ตน ข้าพเจ้าได้รับผมแห่งกรรมของตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

จึงเดือดร้อนในภายหลัง พ้นจาก ๔ เดือนไปแล้ว

ข้าพเจ้าจักตาย จักไปตกนรกอันเผ็ดร้อนสาหัส

มี ๔ เหลี่ยม ๔ ประตู จำแนกเป็นห้อง ๆ ล้อม

ด้วยกำแพงเหล็ก ครอบด้วยแผ่นเหล็ก พื้นของ

นรกนั้น ล้วนแล้วด้วยทองแดงลุกเป็นเปลวเพลิง

ประกอบด้วยความร้อน แผ่ไปตลอดร้อยโยชน์

โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ ข้าพเจ้าจักต้องเสวยทุกข-

เวทนาในนรกนั้นตลอดกาลนาน ก็การเสวย

ทุกขเวทนาเช่นนี้ เป็นผลแห่งกรรมอันชั่ว เพราะ

ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเศร้าโศกที่จะไปเกิดในนรกอัน

เร่าร้อนนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้า

ขอเดือนท่านทั้งหลาย ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน

ทั้งหลายผู้มาประชุมกันในที่นี้ พวกท่านอย่าได้

ทำบาปกรรมในที่ไหน ๆ คือ ในที่แจ้งหรือที่ลับ

ถ้าพวกท่านจักกระทำ หรือกระทำบาปกรรมนั้น

ไว้ แม้พวกท่านจะเหาะหนีไปอยู่ที่ไหน ก็ย่อม

ไม่พ้นไปจากทุกข์ ขอท่านทั้งหลายจงเลี้ยงมารดา

จงเลี้ยงบิดา ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล

เป็นผู้เกื้อกูลแก่สมณะและพราหมณ์ ท่าน

ทั้งหลายจักไปสวรรค์ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้

บุคคลจะอยู่ในอากาศ ในท่ามกลางมหาสมุทร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

หรือเข้าไปสู่ช่องภูเขา จะพึงพ้นจากบาปกรรม

ไม่มี หรือบุคคลอยู่ในส่วนแห่งภาคพื้นใด พึงพ้น

จากบาปกรรม ส่วนแห่งภาคพื้นนั้นไม่มี.

จบ ธนปาลเปตวัตถุที่ ๗

อรรถกถาธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุที่ ๗

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภเปรตธนบาล จงตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า นคฺโค

ทุพฺพณฺณรูโปสิ.

ได้ยินว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติในนครเอรกัจฉะ-

ปัณณรัฐ ยังมีเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อว่า ธนปาลกะ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา

ไม่มีความเลื่อมใส เป็นคนตระหนี่ เป็นนัตถิกทิฏฐิบุคคล กิริยา

ของเขาปรากฏตามพระบาลีนั่นแหละ. เขาทำกาละแล้วบังเกิด

เป็นเปรตในกันตารทะเลทราย เขามีร่างกายประมาณเท่าลำต้นตาล

มีผิวหนังปูดขึ้นหยาบ มีผมยุ่งเหยิง น่าสะพึงกลัว มีรูปพรรณ

น่าเกลียด มีรูปขี้เหร่พิลึก เห็นเข้าน่าสะพึงกลัว เขาไม่ได้เมล็ดข้าว

หรือหยาดน้ำตลอด ๕๕ ปี มีคอ ริมฝีปาก และลิ้นแห้งผาก ถูกความ

หิวกระหายครอบงำ เที่ยวงุ่นง่านไปทางโน้นทางนี้.

ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้น

ในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี

โดยลำดับ พ่อค้าชาวกรุงสาวัตถีบรรทุกสิ้นค้าเต็ม ๕๐๐ เล่มเกวียน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

ไปยังอุตตราปถชนบท ขายสินค้า แล้วเอาเกวียนบรรทุกสินค้า

ที่ได้กลับมา ในเวลาเย็น ถึงแม่น้ำแห้งสายหนึ่ง จึงปลดเกวียน

ไว้ในที่นั้น พักแรมอยู่ราตรีหนึ่ง ลำดับนั้น เปรตนั้นถูกความ

กระหายครอบงำมาเพื่อต้องการน้ำดื่ม ไม่ได้น้ำดื่มแม้สักหยาดเดียว

ในที่นั้น หมดหวัง ขาอ่อนล้มลง เหมือนตาลรากขาดฉะนั้น. พวก

พ่อค้าเห็นดังนั้น จึงพากันถามด้วยคาถานี้ว่า :-

ท่านเปลือกกายมีรูปร่างน่าเกลียด ซูบผอม

สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น เห็นกระดูกซี่โครง แน่ะ

เพื่อนยาก ท่านเป็นใครกันหนอ.

ลำดับนั้นเปรตตอบว่า :-

ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตทุกข์ยาก

เกิดในยมโลก ทำกรรมชั่วไว้ จึงจากโลกนี้ไปสู่

เปตโลก.

ครั้นอ้างตนดังนี้แล้ว ถูกพ่อค้าถามถึงกรรมที่เขาทำอีกว่า :-

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกายวาจาและ

ใจ เพราะวิบากของกรรมอะไร จึงจากโลกนี้ไป

ยังเปตโลก.

เมื่อจะแสดงประวัติของตน ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

เดิมแต่ที่ที่ตนเกิดในกาลก่อน และเมื่อจะให้โอวาทแก่พวกพ่อค้า

ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ความว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

มีพระนครของพระเจ้าทสันนราช ปรากฏ

นามว่า เอรกัจฉะ เมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นเศรษฐี

อยู่ในพระนครนั้น ประชาชนเรียกข้าพเจ้าว่า

ธนปาลเศรษฐี ข้าพเจ้ามีเงิน ๘๐ เล่มเกวียน

ทองคำ แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ ก็มีมากมาย

เหลือที่จะนับ แม้ข้าพเจ้า จะมีทรัพย์มากมายถึง

เพียงนั้น ก็ไม่รักที่จะให้ทาน ปิดประตูบริโภค

อาหาร ด้วยคิดว่า พวกยาจก อย่าได้เห็นเรา

ข้าพเจ้าไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น

ได้ด่าพวกยาจกและห้ามปรามมหาชน ผู้ให้ทาน

ทำบุญเป็นต้น ด้วยคำว่า ผลแห่งทานไม่มี ผล

แห่งการสำรวมจักมีแต่ที่ไหน ได้ทำลายสระน้ำ

บ่อน้ำ ที่ขุดไว้ สวนดอกไม้ สวนผลไม้ ศาลาน้ำ

และสะพานในที่เดินลำบาก ที่เขาปลูกสร้างให้

พินาศไป ข้าพเจ้านั้นไม่ได้ทำคุณงามความดีไว้

เลย ทำแต่กรรมชั่วไว้ จุติจากชาตินั้นแล้ว เกิด

ในเปตวิสัย เพียบพร้อมไปด้วยความหิวกระหาย

ตลอด ๕๕ ปี ตั้งแต่ตายแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่ได้กิน

ข้าวและน้ำเลย แม้แต่น้อย การสงวนทรัพย์ คือ

๑. ม. พระเจ้าปัณณราช (ปณฺณาน).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

ไม่ให้แก่ใคร ๆ เป็นความพินาศ ของสัตว์

ทั้งหลาย ความฉิบหายก็คือ ความสงวนทรัพย์

ได้ยินว่า เปรตทั้งหลายรู้ว่า การสงวนทรัพย์ คือ

การไม่ให้แก่ใคร ๆ เป็นควานพินาศ เมื่อก่อน

ข้าพเจ้าสงวนทรัพย์ไว้ เมื่อทรัพย์มีอยู่เป็นอัน

มาก ไม่ให้ทาน เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ไม่ทำที่พึ่ง

แก่ตน ข้าพเจ้าได้รับผลแห่งกรรมของตน จึง

เดือดร้อนในภายหลัง พ้นจาก ๔ เดือนไปแล้ว

ข้าพเจ้าจักตาย จักตกนรกอันเผ็ดร้อนสาหัส มี

๔ เหลี่ยม ๔ ประตู จำแนกเป็นห้อง ๆ ล้อมด้วย

กำแพงเหล็ก ครอบด้วยแผ่นเหล็ก พื้นของนรก

นั้น ล้วนแล้วด้วยทองแดง ลุกเป็นเปลวเพลิง

ประกอบด้วยความร้อน แผ่ไปตลอดร้อยโยชน์

โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ ข้าพเจ้าจักต้องเสวยทุกข-

เวทนา ในนรกนั้นตลอดกาลนาน การเสวย

ทุกขเวทนาเช่นนี้ เป็นผลของกรรมชั่ว เพราะ

ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเศร้าโศกที่จะไปเกิดในนรกอัน

เร่าร้อนนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้า

ขอเตือนท่านทั้งหลาย ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน

ทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันในที่นี้ พวกท่านอย่าได้

ทำกรรมชั่ว ในที่ไหน ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่แจ้งหรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

ที่ลับ ถ้าว่าพวกท่านจักกระทำ หรือกำลังทำกรรม

ชั่วนั้นไว้ แม้พวกท่านจะเหาะหนีไป ในที่ไหน ๆ

ก็ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ขอท่านทั้งหลาย จงเลี้ยง

มารดา จงเลี้ยงบิดา ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่

ในตระกูล เป็นผู้เกื้อกูลแก่สมณะ และพราหมณ์

ท่านทั้งหลาย จักไปสวรรค์ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสนฺนาน ได้แก่ พระราชาของ

รัฐชื่อว่า ทสันนา ผู้มีชื่ออย่างนั้น บทว่า เอรกจฺฉ ได้แก่ เป็นชื่อของ

พระนครนั้น. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในนครนั้น. บทว่า ปุเร ได้แก่

ในกาลก่อน คือ ในอัตภาพอันเป็นอดีต. บทว่า ธนปาโลติ ม วิทู

ความว่า พวกชนเรียกเราว่า ธนปาลเศรษฐี. เปรตเมื่อจะแสดงว่า

ขึ้นชื่อว่า ทรัพย์เช่นนี้นั้น ย่อมติดตามเป็นประโยชน์แก่เรา ในกาล

นั้นนั่นแล จึงกล่าวคาถาว่า อสีติ ดังนี้เป็นต้น. มีโยชนาว่า

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสีติ สกฏวาหาน ความว่า ๒๐ ขาริกะ

เป็น ๑ วาหะ ที่ท่านเรียกว่า ๑ เกวียน ข้าพเจ้ามีเงินและกหาปณะ

๘๐ เล่มเกวียน. บทว่า ปหูต เม ชาตรูป เชื่อมความว่า แม้ทองคำ

ก็มีมากมาย คือ มีประมาณหลายหาบ.

บทว่า น เม ทาตุ ปิย อหุ ความว่า ข้าพเจ้า ไม่ได้มีความ

รักที่จะให้ทาน. บทว่า มา ม ยาจนกาทฺทสุ ความว่า ปิดประตูเรือน

บริโภค ด้วยหวังว่า พวกยาจกอย่าได้เห็นเรา. บทว่า กทริโย

ได้แก่ มีความตระหนี่เหนียวแน่น. บทว่า ปริภาสโก ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

เห็นเขาให้ทาน ก็ขู่ให้กลัว. บทว่า ททนฺตาน กโรนฺตาน เป็น

ฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ, แปลว่า ผู้ให้ทาน ผู้ทำบุญ.

บทว่า พหู ชเน แปลว่า ซึ่งสัตว์เป็นอันมาก. ข้าพเจ้าห้ามคือ

ป้องกัน ชนเป็นอันมาก ผู้เป็นกลุ่มของตนผู้ให้ทาน หรือทำบุญ

จากบุญกรรม.

บทว่า วิปาโก นตฺถิ ทานสฺส เป็นต้น เป็นบทแสดงเหตุการ

ห้ามในการให้ทานเป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปาโก

นตฺถิ ทานสฺส ท่านแสดงว่า ขึ้นชื่อว่า ผลแห่งการทำทานไม่มี

มีแต่บุญ บุญ อย่างเดียว ฉะนั้น ทรัพย์จึงพินาศไปถ่ายเดียว.

บทว่า สยมสฺส แปลว่า การสำรวมศีล. บทว่า กุโต ผล ความว่า

ผลจะได้แต่ที่ไหน, อธิบายว่า การรักษาศีลไม่มีประโยชน์เลย

บทว่า อารามานิ ความว่า สวนดอกไม้และสวนผลไม้. บทว่า

ปปาโย ได้แก่ ศาลาน้ำ. บทว่า ทุคฺเค ได้แก่ สถานที่ที่ไปลำบาก

เพราะมีน้ำและมีโคลน. บทว่า สงฺกมนานิ ได้แก่ สะพาน. บทว่า

ตโต จุโต แปลว่า จุติจากมนุษยโลกนั้น. บทว่า ปญฺจปญฺาส

แปลว่า ๕๕ ปี. บทว่า ยโต กาลงฺกโต อห แก้เป็น ยถา กาลกโต อห

แปลว่า เหมือนข้าพเจ้าตายไปแล้ว คือตั้งแต่ข้าพเจ้าตายไป. บทว่า

นาภิชานามิ ความว่า ข้าเจ้าไม่ได้รู้อะไร ไม่ว่าจะเป็นข้าวหรือน้ำ

ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้.

บทว่า โย สยโม โส วินาโส ความว่า การสำรวมก็คือ

การไม่ให้อะไรแก่ใคร ๆ ด้วยอำนาจความโลภเป็นต้นนั้น ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

เป็นความพินาศของสัตว์เหล่านี้ เพราะเปรตที่เกิดในกำเนิดเปรต

เป็นเหตุแห่งความวอดวายอย่างใหญ่หลวง. ด้วยคำว่า โย วินาโส

โส สยโม นี้ เปรตแสดงว่า ประโยชน์ตามที่กล่าวแล้ว เป็นประโยชน์

อย่างแน่นอน. หิ ศัพท์ในคำว่า เปตา หิ กิร ชานนฺติ นี้ เป็นนิบาต

ใช้ในอวธารณะ, กิร ศัพท์ เป็นนิบาติ ใช้ใน อรุจิสูจนัตถะ.

ได้ยินว่า พวกเปรตเท่านั้น จึงจะรู้ความนี้ว่า การสงวนคือ การ

ไม่บริจาคไทยธรรม เป็นเหตุแห่งความพินาศ เพราะตนถูกความ

หิวกระหาย ครอบงำอยู่โดยเห็นได้ชัด ไม่ใช่พวกมนุษย์. ข้อนี้

ไม่สมควรเลย เพราะแม้พวกมนุษย์ก็ยังถูกความหิวกระหายเป็นต้น

ครอบงำปรากฏอยู่เหมือนพวกเปรต. แต่พวกเปรตรู้เรื่องนั้นดีกว่า

เพราะกรรมที่ตนทำไว้ในอัตภาพก่อนปรากฏชัด. ด้วยเหตุนั้น

เปรตนั้นจึงกล่าวว่า ในชาติก่อน เราสงวนทรัพย์ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สยมิสฺส ความว่า แม้ตนเองก็ได้

กระทำการสงวน คือ การย่นและย่อจากบุญกิริยา มีการให้ทาน

เป็นต้น. บทว่า พหุเก ธเน ได้แก่ เมื่อทรัพย์เป็นอันมากมีอยู่.

บทว่า ต แปลว่า เพราะเหตุนั้น. บทว่า โว แปลว่า ท่าน

ทั้งหลาย. บาลีที่เหลือว่า ภทฺท โว พึงนำมาเชื่อมเข้าด้วยคำว่า

กรรมอันเจริญ คือ กรรมดี ได้แก่ กรรมงาม จงมีแก่พวกท่าน.

บทว่า ยาวนฺเตตฺถ สมาคตา มีอธิบายว่า พวกท่านมีประมาณเท่าใด

คือ มีประมาณเพียงใด มาประชุมกันในที่นี้ ทั้งหมดนั้น จงฟังคำ

ของข้าพเจ้า. บทว่า อาวี ได้แก่ คำประกาศ โดยปรากฏแก่คน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

เหล่าอื่น. บทว่า รโห ได้แก่ คำลี้ลับ โดยเป็นคำไม่ปรากฏแก่ชน

เหล่าอื่น. อธิบายว่า ท่านทั้งหลาย อย่าทำ คือ อย่ากระทำ ซึ่ง

กรรมชั่วช้าลามก ได้แก่อกุศลกรรม ในที่แจ้ง ด้วยอำนาจกายปโยค

มีปาณาติปาตเป็นต้น และวจีปโยค มีมุสาวาทเป็นต้น หรือในที่ลับ

ด้วยอำนาจอกุศลกรรมมีอภิชฌาเป็นต้น.

บทว่า สเจ ต ปาปก กมฺม ความว่า ก็ถ้าพวกท่านจัก

การทำกรรมชั่วนั้นในอนาคต หรือกำลังทำอยู่ในปัจจุบัน, ความ

หลุดพ้นจากทุกข์อันเป็นผลของกรรมชั่วนั้น ชื่อว่า ความหลุดพ้น

ด้วยอำนาจ ความเป็นมีอายุน้อย เป็นต้น ในอบาย ๔ มีนรกเป็นต้น

และในหมู่มนุษย์ ย่อมไม่มี. บทว่า อุปฺปจฺจาปิ ปลายต ความว่า

แม้เมื่อพวกท่านจะออกไปก็ตามที ก็พ้นไปไม่ได้เลย. บาลีว่า

อุเปจฺจ ก็มี. อธิบายว่า เมื่อพวกท่าน แม้จงใจคือแกล้ง หนีไปโดย

ประสงค์ว่า กรรมชั่ว จักติดตามพวกท่านผู้หนีไปทางโน้นทางนี้

ความพ้นจากกรรมชั่วนั้น ย่อมไม่มี แต่เมื่อความประชุมแห่งปัจจัย

อื่น มีคติและกาลเป็นต้น ยังมีอยู่ กรรมชั่วนั้น ยังให้ผลได้เหมือนกัน.

ก็ความนี้ พึงแสดงด้วยคาถานี้ว่า :-

บุคคลจะอยู่ในอากาศ ในท่ามกลาง

มหาสมุทร หรือเข้าไปสู่ช่องเขา จะพึงพ้นจาก

กรรมชั่วไม่มี หรือบุคคลอยู่ในส่วนแห่งภาคพื้น

ใด พึงพ้นจากกรรมชั่ว ส่วนแห่งภาคพื้นนั้นก็

ไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มตฺเตยฺยา แปลว่า เกื้อกูลแก่

มารดา. บทว่า โหถ ความว่า ท่านจงกระทำอุปัฏฐากเป็นต้นแก่

มารดาบิดาเหล่านั้น. บทว่า เปตฺเตยฺยา ก็พึงทราบอย่างนั้น. บทว่า

กุเล เชฏฺาปจายิกา แปลว่า เป็นผู้กระทำการนอบน้อมแก่ผู้ใหญ่

ในตระกูล. บทว่า สามญฺา ได้แก่ เป็นผู้บูชาสมณะ. บทว่า

พฺรหฺมญฺา ก็เหมือนกัน มีอธิบายว่า ผู้บูชาท่านผู้ลอยบาป ด้วย

บทว่า เอว สคฺค คิมสฺสถ นี้ มีอธิบายว่า ท่านทั้งหลาย กระทำบุญ

โดยนัยที่ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว จักเข้าถึงเทวโลก. ก็ในเรื่องนี้ บทที่

ไม่ได้จำแนกไว้โดยอรรถ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในขัลลาฏิย-

เปติวัตถุเป็นต้นในหนหลัง.

พวกพานิชเหล่านั้น ได้สดับคำของเปรตทั้งหลาย เกิดความ

สังเวช เมื่อจะอนุเคราะห์เปรตนั้น จึงเอาภาชนะตักน้ำดื่มมา ให้

เขานอนลงแล้ว กรอกเข้าทางปาก. แต่นั้นน้ำที่มหาชน ลาดลง

หลายครั้ง ก็ไม่ไหลลงสู่ลำคอ เพราะพลังแห่งกรรมชั่วของเปรต

นั้น. จักกำจัดความกระหายได้ที่ไหนเล่า. พ่อค้าเหล่านั้นจึงถาม

เปรตว่า ท่านได้ความโปร่งใจอะไรบ้างไหม ? เปรตนั้นตอบว่า

ถ้าน้ำที่ชนมีประมาณเพียงนี้ กรอกเข้าไปตลอดเวลาเพียงเท่านี้

แม้เพียงสักหยดเดียวก็ไม่เข้าไปในลำคอเรา กับไหลเข้าลำคอ

ของคนอื่นไปหมด, ความหลุดพ้นไปจากกำเนิดเปรตนี้ จงอย่ามีเลย.

ลำดับนั้น พ่อค้าเหล่านั้น ได้ฟังดังนั้น จึงเกิดความสังเวชยิ่งนัก

พากันกล่าวว่า ก็อุบายอะไร ๆ เพื่อระงับความกระหายมีบ้างไหม ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

เปรตตอบว่า เมื่อกรรมชั่วนี้สิ้นไป เมื่อพวกญาติถวายทานแต่

พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต อุทิศทานให้แก่เรา,

เราก็จักพ้นจากความเป็นเปรตนี้ไปได้. พวกพ่อค้าได้ฟังดังนั้น

จึงพากันไปกรุงสาวัตถี เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลเรื่องนั้น

รับสรณคมน์และศีล ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประธาน ตลอด ๗ วัน แล้วอุทิศส่วนบุญแก่เปรตนั้น. พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วแสดง

ธรรมแก่บริษัททั้ง ๔. และมหาชนละมลทิน คือความตระหนี่ มี

โลภะเป็นต้น ได้เป็นผู้ยินดียิ่งในบุญมีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

๘. จูฬเสฏฐีเปตวัตถุ

ว่าด้วยบรรพชิตตระหนี่เป็นเปรตเปลือยผอม

พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสถามจูฬเศรษฐีเปรตว่า :-

[๑๐๕] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นบรรพชิต

เปลือยกายซูบผอม เพราะเหตุแห่งกรรมอะไร

ท่านจะไปที่ไหนในราตรีเช่นนี้ ขอท่านจงบอก

การที่ท่านจะไปแก่เราเถิด เราสามารถจะให้

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแก่ท่านด้วยความอุตสาหะ

ทั้งปวง.

จูฬเศรษฐีเปรตกราบทูลว่า

เมื่อก่อนพระนครพาราณสีมีกิตติคุณเลื่อง

ลือไปไกล ข้าพระองค์เป็นคฤหบดีผู้มั่งคั่งอยู่ใน

พระนครนั้น แต่เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่นไม่

เคยให้สิ่งของแก่ใคร ๆ มีใจข้องอยู่ในอามิส

ได้ถึงวิสัยแห่งพญายมเพราะความเป็นผู้ทุศีล

ข้าพระองค์ลำบากแล้วเพราะความหิวเสียดแทง

เพราะบาปกรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระ-

องค์ปรารถนาอามิส จึงได้มาหาหมู่ญาติ มนุษย์

แม้เหล่าอื่นมีปกติไม่ให้ทาน และไม่เชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

แห่งทานมีอยู่ในโลกหน้า มนุษย์แม้เหล่านั้นจัก

เกิดเป็นเปรตเสวยทุกข์ใหญ่ เหมือนข้าพระองค์

ฉะนั้น ธิดาของข้าพระองค์ปนอยู่เนื่อง ๆ ว่า เรา

จักให้ทานอุทิศให้มารดา บิดา ลุง ป้า น้า อา

ปู่ ย่า ตา ยาย พวกพราหมณ์กำลังบริโภคทาน

อันธิดาของข้าพระองค์ตกแต่งแล้ว ข้าพระองค์

จะไปยังเมืองอันธกาวินทนคร เพื่อบริโภคอาหาร

พระราชาจึงตรัสสั่งเขาว่า ถ้าท่านไปได้

เสวยผลทานนั้น พึงรีบลับมาบอกเหตุที่มีจริง

แก่เรา เราฟังคำอันมีเหตุผลควรเชื้อถือได้แล้ว

จักทำการบูชาบ้าง จูฬเศรษฐีเปรตทูลรับพระ-

ดำรัสแล้ว ได้ไปยังอันธกาวินทนครนั้น แต่ไม่ได้

รับผลแห่งทานนั้นเพราะพราหมณ์ทั้งหลายที่

บริโภคภัต เป็นผู้ไม่มีศีล ไม่สมควรแก่ทักษิณา

ภายหลังจูฬเศรษฐีเปรตกลับมาสู่นครราชคฤห์

อีก ได้ไปแสดงกายให้ปรากฏ เฉพาะพระพักตร์

ของพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่ชน

พระราชาทอดพระเนตรเห็นเปรตนั้นกลับมาอีก

จึงตรัสถามว่า เราจะให้ทานอะไร ถ้าเหตุที่จะให้

ท่านอิ่มหนำตลอดกาลมีอยู่ไซร้ ขอท่านจงบอก

เหตุนั้นแก่เรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

จูฬเศรษฐีเปรตกราบทูลว่า

ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์จงทรงอังคาส

พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ด้วยข้าวและน้ำ และ

จงทรงถวายจีวร แล้วทรงอุทิศกุศลนั้นเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพระองค์ ด้วยการทรง

บำเพ็ญกิจอย่างนี้ ข้าพระองค์จะพึงอิ่มหนำตลอด

กาลนาน. ลำดับนั้น พระราชาเสด็จออกจาก

ปราสาททันที ทรงถวายทานอันประณีตยิ่งแก่

สงฆ์ ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ แล้วทรงกราบ

ทูลเรื่องราวแด่พระตถาคต ทรงอุทิศส่วนกุศล

ให้จูฬเศรษฐีเปรต

จูฬเศรษฐีเปรตนั้นอันพระราชาทรงบูชา

แล้ว เป็นผู้งดงามยิ่งนัก ได้มาปรากฏเฉพาะ

พระพักตร์ของพระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าชน แล้ว

กราบทูลว่า ข้าพระองค์เป็นเทวดา มีฤทธิ์อย่าง

ยอดเยี่ยมแล้ว มนุษย์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์เสมอด้วย

ข้าพระองค์ไม่มี ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรดู

อานุภาพอันหาประมาณมิได้ของข้าพระองค์นี้เถิด

ซึ่งเกิดจากผลที่พระองค์ทรงถวายทานอันจะนับ

มิได้แก่สงฆ์ อุทิศส่วนพระราชกุศลให้แก่ข้า-

พระองค์ด้วยทรงอนุเคราะห์ ข้าแต่พระองค์ผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

เป็นเทพแห่งมนุษย์ ข้าพระองค์เป็นผู้อันพระองค์

ยังพระอริยสงฆ์ให้อิ่มหนำด้วยไทยธรรมมีข้าว

และน้ำ และผ้าผ่อนเป็นต้นเป็นอันมาก จึงได้อิ่ม

หนำแล้วเนือง ๆ บัดนี้ข้าพระองค์มีความสุขแล้ว

ขอทูลลาพระองค์ไป.

จบ จูฬเสฏฐิเปตวัตถุที่ ๘

อรรถกถาจูฬเสฏฐิเปตวัตถุที่ ๘

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภจูฬเศษฐีเปรต ตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นคฺโค กิโส

ปพฺพชิโตสิ ภนฺเต ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี มีคฤหบดีผู้หนึ่ง เป็นคนไม่มี

ศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น ไม่เอื้อเฟื้อ

ต่อการบำเพ็ญบุญ ได้นามว่า จูฬเศรษฐี. เขาทำกาละแล้ว บังเกิด

ในหมู่เปรต. ร่างกายของเขาปราศจากเนื้อและเลือด มีเพียงกระดูก

เส้นเอ็นสละหนัง ศีรษะโล้น ปราศจากผ้า. แต่ธิดาของเขา ชื่อว่า

อนุลา อยู่ในเรือนของสามี ในอันธกวินทนคร มีความประสงค์จะ

ให้พราหมณ์บริโภคอาหารอุทิศบิดา จึงจัดแจงเครื่องอุปกรณ์ทาน

มีข้าวสารเป็นต้น. เปรตรู้ดังนั้น ไปในที่นั้นโดยอากาศ โดยความ

หวัง ถึงกรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู ถูกพระเจ้า-

เทวทัตต์ส่งไป ให้ปลงพระชนมชีพพระบิดา ไม่เข้าถึงความหลับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

เพราะความเดือดร้อน และความฝันร้ายนั้น จึงขึ้นไปบนปราสาท

จงกรมอยู่ เห็นเปรตนั้น เหาะไปอยู่จึงถามด้วยคาถานี้ว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นบรรพชิต

เปลือยกาย ซูบผอม เพราะเหตุแห่งกรรมอะไร

ท่านจะไปไหนในราตรีเช่นนี้ ขอท่านจงบอก

กาลที่ท่านจะไปแก่เราเถิด เราสามารถจะให้

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแก่ท่าน ด้วยความอุตสาหะ

ทุกอย่าง

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชิโต ได้แก่ สมณะ. ได้ยินว่า

พระราชากล่าวกะเขาว่า ท่านเป็นบรรพชิตเปลือยกายซูบผอม

เป็นต้น ด้วยความสำคัญว่า ผู้นี้เป็นสมณะเปลือย เพราะเขาเป็น

คนเปลือยกายและเป็นคนศีรษะโล้น. บทว่า กิสฺสเหตุ แปลว่า

มีอะไรเป็นเหตุ. บทว่า สพฺเพน วิตฺต ปฏิปาทเย ตุว ความว่า

เราจะมอบทรัพย์เครื่องปลื้มใจ อันเป็นเครื่องอุปกรณ์แห่งทรัพย์

เครื่องปลื้มใจ พร้อมด้วยโภคะทุกอย่าง หรือด้วยความอุตสาหะ

ทุกอย่าง ตามความเหมาะสมแก่อัธยาศัยของท่าน ไฉนหนอเรา

พึงสามารถเช่นนั้นได้ เพราะฉะนั้น ท่านจงบอกข้อนั้นแก่เรา

คือ จงบอกเหตุแห่งการมาของท่านนั้นแก่เรา.

เปรตถูกพระราชาถามอย่างนี้แล้ว เมื่อจะบอกประวัติ

ของตน จึงได้กล่าวคาถา ๓ ถาคาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

เมื่อก่อนกรุงพาราณสี มีกิตติคุณเลื่องลือ

ไปไกล ข้าพระองค์เป็นคฤหบดี ผู้มั่งคั่งอยู่ใน

กรุงพาราณสีนั้น แต่เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น

ไม่เคยให้สิ่งของแก่ใคร ๆ มีใจข้องอยู่ในอามิส

ได้ถึงวิสัยแห่งพญายม เพราะความเป็นผู้ทุศีล

ข้าพระองค์ลำบากแล้ว เพราะความหิวเสียดแทง

เพราะกรรมชั่วเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระ-

องค์ปรารถนาอามิส จึงได้มาหาหมู่ญาติ มนุษย์

แม้เหล่าอื่น มีปกติไม่ให้ทานและไม่เชื่อว่า ผล

แห่งทานมีอยู่ในโลกหน้า มนุษย์แม้เหล่านั้นจัก

เกิดเป็นเปรตเสวยทุกข์ใหญ่ เหมือนข้าพระองค์

ฉะนั้น ธิดาของข้าพระองค์ บ่นอยู่เนือง ๆ ว่า

เราจักให้ทานอุทิศให้มารดา บิดา ลุง ป้า น้า

อา ปู่ ย่า ตา ยาย พวกพราหมณ์กำลังบริโภค

ทาน อันธิดาของข้าพระองค์ตบแต่งแล้ว ข้า-

พระองค์จะไปยังเมือง อันธกวินทนคร เพื่อ

บริโภคอาหาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูรฆุฏฺ ได้แก่ เลื่องลือ ด้วย

อำนาจกิตติคุณไปไกลทีเดียว, อธิบายว่า ขจรไป คือปรากฏในที่

ทุกสถาน. บทว่า อฑฺฒโก แปลว่า เป็นคนมั่งคั่ง คือมีสมบัติมาก.

บทว่า ทีโน แปลว่า มีจิตตระหนี่ คือมีอัธยาศัยในการไม่ให้. ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

เหตุนี้ ท่านจึงกล่าวว่า อทาตา ผู้ไม่ให้. บทว่า เคธิตมโน อามิสสฺมึ

ได้แก่ ผู้มีจิตข้องอยู่ คือ ถึงความติดอยู่ ในอามิสคือกาม. บทว่า

ทุสฺสีเลน ยมวิสยมฺหิ ปตฺโต ความว่า ข้าพเจ้าได้ถึงวิสัยแห่งพญายม

คือ เปตโลก ด้วยกรรมคือความเป็นผู้ทุศีลที่ตนได้ทำไว้.

บทว่า โส สูจิกาย กิลมิโต ความว่า ข้าพเจ้านั้น ลำบาก

เพราะความหิว อันได้นามว่า สูจิกา เพราะเป็นเสมือนเข็ม เพราะ

อรรถว่า เสีย แทง เสียดแทงอยู่ไม่ขาดระยะ. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า

กิลมโถ ดังนี้ก็มี. บทว่า เตหิ ความว่า ด้วยบาปกรรม อันเป็น

เหตุที่กล่าวแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ทีโน ดังนี้. จริงอยู่ เมื่อเปรตนั้น

ระลึกถึงกรรมชั่วนั้น โทมนัสอย่างยิ่ง เกิดขึ้นแล้ว เพราะเหตุนั้น

เปรตจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า เตเนว ได้แก่ เพราะความทุกข์

อันเกิดแต่ความหิวนั้นนั่นเอง. บทว่า าตีสุ ยามิ ความว่า ข้าพเจ้า

จึงไป คือ ไปถึงที่ใกล้ของหมู่ญาติ. บทว่า อานิสกิญฺจิกฺขเหตุ ได้แก่

เพราะเหตุแห่งข้าพระองค์ปรารถนาอามิส อธิบายว่า ปรารถนา

อามิสบางอย่าง. บทว่า อทานสีลา น จ สทฺทหนฺติ ทานผล โหติ

ปรมฺหิ โลเก ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติไม่ให้ทานฉันใด แม้

คนเหล่าอื่นก็มีปกติไม่ให้ทานฉันนั้นเหมือนกัน และไม่เชื่อว่า ผล

แห่งทาน จะมีในปรโลกอย่างแท้จริง, อธิบายว่า แม้พวกชนเหล่านั้น

เป็นเปรตเสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวงเหมือนข้าพเจ้า.

บทว่า ลปเต แปลว่า ย่อมกล่าว. บทว่า อภิกฺขณ แปลว่า

เนือง ๆ คือโดยส่วนมาก. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า เปรตกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

กระไร เปรตจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักให้ทานเพื่อมารดาบิดา ปู่ ย่า

ตา ยาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิตูน ได้แก่ มารดาและบิดา หรือ

อา และลุง. บทว่า ปิตามหาน ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ละยาย. บทว่า

อุปกฺขฏ ได้แก่ จัดแจง. บทว่า ปริวิสยนฺติ แปลว่าให้บริโภค.

บทว่า อนฺธกวินฺท ได้แก่ นครอันมีชื่อย่างนั้น. บทว่า ภุตฺตุ ได้แก่

เพื่อบริโภค. เบื้องหน้าแต่นั้น พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า :-

พระราชาจึงตรัสสั่งเขาว่า ถ้าท่านไปได้

เสวยผลทานนั้น พึงรีบกลับมาบอก เหตุที่มีจริง

แก่เรา เราฟังคำอันมีเหตุผล ควรเชื่อถือได้แล้ว

จักทำการบูชาบ้าง จูฬเศรษฐีเปรตทูลรับพระ-

ดำรัสแล้ว ได้ไปยังอันธกวินทนครนั้น แต่ไม่ได้

รับผลแห่งทานนั้น เพราะพราหมณ์ทั้งหลายที่

บริโภคภัตร เป็นผู้ไม่มีศีล ไม่สมควรแก่ทักษิณา

ภายหลังจูฬเศรษฐีเปรต กลับมายังกรุงราชคฤห์

อีก ได้ไปแสดงกายให้ปรากฏ เฉพาะพระพักตร์

ของพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่ชน

พระราชาทอดพระเนตรเห็นเปรตนั้น กลับมาอีก

จึงตรัสถามว่า เราจะให้ทานอะไร ถ้าเหตุที่จะให้

ท่านอิ่มหนำตลอดกาลนานมีอยู่ไซร้ ขอท่านจง

บอกเหตุนั้นแก่เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

จูฬเศรษฐีเปรตกราบทูลว่า :-

ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์จงทรงอังคาส

พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำ และ

จงทรงถวายจีวรแล้ว จงอุทิศกุศลนั้น เพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพระองค์ ด้วยทรงการ

บำเพ็ญกิจอย่างนี้ ข้าพระองค์จะพึงอิ่มหนำ ตลอด

กาลนาน ลำดับนั้นพระราชา เสด็จออกจาก

ปราสาททันที ทรงถวายทานอันประณีตยิ่งแก่

สงฆ์ ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์แล้วทรงกราบ

ทูลเรื่องราว แด่พระตถาคต ทรงอุทิศส่วนกุศล

ให้แก่จูฬเศรษฐีเปรต, จูฬเศรษฐีเปรตนั้น อัน

พระราชาทรงบูชาแล้ว เป็นผู้งดงามยิ่งนัก ได้มา

ปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระราชา ผู้เป็นใหญ่

กว่าหมู่ชน แล้วกราบทูลว่า ข้าพระองค์เป็น

เทวดา มีฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยมแล้ว มนุษย์ทั้งหลาย

ผู้มีฤทธิ์เสมอด้วยข้าพระองค์ไม่มี ขอพระองค์

ทรงทอดพระเนตรดูอานุภาพอันหาประมาณมิได้

ของข้าพระองค์นี้เถิด ซึ่งเกิดจากผลที่พระองค์

ทรงถวายทาน อันจะนับมิได้แก่สงฆ์ อุทิศส่วน

พระราชกุศลให้แก่ข้าพระองค์ ด้วยทรงอนุ-

เคราะห์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเทพแห่งมนุษย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

ข้าพระองค์เป็นผู้อันพระองค์ ยังพระอริยสงฆ์

ให้อิ่มหนำ ด้วยไทยธรรมมีข้าวและน้ำ และ

ผ้าผ่อนเป็นต้น เป็นอันมาก จึงได้อิ่มหนำแล้ว

เนือง ๆ บัดนี้ ข้าพระองค์มีความสุขแล้ว จึง

ขอทูลลาพระองค์ไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมโวจ ราชา ความว่า พระเจ้า-

อชาตศัตรูได้ตรัสสั่งเปรตนั้น ผู้ยืนกล่าวอยู่อย่างนั้น. บทว่า

อนุภวิยาน ตมฺปิ ความว่า เสวยทานแม้นั้นที่ธิดาของท่านเข้าไป

ตั้งไว้. บทว่า เอยฺยาสิ แปลว่า พึงมา. บทว่า กริสฺส แปลว่า จัก

กระทำ. บทว่า อาจิกฺข เม ต ยทิ อตฺถิ เหตุ ความว่า ถ้าคำอะไร

มีเหตุที่ควรเชื่อได้จงบอกเล่าแก่เรา. บทว่า สทฺธายิต แปลว่า

ควรเชื่อได้. บทว่า เหตุวโจ. ได้แก่ คำที่ควรแก่เหตุ. อธิบายว่า

ท่านจงกล่าวคำที่มีเหตุว่า เมื่อบำเพ็ญทานในที่ชื่อโน้น โดยประการ

โน้น จะสำเร็จแก่เรา.

บทว่า ตถาติ วตฺวา ความว่า จูฬเศรษฐีเปรตทูลรับพระ-

ดำรัสแล้ว. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในที่เป็นที่อังคาสในอันธกวินทนคร

นั้น. บทว่า ภุญฺชึสุ ภตฺต น จ ทกฺขิณารหา ความว่า พราหมณ์

ผู้ทุศีลบริโภคภัตตาหารแล้ว แต่ว่าพราหมณ์บริโภคนั้น เป็นผู้

ไม่ควรทักษิณา ไม่มีศีล. บทว่า ปุนาปร ความว่า ภายหลัง

จูฬเศรษฐีเปรตกลับมายังกรุงราชคฤห์อีก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

บทว่า กึ ททามิ ความว่า พระราชาตรัสถามเปรตนั้นว่า

เราจักให้ทานเช่นไรแก่ท่าน. บทว่า เยน ตุว ความว่า ท่านให้

อิ่มหนำด้วยเหตุใด. บทว่า จิรตร แปลว่า ตลอดกาลนาน. บทว่า

ปิณิโต. ความว่า ถ้าท่านอิ่มหนำแล้วท่านจงบอกข้อนั้น.

บทว่า ปริวิสิยาน แปลว่า ให้บริโภค. จูฬเศรษฐีเปรต

เรียกพระเจ้าอชาตศัตรูว่า ราชา. บทว่า เม หิตาย ได้แก่ เพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพระองค์ คือ เพื่อให้ข้าพระองค์พ้นจาก

ความเป็นเปรต.

บทว่า ตโต แปลว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะคำนั้น. อีก

อย่างหนึ่ง บทว่า ตโต แปลว่า จากปราสาทนั้น. บทว่า นิปติตฺวา

แปลว่า ออกไปแล้ว. บทว่า ตาวเท ได้แก่ ในกาลนั้นเอง คือ

ในเวลาอรุณขึ้น, อธิบายว่า พระราชาได้ถวายทานเฉพาะในเวลา

ก่อนภัตรที่เปรตกลับมาแสดงตนแก่พระราชา. บทว่า สหตฺถา

แปลว่า ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์. บทว่า อตุล แปลว่า ประมาณ

ไม่ได้ คือ ประณีตยิ่ง. บทว่า ทตฺวา สงฺเฆ ได้แก่ ถวายแก่สงฆ์.

บทว่า อาโรเจสิ ปกต ตถาคตสฺส ความว่า พระราชากราบทูล

เรื่องราวนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ทาน

นี้หม่อมฉันได้บำเพ็ญมุ่งหมายอุทิศเปรตตนหนึ่ง. ก็แลครั้นกราบทูล

แล้ว ทานนั้นก็สำเร็จแก่เปรตนั้น โดยประการนั้น และข้าพระองค์

ถวายอุทิศส่วนบุญแก่เปรตนั้น ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

บทว่า โส ได้แก่ เปรตนั้น. บทว่า ปูชิโต ได้แก่ ผู้อัน

พระราชาทรงบูชาด้วยทักษิณาที่ทรงทิศให้. บทว่า อติวิย

โสภมาโน. แปลว่า เป็นผู้งดงามยิ่งนักด้วยอานุภาพของเทวดา.

บทว่า ปาตุรโหสิ แปลว่า ปรากฏแล้ว คือ แสดงตนเฉพาะพระพักตร์

ของพระราชา. บทว่า ยกฺโขหมสฺมิ ความว่า ข้าพระองค์พ้นจาก

ความเป็นเปรตกลายเป็นเทวดา คือ ถึงความเป็นเทพ. บทว่า

น มยฺหมตฺถิ สมา สทิสา มานุสา ความว่า มนุษย์ทั้งหลายผู้เสมอ

ด้วยอานุภาพสมบัติ หรือเสมือนโภคสมบัติของข้าพเจ้าไม่มี.

บทว่า ปสฺสานุภาว อปริมิต มมยิท ความว่า จูฬเศรษฐีเปรต

กราบทูลแสดงสมบัติของตนแก่พระราชาโดยประจักษ์ว่า ขอ

พระองค์โปรดทอดพระเนตรดูอานุภาพแห่งเทวดาอันหาประมาณ

มิได้นี้ของข้าพระองค์เถิด. บทว่า ตยานุทิฏฺ อตุล ทตฺวา สงฺเฆ

ความว่า ซึ่งพระองค์ถวายทานอันโอฬารหาสิ่งเปรียบปานมิได้

แด่พระอริยสงฆ์ แล้วทรงอุทิศด้วยความอนุเคราะห์ข้าพระองค์.

บทว่า สนฺตปฺปิโต สตต สทา พหูหิ ความว่า ข้าพระองค์เมื่อให้

พระอริยสงฆ์อิ่มหนำด้วยไทยธรรมเป็นอันมากมีข้าว น้ำ และผ้า

เป็นต้น ชื่อว่าให้อิ่มหนำติดต่อกัน คือ ไม่ขาดระยะ แม้ในที่นั้น

ทุกเมื่อ คือทุกเวลา ตลอดชีวิต. บทว่า ยามิ อห สุขิโต มนุสฺสเทว

ความว่า จูฬเศรษฐีเปรตทูลถามพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช

เป็นเทพของมนุษย์ เพราะฉะนั้น บัดนี้ ข้าพระองค์มีความสุขแล้ว

ขอกลับไปยังที่ตามที่ปรารถนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

เมื่อเปรตทูลลากลับไปอย่างนี้ พระเจ้าอชาตศัตรูตรัส

บอกความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้วกราบทูลความนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ

เรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อม

แล้ว มหาชนฟังธรรมนั้นแล้ว ละมลทินคือความตระหนี้ ได้เป็น

ผู้ยินดียิ่งในบุญมีทานเป็นต้นแล.

จบ อรรถกถาจูฬเสฏฐิเปตวัตถุที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

๙. อังกุรเปตวัตถุ

ว่าด้วยบุญสำเร็จที่ฝ่ามือ

พราหมณ์พ่อค้าคนหนึ่ง เห็นของทิพย์ออกจากมือรุกขเทวดา

จึงเกิดความโลภขึ้น ได้บอกแก่อังกุรพาณิชว่า :-

[๑๐๖] เราทั้งหลายเที่ยวหาทรัพย์ ไปสู่แคว้น

กันโพชเพื่อประโยชน์สิ่งใด เทพบุตรนี้เป็นผู้ให้

สิ่งที่เราอยากได้นั้น พวกเราจักนำเทพบุตรนี้ไป

หรือจักจับเทพบุตรนี้ ข่มขี่เอาด้วยการวิงวอน

หรืออุ้มใส่ยานรีบนำไปสู่ทวารกะนครโดยเร็ว.

อังกุรพาณิชเมื่อจะห้ามพราหมณ์พ่อค้านั้น จึงได้กล่าว

คาถาความว่า :-

บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด

ไม่ควรหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะการ

ประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม.

พราหมณ์พ่อค้ากล่าวว่า :-

บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด

พึงตัดแม้ลำต้นของต้นไม้นั้นได้ ถ้ามีความต้อง

การเช่นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

อังกุรพาณิชกล่าวว่า :-

บุคคลอาศัยนั่งนอน ที่ร่มเงาของต้นไม้ใด

ไม่พึงทำลายแม้ใบของต้นไม้นั้น เพราะการ

ประทุษร้ายต่อมิตร เป็นความเลวทราม.

พราหมณ์พ่อค้ากล่าวว่า :-

บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด

พึงถอนต้นไม้นั้นพร้อมทั้งรากได้ ถ้าพึงประสงค์

เช่นนี้.

อังกุรพาณิชกล่าวว่า :-

ก็บุรุษพึงพักอยู่ในเรือนของบุคคลใด

ตลอดราตรีหนึ่ง หรือพึงได้ข้าวน้ำในที่ใด ไม่ควร

คิดชั่วต่อบุคคลนั้นแม้ด้วยใจ ความเป็นผู้กตัญญู

สัปบุรุษสรรเสริญ บุคคลพึงพักอาศัยในเรือนของ

บุคคลใดแม้เพียงคืนหนึ่ง พึงได้รับบำรุงด้วยข้าว

และน้ำ ก็ไม่พึงคิดชั่วต่อบุคคลนั้นแม้ด้วยใจ

บุคคลผู้มีมืออันไม่เบียดเบียน ย่อมแผดเผาบุคคล

ผู้ประทุษร้ายมิตร ผู้ใดทำความดีไว้ในก่อน ภาย

หลังเบียดเบียนด้วยความชั่ว ผู้นั้นชื่อว่าเป็นคน

อกตัญญู ย่อมไม่พบเห็นความเจริญทั้งหลาย

ผู้ใดประทุษร้ายต่อนระผู้ไม่ประทุษร้าย

ผู้เป็นบุรุษบริสุทธิ์ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน บาป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

ย่อมกลับมาถึงผู้นั้นซึ่งเป็นคนพาลแน่แท้ เหมือน

ธุลีละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมฉะนั้น.

เมื่อรุกขเทวดาได้ฟังดังนั้นแล้ว เกิดความโกรธต่อพราหมณ์

นั้น จึงกล่าวว่า :-

ไม่เคยมีเทวดาหรือมนุษย์หรืออิสรชนคนใด

จะมาข่มเหงเราได้โดยง่าย เราเป็นเทพเจ้าผู้มี

มหิทธิฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้ไปได้ไกลสม-

บูรณ์ด้วยรัศมีและกำลัง.

อังกุรพาณิชจึงถามรุกขเทวดานั้นว่า :-

ฝ่ามือของท่านมีสีดังทองคำทั่วไป ทรงไว้

ซึ่งวัตถุที่บุคคลอื่นปรารถนาด้วยนิ้วทั้ง ๕ เป็น

ที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย วัตถุมีรสต่าง ๆ

ย่อมไหลออกจากฝ่ามือของท่าน ข้าพเจ้าเข้าใจว่า

ท่านเป็นท้าวสักกะ.

รุกขเทวดาตอบว่า :-

เราไม่ใช่เทพเจ้า ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่

ท้าวสักกปุรินททะ ดูก่อนอังกุระ ท่านจงทราบ

ว่าเราเป็นเปรต จุติจากโรรุวนครมาอยู่ที่ต้นไทรนี้.

อังกุรพาณิชถามว่า :-

เมื่อก่อน ท่านอยู่ในโรรุวนคร ท่านมีปกติ

อย่างไร มีความประพฤติอย่างไร ผลบุญสำเร็จที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

ฝ่ามือของท่าน เพราะพรหมจรรย์อะไร.

รุกขเทวดาตอบว่า :-

เมื่อก่อน เราเป็นช่างหูกอยู่ในโรรุวนคร

เป็นคนกำพร้าเลี้ยงชีพโดยความลำบากนัก เรา

ไม่มีอะไรจะให้ทาน เรือนของเราอยู่ใกล้เรือน

ของอสัยหเศรษฐี ซึ่งเป็นคนมีศรัทธา เป็นทานา-

ธิบดี มีบุญอันทำแล้ว เป็นผู้ละอายต่อบาป พวก

ยาจกวณิพกมีนามแลโคตรต่าง ๆ กัน ไปที่บ้าน

ของเรานั้น พากันถามถึงเรือนของอสัยหเศรษฐี

กะเราว่า ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย

พวกเราจะไปทางไหน ทานเขาให้ที่ไหน เราถูก

พวกยาจนวณิพกถามแล้ว ได้ยกมือเบื้องขวาชี้

บอกเรือนของอสัยหเศรษฐีแก่ยาจกวณิพกเหล่า

นั้นว่า ท่านทั้งหลายจงไปทางนี้ ความเจริญจัก

มีแก่ท่านทั้งหลาย ทานเขาให้อยู่ที่นั่น เพราะ

เหตุนั้น ฝ่ามือของเราจึงให้สิ่งที่น่าปรารถนา เป็น

ที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญย่อมสำเร็จ

ที่ฝ่ามือของเราเพราะพรหมจรรย์นั้น.

อังกุรพาณิชถามว่า :-

ได้ยินว่า ท่านไม่ได้ให้ทานแก่ใคร ๆ ด้วย

หรือทั้งสองของตน เป็นแต่เพียงอนุโมทนาทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

ของคนอื่น ยกมือชี้บอกทางให้ เพราะเหตุนั้น

ฝ่ามือของท่านจึงให้สิ่งที่น่าใคร่ เป็นที่ไหลออก

แห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือ

ของท่านเพราะพรหมจรรย์นั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

อสัยหเศรษฐีผู้เลื่อมใสได้ให้ทานด้วยมือทั้งสอง

ของตน ละร่างกายมนุษย์แล้ว ไปทางทิศไหน

หนอ.

รุกขเทวดาตอบว่า :-

เราไม่รู้ทางไปหรือทางมาของอสัยห-

เศรษฐี ผู้เป็นเจ้าของแห่งทาน ผู้มีรัศมีซ่านออก

จากตน แต่เราได้ฟังมาในสำนักของท้าวเวสวัณ

ว่า อสัยหเศรษฐี ถึงความเป็นสหายแห่งท้าว-

สักกะ.

อังกุรพาณิชกล่าวว่า :-

บุคคลควรทำความดีแท้ ควรให้ทานตาม

สมควร ใครได้เห็นฝ่ามืออันให้สิ่งที่น่าใคร่แล้ว

จักไม่ทำบุญเล่า เราไปจากที่นี้ถึงทวารกะนคร

แล้ว จักรีบให้ทานอันจักนำความสุขมาให้เรา

แน่แท้ เราจักให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ บ่อน้ำ

สระน้ำ และสะพานในที่เดินยากเป็นทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

อังกุรพาณิชถามว่า :-

เพราะเหตุไร นิ้วมือของท่านจึงงอหงิก

ปากของท่านจึงเบี้ยว และนัยน์ตาทะเล้นออก

ท่านได้ทำบาปกรรมอะไรไว้.

เปรตนั้นตอบว่า :-

เราอันคฤหบดีตั้งไว้ในการให้ทาน ในโรง

ทานของคฤหบดี ผู้มีอังคีรส ผู้มีศรัทธา เป็น

ฆราวาส ผู้ครอบครองเรือน เห็นยาจกผู้มีความ

ประสงค์ด้วยโภชนะ มาที่โรงทานนั้น ได้หลีก

ไปทำการบุ้ยปากอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง เพราะกรรม

นั้น นิ้วของเราจึงงอหงิก ปากของเราจึงเบี้ยว

นัยน์ตาทะเล้นออกมา เราได้ทำบาปกรรมนั้นไว้.

อังกุรพาณิชถามว่า :-

แน่ะบุรุษเลวทราม การที่ท่านมีปากเบี้ยว

ตาทั้ง ๒ ทะเล้นเป็นการชอบแล้ว เพราะท่านได้

ทำการบุ้ยปากต่อทานของผู้อื่น ก็ไฉน อสัยห-

เศรษฐีเมื่อจะให้ทาน จึงได้มอบข้าว น้ำ ของเคี้ยว

ผ้า และเสนาสนะ ให้ผู้อื่นจัดแจง ก็เราไปจาก

ที่นี้ถึงทวารกะนครแล้ว จักเริ่มให้ทานที่นำความ

สุขมาให้แก่เราแน่แท้ เราจักให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนา-

สนะ บ่อน้ำ สระน้ำ และสะพานทั้งหลายในที่เดิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

ลำบากให้เป็นทาน ก็อังกุรพาณิชกลับจากทะเล

ทรายไปถึงทวารกะนครแล้ว ได้เริ่มให้ทานอัน

นำความสุขมาให้ตน ได้ให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนา-

สนะ บ่อน้ำ สระน้ำ ด้วยจิตอันเลื่อมใส.

ช่างกัลบก พ่อครัว ชาวมคธ พากันป่าว

ร้องในเรือนของอังกุรพาณิชนั้น ทั้งในเวลาเย็น

ทั้งในเวลาเช้าทุกเมื่อว่า ใครหิวจงมากินตาม

ชอบใจ ใครกระหายจงมาดื่มตามชอบใจ ใคร

จักนุ่งห่มผ้าจงนุ่งห่ม ใครต้องการพาหนะสำหรับ

เทียมรถ จงเทียมพาหนะในคู่แอกนี้ ใคร ต้องการ

ร่มจงเอาร่มไป ใครต้องการของหอม จงมาเอา

ของหอมไป ใครต้องการดอกไม้จงมาเอาดอกไม้

ไป ใครต้องการรองเท้า จงมาเอารองเท้าไป

มหาชนย่อมรู้เราว่า อังกุระนอนเป็นสุข ดูก่อน

สินธุมาณพ เรานอนเป็นทุกข์ เพราะไม่ได้เห็น

พวกยาจก มหาชนรู้เราว่า อังกุระนอนเป็นสุข

ดูก่อนสินธุมาณพ เรานอนเป็นทุกข์ ในเมื่อ

วณิพกมีน้อย.

สินธุมาณพได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาความว่า :-

ถ้าท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าชาวดาวดึงส์

และเป็นใหญ่กว่าโลกทั้งปวง พึงให้พรท่าน ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

เมื่อจะเลือก พึงเลือกเอาพรเช่นไร.

อังกุรพาณิชกล่าวว่า :-

ถ้าท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าชาวดาวดึงส์

พึงให้พรแก่เรา เราจะพึงขอพรว่า เมื่อเราลุกขึ้น

แต่เช้า ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ขอภักษาหารอัน

เป็นทิพย์ และพวกยาจกผู้มีศีลพึงปรากฏ เมื่อ

เราให้อยู่ ไทยธรรมไม่พึงหมดสิ้นไป ครั้นเราให้

ทานนั้นแล้ว ไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง เมื่อ

กำลังให้พึงยังจิตให้เลื่อมใส ข้าพเจ้าพึงเลือก

เอาพรอย่างนี้กะท้าวสักกะ.

โสณกบุรุษกล่าวเตือนอังกุรพาณิชว่า :-

บุคคลไม่พึงให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้ง

หมด แก่บุคคลอื่น ควรให้ทานและควรรักษา

ทรัพย์ไว้ เพราะว่าทรัพย์เท่านั้นประเสริฐกว่า

ทาน สกุลทั้งหลายยอมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะการให้

ทานเกินประมาณไป บัณฑิตย่อมไม่สรรเสริญ

การไม่ให้ทานและการให้เกินควร เพราะเหตุนั้น

แล ทรัพย์เท่านั้นประเสริฐกว่าทาน บุคคลผู้เป็น

ปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยธรรม ควรประพฤติโดยพอ

เหมาะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

อังกุรพาณิชกล่าวว่า :-

ดูก่อนชาวเราทั้งหลาย ดีหนอ เราพึงให้

ทานแล ด้วยว่าสัตบุรุษผู้สงบระงับพึงคบหาเรา

เราพึงยังความประสงค์ของวณิพกทั้งปวงให้เต็ม

เลี้ยงดูให้อิ่มหนำ เปรียบเหมือนฝนยังที่ลุ่ม

ทั้งหลายให้เต็มฉะนั้น สีหน้าของบุคคลใดย่อม

ผ่องใส เพราะเห็นพวกยาจก บุคคลนั้นครั้นให้

ทานแล้วมีใจเบิกบาน ข้อนั้นเป็นความสุขของ

บุคคลผู้อยู่ครองเรือน หน้าของบุคคลใดย่อม

ผ่องใสเพราะเห็นพวกยาจก บุคคลนั้นครั้นให้

ทานแล้ว ย่อมปลาบปลื้มใจ นี้เป็นความถึงพร้อม

แห่งยัญ ก่อนแต่ให้ก็มีใจเบิกบาน เมื่อกำลังให้

ก็ยังจิตให้ผ่องใส ครั้นให้แล้ว ก็มีใจเบิกบาน

นี้เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญ.

พระสังคีติกาจารย์กล่าวคาถาทั้งหลายความว่า :-

ในเรือนของอังกุรพาณิชผู้มุ่งบุญ เขาให้

โภชนะแก่หมู่ชนวันละ ๖ หมื่นเล่มเกวียนเป็น

นิตย์ พ่อครัว ๓,๐๐๐ คน ประดับด้วยต่างหูอัน

วิจิตรด้วยมุกดาและแก้วมณี เป็นผู้ขวนขวายใน

การให้ทาน พากันเข้าไปอาศัยอังกุรพาณิชเลี้ยง

ชีวิต มาณพ ๖ หมื่นคน ประดับด้วยต่างหูอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

วิจิตรด้วย แก้วมุกดา และแก้วมณี ช่วยกันผ่า

ฟืนสำหรับหุงอาหารในมหาทานของอังกุรพาณิช

นั้น พวกนารี ๑๖,๐๐๐ คนประดับด้วยอลังการ

ทั้งปวง ช่วยกันบดเครื่องเทศสำหรับปรุงอาหาร

ในมหาทานของอังกุรพาณิชนั้น นารีอีก ๑๖,๐๐๐

คน ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ถือทัพพี

เข้ายืนคอยรับใช้ในมหาทานของอังกุรพาณิชนั้น

อังกุรพาณิชนั้น ได้ให้ของเป็นอันมากแก่มหาชน

โดยประการต่าง ๆ ได้ทำความยำเกรงด้วยความ

เคารพและด้วยมือของตนเองบ่อย ๆ ยังมหาทาน

ให้เป็นไปแล้วสิ้นเดือน สิ้นปักษ์ สิ้นฤดูและปี

เป็นอันมาก ตลอดกาลนาน อังกุรพาณิชได้ให้

ทานและทำการบูชาอย่างนี้ ตลอดกาลนาน ละ

ร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปบังเกิดในดาวดึงส์ อินทก-

มาณพได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่งแก่พระอนุรุทธ-

เถระ ละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปบังเกิดในดาวดึงส์

เหมือนกัน แต่อินทกเทพบุตรรุ่งเรืองยิ่งกว่า

อังกุรเทพบุตรโดยฐานะ ๑๐ อย่าง คือ รูป เสียง

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่ารื่นรมย์ใจ อายุ

ยศ วรรณะ สุข และความเป็นใหญ่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

ก่อนอังกุระ มหาทานท่านได้ให้แล้วสิ้น

กาลนาน ท่านมาในสำนักของเรา ไฉนจึงนั่งอยู่

ไกลนัก.

เมื่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ ประทับ

อยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ต้นปาริ-

ฉัตตกพฤกษ์ ณ ดาวดึงส์ ครั้งนั้น เทวดาในหมื่น

โลกธาตุ พากันมานั่งประชุมเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า

ซึ่งประทับบนยอดเขา เทวดาไร ๆ ไม่รุ่งโรจน์

เกินกว่าพระสัมพุทธเจ้าด้วยรัศมี พระสัมพุทธ-

เจ้าเท่านั้น ย่อมรุ่งโรจน์ล่วงหมู่เทวดาทั้งปวง

ครั้งนั้น อังกุรเทพบุตรนี้นั่งอยู่ไกล ๑๒ โยชน์

จากที่พระพุทธเจ้าประทับ ส่วนอินทกเทพบุตร

นั่งในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า รุ่งเรื่องกว่าอัง

กุรเทพบุตร พระสัมพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็น

อังกุรเทพบุตรกับอินทกเทพบุตรแล้ว เมื่อจะ

ทรงประกาศทักขิไณยบุคคล จึงได้ตรัสพระ-

พุทธพจน์นี้ความว่า ดูก่อนอังกุรเทพบุตร มหา-

ทานท่านให้แล้วสิ้นกาลนาน ท่านมาสู่สำนักของ

เรา ไฉนจึงนั่งอยู่ไกลนัก อังกุรเทพบุตร อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระองค์อันอบรมแล้ว

ทรงตักเตือนแล้ว ได้กราบทูลว่า จะทรงประสงค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

อะไร ด้วยทานของข้าพระองค์นั้น อันว่างเปล่า

จากทักขิไณยบุคคล อินทกเทพบุตรนี้ให้ทาน

นิดหน่อย รุ่งเรื่องยิ่งกว่าข้าพระองค์ ดุจพระ-

จันทร์ในหมู่ดาวฉะนั้น.

อินทกเทพบุตรทูลว่า

พืชแม้มากที่บุคคลหว่านแล้วในนาดอน

ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ยังชาวนาให้ปลื้มใจ

ฉันใด ทานมากมายอันบุคคลเข้าไปตั้งไว้ใน

บุคคลผู้ทุศีล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่มีผล

ไพบูลย์ ทั้งไม่ยังทายกให้ปลาบปลื้ม พืชแม้น้อย

อันบุคคลหว่านแล้วในนาดี เมื่อฝนหลั่งสายน้ำ

โดยสม่ำเสมอ ผลย่อมยังชาวนาให้ปลาบปลื้มใจ

แม้ฉันใด ทานแม้น้อยอันบุคคลบริจาคแล้วใน

ท่านผู้มีศีล มีคุณความดี ผู้คงที่บุญย่อมมีผลมาก

ฉันนั้นเหมือนกัน ทานอันบุคคลให้แล้วในเขตใด

มีผลมาก ควรเลือกให้ในเขตนั้น ทายกเลือกให้

ทานแล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ทานที่เลือกให้พระสุคต

ทรงสรรเสริญ ทักขิไณยบุคคลเหล่าใดมีอยู่ใน

โลกนี้ ทานที่ทายกให้แล้วในทักขิไณยบุคคลเหล่า

นั้น ย่อมมีผลมาก เหมือนพืชที่หว่านแล้วในนาดี

ฉะนั้น.

จบ อังกุรเปตวัตถุที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

อรรถกถาอังกุรเปตวัตถุที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ

อังกุรเปรต จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺส อตฺถาย

คจฺฉาม. ก็ในที่นี้ ไม่มีอังกุรเปรตก็จริง แต่เพราะความประพฤติ

ของอังกุรเปรตนั้นเกี่ยวเนื่องด้วยเปรต ฉะนั้น ความประพฤติ

ของอังกุรเปรตนั้น ท่านจึงกล่าวว่าอังกุรเปตวัตถุ.

ในข้อนั้นมีสังเขปกถาดังต่อไปนี้ :- ยังมีกษัตริย์ ๑๑

พระองค์ คือ พระนางอัญชนเทวี และน้องชาย ๑๐ พระองค์ คือ

วาสุเทพ พลเทพ จันทเทพ สุริยเทพ อัคคิเทพ วรุณเทพ อัชชุนะ

ปัชชุนะ ฆฏบัณฑิต และอังกุระ อาศัยครรภ์ของพระนางเทวคัพภา

ผู้พระธิดาของพระเจ้ามหากังสะ ในอสิตัญชนนคร ซึ่งพระเจ้ากังสะ

ปกครองในอุตตราปถชนบท เพราะอาศัยเจ้าอุปสาครผู้โอรส

ของพระเจ้ามหาสาครผู้เป็นใหญ่ในอุตตรมธุรชนบท บรรดา

กษัตริย์เหล่านั้น กษัตริย์ผู้น้องชายมีวาสุเทพเป็นต้น ใช้จักรปลง

พระชนมชีพพระราชาทั้งหมด ๖๓,๐๐๐ นคร ทั่วชมพูทวีป นับ

ตั้งต้นแต่อสิตัญพชนนครจนถึงกรุงทวารวดีเป็นที่สุด แล้วประทับ

อยู่ในทวารวดีนคร แบ่งรัฐออกเป็น ๑๐ ส่วน แต่ไม่ได้นึกถึง

พระนางอัญชนเทวี ผู้เป็นพระเชษฐภคินี แต่เมื่อระลึกขึ้นได้จึง

กล่าวว่า เราจะแบ่งเป็น ๑๑ ส่วน เจ้าอังกุระน้องชายคนสุดท้อง

ของกษัตริย์เหล่านั้นกล่าวว่า ท่านจงแบ่งส่วนของหม่อมฉันให้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

พระเชษฐภคินีเถิด หม่อมฉันจะทำการค้าขายเลียงชีพ ท่านทั้งหลาย

จงสละส่วยในชนบทของตน ๆ ให้แก่หม่อมฉัน กษัตริย์เหล่านั้น

รับพระดำรัสแล้วจึงเอาส่วนของเจ้าอังกุระให้แก่พระเชษฐภคินี

พระราชาทั้ง . พระองค์ประทับอยู่ในกรุงทวารวดี.

ส่วนอังกุรประกอบการค้า บำเพ็ญมหาทานเป็นนิตยกาล

ก็อังกุระนั้นมีทาสผู้หนึ่ง เป็นเจ้าหน้าที่คลังมุ่งหวังประโยชน์

ท่านอังกุระชอบใจ ได้ขอกุลธิดาคนหนึ่งมาให้เขา เมื่อตั้งครรภ์

บุตรเท่านั้น เขาก็ตายไป เมื่อบุตรคนนั้นเกิดแล้ว ท่านอังกุระได้เอา

ค่าจ้างที่ได้ให้แก่บิดาของเขาให้แก่เขา ครั้นเมื่อเด็กนั้นเจริญวัย

จึงเกิดการวินิจฉัยขึ้นในราชสกุลว่า เขาเป็นทาสหรือไม่. พระนาง

อัญชนเทวีได้สดับดังนั้นจึงตรัสเปรียบเทียบโดยแม่โคนม แล้ว

ตรัสว่า แม้บุตรของมารดาผู้เป็นไท ก็ต้องเป็นไทเท่านั้น ดังนี้

แล้วจึงให้พ้นจากความเป็นทาสไป.

แต่เพราะความอาย เด็กจึงไม่อาจอยู่ในที่นั้นได้ จึงได้ไป

ยังโรรุวนคร พาธิดาของช่างหูกคนหนึ่งในนครไป เลี้ยงชีพด้วย

การทอผ้า สมัยนั้น เขาได้เป็นมหาเศรษฐี ชื่อว่า อสัยหะ ใน

โรรุวนคร เขาได้ให้มหาทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คน

เดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย. ช่างหูกนั้นเกิดปีติและโสมนัส

เหยียดแขนขวาออกชี้ให้ดูนิเวศน์ของอสัยหเศรษฐีแก่ชนผู้ไม่รู้จัก

เรือนของเศรษฐีว่า ขอคนทั้งหลายจงไปในที่นั่นแล้วจะได้สิ่งที่

ควรได้. กรรมของเขามาแล้วในพระบาลีนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

สมัยต่อมา เขาทำกาละแล้ว. บังเกิดเป็นภุมเทพยาดาที่ต้นไทร

ต้นหนึ่งในมรุภูมิ มือขวาของเขาได้ให้สิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่าง ก็ใน

โรรุวนครนั้นนั่นเอง มีบุรุษคนหนึ่ง เป็นคนขวนขวายในทานของ

อสัยหเศรษฐี แต่ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เป็นมิจฉาทิฏฐิ

ไม่เอื้อเฟื้อต่อการบำเพ็ญบุญ ทำกาละแล้วบังเกิดเป็นเปรต ไม่

ไกลแต่ที่อยู่ของเทพบุตรนั้น. ก็กรรมที่เขาทำมาแล้วในพระบาลี

นั่นแล ฝ่ายอสัยหมหาเศรษฐีทำกาละแล้ว เข้าถึงความเป็นสหาย

ของท้าวสักกเทวราชในภพดาวดึงส์.

ครั้นสมัยต่อมา เจ้าอังกุระบรรทุกสินค้าด้วยเกวียน ๕๐๐

เล่ม และพราหมณ์คนหนึ่งบรรทุกสินค้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม

รวมความว่า ชนทั้ง ๒ คน บรรทุกสินค้าด้วยเกวียน ๑,๐๐๐ เล่ม เดินไป

ตามทางมรุกันดาร พากันหลงทาง เที่ยวอยู่ในที่นั้นนั่นเองหลายวัน

จนหมดหญ้า น้ำ และอาหาร เจ้าอังกุระให้ทูตม้าแสวงหาน้ำดื่ม

ทั้ง ๔ ทิศ. ลำดับนั้น เทพผู้มีมืออันให้สิ่งที่ต้องการองค์นั้น เห็นชน

เหล่านั้นได้รับความวอดวายอันนั้น จึงคิดถึงอุปการะที่เจ้าอังกุระ

ได้กระทำไว้แก่ตนในกาลก่อน จึงคิดว่าเอาเถอะ บัดนี้เราจักพึง

เป็นที่พึ่งของเจ้าอังกุระนี้ ดังนี้แล้วจึงได้ชี้ให้ดูต้นไทรอันเป็นที่อยู่

ของตน. ได้ยินว่า ต้นไทรนั้น สมบูรณ์ด้วยกิ่งและค่าคบ มีใบทึบ

มีร่มเงาสนิท มีย่านหลายพันย่าน ว่าโดยความยาวกว้างและสูง

ประมาณ ๑ โยชน์. เจ้าอังกุระเห็นดังนั้นแล้ว เกิดความหรรษา

ร่าเริง ให้ตั้งข่ายภายในต้นไทรนั้น. เทวดา เหยียบหัตถ์ขวาของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

ตนออก ให้คนทั้งหมดอิ่มหนำด้วยน้ำดื่มเป็นอันดับแรกก่อน ต่อ

แต่นั้น จึงได้ให้สิ่งที่เขาปรารถนาแก่เขา.

เมื่อมหาชนนั้น อิ่มหนำตามความต้องการ ด้วยข้าวและน้ำ

เป็นต้นนานาชนิดอย่างนี้ ภายหลัง เมื่ออันตรายในหนทางสงบลง

พราหมณ์ผู้เป็นพ่อค้านั้น ใส่ใจโดยไม่แยบคาย คิดอย่างนี้ว่า เรา

จากนี้ไปยังแคว้นกัมโพชะแล้ว จักกระทำอะไร เพื่อให้ได้ทรัพย์.

แต่เราจะพาเทพนี้แหละไปด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นสู่ยาน

ไปยังนครของเราเอง ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว เมื่อจะบอกความนั้น

แก่เจ้าอังกุระ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

เราทั้งหลายเที่ยวหาทรัพย์ไปสู่แคว้น

กัมโพชะ เพื่อประโยชน์ใด เทพบุตรนี้เป็นผู้ให้สิ่ง

ที่เราอยากได้นั้น พวกเราจักนำเทพบุตรนี้ไป.

หรือจักจับเทพบุตรนี้ ข่มขี่เอาด้วยการวิงวอน

หรือ อุ้มใส่ยาน นำไปสู่ทวารกนครโดยเร็ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยส อตฺถาย แปลว่า เพราะเหตุ

แห่งประโยชน์ใด. บทว่า กมฺโพช ได้แก่ แคว้นกัมโพชะ. บทว่า

ธนหารกา ได้แก่ ผู้หาทรัพย์ที่ได้มาด้วยการค้าขายสินค้า. บทว่า

กามทโท ได้แก่ ผู้ให้สิ่งที่ปรารถนาต้องการ. บทว่า ยกฺโข ได้แก่

เทพบุตร. บทว่า นยามเส ได้แก่ จักนำไป. บทว่า สาธุเกน แปลว่า

ด้วยการอ้อนวอน. บทว่า ปสยฺห ได้แก่ ข่มขี่เอาตามอำเภอใจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

บทว่า ยาน ได้แก่ ยานอันนำมาซึ่งความสุขสบาย. บทว่า ทฺวารก

ได้แก่ทวารวดีนคร. ข้ออธิบาย ในหนหลัง มีดังต่อไปนี้ พวกเรา

ปรารถนาจะจากที่นี้ไปยังแคว้นกัมโพชะ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์

ที่จะพึงให้สำเร็จด้วยการไปนั้น ย่อมสำเร็จในที่นี้เอง. เพราะ

เทพบุตรนี้ เป็นผู้ให้สมบัติที่น่าใคร่ เพราะฉะนั้น เราจึงขออ้อนวอน

เทพบุตรนี้ แล้วอุ้มเทพบุตรนี้ ขึ้นสู่ยาน ตามอนุมัติของเทพบุตร

นั้น หรือถ้าไม่ไปตามที่ตกลงกันไว้ จะข่มขี่เอาตามพลการแล้ว

จับเทพบุตรนั้นมัดแขนไพล่หลังไว้ในยาน ออกจากที่นี้แล รีบไปยัง

ทวารวดีนคร.

ฝ่ายเจ้าอังกุระ อันพราหมณ์พูดอย่างนี้แล้ว ตั้งอยู่ใน

สัปปุริสธรรม เมื่อจะปฏิเสธคำจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด

ไม่ควรทักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะการ

ประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ภญฺเชยฺย แปลว่า ไม่พึงตัด.

บทว่า มิตฺตทุพฺโภ ได้แก่ การประทุษร้ายมิตร คือ นำความพินาศ

ให้เกิดแก่มิตรเหล่านั้น. บทว่า ปาปโก ได้แก่ คนไม่ดี คือ คนมัก

ประทุษร้ายต่อมิตร. จริงอยู่ ต้นไม้ที่มีร่มเงาเยือกเย็นอันใด ย่อม

บันเทาความกระวนกระวาย ของคนผู้ถูกความร้อนแผดเผา ใคร ๆ

ไม่ควรคิดร้ายต่อต้นไม้นั้น. ก็จะป่วยกล่าวไปใยถึงหมู่สัตว์เล่า.

ท่านแสดงว่า เทพบุตรนี้ เป็นสัตบุรุษ เป็นบุรพการีบุคคล ผู้บันเทา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

ทุกข์ ผู้มีอุปการะมากแก่เราทั้งหลาย เราไม่ควรคิดร้ายอะไร ๆ

ต่อเทพบุตรนั้น โดยที่แท้เทพบุตรนั้นเราควรบูชาทีเดียว

พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น คิดว่า มูลเหตุของประโยชน์ เป็นเหตุ

กำจัดความคดโกง ดังนี้แล้ว อาศัยทางอันเป็นแบบแผน ตั้งอยู่

ในฝ่ายขัดแย้งต่อเจ้าอังกุระ จึงกล่าวคาถาว่า :-

บุคคลอาศัยนั่งนอน ที่ร่มเงาของต้นไม้ใด

พึงตัดแม้ลำต้นของต้นไม้นั้นได้ ถ้ามีความต้อง

การเช่นนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺโถ เจ ตาทิโส สิยา ความว่า

ถ้าพึงมีความต้องการด้วยทัพพสัมภาระเช่นนั้น, อธิบายว่า แม้

ลำต้นของต้นไม้นั้นก็ควรตัด จะป่วยกล่าวไปใยถึงกิ่งเป็นต้นเล่า.

เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว เจ้าอังกุระเมื่อจะประคอง

เฉพาะสัปปุริสธรรม จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

บุคคลอาศัยนั่งนอน ที่ร่มเงาของต้นไม้ใด

ไม่พึงทำลายแม้ใบของต้นไม้นั้น เพราะการ

ประทุษร้ายต่อมิตร เป็นความเลวทราม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตสฺส ปตฺต ภินฺเทยฺย ความว่า

ไม่พึงทำแม้เพียงใบใบหนึ่ง ของต้นไม้นั้นให้ตกไป จะป่วยกล่าว

ไปใย ถึงกิ่งเป็นต้นเล่า.

พราหมณ์เมื่อจะประคองวาทะของตนแม้อีก จึงกล่าวคาถา

ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่นเงาของต้นไม้ใด

พึงถอนต้นไม้นั้นพร้อมทั้งรากได้ ถ้าพึงประสงค์

เช่นนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมูลมฺปิ ต อพฺพุเห ความว่า

พึงถอน คือพึงรื้อขึ้นซึ่งต้นไม้นั้นพร้อมทั้งราก คือ พร้อมด้วยราก

ในที่นั้น.

เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว เจ้าอังกุระมีความประสงค์

จะทำแบบแผนนั้นให้ไร้ประโยชน์อีก จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา

เหล่านี้ว่า :-

ก็บุรุษพึงพักอยู่ในเรือนของบุคคลใด

ตลอดราตรีหนึ่ง หรือพึงได้ข้าวน้ำในที่ใด ไม่ควร

มีจิตคิดร้ายต่อบุคคลนั้น. ความเป็นผู้กตัญญู อัน

สัตบุรุษทั้งลาย สรรเสริญแล้ว บุคคลพึงพัก

อาศัย ในเรือนของบุคคลใด แม้เพียงคืนเดียว

พึงได้รับการบำรุงด้วยข้าวและน้ำ ไม่ควรมีจิต

คิดประทุษร้าย ต่อบุคคลนั้น บุคคลมีมือไม่

เบียดเบียน ย่อมแผดเผาบุคคลผู้ประทุษร้ายมิตร

บุคคลใด ทำความดีไว้ในปางก่อน ภายหลัง

เบียดเบียนด้วยความชั่ว ผู้นั้นชื่อว่า เป็นคน

อกตัญญู ย่อมไม่พบเห็นความเจริญทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส แปลว่า ต่อบุคคลใด. บทว่า

เอกรตฺติมฺปิ ความว่า พึงอยู่อาศัยในเรือนอย่างเดียว แม้เพียงราตรี

เดียว. บทว่า ยตฺถนฺนปาน ปุริโส ลเภถ ความว่า บุรุษบางคน พึงได้

โภชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นข้าวหรือน้ำ ในสำนักของ

ผู้ใด. บทว่า น ตสฺส ปาป มนสาปิ จินฺตเย ความว่า บุคคลไม่พึง

มีจิตคิดร้ายต่อสิ่งที่ไม่ดี คือสิ่งที่ไร้ประโยชน์ต่อบุคคลนั้น ได้แก่

เป็นผู้ไม่รักใคร่ จะป่วยกล่าวไปใยถึงกายและวาจาเล่า. หากมี

คำถามว่า ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะความเป็นผู้

กตัญญู อันสัตบุรุษทั้งหลาย สรรเสริญแล้ว อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า

ความเป็นผู้กตัญญู อันบุรุษผู้สูงสุด มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญ

แล้ว.

บทว่า อุปฏฺิโต แปลว่า พึงให้เข้าไปนั่งใกล้ คือ พึง

อุปัฏฐากด้วยข้าวและน้ำ เป็นต้นว่า ท่านจงรับสิ่งนี้ ท่านจงบริโภค

สิ่งนี้. บทว่า อทุพฺภปาณี ได้แก่ ผู้มีมือไม่เบียดเบียน คือ ผู้สำรวม

มือ. บทว่า ทหเต มิตฺตทุพิภึ ความว่า ย่อมแผดเผาคือ ย่อมทำ

บุคคลผู้มักประทุษร้ายต่อมิตรนั้นให้พินาศ ว่าโดยอรรถ ชื่อว่า

ย่อมแผดเผา ย่อมแผดเผาบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้อันคนอื่น

กระทำความผิดในบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอัธยาศัยที่เป็นประโยชน์

ผู้ไม่ประทุษร้าย คือ นำมาซึ่งความพินาศแก่บุคคลนั้นนั่นแล. โดย

ไม่แปลกกัน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

ผู้ใด ประทุษร้ายต่อนรชนผู้ไม่ประทุษ

ร้าย ผู้เป็นคนบริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน

ความชั่วย่อมกลับมาถึงผู้นั้น ซึ่งเป็นคนพาลแน่

แท้ เหมือนธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลม

ฉะนั้น.

บทว่า โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ ความว่า บุคคลใด มีความดี

อันบุคคลดีบางคน กระทำให้ คือ การทำอุปการะให้. บทว่า

ปจฺฉา ปาเปน หึสติ ความว่า ต่อมาภายหลัง เบียดเบียนบุคคลนั้น

ผู้กระทำอุปการะก่อน ด้วยธรรมชั่ว คือ กรรมไม่ดี ได้แก่ ด้วย

กรรมที่ไร้ประโยชน์. บทว่า อลฺลปาณิหโต โปโส ความว่า ผู้มี

ฝ่ามืออันชุ่ม คือ ผู้มีฝ่ามืออันเปียก ได้แก่ มีฝ่ามืออันล้างสะอาดแล้ว

เป็นการทำอุปการะก่อน เพราะกระทำอุปการะ เบียดเบียนคือ

บีบคั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง อีกอย่างหนึ่ง ถูกเบียดเบียน

ด้วยการเบียดเบียนบุคคลผู้กระทำอุปการะก่อนนั้น ชื่อว่า ผู้มีฝ่ามือ

อันเปียกเบียดเบียน ได้แก่ คนอกตัญญู. บทว่า น โส ภทฺรานิ

ปสฺสติ ความว่า บุคคลนั้น คือ บุคคลตามที่กล่าวกลัว ย่อมไม่เห็น

ย่อมไม่ประสบ คือ ย่อมไม่ได้ในโลกนี้ และในบัดนี้.

พราหมณ์นั้น ถูกเจ้าอังกุระผู้ยกย่องสัปปุริสธรรม กล่าว

ข่มขู่อย่างนี้ ได้เป็นผู้นิ่งเงียบ. ฝ่ายเทพบุตร ฟังคำและคำโต้ตอบ

ของตนทั้ง ๒ นั้น แม้จะโกรธต่อพราหมณ์ ก็คิดเสียว่า ช่างเถอะ

ภายหลังเราจักรู้กรรมที่ควรทำแก่พราหมณ์ ผู้ประทุษร้ายนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

เมื่อจะแสดงภาวะที่ตนอันใคร ๆ ข่มขู่มิได้ เป็นอันดับแรก จึงกล่าว

คาถาว่า :-

ไม่เคยมีเทวดา หรือมนุษย์ หรืออิสรชน

คนใด จะมาข่มขู่เราได้โดยง่าย เราเป็นเทพเจ้า

ผู้มีอิทธิฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้ไปได้ไกล

สมบูรณ์ด้วยรัศมีและกำลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทเวน วา ได้แก่ จะเป็นเทพ

องค์ใด องค์หนึ่งก็ตามที. แม้ในบทว่า มนุสฺเสน วา นี้ ก็นัยนี้

เหมือนกัน. บทว่า อิสฺสริเยน วา ความว่า อันผู้เป็นใหญ่ในหมู่

เทพก็ดี อันผู้เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์ก็ดี. ในความเป็นใหญ่ ๒ อย่างนั้น

ชื่อว่า ความเป็นใหญ่ในหมู่เทพ ได้แก่เทวฤทธิ์ ของท้าวจาตุมหาราช

ท้าวสักกะ และท้าวสุยามะ เป็นต้น, ชื่อว่า ความเป็นใหญ่ในหมู่

มนุษย์ได้แก่บุญฤทธิ์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นต้น. เพราะฉะนั้น

ท่านจึงสงเคราะห์เอาเทวดาและมนุษย์ผู้มีอานุภาพมากด้วย

อิสริยศักดิ์. จริงอยู่ เทพแม้ผู้มีอานุภาพมาก เมื่อไม่มีมนุษย์

ผู้อันผลแห่งบุญสนับสนุนตน ย่อมไม่อาจเพื่อจะครอบงำความวิบัติ

ในการประกอบความเพียร จะป่วยกล่าวไปใยถึงบุคคลนอกนี้

เล่า. ศัพท์ว่า ห เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า อดทนไม่ได้. บทว่า

น สุปฺปสยฺโห แปลว่า อันใคร ๆ กำจัดไม่ได้. บทว่า ยกฺโขหมสฺมิ

ปรมิทฺธิปตฺโต ความว่า เพราะผลแห่งบุญของตนเราจึงเข้าถึง

ความเป็นเทพบุตร คือ เราเป็นเทพบุตรแท้ ๆ ไม่ใช่เทพบุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

เทียม. โดยที่แท้ เรามีฤทธิ์อย่างยิ่ง คือ ประกอบด้วยฤทธิ์ของ

เทพบุตรอันสูงยิ่ง. บทว่า ทูรงฺคโม ได้แก่ สามารถ เพื่อจะไป

ยังที่ไกลโดยทันทีทันใด. ด้วยคำว่า วณฺณพลูปปนฺโน นี้ เทพบุตร

แสดงเฉพาะภาวะที่ตนไม่ถูกใคร ๆ ข่มขู่ด้วยการประกอบมนต์

เป็นต้น ด้วยบททั้ง ๓ ว่า เข้าถึง คือประกอบด้วยรูปสมบัติและ

ด้วยพลังกาย. จริงอยู่ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยรูป เป็นผู้อันบุคคล

เหล่าอื่นนับถือมาก. เพราะอาศัยรูปสมบัติ จึงไม่ถูกวัตถุที่เป็น

ข้าศึกต่อกัน ฉุดคร่าไปได้เลย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าว วรรณ-

สมบัติว่า เป็นเหตุที่ใคร ๆ ข่มขู่ไม่ได้.

เบื้องหน้าแต่นี้ไป อังกุระพ่อค้า และเทพบุตร ได้ทำถ้อยคำ

และการโต้ตอบกันว่า :-

ฝ่ามือของท่าน มีสีดังทองคำทั่วไป ทรง

ไว้ซึ่งวัตถุที่บุคคลอื่นปรารถนา ด้วยนิ้วทั้ง ๕

เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย วัตถุมีรส

ต่าง ๆ ย่อมไหลออกจากฝ่ามือของท่าน ข้าพเจ้า

เข้าใจว่า ท่านเป็นท้าวสักกะ

รุกขเทวดาตอบว่า :-

เราไม่ใช่เทพเจ้า ไม่ใช่คนบรรพ์ ไม่ใช่

ท้าวสักกะปุรินททะ ดูก่อนเจ้าอังกุระ ท่านจงทราบ

ว่า เราเป็นเปรต จุติจากโรรุวนคร มาอยู่ที่ต้นไทร

นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

อังกุระพ่อค้าถามว่า :-

เมื่อก่อน ท่านอยู่ในโรรุวนคร ท่านมีปกติ

อย่างไร มีความประพฤติอย่างไร ผลบุญสำเร็จ

ที่ฝ่ามือของท่าน เพราะพรหมจรรย์อะไร

รุกขเทวดาตอบว่า :-

เมื่อก่อนเราเป็นช่างหูก อยู่ในโรรุวนคร

เป็นคนกำพร้า เลี้ยงชีพโดยความลำบากนัก เรา

ไม่มีอะไรจะให้ทาน เรือนของเราอยู่ใกล้เรือน

ของอสัยหเศรษฐี ซึ่งเป็นคนศรัทธา เป็นทานบดี

มีบุญอันทำแล้ว เป็นผู้ละอายต่อบาป พวกยาจก

วณิพก มีนามและโคตรต่าง ๆ กัน ไปบ้านของ

เรานั้น พากันถามถึงเรือนของอสัยหเศรษฐีกะเรา

ว่า ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย พวกเรา

จะไปทางไหน ทานเขาให้กันที่ไหน เราถูกพวก

ยาจกวณิพกถามแล้ว ได้ยกมือเบื้องขวาชี้บอก

เรือนอสัยหเศรษฐีแก่ยาจกวณิพกเหล่านั้นว่า

ท่านทั้งหลาย จงไปทางนี้ ความเจริญจักมีแก่ท่าน

ทั้งหลาย ทานเขาให้อยู่ที่นั่น เพราะเหตุนั้น ฝ่ามือ

ของเรา จึงให้สิ่งที่น่าปรารถนา เป็นที่ไหลออก

แห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญย่อมสำเร็จ ที่ฝ่ามือ

ของเรา เพราะพรหมจรรย์นั่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

อังกุระพ่อค้าถามว่า :-

ได้ยินว่า ท่านไม่ได้ให้ทานแก่ใคร ๆ ด้วย

มือทั้งสองของตน เป็นแต่เพียงอนุโมทนาทาน

ของคนอื่น ยกมือชี้บอกทางให้ เพราะเหตุนั้น

ฝ่ามือของท่าน จึงให้สิ่งที่น่าใคร่ เป็นที่ไหลออก

แห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือของ

ท่าน เพราะพรหมจรรย์นั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

อสัยหเศรษฐีผู้เลื่อมใสได้ให้ทานด้วยมือทั้งสอง

ของตน ละร่างกายมนุษย์แล้ว ไปทางทิศไหน

หนอ.

รุกขเทวดาตอบว่า :-

เราไม่รู้ทางไปหรือทางมาของอสัยห-

เศรษฐี ผู้เป็นเจ้าของแห่งทาน ผู้มีรัศมีซ่านออก

จากตน แต่เราได้ฟังมาในสำนักของท้าวเวส-

วัณว่า อสัยหเศรษฐี ถึงความเป็นสหายแห่ง

ท้าวสักกะ

อังกุระพ่อค้ากล่าวว่า :-

บุคคลควรทำความดีแท้ ควรให้ทานตาม

สมควร ใครได้เห็นฝ่ามือ อันให้สิ่งที่น่าใคร่แล้ว

จักไม่ทำบุญเล่า เราไปจากที่นี้ ถึงทวารกะนคร

แล้ว จักรีบให้ทานอันจักนำความสุขมาให้แก่เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

แน่แท้ เราจักให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ บ่อน้ำ

และสะพานในที่เดินไปได้ยาก เป็นทานดังนี้.

รวมเป็นคาถากล่าวและกล่าวโต้ตอบกัน มีอยู่ ๑๕ คาถา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาณิ เต ได้แก่ ฝ่ามือขวาของท่าน.

