ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ

เล่มที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สรณคมน์ในขุททกปาฐะ

ว่าด้วยการถึงพระรัตนตรัย

[๑] ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ข้าพเจ้าถึง

พระธรรมเป็นสรณะ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ.

แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่

๒ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ.

แม้ครั้งที่๓ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้ง

ที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ.

จบสรณคมน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

ปรมัตถโชติกา

อรรถกถาขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ

ข้อนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คำปรารภพระคัมภีร์

นิเทศนี้ว่า ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ

ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ

แม้วาระที่ ๒ ที่ ๓ ก็เหมือนกัน เป็นนิเทศอธิบายเรื่องการถึงพระ

สรณตรัย เป็นข้อต้นของคัมภีร์ขุททกปาฐะ.

บัดนี้ เพื่อเปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ้งเนื้อความแห่งบาลีนี้ ข้าพเจ้า

จะกล่าวอธิบายข้อนี้ ด้วยอรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อว่าปรมัตถโชติกา

ข้าพเจ้าไหว้พระรัตนตรัย ที่สูงสุดแห่งวัตถุ

ทั้งหลายที่ควรไหว้แล้ว จักทำการพรรณนาความแห่ง

ขุททกปาฐะ การพรรณนานี้อันข้าพเจ้าผู้รู้พระศาสนา

น้อยทำได้ยากยิ่ง เพราะขุททกปาฐะ มีอรรถลึกซึ้งก็จริง

อยู่ ถึงอย่างนั้น เพราะเหตุที่ข้อวินิจฉัยของท่านบุรพา-

จารย์ยังมีอยู่เป็นนิตย์ถึงวันนี้ และนวังคสัตถุศาสน์ยัง

ดำรงอยู่อย่างเดิม ฉะนั้น ข้าพเจ้าจะอาศัยนวังคสัตถุ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

ศาสน์และข้อวินิจฉัยของบุรพาจารย์นี้จึงปรารถนาจะ

พรรณนาความด้วยความเคารพอย่างมา ในพระสัทธ-

ธรรม ไม่ได้ประสงค์จะยกตนข่มท่าน ขอท่านทั้งหลาย

จงตั้งใจ สดับการพรรณนาความนั้น เทอญ.

การกำหนดขุททกปาฐะ

เพราะข้าพเจ้ากล่าวไว้ในคำปรารภนั้นว่า จักทำการพรรณนาความ

แห่งขุททกปาฐะ บางปาฐะ. ข้าพเจ้าจำต้องกำหนดขุททกปาฐะทั้งหลายเสียก่อน

แล้ว จึงจักทำการพรรณนาความภายหลัง เอกเทศส่วน ๆ หนึ่งของขุททกนิกาย

ชื่อว่า ขุททกะ. เอกเทศส่วนหนึ่ง ๆ ของนิกายทั้ง ๕ ชื่อ ขุททกนิกาย ว่าโดยธรรม

และโดยอรรถ คัมภีร์เหล่านั้น มี ๕ นิกาย คือทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สัง.-

ยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย ชื่อว่า นิกาย ๕.

บรรดานิกายทั้ง ๕ นั้น พระสูตร ๓๔ สูตร มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น

ชื่อว่า ทีฆนิกาย จริงดังที่ท่านกล่าวว่า

นิกายที่รวบรวมพระสูตร ๓๔ สูตร ๓ วรรค ชื่อว่า ทีฆนิกาย

อนุโลมที่ ๑.

พระสูตร ๑๕๒ สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น ชื่อว่า มัชฌิมนิกาย.

พระสูตร ๗,๗๖๒ สูตร มีโอฆตรณสูตรเป็นต้น ชื่อว่าสังยุตตนิกาย.

พระสูตร ๙,๕๕๗ สูตรมีจิตตปริยาทานสูตรเป็นต้น ชื่อว่า อังคุตตร-

นิกาย.

ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ

เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทา อปทาน พุทธ-

วงศ์ จริยาปิฎก พระพุทธพจน์ที่เหลือเว้นวินัยปิฎกและอภิธรรมปิฎก หรือ

นิกาย ๔ ชื่อว่า ขุททกนิกาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

เหตุไร นิกายนี้ ท่านจึงเรียกว่า ขุททกนิกาย เหตุเป็นที่รวม

เป็นที่อยู่ของหมวดธรรมเล็ก ๆ จำนวนมาก. จริงอยู่ การรวมกันอยู่ ท่าน

เรียกว่า นิกาย ว่าโดยศาสนาและโดยโลก ในข้อนี้ มีสาธกเป็นต้นอย่างนี้

คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราตถาคตมองไม่เห็นหมู่สัตว์หมู่หนึ่งอื่นวิจิตรเหมือน

อย่างหมู่สัตว์เดียรฉานเลย. หมู่กษัตริย์โปณิกะ หมู่กษัตริย์จิกขัลลิกา. เอกเทศ

ส่วนหนึ่งของขุททกนิกายนั้น มีดังนี้ หมวดธรรมเล็ก ๆ ที่นับเนื่องในพระ-

สุตตันปิฎกเหล่านี้ มุ่งหมายที่จะเปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายโดยอรรถ

ขุททกปาฐะ ๙ ประเภท คือ สรณะสิกขาบท ทวัตตึงสาการ กุมารปัญหา

[สามเณรปัญหา] มงคลสูตร รตนสูตร ติโรกุฑฑสูตร นิธิกัณฑสูตรและ

เมตตสูตร เป็นข้อต้นของหมวดธรรมแม้เหล่านั้น โดยอาจารย์ต่อมายกขึ้นสู่

ทางการบอกการสอน มิใช่โดยเป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้.

จริงอยู่ คาถาเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

อเนกชาติสสาร สนฺธาวิสฺส อนิพฺพิส

คหการ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุน

คหการก ทิฏฺโสิ ปุน เคห น กาหสิ

สพฺพา เต มาสุกา ภคฺคา ตณฺหาน ขยมชฺฌคา.

เราแสวงหาช่างผู้ทำเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่พบ

ได้ท่องเที่ยวไปแล้ว สิ้นสงสารนับด้วยชาติมิใช่น้อย

ความเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์

ดูก่อนช่างผู้ทำเรือนคือ อัตภาพ เราพบท่านแล้ว

ท่านจักทำเรือนคืออัตภาพของเราอีกไม่ได้ โครงบ้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

ของท่านทั้งหมด เราทำลายแล้ว ยอดแห่งเรือนคือ

คือว่า เรารื้อแล้ว จิตของเราถึงพระนิพพานแล้ว

เพราะเราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาทั้งหลายแล้ว.

ชื่อว่าเป็นพระปฐมพุทธวจนะ แม้ทั้งหมดโดยเป็นพระดำรัสที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ ที่ชื่อว่าพระปฐมพุทธดำรัสนั้น ก็โดยที่ตรัสทางพระมนัส

มิใช่ทรงเปล่งพระวาจาตรัส ส่วนพระคาถามีว่า

ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา

อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส

อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา

ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺม.

เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มี

เพียรเพ่งอยู่เนื้อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์

นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ชัดธรรมพร้อมทั้งเหตุ.

ชื่อว่าเป็นพระปฐมพุทธดำรัส โดยที่เป็นพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

เปล่งพระวาจาตรัส. เพราะฉะนั้น ขุททกปาฐะ ๙ ประเภทนี้ใด ชื่อว่าเป็นข้อต้น

ของหมวดธรรมเล็ก ๆ เหล่านั้น เราจะเริ่มพรรณนาความแห่งขุททกปาฐะนั้น

ตั้งแต่ต้นไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

นิทานโสธนะ

การชำระคำเริ่มต้น

วาจานี้ว่า พุทฺธ สรณ คจฺฉามิ

ธมฺม สรณ คจฺฉามิ

สงฺฆ สรณ คจฺฉามิ

เป็นข้อต้นของคำเริ่มต้นนั้น หัวข้อพรรณนาความของคำเริ่มต้นนั้น มีดังนี้

พระสรณตรัย ใครกล่าว กล่าวที่ไหน กล่าวเมื่อ

ใด กล่าวเพราะเหตุไร อนึ่ง ที่มิได้ตรัสไว้มาแค่แรก

เพราะเหตุไร ในที่นี้จึงว่า ตรัสไว้เป็นข้อแรก จำต้อง

ชำระคำเริ่มต้น ต่อจากนั้นไปในคำเริ่มต้น ก็จะชี้

แจงเรื่องพระพุทธะ เรื่องการถึงสรณะ และเรื่องบุคคล

ผู้ถึงสรณะ จะแสดงการขาดการไม่ขาดแห่งสรณคมน์

ทั้งผล ทั้งสรณะที่ควรถึง แม้ในสองสรณะ มีธมฺม

สรณ เป็นต้น ก็รู้กันแล้วว่ามีนัยอย่างนี้ จะอธิบาย

เหตุในการกำหนดโดยลำดับ และจะประกาศสรณตรัย

นั้น ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย.

บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาแรก ก่อนอื่น มีปัญหา ๕ ข้อ คือ

๑. พระสรณตรัยนี้ใครกล่าว

๒. กล่าวที่ไหน

๓. กล่าวเมื่อไร

๔. กล่าวเพราะเหตุไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

๕. อนึ่งที่พระตถาคตมิได้ตรัสไว้มาแต่แรก เพราะเหตุไร ใน

ที่นี้จึงว่าตรัสไว้เป็นข้อแรก

จะวิสัชนาปัญหาทั้ง ๕ ข้อนั้น.

ปัญหาว่า ใครกล่าว วิสัชนาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไม่ใช่

พระสาวก ไม่ใช่เหล่าฤษี ไม่ใช่เทวดากล่าว.

ปัญหาว่า กล่าวที่ไหน วิสัชนาว่า ที่อิสิปตนมิคทายวัน กรุงพา-

ราณสี.

ปัญหาว่า กล่าวเมื่อไร วิสัชนาว่า เมื่อท่านพระยสะบรรลุพระอรหัต

พร้อมกับสหายทั้งหลาย เมื่อพระอรหันต์ ๖๑ องค์ กระทำการแสดงธรรมใน

โลก เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก.

ปัญหาว่า กล่าวเพราะเหตุไร วิสัชนาว่า เพื่อบรรพชาและเพื่อ

อุปสมบท อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลอุปสัมปทาเปกขะอัน

ภิกษุพึงให้บรรพชา อุปสมบท อย่างนี้ ข้อแรกให้

ปลงผมและหนวด ไห้ครองผ้ากาสายะ ให้ทำผ้าห่ม

เฉวียงว่า ให้ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระหย่ง

ให้ประคองอัญชลี [ประนมมือ] พึงสอนให้ว่าตาม

อย่างนี้ว่า พุทธ สรณ คจฺฉามิ, ธมฺม สรณ คจฺฉามิ,

สงฺฆ สรณ คจฺฉามิ.

ปัญหาว่า เพราะเหตุไรในที่นี้จึงตรัสเป็นข้อแรก วิสัชนาว่า

เพราะเหตุที่เทวดาและมนุษย์พากัน เข้าสู่พระศาสนาด้วยเป็นอุบาสกบ้าง เป็น

บรรพชิตบ้าง ด้วยทางนี้ ฉะนั้น จึงควรรู้ว่า นวังคสัตถุศาสน์นี้ท่านบุรพาจารย์

ทั้งหลายรวบรวมไว้ด้วยปิฎกทั้งสามยกขึ้นสู่ทางการบอกการสอน จึงว่าตรัส

เป็นข้อแรกในขุททกปาฐะนี้ เพราะเป็นทางเข้าสู่พระศาสนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

๑. พรรณนาพระสรณตรัย

การชี้แจงเรื่องพระพุทธะ

บัดนี้ คำใดข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า จะชี้แจงเรื่องพระพุทธะ เรื่องการถึง

สรณะ และเรื่องบุคคลผู้ถึงสรณะ ในคำนั้นสัตว์พิเศษ ชื่อว่า พุทธะ เพราะ

บัญญัติอาศัยขันธสันดานที่ถูกอบรมด้วยการบรรลุอนุตตรวิโมกข์ ซึ่งเป็นนิมิต

แห่งพระญาณอันอะไร ๆ ชัดขวางมิได้ หรือเพราะบัญญัติอาศัยการตรัสรุ้เองยิ่ง

ซึ่งสัจจะ อันเป็นปทัฏฐานแห่งพระสัพพัญญุตญาณ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นใด เป็นพระสยัมภูเป็นเอง

ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้ยิ่งพร้อมด้วยพระองค์เอง ซึ่งสัจจะทั้งหลาย ใน

ธรรมทั้งหลายที่มิได้ทรงฟังมาก่อน ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณใน

ธรรมเหล่านั้น และความเป็นผู้เชี่ยวชาญในพละทั้งหลาย พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่า พุทธะ.

การชี้แจงเรื่องพระพุทธะโดยอรรถะเท่านี้ก่อน.

แต่เมื่อว่าโดยพยัญชนะ พึงทราบโดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า ชื่อว่า

พุทธะ เพราะทรงเป็นผู้ตรัสรู้ ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงเป็นผู้ปลุกให้ตื่น

สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ในบทว่า พุทฺโธ ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่าอะไร ชื่อว่า พุทธะ

เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย. ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ทรง

ปลุกหมู่สัตว์ให้ตื่น ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงรู้ทุกอย่าง ชื่อว่า พุทธะ

เพราะทรงเห็นทุกอย่าง. ชื่อว่า พุทธะ เพราะตรัสรู้เองไม่ใช่ผู้อื่นทำให้รู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

ชื่อว่า พุทธะ เพราะบานแล้ว ชื่อว่า พุทธะเพราะนับกันว่าเป็นผู้สิ้น กิเลสแล้ว.

ชื่อว่า พุทธะ เพราะนับกันว่า เป็นผู้ไม่มีอุปกิเลส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะ

อรรถว่า สิ้นราคะสิ้นเชิง. ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า สิ้นโทสะสิ้นเชิง. ชื่อว่า

พุทธะ เพราะอรรถว่า สิ้นโมหะสิ้นเชิง. ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ไร้กิเลส

สิ้นเชิง. ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ทรงดำเนินเอกายนมรรค. ชื่อว่า พุทธะ

เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ยิ่งเอง ซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิลำพังพระองศ์เดียว.

ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงได้ความรู้ เหตุทรงกำจัดความไม่รู้ได้แล้ว. พระนาม

ว่า พุทธะ นี้ มิใช่พระชนนีตั้ง มิใช่พระชนกตั้ง มิใช่พระเชษฐภาดาตั้ง

มิใช่พระเชษฐภคินีตั้ง มิใช่มิตรอมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติสาโลหิตตั้ง มิใช่

สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง พระนามนี้ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า มี

ตอนท้ายแห่งความหลุดพ้นจากกิเลส บัญญัติคือพุทธะ ทรงทำให้แจ้งพร้อมกับ

ทรงได้พระสัพพัญญุตญาณ.

ในบทว่า พุทธะ นั้น ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะ

ทั้งหลาย เหมือนผู้ที่ลงมาในโลก [อวตาร] ก็เรียกว่า ผู้ลงมา [อวตาร].

ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ทรงปลุกหมู่สัตว์ให้ตื่น เหมือนลมที่ทำใบไม้

ให้แห้ง ก็เรียกว่าใบไม้แห้ง. บทว่า สพฺพญฺญุตาย พุทฺโธ ท่านอธิบายว่า

ชื่อว่า พุทธะ เพราะความรู้ที่สามารถรู้ได้ทุกอย่าง. บทว่า สพฺพทสฺสาวิตาย

พุทฺโธ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะความรู้ ที่สามารถรู้ธรรมได้

ทุกอย่าง. บทว่า อนญฺญเยฺยตาย พุทโธ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ

เพราะตรัสรู้เอง มิใช่ผู้อื่นทำให้ตรัสรู้. บทว่า วิกสิตาย พุทฺโธ ท่าน

อธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงบาน เหตุบานด้วยพระคุณนานาประการ

เหมือนดอกปทุมบาน. ด้วยบทอย่างนี้เป็นต้นว่า ขีณาสวสงฺขาเตน พุทฺโธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงตื่นแล้วเหตุสิ้นกิเลสดุจความหลับ

ทุกอย่าง เหมือนบุรุษตื่นเพราะสิ้นความหลับ เพราะทรงละธรรมอันทำความ

หดหู่แห่งจิตได้. ท่านกล่าวว่า เอกายนมคฺค คโตติ พุทฺโธ ดังนี้ ก็เพื่อ

แสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า พุทธะ ก็เพราะทรงดำเนินเอกายน-

มรรค เหมือนบุรุษแม้เดินทาง เขาก็เรียกว่าผู้เดินไป เพราะปริยาย (ทาง) แห่ง

อรรถว่าไปสู่ทางตรัสรู้. บทว่า เอโก อนุตฺตร สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธติ

พุทฺโธ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ ไม่ใช่เพราะตรัสรู้โดยคนอื่น ที่แท้ ชื่อว่า

พุทธะ เพราะตรัสรู้ยิ่งซึ่งพระสัมมาสัมโพธิ อันยอดเยี่ยม ด้วยพระองค์เอง

เท่านั้น. คำนี้ว่า อพุทฺธิวิหตตฺตา พุทฺธิปฏิลาภา พุทฺโธ เป็นคำแสดง

ปริยายว่า พุทฺธิ พุทธ โพโธ ในคำนั้น พึงทราบอรรถ ที่สามารถทำ พุทธะ

ศัพท์ของบททุกบทให้สำเร็จความ โดยนัยอย่างนี้ว่า ท่านอธิบายเพื่อให้รู้ว่า

พุทธะ เพราะทรงประกอบด้วยพระคุณคือพุทธิความรู้เหมือนที่เรียกกันว่า

ผ้าเขียว ผ้าแดง ก็เพราะประกอบด้วยสีเขียว สีแดง ต่อแต่นั้น คำเป็นต้น

อย่างนี้ว่า พุทฺโธติ เนต นาม ท่านกล่าวไว้ก็เพื่อให้รู้ว่า บัญญัตินี้ ดำ-

เนินไปตามอรรถะคือเนื้อความ.

การชี้แจงเรื่องพุทธะแม้โดยพยัญชนะ มีดังกล่าวมานี้.

ชี้แจงเรื่องสรณคมน์และผู้ถึงสรณคมน์

บัดนี้ จะกล่าวชี้แจงในเรื่องการถึงสรณคมน์เป็นต้น ดังต่อไปนี้.

พระรัตนตรัยที่ชื่อว่า สรณะ เพราะกำจัด อธิบายว่า บีบ ทำลาย นำออก

ดับภัยคือความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ทุกข์ ทุคติ ความเศร้าหมอง ด้วย

การถึงสรณะนั้นนั่นแล ของคนทั้งหลายที่ถึงสรณคมน์. อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า

ชื่อว่า สรณะ เพราะกำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการให้เข้าถึงสิ่งที่เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

ประโยชน์และนำออกจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์. พระธรรมชื่อว่า สรณะ เพราะ

ให้สัตว์ข้ามพ้นกันดารคือภพ และให้ความโปร่งใจ. พระสงฆ์ ชื่อว่า สรณะ

เพราะกระทำสักการะ แม้เล็กน้อย ให้กลับได้ผลอันไพบูลย์ เพราะฉะนั้น

พระรัตนตรัยนั้น จึงชื่อว่า สรณะ โดยปริยายดังว่ามานี้.

จิตตุปบาทที่ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนั้นและความเคารพในพระ

รัตนตรัยนั้น กำจัดทำลายกิเลสเสียได้ เป็นไปโดยอาการคือความมีพระรัตนตรัย

นั้น เป็นเบื้องหน้า หรือ ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย [ชักจูง] ชื่อว่า สรณคมน์.

สัตว์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจิตตุปบาทนั้น ย่อมถึงพระรัตนตรัยนั้น เป็นสรณะ

อธิบายว่า ย่อมเข้าถึงพระรัตนตรัย ด้วยจิตตุปบาท ที่มีประการดังกล่าวแล้ว

อย่างนี้ว่า นี้เป็นสรณะของข้าพเจ้า นี้เป็นเครื่องนำหน้าของข้าพเจ้า. ก็บุคคล

เมื่อจะเข้าถึง ย่อมเข้าถึงด้วยวิธีมาทานเหมือนอย่างนายพาณิชสองคนชื่อว่า

ตปุสสะและภัลลิกะ เป็นต้น ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งสอง

นั้น ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งสองว่าเป็นอุบาสก" ดังนี้ก็ได้.

เข้าถึงด้วยวิธียอมเป็นศิษย์ เหมือนอย่างท่านพระมหากัสสปะเป็น

ต้นว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นศาสดา

ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก" ดังนี้ ก็ได้.

เข้าถึง ด้วยวิธีทุ่มตัวไปในพระรัตนตรัยนั้น เหมือนอย่างพรหมยุ-

พราหมณ์ เป็นต้น ความบาลีว่า "เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้

พรหมยุพราหมณี ก็ลุกจากอาสนะ กระทำผ้าห่มเฉวียงบ่า ประนม

มือไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ เปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า นโม

ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส, นโม ตสฺส ภควโต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

อรหโต สมฺนาสมฺพุทธสฺส, นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา-

สมฺพุทธสฺส" ดังนี้ก็ได้.

เข้าถึงโดยวิธีมอบตน เช่นโยคีบุคคลผู้ขวนขวายในกรรมฐานก็ได้.

เข้าถึง โดยวิสัยและโดยกิจ หลายวิธี เช่นด้วยวิธีกำจัด อุปกิเลสด้วย

การถึงสรณคมน์ เหมือนอย่างพระอริยบุคคลทั้งหลาย ก็ได้.

ชี้แจงเรื่องการถึงสรณคมน์ และเรื่องบุคคล ผู้เข้าถึงสรณคมน์ ดัง

กล่าวมานี้.

แสดงสรณคมน์ขาด ไม่ขาด และผล

บัดนี้ จะแสดงสรณคมน์ขาดเป็นต้น ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า จะแสดง

สรณคมน์ขาดและไม่ขาดทั้งผล ทั้งสรณะที่ควรถึง ดังต่อไปนี้.

การขาดสรณคมน์ ของบุคคลผู้ถึงสรณคมน์อย่างนี้ มี ๒ อย่าง คือ

มีโทษและไม่มีโทษ การขาดสรณคมน์เพราะการตาย ชื่อว่าไม่มีโทษ การขาด

สรณคมน์เพราะหันไปนับถือศาสดาอื่น และประพฤติผิดในพระศาสดานั้น ชื่อ

ว่ามีโทษ. การขาดแม้ทั้ง ๒ นั้น ย่อมมีแก่พวกปุถุชนเหล่านั้น สรณะของ

ปุถุชนเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าเศร้าหมอง เพราะประพฤติไปด้วยความไม่รู้ ความ

สงสัยและความรู้ผิด และเพราะประพฤติไม่เอื้อเฟื้อเป็นต้น ในพระพุทธคุณ

ทั้งหลาย ส่วนพระอริยบุคคลหามีสรณะที่ขาดไม่ และหามีสรณะเศร้าหมอง

ไม่ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย

ทิฏฐิ [สัมมาทิฏฐิ] จะพึงนับถือศาสดาอื่น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ส่วนพวก

ปุถุชน ยังไม่ถึงการขาดสรณะตราบใด ตราบนั้น ก็ยังชื่อว่าเป็นผู้มีสรณะไม่

ขาด การขาดสรณะของปุถุชนเหล่านั้น ย่อมมีโทษ มีความเศร้าหมองและ

อำนวยผลที่ไม่น่าปรารถนา การขาดสรณะที่ไม่มีโทษ ก็ไม่มีผล เพราะหา

วิบากมิได้. ส่วนการไม่ขาดสรณะว่าโดยผล ก็ย่อมอำนวยผลที่น่าปรารถนา

อย่างเดียว เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

ชนเหล่านั้นละกายมนุษย์ไปแล้ว ก็จักไม่เข้าถึงอบาย-

ภูมิ จักทำหมู่เทพให้บริบูรณ์ ดังนี้.

ก็ในข้อนั้น พึงทราบอธิบายแห่งคาถาอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใด ถึง

สรณะด้วยการตัดอุปกิเลสได้ขาดด้วยสรณคมน์ ชนเหล่านั้น จักไม่ไปอบาย.

ส่วนชนนอกนั้น จักไม่ไปอบาย ก็ด้วยการถึงสรณะ.

แสดงสรณะขาดไม่ขาดและผลเพียงเท่านี้ก่อน.

แสดงสรณะที่ควรถึง

ในการแสดงสรณะที่ควรถึง ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ในคำนี้ว่า ข้าพเจ้าถึง

พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้นั้น จะพึงถึงพระ-

พุทธเจ้าหรือสรณะ แม้ทั้งสองคำ การกล่าวแต่คำเดียว ก็ไร้ประโยชน์ เพราะ

เหตุไร เพราะมีแต่กิริยาคือการถึง ไม่มีสองกรรม. ความจริง นักคิดทาง

อักษรศาสตร์ ไม่ประสงค์กรรม ๒ กรรมในข้อนี้ เหมือนในคำว่า อช คาม

เนติ เป็นต้น ฉะนั้น.

ถ้าผู้ทักท้วงกล่าวว่า การกล่าวแม้คำทั้งสองมีแค่ประโยชน์อย่างเดียว

เหมือนในคำว่า คจฺฉเตว ปุพฺพ ทิส คจฺฉติ ปจฺฉิม ทิส นักคิด

อักษรศาสตร์ไม่ประสงค์อย่างนั้นดอก เพราะท่านไม่ประสงค์ว่า พระพุทธเจ้า

และสรณะเป็นตัวเหตุเท่า ๆ กัน ความจริงเมื่อประสงค์ว่า พระพุทธเจ้า

และสรณะเหล่านั้น เป็นตัวเหตะเท่า ๆ กันแล้ว บุคคลแม้มีจิตขุ่นเคือง เข้า

เฝ้าพระพุทธเจ้าก็จะพึงชื่อว่า ถึงพระพุทธเจ้า ถึงสรณะน่ะสิ สรณะนั้นใด

ทำให้ต่างไปว่า พระพุทธเจ้า. ผู้นั้นก็ชื่อว่าถึงสรณะนั้นทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

ถ้าผู้ทักท้วงกล่าวว่า ท่านประสงค์เอาความที่พระพุทธเจ้าและสรณะ

เป็นตัวเหตุเท่า ๆ กัน เพราะบาลีว่า เอต โข สรณ เขม เอต สรณมุตฺตม

สรณะนั่นแลเกษม ปลอดภัย สรณะนั้นอุดมสูงสุด ไม่ประสงค์เช่นนั้น ดอก

เพราะในบทคาถานั้น มีแต่พระพุทธเจ้าเป็นสรณะนั้น. ความจริง ในบทคาถา

นั้นนั่นแลท่านประสงค์ถึงความที่พระพุทธเจ้าและสรณะเป็นตัวเหตุเท่า ๆ กัน

อย่างนี้ว่า สรณะทั้งเกษมทั้งอุดม เพราะพิจารณาเป็นถึงพระรัตนตรัยมีพระ-

พุทธเจ้าเป็นต้นนั้น ในความเป็นสรณะ ที่นับได้ว่า กำจัดภัยแก่ผู้ถึงสรณคมน์

ได้จริง ส่วนในบาลีประเทศอื่น เมื่อมีความสัมพันธ์ด้วยผู้ถึงสรณคมน์

ท่านก็ไม่ประสงค์ความที่พระพุทธเจ้าและสรณะเป็นตัวเหตุเท่า ๆ กัน เพราะ

ไม่สำเร็จเป็นสรณคมน์ ดังนั้น คำนี้จึงสาธกไม่ได้.

ถ้าผู้ทักท้วงกล่าวว่า น่าจะประสงค์เอาความที่พระพุทธเจ้าและสรณะ

เป็นตัวเหตุเท่า ๆ กัน เพราะสำเร็จเป็นสรณคมน์ แม้เมื่อมีความสัมพันธ์ด้วย

ผู้ถึงสรณคมน์ได้ในบาลีนี้ว่า เอต สรณนาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ

บุคคลอาศัยสรณะนั้น ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงดังนี้ ไม่ใช่เช่นนั้นดอก

เพราะขัดข้องด้วยโทษที่กล่าวมาก่อนแล้ว. ความจริง แม้ในข้อนั้น ก็จะพึง

ขัดข้องด้วยโทษที่กล่าวมาก่อนว่า เมื่อมีความที่พระพุทธเจ้าและสรณะเป็นตัว

เหตุเท่า ๆ กัน อยู่ บุคคลแม้มีจิตขุ่นเคืองอาศัยสรณะ. คือพระพุทธเจ้า พระ

ธรรมและพระสงฆ์ ก็จะพึงหลุดพ้นจากทุกข์ได้หมดน่ะสิ แต่จะว่าไม่ขัดข้อง

ด้วยโทษก็หามิได้ ดังนั้น คำนั้นจึงสาธกไม่ได้. พึงทราบอธิบายในข้อ

นั้น อย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเมื่อจะหลุดพ้น ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ผู้เป็นกัลยาณมิตร ท่านก็กล่าวว่า อาศัยกัลยาณมิตรจึงหลุดพ้น ได้

ในบาลีนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

ดูก่อนอานนท์ ก็สัตว์ทั้งหลายที่มีชาติความเกิด

เป็นธรรมดา อาศัยเราตลาคตเป็นกัลยาณมิตร ย่อม

หลุดพ้น จากชาติดังนี้ ฉันใด แต่ในที่นี้ บุคคลเมื่อ

จะหลุดพ้น ด้วยอานุภาพแห่งสรณะ คือพระพุทธเจ้า

พระธรรมและพระสงฆ์ ท่านก็กล่าวว่า บุคคลอาศัย

สรณะนี้ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ทั้งปวง ดังนี้ ก็ฉันนั้น.

ความที่พระพุทธเจ้าเป็นคมนียะ ควรถึงก็ไม่ถูก ความที่สรณะเป็น

คมนียะควรถึงก็ไม่ถูก ความที่พระพุทธเจ้าและสรณะทั้งสอง เป็นคมนียะควร

ถึงก็ไม่ถูก แม้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้ คมนียะสิ่งที่ควรถึงของผู้ถึงสรณคมน์

ที่ท่านอธิบายว่า ข้าพเจ้าถึงสิ่งที่พึงปรารถนา ควรกล่าวถึง ต่อนั้น ก็ควร

กล่าวข้อยุติคือข้อที่ถูก ในเรื่องนี้ ดังนั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวข้อยุติดังต่อไปนี้

ในข้อยุตินี้ พระพุทธเจ้าเท่านั้นเป็นคมนียะ แต่เพื่อแสดงอาการคือ

การถึง คำกล่าวถึงสรณะนั้นมีว่า ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ พระ-

พุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นสรณะของข้าพเจ้า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็น

ปรายนะนำหน้าของข้าพเจ้า เป็นผู้กำจัดทุกข์ เป็นผู้ทรงประโยชน์ ข้าพเจ้า

ถึง คบ เสพ เข้าใกล้ชิดพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ด้วยความประสงค์ดังกล่าว

มานี้ หรือว่าข้าพเจ้ารู้ทราบอย่างนี้ จริงอยู่ คติเป็นประโยชน์ของธาตุเหล่าใด

แม้ความรู้ก็เป็นประโยชน์ของธาตุเหล่านั้น.

ถ้าผู้ทักท้วงกล่าวว่า ข้อนั้นไม่ถูก เพราะไม่ประกอบ อิติ ศัพท์ คำ

ทักท้วงนั้นก็ไม่ถูก ข้อยุติที่ถูกในเรื่องนั้น พึงมีดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

หากว่าความในเรื่องนั้น พึงมีอย่างนี้ไซร้. แต่นั้น ก็พึงต้องประกอบ

อิติศัพท์ ดังในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่า อนิจฺจ รูป อนิจฺจ รูปนฺติ

ยถาภูต ปชานาติ ย่อมรู้ชัดรูปที่ไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า รูปไม่เที่ยง

ดังนี้. แต่อิติศัพท์ท่านหาประกอบไว้ไม่ เพราะฉะนั้น ข้อทักท้วงนั้นจึงไม่ถูก

แต่อันนี้ ไม่ถูกเพราะเหตุไร เพราะความของอิติศัพท์มีอยู่ในตัวนั้นแล้ว ความ

ของอิติศัพท์แม้ในที่นี้ ก็มีอยู่พร้อม ดังในประโยคทั้งหลายเป็นต้น อย่างนี้ว่า

โย จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณ คโต ก็ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า

พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ดังนี้ แต่มิใช่จะต้องประกอบอิติศัพท์

ไว้ในที่ทุกแห่ง เพราะมีความอยู่พร้อมในตัวแล้ว บัณฑิตพึงทราบความของ

อิติศัพท์แม้มิได้ประกอบไว้ เหมือนดังประกอบไว้ในที่นั้น ทั้งในที่อื่นซึ่งมี

กำเนิดอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อิติศัพท์จึงไม่มีโทษ [ไม่ผิด]

ถ้าผู้ทักท้วงกล่าวว่า คำใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า ก็เพื่อแสดงอาการคือถึง

จึงต้องกล่าวระบุสรณะดังนี้ คำนั้น ก็ไม่ถูก เพราะสรณะเท่านั้น เป็นคมนียะ

สิ่งที่ควรถึง ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตอนุญาตการ

บรรพชา ด้วยสรณคมน์สาม ดังนี้ คำที่ข้าพเจ้ากล่าวนั้น ไม่ใช่ไม่ถูก เพราะ

เหตุไร เพราะคำนั้นมีความอยู่พร้อมในตัว. ความจริง ความของอิติศัพท์นั้น

ก็มีอยู่พร้อมในคำแม้นั้นเอง เพราะเหตุที่แม้ไม่ประกอบอิติศัพท์ไว้เช่นคำก่อน

ก็พึงเห็นเหมือนดังประกอบอิติศัพท์ไว้ นอกจากนี้ก็พึงขัดข้องด้วยโทษที่กล่าว

มาก่อนนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พึงถือเอาตามที่ท่านสอนไว้เท่านั้น.

แสดงสิ่งที่ควรถึงดังกล่าวมาฉะนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

ชี้แจงสรณะคือพระธรรมและพระสงฆ์

บัดนี้ จะกล่าวอธิบายต่อไป. ในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า แม้ในสรณะ

ทั้งสองมีว่า ธมฺม สรณ เป็นต้น ก็รู้กันแล้วว่ามีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. นัย

แห่งการพรรณนาความนี้ใด ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในคำนี้ว่า พุทฺธ สรณ คจฺฉามิ

ก็พึงทราบนัยแห่งการพรรณนาความนั้น ในสองบทนี้ว่า ธมฺม สรณ คจฺฉามิ

สงฺฆ สรณ คจฺฉามิ. จริงอยู่ ในข้อแม้นั้น ว่าโดยอรรถและพยัญชนะ

ของพระธรรมและพระสงฆ์ ก็มีเพียงการชี้แจงเท่านั้นที่ไม่เหมือนกัน นอกนั้น

ก็เหมือนกันกับที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น เพราะจะกล่าวอธิบายเฉพาะที่ไม่เหมือนกัน

ในพระธรรมและพระสงฆ์นี้ ดังนี้ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มรรค ผล นิพพาน

ชื่อว่า พระธรรม. ขันติ ความชอบใจหรือมติของพวกเราว่า มรรคและวิราคะ

เท่านั้น ชื่อว่าพระธรรมในอรรถนี้ เพราะทรงผู้เจริญมรรคผล และผู้ทำให้

แจ้งพระนิพพานแล้ว โดยไม่ให้ตกไปในอบายทั้งหลาย และทำให้โปร่งใจ

อย่างยิ่ง ขอยกอัคคัปปสาทสูตรนั้นแลเป็นข้อสาธก สมจริงดังที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ในอัคคัปปสาทสูตรนั้นเป็นต้นอย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังธรรมนี้เพียงใด อริยมรรคประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ท่านกล่าวว่าเป็นยอดของสังขตธรรมเหล่านั้น. กลุ่มของ

บุคคลทั้งหลาย ผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค ๔ อย่าง และผู้มีขันธ-

สันดานอบรมยิ่งด้วยสามัญผล ๔ ชื่อว่าพระสงฆ์ เพราะรวมตัวกันด้วย

การรวมทิฏฐิและศีล สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

ดูก่อนอานนท์ เธอจะสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน

ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงเพื่อรู้ยิ่งสำหรับเธอทั้งหลาย

คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อานนท์

เธอจะไม่เห็นภิกษุแม้ ๒ รูป มีวาทะต่างนี้ในธรรม

เหล่านี้เลย.

จริงอยู่ พระสงฆ์โดยปรมัตถ์นี้ อันบุคคลพึงถึงว่าเป็นสรณะ ใน

พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรทำอัญชลียกมือ

ไหว้ เป็นนาบุญของโลกยอดเยี่ยม. สรณคมน์ของผู้ถึงสรณะนั้น ย่อมไม่ขาด

ไม่เศร้าหมอง ด้วยการทำการไหว้เป็นต้น ในภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แม้หมู่

อื่น หรือพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข หรือสมมติสงฆ์ต่างโดยสงฆ์

จตุวรรคเป็นต้น หรือแม้ในบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งบวชเจาะจง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ความต่างกันในสังฆสรณะที่มีเท่านี้ ส่วนวิธีการขาดและไม่ขาดเป็นต้นแห่ง

สรณคมน์นี้และที่สอง นอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อน

แล้ว การพรรณนาความข้อนี้ว่า แม้ในสองสรณะว่า ธมฺม สรณ เป็นต้น

ก็รู้กันแล้วว่านัยนี้เหมือนกัน มีเท่านี้ก่อน.

อธิบายเหตุในการกำหนดตามลำดับ

ในคำนี้ว่า จะอธิบายเหตุในการกำหนดตามลำดับ บัดนี้จะอธิบายเหตุ

ในการกำหนดตามลำดับอย่างนี้ว่า ในคำถึงสรณทั้งสามนั้น ท่านประกาศ

พระพุทธเจ้าอันดับแรก เพราะเป็นผู้เลิศแห่งสัตว์ทั้งปวง ประกาศพระธรรม

อันดับต่อมา เพราะเป็นแดนเกิดของพระพุทธเจ้านั้น และเพราะเป็นธรรมที่

พระพุทธเจ้านั้นทรงนำออกสั่งสอนแล้ว ประกาศพระสงฆ์อันดับสุดท้าย เพราะ

เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งพระธรรมนั้น และเพราะซ่องเสพพระธรรมนั้น อีกนัยหนึ่ง

ท่านประกาศพระพุทธเจ้าอันดับแรก เพราะทรงประกอบสัตว์ทั้งปวงไว้ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

หิตประโยชน์ ประกาศพระธรรมอันดับต่อมา เพราะเป็นแดนเกิดแห่งพระ-

พุทธเจ้านั้น และเพราะเป็นธรรมเป็นหิตประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ประกาศ

พระสงฆ์อันดับสุดท้าย เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุหิตประโยชน์ และ

มีหิตประโยชน์อันบรรลุแล้ว กำหนดโดยความเป็นสรณะ.

ประกาศด้วยข้ออุปมา

บัดนี้ จะกล่าวอธิบายคำที่ว่าจะประกาศพระสรณตรัยนั้น ด้วยข้อ

อุปมาทั้งหลาย ก็ในคำนั้น พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนพระจันทร์เพ็ญ พระ-

ธรรมเปรียบเหมือนกลุ่มรัศมีของพระจันทร์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลกที่

เอิบอิ่มด้วยรัศมีของพระจันทร์เพ็ญที่ทำให้เกิดขึ้น พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน

ดวงอาทิตย์ทอแสงอ่อน ๆ พระธรรมดังกล่าวเปรียบเหมือนข่ายรัศมีของดวง

อาทิตย์นั้น พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลกที่ดวงอาทิตย์นั้นกำจัดมืดแล้ว. พระ-

พุทธเจ้าเปรียบเหมือนคนเผาป่า พระธรรมเครื่องเผาป่าคือกิเลส เปรียบเหมือน

ไฟเผาป่า พระสงฆ์ที่เป็นบุญเขต เพราะเผากิเลสได้แล้ว เปรียบเหมือนภูมิภาค

ที่เป็นเขตนา เพราะเผาห่าเสียแล้ว. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนเมฆฝนใหญ่

พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำฝน พระสงฆ์ผู้ระงับละอองกิเลสเปรียบเหมือน

ชนบทที่ระงับละอองฝุ่นเพราะฝนตก. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนสารถีที่ดี

พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายฝึกม้าอาชาไนย พระสงฆ์เปรียบเหมือนฝูงม้า

อาชาไนยที่ฝึกมาดีแล้ว. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนศัลยแพทย์ [หมอผ่าตัด]

เพราะทรงถอนลูกศรคือทิฏฐิได้หมด พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายที่ถอนลูกศร

ออกได้พระสงฆ์ผู้ถอนลูกศรคือทิฏฐิออกแล้ว เปรียบเหมือนชนที่ถูกถอนลูกศร

ออกแล้ว. อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนจักษุแพทย์ เพราะทรงลอก

พื้นชั้นโมหะออกได้แล้ว พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายเครื่องลอกพื้น [ตา]

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

พระสงฆ์ผู้มีพื้นชั้นตาอันลอกแล้ว ผู้มีดวงตาคือญาณอันสดใส เปรียบเหมือนชน

ที่ลอกพื้นตาแล้ว มีดวงตาสดใส. อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนแพทย์

ผู้ฉลาด เพราะทรงสามารถกำจัด พยาธิคือกิเลสพร้อมทั้งอนุสัยออกได้ พระธรรม

เปรียบเหมือนเภสัชยาที่ทรงปรุงถูกต้องแล้ว พระสงฆ์ผู้มีพยาธิคือกิเลสและ

อนุสัยอันระงับแล้ว เปรียบเหมือนหมู่ชนที่พยาธิระงับแล้ว เพราะประกอบยา.

อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้ทาง พระธรรมเปรียบ

เหมือนทางดี หรือพื้นที่ที่ปลอดภัย พระสงฆ์เปรียบเหมือนผู้เดินทาง ถึงที่ที่

ปลอดภัย พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนนายเรือที่ดี พระธรรมเปรียบเหมือนเรือ

พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้เดินทางถึงฝั่ง. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนป่า

หิมพานต์ พระธรรมเปรียบเหมือนโอสถยาที่เกิดแต่ป่าหิมพานต์นั้น พระสงฆ์

เปรียบเหมือนชนผู้ไม่มีโรคเพราะใช้ยา. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ประทาน

ทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนทรัพย์ พระสงฆ์ผู้ได้อริยทรัพย์มาโดยชอบ

เปรียบเหมือนชนผู้ได้ทรัพย์ตามที่ประสงค์. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้

ขุมทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนขุมทรัพย์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ได้

ขุมทรัพย์.

อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าผู้เป็นวีรบุรุษเปรียบเหมือนผู้ประทานความ

ไม่มีภัยพระธรรมเปรียบเหมือนไม่มีภัย พระสงฆ์ผู้ล่วงภัยทุกอย่าง เปรียบเหมือน

ชนผู้ถึงความไม่มีภัย พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ปลอบพระธรรมเปรียบเหมือน

การปลอบ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ถูกปลอบ พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน

มิตรดี พระธรรมเปรียบเหมือนคำสอนที่เป็นหิตประโยชน์ พระสงฆ์เปรียบ

เหมือนชนผู้ประสบประโยชน์ตน เพราะประกอบหิตประโยชน์. พระพุทธเจ้า

เปรียบเหมือนบ่อเกิดทรัพย์พระธรรมเปรียบเหมือนทรัพย์ที่เป็นสาระ พระสงฆ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

เปรียบเหมือนชนผู้ใช้ทรัพย์ที่เป็นสาระ พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ทรงสรง

สนานพระราชกุมาร พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำที่สนานตลอดพระเศียร พระ-

สงฆ์ผู้สรงสนานดีแล้วด้วยน้ำคือพระสัทธรรม เปรียบเหมือนหมู่พระราชกุมาร

ที่สรงสนานดีแล้ว. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนช่างผู้ทำเครื่องประดับ พระธรรม

เปรียบเหมือนเครื่องประดับ พระสงฆ์ผู้ประดับด้วยพระสัทธรรมเปรียบเหมือน

หมู่พระราชโอรสที่ทรงประดับแล้ว. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนต้นจันทน์ พระ-

ธรรมเปรียบเหมือนกลิ่นอันเกิดแต่ต้นจันทน์นั้น พระสงฆ์ผู้ระงับความเร่าร้อน

ได้สิ้นเชิง เพราะอุปโภคใช้พระสัทธรรม เปรียบเหมือนชนผู้ระงับความร้อน

เพราะใช้จันทน์ พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบิดามอบมฤดกโดยธรรม พระ-

ธรรมเปรียบเหมือนมฤดก พระสงฆ์ผู้สืบมฤดกดือพระสัทธรรม เปรียบเหมือน

พวกบุตรผู้สืบมฤดก. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนดอกปทุมที่ปาน พระธรรม

เปรียบเหมือนน้ำอ้อยที่เกิดจากดอกปทุมที่บานนั้น พระสงฆ์เปรียบเหมือนหมู่

ภมรที่ดูดกินน้ำอ้อยนั้น. พึงประกาศพระสรณตรัยนั้น ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย

ดังกล่าวมาฉะนี้.

มาติกาหัวข้อของกถาพรรณนาความที่ยกตั้งไว้ในเบื้องต้นด้วย ๔ คาถา

ว่า พระสรณตรัย ใครกล่าว กล่าวที่ไหน กล่าวเมื่อไร กล่าวเพราะเหตุไร

เป็นต้น ก็เป็นอันประกาศแล้วโดยอรรถ ด้วยกถามีประมาณเพียงเท่านี้แล.

จบกถาพรรณนาพระสรณตรัย

อรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

สิกขาบท ๑๐ ในขุททกปาฐะ

[๒] ข้าพเจ้าสมาทาน สิกขาบท คือเจตนางด

เว้นจากปาณาติบาต

ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก

อทินนาทาน

ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก

อพรหมจรรย์

ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก

มุสาวาท

ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก

ที่ตั้งแต่งความประมาท คือการเสพของเมา คือสุรา

เมรัย

ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก

การบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก

การฟ้อนรำ ขับร้อง การประโคม และการดูการเล่น

อันเป็นข้าศึกแก่กุศล

ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก

จากการลูบไล้ ทัดทรง ประดับประดาดอกไม้ ของหอม

อันเป็นลักษณะการแต่งตัว

ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก

การนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่

ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก

การรับทองและเงิน

จบสิกขาบท ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

๒. พรรณนาสิกขาบท

หัวข้อปาฐะว่าด้วยสิกขาบท

ครั้นแสดงการเข้าสู่พระศาสนาด้วยการถึงสรณคมน์อย่างนี้แล้ว เพื่อ

จะพรรณนาปาฐะที่ว่าด้วยสิกขาบท ซึ่งตั้งเป็นบทนิกเขปไว้ เพื่อแสดงสิกขาบท

ทั้งหลาย อันอุบาสกหรือบรรพชิต ผู้เข้ามาสู่พระศาสนาจะพึงศึกษา เป็นอัน

ดับแรก บัดนี้ข้าพเจ้าจะกล่าวมาติกาหัวข้อดังต่อไปนี้

สิกขาบทเหล่านี้ ผู้ใดกล่าว กล่าวที่ใด กล่าว

เมื่อใด กล่าวเพราะเหตุใด จำต้องกำหนดกล่าวทำ

นัยนั้น โดยความแปลกแห่งสิกขาบททั่วไป จำต้อง

กำหนดโทษทั้งเป็นปกติวัชชะ และปัณณัตติวัชชะ ทำ

การชี้แจงนัยทั่วไป ทั่วทุกสิกขาบท โดยพยัญชนะ

และอรรถะของบททั้งหลาย.

แต่ใน ๕ สิกขาบทต้น พึงทราบวินิจฉัย โดย

ประกาศความแปลกกัน ของสิกขาบททั่วไปโดยความ

เป็นอย่างเดียวกัน และความต่างกันเป็นอาทิ ตั้งต้นแต่

ปาณาติบาตเป็นต้นไป โดยอารมณ์ การสมาทานและ

การขาด โดยความมีโทษมาก โดยประโยค องค์และ

สมุฏฐาน โดยเวทนา มูลและกรรม โดยการงดเว้นและ

โดยผล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

ข้อยุติคือความถูกต้องจากการพรรณนา ๕ สิก-

ขาบทต้น พึงนำมาใช้ใน ๕ สิกขาบทหลัง พึงกล่าว

สิกขาบทเป็นข้อ ๆ พึงทราบว่า สิกขาบท มีอย่างเลว

เป็นต้นไว้ด้วย.

ในมาติกาหัวข้อนั้น ๑๐ สิกขาบทมีปาณาติปาตาเวรมณีเป็นต้น นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียวตรัสไว้ มิใช่พระสาวก. จริงอยู่ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ถึงกรุงสาวัตถี ทรงให้ท่านพระราหุลบรรพชา

แล้ว ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถี ตรัสสิกขาบท

๑๐ นั้น เพื่อทรงกำหนดสิกขาบทสำหรับสามเณรทั้งหลาย สมจริงดังที่ท่าน

กล่าวคำนี้ไว้ว่า

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับสำราญตามพระพุทธอัธยา

ศัยอยู่ ณ กรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เมื่อเสด็จ

จาริกมาตามลำดับ ก็ถึงกรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของทานอนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถี

สมัยนั้น ฯลฯ สามเณรทั้งหลายเกิดความคิดว่า สิกขาบททั้งหลายสำหรับ

พวกเรามีเท่าไรกันหนอ พวกเราจะพึงศึกษาในสิกขาบท จำนวนเท่าไร

ภิกษุทั้งหลายจึงนำความกราบทูลแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตอนุญาตสิกขาบท

๑๐ สิกขาบท สำหรับสามเณรทั้งหลาย เพื่อสามเณรทั้งหลายศึกษา

ในสิกขาบท ๑๐ นั้นคือ ปาณาติปาตา เวรมณี ฯลฯ ชาตรูป-

รชตปฏิคฺคหณา เวรมณี " ดังนี้.

สิกขาบทที่ ๑๐ นี้นั้น พึงทราบว่า ท่านยกขึ้นใช้บอกสอน โดย

แนวพระสูตรว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ สมาทานศึกษา ในสิก-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

ขาบททั้งหลาย และโดยแนวปาฐะที่ท่านแสดงไว้ ในสรณคมน์ อย่างนี้ว่า

ปาณาติปาตา เวรมณีสิกฺขาปท สมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท

คือเจตนางดเว้นจากปาณาติบาต เป็นต้น พึงทราบนัยที่ว่า "สิกขาบทเหล่า

นี้ ผู้ใดกล่าว กล่าวที่ใด กล่าวเมื่อใด กล่าวเพราะเหตุไร จะกล่าวนัยนั้น"

เท่านี้ก่อน.

กำหนดความแปลกกันของสิกขาบททั่วไป

ก็บรรดาสิกขาบทเหล่านั้น สิกขาบทที่ ๔ - ๕ สองสิกขาบทข้างต้น

ทั่วไปทั้งอุบาสก ทั้งสามเณรโดยเป็นนิจศีล แต่ว่าโดยเป็นอุโบสถศีล ของ

พวกอุบาสก เว้นสิกขาบทหลังหมด เพราะรวบสิกขาบทที่ ๗ และ ๘ เข้าเป็น

องค์เดียวกัน สิกขาบททั้งหมด ก็ทั่วไปกับสามเณรทั้งหลาย ส่วนสิกขาบท

หลังเป็นพิเศษสำหรับสามเณรเท่านั้น พึงทราบกำหนดโดยความแปลกกันของ

สิกขาบททั่วไปดังกล่าวมาฉะนี้ พึงกำหนดปกติวัชชะ และปัณณัตติวัชชะ อย่าง

นี้คือ บรรดาสิกขาบทเหล่านั้น ๕ สิกขาบทข้างต้น กำหนดด้วยเจตนางดเว้น

จากปกติวัชชะ ของปาณาติบาตเป็นต้น เพราะมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐานส่วนเดียว

สิกขาบทนอกนั้น กำหนดด้วยเจตนางดเว้นจากปัณณัตติวัชชะ.

ชี้แจงบททั่วไป

ก็เพราะเหตุที่บรรดาบทเหล่านั้น บทเหล่านั้นว่า เวรมณีสิกฺขาปท

สมาทิยามิ เป็นบททั่วไปทั้งหมด ฉะนั้น พึงทราบการชี้แจงบทเหล่านั้นทั่ว

ไป ทั้งโดยพยัญชนะ ทั้งโดยอรรถะดังต่อไปนี้.

ในบทเหล่านั้น พึงทราบโดยพยัญชนะก่อน ชื่อว่า เวรมณี เพราะ

เว้นเวร อธิบายว่า ละบรรเทาเวร คือทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี. อีกนัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

หนึ่ง บุคคลย่อมเว้นจากเวร ด้วยเจตนาตัวการเท่านั้น เหตุนั้น เจตนานั้น

จึงชื่อว่า เวรมณี เพราะเอาวิอักษรเป็น เวอักษร. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ในคำนี้

พุทธบริษัทจึงสวดกันเป็น ๒ อย่างว่า เวรมณีสิกขาปท วิรมณีสิกขาปท.

ชื่อว่า สิกขา เพราะอันบุคคลพึงศึกษา. ชื่อว่า บท เพราะเป็นเครื่องถึง

บทแห่งสิกขา, บทแห่งสิกขา ชื่อว่า สิกขาบท อธิบายว่าอุบายเป็นเครื่อง

ถึงสิกขา. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า เป็นมูล เป็นที่อาศัย เป็นที่ตั้ง. สิกขาบท

คือเจตนาเครื่องงดเว้น ชื่อว่า เวรมณีสิกขาบท หรือ วิรมณีสิกขาบท

ตามนัยที่สอง. ข้าพเจ้ายึดถือโดยชอบ ชื่อว่า สมาทิยามิ ท่านอธิบายว่าข้าพเจ้า

ยึดถือโดยประสงค์จะไม่ล่วงละเมิด เพราะเป็นผู้กระทำสิกขาบทไม่ให้เป็นท่อน

ไม่ให้ขาด ไม่ให้ด่างพร้อย.

แต่เมื่อว่าโดยอรรถะ บทว่า เวรมณี ได้แก่ วิรัติ เจตนางดเว้น

ประกอบด้วยจิตอันเป็นกามาวจรกุศล. วิรัตินั้น ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณา-

ติบาต ท่านกล่าวไว้ในวิภังค์ โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า เจตนางด เจตนางดเว้น

เว้นขาด งดเว้น ไม่ทำ ไม่กระทำ ไม่ล่วง ไม่ละเมิดขอบเขต การชักสะพาน

เสียด้วยอริยมรรค ชื่อว่า เสตุ จากปาณาติบาต ในสมัยนั้น อันใด. ธรรมดาว่า

เวรมณีนั้น แม้เป็นโลกุตระมีอยู่ก็จริง ถึงอย่างนั้นในที่นี้ ก็ควรเป็นเวรมณี

ที่เป็นไปโดยการสมาทาน เพราะผู้สมาทานกล่าวว่า สมาทิยามิ เพราะฉะนั้น

เวรมณีที่เป็นโลกุตระนั้น จึงไม่มี ข้าพเจ้ากล่าวว่าวิรัติ เจตนางดเว้น ประกอบ

ด้วยจิตอันเป็นกามาวจรกุศล.

บทว่า สิกขา ได้แก่ สิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา

อธิปัญญาสิกขา. แต่ในที่นี้ ศีลคือสัมปัตตวิรัติ วิปัสสนาฝ่ายโลกิยะ

รูปฌานและอรูปฌานและอริยมรรค ท่านประสงค์ว่า สิกขา ในบท

ว่าสิกขานี้, เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

ธรรมเหล่าไหน ชื่อว่าสิกขา สมัยใด จิตเป็น

กุศลฝ่ายกามาวจร เกิดขึ้น ไปกับโสมนัส ประกอบ

ด้วยญาณ ฯลฯ สมัยนั้น ผัสสะ ก็มี ฯลฯ ความไม่

กวัดแกว่งก็มี ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สิกขา.

ธรรมเหล่าไหน ชื่อว่าสิกขา สมัยใด พระ-

โยคาวจรเจริญมรรค ด้วยการเข้าถึงรูปฌานสงัดจาก

กามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง

ปฐมฌาน ฯลฯ เข้าถึงปัญจมฌานอยู่ ฯลฯ ความไม่

กวัดแกว่งก็มี ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าสิกขา.

ธรรมเหล่าไหน ชื่อว่าสิกขา สมัยใด พระ-

โยคาวจรเจริญมรรคด้วยการเข้าถึงอรูปฌาน ไป

กับเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ ความไม่กวัด-

แกว่งก็มี ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าสิกขา.

ธรรมเหล่าไหน ชื่อว่าสิกขา สมัยใด พระ-

โยคาวจรเจริญโลกกุตรฌาน เป็นธรรมนำสัตว์ออกจาก

ทุกข์ ฯลฯ ความไม่กวัดแกว่งก็มี ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า

สิกขา.

บทคืออุบายเครื่องถึง อีกอย่างหนึ่งเป็นมูล เป็นที่อาศัย เป็นที่ตั้ง

แห่งสิกขาอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาสิกขาเหล่านั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า สิกขา

บท สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า "พระโยคาวจรอาศัยศีลตั้งอยู่ในศีล

เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗" อย่างนี้เป็นต้น. พึงทำการชี้แจงโดย

พยัญชนะ โดยอรรถะ ทั่ว ๆ ไปแก่บททั้งหลายทั่วไป ในบทเหล่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

พรรณนา ๕ สิกขาบทข้างต้น

คำใดข้าพเจ้า กล่าวไว้ว่า แต่ใน ๕ สิกขาบทข้างต้น จำต้องชี้แจง

โดยประกาศความที่แปลกกัน ฯลฯ พึงทราบวินิจฉัย ฯลฯ ในคำนั้น บัดนี้

ข้าพเจ้าจะกล่าวชี้แจงดังนี้ ก่อนอื่น ในคำว่า ปาณาติปาโต นี้ บทว่า ปาโณ

ได้แก่ความสืบต่อแห่งขันธ์ที่นับเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์. อีกนัยหนึ่ง ได้แก่ สัตว์

ที่บัณฑิตอาศัยความสืบต่อแห่งขันธ์นั้น บัญญัติไว้. ก็วธกเจตนา เจตนาคิดจะ

ฆ่าของบุคคลผู้มีความสำคัญในสัตว์มีชีวิตนั้นว่าเป็นสัตว์มีชีวิต เป็นสมุฏฐาน

แห่งความพยายามที่จะตัดชีวิตินทรีย์ของสัตว์มีชีวิตนั้น เป็นไปทางกายทวาร

และวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อว่าปาณาติบาต.

ในคำว่า อทินฺนาทาน นี้ บทว่า อทินฺน ได้แก่ ทรัพย์สิ่งของ

ที่เจ้าของหวงแหน. ซึ่งเจ้าของเองเมื่อทำตามที่ต้องการ ก็ไม่ต้องโทษ ไม่ถูก

ตำหนิเถยยเจตนา เจตนาคิดจะลัก ของบุคคลผู้มีความสำคัญในทรัพย์สิ่งของที่

เจ้าของหวงแหนว่าเป็นทรัพย์สิ่งของที่เจ้าของหวงแหน เป็นสมุฏฐานแห่งความ

พยายามที่จะลักทรัพย์สิ่งของนั้น เป็นไปทางกายทวารและวจีทวาร ทวารใด

ทวารหนึ่งนั้นแล ชื่อว่าอทินนาทาน.

บทว่า อพฺรหฺมจริย ได้แก่ ความประพฤติไม่ประเสริฐ. เจตนา

เป็นเหตุละเมิดฐาน. คือ การซ่องเสพอสัทธรรม เป็นไปทางกายทวารโดยการ

ซ่องเสพเมถุนคือการสมสู่กันสองต่อสอง ชื่อว่า อพรหมจรรย์.

ในคำว่า มุสาวาโท นี้ บทว่า มุสา ได้แก่ วจีประโยคหรือ กาย

ประโยค ที่หักรานประโยชน์ของบุคคลผู้มุ่งจะให้คลาดเคลื่อนจากความจริงเป็น

เบื้องหน้า มิจฉาเจตนา เจตนาที่จะพูดผิด ทำผิด ของบุคคลนั้น ด้วยประสงค์

จะให้ผู้อื่นเข้าใจผิด เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยคที่จะทำผู้อื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

ให้เข้าใจผิด เป็นไปทางกายทวารและวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อว่า

มุสาวาท.

ก็ในคำว่า สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺาน นี้ บทว่า สุรา ได้แก่สุรา

๕ อย่าง คือ สุราทำด้วยแป้ง สุราทำด้วยขนม สุราทำด้วยข้าวสุก สุราผสม

เชื้อ สุราที่ปรุงด้วยเครื่องปรุง.

แม้ เมรัยก็มี ๕ อย่าง คือ เมรัยที่ทำด้วยดอกไม้ เมรัยที่ทำด้วย

ผลไม้ เมรัยทำด้วยงบน้ำอ้อย เมรัยที่ทำด้วยดอกมะซาง เมรัยที่ปรุงด้วยเครื่อง

ปรุง. บทว่า มชฺช ได้แก่ ทั้งสองอย่างนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า มัชชะ เพราะ

อรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความเมา. ก็หรือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าอะไรเป็นทีตั้งแห่งความ

เมา บุคคลเมาประมาทด้วยสิ่งใดที่ดื่มแล้ว สิ่งอันนี้ก็เรียกว่า มัชชะ. บทว่า

ปมาทฏฺาน ได้แก่ เจตนาที่ดื่มกลืนกินมัชชะนั้น ท่านเรียกว่า ปมาทฏฺ-

ฐาน เพราะเป็นเหตุแห่งความเมาความประมาท เจตนากลืนกินมัชชะคือสุรา

และเมรัย เป็นไปทางกายทวารด้วยประสงค์จะกลืนกิน พึงทราบว่าสุราเมรัย

เป็นทั้งแห่งความประมาทโดยประการใด พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทเหล่านั้น

ก่อนนับตั้งแต่ปาณาติบาตเป็นต้นไป โดยประการนั้น.

วินิจฉัยสิกขาบทอย่างเดียวกันและต่างกัน เป็นต้น

ในคำ เอกตานานตาทิโต โดยที่สิกขาบทอย่างเดียวกันแต่ต่างกัน

เป็นต้นนี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ปาณาติบาต หรือสิกขาบทอันมีอทินนาทานเป็นต้น

เป็นอย่างเดียวกัน เพราะผู้จะพึงถูกฆ่า ผู้ฆ่า ประโยคและเจตนาเป็นต้น เป็น

อย่างเดียวกันหรือต่างกัน เพราะมีผู้จะถูกฆ่าเป็นต้นต่างกัน หรือว่าไม่ใช่ทั้ง

สองอย่างก็เพราะเหตุไร ผู้ทักท้วงจึงกล่าวคำนี้ ผิว่าสิกขาบทจะเป็นอย่างเดียว

กัน เพราะคนที่จะพึงถูกฆ่าเป็นต้นเป็นคนเดียวกันไซร้ เมื่อเป็นดังนั้น เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

ใด ผู้ฆ่ามากคน ฆ่าคนที่จะพึงถูกฆ่าคนเดียว หรือผู้ฆ่าคนเดียวฆ่าคนที่จะพึง

ถูกฆ่ามากคน คนที่จะพึงถูกฆ่ามากคน ก็จะถูกผู้ฆ่าฆ่าด้วยประโยคเดียว มี

สาหัตถิกประโยคเป็นต้น. หรือเจตนาอย่างเดียวก็จะยังประโยคของผู้เข้าไปตัด

ชีวิตินทรีย์ ของคนที่จะพึงถูกฆ่ามากคนให้ทั้งขึ้น เมื่อนั้น ปาณาติบาตก็จะ

พึงมีอย่างเดียว แต่ผิว่าสิกขาบทจะต่างกัน เพราะคนที่จะพึงถูกฆ่าเป็นคนต่าง

กันไซร้ เมื่อเป็นดังนั้น เมื่อใดผู้ฆ่าคนเดียว เมื่อทำประโยคเดียว เพื่อคนๆ

เดียว ก็ย่อมฆ่าคนที่พึงถูกฆ่ามากคน หรือผู้ฆ่ามากคนเมื่อทำมากประโยค เพื่อ

คนมากคนมีเทวทัต ยัญทัตและโสมทัตเป็นต้น ก็ย่อมฆ่าได้เฉพาะเทวทัต ยัญทัต

หรือโสมทัตคนเดียวเท่านั้น หรือผู้ที่จะพึงถูกฆ่าคนเดียว ถูกผู้ฆ่าฆ่าด้วยมาก

ประโยคมีสาหัตถิกประโยคเป็นต้น เจตนามากเจตนา ก็จะยังประโยคของผู้

เข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ของผู้ที่จะพึงถูกฆ่าคนเดียวเท่านั้นให้ตั้งขึ้น. เมื่อนั้น

ปาณาติบาต ก็จะพึงมีมากอย่าง แม้คำทั้งสองนั้น ก็ไม่ถูก. สิกขาบทจะชื่อว่า

เป็นอย่างเดียวกัน เพราะผู้ที่จะพึงถูกฆ่าเป็นต้นเหล่านั้น มีผู้เดียวก็หามิได้

สิกขาบทชื่อว่าต่างกันเพราะผู้ที่จะพึงถูกฆ่าเป็นต้นเหล่านั้นต่างกัน ก็หามิได้

ความจริง สิกขาบทอย่างเดียวกัน และต่างกัน ก็โดยเหตุอย่างอื่น คำนั้นพึงใช้

แก่ปาณาติบาต แม้สิกขาบทนอกนั้น ก็พึงใช้อย่างนั้น.

ข้าพเจ้าขอชี้แจงต่อไปนี้:- ก่อนอื่น ปาณาติบาตนั้น ชื่อว่าเป็น

อย่างเดียวกัน เพราะผู้ที่จะพึงถูกฆ่าและคนฆ่าเป็นต้น เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่า

ต่างกัน เพราะผู้ที่จะพึงถูกฆ่าเป็นต้นต่างกัน ก็หาไม่ ที่แท้ ปาณาติบาต

ชื่อว่าเป็นอย่างเดียวกัน เพราะผู้ที่จะถูกฆ่าและคนฆ่าเป็นต้นเป็นอย่างเดียวกัน

โดยจัดเป็นคู่ ๆ กัน. ทั้งชื่อว่าเป็นอย่างเดียวกัน เพราะผู้จะพึงถูกฆ่าและคนฆ่า

เป็นต้นแม้ทั้งสองนั้น เป็นอย่างเดียวกันโดยจัดเป็นคู่ ๆ กัน หรือชื่อว่าต่าง

กัน เพราะผู้ที่จะพึงถูกฆ่าและคนฆ่าเป็นต้นนั้น เป็นอีกคนหนึ่งจากคนทั้งสอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

จริงอย่างนั้น เมื่อคนผู้ฆ่ามากคน แม้ฆ่าคนผู้ที่จะถูกฆ่าหลายคน

ด้วยประโยคหลายประโยค มี สรักเขปประโยค การขุดสระเป็นต้น หรือ

ด้วยประโยค ๆ เดียวมี โอปาตขณนประโยค การขุดบ่อเป็นต้น ก็เป็น

ปาณาติบาตมากปาณาติบาต เมื่อคนผู้ฆ่าคนเดียวแม้ฆ่าคนที่ถูกฆ่ามา ๆ คน ด้วย

ประโยคเดียวหรือมากประโยคด้วยเจตนาเดียว ที่ยังประโยคนั้นให้ตั้งขึ้น หรือ

ด้วยมากประโยค ก็เป็นปาณาติบาตจากปาณาติบาต อนึ่ง เมื่อคนผู้ฆ่ามากคน

แม้ฆ่าคนที่ถูกฆ่าคนเดียว ด้วยมากประโยความที่กล่าวแล้ว หรือด้วยประโยค

เดียว ก็เป็นปาณาติบาตมากปาณาติบาต แม้ในสิกขาบทมีอทินนาทานเป็นต้น ก็

นัยนี้ในเรื่องนี้ พึงทราบวินิจฉัยโดยความเป็นสิกขาบทอย่างเดียวกัน และต่างกัน

เป็นต้น ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้

เมื่อว่าโดยอารมณ์ ในข้อนี้ ปาณาติบาตชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์.

อทินนาทาน อพรหมจรรย์ และสุราเมรัยมัชชปมาทัฏฐาน มีสังขารคือบรรดา

รูปธรรมมีรูปายตนะเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ มุสาวาทมีสัตว์เป็น

อารมณ์ เพราะปรารภคนที่จะพูดมุสาเป็นไป อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า แม้

อพรหมจรรย์ ก็มีสัตว์เป็นอารมณ์ อนึ่ง อทินนาทานมีสัตว์เป็นอารมณ์ใน

เวลาที่สัตว์เป็นผู้ที่จะพึงถูกลักไป อีกประการหนึ่งอทินนาทาน มีสัตว์เป็น

อารมณ์ก็โดยอำนาจสังขารมิใช่โดยอำนาจพระบัญญัติ ในข้อนี้ พึงทราบวินิจ-

ฉัยโดยอารนณ์ ดังกล่าวมาฉะนี้.

เมื่อว่าโดยสมาทาน ก็สิกขาบทเหล่านี้ มีปาณาติปาตาเวรมณี-

สิกขาบทเป็นต้น สามเณรสมาทานในสำนักภิกษุเท่านั้น จึงเป็นอันสมาทาน ส่วน

อุบาสกสมาทานเองก็ดี สมาทานในสำนักของผู้อื่นก็ดี ก็เป็นอันสมาทานแล้ว

สมาทานรวมกันก็ดี สมาทานแยกกันก็ดี ก็เป็นอันสมาทานแล้ว แต่ต่างกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

อย่างไรเล่า บุคคลสมาทานรวมกัน ก็มีวิรัติเดียว มีเจตนาเดียวเท่านั้น แต่

ปรากฏว่าวิรัติและเจตนาเหล่านั้น มีถึง ๕ โดยอำนาจกิจคือหน้าที่. ส่วนบุคคล

ที่สมาทานแยกกันก็พึงทราบว่ามีวิรัติ เจตนาก็ ๕ ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย

โดยการสมาทาน ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อว่าโดยการขาด ในข้อนี้ สำหรับสามเณรทั้งหลาย เมื่อ

สิกขาบทหนึ่งขาด ทุกสิกขาบทก็เป็นอันขาดเพราะสิกขาบทเหล่านั้น เป็นฐาน

ที่ตั้งแห่งปาราชิกของสามเณรเหล่านั้น ด้วยสิกขาบทที่สามเณรล่วงละเมิดนั้น

แล ก็มีกรรมต่อเนื่องตามมา.

แต่สำหรับคฤหัสถ์ เมื่อศีลข้อหนึ่งขาด ก็ขาดข้อเดียวเท่านั้น เพราะ

ศีลของคฤหัสถ์เหล่านั้นมีองค์ ๕ ย่อมจะสมบูรณ์อีกด้วยการสมาทานศีลนั้น เท่า

นั้น แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่าบรรดาศีลที่คฤหัสถ์สมาทานเป็นข้อ ๆ เมื่อ

ศีลข้อหนึ่งขาด ก็ขาดข้อเดียวเท่านั้น แต่บรรดาศีลที่คฤหัสถ์สมาทานรวมกัน

อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าสมาทานศีล ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ดังนี้ เมื่อศีลข้อหนึ่ง

ขาด ศีลแม้ที่เหลือ ก็เป็นอันขาดหมดทุกข้อ. เพราะเหตุไร ? เพราะศีลข้อ

ที่สมาทานไม่ขาด ด้วยศีลที่คฤหัสถ์ล่วงละเมิดนั่นแล ก็มีความผูกพันด้วยกรรม

ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยการขาด ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อว่าโดยโทษมาก บรรดาสัตว์มีชีวิตที่เว้นจากคุณ มีสัตว์เดียรัจ-

ฉานเป็นต้น ปาณาติบาตชื่อว่ามีโทษน้อย ก็เพราะสัตว์ตัวเล็ก, ชื่อว่ามีโทษ

มาก ก็เพราะสัตว์ตัวใหญ่. เพราะเหตุไร. เพราะประโยคใหญ่ (ความพยายาม

มาก) แม้เมื่อมีประโยคเสมอกัน ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะวัตถุใหญ่ ส่วน

บรรดาสัตว์มีชีวิตที่มีคุณ มีมนุษย์เป็นต้น ปาณาติบาต ชื่อว่ามีโทษน้อย ก็

เพราะมนุษย์มีคุณน้อย, ชื่อว่ามีโทษมาก ก็เพราะมนุษย์มีคุณมาก แต่เมื่อมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

ตัวและคุณเสมอกัน ก็พึงทราบว่า มีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายาม

อ่อนและมีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า แม้ในสิกขาบทที่เหลือ

ก็นัยนี้ อนึ่ง ในข้อนี้ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานเท่านั้น ชื่อว่ามีโทษมาก

ปาณาติบาตเป็นต้น หามีโทษมากเช่นนั้นไม่ เพราะอะไร เพราะทำอันตราย

แก่อริยธรรม เหตุทำผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ให้กลายเป็นคนบ้า ในข้อนี้ พึง

ทราบวินิจฉัย แม้โดยความมีโทษมาก ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อว่าโดยประโยค ก็ในข้อนี้ ปาณาติบาตมี ๖ ประโยคคือ

สาหัตถิกประโยค อาณัตติกประโยค นิสสัคคิยประโยค ถาวรประโยค

วิชชามยประโยค อิทธิมยประโยค.

