ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๖

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สุตตนิบาต จูฬวรรคที่ ๒

รตนสูตรที่ ๑

ว่าด้วยความสวัสดีมีด้วยพระไตรรัตน์

[๓๑๔] ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้ว

ในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใด

ประชุมกันแล้ว ในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูต

ทั้งปวง จงเป็นผู้มีใจดี และขอจงฟังภาษิต

โดยเคารพ ดูก่อนภูตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น

แล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ขอจงแผ่เมตตา

จิตในหมู่มนุษย์

มนุษย์เหล่าใดนำพลีกรรมไปทั้ง

กลางคืนกลางวัน เพราะเหตุนั้นแล ท่าน

ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษามนุษย์

เหล่านั้น

๑. บาลีเล่มที่ ๒๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 2

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใด อัน

ประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอ

ด้วยพระตถาคตไม่มีเลย พุทธรัตนะแม้นี้

เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอ

ความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระศากยมุนีผู้มีพระหฤทัยดำรงมั่น

ได้บรรลุธรรมใดอันเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่

สำรอกกิเลส เป็นอมตธรรม เป็นธรรม

ประณีต ธรรมชาติอะไร ๆ อันเสมอด้วย

พระธรรมนั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้

เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอ

ความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรง

สรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอัน

สะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวสมาธิใด ว่า

ให้ผลในลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้น

ย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอัน

ประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมี

แก่สัตว์เหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 3

บุคคล ๘ จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษ

ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้น ควร

แก่ทักษิณาทาน เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า

ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้น ย่อม

มีผลมาก สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอัน

ประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมี

แก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลเหล่าใดในศาสนา

ของพระโคดม ประกอบด้วยดีแล้ว มีใจมั่น

คง เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย พระอริยบุคคล

เหล่านั้น บรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุ หยั่ง

ลงสู่อมตนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลส โดย

เปล่า เสวยผลอยู่ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะ

อันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดี

จงมีแก่สัตว์เหล่านี้

เสาเขื่อนที่ฝังลงดิน ไม่หวั่นไหว

เพราะลมทั้งที่ทิศ ฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็น

อริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นสัตบุรุษ

ผู้ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม มีอุปมาฉันนั้น

สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วย

สัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 4

พระอริยบุคคลเหล่าใด ทำให้แจ้งซึ่ง

อริยสัจทั้งหลาย อันพระศาสดาทรงแสดงดี

แล้ว ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง พระอริยบุคคล

เหล่านั้น ยังเป็นผู้ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่

ก็จริง ถึงกระนั้นท่านย่อมไม่ยึดถือเอาภพที่

๘ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วย

สัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

สักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา หรือแม้สี-

ลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรม

เหล่านั้นอันพระอริยบุคคลนั้นละได้แล้ว

พร้อมด้วยความถึงพร้อม แห่งการเห็น

(นิพพาน) ทีเดียว อนึ่ง อริยบุคคลเป็น

ผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ทั้งไม่ควรเพื่อทำ

อภิฐานทั้ง ๖ สังฆรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอัน

ประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมี

แก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลนั้น ยังทำบาปกรรม

ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจก็จริง ถึง

กระนั้น ท่านก็ไม่ควรเพื่อจะปกปิดบาปกรรม

นั้น ความที่บุคคลผู้มีธรรมเครื่องถึงนิพพาน

อันตนเห็นแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อปกปิดบาป

กรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว สังฆ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 5

รัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจา

นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้วใน

เดือนต้นในคิมหันตฤดู ฉันใด พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ

ยิ่ง เป็นเครื่องให้ถึงนิพพาน เพื่อประโยชน์

เกื้อกูล มีอุปมาฉันนั้น พุทธรัตนะแม้นี้ เป็น

รัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความ

สวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงทราบ

ธรรมอันประเสริฐ ทรงประทานธรรมอัน

ประเสริฐ ทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ

ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า ได้ทรงแสดงธรรมอันประ-

เสริฐ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์

เหล่านี้

พระอริยบุคคลเหล่าใด ผู้มีจิตอัน

หน่ายแล้วในภพต่อไป มีกรรมเก่าสิ้นแล้ว

ไม่มีกรรมใหม่เครื่องสมภพ พระอริยบุคคล

เหล่านั้นมีพืชอันสิ้นแล้ว มีความพอใจไม่

งอกงามแล้ว เป็นนักปราชญ์ ย่อมนิพพาน

เหมือนประทีปอันดับไปฉะนั้น สังฆรัตนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 6

แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอ

ความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศ

นี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใด ประชุมกัน

แล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการ

พระพุทธเจ้าผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดา

และมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดี

จงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศ

นี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว

ในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระ-

ธรรมอันไปแล้วอย่างนั้น อันเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี

แก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศ

นี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว

ในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระ-

สงฆ์ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์

เหล่านี้.

จบรตนสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 7

ปรมัตถโชติกา

อรรถกถาขุททกนิกาย สุตตนิบาต

จูฬวรรคที่ ๒

อรรถกถารตนสูตรที่ ๑

รตนสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ยานีธ ภูตานิ ดังนี้.

พระสูตรนี้ มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร.

พระสูตรนี้ มีเหตุเกิดขึ้นดังต่อไปนี้.

ดังได้สดับมา ในอดีตกาล อุปัทวะทั้งหลาย มีทุพภิกขภัยเป็นต้น

เกิดขึ้นแล้วให้เมืองเวสาลี เจ้าลิจฉวีทั้งหลายได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ ทูลขอ

นำพระผู้มีพระภาคเจ้ามายังเมืองเวสาลี เพื่อให้ภัยเหล่านั้นสงบ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าซึ่งเจ้าลิจฉวีทรงนิมนต์มาแล้วอย่างนี้ ได้ตรัสพระสูตรนี้ (รตนสูตร)

เพื่อให้อุปัทวะทั้งหลายเหล่านั้นสงบ นี้คือใจความสังเขปในรตนสูตรนั้น.

แต่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายได้พรรณนาถึงการเกิดขึ้นแห่งพระสูตร

นั้น จำเดิมแต่เรื่องเมืองเวสาลี พึงทราบเหตุเกิดขึ้นแห่งรตนสูตรนั้น ดัง

ต่อไปนี้ :-

ดังได้สดับมา ครรภ์ตั้งขึ้นแล้วในท้องแห่งอัครมเหสีของพระราชาใน

เมืองพาราณสี พระนางทรงทราบการที่พระครรภ์ตั้งขึ้นนั้นแล้ว จึงได้กราบทูล

๑. อรรถกถาสุตตนิบาต ภาค ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 8

แด่พระราชา พระราชาก็ได้ทรงพระราชทานการบริขารพระครรภ์ พระนาง

ซึ่งมีพระครรภ์อันชนทั้งหลายบริหารอยู่โดยชอบ ในเวลาที่พระครรภ์แก่ ก็ได้

เสด็จไปยังเรือนประสูติ หญิงผู้มีบุญทั้งหลายย่อมตลอดบุตรในเวลาใกล้รุ่ง

ก็พระนางเป็นหญิงผู้หนึ่งในบรรดาหญิงผู้มีบุตรเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นในเวลา

ใกล้รุ่งพระนางจึงประสูติชิ้นเนื้อชิ้นหนึ่งเช่นกับครั่งสดและดอกชบา ต่อจากนั้น

พระอัครมเหสีทรงดำริว่า ความเสื่อมเกียรติพึงบังเกิดขึ้นแก่เรา เฉพาะ

พระพักตร์ของพระราชา ด้วยเหตุที่ว่าพระเทวีเหล่าอื่นประสูติพระโอรสทั้งหลาย

เช่นกับด้วยแท่งทอง (แต่) พระอัครมเหสีประสูติชิ้นเนื้อ ดังนี้. เพราะกลัว

ความเสื่อมเกียรตินั่น จึงทรงใส่ชิ้นเนื้อนั้นลงในภาชนะใบหนึ่ง ครอบด้วย

ภาชนะอีกใบหนึ่ง แล้วทรงประทับตราด้วยพระราชลัญจกรแล้วทรงให้ปล่อยไป

ในกระแสแห่งแม่น้ำคงคา พอมนุษย์ทั้งหลายลอยภาชนะนั้นเท่านั้น เทวดาทั้ง

หลายก็จัดการอารักขา และเทวดาทั้งหลายได้เขียนแผ่นทองคำด้วยชาด ผูกไว้ที่

ภาชนะนั้น ว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากพระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ต่อแต่นั้น

ภาชนะนั้นไม่ได้ถูกอันตรายทั้งหลาย มีภัยเกิดแต่คลื่นเป็นต้นประทุษร้าย ได้

ลอยไปตามกระแสแห่งแม่น้ำคงคา.

ก็โดยสมัยนั้น ดาบสตนหนึ่งอาศัยสกุลนายโคบาลอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา

ดาบสนั้นก้าวลงสู่แม่น้ำคงคาแต่เช้าตรู่ ได้เห็นภาชนะนั้นกำลังลอยมา ได้ถือ

เอาแล้วด้วยสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ต่อจากนั้น ฤาษีนั้นก็ได้เห็นแผ่นอักขระ

นั้น และรอยประทับตราด้วยพระราชลัญจกรที่ภาชนะนั้น แก้ออกแล้วได้เห็น

ชิ้นเนื้อนั้น ครั้นเห็นแล้ว ฤาษีนั้นก็คิดว่า จะต้องเป็นครรภ์ เพราะว่าเนื้อ

เช่นนั้นไม่มีกลิ่นและไม่เน่า ฤาษีนั้นจึงได้นำชิ้นเนื้อนั้นไปสู่อาศรม วางไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 9

ในที่บริสุทธิ์ ต่อมาโดยกาลล่วงไปได้กึ่งเดือน ชิ้นเนื้อก็เกิดเป็น ๒ ชิ้น ดาบส

เห็นชิ้นเนื้อนั้นแล้วก็ตั้งไว้ให้ดีขึ้นอีกกว่าเดิม ต่อจากนั้นโดยกาลล่วงไปได้ครึ่ง

เดือนอีก ชิ้นเนื้อชิ้นหนึ่ง ๆ ก็เกิดมีปุ่มขึ้นชิ้นละ ๕ ปุ่ม เพื่อประโยชน์แก่

มือ เท้า และศีรษะ ดาบสเห็นแล้วก็ตั้งไว้ให้ดียิ่งขึ้นอีก ต่อแต่นั้นโดยกาล

ล่วงไปได้ครึ่งเดือน ชิ้นเนื้อชิ้นหนึ่งก็เกิดเป็นทารก เช่นกับด้วยแท่งทอง

ชิ้นเนื้ออีกชิ้นหนึ่งก็เกิดเป็นทาริกา เช่นกับแท่งทอง พระฤาษีเกิดความสิเน่หา

เพียงดังบุตรในเด็กทั้งสองนั้น ก็น้ำนมได้เกิดขึ้นจากหัวแม่มือของดาบส จำเดิม

แต่นั้นมา เมื่อใดดาบสได้น้ำนมและภัต เมื่อนั้นท่านก็ฉันภัตนั้น แล้วใส่น้ำนม

ลงในปากของทารกทั้งสอง สิ่งใด ๆ เข้าไปในท้องของเด็กทั้งสองนั้น สิ่งนั้น

ทั้งหมดย่อมปรากฏราวกะว่า วางอยู่ในภาชนะแก้วมณีฉะนั้น เด็กทั้งสองนั้น

เป็นผู้ไม่มีผิว ได้มีด้วยอาการอย่างนี้ อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ผิวของเด็ก

ทั้งสองนั้นแนบสนิทกันและกัน ประดุจเย็บตั้งไว้ฉะนั้น เด็กทั้งสองนั้นจึง

ปรากฏชื่อว่า ลิจฉวี เพราะเหตุที่เป็นผู้ไม่มีผิว หรือเพราะเหตุที่ว่ามีผิว

แนบสนิท ด้วยประการฉะนี้. พระดาบสเลี้ยงทารกทั้งสองอยู่ เข้าไปสู่บ้าน

เพื่อบิณฑบาตในเวลาสาย กลับมาในเวลาสายยิ่ง พวกนายโคบาลทราบถึง

ความขวนขวายนั้นของดาบสนั้นแล้ว จึงเรียนว่า ท่านผู้เจริญ การเลี้ยงเด็ก

เป็นความกังวลของบรรพชิตทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงให้เด็กทั้งสองแก่พวก

กระผม พวกกระผมจักเลี้ยงเสียเอง ท่านจงได้กระทำสมณธรรมของตนเกิด

ดาบสรับว่า ดีละ.

นายโคบาลทั้งหลาย ได้ทำทางให้สม่ำเสมอในวันที่สอง โปรยดอกไม้

ให้ยกธงชัยและธงปฏาก ไปยังอาศรมด้วยทั้งดนตรีทั้งหลายที่ประโคมอยู่ ดาบส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 10

กล่าวว่า เด็กทั้งสองเป็นผู้มีบุญมาก ขอให้พวกท่านจงเลี้ยงให้เจริญ ด้วยการ

เอาใจใส่จริง ๆ ก็ครั้นเลี้ยงให้เจริญแล้ว จงทำอาวาหะและวิวาหะกะกันและ

กัน พวกท่านทำให้พระราชาทรงพอพระทัย (ด้วยการถวาย) ปัญจโครส

แล้วจงถือเอาภูมิภาค พากันสร้างนคร จงอภิเษกพระกุมารไว้ในพระนคร

ดังนี้แล้ว จึงได้มอบทารกทั้งสอง (แก่พวกโคบาล) พวกโคบาลเหล่านั้น

รับคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นำทารกทั้งสองไปเลี้ยงไว้ เด็กทั้งสองเจริญวัยขึ้น

แล้วเล่นอยู่ ได้ใช้มือบ้าง เท้าบ้าง ประหารพวกเด็กของนายโคบาลเหล่าอื่น

ในที่ทะเลาะกันทั้งหลาย พวกเด็กเหล่านั้นก็ร้องไห้ ครั้นถูกมารดาและบิดาถาม

ว่าร้องไห้ทำไม ก็ตอบว่า เด็กสองคนที่ไม่มีพ่อไม่มีแม่ ที่ดาบสเลี้ยงไว้ ตี

พวกข้าพเจ้า.

ลำดับนั้น มารดาบิดาของเด็กเหล่านั้นจึงกล่าวว่า เด็ก ๒ คนนี้ เบียด

เบียนเด็กเหล่าอื่น ทำให้เด็กเหล่าอื่นได้รับความทุกข์ พวกเราไม่ควรสงเคราะห์

เด็ก ๒ คนนี้ ๆ พวกเราควรเว้นเสีย เล่ากันมาว่านับตั้งแต่นั้นมา ดินแดนแห่ง

นี้ จึงเรียกกันว่า "วัชชี" ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์. ต่อแต่นั้นนายโคบาล

ทั้งหลาย ทำให้พระราชาทรงโปรดปรานแล้ว ก็ได้ถือเอาพื้นที่แห่งนั้น พวก

นายโคบาลสร้างนครขึ้น ณ สถานที่นั้นนั่นเอง แล้วอภิเษกพระกุมารซึ่งมี

ชันษา ๑๖ ยกให้เป็นพระราชา และพวกนายโคบาล ได้ทำกติกาข้อห้ามเกี่ยว

กับทาริกาและพระราชานั้นไว้ว่า จะไม่พึงนำทาริกามาแต่ภายนอก ไม่พึงให้

ทาริกาจากที่นี้แก่ใคร ๆ. เพราะการอยู่ร่วมกันเป็นครั้งแรกของพระราชาและ

พระราชินีนั้น ก็เกิดทารกขึ้น ๒ คนเป็นหญิง ๑ ชาย ๑ ทารกเกิดครั้งละ

๒ คน อย่างนี้ถึง ๑๖ ครั้ง. ต่อจากนั้น ชนทั้งหลายได้ล้อมพระนครแห่งนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 11

เพื่อให้เด็กเหล่านั้น ซึ่งเจริญขึ้นเป็นลำดับ ถือเอาสวนอุทยาน เป็นที่รื่นรมย์

ที่อยู่ บริวารและสมบัติด้วยกำแพง ๓ ชั้น ซึ่งห่างกันชั้นละ ๓ คาวุต เพราะเหตุ

ที่นครแห่งนั้นต้องทำให้ขยายออกบ่อย ๆ จึงได้ชื่อว่า เวสาลี นี้คือเรื่อง

เมืองเวสาลี.

แต่เมืองเวสาลีนี้ ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอุบัติขึ้นแล้ว

เป็นเมืองที่มั่งคั่งไพบูลย์ ก็ในเมืองเวสาลีนั้นมีพระราชาถึง ๗,๗๐๗ พระองค์

ถึงแม้พระยุพราช เสนาบดีและขุนคลังเป็นต้น ก็มีจำนวนเท่านั้นเหมือนกัน

สมดังที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล เมืองเวสาลีเป็น

เมืองมั่งคั่ง กว้างขวาง มีคนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น มีภิกษาหาได้ง่าย

มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีสวน ๗,๗๐๗ แห่ง

สระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ.

โดยสมัยอื่นมีภิกษาหาได้ยาก ฝนแล้ง ข้าวกล้าเสียหาย ครั้งแรก

คนยากจนตายก่อน คนทั้งหลายทิ้งซากศพของตนเข็ญใจเหล่านั้นไว้นอกเมือง

เพราะกลิ่นซากศพของคนที่ตายทั้งหลาย พวกอมนุษย์ทั้งหลายก็เข้าเมือง

ต่อแต่นั้นคนก็ตายมากต่อมาก เพราะความปฏิกูลนั้น อหิวาตกโรคย่อมเกิดขึ้น

แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเมืองเวสาลีถูกทุพภิกขภัย อมนุษยภัย และโรคภัย

๓ ประการ ประทุษร้ายแล้ว ดังกล่าวมานี้ ชาวเมืองทั้งหลายก็เข้าไปกราบทูล

พระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ภัย ๓ ประการ เกิดขึ้นแล้วในพระนคร ใน

สมัยก่อน นับจากนี้ไป จนถึง ๗ ชั่วราชสกุล ภัยเห็นปานนี้ไม่เคยเกิดขึ้น

แต่ได้บังเกิดขึ้นแล้ว ณ บัดนี้ เห็นจะเป็นเพราะพระองค์ไม่ตั้งอยู่ในธรรม.

๑. พระวินัยมหาวรรค ๕/ข้อ ๑๒๘ จีวรขันธกะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 12

พระราชารับสั่งให้ประชุมชนทั้งปวงประชุมกันที่สัณฐาคาร แล้วจึง

ตรัสว่า ขอให้พวกท่านจงตรวจดูว่าเราไม่ตั้งอยู่ในธรรมในข้อใด ชนทั้งปวง

พิจารณาประเพณีทุกอย่างอยู่ ก็ไม่ได้พบข้อบกพร่องอะไร (ของพระราชา)

ต่อแต่นั้น ประชาชนเมื่อไม่เห็นความผิดของพระราชา จึงพากันคิดว่า ภัยนี้จะพึง

สงบได้อย่างไร ในบรรดาคนเหล่านั้น คนบางพวกเสนอว่า ถ้าว่าครูทั้ง ๖

ได้ปรากฏแล้ว ภัยก็จักสงบ ในเมื่อครูทั้ง ๖ เหล่านี้ พอสักว่าก้าวลง (ยัง

เมืองเวสาลีเท่านั้น). คนบางพวกเสนอว่า ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว

ในโลกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูล

แก่สัตว์ทั้งปวง พระองค์มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ในเมื่อพระองค์สักว่า

ทรงก้าวลง (ยังเมืองเวสาสี) ภัยทั้งปวงก็พึงสงบลงได้ เพราะเหตุนั้นคน

เหล่านั้นจึงพอใจ กล่าวว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ ณ

ที่ไหน เมื่อพวกเราส่งข่าวสารเชิญเสด็จแล้ว พระองค์จะพึงเสด็จมาหรือ.

ลำดับนั้นคนอีกพวกหนึ่งพูดขึ้นว่า ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้เอ็นดู

(ต่อสัตวโลก) เพราะเหตุไรพระองค์จะไม่เสด็จมา ก็บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้นประทับอยู่ในเมืองราชคฤห์ และพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงอุปัฏฐาก

พระองค์อยู่ บางที่พระเจ้าพิมพิสารนั้น จะไม่ยอมให้พระองค์เสด็จมา คน

เหล่านั้นจึงพูดกันว่า ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายจงให้พระราชาทรงยินยอม แล้ว

จงนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามา.

เจ้าลิจฉวี ๒ พระองค์ ได้ถวายเครื่องบรรณาการเป็นอันมาก พร้อม

ด้วยพลนิกายหมู่ใหญ่ ส่งไปยังสำนักพระราชาว่า ขอพวกท่านจงให้พระเจ้า-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 13

พิมพิสารอนุญาตแล้ว จงนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามา. ชนเหล่านั้นไปแล้ว

ถวายเครื่องบรรณาการแด่พระราชาแล้ว ชี้แจงให้พระองค์ทรงทราบความเป็น

ไปนั้นแล้วทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงส่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ไปยังนครของพวกข้าพระองค์ พระราชาไม่ทรงรับแต่ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงรู้

เอาเอง ชนเหล่านั้นกราบทูลว่า ดีละ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวาย

บังคมแล้ว ทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภัย ๓ ประการเกิดขึ้นแล้ว

ในนครของพวกข้าพระองค์ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาไซร้ ความสวัสดีก็

จะพึงมีแก่พวกข้าพระองค์.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพิจารณาแล้ว จึงทรงรับด้วย

ทรงทราบชัดว่า เมื่อเราแสดงรัตนสูตรในเมืองเวสาลีแล้ว อารักขาจะแผ่ไป

ตลอดแสนโกฏิจักรวาล ในเวลาจบพระสูตร ธรรมาภิสมัยจักมีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐.

ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ

แล้ว ก็รับสั่งให้ป่าวประกาศไปในพระนครว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับการ

นิมนต์เสด็จไปยังเมืองเวสาลีแล้ว จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงรับการเสด็จไปเมืองเวสาลีหรือ ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระเจ้าพิมพิสาร

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงทรงประทับรอ

จนกว่าหม่อมฉันจะตระเตรียมหนทางเสด็จเรียบร้อย.

ครั้งนั้นแล พระเจ้าพิมพิสาร ทรงกระทำพื้นที่ประมาณ ๕ โยชน์

ในระหว่างเมืองราชคฤห์และแม่น้ำคงคา ให้สม่ำเสมอ แล้วให้สร้างวิหารไว้ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 14

สถานที่โยชน์ละ ๑ แห่ง แล้วให้กราบทูลเวลาเสด็จแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปแวดล้อม เสด็จไปแล้ว พระราชา

รับสั่งให้โปรยดอกไม้ ๕ สี ตลอดหนทาง ๕ โยชน์ถึงแค่เข่า รับสั่งให้ยกธงชัย

ธงแผ่นผ้า ตั้งหม้อน้ำที่เต็มเอาไว้ และต้นกล้วยเป็นต้น ทรงให้ยกเศวตฉัตร

๒ ชั้น เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า และเศวตฉัตรชั้นเดียวสำหรับพระภิกษุรูปหนึ่งๆ

กระทำอยู่ซึ่งการบูชา ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น พร้อมด้วยบริวารของ

พระองค์ ทรงนิมนต์ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าประทับอยู่ในวิหารแห่งหนึ่ง ๆ

แล้วทรงถวายมหาทาน แล้วนำเสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำคงคาโดยใช้เวลา ๕ วัน.

พระเจ้าพิมพิสารทรงประดับเครื่องด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง ที่ฝั่งแม่น้ำ

คงคานั้น แล้วส่งพระราชาสารไปทูลพระราชาเมืองเวสาลีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จมาแล้ว ขอพวกท่านทั้งปวงจงตระเตรียมทางเสด็จ จงกระทำการต้อนรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้นทรงดำริว่า พวกเราจักทำการ

บูชาให้เป็นสองเท่า แล้วทรงให้กระทำพื้นที่ประมาณ ๓ โยชน์ ในระหว่าง

เมืองเวสาสีและแม่น้ำคงคาให้สม่ำเสมอ แล้วทรงตระเตรียมเศวตฉัตร ๔ ชั้น

เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า และเศวตฉัตร ๒ ชั้นสำหรับภิกษุรูปหนึ่ง ๆ เมื่อจะ

กระทำการบูชาจึงได้มาประทับยืนอยู่ ณ ฝั่งแห่งแม่น้ำคงคา พระเจ้าพิมพิสาร

ทรงให้สร้างเรือ ๒ ลำ กระทำมณฑป ประดับด้วยพวงดอกไม้เป็นต้น ให้ปู

พุทธอาสน์ซึ่งสำเร็จด้วยรัตนะทั้งปวง บนเรือลำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่งบนพุทธอาสน์นั้น แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปก็ขึ้นเรือ แล้วก็นั่ง ณ ที่อัน

สมควร พระราชาเมื่อตามส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จสงไปในน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 15

ประมาณแค่พระศอ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่

ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้นี่แหละ จนกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จมาแล้วเสด็จกลับ

(ขึ้นฝั่ง)

เทวดาทั้งหลายในเบื้องบนจนถึงอกนิษพรหม ได้กระทำการบูชา.

นาคทั้งหลายมีนาคพวกกัมพลัสสตระเป็นต้น ผู้อาศัยอยู่ที่ภายใต้เแม่น้ำคงคา

กระทำแล้วซึ่งการบูชา. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปในเเม่น้ำคงคาระยะทาง

ประมาณ ๑ โยชน์ แล้วเข้าสู่เขตแดนของชาวเมืองเวสาลี ด้วยการบูชาที่

ยิ่งใหญ่อย่างนี้. ต่อจากนั้น กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย เมื่อกระทำการบูชาเป็น

๒ เท่า แห่งการบูชาที่พระเจ้าพิมพิสารนั้นทรงกระทำแล้ว ทรงต้อนรับพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าในน้ำประมาณแค่พระศอ โดยขณะนั้นนั่นเอง โดยครู่นั้น

มหาเมฆซึ่งมียอดแผ่ออกไปด้วยความมืดมน มีสายฟ้าปลาบแปลบ คำรามอยู่

ตกแล้วทั้ง ๔ ทิศ ต่อจากนั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงก้าวพระบาทแรก

พอเหยียบที่ฝั่งแม่น้ำคงคา (เท่านั้น) ฝนโบกขรพรรษก็ตก คนเหล่าใดต้องการ

จะเปียก คนเหล่านั้นเท่านั้น จึงเปียก คนที่ไม่ต้องการเปียก ก็ไม่เปียก น้ำ

ประมาณแค่เข่า แค่ขา แค่สะเอว แค่คอ ย่อมไหลไปในที่ทั้งปวง ซากศพ

ทั้งปวงถูกน้ำพัดพาไปในแม่น้ำคงคา ภาคพื้นก็บริสุทธิ์ กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย

ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในทุก ๆ กึ่งโยชน์ ถวายมหาทาน กระทำกรรม

บูชา ๒ เท่า โดยใช้เวลา ๓ วัน นำเสด็จสู่กรุงเวสาลี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จถึงกรุงเวสาลีแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ มีหมู่เทพดาอยู่ข้างหน้าเสด็จมา

เพราะเทพดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ประชุมกัน พวกอมนุษย์ก็หนีไปโดยมาก พระผู้มี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 16

พระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ที่ประตูพระนคร ตรัสเรียกพระอานนท์มาแล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรตนสูตรนี้ แล้วถืออุปกรณ์แห่งพลีกรรม

พร้อมด้วยลิจฉวีกุมารทั้งหลาย เที่ยวไปอยู่ในระหว่างกำแพง ๓ ชั้น แห่งเมือง

เวสาลี จงกระทำพระปริตร (ป้องกัน ) ดังนี้แล้วได้ตรัสรตนสูตร.

มีคำถามว่า ก็พระสูตรนี้ใครกล่าวไว้อย่างนี้ กล่าวไว้เมื่อใด ที่ไหน

และเพราะเหตุไร การวิสัชนาปัญหา พระโบราณาจารย์ทั้งหลายได้พรรณนา

ไว้โดยพิสดาร จำเดิมแต่เรื่องเมืองเวสาลี.

ในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้ายังเสด็จไม่ถึงเมืองเวสาลีนั้นแล ท่านพระ-

อานนท์ได้เรียนรัตนสูตรนี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อกำจัดอุปัทวะ

เหล่านั้น ที่ประตูพระนครเวสาลี สวดอยู่เพื่อป้องกัน ใช้บาตรของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตักน้ำ เที่ยวประพรหมอยู่ทั่วพระนคร ก็เมื่อพระเถระกล่าวคำว่า

ยงฺกิญฺจิ เท่านั้น พวกอมนุษย์ทั้งหลายที่อาศัยกองหยากเยื่อ และประเทศ

แห่งฝาเรือนเป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในกาลก่อน ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง ๔.

ประตู (ทั้ง ๔) ไม่มีที่ว่าง ต่อจากนั้นอมนุษย์บางพวก เมื่อไม่ได้ที่ว่าง

(โอกาส) เพื่อออกไปที่ประตูทั้งหลาย ก็ทำลายกำแพงหนีไป เมื่อพวก

อมนุษย์ไปกันแล้ว โรคของมนุษย์ทั้งหลายก็สงบ มนุษย์เหล่านั้นออก (จาก

เรือนของตน) บูชาพระเถระด้วยของหอมและดอกไม้ทุกชนิดเป็นต้น มหาชน

ได้ใช้ของหอมทั้งปวงทาสัณฐาคารในท่ามกลางนคร กระทำเพดานซึ่งประดับ-

ประดาด้วยรัตนะ ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ให้ปูพุทธอาสน์ไว้ ณ

สัณฐาคารนั้น แล้วได้นำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 17

เข้าไปยังสัณฐาคาร ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ซึ่งเขาปูลาดไว้แล้ว ฝ่ายภิกษุ.

สงฆ์แล รวมทั้งพระราชาทั้งหลาย และมนุษย์ทั้งหลาย ก็ได้นั่ง ณ โอกาส

สมควร แม้ท้าวสักกะจอมเทพ ก็นั่งกับเทวบริษัทในเทวโลกทั้งสอง เทวดา

เหล่าอื่นก็ได้นั่งด้วยเทวบริษัทเช่นกัน ฝ่ายพระอานนทเถระ เที่ยวไปยังนคร

เวสาลีจนทั่ว กระทำอารักขา แล้วมาพร้อมกับชาวนครเวสาลี นั่งลงแล้ว ณ

ส่วนข้างหนึ่ง ณ สัณฐาคารนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรตนสูตรนั้นนั่นแล

แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑ ว่า ยานีธ ภูตานิ ดังต่อไปนี้ :-

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ยานิ ความว่า ภูตเหล่าใดมีศักดิ์น้อย

ก็ตาม มีศักดิ์มากก็ตาม.

บทว่า อิธ ได้แก่ในประเทศนี้ ท่านกล่าวหมายถึงสถานที่ประชุมกัน

ในขณะนั้น.

บทว่า ภูตานิ คำอธิบายว่า ถึงแม้ ภูต ศัพท์จะใช้ในความหมาย

เหล่านี้ คือ

๑. หมายถึงสิ่งที่เป็นจริง ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้น

อย่างนี้ว่า ภูตสฺมึ ปาจิตฺติย เป็นปาจิตตีย์ในเพราะบอกอุตตริมนุษย์ธรรมที่

มีจริงแต่อนุปสัมบัน

๒. หมายถึงเบญจขันธ์ ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้นอย่าง

นี้ว่า ภูตมิท ภิกฺขเว สมนุปสฺสถ ภิกษุทั้งหลาย เธอจงพิจารณาเบญจขันธ์นี้.

๓. หมายถึงรูปมีปฐวีธาตุเป็นต้น ในธาตุทั้ง ๔ ดังในประโยคทั้งหลาย

เป็นต้นอย่างนี้ว่า จตฺตาโร โข ภิกฺขุ มหาภูตา เหตู ดูก่อนภิกษุ มหา-

ภูตรูป ๔ แลเป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 18

๔. หมายถึงพระขีณาสพ ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้น

อย่างนี้ว่า โย จ กาลฆโส ภูโต บุคคลใดเป็นผู้กลืนกินกาล.

๕. หมายถึงสัตว์ทั้งปวง ดังในประโยคทั้งหลาย มีประโยคเป็นต้น

อย่างนี้ว่า สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสย สัตว์ทั้งปวงแล

ย่อมทิ้งร่างกายไว้ในโลก.

๖. หมายถึงต้นไม้เป็นต้น ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้น

อย่างนี้ว่า ภูตคามปาตพฺยตาย ปาจิตฺติย เป็นอาบัติปาจิตตีย์ในเพราะ

พรากภูตคาม.

๗. หมายถึงหมู่สัตว์ ซึ่งอยู่ภายใต้ชั้น จาตุมมหาราชิกาลงมา ดังใน

ประโยคทั้งหลาย มีประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูเต ภูตโต สญฺชานาติ ย่อม

รู้สัตตนิกายทั้งหลาย โดยความเป็นสัตตนิกาย ดังนี้ก็จริง ถึงกระนั้นในรตน-

สูตรนี้ บัณฑิตก็พึงเห็นว่า ภูต ศัพท์ ใช้ในอมนุษย์ทั้งหลายโดยไม่แปลกกัน.

บทว่า สมาคตานิ ได้แก่ประชุมกันแล้ว เทวดาทั้งหลายที่เกิดแล้ว

ณ ภาคพื้น ชื่อว่า ภุมฺมานิ (ภุมเทวดา)

วา ศัพท์ ใช้ในวิกัปปัตถะ (แปลว่า หรือ) เพราะเหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกระทำวิกัปอันหนึ่งนี้ว่า ภุมเทวดาทั้งหลาย เหล่าใด

หรือภูตทั้งหลายเหล่าใดที่ประชุมกันแล้วในที่นี้ แล้วตรัสว่า ยานิว อนฺตลิกฺเข

หรือเทพเหล่าใดซึ่งประชุมกันแล้วในอากาศ ดังนี้ เพื่อกระทำวิกัปที่สอง

อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ภูตทั้งหลายเหล่าใดเกิดแล้วในอากาศ ประชุมกัน

แล้วในที่นี้.

ก็ในคำว่า ภูตานิ นี้ ภูตสัตว์เหล่าใด ตั้งแต่ชั้นยามาจนถึงชั้นอกนิฏฐ-

ภพซึ่งบังเกิดแล้วในอากาศ พึงทราบว่า เป็นภูตในอากาศ ก็เพราะเหตุที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 19

เกิดในวิมานที่ปรากฏอยู่ในอากาศ ภูตทั้งหลายที่เกิดในภายใต้แต่อากาศนั้น

ภูต นับจำเดิมแต่ภูเขาสิเนรุจนถึงภูตสัตว์ที่สิงสถิตอยู่ในต้นไม้และเครือเถา

เป็นต้นบนพื้นดิน และที่เกิดแล้วบนพื้นดิน ภูตสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดพึงทราบ

ว่าเป็น ภุมฺมานิ ภูตานิ เพราะเหตุที่เกิดแล้วในที่ ๆ เกี่ยวเนื่องกับ

พื้นดิน และในที่ทั้งหลายมีต้นไม้ เครือเถา และภูเขาเป็นต้น บนพื้นดิน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิกัป (กำหนด) อมนุษย์ภูตแม้ทั้งหมด ด้วยสองบท

ว่า ภุมฺมานิ วา ยานิ วา อนฺตลิกฺเข แล้วกำหนดด้วยบทเดียวอีก

ตรัสว่า สพฺเพว ภูตา สุมนา ภวนฺตุ ขอภูตสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดี.

บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ ศัพท์ว่า เอว ใช้ในอรรถแห่ง

อวธารณะ อธิบายว่า ไม่ยกเว้นแม้สักผู้หนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายชื่อว่า ภูต.

สองบทว่า สุมนา ภวนฺตุ ได้แก่ เป็นผู้มีใจถึงความสุข คือว่า

เป็นผู้มีปีติและโสมนัสเกิดแล้ว.

สองศัพท์ว่า อโถปิ เป็นนิบาตทั้งสองคำ ใช้ในอรรถแห่งวากยปท-

วิกัปปัตถะ เพื่อใช้ประกอบในกิจอื่น.

๓ บทว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิต ความว่า ขอให้ภูตทั้งปวง

จงตั้งใจ คือทำไว้ในใจ ได้แก่ประมวลมาด้วยใจทั้งหมด จงฟังเทศนาของเรา

ซึ่งจะนำสมบัติอันเป็นทิพย์ และโลกุตตรสุขมาให้ ในพระสูตรนี้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงกำหนดภูตสัตว์ทั้งหลาย ด้วยคำที่กำหนดไว้ไม่แน่นอนว่า ยานีธ

ภูตานิ สมาคตานิ ภูตเหล่าใดมาประชุมกันแล้วในที่นี้ ดังนี้ อย่างนี้แล้ว

จึงทรงกำหนดด้วยสองบทอีกว่า ภุมฺมานิ วา ยานิว อนฺตลิกฺเข ภุมเทวดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 20

ทั้งหลาย หรือเทวดาทั้งหลายเหล่าใดในอากาศ แล้วทรงกระทำให้เป็นอัน

เดียวกันอีกว่า สพฺเพว ภูตา ภูตทั้งปวง แล้วทรงประกอบไว้ในอาสยสมบัติ

ด้วยคำนี้ว่า สุมนา ภวนฺตุ จงเป็นผู้มีใจดี แล้วทรงประกอบในปโยคสมบัติ

ด้วยคำนี้ว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิต ขอจงตั้งใจฟังโดยเคารพ อนึ่ง

ทรงประกอบในโยนิโสมนสิการสมบัติ และในโฆสสมบัติ ด้วยคำว่า สกฺกจฺจ

สุณนฺตุ ภาสิต ทรงประกอบในอัตตสัมมาปณิธิสมบัติ และสัปปุริสูปนิสสย-

สมบัติ และทรงประกอบในสมาธิสมบัติ ปัญญาสมบัติ และเหตุสมบัติ ด้วย

คำว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิต จึงได้ตรัสพระคาถานี้.

คำที่ว่า ตสฺมาหิ ภูตา เป็นต้น เป็นคาถาที่สอง ในบรรดาคำ

เหล่านั้น คำว่า ตสฺมา เป็นคำบอกเหตุ คำว่า ภูตา เป็นคำเชื้อเชิญภูต.

คำว่า นิสาเมถ แปลว่า จงฟัง.

คำว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ ท่านได้อธิบายไว้อย่างไร

ท่านได้อธิบายไว้ว่า เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลาย (เทวดา) ได้ละทิพยสถาน

และอุปโภคสมบัติ บริโภคสมบัติ ได้มาประชุมกันในที่นี้เพื่อฟังธรรม หาได้

มาเพื่อจะดูนักฟ้อนแสดงการฟ้อนรำไม่ เพราะฉะนั้นแล ขอภูตทั้งปวงจงฟัง

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่าเทพเหล่านั้นเป็นผู้มีใจดี

และเห็นว่าเทพเหล่านั้นต้องการที่จะฟังโดยเคารพ จึงได้ตรัสด้วยพระดำรัสว่า

สกฺกจฺจ สุณนฺตุ จงฟังโดยเคารพ ก็เพราะที่ท่านทั้งหลายประกอบด้วย

อัตตสัมมาปณิธิ โยนิโสมนสิการ และอาสยสุทธิ โดยความเป็นผู้มีใจดี

ทั้งประกอบด้วยปโยคสุทธิทั้งหลาย โดยมีสัปปุริสูปนิสสยะ และปรโตโฆสะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 21

เป็นปทัฏฐาน เพราะต้องการจะฟังโดยเคารพ ฉะนั้นแล ขอให้ภูตทั้งปวงจง

ตั้งใจฟัง.

อีกประการหนึ่ง คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่สุดแห่งคาถา

แรกว่า ภาสิต พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอ้างถึงคำนั้นโดยความเป็นเหตุ จึง

ตรัสว่า ธรรมดาว่าภาษิตของเรา บุคคลได้โดยยากอย่างยิ่ง เพราะเหตุที่ขณะ

ซึ่งเว้นจากขณะทั้งปวงเป็นขณะที่หาได้ยาก ทั้งเป็นคำมีอานิสงส์เป็นอเนก

เพราะเป็นไปด้วยปัญญาคุณและกรุณาคุณ และเราต้องการที่จะพูดคำนั้น จึง

ได้กล่าวว่า สุณนฺตุ ภาสิต ขอจงฟังคำที่เรา (ตถาคต) พูด เพราะเหตุ

นั้นแล คำว่า ภูตา นิสาเมถ สพฺเพ (ขอภูตทั้งปวงจงพึง) นี้ เราได้

กล่าวแล้วด้วยบทที่เป็นคาถานี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบเหตุนั้นอย่างนี้แล้ว จึงทรงประกอบ

ภูตให้ตั้งใจฟังคำภาษิตของพระองค์ ได้ทรงเริ่มเพื่อจะตรัสคำที่ควรฟังว่า

เมตฺต กโรถ มานุสิยา ปชาย ขอจงแผ่เมตตาจิตไปในหมู่มนุษย์ ดังนี้.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า หมู่สัตว์คือมนุษย์นี้ใด อันอุปัทวะทั้ง

๓ ประทุษร้ายแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงเข้าไปตั้งเมตตา คือ มิตรภาพ ได้แก่

ความเป็นผู้มีอัธยาศัยเกื้อกูลในหมู่สัตว์ที่เป็นมนุษย์นั้น แต่อาจารย์บางพวก

เรียกมนุษย์ว่า ปชา คำนั้นไม่ถูก เพราะไม่ได้เป็นสัตตมีวิภัติ และอาจารย์

พวกอื่นก็พรรณนาเนื้อความแม้ใดไว้ เนื้อความแม้นั้นก็ไม่ถูก แต่ในคาถานี้มี

อธิบายว่า เราหาได้เรียก (อย่างนั้น ) ด้วยกำลังแห่งความเป็นใหญ่ว่า เป็นพระ

พุทธเจ้าไม่ แต่สิ่งใดเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ท่านทั้งหลายด้วย แก่หมู่มนุษย์

ด้วย เราก็ได้กล่าวสิ่งนั้นว่า ท่านทั้งหลายจงสร้างเมตตาจิตในหมู่มนุษย์ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 22

ก็ในคำว่า เมตฺต กโรถ มานุสิยา ปชาย นี้ พึงทราบวินิจฉัย

ดังต่อไปนี้ :-

ชนเหล่าใด สร้างเมตตาจิตด้วยสามารถแห่งพระสูตรทั้งหลาย มีอาทิ

อย่างนี้ว่า :-

พระราชาผู้ประกอบด้วยธรรม เช่น

กับฤาษี ชนะแผ่นดินอันประกอบด้วยหมู่-

สัตว์เจริญรอยตามกัน บูชายัญเหล่าใด คือ

อัสสเมธะ ๑ (ทรงพระปรีชาในการบำรุงสัตว์

พาหนะมีม้าเป็นต้น) ปุริสเมธะ ๑ (ทรงพระ

ปรีชาในการเกลี้ยกล่อมประชาชน ๑) สัมมา-

ปาสะ ๑ (ทรงมีพระอัธยาศัยดุจบ่วงคล้อง

น้ำใจประชาชน ๑) วาชเปยยะ ๑ (ทรงมี

พระวาจาเป็นที่ดูดดื่มใจคน ๑) นิรัคคฬะ

(ทรงปกครองพระนครไม่ต้องมีกลิ่นกลอน ๑)

มหายัญเหล่านั้น ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งเมตตา

จิตที่อบรมดีแล้ว ถ้าหากว่าบุคคลไม่มีจิต

ประทุษร้าย ย่อมแผ่เมตตาไปยังสัตว์แม้ตัว

หนึ่ง เพราะเหตุนั้น กุศลจึงมี ผู้มีใจเกื้อกูล

ต่อสัตว์ทั้งปวงเป็นผู้ประเสริฐทำบุญมาก.

๑. อัง. อัฏฐก. ๖๒/ข้อ ๙๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 23

และด้วยอำนาจของอานิสงส์ของเมตตา ๑๑ อย่าง พึงทราบว่า เมตตา

ของชนเหล่านั้นมีประโยชน์เกื้อกูล เมตตาอันบุคคลกระทำในเทพเจ้าเหล่าใด

ด้วยสามารถแห่งข้อความทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า บุคคลมีใจเกื้อกูลต่อเทวดา

ย่อมเห็นแต่สิ่งที่เจริญใจทุกเมื่อ ดังนี้ พึงทราบว่า เมตตาของชนแม้เหล่านั้น

มีประโยชน์เกื้อกูล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดง ลักษณะแห่งเมตตาจิตทั้ง ๒ อย่าง

ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นว่า มีประโยชน์เกื้อกูลอย่างนี้ จึงตรัสว่า เมตฺต กโรถ

มานุสิยา ปชาย ท่านทั้งหลายจงแผ่เมตตาจิตไปในหมู่มนุษย์ ดังนี้ บัดนี้

เมื่อจะแสดงอุปการะจึงตรัสว่า

ทิวา จ รตฺโต จ หรนฺติ เย พลึ

ตสฺมา หิ เน รกฺขถ อปฺปมตฺตา

มนุษย์เหล่าใด นำพลีกรรมไปทั้ง

กลางวันกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล ท่าน

ทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษามนุษย์

เหล่านั้นเถิด.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า มนุษย์เหล่าใด สร้าง (รูป) เทวดา

ด้วยจิตรกรรมและปฏิมากรรมเป็นต้น และเข้าไปยังเจดีย์และต้นไม้ทั้งหลาย

แล้วกระทำพลีกรรมในกลางวัน อุทิศเทวดาทั้งหลายก็ดี กระทำพลีกรรมใน

เวลากลางคืน ในข้างแรมเป็นต้นก็ดี หรือถวายสลากภัตรเป็นต้นแล้ว กระทำ

พลีกรรมในเวลากลางวัน โดยการอุทิศส่วนบุญให้แก่อารักขเทวดาจนถึงเทพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 24

ชั้นพรหมก็ดี จัดให้มีการฟังธรรมเป็นต้นตลอดทั้งคืน ด้วยการยกฉัตรและ

ประทีปดอกไม้ แล้วทำพลีกรรมในเวลากลางคืน ด้วยการอุทิศให้ซึ่งส่วนบุญ

ก็ดี มนุษย์ทั้งหลายอันพวกท่านจะไม่พึงรักษาได้อย่างไร เพราะเหตุว่า มนุษย์

เหล่านั้นกระทำพลีกรรม อุทิศพวกท่านเท่านั้น ทั้งกลางวันและกลางคืน

อย่างนี้.

คำว่า ตสฺม หิ เน เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงรักษา คือ

จงคุ้มครองมนุษย์เหล่านั้น แม้เพราะเหตุแห่งพลีกรรม และขอให้พวกท่านจง

ขจัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ของมนุษย์เหล่านั้นออกเสีย แล้วนำสิ่งที่เป็นประโยชน์

มาให้ ขอให้พวกท่านเป็นผู้ไม่ประมาท ตั้งความเป็นผู้กตัญญูนั้น ๆ ไว้ในใจ

ระลึกอยู่เป็นนิจเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่มนุษย์ทั้งหลายมีอุปการะ

ต่อเทวดาทั้งหลายอย่างนี้แล้ว จึงทรงเริ่มเพื่อประกอบสัจวาจา โดยนัยมีอาทิ

ว่า ยกิญฺจิ วิตฺต เพื่อการเข้าไปสงบอุปัทวะของมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น

และเพื่อการฟังธรรมของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยกระทรงประกาศ

พระพุทธคุณเป็นต้น.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยกิญฺจิ ได้แก่ สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งไม่มี

ส่วนเหลือ อันท่านกำหนดเอา ด้วยสามารถแห่งการกำหนดที่ไม่แน่นอน

คือสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งได้โวหารในสิ่งนั้น ๆ.

ทรัพย์ชื่อว่า วิตฺต. ทรัพย์ที่ชื่อว่า วิตฺต เพราะอรรถว่า ก็ทรัพย์

นั้นยังความปลื้มใจให้เกิดขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 25

ด้วยคำว่า อิธ วา ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงมนุษยโลก.

ด้วยคำว่า หุร วา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงโลกที่เหลือซึ่งนอกจาก

มนุษยโลกนั้น. ก็ด้วยคำว่า หุร วา นั้น เว้นมนุษยโลกและโลกสวรรค์แล้ว

ก็พึงพราบว่า หมายถึง โลกที่เหลือมีนาคและครุฑเป็นต้น เพราะท่านได้

กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า สคฺเคสุ วา ดังนี้ เว้นมนุษย์ทั้งหลายเสียแล้ว

ศัพท์ว่าโลกทั้งปวงก็ถึงพร้อม.

ด้วยบททั้งสองนี้ สิ้งใดที่เป็นเครื่องใช้สอยเป็นเครื่องประดับ หรือ

บริโภคของมนุษย์ทั้งหลาย มีทอง เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์

แก้วประพาฬ แก้วทับทิม และแก้วลายเป็นต้น หรือทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใด

ของนาคและครุฑเป็นต้น ซึ่งบังเกิดแล้วในวิมานแก้ว บนพื้นดิน ซึ่งดาษดา

ไปด้วยทรายมุกดาและทรายแก้ว ในภพทั้งหลายซึ่งกว้างถึง ๑๐๐ โยชน์เป็น

อเนก คำนั้นเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้.

คำว่า สคฺเคสุ วา ได้แก่ เทวโลกชั้นกามาวจรและรูปาวจรทั้งหลาย.

ที่ชื่อว่า สวรรค์ เพราะอรรถว่า ก็เทพเจ้าเหล่านั้นย่อมเคลื่อนไป

คือว่า ย่อมไปด้วยกรรมอันงาม.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า สวรรค์ เพราะว่า เป็นสถานที่ที่เลิศด้วยดี

ดังนี้ก็มี.

บทว่า ย ได้แก่ ทรัพย์อันใดที่มีเจ้าของก็ตาม ไม่มีเจ้าของก็ตาม

ในคำว่า รตน นี้มีอรรถวิเคราะห์ว่า สิ่งใดย่อมนำมา คือว่าย่อมพามา ซึ่ง

ความยินดี ได้แก่ ย่อมยังความยินดีให้เกิด ให้เจริญ เหตุนั้นสิ่งนั้นชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 26

รัตนะ. สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่บุคคลทำการบูชา มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ พบเห็นได้

โดยยาก และไม่ใช่เป็นของที่สัตว์ต่ำต้อยบริโภค คำนี้ เป็นชื่อของรัตนะนั้น

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

สิ่งที่บุคคลทำ ความยำเกรง มีค่ามาก

ชั่งไม่ได้ เห็นได้ยาก และไม่ใช่ของที่สัตว์

ต่ำทรามบริโภค เพราะเหตุนี้ เราจึงเรียกว่า

รัตนะ ดังนี้.

คำว่า ปณีต ได้แก่ ประเสริฐที่สุด คือมีค่าสูง ได้แก่ ไม่ใช่มีค่าน้อย

คือเป็นที่พอใจ.

ก็ด้วยบทที่เป็นพระคาถานี้ สิ่งใดซึ่งมีเจ้าของอยู่ในสวรรค์ทั้งหลาย

มีวิมานซึ่งสำเร็จด้วยรัตนะทั้งปวง อันมีประมาณหลายร้อยโยชน์เป็นอเนก

เช่น สุธรรมสภา และเวชยันตปราสาทเป็นต้นก็ดี สิ่งใดซึ่งไม่มีเจ้าของอยู่ใน

วิมานว่าง ในเมื่อสัตว์ทั้งหลายทำอบายภูมิให้เต็ม เพราะเว้นจากพุทธุปบาทกาล

ก็หรือว่าแม้สิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นรัตนะที่ไม่มีเจ้าของ ซึ่งอยู่ที่พื้นดิน มหาสมุทร

และป่าหิมพานต์เป็นต้น สิ่งนั้นเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว

ศัพท์ว่า ในบาทพระคาถาที่ว่า น โน สม อตฺถิ ตถาคเตน

ดังนี้ ใช้ในอรรถปฏิเสธ.

ศัพท์ว่า โน ใช้ในอรรถอวธารณะ.

บทว่า สม ได้แก่ เสมอ.

บทว่า อตฺถิ ได้แก่ มีอยู่.

บทว่า ตถาคเตน ได้แก่ ด้วยพระพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 27

ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงประกาศทรัพย์และรัตนะนี้ใดไว้ ก็ในคำว่าทรัพย์และรัตนะนี้ รัตนะ

แม้อย่างหนึ่งที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มีเลย.

จริงอยู่ รัตนะนั้นแม้ใด ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่า อันบุคคล

ทำความยำเกรง คืออย่างไร คือจักรรัตนะ และมณีรัตนะ ของพระเจ้า-

จักรพรรดิ เมื่อรัตนะได้บังเกิดขึ้นแล้ว มหาชนไม่ทำการบูชาในที่อื่น ใคร ๆ

จะถือดอกไม้และของหอมเป็นต้น ไปยังยักขสถานและภูตสถานหามีไม่ คน

ทุกคนจะทำความยำเกรง ซึ่งจักรรัตนะและมณีรัตนะเท่านั้นปรารถนาพรนั้น ๆ

ก็สิ่งที่เขาปรารถนาแล้ว และปรารถนาแล้วบางอย่างย่อมสำเร็จได้ รัตนะแม้นั้น

ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มี ถ้าหากว่าทีชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าบุคคล

ทำความยำเกรงแล้วไซร้ พระตถาคตแล ก็จัดเป็นรัตนะ.

จริงอยู่ เมื่อพระตถาคตอุบัติขึ้นแล้ว เทวดาและมนุษย์ผู้มีศักดิ์ใหญ่

เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น หาได้ทำความยำเกรงในที่อื่น

ไม่ ทั้งไม่ยอมบูชาสิ่งอื่นใด จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม บูชาพระตถาคต

ด้วยพวงรัตนะเท่าภูเขาสิเนรุ เทพเจ้าและมนุษย์เหล่าอื่น มีพระเจ้าพิมพิสาร

พระเจ้าโกศล และอนาถบิณฑิกะเป็นต้น ก็บูชาพระตถาคตเจ้าตามกำลัง

พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงสละพระราชทรัพย์ถึง ๙๖ โกฏิ ให้ทรงสร้างพระ-

วิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทั่วชมพูทวีป อุทิศซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพาน

แล้ว ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงชนเหล่าอื่นที่ทำความยำเกรง อีกประการหนึ่งการ

กระทำความยำเกรงและการเคารพ ย่อมเป็นไปเจาะจงต่อสถานที่ประสูติ สถาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 28

ที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงธรรมจักร และสถานที่ปรินิพพาน หรือปฏิมากรรม

และเจติยสถานเป็นต้น ของพระกัสสปพุทธเจ้า แม้ปรินิพพานแล้ว เหมือนกับ

การทำาการบูชาแสดงทำความเคารพเจาะจงต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า รัตนะ

ที่จะเสนอด้วยพระตถาคตจึงไม่มี แม้เพราะอรรถว่าอันบุคคลทำการบูชาอย่างนี้.

อนึ่ง รัตนะนั้นแม้ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่ามีค่ามากเหมือนกับ

ผ้าซึ่งทำในแคว้นกาสี ดังที่พระผู้มีประภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผ้า

กาสิกพัสตร์ แม้จะเก่าแต่ก็ยังมีสีสวยด้วย สัมผัสนิ่มด้วย มีค่ามากด้วย"

ดังนี้ ผ้ากาสิกพัสตร์แม้นั้น ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มี. ก็ถ้าหากว่าผ้า

กาสิกพัสตร์นั้นชื่อว่าเป็นรัตนะ เพราะอรรถว่ามีค่ามากไซร้ พระตถาคตเจ้า

แลก็จัดเป็นรัตนะ. จริงอย่างนั้น พระตถาคตย่อมรับ แม้ผ้าบังสุกุลของชน

เหล่าใด ผ้าบังสุกุลนั้นของชนเหล่านั้นเป็นของมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เช่น

เดียวกับผ้าของพระเจ้าอโศกมหาราช ผ้าของพระเจ้าอโศกมหาราชนี้ ก็พึงเป็น

รัตนะได้ เพราะเป็นผ้าที่มีค่ามาก รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า เพราะ

อรรถว่ามีค่ามากอย่างนี้ ย่อมไม่มี ก็ในเรื่องแห่งรัตนะนี้ พึงทราบถึง

สุตตบทนี้ ที่ยังความไม่มีโทษให้สำเร็จได้ เพราะกล่าวถึงความมีค่ามากอย่างนี้

ว่า พระตถาคตเจ้าย่อมทรงรับ ซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชช-

บริกขารของชนทั้งหลายเหล่าใดแล การที่พระตถาคตเจ้ารับจีวรเป็นต้นนั้น

ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น เรากล่าวการรับนี้ว่ามี

ผลมากมีอานิสงส์มาก ก็เพราะตถาคตเป็นผู้มีค่ามาก ภิกษุทั้งหลาย เราเรียก

บุคคลนี้ ซึ่งมีอุปมาเช่นนั้น เหมือนกับผ้ากาสิกพัสตร์นั้นว่า มีค่ามากนะภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 29

ทั้งหลายดังนี้. ชื่อว่า รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคต เพราะอรรถว่ามีค่ามาก

อย่างนี้ ย่อมไม่มี.

อีกอย่างหนึ่ง รัตนะแม้ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าชั่งได้ คืออย่าง

ไร คือจักรรัตนะที่บังเกิดขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งมีดุมสำเร็จด้วยแก้วอินท -

นิล. มีซี่กำหนึ่งพันซี่สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีกงสำเร็จด้วยแก้วประพาฬ

มีที่ต่อสำเร็จด้วยทองสีแดง ซึ่งมีซี่กำเกลี้ยงๆ อัน หนึ่ง วางอยู่บนกำทุก ๆ สิบซี่

ซึ่งเขาทำไว้เพื่อให้ต้องลมแล้วเปล่งเสียง มีเสียงประดุจดนตรีประกอบด้วยองค์

๕ ซึ่งบรรเลงได้ไพเราะ ฉะนั้น ณ ที่ข้างทั้งสองของดุม มีหน้าสิงห์โตอยู่

๒ หน้า ซึ่งภายในมีรูดุจรูของล้อเกวียนฉะนั้น บุคคลผู้ที่กระทำหรือให้กระทำ

จักรรัตนะนั้นไม่มี จักรรัตนะนั้น ปรากฏขึ้นด้วยอุตุซึ่งมีกรรมเป็น

ปัจจัย.

พระราชาทรงบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ๑๐ ประการอันใด ทรงสนาน

พระเศียรในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถ ทรงรักษาอุโบสถเสด็จไปยัง

เบื้องบนปราสาทอันประเสริฐ ประทับนั่งระลึกถึงศีลทั้งหลายอยู่ ได้เห็น

จักรรัตนะซึ่งตั้งขึ้นอยู่ดุจพระจันทร์เพ็ญ และดุจพระอาทิตย์ฉะนั้น ซึ่งบุคคล

ย่อมได้ยินเสียงตั้งแต่ ๑๒ โยชน์ มีวรรณะปรากฏตั้งแต่ ๓ โยชน์ ซึ่งมหาชน

เกิดโกลาหลขึ้นอย่างยิ่งว่า เห็นจะมีพระจันทร์หรือพระอาทิตย์ขึ้นเป็นดวงที่

สอง ดังนี้ปรากฏอยู่ ได้ลอยมาเบื้องบนพระนคร ปรากฏอยู่ในด้านทิศตะวัน

ออกของภายในราชบุรี ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ลอยเด่นอยู่ ประดุจไม่

ไหวติง ในที่อันสมควร เพื่อให้มหาชนบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 30

ช้างแก้ว (หัตถิรัตนะ) ซึ่งอุบัติความพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้น

เป็นช้างเผือกเท้าสีแดง เป็นสัตว์ที่แข็งแรง มีฤทธิ์ไปในอากาศได้ เกิดจาก

สกุลช้างอุโบสถ หรือสกุลช้างฉัททันต์ ถ้าหากว่ามาจากสกุลช้างอุโบสถ ก็เป็น

ช้างที่เป็นหัวหน้าโขลงของช้าง ถ้าหากว่ามาจากช้างสกุลฉัททันต์ ก็เป็นช้าง

ตัวสุดท้อง มีการศึกษาอบรมมาดี ควรแก่การฝึก. ช้างนั้นพาบริษัทไปสิ้น

๑๒ โยชน์ครอบงำทั่วชมพูทวีป แล้วกลับมาสู่ราชธานีของตน ในเวลาก่อน

อาหารเช้านั่นเทียว.

ม้าแก้ว (อัสสรัตนะ) ซึ่งเกิดติดตามพระราชาแม้นั้น ก็เป็นม้าสีขาว

เท้าแดง ศีรษะดำ ขนเหมือนหญ้าปล้อง มาจากสกุลม้าวลาหก คำที่เหลือ

ในเรื่องม้าแก้วนี้ ก็เช่นเดียวกับเรื่องช้างแก้วนั้นเอง.

แก้วมณี (มณีรัตนะ) เกิดติดตามพระราชาแม้นั้น แก้วมณีนั้น

เป็นแก้วไพฑูรย์ สวยงามโชติช่วง ซึ่งได้เจียระไนไว้ดี ทั้ง ๘ เหลี่ยม เช่นกับ

รูปดุมเกวียน มาจากภูเขาเวปุลละ แก้วมณีนั้น ขึ้นสู่ยอดธงของพระราชาแล้ว

ย่อมส่องสว่างไปในที่มืด แม้ประกอบด้วยองค์ ๔ ได้ถึง ๑ โยชน์ ซึ่งพวก

มนุษย์ทั้งหลายสำคัญว่าเป็นกลางวันเพราะแสงสว่าง แล้วประกอบการงานทั้ง

หลาย โดยที่สุดย่อมเห็นได้แม้มดดำและมดแดง

นางแก้ว (อิตถีรัตนะ) เกิดติดตามพระเจ้าจักรพรรดิแม้นั้น เป็น

อัครมเหสีโดยปกติ หรือไม่ก็เสด็จมาจากอุตตรกุรุทวีป หรือไม่ก็มาจากสกุล

มัททราช เว้นจากโทษ ๖ ประการ มีสูงเกินไปเป็นต้น เปล่งปลั่งล่วงผิวพรรณ

ของมนุษย์ แต่ไม่ถึงผิวพรรณอันเป็นทิพย์ ซึ่งในเวลาพระราชาเย็น พระกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 31

ก็อุ่น ในเวลาพระราชาร้อน พระกายของนางแก้วก็เย็น มีสัมผัสนิ่ม ดุจปุย

นุ่นที่เขาชีถึง ๗ ครั้ง มีกลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากพระกาย มีกลิ่นอุบลฟุ้งออก

จากพระโอษฐ์ ประกอบด้วยคุณเป็นอเนก มีการเสด็จลุกขึ้นก่อนเป็นต้น.

ขุนคลังแก้ว (คหปติรัตนะ) เกิดขึ้นติดตามพระเจ้าจักรพรรดินั้น

เป็นเศรษฐีที่ทำการงานตามปกติของพระราชา เพราะพอจักรรัตนะอุบัติขึ้นแล้ว

ทิพยจักษุก็อุบัติขึ้น เพราะมีทิพยจักษุนั้นแล้วก็เห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของบ้าง

ไม่มีเจ้าของบ้าง ในที่ประมาณได้ ๑ โยชน์โดยรอบ ขุนคลังนั้นเข้าไปเฝ้า

พระราชาแล้ว ปวารณาตัวว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงมีความขวน-

ขวายน้อย ข้าพระองค์จักทำกิจที่ควรทำด้วยทรัพย์เพื่อพระองค์

แม้ขุนพลแก้ว (ปริณายกรัตนะ) ก็เกิดติดตามพระเจ้าจักรพรรดิ

แม้นั้น ซึ่งเป็นราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชา พอเมื่อจักรรัตนะอุบัติขึ้น

ก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาและความเฉียบแหลมอย่างเหลือล้น ขุนพลแก้วนั้น

กำหนดรู้จิตของบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ด้วยจิต (ของตน) ทั้งสามารถจะ

ทำการข่มและการยกย่อง เขาเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วทูลปวารณาว่า ข้าแต่

สมมติเทพ ขอพระองค์จงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ข้าพระองค์จะปกครองราชสมบัติ

เพื่อพระองค์.

ก็หรือว่ารัตนะเห็นปานนี้แม้อื่นใด. ก็ชื่อว่ารัตนะเหมือนกับพระอรรถ-

กถาจารย์ว่าอัน ใคร ๆ ชั่งไม่ได้ ซึ่งมีค่าที่ใคร ๆ ไม่อาจที่จะชั่งตวงแล้วตีราคาว่า

มีค่า ๑๐๐ หรือมีค่า ๑,๐๐๐ หรือมีค่า ๑ โกฏิ แม้รัตนะอย่างหนึ่ง ในบรรดา

รัตนะเหล่านี้ ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มี ก็ถ้าหากว่ารัตนะอื่นใด พึงเป็นรัตนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 32

เพราะอรรถว่าใคร ๆ ชั่งไม่ได้แล้ว ไซร้ พระตถาคตเจ้าแล ก็จัดเป็นรัตนะ ด้วย

ว่าพระตถาคตเจ้าอันใคร ๆ ไม่อาจที่จะชั่งตวงโดยศีล หรือโดยสมาธิ หรือโดย

คุณอย่างใดอย่างหนึ่งมีพระปัญญาคุณเป็นต้นได้ เมื่อจะกำหนดว่า พระตถาคตเจ้า

นั้นมีคุณเท่านี้ บุคคลที่จะเสมอ หรือจะเปรียบเทียบได้กับพระตถาคตเจ้านี้

เพราะฉะนั้น รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า ย่อมไม่มี แม้เพราะอรรถว่า

อันใคร ๆ ชั่งไม่ได้ ดังพรรณามาฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง แม้รัตนะใดชื่อว่าเป็นรัตนะ เพราะอรรถว่า อันบุคคล

เห็นได้โดยยาก เหมือนอย่างพระเจ้าจักรพรรดิ และรัตนะของพระองค์ มี

จักรแก้วเป็นต้น ซึ่งปรากฏว่าเห็นได้ยาก รัตนะนั้นที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะ

ย่อมไม่มี ก็ถ้าหากว่าที่ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่าอันบุคคลเห็นได้โดยยาก

แล้วไซร้ พระตถาคตเจ้าแล ก็จัดเป็นรัตนะ รัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิเป็น

ต้น หรือว่ารัตนะอื่นใดเป็นอเนกซึ่งเกิดในกัปหนึ่ง (ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะ

จะมีแต่ที่ไหน ก็เพราะเหตุที่ว่าในอสงไขยกัปโลกว่างจากพระตถาคตเจ้า เพราะ

ฉะนั้น พระตถาคตเจ้าเท่านั้น ชื่อว่าอันบุคคลเห็นได้โดยยาก เพราะทรงอุบัติ

ขึ้นในบางครั้งบางคราวเท่านั้น สมจริงดังคำที่พระผู้มีประภาคเจ้าตรัสไว้ใน

สมัยปรินิพพานว่า

"ดูก่อน อานนท์ เทวดาทั้งหลายพากันยกโทษว่า พวกเราพากันมา

จากที่ไกล เพื่อจะได้เข้าเฝ้าพระตถาคตเจ้า เพราะว่าพระตถาคตอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติขึ้นในโลกในกาลบางครั้งบางคราวเท่านั้น ก็ใน

๑. ที. มหา. ๑๐/ ข้อ ๑๓๐ มหาปรินิพพานสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 33

วันนี้การปรินิพพานแห่งพระตถาคตเจ้า จักมีในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ก็ภิกษุ

ผู้มีศักดิ์ใหญ่นี้ยืนบังอยู่ข้างหน้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พวกเราทั้งหลายไม่อาจ

จะเห็นพระตถาคตในกาลภายหลัง (จากนี้)

รัตนะจะเสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่าอันบุคคลเห็นได้โดย

ยากอย่างนี้ ย่อมไม่มี.

อีกประการหนึ่ง แม้รัตนะใด ที่ชื่อว่าเป็นรัตนะเพราะอรรถว่าอันสัตว์

ที่ไม่ต่ำทรามบริโภค คือ จักรรัตนะเป็นต้น ของพระเจ้าจักรพรรดิ เพราะ

ว่าจักรรัตนะเป็นต้นนั้นมิได้บังเกิดขึ้นเพื่อการบริโภค (ใช้สอย) แม้ของชน

ทั้งหลายผู้มีทรัพย์ถึงแสนโกฏิก็ดี ของชนทั้งหลายผู้อยู่บนชั้นปราสาทอันประ

เสริฐ ๗ ชั้นก็ดี ของบุรุษผู้ต่ำทรามผู้เกิดในสกุลต่ำมีคนจัณฑาล ช่างสาน

นายพราน ช่างไม้ ช่างรถ คนเทขยะก็ดี โดยที่สุดแม้ความฝัน แต่จักรรัตนะ

นั้นเป็นของควรบริโภคของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทรามเท่านั้น เพราะบังเกิดขึ้นเพื่อการ

บริโภคของพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้อุภโตสุชาติ ซึ่งบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ๑๐ ประ

การบริบูรณ์เท่านั้น แม้จักรรัตนะเป็นต้นนั้น ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่

มี ก็ถ้าหากว่า ทีชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าสัตว์ที่ไม่ต่ำทรามบริโภคแล้วไซร้

พระตถาคตเจ้าแล ก็จัดเป็นรัตนะ ด้วยว่าพระตถาคตเจ้าชื่อว่าไม่ควรแก่การ

บริโภค (ไม่ควรแก่การนับถือ) ของสัตว์ทั้งหลายผู้ต่ำทราม ซึ่งไม่มีอุปนิสัย ของ

ครูทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปเป็นต้น ซึ่งมีความเห็นวิปริตและของคนเหล่าอื่นเห็นปานนี้

โดยที่สุดแม้ด้วยความฝัน (คือไม่เคยแม้แต่ฝันถึง) เเต่ว่าพระตถาคตเจ้าเป็นผู้

ควรแก่การบริโภคของชนทั้งหลาย ผู้มีอุปนิสสัยถึงพร้อม ผู้สามารถเพื่อจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 34

บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในที่สุดแเห่งคาถาอันประกอบด้วยบท ๔ ผู้มีนิพเพธิก-

ญาณทัสสนะ มีพระพาหิยทารุจีริกะเป็นต้น และแห่งพระมหาสาวกผู้เกิด

ในสกุลใหญ่เหล่าอื่น ด้วยว่าอริยสาวกเหล่านั้น ยังการบริโภคนั้นให้สำเร็จอยู่

ด้วยอนุตตริยะทั้งหลายมีทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ. ปาริจริยานุตตริยะ

เป็นต้น ชื่อว่าได้บริโภคซึ่งพระตถาคตเจ้า รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า

แม้เพราะอรรถว่าสัตว์ที่ไม่ต่ำทรามบริโภค ดังนี้ ย่อมไม่มี.

แม้รัตนะใด ที่ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่าทำความยินดีให้เกิดโดยไม่

แปลกกัน เช่นจักรรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ จริงอยู่พระเจ้าจักรพรรดิพอ

ทอดพระเนตรเห็นจักรรัตนะนั้นเท่านั้น ก็ทรงมีพระทัยยินดี จักรรัตนะนั้นชื่อ

ว่าทำความยินดีให้เกิดแก่พระเจ้าจักรพรรดิ แม้อย่างนี้.

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงจับพระสุวรรณภิงคารด้วย

พระหัตถ์เบื้องซ้าย แล้วทรงแกว่งจักรรัตนะด้วยพระหัตถ์เบื้องขวา โดยทรง

อธิษฐานว่า ขอจักรรัตนะจงหมุนไป ขอให้จักรรัตนะอันประเสริฐจงได้

ชัยชนะ ดังนี้ ต่อจากนั้น จักรรัตนะก็เปล่งเสียงไพเราะ ดุจดนตรีประกอบ

ด้วยองค์ห้าไปอยู่สู่ทิศตะวันออกทางอากาศ พระเจ้าจักรพรรดิทรงติดตาม

จักรรัตนะนั้น ซึ่งไปไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ซึ่งไปอยู่โดยภายใต้ต้นไม้

ที่สูง ๆ และโดยเบื้องบนแห่งต้นไม้ที่ต่ำๆ ทั้งหลาย พร้อมด้วยเสนาทั้ง

หลายที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ซึ่งมีขบวนแผ่กว้างถึง ๑๒ โยชน์ ด้วยอานุภาพ

แห่งจักรรัตนะ ทรงรับเครื่องบรรณาการ มี ผลไม้ ดอกไม้ และใบไม้อ่อน

เป็นต้น ที่ต้นไม้ทั้งหลาย และทรงรับเครื่องบรรณาการจากมือของชนทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 35

ผู้ถือบรรณาการมาถวายแล้ว และทรงสั่งสอนพระราชาผู้เป็นศัตรู ผู้เสด็จมา

แล้วด้วยความยำเกรงอย่างยิ่ง มีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์

จงได้เสด็จมาแล ดังนี้ โดยนัย (แห่งคำสอน) ว่า ท่านทั้งหลายไม่ควรฆ่า

สัตว์ ดังนี้ เป็นต้น เสด็จไปอยู่. ก็พระราชาทรงปรารถนาจะเสวย หรือ

ทรงปรารถนาจะทรงพักกลางวัน ในที่ใด จักรแก้วก็จะลงจากอากาศในที่นั้น

ประดิษฐานอยู่ที่ภูมิภาคอันสม่ำเสมอ ซึ่งควรแก่การทำกิจทั้งปวงมีน้ำเป็นต้น

เหมือนแล่นมาบทภาคพื้นดินด้วยเพลา ฉะนั้น. เมื่อพระราชาทรงปรารถนา

จะเสด็จไปอีก จักรแก้วก็เปล่งเสียงไพเราะ โดยนัยก่อนนั้นแล ซึ่งบริษัท

มีประมาณ ๑๒ โยชน์ ได้ฟังเสียงแล้วก็พากันไปทางอากาศ จักรแก้ว

ย่อมร่อนลงสู่มหาสมุทรทางทิศตะวันออกโดยลำดับ เมื่อจักรแก้วนั้นร่อนลงสู่

มหาสมุทร น้ำประมาณ ๑ โยชน์ หลีกออกไปดำรงอยู่ดุจมีฝากั้นไว้ มหาชน

ย่อมเห็นซึ่งรัตนะทั้งหลาย ๗ ประการตามลำดับ พระราชาทรงจับสุวรรณ-

ภิงคาร ทรงอธิษฐานว่า ขอรัชชสีมาของเราจงเป็นไปจำเดิมแต่นี้ ดังนี้

แล้วก็ใช้น้ำประพรม แล้วเสด็จกลับ หมู่เสนาอยู่ข้างหน้า จักรแก้วอยู่ข้างหลัง

พระราชาเสด็จอยู่ตรงกลาง สถานที่ที่จักรแก้วร่อนลงแล้ว และร่อนลงแล้ว

ย่อมทำน้ำให้เต็ม (อีก) จักรแก้วย่อมไปที่มหาสมุทร แม้ทางด้านทิศทักษิณ

ทิศประจิม และทิศอุดร โดยอุบายนี้ จักรแก้วไปจรดทิศทั้ง ๔ แล้วขึ้นไปสู่

อากาศ ประมาณ ๓๐๐ โยชน์ พระราชาประทับอยู่บนจักรแก้วนั้น ทรงได้

ชัยชนะอันพระองค์ทรงชนะแล้ว ด้วยอานุภาพของจักรแก้ว ทรงตรวจดู

จักรวาลหนึ่ง ๆ ซึ่งประดับด้วยทวีปใหญ่ ๔ ทวีป และทวีปน้อย ๒ พันทวีป

อย่างนี้ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 36

๑. ปุพพวิเทหทวีป ซึ่งมีปริมณฑลถึง ๗ พันโยชน์ ซึ่งประดับด้วย

ทวีปน้อย ๕๐๐.

๒. อุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๘ พันโยชน์ ประดับด้วยทวีป

น้อย ๕๐๐.

๓. อมรโคยานทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๗ พันโยชน์ ประดับด้วยทวีป

น้อย ๕๐๐.

๔. ชมพูทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๑ หมื่นโยชน์ ประดับด้วยทวีปน้อย

๕๐๐ ราวกะว่าทรงตรวจอยู่ซึ่งป่าปุณทรีกะ ซึ่งมีดอกบานงามสะพรั่ง ฉะนั้น ก็

เมื่อพระราชานั้นทรงตรวจอยู่อย่างนั้น ความยินดีมิใช่น้อย ก็ได้บังเกิดขึ้น จักร

รัตนะนั้นทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่พระราชา แม้ดังพรรณนามาอย่างนี้. แม้

จักรรัตนะนั้นที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มี ก็ถ้าหากว่า จักรแก้วชื่อว่ารัตนะ

เพราะอรรถว่าให้เกิดความยินดีไซร้ พระตถาคตเจ้าแล ก็จักชื่อว่ารัตนะเช่นกัน.

จักรรัตนะนี้จักทำอะไรได้ เพราะว่าความยินดีของพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งเกิดขึ้น

แล้วจากรัตนะแม้ทั้งปวง มีจักรรัตนะเป็นต้น ย่อมไม่เข้าถึงแม้ซึ่งการนับ แม้ซึ่ง

เสี้ยว แม้ซึ่งส่วนแห่งความยินดีอันเป็นทิพย์ใด พระตถาคตเจ้าย่อมยังความ

ยินดีในปฐมฌาน ยังความยินดีในทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจม-

ฌานยังความยินดีในอากาสานัญจายตนฌาน ยังความยินดีในวิญญานัญจายตน-

ฌาน ยังความยินดีในอากิญจัญญายตนฌาน ยังความยินดีในเนวสัญญานาสัญ-

ญายตนฌาน ยังความยินดีในโสดาปัตติมรรค ยังความยินดีในโสดาปัตติผล ยัง

ความยินดีในสกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล และยัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 37

ความยินดีในอรหัตมรรค อรหัตผล อันยิ่งกว่าและประณีตกว่า กว่าความ

ยินดีอันเป็นทิพย์แม้นั้น ให้เกิดแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้รับพระโอวาท

ของพระองค์ รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า แม้เพราะอรรถว่ายังความ

ยินดีให้เกิดย่อมไม่มี.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ารัตนะนี้มี ๒ อย่าง คือ วิญญาณกรัตนะ

รัตนะที่มีวิญญาณ ๑ อวิญญาณกรัตนะ รัตนะที่ไม่มีวิญญาณ ๑ ในสองอย่างนั้น

จักรแก้วและแก้วมณี ก็หรือว่ารัตนะแม้อื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับอนินทรีย์ มีทอง

และเงินเป็นต้น ชื่อว่า อวิญญาณกรัตนะ รัตนะมีช้างแก้วเป็นต้น มีขุน-

พลแก้วเป็นที่สุด ก็หรือว่ารัตนะแม้อื่นใดเห็นปานนี้ ที่เกี่ยวเนื่องกับอินทรีย์

ชื่อว่า สวิญญาณกรัตนะ.

ในอวิญญาณกรัตนะ และสวิญญาณกรัตนะทั้งสองนี้ ดังที่กล่าวมานี้

ท่านกล่าวว่า สวิญญาณกรัตนะเป็นเลิศ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะเหตุที่ว่า รัตนะมีทอง เงิน แก้วมณี และแก้วมุกดา

เป็นต้น ซึ่งไม่มีวิญญาณ ถูกเขานำมาใช้ เพื่อเป็นเครื่องประดับของรัตนะ

ทั้งหลายมีช้างแก้วเป็นต้น ซึ่งมีวิญญาณ.

แม้สวิญญาณกรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ ติรัจฉานรัตนะ ๑ มนุสส-

รัตนะ ๑ ใน ๒ อย่างนั้น มนุสสรัตนะท่านกล่าวว่าเป็นเลิศ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะดิรัจฉานรัตนะ ถูกเขานำมาใช้ เพื่อมนุสสรัตนะ

แม้มนุสสรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ อิตถีรัตนะ ๑ ปุริสรัตนะ ๑ ใน ๒ อย่าง

นั้น ปุริสรัตนะ ท่านกล่าวว่าเป็นเลิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 38

ถามว่า เพราะเหตุไร เพราะว่าอิตถีรัตนะ ถึงภาวะเป็นผู้รับใช้ของ

ปุริสรัตนะ

เเม้ปุริสรัตนะก็มี ๒ คือ อาคาริกรัตนะ ๑ อนาคาริกรัตนะ ๑ ในสอง

อย่างนั้น อนาคาริกรัตนะ ท่านกล่าวว่าเป็นเลิศ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะเหตุที่ว่า ในบรรดาอาคาริกรัตนะทั้งหลาย แม้

พระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นผู้เลิศ (กว่าโดยภพ) ก็ถวายบังคมอนาคาริกรัตนะ

ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทรงเข้าไปอุปัฏฐากและทรงเข้าไปนั่งใกล้ จึงได้ทรง

บรรลุทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติ แล้วได้บรรลุนิพพานสมบัติในที่สุด.

แม้อนาคาริกรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ อริยรัตนะ และปุถุชนรัตนะ

อย่างนี้.

แม้อริยรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ เสกขรัตนะและอเสกขรัตนะ แม้

อเสกขรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ สุกขวิปสสกรัตนะ และสมถยานิกรัตนะ.

แม้สมถยานิกรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ สาวกบารมีปัตตรัตนะ (รัตนะ

ที่บรรลุสาวกบารมี) และสาวกบารมีอปัตตรัตนะ (รัตนะที่ไม่บรรลุสาวก-

บารมีญาณ)

ในบรรดาสาวกบารมีรัตนะทั้งสองนั้น สาวกบารมีปัตตรัตนะ ท่าน

กล่าวว่าเป็นเลิศ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะท่านผู้บรรลุสาวกบารมีเป็นผู้มีคุณมาก ปัจเจกพุทธ-

รัตนะท่านกล่าวว่าเลิศกว่าสาวกบารมีปัตตรัตนะ เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 39

เป็นผู้มีคุณมาก ก็สาวกทั้งหลายมีร้อยเป็นอเนก แม้เช่นกับพระสารีบุตร และ

พระโมคคัลลานะย่อมไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนแห่งร้อย แม้ซึ่งส่วนเเห่งพัน แห่ง

พระคุณทั้งหลายของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง สัมมาสัมพุทธรัตนะ ท่านจึง

กล่าวว่าเป็นเลิศ แม้กว่าปัจเจกพุทธรัตนะ.

ถามว่า เ พราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะมีคุณมาก ก็ถ้าหากว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

นั่งสมาธิอยู่ทั่วชมพูทวีป ก็ย่อมไม่เข้าถึงการนับ ไม่เข้าถึงเสี้ยว ไม่เข้าถึงส่วน

แห่งเสี้ยว แห่งคุณทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง สมจริงดังคำที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ตาม มี ๒ เท้า

ก็ตาม มีสี่เท้าก็ตาม มีเท้ามากก็ตาม มีรูปก็ตาม ไม่มีรูปก็ตาม

มีสัญญาก็ตาม ไม่มีสัญญาก็ตาม มีประมาณเท่าใด พระตถาคตเจ้าแล

ท่านกล่าวว่าเป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น" รัตนะที่จะเสมอด้วย

ตถาคตรัตนะ ย่อมไม่มีโดยปริยายไร ๆ อย่างนี้ เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค-

เจ้าจึงตรัสว่า น โน สม อตฺถิ ตถาคเตน ทรัพย์และรัตนะนั้นที่จะเสมอ

ด้วยพระตถาคตไม่มีเลย.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความที่พุทธรัตนะไม่เสมอด้วยรัตนะ

เหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อการเข้าไปสงบ อุปัทวะที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่สัตว์

เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า หาได้อาศัยชาติ หาได้อาศัยโคตร หาได้อาศัย

๑. อัง. จตุกก. ๒๑/ ข้อ ๓๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 40

การเกิดขึ้นในสกุล และหาได้อาศัยการเป็นผู้มีผิวพรรณงามเป็นต้นไม่ แต่ได้

ทรงอาศัย ความที่พุทธรัตนะเป็นรัตนะที่ไม่มีประมาณด้วยคุณทั้งหลายมีสีล

ขันธ์และสมาธิขันธ์เป็นต้นในโลก ตั้งแต่อเวจี จนถึงภวัคคพรหมเป็นที่สุด.

จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า

อิทฺปิ พุทฺเธ รตน ปณีต

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแต่สัตว์

ทั้งหลายดังนี้.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ทรัพย์เครื่องปลื้มใจหรือรัตนะอย่างใด

อย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือในสวรรค์ทั้งหลาย พุทธรัตนะ

แม้นี้ ชื่อว่าประณีต เพราะไม่เสมอเหมือนกับทรัพย์เครื่องปลื้มใจหรือรัตนะนั้น

ด้วยคุณทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ถ้าหากว่าคำที่กล่าวนี้ เป็นคำสัตย์จริง ด้วยความ-

สัจนี้ ขอความสวัสดีจงมี คือ ขอความดีงาม ได้แก่ ความไม่มีโรค ความไม่

มีอุปัทวะ จงมีแก่ปาณะสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้. ก็ในข้อนี้มีอธิบายว่า จักษุ ชื่อว่า

เป็นของสูญ สูญจากความเป็นตน หรือจากความเป็นของที่เกี่ยวเนื่องกับตน

ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า "ดูก่อนอานนท์ จักษุแลชื่อว่าเป็นของสูญ

จากตนหรือจากสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับตน" แต่เมื่อถือเอาโดยประการนอกนี้ จักษุ

ก็จักไม่พึงสำเร็จด้วยคำว่า ตน หรือสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉันใด คำที่ว่ารัตนะ

อันประณีตก็พึงทราบเนื้อความนี้ว่า ความเป็นรัตนะอันประณีต คือรัตนภาพ

ประณีต แต่เมื่อถือเอาโดยประการนอกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็หาได้สำเร็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 41

ว่าเป็นรัตนะไม่ ฉันนั้น ด้วยว่าในที่ใดไม่มีรัตนะ ที่นั้นก็ยังสำเร็จว่าเป็นรัตนะ

ได้ แต่ในที่ใดมีความเป็นรัตนะ ที่ถึงความสัมพันธ์กัน โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง

กล่าวคือประโยชน์ มีการกระทำความเคารพเป็นต้น ที่นั้นก็ย่อมปรากฏว่าเป็น

รัตนะได้ ก็หมายถึงความเป็นรัตนะ เพราะฉะนั้น ที่นั้นจึงสำเร็จว่ารัตนะได้

เพราะความมีอยู่แห่งความเป็นรัตนะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตน พึงทราบเนื้อความ

ในคำนี้อย่างนี้ว่า โดยเหตุแม้นี้ พระพุทธเจ้าแล จัดว่าเป็นรัตนะก็ด้วย

พระคาถา มีประมาณเท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วนี้ ความสวัสดีเกิด

แล้ว แก่ราชสกุล ภัยก็สงบแล้ว. ด้วยคาถาแม้นี้ อาชญา (อำนาจป้องกัน )

อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาลได้รับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจวาจาด้วยพุทธคุณอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะตรัสด้วยธรรมคุณคือพระนิพพาน จึงทรงเริ่มว่า ขย วิราค อมต ปณีต

เป็นต้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น ดังต่อไปนี้ :-

เพราะเหตุที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น สิ้นไปแล้วคือสิ้นไปรอบแล้ว

เพราะกระทำพระนิพพานให้แจ้ง หรือเพราะเหตุที่ว่า พระนิพพานนั้น เป็น

ธรรมชาติสักว่า ไม่บังเกิดขึ้น ดับและสิ้นไปแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น เหล่านั้น

และเพราะเหตุที่พระนิพพานนั้น ไม่ประกอบด้วยราคะเป็นต้น ทั้งโดยสัมปโยค

ทั้งโดยอารมณ์ หรือเพราะเหตุที่ว่าพระนิพพานนั้น อันพระอริยบุคคลทำให้

แจ้งแล้ว กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ก็พลัดพรากออกไปโดยส่วนเดียว คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 42

สำรอกไป ได้แก่ กระจัดกระจายไป ฉะนั้นพระนิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่า

ขย ธรรมเป็นที่สิ้นไป และเรียกว่า วิราค ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส.

อนึ่ง เพราะความเกิดขึ้นของพระนิพพานนั้น ไม่ปรากฏ ความเสื่อม

ไปก็ไม่ปรากฏ การเป็นอย่างอื่นแห่งพระนิพพานนั้น ซึ่งดำรงอยู่แล้ว ก็ไม่

ปรากฏ ฉะนั้นพระนิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่า อมต เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า

ไม่เกิด ไม่แก่ และไม่ตาย. ก็พระนิพพานนั้นชื่อว่า ปณีต เพราะอรรถว่า

สูงสุด และเพราะอรรถว่า ไม่เร่าร้อน.

สองบทว่า ยทชฺฌคา ความว่า (พระศากยมุนี) ได้ทรงบรรลุ

แล้วคือว่าทรงประสบแล้ว ได้แก่ได้แล้ว คือทำให้แจ้งแล้ว ซึ่งพระธรรมใด

ด้วยกำลังแห่งญาณของพระองค์.

บทว่า สกฺยมุนี ได้แก่ ที่ชื่อว่า สักยะ เพราะประสูติในศากยสกุล

ชื่อว่า มุนี เพราะพระองค์ทรงประกอบด้วยโมเนยยธรรม ศากยะนั้นเอง

เป็นมุนี จึงชื่อว่า ศากยมุนี.

บทว่า สมาหิโต ได้แก่ มีจิตตั้งมั่นด้วยอริยมรรคสมาธิ.

บาทคาถาว่า น เตน ธมฺเมน สมตฺถิ กิญฺจิ ความว่า ธรรมชาติ

ไร ๆ ที่จะเสมอด้วยพระธรรมที่พระศากยมุนี ผู้ได้นามว่า ขย เป็นต้นนั้น

ซึ่งทรงบรรลุแล้วย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ แม้ใน

ระหว่างแห่งพระสูตร (ในตอนกลางของอัคคัปปสาทสูตร) ว่า ภิกษุทั้งหลาย

ธรรมทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ทั้งที่เป็นสังขตะก็ตาม เป็นอสังขตะก็ตาม

วิราคะ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 43

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความที่นิพพานธรรม เป็นธรรมไม่

เสมอด้วยธรรมเหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อความเข้าไปสงบแห่งอุปัทวะ

ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้วแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ทรงอาศัยความที่ธรรมรัตนะ คือ

พระนิพพาน เป็นธรรมไม่เช่นกับคุณธรรมทั้งหลาย มีขยธรรม วิราคธรรม

อมตธรรม และปณีตธรรม จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า

อิทมฺปิ ธมฺเม รตน ปณีต

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ.

ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประ-

ณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่

สัตว์เหล่านี้ ดังนี้.

เนื้อความแห่งคาถานั้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว

ในคาถาก่อนนั้นแล อาชญา (อำนาจป้องกัน) แห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์

ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาลได้รับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจวาจา ด้วยธรรมคุณคือพระนิพพาน

อย่างนี้แล้ว แม้ในบัดนี้เมื่อจะตรัสธรรมคุณคือมรรค จึงทรงเริ่มว่า ยมฺพุทฺธ-

เสฏฺโ ปริวณฺณยี สุจึ ดังนี้.

ในพระคาถานี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า พุทธะ โดยนัยว่า พระองค์ทรง

ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น, ชื่อว่า ประเสริฐที่สุด เพราะอรรถว่า พระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 44

องค์เป็นผู้สูงสุด หรือเป็นผู้ควรสรรเสริญ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วย เป็น

ผู้ประเสริฐด้วย เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า พุทธเสฏฺโ พระพุทธเจ้าผู้ประ-

เสริฐที่สุด, อีกอย่างหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าประเสริฐที่สุดในบรรดา

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ พระอนุพุทธะ และพระปัจเจกพุทธะ เพราะเหตุ

นั้น จึงชื่อว่า พุทฺธเสฏฺโ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด, พระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐที่สุดพระองค์นั้น ย่อมยกย่องคือว่าย่อมสรรเสริญได้แก่ ย่อมประกาศ

ซึ่งพระธรรมใด ในที่นั้น ๆ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ก็ทางอันประกอบด้วย

องค์ ๘ เป็นทางเกษมกว่าทางทั้งหลาย เพราะเป็นทางเพื่อบรรลุพระนิพพาน

และว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงสัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นอริยะ ซึ่งมีทั้งเหตุ

มีทั้งบริขาร (เครื่องแวดล้อม)

บทว่า สุจึ ได้แก่ ผ่องแผ้วที่สุด เพราะกระทำการตัดมลทินคือ

กิเลส.

บาทคาถาว่า สมาธิมานนฺตริกญฺมาหุ ความว่า ก็บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวสมาธิใด ที่ว่าเป็นสมาธิที่ให้ผลในลำดับ เพราะให้ผลในลำดับแห่งการ

เป็นไปของตน อย่างแน่นอนทีเดียว ก็เมื่อมรรคสมาธิบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่มี

อันตรายไร ๆ ที่จะห้ามความบังเกิดขึ้นแห่งผลของมรรคสมาธินั้นเหมือนอย่าง

ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ก็บุคคลนี้พึงปฏิบัติ เพื่อการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และ

พึงเป็นเวลาที่ไฟไหม้กัป คือว่าบุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ตราบใดกัปก็ยังไม่ไหม้ตราบนั้น. บุคคลนี้เราเรียกว่าฐิตกัปปี ผู้มีกัปอันตั้ง

อยู่แล้ว บุคคลผู้เป็นมรรคสมังคีแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ฐิตกัปปี (เหมือนกัน ).

บาลีว่า อุทยฺหนเวลา ของ ยุ. เป็น อุฑฺฑหนเวลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 45

บาทคาถาว่า สมาธินา เตน สโม น วิชฺชติ ความว่า รูปาวจร-

สมาธิ หรืออรูปาวจรสมาธิไร ๆ ที่จะเสมอด้วยสมาธิที่ให้ผลในลำดับ (มรรค

สมาธิ) อันสะอาค ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ทรงสรรเสริญแล้วนั้น

ย่อมไม่มี

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะแม้ท่านผู้อุบัติแล้วในพรหมโลกนั้น ๆ เพราะเหตุที่

ได้เจริญรูปาวจร และอรูปาวจรสมาธิเหล่านั้นแล้ว ก็ยังมาอุบัติในอบายภูมิทั้ง

หลายมีนรกเป็นต้นได้อีก และเพราะเหตุที่พระอริยบุคคลเป็นผู้เพิกถอนการ

เกิดในภพทั้งปวงเสียได้ เพราะท่านได้เจริญอบรมอรหัตสมาธินี้แล้ว เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้แม้ในหว่างแห่งพระสูตร ว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นสังขตะมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘

เรากล่าวว่าเป็นเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสความที่อานันตริกสมาธิ (อรหัตมรรค

สมาธิ) เป็นสมาธิที่ไม่เสมอกับสมาธิเหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยความ

ที่ธรรมรัตนะคือมรรค เป็นรัตนะที่ไม่เสมอ (กับรัตนะเหล่าอื่น) โดยนัยก่อน

นั้นแล จึงทรงประกอบสัจวาจา ว่า

อิทมฺปิ ธมฺเม รตน ปณีต

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น อันบัณฑิตพึงทราบโดยนัยอันข้าพเจ้า

กล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล อาชญาแห่งพระคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลาย

ในแสนโกฏิจักรวาลได้รับแล้ว.

๑. อัคคัปปสาทสูตร อัง. จตุกฺก. ๒๑/ ข้อ ๓๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 46

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจวาจา แม้ด้วยธรรมคุณ คือมรรค

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงปรารภแม้เพื่อจะกล่าวซึ่งสังฆคุณ จึงตรัสว่า เย

ปุคฺคลา เป็นต้น.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เป็นบทตั้ง ซึ่งไม่กำหนดแน่นอน.

คำว่า ปุคฺคลา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย.

บทว่า อฏฺ เป็นการกำหนดนับจำนวนบุคคลเหล่านั้น. จริงอยู่

พระอริยบุคคล เหล่านั้นมี ๘ จำพวก คือ ท่านผู้ปฏิบัติแล้ว ๔ จำพวก และ

ท่านผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ๔ จำพวก.

สองบทว่า สต ปสฏฺา (อันสัตบุรุษสรรเสริญ) ความว่า อัน

สัตบุรุษทั้งหลายคือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกทั้งหลายและ

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่าอื่นสรรเสริญแล้ว.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะพระอริยบุคคล ๘ จำพวกเหล่านั้น ประกอบด้วยคุณ

มีศีลที่เกิดพร้อมกันเป็นต้น ด้วยว่าพระอริยบุคคลเหล่านั้นมีคุณหลายประการ

มีศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดร่วมกันเป็นต้น ดุจดอกไม้ทั้งหลาย มีดอกจำปา

ดอกพิกุล และดอกโกสุมเป็นต้น ซึ่งมีคุณหลายอย่าง มีสีและกลิ่นที่เกิด

พร้อมกันเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระอริยบุคคลเหล่านั้น จึงเป็นที่รักที่พอใจ

ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย และเป็นผู้ที่สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เย ปุคฺคลา อฏฺ สต ปสฏฺา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 47

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เย เป็นอุทเทส (บทตั้ง) ที่ไม่กำหนดแน่.

คำว่า ปุคฺคลา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย.

คำว่า อฏฺสต ได้แก่ การกำหนดคุณของพระอริยบุคคลเหล่านั้น

ว่ามี ๑๐๘.

จริงอยู่ พระอริยบุคคล ๘ จำพวกเหล่านั้น รวมเป็น ๕๔ จำพวก

คือ พระโสดาบัน ๓ จำพวก คือเอกพิธี ๑ โกลังโกละ ๑ สัตตักขัตตุปรมะ ๑

พระสกทาคามี ๓ จำพวก คือ ผู้ได้บรรลุผลแล้วในกามภพ รูปภพ

อรูปภพ พระโสดาบัน และพระสกทาคามี เหล่านั้น แม้ทั้งหมดรวมเป็น ๒๔

จำพวก ด้วยสามารกแห่งปฎิปทา ๔ (๔x๖)

พระอนาคามี ๔ จำพวก คือ พระอนาคามีในชั้นอวิหาภูมิ ๕

จำพวก คือ อันตราปรินิพพายี ๑ อุปหัจจปรินิพพายี ๑ สสังขารปรินิพพายี ๑

อสังขารปรินิพพายี ๑ และอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ ในอตัปปาภูมิ สุทัสสา

ภูมิ สุทัสสีภูมิ ก็เหมือนกัน (คือมีภูมิละ ๕ จำพวก) แต่ในอกนิฏฐภูมิมี ๔

จำพวกเว้นอุทธังโสโต พระอรหันต์ ๒ จำพวกคือสุกขวิปัสสกะ ๑ สมถยานิ-

กะ ๑ และท่านผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ จำพวก (รวมเป็น ๕๔ จำพวก) พระอริย-

บุคคลทั้ง ๕๔ จำพวกเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เอา ๒ คูณด้วยอำนาจแห่งสัทธาธุระ

และปัญญาธุระ จึงรวมเป็นพระอริยบุคคล ๑๐๘ จำพวก คำที่เหลือมีนัย

อันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล.

บาทคาถาว่า จติตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนฺติ ความว่า พระอริย-

บุคคลเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ซึ่งท่านแสดงไว้ว่า ๘ จำพวก หรือ ๑๐๘ จำพวก

โดยพิสดาร แต่โดยสังเขปมี ๔ คู่ คือ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค และตั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 48

อยู่ในโสดาปัตติผลคู่ ๑ จนถึงบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรคและตั้งอยู่ในอร-

หัตผลคู่ ๑.

คำว่า เต ในคำนี้ว่า เต ทกฺขิเณยฺยา เป็นการขยายความกำหนด

ถึงพระอริยบุคคลตามที่ท่านแสดงไม่กำหนดไว้ในต้อนต้น

บุคคลเหล่าใด ซึ่งท่านกล่าวได้โดยพิสดารว่ามี ๘ จำพวกหรือ ๑๐๘

จำพวก แต่โดยสังเขปมี ๔ คู่ ดังนี้ พระอริยบุคคลเหล่านี้แม้ทั้งหมด.

พระอริยบุคคลทั้งหลายชื่อว่า ทกฺขิเณยฺยา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า

ย่อมควรซึ่งทักษิณา. ไทยธรรมที่บุคคลเชื่อกรรม และเชื่อผลของกรรมให้

อยู่โดยไม่คำนึงถึงเหตุทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้จักทำเวชกรรมนี้แก่เรา

จะทำการรับใช้เรา ดังนี้ ชื่อว่า ทักษิณา. บุคคลทั้งหลายผู้ประกอบด้วย

คุณมีศีลเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมควรซึ่งทักษิณา ก็พระอริยบุคคลเหล่านี้เป็นเช่น

นั้น เพราะเหตุนั้น พระอริยบุคคลเหล่านั้นท่านจึงเรียกว่า ทักขิเณยยบุคคล.

สองบทว่า สุคตสฺส สาวกา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ-

นามว่า สุคโต เพราะพระองค์ประกอบด้วยการเสด็จไปที่งดงาม เพราะพระ-

องค์เสด็จถึงฐานะที่งาม เพราะพระองค์เสด็จไปดี และเพราะพระองค์เสด็จไป

ด้วยดีนั้นเอง บุคคลเหล่านั้นแม้ทั้งหมดย่อมฟัง (ซึ่งคำสอน) ของพระสุคตเจ้า

นั้น เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า สาวก (ผู้ฟังคำสอนของพระสุคต)

ก็คนแม้เหล่าอื่นย่อมฟังคำสอนของพระสุคตก็จริง แต่ว่าฟังแล้วหาได้

กระทำกิจที่ตนจะพึงการทำไม่ แต่สาวกทั้งหลายเหล่านี้ ฟังแล้วกระทำตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 49

ธัมมานุธัมมปฏิบัติที่ควรกระทำ บรรลุแล้วซึ่งมรรคและผลทั้งหลาย เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า สาวก.

บาทคาถาว่า เอเตสุ ทินฺนานิ มหปฺผลานิ ความว่า ทานทั้งหลาย

แม้จะน้อยที่บุคคลให้แล้วในสาวกของพระสุคตเจ้าทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า มีผล

มาก เพราะทักษิณาทานเข้าถึงความบริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคคาหก (ผู้รับ) เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้แม้ในตอนกลาง ๆ แห่งอัคคัปปสาทสูตรว่า

ภิกษุทั้งหลาย หมู่หรือคณะมีประมาณเท่าใด หมู่แห่งสาวกของพระตถาคต เรา

กล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น คือคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ บุรุษบุคคล ๘ นี่

คือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชนทั้งหลายเหล่าใดเลื่อมใสแล้วในสงฆ์

สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมได้รับผลเลิศ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสถึงคุณของสังฆรัตนะ ด้วยสามารถบุคคล

ผู้ตั้งอยู่ในมรรคและผลแม้ทั้งปวง อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณข้อนั้น

ประกอบสัจวาจาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน ปณีต ดังนี้เป็นต้น.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วใน

ตอนต้นนั้นแล อาชญาแห่งพระคาถาเหล่านี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิ-

จักรวาลรับแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัจวาจา ด้วยคุณของสังฆรัตนะด้วย

สามารถแห่งท่านผู้ตั้งอยู่ในมรรค และท่านผู้ตั้งอยู่ในผลอย่างนี้แล้ว บัดนี้

ต่อแต่นั้นทรงปรารภจะตรัสสัจวาจา ด้วยคุณแห่งพระขีณาสพทั้งหลายผู้เสวย

ความสุขอันเกิดจากผลสมาบัติบางจำพวกเท่านั้น จึงตรัสว่า เย สุปฺปยุตฺตา

เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 50

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เป็นคำยกขึ้นแสดงโดยไม่กำหนด

บทว่า สุปฺปยุตฺตา ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยดี อธิบายว่า พระอริย-

บุคคลเหล่านั้น ละอเนสนามีอย่างต่าง ๆ อาศัยการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์ เริ่ม

ประกอบตนไว้ด้วยวิปัสสนา.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุปฺปยุตฺตา ได้แก่ประกอบด้วยกายประโยค

และวจีประโยคอันบริสุทธิ์. ด้วยบทว่า สุปฺปยุตฺตา นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงถึงศีลขันธ์ ของพระอริยบุคคลเหล่านั้น.

สองบทว่า มนสา ทฬฺเหน ความว่า ด้วยใจที่มั่นคง อธิบายว่า

ด้วยจิตที่ประกอบด้วยสมาธิที่มั่นคง ด้วยบทว่า มนสา ทฬฺเหน นี้ พระผู้-

มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงสมาธิขันธ์ของพระอริยบุคคลเหล่านั้น.

บทว่า นิกฺกามิโน ความว่า เป็นผู้ไม่อาลัยในกายและชีวิต คือไม่

มีความห่วงใยด้วยกิเลสทั้งปวงที่ได้กระทำไว้ ด้วยความเพียรที่เป็นปัญญาธุระ

ด้วยบทว่า นิกฺกามิโน นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงปัญญาขันธ์ที่ถึง

พร้อมด้วยความเพียรของพระอริยบุคคลเหล่านั้น.

บทว่า โคตมสาสนมฺหิ ความว่า ในศาสนาของพระตถาคตเจ้า

พระนามว่า โคดม โดยพระโคตรนั้นเอง. ด้วยบทว่า โคตมสาสนมฺหิ นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความไม่มี ความไม่ห่วงใยกิเลสทั้งหลายที่กระทำ

ไว้แล้ว เพราะความไม่มีแห่งคุณ มีการพยายามดีเป็นต้น แห่งพระอริยบุคคล

ทั้งหลาย ผู้กระทำความเพียรเพื่อความไม่ตายมีประการต่าง ๆ ในภายนอกจาก

ศาสนาของพระสมโคดมนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 51

บทว่า เต เป็นคำแสดงถึงฐานะที่พระองค์ได้แสดงไว้ในตอนต้น. ใน

บทว่า ปตฺติปตฺตา นี้ มีวิเคราะห์ดังนี้.

ที่ชื่อว่า ปตฺติ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า อันบุคคลพึงบรรลุ. พระ

อริยบุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าควรบรรลุ ได้แก่ ผู้ควรบรรลุ พระอริยบุคคล

เหล่านั้น บรรลุผลใดแล้ว เป็นผู้มีความเกษมจากโยคะโดยส่วนเดียว.

คำว่า ปตฺติปตฺตา นั้นเป็นชื่อแห่งพระอรหัตผล.

พระอริยบุคคลบรรลุแล้วซึ่งพระอรหัตผลนั้น เพราะเหตุนั้น พระ-

อริยบุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ปตฺติปตฺตา ผู้บรรลุผลที่ควรบรรลุ.

บทว่า อมต ได้แก่ พระนิพพาน.

บทว่า วิคยฺห ได้แก่ หยั่งลงแล้วด้วยอำนาจแห่งอารมณ์.

บทว่า ลทฺธา ได้แก่ ได้แล้ว.

บทว่า มุธา ได้แก่ โดยไม่เสื่อม คือว่าได้กระทำให้เสียไปแม้

๑ กากณิก.

บทว่า นิพฺพุตึ ได้แก่ ผลสมาบัติ เป็นที่สงบระงับความกระวน-

กระวายแห่งกิเลส.

บทว่า ภุญฺชมานา คือ เสวยอยู่ ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ท่าน

กล่าวอธิบายไว้ว่า พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่าใด ชื่อว่าประกอบแล้วด้วยดี

เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีล ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเยื่อใย เพราะถึงพร้อม

ด้วยปัญญาด้วยจิตใจพี่มั่นคง เพราะเหตุที่สมบูรณ์ด้วยสมาธิ ในศาสนาของ

พระโคดมนี้ พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น หยั่งลงแล้วสู่อมตะ ด้วยสัมมา-

ปฏิปทาได้แล้วซึ่งความดับ ที่รู้กันว่า ผลสมาบัติโดยไม่เสื่อม บริโภคอยู่ เป็น

ผู้ชื่อว่าได้บรรลุผลที่ควรบรรลุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 52

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคุณแห่งพระสังฆรัตนะด้วยอำนาจบุคคลผู้

เป็นขีณาสพซึ่งเสวยความสุขอันเกิดจากผลสมาบัติเท่านั้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้

ทรงอาศัยคุณนั้นเอง ประกอบสัจวาจาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน ปณีต

เป็นต้น.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นพึงทราบโดยนัย ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในตอน

ต้นนั้นแล.

อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฎิจักรวาลรับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจจะ อันมีพระสงฆ์เป็นตั้ง ด้วยคุณ

แห่งพระขีณาสพบุคคลทั้งหลายอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะกล่าวถึงคุณของพระ

โสดาบันอันประจักษ์แก่ชนจำนวนมากเท่านั้น จึงทรงเริ่มว่า ยถินฺทขีโล

ปวึ สิโต สิยา ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ยถา เป็นคาอุปมา.

คำว่า อินฺทขีโล นี้เป็นชื่อแห่งเสาไม้แก่น ที่เขาขุดแผ่นดินตอกลง

ไปลึก ๘ ศอก หรือ ๑๐ ศอก ที่ระหว่างประตูเพื่อป้องกันประตูพระนคร.

บทว่า ปวึ ได้แก่ พื้นดิน.

บทว่า สิโต ได้แก่ ฝั่งตั้งไว้ภายในดิน.

บทว่า สิยา ได้แก่ พึงเป็น.

สองบทว่า จตุพฺภิ วาเตภิ คือเพราะลมที่มาจากทิศทั้งสี่.

บทว่า อสมฺปกมฺปิโย ได้แก่ ไม่อาจจะให้หวั่นไหวหรือจะให้

เคลื่อนได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 53

บทว่า ตถูปม ได้แก่ มีอย่างนั้น.

บทว่า สปฺปุริส ได้แก่ บุรุษผู้สูงสุด.

บทว่า วทามิ แปลว่า ย่อมกล่าว.

บาทพระคาถาว่า โย อริยสจฺจานิ อเวจฺจ ปสฺสติ ความว่า ผู้ใด

หยั่งลงด้วยปัญญาเห็นอริยสัจ ๔. อริยสัจในพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่

ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

แต่ในที่นี้ มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :-

เสาเขื่อนที่เขาฝังดินไว้ จะไม่พึงหวั่นไหวเพราะลมจากทิศทั้ง ๔ ได้

เพราะเหตุที่มีโคนอยู่ลึกฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็นอริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นี้ว่า

สัตบุรุษ ซึ่งมีอุปมาฉันนั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะบุคคลแม้นี้เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ด้วยลมคือการกล่าวของ

พวกเดียรถีย์ทั้งปวง ดุจเสาเขื่อนไม่หวั่นไหว เพราะลมจากทิศทั้ง ๔ ฉะนั้น

คือว่า เป็นผู้อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะให้หวั่นไหว หรือเพื่อจะให้เคลื่อนจาก

ความเห็นนี้ได้ เพราะฉะนั้น แม้ในพระสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนตะปูเหล็กหรือเสาเขื่อน ซึ่งมีโคนอยู่ลึก ฝัง

ไว้ดีแล้ว ไม่โอนเอน คือไม่หวั่นไหว แม้หากว่าจะมีลมฝนที่แรงกล้าพัดมาจาก

ทิศตะวันออก ก็ไม่หวั่นไหว ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อน แม้หากว่าจะมีลมฝนแรง

กล้าพัดมาจากทิศตะวันตก ฯลฯ แม้ว่าจะมีลมฝนแรงกล้าพัดมาจากด้านทิศใต้

ฯลฯ แม้ว่าจะมีลมฝนแรงกล้าพัดมาจากด้านทิศเหนือ ตะปูเหล็กหรือเสาเขื่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 54

นั้นก็ไม่พัง ไม่หวั่นไหว ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะเหตุที่เสาเขื่อนนั้นมีโคนลึก เพราะเหตุที่เสาเขื่อนเขาฝังไว้ดี

แล้วแม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้น

เหมือนกันแล ย่อมทราบตามความเป็นจริงว่า นี่คือ ทุกข์ นี่คือเหตุให้เกิดทุกข์

นี่คือความดับทุกข์ นี่คือทางให้ถึงความดับทุกข์ สมณพราหมณ์เหล่านั้นหาได้

มองดูหน้าสมณพราหมณ์เหล่าอื่นไม่ว่า สมณะหรือพราหมณ์ผู้นี้เป็นผู้รู้อยู่

ย่อมรู้ เห็นอยู่ ย่อมเห็น ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเป็น

เพราะว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้เห็นอริยสัจ ๔ แจ่มชัดแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคุณแห่งพระสังฆรัตนะ ด้วยอำนาจแห่ง

พระโสดาบัน ซึ่งคนเป็นจำนวนมากเห็นได้ประจักษ์เท่านั้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้

ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นเอง จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน

ปณีต ดังนี้.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วใน

ตอนต้นนั้นเอง อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาลรับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจจะซึ่งพระสงฆ์เป็นที่ตั้ง ด้วยคุณของ

พระโสดาบันโดยไม่เเปลกกันอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงตรัสว่า พระโสดาบัน ๓

จำพวกเหล่านั้น คือ เอกพิชี ๑ โกลังโกละ ๑ สัตตักขัตตุปรมะ ๑ เหมือน

อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลบางพวกในโลกนี้บรรลุโสดาบัน เพราะความสิ้น

ไปแห่งสังโยชน์ทั้ง ๓ บุคคลนั้นบังเกิดอีกชาติเดียวเท่านั้น ก็ทำที่สุดทุกข์ได้

๑. สัง. มหา. ๒๙/ข้อ ๑๗๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 55

บุคคลนี้ชื่อว่า เอกพีชี อนึ่งบุคคลใด ท่องเที่ยวไปสู่สกุล ๒ หรือ ๓ สกุล

(เกิด ๒ หรือ ๓ ชาติ) แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้ชื่อว่า โกลังโกละ

อนึ่งบุคคลใด ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกสิ้น ๗ ครั้ง (ร่วมกัน) แล้ว

ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ เพื่อจะตรัสถึงคุณของ

พระโสดาบัน ผู้เป็นสัตตักขัตตุปรมะ อันเป็นผู้น้อยกว่าพระโสดาบัน ๓ จำพวก

นั้น จึงทรงเริ่มว่า เย อริยสจฺจานิ วิภาวยนฺติ ดังนี้เป็นต้น

บรรดาบทเหล่านั้น คำนี้ว่า เย อริยสจฺจานิ มีนัยอันข้าพเจ้ากล่าว

แล้วนั้นแล

บทว่า วิภาวยนฺติ ความว่า กำจัดความมืดคือกิเลสที่ปกปิดสัจจะ

ด้วยโอภาส คือ ปัญญา กระทาประกาศของตนให้ปรากฏ.

บทว่า คมฺภีรปญฺเน ได้เเก่ ด้วยปัญญาที่ประดิษฐานไว้ อันบุคคล

ไม่พึงได้ด้วยญาณของโลก แม้พร้อมทั้งเทวโลก เพราะเหตุที่เป็นผู้มีปัญญา

ไม่อาจจะประมาณได้ มีคำอธิบายว่า ด้วยสัพพัญญุตญาณ

บทว่า สุเทสิตานิ ความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้

แล้วด้วยดี ด้วยนัยทั้งหลายเหล่านั้น ๆ มีโดยย่อ โดยพิสดาร สากล และ

โดยรวบรัด เป็นต้น

บาทคาถาว่า กิญฺจาปิ เต โหนฺติ ภุสปฺปมตฺตา ความว่า บุคคลทั้ง

หลายผู้มีอริยสัจอันทำให้แจ้งแล้วเหล่านั้น แม้บางคราวถึงฐานะเป็นที่ตั้งความ

ประมาท เช่นเมื่อเป็นเทวราชหรือพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น เป็นผู้ประมาท

อย่างยิ่งก็จริง ถึงกระนั้นพระอริยบุคคลเหล่าใด ดำรงอยู่แล้วด้วยการดับอภิ-

สังขารวิญญาณ ด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ จะพึงทานามรูปให้เกิดขึ้นในสังสารวัฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 56

อันมีเบื้องต้นและที่สุด อันใคร ๆ ไม่รู้แล้วสิ้น ๗ ภพ จะไม่ทำภพที่ ๘ ให้

บังเกิดขึ้น เพราะดับนามรูปเหล่านั้นเสียได้ เพราะนามรูปถึงการตั้งอยู่ไม่ได้

แต่ได้เจริญวิปัสสนาในภพที่ ๗ นั่นเอง ก็จะได้บรรลุพระอรหันต์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณแห่งสังฆรัตนะด้วยอำนาจแห่งพระ

โสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นเอง ทรง

ประกอบสัจวาจาว่า อิทฺมปิ สงฺเฆ รตน ปณีต ดังนี้.

เนื้อความแห่งบาทคาถานั้น พึงทราบโดยนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วใน

ตอนต้นนั้นแล อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาลได้รับแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจะ อันมีพระสงฆ์เป็นที่ตั้ง ด้วย

คุณคือการไม่ทรงคำนึงถึงภพที่ ๘ ของพระโสดาบัน ผู้สัตตักขัตตุปรมะอย่างนี้

แล้ว บัดนี้เพื่อจะตรัสถึงคุณของพระโสดาบันนั้นนั่นเอง แม้ผู้ยังต้องเกิดอยู่

สิ้น ๗ ภพว่ายังพิเศษกว่าบุคคลทั้งหลายเหล่าอื่น ซึ่งยังละความยึดมั่นในภพ

ไม่ได้จึงทรงเริ่มว่า สหาวสฺส ทสฺสนสมฺปทาย ดังนี้เป็นต้น.

ในคาถานั้น ศัพท์ว่า สหาว ได้แก่ พร้อมนั้นเอง.

บทว่า อสฺส ได้แก่ พระโสดาบันจำพวกใดจำพวกหนึ่ง ในบรรดา

พระโสดาบันทั้ง ๓ จำพวก ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า พระโสดาบัน

เหล่านั้นย่อมไม่ถือเอาภพที่ ๘ บังเกิดขึ้น.

บทว่า ทสฺสนสมฺปทาย ได้แก่ ด้วยความถึงพร้อมด้วยโสดาปัตติ-

มรรค จริงอยู่โสดาปัตติมรรค ท่านเรียกว่า ทัสสนะ เพราะเห็นพระนิพพานได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 57

ก่อนกว่าพระอริยะทุกจำพวก เพราะความถึงพร้อมแห่งกิจอันท่านเห็นพระ

นิพพานแล้วจะพึงกระทำ ความที่โสดาปัตติมรรคนั้นปรากฏในตน ชื่อว่า

ทสฺสนสมฺปทา ความถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ด้วยความถึงพร้อมด้วยทัสสน-

สัมปทานนั่นเอง.

คำว่า สุ ในพระคาถานี้ว่า ตยสฺสุ ธมฺมา ชหิตา ภวนฺติ เป็น

นิบาต ใช้ในอรรถทำบทให้เต็ม เหมือนคำว่า สุ ในประโยคทั้งหลาย มี

ประโยคอย่างนี้ว่า อิทสุ เม สาริปุตฺต มหาวิกฏโภชนสฺมึ โหติ.

ในประโยคนี้มีเนื้อความเพียงนี้ว่า ก็เพราะพระโสดาบันนั้นละคือสละ

ธรรม ๓ ประการเสียได้ พร้อมด้วยทัสสนสัมปทานั้น เพื่อแสดงถึงธรรมที่

พระโสดาบันละได้แล้วในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

สกฺกายทิฏฺิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ

สีลพฺพต วาปิ ยทตฺถิ กิญฺจิ

สักกายทิฏฐิ และวิจิกิจฉา หรือ

สีลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งมีอยู่ ดังนี้.

ในคาถานั้นพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐ ในกายที่มีอยู่ ได้แก่ ในกายกล่าวคืออุปาทาน-

ขันธ์ ๕ ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ. อีกอย่างหนึ่ง แม้ทิฏฐิที่มีอยู่ในกาย ที่ชื่อว่า

สักกายทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิที่มีอยู่ในกาย มีประการดังข้าพเจ้ากล่าวแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ ก็เพราะอรรถว่า เป็นทิฏฐิในกายที่มีอยู่

นั่นเอง อธิบายว่า ทิฏฐิที่เป็นไปอย่างนี้ว่า ตัวตนกล่าวคืออรูปขันธ์เป็นต้น

ในกายที่มีอยู่มีประการตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ชื่อว่าสักกายทิฏฐิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 58

ก็ทิฏฐิทุกประการ เป็นอันพระโสดาบันนั้นละได้แล้ว ก็เพราะท่านละ

สักกายทิฏฐินั้นได้แล้วนั่นเอง ก็สักกายทิฏฐินั้นเป็นมูลรากแห่งทิฏฐิทั้งปวง

เหล่านั้น.

ปัญญา ท่านเรียกว่า จิกิจฺฉิต คุณชาติเครื่องเยียวยา เพราะเข้า

ไปสงบพยาธิ (คือกิเลส) ทั้งปวง ปัญญาที่เป็นตัวเยียวยานั้น ไปปราศจาก

คุณชาตินี้ หรือว่าคุณชาตนี้ ไปปราศจากปัญญาที่เป็นตัวเยียวยานั้น เพราะ

เหตุนั้น คุณชาตินั้น จึงชื่อว่า วิจิกิจฺฉิต (วิจิกิจฉา) คำว่า วิจิกิจฺฉิต

นั้นเป็นชื่อแห่งความสงสัยในวัตถุ ๘ ประการ ตามที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยว่า

" ความสงสัยในพระศาสดา " ดังนี้เป็นต้น ก็เพราะเหตุที่พระโสดาบันละความ

สงสัยนั้นเสียได้ ความสงสัยทุกอย่างจึงเป็นอันท่านละได้แล้ว เพราะความสงสัย

นั้น เป็นมูลรากแห่งความสงสัยทั้งปวง.

ศีลหลายประการ มีศีลอย่างใด ศีลอย่างสุนัขเป็นต้น และวัตร มีวัตร

ของโค และวัตรของสุนัขเป็นต้น ซึ่งมาแล้วในสูตรทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

" ความบริสุทธิ์ของสมณพราหมณ์ ภายนอกศาสนานี้ ย่อมมีด้วยศีล (เช่นศีล

อย่างโคเป็นต้น ) ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยวัตร เช่นวัตรของโคเป็นต้น " ดังนี้.

ท่านเรียกว่า ศีลพรต เพราะละศีลพรตนั้นเสียได้ ตบะที่ไม่ตายแม้ทั้งปวงมี

นัคคิยตบะ ตบะของคนเปลือย และมุณฑิยตบะ ตบะของคนโล้นเป็นต้น ก็

เป็นอันพระโสดาบันละได้. เพราะว่าศีลพรตนั้นเป็นมูลรากแห่งศีลพรตทั้งปวง

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในที่สุดแห่งคำทั้งปวง (ท้ายบาท-

คาถา) ว่า ยทตฺถิ กิญฺจิ บัณฑิตพึงทราบว่า ก็สักกายทิฏฐิ ในคำว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 59

สกฺกายทิฏฺิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ สีลพฺพต วาปิ นี้ อันพระโสดาบันละเสียได้

ด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็นทุกข์ ละวิจิกิจฉาเสียได้ ด้วยความถึงพร้อมแห่ง

การเห็นสมุทัย ละสีลัพพตปรามาสเสียได้ ด้วยการเห็นพระนิพพานด้วยมรรค.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงการละกิเลส แห่งพระโสดาบันบุคคล

อย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงการละวิปากวัฏ ในเมื่อกิเลสวัฏยังมีอยู่

จึงตรัสว่า จตูหปาเยหิ จ วิปฺปมุตฺโต เป็นต้น.

ในพระคาถานั้น นรก สัตว์เดรัจฉาน ปิตติวิสัยและอสุรกาย ชื่อว่า

อบาย ๔ อธิบายว่า ก็พระอริยบุคคล (โสดาบัน) นี้ แม้อุบัติอยู่ในภพ ๗

(๗ ชาติ) ก็พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ เหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงการที่พระโสดาบันนั้นละ

วิปากวัฏได้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงการละแม้กรรมวัฏอันเป็นมูลราก

ของวิปากวัฏนี้ จึงตรัสว่า ฉ จาภิานานิ อภพฺโพ กาตุ เป็นผู้ไม่ควร

เพื่อจะทำอภิฐาน ๖.

กรรมที่หยาบช้าชื่อว่า อภิฐาน ก็พระโสดาบันนี้เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะ

ทำอภิฐานเหล่านั้น ก็อภิฐาน ๖ เหล่านี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า กรรมคือ มาตุฆาต

ปิตุฆาต อรหันตฆาต โลหิตุปบาท สังฆเภท และการถือศาสดาอื่น ซึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคัมภีร์เอกนิบาต โดยนัยว่า ภิกษุทั้งหลาย

ก็ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงฆ่ามารดานี้ ไม่ใช่ฐานะ

ไม่ใช่โอกาส ดังนี้เป็นต้น แม้ว่าพระอริยบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะ

ไม่พึงฆ่า แม้มดดำมดแดงก็จริง แต่ถึงกระนั้น อภิฐาน ๖ เหล่านั้น พระผู้มี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 60

พระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ เพื่อจะติเตียนความเป็นปุถุชน ด้วยว่าปุถุชนย่อมกระทำ

แม้ซึ่งอภิฐานอันมีโทษมากอย่างนี้ เพราะตนยังไม่ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ แต่ผู้ถึง

พร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่ควรเพื่อจะทำอภิฐานเหล่านั้น.

ก็ อภัพพ ศัพท์ ในบาทคาถาว่า ฉ จาภิานานิ อภพฺโพ กาตุ

นี้ เป็นการแสดงถึงการไม่กระทำอภิฐาน ๖ แม้ในระหว่างภพเป็นอรรถ.

จริงอยู่ แม้ในระหว่างภพ พระอริยบุคคลนี้ แม้ไม่ทราบว่าตนเป็นพระ-

อริยสาวก ก็ย่อมไม่กระทำเวร ๕ มีการฆ่าสัตว์เป็นปกติเป็นต้น หรืออภิฐาน

๖ เหล่านี้ พร้อมกับการนับถือศาสดาอื่น คือไม่กระทำฐานะ ๖ ซึ่งอาจารย์

บางพวกกล่าวว่า อภิฐาน ๖ ดังนี้ก็มี. ก็ในข้อนี้มีเรื่องเด็กหญิงชาวบ้านผู้เป็น

อริยสาวิกา ซึ่งถือเอาปลาตายเป็นต้นเป็นตัวอย่าง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสถึงคุณของพระอริยสาวก ผู้แม้อุบัติแล้ว

สิ้น ๗ ภพ ซึ่งเป็นสังฆรัตนะ ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มีคุณพิเศษกว่า

บุคคลทั้งหลาย ซึ่งยังละความยึดมั่นในภพไม่ได้เหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้

ทรงอาศัยคุณข้อนั้นนั่นเอง จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ

รตน ปณีต เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วใน

ตอนต้นนั้นแล อาชญาแห่งคาถาแม้นี้อันอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาลรับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจจะอันเป็นสังฆาธิษฐาน (มีพระสงฆ์

เป็นที่ตั้ง) แห่งพระอริยบุคคลผู้แม้เกิดแล้วสิ้น ๗ ภพ ด้วยอำนาจผู้มีคุณพิเศษ

กว่าบุคคลทั้งหลาย ที่ยังละความยึดมั่นในภพไม่ได้เหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 61

เพื่อจะตรัสถึงบุคคลแม้ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ แม้จะอยู่ด้วยความประมาท

ด้วยคุณคือการไม่ปกปิดสิ่งที่ตนได้กระทำไปแล้วว่า พระโสดาบันผู้ถึงพร้อม

ด้วยทัสสนะ หาใช่เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะกระทำอภิฐาน ๖ อย่างเดียวไม่ แต่ท่าน

ได้เคยทำแม้บาปเล็กน้อยไร ๆ แล้ว ก็ไม่ควรแม้เพื่อจะปกปิดบาปนั้น ดังนี้

จึงได้ทรงเริ่มว่า กิญฺจาปิ โส กมฺม กโรติ ปาปก พระอริยบุคคลนั้น

แม้จะทำบาปกรรมก็จริง ดังนี้เป็นต้น.

เนื้อความแห่งบาทพระคาถานั้น ว่า พระอริยบุคคลนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วย

ทัสสนะ อาศัยความอยู่ด้วยความประมาท เพราะความหลงลืมสติบ้าง ก็งดเว้น

การล่วงละเมิดด้วยการจงใจที่เป็นโลกวัชชะ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมาย

เอาว่า สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ก้าวล่วงสิกขาบท ที่เราบัญญัติไว้เพื่อสาวก

ทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ดังนี้. ย่อมกระทำปาปกรรมอย่างอื่น มี

กุฏิการสหไสยา (คือการนอนในกุฏิเดียวกันกับอนุปสัมบันเกิน ๓ คืน หรือใน

กุฏิเดียวกันกับมาตุคามแม้คืนเดียว) ด้วยกายหรือกระทำบาปกรรมมีการก้าวล่วง

สิกขาบท ที่เป็นปทโสธัมมะ (การสอนธรรมแก่อนุปสัมบันโดยว่าพร้อมกัน)

อุตฺตรึฉปฺปญฺจวาจาธมฺมเทสนา (การแสดงธรรมแก่มาตุคาม ซึ่งไม่มี

ผู้ชายเป็นเพื่อนเกิน ๕-๖ คำ) การพูดเพ้อเจ้อ และการพูดส่อเสียดเป็นต้น

ด้วยวาจา หรือว่าทำบาปกรรมมีการไม่พิจารณา แล้วใช้สอยเป็นต้น ในการ

ยินดีเงินและทองเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดโลภะ โทสะ และการใช้สอยจีวร

เป็นต้น พระอริยบุคคลนั้น ไม่ควรเพื่อจะปกปิดกรรมนั้น พระอริยบุคคลนั้น

รู้ว่า กรรมนี้เป็นสิ่งไม่ควร ตนไม่ควรกระทำ แม้จะปกปิดไว้ครู่เดียวแต่ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 62

เปิดเผยเสียในศาสดา หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้รู้ ย่อมกระทำคืนเสียตามธรรม

ในขณะนั้นนั่นเอง หรือว่าสำรวมในสิ่งที่ควรสำรวมอย่างนี้ว่า เราจักไม่ทำอีก.

ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ควรกล่าวถึงทิฏฐิบท.

ตอบว่า เพราะความที่บุคคลผู้มีธรรมคือพระนิพพานอันตนเห็นแล้ว

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะปกปิดกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว อธิบายว่า

ความที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ผู้มีบทคือพระนิพพานอันตนเห็นแล้ว

กระทำบาปกรรมแม้ปานนั้น ไม่ควรเพื่อจะปกปิดกรรมนั้น.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ อย่างไร ?

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เด็กอ่อนยัง

เยาว์นอนหงาย ใช้มือหรือเท้าถูกถ่านเพลิง ก็จะพึงหดกลับได้เร็วพลัน ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมดาของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิก็ฉันนั้นเหมือนกัน

พระอริยบุคคลนั้นแม้จะต้องอาบัติก็จริง การออกจากอาบัติเห็นปานนั้นปรากฏ

อยู่ ถึงกระนั้นพระอริยบุคคลนั้นก็แสดงเปิดเผยทำให้แจ้งในพระศาสดา หรือ

ในเพื่อนสพรหมจารีผู้รู้ ครั้นแสดงเปิดเผยทำให้แจ้งแล้ว ก็สำรวมระวังต่อ

ไป ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงคุณของพระสังฆรัตนะ ผู้ถึงพร้อม

ด้วยทัสสนะ เเม้อยู่ด้วยความประมาท ด้วยคุณคือการไม่ปกปิดกรรมที่ตนทำ

แล้ว อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณข้อนั้นนั่นเอง จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า

อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน ปณีต เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 63

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วใน

ตอนต้นนั้นเอง อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาล

รับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสัจจะอันเป็นสังฆาธิษฐาน แห่ง

บุคคลทั้งหลายผู้นับเนื่องในพระสงฆ์ ด้วยการประกาศคุณนั้น ๆ อย่างนี้แล้ว

บัดนี้ ทรงอาศัยแม้พระปริยัติธรรม ที่พระองค์เมื่อทรงแสดงคุณของพระรัตน-

ตรัยได้ทรงแสดงไว้ โดยสังเขปในที่นี้และโดยพิสดารในที่อื่น เมื่อจะกล่าว

สัจจะอันเป็นพุทธาธิษฐาน มีพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง อาศัยปริยัติธรรมเเม้นั้น

จึงทรงเริ่มอีกว่า วนปฺปคุมฺเพ ยถา ผุสฺสิตคฺเค เป็นต้น

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น ดังต่อไปนี้ :-

หมู่แห่งไม้ทั้งหลาย ซึ่งตั้งอยู่แล้ว คือตั้งขึ้นแล้ว ด้วยการขึ้นหนาแน่น

ชื่อว่า วน ป่า.

พุ่มไม้ ซึ่งเจริญแล้วด้วยราก แก่น กระพี้ เปลือก กิ่งและใบทั้งหลาย

ชื่อว่า ปคุมโพ พุ่มไม้.

พุ่มไม้ในป่าชื่อว่า วนปฺปคุมโพ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า

วนปฺปคุมโพ นี้นั้น. (เป็นสัตตมีวิภัตติ) ว่า วนปฺปคุมเพ ก็แม้เมื่อเป็น

อย่างนี้ ใคร ๆ ก็อาจจะกล่าวได้ว่า วนสณฺโฑ (ชัฎแห่งป่า) ไพรสณฑ์

เหมือนอย่างคำทั้งหลายมีคำเป็นต้นว่า อตฺถิ สวิตกฺกสวิจาเร อตฺถิ อวิ-

ตกฺกอวจารมตฺเต สุเข ทุกฺเข ชีเว ดังนี้.

คำว่า ยถา เป็นคำอุปมา ยอดของต้นไม้นั้นบานแล้ว เหตุนั้น

ต้นไม้นั้น ชื่อว่า ผุสิตคฺเค มียอดบานแล้ว อธิบายว่า มีดอกเกิดแล้ว

ที่กิ่งน้อยกิ่งใหญ่ทุกกิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 64

คำว่า ผุสิตคฺโค นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ผุสิตคฺเค

โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล.

บาทพระคาถาว่า คิมฺหานมาเส ปมสฺมึ คิมฺเห ได้แก่ ใน

เดือนหนึ่ง บรรดาเดือนในฤดูร้อน ๔ เดือน ถ้าหากว่าจะกล่าวว่าในเดือนใด

เดือนหนึ่ง ก็ต้องอธิบายว่า ในเดือนจิตรมาส (เดือน ๔) อันเริ่มฤดูร้อนแรก

จริงอยู่ เดือนจิตรมาสนั้น ท่านเรียกว่า ปมคิมฺโห (ฤดูร้อนเดือนแรก) และ

ว่า พาลวสนฺโต (ฤดูใบไม้เริ่มผลิ) บทต่อแต่นั้นเนื้อความปรากฏชัดแล้ว

ทั้งนั้น.

ก็คำว่า ปมคิมฺเห นี้ ในคาถานี้ มีการประมวลมาเป็นอรรถ กอ

ไม้ซึ่งได้ปริยายนามว่า พุ่มไม้อ่อน ๆ ที่มีกิ่งยอดผลิบานสะพรั่ง ในป่าอันหนา

แน่นด้วยต้นไม้นานาชนิด ในวสันตฤดูอ่อน ๆ ซึ่งชื่อว่าปฐมคิมหะ จัดว่า

เป็นป่าที่สวยงามอย่างยิ่งฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงปริยัติธรรม

อันประเสริฐที่ให้ถึงพระนิพพาน โดยทรงแสดงหนทางให้ถึงพระนิพพาน หา

ใช่แสดงเพราะเหตุแห่งลาภ หรือเพราะเหตุแห่งสักการะเป็นต้นไม่ แต่

พระองค์เป็นผู้มีพระทัยประกอบด้วยอุตสาหะ และเอ็นดูอย่างยิ่ง ได้ทรงแสดง

ด้วยพระมหากรุณาอย่างเดียว เพื่อประโยชน์สุขอย่างยิ่งเเก่สัตว์ทั้งหลาย อุปมา

ฉันนั้น เพราะความที่แห่งพระธรรมของพระองค์ เป็นธรรมที่มีสิริ คือ ความ

งามอย่างยิ่ง ด้วยดอกอันต่างด้วยประโยชน์นานัปกร มีขันธ์ อายตนะ เป็น

ต้น หรือมีสติปัฏฐานและสัมมัปปธานเป็นต้น หรือมีศีลขันธ์และสมาธิขันธ์

เป็นต้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 65

ก็ในคำว่า ปรม หิตาย นี้ เป็นอนุนาสิก (นิคคหิต ออกเสียงขึ้น

จมูก) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อสะดวกในการประพันธ์คาถา แต่เนื้อ

ความมีดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดง (ธรรมอันประเสริฐ) เพื่อพระ

นิพพานอันมีประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงพระปริยัติธรรมอันเช่นกับพุ่มไม้

ในป่าที่มียอดคือดอกบานสะพรั่งนี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยคุณข้อนั้นนั่นเอง

ทรงประกอบสัจวาจาเป็นพุทธาธิษฐานว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตน ปณีต

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้น

แต่ก็พึงประกอบบทอย่างเดียว อย่างนี้ว่า พุทธรัตนะกล่าวคือ พระปริยัติ-

ธรรม มีประการตามที่กล่าวแล้วแม้นั้น เป็นรัตนะอันประณีต อาชญาแห่ง

คาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาลรับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจจะเป็นพุทธาธิษฐานด้วยอำนาจพระ

ปริยัติธรรมอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะตรัสด้วยโลกุตรธรรมจึงทรงเริ่มว่า วโร

วรญฺญู วรโท วราหโร ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วโร ความว่า ผู้อันชนทั้งหลาย

ผู้มีอธิมุตติอันประณีต ปรารถนาแล้วว่า โอ ! หนอ แม้พวกเราพึงเป็นเช่นนี้

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วโร ประเสริฐ เพราะประกอบด้วยคุณที่ประเสริฐ

อธิบายว่า เป็นผู้สูงสุด คือประเสริฐที่สุด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 66

บทว่า วรญฺญู ได้แก่ รู้พระนิพพาน จริงอยู่ พระนิพพาน ชื่อว่า

ประเสริฐ เพราะอรรถว่าสูงสุดกว่าธรรมทั้งปวง ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ-

องค์นี้ทรงทราบพระนิพพานนั้นด้วยพระองค์เอง ที่ควงแห่งต้นโพธิ.

บทว่า วรโท ความว่า ทรงประทานพระธรรมอันประเสริฐ อันเป็น

ส่วนแห่งธรรมเครื่องแทงตลอด หรืออันเป็นส่วนแห่งวาสนาแก่ภิกษุทั้งหลาย

มีพระปัญจวัคคีย์ ภัททวัคคีย์ และชฎิลทั้งหลายเป็นต้น และแก่เทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลายเหล่าอื่น.

บทว่า วราหโร ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวโลกเรียกกันว่า

ผู้นำมาซึ่งสิ่งอันประเสริฐ เพราะพระองค์นำมรรคอันประเสริฐมา จริงอยู่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บำเพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน จำเดิมแต่พระพุทธเจ้า

พระนามว่า ทีปังกร ทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐอันเป็นของเก่าซึ่งพระสัม-

มาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน ทรงดำเนินไปแล้ว เพราะเหตุนั้นชาวโลก

จึงเรียก (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ว่า วราหโร ผู้นำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นชื่อว่าผู้ประเสริฐ เพราะได้เฉพาะ

ซึ่งสัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า ทรงทราบสิ่งอันประเสริฐ เพราะกระทำให้แจ้งซึ่ง

พระนิพพาน ชื่อว่า ประทานสิ่งอันประเสริฐ เพราะทรงประทานสุขอันเกิดจาก

วิมุตติ แก่สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า ทรงนำมาซึ่งสิ่งอันประเสริฐ เพราะนำข้อปฏิบัติ

อันสูงสุดมาให้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นชื่อว่า อนุตฺตโร เพราะไม่มี

ใครที่จะยิ่งกว่า(พระองค์) ด้วยโลกุตรคุณทั้งหลายเหล่านี้.

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่า ประเสริฐ เพราะทำให้

บริบูรณ์ในอุปสมาธิษฐาน ชื่อว่า ทรงรู้สิ่งที่ประเสริฐ เพราะทำให้บริบูรณ์ใน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 67

ปัญญาธิษฐาน ชื่อว่า ทรงประทานสิ่งที่ประเสริฐ เพราะทำให้บริบูรณ์ในจาคา-

ธิษฐาน. ชื่อว่า ทรงนำสิ่งที่ประเสริฐมาให้ เพราะทำให้บริบูรณ์ในสัจจาธิษฐาน

ชื่อว่า ผู้ทรงนำมาซึ่งมัคคสัจจะอันประเสริฐ.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่า ประเสริฐ เพราะ

เป็นที่ตั้งแห่งบุญ ชื่อว่า ทรงรู้สิ่งอันประเสริฐ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งปัญญา ชื่อ

ว่า ทรงประทานสิ่งอันประเสริฐ เพราะทรงประทานอุบายนั้น ๆ แก่ชนทั้งหลาย

ผู้ต้องการความเป็นพุทธะ ชื่อว่า ทรงนำมาซึ่งสิ่งอันประเสริฐ เพราะทรงนำมา

ซึ่งอุบายนั้น ๆ แก่ชนทั้งหลายผู้ต้องการเป็นพระปัจเจกพุทธะ ชื่อว่า เป็นผู้

ประเสริฐ เพราะไม่มีใครจะเสมอเหมือนในคุณนั้น ๆ หรือว่าเพราะพระองค์

เป็นผู้ไม่มีอาจารย์ หรือเพราะพระองค์เป็นอาจารย์ของชนเหล่าอื่น ชื่อว่า ได้ทรง

แสดงพระธรรมอันประเสริฐ เพราะทรงแสดงพระธรรมอันประเสริฐ อันประกอบ

ด้วยคุณ มีความเป็นสวากขาตธรรมเป็นต้น เพื่อคุณนั้น ๆ แก่ชนทั้งหลาย

ผู้ต้องการเป็นสาวก คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแหละ ดังนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของพระองค์ด้วยโลกุตรธรรม ๙

อย่าง อย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยพระคุณข้อนั่นเอง จึงทรงประกอบสัจวาจา

อันเป็นพุทธาธิษฐานว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตน ปณีต เอเตน สจฺเจน

สุวตฺถิ โหตุ.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น อันผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยอันข้าพเจ้า

กล่าวไว้ในตอนต้นนั้นแล แต่ในที่นี้พึงทราบโยชนาอย่างนี้อย่างเดียวว่า พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ได้ทรงทราบโลกุตตรธรรมอันประเสริฐใด ได้ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 68

ประทานโลกุตตรธรรม ๙ อันประเสริฐใด ได้ทรงนำมา ซึ่งโลกุตตรธรรม ๙

อันประเสริฐใด และได้ทรงแสดงโลกุตตรธรรม ๙ อันประเสริฐใด พุทธรัตนะ

แม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต ดังนี้ อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลาย

ในแสนโกฏิจักรวาลรับเเล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยพระปริยัติธรรมและโลกุตตรธรรม

ตรัสสัจจะอันเป็นพุทธาธิษฐานด้วย ๒ พระคาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัย

คุณคือการบรรลุอนุปาทิเสสนิพพานแห่งท่านทั้งหลายผู้ได้ฟังพระปริยัติธรรม

นั้นแล้ว และได้ปฏิบัติตามกระแสแห่งธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว ก็ได้บรรลุโลกุตตร-

ธรรม ๙ ประการ เพื่อจะตรัสสัจวาจาอันเป็นสังฆาธิษฐานอีก จึงทรงเริ่มว่า

ขีณ ปุราณ นว นตฺถิ สมฺภว.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขีณ ได้แก่ สิ้นรอบแล้ว หรือตัด

ได้เด็ดขาดแล้ว

บทว่า ปุราณ ได้แก่ เก่า

บทว่า นว ได้แก่ ซึ่งเป็นอยู่ในปัจจุบัน

บทว่า นตฺถิสมฺภว ได้แก่ ความปรากฏว่าไม่มีอยู่.

บทว่า วิรตฺตจิตฺตา ได้แก่ เป็นผู้มีจิตปราศจากราคะ.

สองบทว่า อายติเก ภวสฺมึ ได้แก่ในอนาคตกาล คือในภพใหม่.

บทว่า เต ความว่า ท่านเหล่าใดมีกรรมเก่าสิ้นแล้ว กรรมใหม่ก็

ไม่มี และท่านเหล่าใด มีจิตปราศจากราคะในภพต่อไป ท่านเหล่านั้น ชื่อว่า

ภิกษุขีณาสพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 69

บทว่า ขีณพีชา ได้แก่ มีพืชตัดขาดแล้ว.

บทว่า อวิรูฬฺหิฉนฺทา คือ เว้นจากความพอใจที่เจริญขึ้น.

บทว่า นิพฺพนฺติ ได้แก่ ย่อมดับ.

บทว่า ธีรา ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.

สองบทว่า ยถายมฺปทีโป ได้แก่ เปรียบเหมือนประทีปนี้.

มีคำถามว่า ท่านอธิบายไว้อย่างไร ? ตอบว่า ท่านอธิบายไว้ว่า

กรรมใดซึ่งเป็นกรรมเก่า ได้แก่เป็นกรรมในอดีต แม้ซึ่งเกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย

แล้วดับไป ชื่อว่าผลไม่สิ้นแล้วนั่นเอง เพราะสามารถจะนำปฏิสนธิมา เหตุที่

ยังละยางเหนียวคือตัณหาไม่ได้ กรรมเก่านั้นของสัตว์เหล่าใด ชื่อว่า สิ้นแล้ว

เพราะไม่สามารถจะให้วิบากต่อไปได้ เนื่องจากยางเหนียวคือตัณหาได้เหือด

แห้งไป ด้วยอรหัตมรรคญาณ เปรียบประดุจพืชที่ไฟไหม้แล้วฉะนั้น และกรรม

อันใดของสัตว์เหล่านั้น ซึ่งเป็นไปอยู่ในปัจจุบัน ด้วยสามารถแห่งการบูชา

พระพุทธเจ้าเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า กรรมใหม่ ก็กรรมใหม่

นั้นของชนเหล่าใด ชื่อว่าไม่มีสมภพ เพราะไม่สามารถจะให้ผลต่อไปได้ เพราะ

ประหาณตัณหาแล้วนั่นแหละ เปรียบประดุจดอกไม้ที่หลุดจากขั้วแล้วฉะนั้น

และชนทั้งหลายเหล่าใด ชื่อว่า คลายกำหนัดในภพต่อไปได้แล้ว เพราะละ

เสียได้ซึ่งตัณหานั้นเอง ชนทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นภิกษุขีณาสพ ชื่อว่า มี

พืชสิ้นแล้ว เพราะสิ้นปฏิสนธิวิญญาณซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคาถานี้ว่า

กมฺม เขตฺต วิญฺาณ พีช กรรม เป็นเนื้อนา วิญญาณ เป็นพืช ดังนี้

๑. อัง. ติก ๒๐/ ข้อ ๕๑๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 70

เป็นต้น เพราะความสิ้นกรรมนั้นเอง. แม้ความพอใจด้วยอำนาจตัณหา กล่าว

คือตัณหาในภพใหม่ซึ่งเจริญขึ้นแม้อันใด ได้มีแล้วในกาลก่อน เพราะตัณหา

ที่เจริญขึ้นแม้นั้นอันตนละเสียได้ ด้วยการละสมุทัยนั่นเอง พระอริยบุคคลเหล่า

นั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีความพอใจอันไม่เจริญขึ้น เพราะไม่มีสมภพ (ความเกิด)

ในเวลาจุติ เหมือนในกาลก่อน จึงชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ เพราะถึงพร้อมด้วย

ปัญญา ย่อมดับเสียได้ เพราะความดับแห่งวิญญาณดวงสุดท้าย เหมือนดวง

ประทีปนี้ที่ดับไปฉะนั้น ได้แก่ ย่อมล่วงบทบัญญัติมีอาทิอย่างนี้ว่า เป็นรูปหรือ

เป็นอรูปอีก.

เล่ากันมาว่า ในสมัยนั้นในบรรดาดวงประทีปทั้งหลายที่เขาจุดไว้ เพื่อ

บูชาเทวดาประจำพระนคร ดวงประทีปดวงหนึ่งดับไป พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อทรงแสดงถึงดวงประทีปที่ดับไปนั้นจึงตรัสว่า ยถายมฺปทีโป เหมือนดวง

ประทีปนี้ทีดับไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสถึงคุณแห่งการบรรลุ อนุปาทิเสส-

นิพพาน ของพระอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้ได้สดับพระปริยัติธรรมที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยพระคาถา ๒ คาถาแรกนั้น แล้วปฏิบัติตามกระแสเเห่ง

ธรรมที่ตนได้ฟังมาแล้วนั้นแล ได้บรรลุโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ประการ อย่างนี้

แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยคุณข้อนั้นนั่นเอง เพื่อจะทรงประกอบสัจวาจา เป็นสังฆา-

ธิษฐาน จึงตรัสเทสนาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน ปณีต เอเตน สจฺเจน

สุวตฺถิ โหตุ.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยอันข้าพเจ้า กล่าวแล้ว

ในตอนต้น แต่ก็พึงทราบวาจาประกอบความอย่างนี้อย่างเดียวว่า สังฆรัตนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 71

กล่าวคือพระนิพพานของภิกษุขีณาสพทั้งหลาย โดยประการตามที่เรากล่าวไว้

แล้วแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลาย

ในแสนโกฏิจักรวาลรับแล้ว.

ในที่สุดแห่งพระเทศนา ความสวัสดีได้มีแก่ราชสกุลแล้ว อุปัทวะ

ทั้งปวงสงบแล้ว สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม.

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัย

คุณพระรัตนตรัยประกอบสัจวาจา ทำความสวัสดีแก่ชาวพระนครแล้ว แม้

เราเองก็จะพึงอาลัยคุณพระรัตนตรัย กล่าวบางสิ่งบางอย่าง เพื่อความสวัสดีแก่

ชาวพระนคร จึงได้ตรัส ๓ คาถาสุดท้ายว่า

ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ

ภุมฺมานิ วา ยานิ ว อนฺตลิกฺเข

ตถาคต เทวมนุสฺสปูชิต

พุทฺธ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ ดังนี้เป็นต้น.

พึงทราบวินิจฉัย ในพระคาถาทั้ง ๓ นั้น ดังต่อไปนี้ :-

เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้า ได้รับขนานนามว่า พระตถาคต ก็เพราะ

พระองค์ทรงถึงประโยชน์เหมือนอย่างบุคคลทั้งหลายผู้ขวนขวาย เพื่อประโยชน์

สุขแก่ชาวโลกจะพึงถึง เพราะพระองค์เสด็จไปโดยประการที่ชาวโลกผู้ขวนขวาย

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกเหล่านี้จะพึงไป เพราะพระองค์ทรงทราบถึงสิ่งที่

ชาวโลกผู้ขวนขวาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกเหล่านี้จะพึงทราบ เพราะ

พระองค์ทรงรู้โดยประการที่ชนเหล่านี้จะพึงรู้และเพราะพระองค์เสด็จไปอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 72

และเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชากันเหลือเกิน

ด้วยวัตถุมีดอกไม้และของหอมเป็นต้น ซึ่งเกิดในภายนอก (ตน) และด้วยการ

ปฏิบัติมีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นต้น ซึ่งเกิดในตน เพราะฉะนั้น

ท้าวสักกะจอมเทพ จึงได้ทรงรวบรวมเทวบริษัททั้งหมด พร้อมกับพระองค์

ตรัสว่า

ตถาคต เทวมนุสฺสปูชิต

พุทธ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ.

ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนมัสการพระ-

พุทธเจ้า ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดา

และมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจึงมีแก่

สัตว์เหล่านั้น ดังนี้.

ก็เพราะในฝ่ายพระธรรม มรรคธรรมอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยกำลัง

แห่งสมถะและวิปัสสนาทั้งคู่ ฉันใด นิพพานธรรมอันพระอริยบุคคลผู้ตัดธรรม

อันเป็นฝ่ายกิเลส ก็ถึงได้ฉันนั้น พระธรรมอันบุคคลถึงเเล้วคือแทงตลอดแล้ว

ด้วยปัญญา ฉันใด นิพพานธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้นทรงบรรลุแล้ว

ย่อมสำเร็จได้ ก็เพราะกำจัดทุกข์ทั้งปวงได้ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึง

เรียกว่า ตถาคต พระธรรมที่บุคคลถึงแล้วอย่างนั้น.

อนึ่ง เพราะเหตุที่แม้พระสงฆ์ ท่านก็เรียกว่า ตถาคต ผู้ถึง

เหมือนกัน เพราะท่านถึงความเป็นพระสงฆ์ได้ด้วยมรรคนั้น ๆ เหมือนกับ

บุคคลผู้ปฏิบัติเป็นประโยชน์แก่ตนจะพึงถึง เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะจึงตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 73

แม้ใน ๒ คาถาที่เหลือว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายจะนมัสการพระธรรม

อันไปแล้วอย่างนั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย, ข้าพเจ้า

ทั้งหลายจะนมัสการพระสงฆ์ ผู้ไปแล้วอย่างนั้นขอความสวัสดีจงมี

แก่สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้. คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นแหละ

ดังนี้แล.

ท้าวสักกะจอมเทพ ครั้นตรัส ๓ คาถานี้ อย่างนี้แล้ว ทรงกระทำ

ประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้เสด็จไปยังเทพนคร พร้อมด้วยเทพ-

บริษัท ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงรัตนสูตรนั้นนั่นแล แม้ในวันที่สอง

สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้บรรลุธรรมอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอยู่อย่างนี้จน

ถึงวันที่ ๗. การบรรลุธรรมก็ได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ทุก ๆ วัน เหมือนอย่าง

นั้นนั่นเทียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ในเมืองเวสาลีเป็นเวลาครึ่งเดือน

แล้วทรงประกาศว่า เราจักไปเมืองราชคฤห์ ต่อจากนั้นพระราชาทั้งหลายก็ได้

นำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังฝั่งแม่น้ำคงคา ด้วยใช้เวลา ๓ วันอีกพร้อมด้วย

เครื่องสักการะที่จัดถวายเป็นสองเท่า (ของพระเจ้าพิมพิสาร) นาคราชทั้งหลาย

บังเกิดในแม่น้ำคงคาคิดกันว่า พวกมนุษย์กระทำสักการะแด่พระตถาคตเจ้า

พวกเราจักไม่ทำอะไรกันหรือ นาคราชทั้งหลายจึงได้เนรมิตเรือทั้งหลาย ซึ่ง

สำเร็จด้วย ทอง เงิน และแก้วมณี ให้ปูลาดบัลลังก์ทั้งหลายที่สำเร็จด้วย

ทอง เงิน และแก้วมณีเหมือนกัน ได้กระทำน้ำให้ดารดาษไปด้วยดอกปทุม

๕ สี แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาณเจ้ากราบทูลว่า ขอพระองค์จงอนุเคราะห์

ข้าพระองค์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ครั้นทรงรับนิมนต์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 74

แล้ว ก็เสด็จลงเรือรัตนะ ภิกษุ ๕๐๐ รูปก็ลงเรือของตน ๆ นาคราชทั้งหลาย

ได้นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ให้เสด็จเข้าไปสู่นาคพิภพ.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่นาคบริษัทตลอดคืน

ทั้งสิ้น ณ นาคพิภพนั้น ในวันที่สอง นาคราชทั้งหลายได้ถวายมหาทานด้วย

ขาทนียะและโภชนียะอันเป็นทิพย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแล้วเสด็จ

ออกจากนาคพิภพ. ภุมมัฏฐเทวดาคิดว่า พวกมนุษย์ทั้งหลายและนาคทั้งหลาย

ย่อมกระทำสักการะแก่พระตถาคต พวกเราจักไม่ทำอะไรกันหรือ ดังนี้แล้ว

จึงได้ยกฉัตรซ้อนฉัตร ขึ้นที่ป่า พุ่มไม้ ต้นไม้ และภูเขาเป็นต้น โดยอุบายนี้

นั้นเอง มหาสักการะอันพิเศษบังเกิดขึ้นแล้วตราบถึงภพของอกนิษฐพรหม

แม้พระเจ้าพิมพิสารก็ได้ทรงทำสักการะเป็นทวีคูณ กว่าสักการะที่เจ้าลิจฉวี

ทั้งหลายกระทำ ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา พระองค์ได้นำเสด็จ

พระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังกรุงราชคฤห์โดยใช้เวลา ๕ วัน โดยนัยที่กล่าวแล้วใน

ตอนก่อนนั้นแล.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ภิกษุทั้งหลาย

ที่ประชุมกัน ณ โรงกลม ภายหลังภัต เกิดการสนทนากันในระหว่างดังนี้ว่า

" โอ ! อานุภาพของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ภูมิภาค ๘ โยชน์จากฝั่งนี้และ

ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำคงคาอันพระราชาและมหาชนกระทำภาคพื้นที่เป็นที่ลุ่มและ

ที่ดอนให้เสมอกัน เกลี่ยด้วยทรายแล้วลาดด้วยดอกไม้ น้ำในแม่น้ำคงคา

ประมาณ ๑ โยชน์ ก็ดาษดาไปด้วยดอกปทุมนานาพรรณ เทวดาทั้งหลาย

ยกฉัตรซ้อนฉัตรขึ้นถึงชั้นอกนิษฐภพทีเดียว เจาะจง (อุทิศ) พระพุทธองค์"

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 75

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความเป็นไปนั้น เสด็จออกจากพระ-

คันธกุฎี ไปยังโรงกลม (หอประชุม) ด้วยปาฏิหาริย์ที่เหมาะสมในขณะนั้น

ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้แล้ว ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น

ประทับนั่งแล้วแลได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ท่านทั้งหลาย

นั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องทั้งปวงให้ทรงทราบ.

พระผู้พระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย การบูชาพิเศษนี้หาได้

เกิดขึ้นด้วยพุทธานุภาพของเราไม่ หาได้เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของนาค เทพ

และพรหมไม่ โดยที่แท้แล การบูชาพิเศษนี้ เกิดขึ้นแล้วด้วยอานุภาพแห่ง

การบริจาคมีประมาณน้อย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พวกข้าพระองค์ไม่ทราบการบริจาคอันมีประมาณน้อยนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย

ขอพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย โดย

ประการที่ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงทราบเรื่องนั้นได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว

ได้มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า สังขะ ในเมืองตักกสิลา มาณพชื่อว่า สุสิมะ

ที่เป็นบุตรของพราหมณ์นั้น มีอายุราว ๑๖ ปี วันหนึ่งได้เข้าไปหาบิดา ไหว้

แล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. บิดาพูดกับบุตรนั้นว่า พ่อสุสิมะ อะไรกัน. บุตร

นั้นพูดว่า คุณพ่อครับ ผมต้องการจะไปศึกษาศิลปวิชาที่เมืองพาราณสี.

บิดาพูดว่า " ลูกสุสิมะ ถ้าอย่างนั้น (เจ้าจงไปเถิด) เพื่อนของพ่อ

เป็นพราหมณ์ชื่อโน้น เจ้าไปยังสำนักของพราหมณ์นั้นแล้ว จงเรียนวิชาเถิด"

ดังนี้ แล้วมอบทรัพย์ให้พันกหาปณะ สุสิมะมาณพนั้นรับทรัพย์ ๑ พันกหาปณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 76

นั้นแล้ว ไหว้อำลามารดาบิดา ไปสู่เมืองพาราณสีโดยลำดับ เข้าไปหาอาจารย์

ด้วยวิธีประกอบด้วยมารยาทเรียบร้อย ไหว้แล้ว แนะนำตน อาจารย์ทราบว่า

เด็กหนุ่มนี้เป็นบุตรเพื่อนของเรา จึงรับมาณพ (นั้น ) แล้วได้กระทำการ

ต้อนรับทุกอย่าง.

มาณพนั้นบรรเทาความเมื่อยล้าจากการเดินทางไกล (พักผ่อน) แล้ว

ได้มอบทรัพย์ ๑ พันกหาปณะนั้นไว้ที่ใกล้เท้าอาจารย์ ขอโอกาสเรียนศิลปวิทยา

อาจารย์ให้โอกาสแล้วก็ให้ศึกษา มาณพนั้นเรียนได้ไวด้วย เรียนได้มากด้วย

และจดจำสิ่งที่เรียนไว้แล้ว ๆ ไม่ลืม เหมือนน้ำมันที่ใส่ไว้ในภาชนะทองฉะนั้น

ได้เรียนศิลปวิทยา ซึ่งคนทั่วไปใช้เวลาเรียน ๑๒ ปี (โดยใช้เวลาเรียน) เพียง

๒-๓ เดือนเท่านั้น เขาเมื่อจะกระทำการสาธยาย ย่อมเห็นเบื้องต้น และ

ท่ามกลางของศิลปะนั้นได้ แต่ไม่เห็นที่สุด. ครั้งนั้นเขาจึงเข้าไปหาอาจารย์

แล้วเรียนว่า กระผมย่อมเห็นเบื้องต้นและท่ามกลางเท่านั้นของศิลปะนั้น แต่

ไม่เห็นที่สุด. อาจารย์กล่าวว่า ดูก่อนพ่อ แม้เราเองก็ไม่เห็นเหมือนกัน.

มาณพจึงเรียนถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครเล่าย่อมทราบ

ที่สุดเเห่งศิลปะนี้ได้. อาจารย์ตอบว่า ดูก่อนพ่อ ที่ป่าอิสิปตนะมีฤาษีทั้งหลาย

อยู่ ฤาษีเหล่านั้นพึงทราบได้. มาณพกล่าวว่า ท่านอาจารย์กระผมเข้าไปหา

ฤาษีเหล่านั้นแล้วจักไต่ถาม. อาจารย์ตอบว่า เจ้าจงถามตามสบายเถิดพ่อ.

มาณพนั้นไปยังป่าอิสิปตนะ เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว เรียน

ถามว่า ท่านทั้งหลายทราบเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด (ของศิลปะ) หรือ.

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตอบว่า ดูก่อนอาวุโส ใช่แล้ว พวกเราทราบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 77

มาณพเรียนว่า ท่านทั้งหลายจะให้กระผมศึกษาบ้างได้ไหม พระปัจเจกพุทธเจ้า.

ทั้งหลายตอบว่า อาวุโส ถ้าอย่างนั้นเจ้าจงบวช (เสียก่อน) ด้วยว่าผู้ที่ไม่บวช

ไม่อาจศึกษาได้. มาณพเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดีละ ท่านทั้งหลายจงให้

กระผมบวช ท่านทั้งหลายกระทำสิ่งที่ท่านทั้งหลายปรารถนาแล้ว จงให้กระผม

ทราบที่สุดแห่งศิลปะเถิด.

พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นให้มาณพนั้นบวชแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะ

สั่งสอน ในกัมมัฏฐานได้ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ให้ศึกษาอภิสมาจาริก-

วัตร โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านพึงนุ่งอย่างนี้ ท่านพึงห่มอย่างนี้ ก็สุสิมะนั้น

ศึกษาอยู่ที่ป่าอิสิปตนะนั้น ได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณโดยไม่นานเลย เพราะ

(ความที่ตน) สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย ท่านจึงได้ปรากฏในเมืองพาราณสีทั้งสิ้นว่า

พระปัจเจกพุทธเจ้าสุสิมะเกิดขึ้นแล้ว ท่านถึงความเลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศ

มีบริวารพรั่งพร้อม พระปัจเจกพุทธเจ้าสุสิมะนั้น ไม่นานเลยก็ปรินิพพาน

เพราะท่านได้ทำกรรมที่เป็นเหตุให้มีอายุน้อยไว้. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

และหมู่มหาชนกระทำซึ่งสรีรกิจของพระปัจเจกพุทธเจ้าสุสิมะนั้น ถือเอาแล้ว

ซึ่งพระธาตุทั้งหลายให้ประดิษฐานไว้ในพระสถูปที่ประตูพระนคร.

ครั้งนั้นแล สังขพราหมณ์คิดว่า บุตรของเราไปนานแล้ว และเราก็

ไม่ทราบความเป็นไปของบุตรนั้น ดังนี้. ต้องการที่จะพบบุตร จึงออกจาก

เมืองตักกสิลา ไปถึงเมืองพาราณสีโดยลำดับ เห็นหมู่มหาชนประชุมกันอยู่

จึงดำริว่า ในบรรดาหมู่ชนเป็นอันมาก คงจะมีใครสักคนหนึ่งทราบความเป็นไป

แห่งบุตรของเราบ้างเป็นแน่ ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปในที่นั้นถามว่า เด็กหนุ่ม

ชื่อว่าสุสิมะมาในที่นี้มีอยู่ พวกท่านทราบความเป็นไปของเขาบ้างแหละหรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 78

มหาชนตอบว่า ใช่แล้วพราหมณ์ เราทั้งหลายทราบอยู่ สุสิมะมาณพเป็นผู้จบ

ไตรเพทในสำนักของพราหมณ์ในนครนี้. บวชในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลาย แล้วสำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสส-

นิพพานธาตุ สถูปองค์นี้ มหาชนให้สร้างประดิษฐานไว้เพื่อสุสิมะปัจเจกพุทธ-

เจ้าพระองค์นั้น.

สังขพราหมณ์นั้นใช้มือทุบแผ่นดินร้องไห้คร่ำครวญ ไปยังลานเจดีย์

นั้น ถอนหญ้าทั้งหลายขึ้นแล้ว ใช้ผ้าห่ม (ห่อ) ขนทรายมา แล้วเกลี่ยลงที่

ลานพระเจดีย์ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ประพรมด้วยน้ำ จากคณโฑ (ลักจั่น)

กระทำบูชาด้วยดอกไม้ป่าทั้งหลาย ใช้ผ้าห่มยกทำเป็นธงปฏากขึ้น ผูกร่มของตน

ไว้เบื้องบนสถูป แล้วหลีกไป.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำอดีตนิทานมาอย่างนี้แล้วเมื่อทรงสืบต่อ

อนุสนธิชาดกนั้น ให้เชื่อมกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน จึงตรัสธรรมกถาแก่ภิกษุ

ทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่พึงเห็นข้อนั้นอย่างนี้ว่า คนอื่น

จะพึงมีได้แล สังขพราหมณ์ได้มีแล้วในสมัยนั้นแน่แท้ เราเองได้เป็นสังข-

พราหมณ์โดยสมัยนั้น เราได้ถอนหญ้าที่ลานพระเจดีย์ของพระปัจเจกพุทธเจ้า

ชื่อว่าสุสิมะ ด้วยผลที่ไหลออกแห่งกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายได้กระทำ

หนทางประมาณ ๘ โยชน์ ให้ปราศจากตอและหนาม แล้วกระทำพื้นที่ให้เสมอ

สะอาด เราได้เกลี่ยทรายลงที่ลานพระเจดีย์นั้น ด้วยผลที่ไหลออกแห่งกรรม

ของเรานั้น ชนทั้งหลายได้เกลี่ยทรายในหนทางประมาณ ๘ โยชน์ เราได้ทำ

การบูชาด้วยดอกไม้ป่าที่พระเจดีย์ของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยผลที่ไหลออก

แห่งกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายได้ทำการลาดดอกไม้ ด้วยดอกไม้นานาชนิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 79

ทั้งบนบกและในน้ำในหนทางประมาณ ๘ โยชน์ เราได้ทำการประพรมภาคพื้น

ด้วยน้ำที่ลานพระเจดีย์นั้น ด้วยน้ำในคนโฑ ด้วยผลอันไหลออกแห่งกรรม

ของเรานั้น ฝนโบกขรพรรษจึงตกลงในเมืองเวสาลี เราได้ยกธงปฏากและ

ผูกฉัตรไว้ที่เจดีย์ของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยผลอันไหลออกแห่งกรรม

ของเรานั้น มนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ยกธงปฏากและยกฉัตรซ้อนฉัตรขึ้นจน

ถึงอกนิษฐภพ ภิกษุทั้งหลาย การบูชาพิเศษเพื่อเรานี้ มิได้บังเกิดขึ้นด้วย

พุทธานุภาพ มิได้เกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งนาค เทพ และพรหม แต่ได้

บังเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งการบริจาคอันมีประมาณน้อย (ของเรา) ดังกล่าว

มานี้แล.

ในที่สุดแห่งพระธรรมกถา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

มตฺตาสุขปฺปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุล สุข

จเช มตฺตาสุข ธีโร สมฺปสฺส วิปุล สุข

ถ้าหากว่า บุคคลพึงเห็นความสุขอัน

ไพบูลย์ เพราะการสละความสุขอันพอประ-

มาณไซร้ (ก็พึงสละความสุขพอประมาณ

เสีย) นักปราชญ์เมื่อเห็นความสุขอันไพบูลย์

ก็พึงละความสุขพอประมาณเสีย.

จบอรรถกถารตนสูตร

แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 80

อามคันธสูตรที่ ๒

ว่าด้วยมีกลิ่นดิบไม่มีกลิ่นดิบ

ติสสดาบสทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ด้วยคาถา

ความว่า

[๓๑๕] สัตบุรุษทั้งหลายบริโภค

ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ถั่วเขียว ใบไม้ เหง้ามัน

และผลไม้ที่ได้แล้วโดยธรรม หาปรารถนา

กาม กล่าวคำเหลาะแหละไม่.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ พระองค์เมื่อเสวยเนื้อชนิดใด ที่ผู้

อื่นทำสำเร็จดีแล้ว ตบแต่งไว้ถวายอย่างประ-

ณีต เมื่อเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ก็ชื่อว่า

ย่อมเสวยกลิ่นดิบ.

แต่พระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง

พรหม พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า กลิ่นดิบย่อม

ไม่ควรแก่เรา แต่ยังเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลี

กับเนื้อนกที่บุคคลปรุงดีแล้ว.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ ข้าพระองค์ขอทูลถามความข้อนี้กะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 81

พระองค์ว่า กลิ่นดิบของพระองค์มีประการ

อย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า

การฆ่าสัตว์ การทุบตี การตัด การ

จองจำ การลัก การพูดเท็จ การกระทำ

ด้วยความหวัง การหลอกลวง การเรียน

คัมภีร์ที่ไร้ประโยชน์ และการคบหาภรรยา

ผู้อื่น นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่

ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.

ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมใน

กามทั้งหลาย ยินดีในรสทั้งหลาย เจือปน

ด้วยของไม่สะอาด มีความเห็นว่าทานที่

บุคคลให้แล้วไม่มีผล มีการงานไม่เสมอ

บุคคลพึงแนะนำได้โดยยาก นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ

ของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่า

กลิ่นดิบเลย.

ชนเหล่าใดผู้เศร้าหมอง หยาบช้า

หน้าไหว้หลังหลอก ประทุษร้ายมิตร ไม่มี

ความกรุณา มีมานะจัด มีปกติไม่ให้ และ

ไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 82

ของชนเหล่านี้ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่า

กลิ่นดิบเลย.

ความโกรธ ความมัวเมา ความเป็น

คนหัวดื้อ ความตั้งอยู่ผิด มายา ริษยา

ความยกตน ความถือตัว ความดูหมิ่น และ

ความสนิทสนมด้วยอสัตบุรุษทั้งหลาย นี้ชื่อว่า

กลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบ

เลย.

ชนเหล่าใดในโลกนี้ มีปกติประ-

พฤติลามก กู้หนี้มาแล้วไม่ใช้ พูดเสียดสี

พูดโกง เป็นคนเทียม เป็นคนต่ำทราม

กระทำกรรมหยาบช้า นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของ

ชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่น-

ดิบเลย.

ชนเหล่าใดในโลกนี้ มีปกติประ-

สัตว์ทั้งหลาย ชักชวนผู้อื่นประกอบการ

เบียดเบียน ทุศีล ร้ายกาจ หยาบคาย ไม่

เอื้อเฟื้อ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น

เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 83

สัตว์เหล่าใดกำหนัดแล้วในสัตว์

เหล่านี้ โกรธเคือง ฆ่าสัตว์ ขวนขวายใน

อกุศลเป็นนิตย์ ตายไปแล้วย่อมถึงที่มืด มี

หัวลง ตกไปสู่นรก นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชน

เหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบ

เลย.

การไม่กินปลาและเนื้อ ความเป็น

คนประพฤติเปลือย ความเป็นคนโล้น การ

เกล้าชฎา ความเป็นผู้หมักหมมด้วยธุลี การ

ครองหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ การบำเรอไฟ

หรือแม้ว่าความเศร้าหมองในกายที่เป็นไป

ด้วยความปรารถนา ความเป็นเทวดา การ

ย่างกิเลสเป็นอันมากในโลก มนต์และการ

เซ่นสรวง ยัญและการซ่องเสพฤดู ย่อมไม่

ยังสัตว์ผู้ไม่ข้ามพ้นความสงสัยให้หมดจดได้.

ผู้ใด คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหก

เหล่านั้น รู้แจ้งอินทรีย์แล้ว ตั้งอยู่ในธรรม

ยินดีในความเป็นคนตรงและอ่อนโยน ล่วง

ธรรมเป็นเครื่องข้องเสียได้ ละทุกข์ได้ทั้ง-

หมด ผู้นั้นเป็นนักปราชญ์ ไม่ติดอยู่ในธรรม

ที่เห็นแล้ว และฟังแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 84

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสบอกความ

ข้อนี้บ่อย ๆ ด้วยประการฉะนี้ ติสสดาบส

ผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์ได้ทราบความข้อนั้นแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นมุนี ทรงประกาศ

ด้วยพระคาถาทั้งหลาย อันวิจิตรว่า บุคคล

ผู้ที่ไม่มีกลิ่นดิบ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่

อาศัยแล้ว ตามรู้ได้ยาก.

ติสสดาบสฟังบทสุภาษิตซึ่งไม่มีกลิ่น

ดิบ อันเป็นเครื่องบรรเทาเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง

ของพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นผู้มีใจนอบน้อม

ถวายบังคมพระบาทของตถาคต ได้ทูลขอ

บรรพชา ณ ที่นั่งนั่นแล.

จบอามคันธสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 85

อรรถกถาอามคันธสูตรที่ ๒

อามคันธสูตร มีคำเริ่มต้นว่า สามากจิงฺคูลกจีนกานิ จ เป็นต้น

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

ตอบว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ :-

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น พราหมณ์ชื่อว่า อามคันธะ

บรรพชาเป็นดาบสพร้อมกับมาณพ ๕๐๐ คน ให้สร้างอาศรมอยู่ในระหว่าง

ภูเขา (หุบเขา) มีเผือกมันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่ที่หุบเขาแห่งนั้น

ดาบสไม่บริโภคปลาและเนื้อเลย. ครั้งนั้นโรคผอมเหลืองก็เกิดขึ้นแก่ดาบส

เหล่านั้น ผู้ไม่บริโภคของเค็ม ของเปรี้ยวเป็นต้น. ต่อแต่นั้น ดาบสเหล่านั้นก็

พูดกันว่า เราจะไปยังถิ่นมนุษย์ เพื่อเสพของเค็มและของเปรี้ยว ดังนี้แล้ว จึงได้

เดินทางไปถึงปัจจันตคาม ในปัจจันตคามนั้นมนุษย์ทั้งหลายเห็นดาบสเหล่านั้น

แล้ว ก็เลื่อมใสในดาบสเหล่านั้น นิมนต์ให้ฉันอาหาร มนุษย์ทั้งหลายได้น้อม

เตียง ตั่ง ภาชนะสำหรับบริโภคและน้ำมันทาเท้าเป็นต้น แก่ดาบสเหล่านั้น

ผู้ทำภัตกิจเสร็จแล้ว แสดงที่เป็นที่อยู่ด้วยกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

ขอท่านทั้งหลายจงอยู่ในที่นี้. ขอพวกท่านอย่าได้กระสันต์ ดังนี้แล้วก็พากัน

หลีกไป แม้ในวันที่สอง พวกมนุษย์ได้ถวายทานแก่ดาบสเหล่านั้น แล้วได้

ถวายทานวันละ ๑ บ้านตามลำดับเรือนอีก ดาบสทั้งหลายอยู่ในที่นั้นสิ้น ๔ เดือน

มีร่างกายแข็งแรงขึ้น เพราะได้เสพรสเค็มและรสเปรี้ยว จึงได้บอกแก่มนุษย์

ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย (อาวุโสทั้งหลาย) พวกเราจะไปละ. มนุษย์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 86

ได้ถวายน้ำมันและข้าวสารเป็นต้น แก่ดาบสเหล่านั้น. ดาบสเหล่านั้นถือเอา

น้ำมันและข้าวสารเป็นต้นเหล่านั้น ได้ไปยังอาศรมของตนนั้นเอง (ตามเดิม)

ก็ดาบสเหล่านั้นได้มาสู่บ้านนั้นทุก ๆ ปีเหมือนอย่างเคยปฏิบัติมา แม้พวกมนุษย์

ทราบว่าดาบสเหล่านั้นพากันมา จึงได้ตระเตรียมข้าวสารเป็นต้น ต้องการเพื่อ

จะถวายทาน และได้ถวายทานแก่ดาบสเหล่านั้นผู้มาแล้ว เหมือนเช่นทุกครั้ง.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงแสดงธรรม-

จักรอันบวรแล้ว เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีโดยลำดับ ประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี

นั้น ทรงเห็นอุปนิสสัยสมบัติของดาบสเหล่านั้น เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีนั้น

มีหมู่ภิกษุแวดล้อม เสด็จจาริกไปอยู่ เสด็จถึงบ้านนั้นตามลำดับ มนุษย์ทั้งหลาย

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ถวายมหาทาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

ธรรมแก่มนุษย์เหล่านั้น ด้วยพระธรรมเทศนานั้น มนุษย์เหล่านั้นบางพวก

สำเร็จเป็นพระโสดาบัน บางพวกสำเร็จเป็นพระสกทาคามี และพระอนาคามี

บางพวกบรรพชาแล้วบรรลุพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จกลับมายัง

กรุงสาวัตถีเช่นเดิมอีก. ครั้งนั้น ดาบสเหล่านั้นได้มาสู่บ้านนั้น มนุษย์ทั้งหลาย

เห็นพวกดาบสแล้ว ก็ไม่ได้ทำการโกลาหลเช่นกับในคราวก่อน ดาบสทั้งหลาย

ถามพวกมนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย เพราะเหตุไรมนุษย์เหล่านี้จึงไม่เป็น

เช่นกับคราวก่อน หมู่บ้านแห่งนี้ ถูกลงราชอาชญาหรือหนอแล หรือว่าถูก

ประทุษร้ายด้วยทุพภิกขภัย หรือว่ามีบรรพชิตบางรูปซึ่งสมบูรณ์ด้วยคุณมีศีล

เป็นต้นมากกว่าพวกเรา ได้มาถึงหมู่บ้านแห่งนี้.

มนุษย์เหล่านั้นเรียนว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บ้านนี้จะถูกลงราชอาชญา

ก็หาไม่ ทั้งจะถูกประทุษร้ายด้วยทุพภิกขภัยก็หาไม่ ก็แต่ว่าพระพุทธเจ้าทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 87

อุบัติขึ้นแล้วในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมเพื่อ

ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก ได้เสด็จมา ณ หมู่บ้านแห่งนี้. อามคันธดาบส

ฟังคำนั้นแล้วจึงพูดว่า คหบดีทั้งหลาย พวกท่านพูดว่า พุทฺโธ ดังนี้หรือ ?

มนุษย์ทั้งหลายกล่าวขึ้นสิ้น ๓ ครั้งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้า

ย่อมกล่าวว่า พุทฺโธ ดังนี้. อามคันธดาบสยินดีแล้วเปล่งวาจาแสดงความ

ยินดีว่า แม้เสียงว่า พุทฺโธ นี้แล เป็นเสียงที่หาได้ยากในโลก ดังนี้

จึงได้ถามว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นเสวยกลิ่นดิบหรือหนอแล หรือว่าไม่

เสวยกลิ่นดิบ.

พวกมนุษย์ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อะไรคือกลิ่นดิบ อามคันธดาบส

กล่าวว่า ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ปลาและเนื้อชื่อว่ากลิ่นดิบ. มนุษย์ทั้งหลาย

กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยปลาและเนื้อ. ดาบสฟังคำ

นั้นแล้วก็เกิดวิปฏิสาร (เดือดร้อนใจ) ว่า บุคคลผู้นั้นจะพึงเป็นพระพุทธเจ้า

หรือ หรือว่าไม่พึงเป็นพระพุทธเจ้า. ดาบสนั้นคิดอีกว่า ชื่อว่าการปรากฏขึ้น

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย บุคคลได้โดยยาก เราไปเฝ้าพระองค์แล้วถาม

จักทราบได้.

ต่อจากนั้น ดาบสนั้นจึงได้ไปยังที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ถามหนทาง

นั้นกะมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รีบร้อนประดุจแม่โคที่หวงลูก ได้ไปถึงกรุงสาวัตถี

โดยการพักคืนหนึ่งในที่ทุกแห่ง เข้าไปยังพระเชตวันนั้นแล พร้อมกับบริษัท

ของตน. แม้พระผู้มีพระภาคเข้าทรงประทับนั่งบนอาสนะเพื่อแสดงธรรมใน

สมัยนั้น ดาบสทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้นิ่งไม่ถวายบังคม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 88

ได้นั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปราศรัยแสดงความชื่นชม

กับดาบสเหล่านั้น โดยนัยว่า ท่านฤาษีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพออดทนได้

ละหรือ ดังนี้เป็นต้น. แม้ดาบสเหล่านั้นก็ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ข้าพระองค์ทั้งหลายพออดทนได้ ดังนี้เป็นต้น. ลำดับนั้นอามคันธฤาษี ได้

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์เสวยกลิ่นดิบ

หรือไม่เสวย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า พราหมณ์ ชื่อว่ากลิ่นดิบนั้นคือ

อะไร ? ดาบสนั้นทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ปลาและเนื้อชื่อว่ากลิ่นดิบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ปลาและเนื้อไม่ใช่กลิ่นดิบ ก็แล

กิเลสทั้งปวงที่เป็นบาป เป็นอกุศลธรรม ชื่อว่ากลิ่นดิบ แล้วตรัสว่า ดูก่อน

พราหมณ์ ตัวท่านเองได้ถามถึงกลิ่นดิบในกาลบัดนี้ก็หามิได้ แม้ในอดีต

พราหมณ์ชื่อว่าติสสะก็ได้ถามถึงกลิ่นดิบกะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ

แล้ว ก็ติสสพราหมณ์ได้ทูลถามแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพยากรณ์

แล้วอย่างนี้ ดังนี้ แล้วได้ทรงนำมาซึ่งพระคาถาที่ติสสพราหมณ์ และพระผู้มี

พระภาคเจ้ากัสสปะตรัสแล้วนั้นแล เมื่อจะให้อามคันธพราหรมณ์ทราบด้วยคาถา

เหล่านี้ จะตรัสว่า สามากจิงฺคูลกจีนกานิ จ ดังนี้เป็นต้น. นี่คือเหตุเกิด

ขึ้นแห่งพระสูตรนี้ ในที่นี้เพียงเท่านี้ก่อน แต่ในอดีตกาลมีเหตุเกิดขึ้นดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์พระนามว่ากัสสปะ บำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขย

กับแสนกัป ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางพราหมณีชื่อว่า ธนวดี ปชาบดีของ

พรหมทัตตพราหมณ์ในเมืองพาราณสี แม้อัครสาวกก็เคลื่อนจากเทวโลกในวัน

นั้นเหมือนกัน อุบัติในครรภ์ของปชาบดีของพราหมณ์ผู้เป็นอนุปุโรหิต การถือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 89

ปฏิสนธิและการคลอดจากครรภ์ของพระโพธิสัตว์ และอัครสาวกทั้งสองนั้น ได้

มีแล้วในวันเดียวกันนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้ ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อบุตรของ

พราหมณ์คนหนึ่งว่า กัสสปะ บุตรของพราหมณ์คนหนึ่งว่า ติสสะ ในวันเดียว

กันนั้นเอง. เด็กทั้งสองเหล่านั้นเป็นสหายเล่นฝุ่นกันมา ได้ถึงความเจริญวัย

โดยลำดับ. บิดาของติสสะได้สั่งลูกชายว่า ดูก่อนพ่อ สหายกัสสปะนี้ออกบวช

แล้ว จะเป็นพระพุทธเจ้า แม้เจ้าเองบวชในสำนักของพระพุทธเจ้า พระนาม

ว่ากัสสปะนั้นแล้ว ก็จะพึงทำการสลัดออกจากภพเสียได้. ติสสะนั้นรับว่า

ดีละ แล้วก็ไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนสหาย แม้เราทั้งสอง

จักบรรพชาด้วยกัน. พระโพธิสัตว์รับว่า ดีละ. ต่อจากนั้นในกาลที่สหายทั้งสอง

เจริญวัยโดยลำดับ ติสสะพูดกับพระโพธิสัตว์ว่า สหาย มาเถิดเราจะบรรพชา

ด้วยกัน. พระโพธิสัตว์มิได้ออกบรรพชา. ติสสะคิดว่า ญาณของสหายนั้น

ยังไม่ถึงกาลแก่รอบก่อน ดังนี้แล้ว ตนเองจึงได้ออกบวชเป็นฤาษี ให้สร้าง

อาศรมอยู่ที่เชิงภูเขาในป่า. ในสมัยต่อมา แม้พระโพธิสัตว์ ทั้ง ๆ ที่ดำรงอยู่

ในเรือนนั้นเอง ก็กำหนดอานาปานสติ ทำฌาน ๔ และอภิญญาให้บังเกิดขึ้น

แล้วเสด็จไปที่ใกล้โคนต้นโพธิด้วยปราสาท (ด้วยฤทธิ์) แล้วอธิษฐานอีกว่า

ขอปราสาทจงดำรงอยู่ในที่ตามเดิมนั้นแล. ปราสาทนั้นก็ไปประดิษฐานอยู่ใน

ที่ของตนตามเดิม. ได้ยินว่าพระโพธิสัตว์ที่มิใช่บรรพชิต ไม่อาจจะเข้าถึงโคน

ต้นโพธิได้ เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์บรรพชาแล้วจึงไปถึงโคนต้นโพธิ นั่ง

ทำความเพียรอยู่ ๗ วัน ทำให้แจ้งแล้วซึ่งสัมโพธิญาณโดยใช้เวลา ๗ วัน.

ณ กาลครั้งนั้น ที่ป่าอิสิปตนะมีบรรพชิตอยู่ถึง ๒ หมื่นรูป ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ตรัสเรียกบรรพชิตเหล่านั้นมาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 90

ทรงแสดงธรรมจักร ในเวลาจบพระสูตรนั้นเอง บรรพชิตทุกรูปก็เป็นพระ-

อรหันต์ ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีภิกษุ ๒ หมื่นรูปเป็น

บริวาร ประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนะนั้นนั่นเอง และพระเจ้ากาสีพระนามว่า กิกี

ทรงอุปัฏฐากพระองค์ด้วยปัจจัย ๔.

ต่อมาวันหนึ่ง บุรุษชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง แสวงหาวัตถุทั้งหลาย

มีแก่นจันทน์เป็นต้นที่ภูเขา ลุถึงอาศรมของติสสดาบส อภิวาทดาบสนั้นแล้ว

ได้ยืนอยู่ ณ ข้างหนึ่ง. ดาบสเห็นบุรุษนั้นแล้วถามว่า ท่านมาจากที่ไหน

บุรุษนั้นตอบว่า ผมมาจากเมืองพาราณสีขอรับ. ดาบสถามว่า ความเป็นไปที่

เมืองพาราณสีนั้นเป็นอย่างไรบ้าง. บุรุษนั้นตอบว่า ท่านผู้เจริญ พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ. บังเกิดขึ้นแล้วที่เมืองพาราณสีนั้น. ดาบส

ได้สดับคำที่ฟังได้โดยยากก็เกิดปีติโสมนัส แล้วถามว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เสวยกลิ่นดิบหรือไม่เสวย. บุรุษนั้นถามว่า กลิ่นดิบคืออะไรขอรับ.

ดาบสตอบว่า กลิ่นดิบคือปลาและเนื้อสิคุณ.

บุรุษนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยปลา

และเนื้อ. ดาบสฟังคำนั้น แล้วก็เกิดวิปฏิสาร ดำริอีกว่า เราจะไปทูลถามพระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ถ้าหากว่าพระองค์จักตรัสว่า เราบริโภคกลิ่นดิบ

ต่อแต่นั้น เราก็จะห้ามพระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นไม่เหมาะสม

แก่ชาติและสกุลของพระองค์ ดังนี้แล้วคิดว่า เราบวชในสำนักของพระพุทธเจ้า

พระองค์นั้น จักกระทำการสลัดออกจากภพได้ ดังนี้แล้วจึงได้ถือเอาอุปกรณ์

(บริขาร) ที่เบา ๆ ไปถึงเมืองพาราณสีในเวลาเย็น โดยการพักราตรีเดียวในที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 91

ทั้งปวง เข้าไปแล้วสู่ป่าอิสิปตนะนั้นเอง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบน

อาสนะ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ในสมัยนั้นนั่นเอง. ดาบสเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไม่ถวายบังคม เป็นผู้นิ่งได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นดาบสนั้นแล้ว ตรัสปฏิสันถารโดยนัยที่ข้าพเจ้า

กล่าวแล้ว ในตอนต้นนั้นแล. แม้ดาบสนั้นกล่าวคำทั้งหลายเป็นต้นว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะผู้เจริญ พระองค์ทรงพออดทนได้อยู่หรือ.'

ดังนี้เป็นต้น แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระกัสสปะผู้เจริญ พระองค์เสวยกลิ่นดิบหรือไม่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พราหมณ์ เราหาได้เสวยกลิ่นดิบไม่. ดาบสทูลว่า ข้าแต่พระกัสสปะผู้เจริญ

สาธุ สาธุ พระองค์เมื่อไม่เสวยซากศพของสัตว์อื่น ได้ทรงกระทำกรรมดีแล้ว

ข้อนั้นสมควรแล้วแก่ชาติ สกุล และโคตร ของพระกัสสปะผู้เจริญ.

ต่อแต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงดำริว่า เราพูดว่าเราไม่บริโภค

กลิ่นดิบ ดังนี้หมายถึง (กลิ่นดิบ) คือกิเลสทั้งหลาย พราหมณ์เจาะจงเอา

ปลาและเนื้อ ทำอย่างไรหนอ เราจะไม่เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตพรุ่งนี้ จะพึง

บริโภคบิณฑบาตที่เขานำมาจากวังของพระเจ้ากิกิ คาถาปรารภกลิ่นดิบจักเป็น

ไปอย่างนี้ ต่อแต่นั้นเราจะให้พราหมณ์เข้าใจได้ ด้วยพระธรรมเทศนา

ด้งนี้แล้ว ทรงทำบริกรรมสรีระแต่เช้าตรู่ในวันที่สอง เสด็จเข้าไปยังพระคันธ-

กุฎี ภิกษุทั้งหลายเห็นพระคันธกุฎีปิด จึงรู้ได้ว่าวันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ประสงค์จะเสด็จเข้าไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย จึงได้กระทำปทักษิณพระ

คันธกุฎี แล้วเข้าไปเพื่อบิณฑบาต แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากพระคันธกุฎี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 92

แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ฝ่ายดาบสแลต้มกิ่งใบไม้ แล้วเคี้ยวกิน

แล้วนั่งอยู่ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้ากาสิกราชพระนามว่า กิกิ

เห็นภิกษุทั้งหลายเที่ยวบิณฑบาตจึงตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จไปไหน และได้ทรงสดับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในวิหาร มหา-

บพิตร. แล้วจึงได้ทรงสั่งโภชนะที่ถึงพร้อมด้วยกับและรสต่าง ๆ สมบูรณ์ด้วย

ชนิดของเนื้อแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

อำมาตย์ทั้งหลายไปสู่วิหาร กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายน้ำ

ทักษิโณทก เมื่อจะอังคาสก็ได้ถวายข้าวยาคู อันถึงพร้อมด้วยเนื้อนานาชนิด

เป็นครั้งแรก ดาบสเห็นแล้วจึงได้ยืนคิดอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสวย

หรือไม่หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อดาบสนั้นดูอยู่นั้นแล จึงทรงดื่มข้าวยาคู

ทรงใส่ชิ้นเนื้อเข้าไปในพระโอษฐ์ ดาบสเห็นเเล้วก็โกรธ เมื่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงดื่มข้าวยาคูเสร็จแล้ว อำมาตย์ทั้งหลายก็ได้ถวายโภชนะอันประกอบ

ด้วยกับข้าว อันมีรสต่าง ๆ อีก ดาบสเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโภชนะ

แม้นั้นเสวยอยู่ ก็โกรธยิ่งขึ้น กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ฉันปลาและเนื้อ.

ครั้งนั้น ดาบสได้เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงทำภัตกิจเสร็จ

แล้ว ทรงล้างมือและเท้าประทับนั่งอยู่ ทูลว่า ข้าแต่ท่านกัสสปะผู้เจริญ ท่านตรัส

คำเท็จ ข้อนั้นไม่ใช่กิจของบัณฑิต ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายทรง

ติเตียนมุสาวาทไว้แล้ว แม้พวกฤาษีเหล่านั้นเหล่าใดยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย

มูลผลาผลในป่า อยู่ ณ เชิงเขา ฤาษีแม้เหล่านั้นก็ไม่ยอมพูดเท็จ เมื่อจะ

พรรณหาคุณทั้งหลายของฤาษีทั้งหลายด้วยพระคาถา จึงกล่าวว่า สามากจิงฺ-

คูลกจีนกานิ จ เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 93

ติญชาติและธัญชาติที่เข้าถึงซึ่งความเป็นสิ่งอันบุคคลขจัด (เปลือก

ออกเสียแล้ว) หรือว่าเลือกเอาแต่รวงทั้งหลายแล้วถือเอา ชื่อว่า ข้าวฟ่าง

ในคาถานั้น อนึ่ง ลูกเดือย (จิงฺคูลกา) มีรวงซึ่งมีสัณฐานเหมือนดอกกณวีระ.

ถั่วเขียว (จีนกานิ) ซึ่งเขาปลูกแล้ว เกิดขึ้นที่เชิงเขาในดง ชื่อว่า

จีนกานิ.

ใบไม้ (สีเขียว) อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปตฺตปฺผล.

เผือกมันอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มูลปฺผล.

ผลไม้และผลเถาวัลย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ควิปฺผล.

อีกประการหนึ่ง เผือกมัน ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า มูล.

ผลไม้และผลแห่งเถาวัลย์ ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า ผล.

ผลแห่งกระจับและแห้วเป็นต้น ซึ่งเกิดในน้ำ ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า

ควิปฺผล.

สองบทว่า ธมฺเมน ลทฺธ ความว่า ละมิจฉาชีพ มีการเป็นทูต

รับใช้ และการไปสื่อข่าว แล้วได้มาด้วยการท่องเที่ยวขอเขาเลี้ยงชีพ.

พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้สงบ ชื่อว่า สต.

บทว่า อสมานา ได้แก่ บริโภคอยู่.

ด้วยบาทพระคาถาว่า น กามกามา อลิก ภณนฺติ ฤๅษีย่อม

แสดงถึงการติเตียนต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการสรรเสริญฤๅษีทั้งหลายว่า

ฤๅษีทั้งหลายเหล่านั้น ไม่ยึดถือของของตน บริโภคอยู่ซึ่งข้าวฟ่างเป็นต้นเหล่านั้น

อยู่อย่างนี้ ย่อมไม่พูดคำเหลาะแหละเพราะปรารถนากาม คือว่าปรารถนากาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 94

อยู่ก็ไม่พูดคำเท็จ อย่างที่พระองค์ปรารถนากามทั้งหลายอันมีรสอร่อยเป็นต้น

เสวยกลิ่นดิบอยู่นั้นแล ก็ยังตรัสว่า พราหมณ์ เราหาบริโภคกลิ่นดิบไม่

ชื่อว่าตรัสคำไม่จริง (เหลาะแหละ) ดังนี้. พราหมณ์ครั้นติเตียนพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าด้วยการอ้างคำสรรเสริญฤๅษีทั้งหลายอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดง

เรื่องการติเตียนตามที่ตนประสงค์ จะติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยนิปปริยาย

จึงได้กล่าวว่า ยทสมาโน เป็นต้น.

อักษรในคาถานั้นเป็นการเชื่อมบท แต่เนื้อความมีดังต่อไปนี้ :-

เนื้อนกมูลไถหรือเนื้อนกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกระทำดีแล้วด้วยการ

บริกรรมในเบื้องต้น มีการล้างและการหั่นเป็นต้น สำเร็จดีแล้วด้วยการบริกรรม

ในภายหลัง มีการปรุงและการย่างเป็นต้น อันชนเหล่าอื่นผู้ใคร่ธรรมซึ่งสำคัญ

อยู่ว่า ท่านผู้นี้ไม่ใช่มารดา ไม่ใช่บิดา (ของเรา) แต่อีกอย่างหนึ่งแล ท่าน

ผู้นี้เป็นทักขิเณยยบุคคล ดังนี้ ได้ถวายไป ชื่อว่าตกแต่งดีแล้วในการการทำ

สักการะ.

ชื่อว่า ประณีต คือตกแต่งเรียบร้อย คือว่าประณีต เพราะเป็น

โภชนะมีรสเลิศ เพราะเป็นโภชนะมีโอชะ เพราะเป็นโภชนะที่สามารถจะนำมา

ซึ่งกำลังและไขมัน พระองค์เสวยอยู่ คือให้นำมาอยู่ คือว่าพระองค์เสวยเนื้อ

อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียวก็หามิได้ โดยที่แท้แล พระองค์เสวยข้าวสาลีแม้นี้

ได้แก่ ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีซึ่งได้เลือกกากออกแล้ว ดาบสเรียกพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าด้วยอ้างพระโคตรว่า ข้าแต่ท่านกัสสปะ พระองค์นั้นเสวยกลิ่นดิบ.

พระองค์เสวยอยู่ซึ่งเนื้อชนิดใดชนิดหนึ่ง และเสวยอยู่ซึ่งข้าวสาลีนี้ ข้าแต่ท่าน

กัสสปะ พระองค์ชื่อว่าเสวยกลิ่นดิบ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 95

ดาบสครั้นติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะอาหารอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะยกเรื่องมุสาวาทขึ้นติเตียน จึงกล่าวว่า น อามคนฺโธ ฯเปฯ สุสงฺขเตหิ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ดาบสเมือกล่าวบริภาษอยู่ว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม ผู้เว้นจากคุณของพราหมณ์ ข้า

แต่ท่านผู้เป็นพราหมณ์ผู้สมมติแต่เพียงชาติ พระองค์เป็นผู้ที่ข้าพระองค์ทูลถาม

ในกาลก่อนแล้ว พระองค์ก็ตรัสอย่างนี้ว่า คือว่าพระองค์ตรัสโดยส่วนเดียว

อย่างนี้ว่า กลิ่นดิบไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

บทว่า สาลีนมนฺน ได้แก่ ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี.

บทว่า ปริภุญฺชมาโน ได้แก่ บริโภคอยู่.

บาทคาถาว่า สกุนฺตมเสหิ สุสงฺขเตหิ ความว่า ดาบสกล่าวถึง

เนื้อนกซึ่งพระราชานำมาถวายแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าในครั้งนั้น ก็ดาบสเมื่อจะ

กล่าวอย่างนี้นั้นเอง จึงได้แหงนมองดูพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ใน

เบื้องล่างตั้งแต่ฝ่าพระบาทจนถึงปลายพระเกศาในเบื้องบน จึงได้เห็นความ

สมบูรณ์แห่งพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ประ-

การ รวมทั้งได้เห็นการแวดล้อมแห่งพระรัศมีที่ขยายออกไปวาหนึ่ง จึงคิดว่า

ผู้ที่มีกายประดับด้วยมหาปุริสลักษณะเป็นต้นเห็นปานนี้ ไม่ควรที่จะพูดเท็จ ก็

พระอุณาโลมนี้ ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างคิ้ว สีขาวอ่อนนุ่มคล้ายนุ่น และขนที่

ขุมขนทั้งหลาย เป็นอเนกเกิดขึ้นแก่ท่านผู้นี้. เพราะผลอันไหลออกแห่งสัจวาจา

แม้ในระหว่างภพนั่นเอง ก็บุคคลเช่นนี้นั้นจะพูดเท็จในบัดนี้ได้อย่างไร กลิ่น

ดิบของพระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้องเป็นอย่างอื่นแน่แท้ พระองค์ตรัสคำนี้หมายถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 96

กลิ่นอันใดว่า พราหมณ์เราหาได้บริโภคกลิ่นดิบไม่ ดังนี้ ไฉนหนอเราจะพึง

ถามถึงกลิ่นนั้น เป็นผู้มีมานะมากับเกิดขึ้นแล้ว เมื่อจะเจรจาด้วยอำนาจโคตร

นั้นเอง จึงกล่าวคาถาที่เหลือนี้ว่า :-

ข้าแต่ท่านกัสสปะ ข้าพระองค์ขอ

ถามเนื้อความนี้กะพระองค์ว่า กลิ่นดับของ

พระองค์มีประการเป็นอย่างไร ดังนี้.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแก้ถึงกลิ่นดิบแก่พราหมณ์นั้น

จึงตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า ปาณาติปาโต ดังนี้.

การฆ่าสัตว์ชื่อว่า ปาณาติบาต ในคาถานั้น. ในคำว่า วธจฺเฉท-

พนฺธน นี้ มีอธิบายว่า การทุบตีทำร้ายสัตว์ทั้งหลายด้วยท่อนไม้เป็นต้น ชื่อว่า

วธะ การทุบตี การตัดมือและเท้าเป็นต้น ชื่อว่า เฉทะ การตัด การจอง

จำด้วยเชือกเป็นต้น ชื่อว่า พันธนะ การจองจำ.

การลักและการพูดเท็จ ชื่อว่า เถยยะและมุสาวาท.

การให้ความหวังเกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักให้ เราจักกระทำ

แล้วก็ทำให้หมดหวังเสีย ชื่อว่า นิกติ การกระทำให้มีความหวัง.

การให้ผู้อื่นถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่ทองว่าเป็นทองเป็นต้น ชื่อว่า วัญจนา

การหลอกลวง.

การเล่าเรียนคัมภีร์เป็นอเนกที่ไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า อัชเฌนกุตติ

การเรียนคัมภีร์ที่ไร้ประโยชน์.

ความพระพฤติผิดในภรรยาที่ผู้อื่นหวงแหน ชื่อว่า ปรทารเสวนา

การคบหาภรรยาผู้อื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 97

บาทพระคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มสโภชน ความว่า ความ

ประพฤติด้วยอำนาจอกุศลธรรม มีปาณาติบาตเป็นต้นนี้ ชื่อว่า อามคันธะ

กลิ่นดิบ คือ เป็นกลิ่นทีมีพิษ เป็นกลิ่นดุจซากศพ. ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะไม่เป็นที่พอใจ เพราะคลุกเคล้าด้วยของไม่สะอาดคือ

กิเลส เพราะเป็นของที่สัปบุรุษทั้งหลายเกลียด และเพราะนำมาซึ่งความเป็น

กลิ่นที่เหม็นอย่างยิ่ง.

สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ซึ่งมีกิเลสอันบังเกิดขึ้นแล้ว ด้วยกลิ่นดิบ

ทั้งหลายเหล่าใด สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่งกว่า

กลิ่นดิบทั้งหลายเหล่านั้น แม้ร่างที่ตายแล้วของคนที่หมดกิเลสทั้งหลาย ก็ยัง

ไม่จัดว่ามีกลิ่นเหม็น เพราะฉะนั้น กลิ่นนี้ (คือการฆ่าสัตว์เป็นต้น ) จึงเป็น

กลิ่นดิบ ส่วนเนื้อและโภชนะที่ผู้บริโภคไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้รังเกียจ

(คือไม่สงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อตน) จัดเป็นสิ่งหาโทษมิได้ เพราะฉะนั้น เนื้อและ

โภชนะจึงไม่ใช่กลิ่นดิบเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวิสัชนากลิ่นดิบโดยนัยหนึ่ง ด้วยเทศนา

ที่เป็นธรรมาธิษฐานอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้น ๆ ประกอบ

ด้วยกลิ่นดิบทั้งหลายเหล่านั้น ๆ สัตว์ผู้หนึ่งเท่านั้น จะประกอบด้วยกลิ่นดิบ

ทุกอย่างก็หามิได้ และกลิ่นดิบทุกอย่าง จะประกอบกับสัตว์ผู้เดียวเท่านั้น ก็หา

มิได้ ฉะนั้นเมื่อจะทรงประกาศกลิ่นดิบเหล่านั้น ๆ แก่สัตว์เหล่านั้น เมื่อจะ

ทรงวิสัชนากลิ่นดิบด้วยเทศนาที่เป็นบุคคลธิษฐานก่อนโดยนัยว่า ชนทั้งหลาย

เหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมแล้วในกามทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น จึงได้ทรงภาษิต

พระคาถา ๒ พระคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 98

ในบาทพระคาถานั้น คาถาว่า เย อิธ กาเมสุ อสญฺตา ชนา

ความว่า ปุถุชนจำพวกใดจำพวกหนึ่งในโลกนี้ ไม่สำรวม เพราะทำลายความ

สำรวมเสียแล้ว ในกามทั้งหลายกล่าวคือการเสพกาม โดยการเว้นเขตแดนใน

ชนทั้งหลายมีมารดาและน้าสาวเป็นต้น.

สองบทว่า รเสสุ คิทฺธา ความว่า เกิดแล้ว คือเยื่อใยแล้ว สยบแล้ว

คือได้ประสบแล้ว ในรสทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยชิวหาวิญญาณเป็นผู้มีปกติ

เห็นว่าไม่มีโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภครสทั้งหลายอยู่.

บทว่า อสุจีกมิสฺสิตา ความว่า คลุกเคล้าด้วยของไม่สะอาด

กล่าวคือมิจฉาทิฏฐิมีประการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แก่การได้รส เพราะความติด

ในรสนั้น.

บทว่า นติถีกทิฏฺิ ความว่า ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ อย่าง

เช่น มิจฉาทิฏฐิข้อที่ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผลเป็นต้น.

บทว่า วิสมา ความว่า ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้น ที่ไม่สม่ำเสมอ.

บทว่า ทุรนฺนยา ความว่า เป็นผู้อันบุคคลอื่นแนะนำได้โดยยาก

ได้แก่ ผู้ที่ประกอบด้วยการไม่สละคืน การยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิที่ผิด ๆ.

บทว่า เอสามคนฺโธ ความว่า พึงทราบกลิ่นดิบที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าแสดงเฉพาะในบุคคล ด้วยคาถานี้ว่ามี ๖ ชนิด ด้วยอรรถที่

พระองค์ตรัสไว้ในตอนต้น แม้อื่นอีกว่า ความไม่สำรวมในกาม ๑ การติด

ในรส ๑ อาชีววิบัติ ๑ นัตถิกทิฏฐิ ๑ ความเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอในทุจริตมีกาย

ทุจริตเป็นต้น ๑ ความเป็นผู้แนะนำได้ยาก ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 99

คำว่า น หิ มสโภชน ความว่า ก็เนื้อและโภชนะหาใช่กลิ่นดิบ

ไม่ ด้วยอรรถตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้นั้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยแม้ในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

สองบทว่า เย ลูขสา ความว่า ชนเหล่าใด เศร้าหมอง ไม่มีรส

อธิบายว่า ประกอบตนไว้ในอัตตกิลมถานุโยค.

บทว่า ทารุณา ได้แก่ หยาบช้า กักขละ คือประกอบด้วยความ

เป็นผู้ว่ายาก.

บทว่า (ปร) ปิฏฺิมสิกา ความว่า ต่อหน้า ก็พูดไพเราะ แล้วก็

พูดติเตียนในที่ลับหลัง จริงอยู่ ชนทั้งหลายเหล่านี้ ไม่อาจจะแลดูซึ่งหน้าได้

เป็นราวกะว่าแทะเนื้อหลังของชนทั้งหลายลับหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียก

ว่า หน้าไว้หลังหลอก.

บทว่า มิตฺตทุพฺภิโน คือ ผู้ประทุษร้ายมิตร มีคำอธิบายว่า ปฏิบัติ

ผิดต่อมิตรทั้งหลายผู้ให้ความคุ้นเคย ในเรื่องภรรยา ทรัพย์ และชีวิต ใน

ที่นั้น ๆ.

บทว่า นิกฺกรุณา ความว่า ปราศจากความเอ็นดู คือต้องการให้

สัตว์ทั้งหลายพินาศ.

บทว่า อติมาโน ได้แก่ ประกอบด้วยการถือตัวจัด ดังที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า คนบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นผู้อื่นด้วยกระทบถึงชาติ

กำเนิด ฯลฯ หรือด้วยอ้างถึงวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ความถือตัวเห็นปานนี้

ใด ฯลฯ ความเป็นผู้มีจิตเหมือนกับธง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 100

บทว่า อทานสีลา คือ มีปกติไม่ให้ ได้แก่ มีจิตใจน้อมไปเพื่อไม่ให้

อธิบายว่า ไม่ยินดีในการจ่ายแจก.

หลายบทว่า น จ เทนฺติ กสฺสจิ ความว่า ก็เพราะเหตุที่มีปกติไม่

ให้นั้น แม้จะเป็นผู้ถูกขอก็ไม่ยอมให้อะไรแก่ใคร ๆ คือว่าเป็นเช่นกับด้วย

มนุษย์ในสกุลอทินนปุพพกะพราหมณ์ ย่อมจะเกิดเป็นนิชฌามตัณหิกเปรต

ในสัมปรายภพ.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาทานสีลา ดังนี้ก็มี ความว่า เป็นผู้มี

ปกติรับอย่างเดียว แต่ก็ไม่ยอมให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ.

บาทคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มสโภชน ความว่า ผู้ศึกษาพึง

ทราบว่ากลิ่นดิบที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเจาะจงบุคคลทั้งหลายด้วยคาถา

นี้มี ๘ ชนิด ด้วยอรรถตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในตอนต้นอื่นอีก

คือ ความเป็นผู้มีรสที่เศร้าหมอง ๑ ความทารุณ ๑ หน้าไหว้หลังหลอก ๑

ความเป็นผู้คบมิตรชั่ว ๑ การไร้ความเอ็นดู ๑ การถือตัวจัดหนึ่ง ๑ การมี

ปกติไม่ให้ ๑ และการไม่สละ ๑ เนื้อและโภชนะให้ใช้กลิ่นดิบเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัส ๒ พระคาถาด้วยเทศนาเป็นบุคลาธิษ-

ฐานอย่างนี้แล้ว ก็ได้ทรงทราบถึงการอนุวัตรตามอัธยาศัยของดาบสนั้นอีก จึง

ได้ตรัสพระคาถา ๑ (คาถา) ด้วยเทศนาที่เป็นธรรมาธิษฐาน.

ความโกรธในพระคาถานั้น ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าว

ไว้แล้วในอุรคสูตร ความมัวเมาแห่งจิต มีประเภทดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ในวิภังค์โดยนัยว่า ความเมาในคติ ความเมาในโคตร ความเมาใน

ความไม่มีโรค เป็นต้น ชื่อว่า มโท ความเมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 101

ความเป็นผู้แข็งกระด้าง ชื่อว่า ถมฺโภ ความเป็นคนหัวดื้อ.

การตั้งตนไว้ในทางที่ผิด ได้แก่การตั้งตนไว้ผิดจากพระดำรัสที่พระผู้

มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัยอันชอบธรรม ชื่อว่า ปจฺจุปฺปฏฺานา การตั้ง

ตนไว้ผิด.

การปกปิดบาปที่ตนกระทำไว้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าจำแนกไว้ใน

คัมภีร์วิภังค์ โดยนัยเป็นต้นว่า คนบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต ชื่อว่า

มายา หลอกลวง.

การริษยาในลาภสักการะของบุคคลอื่นเป็นต้นชื่อว่า อุสฺสุยา ริษยา.

คำที่บุคคลยกขึ้น มีการอธิบายว่า การยกตนขึ้น ชื่อว่า ภสฺสสมุสฺ-

โสโย การยกตน.

ความถือตัวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า คน

บางคนในโลกนี้ถือตัวว่าเสมอกับผู้อื่นในกาลก่อน ด้วยชาติกำเนิดเป็นต้น ฯลฯ

หรือด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่มาภายหลังยกตนว่าเสมอ ไม่ยอมรับว่าตน

เองเลวกว่าคนอื่น มานะเห็นปานนี้ใด ฯลฯ ความเป็นผู้มีจิตดุจธง ชื่อว่า

มานาติมาโน การถือตัว.

การสมาคมกับอสัปบุรุษทั้งหลาย ชื่อว่า อสพฺภิสนฺถโว การสมาคม

กับอสัตบุรุษ.

บาทพระคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มสโภชน ความว่า อกุศล

ราศี ๙ อย่างมีความโกรธเป็นต้นนี้ พึงทราบว่า เป็นกลิ่นดิบ โดยอรรถ

ตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในตอนต้นนั้นแล เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่น

ดิบเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 102

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ทรงแสดงกลิ่นดิบ ๙ อย่าง ด้วยเทศนาที่เป็น

ธรรมาธิษฐานอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงวิสัชนากลิ่นดิบด้วยเทศนาที่เป็นบุคลา-

ธิษฐานที่นัยตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแลแม้อีก จึงได้ทรงภาษิต

๓ พระคาถา.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เย ปาปสีลา ความว่า ชนเหล่าใด

ปรากฏในโลกว่ามีปกติประพฤติชั่ว เพราะเป็นผู้มีความประพฤติชั่ว.

การยืมหนี้แล้วฆ่าเจ้าหนี้เสียเพราะไม่ใช้หนี้นั้น และการพูดเสียดแทง

เพราะคำส่อเสียด ตามนัยที่กล่าวไว้ในวสลสูตร ชื่อว่า อิณฆาตสูจกา ผู้ฆ่า

เจ้าหนี้และพูดเสียดแทงเจ้าหนี้.

บาทคาถาว่า โวหารกูฏา อิธ ปาฏิรูปิกา ความว่า ชนทั้งหลาย

ดำรงอยู่แล้ว ในฐานะที่ตั้งอยู่ในธรรม (เป็นผู้ตัดสินความ) รับค่าจ้างแล้ว ทำ

เจ้าของให้พ่ายแพ้ ชื่อว่าผู้พูดโกง เพราะประกอบด้วยโวหารที่โกง ชื่อว่า

ปาฏิรูปิกา คนผู้หลอกลวง เพราะเอาเปรียบผู้ตั้งอยู่ในธรรม.

อีกประการหนึ่ง บทว่า อิธ ได้แก่ ในศาสนา.

บทว่า ปาฏิรูปิกา ได้แก่ พวกคนทุศีล.

จริงอยู่. เพราะเหตุคนทุศีลเหล่านั้น มีการสำรวมอิริยาบถให้งดงาม

เรียบร้อย เป็นต้น ซึ่งจะเปรียบได้กับท่านผู้มีศีล ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นคนผู้

หลอกลวง

บาทคาถาว่า นราธมา เยธ กโรนฺติ กิพฺพิส ความว่า ชนเหล่า

ใด เป็นคนต่ำทรามในโลกนี้ ย่อมกระทำกรรมหยาบช้า กล่าวคือการปฏิบัติผิด

ในมารดาและบิดาทั้งหลาย และในพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 103

บาทคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มสโภชน ความว่า กลิ่นชนิดนี้

ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยคาถานี้ อันตั้งอยู่แล้วในบุคคล เป็น

บุคลาธิษฐาน ผู้ศึกษาพึงทราบกลิ่นแม้อื่นอีก ๖ ชนิด โดยอรรถที่ข้าพเจ้า

กล่าวไว้แล้วในกาลก่อนว่า ความเป็นผู้มีปกติประพฤติชั่ว ๑ การกู้หนี้มาแล้ว

ไม่ใช้ ๑ การพูดเสียดสี ๑ การเป็นผู้พิพากษาโกง ๑ การเป็นคนหลอกลวง

๑ การกระทำที่หยาบช้า ๑ เนื้อและโภชนะไม่ใช่กลิ่นดิบเลย ดังนี้.

บาทคาถาว่า เย อิธ ปาเณสุ อสยตา ชนา ความว่า ชนเหล่า

ใดในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง เพราะประพฤติตามความอยาก

ชื่อว่าไม่สำรวมแล้ว เพราะไม่กระทำแม้สักว่าความเอ็นดูในสัตว์.

บาทคาถาว่า ปเร สมาทาย วิเหสมุยฺยุตา ความว่า ถือเอา

ทรัพย์หรือชีวิตอันเป็นของที่มีอยู่ของบุคคลอื่น ต่อแต่นั้นก็ประกอบการเบียด

เบียน โดยการใช้ฝ่ามือ ก้อนดิน และท่อนไม้ต่อชนทั้งหลายผู้อ้อนวอนหรือ

ห้ามอยู่ว่า "ท่านทั้งหลายอย่าทำอย่างนี้" ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง จับสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นได้แล้ว ก็ยึดถือไว้อย่างนี้ว่า

เราจะฆ่าสัตว์ ๑๐ ตัวในวันนี้ จะฆ่า ๒๐ ตัวในวันนี้ ดังนี้ แล้วก็ทำการ

เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้น ด้วยการฆ่าและการจองจำเป็นต้น.

บทว่า ทุสฺสีลลุทฺทา ความว่า ผู้ทุศีล เพราะประพฤติชั่ว และ

ชื่อว่าผู้ดุร้าย เป็นผู้มีการงานหยาบช้า เพราะเป็นผู้มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชน

ทั้งหลายผู้มีกรรมอันเป็นบาป มีชาวประมง นายพรานเนื้อและนายพรานนก

เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ในพระคาถานี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 104

บทว่า ผรุสา ได้แก่ มีวาจาหยาบคาย.

บทว่า อนาทรา ได้แก่ผู้เว้นจากความเอื้อเฟื้ออย่างนี้ว่า พวกเรา

จักไม่กระทำในบัดนี้ พวกเราเห็นบาปนี้ จักงดเว้น ดังนี้.

บาทคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มสโภชน ความว่า กลิ่นนี้

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยคาถานี้ ซึ่งตั้งอยู่แล้วในบุคคลทั้งที่ข้าพเจ้า

กล่าวไว้แล้ว และยังไม่ได้กล่าวโดยกาลก่อน เป็นต้นว่า การฆ่า การตัด

และการจองจำ ชื่อว่า ปาณาติบาต ดังนี้.

บัณฑิตพึงทราบ กลิ่นดิบ ๖ ชนิด คือ ความไม่สำรวมในสัตว์

ทั้งหลาย ๑ การเบียดเบียนสัตว์เหล่าอื่น ๑ ความเป็นผู้ทุศีล ๑ ความเป็นผู้

ร้ายกาจ ๑ ความเป็นผู้หยาบคาย ๑ ความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ๑ เนื้อและ

โภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในตอนต้นว่า ข้อนั้น

ท่านหาได้กล่าวไว้อีกด้วยเหตุทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า เพื่อปรารถนาจะฟัง

เพื่อการกำหนด เพื่อกระทำให้มั่นคง ไม่.

ก็เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสถึงเนื้อความนี้ไว้ข้าง

หน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์ ได้ตรัสบอกเนื้อความนี้อย่างนี้

บ่อย ๆ ชื่อว่าให้ผู้อื่นทราบเนื้อความนั้น.

บาทคาถาว่า เอเตสุ คิทฺธา วิรุทฺธาติปาติโน ความว่า กำหนัด

แล้ว ด้วยความกำหนัดในสัตว์เหล่านั้น โกรธแล้วด้วยโทสะ ไม่เห็นโทษด้วย

โมหะ และฆ่าสัตว์ด้วยการประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลายบ่อย ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 105

อีกอย่างหนึ่ง ราคะ โทสะ และโมหะ กล่าวคือ ความกำหนัด ความ

โกรธ และการฆ่าสัตว์เหล่าใด ชนทั้งหลายกำหนัด โกรธ และฆ่าสัตว์ด้วย

ราคะ โทสะ และโมหะเหล่านั้น ตามที่มันเกิดขึ้นในบาปกรรมทั้งหลาย ซึ่ง

ท่านกล่าวแล้วโดยนัยว่า การฆ่า การตัด และการจองจำในสัตว์เหล่านี้ ชื่อว่า

ปาณาติบาต.

บทว่า นิจฺจุยฺยุตา ความว่า ประกอบในอกุศลกรรมอยู่เป็นนิตย์

คือบางคราวพิจารณาแล้วก็ไม่งดเว้น.

บทว่า เปจฺจ ได้แก่ ไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น.

บาทคาถาว่า ตม วชนฺติ เย ปตนฺคติ สตฺตา นิรย อวสิรา

ความว่า ชนเหล่าใดไปสู่ที่มืด กล่าวคือ โลกันตริกนรกอันมืดมนอนธกาล

หรืออันต่างด้วยสกุลมีสกุลต่ำเป็นต้น และสัตว์เหล่าใด ผู้มีหัวตกลง ได้แก่

มีศีรษะตกลงไปเบื้องล่าง เพราะย่อมตกลงไปยังนรก อันต่างด้วยอเวจีนรก

เป็นต้น.

บทว่า เอสามคนฺโธ ความว่า กลิ่นดิบ ๓ ประเภทโดยอรรถตาม

ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว อันเป็นเค้ามูลแห่งกลิ่นดิบทั้งปวง อันต่างโดยความ

กำหนัด. ความโกรธ และการฆ่าสัตว์ เพราะเป็นเหตุให้สัตว์เหล่านั้นไปสู่ที่มืด

และตกนรก นี้ ชื่อว่า กลิ่นดิบ.

บทว่า น หิ มสโภชน ความว่า แต่เนื้อและโภชนะ ไม่ชื่อว่า

กลิ่นดิบเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 106

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวิสัชนากลิ่นดิบโดยปรมัตถ์ และทรง

ประกาศความที่กลิ่นดิบเป็นทางแห่งทุคติอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ดาบสมีความสำคัญ

ในปลาเนื้อและโภชนะใดว่าเป็นกลิ่นดิบ และมีความสำคัญว่าเป็นทางแห่ง

ทุคติ เป็นผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์ ด้วยการไม่บริโภคปลาและเนื้อนั้น จึง

ไม่ยอมบริโภคโภชนะ คือปลาและเนื้อนั้น เมื่อจะทรงแสดงซึ่งความที่เนื้อและ

โภชนะนั้นและโภชนะอื่น ๆ เห็นปานนั้น ไม่สามารถจะชำระตนให้บริสุทธิ์ได้

จึงตรัสคาถาที่ ๖ นี้ว่า น มจฺฉมส เป็นต้น.

ในคาถานั้น พึงเชื่อมบททั้งปวง (คือ บทว่า โสเธติ มจฺจ

อวิติณฺณกงฺข ย่อมไม่ยังสัตว์ผู้ข้ามความสงสัยไม่ได้ให้บริสุทธิ์ได้) ด้วยบท

สุดท้ายอย่างนี้ว่า การไม่กินปลาและเนื้อ มิได้ทำสัตว์ผู้ข้ามความสงสัยไม่ได้

ให้บริสุทธิ์ได้ การบวงสรวง การบูชายัญ และการซ่องเสพฤดู หาได้

ยังสัตว์ผู้ยังข้ามความสงสัยไม่ได้ให้บริสุทธิ์ได้ ก็ในข้อนี้ พระโบราณาจารย์

ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า คำว่า น มจฺฉมส ได้แก่ ปลาและเนื้อ มิได้

ทำบุคคลผู้ไม่บริโภคให้บริสุทธิ์ได้ การไม่บริโภคปลาและเนื้อก็ไม่อาจจะ

ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้เหมือนกัน ดังนี้เป็นต้น. ด้วยว่าการกล่าว อย่างนี้จะ

พึงดีกว่า (คือเข้าใจได้ง่ายกว่า) แม้พระบาลีก็มีอยู่ว่า การไม่กินปลากินเนื้อ

ย่อมไม่ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ คือว่า ความเป็นผู้ไม่บริโภคต่าง ๆ ซึ่งปลาและ

เนื้อย่อมไม่ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่บริโภคปลาและเนื้อ

ย่อมไม่ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 107

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านก็ทิ้งความเป็นผู้ไม่บริโภคเสีย ?

ตอบว่า ข้อนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะว่าการทรมานตน ที่เหลือ

ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วแม้ทั้งหมด ย่อมถึงการสงเคราะห์ในคำนี้ว่า เย วาปิ

โลเก อมรา พหู ตปา เพราะเหตุที่ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยการย่างกิเลส

เพื่อปรารถนาความเป็นเทวดา.

ความเป็นคนเปลือยกาย ชื่อว่า นคฺคิย.

ความเป็นคนโล้น ชื่อว่า มุณฺฑิย.

การเกล้าชฎาและการเป็นผู้หมักหมมด้วยธุลี ชื่อว่า ชฎาชลฺล.

เล็บและหนังเสือ ชื่อว่า ขราชินานิ.

การบำเรอไฟ ชื่อว่า อคฺคิโหตสฺสุปเสวนา.

ความเศร้าหมองทางกายอันเป็นไปแล้ว เพื่อปรารถนาความเป็น

เทวดา ชื่อว่า อมรา.

บทว่า พหู ได้แก่ เป็นอเนก โดยต่างด้วยการนั่งกระโหย่ง เป็นต้น

การย่างกิเลสทางกาย ชื่อว่า ตปา.

เวททั้งหลาย ชื่อว่า มนฺตา.

กรรม คือการบูชาไฟ ชื่อว่า อาหุติ.

ยัญ ที่ชื่อว่า อัสวเมธ เป็นต้น และการซ่องเสพฤดู ชื่อว่า

ยญฺมุตูปเสวนา.

การซ่องเสพสถานที่ร้อน ในฤดูร้อน การซ่องเสพรุกขมูล ในฤดูฝน

การซ่องเสพคือการเข้าไปสู่ชลาลัย ในฤดูหนาว ชื่อว่า การซ่องเสพฤดู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 108

บาทพระคาถาว่า น โสเธติ มจฺจ อวิติณฺณกงฺข ได้แก่ ย่อม

ไม่ทำสัตว์ผู้ยังข้ามความสงสัยไม่ได้ ให้บริสุทธิ์ ด้วยความบริสุทธิ์จากกิเลส

หรือด้วยความบริสุทธิ์จากภพ เพราะเมื่อยังมีมลทิน คือความสงสัย สัตว์ก็

เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ และตัวท่านเองก็ชื่อว่า ยังมีความสงสัยอยู่นั่นเอง.

ก็ในคาถานี้ มีอธิบายว่า คำว่า อวิติณฺณกงฺข นี้ พึงเป็นคำที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในเนื้อเกิดความสงสัยขึ้นแก่ดาบสว่า ทางแห่ง

ความบริสุทธิ์จะไม่พึงมี ด้วยเหตุมีการไม่บริโภคปลาและเนื้อเป็นต้น หรือ

หนอแล ดังนี้ เพราะได้ฟัง ซึ่งคำทั้งหลายมีคำเป็นต้นว่า นมจฺฉมส ดังนี้

ก็ความสงสัย ในพระผู้มีพระภาคเจ้า อันใด เกิดขึ้นแก่ดาบสนั้น เพราะฟังว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เสวยปลาและเนื้อดังนี้ คำนี้บัณฑิตพึงทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายถึงความสงสัยนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสบทแสดงความที่บุคคลไม่สามารถจะทำตน

ให้บริสุทธิ์ด้วยการไม่บริโภคปลาเนื้อเป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดง

พระธรรมที่สามารถจะทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า โสเตสุ

คุตฺโต เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสเตสุ ได้แก่ ในอินทรีย์ ๖.

บทว่า คุตฺโต ได้แก่ประกอบด้วยการคุ้มครองคือการสำรวมอินทรีย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงศีล ซึ่งมีอินทรีย์สังวรเป็นบริวาร ด้วยคำมี

ประมาณเท่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 109

สองบทว่า วิทิตินฺทฺริโย จเร ความว่า ทราบอินทรีย์ทั้ง ๖

ด้วยญาตปริญญา พึงประพฤติให้ปรากฏ อธิบายว่าพึงมี พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงการกำหนดนามรูปแห่งบุคคลผู้มีศีลอันบริสุทธิ์แล้ว ด้วยเหตุมี

ประมาณเท่านี้.

สองบทว่า ธมฺเน ิโต ได้แก่ ดำรงอยู่ในธรรมคืออริยสัจ ๔ อัน

จะพึงบรรลุได้ด้วยอริยมรรค.

ด้วยคำว่า ธมฺเม ิโต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึงภูมิ

แห่งพระโสดาบัน.

สองบทว่า อชฺชวมทฺทเว รโต ได้แก่ ยินดีแล้วในความเป็นคน

ตรง และในความเป็นคนอ่อนโยน. ด้วยคำว่า อชฺชวมทฺทเว รโต นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึงภูมิของพระสกทาคามี ด้วยว่าพระสกทาคามี

ยินดีแล้วในความซื่อตรงและในความอ่อนโยน เพราะความที่ท่าน ทำให้เบา

บางซึ่งกิเลสทั้งหลาย มีอันกระทำความคดกายเป็นต้น และทำราคะและโทสะ

อันกระทำความแข็งกระด้างแห่งจิต ให้เบาบางลง.

บทว่า สงฺคาติโค ได้แก่ ข้ามพ้นเครื่องข้องคือ ราคะและโทสะ

เสียได้. ด้วยบทว่า สงฺคาติโค นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงภูมิแห่ง

พระอนาคามี.

บทว่า สพฺพทุกฺขปฺปหีโน ความว่า ชื่อว่าละทุกข์ทั้งปวงเสียได้

เพราะละเหตุแห่งทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นเสียได้. ด้วยคำว่า สพฺพทุกฺขปฺปหีโน นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอรหัตภูมิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 110

บาทพระคาถาว่า น ลิมฺปติ ทิฏฺสุเตสุ ธีโร ความว่า ผู้นั้น

บรรลุแล้วซึ่งพระอรหัต โดยลำดับอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ เพราะถึง

พร้อมด้วยความเพียร ย่อมไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งหลาย ที่ตนเห็นแล้วและฟัง

แล้วด้วยการติดอย่างใดอย่างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เทศนาจบลงด้วยธรรมเทศนา ที่เป็นบุคลา-

ธิษฐาน อย่างเดียวก็หามิได้ แต่ให้จบลงด้วยยอดคือพระอรหัตทีเดียวว่า

บุคคลนั้นย่อมไม่คิดในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เห็น ทั้งที่ได้ฟัง และในธรรม

ทั้งหลาย ทั้งที่ตนทราบและได้รู้ จึงเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง

โดยแท้.

ต่อจากนี้ไปพระธรรมสังคีติกาจารย์ ได้กล่าว ๒ พระคาถาว่า

อิจฺเจตมตฺถ ดังนี้เป็นต้น.

ผู้ศึกษาพึงทราบ เนื้อความแห่งพระคาถานั้น ดังต่อไปนี้ :-

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่ากัสสปะ ได้ตรัสบอก คือตรัส

เนื้อความนี้ให้พิสดาร ด้วยเทศนาที่เป็นธรรมาธิษฐาน และที่เป็นบุคลา

ธิษฐานด้วยคาถาเป็นอเนกบ่อย ๆ จนกระทั่งดาบสนั้น ได้ทราบชัดดัง

พรรณนามาฉะนี้.

สามบทว่า น เวทยิ มนฺตปารคู ความว่า ก็ติสสพราหมณ์

แม้นั้น ผู้ถึงซึ่งฝั่งแห่งมนต์ คือผู้ถึงฝั่งเเห่งเวท ได้ทราบคือได้รู้ ซึ่งเนื้อความ

นั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 111

ตอบว่า เพราะพระมุนี ทรงประกาศด้วยคาถาทั้งหลายที่ไพเราะ

ทั้งโดยอรรถ ทั้งโดยบท ทั้งโดยกระแสแห่งเทศนา.

ถามว่า เป็นเช่นไร ?

ตอบว่า บุคคลที่ไม่มีกลิ่นดิบ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว

ตามรู้ได้ยาก ที่ชื่อว่าผู้ไม่มีกลิ่นดิบ ก็เพราะไม่มีกิเลสอันเป็นกลิ่นดิบ ที่ชื่อว่า

อสิตะ ก็เพราะไม่มีตัณหาและทิฏฐิเข้าไปอาศัย, ชื่อว่าเป็นผู้ตามรู้ได้ยาก

ก็เพราะใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะแนะนำได้ด้วยสามารถแห่งทิฎฐิในภายนอกว่า

สิ่งนี้ประเสริฐกว่า สิ่งนี้ประเสริฐ ดังนี้เป็นต้น

ก็ติสสพราหมณ์ฟังบทสุภาษิต ได้แก่ฟังพระธรรมเทศนา ที่ตรัส

ดีแล้ว ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงประกาศแล้วอย่างนี้ เป็น

ผู้มีใจนอบน้อม ได้แก่เป็นผู้มีจิตนอบน้อม ถวายบังคม พระผู้พระภาคเจ้า

ผู้ไม่มีกลิ่นดิบ คือผู้ไม่มีเครื่องข้องคือกิเลส ผู้บรรเทาความทุกข์ทั้งปวงเสียได้

ได้แก่ผู้บรรเทาความทุกข์ในวัฏฏะทั้งปวงเสียได้ แล้ว ถวายบังคมพระบาท

ของพระตถาคตเจ้าด้วยเบญจางคประดิษฐ์.

บาทคาถาว่า ตเถว ปพฺพชฺชมโรจยิตฺถ มีคำอธิบายว่า ติสสดาบส

ได้ทูลขอ คือได้ทูลอ้อนวอนขอ ซึ่งบรรพชา กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

พระนามว่ากัสสปะพระองค์นั้น ผู้ประทับนั่งบนอาสนะนั้นนั่นเอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะติสสดาบสนั้นว่า "เธอจงเป็นภิกษุ

มาเถิด" ดังนี้ ดาบสนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยบริขาร ๘ ในทันใดนั้นเอง

เป็นดุจพระเถระมีพรรษาตั้งร้อยมาทางอากาศถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 112

โดยการล่วงไป เพียง ๒-๓ วันเท่านั้น ก็ได้บรรลุสาวกบารมีญาณ ได้เป็น

อัครสาวก ชื่อว่า ติสสะ. (สาวกที่สองของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น)

ชื่อว่า ภารทวาชะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า (กัสสปะ) พระองค์นั้น จึงมีคู่

แห่งพระสาวก มีชื่อว่า ติสสะ และ ภารทราชะ ด้วยประการฉะนี้

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า แห่งเราทั้งหลาย ทรงนำพระคาถา ๑๔ พระ

คาถาแม้ทั้งสิ้น ที่ติสสพราหมณ์กล่าว ในตอนต้น ๓ คาถา ที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ ตรัส ในท่ามกลาง ๙ คาถา และที่พระสังคีติ-

กาจารย์ทั้งหลาย กล่าวในที่สุด ๒ คาถา ในกาลครั้งนั้น (พระองค์) ทรง

กระทำให้บริบูรณ์แล้ว ทรงพยากรณ์กลิ่นดิบแก่ดาบส ๕๐๐ มีอาจารย์เป็น

ประธาน อันชื่อว่า อามคันธสูตร นี้.

พราหมณ์อามคันธะนั้น ครั้นสดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ก็มีใจ

อ่อนน้อมเหมือนอย่างที่กล่าวแล้วนั้นแหละ ถวายบังคมที่พระบาทของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า (โคตมะ) ทูลขอบวชพร้อมกับ ด้วยบริษัท (ของตน) พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด ดาบสเหล่านั้น

ถึงความเป็น เอหิภิกขุ เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ เป็นดุจพระเถระมีพรรษา

ตั้งร้อยมาทางอากาศถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยเวลา ๒-๓ วัน เท่านั้น

ทุกท่านก็ได้ประดิษฐานอยู่ในพระอรหัต อันเป็นผู้ที่เลิศ ดังนี้แล.

การพรรณนาอามคันธสูตร แห่งอรรถถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา จบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 113

หิริสูตรที่ ๓

ว่าด้วยผู้มีหิริไม่มีบาป

[๓๑๖] บุคคลผู้ไม่มีหิริ เกลียดหิริ

กล่าวอยู่ว่าเราเป็นเพื่อนของท่าน ไม่เอื้อเฟื้อ

การงานแห่งมิตรของตน พึงรู้ว่า นั่นไม่ใช่

มิตรของเรา.

มิตรใดพูดวาจาน่ารัก แต่ไม่ประ-

กอบด้วยประโยชน์ในมิตรทั้งหลาย บัณฑิต

ย่อมกำหนดรู้ผู้นั้นว่า ไม่ทำตามคำพูด.

มิตรใดหวังความแตกกัน ไม่ประ-

มาท คอยหาความผิดเท่านั้น มิตรนั้นไม่

ควรเสพ ส่วนมิตรที่วางใจได้ เหมือนบุตร

ที่เกิดแต่อก ซึ่งผู้อื่นกล่าวเหตุตั้งร้อยอย่าง

พันอย่าง ก็ให้แตกกันไม่ได้ มิตรนั้นและควร

เสพ.

ความเพียร อันเป็นเหตุกระทำความ

ปราโมทย์ นำความสรรเสริญมาให้ นำสุข

มาให้ ผลานิสงส์อันนำธุระสมควรแก่บุรุษ

ไปอยู่ ย่อมเจริญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 114

บุคคลดื่มรสแห่งความอิ่มเอิบใน

ธรรม ดื่มรสอันเกิดแต่ความสงัดกิเลสและ

รสแห่งความสงบแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีความ

กระวนกระวายไม่มีบาป.

จบหิริสูตรที่ ๓

อรรถกถาหิริสูตรที่ ๓

หิริสูตร มีคำเริ่มต้นว่า หิรินฺตรนฺต ดังนี้.

ถามว่า มีเหตุเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า พระสูตรนี้มีเหตุเกิดขึ้น ดังต่อไปนี้ :-

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทั้งหลาย ยังไม่ทรงอุบัติขึ้น พราหมณ์

มหาศาลคนหนึ่ง ในเมืองสาวัตถี เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติถึง ๘๐ โกฏิ

ก็พราหมณ์นั้นมีบุตรอยู่ คนหนึ่งซึ่งเป็นที่รักเป็นที่พอใจ พราหมณ์นั้นเลี้ยงบุตร

ชายนั้นให้เจริญขึ้นด้วยอุปกรณ์ที่จะอำนวยความสุขนานัปการ ดุจเลี้ยงดู

เทวกุมารฉะนั้น ยังไม่ทันมอบทรัพย์สมบัตินั้นให้บุตรนั้นเลย ก็ได้ถึงแก่กรรม

ไปพร้อมกับนางพราหมณี.

ต่อจากนั้น โดยกาลล่วงไปแห่งมารดาบิดาของมาณพนั้น ผู้รักษา

เรือนคลัง ก็เปิดห้องทรัพย์สมบัติ เมื่อจะมอบทรัพย์สมบัติก็พูดว่า ท่านครับ

ทรัพย์นี้เป็นส่วนที่มีอยู่ของมารดาบิดาของท่าน ทรัพย์นี้เป็นส่วนที่มีอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 115

ของปู่ย่า (ตายาย) ทรัพย์นี้ตกมาถึงชั่ว ๗ สกุล ดังนี้. มาณพเห็นทรัพย์แล้ว

ก็ดำริว่า ทรัพย์นี้เท่านั้นยังปรากฏอยู่ ส่วนชนทั้งหลายผู้สั่งสมทรัพย์นี้ไว้หา

ปรากฏอยู่ไม่ (เขาเหล่านั้น) ทั้งหมดทีเดียวได้ตกไปยังอำนาจของพระยามัจจุ-

ราช และเมื่อไปอยู่ ก็หาได้นำอะไรจากโลกนี้ไปไม่ ทุกคนจำต้องละโภคสมบัติ

ทั้งหลายไปปรโลกกันอย่างนี้ เว้นจากสุจริตเสียแล้ว ใคร ๆ ก็ไม่อาจนำอะไร

ติดตัวไปได้ ไฉนหนอข้าพเจ้าจะพึงบริจาคทรัพย์นี้แล้ว ถือเอาทรัพย์คือสุจริต

ที่เราจะสามารถนำติดตัวไปได้ เขาเมื่อสละอยู่ซึ่งทรัพย์วันละแสนกหาปณะ ก็

ดำริอีกว่า ทรัพย์นี้ก็ยังเพียงพอ ประโยชน์อะไรด้วยการบริจาคอันมีประมาณ

น้อยอย่างนี้ ไฉนหนอเราพึงให้มหาทาน พราหมณ์นั้นกราบทูลแด่พระราชา

ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์มีทรัพย์ในเรือนอยู่จำนวนเท่านี้ ข้าพระองค์

ปรารถนาจะให้มหาทานด้วยทรัพย์นั้น ดังข้าพระองค์ขอวโรกาส ข้าแต่มหา-

ราชเจ้า ขอพระองค์จงรับสั่งให้ป่าวประกาศในพระนคร พระราชารับสั่งให้

กระทำอย่างนั้น พราหมณ์นั้นได้บรรจุภาชนะทั้งหลายของเหล่าชนผู้มาแล้ว

และมาแล้วให้เต็ม แล้วได้บริจาคทรัพย์ทั้งสิ้นโดยเวลา ๗ วัน ก็ครั้นบริจาค

แล้วจึงดำริว่า การกระทำการบริจาคใหญ่อย่างนี้แล้วอยู่ครองเรือนไม่สมควร

ไฉนหนอเราพึงบวช ต่อจากนั้นเขาจึงได้บอกเรื่องนี้แก่บริวารชน. บริวารชน

เหล่านั้น กล่าวว่า ข้าแต่นาย ท่านอย่าได้คิดว่าทรัพย์หมดสิ้นไปแล้ว พวก

ข้าพเจ้าจะทำการสั่งสมทรัพย์ ด้วยอุบายต่าง ๆ โดยใช้เวลาเล็กน้อยเท่านั้น

แล้วก็ขอร้องพราหมณ์นั้นโดยประการต่าง ๆ พราหมณ์นั้นไม่สนใจการขอร้อง

ของพวกบริวารชนเหล่านั้น ได้ออกบวชเป็นดาบส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 116

ในบรรดาดาบสเหล่านั้น ดาบสมีอยู่ ๘ จำพวกคือ

๑. สปุตตกภริยา ๒. อุญฺฉาจาริกา

๓. สมฺปตฺตกาลิกา ๔. อนคฺคิปกฺกิกา

๕. อสฺสมุฏฺิกา ๖. ทนฺตลุยฺยกา

๗. ปวตฺตผลิกา ๘. วณฺฏมุตฺตกา

ในดาบสทั้ง ๘ จำพวกนั้น ดาบสทั้งหลายมีเกณิยชฎิลเป็นต้น ซึ่ง

บวชพร้อมกับบุตรภรรยา แล้วเลี้ยงชีวิตด้วยเกษตรกรรมและวาณิชกรรมเป็น

ต้น ชื่อว่า สปุตฺตกภริยา

ดาบสทั้งหลายที่ให้สร้างอาศรมอยู่ที่ประตูพระนคร แล้วให้กุมารทั้ง

หลายมีกุมารของกษัตริย์และกุมารของพราหมณ์เป็นต้น ศึกษาศิลปะเป็นต้น

ไม่ยอมรับเงินทอง ถือเอาเฉพาะสิ่งของที่เป็นกัปปิยะ มีงาและข้าวสารเป็นต้น

ชื่อว่า อุญฺฉาจาริกา ดาบสจำพวก อุญฺฉาจาริกา เหล่านั้นดีกว่าดาบส

พวก สปุตฺตกภริยา

พวกดาบสที่รับอาหารในเวลาแห่งอาหาร (เท่านั้น) เลี้ยงชีวิตอยู่ ชื่อ

ว่า สมฺปตฺตกาลิกา ดาบสจำพวก สมฺปติตกาลิกา เหล่านั้นดีกว่าดาบส

จำพวก อุญฺฉาจาริกา

พวกดาบสที่เคี้ยวกินใบไม้และผลไม้ที่ไม่สุกด้วยไฟ เลี้ยงชีวิตอยู่ ชื่อว่า

อนคฺคิปกฺกิกา ดาบสจำพวก อนคฺคิปกฺกิกา เหล่านั้นดีกว่าดาบสจำพวก

สมฺปตฺตกาลิกา

พวกดาบสที่ถือก้อนหินเท่ากำมือ (และถือมีดและศัสตรา) เป็นต้น

อย่างอื่นใดเที่ยวไปอยู่ เคี้ยวกินเปลือกจากต้นไม้ที่ประสบเข้าเฉพาะหน้าใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 117

กาลที่ตนหิว อธิฐานองค์อุโบสถทั้งหลาย แล้วเจริญพรหมวิหาร ๔ อยู่ ชื่อ

ว่า อสฺสมุฏฺิกา ดาบสจำพวก อสฺสมุฏฺิกา เหล่านั้น ดีกว่าดาบสจำพวก

อนคฺคิปกฺกิกา

พวกดาบสผู้ไม่ถือก้อนหินเท่ากำมือเป็นต้น ใช้ฟันแทะซึ่งเปลือกไม้

จากต้นไม้ที่ประสบเข้าในเวลาหิว อธิษฐานองค์อุโบสถ เจริญพรหมวิหารอยู่

ชื่อว่า ทนฺตลุยฺยกา ดาบสจำพวก ทนฺตลุยฺยกา เหล่านั้น ดีกว่าดาบส

จำพวก อสฺสมุฏฺิกา.

พวกดาบสซึ่งอาศัยสระที่เกิดเอง (เช่นหนองบึงเป็นต้น) หรือไพรสณฑ์

อยู่ รากไม้อันใดมีรากแห่งภิงสะ (เหง้าบัว) เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในสระนั้น หรือ

ไม้อันใด ซึ่งมีอยู่ในเวลามีดอกในราวป่า หรือผลไม้อันใดซึ่งมีอยู่ในราวป่า

ในเวลามีผล ก็เคี้ยวกินรากดอกและผลนั้นนั่นเอง เมื่อดอกและผลไม่มี ก็

เคี้ยวกินโดยที่สุดแม้สะเก็ดของต้นไม้ในราวป่านั้น แต่ก็ไม่ยอมไปในที่อื่น

เพื่อประโยชน์แก่อาหารเลย ได้กระทำการอธิฐานองค์อุโบสถ และเจริญ

พรหมวิหารอยู่ ชื่อว่า ปวตฺตผลิกา ดาบสจำพวก ปวตฺตผลิกา เหล่านั้น

ดีกว่าดาบสจำพวก ทนฺตลุยฺยกา.

พวกดาบสที่เคี้ยวกินใบไม้ที่ตกที่พื้นดินอย่างเดียว ชื่อว่า วณฺฎ-

มุตฺตกา คำที่เหลือเป็นเช่นกับในก่อนนั้นเอง ดาบสจำพวก วณฺฎมุตฺตกา

เหล่านั้นประเสริฐกว่าดาบสทุกจำพวก.

ส่วนพราหมณ์กุลบุตรนี้ดำริว่า เราจักบรรพชา บรรพชาที่เลิศใน

บรรดาดาบสพรรพชาทั้งหลาย (การบวชเป็นดาบสทั้งหลาย) ดังนี้แล้วก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 118

บรรพชาเป็น วณฺฏมุตฺตกบรรพชา นั้นเอง ให้สร้างอาศรมเลยภูเขา ๒-๓

ลูกไปอยู่ในหิมวันตประเทศ.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงแสดงพระ

ธรรมจักรอันประเสริฐแล้ว เสด็จไปยังกรุงสาวัตถีโดยลำดับ ประทับอยู่ใน

พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกะในกรุงสาวัตถี.

ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง เสาะแสวงหาแก่น-

จันทน์เป็นต้นอยู่ที่ภูเขา ได้ไปถึงอาศรมของดาบสนั้น ไหว้ดาบสแล้วก็ยืน

อยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ดาบสนั้นเห็นเขาแล้วก็ถามว่า ท่านมาจากไหน. เขาตอบ

ว่า ผมมาจากกรุงสาวัตถี ขอรับ. ดาบสถามว่า ในกรุงสาวัตถีนั้นเหตุการณ์เป็น

อย่างไร. เขาตอบว่า ท่านขอรับ พวกคนในกรุงสาวัตถีนั้นไม่ประมาท พา

กันทำบุญทั้งหลายมีการให้ทานเป็นต้น.

ดาบสถามว่า พวกเขาได้ฟังโอวาทของใคร. เขาตอบว่า ของพระผู้

มีพระภาคพุทธเจ้า.

ดาบสรู้สึกงงงวยด้วยการฟังเสียงว่า พุทธะ จึงถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้

เจริญ ท่านพูดว่า พระพุทธเจ้าดังนี้หรือ ดาบสได้ถามถึง ๓ ครั้งโดยนัยที่

ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในอามคันธสูตรนั้นแล จึงดีใจว่า แม้เสียงนั้นแลก็หา

ได้ยาก ดังนี้ เป็นผู้ปรารถนาจะไปยังสำนักของพระผู้พระภาคเจ้า จึงดำริว่า

การไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างเปล่า ๆ หาควรไม่ เราจะพึงพาอะไร

หนอแลไป ดาบสนั้นจึงดำริอีกว่า ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายหาทรง

หนักในอามิสไม่ เอาเถิด เราจะนำธรรมบรรณาการไป ดังนี้แล้วจึงได้แต่ง

ปัญหา ๔ ข้อ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 119

๑. มิตรเช่นไรไม่ควรคบ ๒. มิตรเช่นไรควรคบ

๓. ความพยายามเช่นไรควรประกอบ ๔. รสอะไรเลิศกว่ารสทั้งหลาย

ดาบสนั้นพาปัญหาเหล่านั้นแล้ว มุ่งหน้าไปยังมัชฌิมประเทศ เดินไป

ถึงเมืองสาวัตถีโดยลำดับแล้ว เข้าไปยังพระเชตวัน แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็ประทับนั่งบนอาสนะ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนา ในสมัยนั้นอยู่ทีเดียว เขา

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วไม่ยอมไหว้ ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสคำที่บันเทิงใจ โดยนัยว่า ท่านฤาษี ท่านสบายดีหรือ ดังนี้เป็น

ต้น แม้ดาบสนั้นก็แสดงความชื่นชมตอบ โดยนัยว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ข้าพระองค์สบายดี (พอทนได้) ดังนี้แล้วจึงคิดว่า ถ้าหากท่านผู้นี้จักเป็นพระ

พุทธเจ้าไซร้ เมื่อเราทูลถามปัญหาด้วยใจ พระองค์ก็จะทรงแก้ด้วยวาจา ดัง

นี้ แล้วจึงทูลถามปัญหาเหล่านั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจเท่านั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าอันพราหมณ์ทูลถามแล้ว เพื่อจะแก้ปัญหาข้อต้นก่อน จึงทรงเริ่ม

ว่า หิรินฺตรนฺต เป็นต้น แล้วจึงตรัสอีกสองคาถาครึ่ง.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า หิรินฺตรนฺต ก้าวล่วงอยู่ซึ่งความละอาย คือไม่มีหิริ ได้แก่

ไม่มียางอาย.

บทว่า วิชิคุจฺฉมาน ได้แก่ เห็นว่าราวกะว่าสิ่งไม่สะอาด คนไม่มี

หิริย่อมเกลียดความละอาย ย่อมเห็นราวกะว่าของไม่สะอาด เพราะเหตุนั้น

บุคคลจึงไม่คบ คือไม่เข้าไปใกล้ชิด ซึ่งบุคคลผู้ไม่มีหิรินั้น เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิชิคุจฺฉมาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 120

บาทคาถาว่า สขาหมสฺมิ อิติ ภาสมาน ความว่า ผู้กล่าวอยู่โดย

นัยมีอาทิอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน ข้าพเจ้าเป็นสหายของท่าน ปรารถนาประโยชน์

ท่าน แม้ชีวิตของข้าพเจ้า ก็ยอมสละเพื่อท่านได้ ดังนี้.

บาทคาถาว่า สยฺหานิ กมฺมานิ อนาทิยนฺต ความว่า ก็แม้กล่าว

อย่างนี้แล้ว ก็ไม่เอื้อเฟื้อ คือไม่ตั้งใจเพื่อจะกระทำการงาน ของมิตรของตน

คือกรรมทั้งหลายของมิตรของตน.

อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ไม่การทำอยู่แม้สักว่าความเอื้อเฟื้อในการงาน

นั้นด้วยจิต แต่โดยที่แท้แล แสดงอยู่ซึ่งความเสื่อม (ฉิบหาย) ในกิจการทั้ง

หลายที่เกิดขึ้นเท่านั้น.

บาทคาถาว่า เนโส มมนฺติ อิติ น วิชฺญฺา ความว่า บุรุษผู้

เป็นบัณฑิตพึงทราบชัดซึ่งบุคคลนั้น คือคนเห็นปานนั้น อย่างนี้ว่า คนเช่นนี้

เป็นมิตรเทียม คนเช่นนี้หาใช่มิตรของเราไม่ ดังนี้.

บทว่า อนนฺวย ความว่า มิตรเทียมนั้น ย่อมพูดว่า เราจักให้

จักการทำประโยชน์อันใด ก็มิได้ติดตามประโยชน์อันนั้น (คือไม่ทำตามที่พูด)

หลายบทว่า ปิย วาจ โย มิตฺเตสุ ปกุพฺพติ ความว่า มิตร

ใด ปราศรัยถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วและยังไม่มาถึง ชื่อว่าสงเคราะห์อยู่ซึ่งสิ่งที่หา

ประโยชน์มิได้ ชื่อว่าย่อมยังวาจาที่รักให้เป็นไปในมิตรทั้งหลาย ด้วยเหตุสัก

ว่า เงาแห่งตัวอักษรอย่างเดียวเท่านั้น.

สองบาทคาถาว่า อกโรนฺต ภาสมาน ปริชานนฺติ ปณฺฑิตา

ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกำหนดรู้บุคคลนั้น คือบุคคลเห็นปานนั้น ผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 121

ไม่การทำตามคำที่ตนพูด พูดอยู่ด้วยวาจาอย่างเดียว อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ชื่อ

ว่า มีวาจาเป็นอย่างยิ่ง (ดีแต่ปาก) ไม่ใช่มิตร เป็นมิตรเทียม ดังนี้.

สองบาทคาถาว่า น โส มิตฺโต โย สทา อปฺปมตฺโต เภทาสงฺกี

รนฺธเมวานุปสฺสิ ความว่า ผู้ใดหวังแต่ความแตกร้าวเท่านั้น ไม่ประมาทอยู่

ทุกเมื่อ ด้วยมารยาทที่เรียบร้อย คือด้วยวาจาไพเราะที่ตนทำขึ้น ย่อมเเสวงหา

ซึ่งโทษเท่านั้น อย่างนี้ว่า สิ่งใดก็ตาม ที่บุคคลการทำแล้ว ด้วยไม่มีสติ ด้วย

ไม่มีมนสิการ หรือว่าไม่ได้กระทำด้วยความไม่รู้ บุคคลนั้นจักติเตียนเราเมื่อใด

เมื่อนั้นเราจักโต้ตอบเขา ด้วยการกระทำนั้น ดังนี้ มิตรนั้นบุคคลไม่ควรคบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวิสัชนาปัญหาแรกนี้ว่า "ไม่ควรคบมิตร

เช่นไร" ดังนี้อย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงวิสัชนาปัญหาที่สองจึงตรัสกิ่งพระคาถานี้

ว่า ยสฺมึ จ เสติ.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ก็บุตรนอนอยู่บนอกของบิดา ไม่

รังเกียจสงสัยเหตุทั้งหลายเป็นต้นว่า เมื่อเรานอนอยู่บนอกของบิดานี้ จะพึง

มีความทุกข์หรือความไม่สบายใจ จึงหมดความสงสัยนอนอยู่ ชื่อฉันใด ด้วย

การไว้ใจต่อมิตร มิตรกระทำอยู่ซึ่งความคุ้นเคย (ไว้วางใจ) ในภรรยา ทรัพย์

และชีวิตเป็นต้น หมดความสงสัยโดยความเป็นมิตรนั้นอยู่ ฉันนั้นเหมือน

กัน ก็มิตรใด ซึ่งผู้อื่นกล่าวเหตุตั้งร้อยอย่างพันอย่างก็ไม่แตกกัน มิตรนั้นแล

ควรคบ. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงวิสัชนาแม้ปัญหาที่สองว่า มิตรเช่นไร

ควรคบ ดังนี้แล้ว เพื่อจะทรงวิสัชนาปัญหาที่ ๓ จึงตรัสพระคาถาว่า ปา-

มุชฺชกรณ เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 122

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า บุคคลย่อมทำซึ่งความปราโมชด้วยการ

กระทำฐานะใด เหตุนั้นการการทำฐานะนั้นชื่อว่า ปามุชฺชกรณ เหตุที่

กระทำซึ่งความปราโมทย์.

บทว่า าน ได้แก่ เหตุ (ที่กระทำความปราโมทย์).

ถามว่า ก็เหตุนั้นคืออะไร ?

ตอบว่า เหตุนั้นคือความเพียร จริงอยู่ ความเพียรท่านเรียกว่า

ตัวสร้างความปราโมทย์ เพราะยังปิติปราโมทย์และความสุขที่อิงอาศัยธรรมให้เกิด

ขึ้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยอันเรา

กล่าวไว้ดีแล้วนี้ ผู้ใดปรารภความเพียรผู้นั้นย่อมอยู่เป็นสุข บุคคลย่อมนำมา

ซึ่งความสรรเสริญตัวเหตุใด เหตุนั้น ชื่อว่า ปสสาวหน เหตุนำมาซึ่งความ

สรรเสริญ.

ผลานิสงส์ที่หวังอยู่ย่อมยังผลอันเป็นสุขให้เจริญ คือ ให้วัฒนาด้วย

อุปจารแห่งผล เพราะนำมาซึ่งทิพยสุขและมนุษยสุขตั้งแต่ต้น (และ) นำมา

ซึ่งนิพพานสุขในที่สุด.

บาทพระคาถาว่า วหนฺโต โปริส ธุร ความว่า ถือเอาซึ่งภาระ

อันสมควรแก่บุรุษอยู่ ชื่อว่าทำฐานะ กล่าวคือความเพียรอันเป็นสัมมัปปธาน

ให้เจริญ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวิสัชนาปัญหาที่ ๓ อย่างนี้ว่า "ควร

เสพความพยายามเช่นไร" ดังนี้แล้ว เพื่อทรงวิสัชนาปัญหาที่ ๔ จึงตรัสคาถาว่า

ปวิเวกรส เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวิเวโก ความว่า ผลอันเลิศท่านเรียกว่า

รสแห่งวิเวกนั้น เพราะเกิดแต่ความสงัดจากกิเลส ผลอันเลิศซึ่งสัมปยุตด้วย

วิเวกนั้น ชื่อว่า สุข เพราะอรรถว่า ชื่นใจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 123

บทว่า อุปสมสฺส เป็นต้น ความว่า ผลอันเลิศนั้นนั่นเอง ชื่อว่า

รสแห่งธรรมปีติ เพราะเกิดขึ้นแล้วในที่สุดแห่งความสงบกิเลส หรือเพราะ

เป็นอารมณ์แห่งความสงบ กล่าวคือพระนิพพาน เพราะเหตุนั้นบุคคลดื่มแล้ว

ซึ่งผลอันเลิศนั้นนั่นเอง คือซึ่งรสแห่งวิเวกนั้น และซึ่งรสแห่งความสงบนั้น

เพราะเป็นรสแห่งปีติที่เกิดขึ้นแล้วแต่อริยธรรม หรือเกิดขึ้นแล้วในธรรม

กล่าวคือพระนิพพาน ชื่อว่าดื่มอยู่ซึ่งรสแห่งธรรมปีติ เป็นผู้ไม่มีความกระวน-

กระวาย ไม่มีบาป แม้ดื่มแล้วก็หมดความกระวนกระวาย เพราะไม่มีความ

กระวนกระวายแห่งกิเลส แม้ดื่มอยู่ก็ชื่อว่าไม่มีบาป เพราะคนละบาปได้แล้ว

เพราะฉะนั้น ผลอันเลิศคือรสแห่งวิเวกนี้ จึงเลิศกว่ารสทั้งหลาย.

แต่อาจารย์บางพวกประกอบว่า ธรรมเหล่านี้คือธรรม ๓ อย่าง มีรส

แห่งวิเวกเป็นต้นนั้นเอง ด้วยสามารถแห่งฌาน นิพพาน และปัจจเวกขณะ

และด้วยสามารถแห่งกายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก. บทก่อนนั้นแลดี.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงวิสัชนาปัญหาที่ ๔ อย่างนี้ ชื่อว่ายัง

เทศนาให้จบลงด้วยยอดคือพระอรหัต.

ในที่สุดแห่งเทศนา พราหมณ์ได้บรรพชาในสำนักของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า โดยวันเล็กน้อยเท่านั้น ก็ได้เป็นพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา

ดังนี้แล.

จบการพรรณนาหิริสูตร ในอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 124

มงคลสูตรที่ ๔

ว่าด้วยอุดมมงคล ๓๘

[๓๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วง

ไปแล้ว เทวดาคนหนึ่งมีรัศมีอันงดงามยิ่ง ทำพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง

ไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

[๓๑๘] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก

ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย

ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอุดมมงคล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาตอบว่า

การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑

การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล.

การอยู่ในประเทศอันสมควรมงคล ๑ ความ

เป็นผู้มีบุญอันทำไว้แล้วในกาลก่อน ๑ การ

ตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล.

พาหุสัจจะ ๑ ศิลปะ ๑ วินัยที่ศึกษา

ดีแล้ว ๑ วาจาสุภาษิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 125

การบำรุงมารดา ๑ การบำรุงบิดา ๑

การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่

อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล.

ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑ การ

สงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้

เป็นอุดมมงคล.

การงดเว้นจากบาป ๑ ความสำรวม

จากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทใน

ธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล.

การเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อม-

ตน ๑ ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑

การฟังธรรมตามกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล.

ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑

การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนา

ธรรมตามกาล ๑ นี้เป็นอุดมมลคล.

ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็น

อริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็น

อุดมมงคล.

จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลาย

ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก

๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็น

อุดมมงคล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 126

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายทำมงคล

เช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่

เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้

เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น.

จบมงคลสูตรที่ ๔

อรรถกถามงคลสูตรที่ ๔

คาถาที่ ๑ (มี ๓ มงคล)

มงคลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้ มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร.

ตอบว่า พระสูตรนี้ มีเหตุเกิดขึ้นดังต่อไปนี้.

ดังได้สดับมา ในชมพูทวีป มหาชนประชุมกันในที่ทั้งหลายมีประตู

พระนคร สันถาคาร (ห้องโถง) และที่ประชุมเป็นต้น ในที่นั้น ๆ แม้ให้เงิน

และทองแล้ว ก็ชวนกันและกันกล่าวพาหิรกถา มีเรื่องการลักนางสีดาเป็นต้น

มีประการต่าง ๆ เรื่องหนึ่ง ๆ กว่าจะจบลง ก็ใช้เวลาถึง ๔ เดือน ในบรรดา

พาหิรกถาเหล่านั้น มงคลกถาก็ตั้งขึ้นว่า อะไรหนอแล ชื่อว่า มงคล สิ่งที่เห็น

แล้วหรือ ชื่อว่า มงคล. สิ่งที่ฟังแล้วหรือ ชื่อว่า มงคล. สิ่งที่ได้ทราบแล้วหรือ

ชื่อว่า มงคล. ใครเล่ารู้จักมงคล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 127

ครั้งนั้น ชายคนหนึ่งชื่อว่า ทิฏฐมังคลิกะ พูดว่า ข้าพเจ้าย่อมรู้จัก

มงคล สิ่งที่เห็นแล้ว ชื่อว่า เป็นมงคลในโลก รูปที่สมมติกนว่าเป็นมงคลยิ่ง

ชื่อว่าสิ่งที่เห็นแล้ว คือ คนบางตนในโลกนี้ตื่นแต่เช้าตรู่ เห็นนกแอ่นลมบ้าง

เห็นต้นมะตูมหนุ่มบ้าง, หญิงมีครรภ์บ้าง, กุมารทั้งหลายซึ่งประดับตกแต่งแล้ว

บ้าง, หม้อน้ำที่เต็มบ้าง, ปลาตะเพียนสดบ้าง, ม้าอาชาไนยบ้าง, รถเทียมม้าอา-

ชาไนยบ้าง, โคอุสภะบ้าง, แม่โคบ้าง สีแดงบ้าง ก็หรือว่าเห็นรูปแม้อื่นใดที่

สมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่งเห็นปานนี้ นี้เขาเรียกกันว่า ทิฏฐมงคล.

คำของชายคนนั้น บางพวกก็ยอมรับ บางพวกก็ไม่ยอมรับ ชนพวก

ใดไม่ยอมรับ ชนพวกนั้นก็ถูกเถียงกับนายทิฏฐมังคลิกะนี้.

ครั้งนั้น ชายคนหนึ่งชื่อว่า สุตมังคลิกะ กล่าวว่า แน่ะผู้เจริญ ชื่อว่า

จักษุนี้ เห็นรูปที่ดีบ้าง ที่งามบ้าง ไม่งามบ้าง ที่ชอบใจบ้าง ที่ไม่ชอบใจบ้าง

ถ้าหากว่ารูปที่ตานั้นเห็นแล้วจักพึงเป็นมงคลไซร้ แม้รูปทุกชนิดก็พึงเป็นมงคล

รูปที่เห็นแล้วจึงไม่ใช่เป็นมงคล แต่อีกอย่างหนึ่งแล เสียงที่ฟังแล้ว (ต่างหาก)

เป็นมงคล (เพราะว่า) เสียงที่สมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่ง ชื่อว่าสิ่งที่ได้ฟังแล้ว

คือ คนบางคนในโลกนี้ลุกขึ้นแต่เช้าแล้ว ย่อมฟังเสียงว่า วัฑฒะ เจริญบ้าง,

ว่า วัฑฒมานะ เจริญอยู่บ้าง, ปุณณะ เต็มบ้าง, ปุสสะ ขาวบ้าง, สุมนา

ดอกมะลิบ้าง, สิริ มิ่งขวัญบ้าง สิริวัฒน์ เจริญด้วยมิ่งขวัญบ้าง, หรือว่า

วันนี้ฤกษ์ดี, ยามดี, วันดี, มงคลดี หรือฟังเสียงที่สมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่ง

อย่างใดอย่างหนึ่งเห็นปานนี้ นี้เขาเรียกกันว่า สุตมงคล คำแม้ของสุตมังคลิกะ

นั้น บางพวกก็ยอมรับ บางพวกก็ไม่ยอมรับ พวกใดไม่ยอมรับ พวกนั้นก็

ถกเถียงกับนายสุตมังคลิกะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 128

ครั้งนั้น ชายคนหนึ่งชื่อว่า มุตมังคลิกะ พูดว่า ท่านผู้เจริญ สิ่งที่ได้

ฟังนี้ บุคคลย่อมได้ฟังสิ่งที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง ถ้าหากสิ่งที่

ไดฟังนั้นเป็นมงคลไซร้ แม้ทุกสิ่งที่ได้ฟังก็เป็นมงคลหมด เพราะฉะนั้นสิ่งที่ได้

ฟังหาเป็นมงคลไม่ แต่อีกประการหนึ่งแล สิ่งที่ได้ทราบจัดว่าเป็นมงคล กลิ่น รส

โผฏฐัพพะ ที่สมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่ง ชื่อว่าสิ่งที่ได้ทราบเป็นมงคล คือบุคคล

บางคนในโลกนี้ ตื่นแต่เช้า สูดกลิ่นดอกไม้มีกลิ่นดอกปทุมบ้าง เคี้ยวไม้ชำระ

ฟันสีขาวบ้าง จับต้องแผ่นดินบ้าง จับต้องข้าวกล้าที่เขียวสดบ้าง จับต้องโคมัย

สดบ้าง จับต้องเต่าบ้าง จับต้องเกวียนบรรทุกงาบ้าง ดอกไม้บ้าง ผลไม้บ้าง

หรือว่า ย่อมลูบไล้ร่างกายอย่างดีด้วยดินขาว (ดินสอพอง) นุ่งผ้าสาฏกสีขาวบ้าง

โพกผ้าขาวบ้าง. ก็หรือว่าสูดกลิ่นแม้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่สมมติกันว่าเป็น

มงคลยิ่งเห็นปานนี้ หรือว่าลิ้มรส . . .หรือว่าถูกต้องโผฏฐัพพะ... นี้เขาเรียก

กันว่า มุตมงคล. คำของนายมุตมังคลิกะแม้นั้น บางพวกก็เชื่อถือ บางพวก

ไม่เธอถือ.

ในบรรดาคนเหล่านั้น นายทิฏฐมังคลิกะ ไม่อาจจะให้นายสุตมังคลิกะ

และนายมุตมังคลิกะยินยอมได้ หายสุตมังคลิกะก็ไม่อาจจะให้นายทิฏฐมงคลิกะ

และหายสุตมังคลิกะยินยอมได้ นายทิฏฐมังคลิกะและนายสุตมังคลิกะนอกนี้ก็

ไม่อาจให้นายมุตมังคลิกะยินยอมได้ ก็ในบรรดามนุษย์เหล่านี้ มนุษย์เหล่าใด

เชื่อถือคำของนายทิฏฐมังคลิกะ มนุษย์เหล่านั้นก็ลงสันนิษฐานกันว่า สิ่งที่

เห็นแล้วเท่านั้นเป็นมงคล มนุษย์เหล่าใดเชื่อคำของนายสุตมังคลิกะและ

นายมุตมังคลิกะ มนุษย์เหล่านั้นก็ลงสันนิษฐานว่า สิ่งที่ได้ฟังแล้วเท่านั้นเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 129

มงคล (หรือว่า) สิ่งที่ได้ทราบแล้วเท่านั้นเป็นมงคล ถ้อยคำปรารภมงคลนี้

ปรากฏไปทั่วแล้วในชมพูทวีปทั้งสิ้น ด้วยประการฉะนี้.

ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายในชมพูทวีปทั้งสิ้นรวมกันเป็นพวก ๆ คิด

มงคลทั้งหลายกันว่า "อะไรหนอแล เป็นมงคล" แม้อารักขเทวดาทั้งหลายของ

พวกมนุษย์เหล่านั้นฟังถ้อยคำนั้นแล้ว ก็คิดมงคลทั้งหลายกันเหมือนกัน ภุมม-

เทวดาทั้งหลายที่เป็นมิตรของเทวดาเหล่านั้นมีอยู่, ครั้งนั้น ภุมมเทวดาทั้งหลาย

ฟังจากเทวดาเหล่านั้นแล้ว ก็คิดมงคลทั้งหลายเหมือนกัน, อากาสัฏฐเทวดาที่

เป็นมิตรของภุมมเทวดาแม้เหล่านั้นก็มีอยู่...ฯลฯ เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา

ที่เป็นมิตรของอากาสัฏฐเทวดาก็มีอยู่ โดยอุบายนี้นั้นแล จนถึงอกนิษฐเทวดาที่

เป็นมิตรของสุทัสสีเทวดาก็มีอยู่ ครั้งนั้น แม้อกนิษฐเทวดาฟังจากสุทัสสีเทวดา

นั้นแล้ว ก็รวมกันเป็นพวก ๆ เหมือนอย่างนั้น คิดมงคลทั้งหลาย การคิดเรื่อง

มงคลเกิดขึ้นในที่ทุกแห่งจนถึงหมื่นจักรวาลด้วยประการฉะนี้. ก็การคิดเรื่อง

มงคลนั้น ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว แม้อันนักคิดทั้งหลายวินิจฉัยกันอยู่ว่า สิ่งนี้เป็น

มงคล ๆ ก็ไม่ถึงการตกลงกันได้เลย คิดกันอยู่สิ้นเวลา ๑๒ ปี พวกมนุษย์

พวกเทวดาและพวกพรหมทั้งปวง เว้นพระอริยสาวกทั้งหลาย แตกกันเป็น

๓ พวก คือ พวกทิฏฐมังคลิกะพวก ๑ พวกสุตมังคลิกะพวก ๑ พวกมุต-

มังคลิกะพวก ๑ ไม่มีใครแม้คนเดียวที่ชื่อว่าถึงการตัดสินใจได้ตามความเป็น

จริงว่า สิ่งนี้เท่านั้นเป็นมงคล ความโกลาหลเรื่องมงคลเกิดขึ้นแล้วในโลก.

ชื่อว่า โกลาหลมี ๕ อย่าง คือ กัปปโกลาหล ๑ จักกวัตติโกลา-

หล ๑ พุทธโกลาหล ๑ มังคลโกลาหล ๑ โมเนยยโกลาหล ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 130

ในบรรดาโกลาหลเหล่านั้น พวกเทพชั้นกามาวจร สนานเกล้า สยาย

ผม ร้องไห้น้ำตานองหน้า ใช้มือเช็ดน้ำตา นุ่งห่มผ้าสีแดง ถือเพศที่แปลก ๆ

อย่างยิ่ง เที่ยวบอกไปในถิ่นมนุษย์ว่า โดยกาลล่วงไปแสนปี กัปจักสิ้น โลกนี้

จักพินาศ และมหาสมุทรจักเหือดแห้ง มหาปฐพีนี้และภูเขาสิเนรุราช จักไหม้

พินาศ ความพินาศแห่งโลก จักมีถึงพรหมโลก แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย

ขอท่านทั้งหลายจงเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และเจริญอุเบกขาเถิด ท่าน

ทั้งหลายจงบำรุงเลี้ยงมารดาบิดา ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล จงตื่น

อย่าประมาท นี้ชื่อว่า กัปปโกลาหล.

เทวดาชั้นกามาวจรนั้นแหละ เทียวบอกไปในถิ่นมนุษย์ว่า โดยกาลล่วง

ไป ๑๐๐ ปี พระเจ้าจักรพรรดิ จักทรงอุบัติขึ้นในโลก นี้ชื่อว่า จักกวัตติ-

โกลาหล.

ส่วนเทพเจ้าชั้นสุทธาวาสทั้งหลาย ประดับประดาด้วยพรหมาภรณ์

กระทำผ้าโพกศีรษะสำหรับพรหมไว้บนเศียร เกิดปีติโสมนัสระลึกถึงพุทธคุณ

เที่ยวบอกไปในถิ่นมนุษย์ว่า โดยกาลล่วงไป ๑,๐๐๐ ปี พระพุทธเจ้าจักทรง

อุบัติขึ้นในโลก นี้ชื่อว่า พุทธโกลาหล.

พวกเทพเจ้าชั้นสุทธาวาสนั้นเอง ทราบวาระจิตของมนุษย์แล้ว ก็

เที่ยวบอกไปในถิ่นมนุษย์ว่า โดยกาลล่วงไป ๑๒ ปี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจัก

ตรัสมงคล นี้ชื่อว่า มังคลโกลาหล.

เทพเจ้าทั้งหลายชั้นสุทธาวาสนั้นแล เที่ยวบอกไปในถิ่นมนุษย์ว่า โดย

กาลล่วงไป ๗ ปี ภิกษุรูปหนึ่ง จักประชุมพร้อมกันกับพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วทูลถามโมเนยยปฎิปทา นี้ชื่อว่า โมเนยยโกลาหล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 131

ในบรรดาโกหาหลทั้ง ๕ ประการเหล่านี้ มังคลโกลาหลนี้ เกิดขึ้น

แล้วในโลก ในเมื่อพวกเทพดาและมนุษย์ทั้งหลายแตกกันเป็น ๓ พวก ด้วย

สามารถแห่งทิฏฐิมงคลเป็นต้น ครั้งนั้น เมื่อเทพเจ้าทั้งหลายและมนุษย์ทั้ง

หลายค้นหากันแล้ว ๆ ไม่ได้มงคลทั้งหลายอยู่ โดยล่วงไป ๑๒ ปี เทวดาทั้ง

หลายชั้นดาวดึงส์ ก็มาประชุมพร้อมกัน ติดร่วมกันอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้

นิรทุกข์ทั้งหลาย เจ้าของเรือน (พ่อเจ้าเรือน) ย่อมบอกเนื้อความแก่พวกชน

ในเรือน, นายบ้าน ย่อมบอกเนื้อความแก่ชนทั้งหลายผู้อยู่ในบ้าน, พระราชา

ย่อมตรัสบอกเนื้อความแก่พวกมนุษย์ทั้งปวง แม้ฉันใด ท้าวสักกะจอมเทพนี้

ซึ่งเป็นผู้เลิศและประเสริฐ คือเป็นอธิบดีแห่งเทวโลกทั้งสอง ด้วยบุญ ด้วยเดช

ด้วยความเป็นใหญ่ (และ) ด้วยปัญญา ไฉนหนอ พวกเราจะพึงบอกเนื้อความ

นี้แก่ท้าวสักกะจอมเทพฉันนั้นเหมือนกัน. เทวดาเหล่านั้นจึงพากันไปยังสำนัก

ของท้าวสักกะ ถวายบังคมท้าวสักกะจอมเทพ ผู้มีพระวรกายย้อนเป็นสิริประดับ

ด้วยฉลองพระองค์และอาภรณ์ แวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสร ๒ โกฏิกึ่ง ผู้ประ

ทับนั่งแล้วบนแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ที่โคนต้นปาริฉัตร ตามสมควรแก่

ขณะนั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กราบทูลเนื้อความนี้ว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอเดชะ ขอพระองค์พึงทราบเถิดว่า บัดนี้มงคลปัญหาได้

เกิดขึ้นแล้ว (คือ) เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งกล่าวว่า สิ่งที่เห็นแล้วเป็นมงคล

พวกหนึ่งกล่าวว่าสิ่งที่ได้ฟังแล้วเป็นมงคล อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า สิ่งที่ได้ทราบ

แล้วเป็นมงคล ในบรรดาทั้ง ๓ พวกนั้น พวกข้าพระองค์และพวกอื่น ก็ตก

ลงกันได้ ดังพวกข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระองค์ทรงพยากรณ์ (มงคล

ปัญหา) แก่พวกข้าพระองค์ตามความเป็นจริงเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 132

เทวราชแม้โดยปกติทรงมีปัญญา ตรัสถามว่า มงคลคาถานี้เกิดที่

ไหนก่อน. เทวดาทั้งหลายก็ทูลว่า พวกข้าพระองค์ได้ฟังมงคลปัญหานี้ ของ

พวกเทพชั้นจาตุมมหาราช ต่อจากนั้นเทวดาทั้งหลายก็ทูลว่า พวกเทพเจ้าชั้น

จาตุมมหาราชทั้งหลาย (ได้ฟังปัญหา) ของพวกอากาสัฏฐเทวดา พวกอากาสัฏฐ

เทวดาก็ได้ฟังปัญหาของพวกภุมมเทวดา พวกภุมมเทวดาก็ได้ฟังปัญหาของ

พวกเทวดาผู้รักษามนุษย์ พวกเทพยดาซึ่งรักษามนุษย์ก็กล่าวว่า ปัญหาตั้งขึ้น

แล้วในมนุษยโลก.

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพจึงตรัสถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า (ขณะ

นี้) ประทับอยู่ที่ไหน. พวกเทวดาทั้งหลายก็กราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ พระองค์

ประทับอยู่ในมนุษยโลก. ท้าวสักกะตรัสถามว่า ใครได้ทูลถามปัญหานั้นกะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. เทพยดาทั้งหลายทูลว่า ข้าแต่เทวะ ยังไม่มีใครทูล

ถาม. ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เพราะเหตุไรหนอแล พวกท่านจึงละเลย

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้แสดงมงคลที่ไม่มีส่วนเหลือ แล้วสำคัญเรา

ว่าเป็นผู้ควรถาม ชื่อว่าทิ้งไฟเสียแล้ว มาใช้แสงหิ่งห้อย ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์

ทั้งหลาย พวกท่านจงไป จงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พวก

ท่านก็จักได้การตอบปัญหาซึ่งมีสิริ (มีคุณค่า) อย่างแน่นอน.

ท้าวสักกะเทวราชจึงตรัสสั่งเทพบุตรองค์หนึ่งว่า ท่านจงทูลถามพระผู้-

มีพระภาคเจ้า เทพบุตรองค์นั้นประดับองค์ด้วยเครื่องอลังการตามสมควรขณะ

นั้น โชติช่วงอยู่ ประดุจสายฟ้า มีหมู่เทพแวดล้อมมายังพระมหาวิหารเชตวัน

กราบถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อจะทูลถาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 133

มงคลปัญหา จึงได้กล่าวด้วยคาถา. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแก้ปัญหา

นั้นของเทพบุตรนั้น จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.

เนื้อความแห่งคำทั้งหลายมีคำว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้นในพระสูตร

นั้นแต่โดยย่อ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาแห่งกสิภารทวาชสูตร

ส่วนชนทั้งหลายผู้ปรารถนาความพิสดาร พึงถือเอาเนื้อความโดยนัยอันข้าพเจ้า

กล่าวแล้ว ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อ ปปัญจสูทนี

ก็ในกสิภารทวาชสูตร ท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่

ในบ้านพราหมณ์ชื่อ เอกนาฬา ในทักขิณาคิรีชนบท ในแคว้นมคธ (แต่) ใน

มงคลสูตรนี้ ท่านกล่าวว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวัน อาราม

ของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี ข้าพเจ้าจักพรรณนาบทที่ไม่เคย

พรรณาในมงคลสูตรนี้ เริ่มต้นแต่บทว่า สาวตฺถิย เป็นต้นไป คือ

บทว่า สาวตฺถิย ได้แก่ ในพระนครซึ่งมีชื่ออย่างนี้.

ดังได้สดับมา นครนั้นได้เป็นสถานที่อยู่ของฤาษี ชื่อว่า สวัตถะ

นครนั้นชาวโลกเรียกว่า สาวัตถี ด้วยสามารถที่เป็นอิตถีลิงค์ เหมือนที่อยู่

ของฤาษีชื่อว่า กุสัมพะ ชาวโลกเรียกว่า โกสัมพี ที่อยู่ของฤาษีชื่อว่า กากัณฑะ

ชาวโลกเรียกว่า กากัณฑี ฉะนั้น แต่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายพรรณนาไว้ว่า

เพราะเหตุที่เมื่อชนทั้งหลายถามถึงกองเกวียนที่มารวมกันอยู่ ณ ที่นั้นว่า มี

สินค้าอะไรบ้าง ชนทั้งหลายก็ตอบว่ามีสินค้าทุกอย่าง เพราะฉะนั้น สถานที่นี้

ชาวโลกจึงเรียกว่า สาวัตถี หมายเอาคำนั้น. ในพระนครสาวัตถีนั้น. ด้วยคำว่า

สาวตฺถิย นี้ พระอานนทเถระแสดงถึงโคจรคามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 134

ราชกุมารชื่อว่า เชตะ มีอยู่ สถานที่นั้นชื่อว่า เชตวัน เพราะเป็น

ป่าของเจ้าเชตนั้น เนื่องจากเจ้าเช่นนั้นปลูกบำรุงให้เจริญไว้. ในพระเชตวัน

นั้น. คหบดีชื่อว่า อนาถบิณฑิกะ เพราะอรรถว่าเป็นผู้มีก้อนข้าวสำหรับคน

อนาถาทั้งหลาย. แห่งอนาถบิณฑิกะคหบดีนั้น. อธิบายว่า ในอารามที่คหบดี

ชื่อว่า อนาถบิณฑิกะ สร้างสำเร็จโดยการบริจาคทรัพย์ ๕๔ โกฏิ ด้วยคำว่า

อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม นี้เป็นอันพระอานนท์แสดงถึงที่อยู่อันสมควรแก่

บรรพชิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

ศัพท์ว่า อถ ใช้ในอรรถว่า ไม่กำหนดกาล (แน่นอน)

ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า แสดงถึงระหว่างแห่งอธิการ

ด้วยคำว่า อถ โข นั้น พระอานนท์แสดงถึงเวลาที่ไม่กำหนดนั้นแล ว่า ใน

ระหว่างอธิการนี้ เรื่องนี้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าในวิหารนั้น. ถาม

ว่า เรื่องนั้นคืออะไร. ตอบว่า เรื่องนั้นคือ เทวดาองค์ใดองค์หนึ่งเป็นต้น เกิด

ขึ้นแล้วในระหว่างแห่งอธิการ.

ในบรรดาคำทั้งสองนั้น คำว่า อญฺตรา เป็นการแสดงถึงสิ่งที่ไม่ได้

กำหนดแน่นอน จริงอยู่ เทวดาองค์นั้นไม่ปรากฏชื่อและโคตร เพราะฉะนั้น

พระอานนท์จึงกล่าวว่า อญฺตรา (เทวดา) องค์ใดองค์หนึ่ง เทวดาก็คือ

เทพเจ้านั่นเอง คำว่า เทวดา นี้ใช้ทั่วไปทั้งเทวดาผู้หญิงและผู้ชาย แต่ในพระ

สูตรนี้ เทวดาเป็นผู้ชายเท่านั้น. เทวบุตรองค์นั้น. แต่ท่านกล่าวว่า เทวดา

ดังนี้ เพราะเหตุไร. ตอบว่า เทวบุตรที่ท่านเรียกว่า เทวดา ก็ด้วยอำนาจ

สาธารณนาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 135

อภิกฺกนฺต ศัพท์ ในคำนี้ว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา ปรากฏใน

อรรถว่าสิ้นไป (ขยะ) ดี (สุนทร) งาม (อภิรูป) น่าชื่นชม (อัพภานุโมทนา)

เป็นต้น.

ในบรรดาคำเหล่านั้น อภิกฺกนฺต ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า สิ้นไป

ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค็ผู้เจริญ ราตรีล่วงไป

แล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์ก็นั่งอยู่นานแล้ว ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุ

ทั้งหลายเถิด ดังนี้.

อภิกฺกนฺต ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า ดี ในประโยคทั้งหลายมีอาทิ

อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ดีกว่า ประณีตกว่า บุคคลทั้ง ๔ จำพวกเหล่านี้.

อภิกฺกนฺต ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า งาม ในประโยคทั้งหลายมีอาทิ

อย่างนี้ว่า

ใครนะ มีผิวพรรณงามยิ่ง รุ่งเรือง

อยู่ด้วยฤทธิ์ ด้วยศ ส่องทิศทั้งปวงให้สว่าง

ไสวอยู่ ย่อมไหว้เท้าทั้งสองของเรา ดังนี้.

อภิกฺกนฺต ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า น่าชื่นชม ในประโยคทั้งหลาย

มีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าชื่นชม แต่ในมงคลสูตรนี้

อภิกนฺต ศัพท์ใช้ในอรรถว่า ขยะ สิ้นไป เพราะเหตุนั้น เมื่อราตรีล่วงแล้ว

อธิบายว่า เมื่อราตรีสิ้นแล้ว.

อภิกฺกนฺต ศัพท์ ในคำว่า อภิกนฺตวณฺณา นี้ ใช้ในอรรถว่างาม.

ส่วน วณฺณ ศัพท์ ปรากฎในอรรถทั้งหลายมีอรรถว่า ผิวพรรณ

(ฉวิ) การชมเชย (ถุติ) สกุลวงศ์ (กุลวัคคะ) เหตุ (การณะ) รูปร่าง

(สัณฐานะ) ประมาณ (ปมาณะ) และอายตนะคือสี (รูปายตนะ) เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 136

ในบรรดาอรรถเหล่านั้น วณฺณ ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า ผิวพรรณ

ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์มี

วรรณะเพียงดังทอง.

วณฺณ ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า การชมเชย ในประโยคทั้งหลาย

มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี การชมเชยพระสมณโคดมเหล่านี้ ท่าน

รวบรวมไว้ตั้งแต่เมื่อใด.

วณฺณ ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า สกุลวงศ์ ในประโยคทั้งหลายมีอาทิ

อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะเหล่านี้มีอยู่ ๔ จำพวก.

วณฺณ ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า เหตุ ในประโยคทั้งหลายมีอาทิ

อย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรหนอแล ภิกษุ จึงถูกเรียกว่า

เป็นผู้ขโมยกลิ่น.

วณฺณ ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า รูปร่าง ในประโยคทั้งหลายมี

อาทิอย่างนี้ว่า นิรมิตรูปแห่งพระยาช้างใหญ่.

วณฺณ ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า ประมาณ ในประโยคทั้งหลาย

มีอาทิอย่างนี้ว่า บาตรมี ๓ ขนาด.

วณฺณ ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า อายตนะคือสี ในประโยค

ทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า วรรณะ คันธะ รสะ โอชะ.

แต่ในมงคลสูตรนี้ วณฺณ ศัพท์นั้น พึงเห็นว่า ปรากฏในอรรถว่า

ผิวพรรณ.

เพราะเหตุนั้น เทพบุตรนั้นเป็นผู้มีวรรณะงามยิ่ง อธิบายว่า มี

ผิวพรรณงาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 137

เกวล ศัพท์ ในคำว่า เกวลกปฺป นี้ มีอรรถเป็นอเนก คือมีอรรถว่า

ไม่มีส่วนเหลือ อนวเสสะ, โดยมาก เยภุยยะ, ไม่เจือกัน อัพยามิสสะ

ไม่ใช่มาก อนติเรกะ, มั่นคง ทัฬหัตถะ, แยกจากกัน วิสังโยคะ เป็นต้น.

จริงอย่างนั้น เกวล ศัพท์นั้นมีอรรถว่า ไม่มีส่วนเหลือ ในประ-

โยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศ)

พรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง (ไม่มีส่วนเหลือ)

เกวล ศัพท์นั้นมีอรรถว่า เป็นไปโดยมาก ในประโยคทั้งหลาย

มีอาทิอย่างนี้ว่า ก็ชาวอังคะและชาวมคธะส่วนมากถือขาทนียะและโภชนียะเป็น

อันมากจักเข้าไปหา.

เกวล ศัพท์มีอรรถว่า ไม่เจือกัน ในประโยคทั้งหลายมีอาทิ

อย่างนี้ว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นย่อมมีได้.

เกวล ศัพท์มีอรรถว่า ไม่ใช่มาก ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่าง

นี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้ จักบรรลุคุณวิเศษ. เพราะอาศัยเหตุสักว่าศรัทธาอย่าง

เดียว แน่แท้.

เกวล ศัพท์มีอรรถว่า มั่นคง ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สัทธิวิหาริกของพระอนุรุทธะ ผู้มีอายุ ชื่อว่า พาหิกะ

ดำรงอยู่เพื่อทำลายสงฆ์ อย่างเดียว (มั่นคง).

เกวล ศัพท์มีอรรถว่า การแยกจากกัน ในประโยคทั้งหลายมี

อาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้อยู่แต่ผู้เดียว ท่านเรียกว่า บุรุษผู้สูงสุด.

แต่ในมงคลสูตรนี้ ท่านประสงค์เอา เกวล ศัพท์นั้นซึ่งมีอรรถว่า

ไม่มีส่วนเหลือ (ทั้งสิ้น).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 138

ส่วน กปฺป ศัพท์นี้ มีอรรถเป็นอเนก เป็นต้นว่า ความเชื่อถือ

อภิสัททหนะ, โวหาร โวหาระ, กาล กาละ, บัญญัติ บัญญัติ, การตัด

เฉทนะ, กำหนด วิกัปปะ, ข้ออ้าง เลสะ, โดยรอบ สมันตภาวะ เป็นต้น.

จริงอย่างนั้น กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า เชื่อถือ ในประโยคทั้งหลาย

มีอาทิอย่างนี้ว่า ข้อนั้นบุคคลพึงน้อมใจเชื่อ ต่อพระสมณโคดมผู้เจริญพระองค์

นั้น ซึ่งเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยประการใดแล.

กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า โวหาระ ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บริโภคผลไม้ ด้วยสมณกัปปะทั้ง ๕.

กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า กาละ ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

ได้ยินว่า โดยสมัยใด เราจักอยู่ตลอดกาลเป็นนิจ.

กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า บัญญัติ ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

เพราะเหตุนี้ พระกัปปะ ผู้มีอายุ.

กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า การตัด ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

เขาประดับตกแต่งแล้ว ตัดผม โกนหนวดแล้ว.

กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า กำหนด ในประโยคทั้งหลายอาทิมีอาทิอย่างนี้ว่า

กัปปะว่า ถ้าหากว่าตะวันคล้อยไปชั่ว ๒ องคุลี (ภิกษุวัชชีย่อมบัญญัติว่า)

ย่อมควรเพื่อฉันอาหารได้.

กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า ข้ออ้าง ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

ข้ออ้างเพื่อจะนอนมีอยู่.

กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า โดยรอบ ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้

ว่า ทำพระเวฬุวันโดยรอบทั้งสิ้นให้สว่างไสว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 139

แต่ในมงคลสูตรนี้ ท่านประสงค์เอา กปฺป ศัพท์ ในความหมายว่า

โดยรอบ.

เพราะเหตุนั้นในคำว่า เกวลกปฺป เชตวน นี้ พึงเห็นเนื้อความ

อย่างนี้ว่า ยังพระเชตวันทั้งสิ้นโดยรอบ.

บทว่า โอภาเสตฺวา ความว่า แผ่ไปแล้วด้วยแสงสว่าง อธิบายว่า

กระทำแล้วให้สว่างเป็นอันเดียวกัน คือให้โชติช่วงเป็นอันเดียวกัน ดุจ

พระจันทร์และพระอาทิตย์ ฉะนั้น.

คำว่า เยน ในคำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ เป็นตติยาวิภัตติ

ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ.

บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความในคำว่า ยตฺถ ภควา ตตฺถ อุปสงฺกมิ นี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่ใด ก็เข้าไปเฝ้าแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ในที่นั้น โดยกาลนั้น, อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในคำว่า เทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย พึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเหตุใด เทวบุตรก็เข้าเฝ้า

ด้วยเหตุนั้น ดังนี้

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า อันเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไป

เฝ้าโดยเหตุไร ? ตอบว่า เข้าไปเฝ้าแล้ว มีคำอธิบายว่า ไปแล้ว ด้วย

ความประสงค์ที่จะบรรลุคุณวิเศษที่ประการต่าง ๆ ดุจไม้ใหญ่ที่ผลิดอกอกผล

อยู่เป็นนิจ อันหมู่นกทั้งหลายเข้าไปหาอยู่ ด้วยประสงค์จะบริโภคผลที่อร่อย

ฉะนั้น. คำว่า อุปสงฺกมิตฺวา เป็นการแสดงถึงการสิ้นสุดแห่งการเข้าไปเฝ้า

อีกอย่างหนึ่ง เทวดานั้น ไปแล้วอย่างนี้ มีคำอธิบายว่า ไปแล้วสู่สถานที่อัน

ใกล้กว่า คือที่ใกล้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าต่อจากนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 140

คำว่า ภควนฺต อภิวาเทตฺวา ความว่า ถวายบังคมคือนอบน้อม

นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า.

คำว่า เอกมนฺต เป็นคำแสดงถึง นปุสกสิงค์ มีคำอธิบายว่า

ณ โอกาสข้างหนึ่ง คือ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า เอกมนฺต

เป็นทุติยวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ (แปลว่า ณ, ใน).

คำว่า อฏฺาสิ เป็นการปฏิเสธอิริยาบถอื่นมีการนั่งเป็นต้น อธิบายว่า

สำเร็จการยืน ได้แก่ เป็นผู้ยืนอยู่แล้ว. ถามว่า ก็เทวดานั้นยืนอย่างไร ?

ชื่อว่า ยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

ตอบว่า เทวดาเว้นแล้วซึ่งโทษ (๘ อย่าง) เหล่านี้คือ ไม่ยืนข้าง

หลัง ๑ ไม่ยืนข้างหน้า ๑ ไม่ยืนใกล้ ๑ ไม่ยืนไกล ๑ ไม่ยืนตรงหน้า ๑

ไม่ยืนเหนือลม ๑ ไม่ยืนต่ำกว่า ๑ ไม่ยืนสูงกว่า ๑ ชื่อว่า ยืนแล้ว ณ

ส่วนข้างหนึ่ง.

ถามว่า ก็เทวบุตรนี้ยืนเท่านั้น ไม่นั่ง เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะเทวดาทั้งหลายประสงค์จะกลับไว อธิบายว่า จริงอยู่

เทวดาทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์บางอย่างเท่านั้น จึงมายังมนุษยโลก ซึ่ง

เปรียบประดุจส้วมที่เต็มด้วยของไม่สะอาด ก็โดยปกติมนุษยโลกเป็นของปฏิกูล

แก่เทวดาเหล่านั้น เพราะเป็นสถานที่มีกลิ่นเหม็นนับจำเดิมแต่ ๑๐๐ โยชน์

พวกเทวดาจึงไม่ยินดีในมนุษยโลกนั้น เพราะเหตุนั้นเทวดานั้นทำธุระที่ตน

มาเสร็จแล้ว ก็ไม่ยอมนั่ง เพราะต้องการจะกลับไว ชนทั้งหลายย่อมนั่ง เพื่อ

จะบรรเทาความอ่อนเพลียแห่งอิริยาบถ อันเกิดจากการเดินเป็นต้น อันใด

ความเพลียอันนั้นของเทวดาทั้งหลายย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นเทวดาจึงไม่ยอมนั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 141

ก็มหาสาวกทั้งหลายเหล่าใด ยืนแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่แล้ว เทวดาก็

นับถือมหาสาวกเหล่านั้น จึงไม่นั่ง. อีกอย่างหนึ่ง เทวดาไม่ยอมนั่งเพราะ

เคารพในพระพุทธเจ้า ด้วยว่าเมื่อเทวดาทั้งหลายจะนั่ง อาสนะก็บังเกิดขึ้น

เทวดาไม่ปรารถนาอาสนะนั้นจึงไม่คิดแม้เพื่อจะนั่ง ได้ยืนอยู่แล้ว ณ ส่วน

ข้างหนึ่ง.

คำว่า เอกมนฺต ิตา โข สา เทวตา ความว่า เทวดานั้น

ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งแล ด้วยเหตุเหล่านี้อย่างนี้.

คำว่า ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ อธิบายว่า ได้ทูลแล้วกะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคำที่นิยมอักขระบท (คือด้วยคาถา).

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า พหู เป็นการแสดงการนับที่ไม่แน่นอน

มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายว่า ด้วยคำว่า พหู นั้น ย่อมมีร้อยเป็นอเนก มีพัน

เป็นอเนก มีแสนเป็นอเนก.

สัตว์โลกที่ชื่อว่า เทพ เพราะอรรถว่า ย่อมเล่น อธิบายว่า เทวดา

ทั้งหลายย่อมเล่นด้วยกามคุณ ๕ หรือว่าย่อมโชติช่วงด้วยสิริของตน อีกอย่าง

หนึ่ง เทวดามี ๓ ประเภท ด้วยอำนาจสมมติเทพ อุปัตติเทพ และวิสุทธิเทพ.

เหมือนอย่างที่พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ว่า คำว่า เทว ได้แก่เทพ ๓ ประเภท

คือ สมมติเทพ ๑ อุปปัตติเทพ ๑ วิสุทธิเทพ ๑ อธิบายว่า พระราชาทั้งหลาย

พระเทวีทั้งหลาย และพระราชกุมารทั้งหลาย พระราชกุมารีทั้งหลาย ชื่อว่า

สมมติเทพ. เทพในสวรรค์ชั้นนั้นๆ นับตั้งแต่เทพชั้นจาตุมมหาราชไป ชื่อว่า

อุปปัตติเทพ. พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า วิสุทธิเทพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 142

ในบรรดาเทพ ๓ จำพวกเหล่านั้น อุปปัตติเทพ ท่านประสงค์เอา

ในพระสูตรนี้.

สัตว์โลกที่ชื่อว่า มนุษย์ เพราะอรรถว่าเป็นเหล่ากอแห่งพระมนู ก็

พระโบราณาจารย์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า สัตว์โลกทั้งหลายที่ชื่อว่ามนุษย์ เพราะ

เป็นผู้มีใจสูง.

มนุษย์เหล่านั้นมี ๔ จำพวกคือ พวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ๑ พวก

มนุษย์ชาวอมรโคยาน พวกมนุษย์อุตตรกุรุ ๑ พวกมนุษย์ชาวปุพพวิเทหะ ๑

มนุษย์ชาวชมพูทวีป ท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้.

สัตว์ทั้งหลายย่อมถึงความเจริญด้วยเหตุเหล่านี้ เหตุนั้น เหตุเหล่านี้

จึงชื่อว่า มงคล อธิบายว่า ย่อมถึงความสำเร็จ คือความเจริญ.

คำว่า จินฺตยุ ได้แก่ คิดกันแล้ว.

คำว่า อากงฺขมานา ได้แก่ ปรารถนาอยู่ คือต้องการอยู่ หวังอยู่

บทว่า โสตฺถาน ได้แก่ ความสวัสดี มีคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ซึ่ง

ความมีอยู่แห่งคำทั้งหลายอันงาม คือดี คือสวย อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและ

สัมปรายภพทั้งปวง.

คำว่า พฺรูหิ ได้แก่ จงแสดง คือ จงประกาศ จงบอก จงเปิดเผย

จงจำแนก จงทำให้แจ้ง.

คำว่า มงฺคล ได้แก่ เหตุแห่งความสำเร็จ คือเหตุแห่งความเจริญ

ได้แก่ เหตุแห่งสมบัติทั้งปวง.

๑. ในบางแห่งว่า อปรโคยานทวีป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 143

คำว่า อุตฺตม ได้แก่ ประเสริฐ คือ เลิศ ได้แก่ นำมาซึ่งประโยชน์

สุขแก่โลกทั้งปวง นี้คือการอธิบายตามลำดับบทแห่งคาถา. ส่วนการประมวล

เนื้อความมีดังต่อไปนี้.

เทพบุตรนั้น เชิญเทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาลให้ประชุมกันใน

จักรวาลอันเดียวนี้ เพื่อต้องการจะฟังมงคลปัญหา ได้เห็นแล้วซึ่งเทวดา มาร

และพรหมทั้งปวง ผู้เนรมิตอัตภาพให้ละเอียด ประมาณเท่าปลายขนทราย

เส้นหนึ่ง เป็น ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ บ้าง ๓๐ บ้าง ๔๐ บ้าง ๕๐ บ้าง ๖๐ บ้าง

๗๐ บ้าง ๘๐ บ้าง ผู้ยืนแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งประทับนั่งเหนือ

บวรพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้แล้ว ผู้รุ่งโรจน์ก้าวล่วง (เทพ, มาร, และพรหม)

เหล่านั้น ด้วยพระสิริและพระเดช และได้ทราบถึงความปริวิตกแห่งใจของ

พวกมนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น แม้ที่ยังไม่ได้ทราบในสมัยนั้นด้วยใจ เพื่อจะถอน

เสียซึ่งลูกศรคือความสงสัยของเทพเจ้าและมนุษย์ทั้งปวง จึงได้ทูลว่า เทพเจ้า

เเละมนุษย์เป็นอันมาก หวังอยู่ซึ่งความสวัสดี คือปรารถนาความสวัสดีแห่งตน

จึงพากันคิดมงคลทั้งหลายข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เป็นผู้ซึ่งข้าพระองค์

ทูลถามแล้ว ตามความอนุมัติของเทพเจ้าเหล่านั้น และด้วยความอนุเคราะห์

ของมนุษย์ทั้งหลาย ขอจงตรัสบอกซึ่งมงคลอย่างสูงสุด คือว่าขอพระองค์ได้

อาศัยความอนุเคราะห์ต่อข้าพระองค์ทั้งหลาย โปรดตรัสบอกมงคลอันสูงสุด

เพราะจะนำประโยชน์สุขมาให้โดยส่วนเดียว แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ทั้งปวง

ทีเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำของเทพบุตรนี้อย่างนี้แล้ว จึงตรัส

พระคาถาว่า อเสวนา จ พาลาน เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 144

การไม่คบ คือการไม่เข้าไปนั่งใกล้ ชื่อว่า อเสวนา ในพระคาถา

นั้น. ในคำว่า พาลาน มีวิเคราะห์ว่า ชนทั้งหลายเหล่าใด ย่อมอ่อนแอ

เหตุนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่า คนพาล.

ถามว่า ย่อมอ่อนแอ เพราะเหตุไร ? ตอบว่า ชนทั้งหลายย่อม

เป็นอยู่สักว่าลมหายใจเข้าออก อธิบายว่า ไม่ได้เป็นอยู่ด้วยปัญญา. ซึ่งคนพาล

ทั้งหลายเหล่านั้น.

ในคำว่า ปณฺฑิตาน มีวิเคราะห์ว่า ชนทั้งหลายเหล่าใดย่อมดำเนิน

ไปด้วยปัญญา เหตุนั้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่า บัณฑิต อธิบายว่า ชนทั้งหลาย

ย่อมดำเนินไป ด้วยญาณคติในประโยชน์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน

ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ. ซึ่งบัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น.

การคบ คือการเข้าไปนั่งใกล้ ได้แก่ การมีบุคคลนั้นเป็นสหาย

การมีบุคคลนั้นเป็นเพื่อน ชื่อว่า เสวนา.

การทำสักการะ การทำความเคารพ การนับถือและการกราบไหว้

ชื่อว่า บูชา.

คำว่า ปูชเนยฺยาน หมายถึง ผู้ควรแก่การบูชา.

คำว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวบรวม

การกระทำทั้งหมดคือ การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคล

ที่ควรบูชา ๑ เข้าด้วยกันแล้วตรัสว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตม ข้อนั้นเป็นมง-

คลอันสูงสุด มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ท่านจงถือเอาในคำที่ท่านถามว่า

ขอพระองค์จงตรัสบอกมงคลอันสูงสุด ทั้ง ๓ นี้ ว่า เป็นมงคลอันสูงสุดก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 145

ดังนี้ก่อน นี้คือการอธิบายบทแห่งพระคาถานี้. ส่วนการอธิบายเนื้อความแห่ง

พระคาถานั้น ผู้ศึกษาพึงทราบอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับคำของเทพบุตรนี้ อย่างนี้แล้ว จึง

ตรัสพระคาถานี้ว่า อเสวนา จ พาลาน การไม่คบคนพาลทั้งหลาย

ดังนี้เป็นต้น.

ในข้อนี้มีกถา (ถ้อยคำที่ควรพูด) อยู่ ๔ ประการดังนี้คือ ปุจฉิตกถา ๑

อปุจฉิตกถา ๑ สานุสันธิกถา ๑ อนนุสันธิกถา ๑.

ในถ้อยคำทั้ง ๔ ประเภทนั้น ถ้อยคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อมีผู้

ทูลถามในปัญหาทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดม ผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน

ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ว่า ผู้ฟัง ทำอย่างไร จึงชื่อว่า เป็นผู้ฟังที่ดี

และว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านข้ามโอฆะได้อย่างไรหนอ ดังนี้ ตรัสตอบ

แล้ว ชื่อว่า ปุจฺฉิตกถา.

ถ้อยคำที่พระองค์ซึ่งไม่มีผู้ทูลถาม ปัญหาทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

สิ่งใดที่ชนพวกอื่นกล่าวว่าเป็นสุข สิ่งนั้นพระอริยเจ้ากล่าวว่าเป็นทุกข์ ดังนี้

ตรัสแล้ว ด้วยสามารถอัธยาศัยของตน (ผู้ฟัง) เท่านั้น ชื่อว่า อปุจฺฉิตกถา.

พระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้ทั้งปวงชื่อว่า สานุสนฺธิกถา

เพรา พระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลายเราจะแสดงธรรมที่มีเหตุซึ่งผู้ฟังอาจครองตาม

ให้เห็นจริงได้.

อนนุสนฺธิกถา (ถ้อยคำที่พูดขึ้นมาโดยไม่มีเหตุผล) ไม่มีใน

ศาสนานี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 146

ในบรรดากถาทั้งหลายเหล่านี้ มงคลกถานี้ชื่อว่า ปุจฉิตกถา เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเทวบุตรทูลถามแล้วได้ตรัสไว้ ดังพรรณนามานี้.

ก็ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในปุจฉิตกถา ดังต่อไปนี้ :-

ในบรรดาบุคคลทั้งหลายที่ควรคบและไม่ควรคบ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสบอกถึงบุคคลที่ไม่ควรคบก่อน แล้วตรัสบอกถึงบุคคลที่ควรคบในภายหลัง

เปรียบเหมือนบุรุษผู้ฉลาด เป็นผู้ฉลาดในหนทางและที่ไม่ใช่หนทาง เมื่อ

มีผู้ถามถึงทาง จึงได้บอกทางที่ควรละก่อน แล้วบอกทางที่ควรถือเอาในภาย

หลังนั้นว่า ในสถานที่ชื่อโน้นมีทางอยู่สองแพร่ง ในบรรดาทางทั้งสองนั้น

ท่านจงละทางซ้าย แล้วถือเอาทางขวา ฉะนั้น.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเช่นกับคนที่ฉลาดในหนทาง สมดังที่พระ-

ธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ดูก่อนติสสะ คำว่าบุรุษผู้ฉลาดในหนทางนี้แล

เป็นชื่อแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยว่าพระองค์ทรงฉลาดใน

โลกนี้ ฉลาดในโลกอื่น ฉลาดในบ่วงของมัจจุ ฉลาดในธรรมที่ไม่ใช่บ่วงของ

มัจจุ ฉลาดในบ่วงของมาร ฉลาดในธรรมที่มิใช่บ่วงของมาร พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเมื่อตรัสบอกถึงบุคคลที่ไม่ควรเสพก่อนจึงตรัสว่า อเสวนา จ พาลาน

การไม่คบคนพาลทั้งหลาย และเมื่อตรัสบอกบุคคลที่ควรเสพ จึงตรัสว่า

ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา การคบบัณฑิตทั้งหลาย.

ด้วยว่า พวกคนพาลอันบุคคลไม่ควรคบ คือไม่ควรเข้านั่งใกล้ก่อน

ราวกะว่าทางที่ควรเว้น ต่อจากนั้นก็ควรคบคือควรเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตทั้งหลาย

ดุจทางที่ควรถือเอา. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสมงคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 147

จึงได้ตรัสถึงการไม่คนพวกคนพาลก่อน (ตรัส) ถึงการคบบัณฑิตทั้งหลายใน

ภายหลัง. ตอบว่า เพราะเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถือเอาแล้วซึ่งความเห็น

อันเป็นมงคล ในมงคลทั้งหลายมีทิฏฐิมงคลเป็นต้นนี้ เพราะด้วยการเสพกับ

คนพาล และมงคลทิฏฐินี้ก็เป็นอัปมงคล ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรง

ติเตียนการคลุกคลีกับอกัลยาณมิตร ซึ่งหักรานประโยชน์ในโลกนี้ ในโลกอื่น

นั้น และเมื่อทรงสรรเสริญการคบกัลยาณมิตรผู้ทำประโยชน์ในโลกทั้งสองให้

สำเร็จ จึงได้ตรัสการไม่คบพวกคนพาลก่อน และตรัสการคบบัณฑิตทั้งหลาย

ในภายหลัง แก่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น.

สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบแล้วด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติบาต

เป็นต้นเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่า คนพาล. ในบรรดาคนพาลและบัณฑิต

ทั้งสองนั้น พวกคนพาลเหล่านั้น บัณฑิตจะพึงทราบได้ด้วยอาการ ๓ อย่าง

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล

มีพาลลักษณะ ๓ ประการเหล่านี้ ดังนี้

อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายเหล่านี้คือ ครูทั้งหกมีปูรณกัสสปเป็นต้น

ชนทั้งหลายมีพระเทวทัต พระโกกาลิกะ พระกฏโมสกติสสะ พระขัณฑเทวีบุตร

พระสมุททัตตะ และนางจิญจมาณวิกาเป็นต้น และพระภาดาของพระเจ้าทีฆวิท

ในอดีตกาล เเละสัตว์เห็นปานนี้เหล่าอื่น พึงทราบว่า คนพาล ชนเหล่านั้น

ย่อมทำตนเองและชนทั้งหลายที่ทำตามถ้อยคำของตนให้ถึงความพินาศ ด้วยตน

ที่ถือเอาผิดประดุจเรือนที่ถูกไฟไหม้ทั่วแล้วฉะนั้น เหมือนอย่างพระภาดาของ

พระเจ้าทีฆวิทมีอัตภาพประมาณ ๖0 โยชน์ นอนหงายตกไป อันไฟไหม้อยู่

๑. อัง. ติก. ๒๐/ ข้อ ๔๔๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 148

ในมหานรกสิ้น ๔ พุทธันดร และเหมือนอย่างสกุล ๕๐๐ สกุลซึ่งชอบใจทิฏฐิ

ของพระองค์เข้าถึงความเป็นสหายของพระองค์นั้นแหละไหม้อยู่ในมหานรก

สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายไฟพ้นจากเรือนไม้อ้อ

และเรือนหญ้าแล้วย่อมติดแม้เรือนยอด ซึ่งฉาบทาทั่วแล้ว ลมเข้าไม่ได้มีกลอน

ปิดสนิท หน้าต่างปิดแล้ว แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภัยทั้งหลายอย่างใด

อย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น ภัยเหล่านั้นทั้งหมดย่อมเกิดแต่คนพาล หาเกิดแต่บัณฑิต

ไม่ อุปัทวะทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ อุปสรรคทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง

ย่อมเกิดขึ้น อุปสรรคเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเกิดแต่คนพาล หาเกิดแต่บัณฑิตไม่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล คนพาลจึงเป็นผู้มีภัย บัณฑิตไม่มีภัย

คนพาลมีอุปัทวะ บัณฑิตไม่มีอุปัทวะ คนพาลมีอุปสรรค บัณฑิตไม่มีอุปสรรค

ฉันนั้นเหมือนกันแล.

อีกอย่างหนึ่ง คนพาลเป็นเช่นกับปลาเน่า บุคคลที่คนคนพาลนั้นเป็น

เช่นกับใบไม้ที่ห่อปลาเน่า คนพาลจึงถึงความเป็นผู้ที่วิญญูชนทั้งหลายจะพึง

ทิ้งเสีย และถึงความเป็นผู้ที่วิญญูชนทั้งหลายจะพึงรังเกียจ สมจริงดังคำที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

นรชนใดย่อมใช้ปลายหญ้าคาผูกซึ่ง

ปลาเน่า แม้หญ้าคาก็เหม็นเน่า มีกลิ่นฟุ้งไป

ฉันใด การคบคนพาลก็ฉันนั้น.

ก็แม้ อกิตติบัณฑิต เมื่อท้าวสักกะจอมเทพประทานพรอยู่ ก็ได้

กล่าวอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 149

บุคคลไม่พึงเห็น ไม่พึงฟังคนพาล

และไม่พึงอยู่ร่วมกับคนพาล ไม่ควรสนทนา

ปราศรัยกับคนพาล และไม่ควรพอใจการ

สนทนาปราศรัยกับคนพาล

(ท้าวสักกะตรัสถามว่า)

ดูก่อนกัสสปะ คนพาลได้ทำอะไร

ให้แก่ท่านแลหรือ ท่านจงบอกถึงเหตุ ดู

ก่อนกัสสปะ เพราะเหตุไร ท่านจึงชมต้อง

การเห็นคนพาล

(อกิตติดาบสตอบว่า)

(เพราะ) คนพาลมีปัญญาทราม ย่อม

แนะนำสิ่งที่ไม่ควรแนะนำ ย่อมประกอบใน

สิ่งที่ไม่ใช่ธุระ การแนะนำในทางที่ผิด ๆ

เป็นความประเสริฐ (ของคนพาล) คนพาล

แม้เขาพูดดี ๆ ก็โกรธ คนพาลนั้นย่อมไม่รู้

จักอุบายเครื่องแนะนำ การไม่เห็นคนพาล

นั้นเสียได้เป็นการดี.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงติเตียนการคบคนพาลโดยประการทั้งปวง

อย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า การไม่คบพวกคนพาลเป็นมงคล บัดนี้เมื่อจะตรัส

สรรเสริญการคบบัณฑิตจึงตรัส ปณฺฑิตานณฺจ เสวนา ว่าเป็นมงคล.

สัตว์ทั้งหลายที่ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติบาตเป็นต้น

จำพวกใดจำพวกหนึ่งชื่อว่า บัณฑิต ในบรรดาการคบคนพาลและบัณฑิตทั้ง

สองนั้น บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงทราบได้โดยอาการ ๓ อย่าง ดังที่ตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 150

ไว้ในพระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต มีบัณฑิตลักษณะอยู่ ๓ ประ-

การเหล่านี้ ดังนี้เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอสีติมหาสาวก

รวมทั้งสาวกของพระตถาคตเจ้าเหล่าอื่น และชนทั้งหลายมีสุเนตตดาบส มหา-

โควินทพราหมณ์ วิธูรบัณฑิต สรภังคดาบส มโหสถบัณฑิต สุตโสมบัณฑิต

พระเจ้านิมิราช อโยฆรกุมาร และอกิตติบัณฑิตเป็นต้น พึงทราบว่า บัณฑิต.

บัณฑิตเหล่านั้นเป็นผู้สามารถกำจัดภัยอุปัทวะและอุปสรรคทั้งปวงของ

พวกตน ผู้กระทำตามถ้อยคำของตน (บัณฑิต) ดุจการอารักขาในเวลามีภัย

ดุจประทีปในที่มืด และดุจการได้ข้าวและน้ำเป็นต้น ในเวลาที่ถูกความทุกข์

อันเกิดจากความหิวกระหายเป็นต้นครอบงำ ฉะนั้น.

จริงอย่างนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย นับไม่ถ้วน ไม่มีประมาณ

อาศัยแล้วซึ่งพระตถาคตถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ บางพวกดำรงอยู่ในพรหมโลก

บางพวกเกิดแล้วในเทวโลก สกุล ๘๐,๐๐๐ สกุลทำใจให้เลื่อมใสในพระสารีบุตร

เถระ อุปัฏฐากพระเถระด้วยปัจจัย ๔ บังเกิดแล้วในสวรรค์. สกุลทั้งหลาย

ทำใจให้เลื่อมใสแล้วในพระมหาสาวกทั้งปวงมีพระมหาโมคคัลลานะ และพระ-

มหากัสสปะเป็นต้นก็บังเกิดในสวรรค์เหมือนอย่างนั้น ชนทั้งหลายบางพวกซึ่ง

เป็นสาวกของสุเนตตศาสดาเท่านั้น บังเกิดแล้วในพรหมโลก บางพวกถึงความ

เป็นสหายของเทพทั้งหลายชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ฯลฯ หรือบางพวกถึงแล้วซึ่ง

ความเป็นสหายของคหบดีมหาศาล สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย ภัยย่อมไม่มีแต่บัณฑิต อุปัทวะย่อมไม่มีแต่บัณฑิต อุปสรรค

ย่อมไม่มีแต่บัณฑิต.

๑. อัง. ติก. ๒๐/ ข้อ ๔๔๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 151

อีกประการหนึ่ง บัณฑิตเช่นกับภัณฑะแห่งของหอมมีกฤษณาและ

ดอกไม้เป็นต้น บุคคลที่คบบัณฑิตนั้น เป็นเช่นกับด้วยใบไม้ที่ห่อของหอมมี

กฤษณาและดอกไม้เป็นต้น ย่อมถึงความเป็นผู้อันวิญญูชนทั้งหลายพึงสรรเสริญ

และความเป็นผู้เป็นที่ฟูใจแห่งวิญญูชนทั้งหลาย สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า

ก็นรชนใดย่อมใช้ใบไม้ห่อกฤษณา

แม้ใบไม้ทั้งหลาย มีหอมฟุ้งขจรไปฉันใด

การคบนักปราชญ์ก็ฉันนั้น.

ก็แม้อกิตติบัณฑิต เมื่อท้าวสักกะจอมเทพประทานพรอยู่ ได้กล่าว

อย่างนี้ว่า

บุคคลพึงเห็นนักปราชญ์ พึงฟังนัก-

ปราชญ์ พึงอยู่ร่วมดับนักปราชญ์ พึงกระทำ

การสนทนาปราศรัยกับนักปราชญ์นั้น และ

พึงชอบใจในการสนทนากับนักปราชญ์นั้น.

(ท้าวสักกะตรัสถามว่า)

ดูก่อนกัสสปะ นักปราชญ์ได้ทำอะไร

ให้แก่ท่านหรือหนอ ท่านจงบอกถึงเหตุ ดู

ก่อนกัสสปะ เพราะเหตุไร ท่านจึงปรารถนา

เห็นนักปราชญ์.

(อกิตติดาบสทูลสว่า)

เพราะนักปราชญ์เป็นผู้มีปัญญาย่อม

แนะนำอุบายที่ควรแนะนำ นักปราชญ์นั้น

ย่อมประกอบในสิ่งที่เป็นธุระ การแนะนำดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 152

เป็นความดีของนักปราชญ์นั้น นักปราชญ์นั้น

เขาพูดชอบก็ไม่โกรธ นักปราชญ์นั้นย่อมรู้

จักอุบายเครื่องแนะนำ การสมาคมกับนัก-

ปราชญ์นั้นจึงเป็นความดี.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงสรรเสริญการคบหาบัณฑิต โดย

ประการทั้งปวง จึงตรัสว่า การเสพบัณฑิตทั้งหลายเป็นมงคล ดังพรรณนามา

ฉะนี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงสรรเสริญการบูชาปูชนียบุคคลทั้งหลาย ผู้เข้าถึงแล้ว

ซึ่งภาวะที่ควรบูชาโดยลำดับ ด้วยการไม่เสพคนพาลทั้งหลาย และด้วยการ

เสพบัณฑิตทั้งหลายนั้น จึงตรัสว่า ปูชา จ ปูชนียาน เอตมฺมงฺคลมมุตฺตม

การบูชาปชนียบุคคลทั้งหลาย นี้เป็นอุดมมงคล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ชื่อว่าเป็น พุทธะ เพราะเว้นจากโทษ

ทั้งปวง และเพราะประกอบด้วยพระคุณทั้งปวง พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระ-

อริยสาวกทั้งหลาย ผู้มาในภายหลังแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปูชนีย-

บุคคล ในพระคาถานั้น ด้วยว่าการบูชาพระทักขิเณยยบุคคลเหล่านั้นแม้จะน้อย

ก็ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขตลอดกาลนาน ก็ในข้อนี้มีนายสุมนมาลาการ

เป็นต้นเป็นตัวอย่าง. ในเรื่องการบูชาบุคคลที่ควรบูชา นำความสุขมาให้ตลอด

กาลนานนั้น ข้าพเจ้าจะยกเรื่องเพียงเรื่องเดียวเป็นตัวอย่าง.

ดังได้สดับมา ในเวลาเช้าวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่ง (สบง)

เรียบร้อยแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต

ครั้งนั้นนายสุมนมาลาการ ถือดอกไม้ทั้งหลายเพื่อพระราชาผู้เป็นใหญ่ในแคว้น

มคธ กำลังไปอยู่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ยังผู้อื่นให้เลื่อมใส ผู้ควรเลื่อมใส

ผู้ประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ทรงรุ่งเรื่อง

อยู่ด้วยพุทธสิริ ผู้เสด็จถึงประตูพระนคร (พอดี) นายสุมนมาลาการนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 153

ครั้นเห็นแล้วก็ได้มีความดำริอย่างนี้ว่า พระราชาทรงรับดอกไม้ทั้งหลายแล้ว

จะพึงประทานทรัพย์ ๑๐๐ กหาปณะ หรือ ๑,๐๐๐ กหาปณะ (แก่เรา) ก็ทรัพย์

นั้นพึงเป็นความสุขยิ่งกว่าในโลกนี้ แต่การบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้ามีผลประมาณ

มิได้ นับมิได้ ย่อมนำความสุขมาสิ้นกาลนาน เอาเถิด เราจะบูชาพระผู้มี-

พระภาคเจ้า.

นายสุมนมาลาการนั้น มีใจเลื่อมใส ถือดอกไม้กำมือหนึ่ง ซัดไปแล้ว

เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดอกไม้ทั้งหลายไปทางอากาศ ได้เป็น

เพดานดอกไม้ ดำรงอยู่แล้วเบื้องบนรองพระผู้มีพระภาคเจ้า นายมาลาการ

เห็นอานุภาพนั้นแล้ว ย่อมมีใจเลื่อมใสยิ่งขึ้น ได้ซัดดอกไม้ไปอีกกำมือหนึ่ง

ดอกไม้เหล่านั้น ไปเป็นเกราะดอกไม้ดำรงอยู่แล้ว นายมาลาการซัดดอกไม้ไป

ถึง ๘ กำมือด้วยอาการอย่างนี้ ดอกไม้เหล่านั้นไปเป็นเรือนยอด. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ประทับอยู่แล้วภายในเรือนยอด หมู่มหาชนประชุมกันแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสรรเสริญนายมาลาการ จึงได้ทรงกระทำการแย้ม

พระโอษฐ์ให้ปรากฏ พระอานนทเถระคิดว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ทำการ

แย้มทั้งหลายให้ปรากฏ เพราะเรื่องมิใช่เหตุ มิใช่ปัจจัย ดังนี้แล้วจึงทูลถาม

ถึงเหตุที่ทำให้แย้มพระโอษฐ์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ นายมาลา-

การนี้ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสิ้นแสนกัป ในที่สุดก็จะได้เป็น

พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า สุมนิสสระ ด้วยอานุภาพแห่งหารบูชานี้.

ก็ในที่สุดแห่งพระวาจา เพื่อจะแสดงพระธรรมเทศนา จึงได้ตรัส

พระคาถานี้ว่า

บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อน

ในภายหลัง กรรมนั้นแลที่บุคคลทำแล้วเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 154

กรรมดี นายสุมนมาลาการเอิบอิ่มแล้วด้วย

กรรมใดย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมใด (กรรม

นั้นแล) อันบุคคลทำแล้วเป็นกรรมดี ดังนี้.

ในที่สุดแห่งคาถา สัตว์ทั้งหลาย ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม.

การบูชาปูชนียบุคคลเหล่านั้น แม้จะน้อยอย่างนี้ ก็พึงทราบว่า ย่อม

เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน ก็การบูชานั้นเป็นอามิสบูชาเท่านั้น (ยังให้

ผลถึงเพียงนี้) จะป่วยกล่าวไยถึงการปฏิบัติบูชา เพราะกุลบุตรเหล่าใด ย่อม

บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการถึงรัตนะ ด้วยการรับสิกขาบท ด้วยการ

สมาทานองค์อุโบสถ และด้วยคุณทั้งหลายของตนมีปาริสุทธิศีล ๔ เป็นต้น

ใครเล่าจักพรรณนาผล แห่งการบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นได้

ก็ชนทั้งหลายเหล่านั้นท่านกล่าวว่า ย่อมบูชาพระตถาคตเจ้าด้วยการบูชาอย่าง

ยิ่ง เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ ในมหาปรินิพพานสูตรว่า อานนท์ ภิกษุก็ดี

ภิกษุณีก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี คนใดแลปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมปฏิบัติ

สมควร มีปกติประพฤติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมสักการะ เคารพ นับถือ

บูชา ตถาคต ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง แม้การบูชาพระปัจเจกพุทธะ และพระ-

อริยสาวกทั้งหลาย ก็พึงทราบว่านำประโยชน์สุขมาให้เช่นกัน โดยทำนองเดียว

กับการบูชานี้.

อีกอย่างหนึ่ง (พึงทราบบุคคลผู้ควรบูชาในข้อนี้อย่างนี้ว่า) พี่ชายก็ดี

พี่หญิงก็ดี ชื่อว่าเป็นบุคคลที่ควรบูชาของน้องชายหรือน้องหญิง สำหรับ

คฤหัสถ์ทั้งหลาย, บิดามารดาเป็นบุคคลผู้ควรบูชา สำหรับบุตร, สามี แม่ผัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 155

พ่อผัว เป็นบุคคลผู้ควรบูชาสำหรับหญิงสาวในสกุลทั้งหลาย ด้วยว่าการบูชา

แม้ซึ่งบุคลเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นมงคลเหมือนกัน เพราะการบูชานั้น ท่านนับ

ว่าเป็นกุศลธรรม และเพราะการบูชานั้น เป็นเหตุแห่งความเจริญแห่งอายุเป็น

ต้น สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ชนเหล่าใดแล จักเป็นผู้เกื้อกูล

แก่มารดา เป็นผู้เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูลแก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ จัก

สมาทานประพฤติกุศลธรรมนี้อยู่ เพราะเหตุแห่งการสมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น

ชนเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง ดังนี้เป็นต้น

ด้วยพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๓ ประการคือ การ

ไม่คบคนพาลทั้งหลาน ๑ การคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

ทั้งหลาย ๑ ด้วยประการฉะนี้.

ในมงคลทั้ง ๓ ประการนั้น การไม่คบคนพาลทั้งหลาย พึงทราบว่า

เป็นมงคล เพราะป้องกันอันตรายมีภัยเป็นต้นเสียได้ เนื่องจากการคบคนพาล

เป็นปัจจัย และเพราะเป็นเหตุแห่งประโยชน์เกื้อกูลในโลกทั้งสอง การคบ

บัณฑิตทั้งหลาย และการบูชาทั้งหลาย พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุ

แห่งนิพพานและสุคติ โดยนัยที่ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ด้วยการพรรณนาผลและ

สมบัติของการบูชานั้น. แต่ว่าต่อจากนี้ไป ข้าพเจ้าจักไม่ได้แสดงมาติกาเลย

กำหนดมงคลได้ ณ ที่ใด ก็จักพรรณนาความเป็นมงคล ณ ที่นั้น.

จบการพรรณาเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า

อเสวนา จ พาลาน เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 156

คาถาที่ ๒ (มี ๓ มงคล)

พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้อันเทวดาทูลเชื้อเชิญเพื่อให้ตรัสมงคลเดียวว่า

ขอพระองค์จงตรัสบอกมงคลอันสูงสุด ดังนี้ อย่างนี้ ก็ตรัสถึง ๓ มงคล

ด้วยคาถาเดียว เหมือนบุรุษที่มีจิตใจกว้างขวาง เขาขอน้อย ก็ให้มากฉะนั้น

เพราะเหตุที่พระองค์ทรงปรารถนาจะให้เทวดาทั้งหลายได้สดับแม้ยิ่งขึ้นไปกว่า

นั้น และเพราะมงคลมีอยู่หลายอย่าง พระองค์จึงเริ่มตรัสถึงมงคลทั้งหลายเป็น

อเนก แม้อีก ด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า ปฏิรูปเทสวาโส จ ดังนี้เป็นต้น

เพราะความที่พระองค์เป็นผู้ปรารถนาจะชักนำสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นไว้ในสิ่งที่

เป็นประโยชน์เกื้อกูลนั้น ๆ อันเป็นมงคล.

ในพระคาถาที่ ๒ นั้น ข้าพเจ้าจะได้พรรณาบทคาถาที่ ๑ ก่อน. คำว่า

ปฏิรูโป แปลว่า สมควร. บ้านก็ดี นิคมก็ดี นครก็ดี ชนบทก็ดี หรือโอกาส

เป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลายแห่งใดแห่งหนึ่ง ชื่อว่า เทสะ.

การอยู่ในประเทศนั้นชื่อว่า วาสะ.

บทว่า ปุพฺเพ ได้แก่ กาลก่อน คือ ในชาติทั้งหลายที่ล่วงมาแล้ว.

ความเป็นผู้มีกุศลอันสั่งสมไว้แล้วชื่อว่า กตปุญฺตา.

จิตท่านเรียกว่า อัตตา อีกอย่างหนึ่ง อัตภาพทั้งสิ้น ท่านก็เรียกว่า

อัตตา.

การตั้งความปรารถนา อธิบายว่า การประกอบไว้ คือการวางไว้

ซึ่งตนนั้นโดยชอบ ชื่อว่า สัมมาปณิธิ.

คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นแหละ ดังนี้แล. นี่คือการ

พรรณนาเฉพาะบทในคาถานี้ ส่วนการพรรณนาเนื้อความ พึงทราบดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 157

ที่ชื่อว่า ปฏิรูปเทส ได้แก่ประเทศใดที่บริษัททั้ง ๔ เที่ยวไป ประ-

เทศที่บุญกิริยาวัตถุทั้งหลายมีทานเป็นต้นย่อมเป็นไป ประเทศที่นวังคสัตถุศาสน์

ย่อมรุ่งเรือง การอยู่ในปฏิรูปเทสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล

เพราะเป็นปัจจัยแห่งการบำเพ็ญบุญของสัตว์ทั้งหลาย ก็ในข้อนี้มีเรื่องของชาว

ประมงผู้เข้าไปสู่เกาะสิงหลเป็นต้นเป็นตัวอย่าง.

อีกนัยหนึ่ง ที่ชื่อว่าปฏิรูปเทส ได้แก่ ประเทศ คือ (โพธิมณฑล)

ควงแห่งต้นโพธิเป็นที่ตรัสรู้แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประเทศที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแสดงพระธรรมจักร ประเทศ คือควงแห่งต้นคัณฑามพพฤกษ์ที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงเแสดงยมกปาฏิหาริย์ทรงทำลายความมัวเมาของเดียรถีย์ทั้งปวง

ในท่ามกลางบริษัท (ซึ่งมาประชุมกันในเนื้อที่) ถึง ๑๒ โยชน์ ประเทศที่เสด็จ

ลงจากเทวโลก (ที่สังกัสสนคร) ก็แม้หรือว่า ประเทศอื่นใดอันเป็นที่ประทับ

ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีเมืองสาวัตถีและเมืองราชคฤห์เป็นต้น การอยู่ใน

ปฏิรูปเทสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็น มงคล เพราะเป็นปัจจัยให้

ได้อนุตตริยะ ๖ ประการ.

อีกนัยหนึ่ง (ที่ชื่อว่าปฏิรูปเทส) ได้แก่ประเทศ ในทิศตะวันออก

มีนิคมชื่อว่า กชังคละ ต่อจากนิคมนั้นไปเป็นบ้านมหาสาลา ต่อจากบ้านมหา

สาลานั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ.

ในทิศอาคเณย์ (ปุรตฺถิมทกฺขิณาย อนุทิสาย) มีแม่น้ำชื่อว่า

สัสลวดี ต่อจากแม่น้ำสัลลวดีนั้นไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิม-

ประเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 158

ในทิศใต้ (ทกฺขิณาย ทิสาย) มีนิคนชื่อว่าเสตะกัณณิกะ ถัดจาก

นิคมนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ

ในทิศตะวัน (ปจฺฉิมาย ทิสาย) มีร้านพราหมณ์ชื่อ ถูนะ

ถัดจากบ้านพราหมณ์ชื่อถูนะไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิม

ประเทศ.

ในทิศอุดร (เหนือ) (อุตฺตราย ทิสาย) มีภูเขาชื่อว่า อุสีรัทธชะ

ต่อจากภูเขานั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ.

มัชฌิมประเทศนี้ยาว ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์ วัด โดยรอบได้

๙๐๐ โยชน์มัชฌิมประเทศน์ ชื่อว่า ปฏิรูปเทส.

พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็นอิสริยาธิบดี แห่งทวีปใหญ่ ๔ ทวีปและทวีป

น้อย ๒,๐๐๐ ทวีป ก็ทรงอุบัติไหมัชฌิมประเทศนี้ พระมหาสาวกทั้งหลาย มี

พระสารีบุตรและพระโมคัลคัลลาน์เป็นต้น ซึ่งบำเพ็ญบารมีหนึ่งอสงไขยแสนกัป

ก็บังเกิดขึ้นในมัชฌิมประเทศนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย บำเพ็ญบารมี ๒

อสงไขยกับแสนกัป ก็อุบัติขึ้นในมัชฌิมประเทศนี้ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทั้งหลายผู้บำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขย หรือ ๘ อสงไขย หรือ ๑๖ อสงไขย กับ

แสนกัป ก็บังเกิดขึ้นในมัชฌิมประเทศนี้.

ในมัชฌิมประเทศนั้น สัตว์ทั้งหลายรับโอวาทของพระปัจเจกพุทธเจ้า

แล้วดำรงอยู่ในเบญจศีล ก็มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ดำรงอยู่ในโอวาท

ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็เหมือนกัน แต่ดำรงอยู่ในโอวาทของพระ

สัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายแล้ว มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

ด้วย มีนิพพานเป็นที่ไปในเนื่องหน้าด้วย การอยู่ในประเทศนั้น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสว่าเป็น มงคล เพราะเป็นปัจจัยแห่งสมบัติทั้งหลายเหล่านี้ด้วย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 159

การสั่งสมกุศลปรารภพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระขีณาสพ

ทั้งหลายในชาติที่ล่วงมาแล้ว ชื่อว่า ปุพฺเพ กตปุญฺตา แม้ปุพเพกตปุญญตา

นั้นก็ชื่อว่าเป็น มงคล.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะคำอธิบายว่า บุคคลย่อมบรรลุพระอรหันต์ได้ในที่สุด

แห่งคาถา แม้ประกอบด้วยบท ๔ อันท่านแสดงแล้วต่อพระพักตร์ของพระ-

พุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งตนฟังแล้วเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธ-

เจ้าทั้งหลาย หรือเฉพาะหน้าของพระพุทธสาวก.

ก็มนุษย์ผู้ใดได้สั่งสมบุญไว้ในปางก่อน เป็นผู้มีมูลแห่งกุศลอันหนา

ขึ้นแล้ว มนุษย์ผู้นั้นเจริญวิปัสสนาแล้วย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะได้ ด้วย

กุศลมูลนั้นนั่นเอง เหมือนอย่างพระเจ้ามหากัปปินะ และอัครมเหสีของพระองค์

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปุพฺเพ จ กตปุญฺตา มงฺคล.

ข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึง การตั้งตนไว้ชอบ ต่อไป คือ บุคคลบางคน

ในโลกนี้ ทำตนซึ่งเป็นผู้ทุศีล ให้ตั้งอยู่ในศีล ทำตนซึ่งไม่มีศรัทธาให้ตั้งอยู่ใน

ศรัทธาสัมปทา ทำตนซึ่งเป็นคนตระหนี่ให้ตั้งอยู่ในจาคะสัมปทา นี้ท่านเรียกว่า

อตฺตสมฺมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ การตั้งตนไว้ชอบนี้ จัดว่าเป็นมงคล.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะเป็นเหตุให้ละเวร ที่เป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ

และให้บรรลุอานิสงส์ต่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 160

ด้วยคาถาแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมงคล ๓ มงคลเท่านั้นคือ

การอยู่ในปฏิรูปเทส ๑ การกระทำบุญไว้ในปางก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑

ดังพรรณนามาฉะนี้ ก็ความที่แห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้า

อธิบายให้แจ่มแจ้งแล้วในมงคลนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้แล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า

ปฏิรูปเทสวาโส จ ดังนี้เป็นต้น

คาถาที่ ๓ (มี ๔ มงคล)

บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบอธิบายในมงคลข้อว่า พาหุสจฺจญฺจ เป็นต้นนี้

ดังต่อไปนี้.

ความเป็นผู้ได้สดับมาก ชื่อว่า พาหุสจฺจ.

ความเป็นผู้ฉลาดในหัตถกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งชื่อว่า สิปฺป (ศิลปะ)

การฝึกกายวาจาและจิต ชื่อว่า วินโย (วินัย)

บทว่า สุสิกฺขิโต ได้แก่ ศึกษาแล้วด้วยดี.

บทว่า สุภาสิตา ได้แก่ กล่าวแล้วด้วยดี.

บทว่า ยา เป็นการแสดงถึงคำที่ไม่แน่นอน.

คำที่เปล่ง คำที่เป็นทาง ชื่อว่า วาจา.

คำที่เหลือ มีนัยดังข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล นี้คือการพรรณนาเฉพาะ

บทในพระคาถานี้ ส่วนการพรรณนาเนื้อความ ผู้ศึกษาพึงทราบดังนี้.

ที่ชื่อว่า พาหุสจฺจ ได้แก่ การทรงไว้ซึ่งคำสอนของพระศาสดา ที่

ท่านพรรณนาไว้ โดยนัยว่า ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมไว้ซึ่งสุตะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 161

ดังนี้เป็นต้น และโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้

เป็นผู้สดับมาก คือทรงไว้ซึ่งสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ เป็นต้น พาหุสัจจะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ละอกุศลธรรม และ

บรรลุกุศลธรรม และเพราะเป็นเหตุทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ โดยลำดับ.

สมจริงดังคำ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสาวกได้สดับ

แล้วแล ย่อมละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละธรรมที่มีโทษ บำเพ็ญธรรมที่ไม่มี

โทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์อยู่ ดังนี้เป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แม้อื่นอื่นกว่า ภิกษุย่อมเข้าไปเพ่ง ซึ่งเนื้อ-

ความแห่งธรรมทั้งหลายที่ตนทรงไว้แล้ว เมื่อเธอเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่งเนื้อความ

ธรรมย่อมทนต่อการเพ่งพินิจ เมื่อมีการอดทนต่อการเพ่งพินิจธรรมอยู่

ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้ที่เกิดความพอใจ ย่อมอุตสาหะ เมื่ออุตสาหะ ย่อม

ไตร่ตรอง เมื่อไตร่ตรอง ย่อมเพียรพยายาม เมื่อเพียรพยายาม ก็ย่อมทำให้แจ้ง

ซึ่งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.

อีกอย่างหนึ่ง แม้พาหุสัจจะของฆราวาส ที่ไม่มีโทษ พึงทราบว่า เป็น

มงคล เพราะนำประโยชน์สุขในโลกทั้งสองมาให้.

ชื่อว่า ศิลปะ (มี ๒ ชนิด) คือ อาคาริยศิลปะ และอนาคาริยศิลปะ

ในศิลปะทั้งสองอย่างนั้น อาคาริยศิลปะ ได้แก่ การงานที่เว้นจากการเบียด-

เป็นสัตว์อื่น เว้นจากอกุศล มีการงานของนายช่างแก้ว และนายช่างทอง

เป็นต้น อาคาริยศิลปะนั้น ชื่อว่า เป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์ใน

โลกนี้ (ส่วน) การจัดทำสมณบริขารมีการจัดแจงและการเย็บจีวรเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 162

ชื่อว่า อนาคาริยศิลปะ ศิลปะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพรรณนาไว้ใน

ที่นั้น ๆ โดยนัยว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ขยัน ในกิจที่ควร

กระทำทั้งน้อยและใหญ่ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น (และ) ที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า นี่คือธรรมอันทำที่พึ่ง ดังนี้ พึงทราบว่า เป็น

มงคล เพราะนำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขในโลกทั้ง ๒ มาให้ตนและชน

เหล่าอื่น.

ที่ชื่อว่า วินย มี ๒ อย่าง คือ อาคาริยวินัย ๑ อนาคาริยวินัย ๑

ในสองอย่างนั้น การเว้นอกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า อาคาริยวินัย. วินัยนั้น

ชื่อว่า อันบุคคลศึกษาดีแล้ว ด้วยการไม่ต้องโทษ คือสังกิเลสในวินัยนั้น

และด้วยการกำหนดคุณแห่งความประพฤติ ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่ง

ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขในโลกทั้งสอง.

ส่วนการไม่ต้องอาบัติ ๗ กอง ชื่อว่า อนาคาริยวินัย แม้อนาคา-

ริยวินัยนั้น ชื่อว่า อันภิกษุศึกษาดีแล้ว โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล. อีก

อย่างหนึ่ง ปาริสุทธิศีล ๔ ชื่อว่า อนาคาริยวินัย. อนาคาริยวินัยนั้น อันภิกษุ

ศึกษาอยู่ โดยประการที่ตนดำรงอยู่ในอนาคาริยวินัยนั้นแล้ว บรรลุพระอรหัต

ชื่อว่าศึกษาดีแล้ว พึงทราบว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้บรรลุโลกิยสุขและ

โลกุตรสุข.

วาจาที่เว้นจากโทษมีมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่า วาจาสุภาษิต สมดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย วาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๔ เป็น

วาจาสุภาษิต ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง วาจาที่ไม่เพ้อเจ้อ ก็ชื่อว่า วาจาสุภาษิต

เหมือนกัน เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 163

สัตบุรุษทั้งหลายกล่าววาจาสุภาษิตว่า

เป็นวาจาสูงสุด เป็นที่หนึ่ง บุคคลพึงกล่าว

วาจาอันเป็นธรรม ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่

เป็นธรรมนั้น เป็นที่สอง พึงกล่าววาจาเป็น

ที่รัก ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รักนั้น

เป็นที่สาม พึงกล่าววาจาจริง ไม่พึงกล่าว

วาจาเหลาะแหละนั้น เป็นที่สี่ ดังนี้.

แม้วาจาสุภาษิตธรรมนี้ พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์

เกื้อกูลและความสุขในโลกทั้งสอง. ก็เพราะเหตุที่วาจาสุภาษิตนี้นับเนื่องอยู่ใน

วินัยอยู่แล้วนี้เอง ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่สงเคราะห์วาจาสุภาษิตนี้ด้วย

วินัยศัพท์ สงเคราะห์แต่วินัย (เท่านั้น ด้วยวินัยศัพท์)

อีกอย่างหนึ่ง จะมีประโยชน์อะไรด้วยความลำบากนี้ วาจาเป็นเครื่อง

แสดงพระธรรมแก่คนเหล่าอื่น ก็พึงทราบว่า เป็นวาจาสุภาษิต ในที่นี้ จริงอยู่

วาจาสุภาษิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นปัจจัยให้

สัตว์ทั้งหลายได้บรรลุประโยชน์เกื้อกูล และความสุขในโลกทั้งสอง และพระ-

นิพพาน ท่านกล่าวไว้ว่า

พระพุทธเจ้าตรัสวาจาใด อันเกษม

เพื่อบรรลุพระนิพพาน เพื่อกระทำที่สุดทุกข์

วาจานั้นแล สูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย.

ด้วยพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๔ ประการคือ ความ

เป็นพหูสูต (พาหุสัจจะ) ๑ ศิลปะ ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาษิต ๑

๑. สุภาสิตสูตร สัง. สคาถา. ๑๕/ข้อ ๗๓๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 164

ด้วยประการฉะนี้ ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านั้น เป็นมงคล ข้าพเจ้าได้อธิบาย

ให้แจ่มแจ้ง ในมงคลนั้น ๆ แล้ว ดังนี้แล.

การพรรณนาความแห่งพระคาถานี้ว่า

พาหุสจฺจญฺจ เป็นต้น จบ

คาถาที่ ๔ (มี ๔ มงคล)

บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในบาทคาถานี้ว่า มาตาปิตุอุปฏฺาน

ดังนี้เป็นต้น ดังต่อไปนี้.

มารดาด้วย บิดาด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มาตาปิตุ มารดา

และบิดา.

การบำรุง ชื่อว่า อุปฏฺาน.

บุตรทั้งหลายด้วย ภรรยาทั้งหลายด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

ปุตฺตทารสฺส ซึ่งบุตรและภรรยา.

การสงเคราะห์ ชื่อว่า สงฺคโห.

การงานทั้งหลาย เป็นการงานที่อากูลหามิได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

อนากุลา.

การงานทั้งหลายนั้นเอง ชื่อว่า กมฺมนฺตา.

คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล. นี้คือการพรรณนาเฉพาะ

บท ส่วนการพรรณนาเนื้อความ ผู้ศึกษาพึงทราบดังต่อไปนี้.

สตรีผู้ให้เกิด ท่านเรียกว่า มารดา, บิดาก็เหมือนกัน.

การกระทำอุปการะด้วยการล้างเท้า การนวด การอบ การอาบน้ำ

และการให้ปัจจัย ๔ ชื่อว่า อุปัฏฐานะ การบำรุง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 165

พึงทราบอธิบายในการบำรุงเลี้ยงนั้น ดังต่อไปนี้. เพราะเหตุที่

มารดาบิดา เป็นผู้มีอุปการะมาก หวังประโยชน์ เป็นผู้อนุเคราะห์ต่อบุตร

ทั้งหลาย ซึ่งท่านเห็นบุตรเหล่านั้น เล่นอยู่ข้างนอก มีสรีระเปื้อนฝุ่นมาแล้ว

ก็เช็ดฝุ่นให้ กอดจูบที่ศีรษะและยังความรักให้เกิด. บุตรทั้งหลายเลี้ยงมารดาบิดา

ด้วยการทูนไว้บนศีรษะแม้สิ้น ๑๐๐ ปี ก็ไม่สามารถที่จะตอบแทนอุปการคุณ

แห่งการบำรุงเลี้ยงนั้นได้ และเพราะเหตุที่ท่านทั้งสองนั้น เป็นผู้บำรุง เป็นผู้

เลี้ยงดู เป็นผู้แสดงโลกนี้ เป็นผู้เสมอกับพระพรหม เป็นบุพพาจารย์ ฉะนั้น

การบำรุงเลี้ยงมารดาบิดาทั้งสองนั้น จึงนำมาซึ่งการสรรเสริญในโลกนี้ ละไป

แล้ว ก็นำความสุขในสวรรค์มาให้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นมงคล

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

มารดาบิดาทั้งหลาย ผู้อนุเคราะห์แก่

ปชา (บุตรธิดา) ท่านเรียกว่า เป็นพรหม

ว่าเป็นบุพพาจารย์ ว่าเป็นอาหุเนยยบุคคล

ของบุตรทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บัณฑิต

พึงนอบน้อมและสักการะมารดาบิดาเหล่า

นั้น ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การอบ

การอาบน้ำ และการล้างเท้า ด้วยการปรน-

นิบัติในมารดาบิดาทั้งสองนั้น บัณฑิตทั้ง-

หลายย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น ในโลกนี้นั้น

แล เขาละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงใน

สวรรค์ ดังนี้.

๑. ขุ. อิติวุตตกะ ๒๕/ ข้อ ๒๘๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 166

อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า การบำรุงมี ๕ อย่าง มีการเลี้ยงดู การกระทำ

หน้าที่ และการดำรงวงศ์ตระกูลเป็นต้น การบำรุงนั้น พึงทราบว่า เป็น

มงคล เพราะเป็นเหตุแห่งประโยชน์เกื้อกูล ในปัจจุบัน ๕ อย่าง มีการห้าม

จากบาปเป็นต้น สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน

คฤหบดีบุตร มารดาบิดาซึ่งเป็นทิศเบื้องหน้า บุตรพึงบำรุง ด้วยสถาน ๕

คือ

๑. เราอันท่านเลี้ยงมาแล้ว จักเลี้ยงท่านตอบ

๒. เราจักกระทำกิจ ของมารดาบิดาเหล่านั้น

๓. เราจักดำรงวงศ์สกุลของมารดาบิดาเหล่านั้น

๔. เราจักรักษาทรัพย์สมบัติของมารดาบิดาเหล่านั้น

๕. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อท่านทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เราจักเพิ่มให้ซึ่ง

ทักษิณา (ทำบุญอุทิศให้) ดังนี้.

ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดาซึ่งเป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรบำรุง-

ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล จักอนุเคราะห์บุตร ด้วยสถาน ๕ คือ

๑. ท่านทั้งสองย่อมห้าม (บุตร) จากบาป

๒. ย่อมให้ตั้งอยู่ในความดี

๓. ย่อมให้ศึกษาศิลปะ

๔. ย่อมหาภรรยาที่สมควรให้

๕. ย่อมมอบทรัพย์สมบัติให้ในสมัย ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 167

อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใด ย่อมบำรุงมารดาและบิดา ด้วยการให้เลื่อมใส

ในพระรัตนตรัย หรือด้วยให้สมาทานศีล หรือด้วยให้บรรพชา ผู้นี้จัดว่าเป็น

ยอดของชนทั้งหลายผู้บำรุงมารดาบิดาในโลกนี้.

การบำรุงมารดาบิดานั้นของผู้นั้น เป็นการกระทำการตอบแทนต่อ

อุปการคุณ ที่มารดาและบิดากระทำไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า

เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งประโยชน์ทั้งหลายที่เป็นไปในปัจจุบัน และ

เป็นไปในสัมปรายภพมิใช่น้อย.

ในคำว่า ปุตฺตทารสฺส นี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บุตรทั้งหลายก็ดี ธิดาทั้งหลายก็ดี ที่เกิดแล้วของตน ย่อมถึงการ

นับว่าบุตรทั้งนั้น. ภรรยาชนิดใดชนิดหนึ่ง ในบรรดาภรรยา ๒๐ จำพวก

ชื่อว่า ทาระ.

บุตรทั้งหลายด้วย ทาระทั้งหลายด้วย ชื่อว่า ปุตฺตทารา (บุตรและ

ภรรยาทั้งหลาย). ซึ่งบุตรและภรรยานั้น. การกระทำอุปการะด้วยฐานะทั้งหลาย

มีการยกย่องเป็นต้น ชื่อว่า สังคหะ การกระทำอุปการะนั้น พึงทราบว่า

เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งประโยชน์เกื้อกูลอันเป็นไปในปัจจุบัน มีความ

เป็นผู้จัดการงานดีเป็นต้น. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดู

ก่อนคฤหบดี ภรรยาซึ่งเป็นทิศเบื้องหลัง สามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ แลคือ

๑. ด้วยการยกย่อง ๒. ด้วยการไม่ดูหมิ่น

๓. ด้วยการไม่ประพฤตินอกใจ ๔. ด้วยการมอบความเป็นใหญ่ให้

๕. ด้วยการให้เครื่องประดับ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 168

ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง อันสามีพึงบำรุงด้วย

ฐานะ ๕ เหล่าแล ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยฐานะ ๕ คือ

๑. เป็นผู้จัดการงานดี

๒. เป็นคนสงเคราะห์คนข้างเคียง (ของสามี) ดี

๓. เป็นผู้ไม่ประพฤตินอกใจ

๔. ย่อมรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้

๕. เป็นคนขยันไม่เกียจคร้านในการงานทั้งปวง ดังนี้.

เพราะสงเคราะห์ (รวม) บุตรภรรยา ที่ทรงแสดงไว้ในสิงคาลสูตร

นี้ว่า บุตรและภรรยา พึงทราบว่าเป็นทิศเบื้องหลังดังนี้ ด้วยภริยาศัพท์.

อีกอย่างหนึ่ง นัยอื่นอีก มีดังต่อไปนี้ :-

การสงเคราะห์ด้วยทาน ปิยวาจา และอัตถจริยา ที่ประกอบด้วย

ธรรม ชื่อว่า สัวคหะ คือ การให้เสบียงในวันอุโบสถทั้งหลาย การให้

ดูนักษัตรในวันนักขัตฤกษ์ทั้งหลาย การกระทำมงคลในวันมงคลทั้งหลาย

การโอวาทสั่งสอนในประโยชน์ทั้งหลาย ที่เป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ

การสงเคราะห์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่ง

ประโยชน์เกื้อกูล อันเป็นไปในปัจจุบัน และสัมปรายภพ โดยนัยก่อนนั่นแล

และเพราะเป็นเหตุแห่งความเป็นผู้แม้อันเทวดาทั้งหลายพึงนอบน้อม. สมจริง

ดังคำที่ท้าวสักกะจอมเทพตรัสไว้ว่า

คฤหัสถ์เหล่าใด เป็นผู้กระทำบุญ มี

ศีล เป็นอุบาสก ย่อมเลี้ยงภรรยาโดยธรรม

ดูก่อนมาตลี เราย่อมนอบน้อมคฤหัสถ์เหล่า

นั้น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 169

การงานทั้งหลายมีเกษตรกรรม โครักขกรรม และพาณิชกรรมเป็นต้น

พึงเว้นแล้วจากการงานที่อากูล นี้การทำเวลาให้ล่วงไป การกระทำที่ไม่สมควร

กระทำ และการการทำย่อหย่อนเป็นต้น เพราะประกอบด้วยความเป็นผู้

รู้กาล เพราะมีปกติการทำเหมาะสม เพราะไม่เกียจคร้าน เพราะถึงพร้อม

ด้วยความอุตสาหะและความเพียร และเพราะเป็นการงานที่ไม่เสื่อมเสีย ชื่อว่า

การงานที่ไม่อากูล. การงานที่ไม่อากูลนี้ อันบุคคลประกอบแล้วอย่างนี้ เพราะ

เหตุที่ตนเอง บุตรภรรยา หรือทาส และกรรมกรทั้งหลายเป็นผู้ฉลาด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการได้ทรัพย์ ข้าว-

เปลือก และความเจริญในปัจจุบันนี้เทียว. สมจริงตามพระดำรัสที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

บุคคลผู้มีการงาน กระทำสมควร

เป็นปกติ ขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้ ดังนี้.

และว่า

บุคคลที่ชอบนอนหลับกลางวัน ขี้-

เกียจลุกขึ้นกลางคืน เมาเป็นนิตย์ เป็นนัก-

เลง ไม่อาจจะอยู่ครองเรือนให้ดีได้ ประโยชน์

ทั้งหลายย่อมล่วงเลยบุรุษผู้ทอดทิ้งการงาน

ด้วยอ้างเลสว่า เวลานี้หนาวนัก เวลานี้ร้อน

นัก เวลานี้เย็นเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 170

ส่วนผู้ใดไม่สำคัญความหนาวเเละ

ความร้อนยิ่งไปกว่าหญ้า กระทำกิจของบุรุษ

อยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากความสุขดังนี้.

และว่า

เมื่อบุคคลรวบรวมโภคะทั้งหลายอยู่

เหมือนภมรผนวกอยู่ซึ่งรังฉะนั้น โภคะทั้ง

หลายย่อมถึงการสั่งสม ดุจจอมปลวก อัน

ตัวปลวกก่อขึ้นฉะนั้น ดังนี้.

ด้วยพระคาถาแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๔ ประการนี้

คือ การบำรุงมารดา ๑ การบำรุงบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรและภรรยา ๑

การงานทั้งหลายที่ไม่อากูล ๑

อีกอย่างหนึ่ง คาถานี้มี ๕ มงคลเพราะแยกการสงเคราะห์บุตรและ

ภรรยาออกเป็น ๒. อีกอย่างหนึ่งมี ๓ มงคล เพราะรวมการบำรุงมารดาบิดา

เป็นข้อเดียวเท่านั้น ก็ความที่แห่งมงคลเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าได้อธิบาย

ให้แจ่มแจ้งแล้วในมงคลนั้น ๆ นั่นแล.

จบการพรรณหาเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า

มาตาปิตุอุปฏฺาน เป็นต้น

คาถาที่ ๕ (มี ๔ มงคล)

บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคาถานี้ว่า ทานญฺจ ดังนี้ เป็นต้น

ดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 171

ที่ชื่อว่า ทาน เพราะอรรถว่าสิ่งของเป็นเครื่องให้. มีคำอธิบายว่า

สิ่งของของตนอันบุคคลย่อมมอบให้แก่ผู้อื่น.

การประพฤติธรรม หรือการประพฤติที่ไม่ไปปราศจากธรรม ชื่อว่า

ธรรมจริยา.

ชนทั้งหลายเหล่านี้ อันเราทั้งหลายย่อมรู้จัก เพราะเหตุนั้นชนทั้งหลาย

เหล่านี้ จึงชื่อว่า ญาติ.

การงานทั้งหลายที่มีโทษหามิได้ ชื่อว่า การงานไม่มีโทษ. มีคำ

อธิบายว่า การงานทั้งหลายที่บัณฑิตไม่ติเตียน คือไม่ครหา. คำที่เหลือมีนัย

อันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล. นี้คือการพรรณนาเฉพาะบท. ส่วนการพรรณนา

เนื้อความ ผู้ศึกษาพึงทราบดังต่อไปนี้.

เจตนาเป็นเครื่องบริจาคทานวัตถุ ๑๐ อย่าง มีข้าวเป็นต้น ซึ่งมี

ความยินดีในเบื้องต้น เจาะจงผู้อื่น ชื่อว่า ทาน.

อีกอย่างหนึ่ง อโลภะ ที่สัมปยุตด้วยเจตนานั้น ชื่อว่า ทาน. ด้วยว่า

บุคคลย่อมมอบให้ซึ่งวัตถุนั้นแก่บุคคลอื่น ด้วยอโลภะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า ที่ชื่อว่า ทาน เพราะอรรถว่าวัตถุเป็นเครื่องให้. ทานนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ได้บรรลุผลวิเศษทั้งหลายอัน

เป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ มีความเป็นที่รักของชนเป็นอันมากเป็นต้น.

ก็ในข้อนี้ พึงระลึกถึงพระสูตรทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนสีหะ ทายก

ที่เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักเป็นที่พอใจของชนเป็นอันมาก ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทานมี ๒ อย่างคือ อามิสทาน และธรรมทาน

ในทาน ๒ อย่างนั้น อามิสทาน มีประการอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 172

การแสดงธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว อันเป็นที่สิ้น

ทุกข์และนำความสุขมาให้ ในโลกนี้และโลกหน้า เพราะปรารถนาประโยชน์

เกื้อกูลแก่บุคคลเหล่าอื่น ชื่อว่า ธรรมทาน. ก็ในบรรดาทาน ๒ อย่างนี้

ธรรมทานนี้เท่านั้นจัดว่าเป็นเลิศ. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

การให้ธรรม ชนะการให้ทั้งปวง

รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง ความยินดี

ในธรรม ย่อมชนะควานยินดีทั้งปวง ความ

สิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.

ในทานทั้ง ๒ อย่างนั้น ความที่อามิสทานเป็นมงคล ข้าพเจ้าได้กล่าว

ไว้แล้วนั้นแล ส่วนธรรมทาน เพราะเป็นที่ตั้งแห่งคุณทั้งหลาย มีความเป็นผู้รู้

จักอรรถเป็นต้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นมงคล สมจริงดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุแสดงธรรมดาตามที่ได้ฟังมา

ตามที่ได้เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร โดยประการใด ๆ บุคคลนั้นเป็นผู้รู้แจ้ง

ซึ่งอรรถ (รู้ผล) และเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งธรรม (รู้เหตุ) ในธรรมนั้น ๆ โดย

ประการนั้น ๆ ดังนี้เป็นต้น.

การประพฤติกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า ธรรมจริยา. ดังนี้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย การประพฤติธรรม คือ

การประพฤติสม่ำเสมอทางกายมี ๓ อย่างแล ดังนี้เป็นต้น. ก็การประพฤติธรรม

นี้นั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้อุบัติในโลกสวรรค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 173

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดี

ทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งธรรมจริยาและสมจริยาแล สัตว์ทั้งหลายบางพวกใน

โลกนี้ ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่การตายเพราะกายแตก ดังนี้.

ชนทั้งหลายผู้มีความเกี่ยวข้องกันทั้งทางฝ่ายมารดาหรือบิดา จนถึง

๗ ชั่วโคตร ชื่อว่า ญาติ.

การสงเคราะห์ซึ่งญาติเหล่านั้น ผู้ซึ่งอันความเสื่อมโภคะหรือความ

เสื่อมเพราะความเจ็บป่วยครอบงำแล้วซึ่งมายังสำนักของตน ด้วยวัตถุทั้งหลาย

มีอาหาร เสื้อผ้า ทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้นตามกำลัง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษ มีการสรรเสริญ

เป็นต้น อันเป็นไปในปัจจุบัน และการบรรลุคุณวิเศษมีการไปสู่สวรรค์เป็นต้น

อันเป็นไปในสัมปรายภพ.

การงานทั้งหลาย มีการสมาทานศีลอุโบสถ การกระทำการขวนขวาย

การปลูกไม้ดอก ไม้ผลและต้นไม้ และการสร้างสะพานเป็นต้น ชื่อว่า การงาน

ที่ไม่มีโทษ. จริงอยู่การงานที่ไม่มีโทษเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุประโยชน์สุขนานัปการ ก็ในข้อนี้

พึงระลึกถึงสูตรทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนวิสาขา ข้อที่สตรีหรือบุรุษ

บางคนในโลกนี้ เข้าอยู่จำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์แปด เบื้องหน้าแต่การ

ตายเพราะกายแตก จะพึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาทั้งหลายชั้นจาตุมมหา-

ราชิกา นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้แล ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๔ ประการคือ ทาน ๑ ธรรมจริยา ๑

การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑ การงานทั้งหลายที่ไม่มีโทษ ๑ ด้วยพระคาถานี้

ดังพรรณนามาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 174

ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าอธิบายไว้ชัดแล้ว ใน

มงคลนั้น ๆ นั่นแล.

จบการพรรณเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า

ทานญฺจ เป็นต้น

คาถาที่ ๖ (มี ๓ มงคล)

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถานี้ว่า อารตี วิรตี เป็นต้น

ดังต่อไปนี้.

การงด ชื่อว่า อารตี. การเว้น ชื่อว่า วิรตี.

อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายย่อมเว้น (จากบาป) ด้วยเจตนานี้

เหตุนั้น เจตนานี้ ชื่อว่า วิรัติ. (ที่ชื่อว่า วิรัติ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็น

เครื่องงดเว้นแห่งสัตว์ทั้งหลาย หรือเป็นเครื่องให้สัตว์ทั้งหลายงดเว้น).

บทว่า ปาปา ได้แก่ จากอกุศล.

ที่ชื่อว่า มชฺช เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความเมา การดื่มซึ่งมัชชะ

(น้ำเมา) ชื่อว่า มชฺชปาน. (เว้น ) จากการดื่มน้ำเมานั้น. การสำรวมชื่อว่า

สยโม. ความไม่ประมาทชื่อว่า อปฺปมาโท. บทว่า ธมฺเมสุ ได้แก่ ใน

กุศลธรรมทั้งหลาย. คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วแล. นี้คือการพรรณนา

เฉพาะบท. ส่วนการพรรณนาเนื้อความ พึงทราบดังต่อไปนี้.

การไม่ยินดีของบุคคลผู้มีปกติเห็นโทษในบาป ด้วยใจนั้นแล ชื่อว่า

การงด. การเว้นด้วยกายและด้วยวาจา ด้วยสามารถแห่งกรรมและทวาร ชื่อว่า

วิรัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 175

ก็ชื่อว่าวิรัตินั้นมี ๓ อย่าง คือ สัมปัตตวิรัติ ๑ สมาทานวิรัติ ๑

สมุจเฉทวิรัติ ๑.

ในวิรัติทั้ง ๓ อย่างนี้ การงดเว้นของกุลบุตรจากวัตถุที่ประจวบเข้า

เพราะอาศัยชาติ หรือสกุล หรือโคตรของตน โดยนัยว่า ข้อที่เราจะพึงฆ่าสัตว์

พึงถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ให้นี้ไม่ควร ชื่อว่า สัมปัตตวิรัติ. ส่วนว่ากุลบุตร

ไม่ประพฤติล่วงเกินสิกขาบทมีปาณาติบาตเป็นต้น จำเดิมแต่ความเป็นไปแห่ง

วิรัติ อันเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งการสมาทานสิกขาบท ชื่อว่า สมาทาน

วิรัติ.

ภัยเวร ๕ ประการ ของพระอริยสาวกสงบระงับไป จำเดิมแต่ความ

เป็นไปแห่งวิรัติอันสัมปยุตด้วยอริยมรรค ชื่อว่า สมุจเฉทวิรัติ.

อกุศล ๔ อย่างนั้นใด กล่าวคือกรรมกิเลสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

พิสดารอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร กรรมกิเลสคือปาณาติบาต อทินนาทาน

กาเมสุมิจฉาจาร เเละมุสาวาท ดังนี้ ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์รวบรวมไว้

ด้วยคาถาอย่างนี้ว่า

บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญ

(กรรมกิเลส ๔ ประการคือ) ปาณาติบาต ๑

อทินนาทาน ๑ มุสาวาท ๑ การประพฤติผิด

ภรรยาผู้อื่น ๑ ดังนี้.

อกุศลทั้ง ๔ ประการ ชื่อว่า บาป.

การงดเว้นจากบาปนั้น การงดและการเว้นทั้งหมดนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษนานาประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 176

มีการละเวรภัยอันเป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพเสียได้ ก็ในข้อนี้พึงระลึก

ถึงพระสูตรทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร พระอริยสาวกเป็นผู้

งดเว้นจากปาณาติบาตแล.

ก็ข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึงการสำรวมจากการดื่มน้ำเมาต่อไป.

ก็คำว่า มชฺชปานา จ สยโม นี้ เป็นชื่อแห่งการงดเว้นจากที่ตั้ง

แห่งความประมาท คือการดื่มซึ่งน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย ก็เพราะเหตุ

ที่บุคคลผู้ดื่มน้ำเมาเป็นปกติ ย่อมไม่รู้อรรถ ย่อมไม่รู้ธรรม ย่อมทำอันตราย

แก่มารดา ทำอันตรายแก่บิดา ทำอันตรายแม้แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจก-

พุทธเจ้า และสาวกของพระตถาคต ย่อมถูกติเตียนในปัจจุบัน เข้าถึงทุคติ

ในสัมปรายภพ (และ) ถึงความเป็นบ้าในภพต่อ ๆ ไป. ส่วนการงดเว้นจาก

การดื่มน้ำเมา ย่อมบรรลุซึ่งการดับโทษเหล่านั้นเสียได้ และบรรลุความถึง

พร้อมแห่งคุณ ซึ่งตรงกันข้ามกับโทษที่กล่าวแล้วนั้น. เพราะฉะนั้น การงดเว้น

จากการดื่มน้ำเมานี้ พึงทราบว่า เป็นมงคล.

ชื่อว่าความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะได้กล่าวต่อไป

โดยเนื้อความ ความไม่อยู่ปราศจากสติในกุศลธรรมทั้งหลาย พึงทราบ

โดยนัยตรงกันข้ามกับความประมาท ที่ตรัสไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า การกระทำ

โดยไม่เคารพในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย การกระทำไม่ติดต่อ การกระทำ

ไม่มั่นคง ความประพฤติท้อแท้ การหมดความพอใจ การทอดธุระ การไม่

ซ่องเสพ การไม่เจริญ การไม่กระทำให้มาก การไม่อธิษฐาน (ไม่ตั้งใจไว้)

การไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ความประมาท. ความ

๑. อภิ. วิ. ๓๕/ ข้อ ๘๑๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 177

ประมาท คือ กิริยาที่ประมาท สภาพที่เป็นผู้มัวเมา เห็นปานนี้ใด นี้เราเรียกว่า

ความประมาท ดังนี้ ชื่อว่า ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย.

ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลายนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุกุศลธรรมนานาประการ หรือเพราะ

เป็นเหตุแห่งการบรรลุอมตธรรม ในข้อนั้น พึงระลึกถึงคำสอนของพระศาสดา

มีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเป็นเครื่องเผา

กิเลสส่งไปอยู่อย่างนี้เป็นต้น และว่า ความไม่ประมาทเป็นหนทางแห่งความ

ไม่ตาย ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมงคล ๓ ประการ คือ การงดเว้น จากบาป ๑

การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ ด้วย

คาถานี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าได้อธิบายไว้ชัดเจนแล้ว

ในมงคลนั้น ๆ นั่นเอง ดังนี้แล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า

อารตี วิรตี เป็นต้น

คาถาที่ ๗ (มี ๕ มงคล)

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคาถานี้ว่า คารโว จ เป็นต้นดังต่อไปนี้.

ความเคารพ ชื่อว่า คารวะ.

ความประพฤติถ่อมตน ชื่อว่า นิวาตะ.

ความสันโดษ ชื่อว่า สันตฏุฐี.

การรู้อุปการะที่ผู้อื่นทำแล้ว ชื่อว่า กตัญญุตา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 178

บทว่า กาเลน ได้แก่ โดยขณะ คือ โดยสมัย.

การฟังธรรมชื่อว่า ธัมมัสสวนะ คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้ว

นั้นแหละ. นี่คือการพรรณนาเฉพาะบท ส่วนการพรรณนาเนื้อความ พึงทราบ

ดังต่อไปนี้.

การกระทำความเคารพ การกระทำความหนักแน่น ความเป็นผู้มี

คารวะตามสมควร ในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า สาวกของพระ

ตถาคตเจ้า อาจารย์ อุปัชฌาย์ มารดาบิดา พี่ชายพี่สาว เป็นต้น ที่ควร

แก่การกระทำความเคารพ ชื่อว่า คารวะ เพราะคารวะนี้นั้น เป็นเหตุแห่ง

การไปสู่สุคติภพเป็นต้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ (ในจูฬกัมมวิภังคสูตร) ว่า

บุคคลกระทำความเคารพในบุคคลผู้ควรเคารพ ได้แก่นับถือคนที่ควร

นับถือ บูชาคนที่ควรบูชา บุคคลเช่นนั้น เบื้องหน้าแต่การตายเพราะกายแตก

ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ด้วยกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานแล้ว

อย่างนี้. ถ้าหากว่าเบื้องหน้าแต่การตายเพราะกายแตก เขาไม่เข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ ถ้ามาสู่ความเป็นมนุษย์ จะอุบัติในที่ใด ๆ ในภายหลัง ย่อมเป็นคน

มีสกุลสูง ในที่นั้น ๆ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย

อปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้. ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ มีความเคารพ

ในพระศาสดาเป็นต้น เพราะฉะนั้น ความเคารพ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เป็นมงคล.

ความเป็นผู้อ่อนน้อม คือความเป็นผู้มีความประพฤติถ่อมตน ชื่อว่า

นิวาตะ ความประพฤติถ่อมตน. บุคคลประกอบด้วยความเป็นผู้ประพฤติ

ถ่อมตนใด ถูกนำมานะออกแล้ว ถูกนำความกระด้างออกแล้ว เป็นผู้เสมอด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 179

ผ้าเช็ดเท้า เป็นผู้เสมอด้วยโคเขาขาด และเป็นผู้เสมอด้วยงูที่ถูกถอนเขี้ยวเสีย

แล้ว เป็นผู้มีวาจาอ่อนหวานไพเราะและเสนาะโสต นี้ชื่อว่า นิวาตะ. นิวาตะ

นี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการได้คุณ

มียศเป็นต้น ก็ท่านได้กล่าวไว้ว่า บุคคลที่มีความประพฤติถ่อมตนเช่นนั้น

เป็นผู้ไม่กระด้างแล้ว ย่อมได้ยศ ดังนี้เป็นต้น.

ความพอใจด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ชื่อว่า สันตุฏฐี ความสัน โดษ.

ความสันโดษนั้นมี ๑๒ อย่าง คือ ในจีวรมี ๓ อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ

ยถาพลสันโดษ ยถาสารุปปสันโดษ. แม้ในบิณฑบาตเป็นต้นก็มีอย่างละ ๓

เหมือนกัน การพรรณนาประเภทแห่งสันโดษนั้นมีดังต่อไปนี้.

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ได้จีวรดีก็ตามไม่ดีก็ตาม เธอยังอัตภาพให้

เป็นไปด้วยจีวรนั้นนั่นแหละ ไม่ปรารถนาจีวรอื่น แม้เมื่อจะได้จีวรมาอีก

ก็ไม่ยอมรับ นี้คือความยินดีตามมีตามได้ (ยถาลาภสัน โดษ) ในจีวรของภิกษุ

นั้น แต่ถ้าหากว่าภิกษุนั้นเป็นผู้อาพาธ เมื่อครองจีวรหนัก (กายย่อมน้อมลง)

เธอย่อมลำบาก เธอก็เปลี่ยนจีวรนั้นกับภิกษุผู้เป็นสภาคกันเสีย แล้วยังอัตภาพ

ให้เป็นไปด้วยจีวรที่เบา นี้จัดว่าสันโดษเหมือนกัน นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษ

ในจีวรของภิกษุนั้น.

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง เป็นผู้มีปกติได้ปัจจัยที่ประณีต ภิกษุรูปนั้นได้จีวร

มีค่ามากผืนใดผืนหนึ่ง ในบรรดาปัจจัยทั้งหลาย มีบาตรและจีวรเป็นต้น

แล้วคดว่า จีวรอันมีค่ามากนี้ สมควรแก่พระเถระทั้งหลาย ผู้บวชมานาน

หรือผู้เป็นพหูสูต ดังนี้แล้วจึงได้ถวายจีวรนั้นเเก่พระเถระเหล่านั้น ตนเอง

ถือเอาจีวรที่ไม่มีเจ้าของ จากกองหยากเยื่อ หรือจากป่า หรือจากที่แห่งใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 180

แห่งหนึ่งทำเป็นสังฆาฏิ แม้ทรงผ้านั้นไว้ ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษแล. นี้ชื่อว่า

ยถาสารุปปสันโดษ ในจีวรของภิกษุนั้น.

ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ได้บิณฑบาต จะเศร้าหมองก็ตาม ประณีต

ก็ตาม เธอยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้นนั่นเอง ไม่ต้องการบิณฑบาต

อื่น แม้เมื่อจะได้ก็ไม่ยอมรับ นี้ชื่อว่ายถาลาภสันโดษ ในบิณฑบาตของภิกษุนี้.

แต่ถ้าหากว่าภิกษุเป็นผู้อาพาธ ฉันบิณฑบาตที่เลว ก็ถึงความป่วยหนัก

ภิกษุนั้นก็ถวายบิณฑบาตแก่ภิกษุที่เป็นสภาคกัน แล้วฉันเนยใส นมส้ม น้ำผึ้ง

และนมสด เป็นต้น จากมือของภิกษุนั้นแล้วประพฤติสมณธรรมอยู่ ก็จัดว่า

สันโดษอยู่นั่นเอง นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษ ในบิณฑบาตของภิกษุนั้น.

ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้บิณฑบาตอันประณีต เธอคิดว่า บิณฑบาตนี้

เหมาะสมสำหรับพระเถระทั้งหลาย ผู้บวชมานาน และแก่เพื่อนสพรหมจารี

ทั้งหลายเหล่าอื่น ผู้เว้นจากบิณฑบาตอันประณีตแล้ว ไม่อาจจะให้อัตภาพเป็น

ไปได้ ดังนี้แล้วจึงถวายบิณฑบาตอันประณีตนั้นแก่พระเถระ หรือภิกษุเหล่านั้น

เสีย ตนเองเที่ยวบิณฑบาต แม้ฉันอาหารที่เจือกัน (ฉันรวมกันหลาย ๆ สิ่ง)

ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษอยู่นั้นเอง นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษ ในบิณฑบาต

ของภิกษุนี้.

ก็เสนาสนะถึงแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เธอก็พอใจด้วยเสนาสนะ

นั้นนั่นเอง ไม่รับเสนาสนะอื่นอีก ซึ่งมาถึงเข้าแม้จะดีกว่า นี้ชื่อว่า ยถาลาภสัน-

โดษ ในเสนาสนะของภิกษุนั้น.

ถ้าหากว่าเธออาพาธ อยู่ในเสนาสนะที่ไม่มีลม ย่อมเดือดร้อนอย่างยิ่ง

ด้วยโรคดีเป็นต้น เธอจึงถวายเสนาสนะแก่ภิกษุที่เป็นสภาคกัน อยู่ในเสนา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 181

สนะที่มีลมและหนาวเย็น. ซึ่งถึงเข้าแก่ภิกษุนั้น แม้ประพฤติสมณธรรมอยู่

ก็เป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษ ในเสนาสนะของภิกษุ

นั้น.

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ไม่ยอมรับเสนาสนะที่ดีแม้มาถึงเข้า คิดว่า เสนาสนะ

ที่ดีเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เมื่อภิกษุนั่งอยู่ในเสนาสนะที่ดีนั้น ก็ย่อมก้าว

ลงสู่ถีนมิทธะได้ ก็เมื่อเธอถูกความหลับครอบงำ ตื่นขึ้นอยู่ กามวิตกทั้งหลาย

ก็ฟุ้งขึ้น ภิกษุนั้นปฏิเสธเสนาสนะที่ดีนั้น แล้วอยู่ในเสนาสนะแห่งใดแห่งหนึ่ง

มีที่โล่งแจ้ง โคนไม้ และกองฟางเป็นต้น ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง

นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษ ในเสนาสนะของภิกษุนั้น.

ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ได้เภสัช จะเป็นลูกสมอ หรือมะขามป้อม

ก็ตาม ยังอัตภาพนั้นให้เป็นไปด้วยเภสัชนั้นนั่นเอง ไม่ปรารถนาเเม้เนยใส

น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น ที่ภิกษุเหล่าอื่นได้มาแล้ว แม้จะได้มาก็ไม่ยอมรับ

นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษ ในคิลานปัจจัยลงภิกษุนั้น.

ก็ถ้าภิกษุเป็นผู้อาพาธต้องการน้ำมัน (แต่) ได้น้ำอ้อยมา เธอให้

น้ำอ้อยนั้นแก่ภิกษุที่เป็นสภาคกันแล้ว ทำยาด้วยน้ำมันจากมือแห่งภิกษุนั้น

แม้ประพฤติสมณธรรมอยู่ ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษอยู่นั้นเอง นี้ชื่อว่า ยถาลาภ-

สันโดษ ในคิลานปัจจัยของภิกษุนี้.

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง วางชิ้นสมอที่ดองด้วยน้ำมูตรไว้ในภาชนะใบหนึ่ง

อันภิกษุอื่นพูดอยู่ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าหากว่าท่านต้องการ ท่านก็จงถือ

เอาของหวาน ๔ อย่างในภาชนะใบหนึ่ง ถ้าหากว่าพยาธิของภิกษุนั้นย่อมสงบ

ได้ ด้วยเภสัชอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาเภสัช ๒ อย่างเหล่านั้น ใช่แต่เท่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 182

นั้น สมอดองด้วยน้ำมูตรเน่า บัณฑิตทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้น

สรรเสริญแล้ว และภิกษุนี้ก็คิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บรรพชาอาศัย

ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า. เธอพึงทำความอุตสาหะในยาดองด้วยน้ำมูตรเน่านั้น

(พึงฉัน ) ตลอดชีวิต จึงห้ามเภสัชที่เป็นของหวานทั้ง ๔ เสีย แล้วทำยาด้วย

สมอดองน้ำมูตรเน่า ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่งเทียว นี้ชื่อว่า ยถาสารุปป-

สันโดษ ในคิลานปัจจัยของภิกษุนั้น.

สันโดษนี้ทั้งหมดมีประเภทดังกล่าวมาแล้วอย่างนี้ ท่านเรียกว่า

สันตุฏฐี. สันตุฏฐีนั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการละบาป

ธรรมทั้งหลาย มีความปรารถนาเกินไป ความปรารถนาลามก ความอยาก

ใหญ่เป็นต้น และการบรรลุคุณธรรม เพราะเป็นเหตุแห่งสุคติ เพราะเป็น

เหตุแห่งการสั่งสมอริยมรรค และเพราะเป็นเหตุแห่งความเที่ยวไปสะดวกใน

ทิศทั้ง ๔ เป็นต้น. และท่านกล่าวไว้ว่า

ผู้ที่สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้

เป็นผู้เที่ยวไปสะดวกในทิศทั้ง ๔ และเป็น

ผู้ไม่คับแค้น ดังนี้เป็นต้น.

การรู้อุปการคุณที่คนใดคนหนึ่งได้กระทำไว้ จะน้อยหรือมากก็ตาม

โดยการระลึกถึงบ่อย ๆ ชื่อว่า กตัญญุตา. อีกอย่างหนึ่ง บุญทั้งหลายนั่นเอง

ชื่อว่ามีอุปการะมากแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะป้องกันอันตรายจากทุกข์ มีทุกข์ใน

นรกเป็นต้น เพราะการระลึกถึงอุปการะแม้แห่งบุญเหล่านั้น ก็พึงทราบว่า

กตัญญุตา.

๑. ขัคควิสาณสูตร ขุ. สุ ๒๕/ ข้อ ๒๙๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 183

ความเป็นผู้กตัญญูนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นมงคล เพราะ

เป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษมีประการต่างๆมีความเป็นผู้อันสัปบุรุษทั้งหลาย

พึงสรรเสริญเป็นต้น ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล

ที่หาได้ยากในโลกเหล่านี้มีอยู่ ๒ จำพวก. ๒ จำพวกอะไรบ้าง คือ ผู้ที่ทำ

อุปการะก่อน ๑ ผู้กตัญญูกตเวที ๑.

ในกาลใด จิตสหรคตด้วยอุทธัจจะ หรือถูกกามวิตกอย่างใดอย่างหนึ่ง

มีกามวิตกเป็นต้นครอบงำ การฟังธรรมเพื่อบรรเทากามวิตกเป็นต้นนั้นในกาล

นั้น ชื่อว่า กาเลน ธมฺมสฺสวน การฟังธรรมตามกาล. อาจารย์พวกอื่น

กล่าวว่า การฟังธรรมทุก ๆ วันที่ ๕ (แห่งสัปดาห์) ชื่อว่าฟังธรรมตามกาล

อย่างที่ท่านพระอนุรุทธะผู้มีอายุกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ทุก ๆ ๕

วันแล พวกข้าพระองค์พึงนั่งสนทนาธรรมกถากันตลอดคืนยังรุ่ง พระพุทธะ-

เจ้าข้า.

อีกอย่างหนึ่ง ในกาลใด บุคคลเข้าไปหากัลยาณมิตรทั้งหลายแล้ว

สามารถจะฟังธรรมที่จะบรรเทาความสงสัยของตนเสียได้ การฟังธรรมแม้ใน

กาลนั้น พึงทราบว่า การฟังธรรมตามกาล ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุเข้าไปหา

ท่านผู้รู้เหล่านั้นสอบถามปัญหา และย่อมแก้ปัญหาตามกาลอันสมควรดังนี้เป็น

ต้น. การฟังธรรมตามกาลนี้นั้น ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้บรรลุคุณ

วิเศษมีประการต่าง ๆ มีการละนิวรณ์ การเห็นอานิสงส์ ๔ ประการ และ

การบรรลุการสิ้นอาสวะเป็นต้น สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด พระอริยสาวกตั้งใจมนสิการ น้อมเข้ามาในใจโดย

ประการทั้งปวง จงใจฟัง ฟังธรรมอยู่ ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ประการ ย่อม

๑. ม. มู ๑๒/ ข้อ ๓๖๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 184

ไม่มีแก่เธอ และตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมหวังอานิสงส์ ๔ ประ

การ แห่งธรรมทั้งหลายตามที่ตนได้ฟังมา แห่งธรรมทั้งหลายที่ตนแทงตลอด

แล้ว ฯลฯ และว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ อันภิกษุอบรมแล้ว

โดยชอบ ปฏิบัติตามโดยชอบตามกาล ย่อมให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลายโดยลำดับ.

๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ การฟังธรรมตามกาล ๑ ดังนี้เป็นต้น

ในพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๕ ประการคือ

ความคารวะ ๑

ความถ่อมตน ๑

ความสันโดษ ๑

ความเป็นผู้กตัญญู ๑

การฟังธรรมตามกาล ๑ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าได้อธิบายให้แจ่มแจ้ง

แล้วในมงคลข้อนั้น ๆ นั่นแล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า

คารโว จ นิวาโต เป็นต้น

คาถาที่ ๘ (มี ๔ มงคล)

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในมงคลข้อว่า ขนฺตี จ เป็นต้น ดังต่อไปนี้.

ความอดทน ชื่อว่า ขันติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 185

การว่ากล่าวได้โดยง่าย เพราะความเป็นผู้ปกติรับด้วยมือขวา(เคารพ)

มีอยู่ในบุคคลนี้ เพราะเหตุนี้ บุคคลนี้จึงชื่อว่า สุวโจ ผู้ว่าได้โดยง่าย.

กรรมของผู้ว่าง่ายนั้นชื่อว่า โสวจสฺส ภาวะแห่ง โสวจสฺส นั้นชื่อว่า

โสวจสฺสตา ความเป็นผู้ว่าได้โดยง่าย.

นักบวชทั้งหลาย ที่ชื่อว่า สมณะ ก็เพราะสงบระงับกิเลสเสียได้.

การดู ชื่อว่า ทัสสนะ การสนทนาซึ่งพระธรรมชื่อว่า ธัมมสากัจฉา

คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล นี่คือการพรรณนาเฉพาะบท ส่วน

การพรรณนาเนื้อความพึงทราบดังต่อไปนี้.

อธิวาสนขันติ ชื่อว่า ขันติ. ภิกษุประกอบแล้ว ด้วยขันติ ก็เป็นผู้

ไม่หวั่นไหว ราวกะว่าไม่ได้ยิน และราวกะว่าไม่ได้เห็น ในเมื่อบุคคลด่าอยู่

ด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ หรือเบียดเบียนอยู่ ด้วยกรรมทั้งหลายมีการฆ่าและการจอง

จำเป็นต้น เสมือนขันติวาทีดาบสฉะนั้น. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า สมณะเป็น

ผู้แสดงความอดทน ในอดีตสิ้นกาลนาน

(เพราะ) พระเจ้ากาสิกราช ได้รับสั่งให้ตัด

ซึ่งขันติวาทีดาบสนั้น ผู้ดำรงอยู่แล้วด้วย

ขันตินั้นแล ดังนี้.

หรือว่าภิกษุย่อมมนสิการ โดยความเป็นผู้กระทำว่าดี ราวกะท่าน

ปุณณเถระผู้มีอายุ เพราะไม่ถือโทษยิ่งกว่านั้น ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า (พระ

ปุณณเถระกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าหาก

ว่าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตกะจักด่า จักบริภาษข้าพระองค์ไซร้ ในการด่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 186

บริภาษนั้น ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ดีหนอ ที่มนุษย์เมืองสุนาปรันตกะ ฯลฯ

ดีทีเดียวหนอ ที่พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตกะเหล่านี้ไม่ใช้ฝ่ามือประหารข้าพระ-

องค์ดังนี้เป็นต้น และอธิวาสนขันติที่ภิกษุประกอบแล้ว เป็นผู้ที่แม้ฤาษีทั้งหลาย

พึงสรรเสริญ ดังที่สรภังคฤาษีกล่าวไว้ว่า

บุคคลฆ่าความโกรธเสียได้ จะไม่

เศร้าโศกในกาลไหน ๆ ฤาษีทั้งหลายสรร-

เสริญการละความลบหลู่ ท่านทั้งหลายจง

อดทนคำหยาบคายที่คนทั้งปวงกล่าวแล้ว

สัปบุรุษทั้งหลายกล่าวขันตินี้ว่าสูงสุด ดังนี้.

ภิกษุเช่นนั้นแม้เทวดาทั้งหลายก็สรรเสริญ ดังที่ท้าวสักกะจอมเทพ

ตรัสไว้ว่า

ผู้ใดแล เป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อ

คนผู้ทรุพลไว้ ความอดกลั้นของบุคคลนั้น

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นขันติอย่างยิ่ง

เพราะคนทุรพลต้องอดทนอยู่เป็นนิตย์.

ผู้ที่มีความอดทนแม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ตรัสสรรเสริญ ดังที่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ผู้ใดไม่โกรธไม่ประทุษร้าย ย่อมอด

กลั้นต่อการฆ่าและการจองจำ เราเรียกผู้นั้น

ซึ่งมีขันติเป็นพลัง ผู้มีพลังเป็นเสนา ว่า

เป็นพราหมณ์.

๑. สัง. สคาถวรรค ๑๕/ ข้อ ๘๗๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 187

ก็ขันตินี้นั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการได้รับ

คุณทั้งหลาย ที่ท่านกล่าวพรรณนาไว้ในที่นี้เหล่านี้ และคุณทั้งหลายเหล่าอื่น.

การไม่ถึงความฟุ้งซ่าน หรือความเป็นผู้นิ่ง หรือคิดถึงคุณและโทษ

ในเมื่อตนถูกว่ากล่าวประกอบด้วยธรรม (แต่) ทำความเอื้อเฟื้อความเคารพ

และความอ่อนน้อมอย่างยิ่งแล้วกล่าวว่า ดีละ (ที่ท่านได้กรุณาว่ากล่าวตักเตือน

ข้าพเจ้า) ดังนี้ชื่อว่า โสวจสฺสตา ความเป็นผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ว่าง่ายนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ได้โอวาทและอนุศาสนี

จากสำนักของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย และเพราะเป็นเหตุให้ได้ละโทษและ

บรรลุคุณ.

การเข้าไปหา การอุปัฏฐาก การระลึกถึง การฟังและการเห็นบรรพ-

ชิตทั้งหลายผู้มีกิเลสอันสงบแล้ว ผู้อบรมกาย วาจา จิตและปัญญาแล้ว ผู้

ประกอบด้วยความฝึกฝนและความสงบอย่างสูง ชื่อว่า การเห็นสมณะทั้งหลาย

การเข้าไปหาทั้งหมดเป็นต้นนั้น ท่านกล่าวว่า ทัสสนะ (การเห็น) เพราะ

ไม่ได้แสดงสิ่งที่ต่ำช้า ข้อนี้พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเหตุไร เพราะมีอุป-

การะมาก และพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเเม้การ

เห็นว่ามีอุปการะมากแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้เป็นอาทิ เพราะกุลบุตรที่

ปรารถนาประโยชน์ เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ทรงศีลมาถึงประตูเรือน ถ้าหากว่า

ไทยธรรมมีอยู่ ก็พึงต้อนรับด้วยไทยธรรม ตามกำลัง ถ้าหากว่าไทยธรรม

ไม่มี ก็พึงไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เมื่อการไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์นั้น

ไม่สำเร็จ (ไหว้ไม่สะดวก) ก็พึงประคองอัญชลีนมัสการ แม้เมื่อการประคอง

อัญชลีนมัสการนั้นไม่สำเร็จ ก็พึงนั่งมองด้วยจิตที่เลื่อมใส ด้วยนัยน์ตาทั้งสอง

ที่ประกอบด้วยความรัก เพราะว่าด้วยบุญที่มีการมองดูอย่างนี้เป็นมูลเหตุ โรค

นัยน์ตาก็ดี โทษก็ดี ฝ้าก็ดี ไฝก็ดี ย่อมไม่มีตลอดพันชาติเป็นอเนก เขามี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 188

จักษุที่แจ่มใส ประกอบด้วยสิริ มีวรรณะ ๕ เช่น กับด้วยหน้าต่างแก้วมณี

ที่เปิดไว้ในวิมานแก้ว เป็นผู้มีปกติได้สมบัติทุกอย่าง ทั้งในเทวโลก ทั้งใน

มนุษยโลกประมาณสิ้นแสนกัป ข้อที่บุคคลมีปัญญา เกิดเป็นมนุษย์มีปัญญา

จะพึงเสวยวิบากสมบัติเห็นปานนั้น ด้วยคุณซึ่งเกิดจากการเห็นสมณะที่เป็นไป

โดยชอบ นี้ไม่น่าอัศจรรย์ (แต่) ข้อที่บัณฑิตทั้งหลายกล่าวสรรเสริญวิบาก

สมบัติ แห่งการเห็นสมณะซึ่งเกิดจากเหตุ เพียงศรัทธาอย่างเดียวเท่านั้น แม้

ของสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย อย่างนี้ว่า

นกฮูกชื่อว่าโกสิยะนี้มีนัยน์ตากลม

อยู่ที่ภูเขาเวทิยกะมานาน มีความสุขหนอ

ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้เสด็จลุก

ขึ้นตามกาล

นกฮูกนั้นทำใจให้เลื่อมใสในเรา

(ตถาคต) ในภิกษุสงฆ์ผู้เลิศ จะไม่ไปสู่

ทุคติสิ้นแสนกัป

เคลื่อนจากเทวโลกแล้ว อันกุศล-

กรรมตักเตือนแล้ว จักเป็นพระพุทธเจ้า

ปรากฏพระนามว่า โสมนัส ผู้มีพระญาณ

อันไม่สิ้นสุด ดังนี้ (จึงเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์)

ชื่อว่า การสนทนาธรรมตามกาล (กาเลน ธมฺมสากจฺฉา) ข้าพเจ้า

จะได้กล่าวต่อไป ในเวลาพลบค่ำ หรือในเวลาใกล้รุ่ง ภิกษุนักพระสูตร ๒

รูป สนทนาพระสูตรกัน นักวินัย ๒ รูป สนทนาพระวินัยกัน นักอภิธรรม

๒ รูป สนทนาอภิธรรมกัน พระภิกษุผู้กล่าวชาดก ๒ รูป สนทนาชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 189

กัน พระภิกษุผู้เรียนอรรถกถา ๒ รูป สนทนาอรรถกถากัน หรือว่าภิกษุทั้งหลาย

ย่อมสนทนากันในกาลนั้น ๆ เพื่อชำระจิตที่หดหู่ ฟุ้งซ่าน และสงสัยเป็นไป

ในเบื้องหน้า การสนทนาธรรมตามกาลนั้น ท่านเรียกว่า เป็นมงคล เพราะ

เป็นเหตุแห่งคุณทั้งหลาย มีความเป็นผู้ฉลาดในอาคม (ปริยัติ) เป็นต้น.

ด้วยพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๔ มงคล คือ ขันติ ๑

โสวจัสสตา ๑ การเห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมตามกาล ๑ ดัง

พรรณนามาฉะนี้ และความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าก็ได้อธิบายไว้

ชัดเจนแล้วในมงคลนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้แล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งคาถานี้ว่า

ขนฺตี จ เป็นต้น

คาถาที่ ๙ (มี ๔ มงคล)

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคาถามีบทว่า ตโป จ เป็นต้นดังต่อไปนี้

ธรรมที่ชื่อว่า ตบะ เพราะอรรถว่าแผดเผาบาปธรรมทั้งหลาย. ความประพฤติ

ที่ประเสริฐ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า พรหมจรรย์. อีกอย่างหนึ่ง ความประพฤติ

ของพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า พรหมจรรย์ มีคำอธิบายว่า ความประพฤติอย่าง

ประเสริฐ. การเห็นอริยสัจทั้งหลาย ชื่อว่า อริยสจฺจานทสฺสน อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า อริยสจฺจานิ ทสฺสน ดังนี้ก็มี ข้อนี้ไม่ดี.

ที่ชื่อว่า นิพพาน เพราะออกจากกิเลสเครื่องร้อยรัด ที่ชื่อว่า วานะ.

การทำให้แจ้ง ชื่อว่า สจฺฉิกิริยา.

การทำให้แจ้ง ซึ่งพระนิพพาน ชื่อ นิพฺพานสจฺฉิกิริยา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 190

คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล นี่คือการพรรณาเฉพาะ

บท ส่วนการพรรณนาเนื้อความ ผู้ศึกษาพึงทราบ ดังต่อไปนี้.

การสำรวมอินทรีย์ โดยแผดเผาอกุศลธรรมทั้งหลาย มีอภิชฌาและ

โทมนัสเป็นต้น หรือความเพียร อันแผดเผาความเกียจคร้านชื่อว่า ตปะ.

เพราะว่าบุคคลที่ประกอบด้วยตปะนั้น ท่านเรียกว่า อาตาปี ผู้มีตบะ หรือ

ผู้มีความเพียรเป็นเครื่องแผดเผาบาป.

ตบะนี้นั้น พึงทราบว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ละอภิชฌาเป็นต้น

เสียได้ และเป็นเหตุให้ได้ฌานเป็นต้น.

ชื่อว่า พรหมจรรย์ เป็นชื่อแห่งเมถุนวิรัติ, สมณธรรม, ศาสนา

และมรรค จริงอย่างนั้น เมถุนวิรัติในธรรมทั้งหลาย มีคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า

บุคคลละความประพฤติที่ไม่ประเสริฐ เป็นผู้มีปกติประพฤติประเสริฐ ดังนี้

ท่านเรียกว่า พรหมจรรย์.

สมณธรรมทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส เราอยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ ท่านก็เรียกว่า พรหมจรรย์.

ศาสนาในธรรมทั้งหลาย มีคำเป็นอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป

เราจักยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่พรหมจรรย์ของเรานี้ จักไม่บริบูรณ์ ไม่

แพร่หลาย กว้างขวาง มีคนรู้จักมาก ดังนี้ ท่านก็เรียกว่า พรหมจรรย์.

มรรคในคำทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ อัฏฐังคิกมรรค

อันประเสริฐนี้เท่านั้นแล เป็นตัวพรหมจรรย์ คือ สัมมาทิฏฐิ ดังนี้ ท่านก็

เรียกว่า พรหมจรรย์. แต่ในพระสูตรนี้ คำทั้งปวงที่เหลือก็ใช้ได้ เพราะยึดถือ

เอามรรคเป็นเบื้องหน้าในการเห็นอริยสัจ ก็พรหมจรรย์นี้นั้นพึงทราบว่าเป็น

มงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษ มีประการต่าง ๆ สูง ๆ ขึ้นไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 191

การเห็นมรรค ด้วยสามารถแห่งการบรรลุอริยสัจ ๔ มีเนื้อความที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในกุมารปัญหา ชื่อว่า อริสัจจานทัสสนะ

การเห็นอริยสัจนั้นท่านกล่าวว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ท่านพ้นจากทุกข์

ในสังสารเสียได้.

ชื่อว่า การกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ข้าพเจ้าจักได้กล่าวต่อไป. ใน

มงคลสูตรนี้ คำว่า อรหัตผล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ไว้ว่า นิพพาน

เพราะว่าอรหัตผลนั้น เรียกว่า นิพพาน เพราะออกจากตัณหาที่เรียกว่า

วานะ เพราะร้อยรัดคติ ๕ ไว้. การบรรลุหรือการพิจารณาพระนิพพานนั้น

ท่านเรียกว่า สัจฉิกิริยา การกระทำให้แจ้ง แต่การกระทำให้แจ้วพระนิพพาน

นอกนี้ สำเร็จได้ ก็ด้วยการเห็นอริยสัจเท่านั้น เพราะเหตุนั้นพระนิพพานนี้

จึงไม่ได้ประสงค์เอาในมงคลนี้ การกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนี้ พึงทราบว่า

เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ดังพรรณนามาฉะนี้.

ด้วยพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๔ ประการคือ ตบะ ๑

พรหมจริยา ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การทำนิพพานให้แจ้ง ๑ ดังพรรณนามา

ฉะนี้ ก็ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าได้อธิบายไว้ชัดเจนแล้วใน

มงคลนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้แล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งคาถานี้ว่า

ตโป จ เป็นต้น

คาถาที่ ๑๐ (มี ๔ มงคล)

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในมงคลข้อว่า ผุฏฺสฺส โลกธมฺเมหิ เป็น

ต้นนี้ ดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 192

บทว่า ผุฏฺสฺส ได้แก่ สัมผัส คือถูกต้อง ได้แก่ ถึงพร้อม.

ธรรมทั้งหลายในโลก ชื่อว่า โลกธรรม มีคำอธิบายว่า โลกยังเป็น

ไปอยู่ตราบใด ธรรมทั้งหลายก็ไม่หมุนกลับตราบนั้น.

มโน คือ มานัส ชื่อว่า จิต.

บทว่า ยสฺส ได้แก่ พระนวกะ หรือพระมัชฌิมะ หรือพระเถระ.

บทว่า น กมฺปติ ได้แก่ ไม่หวั่น ไม่สะเทือน.

บทว่า อโสก ได้แก่ไม่เศร้าโศก คือถอนลูกศรคือความโศกเสียได้.

บทว่า วิรช ได้แก่ ผู้ปราศจากราคะ คือผู้กำจัดราคะได้แล้ว.

บทว่า เขม ได้แก่ ไม่มีภัย คือไร้อุปัทวะ คำที่เหลือมีนัยดังข้าพเจ้า

กล่าวแล้วแล นี้เป็นการพรรณนาเฉพาะบทก่อน ส่วนการพรรณนาเนื้อความ

พึงทราบดังต่อไปนี้.

จิตของผู้ใด อันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ก็ไม่หวั่นไหว คือ

จิตของผู้ใด อันโลกธรรมทั้ง ๘ มีลาภเป็นต้น ถูกต้องแล้ว คือครอบงำแล้ว

ย่อมไม่หวั่นไหว ได้แก่ ไม่คลอนแคลน ไม่สะเทือน จิตนั้นของบุคคลนั้น

อันใคร ๆ ไม่พึงให้หวั่นไหวได้ เพราะนำโลกุตรมรรคมาให้.

ถามว่า ก็จิตของใครถูกโลกธรรมเหล่านี้ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว.

ตอบว่า จิตของพระอรหันตขีณาสพ ย่อมไม่หวั่นไหว หาใช่จิต

ของใครอื่นไม่ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ภูเขาศิลาแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหว

เพราะลมฉันใด รูป รส เสียง กลิ่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 193

สัมผัส รวมทั้งธรรมที่น่าปรารถนา และ

ธรรมนี้ไม่น่าปรารถนา หาได้ทำจิตซึ่งตั้งมั่น

หลุดพ้นแล้วของท่านผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่

ทั้งท่านย่อมเห็นความสิ้นไปแห่งสภาวธรรม

เหล่านั้นด้วย ดังนี้

จิตของพระขีณาสพเท่านั้น ชื่อว่า อโสก ไม่เศร้าโศก. จริงอยู่

จิตของพระขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่า ไม่เศร้าโศก เพราะไม่มีความโศก ที่ท่าน

เรียกกันโดยนัยว่า ความโศก ความเศร้าโศก ความเป็นผู้เศร้าโศก ความ

เศร้าโศกในภายใน ความแห้งเกรียมในภายใน ความที่ใจเผาไหม้ ดังนี้เป็นต้น.

อาจารย์บางพวก เรียกจิตที่ไม่เศร้าโศกนี้ว่า พระนิพพาน.

จิตที่ไม่เศร้าโศกนั้น ท่านไม่ต่อกับบทก่อน (จิตที่ถูกโลกธรรม)

เหมือนอย่างว่า คำว่าจิตไม่เศร้าโศกเป็นจิตของพระขีณาสพฉันใด แม้คำว่า

จิตที่ปราศจากธุลี จิตเกษม ก็เป็นจิตของพระขีณาสพเหมือนกันฉันนั้น ด้วยว่า

จิตของพระขีณาสพนั้น ชื่อว่า ปราศจากธุลี เพราะเป็นจิตที่ปราศจากธุลีคือ

ราคะ โทสะ และโมหะ และ ชื่อว่า เกษม เพราะเป็นจิตที่ปลอดจากโยคะ

ทั้งสี่ เพราะจิตของพระขีณาสพนี้ แม้จะมี ๓ อย่าง (อโสก วิรช เขม)

ด้วยสามารถที่ท่านถือเอาในปวัตติขณะนั้น ๆ แสดงไว้โดยอาการนั้น ๆ ก็พึง

ทราบว่า เป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งความเป็นผู้ยอดเยี่ยมในโลก มีความที่ขันธ์

ไม่เป็นไปอีกเป็นต้น (ไม่ต้องเกิดอีก) และนำมาซึ่งความเป็น อาหุเนยยบุคคล

เป็นต้น.

๑. อัง. ฉักก. ๒๒/ ข้อ ๓๒๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 194

ด้วยพระคาถานี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๔ ประการ ความที่จิต

ไม่หวั่นไหว ด้วยโลกธรรม ๘ อย่าง ๑ จิตไม่เศร้าโศก ๑ จิตปราศจากธุลี ๑

จิตเกษม ๑ ดังพรรณนามาฉะนี้ ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านี้เป็นมงคล ข้าพเจ้า

ได้อธิบายไว้ชัดเจนแล้ว ในมงคลนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้แล

จบการพรรณนาเนื้อความ แห่งคาถาที่ว่า

ผุฏฺสฺส โลกธมฺเมหิ เป็นต้นนี้

คาถาที่ ๑๑

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๓๘ ประการ ด้วยพระคาถา ๑๐ พระ-

คาถาว่า อเสวน จ พาลาน ดังนี้เป็นต้น ดังพรรณนามาฉะนี้. บัดนี้

เมื่อจะทรงชมเชยมงคล ที่พระองค์ตรัสไว้เหล่านี้แล จึงได้ตรัสพระคาถาสุดท้าย

นี้ว่า เอตาทิสานิ กตฺวาน ดังนี้เป็นต้น.

การพรรณนาเนื้อความแห่งพระคาถาสุดท้ายนั้น มีดังต่อไปนี้.

คำว่า เอตาทิสานิ ความว่า มงคลทั้งหลาย มีการไม่เสพพวกคน

พาลเป็นต้น เช่นนี้ เหล่านี้ คือที่มีประการอันเรากล่าวแล้ว.

บทว่า กตฺวาน ได้แก่ การทำแล้ว จริงอยู่บท ๓ บท คือ กตฺวาน

กตฺวา กริตฺวา โดยเนื้อความก็ไม่ใช่อื่น (ถือเป็นอันเดียวกัน)

บทว่า สพฺพตฺถมปราชิตา ความว่า เป็นผู้แม้อันศัตรูอย่างหนึ่งใน

บรรดาศัตรู ๔ ประเภท อันต่างโดยขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร และ

เทวปุตตมาร จะให้พ่ายแพ้ไม่ได้ อธิบายว่า ทำมารทั้ง ๔ ประเภทเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 195

ให้พ่ายแพ้เสียเอง ก็ อักษรในคำว่า สพฺพตฺถมปราชิตา นี้ พึงทราบว่า

เป็นการเชื่อมบท (บทสนธิ)

บาทคาถาว่า สพฺพตฺถ โสตถึ คจฺฉนฺติ ความว่า บุคคลกระทำ

ตามมงคล เหล่านี้แล้ว เป็นผู้ที่มารทั้ง ๔ ให้แพ้ไม่ได้ ย่อมถึงความสวัสดี

ในที่ทั้งปวง คือในโลกนี้และโลกหน้า และในสถานที่ทั้งหลาย มีทางเดิน

จงกรมเป็นต้น มีคำอธิบายว่า อาสวะ การเข่นฆ่า และความเร่าร้อนเหล่า

ใด จะพึงเกิดขึ้น จากการคบคนพาลเป็นต้น ชนทั้งหลายเหล่านั้นย่อมถึงความ

สวัสดี เพราะไม่มีอาสวะ การเข่นฆ่าและความเร่าร้อนเหล่านั้น ถือว่า เป็นผู้

ไม่มีอุปัทวะ ไม่มีอุปสรรค มีความเกษม ไม่มีภัย ย่อมถึงความสวัสดีได้

ก็อนุนาสิก (นิคคหิต) ในคำว่า สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ นี้ พึงทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อความสะดวกในการประพันธ์คาถา พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงให้เทศนาจบลง ด้วยบาทพระคาถานี้ว่า ตนฺเตส มงฺคลมุตฺตม.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เทศนาจบลงอย่างไร ?

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เทศนาจบลง โดยพุทธประสงค์

อย่างนี้ว่า ดูก่อนเทวบุตร ก็เพราะชนเหล่าใดกระทำตามมงคลเหล่านี้ อย่างนี้

ชนเหล่านั้นย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง ฉะนั้น ท่านจงถือเอามงคลทั้ง ๓๘

ประการ มีการไม่เสพพวกคนพาลเป็นต้นนั้น เป็นมงคลอย่างสูงสุด ได้แก่

ประเสริฐที่สุด คือเลิศสำหรับชนทั้งหลายเหล่านั้น ผู้กระทำตามมงคลเหล่านี้นี้.

ก็ในที่สุดแห่งพระเทศนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้จบลงแล้ว

อย่างนี้ เทวดาประมาณแสนโกฏิบรรลุพระอรหัต. ผู้ที่บรรลุเป็นพระ

โสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี นับไม่ถ้วน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 196

ต่อจากนั้นในวันที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระอานนทเถระ

มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เมื่อคืนนี้เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาเราแล้วถาม

มงคลปัญหา เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงได้กล่าวมงคล ๓๘ ประการ แก่เทวดานั้น

ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนมงคลนี้ ครั้นเรียนมงคลปริยาขึ้นแล้วจงบอกภิกษุ

ทั้งหลาย. พระเถระเรียนเอาแล้ว จึงได้บอกภิกษุทั้งหลาย มงคลสูตรนี้นั้น

อาจารย์นำสืบ ๆ กันมา ย่อมเป็นมาได้จนถึงทุกวันนี้ พรหมจรรย์นี้พึงทราบ

ว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ประกาศดีแล้ว จนกระทั่งบริบูรณ์ แพร่หลาย

กว้างขวาง มีคนรู้กันมาก และเป็นปึกแผ่น ด้วยประการฉะนี้.

สรุปมงคล ๓๘

บัดนี้ เพื่อความฉลาดในการอบรมญาณ ในมงคลเหล่านี้นั้น แหละ จึง

มีโยชนา (วาจาประกอบการอธิบายความให้เชื่อมกัน) จำเดิมแต่ต้นดังต่อไปนี้.

สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ผู้ใคร่ต่อความสุขในโลกนี้ โลกหน้าและโลกุตร-

สุข ละการเสพคนพาล อาศัยบัณฑิตทั้งหลาย บูชาซึ่งบุคคลทั้งหลาย ที่ควร

บูชา อันการอยู่ในประเทศอันสมควร และการเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วใน

ปางก่อน ตักเตือนอยู่ ในการสั่งสมกุศล จึงตั้งตนไว้ชอบ มีอัตภาพอันประดับ

แล้ว ด้วยพาหุสัจจะ ศิลปะ และวินัย กล่าวอยู่ซึ่งวาจาสุภาษิต อันสมควร

แก่วินัย ตนยังไม่ละความเป็นคฤหัสถ์ตราบใด ก็ชำระหนี้เก่าโดยการเลี้ยงดู

มารดาบิดาอยู่ตราบนั้น ประกอบหนี้ใหม่ด้วยการสงเคราะห์บุตรและภรรยาอยู่

บรรลุถึงความสำเร็จแห่งสมบัติ มีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น ด้วยความ

เป็นผู้มีการงานไม่อากูล ถือเอาสาระแห่งโภคะด้วยการให้ทานและสาระแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 197

ชีวิตด้วยการประพฤติธรรม กระทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนของตน ด้วยการ

สงเคราะห์ญาติ และกระทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนอื่น ด้วยการประกอบการงาน

ที่ปราศจากโทษ เว้นการเบียดเบียนคนอื่น ด้วยการงดจากบาปและการเบียด-

เบียนตน ด้วยการสำรวมจากการดื่มน้ำเมา เจริญธรรมฝ่ายกุศลทั้งหลาย ด้วย

ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย สละเพศคฤหัสถ์ ด้วยความเป็นผู้ฉลาดใน

กุศลธรรมที่ตนเจริญแล้ว แม้ดำรงอยู่แล้วในความเป็นบรรพชิต ก็ยินดีความ

ถึงพร้อมด้วยวัตร ด้วยความเคารพและความอ่อนน้อม ในทักขิเณยยบุคคล

ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า พุทธสาวก อุปัชฌาย์และอาจารย์เป็นต้น. สละ

ความคิดในปัจจัย ด้วยความสันโดษ ดำรงอยู่ในสัปปุริสภูมิ ด้วยความกตัญญุ

ละจิตที่ท้อแท้เสียได้ด้วยการฟังธรรม ครอบงำอันตรายทั้งปวงเสียได้ด้วยความ

อดทน ทำคนให้มีที่พึ่งด้วยการเป็นผู้ว่าง่าย เห็นอยู่ซึ่งการประกอบความเพียร

ในการปฏิบัติ ด้วยการเห็นสมณะ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็น

ที่ตั้งแห่งความสงสัยเสียได้ด้วยการสนทนาธรรม ทำศีลวิสุทธิให้บริบูรณ์ ด้วย

การสำรวมอินทรีย์และตบะ ทำจิตตวิสุทธิให้บริบูรณ์ด้วยพรหมจรรย์คือสมณ-

ธรรม ทำวิสุทธิอีก ๔ อย่างที่เหลือจากนั้นให้บริบูรณ์ (ทิฏฐิ, กังขา, มัคคา,

ปฏิปทา) บรรลุญาณทัสสนวิสุทธิ. อันเป็นปริยายแห่งอริยสัจจทัสสนะ ด้วย

ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ) นี้ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน กล่าวคือ

อรหัตผล ซึ่งครั้นทำให้แจ้งแล้ว ก็เป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘

ดุจภูเขาสิเนรุไม่หวั่นไหว เพราะลมและฝนฉะนั้น จึงเป็นบุคคลที่ไม่เศร้าโศก

มีจิตปราศจากธุลี มีจิตเกษม ก็บุคคลเหล่าใดเป็นผู้มีจิตเกษม บุคคลเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 198

เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง และย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

เอตาทิสานิ กตฺวาน สพฺพตฺถมปราชิตา

สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ ตนฺเตส มงคลมุตฺตม.

เหล่าชนครั้นกระทำการมงคลทั้ง ๓๘

ประการเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ใน

ที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน

การถึงความสวัสดีนั้นเป็นมงคลอย่างสูงสุด

ของชนเหล่านั้น.

จบการพรรณนามงคลสูตร ในอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 199

สูจิโลมสูตรที่ ๕

ว่าด้วยกิเลสเป็นเหตุเกิด

[๓๑๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่บน (แท่นหิน) เตียงมี

แม่แคร่ในที่อยู่ของสูจิโลมยักษ์ ใกล้ บ้านคยา ก็สมัยนั้นแล ขรยักษ์และ

สูจิโลมยักษ์เดินผ่านไปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้น ขรยักษ์

ได้กล่าวกะสูจิโลมยักษ์ว่า นั่นสมณะ สูจิโลมยักษ์ได้กล่าวกะขรยักษ์ว่า นั่น

ไม่ใช่สมณะ นั่นเป็นสมณะเทียม เราทราบชัดว่า สมณะหรือสมณะเทียมเพียงไร

ลำดับนั้น สูจิโลมยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว

น้อมกายของตนเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นกาย

(ของสูจิโลมยักษ์) ออกไป สูจิโลมยักษ์ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านกลัว

ข้าพเจ้าหรือสมณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราไม่กลัวท่านดอกผู้มีอายุ

แต่สัมผัสของท่านลามก.

ส. ดูก่อนสมณะ ข้าพเจ้าจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านไม่พยากรณ์

ไซร้ ข้าพเจ้าจักควักดวงจิตของท่านออกโยนทิ้งเสีย หรือจักฉีกหทัยของท่าน

เสีย หรือจักจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้างไป ในแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น.

พ. เราไม่เห็นบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ผู้ซึ่งจะควักดวงจิตของ

เราออกโยนทิ้ง หรือจะฉีกหทัยของเราเสีย หรือจะจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 200

ไปในแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น ผู้มีอายุ ก็แลท่านปรารถนาจะถามปัญหาข้อใด ก็จง

ถามเถิด.

ลำดับนั้นแล สูจิโลมยักษ์ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

[๓๒๐] ราคะและโทสะมีอะไรเป็น

เหตุเกิด ความไม่ยินดี ความยินดี ขนลุก

ขนพอง เกิดแต่อะไร วิตกทั้งหลายเกิดแต่

อะไร แล้วจึงปล่อยลงไปหาใจที่เป็นกุศล

เหมือนพวกเด็กน้อยเอาด้ายผูกตีนกาแล้ว

ปล่อยลงไป ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า

ราคะและโทสะมีอัตภาพเป็นเหตุเกิด

ความไม่ยินดี ความยินดี ขนลุกขนพอง

เกิดแต่อัตภาพนี้ วิตกทั้งหลายเกิดแต่อัตภาพ

นี้ แล้วปล่อยลงไปหาใจที่เป็นกุศล เหมือน

พวกเด็กน้อยเอาด้ายผูกตีนกา แล้วปล่อยลง

ไปฉะนั้น.

กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เกิดแต่

ความเยื่อใย เกิดในตน เหมือนย่านไทรเกิด

แต่ต้นไทร ฉะนั้น กิเลสเป็นอันมาก ซ่าน

ไปแล้วในกามทั้งหลาย เหมือนเถาย่านทราย

รึงรัดไปแล้วในป่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 201

สัตว์เหล่าใด ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่กิเลส

นั้นว่ามีกิเลสใดเป็นเหตุ สัตว์เหล่านั้นย่อม

บรรเทาซึ่งหมู่กิเลสนั้นได้ ท่านจงฟังเถิด

ยักษ์ สัตว์เหล่าใดย่อมบรรเทาซึ่งหมู่กิเลสได้

สัตว์เหล่านั้นย่อมข้ามพ้นซึ่งโอฆะอันข้ามได้

โดยยาก ที่ยังไม่เคยข้ามแล้ว เพื่อความ

ไม่เกิดอีก.

จบสูจิโลมสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูจิโลมสูตรที่ ๕

สูจิโลมสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า การเกิดขึ้นของพระสูตรนี้ จักมีแจ้ง (จักปรากฏ) โดยนัย

ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ ในการพรรณนาเนื้อความ. ก็ในคำว่า คยาย วิหรติ

ฏงฺกิตมญฺเจ สูจิโลมสฺส ยกฺขสฺส ภวเน นี้. พึงทราบวินิจฉัยว่า คยา

คืออะไร เตียงที่มีตั่งคืออะไร และเพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ประทับอยู่ที่ภพของยักษ์นั้น ข้าพเจ้าจะได้กล่าวเฉลยต่อไป.

บ้านก็ดี ท่า (น้ำ) ก็ดี ท่านเรียกว่า คยา บ้านและท่าแม้ทั้งสองนั้น

สมควรในพระสูตรนี้ ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ประทับอยู่ในประเทศที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 202

ไม่ไกลแห่งบ้านคยา ท่านก็เรียกว่า คยาย วิหรติ ประทับอยู่ที่บ้านคยา

ก็ในที่ใกล้ คือ ที่ไม่ไกล ได้แก่ ที่ใกล้ประตูแห่งบ้านนั้น มีเตียงที่มีแม่แคร่

นั้นตั้งอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ประทับอยู่ที่ท่าคยา ท่านก็เรียกว่า คยาย

วิหรติ ประทับอยู่ที่ท่าคยา และที่ท่าคยานั้น มีเตียงที่มีแม่แคร่นั้นตั้งอยู่.

เตียงหิน ซึ่งเขายกหินแผ่นกว้างไปวางไว้บนก้อนหิน ๔ ก้อน เรียกว่า

เตียงมีเเม่แคร่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเตียงมีแม่แคร่นั้นอันเป็นภพของ

ยักษ์ดุจภพของอาฬวกยักษ์.

ก็อีกประการหนึ่ง เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาบัติ

อันประกอบด้วยพระมหากรุณา ในเวลาใกล้รุ่งวันนั้น ทรงตรวจดูสัตวโลกด้วย

พุทธจักษุ ได้ทรงเห็นอุปนิสสัยแห่งโสดาปัตติผลแม้ของยักษ์ทั้งสอง คือ

สูจิโลมยักษ์และขรยักษ์ ฉะนั้นจึงทรงถือบาตรและจีวร ภายในอรุณนั้นเอง

(ในเวลาอรุณขึ้น) ได้เสด็จยังประเทศอัน เป็นท่านั้น แม้เป็นภูมิภาคซึ่ง

สกปรก อันเป็นที่ไหลออกแห่งของไม่สะอาด มีประการต่าง ๆ มีน้ำลาย และ

น้ำมูกเป็นต้นของประชาชน ซึ่งมาประชุมกันจากทิศต่าง ๆ แล้วประทับ

นั่งบนเตียงที่มีแม่แคร่นั้น อันเป็นภพของสูจิโลมยักษ์ เพราะเหตุนั้น พระ-

อานนทเถระจึงกล่าวว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับบนเตียงมีแม่แคร่

อันเป็นภพของสูจิโลมยักษ์ ใกล้บ้านคยา (หรือใกล้ท่าคยา).

คำว่า เตน โข ปน สมเยน ความว่า สมัยใดพระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ที่ภพของสูจิโลมยักษ์นั้น สมัยนั้น ขรยักษ์และสูจิโลมยักษ์ได้ก้าว

เข้าไปในที่ไม่ไกลแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 203

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ยักษ์ทั้งสองนั้นจึงก้าวเข้าไป ข้าพเจ้าจะกล่าว

ต่อไป.

ในบรรดายักษ์ทั้งสองนั้น จะได้พูดถึงยักษ์ตนหนึ่งก่อน คือ ใน

อดีตกาล ชายผู้หนึ่งไม่ได้บอกกล่าวเลย ถือเอาน้ำมันของสงฆ์ไปทาสรีระของคน

เพาะกรรมนั้นเขาจึงไหม้ในนรก และมาบังเกิดในกำเนิดยักษ์ ที่ฝั่งแห่งสระ

โบกขรณีแห่งคยา เขามีอวัยวะแปลกประหลาด ด้วยวิบากอันเหลือลงแห่งกรรมนั้น

นั่นเอง และผิวหนังของเขามีสัมผัสหยาบเช่นกับกระเบื้องอิฐ ได้ยินว่า เมื่อใด

เขาต้องการจะให้ผู้อื่นกลัว เมื่อนั้น เขาก็ขยายผิวหนังอันเช่นกับกระเบื้องทำให้

กลัว ยักษ์นั้นจึงได้นามว่า ขรยักษ์ ก็เพราะเหตุที่มีสัมผัสหยาบนั้นเอง

ด้วยประการฉะนี้.

(ส่วน) สูจิโลกยักษ์นอกนี้ ในสมัยแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ เป็นอุบาสกไปวัดฟังธรรมเดือนละ ๘ ครั้ง วันหนึ่งเมื่อเขาประกาศ

การฟังธรรมกัน เขาก็เล่นอยู่ที่นาของตน ใกล้ประตูสังฆาราม ฟังเสียงการ

โฆษณาแล้ว ก็คิดว่า ถ้าว่าเราจะอาบน้ำไซร้ ก็จักชักช้า ดังนี้ ทั้ง ๆ ที่มี

ร่างกายสกปรกนั้นเอง ก็เข้าไปยังโรงอุโบสถ แล้วก็นอนหลับไปบนเครื่องลาด

อันมีค่ามาก ด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ อาจารย์ทั้งหลายผู้กล่าวคัมภีร์สังยุตตนิกาย

กล่าวว่า เขาผู้นี้เป็นภิกษุนั้นเอง หาใช่อุบาสกไม่ ด้วยกรรมนั้น และด้วย

กรรมอื่นอีก เขาจึงไหม้ในนรก และมาเกิดในกำเนิดยักษ์ที่ฝั่งแห่งสระโบกขรณี

เขาเป็นผู้มีรูปร่างน่าเกลียดด้วยวิบากอันเหลือลงแห่งกรรมนั้น ก็ที่กายของ

สูจิโลมยักษ์นั้นมีขนเหมือนเข็ม ก็ยักษ์นั้นทำสัตว์ทั้งหลายที่ควรให้ตกใจ ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 204

กลัวอยู่ดุจทิ่มแทงด้วยเข็มฉะนั้น เขาจึงได้ชื่อว่า สูจิโลมยักษ์ ก็เพราะเหตุที่เขา

มีขนดุจเข็มนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้. ยักษ์ทั้งสองนั่นออกจากภพของตนเพื่อ

ไปหากิน ไปได้ครู่เดียวก็กลับมา โดยทางที่ตนไปนั้นเอง มาถึงยังทิสาภาค

นอกนี้ ได้ก้าวเข้าไปในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ในคำว่า อถ โข ขโร เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร ยักษ์ทั้งสองเหล่านั้นจึงได้กล่าวอย่างนี้ ?

ตอบว่า ขรยักษ์ได้เห็นอาการของสมณะแล้วกล่าวกะสูจิโลมยักษ์ส่วน

สูจิโลมยักษ์เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ใดกลัวผู้นั้นหาใช่สมณะไม่ แต่จะต้อง

เป็นสมณะเทียม เพราะเปรียบเทียบกับสมณะ (แท้) เพราะฉะนั้น เมื่อจะ

ดูหมิ่นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เช่นนั้น แม้จะกล่าวด้วยความรุนแรงว่า บุรุษผู้นี้

หาใช่สมณะไม่ เขาเป็นสมณะปลอม เมื่อใคร่จะทดลองอีกจึงกล่าวว่า เราทราบ

อยู่เพียงไรเป็นต้น.

คำที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า อถ โข เป็นต้น ซึ่งท่านกล่าวไว้จำเดิมแต่

คำนี้ว่า สูจิโลโม ยกฺโข จนถึงคำว่า อปิจ เต สมฺผสฺโส ปาปโก

ก็อีกอย่างหนึ่ง สัมผัสของท่านเลว ดังนี้ เนื้อความตื้นทั้งนั้น ด้วยว่าใน

คำนั้น พึงทราบสัมพันธ์อย่างนี้ เพียงอย่างเดียวว่า คำว่า ภควโต กาย

หมายถึงน้อมกายของตนเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ต่อจากนั้นสูจิโลมยักษ์

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงหวาดหวั่นอยู่ จึงกล่าวว่า "สมณะ เราจะถาม

ปัญหากะท่าน" ดังนี้เป็นต้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร สูจิโลมยักษ์จึงถามปัญหา ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 205

ตอบว่า ก็สูจิโลมยักษ์นั้นคิดว่า สมณะนี้เป็นมนุษย์ ย่อมไม่กลัว

เรา ด้วยสัมผัสอันเป็นของอมนุษย์อันหยาบอย่างนี้ นี้. เอาเถอะ เราจะถาม

สมณะนั้น ในปัญหาอันเป็นพุทธวิสัย สรณะนี้จักตอบไม่ได้ในปัญหานั้น

แน่แท้ ต่อแต่นั้นเราก็จะเบียดเบียนสมณะนั้นได้ อย่างนี้ดังนี้แล้วจึงได้ถาม

ปัญหา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับปัญหานั้นแล้ว ตรัสว่า น ขฺวาห ต

อาวุโส เป็นต้น (อาวุโส เราไม่กลัวท่านดอก แต่สัมผัสของท่านเลว) คำ

ทั้งปวงนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยอาการทุกอย่าง ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว

ในอาฬวกสูตรนั้นเอง.

ครั้งนั้นแล สูจิโลมยักษ์ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระคาถาว่า

ราโค จ โทโส จ เป็นต้น.

ในบรรดาคำเหล่านั้น ราคะและโทสะมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นเอง.

บทว่า กุโต นิทานา ได้แก่ มีอะไรเป็นนิทาน คือมีอะไรเป็นเหตุ

พึงทราบการอาเทส โต ปัจจัย แห่งสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งปฐมาวิภัตติ.

(ในคำว่า กุโต นิทานา) ในสมาสไม่มีการลบ โต ปัจจัยนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า นิทานา ได้แก่เกิดแล้ว อธิบายว่าบังเกิดขึ้นแล้ว.

เพราะฉะนั้น จึงมีคำอธิบายว่า เกิดแล้วแต่ที่ไหน คือเกิด ได้แก่ บังเกิดแล้ว

แต่ที่ไหน. ในคำว่า อรตี รตี โลมหโส กุโตชา ความว่า สูจิโลมยักษ์ถามว่า

ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือ ความไม่พอใจซึ่งท่านแจกไว้อย่างนี้ว่า อรติ

อรติกา อนภิรติ อนตฺตมนตา อุกฺกณฺติา ปริตสฺสิตา ในเสนาสนะ

อันสงัด หรือในอธิกุศลธรรมทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ ความยินดีใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 206

กามคุณทั้งห้า ๑ ความสะดุ้งแห่งจิต ที่ถึงความนับว่าขนพองสยองเกล้าเพราะ

เป็นที่ตั้งแห่งความสะดุ้งกลัว ๑ เกิดจากอะไร.

สองบทว่า กุโต สมุฏฺาย ได้แก่ เกิดแต่ไหน ?

คำว่า มโน หมายถึง กุศลจิต.

วิตก ๙ อย่างมีกามวิตกเป็นต้น ซึ่งท่านกล่าวไว้ในอุรคสูตร ชื่อว่า

วิตกฺกา. ด้วยบาทพระคาถาว่า กุมารกา ธงฺกมิโวสฺสชนฺติ สูจิโลมยักษ์

ถามว่า พวกเด็กชาวบ้านเล่นอยู่ เอาด้ายผูกตีนกาไว้แล้ว ปล่อยไป ได้แก่

โยนไป ฉันใด อกุศลวิตกเกิดขึ้นแต่ที่ไหน ย่อมหยั่งลงสู่ใจคือกุศล ฉันนั้น.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้นของสูจิโลม

ยักษ์นั้น จึงได้ตรัสคาถาที่สองว่า ราโค จ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิโต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง

อัตภาพ. จริงอยู่ ราคะและโทสะเกิดจากอัตภาพ ความไม่ยินดี ความยินดี

และความขนพองสยองเกล้าก็เกิดจากอัตภาพ และอกุศลวิตกมีกามวิตกเป็นต้น

ก็ตั้งขึ้นจากอัตภาพเหมือนกัน แล้วหยั่งลงไปในใจคือกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงห้ามถึงเหตุ มีปกติเป็นต้นอย่างอื่นนั้น ด้วยคำว่า อัตภาพนั้น

จึงตรัสว่า เกิดแล้วแต่อัตภาพนี้ คือเกิดขึ้นแต่อัตภาพนี้ ชื่อว่า ตั้งขึ้น

พร้อมแล้ว แต่อัตภาพนี้. ก็ความสำเร็จแห่งศัพท์ ในคำว่า อิโต สมุฏฺาย

มโน วิตกฺกา เป็นต้นนี้ พึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในคาถาที่ ๑.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงวิสัชนาปัญหาเหล่านั้นอย่างนี้แล้ว เมื่อ

จะทรงยังเนื้อความที่พระองค์ตรัสไว้ว่า วิตกทั้งหลายเกิดแล้วแต่อัตภาพ คือ

เกิดจากอัตภาพ มีสมุฏฐานแต่อัตภาพ ในคำทั้งหลายมีคำว่า อิโต นิทานา

เป็นต้น ให้สำเร็จ จึงตรัสว่า เสฺนหชา อตฺตสมฺภูตา เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 207

กิเลสทั้งปวงมีราคะเป็นต้นเหล่านี้ มีวิตกเป็นปริโยสาน เกิดด้วยความ

เยื่อใย ด้วยอำนาจตัณหา และเมื่อเกิดขึ้นอยู่อย่างนั้น ชื่อว่าเกิดแล้วในตน

อันเป็นปริยายแห่งอัตภาพ ซึ่งต่างโดยอุปาทานขันธ์ ๕ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เสฺนหชา อตฺตสมฺภูตา บทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงกระทำอุปมา ซึ่งส่องถึงเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า นิโคฺรธสฺเสว ขนฺธชา

เหมือนย่านไทรเกิดแต่ต้นไทรฉะนั้น ย่านทั้งหลายเกิดแล้วที่ลำต้นทั้งหลาย

ในต้นไทรนั้น ชื่อว่าเกิดแล้วแต่ลำต้น.

คำว่า ขนฺธชา เป็นชื่อของย่านไทรทั้งหลาย.

ถามว่า ท่านกล่าว อธิบายไว้อย่างไร.

ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ย่านไทรทั้งหลาย ชื่อว่าเกิดแล้ว

แต่ลำต้นของต้นไทร. เมื่อยางเหนียวแห่งรสอันเกิดแต่น้ำยังมีอยู่ ก็ย่อมเกิด

ขึ้นได้ และเมื่อเกิดขึ้น ก็ย่อมเจริญขึ้น ในประเภทแห่งกิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ๆ

ที่ต้นไทรนั้นเอง ฉันใด กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นเหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

เมื่อความเสน่หาคือตัณหาในภายในยังมีอยู่ ก็เกิดขึ้นได้ และเมื่อเกิดขึ้น ก็ย่อม

เจริญขึ้นในทวาร อารมณ์ และวัตถุทั้งหลาย อันต่างด้วยประเภทมีจักษุเป็นต้น

เหล่านั้น ๆ ในอัตภาพนั้นนั่นเอง. คำว่า กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นเหล่านี้

เกิดแต่อัตภาพ เกิดจากอัตภาพ และมีอัตภาพเป็นสมุฏฐานดังนี้. นี้ บัณฑิต

พึงทราบ ดังพรรณนามา.

ส่วนในคาถากึ่งที่เหลือ มีการพรรณนาเนื้อความ ซึ่งอธิบายรวม ๆ

กันทั้งหมด ดังต่อไปนี้ :-

ก็กิเลสทั้งหลายเหล่านี้เป็นอันมาก ซึ่งเกิดแล้วในตนอย่างนี้ ซ่านไป

แล้วในกามทั้งหลาย คือว่า กิเลสทั้งหลายเหล่านี้แม้ทั้งสิ้น โดยประการทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 208

คือ ตัวราคะซึ่งเกิดขึ้นในตน ด้วยอำนาจแห่งกามคุณ ๕ ก็ดี โทสะซึ่งเกิดขึ้น

ในตนด้วยอำนาจแห่งอาฆาตวัตถุเป็นต้นก็ดี กิเลสทั้งหลายมีความไม่พอใจ

เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นในตนด้วยอำนาจแห่งประเภทแห่งกิเลสนั้น ๆ นั่นเองก็ดี

มีเป็นอันมาก คือมีอเนกประการ ซ่านไปแล้ว คือติดแล้ว ข้องแล้ว เกี่ยว

พันไว้ดำรงอยู่แล้ว โดยประการนั้น ๆ ในวัตถุกามทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ด้วย

สามารถแห่งวัตถุ ทวาร และอารมณ์เป็นต้น.

ถามว่า เหมือนกับอะไร.

ตอบว่า เหมือนกับเถาย่านทราย ปกคลุมแล้วในป่า. (ธรรมดาว่า)

เถาย่านทรายทั้งหลาย ซึ่งปกคลุมอยู่แล้วในป่า ย่อมเป็นเถาวัลย์ซึ่งรึงรัด คือ

เกี่ยวเกาะ คล้องเอาไว้ รึงรัดเอาไว้ ที่ต้นไทรทั้งหลาย อันต่างด้วยกิ่งน้อย

และกิ่งใหญ่ทั้งหลาย เป็นต้น ดำรงอยู่แล้ว ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด

ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่กิเลสนั้น เกิดจากเหตุอะไร. ที่ซ่านไปในวัตถุกามทั้งหลาย

ซึ่งมีมากประเภทอย่างนี้. ดูก่อนยักษ์ ท่านจงฟัง สัตว์เหล่านั้นย่อมบรรเทา

ซึ่งหมู่กิเลสนั้นเสียได้ว่าเหตุเป็นแดนเกิด ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโตนิทาน เป็นการแสดงถึงนปุงสกลิงค์.

ด้วยคำว่า ยโตนิทาน นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไรไว้. สัตว์-

เหล่าใดย่อมรู้หมู่แห่งกิเลสนั้นอย่างนี้ว่า เกิดจากเหตุอะไร สัตว์เหล่านั้น

รู้ซึ่งหมู่แห่งกิเลสนั้นว่า ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพซึ่งเยื่อใยแล้วด้วยยางเหนียว

คือตัณหา แล้วชำระยางเหนียวคือตัณหานั้นเสีย ด้วยไฟคือภาวนาญาณ มี

อาทีนวานุปัสสนาเป็นต้น ย่อมบรรเทา ได้แก่ย่อมละ คือว่า ย่อมทำให้สิ้นสุด

ดูก่อนยักษ์ ท่านจงฟังสุภาษิตนั้นของเราทั้งหลาย. ในคำว่า ยโตนิทาน นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง การกำหนดรู้ทุกข์ ด้วยการทราบชัดซึ่งอัตภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 209

และซึ่งการละสมุทัย ด้วยการบรรเทาหมู่แห่งกิเลส มีราคะเป็นต้น อันเป็น

ยางเหนียวคือตัณหา สัตว์เหล่าใดย่อมบรรเทาหมู่แห่งกิเลสนั้นเสียได้ สัตว์

เหล่านั้นชื่อว่า ย่อมข้ามพ้นโอฆะอันข้ามได้โดยยาก คือ ที่ตนยังไม่เคยข้าม.

ด้วยบทว่า อปุนพฺภวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงมรรคภาวนา

และการทำนิโรธให้แจ้ง อธิบายว่า ก็สัตว์เหล่าใด ย่อมบรรเทาหมู่แห่งกิเลส

นั้นเสียได้ สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า อบรมมรรคโดยแท้ ด้วยว่าหากเว้นจาก

มรรคภาวนาเสียแล้ว การบรรเทากิเลสจะมีไม่ได้ และสัตว์เหล่าใดอบรมมรรค

อยู่ สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมข้ามโอฆะ แม้ทั้ง ๔ อย่าง มีกามโอฆะเป็นต้น

นี้เสียได้ ด้วยญาณปกติ ที่ข้ามได้โดยยาก จริงอยู่ การข้ามโอฆะจะมีได้

ก็เพราะมรรคภาวนา.

บทว่า อติณฺณปุพฺพ ได้แก่ ที่ตนยังไม่เคยข้ามไป แม้ในที่สุดแห่ง

ความฝัน โดยระยะกาลอันยาวนานนี้.

บทว่า อปุนพฺภวาย ได้แก่ เพื่อพระนิพพาน.

ยักษ์ที่เป็นสหายกันแม้ทั้งสองเหล่านั้น ฟังถ้อยคำที่แสดงสัจจะ ๔

ประการนี้ ดังนี้ ก้าวเข้าไปอยู่โดยลำดับ ด้วยปัญญาที่ตนอบรมดีแล้วอย่างไร

ดังคำเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ครั้นฟังแล้ว ย่อมทรงจำธรรมไว้ได้ ย่อมเข้าไป

ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้แล้ว ดังนี้ ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล

ในที่สุดแห่งคาถานั้นเอง เป็นผู้มีความเลื่อมใส และเป็นผู้มีผิวพรรณเพียง

ดังทอง ประดับด้วยอลังการอันเป็นทิพย์น่าเลื่อมใส.

จบการพรรณนาสูจิโลมสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 210

ธรรมจริยสูตรที่ ๖

ว่าด้วยการประพฤติธรรม

[๓๒๑] พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าว

ความประพฤติทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตระ

ทั้งสองอย่างนี้ คือ ธรรมจริยาและ

พรหมจรรย์ ว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่อันสูงสุด

ถึงแม้บุคคลออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ถ้าบุคคลนั้น เป็นชาติปากกล้า ยินดี

แล้วในความเบียดเบียนแสวงหาอยู่ ความ

เป็นอยู่ของบุคคลนั้นเลวทราม ย่อมยังกิเลส

ธุลีมีราคะเป็นต้นของตนให้เจริญ.

ภิกษุยินดีแล้วในความทะเลาะ ถูก

ธรรมคือโมหะหุ้มห่อแล้ว ย่อมไม่รู้ธรรมที่

พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

แม้อันเหล่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักบอก

แล้ว ภิกษุผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ทำตนที่

อบรมแล้วให้ลำบากอยู่ ย่อมไม่รู้ความ

เศร้าหมอง ย่อมไม่รู้ทางอันให้ถึงนรก.

๑. อรรถกถาเป็น กปิลสูตร. ๒. แปลจาก มโค ตามยุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 211

เมื่อไม่รู้ก็เข้าถึงวินิบาต จากครรภ์

เข้าถึงครรภ์ จากที่มืดเข้าถึงที่มืด ภิกษุผู้เช่น

นั้นแล ละไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความทุกข์

ก็บุคคลใดผู้มีการงานเศร้าหมองเห็นปานนี้

ตลอดกาลนาน พึงเป็นผู้เต็มแล้วด้วยบาป

เหมือนหลุมคูถที่เต็มอยู่นานปี พึงเป็นหลุม

เต็มด้วยคูถ ฉะนั้น.

บุคคลนั้นเป็นผู้มีกิเลสเครื่องยียวน

หมดจดได้โดยยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงรู้จักบุคคลผู้อาศัยเรือน ผู้มี

ความปรารถนาลามก ผู้มีความดำริลามก

ผู้มีอาจาระและโคจรลามกเห็นปานนี้.

เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน

เว้นบุคคลนั้นเสีย จงกำยัดบุคคลผู้เป็นเพียง

ดังแกลบ จงคร่าบุคคลผู้เป็นเพียงดัง

หยากเหยื่อออกเสีย แต่นั้นจงขบบุคคลลีบผู้

ไม่ใช่สมณะ แต่มีความสำคัญว่าเป็นสมณะ

ไปเสีย.

ครั้นกำจัดบุคคลผู้มีความปรารถนา

ลามก มีอาจาระและโคจรลามกออกไปแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 212

เธอทั้งหลายผู้บริสุทธิ์แล้ว มีความเคารพกัน

และกัน จงสำเร็จการอยู่ร่วม ด้วยบุคคลผู้

บริสุทธิ์ทั้งหลาย แต่นั้น เธอทั้งหลายผู้

พร้อมเพรียงกัน มีปัญญาเครื่องรักษาตน

จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

จบธรรมจริยสูตรที่ ๖

อรรถกถาปิลสูตรที่ ๖

กปิลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ธมฺมจริย ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการอุบัติขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า พระสูตรนี้มีการอุบัติขึ้นดังต่อไปนี้ :-

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะเสด็จปรินิพพานแล้วโดยนัย

ที่กล่าวแล้วในหมวดสูตรนั่นแล กุลบุตร ๒ พี่น้องออกบวชในสำนักแห่งสาวก

ทั้งหลาย ผู้พี่ชื่อว่า โสธนะ ผู้น้องชื่อว่า กปิละ ท่านทั้งสองมีมารดาชื่อ

ว่า สาธนี มีน้องสาวชื่อว่า ตาปนา ทั้งมารดาและน้องสาวนั้นบวชในสำนัก

นางภิกษุณี ต่อแต่นั้นภิกษุแม้ทั้งสองเหล่านั้น ก็เรียนถามว่า ข้าแต่ท่านผู้

เจริญ ในพระศาสนามีธุระอยู่กี่อย่าง ดังนี้ ฟังคำตอบแล้วโดยนัยอันข้าพเจ้า

กล่าวแล้วในเหมวดสูตรนั้นแล. ในบรรดาพระภิกษุทั้งสองนั้น พระผู้พี่

คิดว่า เราจะบำเพ็ญวาสธุระ (ธุระเป็นเครื่องอบรมตน) ดังนี้แล้วก็อยู่ใน

๑. บาลีว่า ธรรมจริยสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 213

สำนักของอุปัชฌาย์และอาจารย์ทั้งหลายเป็นเวลา ๕ ปี มีพรรษา ๕ ฟังกรรม-

ฐานจนถึงอรหัตแล้วจึงเข้าไปสู่ป่า พยายามอยู่ก็ได้บรรลุพระอรหัต.

พระกปิละคิดว่า เรายังหนุ่มอยู่ก่อน ในเวลาแก่แล้วเราจะบำเพ็ญแม้

วาสธุระดังนี้แล้ว ก็เริ่มคันถธุระ ได้เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกแล้ว พระกปิละ

นั้นมีบริวาร เพราะอาศัยปริยัติ เพราะอาศัยบริวาร ลาภก็เกิดขึ้น พระกปิละ

นั้นเมาด้วยการเมาในการที่ตนเป็นพาหุสัจจะ สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต มีความ

สำคัญว่าตนรู้ แม้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้ กล่าวสิ่งที่เป็นกัปปิยะที่ภิกษุเหล่าอื่นกล่าว

แล้วว่าเป็นอกัปปิยะ แม้สิ่งที่เป็นอกัปปิยะว่าเป็นกัปปิยะ แม้สิ่งที่มีโทษว่าไม่

มีโทษ แม้สิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ.

ต่อแต่นั้น พระกปิละนั้น อันภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักโอวาทอยู่

โดยนัยว่า คุณกปิละ คุณอย่าได้พูดอย่างนี้ ดังนี้เป็นต้น ก็เที่ยวขู่ตะคอกภิกษุ

ทั้งหลายด้วยคำทั้งหลายว่า พวกท่านเหมือนกับคนมีกำมือเปล่า จะรู้อะไร ดังนี้

เป็นต้นอยู่นั้นแล ภิกษุทั้งหลายได้บอกเรื่องนี้ แม้แก่พระโสธนเถระผู้เป็นพี่

ชายของท่าน แม้พระโสธนเถระนั้นก็ได้เข้าไปหาพระกปิละนั้นแล้วพูดว่า คุณ

กปิละ การปฏิบัติชอบของภิกษุทั้งหลายเช่นคุณเป็นอายุของพระศาสนา ดูก่อน

อาวุโส คุณอย่าได้พูดแม้สิ่งที่เป็นกัปปิยะ ฯลฯ สิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ. พระ

กปิละนั้นก็ไม่สนใจคำของพระโสธนเถระผู้เป็นพี่ชายแม้นั้น. ลำดับนั้น พระ

โสธนเถระได้กล่าวกะพระกปิละขึ้น ๒-๓ ครั้งว่า

ผู้อนุเคราะห์จะพึงพูดคำหนึ่ง หรือ

๒ คำ ไม่พึงพูดให้มากไปกว่านั้น (เพราะ

ว่าถ้าท่านผู้อนุเคราะห์จะพึงกล่าวให้มากไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 214

กว่านั้น) จะพึงมีโทษในสำนักของพระ

อริยะได้ ดังนี้

แล้วก็งดเว้นเสีย (หยุดพูด) แล้วจึงกล่าวว่า อาวุโส คุณนั้นเองจะปรากฏ

ด้วยกรรมของคุณ ดังนี้แล้วก็หลีกไป จำเดิมแต่นั้นมา ภิกษุทั้งหลายที่มีศีล

เป็นที่รัก ก็ทอดทิ้งพระกปิละนั้นเสีย.

พระกปิละนั้นเป็นผู้ประพฤติชั่ว มีภิกษุประพฤติชั่วแวดล้อมอยู่ วัน

หนึ่งคิดว่า เราจะลงอุโบสถ แล้วก็ขึ้นสู่อาสนะอันประเสริฐ จับพัด

อันวิจิตร พอนั่งลงก็พูดขึ้น ๓ ครั้งว่า อาวุโสทั้งหลาย ปาติโมกข์ย่อมควร

แก่ภิกษุทั้งหลายในที่นี้หรือ. ครั้งนั้น แม้ภิกษุรูปหนึ่งก็ไม่ได้พูดว่า ปาติโมกข์

ย่อมควรแก่ข้าพเจ้า ทั้งก็ไม่ได้พูดว่าปาติโมกข์ย่อมควรแก่พระกปิละนั้น หรือ

แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น. ลำดับนั้นพระกปิละนั้นก็พูดว่า เมื่อปาติโมกข์พวก

เราฟังก็ดี ไม่ฟังก็ดี ชื่อว่าวินัยไม่มีหรอก ดังนี้แล้วก็ลุกขึ้นจากอาสนะ

พระกปิละนั้น ทำพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่ากัสสปะให้

เสื่อมถอย คือให้พินาศแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ครั้งนั้น พระโสธนเถระก็ได้ปรินิพพานในวันนั้นนั่นเอง. พระกปิละ

แม้นั้นทำศาสนานั้นให้เสื่อมถอยลงไปอย่างนี้แล้ว เมื่อถึงแก่กรรม ก็บังเกิด

ในอเวจีมหานรก มารดาและน้องสาวของท่านแม้นั้นถึงทิฏฐานุคติของพระ

กปิละนั้นนั่งเอง ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลายที่มีศีลเป็นที่รัก ทำกาละแล้วก็บังเกิด

ในนรก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 215

ก็ในกาลครั้งนั้นนั่นแล บุรุษประมาณ ๕๐๐ คน ทำบาปกรรมทั้งหลาย

มีการฆ่าชาวบ้านเป็นต้น เลี้ยงชีวิตด้วยความเป็นโจร ถูกมนุษย์ชาวชนบท

ติดตามหนีไปอยู่ ได้เข้าไปสู่ป่า ไม่เห็นที่กำบังหรือที่นั่งอะไรในป่านั้น ได้

เห็นภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรรูปหนึ่ง ซึ่งอยู่ในประเทศไม่ไกล ไหว้แล้วก็กล่าวว่า

ท่านขอรับ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของพวกกระผม. พระเถระกล่าวว่า ที่พึ่งเช่น

กับศีลสำหรับท่านทั้งหลายไม่มี ขอให้ท่านทุกคนจงสมาทานเบญจศีล โจร

เหล่านั้นรับคำแล้วก็สมาทานศีล. พระเถระกล่าวว่า บัดนี้พวกท่านเป็นผู้มีศีล

แล้ว เมื่อท่านทั้งหลายแม้ถูกปลงชีวิตของตนให้พินาศอยู่ ท่านทั้งหลายอย่า

ได้ประทุษร้ายใจ(อย่าโกรธ) พวกโจรเหล่านั้นรับคำแล้ว.

ครั้งนั้น ชาวชนบทเหล่นั้นมาถึงแล้วก็มองหาอยู่ ข้างโน้นบ้าง ข้างนี้

บ้าง ก็ได้พบโจรเหล่านั้นแล้วพากันปลงชีวิตเสียสิ้นทุกคน. โจรเหล่านั้นกระ

ทำกาละแล้วบังเกิดในกามาวจรเทวโลก บรรดาโจรเหล่านั้น โจรผู้เป็นหัวหน้า

ได้เป็น เทพบุตรผู้เป็นหัวหน้า โจรนอกนี้ได้เป็นบริวารของเทพบุตรผู้เป็น

หัวหน้านั่นเอง ท่านเหล่านั้นท่องเที่ยวกลับไปกลับมาอยู่ ให้พุทธันดรหนึ่งสิ้น

ไปในเทวโลก แล้วเคลื่อนจากเทวโลกในกาลแห่งพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย

เทพบุตรผู้เป็นหัวหน้าได้ถือปฏิสนธิในท้องแห่งภรรยาของชาวประมง ผู้เป็น

หัวหน้าสกุล ๕๐๐ สกุล ในบ้านชาวประมงซึ่งมีอยู่ที่ประตูเมืองสาวัตถี เทพบุตร

พวกนี้ ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของภรรยาของชาวประมงที่เหลือทั้งหลาย เขา

เหล่านั้นได้ถือปฏิสนธิและออกจากครรภ์ในวันเดียวกันนั้นเอง ด้วยประการ

ฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 216

ต่อมา หัวหน้าชาวประมงคิดอยู่ว่า ในบ้านนี้เด็กทั้งหลายแม้เหล่าอื่น

ซึ่งเกิดในวันนี้มีอยู่หรือหนอแล ได้พบทารกเหล่านั้นแล้วก็คิดว่า เด็กเหล่านี้

จักเป็นสหายของบุตรของเรา แล้วจึงได้ให้วัตถุที่ควรเลี้ยงดูแก่เด็กเหล่านั้นทุก

คน เด็กเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสหายเล่นฝุ่นด้วยกัน ได้ถึงความเจริญวัยโดยลำดับ

เด็กชื่อว่าโสชะเป็นผู้เลิศกว่าเด็กเหล่านั้น.

ครั้งนั้น แม้ภิกษุชื่อว่ากปิละก็มาเกิดเป็นปลาสเหมือนทอง แต่ปาก

เหม็น ในแม่น้ำอจิรวดี ด้วยเศษกรรมที่เหลือลงในนรก ต่อมาวันหนึ่ง เด็ก

ชาวประมงเหล่านั้นทั้งหมด ถือเอาแห (อวน) แล้วคิดว่า เราจักฆ่าปลาทั้งหลาย

แล้วจึงไปที่แม่น้ำเหวี่ยงแหลงไป ปลานั้นเข้าไปสู่แหของชาวประมงเหล่านั้น

หมู่บ้านชาวประมงทั้งหมดเห็นปลานั้นแล้ว ก็พากันพูดเสียงดังลั่น พากันพูดว่า

บุตรของพวกเราจับปลาทั้งหลายครั้งแรก ๆ ก็จับได้ปลาทอง ความเจริญจักมี

แก่เด็ก ๆ เหล่านั้น และบัดนี้พระราชาคงพระราชทานทรัพย์มากแก่เรา

ทั้งหลาย.

ครั้งนั้น สหายทั้ง ๕๐๐ คนแม้เหล่านั้น เอาปลาลงใส่ในเรือแล้วยก

เรือขึ้นได้ไปสู่สำนักของพระราชา พระราชาทอดพระเนตรแล้วตรัสว่า นั่นอะไร

สหาย พวกเขาทูลว่า ปลา พระเจ้าข้า พระราชาทอดพระเนตรเห็นปลาสีทองก็

ทรงดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงทราบเหตุที่ปลานี้มีสีทอง ดังนี้แล้วจึง

รับสั่งให้ถือปลาแล้วได้เสด็จไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในเวลาที่ปลา

อ้าปากขึ้น พระเชตวันก็มีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่ง. พระราชาทูลถามพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร ปลาจึงเกิดเป็นปลามีสีทอง และ

เพราะเหตุไร กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปากของปลานั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 217

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร ปลานี้เป็นภิกษุพหูสูต ผู้เรียน

จบปริยัติ ชื่อว่า กปิละ ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ

เป็นผู้ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลายซึ่งไม่เชื่อถ้อยคำของตน เป็นผู้ทำศาสนาของพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าให้เสื่อมไป เพราะกรรมที่เธอทำพระศาสนาของพระผู้มีพระภาค-

เจ้าพระองค์นั้นให้เสื่อมไป เธอจึงบังเกิดในอเวจีมหานรก และก็มาเกิดเป็น

ปลาในบัดนี้ ด้วยเศษแห่งวิบาก ด้วยผลอันไหลออกแห่งกรรมที่เธอได้กล่าว

พุทธพจน์ สรรเสริญพระพุทธเจ้าเป็นเวลานาน เธอจึงได้วรรณะเช่นนี้ เพราะ

เหตุที่เธอได้ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปากของปลานั้น

มหาบพิตร ตถาคตจะให้ปลานั้นพูด.

พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามปลานั้นว่า เจ้าคือกปิละหรือ. ปลาตอบ

ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกแล้วพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ชื่อว่ากปิละ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า เธอมาจากไหน. ปลาตอบว่า ข้าพระองค์มาจาก

อเวจีมหานรกพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า พระโสธนะไปไหน.

ปลาตอบว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระโสธนะปรินิพพานเเล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า นางสาธนีไปไหน. ปลาตอบว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นางสาธนีเกิดในนรก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม

ว่า นางตาปนาไปไหน. ปลาทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นางตาปนาเกิด

ในมหานรก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า บัดนี้เจ้าจักไปไหน. ปลาตอบว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์จักไปสู่มหานรก. ในทันใดนั่นเองปลานั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 218

อันความวิปฏิสารครอบงำ ใช้ศีรษะฟาดเรือแล้วก็ตายไปเกิดในมหานรก มหา-

ชนเกิดความสังเวช ขนลุกชูชัน. ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรม

อันสมควรแก่ขณะนั้น ในบริษัท ซึ่งมีทั้งคฤหัสถ์เเละบรรพชิตที่มาพร้อมกัน

ได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว.

การประพฤติธรรมมีกายสุจริตเป็นต้น ชื่อว่า ธมฺมจริย ในพระคาถา

นั้น. มรรคพรหมจรรย์ ชื่อว่า พฺรหฺมจริย.

บาทพระคาถาว่า เอตทาหุ วสุตฺตม ความว่า พระอริยเจ้าทั้งหลาย

กล่าวถึงการประพฤติสุจริตทั้งที่เป็นโลกีย์และโลกุตระแม้ทั้งสองนี้ว่า เป็นสมบัติ

สูงสุด เพราะยังสัตว์ให้ประสบความสุขในสวรรค์และนิพพาน อธิบายว่า รัตนะ

อันอุดมคือรัตนะที่ไม่ทั่วไปแก่ชนทั้งหลายมีพระราชาเป็นต้น เพราะเป็นรัตนะ

ที่สามารถติดตามชนทั้งหลายผู้สั่งสมบุญไว้ ชื่อว่า วสุตตมะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ทรงแสดงว่าการปฏิบัติชอบเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่ง

ของคฤหัสถ์เเละบรรพชิตได้ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ บัดนี้เมื่อจะทรงติเตียน

พระภิกษุชื่อกปิละหรือภิกษุผู้เช่นนั้นเหล่าอื่น ด้วยการแสดงความไม่มีสาระใน

บรรพชา ที่เว้นจากการปฏิบัติจึงตรัสว่า ปพฺพชิโตปิ เจ โหติ เป็นต้น.

ในคำว่า. ปพฺพชิโตปิ เจ โหติ นี้ มีการพรรณนาเนื้อความดังต่อ

ไปนี้ :-

ก็ผู้ใดผู้หนึ่งสละเพศคฤหัสถ์ ถ้าแม้บวชด้วยการบวชไม่มีเรือนจาก

เรือน มีเนื้อความตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้น ด้วยการเข้าถึงเหตุสักว่า

การปลงผมและการนุ่งผ้าย้อมฝาดเป็นต้น ถ้าหากว่าเป็นคนปากกล้า คือว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 219

ผู้พูดคำหยาบ ยินดีในการเบียดเบียน เพราะพอใจในการเบียดเบียนอันมีประ

การต่าง ๆ เป็นผู้ประดุจเนื้อร้าย เพราะเป็นผู้เช่นกับเนื้อร้าย เพราะไม่มีหิริ

โอตตัปปะ

บาทคาถาว่า ชีวิต ตสฺส ปาปิโย ความว่า ชีวิตของบุคคลนั้น คือ

ผู้เห็นปานนั้น เป็นบาปยิ่ง คือ เลวยิ่ง.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะทำธุลีมีประการต่าง ๆ มีราคะเป็นต้นของตนให้เจริญ

ขึ้น ด้วยการปฏิบัติผิดนี้. ก็ชีวิตของบุคคลนั้นจะเป็นชีวิตที่ชั่ว ด้วยเหตุนี้

อย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ แต่โดยที่แท้บุคคลเห็นปานนี้ นี้ ได้แก่ภิกษุที่

ยินดีในการทะเลาะ เพราะเป็นคนมีปากจัด ถูกโมหะธรรมรึงรัดแล้ว เพราะ

ถึงความงมงายในการที่จะรู้แจ้งซึ่งอรรถแห่งสุภาษิต ย่อมไม่ทราบแม้ซึ่งคำที่

ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักกล่าวแล้ว โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านกปิละผู้มี

อายุ ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้. จงยึดถือเรื่องนั้นโดยปริยายนี้ ไม่รู้จักพระธรรม

ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ คือไม่รู้จักพระธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ แม้ตน

จะกล่าวอยู่โดยประการต่าง ๆ แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ชีวิตของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น

ชีวิตชั่ว (เพราะว่า) ในครั้งนั้น ภิกษุเห็นปานนี้นั้น เพราะเหตุที่ตนพอใจใน

การเบียดเบียน เมื่อเบียดเบียนอยู่ซึ่งตนที่อบรมแล้ว คือว่าเบียดเบียนอยู่ซึ่ง

ภิกษุขีณาสพผู้มีตนอันอบรมแล้ว มีพระโสธนเถระเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า

" ท่านทั้งหลายซึ่งบวชเมื่อแก่เฒ่า ย่อมไม่รู้พระวินัย ไม่รู้พระสูตร ไม่รู้

พระอภิธรรม" ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 220

ก็คำว่า วิเหย นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบถึงพระบาลีที่เหลือว่า วิเหส ภาวิตตฺตาน

กโรนฺโต โดยนัยที่กล่าวเเล้ว ฉัฏฐีวิภัตติย่อมสำเร็จโดยนิปปริยายอย่างนี้.

บาทคาถาว่า อวิชฺชาย ปุรกฺขโต ความว่า ผู้ถูกอวิชชามีการ

ปกปิดการเห็นโทษเป็นต้น ในการเบียดเบียนตนที่อบรมแล้ว กระทำไว้ใน

เบื้องหน้า จึงไม่รู้จักสังกิเลส โดยการพิฆาตจิตในปัจจุบันอันเป็นไปแล้ว

โดยการเบียดเบียนตนที่อบรมแล้ว ของบรรพชิตที่เหลือทั้งหลาย และไม่รู้จัก

ทางที่จะไปสู่นรก โดยกระทำตนให้เข้าถึงนรกต่อไป ก็เมื่อไม่รู้ก็เข้าถึงวินิบาต

อันต่างด้วยอบายทั้ง ๔ โดยทางนั้น และในวินิบาตนั้น เข้าสู่ครรภ์จากครรภ์

สู่ที่มืดจากที่มืด คืออยู่ในครรภ์มารดาในหมู่สัตว์หนึ่ง ๆ สิ้นร้อยครั้งบ้าง

พันครั้งบ้าง และจากความมืดคืออสุรกายสู่ความมืด แม้ดวงจันทร์และดวง

อาทิตย์ก็ไม่อาจขจัดได้ ภิกษุเช่นนั้นนั่นแลละไปแล้ว คือไปจากโลกนี้สู่ปรโลก

แล้ว ก็เข้าถึงทุกข์มีประการต่าง ๆ ดุจปลาชื่อว่ากปิละนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เหมือนหลุมคูถพึงเป็นหลุมหมักหมมอยู่นานปีเต็มเปี่ยมด้วย

คูถนั้น (คือว่า) เปรียบเหมือนหลุมคูถในวัจจกุฎี หมักหมมอยู่นานปี คือ

สิ้นปีเป็นอเนก พึงเต็มบริบูรณ์อยู่ด้วยคูถถึงขอบปากเป็นเวลาหลายปี หลุมคูถ

นั้นแม้อันบุคคลล้างอยู่ด้วยน้ำตั้งร้อยหม้อ ตั้งพันหม้อ ก็ล้างให้สะอาดได้ยาก

เพราะขจัดกลิ่นเหม็นและสีน่าเกลียดให้ปราศจากไปได้ยาก ฉันใด บุคคลเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 221

ปานนี้ใด พึงเป็นผู้มีการงานเศร้าหมอง สิ้นกาลนานเหมือนหลุมคูถ เป็น

บุคคลที่เต็มไปด้วยบาป เพราะเพียบพร้อมไปด้วยคูถคือบาป ก็บุคคลเห็น

ปานนี้นั้น ผู้มีการงานอันเศร้าหมอง เป็นผู้ชำระให้สะอาดได้โดยยาก แม้จะ

เสวยวิบากแห่งกิเลส (เพียงดังนั้น) นั้น สิ้นกาสนาน ก็หาบริสุทธิ์ได้ไม่

ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ภิกษุเช่นนั้นนั่นแลละไปแล้วย่อมเข้าถึงทุกข์

สิ้นกาลนาน แม้ประมาณมิได้โดยการนับปี.

อีกอย่างหนึ่ง ในคาถานี้มีสัมพันธ์ดังต่อไปนี้.

ในบาทพระคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุผู้เช่นนั้นแล

ละไปแล้วย่อมเข้าถึงทุกข์ ดังนี้ จะพึงมีคำถามสอดเข้ามาว่า ก็ภิกษุนี้

ท่านทั้งหลายสามารถจะกระทำโดยประการที่ละไปแล้วจะไม่เข้าถึงทุกข์ได้หรือไม่

ตอบว่า ไม่สามารถ

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะภิกษุนี้เปรียบเหมือนหลุมคูถที่เต็มอยู่นานปี ก็พึงเป็น

หลุมที่เต็มด้วยคูถ ดังนี้.

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงไว้ก่อนทีเดียวว่า ภิกษุทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายจงรู้จักบุคคลเห็นปานนั้นผู้อาศัยเรือน คือว่าพึงทราบบุคคลเห็น

ปานนั้นผู้อาศัยกามคุณทั้ง ๕ ผู้ชื่อว่ามีความปรารถนาลามก เพราะประกอบ

ด้วยความปรารถนาลามก อันเป็นไปโดยอาการคือการปรารถนาคุณที่ไม่มีจริง

ผู้ชื่อว่ามีความดำริชั่ว เพราะประกอบด้วยความดำริทั้งหลาย มีกามวิตกเป็นต้น

ผู้ชื่อว่ามีความประพฤติชั่ว เพราะประกอบด้วยความประพฤติชั่ว มีการประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 222

ล่วงศีลอันเป็นไปทางกายเป็นต้น และอันต่างด้วยประเภทมีการให้ไม้ไผ่เป็นต้น

(เพื่อประจบชาวบ้าน) ผู้ชื่อว่า การโคจรอันชั่ว เพราะการท่องเที่ยวไปในที่ไม่

ดี ในที่ไม่สมควร มีสำนักหญิงแพศยาเป็นต้น ท่านทั้งหลายทั้งปวง จงเป็น

ผู้สามัคคีกัน เว้นบุคคลนั้นเสีย และอย่าถึงความขวนขวายน้อย ด้วยเหตุสักว่า

การเว้นภิกษุนั้นเท่านั้น แต่โดยแท้แล ท่านทั้งหลายจงกำจัดบุคคลนั้น ผู้เป็น

เพียงดังแกลบ จงคร่าบุคคลผู้เป็นดังหยากเยื่อออกเสีย คือว่าจงคร่าบุคคล

ผู้เป็นเพียงดังหยากเยื่อนั้นโดยไม่ต้องไยดีประดุจหยากเยื่อ และจงคร่าบุคคล

ผู้เป็นดังแกลบ ประดุจราชบุรุษคร่าคนจัณฑาลซึ่งเป็นโรคเรื้อมีแผลแตกไหล

ออก ผู้เข้าไปในท่ามกลางแห่งกษัตริย์เป็นต้น คือว่าท่านทั้งหลายจงจับบุคคล

นั้นที่มือหรือที่ศีรษะแล้วคร่าออกไป เหมือนอย่างท่านพระมหาโมคคัลลานะ

จับปาปบุคคลนั้นที่แขนดึงออกไปจากซุ้มประตูภายนอกแล้วใส่ลูกดาล (กุญแจ)

เสีย. แม้ฉันใด ท่านทั้งหลายก็จงคร่าบุคคลนั้นเสียฉันนั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า ชื่อว่าสังฆารามเขาสร้างไว้สำหรับผู้มีศีลทั้งหลาย ไม่ได้สร้าง

ไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่ทุศีล. ต่อแต่นั้นไป ท่านทั้งหลายจงขับบุคคลลีบ

ผู้ไม่ใช่สมณะซึ่งถือตัวว่าเป็นสมณะออกไปเสีย เหมือนอย่างว่า ข้าวลีบทั้งหลาย

แม้ปราศจากข้าวสารในภายใน แต่ก็ปรากฏเหมือนข้าวเปลือก เพราะมีแกลบ

อยู่ข้างนอก ฉันใด ปาปภิกษุทั้งหลายก็ฉันนั้น แม้เว้นจากคุณสมบัติมีศีล

เป็นต้นในภายใน แต่ก็ปรากฏเหมือนกับภิกษุ ด้วยบริขารมีผ้ากาสาวะเป็นต้น

ในภายนอก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ปลาปา คนลีบ ท่านทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 223

จงคร่าบุคคลลีบเหล่านั้นเสีย คือจงโปรยไป ได้แก่งกำจัดบุคคลลีบเหล่านั้น

เสีย ซึ่งไม่ใช่สมณะโดยปรมัตถ์ แต่สำคัญตนว่าเป็นสมณะ ในภาวะสักว่าเพศ

ครั้นกำจัดผู้มีความปรารถนาลามก ผู้มีอาจาระและโคจรอันลามกได้แล้วอย่างนี้

เธอทั้งหลายผู้บริสุทธิ์แล้ว มีความเคารพกันและกัน จงสำเร็จการอยู่ร่วมด้วย

บุคคลผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปฺปยฺวโห ความว่า จงสำเร็จ มีคำ

ที่ท่านกล่าวอธิบายว่า จงกระทำ.

บทว่า ปฏิสฺสตา ได้แก่ มีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกัน.

บาทคาถาว่า ตโต สมคฺคา นิปกา ทุกฺขสฺสนฺต กริสฺสถ ความว่า

เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านทั้งหลายผู้บริสุทธิ์แล้วอย่างนี้ สำเร็จอยู่ซึ่งการอยู่ร่วมกับ

ผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย เป็นผู้พร้อมเพรียงกันโดยความเป็นผู้มีทิฏฐิและศีลเสมอกัน

เป็นผู้มีปัญญารักษาคน ด้วยปัญญาที่ถึงความแก่รอบโดยลำดับ ท่านทั้งหลาย

ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ มีทุกข์ในวัฏฏะเป็นต้นนี้ได้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงให้เทศนาจบลงด้วยลงคือพระอรหัตทีเดียวแล.

ในที่สุดแห่งพระเทศนา บุตรชาวประมงจำนวน ๕๐๐ เหล่านั้น

ถึงความสังเวช เมือปรารถนาจะทำที่สุดทุกข์ ได้บรรพชาในสำนักของผู้มี

พระภาคเจ้า ต่อกาลไม่นานเลย ก็ทำที่สุดทุกข์ได้ ได้เป็นผู้มีการบริโภคเป็น

อันเดียวกันกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการบริโภคธรรมคืออาเนญชวิหารสมาบัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 224

ก็อาเนญชวิหารสมบัตินั้น ชื่อว่าเป็นสมาบัติที่มีการบริโภคเป็นอัน

เดียวกันกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นอย่างนี้.

ก็สมาบัตินั้น พึงทราบด้วยสามารถแห่ง ยโสชสูตร ที่ข้าพเจ้ากล่าว

ไว้แล้วในอุทานนั้นแหละ ดังนี้แล.

จบ การพรรณนากปิลสูตรแห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 225

พราหมณธัมมิกสูตรที่ ๗

ว่าด้วยพราหมณธรรม

[๓๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์

มหาศาลชาวแคว้นโกศลเป็นอันมาก ผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมา

โดยลำดับ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยกับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

บัดนี้ พวกพราหมณ์ย่อมปรากฏในพราหมณธรรมของพวกพราหมณ์เก่าหรือ ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย บัดนี้ พวกพราหมณ์หา

ปรากฏในพราหมณ์ธรรมของพวกพราหมณ์เก่าไม่.

พ. ขอประทานพระวโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดตรัสพราหมณ์

ธรรมของพวกพราหมณ์เก่า แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด ถ้าท่านพระโคดมไม่

มีความหนักพระทัย.

ภ. ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงตั้งใจ จง

ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 226

[๓๒๓] ฤาษีทั้งหลายมีในครั้งก่อน

สำรวมตน มีตบะ ละเบญจกามคุณแล้ว ได้

ประพฤติประโยชน์ของตน ๆ

พวกพราหมณ์แต่เก่าก่อนไม่มีสัตว์

เลี้ยง ไม่มีเงิน ไม่มีสิ่งของต่าง ๆ พราหมณ์

เหล่านั้น มีทรัพย์และข้าวเปลือกอันเป็น

ส่วนแห่งการสาธยายมนต์ ได้รักษาขุมทรัพย์

อันประเสริฐไว้

ภัตที่ประตูเรือน ทายกทั้งหลายเริ่ม

ทำตั้งไว้แล้ว เพื่อพราหมณ์เหล่านั้น ทายก

ทั้งหลายได้สำคัญภัตนั้นว่า เป็นของที่ตน

ควรให้แก่พราหมณ์เหล่านั้น ผู้แสวงหาภัต

ที่เริ่มทำไว้แล้วด้วยศรัทธา

ชาวชนบท ชาวแว่นแคว้น ผู้มั่งคั่ง

ด้วยผ้าที่ย้อมด้วยสีต่าง ๆ และด้วยที่นอน

และที่อยู่ ได้นอบน้อมพราหมณ์เหล่านั้น

พราหมณ์ทั้งหลายผู้อันธรรมรักษา

แล้ว ใคร ๆ ไม่พึงฆ่า ไม่พึงชนะ ใคร ๆ

ไม่พึงห้ามพราหมณ์เหล่านั้น ที่ประตูแห่ง

สกุลทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 227

พราหมณ์เหล่านั้นประพฤติพรหม-

จรรย์ตั้งแต่เป็นเด็กมาตลอดเวลา ๔๘ ปี ได้

เที่ยวไปแสวงหาวิชชาและจรณะในกาลก่อน

พราหมณ์เหล่านั้นไม่ไปหาหญิงอื่น

ทั้งไม่ซื้อภรรยา อยู่ร่วมกัน เพราะความรัก

ความชอบใจเสมอกันเท่านั้น

พราหมณ์ผู้เป็นสามี ย่อมไม่ร่วมกับ

ภรรยาผู้เว้นจากกระดูก นอกจากสมัยที่ควรจะ

ร่วม พราหมณ์ย่อมไม่ร่วมเมถุนธรรมในระ-

หว่างโดยแท้

พราหมณ์ทั้งหลายสรรเสริญพรหม-

จรรย์ ศีล ความเป็นผู้ซื่อตรง ความอ่อน

โยน ตบะ ความสงบเสงี่ยม และความไม่

เบียดเบียน และแม้ความอดทน

พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม ผู้มีความ

บากบั่นมั่นคง เป็นผู้สูงสุดกว่าพราหมณ์

เหล่านั้น และพราหมณ์นั้นย่อมไม่เสพเมถุน-

ธรรมโดยที่สุดแม้ในความฝัน

พราหมณ์บางพวก ผู้มีชาติแห่งบุคคล

ผู้รู้แจ้งในโลกนี้ ศึกษาตามตัววัตรของพราหมณี

ผู้เสมอด้วยพรหมนั้นอยู่ ได้สรรเสริญ

พรหมจรรย์ ศีลและแม้ขันติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 228

พราหมณ์ทั้งหลายขอข้าวสาร ที่นอน

ผ้า เนยใสและน้ำมัน แล้วรวบรวมไว้โดย

ธรรม ได้กระทำยัญ คือทาน แต่วัตถุมีข้าว

สารเป็นต้นที่เขาให้แล้วนั้น

ในยัญที่ตนตั้งไว้ พราหมณ์เหล่านั้น

ไม่ฆ่าแม่โคเลย มารดาบิดา พี่น้องชายหรือ

ญาติเหล่าอื่น มิตรผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ฆ่าแม่โค

ซึ่งเป็นที่เกิดแห่งปัญจโครสอันเป็นยา ฉันใด

แม่โคเหล่านี้ให้ข้าว ให้กำลัง ให้

วรรณะ และให้ความสุข พราหมณ์เหล่านั้น

ทราบอำนาจประโยชน์นี้แล้ว จึงไม่ฆ่าแม่

โคเลย ฉันนั้น

พราหมณ์ทั้งหลายผู้ละเอียดอ่อน มี

ร่างกายใหญ่ มีวรรณะ มียศ ขวนขวายใน

กิจน้อยใหญ่ โดยธรรมของตน ได้ประพฤติ

แล้วด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นเหตุให้หมู่สัตว์นี้

ถึงความสุขในโลก

ความวิปลาสได้มีแก่พราหมณ์เหล่า

นั้น เพราะได้เห็นกามสุขอัน (ลามก) น้อย

ที่เกิดขึ้นจากกามคุณอันเป็นของ (ลามก)

น้อย พราหมณ์ทั้งหลายได้ปรารถนาเพ่งเล็ง

สมบัติของพระราชา เหล่านารีที่ประดับดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 229

แล้ว รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ที่สร้างตก

แต่งไว้เป็นอย่างดี มีการขลิบอันวิจิตร พื้น

ที่เรือน เรือนที่สร้างกั้นเป็นห้อง ๆ และโภค

สมบัติซึ่งเป็นของมนุษย์อันโอฬาร เกลื่อน

กล่นไปด้วยฝูงโค ประกอบไปด้วยหมู่นารี

ผู้ประเสริฐ

พราหมณ์เหล่านั้นผูกมนต์ในที่นั้น

แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้าโอกกากราชใน

กาลนั้น กราบทูลว่า พระองค์มีทรัพย์และ

ข้าวเปลือกมากมาย ขอเชิญพระองค์ทรง

บูชายัญเถิด พระราชทรัพย์เครื่องปลื้มใจ

ของพระองค์มีมาก

ลำดับนั้นแล พราหมณ์ทั้งหลายยัง

พระราชาผู้ประเสริฐ ให้ทรงยินยอมบูชา

ยัญ อัสสเมธะ ปุริสเมธะ (สัมมาปาสะ)

วาชเปยยะ นิรัคคฬะ

พระราชาทรงบูชายัญเหล่านี้แล้ว ได้

พระราชาทานทรัพย์แก่พราหมณ์ทั้งหลาย คือ

แม่โค ที่นอน ผ้า เหล่านารีที่ประดับดีแล้ว

รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ที่สร้างตกแต่งไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 230

เป็นอย่างดี มีการขลิบอันวิจิตร รับสั่งให้

เอาธัญชาติต่าง ๆ บรรจุเรือนที่น่ารื่นรมย์

อันกั้นไว้เป็นห้อง ๆ จนเต็มทุกห้อง แล้วได้

พระราชทานทรัพย์แก่พราหมณ์ทั้งหลาย

ก็พราหมณ์เหล่านั้นได้ทรัพย์ในที่

นั้น ชอบใจการสั่งสมเสมอ ตัณหาย่อมเจริญ

ยิ่งแก่พราหมณ์เหล่านั้น ผู้มีความปรารถนา

อันหยั่งลงแล้ว พราหมณ์เหล่านั้นผูกมนต์

ในที่นั้นแล้ว ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าโอกกากราช

อีก

กราบทูลว่า แม่โคทั้งหลายเกิดขึ้น

เพื่อประโยชน์สำหรับรับใช้ในสรรพกิจของ

มนุษย์เหมือนน้ำ แผ่นดิน เงิน ทรัพย์ และ

ข้าวเหนียวฉะนั้น เพราะว่าน้ำเป็นต้นนั้นเป็น

เครื่องใช้ของสัตว์ทั้งหลาย ขอพระองค์ทรง

บูชายัญเถิด ราชสมบัติของพระองค์มีมาก

ขอเชิญพระองค์ทรงบูชายัญเถิด พระราช-

ทรัพย์ของพระองค์มีมาก

ลำดับนั้นแล พราหมณ์ทั้งหลายยัง

พระราชาผู้ประเสริฐให้ทรงยินยอมบูชายัญ

แล้ว ในการบูชายัญ พระราชาทรงมีรับสั่ง

ให้ฆ่าแม่โคหลายแสนตัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 231

แม่โคทั้งหลายเสมอด้วยแพะ สงบ

เสงี่ยม ถูกเขารีดนมด้วยหม้อ ย่อมไม่เบียด

เบียนด้วยเท้า ด้วยเขา ด้วยอวัยวะอะไร ๆ

โดยแท้ พระราชารับสั่งให้จับแม่โคเหล่านั้น

ที่เขา แล้วให้ฆ่าด้วยศัสตรา

ลำดับนั้น เทวดา พระอินทร์ พระ

พรหม อสูรและผีเสื้อน้ำ ต่างเปล่งวาจาว่า

มนุษย์ไม่มีธรรม แล่นไปเพราะศัสตราตก

ลงที่แม่โค

โรค ๓ ชนิด คือ ความปรารถนา ๑

ความอดอยาก ๑ ความชรา ๑ เพราะปรารภ

สัตว์เลี้ยงทั้งหลาย ได้มีในกาลก่อน ได้แพร่

โรคออกเป็น ๙๘ ชนิด

บรรดาอาชญาทั้งหลาย อธรรมนี้

เป็นของเก่า เป็นไปแล้ว แม่โคทั้งหลายผู้

ไม่ประทุษร้าย ย่อมถูกฆ่า คนผู้บูชายัญทั้ง

หลายย่อมเสื่อมจากธรรม ธรรมอันเลวทราม

นี้เป็นของเก่า วิญญูชนติเตียนแล้วอย่างนี้

วิญญูชนเห็นธรรมอันเลวทรามเช่น

นี้ในที่ใด ย่อมติเตียนคนผู้บูชายัญในที่นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 232

เมื่อธรรมของพราหมณ์เก่าฉิบหายแล้วอย่าง

นี้ ศูทรและแพศย์แตกกันแล้ว กษัตริย์เป็น

อันมากแตกกันแล้ว ภรรยาดูหมิ่นสามี

กษัตริย์พราหมณ์ผู้เป็นผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม

แพศย์และศูทรเหล่าอื่น ผู้อันโคตรรักษาแล้ว

ไม่คำนึงถึงเรื่องชาติ ได้ตกอยู่ในอำนาจแห่ง

กามทั้งหลาย.

[๓๒๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์มหาศาล

เหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ทรงประกาศธรรมโดย

อเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง

หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าคนมีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้น พวกข้าพระ-

องค์ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ

ขอพระองค์โปรดทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบพราหมณธัมมิกสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 233

อรรถกถาพราหมณธัมมิกสูตรที่ ๗

พราหมณธัมมิกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า การเกิดขึ้นของพระสูตรนี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วโดยนัย

เป็นต้นว่า อถ โข สมฺพหุลา ในนิทานแห่งสูตรนั้น.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า สมฺพหุลา ได้แก่ มากคือมิใช่น้อย.

บทว่า โกสลกา ได้แก่ ชาวเมืองโกศล.

บทว่า พฺราหฺมณมหาสาลา ความว่า พวกพราหมณ์โดยชาติ ชื่อ

ว่า มหาศาล เพราะเป็นผู้มีสาระมาก.

ได้ยินว่า พราหมณ์เหล่าใด มีทรัพย์เฉพาะที่ฝั่งไว้ได้ ๘๐ โกฏิ

พราหมณ์เหล่านั้นท่านเรียกว่าพราหมณ์มหาศาล และพราหมณ์เหล่านี้ก็เป็น

เช่นนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พราหมณ์มหาศาล.

บทว่า ชิณฺณา ได้แก่เป็นผู้มีความชรา คือถูกความชราให้ถึงภาวะ

มีฟันหักเป็นต้น.

บทว่า วุฑฺฒา ได้แก่ ถึงเขตแดน (ของข่าย) แห่งความเจริญ แห่ง

อวัยวะน้อยใหญ่.

บทว่า มหลฺลกา ได้แก่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีชาติเป็นคนแก่

มีคำอธิบายว่า เกิดมาแล้วนาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 234

บทว่า อทฺธคตา ได้แก่ ไปสู่ทางไกล (กาลไกล) อธิบายว่าล่วงไป

ได้สอง สามรัชกาล.

สองบทว่า วโย อนุปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงปัจฉิมวัย.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชิณฺณา ได้แก่ เก่า มีคำอธิบายว่า ล่วงสกุล

ที่เป็นไปตลอดกาลนาน.

บทว่า วุฑฺฒา ได้แก่ ประกอบด้วยคุณวุฒิมีสีลาจาร เป็นต้น

บทว่า มหลฺลกา ได้แก่ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีโภคะมาก จึง

ชื่อว่า มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก.

บทว่า อทฺธคตา ได้แก่ เดินไปสู่มรรค คือเที่ยวไปไม่ก้าวล่วง

มารยาท มีจริยาวัตรของพวกพราหมณ์เป็นต้น.

สองบทว่า วโย อนุปฺปตฺตา ได้แก่ ไม่เข้าถึงภาวะแห่งชาติวุฒิ อัน

เป็นวัยสุดท้าย.

พึงทราบวาจาประกอบความในพระสูตรนี้อย่างนี้ คำที่เหลือในพระ-

สูตรนี้ปรากฏชัดแล้ว.

หลายบทว่า ภควตา สทฺธึ สมฺโมทึสุ ความว่า พราหมณ์เหล่า

นั้น เมื่อจะถามถึงคำทั้งหลายมีคำว่า ท่านสบายดีหรือ ชื่อว่ามีความชื่นชม

กันและกัน ก็พราหมณ์เหล่านั้นชื่นชม ด้วยถ้อยคำใดเป็นต้นว่า พระโคดมผู้

เจริญ สบายดีหรือ พระองค์ยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ พระองค์มีอาพาธ

น้อยหรือ มีโรคน้อยหรือ มีกำลังหรือมีความเบาใจหรือ มีการอยู่สบายหรือ

ย่อมให้ระลึกถึงถ้อยคำนั้นที่ควรชื่นชม ที่ควรระลึกถึง คือให้สิ้นสุดลง ให้จบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 235

ลงโดยอเนกปริยายอย่างนี้ว่า เพื่อให้ชื่นชมโดยให้เกิดความชื่นชม กล่าวคือ

ปีติปราโมทย์ และเพื่อให้ระลึกถึงกาลแม้นานได้ คือให้เป็นไปชั่วนิรันดร์

เพราะเป็นผู้มีอรรถะและพยัญชนะไพเราะ อันพระอรหันต์พึงชื่นชม และให้

ระลึกถึง โดยความเป็นคำที่พระอรหันต์พึงระลึกถึง ถ้อยคำที่พึงชื่นชมโดยมี

ความสุขในขณะที่ฟังอยู่ และให้ระลึกถึง โดยมีความสุขในขณะที่ระลึกถึงอยู่

เป็นถ้อยคำที่จะพึงชื่นชม เพราะเป็นถ้อยคำที่บริสุทธิ์โดยพยัญชนะ เป็นถ้อย

คำที่จะพึงระลึกถึง โดยเป็นถ้อยคำที่บริสุทธิ์โดยอรรถะเหมือนอย่างนั้น เป็นผู้

ใคร่จะถามถึงประโยชน์ที่ตนมา ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

คำนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในอรรถกถามงคลสูตร โดยนัยว่า

ไม่นั่งข้างหลัง ไม่นั่งข้างหน้า ไม่

นั่งใกล้ ไม่นั่งไกล ไม่นั่งข้าง ๆ ไม่นั่ง

เหนือลม ไม่นั่งที่ต่ำ ไม่นั่งที่สูง ดังนี้เป็นต้น

พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้น ผู้นั่งอยู่แล้ว ณ ส่วนข้างหนึ่งอย่างนี้แล

ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ถามว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้นกราบทูลว่าอย่างไร ?

ตอบว่า พราหมณ์เหล่านั้นได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า สนฺทิสฺสนฺติ

นุ โข ดังนี้. คำทั้งหมดนั้นมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. ก็ในคำว่า สนฺทิสฺสนฺติ

นุ โข เป็นต้นนี้ พึงทราบเพียงอธิบาย ที่ไม่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นบทเหล่านี้

โดยนัยนี้.

สองบทว่า พฺราหฺมณาน พฺราหฺมณธมฺเม ความว่า พราหมณ์

ธรรมใด ละทิ้งธรรมอันเนื่องด้วยกาละและเทศะเป็นต้นเสียแล้ว, ในพราหมณ์

ธรรมนั้นเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 236

สองบทว่า เตนหิ พฺราหฺมณา ความว่า เพราะท่านทั้งหลายได้

ขอร้องข้าพเจ้า ฉะนั้น ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟัง คือจง

เงี่ยโสตลงฟัง จงตั้งใจฟังให้ดี คือเมื่อกระทำไว้ในใจโดยแยบคายอยู่ ก็จงฟัง

ด้วยปโยคสุทธิ จงกระทำไว้ในใจด้วยดีด้วยอาสยสุทธิ คือว่า จงพึงด้วย

ความไม่ฟุ้งซ่าน จงทำไว้ในใจด้วยดีด้วยการประคอง (จิต) ไว้ ดังนี้ เป็นต้น

ครั้งนั้น พราหมณ์มหาศาลทั้งหลายเหล่านั้นเมื่อจะรับแม้ซึ่งคำนั้น ที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสแล้วจึงได้ตอบรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า คือ เป็นผู้ปรากฏ

เฉพาะพระพักตร์ รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เอว โภ.

อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายรับฟังแล้ว มีคำอธิบายว่ารับรู้แล้ว

เพราะตนปรารถนาจะการทำตาม ซึ่งเนื้อความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ท่านทั้งหลายจงฟัง จงกระทำไว้ในใจให้ดี. ครั้งนั้นแล เมื่อพราหมณ์เหล่านั้น

รับคำอยู่อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสเนื้อความนี้.

ถามว่า พระองค์ตรัสว่าอย่างไร ?

ตอบว่า พระองค์ตรัสว่า วิสโย ปุพฺพกา เป็นต้น.

ในคาถานั้น บัณฑิตพึงทราบในคาถาที่ ๑ ก่อน.

บทว่า สยตตฺตา ความว่า ผู้มีจิตสำรวมแล้ว ด้วยการสำรวมในศีล.

บทว่า ตปสฺสิโน ความว่า ผู้ประกอบด้วยการสำรวมอินทรีย์.

บทว่า อตฺตทตฺถมจาริสุ ได้แก่ กระทำประโยชน์แก่ตน มีการ

สาธยายมนต์ และการเจริญพรหมวิหาร เป็นต้น.

คำที่เหลือแจ่มแจ้งแล้วทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 237

แม้ในคาถาทั้งหลายมีคาถาที่สองเป็นต้น ก็มีการพรรณนาเนื้อความ

โดยย่อ ดังต่อไปนี้

บาทพระคาถาว่า น ปสู พฺราหฺมณานาสุ ความว่า พวกพราหมณ์

รุ่นเก่า (โบราณ) ไม่มีปศุสัตว์ คือพวกพราหมณ์เหล่านั้นไม่ทำการเลี้ยงปศุสัตว์.

บาทพระคาถาว่า น หิรญฺ น ธานิย ความว่า ก็พวกพราหมณ์ไม่มี

เงินและโดยที่สุดแม้แต่มาสกราคาต่ำที่สุด อนึ่งพราหมณ์เหล่านั้นไม่มีแม้แต่พืช

พันธุ์ธัญญาหารอันต่างโดยบุพพัณชาติ และอปรัณชาติ มีข้าวเจ้า ข้าวสาลี

ข้าวเหนียว และข้าวละมานเป็นต้น เพราะว่าพราหมณ์เหล่านั้นสละเงิน

ทองเสียแล้ว เป็นผู้ไม่ทำการสั่งสม มีการสาธยายเป็นทรัพย์และข้าวเปลือก

อย่างเดียว คือเป็นผู้ประกอบด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก กล่าวคือการสาธยาย

มนต์ ก็วิหารธรรมมีเมตตาเป็นต้นนี้ใด ท่านเรียกว่าพรหมนิธิ (การสั่งสม

อย่างประเสริฐ) เพราะเป็นธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ และเพราะสามารถติด

ตามตนไปได้ ก็พวกพราหมณ์ทั้งหลายรักษาขุมทรัพย์อันประเสริฐนั้นไว้ โดย

การประกอบการอบรมวิหารธรรมมีเมตตาเป็นต้นนั้น เนือง ๆ.

บาทพระคาถาว่า ย เนส ปกต อาสิ ความว่า ภัตที่ประตูเรือนใด

ที่เขาเริ่มทำไว้เพื่อพราหมณ์เหล่านี้ ผู้มีวิหารธรรมอยู่อย่างนี้ คือ เป็นภัตที่

เขาทำอุทิศพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น.

บาทพระคาถาว่า ทฺวารภตฺต อุปฏฺิต ความว่า ภัตที่ทายกเหล่านั้น ๆ

เตรียมแล้ว ตั้งไว้ที่ประตูเรือนของตน ด้วยคิดว่า เราจักถวายแก่พราหมณ์

ทั้งหลาย ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 238

บทว่า สทฺธาปกต ได้แก่ เริ่มทำไว้ด้วยศรัทธา มีคำอธิบายว่า ที่

จะพึงให้ด้วยศรัทธา.

ในคำว่า เอสาน มีวิเคราะห์ว่า ชนเหล่าใดย่อมแสวงหา เหตุนั้น

ชนเหล่านั้นชื่อว่า เอสา ผู้แสวงหา มีคำอธิบายว่า แก่พราหมณ์ทั้งหลาย

เหล่านั้น ผู้แสวงหา คือเสาะหา เที่ยวแสวงหา

บทว่า ทาตเว ได้แก่ พึงให้.

บทว่า ตทมญฺิสุ ได้แก่ ไม่ดูหมิ่นภัตนั้น อธิบายว่าชนทั้งหลาย

ผู้ให้ ได้สำคัญภัตนั้นที่ตนเตรียมตั้งไว้ที่ประตู อันตนจะพึงถวายด้วยศรัทธา

คือว่า อันตนพึงให้แก่พราหมณ์เหล่านั้นผู้แสวงหาอยู่ หาได้สำคัญยิ่งไปกว่า

นั้นไม่ ด้วยว่าพราหมณ์เหล่านั้น ซึ่งไม่ต้องการได้มีแล้วโดยประการอื่น (ไม่

แสวงหาภัต) พราหมณ์เหล่านั้นพอใจแล้ว เพราะเป็นผู้มีอาหารและเครื่องนุ่ง

ห่มเป็นอย่างยิ่งอย่างเดียว (คือต้องการอาหารและเครื่องนุ่งห่มเท่านั้น)

บทว่า นานารตฺเตหิ ได้แก่ ด้วยผ้าที่ย้อมด้วยสีต่าง ๆ ด้วยที่นอน

ที่ปูลาด แล้วด้วยเครื่องปูนอนอันวิจิตร ด้วยปราสาทที่ประเสริฐ มีปราสาท

ชั้นเดียวและ ๒ ชั้นเป็นต้น.

บทว่า อาวสเถหิ ได้แก่ด้วยอุปกรณ์ทั้งหลายเห็นปานนั้น.

ชาวชนบท ชาวแว่นแคว้น คือ ชาวชนบทที่อยู่ในส่วนหนึ่ง ๆ ของ

ประเทศ และชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้นบางพวก ๆ ย่อมนอบน้อมพราหมณ์ทั้ง

หลาย ทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า ประดุจบุคคลนอบน้อมเทพเจ้าทั้งหลายว่า

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพราหมณ์ทั้งหลาย ดังนี้. พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 239

บุคคลนอบน้อมอยู่อย่างนี้เป็นผู้อันชาวโลกไม่พึงฆ่า จะไม่พึงฆ่าอย่างเดียวเท่า

นั้นก็หาไม่ แต่ไม่พึงชนะ แม้เพื่อจะเบียดเบียน และไม่พึงชนะ เพราะพราหมณ์

เหล่านั้นครอบงำไม่ได้.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะพราหมณ์เหล่านั้นอันธรรมรักษาไว้แล้ว ด้วยว่า

พราหมณ์เหล่านั้นรักษาธรรมคือศีลห้าแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้อันธรรมรักษาแล้ว

เพราะพระบาลีว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมแล ย่อมรักษา

ผู้ประพฤติธรรมดังนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้อันใคร ๆ ไม่พึงฆ่า และไม่พึงชนะ.

บาทพระคาถาว่า น เน โกจิ นิวาเรสิ ความว่า ใคร ๆ ไม่ควร

ห้ามพราหมณ์เหล่านั้น ที่ประตูแห่งสกุลทั้งหลาย ชื่อว่าที่ประตูแห่งสกุล ใน

ที่ทั้งปวง คือทั้งภายนอก ทั้งภายใน แม้โดยประการทั้งปวง พึงทราบอธิบาย

ในพระคาถานี้อย่างนี้ว่า เพราะมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้มีความคุ้นเคยอย่างยิ่งใน

พราหมณ์เหล่านั้นว่า ท่านไม่ควรเข้าไปยังสถานที่ชื่อนี้ดังนี้ พราหมณ์เหล่า

ใดแม้จะเป็นพราหมณ์จัณฑาล พราหมณ์เหล่านั้นอันธรรมรักษาแล้วอย่างนี้

อันใคร ๆ ไม่ห้ามแล้ว ที่ประตูแห่งสกุลทั้งหลายเที่ยวไปอยู่ ประพฤติพรหม

จรรย์ตั้งแต่เป็นเด็ก โดยการประพฤติจำเดิมแต่กาลเป็นเด็กสิ้นเวลา ๔๘ ปี

คือ ๘ ปีกับ ๔๐ ปี ก็จะป่วยกล่าวไปไยในพราหมณ์ทั้งหลาย มีพราหมณ์ผู้

เสมอด้วยพรหมเป็นต้นเล่า.

ก็พราหมณ์เหล่านั้นประพฤติพรหมจรรย์อยู่อย่างนี้นั่นแล ได้เที่ยว

แสวงหาวิชชาและจรณะอยู่ในกาลก่อน จะเป็นผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ก็หา

มิได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 240

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิชฺชาปริเยฏฺิ ได้แก่ การแสวงหา

มนต์ สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า พราหมณ์นั้นเรียนมนต์ทั้งหลายอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่เป็นเด็กตลอด ๔๘ ปี.

บทว่า จรณปริเยฏฺิ ได้แก่ การรักษาศีล พระบาลีว่า วิชฺชาจรณ-

ปริเยฏฺิ ดังนี้ก็มี ความว่า ได้เที่ยวไปเพื่อแสวงหาวิชชาและจรณะ อธิบาย

ว่า พราหมณ์ทั้งหลายเป็นผู้เสมอด้วยเทวดา หรือเป็นผู้มีมารยาท ประพฤติ

พรหมจรรย์ตามที่กล่าวแล้ว ต่อจากประพฤติพรหมจรรย์นั้นแล้ว แม้มาครอง

ฆราวาส ก็ไม่ถึงหญิงอื่นไม่ว่าจะเป็นหญิงกษัตริย์ หรือหญิงคนใดคนหนึ่ง

ในบรรดาหญิงทั้งหลาย มีหญิงแพศย์ (พ่อค้า) เป็นต้น. ต่อแต่นั้น พราหมณ์

เหล่านั้น หาได้ให้เงิน ๑๐๐ หรือ ๑๐๐๐ กหาปณะแล้วซื้อภรรยามาไม่ เหมือน

อย่างบุคคลบางจำพวก ที่ซื้อภรรยากันในปัจจุบัน พราหมณ์เหล่านั้น ย่อม

แสวงหาภรรยาโดยธรรม คืออย่างไร คือพราหมณ์ทั้งหลาย(เหล่าอื่น)ประพฤติ

พรหมจรรย์สิ้นเวลา ๔๘ ปี (สึกแล้ว) แล้วเที่ยวขอหญิงสาวในวันนั้นนั่นเอง

ด้วยการกล่าวว่า ข้าพเจ้าประพฤติพรหมจรรย์มาเป็นเวลา ๔๘ ปี ถ้าหากว่า

เด็กหญิงที่ถึงพร้อมด้วยวัยแล้วมีอยู่ ขอให้พวกท่านจงให้แก่ข้าพเจ้า ต่อแต่

นั้น บุคคลซึ่งมีธิดาที่เจริญวัย ประดับประดาธิดานั้นแล้ว นำออกมาให้ใน

มือของพราหมณ์ ซึ่งยืนอยู่ที่ประตูนั้นเอง เมื่อจะหลั่งน้ำก็กล่าวว่า ข้าแต่

พราหมณ์ ข้าพเจ้าให้ธิดานี้ เพื่อเป็นภรรยาของท่าน เพื่อประโยชน์แก่การ

เลี้ยงดู ดังนี้แล้วก็ให้ไป ถ้าหากว่าชนทั้งหลายถามว่า ก็เพราะเหตุไรพราหมณ์

เหล่านั้นแม้เที่ยวประพฤติพรหมจรรย์นานอย่างนี้แล้ว ก็ยังแสวงหาภรรยาอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 241

ไม่ประพฤติพรหมจรรย์จนตลอดชีวิต ก็พวกพราหมณ์เหล่านั้นจะมีความเห็น

ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิอย่างนี้ว่า ผู้ใดไม่ให้บุตรเกิดขึ้น ผู้นั้นเป็นผู้กระทำการ

ตัดสกุลวงศ์ เพราะการตัดสกุลวงศ์นั้น ย่อมหมกไหม้ในนรก.

ได้ยินว่า คน และ สัตว์ ๔ จำพวก คือ ไส้เดือน ๑ นกต้อยติวิด

๑ นางนกกระเรียน ๑ พราหมณ์ ๑ ย่อมกลัวสิ่งที่ไม่ควรกลัว

ได้ยินว่าไส้เดือนทั้งหลายเป็นสัตว์ที่มีปกติกินดินแต่พอประมาณ

เพราะกลัวแผ่นดินใหญ่หมดไป ไม่ยอมกินดินมาก ๆ นางนกต้อยติวิด นอน

หงายบนไข่ เพราะกลัวอากาศจะตกทับ นางนกกะเรียน ไม่ยอมเหยียบแผ่นดิน

เต็มเท้าทั้งสอง เพราะกลัวแผ่นดินจะถล่ม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมแสวงหา

ภรรยา เพราะกลัวสกุลวงศ์จะขาดสูญ ท่านกล่าวไว้ในคาถานี้ว่า :-

สัตว์ที่งมงาย ๔ จำพวกเหล่านี้คือ

ไส้เดือน ๑ นางนกต้อยติวิด ๑ นกกระ-

เรียน ๑ พราหมณ์ผู้เคร่งครัดในธรรมเนียม

๑ ย่อมกลัวสิ่งที่ไม่ควรกลัว ดังนี้.

พราหมณ์ทั้งหลายแม้แสวงหาภรรยาโดยธรรมอย่างนี้ อยู่ร่วมกันเพราะ

ความรัก เสมอกันเท่านั้น และอยู่ด้วยกันด้วยกาย ด้วยความรักที่เสมอกัน คือ

ด้วยความรักกันและกันเท่านั้น มีคำอธิบายว่า เป็นผู้มีจิตร่วมกัน คลึงเคล้า

ถูกต้องกัน พอใจการอยู่ร่วมกัน หาได้อยู่ร่วมกันโดยการไม่รัก หรือด้วยการ

ข่มขี่กันไม่ พราหมณ์แม้ทำการอยู่ร่วมกันด้วยความรักที่เสมอกันอย่างนี้อยู่ ก็

ย่อมไม่ร่วมกับภรรยาผู้เว้นจากระดู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 242

สองบทว่า อญฺตฺร ตมฺหา ความว่า ในสมัยที่มีระดูอันใด

พราหมณ์พึงเข้าถึงนางพราหมณี ในสมัยนั้น คือ เว้นซึ่งสมัยนั้น พราหมณ์

ผู้สามีก็ไม่ร่วมกับภรรยา ผู้เว้นแล้วจากระดู คือผู้เว้นจากระดู ตราบเท่าที่สมัยนั้น

ยังไม่มาถึงอีก คือย่อมไม่ร่วมในระหว่างโดยแท้.

บทว่า เมถุนฺธมฺม ได้แก่ เพื่อธรรมของคนคู่ กล่าวกันว่า เมถุน

ธมฺม นั้น เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถจตุตถีวิภัตติ.

สองบทว่า นาสฺสุ คจฺฉนฺติ ได้แก่ ย่อมไม่ถึง.

อธิบายว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้เสมอด้วยเทพและมีมรรยาท

ชื่อว่า พราหมณ์ แต่โดยไม่แปลกกัน คนแม้ทุกจำพวกพึงสรรเสริญ

พรหมจรรย์ ฯลฯ.

เมถุนวิรัติ ชื่อว่า พรหมจรรย์ ในคาถานั้น.

สิกขาบท ๔ ที่เหลือ ชื่อว่า ศีล.

ความเป็นผู้ซื่อตรง ชื่อว่า อาชวะ โดยความก็คือ ความเป็นผู้ไม่

โอ้อวด ความเป็นผู้ไม่มีมายา.

ความเป็นผู้อ่อนโยน ชื่อว่า มัททวะ โดยอรรถก็คือ ความไม่แข็ง

กระด้าง และความไม่ถือตัว.

การสำรวมอินทรีย์ ชื่อว่า ตปะ.

ความเป็นผู้สงบเสงี่ยม ความมีสุขโดยปกติ ความประพฤติเรียบร้อย

ไม่น่ารังเกียจ ชื่อว่า โสรัจจะ.

ความเป็นผู้มีชาติแห่งผู้ไม่เบียดเบียนกันด้วยฝ่ามือเป็นต้น ความเป็น

ผู้มีกรุณา ชื่อว่า อวิหิงสา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 243

ความอดทน คือความอดกลั้น (อธิวาสนขันติ) ชื่อว่า ขันติ.

พราหมณ์ทั้งหลายสรรเสริญคุณทั้งหลายเหล่านี้อย่างนี้ ส่วนพราหมณ์

เหล่าใด ไม่อาจเพื่อยินดีในข้อปฏิบัติ โดยประการทั้งปวงได้ แม้พราหมณ์

เหล่านั้น ก็มีปกติเห็นในคุณธรรมเหล่านั้นว่ามีประโยชน์ จึงสรรเสริญคือชมเชย

ด้วยวาจา ก็เมื่อพราหมณ์เหล่านั้นสรรเสริญอยู่อย่างนี้ว่า พราหมณ์ใดเป็นผู้

เสมอด้วยพรหม เป็นผู้มีความบากบั่นมั่นคง เป็นผู้สูงกว่าพราหมณ์เหล่านั้น

และพราหมณ์นั้นย่อมไม่เสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ความฝัน ดังนี้.

พระคาถาว่า โย จ เนส ฯเปฯ นาคมา ความว่า พราหมณ์ใด

เป็นผู้เสมอด้วยพรหม คือเป็นพราหมณ์ที่สูงสุดเสมอด้วยพระพรหม เป็นผู้สูง

สุดกว่าพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความบากบั่นมั่นคง เพราะประกอบ

ด้วยความบากบั่นอันมั่นคง.

วา ศัพท์ในคำว่า ส วา ใช้ในอรรถว่า ทำให้แจ่มแจ้ง.

ด้วย วา ศัพท์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมยังพราหมณ์นั้นนั่นแล

ให้แจ่มแจ้งว่า พราหมณ์คนนั้น คือ คนเห็นปานนั้น.

สองบทว่า เมถุน ธมฺม ได้แก่ การเข้าถึงเมถุน.

สองบทว่า สุปินนฺเตปิ นาคมา ได้แก่ ไม่ถึงแม้โดยความฝัน

ตั้งแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสว่า พราหมณ์บางพวก ผู้มีชาติแห่งบุคคล

ผู้รู้แจ้งในโลกนี้ ศึกษาตามวัตรของพราหมณ์ ผู้เสมอด้วยพรหมนั้นอยู่

สรรเสริญพรหมจรรย์ ศีล และแม้ขันติ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงด้วยสามารถแห่งที่สุดเบื้องต้น

โดยนัยที่พระองค์ตรัสไว้แล้ว ในคาถาที่ ๙ แห่งสูตรนี้นั้นแล จึงทรงประกาศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 244

พราหมณ์ทั้งหลายที่เสมอด้วยเทพ ด้วยว่าบัณฑิตทั้งหลายผู้มีชาติแห่งผู้รู้แจ้ง

เหล่านั้น ศึกษาวัตรของพราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหมนั้นอยู่ ย่อมสรรเสริญวัตร

ของพราหมณ์ ด้วยการบรรพชาและด้วยการเจริญฌาน และพราหมณ์เหล่านั้น

ย่อมสรรเสริญคุณมีพรหมจรรย์เป็นต้น เหล่านี้ ด้วยข้อปฏิบัติเท่านั้น พราหมณ์

แม้ทุกจำพวกเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน โทณ-

สูตร ในปัญจกนิบาตนั้นแล บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงสรรเสริญ

พราหมณ์ทั้งหลายที่มีมรรยาท จึงตรัสว่า ตณฺฑุล สยน เป็นต้น.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น พราหมณ์

เหล่าใดเป็นผู้มีมารยาท แต่ถ้าหากว่าประสงค์จะกระทำยัญ ลำดับนั้นพราหมณ์

เหล่านั้นก็ขอข้าวสาร ที่นอนอันต่างด้วยเตียงและตั่งเป็นต้น ผ้าอันต่างด้วยผ้า

ทำด้วยเปลือกไม้เป็นต้น และเนยใสและน้ำมันอันต่างด้วยเนยใสอันเกิดจากโค

และน้ำมันงาเป็นต้น อันมีประการต่าง ๆ เพราะพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้เว้นแล้ว

จากการรับของดิบและข้าวเปลือก คือว่าขอแล้วโดยธรรม ได้แก่ โดยธรรม

กล่าวคือฐานะที่เจาะจง ซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อม

ยืนเจาะจง (โดยธรรม) นี้คือการขอของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ลำดับนั้นจึงได้

รวบรวมคือนำมารวมไว้ ซึ่งวัตถุมีข้าวสารเป็นต้นนั้น ที่ผู้ประสงค์จะให้

ถวายไว้.

พระบาลีว่า สมุธาเนตฺวา ดังนี้ก็มี. เนื้อความก็อันเดียวกันนี้นั้นเอง.

พึงประกอบยัญ แต่วัตถุนั้น คือว่าถือเอาจากวัตถุนั้น แล้วได้ทำทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 245

ก็เมื่อกระทำ ย่อมไม่ฆ่าโคทั้งหลาย คือพราหมณ์เหล่านั้นไม่ฆ่า

แม่โคทั้งหลายในเพราะยัญกล่าวคือทาน ที่ปรากฏขึ้นแล้วนี้อย่างนี้. ก็ในคำว่า

คาโว นี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงสัตว์ทุกจำพวก โดยยกแม่โคขึ้นเป็นประธาน.

ถามว่า เพราะเหตุไร พราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่ฆ่าสัตว์ทุกจำพวก.

ตอบว่า เพราะพราหมณ์เหล่านั้นประกอบด้วยคุณ มีพรหมจรรย์

เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อจะว่าโดยพิเศษ พราหมณ์เหล่านั้นไม่ฆ่าโคทั้งหลาย

เหมือนกับมารดาบิดา พี่ชายน้องชาย และญาติทั้งหลายแม้เหล่าอื่น ในบรรดา

บทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ยาสุ ชายนฺติ โอสถา ความว่า รสแห่ง

โคทั้งหลาย ๕ ชนิด อันเป็นเภสัชสำหรับโรคทั้งหลาย มีโรคน้ำดีเป็นต้น

ย่อมเกิดในแม่โคเหล่าใด.

ในบททั้งหลายมี อนนฺทา เป็นต้น มีอธิบายว่า เพราะเมื่อชน

ทั้งหลายบริโภคปัญจโครสอยู่ ความหิวก็สงบลงได้ กำลังก็เพิ่มขึ้น ผิวพรรณ

ก็ผ่องใส สุขกายสุขใจย่อมเกิดขึ้น ฉะนั้นพึงทราบว่าปัญจโครสเหล่านี้ ชื่อว่า

ให้ข้าว ให้กำลัง ให้วรรณะและให้ความสุข. คำที่เหลือในคาถานี้มีเนื้อความ

ตื้นทั้งนั้น.

พราหมณ์เหล่านั้น เมื่อไม่ฆ่าแม่โคทั้งหลาย ในเพราะยัญทั้งหลาย

อย่างนี้ เป็นผู้มีร่างกายอันบ่อเกิดแห่งบุญอนุเคราะห์แล้ว จึงเป็นผู้ละเอียดอ่อน

มีร่างกายใหญ่ มีวรรณะ มียศ ขวนขวายในกิจน้อยใหญ่โดยธรรมของตน

ได้ประพฤติแล้วด้วยข้อปฏิบัติ อันเป็นเหตุให้หมู่สัตว์ถึงความสุขในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 246

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขุมาลา ได้แก่ เป็นผู้ละเอียดอ่อน

เพราะเป็นผู้มีฝ่ามือและฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม.

บทว่า มหากายา ได้แก่ (เป็นผู้มีกายใหญ่) เพราะเป็นผู้ถึงพร้อม

ด้วยกายที่สูงและใหญ่.

บทว่า วณฺณวนฺโต ได้แก่ เป็นผู้มีวรรณะ เพราะเป็นผู้มีผิวพรรณ

เพียงดังทอง และเพราะเป็นผู้ประกอบด้วยทรวดทรงที่สมส่วน.

บทว่า ยสสฺสิโน ได้แก่ เป็นผู้มียศ เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยลาภ

และบริวาร (อันเกิดจากบุญ).

สองบทว่า เสหิ ธมฺเมหิ ได้แก่ ด้วยจารีตทั้งหลายที่เป็นของตน.

บาทคาถาว่า กิจฺจากิจฺเจสุ อุสฺสุกา ความว่า เป็นผู้ถึงความ

ขวนขวายว่า ควรการทำสิ่งนี้ในกิจทั้งหลาย ไม่ควรกระทำสิ่งนี้ในสิ่งที่ไม่ควร

กระทำทั้งหลาย พราหมณ์สมัยก่อนเหล่านั้นเป็นผู้เห็นปานนั้น จึงเป็นผู้น่าดู

น่าเลื่อมใส ควรแก่ทักษิณาของชาวโลกอย่างยิ่ง เป็นผู้ปราศจากความ

เสนียดจัญไร ภัย อุปัทวะ ตราบเท่าที่ยังปฏิบัติด้วยข้อปฏิบัตินี้ในโลก ซึ่งเป็น

เหตุให้หมู่สัตว์ถึงคือบรรลุถึงความสุข หรือถึงความสุขได้แก่บรรลุถึง

ความเจริญ.

ด้วยสองบทว่า อย ปชา พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงซึ่ง

สัตว์โลก.

แต่โดยกาลล่วงไป เมื่อพวกพราหมณ์เหล่านั้นต้องการทำลายมารยาท

(จารีตประเพณีของตน) เสีย ความวิปลาสก็ได้มีแก่พราหมณ์เหล่านั้น เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 247

ได้เห็นกามสุขอัน เล็กน้อย (ลามก) ที่เกิดขึ้นจากกามคุณอันเป็นของ เล็กน้อย

(ลามก) พราหมณ์ทั้งหลายได้ปรารถนาเพ่งเล็ง (ต้องการ) สมบัติของพระราชา

เหล่านารีที่ประดับดีแล้ว รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ที่สร้างตกแต่งไว้เป็น

อย่างดี มีการขลิบอันวิจิตร พื้นที่เรือนทั้งหลาย เรือนทั้งหลายที่กั้นเป็นห้อง ๆ

แยกกำหนดเป็นส่วน และโภคสมบัติอันเป็นของมนุษย์อันโอฬาร เกลื่อนกล่น

ไปด้วยฝูงโค ประกอบไปด้วยหมู่นารีผู้ประเสริฐ.

ในคาถานั้น ความสำคัญผิด ชื่อว่า วิปลาส.

สองบทว่า อณุโต อณุ อธิบายว่า เพราะเห็นกามสุขอันเล็กน้อย

ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว จากกามคุณอันเป็นของเล็กน้อย เพราะอรรถว่า ลามก เพราะ

อรรถว่านิดหน่อย เพราะอรรถว่าไม่เจริญ (อปายฏฺเน) โดยไม่เข้าถึงซึ่ง

การนับ เข้าในการเปรียบเทียบกับสุขซึ่งเกิดจากฌานอัปปมัญญา และนิพพาน

หรือเพราะเห็นกามสุขเล็กน้อยโดยเป็นความสุขซึ่งเกิดจากสมาบัติอันเป็น

โลกิยะ อันตนได้แล้ว ซึ่งเป็นของเล็กน้อย เพราะเทียบกับโลกุตรสุข คือ

เพราะเห็นกามสุขอันเล็กน้อย แม้เพราะเป็นของเล็กน้อย.

บทว่า ราชิโน วา ได้แก่ ของพระราชาเทียว.

บทว่า วิยาการ ได้แก่ สมบัติ.

บทว่า อาชญฺสยุตฺเต ได้แก่ เทียมด้วยม้าอาชาไนย.

บทว่า สุกเต ได้แก่ สำเร็จดีแล้วด้วยทารุกรรมและโลหกรรม.

บทว่า จิตฺตสิพฺพเน ได้แก่ มีการขลิบอันวิจิตร ด้วยสามารถแห่ง

เครื่องอลงกรณ์ (การประดับ) ด้วยวัตถุทั้งหลายปีหนังสีหะเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 248

บทว่า นิเวสเน ได้แก่ เครื่องเรือน.

บทว่า นิเวเส จ ได้แก่ เรือนที่เขาให้สร้างไว้ในที่นั้น ๆ.

บทว่า วิภตฺเต ได้แก่ อันแบ่งไว้ด้วยสามารถแห่งส่วนยาว และ

ส่วนกว้าง.

สองบทว่า ภาคโส มิเต ได้แก่ ที่กำหนดกระทำไว้เป็นส่วน ๆ

ด้วยสามารถแห่งสนาม ประตู ปราสาท และเรือนยอดเป็นต้น.

ถามว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ?

ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ความสำคัญผิดได้มีแล้วแก่พราหมณ์

เหล่านั้น เพราะความเป็นไปในวัตถุทั้งหลายเหล่านี้ ซึ่งเป็นทุกข์เท่านั้นว่าเป็น

สุข เพราะตรงกันข้ามกับความสำคัญในการออกบวช อันเป็นไปแล้วในกาลก่อน

เพราะได้เห็นกามสุขที่รู้กันว่าเป็นของเล็กน้อย โดยความเป็นของเล็กน้อย ๑

สมบัติของพระราชา ๑ นารีที่ประดับแล้วทั้งหลาย ๑ รถทั้งหลาย ๑ เครื่องเรือน

ทั้งหลาย ๑ ตัวเรือนทั้งหลาย ๑ ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว (โดยความเป็น

ของเล็กน้อย) พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นมีความเห็นวิปริตอย่างนี้ จึงเพ่งเล็ง

โภคะ ซึ่งเป็นของมนุษย์อันโอฬาร อันเกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงโค อันประกอบ

ไปด้วยหมู่นารีผู้ประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โคมณฺฑลปริพฺยุฬฺห ได้แก่ เกลื่อนกล่น

ไปด้วยฝูงโคทั้งหลาย.

บทว่า นารีวรคณายุต ได้แก่ ซึ่งประกอบด้วยหมู่นารีผู้ประเสริฐ.

บทว่า อุฬาร ได้แก่ ไพบูลย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 249

สองบทว่า มานุส โภค ได้แก่ วัตถุเครื่องใช้มีเครื่องเรือนเป็นต้น

ของมนุษย์ทั้งหลาย.

บทว่า อภิชฺฌายึสุ ความว่า ยังตัณหาให้เจริญ ปรารถนาเพ่งเล็งว่า

โอหนอ วัตถุนี้ พึงเป็นของเรา.

พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นคิดว่า ก็มนุษย์เหล่านี้ เพ่งเล็งอยู่อย่างนี้

เป็นผู้สนานดีแล้ว ลูบไล้ดีแล้ว ตัดผม โกนหนวดแล้ว สวมเครื่องประดับ

คือพวงมาลัย บำเรออยู่ด้วยก้านคุณทั้งห้า แต่เราทั้งหลายสิ แม้อันมนุษย์

เหล่านั้นนอบน้อมอยู่อย่างนี้ เป็นผู้มีร่างกายเศร้าหมองด้วยคราบเหงื่อ มีเล็บ

และขนรักแร้งอกยาว เป็นผู้ไร้โภคะ ถึงความเป็นผู้น่าสงสารอย่างยิ่งอยู่ ก็มนุษย์

เหล่านี้ เที่ยวสัญจรไปด้วยพาหนะทั้งหลาย มีการนั่งบนคอช้าง นั่งบนหลังม้า

ขึ้นวอ และนั่งรถทองคำเป็นต้น (ฝ่าย) พวกเราสิต้องเดินด้วยเท้า มนุษย์

เหล่านี้อยู่บนพื้นปราสาท มีปราสาท ๒ ชั้นเป็นต้น พวกเราสิอยู่ที่ในป่าและ

โคนต้นไม้เป็นต้น และมนุษย์เหล่านี้นอนบนที่นอนอันประเสริฐซึ่งปูลาดแล้ว

ด้วยวัตถุทั้งหลายมีผ้าโกเชาว์ขนยาวเป็นต้น พวกเราสิปูลาดเสือลำแพนและ

ท่อนหนังนอนบนพื้นดิน ก็มนุษย์เหล่านี้บริโภคโภชนะมีรสนานาชนิด พวกเราสิ

ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยการเที่ยวภิกขาจาร (อุญฺฉาจริยาย) แม้พวกเราจะพึง

เป็นเช่นกับมนุษย์เหล่านี้ ได้อย่างไรหนอแล ดังนี้ และได้ตกลงใจว่า เรา

ต้องปรารถนาทรัพย์ เราทั้งหลายผู้เว้นจากทรัพย์ไม่อาจจะได้รับสมบัตินี้ได้

ดังนี้แล้วจึงทำลายเวททั้งหลาย (ไม่เรียนพระเวท) ทำมนต์ของเก่าซึ่งประกอบ

ด้วยธรรมให้เสื่อม (พินาศ) ไป แต่งมนต์หลอกลวงอันไม่ประกอบด้วยธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 250

ขึ้นมา (แทนที่) เป็นผู้ต้องการทรัพย์ จึงได้เข้าไปหาพระเจ้าโอกกากราช

แล้วได้ประกอบกรรมทั้งหลายมีการถวายพระพรเป็นต้น แล้วกราบทูลว่า

มหาบพิตร อาตมาภาพทั้งหลายมีบทมนต์เก่าแก่ ซึ่งสืบต่อกันมาตามประเพณี

ในวงศ์ของพราหมณ์ พวกเราไม่ได้กล่าวมนต์นั้นแก่ใคร ๆ เพราะเป็นความลับ

ของอาจารย์ มหาบพิตรเป็นผู้สมควรจะสดับมนต์นั้น ดังนี้แล้ว จึงได้พรรณนา

ยัญวิธี มีอัสสเมธะเป็นต้น ก็ครั้นสรรเสริญแล้ว เมื่อจะให้พระราชาทรงอุตสาหะ

จึงได้ทูลว่า มหาบพิตร ขอพระองค์จงทรงบูชายัญ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์จะ

เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก พระองค์ไม่มีความบกพร่องในสัมภาระ

เครื่องบูชายัญ เพราะว่าเมื่อพระองค์ทรงบูชาอย่างนี้อยู่ วงศ์กษัตริย์ของพระ-

องค์ชั่ว ๗ สกุล จักบังเกิดในสวรรค์ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ

ทรงแสดงความเป็นไปนั้นของพราหมณ์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ว่าพราหมณ์เหล่านั้นผูกมนต์ในที่นั้นแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้าโอกกากราชใน

กาลนั้น กราบทูลว่า พระองค์มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย ขอเชิญพระองค์

ทรงบูชายัญเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในที่นั้น มีคำอธิบายว่า

พราหมณ์ทั้งหลายเพ่งเล็งโภคะใด ได้กระทำโภคะนั้นให้เป็นเหตุ (นิมิต).

คำว่า ตนฺนิมิตฺต นี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถว่าเหตุ (นิมิต).

สองบทว่า ตทุปาคมุ ได้แก่ เข้าไปหาแล้วในกาลนั้น.

บาทคาถาว่า ปหุตธนธญฺโสิ อธิบายว่า พระองค์จะเป็นผู้มีทรัพย์

และข้าวเปลือกมากในสัมปรายภพ ด้วยว่าอาจารย์ผู้ฉลาดในศัพท์ทั้งหลาย

ปรารถนากล่าวความหวัง (ของพระราชา) ในปัจจุบันให้เป็นไปแม้ในอนาคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 251

บทว่า ยชสฺสุ ได้แก่ จงบูชา. สองบทว่า วิตฺต ธน พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ที่ชื่อว่า วิตฺต ทรัพย์ ก็เพราะเป็นเหตุให้ปลื้มใจประดุจ

รัตนะมีทองเป็นต้น ที่ชื่อว่า ธน ทรัพย์ เพราะเป็นเหตุกระทำให้สำเร็จ.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วิตฺต ได้แก่ อุปกรณ์มีเครื่องประดับเป็นต้น

ที่เป็นเหตุให้ปลื้มใจนั้นเอง ซึ่งมาแล้วในคำทั้งหลายมีคำว่า อุปกรณ์แห่งทรัพย์

เครื่องปลื้มใจเป็นอันมาก.

วัตถุทั้งหลายมีทองและเงินเป็นต้นชื่อว่า ธน ทรัพย์.

ถามว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ?

ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พราหมณ์เหล่านั้นผูกมนต์ทั้งหลาย

แล้วได้เข้าเฝ้าพระเจ้าโอกกากราชในกาลนั้น.

ถามว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้นทูลว่าอย่างไร ?

ตอบว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้นทูลว่า มหาบพิตร พระองค์มีทรัพย์

เครื่องปลื้มใจ และเงินทองอยู่มาก ขอพระองค์จงบูชายัญ พระองค์จักเป็นผู้มี

ทรัดย์และข้าวเปลือกมาก แม้ในอนาคต. ลำดับนั้นแล พระราชาผู้ประเสริฐ

อันพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวเหตุอย่างนี้แล้วให้ยินยอมอยู่ จึงได้ทรงบูชายัญ

อัสสเมธะ ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ นิรัคคฬะ พระราชาทรงบูชายัญ

เหล่านี้แล้ว ก็ได้พระราชทานทรัพย์แก่พราหมณ์ทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สญฺตฺโต ได้แก่ ให้ทรงทราบแล้ว.

บทว่า รเถสโภ ได้แก่ ผู้เช่นกันโคอุสภะ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว

ในกษัตริย์ทั้งหลายซึ่งมีรถมาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 252

ชนทั้งหลาย ย่อมฆ่าม้า ในยัญนี้ เพราะเหตุนั้น ยัญนี้จึงชื่อว่า

อัสสเมธะ.

คำว่า อัสสเมธะ นี้เป็นชื่อของยัญซึ่งมีทรัพย์สมบัติทั้งปวงที่เหลือ

เป็นเครื่องทักษิณามีเครื่องบูชา ๒๑ อย่าง ซึ่งบูชาด้วยยัญบริวาร ๒ ชนิด

เว้นที่ดินและบุรุษ.

ชนทั้งหลาย ย่อมฆ่าบุรุษในยัญนี้ เหตุนี้ ยัญนี้จึงชื่อว่า ปุริสเมธะ.

คำว่า ปุริสเมธะ นี้เป็นชื่อแห่งยัญอันมีทรัพย์สมบัติ ซึ่งกล่าวแล้วในอัสสเมธะ

พร้อมทั้งที่ดินเป็นเครื่องทักษิณาทาน ซึ่งจะพึงบูชาด้วยยัญบริวาร ๔ ชนิด.

ชนทั้งหลายย่อมคล้องเครื่องบูชาในยัญนี้ เหตุนี้ยัญนี้จึงชื่อว่า สัมมา-

ปาสะ.

คำว่า สัมมาปาสะ นี้เป็นชื่อของการบูชาด้วยสาตรา ที่ผู้บูชาใส่สลัก

เครื่องบูชาเข้าไปทุก ๆ วัน แล้วสร้างเวที (แท่นบูชา) ในโอกาสที่สลักเครื่อง

บูชานั้นตกลง แล้วเดินกลับตั้งแต่ที่ ๆ ตนดำลงในแม่น้ำสรัสสตี และบูชา

ด้วยเครื่องบูชาทั้งหลาย มีหลักสำหรับผูกสัตว์บูชายัญเป็นต้นที่จะนำไปได้.

ชนทั้งหลาย ย่อมดื่มน้ำที่ให้กำลังในยัญพิธีนี้ (น้ำศักดิ์สิทธิ์) เหตุนั้น

ยัญพิธีนี้ จึงชื่อว่า วาชเปยยะ. คำว่า วาชเปยยะ นี้เป็นชื่อแห่งการบูชายัญ

ที่มีหลักบูชายัญทำด้วยไม้มะตูม มีเครื่องบูชาอย่างละ ๑๗ ชนิด ที่จะพึงบูชา

ด้วยปศุสัตว์ ๑๗ ชนิด ด้วยยัญบริวารอีกอย่างหนึ่ง.

ลิ่มสลักทั้งหลายไม่มีในยัญนี้ เหตุนี้ยัญนี้ จึงชื่อว่า นิรัคคฬะ. คำว่า

นิรัคคฬะนี้ เป็นชื่อแห่งการกำหนดอัสสเมธะ จึงมีชื่อโดยปริยายว่า สัพพเมธะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 253

มีสมบัติทั้งปวงเป็นเครื่องทักษิณา ตามที่กล่าวไว้ในอัสสเมธะ พร้อมกับที่ดิน

กับบุรุษทั้งหลาย ที่จะพึงบูชาด้วยยัญบริวารอีก ๒ ชนิด. คำเหลือในคาถานี้

ชัดเจนแล้วทั้งนั้น.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสิ่งที่พระองค์ตรัสไว้ว่า พฺราหฺมณาน อทา

ธน จึงตรัส ๒ คาถานี้ว่า คาโว สยนญฺจ ดังนี้เป็นต้น.

ด้วยว่า พระราชา (พระเจ้าโอกกากราช) พระองค์นั้น ทรงดำริว่า

พราหมณ์ทั้งหลายลำบากอยู่ด้วยอาหารที่เศร้าหมองสิ้นกาลนาน จงได้บริโภค

ปัญจโครสกันเถิด ดังนี้แล้ว จึงได้พระราชทานฝูงโค พร้อมทั้งโคที่ประเสริฐ

(โคพันธุ์ดี) แก่พราหมณ์เหล่านั้น. อนึ่งพระองค์ทรงดำริว่า พวกพราหมณ์

ลำบากอยู่ ด้วยการนอนบนดิน ด้วยการนุ่งผ้าเนื้อหยาบ ด้วยการนอนคนเดียว

ด้วยการเที่ยวไปด้วยเท้า และด้วยการอยู่ในสถานที่ทั้งหลาย มีป่าและโคนต้นไม้

เป็นต้น ขอจงได้เสวยสุขในที่ทั้งหลาย มีการนอนบนเครื่องลาดอันประเสริฐ

มีผ้าโกเชาว์เป็นต้น ดังนี้แล้วจึงได้พระราชทานของมีค่าทั้งหลาย และที่นอน

เป็นต้นแก่พราหมณ์เหล่านั้น พระองค์ได้พระราชทานสิ่งอื่น ๆ มีประการต่าง ๆ

นี้ อย่างนี้ และทรัพย์มีเงินและทองเป็นต้น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า พระราชาได้พระราชทานทรัพย์แก่พราหมณ์ทั้งหลายคือแม่โค ที่

นอน ผ้า เหล่านารีที่ประดับดีแล้ว รถเทียมม้าอาชาไนย ที่ช่างตกแต่งไว้เป็น

อย่างดี มีการขลิบอันวิจิตร รับสั่งให้เอาธัญชาติต่าง ๆ บรรจุเรือนที่น่ารื่นรมย์

อันกั้นไว้เป็นห้อง ๆ จนเต็มทุกห้อง พระราชทานทรัพย์แก่พราหมณ์ทั้งหลาย

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 254

ก็พวกพราหมณ์เหล่านั้นได้ทรัพย์ในที่นั้น จากสำนักของพระราชานั้น

อย่างนี้แล้ว ชอบใจสั่งสมเสมอ ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่พราหมณ์เหล่านั้นผู้มี

ความปรารถนาหยั่งลงแล้ว พราหมณ์เหล่านั้นผูกมนต์เหล่านั้นแล้วได้เข้าไป

เฝ้าพระเจ้าโลกกากราชอีก.

ถามว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ?

ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้น ได้ทรัพย์

ในการบูชาอย่างนั้น ๆ จากสำนักพระราชานั้นแล้ว ก็แสวงหาอาหารและเสื้อผ้า

เพียงอย่างเดียวเท่านั้นอยู่ทุก ๆ วันเป็นเวลานาน จึงได้ยินดีการสั่งสมวัตถุกาม

มีประการต่าง ๆ. ต่อจากนั้น เมื่อพราหมณ์เหล่านั้น ผู้ก้าวลงสู่ความอยาก ผู้มี

จิตอันรสตัณหาหยั่งลงแล้ว ด้วยสามารถแห่งความยินดีอันเกิดจากปัญจโครส

มีนมสดเป็นต้น ตัณหาก็เจริญยิ่งขึ้นเพราะอาศัยเนื้ออย่างนี้ว่า ปัญจโครส

ทั้งหลายแม้มีน้ำนมสดเป็นต้น ของโคทั้งหลายยังอร่อย (สาธูนิ) เพียงนี้. แล้ว

เนื้อของโคเหล่านั้นจักอร่อยกว่าแน่แท้ ต่อจากนั้นพวกพราหมณ์ก็คิดว่า ถ้า

พวกเราจักฆ่าโคแล้วจักบริโภค ก็จะเป็นผู้ถูกติเตียนได้ อย่ากระนั้นเลย พวก

เราพึงผูกมนต์ทั้งหลายขึ้น (ดีกว่า)

ลำดับนั้น พวกพราหมณ์ก็ได้ทำลายพระเวทอีกครั้งหนึ่ง คือผูกมนต์

ทั้งหลายเหล่านั้นในที่นั้น ตามสมควรแก่เรื่องนั้น ๆ แล้วผูกมนต์โกงทั้งหลาย

โดยยึดถือมนต์เดิมนั้นเป็นเครื่องหมาย มีความปรารถนาทรัพย์ได้เข้าไปเฝ้า

พระเจ้าโอกกากราชอีก เพื่อจะทูลเนื้อความนี้จึงกราบทูลว่า

แม่โคทั้งหลายเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์สำหรับใช้ในสรรพกิจของมนุษย์

ทั้งหลาย เหมือนน้ำ แผ่นดิน เงิน ทรัพย์ และข้าวเหนียวฉะนั้น เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 255

ว่าน้ำเป็นต้นนั้น เป็นเครื่องใช้ของมนุษย์ทั้งหลาย ขอพระองค์ทรงบูชายัญเถิด

ราชสมบัติของพระองค์มีมาก ขอเชิญพระองค์ทรงบูชายัญเถิด พระราชทรัพย์

ของพระองค์ก็มีมาก.

ถามว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ?

ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พวกพราหมณ์ทั้งหลายทูลว่า ข้า

แต่มหาบพิตร แม่โคเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การใช้ของมนุษย์ทั้งหลาย เหมือน

กับน้ำ ถึงการนำไปใช้เพื่อสัตว์ทั้งหลาย ในกิจการทั้งปวง มีล้างมือเป็นต้น

ฉะนั้น บาปเพราะการฆ่าแม่โคเหล่านั้นย่อมไม่มี เพราะเหตุไร ? เพราะโค

นั้นเป็นเครื่องใช้ (บริกขาร) คือว่าเกิดขึ้นเพื่ออุปกรณ์ของสัตว์ทั้งหลายคือว่าโค

ทั้งหลายเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การนำไปใช้สอยในกิจการทั้งหลายของมนุษย์

ทั้งหลาย เหมือนแผ่นดินใหญ่นี้ ถึงการนำไปใช้ในกิจการทั้งปวง มีการเดิน

และการยืนเป็นต้น เหมือนเงินกล่าวคือกหาปณะ ทรัพย์อันต่างด้วยทองและ

เงินเป็นต้น และข้าวเปลือกอันต่างข้าวเหนียวและข้าวละหานเป็นต้น ย่อม

ทั้งการใช้สอยในกิจการทั้งปวง มีสัพโยหารเป็นต้น ขอพระองค์จงฆ่าโค

เหล่านี้บูชายัญ ที่ประการต่าง ๆ ๆ ราชสมบัติของพระองค์มีมากเชิญพระองค์

ทรงบูชายัญเถิด ราชทรัพย์ของพระองค์มีมาก ดังนี้.

โดยนัยที่กล่าวแล้วในก่อนอย่างนี้นั้นแล ลำดับนั้นแล พระราชาผู้

ประเสริฐอันพราหมณ์ทั้งหลายให้ยินยอมแล้ว ได้ให้ฆ่าแม่โคทั้งหลาย ๑ แสน

ตัว ในยัญพิธี แม่โคทั้งหลายเหล่าใด เสมอด้วยแพะ สงบเสงี่ยม ถูกเขารีดนมลง

หม้อ ย่อมไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) ด้วยเท้า ไม่เบียดเบียนด้วยเขา ไม่เบียดเบียน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 256

ด้วยอวัยวะอะไร ๆ เลย พระราชาผู้ไม่เคยฆ่าซึ่งสัตว์ใด ๆ ในกาลก่อนแต่กาล

นั้น ก็จับโคเหล่านั้นที่เขาทั้งหลายแล้วให้ฆ่าด้วยศัสตรา อธิบายว่า ได้ยินว่า

ในกาลนั้นพวกพราหมณ์ทั้งหลายทำหลุมยัญให้เต็มด้วยแม่โคทั้งหลาย แล้วก็ผูก

โคอุสภะตัวเป็นมงคล นำไปสู่บาทมูลของพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่

มหาบพิตร ขอพระองค์จงบูชายัญด้วยโค ทางแห่งพรหมโลกของพระองค์ก็จัก

บริสุทธิ์ พระราชาผู้ทรงกระทำกิจอันเป็นมงคลแล้ว ก็ทรงจับพระขรรค์ได้

ทรงรับสั่งให้ฆ่าแม่โคทั้งหลาย หลายแสนตัวเป็นอเนก พร้อมกับโคตัวประ

เสริฐ พราหมณ์ทั้งหลาย เชือดเนื้อทั้งหลายที่หลุมยัญแล้วบริโภค ในกาลนั้น

พวกพราหมณ์ได้ห่มผ้ากัมพลสีเหลือง ขาวและแดง ให้ฆ่าโคทั้งหลายแล้ว ได้

ยินว่าโคทั้งหลายเห็นพวกพราหมณ์ทั้งหลายห่มแล้วก็เกิดความหวาดเสียวเพราะ

อาศัยผ้านั้นเป็นเหตุ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า น ปาทา

ฯเปฯ ฆาตยิ.

หลายบทว่า ตโต เทวา เป็นต้น ความว่า เมื่อพระราชาพระองค์

นั้นทรงเริ่มให้ประหารโคทั้งหลายอย่างนี้ ครั้งนั้น คือในระหว่างนั้นนั่นเอง

เทวดาทั้งหลายชั้นจาตุมหาราชิกา พระพรหมทั้งหลาย ซึ่งได้นามในพวก

พราหมณ์ทั้งหลายว่าเป็นบิดา ท้าวสักกะจอมเทพ อสูรและรากษสทั้งหลาย ผู้

อยู่ที่เชิงภูเขา ที่รู้กันว่าทานพยักษ์ก็เปล่งวาจาอย่างนี้ว่า อธรรม จึงได้พากัน

กล่าวว่า น่าติเตียน พวกมนุษย์ เป็นมนุษย์อธรรม เสียงนั้นได้ดังไปตั้งแต่

พื้นดินจนถึงพรหมโลกเพียงครู่เดียวเท่านั้น โลกได้เต็มรอบด้วยอธิการอัน

เดียวกัน ถามว่าเพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะศัสตราตกลงบนแม่โค อธิบาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 257

ว่า เพราะศัสตราตกลงบนแม่โค พวกเทวดาเป็นต้นจะพากันเปล่งเสียงร้องอย่าง

เดียวก็หามิได้ ความพินาศแม้อย่างอื่นนี้ก็ได้เกิดขึ้นเเล้วในโลก ท่านกล่าว

อธิบายไว้ว่า ก็โรค คือ ความอยาก ความอดอยาก ความทรุดโทรม เหล่านั้น

มี ๓ ชนิด ซึ่งมิแล้วในกาลก่อน ได้แก่ตัณหา คือความปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ๑

ความหิว ๑ ความแก่หง่อม ๑ ก็โรคเหล่านั้นของพวกสัตว์ได้แพร่ออกเป็น ๙๘

ชนิด อธิบายว่าถึงแล้วซึ่งความเป็นโรค ๙๘ อย่างโดยประเภทที่โรคตาเป็นต้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงติเตียน การปรารภปศุสัตว์ จึง

ตรัสว่า เอโส อธมฺโม ดังนี้เป็นต้น.

เนื้อความแห่งพระคาถาทั้งหลายเหล่านั้นว่า คำนี้กล่าวคือการปรารภ

ปศุสัตว์เป็นทัณฑ์ (คือกรรม) อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาทัณฑ์ ๓ อย่างมีกาย

ทัณฑ์เป็นต้น ชื่อว่า เป็นอธรรม เพราะไปปราศจากธรรม ได้เป็นธรรมที่

หยั่งลงแล้ว คือได้เป็นธรรมที่เป็นไปแล้ว ก็ธรรมนั้นแล ชื่อว่าเป็นธรรมเก่า

เพราะเป็นไปจำเดิมแต่กาลบัดนั้นมา แม่โคทั้งหลายชื่อว่าเป็นสัตว์ไม่ประทุษ-

ร้าย เพราะไม่เบียดเบียนด้วยอวัยวะไร ๆ มีเท้าเป็นต้น จำเดิมแต่การก้าวลง

ใด ๆ ย่อมถูกฆ่า ชนผู้บูชายัญทั้งหลายได้แก่ชนทั้งหลายผู้บูชาซึ่งยัญ เมื่อให้

ฆ่าแม่โคเหล่าใดอยู่ก็ย่อมเสื่อม คือว่า ย่อมฉิบหายจากธรรม (เพราะเหตุแห่ง

การฆ่าแม่โคเหล่านั้น)

บาทพระคาถาว่า เอวเมโส อณุธมฺโม ความว่า ธรรมอันเลวทราม

คือ ธรรมอันต่ำ มีคำอธิบายว่า เป็นอธรรม นี้อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 258

อีกอย่างหนึ่ง ก็เหตุที่แม้ธรรมคือการให้ (ทาน) ก็มีอยู่น้อยในธรรม

นี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อณุธมฺโม หมายเอาธรรม คือ

ทานที่น้อยนั้น.

บทว่า ปุราโณ ได้แก่ เป็นกาลเวลาที่ช้านานเพียงนั้น.

บาทพระคาถาว่า เอว ธมฺเม วิยาปนฺเน ได้แก่ เมื่อพราหมณธรรม

อันเป็นของเก่าฉิบหายแล้วอย่างนี้ พระบาลีว่า วิยาวตฺเต ดังนี้ก็มี อธิบายว่า

ได้แก่ เป็นธรรมที่เปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น.

บาทพระคาถาว่า วิภินฺนา สุทฺธเวสฺสิกา ความว่า พวกศูทรและ

แพศย์ทั้งหลายสามัคคีกันอยู่ในกาลก่อน พวกเขาแม้เหล่านั้นก็แตกกัน.

บาทพระคาถาว่า ปุถุ วิภินฺนา ขตฺติยา ความว่า แม้พวกกษัตริย์

เป็นอันมาก ก็แตกกัน.

บาทพระคาถาว่า ปตึ ภริยา อวมญฺถ ความว่า และภรรยาซึ่งสามี

ให้ดำรงอยู่ในพลังคือความเป็นใหญ่ เมื่อครองเรือน เป็นผู้เข้าถึงแล้วด้วยพลัง

ทั้งหลาย มีพลังแห่งบุตรเป็นต้น ดูหมิ่น ได้แก่ดูแคลน คือดูถูกสามี ได้แก่

ไม่บำรุงโดยเคารพ.

พระคาถาว่า ขตฺติยา พรฺหฺมพนฺธู จ...กามาน วสมาคมุ

ความว่า พวกกษัตริย์และพวกพราหมณ์ พวกแพศย์และศูทรอื่นใดเป็นผู้

แตกกันอย่างนี้แล้ว ผู้ชื่อว่าอันโคตรรักษาแล้ว เพราะอันโคตรของตน ๆ

รักษาไว้ โดยประการที่จะไม่ระคนปนกัน (กับวรรณะอื่นนอกจากวรรณะของ

ตน) พวกชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ทำวาทะว่าชาตินั้นฉิบหายแล้ว ได้แก่ทำ

วาทะแม้ทั้งปวงนี้ว่า เราเป็นกษัตริย์ เราเป็นพราหมณ์ เป็นต้นให้ฉิบหายแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 259

ไปสู่อำนาจแห่งกามทั้งหลาย กล่าวคือกามคุณ ๕ ได้แก่ถึงซึ่งความอยาก มีคำ

อธิบายว่า ชนเหล่านั้นไม่กระทำสิ่งไร ๆ ที่ไม่ควรกระทำก็หามิได้ คือกระทำ

สิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะกามเป็นเหตุ.

ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคุณของพวกพราหมณ์โบราณ

ด้วยคาถา ๙ คาถาว่า อิสโย ปุพฺพกา อย่างนี้แล้ว ได้ทรงแสดงความ

ประพฤติที่เสมอด้วยพรหม ด้วยคาถาว่า โย เนส ปรโม เป็นต้น ความ

ประพฤติที่เสมอด้วยเทพ ด้วยคาถาว่า ตสฺส วตฺตมนุสิกฺขนฺตา เป็นต้น

ซึ่งความประพฤติเรียบร้อยด้วยคาถา ๔ คาถาว่า ตณฺฑุล สยน เป็นต้น

ซึ่งความประพฤติที่แตกทำลายด้วยคาถา ๑๗ คาถาว่า เตส อาสิ วิปลฺลาโส

เป็นต้น.

และเมื่อจะแสดงถึงการปฏิบัติออกนอกทางของพวกเทพเป็นต้น ด้วย

การปฏิบัติผิด ด้วยการประพฤตินั้น แล้วให้เทศนาจบลง. แต่พวกพราหมณ์

จัณฑาลพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้จัดไว้ในที่นี้เลย เพราะเหตุไร. เพราะไม่มี

การกระทำการปฏิบัติผิดไร ๆ ก็เมื่อความถึงพร้อมแห่งพราหมณ ธรรมมีอยู่

ธรรมของพราหมณ์ทั้งหลายก็ฉิบหายแล้ว เพราะเหตุนั้นนั่นแล โทณพราหมณ์

จึงทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย

ก็บำเพ็ญแม้พราหมณจัณฑาลให้บริบูรณ์ไม่ได้. คำที่เหลือในคาถานี้ มีนัยอัน

ข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นแล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งพราหมณธัมมิกสูตร

แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถโชติกา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 260

นาวาสูตรที่ ๘

ว่าด้วยอุปมาเหมือนเรือข้ามฝั่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

[๓๒๕] ก็บุรุษพึงรู้แจ้งธรรมจาก

บุคคลใด พึงบูชาบุคคลนั้น เหมือนเทวดา

บูชาพระอินทร์ฉะนั้น บุคคลนั้นเป็นพหูสูต

ผู้อันเตวาสิกนั้น ย่อมชี้แจงธรรมให้แจ่มแจ้ง.

บุรุษผู้มีปัญญา ไม่ประมาท คบ

บุคคลผู้เป็นพหูสูตเช่นนั้น กระทำธรรมนั้น

ให้มีประโยชน์ใคร่ครวญแล้ว ปฏิบัติธรรม

สมควรแก่ธรรม ย่อมเป็นผู้รู้แจ่มแจ้ง แสดง

ธรรมแก่ผู้อื่นและเป็นผู้ละเอียด.

อันเตวาสิก ซ่องเสพอาจารย์ผู้ประ-

กอบด้วยธรรมน้อย เป็นคนเขลา ผู้ยังไม่

บรรลุประโยชน์ และริษยา ไม่ยังธรรมให้

แจ่มแจ้งในศาสนานี้เทียว ยังข้ามความสงสัย

ไม่ได้ ย่อมเข้าถึงความตาย.

บุคคลไม่ยังธรรมให้แจ่มแจ้งแล้ว

ไม่ใคร่ครวญเนื้อความในสำนักแห่งบุคคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 261

ผู้เป็นพหูสูตทั้งหลาย ไม่รู้ด้วยตนเอง ยัง

ข้ามความสงสัยไม่ได้ จะสามารถให้ผู้อื่น

เพ่งพินิจได้อย่างไร.

เหมือนคนข้ามแม่น้ำที่มีน้ำมาก มี

กระแสไหลเชี่ยว ถูกน้ำพัดลอยไปตามกระ

แสน้ำ จะสามารถช่วยให้ผู้อื่นข้ามได้อย่าง

ไร ฉะนั้น.

ผู้ใดขึ้นสู่เรือที่มั่นคง มีพายและถ่อ

พร้อมมูล ผู้นั้นรู้อุบายในเรือนั้น เป็นผู้

ฉลาด มีสติ พึงช่วยผู้อื่นแม้จำนวนมากใน

เรือนั้น ให้ข้ามได้ แม้ฉันใด

ผู้ใดไปด้วยมรรคญาณทั้ง ๔ อบรม

ตนแล้ว เป็นพหูสูต ไม่มีความหวั่นไหว

เป็นธรรมดา ผู้นั้นแลรู้ชัดอยู่ พึงยังผู้อื่นผู้ตั้ง

ใจสดับและสมบูรณ์ด้วยธรรมอันเป็นอุปนิสัย

ให้เพ่งพินิจได้ ฉันนั้น.

เพราะเหตุนั้นแล บุคคลควรคบ

สัปบุรุษผู้มีปัญญา เป็นพหูสูต บุคคลผู้คบ

บุคคลเช่นนั้น รู้ชัดเนื้อความแล้ว ปฏิบัติ

อยู่ รู้แจ้งธรรมแล้ว พึงได้ความสุข.

จบนาวาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 262

อรรถกถาธรรมสูตรที่ ๘

ธรรมสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺมา หิ ธมฺม ดังนี้.

พระสูตรนี้ท่านเรียกว่า นาถสูตร ก็มี.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า ก็พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสปรารภพระสารีบุตรผู้มี

อายุ นี่คือความสังเขปในพระสูตรนี้ ส่วนความพิสดารพึงทราบจำเดิมแต่กาล

ที่พระอัครสาวกทั้งสองอุบัติขึ้น คือ

ดังได้สดับมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ทรงอุบัติขึ้น พระอัคร-

สาวกทั้งสองบำเพ็ญบารมีอยู่ ๑ อสงไขยกับแสนกัป แล้วบังเกิดในเทวโลก

บรรดาอัครสาวกทั้ง ๒ นั้น ท่านแรก (พระสารีบุตร) เคลื่อนจากเทวโลกแล้ว

ก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางพราหมณีชื่อว่า รูปสารี แห่งพราหมณ์ผู้เป็นนาย

บ้านซึ่งมีทรัพย์ถึง ๕๖๐ โกฏิ ในบ้านอันเป็นที่อยู่อาศัยของพวกพราหมณ์

ชื่อว่า อุปติสสคาม อันอยู่ไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์. ท่านที่สอง (พระ-

โมคคัลลานะ) ถือปฏิสนธิในท้องของนางพราหมณีชื่อว่า โมคคัลลานี แห่ง

ท่านพราหมณ์ผู้เป็นนายบ้าน ซึ่งมีทรัพย์จำนวน ๕๖๐ โกฎิ เช่นกัน ณ บ้าน

ที่อยู่อาศัยของพวกพราหมณ์ชื่อ โกลิตคาม ในที่ไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์นั้น

เช่นกัน (โดยถือปฏิสนธิ) ในวันนั้นนั่นเอง.

๑. บาลีว่า นาวาสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 263

การถือปฏิสนธิและการออกจากครรภ์แห่งท่านทั้งสองนั้น ได้มีแล้ว

ในวันเดียวกันเช่นกัน ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อให้เด็กคนหนึ่งในบรรดาเด็กสอง

คนนั้นว่า อุปติสสะ เพราะเกิดในอุปติสสคาม และตั้งชื่อเด็กอีกคนหนึ่งว่า

โกลิตะ เพราะเกิดในโกลิตคาม ก็ในวันเดียวกันเหมือนกัน เด็กทั้งสองนั้น

เป็นสหายวิ่งเล่นมาด้วยกัน ถึงความเจริญโดยลำดับ สหายคนหนึ่ง ๆ มีมาณพ

เป็นบริวารคนละ ๕๐๐ สหายทั้งสองนั้น เมื่อจะไปสู่อุทยานก็ตาม สู่ท่าน้ำก็

ตาม ย่อมไปพร้อมกับบริวารนั่นเอง สหายคนหนึ่ง (อุปติสสะ) ไปด้วยวอทอง

๕๐๐ หลัง สหายคนที่สอง (โกลิตะ) ไปด้วยรถเทียมม้าอาชาไนย ๕๐๐ คัน.

ก็ ณ กาลครั้งนั้น ในเมืองราชคฤห์ได้มีมหรสพบนยอดเขาในกาล

ตามลำดับกาล (ตามเทศกาล) ในเวลาเย็น พวกชาวแคว้นอังคะและแคว้นมคธะ

ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นคนฉลาด มีขัตติยราชกุมารเป็นต้น ได้ประชุมกัน ณ สถานที่

นั้น ในท่ามกลางพระนคร ก็นั่งชมมหรสพชนิดต่าง ๆ อยู่บนสถานที่ทั้งหลาย

ที่ปูลาดไว้เป็นอย่างดี มีเตียงและตั่งเป็นต้น. ครั้งนั้น สหายทั้งสองเหล่านั้น

พร้อมกับบริวาร ก็ไปในที่นั้น แล้วนั่งบนอาสนะทั้งหลายที่ปูลาดไว้ มีเตียง

และตั่งเป็นต้น ชมมหรสพอยู่ได้มีความคิดว่า ยังไม่ถึงร้อยปีในระหว่างนี้ก็จัก

ตายดังนี้. ความตายได้มาปรากฏแก่อุปติสสะนั้นประดุจจับอยู่ที่หน้าผาก. ความ

คิดเช่นเดียวกันนี้ก็ได้เกิดขึ้นแก่โกลิตมาณพเช่นกัน. เมื่อนักฟ้อนทั้งหลายมี

จำนวนมิใช่น้อยฟ้อนรำอยู่ จิตใจของสหายทั้งสองนั้นมิได้น้อมไปในเหตุแม้

สักว่าจะดู โดยที่แท้ความสังเวชเท่านั้นเกิดขึ้น.

ลำดับนั้น เมื่อมหรสพเลิกแล้ว บริษัทหลีกไปแล้ว เมื่อสหายทั้ง

หลายเหล่านั้นพร้อมกับบริวารหลีกไปแล้ว โกลิตะจึงได้ถามอุปติสสะว่า เพื่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 264

เพราะเหตุไร ท่านไม่มีแม้สักว่าความบันเทิงในการชมฟ้อนรำเป็นต้น เขาได้

บอกเนื้อความนั้นแก่โกลิตะนั้น แล้วได้ถามเนื้อความแม้เช่นเดียวกันนั้น แม้

โกลิตะนั้นก็ได้นอกความเป็นไปของตนแก่อุปติสสะนั้น แล้วกล่าวต่อไปว่า มา

เถิดสหาย เราจักไปบวชแล้วแสวงหาอมตธรรมกันเถิด. อุปติสสะตอบรับว่า

ดีแล้วเพื่อน ต่อจากนั้นสหายทั้งสองได้สละสมบัตินั้นแล้ว ได้เดินทางมาถึง

กรุงราชคฤห์โดยลำดับอีก.

โดยสมัยนั้นแล ปริพาชก ชื่อว่า สัญชัย อาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์.

สหายทั้งสองนั้น พร้อมด้วยมาณพบริวารคนละ ๕๐๐ บวชในสำนักของสัญชัย

นั้น โดย ๒-๓ วันเท่านั้น ก็เรียนจบไตรเพท และลัทธิของปริพาชกทั้งหมด

สหายทั้งสองนั้น เมื่อเข้าไปพิจารณาถึงเบื้องต้นและท่ามกลางและที่สุดของศา-

สตร์ทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่เห็นที่สุด จึงได้ถามอาจารย์ว่า เบื้องต้นและท่ามกลาง

แห่งศาสตร์ทั้งหลายเหล่านี้ปรากฏอยู่. แต่ที่สุดไม่ปรากฏ เพราะสิ่งที่บุคคลจะ

พึงบรรลุให้ยิ่งขึ้นด้วยคิดว่า ตนจะพึงบรรลุสิ่งชื่อนี้ได้ด้วยศาสตร์เหล่านี้ ดังนี้

ย่อมไม่มี แม้อาจารย์สัญชัยนั้นก็กล่าวว่า แม้เราเองก็ไม่เห็นที่สุดแห่งศาสตร์

เหล่านี้เช่นนั้นเหมือนกัน. สหายทั้งสองนั้นจึงพูดกันว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเราจะ

แสวงหาที่สุดแห่งศาสตร์เหล่านั้น อาจารย์จึงพูดกะพวกเขาว่า พวกเธอพึงแสวง

หาตามสบายเถิด. สหายทั้งสองนั้นอันอาจารย์สัญชัยนั้นอนุญาตแล้วอย่างนี้ เมื่อ

จะแสวงหาอมตธรรม เที่ยวไปอยู่ เป็นผู้ปรากฏแล้วในชมพูทวีป ชนทั้งหลาย

มีกษัตริย์และบัณฑิตเป็นต้น อันสหายทั้งสองเหล่านั้นถามแล้ว ก็ตอบให้

แจ่มแจ้งยิ่งขึ้นไม่ได้ แต่เมื่อชนทั้งหลายพูดว่า อุปติสสะ โกลิตะ ชนเหล่าใด

ที่พูดว่า พวกเราไม่รู้จักท่านทั้งสองนั้นเลย ดังนี้ย่อมไม่มี สหายทั้งสองจึง

เป็นผู้ปรากฏ (เป็นที่รู้จักกัน ) อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 265

เมื่อสหายทั้งสองเหล่านั้น เที่ยวแสวงหาอมตธรรมอยู่อย่างนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงแสดงธรรมจักรอัน

ประเสริฐแล้ว ได้เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ก็ปริพาชกทั้งสองนั้น

เที่ยวไปยังชมพูทวีปทั้งสิ้น การท่องเทียวไปขอพักไว้ก่อน เมื่อไม่ได้อมต-

ธรรม โดยที่สุดแม้สักว่าการตอบปัญหาเกี่ยวกันที่สุด จึงได้ไปยังกรุงราชคฤห์

อีก. เรื่องทั้งหมด นับตั้งแต่ข้อความที่ว่า ครั้งนั้นแล พระอัสสชิผู้มีอายุ

นุ่งห่มแล้วในเวลาเช้าดังนี้เป็นต้น จนถึงกาลที่สหายทั้งสองนั้นได้บรรพชา พึง

ทราบโดยพิสดารโดยนัยที่มาแล้วในบรรพชาขันธกะ.

เมื่อสหายทั้งสองเหล่านั้นบวชแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตรได้กระทำ

ให้แจ้งซึ่งสาวกบารมีญาณ โดยระยะกาลกึ่งเดือน พระสารีบุตรนั้น เมื่อใดอยู่

ในวิหารเดียวกันกับพระอัสสชิเถระ เมื่อนั้น ท่านไปสู่ที่อุปัฏฐากของพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้ว ต่อจากนั้นก็ไปสู่ที่อุปัฏฐากพระเถระด้วยความเคารพว่า พระ

ผู้มีอายุนี้เป็นบุรพาจารย์ของเราทั้งหลาย เราได้อาศัยท่านผู้มีอายุนี้ จึงได้รู้คำ

สอนของพระพุทธเจัา เเต่ว่าเมื่อใดท่านมิได้อยู่ในวิหารเดียวกันกับพระอัสสชิ-

เถระ เมื่อนั้นพระเถระอยู่ ณ ทิศใด ท่านก็หันหน้าไปยังทิศนั้น ไหว้ด้วย

เบญจางคประดิษฐ์ แล้วประคองอัญชลีนมัสการ ภิกษุทั้งหลายเห็นการกระทำ

นั้นแล้ว จึงสนทนากันว่า พระสารีบุตรเป็นถึงอัครสาวก ยังไหว้ทิศอยู่แม้

ทุกวันนี้ ท่านเห็นจะยังละทิฏฐิของพวกพราหมณ์ไม่ได้.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับเสียงสนทนานั้น ด้วยโสตธาตุอัน

เป็นทิพย์. เมื่อทรงแสดงพระองค์ผู้นั่งอยู่ บนพุทธอาสน์อันบวรที่เขาปูลาดไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 266

แล้วนั้นแล ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย เดี๋ยวนี้เธอทั้งหลายนั่ง

สนทนากันด้วยเรื่องอะไร. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นได้ทูลบอกความเป็นไปนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรหาได้นอบ

น้อมทิศไม่ เธอได้รู้พระศาสนาเพราะอาศัยผู้ใด เธอจึงได้ไหว้นมัสการนอบ

น้อมผู้นั้น ซึ่งเป็นอาจารย์ของตน ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้บูชาอาจารย์

ดังนี้แล้ว เพื่อจะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ประชุมกันแล้วในที่นั้น จึงได้

ตรัสพระสูตรนี้.

ในบรรดาบททั้งหลายเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ยสฺมา หิ ธมฺม

ปุริโส วิชญฺา ความว่า บุคคลฟังแล้วซึ่งปริยัติธรรม อันต่างด้วยปิฎกสาม

หรือว่าฟังแล้วซึ่งปฏิเวธธรรมอันต่างโดยโลกุตรธรรมเก้า ที่บุคคลฟังปริยัติ-

ธรรมแล้วจะพึงบรรลุ จากบุคคลใด คือพึงรู้แจ้งคือว่าพึงทราบ.

พระบาลีว่า วิเทยฺย ดังนี้ก็มี เนื้อความนั้นก็เหมือนกัน.

บาทคาถาว่า อินฺทว น เทวตา ปูชเยยฺย ความว่า เทวดาทั้ง

หลายในเทวโลกทั้งสอง ย่อมบูชาท้าวสักกะจอมเทพฉันใด บุคคลนั้นลุกขึ้น

แต่เช้าตรู่แล้ว เมื่อกระทำวัตรปฏิบัติทั้งปวง มีการถอดรองเท้าเป็นต้น พึง

บูชา ได้แก่ พึงสักการะ เคารพบุคคลนั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า อาจารย์นั้นผู้เป็นพหูสูตอันอันเตวาสิกบูชาแล้ว มีจิตเลื่อมใส

ในอันเตวาสิกนั้น ย่อมชี้แจงธรรมให้แจ่มเเจ้ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 267

สองบาทพระคาถาว่า โส ปูชิโต ฯเปฯ ปาตุกโรติ ธมฺม ความ

ว่า อาจารย์นั้นผู้ชื่อว่าเป็นพหูสูตด้วยสามารถแห่งปริยัติและปฏิเวธ อันศิษย์

บูชาแล้วอย่างนี้ มีจิตเลื่อมใส (พอใจ) ในอันเตวาสิกนั้น ย่อมกระทำให้แจ่ม

แจ้ง คือว่าย่อมแสดงซึ่งปริยัติธรรม ด้วยสามารถแห่งเทศนานั้นแล และ

ซึ่งปฏิเวธธรรมที่ตนฟังการแสดงแล้ว จะพึงบรรลุได้ ตามที่อาจารย์สั่งสอน

ด้วยการปฏิบัติ คือว่า ย่อมกระทำให้แจ่มแจ้งซึ่งปริยัติธรรมด้วยเทศนา หรือ

ซึ่งปฏิเวธธรรมที่ตนได้บรรลุแล้วด้วยสามารถแห่งอุปมา.

บาทพระคาถาว่า ตทฏฺิกตฺวาน นิสมฺม ธีโร ความว่า บุรุษชื่อว่า

เป็นนักปราชญ์ เพราะสามารถฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้ กระทำธรรมที่อาจารย์

ผู้เลื่อมใสแล้วอย่างนี้ ทำให้ปรากฏแล้วให้มีประโยชน์.

บาทพระคาถาว่า ธมฺมานุธมฺม ปฏิปชฺชมาโน ความว่า เจริญอยู่

ซึ่งวิปัสสนาภาวนา อันชื่อว่าเป็นธรรมสมควร เพราะเป็นธรรมที่อนุโลมแก่

โลกุตรธรรม.

บาทพระคาถาว่า วิญฺญู วิภาวี นิปุโณ จ โหติ ความว่า เป็นผู้

รู้แจ้งด้วยการบรรลุ ด้วยปัญญา กล่าวคือ ความเป็นผู้รู้แจ้ง ชื่อว่าเป็นผู้

แจ่มแจ้ง เพราะรู้แจ้งแล้วสามารถจะกระทำให้ปรากฏ ให้คนแม้เหล่าอื่นทราบ

ได้ และชื่อว่าเป็นผู้ละเอียดอ่อน เพราะเป็นผู้แทงตลอดซึ่งอรรถะอันสุขุม

อย่างยิ่ง.

บาทพระคาถาว่า โย ตาทิส ภชติ อปฺปมตฺโต ความว่า ผู้ใดเป็น

ผู้ไม่ประมาท คือเป็นผู้มีความเลื่อมใสในอาจารย์นั้น เป็นเบื้องหน้า คบอาจารย์

ผู้เป็นพหูสูตเช่นนั้น คือผู้มีประการอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 268

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสรรเสริญ การคบอาจารย์ที่เป็นบัณฑิต

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะติเตียนการคบอาจารย์ที่โง่เขลา จึงตรัสคาถานี้ว่า

ขุทฺทญฺจ พาล เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขุทฺท ความว่า ซึ่งอาจารย์ผู้ประกอบ

ด้วยกายกรรมเป็นต้นอันเล็กน้อย ชื่อว่า ผู้โง่ (พาล) เพราะไม่มีปัญญา.

บทว่า อนาคตตฺถ ความว่า ผู้มีประโยชน์ คือปริยัติและปฏิเวธ

อันตนไม่บรรลุแล้ว.

บทว่า อุสุยฺยก ได้แก่ ผู้ชื่อที่อดทนไม่ได้อยู่ ซึ่งความเจริญของ

อันเตวาสิก เพราะความเป็นผู้ริษยา. คำที่เหลือในคาถานี้ โดยบท (คือโดย

พยัญชนะ) ก็ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น แต่โดยอธิบาย พึงทราบเนื้อความแห่ง

พระคาถานั้นอย่างนี้ว่า อาจารย์ใดมักจะได้บริขารทั้งหลาย มีจีวรเป็นอัน

มากเป็นต้น ก็ไม่สามารถเพื่อจะให้จีวรเป็นต้น (หรือว่าย่อมไม่ให้แม้สักว่า

คำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ในธรรมทานแก่อันเตวาสิกทั้งหลาย อันเตวาสิก

ซ่องเสพอยู่ ซึ่งอาจารย์นั้น ผู้ประกอบด้วยธรรมน้อย เพราะเป็นผู้ประกอบ

ด้วยธรรมมีความเป็นธรรมน้อยเป็นต้นเหล่านี้ ผู้โง่เขลา ผู้ไม่ได้บรรลุประ-

โยชน์ ผู้ริษยา แม้ตนของก็จะกลายเป็นคนโง่ (ไปด้วย) โดยนัยที่ท่านกล่าว

ไว้ว่า บุคคลห่อปลาเน่าด้วยหญ้าคา ดังนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น

ไม่กระทำให้แจ่มแจ้ง และไม่ทราบปริยัติธรรม หรือปฏิเวธธรรมอะไร ๆ

แม้มีประมาณน้อยในศาสนานี้ ทั้งยังข้ามความสงสัยในธรรมทั้งหลายไม่ได้

ย่อมเข้าถึงความตาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 269

บัดนี้ เมื่อจะกระทำเนื้อความแห่งพระคาถานั้นนั่นแลให้ปรากฏ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระคาถาว่า ยถา นโร ดังนี้เป็นต้น.

ในคำทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า อาปค ได้แก่ แม่น้ำ.

บทว่า มโหทก ได้แก่ น้ำมาก.

บทว่า สลิล ได้แก่ ไหลไปแล้วจากที่นี้และที่นี้ มีคำอธิบายว่า

แผ่กว้างออกไป. พระบาลีว่า สริต (ไหลไป) ดังนี้ก็มี เนื้อความก็อย่างนั้น

เหมือนกัน.

บทว่า สีฆโสต ได้แก่ พัดพาสิ่งที่ควรพัดพาไปได้ มีคำอธิบายว่า

ไหลไปด้วยกำลังแรง. โส อักษร ในคำนี้ว่า กึ โส และด้วย โส อักษร

นี้ว่า โส วุยฺหมาโน เป็นคำสักว่านิบาต เพราะเป็นคำแสดงถึงนระนั้น

เป็นคำที่ท่านอธิบายว่า กสุ เหมือนประโยคว่า น ภวิสฺสามิ นาม โส

วินสฺสิสฺสามิ นาม โส (ข้าพเจ้าชื่อว่าจักไม่เป็น ข้าพเจ้าแลชื่อว่าจักฉิบหาย

ละสิ)

บทว่า ธมฺม ได้แก่ ธรรมสองอย่างที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้นนั้นเอง.

บทว่า อนิสามยตฺถ ได้แก่ ไม่ใคร่ครวญแล้วซึ่งเนื้อความ.

คำที่เหลือในพระคาถานี้ โดยบทปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น ส่วนโดย

อธิบาย ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความในพระคาถานี้ อย่างนี้ว่า นรชนคนใด

คนหนึ่ง ลงสู่แม่น้ำมีประการดังกล่าวมาแล้ว อันแม่น้ำนั้นพัดไปอยู่ ไปตาม

กระแสน้ำ คือว่า ไปตามอยู่ซึ่งกระแสน้ำนั้นเอง จักสามารถเพื่อจะทำบุคคล

อื่นที่อยู่บนฝั่ง คือว่าจักอาจเพื่อจะทำบุคคลอื่นให้ฝั่งได้อย่างไร ฉันใด

พระบาลีว่า สกฺกติ ดังนี้ก็มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 270

บุคคลไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมแม้ ๒ อย่าง ด้วยปัญญาของตนแล้ว

และไม่ใคร่ครวญเนื้อความแม้สักว่า คำว่า อนิจจัง คำว่า ทุกขัง และคำว่า

อนัตตา ในสำนักของบุคคลผู้เป็นพหูสูตทั้งหลาย ไม่รู้อยู่เพราะความที่ตนไม่รู้

ได้ด้วยตนเอง และชื่อว่ายังข้ามความสงสัยไม่ได้ เพราะตนยังไม่ได้พิจารณา

ใคร่ครวญ และอาจเพื่อจะทำบุคคลอื่นให้เพ่งเล็ง คือให้เพ่งพินิจได้อย่างไร

ดังนี้. ในข้อนี้ผู้ศึกษาพึงระลึกถึงสุตตบท มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนจุนทะ

ผู้นั้นแล ชื่อว่า บ่นเพ้ออยู่ด้วยตนเอง ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงกล่าวอุปมา เพื่อกระทำเนื้อความให้

ปรากฏ เพราะบุคคลไม่สามารถจะทำผู้อื่นให้เพ่งเล็งถึงคนพาล ด้วยการคบคน

พาลอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงได้ตรัส ๒ พระคาถาว่า ยถาปิ นาว เป็นต้น เพื่อ

จะตรัสซึ่งอุปมา เพื่อทำเนื้อความให้ปรากฏ เพราะเป็นผู้สามารถเพื่อจะทำผู้อื่น

ให้เพ่งพินิจได้ถึงบัณฑิต ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ในคำนี้ว่า ผู้ใด

ไม่ประมาท คบคนเช่นนั้น ดังนี้เป็นต้น.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผิเยน ได้แก่ ไม้พาย.

บทว่า อริตฺเตน ได้แก่ ถ่อ (ท่อนไม้ไผ่)

บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในเรือนั้น.

บทว่า ตตฺรุปายญฺญู ได้แก่ เป็นผู้รู้อุบาย ด้วยการให้บรรลุถึงหน

ทาง เพราะรู้อุบายมีการนำเรือมาและการแล่นเรือ (ใบ) ไป เป็นต้น และชื่อว่า

เป็นผู้ฉลาด เพราะความเป็นผู้มีสิกขาอันได้ศึกษาแล้ว และเพราะมีความฉลาด

เป็นประมาณ ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้ (ปัญญา) เพราะสามารถจะกำจัดอันตราย

ที่บังเกิดขึ้นแล้วได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 271

บทว่า เวทคู ได้แก่ มรรคญาณทั้งสี่ กล่าวคือการรู้.

บทว่า ภาวิตตฺโต ได้แก่ มีจิตอันมรรคภาวนานั้นนั่นแลอบรมแล้ว.

บทว่า พหุสฺสุโต ได้แก่ มีนัยอันกล่าวแล้วในกาลก่อน.

บทว่า อเวธธมฺโม ได้แก่ เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้ง ๘

เป็นสภาพ.

คาถาว่า โสตาวธานูปนิสูปปนฺเน ได้แก่ ได้เกิดขึ้นแล้วโดยการเงี่ย

โสตลงสดับ และด้วยอุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลาย. คำที่เหลือมีเนื้อความ

เข้าใจง่ายทั้งนั้น แม้โยชนาในการอธิบาย ก็สามารถจะให้ทราบชัดได้โดยนัย

ที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ต้องอธิบายให้พิสดาร.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอุปมามีเนื้อความ คือการกระทำความ

เป็นผู้สามารถ เพื่อจะให้ผู้อื่นเพ่งพินิจถึงบัณฑิตให้ปรากฏ อย่างนี้แล้ว เมื่อ

จะทรงประกอบไว้ด้วยการคบบัณฑิตนั้น จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายนี้ว่า ตสฺมา

หเว ดังนี้เป็นต้น.

เนื้อความย่อในพระคาถาสุดท้ายนั้น มีดังต่อไปนี้ :-

เพราะเหตุที่ชนทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ย่อมบรรลุคุณวิเศษ

ได้ด้วยการคบบัณฑิต ฉะนั้นแล บุคคลพึงคบสัตบุรุษ. ถามว่า คบสัตบุรุษ

เช่นไร. ตอบว่า บุคคลพึงคบสัตบุรุษผู้มีปัญญาด้วย ผู้เป็นพหุสูตด้วย คือว่า

ผู้มีปัญญา ด้วยความถึงพร้อมแห่งปัญญา และผู้เป็นพหูสูตด้วยมีสุตะทั้งสอง

ประการตามที่กล่าวแล้ว เพราะบุคคลนั้นเมื่อคบผู้มีปัญญาเช่นนั้นอยู่ รู้แล้ว

ซึ่งธรรมที่ผู้นั้นกล่าวแล้ว และทราบแล้วซึ่งอรรถ (ผล) อย่างนี้ ปฏิบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 272

อยู่ซึ่งธรรมตามที่อาจารย์ผู้มีปัญญานั้นสอนแล้ว ชื่อว่า ผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว

ด้วยสามรถแห่งการแทงตลอดได้ด้วยข้อปฏิบัตินั้น พึงได้ คือพึงถึง ได้แก่

พึงบรรลุซึ่งโลกุตรสุข อันต่างด้วยมรรคผลและนิพพาน เพราะฉะนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงให้พระเทศนาจบลงด้วยยอดคือพระอรหัต ดังนี้แล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งธรรมสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 273

กิงสีลสูตรที่ ๙

ว่าด้วยบรรลุประโยชน์สูงสุดด้วยปกติอย่างไร

ท่านพระสารีบุตรทูลถามด้วยคาถาว่า

[๓๒๖] นรชนพึงมีปกติอย่างไร มี

ความประพฤติอย่างไร พึงพอกพูนกรรม

เป็นไฉน จึงจะเป็นผู้ดำรงอยู่โดยชอบ

และพึงบรรลุถึงประโยชน์อันสูงสุดได้ พระ-

เจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

นรชนพึงเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อม

ต่อบุคคลผู้เจริญ ไม่ริษยา และเมื่อไปหาครู

ก็พึงบุคคลผู้เจริญ ไม่ริษยา และเมื่อไปหาครู

ที่ครูกล่าวแล้ว พึงฟังสุภาษิตโดยเคารพ.

พึงไปหาครูผู้นั่งอยู่ในเสนาสนะของ

ตนตามกาล ทำมานะดุจเสาให้พินาศ พึง

ประพฤติอ่อนน้อม พึงระลึกถึงเนื้อความ

แห่งภาษิต ธรรมคือบาลี ศีล พรหมจรรย์

และพึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อด้วยดี.

นรชนมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดี

แล้วในธรรม ตั้งอยู่ในธรรม รู้จักวินิจฉัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 274

ธรรม ไม่พึงประพฤติถ้อยคำที่ประทุษร้าย

ธรรมเลย พึงให้กาลสิ้นไปด้วยภาษิตที่แท้.

นรชนละความรื่นเริง การพูดกระ-

ซิบ ความร่ำไร ความประทุษร้าย ความ

หลอกลวงที่ทำด้วยมารยา ความยินดี ความ

ถือตัว ความแข่งดี ความหยาบคาย และ

ความหมกมุ่นด้วยกิเลสดุจน้ำฝาด พึงเป็นผู้

ปราศจากความมัวเมา ดำรงในนั้น เที่ยวไป.

นรชนเป็นนี้ รู้แจ่งสุภาษิตที่เป็น

สาระ รู้แจ้งสูตรและสมาธิที่เป็นสาระ

ปัญญาและสุตะ ย่อมไม่เจริญแก่นรชนผู้เป็น

คนผลุนผลัน เป็นคนประมาท.

ส่วนนรชนเหล่าใด ยินดีแล้วใน

ธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว นรชน

เหล่านั้น เป็นผู้ประเสริฐ ว่าสัตว์ที่เหลือด้วย

วาจา ด้วยใจ และการงาน นรชนเหล่านั้น

ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในสันติ โสรัจจะ และ

สมาธิ ได้บรรลุถึงธรรมอันเป็นสาระแห่งสติ

และปัญญา.

จบกิงสีลสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 275

อรรถกถากิงสีลสูตรที่ ๙

กิงสีลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า กึสีโล ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเถิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ : -

สหายฆราวาสของพระสารีบุตรผู้มีอายุคนหนึ่ง เป็นบุตรของพราหมณ์

ซึ่งเป็นสหายของวังคันตพราหมณ์ ผู้เป็นบิดาของพระเถระนั้นเอง บริจาค

ทรัพย์ ๕๖๐ โกฏิ แล้วบวชในสำนักของพระสารีบุตรเถระผู้มีอายุ เรียนแล้ว

ซึ่งพุทธวจนะทั้งสิ้น พระเถระได้โอวาทแล้ว ได้ให้กรรมฐานแก่ท่านโดยมาก

พระภิกษุนั้นก็ยังไม่บรรลุคุณวิเศษด้วยกรรมฐานนั้นได้ ต่อจากนั้นพระเถระ

ทราบว่า ภิกษุรูปนี้เป็นพุทธเวไนย ดังนี้แล้ว จึงได้พาพระภิกษุนั้นมา

ยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามว่า นรชนเป็นผู้มีศีลเช่นไรเป็นต้น

ไม่เจาะจงบุคคล ปรารภภิกษุนั้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึงเรื่อง

อื่น จากเรื่องที่พระสารีบุตรถามนั้น แก่พระสารีบุตรนั้น.

คำว่า กึสีโล ในพระคาถานั้น ความว่า ประกอบแล้วด้วยจารีตศีล

เช่นไร หรือว่าเป็นผู้มีปกติเช่นไร.

บทว่า กึสมาจาโร ได้แก่ ประกอบด้วยความประพฤติเช่นไร.

บาทคาถาว่า กานิ กมฺมานิ พฺรูหย ความว่า กระทำกรรมทั้งหลาย

มีกายกรรมเป็นต้นอย่างไร ให้เจริญอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 276

บาทพระคาถาว่า นโร สมฺมา นิวิฏฺสฺส ความว่า นระเป็นผู้ยินดี

แล้ว คือว่า พึงเป็นผู้ดำรงอยู่แล้วโดยชอบในพระศาสนา.

บาทพระคาถาว่า อุตฺตมตฺถญฺจ ปาปุเณ มีคำอธิบายว่า และพึง

บรรลุพระอรหัต อันเป็นประโยชน์สูงสุดกว่าประโยชน์ทั้งปวง.

ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรำพึงอยู่ว่า สารีบุตรบวชแล้ว

ได้กึ่งเดือน ก็บรรลุสาวกบารมีญาณ เพราะเหตุไรจึงถามปุถุชนปัญหาอันเป็น

อาทิกัมมิกะจึงทรงทราบว่า พระสารบุตรทูลถามปรารภ สัทธิวิหาริก จึงไม่ได้

ทรงจำแนกจารีตศีล ที่พระสารีบุตรกล่าวด้วยคำถามเลย เมื่อจะทรงแสดง

ธรรมด้วยสามารถสัปปายะแก่ภิกษุนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า วุฑฺฒาปจายี ดัง

นี้เป็นต้น วุฑฒบุคคล ทั้งหลายในคำว่า วุฑฺฒาปจายี นั้นมี ๔ จำพวก

คือ ปัญญาวุฑฒบุคคล ๑ คุณวุฑฒบุคคล ๑ ชาติวุฑบุคคล ๑ วุฑฒ-

บุคคล ๑.

จริงอยู่ ภิกษุที่เป็นพหูสูต แม้โดยกำเนิดจะเป็นคนหนุ่มก็ตาม ก็ชื่อ

ว่า ปัญญาวุฑฒะได้ เพราะเป็นผู้เจริญแล้ว ด้วยปัญญา คือ พาหุสัจจะใน

สำนัก (ในระหว่าง) แห่งภิกษุเเก่ผู้มีการศึกษาน้อยทั้งหลาย ด้วยว่าแม้ภิกษุแก่

ทั้งหลายเรียนอยู่ซึ่งพุทธวจนะ ในสำนักของภิกษุหนุ่มนั้น และหวังอยู่ซึ่ง

โอวาท การวินิจฉัยความ และการแก้ปัญหาทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุหนึ่งที่ถึง

พร้อมด้วยอธิคม (บรรลุคุณวิเศษมีฌานและมรรคผลเป็นต้น ) ชื่อว่า คุณ

วุฑฒะ ผู้เจริญโดยคุณ ด้วยว่าแม้ภิกษุแก่ทั้งหลาย ดำรงอยู่ในโอวาทของ

ภิกษุหนุ่มนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนาแล้ว ย่อมบรรลุอรหัตผลได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 277

อนึ่ง พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ แม้ทรงพระเยาว์ เป็นกษัตริย์ผู้ได้รับ

มุรธาภิเษกแล้ว หรือจะเป็นพราหมณ์ก็ตาม ก็เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ของ

ชนที่เหลือ ชื่อว่า ชาติวุฑฒะ ผู้เจริญโดยชาติ.

ส่วนคนที่เกิดก่อนทุกจำพวก ชื่อว่า วัยวุฑฒะ ผู้เจริญโดยวัย.

ในบรรดาวุฑฒบุคคล ๔ จำพวกเหล่านั้น เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย

แล้ว ใคร ๆ ผู้จะเสมอด้วยพระสารีบุตรเถระในทั้งปัญญาย่อมไม่มี เพราะ

เหตุที่ท่านได้บรรลุสาวกบารมีญาณทั้งปวง พร้อมด้วยคุณทั้งหลายในเวลาครึ่ง

เดือน พระสารีบุตรนั้น แม้โดยชาติสกุล ก็อุบัติแล้วในสกุลพราหมณ์มหาศาล

พระสารีบุตรนั้น แม้จะเสมอกันโดยวัยกับภิกษุนั้น (ผู้เป็นสหายของท่าน) ก็ชื่อ

ว่าเจริญแล้ว ด้วยเหตุทั้ง ๓ ประการเหล่านี้ ส่วนในพระคาถานี้พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า วุฑฺฒาปจายี ทรงหมายเอาการที่พระสารีบุตรนั้น เป็น

ผู้เจริญแล้ว ด้วยปัญญาวุฒิและคุณวุฒิทั้งหลายนั่นเอง บุคคลจึงควรกระทำ

ความยำเกรงต่อวุฑฒบุคคลทั้งหลายเช่นนั้น บุคคลพึงเป็นผู้ชื่อว่าไม่ริษยา

เพราะปราศจากความริษยาในอิฏฐผลทั้งหลายมีลาภเป็นต้น ของวุฑฒบุคคล

ทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแล เพราะฉะนั้น เนื้อความนี้จึงเป็นการอธิบายบทต้น.

ส่วนในคำว่า กาลญฺญู จสฺส นี้มีอธิบายว่า บุคคลเมื่อราคะบังเกิด

ขึ้นแล้ว แม้ไปหาครูทั้งหลายอยู่ เพื่อจะบรรเทาราคะนั้น ก็ชื่อว่า กาลฺญู

เมื่อโทสะบังเกิดขึ้น เมื่อโมหะบังเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อโกสัชชะบังเกิดขึ้น แม้ไป

หาครูทั้งหลายเพื่อจะบรรเทาอกุศลธรรมนั้น ๆ ก็ชื่อว่า กาลญฺญู ผู้รู้กาล

เพราะบุคคลจะพึงเป็นกาลัญญูได้ ก็เพราะไปหาครูทั้งหลายอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 278

สองบทว่า ธมฺมึ กถ ได้แก่ ประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา

บทว่า เอรยิต คือ กล่าวแล้ว.

บทว่า ขณญฺญู ได้แก่ รู้อยู่ว่า บุคลลผู้รู้ขณะแห่งถ้อยคำนั้น เป็น

บุคคลหาได้ยาก หรือว่า นี้เป็นขณะแห่งการฟังซึ่งถ้อยคำเช่นนี้.

สองบทว่า สุเณยฺย สกฺกจฺจ ได้แก่ พึงพึงถ้อยคำนั้นโดยเคารพ.

อธิบายว่าบุคคลจะพึงฟังถ้อยคำนั้นอย่างเดียวก็หามิได้ แม้ถ้อยคำอื่นเป็นสุภาษิต

อันปฏิสังยุตด้วยพุทธคุณเป็นต้น บุคคลก็พึงฟังโดยเคารพเช่นกัน.

ในบาทคาถาว่า กาลญฺญู จสฺส ครูน ทสฺสนาย นี้ มีวินิจฉัย

ดังต่อไปนี้.

ภิกษุแม้ทราบนัยที่ท่านกล่าวไว้ในคำนี้ว่า กาลญฺญู จสฺส ครูน

ทสฺสนาย และทราบการบรรเทาราคะเป็นต้น ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่ตน เมื่อไปสู่

สำนักของครูทั้งหลาย ก็พึงไปสู่สำนักของครูทั้งหลายโดยกาลอันสมควร โดย

กระทำไว้ในใจว่า เราจักบำเพ็ญกรรมฐาน และจักเป็นผู้รักษาธุดงค์ มิใช่เห็น

อาจารย์ยืนอยู่แล้ว ณ ถามที่ใดที่หนึ่งในบรรดาที่ทั้งหลาย มีที่ไหว้พระเจดีย์

ที่ลานต้นโพธิ์ ทางเที่ยวบิณฑบาต และเวลาเที่ยงตรงเป็นต้น แล้วพึงเข้าไป

เพื่อถามปัญหา แต่พึงกำหนดอาจารย์ผู้นั่งอยู่แล้วบนอาสนะของตนในเสนา-

สนะของตน ซึ่งมีความกระวนกระวายอันสงบเเล้ว เข้าไปหาเพื่อถามวิธีแห่ง

กรรมฐานเป็นต้น ก็ภิกษุแม้เมื่อเข้าไปหาอย่างนี้แล้ว ทำความหัวดื้อให้พินาศ

แล้ว เป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อม คือว่าทำมานะที่กระทำความแข็งกระด้างให้

พินาศแล้ว มีความประพฤติถ่อมตน เป็นผู้เช่นกับผ้าเช็ดเท้า โคเขาขาด และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 279

งูที่ถูกเขาถอนเขี้ยวออกเสียแล้ว พึงเข้าไปหา ลำดับนั้น ก็พึงอนุสรณ์ถึง

อรรถ ธรรม ความสำรวม พรหมจรรย์ และพึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ซึ่ง

(คำที่) ครูนั้นกล่าวแล้ว.

บทว่า อตฺถ ได้แก่ เนื้อความแห่งภาษิต.

บทว่า ธมฺม ได้แก่ ธรรมคือบาลี.

บทว่า สยม ได้แก่ ศีล.

คำว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่ ศาสนพรหมจรรย์ที่เหลือ.

บาทคาถาว่า อนุสฺสเร เจว สมาจเร จ ความว่า พึงระลึกถึง

โอกาสที่อาจารย์นั้นกล่าวถึงธรรมะ ความสำรวม (และ) พรหมจรรย์ และไม่

ใช่พอใจด้วยเหตุสักว่าระลึกถึงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ

คือประพฤติชอบ สมาทานวัตรปฏิบัติแม้ทั้งหมดนั้นให้เป็นไป อธิบายว่าพึง

กระทำการขวนขวายในการทำให้กถาเหล่านั้นเป็นไปในตน ด้วยว่าบุคคลเมื่อ

กระทำอยู่อย่างนี้ ชื่อว่ากระทำสิ่งที่ควรทำ ก็เบื้องหน้าต่อแต่นั้นไป บุคคล

นั้น ชื่อว่า มีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม ดำรงอยู่แล้วในธรรม

พึงเป็นผู้วินิจฉัยธรรม.

ก็คำว่า ธรรม ในบททั้งปวงในคาถานี้ ได้แก่สมถะและวิปัสสนา

ก็คำว่า อาราโม และ คำว่า รติ มีเนื้อความอันเดียวกัน ความยินดี

รื่นรมย์ในธรรมของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้นบุคคลนั้น ชื่อว่า ธมฺมาราโม ผู้

มีธรรมเป็นที่มายินดี.

บุคคลยินดีแล้วในธรรม ชื่อว่า ธมฺมรโต หาใช่ยินดีสิ่งอื่นไม่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 280

บุคคลชื่อว่าตั้งอยู่แล้วในธรรม ก็เพราะปฏิบัติธรรม บุคคลย่อมรู้ซึ่ง

การวินิจฉัยธรรมว่านี้เป็นอุทยญาณ นี้เป็นวยญาณ เพราะเหตุนั้น บุคคลนี้จึง

ชื่อว่า ธมฺมวินิจฺฉยญฺญู ผู้รู้ซึ่งการวินิจฉัยธรรม. บุคคลพึงเป็นบุคคลเห็น

ปานนี้ เมื่อเป็นบุคคลเช่นนี้ได้แล้ว ดิรัจฉานกถามีการพูดถึงพระราชาเป็นต้น

นี้ใด มีอยู่ คำที่เป็นดิรัจฉานกถานั้นย่อมประทุษร้ายต่อธรรม คือสมถะและ

วิปัสสนา เพราะให้เกิดความยินดีในรูปเป็นต้นในภายนอกแก่ตรุณวิปัสสกบุคคล

ฉะนั้น ดิรัจฉานกถานั้นท่านจึงเรียกว่า วาทะที่เป็นอันตรายต่อธรรม บุคคล

ไม่พึงประพฤติวาทะที่ทำอันตรายต่อธรรมนั้นเลย โดยที่แท้เมื่อจะซ่องเสพ

สัปปายะทั้งหลาย มีอาวาสสัปปายะ และโคจรสัปปายะเป็นต้น ก็พึงแนะนำ

ด้วยคำที่เป็นสุภาษิตที่แท้จริง วาจาทั้งหลายที่ปฏิสังยุตด้วยสมถะ และ

วิปัสสนา ชื่อว่า วาจาที่แท้จริงในพระคาถานี้. บุคคลพึงแน่ะนำคือว่า

พึงชักนำ ได้แก่ พึงยังกาลเวลาให้สิ้นไป ด้วยคำที่เป็นสุภาษิตทั้งหลายเห็น

ปานนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงกระทำอุปกิเลสให้ปรากฏแก่ภิกษุผู้

เจริญสมถะและวิปัสสนา ซึ่งพระองค์ตรัสไว้โดยย่ออย่างยิ่งในคำนี้ว่า ธมฺม-

สนฺโทสวาท ดังนี้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า หสฺส จ ชปฺป พร้อมกับอุปกิเลส

แม้อื่นจากนั้น.

พระบาลีว่า หาส ดังนี้ก็มี.

ก็ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา พึงการทำสักว่าความยิ้มแย้มเท่านั้นในเรื่องที่

ควรหรรษา ไม่พึงพูดคำกระซิบที่ไร้ประโยชน์ ไม่พึงกระทำการคร่ำครวญใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 281

การฉิบหายแห่งญาติเป็นต้น ไม่พึงกระทำความฉุนเฉียวให้เกิดขึ้นแม้ในเมื่อ

ถูกตอและหนามตำเป็นต้น.

บุคคลควรละโทษเหล่านี้ คือ มายาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน

คำว่า มายากต ๑ ความหลอกลวง ๓ อย่าง ๑ ความพอใจในปัจจัยทั้งหลาย ๑

การถือตัวด้วยชาติกำเนิดเป็นต้น ๑ ความแข่งดีกล่าวคือความยินดีที่เป็นข้าศึก ๑

ความหยาบคายอันมีการพูดหยาบเป็นลักษณะ ๑ ธรรมที่ประดุจน้ำย้อมฝาด

ทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ๑ ความหมกมุ่น (ลุ่มหลง) อันมีความอยากเกินประ-

มาณเป็นลักษณะ ๑ การทำให้เห็นว่าโทษเหล่านี้ (อันบุคคลพึงละเสีย) ประ

ดุจผู้ต้องการความสุขละหลุมถ่านเพลิง ประดุจคนรักความสะอาด หลีกที่ ๆมี

คูถเสียฉะนั้น และประดุจผู้รักชีวิต หลีกสัตว์ร้ายทั้งหลายมีอสรพิษเป็นต้นเสีย

ฉะนั้น. ก็ครั้นละแล้วเป็นผู้บรรเทาความมัวเมาได้แล้ว เพราะขจัดความมัวเมา

ในความไม่มีโรคเป็นต้น ชื่อว่ามีตนดำรงมั่นแล้ว เพราะไม่มีความฟุ้งซ่าน

แห่งจิต พึงประพฤติ. ก็บุคคลนั้น ครั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ จะพึงบรรลุพระ

อรหัตด้วยภาวนาอันบริสุทธิ์ จากอุปกิเลสทั้งปวงต่อกาลไม่นานเลย เพราะเหตุ

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หสฺส จ ชปฺป ฯเปฯ ิตตฺโต ดังนี้.

ภิกษุประกอบด้วยอุปกิเลสซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัยว่า

หสฺส ชปฺป เป็นต้น เพราะเป็นผู้ผลุนผลัน จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่พิจารณาเสีย

ก่อนแล้วกระทำ และกำหนัดแล้วด้วยอำนาจราคะ ประทุษร้ายแล้วด้วยอำนาจ

โทสะไปอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้ประมาทแล้ว. โอวาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดย

นัยว่า บุคคลไม่กระทำให้ติดต่อในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย และบุคคลพึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 282

ฟังสุภาษิตทั้งหลายของบุคคลเห็นปานนั้นโดยเคารพ ดังนี้เป็นต้น จัดว่าเป็น

โอวาทที่ไร้ประโยชน์ เพราะฉะนั้น บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดง

ความที่บุคคลนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญ มีสุตะเป็นอัน แห่งสังกิเลสนี้ด้วย

เทศนาอันเป็นบุคลาธิษฐาน จึงตรัสพระคาถานี้ว่า วิญฺาตสารานิ ดังนี้

เป็นต้น.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ก็สาระจะพึงมีได้ ก็เพราะรู้แจ้ง

สุภาษิตทั้งหลายที่ปฏิสังยุตด้วยสมถะและวิปัสสนา ถ้าหากว่าสุภาษิตเหล่านั้น

อันภิกษุรู้แจ้งได้ก็เป็นการดี (ถ้าหากไม่รู้แจ้งได้) เมื่อเป็นเช่นนั้น คำสักว่า

เสียงเท่านั้น อันบุคคลนั้นถือเอาแล้ว เขาจะทำอะไรไม่ได้เลย ชนทั้งหลาย

ย่อมรู้แจ้งซึ่งสุภาษิตเหล่านี้ด้วยญาณอันสำเร็จด้วยสุตะใด ญาณที่สำเร็จด้วย

สุตะนั้น ชื่อว่าสุตญาณที่สำเร็จด้วยสุตะนี้แล ชื่อว่า วิญญาตสมาธิสาระ

รู้แจ้งสมาธิสาระ.

ในบรรดาธรรมทั้งหลายที่บุคคลรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ๆ สมาธิใด คือ

ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ก็เป็นข้อปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น นี่คือสาระของ

สมาธินั้น ก็ด้วยเหตุสักว่ารู้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หาสำเร็จประโยชน์อะไรไม่

แต่ว่านระนี้ใดชื่อว่า เป็นคนผลุนผลัน เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจราคะเป็น

ต้น และชื่อว่า ประมาท เพราะมีปกติทำไม่ติดต่อในการอบรมกุศลธรรมทั้ง

หลายเป็นต้น บุคคลนั้นเป็นผู้ถือเอาสักว่าเสียงเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ปัญญา

คือการรู้แจ้งสุภาษิตนั้น จะเจริญแก่บุคคลนั้นหาได้ไม่ เพราะเขาไม่รู้แจ้ง

ซึ่งเนื้อความ ทั้งสุตะก็หามีแก่เขาไม่ เพราะไม่มีข้อปฏิบัติเพื่อความเป็น

อย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 283

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความเสื่อมแห่งปัญญา และความ

เสื่อมแห่งสุตะของชนทั้งหลาย ผู้ประมาทอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะแสดงการ

บรรลุสาระทั้งสองประการนั้น แห่งบุคคลผู้ไม่ประมาทแล้วทั้งหลายจึงตรัสว่า

ธมฺเม จ เย ฯเปฯ สารมชฺฌคู ดังนี้.

ในบรรดาคำเหล่านั้น ธรรมคือสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่า ธรรม ที่

พระอริยเจ้าประกาศแล้ว จริงอยู่พระพุทธเจ้าแม้สักพระองค์หนึ่ง ไม่ทรงแสดง

ธรรม คือ สมถะและวิปัสสนาแล้ว ชื่อว่าปรินิพพานย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้น

นรชนเหล่าใดยินดีแล้วในธรรมนี้แล ที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว นรชนเหล่านั้น

เป็นผู้มีความยินดีออกแล้ว จัดว่าเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้มีความเพียรติดต่อ

จึงเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลายที่เหลือ ด้วยวาจา ด้วยใจ และด้วยกาย

คือว่า นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ ได้แก่ไม่มีใครเสมอเหมือน คือเป็นผู้เลิศ

เป็นผู้ประเสริฐที่สุด กว่าสัตว์ที่เหลือทั้งหลาย ด้วยวาจา ด้วยใจ และด้วยกาย

เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยวจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓ กายสุจริต ๓ ด้วยคำมี

ประมาณเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงศีล อันสัมปยุตด้วยอริยมรรค

ซึ่งมีศีลเป็นเบื้องต้น นรชนเหล่านั้นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล้วอย่างนี้ ดำรงอยู่แล้ว

ในสันติ โสรัจจะ และสมาธิ จึงชื่อว่าเป็นผู้บรรลุ สาระธรรมแห่งสุตะ และ

ปัญญา นรชนเหล่าใดยินดีแล้วในธรรม ที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว นรชน

เหล่านั้นจะเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ที่เหลือทั้งหลาย ด้วยวาจาเป็นต้น อย่างเดียว

ก็หามิได้ แต่โดยที่แท้แล บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ดำรงอยู่แล้วในสันติและ

โสรัจจะ และในสมาธิ คือว่า เป็นผู้บรรลุแล้วซึ่งสารธรรม คือว่า เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 284

เข้าถึงแล้ว (ซึ่งสารธรรม) แห่งสุตะและปัญญา เท่านั้นเป็นคำที่ถูกต้อง ตาม

ความประสงค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ ได้แก่ นิพพาน.

บทว่า โสรจฺจ หมายถึงปัญญาที่เป็นตัวแทงตลอดสภาวธรรมตาม

ความเป็นจริง เพราะความเป็นผู้ยินดีในธรรมที่ดีงาม ความดีงามด้วยสันติ

มีอยู่ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สันติโสรัจจะ คำว่า สันติโสรัจจะนี้ เป็นชื่อ

แห่งมรรคปัญญา อันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์.

คำว่า สมาธิ ได้แก่ มรรคสมาธิ ที่สัมปยุตด้วยนิพพานนั้น.

คำว่า สณฺิตา ได้แก่ ดำรงอยู่แล้วด้วยธรรมทั้งสองอย่างนั้น.

วิมุตติ คืออรหัตผล ชื่อว่า สาระแห่งแห่งสุตะและปัญญา ด้วยว่า

พรหมจรรย์นี้มีวิมุตติเป็นสาระ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น ด้วย

ธรรมะ และแสดงปฏิปทาอันเป็นส่วนอื่นด้วยขันธ์แม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ ศีลขันธ์

เป็นต้นว่า อนุตฺตรา วจสา ซึ่งปัญญาขันธ์ และสมาธิขันธ์ ด้วยปัญญาที่

งาม ด้วยสันติ และด้วยสมาธิ ในคาถาสุดท้ายนี้อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง

วิมุตติที่ไม่กำเริบด้วยสุตะ และปัญญาอันเป็นสาระ จึงให้พระเทศนาจบลงด้วย

ยอดคือพระอรหัต.

ก็ในที่สุดแห่งพระเทศนา ภิกษุรูปนั้น ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล ต่อมา

อีกไม่นานนัก ก็ได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต อันเป็นผลที่เลิศ ดังนี้แล.

จบการพรรณนากิงสีลสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 285

อุฏฐานสูตรที่ ๑๐

ว่าด้วยตื่นจากความหลับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า

[๓๒๗] เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด

จงนั่งเถิด เธอทั้งหลายจะได้ประโยชน์อะไร

ด้วยความหลับ เพราะความหลับจะเป็น

ประโยชน์อะไรแก่เธอทั้งหลาย ผู้เร่าร้อน

เพราะโรค คือ กิเลสมีประการต่าง ๆ ถูก

ลูกศร คือ ราคะเป็นต้นแทงแล้ว ย่อยยับอยู่

เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด จง

หมั่นศึกษาเพื่อสันติเถิด.

มัจจุราชอย่ารู้ว่าเธอทั้งหลายประมาท

แล้ว อย่ายังเธอทั้งหลายผู้ตกอยู่ในอำนาจ

ให้ลุ่มหลงเลย เธอทั้งหลายจงข้ามตัณหา

อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้

เทวดาและมนุษย์ ผู้มีความต้องการอาศัยรูป

เป็นต้น ดำรงอยู่.

ขณะอย่าได้ล่วงเธอทั้งหลายไปเสีย

เพราะว่าผู้ล่วงขณะเสียแล้ว เป็นผู้ยัดเยียด

กันในนรก เศร้าโศกอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 286

ความประมาทเป็นดุจธุลี ตกต้อง

แล้วเพราะความมัวเมาในปฐมวัยนอกนี้

ความประมาทเป็นดุจธุลี ตกต้องแล้วเพราะ

ความมัวเมาในวัย เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้

เป็นบัณฑิต พึงถอนลูกศร คือ กิเลสมีราคะ

เป็นต้นของตนเสีย ด้วยความไม่ประมาท

และด้วยวิชชา.

จบอุฏฐานสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาอุฏฐานสูตรที่ ๑๐

อุฏฐานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า อุฏฺหถ ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้น ดังต่อไปนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี ทรงอยู่

ในมหาวิหารเชตวันในเวลากลางคืน ในเวลาเช้ามีพระภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จ

เข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี แล้วเสด็จออกจากพระนคร ทางประตูด้านทิศ

ตะวันออก ได้เสด็จไปยังปราสาทของมิคารมารดา (วัดบุพพาราม) เพื่อ

ประทับในเวลากลางวัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 287

ได้ยินว่า การประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหารในเวลากลางคืนแล้ว เสด็จ

เข้าไปทรงพักในเวลากลางวัน ในปราสาทของมิคารมารดา และการเสด็จ

ประทับในปราสาทของมิคารมารดาในเวลากลางคืน แล้วเสด็จเข้าไปทรงพัก

ในเวลากลางวันในพระเชตวันวิหาร นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิบัติมาเป็น

ประจำ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพื่อทรงอนุเคราะห์สกุลทั้งสองนั้นประการหนึ่ง เพื่อประ-

โยชน์จะแสดงถึงคุณแห่งการบริจาคใหญ่ (ของท่านทั้งสองนั้น) อีกประการหนึ่ง.

ก็ ณ ภายใต้ปราสาทแห่งมิคารมารดา ได้มีเรือนยอดอยู่ ๕๐๐ ห้อง

ซึ่งภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ได้อาศัยอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมารดานั้น เมื่อใด

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ภายใต้ปราสาท (ชั้นล่าง) ในกาลนั้นภิกษุทั้งหลาย

ก็ไม่ขึ้นไปบนปราสาทชั้นบน ด้วยความเคารพต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็ในวัน

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปยังห้องเรือนยอดในปราสาทชั้นบน เพราะ

เหตุนั้น ภิกษุจำนวน ๕๐๐ รูป จึงเข้าไปยังห้องทั้ง ๕๐๐ ห้อง ในปราสาท

ชั้นล่าง ก็ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเทียว เป็นพระบวชใหม่ ได้มาสู่ธรรมวินัยนี้

ยังไม่นาน มีจิตใจฟุ้งซ่านดุจไม้อ้อ มีอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ภิกษุเหล่านั้น

เข้าไปยังห้องเหล่านั้นแล้ว ก็นอนหลับในเวลากลางวัน ลุกขึ้นในตอนเย็น

ประชุมกันที่ลานใหญ่ กล่าวสนทนากันว่า วันนี้ท่านได้อะไรในโรงภัต

ท่านได้ไปที่ไหน ภิกษุเหล่านั้นพากันกล่าวอามิสกถา มีประการต่าง ๆ ทำ

เสียงดังลั่นว่า ดูก่อนอาวุโส กระผมได้ไปยังปราสาทของพระเจ้าโกศล กระผม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 288

ได้ไปยังบ้านของอนาถปิณฑิกะ ในพระราชวังของพระเจ้าโกศล และที่บ้าน

ของอนาถบิณฑิกกะนั้น มีวิธีจัดโภชนะเห็นปานนี้ และเห็นปานนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับเสียงนั้น ทรงดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ทั้ง ๆ

ที่อยู่กับเรา ก็ยังมัวเมาประมาทอย่างนี้ น่าอนาถ ภิกษุเหล่านี้ได้กระทำสิ่งที่

ไม่ควรกระทำ ดังนี้แล้ว จึงทรงดำริถึงการที่จะให้พระมหาโมคคัลลานเถระ

มา ในขณะนั้นนั่นเอง ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้มีอายุ ทราบวาระจิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้มาด้วยฤทธิ์ ได้ถวายบังคม ณ เบื้องพระบาทนั้นเอง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก พระมหาโมคคัลลานเถระ

นั้นว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เพื่อนสพรหมจารีของเธอเหล่านี้ เป็นผู้มัวเมา

ประมาท ดีละ เธอจงทำภิกษุเหล่านั้นให้สลดใจ. พระมหาโมคคัลลานเถระ

ผู้มีอายุนั้น รับสนองพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ได้ พระพุทธเจ้าข้า แล้วจึงเข้า

อาโปกสิณในทันใดนั้นเอง ใช้หัวแม่เท้าทำพื้นมหาปราสาทซึ่งตั้งอยู่ในชั้น

กามภูมิ ให้หวั่นไหว พร้อมกับส่วนแห่งแผ่นดิน ซึ่งปราสาทตั้งอยู่ ประดุจ

พายุใหญ่ ทำนาวาให้หวั่นไหวฉะนั้น.

ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นกลัวแล้ว ร้องเสียงลั่น ต่างทิ้งจีวรของตน ๆ

พากันออกไปจากประตูทั้งสี่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระองค์ แก่

ภิกษุเหล่านั้น เป็นราวกะว่าเสด็จเข้าไป สู่พระคันธกุฎีทางประตูอื่น ภิกษุ

เหล่านั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็ได้ยืนถวายบังคม. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสถามว่า พวกเธอกลัวอะไร ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ปราสาทของมิคารมารดานี้ ใครทำให้หวั่นไหว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 289

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทราบไหมว่าใครทำ

ให้หวั่นไหว ภิกษุทั้งหลายทูลว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ปราสาทหลังนี้

โมคคัลลานะทำให้หวั่นไหว เพื่อจะทำบุคคลเช่นกับพวกเธอ ซึ่งมีสติหลงลืม

ไร้สัมปชัญญะ อยู่ด้วยความประมาท ให้สังเวช แล้วจึงได้ตรัสพระสูตรนี้

เพื่อทรงแสดงพระธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฏฺหถ ความว่า ท่านทั้งหลายจงลุก

ขึ้นจากอาสนะ. คือว่า จงเพียร พยายาม คือว่า อย่าเกียจคร้าน.

บทว่า นิสีทถ ความว่า ท่านทั้งหลายจงนั่งคู้บัลลังก์ เพื่อตามประกอบ

กรรมฐาน.

บาทพระคาถาว่า โก อตฺโถ สุปิเตน โว ความว่า ท่านทั้งหลาย

ซึ่งบวชแล้ว เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน จะได้ประโยชน์อะไรด้วยการหลับ คือว่า

ไม่มีใครสามารถ จะบรรลุถึงประโยชน์ได้ด้วยการหลับ.

บาทพระคาถาว่า อาตุราน หิ กา นิทฺทา สลฺลวิธาน รุปฺปต

ความว่า ก็ชื่อว่าในที่ใด ความหลับย่อมไม่มีแก่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ทุรนทุราย

ด้วยโรค มีโรคตาเป็นต้น ซึ่งตั้งขึ้นแล้ว ที่ส่วนแห่งร่างกายแม้เล็กน้อย ผู้ถูก

ลูกศรชนิดใดชนิดหนึ่ง ในบรรดาลูกศรเหล็ก ลูกศรกระดูก ลูกศรงา (ฟัน)

ลูกศรเขา และลูกศรไม้ ซึ่งเข้าไปสู่ร่างกาย แม้สักว่านิ้วเดียว หรือสองนิ้ว

ก็ในที่นั้น ท่านทั้งหลาย ซึ่งมีจิตและร่างกายอยู่ทั้งสิ้น ผู้บริโภคแล้ว กระวน

กระวายอยู่ ด้วยโรคคือกิเลสนานัปการ ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว และผู้ชื่อว่าถูกลูกศร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 290

แทงแล้ว เพราะถูกลูกศร ๕ ชนิด มีลูกศรคือ ราคะเป็นต้น เสียบแทงเข้า

ไปในหทัยแล้ว ย่อยยับอยู่ จะมีการหลับได้อย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสดังนี้ แล้วเพื่อจะทำภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น

ให้อุตสาหะ และให้สังเวชยิ่ง ๆ ขึ้นอีก จึงได้ตรัสว่า อุฏฺหถ ฯเปฯ

วสานุเค ดังนี้.

ในพระคาถานั้น มีการพรรณนาเนื้อความพร้อมทั้งอธิบายและโยชนา

ดังต่อไปนี้ :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเธอทั้งหลายถูกลูกศรคือกิเลสเสียบแทงแล้ว

อย่างนี้ จะมีเวลามัวเมาประมาทอยู่เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย พระศาสดา

(ทรงประกาศพรหมจรรย์) ที่ยอดเยี่ยมที่สุดนี้มาอยู่เฉพาะหน้า (ของท่าน

ทั้งหลาย) ด้วยว่าในกาลก่อนแต่กาลนี้ เธอทั้งหลายหลับแล้ว อยู่ที่ภูเขาทั้งหลาย

และแน่น้ำเป็นเวลานาน หลับแล้วที่ยอดไม้อันไม่เสมอกัน ก็เพราะเหตุที่ไม่

เห็นอริยสัจทั้งหลาย เพื่อทำที่สุดแห่งความหลับนั้น เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด

จงนั่ง และศึกษาเพื่อสันติให้มั่นคง เนื้อความในบาทแห่งพระคาถานั้นนัย

อันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล.

ส่วนคำว่า สนฺติ ในบาทที่สอง หมายถึงสันติ ๓ อย่างคือ อัจจันต-

สันติ (สันติอย่างสูงสุด) ๑ ตทังคสันติ (สันติด้วยองค์นั้น ) ๑ สมมติสันติ ๑

(สันติตามสมมติ)

คำว่า สันติ นี้เป็นชื่อแห่งพระนิพพาน วิปัสสนา และทิฏฐิคตะ แต่

ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึง อัจจันสันติ คือพระนิพพาน พระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 291

พระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า เพื่อประโยชน์แก่พระนิพพาน ขอท่านทั้งหลายจง

หมั่นศึกษา คือว่า ขอให้ท่านทั้งหลายเป็นผู้มีความบากบั่นไม่ท้อถอย ศึกษาเถิด.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า พระยามัจจุราช ทราบว่าท่านทั้งหลายประมาทแล้ว ก็อย่า

ได้ทำท่านทั้งหลาย ผู้ตกอยู่ในอำนาจให้ลุ่มหลงเลย คือว่า การอันได้นามว่า

พระยามัจจุราช ทราบอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้เป็นผู้ประมาทแล้ว ก็อย่าได้ทำ

ท่านทั้งหลาย ผู้ตกอยู่ในอำนาจให้ลุ่มหลงเลย มีคำอธิบายว่า ท่านทั้งหลาย

ย่อมไปสู่อำนาจของพระยามัจจุราชนั้น ได้โดยประการใด พระยามัจจุราชนั้น

กระทำท่านทั้งหลาย ผู้อยู่ในอำนาจโดยประการนั้น ก็อย่าให้ท่านทั้งหลายได้

ลุ่มหลงเลย.

เพราะเมื่อบุคคลไปอยู่สู่อำนาจของพระยามารนั้น เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ อาศัยรูปเป็นต้น ดำรงอยู่ได้ด้วยตัณหาใด ท่าน

ทั้งหลายจงข้ามซึ่งตัณหานั้น อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ขณะอย่าได้ล่วงเธอ

ทั้งหลายไปเสีย เพราะว่าผู้ล่วงขณะเสียแล้ว เป็นผู้ยัดเยียดกันในนรกย่อมเศร้า-

โศก คือว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ ได้แก่ผู้ต้องการ

รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อาศัยคืออิงอาศัย ได้แก่เป็นผู้แอบแนบ

ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น ย่อมดำรงอยู่ได้ด้วยตัณหาใด ของเธอทั้งหลายจง

ข้าม คือว่าจงข้ามพ้นซึ่งตัณหานั้น ได้แก่ตัณหาในภพและในโภคะ ที่ชื่อว่า

ซ่านไป เพราะเป็นธรรมชาติที่แผ่ซ่าน กว้างขวางลุ่มลึก และไพศาลในอารมณ์

ทั้งหลาย มีประการต่าง ๆ ขณะอย่าได้ล่วงเลยที่ในทั้งหลายไปเสีย คือว่าขณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 292

แห่งการบำเพ็ญสมณธรรม ของท่านทั้งหลายนี้ อย่าได้ผ่านไปเสีย, เพราะว่า

ขณะเห็นปานนี้นี่แหละ ของชนทั้งหลายเหล่าใดผ่านพ้นไป และชนทั้งหลาย

เหล่าใดผ่านพ้นขณะนี้ไปเสีย ชนทั้งหลายเหล่านั้นคือผู้ล่วงขณะไปเสียนั้นแล

ยัดเยียดกันอยู่ในนรก ย่อมเศร้าโศก คือว่าดำรงอยู่ในอบายแม้ทั้ง ๔ ที่รู้กัน

ว่านรก เพราะอรรถว่าหาความสุขใจมิได้. ย่อมเศร้าโศกโดยนัยว่า กรรมดี

พวกเรามิได้ทำไว้เลย ดังนี้เป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นอุตสาหะ และสลดใจ

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงติเตียนการที่ภิกษุเหล่านั้นอยู่ด้วยความประมาท

นั้น แล้วให้ภิกษุเหล่านั้นทุกรูปเทียว ดำรงอยู่ในความไม่ประมาท จึงตรัส

พระคาถานี้ว่า ปมาโท รโช ดังนี้เป็นต้น.

โดยสังเขป ความอยู่ปราศจากสติ ชื่อว่า ความประมาทในคาถานี้

ความประมาทนั้น ชื่อว่าเป็นธุลี เพราะอรรถว่าเป็นมลทินของจิต ธุลีนั้น

ติดตามซึ่งความประมาทนั้น ความผิดซึ่งติดตามความประมาท เกิดขึ้นเพราะ

ความประมาทติดตามมาก็คือความประมาทนั้นเอง ความประมาทแม้นั้น ชื่อว่า

เป็น ธุลี ด้วยว่าแต่ไหนแต่ไรมา ชื่อว่า ความประมาทที่ไม่เป็นธุลีไม่มีเลย.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอรรถอะไรไว้ ด้วยบทว่า

ปมาโท นั้น.

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอรรถไว้ว่า ท่านทั้งหลายอย่า

ได้ถึงความวางใจว่า ขณะนี้พวกเรายังหนุ่มสาวอยู่ก่อน พวกเราจักรู้ได้ในภาย

หลังเพราะว่า ความประมาทแม้ในเวลาเป็นหนุ่มสาว ก็จัดว่าเป็น ธุลี ความ

ประมาทในวัยกลางคนก็มี ในวัยแก่ก็มี จัดว่าเป็น ธุลีใหญ่ เพราะติดตาม

ความประมาท จึงจัดว่าเป็นกองหยากเยื่อทีเดียว เหมือนกับธุลีที่มีอยู่วันหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 293

หรือ ๒ วันในเรือน ก็จัดว่าเป็นธุลีอยู่นั้นเอง แต่ธุลีนั้นเมื่อเพิ่มขึ้น เก็บไว้

ถึง ๑ ปี ก็จัดเป็นกองหยากเยื่อทีเดียว แต่แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เมื่อภิกษุเรียน

พุทธพจน์ในปฐมวัย แล้วเจริญสมณธรรมในมัชฌิมวัยและปัจฉิมวัยอยู่ หรือ

ว่า ภิกษุเรียนพุทธพจน์ในปฐมวัยแล้วสดับตรับฟัง (เพิ่มเติม) ในมัชฌิมวัย

แม้กระทำสมณธรรมอยู่ในปัจฉิมวัย ก็ยังไม่จัดว่าอยู่ด้วยความไม่ประมาท แต่

ว่าภิกษุใดอยู่ด้วยความประมาทในวัยทั้งปวง ทั้งนอนตลอดวัน และประกอบคำ

เพื่อได้อามิส เช่นอย่างท่านทั้งหลายอยู่ ความประมาทในปฐมวัยนั้นของภิกษุ

นั้นนั่นแล จัดว่าเป็นธุลี และความประมาทใหญ่ ซึ่งติดตามความประมาท

ในวัยนอกนี้ จัดว่าเป็นธุลีกองใหญ่ทีเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงติเตียนการที่ภิกษุเหล่านั้น อยู่ด้วยความ

ประมาทอย่างนี้ เมื่อจะทรงชักชวนในความไม่ประมาทจึงตรัสว่า อปฺปมาเทน

วิชฺชาย อพฺพุฬฺเห สลฺลมตฺตโน ดังนี้.

เนื้อความแห่งสองบาทพระคาถามนี้ พระผู้มีพระภาคทรงยังพระ-

เทศนาให้จบลง ด้วยอดคือพระอรหัตว่า ความประมาทแม้ในกาลทั้งปวงนี้

ชื่อว่าเป็นธุลีอย่างนี้. กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตพึงถอนลูกศร ๕ อย่าง มีราคะเป็น

ต้น ที่อาศัยหทัยของตนด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือการอยู่โดยไม่ปราศจาก

สติ และด้วยวิชชา กล่าวคือ อาสวักยญาณ.

ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา ภิกษุเหล่านั้นแม้ ๕๐๐ รูป ถึงความ

สังเวช กระทำไว้ในใจซึ่งพระธรรมเทศนานั้นนั่นแล พิจารณาอยู่ เริ่มเจริญ

วิปัสสนาแล้วดำรงอยู่ในพระอรหัต ดังนี้แล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งอุฏฐานสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 294

ราหุลสูตรที่ ๑๑

ว่าด้วยไม่ดูหมิ่นบัณฑิต

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

[๓๒๘] เธอทั้งหลายย่อมไม่ดูหมิ่น

บัณฑิต เพราะการอยู่ร่วมกันเนื่อง ๆ แล

หรือ การทรงคบเพลิง เพื่อมนุษย์ทั้งหลาย

เธอนอบน้อมแล้วแลหรือ.

พระราหุลกราบทูลว่า

ข้าพระองค์ย่อมไม่ดูหมิ่นบัณฑิต

เพราะการอยู่ร่วมกันเนือง ๆ การทรงคบ

เพลิงเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพระองค์นอบ-

น้อมแล้วเป็นนิตย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เธอละกามคุณห้ามีรูปเป็นที่รัก เป็น

ที่รื่นรมย์ใจ ออกบวชด้วยศรัทธาแล้ว จง

กระทำที่สุดทุกข์เถิด.

เธอจงคบกัลยาณมิตร จงเสพที่นอน

ที่นั่งอันสงัดเงียบ ปราศจากเสียงกึกก้อง

จงรู้จักประมาณในโภชนะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 295

เธออย่าได้กระทำความอยากในวัตถุ

เป็นที่เกิดตัณหาเหล่านี้ คือ จีวร บิณฑบาต

ที่นอน ที่นั่ง และปัจจัย เธออย่ากลับมาสู่

โลกนี้อีก จงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกข์และ

ในอินทรีย์ ๕ จงมีสติไปแล้วในกาย จงเป็น

ผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย.

จงเว้นสุภนิมิต อันก่อให้เกิดความ

กำหนัด จงอบรมจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง

ให้ตั้งมั่นดีแล้วในอสุภภาวนา จงอบรม

วิปัสสนา จงละมานานุสัย แต่นั้นเธอจักเป็น

ผู้สงบ เพราะการละมานะเที่ยวไป.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนท่านพระราหุล ด้วยพระคาถา

เหล่านี้เนือง ๆ ด้วยประการฉะนี้.

จบราหุลสูตรที่ ๑๑

อรรถกถาราหุลสูตรที่ ๑๑

ราหุชสูตร มีคำเริ่มต้นว่า กจฺจิ อภิณฺหสวาสา ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นไร ?

ตอบว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 296

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จจากควง

ต้นโพธิ ไปยังกรุงกบิลพัสดุ์โดยลำดับ ณ กรุงกบิลพัสดุ์นั้น พระราหุลได้ทูล

ขอความเป็นรัชทายาทว่า ข้าแต่พระสมณะ ขอพระองค์จงทรงประทาน

ความเป็นรัชทายาทแก่กระหม่อมฉัน ดังนี้ จึงได้รับสั่งแก่พระสารีบุตรเถระว่า

เธอจงให้ราหุลกุมารบรรพชา เรื่องทั้งปวงนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่

ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาขันธกะ (พระวินัย) ก็พระราหุลได้บรรพชา

แล้วอย่างนี้ ถึงความเจริญแล้ว พระสารีบุตรนั้นแล ก็ได้ให้อุปสมบท ส่วน

พระโมคคัลลานเถระเป็นกรรมวาจาจารย์ของพระราหุลนั้น.

พระราหุลเถระ ยังไม่ได้บรรลุอริยภูมิตราบใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็

ทรงโอวาทพระเถระนั้น ตราบนั้น ตั้งแต่กาลที่ท่านยังเป็นหนุ่ม ด้วยทรงพระ-

ดำริว่า กุมารนี้ สมบูรณ์ด้วยชาติเป็นต้น กุมารนั้นอย่าได้ทำการถือตัวหรือ

การหยิ่งเพราะอาศัย ชาติ โคตร ตระกูล และผิวพรรณเป็นต้น ดังนี้แล้ว

จึงได้ตรัสพระสูตรนี้บ่อย ๆ เพราะฉะนั้น ก็คำว่า ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสสอนท่านพระราหุลเถระ ด้วยพระคาถาเหล่านี้เนือง ๆ ด้วยประการฉะนี้

ดังนี้ นี้ พระอานนทเถระกล่าวไว้แล้ว ในที่สุดแห่งพระสูตร.

ความย่อในคาถาที่ ๑ ในราหุลสูตรนั้น มีดังต่อไปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนราหุล

เธอไม่ได้ดูหมิ่นบัณฑิต ด้วยเรื่องมีชาติเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะ

เหตุที่อยู่ร่วมกันเป็นนิจแลหรือ ชื่อว่าการทรงไว้ซึ่งคบเพลิง เพราะการทรงไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 297

ซึ่งประทีปคือญาณ และประทีปคือธรรมเทศนา อันเธอนอบน้อมต่อมนุษย์

ทั้งหลายหรือ ต่อว่าอันเธอบูชาแล้วเป็นนิจแลหรือ ดังนี้.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระราหุล เมื่อจะแสดง

ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์หาได้กระทำการถือตัวหรือการ

เย่อหยิ่ง เพราะเหตุที่อยู่ร่วมกัน เหมือนกับคนต่ำต้อยดูถูกท่านผู้ฉลาดไม่

จึงได้กราบทูลคาถาตอบนี้ว่า นาห อภิณฺหสวาสา ดังนี้. คาถาตอบนั้นมี

เนื้อความง่ายทั้งนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงโอวาทพระราหุลเถระนั้น ให้

ยิ่งขึ้น จึงได้ตรัสพระคาถาที่เหลือทั้งหลายว่า ปญฺจ กามคุเณ ดังนี้เป็นต้น

ในพระคาถาที่เหลือนั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

เพราะเหตุที่กามคุณทั้ง ๕ มีรูปเป็นที่รัก มีชาติเป็นที่รัก สำหรับ

สัตว์ทั้งหลาย อันสัตว์ทั้งหลายปรารถนาต้องการยิ่งนัก และใจของสัตว์เหล่า

นั้นก็ยินดี ก็ท่านพระราหุลละกามคุณเหล่านั้นแล้ว ออกจากพระราชวังด้วย

ศรัทธา หาใช่พระราชาทรงนำออกไม่ หาใช่โจรนำออกไปไม่ ไม่ใช่ผู้ที่เป็น

หนี้ ไม่ใช่ผู้ที่กลัวภัย ไม่ใช่ผู้ที่บวชเพื่อเลี้ยงชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง

ยังพระราหุลนั้น ให้ทรงกล้าหาญด้วยพระดำรัสที่ว่า เธอออกจากพระราชวังด้วย

ศรัทธาดังนี้ ก็เพราะท่านละกามคุณทั้ง ๕ อันเป็นปิยรูป และเป็นที่รื่นรมย์

แห่งใจได้แล้ว เมื่อจะทรงชักชวนในการปฏิบัติที่สมควรแก่เนกขัมมะนี้ จึง

ตรัสว่า เธอจงเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์เถิด ดังนี้.

ในคำว่า พระราหุลออกบวชด้วยศรัทธา ดังนี้นั้น หากจะพึงมีคำถาม

สอดเข้ามาว่า ก็ท่านผู้มีอายุ ปรารถนาอยู่ซึ่งรัชสมบัติอัน พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 298

ทรงให้บรรพชาโดยพลการมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พระราหุลออกจากพระราชวังด้วยศรัทธา ดังนี้ อันข้าพเจ้า

จะได้กล่าวเฉลย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ก็เพราะพระราหุลมีพระทัยน้อม

ไปในเนกขัมมะ จริงอยู่ท่านผู้มีอายุนี้ มีพระทัยน้อมไปในเนกขัมมะนานแล้ว

คือเมื่อเป็นพระยานาคราช ชื่อว่า สังขะ ได้เห็นสามเณร ชื่อว่า อุปเรวัต

ซึ่งเป็นโอรสของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ได้ถวายทานเป็นเวลา ๗ วัน ปรารถนา

ความเป็นอย่างนั้น (คือความเป็นสามเณร) จึงถึงพร้อมด้วยความปรารถนา

และอภินิหาร จำเดิมแต่นั้นมา บำเพ็ญบารมีอยู่เป็นเวลาแสนกัป อุบัติแล้วใน

ภพสุดท้าย พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแหละทรงทราบความที่พระผู้มีอายุนั้น มีพระ-

ทัยน้อมไปในบรรพชาอย่างนี้ ด้วยว่าญาณนี้เป็นญาณหนึ่งในตถาคตพลญาณ

ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ท่านออกจากพระราชวังด้วยศรัทธา.

อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า สทฺธาเยว ฆรา นิกฺขมฺม นี้ มีอธิบายว่า

เธอออกจากพระราชวัง ด้วยศรัทธามาสิ้นกาลนานแล้ว บัดนี้ก็จงทำที่สุดแห่ง

ทุกข์เถิด.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะแสดงข้อปฏิบัติ ด้วยการกระทำที่สุด

ทุกข์ในวัฏฏะตั้งต้นแต่การละสมุทัย จึงตรัสพระคาถานี้ว่า มิตฺเต ภชสฺสุ

กลฺยาเณ ดังนี้เป็นต้น.

พึงทราบอธิบายในพระคาถานี้ดังต่อไปนี้.

ชนทั้งหลายผู้ยิ่งด้วยศีลเป็นต้น ชื่อว่า กัลยาณมิตร บุคคลคบอยู่ซึ่ง

กัลยาณมิตรเหล่านั้น ย่อมเจริญด้วยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ประดุจต้นสาละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 299

ใหญ่อาศัยป่าหิมวันต์ เจริญอยู่ด้วยรากเป็นต้น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาค

เจ้าจึงตรัสว่า มิตฺเต ภชสฺสุ กลฺยาเณ ดังนี้.

สองบาทพระคาถาว่า ปนฺตญฺจ สยนาสน วิวิตฺต อปฺปนิคฺโฆส

ความว่า ก็ที่นอน ที่นั่งใด เป็นที่สงัด คืออยู่ไกล เงียบ ได้แก่ไม่เกลื่อนกล่น

ปราศจากเสียงกึกก้อง. ความสำคัญว่า ป่า ย่อมเกิดขึ้นในเสนาสนะใด ด้วย

เสียงแห่งสัตว์มีเนื้อและสุกรเป็นต้น เธอจงเสพที่นอนที่นั่งเห็นปานนั้น.

บาทพระคาถาว่า มตฺตญฺญู โหหิ โภชเน ได้แก่ จงเป็นผู้รู้ประมาณ

(ในโภชนะ) อธิบายว่า เธอจงรู้จักประมาณในการรับ และประมาณในการ

บริโภค. ในประมาณทั้งสองอย่างนั้น ผู้รู้จักประมาณในการรับ เมื่อไทยธรรม

มีน้อยทั้งเมื่อทายกต้องการจะให้น้อย ก็จงรับแต่น้อยเท่านั้น เมื่อไทยธรรมมี

น้อย แต่ทายกแม้จะต้องการให้มาก ก็ควรรับแต่น้อยเหมือนกัน แต่เมื่อไทย-

ธรรมมีมาก ทายกต้องการจะให้น้อย ก็ควรรับน้อยเหมือนกัน มีเมื่อไทยธรรม

แม้มีมาก ทั้งทายกก็ต้องการจะให้มาก ก็ควรจะรู้กำลังของตนแล้วรับ อีกอย่าง

หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายเฉพาะความประมาณเท่านั้น ดังนี้แล.

ภิกษุผู้รู้ประมาณในการบริโภค พิจารณาโดยแยบคายแล้ว พึงฉัน

โภชนะ ประดุจบุคคลบริโภคเนื้อบุตร และประดุจบุคคลใช้น้ำมันหยอดเพลา

ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแนะนำด้วยการคบกัลยาณมิตร อันเป็น

อุปการะแก่พรหมจรรย์และให้พระราหุลสมาทานในปาริสุทธิศีล คือการบริโภค

ปัจจัยโดยตรัสถึงการใช้สอยเสนาสนะเป็นประธาน ด้วยพระคาถานี้อย่างนี้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 300

บัดนี้ เพราะเหตุที่การเลี้ยงชีพผิดจะมีได้ ก็เพราะความอยากในจีวรเป็นต้น

ฉะนั้น จึงทรงปฏิเสธมิจฉาชีพนั้น เมื่อจะให้พระราหุลเถระสมาทานอยู่ใน

อาชีวปาริสุทธิศีลนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า จีวเร ปิณฺฑปาเต จ ดังนี้.

ในพระคาถาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจเย ได้แก่ คิลานปัจจัย

(ปัจจัยเพื่อคนไข้)

บทว่า เอเตสุ ได้แก่ ในเรื่องที่ให้ภิกษุทั้งหลายเกิดความอยากใน

ปัจจัย ๔ อย่างเหล่านี้มีจีวรเป็นต้น.

สองบทว่า ตณฺหมากาสิ ความว่า (เมื่อเห็นโทษโดยนัยว่า) ปัจจัย

ทั้ง ๔ อย่างเหล่านั้นเป็นเครื่องเกื้อกูลแก่บุคคลทั้งหลาย ผู้ทุรนทุรายอยู่เป็นนิจ

ก็เพื่อประโยชน์แก่การปกปิดอวัยวะที่ทำความละอายให้กำเริบเป็นต้นนั้นเอง

ย่อมเป็นเครื่องค้ำจุนซึ่งร่างกายอันทุรพลยิ่งนัก ประดุจเสาเป็นเครื่องค้ำเรือน

เก่าฉะนั้น ดังนี้ ก็อย่าให้ความอยากเกิดขึ้น เมื่อไม่ให้เกิดขึ้นอยู่ ได้แก่

เมื่อไม่ให้บังเกิดขึ้นอยู่ ก็จงอยู่ (ด้วยการไม่ให้ตัณหาบังเกิดขึ้นนั้น)

ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะว่าเธออย่าได้มาสู่โลกอีก.

บาทพระคาถาว่า มา โลก ปุนราคมิ ความว่า ก็บุคคลกระทำซึ่ง

ความอยากในปัจจัยเหล่านี้อยู่ ถูกความอยากคร่ามาอยู่ ย่อมมาสู่โลกนี้แม้อีก

เธอนั้นอย่าได้ทำความอยากในปัจจัยเหล่านี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอก็จักไม่มาสู่

โลกนี้อีก.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระราหุลทราบว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราว่า เธออย่าได้กระทำความอยากในจีวรดังนี้ จึงได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 301

สมาทานธุดงค์ ๒ ข้อที่เกี่ยวกับ จีวร คือ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ๑ เตจีวริกังค-

ธุดงค์ ๑.

ท่านพระราหุลนั้นทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราว่า เธอ

อย่าได้กระทำความอยากในบิณฑบาต จึงได้สมาทานธุดงค์ ๕ ข้อที่เกี่ยวกับ

บิณฑบาตคือ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ๑ สปทานจาริกังคธุดงค์ ๑ เอกาสนิกังค

ธุดงค์ ๑ ปัตตปิณฑิกังคธุดงค์ ๑ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ๑.

ท่านพระราหุลนั้นทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเราว่า เธออย่า

ได้ทำความอยากในเสนาสนะดังนี้ จึงได้สมาทานธุดงค์ ๖ ข้อ ที่เกี่ยวข้องด้วย

เสนาสนะคือ อารัญญิกังคธุดงค์ ๑ อัพโภกาสิกังคธุดงค์ ๑ รุกขมูลิกังคธุดงค์

๑ ยถาสันถติกังคธุดงค์ ๑ โสสานิกังคธุดงค์ ๑ เนสัชชิกังคธุดงค์ ๑.

ท่านพระราหุลนั้นทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเราว่า เธออย่า

ได้กระทำความอยากในคิลานปัจจัย จึงเป็นผู้สันโดษแล้วด้วยความสันโดษ ๓

ในปัจจัยทั้งปวงคือ ยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ ยถาสารุปปสันโดษ

เป็นผู้มีปกติรับคำสอนด้วยความเคารพ เหมือนกุลบุตรที่ว่าง่าย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงให้ท่านพระราหุลสมาทานด้วยอาชีวปาริ-

สุทธิศีลแล้ว บัดนี้ เมื่อจะให้ท่านสมาทานในศีลที่เหลือ และในสมถะและ

วิปัสสนาทั้งหลายจึงตรัสว่า สวุโต ปาติโมกฺขสฺมึ ดังนี้เป็นต้น.

ในบรรดาบททั้งหลายเหล่านั้น ในบาทคาถานี้ว่า สวุโต ปาติโมกฺ-

ขสฺมึ พึงเพิ่มบาลีที่เหลือเข้าว่า ภวสฺสุ หรือพึงทราบสัมพันธ์ด้วยบทสุด

ท้ายว่า ในบาทคาถาที่ ๒ ก็พึงเติมบาลีที่เหลือเข้าเช่นเดียวกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชักชวนท่านพระราหุล ในปาติโมกขสังวรศีล

และอินทริยสังวรศีล ด้วยพระดำรัส ๒ อย่างเหล่านี้ อย่างนี้. ก็ในพระคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 302

อินฺทฺริเยสุ จ ปณฺจสุ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอินทรีย์ ๕ ประการ ด้วย

สามารถแห่งเนื้อความที่ปรากฏแล้ว. เเต่โดยลักษณะแล้วพึงทราบว่า แม้

อินทรีย์ที่ ๖ ก็เป็นอันพระองค์ตรัสไว้แล้วเหมือนกัน. บาทพระคาถาว่า สตี

กายคตา ตฺยตฺถุ ความว่า สติอันเป็นไปในกาย [กายคตาสติ] อันต่างด้วย

จตุธาตุววัฏฐาน สัมปชัญญะ ๔ อานาปานสติ และอาหาเรปฏิกูลสัญญา จงมี

คือว่า จงเกิดมีแก่ท่านผู้ดำรงอยู่แล้ว ในจตุปาริสุทธิศีล ๔ อย่างนี้ คือว่า จง

เจริญกายคตาสตินั้น.

บาทพระคาถาว่า นิพฺพิทาพหุโล ภว ความว่า ท่านจงเป็นผู้มาก

ด้วยความเบื่อหน่ายในสังสารวัฏ คือว่า จงมีความสำคัญหมายในโลกทั้งปวง

ว่า ไม่น่ายินดี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุปจารภูมิ อันเป็นส่วนแห่งการแทง

ตลอด ด้วยคำแม้ประมาณเท่านี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอัปปนาภูมิ จึงตรัสคำ

เป็นต้นว่า นิมิตฺต ปริวชฺเชหิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิมิตฺต ได้แก่ สุภนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่ง

ราคะ. ด้วยคำว่า นิมิตฺต นั้นนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทำสุภนิมิต

นั้น ให้วิเศษในรูปอีก จึงตรัสว่า สุภ ราคุปสญฺหิต สุภนิมิตที่ก่อให้เกิด

ความกำหนัด.

บทว่า ปริวชฺเชหิ ได้แก่ จงเว้นด้วยมนสิการ.

บาทพระคาถาว่า อสุภาย จิตฺต ภาเวหิ ความว่า จงอบรมจิตโดย

ประการที่อสุภภาวนาในกายที่มีวิญาณ หรือไม่มีวิญญาณสำเร็จได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 303

บาทพระคาถาว่า เอกคฺค สุสมาหิต ความว่า จิตเช่นนี้ของท่าน

จะเป็นจิตที่มีอารมณ์เดียวได้ โดยอุปจารสมาธิ (และ) จะเป็นจิตตั้งมั่นได้ด้วย

อัปปนาภูมิแห่งจิตนั้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงวิปัสสนาจึงตรัสว่า อนมิตฺต

เป็นต้น

บรรดาบทเหล่านี้ บาทพระคาถาว่า อนิมิตฺตญฺจ ภาเวหิ อธิบายว่า

ท่านผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยสรมาธิ อัน เป็นส่วนแห่งการแทงตลอดอย่างนี้ จงเจริญ

วิปัสสนา จริงอยู่ วิปัสสนาย่อมได้โวหาร (การเรียก) ว่า อนิมิตฺต เพราะ

ไม่ถือเอาซึ่งนิมิตทั้งหลายมีราคนิมิตเป็นต้น โดยนัยว่า อนิจจานุปัสสนาญาณ

ย่อมพันจากนิมิต (การกำหนดหมาย) ว่าเที่ยง จึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ เหมือน

อย่างที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวได้ว่า ดูก่อนอาวุโส ข้าพเจ้านั้นแล เข้า

เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตอยู่ เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนิมิตทั้งปวง ดูก่อนอาวุโส

เมื่อข้าพเจ้าอยู่ อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่นี้ อนิมิตตานุสารีวิญญาณ ย่อมมีได้

ดังนี้.

บาทพระคาถาว่า มานานุสยมุชฺชห ความว่า เธอจะละ ได้แก่จงสละ

คือจงสลัดทิ้งเสีย ซึ่งมานานุสัยโดยลำดับ เป็นต้นอย่างนี้ว่า ดูก่อหเมฆิยะ

เมื่อบุคคลได้อนิมิตตสัญญา ด้วยการเจริญ อนิมิตตภาวนานี้ แล้วเป็นผู้มีความ

สำคัญว่าไม่เทียง อนัตตา ก็ย่อมดำรงมั่นได้ ผู้มีความสำคัญว่าไม่ใช่ตน ย่อม

บรรลุถึงการถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ ดังนี้.

สองบาทพระคาถาว่า ตโต มานาภิสมยา อุปสนฺโต จริสฺสสิ

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระเทศนาจบลง ด้วยอดคือพระอรหัตว่า

๑. สัง. สฬายตนะ ๑๙/ ข้อ ๕๒๓ ๒. อัง. นวก. ๒๗/ ข้อ ๒๐๗.(ตอนสุดท้าย)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 304

ต่อแต่นั้น เพราะการบรรลุ คือเพราะความสิ้นไปเสื่อมไป ได้แก่เพราะการละ

คือเพราะการสละคืนซึ่งมานะ ด้วยอริยมรรคอย่างนี้ เธอจักเป็นผู้สงบคือคับ

สนิท ได้แก่เป็นผู้เย็น คือว่าเป็นผู้เว้นแล้วจากความกระวนกระวายและความ

เร่าร้อนทั้งปวง จักเทียวไปคือว่าจักอยู่ ด้วยธรรมเครื่องอยู่คือผลสมาบัติอย่าง

ใดอย่างหนึ่งบรรดาสุญญตนิมิต อนิมิตตนิมิต และอปณิหิตนิมิตตราบเท่าที่

เข้าสู่นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

ต่อจากนี้ไปคำว่า อิตฺถ สุท ภควา เป็นต้น เป็นคำของพระสังคีติ-

กาจารย์.

บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อิตฺถ สุท ได้แก่ ได้ยินมาอย่างนี้ มีคำ

อธิบายว่า อย่างนี้นั้นแล. คำที่เหลือในคาถานี้มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

ก็ท่านพระราหุล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานโอวาทอยู่อย่างนี้

ดำรงอยู่แล้วในพระอรหัตพร้อมกับเทวดาทั้งหลายเป็นอเนก ในที่สุดแห่ง

จูฬราหุโลวาทสูตร ในเมื่อธรรมทั้งหลายอันเป็นทั้งแห่งการแก่รอบเพื่อการไค้

วิมุตติถึงความแก่รอบแล้ว.

จบการพรรณนาราหุลสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโขติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 305

วังคีสสูตรที่ ๑๒

ว่าด้วยสงสัยปรินิพพาน

[๓๒๙ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ ใกล้เมือง

อาฬวี ก็สมัยนั้นแล พระเถระชื่อ นิโครธกัปปะ เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน

พระวังคีสะปรินิพพานแล้วไม่นานที่อัคคาฬวเจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะ

หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌาย์

ของเราปรินิพพานแล้วหรือหนอแล หรือว่ายังไม่ปรินิพพาน ครั้นเวลาเย็น

ท่านพระวังคีสะออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค-

เจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่

ในที่ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌาย์ของเราปรินิพพาน

เเล้วหรือหนอแล หรือว่ายังไม่ได้ปรินิพพาน ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะลุก

จากอาสนะ กระทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค-

เจ้า แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

[๓๓๐] ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอทูล

ถามพระศาสดาผู้มีพระปัญญาไม่ทราม ข้า-

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมอัน

มั่นคง พระองค์ทรงขนานนามแห่งภิกษุผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 306

เป็นพราหมณ์ ผู้ตัดความสงสัย มีชื่อเสียง

มียศ ผู้คุ้มครองตนได้ มุ่งวิมุตติ ปรารภ

ความเพียร กระทำกาละที่อัคคาฬวเจดีย์ ที่

ข้าพระองค์ได้ประพฤตินอบน้อมท่านอยู่ว่า

นิโครธกัปปะ นิพพานแล้ว.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศากยะ

มีพระจักษุรอบคอบ แม้ข้าพระองค์ทั้งหมด

ย่อมปรารถนาเพื่อจะรู้พระสาวกนั้น ข้าพระ-

องค์ทั้งหลายตั้งโสตไว้ชอบแล้วเพื่อจะฟัง

พระองค์เป็นพระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมของข้าไ

พระองค์ทั้งหลาย ขอทรงโปรดตรัสความ

สงสัยของข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอพระองค์

ตรัสบอกความข้อนี้แก่พระองค์เถิด.

ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญาเสมอด้วย

แผ่นดิน มีพระจักษุรอบคอบ ขอพระองค์

โปรดตรัสบอกภิกษุผู้เป็นพราหมณ์ ผู้ปริ-

นิพพานแล้ว อนึ่ง ขอพระองค์ตรัสในท่าม

กลางข้าพระองค์ทั้งหลาย เหมือนอย่างท้าว-

สหัสสเนตร พระนามว่าสักกะ ย่อมตรัสใน

ท่ามกลางแห่งเทวดาทั้งหลาย ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 307

กิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ในโลกนี้ เป็นทางแห่งโมหะ เป็นฝักฝ่าย

แห่งความไม่รู้ เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย

กิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่านั้น มาถึงพระตถา-

คตผู้มีจักษุผู้ยิ่งกว่านระทั้งลายแล้วย่อมไม่มี

ก็ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็น

บุรุษ จะไม่พึงกำจัดเหล่ากิเลสเสีย โดยส่วน

เดียวเหมือนลมไม่พึงกำจัดเมฆไซร้ สัตว์โลก

ทั้งหมดถูกความไม่รู้ปกคลุมแล้ว พึงเป็น

โลกมืด เหมือนโลกที่ถูกเมฆปกคลุมแล้ว

เป็นโลกมืด ฉะนั้น.

นรชนทั้งหลายแม้มีความรุ่งเรือง จะ

ไม่พึงเดือดร้อน ส่วนนักปราชญ์ทั้งหลาย

เป็นผู้กระทำความรุ่งเรือง ข้าแต่พระองค์

ผู้เป็นนักปราชญ์ เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์

ย่อมสำคัญพระองค์ว่าเป็นนักปราชญ์ และ

ว่าผู้กระทำความรุ่งเรือง เหมือนอย่างนั้นนั่น

แล ข้าพระองค์ทั้งหลายทราบอยู่ ซึ่งพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้เห็นแจ่มแจ้ง จึงเข้ามาเฝ้า

ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ทรงกระทำให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 308

แจ่มแจ้งซึ่งภิกษุชื่อนิโครธกัปปะแก่ข้าพระ-

องค์ทั้งหลายในบริษัทเถิด.

พระองค์ผู้มีพระดำรัสไพเราะ ขอ

จงตรัสถ้อยคำอันไพเราะเถิด ขอพระองค์

จงค่อยเปล่งด้วยพระสุรเสียงอันพระองค์ทรง

กำหนดดีแล้ว เหมือนหมู่หงส์ยกคอขึ้นแล้ว

ค่อย ๆ เปล่งเสียงอันไพเราะ ฉะนั้น.

ข้าพระองค์ทั้งหมดเป็นผู้ปฏิบัติตรง

จะคอยฟังพระดำรัสอันไพเราะของพระองค์

ข้าพระองค์ขอทูลวิงวอนให้พระองค์ผู้ละชาติ

และมรณะได้แล้ว ทรงกำจัดบาปไม่มีส่วน

เหลือให้ทรงแสดงธรรม การกระทำความ

ใคร่หามีแก่ปุถุชนทั้งหลายไม่ ส่วนการ

กระทำความพิจารณาย่อมมีแก่พระตถาคต

ทั้งหลาย.

ไวยากรณ์อันสมบูรณ์นี้ เป็นของ

พระองค์ผู้มีพระปัญญาผุดขึ้นดี ทรงเรียนดี

แล้ว.

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระ-

ปัญญาไม่ทราม อัญชลีไม่มีในภายหลังนี้ ข้า-

พระองค์ประณมดีแล้ว พระองค์ทรงทราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 309

อยู่ซึ่งคติของภิกษุชื่อนิโครธกัปปะ อย่าได้

ทรงทำข้าพระองค์ให้หลงเลย.

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีความ

เพียรไม่ทราม พระองค์ทรงรู้แจ้งอริยธรรม

อันประเสริฐยิ่ง ทรงทราบอยู่ซึ่งไญยธรรม

ทั้งปวง อย่าได้ทรงทำข้าพระองค์ให้หลงเลย

ข้าพระองค์หวังจะได้สดับพระดำรัสของ

พระองค์อยู่ เหมือนบุรุษผู้ร้อนแล้วเพราะ

ความร้อนในฤดูร้อน หวังจะได้น้ำ ฉะนั้น.

ขอพระองค์จงยังสัททายตนะ คือ

สุตะให้ตกเถิด ภิกษุชื่อนิโครธกัปปะได้

ประพฤติพรหมจรรย์ ตามความปรารถนา

พรหมจรรย์อะไร ๆ ของท่านไม่เปล่า นิพ-

พานแล้ว อนุปาทิเสสนิพพานธาตุหรือ

หรือว่าเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วยังมีอุปาทานเหลือ

อยู่ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะขอฟังความข้อ

นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยพระคาถาว่า

ภิกษุชื่อนิโครธกัปปะ ได้ตัดตัณหา

ในนามรูปนี้ ที่เป็นพระแสแห่งกัณหมาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 310

อันนอนเนื่องแล้วสิ้นกาลนาน เธอได้ข้าม

พ้นชาติและมรณะไม่มีส่วนเหลือ ปรินิพ-

พานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประเสริฐสุดด้วยอินทรีย์

๕ เป็นต้น ได้ตรัสอย่างนี้.

ท่านพระวังคีสะกราบทูลว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระ-

องค์นี้ได้ฟังแล้ว ย่อมเลื่อมใสพระดำรัสของ

พระองค์ ได้ยินว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถาม

ถึงพรหมจรรย์อันไม่เปล่า พระองค์ผู้เป็น

พราหมณ์ไม่ล่วง ข้าพระองค์ผู้สาวกของ

พระพุทธเจ้า เป็นผู้มีปรกติกล่าวอย่างใด

กระทำอย่างนั้น ได้ตัดข่ายอันมั่นคงนั้น ๆ

ของมัจจุราชผู้มีมายาขาดแล้ว.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุชื่อ

นิโครธกัปปะผู้สมควร ได้เห็นเบื้องต้นแห่ง

อุปาทาน ได้ล่วงบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก

แล้วหนอ.

จบวังคีสสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 311

อรรถกถานิโครธกัปปสูตรที่ ๑๒

นิโครธกัปปสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น ดังนี้.

พระสูตรนี้ท่านเรียกว่า วังคีสสูตร ดังนี้ก็มี.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า การเกิดขึ้นแห่งพระสูตรนี้นั่นแล ท่านกล่าวไว้ในนิทานแห่ง

พระสูตรนั้นแล้ว.

บรรดาบททั้งหลายเหล่านั้น บทว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น มีเนื้อความ

อันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นแหละ เพราะข้าพเจ้าได้ทิ้งเนื้อความเช่นนั้น เหล่านั้น

และเหล่าอื่นเสีย จักพรรณนาเฉพาะนัยที่ยังมิได้กล่าวไว้แล้วเท่านั้น.

บทว่า อคฺคาฬเว เจติเย ได้แก่ ที่อัคคาฬวเจดีย์ในเมืองอาฬวี จริง

อยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังไม่ทรงอุบัติขึ้น ได้มีเจดีย์เป็นอเนก มีอัคคาฬว-

เจดีย์ และโคตมเจดีย์เป็นต้น ซึ่งเป็นภพที่อยู่ของพวกยักษ์และนาคเป็นต้น

(แต่) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอุบัติขึ้นแล้ว พวกมนุษย์ทั้งหลายก็รื้อ

เจดีย์เหล่านั้น สร้างเป็นวัดเสีย และมนุษย์ทั้งหลาย ก็เรียกกันโดยชื่อนั้นนั่นแล

มีคำอธิบายว่า เพราะพระเถระอยู่ในวัด กล่าวคืออัคคาฬวเจดีย์.

แม้คำว่า อายสฺมา ในคำว่า อายสฺมโต วงคีสสฺส นี้ เป็นคำ

ที่กล่าวด้วยความรัก.

คำว่า วังคีสะ นั่นเป็นชื่อของพระเถระนั้น พระวังคีสเถระนั้น ชน

ทั้งหลายพึงทราบกันอย่างนี้ จำเดิมแต่เกิดมา.

๑. บาลีว่า วังคีสสตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 312

ได้ยินว่า วังคีสะนั้นเป็นบุตรของปริพพาชก เกิดในครรภ์ของนาง

ปริพพาชิกา ด้วยอานุภาพแห่งวิชาอย่างหนึ่งซึ่งตนรู้ ได้เคาะกระโหลกศีรษะ

คนตาย แล้วก็รู้คติกำเนิดของสัตว์ทั้งหลาย. ได้ยินว่า แม้พวกมนุษย์ก็ได้นำ

กระโหลกศีรษะของพวกญาติของตน ซึ่งตายแล้วมาจากป่าช้า แล้วถามคติ

กำเนิดของญาติเหล่านั้นกะวังคีสะ ท่านก็ทำนายว่า บุคคลผู้นั้นเกิดในนรก

ชื่อโน้น บุคคลผู้นั้นเกิดในมนุษยโลกที่โน้น พวกมนุษย์เหล่านั้น อันพระ-

วังคีสะนั้นทำนายแล้ว (ทำให้งงงวยแล้ว) จึงได้ให้ทรัพย์เป็นจำนวนมากแก่เขา

ด้วยอาการอย่างนี้ เขาจึงได้ปรากฏ (มีชื่อเสียง) ไปในชมพูทวีปทั้งสิ้น

วังคีสะนั้นบำเพ็ญบารมีมาแล้ว ๑ แสนกัป บริบูรณ์ด้วยอภินีหาร มีบุรุษ

ห้าพันคนแวดล้อม ท่องเที่ยวไปในคาม นิคม ชนบท และราชธานีทั้งหลาย

ได้บรรลุถึงเมืองสาวัตถีโดยลำดับ ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี พวกชาวเมืองสาวัตถีถวายทานในเวลาก่อนภัตแล้ว

ในเวลาหลังภัตต่างก็นุ่งห่มเรียบร้อย ถือดอกไม้และของหอมเป็นต้น ย่อมไป

สู่พระเชตวันเพื่อฟังธรรม วังคีสะนั้นเห็นชาวเมืองเหล่านั้นแล้วก็ถามว่า

มหาชนพากันไปไหน.

ครั้งนั้นชนเหล่านั้นก็บอกเขาว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก

กำลังทรงแสดงธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก พวกเราจะไปใน

ที่นั้น แม้วังคีสะนั้นพร้อมกับคนเหล่านั้นรวมทั้งบริวารของตนไปแล้ว ปราศรัย

กับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งแล้ว ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้งนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกวังคีสะนั้นว่า ดูก่อนวังคีสะ เธอรู้วิชาที่เคาะกระโหลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 313

ศีรษะของมนุษย์ทั้งหลายแล้ว บอกคติกำเนิดได้หรือ ดังนี้ วังคีสพราหมณ์

ทูลว่า ข้าแต่พระสมณโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมทราบอย่างนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้ารับสั่งให้นำศีรษะของมนุษย์ผู้เกิดแล้วในนรกมาแล้ว ทรงแสดง

(แก่วังคีสพราหมณ์นั้น) เขาใช้เล็บเคาะแล้วทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในนรก พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงศีรษะทั้งหลาย

ของมนุษย์ทั้งหลาย ผู้เกิดแล้วในคติทั้งปวงโดยอาการอย่างนี้ แม้เขาก็ทราบ

และได้กราบทูลเหมือนอย่างนั้น ทีนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงศีรษะของ

พรขีณาสพแก่เขา เขาเคาะแล้วบ่อย ๆ ก็ไม่ทราบ (ว่าไปเกิดที่ไหน) ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนวังคีสะ ในศีรษะนี้ไม่ใช่วิสัยของเธอ นี้เป็น

วิสัยของเรา นี้คือศีรษะของพระขีณาสพ แล้วจึงตรัสพระคาถานี้ว่า

คติ มิคาน ปวน อากาโส ปกฺขิน คติ

วิภโว คติ ธมฺมาน นิพฺพาน อรหโต คติ.

ป่าใหญ่เป็นคติของเนื้อทั้งหลาย

อากาศเป็นคติของนกทั้งหลาย ความเจริญ

เป็นคติของธรรมทั้งหลาย นิพพานเป็นคติ

ของพระอรหันต์ ดังนี้.

วังคีสะสดับคาถาแล้วทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ขอพระองค์

จงให้วิชชานี้แก่ข้าพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วิชชานี้มิได้สำเร็จแก่

ชนทั้งหลายผู้ไม่บวช. วังคีสะนั้นทูบว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ให้ข้า

พระองค์บวชแล้ว จงการทำสิ่งที่พระองค์ต้องการ เเล้วให้วิชชานี้ แก่ข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 314

ในขณะนั้นพระนิโครธกัปปเถระอยู่ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าวึงทรงสั่งพระเถระนั้นว่า นิโครธกัปปะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้วังคีสะ

นี้บวช. พระเถระนั้นให้วังคีสะนั้นบวชแล้ว ได้บอกตจปัญจกกรรมฐาน

พระวังคีสะได้บรรลุปฏิสัมภิทาโดยลำดับ ได้เป็นพระอรหันต์ และเป็นผู้ที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกย่องไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ภิกษุทั้งหลาย

วังคีสะนี้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของเราผู้มีปฏิภาณ.

อุปัชฌาย์ของท่านพระวังคีสะ ซึ่งได้ร้องเรียกกันอย่างนี้ เป็นพระเถระ

ชื่อว่านิโครธกัปปะ ผู้มีโวหาร (การร้องเรียก) อันได้แล้วอย่างนี้ เพราะไตร่

ตรองสิ่งที่มีโทษและไม่มีโทษเป็นต้น.

คำว่า กัปปะ เป็นชื่อของพระเถระนั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกท่านว่า นิโครธกัปปะ เพราะท่านบรรลุพระอรหัตที่โคนต้นนิโครธ

ต่อจากนั้นแม้ภิกษุทั้งหลายก็เรียกท่านอย่างนั้น ท่านถึงความเป็นผู้มั่นคงใน

พระศาสนา จึงชื่อว่า เถระ.

หลายบทว่า อคฺคาฬเว เจติเย อจิรปรินิพฺพุโต โหติ ได้แก่

พระนิโครธกัปปเถระนั้นนิพพานแล้วไม่นานที่เจดีย์นั้น.

บทว่า รโหคตสฺส ปฏิสลฺลีนสฺส ได้แก่ ผู้มีกายหลีกเร้นออกจาก

หมู่ ผู้มีจิตหวนกลับจากอารมณ์นั้น ๆ เร้นอยู่.

หลายบทว่า เอว เจตโส ปริวิตกฺโก อุทปาทิ ได้แก่ เกิดปริวิตก

ด้วยอาการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 315

ถามว่า เพราะเหตุไร จึงเกิดปริวิตกขึ้น.

ตอบว่า เพราะพระอุปัชฌาย์นั้นไม่ได้อยู่เฉพาะหน้า และเพราะพระ

อุปัชฌาย์นั้นอันท่านเห็นแล้ว และมีการคุ้นเคย จริงอยู่ในเวลาที่พระนิโครธ-

กัปปะนั้นปรินิพพาน พระวังคีสะนี้ ไม่ได้อยู่เฉพาะหน้า แต่การคุ้นเคยใน

กาลก่อน มีการรำคาญมือเป็นต้นของพระเถระนั้น เป็นผู้ที่พระวังคีสะนั้นเคย

เห็นมาแล้ว และการประพฤติเช่นนั้น ก็ย่อมมีได้ทั้งแก่ผู้ที่มิใช่ขีณาสพ ทั้ง

แก่พระขีณาสพทั้งหลาย โดยความประพฤติในกาลก่อน จริงอย่างนั้น พระ-

ปิณโฑลภารทวาชะ ไปสู่อุทยานของพระเจ้าอุเทนเท่านั้น เพื่อประโยชน์

แก่การอยู่ในกลางวัน (พักผ่อน) ในภายหลังภัต ด้วยความประพฤติในกาล

ก่อนนี้คือ ในกาลก่อนท่านเป็นพระราชา ได้ปฏิบัติอยู่ในที่นั้น พระควัมปติ

เถระไปยังเทววินานว่างในดาวดึงส์ภพ ด้วยความประพฤติในกาลก่อนนี้ คือ

ท่านเป็นเทวบุตรปฏิบัติอยู่ในเทววิมานนั้น.

ภิกษุชื่อว่า ปิลินทวัจฉะ เรียกผู้อื่นว่า คนถ่อย ด้วยความประพฤติ

ในกาลก่อนนี้คือ ท่านเป็นพราหมณ์อยู่ ๕๐๐ ชาติ ไม่มีกำเนิดอื่นปนเลย

ได้กล่าวกะผู้อื่นเหมือนอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ความปริวิตกแห่งใจจึงได้บังเกิด

ขึ้นแก่พระวังคีสะนั้น เพราะท่านมิได้อยู่เฉพาะหน้า เพราะท่านไม่เคยเห็น

และคุ้นเคยอย่างนี้ว่า อุปัชฌาย์ของเรานิพพานแล้วหรือว่ายังไม่นิพพาน

ข้อความต่อจากนั้นมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

ก็ในคำว่า เอกส จีวร กตฺวา นี้ ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ ก็เพื่อทำ

จีวรให้แน่น (รัดกุม) บ่อย ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 316

ก็คำว่า เอกส นี้ เป็นชื่อของผ้าที่ท่านห่มเฉวียงบ่าข้างซ้ายวางไว้

เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความแห่ง เอกส นี้ อย่างนี้ว่า กระทำจีวรโดย

ประการที่จีวรนั้นจะห่มคลุมบ่าข้างซ้ายวางไว้ คำที่เหลือชัดแล้วทั้งสิ้น.

บทว่า อโนมปญฺ ได้แก่สิ่งที่ต่ำ ท่านเรียกว่า เล็กน้อย เลวทราม

ซึ่งพระศาสดาผู้มีปัญญาทรามหามิได้ อธิบายว่า ผู้มีปัญญามาก.

สองบทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ได้แก่ โดยประจักษ์นั้นเอง หรืออธิบายว่า

ในอัตภาพนี้นั่นเอง.

บทว่า วิจิกิจฺฉาน ได้แก่ ความปริวิตกเห็นปานนั้น.

บทว่า าโต ได้แก่ ปรากฏแล้ว.

บทว่า ยสสฺสี ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยสาภและบริวาร.

บทว่า อภินิพฺพุตตฺโต ได้แก่ มีจิตอันคนคุ้มครองแล้ว หรือมีจิต

อันไฟไม่ไหม้อยู่.

สองบทว่า ตยา กต ความว่า พระองค์กล่าวว่า นิโครธกัปปะ

ก็เพราะท่านนั่งแล้วที่โคนต้นนิโครธ ได้ทรงตั้งชื่อไว้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมพิจารณาด้วยพระองค์โดยประการใด ย่อมตรัสเรียกโดยประการนั้น แต่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเรียกพระนิโครธกัปปะนั้นอย่างนั้น ก็เพราะเหตุที่ท่าน

นั่งแล้ว ที่ต้นนิโครธนั้นเอง อีกอย่างหนึ่ง ก็เพราะว่า ท่านได้บรรลุพระอรหัต

ที่ต้นนิโครธนั้น.

ด้วยคำว่า พฺราหฺมณสฺส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงชาติ

ได้ยินว่า พระนิโครธกัปปะนั้น ออกบวชจากสกุลพราหมณ์มหาศาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 317

สองบทว่า นมสฺส อจรึ ความว่า นมัสการอยู่แล้ว.

บทว่า มุตฺยเปกฺโข ความว่า หวังวิมุตติกล่าวคือพระนิพพาน

อธิบายว่า ปรารถนาพระนิพพาน.

พระวังคีสะเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ทฬฺหธมฺมทสฺสี จริงอยู่

พระนิพพานชื่อว่าเป็นธรรมที่มั่นคง เพราะอรรถว่าไม่แตก ก็พระผู้มีพระภาค

เจ้า ย่อมทรงแสดงพระนิพพานนั้น เพราะเหตุนั้น พระวังคีสะจึงเรียก

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่า ทฬฺหธมฺมทสฺสี ผู้แสดงธรรมอันมั่นคง.

แม้ด้วยบทว่า สกฺกา พระวังคีสะ ย่อมเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

แล ด้วยคุณนาม.

ด้วยสองบทว่า มยมฺปิ สพฺเพ พระวังคีสู่สงเคราะห์บริษัทที่เหลือ

แล้ว แสดงซึ่งตน ย่อมร้องเรียก.

แม้ด้วยบทว่า สมนฺตจกฺขุ ท่านก็เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล

ด้วยสัพพัญญุตญาณ.

บทว่า สมฺมวฏฺิตา ได้แก่ ตั้งไว้แล้วโดยชอบ คือทำให้เป็นหลัก

ตั้งไว้แล้ว.

บทว่า โน ได้แก่ ของเราทั้งหลาย.

บทว่า สวนาย ได้แก่ เพื่ออันฟังไวยากรณ์ปัญหานี้.

บทว่า โสตา ได้แก่ โสตินทรีย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 318

คำว่า ตุว โน สตฺถา ตวมนุตฺตโรสิ นี้ เป็นเพียงคำชมเชย

เท่านั้น.

หลายบทว่า ฉินฺเทว โน วิจิกิจฺฉ ได้แก่ พระวังคีสะนั้นผู้หมด

ความสงสัยแล้ว ด้วยความสงสัยในอกุศล แต่ก็พูดหมายถึงความปริวิตกนั้น

ซึ่งเปรียบดุจความสงสัยนั่นเอง.

สองบทว่า พฺรูหิ เมต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นศากยะ พระ-

องค์เป็นผู้ที่ข้าพระองค์ทูลขอแล้ว เพื่อให้บอกซึ่งสาวกใด ขอพระองค์จึงตรัส

บอกซึ่งสาวกนั้นแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์แม้ทุกคน ปรารถนาจะรู้สาวกนั้น

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ก็พระองค์เมื่อตรัสบอกอยู่ ก็

จงบอกซึ่งพราหมณ์นั้นผู้ปรินิพพานแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญา

พระองค์ทรงทราบพระเถระนั้นผู้ปรินิพพานแล้ว ก็จงบอกในท่ามกลางของข้า-

พระองค์ทั้งหลาย คือจงตรัสบอกในท่ามกลางของข้าพระองค์ทุกคน โดยประการ

ที่ข้าพระองค์ทุกคนจะพึงทราบได้.

คำว่า สกฺโกว เทวาน สหสฺสเนตฺโต นี้ เป็นคำชมเชยเท่านั้น

คำนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ท้าวสักกะผู้มีดวงตาหนึ่งพัน ผู้มีพระวาจาอันเทพเจ้า

เหล่านั้นรับแล้วโดยเคารพ ย่อมตรัสในท่ามกลางแห่งเทวดาทั้งหลายฉันใด

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์มีพระวาจาอันข้าพระองค์ทั้งหลายรับแล้ว

ก็จงตรัสในท่ามกลางแห่งข้าพระองค์ทั้งหลายฉันนั้น.

พระวังคีสะ เนื้อจะชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล เพื่อจะยังความ

เป็นผู้กล่าวให้เกิดขึ้น จงได้กล่าวคาถาแม้นี้ว่า เยเกจิ เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 319

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น

พระวังคีสะเรียกว่าเป็นทางแห่งโมหะ ว่าเป็นฝักฝ่ายแห่งความไม่รู้ และว่า

เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย เพราะไม่ได้ละโมหะและความสงสัย ในเพราะมิได้ละ

เครื่องร้อยรัดเหล่านั้น เครื่องร้อยรัดเหล่านั้นทั้งหมดมาถึงพระตถาคตเจ้าแล้ว

ย่อมถูกกำจัด ได้แก่จักพินาศไป ด้วยพลังแห่งเทศนาของพระตถาคต.

ถามว่า เครื่องร้อยรัดเหล่านั้นถูกกำจัดได้ด้วยเหตุไร ?

ตอบว่า กิเลสชาติเหล่านั้นมาถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีจักษุพระองค์

นี้แล ซึ่งยิ่งกว่านระทั้งหลาย ย่อมถูกกำจัดแล้ว คำอันเป็นบาทพระคาถาว่า

จกฺขุมฺหิ เอต ปรม นราน ดังนี้ เป็นคำอันท่านกล่าวไว้ว่า เพราะพระ-

ตถาคตเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุอย่างยิ่งกว่านระทั้งหลาย เพราะทำปัญญาจักษุ

ในการกำจัดกิเลส เครื่องร้อยรัดทั้งปวงให้เกิดขึ้น.

พระวังคีสเถระเมื่อจะชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล เพื่อจะยัง

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะกล่าวให้เกิดขึ้น จึงได้กล่าวคาถาแม้นี้ว่า โน เจ หิ

ชาตุ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาตุ เป็นคำโดยส่วนเดียว.

บทว่า ปุริโส ท่านพระวังคีสะหมายถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวแล้ว.

บทว่า โชติมนฺโต ได้แก่ ชนทั้งหลายผู้มาตามพร้อมแล้วด้วย

ความรุ่งเรื่อง คือปัญญา มีพระสารีบุตรเป็นต้น. ท่านกล่าวโดยคาถานี้ไว้ว่า

ผิว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า จะไม่พึงกำจัดกิเลสทั้งหลายด้วยพลังแห่งเทศนา

เหมือนกับลมอันต่างด้วยลมมาทางทิศตะวันออกเป็นต้น จะไม่พึงกำจัดเมฆแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 320

ไซร้ สัตว์โลกแม้ที่ปกปิดด้วยความไม่รู้ ก็จะพึงเป็นผู้มืด ประดุจโลกที่ถูก

เมฆปกปิดไว้ ก็จะเป็นโลกมืด คือมีการมืดมนเป็นอันเดียวกัน แม้หรือว่า

ชนทั้งหลายเหล่านี้ใด ซึ่งมีความรุ่งเรื่องในบัดนี้ ปรากฏอยู่ มีพระสารีบุตร

เป็นต้น แม้ชนทั้งหลายเหล่านั้น ก็ไม่พึงเดือดร้อน.

พระวังคีสเถระ เมื่อชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล เมื่อจะยังความ

เป็นผู้ใคร่จะกล่าวให้เกิดขึ้นโดยนัยก่อนนั้นแล จึงได้กล่าวคาถาแม้นี้ว่า ธีรา

เป็นต้น เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ก็บุรุษทั้งหลายผู้เป็นนักปราชญ์

คือผู้เป็นบัณฑิต เป็นผู้กระทำความรุ่งเรือง ย่อมให้ความรุ่งเรืองแห่งปัญญา

เกิดขึ้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงกล้าหาญ ผู้ประกอบด้วยปธานวิริยะ

ฉะนั้น ข้าพระองค์ย่อมสำคัญ คือว่า ย่อมสำคัญพระองค์ว่าเป็นนักปราชญ์

และว่าเป็นผู้กระทำความรุ่งเรืองเหมือนอย่างนั้น ด้วยว่าข้าพระองค์ทั้งหลาย

เมื่อทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เห็นแจ่มแจ้ง คือผู้เห็นซึ่งธรรมทั้งปวง

ตามความเป็นจริงอยู่ จึงได้เข้าไปหาพระองค์อย่างนี้. เพราะฉะนั้น ขอพระองค์

จงกระทำให้แจ่มแจ้ง คือว่าจงตรัสบอก ฯลฯ ได้แก่จงประกาศซึ่งพระกัปป-

เถระ ได้แก่พระนิโครธกัปปะ ในบริษัททั้งหลายแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย.

พระวังคีสะเมื่อจะชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล เพื่อจะยังความ

เป็นผู้ใคร่จะกล่าวให้เกิดขึ้นโดยนัยก่อนนั้นแล จงกล่าวคาถาแม้นี้ว่า ขิปฺป

ดังนี้เป็นต้น. เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระดำรัส

อันไพเราะ ขอพระองค์จงเปล่งถ้อยคำอันไพเราะโดยพลัน คือว่าจงอย่าได้ชักช้า

อยู่ ซึ่งตรัสพระดำรัสอันไพเราะ คือว่าอันนำมาซึ่งความรื่นรมย์แห่งใจ เปรียบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 321

เหมือนสุวรรณหงส์ไปสู่ที่หากิน ได้พบสระที่เกิดเองและราวป่า จึงโก่งคอ

เมื่อจะไม่รีบร้อน จึงค่อย ๆ เปล่งเสียง ด้วยจะงอยปากสีแดง คือร้องด้วยเสียง

อันไพเราะฉันใด แม้พระองค์เองก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงค่อย ๆ เปล่งด้วย

พระสุรเสียงอันไพเราะ อันเป็นมหาปุริสลักษณะอย่างหนึ่งนี้ ที่พระองค์ทรง

กำหนดไว้ดีแล้ว ได้แก่ที่พระองค์กำหนดตกแต่งไว้ด้วยดี ข้าพระองค์แม้

ทั้งปวงเหล่านี้แล เป็นผู้ตรงคือเป็นผู้ไม่มีใจฟุ้งซ่าน จักสดับพระสุรเสียงที่

พระองค์ทรงเปล่งแล้ว.

พระวังคีสะ เมื่อจะชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล เมื่อจะยังความ

เป็นผู้ใคร่ที่จะกล่าวให้เกิดขึ้นโดยนัยก่อนนั้นแล จึงกล่าวคาถาแม้นี้ว่า ปหีน-

ชาติมรณ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบวิเคราะห์ในคำว่า อเสส นั้นว่า บาปใด

ย่อมไม่เหลืออยู่ เหตุนั้นบาปนั้น ชื่อว่า อเสสะ ซึ่งพระองค์ผู้ทรงกำจัดบาป

อันไม่มีส่วนเหลือนั้น มีคำอธิบายว่า ดังพระอริยเจ้ามีพระโสดาบัน เป็นต้น

ผู้ซึ่งละชาติและมรณะได้ ไม่มีอะไรเหลือ ฉะนั้น

บทว่า นิคฺคยฺห ได้แก่ ขอร้องด้วยดีแล้ว กล่าวคือรบเร้าแล้ว.

บทว่า โธน ได้เเก่ ผู้มีบาปธรรมทั้งปวงอันกำจัดแล้ว.

บทว่า วาเทสฺสามิ ได้แก่ข้าพระองค์จะขอให้พระองค์ตรัสพระธรรม.

บาทพระคาถาว่า น กามกาโร หิ ปุถุชฺชนาน ความว่า ด้วยว่าการ

กระทำความใคร่ ย่อมไม่มีแก่ปุถุชนทั้งหลายเท่านั้น อธิบายว่า ปุถุชนปรารถนา

จะทราบหรือจะกล่าวสิ่งใด ก็ไม่อาจที่จะทราบหรือจะกล่าวสิ่งนั้น ได้ทั้งหมด.

บาทพระคาถาว่า สงฺเขยฺยกาโร จ ตถาคตาน ความว่า ส่วนการ

กระทำการพิจารณา คือว่า การกระทำที่มีปัญญาเป็นสภาพถึงก่อน ย่อมมีแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 322

พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย อธิบายว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมทรง

ปรารถนาจะทรงทราบ หรือตรัสสิ่งใด ก็สามารถทราบหรือตรัสสิ่งนั้นได้

(ทั้งหมด).

บัดนี้ พระวังคีสะเมื่อจะประกาศ ซึ่งการกระทำการพิจารณานั้น จึง

กล่าวคาถานี้ว่า สมฺปนฺนเวยฺยากรณ ดังนี้เป็นต้น.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริงอย่างนั้น

ไวยากรณ์อันสมบูรณ์มีอันเป็นไปที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว อันพระองค์ผู้มี

พระปัญญารุ่งเรือง ทรงเรียนมาดีแล้วในที่นั้น ๆ นี้ไม่ผิด อันชนทั้งหลาย

เห็นแล้วในพระดำรัสทั้งหลาย ที่พระดำรัสอย่างนี้ว่า สันตติมหาอำมาตย์เหาะ

ขึ้นสู่อากาศ ชั่วระยะ ๗ ลำตาลแล้วจักปรินิพพาน และว่า สุปปพุทธศากยะ

จักถูกแผ่นดินสูบในวันที่ ๗ ดังนี้. ก็ต่อจากนั้นพระวังคีสะประนมอัญชลีให้ดี

ยิ่งขึ้น แล้วทูลว่า อัญชลีครั้งหลังนี้ อันข้าพระองค์ประณมดีแล้ว คือว่า

อัญชลีแม้อีกครั้งหนึ่งนี้ อันข้าพระองค์ประนมดีแล้ว ดียิ่งขึ้น.

บทว่า มา โมหยิ ความว่า พระองค์เมื่อทรงทราบอยู่ คือทรงรู้

อยู่ซึ่งคติกำเนิดของพระเถระชื่อว่ากัปปะ ก็อย่าทรงให้ข้าพระองค์ทั้งหลายหลง

อยู่ด้วยการไม่ตรัสตอบเลย พระวังคีสะเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคำว่า

อโนมปัญญา ผู้มีปัญญาไม่ทราบ.

ก็พระวังคีสะเมื่อจะทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงการไม่หลงนั้นแหละ

ปริยายแม้อื่น จึงกล่าวคาถานี้ว่า ปโรวร ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 323

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปโรวร ได้แก่ ที่งามและที่ไม่งาม

หรือที่อยู่ไกลและที่อยู่ใกล้ ด้วยสามารถแห่งโลกิยธรรม และโลกุตรธรรม.

บทว่า อริยธมฺม ได้แก่ จตุสัจธรรม.

บทว่า วิทิตฺวา ได้แก่ แทงตลอด.

บทว่า ชาน ได้แก่ รู้อยู่ซึ่งไญยธรรมทั้งปวง.

บทว่า วาจาภิกงฺขามิ ได้แก่ ข้าพระองค์หวังอยู่ซึ่งพระวาจาของ

พระองค์ ประดุจบุรุษผู้มีตัวอันร้อนในฤดูร้อน ลำบากอยู่ สะดุ้งแล้วหวังอยู่

ซึ่งน้ำฉะนั้น.

บทว่า สุตมฺปวสฺส ได้แก่ ขอพระองค์จงหลั่ง คือว่าจงเปล่ง

ได้แก่ จงปล่อยซึ่งสัททายตนะกล่าวคือสุตะ คือทำสัททายตนะให้เป็นไป.

พระบาลีว่า สุตสฺส วสฺส ดังนี้ก็มี อธิบายว่าจงโปรยซึ่งฝนแห่ง

สัททายตนะ มีประการอันพระองค์ตรัสแล้ว.

บัดนี้พระวังคีสะหวังอยู่ซึ่งวาจาเช่นใด เมื่อจะประกาศซึ่งวาจาเช่นนั้น

จึงได้กล่าวคาถาว่า

พระภิกษุชื่อว่า นิโครธกัปปะ ได้

ประพฤติพรหนจรรย์ ตามปรารถนา พรหม-

จรรย์ไร ๆ ของท่านนั้นมิได้เปล่า ท่านนิพ-

พานด้วยสอุปาทิเสสนิพพานแล้ว หรือว่าท่าน

เป็นผู้นิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน

เหมือนอย่างพระอเสขะทั้งหลาย ข้าพระองค์

ทั้งหลาย จักฟังซึ่งข้อนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 324

พระวังคีสะ เรียกพระเถระชื่อว่ากัปปะนั้นแล ด้วยสามารถแห่งการ

บูชานั้นแหละว่า กัปปายนะ.

บทว่า ยถา วิมุตฺโต ได้แก่ พระวังคีสะทูลถามว่า พระกัปปายน-

เถระ นิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เหมือนอย่างพระอเสกขะ

ทั้งหลาย หรือว่าท่านนิพพานแล้วด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เหมือนอย่าง

พระเสกขะทั้งหลาย. คำที่เหลือในคาถานี้ ซัดแล้วทั้งนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระวังคีสะทูลขอแล้ว ด้วยคาถา ๑๒ คาถา

อย่างนี้ เมื่อทรงพยากรณ์เรื่องนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า

ภิกษุชื่อว่า นิโครธกัปปะ ได้ตัด

ตัณหาในนามรูปนี้ ที่เป็นกระแสแห่งกัณห-

มาร อันนอนเนื่องแล้วสิ้นกาลนาน เธอข้าม

พ้นชาติและมรณะได้ ไม่มีส่วนเหลือ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยอินทรีย์

๕ เป็นต้น ได้ตรัสแล้ว อย่างนี้.

เนื้อความแห่งบาทต้นในพระคาถานั้น มีดังนี้ก่อน ตัณหาอันต่างด้วย

กามตัณหาเป็นต้น ในนามรูปนี้แม้ใด นอนเนื่องอยู่แล้วสิ้นกาลนาน เพราะ

อรรถว่าอันบุคคลละไม่ได้แล้ว ท่านเรียกว่า กระแสแห่งมาร อันได้นามว่า

กัณหะ ดังนี้ก็มี. พระเถระชื่อว่ากัปปายนะ ตัดแล้วซึ่งตัณหาในนามรูปนี้

ที่นอนเนื่องอยู่สิ้นกาลนาน ซึ่งเป็นกระแสแห่งกัณหมารนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 325

ก็คำว่า อิติ ภควา นี้ ในคาถานี้ เป็นคำของพระสังคีติกาจารย์

ทั้งหลาย. ด้วยบาทพระคาถาว่า อตาริ ชาติมรณ อเสส พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงแสดงว่า พระกัปปายนเถระนั้นได้ตัดแล้วซึ่งตัณหานั้น ได้ข้ามแล้ว

ซึ่งชาติและมรณะที่เหลือ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

บาทพระคาถาว่า อิจฺจพฺรวี ภควา ปฺจเสฏฺโ ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประเสริฐกว่าพระปัญจวัคคีย์ผู้เป็นศิษย์รุ่นแรก ๕ องค์

ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๕ มีศรัทธาเป็นต้น หรือด้วยธรรมทั้งหลาย มีศีลเป็นต้น.

และเป็นผู้ประเสริฐด้วยพระจักษุที่ประเสริฐอย่างยิ่ง อันพระวังคีสะทูลถามแล้ว

ได้ตรัสแล้วอย่างนี้. คำนี้เป็นคำของพระสังคีติกาจารย์.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระวังคีสะเมื่อจะชื่นชมภาษิต

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้กล่าวคาถา เป็นต้นว่า เอส สุตฺวา ดังนี้.

ในคาถาเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยคาถาที่ ๑ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อิสิสตฺตมา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นฤๅษีด้วย

เป็นที่ ๗ ด้วย เพราะอรรถว่าสูงสุด อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

กระทำพระฤาษี ๖ พระองค์ มีพระนามว่า วิปัสสี สิขี เวสสภู กกุสันธะ

โกนาคมนะ และกัสสปะ ให้พระองค์เป็นที่ ๗ ปรากฏแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงเป็นพระฤๅษีองค์ที่ ๗ พระวังคีสะเมื่อจะเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่าเป็น

ฤๅษีพระองค์ที่ ๗ จึงได้กล่าวแล้ว.

สองบทว่า น ม วญฺเจสิ ความว่า เพราะเหตุที่พระกัปปายนเถระ

ปรินิพพานแล้ว ฉะนั้น พระองค์จะไม่ลวง ข้าพระองค์ ผู้ปรารถนาอยู่เพื่อจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 326

ทราบความที่พระกัปปายนเถระปรินิพพาน คือว่า ขอพระองค์อย่าได้ตรัส

ให้ผิด. คำที่เหลือในคาถานี้ปรากฏแล้ว.

ในคาถาที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-

เพราะเหตุที่สาวกของพระพุทธเจ้า มุ่งหวังการหลุดพ้นอยู่แล้ว ฉะนั้น

พระวังคีสเถระกล่าวหมายเอาเนื้อความนั้นว่า สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นผู้กล่าว

อย่างใด ก็ทำอย่างนั้น.

บาทพระคาถาว่า มจฺจุโน ชาล ตนฺต ได้แก่ ข่ายคือตัณหาของมาร

ที่แผ่กว้างออกไปเเล้วในวัฏฏะอันประกอบด้วยภูมิ ๓ นั้น.

บทว่า มายาวิโน ได้แก่ ผู้มีมายามาก. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

ผู้มีมายาเหมือนอย่างนั้น ดังนี้ก็มี อธิบายของอาจารย์ทั้งหลายเหล่านั้นว่า

มารใดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้หลายครั้งนับไม่ถ้วน ด้วยมายาทั้งหลาย

เป็นอเนกของมารนั้น คือ ผู้มีมายาเหมือนมารนั้น.

ในคาถาที่ ๓ มีวินิจฉัย ดังนี้ :-

บทว่า อาทิ ได้แก่ เหตุ. บทว่า อุปาทานสฺส ได้แก่ แห่งวัฏฏะ.

จริงอยู่ วัฏฏะ ท่านกล่าวว่า เป็นอุปาทานในที่นี้ เพราะอรรถว่าอันสัตว์พึง

ยึดมั่น.

พระวังคีสเถระ ย่อมกล่าวด้วยประสงค์ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะตรัสอย่างนี้ว่า พระกัปปเถระได้เห็นแล้วซึ่งเหตุแห่ง

อุปาทานนั้นนั่นแล คือว่า ซึ่งเหตุอันต่างด้วยอวิชชาและตัณหาเป็นต้น.

บทว่า อจฺจคา วต ได้แก่ ก้าวล่วงแล้วหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 327

ในคำว่า มจฺจุเธยฺย วิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่าบ่วงแห่งมาร เพราะ

อรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ.

คำว่า มจฺจุเธยฺย นี้ เป็นชื่อแห่งวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิสาม พระ-

วังคีสะเกิดความรู้ขึ้นแล้ว จึงกล่าวว่า พระกัปปายนเถระได้ล่วงบ่วงมารนั้น

ที่ข้ามได้โดยยากหนอ คำที่เหลือในคาถานี้ชัดเจนแล้วทั้งนั้น ดังนี้แล.

จบการพรรณนานิโครธกัปปสูตร แห่งขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 328

สัมมาปริพพาชนิยสูตรที่ ๑๓

ว่าด้วยผู้เว้นรอบโดยชอบในโลก

พระพุทธนิมิตตรัสถามด้วยพระคาถาว่า

[๓๓๑] เราขอถามมุนีผู้มีปัญญามาก

ผู้ข้ามถึงฝั่ง ปรินิพพานแล้ว ดำรงตนมั่น

ภิกษุนั้นบรรเทากามทั้งหลายแล้ว พึงเว้น

รอบโดยชอบในโลกอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ภิกษุใด ถอนการถือความเกิด

ความฝันและลักษณะว่าเป็นมงคลขึ้นได้แล้ว

ภิกษุนั้นละมงคลอันเป็นโทษได้แล้ว พึงเว้น

รอบโดยชอบในโลก.

ภิกษุพึงนำออกเสียซึ่งความกำหนัด

ในกามทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่

เป็นของทิพย์ ภิกษุนั้นตรัสรู้ธรรมแล้ว ก้าว-

ล่วงภพได้แล้ว พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.

ภิกษุกำจัดคำส่อเสียดแล้ว พึงละ

ความโกรธ ความตระหนี่ ภิกษุนั้นละความ

ยินดี และความยินร้ายได้แล้ว พึงเว้นรอบ

โดยชอบในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 329

ภิกษุละสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก

และไม่เป็นที่รักแล้ว ไม่ถือมั่น อันตัณหา

และทิฏฐิไม่อาศัยแล้วในภพไหน ๆ หลุดพ้น

แล้วจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ พึงเว้น

รอบโดยชอบในโลก.

ภิกษุนั้น กำจัดเสียแล้วซึ่งความ

กำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจในความ

ยึดถือทั้งหลาย ย่อมไม่เห็นความเป็นสาระ

ในอุปธิทั้งหลาย ภิกษุนั้นผู้อันตัณหาและ

ทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว อันใคร ๆ พึงนำไปไม่ได้

พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.

ภิกษุนั้นไม่ผิดพลาดด้วยวาจาใจและ

การงานแล้ว รู้แจ้งแล้วซึ่งธรรมโดยชอบ

ปรารถนาบทคือนิพพานอยู่ พึงเว้นรอบโดย

ชอบในโลก.

ภิกษุใดประสบอยู่ ไม่พึงยึดถือว่า

เราแม้ถูกด่าก็ไม่พึงผู้โกรธ ได้โภชนะที่ผู้

อื่นให้แล้ว ไม่พึงประมาทมัวเมา ภิกษุนั้น

พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก

ภิกษุละความโลภและภพแล้ว งดเว้น

จากการตัดและการจองจำสัตว์อื่น ข้ามพ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 330

ความสงสัย ไม่มีกิเลสดุจลูกศร พึงเว้น

รอบโดยชอบในโลก.

ภิกษุรู้แจ้งการปฏิบัติอันสมควรแก่ตน

และรู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริงแล้วไม่พึง

เบียดเบียนสัตว์ไร ๆ ในโลก พึงเว้นรอบ

โดยชอบในโลก.

ภิกษุใดไม่มีอนุสัย ถอนอกุศลมูล

อะไร ๆ ขึ้นได้แล้ว ภิกษุนั้นไม่มีความหวัง

ไม่มีตัณหา พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.

ภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ละมานะได้แล้ว

ก้าวล่วงธรรมชาติอันเป็นทางแห่งราคะได้

หมด ฝึกฝนตน ดับกิเลสได้แล้ว มีจิตตั้งมั่น

พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.

ภิกษุผู้มีศรัทธาได้สดับแล้ว เห็น

มรรค ไม่แล่นไปด้วยอำนาจทิฏฐิในสัตว์

ทั้งหลายผู้ไปแล้วทิฏฐิ ภิกษุนั้นเป็น

นักปราชญ์ กำจัดเสียซึ่งโลภะ โทสะ และ

ปฏิฆะ พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.

ภิกษุนั้นชนะกิเลสด้วยอรหัตมรรค

อันหมดจดดี มีกิเลสดุจหลังคาเปิดแล้ว มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 331

ความชำนาญในธรรมทั้งหลาย ถึงนิพพาน

ไม่มีความหวั่นไหว ฉลาดในญาณอันเป็นที่

ดับสังขาร พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.

ภิกษุล่วงความกำหนดว่า เรา ว่าของ

เรา ในปัญจขันธ์ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็น

อนาคต มีปัญญาบริสุทธิ์ก้าวล่วงทั้ง ๓ กาล

หลุดพ้นแล้วจากอายตนะทั้งปวง พึงเว้น

รอบโดยชอบในโลก.

ภิกษุผู้รู้บทแห่งสัจจะทั้งหลาย ตรัสรู้

ธรรม เห็นการละอาสวะทั้งหลายเป็นวิวฏะ

(นิพพาน) ไม่ข้องอยู่ในภพไหน ๆ เพราะ

ความหมดสิ้นไปแห่งอุปธิทั้งปวง พึงเว้น

รอบโดยชอบในโลก.

พระพุทธนิมิตตรัสพระคาถาว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็น

อย่างนั้นแน่แท้ทีเดียว ภิกษุใดมีปกติอยู่

อย่างนี้ ฝึกฝนตนแล้ว ล่วงธรรมเป็นที่ตั้ง

แห่งสังโยชน์ทั้งปวง ภิกษุนั้นพึงเว้นรอบ

โดยชอบในโลก.

จบ สัมมาปริพพาชนิยสูตรที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 332

อรรถกถาสัมมาปริพพาชนิยสูตรที่ ๑๓

สัมมาปริพพาชนิยสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ปุจฺฉามิ มุนึ ปหูตปญฺ

เราขอถามมุนีผู้มีปัญญามาก ดังนี้.

ท่านเรียกว่า มหาสมยสูตร บ้าง เพราะกล่าวในวันมหาสมัย.

ถามว่า มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

ตอบว่า มีการเกิดขึ้นเพราะมีคำถาม.

ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกพระพุทธนิมิตถาม จึงได้ตรัสพระสูตร

นี้. พร้อมกับคำถามพระสูตรนั้น ท่านจึงเรียกว่า สัมมาปริพพาชนิยสูตรบ้าง.

ความย่อในพระสูตรนี้มีเพียงนี้. ส่วนโดยพิสดารนั้น พระโบราณาจารย์ได้

พรรณนาไว้ตั้งแต่การอุบัติของสากิยวงศ์และโกลิยวงศ์ การพรรณนาไว้เพียง

อุเทศในเรื่องนี้ มีดังต่อไปนี้.

ก็ครั้งปฐมกัป พระเจ้ามหาสมมติราชได้มีพระโอรสพระนามว่า โรชะ.

พระเจ้าโรชะได้มีพระโอรสพระนามว่า วโรชะ. พระเจ้าวโรชะได้มีพระโอรส

พระนามว่า กัลยาณะ. พระเจ้ากัลยาณะได้มีพระโอรสพระนามว่า วรกัลยาณะ

พระเจ้าวรกัลยาณะได้มีพระโอรส พระนามว่า มันธาตุ. พระเจ้ามันธาตุได้มี

พระโอรสพระนามว่า วรมันธาตุ. พระเจ้าวรมันธาตุได้มีพระโอรสพระนามว่า

อุโปสถะ. พระเจ้าอุโปสถะได้มีพระโอรสพระนามว่า จระ. พระเจ้าจระ

ได้มีพระโอรสพระนามว่า อุปจระ. พระเจ้าอุปจระได้มีพระโอรสพระนามว่า

พระมฆาเทวะ. สืบต่อจากพระเจ้ามฆาเทวะได้มีกษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ พระองค์

ต่อจากกษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ พระองค์เหล่านั้น ได้มีวงศ์โอกกากราช ๓ วงศ์.

พระเจ้าโอกกากราชองค์ที่ ๓ มีพระมเหสี ๕ องค์ คือ พระนางหัตถา ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 333

พระนางจิตตา ๑ พระนางชันตุ ๑ พระนางชาลินี ๑ พระนางวิสาขา ๑.

พระมเหสีองค์หนึ่ง ๆ มีหญิงบริวารองค์ละ ๕๐๐.

พระมเหสีองค์ใหญ่มีโอรส ๔ พระองค์ คือ เจ้าชายโอกกามุขะ ๑

เจ้าชายกากัณฑะ ๑ เจ้าชายหัตถินิกะ ๑ เจ้าชายนิปุระ ๑. มีพระธิดา ๕

พระองค์ คือ เจ้าหญิงปิยา ๑ เจ้าหญิงสุปปิยา ๑ เจ้าหญิงอานันทา ๑

เจ้าหญิงวิชาตา ๑ เจ้าหญิงวิชิตเสนา ๑ ครั้นพระมเหสีองค์ใหญ่ได้พระโอรส

พระธิดา ๙ องค์แล้ว ก็สิ้นพระชนม์.

พระมเหสีจึงทรงนำราชธิดาซึ่งยังสาว ทั้งมีรูปโฉมงดงามองค์อื่นมา

ตั้งไว้ในตำแห่งพระอัครมเหสี. พระอัครเหสีได้ประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง

ครั้นประสูติได้ ๕ วัน พวกนางนมได้ตกแต่งพระชันตุกุมารนำมาเฝ้าพระราชา.

พระราชาทรงยินดีได้พระราชทานพรแด่พระมเหสี. พระนางจึงทรงปรึกษากับ

บรรดาพระญาติทูลขอราชสมบัติให้แก่พระโอรส. พระราชาทรงพิโรธว่า

หญิงถ่อยใจชั่ว เจ้าจงพินาศเสียเถิด เจ้าปรารถนาให้พวกโอรสของเราได้รับ

อันตราย แล้วไม่พระราชทานตามที่พระมเหสีทูลขอ. พระอัครมเหสีประเล้า

ประโลมพระราชาในที่ลับบ่อย ๆ ครั้นให้ทรงพอพระทัยแล้ว ทูลพระดำรัสมี

อาทิว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นมหาราช ไม่ควรกล่าวเท็จ แล้วทูลวิงวอนซ้ำ

แล้วซ้ำอีก.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสเรียกพระโอรสทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนลูก ๆ

ทั้งหลาย พ่อเห็นชันตุกุมารน้องของพวกลูก จึงได้ผลุนผลันให้พรแก่มารดา

ของชันตุกุมาร เธอประสงค์จะให้โอรสครองราชสมบัติ เมื่อพ่อล่วงลับไปแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 334

ลูก ๆ พึงมาตรองราชสมบัติเถิด แล้วทรงส่งไปกับอำมาตย์ ๘ คน. พระราช-

กุมารเหล่านั้น ได้พาพระพี่นางพระน้องนาง ออกจากพระนครพร้อมด้วย

จตุรงคเสนา. พวกชาวพระนครู้ว่า พระกุมารจะเสด็จมารองราชสมบัติเมื่อ

พระบิดาสวรรคตแล้ว จึงคิดว่า พวกเราจะติดตามไปอุปัฏฐากพระกุมารเหล่านั้น

ก็พากันตามเสด็จไปเป็นอันมาก. ในวันแรกได้มีหนุ่มเสนาประมาณ ๑ โยชน์ ใน

วันที่สองประมาณ ๒ โยชน์ ในวันที่สามประมาณ ๓ โยชน์.

พระราชกุมารทั้งหลายทรงดำริว่า พลนิกายมีมาก หากเราจะยกไปตี

พระราชาใกล้เคียงเมืองหนึ่งเมืองใด ชิงเอาบ้านเมือง ชนบททั้งหมดก็จะ

พ่ายแพ้เรา แต่ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติที่ได้มา เพราะเบียดเบียนผู้อื่น

ชมพูทวีปก็กว้างใหญ่ เราจะสร้างนครในป่า จึงพากันเสด็จบ่ายหน้าไปยังป่า

หิมพานต์.

พระราชกุมารแสวงหาที่จะสร้างพระนคร ที่ป่านั้นมีพระดาบสชื่อ

กปิละ มีตบะแรงกล้า อาศัยอยู่ในป่าไม้สากะใกล้ฝั่งโบกขรณี ณ ป่าหิมพานต์

พระราชกุหารไปถึงที่อยู่ของดาบสนั้น. ดาบสเห็นพระราชกุมารเหล่านั้นจึงถาม

ครั้นทราบเรื่องราวทั้งหมด จึงได้ทำการอนุเคราะห์พระราชกุมารเหล่านั้น.

นัยว่า พระดาบสนั้นรู้ภูมิชัยวิทยา เห็นคุณและโทษในอากาศสูงขึ้นไป

ได้ ๘๐ ศอก และใต้พื้นดินลงไป ๘๐ ศอก. ณ ภูมิประเทศนั้น หมูเเละเนื้อ

ทั้งหลายทำให้ราชสีห์และเสือเป็นต้นหวาดกลัวหนีกลับไป กบและหนูทั้งหลาย

ทำให้งูเกรงกลัว. ดาบสครั้นเห็นพระราชกุมารเหล่านั้น จึงทูลว่า ภูมิประเทศ

นี้ เป็นพื้นปฐพีอันล้ำเลิศ จึงให้สร้าง พระนคร ณ ที่นั้น. ครั้งนั้น พระดาบสได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 335

ทูลพระราชกุมารว่า หากพระองค์จะสร้างพระนครใช้ชื่อของข้าพระองค์ ข้า-

พระองค์ก็ยินดี. พระราชกุมารทรงรับคำดาบส. พระดาบสกล่าวว่าแม้บุตรคน

จัณฑาลสถิตอยู่ในที่นี้ ก็จะข่มขี่พระเจ้าจักรพรรดิด้วยกำลังได้ แล้วกราบทูล

ให้สร้างพระราชมณเฑียร แล้วสร้างพระนคร ณ ที่ตั้งอาศรม ครั้นดาบสถวาย

ที่นั้นแล้ว ตนเองก็สร้างอาศรมอาศัยอยู่ ณ เชิงเขาไม่ไกลนัก. จากนั้น

พระราชกุมารทั้งหลาย จึงสร้างพระนคร ณ ที่นั้นให้จารึกชื่อว่า กบิลพัสดุ์

เพราะกปิลดาบสประสิทธิ์ให้ แล้วเสด็จอาศัยอยู่ ณ กรุงกบิลพัสดุ์นั้น.

ลำดับนั้น พวกอำมาตย์คิดว่า พระกุมารเหล่านี้ทรงเจริญวัยแล้ว หาก

อยู่ในสำนักของพระบิดา ก็จะกระทำอาวาหมงคลและวิวาหมงคล แต่บัดนี้เป็น

ภาระของพวกเรา จึงพากัน ไปทูลปรึกษากับพระกุมาร. พระกุมารตรัสว่า เรา

มิได้เห็นธิดาของกษัตริย์อื่นเสมอด้วยเรา และเราไม่เห็นขัตติยกุมารเหล่าอื่น

เสมอด้วยพระเชษฐภคินีและพระกนิษฐภคินีเหล่านั้นเลย อนึ่งเราจะไม่ทำการ

ปะปนชาติ. เพราะกลัวการปะปนชาติ จึงตั้งพระเชษฐภคินีไว้ในฐานะพระ-

มารดา แล้วอภิเษกสมรสกับพระกนิษฐภคินีเป็นคู่ ๆ กันไป.

พระบิดาของพระราชกุมารเหล่านั้น ครั้นทรงทราบเรื่องราวทั้งหมด

แล้วทรงเปล่งอุทานว่า สักยะ สักยะ. นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้ว สมจริงดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอัมพัฏฐะ ครั้งนั้นแล พระเจ้าโอกกากราช

ได้ตรัสถามที่ประชุมเหล่าอำมาตย์ว่า บัดนี้ราชกุมารทั้งหลายพากันไปพักอยู่ที่

ไหน. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ ณ ฝั่งโบกขรณี ข้างหิมวันตประเทศ

มีป่าไม้สากะอยู่มาก บัดนี้พระราชกุมารทั้งหลายพากันไปพักอยู่ ณ ป่าไม้นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 336

พระราชกุมารเหล่านั้นทรงกลัวการระคนด้วยชาติ จึงอยู่ร่วมกันกับพระภคินีของ

ตน ๆ พระเจ้าข้า. ดูก่อนอัมพัฏฐะ ครั้งนั้นแล พระเจ้าโอกกากราช ทรงเปล่ง

อุทานว่า สกฺยา วต โภ กุมารา ปรมสกฺยา วต โก กุมารา ดังนี้

ความว่า ท่านทั้งหลาย กุมารทั้งหลายเป็นผู้สามารถหนอ กุมารทั้งหลายเป็น

ผู้สามารถอย่างยิ่งหนอ. ดูก่อนอัมพัฏฐะ เจ้าสักยะทั้งหลายย่อมปราก ตั้งแต่

ครั้งนั้นเป็นต้นมา และพระเจ้าโอกกากราชนั้นเป็นบรรพบุรุษของเจ้าศากยะ

ทั้งหลาย ดังนี้.

ครั้นต่อมาพระเชฏฐภคินีของพระกุมารเหล่านั้นได้เป็นโรคเรื้อน.

พระวรกายได้ปรากฏเหมือนดอกทองหลาง. พระราชกุมารทั้งหลายทรงดำริว่า

พระโรคนี้ย่อมติดต่อแก่ผู้ที่นั่งที่ยืนและบริโภคร่วมกับพระเชษฐภคินีนี้ จึงทูล

เชิญพระนางให้เสด็จขึ้นบนรถ ทำเป็นดุจจะไปชมสวน แล้วเสด็จเข้าป่ารับสั่งให้

ขุดบ่อลึกทำเป็นเรือนพลสังเขปใต้พื้นดิน วางพระนางลงในบ่อนั้นพร้อมด้วย

ของควรเคี้ยวและควรบริโภค ปิดข้างบนเกลี่ยฝุ่นแล้วเสด็จไป.

ก็สมัยนั้น พระราชาพระนามว่า รามะ เป็นโรคเรื้อนถูกพวกสนมและ

พวกฟ้อนรำพากันรังเกียจ ทรงสลดพระทัย มอบราชสมบัติให้พระโอรสองค์

ใหญ่เสด็จเข้าป่า เสวยรากไม้และผลไม้ในป่านั้น ไม่ช้าก็หายพระโรค มีพระฉวี

ดุจทองคำ เสด็จไปตามที่ต่าง ๆ ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้มีโพรงใหญ่ ทรงทำ

ความสะอาดโพรงไม้นั้นประมาณ ๑๖ ศอก ภายในโพรงไม้นั้นทรงกระทำ

ประตูหน้าต่าง พาดบันไดเสด็จประทับอยู่ในโพรงนั้น. พระองค์ก่อไปที่หลุม

๑. ที. สี ๙/ ๑๔๙ อัมพัฏฐสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 337

ถ่านเพลิงแล้วบรรทม ได้ทรงสดับเสียงร้องครวญครางและเสียงคำรามในราตรี

พระองค์ทรงกำหนดว่า ที่ตรงโน้นสีหะแผดเสียง ตรงโน้นเสือคำราม ครั้นสว่าง

จึงเสด็จไป ณ ที่นั้นทรงถือเนื้อที่เป็นเดน (ของสัตว์) ปิ้งเสวย.

อยู่มาวันหนึ่ง ตอนใกล้รุ่ง พระองค์ประทับนั่งตามไฟอยู่. ขณะนั้น

เสือโคร่งได้กลิ่นพระราชธิดา จึงตะกายที่พื้นนั้นทำให้เป็นช่องบนพื้นกระดาน.

พระนางทรงเห็นเสือทางช่องนั้น ทรงตกพระทัยกลัวร้องกรี๊ดจนสุดเสียง. พระ-

ราชาทรงสดับเสียงนั้น และทรงกำหนดว่า นั่นเป็นเสียงสตรีจึงเสด็จไป ณ ที่

นั้นแต่เช้าตรู่ ตรัสถามว่า ใครอยู่ในที่นี้. พระนางตอบว่า ผู้หญิงจ้ะนาย. ตรัส

ว่า ออกมาเถิด. ทูลว่า ออกไปไม่ได้. ตรัสว่า เพราะอะไร. ทูลว่า ดิฉันเป็น

นางกษัตริย์. พระนางแม้ถูกขังอยู่ในหลุดอย่างนั้นยังมีขัตติยมานะ. พระราชา

รับสั่งถามเรื่องราวทั้งหมด แล้วจึงตรัสบอกพระชาติของพระองค์ว่า เราก็เป็น

กษัตริย์. ตรัสต่อไปว่า ออกมาเดี๋ยวนี้เถิดปรากฎดุจเนยใสใส่ลงในน้ำนม.

พระนางทูลว่า หม่อมฉันเป็นโรคเรื้อน ไม่อาจออกไปได้เพคะ. พระราชา

ตรัสว่า บัดนี้เราหัวอกอันเดียวกัน เราสามารถเยียวยาให้หาได้จึงทอดบันได

อุ้มพระนางขึ้นมาทรงนำไปยังที่ประทับของพระองค์ พระราชทานยาที่พระองค์

เสวยด้วยพระองค์เอง ไม่ช้าก็ทำให้พระนางหายจากพระโรคมีพระฉวีดุจทองคำ.

พระราชาก็ทรงอยู่ร่วมกับพระนางนั้น. ด้วยการอยู่ร่วมครั้งแรกเท่านั้นพระนาง

ก็ทรงครรภ์ ประสูติพระโอรสสององค์ ประสูติพระโอรสครั้งละสององค์

๑๖ ครั้ง. รวมเป็นพระโอรส ๓๒ องค์ ด้วยประการฉะนี้. พระบิดาได้ให้พระ-

โอรสผู้เจริญวัยเหล่านั้นได้ศึกษาศิลปะทุกแขนง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 338

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งพรานป่าคนหนึ่งชาวเมืองของพระรามราชาเที่ยว

แสวงหารัตนะบนภูเขามาถึงถิ่นนั้น เห็นพระราชาก็จำได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ข้าพระพุทธเจ้าจำพระองค์ได้พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า เจ้ามาจากไหน.

พรานทูลว่า มาจากพระนครพระเจ้าข้า. แต่นั้นพระราชาตรัสถามเรื่องราวทั้ง-

หมดกะเขา. เมื่อพระราชาและพรานป่าสนทนากันอยู่ พระกุมารทั้งหลายก็พา

กันมา. พรานป่าเห็นพระกุมารเหล่านั้นจึงถามว่า ข้าแต่พระองค์พวกเด็กเหล่านี้

เป็นใครพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า บุตรของเราเอง. ทูลว่า ขอเดชะ บัดนี้

พระองค์แวดล้อมแล้วด้วยพระกุมารถึง ๓๒ องค์ เหล่านี้ จักทรงทำอะไรใน

ป่าเล่า ขอเชิญเสด็จไปครองราชสมบัติเถิดพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า อย่า

เลยพ่อคุณอยู่ที่นี้ก็เป็นสุขดีแล้ว. พรานป่าคิดว่า บัดนี้เราได้เรื่องราวจากการ

สนทนาแล้ว จึงไปพระนครทูลพระโอรสของพระราชาให้ทรงทราบ. พระราช

โอรสทรงดำริว่า จะต้องนำพระบิดากลับมา จึงเสด็จไป ณ ที่นั้นพร้อมด้วยจาตุ-

รงคเสนา ทูลวิงวอนพระบิดาด้วยประการต่าง ๆ. พระราชาก็ทรงปฏิเสธว่า

อย่าเลยกุมารลูกพ่อ ที่นี่ก็เป็นสุขดีแล้ว. แต่นั้นพระราชบุตรทรงดำริว่า บัดนี้

พระบิดาไม่ทรงปรารถนาจะเสด็จไป ช่างเถิดเราจะสร้างพระนครในที่นี้แหละ

เพื่อพระองค์ แล้วทรงถอนต้นกระเบาออกสร้างพระราชมณเฑียรแล้วสร้างพระ-

นคร ทรงตั้งชื่อเป็นสองอย่างคือ โกลนคร เพราะถอนต้นกระเบาออกแล้ว

จึงสร้าง และ พยัคฆปถะ เพราะเป็นทางเสือผ่าน เสร็จแล้วเสด็จกลับ.

ต่อแต่นั้น พระมารดาจึงรับสั่งกะพระกุมารผู้เจริญวัยว่า นี่แน่ะลูก ๆ ทั้งหลาย

เจ้าศากยะอยู่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นพระเจ้าน้าของลูก ๆ ลูกทั้งหลายจงไปรับพระ-

๑. ยุโรปเป็น พยัคฆปัชชะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 339

ธิดาของพระเจ้าน้านั้นมาเถิด. พระกุมารทั้งหลายได้ไปในวันที่พวกนางกษัตริย์

เสด็จไปสรงสนานที่แม่น้ำแล้วกั้นท่าน้ำประกาศชื่อแล้ว ทรงพาพระราชธิดาที่

พระองค์ปรารถนาแล้ว ๆ ไป. เจ้าศากยะทั้งหลายครั้นได้สดับแล้วตรัสว่า ช่าง

เขาเถิด พวกกุมารเหล่านั้นก็เป็นพระญาติของพวกเราทั้งนั้น แล้วทรงนิ่งเสีย.

เมื่อกษัตริย์ศากยะและโกลิยะกระทำอาวาหมงคลและวิวาหมงคลซึ่งกัน

และกันอย่างนี้ พระวงศ์ก็สืบต่อกันมาจนถึงพระเจ้าสีหหนุ. พระเจ้าสีหหนุมี

พระราชบุตร ๕ พระองค์ คือ สุทโธทนะ ๑ อมิโตทนะ ๑ โธโตทนะ ๑

สุกโกทนะ ๑ สุกโขทนะ ๑. บรรดาพระราชบุตรเหล่านั้นเมื่อพระเจ้าสุทโธทนะ

ครองราชสมบัติ พระมหาบุรุษผู้บำเพ็ญบารมีจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต โดยนัย

ที่กล่าวแล้วในนิทานชาดก ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางมายาเทวี

ประชาบดีของพระเจ้าสุทโธทนะ แล้วเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์โดยลำดับ

ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จไปกรุง-

กบิลพัสดุ์โดยลำดับ ทรงโปรดพระประยูรญาติมีพระเจ้าสุทโธทนมหาราชเป็นต้น

ให้ทรงตั้งอยู่ในอริยผล เสด็จจาริกไปยังชนบทแล้วเสด็จกลับมาอีกครั้งประทับ

อยู่ ณ วัดนิโครธารามในกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยภิกษุ ๑,๕๐๐ รูป.

อนึ่งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธารามนั้น พวกเจ้า

ศากยะและโกลิยะ ทะเลาะกันเรื่องน้ำ. เรื่องเป็นอย่างไร. เรื่องมีอยู่ว่า ใน

ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์เเละกรุงโกลิยะทั้งสองนั้นมีแม่น้ำโรหิณีไหลผ่าน. แม่น้ำ

นั้นบางครั้งก็น้ำน้อย บางครั้งก็น้ำมาก. ในเวลาน้ำน้อย ทั้งเจ้าศากยะทั้งเจ้า-

โกลิยะทำสะพานนำน้ำเพื่อเลี้ยงข้าวเจ้าของตน ๆ. พวกมนุษย์ของเจ้าทั้งสอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 340

ทำสะพานแย่งน้ำกัน ด่ากันถึงชาติว่า เจ้าพวกวายร้าย ราชตระกูลของพวกเจ้า

สมสู่อยู่ร่วมกันกับพวกน้อง ๆ ดุจสัตว์ดิรัจฉาน มีไก่ สุนัข สุนัขจิ้งจอกเป็น

ต้น ราชตระกูลของพวกเจ้าสมสู่กันที่โพรงไม้ดุจพวกปีศาจ แล้วพากันไป

กราบทูลพระราชาของตน ๆ. พระราชาเหล่านั้นทรงพิโรธเตรียมรบไปเผชิญ

หน้ากันที่ฝั่งแม่น้ำโรหินี. กำลังพลได้ตั้งอยู่เช่นกับสงคราม.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า พวกพระญาติทะเลาะกันเรา

จะต้องไปห้าม จึงเสด็จมาทางอากาศประทับยืน ณ ท่ามกลางเสนาทั้งสอง.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรำพึงถึงพระญาติทะเลาะกัน

ได้เสด็จมาจากกรุงสาวัตถี. ก็แลครั้นประทับยืนอยู่ได้ตรัสอัตตทัณฑสูตร.

กษัตริย์ทั้งหมดครั้นทรงสดับดังนั้นทรงเกิดความสังเวช ทิ้งอาวุธพากันยืน

นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า และรับสั่งให้ปูอาสนะอันสูงกว่า. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จลงมาประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาปูไว้ ตรัสผันทนชาดกมีอาทิว่า

กุารีหตฺโถ ปุริโส แปลว่า บุรุษ ถือ ผึ่ง, ตรัส ลฏุกิกชาดก มีอาทิว่า

วนฺทามิ ต กุญฺชร แปลว่า ข้าพเจ้าขอไหว้กุญชรนั้นและตรัส วัฏฏกชาดกนี้ว่า

สมฺโมทมานา คจฺฉนฺติ ชาลมาทาย ปกฺขิโน

ยทา เต วิวทิสฺสนฺติ ตทา เอหินฺติ เมวส.

นกทั้งหลายพร้อมใจกัน ย่อมพาตา-

ข่ายไปได้ เมื่อใดพวกมันทะเลาะกัน เมื่อนั้น

มันจะอยู่ในอำนาจของเรา. ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 341

แล้วทรงแสดงความที่กษัตริย์เหล่านั้นเป็นพระญาติกันมาช้านานแล้ว ตรัส

มหาวงศ์นี้ กษัตริย์เหล่านั้นทรงเลื่อมใสอย่างยิ่งเมื่อได้ทรงทราบว่า เมื่อก่อน

พวกเราก็เป็นพระญาติกัน. แต่นั้นกษัตริย์ทั้งสองวงศ์ได้มอบกุมาร ๕๐๐ คือ

กุมารฝ่ายเจ้าศากยะ ๒๕๐ กุมารฝ่ายเจ้าโกลิยะ ๒๕๐ เพื่อเป็นบริวารของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุรพเหตุของกุมารเหล่านั้น

จึงตรัสว่า เอถ ภิกฺขโว แปลว่า เธอทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด. ภิกษุ

ทั้งหมดเหล่านั้นได้บริขาร ๘ อันเกิดขึ้นด้วยฤทธิ์เหาะไปในอากาศ มายืนถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพาภิกษุเหล่านั้นไปป่า

มหาวัน. บรรดาภรรยาของภิกษุเหล่านั้นต่างก็พากันส่งข่าวไปให้ทราบ ภิกษุ

เหล่านั้นถูกภรรยาเล้าโลมโดยประการต่าง ๆ จึงกระสัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบว่าภิกษุเหล่านั้นกระสัน ทรงประสงค์จะแสดงป่าหิมพานต์ บรรเทา

ความกระสันของภิกษุเหล่านั้น ด้วยตรัสกุณาลชาดก ณ ที่นั้น ตรัสว่า

ทิฏฺปุพฺโพ โว ภิกฺขเว หิมวา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเคยเห็น

ป่าหิมวันต์หรือ กราบทูลว่า ไม่เคยเห็นพระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจงมาดู ทรงนำภิกษุเหล่านั้นไปทางอากาศด้วยฤทธิ์ของพระองค์ ทรง

แสดงภูเขาหลายลูกว่า นี้สุวรรณบรรพต นี้รชตพรรพต นี้มณีบรรพต แล้ว

ประทับยืนอยู่ ณ พื้นหินอ่อนใกล้สระนกดุเหว่า. แต่นั้นทรงอธิฐานว่า

บรรดาสัตว์ดิรัจฉานประเภทสี่เท้าเป็นต้นทั้งหมด จงมาในภูเขาหิมวันตะเถิด

นกดุเหว่ามาหลังเพื่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงพรรณนาถึงสัตว์ที่มา

โดยชาติ ชื่อ และภาษาจึงทรงแจ้งแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 342

นี้หงส์ นี่นกกะเรียน นี้นกจากพราก นี้นกการเวก นี้นกงวงช้าง นี้นก

นางนวล. ภิกษุทั้งหลายมีความสงสัยเมื่อเห็นสัตว์เหล่านั้น ได้เห็นนกดุเหว่า

ที่มาทีหลังนกทั้งหมด แวดล้อมด้วยนางนกพันตัว จับกลางไม้ที่นางนกสองตัว

เอาจะงอยปากคาบพาไป เกิดอัศจรรย์ใจที่ไม่เคยมีมา จึงกราบทูลถามพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเคยเป็น

พญานกดุเหว่าอยู่ในที่นี้มิใช่หรือ. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกแล้ว เรา

ได้สร้างวงศ์นกดุเหว่าขึ้นมา ตรัสมหากุณาลชาดกครบครันว่า ก็ในอดีตกาล

เราทั้งสี่อาศัยอยู่ ณ ที่นี้ คือ นารท ๑ เทวิละ ๑ เป็นฤษี พญาแร้ง ชื่อ

อานันทะ ๑ เราเป็นนกดุเหว่าสีเหลืองชื่อปุณณมุขะ ๑. ครั้นภิกษุเหล่านั้นฟัง

แล้ว ความกระสันที่เกิดขึ้นเนื่องจากภรรยาเก่าของภิกษุเหล่านั้นก็สงบลง. แต่

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัจกถาแด่ภิกษุเหล่านั้น เมื่อจบสัจกถา ภิกษุ

รูปที่บวชภายหลังได้เป็นพระโสดาบัน รูปที่บวชก่อนทั้งหมดได้เป็นพระ-

อนาคามี ไม่มีที่เป็นปุถุชน หรือพระอรหันต์แม้แต่รูปเดียว แต่นั้นพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงพาภิกษุเหล่านั้นขึ้นสู่ป่ามหาวันอีกครั้ง. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น

เมื่อมาก็มาด้วยฤทธิ์ของตน ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่

ภิกษุเหล่านั้นอีก เพื่อประโยชน์แก่มรรคชั้นสูงขึ้นไป. ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น

เจริญวิปัสสนา ตั้งอยู่ในอรหัตผล. ภิกษุที่บรรลุก่อนได้ไปก่อนทีเดียวด้วย

คิดว่า เราจักกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็ครั้นภิกษุนั้นมาถึงแล้ว จึงกราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ย่อมยินดียิ่ง ไม่กระสันอยู่ ดังนี้

แล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ภิกษุเหล่านั้น

ทั้งหมดมาถึงโดยลำดับ นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 343

ในวันอุโบสถเดือนเจ็ดตอนเย็น เทวดาในหมื่นจักรวาลยกเว้นจำพวก

อสัญญีสัตว์และอรูปพรหม ต่างนิรมิตอัตภาพละเอียด ตามนัยที่กล่าวแล้วใน

อรรถกถามงคลสูตร พากันแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งประทับนั่ง ณ

วรพุทธาสนะอันพระขีณาสพ ๕๐๐ แวดล้อมแล้ว คิดว่า เราจักฟังพระธรรม

เทศนาอันวิจิตรเฉียบแหลม. บรรดาพรหมเหล่านั้น พรหมผู้เป็นขีณาสพ

๔ องค์ ออกจากสมาบัติไม่เห็นหมู่พรหม รำพึงว่า พวกพรหมไปไหนกันหมด

ครั้นทรามความนั้นแล้วจึงมาทีหลัง เมื่อไม่ได้โอกาสในป่ามหาวัน จึงยืนอยู่

บนยอดจักรวาล ได้กล่าวปัจเจกคาถาทั้งหลาย ดังที่ท่านกล่าวไว้ดังต่อไปนี้.

ครั้งนั้นแล เทวดาชั้นสุทธาวาสสี่องค์ได้คิดกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

นี้แล ประทับอยู่ ณ ป่ามหาวันใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ ในแคว้นสักกะพร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ อนึ่ง เทวดา

ทั้งหลายจากโลกธาตุสิบโดยมากมาประชุมกัน เพื่อเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าและ

ภิกษุสงฆ์ ถ้ากระไรแม้เราก็พึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้น

เข้าไปเฝ้าแล้ว พึงกล่าวปัจเจกคาถาในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ทั้งหมด

พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในสัคควรรคนั้นแล. ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว

พรหมองค์หนึ่ง ณ ที่นั้นได้โอกาสบนยอดจักรวาลด้านทิศตะวันออก

ประดิษฐานอยู่บนยอดจักรวาลนั้น ได้กล่าวคาถานี้ว่า มหาสมโย ปวนสฺมึ

ฯเปฯ ทกฺขิตาเยว อปราชิตสงฺฆ ความว่า วันนี้เป็นมหาสมัยในป่าใหญ่

หมู่เทวดามาประชุมกัน เรามาสู่ธรรมสมัยนี้ เพื่อจะเห็นพระพุทธเจ้าและพระ-

สงฆ์ผู้ชนะมารแล้ว เมื่อพรหมนั้นกล่าวคาถานี้ พวกพรหมที่ประดิษฐานอยู่ ณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 344

ภูเขาจักรวาลด้านทิศตะวันตก ได้ยินเสียง. พรหมองค์ที่สองได้โอกาสบนยอด

จักรวาลด้านทิศตะวันตก ประดิษฐานอยู่บนยอดจักรวาลนั้น สดับคาถานั้นจึง

ได้กล่าวคาถานี้ว่า ตตฺร ภิกฺขโว สมาทหสุ ฯเปฯ อินฺทริยานิ รกฺขนฺติ

ปณฺฑิตา ความว่า ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้นมั่นคงแล้ว เหมือนสารถีถือ

เชือกยืนอยู่ ท่านเป็นบัณฑิตรักษาอินทรีย์ทั้งหลาย. พรหมองค์ที่สามได้โอกาส

บนยอดจักรวาลด้านทิศใต้ ประดิษฐานอยู่บนจักรวาลนั้น สดับคาถานั้นแล้วได้

กล่าวคาถานี้ว่า เฉตฺวา ขีล เฉตฺวา ปลิฆ ฯลฯ สุสู นาคา ความว่า

ภิกษุเหล่านั้นตัดกิเลสดุจตะปู ตัดกิเลสดุจลิ่ม ตัดกิเลสดุจเสาเขื่อน เป็นผู้ไม่

หวั่นไหว ท่านเป็นผู้หมดจดไม่มีมลทินเที่ยวไป ท่านเป็นพระนาคหนุ่ม มี

ดวงตาฝึกฝนดีแล้ว. พรหมองค์ทีสี่ได้โอกาสบนยอดจักรวาลด้านทิศเหนือ

ประดิษฐานอยู่บนยอดจักรวาลนั้น สดับคาถานั้นแล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า เยเกจิ

พุทฺธ สรณ คตาเส ฯเปฯ เทวกาย ปริปูเรสฺสนฺติ ความว่า ชนทั้งหลาย

เหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักไม่ถึง

อบายภูมิ ละกายของมนุษย์แล้ว จักยังกายเทพให้บริบูรณ์ พรหมที่ประดิษฐาน

อยู่ ณ จักรวาลด้านทิศใต้ ได้สดับเสียงของพรหมนั้น. ในครั้งนั้นพรหม

สี่องค์เหล่านี้ได้ชื่นชมเชยบริษัท ด้วยประการฉะนี้. มหาพรหมได้ยืนครอบ

จักรวาลเป็นอันเดียวกัน.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูเทพบริษัทแล้ว ทรงแจ้งแก่

ภิกษุทั้งหลายว่า เยปิ เต ภิกฺขเว อเหสุ ฯเปฯ เยปิ เต ภิกฺขเว ภวิสฺสนฺติ

ฯเปฯ สมฺมาสมฺพุทฺธา ฯเปฯ สนฺนิปติตา ภวิสฺสนฺติ เสยฺยถาปิ มยฺห

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 345

เอตรหิ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

เหล่านั้นใด ได้มีแล้วในอดีตกาล เทวดาทั้งหลายประมาณเท่านี้แหละได้

ประชุมกันเพื่อเห็นพระพุทธเจ้า เพื่อเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายพระองค์

นั้น เหมือนเหล่าเทวดาประชุมกันเพื่อเห็นเราในบัดนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นใดจักมีในอนาคต เทวดาทั้งหลาย

มีประมาณเท่านี้แหละ จักประชุมกันเพื่อเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

เหมือนเทวดาทั้งหลายประชุมกันเพื่อเห็นเราในบัดนี้. ลำดับนั้น เทพบริษัทนั้น

แยกออกเป็นสองพวกทั้งที่เป็นภัพพสัตว์และอภัพพสัตว์ พวกเป็นภัพพสัตว์มี

ประมาณเท่านี้ พวกเป็นอภัพพสัตว์มีประมาณเท่านี้. บรรดาเทพบริษัทเหล่านั้น

บริษัทที่เป็นอภัพพะแม้เมื่อพระพุทธเจ้าร้อยพระองค์ทรงแสดงธรรม ก็ไม่

ตรัสรู้ได้ ส่วนบริษัทที่เป็นภัพพะสามารถรู้ได้ ครั้นรู้แล้วยังแบ่งภัพพบุคคล

ออกเป็นหกประเภท ด้วยสามารถจริต คือ ประเภทราคจริตประมาณเท่านี้

ประเภทโทสจริต โมหจริต วิตักกจริต สัทธาจริต พุทธิจริตประมาณเท่านี้.

ครั้นกำหนดจริตอย่างนี้แล้ว ทรงเลือกเฟ้นธรรมกถาว่า การแสดงธรรมชนิดไร

จึงจะเป็นที่สบายแก่บริษัทนั้น ๆ ได้ทรงใฝ่พระทัยถึงบริษัทนั้นๆ อีก ว่าบริษัท

นั้นพึงรู้ได้โดยอัธยาศัยของตนหรือหนอ หรือพึงรู้ได้โดยอัธยาศัยของผู้อื่น

ด้วยอำนาจแห่งเรื่องเกิดขึ้น ด้วยอำนาจคำถาม. แต่นั้นทรงทราบว่า พึงรู้ได้ด้วย

คำถาม ทรงรำพึงถึงบริษัททั้งสิ้นต่อไปอีกว่า ผู้สามารถจะถามปัญหามีอยู่หรือ

ไม่มี ครั้นทรงทราบว่าไม่มีใคร จึงทรงดำริว่า หากเราถามเอง แก้เอง ก็จะไม่

เป็นที่สบายแก่บริษัทนี้ ถ้ากระไรเราควรเนรมิตพระพุทธนิมิต จึงทรงเข้าสมาบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 346

มีฌานเป็นบาท ครั้นทรงออกจากฌานแล้ว ทรงปรับปรุงด้วยมโนมยิทธิ ทรง

เนรมิตพระพุทธนิมิต. พระพุทธนิมิตได้ปรากฏพร้อมด้วยจิตอธิษฐานว่า ขอ

จงสมบูรณ์ด้วยลักษณะแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหมด ทรงบาตรและจีวร ถึง

พร้อมด้วยการมองดูและการเหลียวดูเป็นต้น. พระพุทธนิมิตนั้น เสด็จมาจาก

ปาจีนโลกธาตุประทับนั่งบนอาสนะเสมอพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสพระสูตร ๖ พระสูตร ด้วยสามารถจริตในสมาคมนี้ คือ ปุราเภทสูตร ๑

กลหวิวาทสูตร ๑ จูฬพยูหสูตร ๑ มหาพยูหสูตร ๑ ตุวฏกสูตร ๑ และสัมมา-

ปริพพาชนิยสูตรนี้แหละ ๑. บรรดาสูตรเหล่านั้น พระพุทธนิมิตเมื่อจะถาม

ปัญหาเนื้อความเป็นไปแห่งสูตรนี้ อันควรกล่าวถึงสัปปายะแห่งพวกเทวดาที่

เป็นราคจริต จึงกล่าวคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า ปุจฺฉามิ มุนึ ปหุตปญฺ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปหุตปญฺ คือมีปัญญามาก. บทว่า ติณฺณ

ได้แก่ ผู้ข้ามโอฆะสี่ได้แล้ว. บทว่า ปารคต ได้แก่ ผู้ถึงพระนิพพานแล้ว.

บทว่า ปรินิพฺพุต ได้แก่ ปรินิพพานแล้วด้วยสอุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า

ิตตฺต ได้แก่ มีจิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้งหลาย. บทว่า นิกฺขมฺม

ฆรา ปนุชุช กาเม ได้แก่ บรรเทาวัตถุกามทั้งหลายออกจากการครองเรือน

แล้ว. บทว่า กต ภิกฺขุ สมฺมา โส โลเก ปริพฺพเชยฺย ความว่า

ภิกษุนั้นพึงเว้นคือพึงไป พึงอยู่โดยชอบในโลกอย่างไร ท่านอธิบายว่าเป็นผู้

ไม่พัวพันด้วยโลก ล่วงโลกไปได้. บทที่เหลือในสูตรนี้มีนัยดังได้กล่าวไว้แล้ว

นั้นแล.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภว่า เพราะผู้ที่ยังไม่ถึงความ

สิ้นอาสวะ จะชื่อว่าเว้นรอบโดยชอบไม่มี ฉะนั้น เมื่อพระองค์ทรงกำหนดประ

ชุมแห่งภัพพบุคคล ด้วยสามารถแห่งจริตมีราคจริตเป็นต้น ในภิกษุนั้น จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 347

ทรงปรารภคำนั้น ๆ ว่า เป็นมงคลแก่ภิกษุใด ดังนี้ เพื่อละโทษที่หมู่เทวดา

ซึ่งมีโทษเสมอกันเหล่านั้น ประพฤติเป็นอาจิณ เมื่อจะทรงประกาศถึงปฏิปทา

ของพระขีณาสพด้วยยอดคือพระอรหัต จึงได้ตรัสพระคาถา ๑๕ พระคาถา.

ในพระคาถา ๑๕ พระคาถานั้นพึงทราบวินิจฉัย คาถาที่ ๑ ก่อน.

บทว่า มงฺคลา นี้ เป็นชื่อของทิฏฐมงคลเป็นต้นที่ท่านกล่าวไว้ใน

มงคลสูตร. บทว่า สมูหตา ได้แก่ ถอนด้วยดีคือตัดขาดด้วยศัสตราคือปัญญา.

บทว่า อุปฺปาทา ได้แก่ การยึดถือความเกิดอันเป็นไปอย่างนี้ว่า อุกกาบาต

ดาวหางเป็นต้นย่อมมีผลอย่างนี้ ๆ. บทว่า สุปินา ได้แก่การยึดถือความฝัน

อันเป็นไปอย่างนี้ว่า เห็นความฝันในตอนเช้าจะมีผลอย่างนี้ เห็นความฝันใน

ตอนเที่ยงเป็นต้นจะเป็นอย่างนี้ นอนเห็นความฝันข้างซ้ายจะเป็นอย่างนี้ นอน

เห็นความฝันข้างขวาเป็นต้นจะเป็นอย่างนี้ ฝันเห็นพระจันทร์จะเป็นอย่างนี้

ฝันเห็นพระอาทิตย์เป็นต้นจะเป็นอย่างนี้ ดังนี้. บทว่า ลกฺขณา ได้แก่

อ้างคัมภีร์บอกลักษณะไม้เท้าและลักษณะสิ่งของเป็นต้น แล้วยึดถือลักษณะอัน

เป็นไปว่า บัดนี้ จะได้รับผลอย่างนี้. ทั้งหมดนั้นพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว

ในพรหมชาลสูตรนั่นแล. บทว่า ส มงฺคลโทสวิปฺปหีโน ได้แก่ มงคลอัน

เป็นโทษที่เหลือเว้นมหามงคล ๓๘ ภิกษุถอนมงคลเป็นต้นเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้

ละมงคลอันเป็นโทษ อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ละมงคลอันเป็นโทษเพราะ

ละมงคลและโทษมีการเกิดเป็นต้น ย่อมไม่ให้ความบริสุทธิ์ด้วยมงคลเป็นต้น

เพราะบรรลุด้วยอริยมรรคแล้ว. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นพึงเว้นโดยชอบในโลก

คือ ภิกษุนั้นเป็นขีณาสพ พึงเว้นโดยชอบในโลก ไม่พัวพันด้วยโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 348

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒.

บทว่า ราค วินเยถ มานุเสสุ ทิพฺเพสุ กาเมสุจาปิ ภิกฺขุ

ความว่า ภิกษุนำความกำหนัดในกามคุณทั้งหลายทั้งที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็น

ของทิพย์ ไม่ให้เกิดขึ้นอีกด้วยอนาคามิมรรค. บทว่า อติกฺกมฺม ภว สเมจฺจ

ธมฺม ความว่า ภิกษุนำความกำหนัดออกได้แล้ว ต่อจากนั้นยังการตรัสรู้

ด้วยการกำหนดรู้ให้สำเร็จโดยประการทั้งปวง ด้วยอรหัตมรรค ตรัสรู้ธรรม

แล้ว ก้าวล่วงภพทั้งสามด้วยปฏิปทานี้ได้แล้ว. บทว่า สมฺมา โส ได้แก่

ภิกษุแม้นั้นพึงเว้นโดยชอบในโลก.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๓.

บทว่า อนุโรธวิโรธวิปฺปหีโน คือ มีราคะและโทสะอันละเสียได้

ด้วยวัตถุกามทุกอย่าง. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. อนึ่ง ในทุก ๆ คาถา

พึงประกอบบทว่า โสปิ ภิกฺขุ สมฺมา โลเก ปริพฺพเชยฺย ความว่า

ภิกษุแม้นั้นพึงเว้น โดยชอบในโลกดังนี้. เพราะต่อจากนี้ไปเราจะไม่กล่าวถึงบท

ประกอบ จักกล่าวนัยที่ยังไม่ได้กล่าวไว้เท่านั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๔.

พึงทราบสิ่งอันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักสองอย่าง ด้วยสามารถสัตว์

และสังขาร. ในบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺทราคปฏิฆปฺปหาเนน หิตฺวา

อนุปาทาย ได้แก่ ไม่ยึดถือธรรมไร ๆ ด้วยอุปาทาน ๔. บทว่า อนิสฺสิโต

กุหิญฺจิ ได้แก่ อันตัณหานิสัย ๑๐๘ และทิฏฐินิสัย ๖๒ ไม่อาศัยแล้วในภพ

ไหน ๆ หรือในภพมีรูปภพเป็นต้น. บทว่า สโยชนิเยหิ วิปฺปมุตฺโต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 349

ความว่า ธรรมเป็นไปในภูมิสาม แม้ทั้งหมดชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เพราะ

เป็นวิสัยแห่งสังโยชน์สิบอย่าง ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว เพราะกำหนดรู้ และเพราะ

ละได้จากสังโยชน์เหล่านั้นด้วยมรรคภาวนาโดยประการทั้งหมด. อนึ่ง ในที่นี้

ท่านกล่าวถึงการละราคะและโทสะด้วยบาทต้น. ความไม่มีการยึดถือเป็นที่อาศัย

ด้วยบาทที่สอง. การหลุดพ้นจากอกุศลที่เหลือและวัตถุอันเป็นอกุศลด้วยบาทที่

สาม หรือการละราคะและโทสะด้วยบาทต้น. ด้วยบาทที่สองก็เช่นเดียวกัน

ด้วยบาทที่สามพึงทราบว่า การหลุดพ้นจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เพราะ

ละสังโยชน์เหล่านั้นได้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๕.

บทว่า อุปธีสุ ได้แก่ ในขันธูปธิทั้งหลาย. อุปธิเหล่านั้นท่าน

กล่าวว่า อาทาน เพราะอรรถว่า พึงยึดถือ. บทว่า อนญฺเนยฺโย ได้แก่

เพราะเห็นความไม่เทียงเป็นต้นเป็นอย่างดีแล้ว ใคร ๆ จะพึงแนะนำไม่ได้ว่า

นี้ประเสริฐ. บทที่เหลือความของบทง่ายทั้งนั้น. ข้อนี้ท่านอธิบายไว้ว่า

ภิกษุนำฉันทราคะในการยึดมั่นออกไปแล้วทั้งหมด ด้วยมรรคที่สี่ เป็นผู้มี

ฉันทราคะนำออกไปแล้ว ย่อมไม่เห็นความเป็นสาระในอุปธิทั้งหลายเหล่านั้น

คือย่อมเห็นอุปธิทั้งปวงโดยความไม่เป็นสาระ. แต่นั้นไม่อาศัยอยู่ในนิสัยแม้

ทั้งสองอย่าง หรือโดยความอันใคร ๆ จะพึงแนะนำไม่ได้ว่านี้ประเสริฐ ภิกษุ

ผู้เป็นขีณาสพพึงเว้นโดยชอบในโลก.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๖.

บทว่า อวิรุทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ผิดพลาดกับด้วยสุจริตทั้งหลาย

เพราะละทุจริตสามอย่างเหล่านั้นได้แล้ว. บทว่า วิทิตฺตา ธมฺม ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 350

รู้ธรรมคืออริยสัจสี่ด้วยมรรค. บทว่า นิพฺพานปทาภิปฏฺยาโน ได้แก่

ปรารถนาบทคืออนุปาทิเสสนิพพาน. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๗.

บทว่า อกฺกุฏฺโ ได้แก่ ข้องอยู่ในอักโกสวัตถุสิบอย่าง. บทว่า

น สนฺธิเยถ ได้แก่ ไม่ผูกโกรธต่อไม่พึงโกรธ. บทว่า ลทฺธา ปรโภชน

น มชฺเช ได้แก่ ได้ของที่เขาให้ด้วยศรัทธา อันคนอื่นให้แล้วไม่พึงเมาว่า

เราเป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีลาภ ดังนี้. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๘.

บทว่า โลภ ได้แก่ ความโลภจัด. บทว่า ภว ได้แก่ กามภพเป็นต้น.

ท่านกล่าวภวตัณหาและโภคตัณหาด้วยบททั้งสองอย่างนี้ อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าว

ตัณหาทั้งหมดด้วยบทต้น กล่าวกามภพด้วยบทหลัง. บทว่า วิรโต เฉทน-

พนฺธนโต ได้แก่ เว้นจากการตัดและการจองจำสัตว์อื่น เพราะละกรรมกิเลส

เหล่านั้นได้โดยสิ้นเชิงแล้ว. บทที่เหลือในที่นี้ มีนัยดังได้กล่าวได้เเล้วนั่นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๙.

บทว่า สารุปฺปมตฺตโน วิทิตฺวา ได้แก่ รู้การปฏิบัติอันสมควร

แก่ความเป็นภิกษุของตน ด้วยการละการแสวงหาอันไม่สมควรเป็นต้น แล้ว

ดำรงมั่นอยู่ในอาชีวะบริสุทธิ์มีการแสวงหาโดยชอบเป็นต้น และการปฏิบัติชอบ

อย่างอื่น. ไม่ใช่ด้วยเพียงรู้อะไร ๆ เท่านั้น. บทว่า ยถาตถ ได้แก่ รู้ตาม

ความเป็นจริง. บทว่า ธมฺม ได้แก่ รู้ธรรมประเภทมีขันธ์ อายตนะเป็นต้น

ด้วยญาณตามความเป็นจริง หรือรู้ธรรมคืออริยสัจสี่ด้วยมรรค. บทที่เหลือ

มีความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 351

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๐.

บทว่า โส นิราโส อนาสสาโน ความว่า ภิกษุใดไม่มีอนุสัย

ถอนอกุศลมูลได้แล้วด้วยอริยมรรค ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง ไม่มีตัณหา

แต่นั้นไม่หวังธรรมมีรูปธรรมเป็นต้นไร ๆ เพราะไม่มีความหวัง. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นิราโส อนาสสาโน ไม่มีความหวัง ไม่มี

ตัณหา ดังนี้. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๑.

บทว่า อาสวขีโณ ได้แก่มีอาสวะสี่สิ้นแล้ว. บทว่า ปหีนมาโน

ได้แก่ ละมานะเก้าอย่างได้แล้ว. บทว่า ราคปถ ได้แก่ ธรรมชาติเป็นไป

ในภูมิสามอันเป็นวิสัยแห่งราคะ. บทว่า อุปาติวตฺโต ได้แก่ ก้าวล่วงด้วย

การกำหนดรู้และการละ. บทว่า ทนฺโต ได้แก่ ละการเสพผิดในทวารทั้งปวง

แล้วถึงภูมิแห่งการฝึกฝนตน ด้วยการฝึกอย่างประเสริฐ. บทว่า ปรินิพฺพุโต

เป็นผู้สงบเพราะสงบด้วยไฟคือกิเลส. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๒.

บทว่า สทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว

สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งหมด เพราะเว้นจากปัจจัยอย่างอื่นในพุทธคุณเป็นต้น

ไม่ประกอบด้วยการปฏิบัติด้วยศรัทธาต่อผู้อื่น. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า น ขฺวาห

ภนฺเต เอตฺถ ภควโต สทฺธาย คจฺฉามิ ข้าแต่ท่านผู้เจริญข้าพเจ้ามิได้

ถึงด้วยศรัทธาต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าในเพราะเหตุนี้. บทว่า สุตวา คือประกอบ

แล้ว ด้วยการฟังอันมีประโยชน์อย่างยิ่งเพราะกิจคือการฟังอย่างสามัญสุดสิ้นลง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 352

แล้ว. บทว่า นิยามทสฺสี ความว่า ในเมื่อสัตวโลกลุ่มหลงอยู่ในสงสาร

กันดาร เป็นผู้เห็นทางอันเป็นความชื่นชอบของผู้ไปสู่อมตนคร. ท่านอธิบาย

ว่า ได้เห็นทางแล้ว. บทว่า วคฺคคเตสุ น วคฺคสารี ความว่า สัตว์

ทั้งหลายผู้แล่นไปด้วยทิฏฐิ ๖๒. ความสวนทางกันและกัน ชื่อว่า วคฺคคตา

ความไม่แล่นไปด้วยอำนาจทิฏฐิในสัตว์ทั้งหลายผู้ไปแล้วด้วยทิฏฐิ อัน ได้แก่

วคฺค อย่างนี้ เพราะไม่แล่นไปด้วยอำนาจทิฏฐิว่า นี้สูญ นี้จักเป็นอยู่อย่างนั้น

ดังนี้. บทว่า ปฏิฆ ได้แก่ ความกระทบกระทั่ง . ท่านอธิบายว่า ความ

กระทบกระทั่งทางจิต. บทว่า ปฏิฆ นี้เป็นวิเสสนะของโทสะ. บทว่า วิเนยฺย

ได้แก่ นำออกไปแล้ว. บทที่เหลือมีนัยดังที่ได้กล่าวได้แล้วนั้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๓.

บทว่า สสุทธฺชิโน ได้แก่ เป็นผู้ชนะกิเลสด้วยอรหัตมรรคอัน

หมดจดแล้ว. บทว่า วิวฏจฺฉโท คือเป็นผู้มีกิเลสดังหลังคาคือราคะโทสะและ

โมหะเปิดแล้ว. บทว่า ธมฺเมสุ วสี ได้แก่ เป็นผู้ถึงความชำนาญในธรรม

คืออริยสัจสี่. ธรรมเหล่านั้นอันใคร ๆ ไม่สามารถทำผู้ที่รู้อย่างนั้นให้เป็นผู้

ไม่รู้ได้. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียกพระขีณาสพว่าเป็นผู้ชำนาญในธรรมทั้งหลาย.

บทว่า ปารคู ได้แก่ ถึงนิพพานซึ่งท่านเรียกว่าปาระ (ฝั่ง). อธิบายว่า

บรรลุด้วยสอุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า อเนโช คือเป็นผู้ไม่หวั่นไหว เพราะ

ปราศจากตัณหาแล้ว. บทว่า สงฺขารนิโรธาณกุสโล ต่อนิพพานท่าน

เรียกว่า ดับสังขาร ความรู้ในนิพพานนั้นคืออริยมรรคปัญญา เป็นผู้ฉลาดใน

อริยมรรคปัญญานั้น. ท่านอธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดเพราะเจริญแล้วสี่ครั้ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 353

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๔.

บทว่า อตีเตสุ ได้แก่ ในเบญจขันธ์ที่ถึงความเป็นไปแล้วล่วงไป.

บทว่า อนาคเตสุ ได้แก่ ในเบญจขันธ์ที่ยังไม่ถึงความเป็นไปนั่นเอง. บทว่า

กปฺปาตีโต คือล่วงกำหนดว่าเราว่าของเรา หรือล่วงความกำหนดด้วยตัณหา

และทิฏฐิ แม้ทั้งหมด. บทว่า อติจฺจสุทธิปญฺโ คือมีปัญญาบริสุทธิ์ก้าว

ล่วงแล้ว. ก้าวล่วงอะไร ก้าวล่วงกาลทั้ง ๓.

จริงอยู่ พระอรหันต์ก้าวล่วงกาลที่เป็นอดีตคืออวิชชาและสังขาร กาล

ที่เป็นอนาคตคือชาติชรามรณะ และกาลที่เป็นปัจจุบันอันเป็นที่สุดแห่งภพมี

วิญญาณเป็นต้นแม้ทั้งหมด ล่วงพ้นความสงสัย เป็นผู้มีปัญญาถึงความบริสุทธิ์

อย่างยิ่ง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า อติจฺจสุทฺธิปญฺโ ผู้มีปัญญาบริสุทธิ์

ล่วงพ้นกาลทั้ง ๓. บทว่า สพฺพายตเนหิ คือ จากอายตนะ ๑๒. บทว่า วิปฺป-

มุตฺโต ความว่า จริงอยู่พระอรหันต์เป็นผู้ล่วงกำหนดอย่างนี้ ไม่เข้าถึงอายตนะ

ไร ๆ ต่อไป เพราะล่วงกำหนดแล้วแล. เพราะมีปัญญาบริสุทธิ์ก้าวล่วงแล้ว.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพายตเนหิ วิปฺปมุตฺโต หลุดพ้นแล้วจาก

อายตนะทั้งปวง.

พึงทราบวินิจฉัยคาถาที่ ๑๕.

บทว่า อญฺาย ปท ได้แก่ รู้บทหนึ่ง ๆ ในบทสี่แห่งสัจจะด้วย

ปัญญากำหนดสัจจะอันเป็นส่วนเบื้องต้น. บทว่า สเมจฺจ ธมฺม คือต่อจากนั้น

ตรัสรู้ธรรมคืออริยสัจสี่ด้วยอริยมรรคสี่. บทว่า วิวฏ ทิสฺวาน ปหานมา-

สวาน ความว่า ทีนั้นเห็นความสิ้นอาสวะเป็นวิวฏะ (นิพพาน) คือเปิดเผย

ให้ปรากฏด้วยปัจจเวกขณญาณ. บทว่า สพฺพูปธีน ปริกฺขยา ความว่า ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 354

นั้นไม่ต้องอยู่ในภพไหน ๆ เพราะความหมดสิ้นไปแห่งอุปธิทั้งหลายอันมีประเภท

แห่งขันธ์ กามคุณ กิเลสและอภิสังขารทั้งปวง พึงเว้นคือพึงอยู่โดยชอบในโลก

ไม่ติดแน่นพึงไปสู่โลก. จบเทศนา ด้วยประการฉะนี้.

แต่นั้นพระพุทธนิมิตนั้น ชื่นชมเทศนากล่าวคาถานี้ว่า อทฺธา หิ

ภควา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้นแน่ทีเดียว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โย โส เอววิหารี ความว่า พระพุทธนิมิต

เมื่อจะชี้แจงกะภิกษุให้เห็นชัดยิ่งขึ้น จึงกล่าวด้วยคาถานั้น ๆ ว่าภิกษุใด ถอน

มงคลเป็นต้นมีปกติอยู่ด้วยการละโทษของมงคลทั้งปวง ภิกษุนั้นนำความ

กำหนัดในกามทั้งหลายทั้งที่เป็นของทิพย์และเป็นของมนุษย์ออกเสีย ก้าวล่วง

กามมีปกติอยู่ด้วยการตรัสรู้ธรรม. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น. แต่โยชนา

แก้ไว้ว่า พระพุทธนิมิตกล่าวคำเป็นอาทิว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อที่

พระองค์ตรัสคำเป็นอาทิว่า ถอนมงคลทั้งหลายเสียในที่สุดแห่งคาถานั้นได้ตรัส

ว่า ภิกษุนั้นพึงเว้นโดยชอบในโลก นี้เป็นความจริงแน่แท้ทีเดียว. เพราะ

เหตุไร. เพราะภิกษุใดมีปกติอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้นชื่อว่าฝึกฝนตนด้วยการฝึก

อย่างสูง เป็นผู้ก้าวล่วงสังโยชน์ ๑๐ ทั้งหมด และโยคะ ๔ ฉะนั้น ภิกษุนั้น

พึงเว้นโดยชอบในโลก ข้าพระองค์ไม่มีข้อสงสัยในเรื่องนี้เลย ดังนี้. ครั้น

พระพุทธนิมิตกล่าวคาถาชื่นชมเทศนาแล้ว เทศนาก็จบลงด้วยอดแห่งพระ-

อรหัต ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อจบพระสูตร เทวดาแสนโกฏิได้บรรลุผลอันเลิศ. ส่วนผู้ที่บรรลุ

พระโสดาปัตติผล สกทาคามิผลและอนาคามิผลนับไม่ถ้วน.

จบอรรถกถาสัมมาปริพพาชนิยสูตรที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 355

ธรรมิกสูตรที่ ๑๔

ว่าด้วยข้อปฏิบัติของนักบวชและผู้ครองเรือน

[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสก

พร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม

แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

คาถาว่า

[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดม ผู้มีพระ-

ปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน ข้าพระองค์ขอทูล

ถามพระองค์ อุบาสกผู้ออกบวชเป็น

บรรพชิตก็ดี อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีก

ก็ดี บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้ สาวกระทำ

อย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.

พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่ง

คติและความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก

บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับ

พระองค์ย่อมไม่มี บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าว

พระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 356

พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม

ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ ได้ทรงประกาศ

พระญาณและธรรมทั้งปวง ข้าแต่พระโคดม

ผู้มีพระจักษุรอบคอบ พระองค์ผู้มีกิเลสดุจ

หลังคาที่เปิดแล้ว เป็นผู้ปราศจากมลทิน

ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง.

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ

ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ทรงชนะบาป

ธรรม ดังนี้แล้ว ได้ไปในสำนักของพระองค์

พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะ

พระองค์ ได้สดับมาแล้วซ้องสาธุการชื่นชม

ยินดี ได้บรรลุธรรมไปแล้ว.

แม้พระราชาพระนามว่า เวสวัณ

กุเวร ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่

พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสวัณ

กุเวรแม้นั้นแล ทูลถามแล้ว ย่อมตรัสบอก.

ท้าวเวสวัณกุเวรแม้นั้นแล ได้สดับปัญหา

แล้ว ทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว.

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์

ก็ดี ผู้มีปกติกระทำวาระทั้งหมดนี้ย่อมไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 357

เกินพระองค์ด้วยปัญญา เหมือนบุคคลหยุด

อยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น.

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์

ผู้เฒ่าก็ดี ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใด

เหล่าหนึ่งมีอยู่ และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่

ว่า เราทั้งหลายผู้มีปกติกระทำวาทะ ชน

เหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์

ในพระองค์.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระ-

องค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี ซึ่งธรรมที่

ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์

ตรัสดีแล้วนี้.

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระ-

องค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว ได้

โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์

ทั้งหลาย.

ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้แม้ทั้งหมด

นั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ เพื่อจะฟัง

ขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้

ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว เหมือนเทวดาทั้งหลาย

ตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 358

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจง

ฟังเรา เราจะยังเธอทั้งหลายไม่ฟังธรรมอัน

กำจัดกิเลส และเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรม

อันกำจัดกิเลสนั้น ภิกษุผู้มีปัญญาความคิด

ผู้เห็นประโยชน์ พึงเสพอิริยาบถอันสมควร

แก่บรรพชิตนั้น.

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย

อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้าน

ในกาล ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย

ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควร

ไว้ เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่

เที่ยวไปในเวลาวิกาล.

รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ

ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายไม่มัวเมา ภิกษุนั้นกำจัด

เสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้ พึง

เข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารใน

เวลาเช้าโดยกาล.

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย

พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว ภิกษุผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 359

สงเคราะห์อัตภาพแล้ว คิดถึงขันธสันดาน

ในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก.

ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้น พึงเจรจากับสาวก

อื่น หรือถึงภิกษุรูปไร ๆ ไซร้ ภิกษุนั้นพึง

กล่าวธรรมอันประณีต ไม่พึงกล่าวคำ

ส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น.

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน

เราย่อมไม่ประเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญา

น้อย ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท เกิดจาก

คลองแห่งคำนั้น ๆ ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้น

ไว้ เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกล

จากสมถะและวิปัสสนา.

สาวกผู้มีปัญญาดี ฟังธรรมที่พระ-

สุคตทรงแสดงแล้ว พิจารณาบิณฑบาต

ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทิน

ผ้าสังฆาฏิ แล้วพึงเสพ.

เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วใน

ธรรมเหล่านี้ คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง

น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ เหมือน

หยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 360

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอ

ทั้งหลาย สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้

ยังประโยชน์ให้สำเร็จ จริงอยู่ สาวกไม่พึง

ได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุล้วน ด้วย

อาการที่มีความหวงแหน.

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า

ทั้งผู้ที่มั่นคง ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว ไม่

พึงฆ่าสัตว์เอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า และไม่

พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่า.

แต่นั้น สาวกรู้อยู่ พึงเว้นสิ่งที่เขา

ไม่ให้อะไร ๆ ในที่ไหน ๆ ไม่พึงใช้ให้ผู้

อื่นลัก ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก พึงเว้น

วัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด.

สาวกผู้รู้แจ้งพึงเว้นอพรหมจรรย์

เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน

ฉะนั้น แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหม-

จรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น.

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ใน

ท่ามกลางบริษัทก็ดี ไม่พึงกล่าวเท็จแก่

บุคคลผู้หนึ่ง ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 361

พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ พึงเว้นคำไม่

เป็นจริงทั้งหมด.