บทว่า สพฺพโส วณฺโณ ได้แก่ มีวรรณะดุจทองคำทั้งหมด. บทว่า

ปญฺจธาโร ความว่า ชื่อว่า ปัญจธาระ เพราะมีการทรงไว้ซึ่ง

วัตถุอันบุคคลเหล่าอื่นปรารถนาด้วยนิ้วทั้ง ๕. บทว่า มธุสฺสโว

แปลว่า เป็นที่หลั่งออกซึ่งรสอันอร่อย. ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงกล่าวว่า

นานารสา ปคฺฆรนฺติ ความว่า เป็นที่ไหลออกแห่งรสต่าง ๆ ต่าง

ด้วยรสมี รสหวาน รสขม และรสฝาด เป็นต้น. จริงอยู่ ท่านกล่าว

ไว้ว่า รสมีรสหวานเป็นต้น ย่อมไหลออกจากมือ ที่หลั่งซึ่งของเคี้ยว

และของบริโภคต่าง ๆ อันสมบูรณ์ด้วยรส มีรสหวานเป็นต้น อัน

ให้ซึ่งความปรารถนาของเทพบุตร. บทว่า มญฺเห ต ปุรินฺทท

ความว่า ข้าพเจ้า เข้าใจว่า ท่านเป็นท้าวสักกะ, อธิบายว่า ข้าพเจ้า

เข้าใจว่า ท่าน เป็นท้าวสักกะเทวราช ผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้

บทว่า นามฺหิ เทโว ความว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่เทพเจ้าที่ปรากฏ

มีท้าวเวสวัณ เป็นต้น. บทว่า น คนฺธพฺโพ ความว่า ทั้งไม่ใช่

ข้าพเจ้าเป็นคนธรรพ์. บทว่า นาปิ สกฺโก ปุรินฺทโท ความว่า

ทั้งไม่ใช่ ข้าพเจ้า เป็นท้าวสักกะเทวราชอันใด นามว่า ปุรินททะ

เพราะได้เริ่มตั้งทาน ในอัตตภาพก่อน คือในกาลก่อน. เพื่อจะ

หลีกเลี่ยงคำถามว่า ก็ท่านเป็นอะไร รุกขเทวดา จึงกล่าวคำมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

อาทิว่า ดูก่อน อังกุระท่านจงทราบว่า เราเป็นเปรต, ดูก่อน

อังกุระ ท่านจงรู้ว่า ข้าพเจ้าตกอยู่ในหมู่เปรต คือ ท่านจงทรงจำ

ข้าพเจ้าว่า เป็นเปรตผู้มีฤทธิ์มากตนหนึ่ง. บทว่า โรรุวมฺนหา อิธาคต

ความว่า ข้าพเจ้า จุติจากโรรุวนครแล้วมาในที่นี้ คือที่ต้นไทรนี้

ในทางทรายกันดารด้วยการอุบัติ คือ บังเกิด ในที่นี้.

บทว่า กึ สีโล กึ สมาจาโร โรรุวสฺมึ ปุเร ตฺว ความว่า

เมื่อก่อนคือ ในอัตตภาพก่อน ท่านอยู่ที่โรรุวนคร เป็นผู้มีปกติ

อย่างไร มีความประพฤติอย่างไร คือ ท่านสมาทานศีลเช่นไร ซึ่ง

มีลักษณะให้กลับจากบาป มีความประพฤติเช่นไร ด้วยการประพฤติ

มีลักษณะบำเพ็ญบุญที่ให้เป็นไปแล้ว อธิบายว่า ท่านเป็นผู้ประพฤติ

เช่นไร ในการบำเพ็ญกุศลมีทานเป็นต้น. บทว่า เกน เต พฺรหฺมจริเยน

ปุญฺ ปาณิมฺหิ อิชฺฌติB> ความว่า ผลบุญในฝ่ามือของท่านนี้ คือ

เห็นปานนี้ ย่อมสำเร็จ คือ ย่อมเผล็ดผลในบัดนี้ เพราะความ

ประพฤติประเสริฐเช่นไร ท่านจงบอกเรื่องนั้น. จริงอยู่ ผลบุญ

ท่านประสงค์เอาว่า บุญในที่นี้ ด้วยการลบบทเบื้องหลัง. จริงอยู่

ต่อแต่นั้นผลบุญนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า บุญ ในประโยค

มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญนี้ ย่อมเจริญอย่างนี้ เพราะ

เหตุแห่งการสมาทานกุศลธรรม.

บทว่า ตุนฺนวาโย แปลว่า เราเป็นนายช่างหูก. บทว่า

สุกิจฺฉวุตฺตี ได้แก่ เป็นผู้เลี้ยงชีพโดยความลำบากนัก คือ เป็นผู้

เลี้ยงชีพโดยความลำบากอย่างยิ่ง. บทว่า กปโณ แปลว่า เป็นคน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

กำพร้า อธิบายว่า เป็นคนยากไร้. บทว่า น เม วิชฺชติ ทาตเว

ความว่า เราไม่มีอะไร ที่ควรจะพึงให้ เพื่อจะให้แก่สมณะพราหมณ์

ผู้เดินทาง, แต่เรามีความคิดที่จะให้ทาน.

บทว่า นิเวสน แปลว่า เรือน, หรือ ศาลาพักทำการงาน.

บทว่า อสยฺหสฺส อุปนฺติเก ได้แก่ ใกล้เรือนของมหาเศรษฐี

ชื่อว่า อสัยหะ. บทว่า สทฺธสฺส ความว่า ประกอบด้วยความเชื่อ

กรรมและผลแห่งกรรม. บทว่า ทานปติโน ความว่า เป็นผู้เป็นใหญ่

ในทาน ด้วยสมบัติเป็นเหตุบริจาคไม่ขาดระยะ และด้วยการครอบงำ

ความโลภ. บทว่า กตปุญฺสฺส ได้แก่ ผู้มีสุจริตกรรมที่ทำไว้ใน

กาลก่อน. บทว่า ลชฺชิโน ได้แก่ ผู้มีความละอายต่อบาปเป็นสภาพ.

บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในเรือนของเรานั้น. บทว่า ยาจนกา

ยนฺติ ความว่า คนยาจก ปรารถนาจะขออะไร ๆ กะอสัยหเศรษฐี

จึงพากันมา. บทว่า นานาโคตฺตา ได้แก่ ผู้แสดงอ้างถึงโคตร

ต่าง ๆ. บทว่า วณิพฺพกา ได้แก่ พวกวณิพก. ชนเหล่าใด เที่ยว

ประกาศถึงผลบุญเป็นต้นของทายก และความที่ตนมีความต้องการ

โดยมุ่งถึงเกียรติคุณเป็นต้น. บทว่า ตตฺถ ในบทว่า เต จ ม ตตฺถ

ปุจฉนฺติ นั้น เป็นเพียงนิบาต. คนยาจกเป็นต้นเหล่านั้น พากัน

ถามถึงเรือนของอสัยหเครษฐีกะเรา. จริงอยู่ ท่านผู้คิดอักษร

ย่อมปรารถนากรรมทั้ง ๒ อย่าง ในฐานะเช่นนี้.

บทว่า กตฺถ คจฺฉาม ภทฺท โว กตฺถ ทาน ปทียติ เป็นบท

แสดงถึงอาการถามของยาจกเหล่านั้น. จริงอยู่ ในที่นี้มีอธิบาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

ดังนี้ว่า :- ขอความเจริญ จงมีแก่ท่านทั้งหลาย พวกเราได้ยินว่า

อสัยหเศรษฐีย่อมให้ท่าน ดังนี้ จึงพากันมา, เขาให้ทานกันที่ไหน

หรือว่า เราจะไปทางไหน ผู้ที่ไปทางไหน สามารถจะได้ทาน.

บทว่า เตสาห ปุฏฺโ อกฺขามิ ความว่า ถูกพวกคนเดินทางเหล่านั้น

ถามถึงฐานะที่จะได้อย่างนี้ จึงให้เกิดความคารวะขึ้นว่า เราเป็น

ผู้ไม่สามารถเพื่อจะให้อะไร ๆ แก่คนเช่นนี้ ในบัดนี้ได้ เพราะ

ไม่เคยทำบุญไว้ในปางก่อน แต่เราจะแสดงโรงทานแก่คนเหล่านี้

ให้เกิดปีติขึ้น ด้วยการบอกอุบายแห่งการได้ แม้ด้วยเหตุเพียง

เท่านี้ ก็จะประสบบุญเป็นอันมากได้ จึงเหยียดแขนขวาออกชี้

บอกเรือนอสัยหเศรษฐีแก่คนเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น รุกขเทวดา

จึงกล่าวว่า ท่านจงประคองแขนขวา ดังนี้เป็นต้น

บทว่า เตน ปาณิ กามทโท ความว่า ด้วยเหตุเพียงการ

อนุโมทนาทานที่คนอื่นทำแล้ว โดยการประกาศทานขอคนอื่นนั้น

โดยเคารพ บัดนี้ ฝ่ามือของเราเป็นเสมือนต้นกัลปพฤกษ์ และเป็น

เหมือนต้นทิพยพฤกษ์ ให้สิ่งที่น่าใคร่ คือให้สิ่งที่ต้องการที่ปรารถนา

ชื่อว่าให้สิ่งที่น่าใคร่และน่าปรารถนา. ก็เพราะเหตุนั้น ฝ่ามือ

ของท่านจึงให้สิ่งที่น่าปรารถนา เป็นที่หลั่งไหลออกแห่งรสอันอร่อย

คือ เป็นที่สละออกซึ่งวัตถุที่น่าปรารถนา.

ศัพท์ว่า กิร ในบทว่า น กิร ตฺว อทา ทาน นี้ เป็นนิบาต

ลงในอรรถแห่งอนุสสวนัตถะ. ได้ยินว่า ท่านไม่สละสิ่งของของตน

คือ ท่านไม่ได้ให้ทานอะไร ๆ แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง หรือแก่สมณะ ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

ฝ่ามือของตน คือ พร้อมด้วยมือของตน. บทว่า ปรสฺส ทาน

อนุโมทนาโน ความว่า ท่านเมื่ออนุโมทนาทานของคนอื่น ที่คนอื่น

กระทำอย่างเดียว เท่านั้นอยู่ว่า โอ ทานเราให้เป็นไปแล้ว.

บทว่า เตน ปาณิ กามทโท ความว่า เพราะเหตุ ฝ่ามือ

ของท่านจึงให้สิ่งที่น่าใคร่อย่างนี้ อธิบายว่า โอ น่าอัศจรรย์จริง

หนอ คติ แห่งบุญทั้งหลาย.

บทว่า โย โส ทานมทา ภนฺเต ปสนฺโน สกปาณิภิ นี้

รุกขเทวดาเรียกเทพบุตร ด้วยความเคารพว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

อสัยหเศรษฐี ผู้มีความเลื่อมใส ได้ให้ทานด้วยฝ่ามือของตน อธิบาย

ว่า อันดับแรก ผลเช่นนี้คือ อานุภาพเช่นนี้ของท่าน ผู้อนุโมทนา

ทานที่บุคคลอื่นทำไว้แล้ว แต่อสัยหมหาเศรษฐีนั้น ได้ให้มหาทาน

คือ เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ให้มหาทานเป็นไปในกาลนั้น ด้วยทรัพย์

หลายพัน. บทว่า โส หิตฺวา มานุส เทห ความว่า ท่านละอัตภาพ

มนุษย์ในที่นี้. บทว่า กึ ได้แก่ ทางทิศไหน. คัพท์ว่า นุ ในคำว่า

นุ โส นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ทิสต คโต แปลว่า ไปสู่ทิศ

คือที่. รุกขเทวดาถามถึงอภิสัมปรายภพของอสัยหเศรษฐีว่า คติ

คือความสำเร็จของท่านเศรษฐีนั้นเป็นอย่างไร.

บทว่า อสยฺหสาหิโน ความว่า ชื่อว่า อสัยหเศรษฐี เพราะ

อดกลั้นธุระของสัตบุรุษผู้จำแนกการบริจาคเป็นต้น ซึ่งคนเหล่าอื่น

ผู้มีความตระหนี่คือ ผู้อันความโลภครอบงำ ไม่สามารถเพื่อจะ

อดกลั้นได้. บทว่า องฺคีรสสฺส ผู้มีรัศมีซ่านออกจากตน. จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

บทว่า รโส เป็นชื่อของความโชติช่วง. ได้ยินว่า ปีติและโสมนัส

อย่างยิ่ง ย่อมเกิดขึ้นแก่อสัยหเศรษฐีนั้น เพราะเห็นพวกยาจก

กำลังเดินมา คือ สีหน้าย่อมผ่องใส. รุกขเทวดานั้น กล่าวอย่างนี้

เพราะทำเขาให้ประจักษ์แก่ตน. บทว่า คตึ อาคตึ วา ความว่า

หรือว่า คติของอสัยหเศรษฐีนั้นว่า เขาจาโลกนี้แล้วไปสู่คติ

ชื่อโน้น เราไม่เข้าใจการมาว่าก็หรือว่า เขาจากที่นั้นแล้ว จักมา

ในที่นี้ในกาลชื่อโน้น, นี้ ไม่ใช่วิสัยของเรา. บทว่า สุตญฺจ เม

เวสฺสวณสฺส สนฺติเก ความว่า แต่เราได้ฟังข้อนี้ มาในสำนักของ

ท้าวเวสวัณมหาราช ผู้ไปสู่ที่อุปัฏฐาก. บทว่า สกฺกสฺส

สหพฺยต คโต อสยฺโห ความว่า อสัยหเศรษฐี ถึงความเป็นสหาย

ของท้าวสักกะจอมเทพ, อธิบายว่า บังเกิดในภพชั้นดาวดึงส์.

บทว่า อลเมว กาตุ กลฺยาณ ความว่า คุณงามความดี

อย่างใดอย่างหนึ่ง คือบุญกุศล สมควร คือ เหมาะสมที่จะต้องทำ

แท้ทีเดียว. ก็ในคุณงามความดีนั้น สิ่งที่ทั่วไปแก่คนทั้งปวง ควร

ทำดีกว่า เพื่อจะแสดงสิ่งนั้น อังกุระพ่อค้าจึงกล่าวว่า ควรจะให้

ทานตามสมควร. ควรแท้ที่จะให้ทาน อันเหมาะสมแก่สมบัติและ

กำลังของตน. ท่านกล่าวเหตุในข้อนั้นไว้ว่า เห็นฝ่ามืออันให้สิ่ง

ที่น่าปรารถนา. เพราะเห็นมือนี้ที่เห็นว่า ให้สิ่งที่น่าปรารถนา

ด้วยเหตุมีการอนุโมทนาส่วนบุญที่คนอื่นทำแล้วเป็นเบื้องต้น และ

ด้วยเหตุเพียงการบอกหนทางเป็นที่เข้าไปสู่เรือนแห่งท่านทานบดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

บทว่า โก ปุญฺ น กริสฺสติ ความว่า ขึ้นชื่อว่า ใครเสมือนกับเรา

จักไม่ทำบุญอันเป็นที่พึ่งของตน.

อังกุรพาณิช ครั้นแสดงความเอื้อเฟื้อในการบำเพ็ญบุญ

โดยไม่กำหนดแน่นอนอย่างนี้ บัดนี้ เมื่อจะแสดงกำหนดแน่นอน

ถึงการบำเพ็ญบุญนั้นในตน จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา มีอาทิว่า

โส หิ นูน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ได้แก่เรานั้น. ศัพท์ว่า หิ

เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งอวธารณะ. ศัพท์ว่า นูน เป็นนิบาตลงใน

อรรถว่าปริวิตก. บทว่า อิโต คนฺตฺวา ความว่า เราไปจากภูมิแห่ง

เทวดานี้แล้ว. บทว่า อนุปฺปตฺวาน ทฺวารก ได้แก่ ถึงทวารวดีนคร

โดยลำดับ. บทว่า ปฏฺปยิสฺสามิ แปลว่า จักให้เป็นไป.

เมื่ออังกุระพาณิช กระทำปฏิญญาว่า เราจักให้ทานอย่างนี้

แล้ว เทพบุตรมีใจยินดี กล่าวว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้เสีย

สละ. จงให้ทานเถิด ส่วนเราจักทำหน้าที่เป็นสหายของท่าน ไทยธรรม

ของท่านจักไม่ถึงความหมดเปลืองด้วยประการใด เราจักกระทำ

โดยประการนั้น ดังนี้แล้ว จึงให้อังกุระพาณิชนั้น อาจหาญในการ

บำเพ็ญทานแล้วกล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์พาณิช ได้ยินว่าท่าน

ปรารถนาจะนำคนเช่นเรา ไปด้วยพลการ ช่างไม่รู้จักประมาณ

ของตัว ดังนี้แล้ว จึงให้สินค้าของอังกุระพาณิชนั้น อันตรธานไป

แล้ว จึงขู่ให้อังกุระพาณิชนั้นกลัว ด้วยอาการที่สะพึงกลัวว่าเป็น

ยักษ์. ลำดับนั้น อังกุระพาณิช จึงอ้อนวอนกะเทพบุตรนั้น โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

ประการต่าง ๆ เมื่อจะให้พราหมณ์ขมาโทษ ให้เลื่อมใส จึงทำสินค้า

ทั้งหมดให้กลับเป็นปกติ เมื่อใกล้ค่ำ จึงละเทพบุตรไปอยู่ เห็น

เปรตตนหนึ่งที่เห็นเช้าน่ากลัวยิ่งนัก ในที่ไม่ไกลแห่งเทพบุตรนั้น

เมื่อจะถามถึงกรรมที่เปรตนั้นกระทำ จึงกล่าวคาถาว่า :-

เพราะเหตุไร นิ้วมือของท่านจึงงอหงิก

ปากของท่านจึงเบี้ยว และนัยน์ตาทะเล้นออก

ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุณา แปลว่า งอหงิก คือ หงิกกลับ

ได้แก่ ไม่ตรง. บทว่า กุณลีกต ได้แก่ เบี้ยว คือบิด โดยวิการ

แห่งปาก. บทว่า ปคฺฆร ได้แก่ ไม่สะอาด ไหลออกอยู่.

ลำดับนั้น เปรต ได้กล่าวคาถา ๓ คาถา เเก่อังกุระพาณิช

นั้นว่า :-

เราเป็นคฤหบดี ตั้งไวในการให้ทาน ใน

โรงทานของท่านคฤหบดีผู้มีอังคีรส ผู้มีศรัทธา

เป็นฆราวาสครอบครองเรือน เห็นยาจกผู้มีความ

ประสงค์ด้วยโภชนะมาที่โรงทานนั้น ได้หลีกไป

ทำการบุ้ยปากอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง เพราะกรรมนั้น

นิ้วมือของเราจึงงอหงิก ปากของเราจึงเบี้ยว

แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

บรรดาเหล่านั้น ด้วยบทว่า อุงฺคีรสสฺส เป็นต้น เทพบุตร

ระบุถึงอสัยหเศรษฐี. บทว่า ฆรเมสิโน ได้แก่ คฤหัสถ์ผู้อยู่

ครองเรือน. บทว่า ทานวิสฺสคฺเค ได้แก่ ในโรงทาน คือ ในที่

เป็นที่บริจาคทาน. บทว่า ทาเน อธิกโต อหุ ความว่า เริ่มตั้ง

คือ ตั้งไว้ในการบริจาคไทยธรรม คือ ในการบำเพ็ญทาน.

บทว่า เอกมนฺต อปกฺกมฺม ความว่า ผู้ขวนขวายในทาน

เห็นยาจกผู้ต้องการโภชนาหารเดินมา ได้หลีกไปจากโรงทานแล้ว

ยืนอยู่ในที่เดิมนั่นเอง เกิดปีติและโสมนัส มีหน้าผ่องใส พึงให้

ทานด้วยมือของตน หรือใช้คนอื่นผู้สมควรให้ให้ แต่เราไม่ได้กระทำ

อย่างนั้น เห็นยาจกเดินมาแต่ไกลไม่แสดงตน หลีกไปอยู่ ณ ส่วน

ข้างหนึ่ง. บทว่า อกาสึ กุณลึ มุข ความว่า เราได้กระทำปากเบี้ยว

ปากบุ้ย.

บทว่า เตน ความว่า เพราะในกาลนั้น เราถูกเจ้านายแต่งตั้ง

ไว้ในหน้าที่ให้ทาน เมื่อกาลทานปรากฏ เรามีความตระหนี่ครอบงำ

หลีกไปจากโรงทานทำเท้างอหงิก เมื่อควรจะให้ทานด้วยมือของตน

ไม่ได้ทำอย่างนั้น ทำมืองอหงิก เมื่อควรจะมีหน้าผ่องใส ก็ทำ

หน้าเบี้ยว. เมื่อควรจะแลดูด้วยตาอันน่ารักก็ทำให้เกิดนัยน์ตาทะเล้น

ออกมา เพราะฉะนั้น เราจึงมีนิ้วมือ นิ้วเท้างอหงิก และปากเบี้ยว

สยิ้วผิดรูป อธิบายว่า นัยน์ตาทั้ง ๒ หลั่งน้ำตาออกมาไม่สะอาด

มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียด. เพราะเหตุนั้น เปรตจึงกล่าวว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

เพราะกรรมนั้น มือของเราจึงงอหงิก

ปากเบี้ยว นัยน์ตาทั้ง ๒ ของเราถลนออกมา

เพราะเราได้ทำกรรมชั่วนั่นไว้.

อังกุระพาณิชได้ฟังดังนั้น เมื่อจะติเตียนเปรต จึงกล่าวคาถา

ว่า :-

แน่ะบุรุษเลวทราม การที่ท่านมีปากเบี้ยว

นัยน์ตาทั้ง ๒ ถลนออกมา เป็นการชอบแล้ว

เพราะท่านได้กระทำการบุ้ยปากต่อทานของผู้อื่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ ด้วยเหตุอันเหมาะสม

นั่นเอง. บทว่า เต แก้เป็น ตว แปลว่า ของท่าน. บทว่า กาปุริส

ได้แก่ บุรุษผู้เลวทราม. บทว่า ย แก้เป็น ยสฺมา แปลว่า เพราะเหตุใด.

บทว่า ปรสฺส ทานสฺส ได้แก่ ในทานของคนอื่น. อีกอย่างหนึ่ง

บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.

อังกุระพาณิชเมื่อจะติเตียนทานบดีเศรษฐีนั้นอีก จึงกล่าว

คาถาว่า :-

ก็ไฉน อสัยหเศรษฐีเมื่อจะให้ทาน จึงได้

มอบข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า และเสนาสนะ ให้

ผู้อื่นจัดแจง.

คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ว่า บุรุษเมื่อจะให้ทาน

ไฉนเล่าจึงมอบให้คนอื่นจัดแจงทานนั้น คือกระทำให้ประจักษ์แก่ตน

นั่นแหละ แล้วพึงให้ด้วยมือของตนเอง. อนึ่ง ตนเองพึงเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

ขวนขวายในทานนั้น เมื่อว่าโดยประการอื่น พึงกำจัดไทยธรรม

ในฐานะอันไม่ควร และไม่พึงให้พระทักขิไณยบุคคลเสื่อมจากทาน.

อังกุระพาณิชครั้นติเตียนทานบดีเศรษฐีอย่างนี้แล้ว เมื่อ

จะแสดงวิธีที่ตนจะพึงปฏิบัติ จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-

ก็เราไปจากที่นี้ถึงทวารกนครแล้ว จัก

เริ่มให้ทานอันนำความสุขมาให้เราแน่แท้ เรา

จักให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ บ่อน้ำ สระน้ำ และ

สะพานในที่เดินลำบากให้เป็นทาน.

คำนั้นมีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแล. เพื่อจะแสดงข้อปฏิบัติ

ของอังกุระพาณิช พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงได้ตั้ง คาถา

๔ คาถา ไว้ความว่า :-

ก็อังกุระพาณิชนั้นกลับจากทะเลทรายนั้น

ไปถึงทวารกนครแล้ว ได้เริ่มให้ทานอันนำความ

สุขมาให้ตน ได้ให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ บ่อน้ำ

สระน้ำ ด้วยจิตอันเลื่อมใส. ช่างกัลบก พ่อครัว

ชาวมคธ พากันป่าวร้องในเรือนของอังกุระพาณิช

นั้น ทั้งเช้า ทั้งเย็น ทุกเมื่อว่า ใครหิวจงมากิน

ตามชอบใจ ใครกระหายจงมาดื่มตามชอบใจ

ใครจักนุ่งห่มผ้า จงนุ่งห่มผ้า ใครต้องการพาหนะ

สำหรับเทียม จงเทียมพาหนะในคู่แอกนี้ ใคร

ต้องการร่มจงเอาร่มไป ใครต้องการของหอมจง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

เอาดอกไม้ไป ใครต้องการรองเท้าจงเอารองเท้า

ไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ได้แก่ จากทะเลทราย.

บทว่า นิวตฺติตฺวา แปลว่า กลับไปแล้ว. บทว่า อนุปฺปตฺวาน

ทฺวารก แปลว่า ถึงทวารวดีนคร. บทว่า ทาน ปฏฺปยิ องฺกุโร

ความว่า อังกุระพาณิชนั้น ผู้มีเรือนคลังทั้งสิ้นอันเทวบุตรให้บริบูรณ์

แล้ว เริ่มตั้งมหาทานอันเกื้อกูลแก่การเดินทางทุกอย่าง. บทว่า

ย ตุมสฺส สุขาวห ความว่า เพราะให้เกิดความสุขแก่ตนทั้งในบัดนี้

และในอนาคต.

บทว่า โก ฉาโต อธิบายว่า ใครหิว จงมากินตามความชอบใจ

แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ตสิโต แปลว่า ผู้กระหาย.

บทว่า ปริทหิสฺสติ ความว่า จักนุ่งและจักห่ม. บทว่า สนฺตานิ

แปลว่า ถึงความสงบ. บทว่า โยคฺคานิ ได้แก่ พาหนะคือรถ. บทว่า

อิโต โยเชนฺตุ วาหน ความว่า จงถือเอาความพอใจจากพาหนะ

ที่เทียมด้วยตู่แอกนี้แล้วจงเทียมพาหนะ.

บทว่า โก ฉตฺติจฺฉติ ความว่า ใครต้องการร่มอันต่างด้วย

ร่มเสื่อลำแพนเป็นต้น. อธิบายว่า ผู้นั้นจงถือเอาไปเถิด. แม้ในบทที่

เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า คนฺธ ได้แก่ ของหอมมีของหอม

อันประกอบด้วยชาติ ๔ เป็นต้น. บทว่า มาล ได้แก่ ดอกไม้ที่

ร้อยและยังมิได้ร้อย. บทว่า อุปาหน ได้แก่ รองเท้าอันต่างด้วย

รองเท้าติดแผนหนังหุ้มส้นเป็นต้น. ศัพท์ว่า สุ ในคำว่า อิติสฺสุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

นี้ เป็นเพียงนิบาต. ความว่า ด้วยคำมีอาทิว่า ใครหิว ใครกระหาย

ด้วยประการฉะนี้ คือ อย่างนี้. บทว่า กปฺปกา ได้แก่ ช่างกัลบก.

บทว่า สูทา ได้แก่ พ่อครัว. บทว่า มาคธา ได้แก่ ชาวมคธ.

มีวาจาประกอบความว่า บทว่า สทา ความว่า ป่าวร้อง คือ โฆษณา

ในเรือนของอังกุระพาณิชนั้นทั้งเช้าทั้งเย็นตลอดเวลา คือ ทุกวัน.

เมื่ออังกุระพาณิชบำเพ็ญมหาทานอย่างนี้ เมื่อเวลาผ่านไป

โรงงานห่างเหินเงียบสงัดจากคนผู้ต้องการ เพราะเป็นผู้อิ่มหนำแล้ว.

อังกุระพาณิชเห็นดังนั้นจึงไม่พอใจ เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยกว้าง

ขวางในการให้ทาน จึงเรียกมาณพชื่อว่า สินธกะผู้ขวนขวายใน

ทานของตนมาแล้วกล่าว ๒ คาถาว่า :-

มหาชนรู้เราว่า อังกุระนอนเป็นสุข ดูก่อน

สินธกะ เรานอนเป็นทุกข์ เพราะไม่ได้เห็นพวก

ยาจก มหาชนรู้เราว่า อังกุระนอนเป็นสุข ก่อน

สินธกะ เรานอนเป็นทุกข์ในเมื่อวณิพกมีน้อย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุข สุปติ องฺกุโร อิติ ชานาติ

ม ชโน ความว่า มหาชน ยกย่องเราอย่างนี้ว่า พระเจ้าอังกุระ

เพียบพร้อมไปด้วยยศโภคะ เป็นทานบดี ย่อมบรรทมเป็นสุข

คือ เข้าถึงความนิทราโดยความสุขทีเดียว ตื่นบรรทมก็เป็นสุข

ด้วยโภคสมบัติและทานสมบัติของพระองค์. บทว่า ทุกฺข สุปามิ

สินฺธก ความว่า ดูก่อนสินธกะมาณพ ก็เราย่อมนอนเป็นทุกข์

อย่างเดียว. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

เราไม่เห็นพวกยาจก, อธิบายว่า เพราะเหตุที่เรา ยังไม่เห็นพวก

ยาจกเป็นอันมาก ผู้จะรับไทยธรรม อันสมควรแก่อัธยาศัยของเรา.

มีวาจาประกอบความว่า บทว่า อปฺปเก สุ วณิพฺพเก ความว่า

เราหลับเป็นทุกข์ ในเมื่อวณิพกชนมีน้อยคือ ๒-๓ คน. ก็ศัพท์ว่า

สุ เป็นเพียงนิบาต, อธิบายว่า เมื่อวณิพกชนมีน้อย.

สินธกะมาณพ ได้ฟังดังนั้นแล้ว มีความประสงค์จะกระทำ

อังกุระพาณิชนั้นให้น้อมไปในทานอันยิ่ง ให้ปรากฏจึงกล่าวคาถา

ว่า :-

ถ้าท้าวสุกกะ เป็นใหญ่กว่าชาวดาวดึงส์

และเป็นใหญ่กว่าชาวโลกทั้งปวง พึงให้พรท่าน

ท่านเมื่อจะเลือก พึงเลือกเอาพรเช่นไร.

คำอันเป็นคาถานั้น มีอธิบายดังนี้ :- ท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่

กว่าเทพชั้นดาวดึงส์ และกว่าชาวโลกทั้งมวล หากจะพึงให้พรท่าน

ว่าอังกุระ ท่านจงขอพรอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ท่านตั้งใจไว้ ท่าน

เมื่อจะขอพร คือเมื่อปรารถนา พึงขอพรเช่นไร

ลำดับนั้นอังกุระพาณิช เมื่อจะประกาศอัธยาศัยของตน

ตามความเป็นจริง จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ถ้าท้าวสุกกะ ผู้เป็นใหญ่กว่าเทพชั้นดาว

ดึงส์ พึงให้พรแก่เราไซร้ เราจะพึงขอพรว่า เมื่อ

เราลุกขึ้นแต่เช้า ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ขอ

ภัตตาหารอันเป็นทิพย์ และพวกยาจกผู้มีศีล พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

ปรากฏ เมื่อเราให้อยู่ ไทยธรรมไม่พึงสิ้นไป ครั้น

เราให้ทานนั้นแล้ว ไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง

เมื่อกำลังให้อยู่ พึงยังจิตให้เลื่อมใส ข้าพเจ้าพึง

ขอพรกะท้าวสุกกะอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาลุฏฺิตสฺส เม สโต ความว่า

เมื่อข้าพเจ้าลุกขึ้นในเวลาเช้า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความเพียร คือ

ความหมั่นด้วยอำนาจสามีจิกรรม มีการนอบน้อมและการปรนนิบัติ

เป็นต้น ต่อพระทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ. บทว่า

สูริยุคฺคมน ปติ แปลว่า ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้นไป. บทว่า ทิพฺพา

ภกฺขา ปาตุภเวยฺยุ ความว่า อาหารอันนับเนื่องในเทวโลก พึง

เกิดขึ้น. บทว่า สีลวนฺโต จ ยาจกา ความว่า และพวกยาจก

พึงเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม.

บทว่า ททโต เม น ขีเยถ ความว่า ก็เมื่อเราให้ทานแก่ผู้ที่

มาแล้ว ๆ ไทยธรรมย่อมไม่สิ้นไป คือ ไม่ถึงความหมดเปลือง.

บทว่า ทตฺวา นานุปเตยฺยห ความว่า ก็เพราะเหตุนั้น เราให้ทาน

นั้นแล้ว เห็นคนบางคนไม่มีความเลื่อมใส จึงไม่เดือดร้อน ในภายหลัง.

บทว่า ทท จิตฺต ปสาเทยฺย ความว่า เมื่อเราให้อยู่ เราก็พึงทำจิต

ให้เลื่อมใส คือเราเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้วนั่นแหละ พึงให้ทาน. บทว่า

เอต สกฺก วร วเร ความว่า เราพึงขอพรกะท้าวสักกะจอมเทพ

๕ อย่างนี้คือ ความสมบูรณ์ด้วยความไม่มีโรค ความสมบูรณ์ด้วย

ไทยธรรม ความสมบูรณ์ด้วยพระทักขิไณยบุคคล ความสมบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

ด้วยไทยธรรมหาประมาณมิได้ และความสมบูรณ์ด้วยทายก.

ก็ในพร ๕ ประการนี้ ด้วยคำว่า เมื่อเราลุกขึ้นแต่เช้า นี้ ชื่อว่า

ความสมบูรณ์ด้วยความไม่มีโรค, ด้วยคำว่า ภัตตาหารอันเป็นทิพย์

พึงปรากฏนี้ชื่อว่า ความสมบูรณ์ด้วยไทยธรรม ด้วยคำว่า และ

ยาจกพึงเป็นผู้มีศีลนี้ ชื่อว่า ความสมบูรณ์ด้วยทักขิโณยบุคคล

ด้วยคำว่า เมื่อเราให้อยู่ ไทยธรรมไม่พึงสิ้นไป นี้ ชื่อว่า ความ

สมบูรณ์ด้วยไทยธรรมหาประมาณมิได้ ด้วยคำว่า ครั้นเราให้ทาน

แล้ว ไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง เมื่อกำลังให้พึงทำจิตให้เลื่อมใส

นี้ ชื่อว่า ความสมบูรณ์ด้วยทายก รวมความว่า อังกุระพาณิช

ปรารถนาประโยชน์ ๕ ประการ โดยความเป็นพร. ก็ประโยชน์

๕ ประการนั้นแล พึงทราบว่ามีไว้เพียงเพื่อความยิ่งใหญ่แห่งบุญ

อันสำเร็จด้วยทานนั่นเอง.

เมื่ออังกุระพาณิช ประกาศอัธยาศัยของตนอย่างนี้ ชาย

คนหนึ่ง ชื่อว่า โสนกะ ผู้มีความเชี่ยวชาญในนิติศาสตร์ นั่งอยู่ใน

ที่นั้น เป็นผู้ให้ทานเกินประมาณ มีความประสงค์จะตัดทานนั้น

จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

บุคคลไม่พึงให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้ง

หมด แก่บุคคลอื่น ควรให้ทาน และควรรักษา

ทรัพย์ไว้ เพราะว่าทรัพย์เท่านั้น ประเสริฐกว่า

ทาน ตระกูลทั้งหลาย ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะการ

ให้ทานเกินประมาณไป บัณฑิตย่อมไม่สรรเสริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

การไม่ให้ทาน และการให้ท่านเกินควร เพราะ

เหตุผลนั้นแล ทรัพย์เท่านั้นประเสริฐกว่าทาน

บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยธรรม ควร

ประพฤติ โดยพอเหมาะ.

อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า สินธกมาณพมีความประสงค์

จะทดลองอย่างนี้อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ไม่พึงให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ

ทั้งหมด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพวิตฺตานิ ได้แก่ อุปกรณ์แก่

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้งหมด ชนิดสวิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณก-

ทรัพย์ อธิบายว่า ทรัพย์. บทว่า ปเร แก้เป็น ปรมฺหิ แก่บุคคลอื่น,

อธิบายว่า ปรสฺส แก่คนอื่น. บทว่า น ปเวจฺเฉ แปลว่า ไม่พึงให้

อธิบายว่า ไม่ควรทำการบริจาคทรัพย์ทั้งหมดไม่เหลืออะไรไว้

โดยคิดว่า เราได้พระทักขิไณยบุคคล. บทว่า ทเทยฺย ทานญฺจ

ความว่า ไม่ควรให้ นามธรรม โดยประการทั้งปวง คือ โดยที่แท้

ครั้นรู้ความเจริญและความเสื่อมของตนแล้ว พึงให้ทานอันเหมาะสม

แก่สมบัติ. บทว่า ธนญฺจ รกฺเข ความว่า พึงรักษาทรัพย์ไว้

ด้วยอำนาจ การได้ทรัพย์ที่ยังไม่ได้ รักษาทรัพย์ที่ได้ไว้แล้ว และ

ควบคุมทรัพย์ที่รักษาไว้. อีกอย่างหนึ่ง เพราะทานนั้นซึ่งมีทรัพย์

นั้นเป็นมูลเหตุ บุคคลพึงรักษาทรัพย์ตามวิธีที่กล่าวไว้ว่า :-

พึงใช้บริโภคส่วน ๑ พึงประกอบการงาน

๒ ส่วน และพึงเก็บทรัพย์ส่วนที่ ๔ ไว้ ในเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

อันตรายจักมี.

จริงอยู่ นักกฎหมายคิดว่า พึงเสพทางทั้ง ๓ โดยทำทุก ๆ ส่วน

ให้หมดจด. บทว่า ตสฺมา หิ ความว่า ก็เมื่อจะรักษาทรัพย์ และ

บำเพ็ญทาน ชื่อว่า ดำเนินไปตามทาน ซึ่งมีทรัพย์เป็นมูลเหตุ

เพื่อประโยชน์แก่โลกทั้ง ๒ เพราะฉะนั้น ทรัพย์เท่านั้น จึงประเสริฐ

คือ ดีกว่าทาน เพราะเหตุนั้น จึงอธิบายว่า ไม่พึงทำทานเกินควร.

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ตระกูลทั้งหลาย ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้

เพราะให้ทานเกินควร, อธิบายว่า เพราะไม่รู้ประมาณของทรัพย์

อาศัยทรัพย์นั้นให้ทาน ตระกูลจึงตั้งอยู่ไม่ได้ คือ เป็นไปไม่ได้

ได้แก่ ขาดศูนย์ไปเพราะประสงค์ในการให้เกินควร.

บัดนี้ โสนกะบุรุษ เมื่อจะตั้งประโยชน์เฉพาะที่วิญญูชน

สรรเสริญ จึงกล่าวคาถาว่า บัณฑิตไม่สรรเสริญการไม่ให้ทาน

และการให้ทานเกินควรเป็นต้น. บรรดาบทเหล่นั้น บทว่า

อทานมติทานญฺจ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย คือผู้รู้ได้แก่ ผู้มีปัญญา

ย่อมไม่สรรเสริญ ย่อมไม่ชมเชยการไม่ให้ ภิกษาทัพที่หนึ่งก็ดี

ข้าวสารหยิบมือหนึ่งก็ดี โดยประการทั้งปวง และการให้เกินควร

กล่าวคือการบริจาคเกินประมาณ. จริงอยู่ ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้

เหินห่างจากประโยชน์ ในสัมปรายภพเพราะไม่ให้ทานโดยประการ

ทั้งปวง. ประเพณีในปัจจุบัน ย่อมไม่เป็นไป เพราะการให้ทาน

เกินควร. บทว่า สเมน วตฺเตยฺย ความว่า บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์

สมบูรณ์ด้วยธรรม ควรประพฤติด้วยญาณอันเป็นสายกลาง อัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

มั่นคง เหมาะแก่ทางโลก เป็นไปสม่ำเสมอ. ด้วยคำว่า ส ธีรธมฺโม

ท่านแสดงว่า ความเป็นไปแห่งการให้และการไม่ให้ ตามที่กล่าว

แล้ว อันใด อันนั้นจักเป็นธรรมคือ เป็นทางที่นักปราชญ์ผู้สมบูรณ์

ด้วยปัญญา ผู้ฉลาดในนิตินัย ดำเนินไปแล้ว

อังกุระพาณิช ได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะเปลี่ยนแปลงความ

ประสงค์ของโสนกะบุรุษนั้น จึงประกาศวิธีที่ตนจะพึงปฏิบัติ

ด้วย ๔ คาถาว่า :-

ดูก่อนชาวเราทั้งหลาย เอ๋ย ดีหนอ เรา

พึงให้ทานแล ด้วยว่าสัตบุรุษ ผู้สงบระงับ พึง

คบหาเรา เราพึงยังความประสงค์ ของวณิพก

ทั้งปวงให้เต็ม เลี้ยงดูให้อิ่มหนำ เปรียบเหมือน

ฝนที่ยังที่ลุ่มทั้งหลายให้เต็ม ฉะนั้น สีหน้าของ

บุคคลใด ย่อมผ่องใส เพราะเห็นพวกยาจก

บุคคลนั้น ครั้นให้ทานแล้ว มีใจเบิกบาน ข้อนั้น

เป็นความสุขของบุคคลผู้อยู่ครองเรือน สีหน้า

ของบุคคลใด ย่อมผ่องใส เพราะเห็นพวกยาจก

บุคคลนั้น ครั้นให้ทานแล้ว ย่อมปลาบปลื้มใจ

นี้เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญ ก่อนแต่ให้ก็มีใจ

เบิกบาน เมื่อกำลังให้ก็ยังจิตให้เลื่อมใส ครั้นให้

แล้วก็มีใจเบิกบาน นี้เป็นความถึงพร้อมแห่ง

ยัญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโห วต แปลว่า ดีหนอ. บทว่า

เร เป็นอาลปนะ. บทว่า อหเมว ทชฺช แก้เป็น อห ทชฺชเมว

แปลว่า เราพึงให้ทีเดียว. จริงอยู่ ในข้อนี้มีความสังเขปดังต่อไปนี้

ว่า ก่อนมาณพ ถ้าว่า วาทะของผู้ฉลาดในนิติศาสตร์นี้ จงมีแก่

ท่านว่า ทรัพย์เท่านั้นดีกว่าทาน ก็จริง ถึงอย่างนั้น เราก็พึงให้

โดยแท้. บทว่า สนฺโต จ ม สปฺปุริสา ภเชยฺยุ ความว่า สัตบุรุษ

คือ คนดีทั้งหลาย ผู้สงบ คือ ผู้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร และ

มโนสมาจารสงบ พึงคบ คือ พึงเข้าถึงเรา ในเพราะทานนั้น.

บทว่า เมโฆว นินฺนานิ ปริปูรยนฺโต ความว่า น่าอัศจรรย์จริง

เราเมื่อยังความประสงค์ของวณิพกทั้งปวงให้เต็ม ชื่อว่า พึงยัง

วณิพกเหล่านั้น ให้เดือดร้อน เหมือนมหาเมฆ เมื่อยังฝนให้ตก

ชื่อว่า ยังที่ลุ่ม คือที่ต่ำ ให้เต็มฉะนั้น.

บทว่า ยสฺส ยาจนเก ทิสฺวา ความว่า เมื่อบุคคลใด คือ

ผู้ครองเรือน เห็นยาจกทั้งหลาย เกิดศรัทธาขึ้นว่า บุญเขต ปรากฏ

แก่เราหนอ เป็นอันดับแรก สีหน้าย่อมผ่องใส ครั้นให้ทานแก่ยาจก

เหล่านั้น ตามสมบัติแล้ว ย่อมเบิกบานใจ คือ ย่อมมีใจอันปีติและ

โสมนัสจับแล้ว. บทว่า ต ความว่า เป็นการเห็นยาจกในกาลใด

และเห็นยาจกเหล่านั้นแล้ว จิตย่อมเลื่อมใส และครั้นให้ทานตาม

สมควรแล้ว ย่อมเบิกบานใจ.

บทว่า เอสา ยญฺสฺส สมฺปทา ความว่า นั้นเป็นความถึง

พร้อม คือ ความบริบูรณ์ ได้แก่ ความสำเร็จแห่งยัญญ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

บทว่า ปุพฺเพว นานา สุมโน ความว่า บุคคล พึงเป็นผู้มี

ใจดี คือเกิดโสมนัส ตั้งแต่จัดแจงอุปกรณ์ทาน ก่อนแต่มุญจนเจตนา

ว่า เราจักฝังขุมทรัพย์อันเป็นเหตุติดตามตนไปได้. บทว่า ทท

จิตฺต ปสาทเย ความว่า เมื่อให้ คือ เมื่อยังไทยธรรม ให้ตั้งอยู่ในมือ

ของพระทักขิไณยบุคคล พึงยังจิตของตนให้เลื่อมใสว่า เราจะยืดถือ

เอาสิ่งที่เป็นสาระ จากทรัพย์อันหาสาระมิได้. บทว่า ทตฺา อตฺตมโน

โหติ ความว่า ครั้นบริจาคไทยธรรม แก้พระทักขิไณยบุคคลแล้ว

ย่อมเป็นผู้มีใจดี คือ มีความเบิกบานใจ ได้แก่ย่อมเกิดปีติและโสมนัส

ขึ้นว่า ขึ้นชื่อว่า ทานที่บัณฑิตบัญญัติแล้ว เราก็ได้ดำเนินตามแล้ว,

โอ ช่างดีจริงหนอ. บทว่า เอสา ยญฺสฺส สมฺปทา ความว่า

ความบริบูรณ์แห่งเจตนาทั้ง ๓ อันโสมนัสกำกับแล้ว ซึ่งไปตาม

ความเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมนี้คือ ปุพพเจตนา มุญจนเจตนา

และอปรเจตนานี้ใด นั้น เป็นสัมปทาแห่งยัญญ์ คือ ความถึงพร้อม

แห่งทาน อธิบายว่า ไม่ใช่เป็นไปโดยประการอื่นจากสัมปทานี้.

อังกุระพาณิช ครั้นประกาศวิธีปฏิบัติของตนอย่างนี้แล้ว

เป็นผู้มีอัธยาศัยในทานเจริญยิ่งขึ้น บำเพ็ญมหาทานทุก ๆ วัน

ให้เป็นไปโดยประมาณยิ่ง. เพราะเหตุนั้น ในกาลนั้น เมื่อทำ

รัชชสมบัติทั้งปวงให้เป็นดุจที่ดุจที่ดอนแล้ว ให้มหาทานเป็นไป มนุษย์

ทั้งหลายได้อุปกรณ์แห่งทานทั้งปวงแล้ว ละการงานของตน ๆ

เที่ยวไปตามความสุข. เพราะเหตุนั้น เรือนคลัง ของพระราชา

ทั้งหลาย จึงได้ต้องความสิ้นไป. ลำดับนั้น พระราชาทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

จึงได้ส่งทูตไปถึงอังกุระพาณิชว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยทาน

ความเจริญของพวกเราจึงได้พินาศไป. เรือนคลังทั้งหลาย จึง

ถึงความสิ้นไป พวกเราควรรู้เหตุอันสมควรในข้อนั้น ดังนี้แล.

อังกุระพาณิช ได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงไปยังทักขิณาปถชนบท

ให้ช่วยกันสร้างโรงทานมากมาย ขนาดใหญ่ ในที่ไม่ไกลแต่

มหาสมุทร ในที่อยู่ของพวกทมิฬ เมื่อให้มหาทานเป็นไปอยู่ ดำรง

อยู่จนสิ้นอายุ เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป จึงบังเกิดในภพชั้น

ดาวดึงส์. พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงสมบัติแห่งทาน

และการเข้าถึงสวรรค์ของอังกุระพาณิชนั้น จึงกล่าวคาถาทั้งหลาย

ว่า :-

ในเรือนของอังกุระพาณิช ผู้มุ่งบุญ

โภชนะอันเขาให้แก่หมู่ชนวันละ ๖๐,๐๐๐ เล่ม

เกวียนเป็นนิตย์ พ่อครัว ๓,๐๐๐ คน ประดับด้วย

ต่างหูอันวิจิตร ด้วยมุกดาและแก้วมณี เป็นผู้

ขวนขวายในการให้ทาน พากันเข้าไปอาศัย

อังกุระพาณิชเลี้ยงชีวิต, มาณพ ๖๐,๐๐๐ คน

ประดับด้วยต่างหูอันวิจิตรด้วยแก้วมุกดา และ

แก้วมณี ช่วยกันผ่าฟืน สำหรับหุงอาหาร ใน

มหาทานของอังกุระพาณิชนั้น พวกนารี ๑๖,๐๐๐

คน ประดับด้วยอลังการทั้งปวง ช่วยกันบดเครื่อง

เทศ สำหรับปรุงอาหาร ในมหาทาน ของอังกุระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

พาณิชนั้น นารีอีก ๑๖,๐๐๐ คน ประดับด้วย

เครื่องอลังการทั้งปวง ถือทัพพีข้าว ยืนคอยรับ

ใช้ในมหาทาน ของอังกุระพาณิชนั้น อังกุระ

พาณิชนั้น ได้ให้ของเป็นอันมาก แก่มหาชนโดย

ประการต่าง ๆ ได้ทำความเคารพและความยำ-

เกรง ในกษัตริย์ ด้วยมือของตนเองบ่อย ๆ ให้

ทานโดยประการต่าง ๆ สิ้นกาลนาน อังกุระ

พาณิช ยังมหาทานให้เป็นไปแล้ว สิ้นเดือน สิ้น

ปักษ์ สิ้นฤดู และปีเป็นอันมาก ตลอดกาลนาน

อังกุระพาณิช ได้ให้ทานและทำการบูชาแล้ว

อย่างนี้ ตลอดกาลนาน ละร่างกายมนุษย์แล้ว

ได้ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์.

มีวาจาประกอบความว่า บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฏฺ

วาหสทสฺสานิ ความว่า ในเรือนของอังกุระพาณิช ผู้มุ่งบุญ คือ

ผู้มีอัธยาศัยในทาน ได้แก่ ผู้มีใจน้อมไปในทาน โภชนะอันเขาให้แก่

หมู่ชน วันละ ๖๐,๐๐๐ เล่มเกวียน คือ ๖๐,๐๐๐ เล่มเกวียนที่บรรทุก

ของหอม ข้าวสาลี เป็นต้น เป็นนิตย์.

บทว่า ติสหสฺสานิ สูทา หิ ความว่า พ่อครัว คือ คนทำครัว

ประมาณ ๓,๐๐๐ คน ก็แล พ่อครัวเหล่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า

ผู้เป็นประธาน. ในบรรดาพ่อครัวเหล่านั้น บุคคลผู้กระทำตามคำ

ของพ่อครัวแต่ละคน พึงทราบว่า มากมาย. บาลีว่า ติสหสฺสานิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

สูทาน ดังนี้ก็มี. บทว่า อามุตฺตมณิกุณฺฑลา ได้แก่. ผู้ทรงไว้ซึ่ง

ต่างหูอันวิจิตรด้วยแก้วมณีต่าง ๆ . ก็บทว่า อามุตฺตมณิกุณฺฑลา

นี้ เป็นเพียงอุทาหรณ์, พ่อครัวเหล่านั้น ได้มีเครื่องอาภรณ์ เช่น

แก้วมุกดา และสายรัดเอวที่ทำด้วยทองคำ เป็นต้น. บทว่า องฺกุร

อุปชีวนฺติ ความว่า เข้าไปอาศัยอังกุระพาณิช เลี้ยงชีพ, อธิบาย

ว่า ผู้มีชีวิตเนื่องด้วยอังกุระพาณิชนั้น. บทว่า ทาเน ยญฺสฺส

ปาวฏา ความว่า เป็นผู้ขวนขวาย คือ ถึงความขวนขวายในการ

ประกอบทานแห่งยัญญ์ อันรู้กันว่า การบูชาใหญ่. บทว่า กฏฺ

ผาเลนฺติ มาณวา ความว่า พวกมนุษย์หนุ่ม ๆ ผู้ประดับตกแต่ง

แล้ว ช่วยกันผ่าคือ ช่วยกันตัดฟืน เพื่อหุงต้มอาหารพิเศษมี

ของเดียวและของบริโภค เป็นต้น มีประการต่าง ๆ.

บทว่า วิธา ได้แก่ เครื่องเผ็ดร้อนสำหรับปรุงอาหาร ที่จะ

พึงจัดแจง. บทว่า ปิณฺเฑนฺติ ได้แก่ ย่อมประกอบด้วยการบด.

บทว่า ทพฺพิคาหา แปลว่า ผู้ถือทัพพี. บทว่า อุปฏฺิตา

ความว่า เข้าไปยืนคอยรับใช้ ยังสถานที่รับใช้.

บทว่า พหุ แปลว่า มาก คือ เพียงพอ. บทว่า พหูน แปลว่า

มากมาย. บทว่า ปาทาสิ แปลว่า ได้ให้โดยประการทั้งหลาย.

บทว่า จิร แปลว่า ตลอดกาลนาน. จริงอยู่ เขาเกิดในหมู่มนุษย์

ผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี. และเมื่อเขาให้ทานเป็นอันมาก แก่ชนเป็น

อันมาก ตลอดกาลนาน เพื่อจะแสดงประการที่เขาให้ทานจึงกล่าวว่า

สกฺกจฺจญฺจ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกจฺจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

คือมีความเอื้อเฟื้อ ได้แก่ ไม่ได้ทอดทิ้ง คือ ไม่ดูหมิ่น. บทว่า

สหตฺถา แปลว่า ด้วยมือของตน ไม่ใช่ถูกบังคับ. บทว่า จิตฺตีกตฺวา

ความว่า กระทำ คือบูชาด้วยจิต อันประกอบด้วยความเคารพ และ

ความนับถือมาก. บทว่า ปุนปฺปุน ได้แก่โดยส่วนมาก คือไม่ใช่

คราวเดียว. มีวาจาประกอบความว่า ไม่ได้กระทำ ๒-๓ วาระ

ได้ให้ตั้งหลายวาระ.

บัดนี้ เพื่อจะประกาศการการทำบ่อย ๆ นั้นนั่นแล พระ-

สังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาว่า พหู มาเส จ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหู มาเส ได้แก่สิ้นหลายเดือนมี เดือน

จิตตะ เป็นต้น. บทว่า ปกฺเข ได้แก่ สิ้นปักษ์เป็นอันมาก ต่างด้วย

กัณหปักษ์และสุกกปักษ์. บทว่า อุตุสวจฺฉรานิ ความว่า สิ้นฤดู

และปีเป็นอันมาก เช่น วสันต์และคิมหันต์ เป็นต้น บทว่า

อุตุสวจฺฉรานิ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถอัจจันตสังโยคะ.

บทว่า ทีฆมนฺตร แปลว่า สิ้นระยะกาลนาน. ก็ในข้อนี้ เพื่อจะ

กล่าวถึงความที่ทานเป็นไปตลอดกาลนานว่า ท่านได้ให้จลอดกาลนาน

แล้วจึงแสดงว่า ทานนั้นเป็นไปไม่ขาดระยะทีเดียวอีก พึงเห็นว่า

ท่านกล่าวว่า พหู มาเส ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า เอว แปลว่า โดยประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า ทตฺวา

ยชิตฺวา จ โดยเนื้อความก็เป็นบทเดียวกันนั่นแหละ, อธิบายว่า

ได้ให้ด้วยอำนาจการบริจาคไทยธรรมบางอย่าง แก่พระทักขิไณย-

บุคคลบางพวก และเมื่อให้ตามกำลังแก่ชนทั้งปวงผู้มีความต้องการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

โดยนัยดังกล่าวแล้วว่า ได้ให้สิ่งของเป็นอันมาก แก่ชนเป็นอันมาก

บูชาด้วยอำนาจการบูชาอย่างใหญ่. บทว่า โส หิตฺวา มานุส

เทห ตาวตึสูปโค อหุ ความว่า ในเวลาสิ้นอายุ อังกุระพาณิชนั้น

ละอัตภาพมนุษย์ไปบังเกิดเป็นเทพนิกาย ในภพชั้นดาวดึงส์

โดยการถือปฏิสนธิ.

เมื่ออังกุระเทพบุตรนั้น บังเกิดในภพชั้นดาวดึงส์ เสวย

ทิพยสมบัติอย่างนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย

อินทกะมาณพ เมื่อท่านพระอนุรุทธเถระเที่ยวบิณฑบาต มีจิต

เลื่อมใส ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง. สมัยต่อมาเขาทำกาละแล้ว

บังเกิดเป็นเทพบุตร ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ในภพชั้นดาวดึงส์

ด้วยอานุภาพแห่งบุญอันเป็นเขต ไพโรจน์ล่วงครอบงำอังกุระ

เทพบุตร ด้วยฐานะ ๑๐ มีรูปเป็นต้น อันเป็นทิพย์. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า .

อินทกะมาณพ ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง

แก่พระอนุรุทธเถระ ละร่างกายมนุษย์แล้ว ได้

ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ แต่อินทกะเทพบุตร

รุ่งเรืองยิ่งกว่าอังกุระเทพบุตร โดยฐานะ ๑๐

อย่างคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า

รื่นรมย์ใจ อายุ ยศ วรรณะ สุขะ และความ

เป็นใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูเป ความว่าเป็นเหตุแห่งรูป

คือ เป็นนิมิตแห่งความเกิดขึ้นแห่งรูป. แม้ในบทว่า อายุนา แปลว่า

ด้วยชีวิต. ก็ชีวิตของเทวดาทั้งหลาย ท่านกล่าวมีกำหนดเป็น

ประมาณมิใช่หรือ ? ท่านกล่าวจริง. แต่ชีวิตนั้นท่านกล่าวไว้โดย

ส่วนมาก. จริงอย่างนั้น เทวดาบางเหล่า ย่อมมีการตายในระหว่าง

ทีเดียว เพราะความวิบัติแห่งความพยายามเป็นต้น. ส่วนอินทก-

เทพบุตร ยัง ๓ โกฏิ ๖ ล้านปีให้บริบูรณ์เท่านั้น. เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมไพโรจน์ล่วงด้วยอายุ. บทว่า ยสสา ได้แก่

สมบูรณ์ด้วยบริวารใหญ่. บทว่า วณฺเณน ความว่า ด้วยความ

สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง. แต่ความสมบูรณ์ด้วยวรรณธาตุ ท่าน

กล่าวไว้ด้วยบทว่า รูเป ดังนี้นั่นเอง. บทว่า อาธิปจฺเจน แปลว่า

ด้วยความเป็นใหญ่.

เมื่ออังกุรเทพบุตร และอินทกเทพบุตร บังเกิดในภพชั้น

ดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย

ทรงกระทำยมกปาฏิหาร ณ โคนแห่งคัณฑามพฤกษ์ ที่ประตูแห่ง

กรุงสาวัตถี ในวันอาสาฬหปุณณมี ในปีที่ ๗ แต่กาลตรัสรู้

เสด็จไปยังภพชั้นดาวดึงส์ โดอย่างก้าวไป ๓ ก้าวโดยลำดับ ทรง

ครอบงำความรุ่งเรื่องของเทวพรหมบริษัท ผู้ประชุมกันด้วย

โลกธาตุ ณ บัณฑุกมพลศิลาอาสน์ ที่ควงต้นปาริฉัตตกะ ด้วย

รัศมีพระสรีระของพระองค์ เหมือนพระสุริโยทัยทอแสงอ่อน ๆ

เหนือเขายุคนธรรุ่งเรื่องอยู่ฉะนั้น ประทับทั่งแสดงอภิธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 287

ทอดพระเนตรเห็นอินทกเทพบุตรผู้นั่งอยู่ในที่ไม่ไกล และอังกุร-

เทพบุตรผู้นั่งอยู่ในระยะ ๑๒ โยชน์ เพื่อจะประกาศความสมบูรณ์

แห่งพระทักขิไณยบุคคล จึงตรัสพระคาถาว่า :-

ดูก่อนอังกุระ มหาทานท่านได้ให้แล้ว

สิ้นกาลนาน ท่านมาในสำนักของเรา ไฉนจึงนั่ง

อยู่ไกลนัก.

อังกุรเทพบุตร ได้ฟังดังนั้นจึงทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า มหาทานอันข้าพระองค์บริจาคไทยธรรมเป็นอันมาก

บำเพ็ญมาตลอดกาลนาน ก็ไม่ได้มีผลยิ่ง เพราะเว้นจากทักขิไณย

สมบัติ เหมือนพืชที่หว่านลงในนาที่ไม่ดี ฉะนั้น แต่แม้การให้ภิกษา

ทัพพีหนึ่งของอินทกเทพบุตร สงมีผลมากยิ่งนัก เพราะสมบูรณ์ด้วย

พระทักขิไณยบุคคล เหมือนพืชที่หว่านในนาดี. ฉะนั้น พระสังคีติ-

กาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะแสดงความนั้น จึงได้กล่าวคาถาว่า :-

ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ

ประทับอยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ต้น

ปาริฉัตตกพฤกษ์ ณ ภพดาวดึงส์ ครั้งนั้น เทวดา

ในหมื่นโลกธาตุ พากันมานั่งประชุมกันเฝ้าพระ-

สัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่บนยอดเขา เทวดา

ไร ๆ ไม่รุ่งโรจน์เกินกว่าพระสัมพุทธเจ้าด้วย

รัศมี พระสัมพุทธเจ้าเท่านั้นย่อมรุ่งโรจน์ร่วง

เทวดาทั้งปวง ครั้งนั้น อังกุรเทพบุตรนี้นั่งอยู่ไกล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 288

๑๒ โยชน์ จากที่พระพุทธเจ้าประทับ ส่วน

อินทกเทพบุตรนั่งในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า

รุ่งเรืองกว่าอังกุรเทพบุตร พระสัมพุทธเจ้าทอด

พระเนตรเห็นอังกุรเทพบุตรกับอินทกเทพบุตร

แล้ว เมื่อจะทรงประกาศทักขิไณยบุคคล จึงได้

ตรัสพระพุทธพจน์นี้ความว่า ดูก่อนอังกุรเทพ-

บุตร มหาทานท่านให้แล้วสิ้นกาลนาน ท่านมาสู่

สำนักเรา ไฉนจึงนั่งอยู่ไกลนัก. อังกุรเทพบุตร

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระองค์อันอบรมแล้ว

ทรงตักเตือนแล้ว ได้กราบทูลว่า จะประสงค์

อะไร ด้วยทานของข้าพระองค์นั้นอันว่างเปล่า

จากพระทักขิไณยบุคคล อินทกเทพบุตรนี้นั้น

ให้ทานนิดหน่อย รุ่งเรืองยิ่งกว่าข้าพระองค์ ดุจ

พระจันทร์ในหมู่ดาว ฉะนั้น.

อังกุรเทพบุตรทูลว่า :-

พืชแม้มากที่บุคคลหว่านแล้วในนาดอน

ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ยังชาวนาให้ปลื้มใจ

ฉันใด ทานมากมายอันบุคคลเข้าไปตั้งไว้ในบุคคล

ผู้ทุศีลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่มีผลไพบูลย์

ทั้งไม่ยังทายกให้ปลื้มใจ พืชแม้น้อยอันบุคคล

หว่านแล้วในนาดี เมื่อฝนหลั่งสายน้ำโดยสม่ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 289

เสมอ ผลย่อมยังชาวนาให้ปลาบปลื้มใจ แม้ฉันใด

ทานแม้น้อยอันบุคคลบริจาคแล้วในท่านผู้มีศีล

ผู้มีคุณความดี ผู้คงที่ ย่อมมีผลมาก ฉันนั้น

เหมือนกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาวตีเส ได้แก่ ในภพดาวดึงส์.

มีวาจาประกอบความว่า บทว่า สิลาย ปณฺฑุกมฺพเล ความว่า

ในคราวที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ ประทับอยู่ ณ บัณฑุกัมพล-

ศิลาอาสน์.

บทว่า ทสสุ โลกธาตูสุ สนฺนิปติตูวาน เทวตา ความว่า

กามาวจรเทวดา และพรหมเทวดาในหมื่นจักรวาฬ อันรู้กันว่า

ชาติเขต ได้พากันมาประชุมเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และเพื่อ

ฟังธรรม. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า พากันมาเฝ้าพระ-

สัมพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่บนยอดเขา อธิบายว่า บนยอดเขาสิเนรุ.

บทว่า โยชนานิ ทส เทฺว จ องฺกุโรย ตทา อหุ ความว่า

ในกาลนั้น คือในเวลาพร้อมพระพักตร์พระศาสดา อังกุรเทพบุตร

ผู้มีจริตตามที่กล่าวแล้วนี้ ได้อยู่ระยะไกล ๑๒ โยชน์ อธิบายว่า

ได้นั่งอยู่ในที่ระยะไกล ๑๒ โยชน์ แต่ที่ที่พระศาสดาประทับ.

บทว่า โจทิโต ภาวิตฺตเตน ความว่า ผู้อันพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าผู้มีพระองค์อันอบรมแล้วด้วยอริยมรรคภาวนาที่ทรง

อบรมไว้อย่างยอดเยี่ยม ตักเตือนแล้ว. คาถามีอาทิว่า จะประสงค์

อะไรด้วยทานของข้าพระองค์ ดังนี้ เป็นคาถาที่อังกุรเทพบุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 290

ทูลแด่พระศาสดา โดยเป็นคำโต้ตอบ. บทว่า ทกฺขิเณยฺเยน สุญฺต

ความว่า เพราะในกาลนั้น ทานของข้าพระองค์ ว่าง เปล่า คือ เว้น

จากพระทักขิไณยบุคคล ฉะนั้น อังกุรเทพบุตรจงกล่าวดูแคลน

บุญทานของตนว่า จะประสงค์อะไรด้วยทานของข้าพระองค์นั้น.

บทว่า ยกฺโข ได้แก่ เทพบุตร. บทว่า ทชฺชา กล่าวว่า

ให้แล้ว. บทว่า อติโรจติ อมฺเหหิ ความว่า ย่อมรุ่งเรืองยิ่งนัก

กว่าบุคคลผู้เช่นกับตน. อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า หิ เป็นเพียงนิบาต.

อธิบายว่า ย่อมไพโรจน์ร่วง คือ ครอบงำเรา . เพื่อจะหลีกเลี่ยง

คำถามว่า เหมือนอะไร อังกุรเทพบุตรจงกล่าวว่า เหมือนพระจันทร์

ในหมู่ดาว.

บทว่า อุชฺชงฺคเล ได้แก่ ในภูมิภาคอันแข็งยิ่งนัก. อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า ในภูมิภาคอันสูง. บทว่า โรปิต แปลว่า อันเขา

หว่านแล้ว คือ หว่านหรือถอนแล้วปลูกอีก. บทว่า นปิ โตเสติ

แปลว่า ย่อมไม่ปลาบปลื้มใจ หรือไม่ยังความยินดีให้เกิด เพราะ

มีผลน้อย. บทว่า ตเถว ความว่า พืชเป็นมากที่เขาหว่านไว้ใน

นาดอน ย่อมไม่ไม่ผลไพบูลย์ คือไม่มีผลมาก ทั้งไม่ยังชาวนา

ให้ปลาบปลื้มใจฉันใด ทานแม้เป็นอันมากก็ฉันนั้น ที่บุคคลตั้งไว้

ในบุคคลทุศีล คือผู้เว้นจากศีล ย่อมไม่มีผลไพบูลย์ คือไม่มีผลมาก

ทั้งไม่ทำให้ทายกปลาบปลื้มใจ

สองคาถาว่า ยถาปิ ภทฺทเก เป็นต้น พึงทราบอรรถโยชนา

โดยปริยายตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. ในบทเหล่านั้น บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 291

สมฺมาธาร ปเวจฺฉนฺเต ความว่า เมื่อฝนหลั่งสายน้ำโดยสม่ำเสมอ

คือ เมื่อฝนตกทุกกึ่งเดือน ทุก ๑๐ วัน ทุก ๕ วัน. บทว่า คุณวนฺเตสุ

ได้แก่ ในบุคคลผู้ประกอบด้วยคุณมีฌานเป็นต้น. บทว่า ตาทิสุ

ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยลักษณะแห่งผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์เป็นต้น.

บทว่า การ ท่านกล่าวด้วยลิงควิปลาศ อธิบายว่า อุปการะ. เพื่อ

จะหลีกเลี่ยงคำถามว่า อุปการะคืออะไร อังกุรเทพบุตรจึงกล่าวว่า

คือ บุญ.

พระสังคีติกาจารย์ได้ตั้งคาถานี้ไว้ว่า :-

บุคคลถึงเลือกให้ทานในเขตที่ให้แล้ว

มีผลมาก ทายกทั้งหลายครั้นเลือกให้ทานแล้ว

ย่อมไปสวรรค์ การเลือกให้ทานพระสุคตทรง

สรรเสริญ พระทักขิไณยบุคคลเหล่าใด มีอยู่ใน

ชีวโลกนี้ ทานที่ทายกให้แล้วในพระทักขิไณย-

บุคคลเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก เหมือนพืชที่หว่าน

ไว้ในนาดี ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิเจยฺย แปลว่า พึงเลือก คือ

พึงใคร่ครวญถึงบุญเขตด้วยปัญญา. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่าย

ทั้งนั้นแล.

เรื่องอังกุรเปรตนี้นั้นพระศาสดาทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์

เอง โดยนัยมีอาทิว่า มหาทานอันท่านให้แล้วดังนี้ เพื่อจะทรงประกาศ

ความสมบูรณ์ แห่งพระทักขิไณยบุคคลข้างหน้าแก่เทวดาในหมื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 292

จักรวาฬ ในภพดาวดึงส์ พระองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมในภพ

ดาวดึงส์นั้น ๓ เดือน ในวันมหาปวารณา ทรงแวดล้อมแล้วหมู่เทพ

เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เสด็จจากเทวโลกลงสู่สังกัสนคร เสด็จถึงกรุง

สาวัตถีโดยลำดับ ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร เพื่อจะทรง

ประกาศความสมบูรณ์แห่งพระทักขิไณยบุคคล ในท่ามกลาง

บริษัท ๔ จึงทรงแสดงโดยพิสดาร โดยนัยมีอาทิว่า เราไปเพื่อ

ประโยชน์แก่ผู้ใด. จึงยืดเอายอดเทศนา คือ จตุสัจจกถา. ในเวลา

จบเทศนา สัตว์หลายพันโกฏิเหล่านั้น ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว แล.

จบ อรรถกถาอังกุรเปตวัตถุที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 293

๑๐. อุตตรมาตุเปติวัตถุ

ว่าด้วยลูกให้ทานไม่พอใจตายเป็นเปรต

[๑๐๗] นางเปรตมีผิวพรรณน่าเกลียดน่ากลัว

มีผมยาวห้อยลงมาจดพื้นดิน คลุมตัวด้วยผม เข้า

ไปหาภิกษุอยู่ในที่พักกลางวัน นั่งอยู่ริมฝั่ง

แม่น้ำคงคา ได้กล่าวกะภิกษุนั้นดังนี้ว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ดิฉันตั้งแต่ตายมาจากมนุษยโลก

ยังไม่ได้บริโภคข้าวหรือดื่มน้ำเลย ตลอดเวลา

๕๕ ปีแล้ว ขอท่านจงให้น้ำดื่มแก่ดิฉันผู้กระหาย

น้ำด้วยเถิด.

ภิกษุนั้นกล่าวว่า

แม่น้ำคงคามีน้ำเย็นใสสะอาด ไหลมาแต่

เขาหิมพานต์ ท่านจงตักเอาน้ำจากแม่น้ำคงคานั้น

ดื่มเถิด จะมาขอน้ำกะเราทำไม.

นางเปรตกล่าวว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าดิฉันตักน้ำในแม่น้ำ

คงคานี้เองไซร้ น้ำนั้นย่อมกลับกลายเป็นเลือด

ปรากฏแก่ดิฉัน เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงขอน้ำแก่

ท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 294

ภิกษุนั้นถามว่า

ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา

ใจหรือ น้ำในแม่น้ำคงคงจึงกลายเป็นเลือดปรากฏ

แก่ท่าน.

นางเปรตนั้นกล่าวว่า :-

ดิฉันมีบุตรคนหนึ่งชื่ออุตตระ เป็นอุบาสก

มีศรัทธา เขาได้ถวายจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง

และคิลานปัจจัย แก่สมณะทั้งหลายด้วยความไม่

พอใจของดิฉัน ดิฉันถูกความตระหนี่ครอบงำ

แล้วด่าเขาว่า เจ้าอุตตระ เจ้าถวายจีวร บิณฑบาต

ที่นอน ที่นั่งและคิลานปัจจัย แก่สมณะทั้งหลาย

ด้วยความไม่พอใจของเรานั้น จงกลายเป็นเลือด

ปรากฏแก่เจ้าในปรโลก เพราะวิบากแห่งกรรม

นั้น น้ำในแน่น้ำคงคาจึงกลายเป็นเลือดปรากฏ

แก่ดิฉัน.

จบ อุตตรมาตุเปติวัตถุที่ ๑๐

อรรถกถาอุตตรมาตุเปติวัตถุที่ ๑๐

เรื่องของนางเปรตผู้เป็นมารดาของนายอุตตระนี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า ทิวาวิหารคต ภิกฺขุ. ในเรื่องนั้น มีการขยายความดัง

ต่อไปนี้ :- เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อปฐมมหาสังคีติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 295

เป็นไปแล้ว ท่านพระมหากัจจายนะ พร้อมด้วยภิกษุ ๑๒ รูป อยู่

ในราวป่าแห่งหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงโกสัมพี ก็สมัยนั้น อำมาตย์

คนหนึ่งของพระเจ้าอุเทน ได้ทำกาละแล้ว. ก็ในกาลก่อน อำมาตย์

นั้นได้เป็นผู้จัดตั้งการงานในพระนคร. ลำดับนั้น พระราชาจึง

รับสั่งให้เรียกอุตตรมาณพผู้เป็นบุตรของอำมาตย์นั้นมา แล้ว

ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่บิดาดำรงอยู่ว่า เจ้าจงดูแลการงาน

ที่บิดาเจ้าจัดตั้งไว้.

อุตตรมาณพนั้น รับพระดำรัสแล้ว วันหนึ่ง ได้พานายช่าง

ไปป่า เพื่อต้องการไม้สำหรับซ่อมแซมพระนคร จึงเข้าไปยัง

ที่อยู่ของท่านพระมหากัจจายนะในที่นั้น เห็นพระเถระผู้ทรง

บังสุกุลจีวร นั่งเงียบอยู่ในที่นั้น. จึงเลื่อมใสในอิริยาบถ ได้กระทำ

ปฏิสันถารแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระเถระแสดงธรรมแก่เธอ.

เธอสดับธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใสในพระรัตนไตร จึงตั้งอยู่ใน

สรณะแล้วนิมนต์พระเถระด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่าน

พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายจงรับภัตตาหารเพื่อจะฉันในวันพรุ่งนี้

โดยความอนุเคราะห์กระผมเถิด. พระเถระรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ.

เธอกลับจากที่นั้นแล้วไปยังนคร ได้บอกแก่อุบาสกเหล่าอื่นว่า

ข้าพเจ้าได้นิมนต์พระเถระเพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ถึงท่าน

ทั้งหลายก็พึงมายังโรงทานของข้าพเจ้า.

ในวันที่ ๒ เวลาเช้าตรู่ เธอให้จัดขาทนียะ และโภชนียะ

อันประณีต แล้วให้แจ้งเวลา กระทำการต้อนรับพระเถระผู้มาพร้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 296

กับภิกษุทั้งหลาย ไหว้แล้วมุ่งหน้าให้เข้าไปยังเรือน ลำดับนั้น

เมื่อพระเถระและภิกษุทั้งหลายนั่งบนอาสนะที่ลาดด้วยเครื่องลาด

อันเป็นกัปปิยะควรค่ามาก ทำการบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และธูป

ให้พระเถระและภิกษุเหล่านั้นอิ่มหนำด้วยข้าวน้ำอันประณีต เกิด

ความเลื่อมใสกระทำอัญชลีฟังอนุโมทนา เมื่อพระเถระกระทำ

อนุโมทนาภัตรเสร็จแล้วไปอยู่ จึงถือบาตรตามส่ง ออกจากนคร

แล้วเมื่อจะกลับ วิงวอนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายพึง

เข้ามายังเรือนของข้าพเจ้าเป็นนิตย์ รู้ว่าพระเถระรับแล้วจึงกลับ.

เธออุปัฏฐากพระเถระอยู่อย่างนี้ ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน ตั้งอยู่

ในโสดาปัตติผลแล้ว และได้สร้างวิหารถวาย ทั้งกระทำให้ญาติ

ของตนทั้งหมดเลื่อมใสในพระศาสนา.

ฝ่ายมารดาของเธอมีจิตถูกมลทินคือ ความตระหนี่กลุ้มรุ่ม จึง

ได้บริภาษอย่างนี้ว่า เมื่อเรายังต้องการ เจ้าให้สิ่งไรแก่พวกสมณะ

สิ่งนั้นจงสำเร็จเป็นโลหิตแก่เจ้าในปรโลก. แต่นางอนุญาตกำหาง

นกยูงกำหนึ่งที่ให้ในวันฉลองวิหาร นางทำกาละแล้วเกิดในกำเนิด

เปรต แต่เพราะนางอนุโมทนาทานด้วยกำหางนกยูง นางจึงมีผม

ดำสนิท มีปลายตวัดขึ้น ละเอียด และยาว. ในคราวที่นางลงแม่น้ำ

คงคาด้วยคิดว่าจักดื่มน้ำนั้น แม่น้ำคงคาเต็มไปด้วยเลือด นางถูก

ความหิวกระหายครอบงำเที่ยวไปสิ้น ๕๕ ปี วันหนึ่ง ได้เห็น

พระกังขาเรวตเถระนั่งพักกลางวัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา จึงเอา

ผมของตนปิดตัวเข้าไปหา ข้อน้ำดื่ม ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 297

นางเปรตมีผิวพรรณน่าเกลียดน่ากลัว

มีผมยาวห้อยลงมาจดพื้นดิน คลุมตัวด้วยผม เข้า

ไปหาภิกษุผู้อยู่ในที่พักกลางวัน. ซึ่งนั่งอยู่ริมฝั่ง

แม่น้ำคงคา ได้กล่าวกะภิกษุนี้ว่า.

คาถาทั้ง ๒ นี้พระสังคีติกาจารย์ได้ตั้งไว้ในเบื้องต้น ณ ที่นี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภีรุทสฺสนา แปลว่า เห็นเข้าน่ากลัว.

บาลีว่า รุทฺททสฺสนา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เห็นเข้าน่าเกลียดน่ากลัว.

บทว่า ยาวภูมาวลมฺพเร ได้แก่ มีผมห้อยย้อยลงมาถึงพื้นดิน. เมื่อ

ก่อนกล่าวว่าภิกษุ ภายหลังกล่าวว่าสมณะ หมายเอาเฉพาะพระกังขา-

เรวตเถระนั่นเอง.

ก็นางเปรตนั้นเข้าไปหาพระเถระแล้ว เมื่อจะขอน้ำดื่ม จึง

กล่าวคาถานี้ว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันตั้งแต่ตายจาก

มนุษยโลกมา ยังไม่ได้บริโภคข้าวหรือดื่มน้ำเลย

ตลอดเวลา ๕๕ แล้ว ขอท่านจงให้น้ำดื่มแก่

ดิฉันผู้กระหายน้ำด้วยเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาภิชานามิ ภตฺต วา ความว่า

ฉันไม่ได้บริโภคข้าวหรือดื่มน้ำเลย ในระยะกาลนานอย่างนี้

คือ ไม่ได้กินและไม่ได้ดื่ม. บทว่า ตสิตา แปลว่า ระหาย. มีวาจา

ประกอบความว่า บทว่า ปานียาย ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ขอท่านจงให้น้ำดื่มแก่ดิฉันผู้เที่ยวไปเพื่อต้องการน้ำดื่ม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

เบื้องหน้าแต่นี้ พึงทราบคาถาอันว่าด้วยคำและคำโต้ตอบของ

พระเถระ และของนางเปรต ดังต่อไปนี้

พระเถระกล่าวว่า :-

แม่น้ำคงคานี้มีน้ำเย็นใสสะอาด ไหลมา

จากภูเขาหิมพานต์ ท่านจงตักเอาน้ำจากแม่น้ำ

คงคานั้นดื่มเถิด จะมาขอน้ำดื่มกะเราทำไม.

นางเปรตกล่าวว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าดิฉันตักน้ำในแม่น้ำ

คงคานี้เองไซร้ น้ำนั้นย่อมกลับกลายเป็นโลหิต

ปรากฏแก่ดิฉัน เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงขอน้ำดื่ม

กะท่าน.

พระเถระถามว่า :-

ท่านได้กระทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย

วาจา หรือใจ น้ำในแม่น้ำคงคาจึงกลายเป็น

โลหิตปรากฏแก่ท่าน.

นางเปรตตอบว่า :-

ดิฉันมีบุตรคนหนึ่งชื่ออุตตระ เป็นอุบาสก

มีศรัทธา เขาได้ถวายจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง

และคิลานปัจจัย แก่พระสมณะทั้งหลาย ด้วย

ความไม่พอใจของดิฉัน ดิฉันถูกความตระหนี่

ครอบงำแล้ว ด่าเขาว่า เจ้าอุตตระ เจ้าถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 299

จีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง และคิลานปัจจัย

แก่สมณะทั้งหลาย ด้วยความไม่พอใจของเรานั้น

จงกลายเป็นเลือดปรากฏแก่เจ้าในปรโลก เพราะ

วิบากแห่งกรรมนั้น น้ำในแม่น้ำคงคาจึงกลาย

เป็นโลหิตปรากฏแก่ดิฉัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิมวนฺตโต ได้แก่ จากขุนเขา

ชื่อว่า หิมวันต์ เพราะมีหิมะมาก. บทว่า สนฺทติ แปลว่า ไหลไป.

บทว่า เอตฺโต ได้แก่จากแม่น้ำคงคาใหญ่นี้. ด้วยบทว่า กึ ท่าน

แสดงว่า ท่านขอน้ำดื่มกะเราทำไม ท่านจงลงสู่แม่น้ำคงคา ดื่มเอา

ตามชอบใจเถิด.

บทว่า โลหิต เม ปริวตฺตติ ความว่า น้ำเมื่อไหลไป ย่อมกลาย

คือ แปรเป็นโลหิต เพราะผลแห่งกรรมชั่วของดิฉัน น้ำ พอนางเปรต

นั้นตักขึ้น ก็กลายเป็นโลหิตไป.

บทว่า มยฺห อกามาย แปลว่า เมื่อดิฉันไม่ปรารถนา. บทว่า

ปเวจฺฉติ แปลว่า ย่อมให้. บทว่า ปจฺจย ได้แก่ คิลานปัจจัย.

มีวาจาประกอบความว่า บทว่า เอต เป็นต้น ความว่า ด้วยวิบาก

แห่งกรรมชั่วที่ดิฉันทำไว้ ด้วยอำนาจการสาปแช่งว่า ก่อนอุตตระ

ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ที่เจ้าให้แก่สมณะนี้ จงกลายเป็นโลหิตแก่เจ้า

ในปรโลก.

ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะ ได้ถวายน้ำดื่มแก่ภิกษุสงฆ์ อุทิศ

นางเปรตนั้น เที่ยวไปบิณฑบาต รับภัตต์แล้ว ได้ถวายแก่ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 300

ทั้งหลาย ถือเอาผ้าบังสุกุล จากกองหยากเยื่อเป็นต้น ซักแล้วทำให้

เป็นฟูกและหมอน ถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย, ด้วยเหตุนั้น นางเปรต

นั้น จึงได้ทิพยสมบัติ. นางไปยังสำนักพระเถระ แสดงทิพยสมบัติ

ที่ตนได้แก่พระเถระ พระเถระประกาศประวัตินั้นแก่บริษัท ๔ ผู้

มายังสำนักตน แล้วแสดงธรรมกถา ด้วยเหตุนั้น มหาชนจึงเกิด

ความสังเวช เป็นผู้ปราศจากความตระหนี่ อันเป็นมลทิน ยินดี

ยิ่งในกุศลธรรม มีทานและศีลเป็นต้น. ก็เปตวัตถุนี้ พึงเห็นว่า

ท่านยกขึ้นสู่สังคายนา ในทุติยสังคีติ.

จบ อรรถกถาอุตตรมาตุเปติวัตถุที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 301

๑๑. สุตตเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตอยากกลับไปมนุษยโลก

หญิงคนหนึ่งไปอยู่กับเวมานิกเปรตตลอด ๗๐๐ ปี เกิด

ความเบื่อหน่าย จึงกล่าวกะเวมานิกเปรตนั้นว่า

[๑๐๘] เมื่อก่อน ฉันได้ถวายด้ายแก่พระปัจเจก-

พุทธเจ้าซึ่งเข้าไปขอถึงเรือนของฉัน วิบากแห่ง

การถวายด้ายนั้น ฉันจึงได้เสวยผลอันไพบูลย์

อย่างนี้ ประการหนึ่ง ผ้ามากมายหลายโกฏิบังเกิด

แก่ฉัน วิมานของฉันเกลื่อนกล่นไปด้วยดอกไม้

น่ารินรมย์ วิจิตรด้วยรูปภาพต่าง ๆ เพียบพร้อม

ไปด้วยเทพบุตรเทพธิดาผู้เป็นบริวาร ฉันเลือก

ใช้สอยนุ่งห่มตามชอบใจถึงเพียงนี้ สรรพวัตถุ

อันปลื้มใจมากมายก็ไม่หมดสิ้นไป ฉันได้รับ

ความสุขความสำราญในวิมานนี้ เพราะอาศัย

วิบากแห่งธรรมนั้น ฉันกลับไปสู่มนุษยโลกแล้ว

จักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่ลูกเจ้า ขอท่านจงนำ

ฉันไปสู่ถิ่นมนุษย์เถิด.

เวมานิกเปรตนั้นกล่าวว่า

ท่านมาอยู่ในวิมานนี้ว่า ๗๐๐ ปี เป็นคน

แก่เฒ่าแล้ว จักไปอยู่ในมนุษยโลกทำไม อนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 302

ญาติของท่านตายไปหมดแล้ว ท่านไปจากเทว-

โลกนี้สู่มนุษยโลกนั้นแล้ว จักกระทำอย่างไร.

หญิงนั้นกล่าวว่า

เมื่อฉันมาอยู่ในวิมานนี้ ๗ ปี ได้เสวย

ทิพยสมบัติและความอิ่มหนำแล้ว ฉันกลับไป

สู่ถิ่นมนุษย์แล้ว จักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่ลูก

เจ้า ขอท่านจงนำฉันไปส่งถิ่นมนุษย์เถิด.

เวมานิกเปรตนั้น จับหญิงนั้นที่แขน นำ

กลับไปสู่บ้านที่นางเกิด แล้วพูดกะหญิงนั้นซึ่ง

กลับเป็นคนแก่ มีกำลังน้อยที่สุดว่า ท่านพึงบอก

ชนแม้อื่นที่มาสู่ที่นี่ว่า ท่านทั้งหลายจงทำบุญเถิด

ท่านทั้งหลายจะได้รับความสุข เราได้เห็นเปรต

ทั้งหลาย ผู้ไม่ได้ทำความดีไว้เดือดร้อนอยู่ ฉันใด

มนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ก็หมู่สัตว์คือเทวดาและ

มนุษย์กระทำกรรมอันมีสุขเป็นวิบากแล้ว ย่อม

เป็นผู้ดำรงอยู่ในความสุข.

จบ สุตตเปตวัตถุที่ ๑๑

อรรถกถาสุตตเปตวัตถุที่ ๑๑

เรื่องสุตตเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อห ปุเร ปพฺพชิตสฺส

ภิกฺขุโน ดังนี้. อุปบัติเหตุของเรื่องนั้นเป็นอย่างไร. ได้ยินว่า ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 303

หมู่บ้านตำบลหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี เมื่อพระศาสดา ยังไม่

เสด็จอุบัติขึ้นนั้นแล นับขึ้นไป ๗๐๐ ปี ยังมีเด็กคนหนึ่ง อุปัฏฐาก

พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง. เมื่อเธอเจริญวัยแล้ว มารดาของเธอ

จึงไปขอนางกุลธิดาคนหนึ่ง มาจากตระกูลที่เสมอกัน เพื่อประโยชน์

แก่บุตรนั้น. ก็ในวันวิวาหะนั้นเอง กุมารนั้น ไปอาบน้ำกับพวก

สหาย ถูกงูกัดตายไป. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ถูกยักษ์จับ

ก็มี. เธอกระทำกุศลกรรมไว้เป็นอันมาก ด้วยการอุปัฏฐากพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า บังเกิดเป็นวิมานเปรต เพราะค่าที่ตนมีจิตปฏิพัทธ์

ในเด็กหญิงนั้น. แต่เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก.

ลำดับนั้น เธอปรารถนาจะนำนางทาริกานั้นมายังวิมาน

ของตน จึงคิดว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ นางจึงจะอภิรมย์ในที่นี้

กับเรา ให้เป็นกรรมที่จะต้องอำนวยผลในปัจจุบัน จึงพิจารณา

ถึงเหตุที่ให้ได้เสวยโภคสมบัติอันเป็นทิพย์นั้น เห็นพระปัจเจก-

พุทธเจ้า กำลังทำจีวรกรรมอยู่ จึงแปลงรูปเป็นคน ไปไหว้แล้ว

กล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านต้องการด้ายหรือ. พระปัจเจกพุทธเจ้า

ตอบว่า เราจะทำจีวรกรรมอุบาสก. เวมานิกเปรตนั้นจึงกล่าวว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านจงเที่ยวขอด้าย ในที่ชื่อโน้น ดังนี้แล้ว

ได้ชี้เรือนของนางทาริกานั้น. พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ไปในที่นั้น

ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือน. ลำดับนั้น นางเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

ยืนอยู่ ในที่นั้น มีจิตเลื่อมใส รู้ว่า พระผู้เป็นเจ้าของเรามีความ

ต้องการด้าย จึงได้ให้ด้ายกลุ่มหนึ่ง. ลำดับนั้น อมนุษย์นั้น ได้แปลง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 304

เพศเป็นมนุษย์ ไปยังเรือนของนางทาริกา อ้อนวอนมารดาของนาง

แล้ว อยู่กับนาง ๒-๓ วัน เพื่อจะอนุเคราะห์มารดาของนาง จึงทำ

ภาชนะทุกอย่างในเรือนนั้น ให้เต็มด้วยเงินและทอง แล้วเขียนชื่อไว้

ข้างบนภาชนะทั้งหมดนั้น มีอันให้รู้ว่านี้เป็นทรัพย์ที่เทวดาให้

ใคร ไม่ควรเอาไป ดังนี้ จึงได้พาเด็กหญิงนั้นไปยังวิมานตน.

มารดาของนางได้ทรัพย์เป็นอันมาก ได้ให้แก่พวกญาติของตน แก่

คนกำพร้า และคนเดินทางเป็นต้น ส่วนตนเองบริโภคแล้ว เมื่อจะ

ทำกาละจึงแจ้งแก่ญาติทั้งหลายว่า ถ้าธิดาของเรามาไซร้ ท่านจง

ให้ทรัพย์นี้แล้วได้ตายไป.

ครั้นกาลล่วงไป ๗๐๐ ปี แต่กาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ของพวกเรา เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศธรรมจักรอันบวร

ประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี โดยลำดับ เมื่อหญิงนั้นอยู่ร่วมกับ

อมนุษย์นั้น ความรำคาญก็เกิดขึ้น. นางเมื่อจะกล่าวกะอมนุษย์

นั้นว่า ดีละ พระลูกเจ้า ขอท่านจงนำดิฉันกลับไปสู่เรือนของตนเถิด

ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

เมื่อก่อนฉันได้ถวายด้ายแก่พระปัจเจก-

พุทธเจ้า ซึ่งได้เข้าไปขอถึงเรือนของดิฉัน วิบาก

ของการถวายด้ายนั้น ดิฉันจึงได้เสวยผลอัน

ไพบูลย์อย่างนี้ ประการหนึ่ง ผ้ามากมายหลาย

โกฏิ บังเถิดแก่ดิฉัน วิมานของฉันเกลื่อนกล่น

ไปด้วยดอกไม้ น่ารื่นรมย์ วิจิตรด้วยรูปภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 305

ต่าง ๆ เพียบพร้อมไปด้วยเทพบุตร เทพธิดา

ผู้เป็นบริวาร ฉันเลือกใช้สอยนุ่งห่มตามชอบใจ

ถึงเพียงนี้ สรรพวัตถุอันปลื้มใจมากมาย ก็ไม่

หมดสิ้นไป ฉันได้รับความสุขความสำราญใน

วิมานนี้ เพราะอาศัยวิบากแห่งกรรมนั้น ฉันกลับ

ไปสู่มนุษยโลกแล้ว จักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่

ลูกเจ้า ขอท่านจงนำฉันกลับไปสู่ถิ่นมนุษย์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชิตสฺส ภิกฺขุโน นี้ ท่าน

กล่าวหมายเอาพระปัจเจกพุทธเจ้า. จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้า

นั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ย่อมควรที่จะกล่าวได้ว่า เป็นบรรพชิต

เพราะขับไล่ คือละพลังแห่งกามจากสันดานของตนโดยเด็ดขาด และ

ควรกล่าวว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายกิเลส. บทว่า สุติต ได้แก่

ด้ายอันสำเร็จด้วยฝ้าย. บทว่า อุปสงฺกมฺม ได้แก่ เข้ามายังเรือน

ของฉัน. บทว่า ยาจิตา ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ขอด้วยการ

เที่ยวไปเพื่อภิกษา กล่าวคือ การประกอบด้วยกายวิญญัติ ที่กล่าว

ไว้อย่างนี้ว่า พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมยืนเจาจง นี้เป็นการขอ

ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย บทว่า ตสฺส ได้แก่ ถวายด้ายนั้น. บทว่า

วิปาโก วิปุลผลูปลพฺภติ ความว่า บัดนี้ได้ คือ เสวยผลอันไพบูลย์

คือวิบากอันตั้งขึ้นอย่างใหญ่หลวง. บทว่า พหุกา แปลว่า มิใช่น้อย

บทว่า วตฺถโกฏิโย ได้แก่ โกฏิแห่งผ้า อธิบายว่า ผ้าหลายแสน

ประเภท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 306

บทว่า อเนกจิตฺต ได้แก่ วิจิตรด้วยรูปภาพต่าง ๆ หรือ มี

รูปภาพอันวิจิตรด้วยรัตนะ มีแก้วมุกดาและแก้วมณีเป็นต้น มากมาย.