บรรดาประโยคเหล่านั้น การประหารด้วยกายหรือของที่เนื่องด้วยกาย

ชื่อว่า สาหัตถิกประโยค สาหัตถิกประโยคนั้น แยกเป็น ๒ คือ สาหัต-

ถิกประโยคเจาะจงและสาหัตถิกประโยคไม่เจาะจง. ในสาหัตถิกประโยคทั้งสอง

นั้น เฉพาะสาหัตถิกประโยคเจาะจงบุคคลย่อมผูกพันด้วยกรรม เพราะความ

ตายของคนที่ไปเจาะจงประหารเท่านั้น. ในสาหัตถิกประโยคไม่เจาะจงอย่างนี้ว่า

ผู้ใดผู้หนึ่งจงตายเสียเถิดดังนี้ บุคคลย่อมผูกพันด้วยกรรมเพราะความตายของ

คนใดคนหนึ่ง เหตุการประหารเป็นปัจจัย. อนึ่ง แม้ด้วยสาหัตถิกประโยคทั้ง

สอง เขาพอถูกประหารก็ตาย หรือตายด้วยโรคนั้นในภายหลัง บุคคลก็ย่อมผูก

พันอยู่ด้วยกรรม ขณะที่เขาถูกประหารเท่านั้น แต่เมื่อบุคคลประหารด้วย

ประสงค์จะให้เขาตาย แต่เขาไม่ตายด้วยการประหารนั้น กลับคิดประหารเขา

อีก ผิว่า แม้ในภายหลังเขาตายด้วยการประหารครั้งแรก บุคคลก็ย่อมผูกพัน

ด้วยกรรมในเวลานั้นเท่านั้น ถ้าว่าเขาตายด้วยการประหารครั้งที่สอง ก็ไม่เป็น

ปาณาติบาต แม้เมื่อเขาตายด้วยสาหัตถิกประโยคทั้งสอง บุคคลก็ผูกพันด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

กรรม โดยการประหารครั้งแรกเท่านั้น เมื่อเขาไม่ตายแม้ด้วยสาหัตถิกประโยค

ทั้งสอง ก็ไม่เป็นปาณาติบาตเลย ในข้อที่แม้คนมากคนประหารคนคนเดียว

ก็นัยนี้ แม้ในอันนี้ความผูกพันด้วยกรรม ย่อมมีแก่คนที่ประหารเขาตายเท่า

การจงใจสั่งให้เขาทำ ชื่อว่า อาณัตติกประโยค แม้ในอาณัตตก-

ประโยคนั้น ก็พึงทราบความผูกพันด้วยกรรม โดยนัยที่กล่าวไว้ในสาหัตถิก-

ประโยคนั้นแล ก็ในอาณัตติกประโยคนั้น พึงทราบว่า มีกำหนดไว้ ๖ อย่าง

อาณัตติกประโยคกำหนดไว้ อย่างเหล่านี้คือ

วัตถุ๑ กาล ๑ โอกาส ๑ อาวุธ ๑ อิริยาบถ ๑

กิริยาวิเศษ ๑

ในข้อกำหนด ๖ นั้น สัตว์มีชีวิต พึงจำไว้ว่าวัตถุ. เวลาเช้าเวลาเย็น

เป็นต้น และเวลาหนุ่มสาว เวลาเป็นผู้ใหญ่เป็นต้น ก็พึงจำไว้ว่า กาล. คาม

นิคม ป่า ตรอกหรือทางแยก ดังว่ามานี้เป็นต้น พึงจำไว้ว่า โอกาส. อาวุธ

เป็นต้น อย่างนี้คือ คาบ ธนู หรือหอก พึงทรงการยืนหรือการนั่งของตนที่ถูกฆ่า

และคนฆ่าดังว่ามานี้เป็นต้น พึงจำไว้ว่า อิริยาบถ. การแทง การตัด การ

ทำให้ขาด หรือกร้อนผม ดังว่ามาเป็นต้น พึงจำไว้ว่า กิริยาวิเศษ. ก็หากว่า

คนถูกเขาสั่งให้ฆ่าผู้ใด ทำวัตถุให้คลาดเคลื่อน [ฆ่าผิดตัว] ไปฆ่าคนอื่น

นอกจากผู้นั้นไซร้ ผู้สั่งก็ไม่ต้องผูกพันด้วยกรรม ถ้าเขาไม่ทำวัตถุให้คลาด

เคลื่อนฆ่าไม่ผิดตัว แม้ทั้งสองคนก็ต้องผูกพันด้วยกรรม คือผู้สั่งในขณะสั่ง

ผู้ถูกสั่งในขณะฆ่า แม้ในข้อกำหนดอื่น ๆ มีกาลเป็นต้น ก็นัยนี้.

ก็การปล่อยเครื่องประหารด้วยกายหรือของที่เนื่องด้วยกาย เพื่อทำเขา

ให้ตาย ชื่อว่า นิสสัคคิยประโยค. แม้นิสสัคคิยประโยคนั้น ก็แยกเป็น ๒

เหมือนกันคือ นิสสัคคิยประโยคเจาะจงและไม่เจาะจง ในข้อนี้ การผูกพัน

ด้วยกรรม ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วในข้อนี้ ๆ นั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

การขุดบ่อ การวางกระดานหก การประกอบเหยื่อยาพิษและกรงยนต์

เป็นต้น เพื่อทำให้เขาตาย ชื่อว่า ถาวรประโยค. แม้ถาวรประโยคนั้นก็แบ่ง

เป็น ๒ คือถาวรประโยคเจาะจงและไม่เจาะจง. ก็ในข้อนี้ การผูกพันด้วยกรรม

พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วโนข้อต้น ๆ แต่ความแปลกกันมีดังนี้ เมื่อคนหา

หัวมัน ทำบ่อเป็นต้นใกล้ ๆ หรือทำบ่อเปล่าก็ต้องคนอื่น ๆ ผิว่า เขาตาย

เพราะบ่อเป็นต้นนั้น เป็นปัจจัย ความผูกพันด้วยกรรม ก็มีแก่คนหาหัวมัน.

อนึ่ง เมื่อคนนั้นหรือคนอื่นกลบบ่อนั้นเสียแล้ว ทำพื้นให้เรียบ หรือคนกวาดฝุ่น

โกยฝุ่นไป หรือคนขุดหัวมัน ขุดหัวมัน ทำหลุมไว้ หรือเมื่อฝนตกเกิดโคลนตม

คนลงไปติดตายในโคลนตมนั้น ความผูกพันด้วยกรรม ก็มีแก่คนหาหัวมัน

นั่นแหละ ก็ผิว่า คนที่ได้หัวมันหรือคนอื่น ทำหลุมนั้นให้กว้างหรือลึกกว่า

เดิม คนลงไปตายเพราะหลุมกว้างหรือลึกนั้น ความผูกพันด้วยกรรม ก็แก่

คนแม้ทั้งสองเหมือนอย่างว่า มูลเหตุทั้งหลายย่อมเทียบกัน ได้กับการขุดหัวมัน

ฉันใด เมื่อคนกลบหลุมให้เรียบในที่นั้น คนก็พ้นจากตกหลุม ก็ฉันนั้น. แม้ใน

ถาวรประโยคมีการวางกระดานหกเป็นต้น ก้อย่างนั้นเหมือนกัน การผูกพัน

ด้วยกรรมตามเหตุที่เกิด ก็พึงทราบตราบเท่าที่ถาวรประโยคเหล่านั้นยังเป็นไป.

การร่ายวิทยาคมเพื่อทำให้ตาย ชื่อว่า วิชชามยประโยค.

การทำฤทธิ์ต่าง ๆ ที่เกิดแต่วิบากกรรม เพื่อทำให้เขาตาย เหมือน

ใช้อาวุธคือเขี้ยวเป็นต้น ขบด้วยเขี้ยวเป็นอาทิ ชื่อว่า อิทธิมยประโยค.

ส่วนอทินนาทานก็มีประโยค คือสาหัตถิกประโยคและอาณัตติกประโยคเป็นต้น

ที่เป็นไปโดยอำนาจ เถยยาวหาร ปสัยหาวหาร ปฏิจฉันนาวหาร ปริกัป-

ปาวหารและกุสาวหาร ประเภทแห่งประโยคแม้เหล่านั้น ก็พึงทราบโดยทำนอง

ที่กล่าวมาแล้วนั่นแล, สิกขาบทแม้ทั้งสามมีอพรหมจริยะเป็นต้น ก็ได้เฉพาะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

สาหัตถิกประโยคอย่างเดียว ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยประโยค ด้วย

ประการดังกล่าวมาฉะนี้

เมื่อว่าโดยองค์ ในข้อนี้

ปาณาติบาต มีองค์ ๕ คือ

๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต

๒. ปาณสญฺี สำคัญว่า สัตว์มีชีวิต

๓. วธกจิตฺต จิตคิดจะฆ่า

๔. วายมติ พยายาม

๕. เตน มรติ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

แม้อทินนาทาน ก็มีองค์ ๕ เหมือนกัน คือ

๑. ปรปริคฺคหิต ของมีเจ้าของหวงแหน

๒. ปรปริคฺคหิตสญฺี สำคัญว่า ของมีเจ้าของหวงแหน

๓. เถยฺยจิตฺต มีจิตคิดจะจะลัก

๔. วายมติ พยายาม

๕. เตน อาทาตพฺพ อาทาน คจฺฉติ ลักของได้มา ด้วยความ

พยายามนั้น

ส่วนอพรหมจรรย์ มีองค์ ๔ คือ

๑. อชฺฌาจริยวตฺถุ สิ่งที่พึงล่วงละเมิด

๒. เสวนจิตฺต จิตคิดจะเสพ

๓. ปโยค สมาปชฺชติ พยายามเข้าถึง

๔. สาทิยติ ยินดี

มุสาวาท ก็มีองค์ ๔ เหมือนกัน คือ

๑. มุสา เรื่องเท็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

๒. วิสวาทนจิตฺต จิตคิดจะพูดเท็จ

๓. วายาโม พยายาม เกิดแต่จิตนั้น

๔. ปรวิสวาทน พูดเท็จต่อคนอื่น และเขารู้เรื่องเท็จ

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ก็มีองค์ ๔ คือ

๑. สุราทีน อญฺตร ของมึนเมามีสุราเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง

๒. มทนียปาตุกมฺยตาจิตฺต จิตคิดอยากจะดื่มจองมึนเมา

๓. ตชฺช วายาม อาปชฺชติ ความพยายามเกิดแต่จิตนั้น

๔. ปีเต จ ปวิสติ ดื่มเข้าไปในลำคอ

ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยองค์ ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.

เมื่อว่าโดยสมุฏฐาน ในข้อนี้ ปาณาติบาต อทินนาทานและมุสาวาท

มีสมุฏฐาน ๓ คือ ๑. กายจิต ๒. วาจาจิต ๓. กายวาจาจิต. อพรหมจรรย์

มีสมุฏฐานเดียว คือกายจิต. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานมี ๒ สมุฏฐาน ศีลกาย

และกายจิต ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย โดยสมุฏฐานด้วยประการดังกล่าวมา

ฉะนี้.

เมื่อว่าโดยเวทนา ในข้อนี้ ปาณาติบาต ประกอบด้วยทุกขเวทนา.

อทินนาทาน ประกอบด้วยเวทนา ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง มุสาวาทก็เหมือนกัน

อีกสองสิกขาบท ประกอบด้วยสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา ในข้อนี้ พึง

ทราบวินิจฉัย แม้โดยเวทนา ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.

เมื่อว่าโดยมูล ในข้อนี้ ปาณาติบาต มีโทสะและโมหะเป็นมูล

อทินนาทานและมุสาวาท มีโลภะและโมหะเป็นมูลบ้าง มีโทสะและโมหะเป็น

มูลบ้าง. อีก ๒ สิกขาบทนอกนี้มีโลภะและโมหะเป็นมูล ในข้อนี้ พึงทราบ

วินิจฉัยโดยมูล ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

เมื่อว่าโดยธรรม ในข้อนี้ ปาณาติบาต อทินนาทานและอพรหม-

จรรย์ เป็นกายกรรม และเป็นกรรมบถ มุสาวาทเป็นวจีกรรมอย่างเดียว ที่หัก

รานประโยชน์ ก็เป็นกรรมบถ มุสาวาทนอกนี้เป็นกรรมอย่างเดียว สุราเมรย

มัชชปมาทัฏฐานเป็นกายกรรมอย่างเดียว ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย แม้โดย

กรรมด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.

เมื่อว่าโดยวิรัติงดเว้น ในข้อนี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า บุคคลเมืองดเว้น

จากปาณาติบาตเป็นต้น งดเว้นจากไหน. จะกล่าวชี้แจงดังนี้ ก่อนอื่น บุคคล

เมื่องดเว้น โดยสมาทานวิรัติ ย่อมงดเว้นจากอกุศลกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น

ของตนเองหรือของคนอื่น ๆ ปรารภอะไร. ก็ปรารภอกุศลกรรมที่จะงดเว้น

นั่นแหละ เมื่องดเว้นโดยสันปัตตวิรัติ ย่อมงดเว้นจากอกุศลกรรม ดังกล่าวแล้ว

นั่นแล. ปรารภอะไร. ก็ปรารภอารมณ์แห่งอกุศลกรรมที่ปาณาติบาตเป็นต้น

ที่กล่าวแล้ว. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บุคคลปรารภสังขารทั้งหลาย. ที่นับ

ได้ว่าน้ำเมา คือสุราและเมรัยจึงงดเว้นจากที่ดังแห่งความประมาท คือการดื่มกิน

น้ำเมาคือสุราและเมรัย. บุคคลปรารภบรรดาสัตว์และสังขารเฉพาะที่ตนพึงลัก

และพึงหักราน จึงงดเว้นจากอทินนาทานและมุสาวาท. ปรารภสัตว์อย่างเดียว

จึงงดเว้นจากปาณาติบาตและอพรหมจรรย์. อาจารย์นอกจากนั้นมีความเห็น

อย่างนี้ว่าเมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลเมื่อคิดอย่างหนึ่ง ก็ทำเสียอย่างหนึ่ง ละสิ่งใด

ก็ไม่รู้สิ่งนั้น ดังนี้เมื่อไม่ต้องการ [อย่างนั้น] จึงกล่าวว่า บุคคลละสิ่งใดก็ปรารภ

สิ่งนั้นคือ อกุศลกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้นของตนนั่นแล จึงงดเว้น. คำนั้นไม่ถูก

เพราะเหตุไร เพื่อสิ่งนั้นไม่อารมณ์ปัจจุบัน และไม่มีอารมณ์ภายนอก. จริงอยู่

ในบาลีวิภังค์แห่งสิกขาบททั้งหลาย ท่านถามว่า สิกขาบททั้ง ๕ เป็นกุศลเท่าไร

ฯลฯ เป็นอรณะเท่าไร แล้วในการตอบปัญหาที่ดำเนินไปอย่างนี้ว่า กุศลทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

หลาย ประกอบด้วยสุขเวทนาก็มี จึงกล่าวถึงความที่ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน

และอารมณ์ภายนอกอย่างนี้ว่ามีอารมณ์เป็นปัจจุบัน มีอารมณ์ภายนอก คำนั้น

ย่อมไม่ถูกสำหรับคนที่ปรารภอกุศลธรรม มีปาณาติบาตเป็นต้นของตน. ในคำ

ที่ว่า บุคคลคิดอย่างหนึ่ง ทำเสียอย่างหนึ่ง และละสิ่งใดก็ไม่รู้สิ่งนั้น ขอกล่าว

ชี้แจง ดังนี้ บุคคลกำลังปฏิบัติโดยทำกิจให้สำเร็จ ใครจะกล่าวว่า คิดอย่าง

หนึ่ง ทำเสียอย่างหนึ่ง หรือว่า ละสิ่งใด ไม่รู้สิ่งนั้น ดังนี้ย่อมไม่ได้

อารภิตฺวาน อมต ชหนฺโต สพฺพปาปเก

นิทสฺสนญฺเจตฺถ ภเว มคฺคฏฺโริยปุคฺคโล

พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค ปรารภอมตธรรม

ก็ละบาปธรรมได้หมด เป็นอุทาหรณ์ในข้อนี้.

ในข้อนี้พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยวิรัติงดเว้นด้วยประการดังกล่าวมา

ฉะนี้.

เมื่อว่าโดยผล บาปธรรมมีปาณาติบาตเป็นต้นเหล่านี้ทั้งหมด ย่อม

ให้เกิดผลคือทุคติ และให้เกิดวิบากที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจ

ในสุคติ ทั้งให้เกิดผลมีความไม่แกล้วกล้าเป็นต้น ในภายภาคหน้าและปัจจุบัน.

อนึ่ง ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยผลตามนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า วิบาก

ของปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ก็ทำให้เป็นผู้มีอายุสั้น.

อีกประการหนึ่ง ในข้อนี้ ก็พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยสมุฏฐาน เวทนา

มูล กรรม และผลของเจตนางดเว้น จากปาณาติบาตเป็นต้น ในเจตนางดเว้น

นั้น ให้เข้าใจกันดังนี้ . เวรมณี เจตนางดเว้น เหล่านั้นทั้งหมด ตั้งขึ้นโดยสมุฏฐาน

๔ คือ กาย กายจิต วาจาจิต กายวาจาจิต. ทั้งหมดนั่นแหละประกอบด้วย

สุขเวทนาก็มี ประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี มีอโลภะอโทสะเป็นมูลก็มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

มีอโลภะอโทสะและอโมหะเป็นมูลก็มี ในข้อนี้ เวรมณีแม้ทั้ง เป็นกายกรรม

มุสาวาทาเวรมณีเป็นวจีกรรม แต่ก็ตั้งขึ้นจากจิต. ในขณะมรรคจิต แม้เวรมณี

ทั้งปวง ก็เป็นมโนกรรม.

ปาณาติปาตา เวรมณี มีผลเป็นต้นอย่างนี้คือ ความมีอวัยวะใหญ่

น้อยสมบูรณ์ ความมีสมบัติคือความสูงใหญ่ ความมีสมบัติคือเชาว์ว่องไว้

ความมีเท้าตั้งอยู่เรียบดี ความงาม ความนุ่มนวล ความสะอาด ความกล้า

ความมีกำลังมาก ความมีวาจาสละสลวย ความเป็นที่รักของชาวโลก ความมีวาจา

ไม่มีโทษ ความมีบริษัทไม่แตกกัน ความมีความองอาจ ความมีรูปไม่บกพร่อง

ความเป็นผู้ไม่ตายเพราะศัตรู ความเป็นผู้มีบริวารมาก ความเป็นผู้มีรูปงาม

ความเป็นผู้มีทรวดทรงดี ความมีโรคน้อย ความไม่เศร้าโศก ความไม่พลัด

พรากกับสัตว์สังขารรักที่พอใจ ความมีอายุยืน.

อทินนาทานา เวรมณี มีผลเป็นต้นอย่างนี้คือ ความมั่งมีธนทรัพย์

ความมั่งมีธัญญทรัพย์ ความมั่งมีโภคทรัพย์ ความเกิดโภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิด

ความมีความถาวรมั่นคงแห่งโภคทรัพย์ที่เกิดแล้ว ความได้โภคทรัพย์ที่ปรารถนา

อย่างฉับพลัน ความมีโภคทรัพย์ไม่ถูกแบ่งด้วยภัย คือ พระราชา โจร น้ำ

ไฟ ทายาทที่ไม่รักกัน ความได้ธนทรัพย์ที่ไม่สาธารณ์ ความได้โลกุตรทรัพย์

ความไม่รู้จักความไม่มี ความอยู่เป็นสุข.

อพฺรหฺมจริยา เวรมณี มีผลเป็นต้นดังนี้ คือ ความไม่มีศัตรู ความ

เป็นที่รักของตนทุกคน ความได้ข้าวน้ำผ้าและที่นอนเป็นต้น ความนอนสบาย

ความตื่นสบาย ความพ้นภัยในอบาย ความเป็นผู้ไม่เกิดเป็นสตรี หรือ

เกิดเป็นคนไม่มีเพศ ความไม่โกรธ ความกระทำโดยเคารพ ความเป็นที่รัก

กันแห่งสตรีและบุรุษ ความมีอินทรีย์บริบูรณ์ ความมีลักษณะบริบูรณ์ ความ

ไม่มีความสงสัย ความเป็นผู้ขวนขวายน้อย ความอยู่เป็นสุข ความไม่มีภัยแต่

ที่ไหน ความไม่มีความพลัดพรากจากสัตว์สังขารที่รัก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

มุสวาทา เวรมณี มีผลเป็นต้นอย่างนี้ คือ ความมีอินทรีย์ผ่องใส

ความเป็นผู้พูดวาจาไพเราะสละสลวย ความมีพื้นเรียงเรียบและสะอาด ความ

ไม่อ้วนเกินไป ความไม่ผอมเกินไป ความไม่เตี้ยเกินไป ความไม่สูงเกินไป

ความมีสัมผัสสบาย ความมีปากมีกลิ่นดังดอกอุบล ความมีตนใกล้ชิดเชื่อฟังดี

ความมีวาจาที่เชื่อถือได้ ความมีลิ้นอ่อนแดงบางเสมือนดอกโกมลและอุบล

ความไม่ฟุ้งซ่าน ความไม่คลอนแคลน.

สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺานา เวรมณี มีผลเป็นต้น อย่างนี้คือ ความ

ปฏิญาณได้ฉับพลันในกรณียกิจทั้งปวง ทั้งอดีตอนาคต และปัจจุบัน ความ

มีสติมั่นคงทุกเมื่อ ความไม่เป็นคนบ้า ความมีญาณ ความไม่เกียจคร้าน

ความไม่โง่ ความไม่เป็นใบ้ ความไม่มัวเมา ความไม่ประมาท ความไม่หลง

ความไม่หวาดกลัว ความไม่แข่งดี ความไม่ต้องสงสัย ความไม่ต้องแคลงใจ

ความเป็นคนพูดสัจจะ ความเป็นคนพูดแต่วาจาไม่ส่อเสียด ไม่หยาบคาย

ไม่เปล่าประโยชน์ ความเป็นคนไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ความ

มีกตัญญู มีความกตเวที ความไม่ตระหนี่ ความเสียสละ ความมีศีล ความ

เป็นคนตรง ความไม่โกรธ ความมีหิริ ความมีโอตตัปปะ ความมีความ

เห็นตรง ความมีปัญญามาก ความมีความรู้ ความเป็นบัณฑิต ความฉลาด

ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์. ในข้อนี้ พึงทราบวินิจฉัย แม้

โดยสมุฏฐาน เวทนา มูล กรรม และผลด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.

พรรณนา ๕ สิกขาบทหลัง

คำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ข้อยุติจากคำพรรณนา ๕ สิกขาบทต้นนั้น

ควรนำมาใช้ใน ๕ สิกขาบทหลัง ควรกล่าวเป็นข้อ ๆ และควรทราบว่าสิกขาบท

มีอย่างเลวเป็นต้นไว้ด้วย บัดนี้จะพรรณนาความดังต่อไปนี้. คำใดในการ

พรรณนา ๕ สิกขาบทต้น ย่อมยุติถูกต้อง คำนั้นควรถือจากการพรรณนานั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

มาประกอบใน ๕ สิกขาบทหลัง. ในข้อนี้ ประกอบความดังนี้. เหมือนอย่างว่า

เมื่อว่าโดยอารมณ์ในสิกขาบทก่อน ๆ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน

มีสังขารมีรูปายตนะเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ฉันใด ในที่นี้ วิกาล

โภชนะก็ฉันนั้น พึงทราบความต่างกัน แห่งอารมณ์ของ ๕ สิกขาบทหลัง

ทุกสิกขาบท โดยนัยนี้.

แต่เมื่อว่าโดยสมาทาน ๕ สิกขาบทต้น ที่สามเณรหรืออุบาสก

สมาทาน ย่อมเป็นอันสมาทานแล้วฉันใด ๕ สิกขาบทหลังนี้ ก็ฉันนั้น. แม้

เมื่อว่าโดยองค์ ความต่างกันแห่งองค์ของ ๕ สิกขาบทต้นมีปาณาติบาตเป็นต้น

กล่าวไว้แล้วในที่นั้น ฉันใด แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้น .

วิกาลโภชนะมีองค์ ๔ คือ ๑. วิกาล ๒. ของเป็นยาวกาลิกะ

๓. การกลืนกิน ๔. ความไม่เป็นคนบ้า พึงทราบความต่างกันแห่งองค์ของ

สิกขาบทแม้นอกนั้น โดยทำนองนี้.

อนึ่ง เมื่อว่าโดยสมุฏฐานในที่นั้น สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน มี

๒ สมุฏฐาน คือ กาย และกายจิต ฉันใด ในที่นี้ วิกาลโภชนะก็ฉันนั้น

พึงทราบสมุฏฐานของสิกขาบททุกสิกขาบท โดยนัยดังนี้.

อนึ่งเมื่อว่าโดยเวทนา ในที่นั้น อทินนาทาน ประกอบด้วยเวทนา

๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง ฉันใด ในที่นี้ วิกาลโภชนะก็ฉันนั้น พึงทราบการ

ประกอบพร้อมด้วยเวทนา ของสิกขาบททุกสิกขาบท โดยนัยนี้.

อนึ่ง ในที่นั้น อพรหมจริยะ มีโลภะและโมหะเป็นมูล ฉันใด แม้

ในที่นี้ วิกาลโภชนะ และอีก ๒ สิกขาบท ก็ฉันนั้น พึงทราบความต่างกัน

แห่งมูล ของสิกขาบททุกสิกขาบท โดยนัยนี้

อนึ่ง ในที่นั้น ปาณาติบาตเป็นต้น เป็นกายกรรม ฉันใด แม้ใน

ที่นี้ วิกาลโภชนะเป็นต้น ก็ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

อนึ่ง ชาตรูปรชตปฏิคคหณะ เป็นกายกรรมก็มี เป็นวจีกรรมก็มี

โดยปริยายแห่งความเป็นไปและความเกิดทางกายทวารเป็นต้น มิใช่กรรมบถ.

อนึ่ง เมื่อว่าโดยวิรัติ ในที่นั้น บุคคลเมื่องดเว้น ย่อมงดเว้นจาก

อกุศลมีปาณาติบาตเป็นต้นหรือของตนหรือของคนอื่น ๆ ฉันใด แม้ในที่นี้ ก็

ย่อมงดเว้น จากอกุศลมีวิกาลโภชนะเป็นต้น ก็ฉันนั้น.

อนึ่ง เมื่อว่าโดยความเป็นกุศล ก็เป็นอย่างเดียวกัน. ก็เวรมณีต้น

มี ๔ สมุฏฐาน คือ กาย กายจิต วาจาจิต และกายวาจาจิต ทุกเวรมณี

ประกอบด้วยสุขเวทนากก็มี ประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี มีอโลภะ อโทสะ

เป็นมูลก็มี มีอโลภะ อโทสะ อโมหะเป็นมูลก็มี และทุกเวรมณีให้เกิดผลที่น่า

ปรารถนามีประการต่าง ๆ ฉันใด แม้ในที่นี้ ก็ฉันนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า

ข้อยุติจากการพรรณนา ๕ สิกขาบทต้นนั้น ควร

นำมาใช้ใน ๕ สิกขาบทหลัง ควรกล่าวสิกขาบทเป็น

ข้อ ๆ ควรทราบว่า สิกขาบทมีอย่างเลวเป็นต้นไว้ด้วย.

พึงทราบวินิจฉัย ๕ สิกขาหลังนั้น. คำว่า วิกาลโภชน ได้แก่

การบริโภคอาหารเมื่อล่วงเลยเวลาเที่ยงตรง. จริงอยู่ การบริโภคอาหารเนื้อ

ล่วงเลยเวลาเที่ยงตรงนั้น ก็คือการบริโภคอาหารเมื่อล่วงเลยกาลที่ทรงอนุญาต

ไว้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า วิกาลโภชนะ เจตนางดเว้นจากการบริโภค

อาหารในเวลาวิกาลนั้น. ในคำว่า นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสน นี้ การฟ้อนรำ

อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นัจจะ. การขับร้องอย่างใดออย่างหนึ่ง ชื่อว่า คีตะ.

การประโคมอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วาทิตะ. การดูสิ่งที่เป็นข้าศึก เพราะ

ทำลายธรรมฝ่ายกุศล โดยเป็นปัจจัยทำให้เกิดกิเลส ชื่อว่า วิสูกทัสสนะ

หรือการดูการเห็นที่เป็นข้าศึก ก็ชื่อว่า วิสูกทัสสนะ. การฟ้อนรำด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

การขับร้องด้วย การประโคมด้วย การดูสิ่งที่เป็นข้าศึกด้วย ชื่อว่า นัจจ-

คีตวาทิตวิสูกทัสสนะ. ก็วิสูกทัสสนะ ในที่นี้ พึงถือเอาตามนัยที่ตรัสไว้ใน

พรหมชาลสูตร. จริงอยู่ ในพรหมชาลสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

อนึ่งท่านสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง บริโภคโภชนะ

ที่เขาให้ด้วยศรัทธา ยังชอบดูการเล่นที่เป็นข้าศึกเห็น

ปานนี้อยู่ คือ ฟ้อนรำ ขับร้องประโคม เล่นมหรสพ

เล่นเล่านิทาน เล่นปรบมือ เล่นเคาะปลุกยาม เล่นตี

กลอง เล่นของสวย ๆ ทำของสวย ๆ เล่น เล่นเลียน

คนจัณฑาล เล่นไม้สูง เล่นหน้าศพ เล่นชนช้าง

เล่นชนม้า เล่นชนกระบือ เล่นชนโค เล่นชนแพะ

เล่นชนแกะ เล่นชนไก่ เล่นชนนกกระทา เล่นกระบี่-

กระบอง เล่นแข่งสุนัข เล่นมวยชก เล่นมวยปล้ำ

เล่นรบกัน เล่นสนามรบ เล่นตรวจพล เล่นจัดกระ-

บวนทัพ ดูกองทัพดังนี้เห็นปานใด พระสมณโคดม

เว้นขาดจากการดูการละเล่นเห็นปานนี้ ดังกล่าวมา

ฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง การฟ้อนรำ การขับร้องและการประโคม โดยความ

ตามที่กล่าวมาแล้วเท่านั้นเป็นข้าศึก ชื่อว่า นัจจคีควาทิตวิสูกะ การดูการฟ้อนรำ

ขับร้องและประโคมที่เป็นข้าศึกเหล่านั้น ชื่อว่านัจจคีควาทิตวิสูกทัสสนะ เจตนา

งดเว้นจากการฟ้อนรำขับร้องและประโคมที่เป็นข้าศึกนั้น เมื่อความจะกล่าวว่า

ทสฺสนสวนา แม้การฟังท่านก็เรียกว่า ทัสสนะ เหมือนกัน เหมือนการ

จับอารมณ์ แม้มิใช่เป็นไปทางจักษุทวาร ท่านก็เรียกว่าทัสสนะ ในประโยค

เป็นต้นอย่างนี้ว่า โส จ โหติ มิจฺฉาฏฺิโก วิปรีตทสฺสโน ผู้นั้นย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิด มีทัสสนะความเห็นวิปริต อันการล่วงละเมิด

ในสิกขาบทนี้ ย่อมมีแก่ผู้เข้าไปดูเพราะอยากจะดูเท่านั้น ส่วนผู้เดินไปพบ

หรือเห็นเฉพาะที่มาปรากฏ ในโอกาสที่นี้ นั่ง นอนก็มีแต่ความเศร้าหมอง

มิใช่ล่วงละเมิด ก็ในสิกขาบทนี้ การขับร้องแม้ที่อิงธรรมะ ก็ไม่ควร แต่

ธรรมะที่อิงการขับร้อง พึงทราบว่าสมควร.

ดอกไม้เป็นต้น พึงใช้ประกอบด้วยการทัดทรงเป็นอาทิ ตามสมควร

ในสิกขาบทนั้น. คำว่ามาลา ได้แก่ดอกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง. คำว่า วิเลปนะ

ได้แก่ ของอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เขาบดจัดไว้เพื่อลูบไล้ นอกจากนั้นของหอมมี

ผงและตัวนอบเป็นต้นทุกอย่าง ชื่อว่า ของหอม. ของหอมนั้น ทุกอย่าง ใช้ตก

แต่งประดับ ไม่ควร แต่ใช้เป็นยา ก็ควร. แต่ของหอมที่เขานำเพื่อบูชา

สำหรับผู้รับไว้ ย่อมไม่ควร โดยปริยายไรๆ หามิได้. ที่นอนเกินขนาด ท่าน

เรียกว่า ที่นอนสูง ที่นอนเป็นอัปปะ และเครื่องปูที่นอนเป็นอกัปปิยะ ท่าน

เรียกว่า ที่นอนใหญ่. ที่นอนแม้ทั้งสองอย่างนั้น สำหรับผู้รับไว้ย่อมไม่ควร

ไม่ว่าโดยปริยายไร ๆ.

คำว่า ชาตรูปะ ได้แก่ทอง. คำว่า รชตะ ได้แก่กหาปณะ คือ

ของใด ๆ มีมาสกโลหะ มาสกไม้ และมาสกก้อนยางเป็นต้น ที่เขาใช้แลกเปลี่ยน

กัน ในประเทศนั้น ๆ. ทองและเงินตราทั้งสองแม้นั้น ชื่อว่าชาตรูปรชตะ. การรับ

เอาทองและเงินครานั้น ชื่อว่า ปฏิคคหะ การรับ. การรับนั้น ย่อมไม่ควร

ไม่ว่าปริยายไร ๆ.

พึงทราบสิกขาบทเป็นข้อ ๆ ดังกล่าวมาฉะนี้.

ทั้ง ๑๐ สิกขาบทนี้ บุคคลสมาทาน ด้วยฉันทะหรือ วิริยะ จิตตะ

วิมังสา อย่างเลว ก็ชื่อว่าหีนะ อย่างเลว. ด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

ปานกลาง ก็ชื่อว่ามัชฌิมะอย่างกลาง. ด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสาอย่าง

ประณีต ชื่อว่า ปณีตะอย่างดี. อีกนัยหนึ่ง สิกขาบททั้ง ๑๐ นี้เศร้าหมองด้วย

ตัณหา ทิฏฐิและมานะ ชื่อว่าอย่างเลว. ที่ไม่เศร้าหมอง ชื่อว่าอย่างกลาง. ที่

ปัญญากำกับ ในสิกขาบทนั้น ๆ ชื่อว่าอย่างดี. อีกนัยหนึ่ง สิกขาบทเหล่านั้น

ที่สมาทานด้วยกุศลจิตเป็นญาณวิปปยุตปราศจากความรู้ ชื่อว่าอย่างเลว. ที่

สมาทานด้วยกุศลจิตเป็นญาณสัมปยุต ประกอบด้วยความรู้ เป็นสสังขาริกมี

เครื่องชักจูง ชื่อว่าอย่างกลาง. ที่สมาทานด้วยกุศลจิตเป็นญาณสัมปยุต เป็น

อสังขาริก ไม่มีเครื่องชักจูง ชื่อว่า อย่างดี. พึงทราบว่า สิกขาบทมีอย่างเลว

เป็นต้น ดังกล่าวมาฉะนี้.

มาติกาหัวข้ออันใด ข้าพเจ้ายกเป็นบทตั้งไว้ เพื่อพรรณนาปาฐะแห่ง

สิกขาบท ด้วยคาถา ๖ คาถามีว่า สิกขาบทนี้ ผู้ใดกล่าว กล่าวไว้ที่ใดกล่าว

เมื่อใด กล่าวเพราะเหตุใด ดังนี้เป็นต้น มาติกาหัวข้อนั้น เป็นอันข้าพเจ้า

ประกาศโดยอรรถ ด้วยคำมีประมาณเพียงเท่านี้แล.

จบ พรรณานาสิกขาบท

แห่ง

อรรถกถาขุททกปาฐะ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

ทวัตติงสาการ ในขุททกปาฐะ

[๓] ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก

เยื่อในกระตก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย

อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา

เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เยื่อมันสมองในสมอง.

จบทวัตติงสาการ

๓. พรรณานาทวัตติงสาการ

พรรณนาการสัมพันธ์แห่งบท

กรรมฐาน คือกายคตาสตินี้ใด ที่พวกเดียรถีย์ทั้งปวง ไม่เคยให้เป็น

ไปแล้ว นอกพุทธกาล เพื่อความบริสุทธิ์แห่งอาสยญาณ สละเพื่อจิตตภาวนา

ของกุลบุตรผู้มีประโยคอันบริสุทธิ์ด้วยสิกขาบท ๑๐ อย่างนี้ ผู้ดำรงอยู่ในศีล

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้ โดยอาการเป็นอันมากในพระสูตรนั้น ๆ

อย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว

เป็นไปเพื่อสังเวคะ [ ความสลดใจ ] ใหญ่ เป็นไปเพื่ออรรถะ [ ประโยชน์ ]

ใหญ่ เป็นไปเพื่อโยคักเขมะ [ ความเกษมจากโยคะ ] ใหญ่ เป็นไปเพื่อ

สติสัมปชัญญะ [ ความระลึกรู้ตัว ] ใหญ่ เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ

๑. อัง.เอก. ๒๑/ข้อ ๒๓๔ - ๒๓๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

[ ความรู้เห็น ] เป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร [อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน]

เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งวิชชาวิมุตติและผลธรรมอย่างหนึ่ง คือกายคตาสติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ ภิกษุเหล่านั้น

ชื่อว่าไม่บริโภคอมตะ ภิกษุเหล่าใดบริโภคกายคตาสติ ภิกษุเหล่านั้น

ชื่อว่าบริโภคอมตะ ภิกษุเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ ชื่อว่า ไม่ได้บริโภค

อมตะ ภิกษุที่บริโภคกายคตาสติ ชื่อว่าได้บริโภคอมตะ ภิกษุที่เสื่อม

กายคตาสติ ชื่อว่าเสื่อมอมตะ ภิกษุที่ไม่เสื่อมกายคตาสติ ชื่อว่าไม่

เสื่อมอมตะ ภิกษุที่พลาดกายคตาสติ ชื่อว่าพลาดอมตะ ภิกษุที่

สำเร็จการคตาสติ ชื่อว่าสำเร็จอมตะ.

ดังนี้แล้วทรงแสดงไว้เป็นปัพพะ ๑๔ ปัพพะ คือนาปานปัพพะ

อิริยาปถปัพพะ จตุสัมปชัญญปัพพะ ปฏิกูลมนสิการปัพพะ ธาตุมนาสิการปัพพะ

สีวถิกาปัพพะ ๙ ปัพพะ โดยนัยว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันภิกษุเจริญอย่างไร ทำ

ให้มากอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปป่าก็ดี ดังนี้เป็นต้น.

บัดนี้ นิทเทสแห่งการเจริญกายคตาสติกรรมฐานนั้น มาถึงตามลำดับ

แล้ว ในนิทเทสนั้น ข้าพเจ้ากล่าวเป็นวิปัสสนาไว้ ๓ ปัพพะ นี้คือ อิริยาปถ-

ปัพพะ จตุสัมปชัญญปัพพะ ธาตุมนสิการปัพพะ กล่าวสีวถิกาปัพพะทั้ง ๙ เป็น

อาทีนวานุปัสสนาไว้ในวิปัสสนาญาณ ส่วนสมาธิภาวนาในอุทธุมาตกอสุภเป็นต้น

ในนิทเทสนั้นที่พึงปรารถนา ข้าพเจ้าก็ประกาศไว้การแล้วในอสุภภาวนา

นิทเทส คัมภีร์วิสุทธิมรรคทั้งนั้น. สองปัพพะนี้คือนานาปานปัพพะและปฏิกูล

มนสิการปัพพะก็กล่าวเป็นสมาธิไว้แล้วในนิทเทสนั้น ใน ๒ ปัพพะนั้น อานา-

ปานปัพพะ เป็นกรรมฐานแผนกหนึ่งโดยแท้ โดยเป็นอานาปานัสสติ ส่วน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

กรรมฐานคือทวัตติงสาการนั้นใด เป็นปริยายแห่งภาวนาส่วนหนึ่งของกายคตา-

สติ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสงเคราะห์มันสมองไว้ด้วยเยื่อในกระดดูก

ในบาลีประเทศนั้น ๆ อย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้นี่แล

ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบเต็มไปด้วยของ

ไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า ในการนี้มี ผม ขน ฯลฯ มูตร ดังนี้

ข้าพเจ้าเริ่มไว้แล้ว กรรมฐานคือทวัตติงสาการนั้น จะพรรณนาความดังต่อไปนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่. บทว่า อิมสฺมึ

ความว่า ที่กล่าวว่าตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มโดยรอบ

เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่าง ๆ. บทว่า กาเย ได้แก่ ในสรีระ.

จริงอยู่ สรีระ เรียกกันว่า กาย เพราะสะสมของไม่สะอาด หรือเพราะเป็นที่

เจริญเติบโตของผมเป็นต้นที่น่าเกลียด และของโรคตั้งร้อยมี โรคตา เป็นต้น

บทว่า เกสา ฯ เป ฯ มุตฺต คืออาการ ๓๒ มีผมเป็นต้นเหล่านั้น ใน

ทวัตติงสาการนี้ พึงทราบความสัมพันธ์เชื่อมความอย่างนี้ว่า ผมอยู่ในกายนี้

ขนมีอยู่ในกายนี้ เป็นต้น. เป็นอันตรัสอะไรไว้ ด้วยทวัตติงสาการกรรมฐาน

นั้น เป็นอันตรัสไว้ว่าใครๆ เมื่อพิจารณานั้น แม้โดยอาการทุกอย่างในกเฬวระ

เรือนร่างขนาดวาหนึ่งนี้ คือประมาณเท่านี้คือ เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป

เบื้องล่างตั้งแต่ปลายผมลงมา หุ้มด้วยหนังโดยรอบ ย่อมจะไม่เห็นอะไร ไม่ว่า

แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ กฤษณา จันทน์ หญ้าฝรั่น การบูร หรือผงอบ

เป็นต้นแม้ขนาดเล็กว่าสะอาด โดยที่แท้ย่อมจะเห็นกายต่างโดยผมขนเป็นต้น

ที่มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่ง ไม่มีสิริที่น่าดูเลยมีประการต่างๆ ว่าไม่สะอาด

อย่างเดียว.

๑. ม.อุปริ. ๑๔/ข้อ ๒๙๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

พรรณนา โดยความสัมพันธ์แห่งบทในทวัตติงสาการกรรมฐานนี้เท่านี้

ก่อน.

อสุภภาวนา

พึงทราบการพรรณนาทวัตติงสาการกรรมฐานนั้น เป็นอสุภภาวนา

ดังต่อไปนี้.

ก่อนอื่น อันดับแรก กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน เป็นผู้ตั้งอยู่ใน

ศีล ต่างโดยปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบทเป็นต้นอย่างนี้แล้ว มีประโยคอัน

บริสุทธิ์ ประสงค์จะประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งอนุโยคะคือ การบำเพ็ญกรรมฐานส่วน

ทวัตติงสาการ เพื่อบรรลุความบริสุทธิ์แห่งอาสยญาณ กุลบุตรนั้น ย่อมมี

กังวล ๑๐ ประการ คือ กังวลด้วยที่อยู่ ด้วยตระกูล ด้วยลาภ ด้วยคณะ

ด้วยการงาน ด้วยการเดินทาง ด้วยญาติ ด้วยการเรียนคัมภีร์ ด้วยโรคและ

ด้วยอิทธิฤทธิ์ หรือด้วยการกังวลด้วยเกียรติ เมื่อเป็นดังนั้น กุลบุตรผู้นี้ก็ต้อง

ตัดกังวล ๑๐ เหล่านั้นเสีย ด้วยวิธีอย่างนี้ คือ ด้วยการละความเกี่ยวข้องใน

อาวาส ตระกูล ลาภ คณะ ญาติและเกียรติเสีย ด้วยการไม่ขวนขวายใน

การงาน, การเดินทางและการเรียนคัมภีร์เสีย ด้วยการเยียวยาโรค เมื่อเป็น

ดังนั้น กุลบุตรผู้นี้ตัดกังวลได้แล้ว ไม่ตัดความยินดียิ่งในเนกขัมมะ กำหนด

ความปฏิบัติขัดเกลาอันถึงบั้นปลาย ไม่ละเลยอาจาระทางวินัยแม้เล็กน้อย ก็พึง

เข้าไปหาพระอาจารย์ผู้ให้กรรมฐาน ซึ่งเป็นผู้ประกอบด้วยอาคม [ การปริยัติ ]

และอธิคม [ ปฏิบัติปฏิเวธ ] หรือประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งจาก

อาคมและอธิคมนั้น ด้วยวิธีที่เหมาะแก่พระวินัย และพึงแจ้งความประสงค์

ของตนแก่พระอาจารย์นั้น ซึ่งตนทำให้ท่านมีจิตยินดีด้วยข้อวัตรสัมปทา พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

อาจารย์นั้น พึงรู้ความแตกต่างแห่งนิมิตอัธยาศัยจริยา และอธิมุติของกุลบุตร

ผู้นั้น ผิว่า กรรมฐานนั้นเป็นของเหมาะ เมื่อเป็นดังนั้น กุลบุตรแม้ผู้นั้น

ประสงค์จะอยู่ในวิหารที่คนอยู่ไซร้ แต่นั้น ก็พึงให้กรรมฐานโดยสังเขป ถ้า

กุลบุตรนั้น ประสงค์อยู่ในวิหารอื่น ก็พึงบอกกรรมฐานพิสดาร พร้อมทั้งข้อ

ที่ควรทำก่อน โดยบอกข้อที่ควรละและข้อที่ควรกำหนดรู้เป็นต้น พร้อมทั้ง

ประเภทจริตโดยบอกกรรมฐานที่เหมาะแก่ราคจริตเป็นต้น กุลบุตรผู้นั้นครั้น

เรียนกรรมฐานพร้อมข้อที่ควรทำก่อน ทั้งประเภทนั้นแล้วบอกลาอาจารย์ งด

เว้น เสนาสนะ ๑๘ ประเภท ที่ท่านกล่าวว่าควรงดเว้น อย่างนี้ว่า

อาวาสใหญ่ อาวาสใหม่ อาวาสเก่า อาวาสใกล้

ทาง อาวาสใกล้ตระพังหิน อาวาสมีใบไม้ อาวาสมี

ดอกไม้ อาวาสมีผลไม้ อาวาสที่คนปรารถนาอาวาส

ที่ใกล้นคร อาวาสที่ใกล้คนเข้าไปตัดไม้ อาวาสที่ใกล้

ไร่นา อาวาสที่มีอารมณ์เป็นข้าศึก อาวาสใกล้ท่าเรือ

อาวาสใกล้ขายแดน อาวาสมีสีมา อาวาสที่เป็นอสัป-

ปายะ อาวาสที่ไม่ได้กัลยาณมิตร บัณฑิตรู้จักสถานที่

๑๘ ประเภทนี้ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกลเหมือน

คนเดินทาง เว้นทางมีภัยเฉพาะหน้าฉะนั้น.

แล้วเข้าไปยังเสนาสนะที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่าง

นี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะประกอบด้วย

องค์ ๕ เป็นอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเสนาสนะใน

พระธรรมวินัยนี้ เป็นเสนาสนะที่ไม่ไกลนัก ที่ไม่ใกล้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

นัก พรั่งพร้อมด้วยคมนาคม กลางวันผู้คนไม่พลุก

พล่าน กลางคืนเงียบเสียง ไม่อึกกะทึก ไม่มีเหลือบ-

ยุง ลม แดด งู รบกวน เมื่อภิกษุอยู่ในเสนาสนะนั้น

จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

แห่งผู้เจ็บไข้ เกิดขึ้นไม่ยาก ในเสนาสนะนั้นแล มี

ภิกษุผู้เถระ ผู้เป็นพหูสูต ผู้จบอาคม ทรงธรรม ทรง

วินัย ทรงมาติกาอยู่ ภิกษุเข้าไปหาภิกษุเถระเหล่านั้น

ตามสมควรแก่กาลสอบถามไล่เลียงว่า ท่านขอรับ ข้อ

นี้เป็นอย่างไร ข้อนี้มีความว่าอย่างไร ท่านเหล่านั้น

ยอมจะเปิดเผยข้อที่ยังไม่เปิดเผยแก่ภิกษุนั้น ทำข้อที่

ยากให้ง่ายเข้า บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอัน

เป็นที่ตั้งความสงสัยต่าง ๆ เสียได้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เสนาสนะประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล.

ดังนี้แล้วทำกิจทุกอย่างให้เสร็จแล้ว พิจารณาโทษในกามทั้งหลาย

และอานิสงส์ในเนกขัมมะ ทำจิตให้เลื่อมใส ด้วยการระลึกถึง [พระรัตนตรัย]

โดยความที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ดีแล้ว โดยความที่พระธรรมเป็นธรรมอันดี และ

โดยความที่พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ไม่ละอุคคหโกศล ความฉลาดในทาง

เรียนรู้ ๗ ทาง ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

นักปราชญ์ฉลาดเรียนรู้ ๗ ทาง คือ โดยวาจา

โดยใจ โดยวรรณะ โดยสัณฐาน โดยทิศ โดยโอกาส

และโดยปริเฉท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

และมนสิการโกศล ความฉลาดใส่ใจ ๑๐ อย่าง ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้คือ โดย

ลำดับ โดยไม่เร็วนัก โดยไม่ช้านัก โดยป้องกันความฟุ้งซ่าน โดยล่วงเลยบัญญัติ

โดยปล่อยลำดับ โดยอัปปนา และสูตร ๓ สูตร จึงควรเริ่มเจริญทวัตติงสาการ

จริงอยู่ การเจริญทวัตติงสาการโดยอาการทุกอย่างย่อมสำเร็จ แก่ผู้เริ่มดังกล่าว

มานี้หาสำเร็จโดยประการอื่นไม่.

ในการเจริญทวัตติงสาการนั้น ภิกษุรับตจปัญจกกรรมฐานก่อนเป็น

เบื้องต้น กล่าวโดยพระไตรปิฎก เมื่อตจปัญจกกรรมฐานคล่องแคล่วโดยอนุ-

โลม ตามนัยว่า เกสา โลมา เป็นต้น คล่องแคล่วโดยปฏิโลม ตามนัยว่า

ตโจ ทนฺตา เป็นต้น พึงเจริญเสียครึ่งเดือน ทางวาจาเพื่อตัดความวิตก

ที่ฟุ้งซ่านออกไปข้างนอกโดยอนุโลมและปฏิโลม ตามนัยทั้งสองนั้นแหละเพื่อให้

คล่องบาลี และทางใจเพื่อกำหนดสภาวะแห่งส่วนร่างกายเป็นอารมณ์ จริงอยู่

การเจริญทางวาจา ซึ่งตจปัญจกกรรมฐานนั้น ตัดวิตกที่ฟุ้งไปข้างนอกได้แล้ว

ย่อมเป็นปัจจัยแก่การเจริญทางวาจา เพราะคล่องบาลีแล้ว การเจริญทางใจ

ย่อมเป็นปัจจัยแก่การกำหนดอสุภะวรรณะ และลักษณะ ส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อ

เป็นดังนั้น โดยนัยนั้น ก็พึงเจริญวักกะปัญจกกรรมฐาน [หมวดที่มีวักกะเป็น

ที่ ๕] เสียครึ่งเดือน ข้อนั้น จึงเจริญตจะปัญจกกรรมฐานและวักกะปัญจก-

กรรมฐานทั้งสองนั้นเสียครึ่งเดือน ต่อนั้นจึงเจริญปับผาสะปัญญจกะกรรมฐาน

เสียครึ่งเดือน ต่อนั้นก็เจริญทั้งสามบปัญจกะนั้นเสียครึ่งเดือน เมื่อเป็นดังนั้น

ก็พึงเพิ่มมัตถลุงดัง ที่มิได้ตรัสในต้อนท้ายไว้ในสามหมวดนี้ เพื่อเจริญรวมกัน

ไปกับอาการแห่งปฐวีธาตุทั้งหลาย แล้วเจริญมัตถลุงดังเสียครึ่งเดือน ต่อนั้นก็

เจริญปัญจกะและจตุกกะเสียครึ่งเดือน เมทฉักกะครึ่งเดือน ต่อนั้นก็เจริญปัญจกะ

และจตุกกะร่วมกับเมทฉักกะครึ่งเดือน มุตตฉักกะครั่งเดือน ต่อนั้น ก็เจริญ

ทวัตติงสาการทั้งหมดเสียครั้งเดือน พึงเจริญกำหนดโดยวรรณะ สัณฐาน ทิศ

โอกาสและปริเฉท ๖ เดือนดังกล่าวมาฉะนี้. ข้อนี้ท่านกล่าวหมายถึงบุคคลที่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

ปัญญาปานกลาง ส่วนคนปัญญาทึบพึงเจริญตลอดชีวิต ผู้มีปัญญาเฉียบแหลม

การเจริญย่อมสำเร็จได้ไม่นานเลย.

เกสา ผม

ในข้อนี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ภิกษุผู้เริ่มกรรมฐานผู้นี้ กำหนดทวัตติง-

สาการนี้โดยวรรณะเป็นต้นอย่างไร ความจริงภิกษุผู้เริ่มกรรมฐานนี้ เมื่อเจริญ

ทวัตติงสาการโดยจำแนกเป็นตจปัญจกะเป็นต้น โดยนัยว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม

ดังนี้เป็นต้น ย่อมกำหนดผมเป็นของเช่นที่ภิกษุนี้เห็นแล้วก่อนโดยวรรณะว่ามี

สีดำ กำหนดผมที่เป็นเกลียวยาวโดยสัณฐานว่าเหมือนคันตาชั่ง แต่เพราะเหตุ

ที่ในกายนี้ เหนือท้องขึ้นไปเรียกว่าทิศเบื้องบน ต่ำกว่าท้องลงมา เรียกว่าทิศ

เบื้องต่ำ ฉะนั้น จึงกำหนดโดยทิศว่า เกิดในทิศเบื้องบนแห่งกายนี้ กำหนด

โดยโอกาสว่า เกิดที่หนังศีรษะ. รอบกกหูและหลุมคอ กำหนดในเกสานั้นว่า

ผมไม่รู้ว่าเราเกิดที่หนังศีรษะ แม้หนังศีรษะก็ไม่รู้ว่าผมเกิดที่เรา เปรียบเหมือน

หญ้ากุณฐะ ที่เกิดบนยอดจอมปลวกไม่รู้ว่าเราเกิดบนยอดจอมปลวก แม้ยอด

จอมปลวกก็ไม่รู้ว่า หญ้ากุณฐะเกิดบนเรา ฉะนั้น กำหนดว่าแท้จริงผมเหล่านั้น

เว้น จากความคิดคำนึงและการพิจารณา เป็นธรรม ไม่มีเจตนา [ใจ] เป็น

อัพยากฤต ว่างเปล่า ปฏิกูลด้วยกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่ง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่

บุคคล เมื่อว่าโดยปริเฉทตัดตอน การตัดตอนมี ๒ อย่าง คือ ตัดตอนโดย

สภาคส่วนถูกกันตัดตอนโดยวิสภาคส่วนผิดกัน ในการตัดตอน ๒ อย่างนั้น

กำหนดโดยการตัดตอนโดยสภาคอย่างนี้ว่า ผมถูกตัดตอนเบื้องล่างด้วยพื้นหนัง

ที่ตั้งอยู่ และด้วยพื้นโคนของตน ที่เข้าไปในพื้นหนังนั้นประมาณปลายเมล็ด

ขาวเปลือกตั้งอยู่ เบื้องบนด้วยอากาศ เบื้องขวาด้วยผมกันและกัน และกำหนด

โดยตัดตอนโดยวิสภาคอย่างนี้ว่า ผมไม่ใช่อาการ ๓๑ ที่เหลือ อาการ ๓๑ ที่

เหลือก็ไม่ใช่ผม กำหนดผมโดยวรรณะเป็นต้นมีประการดังกล่าวมาอย่างนี้ก่อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

โลมา ขน

ในอาการ ๓๑ ที่เหลือ ก็กำหนดขน อย่างที่ภิกษุนี้เห็นแล้ว โดย

วรรณะ ส่วนมากว่ามีสีเขียว โดยสัณฐาน ว่ามีสัณฐานเหมือนคันธนูโค้ง หรือ

มีสัณฐานเหมือนเสี้ยนตาลงอ กำหนดโดยทิศทั้ง ๒ กำหนดโดยโอกาสว่า เกิด

ที่หนังแห่งสรีระที่เหลือเว้นฝ่ามือฝ่าเท้า.

ในอาการ ๓๐ ที่เหลือนั้น กำหนดว่า ขนย่อมไม่รู้ว่าเราเกิดที่หนัง

แห่งสรีระ แม้หนังแห่งสรีระก็ไม่รู้ว่าขนเกิดที่เรา เปรียบเหมือนหญ้าทัพพะ

อันเกิด ณ สถานที่บ้านเก่า ย่อมไม่รู้ว่าเราเกิด ณ สถานที่บ้านเก่า แม้สถาน

ที่บ้านเก่าก็ไม่รู้ว่า หญ้าทัพพะเกิดที่เรา ฉะนั้น ด้วยว่าขนเหล่านั้น เว้นจาก

ความคิดคำนึงและการพิจารณา เป็นธรรมหาเจตนามิได [ใจ] เป็นอัพยากฤต

ว่างเปล่า ปฏิกูลด้วยกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่งไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลกำหนด

โดยปริเฉทตัดตอนว่า ชนเบื้องล่างตัดตอนด้วยพื้นหนังที่ตั้งอยู่ และด้วยโคน

ของตนที่เข้าไปในพื้นหนังนั้น ประมาณตัวเหาตั้งอยู่ นี้เบื้องบนตัดตอนด้วย

อากาศ ขนเบื้องขวางตัดตอนด้วยตนด้วยกันเอง ที่เป็นการกำหนดขนเหล่านั้น

โดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล กำหนดขน

โดยวรรณะเป็นต้นมีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

นขา เล็บ

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า ผู้มีเล็บครบก็มี ๒๐ เล็บ. เล็บเหล่า

นั้นทั้งหมด โดยวรรณะ มีสีขาวในโอกาสที่พื้นเนื้อ มีสีแดงในโอกาสที่ติดกับ

เนื้อ โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาสตามที่ตั้งอยู่ โดยมากมีสัณฐาน

เหมือนเมล็ดมะซาง หรือมีสัณฐานเหมือนเกล็ดปลา. โดยทิศ ตั้งอยู่ในทิศ

ทั้ง ๒. โดยโอกาสตั้งอยู่ปลายนิ้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

ในเล็บนั้น กำหนดว่า เล็บย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ปลายนิ้ว แม้นิ้ว

ก็ไม่รู้ว่า เล็บตั้งอยู่ที่ปลายของเรา เปรียบเหมือนเมล็ดมะซาง ที่พวกเด็ก

ชาวบ้านเสียบไว้ที่ปลายไม้ ไม่รู้ว่า เราถูกเสียบไว้ที่ปลายไม้ แม้ไม้ก็ไม่รู้ว่า

เมล็ดมะซางถูกเสียบไว้ที่เรา ฉะนั้น. ด้วยว่าเล็บเหล่านั้น เว้นจากความคิด

คำนึงและการพิจารณา เป็นธรรมไม่มีเจตนา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล กำหนดโดย

บริเฉทว่า เล็บล่างถูกตัดตอนด้วยเนื้อนิ้วที่คน หรือด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ที่โคนนั้น

และเล็บบนตัดตอนด้วยอากาศที่ปลาย ด้วยหนังปลายสองข้างของนิ้วทั้งสองข้าง

นี้เป็นการกำหนดเล็บเหล่านั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดวิสภาค ก็เช่นเดียว

กับผมนั่นแล กำหนดเล็บโดยวรรณะเป็นนี้. มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ทนฺตา ฟัน

ต่อแต่นั้น ก็กำหนดว่า ผู้มีฟันครบ ก็มีฟัน ๓๒ ซี่ ฟันเหล่านั้น

ทั้งหมด โดยวรรณะ ก็มีสีขาว โดยสัณฐาน ฟันของผู้มีฟันเรียบ จะปรากฏ

เหมือนพื้นสังข์ตัดที่แข็ง และเหมือนพวกดอกไม้ขาวตูมที่ร้อยไว้ร้อย ฟัน

ของผู้มีฟันไม่เรียบ มีสัณฐานต่าง ๆ กัน เหมือนลำดับตั่งบนหออันเก่า. ก็

ในปลายแถวฟันสองข้างของฟันเหล่านั้น ฟัน ๘ ซี่ ข้างล่าง ๒ ซี่ ข้างบน

๒ ซี่ มีปลาย ๔ มีโคน ๔ มีสัน ฐานเหมือน อาสันทิเก้าอี้ยาว. ฟัน ๘ ซี่

ซึ่งตั้งอยู่ตามลำดับนั้น ข้างในฟันเหล่านั้น มีปลาย ๓ มีราก ๓ มีสัณฐาน

เหมือนกระจับ ฟัน ๔ ซี่ ข้างล่าง ๑ ซี่ ข้างบน ๑ ซี่ ตามลำดับนั้น ข้าง

ในฟันเหล่านั้น มีปลาย ๒ มีราก ๒ มีสันฐานเหมือนไม้ค้ำยาน [เกวียน]

ฟันที่เป็นเขี้ยว ๔ ซี ซึ่งตั้งอยู่ตามลำดับนั้น ข้างในของฟันเหล่านั้น ข้างล่าง

๑ ซี่ ข้างบน ๑ ซี่ มีปลายเดียว รากเดียว มีสัณฐานเหมือนมะลิตูม แต่นั้น

ฟัน ๘ ซี่ ข้างล่าง ๔ ซี่ ข้างบน ๔ ซี่ ตรงกลางแถวฟัน ๒ ข้าง มีปลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

เดียว รากเดียว มีสัณฐานเหมือนเมล็ดน้ำเต้า โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน

โค โอกาส ฟันบนตั้งอยู่ในกระดูกคางบน ปลายลง ฟันล่างตั้งอยู่ในกระดูก

คางล่าง มีปลายขึ้น.

ในฟันนั้น ก็กำหนดว่า ฟันไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในกระดูกคางล่าง ตั้ง

อยู่ในกระดูกคางบน แม้กระดูกคางล่างก็ไม่รู้ว่า ฟันตั้งอยู่ในเรา กระดูกคาง

บน ก็ไม่รู้ว่า ฟันตั้งอยู่ในเรา เปรียบเหมือนเสา ที่บุรุษช่างก่อสร้างตั้งเข้า

ไว้ในพื้นหินเบื้องล่าง สอดเข้าไว้ใน หินเบื้องบน ย่อมไม่รู้ว่า เราถูกเขา

ตั้งไว้ในพื้นหินเบื้องล่าง ถูกสอดเข้าไว้ในพื้นหินเบื้องบน พื้นหินเบื้องล่างก็

ไม่รู้ว่า เสาถูกเขาตั้งไว้ในเรา พื้นหินเบื้องบนก็ไม่รู้ว่า เสาถูกเขาสอดเข้าไว้

ในเราฉะนั้น. ด้วยว่าฟันเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา

เป็นธรรม ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. กำหนดโดยปริเฉทว่า ฟันล่างตัดตอนด้วยหลุม

กระดูกคาง สอดเข้ากระดูกคางตั้งอยู่ และด้วยพื้นรากของตน ฟันบนตัดตอน

ด้วยอากาศเบื้องขวาง กำหนดด้วยฟันซึ่งกันและกัน นี้เป็นการกำหนดฟันเหล่า

นั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนด

ฟันโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ตโจ หนัง

ต่อแต่นั้นไป สิ่งซึ่งปกปิดกองซากศพต่าง ๆ ในภายในสรีระ ชื่อว่า

ตโจ หนัง. กำหนดว่าหนังมีสีขาว ก็ถ้าหากว่าหนังนั้น ปรากฏเหมือนมีสี

ต่าง ๆ โดยเป็นสีดำสีขาวเป็นต้น ก็เพราะถูกย้อมด้วยเครื่องย้อมผิว ถึงเช่น

นั้นก็ขาวอยู่นั่นแหละ โดยวรรณะที่เป็นสภาคกัน. ก็ความที่หนังนั้นมีสีขาวนั้น

ย่อมปรากฏโดยผิวถูกเปลวไฟลวก และถูกประหารด้วยเครื่องประหารเป็นต้น.

กำหนดโดยสัณฐานโดยสังเขปว่า มีสัณฐานดุจเสื้อ โดยพิศดารว่ามีสันฐานต่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

จริงอย่างนั้น หนังนิ้วเท้ามีสัณฐานเหมือนรังไหม หนังหลังเท้ามีสัณฐานเหมือน

รองเท้าที่ห่อไว้ หนังแข้งมีสัณฐานเหมือนใบตาลห่อข้าว หนังขามีสัณฐาน

เหมือนถุงยาวมีข้าวสารเต็ม หนังตะโพกมีสัณฐานเหมือนผ้ากรองน้ำมีน้ำเต็ม

หนังสันหลังมีสัณฐานเหมือนหนังหุ้มโล่ หนังท้องมีสัณฐานเหมือนหนังหุ้มราง

พิณ หนังอกโดยมากมีสัณฐาน ๔ เหลี่ยม หนังแขนทั้งสองมีสัณฐานเหมือน

หนังหุ้มแล่งธนู หนังหลังมือมีสัณฐานเหมือนผูกมีดโกน หรือมีสัณฐานเหมือน

ซองหวี หนังนิ้วมือมีสัณฐานเหมือนกล่องกุญแจ หนังคอมีสัณฐานเหมือน

เสื้อมีคอ หนังหน้ามีสัณฐานเหมือนรังหนอน มีช่องเล็กช่องน้อย หนังศีรษะ

มีสัณฐานเหมือนถลกบาตร.

ก็พระโยคาวจร ผู้กำหนดหนังเป็นอารมณ์ ส่งจิตเข้าไประหว่างหนัง

และเนื้อ ตั้งแต่ริมผีปากบน กำหนดหนังหน้าก่อนเป็นอันดับแรก ต่อนั้น

ก็หนังศีรษะ หนังคอด้านนอก แต่นั้น ก็พึงกำหนดหนังมือขวา ทั้งอนุโลม

และปฏิโลม โดยลำดับต่อมา ก็พึงกำหนดหนังมือซ้าย หนังสันหลัง หนัง

ตะโพก ต่อนั้นก็หนังหลังเท้าขวา ทั้งอนุโลมและปฏิโลม หนังหลังเท้าซ้าย

หนังกระเพาะปัสสาวะ ท้องน้อย หัวใจ คอด้านใน ต่อนั้นก็หนังคางล่าง

หนังริมฝีปากล่าง กำหนดอย่างนี้อีกจนถึงริมฝีปากบน. กำหนดโดยทิศว่า

เกิดในทิศทั้งสอง. กำหนดโดยโอกาสว่า ห่อหุ้มทั่วสรีระตั้งอยู่.

ในหนังนั้น พระโยคาวจรกำหนดว่า หนังย่อมไม่รู้ว่า เราห่อหุ้ม

สรีระที่ประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้ แม้สรีระที่ประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง

๔ นี้ ก็ไม่รู้ว่า เราถูกหนังห่อหุ้มไว้เปรียบเหมือนหีบทุ้มด้วยหนังสด หนังสด

ย่อมไม่รู้ว่า เราหุ้มหีบไว้ แม้หีบก็ไม่รู้ว่า เราถูกหนังสดหุ้มไว้ ฉะนั้น.

ด้วยว่าหนังเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา เป็นธรรม ฯลฯ

ไม่ใช่บุคคล. ท่านกล่าวไว้สิ้นเชิงว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

อลฺลจมฺมปฏิจฺฉนฺโน นวทฺวาโร มหาวโณ

สมนฺตโต ปคฺฆรติ อสุจิปูติคนฺธิโย

ร่างกายนี้ หุ้มด้วยหนังสด มีทวาร ๙ มีแผล

มาก ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น ย่อมไหลออกโดยรอบ.

กำหนดโดยปริเฉทตัดตอนว่า หนังเบื้องล่าง ตัดตอนด้วยเนื้อ หรือ

พื้นที่ตั้งอยู่ที่เนื้อนั้น หนังเบื้องบน ตัดตอนด้วยผิว นี้เป็นการกำหนดหนัง

นั้นโดยสภาค. การกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดหนัง

โดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

มส เนื้อ

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดเนื้อ ที่ต่างต่างโดยเนื้อ ๙๐๐ ชิ้น ในสรีระโดย

วรรณะว่ามีสีแดงคล้ายดอกทองกวาว. โดยสัณฐานว่ามีสัณฐานต่าง ๆ กัน จริง

อย่างนั้น เนื้อปลีแข้งของสรีระนั้น มีสัณฐานเหมือนข้าวสวยห่อใบตาล อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนดอกลำเจียกตูมยังไม่บานดังนี้ก็มี เนื้อขามี

สัณฐานเหมือนลูกหินบดปูนขาว เนื้อตะโพกมีสัณฐานเหมือนปลายก้อนเส้า

เนื้อสันหลังมีสัณฐานเหมือนแผ่นก้อนน้ำตาลจากตาล เนื้อซี่โครงทั้งสองข้างมี

สัณฐานเหมือนดินฉาบบาง ๆ ในที่พื้นท้องยุ้งซึ่งทำด้วยไม้ไผ่ เนื้อนมมีสัณฐาน

เหมือนก้อนดินชุ่มที่ทำให้กลมแล้วโยนไป เนื้อแขนสองข้างมีสัณฐานเหมือน

หนูใหญ่ที่เขาตัดหางหัวและเท้าไม่มีหนังตั้งไว้. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่ามี

สัณฐานเหมือนพวงเนื้อดังนี้ก็มี เนื้อแก้มมีสัณฐานเหมือนเมล็ดกุ่มที่เขาวางไว้

ที่แก้ม. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนกบ ดังนี้ก็มี. เนื้อลิ้นมี

สัณฐานเหมือนกลีบบัว เนื้อจมูกมีสัณฐานเหมือนผู้หนังสือวางคว่ำหน้า เนื้อ

เบ้าตามีสัณฐานเหมือนผลมะเดื่อสุกครึ่งหนึ่ง เนื้อศีรษะมีสัณฐานเหมือนน้ำมัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

ฉาบกะทะบาง ๆ ระบมบาตร ก็พระโยคาวจร ผู้กำหนดเนื้อเป็นอารมณ์ พึง

กำหนดเนื้อส่วนหยาบๆ เหล่านั้นแล. โดยสัณฐานด้วยว่าพระโยคาวจรกำหนด

อยู่อย่างนี้ เนื้อส่วนละเอียดก็จะปรากฏแก่ญาณ. กำหนดโดยทิศ เนื้อเกิดใน

ทิศทั้งสอง. กำหนดโดยโอกาส เนื้อฉาบตามกระดูก ๓๐๐ ชิ้น ที่เป็นโครง

ตั้งอยู่.