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ไม่พึงดื่มน้ำเมา

พึงชอบใจธรรมนี้ ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่

พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม เพราะทราบชัดการ

ดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด.

คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง

และใช่คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป

เพราะความเมานั่นเอง สาวกพึงเว้นความ

เป็นบ้า ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว อัน

เป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้.

ไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของ

ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ไม่พึงพูดมุสา ไม่

พึงดื่มน้ำเมา พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็น

ความประพฤติไม่ประเสริฐ ไม่พึงบริโภค

โภชนะในเวลาวิกาลในราตรี ไม่พึงทัดทรง

ดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม พึงนอน

บนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว บัณฑิต

ทั้งหลายกล่าวอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘

ประการนี้แลว่า อื่นพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุด

แห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 362

แต่นั้น สาวกผู้มีใจเลื่อมใส พึงเข้า

จำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

ให้บริบูรณ์ดี ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ

๘ ค่ำแห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริกปักษ์.

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้งเข้าจำอุโบสถอยู่

แต่เช้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนือง ๆ

พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร

พึงเลี้ยงมารดาและบิดาด้วยโภคสมบัติที่ได้

มาโดยชอบธรรม พึงประกอบการค้าขาย

อันชอบธรรม ไม่ประมาท ประพฤติวัตร

แห่งคฤหัสถ์นี้อยู่ ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดา

ชื่อว่า สยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน.

จบธรรมิกสูตรที่ ๑๔

จบจูฬวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 363

อรรถกถาธรรมิกสูตรที่ ๑๔

ธรรมิกสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

ถามว่า มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า มีการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ :-

มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของโลกยังทรงดำรง

อยู่ ได้มีอุบาสกชื่อธรรมิกะ โดยชื่อ และโดยการปฏิบัติ. นัยว่า ธรรมิก-

อุบาสกนั้น เป็นผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นพหูสูต

ทรงพระไตรปิฎก เป็นอนาคามี ได้อภิญญา ได้เที่ยวไปทางอากาศ. ธรรมิก-

อุบาสกนั้นมีอุบาสก ๕๐๐ เป็นบริวาร อุบาสกแม้เหล่านั้น ก็ได้เป็นเช่นนั้น

เหมือนกัน.

วันหนึ่ง ธรรมิกอุบาสกรักษาอุโบสถแล้วไปในที่ลับ หลีกเร้นอยู่ ใน

ตอนสุดท้ายของมัชฌิมยาม ได้เกิดปริวิตกอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย เราควร

จะทูลถามข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือนและของนักบวช. เขาแวดล้อมด้วยอุบาสก

๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลถามความนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงตอบปัญหาแก่เขา.

ในบทเหล่านั้นพึงทราบบทที่พรรณนาไว้ในคราวก่อน โดยนัยที่กล่าว

แล้วนั่นแล ข้าพเจ้าจักพรรณนาบทที่ยังไม่เคยกล่าวไว้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่หนึ่งก่อน. บทว่า กถกโร คือ กระทำ

อย่างไร ปฏิบัติอย่างไร. บทว่า สาธุ โหติ ได้เเก่ เป็นผู้ดี เป็นผู้ไม่มีโทษ

เป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ. เป็นอันท่านกล่าวว่า อุบาสกทั้งนั้น ด้วยบทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 364

อุปาสกาเส ดังนี้. บทที่เหลือ โดยความชัดเจนแล้ว แต่โยชนาแก้ว่า บรรดา

สาวกสองจำพวก คือ สาวกผู้ออกจากเรือนมิได้ครองเรือน คือ บวชก็ดี สาวก

ผู้ครองเรือนเป็นอุบาสกก็ดี สาวกกระทำอย่างไรจึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จ.

บัดนี้ ธรรมิกอุบาสกเมื่อจะแสดงถึงความสามารถของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าที่ถูกถามปัญหาอย่างนี้แล้วจะทรงแก้ได้ จึงกล่าวสองคาถาว่า ตุว หิ

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คตึ ได้แก่ คติที่เป็นอัธยาศัย. บทว่า

ปรายน ได้แก่ ความสำเร็จ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า คตึ ได้แก่ ประเภท

ของคติ ๕ มีนรกเป็นต้น. บทว่า ปรายน ได้แก่ การออกไปจากคติ การ

พ้นจากคติ คือปรินิพพาน. บทว่า น จตฺถิ ตุลฺโย ได้แก่ คนเช่นกับพระองค์

ไม่มี. บทว่า สพฺพ ตุว ฺาณมเวจฺจ ธมฺม ปกาเสสิ สตฺเต อนุกมฺปมาโน

ความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรมไม่มีเหลือ

ทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ทรงประกาศญาณและธรรมทั้งปวง คือทรงทำ

ให้แจ้ง ทรงชี้แจงสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเท่านั้น ท่านอธิบายว่า การปกปิด

การสอนของอาจารย์ย่อมไม่มีแก่ท่าน. บทว่า วิโรจสิ วิมโล ความว่า

พระองค์ปราศจากมลทิน ไพโรจน์เพราะไม่มีมลทินมีราคะเป็นต้น ดุจ

พระจันทร์เว้นจากหมอกและธุลีเป็นต้น บทที่เหลือในคาถานี้มีความง่ายทั้งนั้น.

บัดนี้ ธรรมิกอุบาสกเมื่อจะประกาศชื่อเทพบุตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงธรรมเหล่านั้นในครั้งนั้น และเมื่อจะสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงกล่าวสองคาถาว่า อคจฺฉิ เต สนฺติเก ได้ไปในสำนักของพระองค์ดังนี้

เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 365

ในบทเหล่านั้นบทว่า นาคราชา เอราวโณ นาม ความว่า ได้ยิน

ว่าเทพบุตรนี้ชื่อว่า เอราวัณ มีรูปเป็นเทพบนสวรรค์ สถิตอยู่ในวิมานทิพย์.

เทพบุตรนั้นในเวลาที่ท้าวสักกะเสด็จชมพระอุทยาน ได้เนรมิตกาย ๑๕๐ โยชน์

เนรมิตกระพอง ๓๓ กระพอง เป็นช้างเอราวัณ. บนกระพองหนึ่ง ๆ มีงากระ

พองละ ๒ งา บนงาหนึ่ง ๆ มีสระโบกขรณีงาละ ๗ สระ. บนสระโบกขรณีสระ-

หนึ่ง ๆ มีสระบัวละ ๗ สระ. สระบัวสระหนึ่ง ๆ มีดอกบัวสระละ ๗ ดอก.

บนดอกบัวดอกหนึ่ง ๆ มีดอกละ ๗ กลีบ. บนกลีบหนึ่ง ๆ มีนางอัปสรกลีบละ

๗ นาง ปรากฏชื่อว่าปทุมอัปสรทั้งนั้นฟ้อนรำอยู่. นางฟ้อนของท้าวสักกะมีมา

แล้วในวิมานวัตถุว่า นางอัปสรได้ศึกษาเป็นอย่างดีหมุนตัวบนดอกปทุม. ใน

ท่ามกลางกระพอง ๓๓ กระพองเหล่านั้น มีกระพองชื่อสุทัสสนะประมาณ ๓๐

โยชน์. ที่กระพองสุทัสสนะนั้นมีบัลลังก์แก้วมณีประมาณโยชน์หนึ่งลาดไปบน

มณฑปดอกบัวสูง ๓ โยชน์ อันเป็นสถานที่ที่ท้าวสักกะจอมเทพแวดล้อมด้วย

หมู่นางอัปสรเสวยทิพยสมบัติ. ครั้นเมื่อท้าวสักกะจอมเทพเสด็จกลับจากการ

ชมอุทยาน ช้างเอราวัณก็กลายรูปนั้นเป็นเทพบุตรอย่างเดิม. ธรรมิกอุบาสก

กล่าวว่า พญาช้างชื่อเอราวัณได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ทรงชนะบาปกรรม

แล้วดังนี้จึงได้ไปในสำนักของพระองค์ หมายถึงเทพบุตรนั้น. บทว่า โสปิ

ตยา มนฺตยิตฺวา ได้แก่เทพบุตรนั้นก็ปรึกษากับพระองค์ อธิบายว่าถามปัญหา.

บทว่า อชฺฌคมา คือ ได้บรรลุแล้ว. บทว่า สาธูติ สุตฺวาน ปตีตรูโป

ความว่า เทพบุตรสดับปัญหานั้นแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดีกลับไป.

ในบทว่า ราชาปิ ต เวสฺสวโณ กุเวโร นี้มีอธิบายว่า ยักษ์

นั้นชื่อว่าเป็นพระราชาเพราะอรรถว่าเป็นที่ยินดี ชื่อว่า เวสวัณ เพราะครอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 366

ราชสมบัติในวิสาณราชธานี. พึงทราบว่า ชื่อว่ากุเวรตามชื่อเดิม. ได้ยินมาว่า

ยักษ์ชื่อกุเวรนั้นเป็นพราหมณ์มหาศาล ทำบุญมีทานเป็นต้น เกิดเป็นใหญ่ใน

วิสาณราชธานี เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า กุเวร. ดังที่ท่านกล่าวไว้ในอาฏานาฏิย-

สูตรว่า

กุเวรสฺส โข ปน มาริสา มหาราชสฺส วิสาณา นาม ราชธานี

ตสฺมา กุเวโร มหาราชา เวสฺสวโณติ ปวุจฺจติ.

ความว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ราชธานีชื่อว่าวิสาณะเป็นของท้าวกุเวร

มหาราช เพราะฉะนั้น ท้าวกุเวรมหาราชจึงมีชื่อว่า เวสวัณ. บทที่เหลือในสูตร

นี้ความชัดดีแล้ว. ในเรื่องนั้นพึงมีข้อควรวินิจฉัยดังนี้ ก็เพราะเหตุไร เอราวัณ

เทพบุตรอยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งไกลกว่าจึงมาถึงก่อน เวสวัณเทพบุตรมา

ภายหลัง และอุบาสกนี้ก็อยู่ในนครเดียวกันมาทีหลังเขาทั้งหมด ก็อุบาสกนั้นได้

รู้การมาของเทวดาเหล่านั้นได้อย่างไร จะได้กล่าวให้ทราบต่อไป.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้นเวสวัณเทพบุตรขึ้นบัลลังก์แก้วประพาฬตั้งหลาย

พัน มีนารีเป็นพาหนะถึง ๒ โยชน์ อันยักษ์หมื่นโกฏิชูกระบองแก้วประพาฬ

แวดล้อม ดำริว่า จักทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงบังคับวิมานซึ่ง

ตั้งอยู่บนอากาศ ลงมาตามถนนพื้นดิน บรรลุถึงส่วนบนของที่อยู่ของนันทมาตา

อุบาสิกา ในเวฬุกัณฑกนคร. นี่เป็นอานุภาพของอุบาสิกา. อุบาสิกาเป็นผู้มี

ศีลบริสุทธิ์ เว้นบริโภคอาหารในเวลาวิกาลเป็นนิจ ทรงพระไตรปิฎก ตั้งอยู่ใน

อนาคามิผล. ขณะนั้นนางแง้มหน้าต่างยืนอยู่ใกล้ช่องลมผ่านเพื่อรับอากาศเเล้ว

สาธยายปารายนวรรค ในอัฏฐกนิบาตด้วยเสียงอันไพเราะด้วยบทและพยัญชนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 367

อันกลมกล่อม. เวสวัณเทพบุตรหยุดยาน ณ ที่นั้นเองได้ยินเสียงทั้งหมด ตั้งแต่

อุบาสิกาได้สาธยายบทสรุปว่า อิทมโวจ ภควา มคเธสุ วิหรนฺโต ปาสาณเก

เจติเย ปริจารกโสฬสนฺน พฺราหฺมณาน ความว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์ใกล้แคว้นมคธได้ตรัสพระสูตรนี้แก่พราหมณ์ผู้เป็น

อุปัฏฐาก ๑๖ คน เมื่อจบวรรคสุดท้ายได้ประคองอัญชลีเช่นกับกลองทองซ้อง

สาธุการว่า สาธุ สาธุ น้องหญิง. นางถามว่าใครอยู่ที่นั้น. เวสวัณเทพบุตร

ตอบว่า เรา เวสวัณเทพบุตร น้องหญิง. นัยว่าอุบาสิกาได้เป็นโสดาบันก่อน

เวสวัณได้เป็นภายหลัง. เวสวัณเทพบุตรนั้นร้องเรียกอุบาสิกานั้นด้วยวาทะว่า

น้องหญิง หมายถึงความเป็นผู้ร่วมต้องกันมา. โดยธรรมดา อุบาสิกากล่าวว่า พี่

ชายผู้มีหน้าอันเจริญ บัดนี้ถึงเวลาแล้ว. เวสวัณกล่าวว่า น้องหญิง เราเลื่อมใส

ท่าน เราขอแสดงอาการเลื่อมใสท่าน. อุบาสิกากล่าวว่า ท่านผู้มีหน้าอันเจริญ

ถ้าเช่นนั้น พวกกรรมกรไม่สามารถนำข้าวสาลีที่เก็บเกี่ยวได้แล้วมาได้ ขอให้

ท่านสั่งบริษัทของท่านให้นำมาเถิด. เวสวัณรับว่า ดีแล้วน้องหญิง จึงสั่งพวก

ยักษ์. พวกยักษ์นำข้าวสาลีใส่ฉาง ๑,๓๕๐ ฉางจนเต็ม. ตั้งแต่นั้นมาฉางก็มิได้

พร่องเลย. จึงได้เป็นแบบอย่างขึ้นในโลกว่า เหมือนฉางของนันทมารดา. เวส-

วัณเทพบุตรใส่ข้าวสาลีจนเต็มฉาง แล้วก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านมาผิดเวลา จึงกราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ ด้วย

เหตุนี้ เวสวัณเทพบุตรอยู่ในภพจาตุมมหาราชิกาแม้ใกล้ จึงมาถึงภายหลัง ส่วน

เอราวัณเทพบุตรไม่มีกิจไร ๆ ที่จะต้องทำในระหว่าง ฉะนั้นเอราวัณเทพบุตร

จึงมาก่อน ส่วนอุบาสกนี้เป็นอนาคามี ตามปรกติบริโภคอาหารมื้อเดียวก็จริง

ถึงดังนั้นขณะนั้นเป็นวันอุโบสถ เขาจึงต้องอธิษฐานองค์อุโบสถตอนเย็นนุ่งห่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 368

ผ้าอย่างดี แวดล้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ ไปยังพระเชตวันสดับพระธรรมเทศนาแล้ว

มาเรือนของตน บอกธรรมของอุบาสกมีสรณะ ศีล และอานิสงส์ของอุโบสถ

เป็นต้น ของตนแก่อุบาสกเหล่านั้นแล้วจึงกลับ ที่เรือนของอุบาสกเหล่านั้นและ

ของธรรมิกอุบาสก มีเตียงที่เป็นกัปปิยยะ ๕๐๐ เตียง มีเท้าประมาณศอกกำตั้ง

ไว้ในห้องเฉพาะตน, อุบาสกเหล่านั้นเข้าห้องของตน ๆ นั่งเข้าสมาบัติ แม้

ธรรมิกอุบาสกก็ได้ทำอย่างนั้นเหมือนกัน ก็สมัยนั้นในกรุงสาวัตถีมีตระกูล

ห้าล้านเจ็ดแสนอาศัยอยู่ เมื่อนับจำนวนคนก็มี ๑๘ โกฏิ ด้วยเหตุนั้นใน

ปฐมยาม กรุงสาวัตถีมีเสียงช้างม้าคนและกลองเป็นต้น เป็นเสียงเดียวกันดุจ

มหาสมุทร ในระหว่างมัชฌิมยาม เสียงนั้นก็สงบลง ในกาลนั้น อุบาสกออก

จากสมาบัติ รำลึกถึงคุณความดีของตนแล้วคิดว่า เราอยู่เป็นสุขด้วยมรรคสุข

ผสสุขอันใด สุขนี้เราได้เพราะอาศัยใคร รู้ว่าเพราะอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า จึง

มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า รำพึงต่อไปว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ที่ไหน เห็นเอราวัณเทพบุตรและเวสวัณเทพบุตร ด้วยทิพยจักษุ

แล้วฟังพระธรรมเทศนาด้วยทิพยโสต ทราบว่าเทพบุตรทั้งสองเหล่านั้นมีจิต

เลื่อมใส ด้วยเจโตปริยญาณ จึงคิดว่า ถ้ากระไรแม้เราก็ควรจะถามปฏิปทา

อันเป็นประโยชน์ทั้งสองกะพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะฉะนั้น อุบาสกนั้นแม้อยู่

ในนครเดียวกันก็มาถึงทีหลัง ทั้งได้รู้การมาของเทพบุตรเหล่านั้นด้วยประการ

ฉะนี้ ด้วยเหตุนั้นธรรมิกอุบาสกจึงกล่าวว่า อคจฺฉิ เต สนฺติเก นาคราชา

ฯเปฯ โส จาปิ สุตฺวาน ปตีตรูโป พญาช้างได้ไปในสำนักของพระองค์

ฯลฯ พญาช้างนั้นได้ฟังแล้วก็ซ้องสาธุการชื่นชม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 369

บัดนี้ธรรมิกอุบาสกเมื่อจะสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เลอเลิศขึ้น

ไปกว่าสมณพราหมณ์ ที่โลกสมมติในภายนอกศาสนานี้ จึงกล่าวสองคาถาว่า

เย เกจิเม ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ติตฺถิยา ได้แก่ ชนทั้งหลายผู้เกิดในลัทธินอก

พระศาสนาซึ่งเจ้าลัทธิ ๓ คือ นันทะ วัจฉะและสังกิจฉะเป็นผู้ตั้งขึ้น ศาสดาทั้ง

๖ มีปูรณกัสสปเป็นต้นบวชแล้วในศาสนาของเจ้าลัทธิเหล่านั้น ในศาสดาทั้ง ๖

นั้น นิครนถ์นาฎบุตร อาชีวกนอกนั้น ธรรมิกอุบาสก เมื่อจะแสดงถึงคนทั้ง

หมดเหล่านั้น จึงกล่าวว่า เย เกจิเม วาทสีลา แปลว่า บุคคลเหล่าใดเหล่า

หนึ่งผู้มีปกติกระทำวาทะ ดังนี้. พวกเจ้าลัทธิมีปรกติทำวาทะอย่างนี้ว่า เรา

เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ผู้อื่น ปฏิบัติผิด เที่ยวพูดทิ่มแทงชาวโลกด้วยหอกคือปาก.

บทว่า อาชีวกา วา ได้แก่ ธรรมิกอุบาสกแสดงทำลายทิฏฐิที่ตนยกขึ้นแสดง

รวมกันของบุคคลเหล่านั้น.

บทว่า นาติตรนฺติ คือไม่เดิน. บทว่า สพฺเพ ความว่าธรรมิก-

อุบาสกกล่าวรวมถึงสาวกเดียรถีย์เป็นต้นเหล่าอื่นด้วย. บทว่า ิโต วชนฺต

วิย ความว่า เหมือนคนอ่อนแอยืนอยู่กับที่ไม่พึงเกินคนเดินเร็ว ซึ่งกำลังเดิน

อยู่ได้ฉันใด ชนทั้งหลายเหล่านั้นเพราะไม่มีคติคือปัญญาหยุดอยู่ ไม่สามารถจะ

รู้ประเภทของเนื้อความนั้นๆ ได้ ย่อมไม่เกินพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระปัญญา

ไว้ยิ่งนักฉันนั้น.

บทว่า พฺราหฺมณา วาทสีลา วุฑฺฒา วา ธรรมิกอุบาสกแสดงถึง

จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุสโสณิพราหมณ์

เป็นต้น ด้วยคำเพียงเท่านี้. ด้วยบทนี้ว่า อปิ พฺราหฺมณา สนฺติ เกจิ ได้

แก่ พวกพราหมณ์กลางคนบ้าง หนุ่มบ้างอย่างเดียวมีอยู่. ธรรมิกอุบาสก แสดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 370

ถึง อัสสลายนมาณพ วาสิฎฐมาณพ อันพัฏฐมาณพ และอุตตรมาณพเป็นต้น

ด้วยบทว่า เกจิ. บทว่า อตฺถพทฺธา ได้แก่ชนทั้งหลายเป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์

คือเป็นผู้ผูกพันด้วยประโยชน์อย่างที่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงพยากรณ์ปัญหา

นี้ คือแก้ความสงสัยนี้ได้บ้างไหมหนอ. บทว่า เย จาปิ อญฺเ ธรรมิกอุบาสก

แสดงว่าชนเหล่าใดแม้อื่นเที่ยวสำคัญอยู่อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีวาทะ ชนเหล่า

นั้นทั้งหมดนับไม่ถ้วนมีกษัตริย์ บัณฑิต พราหมณ์ พรหม เทวดา และยักษ์

เป็นต้น เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์.

ธรรมิกอุบาสก สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยประการต่าง ๆ อย่าง

นี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะสรรเสริญพระองค์โดยธรรม จึงวิงวอนขอธรรมกถา กล่าว

สองคาถาว่า อยญฺหิ ธมฺโม ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อยญฺหิ ธมฺโม ธรรมิกอุบาสก กล่าวหมายถึง

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ. บทว่า นิปุโณ ได้แก่ ธรรมที่ละเอียดคือ

ตรัสรู้ได้ยาก. บทว่า สุโข คือเป็นธรรมที่เข้าใจได้ตลอด นำโลกุตรสุขมา

ให้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สุโข เพราะนำความสุขมาให้. บทว่า สุปฺปวุตฺโต

คือ อันพระองค์ตรัสดีแล้ว. บทว่า สุสฺสูสมานา ความว่า พวกข้าพระองค์

ประสงค์จะฟัง. บทว่า ต โน วท ได้แก่ ขอพระองค์ตรัสบอกความข้อนั้นแก่

ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด. บาลีว่า ตฺว โน บ้าง ความว่า ขอพระองค์จงตรัส

แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด. บทว่า สพฺเพปิเม ภิกฺขโว ความว่า นัยว่า

ในขณะนั้นภิกษุ ๕๐๐ รูป นั่งอยู่แล้ว. ธรรมิกอุบาสิก เมื่อจะแสดงถึงภิกษุ

๕๐๐ รูป เหล่านั้น จึงทูลวิงวอน. บทว่า อุปาสกา จาปิ ความว่า ธรรมิก-

อุบาสกแสดงถึงบริวารของตนและคนอื่น ๆ. บทที่เหลือในที่นี้ชัดเจนแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 371

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของนักบวช

ก่อน ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วจึงตรัสคำมีอาทิว่า สุณาถ เม ภิกฺขเว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเราดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺม ธุต ตญฺจ จรถ สพฺเพ ความว่า

ธรรมชื่อว่า ธุตะ เพราะกำจัดกิเลสทั้งหลาย เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรม

ปฏิบัติอันกำจัดกิเลสเห็นปานนี้ และเธอทั้งปวงจงประพฤติคือปฏิบัติธรรมที่เรา

ประกาศแล้ว อธิบายว่า พวกเธออย่าประมาท ดังนี้. บทว่า อิริยาปถ ได้แก่

อิริยาบถ ๔ มีการเดินเป็นต้น. บทว่า ปพฺพชิตานุโลมิก ได้แก่ อิริยาบถ

อันสมควรแก่สมณะ คือ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ. อาจารย์อีกพวกหนึ่ง

กล่าวว่า อิริยาบถอันเป็นไปด้วยการบำเพ็ญกรรมฐานในป่า. บทว่า เสเวถ น

คือพึงเสพอิริยาบถนั้น. บทว่า อตฺถทสฺสี คือ ผู้เป็นประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า

มติมา คือมีความคิด. บทที่เหลือปรากฏชัดแล้วในคาถานี้.

บทว่า โน เว วิกาเล ความว่า ภิกษุเสพอิริยาบถสมควรแก่

บรรพชิตอย่างนี้ ไม่ควรเที่ยวไปในเวลาวิกาล หมายถึงเลยเที่ยงวันไป แต่

ควรเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาลอันสมควร. บทว่า อกาลจารึ หิ

สชนฺติ สงฺคา ความว่า ธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลายไม่น้อยมีข้องด้วยราคะ

เป็นต้น ย่อมข้อง คือเกี่ยวข้อง เข้าไปจับ ติดบุคคลผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่

สมควร. เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล ฉะนั้น

พระอริยบุคคลผู้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ย่อมไม่เที่ยวบิณฑบาตในเวลาวิกาล. นัยว่า

สมัยนั้นยังมิได้บัญญัติวิกาลโภชนสิกขาบท. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 372

เมื่อจะทรงแสดงโทษของปุถุชนทั้งหลายในข้อนี้ด้วยธรรมเทศนา จึงตรัสคาถา

นี้. แต่พระอริยะทั้งหลายเป็นผู้เว้นจากการเที่ยวไปในเวลาวิกาลนั้นพร้อมกับ

การได้มรรคทีเดียว. นี้เป็นธรรมดา.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงห้ามการเที่ยวไปในเวลาวิกาลอย่างนี้แล้ว

เมื่อจะทรงแสดงว่า แม้ภิกษุเที่ยวไปในกาล ก็ควรประพฤติอย่างนี้ ดังนี้ จึง

ตรัสว่า รูปา จ สทฺทา จ ดังนี้.

คาถานั้นมีอธิบายดังนี้ รูปเป็นต้นเหล่าใดยังความมัวเมามีประการ

ต่าง ๆ ให้เกิด ยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา ภิกษุพึงกำจัดเสียซึ่งความพอใจใน

รูปเป็นต้นเหล่านั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในปิณฑจาริตปาริสุทธิสูตรเป็นต้น

พึงเข้าไปบริโภคอาหารในเวลาเช้า โดยกาลอันสมควร. อนึ่ง ชื่อว่า ปาตราโส

เพราะพึงบริโภคในเวลาเช้า บทนี้เป็นชื่อของบิณฑบาต. ในบทนี้ท่านกล่าว

ไว้ว่า ภิกษุนั้นได้บิณฑบาตในถิ่นใด แม้ถิ่นนั้นก็ชื่อว่า ปาตราสะ เพราะความ

ขวนขวายนั้น. ในบทนี้พึงทราบอธิบายอย่างนี้ว่า ภิกษุพึงเข้าไปยังโอกาสที่จะ

ได้บิณฑบาต.

บทว่า เอว ปวิฏฺโ ปิณฺฑญฺจ ภิกฺขุ ฯเปฯ สงฺคหิตฺตภาโว

ความว่า อนึ่งภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว

ฯลฯ ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปิณฺฑ ได้แก่ภิกษามีภัตปนกัน. ภิกษานั้นท่าน

เรียกว่า ปิณฑะ เพราะอรรถว่าสำรวมจากของนั้น ๆ แล้วนำมาคลุกกัน. บทว่า

สมเยน ได้แก่ ภายในเที่ยงวัน. บทว่า เอโก ปฏิกฺกมฺม คือให้เกิดกายวิเวก

กลับไปนั่งไม่มีเพื่อน. บทว่า อชฺฌตฺตจินฺตี ได้แก่ คิดถึงขันธสันดานยกขึ้น

๑. บาลีเป็น ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ม. อุปริ. ๑๔/ ข้อ ๘๓๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 373

สู่พระไตรลักษณ์. บทว่า น มโน พหิทฺธา นิจฺฉารเย ไม่พึงส่งใจไปใน

ภายนอก ความว่า ไม่พึงนำจิตไปในรูปเป็นต้นในภายนอก ด้วยอำนาจกิเลส

มีราคะเป็นต้น. บทว่า สงฺคหิตตฺตภาโว ได้แก่มีจิตยึดมั่นไว้ด้วยดี.

บทว่า เอว วิหรนฺโต จ สเจปิ โส ฯเปฯ ปรูปวาท ความว่า

หากภิกษุนั้นอยู่อย่างนี้พึงเจรจากับสาวกอื่น หรือกับภิกษุไร ๆ ภิกษุนั้นพึง

กล่าวธรรมอันประณีต ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น.

ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายว่า พระโยคาวจรนั้นหากพึงเจรจากับสาวก

ผู้เข้าไปหาเพื่อประสงค์จะฟังอะไร ๆ ก็ดี กับคฤหัสถ์ผู้เป็นอัญญเดียรดีย์ไร ๆ

ก็ดี กับภิกษุผู้บวชแล้วในศาสนานี้ก็ดี. พึงกล่าวธรรมอันประณีต ไม่ทำให้เขา

เดือดร้อน ประกอบด้วยมรรคผลเป็นต้น หรือกถาวัตถุ ๑๐ ไม่พึงกล่าวคำส่อ

เสียดอื่น ๆ หรือกล่าวคำติเตียนผู้อื่นแม้เพียงเล็กน้อย.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงโทษในการกล่าวคำติเตียน

ผู้อื่นนั้น จึงตรัสว่า วาทญฺหิ เอเก บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน ดังนี้.

บทนั้น มีอธิบายดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โมฆบุรุษบางพวก

ในโลกนี้ย่อมประ คือ โต้วาทะอันเป็นถ้อยคำทำให้เกิดวิวาทกันนานาประการ

ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นคำติเตียนผู้อื่น ต้องการจะต่อสู้กัน ดุจประจัญหน้ากับนักรบ

เราไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาทราม เพราะเหตุใด เพราะความ

เกี่ยวข้องทั้งหลายย่อมข้องบุคคลเหล่านั้น เพราะถ้อยคำนั้น ๆ คือ ความ

เกี่ยวข้องด้วยการวิวาทเกิดขึ้นจากคลองแห่งคำนั้น ๆ ย่อมต้องคือติดแน่นบุคคล

เช่นนั้นไว้ เพราะคนเหล่านั้นเมื่อประคารมกัน ย่อมส่งจิตไปในคารมนั้น จิต

ย่อมไปไกลจากสมถะและวิปัสสนา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 374

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงถึงความเป็นไปของผู้มีปัญญาน้อย

แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงถึงความเป็นไปของผู้มีปัญญามากจึงตรัสว่า ปิณฺฑ

วิหาร ฯเปฯ วรปญฺสาวโก ความว่า สาวกผู้มีปัญญาดี ฟังธรรมที่

พระสุคตแสดงแล้ว พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักผ้า

สังฆาฏิแล้วพึงเสพ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น ท่านกล่าวถึงเสนาสนะอย่างเดียวด้วยสามบท คือ ด้วย

วิหารคือที่อยู่ ด้วยที่นอนคือเตียง ด้วยที่นั่งคือตั่ง. บทว่า อาป คือน้ำ.

บทว่า สงฺฆาฏิรชูปวาหน ได้แก่ ซักธุลีผ้าสังฆาฏิมีฝุ่นและมลทินเป็นต้น.

บทว่า สุตฺวาน ธมฺม สุคเตน เทสิต ความว่า ฟังธรรมที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ในการสังวรอาสวะทั้งปวงเป็นต้น ภิกษุ

พิจารณาโดยแยบคาย เสพจีวรเพื่อกำจัดความหนาว. บทว่า สงฺขาย เสเว

วรปญฺาสาวโก สาวกผู้มีปัญญาดีพิจารณาแล้วพึงเสพ ความว่า สาวกผู้มี

ปัญญา พิจารณาปัจจัยแม้ ๔ อย่างคือ บิณฑบาตที่ท่านกล่าวว่า บิณฑะใน

ที่นี้ ๑ เสนาสนะที่ท่านกล่าวด้วยวิหารศัพท์เป็นต้น ๑ คิลานปัจจัย ที่ท่านแสดง

ด้วยอาปศัพท์ ๑ จีวร ที่ท่านกล่าว ด้วยสังฆาฎิศัพท์ ๑ คือ พิจารณาโดยนัยมี

อาทิว่า ยาวเทว อิมสฺส กายสฺส ิติยา เพียงเพื่อดำรงอยู่แห่งกายนี้

เท่านั้นแล้วพึงเสพ. สาวกของพระตถาคตผู้มีปัญญาดี ทั้งที่เป็นเสกขะ. ทั้งที่

เป็นปุถุชน ทั้งที่เป็นพระอรหันต์โดยตรง พึงสามารถเสพได้. จริงอยู่ ท่าน

กล่าวถึง อปัสเสนธรรม คือธรรมเป็นที่พึ่งพิง ๔ อย่าง คือ พิจารณาแล้ว

จึงเสพ ๑ พิจารณาแล้วจึงอาศัย ๑ พิจารณาแล้วจึงเว้น ๑ พิจารณาแล้วจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 375

บรรเทา ๑. เพราะสาวกผู้มีปัญญาดีพิจารณาแล้วพึงเสพ ฉะนั้นแล พึงทราบว่า

ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้ คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซัก

มลทินผ้าสังฆาฎิ เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงข้อปฏิบัติของพระขีณาสพอย่างนี้ ยัง

การปฏิบัติของนักบวชให้จบลงด้วยยอดคือพระอรหัตแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรง

แสดงข้อปฏิบัติของคฤหัสถ์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า คหฏฺวตฺต ปน โว เรา

จะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย ดังนี้.

ในคาถาเหล่านั้นพึงทราบวินิจฉัยในคาถาต้นก่อน. บทว่า สาวโก

ได้แก่ สาวกผู้ครองเรือน. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น. แต่โยชนาแก้ว่า สาวก

ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้อง คือ ไม่อาจเพื่อบรรลุธรรมของภิกษุที่เรา (ตถาคต)

กล่าวไว้ก่อนจากนี้ล้วน คือ ไม่มีอามิส บริบูรณ์สิ้นเชิงด้วยอาการที่มีความหวง-

แหน ด้วยความหวงนาและไร่เป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธธรรมของภิกษุแก่สาวกผู้ครองเรือนนั้น

เมื่อจะทรงแสดงธรรมของคฤหัสถ์เท่านั้น จึงตรัสว่า ปาณ น หเน ไม่พึง

ฆ่าสัตว์ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ท่านกล่าวการเว้นจากการ

ฆ่าสัตว์ อันเป็นความบริสุทธิ์ชั้นยอดด้วยกึ่งคาถาต้น การปฏิบัติประโยชน์เกื้อ-

กูลในสัตว์ทั้งหลายด้วยกึ่งคาถาหลัง. ท่านพรรณนาบทที่ ๓ ไว้ในขัคควิสาณ-

สูตรในสุตตนิบาตนี้ ในบาทที่ ๔ ท่านพรรณนาประเภทของสัตว์ที่มั่นคงและที่

สะดุ้งไว้ในอรรถกถาเมตตสูตรครบทุกประการ. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 376

พึงประกอบนอกลำดับว่า สาวกผู้ครองเรือนวางอาชญาในหมู่สัตว์ทั้งที่มั่นคง

ทั้งที่หวาดสะดุ้ง ไม่พึงฆ่าเอง ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นฆ่า และไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่น.

ฆ่า. อีกอย่างหนึ่ง นอกจากบทว่า นิธาย ทณฺฑ นี้ ควรนำปาฐะที่เหลือมา

ใช้ว่า วตฺเตยฺย พึงเป็นไป ดังนี้. นอกจากนี้ไม่ควรเชื่อมบทหลังด้วยบทต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสิกขาบทต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อ

จะทรงแสดงสิกขาบทที่สอง จึงตรัสว่า ตโต อทินฺน พึงเว้นจากสิ่งที่เขาไม่ให้

อะไร ๆ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า กิญฺจิ คือ ของน้อยก็ดี ของมากก็ดี. บทว่า

กฺจจิ คือ ในบ้านก็ดี ในป่าก็ดี. บทว่า สาวโก ได้แก่สาวกผู้ครองเรือน.

บทว่า พุชฺฌมาโน คือรู้อยู่ว่านี้เป็นของของคนอื่น. บทว่า สพฺพ อทินฺน

ปริวชฺเชยฺย คือ เมื่อเว้นอยู่อย่างนี้พึงเว้นสิ่งทั้งหมดที่เขาไม่ให้ ท่านชี้แจงว่า

ไม่เว้นโดยวิธีอย่างอื่น. บทที่เหลือในข้อนี้มีนัยดังกล่าวแล้ว และปรากฏชัด

แล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงแม้สิกขาบทที่สองชัดเจนดีแล้ว

อย่างนี้ เมื่อจะทรงแสดงสิกขาบทที่สามตั้งข้อกำหนดให้ยิ่งขึ้นไป จึงตรัสว่า

อพฺรหฺมจริย พึงเว้นอพรหมจรรย์ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อสมฺภุณนฺโต คือ ไม่สามารถ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงสิกขาบทที่สี่ จึงตรัสว่า

สภคฺคโต วา คืออยู่ในที่ประชุมเป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สภคฺ-

คโต ได้แก่ ไปสู่สันถาคารเป็นต้น. บทว่า ปริสคฺคโต คืออยู่ในท่ามกลาง

ประชุมชน. บทที่เหลือในข้อนี้มีนัยดังกล่าวแล้ว และปรากฏชัดแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 377

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงแม้สิกขาบทที่สี่ชัดเจนดีแล้ว เมื่อ

จะทรงแสดงสิกขาบทที่ห้า จึงตรัสว่า มชฺชญฺจ ปาน พึงเว้นการดื่มน้ำเมา

ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มชฺชญฺจ ปาน ท่านกล่าวอย่างนี้เพื่อสะดวก

ในการแต่คาถา. แต่มีใจความ มชฺชปานญฺจ สมาจเรยฺย ไม่พึงดื่มน้ำเมา.

บทว่า ธมฺม อิท ได้แก่ ธรรมคือเว้นจากการดื่มน้ำเมา. บทว่า อุมฺมาทนนฺต

คือการดื่มน้ำเมานั้นมีความบ้าเป็นที่สุด. เพราะว่า ผลของการดื่มน้ำเมาอย่าง

เบาเมื่อเป็นมนุษย์ ก็เป็นบ้า. บทว่า อิติ น วิทิตฺวา คือรู้ชัดการดื่มน้ำเมานั้น.

บทที่เหลือในข้อนี้มีนัยดังกล่าวแล้ว และปรากฏชัดแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแม้สิกขาบทที่ห้าให้บริสุทธิ์ที่ชัดเจนอย่างนี้

แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงการดื่มน้ำเมาแห่งสิกขาบทก่อนว่าเป็นการทำ

ความเศร้าหมองและก่อเวร ทรงชักชวนในการเว้นจากการดื่มน้ำเมานั้นให้

มั่นคงยิ่งขึ้นจึงตรัสว่า มทา หิ ปาปานิ กโรนฺติ เพราะคนพาลทั้งหลาย

ย่อมกระทำบาป เพราะความเมาดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มทา คือเพราะเหตุแห่งความเมา. หิ เป็น

นิบาตเพียงทำบทให้เต็ม. บทว่า อุมฺมาทน โมหน ได้แก่ ความบ้าในโลก

หน้า ความหลงในโลกนี้. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงนิจศีลของสาวกผู้ครองเรือนด้วย

เหตุเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงองค์แห่งอุโบสถ จึงตรัสสองคาถาว่า

ปาณ น หเน บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 378

ในบทเหล่านั้น บทว่า อพฺรหฺมจริยา ได้แก่ ประพฤติธรรมไม่ประ-

เสริฐ. บทว่า เมถุนา คือพึงเว้นจากการเข้าถึงเมถุนธรรม. บทว่า รตฺตึ น

ภุญฺเชยฺย วิกาลโภชน ได้แก่ ไม่พึงบริโภคแม้ในกลางคืน ไม่พึงบริโภค

โภชนะล่วงกาลแม้ในกลางวัน. แม้แป้งสำหรับลูบไล้ พึงทราบว่า ท่านถือเอา

ด้วยคันธศัพท์ในบทว่า น จ คนฺธ นี้. บทว่า มญฺเจ คือเตียงที่เป็นกัปปิยะ.

บทว่า สนฺถเต ได้แก่ บนพื้นที่เขาลาดแล้วด้วยเครื่องลาดอันเป็นกัปปิยะ มีเสื่อ

ผืนเล็กเป็นต้น. แม้ลาดด้วยเครื่องลาดมีพรมทำด้วยขนแกะเป็นต้นบนแผ่นดิน

ก็ควร. บทว่า อฏฺงฺคิก คือไม่พ้นองค์ ๘ ดุจดนตรีมีองค์ ๕. บทว่า

ทุกฺขนฺตคุนา คือพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ในวัฏฏะ. บทที่เหลือในข้อ

นี้ปรากฏชัดดีแล้ว. พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า ก็กึ่งคาถาหลัง พระสังคีติกา-

จารย์กล่าวไว้แล้วบ้าง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงองค์แห่งอุโบสถอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะทรงแสดงกาลแห่งอุโบสถ จึงตรัส ว่า ตโต จ ปกฺขสฺส ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตโต เป็นนิบาตเพียงทำบทให้บริบูรณ์. พึง

ประกอบด้วยบทอื่นอย่างนี้ว่า ปกฺขสสุปวสฺสุโปสถ ความว่า พึงเข้าจำอุโบสถ

ทุก ๓ วันเหล่านี้คือ ตลอด ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ พึงเข้าจำ

อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล. ก็ในบทว่า ปาฏิหาริกปกฺขญฺจ นี้ ห้า

เดือนเหล่านี้คือ (อาสาฬหะ) เดือน ๘ ต้นใกล้วันเข้าพรรษา สามเดือนในพรรษา

และเดือน ๑๒ ท่านเรียกว่าปาฏิหาริยปักษ์. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่าปาฏิหาริย.

ปักษ์ มีสามเดือนเท่านั้นคือเดือน ๘ เดือน ๑๒ และเดือน ๔, อาจารย์อีกพวก

หนึ่งกล่าวว่ามี ๔ วัน คือ ๑๓ ค่ำ ๑ ค า ๗ ค่ำ และ ๙ ค่ำในทุก ๆ ปักษ์ โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 379

วันก่อนและวันหลัง ของวันอุโบสถแห่งปักษ์. ชอบอย่างใดก็พึงถือเอาอย่างนั้น

อันผู้ใคร่บุญพึงทำได้ทุกอย่าง. พึงผูกใจไว้ว่า ผู้มีใจเลื่อมใสปฏิหาริยปักษ์นี้

ด้วยประการฉะนี้ ไม่เว้นแม้แต่วันเดียว เข้าถึงองค์ ๘ ทำให้สมบูรณ์ด้วยดี

บริบูรณ์ด้วยดี พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกาลแห่งอุโบสถอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะทรงแสดงถึงกิจ ที่ผู้เข้าจำอุโบสถนั้นในกาลเหล่านั้นควรกระทำ จึงตรัส

ว่า ตโต จ ปาโต ดังนี้.

บทว่า ตโต แม้ในบทนี้ก็เป็นนิบาตเพียงทำบทให้เต็ม. หรือลงใน

อรรถไม่มีระหว่าง ท่านอธิบายว่า ได้แก่ อถ แปลว่าครั้งนั้น. บทว่า ปาโต

ได้แก่ ส่วนเบื้องต้นของวันอื่น. บทว่า อุปวุฏฺฐุโปสโถ ได้แก่ เข้าจำอุโบสถ.

บทว่า อนฺเนน ได้แก่ข้าวยาคูและภัตรเป็นต้น . บทว่า ปาเนน คือ น้ำปานะ

๘ อย่าง. บทว่า อนุโมทมาโน ได้แก่ ชื่นชมยินดีอยู่เนือง ๆ อธิบายว่า

ชื่นชมตลอดกาล. บทว่า ยถารห คือสมควรแก่ตน ท่านอธิบายว่า ตาม

ความสามารถ ตามกำลัง. บทว่า สวิภเชถ คือพึงแจกจ่าย คือพึงบูชา. บท

ที่เหลือปรากฏชัดแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงกิจของผู้เข้าจำอุโบสถอย่างนี้แล้ว บัดนี้

ตรัสถึงครุวัตร (การเคารพ) และอาชีวปาริสุทธิศีล เมื่อจะทรงแสดงถึงฐานะ

ที่ควรถึงด้วยปฏิปทานั้น จึงตรัสว่า ธมฺเมน มาตาปิตโร พึงเลี้ยงมารดาบิดา

โดยธรรม ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบ

ธรรม. บทว่า ภเรยฺย ได้แก่ พึงเลี้ยง. บทว่า ธมฺมิกโส วณิชฺช พึงประ

กอบการค้าขายอันชอบธรรมดังนี้ คือ เว้นการค้าอันไม่เป็นธรรม ๕ อย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 380

เหล่านี้คือ ค้าสัตว์เป็น ๑ ค้าศัสตรา ๑ ค้าเนื้อสัตว์ ๑ ค้าสุรา ๑ ค้ายาพิษ ๑

ค้าขายสิ่งอันเป็นธรรมที่เหลือ. ก็โดยหลักของการค้าในที่นี้ ท่านมุ่งถึงการค้าที่

เป็นธรรมแม้อื่น เช่นกสิกรรมและโครักขกรรม. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

แต่โยชนาแก้ว่า อริยสาวกใดประกอบด้วยธรรมคือนิจศีล อุโบสถศีลและทาน

พึงประกอบการค้าอันชอบธรรม เลี้ยงดูมารดาบิดา ด้วยโภคสมบัติอันได้มาโดย

ธรรม เพราะได้มาจากการค้าอันไม่ปราศจากธรรม ครั้นอริยสาวกผู้เป็นคฤหัสถ์

ไม่ประมาทแล้วอย่างนี้ บำเพ็ญวัตรนี้ดังที่กล่าวไว้แล้วตั้งแต่ต้นเมื่อกายแตกดับ

ผู้ใดกำจัดความมืดด้วยรัศมีของตน เป็นเทพชั้นกามาพจร ๖ ชั้นมีชื่อว่า

สยัมปภา เพราะทำแสงสว่าง ผู้นั้นย่อมเข้าถึง คือย่อมคบ ย่อมติดต่อเทวดา

ชื่อว่า สยัมปภา ย่อมบังเกิดในที่ที่เทวดาเหล่านั้นเกิด ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาธรรมิกสูตรที่ ๑๔ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

จบวรรคที่ ๒ ชื่อจูฬวรรค แห่งอรรถกถาสุตตนิบาต

ชื่อปรมัตถโชติกา

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

๑. รัตนสูตร ๒. อามคันธสูตร ๓. หิริสูตร ๔. มงคลสูตร

๕. สูจิโลมสูตร ๖. ธรรมจริยสูตร ๗. พราหมณธรรมิกสูตร ๘. นาวา

สูตร ๙. กิงสีลสูตร ๑๐. อุฏฐานสูตร ๑๑. ราหุลสูตร ๑๒. วังคีสสูตร

๑๓. สัมมาปริพพาชนิยสูตร ๑๔. ธรรมิกสูตร.

ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวพระสูตร ๑๔ สูตรว่าจูฬวรรคแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 381

มหาวรรคที่ ๓

ปัพพชาสูตรที่ ๑

ว่าด้วยการสรรเสริญบรรพชา

[๓๕๔] ข้าพเจ้าจักสรรเสริญบรรพชา

อย่างที่พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุทรงบรรพชา

ข้าพเจ้าจักสรรเสริญบรรพชา อย่างที่พระ-

พุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงไตร่ตรองอยู่ จึง

ทรงพอพระทัยบรรพชาด้วยดี.

พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า ฆราวาสนี้

คับแคบ เป็นบ่อเกิดแห่งธุลี และทรงเห็น

ว่า บรรพชาปลอดโปร่ง จึงทรงบรรพชา.

พระพุทธเจ้าครั้นทรงบรรพชาแล้ว

ทรงเว้นบาปกรรม ทางกาย ทรงละวจีทุจริต

ทรงชำระอาชีพให้หมดจด.

พระพุทธเจ้า มีพระลักษณะอัน

ประเสริฐมากมาย ได้เสด็จถึงกรุงราชคฤห์

เสด็จเที่ยวไปยังคิริพชนคร แคว้นมคธ เพื่อ

บิณฑบาต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 382

พระเจ้าพิมพิสารประทับยืนอยู่บน

ปราสาท ได้ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยพระลักษณะจึง

ได้ตรัสเนื้อความนี้ว่า

แน่ะ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้ง

หลายจงดูภิกษุรูปนี้เถิด ภิกษุรูปนี้มีรูปงาม

สมบูรณ์ มีพระฉวีวรรณบริสุทธิ์ ถึงพร้อม

ด้วยการเที่ยวไป และเพ่งดูเพียงชั่วเอก มี

จักษุทอดลง มีสติ ภิกษุรูปนี้หาเหมือนผู้บวช

จากสกุลต่ำไม่ ราชทูตทั้งหลายจงรีบไปเถิด

เพื่อทราบว่า ภิกษุรูปนี้จักไป ณ ที่ไหน.

ราชทูตที่พระเจ้าพิมพิสารส่งไปเหล่า

นั้นได้ติดตามไปข้างหลัง เพื่อทราบว่า ภิกษุ

รูปนี้จะไปที่ไหน จักอยู่ ณ ที่ไหน.

พระพุทธเจ้าเสด็จไปตามลำดับตรอก

ทรงคุ้มครองทวาร สำรวมดีแล้ว มีพระสติ

สัมปชัญญะ ได้ทรงยังบาตรให้เต็มเร็ว.

พระองค์ผู้เป็นมุนี เสด็จเที่ยว

บิณฑบาตแล้ว เสด็จออกจากพระนคร เสด็จ

ไปยังปัณฑวบรรพต ด้วยทรงพระดำรู้ว่า

จักประทับอยู่ ณ ที่นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 383

ราชทูตทั้ง ๓ เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จ

เข้าไปสู่ที่ประทับ จึงพากันเข้าไปเฝ้า คน

หนึ่งกลับมากราบทูลแต่พระราชาว่า ขอ

เดชะ ภิกษุรูปนั้นนั่งอยู่ที่หน้าภูเขาปัณฑวะ

เสมือนเสือโคร่ง โคอุสุภราชและราชสีห์ใน

ถ้ำ ฉะนั้น

พระมหากษัตริย์ ทรงสดับคำของ

ราชทูตแล้ว รีบด่วนเสด็จไปยังปัณฑวบรร-

พต ด้วยยานอันอุดม ท้าวเธอเสด็จไปตลอด

พื้นที่แห่งยานแล้ว เสด็จลงจากยาน เสด็จ

พระราชดำเนินด้วยพระบาท เข้าไปถึง

ปัณฑวบรรพตนั้นแล้ว ประทับนั่ง.

ครั้นแล้วได้ทรงสนทนาปราศรัย

ครั้น ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป

แล้ว ได้ตรัสเนื้อความนี้ว่า พระองค์ยังหนุ่ม

แน่น ตั้งอยู่ในปฐมวัย สมบูรณ์ด้วยความ

เฟื่องฟู แห่งวรรณะ เหมือนกษัตริย์ผู้มี

พระชาติ ทรงยังหมู่พลให้งามอยู่ ผู้อันหมู่

ผู้ประเสริฐห้อมล้อมแล้ว หม่อมฉันจะให้

โภคสมบัติ ขอเชิญพระองค์บริโภคโภค-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 384

สมบัติเถิด พระองค์อันหม่อมฉันถามแล้ว

ขอจงบอกชาติแก่หม่อมฉันเถิด.

พระพุทธเจ้าตรัสพระคาถาตอบว่า

ดูก่อนมหาบพิตร ชนบทแห่งแคว้น

โกศล ซึ่งเป็นที่อยู่ข้างหิมวันตประเทศ สม-

บูรณ์ด้วยทรัพย์และความเพียร อาตมภาพ

โดยใครชื่อว่า อาทิตย์ โดยชาติชื่อว่า

ศากยะ ไม่ปรารถนากาม เป็นผู้ออกบวชจาก

สกุลนั้น อาตมภาพเห็นโทษในกามทั้งหลาย

เห็นการบรรพชาเป็นที่ปลอดโปร่ง จักไป

เพื่อความเพียร ใจของอาตมภาพ ยินดีใน

ความเพียรนี้.

จบปัพพชาสูตรที่ ๑

อรรถกถามหาวรรคที่ ๓

อรรถกถาปัพพชาสูตรที่ ๑

ปัพพชาสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ปพฺพชฺช กิตฺติยิสฺสามิ ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า พระสูตรนี้การเกิดขึ้นดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 385

ตอบว่า มีเรื่องเล่าว่าเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระ

เชตวันมหาวิหาร ท่านพระอานนทเถระเกิดปริวิตกว่า การบรรพชาของพระ

มหาสาวกมีพระสารีบุตรเป็นต้นได้รับการสรรเสริญ พวกภิกษุ และอุบาสก

อุบาสิกาทั้งหลาย ทราบเรื่องที่เขาสรรเสริญกัน แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี

ใครสรรเสริญ ถ้ากระไรเราพึงสรรเสริญเองดังนี้. พระอานนท์นั่งถือพัด

วิชนีอันวิจิตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมื่อจะสรรเสริญบรรพชาของพระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงได้กล่าวสูตรนี้ว่า

ปพฺพชฺช กิตฺตยิสฺสามิ ยถา ปพฺพชิ จกฺขุมา

ยถา วีมสมาโน โส ปพฺพชฺช สมโรจยิ.

ข้าพเจ้าจักสรรเสริญบรรพชาอย่างที่

พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุทรงบรรพชา ข้าพ-

เจ้าจักสรรเสริญบรรพชา อย่างที่พระพุทธเจ้า

พระองค์นั้นทรงไตร่ตรองอยู่ จึงทรงพอ

พระทัยบรรพชาด้วยดี ดังนี้.

ความในคาถานั้นมีดังนี้ พระอานนท์กล่าวว่า เพราะอันผู้สรรเสริญ

บรรพชาควรสรรเสริญบรรพชานั้น อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรพชา

อนึ่ง อันผู้สรรเสริญบรรพชานั้น อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรพชา ควร

สรรเสริญบรรพชานั้นอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงไตร่ตรองอยู่ ทรงพอ

พระทัยบรรพชา ฉะนั้นเราจักสรรเสริญบรรพชา แล้วจึงกล่าวคำมีอาทิว่า

ยถา ปพฺพชฺชิ ดังนี้. บทว่า จกฺขุมา ความว่า ถึงพร้อมด้วยจักษุ ๕. บท

ที่เหลือในคาถาต้นง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 386

บัดนี้ พระอานนท์เมื่อจะประกาศความนั้นว่า ยถา วีมสมาโน จึง

กล่าวว่า สมฺพาโธย ฆราวาสนี้คับแคบ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺพาโธ คือหมดโอกาสบำเพ็ญกุศล เพราะ

บีบคั้นด้วยบุตรและภรรยาเป็นต้น เพราะบีบคั้นด้วยกิเลส. บทว่า รชสฺสายตน

ความว่า ฆราวาส เป็นที่เกิดของธุลีมีราคะเป็นต้น ดุจนครกัมโพชะเป็นต้น

เป็นที่เกิดของม้าทั้งหลาย. บทว่า อพฺโภกาโส ความว่า บรรพชาปลอดโปร่ง

ดุจอากาศ เพราะตรงกันข้ามกับความคับแคบดังกล่าวแล้ว. บทว่า อิติ ทิสฺวาน

ปพฺพชิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระทัยอันชราพยาธิและมรณะคอยตัก

เตือนอยู่ด้วยดีในฆราวาสและบรรพชา ทรงเห็นโทษและอานิสงส์แล้ว จึงเสด็จ

ออกมหาภิเนษกรมณ์ เอาพระขรรค์ตัดพระเกศา ณ ฝั่งแม่น้ำอโนมา ทันใด

นั้นมีพระเกศาและพระมัสสุสมควรแก่สมณะตั้งอยู่เพียงสององคุลีทรงรับบริขาร

๘ ที่ฆฎิการพรหมน้อมเข้าไปถวาย ไม่มีใคร ๆ สอนว่าพึงนุ่งอย่างนี้ พึงห่มอย่าง

นี้ ทรงศึกษาโดยการสั่งสมในบรรพชาของพระองค์ เป็นไปแล้วหลายพันชาติ

จึงทรงบรรพชา. ท่านอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งผ้ากาสาวะผืน

หนึ่ง ทรงห่มผืนหนึ่ง ทรงกระทำจีวรขันธ์ คล้องบาตรดินที่พระอังสา ทรง

อธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต. คำที่เหลือในบทนี้มีความง่ายทั้งนั้น.

พระอานนท์ครั้นสรรเสริญการบรรพชาของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้

แล้ว ต่อแต่นี้ไป เพื่อจะประกาศข้อปฏิบัติของบรรพชาและการละฝั่งแม่น้ำ

อโนมา เสด็จไปเพื่อบำเพ็ญเพียร จึงกล่าวคำทั้งหมดมีอาทิว่า ปพฺพชิตฺวาน

กาเยน ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 387

ในบทเหล่านั้นบทว่า กาเยน ปาปกมฺม วิวชฺชยิ ได้แก่ ทรง

เว้น กายทุจริต ๓ อย่าง. บทว่า วจีทุจฺจริต ได้แก่ วจีทุจริต ๔ อย่าง.

บทว่า อาชีว ปริโสธยิ ได้แก่ ทรงละมิจฉาชีวะทรงประกอบสัมมาชีวะ.

พระพุทธเจ้าทรงชำระศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘ อย่างนี้แล้วได้เสด็จถึงกรุง

ราชคฤห์ ประมาณ ๓๐ โยชน์จากฝั่งแม่น้ำอโนมา โดยเพียง ๗ วัน.

พึงทราบวินิจฉัยในบทนั้นว่า อันที่จริงพระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้เป็น

พระพุทธเจ้าในขณะที่เสด็จไปกรุงราชคฤห์ นั่นเป็นบุพจริยาของพระพุทธเจ้า

ที่กล่าวอย่างนั้นก็เหมือนคำกล่าวของชาวโลกว่า พระราชาประสูติที่เมืองนี้ ได้

รับราชสมบัติที่เมืองนี้เป็นต้น.

บทว่า มคธาน ท่านอธิบายว่าเป็นนครของชนบทแห่งแคว้นมคธ แม้

บทว่า คิริพฺพช นี้ ก็เป็นชื่อของแคว้นมคธนั้น. ก็คิริพชนครนั้นตั้งอยู่ดุจคอก

ในท่ามกลางภูเขา ๕ ลูกทีมีชื่อว่า ปัณฑวะ ๑ คิชฌกูฏ ๑ เวภาระ ๑ อิสิคิลิ ๑

เวปุสละ ๑ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า คิริพชนคร. บทว่า ปิณฺฑาย อภิหาเรสิ

คือเสด็จไปในนครนั้นเพื่อบิณฑบาต.

มีเรื่องเล่ามาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นประทับยืน ณ ประตูพระนคร

ทรงดำริว่า หากเราจะพึงให้ข่าวการมาของเราแก่พระเจ้าพิมพิสารว่า สิทธัตถ-

กุมาร โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะมา พระเจ้าพิมพิสารก็จะทรงนำปัจจัยมาให้

เรามาก ก็การบอกรับปัจจัยนั้นไม่สมควรแก่สมณะ เอาเถอะ เราจะเที่ยวไป

บิณฑบาต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห่มผ้าบังสุกุลจีวรที่เทวดาประทานให้ ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 388

ถือบาตรดิน เสด็จเข้าพระนครทางประตูด้านทิศตะวันออก ได้เสด็จเที่ยว

บิณฑบาตตามลำดับเรือน. ด้วยเหตุนั้นท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จออกบิณฑบาต.

บทว่า อากิณฺณวรลกฺขโณ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระ

ลักษณะงามดำรงอยู่ หรือมีพระลักษณะประเสริฐมากมายดุจกระจายไปทั่วพระ

วรกาย. แม้ความไพบูลย์ ท่านก็เรียกว่า อากิณฺณ คือกระจายไป. ดังที่ท่าน

กล่าวว่า คนโลภมาก สกปรกเหมือนผ้าพี่เลี้ยง (เปื้อนด้วยอุจจาระปัสสาวะ).

อธิบายว่า โลภจัด.

บทว่า ตมทฺทส ความว่า ได้ยินว่าในพระนครได้มีการโฆษณาเล่น

นักษัตรตลอด ๗ วันก่อนจากนั้น. แต่ในวันนั้นตีกลองเที่ยวประกาศว่า นัก-

ขัตฤกษ์ล่วงเลยไปแล้ว ควรประกอบการงานกันเถิด. ครั้งนั้นมหาชนประชุม

กันที่พระลานหลวง. แม้พระราชาก็ทรงดำริว่า เราจักเตรียมการงาน ทรง

เปิดสีหบัญชรทอดพระเนตรดูหมู่กำลังพล ได้ทรงเห็นพระมหาสัตว์เสด็จออก

บิณฑบาต ด้วยเหตุนั้นท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า พระเจ้าพิมพิสารประทับ

อยู่บทปราสาท ได้ทอดพระเนตรเห็นพระผู้ทีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

บัดนี้ พระอานนท์เมื่อจะแสดงพระราชดำรัสที่พระเจ้าพิมพิสารตรัส

แก่อำมาตย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า อิม โภนฺโต ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อิม ได้แก่ พระราชานั้นทรงแสดงถึงพระโพธิ-

สัตว์. บทว่า โภนฺโต ทรงเรียกพวกอำมาตย์. บทว่า นิสาเมถ แปลว่า

จงดู. บทว่า อภิรูโป คือมีพระรูปน่าดู. บทว่า พฺรหา คือสมบูรณ์ด้วย

ส่วนสูงและส่วนกว้าง. บทว่าสุจิ คือมีพระฉวีวรรณบริสุทธิ์. บทว่า จรเณน

คือด้วยการดำเนินไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 389

บทว่า นีจกุลามิว ความว่า ภิกษุรูปนี้หาเหมือนผู้บวชจากสกุลต่ำ

ไม่. อักษร เป็นบทสนธิ. บทว่า กุหึ ภิกฺขุ คมิสฺสติ ความว่า พระ

เจ้าพิมพิสารตรัสโดยมีพระประสงค์ว่า พวกราชทูตจงรีบไปเพื่อรู้ว่า ภิกษุรูปนี้

จักไปไหน วันนี้จักอยู่ ณ ที่ไหน เพราะเราประโยคสงค์จะเห็นภิกษุรูปนั้น.

บทว่า คุตฺตทฺวาโร คือทรงคุ้มครองทวารสำรวมดีแล้วด้วยพระสติ

เพราะมีจักษุทอดลง หรือทรงคุ้มครองทวารด้วยสติ คือสำรวมด้วยดี ด้วยการ

ครองสังฆาฎิ และจีวรน่าเลื่อมใส. บทว่า ขิปฺป ปตฺต อปูเรสิ ได้แก่

ได้ทรงยังบาตรให้เต็มเร็วโดยบริบูรณ์ ด้วยพระอัธยาศัยว่า ไม่รับเกินไป หรือ

เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว เพราะมีสติสัมปชัญญะ.

บทว่า มุนี ความว่า ชื่อว่ามุนี เพราะปฏิบัติเพื่อความเป็นผู้ฉลาด

อีกอย่างหนึ่ง กล่าวโดยโวหารของชาวโลกว่า แม้ยังไม่ถึงความเป็นผู้ฉลาด ก็

เป็นมุนี. เพราะชาวโลกทั้งหลายกล่าวถึงนักบวชที่ยังไม่ถึงพร้อมด้วยความฉลาด

ว่าเป็นมุนี. บทว่า ปณฺฑว อภิหาเรสิ ได้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จขึ้นไป

ยังภูเขาปัณฑวะ. ได้ยินว่า ราชทูตถามพวกมนุษย์ว่า ที่นครไม่มีบรรพชิตอยู่

ที่ไหน. พวกมนุษย์จึงบอกแก่เขาว่า มีภิกษุรูปหนึ่งอยู่ที่เงื้อมเขาด้านทิศตะวัน-

ออก บนเขาปัณฑวะ เพราะฉะนั้นพระราชาจึงเสด็จขึ้นไปยังภูเขาปัณฑวะนั้น.

ทรงดำริอย่างนี้ว่า ณ ภูเขานี้คงจักเป็นที่อยู่.

บทว่า พยคฺฆุสโภว สีโหว คิริคพฺภเร คือ เหมือนเสือโคร่ง

เหมือนโคอุสุภราช และเหมือนราชสีห์ อาศัยอยู่ในถ้ำภูเขา. เพราะสัตว์ทั้ง ๓

เหล่านี้เป็นสัตว์ประเสริฐที่สุด ไม่กลัวภัย อาศัยอยู่ในถ้ำ เพราะฉะนั้น ราชทูต

จึงได้เปรียบเทียบอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 390

บทว่า ภทฺรยาเนน คือด้วยยานอันสูงสุด มียานช้าง ม้า รถและวอ

เป็นต้น.

บทว่า ส ยานภูมึ ยายิตฺวา คือ เสด็จไปตลอดพื้นที่สามารถจะเสด็จ

ไปด้วยยาน มีช้างและม้าเป็นต้น. บทว่า อาสชฺช คือ ถึงแล้ว. อธิบายว่า

เสด็จไปใกล้ภูเขานั้น . บทว่า อุปาวิสิ คือ ประทับนั่ง.

บทว่า ยุวา คือ ยังเป็นหนุ่ม. บทว่า ทหโร คือ เป็นหนุ่มโดยชาติ.

บทว่า ปมุปฺปตฺติโต สุสู ท่านยังเป็นหนุ่มแน่นตั้งแต่ปฐมวัย นี้เป็น

วิเสสนะของทั้งสองบทนั้น. บทว่า ยุวา สุสู คือเป็นหนุ่มมาตั้งแต่ปฐมวัย.

บทว่า ทหโร จาปิ คือเมื่อยังมีความเป็นหนุ่ม ย่อมปรากฏเหมือนหนุ่ม

อ่อน. บทว่า อณีกคฺค ได้แก่ หมู่พลพร้อมหน้า. ในบทว่า ททามิ โภเค

ภุญฺชสฺสุ นี้ พึงทราบการเชื่อมความอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจะให้โภคสมบัติใน

แคว้นอังคะมคธะแก่ท่านเท่าที่ท่านต้องการ ท่านยังหมู่พลให้งดงาม แวดล้อม

ด้วยหมู่ผู้ประเสริฐ ขอจงบริโภคสมบัติเถิด.

บทว่า อุชุ ชนปโท ราชา ความว่า นัยว่า ครั้นพระราชาตรัสว่า

ข้าพเจ้าจะให้โภคสมบัติ ขอท่านจงบริโภคโภคสมบัติเถิด ข้าพเจ้าถาม ขอท่าน

จงบอกชาติกำเนิดแก่ข้าพเจ้าเถิด พระมหาบุรุษทรงดำริว่า หากเราพึงปรารถนา

ราชสมบัติ แม้ทวยเทพชั้นจาตุมมหาราชิกาเป็นต้น ก็จะพึงนิมนต์เรา ด้วย

ราชสมบัติของตน อีกอย่างหนึ่ง เราตั้งอยู่ในเรือนก็จะพึงครองราชสมบัติเป็น

พระเจ้าจักรพรรดิ แต่พระราชานี้ไม่รู้จักเราจึงตรัสอย่างนั้น เอาเถิดเราจะให้

พระราชาทรงรู้จักเรา จึงทรงเปล่งพระวาจา แจ้งถึงทิศทางที่พระองค์เสด็จมา

ตรัสว่า อุชุ ชนปโท ราชา ดังนี้เป็นอาทิ. พระมหาบุรุษเมื่อตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 391

หิมวนฺตสฺส ปสฺสโต ข้างหิมวันตประเทศ ทรงแสดงถึงความไม่ขาดแคลน

ข้าวกล้าและสมบัติ. เพราะว่า แม้ศาลาใหญ่มีช่องหินอาศัยหิมวันตประเทศ

ก็เจริญด้วยความเจริญห้าอย่าง จะกล่าวไปทำไมถึงข้าวกล้าที่หว่านลงในนา.

พระมหาบุรุษเนื้อตรัสว่า ธนวิริเยน สมฺปนฺโน สมบูรณ์ด้วยทรัพย์และความ

เพียร จึงทรงแสดงถึงความไม่ขาดแคลนด้วยรัตนะ ๗ และความที่มีวีรบุรุษ

มากมาย ซึ่งราชศัตรูไม่ล่วงล้ำได้ถวายให้พระราชาทรงทราบ. พระมหาบุรุษ

เมื่อตรัสว่า โกสลสฺส นิเกติโน ชนบทแห่งแคว้นโกศลเป็นที่อยู่ดังนี้ ทรง

ปฏิเสธความเป็นพระราชาองค์ใหม่. เพราะพระราชาองค์ใหม่ท่านไม่เรียกว่า

นิเกตี. ชนบทอันเป็นที่อยู่อาศัยโดยสืบต่อกันมาตั้งแต่ต้น ท่านจึงเรียกว่า

นิเกตี เป็นที่อยู่ พระมหาบุรุษตรัสว่า โกสลสฺส นิเกติโน ทรงหมายถึง

พระเจ้าสุทโธทนะ. ด้วยเหตุนั้นพระมหาบุรุษทรงแสดงถึงโภคสมบัติที่ตกทอด

กันมา.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้พระมหาบุรุษทรงแสดงถึงโภคสมบัติของพระองค์

และทรงบอกชาติสมบัติด้วยบทนี้ว่า อาตมภาพโดยโคตรชื่ออาทิตย์ โดยชาติชื่อ

ศากยะ เมื่อจะทรงปฏิเสธพระดำรัสที่พระราชาตรัสว่า ข้าพเจ้าจะให้โภคสมบัติ

ขอท่านจงบริโภคโภคสมบัติเถิด ดังนี้. จึงตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพ

บวชจากตระกูลนั้นไม่ปรารถนาราชสมบัติ ดังนี้. ผิว่า อาตมภาพพึงปรารถนา

สุขก็จะไม่ทอดทิ้งตระกูลอันมากมายด้วยวีรบุรุษแปดหมื่นสองพัน สมบูรณ์ด้วย

ทรัพย์และความเพียรเช่นนี้เลย นัยว่า นี้เป็นอธิบายในข้อนี้.

พระมหาสัตว์ ครั้นทรงปฏิเสธคำทูลของพระราชาอย่างนี้แล้ว ต่อจาก

นั้นเมื่อจะทรงแสดงถึงเหตุแห่งการบรรพชาของพระองค์ จึงตรัสว่า อาตมภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 392

เห็นโทษในการทั้งหลาย เห็นบรรพชาเป็นที่ปลอดโปร่ง. ควรเชื่อมด้วยบทนี้ว่า

เอว ปพฺพชิโตมฺหิ อาตมภาพจึงบวชด้วยเหตุนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า

ทฏฺฐุ แปลว่า เห็นแล้ว. บทที่เหลือในสูตรนี้พึงทราบว่า ในคาถาต้นจาก

คาถานี้ บททั้งปวงที่ยังมิได้วิจารณ์มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น จึงไม่วิจารณ์.

พระมหาสัตว์ ตรัสเหตุแห่งบรรพชาของพระองค์อย่างนี้แล้ว มีพระ

ประสงค์จะเสด็จไปเพื่อประโยชน์แก่ความเพียร เมื่อจะตรัสบอกพระราชา จึง

ตรัสว่า อาตมภาพจักไปเพื่อความเพียร ใจของอาตมภาพยินดีในความเพียรนี้

ดังนี้.

อธิบายความของบทนั้นว่า มหาบพิตร เพราะอาตมภาพเห็นบรรพชา

เป็นที่ปลอดโปร่ง จึงออกบวช ฉะนั้น อาตมภาพปรารถนาบรรพชาอันมีประ-

โยชน์อย่างยิ่งนั้น เป็นอมตนิพพาน อันชื่อว่า ปธานะ เพราะเลิศกว่าธรรมทั้ง

ปวง จักไปเพื่อประโยชน์แก่ความเพียร ใจของอาตมภาพยินดีในความเพียรนี้

ดังนี้.

เมื่อพระมหาสัตว์ตรัสอย่างนี้แล้ว พระราชาจึงตรัสกะพระโพธิสัตว์ว่า

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ หม่อมฉันได้ยินมาก่อนแล้วว่า ได้ยินว่า สิทธัตถกุมาร

โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ ทรงเห็นบุรพนิมิต ๔ ประการ ออกบวชจักเป็น

พระพุทธเจ้า ดังนี้ ข้าแต่พระคุณเจ้า หม่อมฉันเห็นอัธยาศัยของพระองค์จึง

เลื่อมใสอย่างนี้ พระองค์จักบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ดีแล้วพระเจ้า

ข้า พระองค์บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ขอเชิญเสด็จมาเยี่ยมแคว้นของ

หม่อมฉันก่อนเถิด.

จบอรรถกถาปัพพชาสูตรที่ ๑ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 393

ปธานสูตรที่ ๒

ว่าด้วยความเพียรใหญ่

[๓๕๕] มารได้เข้ามาหาเรา ผู้มีตน

ส่งไปแล้วเพื่อความเพียร บากบั่นอย่างยิ่ง

เพ่งอยู่ ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อ

บรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ กล่าววาจา

ด้วยเอ็นดูว่า ท่านผู้ซูบผอม มีผิวพรรณเศร้า-

หมอง ความตายของท่านอยู่ในที่ใกล้.

เหตุแห่งความตายของท่านมีตั้งพัน

ส่วน ความเป็นอยู่ของท่านมีส่วนเดียว ชีวิต

ของท่านผู้ยังเป็นอยู่ประเสริฐกว่า เพราะว่า

ท่านเป็นอยู่ จักกระทำบุญได้.

ท่านประพฤติพรหมจรรย์ และบูชา

ไฟอยู่ ย่อมสั่งสมบุญได้มาก ท่านจักทำ

ประโยชน์อะไรด้วยความเพียร ทางเพื่อ

ความเพียรพึงดำเนินไปได้ยาก กระทำได้

ยาก ให้เกิดความยินดีได้ยาก มารได้ยืน

กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 394

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประ-

พันธ์นี้กะมารผู้กล่าวอย่างนั้นว่า ดูก่อนมารผู้

มีบาป ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของคนประมาท ท่าน

มาในที่นี้ด้วยความต้องการอันใด ความต้อง

การอันนั้นด้วยบุญ แม้มีประมาณน้อย ก็

ไม่มีแก่เรา ส่วนผู้ใด ยังมีความต้องการบุญ

มารควรจะกล่าวกะผู้นั้น.

เรามีศรัทธา ตบะ วิริยะ และปัญญา

ท่านถามเราแม้ผู้มีตนส่งไปแล้ว ผู้เป็นอยู่

อย่างนี้เพราะเหตุไร ลมนี้พึงพัดกระแสแม่-

น้ำทั้งหลายให้เหือดแห่งไปได้ เลือดน้อย

หนึ่งของเราผู้มีใจเด็ดเดี่ยวไม่พึงเหือดแห้ง.

เมื่อโลหิตเหือดแห้งไปอยู่ดีและเสลด

ย่อมเหือดแห้งไป เมื่อเนื้อสิ้นไปอยู่ จิตย่อม

เลื่อมใสโดยยิ่ง.

สติ ปัญญา และสมาธิของเรา ย่อม

ตั้งมั่นโดยยิ่ง เรานั้นพึงจะได้รับเวทนาอัน

แรงกล้าอยู่อย่างนี้ จิตย่อมไม่เพ่งเล็งกาม

ทั้งหลาย ท่านจงดูความที่สัตว์เป็นผู้บริสุทธิ์.

กามทั้งหลาย เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่

๑ ของท่าน ความไม่ยินดี เรากล่าวว่า เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 395

เสนาที่ ๒ ของท่าน ความหิวและความกระหาย

เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๓ ของท่าน ตัณหา

เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๔ ของท่าน ถีนมิทธะ

เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๕ ของท่าน ความ

ขลาดกลัว เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๖ ของ

ท่าน ความสงสัย เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๗

ของท่าน ความลบหลู่ ความหัวดื้อ เรากล่าว

ว่าเป็นเสนาที่ ๘ ของท่าน ลาภ สรรเสริญ

สักการะ เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๙ ของท่าน

และยศที่ได้มาผิดซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลยกตน

และดูหมิ่นผู้อื่น เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๑๐

ของท่าน ดูก่อนมาร เสนาของท่านนี้มีปกติ

กำจัดซึ่งคนผู้มีธรรมดำ คนผู้ไม่กล้าย่อมไม่

ชนะซึ่งเสนาของท่านนั้น ส่วนคนผู้กล้าย่อม

ชนะได้ ครั้นชนะแล้วย่อมได้ความสุข.

ก็เพราะเหตุที่ได้ความสุขนั้น แม้

เรานี้ก็พึงรักษาหญ้ามุงกระต่ายไว้ น่าติเตียน

ชีวิตของเรา เราตายเสียในสงครามประเสริฐ

กว่า แพ้แล้วเป็นอยู่จะประเสริฐอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 396

สมณพราหมณ์บางพวกหยั่งลงแล้ว

ในเสนาของท่านี้ ย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ที่มี

วัตรงาม ย่อมไปโดยหนทางที่ชนทั้งหลาย

ไม่รู้.

เราเห็นมารพร้อมด้วยพาหนะยกออก

แล้วโดยรอบ จึงมุ่งหน้าไปเพื่อรบ มารอย่า

ได้ยังเราให้เคลื่อนจากที่.

โลกพร้อมด้วยเทวโลกย่อมครอบงำ

เสนาของท่านไม่ได้ เราจะทำลายเสนาของ

ท่านเสียด้วยปัญญา เหมือนบุคคลทำลาย

ภาชนะดินทั้งดิบทั้งสุก ด้วยก้อนหิน ฉะนั้น.

เราจักกระทำสัมมาสังกัปปะให้ชำ-

นาญและดำรงสติให้ตั้งมั่นเป็นอันดีแล้ว จัก

เที่ยวจากแคว้นนี้ไปยังแคว้นโน้น แนะนำ

สาวกเป็นอันมาก.

สาวกผู้ไม่ประมาทเหล่านั้นมีใจเด็ด-

เดี่ยว กระทำตามคำสั่งสอนของเรา จักถึงที่

ซึ่งไม่มีความใคร่ ที่ชนทั้งหลายไปถึงแล้ว

ย่อมไม่เศร้าโศก.

มารกล่าวคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 397

เราได้ติดตามรอยพระบาทของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าสิ้น ๗ ปี ไม่ได้ประสบช่อง

ของพระสัมพุทธเจ้าผู้มีสิริ.

มารได้ไปตามลมรอบ ๆ ก้อนหินซึ่ง

มีสีคล้ายก้อนมันข้น ด้วยคิดว่า เราจะประ-

สบความอ่อนแอในพระโคดมนี้บ้าง ความ

สำเร็จประโยชน์พึงมีบ้าง.

มารไม่ได้ความพอใจในพระสัม-

พุทธเจ้า ได้กลายเป็นลมหลีกไป ด้วยคิดว่า

เราถึงพระโคดมแล้ว จะทำให้ทรงเบื่อพระทัย

หลีกไป เหมือนกาถึงไศลบรรพตแล้วบิน

หลีกไป ฉะนั้น.

พิณของมารผู้ถูกความโศกครอบงำ

แล้ว ได้ตกจากรักแร้ ลำดับนั้น มารนั้น

เสียใจ ได้หายไปในที่นั่นแล.

จบปธานสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 398

อรรถกถาปธานสูตรที่ ๒

ปธานสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ต ม ปธานปหิตตฺต มารเข้ามาหาเรา

ผู้มีตนส่งไปแล้วด้วยความเพียร ดังนี้.

ถามว่า เรื่องนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า มีการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้.

ท่านพระอานนท์ ยังบรรพชาสูตรให้จบลง ด้วยบทว่า ปธานาย

คมิสฺสามิ เอตฺถ เม รญฺชติ มโน อาตมภาพจักไปเพื่อความเพียร ใจ

ของอาตมภาพยินดีในความเพียรนี้ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ พระคันธกุฎี ทรงดำริว่า เรา

ปรารถนาความเพียรตลอด ๖ ปี กระทำทุกรกิริยา วันนี้เราจักกล่าวถึงความ

เพียรนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระ-

คันธกุฎี ประทับนั่ง ณ พุทธาสนะทรงปรารภว่า ต ม ปธานปหิตตฺต

ดังนี้ แล้วตรัสพระสูตรนี้.

ในบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอ้างถึงพระองค์ ด้วยคำสองคำ

ว่า ต ม ดังนี้. บทว่า ปธานปหิตตฺต ได้แก่ มีจิตส่งไปแล้วหรือสละ

อัตภาพเพื่อประโยชน์แก่พระนิพพาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงลักษณะ

ด้วยบทว่า นทึ เนรญฺชร ปติ ความว่า แสดงลักษณะ. เพราะ ลักษณะ

ชื่อว่า แม่น้ำเนรัญชรา เพราะมีตนส่งไปแล้วเพื่อความเพียร. โดยเหตุที่ใน

บทว่า นทึ เนรญฺชร เป็นทุติยาวิภัตติ แต่มีความเป็น สัตตมีวิภัตติว่า นทิยา

เนรญฺชราย อธิบายว่า ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา. บทว่า วิปรกฺกมฺม คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 399

บากบั่นอย่างยิ่ง. บทว่า ฌายนฺต คือ บำเพ็ญฌานโดยหายใจแต่น้อย.

บทว่า โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยา คือ เพื่อบรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ ๔.

บทว่า นมุจิ ได้แก่มาร. เพราะมารนั้นไม่ยอมปล่อยเทวดาและมนุษย์

ผู้ประสงค์จะออกจากวิสัยของตน จะทำอันตรายแก่พวกเขา ฉะนั้นท่านจึง

เรียกว่า นมุจิ. บทว่า กรุณ ได้แก่ ประกอบด้วยความเอ็นดู. บทว่า

ภาสมาโน อุปาคมิ นี้ง่ายอยู่แล้ว. เพราะเหตุไรมารจึงเข้าไปใกล้. ได้ยินว่า

วันหนึ่งพระมหาบุรุษดำริว่า ผู้แสวงหาอาหารทุกเมื่อ เป็นผู้หวังในความเป็น

อยู่ อันผู้หวังในความเป็นอยู่ ไม่สามารถบรรลุอมตธรรมได้. แต่นั้นพระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงทรงปฏิบัติโดยตัดอาหาร ด้วยเหตุนั้นพระองค์จึงทรงซูบผอม

มีผิวพรรณเศร้าหมอง.

ครั้งนั้น มารไม่รู้ว่า นี้เป็นทางแห่งการตรัสรู้หรือมิใช่ กลัวไปว่า

พระองค์บำเพ็ญความเพียรอันแรงกล้า บางครั้งจะพึงพ้นวิสัยของเรา จึงมาด้วย

คิดว่า เราพึงกล่าวห้ามอย่างนี้ ๆ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น มารจึงกล่าวว่า ท่าน

ซูบผอม มีผิวพรรณเศร้าหมอง ความตายของท่านอยู่ในที่ใกล้. ก็และครั้น

มารกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงประกาศความที่พระองค์ใกล้ความตาย กล่าวว่า ส่วน

แห่งความตายของท่านมีตั้งพันส่วน ความเป็นอยู่ของท่านมีเพียงส่วนเดียว.

ใจความของบทนั้นมีว่า ชื่อว่า สหสฺสภาโค เพราะมีพันส่วน. ปาฐะที่เหลือ

ว่า อะไรเป็นปัจจัยแห่งความตาย. ส่วนเดียวชื่อว่า เอกโส. ท่านอธิบายไว้ว่า

พันส่วนมีการเพ่งลมหายใจน้อยเป็นต้นนี้ เป็นปัจจัยแห่งความตายของท่าน

ความเป็นอยู่ของท่านมีส่วนเดียวเท่านั้น จากที่ท่านทำความเพียร ความตาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 400

ของท่านอยู่ในที่ใกล้อย่างนี้ ดังนี้. ครั้นมารประกาศความที่พระองค์ใกล้ความ

ตายอย่างนี้เเล้ว เมื่อจะเร่งเร้าพระองค์ในความเป็นอยู่ จึงกล่าวว่า ชีวิตของ

ท่านผู้เป็นอยู่ประเสริฐกว่า เมื่อเป็นอยู่ท่านจักทำบุญได้. ลำดับนั้น มารเมื่อจะ

แสดงบุญที่ตนเห็นด้วย จึงกล่าวว่า จรโต จ เต พฺรหฺมจริย ท่านประพฤติ

พรหมจรรย์ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมจริย มารกล่าวหมายถึงการเว้นเมถุน

เป็นครั้งคราว. บทว่า ชูหโต ได้แก่ บูชาไฟ. บทที่เหลือในที่นี้มีความปรากฏ

ชัดแล้ว.

มารเมื่อจะให้พระองค์เลิกความเพียร จึงกล่าวกึ่งคาถานี้ว่า ทุคฺโค

มคฺโค ทางเพื่อความเพียรดำเนินไปได้ยาก. ในบทนั้นพึงทราบความอย่างนี้ว่า

ชื่อว่า ดำเนินไปได้ยาก เพราะนำไปสู่การเพ่งลมหายใจน้อยเป็นต้น ชื่อว่า ทำ

ได้ยาก เพราะต้องทำด้วยกายและจิตที่เป็นทุกข์ ชื่อว่า ให้เกิดความยินดีได้ยาก

เพราะไม่สามารถจะบรรลุเช่นนั้นได้ด้วยความตายใกล้เข้ามา. เบื้องหน้าแต่นี้

พระสังคีติกาจารย์กล่าวคาถากึ่งหนึ่งนี้ว่า อิมา คาถา ภณ มาโร อฏฺา

พุทฺธสฺส สนฺติเก มารได้ยืนกล่าวคาถานี้ ในสำนักของพระพุทธเจ้า. อาจารย์

พวกหนึ่งกล่าวว่า คาถาทั้งหมดบ้าง. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอ้างพระองค์

ดุจคนอื่น ตรัสถึงความเกิดอย่างนี้ ทั้งหมดในบทนี้เพราะเหตุนั้น นี้คือความ

อดทนของเรา. ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺา แปลว่า ได้ยืนอยู่แล้ว. บทที่

เหลือง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๖ ในบทว่า เยนตฺเถน นี้มีอธิบาย

ดังนี้ ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านมาในที่นี้ด้วยประโยชน์ของตนอันจะทำอันตราย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 401

แก่ผู้อื่น. บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัดค้านคำนี้ว่า เมื่อ

เป็นอยู่ท่านจักทำบุญได้ดังนี้ ตรัสคาถานี้ว่า อณุมตฺโตปิ แม้มีประมาณน้อย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุญฺเน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง

บุญอันไปสู่วัฏฏะซึ่งมารกล่าว. บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าคุกคามมารปรารภคำนี้ว่า ความเป็นอยู่ของ

ท่านมีส่วนเดียว ตรัสคาถานี้ว่า อตฺถิ สทฺธา ศรัทธามีอยู่ดังนี้. ในคาถา

นั้นมีอธิบายดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคุกคามมารอย่างนี้ว่า ดูก่อนมาร

ใจร้าย ท่านไม่เชื่อในสันติวรบท (ทางแห่งความสงบอันประเสริฐ) อัน

ยอดเยี่ยม หรือแม้มีศรัทธาก็เกียจคร้าน หรือมีศรัทธา แม้ปรารภความเพียร

ก็มีปัญญาทราม ตามถามความเป็นอยู่ แต่เรามีศรัทธาหยั่งลงในสันติวรบท

อันยอดเยี่ยม เรามีความเพียรกล่าวคือ ความพยายามไม่ย่อหย่อนทางกายและ

ทางจิต และเรามีปัญญาเปรียบดังวชิระ ท่านถามเราผู้มีตนส่งไปแล้ว คือมี

อัธยาศัยเลิศ มีความเป็นอยู่อย่างนี้ เพราะเหตุไรท่านจึงถาม. ควรประกอบ

สติและสมาธิด้วย ศัพท์ในบทนี้ว่า ปญฺา จ มม ดังนี้. ผู้ประกอบ

ด้วยอินทรีย์ ๕ เหล่าใดย่อมถึงนิพพาน ในอินทรีย์ ๕ เหล่านั้นแม้อย่างเดียว

ก็เว้นไม่ได้ ท่านถามเราผู้มีตนส่งไปแล้ว มีความเป็นอยู่อย่างไรมิใช่หรือ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงข่มมารอย่างนี้ว่า

เอกาห ชีวิต เสยฺโย วิริยมารภโต ทฬฺห

ปญฺวนฺตสฺส ฌายิโน ปสฺสโต อุทยพฺพย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 402

เป็นอยู่วันเดียวของผู้ปรารภความ

เพียรมั่น มีปัญญา มีความเพ่ง เห็นความ

เกิดและความเสื่อมประเสริฐ ดังนี้.

เมื่อจะทรงแสดงความเป็นไปของร่างกายและจิตของพระองค์ จึงตรัส

สองคาถาว่านทีนมฺปิ ดังนี้เป็นต้น. สองคาถานั้นโดยความปรากฏชัดดีแล้ว แต่

อรรถกถาอธิบายไว้ว่า ลมใดที่ตั้งขึ้นจากความเพียรในการเพ่งลมหายใจแต่น้อย

ปั่นป่วนในสรีระของเรา ลมนี้พึงพัดกระแสแม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น ให้

เหือดแห้งไปได้ เลือดประมาณ ๔ ทะนานของเราผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่พึงเหือด

แห้ง มิใช่เพียงโลหิตของเราเท่านั้นเหือดแห้งไป ก็เมื่อโลหิตเหือดแห้งไป ดีที่

อยู่ในร่างกายทั้งประเภทที่เกี่ยวพันและไม่เกี่ยวพัน ย่อมเหือดแห้งไป เสมหะประ-

มาน ๔ ทะนาน ปกปิดการกินการดื่มเป็นต้น ทั้งอะไรอื่นอีก ย่อมเหือดแห้งไป

เพราะฉะนั้น น้ำมูตรและอาหารมีรสย่อมเหือดแห้งไป ก็เมื่อน้ำมูตรและอาหาร

มีรสเหือดแห้งไป แม้เนื้อก็สิ้นไป เมื่อเนื้อของเราสิ้นไปโดยลำดับอย่างนี้ จิต

ย่อมเลื่อมใสโดยยิ่ง จิตมิได้จมลงเพราะสิ่งนั้นเป็นปัจจัย ท่านนั้นไม่รู้จิตเช่นนี้

เห็นเพียงสรีระเท่านั้นก็พูดว่า ท่านซูบผอมมีผิวพรรณเศร้าหมอง ความตาย

ของท่านอยู่ในที่ใกล้ ดังนี้ เพราะเหตุนั้นมิใช่จิตของเราอย่างเดียวเท่านั้น

เลื่อมใส แม้สติ ปัญญาและสมาธิของเราย่อมตั้งมั่นโดยยิ่ง ความประมาทก็ดี

ความลุ่มหลงก็ดี ความฟุ้งซ่านของจิตก็ดี แม้เพียงน้อยหนึ่งก็มิได้มี เมื่อเรา

อยู่อย่างนี้ สมณะและพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ย่อมเสวยเวทนาอันเจ็บปวด

ตลอดกาล ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน จิตของผู้ได้รับเวทนาอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 403

แรงกล้า อันเป็นตัวอย่างของเวทนาเหล่านั้น ย่อมเพ่งเล็งถึงความสุขของผู้อื่น

ผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว เพ่งเล็งถึงความร้อน เมื่อได้รับความหนาว เพ่งเล็งถึง

ความหนาว เมื่อได้รับความร้อน เพ่งเล็งถึงโภชนะ เมื่อได้รับความหิว

เพ่งเล็งถึงน้ำ เมื่อได้รับความกระหาย ฉันใด จิตย่อมไม่เพ่งเล็งในกามคุณ ๕

แม้กามอย่างหนึ่งฉันนั้น จิตองเราไม่เกิดด้วยอาการเช่นนี้ว่าไฉนหนอ เราพึง

บริโภคอาหารดี ที่นอนสบาย ที่นั่งสบาย ดูก่อนมาร ท่านจงดูความที่สัตว์เป็น

ผู้บริสุทธิ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่พระองค์เป็นผู้บริสุทธิ์ เพื่อ

หักร้างความปรารถนาของมารผู้มาแล้ว ด้วยหวังว่า จักห้ามพระองค์ เมื่อจะ

ทรงประกาศกะมารและเสนามาร แล้วทรงแสดงความที่พระองค์เป็นผู้อันมาร

และเสนามารให้แพ้ไม่ได้ด้วยอาการอย่างนี้ จึงกล่าวคาถา ๖ คาถามีอาทิว่า

กามา เต ปมา เสนา กามทั้งหลายเป็นเสนาที่หนึ่งของท่าน.

เพราะกิเลสกามทั้งหลาย ย่อมยังสัตว์ผู้รองเรือนให้ลุ่มหลงในวัตถุ

กามทั้งหลายแต่ต้นทีเดียว เมื่อสัตว์ทั้งหลายถูกกิเลสกามครอบงำเข้าไปบวช

แล้ว ก็จะเกิดความไม่ยินดีในเสนาสนะอันสงัด หรือในธรรมอันเป็นอธิกุสล

อย่างใดอย่างหนึ่ง. สมดังที่ท่านกล่าวว่า ปพฺพชิเตน โข อาวุโส อภิรติ

ทุกฺกรา ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความยินดียิ่งอันบรรพชิตทำได้ยากดังนี้. แต่

นั้นความหิวกระหายย่อมเบียดเบียน เพราะมีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น เพราะถูกความ

หิวกระหายเบียดเบียน ความอยากในการแสวงหา ย่อมทำให้จิตเหนื่อยหน่าย

เมื่อเป็นเช่นนั้น ถีนมิทธะ (ความง่วงเหงาหาวนอน) ย่อมครอบงำผู้มีจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 404

เหนื่อยหน่ายเหล่านั้น. แต่นั้นเมื่อบรรลุคุณวิเศษ อยู่ในเสนาสนะอันสงัดใน

ราวป่า อันยินดีได้ยาก เกิดความกลัวรู้สึกหวาดสะดุ้ง เมื่อชนเหล่านั้นเกิด

ความกลัวความระแวง ไม่พอใจในรสของวิเวกอยู่ตลอดกาลนาน เกิดความ

สงสัยในการปฏิบัติว่า นี้คงไม่ใช่ทางแน่ เมื่อบรรเทาความสงสัยนั้นอยู่ เกิด

มานะ (ถือตัว) มักขะ (ลบหลู่) ถัมภะ (หัวดื้อ) เพราะบรรลุคุณวิเศษ

เพียงเล็กน้อย เมื่อบรรเทามานะ มักขะ ถัมภะอยู่ ย่อมเกิด ลาภ สักการะ

และความสรรเสริญ เพราะอาศัยการบรรลุคุณวิเศษยิ่งไปกว่านั้น. ผู้หมกมุ่น

อยู่ในลาภ ประกาศธรรมปฏิรูป (ธรรมเทียม) บรรลุทางผิด ตั้งอยู่ในทาง

ผิดนั้น ย่อมยกตนข่มผู้อื่นด้วยชาติเป็นต้น ฉะนั้นพึงทราบความที่กามเป็นต้น

เป็นเสนาที่ ๑.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงเสนา ๑๐ อย่างอย่างนี้แล้ว เพราะ

เสนานั้นย่อมเป็นไปเพื่อความอุปการะมารผู้ใจดำ เพราะประกอบด้วยธรรมดำ

ฉะนั้น เมื่อจะทรงอ้างกะมารนั้นว่า ตว เสนา เสนาของท่าน จึงตรัสว่า

เอสา นมุจิ เต เสนา กณฺหสฺสาภิปฺปหารินี ดูก่อนมาร เสนาของท่าน

นี้มีปรกติกำจัดคนผู้มีธรรมคำ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิปฺปหารินี ได้แก่ กำจัด ทำร้าย

ทำอันตรายแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย. บทว่า น น อสูโร ชินาติ เชตฺวา

จ ลภเต สุข คนผู้ไม่กล้าย่อมไม่ชนะเสนาของท่านนั้น ครั้นชนะแล้วย่อม

ได้ความสุข ดังนี้ ความว่า คนผู้ไม่กล้าคือคนที่ไม่มีความเพ่งเล็งในกายและ

ในชีวิต ย่อมไม่ชนะเสนาของท่าน แต่คนกล้าย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้วย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 405

บรรลุมรรคสุข และผลสุข. ก็เพราะได้ความสุข ฉะนั้นแม้เราปรารถนาความสุข

นั้นก็พึงรักษาหญ้ามุงกระต่ายไว้ บุรุษผู้เข้าสงความไม่ยอมถอย เพื่อจะให้รู้

ว่าตนไม่ถอย จึงผูกหญ้ามุงกระต่ายไว้บนศีรษะที่ธงหรือที่อาวุธ ท่านจงจำเรา

ว่ามารนี้ยังนำไปอยู่ น่าติเตียน ชีวิตของเราผู้แพ้ เสนาของท่าน เพราะฉะนั้น

ท่านจงจำไว้อย่างนี้ว่า สงฺคาเม เม มต เสยฺโย ยญฺเจ ชีเว ปราชิโต

เราตายเสียในสงความยังดีกว่า แพ้แล้วเป็นอยู่จะดีได้อย่างไร อธิบายว่า เรา

ตายเสียในสงครามกับท่านผู้ทำอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติชอบ ดีกว่าแพ้แล้วมีชีวิตอยู่.

หากมีคำถามว่า เพราะเหตุไร จึงว่าตายดีกว่า. ตอบว่า เพราะ

สมณพราหมณ์บางพวกหยั่งลงไปแล้วในเสนาของท่านย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้มี

วัตรงามย่อมไปโดยหนทางที่ชนทั้งหลายไม่รู้. อธิบายว่า สมณพราหมณ์

บางพวกหยั่งลงไปแล้ว คือ จมลงไปแล้ว เข้าไปแล้วในเสนาของท่านอันมี

วัตถุกามเป็นเบื้องต้น มีการยกตนข่มผู้อื่นเป็นที่สุดย่อมไม่ปรากฏ คือย่อมไม่

ประกาศด้วยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ดุจเข้าไปสู่ที่มืด สมณพราหมณ์เหล่านี้

หยั่งลงไปแล้วอย่างนี้ บางครั้งก็โผล่ขึ้นโดยนัยมีอาทิว่า สาหุ สทฺธา ดุจบุรุษ

โผล่ขึ้นในบางครั้งแล้วจมลงฉะนั้น. อนึ่ง ผู้มีวัตรงามมีพระพุทธเจ้า พระปัจ-

เจกพุทธเจ้าเป็นต้นแม้ทั้งปวง ย่อมไปโดยหนทางที่ชนทั้งหลายไม่รู้ เพราะถูก

เสนานั้นครอบงำไว้ อันได้แก่ไปสู่พระนิพพานอันเป็นแดนเกษม.

ฝ่ายมารฟังคาถานี้แล้ว ไม่พูดอะไร ๆ แล้วก็หลีกไป. ก็เมื่อมารนั้น

หลีกไปแล้ว พระมหาสัตว์ยังไม่บรรลุธรรมวิเศษอย่างใด เพราะบำเพ็ญทุกร-

กิริยานั้น ทรงดำริต่อไปว่า จะพึงมีทางอื่นเพื่อการตรัสรู้หรือหนอ ทรงให้นำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 406

อาหารหยาบมาเพิ่มกำลัง ในวันเพ็ญเดือน ๖ เสวยข้าวปุายาสของนางสุชาดา

เป็นครั้งแรก ประทับนั่งพักกลางวัน ณ ไพรสณฑ์อันเจริญ ยังสมาบัติ ๘

ให้เกิด ณ ที่นั้น กลางวันผ่าน ไป ในตอนเย็นเสด็จบ่ายพระพักตร์ไปยังควง

มหาโพธิ ทรงเกลี่ยกำหญ้า ๘ กำที่โสตถิยพราหมณ์ถวาย ณ โคนโพธิ เป็นผู้

ที่เทวดาในหมื่นโลกธาตุกระทำการบูชาสักการะมาก ทรงอธิษฐานความเพียรมี

องค์ ว่า แม้เลือดเนื้อในร่างกายของเราจะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนังเอ็น

กระดูกก็ตาม แล้วทรงทำปฏิญญาว่า บัดนี้เรายังไม่บรรลุความเป็นพุทธะแล้ว

จักไม่ทำลายบัลลังก์ ดังนี้. เสด็จประทับนั่ง ณ อปราชิตบัลลังก์ (บัลลังก์ที่ไม่มี

ผู้ทำให้แพ้ได้).

มารผู้ใจบาปรู้ดังนั้นแล้ว จึงคิดว่า วันนี้สิทธัตถะนั่งทำปฏิญญา วันนี้

เดี๋ยวนี้ เราจะต้องห้ามปฎิญญาของสิทธัตถะนั้น จึงประชุมมารเสนาตั้งแต่

โพธิมณฑลถึงสุดจักรวาล กว้างยาว ๑๒ โยชน์ เบื้องบน ๙ โยชน์ ขี่พญาช้าง

ศิริเมขล์ประมาณ ๑๕๐ โยชน์ เนรมิตแขนพันหนึ่ง ถืออาวุธนานาชนิด

ประกาศว่า จงจับ จงฆ่า จงประหาร บันดาลฝนดังที่กล่าวแล้วในอาฬวก-

สูตรให้ตกลง ฝนตกถึงพระมหาบุรุษมีประการดังได้กล่าวแล้วในอาฬวกสูตร

นั้น. แต่นั้นมารเอาขอวชิระสับที่กระพองช้าง ไสเข้าไปใกล้พระมหาบุรุษแล้ว

กล่าวว่า ดูก่อนสิทธัตถะผู้เจริญ จงลุกขึ้นจากบัลลังก์. พระมหาบุรุษตรัสว่า

ดูก่อนมาร เราไม่ลุก ทรงตรวจดูเสนานั้นโดยรอบ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้

ว่า สมนฺตา ธชินึ เสนาโดยรอบ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธชินึ คือเสนา. บทว่า ยุตฺต ได้แก่

ขวนขวายแล้ว. บทว่า สวาหน คือ ร่วมกับพญาช้างคิรีเมขล์. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 407

ปจฺจุคจฺฉามิ คือ มุ่งหน้าไปเบื้องบน. มารนั้นไปด้วยเดชไม่ใช่ด้วยกาย

เพราะเหตุไร เพราะมารไม่ทำให้เราเคลื่อนจากที่ได้. ท่านอธิบายว่า มารอย่า

ทาให้เราเคลื่อนจากที่อปราชิตบัลลังก์นั้น. บทว่า นปฺปสหติ คือไม่สามารถ

อดกลั้นหรือครอบงำได้. บทว่า อามปกฺก ได้แก่ ภาชนะดินทั้งดิบทั้งสุก.

บทว่า อมฺหนา ได้แก่ ด้วยหิน. บทที่เหลือในสูตรนี้ปรากฏชัดแล้ว.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า ดูก่อนมาร เราจักทำลาย

เสนาของท่านนั้น ต่อจากนั้นเราเป็นผู้ชนะสงความแล้ว บรรลุธรรมราชาภิเษก

จักกระทำสัมมาสังกัปปะนี้ ดังนี้ จึงตรัสว่า วสึ กริตฺวา ทำสัมมาสังกัปปะให้

ชำนาญดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วสึ กริตฺวา สงฺกปฺป ความว่า ละมิจฉา

สังกัปปะทั้งหมดด้วยมรรคภาวนา แล้วทำสังกัปปะให้ชานาญโดยให้สัมมา-

สังกัปปะเท่านั้นเป็นไป. บทว่า สติญฺจ สุปติฏิต ดำรงสติให้ตั้งมั่นเป็น

อันดี ความว่า เราจักทำสติของตนในฐานะ ๔ มีกายเป็นต้นให้ตั้งมั่นด้วยดี

ทำสังกัปปะให้ชำนาญอย่างนี้แล้ว มีสติตั้งมั่นด้วยดีจักเที่ยวไปจากแคว้นนี้ไปยัง

แคว้นโน้น แนะนำสาวกเป็นอันมากทั้งที่เป็นเทวดาและมนุษย์ เมื่อเป็นเช่นนั้น

สาวกผู้ไม่ประมาทเหล่านั้นอันเราแนะนำแล้ว มีใจเด็ดเดี่ยวกระทำตามคำสั่ง

สอนของเรา จักถึงที่ซึ่งไม่มีความใคร่ ที่ชนทั้งหลายไปถึงแล้วย่อมไม่เศร้าโศก

อธิบายว่า ที่นั้นได้แก่อมตมหานิพพานนั้นเอง.

ลำดับนั้น มารกล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านเห็นเราเป็นยักษ์ฉะนี้แล้ว ไม่

กลัวดอกหรือ. พระผู้มืพระภาคเจ้าตรัสว่า เออ มารเราไม่กลัวดอก. มารทูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 408

ถามว่า ทำไมไม่กลัว. ทรงตอบว่า เพราะเราได้ทำบุญบารมีมีทานบารมีเป็นต้น.

มารทูลถามว่า ใครรู้ว่าท่านได้ทำบารมีมีทานบารมีเป็นต้น. ตรัสว่า ดูก่อนมารผู้

ใจบาป ประโยชน์อะไรด้วยหาพยานในภพนี้ ก็เมื่อเราเป็นเวสสันดรในภพหนึ่ง

ได้ทำทานอันใดไว้ ด้วยอานุภาพของทานนั้น มหาปฐพีนี้แหละเป็นพยาน

ได้เกิดไหวโดยประการ ๖ อย่างถึง ๗ ครั้ง. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้

แล้ว มหาปฐพีได้ไหวลงไปถึงที่สุดน้ำคำรามเสียงน่ากลัว มารได้ยินดุจสายฟ้า

ตกใจกลัว ขับไล่เสนาหนีไปพร้อมด้วยบริษัท.

ลำดับนั้น พระมหาบุรุษทรงตรัสรู้วิชา ๓ โดย ๓ ยาม พออรุณขึ้น

ทรงเปล่งอุทานนี้ว่า อเนกชาติสสาร ฯเปฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา ความว่า

เราแสวงหานายช่างเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่พบได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสารนับชาติ

ไม่น้อย ความเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนช่างทำเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่าน

ทำเรือนอีกต่อไปไม่ได้แล้ว ซี่โครงของท่านเราหักเสียแล้ว เรือนยอดเรารื้อ

ออกแล้ว จิตของเราถึงวิสังขาร เพราะถึงความสิ้นตัณหาแล้ว ดังนี้.

มารกลับมาด้วยได้ยินเสียงอุทานว่า สิทธัตถะนี้ปฏิญาณณว่า เราเป็น

พระพุทธเจ้าแล้ว จึงคิดว่า เอาเถิด เราจะติดตามเพื่อดูความประพฤติ หาก

พระพุทธเจ้าผู้นี้จักมีความผิดพลาดทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี เราจักทำลายเสีย

จึงติดตามไปตลอด ๖ ปี ณ ที่ประทับของพระโพธิสัตว์ในกาลก่อน แล้วติดตาม

พระองค์ผู้ถึงความเป็นพุทธะแล้วอีก ๑ ปี. ถึงกระนั้นมารก็ไม่เห็นความผิด-

พลาดไร ๆ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้กล่าวคาถาด้วยความท้อใจว่า สตฺต

วสฺสานิ ตลอด ๗ ปี ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โอตาร ได้ช่อง. บทว่า นาธิคจฺฉิสฺส

คือเราไม่ประสบ. บทว่า เมทวณฺณ ได้แก่ คล้ายก้อนมันข้น. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 409

อนุปริยคา คือได้ไปรอบ ๆ. บทว่า มุทุ คือความอ่อนโยน. บทว่า

วินฺเทม ได้แก่ เราจะประสบ. บทว่า อสฺสาทน ได้แก่ ความดี. บทว่า

วายเสตฺโต ตัดบทเป็น วายโส เอตฺโต ได้แก่ กาหลีกไปข้างโน้น .

บทที่เหลือในสูตรนี้ปรากฏชัดดีแล้ว. แต่โยชนาแก้ว่า มารคิดว่าเรามองหา

ช่องติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๗ ปี ไม่ละทางและมิใช่ทางในที่ไหน ๆ

แม้ติดตามอย่างนี้แล้ว ก็ไม่ประสบช่องเหมือนกาสำคัญว่าหินมีสีคล้ายมันข้น

ว่าเป็นมันข้น เอาจะงอยปากจิกที่ข้างหนึ่ง ไม่ประสบความพอใจจึงจิกไปรอบ ๆ

ด้วยหวังว่า ถ้ากระไรเราจะประสบความอ่อนที่ตรงนี้ ความพอใจจะพึงมี

ข้างนี้บ้าง ดังนี้ จึงจิกไปรอบ ๆ ก็ไม่ได้ความพอใจตรงไหน เลยท้อเเท้ว่า

นี้ต้องเป็นหินแน่ ๆ แล้วหลีกไป ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะค่าที่

ตนมีปัญญาเล็กน้อยเอาจะงอยปากทิ่มแทงพระผู้มีพระภาคเจ้า ในกายกรรม

เป็นต้นติดตามไปโดยรอบคิดว่า ไฉนหนอเราจะประสบความอ่อนมีกายสมาจาร

อันไม่บริสุทธิ์เป็นต้นในที่ไหน ๆ บ้าง ความพอใจจะพึงมีจากที่นั้นบ้าง บัดนี้

เราไม่ได้ความพอใจ เหมือนกามาถึงไศลบรรพตแล้วท้อแท้ คือเรามาถึง

พระโคดมแล้วหลีกไป.

นัยว่า เมื่อมารกล่าวอย่างนี้เกิดความเศร้าโศกอย่างแรงกล้าอาศัยความ

ดิ้นรนอันไร้ผลมาตลอด ๗ ปี ด้วยเหตุนั้นพิณน้ำเต้าของมารผู้มีอังคาพยพน้อย

ใหญ่ทรุดลงได้ตกจากรักแร้. ด้วยว่าพิณนั้นอันผู้ฉลาดดีดครั้งเดียวเปล่งเสียง

ไพเราะไปถึง ๔ เดือน ท้าวสักกะรับพิณนั้นมอบให้ปัญจสิขเทพบุตร. มารนั้น

แม้พิณตกก็ไม่รู้สึก. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 410

ตสฺส โสกปเรตสฺส วีณา กจฺฉา อภสฺสถ

ตโต โส ทุมฺมโน ยกฺโข ตตฺเถว อนฺตรธายถ.

พิณของมารผู้ถูกความโศกครอบงำ

แล้ว ได้ตกลงจากรักแร้ ลำดับนั้นมารนั้น

เสียใจ ได้หายไปในที่นั้นนั่นแล ดังนี้.

อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า พระสังคีติกาจารย์กล่าว. แต่คำนั้นไม่ถูกใจ

พวกเรา.

จบการพรรณนาปธานสูตรที่ ๒ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 411

สุภาษิตสูตรที่ ๓

ว่าด้วยวาจาเป็นสุภาษิต

[๓๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต เป็นวาจา

ไม่มีโทษ เเละวิญญูชนไม่พึงติเตียน องค์ ๔ เป็นไฉน. คือ ภิกษุในศาสนานี้

ย่อมกล่าวแต่คำที่เป็นสุภาษิต ไม่กล่าวคำที่เป็นทุพภาษิต ๑ ย่อมกล่าวคำที่

เป็นธรรม ไม่กล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม ๑ ย่อมกล่าวแต่คำอันเป็นที่รัก ไม่กล่าว

คำอันไม่เป็นที่รัก ย่อมกล่าวแต่คำสัตย์ ไม่กล่าวคำเหลาะแหละ ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ นี้แลเป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็น

ทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และวิญญูชนไม่พึงติเตียน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว

จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

สัตบุรุษทั้งหลาย ได้กล่าวคำอันเป็น

สุภาษิตว่าเป็นคำสูงสุด บุคคลพึงกล่าวแต่คำ

ที่เป็นธรรม ไม่พึงกล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 412

ข้อนั้นเป็นที่ ๒ บุคคลพึงกล่าวคำอันเป็นที่รัก

ไม่พึงกล่าวคำอันไม่เป็นที่รัก ข้อนั้นเป็นที่ ๓

บุคคลพึงกล่าวคำสัตย์ ไม่พึงกล่าวคำเหลาะ-

แหละ ข้อนั้นเป็นที่ ๔ ดังนี้.

[๓๕๗] ลำดับนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียง-

บ่าข้างหนึ่ง ประณมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ แล้วได้

กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมเทสนา ย่อมแจ่มแจ้งแก่

ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต พระธรรมเทศนาย่อมแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนวังคีสะ ธรรมเทศนาจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด.

ลำดับนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้ชมเชยด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร

ในที่เฉพาะพระพักตร์ว่า

บุคคลพึงกล่าววาจาอันไม่เป็นเครื่อง

ทำตนให้เดือดร้อน และไม่พึงเบียดเบียน

ผู้อื่น วาจานั้นเป็นสุภาษิตแท้.

บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก

อันชนชื่นชม ไม่ถือเอาคำอันลามก กล่าว

วาจาอันเป็นที่รักของผู้อื่น.

คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย ธรรมนี้

เป็นของเก่า สัตบุรุษทั้งหลายตั้งมั่นแล้วใน

คำสัตย์ ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 413

วาจาที่พระพุทธเจ้าตรัส เป็นวาจา

เกษม เพื่อบรรลุนิพพาน เพื่อกระทำให้แจ้ง

ซึ่งที่สุดทุกข์ วาจานั้นแลเป็นวาจาสูงสุดกว่า

วาจาทั้งหลาย.

จบสุภาษิตสูตรที่ ๓

อรรถกถาสุภาษิตสูตรที่ ๓

สุภาสิตสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าสดับมาแล้ว

อย่างนี้ ดังนี้.

พระสูตรนี้เกิดขึ้นโดยอัธยาศัยของพระองค์. ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงกล่าวคำน่ารัก. พระองค์ทรงห้ามการกล่าวคำชั่วของสัตว์ทั้งหลาย โดยทรง

ประกาศคำกล่าวที่เป็นสุภาษิตของพระองค์ จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้นเป็นคำของพระสังคี-

ติกาจารย์. ในพระสูตร บทว่า ตตฺรโข ภควา ฯเปฯ ภทนฺเตติ เต ภิกฺขุ

นี้ ไม่เคยมีมาแล้ว. บทที่เหลือมีนัยดังได้กล่าวแล้วนั่นแล. เพราะฉะนั้น เพื่อ

พรรณนาบทที่ไม่เคยมีมาแล้วท่านจึงกล่าวคำนี้. บทว่า ตตฺร แสดงถึงเทศะ

และกาละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงในสมัยที่พระองค์อยู่นั้น และ

ในพระอารามที่เสด็จประทับอยู่นั้น อีกอย่างหนึ่ง ทรงแสดงในเทศะและกาละ

อันควรที่จะพึงตรัส. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสธรรมในเทศะหรือในกาละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 414

อันไม่สมควร ตัวอย่างในข้อนี้มีอาทิว่า อกาโล โข ตาว พาหิย ดูก่อน

พาหิยะ ยังไม่ถึงกาละอันควรก่อน ดังนี้. บทว่า โข เป็นนิบาตลงในอรรถ

เพียงให้เต็มบท หรือในอรรถแห่งกาลอันเป็นอวธารณะเป็นต้น. บทว่า ภควา

แสดงถึงความเคารพของชาวโลก. บทว่า ภิกฺขุ เแสดงถึงบุคคลที่ควรฟัง

ถ้อยคำ. บทว่า อามนฺเตสิ คือ ร้องเรียกกล่าวให้รู้ บทว่า ภิกฺขโว

แสดงอาการเรียกหา อนึ่งบทนั้นท่านกล่าว เพราะสำเร็จด้วยคุณมีความเป็น

ผู้มีปรกติขอเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศถึง

ความประพฤติที่ชนเลวและชนดีเสพ ของภิกษุเหล่านั้นจึงทรงกระทำการข่ม

บุคคลผู้ฟุ้งซ่านเป็นคนเลว อนึ่ง ด้วยบทว่า ภิกฺขโว นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเรียกภิกษุเหล่านั้น ให้หันหน้าไปหาพระองค์ด้วยพระดำรัสอันถึงก่อนคือ

มุ่งความกรุณาและพระทัยสุภาพเยือกเย็นและดวงพระเนตรตก แล้วให้ภิกษุ

เหล่านั้นเกิดความใคร่ที่จะฟังพระดำรัสอันแสดงถึงความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะกล่าว

นั้นนั่นแล อนึ่ง ทรงชักชวนภิกษุเหล่านั้นแม้ใส่ใจที่จะฟังด้วยดี ด้วยพระดำรัส

ให้ตั้งอยู่ในความตรัสรู้นั้นนั่นเอง. จริงอยู่ การถึงพร้อมด้วยคำสอนอาศัยการ

ใส่ใจเพื่อฟังด้วยดี.

หากถามว่าเมื่อมีเทวดาและมนุษย์แม้อื่น ๆ อยู่ เพราะเหตุไรพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นเล่า. ตอบว่า เพราะภิกษุเหล่านั้นเป็น

ผู้ใหญ่และเป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้ใกล้ชิดและเตรียมพร้อมอยู่ทุกเมื่อ. จริงอยู่

พระธรรมเทศนานี้ทั่วไปแก่บริษัททั้งหมดไม่เฉพาะบุคคล. ภิกษุชื่อว่า ผู้ใหญ่

ในบริษัทเพราะเกิดก่อน ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐ เพราะรู้ตามพระจริยาของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 415

พระศาสดาตั้งแต่ออกบวชและรับคำสอนได้ตลอด ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิด เพราะ

เมื่อภิกษุเหล่านั้นนั่งในที่นั้นก็นั่งใกล้พระศาสดา ชื่อว่าเตรียมพร้อมทุกเมื่อ

เพราะเป็นผู้อยู่ในสำนักของพระศาสดา ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะ

ทรงแสดงธรรมทั่วไปแก่บริษัททั้งหมด จึงตรัสเรียกภิกษุเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง

ท่านจำแนกไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นด้วยพระดำรัสนี้ว่า

ภิกษุ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติตามที่สอน. บทว่า ภทนฺเต นี้ เป็นชื่อของความ

เคารพ. บทว่า เต ภิกฺขู ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุเหล่าใด

ภิกษุเหล่านั้นแลทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พระองค์ตรัสเรียก.

บทว่า จตูหิ องฺเคหิ คือแต่เหตุ ๔ หรือด้วยส่วน ๔. เหตุแห่ง

วาจาสุภาษิต ๔ มีเว้นจากพูดเท็จเป็นต้น ส่วน ๔ มีพูดจริงเป็นต้น. อนึ่ง

อังคศัพท์ใช้ในอรรถว่า เหตุ. บทว่า สมนฺนาคตา คือมาตามเสมอ เป็นไป

แล้วและประกอบแล้ว. บทว่า วาจา ได้แก่วาจาที่สนทนากันมาในบทมีอาทิว่า

การเปล่งวาจาไพเราะ และการเปล่งวาจาไม่มีโทษ ไพเราะหู, วิญญัตติวาจา

(พูดขอร้อง) อย่างนี้ว่า หากท่านทำกรรมด้วยวาจาเป็นต้น. วิรติวาจา (พูดเว้น )

อย่างนี้ว่า การงดเว้นจากวจีทุจริต ๔ นี้เรียกว่าสัมมาวาจาเป็นต้น และเจตนา-

วาจา (พูดด้วยเจตนา) อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายวาจาหยาบที่เสพมาก

อบรมแล้วทำให้มากจะยังสัตว์ให้ไปนรก ดังนี้เป็นต้น ย่อมมาด้วยบทว่า วาจา

วาจานั้นท่านไม่ประสงค์เอาในสูตรนี้. เพราะเหตุไร เพราะไม่ควรพูด.

บทว่า สุภาสิตา โหติ ได้แก่ กล่าวคำชอบ ด้วยเหตุนั้นท่านแสดง

ความที่วาจานั้นนำประโยชน์มาให้. บทว่า น ทุพฺภาสิตา ได้แก่ กล่าว

๑. อภิ. วิ. ๓๕/ ข้อ ๑๗๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 416

ไม่ชอบ. ด้วยบทนั้นท่านแสดงความที่วาจานั้นนำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์มาให้.

บทว่า อนวชฺชา ได้แก่ เว้นจากโทษมีราคะเป็นต้นที่จัดว่าเป็นโทษ. ด้วย

บทนั้น ท่านแสดงความที่วาจานั้นบริสุทธิ์ด้วยเหตุ และความที่วาจานั้นไม่มีโทษ

อันทำให้ถึงอคติเป็นต้น. บทว่า อนนุวชฺชา จ ได้แก่ เว้นจากการติเตียน.

ด้วยบทนั้นท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยอาการทั้งหมดของวาจานั้น. บทว่า

วิญฺญูน ได้แก่ บัณฑิตทั้งหลาย. ด้วยบทนั้นท่านแสดงว่า ในการนินทา

และสรรเสริญ คนพาลเอาเป็นประมาณไม่ได้. บทว่า กตเมหิ จตูหิ เป็น

คำถามที่พระองค์มีพระประสงค์จะตอบเอง. บทว่า อิธ คือในศาสนานี้.

บทว่า ภิกฺขเว ได้แก่ ร้องเรียกผู้ที่ประสงค์จะกล่าวด้วย. บทว่า ภิกฺขุ ชี้ถึง

บุคคลที่จะกล่าวถึง โดยประการดังกล่าวแล้ว.

บทว่า สุภาสิตเยว ภาสติ ได้แก่ โดยเทศนาเป็นบุคลาธิษฐาน

เป็นคำชี้ถึงองค์ใดองค์หนึ่งในองค์ของวาจา ๔. บทว่า โน ทุพฺภาสิต

ได้แก่ ห้ามการกล่าวทักท้วงองค์ของวาจานั้น. ด้วยบทนั้นย่อมปฏิเสธความเห็น

ว่า บางครั้งแม้มุสาวาทเป็นต้นก็ควรพูดได้. หรือว่าด้วยบทว่า โน ทุพฺภาสิต

นี้ ท่านแสดงการละมิจฉาวาจา. บทว่า สุภาสิต นี้เป็นลักษณะของคำพูดที่

ผู้ละมิจฉาวาจานี้ได้แล้วควรกล่าว เหมือนกล่าวถึง ปาปสฺส อกรณ กุสลสฺส

อุปสมฺปท การไม่ทำความชั่ว การเข้าถึงกุสล. แต่ท่านกล่าวถึงคำที่ไม่ควร

กล่าวเพื่อแสดงองค์ ควรกล่าวเฉพาะคำที่ไม่ได้กล่าวมาในบท. แม้ในคำ

มีอาทิว่า ธมฺมเยว ก็มีนัยนี้แล. ในสูตรนี้ท่านกล่าวถึงคำที่ทำให้สุภาพเว้นจาก

โทษมีส่อเสียดเป็นต้น ด้วยบทนี้ว่า สุภาสิตเยว ภาสติ โน ทุพฺภาสิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 417

กล่าวเเต่คำที่เป็นสุภาษิต ไม่กล่าวคำที่เป็นทุพภาษิต. ด้วยบทว่า ธมฺมเยว

ภาสติ โน อธมฺม ย่อมกล่าวคำที่เป็นธรรมเท่านั้น ไม่กล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม

นี้ ท่านกล่าวถึงคำที่เป็นปัญญา ไม่ปราศจากธรรมเว้นจากโทษคือคำ

เพ้อเจ้อ. ด้วยบททั้งสองนี้ ท่านกล่าวถึงคำน่ารักเป็นสัจจะ เว้นจากคำหยาบ

และคำเหลาะแหละ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงองค์เหล่านั้นโดยประจักษ์ จึง

ทรงสรุปคำนั้นด้วยบทมีอาทิว่า อิเมหิ โข ดังนี้. ส่วนโดยพิสดารในบทนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๔

เหล่านี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ทรงปฏิเสธคำที่พวกอื่นบัญญัติว่า วาจาสุภาษิต

ประกอบด้วยส่วนทั้งหลายมีปฏิญญาเป็นต้น ด้วยบทนามเป็นต้น และด้วยการ

ประกอบลิงค์ วจนะ วิภัตติ์ กาล และการกเป็นต้น จากธรรม.

วาจาประกอบด้วยการพูดส่อเสียดเป็นต้น แม้ถึงพร้อมด้วยส่วนเป็นต้น

ก็เป็นวาจาทุพภาษิตอยู่นั่นเอง เพราะเป็นวาจาที่นำความฉิบหายมาให้แก่ตน

และคนอื่น. วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้ แม้หากว่านับเนื่องด้วยภาษา

ของชาวมิลักขะ (คนป่าเถื่อน) หรือนับเนื่องด้วยภาษาของหญิงรับใช้และนักขับ

ร้องแม้ดังนั้นก็เป็นวาจาสุภาษิตได้เหมือนกัน เพราะนำโลกิยสุขและโลกุตรสุข

มาให้. เมื่อหญิงรับใช้ผู้ดูแลข้าวกล้าที่ข้างทางในเกาะสีหลขับเพลงขับเกี่ยวด้วย

ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะด้วยภาษาสีหล ภิกษุผู้บำเพ็ญวิปัสสนาประมาณ

๖๐ รูป เดินไปตามทางได้ยินเข้าก็บรรลุพระอรหัต ณ ที่นั้นเอง นี่เป็นตัวอย่าง.

อนึ่ง ภิกษุผู้เริ่มวิปัสสนาชื่อติสสะไปใกล้สระปทุม เมื่อหญิงรับใช้เด็ดดอก

ปทุมในสระปทุมขับเพลงขับนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 418

ปาตผุลฺล โกกนท สูริยาโลเกน ตชฺชียเต

เอว มนุสฺสตฺตคตา สตฺตา ชราภิเวเคน มิลายนฺติ

ดอกบัวบานในเวลาเช้า ถูกแสง-

อาทิตย์แผดเผาย่อมเหี่ยวแห้ง สัตว์ทั้งหลาย

ผู้ถึงความเป็นมนุษย์ก็เหมือนอย่างนั้น ย่อม

เหี่ยวแห้งไปด้วยอำนาจของเรา ดังนี้.

ภิกษุนั้นก็บรรลุพระอรหัต.

ในระหว่างพุทธกาล บุรุษผู้หนึ่งมาจากป่าพร้อมด้วยบุตร ๗ คน ได้

ยินเพลงขับของหญิงคนหนึ่งซ้อมข้าวอยู่ว่า

ชราย ปริมทฺทิต เอต มิลาตจฺฉวิจมฺมนิสฺสิต

มรเณน ภิชฺชติ เอต มจฺจุสฺส ฆสมามิส คต

กิมีน อาลย เอต นานากุณเปน ปูริต

อสุจิสฺส ภาชน เอต กทลิกฺขนฺธสม อิท.

สรีระนี้ถูกชราย่ำยี ผิวหนังเหี่ยวแห้ง

ย่อมแตกไปด้วยมรณะ ถึงความเป็นอาหาร

และเหยื่อของมัจจุ.

สรีระนี้เป็นที่อาศัยของเหล่าหนอน

เต็มไปด้วยซากศพนานาชนิด สรีระนี้เป็น

ภาชนะของอสุจิ สรีระนี้ เสมอด้วยต้น

กล้วย ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 419

บุรุษนั้นได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ พร้อมกับบุตรทั้งหลาย. อนึ่ง

ยังมีตัวอย่างผู้อื่นที่บรรลุอริยภูมิด้วยอุบายเช่นนี้อีก. นั้นยังไม่น่าอัศจรรย์นัก

ภิกษุ ๕๐๐ รูปฟังคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดในอาสยานุสยญาณ (รู้

อัธยาศัยของสัตว์) ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา

สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ ได้บรรลุพระอรหัต. อนึ่ง เทวดา

และมนุษย์เหล่าอื่นไม่น้อย ฟังกถาภาษิตประกอบด้วยขันธ์และอายตนะเป็นต้น

ได้บรรลุพระอรหัต.

วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้อย่างนี้ แม้หากว่าเป็นวาจาที่เนื่อง

ด้วยภาษาของพวกมิลักขะ และเนื่องด้วยภาษาของหญิงรับใช้ และนักขับร้อง

พึงทราบว่าเป็นวาจาสุภาษิตเหมือนกัน. เพราะเป็นวาจาสุภาษิตนั่นเอง จึงเป็น

วาจาไม่มีโทษ และวิญญูชน คือ กุลบุตรผู้ต้องการประโยชน์ ยึดอรรถไม่ยึด

พยัญชนะไม่พึงติเตียน.

บทว่า อิทมโวจ ภควา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสลักษณะ

ของคำเป็นสุภาษิตนี้แล้ว. บทว่า อิท วตฺวาน สุคโต อถาปร เอตทโวจ

สตฺถา พระสุคตผู้ศาสดาได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีก ความว่า พระสุคต

ตรัสลักษณะนี้แล้ว พระศาสดาได้ตรัสอย่างอื่นต่อไปอีก. พระสังคีติกาจารย์

ครั้นแสดงคาถาที่ควรกล่าวในบัดนี้แล้ว จึงกล่าวบทนี้ทั้งหมด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อปร ท่านกล่าวหมายถึงคำเป็นคาถาประพันธ์.

คาถาประพันธ์นั้นมีสองอย่าง แสดงถึงประโยชน์อันหมายถึงคนที่มาภายหลัง

หรือการไม่ได้ฟัง การได้ฟัง การทรงจำและการทำให้มั่นเป็นต้น และแสดงถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 420

ความวิเศษของประโยชน์ โดยการชี้แจงถึงประโยชน์อันจะให้เกิดความเสียหาย

ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งมาก่อน ดุจในประโยคมีอาทิว่า ปุริสสฺส หิ ชาตสฺส

กุารี ชายเต มุเข ขวานเกิดในปากของบุรุษผู้เกิดแล้ว. แต่ในที่นี้เป็นดำ

แสดงถึงประโยชน์อย่างเดียว. ในบทเหล่านั้นบทว่า สนฺโต คือพระพุทธเจ้า

เป็นต้น. จริงอยู่ สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมกล่าวคำอันเป็นสุภาษิตว่าเป็นคำสูงสุด

ประเสริฐสุด. บทว่า ทุติย ตติย จตุตฺถ นี้ ท่านกล่าวหมายมุ่งถึงลำดับ

ที่แสดงไว้ก่อนแล้ว.

ก็ในที่สุดแห่งคาถา พระวังคีสเถระ เลื่อมใสสุภาษิตของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. พระสังคีติกาจารย์เมื่อแสดงคำที่พระวังคีสเกระทำอาการเลื่อมใส และ

คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อถโข อายสฺมา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิภาติ ม คือพระธรรมเทศนาย่อมแจ่มแจ้ง

แก่ข้าพระองค์. บทว่า ปฏิภาตุ ต คือ พระธรรมเทศนาจงแจ่มแจ้งแก่เธอเถิด.

บทว่า สารุปฺปาหิ คือ สมควร. บทว่า อภิตฺถวิ คือ สรรเสริญ. บทว่า

น ตาปเย คือไม่ให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วยความร้อนใจ. บทว่า น วิหึเสยฺย

คือไม่พึงทำลายเบียดเบียนกันและกัน. บทว่า สา เว วาจา คือวาจานั้น

เป็นสุภาษิตโดยส่วนเดียว. พระวังคีสเถระชมพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาจาอัน

ไม่ส่อเสียดด้วยเหตุเพียงนี้. บทว่า ปฏินนฺทิตา ได้แก่ มีใจร่าเริงยินดีน่ารัก

จนปรากฏออกเฉพาะหน้า. บทว่า ย อนาทาย ปาปานิ ปเรส ภาสเต

ปิย บุคคลพึงกล่าววาจาอันเป็นที่รักไม่ถือเอาคำอันลามกของผู้อื่น อธิบายว่า

บุคคลเมื่อจะกล่าววาจาใด ย่อมกล่าวคำน่ารักไพเราะด้วยอรรถและพยัญชนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 421

ไม่ถือเอาคำลามก คือ คำไม่เป็นที่รัก คำน่าเกลียด คำหยาบแก่ผู้อื่น พึงกล่าว

แต่วาจาน่ารักอย่างเดียวนั้น. พระวังคีสเถระสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

วาจาน่ารักด้วยคาถานี้. บทว่า อมตา ได้แก่ วาจาเช่นอมตะ เพราะไพเราะ.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สจฺจ หเว สาธุตร รสาน คำสัจแล

ประเสริฐกว่ารสทั้งหลาย.

อีกอย่างหนึ่ง วาจาชื่อว่าเป็นอมตะ เพราะเป็นปัจจัยแห่งอมตะ คือ

นิพพาน. บทว่า เอส ธมฺโม สนนฺตโน ได้แก่ ธรรมคือสัจวาจาเป็น

ของเก่า เป็นจริยธรรม ปเวณิธรรม. สัจจะนี้แลประพฤติกันมาแต่โบราณ ท่าน

เหล่านั้นไม่พูดเหลาะแหละ. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สจฺเจ

อตฺเถ จ ธมฺเม จ อหุ สนฺโต ปติฏฺิตา สัตบุรุษทั้งหลายตั้งอยู่ใน

สัจจะที่เป็นอรรถและธรรม. ในบทนั้นพึงทราบว่า เพราะตั้งอยู่ในสัจจะนั่นแล

จึงชื่อว่าตั้งอยู่ในประโยชน์ตนและผู้อื่น เพราะตั้งอยู่ในประโยชน์นั้นเเล จึง

ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม. พึงทราบว่า ทั้งสองนั้นเป็นวิเสสนะของสัจจะนั่นเอง.

ตั้งอยู่ในสัจจะเป็นเช่นไร คือที่เป็นอรรถและเป็นธรรม. ท่านอธิบายไว้ว่า

ทำความพอใจ ชื่อว่าเป็นประโยชน์ เพราะไม่ปราศจากประโยชน์ของผู้อื่น.

อนึ่ง ท่านอธิบายไว้ว่า เมื่อมีความพอใจ ย่อมทำสิ่งที่มีความเป็นธรรม

อันชื่อว่าธรรม เพราะไม่ปราศจากธรรม ให้สำเร็จ. พระวังคีสเถระสรรเสริญ

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำสัจ ด้วยคาถานี้. บทว่า เขม ได้แก่ ไม่มีภัย

คือ ไม่มีอันตราย. หากมีคำถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า ให้ถึงการดับ

กิเลสด้วยการบรรลุพระนิพพาน ทำที่สุดแห่งทุกข์ อธิบายว่า ย่อมเป็นไป

เพื่อทำที่สุดทุกข์ในวัฏฏะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 422

บทว่า ย พุทฺโธ นิพฺพานปตฺติยา ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย วาจา

ที่พระพุทธเจ้าตรัส เป็นวาจาเกษมเพื่อบรรลุพระนิพพาน เพื่อทำที่สุดทุกข์

ความว่า พระพุทธเจ้าตรัสวาจาเกษมเพราะประกาศทางอันเกษมเพื่อประโยชน์

แก่พระนิพพานทั้งสอง. บทว่า สา เว วาจานมุตฺตมา พึงทราบความใน

คาถานี้อย่างนี้ว่า วาจานั้นเป็นวาจาประเสริฐกว่าวาจาทั้งปวง. พระวังคีสเถระ

สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาจาปัญญาด้วยคาถานี้ ยังเทศนาให้จบลง

ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต นี้เป็นการพรรณนาบทตามลำดับในพระสูตร

นี้. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาสุภาสิตสูตรที่ ๓ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อว่าปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 423

สุนทริกสูตรที่

ว่าด้วยการถามปัญหาเกี่ยวกับชาติโคตร

[๓๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา แคว้น

โกศลชนบท ก็สมัยนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์บูชาไฟ บำเรอการ

บูชาไฟอยู่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา. ครั้งนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ครั้น

บูชาไฟบำเรอไฟแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะ เหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบด้วยคิดว่า

ใครหนอแล ควรบริโภคข้าวปายาสที่เหลือนี้ สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ทรงคลุมพระกายตลอดพระเศียรอยู่ที่โคน-

ไม้แห่งหนึ่ง จึงถือเอาข้าวปายาสที่เหลือด้วยมือซ้าย ถือเต้าน้ำด้วยมือข้างขวา

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง

เปิดพระเศียรออก เพราะเสียงฝีเท้าของสุนทริกภารทวาชพราหมณ์. ครั้งนั้น

สุนทริกภารทวาชพราหมณ์คิดว่า ท่านผู้นี้เป็นคนโล้น ๆ ดังนี้แล้ว ปรารถนา

จะกลับจากที่นั้น. ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ดำริว่า แม้พราหมณ์

บางพวกในโลกนี้ก็เป็นคนโล้น ผิฉะนั้นเราพึงเข้าไปถามถึงชาติ ลำดับนั้นแล

สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้น

แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านมีชาติอย่างไร.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบสุนทริกภารทวาชพราหมณ์

ด้วยพระคาถาว่า

๑. อรรถกถาเป็น ปูรฬาสสตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 424

[๓๕๙] เราไม่ใช่พราหมณ์ ไม่ใช่

ราชโอรส ไม่ใช่แพศย์หรือใคร ๆ เรา

กำหนดรู้โคตรของปุถุชนแล้ว ไม่มีความ-

กังวล เที่ยวไปด้วยปัญญาใน เรานุ่งห่ม

(ไตรจีวร) สังฆาฏิ ไม่มีเรือน ปลงผมแล้ว

มีตนดับความเร่าร้อนแล้ว ไม่คลุกคลีกับด้วย

มนุษย์ (มาณพ) ทั้งหลายในโลกนี้ เที่ยว

ไปอยู่ ท่านถามถึงปัญหาเกี่ยวด้วยโคตรอัน

ไม่สมควรกะเรา.

ดูก่อนพราหมณ์ผู้เจริญพวกพราหมณ์

ย่อมถามกับพวกพราหมณ์ด้วยกันว่าท่านเป็น

พราหมณ์หรือหนอ ถ้าว่าท่านกล่าวว่าเรา

เป็นพราหมณ์ แต่ท่านกล่าวกะเราผู้มิใช่

พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราขอถามสาวิตรี

ซึ่งมีบท ๓ มีอักขระ ๒๔ กะท่าน.

พราหมณ์ทูลถามว่า

พวกฤๅษี มนุษย์ กษัตริย์ และ

พราหมณ์เป็นอันมากในโลกนี้ อาศัยอะไร

ได้กำหนดยัญแก่เทวดาทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 425

เราขอบอกว่าผู้ถึงที่สุดทุกข์ ถึงที่สุด

เวท จะพึงได้เครื่องบูชา ในเมื่ออาหาร

อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ใดเข้าไปตั้งไว้ในกาล

แห่งยัญ ยัญกรรมของผู้นั้นพึงสำเร็จ.

พราหมณ์ทูลว่า

การบูชาของข้าพเจ้านั้น พึงสำเร็จ

เป็นแน่แท้ เพราะข้าพเจ้าได้พบบุคคลผู้ถึง

เวทเช่นนั้น อันที่จริง คนอื่นย่อมได้บริโภค

เครื่องบูชา เพราะไม่ได้พบบุคคลผู้เช่นท่าน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เพราะเหตุนั้นแหละพราหมณ์ ท่าน

ผู้มีความต้องการด้วยประโยชน์ จงเข้าไป

ถามเถิดท่านจะพบผู้มีปัญญาดี ผู้สงบ ไม่มี

ความโกรธ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ใน

ศาสนานี้แน่แท้.

พราหมณ์ทูลว่า

(ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ) ข้าพเจ้า

ยินดีแล้วในยัญ ใคร่จะบูชายัญ แต่ข้าพเจ้า

ยังไม่ทราบชัด ขอท่านจงพร่ำสอนข้าพเจ้า

เถิด ขอท่านจงบอกซึ่งที่เป็นที่สำเร็จแห่ง

การบูชาแก้ข้าพเจ้าเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 426

ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้นท่านจง

เงี่ยโสตลงเถิด เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน

ท่านอย่าถามถึงชาติ จงถามแต่ธรรมสำหรับ

ประพฤติเถิด ไฟย่อมเกิดแต่ไม้แล แม้ผู้ที่

เกิดในสกุลต่ำ เป็นมุนีมีปัญญา เป็นผู้เกียด

กันอกุศลวิตกด้วยหิริ รู้เหตุการณ์ได้โดย

ฉับพลันก็มี.

พราหมณ์ผู้มุ่งบุญ พึงบูชา พึงหลั่ง

ไทยธรรมในทักขิไณยบุคคลผู้ที่ฝึกตนด้วย

สัจจะผู้ประกอบด้วยการฝึกฝนอินทรีย์ ผู้ถึง

ที่สุดแห่งเวท ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ตามกาล.

ชนเหล่าใดละกามทั้งหลายได้แล้ว

ไม่ยึดมั่นอะไร ๆ เที่ยวไป มีตนสำรวมดีแล้ว

เหมือนกระสวยที่ไปตรง ฉะนั้น พราหมณ์

ผู้มุ่งบุญพึงบูชา พึงหลั่งไทยธรรม ในชน

เหล่านั้นตามกาล.

ชนเหล่าใดปราศจากราคะ มีอินทรีย์

ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นแล้วจากการจับของ

กิเลส เปล่งปลั่งอยู่ เหมือนพระจันทร์ที่พ้น

แล้วจากการเบียดเบียนของราหู สว่างไสว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 427

อยู่ ฉะนั้น พราหมณ์พึงหลั่งไทยธรรม

ในชนเหล่านั้นตามกาล.

ชนเหล่าใดไม่เกี่ยวข้อง มีสติทุกเมื่อ

ละนามรูป ที่คนพาลถือว่าเป็นของเราได้แล้ว

เที่ยวไปในโลก พราหมณ์พึงหลั่งไทยธรรม

ในชนเหล่านั้นตามกาล.

พระตถาคตละกามทั้งหลายได้แล้ว

ครอบงำกามทั้งหลายเที่ยวไป รู้ที่สุดแห่ง

ชาติและมรณะ ดับความเร่าร้อนได้แล้ว

เป็นผู้เยือกเย็นเหมือนห้วงน้ำ ย่อมควรเครื่อง

บูชา.

พระตถาคตผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย อยู่ห่างไกลจากบุคคลผู้ไม่เสมอ

ทั้งหลาย เป็นผู้มีปัญญาไม่มีที่สุด ผู้อัน

ตัณหาทิฏฐิไม่ฉาบทาแล้วในโลกนี้หรือใน

โลกอื่น ย่อมควรเครื่องบูชา.

พระตถาคตผู้เป็นพราหมณ์ ไม่มี

มายา ไม่มีมานะ ปราศจากความโลภ ไม่

ยึดถือในสัตว์และสังขารว่าเป็นของเรา หา

ความหวังมิได้ บรรเทาความโกรธแล้ว มี

ตนดับความเร่าร่อนได้แล้ว ละมลทิน คือ

ความโศกเสียได้ ย่อมควรเครื่องบูชา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 428

พระตถาคตละตัณหาและทิฏฐิที่อยู่

ประจำใจได้แล้ว ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอะไร ๆ

ไม่ถือมั่นในโลกนี้หรือในโลกอื่น ย่อมควร

เครื่องบูชา.

พระตถาคตมีจิตตั้งมั่นแล้ว ข้าม

โอฆะได้แล้ว และได้รู้ธรรมด้วยทิฏฐิอย่างยิ่ง

มีอาสวะสิ้นแล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีใน

ที่สุด ย่อมควรเครื่องบูชา.

ภวาสวะและวาจาหยาบคาย อันพระ-

ตถาคตกำจัดได้แล้ว ทำให้สิ้นสูญ ไม่มีอยู่

พระตถาคตผู้ถึงเวท พ้นวิเศษแล้วในธรรม.

ทั้งปวง ย่อมควรเครื่องบูชา.

พระตถาคตผู้ล่วงกิเลสเครื่องข้อง

ไม่มีธรรมเป็นเครื่องข้อง ไม่เป็นสัตว์ผู้มี

มานะในเหล่าสัตว์ผู้มีมานะ กำหนดรู้ทุกข์

พร้อมทั้งไร่นาและที่ดินย่อมควรเครื่องบูชา.

พระคถาคตไม่อาศัยตัณหา มีปกติ

เห็นนิพาน ก้าวล่วงทิฏฐิที่จะพึงให้ผู้อื่นรู้

ไม่มีอารมณ์อะไร ๆ ย่อมควรเครื่องบูชา.

ธรรมทั้งที่เป็นภายในและภายนอก

พระตถาคตแทงตลอดแล้ว กำจัดได้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 429

ถึงความสาบสูญมิได้มี พระตถาคตนั้นเป็น

ผู้สงบแล้ว น้อมไปในธรรม เป็นที่สิ้นอุปา-

ทาน ย่อมควรเครื่องบูชา.

พระตถาคตเห็นที่สุดแห่งควานสิ้นไป

แห่งชาติ บรรเทาสังโยชน์อันเป็นทางแห่ง

ราคะเสียได้ไม่มีส่วนเหลือ เป็นผู้บริสุทธิ์

ไม่มีโทษ ปราศจากมลทิน ไม่มีความใคร่

ย่อมควรเครื่องบูชา.

พระตถาคตไม่พิจารณาเห็นตนโดย

ความเป็นตน มีจิตตั้งมั่น ปฏิบัติตรง ดำรง

ตนมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่มีกิเลสดุจหลักตอ

ไม่มีความสงสัย ย่อมควรเครื่องบูชา.

พระตถาคตไม่มีปัจจัยแห่งโมหะ

อะไร ๆ เห็นด้วยญาณในธรรมทั้งปวง ทรง

ไว้ซึ่งสรีระมีในที่สุด และได้บรรลุสัมโพธิ-

ญาณที่ยอดเยี่ยม อันเกษม ความบริสุทธิ์

ของบุรุษ ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ (พระ-

ตถาคตย่อมควรเครื่องบูชา).

พราหมณ์ทูลว่า

การบูชาของข้าพระองค์ จะเป็น

การบูชาจริง เพราะว่า ข้าพระองค์ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 430

บุคคลผู้ถึงเวทเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นพรหม ผู้เห็นเองแท้ ขอได้โปรดทรงรับ

ทรงบริโภคเครื่องบูชาของข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนพราหมณ์ เราไม่พึงบริโภค

โภชนะที่ขับกล่อมได้มา ข้อนี้ไม่ใช่ธรรม-

เนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ทรงเห็น

อยู่โดยชอบ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรง

ห้ามโภชนะที่ขับกล่อมได้มา.

ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ การ

แสวงหาเป็นความประพฤติของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ก็ท่านจงบำรุงพระขีณาสพผู้บริบูรณ์

ด้วยคุณทั้งปวง ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้มี

ความคนองสงบแล้ว ด้วยข้าวน้ำอย่างอื่น

เถิด เพราะว่าเขตนั้นเป็นเขตของบุคคลผู้มุ่ง

บุญ.

พราหมณ์ทูลว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอประ-

ทานวโรกาส ข้าพระองค์ถึงคำสั่งสอนของ

พระองค์แล้ว พึงรู้แจ่มแจ้งอย่างที่พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 431

ตรัสบอก ขอพระองค์จงทรงแสดงทักขิไณย -

บุคคลผู้บริโภคทักขิณา ของบุคคลผู้เช่นกับ

ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์จะพึงแสวงหา

บำรุงอยู่ ในกาลแห่งยัญ แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ท่านจงกำจัดความสยิ้วหน้า จงประ-

คองอัญชลีนอบน้อมผู้ที่ปราศจากความแข่งดี

ผู้มีจิตไม่ขุ่นมัวหลุดพ้นแล้วจากกามทั้งหลาย

บรรเทาความง่วงเหงาเสียแล้ว นำกิเลสออก

เสียได้ ผู้ฉลาดในชาติและมรณะ ผู้นั้นเป็น

มุนี สมบูรณ์ด้วยปัญญาผู้มีแล้วสู่ยัญเช่นนั้น

จงบูชาด้วยข้าวและน้ำเถิด ทักขิณาย่อม

สำเร็จได้ด้วยอาการอย่างนี้.

พราหมณ์ทูลว่า

พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ที่บุคคล

ควรบูชาในโลกทั้งปวง เป็นบุญเขตอย่าง

ยอดเยี่ยม ย่อมควรเครื่องบูชา ท่านที่บุคคล

ถวายแล้วแด่พระองค์ เป็นทานมีผลมาก.

[๓๖๐] ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 432

พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม

โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้

หลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้น

ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์ กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ

ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระองค์เถิด สุนทริกภารทวาช-

พราหมณ์ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ก็ท่าน

สุนทริกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

ฉะนั้นแล.

จบสุนทริกภารทวาชสูตรที่ ๔

ปูรฬาสสูตรที่

ปูรฬาสสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ภาย

หลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ชื่อสุนทริกภาร-

ทวาชะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัต ทรงทราบว่า เมื่อเราไป ณ ที่นั้น

จักได้สนทนากัน จากนั้นเมื่อการสนทนาสิ้นสุดลง พราหมณ์นั้นฟังธรรม

เทศนาแล้วจักบวช แล้วจักบรรลุพระอรหัต ดังนี้ จึงเสด็จไป ณ ที่นั้น

เริ่มสนทนากัน ได้ตรัสพระสูตรนี้.

๑. บาลีเป็นสุนทริกสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 433

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น เป็นคำของพระสังคีติ-

กาจารย์. บทว่า กึชจฺโจ ภว ท่านมีชาติอย่างไร ดังนี้ เป็นคำของพราหมณ์

นั้น. คำมีอาทิว่า

น พฺราหฺมโณ โนมฺหิ น ราชปุตฺโต

น เวสฺสายโน อุท โกจิ โนมฺหิ

โคตฺต ปริญฺาย ปุถุชฺชนาน

อกิญฺจโน มนฺตจรามิ โลเก.

เราไม่ไช่พราหมณ์ ไม่ใช่ราชโอรส

ไม่ใช่แพศย์หรือใคร ๆ เรากำหนดรู้โคตร

ของปุถุชนแล้ว ไม่มีความกังวลเที่ยวไปด้วย

ปัญญาในโลก ดังนี้.

เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ประมวลเรื่องทั้งหมดนั้น

เรียกว่า ปูรฬาสสูคร. พึงทราบบทเช่นเดียวกัน กับที่กล่าวในสูตรนั้นตามนัย

ที่กล่าวแล้วนั่นแล. เราจักพรรณนาบทที่ยังไม่กล่าวไว้. และจะไม่แตะต้อง

บทที่มีความง่ายเลย. บทว่า โกสเลสุ ได้แก่ พระราชกุมารชาวชนบทชื่อว่า

โกสล. ชนบทหนึ่งเป็นที่ประทับ ของพระราชกุมารเหล่านั้น ท่านเรียกว่าโกสล

ด้วยรุฬหีศัพท์. ในแคว้นโกศลชนบทนั้น. แต่อาจารย์บางพวกพรรณนา

ไว้ว่า ครั้งก่อน พระราชาทรงสดับว่า มหาปนาทราชกุมารทอดพระเนตร

การฟ้อนรำแล้วไม่ทรงแสดงอาการแม้เพียงทรงพระสรวล จึงรับสั่งว่า ผู้ใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 434

ทำโอรสของเราให้หัวเราะได้ เราจะให้เครื่องสรรพาภรณ์กะผู้นั้น. แต่นั้น

หมู่มหาชนทิ้งไถประชุมกัน พวกมนุษย์แม้แสดงการเล่นต่าง ๆ เกิน ๗ ปี

ก็ไม่สามารถให้พระราชกุมารนั้นทรงพระสรวลได้ ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงส่ง

นักฟ้อนที่เป็นเทพดาไป. นักฟ้อนที่เป็นเทพดาแสดงการฟ้อนที่เป็นทิพย์แล้ว

ทำให้พระราชกุมารทรงพระสรวลได้. พวกมนุษย์เหล่านั้นจึงพากันกลับที่อยู่

ของตน ๆ. พวกมนุษย์เห็นมิตรและสหายเป็นต้นสวนทางมาได้ทำปฏิสันถารว่า

สบายดีอยู่ดอกหรือท่าน สบายดีอยู่ดอกหรือท่าน ดังนี้ . เพราะฉะนั้น ประเทศ

นั้นจึงเรียกว่า โกสละ หมายถึงเสียงว่า กุสล กุสล นั้น. บทว่า สุนฺทริกาย

นทิยา ตีเร คือ ที่ฝั่งแม่น้ำอันมีชื่อย่างนี้ว่า สุนทริกา. บทว่า เตน โข

ปน ได้แก่ โดยสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะทรงแนะนำพราหมณ์

นั้น จึงเสด็จไปประทับด้วยอิริยาบถนั่งทรงห่มคลุมพระเศียร ณ โคนต้นไม้ ที่

ฝั่งแม่น้ำนั้น.

บทว่า สุนฺทริกภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์นั้นอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำนั้น

และบูชาไฟอยู่. อนึ่ง ภารทวาชะเป็นชื่อโคตรของพราหมณ์. เพราะฉะนั้น ท่าน

จึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า อคฺคึ ชูหติ ได้แก่ ให้ไฟโพลงด้วยการใส่เครื่อง

บูชา. บทว่า อคฺคิหุต ปริจรติ บำเรอการบูชาไฟ คือ เข้าไปยังที่ก่อไฟ

ด้วยการกวาด ลูบไล้ และพลีกรรมเป็นต้น . บทว่า โก นุ โข อิม หพฺยเสส

ภุญฺเชยฺย ใครหนอควรบริโภคข้าวปายาสที่เหลือนี้ ความว่า นัยว่าพราหมณ์

นั้นบูชาไฟเห็นข้าวปายาสที่เหลือ จึงคิดว่ามหาพรหมบริโภคข้าวปายาสที่ใส่ลง

ไปในไฟ แต่ข้าวปายาสนี้ยังมีเหลืออยู่ ผิว่าเราพึงให้ข้าวปายาสนั้นแก่พราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 435

ผู้เกิดจากปากของพรหม แม้บุตรพร้อมด้วยบิดาของเราก็จะพึงอิ่มหนำ, ทางไป

สู่พรหมโลก พึงเป็นทางที่เราชำระไว้ดีแล้ว เอาเถิดเราจะแสวงหาพราหมณ์.

ลำดับนั้น ภารทวาชพราหมณ์ลุกจากที่นั่งเพื่อหาพราหมณ์ เหลียวดูทิศทั้งสี่ด้วย

คิดว่า ใครหนอ ควรบริโภคข้าวปายาสที่เหลือนี้. บทว่า อญฺตรสฺมึ รุกฺข-

มูเล ได้แก่ ที่โคนไม้ต้นอันประเสริฐ ณ ไพรสณฑ์นั้น. บทว่า สสีส ปารุต คือ

คลุมกายตลอดศีรษะ. ก็เพราะเหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจงได้ทรงทำอย่างนั้น.

เหตุมีอยู่ว่า แม้ผู้มีกำลังเทียบพระนารายน์ก็ไม่สามารถจะห้ามหิมะตก หรือ

ความหนาวและสมได้ จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ทรงประคับประคอง

พระวรกายด้วยประการทั้งปวงก็จริง ถึงดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า

เมื่อพราหมณ์มาหาจักเปิดศีรษะ ครั้นพราหมณ์เห็นเราก็จักสนทนากันเมื่อเป็น

ดังนั้น เราจักแสดงธรรมโดยให้พราหมณ์คล้อยไปตามคำของเรา เพราะฉะนั้น

พระองค์จึงได้ทรงกระทำอย่างนั้นเพื่อสนทนากัน. บทว่า ทิสฺวาน วาเมน

ฯเปฯ เตนุปสงฺกมิ พราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งทรงคลุม

พระกายตลอดพระเศียรอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง จึงถือเอาข้าวปายาสที่เหลือ

ด้วยมือซ้าย ถือน้ำเต้าด้วยมือขวา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ความว่า นัยว่าพราหมณ์นั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วคิดว่า ท่านผู้นี้คลุม

ตลอดศีรษะประกอบความเพียรตลอดคืน เราจักให้ทักษิโณทกแล้วให้ข้าว

ปายาสที่เหลือนี้ สำคัญว่าเป็นพราหมณ์จึงเข้าไปหา. บทว่า มุณฺโฑ อย ภว

มุณฺฑโก อย ภว ท่านผู้นี้เป็นคนโล้น ๆ ความว่า พอพระผู้มีพระภาคเจ้า

เปิดพระเศียร พราหมณ์เห็นพระเกสาจึงกล่าวว่า มุณฺโฑ คนโล้น. พราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 436

มองดูอย่างถี่ถ้วนไม่เห็นปลายพระเกศา แม้แต่น้อยจึงเหยียดหยามกล่าวว่า

มุณฺฑโก คนโล้นเลี่ยนดังนี้. ด้วยว่า พราหมณ์เหล่านั้นมีทิฏฐิเห็นปานนี้.

บทว่า ตโต จ ได้แก่จากที่ที่ ยืนอยู่แล้วได้เห็น. บทว่า มุณฺฑาปิ โหนฺติ

ได้แก่ แม้พราหมณ์บางพวกก็เป็นคนโล้นด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง.

อักษรในบทว่า น พฺราหฺมโณ โนมฺหิ นี้ ลงในความปฏิเสธ.

โน อักษรลงในอวธารณะ (ห้ามความอื่น) ดุจในประโยค น โน สม ทรัพย์

นั้นไม่เสมอด้วยพระตถาคต ดังนี้เป็นต้น. ด้วยบทนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ว่า เรามิใช่พราหมณ์ดังนี้. บทว่า น ราชฺปุตโต เราไม่ใช่ราชโอรส. บทว่า

น เวสฺสายโน เราไม่ใช่แพศย์. บทว่า อุท โกจิ โนมฺหิ ศูทรหรือจัณฑาล

หรือใคร ๆ แม้อื่น ๆ เราก็ไม่เป็น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการอ้างคำพูด

ว่าโดยชาติอย่างสิ้นเชิงอย่างนี้. เพราะเหตุไร เพราะกุลบุตรผู้ได้บรรพชาแล้ว

ย่อมสละชื่อและโคตรที่มีมาก่อน เหมือนแม่น้ำไหลลงสู่มหาสมุทรฉะนั้น. ปหา-

ราทสูตรเป็นตัวอย่างในข้อนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัดค้านคำกล่าวถึงชาติ

อย่างนี้ ทรงเปิดเผยพระองค์ตามความเป็นจริง ตรัสว่าเรากำหนดรู้โคตรของปุถุ-

ชนแล้วไม่มีความกังวล เที่ยวไปด้วยปัญญาในโลก ดังนี้. หากมีคำถามว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้โคตรอย่างไรเล่า. ตอบว่า เพราะพระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงกำหนดเบญจขันธ์ทั้งหลายด้วยปริญญาสาม เมื่อทรงกำหนดรู้เบญจขันธ์

เหล่านั้นแล้ว เป็นอันทรงกำหนดรู้โคตรนั่นเอง. พระองค์ไม่มีความกังวล

เพราะไม่มีความกังวลมีราคะเป็นต้น. พระองค์ทรงรู้ด้วยปัญญา เที่ยวไปด้วย

กายกรรมเป็นต้น อันหมุนไปตามญาณทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 437

จึงตรัสว่า โคตฺต ฯเปฯ โลเก ดังนี้. ปัญญาท่านเรียกว่า มนฺตา. พระองค์

เที่ยวไปด้วยปัญญานั้น. ด้วยเหตุนั้นแล ท่านจึงกล่าวว่า มนฺตจรามิ โลเก

ทำเป็นรัสสะด้วยอำนาจของฉันท์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ทรงเปิดเผยพระองค์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ

ทรงค้านคำของพราหมณ์ ด้วยพระดำรัสว่า ท่านเห็นบุคคลผู้มีเพศอันประ-

เสริฐอย่างนี้แล้ว ยิ่งไม่ทราบคำที่ควรถามหรือไม่ควรถาม จึงตรัสว่า สงฺฆา-

ฏิวาสี ฯเปฯ โคตฺตปญฺห.

เรานุ่งห่มไตรจีวร ไม่มีเรือน ปลง

ผมแล้ว มีตนดับความเร่าร้อนแล้ว ไม่คลุก

คลีกับมนุษย์ ทั้งหลายในโลกนี้ เที่ยวไปอยู่

ท่านถามถึงปัญหา เกี่ยวด้วยโคตรอันไม่

สมควรกะเรา.

ก็ในคาถานี้มีอธิบายดังนี้ จีวรแม้ ๓ ผืนท่านเรียกว่า สังฆาฏิ

เพราะตัดต่อกัน. ชื่อว่า สงฺฆาฏิวาสี เพราะนุ่งห่มจีวรเหล่านั้น . บทว่า

อคโห แปลว่า ไม่มีเรือน. อธิบายว่า ไม่มีตัณหา. ก็เรือนที่ประทับใน

พระเชตวันของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีมากมายเป็นต้นว่ามหาคันธกุฎี โรงมณฑล

ใต้ต้นกุ่มน้ำ กุฎีต้นมะกอก โรงไม้จันทร์ ไม่ควรหมายเอาถึงเรือนประทับนั้น.

บทว่า นิวุตฺตเกโส ได้แก่ ปลงผม. อธิบายว่า ปลงผมและหนวด. บทว่า

อภินิพฺพุตตฺโต ได้แก่ มีจิตสงบจากความเร่าร้อนหรือมีจิตคุ้มครองแล้ว.

บทว่า อลิมฺปมาโน อิธ มาณเวหิ ไม่คลุกคลีกับมนุษย์ คือ ไม่ติด

ไม่เกี่ยวข้องกับมนุษย์เพราะละความเยื่อใยในของใช้ได้แล้ว คือ อยู่อย่างสงัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 438

ส่วนเดียว. บทว่า อกลฺล ม พฺราหฺมณ ท่านถามปัญหาเกี่ยวด้วยโคตร

อันไม่สมควรกะเรา ความว่า เรานุ่งห่มไตรจีวรอย่างนี้ ฯลฯ ไม่คลุกคลีด้วย

มนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้ ดูก่อนพราหมณ์ ท่านถามปัญหาเกี่ยวด้วยโคตรอัน

ไม่สมควรกะเราผู้เป็นสมณะเพื่ออะไร.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เมื่อจะปลดเปลื้องคำติเตียน

จึงตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ย่อมถามกับพวกพราหมณ์

ด้วยกันว่า ท่านเป็นพราหมณ์หรือหนอ.

ในบทเหล่านั้นบทว่า พฺราหฺมโณ โน ความว่าท่านเป็นพราหมณ์

หรือหนอ. ท่านอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ผู้เจริญ

เราจะไม่ถามสิ่งไม่สมควร ในสมัยที่เราเป็นพราหมณ์ พวกพราหมณ์มาประชุม

กันกับพวกพราหมณ์ แล้วถามถึงชาติบ้าง โคตรบ้างอย่างนี้ว่า ท่านเป็น

พราหมณ์หรือหนอ ท่านเป็นพราหมณ์ภารทวาชโคตรหรือหนอ ดังนี้.

ครั้นพระองค์ตรัสอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศ

ความที่พระองค์ทรงรู้ชัดในมนต์ทั้งหลาย เพื่อจะทำให้พราหมณ์มีจิตอ่อน

จึงตรัสว่า

พฺราหฺมโณ เจ ตฺว พฺรูสิ ฯเปฯ จตุวีสตกฺขร

หากท่านกล่าวว่าเราเป็นพราหมณ์

แต่ท่านกล่าวกะเราผู้มิใช่พราหมณ์ เพราะ-

ฉะนั้น เราขอถามสาวิตรี (ชื่อฉันท์) ซึ่งมี

บท ๓ มีอักขระ ๒๔ กะท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 439

บทนั้นมีความว่า หากท่านกล่าวว่าเราเป็นพราหมณ์ แต่ท่านกล่าวกะ

เราผู้มีใช่พราหมณ์ เพราะฉะนั้นเราขอถามสาวิตรีกะท่านผู้เจริญ ท่านจงบอก

สาวิตรีมีบท ๓ มีอักขระ ๒ แก่เรา. ก็ในบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

หมายถึงอริยสาวิตรีนี้ว่า พุทฺธ สรณ คจฺฉามิ ธมฺม สรณ คจฺฉามิ

สงฺฆ สรณ คจฺฉามิ อันเป็นเบื้องต้นแห่งพระไตรปิฎกซึ่งเป็นพระปรมัตถเวท

อันพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ผู้เป็นพราหมณ์ชั้นเยี่ยมประกาศแล้ว สมบูรณ์ด้วย

อรรถและพยัญชนะ. เเม้หากว่าพราหมณ์พึงกล่าวอย่างอื่น พระผู้พระภาคเจ้า

ก็จะตรัสกะพราหมณ์นั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ นี้มิใช่สาวิตรีในวินัยของพระอริยะ

อย่างแน่นอน เพราะเหตุนั้น ครั้นพระองค์ทรงแสดงถึงความไม่ใช่สาวิตรีแก่

พราหมณ์นั้น จึงทรงให้พราหมณ์ตั้งอยู่ในสาวิตรีนี้แล. แต่พราหมณ์ถามถึง

สาวิตรี ครั้นสดับคำนี้ว่ามี ๓ บท มีอักขระ ๒๔ อัน เข้ากันได้กับลัทธิของตน

เป็นสาวิตรีที่มีลักษณะและพยัญชนะเปล่งออกมาด้วยเสียงดุจเสียงพรหมจึงดู

แคลนว่า ท่านผู้นี้เป็นสมณะถึงความสำเร็จในลัทธิของพราหมณ์แน่นอน แต่

เรามิใช่พราหมณ์ เพราะไม่รู้ ท่านผู้นี้เป็นพราหมณ์ จึงแน่ใจว่าท่านผู้นี้เป็น

พราหมณ์ เป็นคนดีถึงฝั่งแห่งมนต์ คิดว่า เอาเถิดเราจะถาม ยัญวิธี (วิธีบูชา

ยัญ) และทักขิไณยวิธี (วิธีทำเพื่อทักษิณา) กะสมณะนั้น จึงกล่าวคาถา

ไม่เรียบร้อยนักสองบทนี้ว่า กินฺนิสฺสิตา ฯเปฯ โลเก ความว่า พวกฤๅษี

มนุษย์ กษัตริย์ และพราหมณ์เป็นอันมากในโลกนี้อาศัยอะไร ได้กำหนดยัญ

แก่เทวดาทั้งหลาย.

บทนั้นมีความว่า พวกฤๅษี กษัตริย์ พราหมณ์ มนุษย์เหล่าอื่น

อาศัยอะไร คือประสงค์อะไร ปรารถนาอะไร ได้กำหนดยัญเพื่อประโยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 440

แก่เทวดาทั้งหลาย. อักษรในบทว่า ยญฺมกปฺปยึสุ เป็นบทสนธิ.

บทว่า อกปฺปยึสุ ได้แก่ จัดแจงแล้ว คือ ได้ทำแล้ว. บทว่า ปุถู คือ

มาก มีประการไม่น้อยอันต่างด้วยข้าวและน้ำเป็นต้น. พราหมณ์ถามด้วยความ

ประสงค์นี้ว่า ฤๅษี มนุษย์ กษัตริย์และพราหมณ์เป็นอันมากอาศัยอะไร ได้

กำหนดยัญไว้ คือกรรมนั้นจะสำเร็จแก่พวกเขาได้อย่างไร.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้นแก่พราหมณ์

จึงตรัสสองบทที่เหลือนี้ว่า ยทนฺตคู เวทคู ยญฺกาเล ยสฺสาหุตึ ลเภ

ตสฺสิชฺเฌติ พฺรูมิ เราขอบอกว่า ผู้ถึงที่สุดทุกข์ ถึงที่สุดเวท จะพึงได้เครื่อง

บูชาในเมื่ออาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ใดเข้าไปตั้งไว้ในกาลแห่งยัญ ยัญกรรม

ของผู้นั้นพึงสำเร็จ.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ยทนฺตคู แปลว่า ผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์. แผลง

อักษรแห่ง โอ อักษรเป็น อักษรดุจ อักษรในบทมีอาทิว่า อสาธารณ-

มญฺเส ขุมทรัพย์ไม่ทั่วไปแก่คนอื่น. อธิบายว่า เราขอบอกว่าผู้ใดชื่อว่าถึงที่

สุดแห่งทุกข์ เพราะถึงที่สุดแห่งวัฏทุกข์ด้วยปริญญา ๓ และชื่อว่าถึงที่สุดแห่ง

เวท เพราะทำลายกิเลสด้วยเวทคือมรรคญาณ ๔ แล้วถึงที่สุด. ผู้นั้นพึงได้เครื่อง

บูชาในเมื่ออาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุด แม้ใบไม้ รากไม้และผลไม้ในป่า

เข้าไปตั้งไว้ในกาลแห่งยัญของฤาษี มนุษย์ กษัตริย์และพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง

คือ พึงได้ไทยธรรมไร ๆ จากเครื่องบูชานั้น ยัญกรรมของผู้นั้นพึงสำเร็จ พึง

สำเร็จด้วยดี คือ พึงมีผลมาก ดังนี้.

ลำดับนั้น พราหมณ์ฟังเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าสมบูรณ์ด้วย

ปรมัตถธรรมอันลึกซึ้ง เสียงอันไพเราะยิ่ง และเสียงไม่วิการ สรรเสริญความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 441

ที่พระองค์เป็นผู้มีพระสรีระสมบัติอันสะอาด และคุณสมบัติทั้งปวงเกิดปีติ

โสมนัสกล่าวคาถาว่า อทฺธา หิ ตสฺส การบูชาของข้าพเจ้านั้นพึงสำเร็จ

เป็นแน่ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺราหฺมโณ เป็นคำของพระสังคีติกาจารย์.

บทที่เหลือเป็นคำของพราหมณ์. บทนั้นมีอธิบายว่า พราหมณ์ทูลว่าการบูชา

ของข้าพเจ้านั้นพึงสำเร็จแน่นอนวันนี้ ไทยธรรมนี้จักสำเร็จ จักสำเร็จด้วยดี

จักมีผลมาก เราจักได้เห็นผู้ถึงที่สุดแห่งเวทเช่นนั้น คือเราจักได้เห็นผู้ถึงที่สุด

แห่งเวท ผู้เจริญเช่นนั้น จริงอยู่ ท่านนั่นแหละเป็นผู้เลิศกว่าผู้ถึงที่สุดแห่งเวท

ทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อก่อนจากนี้ชนอื่นย่อมบริโภคขนมสำหรับบูชา ข้าวสุกสำหรับ

บูชาและขนมที่เขาเตรียมยัญเพื่อคนเช่นเรา เพราะยังไม่เห็นผู้ถึงที่สุดแห่งเวท

และผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์เช่นท่าน. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า

พราหมณ์ย่อมเลื่อมใสในพระองค์และรับพระดำรัสแล้วมีพระประสงค์จะประกาศ

ทักขิไณยบุคคลโดยประการต่าง ๆ เหมือนอย่างที่ทักขิไณยบุคคลเป็นผู้ปรากฏ

เป็นอันดีแก่เขาจึงตรัสพระคาถาว่า ตสฺมาติห ตฺว ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพระองค์จึงตรัส

ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะท่านเป็นผู้เลื่อมใสในเรา ฉะนั้นแหละท่านจงเข้าไป

ถามเถิด. ก่อนจากนี้ไปควรเชื่อมบทของผู้มีความต้องการด้วยประโยชน์ ด้วย

บทอื่น. อธิบายว่า ท่านผู้มีความต้องการด้วยประโยชน์ ท่านอยู่ในที่นี้แหละ

อย่าไปไหน จะประสบพบเห็นทักขิไณยบุคคลผู้มีปัญญาดี มีปัญญาประเสริฐ

เป็นพระขีณาสพ ชื่อว่า เป็นผู้สงบ เพราะสงบด้วยไฟคือกิเลสอันสมควรแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 442

ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยประโยชน์นั้น ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีความโกรธ

เพราะสงบความโกรธเสียได้ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีความอยากเพราะไม่มีทุกข์ ชื่อว่า

เป็นผู้ไม่มีความหวัง เพราะไม่มีความหวังหลาย ๆ อย่าง ในศาสนานี้แน่แท้.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพระองค์จึงตรัสว่า เพราะ

ท่านเลื่อมใสในเรา ดูก่อนพราหมณ์ ฉะนั้นแหละท่านเป็นผู้มีความต้องการ

ด้วยประโยชน์ จงเข้าไปถามท่านผู้สงบ ผู้ไม่มีความโกรธ ผู้ไม่มีทุกข์ ผู้ไม่มี

ความหวังเถิด. ในบทนี้พึงทราบโยชนาแก้ไว้ว่า เมื่อถามอย่างนี้ท่านจะพบ

ทักขิไณยบุคคลผู้มีปัญญาดี ผู้เป็นขีณาสพในศาสนานี้เป็นแน่แท้.

ลำดับนั้น พราหมณ์ปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอน จึงทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ยญฺเ รโตห โภ ฯเปฯ พฺรูหิ เมต ความว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ายินดีแล้วในยัญ ใคร่จะบูชายัญ แก่ข้าพเจ้า

ยิ่งไม่ทราบชัด ขอท่านจงพร่ำสอนข้าพเจ้าเถิด ขอท่านจงบอกที่เป็นที่สำเร็จ

แห่งการบูชาแก่ข้าพเจ้าเถิด. บทว่า ยญฺโ (การเซ่นสรวง) ยาโค (การ

บูชายัญ) ทาน (การให้) ในบทว่า ยญฺเ นั้น โดยความเป็นอย่างเดียวกัน

เพราะฉะนั้น พึงทราบการประกอบความในบทนี้อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ายินดีแล้ว

ในทาน ประสงค์จะให้ทาน เพราะความยินดีในทานนั่นเอง แต่ข้าพเจ้ายังไม่

ทราบชัด ขอท่านจงพร่ำสอนข้าพเจ้าผู้ไม่รู้อย่างนี้เถิด ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ก็เมื่อท่านจะพร่ำสอน ขอจงบอกที่เป็นที่สำเร็จแห่งการบูชาแก่ข้าพเจ้า โดยนัย

ที่ง่ายเถิด. ปาฐะว่า ยถา หุต ก็มี.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประสงค์จะกล่าวแก่พราหมณ์นั้น

จึงตรัสว่า เตนหิ ฯเปฯ เทสิสฺสามิ ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้นท่านจง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 443

เงี่ยโสตลงเถิด เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน เพื่อทรงพร่ำสอนพราหมณ์ผู้เงี่ยโสต

ลงแล้ว จึงตรัสคาถาว่า ตาว มา ชาตึ ปุจฺฉ ท่านอย่าถามถึงชาติก่อนเลย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มา ชาตึ ปุจฺฉ อย่าถามถึงชาติ ความว่า

ผิว่า ท่านหวังความมีผลมากในการบูชา ความสำเร็จและการให้ จงอย่าถามถึง

ชาติ เพราะการถามถึงชาติไม่ใช่เหตุในการพิจารณาถึงทักขิไณยบุคคล. บทว่า

จรณ จ ปุจฺฉ ได้แก่ จงถามแต่ธรรมสำหรับประพฤติ อันได้แก่คุณธรรม

มีศีลเป็นต้นเถิด เพราะธรรมสำหรับประพฤตินี้ เป็นเหตุในการพิจารณาถึง

ทักขิไณยบุคคล.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงชี้แจงความนั้น ให้แจ่มแจ้งแก่

พราหมณ์นั้น จึงทรงยกตัวอย่างว่า กฏฺา หเว ชายติ ชาตเวโท เป็น

ต้น. อธิบายความในบทนั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไฟย่อมเกิดแต่ไม้แล

อนึ่ง ไฟนั้นมิใช่เกิดจากไม้มีไม้สาละเป็นต้นเท่านั้น จึงทำหน้าที่ของไฟได้

ถึงเกิดจากไม้มีแผ่นหินและรางน้ำเป็นต้นก็ทำหน้าที่ไม่ได้ แต่ที่ทำได้เพราะ

ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ มีเปลวไฟเป็นต้นฉันใด ผู้ที่เป็นทักขิไณยบุคคล

ก็ฉันนั้น มิใช่ผู้เกิดในตระกูลพราหมณ์เท่านั้น ทั้งมิใช่เกิดในตระกูลคนจัณฑาล

เป็นต้น แม้เกิดในตระกูลต่ำ เกิดในตระกูลสูง ก็เป็นมุนีขีณาสพ มีปัญญา

เกียดกันอกุศลได้ด้วยหิริ เป็นบุคคลอาชาไนยได้ เป็นผู้มีชาติ โดยคุณสมบัติ

อันมีปัญญาและหิริเป็นประธาน ก็เป็นทักขิไณยบุคคลผู้สูงสุดได้ เพราะผู้นั้น

ย่อมทรงคุณธรรมด้วยปัญญา ย่อมกีดกันโทษทั้งหลายด้วยหิริ สมดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า หิริยา หิ สนฺโต น กโรนฺติ ปาป จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 444

สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ทำความชั่ว เพราะมีหิริ. ด้วยเหตุนั้น เราขอบอกแก่

ท่านว่า ท่านถามถึงชาติ จงถามแต่ธรรมสำหรับประพฤติ ไฟย่อมเกิดแต่ไม้แล

แม้ผู้เกิดในตระกูลต่ำก็เป็นมุนี มีปัญญา เป็นบุคคลอาชาไนย เกียดกันอกุศล

ด้วยหิริได้. นี้เป็นความสังเขป. ส่วนความพิสดาร พึงทราบโดยค้นคว้าดูใน

อัสสลายนสูตร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงพร่ำสอนพราหมณ์นั้นด้วยความบริสุทธิ์

แห่งวรรณะ ๔ อย่างนี้แล้ว เพื่อทรงแสดงที่เป็นที่สำเร็จแห่งการบูชายัญจึงตรัส

คาถามีอาทิว่า สจฺเจน ทนฺโต ฝึกตนด้วยสัจจะดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สจฺเจน ได้แก่ ปรมัตถสัจจะ จริงอยู่ผู้บรรลุ

ปรมัตถสัจจะนั้นชื่อว่าเป็นผู้ฝึกตนแล้ว. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ว่า สจฺเจน ทนฺโต ดังนี้. บทว่า ทมสา อุเปโต ได้แก่ ประกอบแล้ว

ด้วยการฝึกฝนอินทรีย์. บทว่า เวทนฺตคู ได้แก่ ถึงที่สุดแห่งกิเลสด้วยเวท

หรือถึงมรรคญาณที่ ๔ อันเป็นที่สุดแห่งเวททั้งหลาย. บทว่า วุสิตพฺรหฺม-

จริโย ได้แก่ อยู่จบมรรคพรหมจรรย์ เพราะไม่มีกิจที่จะต้องอยู่อีก. บทว่า

กาเลน ตมฺหิ หพฺย ปเวจฺเฉ พึงหลั่งไทยธรรมในทักขิไณยบุคคลนั้น

ตามกาล ความว่า พึงกำหนดเวลาที่ตนจะเอาไทยธรรมไปตั้งและเวลาที่ทักขิ-

ไณยบุคคลนั้นอยู่เฉพาะหน้า แล้วพึงหลั่งคือพึงมอบไทยธรรมในทักขิไณย-

บุคคลเช่นนั้นตามเวลานั้น. บทว่า กาเม ได้แก่ วัตถุกามและกิเลสกาม.

บทว่า สุสมาหิตินฺทฺริยา คือมีอินทรีย์ตั้งมั่นแล้วด้วยดี. ท่านอธิบายว่ามี

อินทรีย์ไม่ฟุ้งซ่าน. บทว่า จนฺโทว ราหุคฺคหณา ปมุตฺโต ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 445

เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากการจับของราหู ฉันใด ผู้พ้นจากการจับของกิเลส

ย่อมเปล่งปลั่งฉันนั้น. บทว่า สตา คือเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสติ. บทว่า

มมายิตานิ ได้แก่ ละตัณหาและทิฏฐิที่คนพาลถือว่าเป็นของเราได้แล้ว. บทว่า

โย กาเม หิตฺวา ละกามทั้งหลายได้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง

พระองค์ตั้งแต่ต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า กาเม หิตฺวา คือละกิเลสกาม

ได้แล้ว. บทว่า อภิภุยฺยจารี ได้แก่ ชื่อว่าครอบงำวัตถุกามทั้งหลายเที่ยวไป

เพราะละวัตถุกามเหล่านั้นได้แล้ว. ท่านกล่าวพระนิพพานว่าเป็นที่สุดแห่งชาติ

และมรณะ. บทว่า โย เวทิ คือรู้ที่สุดแห่งชาติและมรณะนั้นด้วยกำลังปัญญา.

บทว่า อุทกรหโทว เหมือนห้วงน้ำ ความว่า สระใหญ่ ๗ สระในป่าหิมวันตะ

คือ สระอโนดาต สระกัณณมุณฑะ สระรถการะ สระฉัททันตะ สระกุณาละ

สระมัณฑากินี สระสีหปปาตะ เหล่านี้ใด เย็นอยู่ตลอดเวลา เพราะไม่ถูกความ

ร้อนคือไฟและพระอาทิตย์สัมผัส ผู้รู้ที่สุดแห่งชาติและมรณะชื่อว่าดับความ

เร่าร้อนได้ เป็นผู้เยือกเย็น เพราะดับความเร่าร้อนคือกิเลสได้เหมือนห้วงน้ำ

เหล่านั้นห้วงใดหวังหนึ่งฉะนั้น. บทว่า สโม ได้แก่ เท่ากัน. บทว่า สเมหิ

ได้แก่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระวิปัสสีเป็นต้น. เพราะพระพุทธเจ้าเหล่านั้น

ท่านกล่าวว่า สมา คือ เป็นผู้เสมอกันเพราะเสมอกันด้วยการตรัสรู้. พระ-

พุทธเจ้าเหล่านั้นไม่มีความต่างกันในคุณที่ควรบรรลุในการตรัสรู้หรือในโทษ

ที่ควรละ. พระพุทธเจ้าเหล่านั้นมีความต่างกันด้วยกาล อายุ ตระกูล ประมาณ

การบรรพชา ความเพียร ที่ตรัสรู้ และพระรัศมี. เป็นความจริงดังนั้น

เจ้าทั้งหลายโดยกำหนดอย่างต่ำ ทรงบำเพ็ญบารมีมาสี่อสงไขยแสนกัป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 446

โดยกำหนดอย่างสูง สิบหกอสงไขยแสนกัป นี้คือความต่างแห่งกาลของพระ-

พุทธเจ้าเหล่านั้น. อนึ่งโดยกำหนดอย่างต่ำ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติใน

กาลที่คนมีอายุ ๑๐๐ ปี โดยกำหนดอย่างสูง ในกาลที่คนมีอายุแสนปี นี้คือ

ความต่างแห่งอายุ. พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติในตระกูลกษัตริย์ หรือใน

ตระกูลพราหมณ์ นี้คือความต่างกันแห่งตระกูล. พระพุทธเจ้าทั้งหลายสูง

ประมาณ ๘๘ ศอก หรือต่ำประมาณ ๑๕-๑๘ ศอก นี้คือความต่างแห่ง

ประมาณ. พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จออกบรรพชาด้วย ช้าง ม้า รถและวอ

เป็นต้น หรือโดยทางอากาศ เช่นพระวิปัสสี พระกกุสันธะเสด็จออกบรรพชา

ด้วยรถม้า พระสิขี พระโกนาคมนะเสด็จออกโดยกองช้าง พระเวสสภูเสด็จ

ออกโดยวอ พระกัสสปเสด็จออกโดยทางอากาศ พระศักยมุนีเสด็จออกโดย

หลังม้า นี้คือความต่างกันแห่งการออกบรรพชา. พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ

เพียรเจ็ดวันบ้าง กึ่งเดือนบ้าง เดือนหนึ่งบ้าง สองเดือนบ้าง สามเดือนบ้าง

สี่เดือนบ้าง ห้าเดือนบ้าง หกเดือนบ้าง หนึ่งปีบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง

โพธิ์ปีบ้าง ห้าปีบ้าง หกปีบ้าง นี้คือความต่างกันแห่งความเพียร. ตรัสรู้ใต้ต้น

โพธิ์ใบบ้าง ต้นไทรเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง นี้คือความต่างกันแห่งที่

ตรัสรู้. พระพุทธเจ้าทั้งหลายประกอบด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง พระรัศมี ๘๐ วา

และพระรัศมีไม่มีกำหนด ในพระรัศมีเหล่านั้น พระรัศมีวาหนึ่งและ ๘๐ วา

เหมือนกันทุกพระองค์ แต่พระรัศมีไม่มีกำหนดแผ่ไปไกลบ้างใกล้บ้างคาวุตหนึ่ง

สองคาวุต โยชน์หนึ่ง หลายโยชน์ และสุดจักรวาลบ้าง. พระรัศมีของ

พระพุทธมงคลแผ่ไปถึงหมื่นจักรวาล. เมื่อเป็นเช่นนี้พระรัศมีของพระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 447

ทั้งหลายย่อมแผ่ไปตามพระประสงค์ เพราะเกี่ยวกับใจคิด นี้คือความต่างกัน

แห่งพระรัศมี. เว้นความต่างกัน ๘ อย่างเหล่านี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี

ความต่างกันในคุณที่ควรบรรลุถึงการตรัสรู้ที่เหลือหรือในโทษที่ควรละ เพราะ

ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า สมา คือเป็นผู้เสมอกัน. พระตถาคตเป็นผู้เสมอด้วย

พระพุทธเจ้าเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้. บทว่า วิสเมหิ ทูเร ห่างไกลจากผู้

ไม่เสมอทั้งหลายคือห่างไกลจากสรรพสัตว์ที่เหลือมีพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น

ผู้ไม่เสมอ. จริงอยู่ แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งขัดสมาธิบำเพ็ญตลอด

ชมพูทวีปก็ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวด้วยคุณ

ทั้งหลาย. จะกล่าวไปทำไมถึงพวกสาวกเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า วิสเมหิ ทูเร ดังนี้. พึงประกอบบทว่า ทูเร ด้วยบททั้งสองว่า

ตถาคโต โหติ. บทว่า อนนฺตปญฺโ คือมีปัญญากำหนดไม่ได้. จริงอยู่

ไม่ควรกล่าวเปรียบปัญญาของพระอริยะที่ ๘ ยิ่งกว่าปัญญาของมนุษย์ชาวโลก

กล่าวเปรียบปัญญาของพระโสดาบันยิ่งกว่าปัญญาของพระอริยะที่ ๘ กล่าวเปรียบ

ปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้ายิ่งกว่าปัญญาของพระอรหันต์ กล่าวเปรียบปัญญา

ของพระตถาคตยิ่งกว่าปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้า. แต่ควรกล่าวว่า อนนฺตา

คือไม่มีที่สุด. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อนนฺตปญฺโ พระตถาคตเป็น

ผู้มีปัญญาไม่มีที่สุด. บทว่า อนุปลิตฺโต ได้แก่ ผู้อันเครื่องฉาบทาคือตัณหา

และทิฏฐิไม่ฉาบทาแล้ว. บทว่า อิธ วา หุร วา คือในโลกนี้หรือโลกอื่น.

แต่ในบทนี้โยชนาแก้ไว้ว่า พระตถาคตเป็นผู้เสมอด้วยผู้เสมอ อยู่ห่างไกลจาก

ผู้ไม่เสมอ เพราะเหตุไร เพราะพระตถาคตเป็นผู้มีปัญญาไม่มีที่สุด เป็นผู้อัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 448

ตัณหาและทิฏฐิไม่ฉาบทาในโลกนี้หรือโลกอื่น ฉะนั้น พระตถาคตจึงย่อมควร

เครื่องบูชา.

บทว่า ยมฺหิ น มายา พระตถาคตไม่มีมายา. ก็คาถานี้และคาถาอื่น

พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้เช่นนี้ เพื่อละความสำคัญในพราหมณ์ผู้ประกอบด้วย

ความพินาศมีมายาเป็นต้นว่าเป็นทักขิไณยบุคคล. ในบทเหล่านั้นบทว่า อมโม

ได้แก่ ละความยึดถือในสัตว์และสังขารทั้งหลายว่า นี้เป็นของเรา. บทว่า

นิเวสน ได้แก่ ที่อยู่อาศัยคือตัณหาและทิฏฐิ. ด้วยบทนั้นใจย่อมอยู่อาศัยใน

ภพ ๓. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ละตัณหาทิฏฐิที่อยู่ประจำใจได้แล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง ยังอยู่อาศัยในตัณหาและทิฏฐินั้น เพราะไม่สามารถจะละไปได้.

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นิเวสน( คืออยู่อาศัย. บทว่า ปริคฺคหา ได้แก่

ตัณหาและทิฏฐินั่นเอง. เพราะตัณหาและทิฏฐิเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ตนยึดถือไว้.

บทว่า เกจิ คือมีประมาณน้อย. บทว่า อนุปาทิยมาโน ได้แก่ ไม่ถือมั่น

สิ่งไร ๆ เพราะไม่มีตัณหาและทิฏฐิเป็นที่อยู่อาศัย. คือตั้งมั่นด้วยมรรคสมาธิ.

บทว่า อุทตารี คือข้ามได้แล้ว. บทว่า ธมฺมมญฺาสิ คือได้รู้ธรรมที่ควร

รู้ทั้งหมด. บทว่า ปรมาย ทิฏิยา คือด้วยสัพพัญญุตญาณ. บทว่า

ภวาสวา ได้แก่ ภวตัณหาคือราคะสหรคตด้วยความใคร่ในฌานและสัสสตทิฏฐิ.

บทว่า วจี ได้แก่ วาจา. บทว่า ขรา ได้แก่ วาจากระด้างหยาบคาย. บทว่า

วิธูปิตา คือเผาเสียแล้ว. บทว่า อตฺถคตา คือตั้งอยู่ไม่ได้. บทว่า น สนฺติ

ไม่มีอยู่. คือ เพราะกำจัดเสียแล้ว เพราะตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว. พึงประกอบทั้งสองบท

ด้วยบททั้งสอง. บทว่า สพฺพธิ คือในขันธ์และอายตนะทั้งปวง. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 449

มานสตฺเตสุ ได้แก่ ในเหล่าสัตว์ผู้มีมานะ. บทว่า ทุกฺข ปริญฺาย ได้แก่

กำหนดรู้ทุกข์ในวัฏฏะด้วยปริญญา ๓. บทว่า สเขตฺตวตฺถุ พร้อมทั้งไร่นา

และที่ดิน คือ พร้อมด้วยเหตุและปัจจัย. ท่านอธิบายว่า พร้อมด้วยกิเลส

ทั้งหลาย. บทว่า วาส อนิสฺสาย คือไม่ติดตัณหา. บทว่า วิเวกทสฺสี

คือ เห็นพระนิพพาน. บทว่า ปรเวทิย คือ จะพึงให้ผู้อื่นรู้. บทว่า ทิฏฺิ-

มุปาติวตฺโต ได้แก่ ก้าวล่วงมิจฉาทิฏฐิอันมีประเภท ๖๒. บทว่า อารมฺมณา

ได้แก่ ปัจจัย. อธิบายว่า เหตุที่ทำให้เกิดภพใหม่. บทว่า ปโรปรา ได้แก่

ธรรมอื่น ๆ ดี ๆ หรือธรรมทั้งทีเป็นภายในและภายนอก. บทว่า สเมจฺจ

ได้แก่ ตรัสรู้แล้วด้วยญาณ. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรมีขันธ์และอายตนะ

เป็นต้น.

บทว่า อุปาทานกฺขเย วิมุตฺโต น้อมไปในความสิ้นสูญอุปาทาน

คือ น้อมไปในนิพพาน โดยมีนิพพานเป็นอารมณ์. อธิบายว่า มีปกติได้การ

น้อมไปในอารมณ์ คือ นิพพาน. บทว่า สโยชนชาติขยนฺตทสฺสี ได้แก่ เห็น

ที่สุดความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ และเห็นที่สุดความสิ้นไปแห่งชาติ. อนึ่ง ในบทนี้

ท่านกล่าวสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ด้วยที่สุดความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ อนุปา-

ทิเสสนิพพาน ด้วยที่สุดความสิ้นไปแห่งชาติ. บทว่า ขยนฺโต นี้ เป็นชื่อ

ของการละได้เด็ดขาดอันเป็นความสิ้นไปโดยส่วนเดียว. อนึ่ง ในบทนี้ท่านไม่

ลบนิคคหิต ดุจในบทมีอาทิว่า วิเวกชมฺปีติสุข ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก.

บทว่า โย ปานุทิ คือ พระตถาคตทรงบรรเทาได้แล้ว. บทว่า ราคปถ

ได้แก่ มีราคะเป็นอารมณ์ หรือราคะเท่านั้น. จริงอยู่ แม้ราคะท่านก็เรียกว่า

ราคปโถ ทางแห่งราคะ เพราะเป็นทางแห่งทุคติดุจกรรมบถ. บทว่า สุทฺโธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 450

นิทฺโทโส วิมโล อกาโม เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีโทษ ปราศจากมลทิน

ไม่มีความใคร่ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะมีความประพฤติทางกาย

บริสุทธิ์ ชื่อว่าไม่มีโทษ เพราะไม่มีโทษที่ท่านกล่าวว่าหมู่สัตว์นี้มีราคะ โทสะ

โมหะเป็นโทษ ชื่อว่าปราศจากมลทิน เพราะไม่มีมลทิลเข้าไปกล้ำกราย ชื่อว่า

ไม่มีความใคร่ เพราะไม่มีอุปกิเลส. จริงอยู่ ผู้ที่ถูกอุปกิเลสเข้าไปทำให้ขุ่นมัว

ท่านเรียกว่า สกาโม มีความใคร่. คนไม่ทำบาปเพราะเป็นผู้ปราศจากทลทิน

ชื่อว่า ไม่มีความใคร่. จริงอยู่ การทำบาปท่านเรียกว่า กาโม เพราะทำ

ความเคียดแค้น.

บทว่า อตฺตนา อตฺตาน นานุปสฺสติ ไม่พิจารณาเห็นตนโดย

ความเป็นตน ความว่า พระตถาคตทรงเห็นแจ้งด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณไม่ทรง

พิจารณาเห็นสิ่งอื่นที่ชื่อว่าตนในขันธ์ทั้งหลายของตน พิจารณาเห็นเพียงขันธ์

เท่านั้น ไม่พิจารณาเห็นตนโดยความเป็นตน เพราะไม่มีทิฏฐิเกิดขึ้นโดยความ

เป็นของจริงแท้แก่พระตถาคตนั้นว่า เรารู้ชัดตนโดยความเป็นตนทีเดียว ย่อม

พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายด้วยปัญญาโดยถ่องแท้. พระตถาคตมีจิตตั้งมั่นด้วย

มรรคสมาธิ ทรงปฏิบัติตรงเพราะไม่มีความคดทางกายเป็นต้น ทรงดำรงตนมั่น

เพราะไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้งหลาย ไม่มีความอยากไม่มีกิเลสดุจไม้อ้อ

ไม่มีความสงสัย เพราะไม่มีความอยากอันได้แก่ตัณหา ไม่มีกิเลสดุจไม้อ้อ

ทางจิต ๕ และเพราะไม่มีความสงสัยในสิ่งอันไม่ใช่ฐานะ ๘ อย่าง. บทว่า

โมหนฺตรา ได้แก่ มีโมหะเป็นเหตุเป็นปัจจัย. บทนี้เป็นชื่อของกิเลสทุกชนิด.

บทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ าณทสฺสี เห็นด้วยญาณในธรรมทั้งปวง ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำให้แจ้งพระสัพพัญญุตญาณ ทรงเห็นญาณในธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 451

ทั้งปวง ทรงทำให้แจ้งว่า เราบรรลุแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ จ าณทสฺสี ดังนี้. บทว่า สมฺโพธึ

ได้แก่ พระอรหัต. บทว่า อนุตฺตร ยอดเยี่ยม คือ สัมโพธิญาณไม่ทั่วไปด้วย

พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย. บทว่า สิว ได้แก่ เกษม ไม่มี

อันตรายหรือมีสิริ. บทว่า ยกฺขสฺส ได้แก่ บุรุษ. บทว่า สุทธิ ได้แก่

ความผ่องแผ้ว. ก็ในบทว่า สุทฺธิ นี้ ได้แก่ ไม่มีโทษทุกชนิด เพราะไม่มี

โมหะเป็นเหตุเป็นปัจจัย ด้วยบทว่า สุทฺธิ นั้น พระตถาคตตัดเหตุได้เด็ดขาด

ทรงสรีระไว้ในชาติสุดท้าย มีคุณธรรมทั้งปวงเพราะเห็นได้ด้วยญาณ ด้วย

บทนั้นท่านจึงกล่าวว่า อนุตฺตร สมฺโพธึ พระตถาคตบรรลุสัมโพธิญาณ

ที่ยอดเยี่ยม ต่อจากนั้นจะไม่มีสิ่งควรละหรือสิ่งควรบรรลุ เพราะเหตุนั้นพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอตฺตาวตา ยกฺขสฺส สุทฺธิ ความบริสุทธิ์ของ

บุรุษย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่านี้. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว

พราหมณ์เมื่อจะทำอาการเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ยิ่ง ๆ ในรูปจึงทูลว่า

หุตญฺจ มยฺห ก็การบูชาของข้าพระองค์ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความว่า พราหมณ์ทูลขอร้องว่า เมื่อก่อนนี้ข้าพระองค์นึกถึง

พราหมณ์บูชาด้วยไฟ การบูชาของชาพระองค์นั้นจะเป็นการบูชาจริงหรือเป็น

การบูชาหลอกลวงข้าพระองค์ไม่รู้ แต่วันนี้การบูชาของข้าพระองค์เป็นการบูชา

จริง เพราะข้าพระองค์ยืนอยู่ ณ ที่นี้ ได้บุคคลผู้ถึงเวทเป็นผู้เจริญเช่นนั้น

เมื่อจะน้อมเครื่องบูชาที่เหลือเข้าไปถวายจึงทูลว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพรหม

ผู้เห็นเองแท้ ขอได้โปรดทรงรับ ครั้นรับแล้ว โปรดบริโภคเครื่องบูชาของ

ข้าพระองค์เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 452

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสองคาถา โดยนัยที่กล่าวแล้วใน

กสิภารทวาชสูตร. แต่นั้นพราหมณ์ไม่เข้าใจความแห่งคาถาอย่างนี้ว่า พระ-

ตถาคตนี้ ไม่ปรารถนาด้วยตนเอง ยังกล่าวหมายถึงผู้อื่นว่า ท่านจงบำรุง

พระขีณาสพผู้บริบูรณ์ด้วยคุณทั้งปวง ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้สงบความคะนอง

แล้วด้วยข้าวน้ำเถิด ประสงค์จะรู้ความนั้นจึงทูลว่า สาธาห ภควา ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอประทานวโรกาส.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ เป็นนิบาตลงในอรรถว่าวิงวอน. บทว่า

ตถา คือโดยประการที่พระองค์ตรัส. บทว่า วิชญฺ แปลว่า พึงรู้. บทว่า

ย ได้แก่ แสวงหาผู้เป็นทักขิไณยบุคคลในกาลแห่งยัญ. บทว่า ปปฺปุยฺย

แปลว่า ถึงแล้ว. บทว่า ตว สาสน ได้แก่ โอวาทของท่าน. ท่านอธิบาย

ไว้ว่า พราหมณ์ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอประทานวโรกาสข้าพระองค์

ถึงคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว พึงรู้แจ่มแจ้งอย่างที่พระองค์บอกแต่ข้าพระองค์

ขอพระองค์จงทรงแสดงทักขิไณยบุคคล ผู้พึงบริโภคทักษิณาของบุคคลเช่น

ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์จะพึงแสวงหาบำรุงอยู่ในกาลแห่งยัญ แก่ข้าพระองค์

เถิด หากพระองค์จะไม่บริโภค.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงทักขิไณยบุคคลเห็น

ปานนั้นแก่พราหมณ์ตามนัยที่ปรากฏแล้ว จึงตรัสสองคาถาว่า สารมฺภา ยสฺส

นอบน้อมผู้ปราศจากความแข่งดี ดังนี้เป็นต้น

ในบทเหล่านั้น บทว่า สีมา ในบทว่า สีมนฺตาน วิเนตาร ได้แก่

มารยาทอันเป็นความประพฤติของคนดี กิเลสทั้งหลายท่านกล่าวว่า สีมนฺตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 453

เพราะมีส่วนอันเป็นที่สุดของมารยาทนั้น อธิบายว่า นำกิเสสนั้นออกเสียได้

อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า บทว่า สีมนฺตา คือ เสกขบุคคลและปุถุชนที่เป็น

พุทธเวไนย นำกิเลสเหล่านั้นออกเสียได้ดังนี้บ้าง. บทว่า ชาติมรณโกวิท

ผู้ฉลาดในชาติและมรณะ คือ ฉลาดในชาติและมรณะนี้ว่า ชาติเป็นอย่างนี้

มรณะเป็นอย่างนี้. บทว่า โมเนยฺยสมฺปนฺน ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยปัญญา

หรือสมบูรณ์ด้วยความฉลาดทางกายเป็นต้น. บทว่า ภกุฏึ วินยิตฺวาน พึง

กำจัดความสยิ้วหน้า คนปัญญาทรามบางคน เห็นยาจกแล้วทำหน้าสยิ้ว พึง

กำจัดความสยิ้วหน้านั้นเสีย อธิบายว่า เป็นผู้มีหน้าผ่องใส. บทว่า ปญฺชลิกา

คือเป็นผู้ประคองอัญชลี. ลำดับนั้นพราหมณ์ เมื่อจะสรรเสริญพระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงทูลว่า พุทฺโธ ภว พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อายาโค คือ ผู้ควรบูชา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

อายาโค เพราะมาจากที่นั้น ๆ แล้วควรบูชาบ้าง. ท่านอธิบายว่า เป็นผู้สมควร

รับไทยธรรมทั้งหลาย. บทที่เหลือในสูตรนี้ บทใดที่มิได้พรรณนาไว้ในคาถา

ต้นบทนั้น แม้ไม่พรรณนาไว้ก็สามารถจะรู้ได้ เพราะมีความง่ายอยู่แล้ว

ฉะนั้น จึงไม่พรรณนา ส่วนบทต่อจากนี้มีนัยดังได้กล่าวแล้วในกสิภารทวาชสูตร

นั่นแล.

จบอรรถกถาปูรฬาสสูตร ที่ ๔ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 454

มาฆสูตรที่ ๕

ว่าด้วยผู้ที่บูชาประสบบุญมาก

[๓๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุง

ราชคฤห์ ครั้งนั้นแล มาฆมาณพเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้

ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ ก็ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี ผู้รู้ความประสงค์ของ

ผู้ขอ ควรแก่การขอ ย่อมแสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม ครั้นแสวงหาได้แล้ว

ย่อมนำโภคทรัพย์ที่ตนได้มาโดยธรรมถวายแก่ปฏิคาหก ๑ องค์บ้าง ๒ องค์บ้าง

๓ องค์บ้าง ๔ องค์บ้าง ๕ องค์บ้าง ๖ องค์บ้าง ๗ องค์บ้าง ๘ องค์บ้าง

๙ องค์บ้าง ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์

บ้าง ๑๐๐ องค์บ้าง ยิ่งกว่านั้นบ้าง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์

ถวายทานอย่างนี้ บูชาอย่างนี้ จะประสบบุญมากแลหรือ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาณพ เมื่อท่านให้อยู่อย่างนั้น

บูชาอยู่อย่างนั้น ย่อมประสบบุญมากแท้ ดูก่อนมาณพ ผู้ใดแล เป็นทายก

เป็นทานบดี รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ควรแก่การขอ ย่อมแสวงหาโภคทรัพย์

โดยธรรม ครั้นแสวงหาได้แล้ว ย่อมนำโภคทรัพย์ที่ตนได้มาโดยธรรม ถวาย

แก่ปฏิคาหก ๑ องค์บ้าง ฯลฯ ๑๐๐ องค์บ้าง ยิ่งกว่านั้นบ้าง ผู้นั้นย่อม

ประสบบุญมาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 455

ครั้งนั้นแล มาฆมาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

[๓๖๒] ข้าพระองค์ขอถามพระโคดม

ทรงรู้ถ้อยคำ ผู้ทรงผ้ากาสายะ ไม่ยึดถือ

อะไรเที่ยวไป ผู้ใดเป็นคฤหัสถ์ ควรแก่การ

ขอ เป็นทานบดี มีความต้องการบุญ มุ่งบุญ

ให้ข้าวน้ำ บูชาแก่ชนเหล่าอื่นในโลกนี้ การ

บูชาของผู้บูชาอยู่อย่างนี้ จะพึงบริสุทธิ์ได้

อย่างไร.

พ. (ดูก่อนมาฆมาณพ) ผู้ใดเป็น

คฤหัสถ์ ควรแก่การขอ เป็นทานบดี มีความ

ต้องการบุญ มุ่งบุญ ให้ข้าวน้ำบูชาแก่ชน

เหล่าอื่นในโลกนี้ ผู้เช่นนั้น พึงให้ทักขิไณย-

บุคคลขึ้นดีได้.

ม. ผู้ใดเป็นคฤหัสถ์ ควรแก่การขอ

เป็นทานบดี มีความต้องการบุญ มุ่งบุญ

ให้ข้าวน้ำบูชาแก่ตนเหล่าอื่นในโลกนี้ ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงบอก

ทักขิไณยบุคคลแก่ข้าพระองค์เถิด.

พ. ชนเหล่าใดแลไม่เกี่ยวข้อง หา

เครื่องกังวลมิได้ สำเร็จกิจแล้ว มีจิตคุ้ม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 456

ครองแล้ว เที่ยวไปในโลก พราหมณ์ผู้มุ่งบุญ

พึงหลั่งไทยธรรม บูชาในชนเหล่านั้น

ตามกาล.

ชนเหล่าใดตัดกิเลสเครื่องผูกพันคือ

สังโยชน์ได้ทั้งหมด ฝึกตนแล้ว เป็นผู้พ้น

เด็ดขาด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง พราหมณ์

ผู้มุ่งบุญ พึงหลั่งไทยธรรม บูชาในชน

เหล่านั้นตามกาล.

ชนเหล่าใดพ้นเด็ดขาดจากสังโยชน์

ทั้งหมด ฝึกตนแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว

ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง พราหมณ์พึงหลั่ง

ไทยธรรม บูชาในชนเหล่านั้นตามกาล.

ชนเหล่าใดละราคะ โทสะ และ

โมหะได้แล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบ

พรหมจรรย์ พราหมณ์พึงหลั่งไทยธรรม

บูชาในชนเหล่านั้นตามกาล.

ชนเหล่าใดไม่มีมายา ไม่มีความ

ถือตัว มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์

พราหมณ์พึงหลั่งไทยธรรมในชนเหล่านั้น

ตามกาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 457

ชนเหล่าใดปราศจากความโลก ไม่

ยึดถืออะไร ๆ ว่าเป็นของเรา ไม่มีความหวัง

มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ พราหมณ์

พึงหลั่งไทยธรรมบูชาในชนเหล่านั้นตามกาล.

ชนเหล่าใดแล ไม่น้อมไปในตัณหา

ทั้งหลาย ข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่ยึดถืออะไร ๆ

ว่าเป็นของเรา เที่ยวไปอยู่ พราหมณ์พึงหลั่ง

ไทยธรรมบูชาในชนเหล่านั้นตามกาล.

ชนเหล่าใดไม่มีตัณหาเพื่อเกิดในภพ

ใหม่ ในโลกไหน ๆ คือ ในโลกนี้หรือใน

โลกอื่น พราหมณ์พึงหลั่งไทยธรรมบูชาใน

ชนเหล่านั้นตามกาล.

ชนเหล่าใดละกามทั้งหลายได้แล้ว

ไม่ยึดถืออะไรเที่ยวไป มีตนสำรวมดีแล้ว

เหมือนกระสวยที่ตรงไป ฉะนั้น พราหมณ์

พึงหลั่งไทยธรรมบูชาในชนเหล่านั้นตามกาล.

ชนเหล่าใดปราศจากความกำหนัด

มีอินทรีย์ตั้งมั่นดีแล้ว พ้นจาการจับแห่ง

กิเลส เปล่งปลั่งอยู่ เหมือนพระจันทร์

พ้นแล้วจากราหูจับ สว่างไสวอยู่ฉะนั้น

พราหมณ์พึงหลั่งไทยธรรมบูชาในชนเหล่า-

นั้นตามกาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 458

ชนเหล่าใดมีกิเลสสงบแล้ว ปราศ-

จากความกำหนัด เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่มีคติ

เพราะละขันธ์อันเป็นไปในโลกนี้ได้เด็ดขาด

พราหมณ์พึงหลั่งไทยธรรมบูชาในชน

เหล่านั้นตามกาล.

ชนเหล่าใดละชาติและมรณะไม่มี

ส่วนเหลือ ล่วงพ้นความสงสัยได้ทั้งปวง

พราหมณ์พึงหลั่งไทยธรรมบูชาในชนเหล่า

นั้นตามกาล.

ชนเหล่าใดมีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีเครื่อง

กังวล หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง เที่ยวไป

อยู่ในโลก พราหมณ์พึงหลั่งไทยธรรมบูชา

ในชนเหล่านั้นตามกาล.

ชนเหล่าใดแล ย่อมรู้ในขันธ์และ

อายตนะเป็นต้นตามความเป็นจริงว่า ชาตินี้

มีในที่สุด ภพใหม่ไม่มี ดังนี้ พราหมณ์พึง

หลั่งไทยธรรมบูชาในชนเหล่านั้นตามกาล.

ชนเหล่าใดเป็นผู้ถึงเวท ยินดีใน

ฌาน มีสติ บรรลุธรรมเครื่องตรัสรู้ดี

เป็นที่พึ่งของเทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก

พราหมณ์ผู้มุ่งบุญพึงหลั่งไทยธรรมบูชาใน

ชนเหล่านั้นตามกาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 459

ม. คำถามของข้าพระองค์ไม่เปล่า

ประโยชน์แน่นอน ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์ตรัสบอกทักขิไณยบุคคลแก่ข้า-

พระองค์แล้ว ก็พระองค์ย่อมทรงทราบ

ไญยธรรมนี้ ในโลกนี้โดยถ่องแท้ จริงอย่าง

นั้น ธรรมนี้พระองค์ทรงทราบแจ่มแจ้งแล้ว

ผู้ใดเป็นคฤหัสถ์ เป็นผู้ควรแก่การขอ เป็น

ทานบดี มีความต้องการบุญ มุ่งบุญ ให้

ข้าวน้ำบูชาแก่ชนเหล่าอื่นในโลกนี้ ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ตรัสบอก

ความถึงพร้อมแห่งยัญแก่ข้าพระองค์.

พ. ดูก่อนมาฆะ เมื่อท่านจะบูชาก็

จงบูชาเถิด และจงทำจิตให้ผ่องใสในกาล

ทั้งปวง เพราะยัญย่อมเป็นอารมณ์ของบุคคล

ผู้บูชายัญ บุคคลตั้งมั่นในยัญนี้แล้ว ย่อม

ละโทสะเสียได้.

อนึ่ง บุคคลผู้นั้น ปราศจากความ

กำหนัดแล้ว พึงกำจัดโทสะ เจริญเมตตาจิต

อันประมาณมิได้ ไม่ประมาทแล้วเนือง ๆ

ทั้งกลางคืนกลางวัน ย่อมแผ่อัปปมัญญา

ภาวนาไปทั่วทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 460

ม. ใครย่อมบริสุทธิ์ ใครย่อมหลุดพ้น

และใครยังติดอยู่ บุคคลจะไปพรหมโลกได้

ด้วยอะไร ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมุนี ข้า-

พระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์โปรด

ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ผู้ไม่รู้ ก็พระผู้มี

พระภาคเจ้าผู้เป็นพรหม ข้าพระองค์ขออ้าง

เป็นพยานในวันนี้ เพราะพระองค์เป็นผู้

เสมอด้วยพรหมของข้าพระองค์จริง ๆ(ข้าแต่

พระองค์ผู้มีความรุ่งเรื่อง) บุคคลจะเข้าถึง

พรหมโลกได้อย่างไร.

พ. (ดูก่อนมาฆะ) ผู้ใดย่อมบูชายัญ

ครบทั้ง ๓ อย่าง ผู้เช่นนั้นพึงให้ทักขิไณย-

บุคคลทั้งหลายยินดีได้ เราย่อมกล่าวผู้นั้นว่า

เป็นผู้ควรแก่การขอ ครั้นบูชาโดยชอบอย่าง

นั้นแล้ว ย่อมเข้าถึงพรหมโลก.

[๓๖๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว มาฆมาณพได้กราบ

ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

นัก ฯลฯ ขอพระองค์ทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบมาฆสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 461

อรรถกถามาฆสูตรที่ ๕

มาฆสูตร มีคำเริ่มต้นว่า อวมฺเม สุต ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

ตอบว่า เหตุที่เกิดนี้ท่านกล่าวไว้แล้วในนิทานแห่งมาฆสูตรนั้น.

มีเรื่องย่อว่า มาฆมาณพนี้เป็นทายก เป็นทานบดี. เขาได้มีความวิตก

ว่าทานที่ให้แก่คนกำพร้าและคนเดินทางที่มาถึงจะเป็นทานมีผลมากหรือไม่หนอ

เราจักทูลถามความนี้กะพระสมณโคดม ข่าวว่าพระสมณโคดมทรงทราบ อดีต

อนาคต และปัจจุบัน เขาจึงเข้าไปถามพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงพยากรณ์สมควรแก่คำถามของเขา พระสูตรนี้รวบรวมคำของสามท่าน

คือ ของพระสังคีติกาจารย์ ของพราหมณ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเรียกว่า

มาฆสูตร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ราชคเห คือในนครมีชื่ออย่างนั้น. นครนั้น

เรียกว่าราชคฤห์เพราะถูกพระเจ้ามันธาตุ และหาโควินทะยึดครองไว้ แม้

อาจารย์พวกอื่นก็พรรณนาไว้ในทำนองนี้. พรรณนาไว้อย่างไร. นี้เป็นชื่อของ

นครนั้น. ก็นครนี้นั้นเป็นนครครั้งพุทธกาล และครั้งจักรพรรดิกาล. ในกาล

ที่เหลือเป็นนครว่างเปล่าถูกยักษ์ครอง เป็นป่าอันเป็นที่อยู่ของยักษ์เหล่านั้น.

พระอานนท์แสดงถึงโคจรคามอย่างนี้แล้วจึงกล่าวถึงที่ประทับว่า คิชฺฌกูเกฏ

ปพฺพเต ณ ภูเขาคิชฌกูฎ. พึงทราบว่าแร้งอาศัยอยู่บนยอดภูเขานั้น หรือ

ยอดภูเขานั้นคล้ายแร้ง ฉะนั้น จึงเรียกภูเขานั้นว่า คิชฌกูฎ ดังนี้,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 462

บทว่า มาโฆ ในบทนี้ว่า อถ โข ฯเปฯ อโวจ นี้ เป็นชื่อของพรา-

หมณ์นั้น ท่านเรียกว่ามาณพ เพราะเป็นผู้อาศัยอยู่ภายในสำนัก. แต่โดยชาติเป็น

ผู้ใหญ่. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่าเป็นผู้ใหญ่ด้วยการประพฤติชอบมาก่อน.

เหมือนปิงคิยมาณพ ด้วยว่าปิงคิยะนั้นแม้มีอายุ ๑๒๐ ปี ด้วยการประพฤติชอบ

มาก่อนก็ยังเรียกว่ามาณพอยู่นั่นเอง. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว.

บทว่า ทายโก ทานปติ ในบทว่า อห หิ โภ ฯเปฯ ปสวามิ

นี้ ได้แก่ เป็นทั้งทายกและเป็นทั้งทานบดี. ก็ผู้ใดถูกเขาชักชวนให้ให้ของ

ของผู้อื่น ผู้นั้นก็เป็นทายกแต่ไม่เป็นทานบดี เพราะไม่เป็นใหญ่ในทานนั้น.

แต่มาฆมาณพนี้ให้ของของตนเท่านั้น ด้วยเหตุนั้นมาฆมาณพจึงกล่าวว่า ข้า

พระองค์เป็นทั้งทายก เป็นทั้งทานบดี. นี้เป็นอธิบายในบทนั้น. ควรจะกล่าว

โดยนัยมีอาทิว่า ผู้ที่ถูกความตระหนี่ครอบงำ ในระหว่าง ๆ เป็นทายก ผู้ไม่

ถูกครองงำเป็นทานบดี. บทว่า วทญฺญู คือข้าพระองค์รู้คำของผู้ขอ เพียงเขา

พูดเท่านั้นก็รู้ว่าผู้นี้ควรแก่สิ่งนี้ ผู้นี้ควรให้สิ่งนี้ด้วยการรับรองความเป็นบุรุษ

วิเศษ หรือด้วยการรับว่าเป็นผู้มีอุปการะมาก. บทว่า ยาจโยโค คือควร

เพื่อจะขอ. มาฆมาณพกล่าวว่าผู้ใดเห็นยาจกแล้วทำหน้าสยิ้วย่อมกล่าวคำหยาบ

เป็นต้น ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ควรเพื่อขอ แต่ข้าพระองค์นี้ได้เป็นเช่นนั้น. บทว่า

ธมฺเมน ความว่า เว้นการลัก การฉ้อโกง และการลวงเป็นต้น เพื่อภิกษาจาร

เพื่อขอ. ก็การขอของพราหมณ์และธรรมของพราหมณ์ผู้ขอด้วยการแสวงหา

โภคทรัพย์ โภคทรัพย์ทีผู้ประสงค์จะอนุเคราะห์ให้แก่พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า

ได้มาแล้วโดยธรรมและบรรลุแล้วโดยธรรม ก็มาฆมาณพนั้นแสวงหาอย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 463

ได้แล้ว. ด้วยเหตุนั้นมาฆมาณพจึงกล่าวว่า ธมฺเมน โภเค ปริเยสามิ ฯเปฯ

ธมฺมาธิคเตหิ ข้าพระองค์แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม ครั้นแสวงหาได้แล้ว

ย่อมนำโภคทรัพย์ที่ตนได้มาโดยธรรมถวายแก่ปฏิคาหก ดังนี้. บทว่า ภิยฺโยปิ

ททามิ ความว่า มาฆมาณพชี้แจงว่า ข้าพระองค์ถวายยิ่งกว่านั้นบ้าง ไม่มี

จำกัด ข้าพระองค์จะถวายตามจำนวนโภคทรัพย์ที่ได้มา. บทว่า ตคฺฆ เป็น

นิบาตลงในคำส่วนเดียว. จริงอยู่ทานอันพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระปัจเจก-

พุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายสรรเสริญแล้วโดยส่วนเดียวเท่านั้น แม้โดยที่สุดให้

แก่ดิรัจฉาน. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า สพฺพตฺถ วณฺณิต ทาน น ทาน

ครหิต กวฺจิ ความว่า ทานท่านสรรเสริญในที่ทั้งปวง ทานท่านไม่ติเตียนใน

ที่ไหน ๆ. เพราะฉะนั้นแม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสรรเสริญทานนั้นโดย

ส่วนเดียวจึงตรัสว่า ตคฺฆ ตฺว มาณว ฯเปฯ ปสวสิ ความว่า ดูก่อนมาณพ

ผู้ใดแลเป็นทายก เป็นทานบดี รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ควรแก่การขอ ย่อม

แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม ครั้นได้โภคทรัพย์โดยธรรมแล้วย่อมนำโภค-

ทรัพย์ที่ตนได้มาโดยธรรมถวายแก่ปฏิคาหก ๑ องค์บ้าง ฯลฯ ๑๐๐ องค์บ้าง

ยิ่งกว่านั้นบ้าง ผู้นั้นย่อมประสบบุญมาก. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พหุ โส ปุญฺ ปวสติ ผู้นั้นย่อม

ประสบบุญมาก ดังนี้ พราหมณ์ประสงค์จะฟังทักษิณาวิสุทธิ (ความหมดจด

แห่งทักษิณา) จากทักขิไณยบุคคล จึงทูลพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งขึ้นไป ด้วย

เหตุนั้นพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อถโข มาโฆ มาณโว ภควนฺต

คาถาย อชฺฌภาสิ ครั้งนั้นแล มาฆมาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยคาถา. บทนั้นมีนัยดังกล่าวแล้วโดยความนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 464

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาต้นว่า ปุจฺฉามห ข้าพระองค์ขอทูลถาม.

บทว่า วทญฺญุ ได้แก่ผู้รู้ถ้อยคำ. ท่านอธิบายว่า รู้ความประสงค์ของคำที่สัตว์

ทั้งหลายพูดทุกอย่าง. บทว่า สุชฺเฌ ได้แก่ พึงบริสุทธิ์ คือพึงมีผลมากด้วยอำนาจ

ทักขิไณยบุคคล. แต่ในบทนี้โยชนาแก้ว่า มาฆมาณพกราบทูลว่า ผู้ใดเป็น

คฤหัสถ์ควรแก่การขอ เป็นทานบดี มีความต้องการบุญให้ข้าวน้ำบูชาแก่ชนเหล่า

อื่น ไม่ใส่เพียงเครื่องบูชาในไฟ แต่มุ่งบุญเท่านั้น ไม่มุ่งการตอบแทนกิตติศัพท์

อันงามเป็นต้น การบูชาของผู้นั้นผู้บูชาอย่างเห็นปานนี้จะพึงบริสุทธิ์ได้อย่างไร.

บทว่า อาราธเย ทกฺขิเณยฺเยหิ ตาทิ ผู้เช่นนั้นพึงให้ทักขิไณยบุคคลยินดีได้

ความว่า ผู้ควรแก่การขอเช่นนั้นพึงให้ทักขิไณยบุคคลยินดีพอใจบริสุทธิ์ใจ พึง

ทำการบูชาให้มีผลมากไม่ใช่อย่างอื่น. ด้วยบทนี้เป็นอันพยากรณ์ บทว่า การ

บูชาของผู้บูชานี้พึงบริสุทธิ์ได้อย่างไร. ในบทว่า อกฺขาหิ เม ภควา ทกฺขิ-

เณยฺเย นี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงบอกทักขิไณยบุคคลแก่ข้าพระองค์

เถิดนี้ พึงทราบโยชนาอย่างนี้ว่า ผู้ใดควรแก่การขอให้อยู่ย่อมบูชาแก่คนอื่น

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงบอกทักขิไณยบุคคลของผู้นั้นแก่ข้าพระองค์

เถิด.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศทักขิไณยบุคคลแก่

มาฆมาณพนั้นโดยนัยหลายประการ ได้ตรัสพระคาถามีอาทิว่า เย เว อลคฺคา

ชนเหล่าใดแลไม่เกี่ยวข้อง ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อลคฺคา คือไม่เกี่ยวข้องด้วยเครื่องเกียวข้องมี

ราคะเป็นต้น. บทว่า เกวลิโน คือมีกิจที่ต้องทำเสร็จแล้ว. บทว่า ยตตฺตา คือ

มีจิตคุ้มครองแล้ว ฝึกฝนแล้วด้วยการฝึกอย่างยอดเยี่ยม พ้นเด็ดขาดแล้วด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 465

ปัญญาเจโตวิมุตติ. ไม่มีความทุกข์ เพราะไม่มีทุกข์ในวัฏฏะต่อไป ไม่มีความ

หวังเพราะไม่มีทุกข์ในปัจจุบัน. พึงทราบว่า ท่านกล่าวคาถาที่สองแห่งคาถานี้

โดยวิธีที่จะประกาศอานุภาพของภาวนา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบ

ด้วยการประกอบการภาวนาเนือง ๆ อยู่ แม้จะไม่พึงเกิดความปรารถนาอย่าง

นี้ว่า ไฉนหนอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะทั้งหลายไม่ยึดมั่น ดังนี้ก็จริง ถึง

ดังนั้น จิตของภิกษุนั้นก็ย่อมพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่น นี้เป็นสูตรตัวอย่าง

ในบทนี้.

บทว่า ราคญฺจ ฯเปฯ เยสุ น มายา ฯเปฯ น ตณฺหาสุ อุปาติปนฺ

นา ชนเหล่าใดละราคะโทสะและโมหะได้แล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหม-

จรรย์ ฯลฯ ชนเหล่าใดไม่น้อมไปในตัณหาทั้งหลาย ความว่า เป็นผู้ไม่น้อมไป

ในกามตัณหาเป็นต้น. บทว่า วิตเรยฺย แปลว่า ข้ามแล้ว. บทว่า ตณฺหา ได้แก่

ตัณหา ๖ อย่าง มีรูปตัณหาเป็นต้น. บทว่า ภวาภวาย ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ

หรืออุจเฉททิฏฐิ. อีกอย่างหนึ่ง เพื่อความไม่มีแห่งภพชื่อว่า ภวาภวาย. ท่าน

อธิบายว่า เพื่อเกิดในภพใหม่. ก็บทว่า อิธ วา หุร วา ในโลกนี้หรือในโลก

อื่น นี้เป็นคำพิสดารของบทนี้ว่า กุหิญฺจิ โลเก ในโลกไหน. บทว่า เย

วีตราคา ฯเปฯ สมิตาวิโน ชนเหล่าใดปราสจากกำหนัด มีอินทรีย์ตั้งมั่นแล้ว

ฯลฯ ชนเหล่าใดมีกิเลสสงบแล้ว อธิบายว่า เป็นผู้สงบ คือมีกิเลสสงบแล้ว.

อนึ่ง ชื่อว่าเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด เป็นผู้ไม่โกรธเพราะมีกิเลสสงบแล้ว.

บทว่า อิธ วิปฺปหาย ท่านอธิบายว่า เพราะละขันธ์อันเป็นไปในโลกนี้แล้ว

จากนั้นก็ไม่มีการไปสู่โลกใดอีก. ต่อจากนี้ไป อาจารย์บางพวกกล่าวคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 466

เย กาเม หิตฺวา อคหา จรนฺติ

สุสยตตฺตา ตสรว อุชฺชุ.

ชนเหล่าใดละกามได้แล้วไม่ยืดถือ

อะไรเที่ยวไป มีตนสำรวมดีแล้ว เหมือน

กระสวยที่พุ่งตรงไปฉะนั้น.

บทว่า ชเหตฺวา แปลว่า ละแล้ว. บาลีว่า ชหิตฺวา บ้าง. ความก็

อย่างเดียวกัน . บทว่า อตฺตทีปา ท่านกล่าวถึงพระขีณาสพทำที่พึ่งของตนเที่ยว

ไปในคุณของตน. อักษรในบทว่า เย เหตฺถ เป็นนิบาตในอรรถเพียงทำ

บทให้เต็ม. ข้อนี้มีอธิบายว่า ชนเหล่าใดรู้ความสืบต่อแห่งขันธ์และอายตนะ

เป็นต้นตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธ์และนี้คืออายตนะ เมื่อรู้สภาวะตามความ

เป็นจริงด้วยสามารถแห่งความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่า อยมนฺ-

ติมา นตฺถิ ปุนพฺภโว ชาตินี้มีในที่สุด ภพใหม่ไม่มีดังนี้ อธิบายว่า ชาติ

ของเราทั้งหลายนี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี. บทว่า โย เวทคู ชนใดเป็น

ผู้ถึงเวท พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถานี้หมายถึงพระองค์ในบัดนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สตีมา มีสติ คือประกอบด้วยสติอันเป็นวิหาร-

ธรรมเนืองนิตย์ ๖ อย่าง. บทว่า สนฺโพธิปตฺโต คือบรรลุสัพพัญญุตญาณ.

บทว่า สรณ พหุนฺน คือเป็นที่พึ่งของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก

ให้พ้นจากความกลัวและการเบียดเบียน.

พราหมณ์ครั้นได้ฟังทักขิไณยบุคคลอย่างนี้แล้วชอบใจ กราบทูลว่า

อทฺธา อโมฆา คำถามของข้าพระองค์ไม่เปล่าประโยชน์แน่นอน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวญฺเหตฺถ ชานาสิ ยถา ตถา อิท พระ-

องค์ทรงทราบไญยธรรมนี้ในโลกนี้อย่างถ่องแท้ ความว่า จริงอยู่พระองค์ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 467

ทราบไญยธรรมนี้ทั้งหมดในโลกนี้อย่างถ่องแท้ คือทรงทราบตามความเป็น

จริง. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า ทรงทราบไญยธรรมเป็นเช่นนั้นนั่นเอง.

บทว่า ตถา หิ เต วิทิโต เอส ธมฺโม จริงอย่างนั้นธรรมนี้พระองค์ทรงทราบ

อย่างแจ่มแจ้งแล้ว คือ จริงอย่างนั้นธรรมธาตุนี้พระองค์ทรงแทงตลอดแล้ว

อธิบายว่า พระองค์ทรงทราบธรรมธาตุที่พระองค์ทรงปรารถนาเพราะพระองค์

แทงตลอดแล้ว.

พราหมณ์นั้นเลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นอย่างนี้แล้ว ครั้นรู้ความ

สมบูรณ์แห่งยัญ ด้วยความสมบูรณ์แห่งทักขิไณยบุคคลแล้ว ประสงค์จะฟัง

ความสมบูรณ์แห่งยัญอันบริบูรณ์ด้วยองค์ ๖ นั้น ด้วยความสมบูรณ์แห่งทายก

จึงทูลถามปัญหายิ่งขึ้นว่า ยาจโยโค ผู้ควรแก่การขอดังนี้.

ในบทนั้นโยชนาแก้ว่า ผู้ใดเป็นผู้ควรแก่การขอให้ (ข้าวน้ำ) บูชา

แก่เพื่อน. ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกความสมบูรณ์แห่งยัญของผู้นั้นแก่

ข้าพระองค์เถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบอกแก่เขาด้วยคาถา

สองคาถา.

ในคาถานั้นโยชนาแก้ว่า ดูก่อนมาฆะ เมื่อท่านจะบูชาก็จงบูชาเถิด

และจงทำจิตให้ผ่องใสในกาลทั้งปวง คือจงทำให้ผ่องใส ในกาลทั้ง ๓.

ท่านกล่าวถึงความสมบูรณ์แห่งยัญไว้ว่า

ปุพฺเพว ทานา สุมโน ทท จิตฺต ปสาทเย

ทตฺวา อตฺตมโน โหติ เอสา ยญฺสฺส สมฺปทา

ก่อนให้ มีใจผ่องใส ขณะให้ จิตก็

ผ่องใส ครั้นให้แล้ว ก็ชื่นใจ นี้คือความ

สมบูรณ์แห่งยัญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 468

ยัญจักสมบูรณ์ด้วยความสมบูรณ์แห่งยัญนั้น ในข้อนั้นพึงมีคำถามว่า

พึงทำจิตให้ผ่องใสได้อย่างไร ?

ตอบว่า ด้วยการละโทสะ. ละโทสะได้อย่างไร ? ด้วยการยึดยัญเป็น

อารมณ์. อธิบายว่าก็เมื่อบูชายึดยัญเป็นอารมณ์ตั้งอยู่ในยัญนั้นละโทสะเสีย เมื่อ

บูชามีจิตกำจัดความมืดคือโมหะเอาสัมมาทิฏฐิเป็นดวงประทีป มีเมตตาในสัตว์

ทั้งหลายเป็นตัวนำ ยัญคือไทยธรรมนี้เป็นอารมณ์ บุคคลนั้นตั้งมั่นในยัญนี้

ด้วยการยึดเป็นอารมณ์ ย่อมละโลภะ อันมีไทยธรรมเป็นปัจจัย ย่อมละความ

โกรธ อันมีปฏิคาหกเป็นปัจจัย ย่อมละโมหะ อันมีโลภะและโกรธทั้งสองเป็น

เหตุ ดังนั้น ชื่อว่าย่อมละโทษแม้ ๓ อย่าง ด้วยประการฉะนี้. บุคคลนั้นเป็น

ผู้ปราศจากความกำหนดในโภคทรัพย์อย่างนี้ พึงกำจัดโทษในสัตว์ทั้งหลาย

ละนิวรณ์ ๕ ได้ด้วยการกำจัดโทษนั้นนั่นเอง เจริญเมตตาจิตอันหาประมาณ

มิได้ อันมีประเภทเป็นอุปจาระและอัปปนาโดยลำดับ ด้วยการแผ่ไปยังสัตว์

ไม่มีประมาณ หรือด้วยการแผ่เมตตาไม่มีส่วนเหลือในสัตว์ตัวเดียว เป็นผู้ไม่

ประมาทในอิริยาบถทั้งหมดเนือง ๆ ทั้งกลางวันกลางคืนเพื่อความไพบูลย์แห่ง

ภาวหาต่อไป ย่อมแผ่อัปปมัญญาภาวนา อันได้แก่เมตตาฌานนั้นแลไปทั่วทิศ.

ลำดับนั้น พราหมณ์ไม่รู้เมตตานี้ว่า นี้เป็นทางแห่งพรหมโลก ครั้น

สดับเมตตาภาวนาอันเป็นวิสัยในอดีตของคนอย่างเดียว ยิ่งมีความสรรเสริญใน

พระสัพพัญญูในพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งขึ้น เพราะตนเองน้อมไปในพรหมโลก

จึงสำคัญว่า การเกิดในพรหมโลกเท่านั้นเป็นความบริสุทธิ์และความพัน เมื่อ

จะทูลถามถึงทางไปพรหมโลกจึงกล่าวคาถาว่า โก สุชฺฌตี ใครย่อมบริสุทธิ์

ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 469

ก็ในคาถานั้น พราหมณ์กล่าวว่า โก สุชฺฌตี มุญฺจติ ใครย่อมบริสุทธิ์

ใครย่อมหลุดพ้น หมายถึงผู้ทำบุญเพื่อไปพรหมโลก กล่าวว่า พชฺฌตี จ

และยังติดอยู่ หมายถึงผู้ไม่กระทำบุญเพื่อไปพรหมโลก. บทว่า เกนตฺตนา

คือด้วยเหตุอะไร. บทว่า สิกฺขิ พฺรหฺมชฺช ทิฏฺโ ข้าพระองค์ขออ้างเป็น

พราหมณ์วันนี้ ความว่า วันนี้อ้างพรหมเป็นพยาน. บทว่า สจฺจ ได้แก่

พราหมณ์ปรารภความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้เสมอด้วยพรหม จึงตั้งคำถาม

ด้วยความเคารพยิ่ง. บทว่า กถ อุปฺปาชฺชติ บุคคลเข้าถึงพรหมได้อย่างไร

พราหมณ์ถามซ้ำอีกด้วยความเคารพยิ่ง. บทว่า ชุติมา ผู้มีความรุ่งเรือง

พราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ในคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ เพราะภิกษุใดยังฌาน ๓ และ ๔ ให้เกิดด้วย

เมตตา ทำฌานนั้นให้เป็นบาท แล้วเห็นแจ้งย่อมบรรลุพระอรหัต ภิกษุนั้น

ชื่อว่าย่อมบริสุทธิ์ และย่อมหลุดพ้น ทั้งภิกษุเช่นนั้นไม่ไปพรหมโลก แก่ภิกษุ

ใดยังฌาน ๓ และ ๔ ให้เกิดด้วยเมตตา พอใจฌานนั้นโดยนัยเป็นต้นว่า สนฺตา

เอสา สมาปตฺติ สมาบัตินี้มีอยู่ดังนี้ ภิกษุนั้นชื่อว่ายังติดอยู่ อนึ่งเมื่อฌาน

ยังไม่เสื่อมย่อมไปสู่พรหมโลกด้วยฌานนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง

เห็นด้วยกับการไปพรหมโลก จึงไม่ทรงแตะต้องถึงบุคคลผู้บริสุทธิ์ ผู้หลุดพ้น

เมื่อจะทรงแสดงถึงการไปพรหมโลกด้วยฌานนั้นแก่พราหมณ์ผู้ยังติดอยู่ จึงตรัส

คาถานี้ว่า โย ยชติ ผู้ใดย่อมบูชา ดังนี้เป็นต้น โดยนัยอันเป็นที่สบายแก่

พราหมณ์.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ติวิธ ครบ ๓ อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

หมายถึงความเลื่อมใสตลอด ๓ กาล. ด้วยบทนั้น แสดงถึงองค์ ๓ ของทายก.

๑. หมายถึง ฌานที่ ๑ ถึงฌานที่ ๓ ในจตุกกนัย และ ฌานที่ ๑ ถึงฌานที่ ๔ ในปัญจกนัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 470

บทว่า อาราธเย ทกฺขิเณยฺเยภิ ตาทิ ผู้เช่นนั้นพึงให้ทักขิไณยบุคคลทั้ง

หลายยินดี ความว่า ผู้เช่นนั้นคือบุคคลผู้ยังความถึงพร้อมด้วยยัญ ๓ อย่างให้

สำเร็จ พึงยังความถึงพร้อมด้วย ๓ อย่างให้สำเร็จ คือ ให้สมบูรณ์ด้วยทักขิ-

ไณยบุคคลคือพระขีณาสพ. ด้วยบทนี้ท่านแสดงถึงองค์ ๓ ของปฏิคาหก. บทว่า

เอว ยชิตฺวา สมฺมา ยาจโยโค ครั้นบูชาอย่างนั้นโดยชอบแล้ว ผู้นั้น

เป็นผู้ควรแก่การขอ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพราหมณ์ให้เกิดความ

อุตสาหะว่า เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นผู้ควรแก่การขอ ครั้นบูชายัญอันถึงพร้อมด้วย

องค์ ๖ มีเมตตาฌานเป็นปทัฏฐานโดยชอบแล้วอย่างนี้ ย่อมเข้าถึงพรหมโลก

ด้วยเมตตาฌาน อันเข้าไปอาศัยยัญที่ประกอบด้วยองค์ ๖ นั้นแล้ว ทรงยัง

เทศนาให้จบบริบูรณ์. บทที่เหลือในคาถาทั้งหมด มีความง่ายทั้งนั้นแล. อนึ่ง

ต่อจากนี้ไป ก็มีนัยดังกล่าวแล้วในตอนก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถามาฆสูตรที่ ๕ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 471

สภิยสูตรที่ ๖

ว่าด้วยทรงตอบปัญหาสภิยปริพาชก

[๓๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลัน-

ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล เทวดาผู้เป็นสาโลหิต

เก่าของสภิยปริพาชก ได้แสดงปัญหาขึ้นว่า ดูก่อนสภิยะ สมณะหรือพราหมณ์

ผู้ใด ท่านถามปัญหาเหล่านี้แล้วย่อมพยากรณ์ได้ ท่านพึงประพฤติพรหมจรรย์

ในสำนักของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้นเถิด. ลำดับนั้นแล สภิยปริพาชกเรียน

ปัญหาในสำนักของเทวดานั้นแล เข้าไปหาสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหมู่

เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีซึ่งเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมาก

ยกย่องว่าดี คือปูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุทธกัจจายนะ

สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครนถ์นาฏบุตร แล้วจึงถามปัญหาเหล่านั้น สมณพราหมณ์

เหล่านั้นอันสภิยปริพาชกถามปัญหาแล้ว แก้ไม่ได้ เมื่อแก้ไม่ได้ ย่อมแสดง

ความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏ ทั้งยังกลับถามสภิย-

ปริพาชกอีก.

ครั้งนั้นแล สภิยปริพาชกมีความดำริว่า ท่านสมณพราหมณ์ทั้งหลาย

ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชน

ส่วนมากยกย่องว่าดี คือ ปูรณกัสสป ฯลฯ นิครนถ์นาฏบุตร ถูกเราถาม

ปัญหาแล้ว แก้ไม่ได้ เมื่อแก้ไม่ได้ ย่อมแสดงความโกรธ ความขัดเคือง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 472

และความไม่พอใจให้ปรากฏ ทั้งยังกลับถามเราในปัญหาเหล่านี้อีก ถ้ากระไร

เราพึงละเพศกลับมาบริโภคกามอีกเถิด ครั้งนั้นแล สภิยปริพาชกมีความดำริ

ว่า พระสมณโคดมนี้แล เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มี

เกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปเฝ้า

พระสมณโคดม แล้วทูลถามปัญหาเหล่านี้เถิด.

ลำดับนั้นแล สภิยปริพาชกมีความดำริว่า ท่านสมณพราหมณ์ทั้งหลาย

เป็นผู้เก่าแก่ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ เป็นผู้เฒ่า รู้ราตรีนาน

บวชมานาน เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็น

เจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี คือ ปูรณกัสสป ฯลฯ นิครนถ์นาฎบุตร

ท่านสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถูกเราถามปัญหาแล้วแก้ไม่ได้ เมื่อแก้ไม่ได้

ย่อมแสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฎ ทั้งยังกลับ

ถามเราในปัญหาเหล่านี้อีก ส่วนพระสมณโคดม ถูกเราถามเแล้วจักพยากรณ์

ในปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร เพราะพระสมณโคดมยังเป็นหนุ่มโดยพระชาติ ทั้ง

ยังเป็นผู้ใหม่โดยบรรพชา.

ลำดับนั้น สภิยปริพาชกมีความดำริว่า พระสมณโคดมเราไม่ควร

ดูหมิ่นดูแคลนว่า ยังเป็นหนุ่ม ถึงหากว่าพระสมณโคดมจะยังเป็นหนุ่ม แต่

ท่านก็เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม

แล้วทูลถามปัญหาเหล่านี้เถิด ลำดับนั้น สภิยปริพาชกได้หลีกจาริกไปทางพระ-

นครราชคฤห์ เมื่อเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายัง

พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้นแล้วปราศรัย

กับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 473

[๓๖๕] ข้าพระองค์ผู้มีความสงสัย

มีความเคลือบแคลง มาหวังจะทูลถามปัญหา

พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามปัญหาแล้ว

ขอจงตรัสพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ตามลำดับ

ปัญหาให้สมควรแก่ธรรมเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนสภิยะ ท่านมาแต่ไกล หวังจะ

ถามปัญหา เราอันท่านถามปัญหาแล้ว จะ

กระทำที่สุดแห่งปัญหาเหล่านั้น จะพยากรณ์

แก่ท่านตามลำดับปัญหา ให้สมควรแก่ธรรม

ดูก่อนสภิยะ ท่านปรารถนาปัญหาข้อใด

ข้อหนึ่งในใจ ก็เชิญถามเราเถิด เราจะกรt

ทำที่สุดเฉพาะปัญหานั้น ๆ แก่ท่าน.

[๓๖๖] ลำดับนั้น สภิยปริพาชกดำริว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่

เคยมีมาเลยหนอ เราไม่ได้แม้เพียงการให้โอกาสในสมณพราหมณ์เหล่าอื่นเลย

พระสมณโคดมได้ทรงให้โอกาสนี้แก่เราแล้ว สภิยปริพาชกมีใจชื่นชม เบิกบาน

เฟื่องฟูเกิดปีติโสมนัส ได้กราบทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้บรรลุอะไรว่า

เป็นภิกษุ กล่าวบุคคลว่าผู้สงบเสงี่ยมด้วย

อาการอย่างไร กล่าวบุคคลว่าผู้ฝึกตนแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 474

อย่างไร และอย่างไรบัณฑิตจึงกล่าวบุคคล

ว่าผู้รู้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์อัน

ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสพยากรณ์

แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนสภิยะ

ผู้ใดถึงความดับกิเลสด้วยมรรคที่ตน

อบรมแล้ว ข้ามความสงสัยเสียได้ ละความ

ไม่เป็นและความเป็นได้เด็ดขาด อยู่จบ

พรหมจรรย์ มีภพใหม่สิ้นแล้ว ผู้นั้นบัณฑิต

กล่าวว่า เป็นภิกษุ.

ผู้ใดวางเฉยในอารมณ์มีรูปเป็นต้น

ทั้งหมด มีสติ ไม่เบียดเบียนสัตว์ในโลก

ทั้งปวง ข้ามโอฆะได้แล้ว เป็นผู้สงบ ไม่

ขุ่นมัว ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น ผู้นั้นบัณฑิต

กล่าวว่า ผู้สงบเสงี่ยม.

ผู้ใดอบรมอินทรีย์แล้ว แทงตลอด

โลกนี้และโลกอื่น ทั้งภายในทั้งภายนอกใน

โลกทั้งปวง รอเวลาสิ้นชีวิตอยู่ อบรมตน

แล้ว ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้ฝึกตนแล้ว.

ผู้พิจารณาทั้งสองอย่าง คือ จุติและ

อุบัติ ตลอดกัปทั้งสิ้นแล้ว ปราศจากธุลี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 475

ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ผู้หมดจด ถึงความ

สิ้นไปแห่งชาติ ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้รู้.

[๓๖๗] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้

มีพระภาคเจ้าแล้ว มีใจชื่นชม เบิกบาน เฟื่องฟู เกิดปีติโสมนัส ได้ทูลถาม

ปัญหาข้อต่อไปกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้บรรลุอะไรว่า

เป็นพราหมณ์ กล่าวบุคคลว่า เป็นสมณะ

ด้วยอาการอย่างไร กล่าวบุคคลผู้ล้างบาป

อย่างไร และอย่างไรบัณฑิตจึงกล่าวบุคคล

ว่า เป็นนาค (ผู้ประเสริฐ) ข้าแต่พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถาม

แล้ว ขอจงตรัสพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า

ผู้ใดลอยบาปทั้งหมดแล้ว เป็นผู้

ปราศจากมลทิน มีจิตตั้งมั่นดี ดำรงตนมั่น

ก้าวล่วงสงสารได้แล้ว เป็นผู้สำเร็จกิจ (เป็น

ผู้บริบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น) ผู้นั้นอัน

ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่

บัณฑิตกล่าวว่า เป็นพราหมณ์.

ผู้ใดมีกิเลสสงบแล้ว ละบุญและบาป

ได้แล้ว ปราศจากกิเลสธุลี รู้โลกนี้และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 476

โลกหน้าแล้ว ล่วงชาติและมรณะได้ ผู้คง

ที่เห็นปานนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นสมณะ.

ผู้ใดล้างบาปได้หมดในโลกทั้งปวง

คือ อายตนะภายในและภายนอกแล้ว ย่อม

ไม่มาสู่กัป ในเทวดาและมนุษย์ผู้สมควรผู้

นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้ล้างบาป.

ผู้ใดไม่กระทำบาปอะไร ๆ ในโลก

สลัดออกซึ่งธรรมเป็นเครื่องประกอบและ

เครื่องผูกได้หมด ไม่ข้องอยู่ในธรรมเป็น

เครื่องข้องมีขันธ์เป็นต้นทั้งปวง หลุดพ้น

เด็ดขาด ผู้คงที่ เห็นปานนั้น บัณฑิตกล่าว

ว่า เป็นนาค.

[๓๖๘] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ฯลฯ ได้ทูลถามปัญหาข้อต่อไป

กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวใครว่าผู้ชนะ-

เขต กล่าวบุคคลว่า เป็นผู้ฉลาด ด้วยอาการ

อย่างไร อย่างไรจึงกล่าวบุคคลว่า เป็นบัณฑิต

และกล่าวบุคคลว่า เป็นมุนี ด้วยอาการ

อย่างไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ่า พระองค์

อันข้าพระองค์ทูลถามแล้วขอจงตรัสพยา-

กรณ์แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนสภิยะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 477

ผู้ใดพิจารณา (อายตนะหรือกรรม)

เขตทั้งสิ้น คือ เขตที่เป็นของทิพย์ เขตของ

มนุษย์และเขตของพรหมแล้ว เป็นผู้หลุดพ้น

จากเครื่องผูกอันเป็นรากเหง้าแห่งเขตทั้งหมด

ผู้คงที่เห็นปานนั้น ผู้นั้นท่านผู้รู้ทั้งหลาย

กล่าวว่า เป็นผู้ชนะเขต.

ใดพิจารณากะเปาะฟอง (กรรม)

ทั้งสิ้น คือ กะเปาะฟองที่เป็นของทิพย์

กะเปาะฟองของมนุษย์ และกะเปาะฟอง

ของพรหมแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูก

อันเป็นรากเหง้าแห่งกะเปาะฟองทั้งหมด

ผู้คงที่ เห็นปานนั้น ผู้นั้นท่านผู้รู้ทั้งหลาย

กล่าวว่า เป็นผู้ฉลาด.

ผู้ใดพิจารณาอายตยะทั้งสอง คือ

อายตนะภายในและภายนอกแล้ว เป็นผู้มี

ปัญญาอันบริสุทธิ์ ก้าวล่วงธรรมดำและ

ธรรมขาวได้แล้ว ผู้คงที่เห็นปานนั้น ผู้นั้น

ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า เป็นบัณฑิต.

ผู้ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและของ

สัตบุรุษในโลกทั้งปวง คือ ในภายในและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 478

ภายนอก แล้วดำรงอยู่ ผู้นั้นอันเทวดาและ

มนุษย์บูชา ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและข่าย

คือตัณหาและทิฏฐิแล้ว ท่านผู้รู้ทั้งหลาย

กล่าวว่า เป็นมุนี.

[๓๖๙] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ฯลฯ ได้ทูลถามปัญหาข้อต่อไปกะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้บรรลุอะไร ว่า

ผู้ถึงเวท กล่าวบุคคลว่า ผู้รู้ตาม ด้วยอาการ

อย่างไร กล่าวบุคคลว่า ผู้มีความเพียร ด้วย

อาการอย่างไร และบุคคลผู้อันบัณฑิตกล่าวว่า

เป็นผู้ชื่อว่า อาชาไนย ด้วยอาการอย่างไร

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์อันข้า

พระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสพยากรณ์แก่

ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนสภิยะ

ใดพิจารณาเวททั้งสิ้น อันเป็น

ของมีอยู่แห่งสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย

ปราศจากความกำหนัดในเวทนาทั้งปวง

ผู้นั้นล่วงเวททั้งหมดแล้ว บัณฑิตกล่าวว่า ผู้

ถึงเวท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 479

ผู้ใดใคร่ครวญธรรมอันเป็นเครื่องทำ

ให้เนิ่นช้า และนามรูปอันเป็นรากเหง้าแห่ง

โรค ทั้งภายในทั้งภายนอกแล้ว เป็นผู้หลุด

พ้นจากเครื่องผูกอันเป็นรากเหง้าแห่งโรค

ทั้งปวง ผู้คงที่เห็นปานนั้น ผู้นั้นบัณฑิต

กล่าวว่า ผู้รู้ตาม.

ผู้ใดงดเว้นจากบาปทั้งหมด ล่วง

ความทุกข์ในนรกได้แล้ว ดำรงอยู่ ผู้นั้น

บัณฑิตกล่าวว่า ผู้มีความเพียร ผู้นั้นมีความ

แกล้วกล้า มีความเพียร ผู้คงที่เห็นปานนั้น

บัณฑิตกล่าวว่า เป็นนักปราชญ์.

ผู้ใดตัดเครื่องผูกอันเป็นรากเหง้า

แห่งธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งภายในทั้งภาย

นอกได้แล้ว หลุดพ้นแล้วจากเครื่องผูกอัน

เป็นรากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งปวง

ผู้คงที่ เห็นปานนั้น ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า

เป็นผู้ชื่อว่า อาชาไนย.

[๓๗๐] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ฯลฯ ได้ทูลถามปัญหาข้อต่อไปกะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้บรรลุอะไร ว่า

ผู้สมบูรณ์ด้วยสุตะ กล่าวบุคคลว่า เป็นอริยะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 480

ด้วยอาการอย่างไร กล่าวบุคคลว่า ผู้มีจรณะ

ด้วยอาการอย่างไร และบุคคลผู้อันบัณฑิต

กล่าวว่าเป็นผู้ชื่อว่าปริพาชก ด้วยอาการ

อย่างไร ข้าแต่พระผู้พระภาคเจ้า พระองค์

อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสพยา

กรณ์แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนสภิยะ

บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้ฟังแล้ว รู้ยิ่ง

ธรรมทั้งมวล ครอบงำธรรมที่มีโทษและไม่

มีโทษอะไร ๆ อันมีอยู่ในโลกเสียได้ ไม่มี

ความสงสัย หลุดพ้นแล้ว ไม่มีทุกข์ในธรรม

มีขันธ์และอายตนะเป็นต้นทั้งปวง ว่า ผู้

สมบูรณ์ด้วยสุตะ.

บุคคลนั้นรู้แล้ว ตัดอาลัย (และ)

อาสวะได้แล้ว ย่อมไม่เข้าถึงการนอนใน

ครรภ์ บรรเทาสัญญา ๓ อย่าง และเปือกตม

คือ กามคุณแล้ว ย่อมไม่มาสู่กัป บัณฑิต

กล่าวว่า เป็นอริยะ.

ผู้ใดในศาสนานี้ เป็นผู้บรรลุธรรม

ที่ควรบรรลุเพราะจรณะ เป็นผู้ฉลาด รู้ธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 481

ได้ในกาลทุกเมื่อ ไม่ข้องอยู่ในธรรมมีขันธ์

เป็นต้นทั้งปวง มีจิตหลุดพ้นแล้ว ไม่มีปฏิฆะ

นั้น บัณฑิตกล่าวว่า ผู้มีจรณะ.

ผู้ใดขับไล่กรรมอันมีทุกข์เป็นผล

ซึ่งมีอยู่ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และเป็น

ปัจจุบันได้แล้ว มีปกติกำหนดด้วยปัญญา

เที่ยวไป กระทำมายากับทั้งมานะ ความโลภ

ความโกรธ และนามรูป ให้มีที่สุดได้แล้ว

ผู้นั้น บัณฑิตกล่าวว่า ปริพาชก ผู้บรรลุ

ธรรมที่ควรบรรลุ.