บทว่า นรนาริเสวิต ได้แก่ เพียบพร้อมไปด้วยเทพบุตรและเทพ-

ธิดาผู้เป็นบริวาร. บทว่า สาห ภุญฺชามิ ความว่า ฉะนั้น จะเลือก

ใช้สอยวิมานนั้น. บทว่า ปารุปามิ ความว่า ฉันจะนุ่งและห่มผ้า

ตามที่ปรารถนาต้องการ ในบรรดาผ้าหลายโกฏิ. บทว่า ปหูตวิตฺตา

ความว่า สรรพวัตถุอันเป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ

มากมาย คือ มีทรัพย์มาก็มีโภคะมาก บทว่า น จ ตาว ขียติ ความว่า

สรรพวัตถุอันเป็นเครื่องปลื้มใจนั้น ย่อมไม่หมดสิ้นไป คือไม่ถึง

ความสิ้นไป ได้แก่ไม่ถึงความหมดเปลือง.

บทว่า ตสฺเสว กมฺมสฺส วิปากมนฺวฺยา ความว่า ฉันได้รับ

ความสุขอันเป็นวิบาก และความสำราญ กล่าวคือ ความอร่อยอัน

น่าปรารถนา โดยความเป็นเหตุเป็นปัจจัย อาศัยบุญกรรมที่สำเร็จ

ด้วยการให้ด้ายนั้นนั่นเอง ในวิมานนี้. บทว่า คนฺตฺวา ปุนเทว

มานุส ได้แก่ ฉันกลับไปสู่มนุษยโลกอีกทีเดียว. บทว่า

ปุญฺานิ ความว่า ข้าพเจ้าทำบุญอันให้สำเร็จความสุขพิเศษแก่ฉัน,

ซึ่งเป็นเหตุให้ดิฉันได้สมบัตินี้. บทว่า นยยฺยปุตฺต ม ความว่า

ข้าแต่ลูกเจ้า เจ้าจงนำ คือ จงพาฉันกลับไปสู่มนุษยโลก.

อมนุษย์นั้น ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อไม่ปรารถนาจะไป

ด้วยความอนุเคราะห์ เพราะค่าที่ตนมีจิตปฏิพัทธ์ในนางนั้น จึง

กล่าวคาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 307

ท่านมาอยู่ในวิมานนี้กว่า ๗๐๐ ปี เป็น

คนแก่เฒ่าแล้ว จักไปอยู่ในมนุษยโลกทำไม อนึ่ง

ญาติของท่าน ตายไปหมดแล้ว ท่านจากเทวโลก

นี้ไปสู่มนุษยโลกนั้นแล้ว จักกระทำอย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺต นี้ เป็นการแสดงไขถึง

การลบวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สตฺต นี้ เป็นปฐมมาวิภัตติ

ใช้ในอรรถบัญจมีวิภัตติ. บทว่า วสฺสสตา แปลว่า กว่าร้อยปี, อธิบายว่า

ท่านมาอยู่ในที่นี้ คือมาสู่วิมานนี้เลย ๗๐๐ ปี คือ ท่านอยู่ในที่นี้

๗๐๐ ปี. บทว่า ชิณฺณา จ วุฑฺฒา จ ตหึ ภวิสฺสสิ ความว่า

ท่านมีอัตภาพอันอุตุและอาหารอันเป็นทิพย์ สนับสนุนอุปถัมภ์อยู่

ในวิมานนี้ ตั้งอยู่โดยอาการเป็นหนุ่มทีเดียว ตลอดกาลมีประมาณ

เท่านี้ ด้วยอานุภาพแห่งกรรม. อนึ่งท่านไปจากเทวโลกนี้ จักเป็น

คนแก่เพราะชราแก่ตามวัย ในมนุษยโลกนั้น เพราะกรรมสิ้นไป

และเพราะอำนาจแห่งฤดูและอาหารของมนุษย์. เพื่อจะหลีกเลี่ยง

คำถามว่า จะทำอย่างไร ตอบว่า เพราะญาติของท่านทั้งหมดตาย

ไปหมดแล้ว อธิบายว่า แม้ญาติของท่านทั้งหมดนั่นแหละ ตายไป

หมดแล้ว เพราะกาลเวลาล่วงไปนาน เพราะฉะนั้น ท่านจากเทวโลก

นี้ ไปยังมนุษยโลกนั้น จักกระทำอย่างไร, อธิบายว่า ท่านจงยัง

อายุให้สิ้นไปในที่นี้ ไม่ให้เหลือเศษไว้ คือ จงอยู่ในที่นี้.

หญิงนั้น อันอมนุษย์นั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ เมื่อไม่เชื่อคำของ

อมนุษย์นั้น จึงกล่าวคาถาอีกว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 308

เมื่อฉันอยู่ในวิมานนี้ ๗ ปี เท่านั้น ได้เสวย

ทิพยสมบัติ และความสุขอิ่มหนำแล้ว ฉันกลับ

ไปสู่ถิ่นมนุษย์แล้ว จักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่

ลูกเจ้า ขอท่านจงนำฉันกลับไปสู่ถิ่นมนุษย์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺเตว วสฺสานิ อิธาคตาย เม

ความว่า ข้าแต่ลูกเจ้า เมื่อฉันอยู่ในที่นี้ ชะรอยว่าล่วงไปถึง ๗ ปี

ทีเดียว, นางกำหนดกาลเวลาที่ล่วงไปเป็นอันมากไม่ได้ จึงได้กล่าว

อย่างนั้น เพราะค่าที่ตนเพียบพร้อมไปด้วยทิพยสมบัติ และสุขสมบัติ

ถึง ๗๐๐ ปี.

ก็วิมานเปรตนั้น ถูกนางถามอย่างนี้แล้ว จึงพร่ำสอนเธอ

มีประการต่าง ๆ แล้วกล่าวว่า บัดนี้เธอ จักไม่อยู่ในที่นั้น เกิน

๗ วัน ทรัพย์ที่เราให้แม่ของเจ้าฝังไว้มีอยู่ เจ้าจงให้ทรัพย์นั้นแก่

สมณพราหมณ์ แล้วจงปรารถนาความอุบัติในที่นี้แหละ จึงจับแขน

นางวางไว้ที่กลางบ้าน กล่าวว่า เจ้าพึงโอวาท ชนแม้เหล่าอื่น

ผู้มาในที่นี้ว่า ท่านทั้งหลาย จงทำบุญตามกำลังเถิด ดังนี้แล้วจึงไป.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า :-

เวมานิกเปรตนั้น จับแขนหญิงนั้น นำกลับ

ไปสู่บ้าน ที่นางเกิด แล้วพูดกะหญิงนั้น ซึ่งกลับ

เป็นคนแก่ มีกำลังน้อยที่สุดว่า ท่านพึงบอกชน

แม้อื่นที่มายังที่นี้ว่า ท่านทั้งหลาย จงทำบุญเถิด

ท่านทั้งหลาย จะได้รับความสุข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 309

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ได้แก่ วิมานเปรตนั้น. บทว่า

ต ได้แก่หญิงคนนั้น. บทว่า คเหตุวาน ปสยฺห พาหาย ได้แก่ จับแขน

หญิงนั้น เหมือนบังคับนำไป. บทว่า ปจฺจานยิตฺวาน ได้แก่ นำ

กลับมายังบ้านที่นางเกิดเจริญเติบโต. บทว่า เถรึ ได้แก่ เป็นคนแก่,

อธิบายว่า คนแก่ คนเฒ่า. บทว่า สุทุพฺพล ได้แก่ มีกำลังน้อยที่สุด.

เพราะค่าที่ตนเป็นคนคร่ำคร่าเพราะชรานั่นเอง. ได้ยินว่า พร้อม

กับการไปจากวิมานนั้นนั่นแล นางเป็นคนคร่ำคร่า แก่เฒ่า ล่วงกาล

ผ่านวัย. บทว่า วชฺเชสิ แปลว่า พึงกล่าว. ก็เพื่อจะแสดงอาการแห่ง

คำที่จะพึงกล่าว ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า อญฺมฺปิ ชน คำนั้น

มีอธิบายดังนี้ว่า :- แน่ะนางผู้เจริญ ถึงท่านก็พึงทำบุญ แม้คน

อื่นที่มาในที่นี้ เพื่อต้องการเยี่ยมบ้าน ท่านก็พึงว่ากล่าวสั่งสอนว่า

ท่านผู้มีหน้าผ่องใส ท่านจงเพ่งดูศีรษะ และท่อนผ้าที่ถูกไฟไหม้

ก็จงทำบุญมีทานและศีลเป็นต้น และว่า เมื่อทำบุญแล้ว ท่านจะได้

รับความสุข อันเป็นผลแห่งบุญนั้น โดยแท้จริงทีเดียว ไม่ควรทำ

ความสงสัยในบุญนั้น.

ก็แล เมื่อวิมานเปรตนั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงไป หญิงนั้น ไป

ยังที่อยู่ของหมู่ญาติตน ให้ญาติเหล่านั้นรู้จักตนแล้ว จึงถือเอา

ทรัพย์ที่ญาติเหล่านั้นมอบให้ เมื่อจะให้ทานแก่สมณะและพราหมณ์

จึงได้ให้โอวาทแก่ชนผู้มาแล้ว ๆ สู่สำนักของตน จึงกล่าวสอนด้วย

คาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

เราได้เห็นเปรตทั้งหลาย ผู้ไม่ได้ทำความดี

ไว้ เดือดร้อนอยู่ฉันใด มนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น

ก็หมู่สัตว์คือเทวดาและมนุษย์ กระทำกรรมอัน

มีความสุขเป็นวิบากแล้ว ย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ใน

ความสุข.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกเตน ได้แก่ ไม่บังเกิด คือ

ตนไม่ได้สั่งสมไว้. บทว่า สาธุนา ได้แก่ มีกุศลกรรม. บทว่า

สาธุนานี้ เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในลักษณะแห่งอิตถัมภูตะ. บทว่า

วิหญฺนฺติ แปลว่า ถึงความคับแค้น. บทว่า สุขเวทนีย ได้แก่

บุญกรรมอันมีสุขเป็นวิบาก. บทว่า สุเข ิตา ได้แก่ดำรงอยู่ใน

ความสุข. บาลีว่า สุเขิตา ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า เจริญยิ่ง คือ แผ่ไป

ด้วยความสุข. ก็ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า เราเห็นพวกเปรต เหมือน

พวกมนุษย์ เดือดร้อนอยู่เพราะไม่ได้ทำกุศลไว้ ทำแต่อกุศล ถึง

ความคับแค้น ด้วยความหิวและกระหายเป็นต้น เสวยทุกข์อย่างมหันต์.

แต่เราได้เห็นหมู่สัตว์ ผู้กระทำกรรมอันเป็นเหตุอำนวยความสุข

ผู้นับเนื่องในเทวดาและมนุษย์ ด้วยกุศลกรรมที่ตนทำไว้นั้น และ

อกุศลกรรมที่ตนไม่ได้กระทำไว้ ดำรงอยู่ในความสุข. บทว่า สุเข

ิตา นี้. เป็นบทกล่าวบ่งถึงตน. เพราะฉะนั้น ท่านเมื่อเว้นความชั่ว

ให้ห่างไกลแล้ว จงประกอบขวนขวายในการบำเพ็ญบุญ.

หญิงนั้น เมื่อให้โอวาทอย่างนี้ ได้บำเพ็ญมหาทาน ตลอด

๗ วัน เพื่อสมณและพราหมณ์เป็นต้น ในวันที่ ๗ ตายไป บังเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

ในภพชั้นดาวดึงส์. ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็น

อัตถุปปัตติเหตุแล้ว จึงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. แต่

เมื่อว่า. โดยความแปลกกัน พระองค์ทรงประกาศถึงความที่ทานที่

บำเพ็ญในพระปัจเจกพุทธเจ้า ว่า ผลมากมีอานิสงส์มาก. มหาชน

ได้ฟังดังนั้นแล้ว เป็นผู้ปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ยินดี

ยิ่งในบุญมีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสุตตเปตวัตถุที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 312

๑๒. กัณณมุณฑเปติวัตถุ

ว่าด้วยภรรยานอกใจตายไปเป็นเปรต

พระเจ้าพาราณสีตรัสถามนางเวมานิกเปรตว่า

[๑๐๙] สระโบกขรณีนี้มีน้ำใสสะอาด มีบันได

ทองคำ ลาดด้วยทรายทองคำ ในสระนั้นมีกลิ่น

หอมฟุ้งน่ารื่นรมย์ใจ ดาดดื่นไปด้วยหมู่ไม้นานา

มีลมรำเพยมาพัดเอากลิ่นหอมต่างๆ มา ดารดาษ

ด้วยบัวต่าง ๆ เกลื่อนกล่นด้วยบัวขาวมีกลิ่น

หอมเจริญใจ อันลมรำเพยพัดฟุ้งขจร ระงมไป

ด้วยเสียงหงส์และนกกะเรียน นกจักพรากมาร่ำ

ร้องไพเราะจับใจ เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงนก

ต่าง ๆ ส่งเสียงร้องอยู่อึงมี มีหมู่รุกขชาติอันมี

ดอกและผลนานาพรรณ ไม่มีเมืองใดในมนุษย์

เหมือนเมืองของท่านนี้ ปราสาทเป็นอันมากของ

ท่าน ล้วนแล้วด้วยทองคำและเงิน รุ่งเรืองงาม

สง่าไปทั่วทั้ง ๔ ทิศโดยรอบ นางทาสี ๕๐๐ คอย

บำเรอท่านประดับด้วยกำไรทอง นุ่งห่มผ้าทองคำ

บัลลังก์ของท่านมีมาก ซึ่งสำเร็จด้วยทองคำและ

เงิน ปูลาดด้วยหนังชะมดและผ้าโกเชาว์อันบุคคล

จัดแจงไว้แล้ว ท่านจะเข้านอนบนบัลลังก์ใด ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 313

สำเร็จดังความปรารถนาทุกอย่าง เมื่อถึงเที่ยงคืน

ท่านลุกจากบัลลังก์นั้นลงไปสู่สวนใกล้สระโบก-

ขรณี ยืนอยู่ที่ฝั่งสระนั้นอันมีหญ้าเขียวอ่อน

งดงาม ลำดับนั้น สุนัขหูด้วนก็ขึ้นมาจากสระนั้น

กัดอวัยวะน้อยใหญ่ของท่าน เมื่อใด ท่านถูกสุนัข

กัดกินแล้วเหลือแต่กระดูก เมื่อนั้น ท่านจึงลงสู่

สระโบกขรณี ร่างกายก็กลับมีเหมือนเดิม ภาย

หลังจากเวลาลงสระโบกขรณี ท่านกลับมีอวัยวะ

น้อยใหญ่เต็มบริบูรณ์ งดงามดูน่ารัก นุ่งห่มแล้ว

มาสู่สำนักของเรา ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้

ด้วยกาย วาจา ใจ และเพราะวิบากแห่งกรรม

อะไร สุนัขหูด้วนจึงกัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของ

ท่าน.

นางเวมานิกเปรตกราบทูลว่า

มีคฤหบดีคนหนึ่ง เป็นอุบาสกผู้มีศรัทธา

อยู่ในเมืองกิมพิละ หม่อมฉันเป็นภรรยาของ

อุบาสกนั้น เป็นคนทุศีล ประพฤตินอกใจเขา เมื่อ

หม่อมฉันนอกใจเขาอย่างนั้น สามีหม่อมฉันจึง

พูดว่า การที่เธอประพฤตินอกใจฉันนั้นเป็นการ

ไม่เหมาะไม่สมควร และหม่อมฉันได้กล่าว

มุสาวาทสบถอย่างร้ายแรงว่า ฉันไม่ได้ประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

นอกใจท่านด้วยกายหรือด้วยใจ ถ้าฉันประพฤติ

นอกใจท่านด้วยกายหรือด้วยใจ ขอให้สุนัขหูด้วน

ตัวนี้กัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของฉันเถิด วิบาก

แห่งกรรมอันลามก คือ การประพฤตินอกใจ

สามีและมุสาวาททั้งสอง อันหม่อมฉันได้เสวย

แล้วตลอด ๗๐๐ ปี เพราะกรรมอันลามกนั้น

สุนัขหูด้วนจึงกัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของหม่อม

ฉัน ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระองค์มีอุปการะ

แก่หม่อนฉันมา พระองค์เสด็จมาที่นี่ เพื่อ

ประโยชน์แก่หม่อมฉัน หม่อมฉันพ้นดีแล้วจาก

สุนัขหูด้วน ไม่มีความโศก ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ

ขอเดชะ หม่อมฉันขอถวายบังคมพระองค์

หม่อมฉันขอประนมอัญชลีวิงวอนว่า ขอพระองค์

จงเสวยกามสุขอันเป็นทิพย์ รื่นรมย์อยู่กับหม่อม

ฉันเถิด.

พระราชาตรัสว่า

กามสุขอันเป็นทิพย์เราเสวยแล้ว และ

รื่นรมย์แล้วกับท่าน ดูก่อนนางผู้ประกอบด้วย

ความงาม เราขออ้อนวอนท่าน ขอท่านจงรีบนำ

ฉันกลับเสียเถิด.

จบ กัณณมุณฑเปติวัตถุที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 315

อรรถกถากัณณมุณฑเปติวัตถุที่ ๑๒

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงพระปรารภ

ภัณณมุณฑเปรต ตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า โสณฺณโสปานผลกา

ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกาลแห่งพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า

กัสสปะ ในกิมิลนคร ยังมีอุบาสกคนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน มี

ฉันทะร่วมกันกับอุบาสก ๕๐๐ คน เป็นผู้ขวนขวายในบุญกรรม

มีการปลูกดอกไม้ สร้างสะพาน และสร้างที่จงกรม เป็นต้นอยู่

สร้างวิหารถวายพระสงฆ์ ได้ไปวิหารตามกาลเวลา พร้อมกับ

อุบาสกเหล่านั้น. ฝ่ายภริยาของอุบาสกเหล่านั้น เป็นอุบาสิกา

มีความพร้อมเพรียงกันและกัน ต่างถือดอกไม้ของหอมและเครื่อง

ลูบได้เป็นต้น ไปยังวิหารตามกาลเวลา ไปพักผ่อน ในสภาอัน

เป็นที่รื่นรมย์เป็นต้น ในระหว่างทาง.

ภายหลังวันหนึ่ง นักเลงหญิง ๒-๓ คน นั่งประชุมกันที่สภา

แห่งหนึ่ง เมื่อุบาสิกาเหล่านั้น พากันไปพักผ่อนในที่นั้น เห็นรูป

สมบัติของอุบาสิกาเหล่านั้น มีจิตปฏิพัทธ์ รู้ว่า อุบาสิกาเหล่านั้น

ถึงพร้อมด้วยศีล อาจารและคุณธรรม จึงสนทนากันว่า ใครสามารถ

จะทำลายดี. ของอุบาสิกาแม้คนหนึ่ง ในบรรดาอุบาสิกาเหล่านั้น

ได้. ในนักเลงเหล่านั้น นักเลงคนหนึ่ง กล่าวว่า เราสามารถ.

นักเลงเหล่านั้น ได้ทำความเสนียดจัญไรว่า พวกเราจะทำกรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 316

อันเป็นเสนียดจัญไร ด้วยค่าจ้าง ๑,๐๐๐. เมื่อท่านทำได้ เราจะ

ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แก่ท่าน เมื่อท่านทำไม่ได้ ท่านพึงให้ทรัพย์แก่เรา.

เขาพยายามด้วยอุบายเป็นอเนก เมื่ออุบาสิกาเหล่านั้น มายัง

สภา จึงดีดพิณ ๗ สาย มีเสียงเปล่งออกไพเราะเพราะพริ้ง ขับเพลง

ขับอันประกอบด้วยกามคุณ มีเสียงไพเราะทีเดียว ให้หญิงคนหนึ่ง

ในบรรดาอุบาสิกาเหล่านั้น ถึงศีลวิบัติ ด้วยเสียงเพลงขับ กระทำ

การล่วงเกิน ให้นักเลงเหล่านั้นพ่ายแพ้ไปด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐.

นักเลงเหล่านั้น พ่ายแพ้ไปด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้วจึงบอกแก่สามี

ของนาง. สามีถามนางว่า บุรุษเหล่านั้นได้กล่าวโดยประการที่เธอ

เป็นอย่างนี้หรือ ? นางปฏิเสธว่า ฉันไม่รู้เรื่องเช่นนี้ เมื่อสามีไม่เชื่อ

จึงแสดงสุนัขที่อยู่ใกล้ ได้ทำการสบถว่า ถ้าฉันทำกรรมชั่วเช่นนั้น

ไซร้ ขอสุนัขดำตัวหูขาดนี้ จงกัดฉัน ซึ่งเกิดในภพนั้น ๆ เถิด.

ฝ่ายหญิง ๕๐๐ คน รู้ว่าหญิงนั้นประพฤตินอกใจ ถูกสามีท้วงว่า

หญิงนี้ทำกรรมชั่วเช่นนี้ หรือว่าไม่ได้ทำ จึงกล่าวมุสาว่า พวก

เราไม่รู้กรรมเห็นปานนี้ จึงได้ทำสบถว่า ถ้าพวกฉันรู้ ขอให้พวก

ดิฉันพึงเป็นทาสหญิง ของหญิงนั้นแหละ ทุก ๆ ภพไปเถิด.

ลำดับนั้น หญิงผู้ประพฤตินอกใจนั้น มีหทัยถูกความเดือดร้อน

นั้นนั่นแลแผดเผา จึงซูบซีดไป ไม่นานนัก ก็ตายไป บังเกิดเป็น

เวมานิกเปรตอยู่ที่ริมฝั่งสระกัณณมุณฑแห่งหนึ่ง บรรดาสระใหญ่

๗ สระ ที่ขุนเขาหิมวันต์. และรอบ ๆ วิมานของนาง ได้บังเกิด

สระโบกขรณีขึ้นสระหนึ่ง อันประกอบด้วยการเสวยวิบากแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

กรรมของนาง ส่วนหญิง ๕๐๐ คนที่เหลือ ทำกาละแล้ว บังเกิด

เป็นนางทาสีของหญิงนั้นนั่นแล ด้วยอำนาจกรรมที่ทำสบถไว้.

นางเสวยทิพยสมบัติตลอดกลางวัน เพราะผลแห่งบุญกรรมที่ตน

ทำไว้ในกาลก่อนนั้น พอถึงเที่ยงคืนก็ถูกพลังแห่งกรรมชั่วตักเตือน

จึงลุกขึ้นจากที่นอน ไปยังฝั่งสระโบกขรณี. สุนัขดำตัวหนึ่ง

ประมาณเท่าลูกแพะ มีรูปร่างน่ากลัว หูขาด มีเขียวโง้งยาวคมกริบ

มีนัยน์ตาเสมือนกองถ่านไม้ตะเคียนที่ลุกโพลงดีแล้ว มีลิ้นเหมือน

กลไกแห่งสายฟ้าที่แลบออกมาไม่ขาดระยะ มีเล็บโง้งคมกริบ

มีขนน่าเกลียดยาวแข็ง มาจากสระกัณณมุณฑะนั้น แล้วทำนาง

ผู้ไปในที่นั้น ให้ล้มลงที่ภาคพื้น เป็นเสมือนถูกความหิวจัดครอบงำ

ขู่ข่ม กัดกิน ให้เหลือเพียงร่างกระจก แล้วคาบไปทิ้งที่สระโบก-

ขรณีกลัว ก็หายไป. พร้อมกับที่สุนัขทิ้งในสระโบกขรณีนั้นนั่นแหละ

นางก็มีรูปเป็นปกติเดิมแล้ว ขึ้นสู่วิมาน นอนอยู่บนที่นอน. ฝ่าย

หญิงนอกนั้น เสวยทุกข์เป็นทาสของนางนั้นนั่นแล. พวกหยิงที่อยู่

ในที่นั้น ล่วงไป ๕๕๐ ปี ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น หญิงเหล่านั้น เว้นจากนั้นเสีย อยู่เสวยทิพย-

สมบัติ เกิดความเบื่อหน่าย. ยังมีแม่น้ำสายหนึ่งไหลออกจากสระ

กัณณมุณฑะ ในบรรดาสระใหญ่ ๗ ระนั้น ออกทางช่องบรรพต

แล้ว เข้าไปยังแม่น้ำคงคา. ก็ในที่ใกล้แต่สถานที่อยู่ของหญิง

เหล่านั้น ยังมีป่าไม้แทบหนึ่ง เป็นเช่นกับสวน อันงดงามประกอบ

ไปด้วยต้นมะม่วง ต้นขนุนและน้ำเต้าเป็นต้น ซึ่งมีผลเป็นทิพย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

หญิงเหล่านั้น คิดพร้อมกันอย่างนี้ว่า เอาเถอะ พวกเรา จักทิ้ง

ผลมะม่วงเหล่านี้ลงในแม่น้ำนี้, ผิไฉน ชายบางคน เห็นผลไม้นี้เข้า

เพราะความโลภในผลไม้ จะพึงมาในที่นี้บ้าง พวกเราจักอภิรมย์

กับชายนั้น. หญิงเหล่านั้น ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น. ก็ผลมะม่วง

ที่หญิงเหล่านั้น พากันโยนลงไปบางผล ดาบสเก็บได้. บางผล

พรานไพรเก็บเอาไป บางผลกาแย่งเอาไป บางผลคล้องอยู่ที่ริมฝั่ง

ส่วนผลหนึ่ง ลอยไปตามกระแสน้ำ ในแม่น้ำคงคา ถึงกรุงพาราณสี

โดยลำดับ.

ก็สมัยนั้น พระเจ้าพาราณสี ทรงสรงสนานในแม่น้ำคงคา

ที่เขาล้อมไว้ด้วยตาข่ายโลหะ. ลำดับนั้น ผลไม้นั้นลอยไปตาม

กระแสแม่น้ำมาโดยลำดับ ติดอยู่ที่ตาข่ายโลหะ. พวกราชบุรุษ

เห็นผลมะม่วงทิพย์ขนาดใหญ่ สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส นั้นเข้า

จึงนำเข้าไปถวายแก่พระราชา. พระราชาทรงหยิบเอาส่วนหนึ่ง

ของผลมะม่วงนั้น เพื่อจะทดลอง จึงพระราชทานให้แก่เพชฌฆาต

คนหนึ่งที่พระองค์ทรงตั้งไว้ในเรือนจำกิน. เขาเคี้ยวกินผลไม้นั้น

แล้วกล่าวว่า ข้าแต่สมมุติเทพ ผลไม้เช่นนี้ ข้าพระองค์ไม่เคยเคี้ยว

กินเลย ผลมะม่วงนี้ ชะรอยว่าจะเป็นของทิพย์. พระราชาได้พระ-

ราชทานอีกชิ้นหนึ่งแก่เพชฌฆาตนั้น. เพชฌฆาตเคี้ยวกินผลมะม่วง

นั้นแล้ว ปราศจากหนังเหี่ยวสละผมหงอก มีรูปร่างน่าพึงใจ ได้

เป็นประหนึ่งตั้งอยู่ในวัยหนุ่ม. พระราชาทอดพระเนตรเห็นดังนั้น

ทรงเกิดอัศจรรย์พระทัย ไม่เคยมี จึงเสวยผลมะม่วงนั้นบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 319

ได้รับความวิเศษในพระวรกาย จึงตรัสถามพวกมนุษย์ว่า ผลมะม่วง

ทิพย์เห็นปานนี้ มีอยู่ที่ไหน ? พวกมนุษย์กราบทูลอย่างนี้ ได้ยินว่า

มีอยู่ที่ขุนเขาหิมพานต์ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า แก่ใคร

สามารถจะนำเอามะม่วงเหล่านั้นนาได้. พวกมนุษย์กราบทูลว่า

พรานไพร ย่อมรู้พระเจ้าข้า.

พระราชารับสั่งให้เรียกพวกพรานไพรมา จึงแจ้งเรื่องนั้น

ให้พวกพรานไพรทราบ ได้พระราชทานทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ

แก่พรานไพรผู้หนึ่ง ที่พวกพรานไพรเหล่านั้นสมมุติมอบถวายไป

จึงส่งพรานไพรคนนั้นไป ด้วยพระดำรัสว่า เจ้าจงไป จงรีบนำ

เอาผลมะม่วงนั้นมาให้เรา. พรานไพรนั้นได้ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐

กหาปณะนั้น แก่บุตรและภริยา ถือเอาสะเบียง มุ่งหน้าไปสระ

กัณณมุณฑะ ตรงกันข้ามกับแม่น้ำคงคา ล่วงเลยถิ่นมนุษย์ไป

พบดาบสองค์หนึ่งที่ประเทศประมาณ ๖๐ โยชน์ ฝั่งในแต่ละสระ

กัณณมุณฑะ เดินไปตามทางที่ดาบสนั้นบอกให้ พบดาบสอีกองค์หนึ่ง

ที่ประเทศประมาณ ๓๐ โยชน์ เดินไปตามทางที่ดาบสนั้นบอกให้

พบดาบสอีกองค์หนึ่ง ในที่ประมาณ ๑๕ โยชน์ จึงได้บอกเหตุ

ที่ตนมาแก่ดาบสนั้น. ดาบสพร่ำสอนเธอว่า ตั้งแต่นี้ไป เธอจะละ

แม่น้ำคงคาใหญ่สายนี้เสีย อาศัยแม่น้ำน้อยนี้ เดินทวนกระแสไป

ถือเอาน้ำในราตรี ในคราวที่ท่านเป็นช่องบรรพตแล้ว พึงเข้าไป.

ก็แม่น้ำสายนี้ ในเวลากลางคืน จะไม่ไหล. เพราะฉะนั้น แม่นำนั้น

จึงเหมาะก็การไปของท่าน. โดยล่วงไป ๒-๓ โยชน์ ท่านก็จักเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 320

ผลมะม่วงเหล่านั้น. เขาได้ทำตามนั้นแล้ว พอพระอาทิตย์อุทัยขึ้น

ได้ถึงสวนมะห่วง อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจยิ่งนัก เป็นภูมิภาคที่

โชติช่วงไปด้วยข่ายแห่งรัศมีของรัตนะต่าง ๆ งดงามไปด้วย

ส่วนแห่งป่าที่มีผลมาก มีแมกไม้ มีสาขาปกคลุมเป็นดุจเพดาน

หมู่วิหกนานาชนิดก็ส่งเสียงร่ำร้อง.

ลำดับนั้น พวกหญิงอมนุษย์เหล่านั้น เห็นพรานไพรนั้น

เดินมาแต่ไกล จึงวิ่งเข้าไปด้วยหมายใจว่า คนนี้เป็นที่พึ่งของเรา

คนนี้เป็นที่พึ่งของเรา. ก็พรานไพรนั้น พอเห็นหญิงเหล่านั้นเข้า

จึงตกใจกลัว ร้อง หนีไป เพราะตนไม่ได้ทำบุญกรรมอันเหมาะสม

ที่จะเสวยทิพยสมบัติในที่นั้น ร่วมกับหญิงเหล่านั้นได้ จึงไปถึง

กรุงพาราณสี โดยลำดับแล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระราชา.

พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว จึงเกิดความหวังเพื่อจะเห็นหญิง

เหล่านั้น และ เพื่อจะบริโภคผลมะม่วงทั้งหลาย จึงให้พวกอำมาตย์

สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงผูกสอดกำธนู เหน็บพระขรรค์

โดยอ้างว่าจะไปล่าเนื้อ มีมนุษย์ ๒-๓ คน เป็นบริวาร เสด็จไป

ตามทางที่พรานไพรนั้นนั่นแหละชี้แนะให้ จึงพักพวกมนุษย์ไว้

ในที่ระยะ ๒-๓ โยชน์ จึงพาเฉพาะพรานไพรไปโดยดำดับ ให้

พรานไพรแม้นั้น กลับจากที่นั้น พอพระอาทิตย์อุทัย ก็เสด็จเข้าถึง

สวนมะม่วง. ลำดับนั้น พวกหญิงเหล่านั้น เห็นเทพบุตรนั้น เหมือน

เกิดในภพใหม่ จึงต้อนรับ รู้ว่าเขาเป็นพระราชา จึงเกิดความรัก

และความนับถือมาก ให้อาบน้ำโดยเคารพ ให้ประดับตกแต่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 321

ด้วยดี ด้วยผ้า เครื่องอลังการ ดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้

ยกขึ้นสู่วิมาน ให้บริโภคโภชนะอันเป็นทิพย์ มีรสเลิศต่าง ๆ แล้ว

ได้เข้าไปนั่งใกล้เขาตามสมควรแก่ความปรารถนา.

ครั้นล่วงไป ๑๕๐ ปี พระราชาเสด็จลุกขึ้น ในเวลาเที่ยงคืน

ประทับนั่งทอดพระเนตรเห็นนางเปรต ผู้ประพฤติล่วงเกินนั้น

กำลังเดินไปยังฝั่งสระโบกขรณี มีความประสงค์จะทดลองดู จึง

ตามไป ด้วยคิดว่า เพราะเหตุไรหนอ หญิงนี้ จึงไปในเวลานี้.

ลำดับนั้น พระราชาเห็นนางผู้ไปในที่นั้น กำลังถูกสุนัขกัด เมื่อ

ไม่รู้ว่า นี่อะไรกันหนอ จึงทดลอง ๒-๓ วัน จึงคิดว่า สุนัขนี้

ชะรอยจะเป็นศัตรูแก่หญิงนี้ จึงพุ่งหลาวอันลับดีแล้ว ปลงเสียจาก

ชีวิต และโบยหญิงนั้นแล้ว ให้ลงยังสระโบกขรณี เห็นรูปที่ตน

ได้เห็นครั้งก่อนแล้ว จึงตรัสถามประวัติของนางนั้นด้วยคาถา

๑๒ คาถาว่า :-

สระโบกขรณีนี้ มีน้ำใสสะอาด มีบันได

ทองคำลาดด้วยทรายทองโดยรอบ ในสระนั้น

มีกลิ่นหอมฟุ้งน่ารื่นรมย์ใจ ดาดดื่นไปด้วยหมู่ไม้

นานาชนิด มีกลิ่นต่าง ๆ หอมตลบไปด้วยลม

รำเพยพัดดารดาษด้วยบัวต่าง ๆ เกลื่อนกล่น

ด้วยบัวขาว มีกลิ่นหอมเจริญใจ อันลมรำเพยพัด

ฟุ้งขจร เสียงระงมไปด้วยหงษ์และนกกะเรียน

นกจักพรากมาร่ำร้องไพเราะจับใจ เกลื่อนกล่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 322

ไปด้วยฝูงนกต่าง ๆ ส่งเสียงร้องอื้ออึ้ง มีหมู่

รุกขชาติ อันมีดอกและผลนานาพรรณ ไม่มี

เมืองใด ในมนุษย์เหมือนเมืองของท่านนี้เลย

ปราสาทเป็นอันมากของท่าน ล้วนแล้วด้วย

ทองคำและเงิน รุ่งเรืองงามสง่าไปทั่วทั้ง ๔ ทิศ

โดยรอบ นางทาสี ๕๐๐ คน คอยบำเรอท่าน ประ

ดับด้วยกำไลทองคำ นุ่งห่มผ้าขลิบทองคำ บัลลังก์

ของท่านมีมาก ซึ่งสำเร็จด้วยทองคำและเงิน

ปูลาดด้วยหนังชะมด และผ้าโกเชาว์ อันบุคคล

จัดแจงไว้แล้ว ท่านจะเข้านอนบนบัลลังก์ใด ก็

สำเร็จดังความปรารถนาทุกอย่าง เมื่อถึงเที่ยงคืน

ท่านลุกจากบัลลังก์นั้นลงไปสู่สวนใกล้สระโบก-

ขรณี ยืนอยู่ที่ฝั่งสระนั้น อันมีหญ้าเขียวอ่อน

งดงาม ลำดับนั้น สุนัขหูด้วน ก็ขึ้นมาจากสระนั้น

กัดอวัยวะน้อยใหญ่ของท่าน เมื่อใดท่านถูกสุนัข

กัดกินแล้ว เหลือแต่กระดูก เมื่อนั้นท่านจึงลงสู่

สระโบกขรณี ร่างกายก็กลับเป็นเหมือนเดิม ภาย

หลังจากเวลาลงสระโบกขรณี ท่านกลัวมีอวัยวะ

น้อยใหญ่เต็มบริบูรณ์งดงาม ดูน่ารัก นุ่งห่มแล้ว

มาสู่สำนักของเรา ท่านได้ทำกรรมนชั่วอะไรไว้

ด้วยกายวาจาใจ หรือเพราะวิบากแห่งกรรมอะไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 323

สุนัขหูด้วนจึงกัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสณฺณโสปานผลกา แปลว่า

แผ่นกระดานบันได ล้วนแล้วด้วยทองคำ. บทว่า โสวณฺณวาลุกสนฺถตา

แปลว่า ลาดด้วยทรายทองคำโดยรอบ. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ในสระ-

โบกขรณีนั้น. บทว่า โสคนฺธิยา แปลว่ามีกลิ่นหอม. บทว่า วคฺคู

แปลว่า ดีน่าชอบใจ. บทว่า สุจิคนฺธา แปลว่า มีกลิ่นเป็นที่ฟูใจ.

บทว่า นานาคนฺธสเมริตา ได้แก่ มีกลิ่นน่ารื่นรมย์ใจ หอมตลบ

ไปด้วยลมรำเพยพัด. บทว่า นานาปทุมสญฺฉนฺนา ได้แก่ พื้นน้ำ

ดาดาษไปด้วยบัว ต่าง ๆ ชนิด. บทว่า ปุณฺฑรีกสโมตฺตา ได้แก่

เกลื่อนกล่นไปด้วยบัวขาว. บทว่า สุรภึ สมฺปวายนฺติ ความว่า

มีกลิ่นหอมน่าเจริญใจ ถูกลมรำเพยพัดฟุ้งขจร. อธิบายว่า สระ-

โบกขรณี. บทว่า หสโกญฺจาภิรุทา แปลว่า เสียงระงมไปด้วย

หงส์และนกกะเรียน.

บทว่า นานาทิชคณา กิณฺณา แปลว่า เกลื่อนกล่นไปด้วย

ฝูงนกต่าง ๆ บทว่า นานาสรคณายุตา แปลว่า ประกอบไปด้วย

หมู่นกต่าง ๆ ส่งเสียงร้องไพเราะจับใจอยู่อึงมี่. บทว่า นานาผลธรา

ความว่า มีรุกขชาติอันทรงดอกออกผลอยู่ทุกฤดูกาล. บทว่า

นานาปุปฺผธรา วนา ความว่า ได้แก่ป่าที่มีหมู่ไม้ให้เผล็ดดอกน่า

รื่นรมย์ใจนานาชนิด. จริงอยู่ บทว่า วนา ท่านกล่าวด้วยลิงควิปัลลาส.

บทว่า น มนุสฺเสสุ อีทิส นคร ความว่า ในมนุษยโลก

ไม่มีนครใดที่จะเสมอเหมือนนครของท่านนี้ อธิบายว่า หาไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 324

ในมนุษยโลก. บทว่า รูปิยามยา แปลว่า ล้วนแล้วด้วยเงิน. บทว่า

ททฺทลฺลมานา แปลว่า รุ่งโรจน์อย่างยิ่ง. บทว่า อาเภนฺติ แปลว่า

ย่อมงดงาม. บทว่า สมนฺตา จตุโร ทิสา ความว่า ตลอดทั้ง ๔ ทิศ

โดยรอบ

บทว่า ยา เตมา ตัดเป็น ยา เต อิมา. บทว่า ปริจาริกา

ได้แก่ หญิงผู้ทำการขวนขวาย. บทว่า ตา ได้แก่ หญิงบำเรอ.

บทว่า กมฺพุกายูรธรา แปลว่า ประดับด้วยกำไลทองคำ. บทว่า

กญฺจนาเวฬภูสิตา ได้แก่ มีผมและมือประดับด้วยดอกไม้ กรองทอง.

บทว่า กทลิมิคสญฺฉนฺนา แปลว่า ลาดด้วยหนังชะมด.

บทว่า สชฺชา แปลว่า อันบุคคลจัดแจงแล้ว คือ เหมาะสมที่จะนอน.

บทว่า โคณกสนฺถตา แปลว่า ลาดด้วยผ้าโกเชาว์มีขนยาว.

บทว่า ยตฺถ คือ ในบัลลังก์ใด. บทว่า วาสูปคตา แปลว่า

เข้าไปยังที่อยู่ อธิบายว่า นอน. บทว่า สมฺปตฺตายฑฺฒรตฺตาย

แปลว่า เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืน. บทว่า ตโต แปลว่า จากบัลลังก์.

บทว่า โปกฺขรญฺา คือ ใกล้สระโบกขรณี. บทว่า หริเต

แปลว่า หญ้าเขียวอ่อน. บทว่า สทฺทเล แปลว่า ดารดาษไปด้วย

หญ้าอ่อน. บทว่า สุเภ แปลว่างดงาม. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

สุเภ เป็นคำร้องเรียกนางเปรต. มีวาจาประกอบความว่า ดูก่อน

นางผู้งดงาม เจ้าจงไปยืนอยู่ที่ริมสระโบกขรณีนั้น บนหญ้าอัน

เขียวสดโดยรอบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

บทว่า กณฺณมุณฺโฑ แปลว่า มีหูขาด คือมีหูด้วน. บทว่า

ขายิตา อาสิ ความว่า ท่านเป็นผู้อันสุนัขหูขาดกัดแล้ว. บทว่า

อฏฺิสงฺขลิกา กตา แปลว่า กัดให้เหลือเพียงร่างกระดูก. บทว่า

ยถา ปุเร ได้แก่ เหมือนในกาลก่อนแต่เวลาที่สุนัขจะกัด.

บทว่า ตโต ได้แก่ ภายหลังจากลงสู่สระโบกขรณี. บทว่า

องฺคปจฺจงฺคี แปลว่า มีสรรพางค์กายครบถ้วน. บทว่า สุจารุ

แปลว่า น่ารื่นรมย์ใจด้วยดี. บทว่า ปิยทสฺสนา แปลว่า น่าชม.

บทว่า อายาสิ แปลว่า ย่อมมา.

นางเปรตนั้น ถูกพระราชาตรัสถามแล้วอย่างนี้ เมื่อจะกล่าว

ประวัติของตนตั้งแต่ต้นแด่พระราชานั้น จึงกล่าวคาถา ๕ คาถาว่า :-

มีคฤหบดี คนหนึ่ง เป็นอุบาสก มีศรัทธา

อยู่ในเมืองกิมิละ หม่อมฉันเป็นภริยาของอุบาสก

นั้น ประพฤตินอกใจเขา เมื่อหม่อมฉันประพฤติ

นอกใจเขาอย่างนั้น สามีหม่อมฉันจึงคิดว่า การ

ที่เธอประพฤตินอกใจฉันนั้น เป็นการไม่เหมาะ

ไม่สมควร และหม่อมฉันได้กล่าวมุสาวาทสบถ

อย่างร้ายแรงว่า ฉันไม่ได้ประพฤตินอกใจท่าน

ด้วยกายหรือด้วยใจ ถ้าฉันประพฤตินอกใจท่าน

ด้วยกายหรือด้วยใจไซร้ ขอให้สุนัขหูด้วนตัวนี้

กัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของฉันเถิด วิบากแห่ง

กรรมอันลามก คือการประพฤตินอกใจสามี และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 326

มุสาวาททั้ง ๒ อันหม่อมฉันได้เสวยแล้วตลอด

๗๐๐ ปี เพราะกรรมอันชั่วนั้น สุนัขหูด้วนจึง

กัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของหม่อมฉัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมิลาย ได้แก่ ในพระนครมีชื่อ

อย่างนั้น. มีวาจาประกอบความว่า บทว่า อติจารินี ความว่า จริงอยู่

ภริยาท่านเรียกว่ามีความประพฤตินอกใจ เพราะประพฤตินอกใจ

สามี เมื่อดิฉันประพฤตินอกใจ สามีหม่อมฉันนั้น จึงได้กล่าวคำนี้

กะหม่อมฉัน. บทว่า เนต ฉนฺน เป็นต้น เป็นการแสดงอาการที่

สามีกล่าวแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนต ฉนฺน ความว่า

การประพฤตินอกใจนั้น เป็นการไม่สมควร. บทว่า น ปติรูป เป็น

ไวพจน์ของบทว่า เนต ฉนฺน นั้นนั่นเอง บทว่า ย เป็นกิริยา

ปรามาส. บทว่า อติจราสิ แปลว่าประพฤตินอกใจ อีกอย่างหนึ่ง

บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน, อธิบายว่า การที่ท่านประพฤตินอกใจ

เรานั้น เป็นการไม่เหมาะไม่ควร.

บทว่า โฆร แปลว่า ร้ายแรง. บทว่า สปถ แปลว่า คำสาป. บทว่า

ภาสิส แปลว่า ได้กล่าวแล้ว. บทว่า สจาห ตัดเป็น เสจ อห. บทว่า ต ได้แก่

ตฺว แปลว่าท่าน. บทว่า ตสฺส กมฺมสฺส ได้แก่ กรรมอันลามก คือกรรมแห่ง

บุคคลผู้ทุศีลนั้น. บทว่า มุสาวาทสฺส จ ได้แก่ พูดมุสาวาทว่า ฉันไม่ได้

ประพฤตินอกใจท่าน. บทว่า อุภย ได้แก่ วิบากของกรรมทั้ง ๒. บทว่า

อนุภูต ความว่า ที่หม่อมฉันเสวยอยู่. บทว่า ยโต จากกรรมชั่วใด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 327

ก็แลนางเปรตนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อจะระบุอุปการะ

ที่พระราชาทำแก่ตนจึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมุติเทพ พระองค์มี

อุปการะแก่หม่อมฉันมาก พระองค์เสด็จมาใน

ที่นี้ เพื่อประโยชน์แก่หม่อมฉัน หม่อนฉันพ้นดี

แล้วจากสุนัขหูด้วน ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มี

ภัยแต่ที่ไหน ๆ ขอเดชะ หม่อมฉันขอถวายบังคม

พระองค์ หม่อมฉันขอประนมอัญชลีวิงวอนว่า

ขอพระองค์จงเสวยกามสุข อันเป็นทิพย์ รื่นรมย์

อยู่กับหม่อมฉันเถิด.

นางเปรตเรียกพระราชาด้วยคำว่า เทว ในคาถานั้น. บทว่า

กณฺณมุณฺฑสฺส ได้แก่สุนัขหูด้วน. จริงอยู่ คำว่า กณฺณมุณฺฑสฺส นี้

เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ. ลำดับนั้น พระราชา

ทรงมีพระทัยเบื่อหน่ายด้วยการอยู่ในที่นั้น จึงประกาศอัธยาศัย

ในการเสด็จไป. นางเปรตได้ฟังดังนั้น มีจิตปฏิพัทธ์ต่อพระราชา

เมื่อจะวอนพระราชาให้ประทับอยู่ในที่นั้นนั่นเอง จึงกล่าวคาถา

ว่า ตาห เทว นนสฺสามิ ขอเดชะ หม่อมฉันขอถวายบังคมพระองค์.

พระราชามีพระประสงค์จะเสด็จไปพระนคร โดยส่วนเดียว

เทียว เมื่อจะประกาศอัธยาศัยของพระองค์อีก จึงได้กล่าวคาถา

สุดท้ายว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 328

กามสุขอันเป็นทิพย์ เราได้เสวยแล้ว และ

รื่นรมย์แล้วกับท่าน ดูก่อนนางผู้ประกอบด้วย

ความงดงาม เราขออ้อนวอนต่อท่าน ขอท่าน

จงรีบนำฉันกลับไปเสียเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาห ตัดเป็น ต อห. บทว่า

สุภเค แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความงดงาม. บทว่า ปฏินยาหิ ม

แปลว่า ขอเธอจงนำฉันกลับไปยังพระนครของฉันเถิด. คำที่เหลือ

ในบททั้งปวง ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น.

ลำดับนั้น นางเวมานิกเปรตนั้น ครั้นสดับพระดำรัสของ

พระราชาแล้ว เมื่อจะอดกลั้น ความพลัดพรากจากกันมิได้ มีหัวใจ

ว้าวุ่น เพราะอาดูรด้วยความเศร้าโศก มีร่างกายสั่นหวั่นไหว

ถึงจะอ้อนวอนด้วยอุบายมีประการต่าง ๆ เมื่อไม่อาจจะให้พระราชา

ประทับอยู่ในที่นั้นได้ จึงนำพระราชาพร้อมด้วยรัตนะอันควรแก่

ค่ามาก เป็นจำนวนมาก ไปยังพระนคร ให้เสด็จขึ้นสู่ปราสาท

คร่ำครวญรำพรรณแล้ว จึงไปยังที่อยู่ของตนตามเดิม. ฝ่าย

พระราชา ครั้นเห็นดังนั้นแล้ว จึงเกิดความสลดพระทัย บำเพ็ญ

บุญกรรมมีทานเป็นต้น ได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา เสด็จอุบัติขึ้น

ในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี

โดยลำดับ วันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เที่ยวจาริกไปยัง

บรรพต เห็นหญิงนั้น พร้อมด้วยบริวาร จึงถามถึงกรรมที่นางทำไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

นางเล่าเรื่องทั้งหมดนั้น ตั้งแต่ต้นแก่พระเถระ. พระเถระแสดง

ธรรมแก่หญิงเหล่านั้น. พระเถระกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็น

อัตถุปปัตติเหตุแล้ว จึงทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว.

มหาชนได้ความสลดใจ งดจากความชั่ว บำเพ็ญบุญกรรมมีทาน

เป็นต้น ได้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากัณณมุณฑเปติวัตถุที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 330

๑๓. อุพพรีเปติวัตถุ

ว่าด้วยพระราชพระนามว่าพรหมทัตต์มี ๘๖,๐๐๐ องค์

[๑๑๐] พระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นใหญ่ ได้เสวย

ราชสมบัติในแคว้นปัญจาลราช เมื่อวันคืนล่วง

ไป ๆ พระองค์ก็เสด็จสวรรคต พระนางเจ้า

อุพพรีมเหสีเสด็จไปยังพระเมรุมาศ แล้วทรง

กรรแสงอยู่ เมื่อพระนางไม่เห็นพระเจ้าพรหม-

ทัต กรรแสงว่า พรหมหัต ๆ ก็ดาบสผู้เป็น

มุนีสมบูรณ์ด้วยจรญาณ ได้มาที่พระนาง

อุพพรีประทับอยู่นั้น ท่านได้ถามชนทั้งหลายที่มา

ประชุมกันในที่นั้นว่า นี่เป็นเมรุมาศของใคร มี

กลิ่นหอมต่าง ๆ ฟุ้งตลบไป หญิงนี้เป็นภรรยา

ของใคร เมื่อไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นใหญ่

ซึ่งเสด็จไปแล้วไกลจากโลกนี้ คร่ำครวญอยู่ว่า

พรหมทัต ๆ ชนที่มาประชุมกันอยู่ในที่นั้น

กล่าวตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี่เป็นพระเมรุมาศ

ของพระเจ้าพรหมทัต ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ นี่

เป็นพระเมรุมาศของพระเจ้าพรหมทัต มีกลิ่น

หอมฟุ้งตลบไป หญิงนี้เป็นพระมเหสีของท้าวเธอ

เมื่อไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัตพระราชสวามี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 331

ซึ่งเสด็จไปไกลจากโลกนี้ ทรงกรรแสงอยู่ว่า

พรหมทัต ๆ.

ดาบสจึงถามว่า

พระราชานีพระนานว่าพรหมทัต ถูกเผา

ในป่าช้านี้ ๘๖,๐๐๐ พระองค์แล้ว บรรดาพระเจ้า

พรหมทัตเหล่านั้น พระนางทรงกรรแสงถึง

พระเจ้าพรหมทัตพระองค์ไหน.

พระนางอุพพรีตรัสตอบว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระราชาพระองค์ใด

เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าจุฬนี ทรงเป็นใหญ่

อยู่ในแคว้นปัญจาลราช ดิฉันเศร้าโศกถึงพระ-

ราชาพระองค์นั้น ผู้เป็นพระราชสวามี ทรงประ

ทานสิ่งของที่น่าใครทุกอย่าง.

ดาบสกล่าวว่า

พระราชาทุกพระองค์ทรงพระนามว่า

พรหมทัตเหมือนกัน ทั้งหมดเป็นพระราชโอรส

ของพระเจ้าจุฬนี เป็นใหญ่อยู่ในแคว้นปัญจาล-

ราช พระนางเป็นพระมเหสีของพระราชาเหล่า

นั้นทั้งหมดโดยลำดับกันมา เหตุไรพระนางจึง

เว้นพระราชาองค์ก่อน ๆ มากรรแสงถึงแต่

พระราชาองค์หลังเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 332

พระนางอุพพรีตรัสตอบว่า

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ดิฉันเกิดเป็นแต่หญิง

ตลอดกาลนานเท่านั้นหรือ หรือเกิดเป็นบุรุษบ้าง

ท่านพูดถึงแต่การที่ดิฉันเป็นหญิงในสงสารเป็น

อันมาก.

ดาบสตอบว่า

บางคราวพระนางเกิดเป็นหญิง บางคราว

ก็เกิดเป็นบุรุษ บางคราวก็เข้าถึงกำเนิดปสุสัตว์

ที่สุดแห่งอัตภาพทั้งหลาย อันเป็นอดีต ย่อมไม่

ปรากฏอย่างนี้.

พระนางอุพพรีตรัสว่า

ท่านดับความกระวนกระวายทั้งปวงของ

ดิฉัน ผู้เร่าร้อนอยู่ให้หายเหมือนบุคคลเอาน้ำดับ

ไฟที่ราดน้ำมัน ฉะนั้น ท่านได้บรรเทาความโศก

ถึงพระสวามีองดิฉันผู้ถูกความโศกครอบงำ

แล้วถอนขึ้นแล้วหนอซึ่งลูกศรคือความโศกอัน

เสียบแทงที่หทัยของดิฉัน ข้าแต่ท่านผู้เป็นมุนี

ดิฉันเป็นผู้มีลูกศรคือ ความโศกอันท่านถอนขึ้น

ได้แล้ว เป็นผู้เย็นลงแล้ว ดิฉันจะไม่เศร้าโศก

ไม่ร้องไห้อีกเพราะได้ฟังคำของท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 333

พระนางอุพพรี ฟังคำสุภาษิตของดาบส

ผู้เป็นสมณะนั้นแล้ว ถือบาตรและจีวรออกบวช

เป็นบรรพชิต ครั้นออกบวชแล้ว เจริญเมตตาจิต

เพื่อเข้าถึงพรหมโลก พระนางอุพพรีนั้น เมื่อ

ท่องเที่ยวไปสู่บ้านหนึ่งจากบ้านหนึ่ง สู่นิคมและ

ราชธานีทั้งหลาย ได้เสด็จสวรรคตที่บ้านอุรุเวลา

พระนางเบื่อหน่ายความเป็นหญิง เจริญเมตตาจิต

เพื่อบังเกิดในพรหมโลก จึงได้เป็นผู้เข้าถึง

พรหมโลก.

จบ อุพพรีเปติวัตถุที่ ๑๓

อรรถกถาอุพพรีเปติวัตถุที่ ๑๓

เรื่องนางอุพพรีเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อหุ ราชา พฺรหฺมทตฺโต

ดังนี้. พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภอุบาสิกาคนหนึ่ง. เล่ากันมาว่า ในกรุงสาวัตถี ได้มีสามี

ของอุบาสิกาคนหนึ่งตายไป. อุบาสิกานั้นก็อาดูรเพราะความทุกข์

ในการพลัดพรากจากสามี เศร้าโศก เดินร้องไห้ไปยังป่าช้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติแห่งโสดาปัตติผลของนาง

ทรงมีพระมนัสอันพระกรุณากระตุ้นเตือน จึงเสด็จไปยังเรือน

ของนาง ประทับนั่งบนบัญญัตอาสน์. อุบาสิกาเข้าไปเฝ้าพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 334

ศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระ-

ศาสดาตรัสกะนางว่า อุบาสิกา เธอเศร้าโศกไปทำไม. เมื่อนาง

ทูลว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันเศร้าโศก เพราะพลัดพราก

จากสามีสุดที่รัก ทรงมีพระประสงค์จะให้นางปราศจากความ

เศร้าโศก จึงได้นำอดีตนิทานมาว่า :-

ในอดีตกาล ในกปิลนครแคว้นปัญจาละ ได้มีพระราชา

พระนามว่า พรหมทัต พระองค์ทรงละการลุแก่อคติ ทรงยินดี

ในการทำประโยชน์แก่ประชาชนในแว่นแคว้นของพระองค์ ไม่

ทรงให้ราชธรรม ๑๐ ประการเสียหายครองราชสมบัติอยู่ บาง

คราวประสงค์จะทรงสะดับว่า ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีใคร

พูดอะไรกันบ้าง จึงปลอมเป็นช่างหูก พระองค์เดียวไม่มีเพื่อน

เสด็จออกจากนคร เที่ยวไปจากบ้านถึงบ้าน จากชนบทถึงชนบท

ทรงเห็นแว่นแคว้นทั่วไปไม่มีเสี้ยนหนาม ไม่ เบียดเบียน (ทั้ง)

พวกคนตื่นตัวอยู่ย่างไม่ต้องปิดประตูเรือน ทรงเกิดความโสมนัส

จึงเสด็จกลับมุ่งมายังพระนคร จึงเสด็จเข้าไปยังเรือนของหญิงหม้าย

ยากจนคนหนึ่งในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง. นางเห็นพระองค์จึงกล่าวถามว่า

ดูก่อนเจ้า ท่านเป็นใครและมาจากไหน. พระราชาตรัสว่า นาง

ผู้เจริญ ฉันเป็นช่างหูก เที่ยวรับจ้างทำการทอผ้า ถ้าท่านมีกิจใน

การทอผ้า ท่านจงให้อาหารและค่าจ้าง ฉันจะทำงานให้แม้แก่ท่าน

หญิงหม้ายกล่าวว่า ฉันไม่มีงานหรือค่าจ้าง ดูก่อนเจ้า ท่านจง

ทำงานของคนอื่นเถิด. พระราชานั้น ประทับอยู่ที่นั้น ๒-๓ วัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 335

ทรงเห็นธิดาของนางเพียบพร้อมด้วยลักษณะของผู้มีบุญมีโชค

จึงตรัสกะมารดาของนางว่า หญิงคนนี้ ใคร ๆ ทำการหวงแหนแล้ว

หรือยัง ถ้ายังไม่มีใคร ๆ หวงแหน ท่านจงให้เด็กหญิงคนนี้แก่เรา

เราสามารถทำอุบายเครื่องเลี้ยงชีพตามความสบายแก่พวกท่านได้

หญิงหม้ายนั้นรับคำ แล้วได้ถวายธิดานั้นแก่พระราชา.

พระราชา ทรงอยู่กันนางนั้น ๒-๓ วัน จึงพระราชทาน

ทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ แก่นางแล้วตรัสว่า เพียง ๒-๓ วันเท่านั้น

เราก็จักกลับ แน่ะนางผู้เจริญ เจ้าอย่ากระสันไปเลย ดังนี้แล้ว

จึงเสด็จไปยังพระนครของพระองค์ ทรงรับสั่งให้สร้างหนทางใน

ระหว่าง พระนครกับบ้านนั้น ให้สม่ำเสมอให้ประดับแล้วเสด็จไป

ในที่นั้น ด้วยราชานุภาพอันใหญ่แล้ว ให้ตั้งนางทาริกานั้นไว้ ใน

กองกหาปณะ แล้วให้อาบด้วยหม้อน้ำทองคำและหม้อน้ำเงิน แล้ว

ให้ตั้งชื่อว่า อุพพรี แล้วทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี

และได้ประทานบ้านนั้น แก่พวกญาติของนาง ได้นำนางมายัง

พระนครด้วยราชานุภาพอันใหญ่ ทรงอภิรมย์กับนาง เสวยรัชชสุข

ตลอดพระชนมชีพ ในที่สุดแห่งอายุ ก็เสด็จสวรรคต. ก็เมื่อพระ-

ราชาสวรรคตแล้ว และทำการถวายพระเพลิงพระศพเสร็จแล้ว

พระนางอุพพรีมีหทัยเพียบพร้อมด้วยลูกศร คือความเศร้าโศก

เพราะพลัดพรากจากพระสวามี ไปยังป่าช้า บูชาด้วยสักการะ

มีของหอมและดอกไม้เป็นต้น อยู่หลายวัน ระบุถึงพระคุณของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 336

พระราชา คร่ำครวญรำพรรณอยู่ ดุจถึงความเป็นบ้า กระทำ

ประทักษิณป่าช้า.

ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทั้งหลาย เป็นพระ-

โพธิสัตว์ ทรงผนวชเป็นฤาษี บรรลุฌานและอภิญญา อยู่ใน

ราวป่าแห่งหนึ่ง ใกล้ ๆ ขุนเขาหิมพานต์ ทอดพระเนตรเห็น

พระนางอุพพรี ผู้เพียบพร้อมไปด้วยลูกศร คือความเศร้าโศก

ด้วยทิพยจักษุ เสด็จเหาะมา ปรากฏรูป ประทับยืนอยู่ในอากาศ

ตรัสถามพวกมนุษย์ผู้อยู่ในที่นั้นว่า นี้เป็นป่าช้าของใครกัน และ

หญิงนี้ คร่ำครวญรำพรรณอยู่ว่า พรหมทัต พรหมทัต เพื่อต้องการ

พรหมทัตคนไหน. พวกมนุษย์ได้ฟังดังนั้น พากันกล่าวว่า พระราชา

ของชาวปัญจาละ ทรงพระนามว่า พรหมทัต ท้าวเธอสวรรคต

ในเวลาสิ้นพระชนมายุ นี้เป็นป่าช้าของท้าวเธอ นี้เป็นอัครมเหสี

ชื่อว่า อุพพรี ของพระองค์คร่ำครวญรำพรรณระบุถึงพระนามของ

พระองค์ว่า พรหมทัต พรหมทัต. พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะ

แสดงความนั้น จึงได้ตั้งคาถา ๖ คาถาว่า :-

พระเจ้าพรหมทัต ผู้เป็นใหญ่ เสวยราช-

สมบัติ ในแคว้นปัญจาละราช เมื่อวันคืนล่วงไป

พระองค์เสด็จสวรรคต พระนางเจ้าอุพพรีมเหสี

เสด็จไปยังพระเมรุมาศ แล้วทรงกรรแสงอยู่ เมื่อ

พระนางไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัต ก็ทรงกรรแสง

ว่า พรหมทัต พรหมทัต ก็ดาบสผู้เป็นมุนี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 337

สมบูรณ์ด้วยจรณญาณ ได้มาที่พระนางอุพพรี

ประทับอยู่นั้น ท่านได้ถามชนทั้งหลาย มาประ-

ชุมกันในที่นั้นว่า นี้เป็นพระเมรุมาศของใครกัน

มีกลิ่นหอมต่าง ๆ ฟุ้งตลบไป หญิงนี้เป็นภริยา

ของใครกัน ไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัต ผู้เป็นใหญ่

ซึ่งเสด็จไปแล้ว ไกลจากโลกนี้ คร่ำครวญอยู่ว่า

พรหมทัต พรหมทัต ชนที่มาประชุมกันอยู่ในที่

นั้น กล่าวตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้เป็นพระ-

เมรุมาศของพระเจ้าพรหมทัต ข้าแต่ท่านผู้นิร-

ทุกข์ นี้เป็นพระเมรุมาศของพระเจ้าพรหมหัต

มีกลิ่นหอมฟุ้งตลบไป หญิงนี้เป็นพระมเหสีของ

ท้าวเธอ เมื่อไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัต ผู้เป็นพระ-

ราชสวามี ซึ่งเสด็จไปไกลจากโลกนี้ ทรงกรร-

แสงอยู่ว่า พรหมทัต พรหมทัต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ แปลว่า ได้มีแล้ว. บทว่า

ปญฺจาลาน ได้แก่ชาวปัญจาลรัฐ หรือได้แก่ ปัญจาลรัฐนั่นเอง.

จริงอยู่ ชนบทแม้หนึ่งชนบท เขาแสดงออกด้วยคำเป็นอันมากว่า

ปญฺจาลาน ด้วยถ้อยคำอันดาดดื่น ด้วยอำนาจแห่งพระราชกุมาร

ชาวชนบท. บทว่า รเถสโภ ความว่า ได้เป็นเสมือนผู้ยิ่งใหญ่

ในรถ คือ รถคันใหญ่. บทว่า ตสฺส อาฬาหน ได้แก่ สถานที่เป็น

ที่ถวายพระเพลิง พระสรีระของพระราชาพระองค์นั้น .

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 338

บทว่า อิสิ ความว่า ชื่อว่าฤาษี เพราะอรรถว่า แสวงหา

ซึ่งคุณมีฌานเป็นต้น. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในที่เป็นที่ประทับของ

พระนางอุพพรีนั้น คือ ในสุสาน บทว่า อาคจฺฉิ แปลว่า ได้ไปแล้ว.

บทว่า สมฺปนฺนจรโณ ความว่า ผู้ถึงพร้อมคือ ผู้ประกอบด้วยคุณ

คือ จรณะ ๑๕ ประการ เหล่านี้คือ สีลสัมปทา ความเป็นผู้คุ้มครอง

ทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ

ชาคริยานุโยค สัทธรรม ๗ ประการมีศรัทธาเป็นต้น และรูปา-

วจรฌาน ๔ ประการ. บทว่า มุนิ ความว่า ชื่อว่ามุนิ เพราะรู้

คือ รู้ชัด ซึ่งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น. บทว่า โส จ ตตฺถ

อปุจฺฉิตฺถ ความว่า พระดาบสนั้น ได้สอบถามถึงคนผู้อยู่ในที่นั้น.

บทว่า เย ตตฺถ สุ สมาคตา ได้แก่ เหล่าคนผู้มาประชุมกันที่ป่าช้า

นั้น. ศัพท์ว่า สุ เป็นเพียงนิบาต. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า เย ตตฺถาสุ

สมาคตา ดังนี้ก็มี. บทว่า อาสุ ความว่า ได้มีแล้ว.

บทว่า นานาคนฺธสเมริต ความว่า มีกลิ่น นานาชนิด หอมฟุ้ง

อบอวลไปโดยรอบ. บทว่า อิโต แปลว่า จากมนุษยโลก. ด้วย

คำว่า ทูรคต หญิงนี้กล่าวเพราะค่าที่ตนไปสู่ปรโลก. บทว่า

พฺรหฺมทตฺตาติ วทติ ความว่า พระนางร้องเรียกด้วยอำนาจ

ความรำพรรณ โดยระบุถึงชื่ออย่างนี้ว่า พรหมทัต พรหมทัต.

บทว่า พฺรหฺมทตฺสฺส ภทฺทนฺเต พฺรหฺมทตฺตสฺส มาริส

อธิบายว่า ข้าแต่พระมหามุนีผู้มีกายและจิตปลอดโปร่ง ผู้นิรทุกข์

นี้เป็นพระเมรุมาศของพระเจ้าพรหมทัต หญิงนี้ เป็นพระมเหสี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 339

ของพระเจ้าพรหมทัตพระองค์นั้นนั่นเอง ขอความเจริญ จงมีแก่

ท่าน และจงมีแด่พระเจ้าพรหมทัตนั้น ประโยชน์สุขย่อมมีแด่พระ-

มเหสีเช่นนั้น ผู้สถิตอยู่ในปรโลก ด้วยความคิดถึงเนืองนิตย์ถึงหิต

ประโยชน์.

ลำดับนั้น พระดาบสนั้น ครั้นสดับคำของคนเหล่านั้นแล้ว

ด้วยอาศัยความอนุเคราะห์ จึงไปยังสำนักของพระนางอุพพรี เพื่อ

จะบันเทาความเศร้าโศกของพระนางอุพพรี จึงได้กล่าวคาถาว่า :-

พระราชาทรงพระนามว่า พรหมทัต ถูก

เผาในป่าช้านี้ ๘๖,๐๐๐ พระองค์แล้ว บรรดา

พระเจ้าพรหมทัตเหล่านั้น พระนางทรง

กรรแสงถึงพระเจ้าพรหมทัตพระองค์ไหน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉฬาสีติสหสฺสานิ ความว่า

นับได้ ๘๖,๐๐๐ พระองค์ บทว่า พฺรหฺมทตฺตสฺสนามกา ได้แก่

มีชื่ออย่างนี้ว่า พรหมทัต. บทว่า เตส กมนุโสจสิ ความว่า พระนาง

ทรงพระกรรแสงถึงพระเจ้าพรหมทัตพระองค์ไหน บรรดาพระเจ้า

พรหมทัตที่นับได้ ๘๖,๐๐๐ พระองค์นั้น. ดาบสถามว่า พระนางเกิด

ความเศร้าโศก เพราะอาศัยพระเจ้าพรหมทัต พระองค์ไหนกัน.

ก็พระนางอุพพรี ถูกฤาษีนั้นถามแล้วอย่างนี้ เมื่อจะบอกถึง

พระเจ้าพรหมทัตที่ตนประสงค์ จึงกล่าวคาถาว่า :-

ข้าแต่ทานผู้เจริญ พระราชาพระองค์ใด

เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าจูฬนี ทรงเป็นใหญ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 340

อยู่ในแคว้นปัญจาละ ดิฉันเศร้าโศกถึงพระ-

ราชาพระองค์นั้น ผู้เป็นพระราชสวามี ทรงประ-

ทานสิ่งของที่น่าปรารถนาทุกอย่าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จูฬนีปุตฺโต ได้แก่พระโอรส

ของพระราชา ผู้ทรงพระนามอย่างนั้น. บทว่า สพฺพกามท ได้แก่

ทรงประทานสิ่งทั้งปวงที่น่าต้องการน่าปรารถนาแก่ดิฉัน, หรือ

ผู้ให้สิ่งที่สรรพสัตว์ต้องการ.

เมื่อพระนางอุพพรี กล่าวอย่างนี้แล้ว ดาบสจึงกล่าว คาถา

๒ คาถาอีกกว่า :-

พระราชาทุกพระองค์ ทรงพระนามว่า

พรหมทัตเหมือนกันทั้งหมด ล้วนเป็นพระราช-

โอรสของพระเจ้าจูฬนี เป็นใหญ่อยู่ในแคว้น

ปัญจาละ พระนางเป็นพระมเหสี ของพระ-

ราชาเหล่านั้นทั้งหมด โดยลำดับกันมา เพราะ

เหตุไร พระนางจึงเว้นพระราชา พระองค์ก่อน ๆ

เสีย มาทรงกรรแสงถึงพระราชาพระองค์หลัง

เล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพวาเหสุ ความว่า พระราชา

เหล่านั้นทั้งหมดนับได้ ๘๖,๐๐๐ พระองค์ เป็นพระราชโอรสของ

พระเจ้าจูฬนี พระนามว่า พรหมทัต ได้เป็นใหญ่ในแคว้นปัญจาละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 341

ความพิเศษมีความเป็นพระราชา เป็นต้นเหล่านี้ ไม่ได้มีแต่พระ-

ราชาแม้พระองค์เดียว ในพระราชาเหล่านั้น.

บทว่า มเหสิตฺตมการยิ ความว่า ก็ท่านได้กระทำ ให้เป็น

พระอัครมเหสี ของพระราชาทั้งหมดนั้น โดยลำดับ อธิบายว่า

ถึงโดยลำดับ ด้วยบทว่า กสฺมา พระดาบสถามว่า ท่านเว้น

พระราชาพระองค์ก่อน ๆ ในบรรดาพระราชาเหล่านี้ ผู้ไม่พิเศษ

โดยคุณและโดยเป็นพระสวามี มาทรงกรรแสงถึงพระราชาพระองค์

หลัง พระองค์เดียวเท่านั่น เป็นเพราะเหตุไร คือ ด้วยเหตุไร ?

พระนางอุพพรี ได้ฟังดังนั้นแล้ว เกิดสลดพระทัย จึงกล่าว

คาถากะดาบสอีกว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ดิฉันเกิดเป็นแต่หญิง

ตลอดกาลนานเท่านั้นหรือ หรือจะเกิดเป็นชาย

บ้าง ท่านพูดถึงแต่กาลที่ดิฉันเป็นหญิง ในสงสาร

เป็นอันมาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาตุเม คือ ในตน. บทว่า อิจฺถิภูตาย

แปลว่า เกิดเป็นผู้หญิง. บทว่า ทีฆรตฺตาย แปลว่า ตลอดกาลนาน.

จริงอยู่ ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า เมื่อดิฉันเป็นผู้หญิง ก็คงเป็น

หญิงอยู่ตลอดกาลเท่านั้น. หรือว่า จะเป็นผู้ชายได้บ้าง. บทว่า

ยสฺสา เม อิตฺถิภูตาย ความว่า ข้าแต่ท่านพระมหามุนี ท่านพูด

ถึงคือกล่าวถึงแต่กาลที่ดิฉันเป็นหญิง เป็นมเหสี ในสงสารมากมาย

ถึงเพียงนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า อาหุ เม อิตฺถิภูตาย ดังนี้ก็มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 342

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า อา เป็นนิบาต ใช้ในอนุสสรณัตถะ.

บทว่า อาหุ เม ความว่า ดิฉันเอง ได้ระลึกถึง คือได้รู้ทั่วถึงข้อนี้.

มีวาจาประกอบความว่า เมื่อดิฉันเป็นหญิง คือเกิดเป็นผู้หญิง

ดิฉันเกิดไป ๆ มา ๆ ตลอดกาลเพียงเท่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้

เพราะเหตุไร ? เพราะเมื่อดิฉันเป็นหญิง ท่านได้ทำดิฉันให้เป็น

มเหสีของพระราชาทุกพระองค์โดยลำดับ ข้าแต่พระมหามุนี

ท่านได้กล่าวถึงฉันในสงสารเป็นอันมาก เพราะเหตุไร ?

พระดาบสครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงว่า การกำหนด

แน่นอนนี้ ไม่มีในสงสารว่า หญิงก็ต้องเป็นหญิง ชายก็ต้องเป็นชาย

อยู่นั่นเอง จงกล่าวคาถาว่า :-

บางคราวพระนางเกิดเป็นหญิง บางคราว

เกิดเป็นชาย บางคราวก็เกิดในกำเนิดปสุสัตว์

ที่สุดแห่งอัตภาพทั้งหลายอันเป็นอดีต ย่อม

ไม่ปรากฏอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ อิตฺถี อหุ ปุริโส ความว่า

บางคราวท่านก็เป็นหญิง บางคราวก็เป็นชาย จะเป็นหญิงหรือเป็น

ชายอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ โดยที่แท้เกิดในกำเนิดปสุสัตว์บ้าง

คือ บางคราวก็ไปสู่ภาวะปสุสัตว์บ้าง คือ บางคราวก็เกิดในกำเนิด

สัตว์ดิรัจฉานบ้าง. บทว่า เอวเมต อตีตาน ปริยนฺโต น ทิสฺสติ

ความว่า ที่สุดแห่งอัตภาพอันเป็นอดีต อันเกิดเป็นหญิง เป็นชาย

และเป็นสัตว์ดิรัจฉานเป็นต้น อย่างนี้ คือตามที่กล่าวแล้วนี้ ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 343

ไม่ปรากฏ แก่ผู้เห็นด้วยญาณจักษุ คือ ด้วยความอุตสาหะใหญ่

สำหรับพระองค์ คืออย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ โดยที่แท้ที่สุดแห่ง

อัตภาพ ของเหล่าสัตว์ผู้วนเวียนอยู่ในสงสารทั้งหมด ย่อมไม่ปรากฏ

คือรู้ไม่ได้ทีเดียว. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ไม่มีที่สุด

และเบื้องต้นอันใคร ๆ ไปตามอยู่รู้ไม่ได้ เบื้องต้น

และที่สุดของเหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่อง

ปิดกั้น ผูกพันด้วยตัณหา แล่นไป ท่องเที่ยวไป

ย่อมไม่ปรากฏ.

พระมเหสี ได้ฟังธรรมที่พระดาบสนั้น เมื่อจะประกาศ

ความที่สงสารไม่มีที่สุด และความที่สัตว์มีกรรมเป็นของของตน

แสดงไว้แล้วอย่างนี้ มีหทัยสลดในสงสาร และมีใจเลื่อมใสในธรรม

ปราศจากลูกศรคือความเศร้าโศก เมื่อจะประกาศความเลื่อมใส

และความปราศจากเศร้าโศกของตน จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า:-

ท่านดับความกระวนกระวายทั้งปวงของ

ดิฉัน ผู้เร่าร้อนอยู่ให้หายเหมือนบุคคลเอาน้ำ

ดับไฟที่ลาดด้วยน้ำมันฉะนั้น ท่านบันเทาความ

เศร้าโศก ถึงพระสวามีของดิฉัน ผู้ถูกความ

เศร้าโศกครอบงำแล้ว ถอนได้แล้วหนอ ซึ่งลูกศร

ความเศร้าโศก อันเสียดแทงที่หทัยของดิฉัน

ข้าแต่ท่านผู้เป็นพระมหามุนี ดิฉันเป็นผู้มีลูกศร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 344

คือความเศร้าโศกอันถอนขึ้นได้แล้ว เป็นผู้เย็น

สงบ ดิฉันไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้อีก เพราะได้

ฟังคำของท่าน.

ความของคาถานั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ในหนหลัง

นั่นแล.

บัดนี้ พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงข้อปฏิบัติของพระนาง

อุพพรี ผู้มีพระหทัยสลด จึงได้ตรัสพระคาถา ๔ พระคาถาว่า :-

พระนางอุพพรี ฟังคำสุภาษิตของดาบส

เป็นสมณะนั้นแล้ว ถือบาตรและจีวรออกบวช

เป็นบรรพชิต ครั้นออกบวชแล้ว เจริญเมตตาจิต

เพื่อเข้าถึงพรหมโลก พระนางอุพพรีนั้น เมื่อ

ท่องเที่ยวไปสู่บ้านหนึ่งจากบ้านหนึ่ง สู่นิคม

และราชธานีทั้งหลาย ได้เสด็จสวรรคต ที่บ้าน

อุรุเวลา พระนางเบื่อหน่ายความเป็นหญิง เจริญ

เมตตาจิต เพื่อบังเกิดในพรหมโลก จึงได้เป็นผู้

เข้าถึงพรหมโลก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส ได้แก่ ดาบสนั้น. บทว่า

สุภาสิต ได้แก่ คำอันเป็นสุภาษิต, อธิบายว่า ซึ่งธรรม, บทว่า

ปพฺพชิตา สนฺตา ได้แก่ เข้าถึงบรรพชา หรือบวชแล้ว เป็นผู้มี

กายวาจาสงบ. ด้วยบทว่า เมตฺตจิตฺต พระนางอุพพรี กล่าวถึงจิต

ที่เกิดพร้อมด้วยเมตตา คือ ฌานที่มีเมตตาเป็นอารมณ์ โดยยก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

จิตขึ้นเป็นประธาน. บทว่า พฺรหฺมโลกูปปติติยา ความว่า ก็และ

พระนางเมื่อเจริญเมตตาจิตนั้น ก็เจริญเพื่อเข้าถึงพรหมโลก ไม่ใช่

เพื่อเป็นบาทแห่งวิปัสสนาเป็นต้น. จริงอยู่เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่

เสด็จอุบัติ ดาบสและปริพาชกเจริญธรรมมีพรหมวิหารเป็นต้น

ก็เจริญเพียงเพื่อภวสมบัติเท่านั้น.

บทว่า คามา คาม ได้แก่ จากบ้านหนึ่ง ไปบ้านหนึ่ง. บทว่า

อาภาเวตฺวา แปลว่า เจริญแล้ว คือ พอกพูนแล้ว. บางอาจารย์

กล่าวว่า อภาเวตฺวา ก็มี. อ อักษร ของบทว่า อภาเวตฺวา ของ

อาจารย์บางพวกนั้น เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อิตฺถิ จิตฺต วิราเชตฺวา

ความว่า คลายความคิด คือ ความมีอัธยาศัย ได้แก่ ความชอบใจ

ในความเป็นหญิง คือ เป็นผู้มีจิตปราศจากความยินดี ในความ

เป็นหญิง. บทว่า พฺรหฺมโลกูปคา ความว่า ได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก

โดยการถือปฏิสนธิ. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้ว

ในหนหลัง.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ได้ทรง

กระทำความเศร้าโศก ของอุบาสิกานั้น โดยจตุสัจจเทศนาเบื้องบน.

ในเวลาจบสัจจะ อุบาสิกานั้น ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. และ

เทศนา ได้มีประโยชน์แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอุพพรีเปติวัตถุที่ ๑๓

จบ ปรมัตถทีปนี

อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 346

รวมเรื่องที่มีในอุพพรีวรรคนี้ คือ

๑. สังสารโมจกเปติวัตถุ ๒. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ

๓. มัตตาเปติวัตถุ ๔. นันทาเปติวัตถุ ๕. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ

๖. กัณหเปตวัตถุ ๗. ธนปาลเปตวัตถุ ๘. จูฬเสฏฐีเปตวัตถุ

๙. อังกุรเปตวัตถุ ๑๐. อุตตรมาตุเปติวัตถุ ๑๑. สุตตเปตวัตถุ

๑๒. กรรณมุณฑเปติวัตถุ ๑๓. อุพพรีเปติวัตถุ.

จบ อุพพรีวรรคที่ ๒

อุพพรีวรรคที่ ๒

ประดับด้วยเรื่อง ๑๓ เรื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 347

จูฬวรรคที่ ๓

๑. อภิชชมานเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตเปลือยมีร่างเป็นเปรตกึ่งหนึ่ง

โกสิยมกาอำมาตย์ของพระเจ้าพิมพิสาร ถามเปรตตนหนึ่งว่า

[๑๑๑] ดูก่อนเปรต ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มี

ร่างกายเป็นเปรตกึ่งหนึ่ง ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่ง

ร่างกาย เดินไปในน้ำอันไม่ขาดสาย ในแม่น้ำ

คงคานี้ ท่านจักไปไหน ที่อยู่ของท่านอยู่ที่ไหน.

เพื่อจะแสดงเนื้อความที่เปรตนั้นและโกสิยมหาอำมาตย์

กล่าวแล้ว พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวคาถาความว่า

เปรตนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไปยังบ้าน

จุนทัฏฐิละ อันอยู่ในระหว่างแห่งวาสภคามกับ

เมืองพาราณสี แต่บ้านนั้นอยู่ใกล้เมืองพาราณสี

มหาอำมาตย์อันปรากฏชื่อว่าโกลิยะเป็นเปรต

นั้นแล้ว ได้ให้ข้าวสัตตูและคู่ผ้าสีเหลืองแก่เปรต

นั้น เมื่อเรือหยุดเดิน ได้ให้ข้าวสัตตูและคู่ผ้าแก่

อุบาสก เมื่อคู่ผ้าอันโกลิยะอำมาตย์ให้ช่างกัลบก

แล้ว ผ้านุ่งผ้าห่มก็ปรากฏแก่เปรตทันที ภายหลัง

เปรตนั้นนุ่งห่มผ้าดีแล้ว ทัดทรงดอกไม้ตบแต่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 348

ร่างกายด้วยอาภรณ์ ทักษิณาย่อมเข้าไปสำเร็จ

แก่เปรตนั้น ผู้อยู่แล้วในที่นั้น เพราะฉะนั้น

บัณฑิตผู้มีปัญญา พึงให้ทักษิณาบ่อย ๆ เพื่อ

อนุเคราะห์แก่เปรตทั้งหลาย

เปรตเหล่าอื่น บางพวกนุ่งผ้าขี้ริ้วขาด

รุ่งริ่ง บางพวกนุ่งผม หลีกไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่เพื่อ

หาอาหาร บางพวกวิ่งไปแม้ในที่ไกลไม่ได้แล้ว

กลับมา บางพวกสลบแล้วเพราะความหิวกระ-

หาย นอนกลิ้งไปบนพื้นดิน บางพวกล้มลงที่

แผ่นดินในที่ตนวิ่งไปนั้น ร้องไห้ร่ำไรว่า เมื่อก่อน

เราทั้งหลายไม่ได้ทำกุศลไว้ จึงได้ถูกไฟคือความ

หิวและความกระหายเผาอยู่ ดุจถูกไฟเผาแล้ว

ในที่ร้อน เมื่อก่อน พวกเรามีธรรมอันลามก เป็น

หญิงแม่เรือนมารดาทารกในตระกูล เมื่อไทย

ธรรมทั้งหลายมีอยู่ไม่กระทำที่พึ่งแก่ตน เออ

ก็ข้าวและน้ำมีมากแต่เราไม่กระทำการแจกจ่าย

ให้ทาน และไม่ได้อะไรในบรรพชิตทั้งหลาย

ผู้ปฏิบัติชอบ อยากทำแต่กรรมที่คนดีไม่พึงทำ

เป็นคนเกียจคร้านใคร่แต่ความสำราญและกินมาก

ให้แต่เพียงโภชนะก้อนหนึ่ง ด่าปฏิคาหกผู้รับ

อาหาร เรือน พวกทาสีทาสาและผ้าอาภรณ์ของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

เราเหล่านั้น ไม่สำเร็จประโยชน์แก่พวกเรา พวก

เขาไปบำเรอคนอื่นหมด เรามีแต่ส่วนแห่งทุกข์

เราจุติจากเปรตนี้แล้ว จักไปเกิดในตระกูลอัน

ต่ำช้าเลวทราม คือ ตระกูลจักสาน ตระกูลช่างรถ

ตระกูลนายพราน ตระกูลคนจัณฑาล ตระกูลคน

กำพร้า ตระกูลช่างกัลบก นี้เป็นคติแห่งความ

ตระหนี่ ส่วนทายกทั้งหลายผู้มีกุศลอันทำไว้แล้ว

ในชาติก่อน ปราศจากความตระหนี่ ย่อมยัง

สวรรค์ให้บริบูรณ์ และย่อมยังนันทนวันให้

สว่างไสวรื่นรมย์แล้วในเวชยันตปราสาทสำเร็จ

ความปรารถนา ครั้นจุติจากเทวโลกแล้ว ย่อม

เกิดในตระกูลสูง มีโภคะมาก คือในตระกูลแห่ง

บุคคลมีเรือนยอด และปราสาทราชมณเฑียร มี

บัลลังก์อันลาดแล้วด้วยผ้าโกเชาว์ มีเหล่าบุรุษ

และสตรีถือพัดอันประดับแล้วด้วยแววหางนกยูง

คอยพัดอยู่ ในเวลาเป็นทารกก็ทัดทรงดอกไม้

ตบแต่งร่างกาย หมู่ญาติและพี่เลี้ยงนางนมผลัด

ก็น้อม ไม่ต้องลงสู่พื้น อันชนทั้งหลายผู้

ปรารถนาความสุข เข้าไปบำรุงอยู่ทั้งเช้าและเย็น

ตลอดชาติ ส่วนใหญ่แห่งเทวดาเหล่าไตรทศ

ชื่อว่านันทนวัน อันเป็นสถานไม่เศร้าโศก น่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 350

รื่นรมย์นี้ ย่อมไม่มีแก่ชนทั้งหลายผูไม่ได้ทำบุญ

ไว้ ย่อมมีแต่เฉพาะเหล่าชนผู้มีบุญอันทำไว้แล้ว

เท่านั้น ความสุขในโลกนี้และในปรโลก ย่อมไม่

มีแก่เหล่าชนผู้ไม่ทำบุญ ความสุขในโลกนี้และ

โลกหน้า ย่อมมีเฉพาะแก่เหล่าชนผู้ทำบุญไว้

ปรารถนาความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าไตร-

ทศเทพ พึงทำบุญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าบุคคล

ผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงใจอยู่ในสวรรค์

เพียบพร้อมไปด้วยโภคสมบัติ.

จบ อภิชชมานเปตวัตถุที่ ๑

จูฬวรรคที่ ๓

อรรถกถาอภิชชมานเปตวัตถุที่ ๑

เมื่อพระศาสดาเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภเปรตพรานตนหนึ่ง จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

อภิชฺชมาเน วาริมฺหิ ดังนี้.

ได้ยินว่าในกรุงพาราณสี ได้มีพรานคนหนึ่งอยู่ในบ้าน

ชื่อว่า จุนทัฏฐิละ เลยวาสภคาม ฝั่งแม่น้ำคงคาในด้านอีกทิศหนึ่ง

เขาล่าเนื้อในป่าย่างเนื้อล่ำ ๆ กิน ที่เหลือเอาห่อใบไม้หามมาเรือน

พวกเด็กเล็ก ๆ เห็นเขาที่ประตูบ้านจึงวิ่งเหยียดมือร้องขอว่า จง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 351

ให้เนื้อฉัน จงให้เนื้อฉัน เขาได้ให้เนื้อแก่เด็กเหล่านั้นคนละน้อย ๆ.

ภายหลังวันหนึ่ง พวกเด็กเห็นเขาที่ประตูบ้าน ผู้ไม่ได้เนื้อ ประดับ

ดอกราชพฤกษ์และหอบเอาไปบ้านเป็นจำนวนมาก จึงวิ่งเหยียด

มือร้องขอว่า จงให้เนื้อฉัน จงให้เนื้อฉัน เขาได้ให้ดอกนมแมว

แก่เด็กเหล่านั้นคนละดอก.

ครั้นสมัยต่อมา เขาทำกาละแล้วบังเกิดในหมู่เปรต เป็นผู้

เปลือยกายมีรูปน่าเกลียด เห็นเข้าน่าสะพึงกลัว ไม่รู้จักข้าวและ

น้ำแม้แต่ในความฝัน ทัดทรงกำดอกราชพฤกษ์และดอกโกสุมบน

ศีรษะ คิดว่าเราจักได้อะไร ๆ ในสำนักของพวกญาติในจุนทัฏฐิลคาม

เมื่อน้ำในแม่น้ำคงคาไหลไม่ขาดสาย จึงเดินทวนกระแสน้ำไป. ก็

สมัยนั้น อำมาตย์ของพระเจ้าพิมพิสาร ชื่อว่า โกลิยะ ปราบ

ปัจจันตนครซึ่งกำเริบเสิบสานให้สงบแล้วก็กลับมา จึงส่งพล

บริวารมีพลช้าง ละพลม้าเป็นต้นไปทางบก ส่วนตนเองมาทางเรือ

ตามกระแสแม่น้ำคงคา เห็นเปรตนั้นกำลังเดินไปอย่างนั้น เมื่อจะ

ถามจึงกล่าวคาถาว่า :-

ดูก่อนเปรต ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มี

ร่างกายเป็นเปรตกึ่งหนึ่ง ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่ง

ร่างกายเดินไปในน้ำที่ไหลไม่ขาดสายในแม่น้ำ

คงคานี้ ท่านจักไปไหน ที่อยู่ของท่านอยู่ที่ไหน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิชฺชนาเน ได้แก่ ไม่แยกกัน

คือ ยังติดกันโดยการย่างเท้า. บทว่า วาริมฺหิ คงฺคาย ได้แก่ น้ำใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 352

แม่น้ำคงคา. บทว่า อิธ คือ ในที่นี้. บทว่า ปุพฺพทฺธเปโตว ความว่า

มีร่างกายข้างหน้ากึ่งหนึ่ง ไม่เหมือนเปรต คือเหมือนเทพบุตร

ไม่นับเนื่องในกำเนิดเปรต. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า อย่างไร ? ท่านจึง

กล่าวว่า เป็นผู้ทัดทรงดอกไม้ประดับประดา. อธิบายว่า ประดับ

ประดาด้วยดอกไม้ คล้องไว้ที่ศีรษะ. บทว่า กสฺส วาโส ภวิสฺสติ

ความว่า ที่อยู่ของท่าน อยู่ในบ้านไหน หรือในประเทศไหน ท่าน

จงบอกเรื่องนั้น.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงคำที่เปรตนั้นและโกลิยอำมาตย์กล่าว

ในกาลไร พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาว่า :-

เปรตนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไปยังบ้าน

จุนทัฏฐิละอันอยู่ในระหว่างวาสภคามกับกรุง

พาราณสี แต่บ้านนั้นอยู่ใกล้กรุงพาราณสี ก็

มหาอำมาตย์อันปรากฏชื่อว่า โกลิยะเห็นเปรต

นั้นแล้ว ได้ให้ข้าวสตูและคูผ้าสีเหลืองแก่เปรต

นั้น เมื่อเรือหยุดเดินได้ให้ข้าวสตูและคู่ผ้าแก่

อุบาสกช่างกัลบก เมื่อคู่ผ้าอันโกลิยะให้ช่าง

กัลบกแล้ว ผ้านุ่งผ้าห่มก็ปรากฏแก่เปรตทันที

ภายหลัง เปรตนั้นนุ่งห่มผ้าดีแล้ว ทัดทรงดอกไม้

ตกแต่งร่างกายด้วยอาภรณ์ ทักษิณาย่อมสำเร็จ

แก่เปรตนั้นผู้อยู่ในที่นั้น เพราะฉะนั้น บัณฑิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 353

ผู้มีปัญญาพึงให้ทักษิณบ่อย ๆ เพื่ออนุเคราะห์

แก่เปรตทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า. จุนฺทฎฺิล ได้แก่ บ้านอันมีชื่อ

อย่างนั้น. บทว่า อนฺตเร วาสภคาม พาราณสึ จ สนฺติเก ได้แก่

ในระหว่างวาสภคามและกรุงพาราณสี. จริงอยู่ บทว่า อนฺตเร

วาสภคาม พาราณสึ จ สนฺติเก นี้ เป็นทุติยาวิภัติ ใช้ในอรรถแห่ง

ฉัฏฐีวิภัติ เพราะประกอบด้วย อนฺตรา ศัพท์. จริงอยู่ บ้านนั้น

อยู่ในที่ใกล้กรุงพาราณสีแล. ก็ในข้อนั้น มีอธิบายดังนี้ว่า ในระหว่าง

วาสภคามและกรุงพาราณสี ข้าพเจ้าจักไปบ้านชื่อว่า จุนทัฏฐิลคาม

ไม่ไกลแต่กรุงพาราณสี.