ในเนื้อนั้น ก็กำหนดว่าเนื้อ ๙๐๐ ชิ้น ย่อมไม่รู้ว่า เราฉาบกระดูก

๓๐๐ ชิ้นไว้ แม้กระดูก ๓๐๐ ชิ้นก็ไม่รู้ว่า เราถูกเนื้อ ๙๐๐ ชิ้นฉาบฝาเรือน

เหมือนฝาเรือนที่ถูกฉาบด้วยดินหยาบ ดินหยาบย่อมไม่รู้ว่า เราฉาบฝาเรือน

ไว้ แม้ฝาเรือนก็ไม่รู้ว่า เราถูกดินหยาบฉาบไว้. ด้วยว่าเนื้อเหล่านั้น เว้นจาก

ความคิดคำนึงและพิจารณา เป็นธรรม ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล ท่านกล่าวไว้

สิ้นเชิงว่า

นวเปสิสตา มสา อนุลิตฺตา กเฬวร

นานากิมิกุลากิณฺณ มิฬฺหฏฺานว ปูติก

เนื้อ ๙๐๐ ชิ้นฉาบกเฬวระเรือนร่าง อันคลาดคล่ำ

ด้วยหมู่หนอนชนิดต่าง ๆ เน่าเหม็นเหมือนคูถ.

กำหนดโดยปริเฉทว่า เนื้อเบื้องล่าง ตัดตอนด้วยร่างกระดูก หรือ

พื้นที่ตั้งอยู่ที่ร่างกระดูกนั้น เนื้อเบื้องบน ตัดตอนด้วยหนัง เนื้อเบื้องขวาง

ตัดตอนด้วยเนื้อด้วยกันเอง นี้เป็นการกำหนดเนื้อนั้น โดยสภาค ส่วนการ

กำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล กำหนดเนื้อโดยวรรณะเป็นต้น

มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

นหารุ เอ็น

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า เอ็น ๙๐๐ ในสรีระ โดยวรรณะมีสีขาว.

อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสีเหมือนน้ำผึ้ง โดยสัณฐาน มีสัณฐานต่าง ๆ จริง

อย่างนั้น บรรดาเอ็น ๙๐๐ นั้น เอ็นใหญ่ ๆ มีสัณฐานเหมือนดอกกันทละตูม

ที่ละเอียดกว่านั้น ก็มีสัณฐานเหมือนเชือกบ่วงคล้องหมู ที่เล็กยิ่งกว่านั้น ก็มี

สัณฐานเหมือนเถาวัลย์เน่า ที่เล็กยิ่งกว่านั้นไปอีก ก็มีสัณฐานเหมือนสายพิณ

ใหญ่ของชาวสิงหล ที่เล็กยิ่งกว่านั้นไปอีก ก็มีสัณฐานเหมือนด้ายหยาบ เอ็นที่

หลังมือหลังเท้ามีสัณฐานเหมือนตีนนก เอ็นที่ศีรษะมีสัณฐานเหมือนผ้าบาง ๆ

ที่วางไว้บนศีรษะของเด็กชาวบ้าน เอ็นหลังมีสัณฐานเหมือนแหจับปลาที่เปียกน้ำ

แล้วคลี่ตากแดดไว้ เอ็นที่ไปตามอวัยวะใหญ่น้อยนั้น ๆ ในสรีระนี้ มีสัณฐาน

เหมือนเสื้อตาข่ายอันสวมไว้ที่สรีระ โดยทิศ เอ็นเกิดในทิศทั้งสอง. บรรดา

เอ็นเหล่านั้น เอ็นใหญ่ มีชื่อว่ากัณฑระ มี ๕ ผูกตั้งแต่กกหูข้างขวามาข้าง

หน้า และข้างหลังถึงข้างซ้าย ผูกตั้งแต่กกหูข้างซ้ายมาข้างหน้าและข้างหลังถึง

ข้างขวา ผูกตั้งแต่หลุมคอข้างขวามาข้างหน้าและข้างหลังถึงข้างซ้าย ผูกตั้งแต่

หลุมคอข้างซ้ายมาข้างหน้าและข้างหลังถึงข้างขวา ผูกมือข้างขวามาข้างหน้า ๕

ข้างหลัง ๕ รวมเอ็นใหญ่ ที่ชื่อว่ากัณฑระเป็น ๑๐ ล่ามไปทั่ว. มือข้างซ้าย

เท้าข้างขวาและเท้าข้างซ้าย ก็เหมือนอย่างนั้น. รวมความว่า เอ็นใหญ่ ๖๐

ดังกล่าวมาเหล่านั้น ก็กำหนดว่าเป็นเครื่องช่วยทรงสรีระไว้ ช่วยกำหนดสรีระ

ก็มี กำหนดโดยโอกาส เอ็นผูกล่ามกระดูกข้างในกระดูกกับหนัง และกระดูก

กับเนื้อตั้งอยู่ทั่วสรีระ.

ในเอ็นนั้น กำหนดว่า เอ็นย่อมไม่รู้ว่า กระดูก ๓๐๐ ชิ้นถูกเราผูก

ไว้ แม้กระดูก ๓๐๐ ชิ้น ก็ไม่รู้ว่า เราถูกเอ็นผูกไว้ เปรียบเหมือนไม้คด ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

ที่ถูกเถาวัลย์พันล่ามไว้ เถาวัลย์ย่อมไม่รู้ว่า ไม้คดถูกเราผูกไว้ แม้ไม้คดก็ไม่

รู้ว่าเราถูกเถาวัลย์พันล่ามไว้ ฉะนั้น. ด้วยว่าเอ็นเหล่านั้น เว้นจากความคิด

คำนึงและการพิจารณา เป็นธรรม ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. ท่านกล่าวสรุปไว้ว่า

นวนหารุสตา โหนฺติ พฺยามมตฺเต กเฬวเร

พนฺธนฺติ อฏฺสงฺฆาฏ อคารมิว วลฺลิโย.

เอ็น ๙๐๐ ย่อมผูกร่างกระดูก ในเรือนร่างประ-

มาณวาหนึ่งไว้ เหมือนเถาวัลย์ผูกเรือน ฉะนั้น.

กำหนดโดยปริเฉทว่า เอ็นเบื้องล่าง ตัดตอนด้วยกระดูก ๓๐๐ ชิ้น

หรือพื้นที่ตั้งอยู่ที่กระดูกนั้น เอ็นเบื้องบน ตัดตอนด้วยหนังและเนื้อ เบื้อง

ขวางตัดตอนเอ็นของกันและกันเอง นี้เป็นการกำหนดเอ็นเหล่านั้น โดยสภาค

ส่วนการกำหนดโดยวิสภาคก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดเอ็นโดยวรรณะเป็น

ต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

อฏฺิ กระดูก

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดโดยวรรณะว่า กระดูกมีประเภทที่ท่านกล่าวไว้

โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า เพราะท่านถือเอากระดูกฟัน ๓๒ ซี่ แยกไว้ต่างหาก

กระดูกที่เหลือในสรีระคือกระดูกมือ ๖๔ กระดูกเท้า ๖๔ กระดูกอ่อนที่ติดเนื้อ

๖๔ กระดูกส้นเท้า ๒ กระดูกข้อเท้าเท้าหนึ่ง ๆ เท้าละ ๒ กระดูกแข้ง ๒

กระดูกเข่า ๑ กระดูกขา ๒ กระดูกสะเอว ๒ กระดูกสันหลัง ๑๘ กระดูก

ซีโครง ๒๔ กระดูกอก ๑๔ กระดูกใกล้หัวใจ ๑ กระดูกไหปลาร้า ๒ กระดูก

หลังแขน ๒ กระดูกแขน ๒ กระดูกปลายแขน ๒ กระดูกคอ ๗ กระดูกคาง

๒ กระดูกจมูก ๑ [กระดูกตา ๒ กระดูกหู ๒] กระดูกหน้าผาก ๑ [กระดูก

หัว ๑] กระดูกกระโหลกศีรษะ ๙ กระดูกทั้งหมดนั่นแหละ มีสีขาว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

กำหนดโดย สัณฐาน ว่ากระดูกมีสัณฐานต่าง ๆ กัน . จริงอย่างนั้น

บรรดากระดูกเหล่านั้น กระดูกปลายนิ้วเท้า มีสัณฐานเหมือนเมล็ดตุมกา ต่อ

จากนั้น กระดูกข้อกลางของนิ้วเท้า มีสัณฐานเหมือนเมล็ดขนุนที่ไม่เต็ม

กระดูกข้อต้น มีสัณฐานเหมือนบัณเฑาะว์ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณ-

ฐานเหมือนเกล็ดหางนกยูงดังนี้ก็มี กระดูกหลังเท้า มีสัณฐานเหมือนกองราก

ต้นกันทละตำ กระดูกส้นเท้า มีสัณฐานเหมือนเมล็ดผลตาลซึ่งมีเมล็ดเดียว

กระดูกข้อเท้า มีสัณฐานเหมือนลูกกลมของเล่นที่ผูกรวมกัน กระดูกชิ้นเล็กใน

กระดูกแข็ง มีสัณฐานเหมือนคันธนู กระดูกชิ้นใหญ่มีสัณฐานเหมือนเส้นเอ็น

แห้งเพราะหิวระหาย ที่กระดูกแข้งตั้งอยู่ในกระดูกข้อเท้า มีสัณฐาน

เหมือนหน่อต้นเป้งลอกเปลือก ที่กระดูกแข้งตั้งอยู่ในกระดูกเข่า มีสัณฐาน

เหมือนยอดตะโพน กระดูกเข่า มีสัณฐานเหมือนฟองน้ำตัดข้างหนึ่ง กระดูก

ขาสัณฐานเหมือนด้ามมีดและขวานที่ถูกเคร่า ๆ ที่กระดูกขาตั้งอยู่ในกระดูก

สะเอว มีสัณฐานเหมือนกัน หลอดเป่าไฟของช่างทอง โอกาสที่กระดูกขาตั้ง

อยู่ในกระดูกสะเอวนั้น มีสัณฐานเหมือนผลบุนนาคตัดปลาย. กระดูกสะเอว

แม้มี ๒ ก็ติดเป็นอันเดียวกัน มีสัณฐานเหมือนเตาไฟที่ช่างหม้อสร้างไว้

อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนหมอนข้างของดาบสดังนี้ก็มี. กระดูก

ตะโพก มีสัณฐานเหมือนคราบงูที่เขาวางคว่ำหน้า กระดูกสันหลัง ๑๘ ชิ้นมี

ช่องเล็กน้อยในที่ ๗- ๘ แห่ง ภายในมีสัณฐานเหมือผืนผ้าโพกศีรษะที่วาง

ซ้อน ๆ กัน ภายนอก มีสัณฐานเหมือนแล่งกลม กระดูกสันหลังเหล่านั้น

มีหนา ๒ - ๓ อัน เสมือนฟันเลื่อย. บรรดากระดูกซี่โครง ๒๔ ชิ้น ส่วน

ที่บริบูรณ์ มีสัณฐานเหมือนเดียวชาวสิงหลที่บริบูรณ์ ส่วนที่ไม่บริบูรณ์ มี

สัณฐานเหมือนเคียวชาวสิงหลที่ไม่บริบรูณ์ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

นั่นแล มีสัณฐานเหมือนปีกสองข้างของไก่ขาวที่คลีออก ดังนี้ก็มี กระดูกอก

๑๔ ชิ้น มีสัณฐานเหมือนแถวแผ่นไม้คานหามเก่า ๆ กระดูกหัวใจ มีสัณฐาน

เหมือนแผ่นทัพพี กระดูกไหปลาร้า มีสัณฐานเหมือนด้ามมีดโลหะเล็ก ๆ

บรรดากระดูกไหปลาร้าเหล่านั้น กระดูกส่วนล่าง มีสัณฐานเหมือนอัฒจันท์

[พระจันทร์ครึ่งซีก] กระดูกหลังแขน มีสัณฐานเหมือนใบขวาน อาจารย์พวก

หนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนจอบชาวสิงหลตัดครึ่ง ดังนี้ก็มี กระดูกแขน

มีสัณฐานเหมือนด้ามกระจกเงา อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนด้าม

มีดใหญ่ ดังนี้ก็มี กระดูกปลายแขน มีสัณฐานเหมือนเง่าตาลคู่ กระดูกข้อมือ

มีสัณฐานเหมือนผืนผ้าโพกศีรษะ. ที่เขาวางติดรวมกัน กระดูกหลังมือ มี

สัณฐานเหมือนกองเง่าต้นกันทละตำ กระดูกข้อต้นของนิ้วมือ มีสัณฐานเหมือน

บัณเฑาะว์ กระดูกข้อกลาง มีสัณฐานเหมือนเมล็ดขนุนที่ไม่บริบูรณ์ กระดูก

ข้อปลาย. มีสัณฐานเหมือนเมล็ดตุมกา กระดูกคอ ๗ มีสัณฐานเหมือนชิ้นหนอ

ไม้ไผ่ที่เขาเจาะ วางเรียงไว้ กระดูกคางล่าง มีสัณฐานเหมือนเชือกผูกค้อน

เหล็กของช่างทอง กระดูกคางบน มีสัณฐานเหมือนไม้ชำระ ๗ อันกระดูก

เบ้าตาและโพรงจมูก มีสัณฐานเหมือนลูกตาลอ่อนที่ยังไม่ลอกเยื้อ กระดูก

หน้าผาก มีสัณฐานเหมือนกระโหลกสังข์แตกที่เขาวางคว่ำหน้า กระดูกกกหู

มีสัณฐานเหมือนกล่องมีดโกนของช่างแต่งผม บรรดากระดูกหน้าผากและกกหู

กระดูกในโอกาสที่ติดกันเป็นแผ่นตอนบน มีสัณฐานเหมือนชิ้นผ้าเก่าปิดหม้อ

เต็มน้ำหนา ๆ กระดูกหัว มีสัณฐานเหมือนมะพร้าวคดติดปาก กระดูกศีรษะ

มีสัณฐานเหมือนกะโหลกน้ำเต้าเก่าแก่ที่เสียบวางไว้. โดยทิศ กระดูกทั้งหลาย

เกิดในทิศทั้งสอง.

โดยโอกาส กระดูกทั้งหลาย ตั้งอยู่ทั่วสรีระไม่มีส่วนเหลือ แต่ว่า

โดยพิเศษ กระดูกศีรษะตั้งอยู่บนกระดูกคอ กระดูกคอก็ตั้งอยู่บนกระดูกสัน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

หลัง กระดูกสันหลัง ก็ตั้งอยู่บนกระดูกสะเอว กระดูกสะเอว ก็ตั้งอยู่บนกระดูก

ขา กระดูกขาก็ตั้งบนกระดูกเข่า กระดูกเข่าก็ตั้งอยู่บนกระดูกแข้ง กระดูกแข้ง

ก็ตั้งอยู่บนกระดูกข้อเท้า กระดูกข้อเท้าก็ตั้งอยู่บนกระดูกหลังเท้า กระดูกหลัง

เท้า ก็ยกกระดูกข้อเท้าขึ้นตั้ง กระดูกข้อเท้าก็ยกกระดูกแข้งขึ้นตั้ง ฯลฯ กระดูก

คอก็ยกกระดูกศีรษะขึ้นตั้ง. พึงทราบกระดูกส่วนที่เหลือโดยทำนองดังกล่าวมา

ฉะนี้.

ในกระดูกนั้น กำหนดว่า กระดูกศีรษะ ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่บน

กระดูกคอ ฯลฯ กระดูกข้อเท้า ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่บนกระดูกหลังเท้า แม้

กระดูกหลังเท้าก็ไม่รู้ว่า เรายกกระดูกข้อเท้าขึ้นตั้ง เปรียบเหมือนบรรดา

ทัพพสัมภาระ มีอิฐและไม้กลอน อิฐเป็นต้นตอนบนย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่บน

อิฐเป็นต้นตอนล่าง อิฐเป็นต้นตอนล่าง ก็ไม่รู้ว่าเรายกอิฐเป็นต้นตอนบนตั้ง

ขึ้น ฉะนั้น ด้วยว่า กระดูกเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา

เป็นธรรม ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. ก็กระดูก ๓๐๐ ชิ้นที่เป็นโครงสร้างเหล่านี้ อัน

เอ็น ๙๐๐ และเนื้อ ๙00 ชิ้นผูกและฉาบไว้หนุ่มเป็นต้นเดียวกัน ฉาบทาด้วย

ยางเหนียวไปตามประสาทรับรส ๗,๐๐๐ มีหยดเหงื่อกรองด้วยขุมขน ๙๙,๐๐๐

มีตระกูลหนอน ๘๐ ตระกูล นับได้ว่า กาย อย่างเดียว ซึ่งพระโยคาวจร

เมื่อพิจารณาโดยสภาวะเป็นจริง ย่อมจะไม่เห็นสิ่งไร ๆ ที่ควรเข้าไปยึดถือ แต่

จะเห็นร่างกระดูกอย่างเดียว ที่รัดตรึงด้วยเอ็น คลาคล่ำด้วยซากศพต่าง ๆ ซึ่ง

ครั้นเห็นแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นโอรสของพระทศพล เหมือนอย่างที่ตรัส

ไว้ว่า

ปฏิปาฏิยฏฺีนิ ิตานิ โกฏิยา

อเนกสนฺธิยมิโต น เกหิจิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

พทฺโธ นหารูหิ ชราย โจทิโต

อเจตโน กฏฺกลิงฺครูปโม

กระดูกทั้งหลายตั้งหลายเรียงกัน ในที่ต่อเป็นอัน

มากจากกายนี้ อันสิ่งไร ๆ มิได้ผูกไว้ กายนี้หากเอ็น

ทั้งหลายผูกรัดไว้ อันชราเตือนแล้ว ไม่มีเจตนา [ ใจ ]

อุปมาดังท่อนไม้.

กฺณป กุณเป ชาต อสุจิมฺหิ จ ปูตินิ

ทุคฺคนฺเธ จาปิ ทุคฺคนฺธ เภทนมฺหิ จ วยธมฺม

อฏฺิปุเฏ อฏฺิปุโฏฃ นิพฺพตฺโต ปูตินิ ปูติกายมฺหิ

ตมฺหิ จ วิเนถ ฉนฺท เหสฺสถ ปุตฺตา ทสพลสฺส.

ซากศพเกิดในซากศพ ของเน่าเกิดในของไม่

สะอาด ของเหม็นเกิดในของเหม็น ของต้องเสื่อม

สภาพเกิดในของต้องสลายไป กองกระดูกเกิดในกอง

กระดูก ของเน่าเกิดในกายเน่า เธอทั้งหลาย จง

กำจัดความพอใจในกายอันเน่านั้นเสีย ก็จักเป็นบุตร

ของตถาคตทศพล.

โดยปริเฉท ก็กำหนดว่า ภายในกระดูก ตัดตอนด้วยเยื่อในกระดูก

ภายนอก ตัดตอนด้วยเนื้อ ปลายและโคนตัดตอนด้วยกระดูกของกันและกัน

เอง นี้เป็นการกำหนดกระดูกเหล่านั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค

ก็เช่นเดียวกับผมนั้นแล. กำหนดกระดูกโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าว

มาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

อฏิมิญฺช เยื่อในกระดูก

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า เยื่อในกระดูก ซึ่งอยู่ภายในกระดูกทั้ง

หลาย มีประเภทตามที่กล่าวแล้วในสรีระโดยวรรณะ มีสีขาว. โดยสัณฐาน

เหมือนโอกาสของตน คือ เยื่อกระดูกที่อยู่ภายในกระดูกทั้งหลายขนาดใหญ่ ๆ

มีสัณฐานเหมือนหน่อหวายขนาดใหญ่ซึ่งเขาสอดหมุนใส่ในข้อไม้ไผ่และอ้อขนาด

ใหญ่ เยื่อกระดูกที่อยู่ภายในกระดูกเล็ก ๆ มีสัณฐานเหมือนหน่อหวายขนาด

เล็ก ซึ่งเขาสอดหมุนใส่ในข้อไม้ไผ่และอ้อขนาดเล็ก โดยทิศ เกิดในทิศทั้ง

สอง. โดยโอกาส ตั้งอยู่ในภายในกระดูกทั้งหลาย.

ในเยื่อกระดูกนั้นก็กำหนดว่า เยื่อกระดูกย่อมไม่รู้ว่าเราอยู่ภายใน

กระดูก แม้กระดูกก็ไม้รู้ว่า เยื่อกระดูกอยู่ภายในเรา เปรียบเหมือนนมส้มและ

น้ำอ้อย อยู่ภายในไม้ไผ่และอ้อเป็นต้น ย่อมไม่รู้ว่าเราอยู่ภายในไม้ไผ่และอ้อ

เป็นต้น แม้ไม้ไผ่และอ้อเป็นต้น ก็ไม่รู้ว่านมส้ม และน้ำอ้อยอยู่ภายในเรา

ฉะนั้น จริงอยู่ ธรรมเหล่านั้นเว้น ความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่

บุคคล. โดยปริเฉท เยื่อในกระดูก ตัดตอนด้วยพื้นภายในกระดูกทั้งหลาย และ

ด้วยส่วนแห่งเยื่อในกระดูก. นี้เป็นการกำหนดเยื่อในกระดูกนั้น โดยสภาค ส่วน

การกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดเยื่อกระดูกโดย

วรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

วกฺก ไต

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า วักกะ ไต ต่างโดยเป็นดังลูกกลม ๒ ลูก

ภายในสรีระ. โดยวรรณะมีสีแดงอ่อนมีสีเหมือนเมล็ดทองหลาง. โดยสัณฐาน

สัณฐานเหมือนลูกกลมเล่นร้อยด้าย ของเด็กชาวบ้าน อาจารย์พวกหนึ่งกล่าว

ว่า มีสัณฐานเหมือนมะม่วง ๒ ผลขั้วเดียวกันดังนี้ก็มี. โดยโอกาส ไตนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

ถูกเอ็นหยาบ ซึ่งออกมาจากหลุมคอมีโคนเดียวกัน ไปหน่อยหนึ่งแล้วแตกออก

เป็นสองส่วนรัดตรึงไว้แล้วล้อมเนื้อหัวใจตั้งอยู่.

ในไตนั้น ก็กำหนดว่า ไตย่อมไม่รู้ว่า เราถูกเอ็นหยาบรัดไว้ แม้

เอ็นหยาบก็ไม่รู้ว่า เรารัดไตไว้ เปรียบเหมือนมะม่วง ๒ ผลติดขั้วเดียวกัน

ย่อมไม่รู้ว่า เขาถูกขั้วรัดไว้ แม้ขั้วก็ไม่รู้ว่าเรารัดมะม่วง ๒ ผลไว้ฉะนั้น ด้วย

ว่า ธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล

โดยปริเฉทว่า ไต ตัดตอนด้วยส่วนแห่งไต นี้เป็นการกำหนดไตนั้นโดยสภา8

ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล กำหนดไตโดยวรรณะ

เป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

หทย หัวใจ

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า หทัยหัวใจ ภายในสรีระโดยวรรณะสีแดง

มีสีเหมือนสีหลังกลีบปทุมแดง. โดยสัณฐานมีสัณฐานเหมือนดอกปทุมตูม ลอก

กลีบนอกออกแล้ววางคว่ำหน้าลง. ก็หัวใจนั้น ข้างหนึ่งเหมือนผลบุนนาคตัด

ยอดข้างนอกเกลี้ยง ข้างในก็เหมือนข้างในผลบวบขม. ของตนปัญญามาก แย้ม

นิดหน่อย ของคนปัญญาอ่อน ตูมอย่างเดียว มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ

อาศัยรูปใดเป็นไป ถอดรูปนั้นออกไปแล้ว เลือดขังอยู่ประมาณครึ่งฟายมือ

ภายในหัวใจกล่าวคือชิ้นเนื้อส่วนที่เหลือ เลือดนั้นของคนราคจริตสีแดง ของ

คนโทสจริต สีดำ ของคนโมหจิต สีเหมือนน้ำล้างเนื้อ ของคนวิตกจริต สี

เหมือนน้ำเยื่อถั่วพู ของคนสัทธาจริต สีเหมือนดอกกรรณิการ์ ของตนปัญญา-

จริต ผ่องใสไม่ขุ่นมัว ปรากฏว่าโชติช่วงเหมือนแก้วมณีโดยกำเนิดที่ชำระแล้ว

โดยทิศเกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาสตั้งอยู่ตรงกลางราวนมทั้งสอง ภายใน

สรีระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

ในหัวใจนั้น ก็กำหนดว่า หัวใจย่อมไม่รู้ว่าเราตั้งอยู่ตรงกลางราวนม

ทั้งสอง แม้ราวนมก็ไม่รู้ว่าหัวใจตั้งอยู่ตรงกลางเรา เปรียบเหมือนกลอนสลัก

ตั้งอยู่กลางบานหน้าต่างและประตูทั้งสอง ย่อมไม่รู้ว่าเราตั้งอยู่ตรงกลางบาน

หน้าต่างและประตูทั้งสอง แม้บานหน้าต่างและประตูก็ไม่รู้ว่ากลอนสลักตั้งอยู่

กลางเรา ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา

ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล โดยปริเฉท ก็กำหนดว่า หัวใจตัดตอนด้วยส่วนแห่งหัวใจ

นี้เป็นการกำหนดหัวใจนั้น โดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียว

กับผมนั่นแล กำหนดหัวใจโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ยกน ตับ

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า ชิ้นเนื้อคู่ ที่เรียกกันว่ายกนะ ตับ ภายใน

สรีระ โดยวรรณะสีแดง มีสีเหมือนสีหลังกลีบนอกดอกกุมุทแดง โดยสัณฐาน

มีโคนเดียวกัน ปลายคู่ มีสัณฐานเหมือนดอกทองหลาง ก็ตับนั้นของคนปัญญา

อ่อน มีแฉกเดียวแต่ใหญ่ ของตนมีปัญญามีแฉก ๒-๓ แฉก แต่เล็ก โดยทิศ

เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาสอาศัยสีข้างด้านขวาตั้งอยู่ภายในราวนมทั้งสอง.

ในตับนั้น ก็กำหนดว่า ตับย่อมไม่รู้ว่า เราอาศัยสีข้างด้านขวาตั้งอยู่

ภายในราวนมทั้งของ แม้สีข้างด้านขวาภายในราวนมทั้งสองก็ไม่รู้ว่าตับอาศัยเรา

ตั้งอยู่ เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อซึ่งแขวนอยู่ที่ข้างกระเบื้องหม้อ ย่อมไม่รู้ว่าเรา

แขวนอยู่ที่ตั้งกระเบื้องหม้อ แม้ข้างกระเบื้องหม้อก็ไม้รู้ว่า ชิ้นเนื้อแขวนอยู่ที่

เรา ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ

ไม่ใช่บุคคล. แต่โดยปริเฉท กำหนดว่า ตับตัดตอนด้วยส่วนแห่งตับ นี้เป็นการ

กำหนดตับนั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาคก็เช่นเดียวกันกับผมนั่นแล.

กำหนดตับโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

กิโลมก พังผืด

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่าโดยวรรณะพังผืดมี ๒ อย่าง คือ ชนิดปิด

และชนิดไม่ปิด [เปิด] มีสีขาวสีเหมือนผ้าเก่า. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือน

โอกาสของตน. โดยทิศเกิดในทิศทั้งสอง. โดยโอกาสพังผืดชนิดปิดล้อมหัวใจ

และไตตั้งอยู่ พังผืดชนิดไม่ปิด [เปิด] หุ้มเนื้อได้หนังทั่วสรีระตั้งอยู่

ในพังผืดนั้น กำหนดว่า พังผืดย่อมไม่รู้ว่าเราล้อมหัวใจและไต และ

หุ้มเนื้อใต้หนังทั่วสรีระ แม้หัวใจและไต และเนื้อทั่วสรีระ ก็ไม่รู้ว่าเราถูก

พังผืดหุ้ม เปรียบเหมือนที่เนื้ออันถูกผ้าเก่าหุ้ม ผ้าเก่าก็ไม่รู้ว่าเราหุ้มเนื้อ แม้

เนื้อก็ไม่รู้ว่าเราถูกผ้าเก่าหุ้ม ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิด

คำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท ก็กำหนดว่า พังผืด

เบื้องล่างตัดตอนด้วยเนื้อ เบื้องบนตัดตอนด้วยหนัง เบื้องขวางตัดตอนด้วย

ส่วนแห่งพังผืด นี้เป็นการกำหนดพังผืดนั้นโดยสภาค. ส่วนการกำหนดโดย

วิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดพังผืดโดยวรรณะเป็นต้น มีประการ

ดังกล่าวมาฉะนี้

ปิหก ม้าม

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ ม้าม ภายในสรีระมีสีเขียว

มีสีเหมือนดอกคนที่สอแห้ง. โดยสัณฐาน โดยมากมีสัณฐานเหมือนลิ้นลักโคคำ

ไม่พันกัน ประมาณ ๗ นิ้ว. โดยทิศเกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส ตั้งอยู่ข้าง

ซ้ายหัวใจ อาศัยข้างบนพื้นท้อง ซึ่งเมื่อออกมาข้างนอก เพราะถูกประหาร

ด้วยเครื่องประหาร สัตว์ก็จะสิ้นชีวิต.

ในม้ามนั้น ก็กำหนดว่า ม้ามย่อมไม่รู้ว่าเราอาศัยส่วนข้างบนของพื้น

ท้อง แม้ส่วนข้างบนของพื้นท้องไม่รู้ว่า ม้ามอาศัยเราตั้งอยู่ เปรียบเหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

ก้อนโคมัย [มูลโค] อาศัยส่วนข้างบนของท้องตั้งอยู่ ย่อมไม่รู้ว่า เราอาศัย

ส่วนข้างบนของท้องตั้งอยู่ แม้ส่วนข้างบนของท้องก็ไม่รู้ว่า ก้อนโคมัยอาศัย

เราตั้งอยู่ ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา

ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า ม้ามตัดตอนด้วยส่วนแห่งม้าม นี่เป็น

การกำหนดม้ามนั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผม

นั่นแล. กำหนดม้ามโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ปปฺผาส ปอด

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ ปอดเป็นประเภทชิ้นเนื้อ

๓๒ ชิ้น ภายในสรีระ สีแดงเหมือนผลมะเดื่อสุกยังไม่จัด โดยสัณฐาน มี

สัณฐานเหมือนขนมที่ตัดไม่เรียบ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่ามีสัณฐานเหมือน

กองชิ้นอิฐก่อกำแพงดังนี้ก็มี ปอดนั้นไม่มีรส ไม่มีโอชะ เหมือนชิ้นฟางที่

สัตว์เคี้ยวแล้ว เพราะถูกกระทบด้วยไออุ่นไฟที่เกิดแต่กรรม ซึ่งพลุ่งขึ้น เพราะ

ไม่มีอาหารที่เคี้ยวที่ดื่ม. โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. โดยโอกาส ตั้งข้างบน

ห้อยคลุมหัวใจและตับระหว่างราวนมทั้งสอง.

ในปอดนั้น ก็กำหนดว่า ปอดย่อมไม่รู้ว่าเราตั้งห้อยอยู่ระหว่างราวนม

ทั้งสองคายในสรีระ แม้ระหว่างราวนมทั้งสองภายในสรีระ ก็ไม่รู้ว่า ปอดตั้ง

ห้อยอยู่ในเรา เปรียบเหมือนรังนกห้อยอยู่ภายในยุ้งเก่า ย่อมไม่รู้ว่าเราตั้งห้อย

อยู่ภายในยุ้งเก่า แม้ภายในยุ้งเก่าก็ไม่รู้ว่า รังนกตั้งห้อยอยู่ในเรา ฉะนั้น

ด้วยว่าธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล

นี้เป็นการกำหนดปอดนั้นโดยสภาค. ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับ

ผมนั้นแล. กำหนดปอดโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

อนฺต ไส้ใหญ่

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ ไส้ใหญ่ขดอยู่ในที่ ๒๑ ขด

ของบุรุษขนาด ๓๒ ศอก ของสตรีขนาด ๒๘ ศอก สีขาว เหมือนสีน้ำตาล

กรวดและปูนขาว. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนงูเรือนที่เขาตัดหัววางขดไว้

ในรางเลือด. โดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. โดยโอกาส ตั้งอยู่ภายในสรีระ ซึ่ง

มีหลุมคอและทางเดินกรีส [อุจจาระ] เป็นที่สุด เพราะโยงกับเบื้องบนที่หลุม

คอ และเบื้องล่างที่ทางเดินกรีส.

ในไส้ใหญ่นั้น ก็กำหนดว่า ไส้ใหญ่ย่อมไม่รู้ว่าเราตั้งอยู่ภายในสรีระ

แม้ภายในสรีระ ก็ไม่รู้ว่าไส้ใหญ่ตั้งอยู่ในเรา เปรียบเหมือนเรือนร่างงูเรือน

ศีรษะขาด ที่ถูกวางไว้ในรางเลือด ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในรางเลือด แม้ราง

เลือดก็ไม่รู้ว่า เรือนร่างงูศีรษะขาดตั้งอยู่ในเราฉะนั้น ด้วยว่า ธรรมเหล่านั้นเว้น

จากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท ก็กำหนด

ว่าไส้ใหญ่ตัดตอนด้วยส่วนแห่งไส้ใหญ่. นี้เป็นการกำหนดไส้ใหญ่โดยสภาค

ส่วนกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล.

อนฺตคุณ ไส้น้อย

ต่อแต่นั้น ไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ ไส้น้อยในระหว่างไส้ใหญ่

ภายในสรีระ สีขาวเหมือนสีรากจงกลนี. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนราก

จงกลนีนั่นแหละ. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนเยี่ยวโค ดังนี้

ก็นี้ โดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. โดยโอกาสพันปลายปากขนดไส้ใหญ่รวมกัน

เหมือนแผ่นกระดานยนต์ พันเชือกเวลาที่คนทำ จอบและขวานเป็นต้นชักยนต์

ตั้งอยู่ระหว่างขนดไส้ใหญ่ ๒๑ ขด เหมือนเชือกที่ร้อยขดเชือกเช็ดเท้า ตั้งอยู่

ในระหว่างเชือกเช็ดเท้านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

ในไส้น้อยนั้น ก็กำหนดว่า ไส้น้อยย่อมไม่รู้ว่า เราพันไส้ใหญ่ภาย

ในไส้ใหญ่ ๒๑ ขนดไว้ แม้ไส้ใหญ่ก็ไม่รู้ว่า ไส้น้อยพันเราไว้เปรียบเหมือน

เชือก [เล็ก] ร้อยขดเชือกเช็ดเท้า [เชือกใหญ่] ย่อมไม่รู้ว่า เราร้อยขดเชือก

เช็ดเท้าไว้ แม้ขดเชือกเท้าก็ไม่รู้ว่า เชือก [เล็ก] ร้อยเราไว้ ฉะนั้น.

ด้วยว่าธรรมเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล.

โดยปริเฉท ก็กำหนดว่า ไส้น้อย ตัดตอนด้วยส่วนแห่งไส้น้อย. นี้เป็นการ

กำหนดไส้น้อยนั้น โดยสภาคส่วนการกำหนดโดยวิสภาคก็เช่นเดียวกับผลนั่นแล.

การกำหนดไส้น้อยโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

อุทริย อาหารใหม่

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ อาหารใหม่มีสีเหมือนอาหาร

ที่กลืนเข้าไป โดยสัณฐานที่สัณฐานเหมือนข้าวสารที่ผูกหย่อนๆในผ้ากรองน้ำ

โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. โดยโอกาส ตั้งอยู่ในท้อง ธรรมดาว่าท้อง เป็น

พื้นของใส้ใหญ่ เสมือนโป่งลมที่เกิดเองตรงกลางผ้าเบียก ซึ่งถูกบีบทั้งสอง

ข้าง ภายนอกเกลี้ยงเกลา ภายในพัวพันด้วยกองขยะเนื้อ เสมือนผ้าซับระดู

เขรอะคล่ำคล่า อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่าเสมือนข้างในของผลขนุนต้ม ดังนี้ก็มี.

ในท้องนั้น มีหนอนต่างด้วยหนอน ๓๒ ตระกูลอย่างนี้ คือ ตระกูลตักโกลกะ

[ขนาดผลกระวาน] กัณฑุปปาทกะ [ขนาดไส้เดือน] ตาบหิรกะ [ขนาด

เสี้ยนตาล] เป็นต้น คลาคล่ำ ไตกันยั้วเยี้ย อาศัยอยู่ประจำ ซึ่งเมื่อไม่มี

อาหารมีน้ำและข้าวเป็นต้น ก็โลดแล่นต้องระงมชอนไชเนื้อหัวใจ และเวลา

คนกลืนกินอาหารมีน้ำและข้าวเป็นต้นลงไป ก็เงยหน้าตาลีตาลานแย่งอาหาร

๒ - ๓ คำที่คนกลืนลงไปครั้งแรก [ท้อง] จึงกลายเป็นบ้านเกิด เป็นส้วมเป็น

โรงพยาบาล และเป็นป่าช้าของหนอนเหล่านั้น เป็นที่เปรียบเหมือนในฤดูสารท

ฝนเม็ดหยาบ ๆ ตกลงมาในบ่อโสโครกใกล้ประตูหมู่บ้านคนจันฑาล ซาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

ต่าง ๆ ตั้งแต่ปัสสาวะ อุจจาระ ชิ้นหนัง กระดูก เอ็น น้ำลาย น้ำมูก และ

เลือดเป็นต้น ถูกน้ำพัดพา รวมคลุกเคล้ากับตมและน้ำ ก็มีหนอนตระกูล

น้อยใหญ่เกิดเอง ล่วงไป ๒๓ วัน ก็เดือดด้วยแรงแสงแดดและความร้อน

พ่นฟองฟอดปุดขึ้นข้างบน มีสีเขียวจัด ไม่สมควรที่จะเข้าใกล้หรือมองดู ไม่

ต้องกล่าวถึงว่าจะสูดดมหรือลิ้มรส ฉันใด น้ำและข้าวเป็นต้น มีประการต่าง ๆ

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันสากคือฟันบดละเอียดแล้ว อันมือคือลิ้นตวัดกลับ

ไปมาแล้ว คลุกเคล้าด้วยน้ำลาย ปราศจากความพร้อมด้วยสีกลิ่นรสเป็นต้น

ไปทันใด เสมือนรากสุนัขในรางสุนัข รวมกันคลุกเคล้าด้วยดีเสลด เดือด

ด้วยแรงไฟในท้องและความร้อน มีหนอนตระกูลใหญ่น้อยปล่อยฟองฟอดขึ้น

เบื้องบน จะกลายเป็นกองขยะมีกลิ่นเหม็นและน่าเกลียดอย่างยิ่ง ซึ่งฟังมาแล้ว

ทำให้ไม่อยากดื่มน้ำกินข้าวเป็นต้น อย่าว่าถึงจะตรวจดูด้วยจักษุคือปัญญาเลย

ซึ่งเป็นที่ ๆ น้ำและข้าวเป็นต้นตกลงไปแล้ว จะแบ่งเฉลยเป็น ๕ ส่วน คือ

ส่วนหนึ่ง สัตว์ [ในท้อง] จะกินส่วนหนึ่ง ไฟในต้องจะเผาไหม้ ส่วนหนึ่ง

จะกลายเป็นปัสสาวะ ส่วนหนึ่งจะกลายเป็นอุจจาระ ส่วนหนึ่งจะกลายเป็น รส

[โอชะ] บำรุงเพิ่มเลือดและเนื้อ.

ในอาหารใหม่นั้น ก็กำหนดว่า อาหารใหม่ ย่อมไม่รู้ว่า เราอยู่ใน

ท้องที่มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่งนี้ แม้ต้องก็ไม่รู้ว่า อาหารใหม่อยู่ในเรา

เปรียบเหมือนรากสุนัข ที่อยู่ในรางสุนัข แม้รางสุนัขก็ไม่รู้ว่ารากสุนัขอยู่ในเรา

ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่

บุคคล. โดยปริเฉท ก็กำหนดรู้ว่าอาหารใหม่ตัดตอนด้วยส่วนแห่งอาหารใหม่

นี้เป็นการกำหนดอาหารใหม่นั้น โดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่น

เดียวกับผมนั้นแล. กำหนดอาหารใหม่ โดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าว

มาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

กรีส อาหารเก่า [อุจจาระ]

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ อาหารเก่า ภายในสรีระ

โดยมาก ก็มีสีเหมือนอาหารที่กลืนกินเข้าไป โดยสัณฐาน ก็มีสัณฐานเหมือน

โอกาส. โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องล่าง. โดยโอกาส ตั้งอยู่ในที่อาหารอันย่อยแล้ว

อยู่อาศัย ธรรมดาประเทศที่อาหารอันย่อยแล้วอยู่อาศัย ก็เป็นประเทศเสมือน

ภายในปล้องไม้ไผ่และอ้อ สูงประมาณ ๘ นิ้ว อยู่ปลายลำไส้ใหญ่ระหว่าง

โคนท้องน้อยและสันหลังเบื้องล่าง เปรียบเหมือนน้ำฝนตกในที่เบื้องบน [สูง]

ก็ไหลลงทำที่เบื้องล่าง [ ต่ำ] ให้เต็มขังอยู่ ฉันใด น้ำและข้าวเป็นต้นอย่างใด

อย่างหนึ่ง ที่ตกลงในที่อยู่ของอาหารสด [ใหม่] อันไฟในท้องเผาให้สุกเดือด

ปุดเป็นฟอง กลายเป็นของละเอียดไปเหมือนแป้ง เพราะไฟธาตุทำให้ละเอียด

แล้วก็ไหลไปตามช่องลำไส้ใหญ่ บีบรัดสะสมขังอยู่เหมือนดินเหลืองที่เขาใส่

ในปล้องไม้ไผ่และต้นอ้อ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ในอาหารเก่านั้น ก็กำหนดว่า อาหารเก่าย่อมไม่รู้ว่า เราอยู่ในที่อยู่

ของอาหารที่ย่อยแล้ว แม้ที่อยู่ต้องอาหารที่ย่อยแล้ว ก็ไม่รู้ว่า อาหารเก่าอยู่ใน

เราเปรียบเหมือนดินเหลืองที่เขาขยำใส่ลงในปล้องไม้ไผ่และไม้อ้อ ย่อมไม่รู้

ดินเหลืองอยู่ในเรา แม้ปล้องไม้ไผ่และไม้อ้อก็ไม่รู้ว่า ดินเหลืองอยู่ในเรา

ฉะนั้น ด้วยว่า ธรรมเหล่านี้เว้น จากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่

บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า อาหารเก่า ตัดตอนด้วยส่วนแห่งอาหารเก่า นี้

เป็นการกำหนดอาหารเก่านั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาคก็เช่นเดียว

กับผมนั่นแล. กำหนดอาหารเก่าโดยวรรณะเป็นต้นมีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

มตฺถลุงค มันในสมอง

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ มันในสนองภายในกระโหลก

ศีรษะ ในสรีระ มีสีขาวเหมือนสีเห็ด. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

เหมือนสีน้ำนมเดือด ดังนี้ก็มี. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส. โดยทิศ

เกิดในทิศเบื้องบน. โดยโอกาส เป็นประเภทก้อนมันสมอง ๔ ก้อน ที่อาศัย

ร้อยเอ็น ๔ รอย ภายในกระโหลกศีรษะในสรีระ รวมกันตั้งอยู่เหมือนก้อนแป้ง

๔ ก้อนที่เขารวมกันตั้งไว้.

ในมันสมองนั้น ก็กำหนดว่า มันในสมองย่อมไม่รู้ว่า เราอยู่ในกระ-

โหลกศีรษะ แม้กระโหลกศีรษะก็ไม่รู้ว่ามันในสมองอยู่ในเรา เปรียบเหมือน

ก้อนแป้งที่เขา สู่ไว้ในกระโหลกน้ำเต้าเก่า หรือน้ำนมเดือด ย่อมไม่รู้ว่าเราอยู่

ในกระโหลกน้ำเต้าเก่า แม้กระโหลกน้ำเต้าเก่า ก็ไม่รู้ว่าก้อนแป้ง หรือน้ำนั้น

เดือด อยู่ในเรา ฉะนั้น ด้วยว่า ธรรมเหล่านั้น เว้นจากความคำนึงและการ

พิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า มัน ในสมองตัดตอนด้วย

ส่วนแห่งมันในสมอง นี้เป็นการกำหนดมันในสมองนั้นโดยสภาค ส่วนการ

กำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดมันในสมอง โดยวรรณะ

เป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ปิตฺต ดี

ต่อแต่นี้ไป กำหนดว่า ดี แม้สองชนิด คือดีนอกถุงและดีในถุง มี

สีเหมือนน้ำมันมะซางนี้ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ดีนอกถุงมีสีเหมือนดอก

พิกุลแห้งดังนี้ก็มี โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส. โดยทิศ เกิดในทิศทั้ง

สอง. โดยโอกาส ดีนอกถุง เว้นที่ของผมขนเล็บและพื้นอันพ้นจากเนื้อ และ

หนังที่แข็งและแห้ง เอิบอาบสรีระส่วนที่เหลืออยู่เหมือนหยาดน้ำมัน เอิบอาบ

น้ำ ซึ่งเมื่อกำเริบแล้ว ดวงตาจะเหลืองเวียนศีรษะ ตัวสั่นและคัน ดีในถุง

ตั้งอยู่ในถุงน้ำดี ซึ่งเสมือนรังบวบขมให้ อาศัยเนื้อหัวใจตั้งอยู่ในระหว่าง

หัวใจและปอด ซึ่งเมื่อกำเริมแล้ว สัตว์ทั้งหลายจะเป็นบ้ามีจิตวิปลาส ทิ้งหิริ-

โอตตัปปะ ทำการที่ไม่ควรทำ พูดคำที่ไม่ควรพูด คิดข้อที่ไม่ควรคิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

ในดีนั้น ก็กำหนดว่า ดีนอกถุง ย่อมไม่รู้ว่า เราเอิบอาบตลอดสรีระ

อยู่ แม้สรีระก็ไม่รู้ว่า ดีนอกถุงเอิบอาบเราอยู่. เปรียบเหมือนน้ำมัน เอิบอาบ

น้ำอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าเราเอิบอาบน้ำอยู่ แม้น้ำก็ไม่รู้ว่า น้ำมันเอิบอาบเราอยู่

ฉะนั้น ดีในถุงย่อมไม่รู้ว่า เราอยู่ในถุงน้ำดี แม้ถุงน้ำดีก็ไม่รู้ว่า ดีในถุงอยู่

ในเรา เปรียบเหมือนน้ำฝน ที่อยู่ในรังบวบขม ย่อมไม่รู้ว่า เราอยู่ในรังบวบ

ขม แม้รังบวบขมก็ไม่รู้ว่าน้ำฝนอยู่ในเรา ฉะนั้น. ด้วยว่า ธรรมเหล่านี้ เว้น

จากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท ก็กำหนดว่า

ดีตัดตอนด้วยส่วนแห่งดี นี้เป็นการกำหนดดีนั้น โดยสภาค. ส่วนการกำหนด

โดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับ ผมนั่นแล กำหนดดีโดยวรรณะเป็นต้น มีประการ

ดังกล่าวมาฉะนี้.

เสมห เสลด

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่าโดยวรรณะ เสมหะมีประมาณบาตรหนึ่ง

ภายในสรีระ มีสีขาว เหมือนสีน้ำในมะเดื่อ โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือน

โอกาส. โดยทิศเกิดในทิศเบื้องบน. โดยโอกาส ตั้งอยู่ในท้อง ซึ่งในเวลากลืน

กินอาหารมีน้ำและโภชนะเป็นต้น เมื่อน้ำและโภชนะเป็นต้นตกลง ก็จะแตก

ออกเป็นสองส่วนแล้วจะกลับมาคลุมอีก ซึ่งเมื่อมีน้อย พื้นท้องจะมีกลิ่นเหมือน

ซากศพน่าเกลียดอย่างยิ่ง. เหมือนหัวฝีสุก เหมือนไข่ไก่เน่า เปรียบเหมือน

สาหร่ายในน้ำ เมื่อชิ้นไม้หรือกระเบื้องตกก็จะขาดเป็นสองส่วนแล้วก็กลับมา

คลุมอีก ฉะนั้น การเรอก็ดี ปากก็ดี จะมีกลิ่นเหม็นเสมือนซากศพเน่าด้วย

กลิ่นที่พุ่งขึ้นจากท้องนั้น และคนผู้นั้น ก็จะถูกเขาพูดไล่ตะเพิดว่า ออก

ไปเจ้าส่งกลิ่นเหม็น และเสมหะพอกพูนหนาแน่นขึ้น ก็ช่วยระงับกลิ่นเหม็น

ตั้งอยู่ภายในพื้นท้องนั่นแหละ เหมือนแผ่นกระดานปิดส้วม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

ในเสมหะนั้น ก็กำหนดว่า เสมหะย่อมไม่รู้ว่าเราอยู่ที่พื้นท้อง แม้

พื้นท้องก็ไม่รู้ว่าเสมหะอยู่ในเรา เปรียบเหมือนแผ่นฟองบนบ่อโสโครก ย่อม

ไม่รู้ว่า เราอยู่ในบ่อโสโครก แม้บ่อโสโครกก็ไม่รู้ว่า แผ่นฟองอยู่ในเราฉะนั้น

ด้วยว่า ธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่

บุคคล. โดยปริเฉท ก็กำหนดว่า เสมหะตัดตอนด้วยส่วนแห่งเสมหะ. นี้เป็น

การกำหนดเสมหะนั้น โดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผม

นั่นแล. กำหนดเสมหะโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ปุพฺโพ หนอง

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ หนองมีสีเหมือนใบไม้เหลือง

โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส โดยทิศเกิดในทิศทั้งสอง โดยโอกาส

ธรรมดาโอกาสของน้ำเหลือง ตั้งอยู่ประจำไม่มี จะดังอยู่ในตำแหน่งสรีระที่น้ำ

เหลืองสะสมตั้งอยู่ ที่เมื่อถูกตอหนามเครื่องประหารและเปลวไฟเป็นต้นกระทบ

แล้วห้อเลือด หรือเกิดฝีและต่อมเป็นต้น.

ในหนองนั้น ก็กำหนดว่า หนองย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในตำแหน่ง

ที่ถูกตอและหนามเป็นต้นกระทบ หรือในตำแหน่งที่เกิดฝีและต่อมเป็นต้น ณ

ที่นั้น ๆ แห่งสรีระ แม้ตำแหน่งสีรระก็ไม่รู้ว่า น้ำเหลืองอยู่ในเรา เปรียบ

เหมือนยางไม้ที่ไหลออกตั้งอยู่ในที่ ๆ ถูกดมขวานเป็นต้นเฉพาะในที่นั้น ๆ ของ

ต้นไม้ ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในที่ ๆ ถูกเฉพาะของต้นไม้ แม้ที่ ๆ ถูกเฉพาะ

ของต้นไม้ก็ไม่รู้ว่า ยางไม้ตั้งอยู่ในเราฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านั้น เว้นจาก

ความคิดคำนึงและพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า หนอง

ตัดตอนด้วยส่วนแห่งน้ำเหลือง นี้เป็นการกำหนดหนองนั้น โดยสภาค

ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดหนองโดยวรรณะ

เป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

โลหิต เลือด

ต่อแต่นั้นไป ในเลือด ๒ อย่าง คือ เลือดขังและเลือดเดิน ก็กำหนด

เลือดขังก่อน โดยวรรณะมีสีเหมือนน้ำครั่งเดือดข้น เลือดเดินมีสีเหมือนน้ำ

ครั่งใส. โดยสัณฐาน เลือดทุกอย่าง มีสัณฐานเหมือนโอกาสของตน. โดยทิศ

เลือดขังเกิดในทิศเบื้องบน เลือดเดินเกิดในทิศทั้งสอง โดยโอกาส เลือดเดิน

จะกระจายไปตลอดสรีระทุกส่วนของสัตว์เป็นๆ เว้นที่ ๆ ผมขนเล็บและฟันที่พ้น

จากเนื้อ และหนังที่กระด้างและแห้ง เลือดขังทำส่วนล่างของตับให้เต็มแล้ว

ทำหยดเลือดให้ตกลงทีละน้อย ๆ บนม้ามหัวใจตับและปอดประมาณเต็มฟายมือ

หนึ่ง ทำม้ามหัวใจตับและปอดให้ชุ่มอยู่ ซึ่งเมื่อไม่ทำม้ามและหัวใจเป็นต้น

ให้ชุ่มอยู่ สัตว์ทั้งหลายก็จะกระหายน้ำ.

ในเลือด ก็กำหนดว่า เลือดย่อมไม่รู้ว่า เราทำม้ามและหัวใจเป็นต้น

ให้ชุ่ม ตั้งอยู่ส่วนล่างของตับ แม้ที่ส่วนล่างของตับหรือม้ามและหัวใจเป็นต้น

ก็ไม่รู้ว่า เลือดตั้งอยู่ในเรา หรือทำเราให้ชุ่มตั้งอยู่ เปรียบเหมือนน้ำที่อยู่ใน

ภาชนะเก่า ๆ ทำก้อนดินเป็นต้นข้างล่างให้ชุ่มอยู่ ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ใน

ภาชนะเก่า ๆ ทำก้อนดินเป็นต้นข้างล่างให้ชุ่มอยู่ แม้ภาชนะเก่า ๆ หรือก้อน

ดินเป็นต้นข้างล่าง ก็ไม่รู้ว่า น้ำตั้งอยู่ในเรา หรือทำเราให้ชุ่มตั้งอยู่ ฉะนั้น

ด้วยว่า ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล.

โดยปริเฉท กำหนดว่า เลือดตัดตอนด้วยส่วนแห่งเลือด. นี้เป็นการกำหนด

เลือดนั้นโดยสภาค. ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล.

กำหนดเลือดโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

เสโท เหงื่อ

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ เหงื่อ ในสรีระมีสีเหมือนน้ำ

มันงาใส. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส โดยทิศเกิดในทิศทั้งสอง.

โดยโอกาส ธรรมดาเหงื่อจะออกอยู่เป็นนิจ หามีไม่ หากแต่เหงื่อมีอยู่ทุกเมื่อ

หรือเพราะเหตะที่เวลาใด สรีระ เร่าร้อน เพราะร้อนไฟแสงแดดและฤดูวิปริต

เป็นต้น เวลานั้น เหงื่อจะไหลออกจากทุกรูผมและขุมขน เหมือนน้ำในกำ

เง่าบัวและก้อนบัวที่ตัดไม่เรียบพอยกขึ้นพ้อน้ำ ฉะนั้น พระโยคาวจรจึงกำหนด

เหงื่อนั้น โดยสัณฐาน ด้วยรูผมและขุมขนเหล่านั้น ท่านบุรพาจารย์ทั้งหลาย

กล่าวไว้ว่า อันพระโยคาวจร ผู้กำหนดเอาเหงื่อเป็นอารมณ์ พึงมนสิการใส่

ใจเหงื่อ โดยที่เหงื่อทำรูผมและขุมขนให้เต็มแล้วตั้งอยู่.

ในเหงื่อนั้น กำหนดว่า เหงื่อย่อมไม่รู้ว่า เราไหลออกจากรูผมและ

ขุมขน แม้รูผมและขุมขนก็ไม่รู้ว่า เหงื่อไหลออกจากเรา เปรียบเหมือนน้ำที่

ไหลออกจากช่องกำเหง้าบัวและก้านบัว ย่อมไม่รู้ว่า เราไหลออกจากช่องเหง้า

บัวและก้านบัว แม้ช่องเหง้าบัวและก้านบัว ก็ไม่รู้ว่าน้ำไหลออกจากเราฉะนั้น

ด้วยว่าธรรมเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล.

โดยปริเฉทกำหนดว่า เหงื่อตัดตอนด้วยส่วนแห่งเหงื่อ นี้เป็นกำหนดเหงื่อนั้น

โดยสภาค. ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดเหงื่อ

โดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

เมโท มันข้น

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะนั้น มันข้นระหว่างหนังและเนื้อ

ในสรีระ มีสีเหมือนขมิ้นผ่า โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส จริงอย่าง

นั้น สำหรับคนตัวอ้วนมีสุข มันขันที่แผ่ไประหว่างหนังและเนื้อ มีสัณฐาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

เหมือนผ้าเปลือกไม้เก่าย้อมขมิ้น สำหรับคนตัวผอม มันข้นอาศัยเนื้อแข้ง เนื้อขา

เนื้ออาศัยสันหลังและเนื้อหลังและเนื้อพื้นท้องรวมไว้ มีสัณฐานเหมือนผ้า

เปลือกไม้เก่าย้อมขมิ้นที่เขารวบวางไว้. โดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง โดยโอกาส

มันข้นสำหรับคนอ้วนแผ่ไปทั่วสรีระ สำหรับคนผอม อาศัยเนื้อแข็งเป็นต้น อยู่

ซึ่งก็คือมันเหนียว มิใช่รวมไว้เพื่อเป็นน้ำมันในสมอง มิใช่เพื่อเป็นน้ำมันใน

คำข้าว มิใช่เพื่อตามประทีป [จุดตะเกียง] เพราะเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่ง.

ในมันข้นนั้น กำหนดว่า มันข้นย่อมไม่รู้ว่า เราอาศัยทั่วสรีระหรือ

เนื้อที่แข้งเป็นต้นตั้งอยู่ แม้ทั่วสรีระหรือเนื้อที่แข้งเป็นต้น ก็ไม่รู้ว่า มันข้น

อาศัยเราตั้งอยู่ เปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้เก่าย้อมขมิ้น ที่วางพิงก้องเนื้อ ย่อม

ไม่รู้ว่า เราวางพิงกองเนื้อ แม้กองเนื้อก็ไม่รู้ว่า ผ้าเปลือกไม้เก่าย้อมขมิ้นวาง

พิงเรา ฉะนั้น ด้วยว่า ธรรมเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา

ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า มันข้น เบื้องล่างตัดตอนด้วยเนื้อ

เบื้องบนตัดตอนด้วยหนัง โดยรอบ ตัดตอนด้วยส่วนแห่งมันขัน. นี้เป็นการ

กำหนดมันข้นนั้นโดยสภาค. ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่น

แล. กำหนดมันข้น โดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

อสฺสุ น้ำตา

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ น้ำตา มีสีเหมือนน้ำมันงา

ใส. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส. โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน โดย

โอกาส ตั้งอยู่ในเบ้าตา ก็น้ำตานั้น หาขังตั้งอยู่ในเบ้าตาทุกเมื่อเหมือนน้ำดี

ในถุงน้ำดีไม่. มีได้อย่างไรเล่า. เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายเกิดโสมนัสดีใจ ก็หัว-

เราะดังลั่น เกิดโทมนัสเสียใจ ก็ร้องไห้คว่ำครวญหรือกลืนกินอาหารเผ็ดก็

เหมือนกัน และเมื่อใด ตาทั้งสองข้างของสัตว์เหล่านั้น ถูกควันละอองและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

ฝุ่นเป็นต้นกระทบ เมื่อนั้น น้ำตาเกิดขึ้นเพราะโสมนัส โทมนัสและอาหาร

เผ็ดเป็นต้น ก็จะขัง เอ่อออกเต็มเบ้าตา ท่านบุรพาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า

อันพระโยคาวจร ผู้กำหนดเอาน้ำตาเป็นอารมณ์ พึงมนสิการใส่ใจน้ำตานั้น

โดยที่น้ำตาขังเต็มเบ้าตานั่นแล.

ในน้ำตานั้น กำหนดว่า น้ำตาย่อมไม่รู้ว่าเราขังอยู่ในเบ้าตา แม้เบ้า

ตาก็ไม่รู้ว่า น้ำตาขังอยู่ในเรา เปรียบเหมือนน้ำที่ขังอยู่ในเมล็ดลูกตาลรุ่นที่

ตัดปลายย่อมไม่รู้ว่าเราขังอยู่ในเบ้าเมล็ดลูกตาลรุ่นที่ตัดปลาย แม้เบ้าเมล็ดลูก

ตาลรุ่นตัดปลาย ก็ไม่รู้ว่า น้ำขังอยู่ในเรา ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านั้น เว้น

จากควานคิดคำนึงและพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่าน้ำ

ตา ตัดตอนด้วยส่วนแห่งน้ำตา นี้เป็นการกำหนดน้ำตานั้น โดยสภาค. ส่วน

การกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. ก็กำหนดน้ำตา โดยวรรณะ

เป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

วสา มันเหลว

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ มันเหลว คือมันที่ละลาย

อยู่โนสรีระ มีสีเหมือนน้ำมันที่ราดในข้าวตัง. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือน

โอกาส โดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. โดยโอกาส ตั้งอยู่ที่ฝ่ามือหลังมือฝ่าเท้าหลัง

เท้า ดั้งจมูก หน้าผากและจงอยบ่า แต่มันเหลวนั้น หาละลายตั้งอยู่ในโอกาส

เหล่านั้น ทุกเมื่อไม่. อย่างไรเล่า. เมื่อใด ประเทศที่เหล่านั้น เกิดไออุ่น

เพราะไม่ถูกกันกับความร้อนของไฟ แสงแดด ฤดูและธาตุที่ไม่ถูกกัน เมื่อ

นั้นมันเหลว ก็จะละลายซ่านไปในประเทศที่เหล่านั้น เหมือนน้ำค้างในบ่อน้ำ

ที่มีน้ำใส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

ในมันเหลว กำหนดว่า มันเหลวย่อมไม่รู้ว่าเราท่วมอยู่ตลอดฝ่ามือ

เป็นต้น แม้ฝ่ามือเป็นต้นก็ไม่รู้ว่ามันเหลวท่วมเราอยู่ เปรียบเหมือนน้ำค้าง

ที่ท่วมบ่อน้ำอยู่ ย่อมไม่รู้ว่า เราท่วมบ่อน้ำ แม้บ่อน้ำก็ไม่รู้ว่า น้ำค้างท่วม

เราอยู่ ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา

ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า มันเหลวตัดตอนด้วยส่วนแห่งมันเหลว

นี้เป็นการกำหนดมันเหลวนั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียว

กับผมนั่นแล กำหนดมันเหลว โดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

เขโฬ น้ำลาย

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า โดยวรรณะ น้ำลายภายในปากในสรีระ

สีขาวสีเหมือนฟองน้ำ. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส. อาจารย์พวก

หนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนฟองน้ำทะเลดังนี้ก็มี โดยทิศ เกิดในทิศเบื้อง

บน. โดยโอกาส ไหลลงจากแก้มสองข้าง ตั้งอยู่ที่ลิ้น แต่น้ำลายนั้น หาสะสม

ตั้งอยู่ที่แก้มนั้น ทุกเมื่อไปไม่ เป็นอย่างไรเล่า. เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายเห็น

หรือ ระลึกถึงอาหารเช่นนั้น หรือวางของร้อนของรสขมเผ็ดเค็มและเปรี้ยว

บางอย่างลงในปาก และเมื่อใด หัวใจของสัตว์เหล่านั้น ไม่สบาย หรือเกิด

หิวขึ้นในบางครั้ง เมื่อนั้นน้ำลายจะเกิดไหลลงจากแก้มทั้งสองข้างตั้งอยู่ที่ลิ้น

แต่ที่ปลายลิ้นน้ำลายนั้นจะบาง ที่โคนลิ้นจะหนา ก็ข้าวเม่า ข้าวสาร หรือของ

เคี้ยวอื่น ๆ บางอย่างที่เขาใส่ลงในปาก จะยังไม่ละลายไปเหมือนน้ำในบ่อที่ขุด

บนทรายริมแม่น้ำ เมื่อนั้น น้ำลาย จะสามารถทำของเคี้ยวให้เปียกชุ่ม.

ในน้ำลายนั้น กำหนดว่า น้ำลายย่อมไม่รู้ว่าเราไหลลงจากแก้มทั้งสอง

ข้างตั้งอยู่ที่พื้นลิ้น แม้พื้นลิ้นก็ไม่รู้ว่าน้ำลายไหลลงจากแก้มทั้งสองข้างตั้งอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

ในเรา เปรียบเหมือนน้ำที่ตั้งอยู่ที่พื้นบ่อซึ่งเขาขุดบนทรายริมแม่น้ำ ย่อมไม่รู้

ว่าเราตั้งอยู่ที่พื้นบ่อ แม้พื้นบ่อก็ไม่รู้ว่าน้ำตั้งอยู่ในเรา ฉะนั้น ด้วยว่า ธรรม

เหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท

กำหนดว่าน้ำลายตัดตอนด้วยส่วนแห่งน้ำลาย. นี้เป็นการกำหนดน้ำลายนั้น โดย

สภาค. ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดน้ำลาย

โดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

สิงฺฆานิกา น้ำมูก

ตั้งแต่นั้นไป ก็กำหนดว่าโดยวรรณะ น้ำมูก สีขาวเหมือนสีเยื่อตาล

รุ่น. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐาน

เหมือนหน่อหวายที่เขาใส่ติดต่อกัน คืบ ๆ เข้าไปในโพรงจมูก ดังนี้ก็มี โดยทิศ

เกิดในทิศเบื้องบน. โดยโอกาส ขังอยู่เต็มจมูก แต่ว่าน้ำมูกนั้น หาสะสมขัง

อยู่ในโพรงจมูกนั้นทุกเมื่อไปไม่. เป็นอย่างไรเล่า บุรุษห่อนมส้มไว้ในใบบัว

เอาหนามเจาะใบบัวตอนล่าง ทีนั้น ก้อนนมส้มก็จะไหลออกจากช่องนั้นตกลง

ไปภายนอก ฉันใด เมื่อใดสัตว์ทั้งหลายร้องไห้หรือเกิดธาตุกำเริบ โดยอาหาร

และฤดูที่ไม่ถูกกัน เมื่อนั้นมันในสมอง ที่กลายเป็นเสมหะเสีย ไหลออกจาก

ภายในศีรษะ ลงทางช่องบนเพดานปาก ขังอยู่เต็มจมูกฉันนั้น เหมือนกัน

ในน้ำมูกนั้น กำหนดว่า น้ำมูกย่อมไม่รู้ว่าเราตั้งอยู่ในโพรงจมูก แม้

โพรงจมูกก็ไม่รู้ว่า น้ำมูกขังอยู่ในเราเปรียบเหมือนนมส้มเสียที่เขาใส่ไว้ในหอย

โข่ง ย่อมไม่รู้ว่าเราอยู่ในหอยโข่ง แม้หอยโข่งก็ไม่รู้ว่า นมส้มเสียอยู่ในเรา

ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านั้น เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่

ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า น้ำมูก ตัดตอนด้วยส่วนแห่งน้ำมูก นี้เป็น

การกำหนดน้ำมูกนั้น. โดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผม

นั่นแล. กำหนดน้ำมูกโดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

ลสิกา ไขข้อ

ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า ซากศพที่ลื่นเป็นมันในภายในที่ต่อแห่ง

สรีระ ภายในสรีระ ชื่อไขข้อ. โดยวรรณะ ไขข้อนั้น มีสีเหมือนยางต้น

กรรณิการ์. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส. โดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง.

โดยโอกาส ให้สำเร็จกิจคือหน้าที่หยอดน้ำมันที่ต่อแห่งกระดูกทั้งหลาย ตั้งอยู่.

ภายในที่ต่อ ๑๘๐ แห่ง ไขข้อนั้น ของผู้ใดมีน้อย ผู้นั้น ลุกขึ้น นั่งลงก้าวไป

ข้างหน้า ถอยมาข้างหลัง งอแขนเหยียดแขน กระดูกทั้งหลายก็จะลั่นกุบกับ

เดินไปก็เหมือนทำเสียงดีดนิ้ว เดินทางไกลไปได้แม้เพียงโยชน์หนึ่งสองโยชน์

วาโยธาตุก็กำเริบ [เป็นลม] ตัวก็ลำบาก. ส่วนไขข้อของผู้ใดมีมาก ผู้นั้น

กระดูกทั้งหลายก็ไม่ลั่นกุบกับ ในขณะลุกขึ้นและนั่งลงเป็นต้น แม้เดินทาง

นาน ๆ วาโยธาตุก็ไม่กำเริบ ตัวก็ไม่ลำบาก.

ในไขข้อนั้น กำหนดว่า ไขข้อย่อมไม่รู้ว่าเราหยอดน้ำมันที่ต่อ ๑๘๐

แห่งอยู่ แม้ที่ต่อ ๑๘๐ แห่งก็ไม่รู้ว่าไขข้อหยอดน้ำมันเราอยู่ เปรียบเหมือน

น้ำมัน หยอดเพลารถย่อมไม่รู้ว่า เราหยอดน้ำมันเพลารถอยู่ แม้เพลารถก็ไม่รู้

ว่า น้ำมันหยอดน้ำมันเราอยู่ ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิด

คำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า ไขข้อติด

ตอนด้วยส่วนแห่งไขข้อ นี้เป็นการกำหนดไขข้อนั้นโดยสภาค. ส่วนการกำหนด

โดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดไขข้อโดยวรรณะเป็นต้น มีประการ

ดังกล่าวมาฉะนี้.

มุตฺต มูตร [ปัสสาวะ]

ต่อแต่นั้นไป กำหนดว่า โดยวรรณะ มูตรภายในสรีระมีสีเหมือน

น้ำด่างถั่วทอง โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนน้ำที่อยู่ภายในหม้อน้ำที่เต็มนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

ซึ่งเขาวางคว่ำปาก. โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องล่าง โดยโอกาสตั้งอยู่ในกะเพาะ

ปัสสาวะ. ถุงปัสสวะ ท่านเรียกชื่อว่ากะเพาะปัสสาวะ ซึ่งเปรียบเหมือนรสน้ำ

โสโครก ย่อมเข้าไปในหม้อซึ่งที่ไม่มีปาก ซึ่งเขาวางไว้ในบ่อโสโครก ทาง

เข้าไปของรสน้ำโสโครกนั้นไม่ปรากฏ ฉันใด มูตรเข้าไปทางสรีระ แต่ทางเข้า

ไปของมูตรนั้นไม่ปรากฏ ส่วนทางออกเท่านั้นปรากฏอยู่.

ในมูตรนั้น กำหนดว่า มูตรย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในกะเพาะปัสสาวะ

แม้กะเพาะปัสสาวะก็ไม่รู้ว่ามูตรตั้งอยู่ในเรา เปรียบเหมือนรสน้ำโสโครก ใน

หม้อซึ้ง ที่ไม่มีปากซึ่งเขาวางไว้ในบ่อน้ำโสโครก ย่อมไม่รู้ว่าเราอยู่ในหม้อซึ้ง

ที่ไม่มีปาก แม้หม้อซึ้งก็ไม่รู้ว่ารสน้ำโสโครกตั้งอยู่ในเรา ฉะนั้น ด้วยว่า ธรรม

เหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯสฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท

กำหนดว่า มูตรตัดตอนด้วยภายในกะเพาะปัสสาวะ และด้วยส่วนแห่งมูตร นี้

เป็นการกำหนดมูตรนั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับ

ผมนั่นแล. กำหนดมูตร โดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้. พระ-

โยคาวจรกำหนดทวัตติงสาการนี้ โดยวรรณะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

เพราะอาศัยการประกอบเนือง ๆ ซึ่งภาวนาการเจริญทวัตติงสาการนั้น ๆ

ทวัตติงสาการมีผมเป็นต้น ก็ย่อมจะคล่องแคล่ว ปรากฏชัดโกฏฐาสเป็นส่วน ๆ

แก่พระโยคาวจรนั้น ผู้กำหนดทวัตติงสาการนี้ โดยวรรณะเป็นต้น ด้วยประการ

ฉะนี้ ตั้งแต่นั้นไปเมื่อบุรุษมีดวงตา ตรวจพวงมาลัยแห่งดอกไม้ทั้งหลาย ซึ่ง

มี ๓๒ สี อันร้อยไว้ด้วยด้ายเส้นเดียวกัน ดอกไม้ทุกดอก ก็ย่อมเป็นอัน

ปรากฏไม่ก่อนไม่หลัง ฉันใด เมื่อพระโยคาวจร สำรวจกายนี้ด้วยสติว่า ใน

กายนี้มีเกสาผมเป็นต้น ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอันปรากฏไม่ก่อนไม่

หลัง ฉันนั้นเหมือนกัน สติที่ตั้งขึ้นในผมทั้งหลายที่นึกถึง ย่อมจะเป็นไปจน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

ถึงมูตร ตั้งแต่นั้นไป มนุษย์และเดียรฉานเป็นต้น ที่เดินไปมา จะละอาการ

ว่าสัตว์ ปรากฏชัดแต่กองแห่งโกฏฐาสเป็นส่วนๆ เท่านั้น แก่พระโยคาวจรนั้น

และน้ำและโภชนะเป็นต้น ที่สัตว์เหล่านั้นกลืนกิน ก็จะปรากฏชัดเหมือนใส่ลง

ไปในกองโกฏฐาส.