[๓๗๑] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีใจชื่นชม เพื่องฟู เบิกบาน เกิดปีติโสมนัส

ลุกจากอาสนะ กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าช้างหนึ่งแล้วประณมอัญชลีไปทางที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ได้ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาอันสมควร

ในที่เฉพาะพระพักตร์ว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระ-

ปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน พระองค์ทรงกำจัด

ทิฏฐิ ๓ และ ๖๐ ที่อาศัยคัมภีร์อันเป็นวาทะ

เป็นประธานของสมณะผู้ลัทธิอื่น ที่อาศัย

อักขระคือความหมายรู้กัน (ว่าหญิงว่าชาย)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 482

และสัญญาอันวิปริต (ซึ่งเป็นที่ยึดถือ) ทรง

ก้าวล่วงความมืด คือ โอฆะได้แล้ว.

พระองค์เป็นผู้ถึงที่สุด ถึงฝั่งแห่ง

ทุกข์ เป็นพระอรหันต์ (ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ)

ทรงสำคัญพระองค์ว่า ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว มี

ความรุ่งเรือง มีความรู้ พระปัญญามาก

ทรงช่วยข้าพระองค์ ผู้กระทำที่สุดทุกข์ให้

ข้ามได้แล้ว.

เพราะพระองค์ได้ทรงทราบข้อที่ข้า

พระองค์สงสัยแล้ว ทรงช่วยให้ข้าพระองค์

ข้ามพ้นความสงสัย ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมุนี

ผู้ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุในทางแห่งมุนี

ไม่มีกิเลสดุจหลักตอ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์

พระอาทิตย์ ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่

พระองค์.

พระองค์เป็นผู้สงบดีแล้ว พระองค์

พระจักษุ ทรงพยากรณ์ความสงสัยของ

ข้าพระองค์ที่ได้มีแล้วในกาลก่อนแก่ข้า

พระองค์ พระองค์เป็นมุนีผู้ตรัสรู้เองแน่แท้

พระองค์ไม่มีนิวรณ์ อนึ่ง อุปายาสทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 483

พระองค์ทรงกำจัดเสียแล้ว ถอนขึ้นได้แล้ว

พระองค์เป็นผู้เยือกเย็น เป็นผู้ถึงการฝึกตน

มีพระปัญญาเครื่องจำทรง มีความบากบั่น

เป็นนิตย์ในสัจจะ.

เทวดาทั้งปวง ทั้งสองพวก (คือ

อากาสัฏฐเทวดา และภุมมัฏฐเทวดา) ที่

อาศัยอยู่ในนารทบรรพตย่อมชื่นชม ต่อ

พระองค์ผู้ประเสริฐยิ่ง ผู้มีความเพียรใหญ่

แสดงธรรมเทศนา.

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย

ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่

พระองค์ผู้เป็นบุรุษอันสูงสุด ข้าพระองค์ขอ

นอบน้อมแด่พระองค์ บุคคลผู้เปรียบเสมอ

พระองค์ไม่มีในโลก พร้อมทั้งเทวโลก.

พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ

ศาสดา เป็นมุนีผู้ครอบงำมาร พระองค์

ทรงตัดอนุสัย ข้ามโอฆะได้เองแล้ว ทรง

ช่วยให้หมู่สัตว์นี้ข้ามได้แล้ว.

พระองค์ทรงก้าวล่วงอุปธิ ทำลาย

อาสวะได้แล้ว พระองค์เป็นดังสีหะ ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 484

อุปาทาน ทรงละความกลัวและความขลาด

ได้แล้ว ไม่ทรงติดอยู่ในบุญและบาปทั้งสอง

อย่าง เปรียบเหมือนดอกบัวขาวที่งามไม่ติด

อยู่ในน้ำฉะนั้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ขอ

เชิญพระองค์โปรดเหยียดพระบาทออกมา

เถิด สภิยะ ขอถวายบังคมพระบาทของ

พระศาสดา.

[๓๗๒] ลำดับนั้นแล สภิยปริพาชก หมอบลงแทบพระบาทของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิต

ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบ

เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป

ในที่มืดด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงซึ่งพระผู้มี

พระภาคเจ้า กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอให้ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเถิด.

พ. ดูก่อนสภิยะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์มาก่อน หวังบรรพชา

หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน เมื่อล่วง ๔ เดือน

ไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายพอใจ จึงยังผู้นั้นผู้อยู่ปริวาสแล้ว ให้บรรพชาอุปสมบท

เพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่าเรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 485

ส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าผู้ที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์มาก่อน หวัง

บรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน เมื่อล่วง

๔ เดือน ภิกษุทั้งหลายพอใจ จึงยังผู้นั้นผู้อยู่ปริวาสแล้วให้บรรพชาอุปสมบท

เพื่อความเป็นภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาส ๔ ปี เมื่อล่วง ๔ ปีแล้ว

ภิกษุทั้งหลายพอใจ ขอจงยังข้าพระองค์ผู้อยู่ปริวาสแล้วให้บรรพชาอุปสมบท

เพื่อความเป็นภิกษุเถิด.

สภิยปริพาชก ได้บรรพชา อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว ครั้นท่านพระสภิยะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่

ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่ง

พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ

ต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มีอีก ก็ท่านพระสภิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์

ทั้งหลายฉะนี้แล.

จบสภิยสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 486

อรรถกถาสภิยสูตรที่ ๖

สภิยสูตรมีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

การเกิดขึ้นนี้กล่าวไว้แล้วในนิทานของสูตรนั้น. อนึ่ง สูตรนี้แม้ในลำดับ

แห่งการพรรณนาความก็พึงทราบว่าเช่นกับสูตรก่อน มีนัยดังได้กล่าวไว้แล้ว

ในสูตรก่อนนั่นแล. แต่บทใดยังไม่ได้กล่าวไว้ เราจักเรียบเรียงบทที่กล่าวไว้

ไม่ชัดเจน พรรณนาบทนั้น.

บทว่า เวฬุวน ในบทว่า เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป เป็นชื่อ

ของสวนนั้น. ได้ยินว่า สวนนั้นได้ล้อมไว้ด้วยไม้ไผ่ ทั้งมีสีเขียวน่ารื่นรมย์

ประกอบด้วยซุ้มประตูและป้อมตามกำแพง ๑๘ ศอก. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียกว่า

เวฬุวัน. ที่สวนนั้น ชนทั้งหลายได้ให้เหยื่อแก่กระแต ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า

กลันทกนิวาปะ. กระแตทั้งหลายท่านเรียกว่า กลันทกะ.

มีเรื่องเล่าว่า ครั้งก่อนพระราชาองค์หนึ่งเสด็จมาประพาสพระอุทยาน

ณ ที่นั้น ทรงเมาด้วยฤทธิ์สุราบรรทมหลับในตอนกลางวัน. พวกบริวารของ

พระองค์รู้ว่าพระราชาบรรทมหลับ จึงเลี่ยงไปเก็บดอกไม้และผลไม้จากข้างโน้น

ข้างนี้. ลำดับนั้นงูเห่าได้กลิ่นสุราจึงเลื้อยออกจากโพรงไม้ต้นหนึ่ง เลื้อยไป

ทางพระราชา. รุกขเทวดาเห็นดังนั้นจึงคิดว่าเราจักให้ชีวิตพระราชา จึงแปลง

เป็นกระแตกระซิบที่พระกรรณ. พระราชาทรงตื่นบรรทม. งูเห่าเลื้อยกลับ

พระราชาทอดพระเนตรเห็นกระแตนั้น ทรงดำริว่ากระแตนี้ให้ชีวิตเรา จึงทรง

ให้จัดหาเหยื่อไว้ให้กระแตที่พระราชอุทยานนั้น และให้ประกาศพระราชอุทยาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 487

นั้นเป็นเขตให้อภัยแก่กระแต. เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นั้นมาพระราชอุทยานนั้น

จึงชื่อว่า กลันทกนิวาปสถาน สถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต.

คำว่า สภิยะ ในบทว่า สภิยสฺส ปริพฺพาชกสฺส เป็นชื่อของ

ปริพาชกนั้น. บทว่า ปริพฺพาชโก ท่านกล่าวหมายถึงนักบวชภายนอก.

บทว่า โปราณสาโลหิตาย เทวตาย เทวดาผู้เป็นสาโลหิตเก่า คือ ไม่ใช่

มารดา ไม่ใช่บิดา แต่เป็นดุจมารดาและบิดา เทพบุตรนั้นท่านกล่าวว่าเป็น

เทวดาผู้เป็นสายโลหิตเก่า เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยเกื้อกูล.

มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะปรินิพพาน

แล้ว ได้ประดิษฐานสุวรรณเจดีย์ขึ้นแล้ว. กุลบุตร ๓ คนบวชในสำนักของสาวก

ซึ่งยังอยู่กันพร้อมหน้า เรียนกรรมฐานอันสมควรแก่ความประพฤติไปสู่ชนบท

ชายแดน บำเพ็ญสมณธรรมในราวป่า เข้าเมืองเป็นครั้งคราวเพื่อไหว้พระเจดีย์

และเพื่อฟังธรรม. ครั้นต่อมาภิกษุเหล่านั้นไม่ชอบออกไปจากป่า จึงไม่ประมาท

อยู่ในป่านั้นเอง. แม้อยู่อย่างนี้ก็ไม่สามารถบรรลุคุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งได้

ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงคิดกันว่า เราออกไปบิณฑบาตแล้ว ๆ เล่า ๆ ชื่อว่า

เป็นผู้มุ่งหวังในชีวิต อันผู้มุ่งหวังในชีวิตไม่สามารถจะบรรลุโลกุตรธรรมได้

การตายเมื่อยังเป็นปุถุชนเป็นทุกข์ เอาเถิด เราจะพาดบันไดขึ้นสู่ภูเขาไม่มุ่งหวัง

ในร่างกายและชีวิต บำเพ็ญสมณธรรณดังนี้. ภิกษุเหล่านั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว.

ครั้งนั้น บรรดาภิกษุเหล่านั้น พระมหาเถระเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย

ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยอภิญญา ๖ ในทันทีนั้นเอง พระมหาเถระจึงไปสู่

หิมวันตประเทศด้วยฤทธิ์ ล้างหน้าที่สระอโนดาต เที่ยวไปบิณฑบาตในอุตรกุรุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 488

ฉันอาหารเสร็จแล้วได้ไปยังที่อื่นต่อไป ได้ภัตตาหารเต็มบาตรแล้ว เอาน้ำที่

สระอโนดาต และแปรงสีฟันชื่ออนาคลดามาหาภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า อาวุโส

ทั้งหลาย ท่านจงดูอานุภาพยิ่งใหญ่ บิณฑบาตนี้นำมาจากแคว้นอุตรกุรุ น้ำและ

แปรงสีฟันนี้นำมาจากหิมวันตประเทศ ท่านทั้งหลายจงฉันภัตตาหารนี้บำเพ็ญ

สมณธรรมเถิด ผมจะอุปัฏฐากพวกท่านอย่างนี้ตลอดไป. ภิกษุเหล่านั้นได้ฟัง

แล้วจึงกล่าวว่า พระคุณเจ้าขอรับ พระคุณเจ้าทำกิจเสร็จแล้ว พวกกระผม

แม้เพียงสนทนากับพระคุณเจ้าก็เสียเวลาอยู่แล้ว บัดนี้ ขอพระคุณเจ้าอย่ามาหา

พวกกระผมอีกเลย. พระมหาเถระนั้นเมื่อไม่สามารถจะให้ภิกษุเหล่านั้นยินยอม

ได้โดยวิธีไร ๆ หลีกไป.

แต่นั้นบรรดาภิกษุเหล่านั้นรูปหนึ่ง โดยล่วงไป ๒ - ๓ วันได้เป็น

พระอนาคามีได้อภิญญา ๕. ภิกษุนั้นก็ได้ทำอย่างนั้นเหมือนกัน ครั้นถูกภิกษุ

อีกรูปหนึ่งห้ามก็กลับไปเช่นเดียวกัน. ภิกษุนั้นพยายามห้ามอยู่อย่างนั้น ครั้น

ถึงวันที่ ๗ จากวันที่ขึ้นไปสู่ภูเขาก็ยังไม่บรรลุคุณวิเศษไร ๆ ครั้นมรณภาพแล้ว

ก็ไปเกิดในเทวโลก. ฝ่ายพระเถระผู้เป็นขีณาสพก็ปรินิพพานในวันนั้นนั่นเอง.

ท่านที่เป็นพระอนาคามีได้บังเกิดในสุทธาวาส. เทพบุตรเสวยทิพยสมบัติใน

สวรรค์ชั้นกามาวจร ๖ ชั้นกลับไปกลับมา ครั้นถึงศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ของเราได้จุติจากเทวโลก ถือปฏิสนธิในครรภ์ของปริพาชิกาผู้หนึ่ง. นัยว่า

ปริพาชิกาผู้นั้นเป็นราชธิดาของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง. พระชนกชนนีได้ทรง

มอบราชธิดานั้นแก่ปริพาชกผู้หนึ่ง ด้วยตั้งพระทัยว่าธิดาของเราจงรู้เรื่องลัทธิ

เถิด. ปริพาชกผู้เป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของปริพาชกนั้น ประพฤติเมถุนกรรมกับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 489

ราชธิดานั้น. พระนางได้ตั้งครรภ์ ปริพาชิกาทั้งหลายเห็นราชธิดานั้นมีครรภ์

จึงพากันไล่ออกไป. พระนางเสด็จไปในที่แห่งหนึ่ง ทรงคลอดที่หอประชุมใน

ระหว่างทาง ด้วยเหตุนั้นกุมารนั้นจึงมีชื่อว่า สภิยะ เกิดที่หอประชุม. สภิยะ

นั้นครั้นเติบโตแล้วก็บวชเป็นปริพาชก เล่าเรียนศาสตร์ต่าง ๆ เป็นผู้มีวาทะมาก

เที่ยวไปตลอดชมพูทวีป เพื่อโต้วาทะ ไม่เห็นนักพูดเช่นกับตนจึงให้สร้าง

อาศรมไว้ที่ประตูพระนคร สั่งสอนศิลปะแก่ขัตติยกุมารเป็นต้น อาศัยอยู่ ณ

ที่นั้น.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเผยแผ่พระธรรมจักรอันประเสริฐ

เสด็จมาถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ประทับอยู่ ณ เวพุวัน มหาวิหารกลันทกนิวาป-

สถาน. แต่สภิยปริพาชกไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว. ลำดับนั้น สุทธาวาส-

พรหม ครั้นออกจากสมาบัติแล้วรำพึงว่า เราได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ด้วยอานุภาพ

ของใครรำลึกถึงผู้ร่วมบำเพ็ญสมณธรรมและสหายเหล่านั้น ในศาสนาของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ บรรดาสหายเหล่านั้นรูปหนึ่งปรินิพพาน

แล้วรำพึงต่อไปว่า บัดนี้อีกรูปหนึ่งอยู่ที่ไหน ครั้นรู้แล้วว่า ภิกษุรปนั้นจุติจาก

เทวโลกแล้วไปเกิดในชมพูทวีป และไม่รู้ว่า แม้พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วจึง

คิดว่า เอาเถิดเราจะชักชวนเขาเพื่อเข้าถึงพระพุทธเจ้า จึงแต่งปัญหา ๒๐ ข้อ

ตอนกลางคืน ได้มายังอาศรมของสภิยปริพาชกนั้นยืนอยู่บนอากาศ ร้องเรียกว่า

สภิยะ ดังนี้. สภิยปริพาชกกำลังหลบได้ยินเสียงร้องเรียกอยู่ ๓ ครั้งจึงออกไป

เห็นแสงสว่างจึงยืนประณมมือ. ลำดับนั้น พรหมได้กล่าวกะสภิยปริพาชกนั้น

ว่า ดูก่อนสภิยะ เรานำปัญหา ๒๐ ข้อมาเพื่อท่าน ท่านจงเรียนปัญหาเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 490

สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดถูกท่านถามปัญหานี้แล้วพยากรณ์ได้ ท่านพึงประพฤติ

พรหมจรรย์ในสำนักของผู้นั้นเถิด.

บทว่า ปุราณสาโลหิตาย เทวตาย ปญฺหา อุทฺทิฏฺา โหนฺติ

เทวดาผู้เป็นสาโลหิตเก่าได้แสดงปัญหานี้ ท่านกล่าวหมายถึงเทพบุตรนี้.

บทว่า อุทฺทิฏฺา ท่านกล่าวเพียงหัวข้อแสดงเท่านั้นมิได้กล่าวโดย

จำแนก

เมื่อพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว สภิยะได้เรียนปัญหาเหล่านั้นตามลำดับบท

ด้วยการกล่าวครั้งเดียวเท่านั้น. ครั้งนั้นพรหมแม้รู้อยู่ก็ยังไม่บอกว่า พระพุทธ-

เจ้าเกิดแล้วแก่สภิยะนั้น. พรหมกล่าวอย่างนี้ว่า โย เต สภิย ฯเปฯ จเรยฺยาสิ

ดูก่อนสภิยะ สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดถูกท่านถามปัญหาเหล่านี้แล้วพยากรณ์ได้

ท่านพึงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของผู้นั้นเถิด ด้วยความประสงค์นี้ว่า

สภิยปริพาชกเมื่อแสวงหาประโยชน์ จักรู้จักพระศาสดาด้วยตนเอง และความ

ที่ภายนอกศาสนานี้ว่างจากสมณพราหมณ์ ดังนี้. แต่เกจิอาจารย์กล่าวพรรณนา

เรื่องราวของพระสภิยเถระไว้ในเถรคาถาในจตุกกนิบาตว่า มารดาของท่านสภิย-

เถระนั้นคิดถึงการปฏิบัติผิดของตน จึงรังเกียจการปฏิบัติผิดนั้น ยังฌานให้เกิด

แล้วไปบังเกิดในพรหมโลก มารดาผู้เป็นเทพชั้นพรหมได้แสดงปัญหาเหล่านั้น

ดังนี้.

บทว่า เย เต เป็นบทยกขึ้นแสดงถึงบุคคลที่ควรกล่าวถึงในบัดนี้.

บทว่า สมณพฺราหฺมณา ได้แก่ ผู้เป็นสมณะและพราหมณ์ด้วยการเข้าไป

บรรพชาและด้วยโลกสมมติ. บทว่า สงฺฆิโน. คือเป็นเจ้าหมู่. บทว่า คณิโน

เป็นเจ้าคณะ คือผู้ปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นศาสดา เป็นสัพพัญญู. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 491

คณาจริยา เป็นคณาจารย์ คือเป็นอาจารย์ของคณะบรรพชิตและคฤหัสถ์ด้วย

การเรียนการถามเป็นต้น . บทว่า าตา มีชื่อเสียง คือรู้จักกันมาก ท่าน

อธิบายว่า เป็นผู้ปรากฏ. บทว่า ยสสฺสิโน มีเกียรติยศ คือสมบูรณ์ด้วยลาภ

และบริวาร. บทว่า ติตฺถกรา เป็นเจ้าลัทธิ คือเป็นเจ้าทิฏฐิอันผู้ถึงทิฏฐานุคติ

คล้อยตาม. บทว่า สาธุสมฺมตา พหุชนสฺส ชนส่วนมากยกย่องว่าดี คือ

ชนส่วนมากยกย่องว่าท่านเหล่านี้เป็นคนดี คือเป็นสัตบุรุษ. บทว่า เสยฺยถีท

เป็นนิบาตลงในความนี้ว่า หากมีคำว่า ท่านเหล่านั้น คือใคร.

คำว่า ปูรโณ เป็นชื่อ. คำว่า กสฺสโป เป็นโคตร. นัยว่าปูรณ-

กัสสปนั้น โดยชาติเป็นทาสคือเป็นทาสมา ๙๙ ชาติ เกิดแล้วยังความเป็นทาส

๙๙ ชาติ ให้เต็ม (๑๐๐) เพราะเหตุนั้นเขาจึงได้ชื่อว่า ปูรณะ แต่หนีไปบวช

ในสำนักชีเปลือย แสดงโคตรว่า เราเป็นกัสสปโคตรและได้ประกาศความเป็น

สัพพัญญู. บทว่า มกฺขลิ เป็นชื่อ. เรียกว่าโคสาละบ้างเพราะเกิดในโรงโค.

นัยว่า มักขลิโคศาลนั้นโดยชาติเป็นทาสเหมือนกัน หนีไปบวชและได้ประกาศ

ความเป็นสัพพัญญู.

บทว่า อชิโต เป็นชื่อ. เพราะเป็นผู้มีความมักน้อยจึงนุ่งห่มผ้าเกส-

กัมพล (ผ้าทำด้วยผมคน) เพราะฉะนั้นเขาจึงเรียกกันว่า เกสกัมพล. อชิตะนั้น

ก็ประกาศความเป็นสัพพัญญู.

บทว่า ปกุโธ เป็นชื่อ. บทว่า กจฺจายโน เป็นโคตร. ด้วยความ

เป็นผู้มักน้อย และด้วยสำคัญว่าในน้ำมีสัตว์มีชีวิต จึงไม่อาบน้ำไม่ล้างหน้า

เป็นต้น. ปกุธะนั้นก็ประกาศความเป็นสัพพัญญู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 492

บทว่า สญฺชโย เป็นชื่อ. บิดาของเขาชื่อเวลัฏฐะ. เพราะฉะนั้น

จึงเรียกว่า เวลัฏฐบุตร. สัญชัยนั้นก็ประกาศความเป็นสัพพัญญู.

บทว่า นิคฺคณฺโ ได้แก่ เรียกชื่อเมื่อบวช. บทว่า นาฏปุตฺโต เรียก

ชื่อบิดา. นัยว่าบิดาของเขาชื่อนาฏะ. ชื่อว่า นาฏบุตร เพราะเป็นบุตรของนาฏะ.

นาฏบุตรนั้นก็ประกาศความเป็นสัพพัญญู. ทั้งหมดนั้นมีศิษย์เป็นบริวารคนละ

๕๐๐.

บทว่า เต ได้แก่ ศาสดาทั้ง ๖. บทว่า เต ปญฺเห ได้แก่ปัญหา

๒๐ ข้อเหล่านั้น . บทว่า เนว สมฺปายนฺติ คือแก้ไม่ได้. บทว่า โกป โกรธ

คือ ความที่จิตและเจตสิกขุ่นมัว.

บทว่า โทส ความเคือง คือความเป็นผู้มีจิตประทุษร้าย. แม้ทั้งสอง

บทนั้นก็เป็นชื่อของความโกรธทั้งอย่างอ่อนและรุนแรง. บทว่า อปฺปจฺจย

ได้แก่ ความไม่พอใจ ท่านกล่าวว่าได้แก่ความเสียใจ. บทว่า ปาตุกโรนฺติ

คือแสดงกายวิการและวจีวิการ ให้ปรากฏ. บทว่า หีนาย เพื่อความเป็นคน

เลว คือความเป็นคฤหัสถ์. จริงอยู่ คฤหัสถ์ท่านกล่าวว่าเลว เพราะเทียบกับ

บรรพชาแล้วเลวจากคุณมีศีลเป็นต้นหรือเพราะเสพกามสุขอันเลว. บรรพชา

เป็นของสูง. บทว่า อาวตฺติตฺวา เวียนมา คือถอยหลัง. บทว่า กาเม

ปริภุญฺเชยฺย ได้แก่ เสพกาม. ได้ยินว่าสภิยะนั้นได้เห็นพวกนักบวชแม้ปฏิญญา

ความเป็นสัพพัญญูก็เหลวเปล่าทั้งนั้น. ครั้งนั้นแล สภิยปริพาชกผู้มาด้วย. ความ

ปริวิตกที่เกิดขึ้นแล้วพิจารณาอยู่บ่อย ๆ ได้มีความดำริว่า พระสมณโคดมนี้แล

ว่า สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น และไม่ควรดูหมิ่นสมณะว่ายังเป็นหนุ่ม

ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 493

ในบทเหล่านั้นบทว่า ชิณฺณา เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า เถรา ได้แก่ ผู้ถึงความมั่นคงในสมณธรรมของตน. บทว่า รตฺตญฺญู

รู้ราตรีนาน คือรู้รัตนะ หรือรู้ราตรีมากที่โลกสมมติด้วยปฏิญญาณของตนอย่างนี้

ว่า เรารู้รัตนะคือนิพพาน. ชื่อว่า จิรปพฺพชิตา เพราะบวชมานาน.

บทว่า น อุญฺาตพฺโพ คือไม่ควรดูหมิ่น. ท่านอธิบายว่าไม่ควร

ดูหมิ่นว่าเป็นคนชั้นต่ำ. บทว่า น ปริโภตพฺโพ คือไม่ควรดูแคลน. ท่าน

อธิบายว่า ไม่ควรถืออย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้จักรู้อะไร.

บทว่า กงฺขี เวจิกิจฺฉี มีความสงสัย มีความเคลือบแคลง ความว่า

สภิยปริพาชกชื่นชมอยู่กับพระผู้มีพระภาคเจ้า สรรเสริญความเป็นสัพพัญญู

อันสมบูรณ์ด้วยพระรูป มีความสงบและสะอาดของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้

เป็นผู้ปราศจากความฟุ้งซ่าน จึงกล่าวว่า กงฺขี เวจิกิจฺฉี ดังนี้.

ในสองบทนั้น ชื่อว่า กงฺขี เพราะสงสัยในการพยากรณ์ปัญหาทั้งหลาย

อย่างนี้ว่า เราจะพึงได้การพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้หรือหนอ. ชื่อว่า เวจิกิจฺฉี

เพราะเคลือบแคลงอย่างนี้ว่า ความของปัญหานี้ ๆ จะเป็นอย่างไรหนอ. อีก

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า กงฺขี เพราะสงสัยความของปัญหาเหล่านั้นด้วยความสงสัย

อย่างอ่อน, ชื่อว่า เวจิกิจฺฉี เพราะค้นคว้าด้วยความสงสัยอย่างแรงกล้าก็ยัง

ลำบากอยู่นั่นเอง คือ ไม่สามารถจะตกลงใจได้. บทว่า อภิกงฺขมาโน คือ

ปรารถนาอย่างยิ่ง. บทว่า เตสนฺตกโร ได้แก่ กระทำปัญหาเหล่านั้นให้ถึงที่

สุด. สภิยปริพาชกเมื่อจะแสดงว่า ภวนฺโตว เอว ภวาหิ พระองค์อันข้าพระ-

องค์ทูลถามปัญหาแล้ว จึงทูลว่า ปญฺเห เม ปุฏฺโ ฯเปฯ พฺยากโรหิ เม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 494

ข้าพระองค์ทูลถามปัญหาแล้ว ขอจงตรัสพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ตามลำดับให้

สมควรแก่ธรรมเถิด. บทว่า อนุปุพฺพ คือตามลำดับแห่งปัญหา. บทว่า

อนุธมฺม ได้แก่ อ้างบาลีให้เหมาะแก่ความ. บทว่า พฺยากโรหิ เม คือ

ขอทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิด.

บทว่า ทูรโต แต่ไกล นัยว่า สภิยปริพาชกนั้นท่องเที่ยวไปเมืองโน้น

เมืองนี้มาแต่ทาง ๗๗ โยชน์. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ท่านมา

แต่ไกล. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะสภิยปริพาชกว่า ท่านมาแต่ไกลเพราะมา

แต่ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ. บทว่า ปจฺฉ ม จงถาม

เราเถิด คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปวารณาซึ่งสัพพัญญูปวารณาแก่สภิยะด้วย

คาถานี้. บทว่า มนสิจฺฉสิ ได้แก่ ปรารถนาด้วยใจ.

บทว่า ย วตาห ตัดบทเป็น ย วต อห. บทว่า อตฺตมโน มีใจชื่น

ชม คือมีจิตอันปีติปราโมทย์และโสมนัสถูกต้องแล้ว. บทว่า อุทคฺโค ฟูขึ้น

คือฟูขึ้นทางกายและทางจิต. แต่บทนี้ ใช่มีในปาฐะทั้งหมด. บัดนี้สภิยปริพา-

ชก เมื่อจะแสดงธรรมที่ตนชื่นชม จึงกล่าวว่า ปมุทิโต ปีติโสมนสฺสชาโต

เบิกนาน เกิดปีติโสมนัส.

บทว่า กึ ปตฺติน คือภิกษุถึงอะไร บรรลุอะไร. คำว่า โสรต คือ

ผู้สงบระงับด้วยดี. ปาฐะว่า สุรต บ้าง. อธิบายว่าเข้าไปยินดีด้วยดี. บทว่า

ทนฺต ผู้ฝึกตนเเล้ว คือทรมานตน. บทว่า พุทฺโธ คือผู้รู้แจ้ง หรือผู้ตรัสรู้

เป็นพระพุทธเจ้า.

สภิยปริพาชกกระทำคาถาหนึ่ง ๆ ให้เป็นอย่างละ ๔ ๆ แล้วทูลถาม

ปัญหา ๒๐ ข้อ ด้วย ๕ คาถา. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำปัญหาหนึ่งๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 495

ของสภิยปริพาชก ด้วยคาถาหนึ่ง ๆ แล้วทรงพยากรณ์ด้วยคาถา ๒๐ คาถา

ด้วยยอดธรรมคือพระอรหัต.

วินิจฉัยในคาถานั้นว่า เพราะภิกษุผู้ทำลายกิเลสได้แล้วเป็นภิกษุชั้น

ยอดและภิกษุนั้นเป็นผู้ถึงพระนิพพานแล้ว ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ

ทรงพยากรณ์ปัญหานี้ของสภิยปริพาชกว่า กึ ปตฺตินมาหุ ภิกฺขูน บัณฑิต

กล่าวบุคคลผู้บรรลุอะไรว่าเป็นภิกษุ ดังนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปชฺเชน ด้วย

มรรค

บทนั้นมีความว่า บุคคลใดถึงปรินิพพานด้วยมรรคที่ตนอบรมแล้ว

คือบรรลุถึงการดับกิเลส เพราะถึงปรินิพพาน จึงชื่อว่าเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย

ละความไม่เป็น และความเป็น อันมีประเภทเป็นวิบัติ สมบัติ ความเสื่อม ความ

เจริญ ความสูญ ความเที่ยง บาปและบุญอยู่ด้วยมรรค เป็นผู้ควรแก่คำชมว่า

ขีณปุนพฺภโว มีภพใหม่สิ้นแล้ว ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นภิกษุ. ก็ภิกษุชื่อว่า

เป็นผู้สงบเสงี่ยม เพราะความเป็นผู้สงบเสงี่ยมด้วยดีจากการปฏิบัติผิด และ

เพราะสงบจากกิเลสมีประการต่าง ๆ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรง

แสดงความนั้น จึงตรัสพยากรณ์ปัญหาที่สอง โดยนัยมีอาทิว่า สพฺพตฺถ

อุเปกฺขโก วางเฉยในอารมณ์มีรูปเป็นต้นทั้งหมด.

บทนั้นมีความว่า ผู้ใดวางเฉยในอารมณ์มีรูปเป็นต้นทั้งหมด ด้วย

อุเบกขามีองค์ ๖ อันเป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า เห็นรูปด้วยจักษุ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ

ชื่อว่า มีสติ เพราะสติถึงความไพบูลย์ ไม่เบียดเบียนสัตว์อันมีประเภทที่มีความ

สะดุ้งกลัวและมั่นคงเป็นต้น ไร ๆ เป็นผู้ข้ามได้แล้วเพราะข้ามโอฆะในโลกทั้ง

ปวง ชื่อว่า เป็นผู้สงบ เพราะสงบจากบาป ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ขุ่นมัว เพราะละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 496

ความดำริในความขุ่นมัวเสียได้ ชื่อว่า ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น อันได้แก่ ราคะ

โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลสทุกชนิด ทั้งอย่างหยาบหรืออย่างละเอียด

ผู้นั้น ชื่อว่า เป็นผู้สงบเสงี่ยมด้วยความสงบด้วยดีจากการปฏิบัติผิด เพราะมี

ธรรมเป็นเครื่องอยู่คืออุเบกขา เพราะมีสติไพบูลย์และเพราะไม่เบียดเบียน

และด้วยการสงบกิเลสมีประการต่าง ๆ มีโอฆะเป็นต้นนี้.

ก็เพราะผู้มีอินทรีย์อบรมแล้ว ไม่มีภัย ไม่วิการ เป็นผู้ฝึกตนแล้ว

ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความนั้น จึงทรงพยากรณ์ด้วยคาถา

ว่า ยสฺสินทฺริยานิ ผู้ใดอบรมอินทรีย์แล้วดังนี้.

บทนั้นมีความดังต่อไปนี้ ผู้ใดยกอินทรีย์ทั้ง ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น

ขึ้นสู่พระไตรลักษณ์มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ด้วยโคจรภาวนาแล้วถือเอากลิ่นคือ

สติสัมปชัญญะด้วยวาสนาภาวนา เจริญแล้วแทงตลอด คือรู้ ตรัสรู้โลกนี้และ

โลกอื่น อันได้แก่โลกคือขันธ์อันเป็นไปในสันดานของตนและโลกคือขันธ์อัน

เป็นไปในสันดานของผู้อื่นด้วยโคจรภาวนาทั้งภายในและภายนอกในโลกทั้งปวง

ว่า ความบกพร่องของอินทรีย์ทั้งหลาย ก็ดี ความเกิดจากความบกพร่องก็ดีใน

อารมณ์ใด ๆ อบรมอินทรีย์แล้วด้วยการไม่เพ่งเป็นต้นในอารมณ์นั้น ๆ ดังนี้

แล้วประสงค์จะตายช้า ๆ หวังถึงกาลคือรอคอยเวลาสิ้นชีวิต ไม่กลัวต่อความ

ตาย. ดังที่พระเถระกล่าวไว้ว่า

มรณ เม ภย นตฺถิ นิกฺกนฺติ นตฺถิ ชีวิเต

นาภิกงฺขามิ มรณ นาภิกงฺขามิ ชีวิต

กาล จ ปฏิกงฺขามิ นิพฺพิส ภตโก ยถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 497

เราไม่กลัวความตาย ความใคร่ใน

ชีวิตไม่มี เราไม่ปรารถนาความตาย เราไม่

ปรารถนาชีวิต แต่เรารอความตาย เหมือน

คนรับจ้างรอคอยค่าจ้าง ฉะนั้น.

บทว่า ภาวิโต ส ทนฺโต คือผู้ที่อบรมอินทรีย์แล้ว ผู้นั้น บัณฑิต

กล่าวว่า ผู้ฝึกตนแล้ว.

เพราะธรรมดาพระพุทธเจ้า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา มีกิเลสหลับ

และทรงรู้แจ้ง ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงความนั้น จึงทรงพยากรณ์ปัญหาข้อที่ ๔

ด้วยคาถาว่า กปฺปานิ ตลอดกัป ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กปฺปานิ ได้แก่ กัปคือตัณหาและทิฏฐิ. จริงอยู่

ตัณหาและทิฏฐิท่านเรียกว่า กัป เพราะกำหนดเอาอย่างนั้น ๆ. บทว่า วิเจยฺย

คือพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า เกวลานิ คือทั้งสิ้น.

บทว่า สสาร ได้แก่ พิจารณาสงสารทั้งสิ้นอันได้แก่ลำดับขันธ์เป็นต้น อย่าง

นี้ว่า

ขนธานฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนาน จ

อพฺโพจฺฉินฺน วตฺตมานา สสาโรติ ปวุจฺจติ.

ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุและอายตนะทั้ง

หลายยังเป็นไปอยู่ ไม่ขาดสาย ท่านเรียกว่า

สงสาร.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ท่านกล่าวถึงวิปัสสนาในวัฏฏะแม้ ๓ อย่างนี้ คือใน

กรรมวัฏและกิเลสวัฏอันเป็นมูลเหตุแห่งขันธ์ทั้งหลาย และในขันธ์ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 498

บทว่า ตทุภย จุตูปปาต ได้แก่พิจารณาคือรู้ทั้งจุติและอุปบัติทั้งสองนี้ของ

สัตว์ทั้งหลาย. ท่านกล่าวถึง จุตูปปาตญาณ ด้วยบทว่า จุตูปปาต นี้. บทว่า

วิคตรชมนงฺคณ วิสุทฺธ ปราศจากธุลีไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ผู้หมดจด ความ

ว่า ชื่อว่าปราศจากธุลีไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ผู้หมดจด เพราะปราศจากธุลีมีราคะ

เป็นต้น เพราะไม่มีกิเลสเครื่องยียวน เพราะปราศจากมลทิน. บทว่า ปตฺต

ชาติกฺขย ถึงความสิ้นไปแห่งชาติความเกิด ได้แก่ บรรลุถึงพระนิพพาน.

บทว่า ตมาหุ พุทฺธ ผู้นั้น บัณฑิตกล่าวว่า ผู้รู้ ความว่า ผู้นั้นบัณฑิตกล่าว

ว่าผู้รู้ถึงความสิ้นชาติ เพราะถึงพร้อมด้วยความรู้ คือส่วนแห่งจุตูปปาตญาณ

ด้วยโลกุตรวิปัสสนานี้ และเพราะเป็นผู้บริสุทธิ์จากความหลับคือกิเลส

เพราะปราศจากกิเลสมีธุลีเป็นต้นนี้ด้วยปฏิปทานั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กปฺปานิ วิเจยฺย เกวลานิ พิจารณาตลอด

กัปทั้งสิ้น ความว่า พิจารณาโดยนัยเป็นต้นว่า อเนเกปิ สวฏฺฏวิวฏฺฏกปฺเป

อมุตฺราสึ ความว่า ไม่พ้นสังวัฏกัปและวิวัฏกัปไม่น้อย. ด้วยบทนี้ท่านกล่าว

ถึงวิชชาต้น (คือปุพเพนิวาสานุสสติญาณ). บทว่า สสาร ตทุภข จุตูปาต

พิจารณาสงสารทั้งสองอย่าง ความว่า พิจารณาสงสารทั้งสองอย่างนี้ คือ จุติและ

อุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดยนัยมีอาทิว่า อิเม วต โภนฺโต สตฺตา สัตว์

ทั้งหลายผู้เจริญเหล่านี้หนอดังนี้. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงวิชชาที่สอง คือจุตูปปาต-

ญาณ ด้วยบทที่เหลือท่านกล่าวถึงวิชชาที่สาม (คืออาสวักขยญาณ) ความเป็นผู้

ปราศจากธุลีเป็นต้น และการบรรลุพระนิพพานย่อมมีได้ด้วยอาสวักขยาณ.

บทว่า ตมาหุ พุทฺธ ผู้นั้น เรากล่าวว่าเป็นพระพุทธเจ้า ความว่า เรากล่าว

ผู้นั้น ซึ่งเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาคือวิชชาสามอย่างนี้ ว่าเป็นพระพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 499

แม้ในปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงแก้ปัญหาที่พราหมณ์ถามด้วยคาถาแรก

อย่างนี้แล้วจึงตรัสด้วยคาถาที่สอง เพราะผู้ที่ถึงความเป็นพรหม ความเป็นผู้

ประเสริฐ เป็นพราหมณ์ชั้นยอด เป็นผู้สอยบาปทั้งหมดได้แล้ว ฉะนั้น เมื่อ

จะทรงแสดงความนั้น จึงทรงพยากรณ์ปัญหาแรกด้วยคาถาว่า พาหิตฺวา ลอย

แล้ว ดังนี้.

บทนั้นมีความว่า ผู้ใดลอยบาปทั้งหมดได้แล้วด้วยมรรคที่สี่ ดำรงตน

มั่น อธิบายว่ามั่นคง เป็นผู้ปราศจากมลทินเพราะลอยบาปได้แล้ว ถึงความ

เป็นผู้ไม่มีมลทิน ความเป็นพรหม ความเป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้ตั้งมั่นแล้ว

ด้วยดี ด้วยอรหัตผลสมาธิ เพราะสงบมลทินคือกิเลสอันทำให้สมาธิซัดส่ายก้าว

ล่วงสงสารได้แล้ว ด้วยการก้าวล่วงเหตุแห่งสงสาร เป็นผู้สำเร็จกิจเพราะทำกิจ

เสร็จแล้ว ผู้นั้นท่านกล่าวว่าเป็นผู้ไม่มีสิ่งอาศัย เพราะอันตัณหาและทิฏฐิไม่

อาศัยแล้วและเป็นผู้คงที่ เพราะไม่ทำให้ผิดปรกติไปด้วยโลกธรรม ด้วยประการ

ฉะนี้ ผู้นั้น ท่านกล่าวว่าเป็นพรหม เป็นพราหมณ์ ควรแก่สรรเสริญ.

เพราะท่านกล่าวว่าเป็นสมณะ เพราะเป็นผู้ลอยบาปได้แล้ว ชื่อว่าเป็น

ผู้ล้างบาป เพราะล้างบาปได้แล้ว ชื่อว่าเป็นนาค เพราะไม่ทำความชั่วทั้งหลาย

ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงความนั้นจึงทรงพยากรณ์ปัญหาที่สามด้วยคาถา ๓ คาถา

อื่นอีก.

บทว่า สมิตาวี เป็นผู้สงบกิเลส คือ สงบกิเลสด้วยอริยมรรคตั้งอยู่

ท่านกล่าวว่าเป็นสมณะเพราะเป็นอย่างนั้น ฉะนั้นผู้เป็นอย่างนั้นจึงเรียกว่าสมณะ.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว. คำที่เหลือเป็นคำสรรเสริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 500

เพื่อให้สภิยปริพาชกเกิดความนับถือในสมณะนั้นให้มาก. จริงอยู่ ผู้ใดเป็นผู้

มีความสงบ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีกิเลสดุจธุลี เพราะปราศจากกิเลสดุจธุลี

เพราะละบุญและบาปได้ด้วยไม่กระทำการสืบต่อบุญและบาป เป็นผู้ก้าวล่วงชาติ

และมรณะได้ เพราะรู้โลกนี้และโลกอื่นด้วยสามารถแห่งลักษณะมีความไม่เที่ยง

เป็นต้น และเป็นผู้คงที่. อนึ่ง ในคาถานี้ว่า นินฺนฺหาย ฯเปฯ นฺหาตโก

ผู้ใดล้างบาปได้หมดในอายตนโลกทั้งปวง คือในภายในและภายนอกแล้ว ย่อม

ไม่มาสู่กัป ในเทวดาและมนุษย์ผู้สมควรกับกัปคือตัณหาและทิฏฐิ ผู้นั้นบัณฑิต

กล่าวว่าผู้ล้างบาป. พึงทราบความอย่างนี้ว่า ผู้ใดล้างคือชำระบาปทั้งหมด

อันควรจะเกิดด้วยอารมณ์ภายในและภายนอกในอายตนโลกแม้ทั้งหมด กล่าว

คือทั้งภายในและภายนอกด้วยมรรคญาณไม่มาสู่กัป ในเทวดาและมนุษย์ทั้ง

หลายผู้สมควรด้วยกัปคือตัณหาและทิฏฐิ เพราะล้างบาปได้แล้วนั้น บัณฑิต

กล่าวผู้นั้นว่า เป็นผู้ล้างบาป.

แม้ในคาถาที่สี่ก็พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า อาคุ น กโรติ

กิญฺจิ โลเก ผู้ใดไม่กระทำบาปอะไร ๆ ในโลก ความว่า ผู้ใดไม่ทำบาป อัน

เป็นความชั่วแม้มีประมาณน้อยในโลก ท่านกล่าวผู้นั้นว่าเป็นนาค เพราะเหตุดัง

นั้น. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว.

คำที่เหลือเป็นคำสรรเสริญโดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแหละ จริงอยู่ ผู้ใด

ไม่ทำความชั่วเพราะละความชั่วได้ด้วยมรรค ผู้นั้นสลัดออกคือละเครื่องผูก

ทั้งหมด อันได้แก่สังโยชน์ ๑๐ ในสังโยชน์ทั้งหมดมีกามราคะเป็นต้น ไม่ข้อง

อยู่ด้วยความข้องไร ๆ ในขันธ์เป็นต้นทั้งปวง และหลุดพ้นได้เด็ดขาดด้วย

วิมุตติทั้งสอง และเป็นผู้คงที่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 501

แม้ในปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหาที่พราหมณ์ถามด้วย

คาถาที่สองอย่างนี้แล้ว จึงตรัสด้วยคาถาที่สามต่อไป เพราะอายตนะทั้งหลายท่าน

กล่าวว่า เขตฺตานิ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า จกฺขุเปต จกฺขฺวายตนมุ-

เปต ฯเปฯ เขตฺตมฺเปต วตฺถุมฺเปต นี่ก็เป็นจักษุ นี่ก็เป็นจักขวายตนะ ฯลฯ

นี่ก็เป็นเขต นี่ก็เป็นวัตถุ. ผู้ใดชนะ คิดครอบงำเขตเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง

พิจารณาคือกำหนดเขตทั้งสิ้น คือไม่มีเหลือโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น

แต่โดยความต่างกัน เขตที่เป็นของทิพย์ เขตของมนุษย์และเขตของพรหม มี

การเกี่ยวข้องกันเป็นเหตุ เขตใดเป็นของทิพย์มี ๑๒ ประเภท เขตที่เป็นของ

มนุษย์ก็เหมือนอย่างนั้น อนึ่งเขตใดเป็นเขตของพรหมมีประเภทคืออายตนะ ๑๒

มีจักขวายนตะเป็นต้น ในอายตนะ ๖ พึงปราบปรามหรือพึงพิจารณาเขตทั้ง

หมดนั้น แต่นั้นเป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูกอันเป็นรากเหง้าแห่งเขตทั้งหมด

มี อวิชชา ตัณหา และภพเป็นต้น เป็นเครื่องผูกอันเป็นรากเหง้าแห่งเขตทั้ง

ปวง ชื่อว่า เป็นผู้ชนะเขตทั้งปวง เพราะเขตเหล่านั้นอันคนชนะได้แล้วหรือ

พิจารณาแล้วอย่างนี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงพยากรณ์ปัญหาแรกด้วย

คาถานี้ว่า เขตฺตานิ ดังนี้.

ในบทว่า เขตฺตานิ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า กรรมทั้งหลายชื่อว่า

เป็นเขต (เนื้อนา)เพราะบาลีว่า กมฺม เขตฺต วิญฺาณ พีช ตณฺหา สิเนโห.

กรรมเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็นยางเหนียว. อนึ่งในบทว่า

ทิพฺพ มานุสกญฺจ พฺรหฺมกฺเขตฺต นี้ ท่านพรรณนาไว้ว่า กรรมอันเป็น

เขตของทิพย์เข้าถึงเทวโลก กรรมอันเป็นเขตของมนุษย์เข้าถึงมนุษย์ กรรมอัน

เป็นเขตของพรหมเข้าถึงพรหมดังนี้. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 502

ก็เพราะกรรมทั้งหลายท่านกล่าวโกสะ เพราะคล้ายกะเปาะฟองที่ตั้งใน

ตน ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดเพราะตัด คือตัดขาดกะเปาะฟองเหล่านั้นได้นั้น เมื่อ

จะทรงแสดงความนั้นจึงทรงพยากรณ์ปัญหาที่สองด้วยคาถาว่า โกสานิ กะเปาะ

ฟอง ดังนี้.

บทนั้นมีความดังนี้ ผู้ใดพิจารณากะเปาะฟอง (กรรม) ทั้งสิ้นอันได้

แก่กุศลกรรมโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น โดยอารมณ์และโดยกิจ ด้วย

โลกิยวิปัสสนาและโลกุตรวิปัสสนา แต่โดยความต่างกันออกไป พิจารณา

กะเปาะฟองที่เป็นของทิพย์ และกะเปาะฟองของมนุษย์ มีต่างด้วย กามาวจร-

กุศลเจตนา ๘ อันเป็นเหตุเกี่ยวข้องกัน และกะเปาะฟองของพรหมอันต่างด้วย

มหัตคตกุศลเจตนา ๙ แต่นั้นหลุดพ้นจากเครื่องผูกอันเป็นรากเหง้าแห่งกะเปาะ

ฟองทั้งหมดมีประเภทคือ อวิชชาและภวตัณหาเป็นต้น ด้วยมรรคภาวนา ท่าน

กล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด เพราะกำจัดกะเปาะฟองเหล่านั้นได้ด้วยประการฉะนี้ และ

เป็นผู้คงที่เห็นปานนั้น. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบภพ ๓ และอายตนะ ๑๒ ว่าเป็น

โกสะ เพราะเป็นเช่นกับฝักดาบ ด้วยอรรถว่าเป็นที่อยู่ของสัตว์และธรรมทั้ง

หลาย. ในบทนี้พึงประกอบด้วยคาถาด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง เพราะท่านกล่าวว่าเป็นบัณฑิตด้วยบทนี้ว่า น เกวล ปณฺฑติ

มิใช่ฉลาดอย่างเดียว. แต่โดยที่แท้ท่านกล่าวว่าบัณฑิตเพราะถึงคือเข้าถึงอายตนะ

ทั้งหลาย ยึดอยู่ด้วยปัญญาเป็นเครื่องค้นคว้า ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงความ

นั้นจึงทรงพยากรณ์ปัญหาที่สามด้วยคาถาว่า ทุภยานิ อายตนะทั้งสอง ดังนี้.

บทนั้นมีความดังนี้ ผู้ใดพิจารณาอายตนะทั้งสองอย่างนี้คือ ทั้งภายใน

และภายนอก โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า ปณฺฑรานิ ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 503

อายตนะทั้งหลาย. ท่านกล่าวอย่างนั้นเพราะบริสุทธิ์โดยปรกติและเพราะงอกงาม

ผู้พิจารณาอายตนะเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาบริสุทธิ์ เพราะกำจัดมลทินออก

เสียได้ด้วยการปฏิบัตินี้ ท่านกล่าวว่าเป็นบัณฑิตเพราะเหตุนั้น. เพราะเป็นผู้ถึง

แล้วซึ่งอายตนะเหล่านั้นด้วยปัญญา. บทที่เหลือเป็นคำสรรเสริญของพราหมณ์

นั้น ผู้นั้นเป็นผู้ก้าวล่วงธรรมดำและธรรมขาวอันได้แก่บาปและบุญได้แล้วและ

เป็นผู้คงที่ ฉะนั้น พราหมณ์จึงสรรเสริญอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ก็เพราะญาณท่านเรียกว่า โมนะ ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ยา ปญฺา-

ปชานนา ฯเปฯ สมฺมาทิฏฺิ เตน าเณน สมนฺนาคโต มุนิ มุนี

ประกอบด้วยปัญญาความรู้ ฯลฯ สัมมาทิฏฐิ ดังนี้ ฉะนั้นเมื่อจะทรงแสดงความ

นั้นจึงทรงพยากรณ์ปัญหาที่สี่ด้วยคาถาว่า อสตญฺจ ธรรมของอสัตบุรุษ ดังนี้.

บทนั้นมีความดังนี้ ผู้ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและสัตบุรุษทั้งที่เป็น

อกุศลและกุศลในโลกทั้งปวงนี้คือในภายในและภายนอกดำรงอยู่ ล่วงคือก้าว

ล่วง ธรรมอันเป็นเครื่องข้อง ๗ อย่างโดยประเภทมีราคะเป็นต้น และข่ายสอง

อย่างโดยประเภทคือตัณหาและทิฏฐิ เพราะผู้นั้นได้รู้แล้ว ท่านกล่าวผู้นั้นว่า

เป็นมุนี เพราะประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องค้นคว้าอันได้แก่โมนะนั้น. บทว่า

เทวมนุสฺเสหิ ปูชิโย อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว นี้เป็นคำสรร-

เสริญของพราหมณ์นั้น. จริงอยู่ ผู้นั้นเป็นผู้ควรแก่การบูชาของเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลายเพราะเป็นมุนีสิ้นอาสวะแล้ว ฉะนั้น พราหมณ์จึงสรรเสริญ

อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

แม้ในปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหาที่พราหมณ์ถามด้วย

คาถาที่สาม พระองค์จึงตรัสด้วยคาถาที่สี่ เพราะผู้นั้นทำความสิ้นกิเลสถึงแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 504

ด้วยเวทคือมรรคญาณ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ถึงเวทโดยปรมัตถ์ อนึ่งผู้ใดพิจารณา

เวททั้งหลายที่รู้ว่าเป็นศาสตร์ของสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ด้วยความเป็น

ของไม่เที่ยงเป็นต้นโดยกิจด้วยมรรคภาวนานั้นเอง ก้าวล่วงเวททั้งปวงนั้น ด้วย

การละความพอใจและความกำหนัดในเวทนั้น เวทนาใดเกิดขึ้นเพราะเวทเป็น

ปัจจัย หรือโดยประการอื่น เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาเหล่านั้น คือในเวท-

นาทั้งหมด ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงความนั้นมิได้ตรัสว่า อิท ปตฺติน นี้ของผู้

บรรลุเวท ดังนี้ แต่ทรงพยากรณ์ปัญหาที่หนึ่งด้วยคาถาว่า เวทานิ เวททั้งหลาย

ดังนี้. เพราะผู้พิจารณาเวททั้งหลายด้วยปัญญาเป็นเครื่องค้นคว้านั้น ก้าวล่วง

เวททั้งปวง ด้วยการละความพอใจและความกำหนัดในเวทนั้น ผู้นั้นถึงรู้และ

ก้าวล่วงเวททั้งหลายที่รู้กันว่าเป็นศาสตร์ ผู้ใดปราศจากราคะในเวทนาทั้งหลาย

แม้ผู้นั้นถึงและก้าวล่วงเวททั้งหลายที่รู้อยู่ว่าเป็นเวทนา ผู้นั้นชื่อว่าเวทคู เพราะ

เป็นไปแล้วสู่เวททั้งหลาย ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงความแม้นั้นมิได้ตรัสว่า

อิท ปตฺติน แล้วทรงพยากรณ์ปัญหาที่หนึ่งด้วยคาถานี้.

ก็เพราะในปัญหาที่สองท่านกล่าวว่า อนฺวิทิโต ได้แก่ผู้รู้ตาม ผู้นั้น

ใคร่ครวญนามรูป ที่ทำให้เนิ่นช้า อันเป็นภายใน อันได้แก่ธรรมอันทำให้

เนิ่นช้า อันต่างด้วยคณะหามานะและทิฏฐิในสันดานของตน และนามรูปอันมี

ธรรมที่ทำให้เนิ่นช้านั้นเป็นปัจจัย ด้วยอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น มิใช่ใคร่

ครวญธรรมที่เป็นภายในอย่างเดียว ยังใคร่ครวญธรรมที่เป็นมูลรากแห่งโรค

ในภายนอกด้วย ได้แก่ ใคร่ครวญธรรมอันเป็นมูลรากมีอวิชชาและภวตัณหา

เป็นต้น ของนามรูปและโรคนี้ ในสันดานของคนอื่น หรือเป็นผู้หลุดพ้นจาก

เครื่องผูกอันเป็นรากเหง้าแห่งโรคทั้งหลายทั้งปวงด้วยภาวนานั้น หรือจาก

เครื่องผูกอันเป็นมูลรากทั้งปวงแห่งโรคทั้งหลาย หรือจากธรรมอันทำให้เนิ่นช้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 505

ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงความนั้นจึงทรงพยากรณ์ปัญหาที่สองด้วยคาถาว่า

อนุวิจฺจ ใคร่ครวญแล้วดังนี้.

ก็ในบทว่า กถญฺจ วิริยวา บุคคลผู้มีความเพียรด้วยอาการอย่างไร

นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. เพราะผู้ใดเว้นจากบาปทั้งปวงด้วยอริยมรรค อนึ่ง

เพราะเป็นผู้เว้นอย่างนั้นได้ จึงก้าวล่วงทุกข์ในนรกเพราะไม่มีปฏิสนธิต่อไป

ดำรงอยู่ อยู่ด้วยความเพียร มีความเพียรเป็นที่อาศัย ผู้นั้นเป็นขีณาสพ ย่อม

ควรที่จะกล่าวได้ว่าเป็นผู้มีความเพียรดังนี้ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงความนั้น

จึงทรงพยากรณ์ปัญหาที่สามด้วยคาถาว่า วิรโต เป็นผู้งดเว้นดังนี้. บทว่า

ปธานวา ธีโร ตาทิ บุคคลนั้นมีความเพียร มีปัญญา ผู้คงที่ นี้เป็นคำสรรเสริญ

ของพราหมณ์นั้น เพราะผู้นั้นชื่อว่า ผู้มีความเพียรเพราะความเพียรพยายามใน

มรรคและฌาน ชื่อว่าผู้มีปัญญา เพราะสามารถกำจัดกิเลสเป็นต้นได้ ชื่อว่า

ผู้คงที่ เพราะไม่ทำให้แปลกออกไป ฉะนั้น พราหมณ์จึงสรรเสริญด้วยประการ

ฉะนี้. บทที่เหลือควรกล่าวประกอบกัน.

ในบทว่า อาชานิโย กินฺติ นาม โหติ บุคคลเป็นอาชาไนยด้วย

อาการอย่างไร นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า ม้าก็ดี ช้างก็ดี รู้เหตุอันควร

และไม่ควร ท่านกล่าวว่า เป็นอาชาไนยในโลก แต่อาชาไนยนั้นยังละโทษไม่

หมดสิ้นเชิงทีเดียว แต่พระขีณาสพละโทษเหล่านั้นได้หมด ฉะนั้น จึงควรที่จะ

กล่าวว่า เป็นอาชาไนยโดยปรมัตถ์ดังนี้.

ทรงพยากรณ์ปัญหาที่สี่ด้วยคาถาว่า ยสฺส ดังนี้.

บทนั้นมีความดังนี้ บทว่า อชฺฌตฺต พหิทฺธา จ ทั้งภายในภายนอก

ความว่า ผู้ใดตัดเครื่องผูกอันได้แก่สังโยชน์ทั้งภายในภายนอกได้แล้ว คือตัดทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 506

ลายด้วยศัสตราคือปัญญา. บทว่า สงฺคมูล รากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องข้อง

ความว่า เครื่องผูกอันเป็นรากเหง้าด้วยการเกี่ยวข้อง ไม่ก้าวล่วงธรรมอันเป็น

เครื่องข้องในวัตถุเหล่านั้น ๆ อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดตัดเครื่องผูกมีราคะเป็นต้น

อันเป็นรากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งภายในและภายนอกได้แล้ว ผู้นั้น

หลุดพ้นจากเครื่องผูกทั้งปวง อันเป็นรากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องข้อง หรืออัน

เป็นรากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งปวง ท่านกล่าวผู้นั้นว่าเป็นอาชาไนย

และเป็นผู้คงที่เห็นปานนั้น.

แม้ในปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหาที่ตรัสไว้แล้ว ในคาถา

ที่สี่แล้วตรัสด้วยคาถาที่ห้า เพราะจินตกวีทั้งหลายพรรณนาความเป็นผู้สมบูรณ์

ด้วยสุตะ ด้วยเหตุเพียงการเชี่ยวชาญในฉันท์ ผู้นั้นเป็นผู้สมบูรณ์เพียงโวหาร

สุตะแต่พระอริยะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปรมัตถสุตะ เพราะเป็นพหูสูตและเพราะ

ไม่มีสุตะอันลามกฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงความนั้นจึงไม่ตรัสว่า อิท ปตฺติน

ทรงพยากรณ์ปัญหาแรกด้วยคาถาว่า สุตฺวา ผู้ฟังแล้ว ดังนี้.

บทนั้นมีความดังนี้ ผู้ใดฟังด้วยกิจคือสุตมยปัญญาในโลกนี้ หรือฟัง

ด้วยกิจที่ควรทำ รู้ยิ่งธรรมทั้งปวง อันเข้าถึงวิปัสสนาด้วยความไม่เที่ยงเป็นต้น

ครอบงำธรรมอันมีโทษและไม่มีโทษอะไร ๆ และธรรมเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสด้วย

ปฏิปทานี้นับได้ว่า อภิภู ผู้ครอบงำฟังดังนั้นแล้วรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครอบงำ

ธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มีโทษอะไร ๆ ท่านเรียกผู้นั้นว่าผู้สมบูรณ์ด้วยสุตะ

เพราะเป็นผู้สดับแล้ว อนึ่ง เพราะผู้ใดไม่มีความสงสัย พ้นแล้วจากเครื่องผูก

คือกิเลส และเป็นผู้ไม่มีทุกข์ด้วยทุกข์ทั้งหลายมีราคะเป็นต้นในที่ทั้งปวง คือ

ในธรรมทั้งปวงมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวผู้นั้นผู้

ไม่มีความสงสัย ผู้หลุดพ้นแล้ว ผู้ไม่มีทุกข์ในธรรมทั้งปวงว่าเป็น โสตติยะ

ผู้สมบูรณ์ด้วยสุตะ ดังนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 507

ก็ เพราะผู้ชื่อว่า เป็นอริยะ เพราะอันชนผู้ใคร่ประโยชน์เกื้อกูลพึง

บูชา อธิบายว่า ควรเข้าถึงฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงคุณที่เป็นอริยะ จึงพยากรณ์

ปัญหาที่สองด้วยคาถาว่า เฉตฺวา ตัดแล้ว.

บทนั้นมีความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้รู้ เป็นผู้มีรัศมี เป็นผู้รู้มรรค ๔ ตัด

แล้วคือ ทำลายอาสวะ ๔ อาลัย ๒ ด้วยศัสตราคือปัญญา ย่อมไม่เข้าถึงการนอน

ในครรภ์ด้วยอำนาจภพใหม่ คือไม่เข้าถึงกำเนิดไร ๆ บรรเทาสัญญา ๓ อย่าง

มีกามเป็นต้น และเปือกตม คือ กามคุณ ย่อมไม่มาสู่กัปอย่างใดอย่างหนึ่งแห่ง

ตัณหากัปและทิฏฐิกัป ท่านกล่าวผู้นั้นผู้ประกอบด้วยคุณมีการตัดอาสวะเป็นต้น

อย่างนี้ว่าเป็นอริยะ หรือว่า ชื่อว่าอริยะ เพราะไกลจากบาปทั้งหลาย และชื่อว่า

อนริยะ เพราะไม่มีการเคลื่อนไหวด้วยความทุกข์ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงความ

แม้นั้น จึงทรงพยากรณ์ด้วยปัญหาที่สองแห่งคาถานี้. จริงอยู่ ธรรมลามกมี

อาสวะเป็นต้น สมมติว่าเป็นทุกข์ ธรรมลามกเหล่านั้นอันเขาตัดแล้วบรรเทาแล้ว

ทั้งไม่หวั่นไหวด้วยธรรมลามกเหล่านั้น จึงชื่อว่าเขาเป็นผู้ไกลธรรมเหล่านั้น

และไม่เคลื่อนไปในธรรมเหล่านั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวผู้นั้นว่าเป็นอริยะด้วย

แนวนี้ว่า เขาเป็นผู้ไกลจากธรรมอันลามก ด้วยแนวนี้ว่า เขาไม่เคลื่อนไหวไป

ในความทุกข์. ในบทนี้พึงทราบว่าโยชนาแก้ไว้อย่างนี้. บทว่า วิทวา โส

น อุเปติ คพฺภเสยฺย เขารู้แล้วย่อมไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์นี้ เป็นคำ

สรรเสริญในการกำหนดความนี้.

ก็และในบทนี้ว่า จรณวา ผู้มีจรณะ เป็นอย่างไร. เพราะผู้บรรลุ

ธรรมที่ควรบรรลุด้วยจรณะทั้งหลาย ย่อมควรที่จะพึงกล่าวว่า จรณวา ผู้มี

จรณะ. ดังนี้ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงบทว่า จรณวา นั้น จึงทรงพยากรณ์

ปัญหาที่สามด้วยคาถาว่า โย อิธ ผู้ใดในศาสนานี้ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 508

ในบทเหล่านั้น บทว่า โย อิธ คือ ผู้ใดในศาสนานี้. บทว่า จรเณสุ

เพราะธรรม ๑๕ อย่าง ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในเหมวตสูตรมีศีลเป็นต้น. บทว่า

จรเณสุ เป็นสัตตมิวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. บทว่า ปตฺติปตฺโต คือ

บรรลุธรรมที่ควรบรรลุ. ท่านอธิบายว่า ผู้ใดบรรลุพระอรหัตที่ควรบรรลุ

เพราะมีจรณะเป็นนิมิต มีจรณะเป็นเหตุ มีจรณะเป็นปัจจัย. บทว่า จรณวา โส

ผู้นั้นท่านกล่าวว่า มีจรณะ เพราะบรรลุธรรมที่ควรบรรลุนี้ด้วยจรณะทั้งหลาย.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันพยากรณ์ปัญหา. บทที่เหลือเป็นคำสรรเสริญของ

พราหมณ์นั้น อธิบายว่า ผู้ใดในศาสนาเป็นผู้บรรลุธรรมที่ควรบรรลุเพราะมี

จรณะผู้นั้นเป็นผู้ฉลาด ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมคือนิพพานในกาลทุกเมื่อ เพราะมีจิต

น้อมไปในนิพพาน ไม่ข้องอยู่ในธรรมมีขันธ์เป็นต้นทั้งปวง มีจิตพ้นแล้วด้วย

วิมุตติทั้งสอง และไม่มีปฏิฆะ ดังนี้.

ก็เพราะผู้ชื่อว่า เป็นปริพาชก เพราะขับไล่กรรมเป็นต้นออกไปได้.

ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงความนั้น จึงทรงพยากรณ์ปัญหาที่สี่แห่งคาถาว่า

ทุกฺขเวปกฺก กรรมมีทุกข์เป็นผล ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทนั้นดังนี้ วิบากนั่นแหละชื่อว่า เวปกฺก. ที่

ชื่อว่า ทุกฺขเวปกฺก เพราะมีทุกข์เป็นผล. ทุกข์แม้ทั้งหมดพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า กรรมอันประกอบด้วยธาตุ ๓ เพราะเหตุเกิดแห่งทุกข์ในปวัตติ. บทว่า

อุทฺธ คือ อดีต. บทว่า อโธ คือ อนาคต. บทว่า ติริย วาปิ มชฺเฌ

คือ ปัจจุบัน. ก็บทว่า ติริย วาปิ มชฺเฌ ได้แก่ ไม่ใช่เบื้องบน ไม่ใช่

เบื้องต่ำ ท่านกล่าวว่าขวาง ในระหว่างเบื้องบนเบื้องต่ำทั้งสองนั้น ท่านกล่าวว่า

ในท่ามกลาง. บทว่า ปริพฺพาชยิตฺวา ขับไล่ คือให้ออกไป กำจัดเสีย. บทว่า

ปริญฺาจารี ได้แก่ กำหนดด้วยปัญญาเที่ยวไป. นี้เป็นเพียงพรรณนาบทที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 509

ยังไม่เคยมีมา แต่โยชนาอธิบายบทนี้ดังนี้ ผู้ใด ยังความเยื่อใยคือตัณหาและ

อวิชชาให้เหี่ยวแห้งไป ด้วยอริยมรรค ขับไล่กรรมอะไร ๆ ทั้งหมดที่ทำให้

เกิดทุกข์ แม้เนื่องด้วยกาล ๓ โดยกระทำไม่ให้ปฏิสนธิ อนึ่ง ครั้นขับไล่ไป

แล้วชื่อว่ามีปกติกำหนดด้วยปัญญาเที่ยวไป เพราะกำหนดกรรมนั้นเที่ยวไป

ไม่ใช่กรรมอย่างเดียว กำหนดการละธรรมแม้เหล่านั้น คือ มายา มานะ โลภ

โกรธ ก็ชื่อว่าเป็นผู้กำหนดด้วยปัญญาเที่ยวไป ได้กระทำนามรูปให้ถึงที่สุด

และกระทำที่สุดแห่งนามรูป คือ ขับไล่ไป มีความด้วยประการฉะนี้แล ท่าน

กล่าวผู้นั้นว่าเป็นปริพาชก เพราะขับไล่กรรมเป็นต้นเหล่านี้เสียได้. บทว่า

ปตฺติปตฺต บรรลุธรรมที่ควรบรรลุนี้ เป็นคำสรรเสริญของสภิยปริพาชกนั้น.

ในคาถาสรรเสริญมีอาทิว่า ยานิ จ ตีณิ ทิฏฐิ ๓ ของสภิยปริพาชก

ผู้ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาอย่างนี้. บทว่า โอสรณานิ ได้แก่ หยั่งลงสู่

ลัทธิ อธิบายว่า ทิฏฐิทั้งหลาย. เพราะทิฏฐิเหล่านั้นรวมกันเป็น ๖๓ เพราะ

ถือเอาทิฏฐิ ๖๓ ที่กล่าวแล้วในพรหมชาลสูตรกับสักกายทิฏฐิ และเพราะทิฏฐิ

เหล่านั้นเป็นวาทะของสมณะผู้เป็นเดียรถีย์อื่น อาศัยคัมภีร์ด้วยการอ้าง มิใช่

ด้วยการเกิด แต่อาศัยอักขระคือความหมายรู้กัน คือมีชื่อเรียกว่า หญิง ชาย

โดยการเกิด. สัญญาวิปริตย่อมเกิดแก่คนพาลทั้งหลายว่า ตนควรเป็นเช่นนี้

ดังนี้ ด้วยมิจฉาปริวิตกและได้ยินว่า ทิฏฐิที่อาศัยทั้งสองอย่างนั้น ย่อมเกิด

ขึ้นด้วยอำนาจของสมณะผู้เป็นเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น ไม่ใช่เห็นด้วยตนเอง

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำจัดคือนำออกซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น ทรงก้าวล่วงความมืด

คือโอฆะได้แล้ว. พระองค์ทรงก้าวล่วงที่สุดแห่งโอฆะได้แล้ว ฉะนั้น จึงตรัสว่า

ยานิ จ ตีณิ ฯเปฯ ตมคา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระปัญญาเสมอ

ด้วยแผ่นดิน พระองค์ทรงกำจัดทิฏฐิ ๓ และ ๖๐ ที่อาศัยคัมภีร์อันเป็นวาทะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 510

เป็นประธานของสมณะผู้ถือลัทธิอื่น ที่อาศัยอักขระคือความหมายรู้กัน (ว่าหญิง

ว่าชาย) และสัญญาอันวิปริต ทรงก้าวล่วงความมืด. ต่อจากนั้นสภิยปริพาชก

กล่าวว่า อนฺตคูสิ ปารคู ทุกฺขสฺส พระองค์เป็นผู้ถึงที่สุด ถึงฝั่งแห่งทุกข์

ดังนี้ หมายถึงที่สุดและฝั่งแห่งทุกข์ในวัฏฏะคือนิพพาน เพราะไม่เกิด เพราะ

ไม่มีทุกข์และเพราะตรงกันข้ามกับทุกข์ในวัฏฏะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ควรทราบ

การผูกในประโยคนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง เพราะ

ถึงพระนิพพานแล้ว สภิยปริพาชกเมื่อจะกราบทูลกะพระองค์ จึงกราบทูลว่า

ปารคู อนฺตคูสิ ทุกฺขสฺส พระองค์ถึงฝั่งคือถึงที่สุดแห่งทุกข์ ดังนี้.

ชื่อว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ เพราะตรัสรู้โดยชอบ และตรัสรู้เอง.

บทว่า ต ต มญฺเ สำคัญพระองค์ว่ามีอาสวะสิ้นแล้ว ความว่า อาจารย์

บางพวกกล่าว ด้วยความเคารพยิ่งว่า ตเมว มญฺามิ น อญฺ ข้าพเจ้า

สำคัญพระองค์เท่านั้น ไม่สำคัญผู้อื่น. บทว่า ชุติมา มีความรุ่งเรือง คือ

ถึงพร้อมด้วยความสว่างโดยกำจัดความมืดของผู้อื่น. บทว่า มติมา มีความรู้

คือถึงพร้อมด้วยความรู้คือปัญญาสามารถรู้สิ่งที่ควรรู้ อันเป็นปัจจัยแห่ง

ความรู้อื่น ๆ. บทว่า ปหูตปญฺโ มีพระปัญญามาก คือมีพระปัญญาหาก

ที่สุดมิได้. ในบทนี้ท่านประสงค์เอาสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกรา

ทรงช่วยข้าพระองค์ผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ สภิยปริพาชกกราบทูลเรียกจึง

กล่าวดังนั้น. บทว่า อตาเรสิ ม พระองค์ยังข้าพระองค์ให้ข้ามได้แล้ว คือ

ยังข้าพระองค์ให้ข้ามพ้นจากความสงสัย.

สภิยปริพาชกกล่าวถึงการกระทำความนอบน้อมด้วยกึ่งคาถาว่า ยมฺเม

ดังนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า กงฺขิต พ้นความสงสัย สภิยปริพาชกกล่าว

หมายถึงความอันอาศัยปัญหา ๒๐ ข้อ เพราะสภิยปริพาชกนั้น ได้มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 511

สงสัยด้วยความนั้น. บทว่า โมนปเถสุ ในทางแห่งมุนี คือในทางแห่งญาณ.

บทว่า วินฬีกตา ผู้ไม่มีกิเลสดุจหลักตอ. คือปราศจากกิเลสเพียงดังหลักตอ

ท่านอธิบายว่า ตัดขาดแล้ว. บทว่า นาคนาคสฺส พระองค์ผู้เป็นพระนาคผู้

ประเสริฐยิ่ง นี้เป็นคำร้องเรียกอย่างหนึ่ง สัมพันธ์ด้วยคำนี้ว่า เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าผู้ประเสริฐตรัสอยู่พวกปริพาชกย่อมชื่นชม. บาลีว่า ธมฺมเทสน

เป็นบาลีเกิน. บทว่า สพฺเพ เทวา เทวดาทั้งปวง ได้แก่ อากาสัฏฐเทวดา

และภุมมัฏฐเทวดา. บทว่า นารทปพฺพตา นัยว่า หมู่เทวดาทั้งสองนั้นแม้

นั้นเป็นผู้มีปัญญา ก็ยังอนุโมทนา เพราะเหตุนั้น สภิยปริพาชกจึงกล่าวทำ

ความนอบน้อมด้วยความเลื่อมใสทั้งหมด สภิยปริพาชกสดับความสมบูรณ์แห่ง

พยากรณ์ อันสมควรแก่การอนุโมทนา จึงประคองอัญชลีกล่าวว่า นโม เต

ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ดังนี้. บทว่า ปุริสาชญฺา ข้าแต่พระองค์ผู้

เป็นบุรุษอาชาไนย คือ ข้าแต่พระองค์ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติในบรรดาบุรุษทั้งหลาย.

บทว่า ปฏิปุคฺคโล ได้แก่ บุคคลผู้มีส่วนเปรียบเสมอพระองค์. พระองค์ชื่อ

ว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะแทงตลอดอริยสัจ ๔ พระองค์ชื่อว่าเป็นพระศาสดา

เพราะทรงพร่ำสอน และเพราะนำคำสอนมาให้ พระองค์ชื่อว่าเป็นผู้ครอบงำ

มาร เพราะครอบงำมาร ๔ พระองค์ชื่อว่าเป็นมุนี คือเป็นมุนีผู้ตรัสรู้แล้ว.

บทว่า อุปธิ ได้แก่ อุปธิ ๔ อย่าง คือ ขันธ์ กิเลส กาม และอภิสังขาร.

บทว่า วคฺคุ คือมีรูปงาม. บทว่า ปญฺเ จ ได้แก่ โลกิยปัญญา พระองค์

ไม่ทรงติดอยู่ในบุญและบาป เพราะไม่ทำบุญและบาปเหล่านั้นบ้าง เพราะไม่มี

การเสวยผลของบุญและบาปที่ทำในกาลก่อนต่อไปบ้าง เพราะฉาบทาด้วยตัณหา

และทิฏฐิอันมีบุญและบาปนั้นเป็นนิมิตบ้าง. สภิยปริพาชกกล่าวอย่างนี้ว่า

วนฺท ติ สตฺถุโน สภิยะขอถวายบังคมพระบาทของพระศาสดาแล้วหมอบลง

ณ ข้อพระบาทถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 512

บทว่า อญฺติตฺถิยปุพฺโพ คืออัญญเดียรถีย์นั่นเอง. บทว่า

อากงฺขติ แปลว่า ย่อมปรารถนา. บทว่า อารทฺธจิตฺตา พอใจ คือยินดี

แล้ว. บทว่า อปิจ เมตฺถ ปุคฺคลเวมตฺตตา วิทิตา ก็แต่ว่าเรารู้ความ

ต่างแห่งบุคคลในข้อนี้ ความว่า เรารู้ความต่างแห่งบุคคลในการอยู่ปริวาสนี้

ของอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย ไม่ไช่ควรอยู่ปริวาสทั้งหมด. ก็เพราะเหตุไรจึงไม่

ควรอยู่ปริวาสทั้งหมด. อันชฎิลผู้บูชาไฟ และอันเจ้าศากยะโดยชาติ ละเพศมา

แล้ว อนึ่ง ผู้ใดแม้ยังไม่ละเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุเพื่อได้มรรคและผล แม้มา

แล้ว เช่นสภิยปริพาชกนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน

สภิยะ ท่านไม่มีเหตุจะต้องอยู่ปริวาสเพื่อบำเพ็ญวัตรของเดียรถีย์ ท่านต้องการ

ประโยชน์ สมบูรณ์ด้วยเหตุเพื่อได้มรรคผล ข้อนั้นเรารู้แล้ว เมื่อจะทรง

อนุญาตให้สภิยปริพาชกบรรพชา จึงตรัสว่า อปิจ เมตฺถ ปุคฺคลเวมตฺตา

วิทิตา ก็แต่ว่าเรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้ ดังนี้. ฝ่ายสภิยะเมื่อจะแสดง

ความเคารพของตน จึงกราบทูลว่า สเจ ภนฺเต ดังนี้. บททั้งหมดและบท

อื่นจะไม่พรรณนาในที่นี้ เพราะมีความง่าย และเพราะมีนัยดังได้กล่าวเเล้ว

ในหนก่อน พึงทราบอย่างเดียวกับที่กล่าวแล้วในหนก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถาสภิยสูตรที่ ๖ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 513

เลสสูตรที่ ๗

ว่าด้วยความเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

[๓๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในชนบทชื่ออังคุตตราปะ

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนมากประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จถึงอาปณนิคมของ

ชาวอังคุตตราปะ.

เกณิยชฎิลได้สดับข่าวมาว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจาก

ศากยสกุส เสด็จจาริกไปในชนบทชื่ออังคุคคราปะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จถึงอาปณหิคมตามลำดับ ก็กิตติศัพท์อันงามของ

ท่านพระโคดมพระองค์นั้นแล ขจรไปแท้อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ ทรงเบิกบานแล้ว

เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน

ท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง

พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ปานนั้น ย่อมเป็น

ความดีแล.

ครั้งนั้นแล เกณิยชฎิลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้

สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน

ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เกณิยชฏิล

เห็นแจ้ง ให้สมาทานอาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 514

ลำดับนั้น เกณิยชฎิล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงรับภัตของข้าพระองค์

เสวยในวันพรุ่งนี้ พระเจ้าข้า.

[๓๗๔] เมื่อเกณิยชฎิลกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสกะเกณิยชฎิลว่า ดูก่อนเกณิยะ ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป อนึ่ง

ท่านก็เลื่อมใสในพวกพราหมณ์ยิ่งนัก.

แม้ครั้งที่ ๒ เกณิยชฎิลก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป ทั้งข้าพระองค์เป็นผู้เลื่อมใส

ในพวกพราหมณ์ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์

ทรงรับภัตของข้าพระองค์เพื่อเสวยในพรุ่งนี้ .. .แม้ครั้งที่ ๓ เกณิยชฎิล...

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.

ลำดับนั้นแล เกณิยชฎิลทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว

ลุกจากอาสนะ เข้าไปสู่อาศรมของตนแล้ว เรียกมิตรอำมาตย์และญาติสายโลหิต

ทั้งหลายมากล่าวว่า มิตรอำมาตย์ และญาติสาโลหิตผู้เจริญทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า

ข้าพเจ้านิมนต์พระสมณโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เพื่อเสวยภัตในวันพรุ่งนี้

ขอท่านทั้งหลายช่วยข้าพเจ้าขวนขวายด้วยกาย พวกมิตร อำมาตย์และญาติ

สาโลหิตทั้งหลายของเกณิยชฎิลรับคำแล้ว บางพวกขุดเตา บางพวกผ่าฟืน

บางพวกล้างภาชนะ บางพวกช่วยตั้งหม้อน้ำ บางพวกปูอาสนะ ส่วนเกณิยชฎิล

ตกแต่งโรงปะรำเอง.

[๓๗๕] ก็สมัยนั้นแล เสลพราหมณ์อาศัยอยู่ในอาปณนิคม เป็นผู้รู้

จบไตรเพทพร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุและคัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 515

มีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์

โลกายตะ และตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ ทั้งบอกมนต์แก่มาณพ ๓๐๐ คน

ด้วย ก็สมัยนั้น เกณิยชฏิลเป็นผู้เลื่อมใสในเสลพราหมณ์ยิ่งนัก.

ครั้งนั้นแล เสลพราหมณ์แวดล้อมด้วยมาณพ ๓๐๐ คน เดินเที่ยว

พักผ่อนอยู่ ได้เข้าไปสู่อาศรมของเกณิยชฎิล ได้เห็นคนบางพวกขุดเตา ฯลฯ

บางพวกปูอาสนะ ในอาศรมของเกณิยชฎิล ส่วนเกณิยชฎิลตกแต่งโรงปะรำเอง

ครั้นแล้วได้ถามเกณิยชฎิลว่า ท่านเกณิยะผู้เจริญ จักมีอาวาหะ วิวาหะหรือ

เตรียมจัดมหายัญหรือ หรือท่านได้ทูลเชิญเสด็จพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า

พิมพิสารจอมทัพ พร้อมทั้งรี้พล เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้.

เกณิยชฎิลตอบว่า ท่านเสละผู้เจริญ อาวาหะหรือวิวาหะจะมีแก่ข้าพเจ้า

ก็หามิได้ แม้พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าพิมพิสารจอมทัพ พร้อมทั้งรี้พล

ข้าพเจ้าก็มิได้ทูลเชิญเพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ แต่ข้าพเจ้าจัดมหายัญ. พระสมณ-

โคดมผู้ศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในชนบทชื่ออังคุต-

ตราปะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จถึงอาปณนิคม

ตามลำดับ ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมนั้นแล ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า

แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ ทรงเบิกบานแล้ว

เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ข้าพเจ้านิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์ เพื่อเสวยภัตในวันพรุ่งนี้.

ส. ท่านเกณิยะผู้เจริญ ท่านกล่าวว่า พุทโธ หรือ.

ก. ท่านเสสะผู้เจริญ ข้าพเจ้ากล่าวว่า พุทโธ.

ส. ท่านเกณิยะผู้เจริญ ท่านกล่าวว่า พุทโธ หรือ.

ก. ท่านเสละผู้เจริญ ข้าพเจ้ากล่าวว่า พุทโธ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 516

ลำดับนั้นแล เสลพราหมณ์ดำริว่า แม้เสียงประกาศว่า พุทโธ

หาได้ยากในโลก พระมหาบุรุษผู้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

ซึ่งมาในมนต์ของพวกเรา ย่อมมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ

ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา เป็น

ใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักร

มั่นคง ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแล้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว

แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้วเป็นที่ ๗ พระราชโอรสของ

พระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยี

กองทัพของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้

ศัสตรา ทรงครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต. ถ้าแลเสด็จออกผนวช

เป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคา คือ กิเสสอัน

เปิดแล้วในโลก. เสลพราหมณ์ถามว่า ท่านเกณิยะผู้เจริญ ก็บัดนี้พระโคดม

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เจริญพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน.

[๓๗๖] เมื่อเสลพราหมณ์ถามอย่างนี้แล้ว เกณิยชฎิลได้ยกแขนขวา

ขึ้นชี้ แล้วกล่าวกะเสลพราหมณ์ว่า ท่านเสสะผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ที่ทิวไม้มีสีเขียวนั่น.

ลำดับนั้นแล เสลพราหมณ์พร้อมด้วยมาณพ ๓๐๐ คน เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วกล่าวเตือนมาณพเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย จงเงียบเสียง ค่อย ๆ เดินตามกันมา เพราะท่านผู้เจริญเหล่านั้นเที่ยว

ไปผู้เดียวเหมือนราชสีห์ ให้ยินดีได้ยาก ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลาเรา

สนทนากับพระสมณโคดมท่านทั้งหลายอย่าพูดสอดขึ้นในระหว่างถ้อยคำของเรา

จงรอให้ถ้อยคำของเราจบลงก่อน. เสลพราหมณ์ได้สนทนาปราศรัยกับพระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 517

พระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง.

ครั้นแล้ว เสลพราหมณ์ได้ตรวจดูมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

ในพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

โดยมากเว้น อยู่ ๒ ประการ คือ พระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ๑ พระชิวหาใหญ่ ๑

จึงยังเคลือบแคลงสงสัยไม่เชื่อไม่เลื่อมใสในมหาปุริสลักษณะ ๒ ประการ. ครั้ง

นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า เสลพราหมณ์นี้ เห็นมหาปุริสลักษณะ

๓๒ ประการ ของเราโดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ คุยหะเร้นให้อยู่ในฝัก ๑

ชิวหาใหญ่ ๑ จึงยังเคลือบแคลงสงสัยไม่เชื่อไม่เลื่อมใสในมหาปุริสลักษณะ ๒

ประการ ทันใดนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้

เสลพราหมณ์ได้เห็นพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าช่อง

พระกรรณทั้งสอง กลับไปมา สอดเข้าช่องพระนาสิกทั้งสอง กลับไปมา

แผ่ปิดมณฑลพระนลาต เสลพราหมณ์คิดว่า พระสมณโคดมทรงประกอบด้วย

มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการบริบูรณ์ไม่บกพร่อง แต่เราไม่ทราบว่า พระองค์

เป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่ ก็แลเราได้ฟังคำของพราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่าผู้เป็น

อาจารย์เเละปาจารย์กล่าวอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงทำพระองค์ให้ปรากฏในเมื่อบุคคลกล่าวถึงคุณของ

พระองค์ ถ้ากระไรเราพึงชมเชยพระสมณโคดม เฉพาะพระพักตร์ด้วยคาถา

อันสมควร.

ลำดับนั้นแล เสลพราหมณ์ได้ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าเฉพาะพระ-

พักตร์ด้วยคาถาอันสมควรว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 518

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์

มีพระกายบริบูรณ์ สวยงาม ประสูตดีแล้ว

มีพระเนตรงาม มีพระฉวีวรรณดุจทองคำ

มีพระเขี้ยวขาวดี มีความเพียร อวัยวะใหญ่

น้อยเหล่าใด มีแก่คนผู้เกิดดีแล้ว อวัยวะ

ใหญ่น้อยเหล่านั้นทั้งหมดในพระกายของ

พระองค์เป็นมหาปุริสลักษณะ.

พระองค์มีพระเนตรแจ่มใส มีพระ-

พักตร์งาม มีกายใหญ่ตรง มีรัศมีรุ่งเรื่อง

อยู่ในท่ามกลางสมณสงฆ์ดังพระอาทิตย์.

พระองค์เป็นภิกษุมีพระเนตรงาม มี

พระฉวีวรรณงามเปล่งปลั่งดังทองคำ ประ-

โยชน์อะไรด้วยความเป็นสมณะของพระองค์

ผู้มีวรรณะอันอุดมอย่างนี้.

พระองค์ควรเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

ผู้ประเสริฐในราชสมบัติ ผู้เป็นใหญ่ในแผ่น

ดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ผู้ทรงชนะ

แล้ว ผู้เป็นใหญ่ในชมพูทวีป มีกษัตริย์

ประเทศราชตามเสด็จ ข้าแต่พระโคดม ขอ

พระองค์ทรงเป็นพระราชาที่พระราชาทรง

บูชา เป็นจอมมนุษย์ ครองราชสมบัติเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 519

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

[๓๗๗] ดูก่อนเสลพราหมณ์ เรา

เป็นพระราชาชั้นเยี่ยมเป็นพระธรรมราชา

เรายังจักรที่ใคร ๆ พึงให้เป็นไปไม่ได้ ให้

เป็นรูปโดยธรรม.

เสลพราหมณ์กราบทูลว่า

พระองค์ทรงปฏิญาณว่า เป็นพระ-

สัมมาสัมพุทธะ เป็นพระธรรมราชาชั้นเยี่ยม

ข้าแต่พระโคดม พระองค์ตรัสว่า จะยังจักร

ให้เป็นไปโดยธรรม ใครหนอเป็นสาวก

เสนาบดีของพระองค์ผู้ประพฤติตามพระ-

ศาสดา ใครจะยังธรรมจักรที่พระองค์ให้เป็น

ไปแล้วนี้ ให้เป็นไปตาม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเสลพราหมณ์

สารีบุตรผู้เกิดตามตถาคต จะยัง

ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่เราให้เป็นไปแล้ว

ให้เป็นไปตาม ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมที่ควร

รู้ยิ่ง เราได้รู้ยิ่งแล้ว ธรรมที่ควรให้เจริญ

เราได้ให้เจริญแล้วและธรรมที่ควรละ เราละ

ได้แล้ว เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นพระพุทธะ-

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงขจัดความ

สงสัยในเราเสีย จงน้อมใจเชื่อ การได้เห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 520

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเนือง ๆ เป็น

การได้โดยยาก ความปรากฏเนือง ๆ แห่ง

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดแล หาได้

ยากในโลก เราเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ผู้เป็นศัลยแพทย์ชั้นเยี่ยม.

เราเป็นผู้ประเสริฐไม่มีผู้เปรียบ ย่ำยี

มารและเสนามารเสียได้ ทำปัจจามิตรทั้งหมด

ไว้ในอำนาจ ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ บันเทิงอยู่.

เสลพราหมณ์กล่าวกับมาณพ ๓๐๐ คนว่า

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงฟังคำนี้ที่

พระผู้มีพระภาคเจ้ามหาวีรบุรุษ ผู้มีจักษุ

ผู้เป็นศัลยแพทย์ตรัสอยู่ ดังสีหะบันลืออยู่

ในป่า ฉะนั้น ถึงแม่พระองค์จะเป็นผู้เกิด

ในสกุลต่ำทราม (ก็ตามที)

ใคร ๆ ได้เห็นพระองค์ผู้ประเสริฐ

ไม่มีผู้เปรียบ ย่ำยีมารและเสนามารเสียได้

จะไม่พึงเลื่อมใส (ไม่มีเลย)

ผู้ใดปรารถนาก็จงตามเรามา หรือ

ผู้ใดไม่ปรารถนาก็จงไปเถิด เราจักบวชใน

สำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีปัญญาอัน

ประเสริฐนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 521

ถ้าท่านผู้เจริญชอบใจคำสั่งสอนของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างนี้ไซร้ แม้พวก

เราก็จักบวชในสำนักของพระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า ผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ.

พราหมณ์ทั้ง ๓๐๐ เหล่านี้ ได้ประนม

อัญชลีทูลขอว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักประพฤติพรหมจรรย์

ในสำนักของพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเสลพราหมณ์

พรหมจรรย์เรากล่าวดีแล้ว ผู้บรรลุ

จะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล การบวช

ของบุคคลผู้ไม่ประมาทศึกษาอยู่ไม่เปล่า

ประโยชน์.

[๓๗๘] เสลพราหมณ์พร้อมกับบริษัทได้บรรพชาอุปสมบทในสำนัก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไป เกณิยชฎิล สั่งให้

ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีตไว้ในอาศรมของตนเสร็จแล้วให้กราบทูล

ภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงเวลาแล้ว ภัตเสร็จ

แล้ว.

ลำดับนั้น เป็นเวลาเข้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร

และจีวรเสด็จเข้าไปยังอาศรมของเกณิยชฎิล ครั้นแล้ว ประทับนั่งเหนืออาสนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 522

ที่เขาปูลาดถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. ลำดับนั้น เกณิยชฎิล อังคาสภิกษุสงฆ์มี

พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้อิ่มหนำสำราญด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต

ด้วยมือของตน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จ ชักพระหัตถ์จากบาตรแล้ว

เกณิยชฎิลถืออาสนะต่ำแห่งหนึ่ง นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแก่เกณิยชฎิลด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า

ยัญทั้งหลายมีการบูชาไฟเป็นประมุข

ฉันท์ทั้งหลายมีสาวิตรีฉันท์เป็นประมุข พระ-

ราชาเป็นประมุขของมนุษย์ทั้งหลาย พระ-

จันทร์เป็นประมุขของดาวนักษัตรทั้งหลาย

พระอาทิตย์เป็นประมุขของความร้อนทั้ง-

หลาย พระสงฆ์แล เป็นประมุขของบุคคล

ทั้งหลายผู้มุ่งบุญ บูชาอยู่.

[๓๗๙] ครั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแก่เกณิยชฎิลด้วย

พระคาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ลำดับนั้นแล ท่านพระเสละ

พร้อมด้วยบริษัท หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ

เด็ดเดี่ยว ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตร

ทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ใน

ปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระเสละพร้อมด้วย

บริษัท ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ๆ ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 523

ครั้งนั้นแล ท่านพระเสละ พร้อมทั้งบริษัทได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประณมอัญชลีไปทาง

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ

ข้าพระองค์ทั้งหลายถึงสรณะในวันที่ ๘ นับ

แต่วันนี้ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย

จึงฝึกฝนตนอยู่ในศาสนาของพระองค์ ๗

ราตรี.

พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า เป็น

ศาสดา เป็นมุนีครองงำมาร ทรงตัดอนุสัย

แล้ว เป็นผู้ข้ามได้เองแล้ว ทรงช่วยหมู่สัตว์นี้

ให้ข้ามได้ พระองค์ทรงก้าวล่วงอุปธิได้แล้ว

ทรงทำลายอาสวะทั้งหลายแล้ว ไม่ทรงถือ

มั่น ทรงละความกลัวและความขลาดได้แล้ว

ดังสีหะ.

ภิกษุ ๓๐๐ รูปนี้ยืนประนมอัญชลีอยู่

ข้าแต่พระวีรเจ้า ขอพระองค์ทรงเหยียด

พระบาทยุคลเถิด ท่านผู้ประเสริฐทั้งหลาย

จงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระศาสดา.

จบเสลสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 524

อรรถกถาเสลสูตรที่ ๗

เสลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ? ท่านกล่าวถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นไว้ใน

นิทานแห่งเสลสูตรนั้นแล้ว. แม้ในลำดับการพรรณนาความแห่งสูตรนี้ ก็เช่น

เดียวกันกับสูตรก่อน พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสูตรก่อนนั่นแล. ก็บทใด

ยังไม่ได้กล่าวไว้ เราจักเรียบเรียงบททั้งหลายที่มีความง่าย พรรณนาบทนั้น.

บทว่า องฺคุตฺตราเปสุ ได้แก่ ชนบทนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าอังคา,

อังคาใดชื่อว่า อาปะ ที่ซับน้ำมีอยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำคงคา, ท่านเรียกว่า

อุตตราปะ ก็มี เพราะอยู่ไม่ไกลแม่น้ำเหล่านั้น ถามว่า อังคาใดที่ชื่อว่า

อาปะอยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำคงคาตอนไหน ? ตอบว่า แม่น้ำคงคาที่ชื่อว่า

มหามหี. เพื่อความแจ่มแจ้งของแม่น้ำนั้นในสูตรนี้จะพรรณนาตั้งแต่ต้น.

มีเรื่องเล่ามาว่า ชมพูทวีปนี้มีประมาณหนึ่งหมื่นโยชน์. ในชมพูทวีป

นั้นพื้นที่ประมาณ ๔ พันโยชน์ถูกน้ำท่วม จึงเรียกว่า สมุทร. พวกมนุษย์

อาศัยอยู่ในเนื้อที่ประมาณ ๓ พันโยชน์ มีเขาหิมพานต์ตั้งอยู่ในเนื้อที่ ๓ พัน

โยชน์โดยส่วนสูงประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด โดย

รอบวิจิตรตระการไปด้วยมหานทีทั้งห้าไหลบ่าสงโดยยาวและกว้างประมาณ ๑๐๐

โยชน์ เพราะลึกมาก มีบริเวณรอบ ๆ ประมาณ ๑๕๐ โยชน์ มีสระใหญ่ ๗

สระ มีสระอโนดาตเป็นต้นตั้งอยู่ ดังได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาปูรฬาสสูตร.

ใน ๗ สระนั้น สระอโนดาตล้อมไปด้วยภูขา ๕ ลูกเหล่านี้ คือ สุทัสสนกูฎ

จิตรกูฏ กาฬกฏ คันธมาทนกูฏ เกลาสกูฏ. ในภูเขา ๕ ลูกนั้น สุทัสสนกูฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 525

สำเร็จด้วยทองคำ สูง ๒๐๐ โยชน์ ภายในคดมีสัณฐานคล้ายปากของกาตั้ง

ปกคลุมสระนั้นอยู่ จิตรกูฏสำเร็จด้วยรัตนะทั้งปวง กาฬกูฏสำเร็จด้วยไม้อัญชัน

คันธมาทนกูฏสำเร็จด้วยแก้วตาแมว ภายในมีสีเหมือนถั่วเขียว ดาดาษไปด้วย

โอสถหลายอย่าง ในวันอุโบสถข้างแรมรุ่งเรืองเหมือนถ่านถูกไฟเผา เกลาสกูฏ

สำเร็จด้วยเงิน ทั้งหมดมีส่วนสูงเท่ากันกับสุทัสสนะ ตั้งปกคลุมสระนั้น

สระทั้งหมดฝนตกอยู่ด้วยอานุภาพของเทวดาและอานุภาพของนาค. อนึ่ง แม่น้ำ

ไหลลงไปในสระเหล่านั้น น้ำทั้งหมดนั้นไหลลงสู่สระอโนดาต. พระจันทร์และ

พระอาทิตย์โคจรผ่านไปทางทิศใต้หรือทิศเหนือทำให้สระนั้นได้แสงสว่างโดย

ระหว่างภูเขา เมื่อโคจรไปตรง ๆ ไม่ทำให้สว่าง. ด้วยเหตุนั้น สระนั้นจึง

ชื่อว่าอโนดาต. ในสระอโนดาตนั้น มีท่าลงอาบน้ำ มีน้ำใสงดงาม ไม่มีปลาและ

เต่า ใสสะอาดคล้ายแก้วผลึก มีน้ำใสสะอาด ตกแต่งไว้อย่างงดงาม. พระพุทธ-

เจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระขีณาสพและหมู่ฤาษีพากันอาบน้ำที่สระนั้น ทั้ง

พวกเทวดาและยักษ์เป็นต้นก็พากันเล่นสนุกสนานในอุทยานนั้น. ที่ขอบฝั่งทั้ง

สี่ของสระนั้นมีสี่ปาก สระ ๔ ปาก คือปากสีหะ ๑ ปากช้าง ๑ ปากม้า ๑ ปาก

โคอุสภะ ๑. แม่น้ำทั้งสี่สายไหลออกจากปากสระนั้น. ที่ฝั่งแม่น้ำอันไหลออก

จากปากสีหะมีสีหะมากกว่า จากปากช้างเป็นต้น มีช้างม้าและโคอุสภะมากกว่า.

แม่น้ำไหลออกจากทางทิศตะวันออก ไหลเวียนไปทางขวาสระอโนดาต ๓

รอบ มิได้อาศัยแม่น้ำ ๓ สายนอกนี้ ไหลไปทางของอมนุษย์ทางด้านป่า

หิมพานต์ทางทิศตะวันออกแล้วไหลลงมหาสมุทร. แม้แม่น้ำที่ไหลออกจากทิศ

ตะวันตก และจากทิศเหนือก็ไหลเวียนขวาเหมือนกัน แล้วไหลไปทางของอมนุษย์

ทางป่าหิมพานต์ด้านตะวันตกและป่าหิมพานต์ด้านเหนือแล้วไหลลงมหาสมุทร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 526

ส่วนแม่น้ำที่ไหลออกจากทิศด้านใต้ก็ไหลเวียนขวา ๓ รอบ แล้วไหลตรงไปทาง

ใต้ สิ้นทาง ๖๐ โยชน์บนหลังหินนั่นเอง แล้วกระทบภูเขาไหลไปเป็นสายน้ำ

ประมาณ ๓ คาวุตโดยส่วนกว้าง ไหลไป ๖. โยชน์ทางอากาศแล้วตกลงบน

แผ่นหินชื่อติยัคคฬะ. และแผ่นหินแตกด้วยกำลังสายน้ำ ณ ที่นั้นก็เกิดสระ-

โบกขรณีชื่อติยัคคฬะประมาณ ๕๐ โยชน์ ทำลายฝั่งสระโบกขรณีไหลเข้าไปยัง

แผ่นหินไปได้ ๖๐ โยชน์ จากนั้นก็ทำลายแผ่นดินหนาทึบ. ไหลลงไปประมาณ

๖๐ โยชน์ทางอุโมงค์ กระทบติรัจฉานบรรพตชื่อว่าวิชฌะ แยกออกเป็น ๕

สาย คล้ายนิ้วทั้ง ๕ บนฝ่ามือไหลไป. สายน้ำทั้ง ๕ นั้น ในที่ที่ไหลเวียนขวา

สระอโนดาต ๓ รอบ เรียกว่าอาวัฏฏคงคา ในที่ที่ไหลตรงไปตามหลังแผ่นหิน

๖๐ โยชน์ เรียกว่า อากิณณคงคา. ในที่ที่ไหลไปทางอากาศ ๖๐ โยชน์ เรียกว่า

อากาศคงคา. สายน้ำตกลงบนแผ่นหินชื่อว่า ติยัคคฬะตั้งอยู่บนที่ว่างประมาณ

๕๔ โยชน์ ท่านจึงเรียกว่าติยัคคฬโบกขรณี. สายน้ำในที่ที่ทำลายฝั่งแล้วไหล

เข้าไปยังแผ่นหิน ไหลไปประมาณ ๖๐ โยชน์ เรียกว่า พหลคงคา.

สายน้ำในที่ที่ทำลายแผ่นดินแล้วไหลไปทางอุโมงค์สิ้น ๖๐ โยชน์ เรียกว่า

อุมมังคคงคา. สายน้ำในที่ที่เป็น ๕ สาย กระทบดิรัจฉานบรรพตชื่อว่าวิชฌะ

แล้วไหลไป ท่านเรียกว่าปัญจธารา (แม่น้ำ ๕ สาย) คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี

สรภู มหี. มหาคงคาทั้ง ๕ เหล่านี้มีหิมะตก. ในแม่น้ำ ๕ สายเหล่านั้น

แม่น้ำสายที่ ๕ ชื่อมหีนั่นแหละท่านประสงค์เอาชื่อว่า มหามหีคงคา ในที่นี้.

อาปะใดทางทิศเหนือของแม่น้ำคงคา อาปะนั้นเป็นชนบท เพราะไม่

ไกลสายน้ำเหล่านั้น พึงทราบว่าชื่อ อังคุตตราปะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 527

บทว่า จาริก จรมาโน เสด็จจาริกไป คือ เดินทางไป. ในบทนั้น

พึงทราบการจาริกของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีสองอย่าง คือ ตุริตจาริกา (จาริก

รีบด่วน) ๑ อตุริตจาริกา (จาริกไม่รีบด่วน) ๑. ในจาริกสองอย่างนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลที่ควรโปรดในที่ไกลก็รีบเสด็จไป ชื่อว่า

ตุริตจาริกา. ตุริตจารก้านั้นพึงเห็นในการต้อนรับพระมหากัสสปเป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปต้อนรับพระมหากัสสปนั้นได้เสด็จไปถึง ๓ คาวุต

เพียงครู่เดียวเท่านั้น, ได้เสด็จไป ๓๐ โยชน์ เพื่อทรงทรมานอาฬวกยักษ์, ได้

เสด็จไป ๓๐ โยชน์เพื่อโปรดองคุลิมาล ได้เสด็จไป ๔๕ โยชน์ เพื่อโปรดปุก-

กุสาติพราหมณ์. ได้เสด็จไป ๑๒๐ โยชน์ เพื่อโปรดพระเจ้ามหากัปปิยนะ, ได้

เสด็จไปทางไกลประมาณ ๗๐๐ โยชน์ เพื่อโปรดธนิยะ นี้ชื่อว่า ตุริตจาริกา

เสด็จโดยรีบด่วน. การเสด็จไปเพื่ออนุเคราะห์โลกด้วยการเที่ยวไปบิณฑบาต

ตามลำดับบ้าน นิคม นคร ชื่อว่า อตุริตจาริกา เสด็จโดยไม่รีบด่วน

อตุริตจาริกานี้ท่านประสงค์เอาในที่นี้ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าว จาริก จรมาโน.

บทว่า มหตา ใหญ่ คือ ใหญ่โดยจำนวนและใหญ่โดยคุณ. บทว่า

ภิกฺขุ สงฺเฆน คือ หมู่สมณะ. บทว่า อฑฺฒเตรเสหิ ๑๒ ครึ่ง ท่าน

อธิบายว่ากับภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป. บทว่า เยน ฯเปฯ ตทวสริ เสด็จถึงนิคม

ของชาวอังคุตตราปะ ชื่อว่า อาปณะ นิคมนั้นได้ชื่อว่าอาปณะเพราะมีตลาดมาก.

ได้ยินว่า ที่นิคมนั้นมีตลาดใหญ่จ่ายของกันถึงสองหมื่นตลาด. ผู้คนได้เดินทาง

มารวมกันที่นิคมแห่งรัฐของชาวอังคุตตราปะทั่วทุกทิศ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้เสด็จถึงนิคมนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 528

บทว่า เกณิโย ชฏิโล ชฎิลมีชื่อว่า เกณิยะ. คำว่า ชฏิโล ความว่า

เป็นดาบส เล่ากันมาว่า เกณิยชฎิลนั้นเป็นพราหมณ์มหาศาล แต่เพื่อรักษาทรัพย์

จึงถือบรรพชาเป็นดาบส ถวายเครื่องบรรณาการแด่พระราชา จับจองภาคพื้น

สร้างอาศรมอาศัยอยู่ ณ ที่นั้น มีผู้อาศัยอยู่ด้วยหนึ่งพันตระกูล. อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า แม้ที่อาศรมของเกณิยชฎิลนั้นมีต้นตาลอยู่ต้นหนึ่ง หล่นผลเป็นทองคำ

ผลหนึ่งทุก ๆ วัน. เกณิยชฎิลนั้น เวลากลางวันนุ่งห่มผ้ากาสาวะและสวมชฎา

เวลากลางคืน เอิบอิ่มเพียบพร้อมบำเรอด้วยกามคุณห้าตามสบาย. บทว่า

สกฺยปุตฺโต แสดงถึงตระกูลชั้นสูง. บทว่า สกฺยกุลา ปพฺพชิโต ทรงผนวช

จากศากยตระกูล แสดงถึงการบวชด้วยศรัทธา. ท่านอธิบายไว้ว่า เป็นผู้มิได้

ถูกความเสื่อมไร ๆ ครอบงำ ละตระกูลนั้นทั้งที่ไม่เสื่อมออกทรงผนวชด้วย

ศรัทธา. บทว่า ต โข ปน เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งอิตถัมภูตะ

(ฉัฏฐีวิภัตติ) ได้ความเป็น ตสฺส โข ปน โภโต โคตมสฺส ของ

พระโคดมผู้เจริญนั้นแล. บทว่า กลฺยาโณ งาม คือประกอบด้วยคุณอันเป็น

ความงาม. ท่านอธิบายว่า ประเสริฐที่สุด. บทว่า กิตฺติสทฺโท กิตติศัพท์

คือ ชื่อเสียงหรือประกาศยกย่อง. ก็ในบทมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา นี้

โยชนาแก้ไว้เพียงเท่านี้. ท่านอธิบายว่า ด้วยเหตุนี้ ๆ ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์แม้ด้วยเหตุนี้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้ด้วย

เหตุนี้ ฯลฯ เป็นผู้มีโชคแม้ด้วยเหตุนี้ ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อรห ดังนี้ พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์เป็นอรหันต์ด้วยเหตุเหล่านี้ก่อนคือ เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลส เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 529

เป็นผู้กำจัดข้าศึกคือกิเลส และหักซี่กำคือกิเลส เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น

เพราะไม่มีความลับในการทำบาป. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

เป็นผู้ไกลจากกิเลสทั้งปวง เพราะกำจัดกิเลสพร้อมด้วยวาสนา ด้วยมรรค

เพราะฉะนั้น จึงเป็นพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้ไกล. อนึ่ง พระองค์กำจัดข้าศึก

คือกิเลสเสียได้ด้วยมรรค เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า อรห เพราะทรงกำ

จัดข้าศึกเสียได้. อนึ่ง คุมคืออวิชชา ภวตัณหา ซี่ล้อคืออภิสังขารมีบุญเป็นต้น

กงคือชราและมรณะ เสียบด้วยเพลาอันสำเร็จด้วยสมุทัยคืออาสวะประกอบเข้า

ไปในรถคือภพ ๓ มีสงสารเป็นล้อแล่นไปในกาลอันไม่มีเบื้องต้น พระองค์

ดำรงอยู่บนปฐพีคือศีล ด้วยพระบาทคือความเพียร ณ โพธิมณฑล ทรงถือ

ขวานคือญาณอันกระทำให้สิ้นกรรม ด้วยพระหัตถ์คือศรัทธาแล้วทรงกำจัดซี่กำ

ทั้งปวงเสียได้ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า อรห เพราะกำจัดซี่กำ

เสียได้ อนึ่ง เพราะพระองค์เป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ จึงสมควรรับปัจจัยมีจีวร

เป็นต้น และเครื่องสักการะและความเคารพเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึง

ทรงพระนามว่า อรห เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น. อนึ่ง พระองค์ไม่ทรง

ทำความชั่วไม่ว่าในที่ไหน ๆ เหมือนคนพาลสำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต บางพวก

ในโลกย่อมทำบาปในที่ลับ เพราะเกรงจะไม่มีใครสรรเสริญ เพราะฉะนั้น

พระองค์จึงทรงพระนามว่า อรห เพราะไม่มีความลับในการทำบาป.

อนึ่ง ในบทว่า อรห นี้ มีคาถาดังนี้

อารกตฺตา หตตฺตา จ กิเลสารีน โส มุนิ

หตสงฺสารจกฺกาโร ปจฺจยาทีน จารโห

น รโห กโรติ ปาปานิ อรห เตน ปวุจฺจติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 530

พระมุนีนั้น เพราะเป็นผู้ไกลจาก

กิเลสและเพราะเป็นผู้กำจัดข้าศึก คือ กิเลส

เสียได้ เป็นผู้กำจัดซี่วงล้อคือสังสารจักรเสีย

ได้และเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น ไม่ทำบาป

ในที่ลับ ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตจึงขนานพระ-

นามว่า อรห.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สมฺมาสมพุทฺโธ เพราะตรัสรู้

สัจธรรมโดยชอบ และด้วยพระองค์เอง. ทรงพระนามว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน

เพราะประกอบด้วยวิชชาอันบริสุทธิ์สมบูรณ์และด้วยจรณะอันสูงสุด. ทรง

พระนามว่า สุคโต เพราะเสด็จไปดี เพราะเสด็จไปสู่ฐานะอันดี เพราะเสด็จ

ไปด้วยดี และเพราะตรัสรู้โดยชอบ. ทรงพระนามว่า โลกวิทู เพราะทรงรู้

โลกด้วยประการทั้งปวง. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงรู้สังขาร

โลกอันมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น โดยประการทั้งปวง คือ โดยสภาวะ โดย

สมุทัย โดยนิโรธ โดยอุบายแห่งนิโรธ. ทรงรู้สังขารโลกแม้โดยประการ

ทั้งปวงอย่างนี้ คือ

โลกหนึ่ง ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่ได้ด้วยอาหาร.

โลกสอง คือ นามและรูป.

โลกสาม คือ เวทนาสาม.

โลกสี่ คือ อาหารสี่.

โลกห้า คือ อุปาทานขันธ์ห้า.

โลกหก คือ อายตนะภายในหก.

โลกเจ็ด คือ วิญญาณฐิติเจ็ด.

โลกแปด คือ โลกธรรมแปด.

โลกเก้า คือ สัตตาวาสเก้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 531

โลกสิบ คือ อายตนะสิบ.

โลกสิบสอง คือ อายตนะสิบสอง.

โลกสิบแปด คือ ธาตุสิบแปด.

ทรงรู้สัตว์โลกแม้โดยประการทั้งปวง คือ ทรงรู้อัธยาศัยของสัตว์

ทั้งหลาย ทรงรู้กิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ทรงรู้จริง

ทรงรู้อารมณ์ ทรงรู้สัตว์มีธุลีคือกิเลสน้อย สัตว์มีธุลีคือกิเลสมาก สัตว์มีอินทรีย์

กล้า สัตว์มีอินทรีย์อ่อน สัตว์มีอาการดี สัตว์มีอาการชั่ว สัตว์ให้รู้ได้ง่าย

สัตว์ให้รู้ได้ยาก สัตว์เป็นภัพพะ (ควรตรัสรู้ได้) สัตว์เป็นอภัพพะ (ไม่ควร

ตรัสรู้). อนึ่ง จักรวาลหนึ่งโดยยาวและโดยกว้าง หนึ่งล้านสองแสนสามพัน

สี่ร้อยห้าสิบโยชน์ แต่โดยรอบสามล้านหกแสนหนึ่งหมื่นสามร้อยห้าสิบโยชน์.

ในบทว่า โลกวิทู นั้นพึงทราบต่อไปนี้

แผ่นดินนี้นับด้วยความหนาสองแสน

สี่หมื่นโยชน์ (ตั้งอยู่บนน้ำ) น้ำตั้งอยู่บนลม

ด้วยความหนาสี่แสนแปดหมื่นโยชน์ ลมอุ้ม

ขึ้นสู่ท้องฟ้ามีความหนาเก้าแสนหกหมื่น

นี้คือสัณฐานของโลก.

เมื่อโลกสัณฐานอย่างนี้ พึงทราบต่อไปว่า

ภูเขาสิเนรุสูงสุดในบรรดาภูเขา หยั่ง

ลึกลงไปในมหาสมุทร แปดหมื่นสี่พันโยชน์

สูงขึ้นไปก็เท่านั้นเหมือนกัน แต่นั้นภูเขา

ใหญ่อันเป็นทิพย์ อันวิจิตรด้วยแก้วนานา

ชนิด จมลงในมหาสมุทรและผุดขึ้นตาม

ลำดับโดยประมาณครึ่งหนึ่ง ๆ คือ ภูเขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 532

ยุคันธระ อิสินธระ กรวิกะ สุทัสสนะ

เนมินธระ วินตกะ อัสสกัณณะ

ภูเขาทั้ง ๗ นี้ ล้วนมีหินขนาดใหญ่

อยู่โดยรอบภูเขาสิเนรุ เป็นที่อยู่ของมหาราช

เทวดาและยักษ์สิงสถิตอยู่

ภูเขาหิมพานต์สูงห้าร้อยโยชน์ โดย

ยาว และโดยกว้างสามพันโยชน์ ประดับด้วย

ยอดแปดหมื่นสี่พันยอด ภูเขาย่อมด้วยต้นไม้

๓๕ โยชน์โดยรอบ ต้นไม้และกิ่งไม้ยาว ๕๐

โยชน์ กว้าง โยชน์ ต้นไม้รอบ ๆ มี

ลำต้นขนาด ๓ โยชน์บ้าง ๕ โยชน์ระหว่าง ใด

โดยรอบลำต้นตลอดปลายกิ่ง ๕๐ โยชน์

แผ่ออกไป ๑๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไปก็เท่านั้น

เหมือนกัน ต้นไม้นั้นชื่อว่า ต้นชมพู ด้วย

อานุภาพของต้นชมพูจึงเรียก ชมพูทวีป

ต้นชมพูหยั่งลงในห้วงน้ำใหญ่ สองหมื่น

แปดพันโยชน์ สูงขึ้นก็เท่านั้นเหมือนกัน

ศีลาจักรวาลที่ผุดขึ้นตั้งล้อมภูเขาทั้งหมด

สำเร็จเป็นจักรวาล.

ในบทว่า โลกวิทู นั้นพึงทราบวินิฉัยต่อไป จันทมณฑล ๔๙ โยชน์

สุริยมณฑล ๕๐ โยชน์ ดาวดึงสพิภพหนึ่งหมื่นโยชน์ อสุรภพ อเวจีมหานรก

และชมพูทวีปก็เหมือนกัน อมรโคยาน ทวีปเจ็ดพันโยชน์ ปุพวิเทหทวีป

ก็เหมือนกัน อุตรกุรุทวีปแปดพันโยชน์ มหาทวีปหนึ่ง ๆ ในที่นี้มีทวีปน้อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 533

ห้าร้อย ๆ เป็นบริวาร. ทั้งหมดนั้นเป็นจักรวาล เป็นโลกธาตุหนึ่ง ในระหว่าง

จักรวาล เป็นโลกันตริยนรก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้โอกาสโลกด้วยประการทั้งปวงว่า จักรวาล

ไม่มีที่สุด โลกธาตุไม่มีที่สุด ทรงรู้ด้วยพุทธญาณไม่มีที่สุด. พึงทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นโลกวิทู เพราะทรงรู้โลกด้วยประการทั้งปวง

ด้วยประการฉะนี้.

ทรงพระนามว่า อนุตฺตโร เพราะไม่มีไคร ๆ ประเสริฐกว่า ด้วย

คุณของพระองค์.

ทรงพระนามว่า ปุริสทมฺมสารถิ เพราะยังบุรุษที่พอฝึกได้ให้แล่น

ไป โดยอุบายแนะนำอันแนบเนียน.

ทรงพระนามว่า สตฺถา เพราะทรงพร่ำสอน และทรงให้ไตร่ตรองคาม

ควรด้วยทิฏฐธัมมิกประโยชน์ สัมปรายิกประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์

การถือกำเนิดเป็นเทวดาและมนุษย์ด้วยกำหนดอย่างอุกฤษฎ์ และด้วยการกำหนด

ถึงบุคคลที่สมควร แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงพร่ำสอนคนสัตว์ทั้ง-

หลายมีนาคเป็นต้นด้วยประโยชน์เป็นโลกิยะ. ชื่อว่าผู้ที่ควรแนะนำได้ยังมีอยู่

ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะตรัสรู้ทุกอย่างด้วยชื่ออันมีในที่สุดเเห่ง

วิโมกข์. ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ภาคฺยวา ภคฺควา ยุตฺโต ภเคหิ จ วิภตฺตวา

ภตฺตวา วนฺตคมโน ภเวสุ ภควา ตโต

เป็นผู้มีโชค เป็นผู้ทำลายกิเลส เป็น

ประกอบด้วยโชคทั้งหลาย เป็นผู้แจก เป็น

ผู้จำแนก เป็นผู้คายการไปในภพทั้งหลาย

ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 534

นี้เป็นความสังเขปในบทนี้. ส่วนโดยพิสดารท่านกล่าวบทเหล่านี้ไว้ใน

วิสุทธิมรรคแล้ว.

บทว่า โส อิม โลก คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงทำ

โลกนี้. บัดนี้ควรชี้แจงข้อที่ควรกล่าว. บททั้งหลายว่า สเทวก เป็นต้นมีนัย

ดังได้กล่าวแล้ว ในกสิภารทวาชสูตรและอาฬวกสูตรเป็นต้น. บทว่า สย แปลว่า

เอง คือ ควรแนะนำผู้อื่น. บทว่า อภิญฺา ได้แก่ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง.

บทว่า สจฺฉิกตฺวา คือทำให้ประจักษ์. บทว่า ปเวเทติ คือ ให้รู้ ให้แจ้ง

ให้ชัด.

บทว่า โส ธมฺม เทเสติ ฯเปฯ ปริโยสานกลฺยาณ พระองค์

ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ความว่า พระผู้-

มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ทรงละความสุข

เกิดแต่วิเวกแล้วทรงแสดงธรรม. เมือทรงแสดงธรรมนั้นน้อยก็ตาม มากก็ตาม

ทรงแสดงมีประการงามในเบื้องต้นเป็นอาทิ. ทรงแสดงอย่างไร เพราะแม้

คาถาหนึ่งก็ทำความเจริญได้โดยรอบ งามในเบื้องต้นด้วยบทที่หนึ่งของธรรม

งามในท่ามกลางด้วยบทที่สอง งามในที่สุดด้วยบทสุดท้าย.

พระสูตรที่มีอนุสนธิเป็นอันเดียวกัน งามในเบื้องต้น ด้วยนิทาน

งามในที่สุดด้วยบทสรุป งามในท่ามกลางด้วยบทที่เหลือ.

พระสูตรที่มีอนุสนธิต่างกัน งามในเบื้องต้นด้วยอนุสนธิต้น งามใน

ที่สุดด้วยบทสุดท้าย งามในท่ามกลางด้วยบทที่เหลือ.

ศาสนธรรมทั้งสิ้นงามในเบื้องต้นด้วยศีลอันเป็นประโยชน์ของตน งาม

ในท่ามกลางด้วยสมถะ วิปัสสนา มรรค และผล งามในที่สุดด้วยนิพพาน.

อีกอย่างหนึ่ง งามในเบื้องต้นด้วยศีลเเละสมาธิ งามในท่ามกลางด้วย

วิปัสสนาและมรรค งามในที่สุดด้วยผลและนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 535

อีกอย่างหนึ่ง งามในเบื้องต้น เพราะการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

งามในท่ามกลาง เพราะพระธรรมเป็นธรรมที่ดี งามในที่สุด เพราะการปฏิบัติ

ชอบของพระสงฆ์

อีกอย่างหนึ่ง งามในเบื้องต้น ด้วยการตรัสรู้ยิ่ง เพราะฟังธรรม

นั้นแล้วเห็นจริง เพราะผู้ปฏิบัติพึงบรรลุได้ งามในท่ามกลางด้วยการตรัสรู้

ของพระปัจเจกพุทธเจ้า งามในที่สุดด้วยการตรัสรู้ของพระสาวก.

อนึ่ง เมื่อฟังธรรมนั้น ย่อมนำมาซึ่งความงามด้วยการฟัง เพราะข่ม

นิวรณ์เป็นต้นได้ เพราะฉะนั้น จึงงามในเบื้องต้น เมื่อปฏิบัติย่อมนำมาซึ่ง

ความงามในการปฏิบัติ เพราะนำมาซึ่งความสุขอันเกิดแต่สมถะและวิปัสสนา

เพราะฉะนั้น จึงงามในท่ามกลาง อนึ่งครั้นปฏิบัติอย่างนั้น แล้ว เมื่อสำเร็จผล

แห่งการปฏิบัติ ย่อมนำมาซึ่งความงามด้วยผลแห่งการปฏิบัติ เพราะนำมาซึ่ง

ความเป็นผู้คงที่ เพราะฉะนั้น จึงงามในที่สุด.

อนึ่ง งามในเบื้องต้น เพราะเป็นแดนเกิดแห่งที่พึ่ง งามในท่ามกลาง

เพราะบริสุทธิ์ด้วยประโยชน์ งามในที่สุดเพราะบริสุทธิ์ด้วยกิจ เพราะฉะนั้น

พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมน้อยก็ตามมากก็ตาม

ย่อมทรงแสดงธรรมมีลักษณะอัน งามในเบื้องต้นเป็นต้น.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า สาตฺถ สพฺยญฺชน ดังต่อไปนี้

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมนี้ ย่อมประกาศ

ศาสนพรหมจรรย์และมรรคพรหมจรรย์ทรงแสดงโดยนัยต่าง ๆ ชื่อว่าพร้อมทั้ง

อรรถ เพราะสมบูรณ์ด้วยอรรถตามความเกิดอย่างไร ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะ

เพราะความสมบูรณ์ด้วยพยัญชนะ ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถเพราะประกอบเสมอด้วย

ความคล้ายกัน การประกาศ การขยายความ การจำแนก การทำให้ง่าย การ

บัญญัติและบทแห่งอรรถ ชื่อว่า พร้อมทั้งพยัญชนะ เพราะสมบูรณ์ด้วยอักขระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 536

บท พยัญชนะ อาการ ภาษาและการแนะนำ ชื่อว่า พร้อมทั้งอรรถ เพราะ

ลึกซึ้งด้วยอรรถ และลึกซึ้งด้วยปฏิเวธ ชื่อว่า พร้อมทั้งพยัญชนะ เพราะ

ลึกซึ้งด้วยธรรม ลึกซึ้งด้วยการแสดง ชื่อว่า พร้อมทั้งอรรถ เพราะเป็นวิสัย

แห่งการแตกฉานด้วยอรรถและปฏิภาณ ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะ เพราะเป็น

วิสัยแห่งการแตกฉานด้วยธรรมและภาษา ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถ เพราะยังชน

ผู้พิจารณาให้เลื่อมใส โดยรู้สึกว่าเป็นบัณฑิต พร้อมทั้งพยัญชนะ เพราะยัง

โลกิยชนให้เลื่อมใส โดยความเป็นสิ่งควรเธอได้ ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถ เพราะ

ประสงค์ความลึกซึ้ง ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะ เพราะเป็นบทง่าย ชื่อว่าบริบูรณ์

สิ้นเชิง เพราะบริบูรณ์ทั้งสิ้นโดยที่ไม่มีสิ่งควรนำเข้าไป ชื่อว่าบริสุทธิ์เพราะ

ไม่มีโทษโดยที่ไม่มีสิ่งควรนำออกไป ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะเป็นธรรม

อันผู้เป็นพรหมคือผู้ประเสริฐควรประพฤติ และเพราะความที่ธรรมเหล่านั้น

เป็นสิ่งควรประพฤติ เพราะกำหนดเอาสิกขา ๓ ฉะนั้นเกณิยชฎิลจึงกล่าวว่า

สาตฺถ สพฺยญฺชน ฯเปฯ พฺรหฺมจริย ปกาเสสิ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์

สิ้นเชิง ดังนี้.

อีกประการหนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม

พร้อมด้วยเหตุและพร้อมด้วยเรื่องที่เกิดขึ้น จึงทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น

เมื่อจะทรงแสดงธรรมงามในท่ามกลางโดยสมควรแก่เวไนยชนทั้งหลายและโดย

ประกอบด้วยเหตุและอุทาหรณ์ เพราะไม่ให้ความวิปริต และเมื่อจะทรงแสดง

ธรรมงามในที่สุดโดยให้ผู้ฟังได้ศรัทธาและโดยสรุป จึงทรงประกาศพรหมจรรย์.

ท่านกล่าวธรรมนั้น ชื่อว่า พร้อมทั้งอรรถ เพราะฉลาดในอธิคมตามลำดับ

ชื่อว่า พร้อมทั้งพยัญชนะ เพราะฉลาดในอาคมแห่งปริยัติ ชื่อว่าบริบูรณ์

สิ้นเชิง เพราะประกอบด้วยธรรมขันธ์ ๕ มีศีลเป็นต้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะ

ไม่มีอุปกิเลส และเพราะไม่เพ่งถึงโลกามิสอันเป็นไปเพื่อความข้ามพ้น ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 537

พรหมจรรย์ เพราะเป็นสิ่งควรประพฤติของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า

และพระสาวกทั้งหลาย ที่ชื่อว่า เป็นพรหม ด้วยอรรถว่าเป็นผู้ประเสริฐ ฉะนั้น

เกณิยชฎิลจึงกล่าวว่า โส ธมฺม เทเสติ ฯเปฯ พฺรหฺมจริย ปกาเสติ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่าม

กลางงามในที่สุด ฯลฯ ทรงประกาศพรหมจรรย์ ดังนี้.

บทว่า สาธุ โข ปน คือ เป็นความดีแล. อธิบายว่า นำประโยชน์

นำความสุขมาให้.

บทว่า ธมฺมิยา กถาย ด้วยธรรมีกถา ได้แก่ อันประกอบด้วยอานิสงส์

ของน้ำปานะ. ด้วยว่าในตอนเย็นเกณิยชฎิลนี้ได้กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

มา เป็นผู้มีแต่มือเปล่า ๆ จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ละอายคิดว่า น้ำปานะย่อม

สมควรแก่ท่านผู้เว้นการบริโภคในเวลาวิกาล ดังนี้ จึงให้หาบน้ำพุทราที่ปรุง

อย่างดีด้วยคาน ๕๐๐ หาบ แล้วใป. ดังที่ท่านกล่าวไว้ในเภสัชชขันธกะว่า

ครั้งนั้นแล เกณิยชฎิลได้เกิดปริวิตกว่า เราควรนำเข้าไปถวายแด่พระสมณโคดม

ดีหรือหนอ. ทั้งหมดพึงทราบดังต่อไปนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงเกณิยชฎิลให้เห็นจริงถึงอานิ-

สงส์ของการถวายน้ำปานะ. ด้วยกถาประกอบด้วยอานิสงส์ของการถวายน้ำปานะ

อันสมควรในขณะนั้น เหมือนทรงชี้แจงเจ้าศากยะทั้งหลายด้วยกถาประกอบด้วย

อานิสงส์ของคารถวายที่พักในเสขสูตร ทรงชี้แจงกุลบุตร ๓ คนด้วยกถาประกอบ

ด้วยรสแห่งสามัคคีในโคสิงคสาลวนสูตร ทรงชี้แจงภิกษุทั้งหลายผู้มีชาติภูมิ

เดียวกัน ด้วยกถาประกอบด้วยกถาวัตถุ ๑๐ ในรถวินีตสูตรฉะนั้น ทรงให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 538

เกณิยชฎิลขวนขวายสมาทานเพื่อทำบุญเห็นปานนั้นต่อไป ทรงให้เกณิยชฎิล

เกิดอุตสาหะอาจหาญยิ่งขึ้น ทรงสรรเสริญให้เกณิยชฎิลร่าเริงด้วยผลวิเศษอัน

จะมีในภพนี้และภพหน้า. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธมฺมิยา กถาย

สมฺปหเสสิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เกณิยชฎิลร่าเริงด้วยธรรมีกถาดังนี้.

เกณิยชฎิลเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างยิ่ง จึงกราบทูลนิมนต์

พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธเขาถึง ๓ ครั้งแล้วจึงรับ

นิมนต์. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อถ โข เกณิโย ชฏิโล ฯเปฯ

อธิวาเสสิ ภควา ตุณฺหีภาเวน ครั้งนั้นแล เกณิยชฎิลทราบว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธเพื่อ

อะไร. เพราะวิงวอนบ่อย.ๆ เกณิยชฎิลจักมีความเจริญด้วยบุญและจักตระเตรียม

ให้มากยิ่งขึ้น ของที่เตรียมไว้สำหรับภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ก็จะถึงแก่ภิกษุ ๑,๕๕๐

รูป. หากจะถามว่า ภิกษุอีก ๓๐๐ รูปมาจากไหน. ตอบว่า ก็เมื่อเกณิยชฎิล

ยังไม่ได้เตรียมอาหารนั่นแหละ เสลพราหมณ์พร้อมด้วยมาณพ ๓๐๐ คน

จักบวช พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเหตุนั้นจึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า มิตฺตามจฺเจ ได้แก่ มิตรและกรรมกร. บทว่า าติสา-

โลหิเต ได้แก่ บุตรธิดาเป็นต้นถือกำเนิดเดียวกันมีเลือดเสมอกันและเผ่าพันธุ์

ที่เหลือ. บทว่า เยน คือเพราะเหตุใด. บทว่า เม แปลว่า ของข้าพเจ้า.

บทว่า กายเวยฺยาวฏิก คือขวนขวายด้วยกาย. บทว่า มณฺฑลมาล ปฏิ-

ยาเทติ เกณิยชฎิลตกแต่งโรงปะรำเอง คือ ตกแต่งมณฑปดาดเพดานชาว.

บทว่า ติณฺณ เวทาน ได้แก่ อิรุพเพท ยชุพเพท สามเวท.

รวมคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์ และคัมภีร์เกฏุภศาสตร์เป็นสนิฆัณฑุเกฎุภศาสตร์.

บทว่า นิฆณฺฑุ คือคัมภีร์บอกคำต่างกันแต่ความหมายเหมือนกันของต้นไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 539

เป็นต้นชื่อว่านิฆัณฑุ. บทว่า เกฏุภ คือความเหมือนและความกำหนดคำ

กิริยา เป็นคัมภีร์เพื่อช่วยกวีทั้งหลาย. พร้อมกับประเภทอักษรแห่งประเภท

เป็นไปกับอักขระ. บทว่า อกฺขรปฺปเภโท ได้แก่การศึกษาและภาษา. บทว่า

อิติหาสปญฺจมาน ชื่อว่า อิติหาสปญฺจมา เพราะทำอาถรรพนเวทเป็นที่ ๔

แล้วมีอิติหาสอันเป็นคำเก่าประกอบด้วยคำเช่นนี้ว่า อิติห อาส อิติห อาส

เป็นที่ ๕. ประเภทอักษรเหล่านั้นมีอิติหาสเป็นที่ ๕. เสลพราหมณ์เป็นผู้เข้าใจ

บท เข้าใจไวยากรณ์เพราะเรียนและรู้บทและไวยากรณ์อันนอกเหนือจากบท

นั้น. เสลพราหมณ์ชื่อว่าเป็นผู้ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและตำราทำนายมหา-

ปุริสลักษณะ เพราะเป็นผู้เรียนจบครบบริบูรณ์ในคัมภีร์โลกายตะและคัมภีร์

วิตัณฑวาทศาสตร์ และคัมภีร์มหาปุริสลักษณศาสตร์ ๑๒,๐๐๐ อันเป็นคัมภีร์

หลักของคัมภีร์มหาปุริสลักษณะ ท่านอธิบายว่า ไม่มีเสื่อม. ผู้ใดไม่สามารถ

ทรงจำคัมภีร์เหล่านั้นได้โดยอรรถและโดยคันถะ ผู้นั้นชื่อว่าเสื่อม.

วิหารที่มีระเบียงเป็นทางเดินชื่อว่าชังฆาวิหาร. ท่านอธิบายว่า ทางที่

เที่ยวไปไม่ไกลเพื่อเหยียดแข้ง เพื่อบรรเทาความเมื่อยอันเกิดแต่นั่งนานเป็นต้น.

บทว่า อนุจงฺกมมาโน ได้แก่ เดินไป. บทว่า อนุวิจรมาโน ได้แก่

เดินเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้. บทว่า เกณิยสฺส ชฏิลสฺส อสฺสโม ได้แก่

อาศรมอันเป็นที่อยู่ของเกณิยชฎิล.

บทว่า อาวาโห ได้แก่ นำหญิงสาวมา. บทว่า วิวาโห ได้แก่

ให้หญิงสาวไป. บทว่า มหายญฺโ ได้แก่ การบูชาใหญ่. บทว่า มาคโธ

ได้แก่ ผู้เป็นใหญ่ของชาวมคธ. ชื่อเสนิยะ เพราะประกอบด้วยเสนาหมู่ใหญ่.

บทว่า พิมฺพิ คือทองคำ. เพระฉะนั้น ชื่อว่าพิมพิสาร เพราะมีวรรณะเช่นกับ

ทองคำแท่ง. บทว่า โส เม นิมนฺติโต ความว่า ข้าพเจ้านิมนต์พระผู้มี

พระภาคเจ้ามา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 540

ลำดับนั้น พราหมณ์ได้ยินเสียงว่า พุทธะ เพราะความที่ตนสร้าง

สมบุญมาก่อน จึงเหมือนรดด้วยน้ำอมฤต มีความประหลาดใจกล่าวว่า เกณิยะ

ผู้เจริญ ท่านกล่าวว่า พุทฺโธ หรือ. เกณิยะบอกตามความจริง กล่าวว่า

ท่านเสละผู้เจริญ ข้าพเจ้ากล่าวว่า พุทฺโธ เพื่อให้แน่นอน เสละ ได้ถามย้ำอีก.

เกณิยะก็บอกอย่างนั้น.

ลำดับนั้น เสลพราหมณ์เมื่อจะแสดงความที่เสียงว่าพุทธะหาได้ยากแม้

ตลอดแสนกัปจึงกล่าวว่า แม้เสียงประกาศว่า พุทฺโธ นี้แลก็หาได้ยากในโลก.

ลำดับนั้น พราหมณ์ได้ยินเสียงว่าพุทธะจึงคิดใคร่จะทดลองดูว่า ท่าน

ผู้นั้นเป็นพุทธะจริง หรือเป็นพุทธะเพียงชื่อเท่านั้น จึงได้กล่าวว่า อาคตานิ

โข ปน ฯเปฯ วิวฏจฺฉโท ความว่า พระมหาบุรุษผู้ประกอบด้วยมหา-

ปุริสลักษณะ ๓๒ ประการมาในมนต์ของพวกเรา ฯลฯ ถ้าเสด็จออกบวชเป็น

บรรพชิตจะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้ว

ในโลก.

บทว่า มนฺเตสุ คือในเวททั้งหลาย. เทวดาชั้นสุทธาวาสได้ข่าวว่าพระ-

ตถาคตจักทรงอุบัติจึงรีบแปลงเพศเป็นพราหมณ์ ใส่พระลักษณะเข้าไปแล้วบอก

เวททั้งหลาย ด้วยคิดว่า บรรดาสัตว์ผู้มีศักดิ์ใหญ่จักรู้จักพระตถาคต โดยดูตาม

พระลักษณะนั้น. ด้วยเหตุนั้นมหาปุริสลักษณะจึงมาในเวททั้งหลายก่อน แต่ครั้น

พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว เวททั้งหลายก็หายไปโดยลำดับเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว

บทว่า มหาปุริสสฺส ได้แก่ บุรุษผู้ใหญ่ด้วยคุณมีความตั้งใจ การสมาทาน

และญาณเป็นต้น. บทว่า เทฺวว คติโย ได้แก่ ความสำเร็จสองอย่างนั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 541

อนึ่ง คติ ศัพท์นี้ย่อมเป็นไปในประเภทของภพในเประโยคมีอาทิว่า ปญฺจ

ปนิมา โข สารีปุตฺต คติโย ดูก่อนสารีบุตร ๆ ก็คติเหล่านี้แลมี ๕, เป็นไป

ในที่เป็นที่อยู่ในประโยคมีอาทิว่า คติ มิคาน ปวน ป่าใหญ่เป็นที่อยู่ของ

เนื้อทั้งหลาย, เป็นไปในปัญญาในประโยคมีอาทิว่า เอว อธิมตฺตคติมนฺ โต

มีปัญญายิ่งอย่างนี้, เป็นไปในความบริสุทธิ์ในประโยคมีอาทิว่า คติคต ถึงความ

บริสุทธิ์. แต่ในที่นี้พึงทราบว่าเป็นไปในความสำเร็จ. ผู้ประกอบด้วยมหาปุริส-

ลักษณะถึงจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิก็จริง แต่ไม่เป็นพระพุทธเจ้า แต่ชน

ทั้งหลายก็เรียกกันไปว่าอย่างนั้นอย่างนี้แหละ โดยสามัญสำนึก เพราะฉะนั้น

จึงกล่าวว่า เยหิ สมนฺนาคตสฺส ผู้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒

ประการ. บทว่า สเจ อคาร อชฺฌาวสติ คือ ถ้าอยู่ครองเรือน. บทว่า

ราชา โหติ จกฺกวตฺตี จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ความว่า ชื่อว่า

ราชา เพราะยังชาวโลกให้ยินดีด้วยอัจฉริยธรรมและด้วยสังคหวัตถุ ชื่อว่า

จักรพรรดิ เพราะยังจักรรัตนะให้หมุนไป ย่อมหมุนไปด้วยจักรอันเป็น

สมบัติ ๔ อย่าง และยังผู้อื่นให้หมุนไปด้วยจักรสมบัติเหล่านั้น มีการหมุนไป

แห่งจักรคืออิริยาบถเพื่อประโยชน์ผู้อื่น. ในสองบทนี้ บทว่า ราชา เป็นชื่อ

บทว่า จกฺกวตตี เป็นวิเสสนะ. ชื่อ ธมฺมิโก เพราะประพฤติโดยธรรม.

อธิบายว่า เป็นไปด้วยความรู้ ด้วยความเสมอ. ชื่อ ธมฺมราชา เพราะได้

ราชสมบัติโดยธรรมแล้วเป็นพระราชา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ ธมฺมิโก เพราะ

บำเพ็ญธรรมเพื่อประโยชน์ผู้อื่น. ชื่อ ธมฺมราชา เพราะบำเพ็ญเพื่อประโยชน์

ตน. ชื่อว่า จาตุรนฺโต เพราะเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 542

ขอบเขต. อธิบายว่า เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีสมุทร ๔ เป็นที่สุด และมีทวีป ๔

เป็นเครื่องประดับ. ชื่อว่า วิชิตาวี เพราะทรงชนะข้าศึกมีความโกรธเป็นต้น

ในภายในและพระราชาทั้งหมดในภายนอก. บทว่า ชนปทตฺถาวริยปฺปตฺโต

มีราชอาณาจักรมั่นคง คือถึงความเจริญ ความมั่นคงในชนบทอันใคร ๆ ไม่

สามารถทำให้หวั่นไหวได้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ชนปทตฺถาวริยปตฺโต เพราะ

ชนบทถึงความมั่นคงในความเจริญนั้น ไม่มีการขวนขวายยินดีในการงานของ

ตน ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นสะเทือนบ้าง. บทว่า เสยฺยถีท เป็นนิบาต. ความว่า

รัตนะ ๗ มีอะไรบ้าง. รัตนะ ๗ เหล่านี้คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑

แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้ว ๑ ทั้งหมดท่านกล่าวไว้แล้ว

ในอรรถกถารัตนสูตร.

ในรัตนะเหล่านั้น พระเจ้าจักรพรรดิทรงชนะแว่นแคว้นด้วยจักรแก้ว

ทรงเที่ยวไปตามสบายในแว่นแคว้นด้วยช้างแก้วและม้าแก้ว ทรงรักษาแว่น-

แคว้นด้วยปริณายกแก้ว เสวยสุขอันเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคด้วยแก้วที่เหลือ.

พระเจ้าจักรพรรดินั้นทรงใช้ความสามารถในทางเข้มแข็งด้วยจักรแก้วที่หนึ่ง

ทรงใช้ความสามารถในการปกครองด้วยช้างแก้วม้าแก้วและคหบดีแก้ว ทรงใช้

ความสามารถในทางความคิดต่อเนื่องด้วยปริณายกแก้วเป็นอันครบบริบูรณ์ด้วย

ดี. ผลของการใช้ความสามารถ ๓ อย่าง ด้วยนางแก้วและแก้วมณี. พระเจ้าจักร-

พรรดินั้นเสวยโภคสุขด้วยนางแก้วและแก้วมณี เสวยอิสริยสุขด้วยแก้วที่เหลือ.

อนึ่ง พึงทราบโดยความต่างกัน แก้ว ๓ อย่างอันต้นของพระเจ้าจักรพรรดินั้น

สำเร็จได้ด้วยอานุภาพแห่งกรรมที่ให้เกิดกุศลมูลคืออโทสะ แก้วอันกลางสำเร็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 543

ด้วยอานุภาพแห่งกรรมที่ให้เกิดกุศลมูลคืออโลภะ แก้วอันสุดท้ายอันหนึ่ง

สำเร็จด้วยอานุภาพแห่งกรรมที่ให้เกิดกุศลมูลคืออโมหะ.

บทว่า ปโรสหสฺส คือมีมากกว่าพัน. บทว่า สูรา ล้วนกล้าหาญ

คือไม่ขลาด. บทว่า วีรงฺครูปา มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ คือ มีกายคล้าย

เทพบุตร. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวไว้อย่างนี้. แต่ความจริงในบทนี้มีดังนี้

บทว่า วีระ ท่านกล่าวว่ากล้าที่สุด องค์ของผู้กล้าชื่อว่า วีรังคะ ท่านอธิบายว่า

เหตุแห่งความกล้าชื่อว่า วีริยะ. ชื่อ วีรงฺครูปา เพราะมีรูปทรงสมเป็นผู้กล้า

อธิบายว่า ดุจมีสรีระสำเร็จด้วยความกล้า. บทว่า ปรเสนปฺปมทฺทินา

สามารถย่ำยีกองทัพของข้าศึกได้ อธิบายว่า หากข้าศึกประจัญหน้ากันสามารถ

ย่ำยีข้าศึกนั้นได้. บทว่า ธมฺเมน คือโดยธรรม ได้แก่ศีลห้า มีอาทิว่า ปาโณ

น หนฺตพฺโพ ไม่ควรฆ่าสัตว์.

พึงทราบวินิจฉัยในบทน ว่า อรห โหติ สมฺมาสมฺพุทฺโธ โลเก

วิวฏจฺฉโท จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลังคาคือกิเลสอันเปิด

แล้วในโลก. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อว่า วิวฏจฺฉโท ผู้มีหลังคาคือกิเลส

อันเปิดแล้ว เพราะเมื่อโลกมืดมนด้วยกิเลส ถูกหลังคาคือกิเลสอันได้แก่ราคะ

โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อวิชชา และทุจริต ทั้ง ๗ อย่างปกปิดไว้

เป็นผู้เปิดหลังคาคือกิเลสนั้น ทำให้มีแสงสว่างตั้งอยู่โดยรอบ. พึงทราบว่าท่าน

กล่าวว่า วิวฏจฺฉทา เพราะเป็นผู้ควรบูชาโดยนัยแรก เพราะเหตุแห่งความ

เป็นผู้ควรบูชาโดยนัยที่สอง เพราะเหตุแห่งความเป็นพระพุทธะโดยนัยที่สามว่า

สมฺมาสมฺพุทฺโธ ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า วิวฏจฺฉโท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 544

เพราะเปิดและไม่ปิด. ท่านอธิบายว่า เว้นจากการหมุนเวียนและเว้นจากการปิด.

ด้วยเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า อรห เพราะไม่มีการหมุนเวียน และ สมฺมา

สมฺพุทฺโธ เพราะไม่มีการปกปิด. เป็นอันท่านอธิบายเหตุทั้งสอง แห่งสองบท

ข้างต้นนั้นเอง. อนึ่ง ในบทนี้ความสำเร็จครั้งก่อนย่อมมีได้ด้วยเวสารัชชธรรม

ที่สอง ความสำเร็จครั้งที่สองย่อมมีได้ด้วยเวสารัชชธรรมที่หนึ่ง ความสำเร็จ

ครั้งที่สามย่อมมีได้ด้วยเวสารัชชธรรมที่สามและที่สี่. อนึ่ง พึงทราบว่าธรรม

จักษุสำเร็จก่อน พุทธจักษุสำเร็จครั้งที่สอง สมันตจักษุสำเร็จครั้งที่สาม. บัดนี้

เสลพราหมณ์ประสงค์จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงกล่าวว่า กห ปน โภ

เกณิย ฯเปฯ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ท่านเกณิยะผู้เจริญ ก็บัดนี้พระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เจริญพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหน.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า เอว วุตฺเต เมื่อเสลพราหมณ์กล่าว

อย่างนี้แล้ว. บทว่า เยเนสา คือพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่โดยทิศภาคนั้น.

บทว่า นีลวนราชี ได้แก่ ทิวไม้มีสีเขียว. นัยว่าป่านั้นคล้ายแนวเมฆพระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่านั้น เกณิยชฎิลเมื่อจะชี้ป่านั้นจึงกล่าวว่า เยเนสา

โภ เสล นีลวนราชี ท่านเสละผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ

ทิวไม้สีเขียวนั้น. ในบทว่า เยเนสา นั้น มีปาฐะที่เหลือในบทนี้ว่า โส วิหรติ

พระองค์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น. บทว่า เยน เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่ง

สัตตมีวิภัตติ.

บทว่า ปเท ปท คือค่อย ๆ เดินตามกันมา. ห้ามการเดินเร็วด้วย

บทนั้น. บทว่า ทุราสทา หิ ให้ยินดีได้ยาก เสลพราหมณ์กล่าวถึงเหตุว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 545

เพราะท่านผู้เจริญเหล่านั้นให้ยินดีได้ยาก ฉะนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงมา

อย่างนี้. หากจะถามว่า เพราะเหตุไร จึงให้ยินดีได้ยาก. เพราะเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนราชสีห์. จริงอยู่ ท่านผู้เจริญทั้งหลายเหล่านั้นเที่ยวไปผู้เดียว เพราะ

ใคร่ความสงัด เหมือนราชสีห์เที่ยวไปผู้เดียว เพราะไม่ต้องการเพื่อน. เสล-

พราหมณ์ให้มาณพเหล่านั้นศึกษามารยาทด้วยบทมีอาทิว่า ยทา จาห. ในบท

เหล่านั้น บทว่า มา โอปาเตถ คืออย่าสอด อธิบายว่า อย่าพูดสอด. บทว่า

อาคเมตุ คือ จงรอ อธิบายว่า จงนิ่งอยู่ก่อนจนกว่าจะพูดจบ.

บทว่า สมนฺเวสิ คือแสวงหา. บทว่า เยภุยฺเยน คือได้เห็น

ส่วนมาก มิได้เห็นเป็นส่วนน้อย. แต่นั้นเสลพราหมณ์เมื่อจะแสดงมหาปุริส-

ลักษณะที่ไม่เห็น จึงกล่าวว่า เปตฺวา เทฺว เว้นอยู่ ๒ ประการ. บทว่า

กงฺขติ คือ เกิดสงสัยว่าจะพึงเห็นได้อย่างไรหนอ. บทว่า วิจิกิจฺฉติ

เคลือบแคลง คือ ยากที่จะค้นหา จึงไม่สามารถจะเห็นได้. บทว่า นาธิมุจฺจติ

ไม่เชื่อ คือ เพราะความเคลือบแคลงนั้นจึงไม่เชื่อ. บทว่า น สมฺปสีทติ

ไม่เลื่อมใส คือ ไม่เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระองค์มีลักษณะบริบูรณ์

แล้ว. ความสงสัยอย่างอ่อนท่านกล่าวด้วยบทว่า กงฺขา ความสงสัย สงสัย

อย่างกลางท่านใช้บทว่า วิจิกิจฺฉา ความเคลือบแคลง สงสัยอย่างแรงท่านใช้

บทว่า อนธิมุจฺจนตา ความไม่น้อมใจเธอ คือความที่จิตมืดมนด้วยธรรม

๓ อย่างนั้นเพราะไม่เลื่อมใส. บทว่า โกโสหิเต ได้แก่ เร้นอยู่ในฝัก. บทว่า

วตฺถคุยฺเห ได้แก่ องคชาต. จริงอยู่ พระองคชาตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เร้นอยู่ในฝักเหมือนของช้าง มีสีเหมือนทองคำ เหมือนเม็ดในปทุม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 546

เสลพราหมณ์ไม่เห็นองคชาตนั้น เพราะปกปิดอยู่ในผ้า และไม่สังเกตเห็นว่า

พระชิวหาใหญ่ เพราะอยู่ภายในพระโอษฐ์ จึงสงสัยเคลือบแคลงในพระลักษณะ

ทั้งสองเหล่านั้น.

บทว่า ตถารูป คือมีรูปอย่างไร ในบทนี้เราควรกล่าวอย่างไร. ท่าน

อธิบายว่า พระนาคเสนเถระถูกพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ทุกฺกร ภนฺเต

นาคเสน ภควตา กต ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทำสิ่งที่ทำได้ยาก. พระนาคเสนถามว่า ทำยากอย่างไร มหาบพิตร.

พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ท่านพระนาคเสนผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

โอกาสที่จะทำความละอายด้วยมหาชนแก่พรหมายุพราหมณ์ แก่อันเตวาสิกอุตตร.

พราหมณ์ แก่พราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นอันเตวาสิกของพาวรีพราหมณ์ และแก่

มาณพ ๓๐๐ คน ผู้เป็นอันเตวาสิกของเสลพราหมณ์. พระนาคเสนถวายพระพร

ว่า มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแสดงพระคุยหะ พระองค์ทรงแสดง

พระฉายา มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบันดาลด้วยพระฤทธิ์ ทรงแสดง

ผ้านุ่ง ผ้ารัดกาย ผ้าห่ม เพียงรูปเงา. พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า เมื่อเห็น

พระฉายา ก็เป็นอันเห็นแล้วมิใช่หรือท่านผู้เจริญ. พระนาคเสนถวายพระพรว่า

มหาบพิตร ข้อนั้นยกไว้ สัตว์ผู้จะตรัสรู้เพราะเห็นหทัยรูปพึงดำรงอยู่ได้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะทรงนำเนื้อพระหทัยออกแสดง. พระเจ้ามิลินท์ตรัส

ว่าข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ พระคุณเจ้าฉลาดมาก.

บทว่า นินฺนาเมตฺวา คือนำออกแล้ว. ในบทนี้พึงทราบว่าพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงประกาศถึงความที่พระชิวหายาวโดยสอดเข้าช่องพระกรรณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 547

ทั้งสอง ความที่พระชิวหาบางโดยสอดเข้าช่องพระนาสิกทั้งสอง, ความที่พระ

ชิวหาหนาโดยปิดพระนลาต.

บทว่า อาจริยปาจริยาน ได้แก่ อาจารย์ทั้งหลายและอาจารย์ของ

อาจารย์ทั้งหลาย. บทว่า สเกวณฺเณ ได้แก่ คุณของตน.

ลำดับนั้นแล เสลพราหมณ์ได้ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า เฉพาะ

พระพักตร์ด้วยคาถาอันสมควรว่า

ปริปุณฺณกาโย สุรุจิ สุชาโต จารุทสฺสโน

สุวณฺณวณฺโณสิ ภควา สุสุกฺกทาโฒสิ วิริยวา

นรสฺส หิ สุชาตสฺส เย ภวนฺติ วิยญฺชนา

สพฺเพ เต ตว กายสฺมึ มหาปุริสลกฺขณา.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์

มีพระกายบริบูรณ์ สวยงาม ประสูติดีแล้ว

มีพระเนตรงาม มีพระฉวีวรรณดุจทองคำ

มีพระเขี้ยวขาวดี มีความเพียร อวัยวะใหญ่

น้อยเหล่าใด มีแก่คนผู้เกิดดีแล้ว อวัยวะ

ใหญ่น้อยเหล่านั้นทั้งหมด ในพระกายของ

พระองค์ เป็นมหาปุริสลักษณะ.

บทว่า ปริปุณฺณกาโย ได้แก่ มีพระสรีระบริบูรณ์ เพราะเต็มด้วย

พระลักษณะทั้งหลาย และเพราะอวัยวะน้อยใหญ่ไม่เลว. บทว่า สุรุจิ ได้แก่

มีพระรัศมีแห่งพระสรีระงาม. บทว่า สุชาโต ได้แก่ ทรงบังเกิดดีแล้วด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 548

สมบัติคือสูงและกว้าง และด้วยสมบัติคือสัณฐาน. บทว่า จารุทสฺสโน

ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า จารุทสฺสโน เพราะดูงามไม่ทำให้ผู้ดูแม้ดู

ตั้งนานก็ไม่อิ่ม ไม่น่าเกลียด น่ารื่นรมย์. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า

จารุทสฺสโน คือมีพระเนตรงาม. บทว่า สุวณฺณวณฺโณ คือมีพระฉวี

คล้ายทองคำ. บทว่า อสิ แปลว่า มี. บทนี้พึงประกอบเข้ากับบททุกบท.

บทว่า สุสุกฺกทาโฒสิ คือพระเขี้ยวขาวด้วยดี. จริงอยู่ พระรัศมีสีขาวอย่างยิ่ง

ซ่านออกจากพระเขี้ยวทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าดุจแสงจันทร์. ด้วยเหตุ

นั้น เสลพราหมณ์จึงกล่าวว่า สุสุกฺกทาโฒสิ. บทว่า มหาปุริสลกฺขณา

ความว่า เสลพราหมณ์กล่าวสรุปพยัญชนะที่กล่าวไว้ก่อนแล้ว โดยระหว่างบท.

บัดนี้ เสลพราหมณ์สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยพระลักษณะที่ตนชอบ

อย่างยิ่ง ในบรรดาพระลักษณะเหล่านั้นกล่าวคำเป็นต้นว่า ปสนฺนเนตฺโต มี

พระเนตรแจ่มใส.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ปสนฺนเนตฺโต มีพระเนตรแจ่มใส

เพราะสมบูรณ์ด้วยประสาททั้ง ๕ ชนิด, ชื่อว่า สุมุโข มีพระพักตร์งาม เพราะ

มีพระพักตร์คล้ายมณฑลพระจันทร์เต็มดวง. ชื่อว่า พฺรหา มีพระกายใหญ่

เพราะสมบูรณ์ด้วยความสูงและความกว้าง, ชื่อว่า อุชุ มีพระกายตรง เพราะมี

พระกายตรงดุจกายพรหม, ชื่อว่า ปตาปวา มีรัศมีรุ่งเรือง เพราะมีความ

รุ่งโรจน์. อนึ่ง ในบทนี้แม้คำใดท่านกล่าวไว้ก่อนแล้ว คำนั้นท่านก็กล่าวซ้ำอีก

เพราะเป็นคำสรรเสริญโดยปริยายนี้ว่า มชฺเฌ สมณสงฺฆสฺส ในท่ามกลาง

หมู่สมณะ เพราะท่านผู้เป็นเช่นนี้ย่อมรุ่งเรื่อง ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 549

แม้ในคาถาที่นอกเหนือไปก็มีนัยนี้. บทว่า อุตฺตมวณฺณิโน คือ

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะอันอุดม. บทว่า ชมฺพุสณฺฑสฺส คือชมพูทวีป

เสลพราหมณ์เมื่อจะกล่าวพรรณนาความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ให้

ปรากฏ. อีกอย่างหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิย่อมเป็นใหญ่ในทวีปทั้งสี่. บทว่า

ขตฺติยา คือเป็นกษัตริย์โดยชาติ. บทว่า โภชา คือ มีโภคสมบัติ. บทว่า

ราชาโน คือ พระราชาพระองค์ใดพระองค์หนึ่งครองราชสมบัติ. บทว่า

อนุยนฺตา ได้แก่ เสวกผู้ตามเสด็จ. บทว่า ราชาภิราชา คือเป็นพระราชา

ที่พระราชาบูชา ประสงค์เอาพระเจ้าจักรพรรดิ. บทว่า มนุชินฺโท คือเป็น

ใหญ่ในมนุษย์ เป็นใหญ่อย่างยิ่ง.

เมื่อเสลพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง

ยังความปรารถนานี้ของเสลพราหมณ์ให้เต็มว่า ผู้ใดเป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้า ผู้นั้นเมื่อเขากล่าวถึงคุณของตนย่อมทำตนให้ปรากฏ จึงตรัสว่า

ราชาหมสฺมิ เราเป็นราชา ดังนี้.

ในบทนั้นมีอธิบายดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเสลพราหมณ์

ท่านย่อมขออันใดไว้ ท่านควรเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เพราะเหตุนั้น ท่านจง

เป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในข้อนี้ เราเป็นพระราชา เมื่อความเป็นพระราชา

มีอยู่พระราชาองค์อื่นแม้มีอยู่ย่อมปกครอง ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์

๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ หรือ ๑,๐๐๐ โยชน์ แม้เป็นจักรพรรดิปกครองทวีป

ใหญ่ มีทวีป ๔ เป็นเขตแดน ฉันใด เราไม่มีขอบเขตกำหนดไว้อย่างนั้น

เราเป็นธรรมราชาชั้นเยี่ยมปกครองโลกธาตุทั้งหลาย นับไม่ถ้วนโดยขวางตั้งแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 550

ภวัคคพรหมถึงอเวจีเป็นที่สุด เราเป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ประเภทไม่มีเท้าและสัตว์

สองเท้าเป็นต้น ไม่มีใครเปรียบกับเราได้ด้วยศีล ฯลฯ หรือวิมุตติญาณทัสสนะ

เราเป็นธรรมราชาชั้นเยี่ยมอย่างนี้ ยังจักรให้เป็นไปโดยธรรม คือโพธิปักขิย-

ธรรมอันมีสติปัฏฐานสี่เป็นต้นอย่างยอดทีเดียว เรายังอาณาจักรให้เป็นไป

โดยนัยมีอาทิว่า พวกท่านจงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้ดังนี้ หรือยังธรรมจักรให้

เป็นไปโดยปริยัติธรรมมีอาทิว่า อิท โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺข อริยสจฺจ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์นี้แลเป็นอริยสัจ ดังนี้. บทว่า จกฺก อปฺปฏิวตฺติย

ความว่า เรายังจักรที่สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี เทวดาก็ดี มารก็ดี พรหมก็ดี

ใคร ๆ ก็ดี ในโลกให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปโดยธรรม.

เสลพราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำพระองค์ให้แจ่มแจ้งอย่างนี้

แล้ว จึงเกิดปีติโสมนัส เพื่อทำให้มั่นยิ่งขึ้นจึงกล่าวคาถาที่สองว่า สมฺพุทฺโธ

ปฏิชานาสิ พระองค์ทรงปฏิญานว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ เสนาปติ เสลพราหมณ์ทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเป็นเสนาบดี ยังธรรมจักรที่เป็นไปแล้ว โดยธรรม

ของพระธรรมราชาให้เป็นไปตามได้. สมัยนั้นท่านพระสารีบุตรนั่งอยู่ ณ ข้าง

เบื้องขวาของพระผู้มีพระภาคเจ้างดงามด้วยสิริดุจก้อนทอง. พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงแสดงกะเสลพราหมณ์จึงตรัสคาถาว่า มยา ปวตฺติต ยังธรรมจักร

อันเราให้เป็นไปแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุชาโต ตถาคต พระสารีบุตรผู้เกิดตาม

ตถาคต ความว่า พระสารีบุตรผู้เกิดตาม เพราะเหตุตถาคต คือเกิดเพราะ

ตถาคตเป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 551

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงพยากรณ์ปัญหาว่า โก นุ เสนาปติ

ใครหนอเป็นเสนาบดีอย่างนี้แล้ว มีพระประสงค์จะทำให้เสลพราหมณ์ที่กล่าว

ว่า สมฺพุทฺโธ ปฏิชานาสิ พระองค์ปฏิญาณว่าเป็นสัมพุทธะให้หมดสงสัย

ในข้อนั้น เพื่อให้รู้ว่าเรามิได้ปฏิฆาณเพียงข้อปฏิญาณเท่านั้น แม้เราก็ปฏิญาณ

ว่าเป็นพุทธะด้วยเหตุนี้ จึงตรัสคาถาว่า อภิญฺเยฺย เราได้รู้ยิ่งแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิญฺเยฺย ได้แก่ วิชชาและวิมุตติอันเป็น

มรรคสัจ และสมุทยสัจ ที่ควรเจริญและควรละ ในข้อนี้เป็นอันท่านอธิบาย

ไว้อย่างนี้ว่า แม้นิโรธสัจและทุกขสัจอันเป็นผลแห่งมรรคสัจและสมุทยสัจ

เหล่านั้น เป็นอันท่านกล่าวจากความสำเร็จแห่งผล ด้วยคำพูดอันเป็นเหตุ

เพราะธรรมที่ควรทำให้แจ้งเราได้ทำให้แจ้งแล้ว ธรรมที่ควรรู้เราทำให้รู้แล้ว.

เมื่อจะทรงแสดงการยังสัจจะ ๔ ให้เกิด ผลของการเจริญสัจจะ ๔ วิชชาและ

วิมุตติ จึงทรงประกาศความเป็นพุทธะด้วยเหตุที่กล่าวแล้วว่า เราตรัสรู้ธรรม

ที่ควรตรัสรู้แล้วจึงเป็นพุทธะ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงทำพระองค์ให้ปรากฏโดยตรงอย่างนี้แล้ว

เมื่อจะยังพราหมณ์ให้รีบขวนขวาย เพื่อข้ามพ้นความสงสัยในพระองค์จึง ตรัส

คาถาที่สามว่า วินยสฺส ท่านจงกำจัดเสีย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สลฺลกตฺโต เป็นศัลยแพทย์ คือ ผ่าตัดลูกศร

ที่เสียบสัตว์มีลูกศรคือราคะเป็นต้นออกได้. บทว่า พฺรหฺมภูโต คือเป็นผู้

ประเสริฐ. บทว่า อติตุโล ไม่มีผู้เปรียบ คือ ล่วงเลยการชั่ง ล่วงเลยการ

เปรียบ. อธิบายว่า เปรียบไม่ได้เลย. บทว่า มารเสนปฺปมทฺทโน ย่ำยีมาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 552

และเสนามารเสียได้ คือย่ำยีมารและเสนามาร กล่าวคือบริษัทของมารที่ท่าน

กล่าวไว้อย่างนี้ว่า ปเร จ อวชานติ ดูหมิ่นผู้อื่น มีอาทิว่า กามา เต

ปมา เสนา กามเป็นเสนาที่หนึ่งของท่าน. บทว่า สพฺพามิตฺเต ได้แก่

ข้าศึกทั้งหมดมีขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวบุตรมาร

เป็นต้น. บทว่า วสีกตฺวา คือให้เป็นไปในอำนาจของตน. บทว่า อกุโตภโย

คือไม่มีภัยแต่ไหน ๆ.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ทันใดนั้นเอง เสลพราหมณ์

เกิดความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้ามุ่งจะบวช จึงกล่าวคาถาที่สามว่า อัน

โภนฺโต ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงฟังคำนี้ เหมือนอย่างเสลพราหมณ์ได้รับการ

สั่งสอนโดยชอบ เพราะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยถึงความเป็นผู้แก่กล้า.

ในบทเหล่านั้นบทว่า กณฺหาภิชาติโก คือเกิดในตระกูลต่ำมีตระกูล

คนจัณฑาลเป็นต้น. แต่นั้นบรรดามาณพแม้เหล่านั้นก็มุ่งจะบวชเหมือนกัน จึง

กล่าวคาถาว่า เอว เจ รุจฺจติ โภโต ถ้าท่านผู้เจริญทั้งหลายชอบใจคำสอน

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนอย่างกุลบุตรทั้งหลายที่สร้างสมบุญมากับเสล-

พราหมณ์นั้น. ลำดับนั้น เสลพราหมณ์ดีใจในพวกมาณพเหล่านั้น เมื่อจะแสดง

กะมาณพเหล่านั้นจึงกล่าวคาถาว่า ปพฺพช ยาจมาโน พฺราหฺมณ ข้าแต่

พราหมณ์ ข้าพเจ้าขอบรรพชา.

แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเสลพราหมณ์ได้เป็นหัวหน้าคณะ

บุรุษ ๓๐๐ คนเหล่านั้น ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ

ในอดีต ให้สร้างบริเวณกับบุรุษเหล่านั้นแล้วทำบุญมีทานเป็นต้น เสวยเทว-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 553

สมบัติและมนุษย์สมบัติโดยลำดับ ในภพสุดท้ายเกิดเป็นอาจารย์ของบุรุษเหล่า

นั้น และกรรมของพวกเขานั้นแก่กล้า เพราะแก่กล้าด้วยวิมุตติและมีอุปนิสัย

แห่งความเป็นเอหิภิกขุ ฉะนั้น พระองค์จึงให้เขาทั้งหมดเหล่านั้นบรรพชาด้วย

เอหิภิกขุบรรพชา ตรัสคาถาว่า สวากฺขาต พรหมจรรย์เรากล่าวดีแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สนฺทิฏฺิก ผู้บรรลุพึงเห็นเอง คือประจักษ์

เอง. บทว่า อกาลิก ไม่ประกอบด้วยกาล คือ จากผลอันเกิดขึ้นในลำดับ

มรรค มิใช่ผลอันจะพึงบรรลุในระหว่างกาล. บทว่า ยถา คือนิมิตอันใด.

จริงอยู่ บรรพชามีมรรคพรหมจรรย์เป็นนิมิต ย่อมไม่เปล่าประโยชน์แก่ผู้ศึกษา

ในสิกขา ๓ ผู้ไม่ประมาท เว้นการอยู่ปราศจากสติ. ด้วยเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า สฺวากิขาต ฯเปฯ สิกฺขโต พรหมจรรย์เรากล่าวดีแล้ว ผู้บรรลุ

พึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่ออกบวชอันไม่เปล่าประโยชน์ของบุคคล

ผู้ไม่ประมาทศึกษาอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า เอถ ภิกฺขโว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลายพวกเธอ จงเป็นภิกษุมาเถิด. ภิกษุทั้งหมดเหล่านั้นทรงบาตรและ

จีวรมาทางอากาศถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า

อลตฺถ โข เสโล พฺราหฺมโณ ฯเปฯ อุปสมฺปท เสลพราหมณ์พร้อมกับ

บริษัทได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ หมายถึง

ความเป็นเอหิภิกขุของท่านเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ภุตฺตาวึ เสวยเสร็จแล้ว. บทว่า โอนีตปตฺตปาณึ คือชัก

พระหัตถ์จากบาตรแล้ว. ท่านอธิบายว่า นำพระหัตถ์ออกแล้ว. ในบทนั้น

พึงเห็นปาฐะที่ขาดไปว่า อุปคนฺตฺวา เข้าไปใกล้เเล้ว ไม่ควรใช้ว่า ภควนฺต

เอกมนฺต นิสีทิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 554

บทว่า อคฺคิหุต มุขา ยัญทั้งหลายมีการบูชาไฟเป็นประมุข พระผู้มี

พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงอนุโมทนาด้วยความอนุเคราะห์เกณิยะ จึงตรัสอย่างนี้.

ในบทนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อคฺคิหุต

มุขา ยญฺา ยัญทั้งหลายมีการบูชาไฟเป็นประมุข เพราะพวกพราหมณ์ไม่มี

การบูชานอกจากบูชาไฟ. อธิบายว่า การบูชาไฟประเสริฐที่สุด คือการบูชาไฟ

เป็นประมุข พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สาวิตฺติ ฉนฺทโส มุข ฉันท์ทั้งหลาย

มีสาวิตติฉันท์เป็นประมุข เพราะอันผู้สาธยายพระเวททั้งหลายต้องสาธยายก่อน

พระราชาท่านกล่าวว่า เป็นประมุข เพราะประเสริฐที่สุดกว่ามนุษย์ทั้งหลาย

สาครท่านกล่าวว่า เป็นประมุข เพราะเป็นที่รองรับและเป็นที่อาศัยของแม่น้ำ

ทั้งหลาย. ท่านกล่าวว่า พระจันทร์เป็นประมุขของนักษัตรทั้งหลาย เพราะ

เป็นเครื่องปรากฏว่า วันนี้ดาวกัตติกา วันนี้ดาวโรหิณีเพราะอาศัยพระจันทร์ขึ้น.

ท่านกล่าวว่า อาทิจฺโจ ตปต มุข พระอาทิตย์เป็นประมุขของความร้อน

เพราะพระอาทิตย์สูงกว่าความร้อนทั้งหลาย. ท่านกล่าวว่า สงฺโฆ เว ยชต

มุข พระสงฆ์แลเป็นประมุขของผู้มุ่งบุญทั้งหลาย หมายถึงพระสงฆ์มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นประมุขในสมัยนั้นด้วยความวิเศษ เพราะพระสงฆ์เป็นทักขิไณย-

บุคคลผู้เลิศ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระสงฆ์เป็นประมุขแห่งความเจริญ

ของบุญ.

บทว่า ยนฺต สรณ ท่านเสลภิกษุกราบทูลถึงการพยากรณ์อื่น. บท

นั้นมีอธิบายดังนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจักษุ ด้วยจักษุ ๕ เพราะ

ข้าพระองค์ทั้งหลายถึงพระองค์เป็นที่พึ่งในวันที่ ๘ นับแต่วันนี้ (คือถึงสรณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 555

ได้เพียง ๘ วัน ) ฉะนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงฝึกฝนตนด้วยความฝึกฝนอย่างยิ่ง

ในศาสนาของพระองค์ ๗ ราตรี น่าอัศจรรย์อานุภาพแห่งสรณะของพระองค์.

ต่อจากนั้น เสลภิกษุสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาสองคาถา

แล้วขอถวายบังคมด้วยคาถาที่สามว่า

ภิกฺขโว ติสตา อิเม ติฏฺนฺติ ปญฺชลีกตา

ปาเท วีร ปสาเรติ นาคา วนฺทนฺตุ สตฺถุโน.

ภิกษุ ๓๐๐ รูปเหล่านี้ ยืนประนม

อัญชลีอยู่ ข้าแต่พระวีรเจ้า ขอทรงเหยียด

พระบาทยุคลเถิด ท่านผู้ประเสริฐทั้งหลาย

ขอถวายบังคมพระบาทยุคลของพระศาสดา.

จบอรรถกถาเสลสูตรที่ ๗ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 556

สัลลสูตรที่ ๘

ว่าด้วยความเป็นธรรมดาของสัตว์โลก

[๓๘๐] ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายใน

โลกนี้ ไม่มีเครื่องหมาย ใคร ๆ รู้ไม่ได้

ทั้งลำบาก ทั้งน้อย และประกอบด้วยทุกข์.

สัตว์ทั้งหลาย ผู้เกิดแล้ว จะไม่ตาย

ด้วยความพยายามอันใด ความพยายามอัน

นั้นไม่มีเลย แม้อยู่ได้ถึงชราก็ต้องตายเพราะ

สัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา.

ผลไม้สุกงอมแล้ว ชื่อว่าย่อมมีภัย

เพราะจะต้องร่วงหล่นลงไปในเวลาเช้า ฉัน

ใด สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแล้ว ชื่อว่าย่อมมีภัย

เพราะจะต้องตายเป็นนิตย์ ฉันนั้น.

ภาชนะดินที่นายช่างทำแล้วทุกชนิด

มีความแตกเป็นที่สุด แม้ฉันใด ชีวิตของ

สัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่

ทั้งคนเขลา ทั้งคนฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจ

ของมฤตยู มีมฤตยูเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

ด้วยกันทั้งหมด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 557

เมื่อสัตว์เหล่านั้นถูกมฤตยูครอบงำ

แล้ว ต้องไปปรโลก บิดาจะป้องกันบุตรไว้

ก็ไม่ได้ หรือพวกญาติจะป้องกันพวกญาติ

ไว้ก็ไม่ได้.

ท่านจงเห็น เหมือนเมื่อหมู่ญาติของ

สัตว์ทั้งหลายผู้จะต้องตาย กำลังแลดูรำพัน

อยู่โดยประการต่าง ๆ สัตว์ผู้จะต้องตายผู้

เดี๋ยวเท่านั้นถูกมฤตยูนำไปเหมือนโคที่บุคคล

จะพึงฆ่าถูกนำไปตัวเดียวฉะนั้น ความตาย

และความแก่กำจัดสัตว์โลกอยู่อย่างนี้ เพราะ

เหตุนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายทราบชัดสภาพ

ของโลกแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.

ท่านย่อมไม่รู้ทางของผู้มาหรือผู้ไป

ไม่เห็นที่สุดทั้งสองอย่าง ถึงจะคร่ำครวญไป

ก็ไร้ประโยชน์ ถ้าผู้คร่ำครวญหลงเบียด

เบียนตนอยู่ จะยังประโยชน์อะไร ๆ ให้เกิด

ขึ้นได้ไซร้ บัณฑิตผู้เห็นแจ้งก็พึงกระทำ

ความคร่ำครวญนั้น.

บุคคลจะถึงความสงบใจได้ เพราะ

การร้องไห้ เพราะความเศร้าโศก ก็หาไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 558

ทุกข์ย่อมเกิดแก่ผู้นั้นยิ่งขึ้น และสรีระของ

ผู้นั้นก็จะซูบซีด.

บุคคลผู้เบียดเบียนตนเอง ย่อมเป็น

ผู้ซูบผอม มีผิวพรรณเศร้าหมอง สัตว์ทั้ง-

หลายผู้ละไปแล้ว ย่อมรักษาตนไม่ได้ด้วย

ความรำพันนั้น การรำพันไร้ประโยชน์.

คนผู้ทอดถอนใจของบุคคลผู้ทำกาละ

แล้ว ยังละความเศร้าโศกไม่ได้ ตกอยู่ใน

อำนาจแห่งความเศร้าโศก ย่อมถึงทุกข์ยิ่ง

ขึ้น.

ท่านจงเห็นคนแม้เหล่าอื่นผู้เตรียม

จะดำเนินไปตามยถากรรม (และ) สัตว์

ทั้งหลายในโลกนี้ ผู้มาถึงอำนาจแห่งมัจจุ

แล้ว กำลังพากันดิ้นรนอยู่ทีเดียว.

ก็สัตว์ทั้งหลายย่อมสำคัญด้วยอาการ

ใด ๆ อาการนั้น ๆ ย่อมแปรเป็นอย่างอื่นไป

ในภายหลัง ความพลัดพรากกันเช่นนี้ย่อม

มีได้ ท่านจงดูสภาพแห่งโลกเถิด.

มาณพแม้จะพึงเป็นอยู่ร้อยปีหรือยิ่ง

กว่านั้น ก็ต้องพลัดพรากจากหมู่ญาติ ต้อง

ละทิ้งชีวิตไว้ในโลกนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 559

เพราะเหตุนั้น บุคคลฟังพระธรรม.

เทศนาของพระอรหันต์แล้ว เห็นคนผู้ล่วง

ลับทำกาละแล้ว กำหนดรู้อยู่ว่า บุคคลผู้

ล่วงลับทำกาละแล้วนั้น เราไม่พึงได้ว่า จง

เป็นอยู่อีกเถิด ดังนี้.

พึงกำจัดความรำพันเสีย บุคคลพึง

ดับไฟที่ไหม้ลุกลามไปด้วยน้ำ ฉันใด นรชน

ผู้เป็นนักปราชญ์ มีปัญญา เฉลียวฉลาด

พึงกำจัดความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นเสีย โดย

ฉับพลัน เหมือนลนพัดนุ่นปลิวไป ฉะนั้น.

คนผู้แสวงความสุขเพื่อตน พึงกำ-

จัดความรำพัน ความทะยานอยากและความ

โทมนัสของตน พึงถอนลูกศรคือกิเลสของ

ตนเสีย.

เป็นผู้มีลูกศร คือ กิเลสอันถอนขึ้น

แล้ว อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้วถึงความ

สงบใจ ก้าวล่วงความเศร้าโศกได้ทั้งหมด

เป็นผู้ไม่มีความเศร้าโศกเยือกเย็น ฉะนี้แล.

จบสัลลสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 560

อรรถกถาสัลลสูตรที่ ๘

สัลลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า อนิมิตฺต ไม่มีเครื่องหมายดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

เรื่องเล่าว่า อุบาสกคนหนึ่งเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า

บุตรของเขาได้ถึงแก่กรรม เขาถูกความโศกเพราะบุตรครอบงำ ได้อดอาหาร

ถึง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา จึงเสด็จไปยังเรือน

ของเขาเพื่อบรรเทาความโศก จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อนิมิตฺต ได้เเก่ เว้นจากเครื่องหมาย คือ กิริยา

อาการ. เหมือนอย่างว่ามีเครื่องหมายคือกิริยาอาการในบทมีอาทิว่า เราจักควัก

ลูกตาหรือโกนขนคิ้ว ท่านจงขโมยสินค้านั้นโดยเครื่องหมายนั้น ฉันใด ใน

ชีวิตมิได้เป็นฉันนั้น ไม่อาจจะได้ว่า ท่านจงเป็นอยู่ก่อน จงอย่าตาย จนกว่า

เราจะทำสิ่งนี้สำเร็จ. บทว่า อนญฺาต อันใคร ๆ รู้ไม่ได้ คืออันใคร ๆ ไม่

สามารถรู้ได้โดยแน่นอน ว่าผู้นี้จะต้องเป็นอยู่ตลอดเวลาเท่านี้ ๆ ด้วยคติหรือ

ที่สุดของอายุ เหมือนอย่างอายุของเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาเป็นต้นกำหนดได้

ของสัตว์ทั้งหลายไม่เหมือนอย่างนั้น แม้ด้วยเหตุนี้ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายจึงเป็น

อันว่าอันใคร ๆ รู้ไม่ได้โดยแน่นอน. บทว่า กสิร ทั้งลำบาก คือ ยาก เพราะ

ความเป็นไปเนืองด้วยปัจจัยหลายอย่าง ไม่ใช่ให้เป็นไปเพื่อความสุขเท่านั้น.

เป็นความจริงอย่างนั้น ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจเข้าหายใจออกเนื่องด้วยมหาภูต

รูป (ดิน น้ำ ลม ไฟ) เนื่องด้วยกวฬีการาหาร เนื่องด้วยไออุ่น และเนื่องด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 561

วิญญาณ. แม้เมื่อไม่หายใจเข้าไม่หายใจออกก็เป็นอยู่ไม่ได้. อนึ่งในธาตุ ๔

กายเช่นกับถูกอสรพิษมีสัตว์ปากร้ายเป็นต้นกัด เพราะปกติธาตุกำเริบ เป็น

กายกระด้างเช่นกับท่อนไม้ ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ปตฺถทฺโธ ภวตี กาโย ทฏฺโ กฏฺมุเขน วา

ปวีธาตุปฺปโกเปน โหคิ กฏฺมุเขว โส.

กายที่ถูกงูกัฏฐมุขะกัด ย่อมแข็ง

กระด้าง หรือเพราะปฐวีธาตุกำเริบ กาย

นั้นย่อมเป็นเหมือนอยู่ในปากงูกัฏฐมุขะ

นั่นแหละ.

กายเพราะอาโปธาตุกำเริบถึงความเปื่อยเน่า มีเนื้อและเลือดทั้งหมด

ไหลออก เหลือแต่กระดูกและหนังเท่านั้น ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ปูติโก ภวตี กาโย ทฏโ ปูติมุเขน วา

อาโปธาตุปฺปโกเปน โหติ ปูติมุเขว โส.

กายที่ถูกงูปูติมุขะกัด ย่อมเป็นของ

เปื่อยเน่า หรือเพราะอาโปธาตุกำเริบ กายนั้น

ย่อมเป็นเหมือนอยู่ในปากงูปูติมุขะนั่นแหละ.

กายเพราะเตโชธาตุกำเริบย่อมถูกเผาผลาญโดยรอบเหมือนใส่ลงไปใน

หลุมถ่านเพลิง ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

สนฺตตฺโต ภวตี กาโย ทฏฺโ อคฺคิมุเขน วา

เตโชธาตุปฺปโกเปน โหติ อคฺคิมุเขว โส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 562

กายที่ถูกงูกัดอัคคิมุขะกัด ย่อมเร่าร้อน

พร้อม หรือเพราะเตโชธาตุกำเริบ กายนั้น

ย่อมเป็นเหมือนอยู่ในปากงูอัคคิมุขะนั่น

แหละ.

กาย เพราะวาโยธาตุกำเริบมีที่ต่อที่ถูกตัดขาดจากกัน และเป็นเหมือน

กระดูกที่ถูกแผ่นหินทุบกระจุยกระจายไป สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

สญฺฉินฺโน ภวตี กาโย ทฏฺโ สตฺถมุเขน วา

วาโยธาตุปฺปโกเปน โหติ สตฺถมุเขว โส

กายที่ถูกงูสัตถมุขะกัด ย่อมถูกตัด

ขาด หรือเพราะวาโยธาตุกำเริบ กายนั้นย่อม

เป็นเหมือนอยู่ในปากงูสัตถมุขะนั่นแหละ.

แม้กายถึงความเสื่อมเพราะธาตุกำเริบ ก็เป็นอยู่ไม่ได้. ก็เมื่อใดธาตุ

เหล่านั้นทำหน้าที่ของกันและกันอย่างเป็นปรกติ ย่อมนำไปได้เสมอ เมื่อนั้น

ชีวิต ก็ยังเป็นไปได้. ชีวิตเนื่องด้วยมหาภูตรูปอย่างนี้. ก็ในขณะหาภักษาได้ยาก

เป็นต้น เพราะขาดอาหาร สัตว์ทั้งหลายก็จะตายกันหมด. ชีวิตเนื่องด้วย

กวฬีการาหารอย่างนี้.

อนึ่ง เมื่อสิ้นไฟเกิดแต่กรรมอันจะทำให้ย่อยเพราะการกินการดื่มเป็น

ต้น สัตว์ทั้งหลายก็จะถึงแก่ความตายกันหมด. ชีวิตเนื่องด้วยไออุ่นอย่างนี้.

ก็เมื่อวิญญาณดับ สัตว์ตามปรกติ ก็จะไม่มีชีวิต ชีวิตปรากฏอยู่ในโลก

ได้แม้ด้วยอาการอย่างนี้ ชีวิตเนื่องด้วยวิญญาณอย่างนี้. พึงทราบชีวิตชื่อว่า

ลำบาก เพราะมีความเป็นอยู่เนื่องด้วยปัจจัยหลายอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 563

บทว่า ปริตฺตญฺจ ชีวิตทั้งน้อย คือชีวิตของมนุษย์เปรียบกับชีวิต

ของเทวดาทั้งหลายแล้วน้อย เหมือนหยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่าน้อยเพราะไม่เป็นอยู่สูงกว่าขณะจิต จริงอยู่ สัตว์แม้มีอายุยืนยาว เป็นอยู่

แล้วด้วยจิตอดีต (เคยเกิด) ไม่ใช่กำลังเป็น (ไม่ใช่กำลังเกิด) ไม่ใช่จักเป็น

(ไม่ใช่จักเกิด) ในอนาคต จิตไม่ใช่จักเป็น ไม่ใช่กำลังเป็น ไม่ใช่เคยเป็น

ในปัจจุบัน จิตกำลังเป็น ไม่ใช่เคยเป็น ไม่ใช่จักเป็นอยู่ สมดังที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า

ชีวิต อตฺตภาโว จ สุขทุกฺขา จ เกวลา

เอกจิตฺตสมายุตฺตา ลหุโส วตฺตเต ขโณ

จุลฺลาสีติสหสฺสานิ กปฺเป ติฏฺนฺติ เย มรู

นเตฺวว เตปิ ชีวนฺติ ทฺวีหิ จิตฺเตหิ สมาหิตา

ชีวิตและอัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งสิ้น

ล้วนเป็นธรรมประกอบร่วมอยู่กับจิตดวง

หนึ่ง ๆ ขณะผ่านไปรวดเร็ว เทวดาเหล่าใด

ตั้งอยู่ตลอด ๘๔,๐๐๐ กัป แม้เทวดาเหล่านั้น

หาดำรงอยู่ด้วยจิต ๒ ดวงไม่.

บทว่า ตญฺจ ทุกฺเขน สยุตฺต ชีวิตประกอบด้วยทุกข์ ความว่า

ชีวิตนั้นไม่มีเครื่องหมายใคร ๆ รู้ไม่ได้อย่างนี้ ทั้งลำบากทั้งน้อย และประ

กอบด้วยทุกข์อันเป็นทุกข์เกิดจากการสัมผัส หนาวร้อน เหลือบและยุงเป็นต้น

เกิดจากความหิวกระหาย เกิดจากทุกข์ประจำสังขารและเกิดจากทุกข์คือความ

ปรวนแปร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างไร. พระองค์ตรัสไว้ว่าชีวิตของ

๑. ขุ. มหา. ๒๙ ข้อ ๑๘๒. ชราสุตตนิเทศที่ ๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 564

สัตว์ทั้งหลายเป็นเช่นนี้ ฉะนั้นท่านจงประพฤติธรรมจริยาตราบเท่าชีวิตนั้นยัง

ไม่ถึงความสิ้นไป ท่านอย่าเศร้าโศกถึงบุตรเลย.

ท่านพึงสำคัญแม้เช่นนั้นก็อย่าเศร้าโศกอย่างนี้ว่า เมื่อเราเฝ้าเลี้ยงดู

บุตรด้วยอุปกรณ์ทุกอย่าง บุตรนั้นได้ตายเสียแล้ว ข้าพเจ้าเศร้าโศกด้วยเหตุนั้น

ดังนี้. สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแล้วจะไม่ตายด้วยความพยายามอันใด ความพยายาม

อันนั้นไม่มีเลย ท่านอธิบายว่าใคร ๆ ไม่สามารถจะรักษาว่า สัตว์ทั้งหลายผู้

เกิดแล้วด้วยความพยายาม จงอย่าตายเลยดังนี้. เพราะท่านคิดว่าบุตรนั้นอยู่ได้

ถึงชราแล้วตายจึงสมควร บุตรของข้าพระองค์ยังหนุ่มนัก ได้ตายเสียแล้วดังนี้

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ชรมฺปิ ปตฺวา มรณ เอวธมฺมา

หิ ปาณิโน ความว่า แม้อยู่ได้ถึงชราก็ต้องตาย เพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้

เป็นธรรมดา. ท่านอธิบายว่า ถึงชราก็ตามยังไม่ถึงชราก็ตามต้องตาย ไม่มี

กำหนดในข้อนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงให้ความนั้นชัดเจนด้วยตัวอย่าง

จึงตรัสคาถามีอาทิว่า ผลานมิว ปกฺกาน เหมือนผลไม้สุกงอมแล้วฉะนั้น.

บทนั้นมีอธิบายดังนี้ เมื่อผลไม้สุกงอมแล้ว ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นรส

ของแผ่นดินและรสของน้ำที่ต้นไม้ซึ่งร้อนระอุด้วยความร้อนของแสงอาทิตย์

ย่อมเข้าไปสู่แผ่นดินทางรากโดยลำดับอย่างนี้คือ ตั้งแต่ใบถึงกิ่ง ตั้งแต่กิ่งถึง

ลำต้น ตั้งแต่ลำต้นถึงราก แต่ครั้นพระอาทิตย์ตก กิ่งใบ หน่อ เป็นต้น ย่อม

ตั้งขึ้นอีกโดยลำดับอย่างนี้คือ ตั้งแต่แผ่นดินถึงราก ตั้งแต่รากถึงลำต้น. ก็เมื่อ

ต้นไม้ตั้งอยู่อย่างนี้ ผลไม้ที่แก่จัดย่อมไม่ติดอยู่ที่ขั้ว เมื่อขั้วผลไม้ถูกแสง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 565

อาทิตย์เผาอยู่ ย่อมเกิดความร้อน เพราะเหตุนั้นผลไม้เหล่านั้นจึงร่วงหล่น

ทุก ๆ เช้าตลอดเวลา ภัยของผลไม้เหล่านั้นจึงมีเพราะการหล่นเเต่เช้า อธิบาย

ว่าภัยย่อมมีเพราะการหล่นอย่างนี้. เพราะสัตว์ทั้งหลายเกิดแล้วมีภัย เพราะต้อง

ตายเป็นนิจ สัตว์ทั้งหลายเป็นเช่นกับผลไม้สุกงอม. เปรียบเหมือนอะไรอีก.

เปรียบเหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อทำแล้วทุกชนิดมีความแตกเป็นที่สุด แม้ฉัน.

ใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น. เพราะฉะนั้นท่านจงถือเอาอย่างนี้ว่า ทั้ง

เด็กทั้งผู้ใหญ่ทั้งคนเขลา ทั้งคนฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจของมฤตยูมีมฤตยูเป็นที่

ไปในเบื้องหน้าด้วยกันทั้งหมด. ก็ครั้นถือเอาอย่างนี้แล้วจงถือเอาอย่างนี้อีกว่า

เมื่อสัตว์เหล่านั้นถูกมฤตยูครอบงำแล้วต้องไปปรโลก บิดาจะป้องกันบุตรไว้ก็

ไม่ได้ หรือพวกญาติจะป้องกันพวกญาติไว้ก็ไม่ได้ เพราะบิดาจะป้องกันบุตร

ไว้ก็ไม่ได้ หรือพวกญาติจะป้องกันพวกญาติไว้ก็ไม่ได้ ฉะนั้น ท่านจงเห็น

เหมือนเมื่อหมู่ญาติของสัตว์ทั้งหลายผู้จะต้องตายกำลังแลดูรำพันอยู่โดยประการ

ต่าง ๆ สัตว์ผู้จะต้องตายผู้เดียวเท่านั้นถูกมฤตยูนำไปเหมือนโคที่จะถูกฆ่าถูกนำ

ไปตัวเดียวฉะนั้น. ในบทนั้นโยชนาแก้ไว้ว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านจงเห็นเหมือน

เมื่อหมู่ญาติของสัตว์ทั้งหลายผู้จะต้องตายกำลังแลดูรำพันอยู่โดยประการต่าง ๆ

สัตว์ผู้จะต้องตายผู้เดียวเท่านั้นถูกมฤตยูนำไปเหมือนโคที่จะถูกฆ่า ถูกนำไปตัว

ตัวเดียวฉะนั้น.

ในคำนั้นว่า โลกไม่มีเครื่องต้านทาน คำนั้นท่านอธิบายไว้ว่า ท่านผู้

สมบูรณ์ด้วยปัญญามีพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้นเหล่าใด ท่าน

เหล่านั้นย่อมรู้ว่าโลกถูกมัจจุและชราเบียดเบียนอย่างนี้ โลกนั้นอันใคร ๆ ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 566

สามารถจะต้านทานได้ เพราะฉะนั้นนักปราชญ์ทั้งหลายย่อมไม่เศร้าโศก ครั้น

รู้แล้ว คือรู้สภาพของโลกนี้ว่าเป็นโลกสมมติ จึงไม่เศร้าโศก.

คำว่า ท่านย่อมไม่รู้ทางของผู้มาหรือผู้ไป ไม่เห็นที่สุดทั้งสองอย่าง ถึง

จะคร่ำครวญไปก็ไร้ประโยชน์ท่านอธิบายไว้อย่างไร. อธิบายว่า ท่านไม่รู้ทาง

มาของผู้มาสู่ครรภ์มารดา หรือทางไปของผู้จุติจากโลกนี้แล้วไปในโลกอื่น เมื่อ

ไม่เห็นที่สุดทั้งสองเหล่านี้ถึงจะคร่ำครวญไปก็ไร้ประโยชน์ ส่วนนักปราชญ์ทั้ง

หลายเห็นที่สุดเหล่านั้น ครั้นรู้แล้วย่อมไม่เศร้าโศกถึงโลกสมมติ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยังความไม่มีประโยชน์แห่งความ

คร่ำครวญดังได้กล่าวแล้วในบทนี้ว่า นิรตฺถ ปริเทเวสิ ถึงคร่ำครวญไป

ก็สำเร็จแต่ความไร้ประโยชน์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปริเทวยมาโน เจ ถ้าผู้

คร่ำครวญหลงเบียดเบียนตนอยู่ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุทพฺพเห ให้เกิดขึ้นได้ คือ พึงให้เกิดขึ้น

ทรงไว้ อธิบายว่า ให้เกิดพร้อมในตน. บทว่า สมฺมุฬฺโห หึสมตฺตาน คือ

เป็นผู้หลงเบียดเบียนตน. บทว่า กยิรเจน วิจกฺขโณ บุรุษผู้เห็นแจ้ง พึง

ทำความคร่ำครวญนั้น ความว่า หากว่าคนเช่นนั้นพึงยังประโยชน์ไร ๆ ให้

เกิดแม้บุรุษผู้เห็นแจ้งพึงทำความคร่ำครวญนั้น. ในบทว่า น หิ รุณฺเณน

เพราะการร้องไห้ก็หาไม่ นี้โยชนาแก้ไว้ว่า ใคร ๆ ย่อมไม่ถึงความสงบทางใจ

ด้วยการร้องไห้หรือด้วยความเศร้าโศก. อีกอย่างหนึ่ง ทุกข์ย่อมเกิดแก่บุคคล

นั้นยิ่งกว่าความร้องไห้และความเศร้าโศก และสรีระของผู้นั้นย่อมถูกเบียดเบียน

ด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณซูบซีด เป็นต้น. บทว่า น เตน เปตา สัตว์ทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 567

หลายผู้ละไปแล้วย่อมรักษาตนไม่ได้ ความว่า ด้วยความคร่ำครวญนั้นสัตว์ทั้ง

หลายผู้ตายไปแล้ว ย่อมรักษาตนไม่ได้ คือยังตนให้เป็นไปไม่ได้ ความคร่ำ

ครวญนั้นไม่เป็นประโยชน์แก่คนเหล่านั้น เพราะฉะนั้น การคร่ำครวญไม่มี

ประโยชน์. ไม่ใช่ไม่มีประโยชน์อย่างเดียวเท่านั้น ยังนำความพินาศมาอีกด้วย

เพราะเหตุไร. เพราะคนผู้ทอดถอนใจถึงบุคคลผู้ทำกาละแล้ว ยังละความเศร้า

โศกไม่ได้ ตกอยู่ในอำนาจแห่งความเศร้าโศก ย่อมถึงทุกข์ยิ่งขึ้น. ในบท

เหล่านั้นบทว่า อนุตฺถุนนฺโต คือเศร้าโศกถึงอยู่. บทว่า วสมนฺวคู คือ

ไปสู่อำนาจ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงความที่ความโศกไม่มีประโยชน์

และความที่ความโศกนำความพินาศมาให้แล้ว เมื่อจะทรงสั่งสอนเพื่อกำจัด

ความโศก จึงตรัสคำมีอาทิว่า อญฺเปิ ปสฺส ท่านจงเห็นคนแม้เหล่าอื่น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า คมิเน คือผู้ไป อธิบายว่าผู้เตรียมจะไปสู่

ปรโลก. บทว่า ผนฺทนฺเตวิธ ปาณิเน ได้แก่ สัตว์ในโลกนี้กำลังพากัน

ดิ้นรนอยู่เพราะกลัวตาย. บทว่า เยน เยน ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายย่อมสำคัญ

ด้วยอาการใดว่า จักเป็นผู้มีอายุยืน จักเป็นผู้ไม่มีโรค. อาการนั้นย่อมแปร

เป็นอย่างอื่นไป สำคัญอย่างนี้แล้วย่อมตายบ้าง ย่อมมีโรคบ้าง ความ

พลัดพรากกันเช่นนี้ ย่อมมีได้ด้วยสำคัญว่า เป็นข้าศึก ดูก่อนอุบาสก ท่าน

จงดูสภาพของโลกเถิด พึงทราบโยชนาอธิบายไว้ในบทนี้ ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า อรหโต สุตฺวา บุคคลฟังธรรมเทศนาของพระอรหันต์เห็น

ปานนี้แล้ว. คำว่า เนโส ลพฺภา มยา อิติ ความว่า บุคคลผู้ล่วงลับไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 568

แล้วนั้น บัดนี้ เราไม่พึงได้ว่าจงเป็นอยู่อีกเถิด ท่านอธิบายว่า เมื่อกำหนด

รู้ด้วยประการฉะนี้ พึงกำจัดความคร่ำครวญออกไป. มีอะไรจะกล่าวอีก. บุคคล

พึงดับไฟที่ไหม้ลุกลามไปด้วยน้ำฉันใด นรชนผู้เป็นนักปราชญ์มีปัญญาเฉลียว

ฉลาด พึงกำจัดความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นเสียโดยพลันเหมือนลมพัดนุ่นปลิวไป

ฉะนั้น.

ในบทว่า ธีโร เป็นต้นนั้นพึงทราบดังนี้ ชื่อว่า ธีโร เพราะถึง

พร้อมด้วยปัญญา. ชื่อว่า สปฺปญฺโ เพราะมีปัญญาสะสมไว้มาก. ชื่อว่า

ปณฺฑิโต เพราะมีปัญญาเกิดจากการฟังมาก. ชื่อว่า กุสโล เพราะเป็นนัก

คิด. อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบด้วยจินตามยปัญญา (ปัญญาสำเร็จด้วยความคิด)

สุตมยปัญญา (ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง) ภาวนามยปัญญา (ปัญญาสำเร็จด้วย

การอบรม). มิใช่แต่ความโศกอย่างเดียวเท่านั้น คนผู้แสวงหาความสุขเพื่อตน

พึงกำจัดความรำพัน ความทะยานอยากและความโทมนัสของตน พึงถอนลูกศร

คือกิเลสของตนเสีย.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปชฺปฺป คือ ตัณหา. บทว่า โทมนสฺส คือ

ทุกข์ทางใจ. บทว่า อพฺพุฬฺเห คือ พึงถอน. บทว่า สลฺล คือ ชื่อว่า สลฺล

เพราะแทงเข้าไปภายในนำออกยากมีลักษณะแหลมคม หรือลูกศรมีราคะเป็นต้น

๗ อย่างดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในก่อน. เมื่อถอนลูกศรนี้ได้แล้ว เป็นผู้มีลูกศร

คือกิเลสอันถอนขึ้นแล้ว อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้วถึงความสงบใจ ก้าว

ล่วงความเศร้าโศกได้ทั้งหมด เป็นผู้ไม่มีความเศร้าโศกเยือกเย็นฉะนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 569

ในบทเหล่านั้นบทว่า อสิโต ได้แก่ อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว.

บทว่า ปปฺปุยฺย แปลว่า ถึงแล้ว. บทที่เหลือในสูตรนี้มีความง่ายทั้งนั้น

เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่พรรณนาไว้.

จบอรรถกถาสัลลสูตรที่ ๘ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 570

วาเสฏฐสูตรที่ ๙

ว่าด้วยบุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติหรือกรรม

[๓๘๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละใกล้

อิจฉานังคลคาม ก็สมัยนั้น พราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียงเป็นอันมาก คือ

จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุสโสณีพราหมณ์

โตเทยยพราหมณ์ และพราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียงเหล่าอื่น อาศัยอยู่ใน

อิจฉานังคลคาม ครั้งนั้นแล วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพ เดินพักผ่อน

อยู่ได้สนทนากันในระหว่างว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุ

อย่างไร ภารทวาชมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลผู้เป็นอุภโตสุชาต

ทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่ว

บรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ด้วยอ้างถึงชาติ บุคคลชื่อว่าเป็น

พราหมณ์ด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

วาเสฏฐมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีศีลและถึง

พร้อมด้วยวัตร บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

ภารทวาชมาณพไม่สามารถจะให้วาเสฏฐมาณพยินยอมได้เลย และ

วาเสฏฐมาณพก็ไม่สามารถจะให้ภารทวาชมาณพยินยอมได้.

ลำดับนั้นแล วาเสฏฐมาณพจึงกล่าวกะภารทวาชมาณพว่า ท่านภาร-

ทวาชะ พระสมณโคดมผู้ศากยบุตรนี้ เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล ประทับอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 571

ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลคาม ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระ-

โคดมพระองค์นั้นขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ท่านภารทวาชะ

เราทั้งสองจงไปเฝ้าพระสมณโคดมเถิด ครั้นแล้วจักทูลถามเนื้อความนี้ พระ-

สมณโคดมจักตรัสพยากรณ์แก่เราด้วยประการใด เราจักทรงจำข้อความนั้นไว้

ด้วยประการนั้น.

ภารทวาชมาณพ รับคำว่าเสฏฐมาณพแล้ว ลำดับนั้น วาเสฏฐมาณพ

และภารทวาชมาณพ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้สนทนา

ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพลให้ระลึกถึงกันไปแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว วาเสฏฐมาณพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยคาถาว่า

[๓๘๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า

พระองค์ทั้งสองเป็นผู้มีไตรวิชชาอันอาจารย์

ยกย่องและรับรอง ข้าพระองค์เป็นศิษย์

ผู้ใหญ่ของโปกขรสาติพราหมณ์ ภารทวาช-

มาณพนี้เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ของตารุกขพราหมณ์

ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ถึงความ

สำเร็จในเวทที่อาจารย์ผู้มีไตรวิชชาบอกแล้ว

เป็นผู้เข้าใจตัวบท และเป็นผู้ชำนาญ

ไวยากรณ์ ในเวท เช่นกับอาจารย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 572

ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งสอง

มีการโต้เถียงกันเพราะการอ้างถึงชาติ ภาร-

ทวาชมาณพกล่าวว่า บุคคลเป็นพราหมณ์

เพราะชาติ ส่วนข้าพระองค์กล่าวว่า บุคคล

เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ข้าแต่พระโคดม

ผู้มีพระจักษุขอพระองค์จงทรงทราบอย่างนี้.

ข้าพระองค์ทั้งสองนั้นไม่สามารถจะ

ให้กันและกันยินยอมได้ จึงพากันมา เพื่อ

จะทูลลามพระองค์ ผู้ปรากฏว่า เป็นพระ-

สัมพุทธะ.

ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งสอง

ประณมอัญชลีเข้ามาถวายนมัสการพระองค์ผู้

ปรากฏว่า เป็นพระสัมพุทธะในโลก เหมือน

ชนทั้งหลาย ประณมอัญชลีเข้ามาไหว้นมัส-

การพระจันทร์อันเต็มดวง ฉะนั้น.

ข้าพระองค์ทั้งสองขอทูลถามพระ-

โคดมผู้มีพระจักษุ ผู้อุบัติขึ้นดีแล้วในโลกว่า

บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติหรือเพราะ

กรรม ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์

ทั้งสองผู้ไม่รู้ด้วยอาการที่ข้าพระองค์ทั้งสอง

จะพึงรู้จักพราหมณ์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 573

เราจักพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลายตาม

ลำดับตามสมควร สัตว์ทั้งหลายมีความแตก-

ต่างกันโดยชาติ เพราะชาติของสัตว์เหล่านั้น

มีประการต่าง ๆ กัน.

ท่านทั้งหลายจงรู้จักหญ้าและต้นไม้

แต่หญ้าและต้นไม้ ก็ไม่ยอมรับว่าเป็นหญ้า

เป็นต้นไม้ หญ้าและต้นไม่เหล่านั้น มีสัณ-

ฐานสำเร็จมาแต่ชาติ เพราะชาติของมัน

ต่าง ๆ กัน.

แต่นั้น ท่านทั้งหลายจงรู้จัก หนอน

ตั๊กแตน มดดำ และมดแดง สัตว์เหล่านั้น

มีสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติเพราะชาติของมัน

ต่าง ๆ กัน ท่านทั่งหลายจงรู้จักสัตว์ ๔ เท่า

ทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ สัตว์เหล่านั้นมีสัณฐาน

สำเร็จมาแต่ชาติเพราะชาติของมันต่าง ๆ กัน.

ต่อแต่นั้น ท่านทั้งหลายจงรู้จักปลา

ที่เกิดในน้ำ เที่ยวไปในน้ำ ปลาเหล่านั้น

มีสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติ เพราะชาติของ

มันมีต่าง ๆ กัน.

ถัดจากนั้น ท่านทั้งหลายจงรู้จักนก

ที่บินไปในเวหา นกเหล่านั้นมีสัณฐานสำเร็จ

มาแต่ชาติ เพราะชาติของมันต่าง ๆ กัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 574

เพศที่สำเร็จมาแต่ชาติเป็นอันมาก

ไม่มีในมนุษย์ทั้งหลาย เหมือนอย่างสัณฐาน

ที่สำเร็จมาแต่ชาติเป็นอันมาก ในชาติเหล่านี้

ฉะนั้น.

การกำหนดด้วยผม ศีรษะ หู นัยน์ตา

ปาก จมูก ริมฝีปาก คิ้ว คอ บ่า ท้อง หลัง

ตะโพก อก ที่แคบ เมถุน มือ เท้า นิ้วมือ

เล็บ แข้ง ขา วรรณะ หรือเสียง ว่าผมเป็นต้น

ของพราหมณ์เป็นเช่นนี้ ของกษัตริย์เป็น

เช่นนี้ย่อมไม่มีเลย.

เพศที่สำเร็จมาแต่ชาติไม่มีในมนุษย์

ทั้งหลายเลย เหมือนอย่างสัณฐานที่สำเร็จมา

แต่ชาติในชาติเหล่าอื่น ฉะนั้น ความแตก

ต่างกันแห่งสัณฐานมีผมเป็นต้นนี้ ที่สำเร็จ

มาแต่กำเนิด ย่อมไม่มีในสรีระของตน ๆ

เฉพาะในตัวมนุษย์ทั้งหลายเลย แต่ความ

ต่างกันในมนุษย์ทั้งหลาย บัณฑิตกล่าวไว้

โดยชื่อ

ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า

ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งอาศัยโครักขกรรม

เลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นชาวนา มิใช่พราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 575

ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า

ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่ง อาศัยการค้าขาย

เลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นพ่อค้า มิใช่พราหมณ์.

ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า

ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งเลี้ยงชีพด้วยการ

รับใช้ผู้อื่น ผู้นั้นเป็นผู้รับใช้ มิใช่พราหมณ์.

ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า

ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งอาศัยการลักทรัพย์

เลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นโจร มิใช่พราหมณ์.

ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า

ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งอาศัยลูกศรและ

ศัสตราเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นนักรบอาชีพ

มิใช่พราหมณ์.

ก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า

ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดหนึ่งเลี้ยงชีพด้วยความ

เป็นปุโรหิต ผู้นั้นเป็นผู้ยังบุคคลให้บูชา

มิใช่เป็นพราหมณ์.

ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า

ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งปกครองบ้านและ

แว่นแคว้น ผู้นั้นเป็นพระราชา มิใช่

พราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 576

ก็เราหากล่าวผู้เกิดแต่กำเนิดในท้อง

มารดาว่าเป็นพราหมณ์ไม่ ผู้นั้นเป็นผู้ชื่อว่า

โกวาที ผู้นั้นแลยังเป็นผู้มีเครื่องกังวล เรา

กล่าวบุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่น

ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ตัดสังโยชน์ได้ทั้งหมด

ไม่สะดุ้งเลย ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องแล้ว

พรากโยคะทั้ง ๔ ได้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ที่ตัดชะเนาะคือความโกรธ

เชือก คือ ตัณหา หัวเงื่อน คือ ทิฏฐิ ๖๒

พร้อมทั้งสายโยง คือ อนุสัยเสียได้ ผู้มีลิ่มสลัก

อันถอดแล้ว ผู้ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้น

ได้ซึ่งคำด่าว่า การทุบตีและการจองจำ ผู้มี

กำลังคือขันติ ผู้มีหมู่พลคือขันติ ว่าเป็น

พราหมณ์.

เรากล่าวผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีล

ไม่มีกิเลสอันฟูขึ้น ฝึกตนแล้ว ทรงไว้ซึ่ง

ร่างกายมีในที่สุด ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย

ดุจน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว ดุจเมล็ดพันธุ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 577

ผักกาดไม่ติดอยู่บนปลายเหล็กแหลม ว่าเป็น

พราหมณ์.

เรากล่าวผู้รู้ชัดความสิ้นไปแห่งทุกข์

ของตน ในศาสนานี้แล ผู้ปลงภาระแล้ว

พรากกิเลสได้หมดแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้มีปัญญาลึกซึ้ง มีเมธา

ผู้ฉลาดในทางและมิใช่ทาง ผู้บรรลุถึง

ประโยชน์อันสูงสุด ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยคน ๒

พวก คือ คฤหัสถ์และบรรพชิต ไม่มีความ

อาลัยเที่ยวไป มีความปรารถนาน้อย ว่าเป็น

พราหมณ์.

เรากล่าวผู้วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย

ทั้งผู้ที่สะดุ้งและมั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้

ผู้อื่นให้ฆ่า ว่าเป็นพราหมณ์

เรากล่าวผู้ไม่ปองร้าย ผู้ดับเสียได้

ในผู้ที่มีอาชญาในตน ผู้ไม่ยึดถือในผู้ที่มี

ความยึดถือ ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ที่ทำราคะ โทสะ มานะ

และมักขะ ให้ตกไปแล้ว ดุจเมล็ดพันธุ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 578

ผักกาดตกไปจากปลายเหล็กแหลม ว่าเป็น

พราหมณ์.

เรากล่าวผู้เปล่งถ้อยคำไม่หยาบ ให้

รู้ความกันได้ เป็นคำจริง ซึ่งไม่เป็นเหตุทำ

ใคร ๆ ให้ข้องอยู่ ว่าเป็นพราหมณ์.

ก็เรากล่าวผู้ไม่ถือเอาสิ่งของยาวหรือ

สั้น น้อยหรือใหญ่ งามและไม่งาม ซึ่ง

เจ้าของมิได้ให้แล้วในโลก ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ไม่มีความหวังทั้งในโลกนี้

และในโลกหน้า ผู้สิ้นหวัง พรากกิเลสได้

หมดแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ไม่มีความอาลัย รู้ทั่วถึง

แล้ว ไม่มีความสงสัย หยั่งลงสู่นิพพาน ได้

บรรลุแล้วโดยลำดับ ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ละทิ้งบุญและบาปทั้ง ๒

ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องได้แล้ว ไม่มีความ

เศร้าโศก ปราศจากธุลี บริสุทธิ์แล้ว ว่า

เป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้มีความยินดีในภพหมดสิ้น

แล้ว ผู้บริสุทธิ์ มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 579

ดุจพระจันทร์ที่ปราศจากมลทิน ว่าเป็น

พราหมณ์.

เรากล่าวผู้ล่วงทางอ้อม หล่มสงสาร

โมหะเสียได้ เป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง เพ่งฌาน

ไม่หวั่นไหว ไม่มีความสงสัย ดับกิเลสได้

แล้วเพราะไม่ถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ละกามในโลกนี้ได้เด็ดขาด

เป็นผู้ไม่มีเรือน บวชเสียได้ มีกามราคะ

หมดสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ละตัณหาในโลกนี้ได้เด็ด-

ขาด เป็นผู้ไม่มีเรือน งดเว้น มีตัณหาและ

ภพหมดสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ละโยคะที่เป็นของมนุษย์

แล้วล่วงโยคะที่เป็นของทิพย์เสียได้ ผู้พราก

แล้วจากโยคะทั้งปวง ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ละความยินดีและความไม่

ยินดี เป็นผู้เยือกเย็น หาอุปธิมิได้ ผู้ครอบงำ

โลกทั้งปวง มีความเพียร ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้รู้จุติและอุบัติของสัตว์

ทั้งทลาย โดยอาการทั้งปวง ผู้ไม่ข้อง ไปดี

ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 580

เรากล่าวผู้ที่เทวดา คนธรรพ์ และ

มนุษย์ รู้คติไม่ได้ ผู้สิ้นอาสวะแล้ว เป็น

พระอรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ไม่มีเครื่องกังวลในขันธ์

ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่มี

เครื่องกังวล ไม่ยึดถือ ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้องอาจ ประเสริฐ เป็น

นักปราชญ์ แสวงหาคุณใหญ่ ชนะมาร

ไม่มีความหวั่นไหว ล้างกิเลสหมด ตรัสรู้

แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ระลึกชาติก่อน ๆ ได้ เห็น

สวรรค์และอบาย และถึงความสิ้นไปแห่ง

ชาติแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.

นามและโคตรที่เขากำหนดกัน เป็น

บัญญัติในโลก นามและโคตรมาแล้วเพราะ

การรู้ตามกันมา ญาติสายโลหิตทั้งหลาย

กำหนดไว้ ในกาลที่บุคคลเกิดแล้วนั้น ๆ.

นามและโคตรที่กำหนดกันแล้วนี้

เป็นความเห็นของพวกคนผู้ไม่รู้ ซึ่งสืบเนื่อง

กันมาสิ้นกาลนาน พวกคนผู้ไม่รู้ ย่อมกล่าว

ว่า บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 581

แต่บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติ

ก็หามิได้ แต่เป็นพราหมณ์ ก็เพราะกรรม

ไม่เป็นพราหมณ์ ก็เพราะกรรม.

เป็นชาวนาก็เพราะกรรม เป็นศิลปิน

เป็นพ่อค้า เป็นผู้รับใช้ เป็นโจร เป็นนักรบ

อาชีพ เป็นปุโรหิต และแม้เป็นพระราชา

ก็เพราะกรรม.

บัณฑิตทั้งหลายผู้มีปกติเห็นปฏิจจ-

สมุปบาท ฉลาดในกรรมและวิบาก ย่อม

เห็นกรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้.

โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมู่สัตว์

ย่อมเป็นไปเพราะกรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรม

เป็นเครื่องผูกพัน เปรียบเหมือนหมุดแห่ง

รถที่แล่นไปอยู่ ฉะนั้น.

บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะกรรมอัน

ประเสริฐนี้ คือ ตบะ สัญญมะ พรหมจรรย์

และทมะ กรรมนี้ นำความเป็นพราหมณ์ที่

สูงสุดมาให้.

บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยไตรวิชชา เป็น

คนสงบ มีภพใหม่สิ้นไปแล้ว เป็นพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 582

ผู้องอาจของบัณฑิตทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งอยู่

ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด วาเสฏฐะ.

[๓๘๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพ และ

ภารทวาชมาณพ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งสอง

ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบวาเสฏฐสูตรที่ ๙

อรรถกถาวาเสฏฐสูตรที่ ๙

วาเสฏสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

การเกิดขึ้นนี้ท่านกล่าวไว้แล้วในนิทานแห่งสูตรนั้น. แต่ข้าพเจ้าจะ

พรรณนาความเรียบเรียงนัยแห่งสูตรนั้นมากล่าว และบทที่มีความง่าย.

บทว่า อิจฺฉานงฺคโล เป็นชื่อของบ้าน. พราหมณ์มหาศาลมีชื่อ

เรียกดังนี้ คือ จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์ ผู้ทำนาย

โชคชะตาคือ โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุสโสณีพราหมณ์. นัยว่า พราหมณ์

สองคนนั้น คนหนึ่งเกิดในดอกบัวในสระโบกขรณีข้างหิมวันตประเทศ. ดาบส

คนหนึ่งเก็บดอกบัวนั้นเห็นทารกนอนอยู่ในดอกบัวเลี้ยงให้โตแล้วจึงนำไปถวาย

พระราชา. เพราะทารกนั้นนอนอยู่ในดอกบัวจึงชื่อว่า โปกขรสาติ. อีกคนหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 583

มีตำแหน่งเป็นผู้ทำนายโชคชะตา. ได้ยินว่าเพราะเป็นผู้ทำนายโชคชะตานั้น

จึงได้ตำแหน่งปุโรหิตชื่อชาณุสโสณี. เขามีชื่อเสียง เพราะเหตุนั้นเอง. หากมี

คำว่า พราหมณ์ทั้งหมดเหล่านั้นเป็นพราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียง เหตุไรจึง

อาศัยอยู่ ณ อิจฉานังคลคาม. ตอบว่าเพื่อทดสอบการเรียนเวท. นัยว่า สมัยนั้น

ในโกศลชนบท พราหมณ์ ผู้เรียนเวทประชุมกันในบ้านนั้น เพื่อสาธยายเวทและ

เพื่อตรวจสอบข้อความของเวท. ด้วยเหตุนั้นพราหมณ์บางพวกจึงออกจากบ้าน

เกิดเมืองนอนของตน ๆ เป็นลำดับ ๆ มาอาศัยอยู่ ณ อิจฉานังคลคามนั้น. บท

ว่า วาเสฏฺภารทฺวาชาน ได้แก่ วาเสฏฐพราหมณ์และภารทวาชพราหมณ์.

บทว่า อยมนฺตรากถา สนทนากันในระหว่าง คือ พราหมณ์ทั้งสองได้เที่ยว

สนทนากับผู้ที่เป็นสหายของตน ท่านอธิบายว่าในท่ามกลางระหว่างการสนทนา

นั้น ได้เกิดสนทนาเรื่องอื่นขึ้น.

บทว่า สสุทฺธคหณิโก มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดี คือมี

ครรภ์บริสุทธิ์ อธิบายว่า เกิดในครรภ์ของพราหมณีผู้บริสุทธิ์นั่นเอง. ไฟธาตุ

ท่านเรียกว่า คหณี ในบทมีอาทิว่า สมเวปากินิยา คหณิยา ไฟธาตุย่อย

อาหาร แต่ในที่นี้หมายถึงครรภ์มารดา. บทว่า ยาว สตฺตมา ตลอด ๗

ชั่วบรรพบุรุษ คือ ๗ ชั่วบรรพบุรุษโดยย้อนหลังไปอย่างนี้ คือ มารดาของ

มารดา บิคาของบิดา. ในบทนั้นมีอธิบายว่า ปู่และย่า ชื่อว่า ปิตามหา อนึ่ง

ตาและยาย ชื่อว่า มตามหา ปู่ย่า ตายายนั้นแหละ ชื่อ ปิตามหา อย่างเดียว

คู่ของปู่ย่าตายาย ชื่อว่า ปิตามหยุคะ. บทว่า ยุค ได้แก่ประมาณของอายุ.

อนึ่งบทนี้เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น. บทว่า อกฺขิตฺโต ไม่มีใครคัดค้าน คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 584

ไม่มีใครคัดค้านปรารภถึงชาติว่า คนนั้นเป็นชาติอะไร. บทว่า อนุปกุฏฺโ

ไม่มีใครติเตียน คือ ไม่เคยมีใครติเตียนโดยอ้างถึงความชั่วของชาติ. บทว่า

วตฺตสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวัตร คือสมบูรณ์ด้วยมารยาท. บทว่า

สญฺาเปตุ เพื่อให้ยินยอม คือเพื่อให้รู้ เพื่อให้เข้าใจ. อธิบายว่า เพื่อรู้

ตลอดไป. บทว่า อายาม คือ จงไป. บทว่า อนุญฺาตปฏิญฺาตา

ความว่า ข้าพระองค์ทั้งสองอันอาจารย์ยกย่องและรับรองด้วยตนเองว่า ท่าน

ทั้งสองเป็นผู้มีไตรวิชชา. บทว่า อสฺมา แปลว่า ย่อมเป็น. บทว่า อุโภ

คือชนทั้งสอง.

บทว่า อห โปกฺขรสาติสฺส ตารุกฺขสฺสาย มาณโว ความว่า

ว่าเสฏฐมาณพ เมื่อจะแสดงถึงคุณสมบัติของตน จึงกล่าวถึงคุณสมบัติของ

อาจารย์โดยอธิบายว่า ข้าพระองค์เป็นอันเตวาสิกผู้ใหญ่ ของโปกขรสาติ-

พราหมณ์ ภารทวาชมาณพนี้เป็นศิษย์ผู้เลิศของตารุกขพราหมณ์. บทว่า

เตวิชฺชาน ได้แก่ ไตรเพท. บทว่า เกวลิโน คือถึงความสำเร็จ. บัดนี้

วาเสฏรมาณพ เมื่อจะยังความเป็นผู้สำเร็จนั้นให้กว้างขวางต่อไป จึงกราบทูล

ว่า ปทกสฺมา ฯเปฯ สาทิสา ข้าพระองค์เป็นผู้เข้าใจในตัวบท และเป็นผู้

ชำนาญในไวยากรณ์ในเวท เช่นกับอาจารย์. ในบทเหล่านั้น บทว่า ชปฺเป

ได้แก่ ในเวท. บทว่า กมฺมุนา ได้แก่ กรรมคือ กุศสกรรมบถ ๑๐

อย่าง. วาเสฏฐมาณพนี้ กล่าวว่า ยโต โข โภ สีลวา จ โหติ ท่านผู้เจริญ

บุคคลผู้มีศีล ดังนี้ หมายถึงกายกรรมและวจีกรรม ๗ อย่าง ในกาลก่อน

กล่าวว่า วตฺตสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวัตรหมายถึง มโนกรรม ๓ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 585

เพราะว่า วาเสฏฐมาณพนั้นประกอบแล้วด้วยวัตรนั้น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

มารยาท.

บัดนี้ วาเสฏฐมาณพเมื่อจะแสดงกรรมนั้นโดยระหว่างคำ จึงกล่าวว่า

อหญฺจ กมฺมุนา พฺรูมิ ข้าพระองค์กล่าวว่าบุคคลเป็นพราหมณ์เพราะกรรม

บทว่า ขยาตีต คือ พระจันทร์เต็มดวง. บทว่า เปจฺจ คือ เข้าไปใกล้แล้ว

บทว่า นมสฺสนฺติ คือ ทำความนอบน้อม. บทว่า จกฺขุ โลเก สมุปฺปนฺน

พระโคดมผู้มีจักษุผู้อุบัติขึ้นดีแล้วในโลก ความว่า พระโคดมผู้มีพระจักษุด้วย

การกำจัดความมืดนั้น แล้วทรงชี้ถึงประโยชน์มีประโยชน์ปัจจุบันเป็นต้น

ของโลก ทรงอุบัติขึ้นดีแล้วในโลกอันมืดด้วยอวิชชา.

พระผู้มีพระภาคเจ้า อันวาเสฏฐมาณพกราบทูลสรรเสริญอย่างนี้แล้ว

เมื่อจะทรงสงเคราะห์ชนทั้งสองนั้น จึงตรัสว่า เตส โวห พฺยกฺขิสส เราจัก

พยากรณ์แก่ท่านทั้งสองเป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺยกฺขิสฺส คือ เราจักพยากรณ์ บทว่า

อนุปุพฺพ ตามลำดับ ความว่า ความคิดของพราหมณ์ยกไว้ก่อน. ในบทนี้มี

อธิบายอย่างนี้ว่า เราจักพยากรณ์แก่พวกท่านตามลำดับเริ่มตั้งแต่ หนอน

ตั๊กแตน หญ้าและต้นไม้. จริงอยู่ควรแนะนำมาณพเหล่านั้นด้วยถ้อยคำพิสดาร

บทว่า ชาติวิภงฺค คือ ต่างกันโดยชาติ. บทว่า อญฺมญฺา หิ ชาติโย

เพราะชาติของสัตว์ทั้งหลายมีประการต่าง ๆ กันคือ เพราะชาติของสัตว์ทั้งหลาย

เหล่านั้น ๆ เป็นอย่างอื่น ๆ คือ ต่าง ๆ กัน.

ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถึงความต่างแห่งชาติของ

สัตว์ทั้งหลายจึงทรงปรารภ เพื่อจะตรัสถึงสิ่งไม่มีใจครองก่อนว่า ติณรุกฺเขปิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 586

ชานาถ ท่านทั้งหลายย่อมรู้จักหญ้าและต้นไม้. หากมีคำถามว่าตรัสดังนั้น

เพื่ออะไร ? ตอบว่า เพื่อให้รู้ถึงความสุขในสัตว์ที่มีใจครองทั้งหลาย. เพราะ

เมื่อถือเอาประเภทแห่งชาติในสิ่งไม่มีใจครองทั้งหลาย เป็นอันปรากฏประเภท

แห่งชาติ ในสัตว์มีใจครองด้วย.

บทว่า ติณรุกฺเข นั้น ชื่อว่าหญ้า ได้แก่มีกระพี้ภายใน มีแก่นภาย

นอก. เพราะฉะนั้น แม้ตาลและมะพร้าวเป็นต้นก็สงเคราะห์เป็นหญ้าได้. ชื่อว่า

ต้นไม้ ได้แก่ มีกระพี้ภายนอกมีเเก่นภายใน. หญ้าและต้นไม้ ชื่อว่า ติณรุกฺขา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงหญ้าและต้นไม้เหล่านั้น ด้วยทุติยาวิภัตติ

พหุวจนะจึงตรัสว่า ติณรุกฺเขปิ ชานาถ ท่านทั้งหลายย่อมรู้จักหญ้าและ

ต้นไม้. บทว่า น จาปิ ปฏิชานเร ได้แก่ หญ้าและต้นไม้ ก็ไม่ยอมรับอย่างนี้

ว่า เราเป็นหญ้า เราเป็นต้นไม้ ดังนี้. บทว่า ลิงฺค ชาติมย คือ มีสัณฐาน

สำเร็จมาแต่ชาติของหญ้าและต้นไม้เหล่านั้นแม้จะไม่รู้จักเป็นเช่นกับหญ้าเกิด

แต่รากของตนเอง. เพราะเหตุไร เพราะชาติต่าง ๆ กัน พึงเข้าใจพิสดาร

อย่างนี้ว่า ติณชาติ (หญ้า เป็นอย่างอื่น รุกขชาติ (ต้นไม้) เป็นอย่างอื่น

แม้ในหญ้าทั้งหลาย ตาลชาติ (ต้นตาล) เป็นอย่างอื่น นาฬิเกรชาติ (ต้น

มะพร้าว) เป็นอย่างอื่น. ด้วยติณชาตินั้นท่านแสดงไว้อย่างไร. ติณชาติใด

ย่อมมีด้วยสามารถแห่งชาติ ติณชาตินั้น แม้เว้นการรับรองของตนหรือข้ออ้าง

ของคนอื่นก็ยังถือเอาโดยความต่างกันจากชาติอื่น. ก็ผิว่า พราหมณ์ใด พึงเป็น

พราหมณ์โดยชาติ พราหมณ์นั้นก็เว้นการรับรองของตน หรือข้ออ้างของคนอื่น

ก็จะไม่พึงต่างกันโดยเป็นกษัตริย์ หรือโดยเป็นแพทย์หรือศูทร และไม่ควรถือ

เอา เพราะฉะนั้นมิใช่เป็นพราหมณ์โดยชาติ. จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 587

ทำให้แจ้งซึ่งความนี้ ด้วยวจีเภทด้วยคาถานี้ว่า ยถา เอตาสุ ชาตีสุ เหมือน

ในชาติทั้งหลายเหล่านี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความต่างแห่งชาติในสิ่งไม่มีใจครอง

อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงความต่างแห่งชาติในสัตว์ผู้มีใจครองจึงตรัสคำมี

อาทิอย่างนี้ว่า ตโต กีเฏ แต่นั้นจงรู้จักหนอน ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กีฏา ได้แก่หนอน. บทว่า ปฏงฺคา ได้แก่

ตั๊กแตน. บทว่า ยาว กุนฺถกิปิลฺลิเก ได้แก่ ตลอดจนมดดำและมดแดง

เป็นที่สุด. บทว่า ขุทฺทเก ตัวเล็ก ได้แก่กระแต กระรอกเป็นต้น. บทว่า

มหลฺลเก ได้แก่ กระต่ายและแมวเป็นต้น. เพราะสัตว์ทั้งหมดเหล่านั้นมีอยู่

หลายชนิด. บทว่า ปาทูทเร คือมีท้องเป็นเท้า ท่านอธิบายว่า สัตว์มีท้อง

เป็นเท้า. บทว่า ทีฆปิฏฺิเก คือสัตว์มีหลังยาว เพราะงูมีหลังตั้งแต่หัวถึงหาง

เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกงูเหล่านั้นว่า ทีฆปิฏฺิกา สัตว์มีหลังยาว. สัตว์

เหล่านั้นมีอยู่หลายชนิด โดยเฉพาะเป็นจำพวกอสรพิษเป็นต้น. บทว่า อุทเก

คือเกิดในน้ำ. แม้ปลาทั้งหลายก็มีหลายจำพวกโดยเฉพาะ เป็นจำพวกปลา

ตะเพียนเป็นต้น. บทว่า ปกฺขี ได้แก่ นกทั้งหลาย. เพราะนกเหล่านั้นท่าน

เรียก ปักษี เพราะเป็นสัตว์ปีก. ชื่อว่า ปตฺตยานา เพราะไปด้วยปีก. ชื่อว่า

วิหงฺคมา เพราะไปทางอากาศ. สัตว์เหล่านั้นมีหลายจำพวก โดยเฉพาะเป็น

ประเภท กา เป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงประเภทแห่งชาติของสัตว์ทั้งหลาย

เที่ยวไปทางบกทางน้ำและทางอากาศ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงทำให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 588

แจ้งถึงความประสงค์ที่จะทรงแสดง จึงตรัสคาถาว่า ยถา เอตาสุ ชาติเหล่านี้

ฉะนั้น ดังนี้.

พึงทราบความของบทนั้นโดยสังเขป ด้วยการพรรณนาถึงความประ-

สงค์ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล แต่โดยพิสดารในบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ

จะทรงแสดง ข้อที่ควรตรัสด้วยพระองค์เอง จึงตรัสคำมีอาทิว่า น เกเสหิ

มิใช่ด้วยผมทั้งหลาย ดังนี้. ในบทนั้นโยชนาแก้ไว้ว่า คำใดที่กล่าวไว้ว่าสัณฐาน

สำเร็จมาแต่ชาติเป็นอันมากไม่มีในหมู่มนุษย์ พึงทราบว่า คำนั้นไม่มีอย่างนี้.

เช่นว่าอะไร เช่นบทว่า น เกเสหิ พึงประกอบบททั้งปวงโดยนัยนี้ว่า มี

กำหนดว่า ผมเช่นนี้ ไม่มีแก่พวกพราหมณ์ ผมเช่นนี้ มีแก่กษัตริย์ เหมือนขน

เช่นนี้ มีแก่ช้างม้าและเนื้อเป็นต้น. ก็บทนี้ว่า เหมือนสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติ

ไม่มีในชาติอื่น พึงทราบว่า เป็นบทสรูปของความดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.

บทนั้นโยชนาแก้ว่า เพราะสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติเป็นอันมาก ไม่มีในมนุษย์

ทั้งหลาย ด้วยผมเป็นต้น ฉะนั้นพึงทราบข้อนี้ว่า สัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติ

ไม่มีในมนุษย์ทั้งหลายมีพราหมณ์เป็นต้น เหมือนสัณฐานสำเร็จมาแต่ชาติใน

ชาติอื่น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงถึงความที่เกิดต่างกันนี้ว่าเป็น

พราหมณ์ เป็นกษัตริย์ แม้ในสัตว์ทั้งหลายที่ต่างกันโดยชาติอย่างนี้ จึงตรัส

คาถาว่า ปจฺจตฺต เฉพาะตน. บทนั้นมีความว่า ความต่างกันแห่งสัณฐาน

มีผมเป็นต้นนี้ที่สำเร็จมาแต่กำเนิด ย่อมไม่มีในสรีระของตน ๆ แห่งพราหมณ์

เป็นต้น เฉพาะในมนุษย์ทั้งหลายเลย ดุจของสัตว์ดิรัจฉาน ก็เมื่อไม่มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 589

ต่างกัน แต่ความต่างกันอันเป็นวิธีบอกให้รู้ว่าต่างกัน คือ เป็นพราหมณ์

เป็นกษัตริย์ในมนุษย์ทั้งหลาย ท่านกล่าวไว้โดยสมัญญา คือกล่าวเพียงเป็น

โวหาร.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงข่มวาทะของภารทวาช

พราหมณ์ ผิว่า จะพึงเป็นพราหมณ์ได้เพราะชาติ แม้ผู้ที่มีอาชีววิบัติ ศีลวิบัติ

อาจารวิบัติก็พึงเป็นพราหมณ์ได้ ก็เพราะพราหมณ์ทั้งหลายเก่า ๆ ไม่ปรารถนา

คนนั้นเป็นพราหมณ์ แม้มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตเหล่าอื่นในโลกก็ไม่ปรารถนา

ฉะนั้น เพื่อจะยกย่องวาทะของพราหมณ์ เมื่อจะทรงแสดงวาทะนั้น จึงตรัส

คาถา ๘ คาถามีอาทิว่า โย หิ โกจิ มนุสฺเสสุ ก็ในมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ใด

ผู้หนึ่งอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพเป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โครกฺข ได้แก่ ดูแลนา. อธิบายว่า ทำกสิกรรม.

อันที่จริงแผ่นดินท่านเรียกว่า โค ก็ผืนแผ่นดินนั้นท่านเรียกว่า เขต. บทว่า

ปุถุสิปฺเปน ได้แก่ ศิลปะมีการทอหูกเป็นต้น. บทว่า โวหาร ได้แก่ การ

ค้าขาย. บทว่า ปรเปสฺเสน ได้แก่ ด้วยการรับใช้ผู้อื่น. บทว่า อิสฺสตฺถ

ได้แก่ ใช้อาวุธเลี้ยงชีพ ท่านอธิบายว่า ลูกศร และศัสตรา. บทว่า

โปโรหิจฺเจน ด้วยความเป็นปุโรหิต คือด้วยการทำประโยชน์แก่ผู้อื่น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศความไม่เป็นพราหมณ์ของผู้มี

อาจารวิบัติ ศีลวิบัติและมารยาทวิบัติ ด้วยลัทธิของพราหมณ์และโวหารของ

ชาวโลกแล้ว จึงทรงจัดระเบียบนี้ลงโดยความดังนี้ว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น

บุคคลย่อมไม่เป็นพราหมณ์โดยชาติ แต่เป็นพราหมณ์ด้วยคุณธรรม เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 590

ฉะนั้น ผู้มีคุณธรรมถึงจะเกิดในตระกูลใด ๆ ก็ตาม ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ได้

นี้เป็นระเบียบในข้อนี้ ดังนี้ เมื่อจะทรงประกาศระเบียบนั้นต่อไปจึงตรัสว่า

น จาห พฺราหิมณ พฺรูมิ เราไม่กล่าวผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.

บทนั้นมีความดังนี้ เราไม่กล่าวผู้เกิดในกำเนิด ๔ กำเนิดใดกำเนิด

หนึ่ง หรือผู้เกิดแต่กำเนิดในท้องมารดาซึ่งพราหมณ์สรรเสริญโดยนัยเป็นต้นว่า

เป็นผู้เกิดดีแล้วทั้งสองฝ่าย และโดยนัยนี้ว่า พวกพราหมณ์กล่าวถึงกำเนิดอัน

ได้แก่มรรคที่เกิดบริสุทธิ์ของพราหมณ์ว่าเป็นผู้มีครรภ์บริสุทธิ์ ความพร้อม

ของมารดา ท่านกล่าวว่าชื่อว่าผู้เกิดแต่กำเนิดในท้องมารดา เพราะพร้อมที่จะ

ให้เกิดจากครรภ์อันบริสุทธิ์นั้น แม้ผู้เกิดแต่กำเนิดในท้องมารดานั้นว่าเป็น

พราหมณ์ โดยสักว่าเกิดแต่กำเนิดนี้ และโดยสักว่าเกิดแต่มารดานี้. เพราะ

เหตุไร. เพราะผู้นั้นเป็นผู้ชื่อว่า โภวาที เพราะเป็นผู้ประเสริฐด้วยยังมีเครื่อง

กังวลอื่นโดยเพียงคำว่า โภ โภ ดังนี้ ผู้นั้นแลยังเป็นผู้มีเครื่องกังวล. ก็ผู้

ใดแม้เกิดในตระกูลใด ๆ ก็ตาม เป็นผู้ไม่มีเครื่องกังวล เพราะไม่มีเครื่องกังวล

มีราคะเป็นต้น เป็นผู้ไม่ถือมั่นเพราะสละความยึดถือทั้งปวงได้ เรากล่าว

ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่นนั้นว่าเป็นพราหมณ์. เพราะเหตุไร. เพราะ

เป็นผู้มีบาปอันลอยแล้ว. มีอะไรยิ่งกว่านั้น มีคาถา ๒๗ คาถา มีอาทิว่า

สพฺพสโยชน เฉตฺวา ตัดสังโยชน์ได้ทั้งหมด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพสโยชน ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง.

บทว่า น ปริตสฺสติ ไม่สะดุ้ง คือไม่กลัวเพราะตัณหา. บทว่า ตมห

ความว่า เรากล่าวผู้ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง เพราะล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 591

ราคะเป็นต้น ผู้พรากเพราะไม่มีโยคะแม้ทั้ง ๔ ว่าเป็นพราหมณ์. บทว่า นทฺธึ

ชะเนาะ คือความโกรธที่มัดไว้. บทว่า วรตฺต เชือก คือตัณหาที่ผูกไว้. บทว่า

สนฺธาน สหนุกฺกม ได้แก่ หัวเงื่อนคือทิฏฐิ ๖๒ อันอยู่ในลำดับอนุสัย (กิเลส

ที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน). อธิบายว่า เรากล่าวผู้ที่ตัดแม้ทั้งหมดนี้ได้ชื่อว่า

มีลิ่มสลักอันถอนแล้ว เพราะถอนลิ่มสลักคืออวิชชาได้ ชื่อว่าผู้ตรัสรู้แล้ว

เพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔ ว่า เป็นพราหมณ์.

บทว่า อทุฏฺโ ผู้ไม่ประทุษร้ายแล้ว อธิบายว่า เรากล่าวผู้ไม่โกรธ

อดกลั้นคำด่าว่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ การทุบตีด้วยฝ่ามือเป็นต้น และการจองจำ

ด้วยมัดด้วยเชือกเป็นต้น ผู้มีกำลังคือขันติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยกำลังคือ

ขันติ ผู้มีหมู่พล เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยหมู่พลคือขันตินั้นเอง อันเป็นหมู่

พลแห่งการเกิดบ่อย ๆ ผู้เห็นปานนั้นว่า เป็นพราหมณ์.

บทว่า วตวนฺต มีวัตร อธิบายว่า เรากล่าวผู้ประกอบด้วยวัตรอัน

กำจัดกิเลส ผู้มีศีล คือจตุปาริสุทธิศีล ผู้ไม่มีกิเลสอันฟูขึ้นเพราะไม่มีกิเลสอัน

ฟูขึ้นคือตัณหา ผู้ฝึกตนแล้วด้วยการฝึกอินทรีย์ ๖ ผู้ทรงไว้ซึ่งร่างอันมีในที่

สุดด้วยอัตภาพอันดำรงอยู่ในที่สุดว่า เป็นพราหมณ์.

บทว่า โย น ลิมฺปติ ความว่า เรากล่าวผู้ไม่ติดอยู่ด้วยกามสอง

อย่าง คือไม่ตั้งอยู่ในกามนั้น ว่าเป็นพราหมณ์.

บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ แห่งทุกข์คือขันธ์. บทว่า ปนฺนภาร ผู้

ปลงภาระแล้ว อธิบายว่า เรากล่าวผู้ปลงภาระคือขันธ์ได้แล้ว พรากแล้วจาก

โยคะ ๔ หรือกิเลสทั้งหมดว่า เป็นพราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 592

บทว่า คมฺภีรปญฺ ผู้มีปัญญาลึกซึ้ง อธิบายว่า เรากล่าวผู้ประกอบ

ด้วยปัญญาอันเป็นไปในขันธ์เป็นต้นอันลึกซึ้ง ผู้มีปัญญา ด้วยปัญญามีโอชะ

เกิดแต่ธรรม ผู้ฉลาดในทางและมิใช่ทางอย่างนี้ว่า นี้เป็นทางแห่งทุคติ นี้เป็น

ทางแห่งสุคตินี้เป็นทางแห่งนิพพาน นี้มิใช่ทางดังนี้ ผู้บรรลุประโยชน์อันสูงสุด

คือพระอรหัตว่า เป็นพราหมณ์.

บทว่า อสสฏฺ ผู้ไม่เกี่ยวข้อง อธิบายว่า เรากล่าวผู้ไม่เกี่ยวข้อง

เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องทางกายด้วยการเห็น การฟัง การสนทนา การบริโภค

ไม่เกี่ยวข้องด้วยบุคคล ๒ จำพวก คือ คฤหัสถ์และบรรพชิต. ไม่มีความอาลัย

เที่ยวไป ผู้เห็นปานนั้นว่า เป็นพราหมณ์.

บทว่า นิธาย วาง คือ วางลง คือ ปลงลง. บทว่า ตเสสุ ถาวเรสุ

ทั้งผู้สะดุ้ง ทั้งผู้มั่นคง คือ ชื่อว่าผู้สะดุ้ง เพราะมีตัณหา ชื่อว่าผู้มั่นคง

เพราะเป็นผู้มั่นคงโดยไม่มีตัณหา. บทว่า โย น หนติ ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ความ

ว่า ผู้ใดวางอาชญาแล้วเพราะปราศจากความแค้นเคืองในสัตว์ทั้งปวงอย่างนี้

ไม่ฆ่าสัตว์ไร ๆ ด้วยตนเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.

บทว่า อวิรุทฺธ ไม่ปองร้าย อธิบายว่า เรากล่าวผู้ไม่ปองร้ายเพราะ

ไม่มีความอาฆาตในโลกิยมหาชน แม้เขาปองร้ายด้วยความอาฆาต ผู้ดับคือ

วางอาชญาเสียได้ในชนทั้งหลายผู้มีอาชญาในตน เพราะไม่เว้นจากการให้ประ-

หารคนอื่น เมื่อไม่มีไม้หรือศัสตราในมือ ผู้ไม่ยึดถือเพราะไม่มีความยึดถือใน

ผู้ที่ไม่ความยึดถือ เพราะยึดถือในขันธ์ ๕ ว่า เรา ของเราดังนี้ ผู้เห็นปานนั้น

ว่า เป็นพราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 593

บทว่า อารคฺคา บนปลายเหล็กแหลม อธิบายว่า เรากล่าวผู้ที่ทำ

ราคะเป็นต้น และมักขะมีลักษณะลบหลู่คุณของผู้อื่นให้ตกไป เหมือนเมล็ด

พันธุ์ผักกาดตกไปจากปลายเหล็กแหลมฉะนั้น คือราคะเป็นต้นและมักขะไม่ตั้ง

อยู่ในจิต เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ตั้งอยู่บทปลายเหล็กแหลมฉะนั้น ว่า

เป็นพราหมณ์.

บทว่า อกกฺกส คือไม่หยาบ. บทว่า วิญฺาปนึ คือให้รู้ความ

กันได้. บทว่า สจฺจ คือ จริง. บทว่า นาภิสเช ไม่ให้ข้อง คือไม่ทำ

ให้ผู้อื่นข้อง ด้วยทำให้เขาโกรธด้วยคำพูด ขึ้นชื่อว่าพระขีณาสพพึงกล่าวคำ

เห็นปานนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวผู้นั้น ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวบุคคลที่ไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ในโลกนี้ในบรรดาอาภรณ์

คือผ้าสาฏกเป็นต้น ยาวหรือสั้น ในบรรดาแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้นน้อย

หรือใหญ่ งามหรือไม่งามโดยมีค่ามากและค่าน้อย ว่าเป็นพราหมณ์.

บทว่า นิราสย คือไม่มีตัณหา. บทว่า วิสยุตฺต คือ พรากจาก

กิเลสทั้งหมด เรากล่าวผู้ทีไม่มีตัณหา ผู้พรากจากกิเลสนั้น ว่าเป็นพราหมณ์.

บทว่า อาลยา ได้แก่ ตัณหา. บทว่า อญฺาย อกถกถี รู้ทั่วถึง

คือรู้วัตถุ ๘ ตามความเป็นจริง ไม่มีความสงสัยด้วยความสงสัยในวัตถุ ๘. บท

ว่า อมโตคธ อนุปฺปตฺต ความว่า ผู้หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เรากล่าวผู้

นั้น ว่าเป็นพราหมณ์.

บทว่า อุโภ ความว่าละทิ้งบุญและบาปแม้ทั้งสองอย่าง. บทว่า สงฺค

คือ ธรรมเป็นเครื่องข้องมีราคะเป็นต้น. บทว่า อุปจฺจคา คือก้าวล่วงแล้ว

เรากล่าวบุคคลผู้ไม่เศร้าโศก ด้วยความโศกอันมีวัฏฏะเป็นมูล ผู้ปราศจากธุลี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 594

เพราะไม่มีธุลีคือราคะเป็นต้นในภายใน ผู้บริสุทธิ์ เพราะไม่มีอุปกิเลส ว่าเป็น

พราหมณ์.

เรากล่าวบุคคลผู้ไม่มีมลทิน คือเว้นจากมลทินมีหมอกเป็นต้น ผู้

บริสุทธิ์ คือไม่มีอุปกิเลส ผู้ผ่องใสคือมีจิตผ่องใส ผู้ไม่ขุ่นมัวคือเว้นจากความ

ขุ่นมัวคือกิเลส ผู้สิ้นความยินดีในภพ คือสิ้นตัณหาในภพ ๓ ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวภิกษุผู้ล่วงทางอ้อมคือราคะ หล่มคือกิเลส สังสารวัฏ โมหะ

คือความไม่รู้แจ้งอริยสัจ ๔ เป็นผู้ข้ามโอฆะ ๔ เป็นผู้ถึงฝั่ง เป็นผู้เพ่งด้วยฌาน

สองอย่าง เป็นผู้ไม่หวั่นไหว เพราะไม่มีตัณหา เป็นผู้ไม่มีสงสัย เพราะ

หมดความสงสัย เป็นผู้ดับ เพราะดับกิเลส ไม่ยึดมั่นเพราะไม่มีอุปาทาน

ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวบุคคลผู้ละกามแม้ทั้งสองในโลกนี้ได้ ไม่มีเรือน ออกบวช

สิ้นกาม และสิ้นภพ ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ละตัณหาเป็นไปในทวาร ๖ ในโลกนี้ ไม่ต้องการครอง

เรือน ไม่มีเรือนออกบวช เพราะตัณหาและภพสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์

เรากล่าวผู้ละโยคะอันเป็นของมนุษย์ ได้แก่อายุและกามคุณ ๕ อีกนัย

หนึ่ง ได้แก่โยคะอันเป็นทิพย์ ละโยคะอันเป็นของมนุษย์ก้าวล่วงโยคะอันเป็น

ของทิพย์ได้ พรากจากโยคะ ๔ ทั้งหมด ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ละความยินดี คือยินดีในกามคุณ ๕ ผู้ไม่ยินดีคือกระสันใน

การอยู่ในป่า ผู้เยือกเย็น คือผู้ดับกิเลสผู้ไม่มีอุปธิ คือไม่มีกิเลสผู้มีความเพียร

คือมีความเพียรครอบงำขันธโลกทั้งหมดเห็นปานนี้ตั้งอยู่ ว่าเป็นพราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 595

เรากล่าวผู้รู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายทำให้ปรากฏโดยอาการทั้ง

ปวง ผู้ไม่ข้องเพราะไม่มีกิเลสติด ผู้ไปดีเพราะไปด้วยดีในทางปฏิบัติ ผู้ตรัสรู้

แล้ว เพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔ ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ที่เทวดาเป็นต้นไม่รู้คติ สิ้นอาสวะเพราะอาสวะทั้งหลายสิ้น

แล้ว ผู้เป็นอรหันต์เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลสทั้งหลาย ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้ไม่มีกังวลคือการยึดตัณหาในฐานะเหล่านี้ ในกาลก่อนคือ

ในขันธ์ที่เป็นอดีต ในภายหลังคือในขันธ์เป็นอนาคต ในท่ามกลางคือใน

ขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน ผู้ไม่มีกังวลด้วยความกังวลมีราคะเป็นต้น ผู้ไม่ยึดถือ

เพราะไม่มีความยึดถือไร ๆ ว่าเป็นพราหมณ์.

เรากล่าวผู้องอาจ เพราะเช่นกับโคอุสภะ เพราะไม่มีความหวาดสะดุ้ง

ผู้ประเสริฐ เพราะสูงสุด ผู้เป็นนักปราชญ์ เพราะถึงพร้อมด้วยความเพียร

ผู้แสวงหาคุณใหญ่ เพราะแสวงหาศีลขันธ์เป็นต้นใหญ่ ผู้ชนะ เพราะชนะมาร

๓ จำพวก ผู้ล้างคือล้างกิเลสได้หมด ผู้ตรัสรู้ เพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔ ว่าเป็น

พราหมณ์.

เรากล่าวผู้ระลึกชาติก่อน ๆ ได้ ผู้เห็นสวรรค์คือเทวโลก ๒๖ และ

อบาย ๔ อย่าง ด้วยทิพยจักษุ ผู้บรรลุพระอรหัตกล่าวคือการสิ้นชาติ ว่าเป็น

พราหมณ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสกะพราหมณ์ โดยคุณธรรมอย่างนี้แล้ว

เมื่อจะทรงแสดงว่า คนเหล่าใดทำความยึดถือ ว่าเป็นพราหมณ์โดยกำเนิด

คนเหล่านั้นไม่รู้จักโวหารนี้ อนึ่งความเห็นของคนเหล่านั้นเป็นทิฏฐิชั่ว จึง

ตรัสสองคาถาว่า สมญฺา เหสา ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 596

บทนั้นมีความดังนี้ นามและโคตรที่เขากำหนดกันเป็นบัญญัติในโลก

ว่าเป็นพราหมณ์ เป็นกษัตริย์ เป็นภารทวาชมาณพ เป็นวาเสฏฐมาณพ นี้พึง

ทราบว่าเป็นเพียงโวหารบัญญัติกันขึ้น. เพราะเหตุไร. เพราะนามและโคตร

มาแล้ว เพราะรู้ตามกันมา เพราะนามและโคตรนั้นเขากำหนดรู้กันได้ด้วยญาติ

และสาโลหิตในกาลที่เขาเกิดแล้วนั้น ๆ นั่นเอง หากไม่พึงกำหนดนามและโคตร

ไว้อย่างนี้ ใคร ๆ เห็น ใคร ๆ ก็จะไม่พึงรู้ได้ว่า ผู้นี้เป็นพราหมณ์ หรือเป็น

ภารทวาชมาณพ. นามและโคตรที่กำหนดไว้แล้วอย่างนี้ เป็นความเห็นของ

พวกไม่รู้ซึ่งสืบเนื่องกันมาสิ้นกาลนาน นามและโคตรที่กำหนดไว้สืบเนื่อง เป็น

ความเห็นกันมาในหัวใจของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่รู้สิ้นกาลนานว่า นี้สักว่าเป็นนาม

และโคตร กำหนดไว้เพียงสำหรับเรียกชื่อกัน ชนทั้งหลายผู้ไม่รู้ ย่อมเรียก

นามและโคตรนั้น ว่าเป็นพราหมณ์โดยชาติ เพราะนามและโคตรนั้นสืบเนื่อง

กันมา ท่านอธิบายว่า ผู้ไม่รู้เท่านั้นย่อมกล่าวอย่างนี้.