บทว่า โกลิโย อิติ วิสฺสุโต ได้แก่ มีชื่อปรากฏอย่างนี้ว่า

โกลิยะ. บทว่า สตฺตุ ภตฺตญฺจ ได้แก่ ข้าว และภัต. บทว่า

ปิตกญฺจ ยุค อทา ความว่า ได้ให้คู่ผ้าคู่หนึ่งสีเหลือง คือ สีเหมือน

ทองคำ. หากเมื่อเขาถามว่า ได้ให้เมื่อไร ? จึงกล่าวตอบว่า ได้ให้

เมื่อเรือหยุด. บทว่า กปฺปกสฺส อทาปยิ มีวาจาประกอบความว่า

ได้หยุดเรือซึ่งกำลังแล่น ได้ให้แก่อุบาสกช่างกัลบกคนหนึ่งในที่นั้น

เมื่อโกลิยอำมาตย์ให้คู่ผ้านั้น. บทว่า าเน คือ โดยทันที ได้แก่

ในขณะนั้นนั่นเอง. บทว่า เปตสฺส ทิสฺสถ ความว่า ได้ปรากฏใน

ร่างของเปรต คือ ผ้านุ่งและผ้าห่มได้สำเร็จแก่เปรตนั้น. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ภายหลังเปรตนั้นนุ่งห่มดีแล้ว ทัดทรงดอกไม้

ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ อธิบายว่า นุ่งห่มผ้าดีแล้ว ประดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 354

ประดาตกแต่งด้วยอาภรณ์คือดอกไม้. บทว่า าเน ิตสฺส เปตสฺส

อุปกปฺปถ ความว่า ก็เพราะทักษิณานั้นตั้งอยู่ในฐานะอันควรแก่

พระทักขิไณยบุคคล ย่อมสำเร็จ คือ ได้ถึงการประกอบเป็นพิเศษ

แก่เปรตนั้น. บทว่า ตสฺมา ทชฺเชถ เปตาน อนุกมฺปาย ปุนปฺปุน

ความว่า พึงให้ทักษิณาบ่อย ๆ เพื่ออนุเคราะห์เปรต คือ เพื่ออุทิศ

เปรต.

ลำดับนั้น โกลิยมหาอำมาตย์นั้น เมื่อจะอนุเคราะห์เปรตนั้น

จึงให้สำเร็จทานวิธีมาตามกระแสน้ำ เมื่อพระอาทิตย์อุทัยได้ถึง

กรุงพาราณสี. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาทางอากาศ เพื่อ

อนุเคราะห์เปรตเหล่านั้น ได้ประทับยืนที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ฝ่าย

โกลิยมหาอำมาตย์ลงจากเรือแล้ว หรรษาร่าเริง นิมนต์พระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ขอพระองค์

ทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้ เพื่ออนุเคราะห์

ข้าพระองค์. พระศาสดาทรงรับด้วยดุษณีภาพ. โกลิยมหาอำมาตย์

นั้นได้ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว จึงให้สร้างสาขา

มณฑปใหญ่ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ในขณะนั้นนั่นเอง ให้ประดับ

ประดาด้วยผ้าต่างชนิดอันวิจิตรด้วยสีย้อมต่าง ๆ ทั้งเบื้องบน

และด้านข้าง ๆ ทั้ง ๔ ด้าน ได้ให้ปูอาสนะถวายแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าในที่นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่

ตบแต่งไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 355

ลำดับนั้น มหาอำมาตย์นั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

บูชาด้วยสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ถวายบังคมแล้ว

นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลคำที่ตนกล่าวและคำโต้ตอบ

ของเปรตในหนหลัง แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระดำริว่า ขอสงฆ์จงมา. พร้อมกับที่พระองค์ทรงพระดำริ

นั่นแล ภิกษุสงฆ์อันพุทธานุภาพกระตุ้นเตือน จึงพากันแวดล้อม

พระธรรมราชา ดุจฝูงหงส์ทองพากันแวดล้อมพญาหงส์ธตรฐ.

ในขณะนั้นนั่นเอง มหาชนพากันประชุมด้วยถ้อยคำ จักมีพระธรรม

เทศนาอันยิ่ง. มหาอำมาตย์เห็นด้วยดังนั้นมีจิตเลื่อมใส จึงอังคาส

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้อิ่มหนำด้วยขาทนียะ

และโภชนียะอันประณีต. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหาร

เสร็จแล้ว เพื่ออนุเคราะห์มหาชนจึงทรงอธิษฐานว่า ขอคนชาวบ้าน

ใกล้กรุงพาราณสีจงประชุมกันเถิด. ก็มหาชนทั้งหมดนั้นได้ประชุม

กันด้วยกำลังพระฤทธิ์. และพระองค์ได้ทรงทำเปรตเป็นอันมาก

ให้ปรากฏแก่มหาอำมาตย์. บรรดาเปรตเหล่านั้น บางพวกนุ่งผ้า

ท่อนเก่าขาดวิ่น บางพวกเอาผมของตนเองปิดอวัยวะที่ละอาย

บางพวกเปลือยกายมีรูปเหมือนตอนเกิด ถูกความหิวกระหาย

ครอบงำ มีหนังหุ้มห่อไว้ มีร่างกายเพียงแต่กระดูก เที่ยวหมุนเคว้ง

ไปข้างโน้นข้างนี้ ปรากฏแก่มหาชนโดยประจักษ์

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรุงแต่งอิทธาภิสังขาร

คือบันดาลด้วยพระฤทธิ์ โดยประการที่เปรตเหล่านั้นประชุมพร้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 356

กันประกาศความชั่วที่ตนทำแก่มหาชน. พระสังคีติกาจารย์เมื่อ

จะแสดงเนื้อความนั้น จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า :-

เปรตเหล่าอื่น บางพวกนุ่งผ้าขี้ริ้วขาด

รุ่งริ่ง บางพวกนุ่งผม หลีกไปยังทิศน้อยทิศใหญ่

เพื่อหาอาหาร บางพวกวิ่งไปแม้ในที่ไกล ไม่ได้

ก็กลับมา บางพวกสลบแล้ว เพราะความหิว

กระหาย นอนกลิ้งเกลือกบนพื้นดิน บางพวก

ล้มลงที่แผ่นดินในที่ที่คนวิ่งไปนั้น ร้องไห้ร่ำไร

ว่า เราทั้งหลายไม่ได้ทำกุศลไว้ในกาลก่อน จึง

ได้ถูกไฟคือ ความหิว ความกระหายเผาอยู่ ดุจ

ถูกไฟเผาในที่ร้อน เมื่อก่อนพวกเรามีธรรมอัน

ลามก เป็นหญิงแม่เรือนมารดาทารกในตระกูล

เมื่อไทยธรรมทั้งหลายมีอยู่ ไม่กระทำที่พึ่งแก่ตน.

เออ ก็ข้าวและน้ำมีมาก แต่เราไม่ทำการแจกจ่าย

ให้ทานและไม่ได้ให้อะไร ๆ ในบรรพชิตผู้

ปฏิบัติชอบ อยากทำแต่กรรมที่คนดีเขาไม่ทำ

เกียจคร้าน ใคร่แต่ความสำราญ และกินมาก

ให้แต่เพียงโภชนะก้อนหนึ่ง คำว่าปฏิคาหกผู้รับ

โภชนะ. เรือน ทาส ทาสี และเครื่องอาภรณ์ของ

เราเหล่านั้น ไม่สำเร็จประโยชน์แก่พวกเรา

พวกเขาไปบำเรอคนอื่นหมด พวกเรามีแต่ส่วน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 357

ของความทุกข์ เราจุติจากเปรตนี้แล้วจักไปเกิด

ในตระกูลอันต่ำช้าเลวทราม คือ ตระกูลจักสาน

ตระกูลช่างรถ ตระกูลนายพราน ตระกูลคน

จัณฑาล ตระกูลคนกำพร้า ตระกูลช่างกัลบก

นี่เป็นคติของความตระหนี่. ส่วนทายกทั้งหลาย

ผู้ได้ทำกุศลไว้ในชาติก่อน ปราศจากความ

ตระหนี่ ย่อมทำสวรรค์ให้บริบูรณ์ และย่อมทำ

สวนนันทนวันให้สว่างไสว รื่นรมย์อยู่เวชยันต-

ปราสาท สำเร็จความปรารถนาในสิ่งที่น่าใคร่

ครั้นจุติจากเทวโลกแล้ว ย่อมเกิดในตระกูลสูง

มีโภคะมาก คือ ในตระกูลคนมีเรือนยอด และ

ปราสาทราชมณเฑียร มีบัลลังก์ลาดด้วยผ้า

โกเชาว์ มีเหล่าบุรุษและสตรีถือพัดอันประดับ

ด้วยแววหางนกยูง คอยพัดอยู่. ในเวลาเป็นทารก

ก็ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่งร่างกาย หมู่ญาติ พี่เลี้ยง

นางนมผลัดกันอุ้ม ไม่ต้องลงสู่พื้นดิน อันชน

ผู้ปรารถนาความสุขเข้าไปบำรุงอยู่ทั้งเช้าและ

เย็นตลอดชาติ. สวนใหญ่ของเทวดาเหล่าไตรทศ

ชื่อว่านันทนวัน เป็นสถานที่ไม่เศร้าโศก น่า

รื่นรมย์นี้ ย่อมไม่มีแก่ชนผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ ความ

สุขในโลกนี้และโลกหน้า ย่อมมีเฉพาะแต่คนผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 358

ทำบุญไว้ ผู้ปรารถนาความเป็นสหายแห่งเทวดา

เหล่าไตรทศ พึงทำบุญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่า

บุคคลผู้ทำบุญไว้ย่อมบันเทิงใจอยู่ในสวรรค์

เพียบพร้อมด้วยโภคสมบัติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาตุนฺนวสนา แปลว่า นุ่งผ้าขี้ริ้ว

รุ่งริ่ง. บทว่า เอเก แปลว่า บางพวก. บทว่า เกสนิวาสนา แปลว่า

เอาผมนั่นแหละปิดอวัยวะที่น่าอาย. บทว่า ภตฺตาย คจฺฉนฺติ ความว่า

หยุดอยู่เฉพาะที่ไหน ๆ ไม่ได้ ย่อมเดินไปเพื่อต้องการอาหารด้วย

หวังใจว่า ไฉนพวกเราไปจากนี้แล้ว จะพึงได้อะไร ๆ จะเป็นอาหาร

ที่เขาทิ้งก็ตาม อาเจียนก็ตาม ครรภมลทินเป็นต้นก็ตาม ในที่ใด

ที่หนึ่ง. บทว่า ปกฺกมนฺติ ทิโสติส ความว่า. หลีกจากทิศไปสู่ทิศสิ้นที่

มีระยะห่างหลายโยชน์.

บทว่า ทูเร แปลว่า ในที่ไกลมาก. บทว่า เอเก ได้แก่ เปรต

บางพวก. บทว่า ปธาวิตฺวา ได้แก่ วิ่งเข้าไปเพื่อต้องการอาหาร.

บทว่า อลทฺธาว นิวตฺตเร ความว่า ครั้นไม่ได้ข้าวหรือน้ำดื่มอะไร ๆ

เลยก็พากันกลับ. บทว่า ปมุจฺฉิตา ความว่า เกิดสลบเพราะความ

ทุกข์อันเกิดแต่ความหิวและความกระหายเป็นต้น. บทว่า ภนฺตา

แปลว่า กลิ้งเกลือกไป. บทว่า ภูมิย ปฏิสุมฺภิตา ความว่า เมื่อความ

สลบนั้นนั่นแลเกิดขึ้น ก็ซูบซีดล้มลงบนแผ่นดิน เหมือนบุคคลยืน

ขว้างก้อนดินลงไปฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 359

บทว่า ตตฺถ คือในที่ที่ตนเดินไป. บทว่า ภูมิย ปฏิสุมฺภิตา

ความว่า ล้มลงบนภาคพื้น เพราะไม่สามารถจะทรงตัวอยู่ได้ ด้วย

ความทุกข์อันเกิดแต่ความหิวเป็นต้น เหมือนตกไปในเหวฉะนั้น.

หรือว่าในที่ที่ไปนั้น เป็นผู้หมดหวังเพราะไม่ได้อาหารเป็นต้น

ก็ล้มลงบนภาคพื้น เหมือนถูกใคร ๆ โบยตีตรงหน้า. บทว่า ปุพฺเพ

อกตกลฺยาณา แปลว่า ผู้ไม่ได้ทำคุณความดีอะไรไว้ในภพก่อน.

บทว่า อคฺคิทฑฺฒาว อาตเป ความว่า ถูกไฟคือความหิวกระหายแผดเผา

ย่อมเสวยทุกข์อย่างมหันต์ เหมือนถูกไฟเผาในที่ร้อนในฤดูแล้ง.

บทว่า ปุพฺเพ คือในอดีตภพ. บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่

ชื่อว่าผู้มีสภาวะอันลามก เพราะมีความริษยา และความตระหนี่

เป็นต้น. บทว่า ฆรณี ได้แก่ หญิงผู้เป็นแม่เรือน. บทว่า กุลมาตโร

ได้แก่ ผู้เป็นมารดาของทารกในตระกูล หรือเป็นมารดาของบุรุษ

ในตระกูล. บทว่า ทีป แปลว่าที่พึ่ง อธิบายว่า บุญ. จริงอยู่

บุญนั้นท่านเรียกว่า ปติฏฺา เพราะเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย

ในสุคติ. บทว่า นากมฺห แปลว่า ไม่ทำไว้แล้ว.

บทว่า ปหูต แปลว่า มาก. บทว่า อนฺนปานมฺปิ ได้แก่

ข้าวและน้ำ. ศัพท์ว่า สุ ในบทว่า อปิสฺสุ อวกิรียติ เป็นเพียงนิบาต.

เออก็ข้าวแลน้ำเราไม่ได้กระทำ คือ ทิ้งเสีย. บทว่า สมฺมคฺคเต

ได้แก่ เมื่อเราดำเนินชอบคือปฏิบัติชอบ. บทว่า ปพฺพชิเต แปลว่า

แก่นักบวช. จริงอยู่ บทว่า ปพฺพชิเต นี้เป็นสัตตมีวิภัติ ใช้ในอรรถ

จตุตถีวิภัติ. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เมื่อบรรพชิตผู้ดำเนินชอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 360

มีอยู่ คือ เมื่อได้บรรพชิต. บทว่า น จ กิญฺจิ อทมฺหเส ความว่า

พวกเปรตผู้ถูกความเดือดร้อนครอบงำกล่าวว่า เราไม่ได้ให้ไทยธรรม

แม้เพียงเล็กน้อย.

บทว่า อกฺมมกามา ความว่า ชื่อว่า อกัมมกามะ เพราะ

ปรารถนาอกุศลกรรมที่คนดีทั้งหลายไม่พึงกระทำ หรือชื่อว่า

กัมมกามะ เพราะปรารถนากุศลกรรมที่คนดีพึงทำ ชื่อว่า อกัมมกามะ

เพราะไม่ปรารถนากุศลกรรม อธิบายว่า ไม่มีฉันทะในกุศลกรรม.

บทว่า อลสา ได้แก่ เป็นคนเกียจคร้าน คือ ไม่มีความเพียรในการ

กระทำกุศล. บทว่า สาทุกามา ได้แก่ ปรารถนาสิ่งที่สำราญ

และอร่อย. บทว่า มหคฺฆสา แปลว่า ผู้กินจุ. แม้ด้วยบททั้ง ๒

ท่านแสดงไว้ว่า ได้โภชนะที่ดีและอร่อยแล้วไม่ให้อะไร ๆ แก่

ผู้ต้องการ บริโภคเองเท่านั้น. บทว่า อาโลปปิณฺฑทาตาโร ได้แก่

ให้ก้อนข้าวแม้เพียงคำเดียว. บทว่า ปฏิคฺคเห ได้แก่ ผู้รับก้อนข้าว

นั้น. บทว่า ปริภาสิมฺหเส ได้แก่ กล่าวกดขี่ อธิบายว่า ดูหมิ่นและ

เย้ยหยัน.

บทว่า เต ฆรา มีอธิบายว่า ในกาลก่อน พวกเราได้กระทำ

ความรักว่าเรือนของเรา เรือนเหล่านั้นตั้งอยู่ตามเดิม บัดนี้ สิ่ง

อะไร ๆ ก็ไม่สำเร็จแก่พวกเรา. แม้ในบทว่า ตา จ ทาสิโย

ตาเนวาภรณานิ โน นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

โน แปลว่า ก็พวกเรา. บทว่า เต ได้แก่ มีเรือนเป็นต้นเหล่านั้น.

บทว่า อญฺเ ปริจาเรนฺติ ความว่า กระทำการประกอบให้พิเศษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 361

ด้วยการบริโภคเป็นต้น. บทว่า มย ทุกฺขสฺส ภาคิโน ความว่า

พวกเปรตกล่าวติเตียนตนว่า ก็เมื่อก่อน พวกเราขวนขวายแต่การ

เล่นอย่างเดียว ละทิ้งสมบัติไม่รู้ที่ทำให้สมบัตินั้นติดตัวไป แต่บัดนี้

เราเป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์อันเกิดแต่ความหิว และความกระหาย

เป็นต้น.

บัดนี้ เพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลายจุติจากกำเนิดเปรตแล้ว

แม้จะเกิดในมนุษย์ ก็เป็นคนมีชาติเลว มีความประพฤติเหมือน

คนกำพร้าทีเดียว ด้วยเศษแห่งวิบากกรรมนั้นนั่นแล เพราะฉะนั้น

เพื่อจะแสดงความนั้น ท่านจึงกล่าว ๒ คาถาโดยนัยมีอาทิว่า เวณี

วา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวณี วา ได้แก่ เกิดในตระกูล

ช่างสาน อธิบายว่า เป็นช่างสานไม้ไผ่ ช่างส่านไม้อ้อ. วา ศัพท์

มีอรรถไม่แน่นอน. บทว่า อวญฺา แปลว่า ดูหมิ่น อธิบายว่า

ดูแคลน. บาลีว่า วมฺภนา ตัดพ้อ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ถูกผู้อื่น

เบียดเบียน. บทว่า รถการี ได้แก่ ช่างหนัง. บทว่า ทุพฺภิกา ได้แก่

ผู้มักประทุษร้ายมิตร คือผู้เบียดเบียนมิตร. บทว่า จณฺฑาลี แปลว่า

เป็นคนชาติจัณฑาล. บทว่า กปณา ได้แก่ วณิพก คือผู้ได้รับความ

สงสารอย่างยิ่ง. บทว่า กปฺปกา ได้แก่ เกิดในตระกูลช่างกัลบก

ในบททั้งปวงมีวาจาประกอบความว่า มีบ่อย ๆ อธิบายว่า ย่อมเกิด

ในตระกูลต่ำเหล่านี้แล้ว ๆ เล่า ๆ.

บทว่า เตสุ เตเสฺวว ชายนฺติ ความว่า เกิดในเปรตทั้งหลาย

เพราะมลทิน คือความตระหนี้ จุติจากเปรตแล้วบังเกิดในตระกูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 362

คนกำพร้าแม้พวกอื่น มีตระกูลนายพราน และตระกูลคนเทหยากเยื่อ

ซึ่งถูกตัดพ้อมาก และเข็ญใจอย่างยิ่งอันเป็นตระกูลต่ำ. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า นี้เป็นคติของตนตระหนี่ ดังนี้.

พระสังคีติกาจารย์ครั้นแสดงคติของสัตว์ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้

อย่างนี้ บัดนี้เพื่อจะแสดงคติของคนผู้ทำบุญไว้ จึงกล่าวคาถา

๗ คาถาว่า ก็ผู้ได้ทำคุณงามความดีไว้ในปางก่อน ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สคฺค เต ปริปูเรนฺติ ความว่า ทายก

ทั้งหลายได้ทำคุณงามความดีไว้ในชาติก่อน ยินดียิ่งในบุญอัน

ว่าด้วยการให้ทาน ปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ย่อมทำ

สวรรค์ คือ เทวโลกให้บริบูรณ์ ด้วยรูปสมบัติของตนและด้วย

บริวารสมบัติ. บทว่า อภาเสนฺติ จ นนฺทน ความว่า ไม่ใช่ทำ

นันทนวันให้บริบูรณ์อย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้ ย่อมครอบงำ

นันทนวันแม้สว่างไสว อยู่ตามสภาวะด้วยรัศมีแห่งต้นกัลปพฤกษ์

เป็นต้น และให้ว่างไสวโชติช่วงด้วยความโชติช่วงแห่งผ้าและ

อาภรณ์ ละด้วยรัศมีแห่งร่างกายของตน.

บทว่า กามกามิโน ความว่า มีเครื่องใช้สอยตามปรารถนา

ในกามคุณตามที่ต้องการ. บทว่า อุจฺจากุเลสุ ได้แก่ ตระกูลสูง

มีตระกูลกษัตริย์เป็นต้น. บทว่า สโภเคสุ ได้แก่ มีสมบัติมาก.

บทว่า ตโต จุตา ความว่า ครั้นจุติจากเทวโลกนั้นแล้ว

บทว่า กูฏาคาเร จ ปาสาเท ได้แก่ ในกูฎาคารและปราสาท.

บทว่า พีชิตงฺคา ได้แก่ มีเรือนร่างที่ถูกเขาพัดวีอยู่. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

โมราหตฺเถทิ ได้แก่ ถือพัดวีชนีประดับด้วยแววหางนกยูง. บทว่า

ยสสฺสิโน อธิบายว่า มีบริวารรื่นรมย์อยู่.

บทว่า องฺกโต องฺก คจฺฉนฺติ ความว่า แม้ในเวลาเป็นทารก

พวกญาติและนางนมพากันกะเดียดไป อธิบายว่า ไม่ไปตามพื้นดิน.

บทว่า อุปติฏฺนฺติ แปลว่า คอยบำรุงอยู่. บทว่า สุเขสิโน ได้แก่

ผู้ปรารถนาความสุข อธิบายว่า คอยบำบัดทุกข์แม้มีประมาณน้อยว่า

ความหนาวหรือความร้อนอย่าได้มี.

บทว่า นยิท กตปุญฺาน ความว่า สวนใหญ่ของเทวดา

ดาวดึงส์เหล่าไตรทศ ชื่อว่า นันทนวัน ใกล้ป่าใหญ่นี้ ไม่มีความ

เศร้าโศก น่ารื่นรมย์ใจ ไม่มีแก่ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ อธิบายว่า ผู้ที่

ไม่ได้บุญไว้ไม่อาจได้.

ด้วยบทว่า อิธ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาผู้ที่ได้ทำบุญไว้เป็น

พิเศษในมนุษยโลกนี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิธ คือในปัจจุบัน.

บทว่า ปรตฺถ คือ ในสัมปรายภพ.

บทว่า เตส ได้แก่ อันเทพทั้งหลายตามที่กล่าวแล้วนั้น.

บทว่า สหพฺยกามาน ได้แก่ ปรารถนาความเป็นสหาย. บทว่า

โภคสมงฺคิโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยโภคะทั้งหลาย อธิบายว่า ผู้

เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ บันเทิงใจอยู่. คำที่เหลือ

มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร ตามควร

แก่อัธยาศัยของมหาชน ผู้ประชุมกันในที่นั้น มีโกลิยอำมาตย์เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

ประมุข ผู้มีใจสลด ในเมื่อเปรตเหล่านั้นประกาศถึงคติของกรรม

ที่ตนทำไว้โดยทั่วไป และ คติของบุญกรรมด้วยประการอย่างนี้.

ในเวลาจบเทศนา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้ตรัสรู้ธรรม ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอภิชชมานเปตวัตถุที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 365

๒. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ

ว่าด้วยพระเถระทำทานอุทิศถึงเปรต

[๑๑๒] พระเถระชาวกุณฑินครรูปหนึ่ง อยู่ที่

ภูเขาสานุวาสี มีนามว่า โปฏฐปาทะ เป็นสมณะ

ผู้มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว มารดาบิดาและพี่ชาย

ของท่านเกิดในยมโลก เสวยทุกขเวทนา เพราะ

ทำกรรมลามก จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก เปรต

เหล่านั้นถึงทุคติ มีช่องปากเท่ารูเข็ม ลำบากยิ่ง

นัก เปลือยกายซูบผอม มีความเกรงกลัวสะดุ้ง

หวาดเสียวมาก มีการงานทารุณ ไม่อาจแสดงตน

แก่พระเถระได้ เปรตผู้เป็นพี่ชายของท่านตนเดียว

เปลือยกายรีบไปนั่งคุกเข่าประนมมือแสดงตน

แต่พระเถระ พระเถระไม่ใส่ใจถึง เป็นผู้นิ่งเดิน

เลยไป เปรตนั้นจึงบอกให้พระเถระรู้ว่า ข้าพเจ้า

พี่ชายของท่านไปสู่เปตโลก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

มารดาบิดาของท่านเกิดในยมโลกเสวยทุกข์

เพราะทำบาปกรรม จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก

เปรตผู้เป็นมารดาบิดาของท่านทั้งสองนั้น มีช่อง

ปากเท่ารูเข็ม ลำบากมาก เปลือยกาย ซูบผอม

มีความเกรงกลัวสะดุ้งหวาดเสียวมาก มีการงาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 366

ทารุณ ไม่อาจแสดงตนแก่ท่าน ขอท่านจงเป็น

ผู้มีความกรุณา อนุเคราะห์แก่มารดาบิดา จงให้

ทานแล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้พวกเรา พวกเรา

ผู้มีการงานอันทารุณ จักยังอัตภาพให้เป็นไปได้

เพราะทานอันท่านให้แล้ว

พระเถระกับภิกษุอินอีก ๑๒ รูป เที่ยวไป

บิณฑบาตแล้ว กลับมาประชุมในที่เดียวกัน

เพราะเหตุแห่งภัตกิจ พระเถระจึงกล่าวกะภิกษุ

ทั้งหมดนั้นว่า ขอทานทั้งหลายจงให้ภัตตาหารที่

ท่านได้แล้วแก่ผมเถิด ผมจักทำสังฆทานเพื่อ

อนุเคราะห์ญาติทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นจึงมอบ

ถวายพระเถระ พระเถระนิมนต์สงฆ์ถวายสังฆ-

ทานแล้ว อุทิศส่วนกุศลไปให้มารดาบิดาและ

พี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอทานนี้จงสำเร็จแก่

ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลายจงมีความ

สุขเถิด ในลำดับที่อุทิศให้นั่นเอง โภชนะอัน

ประณีต สมบูรณ์ มีแกงและกับหลายอย่าง เกิด

ขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น

ภายหลัง เปรตผู้เป็นพี่ชายมีผิวพรรณดี

กำลัง มีความสุข ได้ไปแสดงตนแก่พระเถระ

แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โภชนะอันมาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 367

มายที่พวกข้าพเจ้าได้แล้ว แต่ขอท่านจงดูข้าพเจ้า

ทั้งหลายยังเป็นคนเปลือยกายอยู่ ขอท่านจง

พยายามให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ผ้านุ่งผ้าห่มด้วย

เถิด พระเถระเลือกเก็บผ้าจากกองหยากเยื่อเอา

มาทำจีวรแล้ว ถวายสงฆ์อันมาแล้วจากจาตุรทิศ

ครั้นถวายแล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดา

และพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอทานนี้จงสำเร็จ

แก่ญาติทั้งหลาย ขอพวกญาติของเราจงมีความ

สุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง ผ้าทั้งหลาย

ได้เกิดขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น

ภายหลัง เปรตเหล่านั้นนุ่งห่มผ้าเรียบร้อย

แล้ว ได้มาแสดงตนแก่พระเถระกล่าวว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายมีผิวพรรณดี มีกำลัง

มีความสุข มีผ้านุ่งผ้าห่มมากกว่าผ้าที่มีในแคว้น

ของพระเจ้านันทราช ผ้านุ่งผ้าห่มทั้งหลายของ

พวกเรา ไพบูลย์และมีค่ามาก คือ ผ้าไหม ผ้า

ขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าป่าน ผ้าด้าย

แกมไหม ผ้าเหล่านั้นแขวนอยู่ในอากาศ ข้าพเจ้า

ทั้งหลายเลือกนุ่งห่มแต่ผืนที่พอใจ (แต่ว่าพวก

ข้าพเจ้ายังไม่มีบ้านเรือนอยู่) ขอท่านจงพยายาม

ให้พวกข้าพเจ้าได้บ้านเรือนเถิด พระเถระสร้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 368

กุฏีอันมุ่งด้วยใบไม้ แล้วได้ถวายสงฆ์ซึ่งมาแต่

จาตุรทิศ ครั้นแล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้มารดา

บิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิสเจตนาว่า ขอผลแต่งการ

ถวายกุฏีนี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวก

ญาติของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการ

อุทิศนั่นเอง เรือนทั้งหลาย คือ ปราสาทและเรือน

อย่างอื่น ๆ อันบุญกรรมกำหนดแบ่งไว้เป็น

ส่วน ๆ เกิดขึ้นแล้วแก่เปรตเหล่านั้น เรือนของ

พวกเราในเปตโลกนี้ ไม่เหมือนกับเรือนใน

มนุษยโลก เรือนของพวกเราในเปตโลกนี้ งาม

รุ่งเรื่องสว่างไสวไปทั่วทั้ง ๘ ทิศ เหมือนเรือน

ในเทวโลก แต่พวกเรายังไม่มีน้ำดื่ม ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ขอท่านจงพยายามให้พวกข้าพเจ้าได้น้ำ

ดื่มด้วยเถิด พระเถระจึงตักน้ำเต็มธรรมกรก แล้ว

ถวายสงฆ์ซึ่งมาแต่จาตุรทิศ ครั้นแล้วได้อุทิศ.

ส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศ

เจตนาว่า ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติของ

เรา ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด ใน

ลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง น้ำดื่มคือสระโบกขรณี

กว้าง ๔ เหลี่ยม ลึก มีน้ำเย็น มีท่าราบเรียบ ดี

น้ำเย็นมีกลิ่นหอมหาที่เปรียบมิได้ ดารดาษด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 369

กอปทุมและอุบล เต็มด้วยละอองเกษรบัวอันร่วง

บนวารี ได้เกิดขึ้น เปรตเหล่านั้นอาบและดื่มกิน

ในสระนั้นแล้ว ไปแสดงตนแก่พระเถระแล้ว

กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ น้ำดื่มของพวก

ข้าพเจ้ามากเพียงพอแล้ว บาปย่อมเผล็ดผลเป็น

ทุกข์แก่พวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าพากันเที่ยวไป

ลำบากในภูมิภาคอันมีก้อนกรวดและหน่อหญ้าคา

ขอท่านพยายามให้พวกข้าพเจ้าได้ยานอย่างใด

อย่างหนึ่งเถิด พระเถระได้รองเท้าแล้ว ถวายสงฆ์

ซึ่งมาแต่จาตุรทิศ ครั้นแล้วอุทิศส่วนกุศลให้

มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอผล .

ทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติ

ของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศ

นั่นเอง เปรตทั้งหลายได้พากันมาแสดงตนให้

ปรากฏด้วยรถ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

พวกข้าพเจ้าเป็นผู้อันท่านอนุเคราะห์แล้ว ด้วย

การให้ข้าว ผ้านุ่งผ้าห่ม เรือน น้ำดื่ม และยาน

เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงมาเพื่อจะไหว้

ท่านผู้เป็นมุนีมีความกรุณาในโลก.

จบ สานุวาสีเถรเปตวัตถุที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 370

อรรถกถาสานุวาสีเถรเปตวัตถุที่ ๒

เมื่อพระคาสดาประทับอยู่ ในพระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง

พระปรารภเปรตผู้เป็นญาติ ของท่านพระสานุวาสีเถระ จึงตรัส

พระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า กุณฺฑินาคริโย เถโร ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี พระราชโอรส

ของพระราชาทรงพระนามกิตวะ ทรงกรีฑาในพระราชอุทยาน

เมื่อเสด็จกลับทรงทอดพระเนตรเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระองค์

หนึ่งนามว่า สุเนตต์ กำลังเที่ยวบิณฑบาต ออกจากพระนคร เป็น

ผู้เมาด้วยความเมา เพราะความเป็นใหญ่ มีจิตคิดประทุษร้ายว่า

สมณะโล้นนี้ ไม่กระทำอัญชลีอะไร ๆ แก่เรา เดินไป เสด็จลงจาก

คอช้างแล้ว ถามว่า ท่านได้บิณฑบาตบ้างไหม ? จึงรับบาตรจากมือ

แล้ว ทุ่มลงที่พื้นดินให้ตกไป. ลำดับนั้น พระราชโอรสนั้นมีความ

อาฆาตในฐานะอันไม่สมควร มีจิตคิดประทุษร้าย พระปัจเจก-

พุทธเจ้านั้น ผู้ไม่แสดงความวิการ เพราะท่านถึงความคงที่ ผู้

มีจิตผ่องใส อันตกแต่ง (ประกอบ) ด้วยโสมนัสเวทนา แผ่ไปด้วย

อำนาจกรุณา ตรวจดูอยู่ในที่ทุกสถาน จึงตรัสว่า ท่านไม่รู้จักเรา

ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากิตวะดอกหรือ ท่านมองดูอยู่

จะทำอะไรเราได้ เมื่อไม่อาจจึงหลีกไป. ก็พอพระราชโอรสหลีกไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 371

เท่านั้น ก็เกิดความเร่าร้อนในร่างกายเป็นกำลัง เปรียบเหมือน

ความเร่าร้อนแห่งไฟในนรก. เพราะวิบากกรรมนั้น พระราชโอรส

นั้น จึงมีกายถูกความเร่าร้อนเป็นอันมากครองงำ ถูกทุกขเวทนา

อย่างแรงกล้าเสียดแทง ทำกาละแล้ว บังเกิดในอเวจีมหานรก.

พระราชโอรสนั้น นอนหงาย นอนคว่ำ กลิ้งเกลือก พลิกขวา

พลิกซ้าย โดยประการเป็นอันมากในที่นั้น ไหม้อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี จุติจาก

อัตตภาพนั้นแล้ว เสวยทุกข์อันเกิดแต่ความหิวกระหาย ในหมู่เปรต

ตลอดกาลนับประมาณมิได้ จุติจากอัตตภาพนั้นแล้ว ในพุทธุปบาท

กาลนี้ บังเกิดในเกวัฏฏคาม ใกล้กุณฑินคร, เขาเกิดญาณอันระลึก

ชาติได้, เพราะเหตุนั้น เขาเมื่ออนุสรณ์ถึงทุกข์ที่ตนเคยเสวยใน

กาลก่อน แม้เจริญวัยแล้ว ก็ไม่ยอมไปจับปลากับพวกหมู่ญาติ

เพราะกลัวบาป. เมื่อพวกญาติเหล่านั้นพากันไป เขาก็แอบเสีย

ไม่ปรารถนาจะฆ่าปลา เละเขาก็ไปทำลายข่าย หรือจับปลาเป็น ๆ

มาปล่อยในน้ำเสีย พวกญาติ เมื่อไม่ชอบใจการกระทำเช่นนั้นของ

เขา จึงไล่เขาออกจากบ้าน. แต่เธอมีพี่ชายอยู่คนหนึ่ง ซึ่งมีความ

รักเขามาก.

สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ อาศัยกุณฑินคร อยู่ในสานุบรรพต.

ลำดับนั้น บุตรชาวประมงนั้น ถูกพวกญาติทอดทิ้ง เที่ยวเร่ร่อน

ไปทุกแห่งที่ถึงสถานที่แห่งนั้นแล้ว เข้าไปหาพระเถระในเวลาฉัน

ภัตตาหาร พระเถระถามเธอแล้ว รู้ว่าเธอต้องการอาหาร จึงให้

ภัตตาหารแก่เธอ เธอบริโภคภัตตาหารเสร็จแล้ว รู้เรื่องนั้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 372

รู้ถึงความเลื่อมใสในธรรมกถา จึงกล่าวว่า จักบวชไหมคุณ ?

เธอเรียนถวายว่า จักบวช ขอรับ. พระเถระ ครั้นให้เธอบรรพชา

แล้ว พร้อมกับเธอ ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. ลำดับนั้น พระ-

ศาสดา ตรัสกะพระเถระนั้นว่า อานนท์ เธอ พึงช่วยอนุเคราะห์

สามเณรนี้เถิด. แต่เพราะสามเณรไม่เคยกระทำกุศลไว้ เธอจึง

มีลาภน้อย. ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุเคราะห์เธอ จึง

แนะให้เธอตักน้ำดื่มให้เต็มหม้อ เพื่อให้ภิกษุบริโภค. อุบาสกและ

อุบาสิกาทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงเริ่มตั้งนิตยภัตเป็นอันมากแก่เธอ.

สมัยต่อมา เธอได้อุปสมบทแล้ว บรรลุพระอรหัต เป็นพระเถระ

พร้อมกับภิกษุ ๑๒ รูป ได้อยู่ที่สานุบรรพต. ฝ่ายพวกญาติของ

เธอ ประมาณ ๕๐๐ คน มิได้ก่อสร้างกุศลกรรมไว้ สร้างแต่บาป

ธรรมมีมัจฉริยะเป็นต้น ทำกาละแล้ว บังเกิดในหมู่เปรต. ฝ่าย

มารดาบิดาของเขา ระลึกอยู่ว่า ในกาลก่อนผู้นี้ ถูกพวกเราขับไล่

ออกจากเรือน จึงไม่เข้าไปหาเธอ ส่งพี่ชายที่รักใคร่ชอบใจในเธอ

ไป. ในเวลาที่พระเถระเข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน เธอยันเข่าขวา

ลงที่พื้นดิน กระทำอัญชลี แสดงตน ได้กล่าวคาถามีอาทิว่า มาตา

ปิตา จ เต ภนฺเต มารดา บิดา ของท่านขอรับ. เพื่อจะแสดงความ

เกี่ยวพันกันแห่งคาถา ๕ คาถาเบื้องต้น มีอาทิว่า กุณฺฑินาคริโย

เถโร ดังนี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงยกขึ้นตั้งไว้ว่า :-

พระเถระชาวกุณฑินคร รูปหนึ่ง อยู่ที่

ขาสานุวาสี มีนามว่า โปฏฐปาทะ เป็นสมณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 373

ผู้มีอินทรีย์ อันอบรมดีแล้ว มารดาบิดาและพี่ชาย

ของท่านเกิดในยมโลก เสวยทุกขเวทนา ทำ

กรรมอันลามก จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก เปรต

เหล่านั้นถึงทุคคติ มีช่องปากเท่ารูเข็ม ลำบาก

ยิ่งนัก เปลือยกาย ซูบผอม มีความเกรงกลัวสดุ้ง

หวาดเสียวมาก มีการงานทารุณ ไม่อาจแสดงตน

แก่พระเถระได้ เปรตผู้เป็นพี่ชายของท่านตน

เดียว เปลือยกายรีบไปนั่งคุกเข่า ประนมมือ

แสดงตนแก่พระเถระ พระเถระไม่ใส่ใจถึง เป็น

ผู้นิ่งเดินเลยไป เปรตนั้น จึงบอกให้พระเถระ

ว่า ข้าพเจ้าเป็นพี่ชายของท่าน ไปสู่เปตโลก

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มารดาบิดาของท่านเกิดใน

ยมโลก เสวยทุกขเวทนา เพราะทำบาปกรรมไว้

จึงจากโลกนี้ ไปสู่เปตโลก เปรตผู้เป็นมารดา

บิดา ของท่านทั้ง ๒ นั้น มีช่องปากเท่ารูเข็ม

ลำบากมาก เปลือยกาย ซูบผอม มีความเกรงกลัว

สะดุ้งหวาดเสียวมาก มีการงานทารุณ. ไม่อาจ

แสดงตนแก่ท่านได้ ขอท่านจงเป็นผู้มีความกรุณา

อนุเคราะห์แก่มารดาบิดาเถิด จงให้ทาน แล้วอุทิศ

ส่วนกุศลไปให้พวกเรา พวกเราผู้มีการงานอัน

ทารุณ จักยังอัตตภาพให้เป็นไปได้ เพราะทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 374

อันท่านให้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุณฺฑินาคริโย เถโร ได้แก่พระ-

เถระผู้เกิดเติบโตในนครมีชื่ออย่างนี้ บาลีว่า กุณฺฑิกนคโร เถโร

ดังนี้ก็มี บาลีนั้น ความก็อย่างนี้. บทว่า สานุวาสินิวาสิโก ได้แก่

ผู้มีปกติอยู่ที่สานุบรรพต. บทว่า โปฏฺปาโทติ นาเมน ได้แก่ เขามี

ชื่อว่า โปฏฐปาทะ. บทว่า สมโณ แปลว่า เป็นผู้สงบบาป. บทว่า

ภาวิตินฺทฺริโย ความว่า ผู้อบรมสัทธินทรีย์เป็นต้นแล้ว ด้วยอริยมรรค

ภาวนา คือเป็นพระอรหันต์. บทว่า ตสฺส ได้แก่ พระสานุวาสีเถระ

นั้น. บทว่า ทุคฺคตา ได้แก่ ผู้ไปสู่ทุกคติ. บทว่า สูจิกฏฺฏา ได้แก่

ผู้มีช่องปากเท่ารูเข็ม เพราะเป็นเศร้าหมองด้วยของเน่าเปื่อย คือ

อึดอัดอยู่ ได้แก่ ถูกความหิวกระหายอันได้นามว่า สูจิกา บีบคั้นแล้ว

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สูจิกณฺา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า บีบช่องปาก,

เหมือนกับรูเข็ม. บทว่า กิสนฺตา ได้แก่ ผู้มีกายและจิตลำบาก.

บทว่า นคฺคิโน ได้แก่ เป็นผู้มีรูปร่างเปลือย คือไม่มีท่อนผ้า. บทว่า

กิสา ได้แก่ ผู้มีร่างกายซูบผอม เพราะมีร่างกายเหลือแต่เพียง

หนังหุ้มกระดูก. บทว่า อุตฺตสนฺตา ได้แก่ ถึงความหวาดเสียว

เพราะความเกรงกลัวว่า สมณะนี้เป็นบุตรของเรา. บทว่า มหตฺตาสา

ได้แก่ เกิดมหาภัยขึ้น เพราะอาศัยกรรมที่ตนได้ทำไว้ในปางก่อน

บทว่า น ทสฺเสนฺติ ความว่า ไม่แสดงตน คือ ไม่ยอมเผชิญหน้ากัน.

บทว่า กุรูริโน แปลว่า ผู้มีการงานทารุณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 375

บทว่า ตสฺส ภาตา ได้แก่ เปรตผู้เป็นพี่ชายของสานุวาสีเถระ.

บทว่า วิตริตฺวา แปลว่า เป็นผู้รีบข้ามไปแล้ว, อธิบายว่า มีภัย

เกิดแต่ความสะดุ้ง เพราะเกรงกลัว. อีกอย่างหนึ่งบาลีว่า วิตุริตฺวา

ดังนี้ก็มี อธิบายว่าเป็นผู้รีบด่วน คือ รีบไป. บทว่า เอกปเถ คือ

ในหนทางสำหรับเดินได้คนเดียว. บทว่า เอกโก คือ ไปคนเดียว ไม่มี

เพื่อน. บทว่า จตุกุณฺฑิโก ภวิตฺวาน ความว่า ชื่อว่า จฑุกุณฺฑิโก

เพราะเสวยทุกขเวทนา คือ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยองค์ ๔ อธิบาย

ว่า ใช้เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ เป็นและยืน (คลานไป) อธิบายว่า เป็น

อย่างนั้น. จริงอยู่ เปรตนั้น ได้กระทำอย่างนั้นว่า การปกปิดอวัยวะ

อันยังหิริให้กำเริบ ย่อมมีแต่นี้. บทว่า เถรสฺส ทสฺสยีตุม ความว่า

อ้างคือ แสดงตนแก่พระเถระ.

บทว่า อมนฺสิกตฺวา ได้แก่ ไม่ทำไว้ในใจ คือ ไม่นึกถึง

อย่างนี้ว่า ผู้นี้ ชื่ออย่างนี้. บทว่า โส จ ได้แก่ เปรตนั้น. บทว่า

ภาตา เปตคโต อห มีวาจาประกอบความว่า เปรตนั้น กล่าวอย่างนี้

ว่า เราเป็นพี่ชายในอัตภาพที่เป็นอดีต, บัดนี้ เราเป็นเปรตมา

ในที่นี้ ดังนี้แล้วจึงให้พระเถระรับรู้.

ก็เพื่อจะแสดงประการที่จะให้พระเถระรับรู้ได้ จึงได้กล่าว

คาถา ๓ คาถา โดยนัยมีอาทิว่า มาตา ปิตา จ ดังนี้. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า มาตา ปิตา จ เต แปลว่า มารดาและบิดาของท่าน.

บทว่า อนุกมฺปสฺสุ ความว่า จงอนุเคราะห์ คือจงทำความเอ็นดู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 376

บทว่า อนฺวาทิสาทิ แปลว่า เจาะจง. บทว่า โน ได้แก่ พวกเรา.

บทว่า ตว ทินฺเนน ได้แก่ ด้วยทานที่ท่านให้แล้ว.

พระเถระ ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว เพื่อจะแสดงข้อที่เปรตนั้น

ปฏิบัติ จงกล่าวคาถาทั้งหลายว่า :-

พระเถระกับภิกษุอื่นอีก ๑๒ รูป เที่ยวไป

บิณฑบาตแล้ว กลับมาประชุมกันในที่เดียวกัน

เพราะเหตุแห่งภัตกิจ, พระเถระจึงกล่าวกะภิกษุ

ทั้งหมดนั้นว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้ภัตตาหาร

ที่ท่านได้แล้วแก่กระผมเถิด กระผมจักทำสังฆ-

ทาน เพื่ออนุเคราะห์หมู่ญาติ ภิกษุเหล่านั้น จึง

มอบถวายพระเถระ พระเถระจึงนิมนต์สงฆ์

ถวายสังฆทานแล้ว อุทิศส่วนกุศลไปให้มารดา

บิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอทานนี้ จง

สำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลาย

จงมีความสุขเถิด ในลำดับที่อุทิศให้นั่นเอง

โภชนะอันประณีต สมบูรณ์ มีแกงและกับหลาย

อย่าง เกิดขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น ภายหลังเปรตผู้

เป็นพี่ชาย มีผิวพรรณดี มีกำลัง มีความสุข ได้ไป

แสดงตนแก่พระเถระ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ โภชนะเป็นอันมาก ที่พวกข้าพเจ้าได้แล้ว

แต่ขอท่านจงดู ข้าพเจ้าทั้งหลาย ยังเป็นคนเปลือย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

กายอยู่ ขอท่านจงพยายาม ให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย

ได้ผ้านุ่งห่มด้วยเถิด พระเถระเลือกเก็บผ้าจาก

กองหยากเหยื่อเอามาทำจีวรแล้ว ถวายสงฆ์อัน

มาจากจาตุรทิศ ครั้นถวายแล้ว ได้อุทิศส่วนกุศล

ให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอ

ทานนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายเถิด ขอพวกญาติ

ของเรา จงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศ

นั้นเอง ผ้าทั้งหลายได้เกิดขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น

ภายหลังเปรตเหล่านั้น นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย

แล้ว ได้มาแสดงตนแก่พระเถระ กล่าวว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย มีผิวพรรณ

ดี มีกำลัง มีความสุข มีผ้านุ่ง ผ้าห่ม

มากกว่าผ้าที่มีในแคว้นของพระเจ้านันทราช ผ้า

นุ่งผ้าห่มทั้งหลาย ของพวกเราไพบูลย์และมีค่า

มาก คือ ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปือกไม้ ผ้าฝ้าย

ฝ้าป่าน ผ้าด้ายแกมไหม ผ้าเหล่านั้น แขวนอยู่

ในอากาศ ข้าพเจ้าทั้งหลายเลือกนุ่งห่มแต่ผืนที่

พอใจ ขอท่านจงพยายาม ให้พวกข้าพเจ้าได้

บ้านเรือนเถิด พระเถระสร้างกุฏี มุงด้วยใบไม้

แล้วได้ถวายสงฆ์ ซึ่งมาแต่จตุรทิศ ครั้นแล้วได้

อุทิศส่วนกุศล ให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

เจตนาว่า ขอผลแต่งการถวายกุฏีนี้ จงสำเร็จแก่

พวกญาติของเรา ขอพวกญาติของเรา จงมีความ

สุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง เรือน

ทั้งหลาย คือ ปราสาทและเรือนอย่างอื่น ๆ อัน

บุญกรรมกำหนดแบ่งไว้เป็นส่วน ๆ เกิดขึ้นแล้ว

แก่เปรตเหล่านั้น เรือนของพวกเราในเปตโลกนี้

ไม่เหมือนกับเรือนในมนุษยโลก. เรือนของพวก

เราในเปตโลกนี้ งามรุ่งเรืองสว่างไสวไปทั่วทั้ง

๘ ทิศ เหมือนเรือนในเทวโลก แต่พวกเรายังไม่

มีน้ำดื่ม ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงพยายาม

ให้พวกข้าพเจ้า ได้ดื่มด้วยเถิด พระเถระจึงตัก

น้ำเต็มธรรมกรก แล้วถวายสงฆ์ ซึ่งมาแต่จตุรทิศ

แล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้แก่มารดาบิดาและพี่ชาย

ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอผลทานนี้ จงสำเร็จแก่พวก

ญาติของเรา ขอพวกญาติของเรา จงมีความสุข

เถิด ในลำดัดแห่งการอุทิศนั่นเอง น้ำดื่ม คือ

สระโบกขรณีกว้าง ๔ เหลี่ยม ลึกมีน้ำเย็น มีท่า

ราบเรียบดี น้ำเย็นกลิ่นหอมหาที่เปรียบมิได้

ดารดาษด้วยกอปทุมและอุบลเต็มด้วยละออง

เกสรบัว อันร่วงหล่นบนวารี ได้เกิดขึ้น เปรต

เหล่านั้น อาบและดื่มกินในสระนั้นแล้ว ไปแสดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 379

ตนแก่พระเถระแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

น้ำดื่มของพวกข้าพเจ้า มากเพียงพอแล้ว บาป

ย่อมเผล็ดผลเป็นทุกข์แก่พวกข้าพเจ้า พวกข้าพ-

เจ้าพากันเที่ยวไปลำบากในภูมิภาค อันมีก้อน

กรวดและหน่อหญ้าคา ขอท่านพยายาม ให้พวก

ข้าพเจ้า ได้ยานอย่างใดอย่างหนึ่งเถิด พระเถระ

ได้รองเท้าแล้ว ถวายสงฆ์ ซึ่งมาแต่จตุรทิศ ครั้น

แล้วอุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วย

ทิศเจตนาว่า ขอผลทานนี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติ

ของเรา ขอพวกญาติของเรา จงมีความสุขเถิด

ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง เปรตทั้งหลาย ได้

พากันมาแสดงตนให้ปรากฏด้วยรถแล้วกล่าวว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้า เป็นผู้อันท่าน

อนุเคราะห์แล้ว ด้วยการให้ข้าว ผ้านุ่ง ผ้าห่ม

เรือน น้ำดื่ม และ ยาน เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า

ทั้งหลาย จึงมาเพื่อจะไหว้ท่านผู้เป็นมุนี มีความ

กรุณาในโลก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เถโร จริตฺวา ปิณฺฑาย ความว่า

พระเถระเที่ยวจาริกไปบิณฑบาต. บทว่า ภิกฺขู อญฺเ จ ทฺวาทส

ความว่า ภิกษุอยู่กับพระเถระและภิกษุอื่นอีก ๑๒ รูป ประชุม

ร่วมในที่เดียวกัน. หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

ตอบว่า เพราะส่วนพิเศษแห่งภัตเป็นเหตุ. อธิบายว่า เพราะภัตกิจ

เป็นเหตุ คือ เพราะการฉันเป็นเหตุ. บทว่า เต โดยภิกษุเหล่านั้น.

บทว่า ยถา ลทฺธ แปลว่า ตามที่ได้. บทว่า ททาถ แปลว่า จงให้.

บทว่า นิยฺยาทยึสุ แปลว่า ได้ให้แล้ว. บทว่า สงฺฆ นิมนฺตยิ

ความว่า นิมนต์ภิกษุ ๑๒ รูปนั่นแหละ เพื่อฉันภัตตาหารนั้น โดย

สังฆุทเทศ อุทิศสงฆ์. บทว่า อนฺวาทิสิ ได้แก่ อุทิศให้. บรรดา

ญาติเหล่านั้น เพื่อจะแสดงญาติที่ตนเจาะจงเหล่านั้น จึงกล่าวคำ

ว่า ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดา และพี่ชาย ขอผลทานนี้จง

สำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติจงมีความสุขเถิด.

บทว่า สมนนฺตรานุทิทิฏฺเ แปลว่า พร้อมกันการอุทิศ

นั่นเอง. บทว่า โภชน อุปปชฺชถ ความว่า โภชนะย่อมเกิดแก่เปรต

เหล่านั้น. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า โภชนะเช่นไร ? จึงกล่าวว่า

โภชนะอันสะอาด. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกรสพฺยญฺชน

ได้แก่ ประกอบด้วยกับข้าวมีรสต่าง ๆ หรือว่า มีรสหลายอย่าง

และมีกับข้าวหลายอย่าง. บทว่า ตโต ได้แก่ ภายหลังแต่การได้โภชนะ.

บทว่า อุทฺทสฺสยี ภาตา ความว่า เปรตผู้เป็นพี่ชาย แสดง

ตนแก่พระเถระ. บทว่า วณฺณวา พลวา สุขี ความว่า เพราะการได้

โภชนะนั้น ทันใดนั้นเอง เปรตนั้นสมบูรณ์ด้วยรูป สมบูรณ์ด้วย

กำลัง มีความสุขทีเดียว. บทว่า ปหูต โภชน ภนฺเต ความว่า

ท่านผู้เจริญ โภชนะมากมาย คือมิใช่น้อย อันเราได้แล้ว เพราะ

อานุภาพทานของท่าน. บทว่า ปสฺส นคฺคามฺหเส ความว่า ท่านจงดู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 381

แต่พวกเราเป็นคนเปลือยกาย เพราะฉะนั้น ขอท่านจงบากบั่น

กระทำความพยายามอย่างนั้นเถิด ขอรับ. บทว่า ยถา วตฺถ ลภามเส

ความว่า ขอท่านทั้งหลายจงพยายามโดยประการ คือโดยความ

พยายามที่ข้าพเจ้าทั้งหมดพึงได้ผ้าเถิด.

บทว่า สงฺการกกูฏมฺหา ได้แก่ จากกองหยากเยื่อในที่นั้น ๆ.

บทว่า อุจฺจินิตฺวาน ได้แก่ ถือเอาโดยการแสวงหา. บทว่า นนฺตเก

ได้แก่ ท่อนผ้าที่เขาทิ้งมีชายขาด. ก็เพราะผ้าเหล่านั้น ชื่อว่า

เป็นผ้าท่อนเก่าขาดรุ่งริ่ง พระเถระเอาผ้าเหล่านั้นทำเป็นจีวรถวาย

สงฆ์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำผ้าท่อนเก่าให้เป็นผืนผ้า

แล้วอุทิศสงฆ์ผู้มาจากจตุรทิศ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺเฆ

จาตุทฺทิเส อท ความว่า ได้ถวายแก่สงฆ์ ผู้มาจากทิศทั้ง ๔.

ก็บทว่า สงฺเฆ จาตุทฺทิเส นี้ เป็นสัตตมีวิภัติลงในอรรถแห่ง

จตุตถีวิภัติ.

บทว่า สุวตฺถวสโน แปลว่า เป็นนุ่งห่มผ้าดี. บทว่า

เถรสฺส ทสฺสยีตุม ความว่า แสดงตน คืออ้างตน ได้แก่ปรากฏ

ตนแก่พระเถระ. ผ้าชื่อว่าปฏิจฉทา เพราะเป็นที่ปกปิด

บทว่า กูฏาคารนิเวสนา ได้แก่ เรือนที่เป็นปราสาท และ

ที่อยู่อาศัยอื่นจากปราสาทนั้น. จริงอยู่ บทว่า กูฏาคารนิเวสนา

นี้ ท่านกล่าวโดยเป็นลิงควิปลาส. บทว่า วิภตฺตา ได้แก่ ที่เขาจัด

แบ่งโดยสันฐาน ๔ เหลี่ยมเท่ากัน ยาว และกลม. บทว่า ภาคโส

มิตา แปลว่า กำหนดเป็นส่วน ๆ. บทว่า โน ได้แก่ ข้าพเจ้าทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 382

บทว่า อิธ ได้แก่ เปตโลกนี้. ศัพท์ว่า อปิ ในบทว่า อปิ ทิพฺเพสุ

นี้ เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า ในเทวโลก.

บทว่า กรก ได้แก่ ธมกรก. บทว่า ปูเรตฺวา แปลว่า เต็ม

ด้วยน้ำ. บทว่า วาริกิญฺชกฺขปูริตา ได้แก่ เหมือน้ำในที่นั้น ๆ

ดารดาษเต็มด้วยเกสรปทุมและอุบล เป็นต้น บทว่า ผลนฺติ แปลว่า

ย่อมบาน อธิบายว่า แตกออกที่ส้นเท้าและริม ๆ เท้าเป็นต้น.

บทว่า อาหิณฺฑมานา ได้แก่ เที่ยวไปอยู่. บทว่า ขญฺชาม

แปลว่า เขยกไป. บทว่า สกฺขเร กุสกณฺฏเก ได้แก่ ในภูมิภาค

อันมีก้อนกรวด และหน่อหญ้าคา อธิบายว่า เหยียบลงที่ก้อนกรวด

และหน่อหญ้าคา. บทว่า ยาน ได้แก่ ยานชนิดใดชนิดหนึ่ง มีรถ

และล้อเลือนเป็นต้น. บทว่า สิปาฏิก ได้แก่ รองเท้าชั้นเดียว.

ม อักษรในบทว่า รเถน มาคมุ นี้ ทำการเชื่อมบท คือ

มาด้วยรถ. บทว่า อุภย แปลว่า ด้วยการให้ทั้ง ๒ คือ ด้วยการ

ให้ยาน และด้วยการให้ปัจจัย ๔ มีภัตเป็นต้น จริงอยู่ ในการให้

๒ อย่างนั้น แม้การให้เภสัช ท่านก็สงเคราะห์ด้วยการให้น้ำดื่ม

คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล

พระเถระกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ จึงตรัสว่า

เปรตเหล่านี้ ย่อมเสวยทุกข์อย่างใหญ่ในบัดนี้ ฉันใด แม้ท่านก็

ฉันนั้น เป็นเปรตในอัตตภาพอันเป็นลำดับอันเป็นอดีต แต่อัตตภาพ

นี้ย่อมเสวยทุกข์ใหญ่ ดังนี้แล้ว อันพระเถระทูลอาราธนา จึงทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 383

แสดงเรื่องสุตตเปรตแล้วทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว

มหาชนได้ฟังเรื่องนั้นแล้ว เกิดความสลดใจ ได้เป็นผู้ยินดีในบุญ

กรรมมีทานและศีลเป็นต้นแล.

จบ อรรถกถาสานุวาสีเถรเปตวัตถุที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 384

๓. รถการีเปติวัตถุ

ว่าด้วยอยากอยู่กับนางเปรตในสวนนันทนวัน

มาณพคนหนึ่งถามนางเวมานิกเปรตตนหนึ่งว่า

[๑๑๓] ดูก่อนนางเทวีผู้มีอานุภาพมาก ท่านขึ้น

สู่วิมานมีเสาอันล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ งาม

ผุดผ่อง มีรูปภาพอันวิจิตรต่าง ๆ อยู่ในวิมานนั้น

ดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญงามโชติช่วงในท้องฟ้า

ฉะนั้น อนึ่ง รัศมีของท่านมีสีดังทองคำ ท่านมี

รูปร่างอันอุดมน่าดูน่าชมยิ่งนัก นั่งอยู่แต่ผู้เดียว

บนบัลลังก์อันประเสริฐมีค่ามาก สามีของท่าน

ไม่มีหรือ ก็สระโบกขรณีของท่านเหล่านี้มีอยู่โดย

รอบ มีกอบัวต่าง ๆ เป็นอันมาก มีบัวขาวมาก

เกลือนกล่นด้วยทรายทองโดยรอบ ในสระโบก

ขรณีนั้น หาเปือกตมและจอกแหนมิได้ มีหงส์

น่าดูน่าชมน่ารื่นรมย์ใจเที่ยวแวะเวียนไปในน้ำ

ทุกเมื่อ หงส์ทั้งปวงนั้นมีเสียงไพเราะพากันมา

ประชุมร่ำร้องอยู่ เสียงร่ำร้องแห่งหงส์ในสระ

โบกขรณีของท่าน มิได้ขาดเสียง ดุจเสียงกลอง

ท่านมียศงามรุ่งเรื่อง ลงนั่งอยู่ในเรือ ท่านมี

ขนตาโก่งดำดี มีหน้ายิ้มแย้มพูดจาน่ารักใคร่ มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 385

อวัยวะทั้งปวงงามรุ่งเรืองยิ่งนัก วิมานของท่าน

นี้ปราศจากละอองธุลี ตั้งอยู่ที่ภาคพื้นอันราบ

เรียบ มีสวนนันทนวันอันให้ที่เกิดความยินดีเพลิด

เพลินเจริญใจ ดูก่อนนารีผู้มีรูปร่างน่าดูน่าชม

เราปรารถนาเพื่อจะอยู่บันเทิงกับท่านในสวน

นันทนวันของท่านนี้.

นางเวมานิกเปรตกล่าวว่า

ท่านจงทำกรรมอันจะให้ท่านได้เสวยผล

ในวิมานของเรานี้ และจิตของท่านจงน้อมมาใน

วิมานนี้ด้วย ท่านทำกรรมอันบันเทิงในที่นี้แล้ว

จักได้อยู่ร่วมกับเราสมความประสงค์ มาณพนั้น

รับคำนางเวมานิกเปรตนั้นแล้ว จึงได้ทำกรรม

อันเป็นกุศลอันส่งผลให้เกิดในวิมานนั้น ครั้น

แล้วได้เข้าถึงความเป็นสหายของนางเวมานิก

เปรตนั้น.

จบ รถการีเปติวัตถุที่ ๓

จบ ภาณวารที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 386

อรรถกถารถการีเปติวัตถุที่ ๓

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี ทรง

ปรารภนางเปรตตนหนึ่ง จึงตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า

เวฬุริยถมฺภ รุจิร ปภสฺสร ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่ากัสสปะ หญิงคนหนึ่งสมบูรณ์ด้วยศีลและอาจาระ

มีกัลยาณมิตรเป็นที่อิงอาศัย เลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา ได้สร้าง

อาวาสไว้แห่งหนึ่ง น่าดูยิ่ง มีฝา เสา บันได และพื้นภูมิอันวิจิตร

อันจำแนกไว้ด้วยดี นิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้นั่งในอาวาสนั้น อังคาส

ด้วยอาหารอันประณีต แล้วมอบถวายแด่ภิกษุสงฆ์. สมัยต่อมา

นางทำกาละแล้ว เกิดเป็นนางวิมานเปรต อาศัยสระชื่อรถการะที่

ขุนเขาหิมพานต์ ด้วยอำนาจบาปกรรมอย่างหนึ่ง. ด้วยอานุภาพบุญ

ที่นางถวายอาวาสแก่สงฆ์ วิมานอันล้วนด้วยรัตนะทุกอย่าง กว้าง

ขวาง โดยรอบน่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์ใจอย่างยิ่ง งดงามเสมือน

นันทนวัน ณ สระโบกขรณี ย่อมเกิดขึ้นแก่นางและนางเองก็มี

ผิวพรรณดังทองคำ งดงามน่าชมน่าเลื่อมใส.

นางเว้นจากพวกบุรุษเสีย เสวยทิพยสมบัติอยู่ ณ ที่นั้น

เมื่อนางไม่มีบุรุษอยู่ในที่นั้นเป็นเวลานาน ก็เกิดความเบื่อหน่าย

ขึ้น นางรำคาญขึ้นแล้วคิดว่า อุบายนี้ใช้ได้ จึงทิ้งมะม่วงสุกอัน

เป็นทิพย์ลงในแม่น้ำ. คำทั้งหมดพึงทราบโดยนัยอันมาแล้วในเรื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 387

นางกรรณมุณฑเปรตนั่นแหละ. ก็ในเรื่องนี้ ยังมีมาณพคนหนึ่ง

ชาวกรุงพาราณสี เห็นผลมะม่วงผลหนึ่ง ในบรรดามะม่วงสุก

เหล่านั้น ในแม่น้ำคงคา จึงไปสู่ที่อยู่ของนางโดยทำนองนั้น นาง

เห็นดังนั้น จึงนำเขาไปยังที่อยู่ของตน การทำปฏิสันถารแล้วนั่ง.

เขาเห็นความสมบูรณ์ของสถานที่อยู่ของนางเมื่อจะถามจึงกล่าว

คาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนนางเทวีผู้มีอานุภาพมา ท่านขึ้นสู่

วิมานมีเสาเป็นวิการแห่งแก้วไพฑูรย์ งามผุดผ่อง

มีรูปภาพอันวิจิตรต่าง ๆ อยู่ในวิมานนั้น ดุจ

พระจันทร์เพ็ญลอยเด่นอยู่ในท้องฟ้า ฉะนั้น.

อนึ่ง รัศมีของท่านมีสีดังทองคำ ท่านมีรูปอัน

อุดม น่าดูน่าชมยิ่งนัก นั่งอยู่แต่ผู้เดียวบนบัลลังก์

อันประเสริฐ มีค่ามาก สามีของท่านไม่มีหรือ

ก็สระโบกขรณีของท่านเหล่านี้ มีอยู่โดยรอบ

มีบัวต่าง ๆ เป็นอันมาก มีบัวขาวมาก เกลื่อน

กล่นด้วยทรายทองโดยรอบ, ในสระโบกขรณีนั้น

หาเปือกตมและจอกแหนมิได้ มีหงส์น่าดูน่าชม

น่ารื่นรมย์ใจ เที่ยวแวะเวียนไปในน้ำทุกเมื่อ

หงส์ทั้งปวงนั้นมีเสียงไพเราะ พากันนาประชุม

ร่ำร้องอยู่ เสียงร่ำร้องของหงส์ในสระโบกขรณี

ของท่านมิได้ขาดเสียง ดุจเสียงกลอง ท่านมียศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 388

งามรุ่งเรือง ลงนั่งอยู่ในเรือ ท่านมีคิ้วโก้งดำดี

มีหน้ายิ้มแย้ม พูดจาน่ารักใคร่ มีอวัยวะทั้งปวง

งามรุ่งเรืองยิ่งนัก. วิมานนี้ปราศจากละอองธุลี

ตั้งอยู่ที่ภาคพื้นอันราบเรียบ มีสวนนันทนวันอัน

ให้เกิดความยินดี เพลิดเพลินเจริญใจ ดูก่อน

นารีผู้มีร่างน่าดูน่าชม เราปรารถนาเพื่อจะอยู่

บันเทิงกับท่าน ในสวนนันทนวันของท่านนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ โยคว่าในวิมานนั้น. บทว่า

อจฺฉสิ ได้แก่ ท่านนั่งอยู่ในเวลาที่ปรารถนาแล้ว ๆ. มาณพเรียก

นางเปรตนั้นว่า เทวิ. บทว่า มหานุภาเว ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย

อานุภาพทิพย์อันใหญ่. บทว่า ปถทฺธนิ ได้แก่ ทางไกลอันเป็น

ทางของตน อธิบายว่า ทางพื้นอากาศ. บทว่า ปณฺณรเสว จนฺโท

ความว่า โชติช่วงอยู่ ดุจพระจันทร์อันมีดวงบริบูรณ์ในวันเพ็ญ.

บทว่า วณฺโณ จ เต กนกสฺส สนฺนิโก ความว่า ก็ผิวพรรณ

ของท่านดุจทองสิงดีอันสุกปลั่ง น่ารื่นรมย์ใจยิ่งนัก. ด้วยเหตุนั้น

มาณพจึงกล่าวว่า มีรูปอันอุดมน่าดูน่าชมยิ่งนัก. บทว่า อตุเล

ได้แก่ อันควรค่ามาก. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อตุเล เป็นคำเรียก

เทวดา อธิบายว่า มีรูปไม่มีใครเหมือน. บทว่า นตฺถิ จ ตุยฺห สามิโก

ความว่า ก็สามีของท่านไม่มีหรือ.

บทว่า ปหูตมลฺยา ได้แก่ มีดอกไม้หลายชนิด มีดอกบัวเป็นต้น.

บทว่า สุวณฺณจุณฺเณหิ แปลว่า ด้วยทรายทอง. บทว่า สมนฺตโมตฺถตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 389

แปลว่า เกลื่อนกล่นโดยรอบ. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในสระโบกขรณี

ทั้งหลายนั้น. บทว่า ปงฺโก ปณโก จ ความว่า ไม่มีเปือกตมหรือ

จอกแหนในน้ำ.

บทว่า หสา จิเม ทสฺสนียา มโนรมา ความว่า หงส์เหล่านี้

ดูน่าเป็นสุข น่ารื่นรมย์ใจ. บทว่า อนุปริยนฺติ ได้แก่ ท่องเที่ยวไป.

บทว่า สพฺพทา ได้แก่ ในทุกฤดูกาล. บทว่า สมยฺย แปลว่า ประชุม

กัน. บทว่า วคฺคู แปลว่า ไพเราะ. บทว่า อุปนทนฺติ แปลว่า

เพรียกร้องอยู่. บทว่า พินฺทุสฺสรา ได้แก่ มีเสียงไม่แตกพร่า

คือ มีเสียงกลมกล่อม. บทว่า ทุนฺทุภีน ว โฆโส ความว่า เสียงร้อง

ของพวกหงส์ในสระโบกขรณีของท่าน ดุจเสียงกลอง เพราะเป็น

เสียงไพเราะและกลมกล่อม.

บทว่า ททฺทลฺลมานา ได้แก่ รุ่งเรืองอย่างยิ่ง. บทว่า ยสสา

ได้แก่ ผู้มีเทพฤทธิ์. บทว่า นาวาย ได้แก่ ในเรือโกรน. จริงอยู่

มาณพเห็นนางเปรตนั่งอยู่บนบัลลังก์อันมีค่ามากในเรือทองคำ

กำลังเล่นกีฬาในน้ำ ณ สระโบกขรณีอันมีกอปทุม จึงได้กล่าว

อย่างนั้น: บทว่า อวลมฺพ ความว่า ลงนั่งไม่อิงพนัก. คำว่า

ติฏฺสิ นี้ เป็นคำห้ามการไป เพราะฐานะศัพท์ มีอันห้ามการไป

เป็นอรรถ. บาลีว่า นิสชฺชสิ ดังนี้ก็มี พึงเห็นความแห่งบทว่า

นิสชฺชสิ เป็น นิสชฺชสิ นั่นเอง. บทว่า อาฬารปมฺเห ได้แก่

มีขนตาดำ ยาว งอน. บทว่า หสิเต แปลว่า มีหน้ายิ้มแย้มร่าเริง

ยิ่งนัก. บทว่า ปิยวเท แปลว่า พูดจาน่ารักใคร่. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 390

สพฺพงฺคกลฺยาณิ แปลว่า งามด้วยอวัยวะทั้งปวง คือ มีอวัยวะ

ทุกส่วนงดงาม. บทว่า วิโรจสิ แปลว่า รุ่งเรืองยิ่งนัก.

บทว่า วิรช ปลว่า ปราศจากธุลี คือ ไม่มีโทษ. บทว่า

สเม ิต ได้แก่ ตั้งอยู่ที่ภาคพื้นอันราบเรียบ หรือตั้งอยู่ที่ภาคพื้น

อันเสมอ เพราะงดงามทั้ง ๔ ด้าน อธิบายว่า งามรอบด้าน. บทว่า

อุยฺยานวนฺต ได้แก่ ประกอบด้วยสวนนันทนวัน. บทว่า รตินนฺทิ-

วฑฺฒน ความว่า ชื่อว่ารตินันทิวัฑฒนะ เพราะทำความยินดีและ

ความเพลิดเพลินใจให้เจริญ, อธิบายว่า ทำสุขและปีติให้เจริญ.

คำว่า นาริ เป็นคำร้องเรียกนางเปรตนั้น. บทว่า อโนมทสฺสเน

ได้แก่ เห็นเข้าไม่น่าติเตียน เพราะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์.

บทว่า นนฺทเน ได้แก่ ผู้กระทำความบันเทิงใจ. บทว่า อิธ แปลว่า

ในสวนนันทนวันนี้ หรือในวิมานนี้. บทว่า โมทิตุ มีวาจาประกอบ

ความว่า เราปรารถนาเพื่อจะอภิรมย์.

เมื่อมาณพนั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว วิมานเปติเทวดานั้นเมื่อ

จะให้คำตอบแก่มาณพนั้น จึงกล่าวคาถาว่า :-

ท่านจงกระทำกรรมอันจะให้ท่านได้

เสวยผลในวิมานของเรานี้ และจิตของท่าน

จงน้อมมาในวิมานนี้ด้วย ท่านทำกรรมอัน

บันเทิงในที่นี้แล้ว จักได้อยู่ร่วมกับเราสมความ

ประสงค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 391

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กโรหิ กมฺม อิธ เวทนีย ความว่า

ท่านจงทำ คือพึงได้ประสบกุศลธรรมอันเผล็ดผล คือ ให้ผลใน

ทิพยสถานนี้. บทว่า อิธ นิหิต ได้แก่ น้อมนำจิตเข้าไปในวิมานนี้,

บาลีว่า อิธ นินฺน ดังนี้ก็มี อธิบายว่า จิตของท่านจงน้อม โอน

เอื้อมไปในที่นี้. บทว่า มม แปลว่า ซึ่งเรา. บทว่า ลจฺฉสิ

แปลว่า จักได้.

มาณพนั้นได้ฟังคำของนางวิมานเปรตนั้นแล้ว จากที่นั้น

ไปยังถิ่นมนุษย์ ตั้งจิตนั้นไว้ในที่นั้น การทำบุญกรรมอันเกิดแต่จิต

นั้น ไม่นานนัก กระทำกาละแล้วบังเกิดในวิมานนั้น เข้าถึงความ

เป็นสหายกับนางเปรตนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าว

คาถาสุดท้ายว่า :-

มาณพนั้นรับคำของนางเปรตนั้นแล้ว

ได้กระทำกรรมอันเป็นกุศลส่งผลให้เกิดในวิมาน

นั้น ครั้นแล้วได้เข้าถึงความเป็นสหายของนาง

เวมานิกเปรตนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ เป็นนิบาตใช้ในอรรถ

สัมปฏิจฉนัตถะ. บทว่า ตสฺสา ได้แก่ นางเวมานิกเปรตนั้น. บทว่า

ปฏิสฺสุณิตฺวา ได้แก่ รับคำของนางเวมานิกเปรตนั้น. บทว่า ตหึ

เวทนีย ได้แก่ กุศลกรรมอันมีผลเป็นสุขที่จะพึงได้รับกับนาง

เวมานิกเปรตนั้น ในวิมานนั้น. บทว่า สหพฺยต คือ ซึ่งความอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 392

ร่วมกัน. มีวาจาประกอบความว่า มาณพนั้นเข้าถึงความเป็น

สหายกับนางเวมานิกเปรตนั้น. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

เมื่อคนเหล่านั้นเสวยทิพยสมบัติในวิมานนั้น ตลอดกาลนาน

อย่างนี้ เพราะสิ้นกรรม บุรุษจึงกระทำกาละ แต่หญิงเพราะบุญ

กรรมของตนถึงเขตสมบัติ จึงอยู่จนครบอายุในวิมานนั้น ตลอด

พุทธันดรหนึ่ง. ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จ

อุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศธรรมจักรอันบวร ประทับอยู่ใน

พระเชตวันมหาวิหารโดยลำดับ วันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

จาริกไปบนภูเขา เห็นวิมานและนางเวมานิกเปรตนั้น จึงถาม

ด้วยคาถามีอาทิว่า วิมานมีเสาแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์งดงามผุดผ่อง

และนางเวมานิกเปรตนั้นได้เล่าประวัติของตนทั้งหมดแก่ท่าน

พระมหาโมคคัลลานะ ตั้งแต่ต้น. พระเถระได้ฟังดังนั้นมายังกรุง

สาวัตถีกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

กระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรมแก่บริษัท

ถึงพร้อมแล้ว มหาชนได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้เป็นผู้ยินดีในบุญธรรม

มีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถารถการีเปติวัตถุที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 393

๔. ภุสเปตวัตถุ

ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตทั้ง ๔

พระมหาโมคคัลลานะ ได้ถามบุพกรรมของเปรตทั้ง ๔

ด้วยคาถานี้ ความว่า :-

[๑๑๔] ท่านทั้ง ๔ นี้ คนหนึ่งกอบเอาแกลบข้าว

สาลีที่ไฟลุกโชนโปรยใส่ศีรษะของตนเอง อีก

คนหนึ่งทุบศีรษะของตนด้วยฆ้อนเหล็ก ส่วน

คนที่เป็นหญิงเอาเล็บจิกหลังกินเนื้อและเลือดของ

ตนเอง ส่วนท่านกินคูถอันเป็นของไม่สะอาด ไม่

น่าปรารถนา นี้เป็นวิบากกรรมอะไร.

ภรรยาของพ่อค้าโกงตอบว่า

เมื่อชาติก่อน ผู้นี้เป็นบุตรของดิฉัน ได้ดี

ศีรษะของฉันผู้เป็นมารดา ผู้นี้เป็นสามีของดิฉัน

เป็นพ่อค้าโกงข้าวเปลือกปนแกลบ ผู้นี้ลูกสะใภ้

ของดิฉัน ลักกินเนื้อแล้วกลับหลอกลวงด้วย

มุสาวาท ดิฉันเมื่อเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก

เป็นหญิงแม่เรือน เป็นใหญ่กว่าสกุลทั้งปวง เมื่อ

สิ่งของมีอยู่ เหล่ายาจกขอก็เก็บซ่อนเสีย ไม่ได้

ให้อะไรจากของที่มีอยู่ ปกปิดไว้ด้วยมุสาวาทว่า

ของนี้ไม่มีในเรือนของเรา ถ้าเราปกปิดของที่มีไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

ขอคูถจงเป็นอาหารของเรา ภัตแห่งข้าวสาลีอัน

มีกลิ่นหอม ย่อมกลับกลายเป็นคูถเพราะวิบาก

แต่งกรรม คือ มุสาวาทของดิฉัน ก็กรรมทั้งหลาย

ไม่ไร้ผล กรรมนั้นย่อมไม่สาบสูญ เพราะฉะนั้น

ดิฉันจึงกินและดื่มแต่มูตร อันมีกลิ่นเหม็น

มีหนอน.

จบภุสเปตวัตถุที่ ๔

อรรถกถาภุสเปตวัตถุที่ ๔

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถุ ทรงปรารภ

เปรต ๔ ตน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ภุสานิ

เอโก สาลี ปุนาปโร ดังนี้.

ได้ยินว่า ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี

มีพ่อค้าโกงคนหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยอเนสนากรรมมีการโกงด้วยตราชั่ง

เป็นต้น. เขาถือเอาฟ่อนข้าวสาลี เคล้าด้วยดินแดง ทำให้หนักกว่า

เดิม ปนกับข้าวสาลีแดงแล้วขาย. บุตรของเขาโกรธว่า คุณพ่อ

ไม่ยอมให้เกียรติยกย่องมิตรสหายของเรา ผู้มาสู่เรือนเสียเลย

ได้ถือเอาเชือกหนัก ๒ เส้น ตีศีรษะมารดา. หญิงสะใภ้ของเขา

ลักกินเนื้อที่เก็บไว้สำหรับชนทั้งปวงแล้ว เมื่อถูกชนเหล่านั้น

ซักไซร้จึงให้คำสบถว่า ถ้าเรากินเนื้อนั้นจริง ก็ขอให้เราพึง

เฉือนเนื้อสันหลังของตนแล้วกินทุก ๆ ภพไปเถิด. ฝ่ายภริยาของเขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

เมื่อชนทั้งหลายพากันขออุปกรณ์บางอย่าง ก็ตอบว่า ไม่มี เมื่อ

ถูกชนเหล่านั้นรบเร้า จงได้ทำสบถด้วยมุสาวาทว่า ถ้าเรากล่าว

ถึงสิ่งที่มีอยู่ว่าไม่มีไซร้ ขอให้เราพึงเป็นผู้มีคูถเป็นอาหาร ในที่

ที่เกิดแล้วเถิด.

สมัยต่อมาชนทั้ง ๔ คนนั้น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรต

ในดงไฟไหม้ ในคน ๔ คนนั้น พ่อค้าโกง ใช้มือทั้งสองข้าง กอบเอา

แกลบที่ลุกโพลงด้วยผลกรรมแล้ว เกรี่ยลงบนศีรษะของตนเอง

เสวยทุกข์เป็นอันมาก, บุตรของเขาก็ใช้ค้อนเหล็กตีศีรษะตนเอง

เสวยทุกข์ไม่ใช่น้อยเลย หญิงสะใภ้ของเขา ด้วยผลกรรม จึงใช้

เล็บทั้งหลายที่ทั้งกว้างและยาวยิ่งนัก คมเป็นอย่างดี กรีดเนื้อ

แผ่นหลังของตนเองกิน เสวยทุกข์หาประมาณมิได้. พอภริยา

ของเขา น้อมนำข้าวสาลีที่มีกลิ่นหอมบริสุทธิ์ดี ปราศจากด่างดำ

เข้าไปเท่านั้น ก็กลายสำเร็จเป็นคูถ เกลื่อนกล่นด้วยหมู่หนอน

นานาชนิด มีกลิ่นเหม็นและน่าเกลียดยิ่งนัก, ภริยานั้นอามือทั้งสอง

ข้างกอบคูถนั้นกิน เสวยทุกข์อย่างมหันต์.

เมื่อชนทั้ง ๔ คนเหล่านั้น เกิดในหมู่เปรตเสวยทุกข์อย่าง

มหันต์ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ. เมื่อจาริก

ไปบนภูเขา วันหนึ่งไปถึงที่นั้น เห็นเปรตเหล่านั้น จึงถามถึงกรรม

ที่เปรตเหล่านั้น กระทำด้วยคาถานี้ว่า :-

ท่านทั้ง ๔ คนนี้ คนหนึ่งกอบเอาแกลบ

ข้าวสารีที่ไฟลุกโชน โปรยใส่ศีรษะตนเอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 396

อีกคนหนึ่งทุบศีรษะของตนด้วยค้อนเหล็ก ส่วน

คนที่เป็นหญิง เอาเล็บจิกหลังกินเนื้อและเลือด

ของตนเอง ส่วนท่านกินคูถอันเป็นของไม่สะอาด

ไม่น่าปรารถนา นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุสานิ ได้แก่ ข้าวรีบ. บทว่า

เอโก แปลว่า ผู้หนึ่ง. บทว่า สาลึ แปลว่า ข้าวสาลี. จริงอยู่

บทว่า สาลึ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.

อธิบายว่า โปรยแกลบแห่งข้าวสาลี ที่ไฟลุกโชนลงบนศีรษะของตน.

บทว่า ปุนาปโร ตัดเป็น ปุน อปโร แปลว่า อีกคนหนึ่ง. จริงอยู่

ท่านกล่าวหมายถึงผู้ตัดศีรษะมารดาแล้วเอาฆ้อนเหล็กตีศีรษะ

ตนเองจนถึงศีรษะแตก. บทว่า สกมสสโลหิต มีวาจาประกอบ

ความว่า ย่อมกินเนื้อหลัง และเลือดของตนเอง. บทว่า อกนฺต

แปลว่า ไม่น่าชอบใจ คือ น่าเกลียด. บทว่า กิสฺส อย วิปาโก

ความว่า นี้เป็นผลแห่งบาปกรรมชนิดไหน ซึ่งพวกท่านเสวย ณ

บัดนี้.

เมื่อพระเถระถามถึงกรรมที่ชนเหล่านั้น กระทำอย่างนี้

ภริยาของพ่อค้าโกง เมื่อจะแจ้งถึงกรรมที่ชนทั้งหมดนั้นกระทำไว้

จึงได้กล่าวคาถาว่า :-

เมื่อก่อน ผู้นี้เป็นบุตรของดิฉัน ได้ตีดิฉัน

เป็นมารดา ผู้นี้เป็นสามีของดิฉัน เป็นพ่อค้าโกง

ข้าวเปลือกปนแกลบ ผู้นี้เป็นลูกสะใภ้ของดิฉัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 397

ลักกินเนื้อแล้ว กลับหลอกลวงด้วยมุสาวาท

ดิฉันเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ในมนุษยโลก เป็นหญิง

แม่เรือน เป็นใหญ่แก่สกุลทั้งปวง เมื่อสิ่งของมี

อยู่ เหล่ายาจกขอแล้ว เก็บซ่อนไว้เสีย ไม่ได้ให้

อะไร ๆ จากของที่มีอยู่เลยปกปิดไว้ด้วยมุสาวาท

ว่า ของนี้ไม่มีในเรือนของเรา ถ้าเราปกปิดของ

ที่มีไว้ไซร้ ขอคูถจงเป็นอาหารของเรา ภัตรแห่ง

ข้าวสาลีอันมีกลิ่นหอม ย่อมกลับกลายเป็นคูถ

เพราะวิบากแห่งกรรม คือมุสาวาทของดิฉัน ก็

กรรมทั้งหลายไม่ไร้ผล กรรมนั้นย่อมไม่สาบ-

สูญ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงกินและดื่มแต่มูตรคูถ

อันมีกลิ่นเหม็น มีหนอน.

นางเปรตเมื่อจะแสดงถึงบุตรจึงได้กล่าวว่า อย ในคาถานั้น.

บทว่า หึสติ แปลว่า ใช้กำลังเบียดเบียน อธิบายว่า ใช้ไม้ฆ้อนตี.

บทว่า กูฏวาณิโช แปลว่า พ่อค้าเลวทราม อธิบายว่า ทำการค้าด้วย

การหลอกลวง. บทว่า มสานิ ขาทิตฺวา ความว่า กินเนื้อที่ทั่วไป

ก็คนเหล่าอื่นแล้ว หลอกลวงชนเหล่านั้น ด้วยมุสาวาทว่า เรา

ไม่ได้กิน.

บทว่า อคารินี ได้แก่ หญิงแม่เจ้าเรือน. บทว่า สนฺเตสุ

ความว่า เมื่อเครื่องอุปกรณ์ที่ชนเหล่าอื่นขอยังมีอยู่นั่นแล. บทว่า

ปริคุหามิ แปลว่า ปกปิด. จริงอยู่ คำว่า ปริคุหามิ นี้ ท่านกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 398

ด้วยกาลวิปลาส. บทว่า มา จ กิญฺจิ อิโต อท ความว่า เราไม่ได้

ให้แม้เพียงสิ่งอะไร ๆ จากสิ่งอันเป็นของของเรานี้ แก่ชนเหล่าอื่น

ผู้ต้องการ. บทว่า ฉาเทมิ ความว่า ปกปิดด้วยมุสาวาทว่า สิ่งนี้

ไม่มีอยู่ในเรือนของเรา.

บทว่า คูถ เม ปริวตฺตติ ความว่า ข้าวสาลีมีกลิ่นหอม

ย่อมเปลี่ยนไป คือ แปรไปโดยความเป็นคูถ ด้วยอำนาจกรรม

ของเรา. บทว่า อวญฺฌานิ แปลว่า ไม่สูญเปล่า คือ ไม่ไร้ผล.

บทว่า น หิ กมฺม วินสฺสติ ความว่า กรรมตามที่ตนได้สั่งสมไว้

ยังไม่ให้ผล จะไม่สูญไปไหนเลย. บทว่า กิมิน ได้แก่ มีหนอน

คือ เกิดเป็นหมู่หนอนขึ้น. บทว่า มีฬฺห แปลว่า คูถ. คำที่เหลือ

ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง.

พระเถระ ครั้นสดับคำของนางเปรตนั้นอย่างนี้แล้ว จึงได้

กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงการทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว จึงทรงแสดงธรรม

แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้น ได้มีประโยชน์แก่มหาชน

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาภุสเปตวัตถุที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 399

๕. กุมารเปตวัตถุ

ว่าด้วยเด็กพูดวาจาหยาบเป็นบาปได้

เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าว

คาถา ๗ คาถาความว่า

[๑๑๕] พระญาณของพระสุคตศาสดาน่าอัศจรรย์

เป็นเหตุให้พระองค์ทรงพยากรณ์บุคคลได้อย่าง

ถูกต้องว่า บุคคลบางคนมีบุญมาก บางคนมีบุญ

น้อย คฤหบดีผู้นี้เมื่อยังเป็นเด็ก ถูกเขาทิ้งไว้ใน

ป่าช้า เป็นอยู่ได้ด้วยน้ำนมจากนิ้วมือตลอดราตรี

ยักษ์และภูตปีศาจ หรืองูเล็กงูใหญ่ ก็ไม่เบียด-

เบียนเด็กผู้มีบุญอันได้ทำไว้แล้ว แม้สุนัข

ทั้งหลายก็พากันมาเลียเท้าทั้งสองของเด็กนี้

ฝูงเหยี่ยวและสุนัขจิ้งจอก ก็พากันมาเดิน

เวียนรักษา ฝูงนกก็พากันมาคาบเอามลทิน

ครรภ์ไปทิ้ง ส่วนฝูงกาพากันมานำเอานี้ตา

เด็กนี้ หรือใคร ๆ ที่จะทำเมล็ดพรรณผักกาด

ให้เป็นยามิได้มี และไม่ได้ถือเอาการประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 400

ฤกษ์ยามทั้งไม่ได้เรี่ยรายซึ่งข้าวเปลือกทั้งปวง

พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว

มีพระปัญญากว้างขวาง ได้ทอดพระเนตรเห็น

เด็กอันบุคคลนำมาทิ้งไว้ในป่าช้าในราตรี ผู้ถึง

แล้วซึ่งความทุกข์อย่างยิ่งเช่นนี้ เหมือนก้อน

แห่งเนยใสหวั่นไหวอยู่ มีความสงสัยว่ารอดหรือ

ไม่รอดหนอ เหลืออยู่แต่สักว่าชีวิต ครั้นแล้วได้

พยากรณ์ว่า เด็กคนนี้จักเป็นผู้มีตระกูลสูง มี

โภคสมบัติในพระนครนี้.

พวกอุบาสกผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้พระศาสดาทูลถามว่า :-

อะไรเป็นวัตรเป็นพรหมจรรย์ของเขา นี้

เป็นวิบากแห่งวัตรหรือพรหมจรรย์ที่เขาประพฤติ

แล้วเช่นไร เขาถึงความพินาศเช่นนี้แล้ว จักเสวย

ความสำเร็จเช่นนั้นเพราะกรรมอะไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า:-

เมื่อก่อน มหาชนทำการบูชาอย่างโอฬาร

แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เด็กนั้น

มิได้มีจิตเอื้อเฟื้อในการบูชา ได้กล่าววาจาหยาบ

คายอันมิใช่ของสัตบุรุษ ภายหลังเด็กนั้นอันมารดา

ตักเตือนให้กลับความวิตกอันลามกนั้นแล้ว กลับ

ได้ปีติและความเลื่อมใส ได้บำรุงพระตถาคต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 401

ซึ่งประทับอยู่ ณ วิหารเชตวัน ด้วยข้าวยาคู

๗ วัน ข้อนั้นเป็นวัตรเป็นพรหมจรรย์ของเขา

นี้เป็นวิบากแห่งวัตรและพรหมจรรย์ที่เขาประ-

พฤติแล้วนั้น เขาถึงความพินาศเช่นนั้นแล้ว จัก

ได้ความสำเร็จเช่นนั้น เขาตั้งอยู่ในมนุษยโลกนี้

สิ้นร้อยปี เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้งปวง

เมื่อตายไปจักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งท้าว

วาสวะ ในสัมปรายภพ.