ในข้อนี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พระโยคาวจรผู้นี้จะพึง

ทำอะไร ต่อแต่นั้นไป. ขอกล่าวชี้แจงดังนี้ นิมิตนั้นนั่นแล อันพระโยคาวจร

พึงเสพ พึงเจริญ พึงทำให้มาก พึงกำหนด ให้เป็นอันกำหนดด้วยดี ถามว่า

ก็พระโยคาวจรนี้ เสพเจริญนิมิตนั้น ทำให้มาก กำหนดให้เป็นอันกำหนด

ด้วยดีอย่างไร. ตอบว่า ความจริง พระโยคาวจรนี้เสพนิมิตที่ทวัตติงสาการมี

ผมเป็นต้น ปรากฏ เป็นโกฏฐาสส่วนๆ นั้น ย่อมผูก คบ เข้าไปใกล้ด้วยสติ

ให้ใจยึดห้องคือสติ หรือทำสติที่ได้ในนิมิตนั้น ให้งอกงาม ท่านเรียกว่าเจริญ

นิมิตนั้น. ข้อว่าทำให้มาก ได้แก่ท่านิมิตนั้นบ่อย ๆ ให้ประกอบด้วยสติ อันวิตก

และวิจารเข้ากระทบแล้ว. ข้อว่ากำหนดให้เป็นอันกำหนดด้วยดี ได้แก่นิมิต

เป็นอันกำหนดด้วยดี ไม่หายไปอีก โดยประการใด พระโยคาวจรย่อมกำหนด

เข้าไปรองรับเข้าไปผูกนิมิตนั้นไว้ด้วยสติ โดยประการนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง มนสิการโกศล ความฉลาดในมนสิการอันใด ที่กล่าวไว้

แต่ก่อน ๑๐ ข้ออย่างนี้คือ โดย ๑. โดยลำดับ ๒. โดยไม่เร่งนัก ๓. โดย

ไม่ช้านัก ๔. โดยป้องกันความฟุ้งซ่าน ๕. โดยล่วงบัญญัติเสีย ๖. โดยปล่อย

ลำดับ ๗. โดยลักษณะ ๘. ๙. ๑๐. สูตรทั้ง ๓. ในมนสิการโกศลนั้น พึง

ทราบว่า พระโยคาวจรนมสิการใส่ใจโดยลำดับ ชื่อว่า เสพ. มนสิการโดยไม่

เร่งนัก และโดยไม่ช้านัก ชื่อว่า เจริญ มนสิการโดยป้องกันความฟุ้งซ่าน

ชื่อว่าทำให้มาก มนสิการโดยล่วงบัญญัติเป็นต้น ชื่อว่า กำหนดให้เป็นอัน

กำหนดด้วยดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

ในข้อนี้ผู้ทักท้วงกล่าวว่า พระโยคาวจรนี้ มนสิการธรรมเหล่านั้น โดย

มนสิการโกศลมีโดยลำดับเป็นต้นอย่างไร. ขอกล่าวชี้แจงดังนี้ ความจริง

พระโยคาวจรนี้ ครั้นมนสิการผมแล้ว ลำดับจากนั้น ก็มนสิการขน ไม่มนสิ-

การเล็บ. ในอาการทุกอย่างก็นัยนี้ เพราะเหตุไร. เพราะว่าพระโยคาวจร

เมื่อมนสิการผิดลำดับ ก็มีจิตลำบาก ก็ไปจากทวัตติงสาการภาวนา เจริญ

ภาวนาไม่สำเร็จ เพราะไม่ได้อัสสาทะความสดชื่นที่ควรได้โดยภาวนาสมบัติ

เปรียบเหมือนบุรุษผู้ไม่ฉลาดขึ้นบันใด ๓๒ ขึ้น ผิดสำหรับ ก็ลำบากกายย่อม

ตกบันไดนั้น ขึ้นบันใดไม่สำเร็จ ฉะนั้น.

อนึ่ง พระโยคาวจรแม้มนสิการโดยลำดับ ก็มนสิการไม่เร็วเกินไปว่า

เกสา โลมา. เพราะว่า พระโยคาวจรเมื่อมนสิการเร็วเกินไป ก็ไม่อาจกำหนด

สีและสัณฐานเป็นต้น ที่พ้นจากทวัตติงสาการ แต่นั้น ก็จะไม่ฉลาดในทวัตติง-

สาการ และกรรมฐานก็จะเสื่อมเสียไป เปรียบเหมือนบุรุษ กำลังเดินทางไกล

ไม่อาจกำหนด ทางเรียบ ทางขรุขระต้นไม้ ที่ดอนที่ลุ่ม ทางสองแพร่งเป็นต้น

ที่พ้นไปจากหนทาง แต่นั้น ก็จะไม่ฉลาดในหนทาง การเดินทางไกล ก็จะ

สิ้นไป ฉะนั้น.

อนึ่ง พระโยคาวจร มนสิการโดยไม่เร่งนัก ฉันใด ก็มนสิการ แม้

โดยไม่ชักช้านักฉันนั้น เพราะว่า พระโยคาวจรเมื่อมนสิการชักช้านัก ก็จะ

ไม่ถึงความสำเร็จทวัตติงสาการภาวนา แต่จะถึงความย่อยยับด้วยกามวิตกเป็น

ต้น ในระหว่าง เพราะขาดภาวนา เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล ถูกหน่วง

เหนี่ยวอยู่ที่ต้นไม้ ภูเขา และหนองน้ำเป็นต้น ในระหว่างทาง ก็ไม่ถึงถิ่นที่

ประสงค์ แต่จะถึงความย่อยยับ ด้วยสิงห์โตและเสือเป็นต้น ในระหว่าง

นั้นเอง ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

อนึ่ง พระโยคาวจรแม้มนสิการโดยไม่ชักช้านัก ก็มนสิการแม้โดย

ป้องกันความฟุ้งซ่านเสีย พระโยคาวจรย่อมมนสิการ โดยประการที่จะไม่ฟุ้ง-

ซ่าน เพราะงานอื่น ๆ มีงานนวกรรม การก่อสร้างเป็นต้น พระโยคาวจร ผู้

มีจิตฟุ้งซ่านไปภายนอก มีความตรึกแห่งจิตไม่ตั้งมั่นในทวัตติงสาการมีผม

เป็นต้น ก็ไม่ถึงความสำเร็จแห่งภาวนา จะถึงความย่อยยับเสียในระหว่างนั้น

เองเหมือนสหายของพระโพติสัตว์ ย่อยยับเสียในการเดินทางไปกรุงตักกสิลา

ส่วนพระโยคาวจรผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีความตรึกแห่งจิตตั้งมั่นในทวัตติงสาการ

มีผมเป็นต้น ก็ถึงความสำเร็จแห่งภาวนา เหมือนพระโพติสัตว์ถึงความสำเร็จ

แห่งราชสมบัติในกรุงตักกสิลา ธรรมเหล่านั้น ย่อมปรากฏโดยอสุภะ โดยสีหรือ

โดยความว่างเปล่า ด้วยอำนาจบารมี จริยาและความน้อมใจเธอแก่พระโยคาว-

จรนั้น ผู้มนสิการโดยป้องกันความฟุ้งซ่าน ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระโยคาวจรนมสิการธรรมเหล่านั้น โดยล่วงบัญญัติ. ข้อว่า

โดยล่วงบัญญัติ ได้แก่มนสิการล่วงเลยสละเสียซึ่งโวหารเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกสา

โลมา โดยเป็นอสุภเป็นต้น ตามที่ปรากฏแล้ว. มนสิการอย่างไร. เปรียบ

เหมือนมนุษย์ทั้งหลาย ที่เข้าไปอาศัยอยู่ในน้ำ ทำเครื่องหมายหักกิ่งไม้เป็นต้น

เพื่อจำสถานที่มีน้ำไว้เพราะเป็นภูมิภาคที่ไม่คุ้นเคย ไปตามแนวเครื่องหมายนั้น

ย่อมบริโภคน้ำได้ แต่เมื่อใด คุ้นเคยภูมิภาคแล้ว ก็ปล่อยไม่สนใจเครื่องหมาย

นั้นเข้าไปยังสถานที่มีน้ำ บริโภคน้ำได้ ฉันใด พระโยคาวจรนี้ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน มนสิการธรรมเหล่านั้น โดยโวหารนั้น ๆ มีเกสา โลมาเป็นต้นไป

ก่อน เมื่อธรรมเหล่านั้น ปรากฏชัดโดยอารมณ์มีอสุภเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง

ล่วงเลยปล่อยโวหารนั้น มนสิการโดยอารมณ์มีอสุภเป็นต้นแล.

ในข้อนั้น ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ธรรมเหล่านั้น ปรากฏโดยความเป็นอสุภะ

เป็นต้นแก่พระโยคาวจรนั้นอย่างไร โดยวรรณะอย่างไร หรือโดยความเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

ของว่างเปล่าอย่างไร. อนึ่ง พระโยคาวจร มนสิการธรรมเหล่านี้โดยอสุภะ

อย่างไร โดยวรรณะอย่างไร หรือโดยความว่างเปล่าอย่างไร. ก่อนอื่น ผม

ทั้งหลายย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้นโดยอสุภะ เป็น ๕ ส่วน คือ วรรณะ สี

สัณฐาน ทรวดทรง คันธะกลิ่น อาสยะ ที่อยู่และโอกาสที่เกิด พระโยคาวจรนี้ก็

มนสิการธรรมเหล่านี้ เป็น ๕ ส่วนนั่นแล โดยอสุภะ อย่างไรเล่า. ธรรมดา

ผมเหล่านั้นโดยวรรณะ ไม่งาม เป็นของปฏิกูลน่าเกลียดอย่างยิ่ง. จริงอย่างนั้น

มนุษย์ทั้งหลาย เห็นเปลือกไม้หรือเส้นด้าย มีสีเหมือนผม ซึ่งตกลงไปในน้ำ

และข้าวเวลากลางวัน ย่อมทิ้งหรือเกลียดน้ำและข้าว แม่เป็นของชอบใจ ด้วย

สำคัญว่าผม. แม้โดยสัณฐาน ก็ไม่งาม จริงอย่างนั้น มนุษย์ทั้งหลาย กระทบ

เปลือกไม้หรือเส้นด้าย ซึ่งมีสัณฐานเหมือนผม ซึ่งตกลงไปในน้ำข้าว เวลา

กลางคืน ย่อมทิ้งหรือเกลียดน้ำข้าวแม้เป็นของชอบใจ ด้วยสำคัญว่าผม. แม้

โดยกลิ่นก็ไม่งาม. จริงอย่างนั้น ผมทั้งหลายที่เว้นการตกแต่งมีทาน้ำมัน ติด

ดอกไม้ รมควันเป็นต้น กลิ่นน่ารังเกียจอย่างยิ่ง คนสูดกลิ่น ผมที่โยนใส่ใน

ไฟ ต้องปิดจมูก เบือนหน้าหนี. แม้โดยที่อยู่ก็ไม่งาม. จริงอย่างนั้น ผม

เหล่านั้น สะสมแล้ว ก็เพิ่มพูนไพบูลย์ด้วยการไหลมาคั่งกันของดี เสมหะ น้ำ-

เหลืองและเลือด เหมือนต้นกะเพราเป็นต้นในกองขยะ ด้วยการไหลมาคั่งกัน

ของสิ่งไม่สะอาดของมนุษย์นานาชนิด. แม้โดยโอกาส ก็ไม่งาม. จริงอย่าง

นั้น ผมเหล่านั้น เกิดในหนังอ่อน ที่คลุมศีรษะของมนุษย์ทั้งหลาย เหนือ

ยอดกองซากศพ ๓๑ มีขนเป็นต้น ซึ่งน่าเกลียดอย่างยิ่งเหมือนต้นกระเพราเป็น

ต้นในกองขยะ. ในซากศพ ๓๑ มีขนเป็นต้น ก็นัยนี้. พระโยคาวจรนี้ มน-

การธรรมเหล่านี้ ที่ปรากฏโดยอสุภะ โดยความเป็นของไม่งาม ด้วยประการ

อย่างนี้ก่อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

ถ้าหากว่า ธรรมเหล่านี้ปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้น โดยวรรณะเมื่อ

เป็นดังนั้น ผมทั้งหลายก็ปรากฏ โดยเป็นนีลกสิณ. ขน ฟัน ก็อย่างนั้น ย่อม

ปรากฏ โดยเป็นโอทาตกสิณ. ในทวัตติงสาการทุกอย่าง ก็นัยนี้. พระโย-

คาวจรนี้ ย่อมมนสิการธรรมเหล่านี้ โดยเป็นกสิณนั้น ๆ นั้นแล. ธรรมที่

ปรากฏโดยวรรณะอย่างนี้ พระโยคาวจรก็มนสิการโดยวรรณะ ก็ถ้าหากว่า

ธรรมเหล่านั้นปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้น โดยความเป็นของว่างเปล่า เมื่อเป็น

ดังนั้น ผมทั้งหลายย่อมปรากฏ โดยเป็นการประชุมวินิพโภครูปที่มีโดชะครบ ๘

ด้วยการกำหนดแยกออกจากกลุ่มก้อน. ขนเป็นต้น ก็ปรากฏเหมือนอย่างที่ผม

ปรากฏ. พระโยคาวจรนี้ ย่อมมนสิการธรรมเหล่านั้น อย่างนั้นเหมือนกัน.

ธรรมที่ปรากฏโดยความเป็นของว่างเปล่าอย่างนี้ ก็มนสิการโดยความเป็นของ

ว่างเปล่า.

พระโยคาวจรนี้ มนสิการอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มนสิการธรรมเหล่านั้น

โดยลำดับ. ข้อว่าโดยปล่อยลำดับ อธิบายว่า พระโยคาวจร ปล่อยผมที่ปรากฏ

โดยเป็นอสุภะเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง และมนสิการขน เป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ใน

ผมทั้งหลายแล้วมนสิการขนทั้งหลาย เมื่อตั้งมนสิการในขนทั้งหลาย ก็ชื่อว่า

ปล่อยผม เปรียบเหมือนปลิง เพ่งเฉยอยู่ที่ประเทศอันจับไว้ด้วยหาง ปล่อย

ประเทศอื่นทางจะงอยปาก เมื่อจับประเทศนั้นไว้ ก็ชื่อว่าปล่อยประเทศนอกนี้

ฉะนั้น. ในทวัตติงสาการทุกอย่าง ก็นัยนี้. ก็ธรรมเหล่านั้น เมื่อปรากฏ

แก่พระโยคาวจรนั้น ผู้มนสิการ โดยปล่อยลำดับอย่างนี้ ย่อมปรากฏไม่เหลือเลย

ทั้งปรากฏว่าปรากฏชัดกว่า.

เนื้อเป็นดังนั้น ธรรมเหล่าใด ปรากฏโดยความเป็นของไม่งามแก่

พระโยคาวจรใด ทั้งปรากฏว่าปรากฏชัดกว่า เปรียบเหมือนลิงถูกพรานไล่

ตะเพิดไปในดงตาล ๓๒ นี้ ไม่หยุดอยู่แม้แต่ต้นเดียว โลดโผไป เมื่อใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

กลับก็ล้า เมื่อนั้น จึงหยุดอิงตาลอ่อนอันสะอาด ที่หุ้มห่อด้วยใบตาลทึบต้น

หนึ่งเท่านั้น ฉันใด ลิงคือจิตของพระโยคาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อัน

พระโยคาวจรนั้นนั่นแหละไล่ตะเพิดไปอยู่ในกายนี้ ที่มี ๓๒ โกฏฐาสคือส่วน

ไม่หยุดอยู่แม้แต่ส่วนหนึ่ง โลดไป เมื่อใดกลับ เพราะไม่มีความปรารถนาในอัน

แล่นไปสู่อารมณ์เป็นอันมาก ก็เหน็ดเหนื่อย [ล้า] เมื่อนั้น ธรรมใดของพระ-

โยคาวจรนั้น คล่องแคล่วหรือเหมาะแก่จริตกว่าในส่วน ๓๒ มีผมเป็นต้น หรือ

เป็นผู้บำเพ็ญบารมีไว้ก่อนในธรรมใด ก็อิงธรรมนั้นหยุดอยู่โดยอุปจารสมาธิ

เมื่อเป็นดังนั้น พระโยคาวจรทำนิมิตนั้นนั่นแล ให้เป็นอันถูกความตรึก จรด

ถูกวิตกจรดบ่อย ๆ ก็จะทำปฐมฌานให้เกิดขึ้นตามลำดับ ตั้งอยู่ในปฐมฌาน

นั้นแล้ว เริ่มวิปัสสนา ย่อมบรรลุอริยภูมิได้.

อนึ่ง ธรรมเหล่านั้น ย่อมปรากฏโดยวรรณะแก่พระโยคาวจรได้

เปรียบเหมือนลิงถูกพรานไล่ตะเพิดไปในดงตาล ๓๒ ต้น ไม่หยุดอยู่แม้แต่ต้น

เดียว เมื่อใดกลับก็เหนื่อยล้า เมื่อนั้น จึงหยุดอิงตาลอ่อนอันสะอาด ที่หุ้มห่อ

ด้วยใบตาลทึบต้น หนึ่งเท่านั้น ฉันใดลิงคือจิตของพระโยคาวจรนั้น ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน อันพระโยคาวจรนั้นนั่นแหละ ไล่ตะเพิดไปอยู่ในกายนี้ที่มี ๓๒ ส่วน

ไม่หยุดอยู่แม้แต่ส่วนหนึ่ง โลดไป เมื่อใดกลับ เพราะไม่มีความปรารถนา

แล่นไปในอารมณ์เป็นอันมาก ก็เหนื่อยล้า เมื่อนั้น ธรรมใดของพระโยคาวจร

นั้น คล่องแคล่วหรือเหมาะแก่จริตกว่า ใน ๓๒ ส่วนมีผมเป็นต้น หรือเป็น

ผู้บำเพ็ญบารมีมาแต่ก่อนในธรรมใด ก็อิงธรรมนั้น หยุดอยู่โดยอุปจารสมาธิ

เมื่อเป็นดังนั้น พระโยคาวจรทำนิมิตนั้นนั่นแล ให้เป็นอันถูกความตรึกจรด

ถูกวิตกจรดบ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดรูปาวจรฌานแม้ทั้ง ๕ โดยนีลกสิน หรือโดย

ปิตกสิณ ตามลำดับ และตั้งอยู่ในรูปาวจรฌานนั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เริ่ม

เจริญวิปัสสนา ก็จะบรรลุอริยภูมิได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

อนึ่ง ธรรมเหล่านั้น ปรากฏโดยความเป็นของว่างเปล่า แก่พระ-

โยคาวจรใด พระโยคาวจรนั้น ย่อมมนสิการโดยลักษณะ เมื่อมนสิการโดย

ลักษณะ ย่อมบรรลุอุปจารฌาน โดยกำหนดธาตุ ในธรรมเหล่านั้น เมื่อ

เป็นดังนั้น เมื่อมนสิการ ก็มนสิการธรรมเหล่านั้น โดยสูตรทั้ง ๓ คือ ไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. นี้เป็นวิปัสสนานัยของพระโยคาวจรนั้น. พระโยคาวจร

เริ่มเจริญวิปัสสนานี้และปฏิบัติไปตามลำดับ ก็ย่อมบรรลุอริยภูมิแล.

ก็คำใดข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ก็พระโยคาวจรนี้ มนสิการธรรมเหล่านี้

อย่างไร คำนั้นก็เป็นอันข้าพเจ้าพยากรณ์แล้ว ด้วยกถามีประมาณเพียงเท่านี้.

อนึ่งเล่า คำใดข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า พึงทราบการพรรณนาปาฐะนั้นอย่างนี้ โดย

ภาวนา. ความของคำนั้น ก็เป็นอันข้าพเจ้าประกาศแล้วแล.

ปกิณณกนัย

นัยเบ็ดเตล็ด

บัดนี้ พึงทราบปกิณณกนัยนี้ เพื่อความชำนาญและความฉลาด ใน

ทวัตติงสาการนี้ว่า

นิมิตฺตโต ลกฺขณโต ธาตุโต สุญฺโตปิ จ

ขนฺธาทิโต จ วิญฺเยฺโย ทฺวตฺตึสาการนิจฺฉโย.

พึงทราบการวินิจฉัยทวัตติงสาการ โดยนิมิต โดย

ลักษณะ โดยธาตุ โดยความว่างเปล่า และโดยขันธ์

เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

บรรดาข้อปกิณณกะนั้น ข้อว่าโดยนิมิต ความว่า ในทวัตติงสาการ

นี้ มีประการดังกล่าวมาแล้วนี้ มีนิมิต ๑๖๐ ซึ่งพระโยคาวจร สามารถกำหนด

ทวัตติงสาการได้โดยโกฏฐาสคือเป็นส่วนๆ คือ ผมมีนิมิต ๕ คือ วรรณะ สี

สัณฐาน ทรวดทรง ทิสา ทิศ โอกาส ที่เกิด ปริเฉท ตัดตอนในขนเป็นต้นก็

อย่างนี้.

ข้อว่า โดยลักษณะ ความว่า ในทวัตติงสาการมีลักษณะ ๑๒ ซึ่ง

พระโยคาวจร สามารถทำมนสิการทวัตติงสาการได้โดยลักษณะ คือ ผมมี ๔

ลักษณะ คือ ลักษณะแข้น ลักษณะเอิบอาบ ลักษณะร้อน ลักษณะพัด ใน

ขนเป็นต้น ก้อย่างนี้.

ข้อว่า โดยธาตุ ความว่า ในทวัตติงสาการ ในธาตุทั้งหลายที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในบาลีนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษบุคคลนี้ มีธาตุ

๖ ดังนี้ ธาตุมี ๑๒๘ ซึ่งพระโยคาวจร สามารถกำหนดทวัตติงสาการได้โดย

ธาตุคือ ในผมมีธาตุ ๔ คือ ส่วนที่แข็งเป็นปรวีธาตุ ส่วนที่เอิบอาบเป็น

อาโปธาตุ ส่วนที่ร้อนเป็นเตโชธาตุ ส่วนที่พัดเป็นวาโยธาตุ. ในขนเป็นต้น

ก็อย่างนี้

ข้อว่า โดยความว่างเปล่า ความว่า ในทวัตติงสาการมีสุญญตา

๑๒๘ ซึ่งพระโยคาวจร สามารถพิจารณาเห็นทวัตติงสาการ โดยความว่างเปล่า

คือในผมก่อน มีสุญญตา ๔ คือ ปฐวีธาตุว่างจากอาโปธาตุเป็นต้น อาโปธาตุ

เป็นต้น ก็อย่างนั้น ว่างจากปฐวีธาตุเป็นต้น. ในขนเป็นต้นก็อย่างนี้.

ข้อว่า โดยขันธ์เป็นต้น ความว่า ในทวัตติงสาการเมื่อผมเป็นต้น

ท่านสงเคราะห์โดยขันธ์เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย โดยนัยเป็นต้น อย่างนี้ว่า

ผมทั้งหลายมีขันธ์เท่าไร มีอาตนะเท่าไร มีธาตุเท่าไร มีสัจจะเท่าไร มีสติ-

ปัฏฐานเท่าไร. กายย่อมปรากฏประหนึ่งกองหญ้าและไม้แก่พระโยคาวจรนั้น

ผู้พิจารณาเห็นอย่างนี้ เหมือนอย่างท่านกล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

นตฺถิ สตฺโต นโร โปโส ปุคฺคโล นูปลพฺภติ

สุญฺภูโต อย กาโย ติณกฏฺสมูปโม.

ไม่มี สัตว์ นระ บุรุษ ไม่ได้บุคคล

กายนี้มีสภาพว่างเปล่า เปรียบเสมอด้วยหญ้าและไม้.

อนึ่งเล่า ความยินดีนั้นใด อันมิใช่ของมนุษย์ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

สญฺาคาร ปวิฏฺสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ตาทิโน

อมานุสี รติ โหติ สมฺมา ธมฺม วิปสฺสโต.

ท่านผู้เข้าไปยังเรือนว่าง มีจิตสงบ คงที่ พิจาร-

ณา เห็นธรรมโดยชอบ ย่อมมีความยินดี ที่ไม่ใช่ของ

มนุษย์.

ความยินดีนั้น อยู่ไม่ไกลเลย. ต่อแต่นั้น อมตะคือ ปีติและปราโมช

นั้นใด ที่สำเร็จมาแต่วิปัสสนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า

ยโต ยโต สมฺมสติ ขนฺธาน อุทยพฺพย

ลภตี ปีติปาโมชฺช อมต ต วิชานต.

พิจารณาเห็นความเกิดและดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย

โดยประการใด ๆ ปีติและปราโมชอันอมตะย่อมได้

แก่ผู้พิจารณาเห็นความเกิดดับนั้น โดยประการนั้น ๆ.

พระโยคาวจร เมื่อเสวยปีติและปราโมชอันเป็นอมตะนั้น ไม่นานเลย

ก็จะทำให้แจ้งอมตะคือพระนิพพานที่ไม่แก่ไม่ตาย อันอริยชนเสพแล้วแล.

จบกถาพรรณนาทวัตติงสาการ

แห่ง

อรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

สามเณรปัญหาในขุททกปาฐะ

[๔] อะไรเอ่ยชื่อว่า ๑ สัตว์ทั้งปวงตั้งอยู่ได้ด้วย

อาหาร. อะไรเอ่ยชื่อว่า ๒ นามและรูป. อะไรเอ่ยชื่อ

ว่า ๓ เวทนา ๓. อะไรเอ่ยชื่อว่า ๔ อริยสัจ ๔. อะไร

เอ่ยชื่อว่า ๕ อุปาทานขันธ์ ๕. อะไรเอ่ยชื่อว่า ๖

อายตนะภายใน ๖. อะไรเอ่ยชื่อว่า ๗ โพชฌงค์ ๗.

อะไรเอ่ยชื่อว่า ๘ อริยมรรคมีองค์ ๘. อะไรเอ่ยชื่อว่า

๙ สัตตาวาส ๙. อะไรเอ่ยชื่อว่า ๑๐ ท่านผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๑๐ เรียกว่าพระอรหันต์.

จบสามเณรปัญหา

๔. กถาพรรณนากุมารปัญหา

อัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่อง

บัดนี้ ถึงลำดับพรรณนาความของกุมารปัญหา [สามเณรปัญหา]

เป็นต้นอย่างนี้ว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่าหนึ่ง ข้าพเจ้าจักกล่าวเหตุเกิดเรื่องของ

กุมารปัญหาเหล่านั้น และประโยชน์แห่งการวางบทตั้งในที่นี้แล้วจึงจักทำการ

พรรณนาความ.

จะกล่าวเหตุเกิดเรื่องของกุมารปัญหาเหล่านั้นก่อน. ชื่อว่าโสปากะ

เป็นพระมหาสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านโสปากะนั้น สำเร็จพระอรหันต์

๑. บาลีเป็นสามเณรปัญหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

เมื่ออายุได้ ๗ ขวบโดยกำเนิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระพุทธประสงค์จะทรง

อนุญาตการอุปสมบทด้วยการพยากรณ์ [ตอบ] ปัญหาแก่ท่าน ทรงเห็นว่า

ท่านเป็นผู้สามารถพยากรณ์ปัญหาทั้งหลาย ที่มีความอันพระองค์ทรงประสงค์

แล้ว จึงตรัสถามปัญหา โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่าหนึ่ง.

ท่านก็พยากรณ์ และทำจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์

นั้น. อันนั้นนั่นแลได้เป็นอุปสมบทของท่านพระโสปากะนั้น.

นี้เป็นเหตุเกิดเรื่องของสามเณรปัญหาเหล่านั้น.

ประโยชน์ของการวางบทตั้ง

ก็เพราะเหตุที่ประกาศจิตตภาวนา โดยระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระ-

ธรรมและพระสงฆ์ด้วยสรณคมน์ ประกาศศีลภาวนาด้วยสิกขาบทและประกาศ

กายภาวนาด้วยทวัตติงสาการ ฉะนั้น บัดนี้ จึงวางการพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้

เป็นบทตั้งในที่นี้ เพื่อแสดงมุข คือ ปัญญาภาวนา โดยประการต่าง ๆ หรือ

เพราะเหตุที่สมาธิมีศีลเป็นปทัฏฐาน และปัญญามีสมาธิเป็นปทัฏฐาน เหมือน

อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวัว่า

สีเล ปติฏฺาย นโร สปญฺโ จิตฺต ปญฺญฺจ ภาวย นรชน

ผู้มีปัญญา ตั้งอยู่ในศีล เจริญจิตและปัญญา ดังนี้ ฉะนั้น จึงควรทราบแม้

ว่า ข้าพเจ้าครั้นแสดงศีลด้วยสิกขาบททั้งหลาย และสมาธิที่มีศีลนั้นเป็นโคจร

ด้วยทวัตติงสาการแล้ว จึงวางปัญหาพยากรณ์เป็นบทตั้งไว้ในที่นี้ เพื่อแสดง

ประเภทแห่งปัญญา อันเป็นเครื่องตรวจตราธรรมต่าง ๆ สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่น

แล้ว.

นี้เป็นประโยชน์ของการว่างปัญหาเหล่านั้น เป็นบทตั้งในที่นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

พรรณนาปัญหาว่าอะไรเอ่ย ชื่อว่า ๑

บัดนี้ จะพรรณนาความของปัญหาเหล่านั้น. ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ

ในธรรมอย่างหนึ่งอันใด ย่อมทำที่สุดทุกข์ได้โดยลำดับ อนึ่ง ท่านพระโสปากะ

นี้ เมื่อหน่ายในธรรมอย่างหนึ่งอันใด ได้ทำที่สุดทุกข์แล้ว พระผู้มีพระภาค

เจ้า ทรงหมายถึงธรรมนั้น จึงตรัสถามปัญหาว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่าหนึ่ง.

พระเถระทูลตอบด้วยเทศนาเป็นบุคคลธิษฐานว่า สัตว์ทั้งปวงทั้งอยู่ได้ด้วย

อาหาร. ในข้อนี้ พระสูตรทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัมมาสติเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายดังนี้ เป็น

เครื่องสาธกในความเกิดข้อยุติด้วยการตอบอย่างนี้. ในข้อนี้ สัตว์ทั้งปวง

ท่านกล่าวว่า ดังอยู่ได้ด้วยอาหารโดยอาหารใด อาหารนั้น หรือความที่สัตว์

เหล่านั้นตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร พึงทราบว่า พระเถระผู้ถูกตรัสถามว่า อะไรเอ่ย

ชื่อว่า ๑ ทูลชี้แจงแล้ว. จริงอยู่ ข้อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า

ชื่อว่า ๑ ในที่นี้ แต่มิใช่ตรัสเพื่อให้รู้ว่า ชื่อว่า อย่างอื่นในพระศาสนา

หรือในโลก ไม่มี. ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมอย่างหนึ่ง ภิกษุ

เมื่อหน่ายโดยชอบ เมื่อคลายโดยชอบ เมื่อหลุดพ้น

โดยชอบ เห็นที่สุดโดยชอบ ตรัสรู้ความเป็นธรรม

โดยชอบ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในทิฏฐธรรม คือ

ปัจจุบัน ในธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือในธรรมอย่าง

หนึ่งว่า สัตว์ทั้งปวงตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมอย่างหนึ่งนี้แล

ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ เมื่อคลายโดยชอบ เมื่อหลุดพ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

โดยชอบ เห็นที่สุดโดยชอบ ตรัสรู้ความเป็นธรรม

โดยชอบ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในทิฏฐธรรม คือ

ปัจจุบัน คำนั้นใดเรากล่าวว่า ปัญหา ๑ อุทเทส ๑

ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ คำนี้เราอาศัยข้อนั้นกล่าวแล้ว.

ในคำว่า อาหารฏฺิติกา นี้ พระเถระถือเอาปัจจัยด้วย อาหาร

ศัพท์ เรียกสัตว์ทั้งปวงที่ตั้งอยู่ได้ด้วยปัจจัยว่า ตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร เหมือน

ปัจจัยท่านเรียกว่าอาหาร ในพระบาลีเป็นต้นอย่างนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย สุภนิมิตมีอยู่ การทำให้มากด้วยการมนสิการโดยไม่แยบคาย

ในสุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิด

ฉะนั้น แต่เมื่อท่านหมายเอาอาหาร ๔ กล่าวว่า ตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร

ดังนี้. คำว่าทั้งปวง ก็น่าจะไม่ถูกต้อง เพราะพระบาลีว่า เทพที่เป็น

อสัญญีสัตว์ ไม่มีเหตุ ไม่มีอาหาร ไม่ผัสสะ ไม่มีเวทนา.

ในข้อนั้น พึงมีคำชี้แจงดังนี้ แม้เมื่อถูกล่าวอย่างนี้ ความที่สัตว์

ทั้งหลายเท่านั้นตั้งอยู่ได้ด้วยปัจจัย ก็ถูกแท้ เพราะพระบาลีว่า ธรรมเหล่า

ไหนมีปัจจัย. ปัญจขันธ์ คือรูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ แต่ความที่สัตว์

ทั้งหลายตั้งอยู่ได้ด้วยปัจจัย คำนี้เห็นจะไม่ถูกแน่ทีเดียว ข้อนี้ ไม่ควรเห็น

อย่างนี้. เพราะอะไร เพราะกล่าวรวมไว้เสร็จถึงขันธ์ในสัตว์ทั้งหลาย. จริงอยู่

ท่านกล่าวรวมไว้เสร็จในสัตว์ทั้งหลายแล้ว เพราะอะไร. เพราะท่านอาศัยขันธ-

บัญญัติ. อย่างไร. เหมือนอุปจารแห่งบ้านในเรือน เหมือนอย่างว่า เมื่อ

เรือนหลังเดียว หรือสองหลัง แม้สามหลังแห่งบ้าน ถูกไฟไหม้ ก็กล่าวรวม

ความไว้เสร็จถึงบ้านในเรือนอย่างนี้ว่า บ้านถูกไฟไหม้เพราะอาศัยเรือนหลาย

หลังบัญญัติ ฉันใด ก็พึงทราบว่า กล่าวรวมความไว้เสร็จถึงว่าสัตว์ทั้งหลาย

ตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร ในสัตว์ทั้งหลายที่ตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร เพราะอรรถว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

ปัจจัยในขันธ์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ พึงทราบ

ว่า เมื่อขันธ์ทั้งหลาย เกิดแก่และตายอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ เธอเกิดแก่และตายอยู่ทุกขณะ ดังนี้ เป็นอันทรงแสดงว่า

ตรัสรวมความไว้เสร็จถึงขันธ์ในสัตว์เหล่านั้น เมื่อใด สัตว์ทั้งปวงตั้งอยู่ได้

ด้วยอาหารที่เรียกว่าปัจจัยอันใด อาหารอันนั้นหรือความที่สัตว์ตั้งอยู่ได้ด้วย

อาหาร พึงทราบว่า มีหนึ่ง เพราะว่าอาหารหรือความที่สัตว์ตั้งอยู่ได้ด้วย

อาหาร ยอมเป็นฐานที่ตั้งแห่งนิพพิทาความหน่าย เพราะเป็นเหตุแห่งอนิจจตา

ความเป็นของไม่เที่ยง. เมื่อนั้นภิกษุเมื่อหน่าย เพราะเห็นอนิจจตาในสังขาร

ทั้งหลายที่เข้าใจกัน ว่าสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น ย่อมจะเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้โดย

ลำดับ ย่อมบรรลุปรมัตถวิสุทธิ ความบริสุทธิ์โดยปรมัตถ์ เหมือนอย่างที่

ตรัสไว้ว่า

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺาย ปสฺสติ

อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

เมื่อได้เห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

เนื้อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งวิสุทธิ.

ก็ในปัญหาข้อแรกนี้ มีปาฐะอยู่ ๒ อย่างว่า เอก นาม กึ และ

[เอก นาม] กิห. ในปาระทั้ง ๒ นั้น ปาฐะชาวสิงหลว่า กิห. ด้วยว่า ชาว

สิงหลเหล่านั้น แทนที่จะกล่าวว่า กึ ก็กล่าวเสียว่า กิห. อาจารย์ชาวสิงหลบาง

พวกกล่าวว่า คำว่า เป็นนิบาต ปาฐะแม้ของพวกที่ถือลัทธิฝ่ายเถรวาท

ก็อย่างนี้เหมือนกัน. แต่ทั้ง ๒ ปาฐะ ความก็อย่างเดียวกัน. ชอบใจอย่างใด

ก็พึงสวดพึงกล่าวอย่างนั้น. เหมือนอย่างว่า บางแห่ง ก็กล่าวว่า ทุข และ

บางแห่งก็กล่าวว่า ทุกข ในบาลีทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ว่า สุเขน ผุฏฺโ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

อถ วา ทุเขน ทุกฺขฺ โทมนสฺส ปฏิสเวเทติ ฉันใด บางแห่งก็ว่า เอก

บางแห่งก็ว่า เอกก ก็ฉันนั้น . แต่ในที่นี้มีปาฐะนี้อย่างเดียวว่า เอก นาม.

พรรณนาปัญหาว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า ๒

พระศาสดา ผู้มีจิตอันพระเถระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์นี้อย่าง

นี้แล้ว จึงตรัสถาม หายิ่งในรูป เหมือนนัยแรกว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า ๒

พระเถระกล่าวซ้ำว่า เทฺว ๒ ทูลตอบด้วยเทศนาเป็นบุคลาธิษฐานว่า คือนาม

และรูป. บรรดานามและรูปนั้น เรื่องที่มิใช่รูปทั้งหมด ท่านเรียกว่านาม เพราะ

น้อมมุ่งหน้าสู่อารมณ์อย่างหนึ่ง เพราะเป็นเหตุน้อมจิตไปอย่างหนึ่ง. แต่ในที่นี้

ท่านประสงค์เอาธรรมที่มีอาสวะเท่านั้น เพราะเป็นเหตุแห่งนิพพิทาความหน่าย

ส่วนมหาภูตรูป ๔ และรูปทั้งหมดที่อาศัยมหาภูตรูปนั้นเป็นไป ท่านเรียกว่า

รูป เพราะอรรถว่า แตกสลาย. รูปนั้นในที่นี้ ท่านประสงค์เอาทั้งหมด.

แต่พระเถระกล่าวในที่นี้ว่า ชื่อว่า ๒ คือนามและรูป ก็โดยความประสงค์นี้

แล มิใช่กล่าวเพราะไม่มีธรรม ๒ อย่างอื่น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม ๒ อย่าง ภิกษุ

เมื่อหน่ายโดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ใน

ธรรม ๒ อย่าง คือนานและรูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ในธรรม ๒ อย่างนี้แล ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ ฯลฯ

ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ คำนั้นใดว่า ปัญหา ๒

อุทเทส ๒ ไวยากรณ์ ๒ ดังนี้ คำนี้ เราอาศัยอันนี้

กล่าวแล้ว.

ก็ในปัญหาข้อนี้ พึงทราบว่า ภิกษุละอัตตทิฏฐิความเห็นว่าเป็นตน

ได้ ด้วยการเห็นเพียงนามรูปแล้ว เมื่อหน่ายโดยมุขคือการพิจารณาเห็นอนัตตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

ย่อมจะเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ ย่อมบรรลุปรมัตถวิสุทธิได้ เหมือนอย่างที่ตรัส

ไว้ว่า

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺาย ปสฺสติ

อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

เมื่อใด เห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็น

อนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่ง

วิสุทธิ ดังนี้.

พรรณนาปัญหาว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า ๓

บัดนี้ พระศาสดาผู้มีจิตอันพระเถระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์

ปัญหาแม้นี้แล้ว จึงตรัสถามปัญหายิ่งขึ้นไปเหมือนนัยก่อน ๆ ว่า อะไรเอ่ย

ชื่อว่า ๓. พระเถระกล่าวซ้ำว่า ตีณิ ๓ เมื่อแสดงสังขยาจำนวนที่เหมาะแก่ลิงค์

เพศศัพท์ แห่งความที่พึงพยากรณ์อีก จึงทูลตอบว่า ติสฺโส เวทนา คือ

เวทนา ๓. อีกนัยหนึ่ง พระเถระคิดว่า จำเราจะกลับคำว่า ตีณิ ความของ

เวทนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ติสฺโส เวทนา เมื่อแสดงจึงทูลตอบ.

บัณฑิตพึงทราบความในข้อนี้ ดังกล่าวมาฉะนี้. ด้วยว่าเทศนาของเหล่าท่าน

ผู้บรรลุเทศนาอันวิลาศ เพราะความแตกฉานแห่งปฏิสัมภิทา มีกถามุขเป็นอัน

มาก แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ตีณิ นี้ เป็นบทเกิน. แต่พระเถระ

กล่าวในที่นี้ว่า ติสฺโส เวทนา คือ เวทนา ๓ ก็ตามนัยก่อน ๆ นั่นแล

มิใช่กล่าวเพราะไม่มีธรรม ๓ อย่างอื่น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม ๓ เหล่านี้ ภิกษุ

เมื่อหน่ายโดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้

ในธรรม ๓ คือเวทนา ๓ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

๓ เหล่านี้แล ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็น

ผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ คำนี้ใดว่า ปัญหา ๓ อุทเทส ๓

ไวยากรณ์ ๓ ดังนี้ คำนี้เราอาศัยข้อนั้นกล่าวแล้ว ดังนี้.

ในปัญหาข้อนี้ พึงทราบว่า ภิกษุละสุขสัญญา ความสำคัญว่าสุข

ด้วยการเห็นเวทนาทั้งสามเป็นทุกข์ แล้วหน่ายโดยมุขคือการพิจารณาเห็นทุกข์

ตามแนวพระสูตรที่ตรัสไว้ว่า เวทนาความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั่ง

หมดนั้นเรากล่าวว่าเป็นทุกข์ หรือตามแนวความเป็นทุกข์ เพราะทุกข์เป็นทุกข์

เพราะแปรปรวนและเป็นทุกข์เพราะปัจจัยปรุงแต่งอย่างนี้ว่า

โย สุข ทุกฺขโต อทฺท ทุกฺขมทฺทกฺขี สลฺลโต

อทุกฺขมสุข สนฺต อทฺทกฺขิ น อนิจฺจโต.

ผู้ใดเห็นสุขเป็นทุกข์ เห็นทุกข์เป็นดังลูกศร

เห็นอทุกขมสุขมีอยู่ ผู้นั้น ชื่อว่าเห็นเวทนานั้นเป็น

ของไม่เที่ยง ดังนี้.

ย่อมจะเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ ย่อมบรรลุปรมัตถวิสุทธิได้เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺาย ปสฺสติ

อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเย เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งวิสุทธิ

ดังนี้.

พรรณนาปัญหาว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า ๔

พระศาสดา ผู้มีจิตอันพระเถระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา

แม้นี้อย่างนี้แล้ว จึงตรัสถามปัญหายิ่งขึ้นไป เหมือนนัยก่อน ๆ ว่า อะไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

เอ่ย ชื่อว่า ๔ ในปัญหาข้อนี้ ในฝ่ายพยากรณ์ปัญหานี้ บางแห่ง ท่านประ-

สงค์เอาอาหาร ๔ ตามนัยก่อน ๆ เหมือนอย่างตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม ๔ ภิกษุเมื่อหน่าย

ฯลฯ เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ ในธรรม ๔ คือ อาหาร ๔.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมเท่านี้แลภิกษุเมื่อหน่าย

โดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้. คำนั้นใดว่า

ปัญหา ๔ อุทเทส ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ คำนี้เรา

อาศัยข้อนั้นกล่าวแล้ว ดังนี้.

บางแห่ง ภิกษุผู้มีจิตอบรมดีแล้วในคุณธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นผู้ทำ

ที่สุดทุกข์ได้โดยลำดับ คุณธรรมเหล่านั้น ก็คือสติปัฏฐานสี่ เหมือนอย่าง

พระกชังคลาภิกษุณีกล่าวไว้ว่า

ผู้มีอายุ ในธรรม ๔ ภิกษุมีจิตอบรมดีแล้วโดย

ชอบ เห็นที่สุดโดยชอบ ตรัสรู้ความเป็นธรรมโดยชอบ

ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๔ คือ

สติปัฏฐาน ๔ ผู้มีอายุ ในธรรม ๔ เหล่านี้แล ภิกษุ

มีจิตอบรมดีแล้วโดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์

ได้ คำนั้นใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปัญหา ๔

อุทเทส ๔ ไวยากรณ์ ๔ คำนี้ ดีฉันอาศัยข้อนั้น

กล่าวแล้ว ดังนี้.

แต่ในที่นี้ การตัดภวตัณหามีได้ เพราะตรัสรู้ตามและแทงตลอด

อริยสัจ ๔ เหล่าใด เพราะเหตุที่อริยสัจ ๔ เหล่านั้น ท่านประสงค์เอาแล้ว

หรือเพราะเหตุที่ปัญหากรรมที่ท่านพยากรณ์ด้วยปริยายนี้ เป็นอันพยากรณ์ดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

แล้วทั้งนั้น ฉะนั้น พระเถระกล่าวซ้ำว่า จตฺตาริ ๔ จึงทูลตอบว่า อริสจฺจานิ

อริยสัจทั้งหลาย. ในคำนั้นศัพท์ว่า จตฺตาริ ๔ เป็นการกำหนดด้วยจำนวน.

บทว่า อริยสจฺจานิ ได้แก่ สัจจะที่เป็นอริยะ อธิบายว่า ไม่ผิดไม่คลาด

เคลื่อน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เป็น

ของแท้ ไม่ผิด ไม่แปรเป็นอื่น เพราะฉะนั้น ท่าน

จึงเรียกว่า อริยสัจ.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุใดท่านอธิบายไว้ว่า เพราะเป็นสัจจะอันโลก

ทั้งเทวโลกพึงดำเนิน พึงบรรลุ. เพราะดำเนินไปในทางเจริญที่เข้าใจกันว่า

ฐานที่ควรพยายามบ้าง เพราะไม่ดำเนินไปในทางไม่เจริญบ้าง พระพุทธเจ้า

พรูปัจเจกพุทธเจ้าและพระพุทธสาวกทั้งหลาย ที่รับรู้กันว่าเป็นพระอริยะ

เพราะประกอบพร้อมด้วยอริยธรรม คือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ย่อม

แทงตลอดอริยสัจเหล่านี้ แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า อริยสัจ เหมือน

อย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ ฯลฯ

อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล พระอริยะทั้งหลาอยู่อมแทงตลอด

อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าอริยสัจ.

อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าอริยสัจ เพราะเป็นสัจจะของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เป็นอริยะ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอริยะในโลกทั้ง

เทวโลก ฯลฯ ทั้งเทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึง

เรียกว่าอริยสัจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าอริยสัจ แม้เพราะทำให้สำเร็จความเป็นอริยะ

เพราะอริยสัจเหล่านั้น ทรงรู้ยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสัจ ๔ เหล่านี้แล

ตถาคตตรัสรู้ยิ่งเองตามเป็นจริง ตถาคตจึงถูกเรียกว่า

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ความแห่งบทของอริยสัจเหล่านั้นมีดังนี้ ความตัดขาดภวตัณหา ย่อม

มีได้ เพราะความตรัสรู้ตามและแทงตลอดอริยสัจเหล่านั้น เหลือนอย่างที่ตรัส

ไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจนี้นั้น อันเรา

ตถาคตตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ฯลฯ ทุกขนิโรธ

คามินีปฏิปทาอริยสัจ อันเราตถาคตตรัสรู้แล้ว แทง

ตลอดแล้ว ภวตัณหาเราตถาคตก็ถอนได้แล้ว ตัณหา

ที่นำไปในภพ ก็สิ้นแล้ว บัดนี้ การเกิดอีกไม่มีกันละ

ดังนี้.

พรรณนาปัญหาว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า ๕

พระศาสดา มีจิตอันพระเถระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา

แม้นี้แล้ว จึงตรัสถามปัญหายิ่งขึ้นไปตามนัยก่อน ๆ ว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า ๕.

พระเถระกล่าวซ้ำว่า ปญฺจ ๕ จึงทูลตอบว่า อุปาทานขันธ์ ในคำเหล่านั้น

คำว่า ปญฺจ ๕ เป็นการกำหนดจำนวน. ขันธ์ทั้งหลาย ที่ถูกอุปาทานให้

เกิดมา หรือที่ทำอุปาทานให้เกิด ชื่อว่าอุปาทานขันธ์. รูป เวทนา สัญญา

สังขาร และวิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง มีอาสวะ อันบุคคลพึงยึดถือ คำนี้

เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์เหล่านั้น ก็ในที่นี้ พระเถระกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

ตามนัยก่อนนั่นแล มิใช่กล่าวเพราะไม่มีธรรม ๕ อย่างอื่น. เหมือนอย่างที่

ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม ๕ ภิกษุเมื่อหน่าย

โดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้. ในธรรม ๕

คืออุปาทานขันธ์ ๕ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม ๕

เหล่านี้แล ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ ฯลฯ ย่อเป็นผู้

ทำที่สุดทุกข์ได้ คำนี้ใดว่า ปัญหา ๕ อุทเทส ๕

ไวยากรณ์ ๕ คำนี้เราอาศัยข้อนั้นกล่าวแล้ว ดังนี้.

ก็ในปัญหาข้อนี้ ภิกษุเมื่อพิจารณาโดยความเกิดความดับเป็นอารมณ์

ได้อมตะด้วยวิปัสสนาแล้ว ย่อมทำให้แจ้งอมตะคือพระนิพพาน โดยลำดับ.

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ยโต ยโต สมฺมสติ ขนฺธาน อุทยพฺพย

ลภตี ปิติปาโมชฺช อมต ต วิชานต

พิจารณาความเกิดความดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย

โดยประการใด ๆ ปีติและปราโมชอันเป็นอมตะ ย่อม

ได้แก่ท่านผู้เห็นความเกิดความดับนั้น โดยประการนั้น ๆ

ดังนี้.

พรรณนาปัญหาว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า ๖

พระศาสดา ผู้มีจิตอันพระเถระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์แม้นี้

อย่างนี้แล้ว จึงตรัสถามปัญหายิ่งขึ้นไปตามนัยก่อน ๆ ว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า ๖

พระเถระกล่าวซ้ำว่า ฉ หก จึงทูลตอบว่า อายตนะภายใน. ในคำเหล่านั้น

คำว่า ฉ ๖ เป็นการกำหนดจำนวน. อายตนะทั้งหลายที่ประกอบในภายใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

หรือกระทำตนให้เป็นที่อาศัยเป็นไป ชื่อว่า อัชฌัตติก. ชื่อว่า อายตนะ

เพราะต่อหรือเพราะก่อความเจริญ หรือเพราะนำสังสารทุกข์มายืดยาว คำนี้เป็น

ชื่อของจักษุ ตา, โสตะ หู, ฆานะ จมูก, ชิวหา ลิ้น, กายะ กาย, มนะ ใจ.

ก็ในที่นี้ พระเถระกล่าวว่า อาตนะภายใน ๖ ตามนัยก่อน มิใช่กล่าวเพราะ

ไม่มีธรรม หก อย่างอื่น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม ๖ ภิกษุเมื่อหน่าย

โดยชอบ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้. ในธรรม ๖

คืออายตนะภายใน ๖ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม ๖

เหล่านี้แล ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้

ทำที่สุดทุกข์ได้ คำนี้ใดว่า ปัญหา ๖ อุทเทศ ๖

ไวยากรณ์ ๖ คำนี้เราอาศัยข้อนั้นกล่าวแล้ว.

ก็ในปัญหาข้อนี้ ภิกษุพิจารณาอายตนะภายใน ๖ โดยความเป็นของ

ว่างตามพระบาลี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า สุญฺโ คาโม บ้าน

ว่าง นี้เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ดังนี้ โดยความเป็นของเปล่าและ

โดยความเป็นของลวง เพราะตั้งอยู่ได้ไม่นานเหมือนฟองน้ำและพยับแดดฉะนั้น

ก็หน่าย. ทำที่สุดทุกข์โดยลำดับ ย่อมเข้าถึงที่ซึ่งมัจจุราชมองไม่เห็น เหมือน

อย่างที่ตรัสไว้ว่า

ยถา ปุพฺพุฬก ปสฺเส ยถา ปสฺเส มรีจิก

เอว โลก อเวกฺขนฺต มจฺจราชา น ปสฺสติ.

มัจจุราชย่อมมองไม่เห็นผู้ที่มองเห็นโลกเหมือน

เห็นฟองน้ำ เหมือนเห็นพยับแดดฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

พรรณนาปัญหาว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า ๗

พระศาสดาผู้มีจิตอันพระเถระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหานี้

แล้ว จึงตรัสถามปัญหายิ่งขึ้นไป ตามนัยก่อน ๆ ว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า ๗.

วิญญาณฐิติ ๗ พระเถระกล่าวในการพยากรณ์ปัญหาใหญ่ก็จริง ถึงอย่างนั้น

ภิกษุผู้มีจิตอบรมดีแล้วในธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ พระเถระ-

เมื่อแสดงธรรมเหล่านั้น จึงทูลตอบว่า โพชฌงค์ ๗. อนึ่งเล่าความข้อนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงอนุมัติแล้ว เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย กชังคลาภิกษุณีเป็น

บัณฑิต ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย กชังคลาภิกษุณี มี

ปัญญามาก พวกท่านเข้าไปหาคฤหบดีแม้ที่เตียง สอบ

ถามข้อความนี้ แม้เราก็พึงพยากรณ์ความข้อนั้นเหมือน

อย่างที่ กชังคลาภิกษุณี พยากรณ์ฉะนั้น.

กชังคลาภิกษุณี นั้นพยากรณ์ไว้อย่างนี้ว่า

ผู้มีอายุ ในธรรม ๗ ภิกษุมีจิตอบรมดีแล้ว โดย

ชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้. ในธรรม ๗

คือโพชฌงค์ ๗ ผู้มีอายุ ในธรรม ๗ เหล่านี้แล ภิกษุ

ผู้มีจิตอบรมดีแล้ว โดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุด

ทุกข์ได้. คำนั้นใดว่าปัญหา ๗ อุทเทส ๗ ไวยากรณ์

๗ คำนี้เราอาศัยข้อนั้นกล่าวแล้ว. ดังนี้.

ความข้อนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุมัติแล้วด้วยประ-

การฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

ในคำเหล่านั้น คำว่า สตฺต ๗ เป็นการกำหนดจำนวนเด็ดขาดไม่

ขาดไม่เกิน. คำว่า โพชฌงค์ นี้เป็นชื่อของธรรมมีสติเป็นต้น. ความของบท

ในโพชฌงค์ ๗ นี้มีดังนี้ ชื่อว่า โพธิ เพราะวิเคราะห์ว่า พระอริยสาวกย่อม

ตรัสรู้ ด้วยธรรมสามัคคี กล่าวคือ สติ ธัมมวิจยะ วีริยะ ปีติ ปัสสัทธิ

สมาธิและอุเบกขา อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปัทวะเป็นอันมาก มีความหดหู่ความ

ฟุ้งซ่าน ความหยุดเพียร ความพยายาม กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถามุโยค

และความยึดถือด้วยอุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฐิเป็นต้น อันเกิดขึ้นในขณะแห่ง

มรรคจิต ส่วนโลกิยะและโลกุตระนั้น ท่านอธิบายว่า ลุกขึ้นจากความหลับ

คือสันดานที่มีกิเลส หรือแทงตลอดอริยสัจ ๔ หรือทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

นั่นแล เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตรัสรู้ยิ่งเองซึ่ง

พระอนุตรสัมมาสัมโพธิ.

อีกอย่างหนึ่งแม้พระอริยสาวก ชื่อว่าโพธิ เพราะวิเคราะห์ว่า ตรัสรู้

ด้วยธรรมสามัคคีนั้น มีประการตามที่กล่าวมาแล้ว. ดังนั้น ชื่อว่าโพชฌงค์

เพราะเป็นองค์คือส่วนแห่งโพธิ กล่าวคือธรรมสามัคคีนั้น เหมือนอย่างองค์แห่ง .

ฌานเเละองค์แห่งมรรค อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้เพราะเป็นองค์ของ

พระอริยสาวกที่ได้โวหารว่าโพธินั้น เหมือนอย่างองค์คือส่วนของกองทัพและ

องค์คือส่วนของรถเป็นต้นฉะนั้น.

อีกประการหนึ่ง พึงทราบอรรถว่าโพชฌงค์แห่งโพชฌงค์ทั้งหลาย

โดยวิธีที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทาอย่างนี้ว่า ในบทว่า โพชฌงค์ ชื่อว่า

โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าอะไร ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้

ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์เพราะตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์

เพราะแทงตลอด ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้พร้อม. พระโยคาวจร เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

เจริญทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้อย่างนี้ไม่นานนัก ก็จะเป็นผู้ได้คุณมี

ความหน่ายโดยส่วนเดียวเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์

ได้ในปัจจุบัน สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อัน

บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความ

หน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนด เพื่อ

ความดับ เพื่อควานระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ

รู้พร้อม เพื่อความดับ ดังนี้.

พรรณนาปัญหาว่าอะไรเอ่ย ชื่อว่า ๘

พระศาสดา ผู้มีจิตอันพระเถระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา

แม้นี้อย่างนี้แล้ว จึงตรัสถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่าอะไรเอ่ยชื่อว่า ๘. พระเถระ

กล่าวโลกธรรม ๘ ไว้ในการพยากรณ์มากปัญหา ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น ภิกษุ

ผู้มีจิตอบรมดีแล้วในธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ พระเถระเนื้อ

แสดงธรรมเหล่านั้น ไม่กล่าวว่า องค์อริยะแห่งมรรค ๗ เพราะเหตุที่ ธรรมดา

มรรคอันพ้นจากองค์ ๘ หามีไม่ แต่ว่ามรรคมีเพียงองค์ ๘ เท่านั้น ฉะนั้น

เมื่อจะให้สำเร็จความข้อนั้นจึงทูลตอบ โดยวิลาสแห่งเทศนาว่า อริยมรรคมี

องค์ ๘ ความและเทศนานัยข้อนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงอนุมัติแล้วทั้งนั้น

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย กชังคลาภิกษุณี เป็น

บัณฑิต ฯลฯ แม้เราก็พึงพยากรณ์เหมือนกชังคลาภิกษุณี

พยากรณ์ นั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

ก็พระกชังคลาภิกษุณีนั้น พยากรณ์ไว้อย่างนี้ว่า

ผู้มีอายุ ในธรรม ๘ ภิกษุผู้มีจิตอบรมดีแล้วโดย

ชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ คำนั้นใด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปัญหา ๘ อุทเทส ๘

ไวยากรณ์ ๘ คำนี้ ดิฉันอาศัยข้อนั้นกล่าวแล้ว ดังนี้.

ความและเทศนานั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุมัติแล้ว

ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริโย แปลว่า อันผู้ต้องการพระนิพพาน

พึงบรรลุ. อนึ่งมรรคพึงทราบว่า อริยะ เพราะเป็นไปห่างไกลจากกิเลสทั้ง-

หลาย. เพราะกระทำให้เป็นพระอริยะ และแม้เพราะได้อริยผล. องค์ของ

มรรคนั้นมี ๘ เพราะเหตุนั้น มรรคนั้น จึงชื่อว่าที่องค์ ๘. มรรคนี้นั้นพึงทราบ

ว่าเป็นเพียงองค์เท่านั้น เพราะมรรคมีสภาพที่บุคคลจะไม่พึงได้ โดยแยก

ออกจากองค์ เหมือนกองทัพมีองค์ ๔ และดนตรีมีองค์ ๕. บุคคลย่อมค้นหา

พระนิพพานด้วยทางนี้หรือแสวงหาเอง หรือฆ่ากิเลสไป เหตุนั้น ทางนี้จึงชื่อว่า

มรรค.

ภิกษุเมื่อเจริญมรรคมีประเภท ๘ และมีองค์ ๘ นี้อย่างนี้ ย่อมทำลาย

อวิชชา ทำวิชชาให้เกิด ทำให้แจ้งพระนิพพานด้วยเหตุนั้น ทำนี้จึงกล่าวว่า

เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน สมดังตรัสไว้อย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หางเมล็ดข้าวสาลี หรือหาง

เมล็ดข้าวเหนียว ที่เขาตั้งไว้ชอบ เอามือหรือเท้า

เหยียบ จักตำเอามือหรือเท้าได้ หรือจักทำให้ห้อเลือด

ได้ ข้อนี้เป็นไปได้. เพราะอะไร. เพราะหางเมล็ด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

เขาตั้งไว้ชอบ ฉันใด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น

หนอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา ทำวิชชาให้

เกิด จักทำให้แจ้งพระนิพพานได้ ก็ด้วยทิฏฐิที่ตั้งไว้

ชอบ ด้วยมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ชอบ ข้อนี้เป็นไปได้

ดังนี้.

พรรณนาปัญหาว่า อะไรเอ่ยชื่อว่า ๙

พระศาสดา ผู้มีจิตอันพระเกระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา

นี้ จึงตรัสถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า อะไรเอ่ยชื่อว่า ๙. พระเถระกล่าวซ้ำว่า

นว ๙ จึงทูลตอบว่า สัตตาวาส.

ในคำนั้น คำว่า นว ๙ เป็นการกำหนดจำนวน. คำว่า สัตว์ ได้แก่

สัตว์มีชีวิต ที่ท่านบัญญัติที่อาศัยขันธ์อันนับเนืองในชีวิตินทรีย์. คำว่า อาวาส

ได้แก่ชื่อว่าอาวาส เพราะเป็นที่อยู่อาศัย. ที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า

สัตตาวาส นับเป็นทางแห่งเทศนา. แต่เมื่อว่าโดยอรรถใจความ คำนี้เป็นชื่อ

ของสัตว์ ๙ ประเภท เหมือนอย่างที่ท่าน กล่าวไว้ว่า

ผู้มีอายุ เหล่าสัตว์มีกายต่างกันมีสัญญาต่างกัน

มีอยู่ เหมือนมนุษย์บางพวก เทพบางพวก และวินิ-

ปาติกะทางพวก นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๑. เหล่าสัตว์มีกาย

ต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน มีอยู่ เหมือนทวยเทพ

ที่อยู่ในหมู่พรหมผู้เกิดเป็นพวกแรก นี้เป็นสัตตาวาสที่

๒. เหล่าสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน

มีอยู่ เหมือนทวยเทพเหล่าอาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาส

๓. เหล่าสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่าง

เดียวกัน มีอยู่ เหมือนทวยเทพเหล่าสุภกิณหะ นี้เป็น

๑. ที.ปาฏิ. ๓/ข้อ ๔๕๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

สัตตาวาสที่ ๔. เหล่าสัตว์ที่ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์

มีอยู่ เหมือนทวยเทพเหล่าอสัญญสัตว์นี้เป็นสัตตาวาส

ที่ ๕. เหล่าสัตว์ ฯลฯ ที่เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ นี้

เป็นสัตตวาสที่ ๖. เหล่าสัตว์ ฯลฯ ที่เข้าถึงวัญญาณัญ-

จายตนะ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๗. เหล่าสัตว์ ฯลฯ ที่เข้าถึง

อากิญจัญญายตนะ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๘. เหล่าสัตว์ ฯลฯ

ที่เขาถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้เป็นสัตตาวาสนี้ ๙.

ก็ในที่นี้ พระเถระ กล่าวว่า สัตตาวาส ๙ ก็ตามนัยก่อน ๆ นั่น-

แหละ มิใช่กล่าวเพราะไม่มีธรรม ๙ อย่างอื่น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม ๙ ภิกษุเมื่อหน่าย

โดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ ในธรรม ๙

คือ สัตตาวาส. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม ๙

เหล่านี้แล ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ทำ

ที่สุดทุกข์ได้ คำนั้นใด เรากล่าวว่า ปัญหา ๙ อุทเทส ๙

ไวยากรณ์ ๙ คำนี้เราอาศัยข้อนั้นกล่าวแล้ว.

ก็ในปัญหานี้ ภิกษุละความเห็นว่ายั่งยืนงามความเป็นคนสุขเสียด้วยญาต

ปริญญา ในสัตตาวาส เพราะบาลีว่า ธรรม ๙ ความกำหนดรู้ คือ สัตตวาส

๙. หน่ายด้วยการเห็นเป็นเพียงกองสังขารล้วน ๆ คลายกำหนัดด้วยการเห็น

อนิจจลักษณะด้วยตีรณปริญญา หลุดพ้นด้วยการเห็นทุกขลักษณะ เห็นที่สุดโดย

ชอบด้วยการเห็นอนัตตลักษณะ ตรัสรู้ความเป็นธรรมชอบด้วยปหานปริญญา

ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีพุทธดำรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม ๙ ภิกษุเมื่อหน่าย

โดยชอบ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้. ในธรรม ๙

คือ สัตตาวาส ๙ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

พรรณนาปัญหาว่า อะไรเอ่ยชื่อว่า ๑๐

พระศาสดา ผู้มีจิตอันพระเถระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์แม้นี้

อย่างนี้ จึงตรัสถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า อะไรเอ่ยชื่อว่า ๑๐ ในปัญหานั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอกุศลกรรมบถ ๑๐ ไว้ในการพยากรณ์ทั้งหลาย นอก

จากการพยากรณ์ปัญหานี้ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม ๑๐ ภิกษุเมื่อหน่าย

โดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้. ในธรรม

๑๐ คือ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

ธรรม ๑๐ ภิกษุเมื่อหน่าย โดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้

ทำที่สุดทุกข์ได้ คำนั้นใดเรากล่าวว่า ปัญหา ๑๐

อุทเทส ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ คำนี้เราอาศัยข้อนั้นกล่าว

แล้ว ดังนี้.

ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น ในที่นี้ เพราะเหตุที่พระเถระไม่นำตัวเองเข้าไป ประ-

สงค์แต่จะพยากรณ์พระอรหัต หรือเพราะเหตุที่ปัญหากรรม ที่พระเถระพยา-

กรณ์โดยปริยายนี้ เป็นอันพยากรณ์ดีแล้ว ฉะนั้น ท่านที่ประกอบองค์ ๑๐

เหล่าใดท่านเรียกว่าพระอรหันต์ พระเถระเมื่อแสดงการบรรลุองค์ ๑๐ เหล่านั้น

จึงทูลตอบด้วยเทศนาเป็นบุคลาธิษฐานว่า ท่านผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ ๑๐

ท่านเรียกว่า พระอรหันต์. เพราะในข้อนี้ ท่านผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ ๑๐

เหล่าใด ท่านเรียกว่า พระอรหันต์ พึงทราบว่าองค์ ๑๐. เหล่านั้น พระเถระ

ถูกตรัสถามว่า อะไรเอ่ยชื่อว่า ๑๐ จึงทูลชี้แจง. ก็องค์ ๑๐ เหล่านั้น พึง

ทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในพระสูตรทั้งหลายเป็นต้น อย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

ภิกษุทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรียกกัน

ว่า อเสขะ อเสขะ ภิกษุเป็นอเสขะ ด้วยเหตุเท่าไร

พระเจ้าข้า. ตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ เป็นอเสขะ

สัมมาสังกัปปะ เป็นอเสขะ สัมมาวาจา เป็นอเสขะ

สัมมากัมมันตะ เป็นอเสขะ สัมมาอาชีวะ เป็นอเสขะ

สัมมาวายามะเป็นอเสขะ สัมมาสติเป็นอเสขะ สัมมา

สมาธิเป็นอเสขะ สัมมาญาณะเป็นอเสขะ และสัมมา

วิมุตติเป็นอเสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ

ชื่อว่า เป็นอเสขะแล.

จบพรรณนากุมารปัญหา

แห่ง

อรรถกถาขุททกปาฐะ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

มงคลสูตรในขุททกปาฐะ

[๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้. สมัยหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร

อารามของท่านอนาถปิณฑิกะ กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น

เมื่อล่วงปฐมยามไปแล้ว เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงด

งามเปล่งรัศมีสว่างตัวพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยืน

ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยพระคาถาว่า

[๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ปรารถนาความ

สวัสดี พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์โปรดตรัส

บอกมงคลอันอุดมด้วยเถิด พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบด้วยคาถาเหล่านั้นว่า

การไม่คบพาล การคบแต่บัณฑิต และการบูชา

ผู้ที่ควรบูชา นี้ก็เป็นมงคลอุดม

การอยู่ในประเทศอันเหมาะ ความเป็นผู้ทำบุญ

ไว้แต่ก่อน การตั้งตนไว้ชอบ นี่ก็เป็นมงคลอุดม.

ความเป็นพหูสูต ความเป็นผู้มีศิลปะ มีวินัยที่

ศึกษามาดี มีวาจาเป็นสุภาษิต นี่ก็เป็นมงคลอุดม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

การบำรุงมารดาบิดา การสงเคราะห์บุตรภริยา

การงานอันไม่อากูล นี่ก็เป็นมงคลอุดม.

ทาน ธรรมจริยา การสงเคราะห์ญาติ การงาน

อันไม่มีโทษ นี่ก็เป็นมงคลอุดม.

การงดเว้นจากบาป งดเว้นการดื่มน้ำเมา ความ

ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย นี่ก็เป็นมงคลอุดม.

ความเคารพ ความย่อมตน ความสันโดษความ

กตัญญู การฟังธรรมตามกาล นี่ก็เป็นมงคลอุดม.

ความอดทน ความว่าง่าย การเห็นสมณะ การ

สนทนาธรรมตามกาล นี่ก็เป็นมงคลอุดม.

ตบะ พรหมจรรย์ การเห็นอริยสัจ การทำพระ-

นิพพานให้แจ้ง นี่ก็เป็นมงคลอุดม.

จิตของผู้ที่ถูกโลกธรรมกระทบแล้ว ไม่หวั่นไหว

ไม่เศร้าโศก ไม่เศร้าหมองด้วยละอองกิเลส เกษม

ปลอดโปร่ง นี่ก็เป็นมงคลอุดม.

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลดังนี้แล้ว

ไม่พ่ายแพ้ในข้าศึกทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุก

สถาน นี่แลมงคลอุดม ของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น.

จบมงคลสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

๕. อรรถกถามงคลสูตร

ประโยชน์แห่งบทตั้ง

บัดนี้ ถึงลำดับการพรรณนาความแห่งมงคลสูตรที่ยกเป็นบทตั้ง ต่อ

ลำดับจากกุมารปัญหา. ในที่นี้ข้าพเจ้าจะกล่าวประโยชน์แห่งบทตั้งแล้วจึงจัก

พรรณนาความแห่งมงคลสูตรนั้น. อย่างไรเล่า. ความจริง พระสูตรนี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าแม้มิได้ตรัสถามลำดับนี้ แต่ข้าพเจ้ากล่าวเพื่อแสดงว่าการนับ

ถือพระศาสนาด้วยการถึงสรณะ และนัยตามประเภทศีลสมาธิปัญญา ทรงแสดง

ไว้ด้วยสิกขาบท ทวัตติงสาการและกุมารปัญหา นี้ใด แม้ทั้งหมดนั้น ก็เป็น

มงคลอย่างยิ่ง เพราะผู้ต้องการมงคล จำต้องทำพากเพียรอย่างยิ่งในมงคลนั้น

นั่นแล. ส่วนความที่การนับถือพระศาสนาเป็นต้นนั้น เป็นมงคลนั้นบัณฑิตพึง

ทราบตามแนวพระสูตรนี้.

นี้เป็นประโยชน์แห่งบทตั้งในมงคลสูตรนั้น ในที่นี้

กถาพรรณนาปฐมมหาสังคายนา

ก็เพื่อพรรณนาความแห่งมงคลสูตรนั้น ซึ่งยกเป็นบทตั้งไว้อย่างนี้ มี

มาติกาหัวข้อ ดังนี้.