ชนเหล่าใดทำความยึดถือว่าเป็นพราหมณ์โดยชาติ ชนเหล่านั้นไม่รู้

ว่าเป็นเพียงโวหาร อนึ่งความเห็นของชนเหล่านั้นเป็นทิฏฐิชั่ว ครั้นทรงแสดง

ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงปฏิเสธวาทะว่าเป็นพราหมณ์โดยชาติ

โดยตรง และเมื่อจะทรงปลูกฝังวาทะว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม จึงตรัสว่า

น ชจฺจา ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ ดังนี้เป็นต้น.

ในคาถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำมีอาทิว่า กสฺสโล กมฺมุนา

เป็นชาวนาเพราะกรรม เพื่อความพิสดารของความด้วยคาถากึ่งหนึ่งนี้ว่า

กมุมุนา พฺราหฺมโณ โหติ กมฺมุนา โหติ อพฺราหฺมโณ บุคคลเป็น

พราหมณ์ก็เพราะกรรม ไม่เป็นพราหมณ์เพราะกรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 597

ในบทเหล่านั้น บทว่า กมฺมุนา ได้แก่ด้วยเจตนากรรมอันทำให้เกิด

การงานทางกสิกรรมเป็นต้น. บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาททสฺสา ได้แก่ บัณฑิต

ทั้งหลายเห็นปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้ว่า บุคคลเป็นอย่างนี้ด้วยปัจจัยนี้ ดังนี้.

บทว่า กมฺมวิปากโกวิทา ฉลาดในกรรมและวิบาก ได้แก่ฉลาดในกรรม

และวิบากอย่างนี้ว่า เป็นผู้เกิดในตระกูลอันไม่ควรยกย่องและดูหมิ่นด้วย

อำนาจกรรม แม้เกิดเป็นอย่างอื่น ก็เป็นในเพราะกรรมเลวและประณีตให้ผล

เพราะความเลวและความประณีต. ก็ด้วยคาถาว่า กมฺมุนา วตฺตตี หมู่สัตว์

อันเป็นไปเพราะกรรม มีความเป็นอย่างเดียวกันว่า สัตวโลก หมู่สัตว์ หรือ

สัตว์นั่นเอง แต่ต่างกันเพียงคำพูดเท่านั้น. อนึ่ง ในบทว่า กมฺมุนา วตฺตตี นี้

พึงทราบการปฏิเสธด้วยทิฏฐินี้ด้วยบทก่อนว่า อตฺถิ พฺรหฺมา มหาพฺรหฺมา

ฯเปฯ เสฏฺโ สชฺชิตา วสี ปิตา ภูตภพฺยาน พรหม มหาพรหมมีอยู่

ฯลฯ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้มีอำนาจ เป็นผู้ควรแก่ความเจริญ

งอกงาม. จริงอยู่ โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม คือย่อมเกิดในคติทั้งหลายนั้น ๆ

โลกนั้นไม่มีใครสร้าง. ด้วยบทที่สองท่านแสดงว่า โลกแม้เกิดขึ้นด้วยกรรม

อย่างนี้ แม้ในการเป็นไปก็ย่อมเป็นไปด้วยกรรมในอดีตและปัจจุบัน เสวยสุข

และทุกข์ถึงความเลวและประณีตเป็นต้น ย่อมเป็นไป. ด้วยบทที่สามท่านแสดง

สรุปความนั้น แม้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่อง

ผูกพัน ย่อมเป็นไปติดอยู่กับกรรมนั่นเอง มิใช่ด้วยอย่างอื่น. ด้วยบทที่สี่ท่าน

แสดงความนั้นด้วยอุปมา. บทว่า รถสฺสาณีว ยายโต เหมือนสลักรถที่แล่น

ไปอยู่ กรรมชื่อว่าเป็นเครื่องผูกพันเพราะความเกิดขึ้น และเพราะความเป็นไป

ของโลก มิใช่ไม่มีเครื่องผูกพันเกิดขึ้นคือเป็นไปไม่ได้ เหมือนสลักเป็นเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 598

ผูกพันรถที่แล่นไปอยู่ มิใช่ไม่มีเครื่องผูกพันนั้นฉะนั้น เพราะโลกมีกรรมเป็น

เครื่องผูกพันอย่างนี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้

ประเสริฐเพราะกรรมอันประเสริฐ จึงตรัสคาถาที่สองว่า ตเปน คือ ตปะ

ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตเปน ได้แก่ การสำรวมอินทรีย์. บทว่า

พฺรหฺมจริเยน ได้แก่ ความประพฤติอันประเสริฐที่เหลือจากที่กล่าวแล้ว

อาศัยการศึกษา. บทว่า สยเมน คือ ด้วยศีล. บทว่า ทเมน คือ ด้วยปัญญา.

บุคคลย่อมเป็นพราหมณ์เพราะกรรมอันประเสริฐ คือเป็นพรหมนั้น เพราะ

เหตุไร เพราะกรรมนี้นำความเป็นพราหมณ์ที่สูงสุดมาให้ ท่านอธิบายว่า

ความเป็นพราหมณ์ที่สูงสุดคือกรรมนี้. ปาฐะว่า พฺรหฺมาน ดังนี้บ้าง. บทนั้น

มีความดังนี้ ชื่อว่า พฺรหฺมาน เพราะนำมาซึ่งความเป็นพรหม. ท่านอธิบายว่า

นำความเป็นพราหมณ์มาให้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สองดังนี้. บทว่า สนฺโต คือมีกิเลสสงบ

แล้ว. บทว่า พฺรหฺมา สกฺโก เป็นพรหมผู้องอาจ คือเป็นทั้งพรหมเป็น

ทั้งผู้องอาจ. ท่านอธิบายว่า ผู้ที่เป็นอย่างนั้นมิใช่เป็นพราหมณ์อย่างเดียว

ที่แท้เขาเป็นทั้งพรหมเป็นทั้งผู้องอาจของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้ง ดูก่อนวาเสฏฐะ

ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาวาเสฏฐสูตรที่ ๙ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 599

โกกาลิกสูตรที่ ๑๐

ว่าด้วยกรรมที่ให้เกิดในนรก

[๓๘๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุ

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ตกอยู่ใน

อำนาจแห่งความปรารถนาลามก พระเจ้าข้า.

[๓๘๕] เมื่อโกกาลิกภิกษุกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสกะโกกาลิกภิกษุว่า โกกาลิกะ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ โกกาลิกะ เธอ

อย่าได้กล่าวอย่างนี้ เธอจงยังจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด

สารีบุตรและโมคคัลลานะมีศีลเป็นที่รัก.

แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชักนำข้าพระองค์ให้จงใจเชื่อ ให้

เลื่อมใสก็จริง แต่พระสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาลามก

แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสกะโกกาลิกภิกษุว่า โกกาลิกะ เธอ

อย่าได้กล่าวอย่างนี้ โกกาลิกะ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย เธอจงยังจิตให้

เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะมีศีลเป็น

ที่รัก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 600

แม้ครั้งที่ ๓. . .

ลำดับนั้นแล โกกาลิกภิกษุลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ากระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีกไปแล้วไม่นานนัก

ได้มีต่อมประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาดเกิดขึ้นทั่วกาย ครั้นแล้ว เป็นย่อมประมาณ

เท่าเมล็ดถั่วเขียว เท่าเมล็ดถั่วดำ เท่าเมล็ดพุดทรา เท่าผลพุดทรา เท่าผล

มะขามป้อม เท่าผลมะตูมอ่อน เท่าผลขนุนอ่อน แตกหัวแล้ว หนองและ

เลือดไหลออก ลำดับนั้น โกกาลิกภิกษุมรณภาพเพราะอาพาธนั้นเอง ครั้น

โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้ว ก็ย่อมอุบัติในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาตใน

พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ. ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อ

ปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีงามยิ่ง ทำพระเชตวันสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมเเล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิก-

ภิกษุมรณภาพแล้ว ครั้นแล้วอุบัติในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาตในพระ-

สารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ท้าวสหัมบดีพรหมครั้นกราบทูลดังนี้แล้ว

กระทำประทักษิณแล้ว ได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

ครั้นพอล่วงราตรีนั้น ไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหม

มีรัศมีอันงามยิ่ง ทำวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาท

แล้วยืนอยู่ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้วอุบัติในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาตในพระสารีบุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 601

และพระโมคคัลลานะ ท้าวสหัมบดีพรหม ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว กระทำ

ประทักษิณแล้ว ได้อันตรธานหายไปในที่นั้นเอง.

[๓๘๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูล

ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรก

นานเพียงใด พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ประมาณอายุในปทุมนรก

นานนัก การนับประมาณอายุในปทุมนรกนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้

พันปี หรือว่าเท่านี้แสนปี ไม่ใช่ทำได้ง่าย.

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระองค์สามารถจะทรงกระทำการเปรียบ

เทียบได้หรือไม่ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับว่า สามารถ ภิกษุ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนเกวียนที่บรรทุกงาหนัก ๒๐ หาบของชาวโกศล

เมื่อล่วงไปได้ร้อยปี พันปี แสนปี บุรุษพึงหยิบเมล็ดงาขึ้นจากเกวียนนั้นออก

ทิ้งเมล็ดหนึ่ง ๆ ดูก่อนภิกษุ เกวียนที่บรรทุกงาหนัก ๒๐ หาบของชาวโกศล

นั้น จะพึงถึงความสิ้นไปโดยลำดับนี้เร็วเสียกว่า แต่อัพพุทนรกหนึ่งจะไม่พึง

ถึงความสิ้นไปได้เลย ดูก่อนภิกษุ ๒๐ อัพพุทนรกเป็นหนึ่งนิรัพพุทนรก ๒๐

นิรัพพุทนรกเป็นหนึ่งอัพพนรก ๒๐ อัพพนรกเป็นหนึ่งอหหนรก ๒๐ อหห-

นรกเป็นหนึ่งอฎฏนรก ๒๐ อฏฏนรกเป็นหนึ่งกุมุทนรก ๒๐ กุมุทนรกเป็น

หนึ่งโสคันธิกนรก ๒๐ โสคันธิกนรกเป็นหนึ่งอุปลกนรก ๒๐ อุปลกนรก

เป็นหนึ่งปุณฑรีกนรก ๒๐ ปุณฑรีกนรกเป็นหนึ่งปทุมนรก อย่างนี้ ก็โกกาลิก-

ภิกษุอุบัติในปทุมนรกเพราะจิตคิดอาฆาตในสารีบุตรและโมคคัลลานะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 602

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว

จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

[๓๘๗] วาจาหยาบเช่นกับขวาน

เกิดในปากของบุรุษแล้ว เป็นเหตุตัดรอน

ตนเองของบุรุษผู้เป็นพาล ผู้กล่าวคำทุภาษิต

ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรนินทา หรือนินทา

คนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นย่อมก่อโทษเพราะ

ปาก ย่อมไม่ได้ความสุขเพราะโทษนั้น การ

แพ้ด้วยทรัพย์เพราะเล่นการพนันเป็นโทษ

เพียงเล็กน้อย โทษของผู้ที่ยังใจให้ประทุษ-

ร้ายในท่านผู้ปฏิบัติดีนี้แล เป็นโทษมากกว่า.

บุคคลตั้งวาจาและใจอันลามกไว้แล้ว

เป็นผู้ติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรก

ตลอดกาลประมาณด้วยการนับปี ๑๐๐,๐๐๐

นิรัพพุทะและ ๔๐ อัพพุทะ.

ผู้กล่าวคำเท็จย่อมเข้าถึงนรก อนึ่ง

ผู้ทำกรรมอันลามกแล้ว กล่าวว่าไม่ได้ทำ

ก็ย่อมเข้าถึงนรกอย่างเดียวกัน แม้คนทั้ง

สองนั้นเป็นมนุษย์มีกรรมอันเลวทราม ละ

ไปแล้วย่อมเป็นผู้เสมอกันในโลกเบื้องหน้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 603

ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษ-

ร้าย ผู้เป็นบุรุษหมดจด ไม่มีกิเลสเครื่อง

ยั่วยวน บาปย่อมกลับมาถึงผู้เป็นพาลนั้นเอง

เหมือนธุลีละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลม

ฉะนั้น.

ผู้ที่ประกอบเนือง ๆ ในคุณคือความ

โลภ ไม่มีศรัทธา กระด้าง ไม่รู้ความ

ประสงค์ของผู้ขอ มีความตระหนี่ ประกอบ

เนือง ๆ ในคำส่อเสียด ย่อมบริภาษผู้อื่น

ด้วยวาจา.

แน่ะคนผู้มีปากเป็นหล่ม กล่าวคำ

อันไม่จริง ผู้ไม่ประเสริฐ ผู้กำจัดความเจริญ

ลามก ผู้กระทำความชั่ว ผู้เป็นบุรุษในที่สุด

มีโทษ เป็นอวชาต ท่านอย่าได้พูดมากใน

ที่นี้ อย่าเป็นสัตว์นรก.

ท่านย่อมเกลี่ยธุลี คือ กิเลสลงในตน

เพื่อธรรมมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ท่านผู้ทำ

กรรมหยาบ ยังติเตียนสัตบุรุษ ท่านประพฤติ

ทุจริตเป็นอันมากแล้วย่อมไปสู่มหานรกสิ้น

กาลนาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 604

กรรมของใคร ๆ ย่อมฉิบหายไปไม่

ได้เลย บุคคลมาได้รับกรรมนั้นแล เป็น

เจ้าของแห่งกรรมนั้น (เพราะ) คนเขลาผู้ทำ

กรรมหยาบ ย่อมเห็นความทุกข์ในตน ใน

ปรโลก.

ผู้ทำกรรมหยาบย่อมเข้าถึงสถานที่

อันนายนิรยบาลนำขอเหล็กมา ย่อมเข้าถึง

หลาวเหล็กอันคมกริบและย่อมเข้าถึงก้อน

เหล็กแดงโชติช่วง เป็นอาหารอันสมควรแก่

กรรมที่ตนทำไว้อย่างนั้น.

นายนิรยบาลทั้งหลายเมื่อพูดก็พูดไม่

เพราะสัตว์นรกจะวิ่งหนีก็ไม่ได้ ไม่ได้ที่ต้าน-

ทานเลย นายนิรยบาลลากขึ้นภูเขาถ่านเพลิง

สัตว์นรกนั้นนอนอยู่บนถ่านเพลิงอันลาดไว้

ย่อมเข้าไปสู่กองไฟอันลุกโพลง.

พวกนายนิรยบาลเอาข่ายเหล็กพัน

ตีด้วยค้อนเหล็กในที่นั้น สัตว์นรกทั้งหลาย

ย่อมไปสู่โรรุวนรกที่มืดทึบ ความมืดทึบนั้น

แผ่ไปเหมือนกลุ่มหมอกฉะนั้น.

ก็ลำดับนั้น สัตว์นรกทั้งหลาย ย่อม

เข้าไปสู่หม้อเหล็กอัน ไฟลุกโพลง ลอยฟ่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 605

อยู่ ไหม้อยู่ในหม้อเหล็กนั้น อันไฟลุก

โพลงสิ้นกาลนาน.

ก็ผู้ทำกรรมหยาบจะไปสู่ทิศใด ๆ ก็

หมกไหม้อยู่ในหม้อเหล็กอันเปื้อนด้วยหนอง

และเลือดในทิศนั้น ๆ ลำบากอยู่ในหม้อ

เหล็กนั้น.

ผู้ทำกรรมหยาบหมกไหม้อยู่ในน้ำ

อันเป็นที่อยู่ของหมู่หนอน ในหม้อเหล็ก

นั้น ๆ แม้ฝั่งเพื่อจะไปก็ไม่มีเลย เพราะกะทะ

ครอบอยู่โดยรอบมิดชิดในทิศทั้งปวง.

และยังมีป่าไม้มีใบเป็นดาบคม สัตว์

นรกทั้งหลายย่อมเข้าไปสู่ป่าไม้ ถูกดาบ

ใบไม้ตัดหัวขาด พวกนายนิรยบาล เอาเบ็ด

เกี่ยวลิ้นออกแล้ว ย่อมเบียดเบียนด้วยการ

ดึงออกมา ๆ

ก็ลำดับนั้น สัตว์นรกทั้งหลายย่อม

เข้าถึงแม่น้ำด่างอันเป็นหล่ม ย่อมเข้าถึงคม

มีดโกนอันคมกริบ สัตว์นรกทั้งหลายผู้

กระทำบาป เป็นผู้เขลา ย่อมตกลงไปบน

คมมีดโกนนั้น เพราะได้กระทำบาปไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 606

ก็สุนัขดำ สุนัขด่าง และสุนัขจิ้งจอก

ย่อมรุมกัดกินสัตว์นรกทั้งหลาย ผู้ร้องไห้อยู่

ในที่นั้น ฝูงกาดำ แร้ง นกตะกรุม และกา

ไม่ดำ ย่อมรุมกันจิกกิน.

คนผู้ทำกรรมหยาบ ย่อมเห็นความ

เป็นไปในนรกนี้ยากหนอ เพราะฉะนั้น

นรชนพึงเป็นผู้ทำกิจที่ควรทำในชีวิตที่ยัง

เหลืออยู่นี้ และไม่พึงประมาท เกวียน

บรรทุกงา ผู้รู้ทั้งหลายนับแล้วนำเข้าไป

เปรียบในปทุมนรก เป็น ๕๑,๒๐๐ โกฏิ.

นรกเป็นทุกข์ เรากล่าวแล้วใน

พระสูตรนี้ เพียงใด สัตว์ทั้งหลายผู้ทำกรรม

หยาบ พึงอยู่ในนรกแม้นั้น ตลอดกาลนาน

เพียงนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลพึงกำหนด

รักษาวาจา ใจ ให้เป็นปกติในผู้สะอาด

มีศีลเป็นที่รักและมีคุณดีงามทั้งหลาย.

จบโกกาลิกสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 607

อรรถกถาโกกาลิกสูตรที่ ๑๐

โกกาลิกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดอย่างไร ?

การเกิดขึ้นแห่งสูตรนี้ จักมีแจ้งในอรรถกถาแห่งสูตรนั่นแล. บทมี

อาทิว่า เอวมฺเม สุต แห่งสูตรนี้ มีนัยดังได้กล่าวแล้วในอรรถกถานั่นแล

ก็ในบทว่า อถโข โกกาลิโก นี้ โกกาลิกะนี้เป็นใคร เหตุไรจึง

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านกล่าวไว้ดังต่อไปนี้.

มีเรื่องเล่ามาว่า โกกาลิกะนี้ เป็นบุตรของโกกาลิกเศรษฐี ในเมือง

โกกาลิกะแคว้น โกกาลิกะ ออกบวชแล้วอาศัยอยู่ในวิหารที่บิดาสร้างไว้นั่นเอง

มีชื่อว่าจูฬโกกาลิกะ มิใช่เป็นศิษย์ของพระเทวทัต. เพราะโกกาลิกะศิษย์พระ

เทวทัตนั้นเป็นบุตรพราหมณ์ ชื่อว่ามหาโกกาลิกะ. ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี พระอัครสาวกสองรูปพร้อมด้วยภิกษุ

ประมาณ ๕๐๐ จาริกไปยังชนบท เมื่อจวนใกล้เข้าพรรษาส่งภิกษุเหล่านั้นกลับ

ไป ตนเองถือบาตรและจีวรไปถึงนครในชนบทนั้น ได้ไปยังวิหารนั้น ณ ที่นั้น

พระอัครสาวกทั้งสองรูปสนทนาอยู่กับโกกาลิกภิกษุนั้นแล้วกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส

เราจักอยู่ ณ ที่นี้สัก ๓ เดือน ท่านอย่าบอกใคร ๆ นะ โกกาลิกภิกษุรับคำ

ครั้นล่วงไป ๓ เดือน วันหนึ่งโกกาลิกภิกษุรีบเข้าไปยังนครกล่าวว่า ท่านทั้ง

หลายไม่รู้หรือว่าพระอัครสาวกทั้งสองมาอยู่ ณ ที่นี้จึงไม่มีใครนิมนต์ถวายปัจจัย

ชาวนครถามว่า ทำไมพระคุณเจ้าไม่บอกพวกผมเล่า. โกกาลิกภิกษุตอบว่า จะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 608

บอกไปทำไม พวกท่านไม่เห็นภิกษุสองรูปอาศัยอยู่ดอกหรือ ทั้งสองรูปนั้นเป็น

พระอัครสาวกมิใช่หรือ. ชาวนครพากันประชุมด่วน นำเนยใส น้ำอ้อยงบ และ

ผ้าเป็นต้นมาวางไว้ข้างโกกาลิกภิกษุ. โกกาลิกภิกษุคิดว่า พระอัครสาวกทั้งสอง

เป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง ครั้นรู้ว่า ลาภเกิดขึ้นเพราะพูดชักชวนจักไม่ยินดีรับ

เมื่อไม่ยินดีรับ จักพูดว่า ท่านทั้งหลายจงถวายแก่ภิกษุเจ้าอาวาสเถิดเป็นแน่

เอาเถิดเราจักให้พระอัครสาวกทั้งสองรับลาภนี้ไป. โกกาลิกภิกษุได้ทำอย่างนั้น

พระเถระทั้งสองเห็นแล้วก็รู้ว่าลาภเกิดขึ้นเพราะพูดชักชวนจึงคิดว่าปัจจัยเหล่านี้

ไม่ควรแก่เราทั้งสองเลย และไม่ควรแก่โกกาลิกภิกษุด้วย. จึงไม่พูดว่า ท่านทั้ง-

หลายจงถวายแก่เจ้าอาวาสเถิด ปฏิเสธแล้วก็หลีกไป. ด้วยเหตุนั้น โกกาลิกภิกษุ

เกิดเสียใจว่า นี่อะไรกัน พระอัครสาวกทั้งสองได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงปวารณาแล้ว หากไม่เสด็จจาริกไปยังชนบทด้วย

พระองค์เอง ก็ทรงสั่งอัครสาวกทั้งสองไปตรัสว่า จรถ ภิกฺขเว จาริก

พหุชนหิตาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่ชน

เป็นอันมากเถิด ดังนี้เป็นต้น. นี้เป็นประเพณีของพระตถาคตทั้งหลาย.

แต่สมัยนั้น พระองค์ไม่มีพระประสงค์จะเสด็จไปด้วยพระองค์เอง. จึง

ทรงส่งพระอัครสาวกทั้งสองไปด้วยพระดำรัสว่า คจฺฉถ ภิกฺขเว จรถ จาริก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไป จงเที่ยวจาริกไปเถิด ดังนี้. พระอัครสาวก

ทั้งสองพร้อมด้วยภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป เที่ยวจาริกไป ได้ไปถึงนครนั้นใน

แคว้นนั้น ๆ โดยลำดับ. ชาวนครจำพระเถระทั้งสองได้ จึงเตรียมทานพร้อม

ด้วยบริขาร สร้างมณฑปกลางนครพากันถวายทาน พร้อมบริขารเข้าไปถวายแด่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 609

พระเถระทั้งสอง. พระเถระทั้งสองรับแล้วได้ให้แก่ภิกษุสงฆ์. โกกาลิกภิกษุ

เห็นดังนั้นจึงคิดว่า เมื่อก่อนพระอัครสาวกทั้งสองรูปนี้เป็นผู้มักน้อย บัดนี้ถูก

ความโลภครอบงำ เกิดเป็นผู้มีความปรารถนาลามกเสียแล้ว เมื่อก่อนท่านทั้ง

สองนี้คล้ายกับมีความมักน้อย สันโดษ สงัด บัดนี้เห็นจะมีความปรารถนา

ลามก เป็นภิกษุลามก แสดงคุณของอสัตบุรุษเสียแล้ว. โกกาลิกภิกษุจึงเข้า

ไปหาพระเถระทั้งสองกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านทั้งสอง เมื่อก่อนได้เป็นดุจ

ผู้มักน้อย สันโดษ สงัด แต่บัดนี้ท่านทั้งสองกลับเป็นภิกษุลามกไปเสียแล้ว

แล้วถือบาตรและจีวรรีบออกไปทันทีทันใด คิดว่าจักกราบทูลความนี้แด่พระผู้

มีพระภาคเจ้าจึงมุ่งหน้าไปกรุงสาวัตถีเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยลำดับ. ใน

สูตรนี้โกกาลิกภิกษุนี้ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเหตุนี้. ดังที่พระสังคี-

ติกาจารย์กล่าวคำเป็นอาทิว่า อถ โข โกกาลิโก ภิกฺขุ เยน ภควา

เตนุปสงฺกมิ ครั้งนั้นแลโกกาลิกภิกษุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นโกกาลิภิกษุนั้นรีบร้อนมาทรง

รำพึงดู ได้ทรงทราบว่า โกกาลิกภิกษุมาประสงค์จะด่าพระอัครสาวกทั้งสอง.

ทรงรำพึงต่อไปว่า สามารถจะทรงห้ามได้หรือไม่หนอ ได้ทรงเห็นว่าไม่

สามารถจะห้ามได้ โกกาลิกภิกษุนั้นมาเพื่อจะทำร้ายในอัครสาวกทั้งสอง จักเกิด

ในปทุมนรกโดยแน่นอน. พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงปลดเปลื้องคำติเตียน

ของคนอื่นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงเห็นอย่างนี้ ทรงสดับคำติเตียนพระ

สารีบุตรและพระโมคคัลลานะแล้วก็มิได้ทรงห้าม และเพื่อแสดงความมีโทษ

มากของผู้ติเตียนพระอริยะจึงตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง โดยนัยมีอาทิว่า มาเหว

โกกาลิกะ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 610

ในบทเหล่านั้น บทว่า มาเหว ความว่า เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น.

บทว่า เปสลา แปลว่า มีศีลเป็นที่รัก. บทว่า สทฺธายิโก คือชักนำให้น้อมใจ

เชื่อ อธิบายว่า ให้นำมาซึ่งความเชื่อ. บทว่า ปจฺจยิโก ให้เลื่อมใส อธิบาย

ว่า ให้นำมาซึ่งความปลงใจว่านี้เป็นอย่างนั้น ดังนี้.

บทว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส คือ เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีกไปไม่นานนัก.

บทว่า สพฺโพ กาโย ผุฏฺโ อโหสิ ได้มีต่อมเกิดขึ้นในกาย ความว่า

ทั่วร่างกายไม่เว้นช่องว่างแม้เพียงปลายผมได้มีต่อมทำลายกระดูกเกิดขึ้นเต็มไป

หมด เพราะด้วยพุทธานุภาพกรรมเห็นปานนั้นยังมิให้ผลในเมื่ออยู่เฉพาะพระ

พักตร์พระพุทธเจ้าแต่ให้ผลเมื่อพ้นสายตาไปแล้ว ฉะนั้น เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีก

ไปไม่นานย่อมจึงผุดขึ้น. ด้วยเหตุนั้นแล ท่านจึงกล่าวว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส

โกกาลิกสฺส เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีกไปไม่นาน. เมื่อหากจะมีคำถามว่า เมื่อ

เป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร โกกาลิกภิกษุจึงไม่อยู่ ณ ที่นั้นเล่า. ตอบว่า ด้วย

อานุภาพของกรรม. เพราะกรรมรอโอกาสให้ผลแน่นอน ฉะนั้น กรรมจึงไม่ให้

โกกาลิกภิกษุอยู่ ณ ที่นั้น โกกาลิกภิกษุนั้นถูกเตือนด้วยอานุภาพของกรรมจึง

ลุกจากที่นั่งหลีกไป. บทว่า กฬายมตฺติโย เท่าเมล็ดถั่วดำ คือ เท่าเมล็ดลูกเดือย.

บทว่า เวฬุวสลาฏุกมตฺติโย คือเท่าผลมะตูมอ่อน. บทว่า ปริภิชฺชึสุ คือ

แตกแล้ว. เมื่อต่อมทั้งหลายแตกแล้วทั้งตัวได้เป็นเหมือนขนุนสุก. โกกาลิก-

ภิกษุนั้นมีตัวเปื่อยเน่าถึงความลำบาก ถูกทุกข์ครอบงำ นอนที่ซุ้มประตูพระ-

เชตวันมหาวิหาร. ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายต่างพากันมาเพื่อจะฟังธรรม ครั้น

เห็นโกกาลิกภิกษุนั้นต่างก็พูดตำหนิว่า โธ่ โกกาลิกะ โธ่ โกกาลิกะ ทำกรรม

ไม่สมควรเลย ท่านอาศัยปากของตนเองแท้ ๆ จึงถึงความลำบาก. บรรดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 611

อารักขเทวดาได้สดับคำของมนุษย์เหล่านั้น ก็ได้ติเตียนเป็นเสียงเดียวกัน.

บรรดาอากาศเทวดาได้ฟังเสียงของอารักขเทวดา ก็ติเตียนเป็นเสียงเดียวกัน

ด้วยอุบายนี้ จนถึงอกนิฏฐภพ.

ครั้งนั้น ภิกษุชื่อจตุที อุปัชฌาย์ของโกกาลิกภิกษุบรรลุอนาคามิผล

บังเกิดเป็นพรหมชั้นสุทธาวาส. พรหมนั้นออกจากสมาบัติได้สดับคำติเตียนนั้น

จึงมาให้โอวาทโกกาลิกภิกษุ เพื่อให้เกิดจิตเลื่อมใสในพระสารีบุตรและพระ-

โมคคัลลานะ. โกกาลิกภิกษุนั้นไม่เธอคำของพรหมนั้นได้ถึงมรณภาพทั้ง ๆ ที่ไม่

เลื่อมใสนั่นเองไปบังเกิดในปทุมนรก. ด้วยเหตุนั้นพระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า

อถโข โกกาลิโก ภิกฺขุ เตเนว ปาเปน ฯเปฯ อาฆาเตตฺวา เป็นต้น

ความว่า ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุมรณภาพเพราะบาปนั้นเอง ครั้นโกกาลิก-

ภิกษุมรณภาพแล้วก็ไปเกิดในปทุมนรก เพราะจิตอาฆาตในพระสารีบุตรและ

พระโมคคัลลานะ.

บทว่า อถ โข พฺรหฺมา สหมฺปติ ครั้งนั้นแลสหัมบดีพรหม ความ

ว่า พรหมนี้เป็นใคร ก็และเพราะเหตุไรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

กล่าวคำนี้. สหัมบดีพรหมนี้ ครั้งศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

กัสสปะ เป็นภิกษุชื่อว่าสหกะ เป็นพระอนาคามีบังเกิดใน สุทธาวาสมหาพรหม.

ที่สุทธาวาสนั้น พรหมทั้งหลายเรียกท่านว่า สหัมบดีพรหม. สหัมบดีพรหม

นั้นดำริว่า เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามถึงปทุมนรก แต่นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจักตรัสบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้นภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาดใน

การลำดับเรื่องจักทูลถามกำหนดอายุในปทุมนรกนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ

๑. บางแห่งเป็น ตุทุพรหม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 612

จะตรัสบอกกำหนดอายุนั้นจักทรงประกาศโทษในการติเตียนพระอริยะ ด้วยเหตุ

นี้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลเรื่องนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง

กระทำอย่างนั้น. แม้ภิกษุรูปหนึ่งก็ได้ทูลถามขึ้น. ครั้นภิกษุรูปนั้นทูลถามแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขุ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วีสติขาริโก ๒๐ ขาริ คือ ๔ ปัตถะโดย

ปัตถะของชาวมคธ เป็น ๑ ปัตถะในแคว้นโกศล, โดยปัตถะนั้น ๔ ปัตถะเป็น

๑ อาฬหกะ, ๔ อาฬหกะเป็น ๑ โทณะ, ๔ โทณะเป็น ๑ มาณิกะ, ๔ มาณิกะ

เป็น ๑ ขาริ, เป็น ๒๐ ขาริ ด้วยขารินั้น (ขาริหนึ่งเท่ากับ ๑,๒๕๖ ทะนาน

๒๐ ขาริ เท่ากับ ๒๕,๑๒๐ ทะนาน). บทว่า ติลวาโห ได้แก่ เกวียนบรรทุกงา.

บทว่า อพฺพุโท นิรโย อัพพุทนรก คือ ชื่อว่าอัพพุทนรก ไม่มีนรกจัดไว้

เฉพาะไร ๆ แต่โอกาสที่ได้รับความเร่าร้อน ด้วยการนับอัพพุทะ (๑๐๐ ล้านปี)

ในอเวจีนั่นแหละท่านกล่าวว่า อัพพุทนรก. ในนิรัพพุทนรกเป็นต้นก็มีนัยนี้.

ในนิรัพพุทนรกนั้น พึงทราบการนับปีอย่างนี้, ๑๐๐ แสนเป็น ๑ โกฏิ, ๑๐๐

แสนโกฏิ เป็น ๑ ปโกฏิ, ๑๐๐ แสนปโกฏิ เป็น ๑ โกฏิปโกฏิ, ๑๐๐ แสนโกฏิ-

ปโกฏิ เป็น ๑ นหุต, ๑๐๐ แสนนหุต เป็น ๑ นินนหุต, ๑๐๐ แสนนินนหุต

เป็น ๑ อัพพุทะ, เอา ๒๐ คูณอัพพุทะ เป็น ๑ นิรัพพุทะ. ในนรกทั้งปวงก็มี

นัยนี้. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ในนรกนั้น ๆ ได้ชื่อโดยความต่างแห่งการ

เสวยทุกข์บ้าง โดยความต่างแห่งกรรมกรณ์บ้าง. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า

นรกเหล่านี้เป็นสีตนรก. บทว่า อถาปร ท่านกล่าวหมายถึงคาถาประพันธ์แสดง

ความให้พิเศษไปจากความนั้น. ใน ๒๐ คาถา คาถาหนึ่งนี้ว่า สต สหสฺสานิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 613

๑๐๐ พัน คือ หนึ่งแสน แสดงความดังที่กล่าวแล้วโดยปาฐะนั้นเอง. คาถาที่

เหลือแสดงความต่างกันออกไป. แต่สองคาถาสุดท้ายไม่มีในปาฐะที่วินิจฉัยไว้

แล้วในมหาอรรถกถา ด้วยเหตุนั้นจะได้กล่าวใน ๒๐ คาถา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กุารี ได้แก่ วาจาหยาบเช่นกับขวานเพราะ

เฉือนตัวเอง. บทว่า ฉินฺทติ ตัด คือตัดรอนรากเหง้าของตนคือกุศลมูล. บท

ว่า นินฺทิย แปลว่า ควรนินทา. บทว่า ต วา นินฺทติ โย ปสสิโย ผู้ใด

นินทาคนที่ควรสรรเสริญ ความว่า บุคคลใดควรสรรเสริญด้วยอรรถว่า เป็นผู้

สงสุด กลับยกโทษติเตียนบุคคลนั้น ว่าเป็นผู้มีความปรารถนาลามกเป็นต้น.

บทว่า วิจินาติ แปลว่า ย่อมก่อ. บทว่า กลึ แปลว่า โทษ. บทว่า อย กลิ

ได้แก่ โทษนี้. บทว่า อกฺเขสุ เพราะเล่นการพนัน. บทว่า สพฺพสฺสาปิ

สหาปิ อตฺตนา คือ กับทรัพย์ของตนทั้งหมดบ้าง กับตนเองบ้าง. บทว่า

สุคเตสุ ในพระสุคตทั้งหลาย ได้แก่ ในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและ

พระสาวกมีชื่อว่าสุคต เพราะไปด้วยดีและเพราะไปสู่ฐานะดี. บทว่า มน

ปทูสเย ยังใจให้ประทุษร้าย ท่านอธิบายว่า ใจของผู้ประทุษร้ายในพระพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวก มีโทษมากกว่า. เพราะเหตุไร. เพราะบุคคล

ตั้งวาจาและใจอันลามกไว้แล้ว เป็นผู้ติเตียนพระอริยเจ้าย่อมเข้าถึงนรกตลอด

กาล ประมาณด้วยการนับปี ๑๐๐,๐๐๐ นิรัพพุทะ และ ๑๖๐ อัพพุทะ ท่าน

อธิบายว่า เพราะบุคคลตั้งวาจาและใจอันลามก เป็นผู้ติเตียนพระอริยเจ้าย่อม

เข้าพึงนรก คือหมกไหม้อยู่ในนรกนั้นตลอดกาลประมาณตัวการนับปี. นี้เป็น

ประมาณอายุในปทุมนรกโดยสังเขป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 614

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงชี้แจงความนี้ให้แจ่มแจ้งโดยอีก

นัยหนึ่งว่า ผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้ายในพระสุคตทั้งหลาย มีโทษมากกว่านัก จึง

ตรัสคำมีอาทิว่า อภูตวาที คนพูดเท็จ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อภูตวาที ได้แก่ คนพูดเหลาะแหละเพราะ

ติเตียนพระอริยเจ้า. บทว่า นิรย ได้แก่ ปทุมนรกเป็นต้น. บทว่า เปจฺจ

สมา ภวนฺติ ได้แก่ ละจากโลกนี้ไปแล้วย่อมเสมอกันในการเข้าถึงนรก. บทว่า

ปรตฺถ คือในโลกอื่น. ยิ่งกว่านั้นมีอะไรอีก ในบทว่า โย อปฺปทุฏฺสฺส นี้พึง

ทราบว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประทุษร้าย เพราะไม่มีโทษ ชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์

เพราะไม่มีมลทินคืออวิชชา, ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน เพราะไม่มี

ความปรารถนาลามก. ในบทนี้พึงประกอบอย่างนี้ว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะ

เป็นผู้ไม่ประทุษร้าย และเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงชี้ถึงผู้ที่มีใจประทุษร้ายในพระสุคตทั้ง-

หลายมีโทษมากกว่าอย่างนี้แล้ว จึงตรัสคาถาที่ ๑๔ ชื่อว่า ธาริตวัตถุคาถา

(คาถาเรื่องที่พระองค์ทรงตั้งไว้).

นัยว่า คาถาเหล่านั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวสอนโกกาลิก-

ภิกษุผู้กำลังจะตายนั่นเอง. อาจารย์บางคนกล่าวว่า มหาพรหมกล่าวสอน. เพื่อ

สงเคราะห์คาถาเหล่านั้นให้เป็นอันเดียวกันกับสูตรนี้ จึงอ้างถึงบทนี้มีอาทิว่า

โย โลภคุเณ อนุยุตฺโต ผู้ที่ประกอบเนือง ๆ ในคุณคือความโลภ ดังนี้.

ในคาถานั้นพึงทราบวินิจฉัยในคาถาต้นก่อน ความโลภเท่านั้นชื่อว่า

คุณคือความโลภ เพราะ อ้าง ถึงบทว่า คุโณ หรือเพราะเป็นไปหลาย ๆ ครั้ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 615

บทว่า โลภคุโณ นี้เป็นชื่อของตัณหา. บทว่า อวทญฺญู ไม่รู้ความประสงค์

ของผู้ขอ. คือ ชื่อว่าไม่รู้คำพูด เพราะไม่ถือโอวาทแม้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

บทว่า มจฺฉรี มีความตระหนี่ คือด้วยความตระหนี่ห้าอย่าง. ชื่อว่าเป็นผู้

ประกอบเนือง ๆ ในคำส่อเสียด เพราะประสงค์จะให้อัครสาวกทั้งสองแตกกัน.

บทที่เหลือปรากฏชัดแล้ว บทนี้ท่านอธิบายว่า ดูก่อนโกกาลิกะผู้มีอายุ ผู้ใด

เป็นเช่นท่าน ประกอบเนือง ๆ ในคุณคือความโลภ ไม่มีศรัทธา กระด้าง ไม่รู้

ความประสงค์ของผู้ขอ ตระหนี่ ประกอบเนือง ๆ ในคำพูดส่อเสียด ผู้นั้น

ย่อมบริภาษผู้อื่นคือบุคคลที่แม้ไม่ควรพูดถึงด้วยวาจา ด้วยเหตุนั้นเราจึงกล่าว

คาถาที่สามว่า มุขทุคฺค แน่ะคนผู้มีปากเป็นหล่ม. ต่อไปนี้เป็นอธิบายบทที่

ยากของบทว่า มุขทุคฺค นั้น แน่ะคนผู้มีปากเป็นหล่ม คือมีปากไม่เรียบร้อย

กล่าวคำไม่จริง คือปราศจากความจริง พูดจาเหลาะแหละ ผู้ไม่ประเสริฐ คือ

เป็นอสัตบุรุษ ผู้กำจัดความเจริญ คือกำจัดความสมบูรณ์ ทำความสมบูรณ์

ให้พินาศ ผู้เป็นที่สุดคน คือ อาพับ ผู้มีโทษ คือ เป็นผู้เคราะห์ร้าย ผู้เป็น

อวชาต คือเป็นอวชาตบุตร (บุตรที่เลว) ของพระพุทธเจ้า ท่านเกลี่ยธุลี คือ

กิเลสลงในตน. บทว่า ปปต ได้แก่ มหานรก. ปาฐะว่า ปปฏ ก็มี.

ความอย่างเดียวกัน . ปาฐะว่า ปปตฺต คือมหานรก. บทว่า ในบทว่า

เอติ ห ต นี้เป็นนิบาต. บทว่า ต ได้แก่กุศลกรรมและอกุศลกรรมนั้น. อีก

อย่างหนึ่ง บทว่า หต ได้แก่ไปแล้วคือถึงแล้ว. อธิบายว่า สะสมแล้ว.

บทว่า สุวามิ คือ เป็นเจ้าของกรรมนั้น เพราะได้ทำไว้. ท่านอธิบายว่า

เพราะเขาได้กรรมนั้นไว้ กรรมนั้นของเขาจึงไม่หายไป. ก็เพราะเขาได้ (กรรม)

ไว้ ฉะนั้น คนเขลาผู้ทำกรรมหยาบ ย่อมเห็นความทุกข์ของตนในปรโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 616

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศถึงทุกข์ที่คนเขลาเห็นจึง

ตรัสคำมีอาทิว่า อโย สงฺกุสมาหฏ าน ย่อมเข้าถึงหลาวเหล็กอันคมกริบ.

ในบทนั้น พึงทราบความในกึ่งคาถาต้นก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

หมายถึงฐานะอันนำมาซึ่งหลาวเหล็กอันใด ตรัสว่า ตเมน ภิกฺขเว นิรฺยปาลา

ปญฺจวิธพนฺธน นาม กมฺมกรณ กาเรนฺติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายนิริยบาล

ให้ลงกรรมกรณ์ เครื่องจองจำ ๕ อย่างนั้น ดังนี้ ผู้ทำกรรมหยาบย่อมเข้าถึง

ฐานะนั้น เมื่อเข้าถึง นายนิริยบาลให้นอนเหนือแผ่นดินอันร้อนจัดบนหลาว

เหล็กนั้น แล้วเข้าถึงหลาวเหล็กอันคมกริบ แข็ง ร้อน ถูกนายนิริยบาลโบย

ในที่ ๕ แห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงหลาวเหล็ก จึงตรัสว่า ตตฺต

อโยขิล หตฺเถ คเมนฺติ นายนิริยบาลถือกอันเหล็กร้อนมา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดาถากึ่งหนึ่งต่อจากนั้น ทรงหมายถึงคำที่พระ-

องค์ตรัสไว้ว่า นายนิริยบาลยัดก้อนเหล็กร้อนลงในปากของสัตว์นรกผู้เผาไหม้

อยู่ในนรกนั้นหลายพันปี แล้วไปยังฝั่งแม่น้ำแสบ ตามลำดับเพื่อเสวยผลกรรม

ที่เหลือจากการถูกเผาไหม้ นายนิริยบาลกรอกน้ำทองแดงร้อนลงในปาก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อโย คือ โลหะ. บทว่า คุฬสนฺนิภ ก้อน

เหล็กแดงโชติช่วง คือมีสัณฐานเหมือน ผลมะตูม. ในบทว่า อโย นี้ พึง

ทราบโลหะทองแดงด้วย อย ศัพท์ นอกนั้น พึงทราบว่าเป็นก้อนเหล็ก.

บทว่า ปฏิรูป คือ สมควรแก่กรรมที่ทำไว้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาอื่นจากนั้นดังต่อไปนี้ บทว่า น หิ วคฺคุ

ความว่า นายนิรบาลพูดว่า จงจับ จงประหาร ดังนี้เป็นต้น ไม่พูดคำไพเราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 617

เลย. บทว่า นาภิชวนฺติ จะวิ่งหนีก็ไม่ได้ คือจะทำเป็นหน้าเบิกบานก็

ไม่ได้ จะทำหน้ายิ้มเข้าไปหาก็ไม่ได้. ท่านอธิบายว่า จะเข้าไปหาเพราะนำ

ความพินาศมาให้ก็ไม่ได้. บทว่า น ตาณมุเปนฺติ ไม่ได้ที่ต้านทานเลย คือ

จะเข้าไปขอความต้านทาน ที่ซ่อนเร้น ที่อาศัยก็ไม่ได้. ท่านอธิบายว่า นายนิริย-

บาลเข้าไปจับฆ่าอย่างเดียว. บทว่า องฺคาเร สนฺถเต เสนฺติ สัตว์นรกนอน

อยู่บนถ่านเพลิงอันลาดไว้ คือ สัตว์นรกถูกลากขึ้นภูเขาถ่านเพลิง นอนอยู่บน

ถ่านเพลิงที่ลาดไว้หลายพันปี. บทว่า อคฺคินิสม ปชฺชลิต คือเข้าไปสู่กองไฟ

อันลุกโพลงโดยรอบ และโชติช่วงในทิศทั้งปวง. บทว่า ปวิสนฺติ คือนาย

นิริยบาลจับยัดใส่ลงในมหานรก. มหานรกนั้นท่านกล่าวว่ามีอยู่ ๔ มุม ผู้ที่

ยืนดูอยู่ห่างประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ตาย่อมแตกได้. บทว่า ชาเลน จ

โอนหิยานา นายนิริยบาลเอาข่ายเหล็กพันคือ นายนิริยบาลเอาข่ายเหล็กพัน

แล้วประหารเหมือนพรานเนื้อฆ่าเนื้อ ฉะนั้น นี้เป็นกรรมกรณ์ซึ่งมิได้กล่าวไว้

ในเทวทูตสูตร. บทว่า อนฺธว ติมิสมายนฺติ สัตว์นรกทั้งหลายย่อมไปสู่โรรุวนรก

ที่มืดทึบ ความว่า สัตว์นรกย่อมไปสู่โรรุวนรกอันมืดทึบที่รู้ว่ามืด เพราะทำ

ความมืด ที่รู้ว่าทึบเพราะมืดจัด. นัยว่า ที่โรรุวนรกนั้นตาแตก เพราะสูดควัน

กรดของหมอกเหล่านั้นเข้าไป. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อนฺธว ดุจความ

มืดทึบ. บทว่า ต วิตต ยถา มหิกาโย ความว่า ความมืดทึบนั้นแผ่ไปเหมือน

กลุ่มหมอก เกิดเป็นรูปร่างขึ้นมาอีก แม้ข้อนี้ ก็เป็นกรรมกรณ์ที่ท่านมิได้กล่าว

ไว้ในเทวทูตสูตรเหมือนกัน.

บทว่า อถ โลหมย ความว่า ก็โลหกุมภี (หม้อเหล็ก) นี้อยู่สุด

แผ่นดิน มีความลึก ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ เต็มไปด้วยโลหะร้อนเต็มเปี่ยม. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 618

ปจฺจนฺติ หิ ตาสุ จิรรตฺต ได้แก่ ไหม้อยู่ในหม้อเหล็กนั้นสิ้นกาลนาน. บทว่า

อคฺคินิสมาสุ คืออันไฟลุกโพลง. บทว่า สมุปฺปิลวาสา ได้แก่ ลอยฟ่องอยู่

ท่านอธิบายว่า สัตว์นรกขึ้นไปข้างบนคราวหนึ่ง ลงข้างล่างคราวหนึ่ง ผุดขึ้น

แล้วจมลง เพราะแรงของฟองน้ำ. พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในเทวทูตสูตร

นั่นแล.

บทว่า ปุพฺพโลหิตมิสฺเส คือเปื้อนด้วยหนองและเลือด. บทว่า ตตฺถ

กึ คือในทิศนั้น ๆ. บทว่า ทิสต คือทิศ. บทว่า อธิเสติ คือ ไป ปาฐะว่า

อภิเสติ ก็มี. อธิบายว่า อาศัยอยู่ในทิศที่ติดอยู่. บทว่า กิลิสฺสติ คือ ลำบาก.

ปาฐะว่า กิเลชฺชติ บ้าง. อธิบายว่า เปื่อยเน่า. บทว่า สมฺผุสฺสมาโน

คือ หนองและเลือดแปดเปื้อน. แม้ข้อนี้ก็เป็นกรรมกรณ์ที่ท่านมิได้กล่าวไว้ใน

เทวทูตสูตร. บทว่า ปุฬวาวสเถ ได้แก่เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน. โลหกุมภี

นี้ท่านกล่าวไว้ในเทวทูตสูตรว่า เป็นคูถนรก. ผู้ที่ตกลงไปในคูถนรกนั้น สัตว์

ปากเข็มกัดผิวหนังเป็นต้น แล้วเคี้ยวกินเยื่อในกระดูก. บทว่า คนฺตุ น หิ

ตีรมปตฺถิ คือ ในคูถนรกนั้น แม้ฝั่งที่จะไปก็ไม่มีเลย. ปาฐะว่า ตีรวมตฺถิ

ดังนี้บ้าง. ความเหมือนกัน. ฝั่งนั่นแหละท่านกล่าวว่า ตีรว ในบทนี้. บทว่า

สพฺพสฺมา หิ สมนฺตกปลฺลา เพราะกะทะครอบอยู่มิดชิดในที่ทั้งปวง ความ

ว่า เพราะโลหกุมภีนั้นกะทะครอบอยู่มิดชิดแม้ในส่วนบน ฉะนั้นท่านจึงกล่าว

ว่า ไม่มีฝั่งจะข้ามไป. ป่าไม้มีใบเป็นดาบคม มีนัยดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วใน

เทวทูตสูตรนั่นแล. ก็ป่านั้นปรากฏแต่ไกลเหมือนป่ามะม่วงน่ารื่นรมย์. เมื่อเป็น

เช่นนั้น สัตว์นรกทั้งหลายพากันเข้าไปด้วยความโลภ. แต่นั้นใบของต้นไม้

เหล่านั้นถูกลมพัดก็ตกแล้วตัดอวัยวะน้อยใหญ่. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 619

ต ปวิสนฺติ สมุจฺฉินฺนคตฺตา คือ สัตว์นรกเข้าไปสู่ป่าไม้นั้น ถูกดาบใบไม้

ตัดตัวขาด. บทว่า ชิวฺห พลิเสน คเหตฺวา อารจยารจยา วิหนนฺติ

พวกนายนิริยบาล เอาเบ็ดเกี่ยวลิ้นออกมาแล้วเบียดเบียนด้วยการดึงออกมา ๆ

ความว่า พวกนายนิริยบาลเอาเบ็ดดึงลิ้นของสัตว์นรกผู้พูดปดรีบวิ่งไปล้มลงใน

ป่าที่มีใบไม้เป็นดาบคมแล้วทุบ เหมือนพวกมนุษย์ลาดหนังสดไว้บนแผ่นดิน

แล้วทุบด้วยเสาเหล็กฉะนั้น แล้วเอาขวานชำแหละออกๆ เชือดปลายข้างหนึ่งๆ

ทำให้ลำบาก ปลายที่เชือดออก ๆ ก็ตั้งอยู่อย่างเดิมอีก. ปาฐะว่า อารชยารชยา

ดังนี้บ้าง. ความว่า ดึงออกมา ดึงออกมา ดังนี้. แม้ข้อนี้ก็เป็นกรรมกรณ์

ที่ท่านมิได้กล่าวไว้ในเทวทูตสูตร.

บทว่า เวตฺตรณึ ได้แก่ แม่น้ำที่ท่านกล่าวไว้ในเทวทูตสูตรว่าเป็น

แม่น้ำด่างใหญ่. ได้ยินว่า แม่น้ำนั้นปรากฎมีน้ำเต็มดุจแม่น้ำคงคา. เมื่อเป็น

เช่นนั้น สัตว์นรกทั้งหลายคิดว่า จักอาบ จักดื่ม ย่อมตกไปในแม่น้ำนี้. บทว่า

ติณฺหธาร ขุรธาร คมมีดโกนอันคมกริบ ท่านอธิบายว่า สัตว์นรกทั้งหลาย

ย่อมตกไปบนคมมีดโกนอันคมกริบ. ได้ยินว่า ที่ฝั่งทั้งสองทั้งข้างบนข้างล่าง

ของแม่น้ำนั้นปรากฏดุจคมมีดโกนอันคมกริบตั้งอยู่ตามลำดับ. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า แม่น้ำนั้นมีคมมีดโกนอันคมกริบ. อธิบายว่า สัตว์นรกทั้ง-

หลายย่อมเข้าถึง คือ ติดอยู่กับคมมีดโกนอันคมกริบเพราะกระหายน้ำ. ก็เมื่อ

สัตว์นรกทั้งหลายเข้าถึงอย่างนี้ ถูกบาปกรรมเตือนแล้ว, คนโง่ คือคนพาล

ย่อมตกไปบนคมมีดโกนนั้น. พึงประกอบบทนี้ว่า สามา สวลา ด้วยบทว่า

โสณา ข้างหน้า. เป็น สามวณฺณา กมฺมาสวณฺณา จ โสณา ขาทนฺติ

ความว่า สุนัขดำและสุนัขด่าง ย่อมรุมกันกัดกิน. บทว่า กาโกลคณา ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 620

ฝูงกาดำ. บทว่า ปฏิคิชฺฌา ได้แก่สัตว์ที่เกิดความอยากด้วยดี อาจารย์

พวกหนึ่งกล่าวว่า มหาคิชฺฌา พญาแร้ง. บทว่า กุลลา ได้แก่ นกตะกรุม.

อาจารย์บางคนกล่าวว่า บทว่า กุลลา นี้เป็นชื่อของเหยี่ยว. คำนี้ เป็นชื่อ

ของเสนา. บทว่า วายสา ได้แก่ กาไม่ดำ. แม้ข้อนี้ก็เป็นกรรมกรที่ท่าน

มิได้กล่าวไว้ในเทวทูตสูตร. ก็แม้บทเหล่านี้จะได้กล่าวไว้ในเทวทูตสูตร ไม่ได้

กล่าวไว้ในสูตรนี้ ก็พึงทราบว่าบทเหล่านั้นเป็นอันกล่าวแล้ว เป็นส่วนเบื้องต้น

และเบื้องหลังของบทเหล่านั้นนั่นเอง.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความเป็นไปของนรกนี้ทั้ง

หมดแล้ว เมื่อจะทรงสั่งสอนจึงตรัสคาถาว่า กิจฺฉา วตาย ความเป็นไปยาก

หนอ ดังนี้.

บทนั้นมีความว่า ชนผู้ทำกรรมหยาบย่อมเห็นความเป็นไปอันมีกรรม

กรต่าง ๆ ในนรกนี้ยากหนอ เพราะฉะนั้นเมื่อยังมีชีวิตเหลืออยู่ ยังอยู่ในโลก

นี้ต่อไป พึงเป็นผู้ทำกิจในชีวิตที่เหลือนี้ ด้วยการตั้งใจทำกุศลธรรมมีการถึง

พระไตรสรณคมน์เป็นต้น คือ แม้เป็นผู้ทำกิจในชีวิตที่ยังเหลืออยู่นี้ ก็ไม่พึง

ประมาท คือ ไม่ถึงความประมาทแม้เพียงครู่เดียว ด้วยการทำความเพียรติดต่อ

กันไปนั่นเอง. นี้เป็นการพรรณนารวบยอดในสูตรนี้. ก็เพราะบททั้งหลาย

ที่เหลือได้กล่าวไว้แล้วทั้งเข้าใจได้ง่าย เพราะมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในก่อน

และเพราะมีความง่าย ฉะนั้น จึงไม่ต้องพรรณนาไปตามลำดับบท ด้วยประการ

ฉะนี้.

จบอรรถกถาโกกาลิกสูตรที่ ๑๐ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 621

นาลกสูตรที่ ๑๑

ว่าด้วยอสิตฤษีพิจารณามนต์ว่าพระกุมารต้องบรรลุ

[๓๘๘] อสิตฤษีอยู่ในที่พักกลางวัน

ได้เห็นท้าวสักกะจอมเทพ และเทวดาคณะ

ไตรทศผู้มีใจชื่นชม มีปีติโสมนัส ยกผ้า

ทิพย์ขึ้นเชยชมอยู่อย่างเหลือเกิน ในที่อยู่

อันสะอาด ครั้นเห็นแล้วจึงกระทำความ

นอบน้อม แล้วได้ถามเทวดาทั้งหลายผู้มีใจ

เบิกบานบันเทิงในที่นั้นว่า เพราะเหตุไรหมู่

เทวดาจึงเป็นผู้ยินดีอย่างเหลือเกิน ท่าน

ทั้งหลายยกผ้าทิพย์ขึ้นแล้ว รื่นรมย์อยู่เพราะ

อาศัยอะไร.

แม้คราวใด ได้มีสงครามกับพวก

อสูร พวกเทวดาชนะ พวกอสูรปราชัย

แม้คราวนั้นขนลุกพองเป็นเช่นนี้ก็มิได้มี เทวดา

ทั้งหลายได้เห็นเหตุอะไร ซึ่งไม่เคยมีมา

จึงพากันเบิกบาน เปล่งเสียงชมเชย ขับร้อง

ประโคม ปรบมือ และฟ้อนรำกันอยู่.

เราขอถามท่านทั้งหลายผู้อยู่บนยอด-

เขาสิเนรุ ดูก่อนท่านผุ้นิรทุกข์ทั้งหลาย ขอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 622

ท่านทั้งหลายจงช่วยขจัดความสงสัยของเรา

โดยเร็วเถิด.

เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า

พระโพธิสัตว์ผู้เป็นรัตนะอันประ-

เสริฐนั้น หาผู้เปรียบมิได้ ได้เกิดแล้วใน

มนุษย์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความ-

สุขที่ป่าลุมพินีวัน ในคามชนบทของเจ้า

ศากยะทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราทั้งหลาย

จึงพากันยินดี เบิกบานอย่างเหลือเกิน.

พระโพธิสัตว์นั้น เป็นอัครบุคคลผู้

สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เป็นผู้องอาจกว่านรชน

สูงสุดกว่าหมู่สัตว์ทั้งมวล เหมือนสีหะผู้มี

กำลัง ครอบงำหมู่เนื้อบันลืออยู่ จักทรง

ประกาศธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนะ.

อสิตฤษีได้ฟังเสียงที่เทวดาทั้งหลาย

กล่าวแล้วก็รีบลง (จากชั้นดาวดึงส์) เข้าไป

ยังที่ประทับของพระเจ้าสุทโธทนะ นั่ง ณ

ที่นั้นแล้ว ได้ทูลถามเจ้าศากยะทั้งหลายว่า

พระกุมารประทับ ณ ที่ไหน แม้อาตมภาพ

ประสงค์จะเฝ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 623

ลำดับนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายได้ทรง

แสดงพระกุมารรุ่งเรื่อง เหมือนทองคำที่

ปากเบ้าซึ่งนายช่างทองผู้เฉลียวฉลาดหลอม

ดีแล้ว ผู้รุ่งเรื่องด้วยสิริ มีวรรณะไม่ทราม

แก่อสิตฤษี.

อสิตฤษีได้เห็นพระกุมารผู้รุ่งเรื่อง

เหมือนเปลวไฟเหมือนพระจันทร์อันบริสุทธิ์

ซึ่งโคจรอยู่ในอากาศ สว่างไสวกว่าหมู่ดาว

เหมือนพระอาทิตย์พ้นแล้วจากเมฆ แผดแสง

อยู่ในสรทกาล ก็เกิดความยินดี ได้ปีติอัน

ไพบูลย์.

เทวดาทั้งหลายกั้นเศวตฉัตรที่ซี่เป็น

อันมาก และประกอบด้วยมณฑลตั้งพันไว้

ในอากาศ จามรด้ามทองทั้งหลายตกลงอยู่

บุคคลผู้ถือจามรและเศวตฉัตร ย่อมไม่

ปรากฏ.

ฤษีทรงชฎาชื่อว่ากัณหสิริ ได้เห็น

พระกุมารดุจแท่งทองบนผ้ากัมพลแดง และ

เศวตฉัตรที่กั้นอยู่ในพระเศียร เป็นผู้มีจิต

เฟื่องฟู ดีใจ ได้รับเอาด้วยมือทั้งสอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 624

ครั้นแล้ว อสิตฤษีผู้เรียนจบลักษณะ

มนต์ พิจารณาพระราชกุมารผู้ประเสริฐ

มีจิตเลื่อมใส ได้เปล่งถ้อยคำว่า พระกุมาร

ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า.

ครั้งนั้น อสิตฤษีหวนระลึกถึงการ

บรรลุรูปฌานของตน เป็นผู้เสียใจถึงน้ำตา

ตก เจ้าศากยะทั้งหลายได้ทอดพระเนตรเห็น

อสิตฤษีร้องไห้จึงตรัสถามว่า ถ้าอันตราย

จะมีในพระกุมารหรือหนอ.

อสิตฤษีได้ทูลเจ้าศากยะทั้งหลายผู้

ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ไม่ทรงพอพระทัย

ว่า อาตมภาพระลึกถึงกรรมอันไม่เป็นประ-

โยชน์เกื้อกูลในพระกุมารหามิได้.

อนึ่ง แม้อันตรายก็จักไม่มีแก่พระ-

กุมารนี้ พระกุมารนี้เป็นผู้ไม่ทราม ขอมหา-

บพิตรทั้งหลาย จงเป็นผู้ดีพระทัยเถิด พระ-

กุมารนี้จักทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ.

พระกุมารนี้จักทรงเห็นนิพพานอัน

บริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชน

เป็นอันมาก จักทรงประกาศธรรมจักร

พรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 625

แต่อายุของอาตมภาพ จักไม่ดำรง

อยู่ได้นานในกาลนี้ อาตมภาพจักกระทำ

กาละเสียในระหว่างนี้ จักไม่ได้ฟังธรรมของ

พระกุมารผู้มีความเพียรไม่มีบุคคลผู้เสมอ

เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงเป็นผู้เร่าร้อนถึง

ความพินาศ ถึงความทุกข์.

อสิตฤษียังปีติอันไพบูลย์ให้เกิดแก่

เจ้าศากยะทั้งหลายแล้ว ออกจากพระราชวัง

ไปประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อจะอนุเคราะห์

หลานของตน ได้ให้หลานสมาทานในธรรม

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีความเพียรไม่มี

บุคคลผู้เสมอ แล้วกล่าวว่า

ในกาลข้างหน้า เจ้าได้ยินเสียงอัน

ระบือไปว่า พุทโธ ดังนี้ไซร้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ได้ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ

แล้ว ย่อมทรงเปิดเผยทางปรมัตถธรรม เจ้า

จงไปทูลสอบถามด้วยตนเองในสำนักของ

องค์ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเถิด.

อสิตฤษีนั้นผู้มีปรกติเห็นนิพพาน

อันบริสุทธิ์อย่างยิ่งในอนาคต มีใจเกื้อกูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 626

เช่นนั้น ได้สั่งสอนนาลกดาบส นาลกดาบส

เป็นผู้สั่งสมบุญไว้ รักษาอินทรีย์ รอคอย

พระชินสีห์อยู่.

นาลกดาบสได้ฟังเสียงประกาศใน

กาลที่พระชินสีห์ทรงประกาศธรรมจักรอัน

ประเสริฐ ได้ไปเฝ้าพระชินสีห์ผู้องอาจกว่า

ฤษีแล้ว เป็นผู้เลื่อมใส ได้ทูลถามปฏิปทา

อันประเสริฐของมุนีกะพระชินสีห์ ผู้เป็น

มุนีผู้ประเสริฐ ในเมื่อเวลาคำสั่งสอนของ

อสิตฤษีมาถึงเข้าฉะนี้แล.

จบวัตถุกถา

[๓๘๐] ข้าพระองค์ ได้รู้ตามคำ

ของอสิตฤษีโดยแท้ เพราะเหตุนั้น ข้าแต่

พระโคดม ข้าพระองค์ทูลถามพระองค์ผู้ถึง

ฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง พระองค์อันข้าพระองค์

ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกมุนีและปฏิปทา

อันสูงสุดของมุนี แห่งบรรพชิตผู้แสวงหา

การเที่ยวไปเพื่อภิกษา แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 627

เราจักบัญญัติปฏิปทาของมุนีที่บุคคล

ทำได้ยาก ให้เกิดความยินดีได้ยาก แต่ท่าน

เอาเถิด เราจักบอกปฏิปทาของมุนีนั้นแก่

ท่าน.

ท่านจงอุปถัมภ์ตน จงเป็นผู้มั่นคง

เถิด พึงกระทำการด่า และการไหว้ในบ้าน

ให้เสมอกัน พึงรักษาความประทุษร้ายแห่ง

ใจ พึงเป็นผู้สงบไม่มีความเย่อหยิ่งเป็น

อารมณ์.

อารมณ์ที่สูงต่ำมีอุปมาด้วยเปลวไฟ

ในป่า ย่อมมาสู่คลองจักษุเป็นต้น เหล่านารี

ย่อมประเล้าประโลมมุนี นารีเหล่านั้น อย่า

พึงประเล้าประโลมท่าน.

มุนีละกามทั้งหลายทั้งที่ดีแล้วงดเว้น

จากเมถุนธรรม ไม่ยินดียินร้าย ในสัตว์

ทั้งหลายผู้สะดุ้งและมั่นคง.

พึงกระทำตนให้เป็นอุปมาว่า เรา

ฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้น สัตว์เหล่านี้

ฉันใด เราก็ฉันนั้น ดังนี้แล้ว ไม่พึงฆ่าเอง

ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 628

มุนีละความปรารถนาและความโลภ

ในปัจจัยที่ปุถุชนข้องอยู่แล้ว เป็นผู้มีจักษุ

พึงปฏิบัติปฏิปทาของมุนีนี้ พึงข้ามความ

ทะเยอทะยานในปัจจัย ซึ่งเป็นเหตุแห่ง

มิจฉาชีพที่หมายรู้กันว่านรกนี้เสีย.

พึงเป็นผู้มีท้องพร่อง (ไม่เห็นแก่

ท้อง) มีอาหารพอประมาณ มีความปรารถนา

น้อย ไม่มีความโลภ เป็นผู้หายหิว ไม่มี

ความปรารถนาด้วยความอยาก ดับความ

เร่าร้อนได้แล้วทุกเมื่อ.

มุนีนั้นเที่ยวไปรับบิณฑบาตแล้ว พึง

ไปยังชายป่า เข้าไปนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้.

พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็นนัก

ปราชญ์ ยินดีแล้วในป่า พึงทำจิตให้ยินดียิ่ง

เพ่งฌานอยู่ที่โคนต้นไม้.

ครั้นเมื่อล่วงราตรีไปแล้ว พึงเข้าไป

สู่บ้าน ไม่ยินดีโภชนะที่ยังไม่ได้ และโภชนะ

ที่เขานำไปแต่บ้าน.

ไปสู่บ้านแล้ว ไม่พึงเที่ยวไปในสกุล

โดยรีบร้อน ตัดถ้อยคำเสียแล้ว ไม่พึงกล่าว

วาจาเกี่ยวด้วยการแสวงหาของกิน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 629

มุนีนั้นคิดว่า เราได้สิ่งใด สิ่งนี้ยัง

ประโยชน์ให้สำเร็จ เราไม่ได้ก็เป็นความดี

ดังนี้แล้ว เป็นผู้คงที่ เพราะการได้และไม่ได้

ทั้งสองอย่างนั้นแล ย่อมก้าวล่วงทุกข์เสียได้.

เปรียบเหมือนบุรุษแสวงหาผลไม้

เข้าไปยังต้นไม้แล้ว แม้จะได้ แม้จะไม่ได้

ก็ไม่ยินดี ไม่เสียใจ วางจิตเป็นกลางหลับไป

ฉะนั้น.

มุนีมีบาตรในมือเที่ยวไปอยู่ ไม่เป็น

ใบ้ ก็สมมุติว่าเป็นใบ้ ไม่พึงหมิ่นทานว่า

น้อย ไม่พึงดูแคลนบุคคลผู้ให้.

ก็ปฏิปทาสูงต่ำ พระพุทธสมณะ

ประกาศแล้ว มุนีทั้งหลาย ย่อมไม่ไปสู่

นิพพานถึงสองครั้ง นิพพานนี้ควรถูกต้อง

ครั้งเดียวเท่านั้น หามิได้.

ก็ภิกษุผู้ไม่มีตัณหา ตัดกระแส

กิเลสได้แล้ว ละกิจน้อยใหญ่ได้เด็ดขาดแล้ว

ย่อมไม่ความเร่าร้อน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เราจักบอกปฏิปทาของมุนีแก่ท่าน

ภิกษุผู้ปฏิบัติปฏิปทาของมุนี พึงเป็นผู้มีคม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 630

มีดโกนเป็นเครื่องเปรียบ กดเพดานไว้ด้วย

ลิ้นแล้ว พึงเป็นผู้สำรวมที่ท้อง.

มีจิตไม่ย่อหย่อน และไม่พึงคิดมาก

เป็นผู้ไม่มีกลิ่นดิบ อันตัณหาและทิฏฐิไม่

อาศัยแล้ว มีพรหมจรรย์เป็นที่ไปในเบื้อง-

หน้า พึงศึกษาเพื่อการนั่งผู้เดียว และเพื่อ

ประกอบภาวนาที่สมณะพึงอบรม ท่านผู้เดียว

แล จักอภิรมย์ความเป็นมุนีที่เราบอกแล้ว

โดยส่วนเดียว ทีนั้นจงประกาศไปตลอดทั้ง

สิบทิศ.

ท่านได้ฟังเสียงสรรเสริญ ของนัก-

ปราชญ์ทั้งหลายผู้เพ่งฌาน ผู้สละกามแล้ว

แต่นั้นพึงกระทำหิริและศรัทธาให้ยิ่งขึ้นไป

เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นสาวกของเราได้.

ท่านจะรู้แจ่มแจ้งซึ่งคำที่กล่าวนั้นได้

ด้วยการแสดงแม่น้ำทั้งหลาย ทั้งในเหมือง

และหนอง แม่น้ำห้วยย่อมไหลดังโดยรอบ

แม่น้ำใหญ่ย่อมไหลนิ่ง สิ่งใดพร่องสิ่งนั้น

ย่อมดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นสงบ.

คนพาลเปรียบด้วยหม้อน้ำที่มีน้ำ

ครึ่งหนึ่ง บัณฑิตเปรียบเหมือนห้วงน้ำที่เต็ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 631

สมณะกล่าวถ้อยคำใดมากที่เข้าถึงประโยชน์

ประกอบด้วยประโยชน์ รู้ถ้อยคำนั้นอยู่

ย่อมแสดงธรรม.

สมณะผู้นั้นรู้อยู่ ย่อมกล่าวถ้อยคำ

มาก สมณะใดรู้อยู่ สำรวมตน สมณะนั้น

รู้เหตุที่ไม่นำประโยชน์เกื้อกูล และความสุข

มาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวมาก

สมณะผู้นั้นเป็นมุนี ย่อมควรซึ่งปฏิปทา

ของมุนี สมณะนั้นได้ถึงธรรมเครื่องเป็นมุนี

แล้ว.

จบนาลกสูตรที่ ๑๑

อรรถกถานาลกสูตรที่ ๑๑

นาลกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า อานนฺทชาเต ผู้ที่ใจชื่นชม ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

มีเรื่องเล่าว่าดาบสชื่อว่า นาลกะ เป็นหลานของ อสิตฤษี เห็น

สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ปฏิบัติโมเนยยปฏิปทา

(ปฏิบัติเพื่อความเป็นมุนี) จึงหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นอย่างนั้น จำเดิมแต่นั้น

ได้บำเพ็ญบารมีแสนกัป ได้ทูลถามโมเนยยปฏิปทากะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 632

คาถาสองคาถามีอาทิว่า อญฺาตเมต ข้าพระองค์ได้รู้ตามคำของอสิตฤษี

ดังนี้. ในวันที่ ๗ จากวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์โมเนยยปฎิปทานั้นแก่นาลกดาบสโดย

นัยมีอาทิว่า โมเนยฺยนฺเต อุปญฺิสฺส เราจักบัญญัติปฏิปทาของมุนีแก่ท่าน

ดังนี้. ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ท่านพระอานนท์

อันท่านพระมหากัสสปผู้ทำสังคายนาถามโมเนยยปฏิปทานั้น ประสงค์จะแสดง

กระทำเรื่องราวทั้งหมดในขณะที่นาลกดาบสถูกชักชวนทูลถามพระผู้มีพระภาค-

เจ้าให้ปรากฏ จึงกล่าววัตถุคาถา ๒๐ คาถา มีอาทิว่า อานนฺทชาเต ดังนี้.

ท่านเรียกเรื่องแม้ทั้งหมดนั้นว่า นาลกสูตร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อานนฺทชาเต ได้แก่ เป็นผู้สำเร็จ คือถึง

ความเจริญ. บทว่า ปตีเต คือยินดี. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อานนฺทชาเต

คือชื่นชม. บทว่า ปตีเต คือ มีความโสมนัส. บทว่า สุจิวสเน คือในที่อยู่อัน

ไม่เศร้าหมอง. จริงอยู่ที่อยู่ของเทวดาทั้งหลายเกิดจากต้นกัลปพฤกษ์ จึงไม่จับ

ละอองหรือมลทิน. บทว่า ทุสฺส คเหตฺวา ได้แก่ ยกผ้าทิพย์ที่ได้ชื่อว่า ทุสฺส

เพราะเป็นเช่นผ้าในโลกนี้. บทว่า อสิโต อิสิ คืออสิตฤษี ที่ได้ชื่ออย่างนี้

เพราะมีผิวกายดำ. บทว่า ทิวาวิหาเร คือในที่พักกลางวัน. คำที่เหลือโดย

บทง่ายทั้งนั้น แต่โดยความสัมพันธ์กัน นัยว่า อสิตฤษีนี้เป็นปุโรหิตของ

พระเจ้าสีหหนุพระชนกของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้เป็นอาจารย์บอกศิลปะแต่ครั้ง

พระเจ้าสุทโธทนะยังมิได้อภิเษก ครั้นอภิเษกแล้วได้เป็นปุโรหิต. เมื่ออสิตฤษี

มารับราชการในเวลาเย็นและเวลาเช้า พระราชามิได้ทรงทำความเคารพเหมือน

เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ทรงกระทำเพียงยกพระหัตถ์ประนมเท่านั้น. นัยว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 633

นี้เป็นธรรมดาของเจ้าศากยะทั้งหลายที่ได้อภิเษกแล้ว. ปุโรหิตเบื่อหน่ายด้วย

การรับราชการ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์จะบรรพชาพระเจ้า

ข้า. พระราชาทรงทราบความตั้งใจแน่วแน่ของปุโรหิตนั้น จึงตรัสขอร้องว่า

ท่านอาจารย์ถ้าเช่นนั้น ขอให้ท่านอาจารย์อยู่ในอุทยานของข้าพเจ้าเถิด โดยที่

ข้าพเจ้าจะไปเยี่ยมท่านอาจารย์เสมอ ๆ. ปุโรหิตรับกระแสะพระดำรัสแล้ว

บรรพชาเป็นดาบส พระราชาทรงอุปถัมภ์อยู่ในสวนนั่นเอง ดาบสกระทำ

กสิณบริกรรมยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว. ตั้งแต่นั้นมา อสิต-

ดาบสนั้นก็ไปฉันในราชตระกูล แล้วไปพักกลางวัน ณ ป่าหิมพานต์ สวรรค์

ชั้นจาตุมมหาราชิกา และนาคพิภพเป็นต้น แห่งใดแห่งหนึ่ง.

อยู่มาวันหนึ่งอสิตดาบสได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เข้าไปยังรัตนวิมาน

นั่งบนทิพพรัตนบัลลังก์ เสวยสมาธิสุข ตอนเย็นจึงออกจากสมาธิแล้วไปยืนอยู่

ที่ประตูวิมาน เหลียวแลดูข้างโน้นข้างนี้ ได้เห็นทวยเทพมีท้าวสักกะเป็นประมุข

ยกผืนผ้าทิพย์ที่ถนนใหญ่ประมาณ ๖๐ โยชน์ แล้วกล่าวคำชมเชยคุณของพระ-

โพธิสัตว์รื่นเริงอยู่. ด้วยเหตุนั้นท่านพระอานนท์ จึงกล่าวว่า อานนฺทชาเต

ฯเปฯ ทิวาวิหาเร ความว่า อสิตฤษีอยู่ในที่พักกลางวันได้เห็นท้าวสักกะจอมเทพ

และเทวดาคณะไตรทศผู้มีใจชื่นชม มีปีติโสมนัสยกผ้าทิพย์ขึ้นเชยชมอยู่อย่าง

เหลือเกินในที่อยู่อันสะอาด ดังนี้. ครั้นอสิตฤษีเห็นอย่างนั้นแล้วจึงทำความ

เคารพ แล้วได้ถามทวยเทพผู้มีใจเบิกบานบันเทิงในที่นั้นว่า เพราะเหตุไร

ทวยเทพจึงเป็นผู้ยินดีอย่างเหลือเกิน ท่านทั้งหลายยกผ้าทิพย์ขึ้นแล้วรื่นรมย์

อยู่เพราะอาศัยอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 634

ในบทเหล่านั้นบทว่า อุทคฺเค คือมีกายสูงยิ่ง. บทว่า จิตฺต กริตฺ วา

ได้แก่ ทำความเคารพ. บทว่า กลฺยาณรูโป คือยินดีมาก. บทที่เหลือมีความ

ง่ายทั้งนั้น.

บัดนี้ พึงทราบคาถามีอาทิว่า ยทาปิ อาสิ แม้คราวใดได้มีสงคราม

กับพวกอสูร ดังนี้ มีความเชื่อมกันง่ายทั้งนั้น. แต่พึงทราบความแห่งบทใน

คาถาต้นก่อน บทว่า สงฺคโม ได้แก่ สงคราม. บทว่า ชโย สุราน คือ

พวกเทวดาชนะ. เพื่อความแจ่มแจ้งของบทนั้น พึงทราบกถาตามลำดับต่อไปนี้.

มีเรื่องเล่ามาว่า ท้าวสักกะเป็นมาณพชื่อมาฆะเป็นใหญ่ในมนุษย์ ๓๓

คน ผู้เป็นชาวบ้านมจลคาม ในแคว้นมคธ บำเพ็ญวัตตบท ๗ บังเกิดในดาวดึงส์

พิภพพร้อมกับบริษัท. ลำดับนั้นพวกเทวดาก่อน ๆ กล่าวกันว่า พวกเทพบุตร

ผู้เป็นอาคันตุกะมาแล้ว พวกเราจักต้อนรับพวกเขาจึงน้อมนำดอกบัวทิพย์เข้าไป

ให้และเชื้อเชิญให้ครองราชสมบัติกึ่งหนึ่ง. ท้าวสักกะไม่ทรงยินดีด้วยราชสมบัติ

เพียงกึ่งหนึ่ง จึงประกาศให้บริษัทของตรู่ วันหนึ่งเมื่อเทวดาก่อน ๆ เมาจึง

จับเท้าขว้างไปที่เชิงเขา สิเนรุ. ณ พื้นชั้นล่างของภูเขาสิเนรุของทวยเทพ

เหล่านั้นเกิดอสูรภพประมาณหมื่นโยชน์ งดงามด้วยจิตตปาฎลีปกคลุมดอกไม้

สวรรค์. แต่นั้นพวกบุรพเทวดาทั้งหลายเหล่านั้นครั้นได้สติไม่เห็นดาวดึงส์พิภพ

จึงกล่าวกันว่า โอ ! ร้ายจริงพวกเราพากันฉิบหาย เพราะโทษที่ดื่มสุราจนเมา

มาย บัดนี้พวกเราจะไม่ดื่มสุราอีกแล้ว พวกเราจะดื่มที่ไม่ใช่สุรา บัดนี้พวกเรา

มิได้เป็นเทวดาแล้ว พวกเราเป็นอสูรแล้ว ตั้งแต่นั้น ก็มีชื่อเกิดขึ้นว่า อสุรา

คิดกันว่าพวกเราจะทำสงครามกับพวกเทวดาในบัดนี้ จึงพากันไปเบื้องหน้าภูเขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 635

สิเนรุ. ลำดับนั้นท้าวสักกะขึ้นไปรบกะพวกอสูร ขว้างลงในมหาสมุทรอีก

สร้างรูปเปรียบพระอินทร์คล้ายพระองค์ตั้งไว้ที่ประตู ๔ ด้าน. พวกอสูรคิดว่า

ท้าวสักกะนี้ช่างไม่ประมาทดีจริงหนอ มายืนอยู่ได้เป็นนิจ. แล้วพากันกลับ

เข้าเมือง. ลำดับนั้นทวยเทพประกาศชัยชนะของตน ยกผืนผ้าทิพย์ขึ้นที่ถนน

ใหญ่พากันเล่นนักษัตร.

ครั้งนั้น อสิตฤษี เพราะตนสามารถระลึกชาติในอดีตและอนาคตได้

ตลอด ๔๐ กัป จึงรำพึงว่า ทวยเทพเหล่านี้เคยเล่นนักษัตรอย่างนี้เหมือนใน

กาลก่อนหรือหนอ เห็นเทพชนะสงครามระหว่างเทวดากับอสูร จึงกล่าวว่า

ยทาปิ อาสิ อสุเรหิ ฯเปฯ โลมหโส ความว่า แม้คราวใดได้ที่สงครามกับ

พวกอสูร พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ แม้คราวนั้นขนลุกพองเช่นนี้ก็มิได้

มี. บทว่า กิมพฺภูต ทฏฺฐุ มรู ปโมทิตา ความว่า วันนี้เทวดาทั้งหลาย

ได้เห็นเหตุอะไรซึ่งไม่เคยมีมา จึงพากันเบิกบานอย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๒ ดังนี้. บทว่า เสเฬนฺติ คือ เทวดา

ทั้งหลายเปล่งเสียงชมเชย. ขับร้องหลายอย่าง ประโคมดนตรี ๖๘,๐๐๐ ชิ้น.

บทว่า โผเฏนฺติ คือปรบมือ. บทว่า ปุจฺฉามิ โวห เราขอถามท่านทั้งหลาย

คือ อสิตฤษีแม้สามารถจะรู้ได้ด้วยตนเอง ก็ถามเพราะประสงค์จะฟังคำของ

พวกเทพเหล่านั้น. บทว่า เมรุมุทฺธวาสิเน คือ ผู้อยู่บนยอดเขาสิเนรุ. จริง

อยู่ ณ พื้นชั้นล่างของของเขาสิเนรุมีอสุรภพประมาณ ๑๐,๐๐๐ โยชน์. ณ พื้น

ชั้นกลางมีมหาทวีป ๔ มีทวีปน้อยประมาณ ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร. ณ พื้นชั้นบน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 636

มีดาวดึงส์พิภพ ๑๐,๐๐๐ โยชน์. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สิเนรุมุทฺธ-

วาสิโน ผู้อยู่บนยอดเขาสิเนรุ. บทว่า มาริสา อสิตฤษีเรียกพวกเทวดา.

ท่านอธิบายว่า เป็นผู้ไม่มีทุกข์ และไม่มีโรค.

ต่อไปพึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๓ ซึ่งเทวดาทั้งหลายบอกความนั้น

แก่อสิตฤษีได้กล่าวแล้ว. บทว่า โพธิสตฺโต ได้แก่ สัตว์ผู้จะตรัสรู้ คือ สัตว์ผู้

ควรบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ. บทว่า รตนวโร คือ ผู้เป็นรัตนะอันประเสริฐ. บท

ว่า เตนมฺหา ตุฏฺา คือ เพราะเหตุนั้นพวกเราจึงยินดี. เพราะว่าพระโพธิสัตว์

นั้น ครั้นบรรลุความเป็นพุทธะแล้วจักแสดงธรรมโดยประการที่พวกเราและเหล่า

เทพอื่นจักบรรลุภูมิของพระเสกขะและพระอเสกขะได้ แม้มนุษย์ทั้งหลายเหล่า

ใดฟังธรรมของท่านแล้วยังไม่สามารถจะปรินิพพานได้ มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น

จักทำทานเป็นต้น แล้วไปบังเกิดในเทวโลกได้ นัยว่านี้เป็นอธิบายของหมู่เทพ

เหล่านั้นด้วยประการฉะนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า ตุฏฺา กลฺยรูปา พวกเรา

พากันยินดีเบิกบาน ความว่า สองบทนี้ไม่ต่างกันก็จริงถึงดังนั้น พวกเทวดา

เห็นอะไรที่ไม่เคยมีมาแล้ว จึงพากันเบิกบาน การรบของเทวดาน่าเบิกบาน

นักหรือ พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้เพื่อแก้สองปัญหา ดังนี้.

บัดนี้ พึงทราบความแห่งคาถาที่ ๔ ที่เทวดาทั้งหลายกล่าวชี้แจงถึง

ความประสงค์เมื่อพระโพธิสัตว์อุบัติแล้วพวกเขาพากันยินดี. พระสังคีติกาจารย์

แสดงความที่พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประเสริฐในคติทั้ง ๕ ด้วยสองบทเหล่านี้

แสดงถึงการถือกำเนิดเป็นเทวดาและมนุษย์ด้วย สัตต ศัพท์ แสดงการถือคติ

ที่เหลือด้วย ปชา ศัพท์. จริงอยู่แม้สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายมีสีหะเป็นต้นก็ยัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 637

ประกอบด้วยคุณมีความไม่หวาดสะดุ้งเป็นต้น พระโพธิสัตว์นี้แหละทำให้สัตว์

แม้เหล่านั้นหวาดสะดุ้งได้ เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปชานมุตฺตโม เป็นผู้

สูงสุดกว่าหมู่สัตว์ทั้งหลาย. ก็ในบรรดาเทวาและมนุษย์ทั้งหลาย ในบุคคล ๔

จำพวก มีผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนเป็นต้นเหล่านั้น ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ทั้ง

สองนี้เป็นอัครบุคคล และเป็นผู้องอาจกว่านรชนเพราะเป็นเช่นกับโคอุสภะใน

หมู่ชน. ด้วยเหตุนั้นเทวดาทั้งหลายเมื่อจะกล่าวสรรเสริญพระโพธิสัตว์นั้น

จึงกล่าวบททั้งสองนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๕. บทว่า ต สทฺท ความว่า อสิตฤษี

ได้ฟังคำที่เทวดาทั้งหลายได้กล่าวแล้วนั้น. บทว่า อวสริ คือรีบลง. บทว่า

ตทภวน ตัดบทเป็น ตทา ภวน ได้แก่ เข้าไปยังที่ประทับของพระเจ้า-

สุทโธทนะในขณะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๖. บทว่า ตโต ได้แก่ ต่อจากคำของ

อสิตฤษี. บทว่า อุกฺกามุเขว คือ เหมือนทองคำที่ปากเบ้า. อธิบายว่า

เหมือนทองคำบริสุทธิ์ในเบ้า. บทว่า สุกุสลสมฺปหฏฺ ได้แก่ นายช่างทอง

ผู้ฉลาดหลอมดีแล้ว อธิบายว่า หล่อหลอม. บทว่า ททฺทลฺลมาน คือ ผู้

รุ่งเรื่อง. บทว่า อสิตวฺหยสฺส คือแก่ฤษีชื่ออสิตะ. ชื่อที่สองว่ากัณหเทวิลฤษี.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๗. บทว่า ตาราสภ วา คือ เหมือน

ความรุ่งเรื่องของดวงดาว. อธิบายว่า เหมือนพระจันทร์. บทว่า วิสุทฺธ

คือเว้น จากอุปกิเลสมีหมอกเป็นต้น. บทว่า สรทริว คือ ดุจในสรทกาล.

บทว่า อานนฺทชาโต เกิดความยินดี คือ เกิดปีติโดยเพียงได้ยินเท่านั้น.

บทว่า อลตฺถ ปีตึ ได้ปีติ คือครั้นเห็นแล้วก็ได้ปีติยิ่งขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 638

ต่อจากนั้นพึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๘ ที่พวกเทวดากล่าวแก่พระ-

โพธิสัตว์ เพื่อแสดงสักการะอันประกอบขึ้นเอง. บทว่า อเนกสาข คือมีซี่

เป็นอันมาก. บทว่า สหสฺสมณฑล มีมณฑลตั้งพัน คือประกอบด้วยมณฑล

ตั้งพันสำเร็จด้วยทองคำสีแดง. บทว่า ฉตฺต คือ เศวตฉัตรอันเป็นทิพย์.

บทว่า วีติปตนฺติ ตกลงอยู่ คือ จามรด้ามทองทั้งหลายค้อมลงมาพัดวีสรีระ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๙, บทว่า ชฏี ได้แก่ ชฎิล. บทว่า กณฺ-

หสิริวฺหโย ฤษี ชื่อว่า กัณหสิริ คือ เรียกชื่อด้วย กัณหศัพท์และสิรีศัพท์.

ท่านอธิบายไว้ว่า ได้ยินว่า เรียกชื่อท่านว่าสิริกัณหะบ้าง. บทว่า ปณฺฑุกมฺพเล

ได้แก่บนผ้ากัมพลแดง. ก็เรื่องราวในที่นี้ควรกล่าวว่า ซึ่งพระกุมาร หรือควร

ทำปาฐะที่เหลือไว้. อนึ่งในคาถาต้นท่านกล่าวว่า ทิสฺวา เห็นเเล้ว หมายถึงเข้า

ไปถึงหัตถบาส. แต่บทว่า ทิสฺวา นี้หมายถึงนำเข้ารับถึงหัตถบาส เพราะ

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทิสฺวา ซ้ำอีก. ท่านกล่าวถึงทัศนะมีในก่อน หรือการมุ่ง

เพื่อได้ปีติ เพราะคำว่า วิปุลมลตฺถ ปีตึ ได้ปีติไพบูลในที่สุดคาถา กล่าว

การมุ่งเพื่อรับนี้ เพราะคำว่า สุมโน ปฏิคฺคเห ดีใจรับเอาในที่สุด. อนึ่ง

บทก่อนเกี่ยวกับพระกุมาร บทนี้เกี่ยวกับเศวตฉัตร ได้เห็นพระกุมารดุจแท่ง-

ทองบนผ้ากัมพลแดงของแคว้นคันธาระมีค่า ๑๐๐,๐๐๐ และเศวตฉัตรที่กั้นอยู่

บนพระเศียร ดังที่ได้กล่าวแล้วในบทนี้ว่า ฉตฺต มรู พวกเทวดากั้นเศวต-

ฉัตร ดังนี้. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ฉัตรนี้ท่านกล่าวหมายถึงฉัตรอันเป็น

ของมนุษย์. แม้พวกมนุษย์ ก็ถือ ฉัตรจามร ฉัตรหางนกยูง ใบตาล และพัด

วาลวีชนีเข้าไปหาพระมหาบุรุษเหมือนเทวดาทั้งหลายได้เหมือนกัน. เมื่อเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 639

เช่นนั้นก็ไม่มีอะไรดียิ่งไปด้วยคำของอสิตฤษีนั้น เพราะฉะนั้นตามที่ท่านกล่าว

ไว้ก็ดีแล้ว. บทว่า ปฏิคฺคเห ได้แก่ ฤษีเอามือทั้งสองรับไว้. นัยว่า เจ้า-

ศากยะทั้งหลายนำพระกุมารเข้าไปเพื่อให้ไหว้พระฤษี. ครั้งนั้นพระบาททั้งสอง

ของพระกุมารก็กลับไปตั้งอยู่บนศีรษะของพระฤษี. พระฤษีเห็นความอัศจรรย์

ดังนั้น มีความชื่นชมยินดีรับไว้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๐. บทว่า ชิคึสโต ได้แก่ปรารถนาค้น

คว้า แสวงหา. ท่านอธิบายว่า เข้าไปตรวจตรา. บทว่า โส ลกฺขณมนฺตปารคู

เรียนจบลักษณะมนต์ คือ พระฤาษีนั้นถึงฝั่งแห่งลักษณะและแห่งเวททั้งหลาย.

บทว่า อนุตฺตราย คือ พระกุมารนี้ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า. นัยว่าอสิตฤษีนั้นเห็น

จักรที่ฝ่าพระบาทของพระมหาสัตว์อยู่เฉพาะหน้าของตน จึงตรวจตราดูพระ-

ลักษณะที่เหลือโดยทำนองนั้น ครั้นเห็นความสมบูรณ์แห่งพระลักษณะทั้งหมด

ก็รู้ว่า พระกุมารนี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอนจึงกล่าวอย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๑. คำว่า อถตฺตโน คมน ได้แก่

เข้าถึงอรูปด้วยอำนาจปฏิสนธิ. บทว่า อกลฺยรูโป คฬยติ อสฺสุกานี

เป็นผู้เสียใจถึงน้ำตาตก คือ อสิตฤษีระลึกถึงการอุบัติในอรูปภพของตนนั้น

เสียใจว่า บัดนี้เราไม่ได้เพื่อจะฟังพระธรรมเทศนาของพระกุมารนั้นเสียแล้ว

เกิดโทมนัสเพราะความโศกมีกำลังครอบงำถึงกับน้ำตาตก คือ ไหล. ปาฐะว่า

ควยติ ก็มี. ก็ผิว่า อสิตฤษีนี้ พึงน้อมจิตไปในรูปภพ ก็จะไม่เกิดเดือดร้อน

อะไรถึงกับร้องไห้อย่างนั้น . แต่เกิดเดือดร้อน เพราะความไม่ฉลาดไม่รู้จักวิธี.

หากมีคำถามว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อสิตฤษีนั้นไม่ควรเกิดโทมนัส เพราะข่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 640

เสียได้ด้วยการได้สมาบัติมิใช่หรือ. ตอบว่า เพราะยังข่มไม่ได้นั้นเอง. จริงอยู่

กิเลสทั้งหลายที่ตัดขาดด้วยมรรคภาวนาจะเกิดขึ้นไม่ได้ แต่กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้น

ได้เพราะปัจจัยมีกำลังแห่งการได้สมาบัติ. หากมีคำถามว่า เมื่อกิเลสเกิดขึ้น

เพราะฌานเสื่อมเขาจะเข้าถึงอรูปภพได้แต่ไหน. ตอบว่า บรรลุได้อีกด้วยความ

ลำบากเล็กน้อย. เพราะผู้ได้สมาบัติทั้งหลาย เมื่อกิเลสเกิดขึ้นจะไม่ถึงกันหมด

กำลังไปทีเดียว พอเมื่อกำลังกิเลสสงบเท่านั้น ย่อมบรรลุคุณวิเศษนั้นได้อีก

ด้วยความลำบากเล็กน้อยเท่านั้น. เป็นอันรู้ได้ยากว่า ผู้ได้สมาบัติเหล่านี้เป็น

ผู้เสื่อมจากคุณวิเศษดังนี้บ้าง อสิตฤษีก็เป็นเช่นนั้น. บทว่า โน จ กุมาเร

ภวิสฺสติ อนฺตราโย ความว่า อันตรายจักไม่มีในพระกุมารนี้หรือหนอ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๒. บทว่า น โอรกาย คือพระกุมารนี้

เป็นผู้ไม่เลว คือ ไม่เป็นผู้เล็กน้อย. อสิตฤษีกล่าวถึงพุทธานุภาพที่ควรกล่าว

ในคาถาต่อไป.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๓. บทว่า สมฺโพธิยคฺค คือ

สัพพัญญุตญาณ. จริงอยู่ สัพพุตญาณนั้นชื่อสัมโพธิ เพราะตรัสรู้โดยชอบ

ด้วยความไม่วิปริต. สัพพัญญุตญาณ ท่านกล่าวว่าเลิศ เพราะสูงสุดกว่าญาณ

ทั้งปวง โดยไม่มีเครื่องกีดกั้นในที่ไหน ๆ. บทว่า ผุสิสฺสติ เเปลว่า บรรลุ.

บทว่า ปรมวิสุทฺธทสฺสี ได้แก่ เห็นพระนิพพาน. จริงอยู่ พระนิพพาน

นั้นชื่อว่าบริสุทธิ์อย่างยิ่ง เพราะบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว. บทว่า วิตฺถาริกสฺส

ตัดบทเป็น วิตฺถาริก อสฺส พรหมจรรย์จักแพร่หลาย. บทว่า พฺรหฺมจริย

คือ คำสั่งสอน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 641

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๔. บทว่า อถนฺตรา คือในระหว่าง.

ท่านอธิบายว่า ในระหว่างจากที่พระกุมารนั้นทรงบรรลุสัมโพธิญาณนั่นเอง

บทว่า น สุสฺส แปลว่า จักไม่ได้ฟัง. บทว่า อสมธุรสฺส คือมี

ความเพียรไม่มีผู้เสมอ. บทว่า อุฏฺโฏ คือ เป็นนผู้เร่าร้อน. บทว่า พฺยสน

คโต คือ ถึงความพินาศอย่างเป็นสุข. บทว่า อฆาวี คือ ถึงความทุกข์

อสิตฤษีกล่าวหมายถึงความเกิดโทมนัสทั้งหมด เพราะเขาเดือดร้อนเพราะ

เสียใจ. ความเสียใจนั้น ชื่อว่า พยสนะ เพราะเป็นความพินาศอย่างเป็นสุข

ของอสิตฤษีนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สุขวินาสนโต. ด้วยบทนั้นอสิตฤษีนั้น

จึงชื่อ อฆาว มีความทุกข์ เพราะมีทุกข์ทางใจ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๕. บทว่า วิปุล ชเนตฺวาน คือ

ยังปีติอันไพบูลย์ให้เกิด. บทว่า นิคฺคมา คือ อสิตฤษีออกไปแล้ว.

อสิตฤษีออกไปอย่างนี้เพื่ออนุเคราะห์หลานของตน. ท่านกล่าวว่า

อนุเคราะห์บุตรของน้องสาวของตน. บทว่า สมาทเปสิ ความว่า อสิตฤษี

รู้ด้วยกำลังปัญญาของตนว่าตนมีอายุน้อย และรู้ว่านาลกมาณพบุตรของน้องสาว

สะสมบุญไว้ คิดว่านาลกมาณพพอมีปัญญาแล้วจะพึงประมาท จึงไปเรือนของ

น้องสาวเพื่ออนุเคราะห์นาลกมาณพนั้น ถามว่า นาลกะไปไหน. ตอบว่า ไป

เล่นอยู่ข้างนอกเจ้าค่ะ สั่งให้ไปนำมาแล้ว ให้บวชเป็นดาบสในขณะนั้นเอง

ให้สมาทาน ให้โอวาท พร่ำสอน. อสิตฤษีให้สมาทาน ให้โอวาท พร่ำสอน

อย่างไร.

อสิตฤษีกล่าวคาถาที่ ๑๖ ว่า พุทฺโธติ โฆส ฯเปฯ พฺรหฺมจริย

ความว่า ในกาลข้างหน้าเจ้าได้ยินเสียงระบือไปว่า พุทฺโธ ดังนี้ พระผู้มี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 642

พระภาคเจ้าได้ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว ย่อมทรงเปิดเผยทางปรมัตถ-

ธรรม เจ้าจงไปทูลสอบถามด้วยตนเองในสำนักของพระองค์ แล้วประพฤติ

พรหมจรรย์ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเถิด.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ยทิ ปรโต ได้แก่ ในกาลข้างหน้า บทว่า

ธมฺมมคฺค ได้แก่ ธรรมอันเป็นทางแห่งนิพพานคือปรมัตถธรรมหรือทางคือ

นิพพานกับข้อปฏิบัติ. บทว่า ตสฺมึ คือในสำนักนั้น. บทว่า พฺรหฺมจริย

คือ สมณธรรม.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๗. บทว่า ตาทินา ตั้งมั่นอยู่เช่นนั้น.

อธิบายว่า ในสมัยนั้นเมื่อมีการข่มอาสวะคือกิเลส ด้วยการข่มกิเลส และเนื้อ

มีการได้สมาธิด้วยจิตตั้งมั่น. บทว่า อนาคเต ปรมวิสุทฺธทสฺสินา อสิตฤษี

มีปรกติเห็นนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่งในอนาคต ความว่า อสิตฤษีนั้น ท่าน

กล่าวว่าชื่อว่าเป็นผู้มีปรกติเห็นนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่งในอนาคตโดยปริยาย

นี้ เพราะค่าที่ตนเห็นอย่างนี้ว่า นาลกะนี้จักเห็นนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่งใน

สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าในอนาคตกาลดังนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

อนาคเต ปรมวิสุทฺธทสฺสินา ดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น. บทว่า

อุปจิตปุญฺสญฺจโย นาลกดาบสเป็นผู้สะสมบุญไว้ คือ สะสมบุญไว้ตั้งแต่

ศาสนาพระปทุมุตรสัมมาสัมพุทธเจ้า. บทว่า ปติกฺข คือรอคอยอยู่. บทว่า

ปริวสิ คือบวชอยู่ด้วยเพศดาบส. บทว่า รกขิตินฺทฺริโย คือรักษาโสตินทรีย์

(อินทรีย์คือหู). ได้ยินว่า นาลกดาบสนั้นคิดว่า เราจะดำน้ำให้หูแตกเสีย แต่

นั้น เราก็จะไม่ต้องฟังธรรมภายนอก จึงดำลงไปในน้ำตั้งแต่นั้นมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 643

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๘. บทว่า สุตฺวาน โฆส ความว่า

นาลกะนั้นรอคอยอยู่อย่างนั้นได้ฟังเสียงประกาศที่พระชินสีห์ทรงประกาศธรรม-

จักกรอันประเสริฐโดยนัยมีอาทิว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุสัมโพธิญาณ

โดยลำดับแล้วทรงประกาศพระธรรมจักรในกรุงพาราณสี พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงประกาศธรรมจักรนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วหนอดังนี้ อันพวกเทวดาผู้หวังประโยชน์แก่ตนพากัน

มาบอกแล้ว. บทว่า คนฺตฺวาน ทิสฺวา อิสินิสภ ความว่า เมื่อทวยเทพ

ทำการโกลาหลด้วยโมเนยยปฏิปทาอยู่ตลอด ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ดำริว่า ในวันที่ ๗ นาลกะจักไปยังที่อยู่ชองฤษีแล้วก็จักมา เราจักแสดงธรรม

แก่เขาดังนี้ นาลกะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือวรพุทธอาสน์ ด้วย

ความมุ่งหมายนี้ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระชินสีห์ผู้องอาจกว่าฤษี. บทว่า ปสนฺโน

คือมีจิตเลื่อมใสพร้อมกับการเห็นเท่านั้น. บทว่า โมเนยฺยเสฏฺ ปฏิปทา

อันประเสริฐของมุนี คือ ญาณชั้นสูงสุด อันได้แก่มรรคญาณ. บทว่า สมาคเต

อสิตวฺหยสฺส สาสเน คือในเมื่อดำสั่งสอนของอสิตฤษีมาถึงเข้า. ก็เมื่อใด

นาลกดาบสประพฤติมรรคธรรม เมื่อนั้นก็จะถูกอสิตฤษีไปถามแล้วสอนว่า

ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเถิด. นี้แหละคือกาลนั้น.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สมาคเต อสิตวฺหยสฺส สาสเน ดังนี้.

บทที่เหลือในคาถานี้ ปรากฏชัดแล้ว. พึงทราบการพรรณนาวัตถุคาถานี้ไว้

เพียงเท่านี้.

พึงทราบวินิจฉัยในสองคาถาอันเป็นคำถาม. บท อญฺาตเมต

คือข้าพระองค์ได้รู้คำนี้แล้ว. บทว่า ยถาตถ คือไม่วิปริต. อธิบายว่ากระไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 644

อธิบายว่า นาลกดาบสกล่าวว่า อสิตฤษีรู้ว่าพระกุมารนี้จักบรรลุทางแห่งสัม-

โพธิญาณได้บอกกะข้าพระองค์ว่าท่านจงฟังประกาศว่า พุทฺโธ ในกาลข้างหน้า

ผู้บรรลุสัมโพธิญาณย่อมประพฤติมรรคธรรมดังนี้ วันนี้ข้าพระองค์ได้รู้ตามคำ

ของอสิตฤษีว่า คำนั้นเป็นคำจริง เพราะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพยาน.

บทว่า ต ต คือเพราะฉะนั้น. บทว่า สพฺพธมฺมาน ปารคุ พระองค์

ผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ความว่า ผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมโดยอาการ ๖ ตามนัยที่

ได้กล่าวแล้วในเหมวตสูตร. บทว่า อนาคาริยุเปตสฺส ตัดบทเป็น อนาคาริย

อุเปตสฺส คือออกบวช. อธิบายว่า บรรพชิต. บทว่า ภิกฺขาจริย ชิคึสโต

แสวงหาการเที่ยวไปเพื่อภิกษา คือ แสวงหาภิกขาจารอันไม่เศร้าหมองที่พระ-

อริยเจ้าประพฤติสืบต่อกันมาแล้ว. บทว่า โมเนยฺย ได้แก่ เป็นของพระมุนี.

บทว่า อุตฺตม ปท คือปฏิปทาอันสูงสุด. บทที่เหลือในคาถานี้ ปรากฏชัด

อยู่แล้ว.

เมื่อนาลกดาบสได้กราบทูลถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ทรงพยากรณ์โมเนยยปฏิปทาแก่นาลกดาบสนั้นโดยนัยมีอาทิว่า โมเนยฺย เต

อุปญฺิสฺส เราจักบัญญัติปฏิปทาของมุนีแก่เธอ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปญฺิสฺส คือเราพึงบัญญัติ อธิบายว่า

พึงแนะนำ พึงให้รู้ทั่วถึง. บทว่า ทุกฺกร ทุรภิสมฺภว ท่านอธิบายว่า

ทำได้ยากทำให้เกิดความยินดีได้ยาก.ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้. เราพึงบัญญัติ

ปฏิปทาของมุนีแก่ท่าน หากความสุขจะพึงมีเพื่อการทำหรือเพื่อความเกิดขึ้น

ซึ่งปฏิปทาของมุนีนั้นอันเป็นการทำได้ยาก ให้เกิดความยินดีได้ยาก ควรปฏิบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 645

ไม่ให้จิตเศร้าหมองเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เวลาเป็นปุถุชน. เป็นความจริงดังนั้น สาวก

รูปเดียวเท่านั้นของพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวย่อมทำได้และทำให้เกิดได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงถึงความที่ปฏิปทาของมุนีทำได้ยาก

และทำให้ยินดีได้ยาก มีพระประสงค์จะให้นาลกดาบสเกิดอุตสาหะ จึงตรัส

โมเนยยปฏิปทาแก่นาลกดาบสว่า หนฺท เต น ปวกฺขามิ สนฺถมฺภสฺสุ ทฬฺ-

โห ภว เอาเถิด เราจะบอกปฏิปทาของมุนีนั้นแก่เธอ เธอจงช่วยเหลือตน

จงเป็นผู้มั่นคงเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถบอกความเตือน.

บทว่า เต น ปวกฺขามิ ได้แก่ เราจะบอกปฏิปทาของมุนีนั้นแก่เธอ.

บทว่า สนฺถมฺภสฺสุ คือ เธอจงช่วยเหลือตนด้วยการทำให้เกิดความเพียร

สามารถทำสิ่งที่บุคคลทำได้ยาก. บทว่า ทฬฺโห ภว คือเธอจงเป็นผู้มั่นคง

เพราะมีความเพียรไม่ย่อหย่อน สามารถอดกลั้นต่อการทำให้เกิดความยินดี

ได้ยาก. ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะเธอได้สะสมบุญไว้มาก ฉะนั้น เราจะเป็น

ผู้เตือน จะบอกปฏิปทาของมุนีนั้นที่บุคคลทำได้ยาก แม้ทำให้เกิดความยินดี

ได้ยากแก่เธอ เธอจงเป็นผู้ช่วยเหลือตน จงเป็นผู้มั่นคงเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะตรัสปฏิปทาของมุนีอันเป็นเครื่อง

ขัดเกลาอย่างยิ่งอย่างนี้ จึงทรงชักชวนนาลกดาบสในการช่วยตน และในความ

เป็นผู้มั่นคง เมื่อจะทรงแสดงการละกิเลสอันเข้าไปผูกพันกับชาวบ้าน จึงตรัส

คาถากึ่งคาถาว่า สมานภาค ให้เสมอกัน. ในบทเหล่านั้นบทว่า สมานภาค

และบทว่า สมภาค เป็นอย่างเดียวกัน ไม่ต่างกัน. บทว่า อกฺกุฏฺวนฺทิต

ได้แก่ การด่าและการไหว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 646

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงอุบายอันจะทำการด่าและ

การไหว้นั้นให้เสมอกันจึงตรัสคาถากึ่งหนึ่งว่า มโนปโทส ความประทุษร้าย

แห่งใจ ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า มโนปโทส นั้นมีอธิบายว่า เขาด่าแล้วพึงรักษาความประทุษ

ร้ายแห่งใจ เขาไหว้แล้วพึงประพฤติเป็นผู้สงบ ไม่มีความเย่อหยิ่ง ในพึงมีความ

ฟุ้งซ่านว่า พระราชาเมื่อเราไหว้ ยังไหว้เรา ดังนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงการละกิเลสอันผูกพันในป่า

จึงตรัสคาถาว่า อุจฺจาวจา อารมณ์ที่สูงต่ำ ดังนี้.

บทว่า อุจฺจาวจา นั้นมีอธิบายว่า อารมณ์ที่สูงต่ำหลายอย่างย่อม

ซ่านไป คือ แล่นไป ด้วยเป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ แม้ในป่าย่อมมาสู่

คลองแห่งจักษุเป็นต้น ก็อารมณ์เหล่านั้นแลที่สูงต่ำเพราะมีหลายอย่าง เปรียบ

ด้วยเปลวไฟ เพราะทำให้เกิดอันตรายเหมือนเปลวไฟในป่าที่ถูกไฟไหม้ มีควัน

บ้าง ไม่มีควันบ้าง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง น้อยบ้าง มากบ้าง

ฉันใด อารมณ์ทั้งหลายทั้งสูงต่ำ เพราะมีหลายอย่าง ย่อมซ่านไปในป่าโดย

ประเภทมีราชสีห์ เสือโคร่ง มนุษย์ อมนุษย์ เสียงขันของนกต่าง ๆ ดอกไม้

ผลไม้ ใบไม้อ่อนเป็นต้น น่ากลัวบ้าง ไม่น่ากลัวบ้าง น่ายินดีบ้าง น่าอยาก

ได้บ้าง น่าเคืองบ้าง น่าหลงบ้าง. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

อุจฺจาวจา นิจฺฉรนฺติ ทาเย อคฺคิสิขูปมา อารมณ์ที่สูงต่ำอุปมาด้วยเปลว

ไฟในป่า ดังนี้. บรรดาอารมณ์ทั้งหลายทั้งสูงต่ำซ่านไปอยู่อย่างนี้ อารมณ์อย่าง

ใดอย่างหนึ่ง ที่เที่ยวไปในสวนและป่า หรือนารีทั้งหลายมีหญิงแบกฟืนเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 647

เที่ยวไปในป่าตามปรกติ เห็นมุนีอยู่ในที่ลับแล้วประเล้าประโลมมุนีด้วยกระซิก-

กระซี้ พูดจา ร้องไห้ แก้ผ้าเป็นต้น. บทว่า ตา สุ ต มา ปโลภยุ

ความว่า นารีเหล่านั้นอย่าพึงประเล้าประโลมท่าน อธิบายว่า ท่านจงทำโดย

อาการที่นารีเหล่านั้นประเล้าประโลมไม่ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงวิธีปฏิบัติในป่าและในบ้านแก่นาลก-

ดาบสอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงการสำรวมในศีลจึงตรัสสองคาถาว่า

วิรโต เมถุนา ธมฺมา งดเว้นจากเมถุนธรรม ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า หิตฺวา กาเม วราวเร ความว่า มุนีละกามคุณ

๔ ทั้งดีทั้งไม่ดี แม้ที่เหลือจากเมถุนธรรม. ก็ด้วยการละเมถุนธรรมนั้น การ

งดเว้น จากเมถุนเป็นอันสมบูรณ์ด้วยดีแล้ว. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า หิตฺวา กาเม วราวเร เว้นกามทั้งดีทั้งไม่ดี ดังนี้. ในบทนี้มี

อธิบายดังนี้. บททั้งหลายมีอาทิว่า อวิรุทฺโธ ไม่ยินดียินร้ายดังนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อทรงแสดงถึงการงดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ดังที่กล่าวไว้ใน

คาถานี้ว่า น เหยฺย น ฆาตเย ไม่พึงฆ่าเองไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่าดังนี้. ในคาถา

นั้นมีการพรรณนาโดยสังเขปดังต่อไปนี้ ไม่ยินร้ายในสัตว์ทั้งหลายที่เป็นฝ่ายอื่น

ไม่ยินดีในฝ่ายของตน สัตว์ทั้งปวงก็มีตัณหา กำจัดความยินร้ายในสัตว์เหล่านั้น

เสีย เพราะเปรียบกับตนว่า เราเป็นฉันใด คือเพราะเราไม่มีความอยาก เพราะ

เราปรารถนาให้สัตว์ที่หวาดสะดุ้งและมั่นคงมีชีวิต เพราะเราไม่อยากตาย เพราะ

เราใคร่สุข เพราะเราเกลียดทุกข์ สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ฉันนั้น และกำจัด

ความยินดีในตน เพราะเปรียบตนกับคนอื่นว่า สัตว์เหล่านี้ฉันใด เราก็ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 648

โดยทำนองนั้นนั่นแล ชื่อว่าเป็นผู้ละความยินดียินร้ายได้ทั้งสองอย่าง กระทำ

ตนให้เป็นอุปมา เพราะเกลียดความตาย ไม่พึงเบียดเบียนบรรดาสัตว์มีชีวิต

ทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นผู้หวาดสะดุ้งก็ดี ที่เป็นผู้มั่นคงก็ดี ไม่

พึงฆ่าเอง ด้วยสาหัตถิกประโยคเป็นต้น (ลงมือฆ่าเอง) ไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่า

ด้วยอาณัตติกประโยคเป็นต้น (ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า).

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศีล คือความสำรวมในปาติโมกข์โดยสังเขป

ด้วยหัวข้อคือการเว้นจากเมถุนและการเว้นจากฆ่าสัตว์แก่นาลกดาบสและทรง

แสดงความสำรวมอินทรีย์ด้วยบทมีอาทิว่า หิตฺวา กาเม ละกามทั้งหลาย ดังนี้

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะจึงตรัสคาถาว่า หิตฺวา อิจฺฉญฺจ

ฯเปฯ ตเรยฺย นรก อิม ความว่า มุนีละความปรารถนาและความโลภใน

ปัจจัยที่ปุถุชนข้องอยู่แล้ว เป็นผู้มีจักษุ พึงปฏิบัติปฏิปทาของมุนีนี้ พึงข้าม

ความทะเยอทะยานในปัจจัย ซึ่งเป็นเหตุแห่งมิจฉาชีพที่หมายรู้กันว่านรกนี้เสีย.

บทนั้นมีอธิบายดังนี้ ตัณหาท่านกล่าวว่า อิจฉา เพราะปรารถนา

เกินวิสัยที่จะได้อย่างนี้ คือ ได้หนึ่งแล้วปรารถนาสอง ได้สองแล้วปรารถนา

สาม ได้สามแล้วปรารถนาสี่ ได้แสนแล้วยังปรารถนายิ่งไปกว่านั้น, ท่านกล่าวว่า

โลภะ เพราะโลภในวิสัยที่จะได้. ปุถุชนละความปารถนาและความโลภใน

ปัจจัยมีจีวรเป็นต้นที่ปุถุชนข้องอยู่แล้ว คือละแม้ทั้งสองอย่างนั้นในปัจจัยที่ปุถุ-

ชนข้องอยู่แล้ว ติดอยู่แล้ว ผูกพันอยู่แล้ว ด้วยความปรารถนาและความโลภ

ไม่ยินดีอาชีวปาริสุทธิเพื่อปัจจัย เป็นผู้มีจักษุด้วยจักษุคือญาณ พึงปฏิบัติ

โมเนยยปฏิปทานี้. ท่านอธิบายว่า ก็ครั้นปฏิบัติได้อย่างนี้แล้ว พึงข้ามนรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 649

นี้เสีย คือ พึงข้ามความทะเยอทะยานในปัจจัยอันเป็นเหตุแห่งมิจฉาชีพที่หมาย

รู้กันว่านรก เพราะเต็มได้ยากนี้เสีย หรือพึงข้ามด้วยปฏิปทานี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะด้วยหัวข้อ

คือการละความทะเยอทะยานในปัจจัยอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงศีล

คือการบริโภคปัจจัยด้วยหัวข้อโภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการ

บริโภค และปฏิปทาตราบเท่าถึงการบรรลุพระอรหัตโดยทำนองนั้นก่อนจึงตรัส

คาถาว่า

อโนทโร มิตาหาโร อปฺปิจฺฉสฺส อโลลุโป

สทา อิจฺฉาย นิจฺฉาโต อนิจฺโฉ โหติ นิพฺพุโต.

พึงเป็นผู้มีท้องพร่อง มีอาหารพอ-

ประมาณ มีความปรารถนาน้อย ไม่มีความ

โลภ เป็นผู้หายหิว ไม่มีความปรารถนา

ด้วยความอยาก ดับความเร่าร้อนได้แล้ว

ทุกเมื่อ.

บทนั้นมีความดังนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า ภิกษุเมื่อได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น

ตามมีตามได้โดยธรรมโดยเสมอแล้ว เมื่อจะฉันอาหารพึงอย่าเห็นแก่ท้องโดย

นัยที่ท่านกล่าวไว้ว่า

จตฺตาโร ปญฺจ อโลเป อภุตฺวา อุทก ปิเว

อล ผาสุวิหาราย ปหิตตฺตสฺส ภิกฺขุโน

ภิกษุผู้มีความเพียร ไม่บริโภคอาหาร

อีก ๔-๕ คำ พึงดื่มน้ำเพื่ออยู่ผาสุก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 650

ไม่ควรมีท้องพองเหมือนเครื่องสูบเต็มด้วยลม พึงป้องกันถีนมิทธะ เพราะเมา

อาหารเป็นเหตุ. ภิกษุพึงเป็นผู้จำกัดอาหารโดยคุณและโทษด้วยการพิจารณา

มีอาทิว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่เห็นแก่ท้องมีอาหารพอประมาณ พึงรู้จักประมาณ

ในการบริโภค ไม่บริโภคเพื่อเล่นดังนี้. แม้เป็นผู้มีอาหารพอประมาณอย่างนี้

ก็พึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ด้วยมีความปรารถนาน้อย ๔ อย่าง คือ ปัจจัย

ธุดงค์ ปริยัติ และอธิคม.

จริงอยู่ ภิกษุผู้ปฏิบัติโมเนยยปฏิปทาโดยส่วนเดียว พึงเป็นเป็นผู้มีความ

ปรารถนาน้อยอย่างนี้. ความสันโดษด้วยสันโดษ ๓ อย่าง ในปัจจัยหนึ่งๆ นั้น

ชื่อว่า ความเป็นผู้ปรารถนาน้อยในปัจจัย.

ความที่ภิกษุผู้ทรงธุดงค์อย่างเดียวไม่ปรารถนาว่าชนเหล่าอื่นจงรู้จักเรา

ว่าเป็นผู้มีสติ มีธุดงค์ ดังนี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยใน

ธุดงค์.

ความที่ภิกษุผู้เป็นพหูสูตอย่างเดียวไม่ปรารถนาว่าชนเหล่าอื่น จงรู้จัก

เราว่าเป็นผู้มีสติเป็นพหูสูต ชื่อว่า ความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในปริยัติ

ดุจความปรารถนาน้อยของพระมหามัชฌันติกเถระ ฉะนั้น.

ความที่ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยอธิคมอย่างเดียวไม่ปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่น

จงรู้จักเราว่าท่านผู้นี้มีสติบรรลุกุศลธรรม ชื่อว่า เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย

ในอธิคม. ก็ความเป็นผู้ปรารถนาน้อยในอธิคมนั้น พึงทราบว่าความปรารถนา

นี้ ต่ำกว่าการบรรลุพระอรหัต. เพราะนี้เป็นปฏิปทาเพื่อบรรลุพระอรหัต.

อนึ่ง แม้ภิกษุผู้มีความปรารถนาน้อยอย่างนี้ ก็ละความทะเยอทะยาน

และความโลภะเสียได้ด้วยอรหัตมรรค พึงเป็นผู้ไม่มีความโลภ. จริงอยู่ ผู้ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 651

ความโลภอย่างนี้ เป็นผู้ไม่มีความปรารถนา เพราะสละความปรารถนาเป็นต้น

เป็นผู้ดับความเร่าร้อนได้แล้วทุกเมื่อ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้หิวด้วยความปรารถนา

อันใด ไม่อิ่ม ดุจเดือดร้อนเพราะหิวกระหาย ภิกษุเป็นผู้ไม่ปรารถนาด้วย

ความปรารถนานั้น และชื่อว่าเป็นผู้หมดหิว เพราะเป็นผู้ไม่ปรารถนา ไม่

เดือดร้อน ถึงความอิ่มเต็มที่ ชื่อว่าเป็นผู้ดับความเร่าร้อนได้คือสงบจากความ

เร่าร้อนคือกิเลสทั้งปวง เพราะเป็นผู้ไม่ปรารถนา เพราะเหตุนั้น พึงทราบ

การประกอบนอกลำดับในบทนี้ ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสปฏิปทาตราบเท่าถึงการบรรลุพระอรหัต

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะตรัสถึงการสมาทานธุดงค์และวัตรเกี่ยวกับเสนาสนะ

อันจบลงด้วยการบรรลุพระอรหัตของภิกษุผู้ปฏิบัติปฏิปทานั้นจึงตรัสสองคาถา

ว่า ส ปิณฺฑจาร ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ส ปิณฺฑจาร จริตฺวา ความว่า ภิกษุนั้น

เที่ยวไปเพื่อภิกษาหรือกระทำภัตกิจ. บทว่า วนนฺตมภิหารเย พึงไปยัง

ชายป่า คือ เป็นผู้ไม่ชักช้าอย่างคฤหัสถ์ที่ชักช้า พึงไปป่าทีเดียว. บทว่า

อุปฏฺิโต รุกฺขมูลสฺมึ คือ ไปที่โคนต้นไม้. บทว่า อาสนุปคฺโต คือ

เข้าไปนั่ง. บทว่า มุนิ คือผู้ปฏิบัติโมเนยยปฏิปทา. อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าว

ปิณฑปาติกังคธุดงค์ด้วยบทนี้ว่า ปิณฺฑจาร จริตฺวา เที่ยวไปบิณฑบาต.

ก็เพราะภิกษุเป็นผู้ถือการบิณฑบาตอย่างเคร่งครัด เที่ยวไปตามลำดับตรอก

มีอาหารมื้อเดียว ฉันอาหารในบาตร ปฏิเสธหลังอาหาร สมาทานเตจีวริกังค-

ธุดงค์ (มีจีวร ๓ ผืน) และปังสุกูลิกังคธุดงค์ (ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 652

เท่านั้น ฉะนั้น จึงเป็นอันครบธุดงค์ ๖ เหล่านี้. ท่านกล่าวอารัญญิกังคธุดงค์

(คือการอยู่ป่าเป็นวัตร) ด้วยบทนี้ว่า วนนฺตมภิหารเย พึงไปยังชายป่า

ดังนี้. ท่านกล่าวรุกขมูลิกังคธุดงค์ (การถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร) ด้วยบทนี้ว่า

อุปฏฺิโต รุกฺขมูลสฺมึ เข้าไปอยู่โคนต้นไม้ ดังนี้. ท่านกล่าวเนสัชชิกังค-

ธุดงค์ (ถือการนั่งเป็นวัตร) ด้วยบทนี้ว่า อาสนุปคโต เข้าไปนั่ง ดังนี้.

เป็นอันท่านกล่าวถึง อัพโภกาสิกังคธุดงค์ (คือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร)

ยถาสันถติกังคธุดงค์ (ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่ท่านจัดให้เป็นวัตร) และโส-

สานิกังคธุดงค์ (ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร) เพราะอนุโลมตามธุดงค์เหล่านั้นตาม

ลำดับ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธุดงค์ ๑๓ ด้วยคาถานี้อย่างนี้แก่พระนาลกเถระ.

บทว่า ส ฌานปฺปสุโต ธีโร ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน

เป็นนักปราชญ์ ความว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ขวนขวายคือประกอบเนือง ๆ ในฌาน

ทั้งหลายด้วยอาวัชชนะ สมาปัชชนะ อธิฏฐานะ วุฏฐานะ และปัจจเวกขณะ

เป็นนักปราชญ์คือสมบูรณ์ด้วยปัญญา. บทว่า วนนฺเต รมิโต สิยา คือ

พึงยินดีในป่า. ท่านอธิบายว่า ไม่พึงยินดีในเสนาสนะใกล้บ้าน. บทว่า ฌาเยถ

รุกฺขมูลสฺมึ อตฺตานมภิโตสย พึงทำจิตให้ยินดียิ่งเพ่งฌานอยู่ที่โคนต้นไม้

ความว่า ไม่พึงขวนขวายโลกิยฌานอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้พึงทำจิตให้ยินดียิ่ง

เพ่งแม้ด้วยโลกุตรฌานทีสัมปยุตด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นต้นที่โคนต้นไม้นั้น

แล จริงอยู่จิตย่อมยินดีเหลือเกินในโลกุตรฌานเหล่านั้น เพราะถึงซึ่งความ

โล่งใจอย่างยิ่ง มิใช่ยินดีด้วยอย่างอื่น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ว่า อตฺตานมภิโตสย พึงทำจิตให้ยินดียิ่งดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 653

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความยินดีในเสนาสนะป่า และพระอรหัต

เพราะความเป็นผู้ขวนขวายในฌานด้วยพระคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้. บัดนี้

เพราะพระนาลกเถระฟังพระธรรมเทศนานี้แล้วเข้าไปสู่ป่าอดอาหารได้เป็นผู้

ขวนขวายยิ่งในการบำเพ็ญปฏิปทา แม้อดอาหารก็ไม่สามารถบำเพ็ญสมณธรรม

ได้เมื่อพระนาลกเถระบำเพ็ญอยู่อย่างนั้น ชีวิตก็ลำบาก แต่เมื่อกิเลสยังไม่เกิด

ควรแสวงหาอาหาร นี้เป็นระเบียบในเรื่องนี้ ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ

ทรงแสดงว่า ควรเที่ยวบิณฑบาตในวันต่อ ๆ ไป กิเลสทั้งหลายก็จะไม่เกิดขึ้น

เมื่อจะตรัสภิกขาจารวัตรจบด้วยการบรรลุพระอรหัต จึงได้ตรัสคาถา ๖ คาถามี

อาทิว่า ตโต รตฺยา วิวสเน เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตโต คือ ต่อจากรับบิณฑบาตแล้วเที่ยวไปยัง

ชายป่าดังที่กล่าวไว้ในบทนี้ว่า ส ปิณฺฑจาร จริตฺวา วนนฺตมภิหารเย

ภิกษุนั้นเที่ยวไปบิณฑบาตแล้วพึงเข้าไปยังชายป่า. บทว่า รตฺยา วิวสเน

คือ เมื่อราตรีล่วงไป. ท่านอธิบายว่า ในวันที่สอง. บทว่า คามนฺตมภิหารเย

พึงเข้าไปสู่บ้าน ความว่า กระทำอภิสมาจาริกวัตรแล้วพึงเพิ่มพูนวิเวกจนถึง

เวลาภิกขาจาร แล้วมนสิการกรรมฐานโดยนัยที่กล่าวแล้วในวัตรทั้งไปทั้งกลับ

พึงไปสู่บ้าน. บทว่า อวฺหาน นาภินนฺเทยฺย ไม่ยินดีโภชนะที่ยังไม่ได้

ความว่า ภิกษุผู้บำเพ็ญปฏิปทาไม่พึงยินดีการนิมนต์ว่า นิมนต์พระคุณเจ้าฉัน

ในเรือนของพวกกระผมเถิด ดังนี้ และโภชนะที่มีวิตกอย่างนี้ว่า จะให้หรือ

ไม่ให้ ให้ดีหรือไม่ให้ดีหนอดังนี้ ท่านอธิบายว่า ไม่ควรรับ. ก็หากว่าชน

ทั้งหลายรับบาตรไปโดยพลการตักถวายจนเต็ม ภิกษุฉันแล้วบำเพ็ญสมณธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 654

ธุดงค์ไม่เสีย. แต่ไม่ควรเข้าบ้านนั้นเพราะอาศัยเหตุนั้น. บทว่า อภิหารญฺจ

คามโต โภชนะที่เขานำมาแต่บ้าน ความว่า หากชนทั้งหลายนำอาหารมาร้อย

ถาด ถวายแก่ภิกษุที่เข้าไปยังบ้าน ภิกษุไม่พึงยินดีอาหารนั้น ทั้งไม่พึงรับแม้

เมล็ดเดียว ควรเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเรือนโดยแท้.

บทว่า น มุนิ คามมาคมฺม กุเลสุ สหสา จเร มุนีอาศัยบ้าน

ไม่ควรเที่ยวไปในสกุลโดยรีบร้อน ความว่า มุนีปฏิบัติเพื่อความเป็นผู้ฉลาด

นั้นไปสู่บ้านไม่ควรเที่ยวไปในสกุลโดยรีบร้อน. ท่านอธิบายว่า ไม่ควรเกี่ยว-

ข้องกับคฤหัสถ์ ไม่คล้อยตามไปกับเขามีการร่วมเศร้าโศกด้วยเป็นต้น. บทว่า

ฆาเสสน ฉินฺนกโถ น วาจ ปยุตฺต ภเณ ตัดถ้อยคำเสีย ไม่พึงกล่าว

วาจา เกี่ยวด้วยการแสวงหาของกิน ความว่า เป็นดุจตัดถ้อยคำเสีย ไม่พึง

กล่าววาจา เกี่ยวด้วยการแสวงหาของกินประกอบด้วยโอภาส (ชี้นำ) ปริกถา

(เลียบเคียง) นิมิต (เครื่องหมาย) วิญญัตติ (การขอร้อง) หากพึงหวัง

เป็นไข้ควรกล่าวเพื่อปัดเป่าความเจ็บไข้ ไม่เป็นไข้ ไม่ควรกล่าวอะไร ๆ เลย

เพื่อต้องการปัจจัยที่เหลือประกอบด้วยโอภาส ปริกถา และนิมิต เว้นวิญญัตติ

เพื่อต้องการเสนาสนะ.

คาถานี้ว่า อลตฺถ ยทิท เป็นต้น มีใจความดังต่อไปนี้. มุนีเข้าไป

สู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เมื่อได้อะไร ๆ แม้เล็กน้อยก็คิดว่า เราได้สิ่งใดสิ่งนี้ยัง

ประโยชน์ให้สำเร็จ เมื่อไม่ได้ก็คิดว่า เราไม่ได้ก็เป็นความดี ดังนี้แล้วเป็นผู้

คงที่ คือ ไม่มีความผิดปกติ เพราะการได้และไม่ได้ทั้งสองอย่างนั้นแล ย่อม

ก้าวล่วงทุกข์เสียได้ เหมือนบุรุษผู้แสวงหาผลไม้เข้าไปยังต้นไม้แล้ว แม้จะได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 655

แม้จะไม่ได้ผลไม้ก็ไม่ยินดี ไม่เสียใจ วางจิตเป็นกลางกลับไป ฉันใด มุนีเข้า

ไปสู่ตระกูล แม้จะได้ แม้จะไม่ได้ลาภ ก็วางจิตเป็นกลางกลับไปฉันนั้น.

คาถาว่า สปตฺตปาณี มุนีมีบาตรในมือเป็นต้นมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบการเกี่ยวเนื่องกันของคาถานี้ว่า อุจฺจาวจา ปฏิปทาสูงต่ำต่อไป. มุนี

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยภิกขาจารวัตรอย่างนี้แล้ว ไม่พึงยินดีเพียงเท่านั้น ควรยินดี

ปฏิปทาต่อไป. เพราะคำสั่งสอน มีสาระอยู่ที่การปฏิบัติ. ก็ปฏิปทานั้นทั้งสูง

และต่ำ พระสมณะทรงประกาศแล้ว มุนีทั้งหลายย่อมไม่ไปสู่นิพพานถึงสองครั้ง

นิพพานนี้ควรถูกต้องครั้งเดียวเท่านั้นหามิได้.

บทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ มรรคปฏิปทานี้ชื่อว่าสูงต่ำ เพราะมีประเภท

ดีและเลว อันพระพุทธสมณะทรงประกาศไว้แล้ว จริงอยู่ การปฎิบัติง่าย

รู้เร็ว เป็นปฏิปทาสูง. ปฏิบัติยาก รู้ช้าเป็นปฎิปทาต่ำ. อีกสองอย่างนั้นเป็น

ปฏิปทาสูงด้วยองค์หนึ่ง ต่ำด้วยองค์หนึ่ง. หรือว่าปฏิปทาต้นสูง อีกสามอย่าง

ก็ต่ำ. มุนีทั้งหลายย่อมไม่ไปสู่นิพพานถึงสองครั้งด้วยปฎิปทาสูงหรือต่ำนี้นั้น.

ปาฐะว่า ทุคุณ สองครั้งก็มี. อธิบายว่า มุนีทั้งหลายย่อมไม่ไปสู่นิพพาน

ถึงสองครั้งด้วยมรรคเดียว. เพราะเหตุไร เพราะกิเลสเหล่าใดถูกละไปแล้ว ด้วย

มรรคใด ไม่พึงละกิเลสเหล่านั้นอีก ด้วยบทนั้น ท่านแสดงความไม่เสื่อมแห่ง

ธรรม. บทว่า น อิท เอกคุณมุตฺต นิพพานนี้ควรถูกต้องครั้งเดียวเท่านั้น

หามิได้ อธิบายว่า นิพพานนี้นั้นแม้ควรถูกต้องครั้งเดียวเท่านั้นก็หามิได้.

เพราะเหตุไร. เพราะไม่มีการละกิเลสทั้งหมดได้ด้วยมรรคเดียว. ด้วยบทนี้

ท่านแสดงความไม่บรรลุพระอรหัตด้วยมรรคเดียวเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 656

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงอานิสงส์แห่งปฏิปทาจึงตรัส

คาถาว่า ยสฺส จ วิสตา ภิกษุผู้ไม่มีตัณหา ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ ก็เมื่อภิกษุปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่

มีตัณหา เพราะละได้ด้วยปฏิปทานั้น ชื่อว่า สลัดออกไป เพราะสลัดตัณหา

วิจริต ๑๐๘ ออกไปได้ ตัดกระแสกิเลสได้แล้ว ละกิจน้อยใหญ่ได้เด็ดขาดแล้ว

ไม่มีความเร่าร้อนแม้แต่น้อย อันเกิดจากราคะก็ดี เกิดจากโทสะก็ดี.

บัดนี้ เพราะจิตเกิดขึ้นแก่พระนาลกเถระ เพราะฟังคาถาเหล่านี้ว่า

ชื่อว่า ปฏิปทาของมุนีมีเพียงเท่านี้ ก็ทำได้โดยง่าย ไม่ยากนักสามารถบำเพ็ญ

ได้ด้วยความลำบากเล็กน้อย ดังนี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดง

ว่า ปฏิปทาของมุนีทำได้ยากแก่พระนาลกเถระ จึงตรัสคาถามีอาทิว่า โมเนยฺ-

ยนฺเต อุปญฺิสฺส เราจักบอกปฏิปทาของมุนีแก่ท่านอีก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปญฺิสฺส ท่านอธิบายไว้ว่า เราจักบอก.

ชื่อว่า ขุรธารูปโม เพราะเป็นผู้มีคมมีดโกนเป็นเครื่องเปรียบ. บทว่า ภเว

แปลว่า พึงเป็น. มีอธิบายไว้อย่างไร ท่านอธิบายว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติปฏิปทา

ของมุนี พึงประพฤติในปัจจัยทั้งหลายทำคมมีดโกนเป็นเครื่องเปรียบ เมื่อได้

ปัจจัยโดยชอบธรรมแล้วบริโภค พึงรักษาจิตให้พ้นจากกิเลส เหมือนการเลีย

คมมีโกนที่มีหยาดน้ำผึ้ง ย่อมรักษาลิ้นเกรงจะขาด ฉะนั้น. จริงอยู่ ปัจจัย

ทั้งหลายที่พึงได้โดยวิธีอันบริสุทธิ์ แต่ไม่อาจบริโภคได้โดยง่าย เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถึงการอาศัยปัจจัยเท่านั้นไว้โดยมาก. บทว่า ชิวฺหาย

ตาลุ อาหจฺจ อุทเร สยโต สิยา กดเพดานไว้ด้วยลิ้นแล้วพึงเป็นผู้สำรวม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 657

ที่ท้อง ความว่า กดเพดานไว้ด้วยลิ้นบรรเทาความอยากในรส พึงเป็นผู้สำรวม

ที่ต้อง เพราะไม่เสพปัจจัยที่เกิดขึ้นด้วยทางอันเศร้าหมอง.

บทว่า อลีนจิตฺโต จ สิยา พึงเป็นผู้มีจิตไม่ท้อแท้ ความว่า พึง

เป็นผู้มีจิตไม่เกียจคร้าน เพราะทำให้มั่นคงในการบำเพ็ญกุศลธรรมเป็นนิจ.

บทว่า น จาปิ พหุ จินฺตเย ไม่พึงคิดมาก คือ ไม่พึงคิดมากโดยวิตก

ถึงญาติ ชนบท และเทวดา. บทว่า นิรามคนฺโธ อสิโต พฺรหฺมจริย-

ปรายโน เป็นผู้ไม่มีกลิ่นดิบ อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้วมีพรหมจรรย์

เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ความว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลส อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย

แล้วในภพไหน ๆ พึงเป็นผู้มีไตรสิกขา และศาสนาพรหมจรรย์ทั้งสิ้นเป็นที่

ไปในเบื้องหน้าทีเดียว.

บทว่า เอกาสนสฺส เพื่อการนั่งผู้เดียว คือ นั่งในที่สงัด. ในบทนี้

ท่านกล่าวถึงอิริยาบถทั้งหมดด้วยหัวข้อว่า อาสนะ. พึงทราบว่าท่านอธิบาย

ไว้ว่า พึงศึกษาเพื่อความเป็นผู้เดียวในทุกอิริยาบถ. อนึ่ง บทว่า เอกาสนสฺส

นี้ เป็นจตุตถีวิภัตติ แปลว่า เพื่อการนั่งผู้เดียว. บทว่า สมณุปาสนสฺส จ

เพื่อประกอบภาวนาที่สมณะพึงอบรม ความว่า เพื่อประกอบภาวนามีอารมณ์

๓๘ อันสมณะพึงอบรม หรือ เพื่อประเภทแห่งอารมณ์ ๓๘ อันเป็นที่อบรม

ของสมณะทั้งหลาย. แม้บทนี้ก็เป็นจตุตถีวิภัตติเหมือนกัน. ท่านอธิบายว่า

เพื่ออบรม. อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงกายวิเวกด้วยการนั่งผู้เดียว

กล่าวถึงจิตตวิเวกด้วยการอบรมของสมณะ. บทว่า เอกนฺต โมนมกฺขาต

ความเป็นมุนีที่เราบอกแล้วโดยส่วนเดียว ความว่า เราบอกแล้วว่าเป็นมุนีโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 658

ส่วนเดียวด้วยกายวิเวกและจิตตวิเวก ด้วยประการฉะนี้. ก็บทว่า เอโก เว

อภิรมิสฺสสิ ท่านผู้เดียวเเลจักอภิรมย์นี้ เป็นบทมุ่งหมายถึงคาถาต่อไป. พึง

เชื่อมด้วยบทนี้ว่า อถ ภาสิหิ ทส ทิสา ทีนั้นท่านจงประกาศไปตลอดทั้งสิบ

ทิศ. บทว่า ภาสิหิ คือท่านจักกล่าว จักประกาศ. อธิบายว่า เมื่อท่านเจริญ

ปฏิปทานี้ จักเป็นผู้ปรากฏด้วยเกียรติในทุกทิศ. เนื้อความแห่งบท ๔ บท มี

อาทิว่า สุตฺวา ธีราน นี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ ท่านจงประกาศไปตลอดทั้งสิบทิศ

ด้วยการประกาศถึงเกียรติ ท่านได้ฟังเสียงประกาศเกียรติของนักปราชญ์ทั้งหลาย

ผู้เพ่งฌาน ผู้สละกามแล้ว แต่นั้นไม่ฟุ้งซ่านพึงกระทำหิริและศรัทธาให้ยิ่งในรูป

ละอาการประกาศนั้น ยังศรัทธาให้เกิดขึ้นว่านี้เป็นปฏิปทาเพื่อนำออกไปแล้ว

เพิ่มพูนการปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไปทีเดียว. บทว่า มามโก ความว่า เมื่อเป็น

เช่นนี้ก็เป็นสาวกของเราได้. บทว่า ต นทีภิ ท่านจะรู้แจ่มแจ้งคำที่เรากล่าว

นั้นด้วยการแสดงแม่น้ำทั้งหลาย ความว่า คำใดที่เรากล่าวว่า ท่านพึงกระทำ

หิริและศรัทธาให้ยิ่งขึ้นไป กล่าวว่าไม่ควรทำความฟุ้งซ่าน ท่านจงรู้คำที่เรา

กล่าวนั้นด้วยการแสดงตัวอย่างแม่น้ำนี้และท่านจงรู้ความตรงกันข้ามกับคำที่เรา

กล่าวนั้นทั้งในเหมืองและในหนอง. บทว่า โสพฺเภสุ คือ เหมือง. บทว่า

ปทเรสุ คือแม่น้ำ. เป็นอย่างไร. บทว่า สนนฺตา ยนฺติ กุสุพฺภา ตุณฺหี

ยนฺติ มโหทธิ แม่น้ำห้วยย่อมไหลดังโดยรอบ แม่น้ำใหญ่ย่อมไหลนิ่ง ความ

ว่า เป็นความจริง แม่น้ำห้วยคือแม่น้ำเล็ก ๆ ทั้งหมดมีเหมืองและหนองเป็นต้น

ย่อมไหลดัง ส่วนแม่น้ำใหญ่มีแม่คงคาเป็นต้นย่อมไหลนิ่ง ผู้ไม่ถือพระพุทธเจ้า

ว่าเป็นของเรา ย่อมเป็นผู้ฟุ้งซ่านว่า เราบำเพ็ญปฏิปทาของมุนีอย่างนี้ ส่วน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 659

ผู้เป็นพุทธมามกะคือถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา ยังหิริและศรัทธาให้เกิด

เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน.

มีอะไรจะกล่าวยิ่งไปกว่านั้นอีก มีคาถาว่า ยทูนก ฯเปฯ ปณฺฑิโต

ความว่า สิ่งใดพร่องสิ่งนั้นย่อมดัง สิ่งใดเต็มสิ่งนั้นย่อมสงบ คนพาลเปรียบ

ด้วยหม้อน้ำที่มีน้ำครึ่งหนึ่ง บัณฑิตเปรียบด้วยห้วงน้ำที่มีน้ำเต็ม.

ในคาถานั้นพึงมีคำถามว่า หากว่าคนพาลเปรียบเหมือนหม้อนำมีน้ำ

ครึ่งหนึ่ง เพราะมีเสียงดัง บัณฑิตเปรียบเหมือนห้วงน้ำที่เต็มเพราะเป็นผู้สงบ

เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรพระพุทธสมณะ จึงเป็นผู้ขวนขวายในการแสดงธรรม

อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคาถาว่า ย สมโณ โดยเชื่อมกับบทนี้ว่า

พหุ ภาสติ.

บทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ พระพุทธสมณะกล่าวคำใดมากที่เข้าถึง

ประโยชน์ประกอบด้วยประโยชน์ คือ ไม่เปล่าประโยชน์ และมีประโยชน์

ไม่กล่าวด้วยความฟุ้งซ่าน อีกอย่างหนึ่ง รู้ถ้อยคำนั้นอยู่ ย่อมแสดงธรรม

เมื่อแสดงแม้ตลอดวันก็ไม่ยึดยาว เพราะคำทั้งหมดของพระพุทธสมณะนั้นเป็น

วจีกรรม ปรับปรุงด้วยญาณ อนึ่ง เมื่อพระพุทธสมณะนั้นแสดงธรรมอยู่

อย่างนี้ รู้ถ้อยคำนั้นอยู่อย่างมากว่า คำนี้พึงเป็นประโยชน์ดังนี้ ย่อมกล่าว

ถ้อยคำมาก มิใช่กล่าวเพราะพูดมากอย่างเดียว.

พึงทราบความสัมพันธ์กันแห่งคาถาสุดท้ายดังต่อไปนี้ พระพุทธสมณะ

ประกอบด้วยสัพพัญญุตญาณรู้อยู่ ย่อมแสดงธรรม รู้อยู่ย่อมกล่าวถ้อยคำมาก

อนึ่ง สมณะใดรู้อยู่ซึ่งธรรมอันพระพุทธสมณะนั้น แสดงแล้วด้วยญาณอันเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 660

ส่วนแห่งการรู้แจ้งแทงตลอด เป็นผู้สำรวมตน รู้เหตุที่ไม่นำประโยชน์เกื้อกูล

และความสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวมาก สมณะนั้นเป็นมุนี ย่อม

ควรซึ่งปฏิปทาของมุนี สมณะนั้นเป็นมุนิได้เข้าถึงธรรมเครื่องเป็นมุนีแล้ว.

บทนั้นมีความดังต่อไปนี้ สมณะรู้อยู่ซึ่งธรรมนั้นเป็นผู้สำรวมตนแล้ว

คุ้มครองจิตแล้ว รู้คำที่ไม่นำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมไม่กล่าวมาก สมณะอย่างนี้ย่อมควรซึ่งความเป็นมุนี มุนีนั้นเป็นผู้ปฏิบัติ

เพื่อความเป็นมุนี ย่อมควรซึ่งปฏิปทาของมุนีอันได้แก่โมเนยยปฏิปทา มิใช่

ย่อมควรอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้มุนีนั้นพึงทราบว่า ได้ถึงธรรมเครื่องเป็นมุนี

อันได้แก่อรหัตมรรคญาณ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลง

ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.

พระนาลกเถระครั้นฟังดังนั้นแล้ว ได้เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยใน

ฐานะ ๓ คือในการเห็น ๑ ในการฟัง ๑ ในการถาม ๑ เพราะเมื่อจบเทศนา

พระนาลกเถระนั้น มีจิตเลื่อมใสถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าไปสู่ป่าไม่เกิด

ความโลเลว่า ทำอย่างไรดีหนอเราจะพึงได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก นี้คือ

ความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในการเห็นของพระนาลกเถระนั้น. อนึ่งไม่เกิด

ความโลเลว่า ทำอย่างไรดีหนอเราจะพึงได้ฟังพระธรรมเทศนาอีก นี้คือความ

เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในการฟังของพระนาลกเถระนั้น. อนึ่งไม่เกิดความ

โลเลว่า ทำอย่างไรดีหนอ เราจะพึงได้ถามโมเนยยปฏิปทาอีก นี้คือความ

เป็นผู้ปรารถนาน้อยในการถามของพระนาลกเถระนั้น. พระนาลกเถระนั้นเป็น

ผู้มีความปรารถนาน้อยอย่างนี้ จึงเข้าไปยังเชิงภูเขา ไม่อยู่ตลอดสองวัน ณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 661

ไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง ไม่นั่งตลอดสองวัน ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ไม่เข้าไป

บิณฑบาตลอดสองวัน ณ บ้านแห่งหนึ่ง. พระนาลกเถระเที่ยวจากป่าสู่ป่า

จากต้นไม้สู่ต้นไม้ จากบ้านสู่บ้าน ปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรแล้วตั้งอยู่ในผล

อันเลิศ. เพราะภิกษุผู้บำเพ็ญโมเนยยปฏิปทาอย่างอุกฤษฏ์ จะมีชีวิตอยู่ได้ ๗

เดือนเท่านั้น บำเพ็ญอย่างกลางจะมีชีวิตอยู่ได้ ๗ ปี บำเพ็ญอย่างอ่อนจะมี

ชีวิตอยู่ได้ ๑๖ ปี พระนาลกเถระนี้บำเพ็ญอย่างอุกฤษฏ์ ฉะนั้นจะอยู่ได้ ๗

เดือน รู้ว่าตนจะสิ้นอายุจึงอาบน้ำ นุ่งผ้า คาคผ้าพันกาย ห่มสังฆาฏิสองชั้น

บ่ายหน้าไปทางพระทศพล ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ประคองอัญชลี

ยืนพิงภูเขาหิงคุลิกะ ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ พระผู้มีพระภาค-

เจ้าครั้นทรงทราบว่า พระนาลกเถระปรินิพพานแล้ว จึงเสด็จไป ณ ภูเขานั้น

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ กระทำฌาปนกิจให้เก็บพระธาตุไปบรรจุยังเจดีย์แล้วเสด็จ

กลับ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถานาลกสูตรที่ ๑๑ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 662

ทวยตานุปัสสนาสูตรที่ ๑๒

ว่าด้วยการพิจารณาเห็นธรรมเนือง ๆ

[๓๙๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของ

นางวิสาขามิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล เมื่อคืนเพ็ญพระ-

จันทร์เต็มดวงในวันอุโบสถที่ ๑๕ ค่ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุสงฆ์แวดล้อม

ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง ทรงชำเลืองเห็นภิกษุสงฆ์สงบนิ่ง จึงตรัสกะภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า จะมีประโยชน์อะไร

เพื่อการฟังกุศลธรรมอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออกไป อันให้ถึงปัญญาเป็น

เครื่องตรัสรู้ แก่ท่านทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงตอบเขาอย่างนี้ว่า มีประโยชน์

เพื่อรู้ธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างตามความเป็นจริง ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า ท่าน

ทั้งหลายกล่าว อะไรว่าเป็นธรรม ๒ อย่าง พึงตอบเขาอย่างนี้ว่า การพิจารณา

เห็นเนือง ๆ ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า

นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนือง ๆ อย่างนี้ เป็นผู้

ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใด

อย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบันนี้ หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็น

พระอนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว

จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 663

[๓๙๑] ชนเหล่าใดไม่รู้ทุกข์ เหตุ

เกิดแห่งทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ไม่มี

ส่วนเหลือ โดยประการทั้งปวง และไม่รู้

มรรคอันให้ถึงความเข้าไประงับทุกข์ ชน

เหล่านั้นเสื่อมแล้วจากเจโตวิมุตติและปัญญา-

วิมุตติ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์

ได้ เป็นผู้เข้าถึงชาติและชราแท้.

ส่วนชนเหล่าใดรู้ทุกข์ เหตุเกิดแห่ง

ทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ไม่มีส่วนเหลือ

โดยประการทั้งปวง และรู้มรรคอันให้ถึง

ความเข้าไประงับทุกข์ ชนเหล่านั้นถึงพร้อม

แล้วด้วยเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ เป็นผู้

ควรที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ และเป็นผู้ไม่

เข้าถึงชาติและชรา.

[๓๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า การพิจารณาเห็น

ธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนื่อง ๆ จนพึงมีโดยปริยายอย่างอื่นบ้างไหม

พึงตอบเขาว่าพึงมี ถ้าเขาพึงถามว่า พึงมีอย่างไรเล่า พึงตอบว่า การพิจารณา

เห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอุปธิเป็นปัจจัย

นี้เป็นข้อ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะอุปธิทั้งหลายนี้เองดับไป

เพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 664

ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ

จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ทุกข์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีเป็นอันมาก

ในโลก ย่อมเกิดเพราะอุปธิเป็นเหตุ ผู้ใดแล

รู้ย่อมกระทำอุปธิ ผู้นั้นเป็นผู้เขลา ย่อม

เข้าถึงทุกข์บ่อยๆ เพราะเหตุนั้น ผู้พิจารณา

เห็นเหตุเกิดแห่งชาติเนือง ๆ ทราบชัดอยู่

ไม่พึงทำอุปธิ.

[๓๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า การพิจารณาเห็น

ธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนือง ๆ พึงมีโดยปริยายอย่างอื่นบ้างไหม

ควรตอบเขาว่า พึงมี ถ้าเขาถามว่า พึงมีอย่างไรเล่า พึงตอบเขาว่า การพิจารณา

เห็นเนือง ๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็น

ปัจจัย นี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะอวิชชานั่นเองดับไป

เพราะสำรอกโดยไม่มีเหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ

จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

อวิชชานั้นเอง เป็นคติของสัตว์

ทั้งหลายผู้เข้าถึงชาติ มรณะและสงสาร อัน

มีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่น

บ่อย ๆ อวิชชา คือ ความหลงใหญ่นี้ เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 665

ความเที่ยงอยู่สิ้นกาลนาน สัตว์ทั้งหลายผู้ไป

ด้วยวิชชาเท่านั้น ย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่.

[๓๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณา

เห็นเนือง ๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะสังขารเป็น

ปัจจัย นี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะสังขารทั้งหลายนั่นเอง

ดับไป เพราะสำรอกโดยไม่มีเหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่าง โดยชอบ

อย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อม

เกิดขึ้นเพราะสังขารเป็นปัจจัย เพราะสังขาร

ทั้งหลายดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด.

ภิกษุรู้โทษนี้ว่า เพราะสังขารเป็น

ปัจจัย ทุกข์จึงเกิดขึ้น เพราะความสงบแห่ง

สังขารทั้งมวล สัญญาทั้งหลายจึงดับ ความ

สิ้นไปแห่งทุกข์ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุรู้ความสิ้นไปแห่งทุกข์นี้โดย

ถ่องแท้ บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นชอบ ผู้ถึงเวท

รู้โดยชอบแล้ว ครอบงำกิเลสเป็นเครื่อง

ประกอบของมารได้แล้ว ย่อมไม่ไปสู่ภพ

ใหม่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 666

[๓๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็น

เนือง ๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็น

ปัจจัย นี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะวิญญาณนั่นเองดับ

เพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ

จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อม

เกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เพราะ

วิญญาณดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด.

ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้น

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยดังนี้แล้ว ย่อมเป็น

ผู้หายหิว ดับรอบแล้วเพราะความเข้าไปสงบ

แต่งวิญญาณ.

[๓๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็น

เนือง ๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

นี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะผัสสะนั่นเองดับเพราะสำรอก

โดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา

เห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงตรัสคาถา

ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ของชน

ทั้งหลายผู้อันผัสสะครอบงำแล้ว ผู้แล่นไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 667

ตามกระแสแห่งภวตัณหา ผู้ดำเนินไปแล้ว

สู่หนทางผิด ย่อมอยู่ห่างไกล ส่วนชน

เหล่าใดกำหนดรู้ผัสสะด้วยปัญญา ยินดีแล้ว

ในธรรมเป็นที่เข้าไปสงบ ชนแม้เหล่านั้น

เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้ว เพราะการดับไป

แห่งผัสสะ.

[๓๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็น

เนือง ๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

นี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะเวทนานั่นเองดับเพราะสำรอก

โดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา

เห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถา

ประพันธ์ต่อไปว่า

ภิกษุรู้เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

สุขเวทนา หรือทุกข์เวทนากับอทุกขมสุข-

เวทนา ที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกว่า

เวทนานี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ มีความสูญสิ้น

ไปเป็นธรรมดา มีความทรุดโทรมไปเป็น

ธรรมดา ถูกต้องด้วยอุทยัพพยญาณแล้ว

เห็นความเสื่อมไปอยู่ ย่อมรู้แจ่มแจ้ง ความ

เป็นทุกข์ในเวทนานั้นอย่างนี้ เพราะเวทนา

ทั้งหลายสิ้นไปนั้นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 668

[๓๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็น

เนือง ๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

นี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะตัณหานั่นเองดับเพราะสำรอก

โดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา

เห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถา

ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง ท่อง-

เที่ยวไปสิ้นกาลนาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสาร

อันมีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่น

ไปได้ ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ตัณหาเป็นเหตุเกิด

แห่งทุกข์ เป็นผู้มีตัณหาปราศจากไปแล้ว

ไม่ถือมั่น มีสติ พึงเว้นรอบ.

[๓๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็น

เนือง ๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

นี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะอุปาทานนั่นเองดับเพราะ

สำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้

ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ภพย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

สัตว์ผู้เกิดแล้วย่อมเข้าถึงทุกข์ ต้องตาย

นี้เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 669

เพราะเหตุนั้นบัณฑิตทั้งหลายรู้แล้ว

โดยชอบ รู้ยิ่งความสิ้นไปแห่งชาติแล้วย่อม

ไม่ไปสู่ภพใหม่ เพราะความสิ้นไปแห่ง

อุปาทาน.

[๔๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็น

เนือง ๆ ว่าทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะความริเริ่มเป็น

ปัจจัย นี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะการริเริ่มนั่นเองดับ

เพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ

จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อม

เกิดขึ้นเพราะความริเริ่มเป็นปัจจัย เพราะ

ความริเริ่มดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด.

ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้น

เพราะความริเริ่มเป็นปัจจัยดังนี้แล้ว สละ

คืนความริเริ่มได้ทั้งหมดแล้ว น้อมไปใน

นิพพานที่ไม่มีความริเริ่ม ถอนภวตัณหาขึ้น

ได้แล้ว มีจิตสงบ มีชาติสงสารสิ้นแล้ว

ย่อมไม่มีภพใหม่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 670

[๔๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็น

เนือง ๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นปัจจัย

นี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะอาหารทั้งหมดนั่นเองดับ

เพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ

จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อม

เกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นปัจจัย เพราะอาหาร

ทั้งหลายดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด.

ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้ถึงเวท รู้โทษ

นี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นปัจจัย

ดังนี้แล้ว กำหนดรู้อาหารทั้งปวง เป็นผู้อัน

ตัณหาไม่อาศัยในอาหารทั้งหมด รู้โดยชอบ

ซึ่งนิพพานอันไม่มีโรค พิจารณาแล้วเสพ

ปัจจัย ๔ ย่อมไม่เข้าถึงการนับว่า เป็นเทวดา

หรือมนุษย์ เพราะอาสวะทั้งหลายหมดสิ้นไป.

[๔๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็น

เนือง ๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะความหวั่นไหว

เป็นปัจจัย นี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะความหวั่นไหว

ทั้งหลายนั่นเองดับไป เพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 671

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่าง

โดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อม

เกิดขึ้นเพราะความหวั่นไหวเป็นปัจจัยเพราะ

ความหวั่นไหวดับไม่มีเหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด.

ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้น

เพราะความหวั่นไหวเป็นปัจจัย ดังนี้ เพราะ

เหตุนั้นแล ภิกษุสละตัณหาแล้วสดับสังขาร

ทั้งหลายได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว

ไม่ถือมั่น แต่นั้นพึงเว้นรอบ.

[๔๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็น

เนือง ๆ ว่า ความดิ้นรนย่อมมีแก่ผู้อันตัณหา ทิฏฐิ และมานะอาศัยแล้ว

นี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า ผู้ที่ตัณหา ทิฏฐิ และมานะไม่อาศัย

แล้ว ย่อมไม่ดิ้นรน นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็น

เนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถา

ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ผู้อันตัณหา ทิฏฐิ และมานะไม่

อาศัยแล้ว ย่อมไม่ดิ้นรน ส่วนผู้อันตัณหา

ทิฏฐิ และมานะอาลัยแล้ว ถือมั่นอยู่ ย่อม

ไม่ล่วงพ้นสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 672

ความเป็นอย่างอื่นไปได้ ภิกษุรู้โทษนี้ว่า

เป็นภัยใหญ่ในเพราะนิสสัย คือ ตัณหาทิฏฐิ

และมานะทั้งหลายแล้วเป็นผู้อันตัณหาทิฏฐิ

และมานะไม่อาศัยแล้ว ไม่ถือมั่น มีสติ

พึงเว้นรอบ.

บ๔๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็น

เนือง ๆ ว่า อรูปภพละเอียดว่ารูปภพ นี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ

ว่า นิโรธละเอียดกว่าอรูปภพ นี้เป็นข้อ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา

เห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถา

ประโยคพันธ์ต่อไปอีกว่า

สัตว์เหล่าใดผู้เข้าถึงรูปภพ และสัตว์

เหล่าใดอยู่ในอรูปภพ สัตว์เหล่านั้นเมื่อยังไม่

รู้ชัดซึ่งนิพพาน ก็ยังเป็นผู้จะต้องมาสู่ภพใหม่

ส่วนชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปภพแล้ว ไม่ดำรง

อยู่ในอรูปภพ ชนเหล่านั้นน้อมไปในนิพ-

พานทีเดียว เป็นผู้ละมัจจุเสียได้.

[๔๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นามรูปที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้ง

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า นามรูปนี้เป็นของจริง พระอริยเจ้า

ทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นามรูปนั่นเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 673

ของเท็จ นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานที่โลกพร้อมทั้ง

เทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ

มนุษย์เล็งเห็นว่า นิพพานนี้เป็นของเท็จ พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้ว

ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นิพพานนั้นเป็นของจริง นี้เป็น

อนุปัสสนาข้อที่ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรม

เป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ท่านผู้มีความสำคัญในนามรูป อัน

เป็นของมิใช่ตนว่าเป็นตน จงดูโลกพร้อมทั้ง

เทวโลก ผู้ยึดมั่นแล้วในนามรูป ซึ่งสำคัญ

นามรูปนี้ว่า เป็นของจริง.

ก็ชนทั้งหลายย่อมสำคัญ (นามรูป)

ด้วยอาการใด ๆ นามรูปนั้น ย่อมเป็นอย่างอื่น

ไปจากอาการที่เขาสำคัญนั้น นามรูปของผู้

นั้นแล เป็นของเท็จ เพราะนามรูปมีความ

สูญสิ้นไปเป็นธรรมดา.

นิพพานมีความไม่สูญสิ้นไปเป็น

ธรรมดา พระอริยเจ้าทั้งหลายรู้นิพพานนั้น

โดยความเป็นจริง พระอริยเจ้าเหล่านั้นแล

เป็นผู้หายหิวดับรอบแล้ว เพราะตรัสรู้ของ

จริง.

[๔๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า การพิจารณาเห็น

ธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างเนือง ๆ โดยชอบ จะพึงมีโดยปริยายอย่างอื่นบ้างไหม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 674

พึงตอบเขาว่า พึงมี. ถ้าเขาถามว่าพึงมีอย่างไรเล่า. พึงตอบเขาว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อิฏฐารมณ์ที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า เป็นสุข พระอริยเจ้า

ทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่า นั่นเป็นทุกข์

นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก

มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

เล็งเห็นว่า นี้เป็นทุกข์ พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ

ตามความเป็นจริงว่า นั้นเป็นสุข นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนืองๆ อย่างนี้ไม่ประมาท

มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

อรหัตผลในปัจจุบันนี้ หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว

จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และ

ธรรมารมณ์ล้วนน่าปรารถนา น่าใคร่ น่า-

พอใจ มีประมาณเท่าใด โลกกล่าวว่ามีอยู่

อารมณ์ ๖ อย่างเหล่านี้ โลกพร้อมทั้งเทวโลก

สมมติกันว่าเป็นสุข แต่ว่าธรรมเป็นที่ดับ

อารมณ์ ๖ อย่างนี้ ชนเหล่านั้นสมมติกันว่า

เป็นทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 675

ความดับแต่งเบญจขันธ์ พระอริย-

เจ้าทั้งหลายเห็นว่าเป็นสุข ความเห็นขัดแย้ง

กันกับโลกทั้งปวงนี้ย่อมมีแก่บัณฑิตทั้งหลาย

ผู้เห็นอยู่.

ชนเหล่าอื่นกล่าววัตถุกามใดโดย

ความเป็นสุข พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าววัตถุ

กามนั้นโดยความเป็นทุกข์.

ชนเหล่าอื่นกล่าวนิพพานใดโดย

ความเป็นทุกข์ พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้รู้แจ้ง

กล่าวนิพพานนั้นโดยความเป็นสุข ท่านจง

พิจารณาธรรมที่รู้ได้ยากที่ชนพาลทั้งหลาย

ไม่รู้แจ้ง พากันลุ่มหลงอยู่ในโลกนี้.

ความมืดตื้อย่อมมีแก่ชนพาลทั้งหลาย

ผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ผู้ไม่เห็นอยู่ ส่วน

นิพพาน เป็นธรรมชาติเปิดเผยแก่สัตบุรุษ

ผู้เห็นอยู่ เหมือนอย่างแสงสว่าง ฉะนั้น.

ชนทั้งหลายเป็นผู้ค้นคว้า ไม่ฉลาด

ต่อธรรม ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานที่มีอยู่ในที่

ใกล้.

ชนทั้งหลายผู้ถูกภวราคะครองงำ

แล้ว แล่นไปตามกระแสภวตัณหา ผู้เข้าถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 676

วัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมารเนือง ๆ ไม่ตรัสรู้

ธรรมนี้ได้โดยง่าย

นอกจากพระอริยเจ้าทั้งหลาย ใคร

หนอ ย่อมควรจะรู้บท คือ นิพพานที่พระ-

อริยเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ดีแล้ว พระอริยเจ้า

ทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีอาสวะเพราะรู้โดยชอบ

ย่อมปรินิพพาน.

[๔๐๗] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว

ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็และเมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุประมาณ ๖๐ รูป หลุดพ้น

แล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล.

จบทวยตานุปัสสนาสูตรที่ ๑๒

รวมหัวข้อประจำเรื่องในพระสูตรนี้ คือ

สัจจะ อุปธิ อวิชชา สังขาร วิญญาณเป็นที่ ๕ ผัสสะ เวทนา

ตัณหา อุปาทาน อารัมภะ อาหาร ความหวั่นไหว ความดิ้นรน รูป และ

สัจจะกับทุกข์ รวมเป็น ๑๖.

จบมหาวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 677

อรรถกถาทวยตานุปัสสนาสูตรที่ ๑๒

ทวยตานุปัสสนาสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระสูตรนี้เกิดขึ้นเพราะพระอัธยาศัยของพระองค์ พระผ้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงพระสูตรนี้ด้วยพระอัธยาศัยของพระองค์. นี้เป็นความย่อในพระสูตร

นี้. ส่วนความพิสดารของพระสูตรนี้ จักมีแจ้งในอรรถกถานั่นแล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้นมีนัยดังได้กล่าวมาแล้ว.

บทว่า ปุพฺพาราเม ปุพพารามคืออารามด้านทิศตะวันออกของกรุงสาวัตถี

ในบทว่า มิคารมาตุ ปาสาเท ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดานี้มีความว่า

นางวิสาขาอุบาสิกาท่านเรียกว่ามิคารมารดา เพราะมิคารเศรษฐีผู้เป็นพ่อผัว

ของนางตั้งไว้ในฐานะเป็นมารดา นางวิสาขามิคารมารดานั้น สละเครื่องประดับ

มหาลดามีค่าเก้าโกฏิสร้างปราสาทมีห้องบนเรือนยอดหนึ่งพันห้อง คือ ข้างล่าง

๕๐๐ ห้อง ข้างบน ๕๐๐ ห้อง จึงเรียกปราสาทนั้นว่า ปราสาทของมิคารมารดา.

บนปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดานั้น. บทว่า เตน โข ปน สมเยน

ภควา ความว่า สมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยกรุงสาวัตถีประทับอยู่ ณ

ปุพพารามอันเป็นปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา. บทว่า ตทหุโปสเถ

คือ ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ. ท่านเรียกว่าวันอุโบสถ. บทว่า ปณฺณรเส

นี้ เป็นคำปฏิเสธวันอุโบสถที่เหลือที่มาถึงด้วย อุโปสถ ศัพท์. บทว่า

ปุณฺณาย ปุณฺณมาย รตฺติยา เมื่อราตรีเพ็ญมีพระจันทร์เต็มดวงในวัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 678

อุโบสถที่ ๑๕ ค่ำ ความว่า เมื่อราตรีเพ็ญเพราะเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ โดยการ

นับวัน เพราะเว้นจากความหมองมัวมีหมอกเป็นต้น เพราะเต็มด้วยคุณสมบัติ

ของราตรีและเพราะมีพระจันทร์เต็มดวง. บทว่า ภิกฺขุสงฺฆปริวุโต คืออันหมู่

ภิกษุแวดล้อมแล้ว. บทว่า อพฺโภกาเส นิสินฺ โน โหติ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่งในอัพโภกาส (กลางแจ้ง) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง

ณ กลางแจ้งอันเป็นบริเวณของรัตนปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา คือ

ณ โอกาสที่ไม่มีอะไรปกปิดไว้ข้างบนอันเป็นบวรพุทธอาสน์ที่เขาปูไว้. บทว่า

ตุณฺหีภูต ตุณฺหีภูต คือ ภิกษุสงฆ์สงบนิ่งแม้กายก็สงบนิ่งจากการเหลียวไป

ข้างโน้นข้างนี้. บทว่า ภิกฺขุสงฺฆ อนุวิโลเกตฺวา ทรงชำเลืองดูภิกษุสงฆ์

ความว่า ทรงมองดูภิกษุสงฆ์ที่นั่งแวดล้อมพระองค์มีภิกษุประมาณหลายพัน

สงบนิ่งข้างโน้นข้างนี้ เพื่อทรงกำหนดพระธรรมเทศนาเป็นที่สบายว่า ในที่นี้มี

พระโสดาบันประมาณเท่านี้ มีพระสกทาคามีประมาณเท่านี้ มีพระอนาคามี

ประมาณเท่านี้ มีกัลยาณปุถุชนผู้เริ่มวิปัสสนาประมาณเท่านี้ ธรรมเทศนา

เช่นไรจึงจะเป็นที่สบายของภิกษุสงฆ์นี้ ดังนี้.

บทว่า เย เต ภิกฺขเว กุสลา ธมฺมา ความว่า โพธิปักขิยธรรม

๓๗ หรือปริยัติธรรมอันส่องความโพธิปักขิยธรรมนั้น ชื่อว่าเป็นกุศล เพราะ

อรรถว่า ไม่มีโรค ไม่มีโทษ มีผลน่าปรารถนา เกิดแต่ความฉลาด. บทว่า

อริยา นิยฺยานิกา สมฺโพธิคามิโน เป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออกไปให้ถึง

ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ความว่า ชื่อว่า อริยะ เพราะควรเข้าถึง ชื่อว่าเป็น

เครื่องนำออกไป เพราะนำออกไปจากโลก ชื่อว่าให้ถึงปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 679

เพราะให้ได้บรรลุพระอรหัต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่าจะมี

ประโยชน์อะไร เพื่อการฟังกุศลธรรมอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออกไป อันให้

ถึงปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้แก่เธอทั้งหลาย ท่านอธิบายว่า เธอทั้งหลายฟังธรรม

เหล่านั้นเพื่ออะไร. บทว่า ยาวเทว ในบทว่า ยาวเทว ทฺวยตาน ธมฺมาน

ยถาภูต าณาย เพื่อรู้ธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างตามความเป็นจริง นี้เป็น

คำรับรองในการกำหนด. ธรรมชื่อว่า ทฺวยา เพราะมี ๒ อย่าง. ธรรม ๒

อย่างนั้นแลชื่อว่า ทฺวยตา. ธรรม ๒ อย่างเหล่านั้น. ปาฐะว่า ทฺวยาน ก็มี.

บทว่า ยถาภูต าณาย เพื่อรู้ตามความเป็นจริง คือ เพื่อรู้ไม่วิปริต.

ท่านอธิบายไว้อย่างไร. อธิบายไว้ว่า การรู้ตามความเป็นจริงอันได้แก่เห็นแจ้ง

ธรรมที่ท่านกำหนดไว้สองอย่างเป็นโลกิยะและโลกุตระเป็นต้น เพื่อประโยชน์

แก่การรู้ตามความเป็นจริงนั้น ไม่ยิ่งไปกว่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมประมาณ

เท่านี้ ย่อมมีด้วยการฟัง การบรรลุคุณวิเศษยิ่งกว่านั้น ย่อมมีด้วยการภาวนา.

ก็ในบทว่า กิญฺจ ทฺวยต วเทถ เธอทั้งหลายกล่าวอะไรว่าเป็น

ธรรม ๒ อย่างนี้ มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

หากจะมีผู้ถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายกล่าวอะไรว่าเป็นธรรม ๒ อย่าง.

มีความว่า ท่านทั้งหลายกล่าวความเป็นธรรม ๒ อย่างคืออะไร. ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความเป็นธรรม ๒ อย่างจึงตรัสคำมี

อาทิอย่างนี้ว่า อิท ทุกฺข นี้ทุกข์. ในบทนั้น ธรรมคืออริยสัจ ๔ เป็นธรรม

๒ ส่วน การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ด้วยการเห็นทุกข์พร้อมด้วยเหตุอันเป็นส่วน

หนึ่งของโลกิยะอย่างนี้ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นข้อหนึ่ง. การพิจารณา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 680

เห็นเนือง ๆ ด้วยการเห็นนิโรธ (ความดับทุกข์) พร้อมด้วยอุบายอันเป็นส่วน

ที่สองของโลกุตระเป็นข้อที่สอง. อนึ่ง ในบทนี้ข้อที่หนึ่งสำเร็จได้ด้วยวิสุทธิ

ที่ ๓ ที่ ๔ ข้อที่สองสำเร็จได้ด้วยวิสุทธิที่ ๕. บทว่า เอว สมฺมา ทฺวยตา-

นุปสฺสิโน ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนือง ๆ อย่างนี้

ความว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบตามนัยที่กล่าว

แล้วนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท เพราะไม่อยู่ปราศจากสติ เป็นผู้มีความเพียร เพราะ

มีความเพียรเผากิเลสทางกายและทางจิต เป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว เพราะหมดความ

เพ่งเล็งในกายและชีวิต. บทว่า ปาฏิกงฺข คือ พึงปรารถนา. บทว่า ทิฏฺเว

ธมฺเม อญฺา ได้แก่ อรหัตผลในปัจจุบันนี้. บทว่า สติ วา อุปาทิ-

เสเส อนาคามิตา เมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ความว่า

ยังมีความยึดมั่นขันธ์เหลืออยู่ โดยเกิดอีก ท่านเรียกว่า อุปาทิเสส คือ

ยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่ ท่านแสดงว่า เมื่อยังมีความยึดมั่นเหลืออยู่นั้น พึง

หวังความเป็นพระอนาคามี. ในบทนั้น แม้ผลเบื้องต่ำก็ยังมีแก่ภิกษุผู้พิจารณา

เห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างเนือง ๆ อย่างนี้ ก็จริง ถึงดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะยังความอุตสาหะให้เกิดในผลเบื้องสูงจึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า อิทมโวจ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสภาษิตนี้แล้วนี้ เป็นคำต้น

ของพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย. ในบทเหล่านั้นบทว่า อิท เป็นคำชี้แจงถึงบท

ที่พระองค์ตรัสไว้แล้วว่า เย เต ภิกฺขเว ดังนี้. บทว่า เอต เป็นบทแสดงคาถา

ประพันธ์ที่พระองค์พึงกล่าวมีอาทิอย่างนี้ว่า เย ทุกฺข ชนเหล่าใดไม่รู้ทุกข์

ดังนี้. อนึ่งคาถาเหล่านี้แสดงเนื้อความดังกล่าวแล้ว เพราะแสดงถึงอริยสัจ ๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 681

แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะแสดงถึงผู้ไม่เห็นแจ้งและผู้เห็นแจ้งแล้วแสดงถึงวัฏฏะ

วิวัฏฏะที่ตัดขาดและยังตัดไม่ขาดของท่านเหล่านั้นว่า ท่านกล่าวแสดงถึงเนื้อ-

ความที่ต่างกันเพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ชอบใจคาถามาภายหลัง หวังอนุเคราะห์

เพราะไม่สามารถจะรู้มาก่อนได้ และแก่ผู้มีจิตฟุ้งซ่านมาก่อน เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวคาถานี้เพื่อแสดงเนื้อความต่างกันนั่นเอง. ในคาถาพจน์แม้นอก

จากนี้ก็มีนัยนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺถ ท่านแสดงถึงนิพพาน. เพราะทุกข์ย่อม

ดับไปในนิพพานโดยประการทั้งปวง ทุกข์ย่อมดับไปหมดทุกประการ ทุกข์

พร้อมด้วยเหตุย่อมดับ ทุกข์ย่อมดับไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า ตญฺจ มคฺค ได้แก่

มรรคมีองค์ ๘ นั้น. ในบทว่า เจโตวิมุตฺติหีนา เต อโถ ปญฺาวิมุตฺติยา

ชนเหล่านั้นเสื่อมแล้วจากเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตตินี้ พึงทราบว่า อรหัตผล-

สมาธิ เป็นเจโตวิมุตติเพราะสำรอกราคะ อริหัตผลปัญญา เป็นปัญญาวิมุตติ

เพราะสำรอกอวิชชา.

อีกอย่างหนึ่ง อรหัตผลอันตัณหาจริตบุคคลข่มกิเลสทั้งหลายด้วยผล

แห่งอัปปนาฌานแล้วจึงบรรลุ ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ.

อรหัตผลทิฏฐิจริตบุคคลยังเพียงอุปจารฌานให้เกิด เห็นแจ้งแล้ว จึงบรรลุ

ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา.

อีกอย่างหนึ่ง อนาคามิผล ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ

คือ กามราคะ. อรหัตผล ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชาโดย

อาการทั้งปวง.

บทว่า อนฺตกิริยาย คือ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ในวัฏฏะ. บทว่า

ชาติชรูปคา ได้แก่ เข้าถึงชาติและชรา หรืออันชาติและชราเข้าถึง ย่อมไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 682

พ้นจากชาติและชรา พึงทราบอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. บทที่เหลือในคาถานี้

ปรากฏชัดแล้วตั้งแต่ต้น.

เมื่อคาถาจบลงภิกษุประมาณ ๖๐ รูป รับเทศนานั้นแล้วต่างเห็นแจ้ง

บรรลุพระอรหัต ณ อาสนะนั้นนั่นเอง. ในวาระทั้งหมดเหมือนในบทนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทวยตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็น

ธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างเนืองๆ) เป็นอันมากโดยนัยมีอาทิว่า สิยา อญฺเนาปิ

ปริยาเยน จะพึงมีโดยปริยายอื่นบ้างไหมดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๒ นั้นต่อไป. บทว่า อุปธิปฺปจฺจยา

เพราะอุปธิเป็นปัจจัย คือเพราะกรรมมีอาสวะเป็นปัจจัย. จริงอยู่กรรมมี

อาสวะท่านประสงค์เอา อุปธิ ในที่นี้. บทว่า อเสสวิราคนิโรธา ได้แก่

เพราะอุปธิทั้งหลายดับไปเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ หรือ เพราะอุปธิทั้งหลาย

ดับไป กล่าวคือสำรอกโดยไม่เหลือ. บทว่า อุปธินิทานา เพราะอุปธิเป็น

เหตุ คือเพราะกรรมเป็นปัจจัย. บทว่า ทุกฺขสฺส ชาติปฺปภวานุปสฺสี

ผู้พิจารณาเห็นเหตุเกิดแห่งทุกข์เนือง ๆ คือพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า อุปธิเป็น

เหตุเกิดแห่งวัฏทุกข์. บทที่เหลือในบทนี้มีความปรากฏชัดทั้งหมดแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอริยสัจ ๔ แล้วตรัสวาระแม้นี้ด้วยธรรม

เป็นยอดคือพระอรหัตด้วยประการฉะนั้นแล. วาระทั้งหมดเหมือนวาระนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๓ นั้นต่อไป. บทว่า อวิชฺชาปจฺจยา

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ความว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะ

อวิชชาสะสมกรรมที่เป็นเหตุให้เกิดเป็นปัจจัย. แต่ทุกข์ในที่ทั้งหมดเป็นวัฏทุกข์

เท่านั้น. บทว่า ชาติมรณสสาร ชาติมรณะสงสาร อธิบายว่า ชาติคือความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 683

เกิดแห่งขันธ์, มรณะ คือความแตกไปแห่งขันธ์, สงสาร คือความสืบต่อแห่ง

ขันธ์. บทว่า วชนฺติ ไป คือเข้าถึง. บทว่า อิตฺถภาวญฺถาภาว มีความเป็น

อย่างนี้และความเป็นอย่างอื่น คือความเป็นมนุษย์นี้ และความเป็นหมู่อื่นที่

เหลือจากความเป็นมนุษย์นี้ . บทว่า คติ คือความเป็นปัจจัย. บทว่า อวิชฺชาหย

ตัดบทเป็น อวิชฺช หิ อย อวิชชานี้. บทว่า วิชฺชาคตา จ เย สตฺตา

สัตว์ทั้งหลายผู้ไปด้วยวิชชาเท่านั้น ความว่า สัตวว่ทั้งหลายผู้ทำลายกิเลสแล้ว

ไปด้วยวิชชา (ปัญญา) ในอรหัตมรรค เป็นสัตว์ที่สิ้นอาสวะแล้ว. บทที่เหลือ

มีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๔. บทว่า สงฺขารปจฺจยา เพราะสังขาร

เป็นปัจจัย คือ เพราะปุญญาภิสังขาร (สภาพผู้ตกแต่งคือบุญ) อปุญญาภิสังขาร

(สภาพผู้ตกแต่งคือบาป) อเนญชาภิสังขาร (สภาพผู้ตกแต่งคือ ความไม่หวั่น

ไหว). บทว่า เอตมาทีนว ญตฺวา รู้โทษนี้ คือรู้ว่า นี้ทุกข์ นี้โทษ เพราะ

สังขารเป็นปัจจัย. บทว่า สพฺพสงฺขารสมถา เพราะความสงบแห่งสังขาร

ทั้งหมด คือ ชื่อว่า สงบสังขารทั้งหลายทั้งหมดดังได้กล่าวแล้วด้วยมรรคญาณ

อธิบายว่า เพื่อความกำจัด เพราะปรารถนาผล. บทว่า สญฺาน แห่งสัญญา

ทั้งหลาย คือเพราะสัญญามีกามสัญญาเป็นต้นดับด้วยมรรคนั่นเอง. บทว่า เอต

ตฺวา ยถาตถ คือรู้ความสิ้นไปแห่งทุกข์นิโดยไม่วิปริต. บทว่า สมฺมทฺทสา

ผู้เห็นชอบ คือเห็นโดยชอบ. บทว่า สมฺมทญฺาย รู้โดยชอบ คือรู้สังขาร

ธรรมโดยเป็นของไม่เที่ยง และรู้อสังขตธรรมโดยความเป็นของเที่ยง. บทว่า

มารสโยค กิเลสเป็นเครื่องประกอบของมาร คือวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓.

บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 684

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๕ ต่อไป. บทว่า วิญฺาณปจฺจยา

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย คือเพราะวิญญาณปรุงแต่งให้เกิดร่วมกับกรรมเป็น

ปัจจัย บทว่า นิจฺฉาโต เป็นผู้หายหิว คือหมดอยาก. บทว่า ปรินิพฺพุโต

ดับรอบแล้ว คือเป็นผู้ดับรอบด้วยการดับกิเลส. บทที่เหลือมีความปรากฏ

ชัดแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๖ ต่อไป. บทว่า ผสฺสปจฺจยา เพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัย อธิบายว่า เพราะผัสสะสัมปยุตด้วยอภิสังขารและวิญญาณเป็น

ปัจจัย ในที่นี้ท่านกล่าวถึงผัสสะมิได้กล่าวถึงนามรูป สฬายตนะนั้นควรจะกล่าว

ตามลำดับ เพราะนามรูปและสฬายตนะเหล่านั้น มิได้สัมปยุตด้วยกรรมเท่านั้น

เพราะปนกับรูป อนึ่งวัฏทุกข์นี้พึงเกิดจากกรรม หรือจากธรรมอันสัมปยุตด้วย

กรรม. บทว่า ภวโสตานุสาริน ผู้แล่นไปตามกระแสแห่งภวตัณหา คือแล่น

ไปตามตัณหา. บทว่า ปริญฺาย กำหนดรู้ คือกำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓. บทว่า

ปญฺาย คือรู้ด้วยอรหัตมรรคปัญญา. บทว่า อุปสเม รตา ยินดีแล้วใน

ธรรมเป็นที่เข้าไปสงบ คือยินดีแล้วในนิพพานด้วยผลสมาบัติ. บทว่า ผสฺสา-

ภิสมยา คือเพราะการดับไปแห่งผัสสะ. บทที่เหลือมีความปรากฏชัดแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๗ ต่อไป. บทว่า เวทนาปจฺจยา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย คือเพราะเวทนาสัมปยุตด้วยกรรมเป็นปัจจัย. บทว่า

อทุกฺขมสุข สห คือพร้อมด้วยอทุกขมสุขเวทนา. บทว่า เอต ทุกฺขนฺติ

ตฺวาน รู้ว่านี้ทุกข์ คือรู้ว่าการเสวยอารมณ์ทั้งปวงนั้นเป็นเหตุแห่งทุกข์ หรือ

รู้ว่าทุกข์ เพราะความปรวนแปรไปไม่คงที่ และความเป็นทุกข์เพราะไม่รู้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 685

บทว่า โมสธมฺม มีความสูญสิ้นไปเป็นธรรมดา คือมีความสูญหายไปเป็น

ธรรมดา. บทว่า ปโลกิน มีความทรุดโทรมไปเป็นธรรมดา คือมีความ

ทรุดโทรมไปด้วยชราและมรณะเป็นธรรมดา. บทว่า ผุสฺส ผุสฺส ถูกต้อง

ถูกต้อง คือถูกต้อง ถูกต้องแล้วด้วยอุทยัพพยญาณ (ปัญญากำหนดรู้ความเกิด

และความเสื่อม). บทว่า วย ปสฺส เห็นความเสื่อม คือเห็นความแตกทำลาย

ในที่สุดนั่นเอง. บทว่า เอว ตตฺถ วิชานติ ย่อมรู้แจ่มแจ้งความเป็นทุกข์

ในเวทนานั้นอย่างนี้ คือรู้แจ่มแจ้งเวทนานั้นอย่างนี้ หรือรู้แจ่มแจ้งความเป็น

ทุกข์ในเวทนานั้น. บทว่า เวทนาน ขยา เพราะเวทหาทั้งหลายสิ้นไปคือ

เบื้องหน้าแต่นั้น เพราะเวทนาสัมปยุตด้วยกรรมสิ้นไปด้วยมรรคญาณ. บทที่

เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๘ ต่อไป. บทว่า ตณฺหาปจฺจยา เพราะ

ตัณหาเป็นปัจจัย คือเพราะตัณหาสะสมกรรมเป็นปัจจัย. บทว่า เอตมาทีนว

ตฺวา ตณฺหา ทุกฺขสฺส สมฺภว ภิกษุรู้โทษนี้ว่าตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่ง

ทุกข์ คือรู้โทษของตัณหานั้นว่าเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์. บทที่เหลือมีความง่าย

ทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยวาระที่ ๙ ต่อไป. บทว่า อุปาทานปฺปจฺจยา

เพราะอุปทานเป็นปัจจัย คือเพราะอุปทานสะสมกรรมเป็นปัจจัย. บทว่า ภโว

ภพได้แก่มีภพเป็นวิบาก คือความปรากฏแห่งขันธ์. บทว่า ภูโต ทุกฺข สัตว์

ผู้เกิดแล้วย่อมเข้าถึงทุกข์ คือ สัตว์ผู้เกิดแล้วและเป็นแล้วย่อมเข้าถึงวัฏทุกข์.

บท่า ชาตสฺส มรณ เกิดแล้วต้องตาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 686

จะทรงแสดงถึงทุกข์เท่านั้นในเมื่อคนพาลทั้งหลายสำคัญว่า เกิดแล้วย่อมเข้าถึง

สุข จึงตรัสว่า ชาตสฺส มรณ โหติ เกิดแล้วต้องตายดังนี้. ในคาถาที่ ๒

โยชนาแก้ว่า บัณฑิตทั้งหลายรู้แล้วโดยชอบ โดยความไม่เที่ยงเป็นต้น รู้ยิ่ง

นิพพานว่าเป็นความสิ้นชาติ เพราะสิ้นอุปาทานแล้วย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๐. ต่อไป. บทว่า อารมฺภปฺปจฺจยา

เพราะความริเริ่มเป็นปัจจัย คือเพราะความเพียรสัมปยุตด้วยกรรมเป็นปัจจัย.

บทว่า อนารมฺเภ วิมุตฺติโน ได้แก่น้อมไปในนิพพานที่ไม่มีความริเริ่ม.

บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๑ ต่อไป. บทว่า อาหารปฺปจฺจยา

เพราะอาหารเป็นปัจจัย คือเพราะอาหารสัมปยุตด้วยกรรมเป็นปัจจัย. อาจารย์

อีกพวกหนึ่ง กล่าวว่า สัตว์สี่ประเภท คือ รูปูปคา (เข้าถึงรูป) ๑ เวทนูปคา

(เข้าถึงเวทนา) ๑ สัญญูปคา (เข้าถึงสัญญา) ๑ สงฺขารูปคา (เข้าถึงสังขาร) ๑.

ในสัตว์สี่ประเภทนั้นสัตว์ผู้ข้องอยู่ด้วยกามธาตุ ๑๑ อย่าง ชื่อว่า รูปู-

ปคา เพราะเสพกวฬีการาหาร. สัตว์ผู้ข้องอยู่ด้วยรูปธาตุ เว้นอสัญญีสัตว์ชื่อว่า

เวทนูปคา เพราะเสพผัสสาหาร. สัตว์ผู้ข้องอยู่ด้วยอรูปธาตุ ๓ อย่าง เบื้อง

ต่ำชื่อว่า สัญญูปคา เพราะเสพมโนสัญเจตนาหารอันเกิดแต่สัญญา สัตว์ใน

ยอดภูมิ (เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ) ชื่อว่า สังขารูปคา เพราะเสพวิญญา-

หารอันเกิดแต่สังขาร. พึงทราบว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะ

อาหารเป็นปัจจัย. บทว่า อาโรคฺย ความไม่มีโรค คือนิพพาน. บทว่า

สงฺขาย เสวิ พิจารณาแล้วเสพ ความว่า พิจารณาปัจจัยแล้วเสพปัจจัย ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 687

หรือพิจารณาโลกอย่างนี้ว่าขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ดังนี้แล้วเสพด้วย

ญาณว่า อนิจฺจ ทุกฺข อนตฺตา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ดังนี้.

บทว่า ธมฺมฏฺโ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมคือตั้งอยู่ในสัจธรรม ๔. บทว่า สงฺขฺย

โนเปติ ย่อมไม่เข้าถึงการนับ คือไม่เข้าถึงการนับว่า เป็นเทวดาหรือเป็น

มนุษย์เป็นต้น. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๒ ต่อไป. บทว่า อิญฺชิตปฺปจฺจยา

เพราะความหวั่นไหวเป็นปัจจัย คือ เพราะในบรรดาความหวั่นไหว คือตัณหา

มานะ ทิฏฐิ กรรมและกิเลส ความหวั่นไหวอย่างใดอย่างหนึ่งสะสมกรรมเป็น

ปัจจัย. บทว่า เอช โวสฺสชฺช สละแล้ว คือสละตัณหา. บทว่า สงฺขาเร

อุปรุนฺธิย ดับสังขารทั้งหลายได้แล้ว คือดับกรรมและสังขารสัมปยุตด้วยกรรม.

บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๓ ต่อไป. บทว่า นิสฺสิตสฺส จลิต

ความดิ้นรนย่อมมีแก่ผู้อันตัณหามานะและทิฏฐิอาศัยแล้ว คือความดิ้นรนเพราะ

ความกลัวย่อมมีแก่ผู้อันตัณหามานะและทิฏฐิอาศัยแล้วในขันธ์ ดุจความดิ้นรน

เพราะควานกลัวย่อมมีแก่เทวดาทั้งหลายในสีหสูตร. บทที่เหลือมีความง่าย

ทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๔ ต่อไป. บทว่า รูเปหิ กว่ารูปภพ

ทั้งหลาย คือ กว่ารูปภพหรือรูปสมาบัติ. บทว่า อารุปฺปา อรูปภพ คือ

อรูปภพหรืออรูปสมาบัติ. บทว่า นิโรโธ คือนิพพาน. บทว่า มจฺจุหานิโย

เป็นผู้ละมัจจุเสียได้ คือ เป็นผู้ละมรณมัจจุ กิเลสมัจจุ และเทวปุตตมัจจุ

เสียได้. ท่านอธิบายว่า ละมัจจุ ๓ อย่างนั้นไปได้. บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 688

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๕ ต่อไป. บทว่า ย ทรงกล่าวหมายถึง

นามรูป. เพราะนามรูปนั้นอันชาวโลกเข้าไปเพ่งเล็งเห็น ว่านี้เป็นของจริงด้วย

ความยั่งยืน งาม เป็นสุข. บทว่า ตทมริยาน ตัดบทเป็น ต อิท อริยาน

ลบนิคคหิตและอิอักษร ต อิท จึงสนธิเป็น ตท. บทว่า เอต มุสา. นามรูป

นั้นเป็นของเท็จ คือ นามรูปนั้นแม้ยึดถือด้วยเป็นของยั่งยืนเป็นต้นก็เป็นของ

เท็จ คือ ไม่เป็นอย่างนั้น. บทว่า ปุน ย ทรงกล่าวหมายถึงนิพพาน.

เพราะนิพพานนั้นอันชาวโลกมองเห็นว่านิพพานนี้เป็นของเท็จ ไม่มีอะไร

เพราะไม่มีรูปและเวทนาเป็นต้น. บทว่า ตทมริยาน เอต สจฺจ พระอริยเจ้า

ทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาว่านิพพานนั้นเป็นของจริง ความว่า พระ-

อริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นิพพาน

นั้นเป็นของจริงโดยปรมัตถ์ในการไม่ปราศจากความเป็นสุข คือ ไม่มีกิเลส

ความเป็นสุขอันเป็นปฏิปักษ์แห่งความทุกข์ ความเป็นของเที่ยงอันได้แก่ความ

สงบโดยส่วนเดียว.

บทว่า อนตฺตนิ อตฺตมานี มีความสำคัญในสิ่งมิใช่ตนว่าเป็นตัวตน

คือ มีความสำคัญในสิ่งมิใช่ตัวตนว่าเป็นตัวคนโดยสภาพของนามรูปและเวทนา

เป็นต้น. บทว่า อิท สจฺจนฺติ มญฺติ ย่อมสำคัญว่านามรูปที่เป็นของจริง

คือ ย่อมสำคัญว่านามรูปนี้เป็นของจริงโดยความเป็นของยั่งยืนเป็นต้น. บทว่า

เยน เยน หิ คือ ย่อมสำคัญโดยนัยมีอาทิว่า รูปของเรา เวทนาของเรา

ด้วยรูปหรือเวทนาใด ๆ. บทว่า ตโต ต คือนามรูปนั้นย่อมเป็นอย่างอื่น

ไปจากอาการที่สำคัญนั้น. เพราะเหตุไร เพราะนามรูปของผู้นั้นเป็นของเท็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 689

อธิบายว่า เพราะนามรูปนั้นเป็นของเท็จจากอาการตามที่สำคัญไว้ ฉะนั้นจึงเป็น

อย่างอื่นไป. ก็เพราะเหตุไรจึงเป็นของเท็จเล่า. เพราะนามรูปมีความสูญสิ้น

เป็นธรรมดา คือเพราะสิ่งใดปรากฏขึ้นนิดหน่อยย่อมมีความสูญสิ้นเป็นธรรมดา

คือมีความย่อยยับไปเป็นธรรมดา และนามรูปก็เป็นเหมือนอย่างนั้น. บทว่า

สจฺจาภิสมยา คือรู้นิพพานนั้นโดยความเป็นจริง. บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๖ ต่อไป. บทว่า ย พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสหมายถึงอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ๖ อย่าง. เพราะอารมณ์นั้นอันชาวโลก

เล็งเห็นว่า เป็นความสุขดุจตั๊กแตนปลาและลิงเล็งเห็นแสงประทีปและเบ็ดที่

เขาล่อไว้ว่าเป็นความสุข. บทว่า ตทมริยาน เอต ทุกฺข พระอริยเจ้าทั้งหลาย

เห็นว่านั่นเป็นทุกข์ อธิบายว่า พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีด้วยปัญญา

อันชอบ ตามความเป็นจริงว่านั่นเป็นทุกข์โดยนัยมีอาทิว่า จริงอยู่ กามทั้งหลาย

วิจิตร อร่อย น่ารื่นรมย์ ย่อมย่ำยีจิตให้มีรูปผิดรูปไป. บทว่า ปุน อิท

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงนิพพานเท่านั้น. เพราะนิพพานนั้นอันชาวโลก

เล็งเห็นแล้วว่าเป็นทุกข์ เพราะไม่มีกามคุณ. บทว่า ตทมริยาน ความว่า

พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นแล้วด้วยดีด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่า

นิพพานนี้เป็นสุขโดยความเป็นปรมัตถสุข. บทว่า เกวลา คือ ไม่มีเหลือ.

บทว่า อิฏฺา คือน่าปรารถนา. บทว่า กนฺตา น่าใคร่ คือน่ารัก. บทว่า

มนาปา น่าพอใจ คือ น่าทำความเจริญให้แก่ใจ. บทว่า ยาวตตฺถีติ วุจฺจติ

โลกกล่าวว่ามีอยู่เท่าใด คือ โลกกล่าวว่าอารมณ์ ๖ เหล่านี้มีอยู่เท่าใด. พึง

ทราบความเฉียบแหลมของถ้อยคำ. บทว่า โว ในบทว่า เอเต โว นี้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 690

เพียงนิบาต แปลว่า อารมณ์ ๖ เหล่านี้. บทว่า สุขนฺติ ทิฏฺมริเยหิ

สกฺกายสฺสุปโรธน ได้แก่ ความดับแห่งเบญจขันธ์อันพระอริยเจ้าเห็นแล้วว่า

เป็นความสุข. ท่านอธิบายว่า ได้แก่ นิพพาน. บทว่า ปจฺจนีกมิท โหติ

คือ ความเห็นขัดแย้งกัน. บทว่า ปสฺสต คือ ผู้เห็นอยู่ ท่านอธิบายว่า

ได้แก่ บัณฑิตทั้งหลาย. บทว่า ย ในบทว่า ย ปเร นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสหมายถึงวัตถุกาม. ในบทว่า ปุน ย ปุเร นี้หมายถึงนิพพาน. บทว่า

ปสฺส จงดู พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้ฟัง. บทว่า ธมฺม ได้แก่ ธรรม

คือนิพพาน. บทว่า สมฺปมูฬฺเหตฺถ อวิทฺทสุ คือคนพาลทั้งหลายผู้ไม่รู้แจ้ง

พากันหลงในโลกนี้. พากันหลงเพราะกระทำอะไร ? เพราะความมืดตื้อย่อมมี

แก่คนพาลทั้งหลายผูกอวิชชาหุ้มห่อแล้วผู้ไม่เห็นอยู่ เพราะเหตุที่ความมืดทำ

ให้คนพาลทั้งหลายถูกอวิชชาหุ้มห่อท่วมทับเป็นคนบอด ดังนั้นคนพาลทั้งหลาย

จึงไม่สามารถเห็นธรรมคือนิพพาน. บทว่า สตญฺจ วิวฏ โหติ อาโลโก

ปสฺสตามิว ความว่า ส่วนนิพพานเป็นธรรมชาติเปิดเผยแก่สัตบุรุษทั้งหลาย

ผู้เห็นอยู่ด้วยปัญญาทัศนะเหมือนแสงสว่างฉะนั้น.

บทว่า สนฺติเก น วิชฺชนฺติ มคา ธมฺมสฺส โกวิทา ชน

ทั้งหลายเป็นผู้ค้นคว้าไม่ฉลาดต่อธรรมย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานที่มีอยู่ในที่ใกล้

ความว่า ชนทั้งหลายเป็นผู้ค้นคว้า ไม่ฉลาดต่อธรรมอันเป็นทางและมิใช่ทาง

หรือต่อธรรมทั้งหมด ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานนั้น แม้มีอยู่ในที่ใกล้อย่างนี้ เพราะ

กำหนดเพียงตนปัญจกกรรมฐาน (กรรมฐานมีหนังเป็นที่ห้า) ในร่างกายของตน

แล้วพึงบรรลุเป็นลำดับไปเท่านั้น หรือเพราะเพียงดับขันธ์ของตน. พึงทราบ

โดยประการทั้งปวงว่า ชนทั้งหลายผู้ถูกภวราคะครอบงำแล้ว แล่นไปตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 691

กระแสภวตัณหา ผู้เข้าถึงวัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมารเนือง ๆ ไม่ตรัสรู้ธรรมนี้ได้

โดยง่าย. ในบทเหล่านั้นบทว่า มารเธยฺยานุปฺปนฺเนภิ ผู้เข้าถึงวัฏฏะอันเป็น

บ่วงแห่งมารเนือง ๆ คือ เข้าถึงวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓.

พึงทราบการเชื่อมความในคาถาหลังว่าใครหนอ นอกจากพระอริยเจ้า

ย่อมควรรู้บทคือนิพพานที่ตรัสรู้ไม่ได้ง่ายนักอย่างนี้. บทนั้นมีอธิบายดังนี้

นอกจากพระอริยเจ้าแล้ว คนอื่นใครหนอ ควรจะรู้บทคือนิพพานอันเป็นบทที่

พระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีอาสวะตามลำดับ เพราะรู้โดยชอบด้วยอริยมรรค

ที่ ๔ ย่อมปรินิพพานด้วยการดับกิเลส หรือเป็นผู้ไม่มีอาสวะเพราะรู้โดยชอบ

ย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่สุด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยัง

เทศนาให้จบลงด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.

บทว่า อตฺตมนา คือมีใจยินดี. บทว่า อภินนฺทุ คือชื่นชม.

บทว่า อิมสฺมึ จ ปน เวยฺยากรณสฺมึ คือ ไวยากรณภาษิตที่ ๑๖ นี้.

บทว่า ภญฺมาเน คือ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส. บทที่เหลืออปรากฏชัด

แล้ว. ในเพราะไวยากรณภาษิต ๑๖ วาระแม้ทั้งหมดอย่างนี้จิตของภิกษุเก้าร้อย

รูป แบ่งเป็นพวก ๆ ประมาณหกสิบ หกสิบ เกินกว่าหกสิบ พ้นจากอาสวะ

เพราะไม่ถือมั่น. ก็ในสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัจธรรม ๑๖ ครั้ง

ครั้งละ ๔ รวมเป็น ๖๔ ครั้งด้วยไวยากรณภาษิต โดยประการต่าง ๆ ด้วย

ประการฉะนี้.

จบอรรถกถาทวยตานุปัสสนาที่ ๑๒ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

จบอรรถกถามหาวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 692

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปัพพชาสูตร ๒. ปธานสูตร ๓. สุภาษิตสูตร ๔. สุนทริกสูตร

๕. มาฆสูตร ๖. สภิยสูตร ๗. เสลสูตร ๘. สัลลสูตร ๙. วาเสฏฐสูตร

๑๐. โกกาลิกสูตร ๑๑. นาลกสูตร ๑๒. ทวยทานุปัสสนาสูตร

สูตร ๑๒ สูตรเหล่านี้ ท่านเรียกว่า มหาวรรค ดังนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 693

อัฏฐกวรรคที่ ๔

กามสูตรที่ ๑

ว่าด้วยเรื่องของกาม

[๔๐๘] ถ้าว่าวัตถุกามจะสำเร็จแก่

สัตว์ผู้ปรารถนาอยู่ไซร้ สัตว์ปรารถนาสิ่งใด

ได้สิ่งนั้นแล้ว ก็ย่อมเป็นผู้มีใจเอิบอิ่มแน่แท้.

ถ้าเมื่อสัตว์นั้นปรารถนาอยู่ เกิด

ความอยากได้แล้ว กามเหล่านั้นย่อมเลื่อมไป

ไซร้ สัตว์นั้นย่อมย่อยยับเหมือนถูกลูกศร.

แทง ฉะนั้น.

ผู้ใดงดเว้นกามทั้งหลาย เหมือน

อย่างบุคคลเว้นศีรษะงูด้วยเท่าของตน ผู้นั้น

เป็นผู้มีสิต ย่อมก้าวล่วงตัณหาในโลกนี้ได้.

นรชนใดย่อมยินดีกามเป็นอันมาก

คือ นา ที่ดิน เงิน โค ม้า ทาส กรรมกร

เหล่าสตรีและพวกพ้อง กิเลสทั้งหลายอันมี

กำลังน้อย ย่อมครอบงำย่ำยีนรชนนั้นได้

อันตรายทั้งหลายก็ย่อมย่ำยีนรชนนั้น แต่นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 694

ทุกข์ย่อมติดตามนรชนผู้ถูกอันตรายครอบงำ

เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือนที่แตกแล้ว ฉะนั้น.

เพราะฉะนั้น สัตว์พึงเป็นผู้มีสติ

ทุกเมื่อ งดเว้นกามทั้งหลายเสีย สัตว์ละกาม

เหล่านั้นได้แล้ว พึงข้ามโอฆะได้เหมือนบุรุษ

วิดเรือแล้วพึงไปถึงฝั่ง ฉะนั้น.

จบกามสูตรที่ ๑

อรรถกถาอัฏฐกวรรคที่ ๔

อรรถกถากามสูตรที่ ๑

กามสูตรที่ ๑ มีคำเริ่มต้นว่า กาม กามยนฺตสฺส หากวัตถุกาม

สำเร็จแก่สัตว์ผู้ปรารถนาอยู่ไซร้ ดังนี้.

การเกิดขึ้นของพระสูตรนี้เป็นอย่างไร ?

มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี พรา-

หมณ์ผู้หนึ่งคิดว่า เราจักหว่านข้าวเหนียวใกล้ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ในระหว่างกรุงสา

วัตถีและพระเชตวันมหาวิหารจึงไถนา. พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยภิกษุ

สงฆ์เสด็จเข้าไปบิณฑบาตเห็นพราหมณ์นั้นทรงรำพึงเห็นว่า ข้าวเหนียวของ

พราหมณ์นั้นจักเสียหาย จึงทรงรำพึงถึงอุปนิสัยสมบัติของพราหมณ์นั้นต่อไป

ได้ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรคของพราหมณ์นั้น ทรงรำพึงว่าพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 695

นี้จักบรรลุเมื่อไร ได้ทรงเห็นว่า เมื่อข้าวกล้าเสียหายพราหมณ์จะถูกความโศก

ครอบงำเพราะฟังพระธรรมเทศนา. ทรงดำริต่อไปว่า หากเราจักเข้าไปหา

พราหมณ์ในตอนนั้น พราหมณ์จักไม่สำคัญโอวาทของเราที่ควรจะฟัง เพราะ

พราหมณ์ทั้งหลายมีความชอบต่าง ๆ กัน เอาเถิด เราจักสงเคราะห์ตั้งแต่บัดนี้

ทีเดียว พราหมณ์มีจิตอ่อนในเราอย่างนี้ก็จักฟังโอวาทของเราในตอนนั้นแล้ว

เสด็จเข้าไปหาพราหมณ์ตรัสถามว่า พราหมณ์ท่านทำอะไร. พราหมณ์คิดว่า

พระสมณโคดมเป็นผู้มีตระกูลสูงยังทรงทำการปฏิสันถารกับเรา จึงมีจิตเลื่อมใส

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ทันใดนั้นเองกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ข้าพระองค์กำลังไถนา จักหว่านข้าวเหนียวพระเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระสารีบุตร-

เถระคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำการปฏิสันถารกับพราหมณ์ พระ-

ตถาคตทั้งหลาย ไม่มีเหตุปัจจัยแล้วจะไม่ทรงทำอย่างนั้น เอาเถิดแม้เราก็จะทำ

ปฏิสันถารกับพราหมณ์นั้น จึงเข้าไปหาพราหมณ์แล้วได้ทำการปฏิสันถาร

อย่างนั้นเหมือนกัน. พระมหาโมคคัลลานเถระและพระมหาสาวก ๘๐ ก็ทำ

อย่างนั้น พราหมณ์พอใจเป็นอย่างยิ่ง.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อข้าวกล้าสมบูรณ์วันหนึ่งเสวยภัตตา-

หารเสร็จแล้วเสด็จจากกรุงสาวัตถีไปสะพระเชตวันแวะแยกทางเข้าไปหาพราหมณ์

ตรัสว่า พราหมณ์นาข้าวเหนียวของท่านดีอยู่หรือ, พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ หากนาข้าวเหนียวสมบูรณ์ดีอยู่อย่างนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจักแบ่ง

ถวายแด่พระองค์บ้างพระเจ้าข้า. ครั้นต่อมาล่วงไปได้ ๔ เดือน ข้าวเหนียว

ของพราหมณ์ได้ผลิตผลบริบูรณ์. เมื่อพราหมณ์กำลังขวนขวายว่า เราจักเกี่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 696

วันนี้หรือพรุ่งนี้ มหาเมฆตั่งขึ้นแล้วฝนได้ตกตลอดคืน. แม่น้ำอจิรวดีเต็มเปี่ยม

ไหลพัดพาข้าวเหนียวไปหมด. พราหมณ์เสียใจตลอดคืน พอสว่างก็ไปยังฝั่ง

แม้น้ำเห็นข้าวกล้าเสียหายหมดเกิดวามโศกอย่างแรงว่า เราฉิบหายแล้ว บัดนี้

เราจักมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร ตอนใกล้รุ่งของคืนนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุทรงทราบว่า วันนี้ ถึงเวลาแสดงธรรมแก่

พราหมณ์แล้ว จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถีประทับยืนใกล้ประตูเรือน

ของพราหมณ์. พราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วคิดว่า พระสมณโคดม

มีพระประสงค์จะปลอบใจเรา ผู้ถูกความโศกครอบงำจึงเสด็จมาแล้วปูอาสนะ

รับบาตรทูลนิมนต์ให้ประทับนั่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอยู่จึงตรัสถาม

พราหมณ์ว่า พราหมณ์ท่านเสียใจเรื่องอะไรหรือ. พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ ถูกแล้วพระเจ้าข้า นาข้าวเหนียวของข้าพระองค์ถูกน้ำพัดพา

เสียหายหมดพระเจ้าข้า. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์เมื่อถึง

คราววิบัติ ก็ไม่ควรเสียใจ และเมื่อถึงคราวสมบูรณ์ ก็ไม่ควรดีใจ เพราะชื่อว่า

กามทั้งหลาย ย่อมสมบูรณ์บ้าง ย่อมวิบัติบ้างดังนี้ ทรงรู้ธรรมเป็นที่สบายของ

พราหมณ์นั้นจึงได้ตรัสพระสูตรนี้ ด้วยอำนาจการแสดงธรรม. ในสูตรนั้นเรา

จักพรรณนาเพียงเธอความของบทโดยสังเขปเท่านั้น. ส่วนความพิสดารพึง

ทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในนิทเทสนั้นแล. ในสูตรทั้งหมดนอกเหนือไปจากนี้

ก็เหมือนในสูตรนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า กาม ได้แก่ วัตกุกามคือธรรมเป็นไปในภูมิ ๓

มีรูปที่น่ารักเป็นต้น. บทว่า กามยมานสฺส คือปรารถนา. บทว่า ตสฺส เจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 697

ต สมิชฺฌติ ว่า หากวัตถุกามนั้นจะสำเร็จแก่สัตว์ผู้ปรารถนานั้น. ท่าน

อธิบายว่า หากเขาได้วัตถุกามนั้น. บทว่า อทฺธา ปีติมโน โหติ ได้แก่

ย่อมเป็นผู้มีใจยินดีโดยส่วนเดียว. บทว่า ลทฺธา แปลว่าได้แล้ว. บทว่า มจฺโจ

คือสัตว์. บทว่า ยทิจฺฉติ ตัดบทเป็น ย อิจฺฉติ ย่อมปรารถนาสิ่งใด. บทว่า

ตสฺส เจ กามยมานสฺส คือแก่บุคคลนั้นผู้ปรารถนากาม. หรือชื่นชมด้วย

กาม. บทว่า ฉนฺทชาตสฺส เกิดความพอใจคือเกิดความอยาก. บทว่า ชนฺตุโน

คือ สัตว์. บทว่า เต กามา ปริหายนฺติ คือ หากกรรมเหล่านั้นย่อมเสื่อม

ไปไซร้. บทว่า สลฺลวิทฺโธว รุปฺปติ สัตว์นั้นย่อมย่อยยับเหมือนถูกลูกศรแทง

คือต่อแต่นั้น สัตว์ย่อมย่อยยับเหมือนถูกลูกศรทำด้วยเหล็กเป็นต้นเเทง.

ในคาถาที่ ๓ มีความสังเขปดังต่อไปนี้. ผู้ใดเว้นกามเหล่านี้ด้วยการ

ข่มความกำหนัดด้วยความพอใจ หรือด้วยการตัดเด็ดขาดในกามนั้นเหมือนเว้น

ศีรษะงูด้วยเท้าของตน ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมก้าวล่วงตัณหานี้ คือความอยากใน

โลกได้ เพราะไม่ระลึกถึงโลกแล้ว.

ต่อแต่นี้ไปเป็นความย่อแห่งคาถาที่แสดงแล้ว. บุคคลใด ยินดีนามีนา

ข้าวเหนียวเป็นต้น ที่ดินมีที่ปลูกเรือนเป็นต้น เงิน คือกหาปณะ โค ม้า

ประเภทโคและม้า หญิงที่รู้กันว่าเป็นหญิง พวกพ้องมีพวกพ้องของญาติเป็น

ต้น หรือกามเป็นอันมากมีรูปน่ารักเป็นต้นเหล่าอื่น กิเลสทั้งหลายมีกำลังน้อย

ย่อมครอบงำย่ำยีบุคคลนั้นได้. อธิบายว่ากิเลสทั้งหลายมีกำลังน้อยย่อมครอบงำ

บุคคลนั้นผู้มีกำลังน้อย เพราะเว้นจากกำลังศรัทธาเป็นต้น หรือเพราะไม่มี

กำลัง. เมื่อเป็นเช่นนั้นอันตรายที่ปรากฏมีราชสีห์เป็นต้น และอันตรายที่ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 698

ปรากฏมีกายทุจริตเป็นต้น ย่อมย่ำยีบุคคลนั้น ผู้อยากในกาม รักษากาม และ

แสวงหากาม. แต่นั้นทุกข์มีชาติเป็นต้น ย่อมติดตามบุคคลนั้น ผู้ถูกอันตรายไม่

ปรากฏครอบงำ เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้วฉะนั้น เพราะฉะนั้นสัตว์

พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อด้วยการเจริญกายคตาสติเป็นต้น เนื้อเว้นกิเลสกามแม้ทั้ง

หมดในวัตถุกามมีรูปเป็นต้น ด้วยการข่มไว้สละการตัดเด็ดขาด พึงเว้นกาม

ทั้งหลาย สัตว์ละกามเหล่านั้นได้อย่างนี้แล้ว พึงข้ามคือสามารถข้ามโอฆะแม้

๔ อย่างด้วยมรรคอันทำการละกามนั้นเสียได้. แต่นั้นพึงวิดเรือคืออัตภาพอัน

หนักด้วยน้ำคือกิเลสแล้วพึงถึงฝั่งด้วยอัตภาพอันเบา พึงถึงนิพพานอันเป็นฝั่ง

แห่งธรรมทั้งปวง และพึงถึงด้วยการบรรลุพระอรหัต ย่อมปรินิพพานด้วย

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เหมือนอย่างบุรุษวิดเรือที่เต็มด้วยน้ำแล้วพึงถึงฝั่ง คือ

ไปถึงฝั่งด้วยเรือที่เบาด้วยความลำบากเล็กน้อยเท่านั้น ฉะนั้น. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมอันเป็นยอดคือพระอรหัต.

เมื่อจบเทศนา พราหมณ์และพราหมณีตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.

จบอรรถกถากามสูตรที่ ๑ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 699

คุหัฏฐกสูตรที่ ๒

ว่าด้วยผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย

[๔๐๙] นรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย

ถูกกิเลสเป็นอันมากปกปิดไว้แล้ว ดำรงอยู่

ด้วยอำนาจกิเลสมีราคะเป็นต้น หยั่งลงใน

กามคุณ เครื่องทำจิตให้ลุ่มหลง นรชนผู้

เห็นปานนั้นแล เป็นผู้ไกลจากวิเวก เพราะ

ว่ากามคุณทั้งหลายในโลก ไม่ใช่ละได้โดย

ง่ายเลย.

กามคุณทั้งหลายมีความปรารถนา

เป็นเหตุ เนื่องด้วยความยินดีในภพ เปลื้อง

ออกได้โดยยาก คนอื่นจะเปลื้องออกให้ไม่

ได้เลย นรชนทั้งหลายมุ่งหวังตามในอนาคต

บ้าง ในอดีตบ้าง คร่ำครวญถึงกามเหล่านี้

ที่เคยมีแล้วบ้าง อันตนเปลื้องเองได้ยาก

และคนอื่นก็เปลื้องให้ไม่ได้.

สัตว์เหล่านั้นยินดี ขวนขวาย ลุ่ม-

หลงอยู่ในกามทั้งหลาย ไม่เชื่อถือถ้อยคำ

ของบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ตั้งอยู่แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 700

ในธรรมอันไม่สงบ ถูกทุกข์ครอบงำแล้ว

ย่อมรำพันอยู่ว่า เราจุติจากโลกนี้แล้ว จัก

เป็นอย่างไรหนอ.

เพราะเหตุนั้นแล สัตว์พึงศึกษาไตร

สิกขาในศาสนานี้แหละ พึงรู้ว่าสิ่งอะไร ๆ

ในโลกไม่เป็นความสงบ ไม่พึงประพฤติ

ความไม่สงบเพราะเหตุแห่งสิ่งนั้น นัก-

ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้นว่าเป็นของ

น้อยนัก.

เราเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้เป็นไปในอำนาจ

ความอยากในภพทั้งหลาย กำลังดิ้นรนอยู่

ในโลก นรชนทั้งหลายผู้เลวทรามย่อมบ่น

เพ้ออยู่ในปากมัจจุราช นรชนเหล่านั้น ยัง

ไม่ปราศจากความอยากในภพและมิใช่ภพทั้ง

หลายเลย.

ท่านทั้งหลายจงดูชนทั้งหลายผู้ถือว่า

สิ่งนั้น ๆ เป็นของเรา กำลังดิ้นรนอยู่ เหมือน

ปลาในแอ่งน้ำน้อยมีกระแสขาดสิ้นแล้วดิ้น-

รนอยู่ ฉะนั้น นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว

ไม่พึงประพฤติเป็นคนถือว่าสิ่งนั้น ๆ เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 701

ของเรา ไม่กระทำความติดข้องอยู่ในภพ

ทั้งหลาย.

พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง

(มีผัสสะและเหตุเกิดแห่งสัมผัสสะเป็นต้น)

กำหนดรู้ผัสสะแล้วไม่ยินดีในธรรมทั้งปวงมี

รูปเป็นต้น ติเตียนตนเองเพราะข้อใด อย่า

ทำข้อนั้น เป็นนักปราชญ์ไม่ติดอยู่ในรูปที่

ได้เห็นและเสียงที่ได้ฟังเป็นต้น.

กำหนดรู้สัญญาแล้ว พึงข้ามโอฆะ

เป็นมุนี ไม่ติดอยู่ในอารมณ์ที่ควรหวงแหน

ถอนลูกศรคือ กิเลสออกเสีย ไม่ประมาท

เที่ยวไปอยู่ ย่อมไม่ปรารถนาโลกนี้และโลก

หน้า ฉะนี้แล.

จบคุหัฏฐกสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 702

อรรถกถาคุหัฏฐกสูตรที่ ๒

คุหัฏฐกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า สตฺโต คุหาย นรชนผู้ข้องอยู่ใน

ถ้ำคือกาย ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ กรุงสาวัตถี ท่าน

ปิณโฑลภารทวาชะ ได้ไปยังพระราชอุทยานของพระเจ้าอุเทน ชื่ออาวัฏฏกะ

ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคาในกรุงโกสัมพี. อนึ่งท่านปิณโฑลภารทวาชะนี้แม้ในกาลอื่น

ก็เคยเข้าไปพักผ่อนที่พระราชอุทยานนั้นบ่อย ๆ เหมือนพระควัมปติเถระไปพัก

ผ่อน ณ ดาวดึงส์พิภพฉะนั้น ข้อนี้มีนัยดังกล่าวแล้วในอรรถกถาวังคีสสูตร.

ท่านปิณโฑลภารทวาชะนั้นนั่งพักกลางวัน ดื่มด่ำกับสมาบัติ ณ โคนต้นไม้

ร่มเย็นใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคานั้น.

ในวันนั้นพระเจ้าอุเทนเสด็จไปประพาสพระราชอุทยาน ทรงเพลิด-

เพลินอยู่ในพระราชอุทยาน ด้วยการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้นตลอดวัน ทรงมึน

เมาเพราะดื่มจัด บรรทมเอาเศียรหมุนบนตักของหญิงคนหนึ่ง. บรรดาหญิง

นอกนั้นคิดว่าพระราชาบรรทมหลับแล้วจึงพากันสุกไปเก็บดอกไม้และผลไม้

เป็นต้นในพระราชอุทยาน ครั้นเห็นพระเถระแล้วจึงตั้งหิริโอตตัปปะห้ามกัน

เองว่าอย่าส่งเสียงดัง ค่อย ๆ พากันเข้าไปไหว้แล้วนั่งห้อมล้อมพระเถระ พระ

เถระออกจากสมาบัติแสดงธรรมแก่หญิงเหล่านั้น. หญิงเหล่านั้นต่างชื่นใจตั้งใจ

ฟังแล้วกล่าวว่า สาธุ สาธุ ดังนี้. หญิงคนที่นั่งเอาพระเศียรของพระราชาพาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 703

ตักคิดว่า แม่พวกเหล่านี้ทิ้งเราไปสนุกกัน เกิดริษยาในหญิงพวกนั้นจึงขยับขา

ให้พระราชาทรงตื่น. พระราชาครั้นทรงตื่นบรรทมไม่เห็นนางสนม รับสั่งถาม

ว่า พวกหญิงถ่อยเหล่านี้หายไปไหน. หญิงนั้นทูลว่า พวกเขาพากันไปด้วย

คิดว่า เราไม่สมอยากในพระทูลกระหม่อม จักไปรื่นรมย์กับสมณะ ดังนี้.

พระราชานั้นทรงพิโรธได้เสด็จมุ่งหน้าไปหาพระเถระ. หญิงเหล่านั้นเห็น

พระราชาบางพวกก็ลุกขึ้น บางพวกก็ไม่ลุกโดยทูลว่า ข้าเเต่มหาราช พวกหม่อม

ฉันจะฟังธรรมในสำนักขอนักบวช. เมื่อหญิงเหล่านั้นทูลอย่างนั้น พระราชา

ทรงพิโรธหนักขึ้นด้วยความเมาไม่ไหว้พระเถระเลย ตรัสถามว่า ท่านมาเพื่อ

อะไร. พระเถระถวายพระพรว่า เพื่อความวิเวก มหาบพิตร. พระราชาตรัสว่า

ท่านมาเพื่อความวิเวก นั่งให้พวกสนมแวดล้อมอยู่อย่างนี้แหละหรือ แล้วตรัส

ต่อไปว่า ท่านจงบอกวิเวกของท่านดูทีหรือ. พระเถระแม้ชำนาญในการกล่าวถึง

วิเวกก็ได้นิ่งเสียด้วยคิดว่า พระราชานี้ตรัสถามประสงค์จะรู้ก็หามิได้. พระราชา

ตรัสว่า หากท่านไม่บอก เราจะให้มดแดงกัดท่าน แล้วทรงเด็ดรังมดแดงที่

ต้นอโศกต้นหนึ่งเรี่ยรายลงบนพระกายของพระองค์ทรงเช็ดพระกายแล้วเด็ดรัง

อื่นมุ่งหน้าไปหาพระเถระ. พระเถระคิดว่า หากพระราชานี้ประทุษร้ายเราก็จะ

พึงไปอบาย จึงอนุเคราะห์พระราชา เหาะขึ้นสู่อากาศด้วยฤทธิ์ไปแล้ว. หญิง

ทั้งหลายเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อมพระราชาเหล่าอื่นเห็นบรรพชิต

แล้วก็พากันบูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น พระองค์สิกลับไม่พอพระทัย

โดยจะเอารังมดแดงไปบูชา ตระกูลวงศ์จะถึงความพินาศนะเพคะ. พระราชา

ทรงสำนึกโทษของพระองค์ จึงทรงนิ่งตรัสถามคนรักษาพระราชอุทยานว่า ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 704

วันอื่นพระเถระยังจะมาในอุทยานนี้อีกไหม. คนรักษาพระราชอุทยานทูลว่า

มาพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นเจ้าจงบอกเราในเวลาที่พระเถระมา.

วันหนึ่งเมื่อพระเถระมา คนเฝ้าพระอุทยานจึงทูลให้พระราชาทรงทราบ. พระ

ราชาก็เสด็จเข้าไปหาพระเถระตรัสถามปัญหาแล้ว ได้ถึงสรณะตลอดชีวิต.

ก็ในวันที่พระเถระถูกพระราชาไม่ทรงพอพระทัยโดยเอารังมดแดงมา

บูชา พระเถระเหาะไปทางอากาศแล้วดำลงไปในดินโผล่ขึ้น ณ พระคันธกุฎี

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระสติสัมปชัญญะสำเร็จ

สีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทอดพระเนตรเห็นพระเถระแล้วตรัสถามว่า

ดูก่อนภารทวาชะ เธอมาในเวลามิใช่กาลหรือ. พระเถระกราบทูลว่า ถูกแล้ว

พระเจ้าข้า แล้วจึงกราบทูลเรื่องราวนั้นทั้งหมดให้ทรงทราบ. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงสดับดังนั้นแล้วจึงตรัสว่า การพูดถึงเรื่องวิเวกแก่พระราชาผู้ยังต้อง

การกามคุณ จักมีประโยชน์อะไรดังนี้ ทรงบรรทมด้วยพระปรัศว์เบื้องขวา

นั่นแหละ ได้ตรัสพระสูตรนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมแก่พระเถระ.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สตฺโต คือผู้ข้อง. บทว่า คุหาย ในถ้ำคือ

ในกาย. จริงอยู่กายท่านเรียกว่าถ้ำ เพราะเป็นช่องให้สัตว์ร้ายมีราคะเป็นต้น

อยู่. บทว่า พหุนาภิฉนฺโน ถูกกิเลสเป็นอันมากปกปิดไว้ คือ ถูกกิเลสมี

ราคะเป็นต้นเป็นอันมากปกปิดไว้. ด้วยบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงเครื่อง

ผูกภายใน. บทว่า ติฏฺ ตั้งอยู่คือตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลสมีราคะเป็นต้น. บท

ว่า นโร คือ สัตว์. บทว่า โมหนสฺมึ ปคาฬฺโห หยั่งลงในกามคุณ

เครื่องทำจิตให้ลุ่มหลง ความว่า ท่านกล่าวกามคุณว่าเป็นเครื่องทำจิตให้ลุ่มหลง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 705

เพราะเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมลุ่มหลงในกามคุณนี้ เป็นผู้หยั่งลงใน

กามคุณเหล่านั้น ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงเครื่องผูกภายนอก.

บทว่า ทูเร วิเวกา หิ ตถาวิโธ โส ความว่า นรชนเห็นปานนั้น

เป็นผู้ไกลจากวิเวก ๓ มีกายวิเวกเป็นต้น. เพราะเหตุไร. เพราะกามทั้งหลาย

ในโลกไม่ใช่ละได้โดยง่ายเลย. ท่านอธิบายว่า เพราะกามทั้งหลายในโลกเป็น

สิ่งที่จะพึงละได้โดยง่ายมิได้มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงยกตัวอย่างให้เห็นว่า นรชนเห็นปานนั้นแล

เป็นผู้ห่างไกลจากวิเวก ในคาถาต้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงทำให้แจ้งถึงธรรมดา

ของสัตว์ทั้งหลายเห็นปานนั้นอีก จึงตรัสคาถาว่า อิจฺฉานิทานา กามคุณทั้ง

หลายมีความปรารถนาเป็นเหตุ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺฉานิทานา คือมีตัณหาเป็นเหตุ. บทว่า

ภวสาตพนฺธา เนื่องด้วยความยินดีในภพ คือเนื่องด้วยความยินดีในภพมีสุข

เวทนาเป็นต้น. บทว่า เต ทุปฺปมุญฺจา สัตว์เหล่านั้นอันคนอื่นเปลื้องออก

ให้ไม่ได้เลย คือธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดีในภพเหล่านั้น หรือสัตว์

ทั้งหลายมีความปรารถนาเป็นเหตุเนื่องด้วยความยินดีในภพนั้นเหล่านั้นเปลื้อง

ออกได้โดยยาก. บทว่า น หิ อญฺโมกฺขา คือคนอื่นไม่สามารถจะเปลื้อง

ออกให้ได้. อีกอย่างหนึ่ง คำนี้เป็นคำแสดงการณะว่า สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้

เปลื้องออกได้ยาก. เพราะเหตุไร. เพราะคนอื่นไม่พึงเปลื้องออกได้ ผิว่าคน

อื่นพึงเปลื้องออกได้ ก็พึงเปลื้องได้ด้วยกำลังของตนเอง นี้เป็นอธิบายของ

บทว่า น หิ อญฺโมกฺขา นั้น . บทว่า ปจฺฉา ปุเร วาปิ อเปกฺข-

มานา คือนรชนทั้งหลายหวังกามทั้งหลาย ในอนาคตบ้าง ในอดีตบ้าง.

บทว่า อิเมว กาเม ปุริเมว ชปฺป คร่ำครวญถึงกามเหล่านี้ที่เคยมีมาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 706

ความว่า ปรารถนากามเหล่านี้ที่เป็นปัจจุบัน หรือที่เคยมีมาแล้วแม้ทั้งสองอย่าง

คืออดีตและอนาคต ด้วยตัณหาอันแรงกล้า. พึงทราบการเชื่อมบททั้งสอง

เหล่านี้กับด้วยบทนี้ว่า เต ทุปฺปมุญฺจา น หิ อญฺโมกฺขา ความว่า กาม

คุณทั้งหลายเปลื้องออกได้โดยยาก คนอื่นจะเปลื้องออกให้ไม่ได้เลย. นรชน

ทั้งหลายมุ่งหวังคร่ำครวญนอกเหนือไปจากนี้ไม่พึงประกาศว่า กำลังทำอะไร

หรือทำอะไรแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงยกตัวอย่างว่า ทูเร วิเวกา หิ ตถา-

วิโธ ในคาถาต้นอย่างนี้ และทรงทำให้แจ้งถึงธรรมดาของสัตว์ทั้งหลาย

เห็นปานนั้น ด้วยคาถาที่สองแล้ว บัดนี้ทรงทำให้แจ้งถึงการกระทำบาปกรรม

ของสัตว์เหล่านั้น จึงตรัสคาถาว่า กาเมสุ คิทฺธา ยินดีในกามทั้งหลาย.

บทนั้นมีความดังต่อไปนี้. สัตว์เหล่านั้นยินดีในกามทั้งหลายด้วยอยาก

บริโภค ขวนขวายในกามทั้งหลาย เพราะขวนขวายในการแสวงหาเป็นต้น ลุ่ม

หลงอยู่ในกามทั้งหลาย เพราะถึงความลุ่มหลงพร้อม ไม่เชื่อถือถ้อยคำ เพราะ

ไม่เชื่อถือถ้อยคำของบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เพราะความดูหมิ่น เพราะ

ความตระหนี่ ตั้งอยู่ในธรรมอันไม่สงบ มีความไม่สงบทางกายเป็นต้น ถูก

ทุกข์คือความตายครอบงำในกาลสุดท้าย ย่อมรำพันอยู่ว่า เราจุติจากโลกนี้แล้ว

จักเป็นอย่างไรหนอ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เพราะเหตุนั้นแล สัตว์พึงศึกษา

ไตรสิกขาในศาสนานี้ พึงรู้ว่าสิ่งอะไร ๆ ใน

โลกไม่เป็นความสงบ ไม่พึงประพฤติความ

ไม่สงบเพราะเหตุแห่งสิ่งนั้น นักปราชญ์ทั้ง

หลาย กล่าวชีวิตนั้นว่า เป็นของน้อยนัก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 707

ในบทเหล่านั้น บทว่า สิกฺเขถ พึงศึกษา คือพึงศึกษาไตรสิกขา.

บทว่า อิเธว คือในศาสนานี้แหละ. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงความเสื่อมของสัตว์ ผู้

ไม่ทำอย่างนั้น จึงตรัสคาถาว่า ปสฺสามิ เราเห็น ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสามิ คือเราเห็นด้วยตาเนื้อเป็นต้น . บท

ว่า โลเก ในโลก ได้แก่ อบายเป็นต้น. บทว่า ปริปฺผนฺทมาน คือกำลัง

ดิ้นรนไปข้างโน้นข้างนี้. บทว่า ปช อิม คือหมู่สัตว์นี้. บทว่า ตณฺหาคต

คือถูกตัณหาครอบงำ อธิบายว่า ตกลงไป. บทว่า ภเวสุ ในภพทั้งหลาย คือ

ในกามภพเป็นต้น. บทว่า หีนา นรา คนเลว คือคนผู้มีการงานเลว. บทว่า

มจฺจุมุเข ลปนฺต บ่นเพ้ออยู่ในปากมัจจุราช คือบ่นเพ้ออยู่ในปากของความ

ตายที่มาถึงแล้วในที่สุด. บทว่า อวีตตณฺหาเส คือยังไม่ปราศจากตัณหา.

บทว่า ภวาภเวสุ ในภพน้อยภพใหญ่ได้แก่ในกามภพเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า ภวาภเวสุ ได้แก่ในภพและภพ. ท่านอธิบายว่าในภพทั้งหลายบ่อย ๆ.

บัดนี้ เพราะสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากตัณหาจึงดิ้นรนและพร่ำเพ้อ

อยู่อย่างนี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงชักจูงให้สัตว์ทั้งหลายกำจัด

ตัณหา จึงตรัสคาถาว่า มมายิเต ถือว่าสิ่งนั้น ๆ เป็นของเรา ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มมายิเต คือถือสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นของเรา

ด้วยตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า ปสฺสถ ท่านทั้งหลายจงดู พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกผู้ฟังทั้งหลาย. บทว่า เอตมฺปิ คือโทษแม้นั้น. บทที่เหลือปรากฏ

ชัดแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 708

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความยินดีในคาถาที่หนึ่งนี้และโทษ

ด้วย ๔ คาถานอกนั้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงการสลัดออกและอานิ-

สงส์ของการสลัดออก พร้อมด้วยอุบาย จึงทรงแสดงโทษ ความต่ำทรามและ

ความเศร้าหมองของกามทั้งหลายด้วยคาถาเหล่านี้ทั้งหมด เพื่อทรงแสดงถึง

อานิสงส์ในเนกขัมมะในบัดนี้ จึงตรัสสองคาถาว่า อุโภสุ อนฺเตสุ ในที่สุด

ทั้งสอง ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุโภสุ อนฺเตสุ คือในการกำหนด ๒ อย่าง

มีผัสสะและเหตุเกิดแห่งผัสสะเป็นต้น. บทว่า วิเนยฺย ฉนฺท ได้แก่ พึงกำจัด

ความกำหนัดด้วยความพอใจเสีย. บทว่า ผสฺส ปริญฺาย กำหนดรู้ผัสสะ

ความว่า กำหนดรู้นามรูปทั้งสิ้น ด้วยปริญญา ๓ คือ กำหนดรู้ผัสสะมีจักขุสัม-

ผัสสะเป็นต้น กำหนดรู้อรูปธรรมทั้งปวงอันประกอบด้วยผัสสะนั้นโดยทำนอง

เดียวกับผัสสะนั้นเอง และกำหนดรู้รูปธรรมด้วยสามารถเป็นวัตถุ ทวาร และ

อารมณ์ของอรูปธรรมเหล่านั้น. บทว่า อนานุคิทฺโธ คือไม่ยินดีในธรรม

ทั้งปวงมีรูปเป็นต้น. บทว่า ยทตฺตครหี ตทกุพฺพมาโน คือติเตียนตนเอง

เพราะข้อใด ไม่ควรทำข้อนั้น. บทว่า น ลิมฺปตี ทิฏฺสุเตสุ นักปราชญ์

ไม่ติดอยู่ในรูปที่ได้เห็นและเสียงที่ได้ฟัง ความว่า นักปราชญ์ถึงพร้อมด้วย

ปัญญาเห็นปานนั้น ไม่ติดด้วยการติด ๒ อย่างแม้อย่างเดียว ในธรรมคือรูป

ที่ได้เห็นและเสียงที่ได้ฟัง ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ติด ถึงความผ่องแผ้วในที่สุดเหมือน

อากาศฉะนั้น.

คาถาว่า สญฺ ปริญฺา กำหนดรู้สัญญามีความสังเขปดังต่อไปนี้.

กำหนดรู้มิใช่เพียงคำพูดอันไร้ประโยชน์อย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้กำหนดรู้แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 709

สัญญามีกามสัญญาเป็นต้นด้วย กำหนดรู้นามรูปโดยทำนองเดียวกับสัญญาหรือ

โดยนัยที่กล่าวแล้วในตอนก่อนด้วยปริญญา ๓ อย่าง พึงข้ามโอฆะแม ๔ อย่าง

ได้ด้วยปฏิปทานี้ แต่นั้นนรชนนั้นข้ามโอฆะได้แล้ว เป็นมุนีขีณาสพ ไม่ติด

ในตัณหาและทิฏฐิ เพราะละกิเลสคือตัณหาและทิฏฐิแล้ว ถอนลูกศรออกเสีย

ได้ เพราะได้ถอนลูกศรคือกิเลสมีราคะเป็นต้นออกได้ ไม่ประมาทเที่ยวไป

เพราะมีสติไพบูลย์ หรือไม่ประมาทเที่ยวไปในส่วนเบื้องหน้า เป็นผู้ถอนลูกศร

ได้แล้ว เพราะเที่ยวไปด้วยความไม่ประมาทนั้น ไม่หวังโลกนี้และโลกหน้าอัน

ต่างด้วยอัตภาพของตนและของผู้อื่นเป็นต้น เป็นผู้ไม่ถือมั่นเพราะดับจิตดวง

สุดท้าย (จริมจิต) โดยแท้ ย่อมดับไปเหมือนไฟหมดเชื้อฉะนั้น. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต ทรงบัญญัติไว้

เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติธรรมเท่านั้น มิใช่ให้เกิดมรรคหรือผลด้วยเทศนานี้

เพราะทรงแสดงแก่พระขีณาสพ.

จบอรรถกถาคุหัฏฐกสูตรที่ ๒ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 710

ทุฏฐัฏฐกสูตรที่ ๓

ว่าด้วยเดียรถีย์และมุนี

[๔๑๐] เดียรถีย์บางพวก มีใจประ-

ทุษร้าย ย่อมติเตียนโดยแท้ แม้อนึ่ง พวก

ชนที่ฟังคำของเดียรถีย์เหล่านั้นแล้ว ปลงใจ

เชื่อจริง ก็ติเตียน แต่มุนีย่อมไม่เข้าถึงการ

ติเตียนที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะเหตุนั้น มุนีย่อม

ไม่มีหลักตอ คือ ราคะ โทสะ และโมหะ

ในโลกไหน ๆ.

บุคคลผู้ถูกความพอใจครอบงำแล้ว

ตั้งมั่นอยู่ในความชอบใจ จะพึงล่วงทิฏฐิของ

ตนได้อย่างไรเล่า บุคคลกระทำทิฏฐิเหล่านั้น

ให้บริบูรณ์ด้วยตนเอง รู้อย่างใด ก็พึงกล่าว

อย่างนั้น.

ผู้ใดไม่ถูกเขาถามเลย กล่าวอวดอ้าง

ศีลและวัตรของตนแก่ผู้อื่น ผู้ฉลาดทั้งหลาย

กล่าวผู้นั้นว่า ผู้ไม่มีอริยธรรม, ผู้ได้กล่าว

อวดตนด้วยตนเอง ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าว

การอวดของผู้นั้นว่า ผู้นี้ไม่มีอริยธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 711

ส่วนภิกษุผู้สงบ มีตนดับแล้ว ไม่

กล่าวอวดในศีลทั้งหลายว่า เราเป็นผู้ถึง

พร้อมแล้วด้วยศีล ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าว

ภิกษุนั้นว่า มีอริยธรรม.

ภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้นในโลก

ไหน ๆ ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวการไม่กล่าว

อวดของภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้มีอริยธรรม.

ธรรม คือ ทิฏฐิ อันปัจจัยกำหนด

ปรุงแต่งแวดล้อม ไม่ผ่องแผ้ว ย่อมมีแก่

ผู้ใด ผู้นั้นเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุที่ผู้นั้นเห็น

อานิสงส์ มีคติวิเศษเป็นต้นในตน ฉะนั้น

จึงเป็นผู้อาศัยทิฏฐิ อาศัยความกำเริบที่มี

อยู่นั้น.

นรชนตัดสินธรรมที่ตนยึดมั่นแล้ว

ในธรรมทั้งหลาย ไม่พึงล่วงการยึดมั่นด้วย

ทิฏฐิได้โดยง่ายเลย เพราะเหตุนั้น นรชน

ย่อมยึดถือและถือมั่นธรรม ในเพราะความ

ยึดมั่นด้วยทิฏฐิเหล่านั้น.

บุคคลผู้มีปัญญา ไม่มีทิฏฐิอัน

ปัจจัยกำหนดแล้วในภพน้อยภพใหญ่ ในโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 712

ไหน ๆ บุคคลผู้มีปัญญานั้นละมายาและ

มานะได้แล้ว จะพึงถึงการนับเข้าในคติ

พิเศษในนรกเป็นต้น ด้วยคติพิเศษอะไร

บุคคลผู้มีปัญญานั้น ไม่มีตัณหาและทิฏฐิ.

ก็บุคคลผู้มีตัณหาและทิฏฐิ ย่อมเข้า

ถึงวาทะในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นจะพึงกล่าว

กะพระขีณาสพผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐิ ผู้กำ-

หนัดหรือว่าผู้ประทุษร้ายได้อย่างไร ด้วย

ความกำหนัดหรือความประทุษร้ายอะไร

ความเห็นว่าเป็นตน หรือความเห็นว่าขาด

สูญ ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพนั้นเลย เพราะ

พระขีณาสพนั้น ละทิฏฐิได้ทั้งหมดในอัต-

ภาพนี้ ฉะนี้แล.

จบทุฏฐัฏฐกสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 713

อรรถกถาทุฏฐัฏฐกสูตรที่ ๓

ทุฏฐัฏฐกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า วทนฺติ เว ทุฏฺมนาปิ เดียรถีย์

บางพวกมีใจประทุษร้ายย่อมติเตียนโดยแท้ ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการเกิดแห่งคาถาต้นไว้ในพระสูตรแล้ว. พวก

เดียรถีย์ทนไม่ได้ที่เห็นลาภสักการะเกิดขึ้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์

จึงส่งนางสุนทรีปริพาชิกาไป. นัยว่านางสุนทรีปริพาชิกานั้นเป็นนางงามประจำ

ชนบท ได้เป็นปริพาชิกาเพราะนุ่งห่มผ้าขาว. นางอาบน้ำชำระร่างกายแล้วตก

แต่งด้วยผ้าสะอาดและทัดทรงดอกไม้ ประพรมด้วยของหอมเครื่องลูบไล้ ใน

เวลาที่ชาวกรุงสาวัตถีฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วออกจากพระเชตวัน

นางก็ออกจากกรุงสาวัตถีมุ่งหน้าไปพระเชตวัน เมื่อชนทั้งหลายถามว่า จะไป

ไหน นางก็ตอบว่าไปเพื่อให้พระสมณโคดมและสาวกของพระองค์อภิรมย์ แล้ว

เดินผ่านไปทางซุ้มประตูพระเชตวัน เมื่อซุ้มประตูพระเชตวันปิด จึงเข้าไปยัง

เมือง พอสว่างนางก็ไปพระเชตวันอีกเดินเตร่ทำเป็นเหมือนจะเก็บดอกไม้ใกล้

พระคันธกุฎี. ก็เมื่อนางถูกชนทั้งหลายที่มาอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าถามว่า มาทำ

ไม ก็ตอมเลี่ยงไปเลี่ยงมาอยู่อย่างนั้นแหละ. พอล่วงไปครึ่งเดือนพวกเดียรถีย์

จึงฆ่านางสุนทรีปริพาชิกาเสียแล้วเอาไปฝังไว้ที่คูเมือง พอสว่าง ก็ทำเป็นเอะอะ

ว่า พวกเราไม่เห็นนางสุนทรี จึงไปทูลพระราชา พระราชาทรงอนุญาตแล้วจึง

เข้าไปยังพระเชตวัน ทำเป็นเหมือนค้นหาอยู่ แล้วยกนางสุนทรีขึ้นจากที่ที่ฝั่งไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 714

เอาใส่เตียงนำเข้าไปยังพระนคร พากันด่าว่าติเตียน. พึงทราบเรื่องทั้งหมดโดย

นัยที่มาแล้วในบาลีนั่นแล. วันนั้นตอนใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดู

โลกด้วยพุทธจักษุ ทรงทราบว่า วันนี้พวกเดียรถีย์จักทำให้เกิดความเสื่อมยศ

ทรงดำริว่า มหาชนเชื่อเดียรถีย์เหล่านั้นแล้วจะพากันโกรธเคืองเรา อย่าไป

อบายกันเสียเลย จึงทรงปิดประตูพระคันธกุฎีประทับอยู่ภายในพระคันธกุฎี

นั่นเอง ไม่เสด็จเข้าพระนครเพื่อบิณฑบาต. ฝ่ายภิกษุทั้งหลายเห็นประตูปิดจึง

เข้าไปเช่นคราวก่อน ๆ. ชนทั้งหลายเห็นพวกภิกษุจึงพากันด่าว่าอย่างเสียหาย.

ลำดับนั้นท่านพระอานนท์กราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พวกเดียรถีย์ทำความเสื่อมยศใหญ่ให้เกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถ

จะอยู่ในที่นี้ได้ ชมพูทวีปกว้างขวาง โปรดเสด็จไปที่อื่นเถิดพระเจ้าข้า. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ ก็เมื่อโทษเกิดในที่นั้นอีกเธอจะไป

ไหนเล่า. กราบทูลว่า ไปเมืองอื่นอีก พระพุทธเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ รอดูไปก่อน เสียงนี้จักมีอยู่ได้ ๗ วัน

เท่านั้น ครั้นเลย ๗ วันไปแล้ว ผู้ใดทำความเสื่อมยศไว้ ความเสื่อมยศนั้นก็

จักตกไปบนผู้นั้นนั่นแหละ เพื่อจะทรงแสดงธรรมแก่พระอานนทเถระจึงได้

ตรัสคาถานี้ว่า วทนฺติ เว ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วทนฺติ คือ พวกเดียรถีย์พากันติเตียนพระผู้มี-

พระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. บทว่า ทุฏฺมนาปิ เอเก เอโถปิ เว สจฺจมนาปิ

อนึ่งพวกชนที่ฟังคำของเดียรถีย์เหล่านั้นแล้วปลงใจเชื่อว่าจริงก็ติเตียน ความว่า

พวกชนบางพวกมีใจประทุษร้าย บางพวกสำคัญว่าเป็นจริง พวกเดียรถีย์มีใจ

ประทุษร้ายแล้ว. อธิบายว่า ชนเหล่าใดฟังคำของเดียรถีย์เหล่านั้นแล้ว ชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 715

เหล่านั้นเข้าใจว่าเป็นจริงก็พากันเชื่อ. บทว่า วาทญฺจ ชาต วาทะเกิดขึ้นแล้ว

คือวาทะด่าเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้. บทว่า มุนิ โน อุเปติ มุนีไม่เข้าถึง คือ

พุทธมุนีไม่เข้าถึงการติเตียน เพราะไม่ได้ทำและเพราะไม่โกรธ บทว่า ตสฺมา

มุนิ นตฺถิ ขิโล กุหิญฺจิ เพราะฉะนั้นมุนีย่อมไม่มีหลักตอในที่ไหน ๆ คือ

ด้วยเหตุนั้นพึงทราบว่า มุนี้นี้ย่อมไม่มีหลักตอ ด้วยหลักตอ คือ ราคะเป็นต้น

ในโลกไหน ๆ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคาถานี้แล้ว จึงรับสั่งถามพระอานนทเถระ

ว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุทั้งหลายถูกคำว่าเย้ยหยันอย่างนี้แล้วพูดอย่างไร. กราบ-

ทูลว่า มิได้พูดอะไรเลย พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เราเป็นผู้มีศีลมิใช่

หรือ เพราะฉะนั้นควรนิ่งในเรื่องทั้งหมด แม่รู้อยู่ก็ไม่พูด เพราะคนพาลกับ

บัณฑิตเข้ากัน ไม่ได้. เพื่อประโยชน์ในการแสดงธรรมว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุ

ทั้งหลายจงโต้ตอบพวกชนเหล่านั้นอย่างนี้ ได้ตรัสคาถานี้ว่า อภูตวาที นิรย

อุเปติ คนพูดไม่จริงย่อมตกนรก ดังนี้. พระเถระรับพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว

จึงกล่าว กะภิกษุทั้งหลายว่า พวกท่านควรโต้ตอบชนทั้งหลายด้วยคาถานี้. ภิกษุ

ทั้งหลายได้กระทำอย่างนั้นแล้ว. ชนผู้เป็นบัณฑิตได้นิ่งเฉย. แม้พระราชาก็

ทรงส่งพวกราชบุรุษไปทุกแห่งหน จับคาดคั้นพวกนักเลงที่เดียรถีย์ให้ค่าจ้างฆ่า

นางสุนทรี ครั้นทรงทราบเรื่องราวแล้วได้ทรงบริภาษพวกเดียรถีย์. แม้ชน

ทั้งหลายเห็นพวกเดียรถีย์ต่างก็เอาก้อนดินขว้างปา เอาฝุ่นโรย ด้วยโกรธว่า

พวกเดียรถีย์ทำให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสื่อมยศ. พระอานนท์เถระเห็นดังนั้นจึง

กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

สกญฺหิ ทิฎฺึ กถมจฺจเยยฺย จะพึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 716

บทนั้นมีความดังต่อไปนี้. ทิฏฐิของชนเดียรถีย์ว่า เราจักฆ่านางสุนทรี

ปริพาชิกา แล้วประกาศโทษของสมณศากยบุตร ก็จักได้รับสักกะได้โดยอุบายนี้

บุคคลจะพึงล่วงทิฏฐินั้นได้อย่างไร ที่แท้โทษนันจะกลับมาถึงชนเดียรถีย์นั้น

ผู้ไม่สามารถจะล่วงทิฏฐินั้นได้ อีกอย่างหนึ่งชนเดียรถีย์ผู้มีวาทะว่าเที่ยงเป็นต้น

ถูกความพอใจในทิฏฐินั้นครอบงำแล้ว และตั้งมั่นอยู่ในความชอบใจในทิฏฐิ

จะพึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า ที่แท้บุคคลนั้นกระทำทิฏฐิเหล่านั้นให้บริ-

บูรณ์ด้วยตนเอง รู้อย่างใด พึงกล่าวลย่างนั้น.

ลำดับนั้น พระราชาเมื่อล่วงไป ๗ วัน รับสั่งให้เอาศพของนางสุนทรี

นั้นไปทิ้งเสีย ตอนเย็นเสด็จไปยังพระวิหารถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความเสื่อมยศเช่นนี้เกิดขึ้น ควรจะบอก

ข้าพระองค์บ้าง. เมื่อพระราชากราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าถวาย

พระพรว่า มหาบพิตร อาตมภาพเป็นผู้มีศีล มีคุณสมบัติมิใช่หรือ แล้วตรัส

ต่อไปว่า การบอกแก่ผู้อื่นเป็นการสมควรแก่พระอริยเจ้าละหรือดังนี้ เพื่อให้

เกิดเรื่องนั้นขึ้น จึงได้ตรัสคาถาที่เหลือว่า โย อตฺตโน สีลวตานิ เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สีลวตานิ ผู้มีศีล คือ ศีลมีปาติโมกข์เป็นต้น

และธุดงค์มีอารัญญิกธุดงค์เป็นต้น. บทว่า อนานุปุฏฺโ คือไม่ถูกถามเลย

บทว่า ปาถา คือ กล่าวอวดอ้าง. บทว่า อนริยธมฺม กุสลา ตมาหุ โย

อาตุมาน สยเมว ปาถา คือ ผู้ใดกล่าวอวดอ้างตนด้วยตนเอง ผู้ฉลาด

ทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นผู้ไม่มีอริยธรรม. บทว่า สนฺโต ผู้สงบ คือ ชื่อว่า

เป็นผู้สงบเพราะสงบกิเลสมีราคะเป็นต้น เสมือนเป็นผู้มีตนผ่องแผ้วแล้วฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 717

บทว่า อิติหนฺติ สีเลสุ อกตฺถมาโน คือ ไม่กล่าวอวดอ้างในศีลทั้งหลายว่า

เราเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล. ท่านอธิบายว่า ไม่กล่าววาจาแนะนำตนว่ามีศีล.