จบ กุมารเปตวัตถุที่ ๕

อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๕

เรื่องแห่งกุมารเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อจฺเฉรรูป สุคตสฺส

าณ ดังนี้. เรื่องนั้นมีอุปุปัตติเหตุเป็นอย่างไร.

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี อุบาสกและอุบาสิกาเป็นอันมาก

เป็นหมู่กันโดยธรรม สร้างมณฑปหลังใหญ่ไว้ในพระนคร ประดับ

มณฑปนั้นด้วยผ้านานาพรรณ นิมนต์พระศาสดาและพระภิกษุสงฆ์

มาแต่เช้าตรู่ ให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานนั่งบนอาสนะ

ที่ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีควรแก่ค่ามาก บูชาด้วยสักการะมี

ของหอมและดอกไม้เป็นต้นแล้ว ให้มหาทานเป็นไป. บุรุษคนหนึ่ง

มีจิตถูกมลทินคือความตระหนี้กลุ้มรุม พอเห็นดังนั้น ทนต่อสักการะ

นั้นไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งหมดนี้ ทิ้งเสียที่กองหยากเหยื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 402

ยังจะดีกว่า กว่าการที่จะถวายแก่สมณะโล้นเหล่านี้ ซึ่งหาดีมิได้

เลย. พวกอุบาสกอุบาสิกาได้ฟังดังนั้น เกิดความสลดใจพากันคิดว่า

การที่บุรุษนี้ขวนขวายสร้างกรรมชั่ว อันเป็นเหตุให้ผิดในภิกษุ

สงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานถึงอย่างนี้ จัดว่าเป็นกรรมอันหนัก

หนอ ดังนี้แล้ว จึงได้บอกเรื่องนั้น แก่มารดาของเขาแล้วกล่าวว่า

ไป เธอจงไปขอขมาโทษพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์

สาวก. มารดารับคำแล้ว เมื่อจะขู่บุตรให้ยินยอม จึงเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า และเยี่ยมภิกษุสงฆ์ แสดงโทษที่บุตรกระทำ

ไว้ให้ขมาโทษแล้ว ได้กระทำการบูชา ด้วยการถวายข้าวยาคู

ตลอด ๗ วัน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. เพราะฉะนั้น

ไม่นานนักบุตรก็ทำกาละ บังเกิดในท้องของหญิงแพศยา. ผู้เลี้ยง

ชีพด้วยกรรมที่เศร้าหมอง. ก็พอบุตรเกิดขึ้นเท่านั้น มารดารู้ว่า

เป็นเด็กชาย ก็ให้เขาไปทิ้งเสียที่ป่าช้า. บุตรนั้น อันพลังแห่งบุญของ

ตนคุ้มครองรักษาไว้ในที่นั้น ไม่ถูกอะไร ๆ เบียดเบียน จึงหลับ

เป็นสุขเหมือนหลับที่ตักของมารดา. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า

เทวดาพากันรับคุ้มครองรักษาบุตรนั้นไว้.

ครั้นเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากมหา-

กรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ทอดพระเนตร

เห็นเด็กนั้นที่ถูกทอดทิ้งไว้ที่ป่าช้า จงได้เสด็จไปยังป่าช้า ในเวลา

พระอาทิตย์ขึ้น. มหาชนประชุมกันว่า พระศาสดาเสด็จมาในที่นี้

เห็นจะมีเหตุอะไรในที่นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่บริษัทผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 403

ประชุมกันแล้วว่า เด็กคนนี้ไม่มีใครรู้จัก บัดนี้ถูกทอดทิ้งไว้ใน

ป่าช้า ไร้ที่พึ่งก็จริง ถึงอย่างนั้น เด็กนั้นก็จักได้รับสมบัติอัน

โอฬาร ในอนาคต ปัจจุบัน และอภิสัมปรายภพแล้ว ถูกพวกมนุษย์

เหล่านั้น ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในชาติปางก่อน เด็กคนนี้

ทำกรรมอะไรไว้ ดังนี้จึงทรงประกาศ กรรมที่เด็กกระทำไว้ และ

สมบัติที่เด็กพึงได้รับในอนาคต โดยนัยเป็นต้นว่า :-

หมู่ชนได้กระทำการบูชาอย่างโอฬาร

แก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แต่

จิตของเด็กนั้นกลับกลายเป็นอย่างอื่น จึงได้กล่าว

วาจาหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษดังนี้แล้ว

จึงแสดงธรรมอันเหมาะสมแก่อัธยาศัยของบริษัทที่พากันมา

ประชุมแล้ว จึงได้ตรัสพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดง

ด้วยพระองค์เองในเบื้องบน. ในเวลาจบสัจจะ สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้

ตรัสรู้ธรรม. ก็กฏุมพีคนหนึ่ง ผู้มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ได้รับเด็กนั้น

ต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นบุตรของเรา. พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงพระดำริว่า เด็กนี้ อันบุญกรรมมีประมาณเท่านี้

รักษาไว้แล้ว และมหาชนพากันกระทำการอนุเคราะห์ ดังนี้แล้ว จึง

เสด็จไปยังพระวิหาร.

สมัยต่อมา เมื่อกฏุมพีนั้น ทำกาละแล้ว เธอก็ปกครองทรัพย์

ที่กฏุมพีนั้นมอบให้เก็บรวมทรัพย์ไว้ ได้เป็นคฤหบดี มีสมบัติ

มากในพระนครนั้นเอง ได้เป็นผู้ยินดีในการให้ทานเป็นต้น. ภายหลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า น่าอัศจรรย์

พระศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย เด็กชื่อแม้นั้น ในกาลนั้น

เป็นคนอนาถา แต่บัดนี้เสวยสมบัติมาก และกระทำอย่างโอฬาร

พระศาสดา ทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ภิกษุทั้งหลาย

มิใช่เธอจะมีสมบัติแต่เพียงเท่านี้ โดยที่แท้ ในเวลาสิ้นอายุ จัก

บังเกิด เป็นโอรสของท้าวสักกเทวราช ในภพชั้นดาวดึงส์ และจัก

ได้สมบัติอันเป็นทิพย์. ภิกษุทั้งหลายและมหาชน ได้ฟังดังนั้นแล้ว

คิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ผู้เห็นกาลไกล ทรง

สดับเหตุนั้นแล้ว เสด็จไป เมื่อเขาพอเกิดมาเท่านั้นก็ถูกทิ้งใน

ป่าช้าผีดิบ เสด็จไปในที่นั้น กระทำการสงเคราะห์เธอดังนี้แล้ว

จึงพากันชมเชยญาณพิเศษของพระศาสดา แล้วได้กราบทูลประวัติ

ของเด็กนั้นในอัตภาพนั้น. พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะแสดง

ความนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๖ คาถาว่า :-

พระญาณของพระสุคตศาสดาน่าอัศจรรย์

เป็นเหตุให้พระองค์ทรงพยากรณ์บุคคลว่า บุคคล

บางคนมีบุญมาก บางคนมีบุญน้อย. กุมารนี้ถูก

ทอดทิ้งในป่าช้าเป็นอยู่ได้ด้วยน้ำนมจากนิ้วมือ

ตลอดราตรี ยักษ์และภูตปีศาจ หรืองูเล็ก งูใหญ่

ก็ไม่เบียดเบียนเด็กผู้มีบุญอันได้ทำไว้แล้ว แม้

สุนัขทั้งหลายก็พากันมาเลียเล็บเท้าทั้งสองของ

เด็กนี้ ฝูงกาและสุนัขจิ้งจอกก็พากันมาเดินเวียน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 405

รักษา ฝูงนกก็พากันมาคาบเอามลทินครรภ์ไปทิ้ง

ส่วนฝูงกาพากันมาเอาขี้ตาไปทิ้ง มนุษย์และ

อมนุษย์ไร ๆ มิได้จัดแจงรักษาเด็กนี้ หรือใคร ๆ

ที่จะทำเมล็ดพรรณผักกาดให้เป็นยามิได้มี และ

ไม่ได้ถือเอาการประกอบฤกษ์ยาม ทั้งไม่ได้เรี่ย-

รายซึ่งข้าวเปลือกทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้า

อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว มีพระปัญญา

กว้างขวาง ได้ทอดพระเนตรเห็นเด็กอันบุคลล

นำมาทิ้งไว้ในป่าช้าในราตรี ผู้ถึงซึ่งความทุกข์

อย่างยิ่งเช่นนี้ เหมือนก้อนเนยใสหวั่นไหวอยู่

มีความสงสัยว่า รอดหรือไม่รอด เหลืออยู่แต่สัก

ว่าชีวิต ครั้นได้รับพยากรณ์ว่า เด็กนี้จักเป็นผู้มี

สกุลสูง มีโภคสมบัติในพระนครนี้

พวกอุบาสกผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้พระศาสดาทูลถามว่า

อะไรเป็นวัตรเป็นพรหมจรรย์ของเขา

นี้เป็นวิบากแห่งวัตรหรือพรหมจรรย์ ที่เขา

ประพฤติแล้วเช่นไร เขาถึงความพินาศเช่นนี้แล้ว

จักเสวยความสำเร็จเช่นนั้น เพราะกรรมอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺเฉรรูป ได้แก่ มีสภาวะน่า

อัศจรรย์. บทว่า สุคตสฺส าณ ได้แก่ พระญาณแห่งพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าอันไม่ทั่วไปกับสาวกอื่น ซึ่งท่านกล่าวหมายเอาพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

สัพพัญญุตญาณมีอาสยานุสยญาณเป็นต้นเท่านั้น. เพื่อจะเลี่ยง

คำถามว่า พระญาณนี้นั้น ไม่เป็นวิสัยของพระสาวกอื่น เป็นอย่างไร

จึงกล่าวว่า พระศาสดาทรงพยากรณ์ตามชั้นของบุคคล. ด้วยคำนั้น

ท่านแสดงว่า ความที่พระญาณเป็นภาวะน่าอัศจรรย์ ย่อมรู้ได้ด้วย

เทศนาของพระศาสดาเท่านั้น.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงพยากรณ์ พระองค์จงตรัสว่า บุคคล

บางคนมีบุญมาก บางคนมีบุญน้อย ดังนี้. ความแห่งคำนั้นมีอธิบาย

ดังนี้ว่า บุคคลบางพวกในโลกนี้ มีกุศลธรรมมาก เป็นผู้เสื่อมจาก

ชาติเป็นต้น ด้วยอำนาจอกุศลที่ตนได้แล้วเป็นปัจจัยก็มี บ้างพวกมี

มีบุญน้อยก็มี บางพวกมีบุญธรรมน้อยกว่าก็มี เป็นผู้รุ่งเรือง เพราะ-

ความเป็นบุญรุ่งเรืองมากด้วยเหตุมีเขตุตสมบัติเป็นต้น ก็มี.

บทว่า สิวถิกาย แปลว่า ในป่าช้า. บทว่า อวฺคุฏฺเสนฺเหน

ได้แก่ ด้วยน้ำนมอันไหลออกจากนิ้วมือ อธิบายว่า ด้วยน้ำนม

อันไหลออกจากนิ้วมือของเทวดา. บทว่า น ยกฺขภูตา น สรีสปา วา

ความว่า สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นปีศาจภูต ยักขภูต

หรืองูใหญ่น้อยที่เที่ยวไป หรือเดินไป ไม่พึงเบียดเบียน คือไม่พึง

ทำร้าย.

บทว่า ปลิหึสุ ปาเท ความว่า เลียเท้าทั้งสองด้วยลิ้นของตน.

บทว่า ธงฺกา แปลว่า พวกเหยี่ยว. บทว่า ปริวตฺตยนฺติ ความว่า

เที่ยวเวียนรักษาไป ๆ มา ๆ เพื่อให้รู้ว่าไม่มีโรคว่า ใคร ๆ อย่าพึง

เบียดเบียนกุมารนั้นเลย. บทว่า คพฺภาสย แปลว่า มลทิลครรภ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

บทว่า ปกฺขิคณา ได้แก่ ฝูงนกมีแร้ง และเหยี่ยวเป็นต้น. บทว่า

หรนฺติ แปลว่า ขจัดไป. บทว่า อกฺขิมูล ได้แก่ ขี้ตา.

บทว่า เกจิ ได้แก่ พวกเป็นมนุษย์ แต่อมนุษย์จัดแจงรักษา.

บทว่า โอสธ ได้แก่ ยาอันบำบัดโรคในกาลนั้น และกาลต่อไป.

ด้วยบทว่า สาสปธูปน วา ท่านแสดงว่า ผู้ที่จะทำยาด้วยเมล็ด

พรรณผักกาด เพื่อจะรักษาเด็กผู้แรกเกิดนั้น ไม่มี. บทว่า

นตฺขตฺตโยคมฺปิ น อคฺคเหสุ ความว่า ไม่ยึดเอาแม้ด้วยการประกอบ

ฤกษ์, อธิบายว่า ใคร ๆ ไม่กระทำกรรมแรกเกิดให้แก่เธออย่างนี้

ว่า เด็กนี้เกิดในฤกษ์โน้น ดีถิโน้น ครู่โน้น. บทว่า น สพฺพธญฺานิปิ

อากิรึสุ ความว่า เมื่อจะกระทำมงคล ไม่ได้กระทำข้าวเปลือกมี

ข้าวสาลีเป็นต้นอันเจือด้วยน้ำมันเมล็ดพรรณผักกาดที่เขาประกอบ

ให้เป็นยาแก่เด็กนั้น.

บทว่า เอตาทิส แปลว่า เห็นปานนั้น. บทว่า อุตฺตมกิจฺฉปตฺต

ความว่า ได้รับความยากอย่างยิ่ง คือ ได้รับทุกข์อย่างยิ่ง. บทว่า

รตฺตาภต ได้แก่ ที่เขานำมาในราตรี. บทว่า โนนีตปิณฺฑ วิย ได้แก่

เสมือนกับก้อนเนยใส, ท่านกล่าวอย่างนั้น เพราะเป็นเพียงชิ้นเนื้อ.

บทว่า ปเวธมาน ได้แก่ สั่นอยู่โดยภาวะที่มีกำลังน้อย. บทว่า

สสย ความว่า ชื่อว่ามีความสงสัย เพราะมีความสงสัยว่า เขาจะ

มีชีวิตอยู่หรือไม่หนอ. บทว่า ชีวิตสาวเสส ได้แก่ เหลืออยู่แต่เพียง

ชีวิตอย่างเดียว เพราะไม่มีทรัพย์อันเป็นเหตุดำรงชีวิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 408

บทว่า อคฺคกุลิโก ภวิสฺสติ โภคโต จ ความว่า จักเป็นผู้

มีสกุลสูง คือ มีสกุลสูงสุดอันมีโภคะเป็นเหตุ คือด้วยอำนาจโภคะ.

คาถาว่า กิสฺส วต เป็นต้นนี้ พึงทราบว่า อุบาสกผู้อยู่ใน

สำนักของพระศาสดากราบทูลด้วยอำนาจคำถามถึงกรรมที่เขา

ทำไว้ และคาถานั้นแลอุบาสกผู้ประชุมกันอยู่ในป่าช้าได้กล่าวไว้

แล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสฺส แปลว่า พึงเป็นกรรมอะไร.

บทว่า วต ได้แก่ การสมาทานวัตร. บทว่า กิสฺส มีวาจาประกอบ

การเปลี่ยนวิภัติอีกว่า วัตรและพรหมจรรย์ที่เธอสั่งสมไว้ดีเช่นไร.

บทว่า เอตาทิส ความว่า ชื่อว่าเห็นปานนั้น เพราะเกิดในท้อง

หญิงแพศยา ถูกทอดทิ้งในป่าช้า. บทว่า พฺยสน แปลว่า ความพินาศ.

บทว่า เอตาทิส แปลว่า เห็นปานนั้น, อธิบายว่า มีประการดังกล่าว

แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า เป็นอยู่ตลอดราตรีด้วยน้ำนมที่ไหลออกจาก

นิ้วมือ และโดยนัยมีอาทิว่า เด็กนี้จักมีสกุลสูงแห่งนครนี้. บทว่า

อิทฺธึ ได้แก่ เทวฤทธิ์ อธิบายว่า ทิพยสมบัติ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกอุบาสกเหล่านั้นทูลถามแล้ว

ได้ทรงพยากรณ์ในเวลานั้น โดยประการที่พระสังคีติกาจารย์

ทั้งหลายเมื่อจะแสดงได้กล่าวคาถา ๔ คาถาว่า :-

มหาชนได้ทำการบูชาอย่างโอฬาร แก่

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เด็กนั้น

ได้มีจิตเอื้อเฟื้อในการบูชา ได้กล่าววาจาหยาบ-

คายอันมิใช่ของสัตบุรุษ ภายหลังเด็กนั้นอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 409

มารดาตักเตือนให้กลับความวิตกอันลามกนั้น

แล้ว กลับได้ปีติและความเลื่อมใส ได้บำรุง

พระตถาคต ซึ่งประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร

ด้วยข้าวยาคู ๗ วัน ข้อนั้นเป็นวัตรเป็นพรหม-

จรรย์ของเขา นี้เป็นวิบากแห่งวัตรและพรหม-

จรรย์ที่เขาประพฤติแล้วนั้น เขาถึงความพินาศ

เช่นนี้แล้ว จักได้ความสำเร็จเช่นนั้น เขาตั้งอยู่

ในมนุษยโลกนี้ สิ้น ๑๐๐ ปี เป็นผู้พรั่งพร้อม

ด้วยกายคุณทั้งปวง เมื่อตายไปจักเข้าถึงความ

เป็นสหายแห่งท้าววาสวะในสัมปรายภพ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชนตา ได้แก่ หมู่ชน อธิบายว่า

คณะแห่งอุบาสก. บทว่า ตตฺร ได้แก่ ในการบูชานั้น. บทว่า

อสฺส ได้แก่ ของทารกนั้น. บทว่า จิตฺตสฺสหุ อญฺถตฺต ความว่า

ในภพก่อน จิตของเขามีภาวะเป็นอย่างอื่น คือ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เคารพ

ไม่มีปีติ. บทว่า อสพฺภ ได้แก่ ได้กล่าววาจาหยาบอันไม่ควรที่จะฟัง

ในที่ประชุมแห่งสาธุชน.

บทว่า โส ได้แก่ เด็กนี้นั้น. บทว่า ต วิตกฺก ได้แก่ วิตก

อันลามกนั้น. บทว่า ปวิโนทยิตฺวา ได้แก่ สงบระงับด้วยสัญญัติ

ที่มารดากระทำ. บทว่า ปีตึ ปสาท ปฏิลทฺธา ได้แก่ กลับได้ คือ

ทำปีติและความเลื่อมใสให้เกิด. บทว่า ผาคุยา อุปฏฺาสิ ได้แก่ บำรุง

ด้วยการถวายข้าวยาคู. บทว่า สตฺตรตฺต แปลว่า ตลอด ๗ วัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 410

บทว่า ตสฺส วต ต ปน พฺรหฺมจริย ความว่า ความเลื่อมใส

และการให้แห่งจิตของตนซึ่งมีประการยังเรากล่าวในหนหลังนั้น

เป็นวัตรและเป็นพรหมจรรย์ของบุคคลนี้ อธิบายว่า ไม่มีสิ่งไรอื่น.

บทว่า ตฺวาน ความว่า ตั้งอยู่ในมนุษยโลกนี้แหละจนสิ้น

อายุ. บทว่า อภิสมฺปราย ได้แก่ ในภพใหม่. บทว่า สหพฺยต

คจฺฉติ วาสวสฺส ได้แก่ จักเข้าถึงความเป็นสหาย โดยความเป็น

บุตรแห่งท้าวสักกะจอมเทพ. ก็คำว่า สหพฺยต คจฺฉติ วาสวสฺส

นี้ เป็นคำปัจจุบันกาล ใช้ในอรรถอันเป็นอนาคต. คำที่เหลือในบท

ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 411

๖. เสรินีเปติวัตถุ

ว่าด้วยคนตระหนี่ไปเกิดเป็นเปรต

อุบาสกคนหนึ่งถามนางเปรตเสรินีว่า

[๑๑๖] ท่านเปลือยกาย มีผิวพรรณน่าเกลียด ซูบ

ผอม สพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ผอมยิ่งนักจนเห็น

แต่ซี่โครง ท่านเป็นใคร มายืนอยู่ที่นี้.

นางเปรตเสรินีตอบว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต ตกทุกข์

เกิดในยมโลก ทำกรรมอันลามกไว้ จึงจากโลกนี้

ไปสู่เปตโลก.

อุบาสกถามว่า

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา

ใจ หรือเพราะวิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึงจาก

โลกนี้ไปสู่เปตโลก.

นางเปรตเสรินีตอบว่า

เมื่อสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นที่พึ่งอัน

หาโทษมิได้ มีอยู่ ดิฉันถูกความตระหนี่ครอบงำ

จึงไม่สั่งสมบูรณ์แม้เพียงกึ่งมาสก เมื่อไทยธรรม

มีอยู่ ไม่ทำที่พึ่งแก่ตน ดิฉันหิวน้ำ เข้าไปใกล้

แม่น้ำ แม่น้ำกลับว่างเปล่าไป ในเวลาร้อน ดิฉัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 412

เข้าไปสู่ร่มไม้ ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดไป ทั้ง

ลมก็กลับกลายเป็นเปลวไฟเผาร่างกายของดิฉัน

ฟุ้งไป ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันควรจะเสวยทุกข์

มีความกระหายเป็นต้น ตามที่กล่าวมาแล้วนี้

และทุกข์อย่างอื่นอันชั่วช้าทารุณกว่านั้น ท่านไป

ถึงหัตถินีนครแล้ว ขอช่วยบอกแก่มารดาของ

ดิฉันว่า เราเห็นธิดาของท่านตกทุกข์ เกิดใน

ยมโลก เขาจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก เพราะทำบาป

กรรมไว้ ทรัพย์ของดิฉันมีอยู่ ๔ แสน ดิฉันซ่อน

ไว้ภายใต้เตียง ไม่ได้บอกใคร ๆ ขอมารดาของ

ดิฉันจงถือเอาทรัพย์จากที่ซ่อนไว้นั้น ให้ทานบ้าง

เลี้ยงชีวิตบ้าง ครั้นให้ทานแล้ว ขอจงอุทิศส่วน

บุญมาให้แก่ดิฉันบ้าง เมื่อนั้นจะมีความสุข สำเร็จ

ความประสงค์ทั้งปวง อุบาสกนั้นรับคำของ

นางเปรตเสรินีแล้วกลับไปสู่หัตถินีนคร บอก

แก่มารดาของนางว่า ข้าพเจ้าเห็นนางเสรินีธิดา

ของท่าน เขาตกทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะได้ทำ

กรรมชั่วไว้ จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก นางได้สั่ง

ฉันในที่นั้นว่า ท่านไปถึงหัตถินีนครแล้ว จงบอก

แก่มารดาของดิฉันด้วยว่า ธิดาของท่านเราเห็น

แล้ว ตกทุกข์ เกิดอยู่ในยมโลก เพราะทำกรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 413

ชั่วไว้ จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก ทรัพย์ของดิฉัน

มีอยู่ ๔ แสน ดิฉันซ่อนไว้ภายใต้เตียงไม่ได้บอก

ใคร ๆ ขอมารดาของดิฉันจงถือเอาทรัพย์จากที่

ซ่อนนั้นมาให้ทานบ้าง เลี้ยงชีวิตบ้าง ครั้นให้

ทานแล้วขอจงอุทิศส่วนบุญไปให้แก่ดิฉัน เมื่อนั้น

ดิฉันจักมีความสุขสำเร็จความประสงค์ทั้งปวง

ก็มารดาของนางเปรตเสรินีนั้น ถือเอาทรัพย์ที่

นางเปรตเสรินีซ่อนไว้นั้นมาให้ทาน ครั้นแล้ว

อุทิศส่วนบุญไปให้นางเปรตเสรินี นางเปรตเสรินี

เป็นผู้มีความสุขแม้มารดาของนางก็เป็นอยู่สบาย.

จบ เสรินีเปติวัตถุที่ ๖

อรรถกถาเสรินีเปติวัตถุที่ ๖

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภนางเสรินีเปรต จึงได้ตรัสพระคาถามีคำเริ่มต้นว่า นคฺคา

ทฺพฺพณฺณรูปาสิ ดังนี้.

ได้ยินว่าในหัตถินีบุรี ในแคว้นกุรุรัฐ มีหญิงคนหนึ่งชื่อว่า

เสรินี ได้เป็นผู้อาศัยรูปเลี้ยงชีวิต. ก็ภิกษุทั้งหลายจากที่นั้น ๆ

ได้มาประชุมกันในหัตถินีบุรีนั้น เพื่อต้องการทำอุโบสถ. ได้มี

ภิกษุจำนวนมากมาประชุมกันอีก. มนุษย์ทั้งหลายเห็นดังนั้น

จึงจัดเตรียมเครื่องอุปกรณ์ในการบำเพ็ญทานเป็นอันมาก มีเมล็ดงา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 414

และข้าวสารเป็นต้น และมีเนยใส เนยข้น และน้ำผึ้งเป็นต้น บำเพ็ญ

มหาทาน. ก็สมัยนั้น นางคณิกาคนนั้นไม่มีศรัทธาไม่มีความเลื่อมใส

จิตถูกกลุ้มรุมด้วยมลทินคือความตระหนี่ แม้จะถูกพวกมนุษย์

เหล่านั้นให้กำลังใจว่า มาซิเธอ ก่อนอื่นจงอนุโมทนาทานนี้ ก็

ประกาศยืนยันความไม่เลื่อมใสแก่มนุษย์เหล่านั้นว่า จะประโยชน์

อะไรด้วยทานที่ให้แก่พวกสมณะโล้น การบริจาคสิ่งของมีประมาณ

เล็กน้อย จักมีแต่ไหน.

สมัยต่อมา นางทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรต ที่หลังคู แห่ง

ปัจจันตนครแห่งหนึ่ง. ลำดับนั้น อุบาสกชาวเมืองหัตถินีบุรีคนหนึ่ง

ไปยังนครนั้นเพื่อการค้า ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ได้ไปยังหลังคู

ด้วยประโยชน์เช่นนั้น. นางเห็นเขาที่นั้น ก็จำได้เป็นคนเปลือย

มีร่างกายเหลือเพียงหนังหุ้มกระดูก เห็นเข้าน่าสะพึงกลัวยิ่งนัก

ได้ยินแสดงตนอยู่ในที่ไม่ไกล. อุบาสกนั้น เห็นนางนั้นกลัว ถาม

เป็นคาถาว่า :-

ท่านเปลือยกาย มีรูปพรรณน่าเกลียด ซูบ

ผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูก่อนนางผู้ซูบผอม

จนเห็นแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครหนอ มายืนอยู่ที่นี้.

ฝ่ายนางเปรต จึงประกาศตนแก่อุบาสกนั้นด้วยคาถาว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต ตกทุกข์

ได้ยาก เกิดในยมโลก ทำกรรมอันลามกไว้ จึง

จากโลกนี้ ไปสู่เปตโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 415

นางถูกอุบาสกนั้น ถามถึงกรรมที่ตนกระทำด้วยคาถาอีกว่า :-

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา

และใจ หรือ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึง

จากโลกนี้ไปสู่เปตโลก

จึงบอกกรรมที่ตนกระทำไว้ และประโยชน์ที่เขาพึงกระทำ

ให้แก่ตนอีก ด้วยคาถา ๖ คาถานี้ว่า :-

ดิฉัน ได้ค้นทาทรัพย์มาได้กึ่งมาสก ในที่

ที่ไม่มีใครหวงห้าม เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ดิฉันไม่

ได้กระทำที่พึ่งแก่ตนไว้ ดิฉันกระหายน้ำ เข้าไป

ยังแม่น้ำ แม่น้ำก็กลับว่างเปล่าไป ในเวลาร้อน

ดิฉันเข้าไปยังร่มไม้ ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดไป

ทั้งลมก็กลับกลายเป็นเปลวไฟไป เผาร่างของ

ดิฉันฟุ้งไป ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันควรจะเสวย

ทุกข์มีความกระหายเป็นต้น ตามที่ท่านกล่าว

แล้วนี้ และทุกข์อย่างอื่นอันชั่วช้าทารุณกว่านั้น

ท่านไปถึงหัตถินีนครแล้ว ขอช่วยบอกแก่มารดา

ดิฉันว่า เราเห็นธิดาของท่านตกทุกข์ เกิดใน

ยมโลก เขาจากโลกนี้ไปยังเปตโลก เพราะทำ

บาปกรรมไว้ ทรัพย์ของดิฉันมีอยู่ ๔๐๐,๐๐๐

ดิฉันซ่อนไว้ภายใต้เตียง ไม่ได้บอกแก่ใคร ๆ

ขอมารดาของดิฉัน จงถือเอาทรัพย์จากที่ซ่อนไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 416

นั้นเถิด ให้ทานบ้าง เลี้ยงชีวิตบ้าง ครั้นให้ทาน

แล้ว ขอจงอุทิศส่วนบุญมาให้แก่ดิฉันบ้าง เมื่อนั้น

ดิฉันก็จะมีความสุข สำเร็จความประสงค์ทั้งปวง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนาวเฏสุ ติตฺเถสุ ความว่า

ในถิ่นที่เป็นท่าของแม่น้ำ และสระน้ำเป็นต้น ที่ใคร ๆ ไม่หวงห้าม

คือ ในที่ที่พวกมนุษย์อาบและทำกิจด้วยน้ำเช่นนั้น. บทว่า วิจินึ

อฑฺฒมาสก ความว่า ดิฉันถูกความโลภครอบงำ ค้นหา คือแสวงหา

ได้ทรัพย์เพียงกึ่งมาสก ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงได้อะไร

สักอย่างหนึ่ง ในที่นี้ ที่พวกมนุษย์วางลืมไว้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

อนาวเฏสุ ติตฺเถสุ ความว่า เมื่อสมณพราหมณ์ อันเป็นที่พึ่ง

ของสัตว์ทั้งหลาย โดยความเป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์อันเนื่องด้วย

ความพยายามของปวงสัตว์ ซึ่งไม่มีใครหวงห้าม โดยการเข้าไปหา

มีอยู่. บทว่า วิจินึ อฑฺฒมาสก ความว่า ดิฉันมีจิตถูกมลทินคือ

ความตระหนี่กลุ้มรุม จึงไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ จึงเก็บทรัพย์

ไว้เป็นพิเศษกึ่งมาสก จึงไม่สั่งสมบุญไว้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ดิฉัน จึงไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน ดังนี้

เป็นต้น.

บทว่า ตสิตา ได้แก่ ผู้กระหายแล้ว. บทว่า ริตฺตกา

ความว่า แม่น้ำที่กาพอจะพึงดื่มได้ ไหลไปอยู่ ก็กลับกลายเป็น

แม่น้ำว่างเปล่าจากน้ำ มีเพียงทราย เพราะกรรมชั่วของดิฉัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 417

บทว่า อุณฺเหสุ ได้แก่ ในฤดูร้อน. บทว่า อาตโป ปริวตฺตติ

ความว่า ที่ที่มีร่มเงา เมื่อดิฉันเข้าไป ก็กลับกลายเป็นแดดไป.

บทว่า อคฺคิวณฺโณ ได้แก่ มีสัมผัสเช่นกับไฟ. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า แผดเผาฟุ้งตลบไป ดังนี้เป็นต้น. นางเปรต

เรียกอุบาสกนั้น ด้วยความเคารพว่า ภนฺเต ในบทว่า เอตญฺจ ภนฺเต

อรหามิ นี้ อธิบายว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ดิฉัน สมควรเสวยทุกข์

อันเกิดแต่ความกระหาย เป็นต้น ตามที่กล่าวแล้วนี้ และทุกข์อย่างอื่น

อันลามก ทารุณ กว่านั้น เพราะดิฉันได้กระทำกรรมชั่ว อันเกิด

แต่การกระทำนั้น. บทว่า วชฺเชสิ แปลว่า พึงกล่าว.

บทว่า เอตฺถ นิกฺขิตฺต อนกฺขาต ความว่า ดิฉันไม่ได้บอกว่า

ทรัพย์มีประมาณเท่านี้ เก็บไว้ในที่นี้. บัดนี้ นางเปรตเมื่อจะแสดง

ปริมาณของทรัพย์นั้น จึงกล่าวว่า ทรัพย์ ๔๐๐,๐๐๐ ดิฉันได้เก็บ

ซ่อนไว้ภายใต้เตียง ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

ปลฺลงฺกสฺส ได้แก่บัลลังก์อันเป็นที่นอนของตนในกาลก่อน. บทว่า

ตโต ความว่า ขอมารดา จึงถือเอาทรัพย์ส่วนหนึ่ง จากทรัพย์ที่

ดิฉันฝังไว้ แล้วจงให้ทานอุทิศถึงดิฉัน. บทว่า ตสฺสา ได้แก่

มารดาของดิฉัน.

เมื่อนางเปรตนั้น กล่าวอย่างนี้ อุบาสกนั้นรับคำของนางนั้น

แล้ว พิจารณากรณียกิจของตนในที่นั้น จึงไปยังหัตถินีนคร แจ้ง

เรื่องนั้นแก่มารดาของนาง. เพื่อจะแสดงเรื่องนั้น พระสังคีติกาจารย์

ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 418

อุบาสกนั้น รับคำของนางเปรตนั้นแล้ว

กลับไปสู่หัตถินีนคร บอกแก่มารดาของนางว่า

ข้าพเจ้าเห็นธิดาของท่าน เขาตกทุกข์ เกิดใน

ยมโลก เพราะได้กระทำกรรมชั่วไว้ จึงจากโลก

นี้ ไปสู่เปตโลก นางได้สั่งฉันในที่นั้นว่า ท่าน

ไปถึงหัตถินีนครแล้ว จงบอกแก่มารดาของดิฉัน

ด้วยว่า ธิดาของท่านเราเห็นแล้ว ตกทุกข์ เกิด

อยู่ในยมโลก เพราะทำกรรมชั่วไว้ จึงจากโลก

นี้ไปสู่เปตโลก ทรัพย์ของดิฉันมีอยู่ ๔๐๐,๐๐๐

ดิฉันซ่อนไว้ภายใต้เตียงไม่ได้บอกแก่ใคร ๆ

ขอมารดาของดิฉัน จงถือเอาทรัพย์จากที่ซ่อนไว้

นั้น มาให้ทานบ้าง เลี้ยงชีวิตบ้าง ครั้นให้ทานแล้ว

จงอุทิศส่วนบุญไปได้แก่ดิฉัน เมื่อนั้น ดิฉัน จัก

มีความสุข สำเร็จความประสงค์ทั้งปวง ก็มารดา

ของนางเปรตนั้น ถือเอาทรัพย์ที่นางเปรตซ่อนไว้

นั้น มาให้ทาน ครั้นแล้วอุทิศส่วนบุญไปให้

นางเปรต นางเปรตเป็นผู้มีความสุข แม้มารดา

ของนาง ก็เป็นอยู่สบาย.

คาถาเหล่านั้น รู้ได้ง่ายทีเดียว.

มารดาของนางได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์

อุทิศไปให้นาง. เพราะเหตุนั้น นางตั้งอยู่ในความสมบูรณ์ ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 419

เครื่องอุปกรณ์ที่ได้มา แสดงตนแก่มารดา บอกเหตุนั้นให้ทราบ

มารดาแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำเรื่องนั้น

ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ จึงทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว.

เทศนานั้น ได้มีประโยชน์แก่มหาชนฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาเสรินีเปติวัตถุที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 420

๗. มิคลุททเปตวัตถุที่ ๑

ว่าด้วยนายพรานเนื้อใจหยาบตายไปเป็นเปรต

พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า

[๑๑๙] ท่านเป็นคนหนุ่มแน่น ห้อมล้อมด้วย

เทพบุตรและเทพธิดา รุ่งเรืองอยู่ด้วยกามคุณ อัน

ให้เกิดความกำหนัดยินดีในราตรี เสวยทุกข์ใน

กลางวัน ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้ในชาติก่อน.

เปรตนั้นตอบว่า

เมื่อก่อน กระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่

กรุงราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์ มีภูเขาล้อมรอบ

(ปัญจคีรีนคร) เป็นผู้มีฝ่ามือเปื้อนโลหิต เป็น

คนหยาบช้าทารุณมีใจประทุษร้ายในสัตว์เป็นอัน

มากผู้ไม่ได้กระทำความโกรธเคืองให้ ยินดีแต่

ในการเบียดเบียนสัตว์อื่น เป็นผู้ไม่สำรวมด้วย

กาย วาจา ใจ เป็นนิตย์ อุบาสกคนหนึ่งผู้เป็น

สหายของกระผม เป็นคนใจดีมีศรัทธา ก็อุบาสก

คนนั้น เป็นคนเอ็นดูกระผม ห้ามกระผมอยู่

เนือง ๆ ว่า อย่าทำบาปกรรมเลย พ่อเอ๋ย อย่าไป

ทุคติเลย ถ้าท่านปรารถนาความสุขในโลกหน้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 421

จงงดเว้นการฆ่าสัตว์ อันเป็นการไม่สำรวมเสีย

เถิด กระผมฟังคำของสหายผู้หวังดีมีความอนุ-

เคราะห์ด้วยประโยชน์นั้นแล้ว ไม่ทำตามคำสั่ง

สอนทั้งสิ้น เพราะกระผมเป็นคนไม่มีปัญญา

ยินดีในบาปตลาดกาลนาน สหายผู้มีปัญญาดีนั้น

แนะนำกระผมให้ตั้งอยู่ในความสำรวมด้วยความ

อนุเคราะห์ว่า ถ้าท่านฆ่าสัตว์ในกลางวัน ส่วน

กลางคืนจงงดเว้นเสีย กระผมจึงฆ่าสัตว์แต่

เฉพาะกลางวัน กลางคืนเป็นผู้สำรวมงดเว้น

เพราะฉะนั้นกลางคืนกระผมจึงได้รับความสุข

กลางวันได้เสวยทุกข์ ถูกสุนัขรุมกัดกิน คือ

กลางคืนได้เสวยทิพยสมบัติ ด้วยผลแห่งกุศล-

ธรรมนั้น ส่วนกลางวันฝูงสุนัขมีจิตเดือดดาล

พากันห้อมล้อมกัดกินกระผมรอบด้าน ก็ชน

เหล่าใดผู้มีความเพียรเนือง ๆ บากบั่นมั่นใน

ศาสนาของพระสุคต กระผมเข้าใจว่า ชนเหล่า

นั้นจักได้บรรลุอมตบทอันปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่ง

ไม่ได้อย่างแน่นอน.

จบ ปฐมมิคลุททเปตวัตถุที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 422

อรรถกถาปฐมมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๗

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร

ทรงพระปรารภมิคลุททกเปรต จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

นรนาริปุรกฺขโต ยุวา ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ ยังมีพรานคนหนึ่ง เที่ยวล่าเนื้อ

เลี้ยงชีพตลอดคืนและวัน. พรานนั้น ได้มีอุบาสกคนหนึ่งเป็นมิตร.

อุบาสกนั้น เมื่อไม่อาจจะให้นายพรานนั้น กลับจากความชั่วตลอดกาล

ได้ จึงชักชวนในการบุญตอนราตรีว่า มาเถอะสหาย ท่านจง

งดเว้นจากปาณาติบาต ในตอนกลางคืน. เขางดเว้นในตอนกลางคืน

กระทำปาณาติบาตในตอนกลางวันเท่านั้น.

สมัยต่อมา เขาทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเวมานิกเปรต ใกล้

กรุงราชคฤห์ เสวยทุกข์อย่างใหญ่ ตลอดส่วนกลางวัน เพียบพร้อม

พรั่งพร้อมบำเรอด้วยกามคุณ ๕ ในกลางคืน. ท่านนารทะเห็นดังนั้น

จึงสอบถามด้วยคาถานี้ว่า :-

ท่านเป็นคนหนุ่มแน่น ห้อมล้อมด้วย

เทพบุตรและเทพธิดา รุ่งเรืองอยู่ด้วยกามคุณ

อันให้เกิดความกำหนัดยินดีในราตรี เสวยทุกข์

ในกลางวัน ท่านได้กระทำกรรมอะไรไว้ใน

ชาติก่อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 423

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นรนาริปุรกฺขโต ความว่า อัน

เทพบุตร เทพธิดา ผู้บำรุงบำเรอ พากันแวดล้อมเข้านั่งใกล้.

บทว่า ยุวา แปลว่า ยังหนุ่มแน่น. บทว่า รชนีเยหิ แปลว่า อันเป็น

เหตุให้ใคร่ คือเป็นเหตุเกิดความกำหนัด. บทว่า กามคุเณหิ

ได้แก่ด้วยส่วนแห่งกาม. บทว่า โสภสิ อธิบายว่า ย่อมรุ่งเรือง

ด้วยความพรั่งพร้อมในกลางคืน. ด้วยเหตุนั้น ท่านนารทะจึงกล่าวว่า

เสวยทุกข์ในตอนกลางวัน ดังนี้ อธิบายว่า เสวยเหตุคือ ความ

คับแค้นมีประการต่าง ๆ ในตอนกลางวัน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

รชนี ได้แก่ ในตอนกลางคืน. บทว่า เยหิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า

กิมกาสิ ปุริมาย ชาติยา ความว่า ในชาติก่อนแต่ชาตินี้ ท่านได้

กระทำกรรมอะไรอันเป็นทางให้เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ ขอท่าน

จงบอกกรรมนั้นเถิด.

เปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะบอกกรรมที่ตนกระทำไว้ จึงได้

กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

เมื่อก่อน กระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่กรุง

ราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์มีภูเขาล่อมรอบ (เบญจ-

คีรีนคร) เป็นผู้มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต เป็นคน

หยาบช้า ทารุณ มีใจประทุษร้ายในสัตว์เป็นอัน

มาก ผู้ไม่ได้กระทำความโกรธเคือง ยินดีแต่ใน

การเบียดเบียนสัตว์อื่น เป็นผู้ไม่สำรวมด้วยกาย

วาจา ใจ เป็นนิตย์ อุบาสกคนหนึ่ง ผู้เป็นสหาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 424

ของกระผม เป็นคนมีใจดี มีศรัทธา ก็อุบาสก

คนนั้น เป็นคนเอ็นดูกระผม ห้ามกระผมอยู่

เนือง ๆ ว่า อย่าทำกรรมชั่วเลย พ่อเอ๋ย อย่าไป

ทุคคติเลย ถ้าท่านปรารถนาความสุขในโลกหน้า

จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ อันเป็นการไม่สำรวม

เสียเถิด กระผมฟังคำของสหายผู้หวังดี มีความ

อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์นั้นแล้ว ไม่ทำตามคำ

สั่งสอนทั้งสิ้น เพราะกระผมเป็นคนไม่มีปัญญา

ยินดีแต่ในบาปตลอดกาลนาน สหายผู้มีปัญญาดี

นั้น แนะนำกระผมให้ตั้งอยู่ในความสำรวม ด้วย

ความอนุเคราะห์ว่า ถ้าท่านฆ่าสัตว์ในตอนกลาง

วัน ส่วนกลางคืนจงงดเว้นเสีย กระผมจึงฆ่า

สัตว์ แต่เฉพาะกลางวัน กลางคืนเป็นผู้สำรวม

งดเว้น เพราะฉะนั้น กลางคืน กระผมจึงได้รับ

ความสุข กลางวันได้เสวยทุกข์ ถูกสุนัขได้กัด

กิน คือกลางคืนได้เสวยทิพยสมบัติ ด้วยผลแห่ง

กุศลกรรมนั้น ส่วนกลางวันฝูงสุนัขมีจิตเดือด

ดาล พากันห้อมล้อมกัดกินกระผมรอบด้าน ก็

ชนเหล่าใด ผู้มีความเพียรเนือง ๆ บากบั่นใน

ศาสนาของพระสุคตเจ้า กระผมเข้าใจว่าชนเหล่า

นั้น จักได้บรรลุอมตบทอันปัจจัยอะไร ๆ ปรุง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 425

แต่งไม่ได้อย่างแน่นอน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลุทฺโท ได้แก่ ผู้ทารุณ. บทว่า

โลหิตปาณี ได้แก่ ผู้มีฝ่ามืออันเปื้อนเลือด ด้วยการฆ่าสัตว์เนือง ๆ.

บทว่า ทารุโณ แปลว่า กล้าแข็ง อธิบายว่า เบียดเบียนตนเอง.

บทว่า อวิโรธกเรสุ ได้แก่ ในเนื้อและนกเป็นต้น ผู้ไม่กระทำ

ความโกรธด้วยอาการอะไร ๆ

บทว่า อสยมา แปลว่า ผู้ไม่สำรวม คือ เป็นผู้ทุศีล.

บทว่า สกลานุสาสส ความว่า ซึ่งอนุศาสนีทั้งปวง คือ การงดเว้น

จากปาณาติบาตตลอดกาล บทว่า จิรปาปาภิรโต ได้แก่ ผู้ยินดียิ่ง

ในบาปตลอดกาลนาน.

บทว่า สยเม คือ ในสุจริต. บทว่า นิเวสยิ แปลว่า ตั้งอยู่แล้ว.

คำว่า ถ้าท่านฆ่าสัตว์ในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืน จงงดเว้นเสีย

นี้ เป็นคำแสดงอาการแห่งความตั้งมั่น. ได้ยินว่า นายพรานนั้น

ได้เป็นผู้ประกอบการฆ่าสัตว์เนือง ๆ ในเวลากลางคืน ด้วยการ

ดักบ่วง คือลูกศรเป็นต้น.

บทว่า ทิวา ขชฺชามิ ทุคฺคโต ความว่า บัดนี้ ฉันถึงทุคคติ

เสวยทุกข์อย่างมหันต์ เคี้ยวกินในตอนกลางวัน. ได้ยินว่า ในตอน

กลางวัน เขาได้เสวยผลอันพึงเห็นเสมอด้วยกรรม เพราะเขาให้

สุนัขกัดเนื้อ ในส่วนกลางวัน สุนัขใหญ่ ๆ วิ่งไป ทำสรีระให้เหลือ

เพียงร่างกระดูก แต่เมื่อย่างเข้ากลางคืน ร่างกายนั้นจึงกลับเป็น

ปกติตามเดิม เสวยทิพยสมบัติ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 426

เพราะฉะนั้น กลางคืนกระผมจึงได้รับ

ความสุข กลางวันได้เสวยทุกข์ ถูกสุนัขลุมกัดกิน

คือกลางคืนได้เสวยทิพยสมบัติ ด้วยผลแห่งกุศล

กรรมนั้น ส่วนกลางวันฝูงสุนัขมีจิตเดือดดาล

พากันห้อมล้อมกัดกินกระผมรอบด้าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิหตา ความว่า เป็นผู้มีจิต

เดือดดาล คือ เป็นเสมือนถูกความคับแค้นผูกพัน . บทว่า สมนฺตา

ขาทิตุ ได้แก่ วิ่งไป เพื่อกัดกินร่างกายของเรา โดยรอบด้าน.

ก็ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายเอาเวลาที่พวกสุนัขเหล่านั้น เข้าไปใกล้

นำความกลัวมาให้แก่ตนเป็นอย่างยิ่ง ก็สุนัขเหล่านั้นวิ่งไปกระทำ

ร่างกายให้เหลือแต่เพียงกระดูกแล้วจึงไปเสีย.

ในคาถาสุดท้ายว่า เย จ เต สตตานุโยคิโน มีความสังเขป

ดังต่อไปนี้ ขึ้นชื่อว่า เรา ก็เป็นผู้งดเว้นจากเหตุเพียงการฆ่าสัตว์

เฉพาะในกลางคืน ยังได้เสวยทิพยสมบัติถึงเพียงนี้ ก็บุรุษเหล่าใด

ผู้ขวนขวายยั่งยืนมั่นคง คือหมั่นประกอบเนือง คือทุกเวลา ใน

อธิศีลเป็นต้น ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคสุคตพุทธเจ้า

บุรุษเหล่านั้น เป็นผู้มีบุญ เห็นจะบรรลุอมตธรรม อันได้นามว่า

อสังขตบท อันไม่เจือปน ด้วยโลกิยสุขอย่างเดียวเท่านั้น คือ บุรุษ

เหล่านั้น ย่อมไม่มีการห้ามอะไร ๆ ในการบรรลุอมตบทนั้น.

เมื่อเปรตนั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระจึงกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระศาสดา. พระศาสดาทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัต-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 427

ติเหตุแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่บริษัท ผู้ถึงพร้อมแล้ว คำทั้งหมด

มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบ อรรถกถาปฐมมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 428

๘. มิคลุททเปตวัตถุที่ ๒

ว่าด้วยกรรมให้พรานเนื้อเสวยทุกข์ในป่าช้า

พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า

[๑๑๘] ท่านรื่นรมย์อยู่ในเรือนยอดและปราสาท

บนบัลลังก์อันปูลาดด้วยผ้าขนสัตว์ ด้วยดนตรี

เครื่อง ๕ อันบุคคลประโคมแล้ว ภายหลังเมื่อ

สิ้นราตรีพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ท่านเข้าไปเสวยทุกข์

เป็นอันมากอยู่ในป่าช้า ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้

ด้วยกาย วาจา ใจ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร

ท่านจึงได้เสวยทุกข์เช่นนี้.

เปรตนั้นตอบว่า

เมื่อก่อน กระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่กรุง

ราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์ มีภูเขาล้อมรอบ (ปัญจ-

คีรีนคร) เป็นคนหยาบช้าทารุณ ไม่สำรวมกาย

วาจา ใจ อุบาสกคนหนึ่งผู้เป็นสหายของกระผม

เป็นคนใจดีมีศรัทธา มีภิกษุผู้คุ้นเคยของเขาเป็น

สาวกของพระโคดม ก็อุบาสกนั้นเอ็นดูกระผม

ห้ามกระผมเนือง ๆ ว่า อย่าทำบาปกรรมเลย

พ่อเอ๋ย อย่าไปทุคติเลย ถ้าสหายปรารถนาความ

สุขในโลกหน้า จงงดเว้นการฆ่าสัตว์อันเป็นการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 429

ไม่สำรวมเสียเถิด ฯลฯ (เหมือนเรื่องที่ ๗)

กระผมเข้าใจว่า ชนเหล่านั้นจักได้บรรลุอมตบท

อันปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้เป็นแน่.

จบ ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๘

อรรถกถาทุติยมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๘

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร

ทรงพระปรารภมิคลุททกเปรตอีกตนหนึ่ง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า

กูฏาคาเร จ ปาสาเท ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ มาณพ ชื่อว่ามาควิกะคนหนึ่ง

แม้เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสมบัติ ก็ละโภคสุข ออกเที่ยวล่าเนื้อ

ตลอดทั้งคืนเละวัน. อุบาสกคนหนึ่ง ผู้เป็นสหายของเธอ อาศัยความ

เอ็นดูจึงให้โอวาทว่า ดีละสหาย เธอจงงดเว้นจากปาณาติบาต เธอ

อย่าได้มี เพื่อสิ่งอันมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานเลย.

เธอ หาได้เอื้อเฟื้อโอวาทนั้นไม่. ลำดับนั้น อุบาสกนั้น จึงขอร้อง

พระขีณาสพเถระ. ซึ่งเป็นที่เจริญใจแห่งในรูปหนึ่งว่า ดีละ พระผู้-

เป็นเจ้า ขอท่านจงแสดงธรรมแก่บุรุษชื่อโน้น โดยประการที่เธอ

จะพึงงดเว้นจากปาณาติบาต.

ภายหลังวันหนึ่ง พระเถระนั้น เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์

ได้หยุดยืนที่ประตูเรือนของเธอ. มาควิกะนั้นเห็นท่านแล้ว เกิดมี

ความนับถือมาก ต้อนรับให้เข้าไปสู่เรือน ได้ตกแต่งอาสนะถวาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 430

พระเถระนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้แล้ว. ฝ่ายมาณพนั้น ก็เข้าไปหา

พระเถระนั่งแล้ว. พระเถระ ประกาศโทษในปาณาติบาต และ

อานิสงส์ ในการงดเว้นจากปาณาติบาตนั้น แก่เธอ. เธอ แม้ฟังดังนั้น

แล้ว ก็ไม่ปรารถนาจะงดเว้นจากปาณาติบาตนั้น. ลำดับนั้น

พระเถระจงกล่าวกะเธอว่า คุณ ถ้า ไม่สามารถจะงดเว้น

โดยประการทั้งปวงได้ไซร้ อันดับแรก เธอก็จงงดเว้นแม้ในกลางคืน

เถอะ. เธอรับคำแล้วว่า จะงดเว้นในเวลากลางคืน แล้วจึงงดเว้น

จากปาณาติบาตนั้น. คำที่เหลือ เช่นกับเรื่องที่ติดกันนั่นแล. ก็

ในบรรดาคาถาพระนารทเถระ ได้สอบถามเธอด้วยคาถา ๓ คาถา

ว่า :-

ท่านรื่นรมย์อยู่ในเรือนยอดและปราสาท

บนบัลลังก์อันปูลาดด้วยผ้าขนสัตว์ ด้วยดนตรี

เครื่อง ๕ อันบุคคลประโคมแล้ว ภายหลังเมื่อ

สิ้นราตรี พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ท่านเข้าไปเสวย

ทุกข์เป็นอันมากอยู่ในป่าช้า ท่านทำกรรมชั่ว

อะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือเพราะวิบากแห่ง

กรรมอะไร ท่านจึงได้เสวยทุกข์เช่นนี้.

ลำดับนั้น เปรตจึงบอกเนื้อความนั้นแก่ท่านด้วยคาถาว่า :-

เมื่อก่อนกระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่กรุง

ราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์มีภูเขาล้อมรอบ (เบญจ

คีรีนคร) เป็นคนหยาบช้า ทารุณ ไม่สำรวมกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 431

วาจา ใจ อุบาสกคนหนึ่งผู้เป็นสหายของผม เป็น

คนใจดี มีศรัทธา มีภิกษุผู้คุ้นเคยของเขาเป็น

สาวกของพระโคดม แม้อุบาสกนั้น เอ็นดูกระผม

ห้ามกระผมเนือง ๆ ว่า อย่าทำบาปกรรมเลย พ่อ

เอ๋ย อย่าไปทุคคติเลย ถ้าสหายปรารถนาความ

สุขในโลกหน้า จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ อันเป็น

การไม่สำรวมเสียเถิด. กระผมฟังคำของสหาย

หวังดี มีความอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์นั้นแล้ว

ไม่ทำตามคำสั่งสอนทั้งสิ้น เพราะกระผมเป็นคน

ไม่มีปัญญา ยินดียิ่งแล้วในบาปตลอดกาลนาน

สหายผู้มีปัญญาดีนั้น แนะนำกระผมให้ตั้งอยู่ใน

ความสำรวม ด้วยความอนุเคราะห์ว่า ถ้าท่าน

ฆ่าสัตว์ในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนจงงดเว้น

เสีย กระผมจึงฆ่าสัตว์แต่เฉพาะกลางวัน กลาง

คืนเป็นผู้สำรวมงดเว้น เพราะฉะนั้น กลางคืน

กระผมจึงได้รับความสุข กลางวันได้เสวยทุกข์

ถูกสุนัขรุมกัดกิน คือ กลางคืนได้เสวยทิพย-

สมบัติ ด้วยผลแห่งกุศลกรรมนั้น ส่วนกลางวัน

ฝูงสุนัขมีจิตเดือดดาล พากันห้อมล้อมกัดกิน

กระผมรอบด้าน ก็ชนเหล่าใด ผู้มีความเพียร

เนือง ๆ บากบั่นมั่นในพระศาสนาของพระสุคต-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 432

เจ้า กระผมเข้าใจว่า ชนเหล่านั้น จักได้บรรลุ

อมตบทอันปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้อย่าง

แน่นอน.

เนื้อความแห่งคาถานั้น มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.

จบ อรรถกถาทุติยมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 433

๙. กูฏวินิจฉยีกเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตจิกกินเนื้อหลังของตนกิน

พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า

[๑๑๙] ตัวท่านทัดทรงดอกไม้ ใส่ชฏา สวมกำไล

ทอง ลูบไล้ด้วยจุณจันทน์ มีสีหน้าผ่องใส

งดงามดุจสีพระอาทิตย์อุทัยขึ้นมาในอากาศ

มีนางฟ้าหมื่นหนึ่งเป็นบริวารบำรุงบำเรอท่าน

นางฟ้าเหล่านั้นล้วนสวมกำไลทอง นุ่งห่มผ้าอัน

ขลิบด้วยทองคำ ท่านเป็นผู้มีอานุภาพมาก มีรูป

เป็นที่ให้เกิดขนชูชันแก่ผู้พบเห็น แต่ท่านจิกเนื้อ

ที่หลังของตนกินเป็นอาหาร ท่านได้ทำกรรมชั่ว

อะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ เพราะวิบากแห่งกรรม

อะไร ท่านจึงจิกเนื้อหลังของตนเองกินเป็น

อาหาร.

เปรตนั้นตอบว่า

กระผมได้ประพฤติทุจริตด้วยการส่อเสียด

พูดเท็จและหลอกลวง เพื่อความฉิบหายแก่ตน

ในมนุษยโลก กระผมไปแล้วบริษัทในมนุษย-

โลกนั้น เมื่อเวลาควรจะพูดความจริงปรากฏแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 434

ละเหตุละผลเสีย ประพฤติคล้อยตามอธรรม ผู้

ใดประพฤติทุจริตมีคำส่อเสียดเป็นต้น ผู้นั้นต้อง

จิกเนื้อหลังของตนกิน เหมือนกระผมจิกเนื้อ

หลังของตนกินในวันนี้ ฉะนั้น ข้าแต่พระนารทะ

ทุกข์ที่กระผมได้รับอยู่นี้ท่านได้เห็นเองแล้ว

ชนใดเป็นคนฉลาด มีความอนุเคราะห์ ชนเหล่า

นั้นพึงกล่าวตักเตือนว่า ท่านอย่าพูดส่อเสียด

อย่าพูดเท็จ อย่าเป็นผู้มีเนื้อหลังของตนเป็น

อาหารเลย.

จบ กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุที่ ๙

อรรถกถากูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุที่ ๙

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน มหาวิหาร ทรง

ปรารภเปรตผู้วินิจฉัยโกง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า มาลี กิริฏี กายูรี

ดังนี้.

ในกาลนั้น พระเจ้าพิมพิสาร เข้าจำอุโบสถเดือนละ ๖ วัน

มนุษย์เป็นอันมากคล้อยตามท้าวเธอ จึงพากันเข้าจำอุโบสถ. พระ-

ราชาตรัสถาม พวกมนุษย์ผู้มายังสำนักของพระองค์ว่า พวกเธอ

เข้าจำอุโบสถหรือ หรือว่า ไม่เข้าจำ. ในบรรดามนุษย์เหล่านั้น

ผู้พิพากษาตัดสินความคนหนึ่ง เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด เป็นผู้

หลอกลวง ผู้รับเอาสินบน ไม่อดกลั้นเพื่อจะกล่าวว่า หม่อมฉัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 435

ไม่ได้เข้าจำอุโบสถ แต่กราบทูลว่า หม่อมฉัน เข้าจำอุโบสถ

พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น สหายจึงกล่าวกะเธอ ผู้ออกจากที่ใกล้พระราชา

สหายวันนี้ ท่านเข้าจำอุโบสถหรือ ? เขาตอบว่า สหายเอ๋ย

เพราะความกลัว ผมจึงกราบทูลอย่างนั้น ต่อพระพักตร์พระราชา

แต่ผมไม่ได้เข้าจำอุโบสถ.

ลำดับนั้น สหายจึงกล่าวกะเธอว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น อันดับ

แรกเธอจงรักษาอุโบสถ กึ่งวัน ในวันนี้ เธอจงสมาทานองค์อุโบสถ

เถิด. เธอรับคำของสหายนั้นแล้วไปยังเรือน ไม่บริโภคเลย บ้วน

ปากอธิษฐานอุโบสถ เข้าจำอยู่ในกลางคืน ถูกความเสียดแทง

อันมีพลังลมเป็นต้น เหตุซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากท้องว่าง เข้าตัดอายุ

สังขาร ถัดจากจุติก็ไปบังเกิดเป็นเวมานิกเปรต ในท้องภูเขา.

จริงอยู่ เขาได้วิมาน ซึ่งมีนางฟ้า ๑๐,๐๐๐ นาง เป็นบริวาร และ

ทิพยสมบัติเป็นอันมาก ด้วยเหตุเพียงการรักษาอุโบสถราตรีเดียว

แต่เพราะตนเป็นผู้พิพากษาโกง และพูดวาจาส่อเสียด ตนเอง

จึงจิกเนื้อหลังของตนเองกิน. ท่านพระนารทะ ลงจากเขาคิชกูฏ

เห็นเธอเข้า จึงถามด้วยคาถา ๔ คาถาว่า :-

ตัวท่านทัดทรงดอกไม้ ใส่ชฎา สวมกำไล

ทองคำ ลูบไล้ด้วยจุณจันทน์ มีหน้าผ่องใส

งดงาม ดุจสีพระอาทิตย์อุทัย มาบนอากาศ

มีนางฟ้า ๑๐,๐๐๐ นางเป็นบริวาร บำรุงบำเรอ

ท่านนางฟ้าเหล่านั้น ล้วนสวมกำไลทองคำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 436

นุ่งห่มผ้าอันขลิบด้วยทองคำ ท่านเป็นผู้มีอานุภาพ

มาก มีรูปเป็นที่ให้ขนชูชัน แก่ผู้พบเห็น แต่ท่าน

จิกเนื้อที่หลังของตนกินเป็นอาหาร ท่านได้ทำ

กรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือ เพราะ

วิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึงจิกเนื้อหลังของ

ตนเองกินเป็นอาหาร.

เปรตนั้นตอบว่า :-

กระผมได้ประพฤติทุจจริตด้วยการส่อ

เสียด พูดเท็จ พลางและล่อลวงเพื่อความฉิบหาย

แก่ตนในมนุษยโลก กระผมไปแล้วสู่บริษัทใน

มนุษยโลกนั้น เมื่อเวลาควรจะพูดความจริง

ปรากฏแล้ว ละเหตุผลเสีย ประพฤติคล้อยตาม

อธรรม ผู้ใด ประพฤติทุจจริต มีคำส่อเสียด

เป็นต้น ผู้นั้นต้องจิกเนื้อหลัง ของตนกิน เหมือน

กระผมจิกเนื้อหลังของตนกินในวันนี้ ฉะนั้น

ข้าแต่พระนารทะ ทุกข์ที่กระผมได้รับอยู่นี้ ท่าน

ได้เห็นเองแล้ว ชนเหล่าใดเป็นคนฉลาด มีความ

อนุเคราะห์ ชนเหล่านั้นพึงกล่าวตักเตือนว่า ท่าน

อย่าพูดส่อเสียด อย่าพูดเท็จ อย่าเป็นผู้มีเนื้อหลัง

ของตนเป็นอาหารเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 437

ฝ่ายเปรตนั้น ได้ตอบความนั้น ด้วยคาถา ๓ คาถา แก่ท่าน

พระนารทะเถระนั้นแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลี ได้แก่ ผู้ทัดทรงดอกไม้

อธิบายว่า ผู้ประดับด้วยดอกไม้ทิพย์. บทว่า กิริฏี แปลว่า ผู้สวมใส่

ชฎา. บทว่า กายูรี แปลว่า ผู้สวมกำไลทองคำ อธิบายว่า

ผู้ประดับด้วยเครื่องประดับแขน. บทว่า คตฺตา แปลว่า อวัยวะ

คือสรีระ. บทว่า จนฺทนุสฺสทา แปลว่า ผู้ลูบไล้ด้วยจุณจันทร์.

บทว่า สูริยวณฺโณ ว โสภสิ ความว่า ท่านเป็นผู้มีสีหน้าผ่องใส

ดุจพระสุริโยทัยทอแสงอ่อน ๆ. บาลีว่า อรณวณฺณี ปภาสสิ ดังนี้

ก็มี. บทว่า อรณ ความว่า มีสีเสมอกับเทพผู้ไม่มีความหม่นหมอง

คือ เป็นแดนอันประเสริฐ.

บทว่า ปาริสชฺชา แปลว่า ผู้นับเนื่องในบริษัท อธิบายว่า

ผู้อุปัฏฐาก. บทว่า ตุว แปลว่า ท่าน. บทว่า โลมหสนรูปวา

ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยรูป อันให้เกิดขนชูชันแก่ผู้พบเห็น. จริงอยู่

คำว่า โลมหสนรูปวา นี้ ท่านกล่าวไว้ เพราะความเป็นผู้พรั่งพร้อม

ด้วยความเป็นผู้มีอานุภาพมาก. บทว่า อุกฺกจฺจ แปลว่า ตัด

อธิบายว่า เฉือน.

บทว่า อจาริส แปลว่าได้เที่ยวไปแล้ว คือได้ดำเนินไปแล้ว.

บทว่า เปสุญฺมุสาวาเทน แปลว่า ด้วยความเป็นผู้พูดส่อเสียด

และพูดคำเท็จ. บทว่า นิกติวญฺจนาย จ ได้แก่ ด้วยการพลาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 438

และล่อลวง คือ ด้วยการล่อลวง โดยทำให้แปลกแก่ชนเหล่าอื่น

ด้วยแสดงของเทียม.

บทว่า สจฺจกาเล คือ ในกาลอันสมควรเพื่อจะกล่าวคำสัตย์.

บทว่า อตฺถ ได้แก่ ประโยชน์เกื้อกูล อันต่างด้วยประโยชน์ใน

ปัจจุบันเป็นต้น. บทว่า ธมฺม ได้แก่ เหตุ คือ สิ่งที่ควร. บทว่า

นิรากตฺวา ได้แก่ ทิ้ง คือละ. บทว่า โส ได้แก่สัตว์ผู้ประพฤติ

วจีทุจจริตมีการพูดส่อเสียดเป็นต้น. คำที่เหลือทั้งหมด มีนัยดังกล่าว

แล้วในหนหลังนั่นแล.

จบ อรรถกถากูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 439

๑๐. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตถูกรดน้ำแสบเฉือนเนื้อด้วยกรรมอะไร

พระมหากัสสปเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า :-

[๑๒๐] ท่านยืนอยู่ในอากาศ มีกลิ่นเน่าเหม็น

ฟุ้งไป และหมู่หนอนพากันบ่อนฟอนกินปากอัน

มีกลิ่นเหม็นเน่าของท่าน เมื่อก่อนท่านทำกรรม

อะไรไว้ เพราะการฟุ้งไปแห่งกลิ่นเหม็นนั้น

นายนิรยบาลถือเอาศาตรามาเฉือนปากของท่าน

เนือง ๆ รดท่านด้วยน้ำแสบแล้วเชือดเนื้อไป

พลาง ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา

ใจ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้ประสบ

ความทุกข์อย่างนี้.

เปรตนั้นตอบว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ เมื่อก่อน กระผมเป็น

อิสรชนอยู่ที่กรุงราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์ มีภูเขา

ล้อมรอบ (บัญจคีรีนคร) เป็นผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์

และข้าวเปลือกมากมาย แต่กระผมได้ห้ามปราม

ภรรยา ธิดา และลูกสะใภ้ของกระผม ซึ่งพากัน

นำพวงมาลา ดอกอุบลและเครื่องลูบไล้อันหาค่า

มิได้ ไปสู่สถูปเพื่อบูชา บาปนั้นกระผมได้ทำไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 440

แล้ว จึงได้เสวยทุกขเวทนาเห็นประจักษ์

และจักหมกไหม้อยู่ในนรกอันหยาบช้าทารุณ

๘๖,๐๐๐ ปี เพราะติเตียนการบูชาพระสถูป ก็

เมื่อการบูชาและการฉลองพระสถูปของพระ-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อันมหาชนให้เป็นไป

อยู่ ชนเหล่าใดมาประกาศโทษแห่งการบูชา

พระสถูปนั้น เหมือนกระผม ชนเหล่านั้นพึงห่าง

เหินจากบุญ ขอท่านจง ชนทั้งหลายซึ่งทัดทรง

ดอกไม้ตบแต่งร่างกาย เหาะมาทางอากาศเหล่านี้

เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นผู้มั่งคั่ง มียศเสวย

อยู่ซึ่งวิบากแห่งการบูชาด้วยดอกไม้ ชนทั้งหลาย

ผู้มีปัญญา ได้เห็นผลอันน่าอัศจรรย์น่าขนพอง

สยองเกล้า อันไม่เคยมีนั้นแล้ว ย่อมทำการ

นอบน้อมวันทาพระมหามุนีนั้น กระผมไปจาก

เปตโลกนี้แล้ว ได้กำเนิดเป็นมนุษย์จักเป็นผู้ไม่

ประมาท ทำการบูชาพระสถูปเนือง ๆ เป็นแน่แท้.

จบ ธาตุวิวัณณเปตวัตถุที่ ๑๐

อรรถกถาธาตุวิวัณณเปตวัตถุที่ ๑๐

เรื่องแห่งเปรตผู้ติเตียนพระธาตุนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อนฺตลกฺขสฺมึ

ติฏฺนฺโต ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 441

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพาน ในระหว่างนางรัง

ทั้งคู่ ณ สาลวโนทยาน แห่งมัลลกษัตริย์ อันเป็นที่แวะเวียน ใน

กรุงกุสินารา และทำการจำแนกพระธาตุพระเจ้าอชาตสัตตุ ทรง

ถือเอาการส่วนพระธาตุที่พระองค์ได้ ทรงระลึกถึงพระพุทธคุณ

๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน แล้วให้การบูชาอันโอฬารเป็นไป.

พวกมนุษย์ในที่นั้น นับไม่ได้ประมาณไม่ได้ พากันทำจิต

ให้เลื่อมใส ได้เข้าถึงสวรรค์. ก็บุรุษประมาณ ๘๖,๐๐๐ คน ในที่นั้น

มีจิตวิปปลาส เพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา และเพราะความเห็น

ผิดที่ตนให้เกิดตลอดกาลนาน ประทุษร้ายจิตของตนแม้ในฐานะ

อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แล้วเกิดในหมู่เปรต. ภรรยา ธิดา

ลูกสะใภ้ของกฏุมพี ผู้เพียบพร้อมด้วยสมบัติคนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์

นั้นนั่นเอง มีจิตเลื่อมใส พากันคิดว่า จักถวายบูชาพระธาตุ จึง

ถือเอาสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น เริ่มไปยังที่บรรจุ

พระธาตุ. กฏุมพีนั้นคิดว่า จะประโยชน์อะไรด้วยการบูชากระดูก

จึงดูหมิ่นพระธาตุเหล่านั้น พากันไปในการบูชาพระธาตุ. หญิงเหล่านั้น

ก็ไม่เชื่อคำของกฏุมพีนั้น พากันไปในที่นั้น กระทำการบูชาพระธาตุ

มายังเรือนถูกโรคเช่นนั้นครอบงำ ไม่นานนักก็ทำกาละไปบังเกิด

ในเทวโลก. ส่วนกุฎมพีนั้นถูกความโกรธครอบงำ ไม่นานนักทำ

กาละแล้ว ไปบังเกิดในหมู่เปรตเพราะบาปกรรมนั้น.

ภายหลังวันหนึ่ง ท่านมหากัสสปะปรุงแต่งอิทธาภิสังขาร

โดยประการที่พวกมนุษย์เห็นเปรตเหล่านั้น และเทวดาเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 442

ก็ครั้นกระทำอย่างนั้นแล้ว ยืนอยู่ที่ลานเจดีย์ ถามเปรตผู้ติเตียน

พระธาตุนั้นด้วย ๓ คาถา เปรตนั้น ได้พยากรณ์แก่ท่านแล้ว.

พระเถระถามว่า :-

ท่านยืนอยู่ในอากาศ มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป

และหมู่หนอนพากันบ่อนฟอนกินปากอันมีกลิ่น

เหม็นเน่าของท่าน เมื่อก่อนทำอะไรไว้ เพราะ

การฟุ้งไปแห่งกลิ่นเหม็นนั้น นายนิรยบาลคือ

เอาศาตรามาเฉือนปากของท่านเนือง ๆ รดท่าน

ด้วยน้ำแสบด้วยเชือดเนื้อไปพลาง ท่านทำกรรม

ชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา ใจ หรือ เพราะวิบาก

แต่งกรรมอะไร ท่านจึงได้ประสบความทุกข์

อย่างนี้.

เปรตนั้นตอบว่า:-

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ เมื่อก่อนกระผมเป็น

อิสรชนอยู่ที่กรุงราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์มีภูเขา

ล้อมรอบ (เบญจคีรีนคร) เป็นผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์

และข้าวเปลือกมากมาย แต่กระผมได้ห้ามปราม

ภรรยา ธิดา และลูกสะใภ้ของกระผม ซึ่งพากัน

นำพวงมาลาดอกอุบลและเครื่องลูบไล้อันหาค่า

มิได้ ไปสู่สถูปเพื่อบูชา บาปนั้นกระผมได้ทำไว้

แล้ว จึงได้เสวยทุกขเวทนาเห็นประจักษ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 443

และจักหมกไหม้อยู่ในนรกอันหยาบช้าทารุณ

๘๖,๐๐๐ ปี เพราะติเตียนการบูชาพระสถูป

ก็เมื่อการบูชา และการฉลองพระสถูปของพระ

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอันมหาชนให้เป็นไป

อยู่ ชนเหล่าใดมาประกาศโทษแห่งการบูชาพระ-

สถูปนั้น เหมือนกระผม ชนเหล่านั้น พึงห่างเหิน

จากบุญ ขอท่านจงดู ชนทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่ง

ทัดทรงดอกไม้ตบแต่งร่างกาย เหาะมาทางอากาศ

เหล่านี้ เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นผู้มั่งคั่งมียศ

เสวยอยู่ ซึ่งวิบากแห่งการบูชาด้วยดอกไม้ ชน

ทั้งหลายผู้มีปัญญา ได้เห็นผลอันน่าอัศจรรย์

น่าขนพองสยองเกล้า อันไม่เคยมีนั้นแล้ว ย่อม

ทำการนอบน้อม วันทาพระมหามุนีนั้น กระผม

ไปจากเปตโลกนี้แล้ว ได้กำเนิดเป็นมนุษย์จักเป็น

ผู้ไม่ประมาท ทำการบูชาพระสถูปเนืองนิตย์เป็น

แน่แท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุคฺคนฺโธ ได้แก่ ผู้มีกลิ่นไม่น่า

ปรารถนา. อธิบายว่า มีกลิ่นเหมือนกลิ่นซากศพ. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า มีกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป. บทว่า ตโต ความว่า

นอกเหนือจากกลิ่นเหม็นฟุ้งไปและถูกหมู่หนอนพากันบ่อนฟอนกิน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 444

บทว่า สตฺถ คเหตฺวาน โอกฺกนฺตนฺติ ปุนปฺปุน ความว่า สัตว์

ทั้งหลายถูกกรรมตักเตือน จึงเอาศาตราอันลับคม ผ่าปากแผลนั้น

บ่อย ๆ. บทว่า ขาเรน ปริปฺโผสิตฺวา โอกฺกนฺตนฺติ ปุนปฺปุน ความว่า

ถูกรดด้วยน้ำแสบในที่ที่ถูกผ่าแล้วก็เชือดเนื้อไปพลาง.

อิสฺสโร ธนธญฺสฺส สุปหูตสฺส ความว่า เป็นใหญ่ คือ

เป็นเจ้าของทรัพย์และธัญญาหารมากมายยิ่ง อธิบายว่า เป็นคน

มั่งคั่งมีทรัพย์มาก.

บทว่า ตสฺสาย เม ภริยา จ ธีตา จ สุณิสา จ ความว่า ใน

อัตภาพก่อน ผู้นี้เป็นภรรยา เป็นธิดา เป็นลูกสะใภ้ของกระผม

นั้น. เปรตกล่าวแสดงว่า หญิงเหล่านั้นเป็นเทวดายืนอยู่ในอากาศ.

บทว่า ปจฺจคฺฆ แปลว่า ใหม่. บทว่า ถูป หรนฺติโย วาเรสึ

ความว่า ข้าพเจ้าติเตียนพระธาตุห้ามหญิงเหล่านั้นผู้น้อมเข้าไป

เพื่อบูชาพระสถูป. ด้วยคำว่า ต ปาป ปกต มยา นี้ เปรตถึงความ

เดือดร้อน กล่าวว่า ความชั่วในการติเตียนพระธาตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้กระทำ คือประพฤติอยู่เสมอ.

บทว่า ฉฬาสีติสหสฺสานิ ได้แก่ ประมาณ ๘๖,๐๐๐ คน.

เปรตกล่าวร่วมเปรตเหล่านั้นกับตนว่า มย. แปลว่า พวกเรา. บทว่า

ปุจฺจตฺตเวทนา ได้แก่ ทุกขเวทนาที่กำลังครอบงำอยู่เป็นแผนก ๆ. ด้วย

บทว่า นิรเย เปรตกล่าวเปตวิสัยให้เหมือนกับนรก เพราะมีทุกข์หนัก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 445

บทว่า เย จ โข ถูปปูชาย วตฺตนฺเต อหรโต มเห ความว่า เมื่อการ

ฉลอง การบูชา อุทิศสถูปของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น

ไปอยู่ ชนเหล่าใดประกาศอาทีนพ คือ โทษ ในการบูชาพระสถูป

เหมือนข้าพเจ้า ท่านทั้งหลายพึงเลือกเฟ้นบุคคลเหล่านั้นจากบุญ

นั้น. เปรตประกาศความที่ตนเป็นผู้เสื่อมใหญ่ โดยอ้างผู้อื่นว่า

พึงยังบุคคลเหินห่างจากบุญให้เกิด.

บทว่า อายนฺติโย แปลว่า ผู้มาทางอากาศ. บทว่า

มาลาวิปาก ได้แก่ วิบาก คือผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้ที่ทำไว้

ในพระสถูป. บทว่า สมิทฺธา ได้แก่ สำเร็จด้วยทิพยสมบัติ.

บทว่า ตา ยสสฺสิโน ได้แก่ หญิงเหล่านั้นมีบริวาร.

บทว่า ตญฺจ ทิสฺวาน ความว่า เห็นผลพิเศษอันโอฬารยิ่ง

อันน่าอัศจรรย์ไม่เคยมี ให้เกิดขนพองสยองเกล้า ของบุญอันเกิด

จากการบูชาอันนิดหน่อยยิ่งนักนั้น. บทว่า นโม กโรนฺติ สปฺปญฺา

วนฺทนฺติ ต มหามุนึ ความว่า ข้าแต่ท่านกัสสปะผู้เจริญ หญิงเหล่านี้

ย่อมไหว้ย่อมอภิวาท อธิบายว่า กระทำการนอบน้อม และกระทำ

นมัสการท่านผู้เป็นบุญเขตอันสูงสุด.

ลำดับนั้น เปรตนั้นมีใจสลด เมื่อจะแสดงกรรมที่ตนพึง

การทำต่อไป อันควรแก่ความสลดใจ จึงกล่าวคาถาว่า โสห นูน

ดังนี้เป็นต้น. คำนั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 446

ท่านพระมหากัปปะผู้อันเปรตกล่าวอย่างนี้ จึงกระทำ

เรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แสดงธรรมแก่บริษัท ผู้ถึงพร้อม

แล้ว.

จบ อรรถกถาธาตุวิวัณณเปตวัตถุที่ ๑๐

จบ ปรมัตถทีปนี

อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ

จูฬวรรคที่ ๓ ประดับด้วยเรื่อง ๑๒ เรื่อง

รวมเรื่องที่มีในวรรคนี้คือ

๑. อภิชชมานเปตวัตถุ ๒. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ ๓. รถการี-

เปตวัถุ ๔. เปตวัตถุ ๕. กุมารเปตวัตถุ ๖. เสรินีเปติวัตถุ

๗. มิคลุททกเปตวัตถุที่ ๑ ๘. มิคุททกเปตวัตถุที่ ๒ ๙. กูฏ-

วินิจฉยิกเปตวัตถุ ๑๐. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ.

จบ จูฬวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 447

มหาวรรคที่ ๔

๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตถูกเสียบอยู่ปลายหลาว

[๑๒๑] มีนครของชาววัชชีนครหนึ่งนามว่าเวสาลี

ในนครเวสาลีนั้น มีกษัตริย์ลิจฉวีทรงพระนามว่า

อัมพสักขระ ได้ทอดพระเนตรเห็นเปรตตนหนึ่ง

ที่ภายนอกพระนคร มีพระประสงค์จะทรงทราบ

เหตุ จึงตรัสถามเปรตนั้นในที่นั้นนั่นเองว่า การ

นอน การนั่ง การเดินไปดินมา การลิ้ม การดื่ม

การเคี้ยว การนุ่งห่ม แม้หญิงบำเรอของบุคคล

ผู้ถูกเสียบไว้บนหลาวนี้ ย่อมไม่มี ชนเหล่าใด

ผู้เป็นญาติ เป็นมิตรสหาย เคยเป็น เคยฟังร่วม

กันมา เคยมีความเอ็นดูกรุณา ของบุคคลใด มีอยู่

ในกาลก่อน เดี๋ยวนี้ชนเหล่านั้นแม้จะเยี่ยมเยียน

บุคคลนั้นก็ไม่ได้ บุรุษนี้มีตนอันญาติเป็นต้นสละ

แล้ว มิตรสหายย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ตกยาก พวก

มิตรสหายทราบว่าผู้ใดขาดแคลน ย่อมละทิ้งผู้นั้น

และเห็นใครมั่งคั่งบริบูรณ์ ก็พากันไปห้อมล้อม

คนที่มั่งคั่งด้วยสมบัติย่อมมีมิตรสหายมา ส่วน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 448

บุคคลผู้เสื่อมจากทรัพย์สมบัติ เป็นผู้ฝืดเคืองด้วย

โภคะ ย่อมหามิตรสหายยาก (นี้เป็นธรรมดาของ

โลก) บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบนี้ มีร่างกายเปื้อนด้วย

เลือด ตัวทะลุเป็นช่อง ๆ ชีวิตของบุรุษนี้จักดับ

ไปในวันนี้พรุ่งนี้ เหมือนหยาดน้ำค้างอันติดอยู่

บนปลายหญ้า ฉะนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุ

ไร ท่านจึงพูดกะบุรุษผู้ถึงความลำบากอย่างยิ่ง

นอนหงายอยู่บนหลาวไม้สะเดาเช่นนี้ว่า ดูก่อน

บุรุษผู้เจริญ ขอท่านจงมีชีวิตอยู่เถิด การมีชีวิต

อยู่เท่านั้นเป็นของประเสริฐ.

เปรตนั้นกราบทูลว่า:-

ข้าแต่พระราชา บุรุษนี้เป็นสาโลหิตของ

ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ระลึกชาติก่อนได้ ข้า-

พระองค์เห็นแล้วมีความกรุณาแก่เขาว่า ขออย่า

ให้บุรุษผู้เลวทรามนี้ไปตกนรกเลย ข้าแต่กษัตริย์

ลิจฉวี บุรุษผู้ทำกรรมชั่วนี้ จุติจากอัตภาพนี้แล้ว

จักเข้าถึงนรกอันยัดเยียดไปด้วยสัตว์ผู้ทำบาป

เป็นสถานร้ายกาจ มีความเร่าร้อนมาก เผ็ดร้อน

ให้เกิดความน่ากลัว หลาวนี้ประเสริฐกว่านรก

นั้นตั้งหลายพันเท่า ขออย่าให้บุรุษนี้ไปตกนรก

อันมีแต่ความทุกข์โดยส่วนเดียว เผ็ดร้อน ให้เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 449

ความน่ากลัว มีความทุกข์กล้าแข็งอย่างเดียว

บุรุษนี้ฟังคำของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว ประหนึ่ง

ว่าข้าพระองค์น้อมเข้าไปสู่ทุกข์ในนรกนั้น จะพึง

สละชีวิตของตนเสีย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์

จะไม่พูดในที่ใกล้เขา ด้วยหวังว่า ชีวิตของบุรุษ

นี้อย่าได้ดับไปเสียเพราะคำของข้าพระองค์เลย

เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงพูดว่า ขอท่านจงมี

ชีวิตอยู่เถิด การมีชีวิตอยู่เป็นของประเสริฐ.

เมื่อเปรตแสดงความประสงค์ของตนอย่างนี้แล้ว พระราชา

ทรงขอโอกาสเพื่อจะตรัสถามความเป็นไปของเปรตนั้นอีก จึงได้

ตรัสพระคาถานี้ความว่า :-

เรื่องของบุรุษนี้เรารู้แล้ว แต่เราปรารถนา

จะถามท่านถึงเรื่องอื่น ถ้าท่านให้โอกาสแก่เรา

เราจะขอถามท่าน และท่านไม่ควรโกรธเรา.

เปรตนั้นกราบทูลว่า :-

ข้าพระองค์ได้ให้ปฏิญาณไว้ในกาลนั้น

แน่นอนแล้ว การไม่บอกย่อมมีแก่ผู้ไม่เลื่อมใส

บัดนี้ข้าพระองค์มีวาจาที่ควรเชื่อถือได้ แม้โดย

พระองค์จะไม่ทรงเลื่อมใส เพราะเหตุนั้น ขอเชิญ

พระองค์ตรัสถามข้าพระองค์ตามพระประสงค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 450

เถิด ข้าพระองค์จะกราบทูลตามที่สามารถจะ

กราบทูลได้.

เมื่อเปรตให้โอกาสเช่นนั้นแล้ว พระเจ้าอัมพสักขระจึง

ตรัสถามว่า :-

เราเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยจักษุ เราควรเชื่อ

สิ่งนั้นแม้ทั้งสิ้น ถ้าเราเห็นสิ่งนั้นแล้วไม่เชื่อ ก็

ขอให้ลงโทษถอดยศเราเถิดยักษ์.

เปรตนั้นทูลว่า :-

ขอสัจจปฏิญาณของพระองค์นี้จงมีแก่

ข้าพระองค์ พระองค์ได้ทรงฟังธรรมที่ข้าพระองค์

กล่าวแล้ว จงทรงได้ความเลื่อมใส ข้าพระองค์มี

ความต้องการอย่างอื่น ไม่ได้มีจิตประทุษร้าย

ข้าพระองค์จะกราบทูลธรรมทั้งหมด ที่ข้าพระ-

องค์ได้สดับแล้วบ้าง หรือไม่สดับแล้วบ้าง แก่

พระองค์ ตามที่ข้าพระองค์รู้.

พระเจ้าอัมพสักขระตรัสว่า :-

ท่านขี่ม้าขาวอันประดับประดาแล้ว เข้า

ไปยังสำนักของบุรุษที่ถูกเสียบหลาว ม้าขาวตัวนี้

เป็นม้าน่าอัศจรรย์ น่าดูน่าชม นี้เป็นผลแห่งกรรม

อะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 451

เปรตนั้นกราลทูลว่า :-

ที่กลางเมืองเวสาลีนั้น มีหลุมที่หนทาง

ลื่น ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใส เอาศีรษะโคศีรษะ

หนึ่งวางทอดที่หลุมให้เป็นสะพาน ข้าพระองค์

และบุคคลอื่นเหยียบบนศีรษะใดนั้นเดินไปได้

สะดวก ม้านี้เป็นม้าน่าอัศจรรย์ น่าดูน่าชม นี้เป็น

ผลแห่งกรรมนั้น.

พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า :-

ท่านมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ และมี

กลิ่นหอมฟุ้งไป ท่านได้สำเร็จฤทธิ์แห่งเทวดา

เป็นผู้มีอานุภาพมาก แต่ท่านเปลือยกาย นี้เป็น

ผลแห่งกรรมอะไร.

เปรตนั้นกราบทูลว่า :-

เมื่อก่อน ข้าพระองค์เป็นคนไม่มักโกรธ

แต่มีใจเลื่อมใสเป็นนิตย์ พูดกับคนทั้งหลายด้วย

วา อ่อนหวาน ข้าพระองค์มีรัศมีทิพย์สว่างไสว

อยู่เนืองนิตย์ นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น ข้าพระองค์

เห็นยศและชื่อเสียงของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรม

มีจิตเลื่อมใสกล่าวสรรเสริญ ข้าพระองค์มีกลิ่น

ทิพย์หอมฟุ้งไปเนืองนิตย์ นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น

เมื่อพวกสหายของข้าพระองค์อาบน้ำที่ท่าน้ำ ข้า-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 452

พระองค์ลักเอาผ้าซ่อนไว้บนบก ไม่มีความ

ประสงค์จะลักขโมย และไม่มีจิตคิดประทุษร้าย

เพราะกรรมนั้นข้าพระองค์จึงเป็นคนเปลือยกาย

เป็นอยู่อย่างฝืดเคือง.

พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า :-

ผู้ใดทำบาปเล่น ๆ นักปราชญ์ทั้งหลาย

กล่าวว่า ผู้นั้นได้รับผลกรรมเช่นนี้ ส่วนผู้ใดตั้งใจ

ทำบาปจริง ๆ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวผลกรรม

ของผู้นั้นว่าเป็นอย่างไร.

เปรตนั้นกราบทูลว่า :-

มนุษย์เหล่าใดมีความดำริชั่ว เป็นผู้เศร้า-

หมองด้วยกาย และวาจา เมื่อตายไป มนุษย์เหล่า .

นั้นย่อมเข้าถึงนรกในสัมปรายภพโดยไม่ต้อง

สงสัย ส่วนชนเหล่าอื่นปรารถนาสุคติยินดียิ่ง

ในทาน มีอัตภาพอันสงเคราะห์แล้ว เมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงสุคติในสัมปรายภพโดยไม่ต้องสงสัย.

เมื่อเปรตนั้น ชี้แจงจำแนกผลกรรมแต่โดยย่ออย่างนี้ พระ-

ราชาไม่ทรงเชื่อ จึงตรัสถามเปรตนั้นว่า :-

เราจะพึงรู้เรื่องนั้นได้อย่างไรว่า นี้เป็นผล

แห่งกรรมดีและกรรมชั่ว หรือเราะพึงเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 453

อย่างไร จึงจะเชื่อถือได้ หรือแม้ใครจะพึงทำ

ให้เราเชื่อถือเรื่องนั้นได้.

เปรตนั้นกราบทูลว่า :-

พระองค์ได้ทรงเป็นแล้วและได้ทรงสดับ

มาแล้ว ก็จงทรงเชื่อเถิดว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมดี

และกรรมชั่ว เมื่อมีกรรมดีและกรรมชั่วทั้งสอง

ก็พึงมีสัตว์ไปสู่สุคติและทุคติ ถ้าสัตว์ทั้งหลาย

ในมนุษยโลกนี้ ไม่พึงทำกรรมดีและกรรมชั่ว

สัตว์ผู้ไปสู่สุคติ ทุคติ อันเลว และประณีต

ก็ไม่มีในมนุษยโลกนี้ แต่เพราะสัตว์ทั้งหลาย

ในมนุษยโลกทำกรรมดีและกรรมชั่วไว้ ฉะนั้น

จึงไปสู่สุคติ ทุคติ เลวบ้าง ประณีตบ้าง นัก

ปราชญ์ทั้งทลายกล่าววิบากแห่งกรรมทั้งสองนั้น

ว่า เป็นที่ตั้งแห่งการเสวยสุขและทุกข์ เทวดา

ย่อมพากันห้อมล้อมพวกชนผู้ได้เสวยผลอันเป็น

สุข คนพาลผู้ไม่เห็นบาปและทั้งสอง ย่อม

เดือดร้อน กรรมที่ข้าพระองค์เองทำไว้ในชาติ

ก่อน ซึ่งจะเป็นเหตุให้ได้เครื่องนุ่งห่มเป็นต้น

ในบัดนี้ มิได้มีแก่ข้าพระองค์ และบุคคลผู้ที่ให้

ผ่านุ้งผ้าห่ม ที่นอนที่นั่ง ข้าวและน้ำ แก่สมณ-

พราหมณ์ทั้งหลายแล้วพึงอุทิศส่วนบุญมาให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 454

ข้าพระองค์มิได้มี เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึง

เป็นคนเปลือยกาย มีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง.

พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า :-

ดูก่อนยักษ์ เหตุอะไร ๆ ที่จะให้ท่านได้

เครื่องนุ่มห่มพึงมีอยู่หรือ ถ้าเหตุที่ควรเชื่อพอจะ

ฟังเป็นเหตุ ได้มีอยู่ ขอท่านจงบอกเหตุนั้นแก่เรา.