ข้าพเจ้าจะกล่าววิธีนี้อย่างนี้ว่า คำนี้ผู้ใดกล่าว

กล่าวเมื่อใด กล่าวเพราะเหตุไร เนื้อจะพรรณนาความ

แห่งปาฐะมี เอว เป็นต้น ก็จะกล่าวสมุฏฐานที่เกิด

มงคลกำหนดมงคลนั้นแล้ว จะชี้แจงความมงคลแห่ง

มงคลสูตรนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

ในมาติกานั้น ก่อนอื่น กึ่งคาถานี้ว่า วุตฺต เยน ยทา ยสฺมา

เจต วตฺวา อิม วิธึ. ท่านกล่าวหมายถึงคำคือ เอวมฺเม สุต ฯปฯ ภควนฺต

คาถาย อชฺฌภาสิ. จริงอยู่. พระสูตรนี้ ท่านกล่าวโดยฟังต่อ ๆ กันมา

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นสยัมภูคือเป็นพระพุทธเจ้าเองไม่มีอาจารย์ เพราะ

ฉะนั้น คำนี้ [นิทานวจนะ] จึงไม่ใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น. เพราะเหตุที่มีคำกล่าวว่า คำนี้ ใครกล่าว

กล่าวเมื่อใด และกล่าวเพราะเหตุใด. ฉะนั้น จึงขอกล่าวชี้แจง. ดังนี้

คำนี้ท่านพระอานนท์กล่าว และกล่าวในเวลาทำมหาสังคายนาครั้งแรก

ความจริง การทำมหาสังคายนาครั้งแรกนี้ ควรทราบมาตั้งแต่ต้น

เพื่อความฉลาดในนิทานวจนะคำต้นของสูตรทั้งปวง ดังต่อไปนี้.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนาถะที่พึ่งของโลก ทรงบำเพ็ญพุทธ-

กิจ เริ่มต้นแต่ทรงประกาศพระธรรมจักรจนถึงทรงโปรดสุภัททปริพาชก แล้ว

เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เวลาใกล้รุ่งวันวิสาขบูรณมีระหว่าง

ต้นสาละคู่ ในสาลวโนทยานอันเป็นที่แวะพักของมัลลกษัตริย์ใกล้กรุงกุสินารา

ท่านพระมหากสัสปะผู้เป็นสังฆเถระของภิกษุประมาณเจ็ดแสนรูปที่ประชุมกันใน

วันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาระลึกถึงคำของ ขรัวตา

สุภัตทะ กล่าวเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ ๗ วันว่า "พอที่

เถิด ผู้มีอายะ ท่านทั้งหลาย อย่างเศร้าโศกไปเลย อย่าร่ำไรไปเลย

พวกเราพ้นดีแล้วจากพระมหาสมณะนั้น แต่ก่อนพวกเราถูกพระ-

มหาสมณะผู้นั้น บังคับจู้จี้ว่า 'สิ่งนี้ควรแก่พวกเธอบ้างละ สิ่งนี้ไม่

ควรแก่พวกเธอบ้างละ' มาบัดนี้ พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักทำสิ่ง

นั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็จักไม่ทำสิ่งนั้น" ท่านดำริว่า "พวกภิกษุชั่ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

เข้าใจว่า" ปาพจน์ คือ ธรรมวินัย มีศาสดาล่วงไปแล้ว ได้สมัครพรรคพวก

ก็จะพากันย่ำยีพระสัทธรรมให้อันตรธานไปไม่นานเลย ข้อนี้ย่อมเป็นไปได้.

ตราบใด ธรรมวินัยยังดำรงอยู่ ตราบนั้น ปาพจน์ คือ ธรรมวินัยก็หาชื่อว่า

มีศาสดาล่วงไปแล้วไม่ สมจริง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนอานนท์ ธรรมเเละวินัยอันใด อันเราตถา-

คตแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและ

วินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเรา

ล่วงลับไป ดังนี้.

อย่ากระนั้นเลย จำเราจะช่วยกันสังคายนาธรรมและวินัย โดยวิธีที่พระศาสนา

นี้จะพึงดำรงอยู่ยั่งยืนยาวนาน.

อนึ่งเล่า เรากัสสปะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์ด้วยสาธารณ-

บริโภคในจีวร ตรัสว่า

ดูก่อนกัสสปะเธอจักครองผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้แล้ว

ของเราไหวหรือ และทรงอนุเคราะห์ด้วยทรงสถาปนา

เราไว้เสมอ ๆ กับพระองค์ในอุตตริมนุสสธรรม ธรรม

อัน ยิ่งยวดของมนุษย์ ต่างโดยอนุปุพพวิหาร ๙ และ

อภิญญา ๖ โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เราตถาคตต้องการสงัดจากกามทั้งหลาย สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงใด

แม้กัสสปะก็ต้องการสงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงนั้น.

ดังนี้.

๑. ที. มหา. ๑๐/ข้อ ๑๔๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

เรานั้นจะมีหนี้อื่นอะไรเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า กัสสปะผู้นี้จักเป็น

ผู้ดำรงวงศ์พระสัทธรรมของเรา จึงทรงอนุเคราะห์เรา ด้วยการอนุเคราะห์ที่

ไม่ทั่วไปนี้ เหมือนพระราชาทรงอนุเคราะห์พระราชโอรส ผู้ดำรงวงศ์ตระกูล

ด้วยทรงมอบเกราะและพระราชอิสริยยศ มิใช่หรือ จึงทำความอุตสาหะให้เกิด

แก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อช่วยกันสังคายนาธรรมและวินัย เหมือนอย่างที่ท่าน

พระอานนท์กล่าวไว้ว่า

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเล่ากะภิกษุทั้ง

หลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งหนึ่ง เราเดินทางไกล

จากนครปาวามาสู่นครกุสินารา พร้อมกับภิกษุหมู่

ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ดังนี้.

สุภัททกัณฑ์ ควรกล่าวให้พิศดารทั้งหมด. ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป

กล่าวว่า

ผู้มีอายุทั้งหลายเอาเถิด เรามาช่วยกันสงัคายนา

ธรรมและวินัย ต่อไปเมื่อหน้าอธรรมรุ่งเรื่อง ธรรมก็

จะร่วงโรย. อวินัยรุ่งเรือง วินัยก็จะร่วงโรย เมื่อหน้า

อธรรมวาทีมีกำลัง ธรรมวาทีก็จะอ่อนกำลัง อวินัยวาที

มีกำลัง วินัยวาทีก็จะอ่อนกำลัง.

ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระเถระ

โปรดเลือกภิกษุทั้งหลายเถิด. พระเถระละเว้น ภิกษุที่เป็นปุถุชน โสดาบัน สกทา-

คามี อนาคามีและพระขีณาสพสุกขวิปัสสก ผู้ทรงพระปริยัติคือนวังคสัตถุศาสน์

ทรงสิ้น เป็นจำนวนหลายร้อยหลายพันรูป เลือกเอาเฉพาะภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์

ประเภทเตวิชชาเป็นต้น ผู้ทรงปริยัติคือพระไตรปิฎกทั้งหมด บรรลุปฏิสัมภิ-

ทา มีอานุภาพยิ่งใหญ่โดยมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกย่องเป็นเอตทัคคะที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

พระสังคีติกาจารย์มุ่งหมายกล่าวไว้ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป

คัดเลือกพระอรหันต์ ๕๐๐ รูปหย่อนอยู่รูปหนึ่ง ดังนี้.

ถามว่า ทำไม พระเถระจึงทำให้หย่อนอยู่รูปหนึ่ง. ตอบว่า เพื่อไว้

ช่องโอกาสแก่ท่านพระอานนท์เถระเพราะว่า ทั้งร่วมกับท่านพระอานนท์ ทั้ง

เว้นท่านพระอานนท์เสียไม่อาจทำสังคายนาธรรมได้ ด้วยว่าพระอานนท์นั้น เป็น

พระเสขะยังมีกิจที่ต้องทำอยู่ ฉะนั้น จึงไม่อาจร่วมได้ แต่เพราะเหตุที่นวังคสัตถุ-

ศาสน์มีสุตตะและเคยยะเป็นต้น ข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งพระทศพลทรงแสดง

แล้ว ที่ชื่อว่า ท่านพระอานนท์ไม่ได้รับต้อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่มีฉะนั้น จึงไม่อาจเว้นเสียได้. ผิว่า ท่านพระอานนท์แม้เป็นเสขะอยู่ ก็น่า

ที่พระเถระจะพึงเลือก เพราะเป็นผู้มีอุปการะมาก ต่อการทำสังคายนาธรรม

แต่เพราะเหตุไร พระเถระจึงไม่เลือกเล่า. เพราะจะหลีกเลี่ยงการตำหนิติเตียน

เสีย. ความจริง พระเถระมีความสนิทสนมอย่างเหลือเกินในท่านพระอานนท์.

จริงอย่างนั้น ถึงท่านพระอานนที่จะมีศีรษะหงอกแล้ว. พระเถระก็ยังสั่งสอน

ท่านด้วยวาทะว่า เด็ก ว่า "เด็กคนนี้ ไม่รู้จักประมาณเสียเลย". อนึ่ง

ท่านพระอานนท์นี้เกิดในตระกูลศากยะ เป็นพระอนุชาของพระตถาคต เป็น

โอรสของพระเจ้าอา. ในการคัดเลือกท่านพระอานนท์ ภิกษุทั้งหลายจะสำคัญ

ประหนึ่งท่านลำเอียงเพราะรัก จะพึงตำหนิติเตียนว่าพระเถระละเว้นเหล่าภิกษุ

ผู้บรรลุอเสขปฏิสัมภิทาเสียไปเลือกพระอานนท์ ผู้บรรลุเสขปฏิสัมภิทา. พระ-

เถระเมื่อจะหลีกเลี่ยงตำหนิติเตียนนั้น คิดว่า "เว้นพระอานนท์เสีย ก็ไม่

อาจทำสังคายนากันได้ เราจะเลือก ก็ต่อเมื่อภิกษุทั้งหลายอนุมัติเท่านั้น" ดังนี้

จึงไม่เลือกเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันร้องขอพระเถระ เพื่อเลือกท่านพระ-

อานนท์เสียเองเลย เหมือนอย่างที่พระอานนท์กล่าวไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ได้กรายเรียนท่านพระมหากัสสป

อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระอานนท์นี้ ถึง

แม้จะเป็นพระเสขะ แต่ก็ไม่ควรจะลำเอียงเพราะรัก

เพราะเกลียด เพราะหลง เพราะกลัว ก็ท่านพระ-

อานนท์นี้ ได้ร่ำเรียนธรรมและวินัยมาในสำนักพระ-

มีพระภาคเจ้าเป็นอันมา ถ้าอย่างนั้น ขอพระเถระ

โปรดเลือกท่านพระอานนท์ด้วยเถิดเจ้าข้า. ครั้งนั้นแล

ท่านพระมหากัสสป จึงได้เลือกท่านพระอานนท์ด้วย

ดังนี้.

พระเถระจึงได้มีจำนวนครบ ๕๐๐ รูป รวมทั้งท่านพระอานนท์ ที่

พระเถระเลือกโดยอนุมัติของภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายปรึกษากันว่า เราจะช่วยกันสังคายนา

ธรรมและวินัย ที่ไหนเล่าหนอ. ได้ตกลงกันว่า กรุงราชคฤห์ มีโคจรที่หาอาหาร

มาก มีเสนาสนะมาก ถ้ากระไร เราจะอยู่จำพรรษา ช่วยกันทำสังคายนา ณ

กรุงราชคฤห์ ภิกษุเหล่าอื่น [ที่ไม่ได้รับคัดเลือก] ไม่พึงเข้าจำพรรษา

กรุงราชคฤห์. ก็เหตุไร ภิกษุผู้เถระเหล่านั้น จึงได้ตกลงกันดังนั้น. เพราะท่าน

ดำริว่า การทำสังคายนานี้ เป็นถาวรกรรมของเรา บุคคลผู้เป็นวิสภาคไม่ถูก

กัน จะพึงเข้ามาท่ามกลางสงฆ์ แล้วรื้อถาวรกรรมนั้นเสีย. ครั้งนั้น ท่าน

พระมหากัสสปจึงประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม. คำประกาศนั้น พึงทราบตาม

นัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในสังคีติขันธกะนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

ครั้งนั้น นับแต่พระตถาคตเสด็จปรินิพพาน เมื่อการเล่นสาธุกีฬา

ล่วงไป ๗ วัน การบูชาพระธาตุล่วงไปอีก ๗ วัน พระมหากัสสปเถระรู้ว่า

เวลาล่วงไปครั้งเดือนแล้ว ยังเหลือเวลาเดือนครึ่ง ก็กระชั้นชิดดิถีเข้าจำพรรษา

จึงกล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย เราจะพากันไปกรุงราชคฤห์ ก็พาหมู่ภิกษุครึ่ง

หนึ่งเดินทางแยกไปทางหนึ่ง แม้พระอนุรุทธเถระ ก็พาหมู่ภิกษุครึ่งหนึ่งแยก

ไปอีกทางหนึ่ง. ส่วนพระอานนทเถระถือบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า อัน

หมู่ภิกษุแวดล้อม ประสงค์จะไปกรุงสาวัตถี [ก่อน] แล้ว จึงจะไปกรุงราชคฤห์

ก็แยกทางจาริกไปทางกรุงสาวัตถี. ในสถานที่พระอานนท์เถระไปถึง ๆ ก็ได้มี

เสียงครวญคร่ำรำพันขนานใหญ่ว่า ท่านอานนท์เจ้า ท่านอานนท์เก็บ

พระศาสดาไว้เสียที่ไหนมาแล้ว. เมื่อพระเถระถึงกรุงสาวัตถีตามลำดับ

ได้มีเสียงครวญคร่ำรำพันขนานใหญ่ เหมือนในสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ปรินิพพาน.

ข่าวว่า สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ ต้องปลอบมหาชนนั้น ด้วย

ธรรมีกถาที่ประกอบด้วยอนิจจตาความไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วจึงเข้าไปยังพระ-

เชตวันวิหาร เปิดพระทวารแห่งพระคันธกุฎีที่พระทศพลประทับแล้วนำเตียง

ตั่งออกเคาะปัดกวาดพระคันธกุฎี ทิ้งขยะคือดอกไม้แห้ง นำเตียงตั่งเข้าไปตั้ง

ไว้ตามเดิมอีก ได้กระทำวัตรปฏิบัติทุกอย่างที่ควรทำ เหมือนในครั้งพระผู้มี-

พระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่.

พระเถระแข็งใจดื่มยาระบายเจือน้ำนมในวันที่ ๒ เพื่อทำกายที่มีธาตุ

หนักให้เบา เพราะตั้งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพาน ท่านต้องยืนมาก.

นั่งมาก จึงนั่งอยู่แต่ในวิหารเท่านั้น ซึ่งท่านอ้างถึง จึงกล่าวกะเด็กหนุ่ม ที่

สุภมาณพใช้ไปดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

ดูก่อนพ่อหนุ่ม วันนี้ยังไม่เหมาะ เพราะเราดื่ม

ยาถ่าย ต่อพรุ่งนี้เราจึงจะเข้าไป.

วันที่ ๒ พระเถระ มีพระเจตกเถระ เป็นปัจฉาสมณะผู้ติดตาม

จึงเข้าไป ถูกสุภมาณพถามปัญหาแล้วได้กล่าวสูตรที่ ๑๐ ชื่อ สุภสูตร ใน

ทีฆนิกาย. คราวนั้นพระเถระขอให้สุภมาณพ ช่วยปฎิสังขรณ์สิ่งสลักหักพังใน

พระเชตวันวิหาร ครั้นจวนจะเข้าพรรษาจึงไปยังกรุงราชคฤห์. พระมหากัสสป-

เถระและพระอนุรุทธเถระก็อย่างนั้น พาหมู่ภิกษุทั้งหมดไปยังกรุงราชคฤห์

เหมือนกัน.

สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์มีวัดใหญ่อยู่ ๑๘ วัด ทุกวัดมีหยากเยื่อที่เขา

ทิ้งตกเรี่ยราดไปทั้งนั้น. เพราะในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพาน

ภิกษุทั้งหลายถือบาตรจีวรของตนทอดทิ้งวัดและบริเวณไปกันหมด ครั้งนั้น

พระเถระทั้งหลาย คิดกันว่า เราจะช่วยกันปฏิสังขรณ์วิหารที่ชำรุดทรุดโทรม

ตลอดเดือนแรกแห่งพรรษา เพื่อบูชาพระพุทธดำรัสและปลดเปลื้องคำตำหนิ

ติเตียนของพวกเดียรถีย์. ด้วยว่า พวกเดียรถีย์พากันติเตียนว่า พวกสาวก

ของพระสมณโคดม เมื่อศาสดายังมีชีวิตอยู่ ก็ช่วยกันทะนุบำรุง ครั้นศาสดา

ปรินิพพานแล้ว ก็พากันทอดทิ้งไป. ท่านอธิบายว่า พระเถระทั้งหลายคิดกัน

ดังนั้น ก็เพื่อปลดเปลื้องคำตำหนิติเตียนของเดียรถีย์พวกนั้น. สมจริงดังที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า

ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย ปรึกษากันดังนี้ว่า ผู้มี

อายุทั้งหลาย การปฏิสังขรณ์วิหารที่ชำรุดทรุดโทรม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้ เอาเถิดผู้มีอายุ

ทั้งหลาย จำเราจะช่วยกันปฏิสังขรณ์วิหารที่ชำรุดทรุด-

๑. ที.สี. ๙/ข้อ ๓๑๔ เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

โทรม ตลอดเดือนแรก เดือนกลางเราจึงจักประชุม

ช่วยกันสังคายนาธรรมและวินัย.

วันที่สอง พระเถระเหล่านั้น พากันไปยืนอยู่ใกล้ประตูพระราชนิเวศน์

พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จมาทรงไหว้แล้วปวารณาว่า ท่านเจ้าข้า โยมจะช่วยอะไร

ได้บ้าง พระคุณเจ้าต้องการอะไร. พระเถระทั้งหลาย ถวายพระพรขอหัตถ-

กรรมงานฝีมือ เพื่อต้องการปฏิสังขรณ์วัดใหญ่ ๑๘ วัด. พระราชาทรงรับว่า

สาธุ ดีละ เจ้าข้า แล้วพระราชทานผู้คนที่เป็นช่างฝีมือ. พระเถระทั้งหลาย

ให้ปฏิสังขรณ์วิหารทั้งหมด ตลอดเดือนแรก. ต่อมา จึงกราบทูลพระราชาว่า

ขอถวายพระพร งานปฏิสังขรณ์วิหารเสร็จแล้ว บัดนี้ อาตมาภาพทั้งหลาย

จะช่วยกันสังคายนาธรรมและวินัย. พระราชามีพระดำรัสว่า ดีละ เจ้าข้า ขอ

พระคุณเจ้าโปรดทำอย่างสบายใจเถิด การอาณาจักรไว้เป็นพระของโยม ฝ่ายการ

ธรรมจักรเป็นธุระของพระคุณเจ้า โปรดสั่งมาเถิดเจ้าข้า จะให้โยมช่วยอะไร.

พระเถระทั้งหลาย ถวายพระพรทูลว่า ถวายพระพร โปรดให้สร้างสถานที่นั่ง

ประชุมสำหรับภิกษุทั้งหลาย ผู้จะช่วยกันทำสังคายนาธรรม. ตรัสถามว่า จะ

ทำที่ตรงไหนเล่า เจ้าข้า. ทูลว่า ถวายพระพร ทำใกล้ประตูถ้าสัตตบรรณ

ข้างภูเขาเวภาระน่าจะเหมาะมหาบพิตร. พระเจ้าอชาตศัตรูรับสั่งว่า ดีละ เจ้าข้า

แต่โปรดให้สร้างมณฑปใหญ่ มีฝา เสาและบันไดอันจัดไว้อย่างดี วิจิตรด้วย

ลายดอกไม้และลายเครือเถานานาชนิด เสมือนวิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้

แต่มณฑปใหญ่นั้น ให้มีเพดานทองกลมกลืนกับพวงดอกไม้ชนิดต่าง ๆ อัน

ห้อยย้อยอยู่ งานภาคพื้นดินก็ปรับเสร็จเป็นอันดี งดงามด้วยดอกไม้บูชานานา

พันธุ์ ประหนึ่งพื้นทางเดินอันปรับด้วยลูกรังดังมณีรัตนวิจิตร เสมือนวิมาน

พรหม โปรดให้ปูลาดอาสนะอันเป็นกัปปิยะ ๕๐๐ ที่ มีค่านับมิได้ ในมณฑป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

ให้นั้น สำหรับภิกษุ ๕๐๐ รูป ให้ปูลาดอาสนะพระเถระ หันหน้าทางทิศ

เหนือ หันหลังทางทิศให้ ให้ปูลาดธรรมาสน์ ที่นั่งแสดงธรรม อันควรเป็น

อาสนะสำหรับ พระผู้มีพระภาคเจ้า หันหน้าทางทิศตะวันออก ท่ามกลางมณฑป

วางพัดทำด้วยงาช้างไว้บนธรรมาสน์นั้น แล้วมีรับสั่งให้เผดียงแจ้งแก่ภิกษุสงฆ์

ว่า กิจกรรมเสร็จแล้ว เจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ พรุ่งนี้เป็น

วันประชุมสงฆ์ ส่วนตัวท่านเป็นเสขะ ยังมีกิจที่จะต้องทำ ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงไม่ควรไปประชุม ขอท่านจงอย่าประมาทนะ. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์

ดำริว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม การที่เรายังเป็นเสขะไปประชุม ไม่สมควรเลย

ดังนี้. จึงยับยั้งอยู่ด้วยกายคตาสติ ตลอดราตรีเป็นอันมาก เวลาใกล้รุ่งจึงลง

จากที่จงกรมเข้าไปยังวิหาร นึกถึงกาย หมายจะนอนพัก. เท้าทั้งสองพ้นพื้น

และศีรษะยังไม่ทันถึงหนอน ในระหว่างนั้น จิตไม่ยึดมั่น ก็หลุดพ้นจาก

อาสวะทั้งหลาย.

ความจริง ท่านพระอานนท์นี้ ยับยั้งอยู่ภายนอก ด้วยการจงกรม

ไม่อาจทำคุณวิเศษให้เกิดได้ จึงดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราไว้

มิใช่หรือว่า อานนท์ เธอมีบุญที่ทำไว้แล้ว จงประกอบความเพียรเนือง ๆ

ก็จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะได้ฉับพลัน ก็ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้

ไม่ผิด เราคงปรารภความเพียรเกินไป ด้วยเหตุนั้น จิตของเราจึงเป็นไปทาง

ฟุ้งซ่าน เอาเถิด จำเราจะประกอบความเพียรแต่พอดี จึงลงจากที่จงกรม

ยืน ณ ที่ข้างเท้า ล้างเท้าแล้วก็เข้าวิหาร นั่งบนเตียง คิดจะพักเสียหน่อยหนึ่ง

ก็เอนกายลงบนเตียง เท้าทั้งสองพ้นพื้น และศีรษะยังไม่ทัน ถึงหมอน ใน

ระหว่างนั้น จิตไม่ยึดมั่น ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย. พระอรหัตของพระ- ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

เถระ. เว้นจากอิริยาบถ ๔ ด้วยเหตุนั้น เมื่อถามกันว่า ในพระศาสนานี้

ภิกษุรูปไร ไม่นั่ง ไม่นอน ไม่ยืน ไม่เดิน บรรลุพระอรหัต ก็ควรจะ

ตอบว่า พระอานนทเถระ.

ในวันที่สอง พระภิกษุเถระทั้งหลาย ฉันภัตตาหาร เก็บงำบาตรจีวร

แล้ว ก็ประชุมกัน ณ ธรรมสภา. ส่วนพระอานนท์เถระประสงค์จะให้สงฆ์รู้

การบรรลุพระอรหัตของตน จึงไม่ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย

เมื่อนั่งเหนืออาสนะที่ถึงแก่ตน ๆ ตามอาวุโส ก็นั่งเว้น อาสนะของพระอานนท-

เถระไว้. ในที่นั้น เมื่อมีพระเถระบางเหล่าถามว่า นั่นอาสนะของใคร ก็มี

เสียงตอบว่า ของพระอานนท์. ถามว่า ก็พระอานนท์ไปไหนเสียเล่า. สมัย

นั้น พระเถระดำริว่า บัดนี้ เป็นเวลาที่เราไปได้ละ ดังนั้น เมื่อสำแดง

อานุภาพของตน จึงดำดินไปแสดงตัวเหนืออาสนะของคนเลย. อาจารย์บาง

พวกกล่าวว่า เหาะมานั่งก็มี.

เมื่อพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระมหากัสสปเถระจึงปรึกษา

ก็ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราจะสังคายนาอะไรก่อน ธรรม

หรือวินัย

ภิกษุทั้งหลายจึงเรียนว่า ข้าแต่ท่านมหากัสสปะ ธรรมดาว่าวินัยเป็น

อายุของพระพุทธศาสนา เมื่อวินัยยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ชื่อว่าดำรงอยู่ด้วย

เพราะฉะนั้น เราจะสังคายนาวินัยก่อน. พระเถระถามว่า จะมอบให้ใครเป็น

สังคายนาวินัยเล่า. ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ท่านพระอุบาลี เจ้าข้า. พระเถระ

ถามแย้งว่า พระอานนท์ไม่สามารถหรือ. ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ไม่ใช่ไม่

สามารถดอกเจ้าข้า แต่ทว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อยังดำรงพระชนม์อยู่

ทรงอาศัยการเล่าเรียนพระปริยัติ [ของท่าน] จึงทรงสถาปนาท่านพระอุบาลีไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาลีเป็นเลิศกว่าภิกษุ

สาวกของเราผู้ทรงพระวินัย ดังนี้ เพราะฉะนั้น เราจะถามพระอุบาลีเถระ

ช่วยกันสังคายนาวินัย. แต่นั้น พระเถระจึงสมมติตนด้วยตนเอง เพื่อถามวินัย

ฝ่ายพระอุบาลีเถระก็สมมติคน เพื่อตอบวินัย. ในข้อนั้น มีบาลีดังนี้

ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะ เผดียงสงฆ์ว่า

สุณาตุ เม อาวุโส สงฺโฆ, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺล

อห อุปาลึ วินย ปุจฺเฉยฺย.

ดูก่อนท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์โปรดฟังข้าพเจ้า ผิว่า สงฆ์พรัก-

พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าจะถามวินัยกะท่านอุบาลี.

แม้ท่านพระอุบาลี ก็เผดียงสงฆ์ว่า

สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺล

อห อายสฺมตา มหากสฺสเปน วินย ปุฏฺโฐ วิสฺสชฺเชยฺย.

ข้าแต่ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์โปรดฟังข้าพเจ้า ผิว่า สงฆฺพรัก-

พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปะ ถามแล้ว จะตอบวินัย.

ท่านพระอุบาลี ครั้นสมมติตนด้วยตนเองอย่างนี้แล้ว ก็ลุกจากอาสนะ

หุ่มจีวรเฉวียงบ่า ไหว้พระภิกษุชั้นเถระแล้ว นั่งเหนือธรรมาสน์จับพัดทำด้วย

งา ต่อนั้น ท่านพระมหากัสสปเถระจึงถามวินัยทั้งหมดตั้งแต่ปฐมปาราชิกเป็น

ต้นไป กะท่านพระอุบาลีเถระ. ท่านพระอุบาลีเถระก็ตอบ พระภิกษุหมดทั้ง

๕๐๐ รูป ก็สวดเป็นหมู่พร้อม ๆ กัน ตั้งแต่ปฐมปาราชิกสิกขาบท พร้อมทั้ง

นิทานไป แม้สิกขาบทนอกนั้น ก็สวดอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น พึงถือเรื่อง

ทั้งหมดตามอรรถกถาวินัย. ท่านพระอุบาลีเถระครั้น สังคายนาวินัยปิฎกทั้งสิ้น

พร้อมทั้งวิภังค์ทั้งสอง [ภิกขุวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์] พร้อมด้วยคัมภีร์ขันธกะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

และปริวารโดยนัยนี้แล้ว ก็วางพัดงา ลงจากธรรมาสน์ ไหว้ภิกษุผู้เฒ่าแล้ว

ก็นั่งเหนืออาสนะที่ถึงแก่ตน.

ท่านพระมหากัสสปเถระ ครั้นสังคายนาวินัยแล้วประสงค์จะสังคายนา

ธรรม จึงถามภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายเมื่อจะสังคายนาธรรม จะมอบ

บุคคลไรเป็นธุระสังคายนาธรรม. ภิกษุทั้งหลาย จึงเรียนว่า มอบท่านพระ-

อานนท์เถระให้เป็นธุระ.

ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสป. จึงเผดียงสงฆ์ว่า

สุณาตุ เม อาวุโส สงฺโฆ, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺล อห

อานนฺท ธมฺม ปุจฺเฉยฺย.

ดูก่อนท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์โปรดฟังข้าพเจ้า ผิว่า สงฆ์

พรักพร้อมแล้ว ข้าพเจ้าจะถามธรรมกะท่านอานนท์.

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ก็เผดียงสงฆ์ว่า

สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺล อห

อายสฺมตา มหากสฺสเปน ธมฺน ปุฏฺโ วิสฺสชฺเชยฺย.

ข้าแต่ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์โปรดฟังข้าพเจ้า ผิว่า สงฆ์

พรักพร้อมแล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปะถามแล้ว จะตอบ

ธรรม ดังนี้.

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ. ห่มจีวร เฉวียงบ่า ไหว้

พระภิกษุชั้นเถระแล้ว ก็นั่งเหนือธรรมาสน์ถือพัดงา. ลำดับนั้น ท่านพระมหา-

กัสสปเถระ ถามธรรมกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ พรหมชาลสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ณ ที่ไหน. ตอบว่า ตรัสที่พระตำหนักในพระราช-

อุทยานชื่ออัมพลัฏฐิกา ซึ่งอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา. ถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

ทรงปรารภใคร. ตอบว่า ทรงปรารภสุปปิยปริพาชกกับ พรหมทัตตมาณพ.

ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปถามท่านพระอานนท์ถึงนิทานแห่งพรหมชาลสูตร

ถามทั้งบุคคล. ถามว่า ท่านอานนท์ ก็สามัญญผลสูตรเล่าตรัสที่ไหน. ตอบว่า

ที่สวนมะม่วงของหมอชีวก กรุงราชคฤห์ เจ้าข้า. ถามว่า ตรัสกับใคร. ตอบ

ว่า กับพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร โอรสพระนางเวเทหิ เจ้าข้า. ลำดับนั้น

ท่านพระมหากัสสปะจึงถามท่านพระอานนท์ ถึงนิทานแห่งสามัญญผลสูตร ถาม

ทั้งบุคคล. ท่านพระมหากัสสปถามแม้ทั้ง ๕ นิกาย โดยอุบายนี้นี่แลท่านพระ-

อานนท์ ถูกถามแล้วถามเล่าก็ตอบได้หมด. ปฐมมหาสังคีติสังคายนาใหญ่ครั้ง

แรกนี้ พระเถระ. ๕๐๐ รูปช่วยกันทำ

สเตหิ ปญฺจหิ กตา เตน ปญฺจสตาติ จ

เถเรเหว กตตฺตา ๗ เกริกาติ ปวุจฺจติ.

ปฐมมหาสังคีติ การทำสังคายนาใหญ่ครั้งแรก อันพระเถระ

๕๐๐ รูป ช่วยกันทำ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ปัญจสตา และ

เพราะภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นพระเถระทั้งนั้น จึงเรียกว่า เถริกา ลัทธิ-

เถระวาท.

เมื่อปฐมมหาสังคีตินี้ กำลังดำเนินไป เมื่อท่านพระอานนท์ อันท่าน

พระมหากัสสปะ ครั้นถามคัมภีร์ทีฆนิกายและคัมภีร์มัชฌิมนิกายเป็นต้นหมด

แล้ว เมื่อจะถามคัมภีร์ขุททกนิกาย ตามลำดับ ในท้ายคำที่ท่านถามเป็นต้น

อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ มงคลสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ณ ที่ไหน ดังนี้

จึงถามถึงนิทานในคำนี้ว่า ถามทั้งนิทาน ถามทั้งบุคคล. ท่านพระอานนท์

ประสงค์จะกล่าวนิทานนั้นให้พิศดารว่า ตรัสอย่างใด ผู้ใดฟังมา ฟังเมื่อใด

และผู้ใดกล่าว กล่าวที่ใด กล่าวแก่ผู้โด จะกล่าวข้อความนั้นให้หมด เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

จะแสดงความนั้นว่า ตรัสไว้อย่างนี้, ข้าพเจ้าฟังมา, ฟังมาสมัยหนึ่ง, พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัส, ตรัสที่กรุงสาวัตถี, ตรัสแก่เทวดา ดังนี้จึงกล่าวว่า

เอวมฺเม สต เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน อนาถ-

ปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯปฯ ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ. คำนี้ ท่าน

พระอานนท์กล่าวไว้อย่างนี้. ก็แลคำนั้นพึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ในเวลาทำ

ปฐมมหาสังคีติ.

บัดนี้ จะอธิบายในข้อนี้ว่า ตรัสเพราะเหตุไร. เพราะเหตุที่ท่าน

พระมหากัสสปะถามถึงนิทาน ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวนิทานนั้นไว้พิศดารตั้งแต่

ต้น อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่เทวดาบางเหล่าเห็นท่านพระอานนท์นั่งเหนือ

ธรรมาสน์ ห้อมล้อด้วยคณะผู้เชี่ยวชาญ จึงเกิดจิตคิดว่า "ท่านพระอานนท์

นี้เป็นเวเทหมุนี แม้โดยปกตินับเพียงอยู่ในศากยตระกูล เป็นทายาทของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า แม้แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงยกย่องไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะถึง ๕ สถาน เป็นผู้ประกอบด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรม ๔ ประการ เป็น

ที่รักที่ต้องใจของบริษัท ๔ บัดนี้ เห็นทีจะเป็นรัชทายาทโดยธรรมของพระผู้มี

พระภาคเจ้า เกิดเป็นพุทธะ ผู้รู้".

ฉะนั้น ท่านพระอานนท์ รู้ทั่วถึงความปริวิตกทางใจของเทวดาเหล่า

นั้นด้วยใจตนเอง ทนการยกย่องคุณที่ไม่เป็นจริงนั้นไม่ได้เพื่อแสดงภาวะที่ตน

เป็นเพียงสาวก จึงกล่าวว่า เอวมฺเม สุต เอก สนย ภควา ฯปฯ

อชฺฌภาสิ. ในระหว่างนี้พระอรหันต์ ๕๐๐ รูปและเทวดาหลายพัน ก็ชื่อชม

ท่านพระอานนท์ว่า สาธุ สาธุ. แผ่นพื้นมหาปฐพีก็ไหว ฝนดอกไม้นานา

ชนิดก็หล่นลงจากอากาศ ความอัศจรรย์อย่างอื่นก็ปรากฏมากมาย และเทวดา

มากหลายก็เกิดความสังเวชว่า คำใด เราฟังมาต่อพระพักตร์ของพระผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

มีพระภาคเจ้า คำนั้น แม่เหตุการณ์ผ่านพ้นสายตามาแล้ว ก็มาเกิดได้.

คำนี้ ท่านพระอานนท์ แม้จะกล่าวในเวลาทำปฐมมหาสังคีติ ก็พึงทราบว่าท่าน

กล่าวเพราะเหตุนี้ ด้วยประการฉะนี้. ด้วยการพรรณนามาเพียงเท่านี้ ก็เป็น

อันประกาศความแห่งกึ่งคาถานี้ว่า วุตฺต เยน ยทา ยส มา เจต วตฺวา

อิม วิธึ กล่าววิธีนี้ว่า ผู้ใดกล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าวเพราะเหตุใด.

พรรณนาปาฐะว่า เอว เป็นต้น

เพื่อประกาศความที่รวบรัดไว้ด้วยหัวข้อเป็นต้น อย่างนี้ว่า เอวมิจฺจา-

ทิปาสฺส อตฺถ นานปฺปการโต ความแห่งปาฐะว่า เอว เป็นต้น โดย

ประการต่าง ๆ บัดนี้ ขออธิบายดังนี้ ศัพท์ว่า เอว นี้ พึงเห็นว่า

ใช้ในอรรถทั้งหลายมีเป็นต้นว่า ความเปรียบเทียบ ความแนะนำ

ความยกย่อง ความติเตียน การรับคำ อาการ การชี้แจง การห้ามความอื่น.

จริงอย่างนั้น เอว ศัพท์นี้

ใช้ในความเปรียบเทียบ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า

เอว ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพ กุสล พหุ สัตว์

เกิดมาแล้ว ควรบำเพ็ญกุศลให้มาก ฉันนั้น

ใช้ในความแนะนำ ได้ในประโยคเป็นต้น เอว เต อภิกฺกมิตพฺพ

เอว เต ปฏิกฺกมิตพฺพ เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับ อย่างนี้.

ใช้ในความยกย่อง ได้ในประโยคเป็นต้น เอวเมต ภควา เอว-

เมต สุคต ข้อนั้นเป็น อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นเป็น อย่างนี้

พระสุคต.

ใช้ในความติเตียน ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เอวเมว ปนาย

วสลี ยสฺมึ วา ตสฺส มุณฺฑกสฺส สมณกสฺส วณฺณ ภกสติ ก็หญิง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

ถ่อยคนนี้กล่าวสรรเสริญสมณะหัวโล้นนั้น อย่างนี้ อย่างนี้ ทุกหน

ทุกแห่ง.

ใช้ในการรับคำ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ ว่า เอว ภนฺเตติ

โข เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัส

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ใช้ในอาการ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เอว พฺยา โข อห

ภนฺเต ภควตา ธมฺม เทสิต อาชานามิ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า

ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว อย่างนี้ จริง.

ใช้ในการชี้แจง ได้ในประโยคเป็นต้นว่า

เอหิ ตฺว มาณวก เยน สมโณ อานนฺโท เตนุ-

ปสงฺกม. อุปสงฺกมิตฺวา มม วจเนน สมณ อานนฺท

อปฺปาพาธ อปฺปาตงฺก ลหุฏฺาน พล ผาสุวิหาร

ปุจฺฉ สุโภ มาณโว โตเทยฺยปุตฺโต ภวนฺต อานนฺท

อปฺปาพาธ อปฺปาตงฺก ลหุฏฺาน พล ผาสุวิหาร

ปุจฺฉตีติ เอวญฺจ วเทหิ สาธุ กิร ภว อานนฺโท เยน

สุภสฺส มาณวสฺส โตเทยฺยปุตฺตสฺส นิเวสน เตนุ-

ปสงฺกมตุ อนุกมฺป อุปาทายฺ

มานี่แน่ะ พ่อหนุ่ม เจ้าจงเข้าไปทาท่านพระ-

อานนท์ แล้วเรียนถามท่านพระอานนท์ ถึงความไม่

มีอาพาธ ความไม่มีโรค ความคล่องแคล่ว ความมี

กำลัง ความอยู่สำราญ และจงพูดอย่างนี้ว่า สุภมาณพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

โตเทยยบุตร เรียนถามท่านพระอานนท์ถึงความไม่มี

อาพาธ ความไม่มีโรค ความคล่องแคล่ว ความมี

กำลัง ความอยู่สำราญ และจงกล่าวอย่างนี้ว่า สาธุ

ขอท่านพระอานนท์ โปรดอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์

ของสุภมาณพโตเทยยบุตรดด้วยเถิด.

ใช้ในการห้ามความอื่น ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า

ต กึ มญฺถ กาลามา อิเม ธมฺมา กุสลา วา

อกุสลา วาติ. อกุสลา ภนฺเตติ. สาวชฺชา วา อน-

วุชฺชา วาติ. สาวชฺชา ภนฺเตติ. วิญฺญุครหิตา วา

วิญฺญุปฺปสตฺถา วาติ. วิญฺญุครหิตา ภนฺเตติ. สมตฺตา

สมาทินฺนา อหิตาย ทุกฺขาย สวตฺตนฺติ โน วา กถ

โว เอตฺถ โหตีติ. สมตฺตา ภนฺเต สมาทินฺนา ปหิ

ตาย ทุกฺขาย สวตฺตนฺติ เอว โน เอตฺถ โหตีติ.

ตรัสถามว่า ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย ท่าน

จะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล

หรืออกุศล. ทูลตอบว่า เป็นอกุศล พระเจ้าข้า ตรัส

ถามว่า มีโทษหรือไม่มีโทษ. ทูลตอบว่า มีโทษ

พระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า วิญญูชนติเตียนหรือสรรเสริญ

เล่า. ทูลตอบว่า ติเตียน พระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า

บุคคลสมาทานบริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประ-

โยชน์ เพื่อทุกข์หรือมิใช่ ในข้อนี้ท่านมีความเห็น

อย่างไร. ทูลตอบว่า บุคคลสมาทานบริบูรณ์แล้ว เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

ไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ ข้อพระองค์มี

ความเห็นในข้อนี้ อย่างนี้ พระเจ้าข้า.

แต่ในที่นี้ พึงเห็นว่า เอวศัพท์ ใช้ในอรรถ คืออาการ การชี้แจง

และการห้ามความอื่น.

ในอรรถทั้ง ๓ นั้น พระเถระแสดงอรรถนี้ด้วย เอว ศัพท์ ที่มีอรรถ

เป็นอาการว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ละเอียดโดยนัย

ต่าง ๆ เกิดขึ้นโดยมากอัธยาศัย สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ. มีปาฏิหาริย์

ต่าง ๆ อย่าง ลุ่มลึกโดยธรรม อรรถ เทศนาและปฏิเวธ มากระทบโสต พอ

เหมาะแก่ภาษาของตน ๆ ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ใครจะสามารถรู้ได้โดย

ประการทั้งปวง แต่ข้าพเจ้าแม้ใช้เรี่ยวแรงทั้งหมดให้เกิดความอยากจะฟัง ก็

ได้ฟังมาอย่างนี้ คือแม้ข้าพเจ้าก็ได้ฟังมาแล้วโดยอาการอย่างหนึ่ง.

ด้วยเอวศัพท์ ที่มีอรรถเป็นการชี้แจง พระเถระเมื่อจะเปลื้องตนว่า

ข้าพเจ้ามิใช่พระสยัมภู พระสูตรนี้ ข้าพเจ้ามิได้ทำให้แจ้ง จึงแสดงพระสูตร

ทั้งสิ้นที่ควรกล่าวในบัดนี้ว่า เอวมฺเม สุต คือแม้ข้าพเจ้าก็ได้ยินมาอย่างนี้.

ด้วยเอวศัพท์ ที่มีศัพท์เป็นการห้ามความอื่น พระเถระเมื่อแสดง

พลังความทรงจำของตน อันควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญ

ไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นยอดของภิกษุสาวกของเรา ซึ่ง

เป็นพหูสูต มีคติ มีสติ มีธิติ เป็นพุทธอุปัฏฐาก ดังนี้ ย่อมให้เกิดความ

อยากฟังแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยกล่าวว่า ข้าพเจ้าฟังมาแล้วอย่างนี้ คำนั้น ไม่

ขาดไม่เกิน ไม่ว่าโดยอรรถหรือพยัญชนะ บัณฑิตพึงเห็นอย่างนี้เท่านั้น ไม่

พึงเห็นเป็นอย่างอื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

แก้บท เม

เมศัพท์ พบกันอยู่ในความ ๓ ความ. จริงอย่างนั้น เมศัพท์ มี

ความว่า มยา อันเรา ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ภาถาภิคีต เม อโภชเนยฺย

โภชนะที่ได้มาด้วยการขับกล่อม อันเราไม่ควรบริโภค.

มีความว่า มยฺห แก่เรา ได้ในพระโยคเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต

ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺม เทเสตุ ดีละ พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค-

เจ้า โปรดทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด.

มีความว่า มม ของเรา ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ธมฺมทายาทา

เม ภิกฺขเว ภวถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรม

ทายาทของเราเถิด.

แต่ในที่นี้ เมศัพท์ ย่อมถูกต้องในความทั้งสองคือ เม สุต อัน

ข้าพเจ้าฟังมา มม สุต การฟังของข้าพเจ้า.

แก้บท สุต

สุตศัพท์นี้ มีอุปสรรคและไม่มีอุปสรรค ต่างกันโดยความหลายความ

เช่นมีความว่า ไป ปรากฏ กำหนัด สั่งสม ขวนขวาย เสียงที่รู้ทางโลตะ

และรู้ตามแนวโสตทวารเป็นต้น. จริงอย่างนั้น สุตศัพท์นั้น

มีความว่าไป ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เสนาย ปสุโต เคลื่อนทัพ

ไป.

มีความว่า ปรากฏ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต

ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว เห็นอยู่.

มีความว่า กำหนัด ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อวสฺสุตา อวสฺสุตสฺส

ภิกษุณีมีความกำหนัด ยินดีการที่ชายผู้มีความกำหนัดมาลูบคลำจับต้องกาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

มีความว่า สั่งสม ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ตุมฺเหหิ ปฺญฺ

ปสุต อนปฺปก ท่านทั้งหลายสั่งสมบุญเป็นอันมาก.

มีความว่า ขวนขวาย ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เย ฌานปฺปสุตา

ธีรา ปราชญ์เหล่าใดขวนขวายในฌาน.

มีความว่า เสียงที่รู้ทางโสตะ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ทิฏฺ

สุต มุต รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ.

มีความว่า รู้ตามแนวโสตทวาร ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สุตธโร

สุตสนฺนิจโย ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ.

แต่ในที่นี้ ศัพท์ว่า สุตะ มีความว่า เข้าไปทรงไว้หรือการทรงจำ

ไว้ด้วยวิถีวิญญาณ ซึ่งมีโสตวิญญาณเป็นหัวหน้า. ในคำนั้น เมื่อใด เมศัพท์

มีความว่า มยา อันข้าพเจ้า เมื่อนั้นก็ประกอบความว่า อันข้าพเจ้าฟังมา

แล้ว คือทรงจำไว้แล้วด้วยวิถีวิญญาณ อันมีโสตวิญญาณเป็นหัวหน้า อย่างนี้.

เมื่อใด เมศัพท์ มีความว่า มม ของข้าพเจ้า เมื่อนั้น ก็ประกอบความว่าการ

ฟังของข้าพเจ้าคือการทรงจำไว้ ด้วยวิถีวิญญาณอันมีโสตวิญญาณเป็นหัวหน้า.

บรรดาบททั้ง ๓ เหล่านั้น ดังพรรณนามานี้ บทว่า เอว เป็นบท

ชี้ถึงกิจคือหน้าที่ของโสตวิญญาณ. บทว่า มยา เป็นบทชี้ถึงบุคคลผู้ประกอบ

ด้วยโสตวิญญาณที่กล่าวแล้ว. บทว่า สุต เป็นบทชี้ถึงการถือเอาไม่ขาดไม่

เกินและไม่วิปริต เพราะปฏิเสธภาวะคือการไม่ได้ฟัง.

นัยหนึ่ง บทว่า เอว เป็นบทแสดงถึงภาวะที่มีจิตคิดจะฟังเป็นต้น

เป็นไปในอารมณ์ โดยประการต่าง ๆ. บ ทว่า เม เป็นบทแสดงถึงตัว. บทว่า

สุต เป็นบทแสดงถึงธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

อีกนัยหนึ่ง บทว่า เอว เป็นบทชี้แจงธรรมที่ควรชี้แจง. บทว่า

เม เป็นบทชี้แจงตัวบุคคล. บทว่า สุต เป็นบทชี้แจงกิจคือหน้าที่ของตัว

บุคคล.

อีกนัยหนึ่ง ศัพท์ว่า เอว อธิบายถึงประการต่าง ๆ ของวิถีจิตทั้ง

หลาย เป็นอาการบัญญัติ ศัพท์ว่า เม อธิบายถึงตัวผู้ทำ. ศัพท์ว่า สุต

อธิบายถึงวิสัย.

อีกนัยหนึ่ง ศัพท์ว่า เอว อธิบายถึงกิจหน้าที่ของบุคคล. ศัพท์ว่า

สุต อธิบายถึงกิจหน้าที่ของวิญญาณ. ศัพท์ว่า เม อธิบายถึงบุคคลผู้กอปร

ด้วยกิจทั้งสอง.

อีกนัยหนึ่ง ศัพท์ว่า เอว แสดงถึงภาวะ. ศัพท์ว่า เม แสดงถึง

บุคคล. ศัพท์ว่า สุต แสดงถึงกิจของบุคคลนั้น.

ในคำเหล่านั้น คำว่า เอว และว่า เม เป็นวิชชมานบัญญัติ โดย

เป็นสัจฉิกัตถปรมัตถ์. คำว่า สุต เป็นวิชชมานบัญญัติ.

อีกนัยหนึ่ง คำว่า เอว และ เม ชื่อว่า อุปาทาบัญญัติ เพราะกล่าว

อาศัยอารมณ์นั้น ๆ. คำว่า สุต ชื่อว่า อุปนิธาบัญญัติ เพราะกล่าวอ้างอารมณ์

มีอารมณ์ที่เห็นแล้วเป็นต้น.

ก็ในคำทั้ง ๓ นั้น พระเถระแสดงไม่หลงเลือนด้วยคำว่า เอว. ความ

ไม่หลงลืมเรื่องที่ฟังมาด้วยคำว่า สุต อนึ่ง พระเถระแสดงการใส่ใจโดยแยบคาย

ด้วยคำว่า เอว เพราะไม่มีการแทงตลอดโดยประการต่าง ๆ สำหรับผู้ใส่ใจ

โดยไม่แยบคาย. แสดงความไม่ฟุ้งซ่านด้วยคำว่า สุต เพราะไม่มีการฟัง

สำหรับผู้มีจิตฟุ้งซ่าน. จริงอย่างนั้น บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แม้ท่านจะกล่าว

ครบถ้วนทุกอย่าง ก็จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน โปรดพูดซ้ำสิ. ก็ในข้อนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

บุคคลจะให้สำเร็จการยังตนไว้ชอบและความเป็นผู้ทำบุญไว้ก่อน ก็ด้วยการใส่

ใจโดยแยบคาย จะให้สำเร็จการฟังธรรมของสัตบุรุษ และการฟังพาอาศัย

สัตบุรุษ ก็ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ก็พระเถระแสดงความถึงพร้อมด้วยจักรธรรม

๒ ข้อหลังของด้วยอาการอันงาม ด้วยบทว่า เอว นี้ แสดงความถึงพร้อม

ด้วยจักรธรรม ๒ ข้อต้น ด้วยความเพียรฟัง ด้วยบทว่า สุต อนึ่ง พระเถระ

แสดงความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย และความบริสุทธิ์แห่งความเพียรอย่างนั้น

คือ แสดงความฉลาดในอธิคมด้วยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ทั้งแสดงความ

ฉลาดในปริยัติ ด้วยความบริสุทธิ์แห่งความเพียร.

อนึ่ง พระเถระแสดงความถึงพร้อมด้วยอรรถปฏิสัมภิทาและปฏิภาณ

ปฏิสัมภิทาของตน ด้วยถ้อยคำอันแสดงปฏิเวธมีประการต่างๆ ด้วยคำว่า เอว

นี้ แสดงความถึงพร้อมด้วยธรรมปฏิสัมภิทาและนิรุกติปฏิสัมภิทา ด้วยถ้อยคำ

อันแสดงปฏิเวธอันต่างด้วยข้อที่ควรฟัง ด้วยคำว่า สุต นี้ อนึ่งพระเถระ

เมื่อกล่าวคำที่แสดงถึงความใส่ใจโดยแยบคายนี้ ก็ประกาศให้เขารู้ว่า ธรรม

เหล่านี้ ข้าพเจ้าเพ่งด้วยใจแล้วรู้ทะลุปรุโปร่งแล้วด้วยทิฏฐิ ด้วยคำว่า เอว

เมื่อกล่าวคำอันแสดงถึงความเพียรฟังนี้ ก็ประกาศให้เขารู้ว่า ธรรมเป็นอันมาก

ข้าพเจ้าฟังแล้วทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว ด้วยคำว่า สุต เมื่อแสดงความ

บริบูรณ์แห่งอรรถะและพยัญชนะให้เกิดความเอื้อเฟื้อที่จะฟัง แม้ด้วยคำทั้ง

สองนี้.

อนึ่ง ท่านพระอานนท์ไม่ตั้งธรรมที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว เพื่อ

ตน ล่วงเสียซึ่งภูมิของอสัตบุรุษ เมื่อปฏิญาณความเป็นพระสาวก จึงก้าวลงสู่

ภูมิของสัตบุรุษ ด้วยคำแม้ทั้งสิ้น ว่า เอว เม สุต นี้. อนึ่ง พระเถระ

ชื่อว่า ยกจิตขึ้นจากสัทธรรม ทั้งจิตไว้ในพระสัทธรรม. อนึ่งเมื่อแสดงว่า

พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

ฟังมาแล้วอย่างสิ้นเชิง ชื่อว่า เปลื้องตน อ้างพระศาสดา แนบสนิทพระพุทธ-

ดำรัส ตั้งแบบแผนธรรมไว้.

อนึ่งเล่า พระเถระไม่ยอมรับความที่คำว่า เอว เม สุต คนทำให้

เกิดขึ้น เมื่อเปิดการฟังมาก่อนใคร จึงควรทราบว่า ท่านชื่อว่าทำลายความ

ไม่เธอ ทำให้เกิดสัทธาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยความเชื่อในพระธรรมนี้

แก่มวลเทวดาและมนุษย์ว่า พระดำรัสนี้ ข้าพเจ้ารับมาต่อพระพักตร์ของพระผู้-

มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้แกล้วกล้าด้วยจตุเวสารัชชญาณ ผู้ทรงทศพล ผู้

ดำรงอยู่ในตำแหน่งสูงสุด ผู้บันลือสีหนาท ผู้ทรงเป็นยอดของสรรพสัตว์

ทรงเป็นใหญ่ในธรรม ทรงเป็นราชาแห่งธรรม อธิบดีแห่งธรรม ทรงมีธรรม

เป็นที่พึ่งอาศัย ทรงหมุนจักรอันประเสริฐ คือ สัทธรรม ทรงเป็นพระสัมมา-

สัมพุทธะตรัสรู้ชอบลำพังพระองค์ ในบทดำรัสนั้น ไม่ควรทำความสงสัยเคลือบ

แคลงในอรรถหรือธรรม บทหรือพยัญชนะเลย. ก็ในข้อนี้มีคำกล่าวว่า

วินาสยติ อสทฺธิย สทฺธ วฑฺเฒติ สาสเน

เอวมฺเม สุตมิจฺเจว วท โคตมสาวโก.

ท่านพระอานนท์ สาวกของพระโคดมพุทธเจ้า

เมื่อกล่าวคำว่า เอวมฺเม สุต ชื่อว่าทำลายอสัทธิยะ

ความไม่เชื่อ เพิ่มพูนศรัทธาความเชื่อในพระศาสนา.

แก้อรรถ เอก และ สมย

ศัพท์ว่า เอก แสดงการกำหนดจำนวน. ศัพท์ว่า สมย แสดงกาล

ที่กำหนด. สองคำว่า เอก สมย แสดงกาลไม่แน่นอน ในคำนั้น สมย

ศัพท์ มีความว่า พร้อมเพรียง ขณะ กาล ประชุม เหตุลัทธิ

ได้เฉพาะ ละ และแทงตลอด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

จริงอย่างนั้น สมยศัพท์นั้น มีความว่าพร้อมเพรียงได้ในประโยคมี

เป็นต้นว่า อปฺเปว นาม เสฺวปิ อุปสงฺกเมยฺยาม กาลญฺจ สมยญฺจ

อุปาทาย ถ้ากระไร เราทั้งหลายกำหนดกาลและความพร้อมเพรียง พึงเข้า

ไปหาแม้ในวันพรุ่งนี้

มีความว่า ขณะ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เอโก ว โข ภิกฺขเว

ขโณ จ สมโย จ พฺรหฺมจริยวาสาย ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย โอกาสและ

ขณะ เพื่อกาลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีอย่างเดียวแล.

มีความว่า กาล ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อุณฺหสมโย ปริฬาหสมโย

กาลร้อน กาลกระวนกระวาย.

มีความว่า ประชุม ได้ในประโยคเป็นต้นว่า มหาสมโย ปวนสฺมิ

การประชุมใหญ่ในป่าใหญ่.

มีความว่า เหตุ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สมโยปิ โข เต

ภทฺทาลิ อปฺปฏิวิทฺโธ อโหสิ, ภควา โข สาวตฺถิย วิหรติ, โสปิ

ม ชานิสฺสติ ภทฺทาลิ นาม ภิกฺขุ สตฺถุสาสเน สิกฺขาย อปริปูร-

การีติ อยมฺปิ โข เต ภทฺทาลิ สมโย อปฺปฏิวิทฺโธ อโหสิ. ดูก่อน

ภัตทาลิ เธอก็ไม่รู้ตลอดถึงเหตุว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงสาวัตถี

แม้พระองค์ก็จักทรงทราบตัวเราว่า ภิกษุชื่อภัตทาลิไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ใน

คำสอนของของพระศาสดา ดูก่อนภัตทาลิ เธอไม่รู้ตลอดถึงเหตุแม้นี้แล.

มีความว่าลัทธิ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เตน โข ปน สมเยน

อุคฺคหมาโน ปริพฺพาชโก สมณมุณฺฑิกาปุตฺโต สมยปฺปวาทเก ตินุ-

ทุกาจีเร เอกสาลเก มลฺลิกาย อาราเม ปฏิวสติ. สมัยนั้น ปริพาชก

ชื่อ อุคคาหมานะ บุตรของ นางสมณนุณฑิกา อาศัยอยู่ในอารามของพระ-

นางมัลลิกา ซึ่งมีศาลาหลังเดียว มีต้นมะพลับเรียงรายอยู่รอบ เป็นสถานที่

สอนลัทธิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

มีความว่า ได้เฉพาะ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า

ทิฏฺเ ธมฺเม จ โย อตฺโถ โย จตฺโถ สมฺปรายิโก

อตฺถาภิสมยา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ.

ผู้มีปัญญา ท่านเรียกว่า บัณฑิต เพราะได้เฉพาะ

ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายภาคหน้า.

มีความว่า ละ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สมฺมา มานาภิสมยา

อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะ ละ มานะได้โดยชอบ.

มีความว่า แทงตลอด ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ทุกฺขสฺส ปิฬนฏฺ-

โ สงฺขตฏฺโ สนตาปฏฺโ วิปริณามฏฺโ อภิสมายฏฺโ มีความ

บีบคั้นปรุงแต่ง เร่าร้อน แปรปรวน แทงตลอด.

แต่ในที่นี้ สมยศัพท์นั้น มีความว่า กาล. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึง

แสดงว่า เอก สมย สมัยหนึ่ง บรรดาสมัยทั้งหลาย ที่เรียกว่ากาล เป็นต้น

ว่า ปี ฤดู เดือน ครึ่งเดือน คืน วัน เช้า กลางวัน เย็น ยามต้น ยามกลาง

ยามท้าย และครู่.

ท่านอธิบายว่า สมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ใด ที่เรียกว่ากาลมีมาก

ซึ่งปรากฏอย่างยิ่งในหมู่เทวดาและมนุษย์ เป็นต้นอย่างนี้คือ สมัยเสด็จลงสู่

พระครรภ์ สมัยประสูติ สมัยทรงสังเวช สมัยเสด็จออกทรงผนวช สมัยทรง

ทำทุกกรกิริยา สมัยทรงชนะมาร สมัยตรัสรู้ สมัยประทับอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

สมัยเทศนา สมัยปรินิพพาน บรรดาสมัยเหล่านั้น พระเถระแสดงสมัยหนึ่ง

กล่าวคือสมัยเทศนา.

ท่านอธิบายว่า บรรดาสมัยทรงทำกิจด้วยพระญาณ และทรงทำกิจด้วย

พระกรุณา สมัยทรงทำกิจด้วยพระกรุณานี้ใด บรรดาสมัยทรงปฏิบัติเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

เพื่อประโยชน์ส่วนผู้อื่นนี้ใด บรรดาสมัยทรงปฏิบัติกรณียกิจทั้งสอง แก่บริษัท

ที่ประชุมกัน สมัยทรงกล่าวธรรมีกถานี้ใด บรรดาสมัยเทศนาและปฏิบัติ สมัย

เทศนานี้ใด บรรดาสมัยแม้เหล่านั้น พระเถระแสดงว่า เอก สมย สมัยหนึ่ง

หมายเอาสมัยใดสมัยหนึ่ง.

ในข้อนี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ก็เพราะเหตุไร ในพระสูตรนี้ ท่านจึงทำ

นิเทศเป็นทุติยาวิภัติ ไม่ทำเหมือนในอภิธรรม ที่ทำนิเทศเป็นสัตตมีวิภัตติว่า

ยุสฺมึ สหเย กามาวจร และในสุตตบทอื่นนอกจากอภิธรรมนี้ว่า ยสฺมึ สมเย

ภิกฺขเว ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ และเหมือนในวินัย ที่ทำนิเทศเป็นตติ-

ยาวิภัตติว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา. ขอกล่าวชี้แจงดังนี้ เพราะใน

พระอภิธรรมและพระวินัยนั้น สมยศัพท์มีอรรถเป็นอย่างนั้น ส่วนในพระสูตร

นี้มีอรรถเป็นอย่างอื่น. ความจริงบรรดาปิฎกทั้งสามนั้น ในอภิธรรมปิฎก

สมยศัพท์มีอรรถว่ากำหนดภาวะ. จริงอยู่ อธิกรณะ ก็คือสมัยศัพท์ที่มีความว่า

กาล และมีความว่าประชุม และภาวะแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้นนั้นกำหนดได้

ด้วยภาวะแห่งสมัยคือขณะ ความพร้อมเพรียงและเหตุแห่งธรรมทั้งหลายมี

ผัสสะเป็นต้น ที่กล่าวแล้วในอภิธรรมปิฎกและสุตตบทอื่นนั้น เพราะฉะนั้น

ท่านจึงทำนิเทศเป็นสัตตมีวิภัตติ ในอภิธรรมปิฎกนั้น เพื่อส่องความนั้น.

ส่วนในวินัยปิฎก สมยศัพท์ มีความว่าเหตุและมีความว่า กรณะ. จริง

อยู่ สมัยทรงบัญญัติสิกขาบทนั้นใด แม้พระเถระมีพระสารีบุตรเป็นต้น ยังรู้

ได้โดยยาก โดยสมัยนั้นอันเป็นเหตุ และเป็นกรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าเนื้อ

ทรงบัญญัติสิกขาบททั้งหลาย ก็ทรงเพ่งถึงเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบทจึงประทับ

อยู่ ณ สถานที่นั้น ๆ เพราะฉะนั้น ท่านจึงทำนิเทศเป็นตติยาวิภัตติไว้ใน

วินัยปิฎกนั้น เพื่อส่องความนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

ส่วนในสูตรนี้ และในปาฐะแห่งสุตตันตปิฎก ซึ่งมีกำเนิดอย่างนี้อื่น ๆ

สมยศัพท์มีอรรถว่า อัจจันตสังโยค คือทุติยาวิภัตติ ที่แปลว่าตลอด. จริงอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสูตรนี้หรือสูตรอื่น ตลอดสมัยใด ก็ประทับอยู่ด้วย

พระกรุณาวิหารตลอดไปคือตลอดสมัยนั้น เพราะฉะนั้น สมย ศัพท์จึงควร

ทราบว่า ท่านทำนิเทศเป็นทุติยาวิภัตติไว้ในสูตรนี้ ก็เพื่อส่องความนั้น. ใน

ข้อนี้ มีคำกล่าวว่า

ต ต อตฺถมเปกิขิตฺวา ภุมฺเมน กรเณน จ

อญฺตฺร สมโย วุตฺโต อุปโยเคน โส อิธ.

ท่านพิจารณาอรรถนั้น ๆ กล่าวสมยศัพท์ในปิฎก

อื่นด้วยสัตตมีวิภัตติและด้วยตติยาวิภัตติ แต่ในสุต-

ตันตปิฎกนี้ สมยศัพท์นั้น ท่านกล่าวด้วยทุติยาวิภัตติ.

แก้อรรถบท ภควา

คำว่า ภควา นี้เป็นคำเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้วิเศษโดยพระ-

คุณเป็นยอดของสัตว์ เป็นครูและควรเคารพเหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ภควาติ วจน์ เสฏฺ ภควาติ จนนมุตตม

ครุคารวยุตฺโต โส ภควา เตน วุจฺจติ.

คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา เป็น

คำสูงสุด พระองค์ทรงเป็นครู และควรแก่ความเคารพ

ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกว่า ภควา.

ความจริง นามคือชื่อมี ๔ คือ อาวัตถิกะ ชื่อตามรุ่น ลิงคิกะชื่อตามเพศ

เนมิตตกะ. ชื่อตามคุณ อธิจจสมุปันนะ ชื่อตั้งลอย ๆ. ชื่อว่าอธิจจสมุปปันนนาม

ท่านอธิบายว่า เป็นนามที่ตั้งตามความพอใจ. ในนามทั้ง ๔ นั้น นามเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

อย่างนี้ว่า โคลูก โคฝึก โคงาน ชื่อว่า อาวัตถิกนาม. นามเป็นต้นอย่างนี้ว่า

คนมีไม้เท้า [คนแก่] คนมีฉัตร [พระราชา] สัตว์มีหงอน [นกยูง] สัตว์มี

งวง [ช้าง] ชื่อว่าลิงคิกนาม. นามเป็นต้นอย่างนี้ว่า ผู้มีวิชชา ๓ ผู้มีอภิญญา

๖ ชื่อว่า เนมิคิกนาม. นามเป็นต้นอย่างนี้ว่า ผู้เจริญด้วยสิริ ผู้เจริญด้วย

ทรัพย์ ซึ่งเป็นไปไม่เพ่งความของคำ ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนนาม. ส่วนนาม

ว่าภควานี้ เป็นเนมิตตกนามโดยพระคุณ ไม่ใช่พระนางเจ้ามหามายา พุทธ-

มารดาตั้ง ไม่ใช่พระเจ้าสุทโธนมหาราช พุทธบิดาตั้ง ไม่ใช่พระประยูรญาติ

๘๔,๐๐๐ พระองค์ตั้ง ไม่ใช่เทวดาพิเศษมีท้าวสักกะ ท้าวสันดุสิตเป็นต้นตั้ง

เหมือนอย่างที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า พระนามว่า ภควา นี้พระพุทธมารดา

มิได้ตั้ง ฯลฯ. พระนามคือภควา เป็นสัจฉิกาบัญญัติ. เพื่อประกาศพระคุณ

ทั้งหลาย ที่เป็นคุณเนมิตตกนาม พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถานี้ว่า

ภคี ภชี ภาคี วิภตฺตวา อิติ

อกาสิ ภคฺคนฺติ ครูติ ภาคฺยวา

พหูหิ าเยหิ สุภาวิตตฺตโน

ภวนฺตโค โส ภควาติ วุจฺจติ.

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงพระนามว่า ภควา

เพราะทรงเป็นผู้มีภคะคือโชค เพราะทรงเป็นผู้เสพ

[ที่สงัด] เพราะทรงมีภาค [ส่วนที่ควรได้รับจตุปัจจัย

หรือมีส่วนแห่งธรรม] เพราะทรงเป็นผู้จำแนกธรรม

เพราะได้ทรงทำการหักบาปธรรม เพราะทรงเป็นครู

เพราะทรงมีภาคยะคือบุญ เพราะทรงอบรมพระองค์ดี

แล้วด้วยญายธรรมเป็นอันมาก เพราะเป็นผู้ถึงที่สุดภพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

ก็ความแห่งพระคุณบทว่า ภควา นั้น พึงเห็นตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว

ในนิเทศเป็นต้นนั่นแล.

อนึ่ง ปริยายอื่นอีก มีดังนี้

ภาคฺยวา ภคฺควา ยุตโต ภเคหิ จ วิภตฺตวา

ภตฺตวา วนฺตคมโน ภเวสุ ภควา ตโต.

พระองค์ทรงมีบุญ ทรงหักกิเลส ทรงประกอบ

ด้วยภคธรรม ทรงจำแนกธรรม ทรงเสพธรรม ทรง

คายกิเลสเป็นเหตุไปในภพทั้งหลายได้แล้ว เพราะ

ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา.

ในบทเหล่านั้น พึงทราบว่า ท่านถือลักษณะแห่งนิรุตติศาสตร์อย่าง

นี้ว่า ลงอักษรใหม่ ย้ายอักษร เป็นต้น หรือถือลักษณะการรวมเข้าในขุด

ศัพท์มี ปิโสทรศัพท์ เป็นต้น ตามนัยแห่งศัพทศาสตร์ เมื่อน่าจะเรียกว่า

พระภาคยวา เพราะพระองค์มีภาคยะคือบุญบารมีมีทานและศีลเป็นต้น อย่าง

เยี่ยม อันให้เกิดความสุขทั้งโลกิยะและโลกุตระ แต่ก็เรียกเสียว่า ภควา.

อนึ่ง เพราะเหตุที่พระองค์ทรงหักรานกิเลส อันทำความกระวน

กระวายเร่าร้อนนับแสนประเภท คือประเภทโลภะ โทสะ โมหะ ประเภทวิปริต.

มนสิการ ประเภทอหิริกะ อโนตตัปปะ ประเภทโกธะ อุปนาหะ ประเภทมักขะ

ปลาสะ ประเภทอิสสา มัจฉริยะ ประเภทมายาสาเถยยะ ประเภทถัมภะ สารัมภะ

ประเภทมานะ อตินานะ ประเภทมทะ ปมาทะ ประเภท ตัณหา อวิชชา.

ประเภท อกุศลมูล ๓ ทุจจริต ๓ สังกิเลส ๓ มละ ๓ วิสมะ ๓ สัญญา ๓

วิตก ๓ ปปัญจธรรม ๓. ประเภทวิปริเยสะ ๔ อาสวะ ๔ คันถะ ๔ โอฆะ ๔ โยคะ

๔ อคติ ๔ ตัณหุปปาทะ๔. ประเภทเจโตขีละ ๕ วินิพันธ่ ๕ นีวรณะ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

อภินันทนะ ๕ ประเภทวิวาทมูล ๖ ตัณหากายะ ๖ ประเภทอนุสัย ๗ ประเภท

มิจฉัตตะ ๘ ประเภทตัณหามูลกะ ๙ ประเภทอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประเภท

ทิฏฐิคตะ ๖๒ ประเภทตัณหาวิจริต ๑๐๘ หรือว่าโดยสังเขป คือมาร ๕ คือ

กิเลสมาร ขันธมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวปุตตมาร ฉะนั้น เมื่อ

น่าจะเรียกว่า ภัคควา ก็เรียกเสียว่า ภควา เพราะทรงหักรานอันตรายเหล่านั้น

เสียได้ ในข้อนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า

ภคฺคราโค ภคฺคโทโส ภคฺคโมโห อนาสโว

ภคฺคาสฺส ปาปกา ธมฺมา ภควา เตน วุจฺจติ.

ทรงหักราคะ หักโทสะ หักโมทะ ไม่มีอาสวะ ทรงทัก

บาปธรรมได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่าภควา.

ก็แลความถึงพร้อมแห่งพระรูปกายของพระองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระบุญ-

ลักษณะนับร้อย เป็นอันท่านแสดงด้วยความที่ทรงมีภาคยะคือบุญ ความถึง

พร้อมแห่งพระธรรมกาย เป็นอันท่านแสดงด้วยความที่ทรงหักโทสะได้แล้ว.

ความเป็นผู้ที่ชาวโลกและคนใกล้เคียงนับถือมากก็ดี ความเป็นผู้ที่คฤหัสถ์และ

บรรพชิตทั้งหลายไปมาหาสู่ก็ดี ความเป็นผู้สามารถในอันช่วย จัดทุกข์กายและ

ทุกข์ใจ แก่ผู้ไปมาหาสู่ก็ดี ความเป็นผู้ทำอุปการะเขาด้วยอามิสทานและธรรม

ทานก็ดี ความเป็นผู้สามารถในอันประกอบเขาไว้ด้วยโลกิยสุขและโลกุตตรสุข

ก็ดีเป็นอันท่านแสดงด้วยพระคุณสองอย่างนั้น.