บทว่า ตมริยธมฺม กุสลา วทนฺติ ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุนั้นว่าเป็นผู้มี

อริยธรรม คือผู้ฉลาดในขันธ์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมกล่าวภิกษุผู้

ไม่อวดอ้างนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีอริยธรรม. บทว่า ยสฺสุสฺสทา นตฺถิ กุหิญฺจิ

โลเก ภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้นในโลกไหน ๆ พึงทราบการเชื่อมความว่า

ภิกษุผู้เป็นขีณาสพใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น ๗ อย่าง มีราคะเป็นต้นในโลก

ไหน ๆ ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวภิกษุผู้ไม่โอ้อวดนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีอริย-

ธรรม ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงถึงการปฏิบัติของพระขีณาสพอย่างนี้

แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงถึงการปฏิบัติของพวกเดียรถีย์เจ้าทิฏฐิแด่พระราชา

จึงตรัสว่า ปกปฺปิตา สงฺขตา ธรรมอันปัจจัยกำหนด ปรุงแต่งแล้ว ดังนี้

เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปกปฺปิตา คืออันปัจจัยกำหนดแล้ว. บทว่า

สงฺขตา คืออันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว. บทว่า ยสฺส แก่ผู้ใด. คือแก่เจ้าทิฏฐิ

ใด ๆ. บทว่า ธมฺมา คือทิฏฐิ. บทว่า ปุรกฺขตา แวดล้อมแล้ว คือทำ

แล้วแต่ก่อน. บทว่า สนฺติ แปลว่า มีอยู่. บทว่า อวีวทาตา แปลว่า

ไม่ผ่องแผ้ว. บทว่า ยทฺตฺตนิ ปสฺสติ อานิสส ตนฺนิสฺสิโต กุปฺปปฏิ-

จฺจสนฺตึ เพราะเหตุที่ผู้นั้นเห็นอานิสงส์ในตน ฉะนั้น จึงเป็นผู้อาศัยทิฏฐิ

อาศัยความกำเริบที่มีอยู่นั้น ความว่า ธรรมคือทิฏฐิอันปัจจัยแวดล้อมไม่ผ่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 718

แผ้ว ย่อมมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นเป็นอย่างนี้. เพราะเหตุที่เขาเห็นสักการะเป็นต้นอัน

เป็นไปในปัจจุบัน และอานิสงส์มีคติวิเศษเป็นต้น อันเป็นไปในสัมปรายภพ

แห่งทิฏฐินั้นในตน ฉะนั้น จึงเป็นผู้อาศัยอานิสงส์นั้นและทิฏฐินั้นอันมีอยู่

อาศัยความกำเริบ เพราะความกำเริบ เพราะอาศัยกันเกิดขึ้นและเพราะมีอยู่โดย

สมมติ ผู้นั้นพึงยกตนหรือพึงข่มผู้อื่น เพราะอาศัยทิฏฐินั้นด้วยคุณและโทษแม้

ไม่เป็นจริง และด้วยการอาศัยอย่างนี้ นรชนตัดสินธรรมที่ตนยึดมั่นแล้วใน

ธรรมทั้งหลาย ไม่พึงล่วงการยึดมั่นด้วยทิฏฐิได้โดยง่ายเลย เพราะเหตุนั้น

นรชนย่อมยึดถือและถือมั่นธรรม ในเพราะความยึดมั่นด้วยทิฏฐิเหล่านั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺินิเวสา ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ คือยึดมั่นด้วย

ทิฏฐิ อันได้แก่ ยึดมั่นว่านี้เป็นของจริง. บทว่า น หิ สฺวาติวตฺตา ได้แก่

ไม่พึงล่วงไปโดยง่ายนัก. บทว่า ธมฺเมสุ นิจฺเฉยฺย สมุคฺคหิต นรชน

ตัดสินธรรมที่คนยึดมั่นแล้วในธรรมทั้งหลาย ความว่า นรชนตัดสินธรรม

นั้น ๆ ที่ตนถือ คือยึดมั่นแล้วในธรรมคือทิฏฐิ ๖๒ ท่านอธิบายว่าไม่พึงล่วง

การยึดมั่นด้วยทิฏฐิได้โดยง่ายเลย เพราะเป็นไปแล้ว. เพราะฉะนั้น นรชน

ย่อมยึดถือและถือมั่นธรรม ในเพราะความยึดมั่นเหล่านั้น อธิบายว่า เพราะ

ไม่ล่วงการยึดมั่นด้วยทิฏฐิได้โดยง่าย ฉะนั้น นรชนย่อมยึดถือ ถือมั่น เสพ

และนับถือ ศาสดาจำพวกถือศีลแพะ ศีลโค ศีลสุนัข ตบะห้า เทวดาบอก

เหตุ ทำความเพียรด้วยการนั่งกระโหย่งและนอนบนหนามเป็นต้นและธรรม

นั้น ๆ ประเภทคณะบอกธรรมเป็นต้น ท่านอธิบายว่า เหมือนลิงป่าจับกิ่งไม้

นั้น ๆ ฉะนั้น. เมื่อยึดถือและถือมั่นอยู่อย่างนี้ เพราะค่าที่มีจิตไม่มั่นคง

จึงทำให้ยศเเละมิใช่ยศเกิดแก่ตนหรือแก่ผู้อื่น ด้วยคุณและโทษแม้ไม่มีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 719

ก็บุคคลใดชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญา เพราะประกอบด้วยปัญญากำจัดโทษมีถือทิฏฐิ

ทั้งปวงเป็นต้น บุคคลผู้มีปัญญานั้น ไม่มีทิฏฐิอันปัจจัยกำหนดแล้วในภพ

น้อยภพใหญ่ในโลกไหน ๆ บุคคลผู้มีปัญญานั้นละมายาและมานะได้แล้ว

จะพึงถึงการนับเข้าในคติพิเศษในนรกเป็นต้น ด้วยคติพิเศษอะไร. ท่าน

อธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ บุคคลผู้มีปัญญาเพราะประกอบด้วย

โธนธรรม (ธรรมทำให้ฉลาด) เป็นผู้ไกลจากกิเลสกำจัดบาปทั้งปวงได้ ไม่มี

ทิฏฐิอันปัจจัยกำหนดแล้วในภพทั้งหลายนั้น ๆ ในโลกไหน ๆ บุคคลผู้มีปัญญา

นั้น เพราะไม่มีทิฏฐินั้น จึงละมายาและมานะ ที่พวกเดียรถีย์ปกปิดกรรมชั่วที่ตน

ทำไว้ด้วยอคติใด เข้าถึงอคตินั้นด้วยมายาหรือมานะ จะพึงเข้าถึงการนับในคติ

พิเศษมีนรกเป็นต้น ในทิฏฐธรรมหรือสัมปรายภพด้วยคติพิเศษอะไร จริงอยู่

บุคคลผู้มีปัญญานั้น ๆ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐิ เพราะไม่มีตัณหาและ

ทิฏฐิสองอย่างอาศัย. ก็อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใดชื่อว่าเป็นผู้มีตัณหาและทิฏฐิ

เพราะมีทั้งสองอย่างเหล่านั้น บุคคลนั้นเป็นผู้มีตัณหาและทิฏฐิ ย่อมเข้าถึงวาทะ

ในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นจะพึงกล่าวกะผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐิว่า ผู้กำหนัดหรือ

ผู้ไม่ประทุษร้ายได้อย่างไร ด้วยความกำหนัดหรือความประทุษร้ายอะไร ความ

เห็นว่าเป็นตน หรือความเห็นว่าขาดสูญ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น

เลย เพราะผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น ละทิฏฐิได้ทั้งหมดในอัตภาพนี้ฉะนี้แล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปโย คืออันตัณหาและทิฏฐิอาศัยแล้ว. บทว่า

ธมฺเมสุ อุเปติ วาท เข้าถึงวาทะในธรรมทั้งหลาย คือเข้าถึงวาทะในธรรม

ทั้งหลายนั้น ๆ อย่างนี้ว่า กำหนัดแล้วดังนี้ หรือประทุษร้ายแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 720

บทว่า อนูปย เกน กถ วเทยฺย ความว่า จะพึงกล่าวกะพระขีณาสพ

ผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐิ เพราะละตัณหาและทิฏฐิได้แล้วว่าผู้กำหนัด หรือผู้ประ-

ทุษร้ายได้อย่างไร ด้วยความกำหนัดหรือความประทุษร้ายอะไร. อธิบายว่า

จะว่ากล่าวว่าผู้มีปัญญานั้น จักเป็นผู้ปกปิดสิ่งที่กระทำแล้ว เหมือนพวกเดียรถีย์

ได้อย่างไร. บทว่า อตฺต นิรตฺต น หิ ตสฺส อตฺถิ ความเห็นว่าเป็นตน

หรือความเห็นว่าขาดสูญย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้นเลย ความว่า

ความเห็นว่าเป็นตน หรือความเห็นว่าขาดสูญย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐิ

นั้น หรือแม้การถือและการปล่อยที่รู้กันว่าเป็นความกำหนัดในตนก็ไม่มี. หาก

ถามว่า เพราะเหตุไรจึงไม่มี. ตอบว่า เพราะผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้นละทิฏฐิ

ได้ทั้งหมดในอัตภาพนี้. อธิบายว่า เพราะผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น เลิกละ

ปล่อยทิฏฐิได้ทั้งหมดด้วยลมคือญาณในอัตภาพนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัต

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว พอพระทัยกราบถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วเสด็จกลับ.

จบอรรถกถาทุฏฐัฏฐกสูตรที่ ๑ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 721

สุทธัฏฐกสูตรที่ ๔

ว่าด้วยเรื่องเห็นผู้บริสุทธิ์

[๔๑๑] คนพาลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ

สำคัญเอาเองว่าเราได้เห็นบุคคลผู้บริสุทธิ์

เป็นบุคคลผู้ยิ่งใหญ่หาโรคมิได้ ความหมด-

จดด้วยดี ย่อมมีได้แก่นรชนด้วยการเห็น

เมื่อคนพาลนั้นสำคัญเอาเองอย่างนี้ รู้ว่า

ความเห็นนั้นเป็นความเห็นยิ่ง.

แม้เป็นผู้เห็นบุคคลผู้บริสุทธิ์เนือง ๆ

ก็ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นมรรคญาณ

ถ้าว่าความบริสุทธิ์ย่อมมีได้แก่นรชนด้วยการ

เห็น หรือนรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยมรรค

อันไม่บริสุทธิ์อย่างอื่นจากอริยมรรค นรชน

ผู้เป็นอย่างนี้ย่อมบริสุทธิ์ไม่ได้เลย ก็คนมี

ทิฏฐิ ย่อมกล่าวยกย่องความเห็นนั้นของคน

ผู้กล่าวอย่างนั้น.

พราหมณ์ไม่กล่าวความบริสุทธิ์โดย

มิจฉาทิฏฐิญาณอย่างอื่นจากอริยมรรคญาณ

ที่เกิดขึ้นในเพราะรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 722

ศีล พรต และในเพราะอารมณ์ที่ได้ทราบ

พราหมณ์นั้นไม่ติดอยู่ในภพและบาป ละ

ความเห็นว่าเป็นตนเสียได้ ไม่กระทำในบุญ

และบาปนี้.

ชนผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นผู้กล่าว

ความบริสุทธิ์โดยทางมรรคอย่างอื่นเหล่านั้น

ละศาสดาเบื้องต้นเสีย อาศัยศาสดาอื่น อัน

ตัณหาครอบงำย่อมข้ามธรรมเป็นเครื่องข้อง

ไม่ได้ ชื่อว่าถือเอาธรรมนั้นด้วย ละธรรม

นั้นด้วย เปรียบเหมือนวานรจับและปล่อย

กิ่งไม้ที่ตรงหน้าเสียเพื่อจับกิ่งอื่น ฉะนั้น.

สัตว์ผู้ข้องอยู่ในกามสัญญา สมา-

ทานวัตรเองแล้วไปเลือกหาศาสดาดีและเลว

ส่วนพระขีณาสพผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน

ผู้มีความรู้แจ้ง ตรัสรู้ธรรมด้วยเวทคือมรรค

ญาณ ย่อมไม่ไปเลือกหาศาสดาดีและเลว.

พระขีณาสพนั้นครอบงำมาร และ

เสนาในธรรมทั้งปวง คืออารมณ์อย่างใด

อย่างหนึ่งที่ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้ทราบ

ใคร ๆ จะพึงกำหนดพระขีณาสพผู้บริสุทธิ์

ผู้เห็นความบริสุทธิ์ เป็นผู้มีหลังคาคือกิเลส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 723

อันเปิดแล้ว ผู้เที่ยวไปอยู่ ด้วยการกำหนด

ด้วยตัณหาและทิฏฐิอะไรในโลกนี้.

พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด

ด้วยตัณหาหรือด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่กระทำ

ตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า พระขีณาสพ

เหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีที่สุด

ด้วยอกิริยทิฏฐิและสัสสตทิฏฐิ ท่านสละ

คันถะกิเลสเครื่องร้อยรัดอันเนื่องอยู่ในจิต

สันดานได้แล้ว ย่อมไม่กระทำความหวังใน

โลกไหนๆ

พราหมณ์ผู้ล่วงแดนกิเลสได้ ไม่มี

ความยึดถือวัตถุหรืออารมณ์อะไร เพราะ

ได้รู้หรือเพราะได้เป็นเป็นผู้ไม่มีความยินดี

ด้วยราคะ เป็นผู้ปราศจากราคะไม่กำหนัด

แล้ว พราหมณ์นั้น ไม่มีความยึดถือวัตถุและ

อารมณ์อะไร ๆ ว่า สิ่งนี้เป็นของยิ่งในโลกนี้

ฉะนี้แล.

จบสุทธัฏฐกสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 724

อรรถกถาสุทธัฏฐกสูตรที่ ๔

สุทธัฏฐกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ปสฺสามิ สุทฺธ เราเห็นบุคคลผู้

บริสุทธิ์ดังนี้.

พระสูตนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

มีเรื่องเล่าว่า ในอดีตกาลครั้งศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่ากัลสปะ กุฎุมพีคนหนึ่ง ชาวกรุงพาราณสีได้ไปยังปัจจันตชนบทพร้อมด้วย

เกวียน ๕๐๐ เล่มเพื่อหาสินค้า ณ ที่นั้น กุฎุมพีได้ทำความสนิทสนมกับพราน

ป่าให้ของใช้แก่เขาแล้วถามว่า สหาย ท่านเคยเห็นแก่นจันทน์บ้างไหม เมื่อ

พรานป่าตอบว่าเคยเห็น จึงเข้าไปป่าไม้จันทน์กับเขาทันทีบรรทุกแก่นจันทน์

แดงจนเต็มเกวียนทุกเล่มแล้วกล่าวกะพรานป่านั้นว่า สหาย เมื่อใดท่านมากรุง

พราณสี เมื่อนั้นท่านพึงเอาแก่นจันทน์แดงมาด้วย แล้วก็กลับไปกรุงพาราณสี.

ครั้นต่อมาพรานป่านั้นก็เอาแก่นจันทน์ไปเรือนกุฎุมพีนั้น กุฎุมพีเห็นพรานป่า

จึงต้อนรับเป็นอย่างดี ตอนเย็นให้บดแก่นจันทน์ใส่สมุดจนเต็มแล้วกล่าวว่า

สหายจงไปอาบน้ำแล้วกลับมาเถิด แล้วส่งเขาไปท่าน้ำกับคนของตน. ตอนนั้น

ที่กรุงพาราณสีกำลังมีมหรสพ. ชาวกรุงพาราณสีตอนเช้าตรู่ถวายทาน ตอน

เย็นนุ่งผ้าเนื้อดีถือดอกไม้และของหอมเป็นต้น ไปไหว้พระมหาเจดีย์ของพระ-

พระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ พรานป่านั้น เห็นคนทั้งหลายเหล่านั้นจึงถาม

ว่า เขาไปไหนกัน พรานป่าได้ฟังว่าเขาไปวิหารเพื่อไหว้พระเจดีย์จึงได้ไป

ด้วยตนเอง ณ ที่นั้นพรานป่าเห็นผู้คนทำการบูชาพระเจดีย์โดยวิธีต่าง ๆ ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 725

หรดาล และมโนศิลา เป็นต้น ตนเองไม่รู้จะทำอะไร ๆ ให้สวยงามได้จึง

เอาไม้จันทน์นั้นทำเป็นวงกลมประมาณเท่าถาดสำริดไว้ข้างบนอิฐทองในมหา-

เจดีย์ ครั้งนั้น ณ ที่นั้นได้เวลาพระอาทิตย์ขึ้น รัศมีพระอาทิตย์ส่องแสง. เขา

เห็นดังนั้นจึงเลื่อมใสได้ทำการปรารถนาว่า แม้เกิดในที่ใด ๆ ขอให้รัศมีเช่นนี้

จงผุดที่อกของเรา. พรานป่าได้ทำกาละแล้ว ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

รัศมีได้ผุดขึ้นที่อกของเขา. เป็นวงกลมไพโรจน์ที่อกของเขาดุจวงกลมของพระ-

จันทร์. ชนทั้งหลายจึงเรียกเขาว่า จันทาภเทพบุตร.

จันทาภเทพบุตรนั้น ยังพุทธันดรหนึ่งให้สิ้นไปโดยกลับไปกลับมาเกิด

ในสวรรค์ ๖ ชั้น ด้วยสมบัตินั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทรงอุบัติได้

บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในกรุงสาวัตถี. ที่อกของเขาได้มีรัศมีวงกลม

เช่นกับวงกลมของพระจันทร์ ในวันตั้งชื่อของเขาพวกพราหมณ์การทำการ

มงคลเห็นรัศมีวงกลมนั้นจึงประหลาดใจว่า กุมารนี้ลักษณะเป็นผู้มีบุญจึงตั้งชื่อ

ว่าจันทาภะเหมือนกัน. พราหมณ์ทั้งหลายพากุมารผู้เจริญวัยแล้ว ตกเเต่งใส่เสื้อ

อย่างดีให้ขึ้นรถพากันบูชาว่า นี้มหาพรหมของเรา แล้วเที่ยวประกาศไปทั่วตาม

นิคมราชธานีว่า ผู้ใดเห็นจันทาภะผู้นั้นจักได้ยศและทรัพย์เป็นต้น ตายแล้วจักไป

สวรรค์. ในที่ที่ไปแล้ว ๆ พวกชนพากันมามากขึ้น ๆ ด้วยได้ข่าวที่เขาประกาศ

ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กุมารชื่อจันทาภะนี้ ผู้ใดเห็นผู้นั้นจักได้ยศทรัพย์และ

สวรรค์เป็นต้นหวั่นไหวไปทั่วทั่งชมพูทวีป. พวกพราหมณ์ไม่แสดงแก่คนที่มา

มือเปล่า แสดงเฉพาะคนที่ถือทรัพย์ ๑๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ มาให้เท่านั้น. พวก

พราหมณ์พาจันทาภกุมารเที่ยวไปอย่างนี้จนถึงกรุงสาวัตถีตามลำดับ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 726

ก็สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐได้

เสด็จมาถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ เมื่อจะทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ชน

เป็นอันมาก จึงประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารในกรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น

จันทาภกุมารไปถึงกรุงสาวัตถีมิได้ปรากฏดุจแม่น้ำน้อยไหลไปในมหาสมุทร

ฉะนั้น แม้ผู้ที่จะพูดถึงจันทาภะก็ไม่มี ในตอนเย็นจันทาภะเห็นหมู่ชนพากัน

ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นมุ่งหน้าไปเชตวันมหาวิหารจึงถามว่า พวกท่าน

จะไปไหนกัน มหาชนตอบว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติเเล้วในโลก พระองค์

ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เราจะไปพระวิหารเชตวันเพื่อ

ฟังธรรม.

จันทาภะแวดล้อมด้วยคณะพราหมณ์ได้ฟังคำนั้นก็ได้ไป ณ พระเชตวัน

มหาวิหารนั้น. ก็ในตอนนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ บวรพุทธอาสน์

ในธรรมสภา. จันทาภะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิสันถารด้วยคำไพเราะ

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ทันใดนั่นเองแสงสว่างของจันทาภะก็หายไป.

เพราะ ณ ที่ใกล้พระรัศมีของพระพุทธเจ้า รัศมีอื่นจะครอบงำไม่ได้ภายใน ๘๐

ศอก จันทาภะนั้นไม่นั่งด้วยคิดว่ารัศมีของเขาหายไปเสียแล้วจึงได้ลุกขึ้นเตรียม

จะกลับ. ลำดับนั้นบุรุษคนหนึ่งกล่าวกะจันทาภะว่า จันทาภะผู้เจริญ ท่านกลัว

พระสมณะหรือจึงจะกลับ. จันทาภะตอบว่า เราไม่กลัวดอก จะกลับละ อีกประ-

การหนึ่งรัศมีของเราหายไปด้วยเดชของพระสมณะนี้. จันทาภะกลับนั่งข้างหน้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าเห็นความสมบูรณ์มีพระรูป พระรัศมีและพระลักษณะเป็นต้น

ตั้งแต่ฝ่าพระบาทจนถึงปลายพระเกษามีใจเลื่อมใสอย่างยิ่งว่า พระสมณโคดมมี

ศักดิ์มาก รัศมีเพียงเล็กน้อยผุดขึ้นที่อกของเรา แม้เพียงเท่านั้นพวกพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 727

ยังพาเราเที่ยวไปจนทั่วชมพูทวีป อย่างนี้แล้วพระสมณโคดมผู้ประกอบด้วย

ความสมบูรณ์แห่งพระลักษณะอันงาม ยังมิได้เกิดความถือพระองค์เลย พระ

สมณะนี้จักประกอบด้วยคุณสมบัติอันงามพระองค์จักเป็นศาสดาของเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลายเป็นแน่ จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลขอบวช. พระผู้-

มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธดำรัสกะพระเถระรูปหนึ่งว่า เธอจงบวชให้จันทาภะนี้.

พระเถระนั้น ครั้นบวชให้จันทาภภิกษุแล้ว ก็บอกตจปัญจกกรรมฐานให้.

จันทาภภิกษุเริ่มเจริญวิปัสสนาแล้วไม่ช้านักก็บรรลุพระอรหัต ได้ชื่อว่าจันทาภ-

เถระ.

ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันปรารภพระจันทาภเถระนั้นว่า อาวุโส

ทั้งหลาย ผู้ที่เห็นจันทาภะแล้วจะได้ยศหรือทรัพย์ หรือได้ไปสวรรค์ หรือได้

ถึงความบริสุทธิ์ด้วยเห็นรูปทางจักษุทวารนั้นหรือหนอ. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสพระสูตรนี้ในเพราะเกิดเรื่องของพระจันทาภเถระนั้น.

ในสูตรนั้นพึงทราบความในคาถาต้นก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความบริสุทธิ์มิได้มิด้วยการเห็น เห็นปานนี้เลย อีก

ประการหนึ่ง คนพาลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิเห็นจันทาภพราหมณ์หรือบุคคลอื่น

อย่างเดียวกัน ผู้ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์เพราะเศร้าหมองด้วยกิเลสผู้ชื่อว่ามีโรคเพราะ

ไม่ปราศจากโรคคือกิเลส แล้วสำคัญเอาเองว่าเราได้เห็นบุคคลผู้บริสุทธิ์ เป็น

บุคคลผู้ยิ่งใหญ่หาโรคมิได้ ความหมดจดด้วยดีย่อมมีแก่นรชนด้วยการเห็นอัน

ได้แก่การที่ตนได้เห็นแล้วนั้นดังนี้. เมื่อคนพาลนั้นสำคัญเอาเองอย่างนี้ รู้ว่า

ความเห็นนั้นเป็นความเห็นยิ่ง แม้เป็นผู้เห็นบุคคลผู้บริสุทธิ์เนือง ๆ ในความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 728

เห็นนั้น ก็ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นมรรคญาณ. แต่ความเห็นนั้นมิใช่

เป็นมรรคญาณ. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทิฏฺเน เจ สุทฺธิ

หากความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยการเห็นดังนี้.

พึงทราบตามแห่งคาถาที่สองต่อไปนี้ ผิว่าความบริสุทธิ์แห่งกิเลส

ย่อมมีได้แก่นรชนด้วยการเห็นอันได้แก่การเห็นรูปนั้น หรือนรชนนั้นย่อมละ

ทุกข์มีชาติเป็นต้นได้ด้วยญาณนั้น เมื่อเป็นอย่างนั้นนรชนนั้นย่อมบริสุทธิ์ได้

ด้วยมรรคอันไม่บริสุทธิ์อย่างอื่นจากอริยมรรค นรชนผู้เป็นอย่างนี้ย่อมบริสุทธิ์

ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นคนมีทิฏฐิย่อมกล่าวยกย่องความเห็นนั้นของคนผู้กล่าว

อย่างนั้น คนมีทิฏฐินั้นย่อมกล่าวความเห็นนั้นว่าผู้นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่

อาจารย์บางพวกกล่าวอย่างนั้นโดยนัยมีอาทิว่า สสฺสโต โลโก โลกเที่ยงดังนี้.

พึงทราบคาถาที่สามว่า น พฺราหฺมโณ ดังนี้เป็นต้น. บทนั้น

มีความดังต่อไปนี้ ก็ผู้ใดชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะเป็นผู้ลอยบาปได้แล้ว

ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ขีณาสพถึงความสิ้นอาสวะด้วยมรรคไม่กล่าวความบริสุทธิ์

โดยมิจฉาทิฏฐิญาณอย่างอื่นจากอริยมรรคญาณที่เกิดขึ้นในเพราะรูปที่ได้เห็น

อันได้แก่รูปสมมติว่าเป็นมงคลยิ่งในเพราะเสียงที่ได้ฟังอันได้แก่เสียงเป็นอย่าง

นั้น ในเพราะศีลอันได้แก่ความไม่ล่วง ในเพราะพรตมีตำราดูช้างเป็นต้น

และในเพราะอารมณ์ที่ได้ทราบมีปฐวีธาตุเป็นต้น. บทที่เหลือพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเพื่อยกย่องพราหมณ์นั้น. พราหมณ์นั้นมิได้ติดอยู่ในบุญอันมี

ธาตุสามและในบาปทั้งปวง ชื่อว่าละความเห็นว่าเป็นคนเสียได้ เพราะละ

ทิฏฐิว่าเป็นตนได้แล้ว หรือเพราะละการยึดถือไร ๆ ได้ ท่านกล่าวว่าเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 729

ไม่กระทำในบุญและบาป เพราะไม่กระทำปุญญาภิสังขารเป็นต้น. เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงสรรเสริญพราหมณ์นั้นจึงตรัสอย่างนี้. อนึ่ง

พึงทราบการเชื่อมความแห่งบททั้งหมดนั้นด้วยบทต้นดังนี้ พราหมณ์ไม่ติดใน

บุญและบาป ละความเห็นว่าเป็นต้นเสียได้ไม่กระทำในบุญและบาปนี้ พราหมณ์

ไม่กล่าวถึงความบริสุทธิ์โดยมิจฉาทิฏฐิญาณอย่างอื่นจากอริยมรรคญาณ. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสว่าพราหมณ์ไม่กล่าวถึงความบริสุทธิ์ โดยมิจฉาทิฏฐิ-

ญาณอย่างอื่นจากอริยมรรคญาณแล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงถึงความไม่ปลอดภัย

แห่งทิฎฐินั้นของพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิกล่าวถึงความบริสุทธิ์อย่างอื่นจากอริยมรรค-

ญาณ จึงตรัสคาถาว่า ปุริม ปหาย ละศาสดาเบื้องต้นดังนี้.

บทนั้นมีความดังต่อไปนี้. จริงอยู่ พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีวาทะว่า

บริสุทธิ์จากอริยมรรคอื่น ละศาสดาเบื้องต้นเป็นต้นเสีย อาศัยศาสดาอื่นด้วย

ทิฏฐิที่พ้นจากการยึดเพราะยังละไม่ได้ อันตัณหาคือความอยากครอบงำ ย่อม

ข้ามธรรมเป็นเครื่องข้องมีราคะเป็นต้นไปไม่ได้ เมื่อข้ามธรรมอันเป็นเครื่อง

ข้องนั้น ๆ ไม่ได้ ชื่อว่าถือเอาธรรมนั้นด้วย สละธรรมนั้นด้วย เหมือนวานร

จับและปล่อยกิ่งไม้ที่ตรงหน้าเสียเพื่อจับกิ่งอื่นฉะนั้น.

ที่กล่าวการเชื่อมความ คาถาที่ห้าว่า ก็ผู้มีทิฏฐิย่อมกล่าวยกย่อง

ความเห็นนั้นของผู้กล่าวอย่างนั้น ด้วยบทว่า สย สมาทาย สมาทานเอง.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สย แปลว่าเอง. บทว่า สมาทาย คือถือเอา.

บทว่า วตานิ ได้แก่ ตำราดูลักษณะช้างเป็นต้น. บทว่า อุจฺจาวจ ศาสดาดีและ

เลว คือ เลือกหาศาสดาเป็นต้นแล้ว ๆ เล่า ๆ หรือเลวและประณีตจากศาสดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 730

บทว่า สญฺสตฺโต ผู้ข้องอยู่ในสัญญา คือติดอยู่ในกามสัญญาเป็นต้น. บท

ว่า วิทฺวา จ เวเทหิ สเมจฺจ ธมฺม ผู้มีความรู้แจ้ง ตรัสรู้ธรรมด้วยเวท

ความว่า ผู้รู้แจ้งปรมัตถธรรม เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ธรรมคืออริยสัจ ๔ ด้วย

เวทคือมรรคญาณ ๔. บทที่เหลือชัดแล้ว. บทว่า ส สพฺพธมฺเมสุ วิเสนิภูโต

ยกิญฺจิ ทิฏฺว สุต มุต วา พระขีณาสพนั้นครอบงำมารเเละเสนาในธรรม

ทั้งปวงคืออารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้เห็นได้ฟังหรือได้ทราบ ความว่าพระ

ขีณาสพผู้มีปัญญานั้น ชื่อว่าเป็นผู้ครอบงำมารและเสนา เพราะยังมารและเสนา

ให้พินาศไปในธรรมทั้งปวงเหล่านั้น คืออารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้เห็นได้

ฟังหรือได้ทราบ. บทว่า ตเมว ทสฺสึ คือพระขีณาสพนั้นผู้เห็นความบริสุทธิ์

อยู่นี้. บทว่า วิวฏ จรนฺต เป็นผู้มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้ว เพราะ

ปราศจากหลังคาคือตัณหาเป็นต้น เที่ยวไปอยู่. บทว่า เกนิธ โลกสฺมึ

วิกปฺเปยฺย พึงกำหนดพระขีณาสพด้วยการกำหนดด้วยตัณหาและทิฏฐิอะไร

ในโลกนี้ ความว่าใคร ๆ พึงกำหนดพระขีณาสพด้วยการกำหนดด้วยตัณหา

หรือด้วยการกำหนดด้วยทิฏฐิอะไรในโลกนี้ หรือพึงกำหนดด้วยราคะเป็นต้น

ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น เพราะละตัณหาและทิฏฐิได้แล้ว.

พึงทราบการเชื่อมความและความแห่งคาถาว่า น กปฺปยนฺติ ไม่

กำหนด มีอะไรที่จะควรกล่าวยิ่งไปกว่านั้น คือ เพราะพระขีณาสพเหล่านั้นเป็น

ผู้สงบไม่กำหนดด้วยตัณหาและทิฏฐิ ไม่กระทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า

อย่างใดอย่างหนึ่ง พระขีณาสพเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่าความบริสุทธิ์ล่วงส่วน

ด้วยอกิริยทิฏฐิและสัสสตทิฏฐิอันไม่เป็นความบริสุทธิ์ล่วงส่วนทีเดียว เพราะยัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 731

ไม่ปราศจากความบริสุทธิ์ล่วงส่วนโดยปรมัตถ์. บทว่า อาทานคนฺถ คธิต

วิสชฺช ความว่า ท่านสละคือตัดคันถะกิเลสเครื่องร้อยรัดอันทำให้ถือมั่น

เพราะเป็นเหตุให้ถือมั่นรูปเป็นต้น แม้ ๔ อย่าง อันผูกรัดติดอยู่ในสันดาน

ของตนได้ด้วยศัสตรา คืออริยมรรค.

บทว่า สีมาติโค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยเทศนาอันเป็นบุคลา-

ธิษฐานอย่างเดียว. พึงทราบการเชื่อมคาถานั้นเช่นกับคาถาก่อนนั่นแล. คือ

พึงทราบอย่างเดียวกันกับอรรถกถา. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้น ท่านอธิบายไว้ว่า

พระขีณาสพผู้มีปัญญาดุจแผ่นดินเช่นนี้ชื่อว่าล่วงแดงกิเลสได้เพราะล่วงแดน

กิเลส ๔ อย่างได้ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะเป็นผู้ลอยบาปเสียแล้ว ไม่มีความ

ยึดถือยึดมั่นวัตถุหรืออารมณ์อะไร เพราะได้รู้ด้วยญาณคือรู้จิตผู้อื่นและรู้การ

ระลึกชาติได้ หรือเพราะได้เห็นด้วยมังสจักษุและทิพยจักษุ. พราหมณ์นั้น

เป็นผู้ไม่มีความยินดีด้วยราคะเพราะไม่มีกามราคะ เป็นผู้ปราศจากราคะหมด

กำหนัดแล้ว เพราะไม่มีรูปราคะและอรูปราคะ พราหมณ์นั้นไม่มีความยึดถือ

วัตถุและอารมณ์ไร ๆ ว่าสิ่งนี้เป็นของยิ่งในโลกนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบ

เทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.

จบอรรถกถาสุทธัฏฐกสูตรที่ ๔ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 732

ปรมัฏฐกสูตรที่ ๕

ว่าด้วยเรื่องทิฏฐิของคน

[๔๑๒] บุคคลในโลกยึดถือในทิฏฐิ

ทั้งหลายว่า สิ่งนี้เป็นอย่างยิ่ง ย่อมกระทำ

ศาสดาเป็นต้นของตนให้เป็นผู้ประเสริฐ

กล่าวผู้อื่นนอกจากศาสดาเป็นต้นของตนนั้น

ว่า เลวทั้งหมด เพราะเหตุนั้น บุคลนั้น

จึงไม่ล่วงพ้นความวิวาทไปได้.

บุคคลนั้นเห็นอานิสงส์อันใดในตน

กล่าวคือ ทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสิ่งเหล่านี้ คือ

ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง ศีล พรต

หรืออารมณ์ที่ได้ทราบ บุคคลนั้น ยืดมั่น

อานิสงส์ในทิฏฐิของตนนั้นแลว่าประเสริฐ

ที่สุด เห็นศาสดาอื่นทั้งหมดโดยความเป็น

คนเลว.

อนึ่ง บุคคลผู้อาศัยศาสดาของตน

แล้ว เห็นศาสดาอื่นเป็นคนเลว เพราะความ

เห็นอันใด ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวความ

เห็นนั้นว่า เป็นกิเลสเครื่องร้อยรัด เพราะ

ฉะนั้นแหละ ภิกษุไม่พึงยึดมั่นรูปที่ได้เห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 733

เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ หรือศีล

และพรต.

แม้ทิฏฐิก็ไม่พึงกำหนดด้วยญาณ

หรือแม้ด้วยศีลและพรตในโลก ไม่พึงนำตน

เข้าไปเปรียบว่า เป็นผู้เสมอเขา ไม่พึง

สำคัญว่า เป็นผู้เลวว่าเขา หรือว่าเป็นผู้

วิเศษกว่าเขา.

ภิกษุนั้นละความเห็นว่าเป็นตนได้

แล้ว ไม่ถือมั่นอยู่ ย่อมไม่กระทำนิสัย

(ตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย) แม้ในญาณ ไม่

เป็นผู้แล่นไปเข้าพวกในสัตว์ทั้งหลายผู้แตก-

ต่างกันด้วยอำนาจทิฏฐิต่าง ๆ ย่อมไม่กลับ

มาแม้สู่ทิฏฐิอะไร ๆ.

พราหมณ์ในโลกนี้ไม่มีตัณหาในส่วน

สุดทั้ง ๒ มีผัสสะเป็นต้นเพื่อความเกิดบ่อย ๆ

ในโลกนี้หรือในโลกอื่น ไม่มีความยึดมั่น

อะไร ๆ ไม่มีสัญญาอันปัจจัยกำหนดแล้ว

แม้แต่น้อย ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง

หรือในอารมณ์ที่ได้ทราบ ในโลกนี้ เพราะ

ได้ตัดสินธรรม ที่ตนยึดถือแล้วในธรรมทั้ง-

หลายใคร ๆ จะพึงกำหนดพราหมณ์นั้นผู้ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 734

ถือมั่นทิฏฐิ ด้วยการกำหนดด้วยตัณหาหรือ

ด้วยการกำหนดด้วยทิฏฐิอะไร ๆ ในโลกนี้.

พราหมณ์ทั้งหลายย่อมไม่กำหนดด้วย

ตัณหาหรือทิฏฐิ ย่อมไม่กระทำตัณหาและ

ทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า แม้ธรรมคือทิฏฐิทั้ง-

หลาย พราหมณ์เหล่านั้นก็มิได้ปกปิดไว้

พราหมณ์ผู้อันใคร ๆ จะพึงนำไปด้วยศีล

และพรตไม่ได้ ถึงฝั่ง คือ นิพพานแล้ว

เป็นผู้คงที่ ย่อมไม่กลับมา หากิเลสทั้งหลาย

อีก ฉะนั้นแล.

จบปรมัฏฐกสูตรที่ ๕

อรรถกถาปรมัฏฐกสูตรที่ ๕

ปรมัฏฐกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ปรมนฺติ ทิฏฺีสุ ในทิฏฐิทั้งหลาย

ว่าสิ่งนี้เป็นอย่างยิ่ง ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี พวก

เดียรถีย์ต่าง ๆ ประชุมกันแสดงทิฏฐิของตน ๆ ว่าสิ่งนี้เป็นอย่างยิ่ง เกิดโต้เถียง

กันแล้วพากันไปกราบทูลพระราชา. พระราชาให้ประชุมคนตาบอดแต่กำเนิด

เป็นอันมากแล้วรับสั่งว่า พวกเจ้าจงแสดงช้างเหล่านี้ ดังนี้. พวกราชบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 735

ประชุมคนตาบอดแล้วให้ช้างนอนข้างหน้ากล่าวว่า พวกท่านจงดูซิ. คนตาบอด

เหล่านั้นคลำอวัยวะส่วนหนึ่ง ๆ ของช้างแล้ว พระราชาตรัสถามว่า นี่แน่ะเจ้า

ช้างเหมือนอะไร ? ผู้ที่คลำงวงก็ทูลว่า เหมือนงอนไถพระเจ้าข้า. พวกที่คลำ

งาเป็นต้นต่างก็บริภาษอีกพวกหนึ่งว่า นี่แน่ะเจ้า อย่าทูลเท็จต่อพระพักตร์

พระราชานะ แล้วกราบทูลว่าเหมือนขอติดข้างฝาพระเจ้าข้า. พระราชาทรง

สดับทั้งหมดแล้ว จึงทรงส่งพวกเดียรถีย์กลับไปด้วยพระดำรัสว่า ลัทธิของพวก

ท่านก็เหมือนเช่นนี้แหละ. ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งรู้เรื่องราวนั้น

แล้ว จึงไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาเรื่อง

นั้นเป็นเหตุจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนตา

บอดแต่กำเนิด ไม่รู้จักช้าง ต่างก็คลำอวัยวะส่วนนั้น ๆ ของช้างแล้วก็เถียง

กัน ฉันใด พวกเดียรถีย์ก็ฉันนั้น ไม่รู้จักธรรมอันเป็นเหตุให้พ้นทุกข์ ลูบคลำ

ทิฏฐินั้น ๆ แล้วก็เถียงกัน เพื่อทรงแสดงธรรมนั้น จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปรมนฺติ ทิฏฺีสุ ปริพฺพสาโน บุคคลยึดถือ

ในทิฏฐิทั้งหลายว่าสิ่งนี้เป็นอย่างยิ่ง คือยึดอยู่ในทิฏฐิของตน ๆ ว่าสิ่งนี้เป็นอย่าง

ยิ่ง. บทว่า ยทุตฺตรึ กุรุเต ย่อมกระทำให้ยิ่งคือย่อมกระทำศาสดาเป็นต้น

ของตนให้เป็นผู้ประเสริฐ. บทว่า หีนาติ อญฺเ ตโต สพฺพมาห กล่าว

ผู้อื่นเว้นศาสดาเป็นต้นของตนว่าพวกนี้เลวทั้งหมด. บทว่า ตสฺมา วิวาทานิ

อวีตวตฺโต คือเพราะเหตุนั้นบุคคลนั้นจึงไม่ล่วงพ้นความวิวาทไปได้เป็นแน่.

พึงทราบความแห่งคาถาที่สองต่อไปนี้ ก็ไม่ล่วงพ้นไปได้อย่างนี้แล้ว

บุคคลนั้นเห็นอานิสงส์อันใดดังกล่าวแล้วในก่อนในตน กล่าวคือทิฏฐิอันเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 736

ขึ้นในสิ่งเหล่านี้คือ ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ในศีลและพรต ในอารมณ์

ที่ได้รู้ บุคคลนั้นยืดมั่นอานิสงส์ในทิฏฐิของตนนั้นว่า สิ่งนี้ประเสริฐที่สุด เห็น

ศาสดาอื่นทั้งหมดมีศาสดาของคนอื่นเป็นต้น โดยกามเป็นคนเลว.

พึงทราบความแห่งคาถาที่สามต่อไปนี้ เมื่อเห็นอย่างนี้ บุคคลผู้อาศัย

ศาสดาเป็นต้นของตนเห็นศาสดาของคนอื่นเป็นต้น เป็นคนเลว เพราะความ

เห็นอันใด ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวความเห็นอันนั้นว่า เป็นกิเลสเครื่องร้อย

รัด อธิบายว่า เป็นเครื่องผูกมัด. ท่านอธิบายว่า เพราะฉะนั้นแลภิกษุไม่พึง

ยึดมั่นในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ หรือศีลและพรต

พึงทราบความแห่งคาถาที่สี่ต่อไป มิใช่ไม่พึงยึดถือรูปที่ได้เห็น เสียง

ที่ได้ฟังเป็นต้นอย่างเดียว อันที่จริงไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิยิ่ง ๆ ขึ้นไปที่ยังไม่

เป็นในโลก. ท่านอธิบายว่า ไม่พึงให้เกิด. เช่นไร. ไม่พึงกำหนดทิฏฐิที่

กำหนดด้วยญาณหรือแม้ศีลและพรต หรือด้วยญาณมีสมาบัติญาณเป็นต้น หรือ

ด้วยศีลและพรต. อนึ่งมิใช่พึงกำหนดทิฏฐิอย่างเดียว อันที่จริงไม่พึงสำคัญว่า

เป็นผู้เลวกว่าเขา หรือเป็นผู้วิเศษกว่าเขา.

พึงทราบความแห่คาถาที่ห้าต่อไป ก็เมื่อไม่กำหนดคือไม่สำคัญทิฏฐิ

อย่างนี้ ภิกษุละความเห็นว่าเป็นตนได้แล้ว ไม่ถือมั่นอยู่ คือละสิ่งที่ตนถือมา

ก่อน แล้วไม่ถือสิ่งอื่น ย่อมไม่กระทำนิสัย ๒ อย่าง (ตัณหานิสัยและทิฏฐิ

นิสัย) ในญาณมีประการดังกล่าวแล้วแม้นั้น ก็เมื่อไม่กระทำ ภิกษุนั้นแล ไม่

เป็นผู้แล่นไปเข้าพวก ในสัตว์ทั้งหลายผู้แตกต่างกันด้วยอำนาจทิฏฐิต่าง ๆ เป็น

ผู้ไม่ไปด้วยอำนาจความพอใจเป็นต้น ย่อมไม่กลับมาสู่ทิฏฐิแม้อะไร ๆ ใน

ทิฏฐิ ๖๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 737

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถา ๓ คาถา มีอาทิว่า ยสฺสูภยนฺเต

ดังนี้ เพื่อกล่าวสรรเสริญพระขีณาสพ ดังได้กล่าวแล้วในคาถานี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุภยนฺเต ในส่วนสุดท้องสอง คือผัสสะเป็น

ต้น ดังได้กล่าวไว้แล้วในก่อน. ปณิธิ ได่แก่ ตัณหา. บทว่า ภวาภวาย

คือเพื่อความเกิดบ่อย ๆ บทว่า อิธ วา หุร วา ในโลกนี้หรือในโลกอื่น คือ

ในโลกนี้มีอัตภาพของตนเป็นต้น หรือในโลกอื่นมีอัตภาพของผู้อื่นเป็นต้น.

บทว่า ทิฏฺเ วา ในรูปที่ได้เห็น คือในความบริสุทธิ์ของรูปที่ได้เห็น. ใน

เสียงที่ได้ฟังก็มีนัยนี้. บทว่า สญฺา ได้แก่ ทิฏฐิอันเกิดแต่สัญญา. บทว่า

ธมฺมาปิ เตส น ปฏิจฺฉิตาเส แม้ธรรมทั้งหลายพราหมณ์เหล่านั้นก็มิได้

ปกปิดไว้ คือแม้ธรรมคือทิฏฐิ ๖๒ พราหมณ์เหล่านั้นมิได้ปกปิดไว้ อย่างนี้ว่า

นี้เท่านั้นเป็นของจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ. ดังนี้. บทว่า ปาร คโต น

ปจฺเจติ ตาที ผู้ถึงฝั่งแล้วเป็นผู้คงที่ไม่กลับมาอีก คือ ผู้ถึงฝั่งคือนิพพาน

แล้วเป็นผู้คงที่ด้วยอาการ ๕ ย่อมไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละได้ด้วยมรรคนั้น ๆ อีก.

บทที่เหลือชัดแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาปรมัฏฐกสูตรที่ ๕ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 738

ชราสูตรที่ ๖

ว่าด้วยชีวิตนี้น้อยนัก

[๔๑๓] ชีวิตนี้น้อยนัก สัตว์ย่อม

ตายแม้ภายใน ๑๐๐ ปี ถ้าแม้สัตว์เป็นอยู่

(๑๐๐ ปี) ไซร้ สัตว์นั้น ก็ย่อมตายแม้เพราะ

ชราโดยแท้แล.

ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศก เพราะสิ่ง

ที่ตนยึดถือว่าเป็นของเรา สิ่งที่เคยหวงแหน

เป็นของเที่ยงไม่มีเลย บุคคลเห็นว่า สิ่งนี้มี

อันต้องพลัดพรากจากกันมีอยู่ ดังนี้แล้วไม่

พึงอยู่ครองเรือน.

บุรุษย่อมสำคัญสิ่งใดว่า สิ่งนี้เป็น

ของเรา จำต้องละสิ่งนั้นไป แม้เพราะความ

ตาย บัณฑิตผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของ

เรา ทราบข้อนี้แล้ว ไม่พึงน้อมไปในความ

เป็นผู้ถือว่าสิ่งนั้น ๆ เป็นของเรา.

บุคคลผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็น

อารมณ์อันประจวบด้วยความฝัน แม้ฉันใด

บุคคลย่อมไม่เห็นบุคคลผู้ที่ตนรัก ผู้ทำกาละ

ล่วงไปแล้ว แม้ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 739

บุคคลย่อมกล่าวขวัญกันถึงชื่อนี้ ของ

คนทั้งหลายผู้อันตนได้เห็นแล้วบ้าง ได้ฟัง

แล้วบ้าง ชื่อเท่านั้น ที่ควรกล่าวขวัญถึง

ของบุคคลผู้ล่วงไปแล้ว จักยังคงเหลืออยู่.

ชนทั้งหลายผู้ยินดีแล้วในสิ่งที่ตน

ถือว่าเป็นของเรา ย่อมละความโศก ความ

ร่ำไรและความตระหนี่ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น

มุนีทั้งหลายผู้เห็นนิพพานเป็นแดนเกษม ละ

อารมณ์ที่เคยหวงแหนได้เที่ยวไปแล้ว.

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้ไม่แสดงตน

ในภพ อันต่างด้วยนรกเป็นต้น ของภิกษุผู้

ประพฤติหลีกเร้น ผู้เสพที่นั่งอันสงัด ว่า

เป็นการสมควร.

มุนีไม่อาศัยแล้วในอายตนะทั้งปวง

ย่อมไม่กระทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก

ทั้งไม่กระทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่เกลียด-

ชัง ย่อมไม่ติดความร่ำไรและความตระหนี่

ในสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักและเป็นที่

เกลียดชังนั้น.

เปรียบเหมือนน้ำไม่ติดอยู่บนใบไม้

ฉะนั้น หยาดน้ำย่อมไม่ติดอยู่บนใบบัว น้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 740

ย่อมไม่ติดอยู่ที่ใบปทุม ฉันใด มุนีย่อมไม่

ติดในรูปที่ได้เห็น เสี่ยงที่ได้ฟัง หรืออารมณ์

ที่ได้ทราบ ฉันนั้น.

ผู้มีปัญญาย่อมไม่สำคัญด้วยรูปที่ได้

เห็น เสียงที่ได้ฟัง หรืออารมณ์ที่ได้ทราบ

ย่อมไม่ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วย (มรรค

อย่างอื่น) ทางอื่น ผู้มีปัญญานั้น ย่อมไม่

ขึ้นดี ย่อมไม่ยินร้าย ฉะนี้แล.

จบชราสูตรที่ ๖

อรรถกถาชราสูตรที่ ๖

ชราสูตร มีคำเริ่มต้นว่า อปฺป วต ชีวิต ชีวิตน้อยหนอ ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำพรรษาอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ทรง

พิจารณาถึงจารีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในการเสด็จจาริกไปยังชนบทมีอาทิ

คือ ให้ถึงกามไม่มีโรค บัญญัติสิกขาบทที่ยังไม่ได้บัญญัติไว้ ทรมานเวไนย

สัตว์ เล่าชาดกเป็นต้น อันเป็นต้นเหตุให้เกิดเรื่องนั้น ๆ แล้วจึงเสด็จจาริก

ไปยังชนบท. พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงเมืองสาเกต

ในตอนเย็น เสด็จเข้าไปยังป่าไม้อัญชัน. ชาวเมืองสาเกตทราบข่าวแล้วคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 741

บัดนี้ ยังไม่ถึงเวลาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นสว่างแล้วจึงถือดอกไม้และของ

หอมเป็นต้น ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทำการบูชากราบไหว้และชื่นชมเป็น

ต้นได้ยืนแวดล้อมจนถึงเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังบ้าน. ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า.แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าไปบิณฑบาต.

พราหมณ์มหาศาลคนหนึ่งชาวเมืองสาเกตออกจากเมืองได้เห็นพระผู้มี-

พระภาคเจ้านั้นที่ประตูเมือง. ครั้นเห็นแล้วเกิดความรักดังว่าเป็นบุตร ได้เดิน

ตรงไปเฉพาะพระพักตร์ร่ำไห้ว่า ลูกรัก พ่อเห็นลูกมานานแล้ว. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแจ้งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์นี้จงทำ

สิ่งที่ตนต้องการ อย่าห้าม. แม้พราหมณ์ก็ตรงเข้ากอดพระวรกายของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า โดยรอบ คือข้างหน้า ข้างหลัง ข้างขวา และข้างซ้าย เหมือนแม่โค

ของการลูกโคฉะนั้น กล่าวว่า ลูกรัก พ่อเห็นลูกมานานแล้ว ลูกได้จากพ่อ

ไปนานแล้ว. ผิว่า พราหมณ์นั้นไม่ได้ทำอย่างนั้น หัวใจจะแตกตาย. เขาได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์สามารถ

จะถวายทานเเก่ภิกษุทั้งหลายที่มากับพระองค์ได้ ขอพระองค์จงอนุเคราะห์แก่

ข้าพระองค์เถิดพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ. พราหมณ์

รับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าเดินออกหน้าส่งข่าวให้แก่นางพราหมณีทราบว่า

บุตรของเรามาแล้ว พึงปูอาสนะไว้. นางพราหมณีได้ทำตามนั้น ยืนดูอยู่เห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ในระหว่างถนนเกิดความรักดังว่าเป็นบุตร จับที่พระบาท

ร่ำไห้ว่าลูกรัก แม่เห็นลูกมานานแล้ว แล้วนำไปเรือนอังคาสด้วยความเคารพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 742

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว พราหมณ์นำบาตรออก. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงทราบธรรมเป็นที่สบายของพราหมณ์แลนางพราหมณีนั้น จึงทรง

แสดงธรรม. เมื่อจบเทศนาทั้งสองก็ได้เป็นพระโสดาบัน.

ลำดับนั้น พราหมณ์และนางพราหมณีกราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาค-

เจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงรับภิกษาในเรือนของข้าพระองค์

ตลอดเวลาที่พระองค์ประทับอยู่ ณ เมืองนี้เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธ

ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิได้เสด็จไปยังที่แห่งเดียวเท่านั้นติดต่อกัน. พราหมณ์

และนางพราหมณีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ถ้าเช่นนั้น แม้พระองค์เสด็จ

บิณฑบาตกับภิกษุสงฆ์แล้วอนิมนต์เสวยภัตตาหาร ณ ที่นี้ แสดงธรรมเสร็จ

จึงกลับพระวิหารเถิดพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำตามนั้นเพื่อทรง

อนุเคราะห์พราหมณ์และนางพราหมณีนั้น. ชนทั้งหลายพากันกล่าวถึงพราหมณ์

และนางพราหมณีว่า เป็นพุทธบิดา พุทธมารดา. แม้ตระกูลนั้นก็ได้ชื่ออย่างนั้น.

พระอานนท์เถระกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์รู้จัก

พระมารดาพระบิดาของพระองค์ แต่เหตุไร พราหมณ์และนางพราหมณีนี้จึง

กล่าวว่า เราเป็นพุทธบิดา เราเป็นพุทธมารดา ดังนี้เล่า พระเจ้าข้า. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ นางพราหมณีและพราหมณ์ได้เคยเป็น

มารดาบิดาของเราเป็นลำดับมาตลอด ๕๐๐ ชาติ เป็นลุงเป็นป้าของเรามา

๕๐๐ ชาติ เป็นอาเป็นน้ามา ๕๐๐ ชาติ พราหมณ์และนางพราหมณีนั้นกล่าว

ด้วยความรักในชาติก่อนนั่นเอง และได้ตรัสคาถานี้ว่า

ความรักนั้นย่อมเกิดเพราะเคยอยู่ร่วม

กันมาก่อน หรือเพราะเกื้อกูลกันในปัจจุบัน

เหมือนดอกบัวเกิดในน้ำ ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 743

แต่นั้นมา พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ตามความพอพระทัย ณ เมือง

สาเกต แล้วเสด็จจาริกไปอีก ได้เสด็จกลับกรุงสาวัตถี. พราหมณ์และนาง

พราหมณีเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย ฟังธรรมเทศนาอันเหมาะสมแล้วบรรลุมรรค

ที่เหลือ นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. ในเมือง พวกพราหมณ์ประชุม

ปรึกษากันว่า เราจักสักการะญาติของพวกเรา. พวกอุบาสกและอุบาสิกาที่เป็น

โสดาบัน สกทาคามี และอนาคามี ต่างก็ประชุมปรึกษากันว่า พวกเราจักสักการะ

เพื่อนร่วมปฏิบัติธรรมของพวกเรา. ชนทั้งหมดเหล่านั้นจึงยกเรือนยอดดาดด้วย

ผ้ากัมพล บูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น ออกจากเมืองไป.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ในวันนั้นตอนเช้าก็ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธ-

จักษุ ทรงทราบว่า พราหมณ์และนางพราหมณีนิพพาน ทรงทราบต่อไปว่า

เมื่อเราไป ณ ที่นั้น ชนเป็นอันมากจักบรรลุธรรม เพราะฟังธรรมเทศนา ทรง

ถือบาตรและจีวรเสด็จมาจากกรุงสาวัตถี เสด็จเข้าไปยังป่าช้า. พวกชนเห็นแล้ว

ได้ยืนประชุมกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะทำฌาปนกิจมารดาบิดา

จึงเสด็จมา. แม้ชาวเมืองก็พากันบูชาเรือนยอด พากันมาป่าช้า กราบทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อริยสาวกที่เป็นคฤหัสถ์จะพึงบูชาอย่างไร. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความเป็นอเสกขมุนีของอริยสาวกผู้เป็นคฤหัสถ์

เหล่านั้นโดยพระประสงค์ว่า ควรบูชาอริยสาวกผู้เป็นคฤหัสถ์เหล่านี้เหมือนบูชา

พระอเสกขะ จึงตรัสคาถานี้ว่า

มุนีเหล่าใดเป็นผู้ไม่เบียดเบียนสำรวม

กายอยู่เป็นนิจ มุนีเหล่านั้นไปในที่ที่สัตว์

ทั้งหลายไปแล้วไม่ตาย ไม่พึงเศร้าโศก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 744

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูบริษัทนั้นเมื่อจะทรงแสดงธรรมสมควร

แก่ขณะนั้นจึงได้ตรัสพระสูตรนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อปฺป วต ชีวิต อิท ชีวิตนี้น้อยหนอนี้มีนัย

ดังได้กล่าวแล้วในสัลลสูตรว่า ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนิดเดียว เพราะ

ตั้งอยู่ประเดี๋ยวเดียว เพราะมีรสอยู่ประเดี๋ยวเดียวดังนี้. บทว่า โอร วสฺสตาปิ

มิยฺยติ สัตว์ย่อมตายแม้ภายใน ๑๐๐ ปี คือตายแม้ในเวลาที่ยังเป็นกลละ

(รูปที่เกิดเป็นครั้งแรกในขณะเริ่มตั้งครรภ์) ต่ำกว่า ๑๐๐ ปี. บทว่า อติจฺจ

อยู่เกิน คืออยู่เกิน ๑๐๐ ปี. บทว่า ชรสาปิ มิยฺยติ คือ สัตว์นั้นย่อมตาย

แม้เพราะชรา.

บทว่า มมายิเต คือ เพราะสิ่งที่ตนยึดถือว่าเป็นของเรา. บทว่า

วินาภาวสนฺตเมวิท คือ สิ่งนี้มีความพลัดพรากจากกันมีอยู่ ท่านอธิบายว่า

จะไม่มีการพลัดพรากจากกันไปไม่ได้. บทว่า มามโก ผู้นับถือพระพุทธเจ้า

ว่าเป็นของเรา คือนับถือว่าอุบาสกหรือภิกษุของเรา หรือนับถือพระพุทธเจ้า

เป็นต้นว่าเป็นของเรา. บทว่า สงฺคต อารมณ์อันประจวบคืออารมณ์ที่มาถึง

หรือที่เคยเห็น. บทว่า ปิยายิต บุคคลที่คนรัก คือบุคคลที่ตนทำให้เป็นที่รัก.

บทว่า นามเมวาวสิสฺสติ อกฺเขยฺย ชื่อเท่านั้นที่ควรกล่าวถึงยังเหลืออยู่ คือ

ธรรมชาติมีรูปเป็นต้นทั้งหมดละไป ส่วนชื่อเท่านั้นยังเหลือเพื่อเรียกกันอย่าง

นี้ว่า พุทฺธรกฺขิโต ธมฺมรกฺขิโต. บทว่า มุนโย มุนีทั้งหลาย ได้แก่พระมุนี

ผู้เป็นขีณาสพ. บทว่า เขมทสฺสิโน ได้แก่ ผู้เห็นนิพพาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาที่ ๗ เพื่อทรงแสดงถึงการปฏิบัติอัน

สมควรในโลกที่ถูกความตายกำจัดอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 745

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิลีนจรสฺส ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้นอยู่

คือของภิกษุผู้ประพฤติทำจิตหลีกเร้นอยู่จากที่นั้น ๆ. บทว่า ภิกฺขุโน ได้แก่

กัลยาณปุถุชนหรือพระเสกขะ. บทว่า สามคฺคิยมาหุ ตสฺส ต โย อตฺตาน

ภวเน น ทสฺสเย ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้ที่ปฏิบัติอย่างนี้ไม่แสดง

ตนในภพอันต่างด้วยนรกเป็นต้น ว่าเป็นการสมควร. อธิบายว่า ยิ่งไปกว่านั้น

บัณฑิตนั้นพึงพ้นจากความตาย.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงพระขีณาสพอย่างนี้ว่า ผู้ที่ไม่แสดงตน

ในภพ ดังนี้ จึงตรัสคาถา ๓ คาถา ต่อจากนี้เพื่อพรรณนาคุณของพระขีณาสพนั้น .

ในบทเหล่านั้นบทว่า สพฺพตฺถ ในอายตนะทั้งปวง คือในอายตนะ ๑๒.

ก็ในบทนี้ว่า ยทิท ทิฏฺ สุต มุเตสุ วา พึงทราบการเชื่อมความอย่างนี้ว่า มุนี

ย่อมไม่ติดในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง หรือในอารมณ์ที่ได้ทราบ อย่างนี้.

บทว่า โธโน น หิ เตน มญฺติ ยทิท ทิฏฺ สุต มุเตสุ วา พึงทราบการ

เชื่อมความอย่างนี้เหมือนกันว่า ผู้มีปัญญาย่อมไม่ส่าคัญด้วยรูปที่ได้เห็น ด้วย

เสียงที่ได้ฟัง หรือย่อมไม่สำคัญ ในอารมณ์ที่ได้ทราบ. บทว่า น หิ โส รชฺชติ

โน วิรชฺชติ ผู้มีปัญญานั้น ย่อมไม่ยินดีย่อมไม่ยินร้าย ความว่า ผู้มีปัญญา

ย่อมไม่ยินดี เหมือนปุถุชนที่เป็นพาล ย่อมไม่ยินร้าย เหมือนกัลยาณปุถุชน

และพระเสกขะ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ยินดียินร้าย เพราะสิ้นราคะแล้วนั่นเอง.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงชัดดีแล้ว.

ในเวลาจบเทศนาสัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรมแล้ว

จบอรรถกถาชราสูตรที่ ๘๔,๐๐๐ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 746

ติสสเมตเตยยสูตรที่ ๗

ว่าด้วยความคับแค้นด้วยประกอบเมถุนธรรมเนือง ๆ

ท่านพระติสสเมตเตยยะทูลถามปัญหาว่า

[๔๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอ

พระองค์ตรัสบอกความคับแค้นแห่งบุคคลผู้

ประกอบเมถุนธรรมเนือง ๆ เถิด ข้าพระองค์

ทั้งหลายได้สดับคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว

จักศึกษาในวิเวก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า

ดูก่อนเมตเตยยะ ความคับแค้นของ

บุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมมีอยู่ บุคคล

ผู้ประกอบเมถุนธรรม ย่อมลืมแม้คำสั่งสอน

และย่อมปฏิบัติผิด นี้เป็นกิจไม่ประเสริฐใน

บุคคลนั้น.

บุคคลใดประพฤติอยู่ผู้เดียวในกาล-

ก่อนแล้ว เสพเมถุนธรรม (ในภายหลัง)

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่า เป็นคนมี

กิเลสมากในโลก เหมือนยวดยานที่แล่นไป

ใกล้เหว ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 747

ยศและเกียรติคุณในกาลก่อนของ

บุคคลนั้น ย่อมเสื่อม บุคคลเห็นโทษแม้นี้

แล้ว ควรศึกษาไตรสิกขาเพื่อละเมถุนธรรม.

ผู้ใดไม่ละเมถุนธรรม ผู้นั้นถูกความ

ดำริครอบงำแล้ว ซบเซาอยู่เหมือนคนกำพร้า

ฉะนั้น ผู้นั้นฟังเสียงอันระบือไปของชน

เหล่าอื่นแล้ว เป็นผู้เก้อเขินเช่นนั้น.

อนึ่ง ผู้ใดอันวาทะของบุคคลอื่น

ตักเตือนแล้ว ยังกระทำกายทุจริตเป็นต้น

ผู้นี้แหละพึงเป็นผู้มีเครื่องผูกใหญ่ ย่อมถือ

เอาโทษแห่งมุสาวาท.

บุคคลอันผู้อื่นรู้กันดีแล้วว่าเป็นบัณ-

ฑิต อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว แม้ใน

ภายหลังประกอบในเมถุนธรรม ย่อมมัว-

หมองเหมือนคนงมงาย ฉะนั้น.

มุนีในศาสนานี้รู้โทษในเบื้องต้น

และเบื้องปลายนี้แล้ว ควรกระทำการเที่ยว

ไปผู้เดียวให้มั่นคง ไม่ควรเสพเมถุนธรรม.

ควรศึกษาวิเวกเท่านั้น การประพฤติ

วิเวกนี้ เป็นกิจอันสูงสุดของพระอริยเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 748

ทั้งหลาย มุนีไม่ควรสำคัญตนว่าเป็นผู้ประ-

เสริฐด้วยวิเวกนั้น มุนีนั้นแลย่อมอยู่ใกล้

นิพพาน.

หมู่สัตว์ผู้ยินดีแล้วในกามทั้งหลาย

ย่อมรักใคร่ต่อมุนีผู้สงัดแล้วเที่ยวไปอยู่ ผู้

ไม่มีความห่วงใยในกามทั้งหลายผู้ข้ามโอฆะ

ได้แล้ว ฉะนี้แล.

จบติสสเมตเตยยสูตรที่ ๓

อรรถกถาติสสเมตเตยยสูตรที่ ๗

ติสสเมตเตยยสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เมถุนมนุยุตฺตสฺส บุคคลผู้

ประกอบเมถุนธรรมเนื่อง ๆ ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี

มีสหายสองคนชื่อติสสะและเมตเตยยะได้พากันไปกรุงสาวัตถี. สหายทั้งสอง

นั้นในตอนเย็นเห็นมหาชนเดินมุ่งหน้าไปยังพระเชตวัน จึงถามว่า พวกท่าน

ไปไหนกัน. เมื่อชนเหล่านั้น บอกว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก

ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก พวกเราจะไปยังพระเชตวัน

เพื่อฟังธรรมนั้น. สหายทั้งสองก็พูดว่า แม้เราทั้งสองก็จะฟัง จึงพากัน ไป.

สหายทั้งสองนั่งฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสดงธรรมในระหว่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 749

บริษัทจึงคิดกันว่า เมื่อเรายังครองเรือนอยู่คงไม่สามารถบำเพ็ญธรรมนี้ได้

สะดวกนัก. ครั้นมหาชนกลับกันไปแล้วทั้งสองจึงขอบรรพชากะพระผู้มี-

พระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธดำรัสให้ภิกษุรูปหนึ่งบวชให้สหาย

ทั้งสองนั้น. ภิกษุนั้นครั้นให้สหายทั้งสองบวชแล้วก็ให้ตจปัญจกกรรมฐานแล้ว

เตรียมจะไปอยู่ป่า. พระเมตเตยยะกล่าวกะพระติสสะว่า ดูก่อนอาวุโส พระ-

อุปัชฌาย์จะไปป่า แม้เราทั้งสองก็จะไปด้วย. พระติสสะกล่าวว่า อย่าเลยคุณ

ผมต้องการเห็นและฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านไปเถิด แล้วไม่ไป.

พระเมตเตยยะไปกับพระอุปัชฌาย์บำพ็ญสมณธรรมในป่า ไม่ช้านักก็ได้บรรลุ

พระอรหัตพร้อมกับพระอุปัชฌาย์ผู้เป็นอาจารย์. พี่ชายของพระติสสะถึงแก่กรรม

โดยพยาธิ. พระติสสะได้ข่าวแล้วก็ไปบ้านของตน ที่บ้านนั้นพวกญาติพากัน

ปลุกปลอบพระติสสะให้สึก. ฝ่ายพระเมตเตยยะก็มาถึงกรุงสาวัตถีพร้อมกับ

พระอุปัชฌาย์ผู้เป็นอาจารย์.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นออกพรรษาแล้ว เสด็จจาริกไปยัง

ชนบท เสด็จถึงบ้านนั้นโดยลำดับ. ครั้งนั้นพระเมตเตยยะถวายบังคมพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่บ้านนี้มีสหายที่เป็นคฤหัสถ์

ของข้าพระองค์อยู่คนหนึ่ง ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์รออยู่สักครู่ก่อนเถิด

แล้วเข้าบ้านพาสหายนั้นมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ตนเองยืนอยู่ข้างหนึ่งทูลถาม

ปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาต้น เพื่อประโยชน์แก่สหายนั้น. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเมื่อทรงพยากรณ์ปัญหาของเมตเตยยะภิกษุนั้นได้ตรัสคาถาที่เหลือ. นี้

เป็นการเกิดขึ้นของพระสูตรนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เมถุนมนุยุตฺตสฺส ได้แก่ แห่งบุคคลผู้ประ-

กอบเมถุนธรรมเสมอ ๆ. บทว่า อิติ คือพระเมตเตยยะกล่าวอย่างนี้. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 750

อายสฺมา นี้เป็นคำกล่าวน่ารัก. บทว่า ติสฺโส เป็นชื่อของพระเถระนั้น

เพราะพระเถระนั้นมีชื่อว่าติสสะ. บทว่า เมตฺเตยฺโย เป็นโคตร. อนึ่ง

พระเมตเตยยะนั้นได้ปรากฏโดยโคตร. เพราะฉะนั้น ในการเกิดของเรื่องนั้น

พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า สหายสองคนชื่อติสสะและเมตเตยยะ. บทว่า

วิฆาต คือความคับแค้น. บทว่า พฺรูหิ คือจงตรัสบอก. บทว่า มาริส นี้

เป็นคำกล่าวแสดงความน่ารัก แปลว่า ผู้นิรทุกข์. ท่านอธิบายว่า ไม่มีทุกข์.

บทว่า สุตฺวาน คือฟังคำของพระองค์. บทว่า วิเวเก สิกฺขิสฺสามเส

จักศึกษาในวิเวก พระเมตเตยยะทูลวิงวอนขอให้แสดงธรรม กล่าวปรารภถึง

สหาย. แต่สหายนั้นได้รับการศึกษาดีแล้ว. บทว่า มุสฺสเต วาปิ สาสน

ลืมแม้คำสั่งสอน คือลืม ทำลาย คำสั่งสอนแม้สองอย่างจากปริยัติและปฏิบัติ.

บทว่า วาปิ เป็นคำเพียงทำให้เต็มบท. บทว่า เอต ตสฺมึ อนาริย นี้

เป็นกิจไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น คือ นี้เป็นมิจฉาปฏิปทาในบุคคลนั้น.

บทว่า เอโก ปุพฺเพ จริตฺวาน ประพฤติอยู่ผู้เดียวในกาลก่อน

คืออยู่คนเดียวในกาลก่อนด้วยการบรรพชา หรือด้วยการไม่เกี่ยวข้องกับคณะ.

บทว่า ยาน ภนฺตว ต โลเก หีนมาหุ ปุถุชฺชน บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวบุคคลนั้นว่าเป็นคนมีกิเลสมากในโลกเหมือนยานที่แล่นไปฉะนั้น ความว่า

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นผู้แล่นไปผิดว่าเป็นคนเลวและเป็นคนมีกิเลสมาก

ท่านกล่าวว่าเหลือนยานที่แล่นไปด้วยการขึ้นไปในที่ไม่เรียบมีกายทุจริตเป็นต้น

ด้วยการทำลายตนในนรกเป็นต้น และด้วยการตกลงไปในเหวคือชาติเป็นต้น

เหมือนยานมียานคือช้างเป็นต้นที่ไม่ได้ฝึก ขึ้นไปยังที่ไม่เรียบ ย่อมทำลาย

คนขี่ ย่อมตกลงไปแม้ในเหวฉะนั้น.

บทว่า ยโส กิตฺติ จ ยศและเกียรติ ได้แก่ ลาภสักการะและ

ความสรรเสริญ. บทว่า ปุพฺเพ ในกาลก่อน คือ ในความเป็นบรรพชิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 751

บทว่า หายเต วาปิ ตสฺส สา ได้แก่ ยศและเกียรติคุณของบุคคลผู้แล่นไป

ผิดนั้น ย่อมเสื่อม. บทว่า เอตมฺปิ ทิสฺวา บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว คือ

เห็นความเจริญแห่งยศและเกียรติในกาลก่อน และความเสื่อมในภายหลัง.

บทว่า สิกฺเขถ เมถุน วิปฺปหาตเว พึงศึกษาเพื่อละเมถุน คือ พึงศึกษา

ไตรสิกขา. เพราะเหตุไร ? เพราะเพื่อละเมถุน. ท่านอธิบายว่า เพื่อประ-

โยชน์แก่การละเมถุน. จริงอยู่ ผู้ใดละเมถุนไม่ได้ ผู้นั้นถูกความดำริครอบงำ

แล้วชบเซาอยู่เหมือนคนกำพร้า ฉะนั้น ผู้นั้นฟังเสียงอันระบือไปของชนเหล่า

อื่นแล้วเป็นผู้เกื้อเขินเช่นนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปเรโต ไปข้างหน้า คือประกอบแล้ว. บทว่า

ปเรส นิคฺโฆส เสียงอันระบือไปของคนอื่น คือ คำนินทาของอุปัชฌาย์

เป็นต้น. บทว่า มงฺกุ โหติ เป็นผู้เก้อเขิน คือ เป็นผู้หน้าเสีย.

คาถานอกจากนี้ มีความเชื่อมกันชัดเจนแล้ว. ในคาถาเหล่านั้น บทว่า

สตฺถานิ ได้แก่ กายทุจริตเป็นต้น. ก็กายทุจริตเป็นต้นนั้นท่านกล่าวว่า

สตฺถานิ เพราะเชือดเฉือนตนเองและผู้อื่น. อนึ่ง ในบุคคลเหล่านั้น ผู้นี้ได้ถูก

ตักเตือนมาก่อนเป็นพิเศษยังการทำทุจริตด้วยการพูดเท็จ ด้วยเหตุนี้ เราจึง

กล่าวว่า เป็นผู้แล่นไปผิด เพราะฉะนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ผู้นี้แหละเป็นผู้มีเครื่องผูกใหญ่ ย่อมถือเอาโทษแห่งมุสาวาท. บทว่า มหาเคโธ

คือเครื่องผูกใหญ่. หากถามว่า คืออะไร. ตอบว่า คือ ถือเอาโทษแห่งมุสาวาท

พึงทราบว่า ผู้นี้แลเป็นผู้มีเครื่องผูกใหญ่หยั่งลงสู่มุสาวาท.

บทว่า มนฺโทว ปริกิสฺสติ ย่อมมัวหมองเหมือนคนงมงาย คือ

กระทำการฆ่าสัตว์เป็นต้น เสวยทุกข์ เพราะฆ่าสัตว์นั้นเป็นเหตุ และกระทำการ

แสวงหาการรักษาสมบัติ ย่อมมัวหมองเหมือนคนงมงาย ฉะนั้น. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 752

เอตมาทีนว ตฺวา มุนิ ปุพฺพาปเร อิธ มุนีในศาสนานี้รู้โทษใน

เบื้องต้นและเบื้องปลายนี้แล้ว ความว่า มุนีในศาสนานี้รู้โทษในเบื้องต้นและ

เบื้องปลายนี้ คือในความเป็นผู้แล่นไปผิดจากความเป็นสมณะในเบื้องปลายจาก

เบื้องต้นดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่คำว่ายศและเกียรติในกาลก่อนของบุคคลนั้นย่อม

เสื่อมไปดังนี้.

บทว่า เอตทริยานมุตฺตม การประพฤติวิเวกนี้เป็นกิจอันสูงสุดของ

พระอริยเจ้าทั้งหลาย คือ วิเวกจริยา (การประพฤติวิเวก) นี้เป็นกิจสูงสุด

ของพระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เพราะฉะนั้น พึงศึกษาวิเวก

เท่านั้น. บทว่า เตน เสฏฺโ น มญฺเถ ความว่า มุนีไม่ควรสำคัญ

ตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐด้วยวิเวกนั้น. ท่านอธิบายว่า ไม่ควรผูกพันอยู่กับ

วิเวกนั้น.

บทว่า ริตฺตสฺส คือ ผู้สงัด เว้นจากกายทุจริตเป็นต้น. บทว่า

โอฆติณฺณสฺส ปิหยนฺติ กาเม คธิตา ปชา ความว่า หมู่สัตว์ผู้ข้องอยู่

ในวัตถุกามทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อมุนีผู้ข้ามโอฆะ ๔ ได้แล้ว ดุจเจ้าหนี้รักใคร่

ต่อผู้ไม่เป็นหนี้ (ใช้หนี้หมด) ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วย

ธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.

เมื่อจบเทศนาติสสะบรรลุโสดาปัตติผล ภายหลังบวชได้ทำให้แจ้งซึ่ง

พระอรหัต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาติสสเมตเตยยสูตรที่ ๗ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 753

ปสูรสูตรที่ ๘

ว่าด้วยความเห็น

[๔๑๕] สมณพราหมณ์ผู้ประกอบ

ด้วยทิฏฐิ ย่อมถล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีอยู่ใน

ธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความบริสุทธิ์ใน

ธรรมเหล่าอื่น สมณพราหมณ์เป็นอันมาก

กล่าวความดีงามในศาสดาของตนเป็นต้นที่

ตนอาศัยแล้ว ถือมั่นอยู่ในสัจจะเฉพาะอย่าง

(มีคำว่าโลกเที่ยงเป็นต้น)

สมณพราหมณ์ เจ้าทิฏฐิ ๒ พวกนั้น

ประสงค์จะกล่าวโต้ตอบกัน เข้าไปสู่บริษัท

แล้วย่อมโต้เถียงกันและกันว่าเป็นคนเขลา

สมณพราหมณ์เหล่านั้นต้องการแต่ความสรร-

เสริญ เป็นผู้มีความสำคัญว่า เราทั้งหลาย

เป็นคนฉลาด อาศัยศาสดาของกันและกัน

เป็นต้นแล้ว ย่อมกล่าวคำทะเลาะกัน.

บุคคลปรารถนาแต่ความสรรเสริญ

ขวนขวายหาถ้อยคำวิวาท กระทบกระเทียบ

กันในท่ามกลางบริษัท แต่กลับเป็นผู้เก้อ

เขินในเพราะวาทะอันผู้ตัดสินปัญหาไม่ทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 754

ให้เลื่อมใส บุคคลนั้นเป็นผู้แสวงหาโทษ

ย่อมโกรธเพราะความนินทา.

ผู้พิจารณาปัญหาทั้งหลายกล่าววาทะ

ใดของบุคคลนั้นอันตนไม่ทำให้เลื่อมใสแล้ว

ว่าเป็นวาทะเสื่อมสิ้น บุคคลผู้มีวาทะเสื่อม

แล้วนั้น ย่อมคร่ำครวญเศร้าโศก ทอดถอน

ใจว่า ท่านผู้นี้กล่าวสูงเกินเราไป.

ความวิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในพวก

สมณะ ความกระทบกระทั่งกัน ย่อมมีใน

เพราะวาทะเหล่านี้ บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว

พึงเว้นความทะเลาะกันเสีย ความสรรเสริญ

และลาภ ย่อมไม่มีเป็นอย่างอื่นไปเลย.

ก็หรือบุคคลนั้นกล่าววาทะในท่าม

กลางบริษัท เป็นผู้อันบุคคลสรรเสริญแล้ว

ในเพราะทิฏฐินั้น ย่อมรื่นเริง ใจสูงขึ้น

เพราะต้องการชัยชนะและมานะนั้น ได้ถึง

ความต้องการชัยชนะนั้นสมใจนึก.

การยกตนของบุคคลนั้น เป็นพื้น

ฐานะแห่งความกระทบกัน และบุคคลนั้น

ย่อมกล่าวถึงการถือตัวและการดูหมิ่นผู้อื่น

บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว พึงเว้นความทะ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 755

เลาะกันเสีย ผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าว

ความบริสุทธิ์ด้วยการทะเลาะกันนั้น.

บุคคลผู้เจ้าทิฏฐิปรารถนาพบบุคคล

เจ้าทิฏฐิ ผู้เป็นปฏิปักษ์กัน ย่อมคำราม

เปรียบเหมือนทหารผู้กล้าหาญ ซึ่งพระราชา

ทรงเลี้ยงแล้วด้วยราชขาทนียาหาร ปรารถนา

พบทหารผู้เป็นปฏิปักษ์กัน ย่อมคำราม

ฉะนั้น.

ดูก่อนท่านผู้องอาจ บุคคลเจ้าทิฏฐิ

เป็นปฏิปักษ์ของท่านนั้น มีอยู่ ณ ที่ใด ท่าน

จงไป ณ ทีนั้นเถิด กิเลสชาติเพื่อการรบนี้

ไม่มีในกาลก่อนเลย (กิเลสชาตินั้นเราผู้

ตถาคตละเสียแล้ว ณ ควงแห่งไม้โพธินั้นแล)

สมณพราหมณ์เหล่าใดถือรั้นทิฏฐิ

แล้ว ย่อมวิวาทกันและย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้

เท่านั้นจริง ท่านผู้กระทำควานเป็นข้าศึกใน

วาทะ (ถ้อยคำ) ที่เกิดขึ้น จงกล่าวทุ่มเถียง

กะสมณพราหมณ์เหล่านั้นเถิด พราหมณ์

เหล่านั้นไม่มีในที่นี้เลย.

ส่วนพระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย

กำจัดเสนา คือกิเลสให้พินาศแล้ว ไม่กระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 756

ทำความเห็นให้ผิดไปจากความเห็น เที่ยว

ไปอยู่ ดูก่อนปสูระ ท่านจะได้สู่รบโต้ตอบ

อะไร ในพระอรหันต์ผู้ไม่มีความยึดถือว่า

สิ่งนี้ประเสริฐในโลกนี้.

ถ้าท่านคิดถึงทิฏฐิทั้งหลายอยู่ด้วยใจ

ถึงความตรึกไปต่าง ๆ คือเอาความเป็นคู่แข่ง

กับพระพุทธเจ้า ผู้กำจัดกิเลสได้แล้วไซร้

ท่านจะสามารถเพื่อถือเอาความเป็นคู่แข่งให้

สำเร็จไม่ได้เลย.

จบปสูรสูตรที่ ๘

อรรถกถาปสูรสูตรที่ ๘

ปสูรสูตร มีคำเริ่มต้นว่า อิเธว สทฺธี สมณพราหมณ์ผู้ประกอบ

ด้วยทิฏฐิ ย่อมกล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี

ปริพาชกชื่อว่า ปสูระ เป็นผู้มีวาทะจัดจ้าน เขาพูดว่า ในชมพูทวีปทั้งสิ้นเรา

เป็นผู้เลิศด้วยวาทะ เพราะฉะนั้นต้นชมพูปรากฏแก่ชมพูทวีปฉันใด แม้เราก็

ควรเป็นฉันนั้น จึงเอากิ่งชมพูทำเป็นธง ทำให้ผู้โต้วาทะครั่นคร้ามไปทั่วชมพู

ทวีป เขาเดินทางมาถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ ก่อกองทรายไว้ที่ประตูเมือง ปัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 757

กิ่งชมพูไว้ที่กองทรายนั้น กล่าวว่าผู้ใดสามารถโต้วาทะกับเรา ผู้นั้นจงหักกิ่ง

ไม้นี้แล้วเข้าเมืองไป. มหาชนได้ยืนล้อมที่นั้น.

สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรกระทำภัตกิจเสร็จแล้วออกจากกรุงสาวัตถี

เห็นกิ่งไม้นั้น จึงถามพวกเด็ก ๆ หลายคนว่า เจ้าหนูทั้งหลาย นี่อะไรกัน พวก

เด็กบอกเรื่องราวทั้งหมดให้ทราบ. พระเถระกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นพวกเธอจงถอน

กิ่งไม้นั้นแล้วเอาเท้าหักเสีย กล่าวว่า พวกเธอจงบอกเขาว่า ผู้ต้องการโต้วาทะ

จงมายังวิหาร ดังนี้. ปริพาชกเที่ยวบิณฑบาตทำภัตกิจเสร็จแล้วเดินกลับ เห็น

กิ่งไม้ถูกถอนแล้วหักทิ้งจึงถามว่านี่ใครทำ เมื่อได้รับคำตอบว่า พระสารีบุตร

ผู้เป็นพุทธสาวกให้เด็กทำ เขายินดีคิดว่าวันนี้พวกบัณฑิตจะได้เห็นความชนะ

ของเราและความปราชัยของสมณะ จึงเข้าไปกรุงสาวัตถีเพื่อนำผู้รู้เหตุเป็นผู้

ทดสอบปัญหา แล้วเที่ยวประกาศไปตามถนนและทางสี่แพร่งว่า ท่านทั้ง

หลายประสงค์จะฟังความเฉียบแหลมด้วยปัญญาในการโต้วาทะกับอัครสาวก

ของพระสมณโคดมจงพากันออกมา. พวกมนุษย์เป็นอันมากที่เลื่อมใสบ้าง ไม่

เลื่อมใสบ้างในพระศาสนาพากันออกไปด้วยคิดว่าจักฟังถ้อยคำของบัณฑิต. ลำ-

ดับนั้นปสูรปริพาชกแวดล้อมด้วยมหาชน ตรึกวาทะมีอาทิว่า เมื่อพระสารีบุตร

กล่าวอย่างนี้เราจักกล่าวอย่างนี้ได้ไปยังวิหาร. พระเถระดำริว่า เสียงเอ็ดอึง

และรบกวนผู้คนอย่าได้มีในวิหารเลย จึงให้ปูอาสนะเเล้วนั่งที่ซุ้มประตูพระ

เชตวัน. ปริพาชกเข้าไปหาพระเถระกล่าวว่า บรรพชิตผู้เจริญ ท่านให้เด็ก

หักธงกิ่งชมพูของเราหรือ ? เมื่อพระเถระตอบว่า เป็นความจริงปริพาชก. เขา

จึงกล่าวว่า ช่างเถิด ท่านผู้เจริญ เราทั้งสองเริ่มกล่าวอะไร ๆ กันเถิด. พระ-

เถระรับว่า ตกลงปริพาชก. เขากล่าวว่า สมณะท่านจงถาม ข้าพเจ้าจะแก้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 758

ครั้งนั้น พระเถระได้กล่าวกะปริพาชกว่า ดูก่อนปริพาชก ถามยาก

หรือแก้ยาก. เขาตอบว่า บรรพชิตผู้เจริญ การแก้ยากกว่าถาม เพราะใครจะ

ถามอย่างไร ๆ ก็ได้. พระเถระกล่าวว่า ปริพาชก ถ้าเช่นนั้นท่านถามเถิด

เราจักแก้. เมื่อพระเถระกล่าวอย่างนี้แล้วปริพาชกคิดพิศวงว่า ภิกษุดูก็มีรูปงาม

ให้เด็กเอาเท้าหักกิ่งไม้ได้ จึงถามพระเถระว่า อะไรเป็นกามของบุรุษ. พระเถระ

ตอบว่า ความกำหนัด เพราะดำริ เป็นกามของบุรุษ. ปสูรปริพาชกฟังดังนั้น

มีความสำคัญในพระเถระว่าพลาดไปแล้ว ประสงค์จะยกให้พระเถระเป็นผู้แพ้

จึงกล่าวว่า ท่านบรรพชิตผู้เจริญ ท่านมิได้กล่าวถึงอารมณ์อันงดงามวิจิตรว่า

เป็นกามของบุรุษดอกหรือ. พระเถระตอบว่า ถูกแล้วปริพาชก เราไม่กล่าว

อย่างนั้น. แต่นั้นปริพาชกให้พระเถระรับรองตลอด ๓ ครั้งแล้วเรียกผู้ตัดสิน

ปัญหามาว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงพึงความผิดในวาทะของสมณะเถิด แล้ว

กล่าวว่า บรรพชิตผู้เจริญ เพื่อนพรหมจรรย์ของท่านยังอยู่ในป่าหรือ. พระ-

เถระตอบว่า ถูกแล้วปริพาชก. ถามว่า เพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้นอยู่ในป่า

ยังตรึกถึงกามวิตกเป็นต้นอยู่หรือ. ตอบว่า ถูกแล้วปริพาชก ปุถุชนทั้งหลาย

ยังตรึกอยู่เป็นประจำ. ถามว่า ผิว่าเป็นอย่างนั้น ความเป็นสมณะของเพื่อน

พรหมจรรย์เหล่านั้นอยู่ที่ไหนเล่า นอกนั้นยังเป็นผู้บริโภคกามครองเรือนอยู่.

มิใช่หรือ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงกล่าวเป็นคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

สิ่งสวยงามในโลกมิใช่กามของท่าน

และท่านกล่าวความกำหนัดเพราะความดำริ

ว่าเป็นกาม แม้ภิกษุของท่านเมื่อดำริใน

อกุศลวิตก ก็จักเป็นผู้บริโภคกาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 759

ลำดับนั้น พระเถระเมื่อจะแสดงความผิดในวาทะของปริพาชกจงกล่าว

ว่า ปริพาชกท่านไม่กล่าวถึงความกำหนัดเพราะความดำริว่าเป็นของบุรุษ ท่าน

กล่าวถึงอารมณ์งดงามวิจิตรว่าเป็นกามหรือ. ปสูรปริพาชกตอบว่า ถูกแล้ว

บรรพชิตผู้เจริญ. ลำดับนั้น พระเถระให้ปสูรปริพาชกรับรองตลอด ๓ ครั้ง

แล้วเรียกผู้ตัดสินปัญหามาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พวกท่านจงฟังความผิด

ในวาทะของปริพาชกเถิด แล้วกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสปสูระ ศาสดาของท่านยังมี

อยู่หรือ. ปสูระตอบว่า ยังมีอยู่บรรพชิต. ถามว่า ศาสดานั้นย่อมเห็นรูปารมณ์ที่

ควรรู้ได้ด้วยจักษุ หรือว่าเสพสัททารมณ์เป็นต้น. ปริพาชกตอบว่า ใช่ ย่อม

เสพบรรพชิต ถามว่า ผิว่าเป็นอย่างนั้น ความเป็นศาสดาของศาสดานั้นอยู่ที่

ไหน ศาสดานั้นยังเป็นผู้บริโภคกามครองเรือนอยู่มิใช่หรือ ครั้นพระเถระกล่าว

อย่างนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

ความงดงามในโลกเป็นกามของท่าน

แล ท่านไม่กล่าวถึงความกำหนัดเพราะ

ความดำริว่าเป็นกาม เมื่อเห็นรูปน่ารื่นรมย์

เมื่อฟังเสียงน่ารื่นรมย์ เมื่อดมกลิ่นน่ารื่น-

รมย์ เมื่อลิ้มรสน่ารื่นรมย์ เมื่อถูกต้องผัสสะ

น่ารื่นรมย์ แม้ศาสดาของท่านก็จักเป็นผู้ยัง

บริโภคกามอยู่.

เมื่อพระเถระกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกจนปัญญาคิดว่า บรรพชิต

นี้เป็นผู้มีวาทะน่านับถือเราจักบวชในสำนักของบรรพชิตนี้แล้วศึกษาตำราการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 760

พูด จึงเข้าไปยังกรุงสาวัตถีแสวงหาบาตรจีวรเข้าไปยังพระเชตวัน เห็นพระ

โลฬุทุายี ณ ที่นั้นมีกายสีทองน่าเลื่อมใสโดยตลอดในอาการร่างกายและมารยาท

เข้าใจว่าภิกษุรูปนี้คงมีปัญญามาก คงเป็นนักพูด จึงบวชในสำนักของท่านแล้ว

ข่มท่านด้วยวาทะหลีกเข้าไปสู่ลัทธินั้นแหละพร้อมด้วยเพศแล้วคิดว่าเราจักทำ

การโต้วาทะกับพระสมณโคดมอีก จึงประกาศในกรุงสาวัตถีโดยนัยก่อนนั้นแล

แวดล้อมด้วยมหาชน กล่าวอยู่ว่าเราจักข่มพระสมณโคดมเป็นต้นได้ไปยังพระ-

เชตวัน. เทวดาที่สิงอยู่ ณ ซุ้มประตูพระเชตวันคิดว่า ผู้นี้ไม่ควรต้อนรับจึงได้

บันดาลปิดปากเขาเสีย ปสูระเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งเหมือนคน

ใบ้. พวกมนุษย์คิดว่า เดี๋ยวท่านปสูระคงจักถามต่างมองหน้าปสูระนั้น แล้วพา

กันตะโกนว่า ท่านปสูระพูดซิ ท่านปสูระพูดซิ. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ปสูระจะพูดได้อย่างไร เมื่อทรงแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน ณ

ที่นั้นจึงได้ตรัสพระสูตรนี้.

ในคาถาต้นนั้นพึงทราบความสังเขปดังต่อไปนี้ สมณพราหมณ์ผู้ประ

กอบด้วยทิฏฐิเหล่านี้ย่อมกล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้นหมายถึง

ทิฏฐิของตน แต่ไม่กล่าวถึงความบริสุทธิ์ในธรรมเหล่าอื่น. เมื่อเป็นอย่างนี้

สมณพราหมณ์เป็นอันมากกล่าวความดีงามในศาสดาเป็นต้นของตนที่ตนอาศัย

แล้วเท่านั้นว่านี้เป็นวาทะอันดีงาม ยึดมั่นในสัจจะเฉพาะอย่างมีว่าโลกเที่ยงเป็น

ต้น. พึงทราบคาถาว่า ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นยึดมั่นอย่างนี้ ประสงค์จะ

กล่าวโต้ตอบกัน,

ในบทเหล่านั้น บทว่า พาล ทหนฺติ มิถุ อญฺมญฺ ย่อมโต้-

เถียงกันและกันว่าเป็นคนเขลา คือชนทั้งสองนั้นย่อมโต้เถียงกันและกัน ว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 761

คนเขลา ย่อมเห็นโดยความเป็นคนเขลาว่า คนนี้เป็นคนเขลา คนนี้เป็นคน

เขลา ดังนี้. บทว่า วทนฺติ เต อญฺสิตา กโถชฺช คือ สมณพราหมณ์

เหล่านั้นอาศัยศาสดาของกันและกันเป็นต้น ย่อมกล่าวคำทะเลาะกัน. บทว่า

ปสสกามา กุสลาวทานา ปรารถนาความสรรเสริญสำคัญว่าเราเป็นคนฉลาด

คือ ปรารถนาแต่ความสรรเสริญเป็นผู้มีความสำคัญว่า แม้เราทั้งสองก็เป็นผู้มี

วาทะฉลาด มีวาทะเป็นบัณฑิต. พึงทราบคาถาต่อไปว่า ยุตฺโต กถาย

ขวนขวายหาถ้อยคำวิวาท โดยกำจัดวาทะหนึ่งในบรรดาวาทะเหล่านั้น อย่างนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยุตฺโต กถาย คือ ขวนขวายหาถ้อยคำวิวาท.

บทว่า ปสสมิจฺฉ วินิฆาติ โหติ ปรารถนาแต่ความสรรเสริญกระทบกระ-

เทียบกัน คือ ปรารถนาความสรรเสริญของตนกล่าวถ้อยคำกระทบกระเทียบกัน

มาก่อน โดยนัยมีอาทิว่าเราจักข่มได้อย่างไรหนอ. บทว่า อปาหตสฺมึ ใน

เพราะวาทะอันผู้ตัดสินไม่ท่าให้เลื่อมใส ความว่า ในเพราะวาทะอันผู้ตัดสิน

ปัญหาไม่ทำให้เลื่อมใสโดยนัยมีอาทิว่า ท่านกล่าวปราศจากอรรถ ท่านกล่าว

ปราศจากพยัญชนะ ดังนี้. บทว่า นินฺทาย โส กุปฺปติ บุคคลนั้นย่อมโกรธ

เพราะความนินทา คือบุคคลนั้นย่อมโกรธเพราะความนินทาอันเกิดขึ้นในวาทะ

อันผู้ตัดสิน ไม่ทำให้เลื่อมใสอย่างนี้. บทว่า รนฺธเมสี คือผู้แสวงหาโทษ

ของคนอื่น. พึงทราบคาถาต่อไปว่า ไม่แต่โกรธอย่างเดียว ยังกล่าววาทะของ

บุคคลนั้นว่าเป็นวาทะเสื่อมสิ้นอีกด้วย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปริหีนมาหุ อปาหต ผู้ตัดสินปัญหาทั้งหลาย

กล่าววาทะของบุคคลอันตนไม่ทำให้เลื่อมใสแล้วว่าเป็นวาทะเสื่อมสิ้น คือ กล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 762

วาทะอันตนไม่ทำให้เลื่อมใสแล้วโดยอรรถและโดยพยัญชนะเป็นต้นว่าเป็นวาทะ

เสื่อมสิ้น. บทว่า ปริเทวติ บุคคลผู้มีวาทะเสื่อมย่อมคร่ำครวญ คือ บุคคล

นั้นย่อมบ่นเพ้อด้วยคำมีอาทิว่า เรานึกถึงวาทะอื่นแล้วอันมีวาทะที่ไม่ทำให้

เลื่อมใสนั้นเป็นนิมิต. บทว่า โสจติ บุคคลผู้มีวาทะเสื่อมสิ้นย่อมเศร้าโศก คือ

ย่อมเศร้าโศกปรารภคำมีอาทิว่า เขานั่นแหละเป็นผู้ชนะ. บทว่า อุปจฺจคา

มนฺติ อนุตฺถุนาติ ผู้มีวาทะเสื่อมย่อมทอดถอนใจว่าท่านผู้นี้กล่าวสูงเกินเรา

ไป คือ เขาบ่นเพ้อเป็นอย่างดีโดยนัยมีอาทิว่า มีวาทะเกินเราไป.

ปริพาชกภายนอกท่านเรียกว่า สมณะ ในบทนี้ว่า เอเต วิวาทา

สมเณสุ ความวิวาทเกิดแล้วในพวกสมณะ. บทว่า เอเตสุ อุคฺฆาติ นิคฺฆาติ

โหติ ความกระทบกระทั่งกัน ย่อมมีในเพราะวาทะเหล่านี้ คือมีจิตกระทบ

กระทั่งกันด้วยการชนะและการแพ้เป็นต้น ย่อมมีในวาทะเหล่านั้น. บทว่า

วิรเม กโถชฺช คือพึงเว้นการทะเลาะกันเสีย. บทว่า น หญฺทตฺถตฺถิ

ปสสลาภา ความสรรเสริญและลาภย่อมไม่มีเป็นอย่างอื่นไปเลย คือ ไม่มี

ความต้องการอย่างอื่นนอกจากความสรรเสริญและลาภในวาทะนี้.

พึงทราบความคาถาที่หกต่อไป. ก็เพราะความสรรเสริญและลาภย่อม

ไม่มีเป็นอย่างอื่นไป ฉะนั้น บุคคลนั้นแม้ได้ลาภอย่างยิ่งก็ยังกล่าววาทะนั้น

ในท่ามกลางบริษัทเป็นผู้อันบุคคลสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้นว่า ผู้นี้เป็นคนดี

แต่นั้นบุคคลนั้น ด้วยต้องการความชนะนั้นจึงถึงความยินดีหรือยิ้มแย้ม ย่อม

รื่นเริงและเย่อหยิ่งด้วยมานะ. เพราะเหตุไร. เพราะได้ถึงความต้องการชัยชนะ

นั้นสมใจนึก. พึงทราบคาถาว่า การยกตนของบุคคลผู้ยกตนเป็นอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 763

ในบทเหล่านั้น มานาติมาน วทเต ปเนโส บุคคลนั้นย่อมกล่าว

ถึงการถือตัวและการดูหมิ่น คือ บุคคลนั้นไม่รู้ถึงการยกตนนั้นว่าเป็นพื้นแห่ง

ความกระทบกัน ย่อมกล่าวถึงการถือตัวและการดูหมิ่นอยู่นั่นเอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงถึงโทษในวาทะอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อไม่ทรงรับวาทะของปสูรปริพาชกนั้น จึงตรัสคาถาว่า สูโร ผู้กล้าหาญ

ดังนี้เป็นอาทิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ราชขาทาย ได้แก่ราชขาทนิยาหาร (อาหาร

ที่พระราชาพระราชทานเลี้ยง). ท่านอธิบายว่า ด้วยค่าจ้างคือภัต. บทว่า

อภิคชฺชเมติ ปฏิสูรมิจฺฉ ปรารถนาพบทหารผู้เป็นปฏิปักษ์กันย่อมคำราม คือ

ท่านแสดงว่าบุคคลผู้นั้นเป็นเจ้าทิฏฐิ ปรารถนาพบบุคคลผู้เป็นเจ้าทิฏฐิ เหมือน

ผู้กล้าหาญปรารถนาพบผู้เป็นปฏิปักษ์กัน ย่อมคำรามเข้าหากัน ฉะนั้น. บทว่า

เยเนว โส เตน ปเลหิ ได้แก่ ท่านจงไปยังที่ที่บุคคลผู้เป็นเจ้าทิฏฐิผู้เป็น

ปฏิปักษ์ของท่านอยู่เถิด. บทว่า ปุพฺเพว นตฺถิ ยทิท ยุธาย กิเลสชาติ

เพื่อการรบนี้มิได้มีในกาลก่อนเลย คือท่านแสดงว่ากิเลสชาติเพื่อการรบนี้มิได้มี

ในกาลก่อนเลย กิเลสชาตินั้นเราตถาคตละเสียได้ ณ ควงแห่งต้นโพธิ์นั่นแล.

คาถาที่เหลือมีการเชื่อมกันชัดแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิวาทยนฺติ คือ วิวาทกัน. บทว่า ปฏิเสนิ-

กตฺตา ท่านผู้กระทำเป็นข้าศึก คือ ผู้ทำตรงกันข้าม. บทว่า วิเสนิกตฺวา

คือกำจัดเสนา คือกิเลสให้พินาศไป. บทว่า กึ ลเภถ ท่านจะได้อะไร คือ

ท่านจักได้สู้รบโต้ตอบอะไร. บทว่า ปสูร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกปริ-

๑. ม. บาลีว่า ภตฺตเวตเนน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 764

พาชกนั้น. บทว่า เยสีธ นตฺถิ คือ ในพระอรหันต์ผู้ไม่มีความยึดถือใน

โลกนี้. บทว่า ปวิตกฺก ความตรึกทั่วไป คือ ความตรึกมีอาทิว่า ความชนะ

จักมีแก่เราในที่นี้หรือไม่หนอ. บทว่า โธเนน ยุค สมาคมา ถือความเป็น

คู่แข่งกับท่านผู้กำจัดกิเลส คือ ถือความเป็นคู่แข่งกับพระพุทธเจ้าผู้กำจัดกิเลส

ได้แล้ว. บทว่า น หิ ตว สกฺขสิ สมฺปยาตเว ท่านจะไม่อาจถือความเป็น

คู่แข็งให้สำเร็จได้เลย ความว่า ท่านไม่สามารถจะถือความเป็นคู่แข่งกับพระ-

พุทธเจ้าผู้กำจัดกิเลส ให้สำเร็จได้แม้แต่บทเดียว หรือ ยังการถือความเป็น

คู่แข่งให้ถึงพร้อมได้ เหมือนหมาไนเป็นต้น ไม่สามารถแข่งกับราชสีห์เป็นต้น

ได้ฉะนั้น. บทที่เหลือในบททั้งปวง ปรากฏชัดแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาปสูรสูตรที่ ๘ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 765

มาคันทิยสูตรที่ ๙

ว่าด้วยเรื่องทิฏฐิ ๖๒

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

[๔๑๖] ความพอใจในเมถุนธรรม

ไม่ได้มีแก่เราเพราะได้เห็นนางตัณหา นาง

อรดี และนางราคาเลย ความพอใจในเมถุน-

ธรรมอย่างไร จักมี เพราะได้เห็นสรีระแห่ง

ธิดาของท่านอันเต็มไปด้วยมูตรและคูถเล่า

เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องสรีระแห่งธิดาของ

ท่านนั้นแม้ด้วยเท้า.

มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า

ถ้าพระองค์ไม่ทรงปรารถนานางแก้ว

ที่พระราชาผู้เป็นจอมนระเป็นอันมากทรง

ปรารถนากันแล้วเช่นนี้ไซร้ พระองค์ตรัส

ทิฏฐิ ศีล พรต ชีวิต และการเข้าถึงภพของ

พระองค์เช่นไรหนอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาคันทิยะ

กิจที่เราวินิจฉัยในธรรม คือ ทิฏฐิ

๖๒ แล้วจึงยึดถือเอาว่า เรากล่าวทิฏฐินี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 766

ข้อนี้เท่านั้นจริง ข้ออื่นเปล่า ดังนี้ ย่อม

ไม่มีแก่เราและเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย

อยู่ ไม่ได้ยึดถือทิฏฐิอะไร ๆ เมื่อค้นคว้า

สัจจะทั้งหลาย ก็ได้เห็นนิพพานกล่าวคือ

ความสงบ ณ ภายใน.

มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า

ทิฏฐิเหล่าใด ที่สัตว์ทั้งหลายได้วินิจ-

ฉัยกำหนดไว้แล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมุนี

พระองค์ไม่ได้ยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นเลย ตรัส

เนื้อความนี้ใดว่า ความสงบ ณ ภายใน เนื้อ

ความนั้นอันนักปราชญ์ทั้งหลายประกาศไว้

อย่างไรหนอ ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่ข้า

พระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาคันทิยะ

เราไม่ได้กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยการ

เห็น การฟัง การรู้ ทั้งด้วยศีลและพรต

เราไม่กล่าวความบริสุทธิ์เว้นจากการเห็นจาก

การฟัง จากการรู้ จากศีลและพรต ก็

บุคคลสละธรรม เป็นไปในฝ่ายดำมีทิฏฐิ

เป็นต้นเหล่านี้แล้ว ไม่ถือมั่น เป็นผู้สงบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 767

ไม่อาศัยธรรมอะไรแล้วไม่พึงปรารถนาภพ.

มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า

ได้ยินว่า ถ้าพระองค์ไม่ตรัสความ

บริสุทธิ์ด้วยการเห็น การฟัง การรู้ ทั้งศีล

และพรต พระองค์ไม่ตรัสความบริสุทธิ์เว้น

จากการเห็น จากการฟัง จากการรู้ จากศีล

และพรต ข้าพระองค์ย่อมสำคัญธรรมเป็นที่

งงงวยทีเดียว ด้วยว่า ชนบางพวกยังเชื่อ

ความบริสุทธิ์ด้วยการเห็น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาคันทิยะ

ก็ท่านอาศัยการเห็น ถามอยู่บ่อย ๆ

ได้ถึงความหลงใหลไปในทิฏฐิที่ท่านยึดมั่น

แล้ว และท่านก็ไม่ได้เห็นสัญญาแม้แต่น้อย

แต่ความสงบ ณ ภายในที่เรากล่าวแล้วนี้

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงตั้งอยู่โดยความเป็นผู้

หลง.

ผู้ใดย่อมสำคัญด้วยมานะ หรือด้วย

ทิฏฐิว่า เราเป็นผู้เสมอเขา วิเศษกว่าเขา

หรือเลวกว่าเขา ผู้นั้นพึงวิวาท เพราะมานะ

หรือทิฏฐินั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 768

ผู้ใดไม่หวั่นไหว ในการถือตัวว่า

เสมอเขา วิเศษกว่าเขา ดังนี้เป็นต้น ผู้นั้น

ย่อมไม่มีการวิวาท บุคคลผู้มีมานะและทิฏฐิ

อันละได้แล้วนั้น ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ จะ

พึงกล่าวอะไร สิ่งนี้เท่านั้นจริงหรือจะพึง

วิวาทเพราะมานะหรือทิฏฐิอะไรว่า ของเรา

จริง ของท่านเท็จ อนึ่ง ความสำคัญว่า

เสมอเขาหรือว่าไม่เสมอเขา ย่อมไม่มีในที่

ใด ผู้นั้นจะพึงโต้ตอบวาทะกับใคร ๆ.

มุนีละอายได้แล้ว ไม่ระลึกถึง

อารมณ์เครื่องกำหนดหมาย ไม่กระทำความ

สนิทสนมในชาวบ้าน เป็นผู้สงัดจากกามทั้ง

หลาย ไม่ทำอัตภาพให้เกิดต่อไป ไม่พึง

กล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกับคน.

บุคคลผู้ประเสริฐ สงัดแล้วจาก

ธรรมมีทิฏฐิเป็นต้นเหล่าใด พึงเที่ยวไปใน

โลก ไม่พึงถือเอาธรรมมีทิฏฐิเป็นต้นเหล่า

นั้นขึ้นกล่าว มุนีผู้มีถ้อยคำสงบ ไม่กำหนัด

ยินดี ไม่ติดอยู่ในกามและในโลก เหมือน

ดอกปทุม มีก้านเป็นหนาม เกิดในน้ำโคลน

ตม ไม่ติดอยู่ด้วยน้ำและโคลนตม ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 769

บุคคลผู้ไม่กลับมาสู่มานะด้วยการ

ทราบ อันต่างด้วยอารมณ์ มีรูปที่ได้ทราบ

แล้วเป็นต้น บุคคลนั้นไม่เป็นผู้สำเร็จแล้ว

ด้วยตัณหา มานะ และทิฏฐินั้น บุคคลนั้น

แม้กรรมและสุตะพึงนำไปไม่ได้ บุคคลนั้น

อันสิ่งใดสิ่งหนึ่งน้อมนำเข้าไปไม่ได้แล้วใน

นิเวศน์ คือ ตัณหาและทิฏฐิ.

กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายย่อมไม่มี

แก่บุคคลผู้คลายสัญญาได้แล้ว ความหลงทั้ง

หลายย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้หลุดพ้นแล้วด้วย

ปัญญา ชนเหล่าใดยึดถือกามสัญญาและ

ทิฏฐิ ชนเหล่านั้นกระทบกระทั่งกันและกัน

เที่ยวไปอยู่ในโลก.

จบมาคันทิยสูตรที่ ๙

อรรถกถามาคันทิยสูตรที่ ๙

มาคันทิยสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ทิสฺวาน ตณฺห เพราะเห็นางตัณหา

ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ในเวลา

ใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูโลกด้วยทิพยจักษุ ทรงเห็นอุปนิสัยพระอรหัตของมาคันทิย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 770

พราหมณ์พร้อมกับภรรยาชาวกัมมาสธัมมนิคม แคว้นกุรุ ทันใดนั้นเองได้

เสด็จไป ณ ที่นั้น ทรงเปล่งพระรัศมีสีทองประทับนั่ง ณ ไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง

ไม่ไกลกัมมาสธัมมนิคม.

ขณะนั้นแม้มาคันทิยพราหมณ์ก็ได้ไป ณ นิคมนั้นเพื่อล้างหน้า เห็น

รัศมีสีทองคิดว่า นี่อะไร มองดูข้างโน้นข้างนี้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดีใจ.

นัยว่า ธิดาของพราหมณ์นั้นก็มีผิวเหมือนทองด้วย. บรรดาขัตติยกุมารเป็นต้น

เป็นอันมากพากันขอนางนั้นก็ไม่ได้. พราหมณ์ตั้งความมุ่งหมายไว้ว่าจักยกธิดา

ให้แก่สมณะผู้มีผิวคล้ายทองเท่านั้น. พราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเกิด

ความคิดขึ้นว่า สมณะนี้มีผิวเหมือนธิดาของเรา เราจะยกธิดาของเราให้สมณะ

นี้ เพราะฉะนั้น เมื่อพราหมณ์เห็นจึงดีใจ รีบไปเรือนบอกกะนางพราหมณีว่า

แม่มหาจำเริญ แม่มหาจำเริญ ฉันเห็นชายผิวทองเหมือนลูกสาวแล้ว แม่นาง

จงแต่งตัวลูกสาวเถิด เราจะยกให้สมณะนั้น. เมื่อนางพราหมณีเอาน้ำหอมอาบ

ลูกสาวแล้วตกแต่งด้วยผ้าดอกไม้และเครื่องประดับเป็นต้นอยู่นั้นเองจนถึงเวลา

ภิกขาจารของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไป

บิณฑบาตยังกัมมาสธัมมนิคม. พราหมณ์และพราหมณีก็พาธิดาไปถึงโอกาสที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ที่นั้น นางพราหมณีไม่เห็นพระผู้มีพระภาค-

เจ้า เหลียวดูข้างโน้นข้างนี้ได้เห็นแต่เครื่องลาดหญ้าที่ปูไว้เป็นที่ประทับทั้งของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยกำลังอธิษฐานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย โอกาสที่

ประทับนั่งและรอยพระบาทไม่อากูล. นางพราหมณีจึงกล่าวกะพราหมณ์ว่า

พ่อพราหมณ์ นี่เครื่องลาดหญ้าปูไว้สำหรับสมณะนั้นหรือ. พราหมณ์ตอบว่า

ถูกแล้วแม่นาง. นางพราหมณีกล่าวว่า พ่อพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นการมาของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 771

ไม่สำเร็จสมประสงค์เสียแล้ว. พราหมณ์ถามว่า เพราะอะไรเล่า แม่นาง.

นางพราหมณีตอบว่า พ่อพราหมณ์จงดูซิ ปูหญ้ายังเรียบร้อย นี่ไม่ใช่สิ่งที่

ผู้บริโภคกามจะใช้สอย. พราหมณ์กล่าวว่า แม่นางเมื่อเราแสวงหาสิ่งเป็นมงคล

แม่นางอย่าได้พูดถึงสิ่งไม่เป็นมงคลเลย. นางพราหมณีเที่ยวเดินไปข้างโน้น

ข้างนี้อีก เห็นรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวกะพราหมณ์ว่า

พ่อพราหมณ์จงดูรอยเท้านั้นซิ ผู้นี้ไม่ใช่ผู้หมกมุ่นในกามเลย. พราหมณ์ถามว่า

แม่นางรู้ได้อย่างไรกล่าว นางเมื่อจะแสดงความรู้ของตนจึงกล่าวว่า

เป็นความจริงเท้าของคนกำหนัดเป็น

เท้ากระโหย่ง เท้าของคนโทสะ เป็นเท้าขย่ม

เท้าของคนโมหะลงส้น เท้าเช่นนี้เป็นเท้า

ของผู้มีกิเลสเพียงดังหลังคาเปิดแล้ว.

กถานี้ยังไม่ชัดเจนแก่พราหมณ์และนางพราหมณีนั้น. ครั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ได้เสด็จมายังไพรสณฑ์นั้น. นาง

พราหมณีเห็นพระรูปของพระผู้มีพระภาคเจ้างดงามด้วยพระลักษณะอันเลิศ

แวดวงด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง จึงกล่าวกะพราหมณ์ว่า พ่อพราหมณ์ เห็นสมณะ

นั้นหรือยัง. พราหมณ์ตอบว่า เห็นแล้วแม่นาง. นางพราหมณีกล่าวว่า สมณะนี้

จักไม่บริโภคกามเป็นแน่ เรามาเสียเวลาเสียแล้ว ผู้มีลักษณะอย่างนี้จักบริโภค

กามข้อนั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้. เมื่อพราหมณ์และนางพราหมณีสนทนากันอยู่

อย่างนี้นั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนเครื่องลาดที่เป็นหญ้า.

ลำดับนั้น พราหมณ์จูงธิดามาด้วยมือซ้าย ถือคนโทน้ำด้วยมือขวา

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า บรรพชิตผู้เจริญ ท่านก็มีผิวคล้ายทอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 772

ทาริกานี้ก็มีผิวทอง ทาริกานี้จึงสมควรแก่ท่าน ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอ

ยกพาริกานี้ให้เป็นภรรยา เพื่อจะได้เลี้ยงดูกัน แล้วเดินตรงไปหาพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าประสงค์จะยกธิดาให้ ได้ยืนอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทำเป็นดุจมิได้

สนทนากะพราหมณ์ แต่สนทนากับคนอื่นได้ตรัสคาถานี้ว่า ทิสฺวาน ตณฺห

เพราะเห็นนางตัณหา ดังนี้เป็นต้น.

บทนี้มีความดังต่อไปนี้ แม้เพียงความพอใจในเมถุนมิได้มีแก่เรา

เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคาผู้เป็นธิดาพญามารซึ่งเนรมิตรูป

ต่าง ๆ มาสู่ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ความพอใจ

อะไรจักมี เพราะเห็นรูปอันเต็มไปด้วยมูตรและกรีสของหญิงสาวนี้ เราไม่

ปรารถนาจะถูกต้องสรีระเเห่งธิดาของท่านนั้นโดยประการทั้งปวง แม้เพราะเท้า

อย่าว่าแต่จะอยู่ร่วมกันเลย.

ลำดับนั้น มาคันทิยพราหมณ์ เพื่อจะทูลถามว่า ธรรมดาบรรพชิต

ละกามอันเป็นของมนุษย์แล้วบวชเพื่อกามอันเป็นของทิพย์ แต่สมณะนี้ไม่

ปรารถนากามแม้เป็นของทิพย์ แม้อิตถีรัตนะนี้ก็ไม่ปรารถนา อะไรหนอเป็น

ทิฏฐิของสมณะนี้ จึงกล่าวคาถาที่สอง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอตาทิส เจ รตน นางแก้วเช่นนี้ มาคัน-

ทิยพราพมณ์กล่าวหมายถึง นางแก้วอันเป็นทิพย์. บทว่า นารึ มาคันทิยพราหมณ์

กล่าวหมายถึงธิดาของตน. การเห็นนั่นแหละคือทิฏฐิคตะ. บทว่า สีลวต นุ

ชีวิต ได้แก่ ทิฏฐิ ศีล พรต และชีวิต. บท่วา ภวูปปตฺติญฺจ วเทสิ

กีทิส คือ พระองค์ตรัสการเข้าถึงภพของพระองค์เช่นไร. สองคาถานอกจาก

นี้มีความเชื่อมกันชัดแล้ว เพราะเป็นไปโดยนัยการตอบและการถาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 773

ในคาถาเหล่านั้น พึงทราบความสังเขปในคาถาต้นต่อไป. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาคันทิยะ กิจที่เราวินิจฉัยในธรรมคือทิฏฐิ ๖๒

แล้วจึงยึดถือเอาว่า เรากล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้เท่านั้นจริง ข้ออื่นเป็นโมฆะดังนี้

ย่อมไม่มีแก่เรา. เพราะเหตุไร เพราะเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายอยู่ไม่

ยึดถือทิฏฐิไร ๆ เมื่อค้นคว้าสัจจะทั้งหลายก็ได้เห็นนิพพานอันเป็นความสงบ

ภายใน เพราะราคะเป็นต้นในภายในสงบ.

ในคาถาที่สองท่านกล่าวความสังเขปไว้ว่า ทิฏฐิเหล่าใดที่สัตว์ทั้งหลาย

เหล่านั้นได้วินิจฉัยเพราะวินิจฉัยยึดถือเอาแล้วและกำหนดไว้แล้วโดยนัยมีความ

ที่อันปัจจัยของตนปรุงแต่งแล้วเป็นต้น. มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า ข้าแต่พระมุนี

พระองค์มิได้ทรงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นเลย ตรัสเนื้อความนี้ใดว่า ความสงบ ณ

ภายใน เนื้อความนั้นอันนักปราชญ์ทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ ขอพระองค์

จงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์เถิด.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงอุบายที่นักปราชญ์

ทั้งหลายประกาศบทนั้นอันตรงกันข้ามแก่มาคันทิยพราหมณ์นั้นจึงตรัสคาถาว่า

น ทิฏฺิยา เป็นต้น.

ในคาถานั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธศีลและพรตนอกเหนือไปจาก

สมาบัติ ๘ และญาณ ด้วยบทมีอาทิว่า น ทิฏฺิยา ไม่ได้กล่าวความบริสุทธิ์

ด้วยการเห็น ดังนี้. ท่านประกอบ อาห ศัพท์ที่กล่าวไว้ในบทนี้ว่า สุทฺธิมาห

เข้ากับ อักษรในทุกบทแล้วพึงทราบความอย่างนี้ว่า เราไม่กล่าวความ

บริสุทธิ์ด้วยความเห็นดังนี้. แม้ในบทนอกนั้นก็ยังเดียวกับในบทนี้. ในบท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 774

เหล่านั้น บทว่า อทิฏฺิยา นาห พึงทราบความอย่างนี้ เราไม่กล่าวความ

บริสุทธิ์เว้นสัมมาทิฏฐิ มีวัตถุ ๑๐ อนึ่ง จากการไม่ฟัง คือ เว้นการฟังมีองค์ ๙

เว้นจากการไม่รู้ คือ เว้นกัมมัสสกตาญาณ (ความรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน)

และสัจจานุโลมิกญาณ (ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดอริยสัจ) เว้น

จากศีล คือ เว้นการสำรวมในปาติโมกข์ เว้นจากพรต คือ เว้นธุดงควัตร.

บทว่า โนปิ เตน คือเราไม่กล่าวแม้เพียงความเห็นเป็นต้นอย่างหนึ่ง ๆ ใน

ความบริสุทธิ์เหล่านั้น. บทว่า เอเต จ นิสชฺช อนุคฺคหาย ก็บุคคล

สละธรรมเหล่านี้แล้วไม่ถือมั่น ความว่า สละธรรมอันเป็นฝ่ายดำมีการเห็น

เป็นต้นอันมีในก่อนเหล่านี้ด้วยการถอนเสียแล้ว ไม่ถือมั่นธรรมอันเป็นฝ่ายขาว

มีการเห็นเป็นต้นอันมีในภายหลังด้วยการกวาดล้างธรรมที่อาศัยเสีย. บทว่า

สนฺโต อนิสฺสาย ภว น ชปฺเป เป็นผู้สงบไม่อาศัยธรรมอะไรแล้ว

ไม่พึงปรารถนาภพ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบกิเลสด้วยการปฏิบัตินี้

ไม่อาศัยธรรมไร ๆ ในจักขุทวารเป็นต้นไม่พึงปรารถนาภพแม้ภพเดียว พึงเป็น

ผู้สามารถเพื่อความไม่ยาก เพื่อความไม่ปรารถนา อธิบายว่า นี้เป็นความสงบ

ณ ภายในของผู้นั้น.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว มาคันทิยพราหมณ์ไม่เข้าใจ

ข้อความ จึงกล่าวคาถาว่า โน เจ กิร ได้ยินว่าถ้าพระองค์ไม่ตรัสความ-

บริสุทธิ์ด้วยการเห็นดังนี้เป็นต้น.

ในคาถานั้น การเห็นเป็นต้นมีนัยดังกล่าวแล้ว มาคันทิยพราหมณ์

กล่าวแม้ในทั้งสองแห่งหมายถึงธรรมอันเป็นฝ่ายดำนั่นเอง. ท่านประกอบ อาห

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 775

ศัพท์เข้ากับ โนเจกิร ศัพท์เป็น โน เจ กิร อาห แล้วพึงเห็นความ

อย่างนี้ โน เจ กิร กเถสิ ได้ยินว่าถ้าพระองค์ไม่ตรัส ดังนี้. บทว่า

โมมุห คือ ลุ่มหลงหรืองมงาย. บทว่า ปจฺเจนฺติ คือ รู้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงปฎิเสธคำถามอาศัยการเห็นนั้นของ

มาคันทิยพราหมณ์จึงตรัสคาถาว่า ทิฏฺิญฺจ นิสฺสาย ก็ท่านอาศัยการเห็น

กามอยู่บ่อย ๆ ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาคัน-

ทิยพราหมณ์ท่านอาศัยการเห็นกามอยู่บ่อย ๆ ได้ถึงความหลงใหลไปในทิฏฐิที่

ท่านยึดมั่นแล้ว และท่านก็มิได้เห็นสัญญาแม้แต่น้อยจากความสงบภายในที่เรา

กล่าวแล้ว หรือจากการปฏิบัติ หรือจากการแสดงธรรมด้วยเหตุนั้นท่านจึง

เห็นธรรมนี้โดยความเป็นผู้งมงาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงความโต้แย้งของมาคันทิย-

พราหมณ์ผู้งมงายอยู่ในการเห็นที่ตนยึดมั่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดง

ถึงความไม่โต้แย้งของพระองค์ผู้ปราศจากความงมงายในธรรมเหล่านั้นและใน

ธรรมอื่นจึงตรัสคาถาว่า สโม วิเสสี เราเป็นผู้เสมอเขา วิเศษกว่าเขา ดังนี้

เป็นต้น.

บทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ ผู้ใดย่อมสำคัญด้วยมานะ ๓ อย่าง หรือ

ด้วยทิฏฐิอย่างนี้ ผู้นั้นพึงวิวาทด้วยมานะนั้น ด้วยทิฏฐินั้นหรือด้วยบุคคลนั้น

แต่ผู้ใดไม่หวั่นไหวใน ๓ อย่างนี้ว่าเราเสมอเขา วิเศษกว่าเขาเป็นต้นเช่นกับเรา

ผู้นั้นย่อมไม่มีการวิวาท. พึงทราบปาฐะที่เหลือว่า น จ หีโน มีอะไรอีก. มี

คาถาว่า สจฺจนฺติ โน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 776

บทนั้นมีอธิบายว่า บุคคลเห็นปานนี้นั้น เป็นผู้ละมานะทิฏฐิได้แล้ว

ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ นัยว่า เพราะเป็นผู้ลอยบาปได้แล้วเป็นต้น จะพึงกล่าวอะไร

กล่าวเพื่ออะไร หรือกล่าวด้วยเหตุอะไรว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง หรือจะพึงวิวาท

เพราะมานะหรือทิฏฐิอะไรว่า ของเราจริง ของท่านเท็จ อนึ่งความสำคัญว่า

เสมอเขาโดยเป็นไปว่า เราเป็นเช่นกับเขา หรือไม่เสมอเขาโดยเป็นไปด้วย

ภาวะทั้งสองอย่างพวกนี้ ย่อมไม่มีในผู้ใด ผู้เป็นขีณาสพเช่นเรา ผู้นั้นจะพึง

โต้ตอบโต้เถียงวาทะกับใครในความเสมอกันเป็นต้น. พึงทราบคาถาต่อไปว่า

บุคคลเห็นปานนี้ละอาลัยได้แล้วโดยส่วนเดียวมิใช่หรือ.

ในบทเหล่านั้นบทว่า โอก ปหาย ละอาลัยได้แล้วคือละทิ้งโอกาสแห่ง

วิญญาณอาศัยรูปและวัตถุเป็นต้นด้วยการละความกำหนัดเพราะความพอใจใน

สิ่งนั้น. บทว่า อนิเกตสารี ไม่ระลึกถึงอารมณ์เครื่องกำหนดหมาย คือไม่ระลึก

ถึงรูปนิมิตอันเป็นเครื่องกำหนดหมายเหล่านั้นด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า คาเม

อกุพฺพ มุนิ สนฺถวานิ มุนีไม่ทำความสนิทสนมในชาวบ้าน คือไม่ทำ

ความสนิทสนมกับคฤหัสห์ในบ้าน. บทว่า กาเมหิ ริตฺโต เป็นผู้สงัดจากกาม

ทั้งหลายคือเป็นผู้ว่างจากกามทั้งปวงเพราะไม่มีความกำหนัดเพราะความพอใจ

ในกามทั้งหลาย. บทว่า อปุเรกฺขราโน คือไม่ทำอัตภาพให้เกิดอีกต่อไป.

บทว่า กถ น วิคฺคยฺห ชเนน กยิรา คือไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกับชน.

พึงทราบคาถาต่อไปว่า บุคคลเห็นปานนั้นเป็นผู้สงัดจากทิฏฐิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เยหิ คือจากทิฏฐิเป็นต้น. บทว่า วิวิตฺโต

วิจเรยฺย คือเป็นผู้สงัดแล้วพึงเที่ยวไป. บทว่า น ตานิ อุคฺคยฺห วเทยฺย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 777

นาโค บุคคลผู้ประเสริฐไม่พึงถือเอาธรรมเหล่านั้นขึ้นกล่าว คือบุคคลผู้ประ-

เสริฐได้แก่ผู้ไม่ทำบาปไม่พึงถือเอาทิฏฐิเหล่านั้นขึ้นกล่าว. บทว่า เอลมฺพุช

เหมือนดอกปทุม ท่านอธิบายว่าดอกปทุมมีก้านเป็นหนามเกิดในน้ำโคลนตม.

บทว่า ยถา ชเลน ปงฺเกน จ นูปลิตฺต ไม่ติดอยู่ด้วยน้ำและโคลนตม

คือเหมือนดอกปทุมนั้นไม่ติดอยู่ด้วยน้ำและโคลนตม. บทว่า เอว มุนิ สนฺ-

ติวาโท อคิทฺโธ มุนีผู้มีถ้อยคำสงบ ไม่กำหนัดยินดี คือมุนีผู้มีถ้อยคำใน

ภายในไม่กำหนัดยินดี เพราะไม่มีความอยาก. บทว่า กาเม จ โลเก จ

อนูปลิตฺโต ไม่ติดอยู่ในกามและในโลก คือไม่ติดอยู่ในกาม ๒ อย่างและใน

โลกมีอบายเป็นต้นด้วยกามแม้ ๒ อย่าง. มีอะไรต่อไป. มีคาถาว่า น เวทคู

เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า น เวทคู ทิฏฺิยา บุคคลผู้ถึงเวทเป็นผู้ไม่

ดำเนินไปด้วยทิฏฐิ ความว่า บุคคลผู้ถึงเวทคือมรรค ๔ เช่นเราไม่เป็นผู้ไป

ด้วยทิฏฐิคือเป็นผู้ไม่ดำเนินไปด้วยทิฏฐิ หรือเป็นผู้ไม่กลับไปสู่ทิฏฐินั้น ๆ

โดยความเป็นสาระ. ชื่อว่า ทิฏฺิยายโก เพราะเป็นผู้ไปด้วยทิฏฐิ หรือ

เพราะเป็นผู้ไปสู่ทิฏฐิ. บทว่า น มุติยาสมานเมติ บุคคลนั้นไม่กลับมา

สู่มานะด้วยการรู้คือ บุคคลนั้นไม่มาสู่มานะแม้ด้วยการรู้มีรู้รูปเป็นต้น. บทว่า

น หิ ตมฺมโย โส บุคคลนั้นใช่เป็นผู้สำเร็จด้วยตัณหาเเละทิฏฐินั้น คือบุคคล

นั้นใช่เป็นผู้เช่นกับผู้สำเร็จด้วยตัณหาและทิฏฐินั้น. บทว่า น กมฺมุนา โนปิ

สุเตน เนยฺโย บุคคลนั้นแม้กรรมและสุตะพึงนำไปไม่ได้ คือ บุคคลนั้นอัน

กรรมมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น หรือสุตะมีสุตะอันบริสุทธิ์เป็นต้นพึงนำไปไม่ได้.

บทว่า อนูปนีโต โส นิเวสเนสุ บุคคลนั้นอันสิ่งใดสิ่งหนึ่งน้อมเข้าไปไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 778

แล้วในนิเวศน์คือตัณหาและทิฏฐิทั้งปวง เพราะละการเข้าไปใกล้แม้ธรรมสอง

อย่างได้แล้ว. พึงทราบคาถาว่า สญฺาวิรตฺตสฺส ต่อไป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สญฺาวิรตฺตสฺส แก่บุคคลผู้คลายสัญญาได้

แล้ว คือ สัญญามีกามสัญญาเป็นต้น จะได้แล้วด้วยภาวนาอันมีเนกขัมสัญญา

เป็นหัวหน้า. ด้วยบทนี้ท่านประสงค์เอาสมถยานิก (มีสมถะเป็นยาน) อันเป็น

อุภโตภาควิมุต (พ้นแล้วทั้งสองฝ่าย). บทว่า ปญฺาวิมุตฺตสฺส แก่บุคคลผู้

หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา คือหลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวงด้วยภาวนาอันมี

วิปัสสนาเป็นหัวหน้า ด้วยบทนี้ท่านประสงค์เอาพระสุกขวิปัสสก. บทว่า

สญฺญฺจ ทิฏฺิญฺจ เย อคฺคเหสุ เต ฆฏฺฏมานา วิจรนฺติ โลเก ชน

เหล่าใดถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นกระทบกระทั่งกันและกันเที่ยวไปใน

โลกความว่า ชนเหล่าใดถือสัญญามีกามสัญญาเป็นต้นโดยเฉพาะ ชนเหล่านั้น

เป็นคฤหัสถ์กระทบกระทั่งกันมีกามเป็นเหตุเที่ยวไป อนึ่งชนเหล่าใดถือทิฏฐิ

โดยเฉพาะ ชนเหล่านั้นเป็นบรรพชิต ชนเหล่านั้นกระทบกระทั่งกันและกันมี

ธรรมเป็นเหตุเที่ยวไป. บทที่เหลือในสูตรนี้บทใดยังมิได้กล่าวไว้ บทนั้นพึง

ทราบโดยทำนองเดียวกันกับที่ท่านไว้แล้วนั่นแล.

เมื่อจบเทศนา พราหมณ์และนางพราหมณีออกบวชแล้ว ได้บรรลุ

พระอรหัต.

จบอรรถกถามาคันทิยสูตรที่ ๙ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 779

ปุราเภทสูตรที่ ๑๐

ว่าด้วยบุคคลผู้สงบ

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

[๔๑๗] บุคคลผู้มีความเห็นอย่างไร

มีศีลอย่างไร บัณฑิตจึงกล่าวว่าเป็นผู้สงบ

ท่านพระโคดม พระองค์ผู้อันข้าพระองค์

ถามแล้ว ขอจงตรัสบอกนระผู้สูงสุดแก่

ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ผู้ใดปราศจากตัณหาก่อนแต่สรีระ

แตก เป็นผู้ไม่อาศัย กาลเบื้องต้น (อดีต)

และเบื้องปลาย (อนาคต) อันใคร ๆ จะพึง

นับว่า เป็นผู้ยินดีแล้ว ในกาลท่ามกลาง

(ปัจจุบัน) ไม่ได้ ความมุ่งหวังของผู้นั้นย่อม

ไม่มี เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นผู้สงบ.

ผู้ใดไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด

ไม่คะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้

นั้นแล เป็นมุนีผู้สำรวมแล้วด้วยวาจา.

ผู้ใดไม่ทะเยอทะยานในสิ่งที่ยังไม่

มาถึง ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 780

ผู้มีปกติเห็นความสงัดในผัสสะ อันใคร ๆ

จะนำไปในทิฏฐิทั้งหลายไม่ได้เลย ผู้ใด

ปราศจากกิเลส ไม่หลอกลวง มีปกติไม่

ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่

เป็นที่เกลียดชัง ไม่ประกอบในคำส่อเสียด.

เว้นจากความเชยชมในกามคุณอัน

เป็นวัตถุน่ายินดี ทั้งไม่ประกอบในการดู

หมิ่น เป็นผู้ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ ไม่

เชื่อต่อใคร ๆ ไม่กำหนัดยินดี ไม่ศึกษา

เพราะใคร่ลาภ ไม่โกรธเคืองในเพราะความ

ไม่มีลาภ และเป็นผู้ไม่พิโรธ ไม่ยินดีใน

รสด้วยตัณหา เป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ

ไม่สำคัญตัว ว่าเสมอเขา ว่าวิเศษกว่าเขา

ว่าเลวกว่าเขาในโลก กิเลสอันฟูขึ้นทั้งหลาย

ของผู้นั้น ย่อมไม่มี.

ตัณหานิสัยและทิฏฐินิสสัยของผู้

ใดไม่มี ผู้นั้นรู้ธรรมแล้ว เป็นผู้อันตัณหา

และทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว ความทะยานอยาก

เพื่อความมี หรือเพื่อความไม่มีของผู้ใดไม่มี

เรากล่าวผู้นั้น ผู้ไม่มีความห่วงใยในกามทั้ง

หลายว่า เป็นผู้สงบกิเลส เครื่องร้อยรัดทั้ง

หลายของผู้ใดไม่มี ผู้นั้นข้ามตัณหาได้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 781

บุตร ธิดา สัตว์เลี้ยง ไร่นาและที่ดิน

ของผู้ใดไม่มี แม้ความเห็นว่าเป็นตัวตนก็ดี

ความเห็นว่าไม่เป็นตัวตนก็ดี อันใคร ๆ

ย่อมไม่ได้ในผู้นั้น

ปุถุชนหรือสมณพราหมณ์จะพึงกล่าว

กะผู้นั้น (ว่าผู้ยินดีแล้ว หรือผู้ประทุษร้าย

แล้ว) โดยโทษมีราคะเป็นต้นใด โทษมีราคะ

เป็นต้นนั้น ไม่ใช่เป็นความมุ่งหวังของผู้นั้น

เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว ใน

เพราะถ้อยคำทั้งหลาย.

มุนีผู้ปราศจากความกำหนัดยินดีไม่

มีความตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวยกย่องใน

บุคคลผู้ประเสริฐกว่า ผู้เสมอกัน หรือผู้เลว

กว่า ผู้ไม่มีกัปปะ (คือตัณหาแลทิฏฐิ) ย่อม

ไม่มาสู่กัปปะ ผู้ใดไม่มีความหวงแหนว่า

ของตนในโลก ไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ไม่มี

อยู่ และไม่ลำเอียงในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้น

แล เรากล่าวว่าเป็นผู้สงบ.

จบปุราเภทสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 782

อรรถกถาปุราเภทสูตรที่ ๑๐

ปุราเภทสูตร มีคำเริ่มต้นว่า กถทสฺสี ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

ท่านกล่าวถึงการเกิดแห่งพระสูตรนี้และอีก ๕ พระสูตร คือ กลหวิวาท-

สูตร จูฬวิยูหสูตร มหาวิยูหสูตร ตุวฏกสูตร และอัตตทัณฑสูตร โดยความ

เสมอกันตามนัยดังกล่าวแล้วในการเกิดแห่งสัมมาปริพาชนิยสูตรนั้นแล. แต่

โดยความต่างกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ในมหาสมัยนั้น เพื่อทรงแสดงธรรม

ให้เป็นที่สบายแก่พวกเทวดาที่เป็นราคจริต จึงทรงให้พระพุทธนิมิตถามพระ-

องค์ แล้วได้ตรัสสัมมาปริพพาชนิยสูตรขึ้นฉันใด ในมหาสมัยนั้นก็ฉันนั้น

เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบจิตของพวกเทวดาที่มีจิตเกิดขึ้นว่า

ก่อนตายเราควรทำอะไรหนอ เพื่อทรงอนุเคราะห์เทวดาเหล่านั้นจึงทรงนำ

พระพุทธนิมิต พร้อมด้วยภิกษุบริวาร ๑,๓๕๐ รูป มาทางอากาศ ให้พระ-

พุทธนิมิตนั้นถามปัญหาพระองค์แล้วจึงได้ตรัสพระสูตรนี้.

พึงทราบความในคำถามนั้นดังนี้ พระพุทธนิมิตตรัสถามถึงอธิปัญญา

ด้วยคำว่า บุคคลมีความเห็นอย่างไร ถามถึงอธิศีลด้วยคำว่า บุคคลมีศีล

อย่างไร ถามถึงอธิจิตด้วยคำว่า บุคคลเช่นไรเป็นผู้สงบ บทที่เหลือชัดแล้ว

ทั้งนั้น.

พึงทราบความในการตอบดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแก้อธิ-

ปัญญาเป็นต้น โดยสรูปตรัสว่าบุคคลชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะกิเลสสงบโดยเป็น

ผู้มีอธิปัญญาเป็นต้น เมื่อจะทรงแสดงถึงความสงบแห่งกิเลสนั้น ๆ โดยอนุโลม

ตามอัธยาศัยของเหล่าเทวดาต่าง ๆ จึงได้ตรัสคาถามีอาทิว่า วีตตณฺโห

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 783

ผู้ปราศจากตัณหา ดังนี้เป็นต้น. ในคาถานั้นพึงทราบการเชื่อมความแห่งคาถา

๘ คาถา ตั้งแต่ต้น ด้วยคาถานี้ว่า ต พรูมิ อุปสนฺโต เรากล่าวผู้นั้นว่า

เป็นผู้สงบดังนี้. พึงทราบการเชื่อมความแห่งคาถาอื่นจากนั้นด้วยบทหลังแห่ง

คาถาทั้งหมดนี้ว่า ส เว สนฺโตติ วุจฺจติ ผู้นั้นแลเรากล่าวว่าเป็นผู้สงบ ดังนี้.

พึงทราบความโดยนัยการพรรณนาไปตามลำดับ บทว่า วีตตณฺโห

ปุรา เภทา บุคคลปราศจากตัณหาก่อนแต่สรีระแตก คือ ละตัณหาได้ก่อนจะ

ตาย. บทว่า ปุพฺพมนฺตมนิสฺสิโต เป็นผู้ไม่อาศัยเบื้องต้นและเบื้องปลาย

อันต่างด้วยกาลมีอดีตกาลเป็นต้น. บทว่า เวมชฺเฌ นุปสงฺเขยฺโย อันใคร ๆ

จะพึงนับว่าเป็นผู้ยินดีแล้วในท่ามกลางไม่ได้ คืออันใคร ๆ จะพึงนับว่าเป็น

ผู้ยินดีแล้ว แม้ในกาลปัจจุบันไม่ได้. บทว่า ตสฺส นตฺถิ ปุเรกฺขต ความ

มุ่งหมายของผู้นั้นไม่มี คือ ความมุ่งหมายสองอย่าง พึงทราบการประกอบใน

คาถานี้ อย่างนี้ว่า ต พฺรูมิ อุปสนฺโต เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นผู้สงบดังนี้.

ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. เราจักไม่แสดงการประกอบนอกเหนือไปจากนี้ จัก

พรรณนาบทที่ยากเท่านั้น.

บทว่า อสนฺตาสี ไม่สะดุ้ง คือ ไม่สะดุ้งเพราะไม่มีลาภนั้น. บทว่า

อวิกตฺถี ไม่โอ้อวด คือ มีปรกติไม่โอ้อวดด้วยศีลเป็นต้น. บทว่า อกุกฺกุจฺโจ

ไม่คะนองคือเว้นจากการคะนองมือเป็นต้น. บทว่า มนฺตาภาณี พูดด้วย

ปัญญา คือ สอบแล้วสอบเล่าด้วยปัญญาแล้วจึงกล่าววาจา. บทว่า อนุทฺธโต

คือ เว้นจากความฟุ้งซ่าน, บทว่า ส เว วาจายโต ผู้นั้นเป็นมุนีสำรวมแล้ว

ด้วยวาจา คือผู้นั้นสำรวมระวังแล้วด้วยวาจา เป็นผู้กล่าววาจาเว้นจากโทษ ๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 784

บทว่า นิราสตฺตี ไม่ทะเยอทะยาน คือไม่มีตัณหา. บทว่า วิเวกทสฺสี

ผสฺเสสุ เป็นผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย คือเห็นความสงัดจากความเป็น

ตัวตนเป็นต้นในจักขุสัมผัสเป็นต้นอันเป็นปัจจุบัน. บทว่า ทิฏฺีสุ น นิยฺยติ

อันใคร ๆ จะนำไปในทิฏฐิทั้งหลายไม่ได้เลย คือจะนำไปในทิฏฐิไร ๆ ใน

ทิฏฐิ ๖๒ ไม่ได้เลย. บทว่า ปฏิลีโน ปราศจากกิเสส คือ ปราศจากกิเลส

นั้น เพราะละราคะเป็นต้นได้แล้ว. บทว่า อกุหโก ไม่หลอกลวง คือ ไม่

หลอกลวง ด้วยวัตถุหลอกลวง ๓. บทว่า อปิหาลุ คือมีปรกติไม่ทะเยอทะยาน.

ท่านอธิบายว่า เว้นจากความปรารถนาและความอยาก. บทว่า อมจฺฉรี ไม่

ตระหนี่ คือเว้นจากความตระหนี่ ๕ อย่าง. บทว่า อปฺปคพฺโภ ไม่คะนอง

คือเว้นจากความเป็นผู้คะนองกายเป็นต้น. บทว่า อเชคุจฺโฉ ไม่เป็นที่น่า

เกลียด คือ ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ คือ ชื่นใจชอบใจ ด้วยความเป็นผู้มีศีลสม-

บูรณ์เป็นต้น. บทว่า เปสุเณยฺเย จ โน ยุโต ไม่ประกอบในคำส่อเสียด

คือ ไม่ประกอบในกรรมคือความส่อเสียดอันควรรวบรวมเข้าด้วยอาการทั้งสอง.

บทว่า สาติเยสุ อนสฺสาวี เว้นจากความชมเชยด้วยความอยากในกามคุณ

ทั้งหลายอันเป็นวัตถุน่ายินดี. บทว่า สณฺโห เป็นผู้ละเอียดอ่อน คือ เป็นผู้

ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้นอันละเอียดอ่อน. บทว่า ปฏิภาณวา มีปฏิภาณ

คือประกอบด้วยปฏิภาณในการเรียน การถามและการบรรลุ. บทว่า น สทฺโธ

ไม่เชื่อใคร ๆ คือไม่เชื่อใคร ๆ ถึงธรรมที่ตนบรรลุแล้วด้วยตนเอง. บทว่า

น วิรชฺชติ ไม่กำหนัด คือ ไม่กำหนัด เพราะสิ้นราคะ เพราะไม่ยินดี. บทว่า

ลาภกมฺยา น สิกฺขต ไม่ศึกษาเพราะใคร่ลาภ คือ ไม่ศึกษาพระสูตรเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 785

เพราะปรารถนาลาภ. บทว่า อวิรุทฺโธ จ ตณฺหาย รเสสุ นานุคิชฺฌติ

ไม่พิโรธไม่ยินดีในรสด้วยตัณหา คือ เป็นผู้ไม่พิโรธ เพราะไม่มีความพิโรธ

ไม่ถึงความอยากในรสอันเป็นรากเหง้าแห่งตัณหา. บทว่า อุเปกฺขโก เป็นผู้วาง

เฉย คือ เป็นผู้ประกอบด้วยฉฬังคุเบกขามีองค์ ๖. บทว่า สโต มีสติ คือ

เป็นผู้ประกอบด้วยสติมีกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นต้น. บทว่า นิสฺสยตา คือ

อันตัณหาและทิฏฐิอาศัย. บทว่า ตฺวา ธมฺม รู้ธรรมแล้ว คือ รู้ธรรมด้วย

อาการมีความไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า อนิสฺสิโต คือเป็นผู้อันตัณหาและ

ทิฏฐิเหล่านั้นไม่อาศัยแล้วอย่างนี้. ท่านแสดงว่า นอกจากธรรมญาณเสียแล้ว

ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย ไม่มี. บทว่า ภวาย วิกวาย วา เพื่อความมี หรือความ

ไม่มี คือ เพื่อสัสสตทิฏฐิ หรือ เพื่ออุจเฉททิฏฐิ. บทว่า ต พฺรูมิ อุปสนฺโต

คือเรากล่าวผู้เห็นปานนั้น ดังที่กล่าวไว้แล้วในคาถาหนึ่ง ๆ ว่าเป็นผู้สงบ.

บทว่า อตาริ โส วิสตฺติก ผู้นั้นข้ามตัณหาได้แล้ว คือ ข้ามมหาตัณหา

กล่าวคือวิสัตติกาอันได้แก่ความอยากจัดโดยความเป็นของกว้างใหญ่ไพศาลเป็น

ต้นได้แล้ว.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสรรเสริญผู้สงบนั้นจึงตรัสว่า

ตสฺส ปุตฺตา บุตรของผู้นั้นไม่มี ดังนี้เป็นต้น.

บุตรทั้งหลายในบทว่า ปุตฺตา นั้นได้แก่บุตร ๔ จำพวก มีบุตรเกิด

แต่ตนเป็นต้น. อนึ่งในบทนี้ พึงทราบว่าบุตรที่นำมาเลี้ยงท่านก็เรียกว่าบุตร.

เพราะบุตรของเขาเองไม่มี. บทว่า เยน น วชฺชุ ปุถุชฺชนา อโถ

สมณพฺราหฺมณา ปุถุชนหรือสมณพราหมณ์ จะพึงกล่าวกะผู้นั้นโดยโทษมี

ราคะเป็นต้นใด ความว่า ปุถุชน เทวดา มนุษย์และสมณพราหมณ์ภายนอก

จากนี้จะพึงกล่าวกะผู้นั้นว่า ผู้ยินดีแล้วหรือผู้ประทุษร้ายแล้วโดยโทษมีราคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 786

เป็นต้นใด. บทว่า ต ตสฺส อุปรกฺขต คือ โทษมีราคะเป็นต้นนั้นมิใช่เป็น

ความมุ่งหมายของผู้เป็นพระอรหันต์นั้น. บทว่า ตสฺมา วาเทสุ เนชติ

เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะถ้อยคำทั้งหลาย คือ ไม่หวั่นไหว

ในคำนินทาเพราะโทษมีราคะเป็นต้นนั้นเป็นเหตุ. บทว่า น อุสฺเสสุ วทเต

มุนีย่อมไม่กล่าวยกย่องในบุคคลผู้ประเสริฐ คือ ไม่กล่าวยกย่องในบุคคลผู้ประ-

เสริฐโดยทำตนไว้ภายในแล้วยกตนว่าเราเป็นผู้ประเสริฐ. ในสองบทต่อไปก็มี

นัยนี้. บทว่า กปฺป เนติ อกปฺปิโย ผู้ไม่มีกัปปะ (คือตัณหาและทิฏฐิ)

ย่อมไม่มาสู่กัปปะ คือ บุคคลเห็นปานนี้นั้นย่อมไม่มาสู่กัปปะทั้งสองอย่าง.

เพราะเหตุไร. เพราะเป็นผู้ไม่มีกัปปะ คือ ตัณหาและทิฏฐิ. ท่านอธิบายว่า

เป็นผู้ละกัปปะได้แล้ว. บทว่า สก ของตน คือ ยึดถือว่าของเรา. บทว่า

อสตา จ น โสจติ ไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ไม่มีอยู่ คือ ไม่เศร้าโศก เพราะ

ความไม่มีเป็นต้นและเพราะความไม่มีอยู่. บทว่า ธมฺเมสุ จ น คจฺฉติ

และไม่ลำเอียงในธรรมทั้งหลาย คือ ไม่ลำเอียงในธรรมทั้งปวงด้วยความพอใจ

เป็นต้น . บทว่า ส เว สนฺโตติ วุจฺจติ บุคคลนั้นแลเรากล่าวว่าเป็น

ผู้สงบ คือ เรากล่าวบุคคลเห็นปานนั้นว่า เป็นผู้สงบ สูงสุดกว่าคน. พระผู้

มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.

เมื่อจบเทศนา เทวดาแสนโกฏิ ได้บรรลุพระอรหัต. จำนวนผู้บรรลุ

โสดาบันเป็นต้นเหลือจะนับ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาปุราเภทสูตรที่ ๑๐ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 787

กลหวิวาทสูตรที่ ๑๑

ว่าด้วยเหตุเกิดจากของที่รักเป็นต้น

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

[๔๑๘] ความทะเลาะ, ความวิวาท,

ความร่ำไร, ความเศร้าโศก, กับทั้งความ

ตระหนี่, ความถือตัว, ความดูหมิ่นผู้อื่น,

และทั้งคำส่อเสียด, เกิดจากอะไร ธรรม

เครื่องเศร้าหมองเหล่านั้น เกิดจากอะไร

ขอเชิญพระองค์ จงตรัสบอกเนื้อความที่

ข้าพระองค์ถามนั้นเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ความทะเลาะ, ความวิวาท ความ

ร่ำไร, ความเศร้าโศก กับทั้งความตระหนี่,

ความถือตัว, ความดูหมิ่นผู้อื่น และทั้งคำ

ส่อเสียด, ต่างเกิดจากของที่รัก, ความทะ-

เลาะ ความวิวาท ต่างประกอบด้วยความ

ตระหนี่, เมื่อความวิวาทเกิดแล้ว คำส่อ-

เสียดย่อมเกิด.

พระพุทธนิมิตตรัสถามต่อไปว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 788

ความรักในโลกเล่ามีอะไรเป็นเหตุ

แม้อนึ่ง ชนเหล่าใดมีกษัตริย์เป็นต้น มี

ความโลภ เที่ยวไปในโลก ความโลภของ

ชนมีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น มีอะไรเป็น

เหตุ ความหวังและความสำเร็จของนรชน

ซึ่งมีในสัมปรายภพ มีอะไรเป็นเหตุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ความรักในโลกมีความพอใจเป็นเหตุ

แม้อนึ่ง ชนเหล่าใดมีกษัตริย์เป็นต้น มี

ความโลภเที่ยวไปในโลก ความโลภของชน

มีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น มีความพอใจเป็น

เหตุ ความหวังและความสำเร็จของนรชน

ซึ่งมีในสัมปรายภพ มีความพอใจนี้เป็นเหตุ.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

ความพอใจในโลกเล่ามีอะไรเป็นเหตุ

แม้การวินิจฉัย คือตัณหาและทิฏฐิก็ดี ความ

โกรธ โทษแห่งการกล่าวมุสา และความ

สงสัยก็ดี ที่พระสมณะตรัสแล้ว เกิดจาก

อะไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 789

บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวสุขเวทนาและ

ทุกขเวทนาใดว่า เป็นความยินดีและความ

ไม่ยินดีในโลก ความพอใจย่อมเกิด เพราะ

อาศัยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สัตว์ในโลก

เห็นความเสื่อมไปและความเกิดขึ้นในรูปทั้ง

หลายแล้ว ย่อมกระทำการวินิจฉัย.

ความโกรธ โทษแห่งการกล่าวมุสา

และความสงสัยธรรมแม้เหล่านี้ เมื่อความ

ยินดีและความไม่ยินดีทั้งสองอย่างนั่นแหละ

มีอยู่ ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ บุคคลผู้มีความสงสัย

พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ท่านผู้เป็นสมณะ

รู้แล้ว จึงกล่าวธรรมทั้งหลาย.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

ความยินดีและความไม่ยินดี มีอะไร

เป็นเหตุ เมื่อธรรมอะไรไม่มี ธรรมเหล่านี้

จึงไม่มี ขอพระองค์จงตรัสบอกอรรถ คือ

ทั้งความเสื่อมไปและทั้งความเกิดขึ้น (แห่ง

ความยินดีและความไม่ยินดี) นี่ว่า มีสิ่งใด

เป็นเหตุ แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 790

ความยินดี ความไม่ยินดี มีผัสสะ

เป็นเหตุ เมื่อผัสสะไม่มี ธรรมเหล่านี้จึงไม่มี

เราขอบอกอรรถ คือ ทั้งความเสื่อมไป และ

ทั้งความเกิดขึ้นนี้ว่า มีผัสสะนี้เป็นเหตุ แก่

ท่าน.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

ผัสสะในโลกเล่า มีอะไรเป็นเหตุ

อนึ่ง ความหวงแหนเกิดจากอะไร เมื่อธรรม

อะไรไม่มี ความถือว่าสิ่งนี้เป็นของเราจึงไม่มี

เมื่อธรรมอะไรไม่มี ผัสสะ จึงไม่ถูกต้อง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ผัสสะ อาศัยนามและรูปจึงเกิดขึ้น

ความหวงแหน มีความปรารถนาเป็นเหตุ

เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่า สิ่งนี้

เป็นของเราจึงไม่มี เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึง

ไม่ถูกต้อง.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างไร รูปจึงไม่มี

อนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี อย่างไรจึงไม่มี ขอ

พระองค์โปรดตรัสบอกอาการที่รูปและสุข

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 791

ทุกข์นี้ไม่มีแก่พระองค์เถิด ข้าพระองค์มีใจ

ดำริว่า เราควรรู้ความข้อนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

บุคคลเป็นผู้ไม่มีสัญญาเป็นปกติ

เป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยสัญญาอันผิดปกติ

เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เป็นผู้มีสัญญาว่าไม่มี

ก็มิใช่ เมื่อบุคคลปฏิบัติแล้วอย่างนี้ รูปจึง

ไม่มี เพราะว่าธรรมเป็นส่วนแห่งความเนิ่น

ช้า มีสัญญาเป็นเหตุ.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

ข้าพระองค์ได้ถามความข้อใดกะ

พระองค์ พระองค์ก็ได้ทรงแสดงความข้อ

นั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอถาม

ความข้ออื่นกะพระองค์ ขอเชิญพระองค์

ตรัสบอกความข้อนั้นเถิด.

ก็สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตพวก

หนึ่งในโลกนี้ ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ของ

สัตว์ว่าเป็นยอดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หรือว่า

ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์อย่างอื่นอันยิ่งไปกว่า

รูปสมาบัตินี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 792

ก็สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าเที่ยง

พวกหนึ่ง (มีความถือตัวว่า) เป็นบัณฑิต

ในโลกนี้ ย่อมกล่าวอรูปสมาบัตินี้ว่า เป็น

ความบริสุทธิ์ของสัตว์แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

มณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าขาดสูญพวกหนึ่ง

เป็นผู้มีวาทะว่าตนเป็นคนฉลาดในอนุปาทิ-

เสสนิพพาน ย่อมโต้เถียงสมณพราหมณ์ผู้มี

วาทะว่าเที่ยงเหล่านั้น.

ส่วนท่านผู้เป็นมุนี รู้บุคคลเจ้าทิฏฐิ

เหล่านั้นว่า เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฏฐิและอุจ-

เฉททิฏฐิ ท่านผู้เป็นมุนีนั้นเป็นนักปราชญ์

พิจารณารู้ผู้อาศัยทิฏฐิทั้งหลายแล้ว รู้ธรรม

โดยลักษณะมีความไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เป็น

ต้น หลุดพ้นแล้ว ย่อมไม่ทะเลาะวิวาทกับ

ใคร ย่อมไม่มาเพื่อความเกิดในภพน้อยใหญ่

จบกลหวิวาทสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 793

อรรถกถากลหวิวาทสูตรที่ ๑๑

กลหวิวาทสูตร มีคำเริ่มต้นว่า กุโต ปหูตา กลหา วิวาทา

ความทะเลาะ ความวิวาท เกิดจากอะไร ดังนี้เป็นต้น.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

ในมหาสมัยนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรแม้นี้ เพื่อทรง

ทำให้แจ้งถึงธรรมเหล่านั้นแก่เทวดาบางพวกผู้มีจิตเกิดขึ้นว่า ธรรมทั้งหลาย ๘

ประการมีการทะเลาะกันเป็นต้นเกิดแต่เหตุไรหนอ จึงให้พระพุทธนิมิตตรัส

ถามพระองค์โดยนัยก่อนนั่นแล.

ในพระสูตรนั้นคาถาทั้งหมดมีการเชื่อมความปรากฏชัดแล้ว เพราะอยู่

ตามลำดับของการถามและการตอบ. แต่พึงทราบถึงการพรรณนาบทที่ยากของ

คาถาเหล่านั้นดังต่อไปนี้. บทว่า กุโต ปหูตา กลหา วิวาทา ได้แก่ธรรม

เครื่องเศร้าหมองเหล่านี้ คือ ความทะเลาะและความวิวาทอันเป็นเบื้องต้นของ

ความทะเลาะนั้นเกิดจากอะไร. บทว่า ปริเทวโสกา สหมจฺฉรา จ คือ

ความร่ำไร ความเศร้าโศก พร้อมกับความตระหนี่เกิดจากอะไร. บทว่า

มานาติมานา สหเปสุณา จ คือความถือตัว ความดูหมิ่นพร้อมด้วยคำ

ส่อเสียดเกิดจากไหน. บทว่า เต ได้แก่ ธรรมคือกิเลส ๘ อย่าง แม้

ทั้งหมดเหล่านั้น. บทว่า ตทิงฺฆ พฺรูหิ คือ ขอพระองค์จงตรัสบอกเนื้อความ

ที่ข้าพระองค์ถามนั้นเถิด คือ ข้าพระองค์ขอวิงวอนพระองค์. บทว่า อิงฺฆ

เป็นนิบาตมีความว่า ขอร้อง. บทว่า ปิยปฺปหูตา คือ เกิดจากสิ่งที่รัก.

เป็นอันยุติดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในนิเทศนี้นั่นแล. บทว่า มจฺเฉร-

ยุตฺตา กลหา วิวาทา ความทะเลาะ ความวิวาทประกอบเข้าแล้วด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 794

ตระหนี่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า มิใช่วัตถุเป็นที่รักอย่างเดียวเท่านั้น

แม้ความตระหนี่ก็เป็นเหตุแห่งความทะเลาะและความวิวาทด้วยบทนี้. พึงทราบ

ว่าธรรมเหล่านั้นทั้งหมดพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยหัวข้อแห่งความทะเลาะ

ความวิวาทในบทนี้. ความวิวาทเป็นเหตุแห่งคำส่อเสียดเหมือนความตระหนี่

เป็นเหตุแห่งความทะเลาะความวิวาท ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า วิวาทชาเตสุ จ เปสุณานิ ก็เมื่อความวิวาทเกิดขึ้นแล้วคำส่อเสียด

ย่อมเกิด. บทว่า ปิยา สุ โลกสฺมึ กุโตนิทานา เย วาปิ โลภา

วิจรนฺติ โลเก ความรักในโลกมีอะไรเป็นเหตุ แม้อนึ่งชนเหล่าใดมีความ

โลภเที่ยวไปในโลก ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบทนี้ว่า ความ

ทะเลาะเกิดจากความรัก ความรักนั้นในโลกมีอะไรเป็นเหตุ. พระพุทธนิมิต

ตรัสถามเนื้อความทั้งสองด้วยคาถาเดียวว่า มิใช่ความรักอย่างเดียว อนึ่ง ชน

เหล่าใดมีกษัตริย์เป็นต้น มีความโลภเที่ยวไป คือเที่ยวไปเพราะความโลภเป็น

เหตุ เพราะถูกความโลภครอบงำ ความโลภของชนมีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น

มีอะไรเป็นเหตุ. บทว่า อาสา จ นิฏฺา จ ความหวังและความสำเร็จ

คือ ความหวังและความสำเร็จ เพราะความหวังนั้น. บทว่า เย สมฺปรายาย

นรสฺส โหนฺติ คือ ความหวังและความสำเร็จของนรชนซึ่งมีในสัมปรายภพ

ท่านอธิบายว่า ภพเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. คำถามนี้ก็อย่างเดียวกัน. บทว่า

ฉนฺทานิทานานิ ความรักมีความพอใจเป็นเหตุ คือความรักมีความพอใจ

ในกามเป็นต้นเป็นเหตุ. บทว่า เย วาปิ โลภา วิจรนฺติ ชนเหล่าใด

มีความโลภเที่ยวไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้เนื้อความแม้ทั้งสองโดยความ

เป็นอันเดียวกันว่า อนึ่ง ชนเหล่าใดมีกษัตริย์เป็นต้นมีความโลภเที่ยวไป แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 795

ความโลภของชนมีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้นก็มีความพอใจเป็นเหตุ. บทว่า

อิโตนิทานา ท่านอธิบายว่า มีความพอใจเป็นเหตุเหมือนกัน. พึงทราบ

ความสำเร็จแห่งศัพท์ ในบททั้งสองว่า กุโตนิทานา มีอะไรเป็นเหตุ และ

อิโตนิทานา มีความพอใจนี้เป็นเหตุ โดยนัยดังกล่าวแล้วในสูจิโลมสูตรนั้นแล.

บทว่า วินิจฺฉยา ได้แก่ การวินิจฉัยคือการตัดสินด้วยตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า

เย วาปิ ธมฺมา สมเณน วุตฺตา อนึ่ง ธรรมเหล่าใดอันพระสมณะตรัสแล้ว

ความว่า ธรรมแม้อื่นเหล่าใดเป็นอกุศล สัมปยุตด้วยความโกรธเป็นต้นอัน

พระพุทธสมณะตรัสแล้ว ธรรมเหล่านั้นเกิดจากไหน.

บทว่า ตมูปนิสฺสาย ปโหติ ฉนฺโท ความพอใจย่อมเกิดเพราะ

อาศัยความยินดีและความไม่ยินดี อันได้แก่วัตถุสองอย่าง คือ สุขเวทนาและ

ทุกขเวทนานั้น ด้วยปรารถนาความอยู่ร่วมกัน และความพลัดพรากกัน ด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหาว่า ความพอใจในโลก

มีอะไรเป็นเหตุ ดังนี้.

บทว่า รูเปสุ ทิสฺวา วิภว ภว จ คือ สัตว์เห็นความเสื่อมไป

และความเกิดขึ้นในรูปทั้งหลาย. บทว่า วินิจฺฉย กุรุเต ชนฺตุ โลเก

สัตว์ในโลกย่อมกระทำการวินิจฉัย คือ กระทำการตัดสินด้วยตัณหาเพื่อให้ได้

โภคสมบัติ และตัดสินด้วยทิฏฐิโดยนัยมีอาทิว่า ตัวตนของเราเกิดแล้ว

ดังนี้. เป็นอันยุติดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในนิเทศนี้. ด้วยเหตุเพียง

เท่านี้เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหานี้ว่า อนึ่ง ความวินิจฉัยเกิด

จากอะไร ดังนี้. บทว่า เอเตปิ ธมฺมา ทฺวยเมว สนฺเต เมื่อความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 796

ยินดีและความไม่ยินดีทั้งสองอย่างนั้นแหละมีอยู่ ธรรมแม้เหล่านี้ก็ย่อมเกิดได้

คือ ธรรมมีความโกรธเป็นต้น แม้เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นได้. อนึ่ง พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสวิธีเกิดของสุขเวทนาและทุกขเวทนานั้นไว้แล้ว ในนิเทศนั่นแล.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก้แม้ปัญหาที่สามแล้ว.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงอุบายละความสงสัยของ

พระพุทธนิมิตที่สงสัยในปัญหาเหล่านี้ที่พระองค์แก้อย่างนี้แล้วจึงตรัสว่า กถกถี

าณปถาย สิกฺเข ผู้มีความสงสัยพึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณดังนี้. ท่าน

อธิบายไว้ว่า พึงศึกษาสิกขา ๓ เพื่อบรรลุญาณคือญาณทัสสนะ เพราะเหตุไร

เพราะท่านผู้เป็นสมณะรู้แล้ว จึงกล่าวธรรมทั้งหลาย คือ พระพุทธสมณะรู้แล้ว

จึงกล่าวธรรม ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลายย่อมไม่มีแก่พระพุทธสมณะนั้น

เมื่อไม่รู้ธรรมเหล่านั้น ไม่พึงรู้เพราะไม่มีญาณของตน ไม่พึงรู้เพราะโทษแห่ง

การแสดง ฉะนั้น ผู้สงสัยพึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ท่านผู้เป็นสมณะรู้แล้ว

จึงทรงกล่าวธรรมทั้งหลาย.

บทว่า สาตาสาต ในบทนี้ว่า สาต อสาตญฺจ กุโตนิทานา

ความยินดีและความไม่ยินดีมีอะไรเป็นเหตุ ทรงประสงค์เอาสุขเวทนาและทุกข-

เวทนานั่นเอง. บทว่า น ภวนฺติ เหเต คือธรรมเหล่านั้นจักไม่มี. บทว่า

วิภว ภวญฺจาปิ ยเมตมตฺถ เอต เม ปพฺรูหิ ยโตนิทาน คือ ขอ

พระองค์ตรัสบอกอรรถคือทั้งความเสื่อมไปและทั้งความเกิดขึ้นแห่งความยินดี

และความไม่ยินดีว่ามีอะไรเป็นเหตุแก่ข้าพระองค์. ในบทนี้ท่านเปลี่ยนลิงค์.

บทนี้มีอธิบายว่า สาตาสาตาน วิภโว ภโว จ ความเสื่อมและความเกิดของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 797

ความยินดีและความไม่ยินดีทั้งหลาย พึงทราบความในบทนี้ว่า ขอพระองค์

จงตรัสบอกทั้งความเสื่อมและความเกิดนั้นว่า มีอะไรเป็นเหตุ คือ ความเสื่อม

และความเกิดอันเป็นวิภวทิฏฐิ ความเห็นว่าเสื่อมและภวทิฏฐิความเห็นว่าเกิด

อันเป็นวัตถุแห่งความเสื่อมและความเกิด. จริงอย่างนั้นในฝ่ายแก้ปัญหานี้ ท่าน

กล่าวไว้ในนิเทศว่า ภวทิฏฐิก็ดี วิภวทิฏฐิก็ดี ล้วนมีผัสสะเป็นเหตุ.

บทว่า อิโตนิทาน คือมีผัสสะเป็นเหตุ. บทว่า กิสฺมึ วิภูเต น

ผุสนฺติ ผสฺสา เมื่อธรรมอะไรไม่มีผัสสะจึงไม่ถูกต้อง คือ เมื่อธรรมอะไร

ล่วงไปแล้ว ผัสสะ ๕ มีจักษุสัมผัสเป็นต้นจึงไม่มี. บทว่า นามญฺจ รูปญฺจ

ปฏิจฺจ อาศัยนามและรูป คือ อาศัยนามอันสัมปยุตตกันเข้า และอาศัยวัตถุกับ

รูปที่เป็นอารมณ์. บทว่า รูเป วิภูเต น ผุสนฺติ ผสฺสา คือ เมื่อรูปล่วงไป

ผัสสะ ๕ จึงไม่ถูกต้อง.

บทว่า กถสเมตสฺส คือ เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างไร. บทว่า วิโภติ

รูป คือ รูปจึงไม่มีหรือไม่พึงมี. บทว่า สุข ทุกฺข วา พระพุทธนิมิต

ตรัสถามถึงรูปทั้งที่น่าปรารถนาและทั้งที่ไม่น่าปรารถนานั่นเอง. บทว่า

สญฺสญฺี บุคคลเป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยสัญญา คือ เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างไร

รูปจึงไม่มี บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยสัญญาเป็นปกติ.

บทว่า น วิสญฺสญฺี เป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยสัญญาอันผิดปกติ

คือ เป็นบ้าหรือจิตฟุ้งซ่าน. บทว่า โนปิ อสญฺี เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่

คือ เป็นผู้เว้นจากสัญญาเข้านิโรธสมาบัติ หรือเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่.

บทว่า น วิกูตสญฺี เป็นผู้มีสัญญาว่าไม่มีก็ไม่ใช่ คือเป็นผู้ก้าวล่วงมีสัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 798

ล่วงแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า ก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เป็นผู้ได้อรูป-

ฌานก็ไม่ใช่. บทว่า เอวสเมตสฺส วิโภติ รูป บุคคลเมื่อปฏิบัติอย่างนี้

รูปจึงไม่มี คือ บุคคลผู้ได้อรูปสมาบัติเมื่อไม่ตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีสัญญา และ

ไม่มีสัญญาเป็นต้นนี้แล้วปฏิบัติดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วอย่างนี้

ฯลฯ บุคคลนั้นย่อมนำจิตไปเพื่อได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ รูปจึงไม่มี.

บทว่า สญฺานิทานา หิ ปปญฺจสงฺขา เพราะว่าธรรมเป็นส่วน

แห่งความเนิ่นช้ามีสัญญาเป็นเหตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า แม้เมื่อ

ปฏิบัติอย่างนี้แล้วธรรมเป็นส่วนแห่งความเนิ่นช้าคือตัณหาและทิฏฐิอันมีสัญญา

นั้นเป็นเหตุ ยังละไม่ได้ทีเดียว. หลายบทว่า เอตฺตาวตคฺค ฯเปฯ วทนฺติ

เอตฺโต ก็สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตในโลกนี้ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ของสัตว์

ว่าเป็นยอดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หรือว่าย่อมกล่าวความบริสุทธิ์อย่างอื่นอันยิ่งไป

กว่านี้. พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตย่อมกล่าวความ

บริสุทธิ์ของสัตว์ว่าเป็นยอดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หรือว่าย่อมกล่าวความบริสุทธิ์

อย่างอื่นอันยิ่งไปกว่าอรูปสมาบัตินี้.

บทว่า เอตฺตาวตคฺคมฺปิ วทนฺติ เหเก สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง

ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ว่าเป็นยอดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มี

วาทะว่าเที่ยงพวกหนึ่ง ถือตัวว่าเป็นบัณฑิตย่อมกล่าวอรูปสมาบัตินี้ว่าเป็นความ

บริสุทธิ์อย่างยอด แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. บทว่า เตส ปุเนเก สมย วทนฺติ

สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งย่อมกล่าวถึงลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น คือ

สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าขาดสูญพวกหนึ่งย่อมกล่าวถึงลัทธิ คือ ความขาดสูญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 799

ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น. บทว่า อนุปาทิเสเส กุสลาวทานา คือ ผู้มี

วาทะว่าตนเป็นคนฉลาดในอนุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า เอเต จ ตฺวา

อุปนิสฺสิตา คือ ส่วนท่านผู้เป็นมุนีรู้บุคคลผู้เป็นเจ้าทิฏฐิเหล่านั้นว่า เป็นผู้

อาศัยสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ. บทว่า ตฺวา มุนี นิสฺสเย โส วิมสี

ท่านผู้เป็นมุนีนั้นพิจารณารู้ผู้อาศัยทิฏฐิทั้งหลาย คือ พระพุทธทุนีผู้เป็นบัณฑิต

พิจารณารู้ผู้อาศัยนั่นแล. บทว่า ตฺวา วิมุตฺโต รู้แล้วหลุดพ้นคือรู้ธรรม

โดยความเป็นทุกข์และไม่เที่ยงเป็นต้น หลุดพ้นแล้ว. บทว่า ภวาภวาย น

สเมติ คือ ย่อมไม่มาเพื่อเกิดบ่อย ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วย

ธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.

เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในปุราเภทสูตร

นั่นแล.

จบอรรถกถากลหวิวาทสูตรที่ ๑๑ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 800

จูฬวิยูหสูตร ๑๒

ว่าด้วยผู้ยินดีในทิฏฐิของตน

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

[๔๑๘] สมณพราหมณ์ทั้งหลายยึด-

มั่นอยู่ในทิฏฐิของตน ๆ ถือมั่นทิฏฐิแล้ว

ปฏิญาณว่าพวกเราเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าว

ต่างๆ กันว่า ผู้ใดรู้อย่างนี้ ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรม

คือทิฏฐิ ผู้นั้นคัดค้านธรรมคือทิฏฐินี้อยู่

ชื่อว่าเป็นผู้เลวทราม.

สมณพราหมณ์ทั้งหลายถือมั่นทิฏฐิ

แม้ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมโต้เถียงกัน และ

กล่าวว่า ผู้อื่นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด วาทะ

ของสมณพราหมณ์สองพวกนี้ วาทะไหน

เป็นวาทะจริงหนอ เพราะว่าสมณพราหมณ์

ทั้งหมดนี้ ต่างก็กล่าวกันว่าเป็นคนฉลาด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

หากว่าผู้ใดไม่ยินยอมตามธรรม คือ

ความเห็นของผู้อื่น ผู้นั้นเป็นคนพาล คนเขลา

เป็นคนมีปัญญาทราม ชนเหล่านี้ทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 801

ก็เป็นคนพาล เป็นคนมีปัญญาต่ำทราม

เพราะว่าชนเหล่านี้ทั้งหมดถือมั่นอยู่ในทิฏฐิ.

ก็หากว่าชนเหล่านั้นเป็นคนผ่องใส

อยู่ในทิฏฐิของตน ๆ จัดว่าเป็นคนมีปัญญา

บริสุทธิ์ เป็นคนฉลาด มีความคิดไซร้

บรรดาคนเจ้าทิฏฐิเหล่านั้น ก็จะไม่มีใคร ๆ

เป็นผู้มีปัญญาต่ำทราม เพราะว่าทิฏฐิของชน

แม้เหล่านั้น ล้วนเป็นทิฏฐิเสมอกัน เหมือน

ทิฏฐิของพวกชนนอกนี้.

อนึ่ง ชนทั้งสองพวกได้กล่าวกัน

และกันว่าเป็นผู้เขลา เพราะความเห็นใด

เราไม่กล่าวความเห็นนั้นว่าแท้ เพราะเหตุที่

ชนเหล่านั้น ได้กระทำความเห็นของตน ๆ

ว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง (สิ่งอื่นเปล่า) ฉะนั้นแล

ชนเหล่านั้น จึงตั้งคนอื่นว่าเป็นผู้เขลา.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

สมณพราหมณ์แต่ละพวก กล่าวทิฏฐิ

ใดว่า เป็นความจริงแท้ แม้สมณพราหมณ์

พวกอื่นก็กล่าวทิฏฐินั้นว่า เป็นความเท็จ

ไม่จริง สมณพราหมณ์ทั้งหลายมาถือมั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 802

(ความจริงต่าง ๆ กัน) แม้ด้วยอาการอย่างนี้

แล้วก็วิวาทกัน เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์

ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะให้เป็นหนึ่งลง

ไปได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

สัจจะมีอย่างเดียวเท่านั้น สัจจะที่สอง

ไม่มี ผู้ที่ทราบชัดมาทราบชัดอยู่ จะต้อง

วิวาทกันเพราะสัจจะอะไรเล่า สมณพราหมณ์

เหล่านั้น ย่อมกล่าวสัจจะทั้งหลายให้ต่างกัน

ออกไปด้วยตนเอง เพราะเหตุนั้น สมณ-

พราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะให้เป็น

หนึ่งลงไปได้.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

เพราะเหตุไรหนอ สมณพราหมณ์

ผู้เป็นเจ้าลัทธิทั้งหลาย กล่าวยกตนว่าเป็น

คนฉลาด จึงกล่าวสัจจะให้ต่างกันไป สัจจะ

มากหลายต่าง ๆ กัน จะเป็นอันใคร ๆ ได้

สดับมา หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้น

ระลึกตามความคาดคะเนของตน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 803

สัจจะมากหลายต่าง ๆ กัน เว้นจาก

สัญญาว่าเที่ยงเสีย ไม่มีในโลกเลย ก็สมณ-

พราหมณ์ทั้งหลายมากำหนดความคาดคะเน

ทิฏฐิทั้งหลาย (ของตน) แล้ว จึงกล่าวทิฏฐิ

ธรรมอันเป็นคู่กันไป จริง ๆ เท็จ.

บุคคลเจ้าทิฏฐิ อาศัยทิฏฐิธรรม

เหล่านี้ คือ รูปที่ได้เห็นบ้าง เสียงที่ได้ฟัง

บ้าง อารมณ์ที่ได้ทราบบ้าง ศีลและพรตบ้าง

จึงเป็นผู้เห็นความบริสุทธิ์ และตั้งอยู่ในการ

วินิจฉัยทิฏฐิแล้วร่าเริงอยู่ กล่าวว่า ผู้อื่นเป็น

คนเขลาไม่ฉลาด.

บุคคลเจ้าทิฏฐิย่อมติเตียนบุคคลอื่น

ว่าเป็นผู้เขลา ด้วยทิฏฐิใด กล่าวยกตนว่าเป็น

ผู้ฉลาดด้วยลำพังตน ย่อมติเตียนผู้อื่นกล่าว

ทิฏฐินั้นเอง บุคคลยกตนว่าเป็นคนฉลาด

ด้วยทิฏฐินั้น.

ชื่อว่าเจ้าทิฏฐินั้นเต็มไปด้วยความ

เห็นว่าเป็นสาระยิ่ง และมัวเมาเพราะมานะ

มีมานะบริบูรณ์ อภิเษกตนเองด้วยใจว่า เรา

เป็นบัณฑิต เพราะว่าทิฏฐินั้น ของเขา

บริบูรณ์แล้วอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 804

ก็ถ้าว่าบุคคลนั้นถูกเขาว่าอยู่ จะเป็น

คนเลวทรามด้วยถ้อยคำของบุคคลอื่นไซร้

ตนก็จะเป็นผู้มีปัญญาต่ำทรามไปด้วยกัน อนึ่ง

หากว่าบุคคลจะเป็นผู้ถึงเวท เป็นนักปราชญ์

ด้วยลำพังตนเองไซร้สมณพราหมณ์ทั้งหลาย.

ก็ไม่มีใครเป็นผู้เขลา.

ชนเหล่าใดกล่าวยกย่องธรรม คือ

ทิฏฐิอื่นจากนี้ไป ชนเหล่านั้นผิดพลาด และ

ไม่บริบูรณ์ด้วยความหมดจด เดียรถีย์ทั้งหลาย

ย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยมากเพราะว่าเดียรถีย์

เหล่านั้นยินดีนัก ด้วยความยินดีในทิฏฐิของ

ตน.

เดียรถีย์ทั้งหลาย กล่าวความบริสุทธิ์

ในธรรม คือทิฏฐินี้เท่านั้น หากกล่าวความ

บริสุทธิ์ในธรรมเหล่าอื่นไม่ เดียรถีย์ทั้งหลาย

โดยมากเชื่อมั่นแม้ด้วยอาการอย่างนี้เดียรถีย์

ทั้งหลาย รับรองอย่างหนักแน่นในลัทธิของ

ตนนั้น.

อนึ่ง เดียรถีย์รับรองอย่างหนักแน่น

ในลัทธิของตนจะพึงตั้งใครอื่นว่าเป็นผู้เขลา

ในลัทธินี้เล่า เดียรถีย์นั้น เมื่อกล่าวผู้อื่นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 805

เป็นผู้เขลา เป็นผู้มีธรรมไม่บริสุทธิ์ ก็พึง

นำความทะเลาะวิวาทมาให้แก่ตนถ่ายเดียว.

เดียรถีย์นั้น ตั้งอยู่ในการวินิจฉัย

ทิฏฐิแล้ว นิรมิตศาสดาเป็นต้นขึ้นด้วยตนเอง

ก็ต้องวิวาทกันในโลกยิ่งขึ้นไป บุคคลละการ

วินิจฉัยทิฏฐิทั้งหมดแล้ว ย่อมไม่กระทำ

ความทะเลาะวิวาทในโลก ฉะนี้แล.

จบจูฬวิยูหสูตรที่ ๑๒

อรรถกถาจูฬวิยูหสูตรที่ ๑๒

จูฬวิยูหสูตร มีคำเริ่มต้นว่า สก สก ทิฏฺิปริพฺพสานา สมณ-

พราหมณ์ทั้งหลายยึดมั่นอยู่ในทิฏฐิของตน ๆ ดังนี้เป็นต้น.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ในมหาสมัยนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้ก็เพื่อ

ประกาศความนั้นแก่เทวดาบางพวกผู้มีจิตเกิดขึ้นแล้วว่า ผู้ถือทิฏฐิเหล่านี้

ทั้งหมดกล่าวว่า เราเป็นผู้ดี ผู้ถือทิฏฐิว่าเราเป็นผู้ดีเหล่านี้ตั้งอยู่ในทิฏฐิของตน

เท่านั้นหรือว่ารับทิฏฐิแม้อื่นด้วยทรงให้พระพุทธนิมิตถามพระองค์โดยนัยก่อน

นั่นแล.

ในสูตรนั้นสองคาถาข้างต้นเป็นคาถาถามนั่นเอง. ในคาถาเหล่านั้น

คาถาว่า สก สก ทิฏฺิปริพฺพสานา คือยึดมั่นอยู่ในทิฏฐิของตน ๆ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 806

วิคฺคยฺห นานา กุสลา วทนฺติ ถือมั่นทิฏฐิแล้วปฎิญาณว่าพวกเราเป็น

ผู้ฉลาด คือ ถือมั่นทิฏฐิเเรงกล้าแล้วปฏิญาณว่า เราเป็นผู้ฉลาดในทิฏฐินั้น

พูดมาก ๆ ไม่พูดหนเดียว. บทว่า โย เอว ชานาติ ส เวทิ ธมฺม อิท

ปฏิกฺโกสมเกวลี โส ผู้ใดรู้อย่างนี้ ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรม ผู้นั้นคัดค้านธรรม

ถือทิฏฐินี้ ความว่า ผู้ใดรู้อย่างนี้หมายถึงทิฏฐินั้น ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรมคือทิฏฐิ

คัดค้านธรรมคือทิฏฐินี้อยู่ บัณฑิตกล่าวว่าผู้นั้นเป็นคนเลว. บทว่า พาโล

คือ เป็นคนเลว. บทว่า อกุสโล คือ เป็นคนไม่ฉลาด. อีกสามคาถาเป็น

คาถาแก้. คาถาเหล่านั้นประมวลความที่กล่าวแล้วด้วยกึ่งคาถาก่อนโดยกึ่งคาถา

หลัง. พระสูตรนี้ได้ชื่อว่า จูฬพยูหะ เพราะมีความน้อยกว่าสูตรก่อน ด้วยการ

ประมวลนั้น.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปรสฺส จ ธมฺม คือ ความเห็นของคนอื่น.

บทว่า สพฺเพวิเม พาลา อธิบายว่า เมื่อเป็นอย่างนี้คนเหล่านี้ทั้งหมดเป็น

คนพาล. เพราะอะไร เพราะคนเหล่านี้ทั้งหมดเป็นคนยึดมั่นอยู่ในทิฏฐิ. บทว่า

สนฺทิฏฺิยา ปน ฯเปฯ มติมา ก็คนเหล่านั้นเป็นคนผ่องใสอยู่ในทิฏฐิ

ของตน ๆ จัดว่าเป็นคนมีปัญญาบริสุทธิ์ เป็นคนฉลาด มีความคิดอธิบายว่า

หากว่าคนเหล่านั้นเป็นคนไม่ผ่องใส เป็นคนเศร้าหมองในทิฏฐิของตน ๆ จัดว่า

เป็นคนมีปัญญาบริสุทธิ์ เป็นคนฉลาด และเป็นคนมีความคิด อีกอย่างหนึ่ง

ปาฐะว่า สนฺทิฏฺิยา เจ วทาตา หากว่าเป็นผู้ผ่องใสในความเห็นของตน.

มีอธิบายว่า หากคนเหล่านั้นเป็นคนผ่องใสมีปัญญาบริสุทธิ์ เป็นคนฉลาดและ

เป็นคนมีความคิดในทิฏฐิของตน ๆ. บทว่า น เตส โกจิ บรรดาเจ้าทิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 807

เหล่านั้น ก็จะไม่มีใคร ๆ คือ เมื่อเป็นอย่างนี้ บรรดาเจ้าทิฏฐิเหล่านั้นก็จะไม่มี

แม้แต่คนเดียวที่มีปัญญาทราม. เพราะอะไร เพราะทิฏฐิของคนแม้เหล่านั้นล้วน

เป็นทิฏฐิเสมอกันเหมือนทิฏฐิของคนนอกนี้. พึงทราบการเชื่อมความแห่งคาถา

ว่า น วาหเมต เราไม่กล่าวความเห็นนั้นว่าแท้ ต่อไปว่า คนสองพวก

กล่าวกันและกันว่าเป็นคนเขลา เพราะความเห็นใด เราไม่กล่าวความเห็นนั้นว่า

แท้. เพราะอะไร เพราะเหตุที่คนเหล่านั้นทั้งหมดได้ทำความเห็นของตน ๆ ว่า

สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ ด้วยเหตุนั้นคนเหล่านั้นจึงตั้งคนอื่นว่าเป็น

คนเขลา. ในบทนี้มีปาฐะเป็นสองอย่าง คือ ตถิย และ ตถิว แปลว่า เป็น

ของแท้.

บทว่า ยมาหุ ในคาถาเป็นคำถาม. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าว

ทิฏฐิใด ว่าเป็นความจริงแท้.

บทว่า เอก หิ สจฺจ ในคาถาเป็นคำแก้ คือ สัจจะมีอย่างเดียว

ได้แก่ นิโรธหรือมรรคเป็นสัจจะมีอย่างเดียว. บทว่า ยสฺมึ ปชาโน วิวเท

ปชาน ผู้ที่ทรามชัดมาทราบชัดอยู่ คือ ทรามชัดในสัจจะทราบชัดอยู่จะต้อง

วิวาทเพราะสัจจะอะไรเล่า. บทว่า สย ถุนนฺติ สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อม

กล่าวสัจจะให้ต่างกันออกไปด้วยตนเอง.

บทว่า กสฺมา นุ ในคาถาเป็นคำถาม แปลว่า เพราะเหตุไรหนอ.

บทว่า ปวาทิยาเส คือ กล่าวยกตน. บทว่า เต ตกฺกมนุสฺสรนฺติ คือ

หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นระลึกตามความคาดคะเนของตน.

บทว่า นเหว เป็นคาถาแก้ แปลว่า ไม่มีในโลกเลย. บทว่า

อญฺตฺร สญฺาย นิจฺจานิ เว้นจากสัญญาว่าเที่ยงเสีย คือ เว้นเพียงสัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 808

ว่าเที่ยงใช้ศัพท์ว่า สจฺจ คือจริง. บทว่า ตกฺก จ ทิฏฺีสุ ปกปฺปยิตฺวา

กำหนดความคาดคะเนในทิฏฐิทั้งหลาย คือ เพียงให้ความดำริผิดของตนเกิดใน

ทิฏฐิทั้งหลาย. ก็เพราะบุคคลนั้นเกิดความวิตกขึ้นในทิฏฐิทั้งหลาย จึงเกิดทิฏฐิ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า เจ้าทิฏฐิทั้งหลาย ยังทิฏฐิให้เกิด

ให้เกิดพร้อมดังนี้ไว้ในนิเทศ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อสัจจะต่าง ๆ ไม่มีอยู่ เพื่อจะทรงแสดง

ถึงการปฏิบัติผิดของเจ้าทิฏฐิทั้งหลาย ผู้ระลึกถึงเพียงความคาคคะเนจึงได้ตรัส

คาถาทั้งหลายมีอาทิว่า ทิฏฺเ สุเต ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ดังนี้

เป็นต้น.

บทว่า ทฏฺเ คือรูปที่ได้เห็น อธิบายว่า ความบริสุทธิ์แห่งรูป

ที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟังเป็นต้นก็มีนัยนี้. บทว่า เอเต จ นิสฺสาย

วิมานทสฺสี อาศัยทิฎฐิเหล่านี้ จึงเป็นผู้เห็นความบริสุทธิ์ คืออาศัยธรรม

คือ ทิฏฐิเหล่านี้ เป็นผู้เห็นความไม่นับถือ ความไม่ยกย่อง กล่าวคือ ความ

บริสุทธิ์. บทว่า วินิจฺฉเย ตฺวา ฯเปฯ จาห ตั้งอยู่ในการวินิจฉัยร่าเริงอยู่

กล่าวคือ คนอื่นเป็นคนเขลาไม่ฉลาด คือ แม้เห็นความบริสุทธิ์อย่างนี้ก็ตั้งอยู่

ในการวินิจฉัยทิฎฐินั้นเป็นผู้ยินดี ร่าเริง กล่าวอย่างนี้ว่า คนอื่นเป็นคนเลวและ

ไม่ฉลาด ดังนี้. เมื่อเป็นอย่างนี้ ควรทราบคาถาว่า เยเนว ด้วยทิฏฐิใดดังนี้

เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สยมตฺตนา ด้วยลำพังตน คือ ตนเองนั่นแหละ.

บทว่า วิมาเนติ คือ ย่อมติเตียน. บทว่า ตเทว ปาวา กล่าวทิฏฐินั่นเอง

คือ กล่าวคำพูดอันเป็นทิฏฐินั่นเอง หรือกล่าวถึงบุคคลนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 809

พึงทราบความแห่งคาถาว่า อติสารทิฏฺิยา ด้วยความเห็นว่าเป็น

สาระยิ่งต่อไป เจ้าทิฏฐินั้นเต็มเปี่ยมอืดด้วยทิฏฐิอันเป็นสาระยิ่ง อันมีสาระยิ่ง

ด้วยลักษณะนั้น อนึ่งเต็มเปี่ยมด้วยทิฏฐิมานะนั้น มีมานะบริบูรณ์อย่างนี้ว่า

เรา เท่านั้น อภิเษกตนเองด้วยใจว่าเรา เป็นบัณฑิต. เพราะอะไร. เพราะว่า

ทิฏฐินั้นของเขาบริบูรณ์แล้วอย่างนั้น.

พึงทราบการเชื่อมและความในคาถาว่า ปรสฺส เจ ดังนี้. มีอะไรยิ่ง

ไปกว่านั้น มีดังต่อไปนี้ ผู้ใดตั้งอยู่ในวินิจฉัยด้วยทิฏฐิแล้วร่าเริงอยู่ กล่าวว่า

คนอื่นนั้นพาล ไม่ฉลาด ดังนี้ ก็ถ้าบุคคลนั้นถูกเขาว่าอยู่จะเป็นคนเลวทราม

ด้วยถ้อยคำของผู้อื่น ตนก็จะมีปัญญาทรามไปด้วยกัน คือ เป็นผู้มีปัญญาเลว-

ทรามไปกับเขาด้วย แม้ผู้นั้นก็ย่อมกล่าวผู้มีปัญญาทรามว่าเป็นคนเขลาเลวทราม

เมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้อยคำของเขาไม่มีประมาณ ก็หากว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงเวท

และเป็นนักปราชญ์ด้วยลำพังตนเอง เมื่อเป็นอย่างนั้น สมณะทั้งหลายก็จะไม่มี

ใครเป็นคนเขลา สมณะเหล่านั้นทั้งหมดก็จะเป็นบัณฑิตตามความปรารถนาของ

ตน ๆ.

พึงทราบการเชื่อมและความในคาถาว่า อญฺ อิโต ทิฏฐิอื่นจากนี้

ไป ดังต่อไปนี้. จะพึงมีผู้ถามว่า ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ว่า

อถ เจ สย ฯเปฯ สมเณสุ อตฺถิ ความว่า ก็หากว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ถึงเวท

ฯลฯ สมณะทั้งหลายก็จะไม่มีใครเป็นคนเขลา เพราะเหตุไร จึงตรัสแก่ใคร ๆ

อีก. จะอธิบายในข้อนั้นต่อไป. เพราะชนเหล่าใด กล่าวยกย่องธรรม คือ

ทิฏฐิอื่นจากนี้ไป ชนเหล่านั้นผิดพลาดและไม่บริบูรณ์หมดจด เพราะเดียรถีย์

ทั้งหลายย่อมกล่าวอย่างนี้โดยมาก ชนเหล่าใดกล่าวยกย่องธรรม คือ ทิฏฐิอื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 810

จากนี้ไป ชนเหล่านั้นผิดพลาดทางอันบริสุทธิ์ และเป็นผู้ยังไม่บริบูรณ์ เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าพวกเดียรถีย์เป็นอันมากกล่าวไว้อย่างนี้. หากจะถามว่า

เพราะเหตุไร พวกเดีรถีย์จึงกล่าวอย่างนั้น. ตอบว่า เพราะว่าเดียรถีย์เหล่านั้น

ยินดีนัดด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน. ก็เดียรถีย์เหล่านั้นยินดียิ่งอย่างนี้ จึงตรัส

คาถาต่อไปว่า อิเธว สุทฺธึ กล่าวความบริสุทธิ์ในธรรม คือ ทิฏฐินี้เท่านั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สกายเน คือ ในทางของตน. บทว่า ทฬฺห

วทานา คือ รับรองอย่างหนักแน่น. อนึ่ง ในบรรดาเดียรถีย์ผู้รับรองอย่างหนัก

แน่นเหล่านั้น เดียรถีย์คนใดคนหนึ่งรับรองอย่างหนักแน่นในลัทธิของตน จะ

พึงตั้งใครอื่นว่าเป็นคนเขลาในลัทธินี้เล่า. เดียรถีย์รับรองอย่างหนักแน่นใน

ลัทธิของตน อันได้แก่สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิในทิฏฐินั้นโดยสังเขป หรือ

อันต่างด้วย นัตถิกทิฏฐิ อิสสระ การณะ นิยตะเป็นต้นโดยพิสดารว่า สิ่งนี้

เท่านั้นจริง พึงเห็นใครอื่นว่าเป็นคนเขลาในทิฏฐินี้ โดยธรรมเหล่า ตามความ

เห็นของเดียรถีย์นั้นแม้คนทั้งปวงก็เป็นบัณฑิต และเป็นผู้ปฏิบัติชอบได้เหมือน

กัน เมื่อเป็นอย่างนั้น เดียรถีย์นั้นเมื่อกล่าวผู้อื่นว่าเป็นคนเขลา มีธรรมไม่

บริสุทธิ์ ก็พึงนำความทะเลาะวิวาทมาให้แก่ตนฝ่ายเดียว คือ เดียรถีย์แม้นั้นยัง

กล่าวผู้อื่นว่า ผู้นี้เป็นคนเขลา และมีธรรมไม่บริสุทธิ์ ก็จะพึงนำความทะเลาะ

วิวาทมาให้แก่ตน. เพราะเหตุไร. เพราะตามความเห็นของเดียรถีย์นั้นแม้ชน

ทั้งหมดก็เป็นบัณฑิต และเป็นผู้ปฏิบัติชอบได้เหมือนกัน. พึงทราบโดยประ-

การทั้งปวงอย่างนี้. บทว่า วินิจฉเย ตฺวา ฯเปฯ วิวาทเมติ ความว่า เดียรถีย์

นั้นตั้งอยู่ในการวินิจฉัยด้วยทิฏฐิ แล้วนิรมิตศาสดาเป็นต้นขึ้นด้วยตนเอง ก็ต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 811

วิวาทกันยิ่งขึ้นไป เพราะเหตุนั้นบุคคลรู้โทษในการวินิจฉัยด้วยทิฏฐิอย่างนี้แล้ว

ละการวินิจฉัยด้วยทิฏฐิทั้งหมดด้วยอริยมรรค แล้วไม่ทำการทะเลาะวิวาทกัน

ในโลก. ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็น

ยอด คือ พระอรหัต.

เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุเช่นกับที่ได้กล่าวแล้วในปุราเภทสูตรนั่นแล.

จบอรรถกถาจูฬพยูหสูตรที่ ๑๒ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 812

มหาวิยูหสูตรที่ ๑๓

ว่าด้วยการยึดถือทิฏฐิของตน

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

[๔๒๐] บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งถือ-

มั่นอยู่ในทิฏฐิ ย่อมโต้เถียงวิวาทกันว่า สิ่งนี้

เท่านั้นจริง บุคคลทั้งหมดนั้น ย่อมนำความ

นินทามาเนืองๆ หรือย่อมได้ความสรรเสริญ

ในที่นั้นบ้าง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

บุคคลเหล่านั้นบางคราวได้ความ

สรรเสริญบ้าง ผลคือความสรรเสริญนั้น

น้อยนัก ไม่พอแก่ความสงบ เราย่อมกล่าว

ผลแห่งความวิวาทกัน ๒ ประการ คือ ความ

นินทาและความสรรเสริญนี้น้อยนัก ไม่พอ

แก่ความสงบ บัณฑิตเห็นโทษในผลแห่งการ

วิวาทแม้นี้แล้ว เห็นพระนิพพานมิใช่ภูมิแห่ง

การวิวาท ว่าเป็นธรรมเกษม ไม่พึงวิวาทกัน.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

ทิฏฐิหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นอันมาก

บัณฑิตผู้รู้แจ้งย่อมไม่เข้าไปใกล้ทิฏฐิทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 813

นั้น บัณฑิตผู้รู้แจ้งนั้น เป็นผู้ไม่เข้าไปใกล้

จะพึงถึงธรรมที่ควรเข้าไปใกล้อะไร จึงจะ

ไม่ทำความชอบใจในรูปที่ได้เห็น ในเสียง

ที่ได้ฟัง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ชนบางพวกผู้มีศีลอันอุดม สำคัญ

อยู่ว่าศีลเท่านั้นเป็นธรรมอุดม จึงกล่าว

ความบริสุทธิ์ด้วยการสำรวม ชนเหล่านั้น

สมาทานวัตรแล้วตั้งมั่นอยู่ ด้วยคิดว่า เรา

ทั้งหลายควรศึกษาความบริสุทธิ์ของศาสดา

นั้นในทิฏฐินี้เท่านั้น ชนเหล่านั้นอันภพนำ

เข้าไปแล้ว กล่าวว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ฉลาด.

ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและ

พรตแล้วไซร้ บุคคลนั้นยังกรรมให้ผิดไป

แล้วก็หวั่นไหว ยังคร่ำครวญและปรารถนา

ความบริสุทธิ์อยู่ เหมือนบุคคลอยู่ปราศจาก

เรือน เสื่อมแล้วจากพวก พึงปรารถนาเรือน

หรือพวก ฉะนั้น.

อนึ่ง อริยสาวก ละศีล พรต ธรรม

ที่มีโทษและไม่มีโทษทั้งสิ้นนี้ แล้วไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 814

ปรารถนาว่า ธรรมชาตินี้บริสุทธิ์ ธรรมชาติ

นี้ไม่บริสุทธิ์ เว้นแล้วจากความบริสุทธิ์ ไม่

ถือมั่นทิฏฐิ แล้วพึงเที่ยวไป.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย อาศัยทิฏฐิ

นั้นหรือความเกลียดบาป แม้อนึ่ง อาศัยรูปที่

ได้เห็นแล้ว เสียงที่ได้ฟังแล้ว หรืออารมณ์

ที่ได้ทราบแล้ว เป็นผู้ระลึกแล่นพ้นไปจาก

อกิริยทิฏฐิ ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อย

และภพใหญ่ ย่อมทอดถอนถึงความบริสุทธิ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ก็ความดิ้นรนทั้งหลาย หรือแม้ความ

หวั่นไหว ย่อมมีแก่ผู้มีความปรารถนา มีอยู่

ในวัตถุที่ตนกำหนดแล้ว การจุติและการ

อุบัติในภพนี้ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะพึง

หวั่นไหว จะพึงดิ้นรนในอารมณ์ไหน ๆ

เพราะเหตุอะไร.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวธรรม

ใดว่า เป็นธรรมอย่างยิ่ง ส่วนสมณพราหมณ์

เหล่าอื่นกล่าวธรรมนั้นแหละว่า เป็นธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 815

เลวทราม วาทะของสมณะพราหมณ์ทั้งสอง

พวกนี้ วาทะอย่างไหนจริงหนอ เพราะ

สมณพราหมณ์ทั้งหมดนี้แล เป็นผู้กล่าวอวด

อ้างว่าตนเป็นผู้ฉลาด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

สมณพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวธรรม

ของตนนั่นแหละ ว่าเป็นธรรมบริบูรณ์ แต่

กลับกล่าวธรรมของผู้อื่น ว่าเป็นธรรมเลว

ทราม สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ต่างยึดถือ

ทิฏฐิด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน

สมณพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวทิฏฐิของตน ๆ

ว่า เป็นของจริง.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

ถ้าว่าบุคคลพึงเป็นผู้เลวทราม เพราะ

การติเตียนของบุคคลอื่นไซร้ ใคร ๆ จะพึง

เป็นผู้วิเศษในธรรมทั้งหลาย เพราะว่าสมณ-

พราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมกล่าวธรรมของ

บุคคลอื่น โดยความเป็นธรรมเลวทราม ใน

ธรรมของตน กล่าวว่าเป็นธรรมมั่นคง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมสรร-

เสริญหนทางเครื่องดำเนินของตนอย่างใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 816

การบูชาธรรมของตนของสมณพราหมณ์

เหล่านั้น ดียังเป็นไปอยู่อย่างนั้น หากว่า

วาทะทั้งปวงจะพึงเป็นของแท้ไซร้ ความ

บริสุทธิ์ของสมณพราหมณ์ผู้มีถ้อยคำต่าง ๆ

กันเหล่านั้น ก็จะเป็นผลเฉพาะตน ๆ เท่านั้น.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

ญาณที่ผู้อื่นจะพึงนำไปไม่มีแก่

พราหมณ์ การวินิจฉัยในธรรม คือ ทิฏฐิ

ทั้งหลายว่าข้อนี้แหละจริง ดังนี้แล้ว ยึดถือ

ไว้ ไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น

พราหมณ์จึงล่วงความวิวาทเสียได้ พราหมณ์

นั้นย่อมไม่เห็นธรรมอื่น โดยความเป็นธรรม

ประเสริฐเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

เดียรถีย์บางพวกกล่าวอยู่ว่า เรารู้

เราเห็น สิ่งที่เรารู้ เราเห็นนี้ เป็นอย่างนั้นแล

ดังนี้ จึงเชื่อความบริสุทธิ์ด้วยทิฏฐิ ถ้าว่า

เดียรถีย์ได้เห็นแล้วไซร้ ประโยชน์อะไรเล่า

ด้วยความเห็นนั้นแก่ตน เพราะว่าเดียรถีย์

ทั้งหลาย ก้าวล่วงอริยมรรคเสียแล้วย่อม

กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยธรรมอย่างอื่น.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 817

นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป และ

ครั้นเห็นแล้ว จักรู้ทั่วถึงนามรูปเหล่านั้นที

เดียวโดยความเป็นของเที่ยง หรือโดยความ

เป็นสุข นรชนนั้น จะเห็นนามรูปมากหรือ

น้อยโดยความเป็นของเที่ยงและเป็นสุข ก็

จริง ถึงกระนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมไม่

กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยความเห็นนั้นเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ชนผู้ทำทิฏฐิที่ตนกำหนดไว้ในเบื้อง

หน้า มีปกติกล่าวตามความมั่นใจ ไม่ใช่

เป็นผู้อันบุคคลอื่นพึงจะแนะนำได้ง่ายเลย ผู้

นั้นอาศัยครูคนใดแล้ว ก็เป็นผู้กล่าวความ

ดีงามในครูคนนั้น ผู้นั้นเป็นผู้กล่าวความ

บริสุทธิ์ ได้เห็นความถ่องแท้ในทิฏฐิของตน.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

พราหมณ์รู้แล้ว ย่อมไม่เข้าถึงเครื่อง

กำหนด ด้วยตัณหาและทิฏฐิ ไม่แล่นไปด้วย

ทิฏฐิ และไม่มีตัณหาทิฏฐิเครื่องผูกพันด้วย

ญาณ อนึ่ง พราหมณ์นั้น ได้รู้สมมติ คือ

ทิฏฐิทั้งหลายเป็นอันมากแล้ววางเฉย ชน

เหล่าอื่นย่อมยึดถือทิฏฐิเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 818

มุนีในโลกนี้ สละกิเลสเครื่องร้อยรัด

เสียแล้ว เมื่อผู้อื่นเกิดวิวาทกัน ก็ไม่แล่นไป

เข้าพวกเขา มุนีนั้นเป็นผู้สงบ เมื่อผู้อื่นไม่

สงบ ก็เป็นผู้มีอุเบกขาอยู่ ท่านไม่มีการยึด

ถือ ชนเหล่าอื่นย่อมยึดถือ.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

มุนีละอาสวะเบื้องต้น (คือส่วนที่ล่วง

แล้ว) เสีย ไม่ทำอาสวะไหน (คือส่วนที่เป็น

ปัจจุบัน) ไม่เป็นผู้ลำเอียงเพราะความพอใจ

อนึ่ง มุนีนั้นจะเป็นผู้ยึดมั่นกล่าวก็หาไม่ มุนี

นั้นเป็นนักปราชญ์ หลุดพ้นแล้วจากทิฏฐิ

ทั้งหลาย ไม่ติเตียนตน ไม่ติดอยู่ในโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบว่า

มุนีนั้น เป็นผู้ไม่มีมารและเสนามาร

ในธรรมทั้งปวง คือ อารมณ์อย่างใดอย่าง

หนึ่งที่ได้เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว หรือได้ทราบ

แล้ว ปลงภาระลงแล้ว หลุดพ้นแล้ว เป็น

ผู้ไม่มีเครื่องกำหนด ไม่เข้าไปยินดี

ความปรารถนา ฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 819

อรรถกถามหาพยูหสูตรที่ ๑๓

มหาพยูหสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เย เกจิเม บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ดังนี้เป็นต้น.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

ในมหาสมัยนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้เพื่อทำ

ให้แจ้งความนั้น แก่เหล่าเทวดาบางพวกผู้มิจิตเกิดขึ้นว่า บุคคลเหล่านี้ถือมั่น

ในทิฏฐิย่อมได้รับการนินทาอย่างเดียวหรือหนอ หรือได้รับแม้การสรรเสริญ

ด้วย จากสำนึกของวิญญูชนทั้งหลาย ทรงให้พระพุทธนิมิตถามพระองค์

โดยนัยก่อนนั่นแล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนฺวานยนฺติ ได้แก่ นำมาเนือง ๆ คือนำมา

บ่อย ๆ. เพราะบุคคลผู้มีวาทะเป็นเจ้าทิฎฐิเหล่านั้นแม้กล่าวอยู่ว่าสิ่งนี้เท่านั้น

จริง บางคราวได้ความสรรเสริญบ้าง ผลแห่งวาทะอันได้แก่ความสรรเสริญนั้น

น้อยนักไม่สามารถเพื่อสงบราคะเป็นต้นได้ จะกล่าวไปไยถึงผลแห่งการนินทา

ที่สอง ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความนี้จึงตรัสคาถาแก้นี้ก่อน

มีอาทิว่า เรากล่าวผลแห่งการวิวาท ๒ ประการนี้น้อยนัก ไม่พอแก่ความสงบ

ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุเว วิวาทสฺส ผลานิ ผลแห่งการวิวาท

๒ ประการ ได้แก่ ความนินทาและความสรรเสริญ หรือได้แก่ ความชนะ

และความแพ้เป็นต้นอันเป็นส่วนพวกเดียวกันกับความสรรเสริญและความนินทา

นั้น. บทว่า เอตมฺปิ ทิสฺวา เห็นโทษแห่งการวิวาทกัน คือเห็นโทษในผล

๑. บาลีว่า มหาวิยูหสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 820

แห่งการวิวาทอย่างนี้ว่า การนินทาอันเป็นสิ่งไม่น่าปรารถนา การสรรเสริญ

ไม่พอแก่ความสงบดังนี้ บัณฑิตเห็นนิพพานมิใช่ภูมิแห่งการวิวาทว่าเป็นธรรม

เกษม. เมื่อไม่วิวาทกันอย่างนี้ พึงทราบคาถาต่อไปว่า ยา กาจิมา ทิฏฐิ

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมติโย ได้แก่ ทิฏฐิ. บทว่า ปุถุชฺชา คือ

เป็นอันมาก. บทว่า โส อุปย กิเมยฺย บัณฑิตผู้รู้แจ้งนั้นจะพึงถึงธรรมที่ควร

เข้าไปใกล้อะไร คือบัณฑิตนั้นพึงถึงธรรมเครื่องเข้าใกล้ ด้วยอรรถว่า พึงเข้า

ถึง คือจะพึงถึงธรรมแม้อย่างหนึ่งในรูปเป็นต้นที่ควรเข้าไปใกล้อะไร หรือพึง

เข้าถึงด้วยเหตุอะไร. บทว่า ทิฏฺเ สุเต ขนฺติมกุพฺพมาโน ได้แก่ ไม่

ทำความชอบใจในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟังและในความบริสุทธิ์. นอก

เหนือไปจากนี้ควรทราบคาถาว่า สีลุตฺตมา ผู้มีศีลอุดมเป็นต้นต่อไป.

บทนั้นมีความดังนี้ ชนบางพวกมีศีลอุดมสำคัญว่าศีลเท่านั้นเป็นธรรม

อุดม จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยการเพียงสำรวม

เท่านั้น อนึ่งชนเหล่านั้นสมาทานวัตรมีหัตถีวัตรเป็นต้น ตั้งมั่นด้วยคิดว่า

ความบริสุทธิ์ของศาสดาจะพึงมีในทิฏฐิเท่านั้น เขาถูกภพนำเข้าไปแล้วถูกภพ

ท่วมทับ ยังพูดอยู่เสมอ ๆ ว่าเราเป็นผู้ฉลาด. บรรดาผู้มีศีลอุดมคนใดคนหนึ่ง

ปฏิบัติได้อย่างนั้น พึงทราบคาถา สเจ จุโต หากบุคคลเคลื่อนจากศีลและ

พรตดังนี้ต่อไป.

บทนั้นมีความดังนี้ หากว่าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรตนั้น

ด้วยการตัดผู้อื่น หรือไม่บริโภคร่วม บุคคลนั้นยังกรรมมีศีลและพรตเป็นต้น

หรือกรรมคือปุญญาภิสังขารให้ผิดแล้วก็หวั่นไหว มิใช่หวั่นไหวอย่างเดียว ยัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 821

กระหายคร่ำครวญปรารถนาความบริสุทธิ์คือศีลและพรตนั้นอยู่. เหมือนอะไร.

เหมือนบุคคลอยู่ปราศจากเรือน เสื่อมแล้วจากพวก พึงปรารถนาเรือนหรือพวก

ฉะนั้น อนึ่งอริยสาวกละศีลและพรตทั้งหมดอันเป็นเหตุทำให้ผู้มีศีลและพรต

อันสูงสุดหวั่นไหว. พึงทราบคาถาต่อไป.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สาวชฺชานวชฺช ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ

ได้แก่อกุศลทั้งปวงและโลกิยกุศล. บทว่า สุทฺธี อสุทฺธีติ อปฏฺยมาโน

ไม่ปรารถนาว่าธรรมชาตินี้บริสุทธิ์ ธรรมชาตินี้ไม่บริสุทธิ์ คือไม่ปรารถนา

ธรรมชาติบริสุทธิ์ มีกามคุณ ๕ เป็นต้น และธรรมชาตินี้ไม่บริสุทธิ์ มีอกุศล

เป็นต้น. บทว่า วิรโต จเร เว้นแล้วเที่ยวไป คือเว้นแล้วจากความบริสุทธิ์

และความไม่บริสุทธิ์เที่ยวไป. บทว่า สนฺติมนุคฺคหาย คือไม่ถือมั่นทิฏฐิ.

พระพุทธนิมิตครั้นทรงแสดงสมณพราหมณ์ภายนอกจากศาสนานี้อย่างนี้ ผู้มี

วาทะบริสุทธิ์ด้วยการสำรวมในศีลอันสูงสุด การกำจัดสมณพราหมณ์ภายนอก

เหล่านั้น และการปฏิบัติของพระอรหันต์ผู้ละศีลและพรตแล้ว บัดนี้เมื่อจะทรง

แสดงถึงสมณพราหมณ์ภายนอกผู้มีวาทะบริสุทธิ์ แม้โดยประการอื่น จึงตรัส

คาถาว่า ตมูปนิสฺสาย อาศัยทิฏฐินั้น ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังต่อไปนี้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายแม้เหล่าอื่น อาศัยทิฏฐิ

นั้นหรือความเกลียดบาปอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิอันบริสุทธิ์เป็นต้น เป็นผู้ระ-

ลึกแล่นพ้นไปจากอกิริยทิฏฐิ ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่ แล้ว

ย่อมทอดถอน คือพูดถึงความบริสุทธิ์. อธิบายว่า เมื่อสมณพราหมณ์เหล่านั้น

ยังไม่ปราศจากตัณหา ทอดถอนถึงความบริสุทธิ์ แม้ผู้ใดพึงสำคัญตนว่าเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 822

ถึงความบริสุทธิ์ ผู้นั้นเพราะยังไม่ปราศจากตัณหายังปรารถนาวัตถุนั้น ๆ ใน

ภพน้อยและภพใหญ่ ก็ยังมีความดิ้นรนอยู่บ่อย ๆ นั่นเอง. เพราะตัณหาที่บุคคล

เสพเป็นอาจิณแล้ว ก็ทำให้ตัณหาเจริญมากขึ้นนั่นเอง และมิใช่ความดิ้นรน

อย่างเดียว ความหวั่นไหวังมีในวัตถุที่ตนกำหนดอีกด้วย. ท่านอธิบายว่า

ตัณหาและทิฏฐิของบุคคลนั้น เป็นความหวั่นไหวในวัตถุที่ตนกำหนดแล้ว. ก็

เพราะเป็นผู้ปราศจากตัณหาในภพและมิใช่ภพแล้ว การจุติและการอุบัติต่อไป

ในภพนี้ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะพึงหวั่นไหว จะพึงดิ้นรนในอารมณ์ไหน ๆ

เพราะเหตุอะไร. นี้เป็นการเชื่อมความของคาถานี้. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าว

แล้วในนิเทศนั่นแล.

บทว่า ยมาหุ เป็นคาถาถาม คือ มณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวธรรมใด.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะไม่มีวาทะที่เป็นจริงแม้วาทะเดียวใน

สมณพราหมณ์นี้ ด้วยว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวเพียงความเห็นอย่างเดียว

ฉะนั้นเมื่อจะทรงแสดงความเห็นจึงตรัสคาถาแก้นี้ก่อนว่า สกญฺหิ ธรรมของตน

นั่นแหละ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สก คือทิฏฐิของตน. เมื่อสมณพราหมณ์เหล่านี้

กล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์ กล่าวธรรมของคนอื่นว่าเลว พึงทราบคาถาว่า

ยสฺส กสฺสจิ ปรสฺส เจ วมฺภยิเตน หีโน หากบุคคลพึงเป็นผู้เลวทราม

เพราะการติเตียนของบุคคลอื่น คนใดคนหนึ่ง ดังนี้ต่อไป.

บทนั้นมีความดังนี้ ผิว่าบุคคลนั้นพึงเป็นผู้เลวทรามเพราะเหตุที่คนอื่น

ติเตียน ใคร ๆ ก็จะไม่พึงเป็นผู้วิเศษคือเลิศในธรรมทั้งหลาย. เพราะอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 823

เพราะสมณพราหมณ์เป็นอันมาก กล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นธรรมเลว

สมณพราหมณ์ทั้งหมดเหล่านั้น ในธรรมของตนกล่าวว่ามั่นคง. มีอะไร

ยิ่งไปกว่านั้น. พึงทราบคาถาว่า สธมฺมปูชา การบูชาธรรมของตน ดังนี้

เป็นต้น ต่อไป.

บทนั้นมีความดังนี้ พวกเดียรถีย์เหล่านั้นย่อมสรรเสริญหนทางเครื่อง

ดำเนินของตนอย่างใด แม้การบูชาธรรมของตนของเดียรถีย์เหล่านั้น ก็ยัง

เป็นไปอยู่อย่างนั่น เพราะว่าพวกเดียรถีย์เหล่านั้นย่อมเคารพศาสดาเป็นต้น

เหลือเกิน. ในข้อนั้น ผิว่าการบูชาธรรมของทนจะพึงเป็นประมาณแก่พวก

เดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อเป็นอย่างนั้น วาทะทั้งหมดก็จะพึงเป็นของแท้. เพราะ

อะไร. เพราะว่าความบริสุทธิ์ของเดียรถีย์เหล่านั้น เป็นผลเฉพาะตน ๆ เท่านั้น

ความบริสุทธิ์นั้นย่อมไม่สำเร็จในที่อื่น แม้โดยปรมัตถ์ก็ไม่สำเร็จ เพราะคำนั้น

เป็นเพียงยึดถือความเห็นในตนเท่านั้นของผู้รู้ที่ปัจจัยอื่นจะพึงนำไปเหล่านั้น

แต่ตรงกันข้ามผู้ใดชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะลอยบาปได้แล้ว พึงทรวบคาถาว่า

โย ปน วิปรีโต ฯเปฯ ปรเนยฺยมตฺถิ ญาณที่ผู้อื่นพึงนำไปไม่มีแก่

พราหมณ์นั้น ดังนี้ต่อไป.

บทนั้นมีความดังนี้ ญาณที่ผู้อื่นจะพึงนำไป ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์

เพราะเห็นชอบแล้วโดยนัยมีอาทิว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้. การ

วินิจฉัยในธรรมคือทิฏฐิทั้งหลายว่าข้อนี้เท่านั้นจริง ดังนี้แล้วยึดถือไว้ ไม่มีแก่

พราหมณ์. เพราะอะไร. เพราะว่าพราหมณ์นั้นล่วงความวิวาทเพราะทิฏฐิเสียได้

อนึ่งพราหมณ์นั้นไม่เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นธรรมประเสริฐเลยนอกจาก

สติปัฏฐานเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 824

พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า ชานามิ เรารู้. พึงทราบ

อย่างนี้ก่อน จริงอยู่พราหมณ์ชั้นยอดย่อมไม่เห็นธรรมอื่น โดยความเป็นธรรม

ประเสริฐเลย. แต่พวกเดียรถีย์เหล่าอื่นรู้อยู่เห็นอยู่ด้วยปรจิตตญาณ (รู้ใจผู้อื่น)

เป็นต้น แม้กล่าวว่า เรารู้ เราเห็น สิ่งที่เรารู้เราเห็นเป็นอย่างนั้นแล ดังนี้จึง

เธอความบริสุทธิ์ด้วยทิฏฐิ. เพราะเหตุไร. เพราะหากว่าบรรดาเดียรถีย์เหล่านั้น

แม้คนหนึ่งได้เห็น ก็จะได้เห็นความตามเป็นจริง ด้วยปรจิตตญาณเป็นต้นนั้น

ประโยชน์อะไรเล่าด้วยการเห็นนั้นแก่ตน คือทำอะไรได้ การกำหนดรู้ทุกข์

สำเร็จแล้วหรือ หรือการละเหตุให้เกิดทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งสำเร็จแล้ว เพราะ

เดียรถีย์ทั้งหลายเหล่านั้นก้าวล่วงอริยมรรค แม้โดยประการทั้งปวงได้แล้วย่อม

กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยธรรมอย่างอื่น หรือพระพุทธเจ้าเป็นต้นก้าวล่วงเดียรถีย์

เหล่านั้นได้แล้วย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ด้วยธรรมอย่างอื่น.

พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า ปสฺส นโร นรชนเมื่อเห็น

ย่อมเห็นนามรูป ดังนี้เป็นต้น. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้น มีดังต่อไปนี้. นรชนใด

ได้เห็นด้วยปรจิตตญาณ (รู้ใจผู้อื่น) แล้ว นรชนนั้นเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป

แต่นั้นครั้นเห็นแล้วจักรู้ทั่วถึงนามรูปเหล่านั้นทีเดียว โดยความเป็นของเที่ยง

หรือโดยความเป็นสุข จักไม่รู้โดยประการอื่น. นรชนนั้นเมื่อเห็นอยู่อย่างนี้

จะเห็นนามรูปมากหรือน้อยโดยความเป็นของเที่ยง และโดยเป็นสุขก็จริง ถึง

กระนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยการเห็น เห็นปานนั้น

ของเขาเลย.

พึงทราบการเชื่อมและความของคาถาว่า นิวิสฺสวาที มีปกติกล่าว

ตามความมั่นใจ ดังนี้เป็นต้น. แม้เมื่อไม่มีความบริสุทธิ์ด้วยความเห็นนั้น ผู้ใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 825

มีปกติกล่าวตามความมั่นใจอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็นสิ่งนั้น เป็นอย่างนั้นแล

อาศัยความเป็นอย่างนั้นจึงเชื่อความบริสุทธิ์ด้วยทิฏฐิ เป็นผู้มีปกติกล่าวตาม

ความมั่นใจอย่างนี้ว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ผู้นั้นมิใช่จะพึงแนะนำได้ง่ายเลย ชนผู้ทำ

ทิฏฐิที่ตนกำหนดคือปรุงแต่งไว้เบื้องหน้าอย่างนั้น ผู้นั้นอาศัยศาสดาคนใดแล้ว

ก็เป็นผู้กล่าวถึงความดีงามในศาสดานั้นสำคัญตนว่าเราเป็นผู้กล่าวความบริสุทธิ์

เป็นผู้กล่าวความหมดจด หรือเป็นผู้เห็นความบริสุทธิ์ ดังนี้. บทว่า ตตฺถ

ตถทฺทสา โส ผู้นั้นได้เห็นความถ่องแท้ในทิฏฐิของตน คือได้เห็นความ

ไม่วิปริตในทิฏฐิของตนนั้น. อธิบายว่า ได้เห็นความถ่องแท้นั้นโดยประการที่

ทิฏฐินั้นยังเป็นไปอยู่ ไม่ปรารถนาจะเห็นโดยประการอื่น. เมื่อพวกเดียรถีย์

ทำทิฏฐิที่ตนกำหนดไว้อย่างนี้ในเบื้องหน้า พึงทราบคาถาต่อไปว่า พราหมณ์

รู้แล้วย่อมไม่เข้าถึงเครื่องกำหนด คือตัณหาและทิฏฐิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺข แปลว่ารู้แล้ว อธิบายว่า รู้ด้วยการนับ.

บทว่า นปิ าณพนฺธุ ไม่มีตัณหาทิฏฐิเครื่องผูกพันด้วยญาณ คือ ไม่ทำ

เครื่องผูกพันตัณหาทิฏฐิไว้ด้วยสมาปัตติญาณเป็นต้น. ในบทนั้นมีวิเคราะห์ว่า

เครื่องผูกพันที่ทำไว้ด้วยญาณของคนนั้นไม่มี เหตุนั้น คนนั้นจึงชื่อว่าไม่มี

เครื่องผูกพันด้วยญาณ. บทว่า สมฺมติโย ได้แก่ สมมติว่าเป็นทิฏฐิ. บทว่า

ปุถุชฺชา คือมีเป็นอันมาก. บทว่า อคฺคหณฺนฺติมญฺเ คือคนเหล่าอื่น

ย่อมยึดถือ อธิบายว่า คนเหล่าอื่นย่อมยึดถือสมมติเหล่านั้น. มีอะไรยิ่งไปกว่า

นั้น มีคาถาว่า วิสชฺช คนฺถานิ มุนีสละกิเลสเครื่องร้อยรัดเสียแล้ว ดังนี้

เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุคฺคโห คือเว้นจากการยึด ชื่อว่า อนุคฺ-

คโห เพราะไม่มีการยึดถือ หรือย่อมไม่ยึดถือ. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้น . มีคาถา

ว่า ปุพฺพาสเว มุนีละอาสวะเบื้องต้นเสีย ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 826

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพาสเว ได้แก่ กิเลสเกิดขึ้นเพราะปรารภรูป

ในอดีตเป็นต้น. บทว่า นเว อาสวะใหม่ คือกิเลสเกิดขึ้นปรารภรูปในปัจจุบัน

เป็นต้น. บทว่า น ฉนฺทคู คือไม่ลำเอียงเพราะความพอใจ. บทว่า

อนตฺตครหี คือมุนีไม่ติเตียนตนด้วยการทำและไม่ทำ มุนีไม่ติเตียนตนอย่างนี้

พึงทราบคาถาต่อไปว่า ส สพฺพธมฺเมสุ มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีมารและเสนามาร

ในธรรมทั้งปวง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ส สพฺพธมฺเมสุ ได้แก่ ในธรรมอันมีประเภท

อย่างนี้ว่า ธรรมอะไร ๆ ในธรรมคือทิฏฐิ ๖๒. บทว่า ปนฺนภาโร คือปลง

ภาระลงแล้ว. เป็นผู้ไม่มีเครื่องกำหนด เพราะไม่กำหนดไว้ อธิบายว่า

ไม่ทำเครื่องกำหนดแม้สองอย่าง. บทว่า นูปรโต ไม่เข้าไปยินดี คือ (มุนี) ไม่

เข้าไปคลุกคลีเหมือนปุถุชน กัลยาณปุถุชนและพระเถระ. บทว่า น ปฏฺิโย

ไม่มีความปรารถนา คือไม่มีตัณหา. ชื่อว่า ปฏฺิยา เพราะตัณหาปรารถนา.

ชื่อว่า น ปฏฺิโย เพราะไม่มีความปรารถนา. บทที่เหลือในบทนั้นท่านกล่าว

ไว้ชัดแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยธรรมเป็นยอดคือพระ-

อรหัตด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถามหาพยูหสูตรที่ ๑๓ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 827

ตุวฏกสูตรที่ ๑๔

ว่าด้วยมีความเห็นแล้วถือมั่น

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

[๔๒๑] ข้าพระองค์ขอทูลถามพระ-

องค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ผู้สงัดและ

มีความสงบเป็นที่ตั้ง ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่

ภิกษุเห็นอย่างไรจึงไม่ถือมั่นธรรมอะไร ๆ

ในโลก ย่อมดับ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ภิกษุพึงปิดกั้นเสียซึ่งธรรมทั้งปวง

อันเป็นรากเหง้าแห่งส่วนของธรรมเป็นเครื่อง

ยังสัตว์ให้เนิ่นช้า ซึ่งเป็นไปอยู่ว่า เป็นเรา

ด้วยปัญญา ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งพึงบัง-

เกิดขึ้น ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา

ทุกเมื่อ เพื่อปราบตัณหาเหล่านั้น.

ภิกษุพึงรู้ยิ่งธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

ณ ภายใน หรือภายนอกไม่พึงกระทำความ

ถือตัวด้วยธรรมนั้น สัตบุรุษทั้งหลายไม่กล่าว

ความดับนั้นเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 828

ภิกษุไม่พึงสำคัญว่า เราเป็นผู้ประ-

เสริฐกว่าเขา เสมอเขาหรือเลวกว่าเขา ด้วย

ความถือตัวนั้น ถูกผู้อื่นถามด้วยคุณหลาย-

ประการ ก็ไม่พึงกำหนดตนตั้งอยู่โดยนัย

เป็นต้นว่า เราบวชแล้วจากสกุลสูง.

ภิกษุพึงสงบระงับภายในเทียว ไม่พึง

แสวงหาความสงบโดยอุบายอย่างอื่น ความ

เห็นว่าตัวตน ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สงบแล้ว ณ

ภายใน.

อนึ่ง ความเห็นว่าไม่มีตัวตน คือ

เห็นว่าขาดสูญ จักมีแต่ที่ไหน คลื่นไม่เกิด

ที่ท่ามกลางเเห่งสมุทร สมุทรนั้นตั้งอยู่ไม่-

หวั่นไหว ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่

หวั่นไหวในอิฏฐผลมีลาภเป็นต้น ฉันนั้น

ภิกษุไม่พึงกระทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นมีราคะ

เป็นต้น ในอารมณ์ไหน ๆ.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุเปิดแล้ว ขอ

พระองค์ได้ตรัสบอกธรรมที่ทรงเห็นด้วย

พระองค์เอง อันนำเสียซึ่งอันตราย (ขอพระ-

องค์จงมีความเจริญ) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 829

ขอพระองค์จงตรัสบอกข้อปฏิบัติ และศีล

เครื่องให้ผู้รักษาพ้นจากทุกข์หรือสมาธิเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุเลย

พึงปิดกั้นโสตเสียจากถ้อยคำของชาวบ้าน

ไม่พึงกำหนัดยินดีในรสและไม่พึงถือสิ่ง

อะไร ๆ ในโลกว่า เป็นของเรา.

เมื่อตนอันผัสสะถูกต้องแล้ว ใน

กาลใด ในกาลนั้น ภิกษุไม่พึงกระทำความ

ร่ำไร ไม่พึงปรารถนาภพในที่ไหน ๆ และ

ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะอารมณ์ที่น่ากลัว.

ภิกษุได้ข้าว น้ำ ของเคี้ยว หรือ

แม้ผ้าแล้ว ไม่พึงกระทำการสั่งสมไว้และ

เมื่อไม่ได้สิ่งเหล่านั้น ก็ไม่พึงสะดุ้งดิ้นรน.

พึงเป็นผู้เพ่งฌาน ไม่พึงโลเลด้วย

การเที่ยว พึงเว้นความคะนอง ไม่พึง

ประมาท อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุพึงอยู่ในที่นั่ง

และที่นอนอันเงียบเสียง.

ไม่พึงนอนมาก พึงมีความเพียร

เสพความเป็นผู้ตื่นอยู่ พึงละเสียให้เด็ดขาด

ซึ่งความเกียจคร้าน ความล่อลวง ความ

ร่าเริง การเสพเมถุนธรรมกับทั้งการประดับ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 830

ภิกษุผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของ

เรา ไม่พึงประกอบอาถรรพ์ ตำราทำนายฝัน

ทำนายลักษณะ นักขัตฤกษ์ การทำนายเสียง

สัตว์ร้อง การทำยาให้หญิงมีครรภ์ และการ

เยียวยารักษา.

ภิกษุไม่พึงหวั่นไหว เพราะนินทา

เมื่อเขาสรรเสริญก็ไม่พึงเห่อเหิม พึงบรรเทา

ความโลภ พร้อมทั้งความตระหนี่ ความโกรธ

และคำส่อเสียดเสีย.

ภิกษุไม่พึงขวนขวายในการซื้อการ-

ขายไม่พึงกระทำการกล่าวติเตียนในที่ไหน ๆ

และไม่พึงคลุกคลีในชาวบ้าน ไม่พึงเจรจา

กะชนเพราะความใคร่ลาภ.

ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูดโอ้อวด ไม่

พึงกล่าววาจาประกอบปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ไม่

พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง ไม่พึงกล่าว

ถ้อยคำเถียงกัน.

ภิกษุพึงเป็นผู้มีสัมปชัญญะ ไม่พึง

นิยมในการกล่าวมุสา ไม่พึงกระทำความ

โอ้อวด อนึ่ง ไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความ

เป็นอยู่ด้วยปัญญา ศีลและพรต,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 831

ภิกษุถูกผู้อื่นเสียดสีแล้ว ได้ฟังวาจา

มากของสมณะทั้งหลายหรือของชนผู้พูดมาก

ไม่พึงโต้ตอบด้วยคำหยาบ เพราะสัตบุรุษ

ทั้งหลายย่อมไม่กระทำความเป็นข้าศึก.

ภิกษุรู้ทั่วถึงธรรมนี้แล้ว ค้นคว้า

พิจารณาอยู่ รู้ความดับกิเลสว่าเป็นความสงบ

ดังนี้แล้ว พึงเป็นผู้มีสติศึกษาทุกเมื่อ ไม่พึง

ประมาทในศาสนาของพระโคดม.

ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ครอบงำอารมณ์มี

รูปเป็นต้น อันอารมณ์มีรูปเป็นต้นครอบงำ

ไม่ได้ เป็นผู้เห็นธรรมที่ตนเห็นเองประจักษ์

แก่ตน เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุผู้ไม่ประมาท

พึงนอบน้อมศึกษาไตรสิกขาอยู่เนือง ๆ ใน

ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ทุกเมื่อเทอญ.

จบตุวฏกสูตรที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 832

อรรถกถาตุวฏกสูตรที่ ๑๔

ตุวฏกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ปุจฺฉามิ ต ข้าพระองค์ขอทูลถามพระ-

องค์ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

ในมหาสมัยนั้นอีกนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้เพื่อ

ทรงประกาศความนั้นแก่ทวยเทพบางพวกผู้มีจิตเกิดขึ้นว่า อะไรหนอ คือการ

ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตจึงให้พระพุทธนิมิตตรัสถามโดยนัยก่อนนั่นแล. ใน

คาถาต้นนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้คำถามด้วยการเทียบเคียงความเห็นใน

บทนี้ว่า ปุจฺฉามิ ดังนี้. บทว่า อาทิจฺจพนฺธุ คือ เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์.

บทว่า วิเวก สนฺติปทญฺจ ได้แก่ ผู้สงัดและมีความสงบเป็นที่ตั้ง. บทว่า

กถ ทิสฺวา คือ เห็นด้วยเหตุไร อธิบายว่า เป็นผู้เป็นไปแล้วอย่างไร.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะภิกษุเห็นอย่างใด ย่อมปิดกั้น

กิเลสทั้งหลาย เป็นผู้มีทัศนะเป็นไปแล้วเพราะเห็นอย่างนั้น ย่อมดับ ฉะนั้น

เมื่อจะทรงทำความนั้นให้แจ่มแจ้ง จึงทรงชักชวนเทพบริษัทนั้นในการละกิเลส

ด้วยประการต่าง ๆ ได้ตรัสคาถา ๕ คาถา เริ่มว่า มล ปปญฺจสาขาย ธรรม

ทั้งปวงอันเป็นรากเหง้าแห่งส่วนของธรรมเป็นเครื่องยังสัตว์ให้เป็นช้า ดังนี้.

พึงทราบความสังเขปแห่งคาถาต้นในคาถาเหล่านั้นก่อน. กิเลสทั้ง

หลายมีอวิชชาเป็นต้นอันเป็นรากเหง้าแห่งส่วนของธรรมเป็นเครื่องยังสัตว์ให้

เนิ่นช้า เพราะท่านเรียกว่า ปปญฺจา นั้นภิกษุพึงปิดกั้นเสียซึ่งธรรมทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 833

อันเป็นรากเหง้าแห่งส่วนของธรรมเป็นเครื่องยังสัตว์ให้เนิ่นช้านั้น ซึ่งเป็นไป

อยู่ว่าเป็นเราด้วยปัญญา ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งพึงเกิดขึ้น ณ ภายใน ภิกษุ

พึงเป็นผู้มีสติศึกษาทุกเมื่อ เพื่อกำจัดตัณหาเหล่านั้น คือ พึงตั้งสติศึกษา

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงเทศนาประกอบด้วยไตรสิกขาใน

คาถาที่หนึ่งก่อนอย่างนี้ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตเเล้ว เพื่อทรงแสดงตัว

การละมานะอีกจึงตรัสคาถาว่า ย กิญฺจิ ภิกษุรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

เป็นต้น

ในบทเหล่านั้น บทว่า ย กิญฺจิ ธมฺม อภิชญฺา อชฺฌตฺต

ภิกษุพึงรู้ยิ่งธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ณ ภายใน คือ พึงรู้คุณของตนมีความเป็น

ผู้มีตระกูลสูงเป็นต้น. บทว่า อถวาปิ พหิทฺธา หรือภายนอก คือ พึงรู้คุณ

ของอาจารย์และอุปัชฌาย์ในภายนอก. บทว่า น เตน ถาม กุพฺเพถ

ได้แก่ ไม่พึงทำความถือตัวด้วยคุณนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงวิธีที่ภิกษุนั้นไม่ควรทำ

จึงตรัสคาถาว่า น เตน ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังนี้ ภิกษุไม่พึงสำคัญว่า เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา

เลวกว่าเขา หรือเสมอเขา ด้วยมานะนั้น ถึงถูกผู้อื่นถามด้วยคุณหลายประ-

การมีความเป็นผู้เกิดในตระกูลสูงเป็นต้น ก็ไม่พึงกำหนดตนตั้งอยู่โดยนัยเป็น

ต้นว่า เราบวชแล้วจากตระกูลสูง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงแม้ด้วยการละมานะอย่างนี้แล้ว

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงด้วยการสงบกิเลสทั้งปวง จึงตรัสคาถาว่า อชฺฌตฺตเมว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 834

ดังนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า อชฺฌตฺตเมว อุปสเม ภิกษุพึงประงับภายใน

คือ พึงสงบกิเลสทั้งปวงมีราคะเป็นต้นในตนนั่นเอง. บทว่า น อญฺโต

ภิกฺขุ สนฺติเมเสยฺย ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยอุบายอย่างอื่น คือ ไม่พึง

แสวงหาความสงบโดยอุบายอย่างอื่น ยกเว้นสติปัฏฐานเป็นต้น. บทว่า กุโต

นิรตฺต วา คือ ความเห็นว่าไม่มีตัวตนจักมีแต่ไหน.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความที่พระขีณาสพผู้สงบ

แล้วในภายในเป็นผู้คงที่ จึงตรัสพระคาถาว่า มชฺเฌ ยถา ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังนี้ คลื่นย่อมไม่เกิดขึ้นในท่านกลางสมุทรอันตั้งอยู่ในเบื้องบน

มหาสมุทร ในท่ามกลางสมุทรประมาณ ๔,๐๐๐ โยชน์ อันเป็นท่ามกลางของ

ส่วนล่างหรือในระหว่างภูเขา สมุทรนั้นตั้งอยู่ไม่หวั่นไหวฉันใด ภิกษุพึงเป็น

ผู้มั่นคง เป็นพระขีณาสพ ไม่หวั่นไหวในลาภเป็นต้นฉันนั้น ภิกษุเช่นนั้น

ไม่พึงทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นมีราคะเป็นต้น ในอารมณ์ไหน ๆ.

บัดนี้ พระพุทธนิมิต เมื่อจะอนุโมทนาพระธรรมเทศนาที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนี้ และเมื่อจะทูลถามถึง

ปฏิปทาเบื้องต้นของพระอรหัตนั้นจึงตรัสพระคาถาว่า อกิตฺตยิ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อกิตฺตยิ แปลว่า ตรัสบอกแล้ว. บทว่า

วิวฏจกฺขุ ผู้มีจักษุเปิดแล้ว คือเป็นผู้ประกอบด้วยจักษุ ๕ เปิดแล้ว คือไม่

มีอะไรกั้น. บทว่า สกฺขิธมฺม ธรรมที่พระองค์ทรงเห็นด้วยพระองค์เอง. คือ

ธรรมที่พระองค์ทรงรู้แจ้งด้วยพระองค์เอง คือประจักษ์แก่พระองค์. บทว่า

ปริสฺสยวินย คือ กำจัดอันตรายออกไป. บทว่า ปฏิปทญฺจ วเทหิ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 835

ขอพระองค์ทรงบอกข้อปฏิบัติในบัดนี้เถิด. บทว่า ภทฺทนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ พระพุทธนิมิต เมื่อตรัสเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภทฺท ตว อตฺถุ

ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่าขอพระองค์

ทรงบอกความเจริญ ความดี อันสมควรของพระองค์เถิด. บทว่า ปาติโมกฺข

อถวาปิ สมาธึ ศีลอันทำผู้รักษาให้พ้นทุกข์ หรือสมาธิ ที่พระพุทธนิมิต

ถามทำลายปฏิปทานั้นนั่นเอง หรือว่าพระพุทธนิมิตทูลถามมรรคปฏิปทาด้วย

บทนี้ และทูลถามถึงศีลและสมาธิด้วยบทอื่น.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการสำรวมอินทรีย์เป็นการรักษา

ศีล หรือเพราะเทศนานี้พระองค์ทรงแสดงไปตามลำดับ เป็นที่สบายแก่ทวยเทพ

เหล่านั้น ๆ ฉะนั้นเมื่อจะทรงแสดงปฏิปทาตั้งแต่การสำรวมอินทรีย์ จึงทรง

เริ่มคาถาว่า จกฺขูหิ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขูหิ เนว โลลสฺส ภิกษุไม่เป็นผู้โลเลด้วย

จักษุ คือ ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ ด้วยการไม่ควรเห็นรูปที่ไม่เคยเห็น

เป็นต้น. บทว่า คามกถาย อาวรเย โสต พึงปิดกั้นหูเสียจากถ้อยคำของชาว

บ้าน คือจากดิรัจฉานกถา. บทว่า ผสฺเสน ได้แก่ผัสสะคือโรค. บทว่า ภวญฺจ

นาภิชปฺเปยฺย ไม่พึงปรารถนาภพ คือไม่พึงปรารถนาภพมีกามภพเป็นต้น

เพื่อบรรเทาผัสสะนั้น. บทว่า เภรเวสุ จ น สมฺปเวเธยฺย ไม่พึงหวั่นไหวใน

เพราะอารมณ์ที่น่ากลัว มีราชสีห์และเสือโคร่งเป็นต้นอันเกิดแต่ผัสสะนั้นเป็น

ปัจจัย. หรือไม่พึงหวั่นไหวในเพราะอารมณ์ ในฆานินทรีย์ และมนินทรีย์

ที่เหลือ เป็นอันท่านกล่าวถึงการสำรวมอินทรีย์ครบบริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 836

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการสำรวมอินทรีย์ด้วยบทก่อนแล้ว ด้วยบทนี้

จึงทรงแสดงว่าภิกษุผู้อยู่ในป่า เห็นหรือฟังสิ่งที่น่ากลัวแล้วไม่พึงหวั่นไหว ดังนี้.

บทว่า ลทฺธา น สนฺนิธึ กยิรา ภิกษุได้ข้าวน้ำของเคี้ยวหรือแม้ผ้าแล้วไม่พึง

ทำการสะสม คือภิกษุคิดว่าการที่จะได้ข้าวเป็นต้นเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งโดย

ธรรมแล้วอยู่ในเสนาสนะในป่า เป็นการได้ด้วยยาก ดังนี้แล้วไม่ควรทำการ

สะสม. บทว่า ฌายี น ปาทโลลสฺส คือ พึงเป็นผู้ยินดียิ่งในฌาน ไม่พึง

คะนองเท้า (เที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้).

บทว่า วิรเม กุกฺกุจฺจ นปฺปมชฺเชยฺย พึงเว้นจากความคะนอง

ไม่พึงประมาท คือพึงบรรเทาความคะนองมีความคะนองมือเป็นต้น และไม่

พึงประมาทในการสังวรนี้ เพราะเป็นผู้ที่คนอื่นทำด้วยความเคารพ. บทว่า

ตนฺทึ มาย หสฺส ขิฑฺฑ คือพึงละความเกียจคร้าน ความล่อลวง ความร่าเริง

การเล่นที่เป็นไปทางกายและทางจิต. บทว่า สวิภูส คือ กับทั้งการประดับ.

บทว่า อาถพฺพณ คือการทำอาถรรพ์. บทว่า สุปิน คือดำราทำนายฝัน.

บทว่า ลกฺขณ คือการทำนายลักษณะด้วยแก้วมณีเป็นต้น. บทว่า โน วิเทเห

คือ ไม่พึงประกอบ. บทว่า วิรุตญฺจ ได้แก่ทำนายเสียงสัตว์ร้องมีมฤคเป็นต้น.

บทว่า เปสุณิย คือคำส่อเสียด. บทว่า กยวิกฺกเย ไม่พึงขวนขวายในการ

ซื้อขาย คือไม่พึงตั้งอยู่ด้วยความหลอกลวงหรือด้วยเห็นแก่ท้องกับสหธรรมิก

ทั้งหลาย ๕ จำพวก. บทว่า อุปวาท ภิกฺขุ น กเรยฺย ภิกษุไม่พึงทำการ

กล่าวติเตียน คือภิกษุเมื่อยังไม่เกิดกิเลสอันจะทำการกล่าวติเตียนก็ไม่ควรให้

การกล่าวติเตียนสมณพราหมณ์เหล่าอื่นเกิดในตน. บทว่า คาเม จ นาภิสชฺ-

เชยฺย คือไม่พึงคลุกคลีในชาวบ้าน ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์เป็นต้น. บทว่า

ลาภกมฺยา ชน น ลปเยยฺย คือ ไม่พึงเจรจากะชนเพราะความใคร่ลาภ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 837

บทว่า ปยุตฺต ได้แก่ วาจาประกอบด้วยจีวรเป็นต้น หรือวาจาประกอบเพื่อ

สิ่งนั้น. บทว่า โมสวชฺเช น นิเยถ คือภิกษุไม่พึงนิยมในการกล่าวคำเท็จ.

บทว่า ชีวิเตน คือด้วยความเป็นอยู่. ภิกษุถูกผู้อื่นเสียดสีกระทบกระทั่ง ได้

ฟังการพูดมากของสมณะหรือของชนผู้พูดมาก คือได้ฟังคำพูดที่ไม่พอใจแม้

มากของสมณะเหล่านั้น หรือของชนผู้พูดมากเหล่าอื่นมีกษัตริย์เป็นต้น. บทว่า

นปฺปฏิวชฺชา คือ ไม่พึงโต้ตอบ. เพราะอะไร. เพราะสัตบุรุษทั้งหลายย่อม

ไม่ทำความเป็นข้าศึก. บทว่า เอตญฺจ ธมฺมมญฺาย คือ ภิกษุรู้ธรรมตาม

ที่กล่าวแล้วนี้ทั้งหมด. บทว่า วิจิน คือ ค้นคว้าอยู่. บทว่า สนฺตีติ นิพฺพุตึ

ตฺวา คือรู้ความดับกิเลสว่าเป็นความสงบราคะเป็นต้น. หากมีคำถามว่า

เพราะอะไรจึงไม่ควรประมาท. พึงทราบคาถาว่า อภิภู หิ โส เพราะภิกษุนั้น

เป็นผู้ครอบงำอารมณ์มีรูปเป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิภู ได้แก่ เป็นผู้ครอบงำอารมณ์มีรูปเป็นต้น.

บทว่า อนภิภูโต ได้แก่ อันอารมณ์มีรูปเป็นต้นครอบงำไม่ได้. บทว่า อนีติหมสกฺขิ-

ธมฺม ทสฺสี คือ เป็นผู้เห็นธรรมที่ตนเห็นเองอย่างประจักษ์แจ้งทีเดียว

บทว่า สทา นมสฺสมนุสิกฺเข ได้แก่ พึงนอบน้อมศึกษาไตรสิกขาอยู่เนืองๆ

ทุกเมื่อ. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว. อนึ่ง ในคาถานี้พึงทราบสรูปความ

ดังนี้ ท่านกล่าวความสำรวมอินทรีย์ด้วยบทมีอาทิว่า จกฺขูหิ เนว โลโล

ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ กล่าวศีลคือการเสพปัจจัย โดยห้ามการสะสม

ด้วยบทมีอาทิว่า อนฺนานมโถ ปานาน ภิกษุได้ข้าว น้ำ ไม่พึงทำการสะสม

กล่าวศีลคือการสำรวมในปาติโมกข์ ด้วยการเว้นเมถุน ไม่พูดคำเท็จ คำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 838

ส่อเสียดเป็นต้น กล่าวอาชีวปาริสุทธศีล ด้วยบทมีอาทิว่า อาถพฺพณ สุปิน

ลกฺขณ การทำอาถรรพ์ ทำนายฝันดูลักษณะ, กล่าวสมาธิด้วยบทนี้ว่า ฌายี

อสฺส พึงเป็นผู้เพ่ง. กล่าวปัญญาด้วยบทนี้ว่า วิจิน ภิกฺขุ ภิกษุพึงเป็นผู้

ค้นคว้า, กล่าวไตรสิกขาโดยสังเขปด้วยบทนี้ว่า สทา สโต สิกฺเข ภิกษุพึงมี

สติศึกษาทุกเมื่อ, กล่าวการช่วยเหลือ ความเสียหาย การสงเคราะห์และการ

บรรเทาของผู้มีศีลสมาธิปัญญาด้วยบทมีอาทิว่า อถ อาสเนสุ สยเนสุ ฯเปฯ

พหุลีกเรยฺย ภิกษุพึงอยู่ ณ ที่นั่งที่นอนอันมีเสียงน้อย ไม่พึงเห็นแก่หลับนอน

มากนัก. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสปฏิปทาบริบูรณ์แก่พระพุทธนิมิตอย่างนี้

แล้ว จึงทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.

เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวแล้วในปุราเภทสูตรนั้น

แล.

จบอรรถกถาตุวฏกสูตรที่ ๑๔ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 839

อัตตทัณฑสูตรที่ ๑๕

ว่าด้วยความสลดใจ

[๔๒๒] ภัยเกิดแล้วแต่อาชญาของ

ตน ท่านทั้งหลายจงเห็นคนผู้ทะเลาะกัน เรา

จักแสดงควานสลดใจตามที่เราได้สลดใจมา

แล้ว.

เราได้เห็นหมู่สัตว์กำลังดิ้นรนอยู่

(ด้วยตัณหาและทิฏฐิ) เหมือนปลาในแอ่ง

น้ำน้อย ฉะนั้น ภัยได้เข้ามาถึงเราแล้ว

เพราะได้เห็นคนทั้งหลายผู้พิโรธกันและกัน.

โลกโดยรอบหาแก่นสารมิได้ ทิศ

ทั้งปวงหวั่นไหวแล้ว เราปรารถนาความ

ต้านทานแก่ตนอยู่ ไม่ได้เห็นสถานที่อะไร ๆ

อันทุกข์มีชราเป็นต้นไม่ครอบงำแล้ว.

เราไม่ได้มีความยินดี เพราะได้เห็น

สัตว์ทั้งหลาย ผู้อันทุกข์มีชราเป็นต้นกระทบ

แล้วผู้ถึงความพินาศ อนึ่ง เราได้เห็นกิเลส

ดุจลูกศรมีราคะเป็นต้น ยากที่สัตว์จะเห็น

ได้ อันอาศัยหทัยในสัตว์เหล่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 840

สัตว์อันกิเลสดุจลูกศรมีราคะเป็นต้น

ใดเสียบติดอยู่แล้ว ย่อมแล่นไปยังทิศทั้ง

ปวง บัณฑิตถอนกิเลสดุจลูกศรมีราคะเป็น-

ต้นนั้นออกได้แล้ว ย่อมไม่แล่นไปยังทิศและ

ไม่จมลงในโอฆะทั้งสี่.

อารมณ์น่ายินดีเหล่าใดมีอยู่ในโลก

หมู่มนุษย์ย่อมพากันเล่าเรียนศึกษา เพื่อให้

ได้ซึ่งอารมณ์ที่น่ายินดีเหล่านั้น กุลบุตรผู้

เป็นบัณฑิต ไม่พึงขวนขวายในอารมณ์ที่

น่ายินดีเหล่านั้น พึงเบื่อหน่ายกามทั้งหลาย

โดยประการทั้งปวงแล้ว พึงศึกษานิพพาน

เพื่อตน.

มุนีพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนองไม่มี

มายา ละการส่อเสียดเสีย เป็นผู้ไม่โกรธ

พึงข้ามความโลภอันลามกและความตระหนี่

เสีย.