เปรตนั้นกราบทูลว่า :-

ในเมืองเวสาลีนี้ มีภิกษุรูปหนึ่งนามว่า

กัปปิตกะเป็นผู้ได้ฌาน มีศีลบริสุทธิ์ เป็นพระ-

อรหันต์ผู้หลุดพ้น มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว

สำรวมในพระปาติโมกข์ เยือกเย็น บรรลุผลอัน

สูงสุด มีวาจาสละสลวย รู้ความประสงค์ของ

ผู้ขอว่าง่าย มีหน้าเบิกบาน เป็นผู้มาดีไปดี พูดจา

โต้ตอบดี เป็นเนื้อนาบุญของโลก มีปกติอยู่ด้วย

เมตตา เป็นทักขิไณยบุคคลของเทวดาและมนุษย์

สงบระงับ กำจัดมิจฉาวิตกได้ ไม่มีทุกข์ ไม่มี

ตัณหา หลุดพ้นแล้ว ปราศจากลูกศร ไม่ถือเรา

ถือเขา ไม่คดกายวาจาใจ ไม่มีอุปธิ สิ้นกิเลสเป็น

เครื่องเนิ่นช้าทั้งปวง ได้บรรลุวิชา ๓ มีความรุ่ง

เรือง ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ เพราะความเป็นผู้มี

คุณวิเศษอันปกปิดไว้ แม้ใคร ๆ เป็นก็ไม่รู้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 455

เป็นคนดีในหมู่ชนชาววัชชี เขาพากันเรียกท่าน

ว่ามุนี รู้กันว่าท่านเป็นผู้ประเสริฐ หนักแน่น ไม่

หวั่นไหว มีธรรมอันดีงาม เที่ยวไปในโลก ถ้า

พระองค์ทรงถวายผ้าคู่หนึ่งหรือสองคู่แก่ภิกษุนั้น

แล้วทรงอุทิศส่วนกุศลให้ข้าพระองค์ เมื่อ

พระองค์ทรงถวายแล้ว และท่านรับผ้านั้นแล้ว

พระองค์ก็จะทรงเห็นข้าพระองค์นุ่งห่มผ้าเรียบ

ร้อย.

พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า :-

บัดนี้ สมณะนั้นอยู่ที่ประเทศไหน เราจัก

ไปพบท่านที่ไหน ใครจะพึงแก้ไขความสงสัย

สนเท่ห์ อันเป็นเสี้ยนหนามแห่งความเห็นของเรา

ได้ในวันนี้.

เปรตนั้นกราบทูลว่า :-

ท่านอยู่ที่เมืองกปินัจจนา มีหมู่เทวดาเป็น

อันมากห้อมล้อม เป็นผู้มีนามจริงแท้ และเป็น

ผู้ไม่ประมาท แสดงธรรมีกถาอยู่ในหมู่ของตน.

พระเจ้าอัมพสักขระตรัสว่า :-

เราจักไปทำตามที่ท่านสั่งเดี๋ยวนี้ จักให้

สมณะนั้นนุ่งห่มผ้า ขอท่านจงดูคู่ผ้าเหล่านั้น อัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 456

สมณะนั้นรับประเคนแล้ว และเราจักคอยดูท่าน

นุ่งห่มผ้าเป็นอันดี.

เปรตนั้นกราบทูลว่า :-

ข้าแต่พระเจ้าลิจฉวี ข้าพระองค์ขอประ-

ทานพระวโรกาส ขอพระองค์อย่าเสด็จเข้าไปหา

บรรพชิตในเวลาไม่ควร การเสด็จเข้าไปหา

บรรพชิตในเวลาไม่ควรนี้ ไม่เป็นธรรมเนียมที่ดี

ของพระองค์ ก็เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปหาใน

เวลาสมควร ก็จักทรงเห็นภิกษุนั้นนั่งอยู่ในที่

สงัดในที่นั้นเอง

เพื่อจะแสดงความเห็น พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวคาถา

ทั้งหลายว่า :-

พระเจ้าลิจฉวีตรัสอย่างนั้นแล้ว ก็

แวดล้อมด้วยหมู่ข้าราชบริพาร เสด็จไป

ในนครนั้น ครั้นเสด็จเข้าไปยังนครนั้นแล้ว จึง

เสด็จเข้าไปยังที่ประทับในนิเวศน์ของพระองค์

ทรงกระทำกิจของคฤหัสถ์ทั้งหลาย ทรงสรง

สนาน และทรงดื่มน้ำแล้วได้เวลาอันควร จึงทรง

เลือกผ้า ๘ คู่จากหีบ รับสั่งให้หมู่ข้าราชบริพาร

ถือไป พระราชาครั้นเสด็จเข้าไปในประเทศนั้น

แล้ว ได้ทอดพระเนตรเห็นสมณะรูปหนึ่งผู้มีจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 457

สงบระงับกลับจากที่โคจร เป็นผู้เยือกเย็นนั่งอยู่

ที่โคนต้นไม้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามสมณะนั้นถึง

ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย การอยู่สำราญและตรัส

บอกนามของพระองค์ให้ทราบว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ดิฉันเป็นกษัตริย์ลิจฉวีอยู่ในเมืองเวสาลี

ชาวลิจฉวีเรียกดิฉันว่าอัมพสักขระ ขอท่านจง

รับผ้า ๘ คู่นี้ของดิฉัน ดิฉันขอถวายท่าน ดิฉัน

มาในที่นี้ด้วยความประสงค์เพียงเท่านี้ ดิฉันมี

ความปลื้มใจนัก.

พระเถระทูลถามว่า :-

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย พากันละเว้น

พระราชนิเวศน์ของมหาบพิตรแต่ที่ไกลทีเดียว

เพราะในพระราชนิเวศน์ของมหาบพิตร บาตร

ย่อมแตก แม้สังฆาฏิก็ถูกเขาฉีก เมื่อก่อนสมณะ

ทั้งหลายมีศีรษะห้อยลง ตกลงไปจากเคียงเท้า

มหาบพิตรได้เบียดเบียนบรรพชิตเช่นนี้ สมณะ

ทั้งหลายเคยถูกมหาบพิตรทำการเบียดเบียนแล้ว

มหาบพิตรไม่เคยพระราชทานแม้แต่น้ำมันสัก

หยดหนึ่งเลย ไม่ตรัสบอกทางให้คนหลงทาง ชิง

เอาไม้เท้าจากมือคนตาบอดเสียเอง มหาบพิตร

เป็นคนตระหนี่ ไม่สำรวมเช่นนี้ แต่บัดนี้ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 458

เหตุอะไร มหาบพิตรทรงเห็นผลอะไร จึงทรง

จำแนกแจกจ่ายกับอาตมภาพทั้งหลายเล่า.

พระราชาตรัสว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันขอรับผิด ดิฉันได้

เบียดเบียนสมณะทั้งหลาย ดังคำที่ท่านพูด ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ดิฉันมีความประสงค์จะล้อเล่น ไม่ได้

มีจิตประทุษร้าย แต่กรรมอันชั่วช้านั้นดิฉันทำ

แล้ว เด็กหนุ่มเปลือยกาย มีโภคะน้อย ได้สั่งสม

บาปเพื่อจะล้อเล่น จึงต้องเสวยทุกข์ ก็ทุกข์อะไร

เล่าที่เป็นทุกข์กว่าความเปลือยกาย ย่อมมีแก่

เปรตนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเห็นเหตุอันน่า

สังเวชและเศร้าหมองนั้นแล้วจึงให้ทาน เพราะ

เหตุนั้นเป็นปัจจัย ขอท่านจงรับผ้า ๘ คู่นี้ ทักษิณา

ที่ดิฉันถวายนี้ จงสำเร็จผลแก่เปรตนั้น

พระเถระทูลว่า เพราะการให้ทาน นัก

ปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้วโดย

มากแน่แท้ และพระองค์ผู้ให้จงอย่ามีความหมด

เปลืองเป็นธรรม อาตมภาพจะรับผ้า ๘ คู่ของ

มหาบพิตร ขอทักษิณาทานเหล่านี้ จงสำเร็จผล

แก่เปรตนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 459

ลำดับนั้น พระเจ้าลิจฉวีทรงชำระพระ-

หัตต์และพระบาทแล้ว ทรงถวายผ้า ๘ คู่แก่

พระเถระ พอพระเถระรับประเคนผ้าเหล่านั้น

แล้ว พระราชาทรงเห็นเปรตนุ่งห่มผ้าเรียบร้อย

ลูบไล้ด้วยจันทร์แดง มีผิวพรรณเปล่งปลั่ง

ประดับประดา นุ่งผ้าดี ขี่ม้าอาชาไนย มีบริวาร

ห้อมล้อม สำเร็จมหิทธิฤทธิ์ของเทวดา ครั้นทรง

เห็นเช่นนั้นแล้ว ทรงปลื้มพระทัย เกิดปีติปรา-

โมทย์ มีพระทัยร่าเริงเบิกบาน พระเจ้าลิจฉวีได้

ทรงเห็นกรรมและวิบากแห่งกรรม แจ้งประจักษ์

ด้วยพรมองค์เองแล้ว จึงเสด็จเข้าไปใกล้ แล้ว

ตรัสกะเปรตนั้นว่า เราจักให้ทานแก่สมณ-

พราหมณ์ทั้งหลาย เราควรให้ทานทุกสิ่งทุกอย่าง

ที่มีอยู่ ดูก่อนเปรต ท่านมีอุปการะแก่เรามาก.

เปรตนั้นกราบทูลว่า :-

ข้าแต่กษัตริย์ลิจฉวี ก็พระองค์ได้พระ-

ราชทานเพื่อข้าพระองค์ส่วนหนึ่ง แต่การพระ-

ราชทานนั้นมิได้ไร้ผล ข้าพระองค์เป็นเทวดา

ทำความเป็นสหายกับพระองค์ผู้เป็นมนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 460

พระราชตรัสว่า :-

ท่านเป็นคติ เป็นเผ่าพันธุ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยว

เป็นมิตร และเป็นเทวดาของเรา ดูก่อนเปรต เรา

ขอทำอัญชลีท่าน ปรารถนาเพื่อจะเห็นท่านแม้

อีก.

เปรตกราบทูลว่า :-

ถ้าพระองค์จักเป็นผู้ไม่มีศรัทธา มีความ

ตระหนี่ มีจิตไม่เลื่อมใส พระองค์จักไม่ได้เห็น

ข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็จักไม่ได้เห็นไม่ได้

เจรจากะพระองค์อีก ถ้าพระองค์จะทรงเคารพ

ธรรม ทรงยินดีในการบริจาคทาน ทรงสงเคราะห์

ทรงเป็นดังบ่อน้ำของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย

ด้วยอาการอย่างนี้ พระองค์ก็จักได้ทรงเห็นข้า-

พระองค์ และข้าพระองค์จักได้เห็นได้เจรจากะ

พระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยบุรุษนี้จาก

หลาวโดยเร็วเถิด เพราะการปล่อยบุรุษนี้ เรา

ทั้งสองจักได้เป็นสหายกัน ข้าพระองค์เข้าใจว่า

เราทั้งสองจักได้เป็นสหายกันและกัน เพราะเหตุ

แห่งบุรุษถูกหลาวเสียบ ก็บุรุษถูกหลาวเสียบนี้

อันพระองค์ทรงรีบปล่อยแล้ว พึงเป็นผู้ประพฤติ

ธรรมโดยเคารพ พึงพ้นจากนรกนั้นแน่นอน พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

พ้นจากกรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา พระองค์

เสด็จเข้าไปหากัปปิตกภิกษุแล้ว ทรงจำแนกทาน

กับท่าน ในเวลาที่ควรจงเสด็จเข้าไปหาแล้วตรัส

ถามด้วยพระองค์เอง ท่านจักกราบทูลเนื้อความ

นั้นแก่พระองค์ ก็พระองค์ทรงประสงค์บุญ มี

จิตไม่ประทุษร้ายก็เชิญเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้นเถิด

ท่านจักแสดงธรรมทั้งปวงที่ทรงสดับแล้ว และยัง

ไม่ได้ทรงสดับ แก่พระองค์ตามความรู้เห็น

พระองค์ได้ทรงฟังธรรมนั้นแล้ว จักทรงเห็น

สุคติ.

พระเจ้ารหัส ทรงเจรจาทำความเป็นสหาย

กับเทวดานั้นแล้วเสด็จไป ส่วนเปรตนั้นได้กล่าว

กะบริษัทแห่งกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายพร้อมกับ

บุตรของตน ซึ่งนั่งประชุมกันอยู่ว่า ท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย ขอจงฟังคำอย่างหนึ่งของเรา เราจัก

เลือกพร จักได้ประโยชน์ บุรุษที่ถูกเสียบหลาว

มีกรรมอันหยาบช้า มีอาชญาอันตั้งไว้แล้ว ถูก

หลาวร้อยจะตายหรือไม่ตาย ประมาณ ๒๐ ราตรี

เท่านี้ เดี๋ยวนี้ เราจักปล่อยเขาตามความชอบใจ

ของเรา ขอหมู่ท่านจงอนุญาต จงรีบปล่อยบุรุษ

นั้น และบุรุษอื่นที่พระราชารับสั่งให้ลงอาชญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 462

โดยเร็วเถิด ใครพึงบอกท่านผู้ทำกรรมอย่างนั้น

ท่านรู้อย่างไร จึงทำอย่างนั้น หมู่ท่านย่อม

อนุญาตตามชอบใจ พระเจ้าลิจฉวีเสด็จเข้าไปสู่

ประเทศนั้นแล้ว รีบปล่อยบุรุษที่ถูกเสียบหลาว

โดยเร็วและได้ตรัสกะบุรุษนั้นว่า อย่ากลัวเลย

เพื่อนและรับสั่งให้หมอพยาบาล แล้วเสด็จเข้า

ไปหากัปปิตกภิกษุ แล้วทรงถวายทานกับท่าน

ในเวลาอันควร มีพระประสงค์จะทรงทราบเหตุ

จึงเสด็จเข้าไปใกล้แล้วตรัสถามด้วยพระองค์เอง

ว่า บุรุษผู้ถูกเสียบหลาว มีกรรมอันหยาบช้า มี

อาชญาอันตั้งไว้แล้ว ถูกหลาวร้อยจะตายหรือ

ไม่ตายประมาณ ๒๐ ราตรีเท่านี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

เดี๋ยวนี้ ดิฉันปล่อยเขาไปแล้ว เขาไปบอกเปรต

นั้น เหตุอะไร ๆ ที่จะไม่ต้องไปสู่นรกนั้น พึง

หรือหนอ ถ้ามีขอท่านโปรดแก่ดิฉัน ดิฉันรอฟัง

เหตุที่ควรเชื่อถือจากท่าน.

กัปปิตกภิกษุทูลว่า :-

ความพินาศแห่งกรรมเหล่านั้นย่อมไม่มี

ความพินาศในโลกนี้เกิดขึ้นเพราะความไม่รู้แจ้ง

ถ้าเขาพึงเป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรม

ทั้งหลายโดยเคารพตลอดคืนและวัน เขาพึงพ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 463

จากนรกนั้นได้แน่ กรรมอันเว้นจากการให้ผล

พึงมี.

พระราชาตรัสว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญผู้มีปัญญากว้างขวาง

ประโยชน์ของบุรุษผู้นี้ ดิฉันรู้ทั่วถึงแล้ว บัดนี้

ขอท่านอนุเคราะห์ดิฉันบ้าง ขอท่านได้กล่าวตัก-

เตือนพร่ำสอนดิฉัน โดยวิธีที่ดิฉันจะไม่พึงไปสู่

นรกด้วยเถิด.

กัปปิตกภิกษุทูลว่า

วันนี้ ขอมหาบพิตรทรงมีพระทัยเลื่อมใส

ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ เป็น

สรณะ จงทรงสิกขาบท อย่าให้ขาดและด่าง

พร้อย จงทรงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์

ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของพระองค์ ไม่ทรง

พูดเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์ และทรงสมาทาน

อุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอัน

ประเสริฐ เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร จงทรงพระ-

ราชทานจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง คิลาน-

ปัจจัย ข้าว น้ำ ของกิน ของเคี้ยว ผ้า เสนาสนะ

ในภิกษุผู้มีจิตซื่อตรงทั้งหลาย บุญย่อมเจริญ

ทุกเมื่อ ทรงอังคาสภิกษุทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 464

ศีล ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำด้วย

ข้าวและน้ำ บุญย่อมเพิ่มพูนทุกเมื่อ เมื่อบุคคล

เป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรมโดยเคารพ

ตลอดคืนและวันอย่างนี้ พึงพ้นจากนรกนั้น

กรรมที่เว้นจากการให้ผลพึงมี.

พระราชาตรัสว่า :-

วันนี้ ดิฉันมีจิตเลื่อมใส ขอถึงพระพุทธ-

เจ้าพระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอ

สมาทานสิกขาบท ๕ ไม่ให้ขาดและด่างพร้อย

ของดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ยินดีด้วย

ภรรยาของตน ไม่กล่าวเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา และจัก

สมาทานอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘

ประการ อันประเสริฐ เป็นกุศล มีสุขเสนาสนะ

จักถวายจีวร บิณฑบาต ที่นอนที่นั่ง คิลานปัจจัย

ข้าว น้ำ ของกิน ของเคี้ยว ผ้า และเสนาสนะ

แก่ภิกษุทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจาก

ราคะ เป็นพหูสูต จักไม่กำหนัด ยินดีแต่ใน

ศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

พระเจ้าลิจฉวีทรงพระนามว่าอัมพสักขระ

ได้เป็นอุบาสกคนหนึ่งในเมืองเวสาลี ทรงมี

ศรัทธามีพระฤทัยอ่อนโยน ทรงทำอุปการะแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 465

ภิกษุ ทรงบำรุงสงฆ์โดยความเคารพ ในกาลนั้น

บุรุษผู้ถูกเสียบหลาว หายโรค เป็นสุขสบายดี

ได้เข้าถึงบรรพชา แม้ชนทั้งสองอาศัยกัปปิตก-

ภิกษุผู้ประเสริฐ ได้บรรลุสามัญผล การคบหา

สัปบุรุษเช่นนี้ย่อมมีผลมากตั้งร้อย แก่วิญญูชน

ผู้รู้แจ้ง บุรุษผู้ถูกเสียบหลาวได้บรรลุผลอัน

ยอดเยี่ยม ส่วนพระเจ้าอัมพสักขระได้บรรลุ

โสดาปัตติผล.

จบ อัมพสักขรเปตวัตถุที่ ๑

มหาวรรคที่ ๔

อรรถกถาอัมพสักขรเปตวัตถุที่ ๑

เรื่องอัมพสักขรเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า เวสาลี นาม นครตฺถิ

วชฺชีน ดังนี้. เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร เจ้าลิจฉวีนามว่า อัมพสักขระ

เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นนัตถิกวาทะ ครองราชย์ในเมืองเวสาลี.

ก็สมัยนั้น ในพระนครเวสาลี มีเปือกตมอยู่ในที่ใกล้ร้าน

ตลาดของพ่อค้าคนหนึ่ง. ชนเป็นอันมากในที่นั้น โดดข้ามไปลำบาก

บางคนเปื้อนโคลน. พ่อค้านั้นเห็นดังนั้น จึงคิดว่า คนเหล่านี้อย่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 466

เหยียบเปือกตม จึงให้นำกระดูกศีรษะโคอันมีส่วนเปรียบด้วย

สีสังข์ปราศจากกลิ่นเหม็น มาวางทอดไว้. ก็ตามปกติ เขาเป็นคน

มีศีลไม่มักโกรธ มีวาจาอ่อนหวาน และระบุถึงคุณตามความเป็น

จริงของคนเหล่าอื่น.

วันนั้น เมื่อสหายของตนอาบน้ำ ไม่แลดูด้วยความเลินเล่อ

เขาจึงซ่อนผ้านุ่งไว้ด้วยความประสงค์จะล้อเล่น ทำให้เขาลำบาก

เสียก่อนจึงได้ให้ไป. ก็หลานของเขาขโมยภัณฑะมาจากเรือน

ของคนอื่น แล้วทิ้งไว้ที่ร้านของเขานั่นเอง. เจ้าของภัณฑะเมื่อ

ตรวจดู จึงแสดงหลานของเขาและตัวเขาพร้อมทั้งภัณฑะแก่พระราชา.

พระราชาสั่งบังคับว่า พวกท่านจงตัดศีรษะผู้นี้ ส่วนหลานของเขา

จงเสียบหลาวไว้. พวกราชบุรุษได้กระทำดังนั้น. เขาทำกาละ

แล้วเกิดในภุมเทพ ได้เฉพาะม้าอาชาไนยทิพ มีสีขาว มีความเร็ว

ทันใจ เพราะเอาศีรษะโคทำสะพาน และเพราะการกล่าวสรรเสริญ

คุณของผู้มีคุณ กลิ่นทิพจึงฟุ้งออกจากกายของเขา แต่เขาได้เป็น

ผู้เปลือยกาย เพราะเก็บผ้าสาฎกซ่อนไว้ เขาตรวจดูกรรมที่ตน

ทำไว้ในกาลก่อน เห็นหลานของตนถูกเสียบหลาวโดยทำนองนั้น

ถูกความกรุณากระตุ้นเตือน จึงขึ้นม้ามีฝีเท้าเร็วทันใจ ในเวลา

เที่ยงคืน ก็ถึงสถานที่ที่หลานนั้นถูกเสียบไว้บนหลาว จึงยืนอยู่

ในที่ไม่ไกล กล่าวทุกวัน ๆ ว่า จงมีชีวิตอยู่เถอะ พ่อเจริญ ชีวิต

เท่านั้นเป็นของประเสริฐ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 467

ก็สมัยนั้น พระเจ้าอัมพสักขระเสด็จบนคอช้างเชือกประเสริฐ

เสด็จเลียบพระนคร ทรงเห็นหญิงคนหนึ่งเปิดหน้าต่างในเรือน

หลังหนึ่งผู้กำลังดูสมบัติของพระราชา ทรงมีจิตปฏิพัทธ์ จึงให้

สัญญาแก่บุรุษผู้นั่งอยู่หลังอาสนะว่า ท่านจงใคร่ครวญเรือนนี้และ

หญิงนี้ ดังนี้แล้วเสด็จเข้าพระนิเวศน์ของพระองค์โดยลำดับ ส่ง

บุรุษนั้นไป โดยให้รู้ว่า ไปเถอะพนาย เธอจงรู้ว่า หญิงนั้นมีสามี

หรือไม่. เขาไป รู้ว่าหญิงนั้นมีสามีแล้ว จึงกราบทูลแด่พระราชา.

พระราชาเมื่อทรงคิดถึงอุบายที่จะครอบครองหญิงนั้น จึงรับสั่งให้

เรียกสามีของนางมา แล้วตรัสว่า มาเถอะ พนาย เธอจงอุปัฏฐากเรา.

เขาแม้จะไม่ปรารถนาก็รับอุปัฏฐากพระราชา เพราะกลัวว่า

เมื่อเราไม่กระทำตามพระดำรัสของพระองค์ พระราชาก็จะลง

ราชทัณฑ์ จึงไปอุปัฏฐากพระราชาทุกวัน ๆ. ฝ่ายพระราชา

ก็ได้ประทานบำเหน็จรางวัลแก่เธอ โดยล่วงไป ๒-๓ วัน ก็ได้

ตรัสกะเธอผู้มายังที่บำรุงแต่เช้าตรู่ อย่างนี้ว่า ไปเถอะ พนาย

ในที่โน้น มีสระโบกขรณีลูกหนึ่ง เธอจงนำดินสีอรุณ และดอก

อุบลแดง จากพระโบกขรณีนั้นมา ถ้าเธอไม่มาภายในวันนี้ ชีวิต

ของเธอจะหาไม่. ก็เมื่อเขาไปแล้ว จึงตรัสกะคนผู้รักษาประตูว่า

วันนี้ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ทันอัศดงคต เธอจงปิดประตูทุกด้าน.

ก็สระโบกขรณีนั้นอยู่ในที่สุด ๓๐๐ โยชน์ แต่กรุงเวสาลี

อนึ่ง บุรุษนั้นถูกมรณภัยคุกคาม จึงถึงสระโบกขรณีนั้นแต่เช้า

ทีเดียว เพราะกำลังเร็วของลม เพราะได้สดับตรับฟังมาก่อนว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 468

สระโบกขรณีนั้น อมนุษย์หวงแหน เพราะความกลัว เขาจึงเดิน

เวียนไปรอบ ๆ ด้วยคิดว่า ในที่นี้ จะมีอันตรายอะไร ๆ หรือไม่หนอ.

อมนุษย์ผู้รักษาสระโบกขรณีเห็นเขาแล้ว เกิดความกรุณา แปลง

เป็นมนุษย์เข้าไปหาแล้วกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านมาที่นี้เพื่อ

ประโยชน์อะไร เขาก็ได้เล่าเรื่องนั้นให้อมนุษย์นั้นฟัง. อมนุษย์นั้น

จึงกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจงถือเอาตามต้องการเถิด

ดังนี้แล้วจึงแสดงรูปทิพของตนแล้วหายไป.

เขาถือเอาดินสีอรุณและดอกอุบลแดงในสระโบกขรณีนั้น

ถึงประตูพระนครในเมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัศดงคตเลย. ผู้รักษา

ประตูเห็นเขาแล้ว เมื่อเขาร้องบอกอยู่นั่นแหละ ก็ปิดประตูเสีย.

เมื่อประตูถูกปิด เขาเข้าไปไม่ได้ เห็นบุรุษอยู่บนหลาวใกล้ประตู

จึงได้กระทำให้เป็นสักขีพยานว่า คนเหล่านี้ เมื่อเรามาถึงในเมื่อ

พระอาทิตย์ยังไม่อัศดงคต ร้องขออยู่นั้นเอง ก็ปิดประตูเสีย ถึง

ท่านก็จงรู้เถิดว่า เรามาทันเวลา เราไม่มีโทษ. บุรุษผู้อยู่บนหลาว

ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า เราถูกร้อยหลาว เขาจะฆ่า บ่ายหน้าไปหา

ความตาย จะเป็นพยานให้ท่านได้อย่างไร. ก็ในที่นี้ เปรตตนหนึ่ง

มีฤทธิ์มากจักมาที่ใกล้เรา ท่านจงทำเปรตนั้นเป็นพยานเถิด. บุรุษ

นั้นถามว่า เราจะเห็นเปรตผู้มีฤทธิ์มากตนนั้นได้อย่างไร. บุรุษ

ผู้อยู่บนหลาวกล่าวว่า ท่านจงรออยู่ที่นี้แหละ ท่านจักเห็นด้วย

ตนเอง. เขายืนอยู่ในที่นั้น เห็นเปรตนั้นมาในมัชฌิมยาม จึงได้

ทำให้เป็นพยาน. ก็เมื่อราตรีสว่าง เมื่อพระราชาตรัสว่า ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 469

ล่วงอาญาของเรา เพราะฉะนั้น เราจะลงราชทัณฑ์แก่ท่าน บุรุษ

นั้นจึงทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่ได้ล่วงอาชญาของ

พระองค์ ข้าพระองค์มาในที่นี้ ในเมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคต

เลย พระราชาตรัสถามว่า ในข้อนั้น ใครเป็นพยานให้เธอ. บุรุษ

นั้น จึงอ้างถึงเปรตเปลือย ผู้มายังสำนักของบุรุษผู้ถูกหลาวร้อย

นั้นว่า เป็นพยาน เมื่อพระราชาตรัสถามว่า ข้อนั้นเราจะเชื่อได้

อย่างไร จึงทูลว่า วันนี้ ในเวลาราตรี พระองค์จงส่งบุรุษผู้ควร

เธอได้ไปกับข้าพระองค์. พระราชาได้สดับดังนั้น จึงเสด็จไปใน

ที่นั้นพร้อมกับบุรุษนั้นด้วยพระองค์เอง แล้วประทับยืนอยู่ และ

เมื่อเปรตมาในที่นั้นกล่าวว่า จงเป็นอยู่เถิด ผู้เจริญ ชีวิตเท่านั้น

ประเสริฐกว่า จึงทรงสอบถามเปรตนั้นด้วยคาถา ๕ คาถา โดยนัย

มีอาทิว่า การนอน การนั่ง ไม่มีแก่ผู้นี้ ดังนี้. ก็ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

เพื่อจะแสดงความสัมพันธ์แห่งคาถาเหล่านั้น พระสังคีติกาจารย์

จึงได้ตั้งคาถาว่า เวสาลิ นาม นครตฺถิ วชฺชีน ความว่า :-

มีนครชาววัชชีนครหนึ่ง นานว่าเวสาลี

ในนครเวสาลีนั้น มีกษัตริย์ลิจฉวีพระนานว่า

อัมพสักขระ ได้ทอดพระเนตรเห็นเปรตตนหนึ่ง

ที่ภายนอกพระนคร มีพระประสงค์จะทรงทราบ

เหตุ จึงตรัสถามเปรตนั้นในที่นั้นนั่นเองว่า การ

นอน การนั่ง การเดินไปเดินมา การลิ้ม การดื่ม

การเคี้ยว การนุ่งห่ม แม้หญิงบำเรอของคนผู้ถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 470

เสียบไว้บนหลาวนี้ ย่อมไม่มีชนเหล่าใดผู้เป็น

ญาติ เป็นมิตรสหาย เคยเห็นเคยฟังร่วมกันมา

เคยมีความเอ็นดูกรุณา ของบุคคลใดมีอยู่ในกาล

ก่อน เดี๋ยวนี้คนเหล่านั้น แม้จะเยี่ยมเยียนบุคคล

นั้นก็ไม่ได้ บุรุษนี้มีตนอันญาติเป็นต้นสละแล้ว

มิตรสหาย ย่อมไม่มีแก่คนผู้ตกยาก พวกมิตร-

สหายทราบว่า ผู้ใดขาดแคลน ย่อมละทิ้งผู้นั้น

และเห็นใครมั่งคั่งบริบูรณ์ก็พากันไปห้อมล้อม

คนที่มั่งคั่งด้วยสมบัติ ย่อมมีมิตรสหายมาก ส่วน

บุคคลผู้เสื่อมจากทรัพย์สมบัติ เป็นผู้ฝืดเคือง

ด้วยโภคะ ย่อมหามิตรสหายยาก นี้เป็นธรรมดา

ของโลก บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบนี้ มีร่างกายเปื้อน

เลือด ตัวทะลุเป็นช่อง ๆ ชีวิตของบุรุษนี้จักดับ

ไปในวันนี้ พรุ่งนี้ เหมือนหยาดน้ำค้างอันติดอยู่

บนปลายหญ้าคา ฉะนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะ

เหตุไร ท่านจึงพูดกะบุรุษผู้ถึงความลำบากอย่าง

ยิ่ง นอนหงายบนหลาวไม้สะเดาเช่นนี้ว่า ดูก่อน

บุรุษผู้เจริญ ขอท่านจงมีชีวิตอยู่เถิด การมีชีวิต

อยู่เท่านั้นเป็นของประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในเมืองเวสาลีนั้น.

บทว่า นครสฺส พาหิร ได้แก่ มีอยู่ในภายนอกพระนคร คือ เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 471

เป็นไป เกี่ยวพันกันในภายนอกแห่งนครเวสาลีนั่นเอง. บทว่า

ตตฺเถว คือ ในที่ที่ตนเห็นเปรตนั้นนั่นแล บทว่า ต โยค ต เปต

แปลว่า ซึ่งเปรตนั้น. บทว่า การณตฺถิโก ได้แก่ เป็นผู้มีความต้องการ

ด้วยเหตุเพื่อผลดังกล่าวว่า จงมีชีวิตอยู่เถิด ท่านผู้เจริญ การมี

ชีวิตอยู่นั่นแหละ ประเสริฐ.

บทว่า เสยฺยา นิสชฺชา นยิมสฺส อตฺถิ ความว่า การนอนมี

การเหยียดหลังเป็นลักษณะ และการนั่งมีการนั่งคู้บัลลังก์เป็น

ลักษณะ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ถูกหลาวเสียบนี้ได้. บทว่า อภิกฺกโม

นตฺถิ ปฏิกฺกโม จ ความว่า การไปมีการก้าวไปข้างหน้า แม้เพียง

เล็กน้อย ก็ไม่มีแก่บุคคลนี้. บทว่า ปริจาริกา สาปิ ความว่า แม้หญิง

ผู้บำรุงบำเรออินทรีย์ซึ่งมีลักษณะเช่น การกิน การดื่ม การเคี้ยว

การนุ่งผ้า และการใช้สอย เป็นต้น แม้นั้น ก็ไม่มีแก่บุคคลนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า ปริหรณา สาปิ ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า แม้

หญิงผู้บริหารอินทรีย์ด้วยสามารถแห่งการบริโภคมีของกิน เป็นต้น

ก็ไม่มีแก่ผู้นี้ เพราะเป็นผู้ปราศจากชีวิต, อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า ปริจารณา สาปิ ดังนี้ก็มี.

บทว่า ทิฏฺสุตา สุหชฺชา อนุกมฺปกา ยสฺส อเหสุ ปุพฺเพ

ความว่า ผู้ที่มีคนเป็นสหายเคยเห็นกันมา และไม่เคยเห็นกันมา

เป็นมิตร มีความเอ็นดู ได้มีในกาลก่อน. บทว่า ทฏฺฐุมฺปิ ความว่า

บุคคลเหล่านั้น แม้จะเยี่ยมก็ไม่ได้ คือ การอยู่ร่วมกัน จักมีแต่ที่ไหน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 472

บทว่า วิราชิตตฺโต ได้แก่ ผู้มีสภาวะ อันญาติเป็นต้นสละแล้ว.

บทว่า ชเนน เตน ได้แก่ อันชนมีชนผู้เป็นญาติเป็นต้นนั้น.

บทว่า น โอคฺคตตฺตสฺส ภวนฺติ มิตฺตา ความว่า ขึ้นชื่อว่า

มิตร ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปราศจากวิญญาณไปแล้ว คือผู้ตายไปแล้ว

เพราะผู้นั้นผ่านพ้นจากกิจที่มิตรจะพึงกระทำต่อมิตร. บทว่า

ชหนฺติ มิตฺตา วิกล วิทิตฺวา ความว่า ผู้ที่ตายแล้ว จงยกไว้ก่อน.

พวกมิตร พอทราบบุรุษแม้ยังมีชีวิตอยู่ แต่ขาดแคลนโภคสมบัติ

ก็ละทิ้งเขาเสียด้วยคิดว่า สิ่งอะไร ๆ ที่ควรถือเอาได้จากบุรุษนี้

ย่อมไม่มีเลย. บทว่า อตฺถญฺจ ทิสฺวา ปริวารยนฺติ ความว่า เห็น

ทรัพย์ที่เป็นประโยชน์ซึ่งเป็นของของผู้นั้นแล้ว กล่าววาจาน่ารัก

เห็นแก่หน้า พากันแวดล้อมผู้มั่งคั่งด้วยโภคสมบัตินั้น. บทว่า

พหุ มิตฺตา อุคฺคตตฺตสฺส โหนฺติ ความว่า บุคคลผู้มีความสำเร็จ

มีสภาพมั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติ ย่อมมีมิตรมากมายนี้ เป็นสภาพ

ทางโลก.

บทว่า นิหีนตฺโต สพฺพโภเคหิ ได้แก่ บุคคลผู้มีตนเสื่อม

จากวัตถุอันเป็นเครื่องอุปโภคและบริโภคทั้งหมด. บทว่า กิจฺโฉ

ได้แก่ เป็นผู้ตกทุกข์. บทว่า สมฺมกฺขิโต ได้แก่ ผู้มีร่างกาย

เปื้อนด้วยเลือด. บทว่า สมฺปริภินฺนคตฺโต ได้แก่ ผู้มีตัวถูกหลาวเสียบ

ในภายใน. บทว่า อุสฺสาวพินฺทูว ปลิมฺปมาโน ได้แก่ เสมือน

หยาดน้ำค้างที่ติดอยู่บนปลายหญ้า. บทว่า อชฺช สุเว ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 473

ชีวิตของบุรุษนี้จักดับศูนย์ในวันนี้ หรือ ในวันพรุ่งนี้ ต่อแต่นั้นไป

ก็เป็นไปไม่ได้.

บทว่า อุตฺตาสิต ได้แก่ ถูกหลาวร้อย คือ เสียบไว้. บทว่า

ปุจิมนฺทสฺส สูเล ได้แก่ บนหลาวที่เขาทำด้วยท่อนไม้สะเดา.

บทว่า เกน วณฺเณน แปลว่า ด้วยเหตุไร. บทว่า ชีว โภ ชีวิตเมว

เสยฺโย ความว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านจงมีชีวิตอยู่เถิด. ถามว่า เพราะ

เหตุไร ? ตอบว่า เพราะท่านถูกหลาวเสียบ ยังมีชีวิตอยู่ในที่นี้

ก็ยังประเสริฐกว่า คือดีกว่าชีวิตของบุคคลผู้จุติจากโลกนี้ ตั้งร้อยเท่า

พันเท่า.

เปรตนั้นถูกพระราชานั้นตรัสถามแล้วอย่างนี้ เมื่อจะประกาศ

ความประสงค์ของตน จึงกล่าวคาถา ๔ คาถาว่า :-

ข้าแต่พระราชา บุรุษนี้ เป็นสาโลหิตของ

ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ระลึกถึงชาติก่อน ข้า-

พระองค์เห็นแล้ว มีความกรุณาแก่เขาว่า ขออย่า

ให้บุรุษผู้เลวทรามนี้ไปตกนรกเลย ข้าแต่กษัตริย์

ลิจฉวี บุรุษผู้ทำกรรมชั่วนี้ จุติจากอัตภาพนี้แล้ว

จักเข้าถึงนรก อันยัดเยียดไปด้วยสัตว์ผู้ทำบาป

เป็นสถานที่ร้ายกาจ มีความเร่าร้อนมาก เผ็ดร้อน

ให้เกิดความน่ากลัว หลาวนี้ประเสริฐกว่านรก

นั้นตั้งหลายพันเท่า ขออย่าให้บุรุษนี้ไปตกนรก

อันมีแต่ความทุกข์โดยส่วนเดียว เผ็ดร้อน ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 474

เกิดความน่ากลัว มีความทุกข์กล้าแข็งอย่างเดียว

บุรุษนี้ ฟังคำของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว ประหนึ่ง

ว่า ข้าพระองค์น้อมเข้าไปสู่ทุกข์ในนรกนั้น จะ

พึงสละชีวิตของตนเสีย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์

จึงไม่พูดในที่ใกล้เขา ด้วยหวังว่า ชีวิตของบุรุษ

นี้อย่าได้ดับไปเสีย เพราะคำของข้าพระองค์เลย

เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงพูว่า ขอท่านจงมี

ชีวิตอยู่เถิด การมีชีวิตอยู่เป็นของประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาโลหิโต ได้แก่ มีโลหิตเสมอกัน

คือ เชื่อมกันโดยกำเนิด, อธิบายว่า เป็นญาติกัน. บทว่า ปุริมาย

ชาติยา คือในอัตภาพก่อน. บทว่า มา ปาปธมฺโม นิรย ปตาย

มีวาจาประกอบความว่า ข้าพระองค์ได้เห็นผู้นี้แล้ว ได้มีความ

กรุณาว่า ขออย่าให้บุรุษผู้มีธรรมอันเลวทรามนี้ ตกนรกเลย คือ

อย่าได้เข้าถึงนรกเลย.

บทว่า สตฺตุสฺสท ความว่า หนาแน่นด้วยสัตว์ผู้ทำกรรมชั่ว

อีกอย่างหนึ่ง หนาแน่นด้วยเหตุอันหยาบช้า มีการจองจำ ๕ อย่าง

เป็นต้น ๗ อย่าง เหล่านี้คือ การจองจำ ๕ อย่าง คือ เทโลหะร้อน ๆ

เข้าไปในปาก ให้ขึ้นภูเขาอันเต็มด้วยถ่านเพลิง ใส่เข้าในหม้อเหล็ก

ให้เข้าไปยังป่าอันพร้อมด้วยดาบ ให้ลงไปในชลาลัยในนรก โยนทิ้ง

ลงไปในมหานรก. อธิบายว่า ก่อสั่งสมจนมาก ๆ ขึ้นไป. บทว่า

มหาภิตาป ได้แก่ ทุกข์ใหญ่ หรือความเร่าร้อนอันเกิดแต่กองไฟ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 475

ใหญ่. บทว่า กฏุก แปลว่า ไม่น่าปรารถนา. บทว่า ภยานก แปลว่า

ให้เกิดความกลัว.

บทว่า อเนกภาเตน คุเณน ได้แก่ ด้วยอานิสงส์ หลายส่วน.

บทว่า อยเมว สูโล นิรเยน เตน ความว่า หลาวนี้แหละ ประเสริฐ

กว่านรก อันเป็นที่เกิดของบุรุษนี้นั้น. จริงอยู่ บทว่า นิรเยน

นี้ เป็นตติยาวิภัติ ใช้ในอรรถแห่งปัญจมีวิภัติ. บทว่า เอกนฺตติพฺพ

ความว่า มีความทุกข์อันแรงกล้าโดยส่วนเดียวแท้ คือ เป็นทุกข์ใหญ่

อย่างแน่นอน.

บทว่า อินญฺจ สุตฺวา วจน มเมโส ความว่า บุรุษนี้ ฟังถ้อยคำ

ของเรานี้ ที่กล่าวโดยนัยมีอาทิว่า อิโต จุโต เคลื่อนจากอัตภาพนี้

แล้ว เป็นต้น เป็นผู้เข้าถึงทุกข์ เป็นเหมือนเข้าถึงทุกข์ในนรก ตาม

คำของเรา บทว่า วิชเหยฺย ปาณ ความว่า พึงสละชีวิตของตน.

บทว่า ตสฺมา แปลว่า เพราะเหตุนั้น. บทว่า มา เม กโต อธิบายว่า

เราไม่ได้พูดคำนี้ ในที่ใกล้แห่งบุรุษนี้ว่า ขอชีวิตของบุรุษนี้ จง

อย่าดับพร้อมกับเราเลย. โดยที่แท้ เราพูดเพียงเท่านี้ว่า จงมีชีวิต

อยู่เถอะท่านผู้เจริญ เพราะชีวิดนั่นแหละ ประเสริฐ.

เมื่อเปรตประกาศความประสงค์ของตนอย่างนี้ พระราชา

เมื่อทรงให้โอกาสเพื่อจะถามประวัติของเปรตนั้นอีก จึงตรัสคาถา

นี้ว่า :-

เรื่องของบุรุษนี้ เรารู้แล้ว แต่เราปรารถนา

จะถามท่านถึงเรื่องอื่น ถ้าท่านให้โอกาสแก่เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 476

เราจะขอถามท่าน และท่านไม่ควรโกรธเรา

เปรตนั้นกราบทูลว่า :-

ข้าพระองค์ ได้ให้ปฏิญญาไว้ในกาลนั้น

แน่นอนแล้ว การไม่บอกย่อมมีแก่ผู้ไม่เลื่อมใส

บัดนี้ ข้าพระองค์มีวาจาที่ควรเชื่อถือได้ แม้โดย

พระองค์จะไม่ทรงเลื่อมใส เพราะเหตุนั้น ขอ

เชิญพระองค์ ตรัสถามข้าพระองค์ ตามพระ

ประสงค์เถิด ข้าพระองค์จะกราบทูลตามที่

สามารถจะกราบทูลได้.

นี้เป็นพระคาถาตรัสและคาถาโต้ตอบระหว่างพระราชากับเปรต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺโต แปลว่า อันข้าพเจ้า

รู้แล้ว. บทว่า อิจฺฉามเส แปลว่า ข้าพระองค์ ย่อมปรารถนา.

บทว่า โน แปลว่า แก่พวกเรา. บทว่า น จ กุชฺฌิตพฺพ ความว่า

ไม่ควรทำความโกรธว่า คนเหล่านี้ ได้ถามสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.

บทว่า อทฺธา แปลว่า โดยส่วนเดียว. บทว่า ปฏิญฺา เม

ความว่า เมื่อว่าโดยความรู้ เราได้ปฏิญญา คือให้โอกาสว่า ท่าน

จงถาม. บทว่า ตทา อหุ คือ ได้มีในกาลนั้น คือในการเห็นครั้งแรก.

บทว่า นาจิกฺขณา อปฺปสนฺนสฺส โหติ ความว่า ไม่ได้พูดแก่ผู้ที่

ไม่เลื่อมใส. จริงอยู่ ผู้เลื่อมใสเท่านั้นย่อมกล่าวอะไร ๆ แก่ผู้

เลื่อมใส แต่ในเวลานั้น ท่านไม่มีความเลื่อมใสในเรา และเราก็ไม่มี

ความเลื่อมใสในท่าน เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่มีความปรารถนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 477

ที่จะกล่าวปฏิญญา. แต่บัดนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาท่าน มีวาจา

ที่จะให้ท่านพอเชื่อถือได้ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นผู้ชื่อว่า

มีวาจาพอเชื่อถือได้. บทว่า ปุจฺฉสฺสุ ม กาม ยถา วิสยฺห ความว่า

ขอพระองค์จงซักถามเรื่องตามที่พระองค์ทรงปรารถนากะข้า-

พระองค์เถิด. แต่ข้าพระองค์จักกราบทูลตามสมควรแก่กำลัง

ความรู้ของตน โดยประการที่ข้าพระองค์สามารถจะกราบทูลได้.

เมื่อเปรตให้โอกาสแก่การถามอย่างนี้ พระราชา จึงตรัส

คาถาว่า :-

เราเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยจักษุ เราควร

เชื่อสิ่งนั้น แม้ทั้งสิ้น ถ้าเราเห็นสิ่งนั้นแล้วไม่เชื่อ

ขอให้ลงโทษ ถอดยศเราเถิด.

คำแห่งคาถานั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- เราเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ด้วยจักษุ เราควรเชื่อสิ่งนั้นแม้ทั้งหมด โดยประการนั้นนั่นแล

ก็แลถ้าเราเห็นสิ่งนั้นแล้ว ไม่เชื่อ ดูก่อนเทพยดา ขอท่านจงลง

นิยสกรรม และนิคคหกรรมแก่เราเถิด. อีกอย่างหนึ่งบทว่า

ย กิญฺจห จกฺขุนา ปสฺสิสฺสามิ ความว่า เราจักเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ด้วยจักษุ เพราะไม่เป็นอารมณ์แห่งจักษุจึงไม่เห็น. บทว่า สนฺพมฺปิ

ตาห อภิสทฺทเหยฺย ความว่า เราควรเชื่อสิ่งที่ท่านได้เห็น ได้ยิน

หรือสิ่งอื่น. อธิบายว่า จริงอยู่ เรามีความเชื่อเช่นนั้น ในท่าน.

ส่วนเนื้อความแห่บทหลัง ก็มีอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 478

เปรตได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาว่า :-

ขอสัจจปฏิญญา ของพระองค์นี้ จงมีแก่ข้า-

พระองค์ พระองค์ได้ฟังธรรมที่ข้าพระองค์กล่าวแล้ว

จงทรงได้ความเลื่อมใส ข้าพระองค์มีความต้องการ

อย่างอื่น ไม่มีจิตคิดประทุษร้ายข้าพระองค์ จัก

กราบทูลธรรมทั้งหมดที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว

บ้าง หรือไม่ได้สดับแล้วบ้าง แก่พระองค์ตามที่

ข้าพระองค์รู้.

เบื้องหน้าแต่นั้น พระราชาและเปรตทั้งสองนั้น จึงมีคาถา

เป็นเครื่องตรัสโต้ตอบกันดังนี้ว่า :-

พระเจ้าอัมพสักขระตรัสว่า :-

ท่านขี่ม้าอันประดับประดาแล้วเข้าไปยัง

สำนักของบุรุษที่ถูกเสียบหลาว ม้าขาวตัวนี้เป็น

ม้าน่าอัศจรรย์ น่าดู น่าชมนี้ เป็นผลแห่งกรรม

อะไร

เปรตกราบทูลว่า :-

ที่กลางเมืองเวสาลีนั้น มีหลุมที่หนทาง

ลื่น ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใส เอาศีรษะโค ศีรษะ

หนึ่งวางทอดที่หลุมให้เป็นสะพาน ข้าพระองค์

และบุคคลอื่น เหยียบบนศีรษะโคนั้น เดินไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 479

ได้สะดวก ม้านี้เป็นม้าน่าอัศจรรย์ น่าดู น่าชม

นี้เป็นผลแห่งกรรมนั่นเอง

พระเจ้าสักขระตรัสถามว่า :-

ท่านมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ และมี

กลิ่นหอมฟุ้งไป ท่านได้สำเร็จฤทธิ์แห่งเทวดา เป็น

ผู้มีอานุภาพมาก แต่เป็นคนเปลือยกาย นี้เป็นผล

แห่งกรรมอะไร.

เปรตนั้นกราบทูลว่า :-

เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นคนไม่มักโกรธ

ทั้งมีจิตเลื่อมใสอยู่เป็นนิตย์ พูดกับคนทั้งหลาย

ด้วยวาจาอ่อนหวาน ข้าพระองค์มีรัศมีเป็นทิพย์

สว่างไสวอยู่เนืองนิตย์ นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น

ข้าพระองค์เห็นยศและชื่อเสียงของบุคคลผู้ตั้งอยู่

ในธรรม มีจิตเลื่อมใสกล่าวสรรเสริญ ข้าพระ-

องค์มีกลิ่นทิพย์หอมฟุ้งไปเนืองนิตย์ นี้เป็นผล

แห่งกรรมนั้น เมื่อพวกสหายของข้าพระองค์

อาบน้ำที่ท่าน้ำ ข้าพระองค์ลักเอาผ้าซ่อนไว้บน

บก ไม่มีความประสงค์จะลักขโมย และไม่มีจิต

คิดประทุษร้าย เพราะกรรมนั้น ข้าพระองค์ จึง

เป็นคนเปลือยกาย เป็นอยู่อย่างฝืดเคือง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 480

พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า :-

ผู้ใดทำบาปเล่น ๆ นักปราชญ์ทั้งหลาย

กล่าวว่า ผู้นั้นได้รับผลกรรมเช่นนี้ ส่วนผู้ใดตั้งใจ

ทำบาปจริง ๆ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวผลกรรม.

ของผู้นั้นว่าเป็นอย่างไร ?

เปรตกราบทูลว่า :-

มนุษย์เหล่าใด มีความดำริชั่วร้าย เป็น

ผู้เศร้าหมองด้วยกายและวาจา เพราะกายแตก

ตายไป มนุษย์เหล่านั้น ย่อมเข้าถึงนรกใน

สัมปรายภพ โดยไม่ต้องสงสัย ส่วนชนเหล่าอื่น

ปรารถนาสุคติ ยินดียิ่งในทาน มีอัตภาพอัน

สงเคราะห์แล้ว เพราะกายแตกตายไป ย่อมเข้า

ถึงสุคติในสัมปรายภพ โดยไม่ต้องสงสัย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจปฺปฏิญฺา ตว เมสา โหตุ

ความว่า ขอความปฏิญญาของท่านนี้ จงเป็นความสัจจสำหรับ

ข้าพระองค์ว่า ข้าพเจ้าพึงเชื่อสิ่งนั้นทั้งหมด. บทว่า สุตฺวาน

ธญฺม ลภ สุปฺปสาท ความว่า ท่านฟังคำที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว จง

ได้ความเลื่อมใส เป็นอันดี. บทว่า อญฺตฺถิโก ได้แก่ ข้าพระองค์

ไม่มีความประสงค์จะรู้. บทว่า ยถา ปชาน ได้แก่ ตามที่คนอื่นรู้อยู่

อธิบายว่า ตามที่พระองค์รู้แล้วหรือว่า ตามที่ข้าพระองค์รู้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 481

บทว่า กิสฺเสต กมฺมสฺส อย วิปาโก ความว่า นั่นเป็นผล

แห่งกรรมอะไร คือ นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า เอต เป็นเพียงนิบาต ก็อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า เป็น

ผลของกรรมอะไรขอท่าน.

บทว่า จิกฺขลฺลมคฺเค แปลว่า ในทางมีโคลน. บทว่า นรก

ได้แก่ บ่อ. บทว่า เอกาห ตัดเป็น เอก อห. บทว่า นรกสฺมึ นิกฺขิปึ

ความว่า เราทอดศีรษะโค ๑ ศีรษะ ในบ่อที่มีโคลนโดยประการที่

ผู้เดินจะไม่เหยียบเปือกตม. บทว่า ตสฺส ได้แก่ เอาศีรษะโค

ทำเป็นสะพานนั้น.

บทว่า ธมฺเม ิตาน ได้แก่ ผู้ประพฤติเป็นธรรม ประพฤติ

สม่ำเสมอ. บทว่า มนฺเตมิ ได้แก่ กล่าว คือ ระบุถึง. บทว่า

ขิฑฺฑตฺถิโก ได้แก่ ประสงค์จะหัวเราะเล่น. บทว่า โน จ ปทุฏฺจิตฺโต

ได้แก่ ไม่มีจิตคิดประทุษร้ายเจ้าของผ้า อธิบายว่า ไม่มีความ

ประสงค์จะลัก ทั้งไม่ประสงค์จะทำให้เสียหาย.

บทว่า อกีฬมาโน ได้แก่ ไม่ประสงค์ คือ มีจิตคิดประทุษร้าย

เพราะความโลภเป็นต้น. บทว่า กึ ตสฺส กมฺมสฺส วิปากมาหุ

ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าววิบากทุกข์อันเผ็ดร้อนของกรรม

ชั่วนั้น คือที่ทำไว้อย่างนั้นไว้เพียงไร.

บทว่า ทุฏฺสงฺกปฺปมนา ได้แก่ ผู้มีวิตกทางใจอันประทุษร้าย

ด้วยอำนาจความดำริในกามเป็นต้น, ด้วยคำว่า ทุฏฺสงฺกปฺปมนา

นั้น ท่านกล่าวถึงมโนทุจริต. บทว่า กาเยน วาจาย จ สงฺกิลิฏฺา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 482

ได้แก่ มีความเศร้าหมองด้วยกายและวาจา ด้วยอำนาจปาณาติบาต

เป็นต้น. บทว่า อาสมานา ได้แก่ หวัง คือ ปรารถนา.

เมื่อเปรตแสดงจำแนกกรรมและผลแห่งกรรมโดยสังเขป

อย่างนี้แล้ว พระราชาไม่ทรงเชื่อข้อนั้น จึงตรัสคาถาว่า :-

เราจะพึงรู้เรื่องนั้นได้อย่างไรว่า นี้เป็น

ผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่ว หรือเราจะพึงเห็น

อย่างไร จึงจะเชื่อถือได้ หรือแม้ใครจะพึงทำ

ให้เราเชื่อถือเรื่องนั้นได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต กินฺติ ชาเนยฺยมห อเวจฺจ

ความว่า เราจะพึงเชื่อโดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย ถึงวิบากของกรรมดี

และกรรมชั่วที่เธอกล่าวจำแนกไว้โดยนัยมีอาทิว่า ต้นมีความ

ดำริชั่วย่อมเศร้าหมองด้วยกายและวาจา และโดยนัยมีอาทิว่า

ก็คนเหล่าอื่นย่อมปรารถนาสุคติ ดังนี้นั้นได้อย่างไร คือโดยเหตุไร.

บทว่า กึ วาห ทิสฺวา อภิสทฺทเหยฺย ความว่า เราเห็นอย่างไร

อันเป็นตัวอย่างที่ประจักษ์จะพึงเชื่อได้. บทว่า โก วาปิ ม

สทฺทหาเปยฺย ม ความว่า หรือใครเป็นวิญญูชน คือ เป็นบัณฑิต

จะพึงให้เราเชื่อข้อนั้น ท่านจงแนะนำบุคคลนั้น.

เปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะประกาศเรื่องนั้นแก่พระราชานั้น

โดยเหตุ จึงได้กล่าวคาถาว่า :-

พระองค์ได้ทรงเห็นแล้วและได้สดับแล้ว ก็

จงเชื่อเถิดว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 483

เมื่อมีกรรมดีและกรรมชั่วทั้งสอง ก็พึงมีสัตว์

ไปสู่สุคติและทุคติ ถ้าสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลก

นี้ ไม่พึงทำกรรมดีและกรรมชั่ว สัตว์ผู้ไปสู่

สุคติ ทุคติ อันเลวและประณีต ก็ไม่มีในมนุษย์

โลกนี้ แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลก ทำ

กรรมดีและกรรมชั่วไว้ ฉะนั้น จึงไปสู่สุคติ ทุคติ

เลวบ้าง ประณีตบ้าง นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าว

วิบากแห่งกรรมทั้งสองนั้นว่า เป็นที่ตั้งแห่งการ

เสวยสุขและทุกข์ เทวดาย่อมพากันห้อมล้อม

พวกชนผู้ได้เสวยผลอันเป็นสุข คนพาลผู้ไม่เห็น

บาปและบุญทั้งสอง ย่อมเดือดร้อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา จ แปลว่า ทั้งได้ทรงเห็น

โดยประจักษ์. บทว่า สุตฺวา ได้แก่ ทรงสดับธรรมแล้วทรงรู้ คือ

ทรงรู้ตามซึ่งนัยตามแนวแห่งธรรมนั้น. บทว่า กลฺยาณปาปสฺส

ความว่า จงทรงเชื่อเถิดว่า สุขนี้เป็นวิบากแห่งกุศลกรรม และ

ทุกข์นี้เป็นวิบากแห่งอกุศลกรรม. บทว่า อุภเย อสนฺเต ความว่า

เมื่อกรรมทั้งสอง คือ กรรมดีและกรรมชั่วมีอยู่. บทว่า สิยา นุ

สตฺตา สุคตา ทุคฺคตา วา ความว่า เนื้อความดังนี้ว่า สัตว์เหล่านี้

ไปสุคติหรือทุคติ หรือว่า เป็นผู้มั่งคั่งในสุคติหรือเป็นผู้เข็ญใจ

ในทุคติ ดังนี้ จะพึงมีอยู่หรือ คือจะพึงเกิดได้อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 484

บัดนี้ เปรตจะประกาศเนื้อความตามที่กล่าวแล้วโดยผิด

แผกกัน และโดยคล้อยตามกัน ด้วยคาถา ๒ คาถาว่า โน เจตฺถ

กมฺมานิ และ ยสฺมา จ กมฺมานิ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

หีนา ปณีตา ได้แก่ ผู้เลวและหยิ่งโดยตระกูล รูปร่าง ความไม่มีโรค

และบริวารเป็นต้น.

บทว่า ทฺวยชฺช กมฺมาน วิปากมาหุ ความว่า สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมกล่าวคือแสดงวิบากแห่งสุจริต และทุจริตแห่งกรรมทั้งสองอย่าง

ในวันนี้ คือ ในบัดนี้. เพื่อจะหลีกเสี่ยงคำถามว่า ข้อนั้น คืออะไร ?

จึงกล่าวว่า การเสวยสุขและทุกข์ อธิบายว่า ควรจะเสวยอิฏฐารมณ์

และอนิฏฐารมณ์. บทว่า ตา เทวตาโย ปริจารยนฺติ ความว่า เหล่าชน

ผู้ได้รับวิบากอันอำนวยสุขโดยส่วนเดียว ย่อมเป็นเทพยดาใน

เทวโลก เปี่ยมด้วยทิพยสุขบำเรออินทรีย์ทั้งหลาย. บทว่า ปจฺเจนฺติ

พาลา ทฺวยต อปสฺสิโน ความว่า ชนเหล่าใดเป็นคนพาลไม่เห็น

คือไม่เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมทั้งสอง ชนเหล่านั้นเป็นผู้ขวนขวาย

ในบาป เมือเสวยวิบากอันอำนวยความทุกข์ให้ ย่อมไหม้ คือ ย่อม

ได้รับทุกข์ เพราะกรรมในนรกเป็นต้น.

เปรตหมายเอาการย้อนถามว่า ก็ท่านเชื่อกรรมและผล

แห่งกรรมอย่างนี้ เพราะเหตุไร จึงเสวยทุกข์เห็นปานนี้ จึงกล่าว

คาถาว่า :-

กรรมที่ข้าพระองค์ทำไว้ในชาติก่อน ซึ่ง

เป็นเหตุให้ได้เครื่องนุ่งห่มเป็นต้น ในบัดนี้ มิได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 485

มีแก่ข้าพระองค์ และบุคคลผู้จะให้ผ้านุ่ง ผ้าห่ม

ที่นอน ที่นั่ง ข้าว และน้ำแก่สมณพราหมณ์

ทั้งหลาย แล้วอุทิศส่วนบุญมาให้แก่ข้าพระองค์

มิได้มี เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นผู้ปล่อย

กาย มีความเป็นผู้ฝืดเคือง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มตฺถิ กมฺมานิ สยกตานิ ความว่า

เพราะเหตุที่บุญกรรมอันตนเองกระทำไว้ในกาลก่อน อันเป็นเหตุ

ให้ได้รับเครื่องนุ่งห่มเป็นต้นในบัดนี้ ไม่ได้มีปรากฏแก่ข้าพระองค์.

บทว่า ทตฺวาปิ เม นตฺถิ โย อาทิเสยฺย ความว่า ผู้ใดพึงให้ทานแก่

สมณพราหมณ์แล้วพึงอุทิศส่วนบุญแก่ข้าพระองค์ว่า ขอบุญนี้จง

ถึงแก่เปรตโน้น ผู้นั้นย่อมไม่มี. บทว่า เตนมฺหิ นคฺโค กสิรา จ

วุตฺติ ความว่า เพราะเหตุทั้งสองนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นผู้เปลือยกาย

ไม่มีผ้าในบัดนี้ ทั้งมีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว เมื่อหวังจะให้เปรตนั้นได้

เครื่องนุ่งห่มเป็นต้น จึงกล่าวคาถาว่า :-

ดูก่อนยักษ์ เหตุอะไร ๆ ที่จะให้ท่านได้

เครื่องนุ่งห่มพึงมีอยู่หรือ ถ้าเหตุที่ควรเชื่อ พอ

จะฟังเป็นเหตุได้มีอยู่ ขอท่านจงบอกเหตุนั้น

แก่เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน ความว่า เหตุอะไร ๆ อัน

เป็นเหตุให้ท่านได้เครื่องนุ่งห่ม พึงมีอยู่หรือหนอแล. บทว่า ยทตฺถิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 486

ตัดเป็น ยทิ อตฺถิ แปลว่า ถ้ามีอยู่.

ลำดับนั้น เปรตเมื่อจะทูลบอกเหตุนั้นแก่พระราชา จึงได้

กล่าวคาถาว่า :-

ในนครเวสาลีนี้ ยังมีภิกษุรูปหนึ่ง นามว่า

กัปปิตกะ เป็นผู้ได้ฌาน มีศีลบริสุทธิ์ เป็นพระ-

อรหันต์ผู้หลุดพ้น มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว

สำรวมในพระปาติโมกข์ เยือกเย็น บรรลุผลอัน

สูงสุด มีวาจาน่าคบเป็นสหาย รู้ความประสงค์

ของผู้ขอ ว่าง่าย มีหน้าเบิกบาน เป็นผู้มาดีไปดี

พูดจาโต้ตอบดี เป็นเนื้อนาบุญของโลก มีปกติ

อยู่ด้วยเมตตา เป็นทักขิไณยบุคคลของเทวดา

และมนุษย์ สงบระงับ กำจัดมิจฉาวิตก ไม่มีทุกข์

ไม่มีตัณหา หลุดพ้นแล้ว ปราศจากลูกศร ไม่

ถือเราถือเขา ไม่คดกาย วาจา ใจ ไม่มีอุปธิ

สิ้นกิเลสเครื่องเนิ่นช้าทั้งปวง ได้บรรลุวิชชา ๓

มีความรุ่งเรือง ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ เพราะเป็น

ผู้มีคุณวิเศษอันปกปิดไว้ แม้ใคร ๆ เห็นก็ไม่รู้

ว่าเป็นคนดี ในหมู่ชนชาววัชชี เขาพากันเรียก

ท่านว่า มุนี รู้กันว่าท่านเป็นผู้ประเสริฐ นัก

แน่นไม่หวั่นไหว มีธรรมอันดีงาม เที่ยวไปใน

โลก ถ้าพระองค์ทรงถวายผ้าคู่หนึ่งหรือสองคู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 487

แก่ภิกษุนั้น แล้วทรงอุทิศส่วนกุศลให้ข้าพระองค์

เมื่อพระองค์ทรงถวายแล้ว และท่านรับผ้านั้น

แล้ว พระองค์ก็จะทรงเห็นข้าพระองค์ผู้นุ่งห่ม

เรียบร้อย.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กปฺปิตโก นาม เปรตกล่าว

หมายเอาพระอุปัชฌายะของท่านพระอุบาลีเถระภายในชฏิล ๑,๐๐๐

องค์. บทว่า อิธ ได้แก่ ในที่ใกล้นครเวสาลีนี้. บทว่า ฌายี ได้แก่

ผู้ได้ฌาน ด้วยฌานอันสัมปยุตต์ด้วยอรหัตตผล. บทว่า สีติภูโต ได้แก่

ผู้ถึงความเยือกเย็น ด้วยการเข้าไปสงบความกระวนกระวาย

และความเร่าร้อนแห่งกิเลสทั้งปวง. บทว่า อุตฺตมทิฏฺิปตฺโต

ได้แก่ ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิอันเป็นผลสูงสุด คือ อรหัตตผล.

บทว่า สขิโล แปลว่า ผู้มีวาจาอ่อนหวาน. บทว่า สุวโจ

แปลว่า ผู้ว่าง่าย. บทว่า สฺวาคโม แปลว่า ผู้มาดีไป . บทว่า

สุปฺปฏิมุตฺตโก แปลว่า ผู้มีวาจาหลุดพ้นด้วยดี อธิบายว่า ผู้มีปกติ

กล่าวหลุดพ้น. บทว่า อรณวิหารี แปลว่า ผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา-

วิหารธรรม.

บทว่า สนฺโต แปลว่า ผู้สงบกิเลส บทว่า วิธูโม ได้แก่

ปราศจากควัน คือ มิจฉาวิตก. บทว่า อนีโฆ แปลว่า ผู้ไม่มีทุกข์.

บทว่า นิราโส แปลว่า ผู้ไม่มีตัณหา. บทว่า มุตฺโต แปลว่า

ผู้หลุดพ้นจากภพทั้งปวง. บทว่า วิสลฺโล แปลว่า ผู้ปราศจาก

ลูกศรมีราคะเป็นต้น. บทว่า อมโม แปลว่า ผู้ปราศจากการถือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 488

ว่าเราว่าเขา. บทว่า อวงฺโ ก ได้แก่ ผู้ปราศจากการคด มีคดกาย

เป็นต้น. บทว่า นิรูปธี แปลว่า ผู้ละอุปธิมีกิเลสเครื่องปรุงแต่ง

เป็นต้น. บทว่า สพฺพปปญฺจขีโณ แปลว่า ผู้สิ้นธรรมเครื่องเนิ่นช้า

มีตัณหาเป็นต้น. บทว่า ชุติมา ได้แก่รุ่งเรืองด้วยญาณอัน

ยอดเยี่ยม. บทว่า อปฺปญฺาโต ได้แก่ ชื่อว่าผู้ไม่ปรากฏเพราะ

เป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง และเพราะเป็นผู้ปกปิดคุณ.

บทว่า ทิสฺวาปิ น จ สุชาโน ความว่า แม้เห็นโดยความ

ลึกซึ้ง ก็ไม่เข้าใจได้ดีว่า มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญา

อย่างนี้. บทว่า ชานนฺติ ต ยกฺขภูตา อเนช ความว่า ก็ท่านผู้

ประเสริฐ ย่อมรู้จักท่านผู้หนักแน่น คือผู้ปราศจากตัณหาว่า

เป็นพระอรหันต์. บทว่า กลฺยาณธมฺม ได้แก่ ผู้มีคุณมีศีลดีงาม

เป็นต้น.

บทว่า ตสฺส โยคว่า แก่ท่านพระกัปปิตกมหาเถระนั้น.

บทว่า เอกยุค ได้แก่ คู่ผ้าคู่หนึ่ง. บทว่า ทุเว วา ได้แก่ หรือว่า

คู่ผ้าสองคู่. บทว่า มมุทฺทิสิตฺวาน ได้แก่ อุทิศข้าพระองค์. บทว่า

ปฏิคฺคหีตานิ จ ตานิ อสฺสุ ความว่า และคู่ผ้าเหล่านั้นพึงเป็นของ

อันพระเถระนั้นรับแล้ว. บทว่า สนฺนทฺธทุสฺส ได้แก่ ผู้ทำการ

นุ่งห่มผ้า อธิบายว่า ได้ผ้าแล้ว คือนุ่งห่มผ้าแล้ว.

ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามถึงที่อยู่ของพระเถระว่า :-

บัดนี้ พระสมณะนั้นอยู่ประเทศไหน เรา

จักไปพบท่านได้ที่ไหน ใครจักพึงแก้ไขความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 489

สงสัยสนเท่ห์อันเป็นเสี้ยนหนามแห่งความเห็น

ของเราได้ในวันนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺมึ ปเทเส แปลว่า ในประเทศ

ไหน. บทว่า โย มชฺช ตัดเป็น โย อชฺช, ม อักษรทำการเชื่อมบท.

ลำดับนั้น เปรตจึงกล่าวคาถาว่า :-

ท่านอยู่ที่เมือง กปินัจจนา มีหมู่เทวดา

เป็นอันมากห้อมล้อม เป็นผู้มีนามจริงแท้ และเป็น

ไม่ประมาท แสดงธรรมีกถาอยู่ในหมู่ของตน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปินจฺจนาย ได้แก่ ในประเทศ

อันได้โวหารว่า กปินัจจนา เพราะเป็นที่ฟ้อนรำของพวกลิง. บทว่า

สจฺจนาโม ได้แก่ ผู้มีนามตามเป็นจริง คือผู้มีนามไม่ผิดแผกด้วย

คุณนามมีอาทิว่า ผู้ได้ฌาน มีศีลบริสุทธิ์ เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้

หลุดพ้น.

เมื่อเปรตกล่าวอย่างนั้น พระราชามีพระประสงค์จะเสด็จไป

ยังสำนักของพระเถระในขณะนั้นทีเดียว จึงตรัสคาถาว่า :-

เราจักไปทำตานที่ท่านสั่งนั้นเดี๋ยวนี้ จัก

ให้พระสมณะนั้นครองผ้า ขอท่านจงดูคู่ผ้า

เหล่านั้นอันพระสมณะนั้นรับประเคนแล้ว และ

เราจักคอยดูท่านนุ่งห่มผู้เป็นอันดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺสามิ แปลว่า จักกระทำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 490

ลำดับนั้น เปรตเมื่อจะแสดงว่า พระเถระย่อมแสดงธรรม

แก่เทพยดาทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เวลานี้ ไม่ใช่เวลาที่จะเข้าไปหา

จึงกล่าวคาถาว่า :-

ข้าแต่พระเจ้าลิจฉวี ข้าพระองค์ขอ

ประทานพระวโรกาส ขอพระองค์อย่าเสด็จเข้า

หาบรรพชิตในเวลาไม่ควร การเสด็จเข้าไปหา

บรรพชิตในเวลาไม่ควรนี้ ไม่เป็นธรรมเนียม

ที่ดีของกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย ก็เมื่อพระองค์

เสด็จเข้าไปหาในเวลาอันสมควร ก็จักทรงเห็น

ภิกษุนั้นนั่งอยู่ในที่สงัด ในที่นั้นเอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า

ทูลขอร้อง. บทว่า โว ลิจฺฉวิ เนส ธมฺโม ความว่า ข้าแต่พระเจ้า

ลิจฉวี การเสด็จเข้าไปหาบรรพชิตในเวลาอันไม่สมควรนี้ ไม่เป็น

ธรรมเนียมของพระองค์ผู้เป็นพระราชา. บทว่า ตตฺเถว คือใน

ที่นั้นนั่นเอง.

เมื่อเปรตกล่าวอย่างนี้ พระราชาทรงรับคำแล้ว เสด็จไป

พระราชนิเวศน์ของพระองค์ ให้คนถือคู่ผ้า ๘ คู่ ในเวลาอันสมควร

อีก แล้วเข้าไปหาพระเถระ ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ทรงกระทำปฏิสันถารแล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงรับคู่ผ้า

๘ คู่นี้. พระเถระได้ฟังดังนั้น เพื่อจะสั่งสนทนาด้วย จึงทูลว่า ข้าแต่

มหาบพิตร เมื่อก่อนพระองค์ไม่ทรงบำเพ็ญทาน มีแต่จะเบียดเบียน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 491

สมณพราหมณ์เท่านั้น มีพระประสงค์จะถวายผ้าอันประณีต

อย่างไรได้. พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว เมื่อจะตรัสบอกเหตุ

แก่ท่าน จึงได้ตรัสบอกถึงการที่เปรตมา และเรื่องที่เปรตกับ

พระองค์กล่าว แก่พระเถระ จึงได้ถวายผ้าแล้วอุทิศเปรต. ด้วย

เหตุนั้น เปรตจึงนุ่งห่มผ้าอันเป็นทิพย์ ประดับตกแต่ง ขึ้นม้า

ได้ปรากฏข้างหน้าพระเถระและพระราชา. พระราชาครั้นทรงเห็น

ดังนั้นแล้ว ทรงพอพระทัย เบิกบานพระหฤทัย เกิดปีติโสมนัส

ตรัสว่า เราเห็นผลแห่งกรรมโดยประจักษ์หนอ บัดนี้ เราจักไม่

กระทำความชั่ว จักกระทำแต่บุญเท่านั้น ดังนี้แล้ว ได้ทรงการทำ

สักขีพยานกับเปรตนั้น. และเปรตนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระเจ้า

ลิจฉวี ตั้งแต่วันนี้ ถ้าพระองค์ละอธรรม ประพฤติธรรมไซร้

เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพระองค์จักเป็นสักขีพยานแก่พระองค์ และ

ข้าพระองค์จักมายังสำนักของพระองค์ และขอพระองค์จงให้บุรุษ

ผู้ที่ถูกหลาวเสียบ หลุดจากหลาวโดยเร็ว เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้น

ก็จักรอดชีวิต ประพฤติธรรมพ้นจากทุกข์ และพระองค์จงเข้าไป

หาพระเถระตามกาลอันควร ฟังธรรม บำเพ็ญบุญดังนี้แล้วก็ไป.

ลำดับนั้นพระราชาไหว้พระเถระแล้ว เข้าไปยังพระนคร

รีบให้ประชุมบริษัทลิจฉวี ให้คนเหล่านั้นอนุญาต ให้บุรุษนั้น

พ้นจากหลาว รับสั่งพวกพยาบาลว่า จงทำบุรุษนี้ ให้หายโรค.

ก็แล ครั้นเข้าไปหาพระเถระแล้ว จึงตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ผู้ที่ทำกรรมอันเป็นเหตุไปสู่นรกแล้ว ดำรงอยู่ จะพึงพ้นจากนรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 492

หรือไม่หนอ. พระเถระทูลว่า พึงพ้นได้ มหาบพิตร ถ้าผู้นั้นทำบุญ

ให้มากก็พ้นได้ จึงให้พระราชาตั้งอยู่ในสรณะและศีล. พระราชา

ตั้งอยู่ในสรณะและศีลนั้นแล้ว ตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระ. ได้

เป็นพระโสดาบัน. ฝ่ายบุรุษผู้ถูกหลาวเสียบเป็นผู้หายโรค เกิด

ความสังเวช บวชในหมู่ภิกษุ ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตต์.

พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะแสดงเรื่องนั้น จึงได้กล่าวคาถา

ทั้งหลายว่า :-

พระเจ้าลิจฉวีตรัสอย่างนั้นแล้ว ก็แวด

ล้อมไปด้วยหมู่ข้าราชบริพาร เสด็จไปใน

พระนครนั้น ครั้นเสด็จเข้าไปยังพระนครนั้นแล้ว

จึงเสด็จเข้าไปยังที่ประทับ ในนิเวศน์ของ

พระองค์ ทรงกระทำกิจของคฤหัสถ์ทั้งหลาย

ทรงสรงสนานและทรงดื่มน้ำแล้ว ได้เวลาอัน

สมควร จึงทรงเลือกผ้า ๘ คู่จากหีบ รับสั่งให้

หมู่ข้าราชบริพารถือไป พระราชาครั้นเสด็จเข้า

ไปในประเทศนั้นแล้ว ได้ทอดพระเนตรเห็น

สมณะรูปหนึ่ง ผู้มีจิตสงบระงับกลับจากที่

โคจร เป็นผู้เยือกเย็น นั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ ครั้น

ได้ตรัสถามสมณะนั้น ถึงความเป็นผู้มีอาพาธ

น้อย การอยู่สำราญ และตรัสบอกนามของ

พระองค์ให้ทรงทราบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 493

เป็นกษัตริย์ลิจฉวี อยู่ในเมืองเวสาลี ชาวลิจฉวี

เรียกดิฉันว่า อัมพสักขระ ขอท่านจงรับผ้า ๘ คู่

นี้ ของดิฉัน ดิฉันขอถวายท่าน ดิฉันมาในที่นี้

ด้วยความประสงค์เพียงเท่านี้ ดิฉันมีความ

ปลาบปลื้มใจนัก.

พระเถระทูลถามว่า :-

สมณะพราหมณ์ทั้งหลาย พากันละเว้น

พระราชนิเวศน์ของมหาบพิตร แต่ที่ไกลทีเดียว

เพราะพระราชนิเวศน์ของมหาบพิตร บาตรย่อม

แตก แม้สังฆาฏิก็ถูกเขาฉีกทำลาย เมื่อก่อน

สมณะทั้งหลาย มีศีรษะห้อยลง ตกลงไปจาก

เขียงเท้า มหาบพิตรได้เบียดเบียนบรรพชิต

เช่นนี้ สมณะทั้งหลายเคยถูกมหาบพิตร ทำการ

เบียดเบียนแล้ว มหาบพิตร ไม่เคยพระราชทาน

แม้แต่น้ำมัน สักหยดหนึ่งเลย ไม่ตรัสบอกทาง

ให้คนหลงทาง ชิงเอาไม้เท้าจากมือคนตาบอด

เสียเอง มหาบพิตรเป็นคนตระหนี่ ไม่สำรวม

เช่นนี้ แต่บัดนี้ เพราะเหตุอะไร มหาบพิตร ทรง

เป็นผลอะไร จึงทรงจำแนกแจกจ่ายกับอาตมภาพ

ทั้งหลายเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 494

พระราชาตรัสว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันขอรับผิด ดิฉัน

ได้เบียดเบียนสมณะทั้งหลาย ดังคำที่ท่านพูด

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉัน มีความประสงค์จะล้อเล่น

ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย แต่กรรมอันชั่วช้านี้

ดิฉันทำแล้ว เด็กหนุ่มเปลือยกาย มีโภคะน้อย

ได้สั่งสมบาป เพื่อจะล้อเล่น จึงต้องเสวยทุกข์

ก็ทุกข์อะไรเล่าที่เป็นทุกข์แก่ความเปลือยกาย

ย่อมมีแก่เปรตนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเห็น

เหตุอันน่าสังเวชและเศร้าหมองนั้นแล้ว จึงให้

ทาน เพราะเหตุนั้นเป็นปัจจัย ขอท่านจงรับผ้า

๘ คู่นี้ ทักษิณาที่ดิฉันถวายนี้ จงสำเร็จผลแก่

เปรตนั้น.

พระเถระทูลว่า :-

เพราะการให้ทาน นักปราชญ์ทั้งหลายมี

พระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญไว้โดยมากแท้

และเมื่อพระองค์ถวายทานวัตถุ จงอย่ามีความ

หมดเปลืองไปเป็นธรรม อาตมภาพรับผ้า ๘ คู่

ของมหาบพิตร ขอทักษิณาทานเหล่านี้ จงสำเร็จ

ผลแก่เปรตนั้น ลำดับนั้น พระเจ้าลิจฉวี ทรง

ชำระพระหัตถ์ และพระบาทแล้ว ทรงถวายผ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 495

๘ คู่ แก่พระเถระ พอพระเถระรับประเคนผ้า

เหล่านั้นแล้ว พระราชาทรงเห็นเปรต นุ่งห่มผ้า

เรียบร้อย ลูบไล้ด้วยจุณจันทน์แดง มีผิวพรรณ

เปล่งปลั่งประดับประดา นุ่งผ้าดี ขี่ม้าอาชาไนย

มีบริวารห้อมล้อม สำเร็จมหิทธิฤทธิ์ของเทวดา

ครั้นทรงเห็นเช่นนั้นแล้ว ทรงปลื้มพระหฤทัย

เกิดปีติปราโมทย์ มีพระหฤทัยร่าเริง เบิกบาน

พระเจ้าลิจฉวีได้ทรงเห็นกรรมและวิบากแห่ง

กรรม แจ้งประจักษ์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึง

เสด็จเข้าไปใกล้แล้วตรัสกะเปรตนั้นว่า เราจัก

ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เราควรให้ทาน

ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ ดูก่อนเปรต ท่านมี

อุปการะแก่เรามาก.

เปรตนั้นกราบทูลว่า :-

ข้าแต่กษัตริย์ลิจฉวี ก็พระองค์ได้พระ-

ราชทานแก่ข้าพระองค์ส่วนหนึ่ง แต่การพระ-

ราชทานนั้น มิได้ไร้ผล ข้าพระองค์เป็นเทวดา

จักทำความเป็นสหายกับพระองค์ผู้เป็นมนุษย์.

พระราชาตรัสว่า :-

ท่านเป็นคติ เป็นเผ่าพันพันธุ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยว

เป็นมิตรและเป็นเทวดาของเรา ดูก่อนเปรต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 496

เราขอทำอัญชลีท่าน ปรารถนาเพื่อจะเห็นท่าน

แม้อีก.

เปรตกราบทูลว่า :-

ถ้าพระองค์จักเป็นผู้ไม่มีศรัทธา มีความ

ตระหนี่ มีจิตไม่เลื่อมใส พระองค์จักไม่ได้เห็นข้า-

พระองค์และข้าพระองค์ก็จักไม่ได้เห็น ไม่ได้

เจรจากับพระองค์อีก ถ้าพระองค์จักทรงเคารพ

ธรรม ทรงยินดีในการบริจาคทาน ทรงสงเคราะห์

ทรงเป็นดังบ่อน้ำของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย

ด้วยอาการอย่างนี้ พระองค์ก็จักได้ทรงเห็น

ข้าพระองค์ และข้าพระองค์ จักได้เห็น ได้เจรจา

กับพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยบุรุษนี้

จากหลาวโดยเร็วเถิด เพราะการปล่อยบุรุษนี้

เราทั้งสองจักได้เป็นสหายกัน ข้าพระองค์เข้าใจ

ว่า เราทั้งสองจักได้เป็นสหายกันและกัน เพราะ

เหตุแห่งบุรุษผู้ถูกหลาวเสียบ ก็บุรุษผู้ถูกหลาว

เสียบนี้ อันพระองค์ทรงรีบปล่อยแล้ว ถึงเป็นผู้

ประพฤติธรรมโดยเคารพ พึงพ้นจากนรกนั้น

แน่นอน พึงพ้นจากกรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา

พระองค์เสด็จข้าไปหากัปปิตกภิกษุแล้ว ทรง

จำแนกทานกะท่าน ในเวลาที่สมควร จงเสด็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 497

เข้าไปหาแล้ว ตรัสถามด้วยพระองค์เอง ท่าน

จงกราบทูลเนื้อความนั้น แก่พระองค์ ก็พระองค์

ทรงพระประสงค์บุญ มีจิตไม่ประทุษร้าย ก็เชิญ

เสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้นเถิด ท่านจักแสดงธรรม

ทั้งปวง ที่ทรงสดับแล้ว และยังไม่ได้ทรงสดับ

แก่พระองค์ ตามความรู้เห็น พระองค์ได้ทรงฟัง

ธรรมนั้นแล้ว จักทรงเห็นสุคติ.

พระเจ้ารหัส ทรงเจรจาทำความเป็นสหาย

กับเทวดานั้นแล้ว เสด็จไป ส่วนเปรตนั้น ได้

กล่าวกะบริษัทแห่งกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย พร้อม

กับบุตรของตน ซึ่งนั่งประชุมกันอยู่ว่า ท่าน

ผู้เจริญทั้งหลาย ขอจงฟังคำอย่างหนึ่งของเรา

เราจักเลือกพร จักได้ประโยชน์ บุรุษที่จักเสียบ

ด้วยหลาว มีกรรมอันหยาบช้า มีอาชญาอันตั้ง

ไว้แล้ว ถูกหลาวร้อยจะตายหรือไม่ตาย ประมาณ

๒๐ ราตรีเท่านั้น เดี๋ยวนี้ เราจักปล่อยเขาตาม

ความชอบใจของเรา ขอหมู่ท่านจงอนุญาต จง

รีบปล่อยบุรุษนั้นและบุรุษอื่นที่พระราชารับสั่ง

ให้ลงอาชญา โดยเร็วเถิด ใครพึงบอกท่าน ผู้

ทำกรรมอย่างนั้น ท่านรู้อย่างไร จึงทำอย่างนั้น

หมู่ท่านย่อมอนุญาตตามชอบใจ พระเจ้าลิจฉวี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 498

เสด็จเข้าไปสู่ประเทศนั้นแล้ว รีบปล่อยบุรุษที่

ถูกเสียบด้วยหลาว โดยเร็ว และได้ตรัสกะบุรุษ

นั้นว่า อย่ากลัวเลยเพื่อน และรับสั่งให้หมอ

พยาบาล แล้วเสด็จไปหากัปปิตกภิกษุแล้ว ทรง

ถวายทานกับท่านในเวลาอันสมควร มีพระ

ประสงค์จะทรงทราบเหตุ จึงเสด็จเข้าไปใกล้

แล้วตรัสถามด้วยพระองค์เองว่า บุรุษผู้ถูกเสียบ

ด้วยหลาว มีกรรมอันหยาบช้า มีอาชญาอันตั้ง

ไว้แล้ว ถูกหลาวร้อย จักตายหรือไม่ตาย ประ-

มาณ ๒๐ ราตรีเท่านั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้

ดิฉันปล่อยเขาไปแล้ว เขาไปบอกเปรตนั้น เหตุ

อะไร ๆ ที่จะไม่ต้องไปสู่นรกนั้น พึงมีหรือหนอ

ถ้ามีขอท่านโปรดบอกแก่ดิฉัน ดิฉันรอฟังเหตุ

ที่ควรเชื่อถือจากท่าน.

กัปปิตกภิกษุทูลว่า :-

ความพินาศแห่งกรรมเหล่านั้น ย่อมไม่มี

ความพินาศในโลกนี้ เกิดขึ้นเพราะความไม่รู้แจ้ง

ถ้าเขาพึงเป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรม

ทั้งหลาย โดยเคารพตลอดคืนและวัน เขาพึงพ้น

จากนรกนั้นได้แน่ กรรมอันเว้นจากการให้ผล

พึงมี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 499

พระราชาตรัสว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผู้มีปัญญากว้างขวาง

ประโยชน์ของบุรุษนี้ ดิฉันรู้ทั่วถึงแล้ว บัดนี้

ขอท่านอนุเคราะห์ดิฉันบ้าง ขอท่านได้กล่าว

ตักเตือนพร่ำสอนดิฉัน โดยวิธีที่ดิฉัน จะไม่พึง

ไปสู่นรกด้วยเถิด.

กัปปิตกภิกษุทูลว่า :-

วันนี้ ขอมหาบพิตร จงมีพระหทัยเลื่อมใส

ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็น

สรณะ จงทรงสิกขาบท อย่าให้ขาดและด่าง-

พร้อย จงทรงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์

ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของพระองค์ ไม่ทรง

พูดเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์ และทรงสมาทาน

อุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอัน

ประเสริฐ เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร จงทรงพระ-

ราชทานจีวร บิณฑบาต ที่นอนและที่นั่ง คิลาน-

ปัจจัย ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ของกิน ผ้า เสนาสนะ

ในภิกษุผู้มีจิตซื่อตรงทั้งหลาย บุญย่อมเจริญทุก

เมื่อ ทรงอังคาสภิกษุทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำ ด้วยข้าว

และน้ำ บุญย่อมเพิ่มพูนทุกเมื่อ เมื่อบุคคลเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 500

ไม่ประมาท ประพฤติธรรมโดยเคารพ ตลอดคืน

และวันอย่างนี้ พึงพ้นจากนรกนั้น กรรมที่เว้น

จากการให้ผลพึงมี.

พระราชาตรัสว่า :-

วันนี้ ดิฉันมีจิตเลื่อมใส ขอถึงพระ-

พุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ

ขอสมาทานสิกขาบท ๕ ประการ ไม่ให้ขาด

ไม่ให้ด่างพร้อย ของดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลัก-

ทรัพย์ ยินดีด้วยภรรยาของตน ไม่กล่าวคำเท็จ

ไม่ดื่มน้ำเมา และจักสมาทานอุโบสถศีล อัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐเป็น

กุศล มีสุขเป็นกำไร จักถวายจีวร บิณฑบาต

ที่นอน ที่นั่ง คิลานปัจจัย ข้าวน้ำ ของเคี้ยว

ของกิน ผ้าและเสนาสนะ แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้

สมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต

จักไม่กำหนัด ยินดีแล้วในศาสนา ของพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย. พระเจ้าลิจฉวี ทรงพระนาม

ว่า อัมพสักขระ ได้เป็นอุบาสกคนหนึ่ง ในเมือง

เวสาลี ทรงมีศรัทธา มีพระหทัยอ่อนโยน ทรง

ทำอุปการะแก่ภิกษุ ทรงบำรุงสงฆ์ โดยความ

เคารพ ในกาลนั้น บุรุษผู้ถูกเสียบด้วยหลาว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 501

หายโรค เป็นสุขสบายดี เข้าถึงบรรพชา แม้ชน

ทั้งสองอาศัยกัปปิตกภิกษุผู้ประเสริฐ ได้บรรลุ

สามัญญผล การคบหาสัปบุรุษเช่นนี้ ย่อมมีผล

มากตั้งร้อย แก่วิญญูชนผู้รู้แจ้ง บุรุษผู้ถูกเสียบ

ด้วยหลาว ได้บรรลุผลอันยอดเยี่ยม ส่วนพระเจ้า

อัมพสักขระ ได้บรรลุโสดาปัตติผล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาสูปคจฺฉิตฺถ แปลว่า เข้าไปยัง

ที่ประทับ. บทว่า คิหิกิจฺจานิ ได้แก่ กิจแห่งขุมทรัพย์ที่ผู้ครองเรือน

พึงกระทำ. บทว่า วิเจยฺย ได้แก่ พึงเลือกถือเอาผ้าดี ๆ. บทว่า

ปฏิกฺกนฺต แปลว่า กลับจากบิณฑบาต. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

กลับจากโคจร. บทว่า อโวจ ความว่า ได้ตรัสคำมีอาทิว่า ท่าน

ผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเจ้าลิจฉวีในเมืองเวสาลี.

บทว่า วิทาลยนฺติ แปลว่า ย่อมฉีกทำลาย. บทว่า

ปาทกุาริกาหิ ได้แก่ จากเขียง คือเท้า. บทว่า ปาตยนฺติ แปลว่า

ย่อมตกลง.

บทว่า ติเณน แปลว่า แม้ด้วยปลายหญ้า. บทว่า มูฬฺหสฺส

มคฺคมฺปิ น ปาวทาสิ ความว่า พระองค์ไม่ได้บอกแม้ทางแก่คน

หลงทางว่า ด้วยคิดว่า บุรุษนี้จงวนเวียนไปทางโน้นทางนี้ ด้วยอาการ

อย่างนี้. จริงอยู่ พระราชานี้เป็นผู้มักล้อเล่น. บทว่า สยมาทิยาสิ

ความว่า ตนเองชิงเอาไม้เท้าจากมือของคนตาบอด. บทว่า สวิภาค

กโรสิ ความว่า ทรงแบ่งส่วนหนึ่งจากวัตถุที่ตนบริโภคให้ไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 502

ด้วยบทว่า ปจฺเจมิ ภนฺเต ย ตฺว วเทสิ นี้ พระราชาทรง

แสดงว่า ท่านผู้เจริญ ดิฉันรู้เฉพาะคำที่ท่านกล่าวโดยนัยมีอาทิว่า

บาตรแตก สิ่งนั้นทั้งหมดนั่นแหละ ดิฉันทำและให้ผู้อื่นทำ. บทว่า

เอตมฺปิ ได้แก่ สิ่งนี้ดิฉันแม้ทำก็โดยประสงค์จะล้อเล่น.