อนึ่ง เพราะเหตุที่ ภค ศัพท์ในโลก เป็นไปในธรรม ๖ คือ อิสริยะ

ธรรมะ ยสะ สิริ กามะ ปยัตตะ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมี

อิสริยะความเป็นให้ในจิตของพระองค์เองอย่างเยี่ยม หรือทรงมีอิสริยะ

บริบูรณ์โดยอาการทุกอย่างที่สมมติว่าเป็นโลกิยะ มีอณิมา ทำตัวให้เล็ก

[ย่อส่วน] ลังฆิมาทำตัวให้เบา [เหาะ] ทรงมีโลกุตรธรรมก็เหมือนกัน ทรงมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

ยศบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ที่ทรงได้โดยพระคุณตามเป็นจริง ปรากฏทั่วสามโลก ทรง

มีพระสิริสง่างามทั่วสรรพางค์ บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ทรงสามารถให้เกิด

ขวัญตาขวัญใจแก่ผู้ขวนขวายเข้าชมพระรูปพระโฉมได้ทรงมีพระกามะ อันหมาย

ถึงความสำเร็จแห่งประโยชน์ที่ทรงประสงค์ เพราะประโยชน์ใด ๆ ที่ทรงประ-

สงค์แล้ว ปรารถนาแล้วจะเป็นประโยชน์ นี้ก็ตามประโยชน์ผู้อื่นก็ตามประโยชน์

นั้น ๆ ก็สำเร็จสมพระประสงค์ทั้งนั้น และทรงมีพระปยัตตะ กล่าวคือ สัมมาวา-

ยามะ อันเป็นเหตุเกิดความเป็นครูของโลกทั้งปวง ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภควา

โดยอรรถนี้ว่าทรงมีภคธรรม เพราะความที่ทรงประกอบด้วยภคธรรมเหล่านั้น.

แก้บทวิภตฺตวา

อนึ่ง เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็น วิภตฺตวา ท่านอธิบาย

ว่า ทรงจำแนก เปิดเผย แสดง ซึ่งธรรมทั้งปวงโดยประเภทมีประเภทกุศล

เป็นต้น หรือซึ่งธรรมมีกุศลธรรมเป็นต้น โดยประเภทมีขันธ์ อายตนะ ธาตุ

สัจจะ อินทรีย์และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น หรือซึ่งทุกขอริยสัจ โดยอรรถคือ

ปีฬนะบีบคัน สังขตะอันปัจจัยปรุงแต่ง สันตาปะแผดเผา วิปริณามะแปรปรวน

หรือซึ่งสมุทัยอริยสัจ โดยอรรถคือ อายูหนะ ประมวลทุกข์มา นิทานะเหตุ

แห่งทุกข์ สังโยคะผูกไว้กับทุกข์ ปลิโพธะหน่วงไว้มิให้ถึงมรรค ซึ่งนิโรธ-

อริยสัจโดยอรรถคือ นิสสรณะออกไปจากทุกข์ วิเวกะสงัดจากทุกข์ อสัง-

ขตะอันปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง อมตะเป็นสภาพไม่ตาย ซึ่งมรรคอริยสัจโดยอรรถ

คือ นิยยานิกะ นำออกจากทุกข์ เหตุ เหตุแห่งนิโรธ ทัสสนะเห็นพระนิพพาน

อธิปไตย ใหญ่ในการเห็นพระนิพพาน ฉะนั้น เมื่อน่าจะเรียก วิภตฺตวา แต่

ก็เรียกเสียว่า ภควา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

แก้บท ภตฺตวา

อนึ่ง เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงคบ ทรงเสพ ทรงทำ

ให้มาก ซึ่งธรรมอันเป็นทิพพวิหาร พรหมวิหารและอริยวิหาร ซึ่งกายวิเวก

จิตทวิเวก และอุปธิวิเวก ซึ่งสุญญตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ และ อนิมิตตะ

วิโมกข์ และซึ่งอุตตริมนุสสธรรมทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระอื่นๆ ฉะนั้น

เมื่อน่าที่จะเรียกว่า ภตฺตวา แต่ก็เรียกเสียว่า ภควา

แก้บท ภเวสุ วนฺตคมน

อนึ่งเล่า เพราะเหตุที่การไป กล่าวคือ ตัณหาในภพทั้ง ๓ อันพระ-

องค์ทรงคายเสียแล้ว ฉะนั้น เมื่อน่าที่จะเรียกว่า ภเวสุ วนฺตคมน แต่ท่าน

ถืออักษรจากภวศัพท์ อักษรจากคมนศัพท์ และวอักษรจากวันตศัพท์

แล้วทำให้เป็นทีฆะเสียงยาว เรียกเสียว่า ภควา เหมือนในทางโลก เนื้อน่า

จะเรียกเต็ม ๆ ว่า เมหนสฺส ขสฺส มาลา แต่ปราชญ์ท่าน [ถือเอา เม

จาก เมหนสฺส ข จาก ขสฺส ลา จากมาลา] ก็เรียกเสียว่า เมขลา

ฉะนั้นแล.

ก็ท่านพระอานนท์เถระเมื่อแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา เล่าเรียนมา จึง

ประกาศพระสรีรธรรม [ตัวธรรม] ของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประจักษ์ ด้วย

คำว่า เอวมฺเม สุต ในพระสูตรนี้ ด้วยคำเพียงเท่านี้ ด้วยเหตุนั้น พระ-

เถระจึงปลอบชนผู้มีใจพลุ่งพล่าน เพราะไม่พบพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ปาพจน์

[คือธรรมวินัย] นี้ ชื่อว่ามีศาสดาล่วงแล้ว หามิได้ ธรรมวินัยนี้เป็นศาสดา

ของท่านทั้งหลาย.

ด้วยคำว่า เอก สมย ภควา พระเถระเมื่อแสดงความที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าไม่มีอยู่ในสมัยนั้น ชื่อว่าแสดงปรินิพพานแห่งพระรูปกาย. ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

คำนั้น พระเถระย่อมยังชนผู้มัวเมา เพราะมัวเมาในชีวิตให้สลดใจ และยัง

อุตสาหะในธรรมให้เกิดแก่ชนนั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์นั้น ผู้

ทรงแสดงอริยธรรมนี้อย่างนั้น ทรงทศพล มีพระกายดุจร่างเพชร ก็ยังเสด็จ

ปรินิพพาน ในข้อนั้น คนอื่นใครเล่าจะพึงไห้เกิดความหวังในชีวิตได้.

ก็พระเถระเมื่อกล่าวว่า เอว ชื่อว่าแสดงเทศนาสมบัติ ความถึง

พร้อมแห่งเทศนา เมื่อกล่าวคำว่า เม สุต ชื่อว่าแสดงสาวกสมบัติ ความถึง

พร้อมแห่งสาวก. เมื่อกล่าวคำว่า เอก สมย ชื่อว่าแสดงกาลสมบัติ ความ

ถึงพร้อมแห่งกาล เมื่อกล่าวคำว่า ภควา ชื่อว่าเทสกสมบัติ ความถือพร้อม

แห่งผู้แสดง.

แก้บท สาวตฺภิย วิหรติ

คำว่า สาวตฺถี ในคำว่า สาวตฺถิย วิหรติ นี้ ได้แก่นครอันเป็น

สถานที่อยู่ประจำของฤษีชื่อสวัตถะ เหมือนคำว่า กากนฺที มากนนฺที ฉะนั้น

ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่า สาวัตถี เป็นศัพท์อิตถีลิงค์ [เพศหญิง] ปราชญ์ทาง

อักษรศาสตร์กล่าวกันอย่างนี้. ส่วนพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า เครื่อง

อุปโภคบริโภคสำหรับมนุษย์มีอยู่ทุกสิ่งทุกอย่างในนครนั้น เหตุนั้น นครนั้น

จึงชื่อว่า สาวัตถี. แต่ในการประกอบศัพท์ เมื่อถูกถามว่า มีสิ่งของอะไร

จึงอาศัยคำว่ามีทุกอย่าง ประกอบว่า สาวัตถี มีของทุกอย่าง.

เครื่องอุปกรณ์ทุกอย่าง มีพร้อมในกรุงสาวัตถี

ทุกเมื่อ เพราะฉะนั้น หมายถึงของทุกอย่างจึงเรียกว่า

สาวัตถี.

ราชธานีแห่งแค้วนโกศล น่ารินรมย์ น่าชม น่า

ชื่นใจ ไม่เงียบจากเสียงทั้ง ๑๐ พรั่งพร้อมด้วยข้าวน่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

กรุงสาวัตถีราชธานี ถึงความเจริญไพบูลย์มั่งคั่ง

รุ่งเรื่อง น่าระรื่นใจ ดังกรุงอาฬกมันทาเทพธานีของ

เหล่าทวยเทพ ฉะนั้น.

ใกล้กรุงสาวัตถีนั้น คำนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่าใกล้.

คำว่า วิหรติ นี้ เป็นคำแสดงความพร้อมด้วยวิหารการอยู่ บรรดา

อิริยาบถวิหาร ทิพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร แบบใดแบบทนึ่ง

โดยไม่แปลกกัน แต่ในพระสูตรนี้ แสดงความประกอบพร้อมด้วยอิริยาบถ.

วิหาร ในบรรดาอิริยาบถต่างโดยยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถหนึ่ง. ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนก็ดี ทรงดำเนินก็ดี ประทับนั่งก็ดี

บรรทมก็ดี ก็พึงทราบว่า วิหรติ อยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

นั้น ทรงตัดความลำบากแห่งอิริยาบถอย่างหนึ่งด้วยอิริยาบถอีกอย่างหนึ่ง

[เปลี่ยนอิริยาบถ] ทรงบริหารอัตภาพให้เป็นไปไม่ลำบาก เพราะฉะนั้น จึง

เรียกว่า วิหรติ ประทับอยู่.

แก้อรรถบท เชตวเน

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า เชตวเน นี้ ดังนี้. พระราชกุมารชื่อว่า

เชตะ เพราะชนะชนผู้เป็นศัตรูของตน หรือว่า เชตะ เพราะประสูติ เมื่อ

พระราชาทรงชนะชนผู้เป็นศัตรู หรือว่า ชื่อว่า เชตะ แม้เพราะพระราชา

ทรงขนานพระนามอย่างนี้แก่พระราชกุมาร เพราะมีพระราชประสงค์จะให้เป็น

มงคล. ที่ชื่อว่า วนะ เพราะให้คบหา อธิบายว่า ให้ทำความภักดีแก่ตน

เพราะความถึงพร้อมแห่งตน คือให้เกิดความรักในตน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

วนะ เพราะเรียกร้อง อธิบายว่า ประหนึ่งว่า วอนขอสัตว์ทั้งหลายว่า เชิญ

มาใช้สอยเราเถิด. วนะของเชตราชกุมาร ชื่อว่า เชตวัน. จริงอยู่ เชตวัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

นั้น อันพระราชกุมารพระนามว่า เชตะ ปลูกสร้างบำรุงรักษา. เชตราชกุมาร

นั้นเป็นเจ้าของเชตวันนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่าเชตวัน. ในพระเชตวัน

นั้น.

แก้อรรถบท อนาถปิณฑิกสฺส อาราเม

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อนาถปิณฑิกสฺส อาราเม นี้ ดังนี้.

คฤหบดีนั้น ชื่อสุทัตตะ โดยบิดามารดาตั้งชื่อให้ อนึ่งท่านได้ให้ก้อนข้าวเป็น

ทานแก่คนอนาถาเป็นประจำ เพราะท่านเป็นคนปราศจากมลทินคือความตระหนี่

และเพราะเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยคุณ มีกรุณาเป็นต้น เหตุท่านเป็นผู้มั่งคั่งด้วย

สมบัติที่น่าปรารถนาทุกอย่าง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้รับขนานนามว่า อนาถ-

ปิณฑิกะ. ประเทศที่ชื่อว่า อาราม เพราะเป็นที่สัตว์ทั้งหลาย หรือโดย

เฉพาะอย่างยิ่งบรรพชิตทั้งหลายพากันมาอภิรมย์ อธิบายว่า บรรพชิตทั้งหลาย

พากันมาจากที่นั้น ๆ ยินดีอภิรมย์ อยู่อย่างไม่เบื่อหน่าย เพราะพระเชตวันนั้น

งดงามด้วยดอกไม้ ผลไม้ ใบไม้อ่อนเป็นต้น และเพราะถึงพร้อมด้วยองค์ของ

เสนาสนะ ๕ ประการ มีไม่ไกลเกินไปไม่ใกล้เกินไปเป็นต้น. อีกประการหนึ่ง

ชื่อว่าอาราม เพราะน้ำท่านที่ไปในที่นั้น ๆ มาภายในของตนแล้วยินดี เพราะ

สมบัติดังกล่าวมาแล้ว . จริงอยู่ อารามนั้น อันท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี

ชื่อจากพระหัตถ์ของเขตพระราชกุมาร ด้วยปูเงิน ๑๘ โกฏิ ให้สร้างเสนาสนะ

เป็นเงิน ๑๘ โกฏิ เสร็จแล้วฉลองวิหารเป็นเงิน ๑๘ โกฏิ มอบถวายพระภิกษุ

สงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยบริจาคเงิน ๕๔ โกฏิ อย่างนี้ เพราะ

ฉะนั้น จึงเรียกกันว่า อารามของท่านอนาถปิณฑิกะ. ในอารามของ

อนาถปิณฑิกะนั้น.

ก็ในคำเหล่านั้น คำว่า เชตวเน ระบุถึงเจ้าของตนก่อน คำว่า

อนาถปิณฑิกสฺส อาราเม ระบุถึงเจ้าของตนหลัง. มีคำทักท้วงว่า ในการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

ระบุถึงพระเชตวันและอารามเหล่านั้น มีประโยชน์อะไร. ขอชี้แจงดังนี้. กล่าว

โดยอธิการก่อน ประโยชน์ก็คือเป็นการทำการกำหนด [ตอบ] คำถามที่ว่าตรัส

ไว้ ณ ที่ไหนอย่างหนึ่ง เป็นการประกอบผู้ที่ต้องการบุญอื่น ๆ ไว้ในการถึง

[ถือเอา] แบบอย่าง อย่างหนึ่ง. จริงอยู่ ในประโยชน์สองอย่างนั้น ทรัพย์ ๑๘

โกฏิ ที่ได้จากการขายที่ดิน ในการปลูกสร้างปราสาทที่มีประตูและซุ้มและต้น

ไม้ทั้งหลายที่มีค่าหลายโกฏิ เป็นการบริจาคของพระเชตราชกุมาร. ทรัพย์ ๕๔

โกฏิ เป็นการบริจาคของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี. ด้วยการระบุถึงพระเชตวัน

และอารามนั้น ท่านพระอานนท์ เมื่อแสดงว่าผู้ต้องการบุญย่อมทำบุญทั้งหลาย

อย่างนี้ ก็ย่อมประกอบผู้ต้องการบุญอื่น ๆ ไว้ในการถือเอาเป็นแบบอย่าง

โดยประการใด. การประกอบผู้ต้องการบุญไว้ในการถือเอาแบบอย่าง ก็พึง

ทราบว่าเป็นประโยชน์ในข้อนี้โดยประการนั้น.

ในข้อนี้ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ผิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้

กรุงสาวัตถีก่อน ท่านพระอานนท์ก็ไม่ควรกล่าวว่า ในพระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถปิณฑิกะ แต่ถ้าประทับอยู่ในพระเชตวันนั้น ก็ไม่ควรกล่าวว่า

ใกล้กรุงสาวัตถี. ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่อาจประทับ อยู่ในสถานที่สองแห่ง

ในเวลาเดียวกันได้. ขอชี้แจงดังนี้ ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วมิใช่หรือว่า คำว่า

สาวตฺถิย เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถ ว่าใกล้ เพราะว่า เปรียบเหมือนฝูงโค

เที่ยวไปอยู่ใกล้แม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น เขาก็เรียกว่า เที่ยวไปใกล้แม่น้ำ

คงคา เที่ยวไปใกล้แม่น้ำยมุนา ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับ อยู่ ณ

พระเขตวันอารามของท่านอนาถปิณฑิกะใกล้กรุงสาวัตถี ก็พึงทราบว่า ประทับ

อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกะใกล้กรุงสาวัตถี แม้ในพระ-

สูตรนี้ ก็ฉันนั้น. จริงอยู่ คำว่า สาวัตถี ของพระเถระ ก็เพื่อแสดงโคจร-

ตาม คำที่เหลือ ก็เพื่อแสดงสถานที่อยู่ประจำอันเหมาะแก่บรรพชิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

ในคำทั้งสองนั้น พระเถระแสดงการอนุเคราะห์คฤหัสถ์ของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าด้วยการระบุกรุงสาวัตถี แสดงการอนุเคราะห์บรรพชิตด้วยการ

ระบุพระเชตวันเป็นต้น . อีกนัยหนึ่ง แสดงการงดเว้น อัตตกิลมถานุโยค เพราะ

ถือเอาปัจจัย ด้วยคำต้น แสดงอุบายงดเว้น กามสุขัลลิกานุโยค เพราะ

ละวัตถุกามด้วยคำหลัง. อนึ่ง แสดงความพากเพียรในเทศนาด้วยคำต้น แสดง

ความน้อมไปในวิเวก ด้วยคำหลัง แสดงการเข้าไปด้วยกรุณา ด้วยคำต้น และ

แสดงการเข้าไปด้วยปัญญา ด้วยคำหลัง. แสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

น้อมไปในอันจะให้สำเร็จหิตสุขแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยคำต้น แสดงความที่ทรง

ไม่ติดอยู่ในการบำเพ็ญหิตสุขแก่ผู้อื่น ด้วยคำหลัง. แสดงความอยู่ผาสุก อัน

มีการทรงสละสุขที่ประกอบด้วยธรรมเป็นนิมิต ด้วยคำต้น แสดงการอยู่ผาสุก

อันมีการประกอบเนือง ๆ ซึ่งอุตตริมนุสสธรรมเป็นนิมิต ด้วยคำหลังที่แสดง

ความที่ทรงมีอุปการะมากแก่มนุษย์ทั้งหลาย ด้วยคำต้น . แสดงความที่ทรงมี

อุปการะมากแก่เทวดาทั้งหลาย ด้วยคำหลัง. แสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จอุบัติในโลก เจริญเติบใหญ่ในโลก ด้วยคำต้น แสดงความที่โลกฉาบทา

พระองค์ไม่ได้ ด้วยคำหลัง มีอย่างดังกล่าวมานี้เป็นต้น.

คำว่า อถ ใช้ในอรรถว่าไม่ขาดสาย ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาต

ใช้ในอรรถว่า แสดงเรื่องอื่น ๆ ด้วยสองคำนั้น พระเถระแสดงว่า เรื่องอื่น ๆ

นี้เกิดขึ้นในพระวิหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ขาดสายเลย. เรื่องนั้นคืออะไร

คือเรื่องเทวดาองค์หนึ่งเป็นต้น . ศัพท์ว่า อญฺตรา องค์หนึ่ง ในคำว่า

อญฺตรา เทวดาองค์หนึ่งนั้น แสดงความไม่แน่นอน. จริงอยู่ เทวดานั้น

ไม่ปรากฏนามและโคตร เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อญฺตรา. เทวดาก็

คือเทพนั่นแล คำว่า อญฺตรา นี้ สาธารณะทั่วไปแก่หญิงและชาย แต่

ในที่นี้ผู้ชายเท่านั้น คือเทพบุตร. ก็คำอะไรเล่า เทพบุตรท่านกล่าวว่า

เทวดา โดยเป็นสาธารณนาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

แก้ อภิกฺกนุตศัพท์

ในคำว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา นี้ อภิกกันตศัพท์ใช้ในความ

ทั้งหลาย มี สิ้นไป ดี งาม ยินดียิ่ง เป็นต้น.

ในความเหล่านั้น ใช้ในความว่า สิ้นไป ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้

ว่า อภิกฺกนฺตา ภนฺเต รตฺติ, นิกฺขนฺโต ปโม ยาโม จิรนิสินฺโน

ภิกฺขุสงฺโฆ อุทฺทิสตุ ภนฺเต ภควา ภิกฺขูน ปาฏิโมกฺข ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ ราตรีสิ้นไปแล้ว ปฐมยานล่วงไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งนานแล้ว ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิดพระเจ้าข้า.

ใช้ในความว่า ดี ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อย อิเมส จตุนฺน

ปุคฺคาลาน อภิกฺกนฺตตโต จ ปณีตตโร จ นี้ดีกว่า ประณีตกว่า บุคคล

๔ จำพวกนี้.

ใช้ในความว่า งาม ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า

โก เม วนฺทติ ปาทานิ อิทฺธิยา ยสสา ชล

อภิกนฺเตน วณฺเณน สพฺพา โอภาสย ทิสา.

ใครหนอ รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ด้วยยศ มีวรรณะงาม

ส่องรัศมีสว่างทั่วทิศ มาไหว้เท้าเรา.

ใช้ในความว่า ยินดียิ่ง ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อภิกฺกนฺต

โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม ไพเราะจริง ท่านพระโคดม

ไพเราะจริง ท่านพระโคดม.

แต่ในพระสูตรนี้ ใช้ในความว่า สิ้นไป. ท่านอธิบายว่า บทว่า

อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา แปลว่า เมื่อราตรีสิ้นไปแล้ว.

ในคำว่า อภิกนฺตวณฺณา นี้ อภิกกันตศัพท์ในความว่า งาม.

วัณณศัพท์ ใช้ในความว่า ผิว สรรเสริญ พวกตระกูล เหตุ ทรวดทรง

ขนาด รูปายตนะ เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

ใช้ในความว่า ผิว ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สุวณฺณวณฺโณ

ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้ามี พระฉวี ดังทอง.

ใช้ในความว่า สรรเสริญ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ดูก่อน

คฤหบดี คำสรรเสริญพระสมณโคดมเหล่านั้น ท่านรวบรวมไว้เมื่อไร.

ใช้ในความว่าพวกตระกูล ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ท่านพระ-

โคดม วรรณะ ๔ เหล่านั้น.

ใช้ในความว่าเหตุ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกน นะ วณฺเณน

คนฺะเถโนติ วุจฺจติ เพราะเหตุอะไรเล่าหนอ จึงมาว่าเราเป็นผู้ขโมยกลิ่น.

ใช้ในความว่า ทรวดทรง ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า มหนฺต

หตฺถีราชวณฺณ อภินิมฺมิตฺวา เนรมิตวรวดทรงเป็นพระยาช้าง.

ใช้ในความว่า ขนาด ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ตโย ปตฺตสฺส

วณฺณา ขนาดของบาตรสามขนาด.

ใช้ในความว่า รูปายตนะ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า วณฺโณ

คนฺโธ รโส โอชา รูป กลิ่น รส โอชา.

วัณณศัพท์นั้น ในสูตรนี้ พึงเห็นว่าใช้ในความว่า ผิว ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงอธิบายว่า บทว่า อภิกฺกนฺตวณฺณา แปลว่า มีวรรณะน่ารัก.

แก้อรรถบท เกวลกปฺป

เกวลศัพท์ในบทว่า เกวลกปฺปนี้ มีความหมายเป็นอเนก เช่น ไม่

มีส่วนเหลือ โดยมาก ไม่ปน [ล้วน ๆ ] ไม่มากเกิน มั่นคง ไม่เกาะ

เกี่ยว จริงอย่างนั้น เกวลศัพท์นั้นมีความว่าไม่มีส่วนเหลือ ได้ในประโยค

เป็นต้นอย่างนี้ว่า เกวลปริปุณฺณ ปริสุทฺธ พฺรหฺมจริย พรหมจรรย์บริ-

สุทธิ์บริบูรณ์ ไม่มีส่วนเหลือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

มีความว่า โดยมาก ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกวลกปฺปา

จ องฺคมคธา ปหูต ขาทนีย โภชนีย อาทาย อุปสงฺกมิสฺสนฺติ

ชาวอังคะและชาวมคธะ ส่วนมาก ถือของเคี้ยว ของกิน เข้าไปเฝ้า.

มีความว่าไม่ปน [ล้วน ๆ] ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกวลสฺส

ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ความเกิดแห่งทุกขขันธ์ ล้วน ๆ มีอยู่.

มีความว่า ไม่มากเกินได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกวล สุทฺธา-

มตฺตก นูน อยมายสฺมา ท่านผู้นี้มีเพียงศรัทธาอย่างเดียว แน่แท้.

มีความว่า มั่นคง ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อายสฺมโต

ภนฺเต อนุรุทฺธสฺส พาหิโย นาม สุทฺธิวิหาริโก เกวลกปฺป

สงฺฆเภทาย ิโต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธิวิหาริก ของท่านพระอนุรุทธะ

ชื่อว่าพาหิยะ ตั้งอยู่ในสังฆเภท การทำสงฆ์ให้แตกกัน ตลอดกัป มั่นคง.

มีความว่าไม่เกาะเกี่ยว ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกวลี วุสิตฺวา

อุตฺตมปุริโสติ วุจฺจติ ผู้ไม่เกาะเกี่ยวอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ท่านเรียกว่า

บุรุษสูงสุด.

แต่ในสูตรนี้ เกวลศัพท์นั้น ท่านประสงค์เอาความว่า ไม่มีส่วน

เหลือ.

ส่วนกัปปศัพท์ มีความหมายมากเป็นต้นว่า ความเชื่อมั่น โวหาร

กาล บัญญัติ ตัดแต่ง วิกัปป์ เลิศ และโดยรอบ.

จริงอย่างนั้น กัปปศัพท์นั้น มีความว่าเชื่อมั่น ได้ในประโยคเป็นต้น

อย่างนี้ว่า โอกปฺปนียเมต โภโต โคตมสฺส ยถา ต อรหโต

สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นั้นเป็นความเชื่อมั่นต่อท่านพระโคดม เหมือนอย่าง

เชื่อมั่น ต่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

มีความว่า โวหาร ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อนุชานามิ

ภิกฺขเว ปญฺจหิ สมณกปฺเปหิ ผล ปริภุญฺชิตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรา

อนุญาต ฉันผลไม้ด้วยสมณโวหาร ๔ ประการ.

มีความว่า กาล ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เยน สุท นิจฺจ

กปฺป วิหรามิ ได้ยินว่า เราจะอยู่ตลอดกาล เป็นนิตย์ ด้วยธรรมใด.

มีความว่า บัญญัติ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อิจฺจายสฺมา

กปฺโป ท่าน กัปปะ อย่างนี้.

มีความว่า ตัดแต่ง ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อลงฺกโต กปฺปิต-

เกสมสฺสุ แต่งตัว แต่งผมและหนวด.

มีความว่าควร ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า กปฺปติ ทฺวงฺคุลกปฺโป

ภิกษุไว้ผมสององคุลีย่อมควร.

มีความว่า เลศ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อตฺถิ กปฺโป

นิปชฺชิตุ ทำเลศเพื่อจะนอนมีอยู่.

มีความว่า โดยรอบ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกวลกปฺป

เวฬุวน โอภาเสตฺวา ส่องรัศมี รอบ ๆ พระเวฬุวัน.

แต่ในสูตรนี้ กัปปศัพท์นั้น ท่านประสงค์เอาความว่า โดยรอบ

โดยประการที่ในคำว่า เกวลกปฺป เชตวกน นี้ ควรจะทราบความอย่างนี้ว่า

ส่องรัศมีตลอดพระเชตวัน โดยรอบไม่เหลือเลย.

บทว่า โอภาเสตฺวา ได้แก่ แผ่ด้วยรัศมี. อธิบายว่า ทำรัศมีเป็น

อันเดียวกัน รุ่งโรจน์อย่างเดียวกัน เหมือนพระจันทร์และเหมือนพระอาทิตย์

คำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่ง

สัตตมีวิภัติ โดยประการที่พึงเห็นความในคำนี้ อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

ประทับ อยู่ ณ ที่ใด เทพบุตรก็เข้าไปเฝ้า ณ ที่นั้น. หรือพึงเห็นความในคำนี้

อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ขันเทวดาและมนุษย์พึงเข้าไปเฝ้า โดยเหตุใด

เทพบุตรก็เข้าไปเฝ้าโดยเหตุนั้นนั่นแหละ. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า อันเทวดา

และมนุษย์พากันเข้าไปเฝ้า ด้วยเหตุอะไร. ด้วยประสงค์จะบรรลุคุณวิเศษมี

ประการต่าง ๆ เหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ออกผลอยู่เป็นนิจ อันฝูงนกพากันเข้าไป

ก็ด้วยประสงค์จะบริโภคผลไม้ซึ่งมีรสอร่อย ฉะนั้น. ท่านอธิบายว่า บทว่า

อุปสงฺกมิ แปลว่าไปแล้ว . คำว่า อุปสงฺกมิตฺวา เป็นคำกล่าวถึงสุดท้ายแห่ง

การเข้าไปเฝ้า. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า เทวดาไปอย่างนั้นแล้ว ต่อนั้น

ก็ไปยังสถานที่ต่อจากอาสนะ กล่าวคือที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า

ภควนฺต อภิวาเทตฺวา ได้แก่ ถวายบังคม น้อมนมัสการพระผู้มีพระภาค

เจ้า.

ศัพท์ว่า เอกมนฺต เป็นศัพท์นิเทศทำเป็น ภาวนปุสกลิงค์. ท่าน

อธิบายว่า โอกาสหนึ่ง ส่วนข้างหนึ่ง. อีกนัยหนึ่ง คำนี้เป็นทุติยาวิภัตติ ลง

ในอรรถสัตตมีวิภัตติ. ศัพท์ว่า อฏฺาสิ ปฎิเสธอิริยาบถนั่งเป็นต้น อธิบาย

ว่า สำเร็จการยืน คือได้ยืนแล้ว.

ถามว่า ก็เทวดานั้นยืนอย่างไร จึงชื่อว่าได้เป็นผู้ยืนอยู่ ส่วนข้าง

หนึ่ง.

ตอบว่า ท่านโปราณาจารย์กล่าวว่า

น ปจฺฉโต น ปุรโต นาปิ อาสนฺนทูรโต

น กจฺเฉ โนปิ ปฏิวาเต น จาปิ โอณตุณฺณเต

อิเม โทเส วิวชฺเชตฺวา เอกมนฺต ิตา อหุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

ไม่ยืนข้างหลัง ไม่ยืนข้างหน้า ไม่ยืนใกล้และ

ไกล ไม่ยืนที่ชื้นแฉะ ไม่ยืนเหนือลม ไม่ยืนที่ต่ำและ

ที่สูง ยืนเว้นโทษเหล่านี้ ชื่อว่ายืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง

ดังนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร เทวดาองค์นี้ จึงยืนอย่างเดียวไม่นั่ง.

ตอบว่า เพราะเทวดาประสงค์จะกลับเร็ว. จริงอยู่ เทวดาทั้งหลาย

อาศัยอำนาจประโยชน์บางอย่าง จึงมาสู่มนุษยโลก เหมือนบุรุษผู้สะอาด มา

เข้าส้วม. ก็โดยปกติ มนุษยโลก ย่อมเป็นของปฏิกูล เพราะเป็นของเหม็น

สำหรับเทวดาเหล่านั้น นับแต่ร้อยโยชน์ เทวดาทั้งหลาย ไม่อภิรมย์ในมนุษย-

โลกนั้นเลย ด้วยเหตุนั้น เทวดาองค์นั้น จึงไม่นั่ง เพราะประสงค์จะทำกิจที่มา

แล้วรีบกลับไป. ก็มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมนั่งก็เพื่อบรรเทาความลำบากแห่งอิริยา-

บถมีเดินเป็นต้นอันใด ความลำบากอันนั้นสำหรับเทวดาไม่มี เพราะฉะนั้น

เทวดาจึงไม่นั่ง.

อนึ่ง พระมหาสาวกเหล่าใด ยืนแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงนับถือตอบพระมหาสาวกเหล่านั้น [คือประทับยืน] แม้

เพราะเหตุนั้น เทวดาจึงไม่นั่ง.

อนึ่ง เทวดาไม่นั่งก็เพราะเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้า. จริงอยู่ที่นั่ง

ย่อมบังเกิดแก่เทวดาทั้งหลายผู้ประสงค์จะนั่ง เทวดาองค์นี้ไม่ปรารถนาที่นั่งนั้น

ไม่คิดแม้แต่จะนั่ง จึงได้ยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

บทว่า เอกมนฺต ิตา โข สา เทวตา ความว่า เทวดาองค์

นั้น ยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง ด้วยเหตุเหล่านั้นอย่างนี้แล้ว. บทว่า ภควนฺต

คาถาย อขฺฌภาสิ ความว่า ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคำร้อยกรอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

อันกำหนดด้วยอักขระบท. ว่าอย่างไร. ว่าอย่างนี้ว่า พหู เทวา มนุสฺสา จ

ฯปฯ พฺรูหิ มงฺคลมุตฺตม.

เรื่องมูลเหตุเกิดมงคลปัญหา

ในการพรรณนามงคลสูตรนั้น เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าตั้งมาติกาหัวข้อไว้

ว่า เนื้อจะพรรณนาความแห่งปาฐะมีอาทิว่า เอว โดยประการต่างๆ จะกล่าว

ถึงสมุฏฐานมูลเหตุ ดังนี้ นี้เป็นโอกาสที่จะกล่าวถึงสมุฏฐานมลเหตุนั้น ฉะนั้น

จะกล่าวถึงสมุฏฐานมูลเหตุเกิดมงคลปัญหาเสียก่อนแล้วภายหลัง จึงจักพรรณนา

ความแห่งบทคาถาเหล่านี้.

เล่ากันมาว่า ในชมพูทวีป มหาชนชุมนุมกันในที่นั้น ๆ เช่นใกล้ประตู

เมือง สภาแห่งสถานราชการเป็นต้น มอบทรัพย์สินเงินทอง ให้เขาเล่าเรื่อง

ต่าง ๆ เช่น เรื่องนำนางสีดามาเป็นต้น. เรื่องหนึ่ง ๆ เล่าอยู่ถึง ๔ เดือนจึงจบ

ในสถานที่นั้น . วันหนึ่ง เรื่องมงคลปัญหาก็เกิดขึ้นว่า อะไรเล่าหนอ เป็น

มงคล. สิ่งที่เห็นหรือเป็นมงคล เรื่องที่ได้ยินหรือเป็นมงคล หรือเรื่องที่ทราบ

เป็นมงคล ใครหนอรู้จักมงคล ดังนี้.

ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ชื่อทิฏฐมังคลิกะ [นับถือสิ่งที่เห็นเป็นมงคล]

กล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้จักมงคล. สิ่งที่เห็นเป็นมงคลในโลก รูปที่สมมติกันว่า

เป็นมงคลยิ่ง ชื่อว่าทิฏฐะ. รูปอย่างไรเล่า. คนบางคนในโลกนี้ ตื่นแต่เช้าเห็น

นกกระเต็นบ้าง เห็นต้นมะตูมรุ่นบ้าง เห็นหญิงมีครรภ์บ้าง เห็นเด็กรุ่น

หนุ่ม ตกแต่งประดับกาย เทินหม้อเต็มน้ำบ้าง ปลาตะเพียนแดงสดบ้าง ม้า

อาชาไนยบ้าง รถเทียมม้าบ้าง. โคผู้บ้าง โคเมียบ้าง โคแดงบ้าง ก็หรือว่าเห็น

รูปแม้อื่นใด เห็นปานนั้น ที่สมมตกันว่าเป็นมงคลยิ่ง รูปที่เห็นนี้ เรียกว่า

ทิฏฐิมงคล. คนบางพวกก็ยอมรับคำของเขา บางพวกก็ไม่ยอมรับ พวกที่ไม่

ยอมรับ ก็ขัดแย้งกับเขา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ชื่อสุตมังคลิกะ ก็กล่าวว่า ท่านเอย ขึ้นชื่อว่า

ตาย่อมเห็นของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง ของดีบ้างของไม่ดีบ้าง ของ

ชอบใจบ้าง ของไม่ชอบใจบ้าง ผิว่า รูปที่ผู้นั้น เห็นพึงเป็นมงคลไซร้ ก็จะพึง

เป็นมงคลทั้งหมดนะสิ เพราะฉะนั้น รูปที่เห็นไม่เป็นมงคล. ก็แต่ว่าเสียงที่

ได้ยินต่างหากเป็นมงคล. เสียงที่สมมตว่าเป็นมงคลยิ่ง. ชื่อว่าสุตะ อย่างไรเล่า.

คนบางตนในโลกนี้ ลุกขึ้นแต่เช้า ได้ยินเสียงเช่นนี้ว่า เจริญแล้ว เจริญอยู่

เต็ม ขาว ใจดี สิริ เจริญด้วยสิริ วันนี้ ฤกษ์ดี ยามดี วันดี มงคลดี

หรือเสียงที่สมมตว่ามงคลยิ่งอย่างใดอย่างหนึ่ง. เสียงที่ได้ยินนี้ เรียกว่าสุตมงคล.

บางพวกก็ยอมรับคำของเขา บางพวกก็ไม่ยอมรับ พวกที่ไม่ยอมรับ ก็ขัดแย้ง

กับเขา.

ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ชื่อ มุตมังคลิกะ กล่าวว่า ท่านเอย แท้จริง

ขึ้นชื่อว่าหู ย่อมได้ยินเสียงดีบ้างไม่ดีบ้าง ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง ผิว่า

เสียงที่ผู้นั้นได้ยิน พึงเป็นมงคลไซร้ ก็จะเป็นมงคลทั้งหมดนะสิ. เพราะฉะนั้น

เสียงที่ได้ยินจึงไม่เป็นมงคล. ก็แต่ว่าสิ่งที่ทราบแล้วต่างหากเป็นมงคล. กลิ่นรส

และโผฏฐัพพะสิ่งที่พึงถูกต้อง ชื่อว่ามุตะ. อย่างไรเล่า. คนบางคนลุกแต่เช้า

สูดกลิ่นดอกไม้มีกลิ่นดอกปทุมเป็นต้นบ้าง เคี้ยวไม้สีฟันขาวบ้าง จับต้องแผ่น

ดินบ้าง จับต้องข้าวกล้าเขียวบ้าง มูลโคสดบ้าง เต่าบ้าง งาบ้าง ดอกไม้

บ้าง ผลไม้บ้าง ฉาบทาด้วยดินขาวโดยชอบบ้าง นั่งผ้าขาวบ้าง โพกผ้าโพกขาว

บ้าง ก็หรือว่าสูดกลิ่น ลิ้มรส หรือถูกต้องโผฏฐัพพะ ที่สมมติว่าเป็นมงคลยิ่ง

อย่างอื่นใด เห็นปานนั้น สิ่งดังกล่าวมานี้ เรียกว่ามุตมงคล. บางพวกก็ยอม

รับคำแม้ของเขา บางพวกก็ไม่ยอมรับ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

ในสามพวกนั้น ทิฏฐิมังคลิกบุรุษ ก็ไม่อาจทำให้สุตมังคลิกบุรุษและ

มุตมังคลิกบุรุษยินยอมได้ ทั้งสามฝ่ายนั้น ฝ่ายหนึ่ง ก็ทำอีกสองฝ่ายให้ยินยอม

ไม่ได้ บรรดามนุษย์เหล่านั้น พวกใดยอมรับคำของทิฏฐิมังคลิกบุรุษ พวกนั้น

ก็ถือว่ารูปที่เห็นแล้ว เท่านั้นเป็นมงคล. พวกใด ยอมรับคำของสุตมังคลิกบุรุษ

และมุตมังคลิกบุรุษ พวกนั้นก็ถือว่าเสียงที่ได้ยินเท่านั้นเป็นมงคล สิ่งที่ได้

ทราบเท่านั้น เป็นมงคล. เรื่องมงคลปัญหานี้ ปรากฏไปทั่วชมพูทวีป ด้วย

ประการฉะนี้.

ครั้งนั้น มนุษย์ทั่วชมพูทวีปถือกันเป็นพวกๆ พากันคิดมงคลทั้งหลาย

ว่า อะไรกันหนอเป็นมงคล. อารักขเทวดาของมนุษย์พวกนั้น ฟังเรื่องนั้น

แล้ว ก็พากันคิดมงคลทั้งหลายเหมือนกัน. เหล่าภุมมเทวดา เป็นมิตรของ

เทวดาเหล่านั้น ฟังเรื่องจากอารักขเทวดานั้นแล้ว ก็พากันคิดมงคลอย่างนั้น

เหมือนกัน. อากาสัฏฐกเทวดาเป็นมิตรของเทวดาเหล่านั้น จตุมหาราชิกเทวดา

เป็นมิตรของอากาสัฏฐกเทวดาเหล่านั้น โดยอุบายนี้ ตราบถึงอกนิฏฐเทวดา

เป็นมิตรของสุทัสสีเทวดา ฟังเรื่องจากสุทัสสีเทวดานั้นแล้ว ก็ถือกันเป็นพวก ๆ

พากันคิดมงคลทั้งหลาย ด้วยอุบายอย่างนี้ การคิดมงคลได้เกิดไปในที่ทุกแห่ง

จนถึงหมื่นจักรวาล. ก็การคิดมงคลเกิดขึ้นแล้ว แม้วินิจฉัยว่านี้เป็นมงคล นี้

เป็นมงคลแต่ก็ยังไม่เด็ดขาด จึงตั้งอยู่ถึง ๑๒ ปี. ทั้งมนุษย์ทั้งเทวดาทั้งพรหม

หมดด้วยกันเว้น พระอริยสาวกแตกเป็น ๓ พวก คือทิฏฐมังคสิกะ สุตมังคลิกะ

และมุตมังคลิกะ แม้แต่พวกหนึ่ง ก็ตกลงตามเป็นจริงไม่ได้ว่า นี้เท่านั้นเป็น

มงคล มงคลโลกาหล การแตกตื่นเรื่องมงคลเกิดขึ้นแล้วในโลก.

ขึ้นชื่อว่า โกลาหลมี ๕ คือ กัปปโลาหล จักกวัตติโกลาหล

พุทธโกลาหล มงคลโกลาหล โมเนยยโกลาหล. บรรดาโกลาหลทั้ง ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

นั้น เหล่าเทวดาชันกามาวจร ปล่อยศีรษะ สยายผม ร้องไห้ เอาหัตถ์เช็ด

น้ำตา นุ่งผ้าสีแดง ทรงเพศแปลก ๆ อย่างยิ่ง เที่ยวไปในถิ่นมนุษย์ร้องบอก

กล่าวว่า ล่วงไปแสนปี กัปจักปรากฏ โลกนี้จักพินาศ มหาสมุทรจักแห้ง

มหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุ จักถูกไฟไหม้จักพินาศ โลกพินาศจักมีจนถึง

พรหมโลก. ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ขอท่านทั้งหลายจงพากันเจริญเมตตาไว้เถิด

จงพากันเจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขา ไว้เถิด ท่านผู้นิรทุกข์จงบำรุงมารดาบิดา

จงยำเกรงท่านผู้เป็นผู้ใหญ่ในตระกูล ตื่นกันเถิด อย่าได้ประมาทกันเลย. นี้

ชื่อว่า กัปปโกลาหล.

เทวดาชั้นกามาวจรนั่นแล เที่ยวไปในถิ่นมนุษย์บอกกล่าวว่า ล่วงไป

ร้อยปี พระเจ้าจักรพรรดิจักเกิดขึ้นในโลก. นี้ชื่อว่า จักกวัตติโกลาหล.

ส่วนเทวดาชั้นสุทธาวาส ประดับองค์ด้วยอาภรณ์พรหม โพกผ้าของ

พรหมที่พระเศียรเกิดปีติปราโมทย์ กล่าวพระพุทธคุณ เที่ยวไปในถิ่นมนุษย์

บอกกล่าวว่าล่วงไปพันปี พระพุทธเจ้าจักอุบัติในโลก. มีชื่อว่า พุทธโกลาหล.

เทวดาชั้นสุทธาวาสนั้นแหละ รู้จิตของพวกมนุษย์ เที่ยวไปในถิ่น

มนุษย์บอกกล่าวว่า ล่วงไปสิบสองปี พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จักตรัสมงคล. นี้

ชื่อว่า มงคลโกลาหล.

เทวดาชั้นสุทธาวาสนั่นแหละ เที่ยวไปในถิ่นมนุษย์ บอกกล่าวว่า ล่วง

ไปเจ็ดปี ภิกษุรูปหนึ่งสมาคมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า จักทูลถามโมเนยยปฏิปทา

นี้ชื่อว่า โมเนยยโกลาหล. บรรดาโกลาหลทั้ง ๕ นี้ มงคลโกลาหลของเทวดา

และมนุษย์ทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วในโลก.

ครั้งนั้น เมื่อเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พากันเลือกเฟ้นก็ยังไม่ได้

มงคลทั้งหลาย ล่วงไป ๑๒ ปี เทวดาชั้นดาวดึงส์คบหาสมาคมกัน ก็ช่วยกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

คิดอย่างนี้ว่า เจ้าของเรือนก็เป็นหัวหน้าของตนภายในเรือน เจ้าของหมู่บ้าน

ก็เป็นหัวหน้าของชาวหมู่บ้าน พระราชาก็เป็นหัวหน้าของมนุษย์ทั้งหลาย ท้าว

สักกะจอมทวยเทพพระองค์นี้ ก็เป็นผู้เลิศประเสริฐสุดของพวกเรา คือเป็น

อธิบดีของเทวโลกทั้งสอง [ชั้นจาตุมหาราชและดาวดึงส์] ด้วยบุญ เดช อิสริยะ

ปัญญา. ถ้ากระไร เราจะพึงพากันไปทูลถามความข้อนี้กะท้าวสักกะ จอมทวย

เทพเถิด. เทวดาเหล่านั้น ก็พากันไปยังสำนักท้าวสักกะ ถวายบังคมจอม

ทวยเทพ ซึ่งมีพระสรีระมีสิริด้วยอาภรณ์ประจำพระองค์ อันเหมาะแก่ขณะนั้น

มีหมู่อัปสร ๒๕๐ โกฏิห้อมล้อม ประทับนั่งเหนือบัณฑุกัมพลสิลาอาสน์อัน

ประเสริฐ ภายใต้ต้นปาริฉัตตกะ แล้วยืน ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ทูลว่า ขอ

ประทานพระวโรกาส พระองค์ผู้นิรทุกข์ โปรดทรงทราบเถิด. บัดนี้ มงคล

ปัญหาตั้งขึ้นแล้ว พวกหนึ่งกล่าวว่า รูปที่เห็นเป็นมงคล พวกหนึ่งกล่าวว่า

เสียงที่ได้ยินเป็นมงคล พวกหนึ่งกล่าวว่าสิ่งที่ทราบแล้วเป็นมงคล บรรดาท่าน

เหล่านั้น พวกข้าพระบาทและพวกอื่นยังไม่ได้ข้อยุติ สาธุ ขอพระองค์โปรด

ทรงพยากรณ์ตามเป็นจริง แก่พวกข้าพระบาทด้วยเถิด. ท้าวสักกะเทวราชแม้

โดยปกติ ทรงมีปัญหา จึงตรัสว่าเรื่องมงคลนี้เถิดขึ้นที่ไหนก่อนเล่า. ทูลว่า

ข้าแต่เทวราช พวกข้าพระบาทฟังคำของพวกเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ต่อจาก

นั้น พวกเทวดาจาตุมมหาราชก็ฟังคำของพวกอากาสัฏฐเทวดา พวกอากาสัฏฐ-

เทวดาฟังคำของพวกภุมมเทวดา พวกภุมมเทวดาฟังคำของเทวดาผู้รักษามนุษย์

พวกเทวดาผู้รักษามนุษย์กล่าวว่า เรื่องมงคลเกิดขึ้นในมนุษยโลก.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพตรัสถามจอมเทวดาเหล่านั้นว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่ไหน. เทวดาทั้งหลายทูลว่า ประทับอยู่ใน

มนุษยโลก พระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า ใครได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้นแลหรือ. ทูลว่า ไม่มีใคร พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

ทำไมหนอ ท่านทั้งหลาย จึงมาทิ้งดวงไฟเสียแล้วมาตามไฟต่อจากแสงหิ่งห้อย

ด้วยเหตุไร ท่านทั้งหลายจึงมาล่วงเลยพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงแสดงมงคลไว้

ไม่เหลือเสียเล่า ยังเข้าใจว่าควรจะได้ถามเรา มาเถิดท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เรา

จะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พวกเราคงจักได้การพยากรณ์ปัญหา

อัน มีสิริแน่แท้ จึงมีเทวโองการใช้เทพบุตรองค์หนึ่งว่า ท่านจงไปทูลถามพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. เทพบุตรองค์นั้นแต่งองค์ด้วยเครืองอลังการ อันเหมาะ

แก่ขณะนั้น รุ่งโรจน์ดุจสายฟ้าแลบ มีหมู่เทพแวดล้อม ไปยังพระเชตวัน

มหาวิหาร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง เมื่อ

ทูลถามมงคลปัญหา จึงกล่าวเป็นคาถาว่า พหู เทวา มนุสฺสา จ เป็นต้น.

นี้เป็นมูลเหตุเกิดมงคลปัญหา

พรรณนาคาถาว่า พหู เทวา

บัดนี้ จะพรรณนาความแห่งบทคาถา. ศัพท์ว่า พหู แสดงจำนวน

ไม่แน่นอน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงอธิบายว่า หลายร้อย หลายพัน หลายแสน

ชื่อว่า เทวะ เพราะเล่น อธิบายว่า เล่นกับ กามคุณ ๕ หรือโชติช่วงด้วย

สิริของตน. อีกนัยหนึ่ง บทว่า เทวา ได้แก่ เทพทั้ง ๓ คือสมมติเทพ

อุปปัตติเทพ และวิสุทธิเทพ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

บทว่า เทวา ได้แก่ เทพ ๓ คือ สมมติเทพ อุป-

ปัตติเทพ วิสุทธิเทพ บรรดาเทพทั้ง ๓ นั้น พระราชา

พระราชเทวี พระราชกุมาร ชื่อว่าสมมติเทพ. เทพ

ตั้งแต่ชั้นจาตุมมหาราชิกาและสูงขึ้นไปกว่านั้น ชื่อว่า

อุปปัตติเทพ ท่านที่เรียกกันว่าพระอรหันต์ ชื่อว่า

วิสุทธิเทพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

ในเทพทั้ง ๓ นั้น ในสูตรนี้ ท่านประสงค์เอาอุปปัตติเทพ. ชื่อว่า

มนุษย์ เพราะเป็นเหล่ากอของพระมนู. แต่โบราณาจารย์กล่าวว่า ชื่อว่า

มนุษย์ เพราะเป็นผู้มีใจสูง. มนุษย์เหล่านั้น มี ๔ คือชาวชมพูทวีป ชาว

อปรโคยานทวีป ชาวอุตตรกุรุทวีป ชาวปุพพวิเทหทวีป ในสูตรนี้ท่านประสงค์

เอามนุษย์ชาวชมพูทวีป. ชื่อว่ามงคล เพราะสัตว์เจริญรุ่งเรืองด้วยคุณเหล่านั้น

อธิบายว่า สัตว์ถึงความสำเร็จและความเจริญ. บทว่า อจินฺตยุ แปลว่า

คิดกันแล้ว. บทว่า อากงฺขมานา ได้แก่ ประสงค์ ปรารถนา กระหยิ่ม.

บทว่า โสตฺถาน แปลว่า ความสวัสดี ท่านอธิบายว่า ความที่ธรรมทั้งหลาย

อันเป็นไปในปัจจุบัน และภายภาคหน้าทุกอย่าง สวยดีงาม. บทว่า พฺรูหิ

ได้แก่แสดง ประกาศ บอก เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย. บทว่า มงฺคล

ได้แก่ เหตุแห่งความสำเร็จ เหตุแห่งความเจริญ เหตุแห่งสมบัติทุกอย่าง.

บทว่า อุตฺตม ได้แก่ วิเศษประเสริฐ นำประโยชน์สุขมาให้โลกทั้งปวง

ดังกล่าวมานี้ เป็นการพรรณนาตามลำดับบทแห่งคาถาทั้งหลาย.

ส่วนความรวมมีดังนี้ เทพบุตรนั้นแลเห็นเทวดาในหมื่น จักรวาล

ชุมนุมกันในจักรวาลนี้ เพราะอยากจะฟังมงคลปัญหา พากันเนรมิตอัตภาพ

อันละเอียด ๑๐ บ้าง ๒๐ บ้าง ๓๐ บ้าง ๔๐ บ้าง ๕๐ บ้าง ๖๐ บ้าง ๗๐

บ้าง ๘๐ บ้าง ขนาดโอกาสปลายขนทรายขนหนึ่ง ยืนห้อมล้อมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ซึ่งประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันประเสริฐที่จัดไว้ เปล่งพระรัศมี

ครอบงำเทวดามารพรหมทั้งหมด ด้วยพระสิริและพระเดช และหยั่งรู้ปริวิตก

แห่งใจของเหล่ามนุษย์ชาวชมพู ที่ไม่ได้มาประชุมในสมัยนั้น ด้วยใจตนเอง

กล่าวคาถา เพื่อถอนลูกศรคือความสงสัยของเทวดาและมนุษย์ทั้งปวงว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ปรารถนาความ

สวัสดี จึงพากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์โปรด

ตรัสบอกมงคลด้วยเถิด พระเจ้าข้า.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นผู้ซึ่งข้าพระองค์ทูลถามแล้ว

โดยอนุมัติของเทวดาเหล่านั้น และโดยอนุเคราะห์มนุษย์ทั้งหลาย มงคลอันใด

เป็นอุดมสูงสุด เพราะนำมาซึ่งประโยชน์สุขแก่ข้าพระองค์หมดด้วยกัน โปรด

อาศัยพระกรุณาตรัสบอกมงคลอันนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายแล.

พรรณนาคาถาว่า อเสวนา จ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับคำของเทพบุตรนั้น อย่างนี้แล้ว จึงตรัส

พระคาถาว่า อเสวนา จ พาลาน เป็นต้น. ในพระคาถานั้น บทว่า อเสวนา

ได้แก่ การไม่คบ ไม่เข้าไปใกล้.

บทว่า พาลาน ความว่า ชื่อว่าพาล เพราะเป็นอยู่ หายใจได้

อธิบายว่า เป็นอยู่โดยเพียงหายใจเข้าหายใจออก ไม่เป็นอยู่โดยความเป็นอยู่

ด้วยปัญญา. ซึ่งพาลเหล่านั้น.

บทว่า ปณฺฑิตาน ความว่า ชื่อว่าบัณฑิต เพราะดำเนินไป อธิบาย

ว่า ดำเนินไปด้วยคติ คือความรู้ในประโยชน์ที่เป็นปัจจุบันและภายภาคหน้า

ซึ่งบัณฑิตเหล่านั้น.

บทว่า เสวนา ได้แก่ การคบ การเข้าใกล้ ความมีบัณฑิตนั้น

เป็นสหาย มีบัณฑิตนั้น เป็นเพื่อน ความพรักพร้อมด้วยบัณฑิตนั้น.

บทว่า ปูชา ได้แก่ การสักการะ เคารพนับถือ กราบไหว้.

บทว่า ปูชเนยฺยาน แปลว่า ผู้ควรบูชา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

บทว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

ประมวลการไม่คบพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาผู้ที่ควรบูชา ๑ ทั้งหมด

จึงตรัสว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตม. ท่านอธิบายว่า คำใดท่านถามว่า โปรด

ตรัสบอกมงคลอันอุดมเถิด ท่านจงถือคำนั้นว่า มงคลอันอุดม ในข้อนั้นก่อน

นี้เป็นการพรรณนาบทแห่งคาถานี้.

ส่วนการพรรณนาความแห่งบทนั้น พึงทราบดังนี้ พระผู้มีพระภาค

เจ้า ทรงสดับคำของเทพบุตรนั้นอย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า อเสวนา

จ พาลาน เป็นต้น.

ในคาถานั้น คาถามี ๔ คือ ปุจฉิตคาถา อปุจฉิตคาถา สานุ-

สันธิกคาถา อนนุสันธิกคาถา.

บรรดาคาถาทั้ง ๔ นั้น คาถาที่ทรงถูกผู้ถามถามแล้ว จึงตรัสชื่อว่า

ปุจฉิตคาถา ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ปุจฺฉามิ ต โคตม ภูริปญฺ

กถกโร สาวโกสาธุ โหติ ท่านพระโคดม ผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน

ข้าพเจ้าขอถามท่าน สาวกทำอย่างไรจึงเป็นคนดี และประโยคว่า กถ นุ ตฺว

มาริส โอฆมตริ ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านข้ามโอฆะอย่างไรเล่าหนอ.

คาถาที่พระองค์ไม่ได้ถูกถามแต่ตรัสโดยพระอัธยาศัยของพระองค์เอง

ชื่อว่า อปุจฉิตคาถา ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ย ปเร สุขโต อาหุ

ตทริยา อาหุ ทุกฺขโต คนอื่น ๆ กล่าวสิ่งใดว่าเป็นสุข พระอริยะทั้งหลาย

กล่าวสิ่งนั้นว่าเป็นทุกข์. คาถาของพระพุทธะทั้งหลายแม้ทั้งหมด ชื่อว่า

สานุสันธิกคาถา เพราะบาลีว่า สนิทานาห ภิกฺขเว ธมฺม เทเสสฺสามิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมมีนี้ท่านคือเหตุ ดังนี้. ที่ชื่อว่าอนสุ-

สินธิคาถา คาถาไม่มีเหตุ ไม่มีในศาสนานี้ ก็บรรดาคาถาเหล่านี้ดังกล่าวมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

นี้ คาถามีชื่อว่า ปุจฉุตคาถา เพราะเป็นคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าถูก

เทพบุตรทูลถามแล้วจึงตรัสตอบ. ก็คาถานี้ บอกคนที่ไม่ควรคบ ในคนที่

ควรคบและไม่ควรคบ แล้วจึงบอกคนที่ควรคบ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ฉลาด

รู้จักทาง รู้จักทั้งที่มิใช่ทาง ถูกถามถึงทาง จึงบอกทางที่ควรละเว้นเสียก่อน

แล้ว ภายหลังจึงบอกทางที่ควรยึดถือไว้ว่า ในที่ตรงโน้นมีทางสองแพร่ง.

ในทางสองแพร่งนั้น พวกท่านจงละเว้นทางซ้ายเสียแล้ว ยึดถือเอาทางขวา

ฉะนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นเสมือนบุรุษผู้ฉลาดในทางอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนติสสะ คำว่าบุรุษผู้ฉลาดในทางนี้เป็นชื่อ

ของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. จริงอยู่ตถาคต

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ฉลาดรู้โลกนี้ ฉลาดรู้

โลกอื่น ฉลาดรู้ถิ่นมัจจุ ฉลาดรู้ทั้งมิใช่ถิ่นมัจจุ ฉลาด

รู้บ่วงมาร ฉลาดรู้ทั้งมิใช่บ่วงมาร.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสบอกถึงบุคคลที่ไม่ควรคบ

ก่อน จึงตรัสว่า การไม่คบพาล การคบบัณฑิต ความจริงคนพาลทั้งหลาย

ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เหมือนทางที่ควรละเว้น แต่นั้น ก็ควรคบ ควร

เข้าใกล้แต่บัณฑิตเหมือนทางที่ควรยึดถือไว้. ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ก็เพราะเหตุไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสมงคล จึงตรัสการไม่คบพาลและการคบบัณฑิตก่อน

ขอชี้แจงดังนี้ เพราะเหตุที่พวกเทวดาและมนุษย์ยึดความเห็นว่ามงคลในสิ่งที่

เห็นแล้วเป็นต้นนี้ ด้วยการคบพาล ทั้งการคบพาลนั้น ก็ไม่เป็นมงคล ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงติเตียนการสมคบกับคนที่มิใช่กัลยาณมิตร ซึ่งหัก

รานประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าและทรงสรรเสริญการสมาคมกับกัลยาณมิตร

ซึ่งให้สำเร็จประโยชน์ในโลกทั้งสอง จึงตรัสการไม่คบพาลและการคบบัณฑิต

ก่อน แก่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

สัตว์ทั้งหลายทุกประเภท ผู้ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถมีปาณาติบาต

เป็นต้น ชื่อว่า พาล ในจำนวนพาลและบัณฑิตนั้น. พาลเหล่านั้น จะรู้

ได้ก็ด้วยอาการทั้งสาม เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้. พระสูตรว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาลลักษณะของพาล ๓ เหล่านี้. อนึ่ง ครูทั้ง ๖ มี

ปูรณกัสสปเป็นต้น และสัตว์อื่น ๆ เห็นปานนั้นเหล่านั้น คือ เทวทัต โกกาลิกะ

กฏโมทกะ ติสสขัณฑาเทวีบุตร สมุทททัตตะ นางจิญจมาณวิกา

เป็นต้น และพี่ชายของทีฆวิทะ ครั้งอดีตพึงทราบว่า พาล.

พาลเหล่านั้น ย่อมยังตนเองและเหล่าคนที่ทำตามคำของตนให้พินาศ

ด้วยทิฏฐิคตะความเห็นที่คนถือไว้ไม่ดี ดังเรือนที่ถูกไฟไหม้ เหมือนพี่ชาย

ของทีฆวิทะ ล้มลงนอนหงาย ด้วยอัตภาพประมาณ ๖๐ โยชน์ หมกไหม้อยู่

ในมหานรก อยู่ถึง พุทธันดร และเหมือนตระกูล ๕๐๐ ตระกูล ที่ชอบ

ใจทิฏฐิความเห็นของพี่ชายของทีฆวิทะนั้น เข้าอยู่ร่วมเป็นสหายของพี่ชายของ

ทีฆวิทะนั่นแหละ หมกไหม้อยู่ในมหานรกฉะนั้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค

เจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟลามจากเรือนไม้อ้อหรือ

เรือนหน้า ย่อมไหม้แม้เรือนยอด ซึ่งฉาบไว้ทั้งข้าง

นอกข้างใน กันลมได้ ลงกลอนสนิท ปิดหน้าต่างไว้

เปรียบฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยทุกชนิด ย่อม

เกิดเปรียบฉันนั้นเหมือนกัน ภัยเหล่านั้น ทั้งหมดเกิด

จากพาล ไม่เกิดจากบัณฑิต. อุปัทวะทุกอย่างย่อม

เกิด ฯลฯ อุปสรรคทุกอย่างย่อมเกิด ฯลฯ ไม่เกิดจาก

บัณฑิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังนั้นแลพาลเป็นภัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

บัณฑิตไม่เป็นภัย พาลอุบาทว์ บัณฑิตไม่อุบาทว์

พาลเป็นอุปสรรค บัณฑิตไม่เป็นอุปสรรค ดังนี้.

อนึ่ง พาลเสมือนปลาเน่า ผู้คบพาลนั้น ก็เสมือนห่อด้วยใบไม้ที่ห่อ

ปลาเน่า ย่อมประสบภาวะที่วิญญูชนทอดทิ้ง และรังเกียจ. สมจริงดังที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ปูติมจฺฉ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺติ

กุสาปิ ปูตี วายนฺติ เอว พาลูปเสวนา.

นรชนผู้ใดผูกปลาเน่าด้วยปลายหญ้าคา แม้หญ้า

คาของของนรชนผู้นั้น ก็มีกลิ่นเน่าฟุ้งไปด้วย การคบ

พาลก็เป็นอย่างนั้น.

อนึ่งเล่า เมื่อท้าวสักกะจอมทวยเทพประทานพร แก่กิตติบัณฑิต ก็

กล่าวอย่างนี้ว่า

พาล น ปสฺเส น สุเณ น จ พาเลน สวเส

พาเลนลฺลาปสลฺลาป น กเร น จ โรจเย.

ไม่ควรพบพาล ไม่ควรพึง ไม่ควรอยู่ร่วมกับพาล

ไม่พึงทำการเจรจาปราศรัยกับพาล และไม่ควรชอบใจ.

ท้าวสักกะ ตรัสถามว่า

กินฺนุ เต อกร พาโล วท กสฺสป การณ

เกน กสฺสป พาลสฺส ทสฺสน นาภิกงฺขสิ.

ท่านกัสสปะ ทำไมหนอ พาลจึงไม่เชื่อท่าน

โปรดบอกเหตุมาสิ เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่อยากเห็น

พาลนะท่านกัสสปะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

อกัตติบัณฑิตตอบ

อนย นยติ ทุมฺเมโธ อธุราย นิยุญฺชติ

ทุนฺนโย เสยฺยโส โหติ สมฺมา วุตฺโต ปกุปฺปติ

วินย โส น ชานาติ สาธุ ตสฺส อทสฺสน.

คนปัญญาทราม ย่อมแนะนำข้อที่ไม่ควรแนะนำ

ย่อมประกอบคนไว้ในกิจที่มิใช่ธุระ การแนะนำเขาก็

แสนยาก เพราะเขาถูกว่ากล่าวโดยดี ก็โกรธ พาลนั้น

ไม่รู้จักวินัย การไม่เห็นเขาเสียได้ก็เป็นการดี.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงติเตียนการคบพาลโดยอาการทั้งปวงอย่าง

นี้ จึงตรัสว่าการไม่คบพาลเป็นมงคล บัดนี้เมื่อทรงสรรเสริญการคบบัณฑิต

จึงตรัสว่า การคบบัณฑิตเป็นมงคล.

สัตว์ทุกประเภท ผู้ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐

มีเจตนางดเว้นปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า บัณฑิต ใน

จำพวกพาลและบัณฑิตนั้น.

บัณฑิตเหล่านั้น จะพึงรู้ได้ก็ด้วยอาการทั้ง ๓ เหมือนอย่างที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ พระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตลักษณะของ

บัณฑิต เหล่านั้น. อนึ่ง พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอสีติมหา-

สาวก พระสาวกอื่นของพระตถาคต และบัณฑิตมีสุเนตตศาสดา มหาโควินท-

ศาสดา พระวิธูรบัณฑิต สรภังคดาบส พระมโหสธ สุตโสมบัณฑิต

พระเจ้านิมิราช อโยฆรกุมาร และ อกิตติบัณฑิต เป็นต้น พึงทราบว่าบัณฑิต.

บัณฑิตเหล่านั้น เป็นผู้สามารถกำจัดภัยอุปัทวะและอุปสรรคได้ทุก

อย่าง แก่พวกที่ทำตามคำของตน ประหนึ่งป้องกันได้ในเวลามีภัย ประหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

ดวงประทีปในเวลามืด ประหนึ่งได้ข้าวน้ำเป็นต้น ในเวลาถูกทุกข์มีหิวระหาย

เป็นต้นครอบงำ. จริงอย่างนั้น อาศัยพระตถาคต พวกเทวดาและมนุษย์นับ

ไม่ถ้วน ประมาณไม่ได้พากันบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ดำรงอยู่ในพรหม.

โลก ดำรงอยู่ในเทวโลก เกิดในสุคติโลก ตระกูลแปดหมื่นตระกูล ทำจิต

ให้เลื่อมใสในพระสารีบุตรเถระ และบำรุงพระเถระด้วยปัจจัย ก็บังเกิดใน

สวรรค์. ตระกูลทั้งหลายทำจิตให้เลื่อมใส ในพระมหาสาวกทั้งปวง นับตั้งแต่

พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปเป็นต้นไป ก็อย่างนั้นเหมือนกัน สาวก

ทั้งหลายของสุเนตตศาสดา บางพวกก็เกิดในพรหมโลก บางพวก ก็เข้าเป็น

สหายของเหล่าเทพชน ปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ บางพวกก็เข้าเป็นสหายของ

คฤหบดีมหาศาล. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ไม่มีภัยแต่บัณฑิต ไม่มีอุปัททวะแต่บัณฑิต ไม่มีอุปสรรคแต่บัณฑิต.

อนึ่ง บัณฑิตเสมือนของหอมมีกฤษณา และดอกไม้เป็นต้น คนผ้คบ

บัณฑิตก็เสมือนห่อด้วยใบไม้ที่ห่อของหอมมีกฤษณาและดอกไม้เป็นต้น ยังประ-

สบภาวะที่วิญญูชนชมเชยและพอใจ. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า

ตครญฺจ ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ

ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ เอว ธีรูปเสวนา.

นรชนผู้ใดห่อกฤษณาไว้ด้วยใบไม้แม้ใบไม้ของ

นรชนผู้นั้นก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้ง การคบบัณฑิต ก็เหมือน

อย่างนั้น.

อนึ่งเล่า เมื่อท้าวสักกะจอมทวยเทพประทานพรแก่ อกิตติบัณฑิตก็

กล่าวว่า

ธีร ปสฺเส สุเณ ธีร ธีเรน สห สวเร

ธีเรนลฺลาปสลฺลาป ตี กเร ตญฺจ โรจเย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

ควรพลบัณฑิต ควรฟังบัณฑิต ควรอยู่ร่วมกับ

บัณฑิต ควรทำการเสทนาปราศรัยกับบัณฑิต และ

ควรชอบใจบัณฑิตนั้น.

ท้าวสักกะจอมทวยเทพตรัสถามว่า

กินฺนุ เต อกร ธีโร วท กสฺสป การณ

เกน กสฺสป ธีรสฺส ทสฺสน อภิกงฺขสิ.

ท่านกัสสปะ ทำไมหนอ บัณฑิตจึงไม่ทำต่อ

ท่าน โปรดบอกเหตุมาสิ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึง

อยากพบบัณฑิต นะท่านกัสสปะ.

อกิตติบัณฑิตตอบว่า

นย นยติ เมธาวี อธุราย น ยุญชติ

สุนโย เสยฺยโส โหติ สมฺมา วุตฺโต น กุปฺปติ

วินย โส ปชานาติ สาธุ เตน สมาคโม.

บัณฑิตย่อมแนะนำเรื่องที่ควรแนะนำ ไม่จูงคน

ไปในกิจมิใช่ธุระ แนะนำเขาก็ง่ายดี เพราะเขาถูกว่า

กล่าวโดยดี ก็ไม่โกรธ บัณฑิตนั้นรู้วินัย สมาคมกับ

บัณฑิตนั้นได้ เป็นการดี.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงสรรเสริญการคบบัณฑิต โดยธรรมทั้ง

ปวงอย่างนี้ จึงตรัสว่า การคบบัณฑิตเป็นมงคล. บัดนี้ เมื่อจะทรงสรรเสริญ

การบูชาบุคคลผู้เข้าถึงความเป็นผู้ควรบูชาโดยลำดับ ด้วยการไม่คบพาลและ

การคบบัณฑิตนั้น จึงตรัสว่า ปูชา จ ปูชเนยฺยาน มงคล การบูชาผู้ที่

ควรบูชาเป็นมงคล. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าข้า ชื่อว่า ปูชเนยยะ เพราะทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

เว้นจากโทษทุกอย่าง และเพราะทรงประกอบด้วยคุณทุกอย่าง และภายหลัง

จากนั้น ก็พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวกทั้งหลาย ชื่อว่าปูชเนยยะ. จริงอยู่

การบูชาปูชเนยยบุคคลเหล่านั้น แม้เล็กน้อย ก็เป็นประโยชน์สุขตลอดกาลยาว

นาน. ในข้อนี้ มีเรื่องนายสุมนมาลาการและนางมัลสิกาเป็นต้น เป็นตัวอย่าง.

ใน ๒ เรื่องนั้น จะกล่าวแต่เรื่องเดียว พอเป็นตัวอย่าง.

ความว่า เช้าวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้วทรงถือ

บาตรจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ขณะนั้น นายช่างดอกไม้ชื่อ

สุมนมาลาการ กำลังเดินถือดอกไม้สำหรับพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธ ได้เห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงประตูกรุงผ่องใสน่าเลื่อมใสประดับด้วยพระมหาปุริ-

สลักษณะ ๓๒ ประการและพระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการรุ่งเรื่องด้วยพระพุทธสิริ

ครั้นเห็นแล้ว เขาก็คิดว่า พระราชาทรงรับดอกไม้แล้วก็จะพึงประทานทรัพย์

ร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่ง ก็อันนั้นก็จะพึงเป็นความสุขเพียงโลกนี้เท่านั้น. แต่การ

บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมจะมีผลประมาณไม่ได้ นับไม่ถ้วนนำประโยชน์

สุขมาให้ตลอดกาลยาวนาน. เอาเถิดจำเราจะบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกไม้

เหล่านั้น ดังนี้เขามีจิตเลื่อมใส จับดอกไม้กำหนึ่งเหวี่ยงไปเฉพาะพระพักตร์

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ดอกไม้ทั้งหลายไปทางอากาศประดิษฐานเป็นเพดานดอก

ไม้อยู่เหนือพระผู้มีพระภาคเจ้า. นายมาลาการเห็นอานุภาพนั้น ก็มีจิตเลื่อมใส

ยิ่งขึ้น จึงเหวี่ยงดอกไม้ไปอีกกำหนึ่ง แม้ดอกไม้เหล่านั้น ก็ไปประดิษฐาน

เป็นเกราะดอกไม้. นายมาลาการเหวี่ยงดอกไม้ไป ๘ กำ อย่างนี้ ดอกไม้เหล่า

นั้น ก็ไปประดิษฐานเป็นเรือนยอดดอกไม้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในเรือนยอด มหาชนก็ชุมนุมกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นนายมาลาการ ก็ทรงทำอาการแย้มให้

ปรากฏ พระอานนทเถระก็ทูลถามถึงเหตุที่ทรงแย้มด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย จะไม่ทรงแย้มให้ปรากฏ. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า อานนท์ นายมาลาการผู้นี้จักท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์แสนกัป

ด้วยอานุภาพของการบูชานี้แล้วในที่สุดก็จักเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า นามว่า

สุมนิสสระ. ตรัสจบก็ได้ตรัสพระคำถาม เพื่อทรงแสดงธรรมว่า

ตญฺจ กมฺม กต สาธุ ย กตฺวา นานุตปฺปติ

ยสฺส ปตีโต สุมโน วิปาก ปฏิเสติ.