นรชนพึงครอบงำความหลับ ความ

เกียจคร้าน ความท้อแท้เสีย ไม่พึงอยู่ร่วม

ด้วยความประมาท ไม่พึงดำรงอยู่ในการ

ดูหมิ่นผู้อื่น พึงมีใจน้อมไปในนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 841

ไม่พึงน้อมไปในการกล่าวมุสา ไม่

พึงกระทำความเสน่หาในรูปและพึงกำหนด

รู้ความถือตัว พึงเว้นเสียจากความผลุนผลัน

เเล้วเที่ยวไป.

ไม่พึงเพลิดเพลินถึงอารมณ์ที่ล่วงมา

แล้ว ไม่พึงกระทำความพอใจในอารมณ์ที่

เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ไม่พึงเศร้าโศกถึงอารมณ์

ที่กำลังละไปอยู่ ไม่พึงเป็นผู้อาศัยตัณหา.

เรากล่าวความกำหนัดยินดีว่าเป็น

โอฆะอันใหญ่หลวง กล่าวตัณหาว่าแล่นไป

เร็ว กล่าวตัณหาว่า เป็นเครื่องกระซิบใจ

กล่าวตัณหาว่าเป็นอารมณ์ กล่าวตัณหาว่า

ทำใจให้กำเริบ เปือกตมคือกาม ยากที่สัตว์

จะล่วงไปได้.

พราหมณ์ผู้เป็นมุนี ไม่ปลีกออกจาก

สัจจะแล้ว ย่อมตั้งอยู่บนบก คือ นิพพาน

มุนีนั้นแล สละค้นอายตนะทั้งหมดแล้วโดย

ประการทั้งปวง เรากล่าวว่า เป็นผู้สงบ.

มุนีนั้นแลเป็นผู้รู้ เป็นผู้ถึงเวท รู้

สังขตธรรมแล้ว อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย

เป็นอยู่ในโลกโดยชอบ ย่อมไม่ทะเยอทะยาน

ต่ออะไร ๆ ในโลกนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 842

ผู้ใดข้ามกามทั้งหลาย และธรรมเป็น

เครื่องข้องยากที่สัตว์จะล่วงได้ในโลกมิได้

แล้ว ผู้นั้นตัดกระแสตัณหาขาดแล้ว ไม่มี

เครื่องผูกพัน ย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่

เพ่งเล็ง.

ท่านจงทำกิเลสชาติเครื่องกังวลใน

อดีตให้เหือดแห้ง กิเลสชาติเครื่องกังวลใน

อนาคตอย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือ

เอาในปัจจุบันไซร้ ท่านจักเป็นผู้สงบเที่ยว

ไป.

ผู้ใดไม่มีความยึดถือในนามรูป ว่า

เป็นของเราโดยประการทั้งปวง และไม่

เศร้าโศกเพราะเหตุแห่งนามรูปอันไม่มี ผู้

นั้นแลย่อมไม่เสื่อมในโลก.

ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้

ของเรา และว่า สิ่งนี้ของผู้อื่น ผู้นั้นไม่

ประสบการยึดถือในสิ่งนั้นว่าเป็นของเราอยู่

ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี.

เราเป็นผู้อันเขาถามถึงบุคคลผู้ไม่

หวั่นไหว จะบอกอานิสงส์ ๔ อย่างในบุคคล

นั้น ดังนี้ว่า บุคคลนั้นไม่มีความขวนขวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 843

ไม่กำหนัดยินดี ไม่มีความหวั่นไหว เป็นผู้

เสมอในอารมณ์ทั้งปวง.

ธรรมชาติเครื่องปรุงแต่งอะไร ๆ ย่อม

ไม่มีแก่ผู้ไม่หวั่นไหว ผู้รู้แจ้ง ผู้นั้นเว้นแล้ว

จากการปรารภมีปัญญาภิสังขารเป็นต้น ย่อม

เห็นความปลอดโปร่งในที่ทุกสถาน.

มุนีย่อมไม่กล่าวยกย่องตนในบุคคล

ผู้เสมอกัน ผู้ต่ำกว่า ผู้สูงกว่า มุนีนั้นเป็น

ผู้สงบปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่ยึดถือ

ไม่สละธรรมอะไร ๆ ในบรรดาธรรมมีรูป

เป็นต้น,

จบอัตตทัณฑสูตรที่ ๑๕

อรรถกถาอัตตทัณฑสูตรที่ ๑๕

อัตตทัณฑสูตรมีคำเริ่มต้นว่า อตฺตทณฺฑา ภย ชาต ดังนี้

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบการทะเลาะกันเพราะเรื่องน้ำของเจ้า

ศากยะและเจ้าโกลิยะ ดังได้พรรณนาไว้แล้วในเรื่องการเกิดขึ้นแห่งสัมมา-

ปริพพาชนิยสูตร ทรงดำริว่าพวกพระญาติทะเลาะกัน เอาเถิด เราจักห้าม

พระญาติเหล่านั้นดังนี้ เสด็จประทับยืน ณ ท่ามกลางเหล่าเสนาทั้งสองฝ่าย

แล้วจึงตรัสพระสูตรนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 844

ในสูตรนั้นพึงทราบความในคาถาต้นดังนี้. ภัยอันใดเกิดขึ้นในปัจจุบัน

และสัมปรายภพ ภัยนั้นทั้งหมดเกิดแต่อาชญาของตน เกิดแต่เหตุทุจริตของตน

เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านทั้งหลายจงเห็นชนผู้ทะเลาะกัน จงเห็นชนมีเจ้าศากยะเป็น

ต้นนี้ทะเลาะกัน ทำร้ายกัน เบียดเบียนกันและกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงตำหนิชนผู้พิโรธตอบโต้กัน ผู้ปฏิบัติผิด

นั้นอย่างนี้แล้วเพื่อให้เกิดสังเวชแก่ชนนั้น ด้วยการแสดงสัมมาปฏิบัติของ

พระองค์จึงตรัสว่า สเวค กิตฺตยิสฺสามิ ยถา สวิชิต มยา เราจักแสดง

ความสลดใจ ตามที่เราได้สลดใจมาแล้ว อธิบายว่า เคยเป็นพระโพธิสัตว์

มาแล้วนั่นเอง.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงประการตามที่พระองค์

สลดพระทัยมาแล้ว จงตรัสคำมีอาทิว่า ผนฺทมาน หมู่สัตว์กำลังดิ้นรนอยู่ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ผนฺทมาน ได้แก่ หมู่สัตว์กำลังดิ้นรนอยู่ด้วย

ตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า อปฺโปทเก คือในแอ่งน้ำน้อย. บทว่า อญฺมญฺเหิ

พฺยารุทฺเธ ทิสฺวา คือ เพราะเห็นคนทั้งหลายผู้พิโรธกันและกันเหมือนสัตว์

ต่าง ๆ. บทว่า ม ภยมาวิสิ คือ ภัตได้เข้ามาถึงเราแล้ว. บทว่า สมนฺตมสาโร

โลโก โลกโดยรอมหาแก่นสารมิได้ คือ โลกโดยรอบตั้งแต่นรกเป็นต้นหา

แก่นสารมิได้ คือ เว้นจากแก่นสารมีความเป็นของเที่ยงเป็นต้น. บทว่า ทิสา

สพฺพา สเมริตา คือ ทิศทั้งปวงหวั่นไหวแล้ว เพราะความเป็นของไม่เที่ยง.

บทว่า อิจฺฉ ภวนมตฺตโน คือ เราปรารถนาความต้านทานแก่ตนอยู่. บทว่า

นาทฺทสาสึ อโนสิต คือ ไม่ได้เห็นสถานที่อะไร ๆ อันทุกข์มีชราเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 845

ไม่ครอบงำแล้ว บทว่า โอสาเนเตฺวว พฺยารุทฺเธ ทิสฺวา เม อรตึ อหุ

เราไม่ได้มีความยินดี เพราะได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้อันทุกข์มีชราเป็นต้นกระทบ

แล้วในที่สุด คือ เรามิได้มีความยินดี เพราะเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้อันทุกข์มีชรา

เป็นต้นกระทบแล้ว ถึงความพินาศไปในที่สุด แห่งความเป็นหนุ่มสาวเป็นต้น

นั้นเอง. บทว่า อเถตฺถ สลฺล คือ เราได้เป็นกิเลสดุจลูกศรมีราคะเป็นต้น

ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้. บทว่า หทยนิสฺสิต อันอาศัยหทัย คือ อันอาศัยจิต.

หากมีคำถามว่า กิเลสดุจลูกศรมีอานุภาพอย่างไร พึงทราบคาถาว่า เยน

สลฺเลน โอติณฺโณ สัตว์ถูกกิเลสดุจลูกศรเสียบติดแล้ว.

บทว่า ทิสา สพฺพา วิธาวติ สัตว์ย่อมแล่นไปยังทิศทั้งปวง คือ

สัตว์ย่อมแล่นไปยังทิศคือความทุจริตทั้งปวงบ้าง ยังทิศบูรพาเป็นต้นบ้าง.

บทว่า ตเมว สลฺล อพฺพุยฺห น ธาวติ น สีทติ คือ บัณฑิตถอนกิเลส

ดุจลูกศรนั้นแลออกเสียได้ ย่อมไม่แล่นไปยังทิศและไม่จมลงในโอฆะ ๔. เมื่อ

มนุษย์ทั้งหลายถูกกิเลสดุจลูกศรอันมีอานุภาพมากเสียบอย่างนี้แล้ว พึงทราบ

คาถาว่า ตตฺถ สิกฺขานุคียนฺติ ยานิ โลเก คธิตานิ หมู่มนุษย์ย่อมพากัน

เล่าเรียนศิลปะ เพื่อให้ได้อารมณ์ที่น่ายินดีในโลก.

บทนั้นมีความดังนี้ กามคุณ ๕ ใดในโลก ท่านเรียกว่า คธิตานิ

ยินดี เพราะอรรถว่า ย่อมปรารถนาเพื่อจะได้คืน หรือเพราะเสพตลอดกาลนาน

หรือเพราะกล่าวเล่าเรียนศิลปะหลายแขนงมีศิลปะการฝึกช้างเป็นต้นอันเป็น

เครื่องหมายในกามคุณเหล่านั้น ท่านทั้งหลายจะเถิด โลกนี้มัวเมากันเพียงไร

กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิต ไม่พึงขวนขวายในอารมณ์ที่น่ายินดีเหล่านั้น หรือใน

ศิลปะเหล่านั้น พึงเบื่อหน่ายกามทั้งหลายโดยประการทั้งปวง ด้วยการเห็น

ลักษณะมีลักษณะไม่เทียงเป็นต้นโดยถ่องแท้ พึงศึกษานิพพานเพื่อตนเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 846

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงสิ่งที่ควรศึกษา จึงตรัส

คำมีอาทิว่า สจฺโจ สิยา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สจฺโจ พึงเป็นผู้มีสัจจะ คือ พึงเป็นผู้ประกอบ

ด้วยวาจาสัจจะ ญาณสัจจะ มรรคสัจจะ. บทว่า ริตฺตเปสุโณ คือ ละคำ

ส่อเสียด. บทว่า เววิจฺฉ คือความตระหนี่. บทว่า นิทฺท ตนฺทึ สเห ถีน

พึงครอบงำความหลับ ความเกียจคร้าน ความท้อแท้ ได้แก่ พึงครอบงำ

ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน ความเกียจคร้านทางกาย

และความเกียจคร้านทางจิต. บทว่า นิพฺพานมนโส คือ มีจิตน้อมไปใน

นิพพาน. บทว่า สาหสา ความผลุนผลัน คือ เพราะเหตุแห่งความผลุนผลัน

อันมีประเภทแห่งความประพฤติกำหนัดเป็นต้นของตนกำหนัด. บทว่า นาภิ-

นนฺเทยฺย ไม่พึงยินดีสิ่งที่ล่วงหาแล้ว คือ รูปที่ล่วงมาแล้วเป็นต้น. บทว่า นเว

คือในปัจจุบัน. บทว่า หิยฺยมาเน คือ อารมณ์ที่หายไป. บทว่า อากาส

น สิโต สิยา คือ ไม่พึงเป็นผู้อาศัยอากาศ. จริงอยู่ ตัณหา ท่านเรียกว่าอากาศ

เพราะเป็นช่องแห่งรูปเป็นต้น หากมีคำถามว่า เพราะอะไร จึงไม่พึงเป็นผู้อาศัย

ตัณหา. พึงทราบคาถาต่อไปว่า อห หิ อิม เคธ พฺรูมิ เพราะเรากล่าว

ตัณหานี้ว่าเป็นความกำหนัดยินดี.

บทนั้นมีความดังนี้ เพราะเรากล่าวตัณหาที่เรียกว่าอากาศนี้ว่าเป็นความ

กำหนัดยินดี เพราะเป็นช่องทางแห่งรูปเป็นต้น. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้น มีดังนี้

เรากล่าวตัณหาว่าเป็นโอฆะ เพราะการทำลายลง กล่าวตัณหาว่าอาชวะ เพราะ

แล่นไปเร็ว กล่าวตัณหาว่าเป็นเครื่องกระซิบ เพราะเหตุให้กระซิบว่า นี้ของเรา

นี้ของเรา กล่าวตัณหาว่าเป็นอารมณ์ เพราะปล่อยได้ยาก กล่าวตัณหาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 847

ทำใจให้กำเริบ เพราะเหตุทำให้หวั่นไหว อนึ่ง ตัณหานี้เป็นเปือกตมคือกาม

ชื่อว่า ยากที่สัตว์จะล่วงไปได้ เพราะเป็นความห่วงใยของโลก และเพราะสัตว์

ก้าวพ้นไปได้ยาก. หากมีคำถามว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ไม่พึง

เป็นผู้อาศัยอากาศดังนี้ อากาศคืออะไร. ตอบว่า เคธ พฺรูมิ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เรากล่าวอากาศว่าเป็นความกำหนัดยินดี ด้วยเหตุนั้นพึงทราบการเชื่อม

คาถานั้นด้วยประการฉะนี้. ในบทนั้นพึงทราบการแก้บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เรากล่าวอากาศว่าเป็นความกำหนัดยินดี เหมือนอย่างเรากล่าวว่า

ตัณหาเป็นห้วงน้ำใหญ่ ตัณหาเป็นความแล่นไปเร็ว ตัณหาเป็นเครื่องกระซิบใจ

ตัณหาเป็นอารมณ์ ตัณหาเป็นความกำเริบ ตัณหาเป็นเปือกตมคือกามในโลก

พร้อมทั้งเทวโลกอันสัตว์ข้ามได้ยาก. ไม่พึงเป็นผู้อาศัยอากาศอันเป็นปริยายว่า

ความกำหนัดยินดีเป็นต้นอย่างนี้. พึงทราบคาถาว่า สจฺจา อโวกฺกมฺม มุนี

ไม่ปลีกออกจากสัจจะแล้ว.

บทนั้นมีความดังนี้ พราหมณ์ไม่ปลีกออกจากสัจจะ ๓ อย่างดังกล่าว

มาก่อนแล้ว เรียกชื่อว่าเป็นมุนี เพราะปฏิบัติปฏิปทาเพื่อความเป็นมุนี ตั้งอยู่

บนบกคือนิพพาน พราหมณ์นั้นแลสละคืนอายตนะทั้งหมดแล้ว เรากล่าวว่า

เป็นผู้สงบ. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้น มีคาถาว่า สเว วิทวา มุนีนั้นแล เป็นผู้รู้

ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวา ธมฺม คือรู้ธรรมอันปรุงแต่งโดยนัย

มีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า สมฺมา โส โลเก อริยาโน มุนี

นั้นเป็นอยู่ในโลกโดยชอบ คือ เพราะละกิเลสอันทำให้เป็นอยู่โดยมิชอบเสียได้.

ก็เมื่อไม่ทะเยอทะยานอย่างนี้ พึงทราบคาถาต่อไปว่า โยธ กาเม ผู้ใดข้าม

กามทั้งหลายในโลกนี้ได้ ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 848

ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺค ธรรมเป็นเครื่องข้อง คือผู้ใดข้าธรรม

เป็นเครื่องข้อง ๗ อย่างได้. บทว่า นาชฺเฌติ คือย่อมไม่เพ่งเล็ง. เพราะฉะนั้น

ในบรรดาท่านทั้งหลาย ผู้ใดปรารถนาจะเป็นอย่างนี้ เรากล่าวถึงผู้นั้น. พึง

ทราบคาถาต่อไปว่า ย ปุพฺเพ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ คือกิเลสชาติและกรรมในอดีตปรารภ

สังขารในอดีตเกิดขึ้นเป็นธรรมดา. บทว่า ปจฺฉา เต มาหุ กิญฺจน

กิเลสชาติเครื่องกังวลในภายหลังอย่าได้มีแก่ท่าน คือ กิเลสชาติเครื่องกังวลมี

ราคะเป็นต้นปรารภสังขารแม้ในอนาคตอย่าได้มีแก่ท่าน. บทว่า มชฺเฌ เจ

โน คเหสฺสสิ หากท่านจักไม่ถือเอาในปัจจุบัน คือ หากท่านจักไม่ถือธรรม

มีรูปในปัจจุบันเป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการบรรลุพระอรหัตด้วยบทว่า

อุปสนฺโต จริสฺสสิ ท่านจักเป็นผู้สงบเที่ยวไปอย่างนี้แล้ว บัดนี้ได้ตรัสคาถา

ทั้งหลายต่อจากนี้ ด้วยการสรรเสริญพระอรหัต.

ในบทเหล่านั้น พึงทราบความแห่งคาถาว่า สพฺพโส โดยประการ

ทั้งปวงเป็นต้น. บทว่า มมายิต ยึดถือในนามรูปว่าเป็นของเรา คือ ทำความ

ยึดถือว่าเป็นของเรา หรือยึดถือวัตถุว่า สิ่งนี้ของเรา ดังนี้. บทว่า อสตา จ น

โสจติ คือ ไม่เศร้าโศกเพราะเหตุแห่งนามรูปอันไม่มี เพราะเหตุแห่งความ

ไม่ยินดี. บทว่า น ชยฺยติ ไม่เสื่อมคือไม่ถึงความชรา. มีอะไรยิ่งไปกว่านี้อีก

มีคาถาว่า ยสฺส นตฺถิ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กิญฺจน เครื่องกังวลคือธรรมชาติมีรูปเป็นต้น

ไร ๆ. มีอะไรยิ่งไปอีก มีคำถามว่า อนุฏฺฐุรี ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 849

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุฏฺฐุรี แปลว่า ไม่มีความขวนขวาย.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อนุทฺธรี ก็มี. บทว่า สพฺพธิ สโม คือเป็นผู้เสมอ

ในอารมณ์ทั้งปวง. อธิบายว่า เป็นผู้วางเฉย. บทนี้ท่านอธิบายว่า บุคคลใด

ไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี เราเป็นผู้ถูกถามถึงบุคคลนั้นผู้ไม่หวั่นไหวจะบอก

อานิสงส์ ๔ อย่างในบุคคลนั้นว่า เป็นผู้ไม่มีความขวนขวาย ไม่กำหนัดยินดี

ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอารมณ์ทั้งปวง. มีอะไรยิ่งไปกว่านี้ มีคาถาว่า

อเนชสฺส ผู้ไม่หวั่นไหว ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นิสงฺขติ ธรรมชาติเครื่องปรุงแต่งคือสังขาร

อย่างใดอย่างหนึ่งในปุญญาภิสังขารเป็นต้น เพราะสังขารนั้นถูกปรุงแต่ง หรือ

ย่อมปรุงแต่ง ฉะนั้นท่านจึงเรียก นิสงฺขติ. บทว่า วิยารมฺภา จากการ

ปรารภคือจากการปรารภ ๓ อย่างมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น. บทว่า เขม ปสฺสติ

สพฺพธิ ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทุกสถานคือเห็นความไม่มีภัยในที่ทั้งปวง

นั้นเอง เมื่อเห็นอย่างนี้ พึงทราบคาถาต่อไปว่า น สเมสุ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า น วทเต ย่อมไม่กล่าวยกย่องตนคือไม่กล่าว

ยกย่องตนแม้ในบุคคลผู้เสมอกัน ด้วยถือตัวว่าเราเป็นเช่นเดียวกันเป็นต้น

แม้ในบุคคลผู้ต่ำกว่า แม้ในบุคคลผู้สูงกว่า. บทว่า นาเทติ น นิรสฺสติ

ไม่ยึดถือ ไม่สละ คือ ไม่ยึดถือไม่สละธรรมไร ๆ ในบรรดาธรรมมีรูปเป็นต้น.

บทที่เหลือชัดแล้วทั้งหมด. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบเทศนาด้วยธรรม

เป็นยอดคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อจบเทศนา ศากยกุมารและโกลิยกุมาร ๕๐๐ ได้ผนวชด้วยเอหิภิกขุ

บรรพชา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพาภิกษุเหล่านั้นเสด็จเข้าไปยังป่ามหาวัน.

จบอรรถกถาอัตตทัณฑสูตรที่ ๑๕ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 850

สารีปุตตสูตรที่ ๑๖

ว่าด้วยความไม่สะดุ้งกลัว

ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า

[๔๒๓] พระศาสดา ผู้มีพระวาจา

ไพเราะอย่างนี้ เสด็จมาแต่ชั้นดุสิต สู่ความ

เป็นคณาจารย์ ข้าพระองค์ยังไม่ได้เห็นหรือ

ไม่ได้ยินต่อใคร ๆ ในกาลก่อนแต่นี้เลย.

พระองค์ผู้มีพระจักษุย่อมปรากฏแก่

มนุษย์ทั้งหลาย เหมือนปรากฏแก่โลกพร้อม

ด้วยเทวโลก ฉะนั้น พระองค์ผู้เดียวบรรเทา

ความมืดได้ทั้งหมด ทรงถึงความยินดีใน

เนกขัมมะ.

ศิษย์ทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้นเป็นอัน

มาก มาเฝ้าพระองค์ผู้เป็นพุทธะ ผู้อันตัณหา

และทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ ไม่หลอกลวง

เสด็จมาเเล้วสู่ความเป็นคณาจารย์ ณ เมือง

สังกัสสะนี้ ด้วยปัญหามีอยู่.

เมื่อภิกษุเกลียดชังแต่ทุกข์ มีชาติเป็น

ต้นอยู่ เสพที่นั่งอันสงัด คือ โคนไม้ ป่าช้า

หรือที่นั่งอันสงัดในถ้ำแห่งภูเขา ในที่นอน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 851

อันเลวและประณีต ความขลาดกลัวซึ่งเป็น

เหตุจะไม่ทำให้ภิกษุหวั่นไหว ในที่นอนและ

ที่นั่งอันไม่มีเสียงกึกก้องนั้น มีประมาณ

เท่าไร.

อันตรายในโลกของภิกษุผู้จะไปยัง

ทิศที่ไม่เคยไป ซึ่งภิกษุจะพึงครอบงำเสีย

ในที่นอนและที่นั่งอันสงัด มีประมาณเท่าไร.

ภิกษุนั้นพึงถ้อยคำอย่างไร พึงมี

โคจรในโลกนี้อย่างไร ภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว

พึงมีศีลและวัตรอย่างไร สมาทานสิกขาอะไร

จึงเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ มีปัญญารักษาตน มี

สติ พึงกำจัดมลทินของตน เหมือนนายช่าง

ทองกำจัดมลทินของทอง ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าว่าธรรมเป็นเครื่อง

อยู่สำราญ และธรรมที่สมควรนี้ใดของภิกษุ

ผู้เกลียดชังแต่ทุกข์มีชาติเป็นต้น ผู้ใคร่จะ

ตรัสรู้ เสพอยู่ซึ่งที่นั่งและที่นอนอันสงัดมีอยู่

ไซร้ เราจะกล่าวธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญ

และธรรมที่สมควรนั่นตามที่รู้ แก่เธอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 852

ภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ประ-

พฤติอยู่ในเขตแดนของตน ไม่พึงกลัวแต่

ภัย ๕ อย่าง คือ เหลือบ ยุง สัตว์เสือก

คลาน ผัสสะแห่งมนุษย์ (มีมนุษย์ผู้เป็นโจร

เป็นต้น) สัตว์สี่เท้า.

ภิกษุแสวงหากุศลธรรมอยู่เนือง ๆ

ไม่พึงสะดุ้งแม้ต่อเหล่าชนผู้ประพฤติธรรม

อื่นนอกจากสหธรรมิก แม้ได้เห็นเหตุการณ์

อันนำมาซึ่งความขลาดกลัวเป็นอันมากของ

ชนเหล่านั้น และอันตรายเหล่าอื่น ก็พึง

ครอบงำเสียได้.

ภิกษุอันผัสสะแห่งโรค คือ ความหิว

เย็นจัด ร้อนจัด ถูกต้องแล้ว พึงอดกลั้น

ได้ ภิกษุนั้นเป็นผู้อันโรคเหล่านั้นถูกต้อง

แล้วด้วยอาการต่าง ๆ ก็มิได้ทำโอกาสให้แก่

อภิสังขารเป็นต้น พึงบากบั่นกระทำความ

เพียรให้มั่นคง.

ไม่พึงกระทำการขโมย ไม่พึงกล่าว

คำมุสา พึงแผ่เมตตาไปยังหมู่สัตว์ทั้งที่สะดุ้ง

และมั่นคง ในกาลใด พึงรู้เท่าทันความที่ใจ

เป็นธรรมชาติขุ่นมัว ในกาลนั้น พึงบรรเทา

เสียด้วยคิดว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งธรรมดำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 853

ไม่พึงลุอำนาจแห่งความโกรธและ

การดูหมิ่นผู้อื่น พึงขุดรากเหง้าแห่งความ

โกรธ และการดูหมิ่นผู้อื่นเหล่านั้นแล้วดำรง

อยู่ เมื่อจะครอบงำ ก็พึงครอบงำความรัก

หรือความไม่รักเสียโดยแท้.

ภิกษุผู้ประกอบด้วยปีติอันงาม มุ่ง

บุญเป็นเบื้องหน้า พึงข่มอันตรายเหล่านั้น

เสีย พึงครอบงำความไม่ยินดีในที่นอนอัน

สงัด พึงครอบงำธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ร่ำไรทั้ง ๔ อย่าง.

ผู้เป็นเสขะ ไม่มีความกังวลเที่ยวไป

พึงปราบวิตกอันเป็นที่ตั้งแห่งความร่ำไร

เหล่านี้ว่า เราจักบริโภคอะไร หรือว่าเราจัก

บริโภคที่ไหน เมื่อคืนนี้เรานอนเป็นทุกข์นัก

ค่ำวันนี้เราจักนอนที่ไหน.

ภิกษุนั้นได้ข้าวและที่อยู่ในกาลแล้ว

พึงรู้จักประมาณ (ในการรับและในการบริ-

โภค) เพื่อความสันโดษในศาสนานี้ ภิกษุ

นั้นคุ้มครองแล้วในปัจจัยเหล่านั้น สำรวม

ระวังเที่ยวไปในบ้าน ถึงใคร ๆ ด่าว่าเสียดสี

ไม่พึงกล่าวว่าหยาบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 854

พึงเป็นผู้มีจักษุทอดลง ไม่คะนอง

เท้า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็นผู้ตื่น

อยู่โดยมาก ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่นดี

พึงตัดเสียซึ่งธรรมเป็นที่อยู่แห่งวิตกและ

ความคะนอง.

ภิกษุผู้อันอุปัชฌาย์เป็นต้น ตักเตือน

แล้วด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติ ยินดีรับคำตัก

เตือนนั้น พึงทำลายตะปู คือความโกรธใน

สพรหมจารีทั้งหลาย พึงเปล่งวาจาอันเป็น

กุศล อย่าให้ล่วงเวลาไป ไม่พึงคิดในการ

กล่าวติเตียนผู้อื่น.

ต่อแต่นั้น พึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อ

ปราบธุลี ๕ อย่างในโลก ครอบงำความกำ-

หนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ.

ครั้นปราบความพอใจในธรรมเหล่านี้

ได้แล้ว พึงเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดี

พิจารณาธรรมอยู่โดยชอบ โดยกาลอันสม-

ควร มีจิตแน่วแน่ พึงกำจัดความมืดเสียได้

ฉะนี้แล.

จบสารีปุตตสูตรที่ ๑๖

จบอัฏฐกวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 855

สารีปุตตสูตรที่ ๑๖

สารีปุตตสูตร มีคำเริ่มต้นว่า น เม ทิฏฺโ ข้าพระองค์ไม่ได้เห็น

ดังนี้. ท่านกล่าวว่า เถรปัญหสูตรบ้าง.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

การเกิดพระสูตรนี้มีอยู่ว่า เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ได้ปุ่มไม้จันทน์แดง

แล้วเอาปุ่มจันทน์แดงทำบาตร ยกแขวนไว้บนอากาศ การห้ามสาวกทั้งหลาย

แสดงฤทธิ์ในเพราะเรื่องนั้น พวกเดียรถีย์ประสงค์จะทำปาฏิหาริย์กับพระผู้มี

พระภาคเจ้า. การทำปาฏิหาริย์, การเสด็จไปกรุงสาวัตถีของพระผู้มีพระภาคเจ้า

การติดตามของพวกเดียรถีย์, การเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าของพระเจ้าปเสนทิ ณ

กรุงสาวัตถี ความปรากฏแห่งต้นคัณฑัมพพฤกษ์, การห้ามบริษัท ๙ แสดง

ปาฏิหาริย์ เพื่อเอาชนะเดียรถีย์, การกระทำยมกปาฏิหาริย์, การเสด็จไปดาวดึงส์

พิภพของพระผู้มีพระภาคเจ้าหลังจากทรงทำปาฏิหาริย์แล้ว การแสดงธรรมสิ้น

ไตรมาส ณ ดาวดึงส์พิภพนั้น และการเสด็จสงจากเทวโลกในสังกัสสนครกับ

ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังเรื่องเหล่านั้น และชาดกให้พิสดารเป็นลำ

ดับ ๆ ไป ตลอดถึงพวกเทวดาในหมื่นจักรวาลพากันบูชา เสด็จลงที่สังกัสส-

นคร โดยบันไดแก้วในท่ามกลาง ประทับยืน ณ เชิงบันใด เมื่อจะตรัสพระ-

คาถาในธรรมบทนี้จึงตรัสว่า

ชนเหล่าใดขวนขวายแล้วในฌาน

เป็นนักปราชญ์ ยินดีในเนกขัมมะและความ

สงบ แม้เทวดาทั้งหลายก็รักชนเหล่านั้น ผู้

ตรัสรู้พร้อมแล้ว ผู้มีสติ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 856

ท่านพระสารีบุตรเถระถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งประทับยืนอยู่

ณ เชิงบันใด ก่อนใครทั้งหมด. ต่อไปภิกษุณีอุบลวรรณา. ลำดับต่อไป

หมู่ชนอื่น ๆ. ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า ณ บริษัทนี้พระโมคคัล-

ลานะปรากฏว่าเป็นผู้เลิศทางฤทธิ์ พระอนุรุทธะเป็นผู้เลิศทางทิพยจักษุ พระ-

ปุณณะทางธรรมกถึก แต่บริษัทนี้ไม่รู้จักพระสารีบุตรว่าเป็นผู้เลิศด้วยคุณ

อะไร ๆ ถ้ากระไรเราจะพึงประกาศพระสารีบุตรด้วยปัญญาคุณในบัดนี้. ลำดับ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามปัญหากะพระเถระ พระเถระแก้ปัญหา

ได้ทั้งหมดทั้งที่เป็นปัญหาของปุถุชน ปัญหาของพระเสกขะ และปัญหาของพระ-

อเสกขะ. ในครั้งนั้น ชนจึงได้รู้จักพระสารีบุตรว่าเป็นผู้เลิศทางปัญญา. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สารีบุตรมิได้เป็นผู้มีปัญญาแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ใน

อดีตก็เป็นผู้เลิศด้วยปัญญา จึงทรงนำชาดกมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล ฤาษีมากกว่าพันมีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อาศัย

อยู่ ณ เชิงภูเขา. อาจารย์ของฤาษีเหล่านั้นเกิดอาพาธ จึงต้องช่วยกันอุปัฏฐาก.

อันเตวาสิกผู้เป็นหัวหน้า คิดว่า เราจักหาเภสัชเป็นที่สบาย แล้วกล่าวว่าพวก

ท่านอย่าประมาทจงช่วยกันอุปัฏฐากอาจารย์ จึงได้ไปยังที่อยู่ของชาวบ้าน. เมื่อ

หัวหน้าอันเตวาสิกนั้นยังไม่กลับ อาจารย์ได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว. พวกอัน-

เตวาสิกพากันถามอาจารย์ปรารภถึงสมาบัติว่า บัดนี้อาจารย์จักถึงแก่กรรม.

อาจารย์กล่าวว่า นตฺถิ กิญฺจิ ไม่มีอะไร หมายถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ. พวก

อันเตวาสิกต่างถึงเอาว่าอาจารย์ยังไม่ได้บรรลุ. ลำดับนั้นหัวหน้าอันเตวาสิกนำ

เภสัชมา เห็นอาจารย์ถึงแก่กรรมจึงกล่าวว่า พวกท่านถามอะไร ๆ กะอาจารย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 857

บ้าง. อันเตวาสิกกล่าวว่า พวกผมถาม ขอรับ. อาจารย์กล่าวว่า ไม่มีอะไร

อาจารย์ยังไม่ได้บรรลุอะไร ๆ. หัวหน้าอันเตวาสิกกล่าวว่า เมื่ออาจารย์กล่าวว่า

ไม่มีอะไร ได้บ่งให้รู้ถึงอากิญจัญญายตนะ ควรเคารพอาจารย์.

บุรุษผู้มีปัญญาใด รู้ความของภาษิต

แม้ผู้เดียวยังประเสริฐว่า บุรุษผู้ไม่มีปัญญา

ผู้ไม่รู้ความของภาษิต แม้มากกว่า ๑,๐๐๐ คน

เหล่านั้น ผู้มาประชุมกันคร่ำครวญอยู่ตั้ง

๑๐๐ ปี ดังนี้.

ก็และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชาดกแล้ว ท่านพระสารีบุตรเพื่อจะ

ทูลถามถึงเสนาสนะและโคจรเป็นที่สบาย และศีลพรตเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุ

๕๐๐ ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของตน จึงได้กล่าวคาถา ๘ คาถา เริ่มคาถาสรรเสริญ

นี้ว่า น เม ทิฏฺโ อิโต ปุพฺเพ ข้าพระองค์ไม่ได้เห็นหรือไม่ได้ยินต่อใคร ๆ

ในกาลก่อนแต่นี้เลย ดังนี้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแก้ความนั้น

ได้ตรัสคาถาที่เหลือต่อจากนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิโต ปุพฺเพ ในกาลก่อนแต่นี้ คือ ในกาลก่อน

แต่เสด็จลงที่สังกัสสนครนี้. บทว่า วคฺคุวโท คือมีพระวาจาไพเราะ. บทว่า

ตุสิตา คณิมาคโต เสด็จมาแต่ชั้นดุสิตสู่หมู่คณะ คือ พระพุทธองค์เสด็จมา

จากชั้นดุสิต เพราะทรงจุติจากชั้นดุสิตแล้วมาปฏิสนธิยังพระครรภ์พระมารดา.

ที่ชื่อว่าคณี (หมู่คณะ) เพราะเป็นคณาจารย์ หรือเสด็จจากเทวโลกคือชั้นดุสิต

เพราะนำความยินดีมาสู่หมู่คณะ หรือเสด็จจากชั้นดุสิตมาสู่หมู่คณะของพระ-

อรหันต์ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 858

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สองต่อไป. บทว่า สเทวกสฺส โลกสฺส

ยถา ทิสฺสติ เหมือนปรากฏแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก คือเหมือนปรากฏแก่

มนุษย์ทั้งหลาย ดุจปรากฏแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก หรือปรากฏโดยความเป็น

ของแท้ ปรากฏโดยความไม่วิปริต. บทว่า จกฺขุมา คือมีจักษุยอดเยี่ยม.

บทว่า เอโก พระองค์ผู้เดียว คือพระองค์ผู้เดียวด้วยการนับเนื่องในบรรพชา

เป็นต้น. บทว่า รตึ คือทรงยินดีในเนกขัมมะเป็นต้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สามต่อไป. บทว่า พหุนฺนมิธ พทฺธาน

คือศิษย์ทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้นเป็นอันมากอันนับเนื่องกันในที่นี้. จริงอยู่

ศิษย์ทั้งหลาย ท่านเรียกว่า พทฺธา นับเนื่องกัน เพราะมีความประพฤติผูกพัน

ในอาจารย์. บทว่า อตฺถิ ปญฺเหน อาคม มาด้วยปัญหามีอยู่ คือ มีความ

ต้องการด้วยปัญหาจึงมา หรือมีปัญหาจึงมา.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สี่ต่อไป. บทว่า วิชิคุจฺฉโต เมื่อเกลียดชัง

คือ อึดอัดด้วยทุกข์มีชาติเป็นต้น. บทว่า ริตฺตมาสน ที่นั่งอันสงัด คือ

เตียงและตั่งอันสงัด. บทว่า ปพฺพตาน คุหาสุ วา ในถ้ำแห่งภูเขา พึง

เชื่อมความด้วยบทว่า ริตฺตมาสน ภชโต เสพที่นั่งอันสงัด.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ห้า. บทว่า อุจฺจาวเจสุ สูงและต่ำ คือ

ประณีตและเลว. บทว่า สยเนสุ คือ ในเสนาสนะมีวิหารเป็นต้น. บทว่า

กีวนฺโต ตตฺถ เภรวา คือ เพราะความขลาดกลัวในที่นอนและที่นั่งนั้นมี

ประมาณเท่าไร. ปาฐะว่า คีวนฺโต บ้าง. บทนี้มีความว่า ขับร้องอยู่. แต่

บทหน้าบทหลังไม่ต่อกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 859

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่หก บทว่า กตี ปริสฺสยา คืออันตรายมี

ประมาณเท่าไร. บทว่า อมต ทิส ทิศที่ไม่เคยไป คือ นิพพาน. เพราะทิศ

ที่ไม่เคยไปนั้น ชื่อว่าทิศเพราะควรชี้แจงอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

อมต ทิส ทิศที่ไม่เคยไป. บทว่า อภิสมฺภเว คือ พึงครอบงำเสีย. บทว่า

ปนฺตมฺหิ ที่นอนที่นั่งอันสงัด คือ อยู่สุดท้าย.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่เจ็ดต่อไป. บทว่า กฺยาสฺส พฺยปถโย

อสฺสุ คือ ภิกษุนั้นพึงมีถ้อยคำอย่างไร.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่แปดต่อไป. บทว่า เอโกทิ นิปโก เป็นผู้

มีจิตแน่วแน่ มีปัญญารักษาตน คือ มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นบัณฑิต

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นท่านพระสารีบุตรสรรเสริญด้วยคาถา ๓ คาถา

แล้วทูลถามถึงเสนาสนะโคจรศีลและพรตเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ศิษย์

๕๐๐ ด้วยคาถา ๕ คาถา เพื่อทรงประกาศความนั้น จึงทรงเริ่มแก้ปัญหา

โดยนัยมีอาทิว่า วิชิคุจฺฉมานสฺส ของภิกษุผู้เกลียดชัง.

ในบทเหล่านั้น พึงทราบความในคาถาที่หนึ่งก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ถ้าว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญ และธรรมที่สมควร

นี้ใด ของภิกษุผู้เกลียดชังแต่ทุกข์มีชาติเป็นต้น. ผู้ใคร่จะตรัสรู้ เสพที่นั่งและ

ที่นอนอันสงัด เราจะกล่าวธรรมเป็นที่อยู่สำราญและธรรม ที่สมควรนั้นตามที่รู้

แก่เธอ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สองต่อไป. บทว่า ปริยนฺตจารี ประ-

พฤติอยู่ในเขตเเดน คือ ประพฤติอยู่ในเขตแดง ๔ มีศีลเป็นต้น. บทว่า

ฑสาธิปาตาน ได้แก่ เหลือบและยุง เพราะยุงทั้งหลายก้มลงดูด ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 860

จึงเรียกว่า อธิปาตา ก้มดูดเลือด. บทว่า มนุสฺสผสฺสาน ผัสสะแห่ง

มนุษย์ คือ ผัสสะแต่ภัยมีโจรภัยเป็นต้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สามต่อไป. สหธรรมิก ๗ จำพวก ชื่อว่าผู้

ประพฤติธรรมอื่น ทั้งหมดก็เป็นคนภายนอก. บทว่า กุสลานุเอสี คือผู้

แสวงหากุศลธรรมอยู่เนือง ๆ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สี่ต่อไป. บทว่า อาตงฺกผสฺเสน คือ

อันผัสสะแต่โรค. บทว่า สีต อจฺจุณฺห ได้แก่ เย็นและร้อน. บทว่า โส

เตหิ ผุฏฺโ พหุธา ภิกษุนั้นอันผัสสะแต่โรคถูกต้องแล้ว คือ แม้เป็น

ผู้ถูกอาการไม่น้อยมีโรคเป็นต้นเหล่านั้นถูกต้องแล้ว. บทว่า อโนโก คือมิได้

ทำโอกาสให้แก่อภิสังขารและวิญญาณเป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแก้ปัญหาที่พระสารีบุตรถามแล้ว ด้วย

คาถา ๓ คาถามีอาทิว่า ภิกฺขุโน วิชิคุจฺฉโต ภิกษุผู้เกลียดชังอย่างนี้แล้ว

บัดนี้ เมื่อจะทรงแก้ปัญหาที่พระสารีบุตรถาม โดยนัยมีอาทิว่า กฺยาสฺส

พฺยปถโย ภิกษุนั้นพึงมีถ้อยคำอย่างไร จึงตรัสคำมีอาทิว่า เถยฺย น กเรยฺย

ไม่พึงทำการขโมยดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ผสฺเส คือพึงแผ่ไป. บทว่า ยถาวิลตฺต

มนโส วิชญฺา พึงรู้เท่าความที่ใจเป็นธรรมชาติขุ่นมัว คือ พึงบรรเทา

ความขุ่นมัวทั้งหมดนั้นด้วยคิดว่า นี้เป็นฝ่ายแห่งธรรมดำ. บทว่า มูลมฺปิ

เตส ปลิขญฺเ ติฏฺเ พึงขุดรากเหง้าแห่งความโกรธและความดูหมิ่นผู้อื่น

เหล่านั้นแล้วดำรงอยู่ คือ พึงขุดรากเหง้ามีอวิชชาเป็นต้นแห่งความโกรธและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 861

ความดูหมิ่นเหล่านั้นแล้วดำรงอยู่. บทว่า อทฺธา ภวนฺโต อภิสมฺภเวยฺย

คือ เมื่อจะครอบงำก็พึงครอบงำความรักหรือความไม่รักเสียโดยแท้อย่างนี้.

อธิบายว่า ไม่พึงพยายามให้หย่อนในข้อนั้น. บทว่า ปุญฺ ปุรกฺขิตฺวา มุ่ง

บุญเป็นเบื้องหน้า คือทำบุญไว้ก่อน. บทว่า กลฺยาณปีติ มีปีติงาม คือ

ประกอบด้วยปีติอันงาม. บทว่า จตุโร สเหถ ปริเทวธมฺเม พึงครอบงำ

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความร่ำไร ๔ คือ พึงครอบงำธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความ

ร่ำไรรำพัน ดังกล่าวไว้ในคาถาตามลำดับ.

บทว่า กึสุ อสิสฺสามิ คือเราจักบริโภคอะไร. บทว่า กุว วา

อสฺสิสฺส คือ หรือเราจักบริโภคที่ไหน. บทว่า ทุกฺข วต เสตฺถ กุวชฺช

เสสฺส คือ เมื่อคืนนี้เรานอนเป็นทุกข์หนัก ค่ำวันนี้เราจักนอนที่ไหน. บทว่า

เอเต วิตกฺเก ได้แก่วิตก ๔ อย่าง คือ วิตกอาศัยบิณฑบาต ๒ วิตกอาศัยเสนา-

สนะ ๒. บทว่า อนิเกตจารี ไม่มีความกังวลเที่ยวไป คือไม่มีความห่วงใย

เที่ยวไปและไม่มีความทะเยอทะยานเที่ยวไป.

บทว่า กาเล อธิบายว่า ได้ข้าว คือบิณฑบาตในเวลาบิณฑบาต

หรือได้เครื่องนุ่งห่ม คือจีวร ในจีวรกาล โดยธรรมโดยสม่ำเสมอ. บทว่า

มตฺต โส ชญฺา คือ ภิกษุนั้นพึงรู้จักประมาณในการรักและในการบริโภค.

บทว่า อิธ คือในศาสนา. หรือว่า บทนี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า โตสนตฺถ

คือ เพื่อความสันโดษ. ท่านอธิบายว่า พึงรู้ประมาณความต้องการนี้. บทว่า โส

เตสุ คุตฺโต คือภิกษุนั้นคุ้มครองแล้วในปัจจัยเหล่านั้น. บทว่า ยตจารี สำรวม

ระวังเที่ยวไป คือ สำรวมการอยู่ สำรวมอิริยาบถ อธิบายว่า รักษากายทวาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 862

วจีทวาร และมโนทวาร. ปาฐะว่า ยถาจารี ดังนี้บ้าง. ความอย่างเดียวกัน.

บทว่า รุสิโต โกรธเคือง คือเสียดสี. อธิบายว่า โกรธ. บทว่า ฌานานุยุตฺโต

คือ เป็นผู้ขวนขวายในฌานด้วยการทำฌานที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นและเสพฌานที่

เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า อุเปกฺขมารพฺภ สมาหิตตฺโต ภิกษุปรารภอุเบกขา

มีจิตตั้งมั่นแล้ว คือ ยังอุเบกขาในจตุตตฌานให้เกิดแล้วมีจิตตั้งมั่น. บทว่า

ตกฺกาสย กุกฺกุจฺจิยูปฉินฺเท พึงตัดเสียซึ่งธรรมเป็นที่อยู่แห่งความวิตกและ

ความคะนอง คือพึงตัดเสียซึ่งวิตกมีกามวิตกเป็นต้น, ธรรมเป็นที่อยู่แห่งความ

ตรึกถึงกามสัญญาเป็นต้น และความคะนองมีคะนองมือเป็นต้น. บทว่า จุทิโต

วจีภิ สติมาภินนฺเท ความว่า ภิกษุผู้อันอุปัชฌาย์ตักเตือนแล้วด้วยวาจา

พึงเป็นผู้มีสติยินดีรับคำตักเตือนนั้น. บทว่า วาจ ปมุญฺเจ กุสฺล พึงเปล่ง

วาจาอันเป็นกุศล คือพึงเปล่งวาจาอันตั้งขึ้นแล้วด้วยญาณ ไม่พึงเปล่งวาจาให้

เกินเวลา คือไม่พึงเปล่งวาจาล่วงกาลเวลาและล่วงศีล. บทว่า ชนวาทธมฺมาย

ได้แก่ ไม่พึงคิดกล่าวติเตียนผู้อื่น. บทว่า น เจตเยยฺย ไม่พึงคิด คือ

ไม่ให้เกิดเจตนา (ตั้งใจ). บทว่า อถาปร ต่อแต่นั้น คือ ต่อจากนี้ไป. บทว่า

ปญฺจ รชานิ ได้แก่ ธุลี ๕ มีรูปราคะเป็นต้น. บทว่า เยส สติมา วินยาย

สิกฺเข พึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดธุลี คือ พึงเป็นผู้มีสติตั้งมั่นศึกษา

ไตรสิกขาเพื่อปราบธุลี. เมื่อศึกษาอยู่อย่างนี้ครอบงำความกำหนัดในรูป เสียง

กลิ่น รส และผัสสะ มิใช่อย่างอื่น. แต่นั้น ภิกษุนั้นศึกษาเพื่อกำจัดธุลีเหล่านั้น.

พึงทราบคาถาว่า เอเตสุ ธมฺเมสุ ดังนี้ตามลำดับ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอเตสุ ได้แก่ในรูปเป็นต้น. บทว่า กาเลน

โส สมฺมา ธมฺม ปริวีมสมาโน ภิกษุนั้นพิจารณาธรรมโดยชอบโดยกาลอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 863

สมควร คือ ภิกษุนั้นพิจารณาธรรมอันเป็นสังขตธรรมทั้งหมดโดยนัยมีความ

ไม่เที่ยงเป็นต้น ตามกาลดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วโดยนัยมีอาทิว่า เมื่อยกระดับจิต

ขึ้นก็เป็นกาลของสมาธิ. บทว่า เอโกทิภูโต วิหเน ตม โส ภิกษุนั้นมีจิต

แน่วแน่พึงกำจัดความมืดเสีย คือ ภิกษุนั้นมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเพื่อกำจัด

ความมืดมีโมหะเป็นต้นทั้งหมดเสีย ไม่มีสงสัยในข้อนี้. บทที่เหลือในบททั้งปวง

ชัดดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัต

ด้วยประการฉะนี้.

ในเวลาจบเทศนา พระภิกษุ ๕๐๐ รูปบรรลุพระอรหัตแล้ว. ธรรมา-

ภิสมัย ได้มีแล้วแก่พวกเทวดาและมนุษย์ ๓๐ โกฏิแล.

จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๑๖ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

จบอัฏฐกวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

๑. กามสูตร ๒. คุหัฏฐกสูตร ๓. ทุฏฐัฏฐกสูตร ๔. สุทธัฏฐกสูตร

๕. ปรมัฏฐกสูตร ๖. ชราสูตร ๗. ติสสเมตเตยยสูตร ๘. ปสูรสูตร

๙. นาคันทิยสูตร ๑๐. ปุราเภทสูตร ๑๑. กลหวิวาทสูตร ๑๒. จูฬวิยูหสูตร

๑๓. มหาวิยูหสูตร ๑๔. ตุวฏกสูตร ๑๕. อัตตทัณฑสูตร ๑๖. สารีปุตตสูตร

พระสูตรเหล่านี้ทั้งหมดมีในอัฏฐกวรรคที่ ๔ ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 864

ปารายนวรรคที่ ๕

วัตถุกถา

ว่าด้วยอวิชชา คือ ธรรมเป็นศีรษะ

[๔๒๔] พราหมณ์พาวรีผู้ถึงฝั่งแห่ง

มนต์ ปรารถนาซึ่งความเป็นผู้ไม่มีกังวล ได้

จากบุรีอันเป็นที่รื่นรมย์แห่งชาวโกศล ไปสู่

ทักขิณาปถชนบท.

พราหมณ์นั้นอยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำโคธา-

วรี ใกล้พรมแดนแห่งแคว้นอัสสกะและ

แคว้นมุฬกะ ด้วยการแสวงหาเสบียงเลี้ยงชีพ

และผลไม้.

ชาวบ้านที่อาศัยพราหมณ์พาวรีนั้น

ก็เป็นผู้ไพบูลย์ พราหมณ์พาวรีได้บูชามหา-

ยัญด้วยส่วย อันเกิดแต่กสิกรรมเป็นต้นใน

บ้านนั้น ครั้นบูชามหายัญแล้วได้กลับเข้าไป

สู่อาศรม.

เมื่อพราหมณ์พาวรีนั้นกลับเข้าไปสู่

อาศรมแล้ว พราหมณ์อื่นเดินเท้าเสียดสีกัน

ฟันเขลอะ ศีรษะเกลือกกลั้วด้วยธุลี ได้มา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 865

ทำให้พราหมณ์พาวรีสะดุ้ง ก็พราหมณ์นั้น

เข้าไปหาพราหมณ์พาวรีแล้วขอทรัพย์ ๕๐๐.

พราหมณ์พาวรีเห็นพราหมณ์นั้นแล้ว

ได้เชื้อเชิญด้วยอาสนะไต่ถามถึงสุขและกุศล

แล้วได้กล่าวว่า ไทยธรรมวัตถุอันใดของเรา

ไทยธรรมวัตถุทั้งปวงนั้น เราสละเสียสิ้น

แล้ว ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงเชื่อเราเถิด

ทรัพย์ ๕๐๐ ของเราไม่มี.

เมื่อเราขออยู่ ถ้าท่านไม่ให้ไซร้ ใน

วันที่ ๗ ศีรษะของท่านจะแตก ๗ เสี่ยง.

พราหมณ์ผู้หลอกลวงนั้น กระทำ

อุบายแล้ว ได้กล่าวคำจะให้เกิดความกลัว.

พราหมณ์พาวรีฟังคำของพราหมณ์

นั้นแล้ว เป็นผู้มีทุกข์ซูบซีด ไม่บริโภค

อาหาร เพียบพร้อมด้วยลูกศรคือความโศก

อนึ่ง เมื่อพราหมณ์พาวรีคิดอยู่อย่างนี้ ใจก็

ไม่ยินดีในฌาน.

เทวดาผู้ปรารถนาประโยชน์ เห็น

พราหมณ์พาวรีมีทุกข์สะดุ้งหวาดหวั่น จึง

เข้าไปหาพราหมณ์พาวรีแล้วได้กล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 866

พราหมณ์นั้นไม่รู้จักศีรษะ เป็นผู้หลอกลวง

ต้องการทรัพย์ไม่มีความรู้ในธรรมเป็นศีรษะ

และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป.

พราหมณ์พาวรีถามว่า

บัดนี้ ท่านรู้จักข้าพเจ้า ข้าพเจ้า

ถามท่านแล้วขอท่านจงบอกธรรมเป็นศีรษะ

และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป แก่ข้าพเจ้า

เถิด ข้าพเจ้าจะฟังคำของท่าน.

เทวดาตอบว่า

แม้เราก็ไม่รู้ธรรมเป็นศีรษะ และ

ธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป เราไม่ความรู้

ในธรรมทั้ง ๒ นี้ ปัญญาเป็นเครื่องเห็นธรรม

อันเป็นศีรษะและธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตก

ไป ย่อมมีแก่พระชินเจ้าทั้งหลาย.

พราหมณ์พาวรีถามว่า

ก็บัดนี้ ใครเล่าในปฐพีมณฑลนี้ ย่อม

รู้ ดูก่อนเทวดา ขอท่านจงบอกบุคคลผู้รู้

ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะ

ตกไปนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด.

เทวดาตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 867

ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ศากยบุตรลำดับพระวงศ์ของพระเจ้าโอก-

กากราช มีพระรัศมีรุ่งเรือง เป็นนายกของ

โลก เสด็จออกผนวชจากพระนครกบิลพัสดุ์

เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงถึงฝั่งแห่ง

ธรรมทั้งปวง ทรงบรรลุอภิญญาและทศพล

ญาณครบถ้วน ทรงมีพระจักษุในสรรพธรรม

ทรงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่ง

ธรรมทั้งปวง ทรงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้น

อุปธิ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรัสรู้

แล้วในโลก มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรม

ท่านจงไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้นเถิด พระองค์จักตรัสพยากรณ์ข้อความ

นั้นแก่ท่าน.

พราหมณ์พาวรีได้ฟังคำว่า สัมพุทโธ

ดังนี้ เป็นผู้มีใจเฟื่องฟู มีความโศกเบาบาง

และได้ปีติอันไพบูลย์ พราหมณ์พาวรีนั้นมีใจ

ชื่นชมเบิกบาน เกิดความโสมนัส จึงถาม

เทวดานั้นว่า พระโลกนาถประทับอยู่ใน

คามนิคมหรือในชนบทไหน ข้าพเจ้าจะพึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 868

ไปนมัสการพระสัมพุทธเจ้า ผู้อุดมกว่าสัตว์

ได้ในที่ใด.

เทวดาตอบว่า

พระชินเจ้าผู้ศากยบุตร ทรงมีพระ-

ปัญญามาก มีพระปัญญาประเสริฐ กว้างขวาง

ทรงปราศจากธุระ หาอาสวะมิได้ องอาจ

กว่านระ ทรงรู้ธรรมเป็นศีรษะและธรรม

เป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ประทับอยู่ ใน

มณเฑียรสถานของชนชาวโกศลในพระนคร

สาวัตถี.

ลำดับนั้น พราหมณ์พาวรี เรียก

พราหมณ์ทั้งหลายผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์ ซึ่งเป็น

ศิษย์มาสั่งว่า ดูก่อนมาณพทั้งหลาย ท่าน

ทั้งหลายจงมาเถิด เราจักบอกแก่ท่านทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายจงฟังคำของเรา ความปรากฏ

แห่งพระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด อันสัตว์ใด

ยากเนือง ๆ ในโลกนี้ วันนี้ พระสัมพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ปรากฏว่าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วใน

โลก ท่านทั้งหลายจงรีบไปเมืองสาวัตถี เข้า

เฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่าสัตว์เถิด.

พราหมณ์ผู้เป็นศิษย์ทั้งหลายซักถามด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 869

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ บัดนี้ ข้าพเจ้า

ทั้งหลายได้เห็นแล้วจะพึงรู้ว่า ท่านผู้นี้เป็น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยอุบายอย่างไรเล่า

ขอท่านจงบอกอุบายที่ข้าพเจ้าทั้งหลายจะพึง

รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแก่

ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้ไม่รู้เถิด.

พราหมณ์พาวรีกล่าวว่า

ก็มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มา

แล้วในมนต์ทั้งหลาย อันพราหมณาจารย์

ทั้งหลายพยากรณ์ไว้บริบูรณ์แล้วตามลำดับว่า

มหาปุริสลักษณะทั้งหลาย มีอยู่ใน

วรกายของพระมหาบุรุษใด พระมหาบุรุษนั้น

มีคติเป็น ๒ เท่านั้น คติที่ ๓ ไม่มีเลย

คือ ถ้าพระมหาบุรุษนั้นอยู่ครองเรือน

จะพึงชนะทั่วปฐพีนี้ จะทรงปกครองโดย

ธรรมด้วยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา

ถ้าออกบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยม มี

หลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้ว

ท่านทั้งหลายจงถามถึงชาติ โคตร

ลักษณะ มนต์ และศิษย์เหล่าอื่นอีกและถาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 870

ถึงศีรษะและธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป

ด้วยใจเทียว.

ถ้าว่าท่านนั้นจักเป็นพระพุทธเจ้า

ผู้ทรงเห็นธรรมอันหาเครื่องกางกั้นมิได้ไซร้

จักวิสัชนาปัญหาอันท่านทั้งหลายถามด้วย

วาจาได้.

พราหมณ์มาณพผู้เป็นศิษย์ ๑๖ คน

คือ อชิตะ ๑ ติสสเมตเตยยะ ๑ ปุณณกะ ๑

เมตตคู ๑ โธตกะ ๑ อุปสีวะ ๑ นันทะ ๑

เหมกะ ๑ โตเทยยะ ๑ กัปปะ ๑ ชตุกัณณี

ผู้เป็นบัณฑิต ๑ ภัทราวุธะ ๑ อุทยะ ๑ โป-

สาลพราหมณ์ ๑ โมฆราชผู้มีเมธา ๑ ปิงคิยะ

ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ๑

พราหมณ์มาณพทั้งปวง คนหนึ่ง ๆ

เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ ปรากฏแก่โลกทั้งปวง

เป็นผู้เพ่งฌาน มีปัญญาทรงจำ อันวาสนา

ในก่อนอบรมแล้ว ทรงชฎาหนังเสือเหลือง

ได้ฟังคำของพราหมณ์พาวรีแล้ว อภิ-

วาทพราหมณ์พาวรี กระทำประทักษิณแล้ว

บ่ายหน้าต่อทิศอุดร มุ่งไปยังที่ตั้งแห่งแว่น

แคว้นมุฬกะ เมื่องมาหิสสติ ในคราวนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 871

เมืองอุชเชนี เมืองโคนัทธะ เมือง

เวทิสะ เมืองวนนคร เมืองโกสัมพี เมือง

สาเกต เมืองสาวัตถีอันเป็นเมืองอุดม เมือง

เสตัพยะ เมืองกบิลพัสดุ์ เมืองกุสินารามัน-

ทิรสถาน (เมืองมันทิระ) เมืองปาวา เมือง

โภคนคร เมืองเวสาลี เมืองราชคฤห์ และ

ปาสาณกเจดีย์อันเป็นรมณียสถานที่น่า

รื่นรมย์ใจ.

พราหมณ์มาณพทั้งหลายพากันยินดี

ได้รีบด่วนขึ้นสู่เจติยบรรพต เหมือนบุคคลผู้

กระหายน้ำ ยินดีน้ำเย็น เหมือนพ่อค้ายินดี

ลาภใหญ่ และเหมือนบุคคลถูกความร้อน

แผดเผายินดีร่มเงา ฉะนั้น.

ก็ในสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า อัน

ภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่

ภิกษุทั้งหลายอยู่ ประหนึ่งราชสีห์บันลืออยู่

ในป่า ฉะนั้น.

อชิตมาณพได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้ามีพระรัศมี เรื่อเรืองเหลืองอ่อน ถึงความ

บริบูรณ์ดังดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ลำดับนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 872

อชิตมาณพได้เห็นพระอวัยวะอันบริบูรณ์ ใน

พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีความ

ร่าเริง ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ทูล

ถามปัญหาด้วยใจว่า

ขอพระองค์จงตรัสบอกอ้าง (ชาติ)

อายุ โคตร พร้อมทั้งลักษณะ และขอได้ตรัส

บอกการถึงความสำเร็จในมนต์ทั้งหลายแห่ง

อาจารย์ของข้าพระองค์เถิด พราหมณ์ผู้เป็น

อาจารย์ของข้าพระองค์ย่อมบอกมนต์กะศิษย์

มีประมาณเท่าไร พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ก็พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของท่านนั้น

มีอายุร้อยยี่สิบปี ชื่อพาวรีโดยโคตร ลักษณะ

ในกายของพราหมณ์พาวรีนั้นมี ๓ ประการ

พราหมณ์พาวรีนั้นเรียนจบไตรเพท ในตำรา

ทำนายมหาปุริสลักษณะ คือ คัมภีร์อิติหาส

พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์และเกฏุภ-

ศาสตร์ ถึงซึ่งความสำเร็จในธรรมแห่ง

พราหมณ์ของตนย่อมบอกมนต์กะมาณพ ๕๐๐.

อชิตมาณพทูลถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 873

ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่านรชน ขอ

พระองค์จงค้นคว้าลักษณะทั้งหลายของ

พราหมณ์พาวรี ขอจงทรงประกาศตัดความ

ทะเยอทะยาน อย่าให้ข้าพระองค์มีความ

สงสัยเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ดูก่อนมาณพ พราหมณ์พาวรีนั้น

ย่อมปกปิดมุขมณฑล (หน้า) ด้วยชิวหาได้

มีอุณาโลมชาติในระหว่างคิ้ว มีคุยหฐานอยู่

ในฝัก ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด.

ชนทั้งปวงไม่ได้ยินใคร ๆ ผู้ถามเลย

ได้ฟังปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยา-

กรณ์แล้ว (นึกคิดอยู่) คิดพิศวงอยู่ เกิดความ

โสมนัสประณมอัญชลี (สรรเสริญ) ว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอะไรหนอ เป็นเทวดา

หรือเป็นพรหม หรือเป็นท้าวสุชัมบดีจอม

เทพ เมื่อปัญหาอันผู้ถาม ถามแล้วด้วยใจ

ข้อปัญหานั้น ไฉนมาแจ่มแจ้งแก่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้.

อชิตมาณพทูลถามด้วยใจต่อไปว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 874

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน

พราหมณ์พาวรี ถามถึงธรรมเป็นศีรษะ และ

ธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ขอพระองค์

ตรัสพยากรณ์ข้อนั้น กำจัดความสงสัยของ

พวกข้าพระองค์ ผู้เป็นฤาษีเสียเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า

ท่านจงรู้เถิดว่า อวิชชาชื่อว่าธรรม

เป็นศีรษะ วิชชาประกอบด้วยศรัทธา สติ

สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ ชื่อว่าเป็นธรรม

เครื่องให้ศีรษะตกไป

ลำดันนั้น อชิตมาณพมีความโสมนัส

เป็นอันมาก เบิกบานใจ กระทำหนังเสือ

เหลืองเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง หมอบลงแทบพระ-

บาทยุคลด้วยเศียรเกล้า กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้นิรทุกข์ ผู้มีพระจักษุ พราหมณ์

พาวรีผู้เจริญ มีจิตเบิกบาน ดีใจพร้อมด้วย

ศิษย์ทั้งหลายขอไหว้พระบาทยุคล (ของพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า)

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนมาณพ พราหมณ์พาวรีพร้อม

ด้วยศิษย์ทั้งหลาย จงเป็นผู้ถึงความสุขเถิด

แม้ถึงท่านก็จงเป็นผู้ถึงความสุข จงเป็นอยู่

สิ้นกาลนานเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 875

ก็ท่านทั้งหลายมีโอกาสอันเราได้

กระทำแล้ว ปรารถนาในใจเพื่อจะถาม

ปัญหาข้อใดข้อหนึ่ง ก็จงถามความสงสัย

ทุก ๆ อย่างของพราหมณ์พาวรีหรือของท่าน

ทั้งปวงเถิด

อชิตมาณพมีโอกาสอันพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้ากระทำแล้ว นั่งลงประณมอัญชลี

ทูลถามปัญหาเเรกกะพระตถาคต ณ ที่นั่ง

ฉะนี้แล.

จบวัตถุกถา

อรรถกถาปารายนวรรคที่ ๕

อรรถกถาวัตถุคาถา แห่งปารายนวรรค

วัตถุคาถา แห่งปารายนวรรคมีคำเริ่มต้นว่า โกสลาน ปุรา รมฺมา

ดังนี้.

วัตถุคาถานี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

มีเรื่องอยู่ว่า ครั้งอดีตกาล มีช่างไม้คนหนึ่งชาวกรุงพาราณสี. ไม่มี

ใครเป็นสองในสำนักอาจารย์ของตน. ช่างไม้นั้นมีศิษย์ ๑๖ คน ศิษย์คน

หนึ่ง ๆ มีอันเตวาสิกคนละ ๑,๐๐๐ คน. อาจารย์และอันเตวาสิกเหล่านั้นรวม

เป็น ๑๖,๐๐๐ คนอย่างนี้. ทั้งหมดนั้นอาศัยกรุงพาราณสีเลี้ยงชีพ ได้ไปใกล้ภูเขา

เอาไม้มาสร้างปราสาทชนิดต่าง ๆ ณ ที่นั้นขาย แล้วผูกแพนำมากรุงพาราณสี

๑. บาลีใช้ว่า วัตถุกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 876

ทางแม่น้ำคงคา หากพระราชาทรงต้องการก็จะสร้างปราสาทชั้นเดียว หรือเจ็ด

ชั้นถวาย หากไม่ทรงต้องการ ก็จะขายคนอื่นเลี้ยงบุตรภรรยา.

ลำดับนั้นวันหนึ่ง อาจารย์ของอันเตวาสิกเหล่านั้นคิดว่า เราไม่สามารถ

จะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการเป็นช่างไม้ตลอดไป เพราะถึงคราวแก่ กรรมนี้ทำได้ยาก

จึงเรียกอันเตวาสิกทั้งหลายมาบอกว่า นี่แนะท่านทั้งหลาย พวกท่านจงไปนำต้น-

ไม้ที่มีแก่นน้อย มีต้นมะเดื่อเป็นต้นมา. อันเตวาสิกเหล่านั้นรับคำแล้วต่างก็

ไปนำมา. อาจารย์นั้นเอาไม้ทำเป็นนกแล้วใส่เครื่องยนต์เข้าไปภายในนกนั้น.

นกไม้กระโดดขึ้นสู่อากาศดุจพญาหงส์ เที่ยวไปเบื้องบนป่าแล้วลงเบื้องหน้า

อันเตวาสิกทั้งหลาย. ลำดับนั้น อาจารย์จึงถามศิษย์ทั้งหลายว่า นี่แน่ะท่าน

ทั้งหลายเราทำพาหนะไม้เช่นนี้ได้ ก็จะสามารถยึดราชสมบัติในชมพูทวีปได้ทั้ง

สิ้น แม้พวกท่านก็จงทำพาหนะไม้นั้น เราจะยึดราชสมบัติดำรงชีพ การเลี้ยงชีพ

ด้วยศิลปะการเป็นช่างไม้ลำบาก. ศิษย์เหล่านั้นได้ทำตามนั้นแล้วแจ้งให้อาจารย์

ทราบ. ลำดับนั้นอาจารย์จึงกล่าวกะพวกศิษย์ว่า เรายึดราชสมบัติที่ไหนก่อน.

พวกศิษย์ตอบว่า ยึดราชสมบัติกรุงพาราณสีซิท่านอาจารย์. อาจารย์กล่าวว่า

อย่าเลยพวกท่าน ไม่ดีดอก เพราะพวกเรายึดราชสมบัติกรุงพาราณสีได้ก็จะ

ไม่พ้นจากการพูดถึงช่างไม้ว่า พระราชาช่างไม้ พระยุพราชช่างไม้ ชมพูทวีป

ออกใหญ่โต เราไปที่อื่นกันเถิด. ลำดับนั้น พวกศิษย์พร้อมด้วยลูกเมียขึ้น

พาหนะไม้ สอดอาวุธมุ่งหน้าไปหิมวันตประเทศ เข้าไปยังนครหนึ่งในหิมวันต์

ไปปรากฎในพระราชมณเฑียรนั่นเอง. ศิษย์เหล่านั้นยึดราชสมบัติในนครนั้น

อภิเษกอาจารย์ไว้ในราชสมบัติ. อาจารย์นั้นได้ปรากฏชื่อว่า พระเจ้ากัฏฐวาหนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 877

แม้นครนั้นก็ได้ชื่อว่า กัฏฐวาหนนครเหมือนกัน เพราะพระเจ้ากัฏฐวาหนะยึด

ได้. แม้รัฐทั้งสิ้นก็มีชื่ออย่างนั้น. พระราชากัฏฐวาหนะได้ทรงดำรงอยู่ในธรรม.

อนึ่ง ทรงตั้งพระยุพราชและทรงตั้งศิษย์ ๑๖ คน ไว้ในตำแหน่งอาจารย์.

พระราชาทรงสงเคราะห์ศิษย์เหล่านั้นด้วยสังคหวัตถุ ๔ จึงเป็นแคว้นที่มั่งคั่ง

สมบูรณ์และไม่มีอันตราย. ทั้งชาวเมืองชาวชนบทนับถือพระราชาและข้าราช-

การเป็นอย่างยิ่งว่า พวกเราได้พระราชาที่ดี ข้าราชบริพารก็เป็นคนดี.

อยู่นาวันหนึ่ง พวกพ่อค้าจากมัชฌิมประเทศ นำสินค้ามาสู่กัฏฐวาหน-

นคร และนำเครื่องบรรณาการไปเฝ้าพระราชา. พระราชาตรัสถามว่า พวก

ท่านมาจากไหน. ทูลว่า ขอเดชะ มาจากกรุงพาราณสี พระเจ้าข้า. พระราชา

ตรัสถามเรื่องราวทั้งหมด ณ กรุงพาราณสีนั้นแล้วตรัสว่า พวกท่านจงนำมิตร-

ภาพของเราไปทูลกับพระราชาของพวกท่านเถิด, พ่อค้าเหล่านั้นรับพระราช-

ดำรัสแล้ว. พระราชาพระราชทานเสบียงแก่พวกพ่อค้าเหล่านั้น เมื่อถึงเวลาไป

ยังตรัสชี้แจงด้วยความใส่พระทัย. พวกพ่อค้ากลับไปกรุงพาราณสีได้กราบทูล

พระราชาให้ทรงทราบ. พระราชาตรัสว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเราจะงดเก็บ

ส่วยของพ่อค้าที่มาจากแคว้นกัฎฐวาหนะ แล้วทรงให้ป่าวประกาศว่า พระราชา

กัฏฐวาหนะจงเป็นพระสหายของเรา, พระราชาทั้งสองได้เป็นมิตรกันโดยไม่ได้

เห็นกันเลย. แม้พระราชากัฏฐวาหนะ ก็ทรงให้ป่าวประกาศไปทั่งนครว่า ตั้งแต่

วันนี้เป็นต้นไป ท่านจงงดเก็บส่วยของพ่อค้าที่มาจากกรุงพาราณสี และควร

ให้เสบียงแก่พวกเขาด้วย.

ลำดับนั้นพระเจ้าพาราณสี ทรงส่งพระราชสารไปถวายแด่พระเจ้ากัฏฐ-

วาหนะว่า หากมีอะไรเเปลก ๆ อันสมควรเพื่อจะเห็นเพื่อจะฟังในชนบทนั้นเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 878

ขั้นเพื่อให้ข้าพระองค์ได้เห็นและได้ฟังบ้าง. พระราชากัฏฐวาหนะทรงส่งพระ-

ราชสารตอบถวายพระราชาพาราณสีเหมือนกัน. เมื่อพระราชาทั้งสองทรง

กระทำกติกากันอยู่อย่างนี้ คราวหนึ่ง พระราชากัฏฐวาหนะได้ผ้ากัมพลเนื้อ

ละเอียดยิ่งนัก มีค่ามากเหลือเกินมีสีคล้ายรัศมีพระอาทิตย์อ่อน ๆ. พระราชา

กัฎฐวาหนะทอดพระเนตรเห็นผ้ากัมพลเหล่านั้น ทรงดำริว่า เราจักส่งไปให้

สหายของเราจึงให้ช่างทำงาสลักผอบงา ๘ ใบ เอาผ้ากัมพลใส่ลงในผอบ

เหล่านั้น ให้ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับครั้งทำก้อนครั่งกลมหุ้มข้างนอก เอาครั่งเป็น

ก้อนกลม ๘ ก้อนใส่ไว้ในสมุก เอาผ้าพันไว้ประทับตราแล้วทรงส่งอำมาตย์ไป

รับสั่งว่า พวกท่านจงนำไปถวายพระราชาพาราณสี และทรงจารึกพระอักษรว่า

บรรณาการนี้ อันหมู่อำมาตย์ท่ามกลางพระนครพึงสนใจ. พวกอำมาตย์พากัน

ไปได้ถวายแด่พระเจ้าพาราณสี. พระเจ้าพาราณสีทรงอ่านคำจารึกแล้วรับสั่ง

ให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ แกะตราประทับคลี่ผ้าพันออก เปิดสมุกทรงเห็นก้อน

ครั้งกลม ๘ ก้อน ทรงเขินว่าสหายของเราส่งก้อนครั่งกลมให้เรา คล้ายกับให้

เด็กอ่อนเล่นก้อนครั่งกลม จึงทรงทุบก้อนครั่งก้อนหนึ่ง ณ พระที่นั่งของพระ-

องค์ ทันใดนั้นเอง ครั้งก็ตกมา ผอบงาแยกออกเป็นสองส่วน. ทอดพระ

เนตรเห็นผ้ากัมพลอยู่ข้างใน จึงทรงเปิดผอบอื่น ๆ. ในผอบทั้งหมดได้มี

เหมือนๆ กัน. ผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ฯ ยาว ๑๖ ศอก กว้าง ๘ ศอก. มหาชนเห็น

ดังนั้นต่างก็ดีดนิ้วมือยกท่อนผ้าโบก ได้มีความพอใจว่า พระราชากัฏฐวาหนะ

พระอทิฏฐสหาย (สหายที่ไม่เคยเห็นกัน) ของพระราชาของเราทรงส่งบรรณา-

การเช่นนี้มาถวาย การทำไมตรีเช่นนี้สมควรแล้ว. พระราชารับสั่งให้เรียก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 879

พ่อค้ามาตีราคาผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ๆ ผ้ากัมพลทั้งหลายหาค่ามิได้เลย. ลำดับนั้น

พระเจ้าพาราณสีทรงดำริว่า การส่งบรรณาการภายหลัง ควรจะส่งให้เหนือกว่า

บรรณาการที่ส่งมาครั้งแรก สหายของเราส่งบรรณาการหาค่ามิได้มาให้เรา เรา

ควรจะส่งอะไรให้สหายดีหนอ.

ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะทรงอุบัติขึ้นแล้ว

ประทับอยู่ ณ กรุงพาราณสี. ครั้งนั้นพระราชาได้มีพระราชดำริว่า สิ่งอื่นจะ

สูงสุดยิ่งกว่าพระรัตนตรัยไม่มี เอาเถิด เราจะส่งข่าวว่าพระรัตนตรัยเกิดขึ้นแล้ว

แก่สหาย. พระเจ้าพาราณสีนั้น ตรัสให้จารึกคาถานี้ว่า

พระพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นพร้อมแล้ว

ในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งปวง

พระธรรม เกิดขึ้นพร้อมแล้วในโลก เพื่อ

ความสุขแก่สัตว์ทั้งปวง พระสงฆ์เกิดขึ้น

พร้อมแล้วในโลก เป็นบุญเขต ที่ไม่มีอะไร

ยิ่งไปกว่า ดังนี้.

และให้จารึกการปฏิบัติของภิกษุรูปหนึ่งตราบเท่าถึงพระอรหัตด้วยชาดสีแดง

ลงบนแผ่นทอง ใส่ลงในสมุกทำด้วยแก้ว ๗ ประการ ใส่สมุกนั้นลงในสมุก

ทำด้วยแก้วมณี ใส่สมุกทำด้วยแก้วมณีลงในสมุกแล้วตาแมว ใส่สุกแก้วตา

แมว ลงในสมุกทับทิม ใส่สมุกทับทิมลงในสมุกทองคำ ใส่สมุกทองคำลงใน

สมุกเงิน ใส่สมุกเงินลงในสมุกงาช้าง ใส่สมุกงาช้างในสมุกไม้แก่น ใส่สมุก

ไม้แก่นลงในหีบ เอาผ้าพันหีบประทับตรา ทรงให้นำช้างเมามันตัวประเสริฐ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 880

มีธงทองคำประดับด้วยทองคำ คลุมด้วยตาข่ายทองให้ตกแต่งบัลลังก์บนช้างนั้น

แล้วยกหีบวางไว้บนบัลลังก์ กั้นเศวตฉัตร บูชาด้วยของหอมและดอกไม้ทุกชนิด

ขับเพลงสรรเสริญหนึ่งร้อย ด้วยกังสดาลทุกชนิดเคลื่อนไป ให้ตกแต่งทางจน

ถึงเขตรัชสีมาของพระองค์ แล้วทรงนำไปด้วยพระองค์เอง. เสด็จประทับอยู่ ณ

ทางนั้นแล้ว ทรงส่งบรรณาการไปถึงเจ้าประเทศราชทั้งหลายว่า อันพวกเราผู้

เคารพอย่างนี้ควรส่งบรรณาการนี้ไป. พระราชาเหล่านั้น ได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว

จึงเสด็จมาต้อนรับ ทรงนำไปจนถึงเขตรัชสีมาของพระราชากัฏฐวาหนะ. แม้

พระราชากัฏฐวาหนะได้ทรงสดับแล้วก็เสด็จมาต้อนรับทรงบูชาเหมือนอย่างนั้น

ทูลเชิญเข้าพระนครรับสั่งให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ และพวกชาวพระนคร ทรง

เปลื้องผ้าพันออก ณ พระลานหลวง ทรงเปิดหีบทอดพระเนตรเห็นสมุกในหีบ

แล้วทรงเปิดหีบทั้งหมดตามลำดับ ทอดพระเนตรเห็นจารึกบนแผ่นทองคำ ทรง

พอพระทัยว่า สหายของเราทรงส่งรัตนบรรณาการ ซึ่งหาได้ยากอย่างยิ่งตลอด

แสนกัป พวกเราได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟังว่า พุทฺโธ โลเก อุปปนฺโน พระพุทธ-

เจ้าทรงอุบัติแล้วในโลกดังนี้ ทรงดำริว่า ถ้ากระไรเราควรจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

และฟังพระธรรม ดังนี้แล้วตรัสเรียกอำมาตย์ทั้งหลายมารับสั่งว่า ได้ยินว่า

พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะและพระสังฆรัตนะ อุบัติแล้วในโลกพวกท่าน

นึกว่าควรจะทำอะไร. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์

ประทับอยู่ ณ ที่นี้แหละ พวกข้าพระองค์จักไปฟังข่าวดู พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น

อำมาตย์ ๑๖ คน พร้อมด้วยบริวาร ๑๖,๐๐๐ คน ถวายบังคมพระราชาแล้วกราบ

ทูลว่า ผิว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลก ก็คงไม่มีการกลับมาเห็นอีก ผิว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 881

ไม่ทรงอุบัติ พวกข้าพระพุทธเจ้า จักกลับมา แล้วพากันไป. ฝ่ายพระเจ้าหลาน

เธอของพระราชา ถวายบังคมพระราชาในภายหลังกราบทูลว่า แม้ข้าพระพุทธ-

เจ้าก็จะไป. พระราชาตรัสว่า เมื่อเจ้ารู้ว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ ณ ที่นั้นแล้ว

จงกลับมาบอกเราด้วย. พระเจ้าหลานเธอรับพระบัญชาแล้วจึงได้ไป. พวกเขา

แม้ทั้งหมดไปตลอดทางพักเพียงราตรีเดียว ก็ถึงพระนครพาราณสี. เมื่อพวก

อำมาตย์ยังไปไม่ถึงนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเสียแล้ว. พวกเขา

เที่ยวไปจนทั่ววิหารเห็นสาวกอยู่กันพร้อมหน้า จึงถามว่าใครเป็นพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน. สาวกเหล่านั้นจึงบอกแก่พวกเขาว่า พระพุทธเจ้า

นิพพานเสียแล้ว. พวกอำมาตย์เหล่านั้นพากันคร่ำครวญว่า โอ เรามาไกล แต่

ไม่ได้แม้เพียงเห็น จึงถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าพระโอวาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงประทานไว้ยังมีอยู่หรือ. พระสาวกเหล่านั้น กล่าวว่า มีอยู่อุบาสก คือพึงตั้ง

อยู่ในพระรัตนตรัย พึงสมาทานศีล ๕ พึงเข้าอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘

พึงให้ทาน พึงปฏิบัติธรรม. อำมาตย์เหล่านั้นครั้นได้ฟังแล้วพากันบวชทั้งหมด

เว้นอำมาตย์ผู้เป็นพระเจ้าหลานเธอนั้น. อำมาตย์ผู้เป็นพระเจ้าหลานเธอ ถือ

เอาบริโภคธาตุ มุ่งหน้ากลับไปยังแคว้นกัฏฐวาหนะ. ต้นโพธิ บาตรและจีวร

เป็นต้น ชื่อว่า บริโภคธาตุ. พระเจ้าหลานเธอนี้ถือเอาธมกรก (หม้อกรอง

น้ำ) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และพาพระเถระรูปหนึ่งผู้ทรงธรรมและวินัยไป

ยังพระนครโดยลำดับ ได้กราบทูลพระราชกว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว

ในโลกและเสด็จปรินิพพานแล้ว ได้กราบทูลถึงโอวาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงประทานไว้. พระราชาเสด็จเข้าไปหาพระเถระฟังธรรมแล้วรับสั่งให้สร้าง

วิหารประดิษฐานพระเจดีย์ ปลูกต้นโพธิ ทรงดำรงอยู่ในพระรัตนตรัย และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 882

ศีล ๕ เป็นนิจ ทรงเข้าอยู่จำอุโบสถประกอบด้วย ๘ ทรงให้ทาน ทรงดำรง

อยู่ตราบเท่าอายุแล้วไปบังเกิดในกามาวจรเทวโลก. แม้อำมาตย์ ๑๖,๐๐๐ คน

ก็พากันบวชถึงมรณภาพเยี่ยงปุถุชน ได้ไปเป็นบริวารของพระราชานั้นนั่นเอง.

อำมาตย์เหล่านั้นอยู่ในเทวโลกสิ้นไปพุทธันดรหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าของเรายังไม่ทรงอุบัติ ได้เคลื่อนจากเทวโลก อาจารย์เกิดเป็นบุตร

ของปุโรหิตผู้เป็นพระชนกของพระเจ้าปเสนทิ มีชื่อว่า พาวรี ประกอบด้วย

มหาปุริสลักษณะ ๓ ประการ ถึงฝั่งแห่งไตรเพท เมื่อบิดาล่วงลับไปได้ดำรง

ตำแหน่งปุโรหิตแทน. แม้อำมาตย์ที่เหลืออีก ๑๖,๐๐๐ คน ได้เกิดในตระกูล

พราหมณ์ที่กรุงสาวัตถีนั้นนั่นเอง. บรรดาอันเตวาสิก ๑๖,๐๐๐ คน เหล่านั้น

อันเตวาสิกผู้ใหญ่ ๑๖ คน ได้เรียนศิลปะในสำนักของอาจารย์. อันเตวาสิก

๑๖,๐๐๐ คน นอกนั้นก็ได้เรียนศิลปะในสำนักของอันเตวาสิก ๑๖ คนนั้นเหมือน

กัน เพราะฉะนั้นทั้งหมดจึงมาประชุมกันอีก. แม้พระราชามหาโกศลก็ได้เสด็จ

สวรรคตเสียแล้ว. จึงได้อภิเษกพระเจ้าปเสนทิขึ้นครองราชสมบัติ. พาวรี-

พราหมณ์ก็ได้ปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทินั้น. พระราชาได้พระราชทานสิ่ง

ของที่พระชนกพระราชทานไว้ และสมบัติอื่นแก่พาวรีปุโรหิต. แม้พระราชา

นั้นเมื่อยังทรงพระเยาว์ ก็ได้เรียนศิลปะในสำนักของพาวรีปุโรหิตเหมือนกัน.

ลำดับนั้น พาวรีได้ทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์จักบวช.

พระราชาตรัสว่า ท่านอาจารย์ เมื่อท่านดำรงอยู่ก็เหมือนบิดาของข้าพเจ้ายังอยู่

ท่านอย่าบวชเลย. พาวรีทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์จักบวชแน่พระเจ้า-

ข้า. พระราชาไม่ทรงสามารถห้ามได้ จึงทรงขอร้องว่า ขอท่านจงบวชอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 883

พระราชอุทยานนี้เถิด. ข้าพเจ้าจะได้เห็นทุกเย็นและเช้า. อาจารย์พร้อมด้วย

ศิษย์ ๑๖ คน กับบริวารอีก ๑๖,๐๐๐ คน ได้บวชเป็นดาบสอยู่ในพระราช

อุทยาน. พระราชาทรงบำรุงด้วยปัจจัย ๔ เสด็จไปทรงอุปัฏฐากอาจารย์นั้น

ทุกเวลาเย็นและเวลาเช้า.

อยู่มาวันหนึ่งอันเตวาสิกทั้งหลายกล่าวกะอาจารย์ว่า การอยู่ใกล้พระ-

นครมีเครื่องพัวพันมาก ท่านอาจารย์เราไปหาโอกาสที่ไม่มีชนรบกวนเถิด ชื่อ

ว่าการอยู่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นประโยชน์มากแก่บรรพชิตทั้งหลาย. อาจารย์

รับว่า ดีละ จึงไปทูลพระราชา. พระราชาตรัสห้ามถึง ๓ ครั้งก็ไม่สามารถจะ

ห้ามได้ จึงพระราชทานหาปณะ ๒๐๐,๐๐๐ กหาปณะ รับสั่งกะอำมาตย์ทั้ง-

หลายว่า พวกเจ้าทรงสร้างอาศรมถวาย ในที่ที่คณะฤาษีปรารถนาจะอยู่เถิด.

แต่นั้นอาจารย์พร้อมด้วยชฎิล ๑๖,๐๐๐ เป็นบริวาร ได้รับอนุเคราะห์จากพวก

อำมาตย์จึงออกจากอุตตรชนบท มุ่งหน้าไปทักษิณชนบท. ท่านพระอานนท์

ถือเอาความนั้นในเวลาทำสังคายนาได้ยกนิทานแห่งปารายนวรรคขึ้นได้กล่าว

คาถาเหล่านี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โกสลาน ปุรา ได้แก่ จากพระนครโกศล.

อธิบายว่า จากกรุงสาวัตถี. บทว่า อากิญฺจญฺ คือ ความเป็นผู้ไม่มีกังวล.

อธิบายว่า วิเวกอันเป็นอุปกรณ์แห่งการกำหนด. บทว่า โส อสฺสกสฺส

วิสเย มุฬกสฺส สมาสเน คือ พราหมณ์นั้นอยู่ในแคว้นใกล้พรมแดนใน

ระหว่างสองแคว้น คือ แคว้นอัสสกะและแคว้นมุฬกะ. อธิบายว่า ในท่ามกลาง

แคว้นทั้งสอง. บทว่า โคธาวรีกุเล ได้แก่ ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี. อธิบายว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 884

แม่น้ำโคธาวรีแยกออกเป็นสองสายได้กระทำเกาะในระหว่างประมาณ ๓ โยชน์

เกาะทั้งหมดปกคลุมไปด้วยป่ามะขวิด เมื่อก่อน ณ ประเทศนั้นสรภังคดาบสเป็น

ค้นอาศัยอยู่. ได้ยินว่า อาจารย์เห็นประเทศนั้นแล้วจึงแจ้งแก่อำมาตย์ทั้งหลาย

ว่า ประเทศนี้เป็นที่อยู่ของสรณะมาก่อน ประเทศนี้สมควรแก่นักบวช. พวก

อำมาตย์ได้ให้ทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ แก่พระเจ้าอัสสกะ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ให้แก่

พระเจ้ามุฬกะ เพื่อถือเอาภูมิประเทศนั้น. พระราชาทั้งสองนั้นได้พระราชทาน

ประเทศนั้นและประเทศอื่นประมาณ ๒ โยชน์ รวมประเทศทั้งหมดประมาณ

๕ โยชน์. นัยว่า ประเทศนั้นอยู่ในระหว่างเขตรัชสีมาของพระราชาเหล่านั้น.

พวกอำมาตย์สร้างอาศรม ณ ที่นั้นแล้วและให้นำแม้ทรัพย์อื่นมาจากกรุงสาวัตถี

จัดตั้งเป็นโคจรคามเสร็จแล้วพากันกลับไป. บทว่า อุญฺเฉน จ ผเลน จ

ได้แก่ ด้วยที่เที่ยวแสวงหาอาหารและด้วยรากไม้และผลไม้ในป่า. เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ตสฺเสว อุปนิสฺสาย คาโม จ วิปุโล อหุ ชาวบ้าน

ที่อาศัยพราหมณ์พาวรีนั้นก็เป็นผู้ไพบูลย์.

บทว่า ตสฺส ได้แก่ ฝั่งแม่น้ำโคธาวรีนั้นหรือพราหมณ์นั้น. บทว่า

ตสฺส นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. อธิบายว่า อาศัยซึ่ง

พราหมณ์นั้น. บทว่า ตโต ชาเตน อาเยน มหายญฺมกปฺปยิ พราหมณ์-

พาวรีได้บูชามหายัญด้วยส่วนอันเกิดแต่บ้านนั้น คือ พราหมณ์พาวรีนั้นได้บูชา

มหายัญด้วยส่วนแสนหนึ่ง อันเกิดแต่กสิกรรมเป็นต้นในบ้านนั้น กุฎุมพีทั้งหลาย

ถือเอาส่วยนั้นไปเฝ้าพระเจ้าอัสสกะทูลว่า ขอพระองค์ทรงรับส่วยนี้เถิด พระ-

เจ้าอัสสกะตรัสว่า เราไม่รับ พวกท่านจงนำไปถวายอาจารย์เถิด. แม้อาจารย์ก็

ไม่รับส่วยนั้นเป็นของตนได้บูชามหายัญ. อาจารย์นั้นได้ให้ทานทุก ๆ ปี ด้วย

ประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 885

พึงทราบความแห่งคาถาว่า มหายญฺ ดังต่อไปนี้. อาจารย์นั้นบูชา

มหายัญคือทานทุก ๆ ปีอย่างนี้ ครั้นบูชามหายัญนั้นทุกปีแล้วได้ออกจากบ้าน

กลับเข้าไปสู่อาศรมอีก ครั้นกลับเข้าไปแล้วก็ไปยังบรรณศาสานั่งพิจารณาถึง

ทานว่าเราให้ทานด้วยดีแล้ว เมื่อพราหมณ์พาวรีกลับ เขาไปแล้ว พราหมณ์อื่น

ที่ถูกพราหมณีรุ่น ๆ ประสงค์จะทำการงานอันไม่ชอบธรรมส่งไปว่า พราหมณ์

ท่านจงมา พาวรีพราหมณ์สละทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ ตลอดปีที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ท่าน

จงไปขอมาสัก ๕๐๐ แล้วนำทรัพย์ที่ท่านให้แล้วมา ก็เข้ามา. บทว่า อุคฺฆฏฺฏ-

ปาโท เท้าเสียดสีกัน คือ ฝ่าเท้าเสียดสีด้วยการก้าวไปตามทาง หรือเท้าเสียดสี

เพราะส้นกับส้น ข้อเท้ากับข้อเท้า เข่ากับเข่า. บทว่า สุขญฺจ กุสล ปุจฺฉิ

พราหมณ์พาวรีถามถึงสุขและกุศลว่า พราหมณ์ท่านสบายดีหรือ ท่านทำกุศล

บ้างหรือ. บทว่า อนุชานาหิ คือท่านจงเธอเราเถิด. บทว่า สตฺตธา

ศีรษะของท่านจะแตก ๗ เสี่ยง. บทว่า อภิสงฺขริตฺวา ทำกลอุบาย ท่าน

อธิบายว่า พราหมณ์ถือเอามูลโค ดอกไม้ หญ้าคาในป่า แล้วรีบไปยังประตู

อาศรมของพราหมณ์พาวรีเอามูลโคเช็ดพื้นเกลี่ยดอกไม้ปูหญ้า เอาน้ำในคนโท

ล้างเท้าซ้าย เดินไปประมาณ ๗ ก้าว ลูบคลำฝ่าเท้าของตนทำอุบายหลอกลวง

อย่างนี้. บทว่า เภรว โส อกิตฺตยิ คือ พราหมณ์นั้นได้กล่าวคำจะให้เกิด

ความกลัว. อธิบายว่า พราหมณ์นั้นได้กล่าวว่า หากเมื่อเราขออยู่ ท่านไม่ให้

ดังนี้. บทว่า ทุกฺขิโต พราหมณ์พาวรีเกิดโทมนัส. บทว่า อุสฺสุสฺสติ

ซูบซีด คือพราหมณ์พาวรีสำคัญว่า คำพูดของพราหมณ์นั้นบางครั้งพึงเป็น

ความจริงจึงซูบซีด. บทว่า เทวตา ได้แก่ เทวดาที่สิงสถิตอยู่ ณ อาศรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 886

นั่นเอง. บทว่า มุทฺธนิ มุทฺธาธิปาเต ว คือในธรรมเป็นศีรษะและธรรม

เป็นเหตุให้ศีรษะตกไป. บทว่า โภตี จรหิ ชานาหิ คือถ้าท่านรู้จักข้าพเจ้า.

บทว่า มุทฺธาธิปาตญฺจ ได้แก่ ธรรมเป็นศรีษะและธรรมเป็นเหตุให้

ศีรษะตกไป. บทว่า าณมฺเมตฺถ ตัดบทเป็น ฆาณ เม เอตฺถ เรา

ไม่มีความรู้ในธรรมทั้งสองอย่างนี้. บทว่า ปุรา จากเมือง ความว่า เมื่อ

พาวรีพราหมณ์อาศัยอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำโคธาวรีล่วงไป ๘ ปี พระพุทธเจ้าทรง

อุบัติขึ้นแล้วโนโลก พระองค์เสด็จออกผบวชจากกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระชนม์ได้

๒๙ พรรษา. บทว่า อปจฺโจ คือลำดับพระวงศ์. บทว่า สพฺพาภิญฺาพลปฺ-

ปตฺโต คือทรงบรรลุอภิญญาและทศพลญาณครบถ้วน หรือทรงบรรลุอภิญญา

ทั้งหมดและพละ. บทว่า วิมุตฺโต ทรงน้อมไป คือ มีพระทัยน้อมไปในการ

ทำอารมณ์ให้เป็นไป. บทว่า โสกสฺส ตัดบทเป็น โสโก อสฺส มีความ

โศกเบาบาง.

บทว่า ปหูตปญฺโ คือมีปัญญามาก. บทว่า วรภูริเมธโส มีพระ-

ปัญญาประเสริฐคือมีพระปัญญาอุดมไพบูลย์หรือมีปัญญาประเสริฐยินดียิ่งใน

ความเป็นจริง. บทว่า วิธุโร คือปราศจากธุระ. ท่านอธิบายว่าไม่มีที่เปรียบ.

บทว่า มนฺตปวรเค คือถึงฝั่งแห่งเวท. บทว่า ปสฺสวโห คือ

ท่านทั้งหลายจงดู. บทว่า อชานต คือไม่รู้ บทว่า ลกฺขณา คือลักษณะ

ทั้งหลาย. บทว่า พฺยกฺขาตา คือกล่าวแล้ว. อธิบายว่า ทำให้กว้างขวาง.

บทว่า สมฺตตา คือจบแล้ว อธิบายว่า บริบูรณ์แล้ว. บทว่า ธมฺเมน มนุ-

สาสติ คือพร่ำสอนโดยธรรม. บทว่า ชาติโคตฺตฺจ ลกฺขณ ได้แก่

๑. อรรถกถา ว่า มุทฺธปตเน วา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 887

ชาติโคตรและลักษณะของเราว่าเกิดมานานเท่าไร. บทว่า มนฺเต สิสฺเส จ

ได้แก่ เวทที่เราบอกและศิษย์ของเรา. บทว่า มนสาเยว ปุจฺฉถ คือท่าน

ทั้งหลายจงถามปัญหา ๗ ข้อเหล่านี้ด้วยใจ. บทว่า ติสฺสเมตฺเตยฺโย เป็นคน

เดียวกันโดยกล่าวทั้งชื่อและโคตร. บทว่า ทุภโย คือ สองคน. บทว่า ปจฺเจก-

คณิโน คือเป็นเจ้าคณะคนละคณะ. บทว่า ปุพฺพวาสนวาสิตา อันวาสนา

ในก่อนอบรมแล้ว คือ มีใจอันบุญวาสนา คือคตปัจจาควัตรที่เคยบวชในศาสนา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ อบรมแล้ว. บทว่า ปุร มา-

หิสฺสตึ คือ เมืองมาหิสสตี. อธิบายว่า เข้าไปยังเมืองนั้น. ในบททั้งปวงก็

อย่างนั้น. บทว่า โคนทฺธ เป็นชื่อของเมืองโคนัทธะ. บทว่า วนสวฺหย

คือชื่อว่า วนนคร ท่านเรียกว่า ปวนนคร. อาจารย์บางคนกล่าวว่า วนสาวัตถี

มีเรื่องเล่าว่า บริษัทของชฎิล ๑๖ คนเหล่านั้น ออกจากวนสาวัตถีถึงเมือง

โกสัมพี จากเมืองโกสัมพีถึงเมืองสาเกตตามลำดับมีประมาณ ๖ โยชน์.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า พวกชฎิลของพราหมณ์พาวรี

พามหาชนมามาก อินทรีย์ของชฎิลเหล่านั้นยังไม่ถึงความแก่กล้าก่อน ทั้งถิ่นนี้

ก็ยังไม่เป็นที่สบาย ปาสาณกเจดีย์ในเขตมคธเป็นที่สบายของชฎิลเหล่านั้น ก็เมื่อ

เราแสดงธรรมในที่นั้น มหาชนก็จักบรรลุธรรม พวกชฎิลเข้าไปยังนครทั้งปวง

แล้วพากันมา จักมาพร้อมด้วยชนมากขึ้นไปอีก จึงทรงแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์

เสด็จจากกรุงสาวัตถีบ่ายพระพักตร์ไปยังกรุงราชคฤห์. พวกชฎิลเหล่านั้นก็มา

กรุงสาวัตถี เข้าไปสู่วิหารตรวจตราดูว่า ใครเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า

อยู่ไหน พากันเข้าไปถึงพระคันธกุฎีที่อาศัย เห็นรอยพระบาทของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ก็ปลงใจว่า เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าแน่แล้ว เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 888

เท้าของผู้กำหนัดกระโหย่ง ฯลฯ

เท้าเช่นนี้เป็นเท้าของผู้มีกิเลส เพียงดังหลัง-

คาเปิดแล้ว ดังนี้.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จเข้าสู่พระนครมีเสตัพยนครและกรุงกบิล-

พัสดุ์เป็นต้นตามลำดับ เพิ่มมหาชนขึ้นอีกเสด็จไปปาสาณกเจดีย์. แม้พวกชฎิล

ก็พากันออกจากกรุงสาวัตถีทันทีทันใด เข้าไปยังนครเหล่านั้นทั้งหมดแล้วได้ไป

ยังปาสาณกเจดีย์เหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า เมือง

โกสัมพี เมืองสาเกต เมืองเสตัพยะ เมืองกบิลพัสดุ์ ล้วนเป็นเมืองอุดม.

ในบทเหล่านั้นบทว่า มาคธ ปุร เมืองมคธ อธิบายว่า เมืองราชคฤห์.

บทว่า ปาสาณก เจติย คือ ปาสาณกเจดีย์ เมื่อก่อนได้มีเทวสถานอยู่

ข้างบนแผ่นหินเป็นอันมาก. แต่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้น มีวิหาร

เกิดขึ้น วิหารนั้นท่านเรียกว่า ปาสาณกเจดีย์ ตามคำเรียกเดิมนั่นเอง. บทว่า

ตสิโตว อุทก เหมือนบุคคลผู้กระหายน้ำ คือ ชฎิลเหล่านั้นรีบติดตามพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพากันไปแต่เช้าสู่ทางที่เสด็จไปในตอนเย็น และไปตอนเย็นสู่ทางที่

เสด็จไปในตอนเช้า ครั้นได้ฟังว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ ณ ที่นี้ ก็เกิดปีติ

ปราโมทย์พากันขึ้นไปสู่พระเจดีย์นั้น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า รีบพากันขึ้น

ภูเขา. บทว่า เอกมนฺต ิโต หฏฺโ มีความร่าเริงยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง

ความว่า อชิตมาณผู้เป็นหัวหน้าอันเตวาสิก เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง

ณ มหามณฑปที่ท้าวสักกะสร้าง ณ ปาสาณกเจดีย์นั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงกระทำสัมโมทนียกถาตอบโดยนัยมีอาทิว่า กจฺจิ อิสโย ขมนีย สบายดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 889

หรือฤาษีทั้งหลาย จึงกระทำปฏิสัณฐานแม้ด้วยตนเองว่า ขมนีย โภ โคตม

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สบายดีพระเจ้าข้าเป็นต้น มีใจร่าเริงยืนอยู่ ณ ส่วนข้าง

หนึ่ง ได้กราบทูลถามปัญหาด้วยใจ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อาทิสฺส อ้าง คือ อ้างอย่างนี้ว่า ติสสะ ปุสสะ.

บทว่า ชมฺมน คืออชิตมาณพถามว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกชาติของอาจารย์

ของพวกข้าพระองค์เถิด. บทว่า ปารมึ คือถึงความสำเร็จ. บทว่า วีส วสฺสสต

คือมีอายุ ๑๒๐ ปี. บทว่า ลกฺขเณ ได้แก่ มหาปุริสลักษณะ. อธิบายว่า

สืบต่อกันมาในมหาปุริสลักษณะนี้ และในคัมภีร์อิติหาสเป็นต้น อื่นจากมหา-

ปุริสลักษณะนี้. อีกอย่างหนึ่งพึงนำบทอื่นมาประกอบว่า ถึงความสำเร็จในมนต์

ทั้งหลายเหล่านั้น. บทว่า ปญฺจสตานิ วาเจติ ย่อมบอกมนต์กะมาณพ ๕๐๐

คือ พาวรีพราหมณ์ย่อมบอกมนต์ด้วยตนเองกะมาณพผู้เกียจคร้านปัญญาทราม

เป็นปรกติ ๕๐๐ คน. บทว่า สธมฺเม ในธรรมของตน คือในธรรมแห่งพราหมณ์

ของตน. อธิบายว่า ในปาพจน์อันได้แก่วิชชา ๓. บทว่า ลกฺขณาน ปวิจย

จงค้นคว้าลักษณะทั้งหลาย คือ ความพิสดารของลักษณะทั้งหลาย. อชิตมาณพ

ทูลถามว่าลักษณะ ๓ ในตัวของพราหมณ์พาวรีนั้นคืออะไร. บทว่า ปุจฺฉญฺหิ

แปลว่า ถามอยู่. บทว่า กเมต ปฏิภาสติ ข้อปัญหานั้นแจ่มแจ้งกะใคร

คือ คำถามนั้นย่อมแจ่มแจ้งกะบุคคลไรในบรรดาเทวดาเป็นต้น.

พราหมณ์ครั้นได้สดับการพยากรณ์ปัญหา ๕ ข้อแล้ว เมื่อจะทูลถาม

ปัญหาสองข้อที่เหลือจึงกราบทูลว่า มุทฺธ มุทฺธาธิปาตญฺจ ธรรมเป็นศรีษะ

และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรง

พยากรณ์ปัญหาเหล่านั้น จึงตรัสคาถามีอาทิว่า อวิชฺชา มุทฺธา อวิชชาชื่อว่า

ธรรมเป็นศีรษะ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 890

ในบทเหล่านั้น เพราะอวิชชาเป็นความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ เป็นศีรษะ

แห่งสังสารวัฏ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสว่า อวิชชาชื่อว่าธรรมเป็น

ศีรษะ. อนึ่ง เพราะอรหัตมรรควิชชา (วิชชาในอรหัตมรรค) ประกอบ

ด้วยศรัทธาสติสมาธิกัตตุกัมยตาฉันทะ (ความพอใจใคร่เพื่อจะทำ) และวิริยะ

อันเกิดร่วมกับตนยังศีรษะให้ตกไป เพราะเข้าถึงธรรมเป็นศีรษะด้วยความตั้งอยู่

ในรสอันเดียวกันของอินทรีย์ทั้งหลาย ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

วิชฺชา มุทฺธาธิปาตนี วิชชาเป็นธรรมเครื่องให้ศีรษะตกไป. บทว่า ตโต

เวเทน มหตา ด้วยพระเวทอันยิ่งใหญ่ ความว่า ลำดับนั้นอชิตมาณพได้ฟัง

การพยากรณ์ปัญหานี้ เกิดมหาปีติเป็นล้นพ้นเบิกบานใจ ถึงความเป็นผู้ไม่หดหู่

ทางกายและจิตมีความยินดียิ่ง. อชิตมาณพกล่าวคาถานี้ว่า ปติตฺวา จ พาวรี

พราหมณ์พาวรีขอหมอบลงแทบพระบาท. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ

ทรงอนุเคราะห์พาวรีนั้น จึงตรัสคาถาว่า สุขิโต ขอพราหมณ์พาวรีจงมี

ความสุขเถิด. ครั้นตรัสแล้วจึงทรงปวารณาเป็นการปวารณาของพระสัพพัญญู

ว่า พาวริสฺส จ ความว่า จงถามความสงสัยทุก ๆ อย่างของพราหมณ์พาวรี

หรือของท่านเถิด.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สพฺเพส ทั้งหมดได้แก่ อันเตวาสิก ๑๖,๐๐๐

ไม่มีเหลือ. บทว่า ตตฺถ ปุจฺฉิ ตถาคต อชิตมาณพทูลถามปัญหาแรกกะ

พระตถาคต ณ ที่นั้น คือ อชิตะ ทูลถามปัญหาแรก ณ ปาสาณกเจดีย์นั้น ณ

บริษัทนั้น หรือ ณ ที่พระองค์ทรงปวารณาไว้นั้น. บทที่เหลือในคาถาทั้งหมด

ชัดดีอยู่แล้ว.

จบอรรถกถาวัตถุกถา แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา เพียงนี้ก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 891

อชิตปัญหาที่ ๑

ว่าด้วยปัญหาของอชิตมาณพ

[๔๒๕] อชิตมาณพทูลถามปัญหาว่า

โลกคือหมู่สัตว์อันอะไรหุ้มห่อไว้

โลกย่อมไม่แจ่มแจ้งเพราะอะไร พระองค์

ตรัสอะไรว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ อะไร

เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนอชิตะ

โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่

แจ่มแจ้งเพราะความตระหนี่ (เพราะความ

ประมาท) เรากล่าวตัณหา ว่าเป็นเครื่อง

ฉาบทาโลกไว้ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.

อ. กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปใน

อารมณ์ทั้งปวง อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแส

ทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสบอกเครื่องกั้น

กระแสทั้งหลาย กระแสทั้งหลายอันบัณฑิต

ย่อมปิดกั้นได้ด้วยธรรมอะไร.

พ. ดูก่อนอชิตะ สติเป็นเครื่องกั้น

กระแสในโลก เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องกั้น

กระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิต

ย่อมปิดกั้นได้ด้วยปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 892

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา

สติ และนามรูป ธรรมทั้งหมดนี้ย่อมดับไป

ณ ที่ไหน พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถาม

แล้วขอจงตรัสบอกปัญหาข้อนี้แก่ข้าพระองค์

เถิด.

พ. ดูก่อนอชิตะ เราจะบอกปัญหา

ที่ท่านได้ถามแล้วแก่ท่าน นามและรูปย่อม

ดับไปไม่มีส่วนเหลือ ณ ที่ใด สติและปัญญา

นี้ ย่อมดับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่ง

วิญญาณ

อ. ชนเหล่าใด ผู้มีธรรมอันพิจารณา

เห็นแล้ว และชนเหล่าใดผู้ยังต้องศึกษาอยู่

เป็นอันมากมีอยู่ในโลกนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้

นิรทุกข์ พระองค์ผู้มีปัญญารักษาตน อัน

ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกความ

เป็นไปของตนเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พ. ภิกษุไม่กำหนัดยินดีในกามทั้ง-

หลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง

มีสติ พึงเว้นรอบ.

จบอชิตมาณวกปัญหาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 893

อรรถกถาอชิตสูตรที่ ๑

ก็ในปัญหานั้น บทว่า นิวุโต หุ้มห่อ คือ ปกปิดไว้. บทว่า กิสฺสา-

ภิเลปน พฺรูสิ คืออชิตมาณพทูลถามว่า พระองค์ตรัสว่าอะไรเป็นเครื่องฉาบ

ทาโลกนั้นไว้.

บทว่า เววิจฺฉา ปมาทา นปฺปกาสติ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

โลกไม่แจ่มแจ้งเพราะความตระหนี่และเพราะความประมาทเป็นเหตุ. จริงอยู่

ความตระหนี่ไม่ให้เพื่อประกาศคุณมีทานเป็นต้นของเขา และความประมาทไม่

ให้เพื่อประกาศคุณมีศีลเป็นต้น. บทว่า ชปฺปาภิเลปน ตัณหาเป็นเครื่อง

ฉาบทา คือตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้นไว้ดุจตังดักลิง ฉาบทาลิงไว้ฉะนั้น.

บทว่า ทุกฺข ได้แก่ ทุกข์มีชาติเป็นต้น.

บทว่า สวนฺติ สพฺพธิ โสตา กระแสทั้งหลายย่อมแล่นไปใน

อารมณ์ทั้งปวง คือ กระแสมีตัณหาเป็นต้นย่อมแล่นไปในอายตนะทั้งหลายมี

รูปายตนะเป็นต้นทั้งปวง. บทว่า กินฺนิวารณ อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแส คือ

อะไรเป็นเครื่องกั้น อะไรเป็นเครื่องคุ้มครองรักษากระแสเหล่านั้น. บทว่า สวร

พฺรูหิ คือขอพระองค์ทรงตรัสบอกเครื่องกั้นกระแสอันได้แก่การห้ามกระแส

เหล่านั้น. ด้วยบทนี้อชิตมาณพทูลถามถึงการละกระแสที่เหลือ. บทว่า เกน

โสตา ปิถิยฺยเร คือ กระแสทั้งหลายเหล่านั้นอันบัณฑิตย่อมปิดกั้น คือ ตัด

ขาดได้ด้วยธรรมอะไร. ด้วยบทนี้ อชิตมาณพทูลถามถึงการละกระแสโดยไม่

มีเหลือ.

บทว่า สติ เตส นิวารณ สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น คือ

สติอันมีอยู่ด้วยความสงบประกอบแล้วด้วยวิปัสสนาเป็นทางดำเนินของธรรมอัน

๑. บาลีเป็น อชิตปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 894

เป็นกุศลทั้งหลายเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น. บทว่า โสตาน สวร พฺรูมิ

เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เรากล่าวว่าสตินั้นแลเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย. บทว่า ปญฺาเยเต

ปิถิยฺยเร กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตปิดกั้นได้ด้วยปัญญา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า กระเเสเหล่านั้นอันบัณฑิตย่อมปิดกั้นได้ด้วยมรรคปัญญาอันสำเร็จด้วย

การแทงตลอดถึงความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น

โดยประการทั้งปวง.

บทว่า ปญฺา เจว พึงทราบความสังเขปอย่างนี้ว่า ปัญญา สติ

และนามรูปที่เหลือนั้นอันใด ที่ท่านกล่าวไว้ในคาถาของปัญหาทั้งหมดนั้นย่อม

ดับไป ณ ที่ไหน พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามปัญหา ขอจงตรัสบอกปัญหา

อันแก่ข้าพระองค์เถิด.

พึงทราบความในคาถาแก้ปัญหาของอชิตมาณพต่อไป เพราะปัญญา

และสติสงเคราะห์ (รวม) กันโดยนามนั่นเอง ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้

ตรัสปัญญาและสติไว้ต่างออกไป. นี้เป็นความสังเขปในบทนี้. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอชิตะ ท่านได้ถามปัญหานี้ว่า นามและรูปย่อมดับไป ณ

ที่ไหน เราจะบอกปัญหาที่ท่านได้ถามแก่ท่านว่า นามและรูปย่อมดับไปไม่มี

ส่วนเหลือ ณ ที่ใด สติและปัญญานี้ย่อมดับไปพร้อมกันไม่ก่อนไม่หลัง ณ ที่

นั้น เพราะครามดับแห่งวิญญาณนั้น ๆ ในเพราะความดับแห่งวิญญาณนี้แล

นามและรูปจึงดับไป ท่านอธิบายว่า การดับนามและรูปนั้นไม่ล่วงพ้นการดับ

แห่งวิญญาณนั้นไปได้เลย.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันประกาศถึงทุกขสัจจะด้วยบทนี้ว่า ทุกฺข-

มสฺส มหพฺภย ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนี้. ประกาศสมุทยสัจจะด้วยบทนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 895

ยานิ โสตานิ กระแสทั้งหลายเหล่าใดในโลกดังนี้. ประกาศมรรคสัจจะด้วย

บทนี้ว่า ปญฺาเยเต ปิถิยฺยเร กระแสเหล่านี้อันบัณฑิตย่อมปิดกั้นได้ด้วย

ปัญญา. ประกาศนิโรธสัจจะด้วยบทนี้ว่า อเสส อุปรุชฺฌติ นามและรูป

ย่อมดับไปไม่เหลือ. อชิตมาณพได้ฟังสัจจะทั้ง ๔ อย่างนี้แล้ว ยังไม่บรรลุ

อริยภูมิ เมื่อจะทูลถามปฏิปทาของพระเสกขะและอเสกขะต่อไปจึงทูลว่า เย จ

สงฺขาตธมฺมาเส ชนเหล่าใดผู้มีธรรมอันพิจารณาเห็นแล้ว ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สงฺขาตธมฺมา ได้แก่ ธรรมที่พิจารณาเห็นแล้ว

โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทนี้เป็นชื่อของพระอรหัต. บทว่า เสกฺขา

ได้แก่ พระอริยบุคคลที่เหลือผู้ยังต้องศึกษาศีลเป็นต้น. บทว่า ปุถู มาก ได้แก่

ชน ๗ จำพวก. บทว่า เตส เม นิปโก อิริย ปุฏฺโ ปพฺรูหิ ความว่า

พระองค์ผู้มีปัญญารักษาตนอันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกข้อปฏิบัติ

ของชนเหล่านั้น ผู้เป็นเสกขะและอเสกขะ แก่ข้าพระองค์เถิด.

เพราะพระเสกขะควรละกิเลสทั้งหมด ตั้งต้นแต่กามฉันทนิวรณ์ทีเดียว

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงเสกขปฏิปทาแก่อชิตมาณพนั้นด้วยกึ่ง

คาถาว่า กาเมสุ ในกามทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังต่อไปนี้ ภิกษุไม่พึงกำหนัดยินดีในวัตถุกามทั้งหลาย

ด้วยความใคร่กิเลส ละธรรมทั้งหลายอันทำความขุ่นมัวแก่ใจมีกายทุจริตเป็นต้น

พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว. ก็เพราะพระอเสกขะเป็นผู้ฉลาด เพราะเป็นผู้พิจารณา

สังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นผู้มีสติด้วยการมีสติตามเห็น

ซึ่งกายเป็นต้นในธรรมทั้งปวง และถึงความเป็นภิกษุ เพราะทำลายสักกายทิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 896

เป็นต้นเสียได้ ย่อมเว้นรอบในทุกอิริยาบถ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง

แสดงอเสกขปฎิปทา ด้วยกึ่งคาถาว่า กุสโล เป็นผู้ฉลาด ดังนี้เป็นต้น. บทที่

เหลือในบททั้งหมดชัดดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบเทศนาด้วยธรรม

เป็นยอด คือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อจบเทศนา อชิตมาณพได้บรรลุพระอรหัตพร้อมกับอันเตวาสิก

๑,๐๐๐ ชนอีก ๑,๐๐๐ เหล่าอื่น ได้เกิดดวงตาเห็นธรรม. หนังเสือเหลือง ชฎา

และผ้าป่านเป็นต้นของท่านอชิตะพร้อมด้วยอันเตวาสิกได้หายไปพร้อมกับการ

บรรลุพระอรหัต. ท่านทั้งหมด ทรงบาตรและจีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์ มีผมสอง

องคุลีเป็นเอหิภิกษุ นั่งประนมมือนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาอชิตสูตรที่ ๑ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 897

ติสสเมตเตยยปัญหาที่ ๒

ว่าด้วยโทษของกาม

[๔๒๖] ติสสเมตเตยยมาณพทูลถามปัญหาว่า

ใครชื่อว่าผู้ยินดีในโลกนี้ ความ

หวั่นไหวทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ใคร ใครรู้ส่วน

สุดทั้งสอง แล้วไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง

ด้วยปัญญา พระองค์ตรัสสรรเสริญใครว่า

เป็นมหาบุรุษ ใครล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัด

ในโลกนี้ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนเมตเตยยะ.

ภิกษุเห็นโทษในกามทั้งหลายแล้ว

ประพฤติพรหมจรรย์ มีตัณหาปราศจากไป

แล้ว มีสติทุกเมื่อ พิจารณาเห็นธรรมแล้ว

ดับกิเลสได้แล้ว ชื่อว่าผู้ยินดีในโลกนี้ ความ

หวั่นไหวทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุ

นั้นรู้ซึ่งส่วนสุดทั้งสองแล้ว ไม่ติดอยู่ในส่วน

ท่ามกลางด้วยปัญญา เรากล่าวสรรเสริญ

ภิกษุนั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ภิกษุนั้นล่วงตัณหา

เครื่องร้อยรัดในโลกนี้เสียได้.

จบติสสเมตเตยยมาณวกปัญหาที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 898

อรรถกถาติสสเมตเตยยสูตรที่ ๒

ติสสเมตเตยยสูตร มีคำเริ่มต้นว่า โกธ สนฺตุสฺสิโต ใครชื่อว่า

ผู้ยินดีในโลกนี้ ดังนี้.

ติสสเมตเตยยสูตร มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

มีการเกิดขึ้นด้วยอำนาจของการถามของสูตรทั้งหมด. ก็พราหมณ์

เหล่านั้นทูลถามความสงสัยของตน ๆ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปวารณา

ไว้แล้วว่า ให้พวกเราถามได้ตามโอกาส ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าอันติสสเมต-

เตยยมาณพทูลถามแล้ว ทรงพยากรณ์แก่อันเตวาสิกเหล่านั้น. พึงทราบว่า

สูตรเหล่านี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการถาม ด้วยประการฉะนี้แล.

เมื่อจบปัญหาของอชิตะแล้ว โมฆราช เริ่มจะทูลถามปัญหาอย่างนี้ว่า

มัจจุราชย่อมไม่เห็นผู้เพ่งดูโลกอย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า

อินทรีย์ของโมฆราชนั้นยังไม่แก่กล้า จึงทรงห้ามว่า ดูก่อนโมฆราช ท่านจง

หยุดูก่อน คนอื่นจงถามเถิด. ลำดับนั้น ติสสเมตเตยยะเมื่อจะทูลถามความสงสัย

ของตน จึงกล่าวคาถาว่า โกธ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โกธ สนฺตุสฺสิโต คือใครชื่อว่าเป็นผู้ยินดี

ในโลกนี้. บทว่า อิญฺชิตา ความหวั่นไหว คือความดิ้นรนด้วยตัณหาและ

ทิฏฐิ. บทว่า อุภนฺตมภิญฺาย คือรู้ส่วนสุดทั้งสอง. บทว่า มนฺตา น ลิมฺปติ

คือไม่ติดอยู่ ด้วยปัญญา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้นแก่ติสสเมตเตยยะจึง

ตรัสสองคาถาว่า กาเมสุ ในกามทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น.

๑. บาลีเป็น ติสสเมตเตยปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 899

ในบทเหล่านั้น บทว่า กาเมสุ พฺรหฺมจริยวา ภิกษุเห็นโทษในกาม

ทั้งหลายแล้วประพฤติพรหมจรรย์ อธิบายว่า. ประพฤติพรหมจรรย์มีกามเป็น

นิมิต เห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วประกอบด้วยมรรคพรหมจรรย์. ด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงความยินดี. ด้วยบทมีอาทิว่า

วีตตณฺโห มีตัณหาไปปราศแล้ว ทรงแสดงถึงความไม่หวั่นไหว. ในบท

เหล่านั้น บทว่า สงฺขาย นิพฺพุโต พิจารณาเห็นธรรมแล้วดับกิเลส คือ

พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วดับกิเลสด้วย

การดับราคะเป็นต้น. บทที่เหลือชัดดีแล้วเพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในบทนั้น ๆ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสูตรนี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแล.

เมื่อจบเทศนา พราหมณ์แม้นี้ก็ตั้งอยู่ในพระอรหัต พร้อมด้วย

อันเตวาสิก ๑,๐๐๐. ชนอื่นอีกหลายพันได้เกิดดวงตาเห็นธรรม. บทที่เหลือ

เช่นเดียวกับบทก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถาติสสเมตเตยยสูตรที่ ๒ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 900

ปุณณกปัญหาที่ ๓

ว่าด้วยเครื่องบูชายัญ

[๙๒๗] ปุณณกมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าพระองค์มีความต้องการปัญหา จึง

มาเฝ้าพระองค์ผู้ไม่มีความหวั่นไหว ผู้ทรง

เห็นรากเหง้ากุศลและอกุศล สัตว์ทั้งหลายผู้

เกิดเป็นมนุษย์ในโลกนี้ คือ ฤาษี กษัตริย์

พราหมณ์ เป็นอันมาก อาศัยอะไร จึงบูชา

ยังแก่เทวดาทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีภาคเจ้า

ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์

จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ดูก่อนปุณณกะ

สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่า-

ใดเหล่าหนึ่งเป็นอันมากในโลกนี้ คือ ฤาษี

กษัตริย์ พราหมณ์ ปรารถนาความเป็น

มนุษย์เป็นต้น อาศัยของมีชรา จึงบูชายัญ

แก่เทวดาทั้งหลาย.

ป. สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นอันมากในโลกนี้ คือ

ฤาษี กษัตริย์ พราหมณ์ บูชายัญแก่เทวดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 901

ทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นิรทุกข์

สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่านั้น เป็น

คนไม่ประมาทในยัญ ข้ามพ้นชาติและชรา

ได้บ้างแลหรือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์

จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พ. ดูก่อนปุณณกะ สัตว์ทั้งหลาย

ผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่านั้น ย่อมมุ่งหวัง ย่อม

ชมเชย ย่อมปรารถนา ย่อมบูชา ย่อมรำพัน

ถึงกาม เพราะอาศัยลาภ เรากล่าวว่า สัตว์

เหล่านั้นประกอบการบูชา ยังเป็นคนกำหนัด

ยินดีในภพ ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าหาก

ว่าสัตว์เหล่านั้นผู้ประกอบการบูชา ไม่ข้าม

พ้นชาติและชราไปได้ด้วยยัญวิธีทั้งหลาย

ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าในเทวโลก

และมนุษย์โลก ข้ามพ้นชาติและชราไปได้

ในบัดนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้า-

พระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์จง

ตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 902

พ. ดูก่อนปุณณกะ ผู้ใดไม่มีความ

หวั่นไหว (ดิ้นรน) ในโลกไหน ๆ เพราะ

ได้พิจารณาเห็นธรรมที่ยิ่งและหย่อนในโลก

ผู้นั้นสงบแล้ว ไม่มีความประพฤติชั่วอันจะ

ทำให้มัวหมองดุจควันไฟ ไม่มีกิเลสอัน

กระทบจิต หาความหวังมิได้ เรากล่าวว่า

ผู้นั้น ข้ามพ้นชาติและชราไปได้แล้ว.

จบปุณณกมาณวกปัญหาที่ ๓

อรรถกถาปุณณกสูตรที่ ๓

ปุณณกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า อเนช ดังนี้ แม้พระสูตรนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าก็ทรงตรัสห้ามโมฆราชโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มูลทสฺสาวึ คือผู้เห็นรากเหง้ามีอกุศลมูล

เป็นต้น . บทว่า อิสโย ได้แก่ชฎิล มีชื่อว่า ฤาษี. บทว่า ยญฺ ได้แก่

ไทยธรรม. บทว่า อกปฺปยึสุ คือแสวงหา.

บทว่า อาสึสมานา คือปรารถนารูปเป็นต้น. บทว่า อิตฺถตฺต

คือปรารถนาความเป็นมนุษย์เป็นต้น. บทว่า ชร สิตา คืออาศัยชรา. ใน

บทนี้ท่านกล่าวถึงทุกข์ในวัฏฏะทั้งหมดด้วยหัวข้อคือชรา. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-

๑. บาลีเป็น ปุณณกปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 903

พระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า สัตว์ทั้งหลายอาศัยทุกข์ในวัฏฏะเมื่อไม่พ้นไปจาก

ทุกข์นั้นจึงปรารถนาอย่างนี้.

ยัญนั่นแล ชื่อว่า ยัญญปถะ ในบทนี้ว่า กจฺจิสฺสุ เต ภควา

ยญฺปเถ อปฺปมตฺตา อตารุ ชาติญฺจ ชรญฺจ มาริส ข้าแต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้นิรทุกข์ สัตว์ทั้งหลายเป็นคนไม่ประมาทในยัญ ข้ามพ้นชาติและชรา

ได้บ้างหรือ. ท่านอธิบายไว้ว่า สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้ไม่ประมาทในยัญ ปรารภ

ยัญ ข้ามพ้นทุกข์ในวัฏฏะได้บ้างหรือ.

บทว่า อาสึสนฺติ คือสัตว์ทั้งหลายปรารถนาการได้รูปเป็นต้น. บทว่า

โถมยนฺติ คือ สรรเสริญยัญเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า สุจึ ทินฺน เราให้ของ

ที่สะอาดแล้ว. บทว่า อภิชปฺปนฺติ ย่อมปรารถนา คือ ย่อมเปล่งวาจาเพื่อ

ได้รูปเป็นต้น. บทว่า ชุหนฺติ ย่อมบูชา คือย่อมให้. บทว่า กามาภิชปฺปนฺติ

ปฏิจฺจ ลาภ ย่อมรำพันถึงกามก็เพราะอาศัยลาภ คือสัตว์ทั้งหลายย่อมรำพันถึง

กามบ่อย ๆ เพราะอาศัยการได้ลาภมีรูปเป็นต้น คือย่อมกล่าวว่า ทำอย่างไร

ดีหนอ กามทั้งหลายจะพึงมีแก่เราบ้าง. ท่านอธิบายว่า กามทั้งหลายอาศัย

ตัณหาย่อมเจริญ. บทว่า ยาจโยคา ผู้ประกอบการบูชา คือน้อมไปในการ

บูชา. บทว่า ภวราครตฺตา กำหนัดยินดีในภพ ความว่า สัตว์ทั้งหลาย

กำหนัดด้วยความยินดีในภพ ด้วยความปรารถนาเป็นต้นเหล่านี้อย่างนี้. หรือ

เป็นผู้กำหนัดด้วยความยินดีในภพ กระทำความปรารถนาเป็นต้นเหล่านี้ ชื่อว่า

ไม่ข้านพ้น คือไม่ข้ามพ้นทุกข์ในวัฏฏะมีชาติเป็นต้นไปได้.

บทว่า สงฺขาย คือพิจารณาแล้วด้วยญาณ. บทว่า ปโรวรานิ ยิ่ง

และหย่อน อธิบายว่า ยิ่งและหย่อน มีความเป็นของตนของผู้อื่นและความเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 904

ตนของตนเองเป็นต้น. บทว่า วิธูโม ปราศจากควัน คือเว้นควันมีกาย

ทุจริตเป็นต้น. บทว่า อนิโฆ ไม่มีกิเลสอันกระทบจิต คือเว้นจากกิเลส

อันกระทบจิต คือราคะเป็นต้น. บทว่า อตาริ โส ผู้นั้นข้ามไปได้ คือผู้เห็น

ปานนั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้ามชาติและชราไปได้. บทที่เหลือในบทนี้ชัด

ดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบสูตรนี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต

ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อจบเทศนา แม้พราหมณ์นี้ก็ได้ตั้งอยู่ในพระอรหัต พร้อมด้วย

อันเตวาสิก ๑,๐๐๐. ชนอื่นอีกหลายพัน ก็เกิดดวงตาเห็นเห็น. บทที่เหลือ

เช่นกับที่กล่าวแล้วนั้นแล.

จบอรรถกถาปุณณกสูตรที่ ๓ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 905

เมตตคูปัญหาที่ ๔

ว่าด้วยข้ามชาติและชรา

[๔๒๘] เมตตคูมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระ-

องค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์จงตรัส

บอกข้อความนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ข้าพระ-

องค์ย่อมสำคัญพระองค์ว่าทรงถึงเวท มีตน

อันอบรมแล้ว ความทุกข์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ในโลกเป็นอันมาก มีมาแล้วแต่อะไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนเมตตคู

ท่านได้ถามเราถึงเหตุเป็นแดนเกิด

แต่งทุกข์ เราจะบอกเหตุนั้นแก่ท่านตามที่รู้

ความทุกข์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกเป็นอัน-

มา ย่อมเกิดเพราะอุปธิเป็นเหตุ ผู้ใดไม่รู้

แจ้งย่อมกระทำอุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อม

เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ เพราะฉะนั้น เมื่อบุคคล

มารู้ชัด เห็นชาติว่าเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์

ไม่พึงกระทำอุปธิ.

ม. ข้าพระองค์ ได้ทูลถามความ

ข้อใด พระองค์ก็ทรงแสดงความข้อนั้นแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 906

ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอทูลถามความ

ข้ออื่นอีก ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกความ

ข้อนั้นเถิด นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมข้ามโอฆะ

ชาติ ชรา โสกะและปริเทวะได้อย่างไรหนอ

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมุนี ขอพระองค์จงตรัส

พยากรณ์ธรรมอันเป็นเครื่องข้ามโอฆะให้

สำเร็จประโยชน์ แก่ข้าพระองค์เถิด เพราะ

ว่าธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้วด้วย

ประการนั้น.

พ. ดูก่อนเมตตคู เราจักแสดงธรรม

แก่ท่านในธรรมที่เราได้เห็นแล้ว เป็นธรรม

ประจักษ์แก่ตน ที่บุคคลทราบชัดแล้ว พึง

เป็นผู้มีสติ ดำเนินข้ามตัณหาอันซ่านไป

ในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกเสียได้.

ม. ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอัน

ใหญ่ ก็ข้าพระองค์ยินดีอย่างยิ่ง ซึ่งธรรม

อันสูงสุดที่บุคคลทราบชัดแล้ว เป็นผู้มีสติ

พึงดำเนินข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์

ต่าง ๆ ในโลกเสียได้.

พ. ดูก่อนเมตตคู ท่านรู้ชัดซึ่งส่วน

อย่างใดอย่างหนึ่งในส่วนเบื้องบน ในส่วน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 907

เบื้องต่ำ และแม้ในส่วนเบื้องขวางคือท่าม

กลาง จงบรรเทาความเพลิดเพลินและความ

ยึดมั่นและวิญญาณในส่วนเหล่านั้นเสีย จะ

ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ.

ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้

มีสติ ไม่ประมาท ได้รู้แจ้งแล้วเที่ยวไปอยู่

ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้ว พึงละทุกข์

คือ ชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะในอัตภาพ

นี้เสีย.

ม. ข้าพระองค์ยินดีอย่างยิ่งซึ่งพระ-

วาจานี้ของพระองค์ ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้โคตมโคตร ธรรม

อันไม่มีอุปธิ พระองค์ทรงแสดงชอบแล้ว

พระองค์ทรงละทุกข์ได้แน่แล้ว เพราะว่า

ธรรมนี้พระองค์ทรงรู้แจ้งชัดแล้วด้วยประ-

การนั้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมุนี พระองค์

พึงทรงสั่งสอนชนเหล่าใดไม่หยุดยั้ง แม้ชน

เหล่านั้นก็พึงละทุกข์ได้เป็นแน่ ข้าแต่พระ-

องค์ผู้ประเสริฐ เพราะเหตุนั้นข้าพระองค์จึง

ได้มาถวายบังคมพระองค์ ด้วยคิดว่า แม้ไฉน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 908

พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทรงสั่งสอนข้าพระ-

องค์ไม่หยุดหย่อนเถิด.

พ. ท่านพึงรู้ ผู้ใดว่าเป็นพราหมณ์ ผู้

ถึงเวท ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ติดข้องอยู่

ในกามภพ ผู้นั้นแลข้ามโอฆะนี้ได้แน่แล้ว

ผู้นั้นข้ามถึงฝั่งแล้ว เป็นผู้ไม่มีตะปู คือ

กิเลส ไม่มีความสงสัย นรชนนั้นรู้แจ้งแล้ว

แล เป็นผู้ถึงเวทในศาสนานี้ สละธรรมเป็น

เครื่องข้องนี้ในภพน้อยและภพใหญ่เสียได้

แล้ว เป็นผู้มีตัณหาปราศไปแล้ว ไม่มีกิเลส

อันกระทบจิต หาความหวังมิได้ เรากล่าวว่า

ผู้นั้นข้ามชาติและชราได้แล้ว.

จบเมตตคูมาณวกปัญหาที่ ๔

อรรถกถาเมตตคูสูตรที่ ๔

เมตตคูสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ปุจฺฉามิ ต ข้าพระองค์ขอทูลถาม

พระองค์ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มญฺามิ ต เวทคุ ภาวิตตฺต เมตตคูมาณพ

ทูลว่า ข้าพระองค์สำคัญพระองค์ว่าเป็นผู้ถึงเวทมีตนอบรมแล้ว คือ ข้าพระองค์

๑. บาลีว่า เมตตคูปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 909

สำคัญพระองค์อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นผู้ถึงเวทและเป็นผู้มีตนอบรม

แล้ว ดังนี้. ก็ อักษรในคำนี้ อุปจฺฉสิ เป็นเพียงนิบาตทำบทให้เต็ม

บทว่า ตนฺเต ปวกฺขามิ ยถา ปชาน คือ เราจะบอกเหตุนั้นแก่ท่าน

ตามที่รู้. บทว่า อุปธีนิทานา ปภวนฺติ ทุกฺขา ทุกข์ทั้งหลายย่อมเกิด

เพราะอุปธิเป็นเหตุ คือ ความต่างแห่งทุกข์มีชาติเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะ

อุปธิมีตัณหาเป็นต้นเป็นเหตุ. เมื่อทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้น มีอุปธิเป็นเหตุอย่างนี้

พึงทราบคาถาต่อไปว่า โย เจ อวิทฺวา ผู้ใดไม่รู้แจ้ง ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปชาน รู้อยู่ คือ รู้สังขารทั้งหลายโดยความ

เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า ทุกฺขสฺส ชาติปฺปภวานุปสฺสี เห็นชาติ

ว่าเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ คือ พิจารณาเนือง ๆ ว่า อุปธิเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์

ในวัฏฏะ. บทว่า โสกปริทฺทวญฺจ คือ ความโศกและความคร่ำครวญ.

บทว่า ตถา หิ เต วิทิโต เอส ธมฺโม ธรรมนี้พระองค์ทรงทราบชัด

แล้วด้วยประการนั้น คือ ธรรมนี้พระองค์ทรงทราบชัดแล้วด้วยกำลังพระญาณ

เป็นต้นโดยที่สัตว์ทั้งหลายไม่รู้เลย.

บทว่า กิตฺติยิสฺสามิ เต ธมฺม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราจัก

แสดงธรรมแก่ท่าน คือ เราจักแสดงธรรมคือนิพพานและปฏิปทาให้ถึงนิพพาน

แก่ท่าน. บทว่า ทิฏฺเ ธมฺเม ในธรรมที่เราได้เห็นแล้ว คือ ในธรรมมี

ทุกข์เป็นต้น ที่เราได้เห็นแล้วหรือในอัตภาพนี้แล. บทว่า อนีติห ที่เรา

ได้เห็นแล้ว คือ ประจักษ์แก่ตน. บทว่า ย วิทิตฺวา รู้ชัดธรรมใดแล้ว

คือ พิจารณาโดยนัยมีอาทิว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงดังนี้ ชื่อว่ารู้ชัด

ธรรมใดแล้ว.

บทว่า ตญฺจาห อภินนฺทามิ ข้าพระองค์ยินดีอย่างยิ่งซึ่งธรรมอันสูง

สุดนั้น คือ เมตตคูมาณพทูลว่า ข้าพระองค์ปรารถนาอย่างยิ่งซึ่งธรรมมีประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 910

ดังที่พระองค์ตรัสนั้น หรือถ้อยคำของพระองค์อันส่องถึงธรรมที่พระองค์ตรัส

เเล้ว. บทว่า ธมฺมมุตฺตม ธรรมอันสูงสุด คือ ข้าพระองค์ยินดียิ่งซึ่งธรรม

อันสูงสุดของพระองค์.

ในคำนี้ว่า อุทฺธ อโธ จ ติริยญฺจาปิ มชฺเฌ ในส่วนเบื้องบน

ในส่วนเบื้องต่ำ และแม้ในส่วนเบื้องขวางสถานกลาง คือ อนาคตอัทธาท่าน

กล่าวว่าเป็นส่วนเบื้องบน อดีตอัทธาท่านกล่าวว่าเป็นส่วนเบื้องต่ำ ปัจจุบัน

อัทธาท่านกล่าวว่าเป็นส่วนเบื้องขวางคือท่ามกลาง. บทว่า เอเตสุ นนฺทิญฺจ

นิเวสนญฺจ ปนุชฺช วิญฺาณ จงบรรเทาความเพลิดเพลินและความยึดมั่น

ในส่วนเหล่านั้นเสีย วิญญาณจะไม่พึงตั้งอยู่ในภพ ความว่า ท่านจงบรรเทา

ตัณหา, ความยึดมั่นคือทิฏฐิและอภิสังขารวิญาณในอัทธาเป็นต้นเหล่านั้น

เสีย ครั้นบรรเทาแล้วไม่พึงตั้งอยู่ในภพ แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะไม่พึงตั้งอยู่ใน

ภพแม้ทั้งสองอย่าง. พึงทราบการเชื่อมความในการกำหนดความนี้แห่ง ปนุชฺช

ศัพท์ ว่า ปนุเทหิ แปลว่า ท่านจงบรรเทา. พึงทราบการเชื่อมความนี้

เหมือนกันว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในภพในการกำหนดความนี้ว่า ปนุทิตฺวา ครั้น

บรรเทาแล้ว. ท่านอธิบายว่า ภิกษุครั้นบรรเทาความเพลิดเพลินความยึดมั่น

และวิญญาณเหล่านี้แล้วจะไม่พึงตั้งอยู่ในภพแม้สองอย่าง. ครั้นบรรเทาอย่างนี้

แล้วเมื่อไม่ตั้งอยู่ในภพ พึงทราบคาถาต่อไปว่า เอววิหารี ผู้มีธรรมเป็น

เครื่องอยู่อย่างนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิเธว ได้แก่ ในศาสนานี้หรือในอัตภาพนี้.

บทว่า อนูปธิก ธรรมไม่มีอุปธิ ในบทนี้ว่า สุกิตฺติต โคตม อนูปธิก

ได้แก่ นิพพาน. เมตตคูมาณพหมายถึงธรรมนั้น เมื่อจะทูลถามพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงทูลว่า สุกิตฺติต โคตมนูปธิก ข้าแต่พระโคดม ธรรมอันไม่มีอุปธิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 911

พระองค์ทรงแสดงชอบแล้ว. มิใช่ทรงละทุกข์ได้อย่างเดียวเท่านั้น. พึงทราบ

คาถาต่อไปว่า เต จาปิ แม้ชนเหล่านั้นก็พึงละทุกข์ได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺิต ไม่หยุดยั้ง คือ เคารพหรือเอื้อเฟื้อ.

บทว่า ต ต นมสฺสามิ คือ เพราะเหตุนั้นข้าพระองค์จึงขอนอบน้อมพระองค์.

บทว่า สเมจฺจ คือเข้าไปใกล้. เมตตคูมาณพเมื่อจะทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทูลว่า นาค ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้อันพราหมณ์นั้นรู้ชัดแล้วอย่างนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละทุกข์ได้แล้วแน่นอน ดังนี้ ก็ไม่ทรงยังพราหมณ์ให้

น้อมไปสู่พระองค์ เมื่อจะทรงสอนพราหมณ์นั้นแบบบุคคลผู้ละทุกข์ได้แล้ว

จึงตรัสคาถาว่า ย พฺราหฺมณ ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังนี้ ท่านพึงรู้ผู้ใดว่า ผู้นี้เป็นพราหมณ์เพราะเป็นผู้

ลอยบาปได้แล้ว เป็นผู้ถึงเวทเพราะเป็นผู้ไปด้วยเวททั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีกิเลส

เครื่องกังวลเพราะไม่มีความกังวล เป็นผู้ไม่ข้องในกามภพเพราะไม่ติดอยู่ใน

กามทั้งหลาย และในภพทั้งหลาย. ผู้นั้นข้ามโอฆะนี้และข้ามบาปได้แน่แล้ว

ไม่มีตะปูคือกิเลส ไม่มีความสงสัย. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้น พึงทราบคาถาต่อไป

ว่า วิทฺวา โส นรชนนั้นรู้ชัดแล้ว ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิธ คือในศาสนานี้หรือในอัตภาพนี้. บทว่า

วิสชฺช แปลว่า สละแล้ว. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงชัดอยู่แล้ว. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตเหมือนกัน.

อนึ่ง เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่ได้กล่าวแล้วนั้นแล.

จบอรรถกถาเมตตคูสูตรที่ ๔ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 912

โธตกปัญหาที่ ๕

ว่าด้วยธรรมดับกิเลส

[๔๒๙] โธตกมาณพได้ทูลถามปัญหาว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระ-

องค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองคึจงตรัส

บอกข้อความนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ข้าแต่

พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ข้าพระองค์

ปรารถนาอย่างยิ่ง ซึ่งพระวาจาของพระองค์

บุคคลได้ฟังพระสุรเสียงของพระองค์แล้ว

พึงศึกษาธรรมเป็นเครื่องดับกิเลสเพื่อตน

เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนโธตกะ

ถ้าเช่นนั้น ท่านจงมีปัญญารักษาตน

มีสติกระทำความเพียรในศาสนานี้เถิด บุคคล

ฟังเสียงจากปากของเรานี้แล้ว พึงศึกษา

ธรรมเป็นเครื่องดับกิเลสเพื่อตนเถิด.

ข้าพระองค์เห็นพระองค์ผู้เป็น

พราหมณ์ หากังวลมิได้ ทรงยังพระกายให้

เป็นไปอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ข้าแต่

พระองค์ผู้มีพระจักษุรอบคอบเพราะเหตุนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 913

ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระองค์ ข้าแต่

พระองค์ผู้ศากยะ ขอพระองค์จงทรงปลด-

เปลื้องข้าพระองค์เสียจากความสงสัยเถิด.

พ. ดูก่อนโธตกะ เราจักไม่อาจเพื่อ

จะปลดเปลื้องใคร ๆ ผู้ยังมีความสงสัยในโลก

ให้พ้นไปได้ ก็เมื่อท่านรู้ทั่วถึงธรรมอัน

ประเสริฐ จะข้ามโอฆะนี้ได้ ด้วยอาการ

อย่างนี้.

ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพรหม ขอ

พระองค์จงทรงพระกรุณาสั่งสอนธรรมเป็น

ที่สงัดกิเลส ที่ข้าพระองค์ควรจะรู้แจ้ง และ

ขอพระองค์ทรงพระกรุณาสั่งสอน ไม่ให้

ข้าพระองค์ขัดข้องอยู่เหมือนอากาศเถิด

ข้าพระองค์อยู่ในที่นี้นี่แหละ จะพึงเป็นผู้

ไม่อาศัยแอบอิงเที่ยวไป.

พ. ดูก่อนโธตกะ เราจักแสดงธรรม

เครื่องระงับกิเลสแก่ท่าน ในธรรมที่เราได้

เห็นแล้ว เป็นธรรมประจักษ์แก่ตน ที่บุคคล

ได้รู้แจ้งแล้วเป็นผู้มีสติพึงดำเนินข้ามตัณหา

อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกเสียได้.

ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอัน

ใหญ่ ก็ข้าพระองค์ยินดีอย่างยิ่ง ซึ่งธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 914

เป็นเครื่องระงับกิเลสอันสูงสุด ที่บุคคลได้

รู้แจ้งแล้ว เป็นผู้มีสติ พึงดำเนินข้ามตัณหา

อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกเสียได้.

พ. ดูก่อนโธตกะ ท่านรู้ชัดซึ่งส่วน

อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งในส่วนเบื้องบน ทั้ง

ในส่วนเบื้องต่ำ แม้ในส่วนเบื้องขวางคือ

ท่ามกลาง ท่านรู้แจ้งสิ่งนั้นว่า เป็นเครื่อง

ข้องอยู่ในโลกอย่างนี้แล้ว อย่าได้ทำตัณหา

เพื่อภพน้อยและภพใหญ่เลย.

จบโธตกมาณวกปัญหาที่ ๕

อรรถกถาโธตกสูตรที่ ๕

โธตกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ปุจฺฉามิ ต โธตกมาณพได้ทูลว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วาจาภิกงฺขามิ คือข้าพระองค์ปรารถนาอย่าง

ยิ่งซึ่งพระวาจาของพระองค์. บทว่า สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโน พึงศึกษา

ธรรมเป็นเครื่องดับกิเลสเพื่อตน คือพึงศึกษาอธิศีลเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่

การดับกิเลสมีราคะเป็นต้นเพื่อตน. บทว่า อิโต คือจากปากของเรา.

๑. บาลีเป็น โธตกปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 915

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกมาณพมีความดีใจสรร-

เสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทูลขอให้ปลดเปลื้องข้อสงสัย จึงกล่าวคาถา

นี้ว่า ปสฺสามห ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสามห เทวมนุสฺสโลเก คือ ข้าพระองค์

เห็นพระองค์ผู้เป็นพราหมณ์หากังวลมิได้ ทรงยังพระวรกายให้เป็นไปอยู่ใน

เทวโลก และมนุษยโลก. บทว่า ตนฺต นมสฺสามิ คือ ข้าพระองค์ขอถวาย

นมัสการพระองค์. บทว่า ปมุญฺจ คือ ขอพระองค์จงทรงปลดเปลื้อง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงการปลดเปลื้องความ

สงสัยอันเนื่องด้วยพระองค์ จึงตรัสพระคาถาว่า นาห ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นาห คมิสฺสามิ คือเราจักไม่มาถึง คือไม่

ศึกษา อธิบายว่า จักไม่พยายาม. บทว่า ปโมจนาย แปลว่าเพื่อปลดเปลื้อง.

บทว่า กกกถึ คือความสงสัย. บทว่า ตเรสิ คือพึงข้าม.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกมาณพยิ่งดีใจหนักขึ้น

สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งขึ้น เมื่อจะทูลขอให้สั่งสอน จึงกล่าวคาถาว่า

อนุสาส พฺรหฺเม ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพรหม ขอพระองค์ทรงสั่งสอนเถิด

ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺเม นี้เป็นคำพูดที่ประเสริฐที่สุด. ด้วย

เหตุนั้น โธตกมาณพจึงทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อนุสาส พฺรหฺเม

ดังนี้. บทว่า วิเวกธมฺม ธรรมเป็นเครื่องสงัดกิเลส ได้แก่ธรรมคือนิพพาน

เป็นเครื่องสงัดสังขารทั้งปวง. บทว่า อพฺยาปชฺชมาโน ไม่ขัดข้องอยู่ คือ

ไม่ขัดข้องมีประการต่าง ๆ. บทว่า อิเธว สนฺโต คืออยู่ในที่นี้แหละ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 916

อสิโต แปลว่าไม่อาศัย. สองคาถาจากนี้ไปมีนัยดังกล่าวแล้วในเมตตคูสูตร

นั่นแล. มีต่างกันอย่างเดียวคือในเมตตคูสูตรนั้นเป็น ธมฺม ในสูตรนี้เป็น

สนฺติ. กึ่งคาถาก่อนในคาถาที่สาม มีนัยดังกล่าวแล้วในเมตตคูสูตรนั้นเหมือน

กัน. ในส่วนที่ผิดกันคือบทว่า สงฺโค คือเป็นฐานะที่ข้องอยู่. อธิบายว่า

เป็นเครื่องข้อง. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงชัดดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบ

เทศนาแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้แล.

เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุพระอรหัตเช่นเดียวกับที่กล่าวมาเเล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาโธตกสูตรที่ ๕ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 917

อุปสีวปัญหาที่ ๖

ว่าด้วยสิ่งหน่วงเหนี่ยว

[๔๓๐] อุปสีวมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยะ ข้าพระองค์

เป็นผู้เดียว ไม่อาศัยธรรมหรือบุคคลอะไร

แล้ว ไม่สามารถจะข้ามห้วงน้ำใหญ่คือกิเลส

ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้สมันตจักษุ ขอพระองค์

จงตรัสบอกที่หน่วงเหนี่ยว อันข้าพระองค์

พึงอาศัยข้ามห้วงน้ำคือกิเลสนี้ แก่ข้าพระ-

องค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนอุปสีวะ

ท่านจงเป็นผู้มีสติ เพ่งอากิญ-

จัญญายตนสมาบัติ อาศัยอารมณ์ว่า ไม่มี

ดังนี้แล้ว ข้ามห้วงน้ำคือกิเลสเสียเถิด ท่าน

จงการละกามทั้งหลายเสีย เป็นผู้เว้นจากความ

สงสัย เห็นธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาให้

แจ่มแจ้งทั้งกลางวันกลางคืนเถิด.

อุ. ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดี

ในกามทั้งปวงละสมาบัติอื่นเสีย อาศัยอากิญ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 918

จัญญายตนสมาบัติ น้อมใจลงในสัญญา

วิโมกข์ (คืออากิญจัญญายตนสมาบัติ ธรรม

เปลื้องสัญญา) เป็นอย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่

หวั่นไหว พึงตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตน-

พรหมโลกนั้นแลหรือ.

พ. ดูก่อนอุปสีวะ ผู้ใดปราศจาก

ความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวง ละสมาบัติ

อื่นเสีย อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อม-

ใจลงในสัญญาวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็น

ผู้ไม่หวั่นไหวพึงตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตน-

พรหมโลกนั้น.

อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักษุ ถ้า

ผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหว พึงตั้งอยู่ในอากิญ-

จัญญายตนพรหมโลกนั้นสิ้นปีแม้มากไซร้

ผู้นั้นพึงพ้นจากทุกข์ต่าง ๆ ในอากิญจัญ-

ญายตนพรหมโลกนั้นแหละ พึงเป็นผู้เยือก-

เย็น หรือว่าวิญญาณของผู้เช่นนั้น พึงเกิด

เพื่อถือปฏิสนธิอีก.

พ. ดูก่อนอุปสีวะ มุนีพ้นแล้วจาก

นามกาย ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่ถึงการ

นับ ฉันใด เปรียบเหมือนเปลวไฟ อัน

กำลังลมพัดไปแล้ว ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้

ไม่ถึงการนับ ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 919

อุ. ท่านผู้นั้นถึงความตั้งอยู่ไม่ได้

ท่านผู้นั้นไม่มี หรือว่าท่านผู้นั้นเป็นผู้ไม่มี

โรค ด้วยความเป็นผู้เที่ยง ข้าแต่พระองค์ผู้

เป็นมุนี ขอพระองค์จงตรัสพยากรณ์ความ

ข้อนั้นให้สำเร็จประโยชน์แก่ข้าพระองค์เถิด

เพราะว่าธรรมนั้น พระองค์ทรงรู้แจ้งแล้ว

ด้วยประการนั้น.

พ. ดูก่อนอุปสีวะ ท่านผู้ถึงความ

ตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีประมาณ ชนทั้งหลายจะ

พึงกล่าวท่านผู้นั้นด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น

ใด กิเลสมีราคะเป็นต้นนั้น ของท่านไม่มี

เมื่อธรรม (มีขันธ์เป็นต้น) ทั้งปวง ท่านเพิก-

ถอนขึ้นได้แล้ว แม้ทางแห่งถ้อยคำทั้งหมด

เป็นอันท่านเพิกถอนขึ้นได้แล้ว.

จบอุปสีวมาณวกปัญหาที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 920

อรรถกถาอุปสีวสูตรที่ ๖

อุปสีวสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอโก อห ข้าพระองค์เป็นผู้เดียว ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มหนฺตโมฆ คือ ห้วงน้ำใหญ่. บทว่า

อนิสฺสิโต ไม่อาศัย คือไม่อาศัยธรรมหรือบุคคล. บทว่า โน วิสหามิ คือ

ข้าพระองค์ไม่สามารถ. บทว่า อารมฺมณ เครื่องหน่วงเหนี่ยวคือธรรมเป็นที่

อาศัย บทว่า ย นิสฺสิโต ได้แก่ อาศัยธรรมหรือบุคคล.

บัดนี้ เพราะพราหมณ์นั้นได้อากิญจัญญายตนะ จึงไม่รู้ธรรมเป็นที่

อาศัยแม้มีอยู่นั้น ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมเป็นที่อาศัย

และทางอันเป็นเครื่องนำออกไปให้ยิ่งขึ้นแก่เขา จึงตรัสคาถาว่า อากิญฺจญฺ

อากิญจัญญายตนสมาบัติ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เปกฺขมาโน แปลว่าเพ่ง คือมีสติเข้าอากิญ-

จัญญายตนสมาบัตินั้น และออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้วเห็นโดยความ

เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า นตฺถีติ นิสฺสาย อาศัยว่าไม่มี คือทำสมาบัติ

ที่เป็นไปแล้วนั้นให้เป็นอารมณ์ว่า ไม่มีอะไร. บทว่า ตรสฺสุ โอฆ ข้าม

ห้วงน้ำคือกิเลสเสียได้. คือข้ามโอฆะ ๔ อย่างตามสมควร ด้วยวิปัสสนาอัน

เป็นไปแล้วตั้งแต่นั้นมา. บทว่า กถาหิ คือจากความสงสัย. บทว่า ตณฺหกฺขย

รตฺตมหาภิปสฺส เห็นธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาให้แจ่มแจ้งทั้งกลางคืน

กลางวัน คือจงเห็นนิพพานทำให้แจ่มแจ้งทั้งกลางคืนและกลางวัน. ด้วยบทนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างเป็นสุขในปัจจุบันแก่

อุปสีวมาณพนั้น.

๑. บาลีเป็น อุปสีวปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 921

บัดนี้ อุปสีวมาณพครั้นได้ฟังว่า ละกามทั้งหลาย พิจารณาเห็นกาม

ที่ตนละได้แล้วด้วยการข่มไว้ จึงกล่าวคาถาว่า สพฺเพสุ ในกามทั้งปวง ดังนี้.

บทว่า หิตฺวา มญฺ ละสมาบัติอื่นเสียได้ คือละสมาบัติอื่น ๖ อย่าง

ที่ต่ำกว่าอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น . บทว่า สญฺาวิโมกฺเข ปรเม น้อม

ใจลงในสัญญาวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง คือน้อมใจลงในอากิญจัญญายตนสมาบัติ

อันเป็นสัญญาวิโมกข์สูงสุดในบรรดาสัญญาวิโมกข์ ๗ อย่าง. บทว่า ติฏฺเ นุ

โส ตตฺถ อนานุวายี อุปสีวมาณพทูลถามว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหว

พึงตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกหรือหนอ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงรับรองการตั้งอยู่ประมาณ

๖๐,๐๐๐ กัป ของบุคคลนั้นจึงตรัสคาถาที่สาม. อุปสีวมาณพได้ฟังการตั้งอยู่

ในคาถาที่สามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทูลถามความเป็น

สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ จึงกล่าวคาถาว่า ติฏฺเ เจ หากพึงตั้งอยู่ ดังนี้

เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปูคมฺปิ วสฺสาน สิ้นปีแม้มาก คือสิ้นปีแม้

นับได้ไม่น้อย. ปาฐะว่า ปูคมฺนิ วสฺสานิ บ้าง. ในบทนั้นพึงทำฉัฏฐีวิภัตติ

ให้เป็นปฐมาวิภัตติ โดยเปลี่ยนแปลงวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปูค นี้

ควรแปลว่า มาก. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปคานิ บ้าง. ปาฐะ ก่อนดี

กว่าปาฐะทั้งหมด. บทว่า ตตฺเถว โส สีติ สิยา วิมุตฺโต ผู้นั้นพึงพ้น

จากทุกข์ต่าง ๆ ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นแล พึงเป็นผู้เย็น ความว่า

บุคคลนั้นพึงพ้นจากทุกข์ต่าง ๆ ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นแล พึง

เป็นผู้ถึงความเย็น เป็นผู้เที่ยงที่จะบรรลุนิพพานตั้งอยู่. บทว่า ภเวถ

๑. บาลีเป็น หิตฺวามญฺ, ๒. ม.ยุ. อนานุยายี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 922

วิญฺาณ ตถาวิธสฺส วิญญาณของผู้เช่นนั้นพึงเกิด คือ อุปสีวมาณพ ถาม

ถึงความขาดสูญ ด้วยคำว่า หรือว่าวิญญาณของบุคคลเช่นนั้นพึงดับ เพราะไม่

ยึดมั่น, ถามถึงแม้ปฏิสนธิของบุคคลนั้น ด้วยคำว่า หรือว่าวิญญาณพึงมีเพื่อ

ถือปฏิสนธิอีก.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงการปรินิพพาน

เพราะไม่ยึดมั่นของพระอริยสาวกผู้เกิดแล้วในอากิญจัญญายตนภพนั้นว่าไม่เข้า

ไปอาศัยอุจเฉททิฏฐิ และสัสสตทิฏฐิ แก่อุปสีวมาณพนั้น จึงตรัสคาถาว่า

อจฺจิ ยถา เหมือนเปลวไฟ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถ ปเลติ คือถึงการตั้งอยู่ไม่ได้. บทว่า

น อุเปติ สงฺข ไม่ถึงการนับ คือพูดไม่ได้ว่า ไปสู่ทิศโน้น. บทว่า เอว

มุนิ นามกายา วิมุตฺโต มุนีพ้นแล้วจากนามกายฉันนั้น คือ พระเสกขมุนี

ก็ฉันนั้น เกิดขึ้นแล้วในอากิญจัญญายตนภพนั้น พ้นจากรูปกายในกาล

ก่อนตามปกติแล้วยังมรรคที่ ๔ ให้เกิดขึ้นในภพนั้น จึงพ้นแล้วแม้จากนามกาย

อีก เพราะกำหนดรู้นามกายเป็นพระขีณาสพผู้อุภโตภาควิมุต ย่อมเข้าถึงความ

ตั้งอยู่ไม่ได้ คือปรินิพพานด้วยอนุปาทาปรินิพพาน ย่อมไม่เข้าถึงการนับว่า

เป็นกษัตริย์ ดังนี้เป็นต้นฉันนั้น.

บัดนี้ อุปสีวมาณพได้ฟังว่า มุนีย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้แล้วเมื่อไม่เข้า

ใจความโดยแยบยลของบทนั้น จึงกล่าวคาถาว่า ตฺถ คโต โส ท่านผู้นั้น

ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.

บทนั้นมีความดังนี้ ท่านผู้นั้นถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ท่านผู้นั้นไม่มี

หรือว่าท่านผู้นั้นเป็นผู้ไม่มีโรค เป็นผู้มีความไม่แปรปรวนไปเป็นธรรมดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 923

ด้วยความเป็นผู้เที่ยงเพราะเป็นสัสสตทิฏฐิ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมุนี ขอพระองค์

ได้โปรดตรัสพยากรณ์ความข้อนั้นให้สำเร็จประโยชน์แก่ข้าพระองค์เถิด. เพราะ

อะไร. เพราะว่าธรรมนั้นอันพระองค์ทรงรู้แจ้งแล้วแท้จริง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงเรื่องที่อุปสีวมาณพ

ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น จึงตรัสคาถาว่า อตฺถ คตสฺส ท่านผู้ถึงความตั้งอยู่

ไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถ คตสฺส ได้แก่ปรินิพพานเพราะไม่ถือ

มั่น. บทว่า น ปมาณมตฺถิ ไม่มีประมาณ คือไม่มีประมาณแห่งรูปเป็นต้น.

บทว่า เยน น วชฺชุ คือชนทั้งหลายพึงกล่าวท่านผู้นั้นด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น

ใด. บทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ธรรมมีขันธ์เป็นต้นทั้งปวง. บทที่เหลือ

ในทุกบทชัดดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็น

ยอดคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.

จบเทศนา ได้มีผู้ตรัสรู้ธรรม เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วนั่นแหละ

ดังนี้แล.

จบอรรถกถาอุปสีวสูตรที่ ๖ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 924

นันทปัญหาที่ ๗

ว่าด้วยมุนีผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว

[๔๓๑] นันทมาณพทูลถามปัญหาว่า

ชนทั้งหลายกล่าวว่า มุนีทั้งหลายมี

อยู่ในโลก ชนทั้งหลายกล่าวบุคคลว่าเป็นมุนี

นี้นั้น ด้วยอาการอย่างไรหนอ ชนทั้งหลาย

กล่าวบุคคลผู้ประกอบด้วยญาณ หรือผู้

ประกอบด้วยความเป็นอยู่ ว่าเป็นมุนี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า

ดูก่อนนันทะ ผู้ฉลาดในโลกนี้ ไม่

กล่าวบุคคลว่าเป็นมุนี ด้วยความเห็น ด้วย

การฟัง หรือด้วยญาณ ชนเหล่าใดกำจัด

เสนามารให้พินาศแล้ว ไม่มีความทุกข์ ไม่

มีความหวัง เที่ยวไปอยู่ เรากล่าวชนเหล่า

นั้นว่าเป็นมุนี.

น. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า สมณ-

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าวความ

บริสุทธิ์ด้วยความเห็นบ้าง ด้วยการฟังบ้าง

ด้วยศีลและพรตบ้าง ด้วยมงคลตื่นข่าว

เป็นต้นเป็นอันมากบ้าง ข้าแต่พระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 925

ภาคเจ้าผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์เหล่านั้น

ประพฤติอยู่ในทิฏฐิของตนนั้น ตามที่ตน

เห็นว่าเป็นเครื่องบริสุทธิ์ ข้ามพ้นชาติและ

ชราได้บ้างหรือไม่ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์

ตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พ. ดูก่อนนันทะ สมณพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าวความบริสุทธิ์ด้วย

ความเห็นบ้าง ด้วยการฟังบ้าง ด้วยศีลและ

พรตบ้าง ด้วยมงคลตื่นข่าวเป็นต้นเป็นอัน

มากบ้าง สมณพราหมณ์เหล่านั้นประพฤติ

อยู่ในทิฏฐิของตนนั้น ตามที่ตนเห็นว่าเป็น

เครื่องบริสุทธิ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เรากล่าว

ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้ามพ้นชาติและ

ชราไปไม่ได้.

น. สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยการเห็นบ้าง ด้วยการ

ฟังบ้าง ด้วยศีลและพรตบ้าง ด้วยมงคล

ตื่นข่าวเป็นต้นเป็นอันมากบ้าง ข้าแต่

พระองค์ผู้เป็นมุนี ถ้าพระองค์ตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 926

สมณพราหมณ์เหล่านั้นข้ามโอฆะไม่ได้แล้ว

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนี้

ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ข้ามพ้น

ชาติและชราได้แล้วในบัดนี้ ข้าเเต่พระผู้มี

พระภาค เจ้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์

ขอพระองค์จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้า-

พระองค์เถิด.

พ. ดูก่อนนันทะ เราไม่กล่าวว่า

สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นผู้อันชาติและชรา

หุ้มห่อไว้แล้ว แต่เรากล่าวว่า คนเหล่าใดใน

โลกนี้ละเสียซึ่งรูปที่ได้เห็นแล้วก็ดี เสียงที่

ได้ฟังแล้วก็ดี อารมณ์ที่ได้ทราบแล้วก็ดี ละ

เสียแม้ซึ่งศีลและพรตทั้งหมดก็ดี ละเสียซึ่ง

มงคลตื่นข่าวเป็นต้น เป็นอันมากทั้งหมดก็ดี

กำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้

คนเหล่านั้นแลข้ามโอฆะได้แล้ว.

น. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้โคดม

ข้าพระองค์ยินดียิ่งซึ่งพระดำรัสของพระองค์

ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ธรรมอันไม่มีอุปธิ

พระองค์ทรงแสดงชอบแล้ว แม้ข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 927

ก็กล่าวว่า คนเหล่าใดในโลกนี้ ละเสียซึ่ง

รูปที่ได้เห็นแล้วก็ดี เสียงที่ได้ฟังแล้วก็ดี

อารมณ์ที่ได้ทราบแล้วก็ดี ละเสียแม้ซึ่งศีล

และพรตทั้งหมดก็ดี ละเสียซึ่งมงคลตื่นข่า

เป็นต้นเป็นอันมากทั้งหมดก็ดี กำหนดรู้

ตัณหาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ คนเหล่านั้น

ข้ามโอฆะได้แล้ว ฉะนี้แล.

จบนันทปัญหาที่ ๗

อรรถกถานันทสูตรที่ ๗

นันทสูตร มีคำเริ่มต้นว่า สนฺติ โลเก มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก

ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น พึงทราบความในคาถาที่หนึ่งดังต่อไปนี้ ชนทั้งหลาย

มีกษัตริย์เป็นต้น ย่อมกล่าวว่ามุนีมีอยู่ในโลก หมายถึงอาชีวกและนิครนถ์

เป็นต้น. บทว่า ตยิท กถสุ ชนทั้งหลายกล่าวบุคคลว่าเป็นมุนีนั้นด้วยอาการ

อย่างไรหนอ คือ ชนทั้งหลายกล่าวบุคคลผู้ประกอบด้วยญาณ เพราะญาณมี

สมาปัตติญาณเป็นต้นเกิดขึ้น หรือผู้ประกอบด้วยความเป็นอยู่กล่าวคือความ

เป็นอยู่ที่เศร้าหมองมีประการต่าง ๆ ว่าเป็นมุนี.

๑. บาลีเป็น นันทปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 928

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงปฏิเสธแม้ทั้งสองอย่างแล้ว

ทรงแสดงผู้เป็นมุนีแก่นันทมาณพนั้นจึงตรัสคาถาว่า น ทิฏฺิยา ไม่กล่าวว่า

เป็นมุนีด้วยความเห็น ดังนี้เป็นต้น.

บัดนี้ นันทมาณพทูลถามว่า เย เกจิเม สมณพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่งเป็นต้น เพื่อละความสงสัยของชนทั้งหลายผู้กล่าวว่า ความบริสุทธิ์

ย่อมมีด้วยความเห็นเป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อเนกรูเปน ได้แก่ด้วยมงคลตื่นข่าวเป็นต้น.

บทว่า ตตฺถ ยถา จรนฺตา สมณพราหมณ์ทั้งหลายประพฤติอยู่ในทิฏฐิของ

ตนนั้น ตามที่ตนเห็นว่าเป็นความบริสุทธิ์ คือ คุ้มครองอยู่ในทิฏฐิของตนนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความไม่มีความบริสุทธิ์

อย่างนั้น แก่นันทมาณพ จึงตรัสคาถาที่สอง.

นันทมาณพได้ฟังว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายข้ามพ้นไปไม่ได้แล้วดังนี้

ประสงค์จะฟังถึงผู้ที่ข้ามพ้นไปได้ จึงทูลถามว่า เยเกจิเม ดังนี้เป็นต้น. ลำดับ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงผู้ที่ข้ามพ้นชาติชราด้วยหัวข้อว่า

โอฆติณฺณ ข้ามพ้นโอฆะแก่นันทมาณพนั้น จึงตรัสคาถาที่สอง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นิวุฏา คือ อันชาติชราหุ้มห่อไว้ ร้อยรัดไว้.

บทว่า เยสีธา ตัดบทเป็น เยสุ อิธ. บทว่า สุ ในบทนี้เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า ตณฺห ปริญฺาย กำหนดรู้ตัณหา คือกำหนดรู้ตัณหาด้วยปริญญา ๓.

บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว เพราะมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนก่อน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแล ด้วย

ประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 929

ฝ่ายนันทมาณพเมื่อจบเทศนา ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

กล่าวคาถาว่า เอตาภินนฺทามิ ข้าพระองค์ยินดียิ่งซึ่งพระดำรัสของพระองค์

ดังนี้เป็นต้น. แม้ในสูตรก็ได้มีผู้บรรลุธรรม เช่นกับที่ได้กล่าวแล้วในสูตร

ก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถานันทสูตรที่ ๗ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 930

เหมกปัญหาที่ ๘

ว่าด้วยเรื่องกำจัดตัณหา

[๔๓๒] เหมกมาณพทูลถามปัญหาว่า

(ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม)

อาจารย์เหล่าใดได้พยากรณ์ลัทธิของตนแก่

ข้าพระองค์ ในกาลก่อนว่า เหตุนี้ได้เป็นมา

แล้วอย่างนี้ ๆ จักเป็นอย่างนี้ ๆ คำพยากรณ์

ทั้งหมดของอาจารย์เหล่านั้น ไม่ประจักษ์

แก่ตน คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้น เป็นเครื่อง

ทำความตรึกให้ทวีมากขึ้น (ข้าพระองค์ไม่

ยินดีในคำพยากรณ์นั้น) ข้าแต่พระองค์ผู้

เป็นมุนี ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็น

เครื่องกำจัดตัณหา อันซ่านไปในอารมณ์

ต่าง ๆ ในโลกแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า

ดูก่อนเหมกะ ชนเหล่าใดได้รู้ทั่วถึง

บท คือ นิพพาน อันไม่แปรผัน เป็นที่บรรเทา

ฉันทราคะในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง และ

สิ่งที่ได้ทราบ อันน่ารัก ณ ที่นี้ เป็นผู้มีสติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 931

มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับกิเลสได้แล้ว ชน

เหล่านั้นสงบระงับแล้ว มีสติข้ามตัณหาอัน

ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกได้แล้ว.

จบเหมกมาณวกปัญหาที่ ๘

อรรถกถาเหมกสูตรที่ ๘

เหมกสูตรที่ ๘ มีคำเริ่มต้นว่า เย เม ปุพฺเพ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เย เม ปุพฺเพ วิยากสุ ความว่า อาจารย์เหล่าใด

มีพาวรีพราหมณ์เป็นต้น ได้พยากรณ์ลัทธิของตนแก่ข้าพระองค์ในกาลก่อน.

บทว่า หุร โคตมสาสนา คือ ก่อนศาสนาของพระโคดม. บทว่า สพฺพนฺต

ตกฺกวฑฺฒน คือคำพยากรณ์นั้นทั้งหมด เป็นเครื่องทำความตรึกให้ทวีมากขึ้น.

บทว่า ตณฺหานิคฺฆาตน ธรรมเป็นเครื่องกำจัดตัณหา คือ ทำตัณหาให้

พินาศ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกธรรมนั้นแก่เหมกมาณพ

นั้นจึงตรัสสองคาถาว่า อิธ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอตทญฺาย เย สตา ชนเหล่าใดได้รู้

ทั่วถึงบทคือนิพพาน เป็นผู้มีสติ ความว่า ชนเหล่าใดรู้แจ้งถึงบทคือนิพพาน

อันไม่ตายนั้น โดยนัยมีอาทิว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ รู้โดยลำดับ

๑. บาลีเป็น เหมกปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 932

เป็นผู้มีสติด้วยสติในกายานุปัสสนาเป็นต้น. บทว่า ทิฏฺธมฺมาภินิพฺพุตา

เห็นธรรมแล้วดับกิเลสได้แล้ว คือ เห็นธรรมเพราะรู้แจ้งธรรม และดับกิเลส

เพราะดับกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแหละ.

เมื่อจบเทศนาก็ได้มีผู้บรรลุธรรม เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้แล้วในสูตรก่อนนั่นแล

จบอรรถกถาเหมกสูตรที่ ๘ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 933

โตเทยยปัญหาที่ ๙

ว่าด้วยการรู้จักมุนี

[๔๓๓] โตเทยยมาณพทูลถามปัญหาว่า

ผู้ใดไม่มีกามทั้งหลาย ไม่มีตัณหา

และข้ามความสงสัยได้แล้ว ความพ้นวิเศษ

ของผู้นั้นเป็นอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนโตเทยยะ

ผู้ใดไม่มีกามทั้งหลาย ไม่มีตัณหา

และข้ามความสงสัยได้แล้ว ความพ้นวิเศษ

อย่างอื่นของผู้นั้นไม่มี.

ต. ผู้นั้นไม่มีความปรารถนา หรือ

ยังปรารถนาอยู่ ผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญา หรือ

ยังเป็นผู้มีปรกติกำหนดด้วยปัญญาอยู่ ข้าแต่

พระองค์ผู้ศากยะ ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง

มุนีได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ

รอบคอบ ขอพระองค์จงตรัสบอกมุนีนั้นให้

แจ้งชัดแก่ข้าพระองค์เถิด.

พ. ดูก่อนโตเทยยะ ผู้นั้นไม่มีความ

ปรารถนา และไม่เป็นผู้ปรารถนาอยู่ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 934

ผู้นั้นเป็นคนมีปัญญา มิใช่เป็นผู้มีปรกติกำ-

หนดด้วยปัญญาอยู่ด้วย ท่านจงรู้จักมุนี ว่า

เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ข้องอยู่แล้ว

ในกามและภพแม้อย่างนี้.

จบโตเทยยมาณวกปัญหาที่ ๙

อรรถกถาโตเทยยสูตรที่ ๙

โตเทยยสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺมึ กามา ผู้ใดไม่มีกามทั้งหลาย

ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิโมกฺโข ตสฺส กีทิโส โตเทยยมาณพทูล

ถามว่า ความพ้นวิเศษอันผู้นั้นพึงปรารถนาเป็นอย่างไร.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่พ้นแก่โตเทยย-

มาณพนั้นจึงตรัสคาถาที่สอง. ในบทเหล่านั้นบทว่า วิโมกฺโข ตสฺส นาปโร

ได้แก่ ความพ้นอย่างอื่นของผู้นั้นไม่มี. แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้

ว่าความสิ้นตัณหาเท่านั้น ชื่อว่า ความพ้น ดังนี้ โตเทยยมาณพก็ยังไม่เข้าใจ

ความนั้นอยู่ดี จึงทูลถามอีกว่า นิราสโส โส อุท อาสสาโน ผู้นั้นไม่มี

ความปรารถนาหรือยังปรารถนาอยู่ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุท ปญฺกปฺปี หรือยังเป็นผู้กำหนดด้วย

ปัญญาอยู่ คือ ยังกำหนดตัณหาหรือทิฏฐิ ด้วยญาณมีสมาปัตติญาณเป็นต้น.

๑. บาลีว่า โตเทยยปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 935

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกข้อนั้นแก่โตเทยยมาณพ

จึงตรัสคาถาที่สอง. ในบทเหล่านั้นบทว่า กามภเว คือในกาม และในภพ.

บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้

ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับพระสูตรก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถาโตเทยยสูตรที่ ๙ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 936

กัปปปัญหาที่ ๑๐

ว่าด้วยธรรมเป็นที่พึ่ง

[๔๓๔] กัปปมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระ-

องค์จงตรัสบอกซึ่งธรรมอันเป็นที่พึ่งของชน

ทั้งหลาย ผู้อันชราและมรณะครอบงำแล้ว

ดุจที่พึ่งของชนทั้งหลาย ผู้อยู่ในท่ามกลาง

สาคร เมื่อคลื่นเกิดแล้ว มีภัยใหญ่ฉะนั้น

อนึ่ง ขอพระองค์จงตรัสบอกที่พึ่งแก่ข้า-

พระองค์โดยอุบายที่ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีกเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนกัปปะ

เราจะบอกธรรม อันเป็นที่พึ่งของ

ชนทั้งหลาย ผู้อันชราและมรณะครอบงำ

แล้ว ดุจที่พึ่งของชนทั้งหลายผู้อยู่ในท่าม

กลางสาคร เมื่อคลื่นเกิดแล้ว มีภัยใหญ่

แก่ท่าน ธรรมชาติไม่มีเครื่องกังวล ไม่มี

ความถือมั่น นี้เป็นที่พึ่ง หาใช่อย่างอื่นไม่

เรากล่าวที่พึงอันเป็นที่สิ้นไปแห่งชรา และ

มรณะว่านิพพาน ชนเหล่าใดรู้นิพพานนั้น

แล้ว มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับกิเลสได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 937

แล้ว ชนเหล่านั้นไม่อยู่ใต้อำนาจของมาร

ไม่เดินไปในทางของมาร.

จบกัปปมาณวกปัญหาที่ ๑๐

อรรถกถากัปปสูตรที่ ๑๐

กัปปสูตร มีคำเริ่มต้นว่า มชฺเฌ สรสฺมึ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มชฺเฌ สรสฺมึ ท่านอธิบายว่า ในสาครอัน

เป็นท่ามกลางเพราะไม่มีเบื้องต้นที่สุดปรากฏ. บทว่า ติฏฺนฺต คือผู้ตั้งอยู่.

บทว่า ยถายิท นาปร สิยา กัปปมาณพทูลว่า ขอพระองค์จงตรัสบอก

ที่พึ่งแก่ข้าพระองค์โดยอุบายที่ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีกเถิด.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้นแก่กัปป-

มาณพนั้น จึงได้ตรัสคาถาสามคาถา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อกิญฺจน ไม่มีเครื่องกังวล คือตรงกันข้าม

กับที่มีเครื่องกังวล. บทว่า อนาทาน ไม่ยึดมั่น คือตรงกันข้ามกับ ความ

ยึดมั่น ท่านอธิบายว่า เข้าไปสงบความกังวลและความยึดมั่น. บทว่า อนาปร

หาใช่อย่างอื่นไม่ คือเว้นจากที่พึ่งอันไม่เป็นข้าศึกกับที่พึ่งอื่น. ท่านอธิบายว่า

เป็นที่พึ่งประเสริฐที่สุด. บทว่า น เต มารสฺส ปฏฺคู ได้แก่ชนเหล่านั้น

ไม่เดินไปในทางของมาร คือไม่เป็นศิษย์คอยบำรุงบำเรอมาร. บทที่เหลือใน

บททั้งปวงชัดเจนดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรม

เป็นยอดคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถากัปปสูตรที่ ๑๐ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

๑. บาลีเป็นกัปปปัญหา ๒. ม. ปทฺธคู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 938

ชตุกัณณีปัญหาที่ ๑๑

ว่าด้วยธรรมเครื่องละชาติชรา

[๔๓๕] ชตุกัณณีมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ข้า-

พระองค์ได้ฟังว่าพระองค์เป็นผู้ไม่ใคร่กาม

จึงมาเฝ้าเพื่อทูลถามพระองค์ผู้ล่วงห้วงน้ำคือ

กิเลสเสียได้ ไม่มีกาม ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระ-

เนตรคือพระสัพพัญญุตญาณเกิดพร้อมแล้ว

ขอพระองค์ตรัสบอกทางสันติ ข้าแต่พระผู้-

มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกทาง

สันตินั้นแก่ข้าพระองค์ตามจริงเถิด.

เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมี

เดช ครอบงำกามทั้งหลายเสียแล้วด้วยเดช

เหมือนพระอาทิตย์มีเดช คือ รัศมี ครอบ-

งำปฐพีด้วยเดชไปอยู่ในอากาศ ฉะนั้น ข้า

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน

ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเครื่องละชาติ

และชรา ณ ที่นี้ ที่ข้าพระองค์ควรจะรู้แจ้ง

แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 939

ดูก่อนชตุกัณณี ท่านได้เห็นซึ่งเนก-

ขัมมะโดยความเป็นธรรมอันเกษมแล้ว จง

นำความกำหนัดในกามทั้งหลายออกไปเสีย

ให้สิ้นเถิด อนึ่ง กิเลสชาติเครื่องกังวลที่

ท่านยึดไว้แล้ว (ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ)

ซึ่งควรจะปลดเปลื้องเสีย อย่ามีแล้วแก่ท่าน.

กิเลสเครื่องกังวลใดได้มีแล้วในกาล

ก่อน ท่านจงทำกิเลสเครื่องกังวลนั้นให้

เหือดแห้งเสียเถิด กิเลสเครื่องกังวลในภาย-

หลัง อย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือเอา

กิเลสเครื่องกังวลในท่ามกลางไซร้ ท่านจัก

เป็นผู้สงบเที่ยวไป.

ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อท่านปราศจาก

ความกำหนัดในนามและรูปแล้วโดยประการ

ทั้งปวง อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเหตุให้ไป

สู่อำนาจแห่งมัจจุราช ก็ย่อมไม่มีแก่ท่าน.

จบชตุกัณณีมาณวกปัญหาที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 940

อรรถกถาชตุกัณณิสูตร/ที่ ๑๑

ชตุกัณณิสูตร มีคำเริ่มต้นว่า สุตฺวานห ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สุตฺวานห วีร อกามกามึ ข้าพระองค์ได้

ฟังว่าพระองค์ไม่ใคร่กาม คือ ข้าพระองค์ได้ฟังว่าพระพุทธเจ้าชื่อว่าผู้เป็นวีระ

ผู้ไม่ใคร่กาม เพราะไม่ใคร่กามทั้งหลายโดยนัยมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา

ดังนี้. บทว่า อกามมาคม ผู้ไม่มีกาม คือ ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่มีกาม. บทว่า สหาชเนตฺต ได้แก่ ผู้มีพระเนตรคือ

พระสัพพัญญุตญาณเกิดขึ้นพร้อมแล้ว. บทว่า ยถาตจฺฉ คือตามความเป็น

จริง. บทว่า พฺรูหิ เม ขอพระองค์จงบอกแก่ข้าพระองค์เถิด ชตุกัณณิมาณพ

กล่าวทูลวิงวอนอีก. เพราะว่าเมื่อทูลวิงวอน ก็พึงกล่าวได้ตั้งพันครั้ง. ก็เรื่อง

อะไรจะกล่าวเพียงสองครั้งเล่า. บทว่า เตชี เตชสา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้มีพระเดช ทรงครอบงำด้วยพระเดช. บทว่า ยมห วิชญฺ ชาติชราย

อิธ วิปฺปหาน คือ ข้าพระองค์พึงรู้ธรรมอันเป็นเหตุละชาติชรา ณ ที่นี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสบอกธรรมนั้นแก่ชตุกัณณิ-

มาณพนั้น จึงได้ตรัสคาถาสามคาถา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เนกฺขมฺม ทฏฺฐุ เขมโต เห็นเนกขัมมะโดย

ความเป็นธรรมอันเกษม คือเห็นนิพพานและการปฏิบัติเพื่อถึงนิพพานว่าเป็น

ธรรมอันเกษม. บทว่า อุคฺคหึต ได้แก่ ยึดถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า

นิรตฺต วา ได้แก่ ควรปลดเปลื้องเสีย. บทว่า มา เต วิชฺชิตฺถ คืออย่าได้

๑. บาลีเป็น ชตุกัณณีปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 941

มีแก่ท่าน. บทว่า กิญฺจน เครื่องกังวล ได้แก่ แม้เครื่องกังวลมีราคะเป็นต้น

อย่าได้มีแก่ท่าน. บทว่า ปุพฺเพ ในกาลก่อน คือกิเลสที่เกิดขึ้นปรารภสังขาร

ในอดีต. บทว่า พฺราหฺมณ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกชตุกัณณิมาณพ.

บทที่เหลือในทุกบทชัดเจนดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ด้วย

ธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นในสูตรก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถาชตุกัณณิสูตรที่ ๑๑ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 942

ภัทราวุธปัญหาที่ ๑๒

ว่าด้วยความติดข้องของสัตว์

[๔๓๖] ภัทราวุธมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าพระองค์ขอทูลวิงวอนพระองค์ ผู้

ทรงละอาลัย ตัดตัณหาเสียได้ ไม่หวั่นไหว

ละความเพลิดเพลิน ข้ามห้วงน้ำคือกิเลสได้

แล้วพ้นวิเศษแล้ว ละธรรมเครื่องให้ดำริ มี

พระปัญญาดี

ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ชนใน

ชนบทต่าง ๆ ประสงค์จะฟังพระดำรัสของ

พระองค์ มาพร้อมกันแล้วจากชนบททั้ง

หลาย ได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้ประ-

เสริฐแล้ว จักกลับไปจากที่นี้ ขอพระองค์

จงตรัสพยากรณ์แก่ชนในชนบทต่าง ๆ เหล่า

นั้นให้สำเร็จประโยชน์เถิด เพราะธรรมนี้

พระองค์ทรงรู้แจ้งแล้วด้วยประการนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนภัทราวุธะ

หมู่ชนควรจะนำเสียซึ่งตัณหา เป็น

เครื่องถือมั่นทั้งปวงในส่วนเบื้องบน เบื้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 943

ต่ำ ในส่วนเบื้องขวางคือในท่ามกลางให้

สิ้นเชิง เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมถือมั่น

สิ่งใด ๆ ในโลก มารย่อมติดตามสัตว์ได้

เพราะสิ่งนั้นแหละ.

เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัดอยู่ มา

เล็งเห็นหมู่สัตว์ ผู้ติดข้องอยู่แล้วในวัฏฏะ

อันเป็นบ่วงแห่งมารนี้ว่า เป็นหมู่สัตว์ติด

ข้องอยู่แล้วเพราะการถือมั่นดังนี้ พึงเป็นผู้

มีสติ ไม่ถือมั่นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง.

จบภัทราววุธมาณวกปัญหาที่ ๑๒

อรรถกถาภัทราวุธสูตรที่ ๑๒

ภัทราวุธสูตร มีคำเริ่มต้นว่า โอกญฺชห ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านัน บทว่า โอกญฺชห คือผู้ละอาลัย. บทว่า ตณฺหจฺฉิท

ผู้ตัดตัณหาเสียได้ คือตัดหมู่ตัณหาทั้ง ๖. บทว่า อเนช ผู้ไม่หวั่นไหว คือ

ไม่มีความทะเยอทะยานในโลกธรรมทั้งหลาย. บทว่า นนฺทิญฺชห ผู้ละความ

เพลิดเพลิน คือละความปรารถนามีรูปในอนาคตเป็นต้น. จริงอยู่ภัทราวุธ-

มาณพกล่าวถึงตัณหาอย่างเดียวเท่านั้นในที่นี้โดยประการต่าง ๆ เพื่อสรรเสริญ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น. บทว่า กปฺปญฺชห ผู้ละธรรมเครื่องให้ดำริคือ

๑. บาลีเป็น ภัทราวุธปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 944

ละธรรมเครื่องให้ดำริสองอย่าง. บทว่า อภิยาเจ ข้าพระองค์ขอทูลวิงวอน

เป็นอย่างยิ่ง. บทว่า สุตฺวาน นาคสฺส อปนมิสฺสนฺติ อิโต ชนทั้ง

หลายมาจากชนบทได้ฟังดำรัสของพระองค์ผู้ประเสริฐแล้ว จักกลับไปจากที่นี้

อธิบายว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ชนทั้งหลายเป็นอันมากได้ฟังพระดำรัส

ของพระองค์ผู้ประเสริฐแล้วจักกลับไปจากปาสาณกเจดีย์นี้. บทว่า ชนปเทหิ

สงฺคตา มาพร้อมกันแล้วจากชนบททั้งหลาย คือมาพร้อมกัน ณ ที่นี้จาก

ชนบททั้งหลายมีอังคะเป็นต้น. บทว่า วิยากโรหิ ขอจงทรงพยากรณ์ คือ

ขอจงทรงแสดงธรรม.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรมโดยอนุโลมตาม

อัธยาศัยของภัทราวุธมาณพนั้น จึงได้ตรัสพระคาถาสองคาถา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อาทานตณฺห ตัณหาเป็นเครื่องยึดมั่น คือ

ตัณหาเป็นเครื่องยึดมั่นอารมณ์มีรูปเป็นต้น. อธิบายว่า ยึดมั่นตัณหา. บทว่า

ย ยญฺหิ โลกสฺมึ อุปาทิยนฺติ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมถือมั่นสิ่งใด ๆ

ในโลก คือถือมั่นสิ่งใด ๆ ในประเภทมีขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า เตเนว

มาโร อเนฺวติ ชนฺตุ มารย่อมติดตามสัตว์ได้เพราะสิ่งนั้นแหละ. ความว่า

มารคือขันธมารอันมีในปฏิสนธิ ย่อมติดตามสัตว์นั้นไปด้วยอำนาจกรรมาภิสัง-

ขารที่เกิดขึ้นเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนั้นเอง. บทว่า ตสฺมา ปชาน

เหตุนั้นภิกษุเมื่อรู้ชัดอยู่ คือ เมื่อรู้โทษอย่างนี้ในสังขารโดยความเป็นของไม่

เที่ยงเป็นต้น. บทว่า อาทานสตฺเต อิติ เปกฺขมาโน ปช อิม มจฺจุเธยฺย

วิสตฺต ภิกษุเล็งเห็นสัตว์ผู้ติดข้องอยู่แล้วในวัฏฏะ อันเป็นบ่วงแห่งมารนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 945

เป็นหมู่สัตว์ติดข้องอยู่แล้วเพราะการยึดมั่นดังนี้ ความว่า ภิกษุเล็งเห็นหมู่สัตว์

ผู้ติดข้องอยู่แล้วในบ่วงแห่งมารในโลกทั้งปวงว่า เป็นหมู่สัตว์ติดข้องอยู่แล้วใน

รูปเป็นต้นอันเป็นเครื่องยึดถือ เพราะอรรถว่าพึงยึดมั่น หรือเล็งเห็นอยู่ว่าไม่

สามารถจะสงเคราะห์การยึดมั่นในบุคคลผู้ยึดมั่นถือมั่น ผู้ติดข้องอยู่แล้วเพราะ

การยึดมั่น และเพื่อก้าวล่วงจากหมู่สัตว์ผู้ข้องอยู่ในบ่วงมารนี้ได้ ไม่ถือมั่น

เครื่องกังวลในโลกทั้งปวง. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดเจนดีแล้ว. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแล ด้วย

ประการฉะนี้.

อนึ่ง เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นก่อนเหมือนกัน.

จบอรรถกถาภัทราวุธสูตรที่ ๑๒ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 946

อุทยปัญหาที่ ๑๓

ว่าด้วยเรื่องวิญญาณดับ

[๔๓๗] อุพยมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา

จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้เพ่งฌานผู้ปราศจากธุลี

ทรงนั่งโดยปรกติ ทรงทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มี

อาสวะ ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ขอ

พระองค์จงตรัสบอกอัญญาวิโมกข์ สำหรับ

ทำลายอวิชชาเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนอุทยะ

เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องละความพอ

ใจในกาม และโทมนัสทั้งสองอย่าง เป็น

เครื่องบรรเทาความง่วงเหงา เป็นเครื่องห้าม

ความรำคาญ บริสุทธิ์ดี เพราะอุเบกขาและ

สติ มีความตรึกถึงธรรมแล่นไปในเบื้องหน้า

ว่าเป็นอัญญาวิโมกข์ สำหรับทำลายอวิชชา.

อุ. โลกมีธรรมอะไรประกอบไว้

ธรรมชาติอะไรเป็นเครื่องเที่ยวไป ของโลก

นั้น เพราะละธรรมอะไรได้เด็ดขาด ท่านจึง

กล่าวว่า นิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 947

พ. โลกมีความเพลิดเพลินประกอบ

ไว้ ความตรึกไปต่าง ๆ เป็นเครื่องเที่ยวไป

ของโลกนั้น เพราะละตัณหาได้เด็ดขาด

ท่านจึงกล่าวว่า นิพพาน.

อุ. เมื่อบุคคลมีสติอย่างไร เที่ยวไป

อยู่ วิญญาณจึงจะดับ ข้าพระองค์ทั้งหลาย

มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระองค์ ข้าพระองค์

ทั้งหลาย ขอฟังพระดำรัสของพระองค์.

พ. เมื่อบุคคลไม่เพลิดเพลินเวทนา

ทั้งภายในและภายนอก มีสติอย่างนี้เที่ยว

ไปอยู่ วิญญาณจึงจะดับ.

จบอุทยมาณวกปัญหาที่ ๑๓

อรรถกถาอุทยสูตรที่ ๑๓

อุทยสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ฌายี ผู้เพ่งฌาน ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อญฺ วิโมกฺข อัญญาวิโมกข์นี้ ได้แก่

อุทยมาณพทูลถามถึงวิโมกข์ อันเพ่งถึงปุญญานุภาพ.

ลำดับนั้น เพราะอุทยมาณพเป็นผู้ได้ฌานที่สี่ ฉะนั้นพระผู้มีพระภาค-

เจ้า เมื่อจะทรงแสดงอัญญาวิโมกข์ คือธรรมเป็นเครื่องพ้นที่ควรรู้ทั่วถึง โดย

ประการต่าง ๆ ด้วยอำนาจฌาน ที่อุทยมณพได้แล้ว จึงตรัสคาถาสองคาถา.

๑. บาลีเป็น อุทยปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 948

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปหาน กามจฺฉนฺทาน ธรรมเป็นเครื่องละ

ความพอใจในกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องละ

ความพอใจในกาม ของผู้ยังปฐมฌานให้เกิดว่าเป็นอัญญาวิโมกข์. พึงประ-

กอบบททั้งปวงอย่างนี้. บทว่า อุเปกฺขาสติสสุทฺธ คือบริสุทธิ์ดีด้วยอุเบกขา

และสติในฌานที่สี่. บทว่า ธมฺมตกฺกปุเรชว มีความตรึกถึงธรรมแล่นไป

เบื้องหน้า คือ ภิกษุตั้งอยู่ในจตุตถฌานวิโมกข์นั้น เห็นแจ้งซึ่งองค์ฌานแล้ว

ย่อมกล่าวถึงอรหัตวิโมกข์ที่ตนบรรลุแล้ว. จริงอยู่ ความตรึกถึงธรรมมี

สัมมาสังกัปปะอันสัมปยุตด้วยมรรคเป็นต้นของอรหัตวิโมกข์ ชื่อว่าเป็นธรรม

แล่นไปเบื้องหน้า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธมฺมตกฺก-

ปุเรชว มีความตรึกถึงธรรมแล่นไปเบื้องหน้า. บทว่า อวิชฺชาย ปเภทน

สำหรับทำลายอวิชชา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เรากล่าวว่านั่นแลเป็น

อัญญาวิโมกข์สำหรับทำลายอวิชชาโดยนัยที่ใกล้เคียงกับเหตุ เพราะอาศัยนิพ-

พานกล่าวคือการทำลายอวิชชาเกิดขึ้น. อุทยมาณพได้ฟังนิพพานที่พระผู้มี

พระภาคตรัส ด้วยพระดำรัสอันเป็นการทำลายอวิชชาอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทูล

ถามว่า ที่เรียกว่านิพพานนั้น เพราะละอะไรได้ จึงกล่าวคาถาว่า กึสุ สโย

ชโน ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กึสุ สโยชโน คือโลกมีอะไรประกอบไว้. บท

ว่า กึสุ วิจารโณ คือธรรมอะไรเป็นเครื่องเที่ยวไป. บทว่า กิสฺสสฺส

วิปฺปหาเนน คือเพราะละธรรมนั้น ธรรมนั้นชื่ออะไร.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้น แก่อุทย-

มาณพนั้นจึงตรัสคาถาว่า นนฺทิสโยชโน โลกมีความเพลิดเพลินประกอบไว้.

๑. บาลีเป็น วิจารณา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 949

ในบทเหล่านั้นบทว่า วิตกฺกสฺส ได้แก่ วิตกมีกามวิตกเป็นต้น.

บัดนี้อุทยมาณพ เมื่อจะทูลถามทางแห่งนิพพานนั้นจึงกล่าวคาถาว่า กถ สตสฺส

เมื่อบุคคลมีสติอย่างไร. ในบทเหล่านั้น บทว่า วิญฺาณ ได้แก่ อภิสังขาร

วิญญาณ (วิญญาณที่เกิดพร้อมกับอภิสังขาร)

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกทางแก่อุทยมาณพนั้น

จึงตรัสคาถาว่า อชฺฌตฺตญฺจ ภายใน. ในบทเหล่านั้น บทว่า เอว สตสฺส

มีสติอย่างนี้ คือมีสติสัมปชัญญะอย่างนี้. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดเจนดีแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต

นั้นเอง ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นครั้งก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถาอุทยสูตรที่ ๑๓ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 950

โปสาลปัญหาที่ ๑๔

ว่าด้วยภูมิที่ตั้งปัญญา

[๔๓๘] โปสาลมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญ-

หา จึงได้มาเฝ้าพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงอ้างสิ่งที่ล่วงไปแล้ว (พระปรีชา

ญาณในกาลอันเป็นอดีต) ไม่ทรงหวั่นไหว

ทรงตัดความสงสัยได้แล้ว ทรงบรรลุถึงฝั่ง

แห่งธรรมทั้งปวง ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ศากยะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณของ

บุคคลผู้มีความสำคัญในรูปก้าวล่วงเสียแล้ว

ละรูปกายได้ทั้งหมด เห็นอยู่วาไม่มีอะไร

น้อยหนึ่งทั้งภายในและภายนอก บุคคลเช่น

นั้นควรแนะนำอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนโปสาละ

พระตถาคตทรงรู้ยิ่ง ซึ่งภูมิเป็นที่ตั้ง

แห่งวิญญาณทั้งปวง ทรงทราบบุคคลนั้นผู้ยัง

ดำรงอยู่ ผู่น้อมไปแล้วในอากิญจัญญายตน-

สมาบัติเป็นต้น ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 951

เป็นต้น นั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ผู้ที่เกิด

ในอากิญจัญญายตนภพว่า มีความเพลิด-

เพลินเป็นเครื่องประกอบ ดังนี้แล้ว แต่นั้น

ย่อมเห็นแจ้งในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น

ญาณของบุคคลนั้น ผู้เป็นพราหมณ์ อยู่จบ

พรหมจรรย์แล้ว เป็นญาณอันถ่องแท้อย่างนี้.

จบโปสาลมาณวกปัญหาที่ ๑๔

อรรถกถาโปสาลสูตรที่ ๑๔

โปสาลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า โย อตีต เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โย อตีต อาทิสติ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ทรงแสดงอ้างสิ่งที่ล่วงไปแล้ว คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดทรงแสดง

อ้างถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วมีชาติเป็นต้นแม้ชาติหนึ่งของพระองค์ และของสัตว์พวก

อื่น. บทว่า วิภูตรูปสญฺิสฺส คือบุคคลผู้มีความสำคัญในรูปก้าวล่วงแล้ว.

บทว่า สพฺพกายปฺปหายิโน คือ ละรูปกายได้ทั้งหมดด้วยการละชั่วคราว

และละด้วยการข่มไว้. อธิบายว่า ละปฏิสนธิในรูปภพได้แล้ว. บทว่า นตฺถิ

กิญฺจีติ ปสฺสโต เห็นอยู่ว่าไม่มีอะไร คือ เห็นอยู่ว่าไม่มีอะไรเพราะเห็นแจ้ง

ว่าวิญญาณไม่มี. ท่านอธิบายว่า ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ. บทว่า าณ

สกฺกานุปุจฺฉามิ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นศากยะ ข้าพระองค์ทูลถามถึงญาณ

๑. บาลีเป็น โปสาลปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 952

โปสาลมาณพเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า สักกะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นศากยะ ข้า

พระองค์ทูลถามถึงญาณของบุคคลนั้นว่าควรปรารถนาเช่นไร. บทว่า กถ เนยฺ-

โย คือบุคคลนั้นควรแนะนำอย่างไร ควรให้ญาณเกิดแก่เขายิ่งขึ้นได้อย่างไร.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศญาณของพระองค์ที่อัน

ใคร ๆ กำจัดไม่ได้ในบุคคลเช่นนั้น เพื่อทรงพยากรณ์ญาณนั้นแก่โปสาลมาณพ

จึงตรัสคาถาสองคาถาต่อไป.

บทว่า วิญฺาณฏฺิติโย สพฺพา อภิชาน ตถาคโต พระตถาคต

ทรงรู้ยิ่งซึ่งภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณทั้งปวง คือ ทรงรู้ยิ่งวิญญาณฐิติทั้งปวง

อย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมมีได้ ด้วยอภิสังขาร ด้วยปฏิสนธิ ๔. บทว่า

ติฏฺนฺตเมน ชานาติ ทรงทราบบุคคลนั้นผู้ดำรงอยู่ คือทรงทราบบุคคลนั้น

ผู้ดำรงอยู่ได้ด้วยกรรมคืออภิสังขารว่า ต่อไปสัตว์นี้จักมีคติเป็นอย่างนี้. บทว่า

วิมุตฺต คือ น้อมไปแล้วในอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นต้น. บทว่า ตปฺปรายน

ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คือ สำเร็จด้วยอากิญจัญ-

ญายตนสมบัตินั้น. บทว่า อากิญฺจญฺาสมฺภว ตฺวา ทรงทราบผู้ที่เกิดใน

อากิญจัญญายตนภพ คือ ทรงทราบกรรมคืออภิสังขารที่ให้เกิดในอากิญจัญญาย-

ตนภพ. เป็นอย่างไร นี้เป็นเครื่องห่วงใย. บทว่า นนฺทิสโยชน อิติ ว่ามี

ความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบ คือ รู้ความเพลิดเพลินที่นับว่าอรูปราคะ

ในภพนั้นว่าเป็นเครื่องประกอบ. บทว่า ตโต ตตฺถ วิปสฺสติ แต่นั้นย่อม

เห็นแจ้งในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น คือ แต่นั้นออกจากอากิญจัญญายตน-

สมาบัติแล้ว เห็นแจ้งสมาบัตินั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 953

เอว าณ ตถ ตสฺส ญาณของบุคคลนั้นเป็นญาณถ่องแท้อย่างนี้ คือ

อรหัตญาณเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นผู้เห็นแจ้งอย่างนี้ ตามลำดับไม่วิปริต. บทว่า

วุสีมโต คืออยู่จบพรหมจรรย์แล้ว. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดเจนดีแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต

นั่นแล.

เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับครั้งก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถาโปสาลสูตรที่ ๑๔ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 954

โมฆราชปัญหาที่ ๑๕

ว่าด้วยเรื่องมัจจุราชไม่เห็น

[๔๓๙] โมฆราชมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศากยะ

ข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหาถึงสองครั้งแล้ว

พระองค์ผู้มีพระจักษุ ไม่ทรงพยากรณ์แก่

ข้าพระองค์ แต่ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเทพฤาษี จะทรง

พยากรณ์ในครั้งที่สาม (ข้าพระองค์จึงขอทูล

ถามว่า)

โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลกกับทั้ง

เทวโลก ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบความเห็น

ของพระองค์ผู้โคดม ผู้เรืองยศ ข้าพระองค์

มีความต้องการด้วยปัญหา จึงได้มาเฝ้า

พระองค์ ผู้มีปกติเห็นธรรมอันงามอย่างนี้

บุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราช

จึงจะไม่เห็น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า

ดูก่อนโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติ

ทุกเมื่อ พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 955

ว่างเปล่าเถิด จงถอนความตามเห็นว่าเป็น

ตัวตนเสียแล้ว พึงเป็นผู้ข้ามพ้นมัจจุราชได้

ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้พิจารณาเห็นโลก

อยู่อย่างนี้ มัจจุราชจึงจะไม่เห็น.

จบโมฆราชมาณวกปัญหาที่ ๑๕

อรรถกถาโมฆราชสูตรที่ ๑๕

โมฆราชสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ทฺวาห สกฺก ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ทฺวาห คือข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหาถึงสอง

ครั้ง. อันที่จริงโมฆราชมาณพนั้นได้เคยทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง

สองครั้ง เมื่อจบอชิตสูตรและติสสเมตเตยยสูตร. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรอ

ให้โมฆราชมาณพมีอินทรีย์แก่กล้าก่อน จึงยังมิได้ทรงพยากรณ์. ด้วยเหตุนั้น

โมฆราชมาณพจึงได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นศากยะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม

ปัญหาถึงสองครั้งแล้ว. บทว่า ยาวตติยญฺจ เทวิสิ พฺยากโรตีติ เม สุต

ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเทพฤษีจะทรงพยากรณ์ใน

ครั้งที่สาม คือ ข้าพระองค์ได้สดับมาอย่างนี้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหา

คุณ ผู้ทรงจำแนกธรรม ผู้เป็นวิสุทธิเทพ ผู้อันข้าพระองค์ถามปัญหาแล้ว

จะทรงพยากรณ์กะสหธรรมิกในครั้งที่สาม. นัยว่า โมฆราชมาณพนั้นได้ฟัง

อย่างนี้ ณ ฝั่งแม่น้ำโคธาวรีนั่นเอง ด้วยเหตุนั้นโมฆราชมาณพนั้นจึงทูลว่า

๑. บาลีเป็น โมฆราชปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 956

พฺยากโรตีติ เม สุต ข้าพระองค์สดับมาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรง

พยากรณ์ ดังนี้. บทว่า อย โลโก ได้แก่ มนุษยโลก. บทว่า ปโร โลโก

โลกอื่น ได้แก่ โลกที่เหลือเว้นมนุษยโลกนั้น. บทว่า สเทวโก พร้อมด้วย

เทวโลกได้แก่โลกที่เหลือ ประกอบด้วยอุปัตติเทพและสมมติเทพเว้นพรหม

โลก. บทว่า พฺรหฺมโลโก สเทวโก นี้ เพียงแสดงถึงนัยเป็นต้นว่า สเทวเก

โลเก ในโลกพร้อมด้วยเทวโลก ด้วยเหตุนั้น พึงทราบโลกดังที่ได้กล่าวแล้ว

อย่างนั้นทั้งหมด. บทว่า เอว อภิกฺกนฺตทสฺสาวึ ได้แก่พระองค์ผู้มีปรกติ

เห็นธรรมอันงาม คือ ธรรมเลิศอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึง

ผู้สามารถเห็นอัธยาศัยอธิมุติและคติอันเป็นที่ไปในเบื้องหน้าของโลกพร้อมทั้ง

เทวโลก. บทว่า สุญฺโต โลก อเวกฺขสฺสุ ท่านจงพิจารณาเห็นโลกโดย

ความเป็นของว่างเปล่าเถิด คือจงพิจารณาเห็นโลก โดยความเป็นของว่างเปล่า

ด้วยเหตุสองประการ คือด้วยลักษณะอันเป็นไปแล้วไม่มีเหลือ ๑ ด้วยพิจารณา

เห็นเนือง ๆ ถึงสังขารเป็นของว่างเปล่า ๑. บทว่า อตฺตานุทิฏฺึ อูหจฺจ คือ

จงถอนความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนเสีย. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดเจนดีแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต

นั่นแล.

เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาโมฆราชสูตรที่ ๑๕ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 957

ปิงคิยปัญหาที่ ๑๖

ว่าด้วยการไม่เกิดอีก

[๔๔๐] ปิงคิยมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าพระองค์เป็นคนแก่ มีกำลังน้อย

ผิวพรรณเศร้าหมอง นัยน์ตาทั้งสองของ

ข้าพระองค์ไม่แจ่มใส หูสำหรับฟังก็ไม่

สะดวก ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลง

ฉิบหายเสียในระหว่างเลย ขอพระองค์จง

ตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์ควรรู้อันเป็น

เครื่องละชาติและชรา ในที่นี้เสียเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนปิงคิยะ

ชนทั้งหลายได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้เดือด-

ร้อนอยู่เพราะรูปทั้งหลายแล้ว ยังเป็นผู้

ประมาท ก็ย่อยยับอยู่เพราะรูปทั้งหลาย ดู

ก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านจงเป็นคน

ไม่ประมาท ละรูปเสียเพื่อความไม่เกิดอีก.

ปิ. ทิศใหญ่สี่ ทิศน้อยสี่ ทิศเบื้องบน

ทิศเบื้องต่ำ รวมเป็นสิบทิศ สิ่งไร ๆ ในโลก

ที่พระองค์ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟัง ไม่ได้ทราบ

หรือไม่ได้รู้แจ้ง มิได้มี ขอพระองค์จงตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 958

บอกธรรมที่ข้าพระองค์ควรรู้ อันเป็นเครื่อง

ละชาติและชราในอัตภาพนี้เถิด.

พ. ดูก่อนปิงคิยะ เมื่อท่านเห็นหมู่

มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงำแล้ว เกิดความ

เดือดร้อน อันชราถึงรอบข้าง ดูก่อนปิงคิยะ

เพราะเหตุนั้น ท่านจงเป็นคนไม่ประมาทละ

ตัณหาเสีย เพื่อความไม่เกิดอีก.

จบปิงคิยมาณวกปัญหาที่ ๑๖

อรรถกถาปิงคิยสูตรที่ ๑๖

ปิงคิยสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ชิณฺโณหมสฺมิ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ชิณฺโณหมสฺมิ อพโล วีตวณฺโณ ข้า-

พระองค์เป็นคนแก่ มีกำลังน้อย ผิวพรรณเศร้าหมอง คือ นัยว่า พราหมณ์

นั้นถูกชราครอบงำมีอายุได้ ๑๒๐ ปีโดยกำเนิด มีกำลังน้อย คิดว่า เราจักทำ

ให้ถึงบทในที่นี้ กลับทำเสียในที่อื่น และมีผิวพรรณเศร้าหมอง ด้วยเหตุนั้น

ปิงคิยะจึงกล่าวว่า ชิณฺโณหมฺสฺมิ อพโล วีตวณฺโณ ดังนี้. บทว่า มาหมฺ

ปนสฺส โมมูโห อนฺตราย ข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงฉิบหายเสียใน

ระหว่างเลย คือ ข้าพระองค์ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมของพระองค์ ยังเป็นผู้

ไม่รู้แจ้ง อย่าได้ฉิบหายเสียในระหว่างเลย. บทว่า ชาติปราย อิธ วิปฺปหาน

ธรรมเป็นเครื่องละชาติและชราในที่นี้ คือ ขอพระองค์จงทรงบอกธรรมเป็น

เครื่องละชาติและชรา คือ นิพพานธรรม ณ บาทมูลของพระองค์หรือ ณ

ปาสาณกเจดีย์นี้ ที่ข้าพระองค์ควรรู้เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 959

บัดนี้ เพราะปิงคิยะกล่าวคาถาว่า ชิณฺโณหมสฺมิ เพราะเพ่งในกาย

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อให้ปิงคิยะนั้นละความเยื่อใยในกายเสียจึงตรัส

ว่า ทิสฺวาน รูเปสุ วิหญฺมาเน ชนทั้งหลายได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้เดือดร้อน

ในเพราะรูป ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า รูเปสุ คือเพราะรูปเป็นเหตุเป็นปัจจัย. บทว่า

วิหญฺมาเน คือ เดือดร้อนอยู่ด้วยกรรมกรณ์เป็นต้น. บทว่า รูปฺปนฺติ

รูเปสุ ย่อมย่อยยับในเพราะรูปทั้งหลาย คือ ชนทั้งหลายย่อมย่อยยับย่อมลำบาก

ด้วยโรคทั้งหลายมีโรคตาเป็นต้น เพราะรูปเป็นเหตุ.

ปิงคิยะแม้ฟังข้อปฏิบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจนถึงพระอรหัตแล้วก็

ยังไม่บรรลุธรรมวิเศษ เพราะความชราและกำลังน้อย เมื่อจะสรรเสริญพระผู้มี-

พระภาคเจ้าด้วยคาถานี้อีกว่า ทิสา จ ตสฺโส ทิศใหญ่สี่ดังนี้ จึงวิงวอนขอให้

เทศนา. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงปฏิปทาจนถึงพระอรหัต

แก่ปิงคิยะอีกจึงตรัสคาถาว่า ตณฺหาธิปนฺเน หมู่มนุษย์ถูกตัณหาครอบงำแล้ว

ดังนี้เป็นต้น. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดเจนดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแล.

อนึ่ง เมื่อจบเทศนาปิงคิยะได้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล. นัยว่าปิงคิยะนั้น

คิดในระหว่าง ๆ ว่า พาวรีพราหมณ์ผู้เป็นลุงของเราไม่ได้ฟังเทศนาอันวิจิตร

เฉียบแหลมอย่างนี้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการฟังของเรา เพราะความฟุ้งซ่าน

ด้วยความเยื่อใยนั้นปิงคิยะจึงไม่ได้บรรลุพระอรหัต. ส่วนชฎิล ๑,๐๐๐ ที่เป็น

อันเตวาสิกของปิงคิยะนั้นได้บรรลุพระอรหัต. ทั้งหมดทรงบาตรและจีวรสำเร็จ

ด้วยฤทธิ์ได้เป็นเอหิภิกขุ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาปิงคิยสูตรที่ ๑๖ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 960

ปารายนานุสังคีติคาถา

ว่าด้วยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของมาณพ ๑๖ คน

[๔๔๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์ใน

มคธชนบทได้ตรัสปารายนสูตรนี้ อันพราหมณ์มาณพ ๑๖ คน ผู้เป็นบริวาร

ของพราหมณ์พาวรี ทูลอาราธนาแล้ว ได้ตรัสพยากรณ์ปัญหา แม้หากว่า

การกบุคคลรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งปัญหาหนึ่ง ๆ แล้วพึงปฏิบัติธรรม

อันสมควรแก่ธรรมไซร้ การกบุคคลนั้น ก็พึงถึงฝั่งโน้นแห่งชราและมรณะได้

แน่แท้ เพราะธรรมเหล่านี้ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่การถึงฝั่งโน้น เพราะ

เหตุนั้น คำว่า ปารายนะ จึงเป็นชื่อแห่งธรรมปริยายนี้.

[๔๔๒] พราหมณ์มาณพผู้อาราธนา

ทูลถามปัญหา ๑๖ คนนั้น คือ อชิตมาณพ ๑

ติสสเมตเตยยมาณพ ๑ ปุณณกมาณพ ๑

เมตตคูมาณพ ๑ โธตกมาณพ ๑ อุปสีว-

มาณพ ๑ นันทมาณพ ๑ เหมกมาณพ ๑

โตเทยยมาณพ ๑ กัปปมาณพ ๑ ชตุกัณณี-

มาณพผู้เป็นบัณฑิต ๑ ภัทราวุธมาณพ ๑

อุทยมาณพ ๑ โปสาลพราหมณ์มาณพ ๑

โมฆราชมาณพผู้มีปัญญา ๑ ปิงคิยมาณพผู้

แสวงหาคุณอันใหญ่ ๑ พราหมณ์มาณพทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 961

๑๖ คนนี้ ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้แสวง

หาคุณอันใหญ่ ทรงมีจรณะอันสมบูรณ์

พราหมณ์มาณพทั้ง ๑๖ คน ได้เข้าไปเฝ้า

ทูลถามปัญหาอันละเอียด กะพระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐสุด.

พระพุทธเจ้าผู้เป็นมุนีได้ตรัสพยากรณ์

ปัญหาที่พราหมณ์มาณพเหล่านั้นทูลถามแล้ว

ตามที่เป็นจริง ทรงให้พราหมณ์มาณพทั้ง-

หลายยินดีแล้ว ด้วยการตรัสพยากรณ์ปัญหา

ทุก ๆ ปัญหา

พราหมณ์มาณพทั้ง ๑๖ คนเหล่านั้น

อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ผู้มี

จักษุให้ยินดีแล้ว ได้ประพฤติพรหมจรรย์

ในสำนักของพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญา

อันประเสริฐ.

เนื้อความแห่งปัญหาหนึ่ง ๆ ที่พระ-

พุทธเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยประการใด ผู้ใด

พึงปฏิบัติตามด้วยประการนั้น ก็พึงจากฝั่ง

นี้ไปถึงฝั่งโน้นได้ ผู้นั้นเจริญมรรคอันอุดม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 962

อยู่ ก็พึงจากฝั่งนี้ไปถึงฝั่งโน้นได้ ธรรม

ปริยายนั้นเป็นทางเพื่อไปสู่ฝั่งโน้น เพราะ

ฉะนั้น ธรรมปริยายนั้นจึงชื่อว่า ปารายนะ.

[๔๔๓] ปิงคิยมาณพกล่าวคาถาว่า

อาตมาจักขับตามภาษิตเครื่องไปยัง

ฝั่งโน้น (อาตมาขอกล่าวตามที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าได้ทรงเห็นแล้วด้วยพระญาณ)

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ปราศจากมลทิน

มีพระปัญญากว้างขวาง ไม่มีความใคร่ ทรง

ดับกิเลสได้แล้ว จะพึงตรัสมุสาเพราะเหตุ

อะไร

เอาเถิด อาตมาจักแสดงวาจาที่ควร

เปล่ง ประกอบด้วยคุณของพระพุทธเจ้า

ผู้ทรงละความหลงอันเป็นมลทินได้แล้ว

ทรงละความถือตัวและความลบหลู่ได้

เด็ดขาด.

ดูก่อนท่านพราหมณาจารย์ พระ-

พุทธเจ้าทรงบรรเทาความมืด มีพระจักษุ

รอบคอบ ทรงถึงที่สุดของ ทรงล่วงภพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 963

ได้ทั้งหมด ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ได้

ทั้งปวง มีพระนามตามความเป็นจริงว่า

พุทโธ อันอาตมาเข้าเฝ้าแล้ว.

นกพึงละป่าเล็ก แล้วมาอยู่อาศัย

ป่าใหญ่อันมีผลไม่มาก ฉันใด อาตมา มา

ละคณาจารย์ผู้มีความเห็นน้อยแล้ว ได้

ประสบพระพุทธเจ้าผู้มีความเห็นประเสริฐ

เหมือนหงส์โผลงสู่สระใหญ่ แม้ฉันนั้น

ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม

อาจารย์เหล่าใด ได้พยากรณ์ลัทธิของตนแก่

อาตมาในกาลก่อนว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้ว

อย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ คำพยากรณ์ของ

อาจารย์เหล่านั้นทั้งหมด ไม่ประจักษ์แก่ตน

คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้น เป็นเครื่องทำความ

ตรึกให้ทวีมากขึ้น (อาตมาไม่พอใจในคำ

พยากรณ์นั้น)

พระโคดมพระองค์เดียว ทรง

บรรเทาความมืดสงบระงับ มีพระรัศมี

โชติช่วง มีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏดุจ

แผ่นดิน มีพระปัญญากว้างขวาง ได้ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 964

แสดงธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ

ด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีจัญไร หา

อุปมาในที่ไหน ๆ มิได้ แก่อาตมา.

พราหมณ์พาวรีผู้อาจารย์กล่าวคาถากะพระปิงคิยะว่า

ท่านปิงคิยะ พระโคดมพระองค์ใด

ได้ทรงแสดงธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่

ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มี

จัญไร หาอุปมาในที่ไหน ๆ มิได้แก่ท่าน

เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงอยู่ปราศจาก

พระโคดมพระองค์นั้น ผู้มีพระปัญญาเป็น

เครื่องปรากฏดุจแผ่นดิน มีพระปัญญา

กว้างขวาง สิ้นกาลแม้ครู่หนึ่งเล่า.

พระปิงคิยะกล่าวคาถาตอบพราหมณ์พาวรีผู้อาจารย์ว่า

ท่านพราหมณ์ พระโคดมพระองค์ใด

ได้ทรงแสดงธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่

ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มี

จัญไร หาอุปมาในที่ไหน ๆ มิได้ แก่อาตมา

อาตมามิได้อยู่ปราศจากพระโคดมพระองค์

นั้น ผู้มีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏดุจ

แผ่นดิน มีพระปัญญากว้างขวาง สิ้นกาล

แม้ครู่หนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 965

ท่านพราหมณ์ อาตมาไม่ประมาท

ทั้งกลางคืนกลางวัน เห็นอยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า

ผู้โคดมพระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วย

จักษุ ฉะนั้น อาตมานมัสการอยู่ซึ่งพระ-

พุทธเจ้าผู้โคดมพระองค์นั้นตลอดราตรี

อาตมา มาสำคัญความไม่อยู่ปราศจาก

พระพุทธเจ้าผู้โคดมพระองค์นั้น ด้วยความ

ไม่ประมาทนั้น.

ศรัทธา ปีติ มนะ และสติของอาตมา

ย่อมน้อมไปในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้

โคดม พระพุทธเจ้าผู้โคดม ผู้มีพระปัญญา

กว้างขวาง ประทับอยู่ยังทิศาภาคใด ๆ

อาตมานั้นเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศาภาค

นั้น ๆ นั่นแล.

ร่างกายของอาตมาผู้แก่แล้ว มีกำลัง

และเรี่ยวแรงน้อยนั่นเอง ท่านพราหมณ์

อาตมาไปสู่พระพุทธเจ้าด้วยการไปแห่ง

ความดำริเป็นนิตย์ เพราะว่าใจของอาตมา

ประกอบแล้วด้วยพระพุทธเจ้านั้น.

อาตมานอนอยู่บนเปือกตม คือกาม

ดิ้นรนอยู่ (เพราะตัณหา) ลอยจากเกาะหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 966

ไปสู่เกาะหนึ่ง ครั้งนั้นอาตมาได้เห็นพระ-

สัมพุทธเจ้า ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มี

อาสวะ.

(ในเวลาจบคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรามความแก่กล้าแห่ง

อินทรีย์ของพระปิงคิยะและพราหมณ์พาวรีแล้ว ประทับอยู่ ณ นครสาวัตถี

นั้นเอง ทรงเปล่งพระรัศมีดุจทองไปแล้ว พระปิงคิยะกำลังนั่งพรรณนา

พระพุทธคุณแก่พราหมณ์พาวรีอยู่. ได้เห็นพระรัศมีและคิดว่า นี้อะไร

เหลียวแลไป ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประหนึ่งประทับอยู่เบื้องหน้าตน จึง

บอกแก่พราหมณ์พาวรีว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว พราหมณ์พาวรีได้ลุกจาก

อาสนะประคองอัญชลียืนอยู่. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแผ่พระรัศมี

แสดงพระองค์แก่พราหมณ์พาวรี ทรงทราบธรรมเป็นที่สบายของพระปิงคิยะ

และพราหมณ์พาวรีทั้งสองแล้ว เมื่อจะตรัสเรียกแต่พระปิงคิยะองค์เดียว จึง

ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า)

ดูก่อนปิงคิยะ พระวักกลิ พระ-

ภัทราวุธะ และพระอาฬวีโคดม เป็นผู้มี

ศรัทธาน้อมลงแล้ว (ได้บรรลุอรหัตด้วย

ศรัทธาธุระ) ฉันใด แม้ท่านก็จงปล่อย

ศรัทธาลง ฉันนั้น ดูก่อนปิงคิยะ เมื่อท่าน

น้อมลงด้วยศรัทธา ปรารภวิปัสสนา โดยนัย

เป็นต้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ก็จักถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 967

นิพพาน อันเป็นฝั่งโน้นแห่งวัฏฏะอันเป็น

บ่วงแห่งมัจจุราช.

พระปิงคิยะเมื่อจะประกาศความเลื่อมใสของตนจึงกราบทูลว่า

ข้าพระองค์นี้ย่อมเลื่อมใสอย่างยิ่ง

เพราะได้ฟังพระวาจาของพระองค์ผู้เป็นมุนี

พระองค์มีกิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้ว ตรัสรู้

แล้วด้วยพระองค์เอง ไม่มีกิเลสดุจเสาเขื่อน

ทรงมีปฏิภาณ ทรงทราบธรรมเป็นเหตุกล่าว

ว่าประเสริฐยิ่ง ทรงทราบธรรมชาติทั้งปวง

ทั้งเลวและประณีต ด้วยพระอภิญญา

พระองค์เป็นศาสดาผู้กระทำที่สุดแห่งปัญหา

ทั้งหลาย แก่เหล่าชนผู้มีความสงสัยปฏิญาณ

อยู่ นิพพานอันกิเลสมีราคะเป็นต้นไม่พึง

นำไปได้ เป็นธรรมไม่กำเริบ หาอุปมาใน

ที่ไหน ๆ มิได้.

ข้าพระองค์จักถึงอนุปาทิเสส-

นิพพานธาตุแน่แท้ ข้าพระองค์ไม่มีความ

สงสัยในนิพพานนี้เลย ขอพระองค์จงทรงจำ

ข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้ว (ใน

นิพพาน) ด้วยประการนี้แล.

จบปารายนวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 968

อรรถกถาปารายนานุสังคีติคาถา

ต่อจากนี้ไปพระสังคีติกาจารย์ เมื่อจะสรรเสริญเทศนา จึงได้กล่าวคำ

มีอาทิว่า อิทมโวจ ภควา. ดังนี้

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิทมโวจ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ปารายนสูตรนี้. บทว่า ปริจารกโสฬสนฺน พราหมณ์มาณพ ๑๖ คน

ผู้เป็นบริวาร คือพราหมณ์ ๑๖ คน พร้อมด้วยปิงคิยะผู้เป็นบริวารของพาวรี-

พราหมณ์ หรือพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นบริวารของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น

พระพุทธเจ้า ชื่อว่า พราหมณ์ ๑๖ คนผู้เป็นบริวาร. บริวารเหล่านั้นเป็น

พราหมณ์ทั้งหมด. บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น บริษัทของพราหมณ์ ๑๖ คน

นั่งข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย และข้างขวางข้างละ ๖ โยชน์ นั่งแถวตรง ๑๒

โยชน์. บทว่า อชฺฌิตฺโถ แปลว่า ทูลอาราธนา. บทว่า อตฺถมญฺาย รู้

ทั่วถึงอรรถ คือรู้ความแห่งบาลี. บทว่า ธมฺมมญฺาย รู้ทั่วถึงธรรม คือรู้

ธรรมในบาลี. พระสังคีติกาจารย์ตั้งชื่อธรรมปริยายนี้ อย่างนี้ว่า ปารายนะ

แล้วเมื่อจะประกาศชื่อของพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวว่า อชิโต ติสฺสเมตฺเตย-

โย ฯเปฯ พุทฺธเสฏฺมุปคามุ พราหมณ์ ๑๖ คน คือ อชิโต ติสฺสเมตฺเตย-

เตยยะ ฯลฯ ได้เข้าไปเฝ้าทูลถามปัญหากะพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนจรณ ผู้มีจรณะสมบูรณ์ คือถึง

พร้อมแล้วด้วยศีลในพระปาติโมกข์เป็นต้น อันเป็นเหตุใกล้ให้ถึงพระนิพพาน.

บทว่า อิสึ ได้แก่ ผู้แสวงหาคุณใหญ่ คำที่เหลือชัดแล้ว. ต่อจากนี้ไป บทว่า

พฺรหฺมจริยมจรึสุ ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายได้ประพฤติมรรคพรหมจรรย์.

เพราะฉะนั้น บทว่า ปารายน ท่านอธิบายว่า เป็นทางไปสู่นิพพานอันเป็น

ฝั่งโน้นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 969

บทว่า ปารายนมนุคายิสฺส ปิงคิยะกล่าวว่า อาตมาจักขับตามภาษิต

เครื่องไปยังฝั่งโน้น นี้เป็นความเชื่อมของบทว่า ปารายน นั้น. จริงอยู่

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปารายนสูตรจบแล้ว ชฎิล ๑๖,๐๐๐ ได้บรรลุ

พระอรหัต. เทวดามนุษย์นับได้ ๑๔ โกฎิที่เหลือ ได้บรรลุธรรม สมดังที่

พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า

แต่นั้นพระพุทธเจ้าทรงยังสัตว์ ๑๔ โกฏิ

ให้ดื่มอมตธรรม ในปารายนสมาคมอันน่า

รื่นรมย์ ที่ปาสาณกเจดีย์.

ก็แลครั้นจบพระธรรมเทศนาแล้ว มนุษย์ทั้งหลายที่มาจากที่นั้น ๆ

ได้ไปปรากฏในคามนิคมเป็นต้นของตน ๆ ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า

นั่นแล. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จไปกรุงสาวัตถี แวดล้อมด้วยภิกษุไม่น้อย

มีภิกษุผู้เป็นบริวาร ๑๖,๐๐๐ รูปเป็นต้น. ณ ที่นั่น ปิงคิยะถวายบังคมพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะขอไปเพื่อบอกพาวรี

พราหมณ์ว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว เพราะพาวรีพราหมณ์นั้นจะรับฟังข้า-

พระองค์ ดังนี้. ลำดับนั้น พระปิงคิยะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้วจึง

ไปยังฝั่งแม่น้ำโคธาวรีโดยไปด้วยฌาน มุ่งหน้าไปยังอาศรมด้วยการเดินเท้า

พาวรีพราหมณ์เห็นพระปิงคิยะเดินทางไปถึงจึงถามว่า ปิงคิยะ พระพุทธเจ้าทรง

อุบัติขึ้นในโลกแล้วหรือ. ปิงคิยภิกษุตอบว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วพราหมณ์

พระองค์ประทับนั่ง ณ ปาสาณกเจดีย์แสดงธรรมแก่พวกอาตมา อาตมาจักแสดง

ธรรมนั้นแก่ท่าน. ลำดับนั้น พาวรีพราหมณ์พร้อมด้วยบริษัทบูชาพระปิงคิยะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 970

นั้นด้วยเครื่องสักการะเป็นอันมาก แล้วปูอาสนะให้นั่ง. พระปิงคิยะนั่งบน

อาสนะนั้นแล้ว กล่าวคาถามีอาทิว่า ปารายนมนุคายิสฺส ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนฺคายิสฺส คืออาตมาภาพจักขับภาษิตที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับแล้ว. บทว่า ยถา อทฺทกฺขิ อาตมาขอกล่าวตามที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นแล้ว คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นแล้วด้วย

อสาธารณญาณ (ญาณไม่ทั่วไป) อันเป็นการตรัสรู้ยิ่งตามความจริงด้วยพระ-

องค์เอง. บทว่า นิกฺกาโม ไม่มีความใคร่ คือละความใคร่ได้แล้ว. ปาฐะ

ว่า นิกฺกโม บ้าง แปลว่ามีความเพียร หรือออกจากธรรมฝ่ายอกุศล. บทว่า

นิพฺพาโน ทรงดับกิเลส คือ เว้นจากเครื่องร้อยรัดคือกิเลส หรือเว้นจาก

ตัณหานั่นเอง. บทว่า กิสฺส เหตุ มุสา ภเณ จะพึงตรัสมุสาเพราะเหตุไร.

ท่านแสดงไว้ว่ากิเลสอันเป็นเหตุให้กล่าวมุสา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละได้แล้ว.

พระปิงคิยะ ให้พราหมณ์เกิดอุตสาหะในการฟังด้วยบทนี้. บทว่า วณฺณูป-

สฺหิต คือวาจาอันประกอบด้วยคุณ. บทว่า สจฺจวฺหโย มีพระนามตาม

ความเป็นจริง คือประกอบด้วยพระนามตามความเป็นจริงว่า พุทฺโธ. บทว่า

พฺรหฺเม พระปิงคิยะเรียกพราหมณ์นั้น. บทว่า กุพฺพน ได้แก่ ป่าเล็ก.

บทว่า พหุปฺผล กานน อาวเสยฺย มาอยู่อาศัยป่าใหญ่อันมีผลไม้มาก คือ

มาอยู่อาศัยป่าใหญ่อันบริบูรณ์ไปด้วยผลไม้หลายชนิด. บทว่า อปฺปทสฺเส

อาตมาละอาจารย์ผู้มีความเห็นน้อย คือละคณาจารย์เริ่มต้นแต่พาวรีพราหมณ์.

บทว่า มโหทธึ ได้แก่ ห้วงน้ำใหญ่มีสระอโนดาตเป็นต้น. บทว่า เยเม ปุพฺเพ

ตัดบทเป็น เย อิเม ปุพฺเพ. บทว่า ตมนุทาสีโน คือทรงบรรเทาความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 971

มืด สงบระงับได้. บทว่า ภูริปญฺาโณ คือ มีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ

ดุจธง. บทว่า ภูริเมธโส คือมีพระปัญญากว้างขวาง. บทว่า สนฺทิฏฺิกม-

กาลิก ทรงแสดงธรรมอันบุคคลพึงเห็นเองไม่ประกอบด้วยกาล คือ พึงเห็น

ผลด้วยตนเอง ไม่พึงเห็นผลในกาลที่มีระหว่าง. บทว่า อนีติก ไม่มีจัญไร

คือ เว้นจากจัญไรมีกิเลสเป็นต้น.

ลำดับนั้น พาวรีพราหมณ์กล่าวคาถาสองคาถา กะปิงคิยภิกษุนั้นว่า

กินฺนุ ตมฺหา เหตุไรหนอ ท่านจึงอยู่ปราศจากพระโคดมพระองค์นั้น ดังนี้

เป็นต้น. จากนั้น ท่านปิงคิยะเมื่อจะแสดงถึงการที่ต้องจากสำนักของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า นาห ตมฺหา อาตมามิได้อยู่ปราศจาก

พระโคดมพระองค์นั้น ดังนี้.

บทว่า ปสฺสามิ น มนสา จกฺขุนา วา ความว่า อาตมาเห็นพระ

โคดมนั้นด้วยใจเหมือนเห็นด้วยจักษุ. บทว่า นมสฺสมาโน วิวเสมิ รจฺตึ คือ

อาตมานมัสการนอบน้อมอยู่ตลอดคืน. บทว่า เตน เตเนว นโต อาตมา

นอบน้อมไปโดยทิศนั้น ๆ คือแสดงว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่โดยทิศาภาค

ใด แม้อาตมาก็นอบน้อมไปโดยทิศาภาคนั้น ๆ. บทว่า ทุพฺพลถามกสฺส คือ

มีกำลังเรี่ยวแรงน้อย. อีกอย่างหนึ่ง มีกำลังน้อยและมีโรคเบียดเบียน. ท่าน

อธิบายว่า มีกำลังและความเพียรเลวลง. บทว่า เตเนว กาโย น ปเลติ

กายไม่เข้าไปด้วยเหตุนั้นนั่นเอง คือ กายไม่ไป เพราะมีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย

นั่นเอง หรือว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่โดยที่ใด กายไม่ไปโดยที่นั้น. ปาฐะ

ว่า น ปเรติ บ้าง. ความอย่างเดียวกัน. บทว่า ตตฺถ คือในสำนักของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 972

พระพุทธเจ้า. บทว่า สงฺกปฺปยนฺตาย คือด้วยการไปแห่งควานดำรินั้น.

บทว่า เตน ยุตฺโต ใจของอาตมาประกอบด้วยพระพุทธเจ้านั้น ท่านแสดงว่า

พระพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ ที่ใด ใจประกอบแล้ว ไม่ปราศจากการประกอบ คือ

มุ่งตรงต่อพระพุทธองค์ ณ ที่นั้น. บทว่า ปงฺเก สยาโน คืออาตมานอนอยู่

บนเปือกตม คือกามทั้งหลาย. บทว่า ทีปา ทีป อุปลฺลวึ แล่นจากที่พึ่งหนึ่ง

ไปสู่ที่พึ่งหนึ่ง คือเข้าไปหาศาสดาทั้งหลายเป็นต้น. บทว่า อถทฺทสาสึ

สมฺพุทฺธ ครั้งนั้นอาตมาได้เห็นพระพุทธเจ้า คือ อาตมานั้นได้ถือความเห็น

ผิด ๆ แล้วเที่ยวไปตามลำดับ ครั้งนั้นได้เห็นพระพุทธเจ้า ณ ปาสาณกเจดีย์.

เมื่อจบคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความแก่กล้าแห่งอินทรีย์

ของพระปิงคยะและของพราหมณ์พาวรีแล้วประทับยืนอยู่ ณ กรุงสาวัตถีนั้นเอง

ทรงเปล่งพระรัศมีสีทองไป. พระปิงคิยะ นั่งพรรณนาถึงพระพุทธคุณแก่

พราหมณ์พาวรีอยู่นั่นแหละ ได้เห็นพระรัศมีแล้วคิดว่า นี้อะไร เหลียวแลไป

ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าดุจประทับอยู่ข้างหน้าตน จึงบอกพาวรีพราหมณ์ว่า

พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว. พราหมณ์ลุกจากที่นั่ง ยืนประคองอัญชลี. แม้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแผ่พระรัศมีแล้ว จึงทรงแสดงตนแก่พราหมณ์

ทรงทราบธรรมเป็นที่สบายของคนทั้งสอง เมื่อจะตรัสเรียกพระปิงคิยะเท่านั้น

จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า ยถา อหุ วกฺกลิ ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังนี้ พระวักกลิ พระภัทราวุธแห่งมาณพ ๑๖ และ

พระอาฬวิโคดม เป็นผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธาเเล้ว ได้บรรลุพระอรหัตด้วย

ศรัทธาทุกรูปฉันใด แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธานั้นฉันนั้น แต่นั้นเมื่อท่านน้อม

๑. ม. อนฺวาหิณฺฑนฺโต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 973

ใจไปด้วยศรัทธา ปรารภวิปัสสนาโดยนัยมีอาทิว่า สังชารทั้งหลายทั้งปวงไม่

เที่ยง ก็จักถึงนิพพานอันเป็นฝั่งโน้นแห่งวัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมัจจุ. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัตนั่นแล.

เมื่อจบเทศนาพระปิงคิยะตั้งอยู่ในพระอรหัต. พาวรีพราหมณ์ตั้งอยู่

ในอนาคามิผล. ส่วนศิษย์ ๕๐๐ ของพาวรีพราหมณ์ ได้เป็นพระโสดาบัน.

บัดนี้ ปิงคิยภิกษุ เมื่อประกาศความเลื่อมใสของตน จึงกล่าวคำมีอาทิ

ว่า เอส ภิยฺโย ข้าพระองค์นี้ย่อมเลื่อมใสอย่างยิ่ง ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปฏิภาณวา ทรงมีปฎิภาณ คือเข้าถึงปฏิภาณ-

ปฏิสัมภิทา (ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ). บทว่า อธิเทเว อภิญฺาย

คือทรงทราบธรรมเป็นเหตุให้เรียกว่าอธิเทพ. บทว่า ปโรวร คือเลวและ

ประณีต. ท่านอธิบายว่า รู้ธรรมชาติทั้งปวงอันทำความเป็นอธิเทพ ของตน

และของคนอื่น. บทว่า กงฺขีน ปฏิชานต คือเหล่าชนผู้มีความสงสัยปฏิญาณ

อยู่ว่า เราหมดความสงสัยในธรรมของสัตบุรุษ. บทว่า อสหิร ได้แก่นิพพาน

อันราคะเป็นต้นนำไปไม่ได้. บทว่า อสงฺกุปฺป คือไม่กำเริบมีอันไม่แปร-

ปรวนไปเป็นธรรมดา. พระปิงคิยะกล่าวถึงนิพพานด้วยบทสองบท. บทว่า

อทฺธา คมิสฺสามิ คือข้าพระองค์จักถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้นเป็นแน่แท้.

บทว่า น เมตฺถ กงฺขา คือความสงสัยในนิพพานนี้มิได้มีแก่ข้าพระองค์. บทว่า

เอว ม ธาเรหิ อธิมุตฺตจิตฺต ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นผู้มีจิต

น้อมไปแล้ว คือพระปิงคิยะยังศรัทธาให้เกิดขึ้นในตนด้วยพระโอวาทของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้านี้ว่า แล้วปล่อยเสียด้วยศรัทธาธุระนั่นเอง เมื่อจะประกาศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 974

ความที่ตนมีจิตน้อมไปแล้วด้วยศรัทธา จึงทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอ

พระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้วเถิด ด้วยประการฉะนี้.

อธิบายในที่นี้มีดังต่อไปนี้ว่า พระองค์ตรัสกะข้าพระองค์อย่างใด ขอพระองค์

ทรงจำข้าพระองค์ว่า อธิมุตตะ ผู้น้อมใจไปแล้วเถิด.

จบอรรถกถาพระสูตร

แห่งปารายนานุสังคีติคาถา ในกัณฑ์แห่งอรรถกถาสุตตนิบาต

แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อ ปรมัตถโชติกา

จบอรรถกถาปารายนวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 975

รวมพระสูตรที่มีในสุตตนิบาตนี้ คือ

วรรคที่ ๑

[๔๔๔] ๑. อุรคสูตร ๒. ธนิยสูตร

๓. ขัคควิสาณสูตร ๔. กสิภารทวารชสูตร

๔. จุนทสูตร ๖. ปราภวสูตร ๗. วสลสูตร

๘. เมตตสูตร ๙. เหมวตสูตร ๑๐. อาฬวก-

สูตร ๑๑. วิชยสูตร ๑๒. มุนิสูตร.

นี้มีเนื้อความดีมาก รวมพระสูตรได้

๑๒ สูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ

หามลทินมิได้ ทรงจำแนกแสดงไว้ดีแล้ว

บัณฑิตทั้งหลายได้สดับกันมาว่า อุรควรรค.

วรรรคที่ ๒

๑. รตนสูตร ๒. อามคันธสูตร ๓.

หิริสูตร ๔. มงคลสูตร ๕. สูจิโลมสูตร

๖. ธรรมจริยสูตร ๗. พราหมณธัมมิก-

สูตร ๘. นาวาสูตร ๙.กิงสีลสูตร ๑๐.

อุฏฐานสูตร ๑๑. ราหุลสูตร ๒. วังคีสสูตร

๑๓. สัมมาปริพพาชนิยสูตร ๑๔. ธรรมิก

สูตร

๑. อรรถกถาว่า กปิลสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 976

วรรคที่ ๒ นี้รวมพระสูตรได้ ๑๔

สูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ดีแล้ว.

วรรคนี้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าววรรค

ที่ ๒ นั้นว่า จูฬกวรรค.

วรรคที่ ๓

๑. ปัพพัชชาสูตร ๒. ปธานสูตร

๓. สุภาษิตสูตร ๔. สุนทริกสูตร ๕.

มาฆสูตร ๖. สภิยสูตร ๗. เสลสูตร ๘.

สัลลสูตร ๙. วาเสฏฐสูตร ๑๐. โกกาลิก-

สูตร ๑๑. นาลกสูตร ๑๒. ทวยตานุ-

ปัสสนาสูตร.

วรรคที่ ๓ นี้ รวมพระสูตรได้ ๑๒

สูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ดี

แล้วในวรรคที่ ๓ บัณฑิตได้สดับกันมามีชื่อ

ว่า มหาวรรค.

วรรคที่ ๔

๑. กามสูตร ๒. คุหัฏฐกสูตร ๓.

ทุฏฐัฏฐกสูตร ๔. สุทธัฏฐกสูตร ๕.

ปรมัฏฐกสูตร ๖. ชราสูตร ๗. ติสส-

เมตเตยยสูตร ๘. ปสูรสูตร ๙. มาคันทิย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 977

สูตร ๑๐. ปุราเภทสูตร ๑๑. กลหวิวาทสูตร

๑๒. จูฬวิยูหสูตร ๑๓. มหาวิยูหสูตร ๑๔.

ตุวฏกสูตร ๑๕. อัตตทัณฑสูตร ๑๖. สารี-

ปุตตสูตร

วรรคที่ ๕ นี้รวมพระสูตรได้ ๑๖

สูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ดี

แล้วในวรรคที่ ๔ บัณฑิตทั้งหลายกล่าว

วรรคที่ ๔ นั้นว่า อัฏฐกวรรค.

วรรคที่ ๕

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐใน

คณะ ประทับอยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์อัน

ประเสริฐ อันบุคคลตกแต่งไว้ดีแล้ว ใน

มคธชนบทเป็นรัมณียสถาน เป็นประเทศอัน

สวยงาม เป็นที่อยู่อาศัยแห่งบุคคลผู้มีบุญ

อันได้กระทำไว้แล้ว.

อนึ่ง ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

อันพราหมณ์ ๑๖ คน ทูลถามปัญหาแล้ว

ได้ทรงประกาศประทานธรรมกะชนทั้งสอง

พวกผู้มาประชุมกันเต็มที่ ณ ปาสาณกเจดีย์

ในบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ เพราะการ

ถามโสฬสปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 978

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงชนะ ผู้เลิศ

กว่าสัตว์ได้ทรงแสดงธรรมอันประกาศอรรถ

บริบูรณ์ด้วยพยัญชนะ เป็นที่เกิดความเกษม

อย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์

ได้ทรงแสดงพระสูตรอันวิจิตรด้วยธรรมเป็น

อันมาก เป็นเหตุให้ปลดเปลื้องกิเลสทั้งปวง

ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประกอบด้วยบท

แห่งพยัญชนะและอรรถ มีความเปรียบเทียบ

ซึ่งหมายรู้กันแล้วด้วยอักขระอันมั่นคง เป็น

ส่วนแห่งความแจ่มแจ้งแห่งวิจารณญาณของ

โลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์

ได้ทรงแสดงพระสูตรอันไม่มีมลทินเพราะ

มลทินคือราคะ มลทินคือโทสะ มลทินคือ

โมหะ เป็นส่วนแห่งธรรมปราศจากมลทิน

เป็นส่วนแห่งความแจ่มแจ้งแห่งวิจารณญาณ

ของโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์

ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ อันไม่มี

มลทินเพราะมลทินคือกิเลส มลทินคือทุจริต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 979

เป็นส่วนแห่งธรรมปราศจากมลทิน เป็น

ส่วนแห่งความแจ่มแจ้งแห้งวิจารณญาณของ

โลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์

ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐเป็นเหตุ

ปลดเปลื้องอาสวะ กิเลสเป็นเครื่องผูก กิเลส

เป็นเครื่องประกอบ นิวรณ์ และมลทินทั้ง ๓

ของโลกนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์

ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ หามล-

ทินมิได้ เป็นเครื่องบรรเทาความเศร้าหมอง

ทุกอย่าง เป็นเครื่องคลายความกำหนัด ไม่

มีความหวั่นไหว ไม่มีความโศก เป็นธรรม

อันละเอียด ประณีตและเห็นได้ยาก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์

ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ อัน

หักรานราคะและโทสะให้สงบ เป็นเครื่อง

ตัดกำเนิด ทุคติ วิญญาณ และความยินดี

อันมีตัณหาเป็นรากฐาน เป็นเครื่องต้านทาน

และเป็นเครื่องพ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 980

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์

ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ ลึกซึ้ง

เห็นได้ยากและละเอียดอ่อน มีอรรถอัน

ละเลียด บัณฑิตควรรู้แจ้ง เป็นส่วนแห่ง

ความแจ่มแจ้งแห่งวิจารณญาณของโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์

ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ ดุจ

ดอกไม้เครื่องประดับอันยั่งยืน ๙ ชนิด อัน

จำแนกอินทรีย์ ฌานและวิโมกข์ มีมรรค

มีองค์ ๘ เป็นยานอย่างประเสริฐ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์

ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ ปราศจาก

มลทิน บริสุทธิ์เปรียบด้วยห้วงน้ำ วิจิตรด้วย

รัตนะ เสมอด้วยดอกไม้ มีเดชอันเปรียบ

ด้วยพระอาทิตย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์

ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ ปลอด

โปร่ง เกษม ให้สุข เย็นสงบ มีประโยชน์

อย่างยิ่งในการต่อต้านมัจจุ เป็นเหตุให้เห็น

นิพพาน อันดับกิเลสสนิทดีแล้วของโลกนั้น.

จบสุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 981

นิคมกถา

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คำใดที่ท่านกล่าวไว้แล้วว่า

ข้าพเจ้าทั้งหลายจักไหว้พระรัตนตรัย

ผู้สูงสุดกว่าผู้ที่ควรไหว้ทั้งหลาย จักกระทำ

การพรรณนาความแห่งสุตตนิบาต อันพระ-

คือตัณหาได้แล้ว ผู้ทรงแสวงหาวิธีรื้อถอน

สัตว์ออกจากโลก ตรัสไว้แล้วในขุททกนิกาย.

เป็นอันได้กระทำการพรรณหาความแห่งสุตตนิบาตอันมีสูตร ๗๐ สูตร

มีอุรคสูตรเป็นต้น สงเคราะห์ลงใน ๕ วรรค มีอุรควรรคเป็นต้น ในข้อนี้

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวคำนั้นว่า

กุศลใด อันข้าพเจ้าผู้กระทำการ

พรรณนาความแห่งสุตตนิบาตนี้ ผู้ใคร่เพื่อ

ความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพราะอานุ-

ภาพแห่งกุศลนั้น ขอชนนี้จงถึงความเจริญ

งอกงามไพบูลย์ในธรรม อันพระอริยะ

ประกาศไว้แล้วโดยเร็วเถิด.

พึงทราบว่า มีภาณวารประมาณ ๔๔ ภาณวาร โดยประมาณแห่งปริยัติ.

อรรถกถาสุตตนิบาตชื่อปรมัตถโชติกานี้ อันพระเถระมีชื่อซึ่งครูทั้งหลายตั้งไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 982

ว่า พุทธโฆสะ ผู้ประดับด้วยคุณ คือศรัทธาพุทธิและวิริยะอันบริสุทธิ์อย่าง ยิ่ง

ผู้ปรากฏเหตุให้เกิดคุณมีศีล อาจาระความอ่อนโยนเป็นต้น ผู้ประกอบด้วย

ความเฉลียวฉลาดทางปัญญา สามารถหยั่งลงในความยึดถือทั้งในลัทธิของตน

และลัทธิอื่นได้ เป็นมหากวี มีวาทะประเสริฐ กล่าวคำเหมาะสม ประกอบ

ด้วยการพรรณนาคำอันไพเราะและวิเศษทำให้เกิดความสมบูรณ์ในการทำ และ

เข้าถึงความสุข ด้วยการทำให้แจ่มแจ้งเข้าใจ เพราะมีความรู้อันอะไรๆ ไม่

ขัดขวางได้ในสัตถุศาสน์ พร้อมด้วยอรรถกถาอันมีประเภทเป็นปริยัติคือพระ-

ไตรปิฎก เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางบริสุทธิ์ อันเป็นเครื่องประดับของวงศ์ของ

พระเถระ ผู้อยู่ในมหาวิหารอันเป็นประทีปของเถรวงศ์ ผู้มีปัญญาตั้งไว้ดีแล้ว

ในธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ประดับด้วยประเภทธรรมมีอภิญญา ๖ และ

ปฏิสัมภิทาเป็นต้น ได้แต่งไว้แล้ว.

ขออรรถกถาขุททกนิกายสุตตนิบาต

อันแสดงนัยแห่งปัญญาอันบริสุทธิ์แก่กุลบุตร

ทั้งหลาย ผู้แสวงหาการรื้อถอนออกจากโลก

จงดำรงอยู่ในโลก ตราบเท่าแม้พระนามว่า

พุทฺโธ ของพระโลกเชษฐ์ ผู้มีจิตบริสุทธิ์

ผู้คงที่ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ยังเป็นไป

อยู่ในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 983

เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งหลายผู้บูชาพระคุณของพระ-

พุทธเจ้าดุจห้วงน้ำ จงมีความสุข มีความฉลาด ไม่มีเวร ชนทั้งหมดจงมีกาย

ไร้โรค คล่องแคล่วมีปัญญา เป็นคนดี ดำรงตนอยู่ในความดีดังนี้ ความที่

ใจไม่อยู่ในอำนาจ เว้นการยึดถือว่าเป็นตัวตนเพราะไม่มีแก่นสาร เหมือนต้น

กากะทิง คนเล่นกล พยับแดด ต้นกล้วย โดยนัยมีอาทิว่า ขันธ์ทั้งหลาย

เป็นของไม่เที่ยงถึงการเกิดและการดับไปทุกขณะ มีธุลีคือราคะเป็นภัย ละคติ

อันประเสริฐ ไม่น่าปรารถนาเข้าไปหาคติลามกหลายอย่างในโลก ย่อมฟุ้งไป

ด้วยความสุข คือภพ ๓ มีกายวาจาใจทรมานแล้ว. อันเตวาสิกจงเข้าถึงนิพพาน

เถิด.

จบอรรถกถาสุตตนิบาต