บทว่า ขิฑฺฑา แปลว่า ด้วยการล้อเล่น. บทว่า ปสวิตฺวา

แปลว่า ก่อแล้ว. บทว่า เวเทติ แปลว่า ย่อมเสวย. บทว่า

อสมตฺตโภคี แปลว่า ผู้มีโภคะไม่บริบูรณ์. เพื่อจะแสดงว่า เปรต

เป็นผู้มีโภคะไม่บริบูรณ์นั้นนั่นแหละ จึงตรัสว่า เด็กหนุ่ม เป็นต้น.

บทว่า นคฺคนิยสฺส แปลว่า เป็นคนเปลือย. บทว่า กึ สุ ตโต

ทุกฺขตรสฺส โหติ ความว่า ก็ทุกข์อะไรเล่าที่เป็นทุกข์กว่าความ

เป็นคนเปลือยของเปรตนั้น. บทว่า ยกฺขสฺสิมา คจฺฉนฺตุ ทกฺขิณาโย

ความว่า ขอทักษิณา คือผ้าที่ดิฉันให้นี้ จงสำเร็จแก่เปรต.

บทว่า พหุธา ปสตฺถ ความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายมีพระ-

พุทธเจ้าเป็นต้น พรรณนาไว้โดยประการมากมาย. บทว่า

อกฺขยธมฺมมตฺถุ แปลว่า ขอทานวัตถุนี้ จงอย่าสิ้นไปเป็นธรรม.

บทว่า อาจมยิตฺวา ได้แก่ บ้วนปากก่อนล้างมือและล้างเท้า.

บทว่า จนฺทนสารลิตฺต แปลว่า ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์. บทว่า

อุฬารวณฺณ แปลว่า มีรูปอันประเสริฐ. บทว่า ปวาริต แปลว่า

แวดล้อมด้วยบริพารผู้มีความประพฤติคล้อยตาม. บทว่า ยกฺข-

มหิทฺธิปตฺต ได้แก่ ผู้มียักขฤทธิ คือเทพฤทธิ์ใหญ่. บทว่า ตเมนนโวจ

ตัดเป็น ตเมน อโวจ ได้ตรัสคำนี้นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 503

ด้วยบทว่า เอกเทส อทาสิ ท่านกล่าวหมายถึงการให้ผ้า

อันเป็นส่วนหนึ่งในบรรดาปัจจัย ๔. บทว่า สกฺขึ ได้แก่ ความ

เป็นพยาน.

บทว่า มมาสิ ตัดเป็น เม อาสิ. บทว่า เทวตา เม มีวาจา

ประกอบความว่า ท่านได้เป็นเทวดาของเรา.

บทว่า วิปฺปฎิปนฺนจิตฺโต ได้แก่ มีจิตดำเนินตามมิจฉาทิฏฐิ

อธิบายว่า ผู้ละปฏิปทาอันชอบธรรม แล้วดำเนินปฏิปทาอันไม่

ชอบธรรม. บทว่า ยโตนิทาน ได้แก่ มีสิ่งใดเป็นนิมิต คือ มายัง

สำนักของผู้ใดเป็นเหตุ.

บทว่า สวิภชิตฺวา แปลว่า ทำการจำแนกทาน. บทว่า

สย มุเขนูปนิสชฺช ปุจฺฉ ความว่า ท่านจงอย่าส่งคนอื่นไป จงเข้า

ไปนั่งถามเฉพาะหน้าเลย.

บทว่า สนฺนิสินฺน แปลว่า นั่งประชุมกัน. บทว่า ลภิสฺสามิ

อตฺถ ความว่า เราจักได้ประโยชน์แม้ที่เราปรารถนา. บทว่า

ปณิหิตทณฺโฑ แปลว่า ได้ตั้งอาญาในตัวไว้. บทว่า อนุสตฺตรูโป

ได้แก่ มีสภาวะเกี่ยวข้องในราชา. บทว่า วีสติรตฺติมตฺตา ความว่า

ล่วงไปประมาณ ๒๐ ราตรี. บทว่า ตาห ตัดเป็น ต อห. บทว่า

ยถามตึ แปลว่า ตามความชอบใจของเรา.

บทว่า เอตญฺจ อญฺญฺจ ความว่า บุรุษนี้ที่ถูกเสียบหลาว

และบุรุษอื่นที่ถูกลงราชอาชญา. บทว่า ลหุ ปมุญฺจ แปลว่า ปล่อย

โดยเร็ว. บทว่า โก ต วเทถ ตถา กโรนฺต ความว่า ใครใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 504

แคว้นวัชชีนี้พึงบอกผู้ทำกรรมอันชอบธรรมนั้นว่า จงอย่าปล่อย

อธิบายว่า ถึงใคร ๆ ก็ไม่ได้เพื่อจะกล่าวอย่างนั้น.

บทว่า ติกิจฺฉกานญฺจ ได้แก่ ผู้เยียวยา.

บทว่า ยกฺขสฺส วโจ ได้แก่ คำของเปรต, ท่านแสดงว่า

ท่านผู้เจริญ ดิฉันได้กระทำอย่างนั้น ตามคำของเปรตนั้น.

บทว่า ธมฺมานิ ได้แก่ ธรรมคือบุญอันสามารถครอบงำ

กรรมชั่วที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อน บทว่า กมฺม สิยา อญฺตฺร

เวทนีย ได้แก่ กรรมที่อำนวยผลให้เกิดในกรรมชั่วนั้น ชื่อว่า เป็น

อโหสิกรรม ส่วนกรรมที่อำนวยผลให้เกิดในภพต่อ ๆ ไป ย่อม

เป็นผลที่จะพึงเสวยในภพอื่น คือ ภพต่อ ๆ ไป ในเมื่อยังเป็นไป

ในสังสารวัฏ.

บทว่า อิมญฺจ พระเถระกล่าวเพราะกระทำอธิบายว่า คำ

ที่ตนกล่าว ใกล้หรือประจักษ์แก่สิกขานั้น. บทว่า อริย อฏฺงฺคว-

เรนุเปต ความว่า อุโบสถศีลอันสูงสุดอันเข้าถึง คือประกอบด้วย

องค์ ๘ มีเจตนาอันงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่าประเสริฐ

เพราะอรรถว่าบริสุทธิ์. บทว่า กุสล ได้แก่ ไม่มีโทษ. บทว่า

สุขุทฺริย แปลว่า มีสุขเป็นผล.

บทว่า สทา ปุญฺ ปวฑฺฒติ ความว่า เมื่อบุคคลทำบุญ

คราวเดียวแล้วไม่อิ่มใจว่า พอละด้วยบุญเพียงเท่านี้ แล้วจึงบำเพ็ญ

สุจริตต่อ ๆ ไป บุญของเขา ย่อมเจริญยิ่งตลอดกาล หรือเมื่อเขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 505

บำเพ็ญสุจริตต่อ ๆ มา ผลบุญ คือ บุญย่อมเจริญ คือ เต็มเปี่ยม

ยิ่ง ๆ ขึ้น.

เมื่อพระเถระกล่าวอย่างนี้ พระราชามีพระหทัยสะดุ้งจาก

ทุกข์ ในอบาย มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย และบุญธรรม

เจริญยิ่ง ต่อแต่นั้น จึงสมาทาน สรณะและศีล จึงตรัสคำมีอาทิว่า

ดิฉัน ขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะในวันนี้แหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตาทิโส ได้แก่ มีรูปตามที่กล่าว

แล้วนี้. บทว่า เวสาลิย อญฺตโร อุปาสโก ความว่า เป็นอุบาสก

คนหนึ่ง ในบรรดาอุบาสกหลายพันคนในเมืองเวสาลี. บทว่า สทฺโธ

เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงความที่พระเจ้าอัมพสักขระนั้น เป็น

โดยประการอื่นจากภาวะที่มีในก่อน เพราะอาศัยกัลยาณมิตร. จริงอยู่

ในกาลก่อน พระเจ้าอัมพสักขระนั้น เป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคน

หยาบช้า ด่าภิกษุทั้งหลาย และไม่ใช่เป็นอุปัฏฐากของสงฆ์ แต่บัดนี้

เป็นผู้มีศรัทธาอ่อนโยน และอุปัฏฐากภิกษุสงฆ์ในกาลนั้น โดย

เคารพ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า การกโร ได้แก่ผู้กระทำอุปการะ.

บทว่า อุโภปิ ได้แก่ ชนทั้ง ๒ คน คือ บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบ

และพระราชา. บทว่า สามญฺญผลานิ อชฺฌคุ ได้แก่ ผู้บรรลุ

สามัญญผลตามสมควร. เพื่อจะแสดงตามสมควร. ท่านจึงกล่าวคำนี้

ไว้ว่า บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบ ได้บรรลุพระอรหัตตผล ส่วนพระเจ้า

อัมพสักขระ ได้บรรลุผลน้อยกว่า. ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 506

บทว่า ผล กนิฏ ท่านกล่าวหมายถึงโสดาปัตติผล แต่ในที่นี้ เมื่อ

ว่าโดยอรรถ คำที่ท่านไม่ได้จำแนกไว้ รู้ได้ง่ายทีเดียว.

ท่านพระกัปปิตก ได้ไปถึงกรุงสาวัตถี เพื่อถวายบังคม

พระศาสดา จึงได้กราบทูลความที่พระราชา เปรต และตน กล่าว

แล้วอย่างนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดา ทรงกระทำ

เรื่องนั้น ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึง

พร้อมแล้ว เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชน ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอัมพสักขรเปตวัตถุที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 507

๒. เสรีสกเปตวัตถุ

[๑๒๒] ขอท่านทั้งหลายจงฟังคำเจรจาของเทวดา และ

พวกพ่อค้า ฯลฯ

(พึงดูในเรื่องที่ ๑๐ แห่งสุนิกขิตตวรรคที่ ๗ ในวิมานวัตถุ)

จบ เสริสสกเปตวัตถุที่ ๒

อรรถกถาเสรีสกเปตวัตถุที่ ๒

เรื่องเสรีสกเปรตนี้ มีคำเริ่มต้น สุโณถ ยกฺขสฺส วาณิชามญฺจ

ดังนี้. เพราะเหตุที่เรื่องนั้น ไม่พิเศษไปกว่าเรื่องเสรีสกวิมาน

ฉะนั้น คำที่ควรจะกล่าวในอัตถุปปัตติเหตุ และในคาถานั้น พระ-

อรรถกถาจารย์ ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาวิมานวัตถุ ชื่อ

ปรมัตถทีปนี ฉะนั้น พึงทราบโดยนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถา

วิมานวัตถุนั้น ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาเสรีสกเปตวัตถุที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 508

๓. นันทกเปตวัตถุ

ว่าด้วยขัดขวางการให้ทานไปเกิดเป็นเปรต

[๑๒๓] มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนาม

ว่าปิงคละเป็นใหญ่ในสุรัฏฐประเทศ เสด็จไป

เฝ้าเจ้าพระโมริยะแล้ว กลับมาสู่สุรัฏฐประเทศ

เสด็จมาถึงที่มีเปือกตม ในเวลาเที่ยงซึ่งเป็น

เวลาร้อน ทอดพระเนตรเห็นทางอันรื่นรมย์ เป็น

ทางที่เปรตเนรมิตไว้ จึงตรัสบอกนายสารถีว่า

ทางนี้น่ารื่นรมย์ เป็นทางปลอดภัย มีความสวัสดี

ไม่มีอุปัทวันตราย ดูก่อนนายสารถี ท่านจงตรง

ไปทางนี้แหละ เมื่อเราไปโดยทางนี้ จักถึงเขต

เมืองสุรัฏฐะเร็วทีเดียว พระเจ้าสุรัฏฐ์ได้เสด็จไป

โดยทางนั้น พร้อมด้วยจตุรงคเสนา บุรุษคนหนึ่ง

สะดุ้งตกใจกลัว ได้กราบทูลพระเจ้าสุรัฏฐ์ว่า

พวกเราเดินทางผิด เป็นทางน่ากลัวขนพอง

สยองเกล้า เพราะทางปรากฏเฉพาะข้างหน้า แต่

ข้างหลังไม่ปรากฏ พวกเราเดินทางผิดเสียแล้ว

พวกเราเห็นจะเดินมาใกล้สำนักพวกอมนุษย์

กลิ่นอมนุษย์ฟุ้งไป ข้าพระองค์ได้ยินเสียงอัน

พิลึกน่าสะพึงกลัว พระเจ้าสุรัฏฐ์ทรงสะดุ้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 509

พระทัย ตรัสกะนายสารถีว่า พวกเราเดินทางผิด

เสียแล้ว เป็นทางน่ากลัวขนพองสยองเกล้า

เพราะทางปรากฏเฉพาะข้างหน้า แต่ข้างหลังไม่

ปรากฏ พวกเราเดินทางผิด พวกเราเห็นจะเดิน

มาใกล้สำนักพวกอมนุษย์ กลิ่นอมนุษย์ย่อมฟุ้ง

ไป เราได้ยินเสียงอันน่าสะพึงกลัว แล้วเสด็จ

ขึ้นสู่คอช้าง ทอดพระเนตรไปในทิศทั้ง ๔ ได้

ทรงเห็นต้นไทรต้นหนึ่ง มีร่มเงาชิดสนิทดี เขียว

ชอุ่มดุจสีเมฆ มีสีและสัณฐานคล้ายเมฆ จึงรับสั่ง

กะนายสารถีว่า ป่าใหญ่เขียวชอุ่มดุจสีเมฆ มีสี

และสัณฐานคล้ายเมฆปรากฏอยู่นั่นใช่ไหม.

นายสารถีกราบทูลว่า :-

ข้าแต่พระมหาราชา นั่นเป็นต้นไทร มี

ร่มเงาชิดสนิทดี เขียวชอุ่ม มีสีและสัณฐาน

คล้ายเมฆ.

พระเจ้าสุรัฏฐ์เสด็จเข้าไปจนถึงต้นไทร

ใหญ่ที่ปรากฏอยู่ แล้วเสด็จลงจากคอช้าง เสด็จ

เข้าไปสู่ต้นไทร ประทับนั่งที่โคนต้น พร้อมด้วย

หมู่อำมาตย์ราชบริพาร ได้ทอดพระเนตรเห็น

ขันน้ำมีน้ำเต็ม และขนมอันหวานอร่อย บุรุษ

มีเพศดังเทวดา ประดับด้วยสรรพาภรณ์ เข้าไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 510

เฝ้าพระเจ้าสุรัฏฐ์แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระ-

หาราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้ว และพระองค์

ไม่ได้เสด็จมาร้าย ข้าแต่พระองค์ผู้กำจัดศัตรู

เชิญพระองค์เสวยน้ำและขนมเถิด พระเจ้าข้า.

พระเจ้าสุรัฏฐ์พร้อมด้วยอำมาตย์และข้า-

ราชบริพาร พากันดื่มน้ำและกินขนมแล้ว จึง

ถามว่า ท่านเป็นเทพ เป็นคนธรรพ์ หรือเป็น

ท้าวสักกปุรินททะ พวกเราไม่รู้จักท่าน จึงจะ

ขอถาม พวกเราพึงรู้จักท่านอย่างไร.

นันทกเปรตกราบทูลว่า :-

ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์ไม่ใช่

เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ

ข้าพระองค์เป็นเปรต จากประเทศสุรัฏฐ์มาอยู่

ที่นี่.

พระราชาตรัสถามว่า :-

เมื่อก่อน ท่านอยู่ในประเทศสุรัฏฐ์ มีปกติ

อย่างไร มีความประพฤติอย่างไร ท่านมีอานุภาพ

อย่างนี้ เพราะพรหมจรรย์อะไร.

นันทกเปรตตอบว่า :-

ข้าแต่พระมหาราชาผู้กำจัดศัตรู ผุ้ผดุงรัฐ

ให้เจริญ ขอพระองค์ อำมาตย์ราชบริพารและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 511

ปุโรหิต จงสดับฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ

เมื่อก่อน ข้าพระองค์เป็นบุรุษอยู่ในเมืองสุรัฏฐ์

เป็นคนใจบาป เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นคนทุศีล

ตระหนี่ บริภาษสมพราหมณ์ทั้งหลาย ห้าม

ปรามมหาชนซึ่งพากันทำบุญให้ทาน ทำอันตราย

แก่หมู่ชนเหล่าอื่นผู้กำลังให้ทาน ได้ห้ามว่า

ผลแห่งทานไม่มี ผลแห่งการสำรวมจักมีที่ไหน

ใคร ๆ ผู้ชื่อว่าเป็นอาจารย์ไม่มี ใครจักฝึกฝน

บุคคลผู้ไม่เคยฝึกฝนแล้วเล่า สัตว์ทั้งหลายเป็น

สัตว์เสมอกันทั้งสิ้น การเคารพอ่อนน้อมต่อ

ผู้เจริญในตระกูล จักมีแต่ที่ไหน กำลังหรือความ

เพียรไม่มี ความพากเพียรของบุรุษจักมีแต่ที่ไหน

ผลทานไม่มี ทานและศีลไม่ทำบุคคลผู้มีเวรให้

หมดจดได้ สัตว์ย่อมได้ของที่ควรได้ สัตว์เมื่อ

จะได้สุขหรือทุกข์ ย่อมได้สุขหรือทุกข์อันเกิด

แต่ที่น้อมมาเอง มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย

ไม่มี โลกอื่นจากโลกนี้ก็ไม่มี ทานอันบุคคลให้

แล้วย่อมไม่มีผล พลีกรรมไม่มีผล แม้ทานอัน

บุคคลตั้งไว้ดีแล้วก็ไม่มีผล บุรุษใดฆ่าบุรุษอื่น

และตัดศีรษะบุรุษอื่น จะจัดว่าบุรุษนั้นทำลาย

ชีวิตของผู้อื่นหาได้ไม่ ไม่มีใครฆ่าใด เป็นแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 512

ศาตราย่อมเข้าไปในระหว่างอันเป็นช่องกาย

๗ ช่องเท่านั้น ชีพของสัตว์ทั้งหลายไม่ขาดสูญ

ไม่แตกทำลาย บางคราวมี ๘ เหลี่ยม บางคราว

กลมเหมือนงบน้ำอ้อย บางคราวสูงตั้ง ๕๐๐

โยชน์ ใครเล่าสามารถตัดชีพให้ขาดได้ เหมือน

หลอดด้ายอันบุคคลซัดไปแล้ว. หลอดด้ายนั้น

อันด้ายคลายอยู่ ย่อมกลิ้งไปได้ ฉันใด ชีพนั้น

ก็ฉันนั้น ย่อมแหวกหนีไปจากร่างได้ บุคคลผู้

ออกจากบ้านนี้ไปเข้าบ้านอื่น ฉันใด ชีพนั้นก็

ออกจากร่างนี้แล้วไปเข้าร่างอื่น ฉันนั้นเหมือน

กัน บุคคลออกจากเรือนหลังนี้แล้วไปเข้าเรือน

หลังอื่น ฉันใด แม้ชีพนั้นก็ออกจากร่างนี้แล้ว

เข้าไปอาศัยร่างอื่นฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสิ้น

กำหนด ๘ ล้าน ๔ แสนมหากัป สัตว์ทั้งหลายทั้ง

ที่เป็นพาล ทั้งที่เป็นบัณฑิต จักยังสงสารให้

สิ้นไป แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เอง สุขทุกข์

เหมือนตักตวงได้ด้วยทะนานและกะเช้า พระ-

ชินเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงสุขทุกข์ทั้งปวง สัตว์นอกนี้

ล้วนเป็นผู้ลุ่มหลง เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์มี

ความเห็นอย่างนี้จึงได้เป็นคนหลง ถูกโมหะ

ครอบงำ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ทุศีล ตระหนี่ บริภาษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 513

สมณพราหมณ์ภายใน ๖ เดือน ข้าพระองค์จัก

ทำกาลกิริยา จักตกไปนรกอันเผ็ดร้อน ร้ายกาจ

โดยส่วนเดียว นรกนั้นมี ๔ เหลี่ยม ๔ ประตู

จำแนกออกเป็นส่วน ๆ. ล้อมด้วยกำแพงเหล็ก

ครอบด้วยแผ่นเหล็ก พื้นนรกนั้นเป็นเหล็กแดง

ลุกเป็นเปลวเพลิงโชติช่วง แผ่ไปร้อยโยชน์โดย

รอบตั้งอยู่ทุกเมื่อ ล่วงไปแสนปี ในกาลนั้น

ข้าพระองค์จึงจะไดยินเสียงในนรกนั้นว่า แน่ะ

เพื่อนยาก เมื่อพวกเราไหม้อยู่ในนรกนี้ กาล

ประมาณแสนปีล่วงไปแล้ว ข้าแต่พระมหาราชา

แสนโกฏิปีเป็นกำหนดอายุของสัตว์ผู้หมกไหม้

อยู่ในนรก ชนทั้งหลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นคน

ทุศีล ตีเตียนพระอริยเจ้า ย่อมหมกไหม้อยู่ใน

นรกแสนโกฎิปี ข้าพระองค์จักเสวยทุกขเวทนา

อยู่ในนรกนั้นตลอดกาลนาน นี้เป็นผลแห่งกรรม

ชั่วขอข้าพระองค์ เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จึง

เศร้าโศกนัก ข้าแต่พระมหาราชาผู้กำจัดศัตรู

เป็นที่เจริญใจของชาวแว่นแคว้น ขอพระองค์

จงทรงสดับคำของข้าพระองค์ ขอความเจริญจงมี

แด่พระองค์ ธิดาของข้าพระองค์ชื่ออุตตรา ทำ

แต่กรรมดี ยินดีแล้วในนิจศีลและอุโบสถศีล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 514

ยินดีในทานจำแนกแจกทาน รู้ความประสงค์

ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ มีปกติทำไม่ให้

ขาดในสิกขา เป็นสะใภ้อยู่ในตระกูลอื่น เป็น

อุบาสิกาของพระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้

ทรงศิริ ข้าแต่พระมหาราชา ขอความเจริญจง

มีแด่พระองค์ นางอุตตราได้เห็นภิกษุผู้สมบูรณ์

ด้วยศีล เข้าไปบิณฑบาตในบ้าน มีจักษุอันทอด

ลงแล้ว มีสติ คุ้มครองทวาร สำรวมดีแล้ว เที่ยว

ไปตามลำดับตรอก เข้าไปสู่บ้านนั้น นางได้ถวาย

น้ำขันหนึ่งและขนมมีรสหวานอร่อย แล้วอุทิศ

ส่วนกุศลให้ข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ขอผลทานที่ดิฉันถวายนี้ จงพลันสำเร็จแก่บิดา

ของดิฉันที่ตายไปแล้วเถิด ในทันใดนั้น ผลแห่ง

ทานก็บังเกิดมีแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์มีความ

ประสงค์สำเร็จได้ดังความปรารถนา บริโภค

กามสุขเหมือนดังท้าวเวสวัณมหาราช ข้าแต่

พระมหาราชาผู้กำจัดศัตรู เป็นที่เจริญใจของ

ชาวแว่นแคว้น ขอพระองค์จงทรงสดับคำของ

ข้าพระองค์ พระพุทธเจ้าอันบัณฑิตกล่าวว่า เป็น

ผู้เลิศแห่งโลกพร้อมตั้งเทวโลก ขอพระองค์

พร้อมทั้งพระโอรสและพระอัครมเหสี จงถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 515

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นสรณะเถิด ชนทั้ง

หลายย่อมบรรลุอมตบทด้วยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ขอพระองค์พร้อมด้วยพระโอรส

และพระอัครมเหสี จงถึงมรรคมีองค์ ๘ และ

อมตบทเป็นสรณะเถิด พระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติ

อยู่ในมรรค ๔ จำพวก และผู้ต้องอยู่ในผล ๔

จำพวก นี้เป็นพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ประกอบ

ด้วยปัญญาและศีล ขอพระองค์พร้อมทั้งพระ-

โอรสและพระอัครมเหสี จงถึงพระสงฆ์นั้นเป็น

สรณะเถิด ขอพระองค์จงรีบงดเว้นจากการฆ่า

สัตว์ ลักทรัพย์ ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของ

พระองค์ ไม่ตรัสเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์เถิด.

พระราชาตรัสว่า :-

ดูก่อนเทวดา ท่านเป็นผู้ปรารถนาความ

เจริญแก่เรา ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา

เราจักทำตามคำของท่าน ท่านเป็นอาจารย์ของ

เรา เราจักเข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและ

พระสงฆ์อันยอดเยี่ยมกว่าเทวดาและมนุษย์ว่า

เป็นสรณะ เราจะรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลัก

ทรัพย์ จะยินดีด้วยภรรยาของตน จะไม่พูดเท็จ

ไม่ดื่มน้ำเมา เราจะคลายความเห็นอันชั่วช้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 516

เหมือนโปรยแกลบลอยไปในลมอันแรง เหมือน

ทิ้งหญ้าและใบไม้ลอยไปในแม่น้ำมีกระแสอัน

เชี่ยว จักเป็นผู้ยินดีในพระพุทธศาสนา พระเจ้า

สุรัฐครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงงดเว้นจากความเห็นอัน

ชั่วช้า ทรงนอบน้อมต่อพระผู้มีพระศาสดาแล้ว

เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่ง บ่ายพระพักตร์ไปทาง

ทิศตะวันออก กลับคืนสู่พระนคร.

จบ นันทกเปตวัตถุที่ ๓

อรรถกถานันทกเปตวัตถุที่ ๓

เรื่องนันทกเปรตนี้ มีตำเริ่มต้นว่า ราชา ปิงฺคลโก นาม

ดังนี้. การอุบัติขึ้นของเรื่องนั้น เป็นอย่างไร ?

นับแต่พระศาสดาปรินิพพาน ล่วงไปได้ ๒๐๐ ปี ในสุรัฐวิสัย

ได้มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า ปิงคละ. เสนาบดี

ของพระราชานั้น ชื่อว่า นันทกะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความผิดแปลก

เที่ยวยกย่องการถือผิด ๆ โดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ทายกถวายแล้ว

ไม่มีผล ดังนี้. ธิดาของนายนันทกะนั้น เป็นอุบาสิกา ชื่อว่า อุตตรา

เขาได้ยกให้แต่งงานในตระกูลที่เสมอกัน. ฝ่ายนันทกเสนาบดี

ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเวมานิกเปรต ที่ต้นไทรใหญ่ ในดงไฟไหม้.

เมื่อนันทกเสนาบดีนั้น ทำกาละแล้ว นางอุตตรา ได้ถวายหม้อน้ำดื่ม

เต็มด้วยน้ำหอมสะอาดและเยือกเย็น และขันอันเต็มด้วยขนม เพียบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 517

พร้อมด้วยสีกลิ่นและรส ที่ปรุงด้วยขนมกุมมาส แด่พระขีณาสพ-

เถระรูปหนึ่ง แล้วอุทิศว่า ขอทักษิณานี้จงสำเร็จแก่บิดาของเรา

เถิด. น้ำดื่มอันเป็นทิพย์ และขนมอันหาประมาณมิได้ ปรากฏแก่

เปรตนั้น เพราะทานนั้น. เขาเห็นดังนั้น จึงคิดอย่างนี้ว่า เราทำ

กรรมอันลามกหนอ ที่ให้มหาชนถือเอาผิด ๆ โดยนัยมีอาทิว่า

ทานที่ทายกถวายแล้ว ย่อมไม่มีผล ดังนี้ ก็บัดนี้ พระเจ้าปิงคละ

เสด็จไปโอวาทแด่พระเจ้าธรรมาโศก, พระองค์ประทานโอวาท

แล้ว จักเสด็จกลับมา เอาเถอะ เราจักบันเทานัตถิกทิฏฐิ. ไม่นานนัก

พระเจ้าปิงคละ ได้ให้โอวาทแด่พระเจ้าธรรมาโศก เมื่อจะเสด็จ

กลับ จึงทรงดำเนินไปทางนั้น.

ลำดับนั้น เปรตนั้น นิรมิตรหนทางนั้น ให้บ่ายหน้าไปยัง

ที่อยู่ของตน. ในเวลาเที่ยงตรง พระราชา เสด็จไปตามทางนั้น.

เมื่อพระองค์เสด็จไป หนทางข้างหน้าปรากฏอยู่ แต่หนทางข้างหลัง

ไม่ปรากฏแก่พระองค์. บุรุษผู้ไปหลังเขาทั้งหมด เห็นทางหายไป

จึงกลัว ร้องลั่น วิ่งไปกราบทูลแด่พระราชา, พระราชาทรงสดับ

ดังนั้น จึงตกพระหทัย มีพระหทัยสลด ประทับอยู่บทคอช้าง ตรวจดู

ทิศทั้ง ๔ เห็นต้นไทรอันเป็นที่อยู่ของเปรต จึงได้เสด็จบ่ายพระพักตร์

ไปยังต้นไทรนั้น พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา. ครั้นพระราชาเสด็จ

ถึงที่นั้น โดยดำดับ เปรตประดับด้วยอาภรณ์ทั้งปวง เข้าไปเฝ้า

พระราชา กระทำปฏิสันถาร ได้ถวายขนมและน้ำดื่ม. พระราชา

พร้อมด้วยข้าราชบริพาร ทรงสงสนาน เสวยขนมแล้วดื่มน้ำ ระงับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 518

ความเหน็ดเหนื่อยในหนทาง จึงตรัสถามเปรตโดยนัยมีอาทิว่า

ท่านเป็นเทวดา หรือเป็นคนธรรพ์. เปรตได้กราบทูลเรื่องของตน

ตั้งแต่ต้น จึงปลดเปลื้องพระราชา จากความเป็นมิจฉาทิฏฐิ ให้

ดำรงอยู่ในสรณะและศีล. เพื่อจะแสดงเรื่องนั้น พระสังคีติกาจารย์

ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาทั้งหลายว่า :-

ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนาม

ว่า ปิงคล ได้เป็นใหญ่ในสุรัฐประเทศ เสด็จ

ไปเฝ้าพระโมริยะแล้ว กลับมายังสุรัฐประเทศ

เสด็จมาถึงที่มีเปือกตม ในเวลาเที่ยง ซึ่งเป็น

เวลาร้อน ได้ทอดพระเนตรเห็นทางอันน่ารื่นรมย์

เป็นทางที่เปรตนิรมิตรไว้ จึงตรัสบอกนายสารถี

ว่า ทางนี้น่ารื่นรมย์ เป็นทางปลอดภัย มีความ

สวัสดี ไม่มีอุปัทวันตราย ดูก่อน นายสารถี ท่าน

จงตรงไปทางนี้แหละ เมื่อเราไปโดยทางนี้ จัก

ถึงเขตเมืองสุรัฐเร็วทีเดียว พระเจ้าสุรัฐ

ได้เสด็จไปโดยทางนั้น พร้อมด้วยจตุรงคเสนา

บุรุษคนหนึ่งสะดุ้งตกใจกลัว ได้กราบทูลพระเจ้า

สุรัฐว่า พวกเราเดินทางผิด เป็นทางน่ากลัว

ขนพองสยองเกล้า เพราะทางปรากฏเฉพาะข้าง

หน้า แต่ข้างหลังไม่ปรากฏ พวกเราเดินทางผิด

เสียแล้ว พวกเราเห็นจะเดินมาใกล้สำนักพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 519

อมนุษย์ กลิ่นอมนุษย์ฟุ้งไป ข้าพระองค์ได้ยิน

เสียงอันพิลึกน่าสะพึงกลัว พระเจ้าสุรัฐ ทรง

สะดุ้งพระหทัย ตรัสกะนายสารถีว่า พวกเรา

เดินทางผิดเสียแล้ว เป็นทางน่ากลัว ขนพอง

สยองเกล้า เพราะทางปรากฏเฉพาะหน้า แต่

ข้างหลังไม่ปรากฏ พวกเราเดินทางผิด พวกเรา

เห็นจะเดินมาใกล้สำนักพวกอมนุษย์ กลิ่น

อมนุษย์ย่อมฟุ้งไป เราได้ยินเสียงน่าสะพึงกลัว

แล้วเสด็จขึ้นสู่คอช้าง ทอดพระเนตรไปในทิศ

ทั้ง ๔ ได้ทรงเห็นต้นไทรต้นหนึ่ง มีร่มเงาชิด

สนิทดี เขียวชะอุ่มดุจสีเมฆ มีสีและสัณฐาน

คล้ายเมฆ จึงรับสั่งกะนายสารถีว่า ป่าใหญ่เขียว

ชะอุ่มดุจสีเมฆ มีสีและสัณฐานคล้ายเมฆปรากฏ

อยู่นั่นใช่ไหม ?

นายสารถีกราบทูลว่า :-

ข้าแต่มหาราช นั่นเป็นต้นไทร มีร่มเงา

ชิดสนิทดี เขียวชะอุ่ม มีสีและสัณฐานคล้ายเมฆ

พระเจ้าสุรัฐ เสด็จเข้าไปจนถึงต้นไทรใหญ่ที่

ปรากฏอยู่แล้ว เสด็จลงจากคอช้าง เข้าไป

ต้นไทร ประทับนั่งที่โคนต้น พร้อมด้วยหมู่

อำมาตย์ราชบริพาร ได้ทอดพระเนตรเห็นขันน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 520

มีน้ำเต็ม และขนมอันหวานอร่อย บุรุษมีเพศดัง

เทวดา ประดับด้วยอาภรณ์ทั้งปวง เข้าไปเฝ้า

พระเจ้าสุรัฐแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช

พระองค์ เสด็จมาดีแล้วและพระองค์ไม่ได้เสด็จ

มาร้าย ข้าแต่พระองค์ ผู้กำจัดศัตรู เชิญพระองค์

เสวยน้ำและขนมเถิดพระเจ้าข้า พระเจ้าสุรัฐ

พร้อมด้วยอำมาตย์และข้าราชบริพาร พากันดื่ม

น้ำและขนมแล้ว จึงถามว่า ท่านเป็นเทพ เป็น

คนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกะปุรินททะ พวกเรา

ไม่รู้จักท่าน จักขอถาม พวกเราจะพึงรู้จักท่าน

ได้อย่างไร ?

นันทกเปรตกราบทูลว่า :-

ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ไม่ใช่

เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกะปุรินททะ

ข้าพระองค์เป็นเปรต จากประเทศสุรัฐ มาอยู่

ที่นี่.

พระราชาตรัสถามว่า :-

เมื่อก่อนท่านอยู่ในประเทศสุรัฐมีปกติ

อย่างไร มีความประพฤติอย่างไร ท่านมีอานุภาพ

อย่างนี้ เพราะพรหมจรรย์อย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 521

นันทกเปรตตอบว่า :-

ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้กำจัดหมู่ศัตรู ผู้ผดุง

รัฐให้เจริญ ขอพระองค์ อำมาตย์ราชบริพาร และ

พราหมณ์ปุโรหิต จงสดับฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้

ประเสริฐ เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นบุรุษอยู่ใน

เมืองสุรัฐ เป็นคนใจบาป เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น

คนทุศีล เป็นคนตระหนี่ บริภาษสมณพราหมณ์

ทั้งหลาย ห้ามปรามมหาชน ซึ่งพากันทำบุญให้

ทาน ทำอันตรายแก่หมู่ชนเหล่าอื่น ผู้กำลังให้

ทาน ได้ห้ามว่า ผลแห่งทาน ไม่มี ผลแห่งการ

สำรวม จักมีแต่ที่ไหน ใคร ๆ ผู้ชื่อว่า เป็น

อาจารย์ไม่มี ใครจักฝึกฝนบุคคล ผู้ไม่เคยฝึกฝน

แล้วได้เล่า สัตว์ทั้งหลายเป็นสัตว์เสมอกันทั้งสิ้น

การเคารพอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล จักมี

แต่ที่ไหน กำลังหรือความเพียรไม่มี ความพาก-

เพียรของบุรุษ จักมีแต่ที่ไหน ผลแห่งทานไม่มี

ทานและศีล ไม่ทำบุคคลผู้มีเวรให้หมดจดได้

สัตว์ย่อมได้ของที่ควรได้ สัตว์เมื่อจะได้สุข

หรือทุกข์ ย่อมได้สุขหรือทุกข์ อันเกิดแต่ที่น้อม

มาเอง มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย ไม่มี โลก

อื่นจากโลกนี้ ก็ไม่มี ทานอันบุคคลให้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 522

ย่อมไม่มีผล พลีกรรมไม่มีผล แม้ทานอันบุคคล

ตั้งไว้ดีแล้ว ก็ไม่มีผล บุรุษใด ฆ่าบุรุษอื่น และ

ตัดศีรษะบุรุษอื่น จะจัดว่าบุรุษนั้นทำลายชีวิต

ของผู้อื่น หาได้ไม่ ไม่มีใครฆ่าใคร เป็นแต่ศัตรา

ย่อมเข้าไปในระหว่างช่องกาย ๗ ช่องเท่านั้น

ชีพของสัตว์ทั้งหลายไม่ขาดสูญ ไม่แตกทำลาย

บางคราวมี ๘ เหลี่ยม บางคราวกลมเหมือนงบ

น้ำอ้อย บางคราวสูงตั้ง ๕๐๐ โยชน์ ใครเล่า

สามารถตัดชีพให้ขาดได้ เหมือนหลอดด้ายอัน

บุคคลซัดไปแล้วหลอดด้ายนั้น อันด้ายคลายอยู่

ย่อมกลิ้งไปได้ ฉันใด ชีพนั้น ก็ฉันนั้น ย่อม

แหวกหนีไปจากร่างได้ บุคคลผู้ออกไปจากบ้านนี้

ไปเข้าบ้านอื่นฉันใด ชีพนั้นก็ออกจากร่างนี้แล้ว

ไปเข้าร่างอื่นฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลออกจาก

เรือนหลังนี้ แล้วไปเข้าเรือนหลังอื่นฉันใด แม้

ชีพนั้น ก็ออกจากร่างนี้แล้ว ไปเข้าร่างอื่นฉันนั้น

เหมือนกัน เมื่อสิ้นกำหนด ๘,๔๐๐,๐๐๐ มหากัป

สัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นพาล ทั้งที่เป็นบัณฑิต

จักยังสงสารให้สิ้นไปแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์

ได้เอง สุขและทุกข์เหมือนตักตวงได้ ด้วย

ทะนานและกระเช้า พระชินเจ้า ย่อมรู้ทั่วถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 523

สุขทุกข์ทั้งปวง สัตว์นอกนี้ ล้วนเป็นผู้ลุ่มหลง

เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนี้ จึง

ได้เป็นคนหลง ถูกโมหะครอบงำ เป็นมิจฉาทิฏฐิ

ทุศีล ตระหนี่ บริภาษสมณพราหมณ์ ภายใน

๖ เดือน ข้าพระองค์จักทำกาลกิริยา จักตกไป

ในนรกอันเผ็ดร้อน ร้ายกาจ โดยส่วนเดียว นรก

นั้นมี ๔ เหลี่ยม ๔ ประตู จำแนกออกเป็นส่วน ๆ

ล้อมด้วยกำแพงเหล็ก ครอบด้วยแผ่นเหล็ก พื้น

นรกนั้น เป็นเหล็กแดง ลุกเป็นเปลวเพลิงโชติช่วง

แผ่ไป ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบตั้งอยู่ทุกเมื่อ ล่วงไป

แสน ในกาลนั้นข้าพระองค์จึงได้ยินเสียงใน

นรกนั้นว่า แน่ะ เพื่อนยาก เมื่อพวกเราไหม้อยู่

ในนรกนี้ กาลประมาณแสนปีล่วงไปแล้ว ข้าแต่

มหาราชเจ้า แสนโกฏิปีเป็นกำหนดอายุของสัตว์

ผู้หมกไหม้อยู่ในนรก ชนทั้งหลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ

เป็นคนทุศีล ติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมหมกไหม้

อยู่ในนรก แสนโกฏิปี ข้าพระองค์จักเสวย

ทุกขเวทนาอยู่ในนรกนั้น ตลอดกาลนานนี้ เป็น

ผลเเห่งกรรมชั่วของข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น

ข้าพระองค์ จึงเศร้าโศกนัก ข้าแต่มหาราชเจ้า

กำจัดศัตรูเป็นที่ที่เจริญใจของชาวแว่นแคว้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 524

ขอพระองค์จงทรงสดับคำของข้าพระองค์ ขอ

ความเจริญจงมีแด่พระองค์ ธิดาของข้าพระองค์

ชื่อ อุตตรา ทำแต่ความดี ยินดีแล้วในนิจศีล

และอุโบสถศีล ยินดีในทาน และการจำแนกทาน

รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่

ปกติทำไม่ให้ขาดในสิกขา เป็นลูกสะใภ้ใน

ตระกูลอื่น เป็นอุบาสิกาของพระมหาศากยมุนี

สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงศิริ ข้าแต่มหาราชเจ้า

ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ นางอุตตราได้

เห็นภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เข้าไปบิณฑบาตใน

บ้าน มีจักษุทอดลงแล้ว มีสติคุ้มครองทวาร

สำรวมดีแล้ว เที่ยวไปตามลำดับตรอก เข้าไป

สู่บ้านนั้น นางได้ถวายน้ำขันหนึ่ง และขนมมี

รสหวาน อร่อยแล้ว อุทิศส่วนกุศลให้ข้าพระองค์

ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอผลทานที่ดิฉันถวายนี้

จงพลันสำเร็จแก่ธิดาของดิฉัน ที่ตายไปแล้วเถอะ

ในทันใดนั้น ผลแห่งทานก็บังเกิด แก่ข้าพระองค์

ข้าพระองค์มีความประสงค์ สำเร็จได้ดังความ

ปรารถนา บริโภคกามสุข เหมือนดังท้าวเวส-

วัณมหาราช ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้กำจัดศัตรู

เป็นที่เจริญใจของชาวแว่นแคว้น ขอพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 525

จงทรงสดับคำของข้าพระองค์

พระพุทธเจ้าอันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เลิศ

แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก ขอพระองค์พร้อมด้วย

พระโอรสและพระอัครมเหสี จงถึงพระพุทธเจ้า

พระองค์นั้นเป็นสรณะเถิด ชนทั้งหลายย่อม

บรรลุอมตะ ด้วยมรรคมีองค์ ๘ ขอพระองค์

พร้อมด้วยพระโอรส และพระอัครมเหสี จงถึง

มรรคมีองค์ ๘ และอมตะบท ว่าเป็นสรณะเถิด

พระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติอยู่ในมรรค ๔ จำพวก

ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก นี้เป็นพระสงฆ์ผู้

ปฏิบัติ ซื่อตรง ประกอบด้วยปัญญาและศีล ขอ

พระองค์พร้อมด้วยพระโอรสและพระอัคร-

มเหสี จงถึงพระสงฆ์นั้นเป็นสรณะเถิด ขอ

พระองค์จงรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์

ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของพระองค์ ได้ตรัส

คำเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์เถิด.

พระราชาตรัสว่า :-

ดูก่อนเทวดา ท่านเป็นผู้ปรารถนาความ

เจริญแก่เรา ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา

เราจักทำตามคำของท่าน ท่านเป็นอาจารย์ของเรา

เราจักเข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 526

อันยอดเยี่ยม กว่าเทวดาและมนุษย์ว่าเป็นสรณะ

เราจะรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และ

ยินดีด้วยพระมเหสีของตน จะไม่พูดเท็จ จะไม่

ดื่มน้ำเมา เราจะคลายความเห็นอันชั่วช้า เหมือน

โปรยแกลบอันลอยไปตามลนอันแรง เหมือน

ทั้งหญ้าและใบไม้ ลอยไปในแม่น้ำ มีกระแสอัน

เชี่ยว จักเป็นผู้ยินดีในพระพุทธศาสนา พระเจ้า-

สุรัฐ ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงงดเว้นจากความ

เห็นอันชั่วช้า ทรงนอบน้อมต่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่ง บ่าย

พระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก กลับคืนสู่

พระนคร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชา ปิงฺคลโก นาม สุรฏฺาน

อธิปติ อหุ ความว่า ได้มีพระราชาพระองค์หนึ่ง เป็นอิสระแห่ง

สุรัฐประเทศ ปรากฏพระนามว่า ปิงคละ เพราะมีจักษุเหลือง.

ด้วยบทว่า โมริยาน ท่านกล่าวหมายถึงพระเจ้าโมริยธรรมาโศก.

บทว่า สุรฎฺ ปุนราคมา ความว่า ได้เสด็จกลับมาตามทางเป็นที่

ไปยังสุรัฐประเทศ มุ่งที่อยู่แห่งสุรัฐประเทศ. บทว่า ปงฺก

ได้แก่ ภูมิภาคอันอ่อนนุ่ม. บทว่า วณฺณุปถ ได้แก่ หนทางมีทราย

ที่เปรตนิรมิตรไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 527

บทว่า เขโม แปลว่า ปลอดภัย. บทว่า โสวตฺถิโก แปลว่า

นำมาซึ่งความสวัสดี. บทว่า สิโว แปลว่า ไม่มีอุปัทวันตราย

บทว่า สุรฏฺาน สนฺติเก อิโต ได้แก่ พวกเราเมื่อไปตามหนทาง

เส้นนี้ จักถึงที่ใกล้เมืองสุรัฐที่เดียว.

บทว่า สุรฏฺโ ได้แก่ ผู้เป็นใหญ่ในสุรัฐประเทศ. บทว่า

อุพฺพิคฺครูโป ได้แก่ ผู้มีความสะดุ้งเป็นสภาวะ. บทว่า ภึสน ได้แก่

เกิดความกลัวขึ้น. บทว่า โลมหสน ได้แก่ เกิดขนพองสยองเกล้า

เพราะเป็นหนทางน่ากลัว.

บทว่า ยมปุริสาน สนฺติเก ได้แก่ อยู่ในที่ใกล้พวกเปรต.

บทว่า อมานุโส วายติ คนฺโธ ความว่า กลิ่นตัวของพวกเปรต

ย่อมฟุ้งไป. บทว่า โฆโส สุยฺยติ ทารุโณ ความว่า ข้าพระองค์

ได้ยินเสียงอันพิลึกน่าสะพึงกลัวของเหล่าสัตว์ ผู้กระทำเหตุใน

นรกโดยเฉพาะ.

บทว่า ปาทป ได้แก่ ต้นไม้อันมีชื่อว่า ปาทปะ เพราะเป็น

ที่ดื่มน้ำทางลำต้นเช่นกับราก. บทว่า ฉายาสมฺปนฺน แปลว่า

มีร่มเงาสนิทดี. บทว่า นีลพฺภวณฺณสทิส ได้แก่. มีสีเขียวชอุ่ม ดัง

สีเมฆ. บทว่า เมฆวณฺณสิรีนิภ ได้แก่ ปรากฏมีสีและสัณฐาน

คล้ายเมฆ.

บทว่า ปูร ปานียสรก ได้แก่ ภาชนะน้ำดื่มอันเต็มด้วยน้ำดื่ม.

บทว่า ปูเว ได้แก่ ของเคี้ยว. บทว่า วิตฺเต ความว่า นายสารถี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 528

ได้เห็นขนมที่วางไว้เต็มขันนั้น ๆ อันให้เกิดความปลื้มใจ มีรส

อร่อย เป็นที่ฟูใจ.

ศัพท์ อโถ ในบทว่า อโถ เต อทุราคต นี้ เป็นเพียงนิบาต

หรือว่า บทว่า อโถ ใช้ในอรรถแห่งอวธารณะ, อธิบายว่า พวก

เรารับด้วยความประสงค์ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดี

มิใช่เสด็จมาร้าย โดยที่แท้ พระองค์เสด็จมาดีทีเดียว. บทว่า

อรินฺทม ได้แก่ ผู้มักกำจัดข้าศึก.

บทว่า อนจฺจา ปาริสชฺชา มีวาจาประกอบความว่า พวก

อำมาตย์และปุโรหิตจงฟังคำ และพราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตของท่าน

จงฟังคำนั้นเถิด

บทว่า สุรฎฺสฺมึ อห แก้เป็น สุรฎฺเทเส อห เรา...ใน

สุรัฐประเทศ. นายสารถี เรียกพระราชาว่า เทวะ. บทว่า

มิจฺฉาทิฎ แปลว่า ผู้เห็นผิดแปลกด้วยนัตถิกทิฏฐิ. บทว่า

ทุสฺสีโล ได้แก่ ผู้ไม่มีศีล. บทว่า กทริโย แปลว่า ผู้มีความตระหนี่

เหนียวแน่น. บทว่า ปริภาสโก ได้แก่ ผู้ด่าสมณพราหมณ์.

บทว่า วารยิสฺส แปลว่า ได้ห้ามแล้ว. บทว่า อนฺตรายกโร อห

มีวาจาประกอบความว่าเรา เป็นผู้กระทำอันตราย ต่อชนผู้กำลัง

ให้ทาน ผู้ทำอุปการะ และเราห้ามปรามชนเป็นอันมาก จากบุญ

อันสำเร็จด้วยทานของชนเหล่าอื่น ผู้กำลังให้ทาน.

บทว่า วิปาโก นตฺถิ ทานสฺส เป็นต้น เป็นบทแสดงอาการ

ที่เราห้ามแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า วิปาโก นตฺถิ ทานสฺส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 529

พระองค์ทรงห้ามวิบากว่า เมื่อบุคคลนั้นให้ทานอยู่ วิบาก คือผล

ที่จะพึงได้รับต่อไป ย่อมไม่มี. บทว่า สยมสฺส กุโต ผล ความว่า

ก็ผลแห่งศีล จักมีแต่ที่ไหน, อธิบายว่า ผลแห่งศีลนั้นย่อมไม่มี

โดยประการทั้งปวง. บทว่า นตฺถิ อาจริโย นาม ความว่า ใคร ๆ

ผู้ชื่อว่าเป็นอาจารย์ ผู้ให้ศึกษาอาจารและสมาจาระ ย่อมไม่มี,

อธิบายว่า ก็ว่าโดยภาวะทีเดียว สัตว์ทั้งหลาย ผู้ฝึกตนแล้ว หรือ

ยังไม่ได้ฝึกตน ย่อมมีได้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ใคร จักฝึก

ผู้ที่ยังไม่ได้ฝึก ดังนี้

บทว่า สมตุลฺยานิ ภูตานิ ความว่า สัตว์เหล่านี้ ทั้งหมด

เป็นผู้เสมอกันและกัน, อธิบายว่า ผู้มีความประพฤติอ่อนน้อมต่อ

ผู้ใหญ่ จักมีแต่ที่ไหน คือ ขึ้นชื่อว่า บุญอันเป็นเหตุให้ประพฤติ

อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ย่อมไม่มี. บทว่า นตฺถิ ผล ความว่า สัตว์

ทั้งหลาย ผู้ดำรงอยู่ในกำลังของตนอันใดกระทำความเพียร ย่อม

บรรลุสมบัติทั้งหลาย ตั้งต้นแต่ความเป็นผู้เลิศด้วยความสวยงาม

ในหมู่มนุษย์ จนถึงความเป็นพระอรหัตต์ พระองค์ย่อมห้ามกำลัง

แห่งความเพียรนั้น. บทว่า วีริย วา นตฺถิ กุโต อุฎฺานโปริส นี้

ท่านกล่าวได้ด้วยอำนาจการปฏิเสธวาทะที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า

นี้เป็นไปด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ

หามิได้. บทว่า นตฺถิ ทานผล นาม ความว่า ขึ้นชื่อว่า ผลแห่งทาน

อะไร ย่อมไม่มี อธิบายว่า การบริจาคไทยธรรมย่อมไร้ผล.

ทีเดียว เหมือนเถ้าที่เขาวางไว้. บทว่า เวริน ในบทว่า

น วิโสเธติ เวริน ความว่า ย่อมไม่ทำบุคคลผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 530

มีเวร คือ ผู้ทำบาปไว้ ด้วยอำนาจเวรและด้วยอำนาจอกุศลธรรม

มีปาณาติบาตเป็นต้น ให้หมดจดจากวัตรมีทานและศีลเป็นต้น, คือ

แม้ในบางคราว ก็ไม่ทำให้หมดจดได้. บทว่า วิปาโก นตฺถิ ทานสฺส

เป็นต้น เป็นบทแสดงอาการที่ตนห้ามคนเหล่าอื่น จากทานเป็นต้น

ในกาลก่อน แต่บทว่า ชื่อว่า ผลแห่งทานย่อมไม่มีเป็นต้น พึงเห็นว่า

เป็นบทแสดงการยึดมั่นผิด ๆ แห่งตน. บทว่า สทฺเธยฺย แปลว่า

พึงได้. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า ก็พึงได้อย่างไร ? ท่านจึงตอบว่า

อันเกิดแต่สิ่งที่น้อมมาเอง อย่างแน่นอน. อธิบายว่า สัตว์นี้ เมื่อ

ได้รับความสุขหรือความทุกข์ ย่อมได้ด้วยอำนาจความแปรปรวน

ไปอย่างแน่นอนทีเดียว ไม่ใช่เพราะกรรมที่ตนทำไว้เลย และ

ไม่ใช่เพราะ พระอิศวร นิรมิตรขึ้นเลย. ด้วยบทว่า นตฺถิ มาตา ปิตา

ภาตา ท่านกล่าวหมายถึงความไม่มีผลแห่งการปฏิบัติชอบ และการ

ปฏิบัติผิดในมารดาเป็นต้น. บทว่า โลโก นตฺถิ อิโต ปร ความว่า

ชื่อว่า ปรโลกไร ๆ จากอิธโลกนี้ ย่อมไม่มี, อธิบายว่า สัตว์ย่อม

ขาดสูญไปในที่นั้น ๆ นั่นเอง. บทว่า นินฺน ได้แก่ มหาทาน. บทว่า

หุต ได้แก่ สักการะเพื่อแขก, ท่านหมายถึงความไม่มีผลทั้งสองนั้น

จึงห้ามว่า นตฺถิ. บทว่า สุนิหิต แปลว่า ตั้งไว้ดีแล้ว. บทว่า

น วิชฺชติ ความว่า ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวการให้ทานแก่สมณ-

พราหมณ์ว่าเป็นขุมทรัพย์ อันเป็นเครื่องติดตามนั้น ย่อมไม่มี,

อธิบายว่า ทานที่ให้แก่สมณพราหมณ์นั้น เป็นเพียงวัตถุแห่งคำพูด

เท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 531

บทว่า น โกจิ กญฺจิ หนติ ความว่า บุรุษใด พึงฆ่าบุรุษอื่น

คือ พึงตัดศีรษะของบุรุษอื่น ในข้อนั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ใคร ๆ

ย่อมไม่ฆ่าใคร ๆ ได้ คือ ย่อมเป็นเสมือนผู้ฆ่า เพราะตัดกายของ

สัตว์ทั้งหลาย. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า การประหารด้วยศัสตรา

เป็นอย่างไร ท่านจึงตอบว่า ใช้ศัสตราเข้าไปในระหว่าง อันเป็น

ช่องกาย ๗ ช่อง, อธิบายว่า สอดสัตราเข้าไป ในระหว่างคือ ในช่อง

อันเป็นช่องของกาย ๗ ช่อง มีปฐวีเป็นต้น เพราะฉะนั้น สัตว์

ทั้งหลาย จึงเป็นเหมือนถูกศัสตรา มีดาบเป็นต้น. สับฟัน แต่แม้กาย

ที่เหลือ ย่อมไม่ขาดไป เพราะมีสภาวะเที่ยง เหมือนมีชีวะ ฉะนั้น.

บทว่า อจฺเฉชฺชาเภชฺโช หิ ชีโว ความว่า ชีพของเหล่าสัตว์นี้

ไม่พึงถูกตัด ไม่พึงถูกทำลายด้วยศัสตราเป็นต้น เพราะมีสภาวะเที่ยง.

บทว่า อฏฺโส คุฬปริมณฺฑโล ความว่า ก็ชีพนั้น บางคราวมี

๘ เหลี่ยม บางคราวกลมเหมือนงบน้ำอ้อย. บทว่า โยชนาน สต ปญฺจ

ความว่า ชีพนั้นถึงภาวะล้วน สูงประมาณได้ ๕๐๐ โยชน์. ด้วย

บทว่า โก ชีว เฉตฺตุมรหติ นี้ ท่านกล่าวว่า ใครเล่าควรเพื่อจะ

ตัดชีพอันเที่ยงแท้ คือไม่มีพิการ ด้วยศัสตราเป็นต้น. คือ ชีพนั้น

ใคร ๆ ไม่ควรให้กำเริบ.

บทว่า สุตฺตคุเฬ ได้แก่ หลอดด้าย ที่เขาม้วนทำไว้. บทว่า

ขิตฺเต ได้แก่ ซัดไป ด้วยอำนาจไม่ได้คลายออก. บทว่า นิพฺเพเนฺต

ปลายติ ความว่า หลอดด้ายอันด้ายคลี่อยู่ ที่เขาซัดไปบนภูเขา

หรือบนต้นไม้ ย่อมกลิ้งไปได้ คือ แต่เมื่อด้ายหมด ก็ไปไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 532

บทว่า เอวเมว ความว่า หลอดด้ายนั้น อันด้ายคลี่คลายอยู่ จึง

กลิ้งไปได้ เมื่อสิ้นด้ายย่อมไปไม่ได้ ฉันใด ชีพนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน

เมื่อคลี่คลายหลอดคือภาวะของสัตว์ ย่อมหนีไปได้ คือ ย่อมเป็น

ไปได้ ตลอดเวลาที่กล่าวได้ว่าสิ้นกำหนด ๘,๔๐๐,๐๐๐ มหากัป

พ้นจากนั้นหาเป็นไปได้ไม่.

บทว่า เอวเมว จ โส ชีโว ความว่า คนบางคนออกจากบ้าน

อันเป็นที่อยู่ของตนแล้วเข้าไปยังบ้านอื่น จากบ้านนั้น ด้วยกรณียะ

บางอย่างฉันใด ชีพนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากร่างนี้แล้ว ก็

เข้าไปสู่ร่างอื่นอีก ด้วยอำนาจกำหนดกาล. บทว่า โพนฺทึ ได้แก่

ร่างกาย.

บทว่า จุลฺลาสีติ แปลว่า ๘๔. บทว่า มหากปฺปิโน ได้แก่

มหากัป. ในมหากัปป์นั้น อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า เมื่อเทวดา

ผู้วิเศษ นำหยาดน้ำด้วยปลายหญ้าคา ครั้ง ละหยาดทุก ๆ ร้อยปี

จากสระใหญ่ มีสระอโนดาดเป็นต้น ออกไป ด้วยความบากบั่นอันนี้

เมื่อสระนั้นแห้งไปถึง ๗ ครั้ง ชื่อว่า เป็นมหากัปอันหนึ่ง จึง

กล่าวว่า ๘,๔๐๐,๐๐๐ มหากัปนี้ เป็นประมาณแห่งสงสาร.

บทว่า เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา ความว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งที่เป็น

อันธพาล ทั้งที่เป็นบัณฑิตทั้งหมดนั้น. บทว่า สสาร เขปยิตฺวาน

ความว่า ยังสงสาร อันกำหนดด้วยกาล ตามที่กล่าวแล้วให้สิ้นไป

ด้วยอำนาจการเกิดร่ำไป. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺต กริสฺสเร ความว่า

จักกระทำความสิ้นสุดแห่งวัฏฏทุกข์. สงสารนั้น มีการกำหนดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 533

ทั้งบัณฑิต ก็ไม่สามารถจะชำระตนให้หมดจดในระหว่างได้ ถัด

จากนั้นถึงพวกชนพาล ก็เป็นไปไม่ได้เลย.

บทว่า มิตานิ สุขทุกฺขานิ โทเณหิ ปิฏเกหิ จ ความว่า ชื่อว่า

สุขทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นเหมือนนับด้วยทะนาน ด้วยตะกร้า

ได้แก่ ด้วยภาชนะเป็นเครื่องนับ และสุขทุกข์ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ

เกิดแต่การน้อมไปอย่างแน่นอน เป็นอันปริมาณได้โดยเฉพาะ เพราะ

ปริมาณได้โดยกำหนดตามกาลที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. พระชินเจ้า

ย่อมทราบเรื่องนี้นั้นทั้งหมด คือ ท่านดำรงอยู่ชินภูมิย่อมรู้ชัด

อย่างเดียว เพราะก้าวล่วงสงสารได้ ส่วนหมู่สัตว์นอกนั้น ผู้ลุ่มหลง

ย่อมวนเวียนอยู่ในสงสาร.

บทว่า เอวทิฏฺิ ปุเร อาสึ ความว่า เมื่อก่อนข้าพระองค์

ได้เป็นนัตถิกทิฏฐิบุคคล ตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า สมฺมูฬฺโห

โมหปารุโต ได้แก่ เป็นคนหลงเพราะสัมโมหะ อันเป็นเหตุแห่ง

ทิฏฐิตามที่กล่าวแล้ว อธิบายว่า ก็คนถูกโมหะอันเกิดพร้อมด้วย

ทิฏฐินั้นครอบงำ คือเป็นดุจพืชแห่งหญ้าคาที่ปิดบังไว้.

นันทกเปรตครั้นแสดงบาปกรรมที่ตนทำด้วยอำนาจความ

เห็นชั่วอันเกิดขึ้นแก่ตนในกาลก่อนอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ

แสดงผลแห่งบาปกรรมนั้นที่ตนจะต้องเสวยในอนาคต จึงกล่าวคำ

มีอาทิว่า ภายใน ๖ เดือนเราจักตาย ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสานิ สตสหสฺสานิ ได้แก่

แสนปี, บาลีที่เหลือว่า อติกฺกมิตฺวา แปลว่า ล่วง บัณฑิตพึงนำมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 534

เชื่อมเข้า. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วสฺสานิ สตสหสฺสานิ นี้ เป็น

ปฐมาวิภัติ ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัติ, อธิบายว่า เมื่อแสนปีล่วงไปแล้ว.

บทว่า โฆโส สุยฺยติ ตาวเท ความว่า ในขณะที่เวลามีประมาณ

เท่านี้ล่วงไปนั่นแหละ เราได้ยินเสียงในนรกนั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อน

ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เวลาของพวกท่านผู้ไหม้อยู่ในนรกนี้ ล่วง

ไปประมาณหนึ่งแสนปี. บทว่า ลกฺโข เอโส มหาราช สตภาค-

วสฺสโกฎิโย ความว่า ข้าแต่มหาราช ๑๐๐ ส่วนโกฏิปี จัดเป็น

กำหนด คือเป็นเขตกำหนดอายุของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ไหม้อยู่ในนรก.

ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า ๑๐ ทสกะ เป็น ๑๐๐, ๑๐ ร้อย เป็น

๑,๐๐๐ สิบพัน ๑๐ หน เป็น ๑๐๐,๐๐๐, ร้อยแสน เป็น ๑ โกฏิ,

แสนโกฏิปีด้วยอำนาจโกฏิเหล่านั้น จัดเป็นหนึ่งร้อยโกฏิปี. ก็ร้อย

โกฏิปีนั้นแล พึงทราบด้วยการคำนวณปีเฉพาะสัตว์นรก ไม่ใช่

สำหรับมนุษย์หรือเทวดา. แสนโกฏิปีเป็นอันมากเช่นนี้ เป็นอายุ

ของสัตว์นรกด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชนผู้ไหม้อยู่ในนรก

สิ้นแสนโกฏิปี ดังนี้. สัตว์ทั้งหลายผู้ไหม้อยู่ในนรกเช่นนี้ เพราะ

กรรมเช่นใด เพื่อจะแสดงบาปกรรมเช่นนั้นโดยคำลงท้าย ท่าน

จึงกล่าวว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นคนทุศีล และเป็นผู้กล่าวร้ายพระอริยะ

ดังนี้. บทว่า เวทิสฺส แปลว่า จักได้เสวยแล้ว.

นันทกเปรตครั้นแสดงผลแห่งความชั่วที่ตนจะพึงเสวย

ในอนาคตอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ประสงค์จะทูลเรื่องที่พระราชาตรัส

ถามว่า ท่านมีอานุภาพอย่างนี้เพราะพรหมจรรย์อะไร ดังนี้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 535

จะให้พระราชานั้นดำรงอยู่ในสรณะและศีล จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

ข้าแต่มหารา ขอพระองค์โปรดทรงสดับ. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า สีเลสุโปสเถ รตา ได้แก่ ยินดีแล้วในนิจศีลและอุโบสถศีล.

บทว่า อทา แปลว่า ได้ให้แล้ว. บทว่า ต ธมฺม ได้แก่ มรรคมี

องค์ ๘ เละอมตบทนั้น.

พระราชาอันเปรตชักชวนให้สมาทานศีลและสรณะอย่างนี้

แล้ว มีพระทัยเลื่อมใส เบื้องต้นจึงระบุถึงอุปการะที่เปรตนั้น

กระทำแก่พระองค์ เมื่อจะตั้งอยู่ในสรณะเป็นต้น จึงกล่าวคาถา

๓ คาถามีอาทิว่า ผู้ปรารถนาความเจริญ ดังนี้ เมื่อจะทรงประกาศ

ถึงความที่ทรงละทิฏฐิชั่วที่พระองค์ยึดถือในกาลก่อน จึงตรัส

คาถาว่า เราโปรย(แกลบในที่ลมแรง) เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอผุณามิ มหาวาเต ความว่า

ดูก่อนเทวดา เราจะโปรยคือขจัดทิฏฐิชั่วนั้น ณ ที่ลมคือธรรมเทศนา

ของท่าน เหมือนโปรยแกลบไปที่ลมแรงซึ่งกำลังพัดอยู่. บทว่า

นทิยา วา สีฆคามิยา อธิบายว่า หรือว่าเราจะลอยทิฏฐิชั่วเหมือน

ลอยหญ้า ไม้ ใบไม้ และสะเก็ด ลงในแม่น้ำใหญ่ที่มีกระแสอันเชี่ยว.

บทว่า วมามิ ปาปิก ทิฏฺึ ความว่า เราจะละทิ้งทิฏฐิชั่วที่อยู่ในใจ

ของเรา. พระราชากล่าวเหตุในข้อนั้นว่า ยินดีแล้วในพระศาสนา

ดังนี้. มีวาจาประกอบความว่า เพราะเหตุที่เรายินดี คือ ยินดียิ่ง

ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย อันนำอมตะ

มาโดยส่วนเดียว ฉะนั้น เราจะคายพิษคือทิฏฐินั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 536

คาถาสุดท้ายว่า อิท วตฺวาน ดังนี้ พระสังคีติกาจารย์

ทั้งหลายได้ตั้งไว้แล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาโมกฺโข ได้แก่

บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก. บทว่า รถมารุหิ ความว่า พระราชา

เสด็จขึ้นสู่ราชรถของพระองค์อันเป็นรถพระที่นั่งเสด็จ ครั้นเสด็จ

ขึ้นแล้วได้ถึงพระนครของพระองค์ในวันนั้นนั่นเอง ด้วยอานุภาพ

ของเทวดา แล้วเสด็จเข้าพระราชวัง. สมัยต่อมาท้าวเธอตรัสบอก

เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงแจ้งเรื่องนั้นแก่พระเถระ

ทั้งหลาย. พระเถระทั้งหลายจึงยกขึ้นสู่สังคายนาในตติยสังคีติ.

จบ อรรถกถานันทกเปตวัตถุที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 537

๔. เรวดีเปติวัตถุ

[๑๒๔] บุรุษคนใช้ของพระยายมราช จะจับ

นางเรวดีโยนลงไปในอุสสทนรก จึงได้กล่าวว่า

แน่ะแม่เรวดีผู้มีธรรมอันแสนจะชั่วช้า จงลุก

ขึ้น ฯลฯ

(พึงดูในเรื่องที่ ๒ แห่งมหารถวรรคที่ ๕ ในวิมานวัตถุ)

จบ เรวดีเปติวัตถุที่ ๔

อรรถกถาเรวดีเปติวัตถุที่ ๔

เรื่องนางเรวดีเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุฏฺเหิ เรวเต สุปาปธมฺเม

ดังนี้. เพราะเหตุที่เรื่องนั้นไม่มีพิเศษไปกว่า เรวตีวิมานวัตถุ เพราะ

ฉะนั้น คำใดที่ควรกล่าวในอัตถุปปัตติเหตุ และในคาถานั้น คำนั้น

พึงทราบโดยนัยดังกล่าวในอรรถกถาวิมานวัตถุ ชื่อปรมัตถทีปนี

นั่นแหละ. ก็เรื่องนี้แม้พระสังคีติกาจารย์จะยกขึ้นสู่สังคายนา

ในบาลีวิมานวัตถุ ด้วยอำนาจนันทิยเทพบุตร ก็พึงทราบว่ายกขึ้น

สู่สังคายนา แม้ในบาลีเปตวัตถุว่า เรวดีเปติวัตถุ ด้วยอำนาจ

คาถาที่เนื่องด้วยนางเรวดี.

จบ อรรถกถาเรวตีเปติวัตถุที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 538

๕. อุจฉุเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตมีไร่อ้อยแต่กินอ้อยไม่ได้

เปรตตนหนึ่งถามพระมหาโมคคัลลานเถระว่า :-

[๑๒๕] ไร่อ้อยใหญ่นี้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า เป็นผล

บุญไม่น้อย แต่เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้ากินอ้อยนั้นไม่ได้ ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอก นี้เป็นผลแห่ง

กรรมอะไร ข้าพเจ้าย่อมเดือดร้อน จะกัดกิน

พยายามตะเกียกตะกายเพื่อจะบริโภคสักหน่อย

ก็ไม่สมหวัง กำลังก็สิ้นลง บ่นเพ้อนัก นี้เป็น

ผลแห่งกรรมอะไร อนึ่ง ข้าพเจ้าถูกความหิวและ

ความกระหายเบียดเบียน แล้วหมุนล้มไปที่

แผ่นดิน กลิ้งเกลือกไปมา ดุจปลาดิ้นรนอยู่ใน

ที่ร้อน เมื่อข้าพเจ้าร้องไห้อยู่สัตว์ทั้งหลายย่อม

พากันมากินน้ำตาของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ขอท่านโปรดบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร

ข้าพเจ้าเป็นผู้หิวกระหายลำบาก ดิ้นรนไป

ย่อมไม่ประสบความสุขที่น่ายินดี ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนั้นกะท่าน

ข้าพเจ้าจะพึงบริโภคอ้อยได้อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 539

พระมหาโมคคัลลานเถระกล่าวว่า

เมื่อชาติก่อน ท่านเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำ

กรรมไว้ด้วยตนเอง เราจะบอกเนื้อความนั้นกะ

ท่าน ขอท่านจงฟังแล้วจำเนื้อความข้อนั้นไว้

ท่านเดินกัดกินอ้อยไป และมีบุรุษคนหนึ่งเดิน

ตามหลังท่านไป เขาหวังจะกินอ้อย จึงบอกแก่

ท่าน ท่านก็มิได้พูดอะไร ๆ แก่เขา ท่านไม่พูด

เขาจึงได้วิงวอนว่า ขอท่านพึงให้อ้อยเถิด ท่าน

ได้ให้อ้อยแก่บุรุษนั้นโดยข้างหลัง นี้เป็นผลแห่ง

กรรมนั้น เชิญท่านพึงไปถือเอาอ้อยข้างหลังซิ

ครั้นถือเอาได้แล้ว จงกินให้อิ่มหนำเถิด เพราะ

เหตุนั้นแหละ ท่านจักเป็นผู้เบิกบานร่าเริงบันเทิง

ใจ เปรตนั้นได้ไปถือเอาโดยข้างหลัง ครั้นแล้ว

จึงได้กินอ้อยนั้นจนอิ่มหนำ เพราะเหตุนั้นแล

เปรตนั้นได้เป็นผู้เบิกบานร่าเริงบันเทิงใจ.

จบ อุจฉุเปตวัตถุที่ ๕

อรรถกถาอุจฉุเปตวัตถุที่ ๕

เรื่องอุจฉุเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อิท มม อุจฺฉุวน มหนฺต

ดังนี้. เหตุเกิดของเรื่องนั้น เป็นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 540

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร

บุรุษคนหนึ่งมัดลำอ้อย เดินกัดอ้อยลำหนึ่งไป. ลำดับนั้น อุบาสก

คนหนึ่งเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม พร้อมด้วยเด็กอ่อนเดินไปข้าง

หลัง ๆ. เด็กเห็นอ้อยแล้วร้องไห้ว่า จงให้, อุบาสกเห็นเด็กร้องไห้

เมื่อจะสงเคราะห์บุรุษนั้น จึงได้เจรจากับบุรุษนั้น ส่วนบุรุษนั้น

ไม่เจรจาอะไร ๆ กับอุบาสกนั้น ไม่ให้แม้ท่อนอ้อยแก่เด็ก อุบาสก

จึงแสดงเด็กนั้นแล้วกล่าวว่า เด็กนี้ร้องไห้นัก ท่านจงให้ท่อนอ้อย

แก่เด็กนี้ท่อนหนึ่ง บุรุษนั้นได้ฟังดังนั้น อดทนไม่ได้ เกิดขัดเคือง

จิต จึงขว้างลำอ้อยลำหนึ่งไปข้างหลังโดยไม่เอื้อเฟื้อ

สมัยต่อมา เขาทำกาละแล้วบังเกิดในหมู่เปรต ด้วยอำนาจ

ความโลภที่ครอบงำอยู่นาน. ชื่อว่าผลแห่งกรรมนั้น ย่อมเห็น สมกับ

กรรมของตน เพราะเหตุนั้น จึงเกิดเป็นไร่อ้อยใหญ่แน่นทึบไปด้วย

อ้อย ประมาณเท่าท่อนสากมีสีเหมือนดอกอัญชัน เต็มสถานที่

ประมาณ ๘ กรีส. พอเขาเข้าไปจะถือเอาอ้อย เพราะอยากจะกิน

อ้อยก็ตีเขา เพราะเหตุนั้นเขาจึงสลบล้มลง.

ภายหลังวันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เข้าไปบิณฑบาต

ยังกรุงราชคฤห์ ได้เห็นเปรตนั้นในระหว่างทาง เปรตนั้นเห็น

พระเถระแล้วจึงถามถึงกรรมที่ตนทำ. คาถาคำถามและคำตอบ

ที่เปรตและพระเถระกล่าว ความว่า :-

ไร่อ้อยใหญ่นี้บังเกิดแก่ข้าพเจ้า เป็นผล

บุญไม่น้อย แต่บัดนี้ ข้าพเจ้าจะกินอ้อยนั้นไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 541

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอก นี้เป็นผล

แห่งกรรมอะไร. ข้าพเจ้าย่อมเดือดร้อนถูกใบอ้อย

บาด พยายามตะเกียกตะกาย เพื่อจะบริโภคสัก

หน่อยก็ไม่ได้สมหวัง. กำลังก็สิ้นลง บ่นเพ้อนัก

นี้เป็นผลแต่งกรรมอะไร. อนึ่ง ข้าพเจ้าถูกความ

หิวเละความกระหายเบียดเบียน แล้วหมุนล้มไป

ที่แผ่นดิน กลิ้งเกลือกไปมา ดุจปลาดิ้นรนอยู่

ในที่ร้อน เมื่อข้าพเจ้าร้องไห้อยู่ สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมพากันมากินน้ำตาของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอก นี้เป็นผลแห่งกรรม

อะไร. ข้าพเจ้าเป็นผู้หิวกระหายลำบาก ดิ้นรน

ไปมา ย่อมไม่ประสบความสุขที่น่ายินดี ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนั้นกะท่าน

ข้าพเจ้าจะบริโภคอ้อยนั้นได้อย่างไร.

พระมหาโมคคัลลานเถระกล่าวว่า :-

เมื่อชาติก่อนท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำ

กรรมไว้ด้วยตนเอง เราจะบอกเนื้อความนั้นกะ

ท่าน ขอท่านจงฟังแล้วจำเนื้อความข้อนั้นไว้

(คือ) ท่านเดินกัดกินอ้อยไป และมีบุรุษคนหนึ่ง

เดินตามหลังท่านไป เขาหวังจะกินอ้อย จึงบอก

แก่ท่าน ท่านก็ไม่พูดอะไร ๆ แก่เขา เขาจึงได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 542

พูดวิงวอนว่า ขอท่านจงให้อ้อยเถิด ท่านได้ให้

อ้อยแก่บุรุษนั้นโดยข้างหลัง นี้เป็นผลแห่งกรรม

นั้น. เชิญท่านพึงไปถือเอาอ้อยข้างหลังซิ ครั้นถือ

เอาได้แล้ว จงกินให้อิ่มหนำเถิด เพราะเหตุนั้น

แหละ ท่านจักเป็นผู้เบิกบาน ร่าเริง บันเทิงใจ.

เปรตนั้นได้ไปถือเอาโดยข้างหลัง ครั้นแล้วจึง

ได้กินอ้อยนั้นจนอิ่มหนำ เพราะเหตุนั้นแล เปรต

นั้นจึงได้เป็นผู้เบิกบาน ร่าเริงบันเทิงใจ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสฺส อธิบายว่า แห่งกรรมเช่นไร.

บทว่า หญฺามิ ได้แก่ ข้าพเจ้าย่อมเดือดร้อน คือ ถึงความคับแค้น.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า หญฺามิ แปลว่า ย่อมเบียดเบียน อธิบายว่า

ย่อมบีบคั้นโดยพิเศษ. บทว่า ขชฺชามิ แปลว่า ถูกใบอ้อยบาด

อธิบายว่า ถูกใบอ้อยเฉือน เหมือนถูกศัสตราที่คมเช่นใบดาบเฉือน.

บทว่า วายมามิ ได้แก่ เราทำความพยายามจะกินอ้อย. บทว่า

ปริสกฺกามิ แปลว่า ตะเกียกตะกาย. บทว่า ปริภุญฺชิตุ ความว่า

เพื่อจะบริโภคน้ำอ้อย อธิบายว่า เพื่อจะเคี้ยวอ้อย. บทว่า ฉินฺนถาโม

แปลว่า สิ้นกำลัง คือกำลังขาดไป อธิบายว่า กำลังสิ้นไป. บทว่า

กปโณ ได้แก่ เป็นคนกำพร้า. บทว่า ลาลปามิ ความว่า เราถูก

ทุกข์ครอบงำจึงบ่นเพ้อไปมากมาย.

บทว่า วิฆาโต แปลว่า มีความคับแค้น หรือถูกขจัดกำลัง.

บทว่า ปริปตามิ ฉมาย ความว่า เมื่อไม่อาจทรงตัวอยู่ได้ จึงล้มลง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 543

ที่พื้นดิน. บทว่า ปริวตฺตามิ แปลว่า ย่อมหมุนไป. บทว่า วาริจโรว

แปลว่า เหมือนปลา. บทว่า ฆมฺเม ได้แก่ บนบกอันร้อนเร่าด้วย

ความร้อน.

บทว่า สนฺตสฺสิโต ได้แก่ กระหายนัก เพราะริมฝีปาก คอ

และเพดาลถึงความเหือดแห้งไป. บทว่า สาตสุข ได้แก่ ความสุข

อันเป็นความสำราญ. บทว่า น วินฺเท แปลว่า ย่อมไม่ได้. บทว่า

ต แปลว่า ซึ่งท่าน. บทว่า วิชาน แปลว่า จงรู้. บทว่า ปยาโต

แปลว่า เริ่มจะไป. บทว่า อนฺวคจฺฉิ แปลว่า ติดตาม. บทว่า

ปจฺจาสนฺโต แปลว่า หวังเฉพาะ. บทว่า เอต ในบทว่า ตสฺเสต

กมฺมสฺส นี้ เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า แห่งกรรมนั้น. บทว่า

ปิฏฺิโต คณฺเหยฺยาสิ ความว่า พึงถือเอาอ้อยทางเบื้องหลังของตน

นั่นแหละ. บทว่า ปโมทิโต ได้แก่ บันเทิงใจ.

บทว่า คเหตฺวาน ต ขาทิ ยาวทตฺถ ความว่า นันทเปรต

ถือเอาอ้อยโดยทำนองที่พระเถระสั่ง แล้วเคี้ยวกินตามชอบใจ

ถือเอามัดอ้อยมัดใหญ่ น้อมเข้าไปถวายพระเถระ พระเถระเมื่อจะ

อนุเคราะห์เขา จึงให้เขานั่นแหละ ถือเอามัดอ้อยนั้นไปยังพระ-

เวฬุวันมหาวิหาร ได้ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ฉันอ้อยนั้น แล้วกระทำอนุโมทนา เปรตมี

จิตเลื่อมใส ถวายบังคมแล้วก็ไป ตั้งแต่นั้นมา เขาก็บริโภคอ้อย

ตามความสบาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 544

สมัยต่อมา เขาทำกาละแล้วเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์.

ก็ประวัติของเปรตนี้นั้นได้ปรากฏในมนุษยโลก. ลำดับนั้น พวก

มนุษย์เข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามเรื่องนั้น พระศาสดาตรัส

เรื่องนั้นแก่มนุษย์เหล่านั้นโดยพิสดาร แล้วทรงแสดงธรรม. พวก

มนุษย์ได้สดับธรรมนั้นแล้วได้เป็นผู้เว้นขาดจากความตระหนี่ ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอุจฉุเปตวัตถุที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 545

๖. กุมารเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตมีแต่ความหิวเพราะกรรมอะไร

[๑๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า มีพระกุมาร

สององค์เป็นพระราชโอรสอยู่ในพระนครสาวัตถี

ข้างประเทศหิมพานต์ พระราชกุมารทั้ง ๒ องค์

นั้นเป็นผู้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแต่งความ

กำหนัด ทรงเพลิดเพลินด้วยอำนาจความยินดี

ในกาม ทรงติดอยู่ในความสุขปัจจุบัน ไม่ทรง

เห็นสุขในอนาคต ครั้นจุติจากความเป็นมนุษย์

ไปจากโลกนี้สู่เปตโลกแล้ว เกิดเป็นเปรต ไม่

แสดงกายให้ปรากฏ ร้องประกาศกรรมชั่วของ

ตนที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อนว่า เมื่อพระทัก-

ขิไณยบุคคลมีอยู่เป็นอันมาก และไทยธรรมอัน

เขาเข้าไปตั้งไว้ก็มีอยู่ พวกเราไม่อาจทำบุญอัน

นำมาซึ่งความสุขต่อไปแม้เล็กน้อย และทำตน

ให้มีความสวัสดีได้ อะไรจะพึงลามกกว่ากาม

นั้น พวกเราจุติการราชสกุลแล้วไปบังเกิดใน

เปตวิสัย พรั่งพร้อมไปด้วยความหิวและกระหาย

เมื่อก่อน ในโลกนี้ เคยเป็นเจ้าของในที่ใด ย่อม

ไม่ได้เป็นเจ้าของในที่นี้อีก มนุษย์ทั้งหลายเจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 546

ขึ้นแล้วเสื่อมลง ย่อมตายเพราะความหิวและ

ความกระหาย นรชนรู้โทษอันเกิดด้วยอำนาจ

ความถือตัวว่า เป็นใหญ่อย่างนี้แล้ว ละความเมา

ในความเป็นใหญ่ได้แล้ว พึงไปสู่สวรรค์ นรชน

ผู้มีปัญญาเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสวรรค์.

จบ กุมารเปตวัตถุที่ ๖

อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๖

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภเปรต ๒ ตน จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สาวตฺถิ

นาม นคร ดังนี้

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี พระเจ้าโกศลมีพระโอรส ๒ พระองค์

น่าเลื่อมใส กำลังอยู่ในปฐมวัย มัวเมาในความเป็นหนุ่ม กระทำ

กรรมคือคบหาภรรยาของคนอื่น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรต

ที่หลังคู. ในเวลากลางคืน เปรตเหล่านั้นพากันรำพันด้วยเสียง

อันน่าสะพึงกลัว พวกมนุษย์ได้ฟังเสียงนั้น พากันสะดุ้งกลัว คิดว่า

เมื่อพวกเราทำอย่างนี้ อวมงคลนี้ย่อมสงบ จึงพากันถวายมหาทาน

แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก

และอุบาสิกาทั้งหลาย เพราะได้ยินเสียงนั้น อันตรายอะไร ๆ ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 547

ไม่มีแก่พวกท่าน เพื่อจะตรัสบอกเหตุแห่งเสียงนั้นแล้วแสดงธรรม

แก่มนุษย์เหล่านั้น จึงได้ตรัสพระคาถาว่า :-

ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า มีพระกุมาร

สองพระองค์ เป็นพระราชโอรสอยู่ในกรุงสาวัตถี

ข้างหิมวันตประเทศ พระราชกุมารทั้งสองพระ-

องค์นั้น เป็นผู้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง

ความกำหนัด ทรงเพลิดเพลินด้วยอำนาจความ

ยินดีในกาม ทรงติดอยู่ในความสุขปัจจุบัน ไม่

ทรงเห็นสุขในอนาคต คั้นจุติจากความเป็น

มนุษย์ไปจากโลกนี้สู่เปตโลกแล้ว เกิดเป็นเปรต

ไม่แสดงกายให้ปรากฏ ร้องประกาศธรรมชั่ว

ของตนที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อนว่า เมื่อพระ-

ทักขิไณยบุคคลมีอยู่เป็นอันมาก และไทยธรรม

อันเขาเข้าไปตั้งไว้ก็มีอยู่ พวกเราไม่อาจทำบุญ

อันนำมาซึ่งความสุขต่อไปแม้เล็กน้อย และทำ

อันให้มีความสวัสดีได้ อะไรจะพึงลามกกว่า

กามนั้น พวกเราจุติจากราชสกุลแล้วไปบังเกิด

ในเปตวิสัย พรั่งพร้อมไปด้วยความหิวและความ

กระหาย เมื่อก่อนในโลกนี้ เคยเป็นเจ้าของใน

ที่ใด ย่อมไม่ได้เป็นเจ้าของในที่นั้นอีก มนุษย์

ทั้งหลายเจริญขึ้นแล้วกลับเสื่อมลง ย่อมตาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 548

เพราะความหิวและความกระหาย นรชนรู้โทษ

อันเกิดด้วยอำนาจความถือตัวว่าเป็นใหญ่อย่าง

นี้แล้ว ละความมัวเมาในความเป็นใหญ่ได้แล้ว

พึงไปสู่สวรรค์ นรชนผู้มีปัญญาเมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงสวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิติ เม สุต ความว่า เราได้เห็น

ด้วยญาณของตนอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ โดยที่แท้ เราได้ฟัง

มาอย่างนี้ โดยที่ปรากฏในโลก.

บทว่า กามสฺสาทาภินนฺทิโน ได้แก่ มีปกติเพลิดเพลินด้วย

อำนาจความยินดีในกามคุณ. บทว่า ปจฺจุปฺปนฺนสุเข คิทฺธา ได้แก่

เป็นต้น คือข้องในอารมณ์รักว่าความสุขที่เป็นปัจจุบัน. บทว่า

น เต ปสฺสึสุนาคต ความว่า พระราชกุมารทั้งสองนั้นละทุจริต

ประพฤติสุจริต ไม่คิดถึงสุขที่จะพึงได้ในเทวดาและมนุษย์ในอนาคต

คือในกาลต่อไป.

บทว่า เตธ โฆเสนฺตุทิสฺสนฺตา ความว่า เปรตเหล่านั้น

เมื่อก่อนเป็นราชโอรส มีรูปไม่ปรากฏร้องคร่ำครวญอยู่ในที่

ใกล้กรุงสาวัตถีนี้. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า คร่ำครวญว่าอย่างไร ?

ท่านจึงกล่าวว่า ตนได้ทำกรรมชั่วไว้ในกาลก่อน.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงจำแนกเหตุแห่งการคร่ำครวญของเปรต

เหล่านั้น โดยเหตุและผล ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อพระทักขิไณยบุคคล

มีอยู่มาก ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 549

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหูสุ วต สนฺเตสุ ได้แก่ เมื่อ

พระทักขิไณยเป็นอันมากมีอยู่. บทว่า เทยฺยธมฺเม อุปฏฺิเต ความว่า

แม้เมื่อไทยธรรมที่ควรให้อันเป็นของตนอันไว้แล้วในที่ใกล้ อธิบาย

ว่า อันจะได้อยู่. บทว่า ปริตฺต สุขาวห มีวาจาประกอบความว่า

เราไม่อาจทำบุญอันเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุขในอนาคตแม้มี

ประมาณน้อย แล้วทำตนให้มีความสวัสดี คือ ให้ปราศจากอุปัท-

วันตราย.

บทว่า กึ ตโต ปาปก อสฺส ความว่า ชื่อว่ากรรมอันเป็นบาป

คือลามกกว่านั้น จะพึงกลายเป็นอย่างอื่นได้อย่างไร. บทว่า

ย โน ราชกุลา จุตา ความว่า เพราะบาปกรรมอันใด พวกเรา

จึงจุติจากราชสกุล เกิดในเปตวิสัยนี้ คือ บังเกิดในหมู่เปรต

เพียบพร้อมไปด้วยความหิวกระหายเที่ยวไปอยู่.

บทว่า สามิโน อิธ หุตฺวาน ความว่า เมื่อก่อน ราชบุตร

เป็นเจ้าของเที่ยวไปในที่ใดในโลกนี้ แต่ไม่เป็นเจ้าของในที่นั้นนั่นเอง

ด้วยบทว่า มนุสฺสา อุนฺนโตนตา ท่านแสดงว่า ในเวลาเป็นมนุษย์

ราชกุมารเหล่านั้นเป็นเจ้าของ ทำกาละแล้วเสื่อมลงด้วยอำนาจ

กรรม เพราะความหิวกระหาย ท่านจงเห็นปกติของสงสาร.

บทว่า เอตมาทีนว ตฺว อิสฺสรมทสมฺภว ความว่า

นรชนรู้โทษ กล่าวคือการเกิดในอบายอันเกิดด้วยด้วยความเมา ใน

ความเป็นใหญ่นี้ แล้วละความเมาในความเป็นใหญ่เสีย ขวนขวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 550

เอาแต่บุญ. บทว่า ภเว สคฺคคโต นโร ความว่า พึงไปสวรรค์ คือ

เทวโลกเท่านั้น

พระศาสดาครั้นตรัสประวัติของเปรตเหล่านั้นด้วยประการ

ดังนี้แล้ว ทรงให้อุทิศทานที่มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นกระทำแก่

พวกเปรตเหล่านั้น แล้วทรงแสดงธรรม อันเหมาะแก่อัธยาศัยของ

บริษัทผู้ประชุมกัน เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชน ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 551

๗. ราชปุตตเปตวัตถุ

ว่าด้วยประทุษร้ายต่อฤๅษีตกนรกแล้วมาเป็นเปรต

[๑๒๗] ผลแห่งกรรมทั้งหลาย ที่พระราชโอรส

ทำไว้ในชาติก่อน พึงย่ำยีหัวใจ พระราชโอรส

ได้เสวยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า

รื่นรมย์ใจ และการฟ้อนรำขับร้อง ความยินดี

ความสนุกสนานเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวไปใน

สวนแล้วเข้าไปสู่เมืองราชคฤห์ ได้ทรงเห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าสุเนตตะ ผู้มีตนอัน

ฝึกแล้วมีจิตตั้งมั่น มักน้อย สมบูรณ์ด้วยหิริ

ยินดีในอาหารเฉพาะที่มีอยู่ในบาตร จึงเสด็จลง

จากคอช้างแล้วตรัสถามว่า ได้อะไรบ้างพระผู้-

เป็นเจ้า แล้วทรงจับบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า

ยกขึ้นสูง แล้วทุ่มลงที่พื้นดินให้แตก ทรงพระ

สรวล หลีกไปหน่อยหนึ่ง ได้ตรัสกะพระปัจเจก-

พุทธเจ้าผู้แลดูอยู่ด้วยอำนาจความกรุณาว่า เรา

เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากิตวะ แน่ะภิกษุ

ท่านจักทำอะไรเรา พระราชโอรสยัดเยียด(ตก)

อยู่ในนรกเสวยผลอันเผ็ดร้อนของกรรมอัน

หยาบช้านั้น พระราชโอรสผู้เป็นพาลทำบาป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 552

หยาบช้าไว้ จึงได้ประสบทุกข์อันกล้าแข็งอยู่ใน

นรก ๘๔,๐๐๐ ปี นอนหงายบ้าง นอนคว่ำบ้าง

นอนตะแคงซ้ายบ้าง นอนตะแคงขวาบ้าง เท้า

ชี้ขึ้นข้างบนบ้าง ยืนอยู่อย่างนั้นบ้าง หมกไหม้

อยู่สิ้นกาลนาน ทำบาปหยาบช้าไว้ จึงได้ประสบ

ทุกข์อันกล้าแข็งในนรกหลายหมื่นปีเป็นอันมาก

บุคคลผู้มีการงานอันลามก พากันประทุษร้ายฤๅษี

ผู้ไม่ประทุษร้ายต่อผู้ประทุษร้าย มีวัตรอันงาม

ย่อมได้เสวยทุกข์อันเผ็ดร้อนอย่างยิ่ง เห็นปานนี้

และเปรตผู้เป็นพระราชบุตรเสวยทุกข์เป็นอัน

มากในนรกนั้นสิ้นปีเป็นอันมาก จุติจากนรก

แล้วมาเกิดเป็นเปรตอดอยากอีก บุคคลรู้โทษอัน

เกิดเพราะอำนาจแห่งความมัวเมาในความเป็น

ใหญ่อย่างนี้แล้ว พึงละความมัวเมาในความเป็น

ใหญ่เสีย แล้วพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ควร

อ่อนน้อม ผู้ใดความเคารพในพระพุทธเจ้า

พระธรรมและพระสงฆ์ ผู้นั้นอันบุคคลพึงสรร-

เสริญในปัจจุบัน ผู้นั้นเป็นคนมีปัญญา เมื่อตาย

ไป ย่อมเข้าถึงสวรรค์.