บุคคลทำธรรมใดแล้วไม่เดือดร้อนกายหลัง บุค-

คลใจดีเอิบอิ่มแล้วเสวยผลของกรรมใด กรรมนั้น ทำ

แล้วดี.

จบคาถา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม การบูชาปูชเนยยบุคคลเหล่า

นั้น แม้เล็กน้อยพึงทราบว่า มีประโยชน์สุขตลอดก็ยาวนาน ด้วยประการ

ฉะนี้.

ก็การบูชานั้นเป็นอามิสบูชา จะป่วยกล่าวไปไยในปฏิบัติบูชา เพราะ

กุลบุตรเหล่าใด บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการรับสรณคมน์และสิกขาบท

ด้วยการสมาทานองค์อุโบสถ และด้วยคุณทั้งหลายของตน มีปาริสุทธิศีล ๔

เป็นต้น ใครเล่าจักพรรณนาผลแห่งการบูชาของกุลบุตรเหล่านั้นได้. ด้วยว่า

กุลบุตรเหล่านั้น ท่านกล่าวว่า บูชาพระตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอดเยี่ยม

เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนอานนท์ ผู้ใดแล ไม่ว่าเป็นภิกษุ ภิกษุณี

อุบาสก หรืออุบาสิกา เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่

ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติตามธรรม ผู้นั้น ชื่อว่า

สักการะเคารพนับถือ บูชายำเกรงนอบน้อมตถาคต

ด้วยการบูชาอย่างยอดเยี่ยม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

ความที่การบูชาแม้พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยสาวกนำมาซึ่งประ-

โยชน์สุข พึงทราบตามแนวนี้.

อนึ่ง สำหรับ คฤหัสถ์ พึงทราบปูชเนยยบุคคลในข้อนี้อย่างนี้ คือ

ผู้เจริญที่สุด ทั้งพี่ชาย ทั้งพี่สาว ชื่อว่าปูชเนยยบุคคลของน้อง มารดาบิดา

เป็นปูชเนยยบุคคลของบุตร สามีพ่อผัวแม่ผัวเป็นปูชเนยยบุคคลของกุลสตรี

ทั้งหลาย ด้วยว่า การบูชาปูชเนยยบุคคลแม้เหล่านั้น เป็นมงคลทั้งนั้น

เพราะนับว่าเป็นกุศลธรรม และเพราะเป็นเหตุเจริญอายุเป็นต้น. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ามีพระพุทธดำรัสไว้ดังนี้ว่า ชนเหล่านั้น จักเป็นผู้เกื้อกูลมารดาเกื้อกูล

บิดา เกื้อกูลสมณะ. เกื้อกูลพราหมณ์ เป็นผู้นอบน้อมผู้ใหญ่ในสกุล ยังจัก

ยึดถือกุศลธรรมนี้ปฏิบัติ ก็จักเจริญทั้งอายุ จักเจริญทั้งวรรณะ เพราะเหตุ

สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้นเป็นต้น.

บัดนี้ เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าตั้งมาติกาหัวข้อไว้ว่า กล่าวสมุฏฐานเป็นที่

เกิดมงคล แล้วกำหนดมงคลนั้น จะชี้แจงความของมงคลนั้น ฉะนั้น จึงขอ

ชี้แจงดังนี้ พระผู้พระภาคเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถานี้ไว้ ๓ มงคลคือ การไม่

คนพาล, การคบบัณฑิต, และการบูชาผู้ที่ควรบูชา, ด้วยประการฉะนี้. ใน

มงคลทั้ง ๓ นั้น พึงทราบว่าการไม่คบพาลชื่อว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่ง

ประโยชน์ของโลกทั้งสอง เหตุป้องกัน ภัยมีภัยเกิดแต่คบพาลเป็นปัจจัยเป็นต้น

การคบบัณฑิตและการบูชาผู้ที่ควรบูชา ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่ง

นิพพานและสุคติ โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในการพรรณนาความเพิ่มพูนแห่งผล

ของการคบบัณฑิตและการบูชาผู้ที่ควรบูชานั้นนั่นแล. แต่ข้าพเจ้าจักยังไม่

แสดงหัวข้อต่อจากนี้ไป จักกำหนดข้อที่เป็นมงคลอย่างนี้ จึงจักชี้แจงความที่

ข้อนั้น เป็นมงคล.

จบพรรณนาความแห่งคาถานี้ว่า อเสวนา จ พาลาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

พรรณนาคาถาว่า ปฏิรูปเทสวาโส จ

พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ถูกเทพบุตรขอมงคลอย่างเดียวว่า พฺรูหี

มงฺคลมุตฺตน ขอได้โปรดตรัสบอกมงคลอันอุดม แต่ก็ตรัสถึง ๓ มงคล ด้วย

คาถาเดียว เปรียบเหมือนบุรุษใจกว้าง ถูกขอแต่น้อยแต่ก็ให้มาก ยิ่งไปกว่า

นั้น ยังทรงเริ่มที่จะตรัสมงคลอีกเป็นอันมาก ด้วยคาถาทั้งหลายมีว่า ปฏิรูป-

เทสวาโส จ เป็นต้น ก็เพราะเทวดาทั้งหลายอยากฟัง เพราะมงคลทั้งหลาย

มีอยู่ และเพราะมงคลใด ๆ อนุกูลแก่สัตว์ใด ๆ ทรงมีพุทธประสงค์จะทรง

ประกอบสัตว์นั้น ๆ ไว้ ในมงคลนั้น ๆ. บรรดาคาถาเหล่านั้น จะกล่าวใน

คาถาแรกก่อน. บทว่า ปฏิรูโป แปลว่า สมควร. โอกาสเป็นที่อยู่อาศัย

ของสัตว์ทั้งหลาย ทุกแห่ง ไม่ว่าเป็นตามก็ดี นิคมก็ดี นครก็ดี ชนบทก็ดี

ชื่อว่า เทสะ. การอยู่อาศัยในเทสะนั้น ชื่อว่า วาสะ. บทว่า ปุพฺเพ

แปลว่า แต่ก่อน คือในชาติที่ล่วงมาแล้ว. ความเป็นผู้มีกุศลอันสั่งสมแล้ว

ชื่อว่า ความเป็นผู้มีบุญอันทำไว้แล้ว. จิตหรืออัตภาพทั้งสิ้น เรียกว่า อัตตะ.

การประกอบไว้ คือการตั้งความปรารถนาของตนไว้ชอบ. ท่านอธิบายว่า การตั้ง

ตนโดยชอบ ชื่อว่า สมฺมาปณิธิ การตั้งไว้ชอบ. คำนอกนั้น มีนัยที่กล่าวไว้

แล้วทั้งนั้น. นี้เป็นการพรรณนาบทในคาถาแรกนั้น.

ส่วนการพรรณนาความ พึงทราบดังนี้. ในประเทศใดบริษัท ๔ ยัง

จาริกอยู่ ยังบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุมีทานเป็นต้นอยู่ นวังสัตถุศาสน์ยังรุ่งเรื่อง

อยู่. ประเทศนั้น ชื่อว่าปฏิรูปเทส การอยู่อาศัยในปฏิรูปเทสนั้น ตรัสว่าเป็น

มงคล เพราะเป็นปัจจัยแก่การทำบุญของสัตว์ทั้งหลาย. ในข้อนี้ มีชาวประมง

ที่เข้าไปยังเกาะสิงหลเป็นต้น เป็นตัวอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

อีกนัยหนึ่ง ประเทศเป็นที่ตรัสรู้พระโพธิญาณ [ที่ตรัสรู้เป็นพระ-

พุทธเจ้า เรียกโพธิมัณฑสถาน] ประเทศที่ทรงประกาศพระธรรมจักร. ประเทศ

คือโคนต้นมะม่วงของนายตัณฑะที่ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ทำลายความเมาของ

พวกเดียรถีย์ทั้งปวง ท่ามกลางบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ประเทศที่เสด็จลง

จากเทวโลก ก็หรือประเทศอื่นใดอันเป็นที่ประทับอยู่ของพระพุทธเจ้า มีกรุง-

สาวัตถี กรุงราชคฤห์เป็นต้น ประเทศนั้น ชื่อว่า ปฏิรูปเทส การอยู่อาศัย

ในปฏิรูปเทสนั้น ตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นปัจจัยแก่การได้อนุตตริยะ ๖

ของสัตว์ทั้งหลาย.

อีกนัยหนึ่ง ทิศบูรพา ตั้งแต่กชังคลนิคมลงมาถึงมหาสาลา รอบนอก

เป็นปัจจันติมชนบท รอบใน เป็นมัชฌิมชนบท. ทิศอาคเนย์ ตั้งแต่แม่น้ำ

สัลลวตีลงมา รอบนอก เป็นปัจจันติมชนบท รอบใน เป็นมัชฌิมชนบท.

ทิศทักษิณ ตั้งแต่เสตกัณณิกนิคมลงมา รอบนอก เป็นปัจจันติมชนบท

รอบใน เป็นมัชฌิมชนบท. ทิศตะวัน ก็ตั้งแต่ถูณะตำบลบ้านพราหมณ์ลงมา

รอบนอก เป็นปัจจันติมชนบท รอบใน เป็นมัชฌิมชนบท. ทิศอุดร ตั้งแต่

ภูเขาอุสีรธชะลงมา รอบนอก เป็นปัจจันติมชนบท รอบใน เป็นมัชฌิม-

ชนบท. นี้เป็นมัชฌิมประเทศ ยาว ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์ โดยรอบ

๙๐๐ โยชน์. มัชฌิมประเทศนี้ ชื่อว่าปฏิรูปเทส.

พระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลาย ผู้ครองอิสริยาธิปัตย์แห่งทวีปใหญ่ทั้ง ๔

ทวีป ทวีปน้อย ๒,๐๐๐ ทวีป ย่อมเกิดในปฏิรูปเทสนั้น พระมหาสาวกทั้งหลาย

มีพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเป็นต้น บำเพ็ญบารมีมาหนึ่งอสงไขย

กับแสนกัป ก็เกิดในปฏิรูปเทสนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย บำเพ็ญ

บารมีมาสองอสงไขยกับแสนกัป ก็เกิดในปฏิรูปเทสนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

ทั้งหลาย บำเพ็ญบารมีมาสี่อสงไขยกับแสนกัปบ้าง แปดอสงไขยกับแสนกัปบ้าง

สิบหกอสงไขยกับแสนกัปบ้าง ก็เสด็จอุบัติในปฏิรูปเทสนั้น. บรรดาท่านเหล่านั้น

สัตว์ทั้งหลายรับโอวาทของพระเจ้าจักรพรรดิตั้งอยู่ในศีล ๕ แล้วก็มีสวรรค์เป็น

เบื้องหน้า, ตั้งอยู่ในโอวาทของพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็เหมือนกัน ส่วนสัตว์ทั้ง-

หลายตั้งอยู่ในโอวาทของพระพุทธเจ้า ของสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมมีสวรรค์

เป็นเบื้องหน้า มีพระนิพพานเป็นเบื้องหน้า เพราะฉะนั้น การอยู่ในปฏิรูปเทส

นั้น จึงตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นปัจจัยแห่งสมบัติเหล่านั้น.

ความเป็นผู้ปรารภพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพ

สร้างสมกุศลไว้ในชาติที่ล่วงมาแล้ว ชื่อว่า ความเป็นผู้ทำบุญไว้ในก่อน.

แม้ความเป็นผู้ทำบุญไว้ในก่อนนั้นก็เป็นมงคล. เพราะเหตุไร เพราะทำอธิบาย

ว่าความเป็นผู้ทำบุญไว้ในก่อน ย่อมให้บรรลุพระอรหัต เมื่อจบคาถาแม้ ๔ บท

ที่แสดงต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือที่ฟังเฉพาะ

พระพักตร์ของพระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้า. ก็มนุษย์ผู้ใด สร้าง

บารมีไว้ มีกุศลมลอันแน่นหนามาก่อน มนุษย์ผู้นั้น ทำวิปัสสนาให้เกิดแล้ว

ย่อมบรรลุธรรมที่สิ้นอาสวะ ด้วยกุศลมูลนั้นนั่นแล เหมือนพระเจ้ามหากัปปินะ

และอัครมเหสี ด้วยเหตุนั้น พระผู้พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ความเป็นผู้ทำบุญ

ไว้ในก่อนเป็นมงคล.

คนบางตนในโลกนี้ ย่อมทำตนที่ทุศีลให้ตั้งอยู่ในสุศีล ตนที่ไม่มี

ศรัทธาให้ตั้งอยู่ในสัทธาสัมปทา ตนที่ตระหนี่ให้ตั้งอยู่ในจาคสัมปทา การตั้ง

ตนดังกล่าว ชื่อว่า ตั้งตนไว้ชอบ. การตั้งตนไว้ชอบนี้ เรียกว่า อัตต-

สัมนาปณิธิ. อัตตสัมมาปณิธินี้แลเป็นมงคล. เพราะเหตุไร. เพราะเป็นเหตุ

ละเวรที่เป็นไปในปัจจุบันและภายภาคหน้าและประสบอานิสงส์ต่าง ๆ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถานี้ไว้ ๓ มงคล คือการอยู่ใน

ปฏิรูปเทส ๑ ความเป็นผู้ทำบุญไว้ในก่อน ๑ และการตั้งตนไว้ชอบ ๑

ด้วยประการฉะนี้. ก็ความที่มงคลเหล่านั้นเป็นมงคล ก็ได้ชี้แจงไว้ในมงคล

นั้น ๆ แล้วทั้งนั้น.

จบพรรณนาความแห่งคาถานี้ว่า ปฏิรูปเทสวาโส จ

พรรณนาคาถาว่า พาหุสจฺจญฺจ

บัดนี้ ความเป็นพหูสูต ชื่อว่าพาหุสัจจะ ในบทนี้ว่า พาหุสจฺจยฺจ.

ความฉลาดในงานฝีมือทุกอย่าง ชื่อว่า ศิลปะ. การฝึกกายวาจาจิต ชื่อว่า

วินัย. บทว่า สุสิกฺขิโต แปลว่า อันเขาศึกษาด้วยดีแล้ว. บทว่า สุภาสิตา

แปลว่า อันเขากล่าวด้วยดีแล้ว. ศัพท์ว่า ยา แสดงความไม่แน่นอน. คำ

เปล่งทางคำพูด ชื่อว่า วาจา. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล. นี้เป็น

การพรรณนาบทในคาถาว่า พาหุสจฺจญฺจ นี้.

ส่วนการพรรณนาความ พึงทราบดังนี้. ความเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งวัตถุ-

ศาสน์ ที่ทรงพรรณนาไว้ โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า เป็นผู้ทรงสุตตะ สั่งสม

สุตตะ และว่าภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ มีสุตตะมาก คือ สุตตะ เคยยะ

เวยยากรณะ เป็นต้น ชื่อว่าความเป็นพหูสูต. ความเป็นพหูสูตนั้น ตรัสว่า

เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุละอกุศลและประสบกุศลและเพราะเป็นเหตุทำให้แจ้ง

ปรมัตถสัจจะตามลำดับ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ผู้สดับแล้ว

ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ย่อมละสิ่งมีโทษ เจริญสิ่ง

ที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดังนี้.

อีกพระดำรัสหนึ่งตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

ย่อมพิจารณาความของธรรมทั้งหลาย ที่ทรงจำไว้

ธรรมทั้งหลายย่อมทนการเพ่งพินิจของเธอ ผู้พิจารณา

ความอยู่เมื่อธรรมทนการเพ่งพินิจอยู่ ฉันทะย่อมเกิด

เกิดฉันทะแล้ว ก็อุตสาหะ เมื่ออุตสาหะ ดีใช้ดุลย-

พินิจ เมื่อใช้ดุลยพินิจ ก็ตั้งความเพียร เมื่อตั้งความ

เพียร ย่อมทำให้แจ้งปรมัตถสัจจะ ด้วยกาย [นามกาย]

และย่อมเห็นทะลุปรุโปร่ง ด้วยปัญญา ดังนี้.

อนึ่ง แม้พาหุสัจจะความเป็นพหูสูตของคฤหัสถ์อันใดไม่มีโทษ อันนั้น

ก็พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์สุขในโลกทั้งสอง.

ศิลปะของคฤหัสถ์ และศิลปะของบรรพชิต ชื่อว่า ศิลปะ. บรรดา

ศิลปะทั้งสองนั้น กิจกรรมมีงานของช่างมณี ช่างทองเป็นต้น ที่เว้นจากการ

ทำร้ายชีวิตสัตว์อื่น เว้นจากอกุศล ชื่อว่า อคาริกสิปปะ ศิลปะของ

คฤหัสถ์. อคาริกสิปปะนั้น ชื่อว่า เป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์ใน

โลกนี้.

การจัดทำสมณบริขารมีการก็และเย็บจีวรเป็นต้น ซึ่งพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้ในที่นั้น ๆ โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจ

ที่ควรทำไรๆ ของสพรหมจารี ไม่ว่าสูงต่ำเหล่านั้นใด ภิกษุเป็นผู้ขยันในกิจที่

ควรทำไร ๆ นั้น และที่ตรัสว่า เป็นนาถกรณธรรม ธรรมทำที่พึ่ง ชื่อว่า

อนาคาริกสิปปะ ศิลปะของบรรพชิต. ศิลปะของบรรพชิตนั้น พึงทราบว่า

เป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์สุขในโลกทั้งสองแก่ตนเองและแก่คนอื่น ๆ.

วินัยของคฤหัสถ์และวินัยของบรรพชิต ชื่อว่าวินัย. บรรดาวินัยทั้งสอง

นั้น การงดเว้นอกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่าวินัยของคฤหัสถ์. วินัยของคฤหัสถ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

นั้น คฤหัสถ์ศึกษาดีแล้วในวินัยนั้น ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์

สุขในโลกทั้งสอง ด้วยการไม่ต้องสังกิเลสความเศร้าหมอง และด้วยการกำหนด

คุณ คืออาจาระ.

การไม่ต้องอาบัติ ๗ กอง ชื่อว่าวินัยของบรรพชิต. แม้วินัยของ

บรรพชิตนั้น อันบรรพชิตศึกษาดีแล้ว โดยนัยที่กล่าวมาแล้ว. หรือปาริสุทธิ.

ศีล ๔ ชื่อว่าวินัยของบรรพชิต. วินัยของบรรพชิตนั้น อันบรรพชิตศึกษาดี

แล้ว ด้วยการศึกษาโดยประการที่ตั้งอยู่ในปาริสุทธิศีล ๔ นั้น แล้วจะบรรลุ

พระอรหัตได้ พึงทราบว่าเป็นมงคลเพราะเป็นเหตุประสบสุขทั้งโลกิยะทั้ง

โลกุตระ.

วาจาที่เว้นจากโทษมีมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่าวาจาสุภาษิต เหมือนอย่าง

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๔

เป็นวาจาสุภาษิต. หรือว่า วาจาที่เจรจาไม่เพ้อเจ้อ ก็ชื่อว่าวาจาสุภาษิต. เหมือน

อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

สุภาสิต อุตฺตมมาหุ สนฺโต

ธมฺม ภเณ นาธมฺม ต ทุติย

ปิย ภเณ นาปฺปิย ล ตติย

สจฺจ ภเณ นาลิก จตุตถ.

สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่า วาจาสุภาษิตเป็นวาจา

สูงสุดเป็นข้อที่ ๑. บุคคลพึงกล่าวแต่ธรรม ไม่กล่าวไม่

เป็นธรรมเป็นข้อที่ ๒. พึงกล่าวแต่คำนี้น่ารัก ไม่กล่าว

คำไม่น่ารัก เป็นข้อที่ ๓. กล่าวแต่คำสัตย์ ไม่กล่าว

คำเหลาะแหละเป็นข้อที่ ๔.

๑. ขุ.สุ. ๒๕/ข้อ ๓๕๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

แม้วาจาสุภาษิตนี้ ก็พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์

สุขในโลกทั้งสอง แต่เพราะเหตุที่วาจาสุภาษิตนี้นับเนื่องในวินัย ฉะนั้น. ถึง

ไม่สงเคราะห์วาจาสุภาษิตนี้ไว้ด้วยวินัยศัพท์ ก็พึงทราบว่าเป็นวินัย. เมื่อเป็น

เช่นนั้น วาจามีการแสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่นเป็นต้น พึงทราบว่าเป็นวาจา

สุภาษิต ในที่นี้ ด้วยความกระอักกระอ่วนนี้หรือ. ความจริงวาจาสุภาษิตตรัสว่า

เป็นมงคล ก็เพราะเป็นเหตุประสบสุขในโลกทั้งสองและพระนิพพานของสัตว์

ทั้งหลาย ก็เหมือนการอยู่ในปฏิรูปเทศ. พระวังคีสเถระกล่าวไว้ว่า

ย พทฺโธ ภาสตี วาจ เขม นิพฺพานปตฺติยา

ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย สา เว วาจานมุตฺตมา.

พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด อันเกษม เพื่อบรรลุ

พระนิพพาน เพื่อทำที่สุดทุกข์ พระวาจานั้นแลเป็น

ยอดของวาจาทั้งหลาย.

พระพุทธเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถามไว้ ๔ มงคล คือ พาหุสัจจะ ๑

สิปปะ ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ และ วาจาสุภาษิต ๑ ด้วยประการฉะนี้.

ก็ความที่มงคลนั้นเป็นมงคล ก็ได้ชี้แจงไว้ในมงคลนั้น ๆ แล้วทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาความแห่งคาถานี้ว่า พาหุสฺจญฺจ เป็นต้น

พรรณนาคาถาว่า มาตาปิตุอุปฏฺาน

บัดนี้ จะพรรณนาในคาถานี้ว่า มาตาปิตุอุปฏฺาน. มารดาและ

บิดา เหตุนั้น ชื่อว่า มารดาและบิดา. บทว่า อุปฏฺาน แปลว่า การบำรุง.

บุตรทั้งหลายด้วย ภรรยาทั้งหลายด้วย ชื่อว่าบุตรและภรรยา การสงเคราะห์

ชื่อว่า สังคหะ. การงานคือกิจกรรมอากูลหามิได้ ชื่อว่าไม่อากูล. คำที่เหลือ

มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล. นี่เป็นการพรรณนาบท.

๑. ขฺ.สฺ. ๒๔/ข้อ ๓๕๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

ส่วนการพรรณนาความ พึงทราบดังนี้ . สตรีผู้ยังบุตรให้เกิด เรียก

ชื่อว่า มารดา บิดาก็เหมือนกัน. การทำอุปการะด้วยการล้างเท้านวดฟั้นขัดสี

ให้อาบน้ำ และด้วยการมอบให้ปัจจัย ๔ ชื่อว่า การบำรุง. ในการบำรุงนั้น

เพราะเหตุที่มารดาบิดา มีอุปการะมาก หวังประโยชน์อนุเคราะห์บุตรทั้งหลาย

มารดาบิดาเหล่าใด แลเห็นบุตรทั้งหลายเล่นอยู่ข้างนอก เดินมามีเนื้อตัวเปื้อน

ฝุ่น ก็เช็ดฝุ่นให้ จูบจอมถนอมเกล้า เกิดความรักเอ็นดู บุตรทั้งหลายใช้

ศีรษะทูนมารดาบิดาไว้ถึงร้อยปี ก็ไม่สามารถจะทำปฏิการะสนองคุณของมารดา

บิดานั้นได้ และเพราะเหตุที่มารดาบิดานั้น เป็นผู้ดูแลบำรุงเลี้ยง แสดงโลก

นี้ สมมติว่าเป็นพรหม สมมติว่าเป็นบุรพาจารย์ ฉะนั้น การบำรุงมารดา

บิดานั้น ย่อมนำมาซึ่งการสรรเสริญในโลกนี้และละโลกไปแล้วก็จะนำมาซึ่งสุข

ในสวรรค์ ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่าเป็นมงคล สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า

มารดาบิดา ท่านเรียกว่าพรหม ว่าบุรพาจารย์ เป็น

อาทุเนยยบุคคลของบุตร เป็นผู้อนุเคราะห์ บุตรเพราะ

ฉะนั้น บัณฑิตพึงนอบน้อม และพึงสักการะมารดา

บิดานั้น ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การขัดสี การ

ให้อาบน้ำและล้างเท้า. เพราะการปรนนิบัติมารดาบิดา

นั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงสรรเสริญเขาในโลกนี้ เขาละ

โลกไปแล้ว ยังบรรเทิงในสวรรค์.

อีกนัยหนึ่ง กิจกรรม ๕ อย่าง มีการเลี้ยงดูท่าน ทำกิจของท่านและ

การดำรงวงศ์สกุลเป็นต้น ชื่อว่า การบำรุง. การบำรุงนั้น พึงทราบว่าเป็น

มงคล เพราะเป็นเหตุแห่งประโยชน์สุขในปัจจุบัน ๕ อย่างมี การห้ามมิให้ทำ

บาปเป็นต้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

๑. ขุ.อิ. ๒๕/ข้อ ๒๘๖. ๒. ที.ปา. ๑๑/ข้อ ๑๙๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

ดูก่อนบุตรคฤหบดี ทิศเบื้องหน้า คือมารดาบิดา

อันบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน คือ เราท่านเลี้ยงมาแล้ว

จักเลี้ยงดูท่าน จักทำกิจของท่าน จักดำรงวงศ์สกุล

จักปฏิบัติตัวเหมาะที่จะเป็นทายาท เมื่อท่านล่วงลับดับ

ขันธ์แล้วจักทำบุญอุทิศไปให้ท่าน. ดูก่อนบุตรคฤหบดี

ทิศเบื้องหน้าคือมารดาบิดา อันบุตรถึงบำรุงด้วยสถาน

๕ เหล่านี้แล้วย่อมอนุเคราะห์บุตร ด้วยสถาน คือ

ห้ามบุตรจากความชั่ว ให้บุตรตั้งอยู่ในความดี ให้ศึก

ษาศิลปะจัดหาภรรยาที่สมควรให้ มอบทรัพย์มรดกให้

ในเวลาสมควร.

อนึ่ง ผู้ใดบำรุงมารดาบิดา ด้วยให้เกิดความเลื่อมใสในวัตถุ[รัตนะ]

ทั้งสาม ด้วยให้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยการบรรพชา ผู้นี้เป็นยอดของ ผู้บำรุงมารดา

บิดา. การบำรุงมารดาบิดาของผู้นั้นเป็นการตอบแทนอุปการคุณที่มารดาบิดา

ทำมาแล้ว ตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นปทัฏฐานแห่งประโยชน์ทั้งหลาย

ทั้งปัจจุบัน ทั้งภายภาคหน้า เป็นอันมาก.

ทั้งบุตรทั้งธิดา ที่เกิดจากตน ก็นับว่าบุตรทั้งนั้น ในคำว่า ปุตฺต-

ทารสฺสนี้. บทว่า ทารา ได้แก่ภรรยา ๒๐ จำพวก จำพวกใดจำพวกหนึ่ง.

บุตรและภรรยา ชื่อว่า ปุตตทาระ. ซึ่งบุตรและภรรยานั้น . บทว่า สงฺคโห

ได้แก่ การทำอุปการะตัวด้วยการยกย่องเป็นต้น. การอุปการะนั้น พึงทราบว่า

เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งประโยชน์สุขในปัจจุบัน มีความเป็นผู้จัดการ

งานดีเป็นต้น. ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์บุตรภรรยาที่ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

ยกขึ้นแสดงว่า ทิศเบื้องหลัง พึงทราบว่าคือบุตรภรรยาไว้ด้วย ภริยา ศัพท์

จึงตรัสไว้ดังนี้ว่า

ดูก่อนบุตรคฤหบดี ทิศเบื้องหลังคือภรรยา อัน

สามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยการยกย่อง ด้วย

การไม่ดูหมิ่น ด้วยการไม่นอกใจ ด้วยการมอบความ

เป็นใหญ่ให้ ด้วยการมอบเครื่องประดับให้. ดูก่อน

บุตรคฤหบดี ทิศเบื้องหลังคือภรรยา อันสามบำรุงด้วย

สถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ที่สามีด้วยสถาน ๕

คือ จัดการงานดี สงเคราะห์คนข้างเคียง ไม่นอกใจ

รักษาทรัพย์ที่สามีทำมา ขยันไม่เกียจคร้านในกิจทุก

อย่าง.

หรือ มีอีกนัยหนึ่งดังนี้ บทว่า สงฺคโห ได้แก่ การสงเคราะห์ด้วย

ทานการให้ ปิยวาจาพูดน่ารัก อรรถจริยาการบำเพ็ญประโยชน์อันเป็นธรรม.

คืออะไร. การให้เสบียงอาหารในวันอุโบสถ การให้ดูงานนักขัตฤกษ์ กระทำ

มงคลในวันมงคล การโอวาทสั่งสอน ในประโยชน์ทั้งหลายที่เป็นไปในปัจจุบัน

และเป็นไปภายหน้า การสงเคราะห์นั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุ

แห่งประโยชน์ในปัจจุบัน เพราะเป็นเหตุแห่งประโยชน์ในภายหน้า และเพราะ

เป็นเหตุแห่งความเป็นผู้ที่แม้เทวดาทั้งหลายพึงนอบน้อม. เหมือนอย่างที่ท้าว

สักกะจอมทวยเทพตรัสไว้ว่า

เย คหฏฺา ปุญฺกรา สีลวนฺโต อุปาสกา

ธมฺเมน ทาร โปเสนฺติ เต นมสฺสามิ มาตลิ.

๑. ที.ปา. ๑๑/ข้อ ๒๐, ๒. ส, สคาก. ๑๕/ข้อ ๙๓๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

ดูก่อนมาตลี คฤหสถ์เหล่าใด ทำบุญ มีศีล

เป็นอุบาสก เลี้ยงดูภรรยาโดยธรรม เราย่อมนอบน้อม

คฤหัสถ์เหล่านั้น.

การงานทั้งหลาย มีกสิกรรมทำไร่นา โครักขกรรมเลี้ยงโคและวณิช-

กรรม ค้าขายเป็นต้น เว้นจากภาวะอากูล มีการล่วงเลยเวลา การทำไม่เหมาะ

และการทำย่อหย่อนเป็นต้น เพราะเป็นผู้รู้จักกาล เพราะเป็นผู้ทำเหมาะ เพราะ

เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน และเพราะไม่ควรพินาศ เหตุถึงพร้อมด้วยความขยัน

หมั่นเพียร ชื่อว่าการงานไม่อากูล. การงานไม่อากูลเหล่านั้น อันบุคคลประกอบ

ได้อย่างนี้ ก็เพราะตน บุตรภรรยา หรือทาสและกรรมกร เป็นผู้ฉลาด

ตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ได้ทรัพย์ ข้าวเปลือกและความเจริญใน

ปัจจุบัน. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

ผู้มีธุระ ทำเหมาะ หมั่น ย่อมได้ทรัพย์.

แลว่า

ผู้ชอบนอนหลับกลางวัน เกลียดการขยันกลาง

คืน เมาประจำ เป็นนักเลงครองเรือนไม่ได้. ประโยชน์

ทั้งหลายย่อมล่วงเลย พวกคนหนุ่มที่ทอดทิ้งการงาน

ด้วยอ้างว่า หนาวนัก ร้อนนัก เย็นแล้ว. ผู้ใดไม่สำคัญ

ความเย็นและควานร้อนยิ่งไปกว่าหญ้า ทำกิจของลูก

ชาย ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากสุข.

และว่า

เมื่อคนรวบรวมโภคทรัพย์ เหมือนแมลงผึ้งรวบ

รวมน้ำหวาน โภคทรัพย์ย่อมสะสมเป็นกอง เหมือน

จอมปลวกที่ปลวกทั้งหลายก่อขึ้นฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

อย่างนี้เป็นต้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถานี้ไว้ ๔ มงคล คือการบำรุง

มารดา ๑ การบำรุงบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ และการงาน

ไม่อากูล ๑ หรือ ๕ มงคล เพราะแยกการสงเคราะห์บุตรและภรรยาออกเป็น

๒ หรือ ๓ มงคล เพราะรวมการบำรุงมารดาและบิดาเป็นข้อเดียวกัน . ก็

ความที่มงคลเหล่านั้น เป็นมงคล ได้ชี้แจงไว้ในมงคลนั้น ๆ แล้ว ทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาความแห่งคาถานี้ว่า มาตาปิตุอุปฏฺาน

พรรณนาคาถาว่า ทานญฺจ

บัดนี้ จะพรรณนาในคาถานี้ว่า ทานญฺจ. ชื่อว่า ทาน เพราะเขาให้

ด้วยวัตถุนี้ ท่านอธิบายว่า เขามอบทรัพย์ที่มีอยู่ของตนให้แก่ผู้อื่น. การประพฤติ

ธรรมหรือความประพฤติที่ไม่ปราศจากธรรม ชื่อว่า ธรรนจริยา. ชื่อว่า ญาติ

เพราะใคร ๆ ก็รู้ว่า ผู้นี้พวกของเรา. ไม่มีโทษ ชื่อว่า อนวัชชะ ท่าน

อธิบายว่า ใคร ๆ นินทาไม่ได้ ติเตียนไม่ได้. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้ว

ทั้งนั้นแล. นี้เป็นการพรรณนาบท .

ส่วนการพรรณนาความ พึงทราบดังนี้. เจตนาเป็นเหตุบริจาคทาน.

วัตถุ ๑๐ มีข้าวเป็นต้น ซึ่งมีความรู้ดีเป็นหัวหน้า เฉพาะผู้อื่น หรือความ

ไม่โลภ ที่ประกอบด้วยจาคเจตนานั้น ชื่อว่า ทาน. จริงอยู่ บุคคลย่อมมอบ

ให้วัตถุนั้น แก่ผู้อื่น ด้วยความไม่โลภ. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ชื่อว่า

ทาน เพราะเขาให้ทานด้วยวัตถุนี้ ตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุประสบผลวิ-

เศษที่เป็นไปในปัจจุบัน และเป็นไปภายหน้า มีความเป็นผู้ที่ชนเป็นอันมากรัก

และพอใจเป็นต้น. ในเรื่องทานนี้ พึงระลึกถึงสูตรทั้งหลาย เป็นต้น อย่างนี้ว่า

ดูก่อนสีหะ ทานบดีผู้ทายกย่อมเป็นที่รักที่พอใจของชนเป็นอันมาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า ทานมี ๒ คือ อามิสทานและธรรมทาน ในทาน

ทั้งสองนั้น อามิสทาน ได้กล่าวมาแล้วทั้งนั้น . ส่วนการแสดงธรรม ที่พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศแล้ว อันนำมาซึ่งความสิ้นทุกข์และสุขในโลกนี้และ

โลกหน้า เพราะหมายจะให้เป็นประโยชน์แก่คนอื่น ๆ ชื่อว่า ธรรมทาน.

อนึ่ง บรรดาทานทั้งสองนี้ ธรรมทานนี้อย่างเดียวเป็นเลิศ เหมือนอย่างที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

สพฺพทาน ธมฺมทาน ชินาติ

สพฺพรส ธมฺมรโส ชินาติ

สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ

ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺข ชินาติ.

การให้ธรรมชนะการให้ทั้งปวง รสแห่งธรรม

ชนะรสทั้งปวง ความยินดีในธรรมชนะความยินดีทั้ง

ปวง ความสิ้นตัณหาชนะทุกข์ทั้งปวง.

ในพระสูตรและคาถานั้นก็ตรัสความที่อามิสทานเป็นมงคลเท่านั้น ส่วน

ธรรมทานตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นปทัฏฐานแห่งคุณทั้งหลาย มีความ

เป็นผู้ซาบซึ้งอรรถเป็นต้น สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุแสดงธรรม ตามที่

ฟังมา ตามที่เรียนมา โดยพิศดารแก่คนอื่น ๆ โดย

ประการใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ซาบซึ้งอรรถ และ

ซาบซึ่งธรรม ในธรรมนั้น โดยประการนั้น ๆ อย่างนี้

เป็นต้น.

การประพฤติกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า ธรรมจริยา เหมือนอย่างที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เป็นต้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย การ

๑. ขุ. ธ. ๒๕/ข้อ ๓๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

ประพฤติธรรม การประพฤติสม่ำเสมอ มี ๓ อย่าง. ก็การประพฤติธรรมนั้น

พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุเข้าถึงโลกสวรรค์. สมจริงดังที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย เพราะเหตุที่ประพฤติ

ธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ สัตว์บางเหล่าในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่

ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้.

ชนผู้เกี่ยวข้องข้างมารดาหรือข้างบิดา จนถึง ๗ ชั่วปู่ย่า ชื่อว่า ญาติ.

การสงเคราะห์ญาติเหล่านั้น ผู้ถูกความเสื่อมโภคะถูกความเสื่อมเพราะเจ็บป่วย

ครอบงำแล้วมาหาตน ด้วยอาหารเครื่องนุ่งห่มและข้าวเปลือกเป็นต้น ตาม

กำลัง ตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุประสบผลวิเศษ ที่เป็นปัจจุบันมีการ

สรรเสริญเป็นต้น และที่เป็นภายหน้ามีไปสุคติเป็นต้น. กิจกรรมที่เป็นสุจริต

ทางกายวาจาใจมีการสมาทานองค์อุโบสถ การทำความขวนขวาย การปลูกสวน

และป่า และสร้างสะพานเป็นต้น ชื่อว่า การงานไม่มีโทษ. การงานไม่มี

โทษเหล่านั้น ตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ประสบประโยชน์สุขนานา

ประการ. พึงระลึกถึงพระสูตรทั้งหลายมีเป็นต้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนวิสาขา สตรี

หรือบุรุษบางตนในศาสนานี้ ถืออุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึงความเป็นสหายของทวย-

เทพ ชั้นจาตุมหาราชิกาอันใด อันนั้นก็เป็นฐานะเป็นไปได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถานี้ไว้ ๔ มงคล คือ ทาน ๑

ธรรมจริยา ๑ การสงเคราะห์ญาติ ๑ การงานไม่มีโทษ ๑ ด้วยประการ

ฉะนี้. ก็ความที่มงคลเหล่านั้น เป็นมงคล ก็ได้ชี้แจงไว้ในมงคลนั้น ๆ แล้ว

ทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาความแห่งคาถานี้ว่า ทานญฺจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

พรรณนาคาถาว่า อารตี

บัดนี้ จะพรรณนาในคาถาว่า อารตี วิรตี นี้. ชื่อว่า อารมณะ

เพราะงด. ชื่อว่า วิรมณะ เพราะเว้น. อีกนัยหนึ่ง เจตนาชื่อว่า วิรติ

เพราะเป็นเครื่องที่สัตว์งดเว้น. บทว่า ปาปา ได้แก่จากอกุศล. ชื่อว่า มัชชะ

เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความเมา. การดื่มมัชชะ ชื่อว่า มัชชปานะ.

สำรวมจากมัชชปานะนั้น. ความระวังชื่อว่า สยมะ. ความไม่ประมาทชื่อว่า

อัปปมาทะ. บทว่า ธมฺเมสุ ได้แก่ ในกุศลทั้งหลาย. คำที่เหลือมีนัยที่

กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล นี้เป็นการพรรณนาบท.

ส่วนการพรรณาความ พึงทราบดังนี้. ความไม่ยินดียิ่งทางใจอย่าง

เดียวของบุคคลผู้เห็นโทษในบาป ชื่อว่า อารติ. ความเว้นทางกายวาจา โดย

กรรมและทวาร ชื่อว่า วิรัติ.

ก็ธรรมดาวิรตินั่นนั้นมี ๓ คือ สัมปัตตวิรัติ ๑ สมาทานวิรัติ ๑

สมุจเฉทวิรัติ ๑. บรรดาวิรัติทั้ง ๓ นั้น วิรติเจตนางดเว้นจากวัตถุที่ประสบ

เข้าอันใดของกุลบุตร โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า ข้อที่เราจะฆ่าสัตว์นี้ จะลัก-

ทรัพย์เป็นต้น เมื่อนึกถึงชาติตระกูล หรือโคตรของตน ก็ไม่สมควรแก่เรา

เลย วิรติเจตนางดเว้นอันนี้ชื่อว่า สัมปัตตวิรัติ. กุลบุตรไม่ทำบาปมีปาณาติบาต

เป็นต้น ตั้งแต่ประพฤติวิรัตอันใด วิรติอันนั้น เป็นไปโดยสมาทานสิกขาบท

ชื่อว่า สมาทานวิรัติ. ภัยเวร ๕ ของพระอริยสาวกระงับไป ตั้งแต่ประพฤติ

วิรัติใด วิรตินั้นประกอบด้วยอริยมรรค ชื่อว่า สมุจเฉทวิรติ. บาปอกุศล

นั้นใด มี ๔ อย่าง กล่าวคือกรรมกิเลส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้พิษดาร

อย่างนี้ว่า ดูก่อนบุตรคฤหบดี กรรมกิเลส คือ ปาณาติบาต กรรมกิเลสคือ

อทินนาทาน ฯลฯ กรรมกิเลส คือ มุสาวาส ดังนี้แล้วทรงสังเขปไว้ด้วยคาถา

อย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

ปาณาติปาโต อทินฺนาทาน มุสาวาโท จ วุจฺจติ

ปรทารคมนญฺเจว นปฺปสสนฺติ ปณฺฑิตา

ท่านกล่าวกรรมกิเลส ๔ คือ ปาณาติบาต,

อทินนาทาน, มุสาวาท และการละเมิดภรรยาของผู้

อื่น. บัณฑิตทั้งหลายไม่สรรเสริญเลย.

การงดเว้นจากบาปอกุศลนั้น การงดการเว้นแม้ทั้งหมดนั้น ตรัสว่า

เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุประสบผลวิเศษนานาประการ มีการละภัยเวรที่เป็น

ปัจจุบันและเป็นไปภายหน้าเป็นต้น . ก็ในข้อนี้ พึงระลึกถึงพระสูตรทั้งหลาย

โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนบุตรคฤหบดี อริยสาวกเว้นขาดจากปาณาติบาตแล.

จะกล่าวพรรณนาการสำรวมจากการดื่มของเมา. คำนี้เป็นชื่อของเจตนา

งดเว้นจากที่ตั้งแห่งความประมาท คือการดื่มของเมา คือสุราและเมรัย ที่

กล่าวไว้ก่อนแล้ว. ก็เพราะเหตุที่ผู้ดื่มของเมาย่อมไม่รู้อรรถ ไม่รู้ธรรม ย่อม

ทำอันตรายแก่มารดา ทำอันตรายแก่บิดา แม้แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจก-

พระพุทธเจ้า และพระสาวกของพระตถาคต ย่อมประสบการติเตียนในภพ

ปัจจุบัน ประสบทุคติในภพเบื้องหน้า และประสพความเป็นบ้าในภพต่อ ๆ ไป.

ส่วนการสำรวมจากการดื่มของเมา ย่อมบรรลุการระงับโทษเหล่านั้น และการ

ถึงพร้อมด้วยคุณตรงกันข้ามกับโทษนั้น. ฉะนั้น การสำรวมจากการดื่มของ

เมานี้ พึงทราบว่าเป็นมงคล.

ความอยู่ไม่ปราศจากสติในกุศลธรรมทั้งหลาย โดยอรรถพึงทราบ

โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อความประมาท ที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีนี้ ความกระทำโดย

ไม่เคารพ ความการทำโดยไม่ต่อเนื่อง ความกระทำไม่มั่นคง ความประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

ย่อหย่อน ความทอดฉันทะ ความทอดธุระ. การไม่เสพ การไม่เจริญ การ

ไม่ทำให้มาก การไม่ตั้งใจ การไม่ประกอบเนือง ๆ ความเลินเล่อในการอบรม

กุศลธรรมทั้งหลาย ความประมาท ความเลินเล่อ ความเป็นผู้เลินเล่อ เห็น

ปานนี้ใด อันนี้เรียกว่า ประมาท. ชื่อว่าความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้ง

หลาย. ความไม่ประมาทในกุศลธรรมนั้น ตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุ

ประสบกุศลนานาประการ และเพราะเป็นเหตุบรรลุอมตธรรม. ในข้อนั้น

พึงระลึกถึงคำสั่งสอนของพระศาสดา เป็นต้นอย่างนี้ว่า ผู้ไม่ประมาท ผู้มี

ความเพียร และว่า ความไม่ประมาทเป็นอมตบท ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถานี้ไว้ ๓ มงคล คือ การงด-

เว้นจากบาป ๑ การสำรวมจากการดื่มของเมา ๑ ความไม่ประมาท

ในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ ด้วยประการฉะนี้. ก็ความที่มงคลเหล่านั้นเป็น

มงคล ก็ได้ชี้แจงไว้ในมงคลนั้น ๆ แล้วทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาความแห่งคาถาว่า อารตี

พรรณนาคาถาว่า คารโว จ

บัดนี้ จะพรรณนาในคาถาว่า คารโว จ นี้. บทว่า คารโว ได้แก่

ความเป็นผู้หนัก [การณ์]. บทว่า นิวาโต ได้แก่ ความประพฤติถ่อมตน.

บทว่า สนฺตุฏฺิ แปลว่า ความสันโดษ. ความรู้อุปการะคุณที่ท่านทำไว้

ชื่อว่า กตัุตา. บทว่า กาเลน แปลว่า ขณะสมัย. การฟังธรรม

ชื่อว่า ธัมมัสสวนะ. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล นี้เป็นการ

พรรณนาบท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

ส่วนการพรรณนาความ พึงทราบดังนี้. ความเคารพ การทำความ

เคารพความเป็นผู้มีความเคารพตามสมควรในพระพุทธเข้าพระปัจเจกพุทธเจ้า

พระสาวกของพระตถาคต อาจารย์ อุปัชฌาย์ มารดาบิดา พี่ชาย พี่สาว

เป็นต้น เป็นผู้ควรประกอบความเคารพ ชื่อว่า คารวะ. คารวะนี้นั้น

เพราะเหตุที่เป็นเหตุแห่งการไปสุคติเป็นต้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

บุคคลกระทำความเคารพผู้ที่ควรเคารพ สักการะ

ผู้ที่ควรสักการะ นับถือผู้ที่ควรนับถือ บูชาผู้ที่ควร

บูชา. เพราะธรรมนั้น ที่ยึดถือไว้บริบูรณ์อย่างนี้

เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าลงสุคติ

โลกสวรรค . ถ้าเขาไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค หากเขา

มาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นผู้มีตระกุลสูงในประเทศที่

กลับมาเกิด ดังนี้.

และเหมือนอย่างที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความ

ไม่เสื่อม ๗ ประการเหล่านี้. ๗ ประการเป็นไฉน ๗

ประการมี ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ดังนี้เป็น

ต้นฉะนั้น จึงตรัสว่าเป็นมงคล.

ความเป็นผู้มีใจลดต่ำ ความเป็นผู้มีความประพฤติไม่ลำพอง ชื่อว่า

ความถ่อมตน. บุคคลประกอบด้วยความเป็นผู้ถ่อมตนอันใด กำจัดมานะได้

กำจัด ความกระด้างได้ เป็นเสมือนผ้าเช้ดเท้า เสมอด้วยโคอุสุภะเขาขาด และเสมอ

ด้วยงูที่ถูกถอนเขี้ยวแล้ว ย่อมเป็นผู้ละเอียดอ่อนละมุนละไม ผ่องแผ้วด้วยสุข

ความเป็นผู้ถ่อมตนอันนี้ เป็นนิวาตะ นิวาตะนี้นั้น ตรัสว่าเป็นมงคล เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

เป็นเหตุได้คุณ มียศเป็นต้น. อนึ่ง ตรัสไว้ว่า ผู้มีความถ่อมตน ไม่

กระด้าง คนเช่นนั้น ย่อมได้ยศ ดังนี้ เป็นต้น.

ความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ชื่อว่า สันตุฏฐี. สันโดษนั้น

มี ๑๒ อย่าง คือ ในจีวร ๓ อย่าง คือยถาลาภสันโดษ สันโดษตามที่ได้.

ยถาพลสันโดษ สันโดษตามกำลัง ยถาสารุปปสันโดษ สันโดษตามสมควร.

ในบิณฑบาตเป็นต้นก็อย่างนี้.

จะพรรณนาประเภทแห่งสันโดษนั้น ดังนี้. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้

จีวรดีหรือไม่ดี ภิกษุนั้น ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรนั้นเท่านั้น ไม่ประสงค์

จีวรอื่น เมื่อได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในจีวรของภิกษุนั้น.

อนึ่งเล่า ภิกษุอาพาธเมื่อห่มจีวรหนักย่อมต้องค้อมตัวลง หรือลำบาก

เธอจึงเปลี่ยนจีวรนั้นกับภิกษุที่ชอบกัน ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรนั้น ก็

ยังเป็นผู้สันโดษอยู่ นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษในจีวรของภิกษุนั้น.

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง เป็นผู้ได้ปัจจัยอันประณีต เธอได้จีวรบรรดาจีวร

ชั้นดีเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีค่ามาก คิดว่าจีวรนี้ เหมาะแก่พระเถระ

พระผู้บวชมานานและพระพหูสูตจึงถวายแก่พระภิกษุเหล่านั้น ตนเองก็เลือก

เอาเศษผ้าจากกองขยะ หรือจากที่ไร ๆ อื่น ทำสังฆาฎิครอง ก็ยังเป็นผู้สันโดษ

อยู่นั่นเอง นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในจีวรของภิกษุนั้น.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้บิณฑบาต ปอนหรือประณีตยังอัตภาพ

ให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้น ไม่ประสงค์บิณฑบาตอื่น. แม้เมื่อได้ก็ไม่รับ

นี้ชือว่า ยถาลาภสันโดษในบิณบาตของภิกษุนั้น.

อนึ่งเล่า ภิกษุอาพาธฉันบิณฑบาตเศร้าหมองโรคจะกำเริบหนัก เธอจึง

ถวายบิณฑบาตนั้น แก่ภิกษุที่ชอบกัน ฉันเนยใส น้ำผึ้ง และนนสดเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

จากมือของภิกษุนั้น แม้ทำสมณธรรมอยู่ ก็ยังเป็นผู้สันโดษ นี้เป็น ยถาพล-

สันโดษในบิณฑบาตของภิกษุนั้น.

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้บิณฑบาตอันประณีต เธอคิดว่า บิณฑบาตนี้

เหมาะแก่พระเถระ พระผู้บวชมานาน และแม้เเก่สพรหมจารีอื่น ผู้เว้น บิณฑ-

บาตอันประณีตเสีย ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ จึงได้ถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น

ตนเองเทียวบิณฑบาต แม้ฉันอาหารที่ปนกันก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่ นี้ชื่อว่า

ยถาสารุปปสันโดษในบิณฑบาตของภิกษุนั้น.

อนึ่ง เสนาสนะมาถึงภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอก็สันโดษด้วยเสนาสนะ

นั้นนั่นแหละ ไม่ยอมรับเสนาสนะอื่น แม้ดีกว่าที่มาถึงอีก นี้ชื่อว่า ยถา-

ลาภสันโดษในเสนาสนะของภิกษุนั้น.

อนึ่งเล่า ภิกษุอาพาธอยู่ในเสนาสนะที่อับลม ย่อมจะทุรนทุรายอย่าง

เหลือเกิน ด้วยโรคดีเป็นต้น เธอจึงถวายเสนาสนะแก่ภิกษุที่ชอบกัน แล้วอยู่

เสียในเสนาสนะอันเย็น มีลม ที่ถึงแก่ภิกษุนั้น แม้กระทำสมณธรรม ก็ยัง

เป็นผู้สันโดษอยู่ นี้ชื่อว่า ยถาพลสัน โดษในเสนาสนะของภิกษุนั้น.

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ไม่ยอมรับเสนาสนะที่ดีแม้มาถึง คิดว่าเสนาสนะดี

เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เมื่อภิกษุนั่งในเสนาสนะนั้น ถีนมิทธะย่อมครอบ

งำ เมือหลับแล้วตื่นขึ้นมาอีก กามวิตกย่อมฟุ้งขึ้น เธอจึงปฏิเสธเสนาสนะ

นั้นเสีย อยู่แต่ในที่แจ้ง โคนไม้และกุฏิมุงบังด้วยใบไม้ แห่งใดแห่งหนึ่ง

ก็ยิ่งเป็นผู้สันโดษอยู่ นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในเสนาสนะของภิกษุ

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เภสัชไม่ว่าผลสมอหรือมะขามป้อม เธอ

ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเภสัชนั้น. ไม่ประสงค์เภสัชอย่างอื่น มีเนยใส น้ำผึ้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

น้ำอ้อยเป็นต้นที่ได้แล้ว แม้เมื่อได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษใน

คิลานปัจจัยของภิกษุนั้น.

อนึ่ง ภิกษุอาพาธ ต้องการน้ำมัน แต่ได้น้ำอ้อย เธอก็ถวายน้ำอ้อย

นั้นแก่ภิกษุที่ชอบกัน แต่ทำยาด้วยน้ำมันจากมือของภิกษุนั้น แม้กระทำ

สมณธรรม ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่ นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษในด้านปัจจัย

ของภิกษุนั้น.

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ใส่สมอดองกับมูตรเน่าลงในภาชนะใบหนึ่ง ใส่

ของมีรสอร่อย ๔ อย่างลงในภาชนะใบหนึ่ง เมื่อถูกเพื่อนภิกษุบอกว่า ท่าน

ต้องการสิ่งใด ก็ถือเอาเถิดท่าน ถ้าว่า อาพาธของภิกษุนั้น ระงับไปด้วย

สมอดองน้ำมูตรเน่าและของรสอร่อยทั้งสองนั้น อย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ เมื่อเป็น

ดังนั้นเธอคิดว่า ธรรมดาว่าสมอดองด้วยมูตรเน่า พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรง

สรรเสริญแล้ว และพระพุทธเจ้าตรัสว่า บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นเภสัช พึง

ทำความอุตสาหะในมูตรเน่าเป็นเภสัชนั้น จนตลอดชีวิต ปฏิเสธของมีรสอร่อย

เป็นเภสัช แม้กระทำเภสัชด้วยสมอดองด้วยมูตรเน่า ก็เป็นผู้สันโดษอย่างยิ่ง

นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในคิลานปัจจัยของภิกษุนั้น.

สันโดษแม้ทั้งหมดนั้น มีประเภทอย่างนี้ ก็เรียกว่า สันตุฏฐี สันตุฏฐี

นั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุประสบการละบาปธรรมทั้งหลาย

มีความปรารถนาเกินส่วน ความมักมาก และความปรารถนาลามกเป็นต้น

เพราะเป็นเหตุแห่งสุคติ เพราะเป็นเครื่องอบรมอริยมรรค และเพราะเป็น

เหตุแห่งความเป็นผู้อยู่ได้สบายในทิศทั้ง ๘ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

จาตุทฺทิโส อปฺปฏิโฆ จ โหติ

สนฺตุสฺสมาดน อิตรีตเรน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

ผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมีความได้ ย่อมเป็นผู้

อยู่สบายในทิศทั้ง ๔ และไม่มีปฏิฆะเลย ดังนี้เป็นต้น

ความรู้จักอุปการคุณที่ผู้ใดผู้หนึ่งทำมาแล้ว ไม่ว่ามากหรือน้อย โดย

การระลึกถึงเนือง ๆ ชื่อว่า กตัญญุตา. อนึ่ง บุญทั้งหลายนั่นแล มีอุปการะ

มากแก่สัตว์ทั้งหลายเพราะป้องกันทุกข์มีทุกข์ในนรกเป็นต้นได้. ดังนั้น การ

ระลึกถึงอุปการะของบุญแม้เหล่านั้น ก็พึงทราบว่าเป็น กตัญญุตา. กตัญญุตา

นั้นตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุประสบผลวิเศษมีประการต่างๆ มีเป็นผู้

อันสัตบุรุษทั้งหลายพึงสรรเสริญเป็นต้น . ทั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกเหล่านี้ หาได้ยากในโลก คือ

บุพพการี ๑ กตัญญูกตเวที ๑.

การฟังธรรม เพื่อบรรเทาความวิตกในกาลที่จิตประกอบด้วยอุทธัจจะ

หรือจิตถูกวิตกทั้งหลายมีกามวิตกเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งครอบงำ ชื่อว่าการ

ฟังธรรมตามกาล. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า การฟังธรรมทุก ๆ ๕ วัน ชื่อ

ว่าการฟังธรรมตามกาล เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ท่านพระอนุรุทธะ กราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพวกข้าพระองค์นั่งประชุมกันด้วยธรรมมีกถาคืนยังรุ่ง

ทุก ๕ วันแล.

อนึ่ง ในกาลใด ภิกษุเข้าไปหากัลยาณมิตรแล้วอาจฟังธรรมบรรเทา

ความสงสัยของตนเสียได้ การฟังธรรมแม้ในกาลนั้น ก็พึงทราบว่าการฟังธรรม

ตามกาล เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุเข้าไปหากัลยาณ-

มิตรเหล่านั้น สอบถามไล่เลียงตลอดกาล ตามกาล. การฟังธรรมตามกาลนั้น

นั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุประสบผลวิเศษนานาประการมีการ

ละนีวรณ์ได้อานิสงส์ ๔ และบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะเป็นต้น. สมจริงดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด พระอริยสาวก

ใส่ใจทำให้เป็นประโยชน์ รวบรวมทุกอย่างไว้ด้วยใจ

เงี่ยโสตฟังธรรม ในสมัยนั้น นิวรณ์ ของพระ

อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มี.

และว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงหวังอานิสงส์ ๔ ประการ

แห่งธรรมทั้งหลายที่คุ้นโสต ฯลฯ ที่แทงตลอดด้วย

ดีแล้ว.

และว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ เหล่านี้ อันภิกษุ

อบรมโดยชอบ หมุนเวียนไปโดยชอบ ตลอดกาล

ตามกาล ย่อมให้ถึงธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับ

ธรรม ๔ ประการ คือ การฟังธรรมตามกาล.

อย่างนี้เป็นต้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถานี้ไว้ ๕ มงคล คือ ความ

เคารพ ๑ การถ่อมตน ๑ สันโดษ ๑ กตัญญุตา ๑ และการฟังธรรมตามกาล ๑

ด้วยประการฉะนี้. ความที่มงคลเหล่านั้นเป็นมงคล ที่ได้ชี้แจงไว้ในมงคลนั้น ๆ

แล้วทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาความแห่งคาถานี้ว่า คารโว จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

พรรณนาคาถาว่า ขนตี จ

บัดนี้ จะพรรณนาในคาถาว่า ขนฺตี จ นี้. ความอดทนชื่อว่าขันติ

ชื่อว่าสุวจะ เพราะมีความว่าง่าย เพราะเป็นผู้ถือเอาโดยเบื้องขวา กรรมของ

ผู้ว่าง่าย ชื่อว่า โสวจัสสะ. ความเป็นแห่งกรรมของผู้ว่าง่าย ชื่อว่า โสว-

จัสสตา. ชื่อว่าสมณะ เพราะระงับกิเลสทั้งหลายได้. บทว่า ทสฺสน ได้แก

การเพ่งดู. การสนทนาธรรม ชื่อว่า ธรรมสากัจฉา. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าว

มาแล้วทั้งนั้นแล. นี้เป็นการพรรณนาบท.

ส่วนการพรรณนาความ พึงทราบดังนี้.

อธิวาสนขันติ ชื่อว่า ขันติ ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยขันตินั้น แล้วย่อม

ไม่มีอาการผิดปกติเป็นผู้เหมือนไม่ได้ยินบุคคลที่ด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ และ

เหมือนไม่เห็นบุคคลผู้เบียดเบียนด้วยการฆ่าและการจองจำเป็นต้น เหมือนขันติ-

วาทีดาบสฉะนั้น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

อหุ อตีตมทฺธาน สมโณ ขนฺติทีปโน

ต ขนฺติยาเยว ิต กาสิราชา อเฉทยิ.

สมณะผู้แสดงขันติ ได้มีมาแล้วในอดีตกาล

พระเจ้ากาสีได้ทรงทำลายสมณะผู้ตั้งอยู่ในขันตินั่นแล.

หรือย่อมใส่ใจว่าเขาทำดีแล้ว เพราะไม่มีความผิดยิ่งไปกว่านั้น เหมือน ท่าน

ปุณณเถระ ฉะนั้น อย่างที่ท่านกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าผู้คนชาวสุนาปรันตกะ

จักด่าจักบริภาษข้าพระองค์ไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์

จักใส่ใจว่า. ผู้คนชาวสุนาปรันตกะเหล่านี้ เป็นผู้

เจริญหนอ ผู้คนชาวสุนาปรันตกะเหล่านี้ เป็นผู้เจริญ

ดีหนอ ผู้คนเหล่านี้ไม่ตีข้าพระองค์ด้วยมือดังนี้ เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

และที่ภิกษุประกอบด้วยขันตินั้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ที่แม้แต่ฤษีทั้งหลายก็พึงสรร-

เสริญ. อย่าง ท่านสรภังคฤษี กล่าวไว้ว่า

โกธ วธิตฺวา น กทาจิ โสจติ

มกฺขปฺปทาน อิสฺโข วณฺณยนฺติ

สพฺเพส วุตฺต ผรุส ขเมถ

เอต ขนฺตึ อุตฺตมมาหุ สนฺโต.

คนฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศกในกาล

ไหน ๆ ฤษีทั้งหลายย่อมสรรเสริญการละความลบหลู่

คนควรอดทนคำหยาบที่คนทั้งปวงกล่าวแล้ว สัตบุรุษ

ทั้งหลายสรรเสริญขันตินั้นว่าสูงสุด.

ย่อมเป็นผู้ที่แม้แต่เทวดาทั้งหลายก็พึงสรรเสริญ อย่างที่ท้าวสักกะจอมทวยเทพ

ตรัสไว้ว่า

โย หเว พลวา สนฺโต ทุพฺพลสฺส ติติกฺขติ

ตนาหุ ปรม ขนฺตึ นิจฺจ ขมติ ทุพฺพโล.

ผู้ใดเป็นคนแข็งแรง อดทนต่อคนอ่อนแอ

สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญขันตินั้นของผู้นั้นว่าเป็น

เยี่ยมคนอ่อนแอย่อมต้องอดทนอยู่เป็นประจำ.

ย่อมเป็นผู้ที่แม้แต่พระพุทธะทั้งหลายก็พึงสรรเสริญ. อย่างที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสไว้ว่า

อกฺโกส วธพนฺธญฺจ อทุฏฺโ โย ติติกฺขติ

ขนฺตีพล พลาณีก ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

ผู้ใดไม่โกรธ อดกลั้นการด่าการฆ่าและการจอง

จำได้ เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีขันติเป็นกำลังมีกองกำลังว่า

พราหมณ์.

ก็ขันตินั่นนั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุประสบคุณเหล่า

นั้น และคุณอื่น ๆ ที่ทรงสรรเสริญในที่นี้.

เมื่อถูกเพื่อนสพรหมจารีว่ากล่าวโดยธรรม ก็ไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ความ

นิ่งงันหรือคิดถึงคุณและโทษ วางความเอื้อเฟื้อ ความเคารพ และความมีใจ

ตกลงต่ำเป็นเบื้องหน้าอย่างยิ่งแล้ว เปล่งถ้อยคำว่า ดีละขอรับ ดังนี้ ชื่อว่า

โสวจัสสตา ความว่าง่าย. โสวจัสสสตานั้น ตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็น

เหตุได้โอวาทและอนุศาสนี จากสำนักเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย และเพราะ

เป็นเหตุละโทษและบรรลุคุณ.

การเข้าไปหาการบำรุงการระลึก การฟังและการเห็นนักบวชทั้งหลาย

ผู้ระงับกิเลสแล้ว อบรมกายวาจาจิตและปัญญาแล้ว ประกอบด้วยความสงบ

อย่างสูง ชื่อว่า การเห็นสมณะทั้งหลาย. การเห็นสมณะแม้ทั้งหมด ท่าน

กล่าวว่าทัสสนะ โดยเทศนาอย่างต่ำ. การเห็นสมณะนั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล.

เพราะเหตุไร. เพราะมีอุปการะมาก จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เป็นต้น

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่าการเห็นภิกษุเหล่านั้น มีอุปการะมาก เพราะ

บุญอันใด กุลบุตรผู้ต้องการประโยชน์ เห็นภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลมาถึงประตูเรือน

ผิว่าไทยธรรมมีอยู่ ก็พึงนับถือด้วยไทยธรรมตามกำลัง ผิว่าไม่มี ก็พึงไหว้

อย่างเบญจางคประดิษฐ์ เมื่อการไหว้อย่างเบญจางคประดิษฐ์ยังไม่พร้อม ก็พึง

ประคองอัญชลีนมัสการ เมื่อการนอบน้อม ยังไม่พร้อม ก็มีจิตผ่องใส แลดู

ด้วยจักษุที่น่ารัก ด้วยบุญที่มีการแลดูเป็นมูลอย่างนี้ โรคหรือโทษ ฝ้าหรือ

ต่อมจะไม่มีในจักษุ ตลอดหลายพันชาติ จักษุทั้งสองก็จะผ่องใส มีสิริ มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

วรรณะ ๕ เสมือนบานประตูแก้วมณีที่เปิดในรัตนวิมาน เขาจะได้สมบัติใน

เทวดาเเละมนุษย์ ประมาณแสนกัป ข้อที่เขาเกิดเป็นมนุษย์เป็นคนมีปัญญา

พึงเสวยวิปากสมบัติเห็นปานนี้ ก็ด้วยบุญที่สำเร็จมาแต่การเห็นสมณะ ซึ่งเขา

ประพฤติมาโดยชอบ ไม่น่าอัศจรรย์เลย แม้สำหรับสัตว์เดียรัฐฉาน บัณฑิต

ทั้งหลาย ก็พรรณนาวิบากสมบัติของการเห็นสมณะ ที่เพียงทำศรัทธาให้เกิดแล้ว

อย่างเดียวไว้อย่างนี้ ในบาลีประเทศใด บาลีประเทศนั้นมีว่า

นกฮูก ตากลม อาศัยอยู่ที่เวทิยกบรรพตมาตลอด

กาลยาวนาน นกฮูกตัวนี้สุขแท้หนอ เห็นพระพุทธเจ้า

ผู้ประเสริญ ซึ่งลุกขึ้นแต่เช้า.

มันทำจิตให้เลื่อมใสในตัวเรา และภิกษุสงฆ์ผู้

ยอดเยี่ยม ไม่ต้องไปทุคติถึงแสนกัป มันจุติจากเทวโลก

อันกุศลกรรมตักเตือนแลัวจักเป็นพระพุทธะ ผู้มีอนัน-

ตยาณ ปรากฏพระนามว่า โสมนัสสะ ดังนี้.

ในเวลาพลบค่ำ หรือในเวลาย่ำรุ่ง ภิกษุฝ่ายพระสูตร ๒ รูป ย่อม

สนทนาพระสูตรกัน ฝ่ายพระวินัยก็สนทนาพระวินัยกัน ฝ่ายพระอภิธรรมก็

สนทนาพระอภิธรรมกัน ฝ่ายชาดกก็สนทนาชาดกกัน ฝ่ายอรรถกถาก็สนทนา

อรรถกถากันหรือสนทนากันในกาลนั้นๆ เพื่อชำระจิตที่ถูกความหดหู ความ

ฟุ้งซ่านและความสงสัยชักนำไป การสนทนาตามกาลนี้ ชื่อว่า การสนทนาธรรม

ตามกาล การสนทนาธรรมตามกาลนั้น ตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่ง

คุณทั้งหลายมีความฉลาดในอาคมคือนิกายทั้ง ๕ เป็นต้นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถานี้ไว้ มงคล คือ ความอดทน

๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การเห็นสมณะ ๑ และการสนทนาธรรมตามกาล ๑

ด้วยประการฉะนี้. ก็ความที่มงคลเหล่านั้นเป็นมงคส ได้ชี้แจงไว้ในมงคล

นั้น ๆ แล้วทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาความแห่งคาถาว่า ขนฺตึ จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

พรรณนาคาถาว่า ตโป จ

บัดนี้ จะพรรณนาในคาถาว่า ตโป จ นี้. ชื่อว่า ตปะ เพราะเผา

นาปธรรม. ความประพฤติอย่างพรหม หรือความประพฤติของพรหม ชื่อว่า

พรหมจรรย์ ท่านอธิบายว่า ความประพฤติอย่างประเสริฐ. การเห็นอริยสัจ

ทั้งหลาย ชื่อว่า อริยสจฺจาน ทสฺสน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อริยสจฺจานิ

ทสฺสน ดังนี้ก็มี. ชื่อว่า นิพพาน เพราะออกจากวานะตัณหาเครื่องร้อยรัด

การทำให้แจ้งชื่อว่า สัจฉิกิริยา. การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ชื่อว่านิพพาน-

สัจฉิกิริยา. คำทีเหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล นี้เป็นการพรรณนาบท

ส่วนการพรรณนาความ พึงทราบดังนี้ อินทรียสังวรชื่อว่า ตปะ

เพราะเผาอภิชฌาและโทมนัสเป็นต้น หรือความเพียรชื่อว่า ตปะ เพราะเผา

ความเกียจคร้าน บุคคลผู้ประกอบด้วยตปะเหล่านั้น ท่านเรียกว่า อาตาปี

ตปะนี้นั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุละอภิชฌาเป็นต้น และได้ฌาน

เป็นอาทิ.

ชื่อว่าพรหมจรรย์เป็นชื่อของ เมถุนวิรัติ สมณธรรม ศาสนาและ

มรรค. จริงอย่างนั้น เมถุนวิรัติ ท่านเรียกว่า พรหมจรรย์ ได้ในประโยค

เป็นต้นว่า พฺรหฺมจริย ปหาย พฺรหฺมจารี โหติ ละเมถุนวิรัติ เป็นพรหม.

จารี. สมณธรรม เรียกว่าพรหมจรรย์ ได้ในประโยค เป็นต้น อย่างนี้ว่า

ภควติ โน อาวุใส พฺรหฺมจริย วุสฺสติ ผู้มีอายุ เราอยู่ประพฤติสมณ-

ธรรม ในพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ศาสนา เรียกว่าพรหมจรรย์ ได้ในประโยคเป็นต้น อย่างนี้ว่า

ตาวาห ปาปิม ปรินิพฺพายิสสามิ ยาว เม อิท พฺรหฺมจริย น

อิทฺธญฺเจว ภวิสฺสติ ผีตญฺจ วิตฺถาริก พาหุชญฺ ดูก่อนมาร ตราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

ใดศาสนานี้ของเรา จักยังไม่มั่นคงเจริญแพร่หลายรู้กันมากคน เราก็จักยัง

ไม่ปรินิพพานตราบนั้น.

มรรคเรียกว่า พรหมจรรย์ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อยเมว

โข ภิกฺขุ อริโย อฏฺงฺคิโก มคฺโค พฺรหฺมจริย เสยฺยถีท สมฺมา-

ทิฏฺิ ดูก่อนภิกษุ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิเป็นต้น เป็นพรหม

จรรย์. แต่ในที่นี้ พรหมจรรย์แม้ทุกอย่างไม่เหลือ ย่อมควร เพราะมรรค

ท่านสงเคราะห์ด้วยอริยสัจจานทัสสนะข้างหน้าแล้ว. ก็พรหมจรรย์นั่นนั้น พึง

ทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุประสบผลวิเศษนานาประการ นั้นสูง ๆ.