จบ ราชปุตตเปตวัตถุที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 553

อรรถกถาราชปุตตเปตวัตถุที่ ๗

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภเปรตราชบุตร ได้ตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า ปุพฺเพ

กตาน กมฺมาน ดังนี้

ในเรื่องนั้น ในอดีตกาล โอรสของพระเจ้า กิตวะ ผิดใน

พระปัจเจกพุทธเจ้าในอดีตไหม้ในนรกหลายพันปี ด้วยเศษแห่ง

วิบากของกรรมนั้นนั่นแหละ เขาจึงเกิดในหมู่เปรต ท่านประสงค์

เอาว่า เปรตราชบุตร ในที่นี้. เรื่องของเปรตราชบุตรนั้น มาโดย

พิสดารในเรื่องสานุวาสิเปรต ในหนหลังนั่นแล เพราะฉะนั้น ควร

ถือเอาโดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องสานุวาสิเปรตนั่นเอง. จริงอยู่

ในกาลนั้น เมื่อพระเถระกล่าวประวัติของเปรตผู้เป็นญาติของตน

พระศาสดาจึงตรัสว่า ไม่ใช่เปรตผู้เป็นญาติของท่านอย่างเดียว

เท่านั้น โดยที่แท้ แม้ท่านก็จากโลกนี้ ไปเป็นเปรต เสวยทุกข์

อย่างใหญ่ในอัตภาพ อันเป็นอดีตโดยลำดับ ดังนี้ อันพระเถระนั้น

ทูลอารธนาแล้ว จึงตรัสเปตวัตถุนี้ว่า :-

ผลแห่งกรรมทั้งหลายที่พระราชโอรส

ได้ทำไว้ในชาติก่อน พึงย่ำยีหัวใจ พระราชโอรส

ได้เสวยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า

รื่นรมย์ใจ และการฟ้อนรำขับร้อง ความยินดี

ความสนุกสนานเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวไปใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 554

สวนแล้วเสด็จเข้าไปยังเมืองราชคฤห์ ได้ทรง

เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าสุเนตตะ ผู้มีตน

อันฝึกแล้ว มีจิตตั้งมั่น มักน้อย สมบูรณ์ด้วย

หิริ ยินดีในอาหาร เฉพาะที่มีอยู่ในบาตร จึงเสด็จ

ลงจากคอช้าง แล้วตรัสถามว่า ได้อะไรบ้าง

พระผู้เป็นเจ้า แล้วจับบาตรของพระปัจเจก-

พุทธเจ้า ยกขึ้นสูงแล้วทุ่มลงที่พื้นดินให้แตก

ทรงพระศรวลหลีกไปหน่อยหนึ่ง ได้ตรัสกะ

พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้แลดูอยู่ด้วยอำนาจความ

กรุณาว่าเราเป็นโอรสของพระเจ้ากิตวะ แน่ะภิกษุ

ท่านจักทำอะไรเรา พระราชโอรสยัดเยียด(ตก)

อยู่ในนรก ได้เสวยผลอันเผ็ดร้อน ของกรรม

อันหยาบช้านั้น พระราชโอรสผู้เป็นพาล ทำบาป

หยาบช้าไว้ จึงได้ประสบทุกข์อันกล้าแข็งอยู่

ในนรก ๘๔,๐๐๐ ปี นอนหงายบ้าง นอนคว่ำ

บ้าง นอนตะแคงซ้ายบ้าง นอนตะแคงขวาบ้าง

เท้าชี้ขึ้นข้างบนบ้าง ยืนอยู่อย่างนั้นบ้าง หมกไหม้

อยู่สิ้นกาลนาน ท่านบาปหยาบช้าไว้ จึงได้ประสบ

ทุกข์อันกล้าแข็งในนรก หลายหมื่นปีเป็นอันมาก

บุคคลผู้มีการงานอันลามก พากันประทุษร้าย

ฤๅษี ผู้ไม่ประทุษร้ายต่อผู้ประทุษร้าย ผู้มีวัตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 555

อันงาม ได้เสวยทุกข์อันเผ็ดร้อนอย่างยิ่งเห็น

ปานนี้ และเปรตผู้เป็นพระราชโอรสเสวยทุกข์

เป็นอันมากในนรกนั้นสิ้นหลายปี จุติจากนรก

แล้วมาเกิดเป็นเปรตอดอยากอีก บุคคลรู้โทษอัน

เกิดเพราะอำนาจความมัวเมาในความเป็นใหญ่

อย่างนี้แล้ว พึงละความมัวเมาในความเป็นใหญ่

เสีย แล้วพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ควรอ่อน

น้อม ผู้ใดมีความเคารพในพระพุทธเจ้า พระ-

ธรรม และพระสงฆ์ ผู้นั้นอันบุคคลพึงสรรเสริญ

ในปัจจุบัน เป็นคนมีปัญญา เมื่อตายไปย่อมเข้า

ถึงสวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ กตาน กมฺมาน วิปาโก

มถเย มน ความว่า ผลแห่งอกุศลกรรมที่พระราชโอรสกระทำไว้

ในชาติก่อน เกิดเป็นผลอันยิ่ง ย่ำยี ครอบงำ จิตของคนอันธพาล อธิบายว่า

พึงยังประโยชน์ของตนให้เกิดขึ้น โดยมุ่งจะทำความพินาศให้แก่

คนเหล่าอื่น.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงผลแห่งอกุศลกรรมนั้น อันเป็นเครื่องย่ำยี

จิตพร้อมด้วยอารมณ์ ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูป เสียง ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูเป ได้แก่ เพราะเหตุแห่งรูป อธิบาย

ว่า เพราะได้รูปารมณ์ตามที่ปรารถนา ที่น่าชอบใจเป็นนิมิตร.

แม้ในบทว่า สทฺเท ดังนี้เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 556

เมื่อจะทรงแสดงกำหนดความที่กล่าวแล้วโดยทั่วไป โดย

เป็นความไม่ทั่วไปอย่างนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า การฟ้อน การขับ

ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รตึ ได้แก่ ซึ่งความยินดีในกาม.

บทว่า ขิฑฺฑ ได้แก่ การเล่นด้วยสหายเป็นต้น. บทว่า คิริพฺพช

ได้แก่ กรุงราชคฤห์.

บทว่า อิสึ ความว่า ชื่อว่า ฤๅษี เพราะอรรถว่าแสวงหาคุณ

อันยิ่งใหญ่มีศีลขันธ์เป็นจ้น อันเป็นของพระอเสกขะ. บทว่า

สุเนตฺต ได้แก่ อตฺตทนฺต ได้แก่ ผู้มีจิตอันฝึกแล้วด้วยการฝึกอย่างสูง.

บทว่า สมาหิต ได้แก่ ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิอันสัมปยุตต์ด้วย

พระอรหัตตผล. บทว่า อุญฺเฉ ปตฺตคเต รต ได้แก่ ผู้ยินดี คือ สันโดษ

ในอาหารที่อยู่ในบาตร คือที่นับเนื่องในบาตร อันได้มาด้วยการ

แสวงหา คือ ด้วยการภิกษาจาร.

บทว่า ลทฺธา ภนฺเตติ จาพฺรวิ ความว่า ตรัสเพื่อให้เกิด

ความคุ้นเคยว่า ท่านขอรับ ท่านภิกษาบ้างไหม. บทว่า อุจฺจ

ปคฺคยฺห ได้แก่ ยกบาตรขึ้นให้สูง.

บทว่า ถณฺฑิเล ปตฺต ภินฺทิตฺวา ได้แก่ ทำลายบาตร

ให้แตกโยนไปในภูมิประเทศอันแข็ง. บทว่า อปกฺกมิ ได้แก่ หลีกไป

หน่อยหนึ่ง. ก็พระราชโอรสเมื่อจะหลีกไปหน่อยหนึ่ง. ก็พระ-

ราชโอรสเมื่อจะหลีกไปจึงกล่าวว่า เราเป็นโอรสของพระเจ้ากิตวะ

ดูก่อนภิกษุ ท่านจักทำอะไรเราดังนี้ กะพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้แลดู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 557

ด้วยความกรุณาว่า คนอันธพาลได้ทำความพินาศอันใหญ่หลวง

ให้แก่ตน โดยเหตุอันไม่สมควรเลย.

บทว่า ผรุสสฺส แปลว่า หยาบช้า. บทว่า กฏโก แปลว่า

ไม่น่าปรารถนา. บทว่า ย โยควิปาก แปลว่า วิบากใด. บทว่า

สมปฺปิโต ได้แก่ ติดอยู่แล้ว.

บทว่า ฉเฬว จตุรสีติ วสฺสานิ นหุตานิ จ ความว่า นอนหงาย

นอนคว่ำ นอนตะแคงซ้าย นอนตะแคงขวา เอาเท้าขึ้นบนหัวห้อยลง

และยืนอยู่ตามเดิม อย่างละ ๘๔,๐๐๐ ปี รวมเป็น ๖ ครั้ง ๆ ละ

๘๔,๐๐๐ ปี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระราชโอรสผู้เป็นอันธพาล หมกไหม้

ในนรก คือนอนหงาย นอนคว่ำ นอนตะแคงซ้าย

นอนตะแคงขวา เอาเท้าขึ้นข้างบนหัวลงล่าง

และยืนอยู่ตามปกติ สิ้นกาลนาน.

ก็เพราะเหตุที่มีหลายหมื่นปี ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า นหุตานิ

หลายหมื่นปี. บทว่า ภุส ทุกฺข นิคจฺฉิตฺโถ ความว่า ประสบทุกข์

อย่างยิ่ง.

บทว่า ปูคานิ ได้แก่ ในการประชุมแห่งปี แต่ในคาถานี้

และในคาถาต้น พึงเห็นว่า เป็นทุติยาวิภัติลงในอรรถแห่งอัจจันต-

สังโยคแปลว่า ตลอด.

บทว่า เอตาทิส คือเห็นปานนั้น. บทว่า กฏก ได้แก่ ทุกข์

หนักนี้ เป็นการแสดงออกแห่ง นปุสกลิงค์ เหมือนในประโยคว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 558

นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งเป็นต้น. มีวาจาประกอบความว่า บุคคล

ผู้มีการงานอันลามก พากันประทุษร้าย คือ รุกรานฤๅษี ผู้ไม่

ประทุษร้าย ต่อผู้ไม่ประทุษร้าย คือ ผู้มีวัตรดี ย่อมประสบทุกข์

เห็นปานนี้ อันเผ็ดร้อนยิ่งนัก.

บท โส ได้แก่ เปรตราชบุตรนั้น. บทว่า ตตฺถ คือ ในนรก.

บทว่า เวทยิตฺวา แปลว่า เสวย. บทว่า นาม ได้แก่ โดยความเป็น

ผู้ปรากฏโดยแจ้งชัด. บทว่า ตโต จุโต ได้แก่ จุติจากนรก. คำที่เหลือ

มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้มหาชนผู้ประชุมกันในที่นั้น

เกิดความสังเวช ด้วยกถาว่าด้วยราชบุตรเปรตอย่างนี้แล้ว จึง

ประกาศสัจจะยิ่ง ๆ ขึ้นไป. ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็นอันมาก

บรรลุโสดาปัตติผล เป็นต้น ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาราชปุตตเปตวัตถุที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 559

๘. คูถขาทิกเปตวัตถุที่ ๑

ว่าด้วยด่าพระตกนรกกินของไม่สะอาด

พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเปรตตนหนึ่งว่า :-

[๑๒๘] ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถ

ให้เราเห็นเช่นนี้ ท่านร้องครวญครางอื้ออึงไป

ทำไมเล่า ท่านมีการงานอันลามกเป็นแน่.

เปรตนั้นตอบว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวย

ทุกข์เกิดในยมโลก เพราะได้ทำกรรมอันลามก

ไว้จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า :-

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา

ใจ เพราะผลแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้ประสบ

ทุกข์เช่นนี้.

เปรตนั้นตอบว่า :-

ชาติก่อน มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาส

อยู่ในอาวาสของข้าพเจ้า ท่านมีปกติริษยา

ตระหนี่ตระกูล มีใจกระด้าง มักด่าบริภาษ ได้

ยกโทษภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายที่เรือนของ

ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังคำของภิกษุนั้นแล้ว ได้ด่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 560

ภิกษุทั้งหลาย เพราะผลแห่งกรรมนั้น ข้าพเจ้า

จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า :-

ภิกษุที่เข้าไปสู่ตระกูลของท่าน ไม่ใช้

มิตรแท้เป็นมิตรเทียม เป็นคนมีปัญญาทราม

ทำลายขันธ์ละไปแล้ว ไปสู่คติไหนหนอ.

เปรตนั้นตอบว่า :-

ข้าพเจ้ายืนอยู่บนศีรษะของภิกษุผู้มีกรรม

อันลามกนั้น กุลุปกภิกษุไปเกิดเป็นเปรตบริวาร

ของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่าอื่นถ่าย

มูตรคูถลงในเว็จนี้ มูตรคูถนั้นเป็นอาหารของ

ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ากินมูตรคูถนั้นแล้ว ถ่ายมูตร

คูถสิ่งใดลงไป กุลุปกเปรตนั้นก็เลี้ยงชีพด้วย

มูตรคูถนั้น.

จบ ปฐมคูถขาทิกเปตวัตถุที่ ๘

อรรถกถาปฐมคูถขาทกเปตวัตถุที่ ๘

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภคูถขาทกเปรตตนหนึ่ง จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

คูถกูปโต อุคฺคนฺตฺวา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 561

ได้ยินว่า ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถีนัก

ยังมีกฏุมพีผู้หนึ่ง สร้างวิหาร อุทิศถวายภิกษุผู้เป็นชีต้นของตน,

ภิกษุทั้งหลาย มาจากชนบทต่าง ๆ อยู่อาศัยในวิหารหลังนั้น.

มนุษย์ทั้งหลายเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส อุปัฏฐากด้วย

ปัจจัยอันประณีต. ภิกษุชีต้น อดทนปัจจัยนั้นไม่ได้ เป็นผู้ถูกความ

ริษยา ครอบงำ เมื่อจะกล่าวโทษของภิกษุเหล่านั้น จึงยกโทษกะ

กฏุมพี. กฏุมพี ข่มขี่บริภาษภิกษุเหล่านั้น และภิกษุเป็นชีต้น.

ลำดับนั้น ภิกษุผู้เป็นชีต้น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรตในเวจจกุฏี

ในวัดนั่นเอง. ฝ่ายกฏุมพี ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรตอยู่ข้างบน

ของพระเปรตนั้นนั่นแล. ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

พอเห็นเปรตนั้นแล้ว เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถาว่า :-

ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถ

ให้เราเป็นเช่นนี้ ท่านร้องครวญครางอื้ออึงไป

ทำไมเล่า ท่านมีการงานอันลามก โดยไม่ต้อง

สงสัย.

เปรตได้ดังดังนั้นแล้ว จึงแสดงตนด้วยคาถาว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวย

ทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะได้ทำกรรมอันลามก

ไว้ จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก.

ลำดับนั้นพระเถระจึงถามกรรมที่เปรตนั้นกระทำกะเปรต

นั้น ด้วยคาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 562

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วย กาย วาจา

เพราะผลแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้ประสบ

ทุกข์เช่นนี้.

เปรตนั้น ได้บอกกรรมที่ตนทำด้วยคาถา ๒ คาถาว่า :-

เมื่อก่อน มีภิกษุรูปหนึ่ง เป็นเจ้าอาวาส

อยู่ในอาวาสของข้าพเจ้า ท่านมีปกติริษยา

ตระหนี่ในตระกูล มีใจกระด้าง มักด่าบริภาษ

ได้ยกโทษภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย ที่เรือนของ

ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังคำของภิกษุนั้นแล้ว ได้ด่า

ภิกษุทั้งหลาย เพราะผลแห่งกรรมนั้น ข้าพเจ้า

จากโลกนี้แล้ว ไปสู่เปตโลก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ อาวาสิโก มยฺห ได้แก่ ภิกษุ

รูปหนึ่ง ผู้เป็นเจ้าอาวาส ได้อยู่ประจำ ในอาวาสของข้าพเจ้า คือ

ในวัดที่ข้าพเจ้าได้สร้างไว้. บทว่า อชฺฌาสิโต มยฺห ฆเร ความว่า

ท่านได้อยู่อาศัยในเรือนของข้าพเจ้า โดยความเป็นชีต้น ด้วย

อำนาจการอยู่ด้วยตัณหา.

บทว่า ตสฺส ได้แก่ภิกษุผู้เป็นชีต้นนั้น. บทว่า ภิกฺขโว

แปลว่า ซึ่งภิกษุทั้งหลาย. บทว่า ปริภาสิส แปลว่า ด่าแล้ว บทว่า

เปตโลก อิโต คโต ความว่า เข้าถึงกำเนิดเปรต คือเป็นเปรตด้วย

อาการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 563

พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะถามถึงคติของเปรตนอกนี้

จึงกล่าวคาถาว่า :-

ภิกษุผู้ชีต้นของท่าน ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น

แต่มิตรเทียม เป็นคนมีปัญญาทราม ทำลายขันธ์

ละไปแล้ว ไปสู่คติไหนหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตวณฺเณน ได้แก่ ด้วยมิตรเทียม

คือ โดยความเทียมมิตร.

เปรตเมื่อจะบอกเรื่องนั้น แก่พระเถระอีก จึงกล่าวคาถา

๒ คาถาว่า :-

ข้าพเจ้า ยืนอยู่บนศีรษะ ของภิกษุผู้มี

กรรมอันลามกนั้น ภิกษุผู้ชีต้น ไปเกิดเป็นเปรต

บริวารของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่า

อื่น ถ่ายมูตรคูถลงในเวจกุฏีนี้ มูตรคูถนั้น เป็น

อาหารของข้าพเจ้า และข้าพเจ้ากินมูตรคูถนั้น

แล้ว ถ่ายมูตรคูถสิ่งใดลงไป เปรตผู้เป็นชีต้น

นั้น ก็เลี้ยงชีพด้วยมูตรและคูถนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺเสว ได้แก่ เปรตผู้เป็นภิกษุ

ชีต้น ในกาลก่อน ของข้าพเจ้านั้นนั่นแล. บทว่า ปาปกมฺมสฺส ได้แก่

มีความประพฤติลามก. บทว่า สีเส ติฏฺามิ มตฺถเก ความว่า

ข้าพเจ้ายืนอยู่บนศีรษะ และเมื่อยืน ยืนอยู่บนกระหม่อมนั้นเอง

อธิบายว่า ไม่ได้ยืนอยู่บนอากาศประมาณศีรษะ. บทว่า ปรวิสย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 564

ปตฺโต ได้แก่ อาศัยมนุษยโลกแล้วถึงเปตวิสัยอันเป็นแดนอื่น. บทว่า

มเมว ความว่า บาลีที่เหลือ บัณฑิตพึงนำมาเชื่อมเข้าด้วยคำว่า

ได้เป็นบริวารของข้าพเจ้าเอง.

บทว่า ย ภทนฺเต หทนฺตญฺเ ความว่า ข้าแต่พระมหา-

โมคคัลลานะผู้เจริญ ชนเหล่าอื่น ย่อมถ่ายอุจจาระลงในเวจจกุฏีนั้น.

บทว่า เอต เม โหติ โภชน ความว่า อุจจาระนั้น เป็นอาหารของ

ข้าพเจ้าทุก ๆ วัน. บทว่า ย หทามิ ความว่า ก็ข้าพเจ้าถ่ายอุจจาระ

ที่ข้าพเจ้ากินเข้าไป. บทว่า เอต โส อุปชีวติ ความว่า เปรตผู้เป็น

ชีต้นนั้น เลี้ยงชีพ คือยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการกินอุจจาระของ

ข้าพเจ้านั้น ทุก ๆ วัน.

ในคนเหล่านั้น กฏุมพี ด่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักว่า การกิน

คูถของพวกท่าน ยังประเสริฐกว่าการบริโภคอาหารอย่างนี้. ส่วน

ภิกษุเป็นชีต้น ชักชวนกฏุมพีในการ เช่นนี้นั้น ตนเองก็ได้ด่า

เหมือนเช่นนั้น, ด้วยเหตุนั้น เปรตนั้นจึงมีการเลี้ยงชีพ อันน่าติเตียน

แม้กว่ากฏุมพีนั้น. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำเรื่องนั้น

ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วทรงแสดงโทษในการว่าร้ายแล้ว ทรง

แสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่

มหาชนฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปฐมคูถขาทกเปตวัตถุที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 565

๙. คูถขาทิกเปติวัตถุที่ ๒

พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเปรตตนหนึ่งว่า :-

[๑๒๙] ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถ

ให้เราเห็นเช่นนี้ ท่านมาร้องครวญครางอื้ออึง

ไปทำไมเล่า ท่านมีกรรมอันลามกเป็นแน่.

นางเปรตนั้นตอบว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นนางเปรตได้

เสวยทุกข์ เกิดในยมโลกเพราะได้ทำกรรมชั่วไว้

จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก ฯลฯ (เหมือนเรื่องที่ ๘)

จบ ทุติยคูถขาทิกาเปติวัตถุที่ ๙

อรรถกถาทุติยคูถขาทกเปติวัตถุที่ ๙

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภนางเปรตผู้กินคูถคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า คูถกูปโต อุคฺคนฺตฺวา ดังนี้.

เรื่องของนางเปรตนั้น เช่นกับเรื่องที่ติดต่อกันนั้น. ในเรื่อง

นั้น มาโดยอำนาจอุบาสกว่า อุบาสกได้สร้างวิหาร แต่ในเรื่องนี้

มีความแปลกกันเท่านี้ว่า อุบาสิกาได้สร้างวิหาร. คำที่เหลือ ใน

ท้องเรื่อง และในคาถา ไม่เคยมี.

จบ อรรถกถาทุติยคูถขาทกเปติวัตถุที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 566

๑๐. คณเปตวัตถุ

ว่าด้วยเรื่องเปรตหิวน้ำแล้วกินไม่ได้

พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเปรตทั้งหลายว่า :-

[๑๓๐] ท่านทั้งหลายเปลือยกาย มีรูปร่างผิว

พรรณน่าเกลียด ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วย

เส้นเอ็น ผอมจนแลเห็นแต่ซี่โครงเช่นนี้ แน่ะ

ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านทั้งหลายเป็นอะไรหนอ.

เปรตทั้งหลายตอบว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเปรต

เสวยทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะทำกรรมชั่วไว้

จึงจากมนุษยโลกไปสู่เปตโลก.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า :-

ท่านทั้งหลายทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย

วาจา ใจ เพราะผลแห่งกรรมอะไร ท่านทั้งหลาย

จึงจากมนุษยโลกไปสู่เปตโลก.

เปรตเหล่านั้นตอบว่า :-

เมื่อสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นที่พึ่ง

อันหาโทษมิได้มีอยู่ ข้าพเจ้าทั้งหลายมิได้ก่อสร้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 567

กุศลไว้แม้เพียงกึ่งมาสก เมื่อไทยธรรมมีอยู่ก็

ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน พวกข้าพเจ้าหิวน้ำ จึงเข้า

ไปใกล้แม่น้ำ แม่น้ำกลับกลายเป็นว่างเปล่าไป

เมื่อเวลาร้อน ข้าพเจ้าทั้งหลายเข้าไปสู่ร่มไม้

ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดแผดเผาไป และลมมี

ดังไฟแผดเผาพวกข้าพเจ้าฟุ้งไป ข้าแต่ท่านผู้

เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายควรที่จะเสวยทุกข์อันมี

ความกระหายเป็นต้นนี้ และทุกข์อย่างอื่นอัน

ชั่วช้ากว่าทุกข์นั้น อนึ่ง ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้

ความหิวแผดเผาแล้วอยากอาหาร พากันไป

สิ้นทางหลายโยชน์ ก็ไม่ได้อาหารอะไร ๆ เลย

จึงพากันกลับมา ข้าพเจ้าทั้งหลายนี้หาบุญมิได้

หนอ เมื่อมีความหิวโอยอิดโรยมากขึ้น ก็พากัน

ล้มสลบลงที่พื้นดิน บางคราวก็ล้มนอนหงาย

บางคราวก็ล้มคว่ำ ดิ้นรนไปมา ก็ข้าพเจ้าเหล่านั้น

สลบอยู่ที่พื้นดินตรงที่ล้มอยู่นั่นเอง เอาศีรษะ

ชนหน้าอกกันและกัน ข้าพเจ้าเหล่านี้หาบุญมิได้

หนอ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายควรที่

จะเสวยทุกข์ อันมีความกระหายเป็นต้นนี้ และ

ทุกข์อย่างอื่นอันชั่วช้ากว่าทุกข์นั้น เพราะเมื่อ

ไทยธรรมมีอยู่ ข้าพเจ้าทั้งหลายก็ไม่ได้ทำที่พึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 568

แก่ตน ก็ข้าพเจ้าเหล่านั้นไปจากที่นี้ ได้กำเนิด

เป็นมนุษย์แล้ว จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล กระทำกุศลให้มากเป็นแน่.

จบ คณเปตวัตถุที่ ๑๐

อรรถกถาคณเปตวัตถุที่ ๑๐

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภเปรตเป็นอันมาก จึงได้ตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

นคฺคา ทุพฺพณฺณรูปาตฺถ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มนุษย์เป็นอันมาก เป็นคณะ ไม่มี

ศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส มีจิตถูกมลทินคือ ความตระหนี่กลุ้มรุม

เป็นผู้เบือนหน้าต่อสุจริต มีทานเป็นต้น มีชีวิตอยู่นาน เพราะกาย

แตกตายไป จึงบังเกิดในกำเนิดเปรต ใกล้พระนคร. ภายหลัง

วันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำลังเดินบิณฑบาตในกรุง

สาวัตถี เห็นพวกเปรตในระหว่างทาง จึงถามด้วยคาถาว่า :-

พวกท่านเปลือยกาย มีรูปร่างผิวพรรณ

น่าเกลียด ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น

ผอมจนเห็นแต่ซี่โครงเช่นนี้ แน่ะท่านผูนิรทุกข์

พวกท่านเป็นใคร หนอ ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุพฺพณฺณรูปาตฺถ ความว่า ท่าน

เป็นผู้มีร่างกายผิวพรรณน่าเกลียด. บทว่า เก นุ ตุมเหตฺถ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 569

พวกท่านเป็นใครหนอ. พระมหาโมคคัลลานะ เรียกเปรตเหล่านั้น

โดยสมควรแก่ตนว่า มาริสา.

เปรตได้ฟังดังนั้น จึงพากันประกาศความที่ตนเป็นเปรต

ด้วยคาถาว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเปรต

เสวยทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะการทำกรรมชั่ว

ไว้ จึงจากมนุษยโลก ไปสู่เปตโลก ดังนี้

ถูกพระเถระถามถึงกรรมที่เขาทำไว้อีก ด้วยคาถาว่า :-

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา

และใจ เพราะผลแห่งกรรมอะไร พวกท่านจึง

จากมนุษยโลก ไปสู่เปตโลก.

จึงได้กล่าวกรรมที่ตนทำด้วยคาถาว่า :-

เมื่อสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้เป็นที่พึ่ง

อันหาโทษมิได้มีอยู่ ข้าพเจ้าทั้งหลาย มิได้ก่อ

สร้างกุศลไว้ แม้เพียงกึ่งมาสก เมื่อไทยธรรม

มีอยู่ ก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน พวกข้าพเจ้าหิวน้ำ

จึงเข้าไปใกล้แม่น้ำ แม่น้ำกลับกลายเป็นว่างเปล่า

ไป เมื่อเวลาร้อน พวกข้าพเจ้าเข้าไปสู่ร่มไม้

ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดแผดเผาไป และลมมี

ดังไฟแผดเผาพวกข้าพเจ้า ฟุ้งไป ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าควรจะเสวยทุกข์ อันมีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 570

กระหายเป็นต้นนี้ และทุกข์อย่างอื่น อันชั่วช้า

กว่าทุกข์นั้น อนึ่งพวกข้าพเจ้า เป็นผู้ถูกความ

หิวแผดเผาแล้ว อยากอาหาร พากันไปสิ้นทาง

หลายโยชน์ ก็ไม่ได้อาหารอะไร ๆ เลย จึงพา

กันกลับมา พวกข้าพเจ้านี้หาบุญมิได้หนอ เมื่อ

มีความหิวโหยอิดโรยมากขึ้น ก็พากันล้มสลบ

ลงที่พื้นดิน บางคราวก็ล้มนอนหงาย บางคราว

ก็ล้มคว่ำ ดิ้นรนไปมา ก็พวกข้าพเจ้านั้นสลบ

อยู่ที่พื้นดิน ตรงที่ล้มอยู่นั่นเอง เอาศีรษะชน

หน้าอกกันและกัน พวกข้าพเจ้านี้ ทาบุญมิได้

หนอ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าควรที่จะ

เสวยทุกข์ มีความกระหายเช่นต้นนี้ และทุกข์

อย่างอื่น อันชั่วช้ากว่าทุกข์นั้น เพราะเมื่อไทย

ธรรมมีอยู่ พวกข้าพเจ้า ก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน

ก็พวกข้าพเจ้านั้น ไปจากที่นี้ ได้กำเนิดเป็นมนุษย์

จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ ของผู้ขอ เป็นผู้สมบูรณ์

ด้วยศีล จักทำกุศลให้มากแน่ ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ โยชนานิ คจฺฉาม ความว่า

ข้าพเจ้าไปได้หลายโยชน์. อย่างไร ? คือเป็นผู้หิวอยากกินอาหาร.

อธิบายว่า พวกข้าพเจ้า ถูกความหิวครอบงำมานาน อยากกิน คือ

อยากลิ้มอาหาร แม้ครั้นไปอย่างนี้ ไม่ได้อาหารอะไร ๆ เลย ก็พา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 571

กันกลับมา. บทว่า อปฺปปุญฺตา ได้แก่ พวกข้าพเจ้า ไม่มีบุญ

คือ ไม่ได้ทำคุณงามความดีไว้.

บทว่า อุตฺตานา ปฏิกิราม ความว่า บางคราวเป็นผู้นอนหงาย

เป็นไปเหมือนอวัยวะน้อยใหญ่กระจัดกระจายไป. บทว่า อวกุชฺชา

ปตามเส ความว่า บางคราวก็นอนคว่าตกลงไป.

บทว่า เต จ ได้แก่ พวกข้าพเจ้านั้น. บทว่า อุร สีลญฺจ ฆฏฺเฏม

ความว่า นอนคว่ำตกลงไป เมื่อไม่อาจจะลุกขึ้นได้ สั่นงันงกอยู่

ประสบเวทนา เอาอกและศีรษะเสียดสีกัน. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าว

แล้วในหนหลัง นั้นแล.

พระเถระกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรม

แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. มหาชนฟังธรรมนั้นแล้ว ละมลทิน คือ

ความตระหนี่ ได้เป็นผู้ยินดีสุจริต มีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาคณเปตวัตถุที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 572

๑๑. ปาฏลีปุตตเปตวัตถุ

เวมานิกเปรตตนหนึ่งได้กล่าวกะหญิงมนุษย์คนหนึ่งว่า :-

[๑๓๑] สัตว์นรกบางพวกท่านก็เห็นแล้ว สัตว์

เดียรัจฉาน เปรต อสูร มนุษย์ หรือเทวดาบาง

พวกท่านก็เห็นแล้ว ผลกรรมของตนท่านก็เห็น

ประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว เราจักน้ำท่านไปส่งยัง

เมืองปาฏลีบุตร ท่านไปถึงเมืองปาฏลีบุตรแล้ว

จงทำกรรมอันเป็นกุศลให้มาก.

เมื่อหญิงนั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว มีความปลื้มใจ จึงกล่าวตอบ

ว่า :-

ข้าแต่เทพเจ้าผู้อันบุคคลพึงบูชา ท่าน

ปรารถนาความเจริญแก่ดิฉัน ปรารถนาประโยชน์

เกื้อกูลแก่ดิฉัน ดิฉันจักทำตามคำของท่าน ท่าน

เป็นอาจารย์ของดิฉัน สัตว์นรกบางพวก ดิฉัน

ก็เห็นแล้ว สัตว์เดียรัจฉาน เปรต อสูร มนุษย์

หรือเทวดาบางพวกดิฉันก็เห็นแล้ว ผลกรรมของ

ตนดิฉันก็ได้เห็นเองแล้ว ดิฉันจักทำบุญให้มาก.

จบ ปาฏลีปุตตเปตวัตถุที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 573

อรรถกถาปาฏลีปุตตเปตวัตถุที่ ๑๑

เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภวิมานเปรตตนหนึ่ง จึงตรัสคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า ทิฏฺา

ตยา นิรยา ติรจฺฉานโยนิ ดังนี้

ได้ยินว่าพ่อค้าชาวกรุงสาวัตถีและชาวกรุงปาฏลีบุตรเป็น

อันมาก แล่นเรือไปยังสุวรรณภูมิ. บรรดาพ่อค้าเหล่านั้น พ่อค้า

คนหนึ่งเป็นอุบาสก เกิดป่วยไข้ มีจิตปฏิพัทธ์ในมาตุคาม ได้ทำ

กาละแล้ว. เขาแม้ได้ทำกุศลไว้ก็ไม่เข้าถึงเทวโลก เกิดเป็นวิมาน

เปรตในท่ามกลางมหาสมุทร เพราะเป็นมีจิตปฏิพัทธ์ในหญิง.

ก็หญิงที่เขามีจิตปฏิพัทธ์นั้น ขึ้นเรือไปยังสุวรรณภูมิ. ลำดับนั้น

เปรตนั้นประสงค์จะจับหญิงนั้น จึงปิดกั้นไม่ให้เรือไป. ลำดับนั้น

พ่อค้าทั้งหลายพิจารณากันว่า เพราะเหตุอะไรหนอ เรือนี้จึงไม่

แล่น จึงให้จับสลากคนกาฬกิณี สลากได้ถึงหญิงนั้นนั่นแหละ

ถึง ๓ ครั้ง โดยความสำเร็จของอมนุษย์. พวกพ่อค้าเห็นหญิงที่

เขามีจิตปฏิพัทธ์นั้น จึงให้หย่อนแพไม้ไผ่ลงในสมุทร ให้หญิงนั้น

ลงไปอยู่บนแพไม้ไผ่นั้น. พอหญิงนั้นลงไป เรือก็แล่นบ่ายหน้าไป

ยังสุวรรณภูมิโดยเร็ว. อมนุษย์ยกหญิงนั้นขึ้นยังวิมานของตน

อภิรมย์กับหญิงนั้น.

ครั้นล่วงไป ๑ ปี หญิงนั้นเกิดเบื่อหน่าย เมื่อจะขอร้องเปรต

นั้น จึงกล่าวว่า ดิฉันอยู่ในที่นี้ก็ไม่ได้เพื่อสร้างประโยชน์ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 574

สัมปรายภพ ดีละท่านผู้นิรทุกข์ ขอท่านจงนำข้าพเจ้าไปเมือง

ปาฏลีบุตร. เปรตนั้นถูกหญิงนั้นอ้อนวอน จึงกล่าวคาถา :-

สัตว์นรกบางพวกท่านก็เห็นแล้ว สัตว์

เดียรัจฉาน เปรต อสุรกาย มนุษย์ หรือเทวดา

บางพวก ท่านก็เห็นแล้ว ผลกรรมของตนท่าน

เป็นประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว เราจะนำท่านไป

ส่งยังเมืองปาฏลีบุตร ท่านไปถึงเมืองปาฏลีบุตร

แล้ว จงทำกุศลธรรมให้มากเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺา ตยา นิรยา ได้แก่ แม้เฉพาะ

สัตว์นรกบางพวก ท่านก็เห็นแล้ว. บทว่า ติรจฺฉานโยนิ มีวาจา

ประกอบความว่า แม้สัตว์ดิรัจฉานมี นาคและครุฑเป็นต้น ผู้มี

หิวกระหายเป็นต้น. บทว่า อสุรา ได้แก่ อสูร ชนิดกาลกัญชิกาสูร

เป็นต้น. บทว่า เทวา ได้แก่ เทพชั้นจาตุมมหาราชบางพวก. ได้

ยินว่าเปรตนั้น พาหญิงนั้น เที่ยวแสดงปัจเจกนรกเป็นต้น ใน

ระหว่าง ๆ ด้วยอานุภาพของตน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า สยมทฺทส กมฺมวิปากมตฺตโน ความว่า หญิงนั้น ไปเห็น

สัตว์นรกเป็นต้นโดยพิเศษ ก็ได้เห็นประจักษ์ซึ่งวิบากกรรมที่ตน

ทำไว้ ด้วยตนเอง. บทว่า เนสฺสามิ ต ปาฏลิปุตฺตมกฺขต ความว่า

บัดนี้ เราจักนำท่านอันใครป้องกันไม่ได้ ไปยังเมืองปาฏลีบุตร

โดยร่างของมนุษย์นั่นแล. แต่ท่านครั้นไปถึงเมืองปาฏลีบุตรแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 575

จงทำกุศลกรรมให้มาก อธิบายว่า เจ้าจงเป็นผู้ประกอบขวนขวาย

ยินดีในบุญ เพราะเจ้าเห็นวิบากของกรรมโดยประจักษ์แล้ว.

ลำดับนั้น หญิงนั้น ครั้นได้ฟังคำของเปรตนั้นแล้ว มีความ

ดีใจ กล่าวคาถาว่า :-

ข้าแต่เทพเจ้า ผู้อันบุคคลพึงบูชา ท่าน

ปรารถนาความเจริญแก่ดิฉัน ปรารถนาประโยชน์

เกื้อกูลแก่ดิฉัน ดิฉันจักทำตามคำของท่าน ท่าน

เป็นอาจารย์ของดิฉัน สัตว์นรกบางพวก ดิฉันก็

เห็นแล้ว สัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสูร มนุษย์ หรือ

เทพดาบางพวก ดิฉันก็เห็นแล้ว ผลกรรมของตน

ดิฉันก็ได้เห็นด้วยตนเองแล้ว ดิฉันจักทำบุญไว้

ให้มาก.

ลำดับนั้น เปรตนั้น จึงพาหญิงนั้นไปทางอากาศ พักไว้ใน

ท่ามกลางเมืองปาฏลีบุตร แล้วก็หลีกไป. ลำดับญาติและมิตรเป็นต้น

ของหญิงนั้น เห็นเปรตนั้นแล้ว ดีใจยิ่งนักว่า เมื่อก่อนพวกเรา

ได้ฟังมาว่า เจ้าถูกเขาโยนลงไปในมหาสมุทรตายแล้ว เจ้านั้นคือ

หญิงนี้แหละ พวกเราเห็นแล้วหนอ มาโดยสวัสดี แล้วมาประชุมกัน

ถามถึงประวัติของนาง. จำเดิมแต่นั้น นางก็ได้เล่าเรื่องทั้งหมด

ที่ตนเห็นและที่ตนเสวยมา แก่พวกญาติและมิตรเป็นต้นนั้น พ่อค้า

ชาวกรุงสาวัตถีเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดาในเวลาที่ได้ถึง

กรุงสาวัตถี โดยลำดับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 576

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ จึงแสดงธรรมแก่บริษัท ๔

มหาชน ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดความสังเวช ได้ยินดีในกุศลธรรม

มีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปาฏลีปุตตเปตวัตถุที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 577

๑๒. อัมพวนเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตฝากทรัพย์ไปให้ลูกใช้หนี้

พวกพ่อค้าได้ถามเวมานิกเปรตตนหนึ่งว่า :-

[๑๓๒] สระโบกขรณีของท่านนี้น่ารื่นรมย์ดี มี

พื้นราบเรียบ มีท่าอันงดงาม มีน้ำมาก ดารดาษ

ไปด้วยปทุมชาติต่าง ๆ มีดอกอันบานดีเกลื่อน-

กล่นด้วยหมู่ภมร ท่านได้สระโบกขรณี อันเป็น

ที่ฟูใจนี้อย่างไร สวนมะม่วงของท่านนี้น่า

รื่นรมย์ดี เผล็ดผลทุกฤดู มีดอกบานเป็นนิตย์

นิรันดร์ เกลื่อนกล่นด้วยหมู่ภมร ท่านได้วิมาน

นี้อย่างไร.

เวมานิกเปรตนั้นตอบว่า :-

สระโบกขรณีมีร่มเงาอันเยือกเย็น น่า

รื่นรมย์ใจ ข้าพเจ้าได้ในที่นี้ เพราะทานที่ธิดา

ของข้าพเจ้าถวายมะม่วงสุก น้ำ ข้าวยาคู แด่

พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย.

เวมานิกเปรตนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงนำพวกพ่อค้า

ไปดูทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะ แล้วสั่งว่า พวกท่านจงถือเอาเป็นส่วนตัว

กึ่งหนึ่งจากทรัพย์นี้ แล้วให้ธิดาของเราใช้หนี้ที่เรายืมเขามากึ่งหนึ่ง

เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 578

พวกพ่อค้ากลับมาถึงเมืองสาวัตถีแล้ว ได้บอกแก่ธิดาของ

เปรตนั้น แล้วได้ให้ทรัพย์ส่วนที่เปรตนั้นให้แก่ตนแก่เทพธิดานั้น

นางได้ให้กหาปณะร้อยกหาปณะแก่เจ้าหนี้แล้วให้ทรัพย์ที่เหลือ

แก่สหายของบิดา ส่วนตนรับทำการใช้สอยกฏุมพีนั้นอยู่ กฏุมพีนั้น

กลับคืนทรัพย์นั้นให้แก่นาง แล้วยกนางให้เป็นภรรยาของบุตรชาย

คนหัวปี ต่อมาภายหลัง นางมีบุตรคนหนึ่ง ได้กล่าวคาถาเป็นเชิง

กล่อมบุตรว่า :-

ขอท่านทั้งหลาย จงดูผลแห่งทานที่จะพึง

เห็นเอง และผลของความข่มใจ ความสำรวม

เราเป็นทาสีอยู่ในตระกูลของลูกเจ้า บัดนี้ มาเป็น

ลูกสะใภ้เป็นใหญ่ในเรือน.

ภายหลัง พระศาสดาทรงเห็นนางมีญาณแก่กล้าจึงทรงแผ่

พระรัศมีไปแสดงพระองค์ให้ปรากฏ ดุจประทับอยู่เฉพาะหน้า

แล้วได้ตรัสพระคาถานี้ความว่า :-

ความประมาท ย่อมครอบงำบุคคลผู้ติด

อยู่ในความยินดียินร้าย ในความรักความชังใน

ทุกข์และสุข.

จบ อัมพวนเปตวัตถุที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 579

อรรถกถาอัมพวนเปตวัตถุที่ ๑๒

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ

อัมพเปรต จึงตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า อยญฺจ เต โปกฺขรณี

สุรมฺมา ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มีคฤหบดีคนหนึ่ง ผู้เสื่อมสิ้นจาก

โภคสมบัติ. ภริยาของเขาก็ตาย ยังมีธิดาคนเดียวเท่านั้น. เขาได้

ให้ธิดานั้นไปอยู่เรือนมิตรของตน เอาเงินที่ยืมมา ๑๐๐ กหาปณะ

ไปซื้อสิ่งของ บรรทุกเกวียนไปค้าขาย ไม่นานนักก็ได้เงิน ๕๐๐

กหาปณะ อันเป็นกำไรพร้อมทั้งต้นทุนแล้วกับมาพร้อมด้วยเกวียน

ในระหว่างทางพวกโจรดักซุ่มปล้นหมู่เกวียน. พวกหมู่เกรียนแตก

กระจายหนีไป. ฝ่ายคฤหบดีนั้น ซ่อนกหาปณะไว้ที่กอไม้แห่งหนึ่ง

แล้ว แอบอยู่ในที่ไม่ไกล. พวกโจรจับคฤหบดีนั้นฆ่าทิ้งเสีย. เพราะ

ความโลภในทรัพย์ เขาจึงบังเกิดเป็นเปรตในที่นั้นนั่นเอง.

พวกพ่อค้าไปยังกรุงสาวัตถี เล่าเรื่องนั้น ให้ธิดาของเขาทราบ.

ธิดานั้น เกิดโทมนัสอย่างยิ่ง ร่ำไรอย่างหนัก เพราะความตาย

ของบิดา และเพราะภัยแห่งเลี้ยงชีพ. ลำดับนั้น กฏุมพีผู้เป็นสหาย

ของบิดานั้น จงกล่าวปลอบโยนนางว่า ธรรมดาว่า ภาชนะดิน

ทั้งหมดมีความแตกไปเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็มี

การแตกไปในที่สุด ฉันนั้นเหมือนกัน. ธรรมดาว่า ความตายย่อม

ทั่วไปแก่สรรพสัตว์ และไม่มีการตอบแทนได้ เพราะฉะนั้น เจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 580

อย่าเศร้าโศก อย่าปริเทวะ ถึงบิดาไปนักเลย เราจะเป็นบิดาของ

เจ้า เจ้าจงเป็นธิดาของเรา เราจะทำหน้าที่แทนบิดาของเจ้า เจ้า

อย่าเสียใจ จงยินดีอยู่ในเรือนนี้ ให้เหมือนเรือนบิดาของเจ้าเถิด.

หญิงนั้น สงบความเศร้าโศกลงได้ ตามคำของกฏุมพีนั้น เกิดความ

เคารพ และความนับถือมาก ในกฏุมพีนั้น เหมือนในบิดาเป็นผู้มี

ปกติทำการขวนขวาย ประพฤติตามกฎุมพีนั้น โดยภาวะที่ตนเป็น

คนกำพร้า ปรารถนาจะทำกิจเพื่อผู้ตาย อุทิศถึงบิดา จึงต้มข้าว

ยาคูแล้ว วางผลมะม่วงมีรสอร่อย สุกได้ที่เหมือนสีเหมือนมโนศิลา

วางไว้ในถาดสัมฤทธิ์ให้ทาสีถือเอาข้าวยาคู และผลมะม่วง ไปยัง

วิหาร ถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ขอพระองค์จงทำความอนุเคราะห์ ด้วยการรับทักษิณา

ของหม่อมฉัน พระศาสดามีพระมนัสอันพระมหากรุณากระตุ้น

เตือน เมื่อจะทรงทำมโนรถของนางให้เต็มเปี่ยม จะแสดงอาการนั่ง.

นางร่าเริงยินดี ได้ลาดผ้าอันบริสุทธิ์สะอาดที่ตนน้อมเข้าไปใน

บวรพุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

ประทบนั่งบนอาสนะที่แล้ว.

ลำดับนั้น หญิงนั้น จึงน้อมข้าวยาคูเข้าไปถวายพระผู้มี-

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับข้าวยาคูแล้ว ลำดับนั้น

จึงถวายข้าวยาคูแม้แก่ภิกษุทั้งหลาย อุทิศสงฆ์แล้วล้างมือ น้อม

ผลมะม่วงเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก. พระผู้พระภาคเจ้า

ทรงเสวยผลมะม่วงเหล่านั้น. นางถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 581

แล้ว กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทักษิณาที่หม่อมฉัน

บำเพ็ญให้เป็นไป ด้วยการถวายเครื่องลาด ข้าวยาคู และผลมะม่วง

นั้น ขอจงถึงบิดาของหม่อมฉันเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า

จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด แล้วทรงกระทำอนุโมทนา นางถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทำปทักษิณแล้วหลีกไป. พอนางอุทิศ

ส่วนบุญ เปรตนั้นก็กลับได้ สวนมะม่วง วิมาน ต้นกัลปพฤกษ์

และสระโบกขรณี กับทิพยสมบัติอันใหญ่หลวง.

ครั้นสมัยต่อมา พ่อค้าเหล่านั้น เมื่อจะไปค้าขาย ได้เดินไป

ทางนั้นนั่นแหละ ได้พักแรมคืนหนึ่ง ในที่ที่ตนได้เคยอยู่มาก่อน.

เปรตนั้น เห็นพ่อค้าเหล่านั้นแล้ว จึงแสดงตนแก่พ่อค้าเหล่านั้น

พร้อมกับสวนและวิมานเป็นต้น. พ่อค้าเหล่านั้น เห็นดังนั้น เมื่อ

จะถามถึงสมบัติที่เปรตนั้นได้มา จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถานี้ว่า :-

สระโบกขรณี ของท่านนี้ น่ารื่นรมย์ดี

มีพื้นที่ราบเรียบ มีท่างดงาม มีน้ำมาก ดารดาษ

ไปด้วยปทุมชาติต่าง ๆ มีดอกอันบานสะพรั่ง

เกลื่อนกล่นด้วยหมู่ภมร ท่านได้สระโบกขรณี

อันเป็นที่ฟูใจนี้อย่างไร สวนมะม่วงของท่านนี้

น่ารื่นรมย์ดี เผล็ดผลทุกฤดูกาล มีดอกบานเป็น

นิตย์นิรันดร์ เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ภมร ท่าน

ได้วิมานนี้อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 582

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุรมฺมา แปลว่า น่ารื่นรมย์.

บทว่า สมา แปลว่า มีพื้นที่ราบเรียบ. บทว่า สุติตฺถา ได้เก่ มีท่าดี

เพราะมีบันไดแล้วด้วยแก้ว บทว่า มโหทกา แปลว่า มีน้ำมาก.

บทว่า สพฺโพตุก ได้แก่ นำมาซึ่งความสุขทุกฤดูกาล ด้วย

ต้นไม้ที่สะพรั่งไปด้วยดอกและผลเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว

ว่า ย่อมเผล็ดผล ดังนี้. บทว่า สุปุปฺผิต แปลว่า บานสะพรั่งอยู่

เป็นนิตย์.

เปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะบอกถึงเหตุแห่งการได้สระโบก-

ขรณีเป็นต้น จึงกล่าวคาถาว่า :-

สระโบกขรณี มีร่มเงาอันเยือกเย็น น่า

รื่นรมย์ใจ ข้าพเจ้าได้ในที่นี้ เพราะทานที่ธิดา

ของข้าพเจ้าถวายมะม่วงสุก น้ำ ข้าวยาคู แด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน เม อิธ ลพฺภติ ความว่า เพราะ

ทานที่ธิดาของข้าพเจ้าถวายมะม่วงสุก น้ำ และข้าวยาคู แด่พระผู้-

มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ อุทิศข้าพเจ้า มะม่วงสุกอันเผล็ดผล

ทุกฤดูกาล ก็ได้สำเร็จเป็นน้ำทิพย์ ในสระโบกขรณี อันเป็นที่ฟูใจ

อันเป็นทิพย์นี้ ด้วยการให้ข้าวยาคูและเครื่องลาด ย่อมให้สำเร็จ

เป็นสระโบกขรณี มีร่มเงาเยือกเย็น น่ารื่นรมย์ใจ ในสวน วิมาน

และต้นกัลปพฤกษ์ เป็นต้นในที่นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 583

ก็แลเปรตนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงนำพ่อค้าเหล่านั้น

ไปแสดงทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะนั้น แล้วกล่าวว่า ขอท่านจงรับเอา

กึ่งหนึ่งจากส่วนนี้ จงให้แก่ธิดาของเรา ด้วยประสงค์ว่า นางจง

ชำระหนี้ ที่เรากู้เขามากึ่งหนึ่งตัวจงเป็นอยู่สบายเถิด. พ่อค้า

ถึงกรุงสาวัตถี โดยลำดับแล้ว จึงบอกแก่ธิดาของเปรตนั้นแล้ว

ได้ให้ส่วนที่เปรตนั้น ได้ให้แก่ตน แก่นางนั่นเอง. นางได้ใช้หนี้

ทรัพย์ ๑๐๐ กหาปณะ แก่พวกเจ้าหนี้ นอกนั้น ได้ให้แก่กฏุมพีนั้น

ผู้เป็นสหายบิดาตน ส่วนตนเองทำการขวนขวายอยู่อาศัย. กฏุมพี

นั้น ได้ให้คืนแก่นางนั้นนั่นเอง ด้วยพูดว่า จงเป็นทรัพย์ของตัวเธอ

ทั้งหมดเถอะ แล้วแต่งงานนางกับุตรคนโตของตน.

เมื่อกาลผ่านไป นางได้บุตรคนหนึ่ง เมื่อจะล้อเล่นกับบุตร

จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ขอท่านทั้งหลาย จงดูผลทาน ที่จะพึงเห็น

เอง และผลแห่งความข่มใจ ความสำรวม เรา

เป็นทาสีอยู่ในตระกูลของลูกเจ้า บัดนี้ มาเป็น

ลูกสะใภ้ เป็นใหญ่ในตระกูล

ภายหลังวันหนึ่ง พระศาสดา ทรงตรวจดูนางว่ามีญาณ

แก่กล้า จึงทรงแผ่พระรัศมีไปแสดงพระองค์ให้ปรากฏ ประหนึ่ง

ประทับอยู่เฉพาะหน้า แล้วได้ตรัสพระคาถานี้ความว่า :-

ความประมาท ย่อมครอบงำ บุคคลผู้ติด

อยู่ในความยินดียินร้าย ในความรักความชัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 584

ในทุกข์และสุข.

ในเวลาจบคาถา นางดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ในวันที่สอง

นางได้ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ได้

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วแสดงธรรม

แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้น ได้มีประโยชน์แก่มหาชน

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอัมพวนเปตวัตถุที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 585

๑๓. อักขรุกขเปตวัตถุ

ภุมมเทวดาตนหนึ่งได้กล่าวเตือนอุบาสกคนหนึ่งว่า

[๑๓๓] บุคคลให้สิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่มี แต่ผล

อย่างอื่นที่น่าปรารถนา น่าใคร่มีมาก เพราะฉะนั้น

ท่านจงให้ทาน แล้วท่านจักพ้นจากทุกข์และความ

ฉิบหาย ทั้งจักได้ประสบสุขอันเป็นไปในปัจจุบัน

และสัมปรายภพ เพราะทานนั้น ขอท่านจงตื่น

เถิดอย่าได้ประมาท.

จบ อักขรุกขเปตวัตถุที่ ๑๓

อรรถกถาอักขรุกขเปตวัตถุที่ ๑๓

เรื่องอักขทายกเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ย ททาติ น ต โหติ

ดังนี้. เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี มีอุบาสก

ชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง เอาเกวียนหลายเล่มบรรทุกสินค้าไปขาย

ต่างประเทศ ขายสินค้าของตนในประเทศนั้นแล้ว ก็ซื้อเอาสินค้า

ต่างประเทศกลับมา เดินทางมุ่งไปกรุงสาวัตถี. เมื่ออุบาสกนั้น

กำลังเดินทางเพลาเกวียนเล่มหนึ่งหักในดง. ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่ง

ได้เอาผึ่งและขวาน เพื่อจะตัดไม้ ออกจากบ้านตน เที่ยวไปในป่า

ถึงที่นั้น พบอุบาสกนั้น ผู้ถึงความโทมนัส เพราะเพลาเกวียนหัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 586

จึงคิดว่า พ่อค้านี้มาลำบากในดง เพราะเพลาเกวียนหัก อาศัย

ความอนุเคราะห์ จึงตัดท่อนไม้มาดามเพลาเกวียนให้มั่นคงแล้ว

ประกอบเกวียน ให้ไป.

สมัยต่อมา บุรุษนั้น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นภุมมเทวดา

อยู่ในดงนั้นนั่นแหละ พิจารณาถึงกรรมของตน ในเวลาราตรี

จึงไปเรือนของอุบาสกนั้น ยืนอยู่ที่ประตูเรือนกล่าวคาถาว่า :-

บุคคลให้สิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่มี แต่ผล

อย่างอื่นที่น่าปรารถนา น่าใคร่มีมาก เพราะ

ฉะนั้น ท่านจงให้ทานแล้ว ท่านจักพ้นจากทุกข์

และความฉิบหาย ทั้งจักได้ประสบสุขอันเป็นไป

ในปัจจุบันและสัมปรายภพ เพราะทานนั้น ขอ

ท่านจงตื่นเถิด อย่าประมาทเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย ททาติ น ต โหติ ความว่า

ทายกย่อมให้ไทยธรรมใด ไทยธรรมนั้นแหละ ย่อมไม่มีโดยความ

เป็นผลแห่งทานนั้น ในปรโลก, โดยที่แท้ นามอย่างอื่น ที่มีผล

น่าปรารถนา น่าใคร่ ก็มีอยู่มากทีเดียว เพราะฉะนั้น พวกท่าน

จงให้ทานนั่นแหละ คือ จงให้ทานโดยประการใดประการหนึ่ง

ทีเดียว. ภุมมเทวดา กล่าวเหตุในข้อนั้นว่า ครั้นให้แล้ว ย่อมพ้น

จากทุกข์และความฉิบหายทั้งสอง, อธิบายว่า ครั้นให้ทานแล้ว

ย่อมพ้นทุกข์และความพินาศ ทั้งปัจจุบัน ทั้งสัมปรายภพ. ในข้อว่า

อุภย เตน ทาเนน คจฺฉติ นี้ พึงประกอบความดังนี้ว่า เพราะการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 587

ให้นั้น เขาย่อมเข้าถึง คือ ย่อมประสบสุขทั้ง ๒ คือ สุขในปัจจุบัน

และสุขในสัมปรายภพ ทั้งย่อมประกอบด้วยอำนาจหิตสุขทั้งแก่ตน

และสังคม. บทว่า ชาครถ มา ปมชฺชถ ความว่า จงตื่นเพื่อยัง

อันห้ามอนัตถะทั้งสอง ยังประโยชน์ทั้งสองให้สำเร็จอย่างนี้ และ

จงจัดเตรียมอุปกรณ์ แล้วจงอย่าประมาทในทานนั้น. ก็ในที่นี้

เพื่อจะแสดงถึงความเอื้อเฟื้อ ท่านจึงกล่าวซ้ำ.

พ่อค้าพิจารณาถึงกิจของตนแล้ว กลับถึงกรุงสาวัตถี โดย

ลำดับ ในวันที่ ๒ จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ

ที่สมควรข้างหนึ่ง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระศาสดาทรงกระทำเรื่องนั้น ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วทรง

แสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้น ได้มีประโยชน์

แก่มหาชน ฉะนี้แล.

จบ อักขรุกขเปตวัตถุที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 588

๑๔. โภคสังหรณเปติวัตถุ

ในเวลาราตรี หญิงเปรต ๔ ตน ถูกทุกข์ครอบงำ จึงพากัน

ร้องรำพันด้วยเสียงดังอย่างน่ากลัวว่า :-

[๑๓๔] พวกเรารวบรวมโภคทรัพย์ไว้โดยชอบ

ธรรมบ้าง โดยไม่ชอบธรรมบ้าง แต่คนอื่น ๆ

พากันใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น ส่วนพวกเรา

กลับมีส่วนแห่งทุกข์.

จบ โภคสังหรณเปติวัตถุที่ ๑๔

อรรถกถาโภคสังหรณเปติวัตถุที่ ๑๔

เรื่องนางโภคสังหรณเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า มย โภเค สหริมฺหา

ดังนี้. เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน

มหาวิหาร หญิง ๔ คน ในกรุงราชคฤห์ ทำการค้าขายด้วยเนยใส

น้ำผึ้ง น้ำมัน และข้าวเปลือกเป็นต้น ด้วยเครื่องนับโกงเป็นต้น

รวบรวมโภคะเลี้ยงชีพโดยไม่แยบคาย. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ

กายแตก หญิงเหล่านั้นไปบังเกิดเป็นนางเปรต อยู่ที่หลังคูนอกเมือง

ในเวลากลางคืน นางเปรตเหล่านั้น ถูกความทุกข์เข้าครอบงำ

ร้องบ่นเพ้อด้วยเสียงขรมน่าสะพึงกลัว ด้วยคาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 589

พวกเรารวบรวมโภคทรัพย์ไว้ โดยชอบ

ธรรมบ้าง โดยไม่ชอบธรรมบ้าง แต่คนอื่น ๆ

พากันใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น แต่พวกเรา

กลับมีส่วนแห่งทุกข์.

มนุษย์ทั้งหลาย ฟังเสียงนั้นแล้ว กลัวสะดุ้งตกใจ เมื่อราตรี

สว่าง ตระเตรียมมหาทาน เพื่อภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน

นิมนต์พระศาสดา และภิกษุสงฆ์ อังคาส ด้วยขาทนียะและโภชนียะ

อันประณีต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสวยพระกระยาหาร

เสร็จแล้ว นำพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว จึงกราบทูลให้ทรงทราบ

ถึงเรื่องนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า อุบาสกและอุบาสิกา

ทั้งหลาย เสียงนั้นไม่มีอันตรายอะไร ๆ แก่ท่านทั้งหลาย ส่วนเปรต

ทั้ง ๔ ตนนั้น ถูกความทุกข์ครอบงำ กล่าวถึงกรรมที่ตนทำชั่ว

ร้องไห้เสียงร่ำไร พลางกล่าวคาถานี้ว่า :-

พวกเรารวบรวมโภคทรัพย์ไว้ โดยชอบ

ธรรมบ้าง โดยไม่ชอบธรรมบ้าง คนอื่น ๆ พากัน

ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น แต่พวกเรากลับเป็น

ผู้มีส่วนแห่งทุกข์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โภเค ได้แก่ อุปกรณ์พิเศษแห่ง

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ มีผ้าและอาภรณ์เป็นต้น อันได้ชื่อว่า โภคะ

เพราะอรรถว่าเป็นบุคคลพึงใช้สอย. บทว่า สหริมฺหา ความว่า

ผู้มีจิตอันมลทินคือความตระหนี่ครอบงำ รวบรวมไว้ ไม่ให้อะไร ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 590

แก่ใคร ๆ. บทว่า สเมน วิสเมน จ ได้แก่ โดยชอบธรรม และ

ไม่ชอบธรรม อีกอย่างหนึ่ง ความว่า บัดนี้ คนอื่น ๆ ใช้สอยโภคะ

เหล่านั้น ที่เรารวบรวม โดยไม่ชอบธรรม อันเป็นของเทียมกับ

ความชอบธรรม. บทว่า มย ทุกฺขสฺส ภาคินี ความว่า ฝ่ายพวกเรา

บัดนี้ เป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์ใหญ่ อันนับเนื่องในกำเนิดเปรต คือ

เสวยทุกข์ใหญ่ เพราะตนไม่ได้ทำสุจริตอะไร ๆ ไว้ และทำแต่

ทุจจริต.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาที่นางเปรตนั้น กล่าวแล้ว

อย่างนี้ จึงตรัสประวัติของนางเปรตเหล่านั้น แล้วทรงกระทำเรื่อง

นั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อม

แล้ว ทรงประกาศสัจจะสูง ๆ ขึ้นไป ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็น

อันมาก บรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น ฉะนี้แล

จบ อรรถกถาโภคสังหรณเปติวัตถุที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 591

๑๕. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ

ว่าด้วยที่สุดไม่มี

พระศาสดาได้ตรัสพระคาถาที่เปรต ๔ ตน ปรารภจะกล่าว

คนละคาถาให้บริบูรณ์ว่า :-

[๑๓๕] เมื่อพวกเราพากันหมกไหม้อยู่ในนรก

๖ หมื่นปีเต็มบริบูรณ์ โดยประการทั้งปวง เมื่อไร

ที่สุดจักมี.

ที่สุดไม่มี ที่สุดจักมีแต่ที่ไหน ที่สุดย่อม

ไม่ปรากฏ แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เพราะเรากับท่าน

ได้ทำบาปกรรมไว้.

พวกเราเหล่าใดไม่ให้ของที่มีอยู่ พวกเรา

เหล่านั้นย่อมเป็นอยู่ลำบาก เมื่อไทยธรรมมีอยู่

พวกเราไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน.

เรานั้นไปจากเปตโลกนี้ ได้กำเนิดเป็น

มนุษย์แล้ว จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ

สมบูรณ์ด้วยศีล ทำกุศลให้มากเป็นแน่.

จบ เสฏฐิตปุตตเปตวัตถุที่ ๑๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 592

อรรถกถาเสฏฐิปุตตเปตวัตถุที่ ๑๕

เรื่องเปรตผู้เป็นบุตรเศรษฐีนี้ มีคำเริ่มต้นว่า สฏฺิวสฺสสหสฺ-

สานิ ดังนี้. เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวันกรุงสาวัตถี

ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าปัสเสนทิโกศล ทรงประดับตกแต่งแล้ว

เสด็จขึ้นคอช้างเผือกประเสริฐ เสด็จเลียบพระนครด้วยราชฤทธิ์

อันใหญ่ ด้วยราชานุภาพอันใหญ่ ทรงทอดพระเนตรเห็นแล้ว หญิง

คนหนึ่ง มีส่วนเปรียบด้วยนางเทพอัปสรเพราะสมบูรณ์ด้วยรูป

เปิดหน้าต่างชั้นบนปราสาท ในเรือนหลังหนึ่งแลดูการตบแต่ง

องค์พระราชานั้น มีจิตกลุ้มรุมด้วยความฟุ้งแห่งกิเลสที่เกิดขึ้น

โดยฉับพลันในอารมณ์ที่ไม่เคยเห็น แม้จะมีชนในพระราชวังผู้

สมบูรณ์ด้วยคุณวิเศษ มีตระกูล รูป และอาจาระเป็นต้น ก็มีจิต

ปฏิพัทธ์ในหญิงนั้น ด้วยอำนาจจิตที่ข่มได้ยาก เกิดเร็วดับเร็วเป็น

สภาวะ จึงได้ให้สัญญาแก่บุรุษผู้นั่งอยู่หลังพระอาศน์ว่า เธอจง

ตรวจดูปราสาทนี้และหญิงนี้ แล้วเสด็จเข้าไปยังพระราชนิเวศน์.

เรื่องอื่นทั้งหมดพึงทราบโดยนัยที่มาแล้วในเรื่องอัมพสักขรเปรต

นั้นแล.

ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้ :- ในเรื่องนี้ บุรุษมาใน

เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัศดงคต เมื่อเขาปิดประตูเมือง จึงวางดินสีอรุณ

และดอกอุบลที่ตนนำมา ไว้ที่บานประตูเมือง แล้วไปยังพระเชตวัน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 593

มหาวิหารเพื่อจะนอน. ฝ่ายพระราชาเสด็จเข้าที่ประทับบนที่บรรทม

อันเป็นศิริ ในเวลามัชฌิมยาม ได้ทรงสดับอักขระ ๔ ตัว เหล่านี้

คือ ส น ทุ โส ด้วยเสียงขรม เหมือนเปล่งออกด้วยลำคอใหญ่

ได้ยินว่า ในอดีตกาล เศรษฐีบุตร ๔ คน ชาวเมืองสาวัตถี มัวเมา

ด้วยความเมาในโภคทรัพย์ ได้ประสบอกุศลเป็นอันมาก ด้วยอำนาจ

กรรมที่ส้องเสพภรรยาคนอื่น . ในเวลาเป็นหนุ่ม ภายหลังทำกาละ

แล้ว บังเกิดในโลหกุมภี ใกล้นครนั้นนั่นเอง ไหม้อยู่ถึงขอบปาก

โลหกุมภีประสงค์จะกล่าวคาถาคนละคาถา จึงได้กล่าวเพียงอักขระ

ต้นแห่งคาถาเหล่านั้นที่ตนเปล่งขึ้น ได้รับเวทนาก็กลับลงสู่โลหกุมภี.

ฝ่ายพระราชาทรงสดับเสียงนั้น สดุ้งตกพระทัย ทรงสลด

เกิดขนพองสยองเกล้า ทรงให้ราตรีที่เหลือนั้นล่วงไปโดยลำบาก

พอราตรีสว่าง จึงรับสั่งให้เรียกปุโรหิตมาแล้วตรัสเล่าเรื่องนั้น.

ปุโรหิตเป็นคนติดลาภ ว่าพระราชาสดุ้งตกพระทัย จึงคิดว่า

อุบายอันเป็นเหตุให้เกิดลาภแก่เราและแก่พวกพราหมณ์ เกิดขึ้น

แล้วทูล จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช อุปัทวันตรายอย่างใหญ่หลวงนี้

เกิดขึ้นแล้วหนอ ขอพระองค์จงบูชายัญอันประกอบด้วยหมวด ๔

แห่งวัตถุทั้งปวง พระราชาทรงสดับคำของปุโรหิตนั้นแล้ว จึงสั่ง

อำมาตย์ทั้งหลายว่า เออ พวกเธอจงตระเตรียมอุปกรณ์ยัญ ๔ หมวด

แห่งวัตถุทั้งมวล. พระนางมัลลิกาเทวี ได้ทรงสดับดังนั้น จึงทูล

พระราชาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะเหตุไร พระองค์

ทรงสดับคำของปุโรหิตนั้นแล้ว จึงมีพระประสงค์จะกระทำกิจ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 594

การฆ่าและเบียดเบียนสัตว์เป็นอันมาก พระองค์ควรทูลถามพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระญาณอันเที่ยวไปไม่ติดขัดในที่ทั้งปวง มิใช่

หรือ. และพระองค์ควรปฏิบัติอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์

แก่พระองค์. พระราชาทรงสดับคำของพระเทวีแล้ว เสด็จไปเฝ้า

พระศาสดากราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร เหตุจากเสียงนั้นที่จะเป็นอันตราย

อะไร ๆ แก่พระองค์หามีไม่ ดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสประวัติของสัตว์

เกิดในโลหกุมภีเหล่านั้น ตั้งแต่ต้นจึงได้ตรัสคาถาที่เปรตเหล่านั้น

เริ่มเปล่งแต่ละตน ให้บริบูรณ์ว่า :-

เมื่อพวกเราพากันหมกไหม้ในนรก หก-

หมื่นปีเต็มบริบูรณ์ โดยประการทั้งปวง เมื่อไร

ที่สุดจักมี.

ที่สุดไม่มี ที่สุดจักมีแต่ที่ไหน ที่สุดย่อม

ไปปรากฏ แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เพราะเรากับท่าน

ได้ทำบาปกรรมไว้.

พวกเราเหล่าใดไม่ให้ของที่มีอยู่ พวกเรา

เหล่านั้นย่อมเป็นอยู่ลำบาก เมื่อไทยธรรมมีอยู่

พวกเราไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน.

เรานั้นไปจากเปตโลกนี้ ได้กำเนิดเป็น

มนุษย์แล้ว จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ

สมบูรณ์ด้วยศีล ทำกุศลให้มากเป็นแน่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 595

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฏฺิวสฺสสหฺสานิ แปลว่า หกหมื่นปี.

ได้ยินว่าสัตว์ผู้เกิดในโลหกุมภีนรกนั้น จมลงไปเบื้องล่างถึงพื้น

ภายใต้ สามหมื่นปี แม้ขึ้นมาข้างบนจากพื้นล่างนั้นถึงส่วนขอบปาก

สามหมื่นปีเหมือนกัน, ด้วยสัญญานั้น เปรตนั้นประสงค์จะกล่าว

คาถาว่า สฏฺิวสฺสสหสฺสานิ ปริปุณฺณานิ สพฺพโส พวกเราหมกไหม้

อยู่ในนรก หกหมื่นปีเต็มบริบูรณ์โดยประการทั้งปวง ดังนี้ จึง

กล่าวว่า ส ประสบเวทนาเกินประมาณ ล้มคว่ำหน้าลง. ก็พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคาถานั้นให้บริบูรณ์ ก็พระราชา. แม้ใน

คาถาที่เหลือก็นัยนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กทา อนฺโต ภวิสฺสติ

ความว่า เมื่อพวกเราหมกไหม้อยู่ในโลหกุมภีนรก เมื่อไรหนอ

ที่สุดแห่งทุกข์นี้จักสิ้นสุดลง.

บทว่า ตถา หิ ความว่า ที่สุดแห่งทุกข์นี้ย่อมไม่มีแก่ท่าน

และแก่เรา ที่สุดจักไม่ปรากฏ ฉันใด พึงกล่าวเปลี่ยนวิภัติว่า ท่าน

กับเราได้กระทำกรรมอันลามกไว้ ฉันนั้น คือ โดยประการนั้น.

บทว่า ทุชฺชีวิต ได้แก่ ชีวิตอันวิญญูชนพึงติเตียน. บทว่า

เย สนฺเต ความว่า พวกเราเหล่าใด เมื่อไทยธรรมมีอยู่ คือปรากฏ

อยู่. บทว่า น ททมฺหเส แปลว่า ไม่ได้ให้แล้ว. เพื่อจะกระทำเรื่อง

ที่กล่าวแล้วนั้นแลให้ปรากฏชัด ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อไทยธรรมมีอยู่

พวกเราไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน ดังนี้.

บทว่า โสห ตัดเป็น โส อห แปลว่า เรานั้น. ศัพท์ว่า นูน

เป็นนิบาตลงในอรรถว่าปริวิตก. บทว่า อิโต ได้แก่ จากโลหกุมภี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 596

นรกนี้. บทว่า คนฺตฺวา แปลว่า ไปปราศแล้ว. บทว่า โยนึ ลทฺธาน

มานุสึ ได้แก่ ได้กำเนิดมนุษย์ คืออัตภาพมนุษย์. บทว่า วทญฺญู

ได้แก่ ผู้มีการบริจาคเป็นปกติ. หรือผู้รู้ถ้อยคำของผู้ขอ. บทว่า

สีลสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระ. บทว่า กาหามิ

กุสล พหุ ความว่า เราไม่ถึงความประมาทเหมือนในกาลก่อน

จักกระทำ คือก่อสร้างกุศล คือบุญกรรมไว้ให้มาก คือ ให้เพียงพอ.

พระศาสดาครั้นตรัสพระคาถาเหล่านี้แล้ว จึงทรงแสดง

ธรรมโดยพิสดาร เมื่อจบเทศนา บุรุษผู้นำดินเหนียวและดอก

อุบลแดง ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระราชาทรงเกิดความสังเวช

ทรงละความเพ่งเล็งในหญิงที่ผู้อื่นหวงแหน ได้เป็นผู้ยินดีแต่ภรรยา

ของตน ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาเสฏฐิปุตตเปตวัตถุที่ ๑๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 597

๑๖. สัฏฐีกูฏหัสสเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตถูกฆ้อนต่อยศีรษะ

วันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานเถระลงจากเขาคิชฌกูฏ ได้

เห็นเปรตตนหนึ่ง จึงซักถามด้วยคาถาว่า :-

[๑๓๖] ทำไมหนอ ท่านจึงวิ่งพล่านไปเหมือน

คนบ้า เหมือนเนื้อผู้ระแวงภัย ท่านมาร้องอื้ออึง

ไปทำไม ท่านคงทำบาปกรรมไว้เป็นแน่.

เปรตนั้นตอบว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวย

ทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะทำบาปกรรมไว้ จึง

จากมนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก ฆ้อนเหล็ก ๖ หมื่น

ครบบริบูรณ์โดยประการทั้งปวง ตกใส่ศีรษะ

และต่อยกระหม่อมของข้าพเจ้า.

พระเถระถามว่า :-

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา

ใจ เพราะผลแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้รับทุกข์

เช่นนี้ อนึ่งฆ้อนเหล็ก ๖ หมื่น ครบบริบูรณ์โดย

ประการทั้งปวง ตกใส่ศีรษะและต่อยศีรษะของ

ท่าน เพราะผลแห่งกรรมอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 598

เปรตนั้นตอบว่า :-

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

องค์หนึ่ง นามว่าสุเนตตะ มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว

ผู้หาภัยแต่ที่ไหนมิได้ นั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้

ข้าพเจ้าได้ต่อยศีรษะของท่านแตกด้วยการดีด

ก้อนกรวด เพราะผลแห่งกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึง

ได้ประสบทุกข์เช่นนี้ ฆ้อนเหล็ก ๖ หมื่น ครบ

บริบูรณ์ โดยประการทั้งปวง จึงตกลงใส่ศีรษะ

ของข้าพเจ้า และต่อยศีรษะของข้าพเจ้า.

พระเถระกล่าวว่า :-

แน่ะบุรุษชั่ว ฆ้อนเหล็ก ๖ หมื่น ครบ

บริบูรณ์ โดยประการทั้งปวง ตกใส่ศีรษะและ

ต่อยศีรษะของท่าน เพราะเหตุอันสมควรแก่ท่าน

แล้ว.

จบ สัฏฐีกูฏสหัสสเปตวัตถุที่ ๑๖

อรรถกถาสักฐิกูฏเปตวัตถุที่ ๑๖

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร

ทรงปรารภเปรตตนหนึ่ง จึงตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า กึ นุ

อุมฺมตตรูโปว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 599

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี ยังมีบุรุษเปลี้ย

คนหนึ่ง เป็นผู้ฉลาดในการประกอบการดีดกรวด เขาถึงความ

สำเร็จในศีลปการดีดกรวดนั้น นั่งอยู่ที่โคนต้นไทรใกล้ประตูพระนคร

แสดงรูปช้าง ม้า มนุษย์ รถ เรือนยอด ธง และหม้อน้ำเต็มเป็นต้น

ที่ใบไทรด้วยการดีดกรวด พวกเด็กในพระนคร ให้ทรัพย์หนึ่งมาสก

และกึ่งมาสก เพื่อประโยชน์แก่การเล่นของตน ให้เขาแสดงศิลป

เหล่านั้น ตามความชอบใจ

ภายหลังวันหนึ่ง พระเจ้าพาราณสี เสด็จออกจากพระนคร

เข้าไปยังโคนต้นไทรนั้น เห็นการจำแนกรูปต่าง ๆ โดยเป็นรูปช้าง

เป็นต้น ที่แนบสนิทอยู่ที่ใบไทร จึงตรัสถามพวกมนุษย์ว่า ใครหนอ

กระทำการจำแนกรูปต่าง ๆ อย่างนี้ ที่ใบไทรเหล่านี้ พวกมนุษย์

ชี้ให้ทอดพระเนตรบุรุษเปลี้ยนั้นแล้วทูลว่า บุรุษเปลี้ยนี้กระทำ

พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้เรียกบุรุษ. เปลี้ยนั้นมาแล้วตรัส

อย่างนี้ว่า แน่ะพนาย เธออาจเพื่อจะเอามูลแพะใส่ให้เต็มท้องของ

บุรุษคนหนึ่ง ผู้ที่เราชี้ให้ ผู้กล่าวอยู่กะพระราชานั้นนั่นแหละ

ได้ไหมหนอ. บุรุษเปลี้ยทูลว่า ได้พระเจ้าข้า. พระราชาจึงนำบุรุษ

เปลี้ยนั้นเข้าไปยังพระราชวังของพระองค์ ทรงเบื่อหน่ายปุโรหิต

ผู้พูดมาก จึงรับสั่งให้เรียกตัวปุโรหิตมา นั่งปรึกษากันในโอกาส

ที่สงัดกับปุโรหิตนั้น อันแวดล้อมด้วยกำแพง คือม่าน จึงรับสั่งให้

เรียกบุรุษเปลี้ยมา. บุรุษเปลี้ยถือเอามูลแพะประมาณทะนานหนึ่ง

มา รู้อาการของพระราชา นั่งบ่ายหน้าตรงปุโรหิต เมื่อปุโรหิตนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 600

อ้าปาก ได้ดีดมูลแพะทีละก้อนลงที่โคนลำคอของปุโรหิตนั้น ตาม

ช่องกำแพง คือม่าน. เขาไม่สามารถจะคายออกเพราะความละอาย

จึงกลืนลงทั้งหมด. ลำดับนั้น พระราชาทรงปล่อยให้ปุโรหิตนั้น

ผู้มีท้องเต็มด้วยมูลแพะไป ด้วยรับสั่งว่า ไปเถอะพราหมณ์ ท่าน

ได้ผลแห่งความเป็นผู้พูดมากแล้ว ท่านจงดื่มน้ำที่ปรุงด้วยผลและ

เปลือกประยงค์ที่ขยำเป็นต้น แล้วจงถ่ายออก ด้วยอาการอย่างนี้

เธอก็จะมีความสวัสดี. ก็ด้วยการกระทำของบุรุษเปลี้ยนั้น พระองค์

ทรงพอพระทัย ได้พระราชทานบ้านส่วย ๑๔ ตำบล. เธอครั้นได้

บ้านส่วย ๑๔ ตำบลแล้ว ทำตนให้คนมีความสุขอื่นหนำ ทั้งให้คน

ปริวารชนได้รับความสุขอิ่มหนำ ให้อะไร ๆ อันสมควรแก่สมณ-

พราหมณ์เป็นต้น ไม่ทำให้ประโยชน์ปัจจุบันและอนาคตเสื่อมไป

เลี้ยงชีพโดยความสุขทีเดียว ทั้งให้บำเหน็จรางวัล แก่คนผู้มายัง

สำนักตนศึกษาศิลปอยู่.

ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไปยังสำนักเขากล่าวอย่างนี้ว่า

ดีละอาจารย์ ขอท่านอาจารย์ให้ผมศึกษาศิลปนี้บ้าง กระผมพอแล้ว

ด้วยบำเหน็จและรางวัล. บุรุษเปลี้ยนั้นให้บุรุษนั้นศึกษาศิลปนั้น.

บุรุษนั้นศึกษาศิลปได้แล้ว ประสงค์จะทดลองศิลป จึงเดินไป เอา

เครื่องพิฆาต คือก้อนกรวดทำลายศีรษะของพระปัจเจกพุทธเจ้า

นามว่าสุเนตตะผู้นั่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา พระปัจเจกพุทธเจ้า

ปรินิพพานที่ฝั่งแม่น้ำคงคานั้นนั่นเอง พวกมนุษย์รู้เรื่องเข้า จึง

เอาก้อนดินเป็นต้น ตีบุรุษนั้นให้สิ้นชีวิตในที่นั้นนั่นเอง. เขาทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 601

กาละแล้วบังเกิดในอเวจีมหานรก ไหม้อยู่ในนรกหลายพันปี ด้วย

เศษแห่งวิบากกรรมนั้นนั่นเอง ในพุทธุปบาทกาลนี้ จึงบังเกิดเป็น

เปรตไม่ไกลแต่กรุงราชคฤห์. อันวิบากที่พึงเห็นสมกับกรรมนั้น

พึงมี เพราะเหตุนั้น ฆ้อนเหล็กประมาณหกหมื่นที่กำลังแห่งกรรม

ซัดขึ้น กระหน่ำบนกระหม่อมทั้งเวลาเช้า เวลาเที่ยง และเวลาเย็น.

เปรตนั้นมีศีรษะฉีกขาด ได้รับเวทนาแสนสาหัส ล้มลงที่ภาคพื้น

แต่เมื่อพอฆ้อนเหล็กปราศไป มันก็มีศีรษะตั้งอยู่ตามปกติ.

ภายหลังวันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะลงจากเขา

คิชฌกูฏ เห็นเปรตนั้นจึงตอบถามด้วยคาถานี้ว่า :-

ทำไมหนอ ท่านจึงวิ่งพล่านไปเหมือน

คนบ้า เหมือนเนื้อผู้ระแวงภัย ท่านมาร้องอื้ออึง

ไปทำไม ท่านคงทำบาปกรรมไว้เป็นแน่.

บรรดาบทเหลานั้น บทว่า อุมฺมตฺตนูโปว ความว่า ท่านเป็น

เหมือนมีสภาวะแห่งคนบ้า คือเป็นเหมือนคนถึงความเป็นบ้า. บทว่า

นิโค ภนฺโตว ธาวสิ ความว่า ท่านวิ่งพล่านไปข้างโน้นข้างนี้เหมือน

เนื้อระแวงภัย. จริงอยู่ เมื่อฆ้อนเหล็กเหล่านั้นกระหน่ำอยู่ เขา

ไม่เห็นสิ่งที่ต้านทาน จึงวิ่งไปข้างโน้น ข้างนี้ด้วยคิดว่า การประหาร

เช่นนี้ จะไม่พึงมีหรือหนอ. แก่ฆ้อนเหล็กเหล่านั้นถูกกำลังกรรม

ซัดไป จึงกระหน่ำลงเฉพาะบนศีรษะของเปรตนั้นยืนอยู่ที่ใด

ที่หนึ่ง. บทว่า กึ นุ สทฺทายเส ตุว ความว่า ท่านร้องไปทำไมหนอ

คือ ท่านเที่ยวร้องขรมไปเหลือเกิน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 602

เปรตได้ฟังดังนั้นจึงให้คำตอบด้วยคาถา ๒ คาถา :-

ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวยทุกข์

เกิดในยมโลก เพราะกระทำบาปกรรมไว้ จึงจาก

มนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก ฆ้อนเหล็กหกหมื่น

ครบบริบูรณ์ โดยประการทั้งปวง กระหน่ำบน

ศีรษะและต่อยศีรษะข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฏฺิ กูฏสหสฺสานิ แปลว่า

ฆ้อนเหล็กประมาณหกหมื่น. บทว่า ปริปุณฺณานิ แปลว่า ไม่หย่อน.

บทว่า สพฺพโส คือ โดยส่วนทั้งปวง. ได้ยินว่า ศีรษะของเปรตนั้น

ประมาณยอดเขาใหญ่ บังเกิดเพียงพอที่จะให้ฆ้อนเหล็กหกหมื่น

กระหน่ำ. ฆ้อนเหล็กเหล่านั้น ตกลงกระหน่ำศีรษะของเปรตนั้น

ไม่เหลือสถานที่เพียงจดที่สุดปลายขนทรายลงได้ เพราะเหตุนั้น

เปรตนั้นจึงกระทำเสียงร้องรบกวนอยู่. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ฆ้อนเหล็กเหล่านั้นกระหน่ำและทุบศีรษะของข้าพเจ้า โดยประการ

ทั้งปวง.

ลำดับนั้น พระเถระเมื่อจะถามกรรมที่เขาทำกะเปรตนั้น จึงได้

กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ท่านกระทำกรรมชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย

วาจา ใจ เพราะผลแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้รับ

ทุกข์เช่นนี้ อนึ่ง ฆ้อนเหล็กหกหมื่นครบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 603

โดยประการทั้งปวงกระหน่ำบนศีรษะ และต่อย

ศีรษะของท่าน เพราะผลกรรมอะไร

เปรตเมื่อจะบอกกรรมที่ตนทำแก่พระเถระนั้น จึงได้กล่าว

คาถา ๓ คาถาว่า :-

ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระปัจเจกพุทธ-

เจ้าองค์หนึ่ง นามว่าสุเนตตะ มีอินทรีย์อันอบรม

แล้ว ผู้หาภัยแต่ที่ไหนมิได้ นั่งเข้าฌานอยู่ที่โคน

ต้นไม้ ข้าพเจ้าได้ต่อยศีรษะของท่านแตก ด้วย

การดีดก้อนกรวด เพราะผลแห่งกรรมนั้น

ข้าพเจ้าจึงได้รับทุกข์เช่นนี้ ฆ้อนเหล็กหกหมื่น

ครบบริบูรณ์ โดยประการทั้งปวง จึงตกลงบน

ศีรษะข้าพเจ้า และต่อยศีรษะข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺพุทฺธ ได้แก่ พระปัจเจก-

สัมพุทธเจ้า. บทว่า สุเนตฺต ได้แก่ ผู้มีชื่ออย่างนี้. บทว่า

ภาวิตินฺทฺริย ได้แก่ ผู้มีอินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น อันอบรมแล้ว

ด้วยอริยมรรคภาวนา.

บทว่า สาลิตฺตกปฺปหาเรน ความว่า ประกอบการดีดกรวด

ด้วยธนู หรือด้วยนิ้วมือนั่นแหละ ที่ท่านเรียก สาลิตตกะ. จริง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 604

อย่างนั้น บาลีว่า สกฺขราย ปหาเรน ดังนี้ก็มี. บทว่า ภินฺทิสฺส แปลว่า

ทุบแล้ว.

พระเถระครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงว่า บัดนี้ เธอ

ได้รับผลนี้แห่งกรรมเก่า อันสมควรแก่กรรมที่ตนกระทำนั่นเอง

จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-

แน่ะบุรุษชั่ว ฆ้อนเหล็กหกหมื่น ครบ

บริบูรณ์โดยประการทั้งปวง กระหน่ำบนศีรษะ

และต่อยศีรษะของท่าน เพราะเหตุอันสมควร

แก่ท่านแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน แปลว่า ด้วยเหตุอัน

สมควร. บทว่า เต ได้แก่ ท่าน. ท่านแสดงไว้ว่า ผลนี้สมควรแท้

แก่บาปกรรมที่ท่านผู้ผิดในพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น กระทำแล้ว

น้อมนำเข้าไปหาท่าน เพราะฉะนั้น ผลแห่งบาปกรรมนั่นแหละ

อันใคร ๆ จะเป็นเทวดา มาร พรหม หรือแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ก็ตาม จะพึงป้องกันมิได้เลย.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จากนั้นจึงเที่ยวไปบิณฑบาตใน

พระนคร กระทำภัตตกิจเสร็จแล้ว ในเวลาเย็นจึงเข้าไปเฝ้าพระ-

ศาสดา กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 605

ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ เมื่อจะทรงแสดงธรรม

แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว จึงทรงประกาศคุณานุภาพแห่งพระปัจเจก-

พุทธเจ้า และความไม่ดูหมิ่นกรรม มหาชนเกิดความสังเวชละ

บาปกรรมแล้ว ได้เป็นผู้ยินดีในบุญมีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสัฏฐิกูฏเปตวัตถุที่ ๑๖

จบ ปรมัตถทีปนี

อรรถกถาขุททนิกาย เปตวัตถุ

มหาวรรคที่ ๔ ประดับด้วยเรื่อง ๑๖ เรื่อง

ด้วยประการฉะนี้

รวมเรื่องที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ ๒. เสริสกเปตวัตถุ ๓. นันทกเปต-

วัตถุ ๔. เรวดีเปติวัตถุ ๕. อุจฉุเปตวัตถุ ๖. กุมารเปตวัตถุ

๗. ราชปุตตเปตวัตถุ ๘. คูถขาทกเปตวัถุที่ ๑ ๙. คูถขาทก-

เปติวัตถุที่ ๒ ๑๐. คณเปตวัตถุ ๑๑. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ ๑๒. อัม-

พวนเปตวัตถุ ๑๓. อักขรุกขเปตวัตถุ ๑๔. โภคสังหรณเปตวัตถุ

๑๕. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ ๑๖. สัฏฐีกูฏสหัสสเปตวัตถุ.

จบ มหาวรรคที่ ๔

จบ เปตวัตถุบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 606

กถาสรุปท้าย

ก็ด้วยลำดับคำมีประมาณเท่านี้

อรรถสังวรรณนาอันประกาศผลอันเผ็ด

ร้อนลามกของธรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้กระทำ

ชั่ว บังเกิดเป็นเปรตโดยประจักษ์ โดยการปุจฉา

วิสัชนา และโดยนิยามแห่งเทศนา ทำความสลด

ใจให้เกิดแก่สัตบุรุษทั้งหลาย ข้าพเจ้าอาศัยนัย

แห่งอรรถกถาเก่า ริเริ่มไว้ เพื่อจะประกาศเนื้อ

ความของเรื่องที่ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

ผู้ฉลาดในเรื่องถ้อยคำ กำหนดรู้เรื่องได้อย่างดี

ร้อยกรองไว้ โดยชื่อว่า เปตวัตถุ อันประกาศ

อรรถอย่างดีไว้ในเปตวัตถุนั้น ตามสมควรใน

เรื่องนั้น ๆ โดยชื่อ ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี มีวินิจ-

ฉัยไม่สับสน จบบริบูรณ์แล้ว โดยพระบาลี

ประมาณ ๑๕ ภาณวาร ดังนั้น บุญนั้นโดยที่

ข้าพเจ้าผู้แต่งปรมัตถทีปนีนั้น ได้ประสบแล้ว

ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ขอเหล่าสัตว์แม้ทั้งปวง

จงหยั่งลงสู่ศาสนาของพระโลกนาถ แล้วเป็นผู้

มีส่วนแห่งวิมุติรส ด้วยข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 607

อันบริสุทธิ์ ขอศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

จงดำรงอยู่ในโลกตลอดกาลนาน ขอให้สัตว์ทุก

หมู่เหล่า จงมีความเคารพในศาสนาของพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นนิตย์นิรันดร์

แม้ฝนก็จงหยั่งลงยังพื้นปฐพีดล โดยถูกต้องตาม

ฤดูกาล ขอท่านผู้ยินดีในพระสัทธรรมจงปกครอง

ชาวโลกโดยธรรม เทอญ.

จบ สังวรรณนาเปตวัตถุ

อันท่านพระภัททันตาจาริยธรรมปาละ

ผู้เป็นนักบวชผู้ประเสริฐในหมู่มุนี

ผู้อยู่ในพทรติตถวิหาร รจนา

จบ บริบูรณ์