การเห็นมรรค โดยตรัสรู้อริยสัจ ๔ ที่กล่าวไว้แลัวกุมาร

ปัญหา ชื่อว่า อริยสัจจานทัสสนะ. อริยสัจจานทัสสนะนั้น ตรัสว่าเป็น

มงคล เพราะเป็นเหตุล่วงทุกข์ในสังสารวัฎ.

อรหัตผล ท่านประสงค์เอาว่า นิพพาน ในที่นี้. ชื่อว่า นิพพาน-

สัจฉิกิริยา กระทำให้แจ้งในพระนิพพาน. จริงอยู่อรหัตผลแม้นั้น ท่าน

กล่าวว่านิพพาน เพราะออกจากตัณหา ที่เข้าใจกันว่า วานะ เพราะร้อยไว้ใน

คติ ๕. การถึงหรือการพิจารณาพระนิพพานนั้น เรียกว่า สัจฉิกิริยา แต่การ

ทำให้แจ้งพระนิพพานนอกนี้สำเร็จได้ด้วยการเห็นอริสัจ ๔ นั่นเเล ด้วยเหตุ

นั้น การเห็นอริยสัจนั้น ท่านจึงไม่ประสงค์ในที่นี้. การทำให้แจ้งพระนิพพาน

นั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุอยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นต้น ด้วย

ประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถานี้ไว้ มงคล คือ ตปะ ๑

พรหมจรรย์ ๑ อริยสัจจานทัสสนะ ๑ และนิพพานสัจฉิกิริยา ๑ ด้วยประการ

ฉะนี้. ก็ความที่มงคลเหล่านั้นเป็นมงคล ได้ชี้แจงไว้ในมงคลนั้น ๆ แล้วทั้ง

นั้นแล.

จบพรรณนาความแห่งคาถานี้ว่า ตโป จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

พรรณนาคาถาว่า ผุฏฺสฺส โลกธมฺเมหิ

บัดนี้ จะพรรณนาในคาถาว่า ผุฏฺสฺส โลกธมฺเมหิ บทว่า

ผุฏฺสฺส ได้แก่ ถูกแล้ว ต้องแล้ว ประสบแล้ว. ธรรมทั้งหลายในโลก

ชื่อว่า โลกธรรม. ท่านอธิบายว่า ธรรมทั้งหลาย จะไม่หวนกลับตราบเท่าที่

โลกยังดำเนินไป. บทว่า จิตฺต ได้แก่ มโน มานัส. บท ว่า ยสฺส ได้แก่

ของภิกษุใหม่ ภิกษุปูนกลาง หรือภิกษุผู้เถระ. บทว่า น กมฺปติ ได้แก่

ไม่หวั่น ไม่ไหว. บทว่า อโสก ได้แก่ ไร้ความโศก ถอนโศกศัลย์เสีย

แล้ว. บทว่า วรช ได้แก่ ปราศจากละอองกิเลส กำจัดละอองกิเลสแล้ว.

บทว่า เขม ได้แก่ ไม่มีภัย ไร้อุปัทวะ. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวไว้แล้วแล

นี้เป็นการพรรณนาบท.

ส่วนการพรรณนาความ พึงทราบดังนี้ จิตของผู้ใด อันโลกธรรม ๘

มี มีลาภ ไม่มีลาภ เป็นต้น ถูกต้องครอบงำแล้ว ย่อมไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่

กระเทือน ชื่อว่า จิตของผู้ใดอันโลกธรรมกระทบแล้วไม่หวั่นไหว จิตนั้นของ

ผู้นั้นพึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งความเป็นผู้สูงสุดเหนือโลก ซึ่ง

ธรรมไรๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้.

ถามว่า ก็จิตของใคร ถูกโลกธรรมเหล่านั้นกระทบแล้วไม่หวั่นไหว.

ตอบว่า จิตของพระอรหันตขีณาสพ ไม่ใช่จิตของใครอื่น. จริงอยู่ พระผู้

มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

เสโล ยถา เอกกฺฆโน เวเตน น สมีรติ

เอว รูปา รสา สทฺทา คนฺธา ผสฺสา จ เกวลา

อิฏฺา ธมฺมา อนิฏฺา จ นปฺปเวเธนฺติ ตาทิโน

ิต จิตฺต วิปฺปมุตฺต วยญฺจสฺสานุปสฺสติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

ภูเขาหิน ทึบแท่งเดียว ย่อมไม่ไหวด้วยลม ฉัน

ใด รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมทั้งสิ้น ทั้ง

ส่วนอิฏฐารมณ์ ทั้งส่วนอนิฏฐารมณ์ ย่อมทำจิตของ

ท่านผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น ด้วยว่าจิต

ของท่านที่มั่นคง หลุดพ้นแล้ว ย่อมเห็นความเสื่อม

อยู่เนือง ๆ.

จิตของพระขีณาสพเท่านั้น ชื่อว่า อโสกะ ไม่เศร้าโศก. จริงอยู่

จิตของพระขีณาสพนั้น ชื่อว่า อโสกะ เพราะไม่มีความเศร้าโศก ที่ท่าน

กล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า ความโศก ความเศร้า ความเป็นผู้เศร้าโศก ความ

แห้งใจ ความแห้งผากภายใน ความที่ใจถูกความเศร้าโศกแผดเผา. อาจารย์

บางพวกกล่าวถึงพระนิพพานคำนั้น เชื่อมความไม่ได้กับบทต้น ๆ. จิตของพระ

ขีณาสพเท่านั้น ชื่อว่า อโสกะ ฉันใด ก็ชื่อว่า วิรชะ เขมะ ฉันนั้น จริง

อยู่ จิตของพระขีณาสพนั้น ชื่อว่า วิรชะ เพราะปราศจากละอองกิเลสมีราคะ

โทสะ โมหะ เป็นต้น และชื่อว่า เขมะ เพราะปลอดจากโยคะทั้ง ๔. เพราะ

ว่า จิตทั้ง ๓ อย่างนั้น โดยที่ท่านถือเอาแล้วในขณะจิตเป็นไปในอารมณ์นั้น ๆ

โดยอาการนั้น ๆ พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งความเป็นผู้สูงสุดเหนือ

โลกมีความเป็นผู้มีขันธ์อันไม่เป็นไปแล้ว [ไม่เกิดอีก] และเพราะนำมาซึ่ง

ความเป็นอาหุไนยบุคคลเป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถานี้ไว้ ๔ มงคล คือ จิตที่ไม่

หวั่นไหวด้วยโลกธรรมแปด ๑ จิตไม่เศร้าโศก ๑ จิตปราศจากละอองกิเลส ๑

จิตเกษม ๑ ด้วยประการฉะนี้. ก็ความที่มงคลเหล่านั้นเป็นมงคล ก็ได้ชี้แจงไว้

ในมงคลนั้น ๆ แล้วทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาความแห่งคาถานี้ว่า ผุฏฺสฺส โลกธมฺเมหิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

พรรณนาคาถาว่า เอตาทิสานิ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัส มหามงคล ๓๘ ประการ ด้วยคาถา

๑๐ คาถา มีว่า อเสวนา จ พาลาน การไม่คบพาลเป็นอาทิ อย่างนี้แล้ว

บัดนี้ เมื่อจะทรงชมเชยมงคลที่พระองค์ตรัสเหล่านั้นแล จึงได้ตรัสคาถาสุดท้าย

ว่า เอตาทิสานิ กตฺวาน เป็นต้น.

พรรณนาความแห่งคาถาสุดท้ายนั้นดังนี้ บทว่า เอตาทิสานิ แปลว่า

เช่นนี้ เหล่านั้น คือมีการไม่คบพาล เป็นต้น มีประการที่เรากล่าวมาแล้ว.

บทว่า กตฺวาน แปลว่า กระทำ. ความจริงคำนี้ไม่นอกเหนือไปจากความว่า

กตฺวาน กติวา กริตฺวา [ซึ่งแปลว่าการทำเหมือนกัน]. บทว่า สพฺพตฺ-

ถมปราชิตา ความว่า สัตว์ทั้งหลาย กระทำมงคลเช่นนี้เหล่านั้น อันข้าศึก

๔ ประเภท คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมารและเทวปุตตมาร แม้แต่

ประเภทเดียวทำให้พ่ายแพ้ไม่ได้ ในที่ทั้งปวง ท่านอธิบายว่า ยังมารทั้ง ๔

นั้นให้พ่ายแพ้ด้วยตนเอง. ก็ ม อักษรในคำว่า สพฺพตฺถมปราชิตา นี้ พึง

ทราบว่า เพียงทำการต่อบท.

บทว่า สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายกระทำ

มงคลเช่นที่กล่าวมานี้ เป็นผู้อันมารทั้ง ๔ ทำให้พ่ายแพ้ไม่ได้แล้ว ย่อมถึง

ความสวัสดีในที่ทั้งปวง คือ ในโลกนี้ และโลกหน้า และที่ยืนและที่เดินเป็นต้น

อาสวะเหล่าใดที่ทำความคับแค้นและเร่าร้อน พึงเกิดขึ้นเพราะการคบพาลเป็น

ต้น เหตุไม่มีอาสวะเหล่านั้น จึงถึงความสวัสดี ท่านอธิบายว่า เป็นผู้อัน

อุปัทวะไม่ขัดขวาง อันอุปสรรคไม่ขัดข้อง เกษมปลอดโปร่ง ไม่มีภัยเฉพาะ

หน้าไป. ก็นิคคหิต ในคำว่า สพฺพตฺ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ นี้พึงทราบว่า

ตรัสเพื่อสะดวกแก่การผูกคาถา.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบเทศนาด้วยบทแห่งคาถาว่า ต เตส

มงฺคลฺมุตฺตม. ทรงจบอย่างไร. ทรงจบว่า ดูก่อนเทพบุตร เพราะเหตุที่ชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

ผู้กระทำมงคลเช่นที่กล่าวนี้ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวงอย่างนี้ ฉะนั้น ท่าน

จึงถือว่า มงคลทั้ง ๓๘ ประการ มีการไม่คบพาลเป็นต้นนั้นสูงสุด ประเสริฐ

สุด ดีที่สุด สำหรับชนเหล่านั้น ผู้กระทำมงคลเช่นที่กล่าวมานี้.

ตอนสุดท้าย เทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบอย่างนี้ เทวดา แสน

โกฎิบรรลุพระอรหัต. จำนวนผู้บรรลุโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล

นับไม่ได้. ครั้งนั้น วันรุ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก พระอานนท์เถระ

มาตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เมื่อคืนนี้ เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาถามมงคลปัญหา

ครั้งนั้นเราได้กล่าวมงคล ๓๘ ประการแก่เทวดาองค์นั้น ดูก่อนอานนท์ เธอ

จงเรียนมงคลปริยายนี้ ครั้นเรียนแล้วจงสอนภิกษุทั้งหลาย. พระเถระเรียน

แล้วก็สอนภิกษุทั้งหลาย. มงคลสูตรนี้นั้น อาจารย์นำสืบ ๆ กันมาเป็นไปอยู่จน

ทุกวันนี้ พึงทราบว่า ศาสนพรหมจรรย์นี้มั่นคงเจริญแพร่หลาย รู้กันมากคน

พาแน่น ตราบเท่าที่เทวดาและมนุษย์ประกาศดีแล้ว.

เพื่อความฉลาดในการสะสมความรู้ในมงคลเหล่านั้นเอง บัดนี้ จะ

ประกอบความตั้งแต่ต้นดังนี้.

สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาสุขในโลกนี้โลกหน้าและโลกุตรสุขเหล่านั้น ละ

การคบคนพาลเสีย อาศัยแต่บัณฑิต, บูชาผู้ที่ควรบูชา. อันการอยู่ในปฏิรูป-

เทส, และความเป็นผู้ทำบุญไว้ในก่อนตักเตือนในการบำเพ็ญกุศล. ตั้งตนไว้

ชอบ มีอัตภาพอันประดับด้วยพาหุสัจจะ ศิลปะ และวินัย, กล่าวสุภาษิตอัน

เหมาะแก่วินัย. ยังไม่ละเพศคฤหัสถ์ตราบใด, ก็ชำระมูลหนี้เก่าด้วยการบำรุง

มารดาบิดา, ประกอบมูลหนี้ใหม่ด้วยการสงเคราะห์บุตรและภรรยา ถึงความ

มั่งคั่งด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก ด้วยความเป็นผู้มีการงานไม่อากูล, ยึดสาระ

แห่งโภคะด้วยทาน และสาระแห่งชีวิตด้วยการประพฤติธรรม, กระทำประโยชน์

เกื้อกูลแก่ชนของตน ด้วยการสงเคราะห์ญาติ และประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนอื่น ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

ด้วยความเป็นผู้มีการงานอันไม่มีโทษ. งดเว้นการทำร้ายผู้อื่นด้วยการเว้นบาป

การทำร้ายตนเอง ด้วยการระวังในการดื่มกินของเมา, เพิ่มพูนฝ่ายกุศลด้วย

ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย, ละเพศคฤหัสถ์ด้วยความเป็นผู้เพิ่มพูนกุศล

แม้คงอยู่ในภาวะบรรพชิต ก็ยังวัตรสัมปทาไห้สำเร็จด้วยความเคารพในพระ-

พุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าและอุปัชฌายาจารย์เป็นต้น และด้วยความ

ถ่อมตน, ละความละโมภในปัจจัยด้วยสันโดษ, ตั้งอยู่ในสัปปุริสภูมิด้วยความ

เป็นผู้กตัญญู, ละความเป็นผู้มีจิตหดหู่ด้วยการฟังธรรม, ครอบงำอันตรายทุก

อย่างด้วยขันติ, ทำคนให้มีที่พึ่ง ด้วยความเป็นผู้ว่าง่าย, ดูการประกอบข้อ

ปฏิบัติด้วยการเห็นสมณะ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้ง

แห่งความสงสัย ด้วยการสนทนาธรรม, ถึงศีลวิสุทธิ ด้วยตปะคืออินทรีย-

สังวร ถึงจิตตวิสุทธิ ด้วยพรหมจรรย์คือสมณธรรม และยังวิสุทธิ ๔ นอกนั้น

ให้ถึงพร้อม, ถึงญาณทัสสนวิสุทธิอันเป็นปริยายแห่งการเห็นอริยสัจด้วยปฏิปทา

นี้ กระทำให้แจ้งพระนิพพานที่นับได้ว่าอรหัตผล, ซึ่งครั้น กระทำให้แจ้งแล้ว

เป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘ เหมือนสิเนรุบรรพต ไม่หวั่นไหวด้วย

ลมและฝน ย่อมเป็นผู้ไม่เศร้าโศก ปราศจากละอองกิเลส มีความเกษมปลอด

โปร่ง และความเกษมปลอดโปร่งย่อมเป็นผู้แม้แต่ศัตรูผู้หนึ่งให้พ่ายแพ้ไม่ได้

ในที่ทั้งปวง ทั้งจะถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

สัตว์ทั้งหลายกระทำมงคลเช่นที่กล่าวมานี้แล้ว

เป็นผู้อันมารให้พ่ายแพ้ไม่ได้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงความ

สวัสดีในที่ทุกสถาน นั้นเป็นมงคลอุดมของสัตว์เหล่า

นั้น.

จบพรรณนามงคลสูตร

แห่ง

ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

รัตนสูตร

ว่าด้วยรัตนอันประณีต

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรัตนสูตรเป็นคาถาว่าดังนี้

[๗] หมู่ภูตเหล่าใด อยู่ภาคพื้นดิน หรือเหล่า

ใดอยู่ภาคพื้นอากาศ มาประชุมกันแล้วในที่นี้ ขอหมู่

ภูตทั้งหมด จงมีใจดี และจงฟังสุภาษิตโดยเคารพ

เพราะฉะนั้น ขอท่านฟังหมดจงตั้งใจฟัง จงแผ่เมตตา

ในหมู่ประชาที่เป็นมนุษย์ มนุษย์เหล่าใด ย่อมนำพลี

กรรมไปทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะฉะนั้น ท่าน

ทั้งหลาย จงไม่ประมาท ช่วยรักษามนุษย์เหล่านั้น.

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในในที่นี้

หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจและรัตนะนั้นที่เสมอด้วยพระตถา-

คตไม่มีเลย แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธ

เจ้า. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี.

พระศากยมุนี พระหฤทัยตั้งมั่นทรงบรรลุธรรม

ใด เป็นที่สิ้นกิเลส ปราศจากราคะ เป็นอมตธรรม

ประณีต สิ่งไร ๆ ที่เสมอด้วยธรรมนั้นไม่มี แม้อันนี้

เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอ

ความสวัสดีจงมี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญสมาธิ

อันใดว่าเป็นธรรมอันสะอาด ปราชญ์ทั้งหลายกล่าว

สมาธิอันใดว่าให้ผลโดยลำดับ สมาธิอื่นที่เสมอด้วย

สมาธิอันนั้นไม่มี แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีต

ในพระธรรม. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี.

บุคคลเหล่าใด ๘ จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้ง

หลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้นเป็นสาวกของ

พระสุคต ควรแก่ทักษิณาทาน ทานทั้งหลาย ที่เขา

ถวายในบุคคลเหล่านั้นย่อมมีผลมาก แม้อันนี้ เป็น

รัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความ

สวัสดีจงมี.

พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระพุทธ-

โคดม ประกอบดีแล้ว มีใจมั่นคง ปราศจากความ

อาลัย พระอริยบุคคลเหล่านั้น ถึงพระอรหัตที่ควรถึง

หยั่งเข้าสู่พระนิพพาน ได้ความดับกิเลสเปล่า ๆ เสวย

ผลอยู่ แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์

ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี.

พระโสดาบันจำพวกใด ทำให้แจ้งอริยสัจ ที่

พระศาสดาผู้มีปัญญาลึกซึ้งทรงแสดงดีแล้ว ถึงแม้ว่า

พระใสดาบันจำพวกนั้น จะเป็นผู้ประมาทอย่างแรง

กล้า ท่านก็ไม่ถือเอาภพที่ ๘ แม้อันนี้ เป็นรัตนะอัน

ประณีตในพระสงฆ์ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

สักกาายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส

อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่ สังโยชน์ธรรมเหล่านั้นย่อมเป็น

อันพระโสดาบันละได้แล้ว พร้อมกับทัสสนสัมปทา

[คือโสดาปัตติมรรค] ที่เดียว อนึ่ง พระโสดาบัน

เป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ไม่อาจที่จะทำอภิฐาน ๖

[คืออนันตริยธรรม ๕ กับการเข้ารีต] แน่อันนี้เป็น

รัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความ

สวัสดี จงมี.

ถึงแม้ว่าพระโสดาบันนั้น ยังทำบาปกรรมทาง

กายวาจาหรือใจไปบ้าง [เพราะความประมาท] ท่าน

ไม่อาจจะปกปิดบาปกรรมนั้นได้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็ตรัสความที่พระโสดาบัน ผู้เห็นบทคือพระนิพพาน

แล้ว ไม่อาจปกปิดบาปกรรมนั้นไว้แล้ว แม้อันนี้ เป็น

รัตนะอัน ประณีตในพระสงฆ์ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความ

สวัสดี จงมี.

พุ่มไม้งามในป่า ยอดมีดอกบานสะพรั่งในต้น

เดือนคิมหะ แห่งฤดูคิมหันต์ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ อันให้ถึงพระนิพพาน

เพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย ก็อุปมาฉันนั้น

แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า. ด้วยคำ

สัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมี.

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริญ ทรงรู้ธรรมอันประเสริฐ

ประทานธรรมอันประเสริญ ทรงนำมาซึ่งธรรมอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

ประเสริฐ เป็นผู้ยอดเยี่ยม ได้ทรงแสดงธรรมอันประ-

เสริฐ. แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า.

ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมี.

กรรมเก่าของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้วกรรม

สมภพใหม่ ย่อมไม่มี พระอริยบุคคลเหล่าใด มีจิต

อันหน่ายแล้วในภพต่อไป พระอริยบุคคลเหล่านั้น มี

พืชสิ้นไปแล้ว มีความพอใจงอกไม่ได้แล้ว เป็นผู้มี

ปัญญา ย่อมปรินิพพานดับสนิท เหมือนประทีปดวงนี้

ฉะนั้น. แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์

ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมี.

ท้าวสักกเทวราชตรัสเสริมเป็นคาถาว่าดังนี้

หมู่ภูตเหล่าใดอยู่ภาคพื้นดิน หรือเหล่าใดอยู่

ภาคพื้นอากาศมาประชุมกันในที่นี้ พวกเรานอบน้อม

พระตถาคตพุทธะ ผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอ

ความสวัสดี จงมี.

หมู่ภูตเหล่าใดอยู่ภาคพื้นดิน หรือเหล่าใดอยู่ภาค

พื้นอากาศมาประชุมกัน แล้วในที่นี้พวกเรานอบน้อม

พระตถาคตธรรม อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอ

ความสวัสดี จงมี.

หมู่ภูตเหล่าใด อยู่ภาคพื้นดิน หรือเหล่าใดอยู่

ภาคพื้นอากาศ มาประชุมกันแล้วในที่นี้ พวกเรานอบ

น้อมพระตถาคตสงฆ์ อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว

ขอความสวัสดี จงมี.

จบรัตนสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

พรรณนารัตนสูตร

ประโยชน์แห่งบทตั้ง

บัดนี้ ถึงลำดับการพรรณนาความแห่งรัตนสูตรที่ยกขึ้นตั้งในลำดับต่อ

จากมงคลสูตรนั้น โดยนัยเป็นต้นว่า ยานีธ ภูตานิ. ข้าพเจ้าจักกล่าวประ-

โยชน์แห่งการตั้งรัตนสูตรนั้น ไว้ในที่นี้ ต่อจากนั้น เมื่อแสดงการหยั่งลงสู่

ความแห่งสูตรนี้ ทางนิทานวจนะอันบริสุทธิ์ดี เหมือนการลงสู่น้ำในแม่น้ำ

และหนองเป็นต้น ทางท่าน้ำที่หมดจดดี ประกาศนัยนี้ว่า สูตรนี้ผู้ใดกล่าว

กล่าวเมื่อใด กล่าวที่ไหน กล่าวเพราะเหตุใด แล้วจึงทำการพรรณนาความ

แห่งรัตนสูตรนี้.

ในสองสูตรนั้น เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการรักษา

ตัวเอง และการกำจัดอาสวะทั้งหลายที่มีการทำไม่ดี และการไม่ทำดีเป็นปัจจัย

ด้วยมงคลสูตร ส่วนสูตรนี้ ให้สำเร็จการรักษาผู้อื่น และการกำจัดอาสวะ

ทั้งหลายที่มีอมนุษย์เป็นต้นเป็นปัจจัย ฉะนั้น สูตรนี้จึงเป็นอันตั้งไว้ในลำดับ

ต่อจากมงคลสูตรนั้นแล.

ประโยชน์แห่งการตั้งรัตนสูตรนั้นไว้ในที่นี้เท่านี้ก่อน

เรื่องกรุงเวสาลี

บัดนี้ ในข้อว่า เยน วุตฺต ยทา ยติถ ยสฺมา เจต นี้ ผู้ทักท้วง

กล่าวว่า ก็สูตรนี้ผู้ใดกล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าวที่ใด และกล่าวเพราะเหตุใด.

ขอชี้แจงดังนี้ ความจริง สูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียวตรัส พระสาวก

เป็นต้นหากล่าวไม่. ตรัสเมื่อใด. ตรัสเมื่อกรุงเวสาลีถูกอุปัทวะทั้งหลาย มีทุพภิกข-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

ภัยเป็นต้นเข้าขัดขวาง พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพวกเจ้าลิจฉวีทูลร้องขอนำเสด็จ

มาแต่กรุงราชคฤห์ เมื่อนั้น รัตนสูตรนั้น พระองค์ก็ตรัสเพื่อบำบัด อุปัทวะ

เหล่านั้น ในกรุงเวสาลี. การวิสัชนาปัญหาเหล่านั้น โดยสังเขปมีเท่านี้. ส่วน

พิศดาร พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย พรรณนาไว้นับแต่เรื่องๆ กรุงเวสาลีเป็นต้น

ไป.

ดังได้สดับมา พระอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงพาราณสีทรงพระครรภ์

พระนางทรงทราบแล้วก็ได้กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชาก็พระ

ราชทานเครื่องบริหารพระครรภ์. พระนางได้รับบริหารพระครรภ์มาเป็นอย่างดี

ก็เสด็จเข้าสู่เรือนประสูติ ในเวลาพระครรภ์แก่. เหล่าท่านผู้มีบุญย่อมออกจาก

ครรภ์ในเวลาใกล้รุ่ง. ก็ในบรรดาท่านผู้มีบุญเหล่านั้น พระอัครมเหสีพระองค์

นั้น ก็เป็นผู้มีบุญพระองค์หนึ่ง ด้วยเหตุนั้น เวลาใกล้รุ่ง พระนางก็ประสูติ

ชิ้นเนื้อเสมือนดอกชะบามีพื้นกลีบสีแดงดังครั่ง ต่อจากนั้น พระเทวีพระองค์

อื่น ๆ ก็ประสูติพระโอรสเสมือนรูปทอง. พระอัครมเหสีประสูติชิ้นเนื้อ ดังนั้น

พระนางทรงดำริว่า "เสียงติเตียนจะพึงเกิดแก่เรา ต่อเบื้องพระพักตร์ของ

พระราชา" เพราะทรงกลัวการติเตียนนั้น จึงทรงสั่งให้ใส่ชิ้นเนื้อนั้นลงใน

ภาชนะใบหนึ่ง เอาภาชนะอีกใบหนึ่งครอบปิดไว้ ประทับตราพระราชลัญจกร

แล้ว ให้ลอยไปตามกระแสแม่น้ำคงคา พอเจ้าหน้าที่ทั้งหลายทิ้งลงไป เทวดา

ทั้งหลายก็จัดการอารักขา ทั้งเอายางมหาหิงคุ์จารึกแผ่นทองผูกติดไว้ที่ภาชนะ

นั้นว่า พระราชโอรสธิดาของพระอัครมเหสีแห่งพระเจ้ากรุงพาราณสี. ต่อนั้น

ภาชนะนั้น มิได้ถูกภัยคือคลื่นรบกวน ก็ลอยไปตามกระแสแน่น้ำคงคา.

สมัยนั้น ดาบสรูปหนึ่งอาศัยครอบครัวของคนเลี้ยงโค อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ

คงคา. เช้าตรู่ ดาบสรูปนั้นก็ลงสู่แม่น้ำคงคา แลเห็นภาชนะนั้นลอยมา ก็

ถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา ด้วยเข้าใจว่าเป็นของที่เขาทิ้งแล้ว. ต่อนั้น ก็แล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

เห็นแผ่นจารึกอักษรและตราพระราชลัญจกร ก็แก้ออกเห็นชิ้นเนื้อนั้น ครั้น

เห็นแล้ว ดาบสรูปนั้นก็คิดว่า เห็นทีจะเป็นสัตว์เกิดในครรภ์ ดังนั้น จึงไม่

เน่าเหม็น ก็นำชิ้นเนื้อนั้น ไปยังอาศรม วางไว้ในที่สะอาด. ล่วงไปครึ่งเดือน

ชิ้นเนื้อก็แยกเป็น ๒ ชิ้น ดาบสเห็นแล้ว ก็วางไว้อย่างดี. ต่อจากนั้น ล่วง

ไปอีกครึ่งเดือน ชิ้นเนื้อแต่ละชิ้นก็เกิดปมชิ้นละ ๕ สาขา เพื่อเป็นมือ เท้า

และศีรษะ ดาบสก็บรรจงวางไว้เป็นอย่างดีอีก. ต่อนั้น อีกครึ่งเดือน ชิ้นเนื้อ

ชิ้นหนึ่งก็เป็นทารก เสมือนรูปทอง อีกชิ้นหนึ่งก็เป็นทาริกา ดาบสเกิดความ

รักดังบุตรในทารกทั้งสองนั้น. น้ำนมก็บังเกิดจากหัวนิ้วแน่มือของดาบสนั้น

ตั้งแต่นั้นมา ดาบสได้น้ำนมและอาหารมาก็บริโภคอาหาร หยอดน้ำนมในปาก

ของทารกทั้งสอง. สิ่งใด ๆ เข้าไปในท้องของทารกนั้น สิ่งนั้น ๆ ทั้งหมด

ก็จะแลเห็นเหมือนเข้าไปในภาชนะทำด้วยแก้วมณี. ทารกทั้งสอง ไม่มีผิวอย่าง

นี้. แต่อาจารย์พวกอื่น ๆ กล่าวว่า ผิวของทารกทั้งของนั้น ใสถึงกันและกัน

เหมือนถูกร้อยด้วยวางไว้. ทารกเหล่านั้น จึงปรากฏชื่อว่า ลิจฉวี เพราะไม่

มีผิว หรือเพราะมีผิวใส ด้วยประการฉะนี้.

ดาบสเลี้ยงทารก พอตะวันขึ้นก็เข้าบ้านแสวงหาอาหาร ตอนสาย ๆ ก็

กลับ. คนเลี้ยงโคทั้งหลาย รู้ถึงการขวนขวายนั้นของดาบสนั้น ก็กล่าวว่า

ท่านเจ้าข้า การเลี้ยงทารกเป็นกังวลห่วงใยของเหล่านักบวช ขอท่านโปรดให้

ทารกแก่พวกเราเถิด พวกเราจะช่วยกันเลี้ยง ขอท่านโปรดทำกิจกรรมของ

ท่านเถิด. ดาบสก็ยอมรับ. วันรุ่งขึ้น พวกคนเลี้ยงโคก็ช่วยกันทำหนทางให้

เรียบแล้วโรยทราย ยกธง มีดนตรีบรรเลงพากันมายังอาศรม. ดาบสกล่าวว่า

ทารกทั้งสองมีบุญมาก พวกท่านจงช่วยกันเลี้ยงให้เจริญวัย ด้วยความไม่ประ-

มาท ครั้นให้เจริญวัยแล้ว จงจัดการอาวาหวิวาหกันและกัน ให้พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

ทรงยินดีด้วยปัญจโครส จงเลือกหาภูมิประเทศช่วยกันสร้างพระนครขึ้น จง

อภิเษกพระกุมารเสีย ณ ที่นั้น แล้วมอบทารกให้. พวกคนเลี้ยงโครับคำแล้ว

ก็นำทารกไปเลี้ยงดู.

ทารกทั้งสอง เจริญเติบโตก็เล่นการเล่น ใช้มือบ้าง เท้าบ้าง ทุบ

ถีบพวกเด็กลูกของคนเลี้ยงโคอื่น ๆ ในที่ทะเลาะกัน เด็กลูกคนเลี้ยงโคเหล่านั้น

ก็ร้องไห้ ถูกมารดาบิดาถามว่าร้องไห้ทำไม ก็บอกว่า เจ้าเด็กไม่มีพ่อแม่ที่

ดาบสเลี้ยงเหล่านั้น ข่มเหงเรา. แต่นั้น มารดาบิดาของเด็กเหล่านั้น ก็กล่าวว่า

ทารกสองคนนี้ชอบข่มเหงให้เด็กอื่น ๆ. เดือดร้อน จะไม่สงเคราะห์มัน ละเว้น

มันเสีย. เขาว่าตั้งแต่นั้นมา ประเทศที่นั้น จึงถูกเรียกว่า วัชชี ขนาด ๓๐๐

โยชน์. ครั้งนั้น พวกคนเลี้ยงโคทำพระราชาให้ยินดีแล้ว เลือกเอาประเทศที่นั้น

สร้างพระนครลงในประเทศนั้น แล้วอภิเษกพระกุมาร ซึ่งพระชนม์ได้ ๑๖

พรรษา ตั้งเป็นพระราชา ได้ทำการวิวาหมงคลกับทาริกาของพระองค์ ได้วาง

กติกากฎเกณฑ์ไว้ว่า จะไม่นำทาริกามาจากภายนอก และไม่ให้ทาริกาจากที่นี้

แก่ใคร ๆ โดยการอยู่ร่วมกันครั้งแรกของพระกุมารกุมารีนั้น ก็เกิดทารกคู่

หนึ่ง เป็นธิดา ๑ โอรส ๑ โดยอาการอย่างนี้ ก็เกิดเป็นคู่ ๆ ถึง ๑๖ ครั้ง.

แต่นั้น เมื่อทารกเหล่านั้น เจริญวัยโดยลำดับ นครนั้นก็ไม่พอที่จะบรรจุอาราม

อุทยาน สถานที่อยู่ บริวารและสมบัติ จึงล้อมรอบด้วยประการ ๓ ชั้น ระหว่าง

คาวุต หนึ่งๆ เพราะนครนั้น ถูกขยายกว้างออกบ่อย ๆ จึงเกิดนามว่าเวสาลีนี้แล.

นี้เรื่องกรุงเวสาลี

การนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็กรุงเวสาลีนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติก็มั่นคงไพบูลย์

ด้วยว่า ในกรุงเวสาลีนั้นมีเจ้าอยู่ถึง ๗ ,๗๐๗ พระองค์. พระยุพราชเสนาบดี

และภัณฑาคาริกเป็นต้นก็เหมือนกัน เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

สมัยนั้นแล กรุงเวสาลีมั่นคงเจริญ มีคนมาก

มีคนเกลื่อนกล่น มีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗

หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีอาราม ๗,๗๐๗

อาราม มีสระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ.

สมัยต่อมา กรุงเวสาลีนั้นเกิดทุพภิกขภัย ฝนแล้งข้าวกล้าตายนึ่ง.

คนยากคนจนตายก่อน เขาทิ้งคนเหล่านั้นไปนอกนคร. พวกอมนุษย์ได้กลิ่น

คนตายก็พากันเข้าพระนคร. แต่นั้น ผู้คนก็ตายเพิ่มมากขึ้น. เพราะความ

ปฏิกูลนั้น อหิวาตกโรคก็เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย. ชาวกรุงเวสาลีถูกภัย ๓ อย่าง

คือ ทุพภิกขภัย อมนุสสภัย และโรคภัยเบียดเบียน ก็เข้าไปเฝ้าพระราชา

กราบทูลว่า ขอเดชะ เกิดภัย ๓ อย่างในพระนครนี้แล้ว พระเจ้าข้า แต่

ก่อนนี้ นับได้ ๗ ชั่วราชสกุล ไม่เคยเกิดภัยเช่นนี้เลย ชรอยพระองค์ไม่ทรง

ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้ ภัยนั้นจึงเกิดขึ้น. พระราชาทรงประชุมเจ้าลิจฉวีทุก

พระองค์ในที่ว่าราชการตรัสว่า ขอได้โปรดพิจารณาทบทวนข้อที่เราไม่ตั้งอยู่

ในธรรมเถิด เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น พิจารณาทบทวนถึงประเพณีทุกอย่าง ก็ไม่

ทรงเห็นข้อบกพร่องไร ๆ แต่นั้น ก็ไม่เห็นโทษขององค์พระราชา จึงพากัน

คิดว่า ภัยนี้ของเรา จะระงับไปได้อย่างไร. ในที่ประชุมนั้น เจ้าลิจฉวีบาง

พวก อ้างถึงศาสดาทั้ง ๖ ว่า พอศาสดาเหล่านั้นย่างเท้าลงเท่านั้น ภัยก็จะระงับ

ไป บางพวกตรัสว่า ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก, พระผู้-

มีพระภาคเจ้านั้น ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ปวงสัตว์ ทรงมี

ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พอพระองค์ย่างพระบาทลงเท่านั้น ภัยทุกอย่าง ก็

จะระงับไป ด้วยเหตุนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จึงดีพระทัยตรัสว่า ก็พระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัดนี้ ประทับอยู่ที่ไหนเล่า พวกเราส่งคนไปเชิญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

จะไม่เสด็จมาน่ะสิ. เจ้าลิจฉวีอีกพวกหนึ่งตรัสว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้า ทรง

เอ็นดูสัตว์ เหตุไร จะไม่เสด็จมาเล่า. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัดนี้

ประทับอยู่กรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารทรงอุปฐากอยู่ เกรงท้าวเธอจะไม่ให้

เสด็จมา. ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเราจะทูลพระเจ้าพิมพิสารให้ทรงเข้าพระทัยแล้ว

นำพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา แล้วทรงมอบเครื่องบรรณาการเป็นอันมากส่ง

เจ้าลิจฉวีสองพระองค์ พร้อมด้วยกองกำลังขนาดใหญ่ไปยังราชสำนักพระเจ้า-

พิมพิสาร โดยสั่งว่า ขอท่านทูลพระเจ้าพิมพิสารให้เข้าพระทัยแล้ว นำพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา เจ้าลิจฉวีทั้งสองพะระองค์เสด็จไปถวายเครื่องบรรณาการ

แด่พระเจ้าพิมพิสาร แล้วแจ้งให้ทรงทราบเรื่องราวแล้วทูลว่า ข้าแต่พระมหา-

ราชเจ้า ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดส่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมายังนคร

ของข้าพระองค์ด้วยเถิด. พระราชาไม่ทรงรับรองตรัสว่า พวกท่านทรงรู้เอาเอง

เถิด. เจ้าลิจฉวีก็ทูลรับว่า ดีละ พระเจ้าข้า แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ถวายบังคมแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภัย ๓ อย่าง

เกิดขึ้นในนครของข้าพระองค์ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าฟังเสด็จมาไซร้ ความ

สวัสดีก็จะพึงมีแก่พวกข้าพระองค์ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณา

ว่าเมื่อตรัสรัตนสูตรในกรุงเวสาลีการอารักขาจักแผ่ไปแสนโกฏิจักรวาส จบสูตร

สัตว์ ๘๔,๐๐๐ จักตรัสรรู้ธรรม แล้วจึงทรงรับนิมนต์. ครั้งนั้น พระเจ้า-

พิมพิสารทรงสดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว โปรดให้

โฆษณาไปในพระนครว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์เสด็จไปกรุงเวสาลี

แล้ว เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระองค์ทรงรับ จะเสด็จไปกรุงเวสาลีหรือพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ถวายพระพร มหาบพิตร. ท้าวเธอทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น

โปรดทรงรอจนกว่าจะจัดแจงหนทางถวายนะ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร ทรงทำพื้นที่ ๕ โยชน์ ระหว่างกรุง-

ราชคฤห์และแม่น้ำคงคาให้ราบเรียบแล้ว ให้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง

เวลาที่จะเสด็จไป พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุ ๕๐๐ รูป แวดล้อมแล้วเสด็จ

ไป พระราชาทรงเอาดอกไม้ ๕ สีโปรยหนทาง ๕ โยชน์เพียงหัวเข่า ให้ยกธง

ผ้า หม้อน้ำและต้นกล้วยเป็นต้น ให้กั้นเศวตฉัตร ๒ ชั้นสำหรับพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ฉัตรชั้นเดียวสำหรับพระภิกษุแต่ละรูป ทรงทำการบูชาด้วยดอกไม้และ

ของหอมเป็น นี้พร้อมด้วยราชบริพารของพระองค์ ให้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ใน วิหารหลังหนึ่ง ๆ ถวายมหาทาน ทรงนำเสด็จสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา ๕

วัน . ณ ที่นี้ ทรงประดับเรือด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง แล้วทรงส่งสาสน์ไป

ถวายเจ้าลิจฉวีกรุงเวสาลีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว ขอเจ้าลิจฉวีทุก

พระองค์ ตกแต่งหนทางถวายการรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. เจ้าลิจฉวี

เหล่านั้น ตกลงกันว่า จะทำการบูชาเป็นสองเท่า ทำพื้นที่ ๓ โยชน์ระหว่าง

กรุงเวสาลี และแม่น้ำคงคาให้เรียบร้อย จัดเศวตฉัตร ๔ ชั้น สำหรับพระผู้

มีพระภาคเจ้า สำหรับพระภิกษุแต่ละรูป ๆ ละ ๒ ชั้น ทำการบูชา เสด็จมา

คอยอยู่.

ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร ทรงทำเรือขนาน ๒ ลำแล้วสร้างมณฑป

ประดับด้วยพวงดอกไม้ ปูลาดพุทธอาสน์ทำด้วยรัตนะล้วน ณ มณฑปนั้น.

ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์นั้น. แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปก็ลง

เรือนั่งกันตามสมควร พระราชาส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ลงน้ำประมาณ

แต่พระศอกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่กันริมฝั่งแม่น้ำ

คงคานี้นี่แหละ จนกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จกลับมา แล้วก็เสด็จกลับ.

เทวดาเบื้องบนจนถึงอกนิษฐภพ ได้พากันทำการบูชา. นาคราชทั้งหลาย มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

กัมพลนาคและอัสสตรนาคเป็นต้น ซึ่งอาศัยอยู่ใต้แม่น้ำคงคา ก็พากันทำการ

บูชา. ด้วยการบูชาใหญ่อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปทางแม่น้ำคงคา

สิ้นระยะทางไกลประมาณโยชน์หนึ่ง ก็เข้าเขตแดนของพวกเจ้าลิจฉวีกรุงเวสาลี.

ต่อนั้น พวกเจ้าลิจฉวีก็ทำการบูชาเป็น ๒ เท่าที่พระเจ้าพิมพิสารทรง

ทำการบูชา ออกไปรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงในน้ำประมาณแค่พระศอ.

ขณะนั้นเอง ครู่นั้นเอง มหาเมฆมียอดคลุมด้วยความมืดมีแสงฟ้าแลบเคลื่อน

ตัวไปส่งเสียงคำรามครืนครั่นก็ดังขึ้นทั้งสี่ทิศ. ลำดับนั้น พอพระผู้มีพระภาค

เจ้ายกพระบาทแรกวางลงริมฝั่งแม่น้ำคงคา ฝนโบกขรพรรษก็โปรยเม็ดลงมา

ชนเหล่าใดต้องการจะเปียก ชนเหล่านั้น เท่านั้นย่อมเปียก ผู้ไม่ต้องการเปียก

ก็ไม่เปียก ในที่ทุกแห่ง น้ำย่อมไหลไปเพียงแค่เข่า แค่ขา แค่สะเอว แค่คอ

ซากศพทั้งปวงถูกน้ำพัดส่งลงสู่แม่น้ำคงคา พื้นดินก็สะอาดสะอ้าน.

พวกเจ้าลิจฉวีให้พระผู้มีพระเจ้าประทับอยู่ทุก ๆ หนึ่งโยชน์ในระหว่าง

ทางถวายมหาทาน ทรงทำการบูชาเป็นทวีคูณ ๓ วัน จึงนำเสด็จสู่กรุงเวสาลี.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลี ท้าวสักกะจอมทวยเทพ อันหมู่เทพ

ห้อมล้อมก็เสด็จมาถึง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ยืนใกล้ประตูพระนครทรง

เรียกท่านพระอานนที่มาส่งว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้ ถือเครื่อง

ประกอบพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่างปราการ ๓ ชั้นแห่งกรุงเวสาลีกับพวก

เจ้าลิจฉวีราชกุมาร ทำพระปริตร แล้วได้ตรัสรัตนสูตร.

การวิสัชนาปัญหาเหล่านั้นว่า ก็พระสูตรนี้ผู้ใดกล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าว

ที่ใดและกล่าวเพราะเหตุใด ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลาย พรรณนาไว้พิสดาร

ทั้งแต่เรื่องกรุงเวสาลีเป็นต้นไป ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

ดังนั้น ในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลีนั่นเอง รัตนสูตร

นี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสใกล้ ประตูกรุงเวสาลี เพื่อกำจัดอุปัทวะเหล่านั้นท่าน

พระอานนท์ก็เรียนเอา เมื่อจะกล่าวเพื่อเป็นปริตร [ป้องกันอุปัทวะ] จึง

เอาบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าตักน้ำมา เดินประพรมไปทั่วพระนคร. พอ

พระเถระกล่าวว่า ยงฺกิญฺจิ เท่านั้น พวกอมนุษย์ที่อาศัยกองขยะและที่ฝาเรือน

เป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในตอนแรก ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง ๔. ประตู

ทั้งหลาย ก็ไม่มีที่ว่าง อมนุษย์บางพวก เมื่อไม่ได้ที่ว่างที่ประตูทั้งหลาย ก็

หลายกำแพงเมืองหนีไป. พอพวกอมนุษย์พากันไปแล้ว ที่เนื้อตัวของพวก

มนุษย์ทั้งหลาย โรคก็สงบไป พวกมนุษย์ทั้งหลาย ก็พากันออกมาบูชาพระ

เถระ ด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้นทุกอย่าง มหาชนเอาของหอมทุกอย่างฉาบทา

สัณฐาคารที่ประชุม ท่ามกลางพระนคร ทำเพดานขจิตด้วยรัตนะ ประดับ

ด้วยเครื่องประดับทั้งปวง ปูพุทธอาสน์ลง ณ ที่นั้นแล้วนำเสด็จพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ามา.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขา

ปูไว้. ทั้งภิกษุสงฆ์ คณะเจ้า และมนุษย์ทั้งหลายก็นั่ง ณ อาสนะที่เหมาะที่

ควร. แม้ท้าวสักกะ จอมทวยเทพก็ประทับนั่งใกล้กับเทวบริษัท ในเทวโลก

ทั้งสอง ทั้งเทวดาอื่น ๆ ด้วย. แม้ท่านพระอานนทเถระ ก็เที่ยวเดินไปทั่วกรุง

เวสาลี ทำอารักขาแล้ว ก็มาพร้อมกับชาวกรุงเวสาลี นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง. ณ

ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสรัตนสูตรนั้นนั่นแหละแก่ทุกคนแล.

ก็มาติกา หัวข้อใด ข้าพเจ้าตั้งไว้ว่า ข้าพเจ้าจักประกาศนัยนี้ว่า

รัตนสูตรนี้ผู้ใดกล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าวที่ใด และกล่าวเพราะเหตุใด มาติกา

นั้น เป็นอันข้าพเจ้ากล่าวไว้พิสดารแล้วโดยประการทั้งปวง ด้วยถ้อยคำมีประ-

มาณเท่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

พรรณนาคาถาว่า ยานีธ

บัดนี้ จะเริ่มพรรณนาความ เพราะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่าจักพรรณนา

ความแห่งรัตนสูตรนั้น แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระผู้พระภาคเจ้าตรัส

๕ คาถา นี้ ที่เหลือท่านพระอานนทเถระกล่าวจะอย่างไรก็ตาม ประโยชน์อะไร

ของเราด้วยคาถาเล็กน้อย ที่ยังไม่ได้ตรวจตรานี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาความแห่ง

รัตนสูตรนี้ แม้โดยประการทั้งปวง.

จะพรรณนาคาถาแรกว่า ยานีธ ภูตานิ เป็นต้น. ในคาถาแรกนั้น

บทว่า ยานิ ได้แก่ เช่นใด ไม่ว่าจะมีศักดิ์น้อยหรือศักดิ์มาก. บทว่า อิธ

แปลว่า ในประเทศนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงสถานที่ประชุมในขณะ

นั้น . ในบทว่า ภูตานิ ภูตศัทพ์ ใช้หมายถึงสิ่งที่มีอยู่ ได้ในประโยคเป็น

ต้นอย่างว่า ภูตสฺมึ ปาจิตฺติย เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะภูตคาม. ใช้

หมายถึง ขันธปัญจก ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตมิท ภิกฺขเว

สมนุปสฺสถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงพิจารณาเห็นขันธปัญจกนี้. ใช้

หมายถึงรูป มีปฐวีธาตุเป็นต้น ๔ อย่าง ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า

จตฺตาโร โข ภิกฺขุ มหาภูตา เหตุ ดูก่อนภิกษุ มหาภูตรูป ๔ แลเป็น

เหตุ. ใช้หมายถึงพระขีณาสพ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า โย จ กาลฆโส

ภูโต ก็พระขีณาสพใดแล กินกาลเวลา. ใช้หมายถึงสรรพสัตว์ ได้ในประ-

โยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสย

สรรพสัตว์จักทอดทิ้งเรือนร่างไว้ในโลก. ใช้หมายถึงต้นไม้เป็นต้นได้ในประโยค

เป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตคามปาตพฺยตาย ในเพราะพรากภูตคาม. ใช้หมาย

ถึงหมู่สัตว์ภายใต้เทพชั้นจาตุมมหาราช ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูต

ภูตโต สญฺชานาติ จำได้ซึ่งหมู่สัตว์โดยเป็นหมู่สัตว์ก็จริง ถึงกระนั้น ภูต

ศัพท์ พึงทราบว่าใช้ในอรรถว่า อมนุษย์ โดยไม่ต่างกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

บทว่า สมาคตานิ แปลว่า ประชุมแล้ว. บทว่า ภุมฺมานิ ได้แก่

อันบังเกิดที่พื้นดิน. ศัพท์ว่า วา ใช้ในความว่า ไม่แน่นอน. ด้วย วา ศัพท์

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำวิกัปอันหนึ่งนี้ว่า ยานีธ ภุมฺมานิ วา

ภูตานิ สมาคตานิ แล้วตรัสว่า ยานิ ว อนฺตสิกฺเข เพื่อทรงทำวิกัปที่สอง

อีก. ความว่า หรือสัตว์เหล่าใด เป็นแล้วเกิดแล้วในอากาศสัตว์เหล่านั้นทั้งหมด

มาประชุมแล้วในที่นี้. ก็ในข้อนี้สัตว์ทั้งหลายที่บังเกิดแล้ว เป็นแล้ว ตั้งแต่เทพ

ชั้นยามา จนถึงชั้นอกนิษฐะ พึงทราบว่า เป็นแล้ว [เกิดแล้ว] ในอากาศ

เพราะเป็นสัตว์ที่บังเกิดในวิมานอันปรากฏในอากาศ. สัตว์ทั้งหลายภายใต้แต่นั้น

ตั้งแต่ขุนเขาสิเนรุ จนถึงจำพวกที่สิงอยู่ในต้นไม้และเถาวัลย์เป็นต้น และจำพวก

ที่บังเกิดแล้วเป็นแล้วที่แผ่นดิน สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด พึงทราบว่าสัตว์เกิดที่พื้น

ดิน เพราะเป็นสัตว์ที่บังเกิด ณ พื้นดิน และ ณ ต้นไม้เถาวัลย์และภูเขาเป็น

ต้น ที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นดิน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงกำหนดหมู่สัตว์อมนุษย์ทุกหมู่เหล่า ด้วย

สองบทว่า ภุมฺมานิ วา ยานิ ว อนฺตลิกฺเข ทรงกำกับ ด้วยอีกบทหนึ่ง

จึงตรัสว่า สพฺเพว ภฺตา สุมนา ภวนุตุ. บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่

เหลือเลย. ศัพท์ว่า เอว ลงในอรรถว่าอวธารณะ ห้ามความอื่น อธิบายว่า

ไม่ละเว้น แม้แต่ผู้เดียว. บทว่า ภูตา ได้แก่ พวกอมนุษย์. บทว่า สุมนา

ภวนฺตุ ได้แก่ จงเป็นผู้เกิดปิดโสมนัส. คำว่า อโถปิ เป็นนิบาตทั้งสอง

คำ ลงในอรรถคือ การยึดพากย์ [ประโยค] เพื่อประกอบไว้ในกิจคือหน้าที่

อื่น. บทว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิต ได้แก่ ทำให้ประโยชน์ ทำ

ไว้ในใจ รวบรวมโดยใจทั้งหมดแล้วจงพึงเทศนาของเรา อันจะนำมาซึ่งทิพย์

สมบัติและโลกุตรสุข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

ในพระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงระบุพวกภูตด้วยพระดำรัสที่ไม่

แน่นอนว่า ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ แล้วจึงทรงกำหนดเป็นสองส่วนอีก

ว่า ภุมมานิ วา ยาน ว อนฺตลิกฺเข ต่อจากนั้น ก็ตรัสรวมอีกว่า

สพฺเพว ภูตา ทรงประกอบสัตว์ไว้ในอาสยสมบัติ ด้วยพระดำรัสนี้ว่า

สุมนา ภวนฺตุ ทรงประกอบสัตว์ในประโยคสมบัติด้วยพระดำรัสว่า สกฺกจฺจ

สุณนฺตุ ภาสิต ทรงประกอบสัตว์ไว้ในสมบัติคือโยนิโสมนสิการ และใน

สมบัติ คือการโฆษณาจากผู้อื่น ก็เหมือนกัน ทรงประกอบสัตว์ไว้ในสมบัติ

คือการตั้งตนไว้ชอบและการเข้าหาสัตบุรุษ และในสมบัติ คือเหตุแห่งสมาธิ

และปัญญา ก็เหมือนกัน จึงทรงจบพระคาถา.

พรรณนาคาถาว่า ตสฺมา หิ

จะกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า ตสฺมา หิ เป็นต้น . ในคาถานั้น บทว่า

ตสฺมา เป็นคำกล่าวเหตุ. บทว่า ภูตา เป็นคำเรียกเชิญ. บทว่า นิสาเมถ

ได้แก่ จงฟัง. บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่เหลือเลย. ท่านอธิบายไว้อย่างไร.

ท่านอธิบายว่า เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลาย ละทิพยสถานและความพรั่งพร้อม

แห่งเครื่องอุปโภคบริโภคในทิพยสถานนั้น มาประชุมในที่นี้ ก็เพื่อฟังธรรม

ไม่ใช่เพื่อดูการรำการฟ้อนเป็นต้น ฉะนั้นแล ขอท่านทั้งหลายที่เป็นภูตทั้งหมด

โปรดตั้งใจฟัง.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยพระดำรัสว่า สุมนา ภวนฺตุ สกฺกจฺจ สุณน-

ตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า ภูตเหล่านั้นมีใจดี และอยากฟัง โดย

เคารพจึงตรัสว่า เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลาย ประกอบด้วยความเป็นผู้มีใจดี

ด้วยอัตตสัมมาปณิธิ โยนิโสมนสิการ และอาสยสุทธิ ด้วยความเป็นผู้อยาก

ฟังโดยเคารพ และด้วยปโยคสุทธิ โดยเป็นปทัฏฐานแห่งการเข้าหาสัตบุรุษ

และการโฆษณาจากผู้อื่น ฉะนั้นแล ขอภูตทั้งหลายทั้งหมดโปรดตั้งใจฟังเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

อีกอย่างหนึ่ง คำใด ตรัสว่า ภาสิต ท้ายคาถาต้น ทรงอ้างคำนั้น

เป็นตัวเหตุ จึงตรัสว่า เพราะเหตุที่ธรรมดาภาษิตของเรา หาได้ยากยิ่ง เพราะ

ขณะที่เว้นจากอขณะทั้งปวง หาได้ยาก และมีอานิสงส์มาก เพราะปฏิบัติด้วย

พระคุณมีปัญญาคุณและกรุณาคุณเป็น ทั้งเราก็ประสงค์จะกล่าวภาสิตนั้น

จึงได้กล่าวว่า สุณนฺตุ ภาสิต ฉะนั้นแล ขอท่านภูตทั้งหลายทุกท่านโปรด

จงใจฟังเถิด. พระดำรัสนี้เป็นอันทรงอธิบายด้วยบทแห่งคาถานี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงยกเหตุนี้อย่างนี้ ทรงประกอบภูตทั้ง

หลายไว้ในการตั้งใจฟังภาษิตของพระองค์ จึงทรงเริ่มตรัสภาษิต ที่พึงตั้งใจฟัง

ว่า เมตฺต กโรถ มานุสิยา ปชาย. ภาษิตนั้นมีความว่า ประชาชน

ชาวมนุษย์นี้ใดถูกอุปัทวะทั้ง ๓ ขัดขวางแล้วขอท่านทั้งหลายจงเข้าไปตั้งเมตตา

ความเป็นมิตร ความมีอัธยาศัย เอื้อประโยชน์แก่ประชาชนคนมนุษย์นั้นเถิด.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มานุสิก คำนั้น ไม่ถูก เพราะภูตที่อยู่พื้นดินไม่

เกิด อาจารย์พวกอื่นพรรณนาความแม้อันใด ความแม้อันนั้นก็ไม่ถูก. ส่วน

ในที่นี้มีอธิบายว่า เราไม่กล่าวด้วยกำลังความเป็นใหญ่ว่าเป็นพุทธะ. ก็แต่ว่า

สิ่งไรเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกท่าน และแก่ประชาชนคนมนุษย์นี้ เราจะ

กล่าวสิ่งนั้น ว่า เมตฺต กโรถ มานุสิยา ปชาย ขอพวกท่านจงทำเมตตา

แก่ประชาชนคนมนุษย์เถิด.

อนึ่งในข้อนี้ เมตตาพึงทราบว่าเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ทำเมตตา

โดยพระสูตรทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ว่า

ราชฤษีเหล่าใด ชนะแผ่นดิน ๗ ทวีป ท่อง

เที่ยวบูชายัญ อัสสเมธะ ปริสเมธะ สัมมาปาสะ

วาชเปยยะและนิรัคคฬะ ราชฤษีเหล่านั้น ไม่ได้เสวย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

แม้แต่เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งเมตตาจิต ที่อบรมดีแล้ว. ถ้า

บุคคลมีจิตไม่คิดร้ายสัตว์ แม้แต่ตัวเดียว ประพฤติ

เมตตา ย่อมเป็นผู้ฉลาดด้วยจิตนั้น อริยชนมีใจเอ็นดู

สัตว์มีชีวิตทุกหมู่เหล่า ชื่อว่าประกอบบุญเป็นอันมาก.

ดังนี้.

และโดยอานิสงส์ ๑๑ ประการ.

เมตตา พึงทราบว่าเป็นประโยชน์เกื้อกูล แม้แก่สัตว์ทั้งหลายที่เขาทำ

เมตตา โดยพระสูตรเป็นต้นอย่างนี้ว่า

เทวตานุกมฺปิโต โปโส สทา ภทฺรานิ ปสฺสติ

บุคคลอันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมเห็นความเจริญ

ทุกเมื่อ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงว่าเมตตามีประโยชน์เกื้อกูลแก่คน

แม้ทั้งสองฝ่ายอย่างนี้ จึงตรัสว่า เมตฺต กโรถ มานุสิยา ปชาย บัดนี้

เมื่อจะทรงแสดงแม้อุปการะจึงตรัสว่า

ทิวา จ รตฺโต จ หรนฺติ เย พลึ

ตสฺมา หิ เน รกฺขถ อปฺปมตฺตา.

เพราะฉะนั้นแล ขอท่านทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประ-

มาท ช่วยปกปักรักษาพวกคนที่นำพลีมาบูชา ทั้ง

กลางวันทั้งกลางคืนด้วยเถิด.

ภาษิตนั้น มีความว่า มนุษย์เหล่าใดสร้างเทวดาแม้ด้วยภาพเป็นและแกะด้วย

ไม้เป็นต้นแล้วเข้าไปยังรุกขเจดีย์เป็นต้น ทำพลีกรรมเช่นสรวงในเวลากลางวัน

และทำพลีกรรมในเวลากลางคืน วันข้างแรมเป็นต้น อุทิศเทวดาทั้งหลาย หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

ถวายสลากภัตตทานเป็นอาทิ ทำพลีกรรมมุ่งถึงอารัก เทวดาจนถึงด้วยการมอบ

ปัตติทานให้ส่วนบุญแก่พรหมและเทวดาทั้งหลายและทำพลีกรรมในเวลากลาง

คืน ด้วยการยกฉัตรตามประทีปประดับมาลัย และด้วยจัดให้มีการฟังธรรม

ตลอดคืนยังรุ่งเป็นต้น มนุษย์เหล่านั้น พวกท่านจะไม่พึงอารักขาได้อย่างไร.

เพราะเหตุที่มนุษย์พวกใดทำพลีกรรมอุทิศพวกท่านทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืนอย่าง

นี้ ฉะนั้น พวกท่านโปรดรักษามนุษย์พวกนั้นเถิด. อธิบายว่า ฉะนั้น พวก

ท่านจงคุ้มครองรักษามนุษย์พวกนั้น คือเป็นผู้ไม่ประมาท ทำความเป็นผู้

กตัญญูนั้น ไว้ในดวงใจ ระลึกถึงอยู่เป็นนิตย์ จงนำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล

แก่พวกเขาออกไป จงนำเข้าไปแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล.

พรรณนาคาถาว่า ยงฺกิญจิ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงว่ามนุษย์มีอุปการะในเทวดาทั้ง

หลายอย่างนี้แล้ว จึงทรงเริ่มประกอบสัจจวจนะ. โดยนัยว่า ยงฺกิญฺจิ วิตฺต

ดังนี้เป็นต้น เพื่อทรงระงับอุปัทวะของมนุษย์เหล่านั้น และเพื่อการฟังธรรม

ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายด้วยการประกาศคุณของพระรัตนตรัยมีพระพุทธ-

เจ้าเป็นต้น . ในสัจจวจนะนั้น บทว่า ยงฺกิญฺจิ ความว่า ท่านยึดถือไม่เหลือ

เลยโดยไม่กำหนดไว้ คือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ควรทำการแลกเปลี่ยนได้ในถิ่นนั้น ๆ.

บทว่า วิตฺต ได้แก่ทรัพย์. จริงอยู่ทรัพย์นั้น ชื่อว่า วิตตะ เพราะให้เกิด

ความปลื้มใจ. ทรงแสดงมนุษยโลกด้วยบทว่า อิธ วา. ทรงแสดงโลกที่เหลือ

นอกจากมนุษยโลกนั้น ด้วยบทว่า หุร วา. ด้วยสองบทนั้น พึงทราบว่ากิน

ความถึงนาคและสุบรรณ เป็นต้น ที่เหลือ เว้นมนุษย์และเทวดาทั้งหลายเพราะ

เมื่อพร้อมที่จะถือเอาโลกทั้งปวง เว้นมนุษย์ทั้งหลาย ก็ได้ตรัสไว้ข้างหน้า

ว่า สคฺเคสุ วา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใด สำหรับมนุษย์ ที่เป็นทรัพย์ใช้แลกเปลี่ยน

และที่ใช้เป็นเครื่องประดับเครื่องบริโภคและเครื่องอุปโภค มี ทอง เงิน แก้ว

มุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ แก้วประพาฬ แก้วทับทิมและแก้วลายเป็นต้น

และทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใด สำหรับนาคและครุฑเป็นต้น ที่อุบัติในภพ

ทั้งหลาย อันกว้างหลายร้อยโยชน์ในวิมานรัตนะ ณ ภาคพื้นดินที่ลาดด้วยทราย

แก้วมุกดาและแก้วมณี ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันนั้น ก็เป็นอันแสดงแล้วด้วย

บททั้งสองนี้ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า สคฺเคสุ วา ได้แก่ เทวโลกที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร.

เทวโลกเหล่านั้น ชื่อว่า สัตตะ สวรรค์ เพราะดำเนินไป คือถึงได้ ด้วย

กรรมอันงาม. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัคคะ เพราะมีอารมณ์ดีเลิศ. บทว่า ย

ได้แก่ที่มีเจ้าของหรือไม่มีเจ้าของอันใด. บทว่า รตน ได้แก่ ชื่อว่า รัตนะ

เพราะนำพาให้เกิด เพิ่มพูนความยินดี. คำว่า รัตนะ นี้ เป็นชื่อของทุกสิ่ง

ที่ทำให้งดงาม มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ เห็นยาก และเป็นของบริโภคใช้สอยของ

สัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

จิตฺตีกต มหคฺฆญฺจ อตุล ทุลฺลภทสฺสน

อโนมสตฺตปริโภค รตน เตน วุจฺจติ.

ของที่ทำให้เขายำเกรง มีค่ามาก ชั่งไม่ได้เห็น

ได้ยาก เป็นเครื่องใช้สอยของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม ด้วย

เหตุนั้น จึงเรียกว่า รัตนะ.

บทว่า ปณีต ได้แก่สูงสุด ประเสริฐสุด ไม่น้อยเลย น่าเอิบอาบใจ

รัตนะใด ในสวรรค์ทั้งหลายดังนี้ แต่วิมานสุธรรมสภา ไพชยนต์ปราสาทที่

เป็นรัตนะล้วนขนาดหลายร้อยโยชน์มีเจ้าของ และรัตนะใดที่เกี่ยวข้องอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

วิมานอันว่างเปล่าในสวรรค์ทั้งหลาย ที่ทำอบายเท่านั้น ให้เต็มปรี่ เพราะไม่ใช่

สมัยที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ไม่มีเจ้าของ ก็หรือว่ารัตนะแม้อื่นใด ที่อาศัย

อยู่ในพื้นดิน มหาสมุทร และภูเขาหิมวันต์ เป็นต้น ไม่มีเจ้าของ รัตนะอื่น

นั้น ก็เป็นอันทรงแสดงแล้วด้วยบทแห่งคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้.

ศัพท์ว่า น ในบทคาถาว่า น โน สม อตฺถิ ตถาคเตน ลง

ในความปฏิเสธ. ศัพท์ว่า โน ลงในความห้ามความอื่น. บทว่า สม ได้แก่

เทียบ. บทว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่. บทว่า ตถาคเตน ได้แก่ ด้วยพระ-

พุทธเจ้า. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. อธิบายไว้ดังนี้ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจและ

รัตนะ นั้นใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว บรรดาทรัพย์เครื่อง

ปลื้มใจ และรัตนะนั้น รัตนะแม้แต่สักอย่างหนึ่ง ซึ่งเสมอด้วยพุทธรัตนะ

ไม่มีเลย จริงอยู่ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้นั้นใด ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า

ทำให้เกิดความยำเกรง ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้น คืออะไร คือจักรรัตนะและ

มณีรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วมหาชนจะไม่ทำความเคารพ

ยำเกรงในที่อื่น ใคร ๆ ถือเอาดอกไม้และของหอมเป็นต้นแล้ว จะไม่ไปสถาน

ของยักษ์หรือสถานของภูต ชนแม้ทุกคน จะทำความเคารพยำเกรง บูชา

เฉพาะจักรรัตนะและมณีรัตนะเท่านั้น ปรารถนาพรนั้นๆ และพรบางอย่างที่

ปรารถนาแล้ว ๆ ของเขาก็สำเร็จผลได้ รัตนะแม้นั้น เสมอด้วยพุทธรัตนะ

ย่อมไม่มี.

ก็หากว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ทำให้

เกิดความเคารพยำเกรง พระตถาคตเท่านั้น ก็ชื่อว่า รัตนะ. จริงอยู่

เมื่อพระตถาคตเสด็จอุบัติแล้ว เทวดาแลมนุษย์ ผู้มีศักดิ์มาก ทุกหมู่เหล่า

เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมไม่ทำความเคารพยำเกรงในรัตนะอื่น ย่อม

ไม่บูชารัตนะไร ๆ อื่น. จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ก็บูชาพระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

ตถาคต ด้วยพวงรัตนะขนาดเท่าภูเขาสิเนรุ. และเทวดาเหล่าอื่นและมนุษย์

ทั้งหลายมีพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าโกศลและท่านอนาถบิณฑิกะ เป็นต้น

ก็บูชาตามกำลัง. พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสละพระราชทรัพย์ ๙๖ โกฏิ

ทรงสร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ทั่วชมพูทวีป อุทิศถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า

แม้เสร็จปรินิพพานแล้ว. ก็จะป่วยกล่าวไปไย สำหรับหมู่คนที่เคารพ

ยำเกรงเหล่าอื่นเล่า. อนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์ไร ๆ อื่น แม้ปรินิพพาน

แล้ว การทำความเคารพยำเกรง อุทิศสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ประกาศ

พระธรรมจักรและสถานที่ปรินิพพาน หรือเจดีย์ คือ พรูปฏิมา [พระ-

พุทธรูป ก็เป็นไปเหมือนของพระผู้มีพระภาคเจ้า. รัตนะที่เสมอด้วยพระตถา-

คต แม้เพราะอรรถว่าทำให้เกิดความเคารพยำเกรง ย่อมไม่มีด้วยประการฉะนี้.

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ แม้นั้นใด ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่ามีค่ามาก

ก็เหมือนกัน ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้น คืออะไร. คือ ผ้าแคว้นกาสี เหมือน

อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าแคว้นกาสีแม้เก่า

ก็ยังมีสีสรร มีสัมผัสสบาย และมีค่ามาก. ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้นั้น เสมอ

ด้วยพุทธะรัตนะ ย่อมไม่มี. ก็หากว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ชื่อว่ารัตนะ เพราะ

อรรถว่า มีค่ามาก. พระตถาคตเท่านั้น ชื่อว่ารัตนะ จริงอยู่ พระตถาคตทรง

รับแม้บังสุกุลจีวรของชนเหล่าใด ทานนั้นของชนเหล่านั้น ย่อมมีผลมากมีอานิ-

สงส์มาก ทั่งนี้ ก็เพราะพระตถาคตนั้นมีค่ามาก. ด้วยคำกล่าวถึงข้อที่พร-

ตถาคตทรงมีค่ามากอย่างนี้ พึงทราบบทแห่งพระสูตร ที่สาธกความไม่มีโทษ

ในข้อนี้ดังนี้ว่า

ตถาคตนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของตนเหล่าใด ทานนั้นของ

ชนเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เรากล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

ดังนี้ก็เพราะพระตถาคตนั้นมีค่ามาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนผ้าแคว้นกาสีนั้น มีค่ามาก แม่ฉันใด

เราก็กล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปมาฉันนั้น.

รัตนะเสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่ามีค่ามาก ย่อมไม่มีด้วยประการ

ฉะนี้.

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ แม้นั้นใด ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่า ชั่งไม่ได้

ก็เหมือนกัน. ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้น คืออะไร คือ จักรรัตนะ ของพระเจ้า

จักรพรรดิมีดุมเป็นมณีอินทนิล มีซี่เป็นรัตนะ ๗,๐๐๐ ซี่ มีกงแก้วประพาฬ

มีที่ต่อเป็นทองสีแดง เกิดขึ้น ซึ่งซี่กำเกลี้ยงวางบนซี่ทุกสิบซี่ รับลมแล้วจะทำ

เสียงเป็นเหมือนเสียงดนตรีเครื่อง ๕ ที่ผู้ชำนาญบรรเลงแล้ว ทั้งสองข้างของ

ดุมมีหน้าราชสีห์สองหน้า ข้างในล้อรถมีรู ไม่มีคนทำหรือคนให้ทำ มัน

ตั้งขึ้นแต่อุตุ มีกรรมเป็นปัจจัย ซึ่งพระราชาทรงบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ๑๐

ประการแล้ว วันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทรงสนานพระเศียรแล้ว ทรงถืออุโบสถ

เสด็จขึ้นบนพระมหาปราสาท ทรงชำระศีล ประทับนั่ง แล้วจะทอดพระเนตร

เห็นจักรรัตนะปรากฏขึ้น เหมือนดวงจันทร์เพ็ญและดวงอาทิตย์ จะทรงได้ยิน

เสียงมาดังแต่ ๑๒ โยชน์ เห็นสีสรรมาแต่ ๓ โยชน์ ซึ่งมหาชนแลเห็นจะพา

กันแตกตื่นอย่างเหลือเกินว่า ชรอยดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิด

ขึ้นแล้ว แล่นมาเหนือพระนคร ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ทางด้านทิศตะวันออก

ภายในพระราชนิเวศน์แล้วหยุดอยู่เหมือนเพลาหัก ในที่ที่มหาชนควรบูชาด้วย

ของหอมและดอกไม้เป็นต้น.

หัตถิรัตนะ ช้างแก้วก็เกิดขึ้นติดตามจักรรัตนะนั้นนั่นแล คือช้าง

เผือกปลอด เท้าแดง มีกำลัง ๗ ช้างสาร มีฤทธิ์ไปทางอากาศได้ มาจากช้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

ตระกูลอุโบสถก็มี จากตระกูลช้างฉัททันต์ก็มี ถ้ามาจากตระกูลอุโบสถก็เป็นพี่

ของช้างทั้งหมด ถ้ามาจากตระกูลฉัททันต์ ก็เป็นน้องของช้างทั้งหมด มีการ

ศึกษาที่ศึกษาแล้ว ฝึกมาแล้ว ช้างนั้นพาบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ตระเวน

ทั่วชมพูทวีป ไปแล้วกลับมาเอง ก่อนอาหารเช้านั่นแล.

อสัสรัตนะ ก็เกิดติดตามหัคถิรัตนะแม้นั้นนั่นแล คือม้าขาวปลอด

เท้าแดง ศีรษะดังกา มีผมดังหญ้ามุงกระต่าย มาจากดระกูลพระยาม้าพลาหก.

ในข้อนี้ คำที่เหลือก็เช่นเดียวกับหัตถิรัตนะนั่นแหละ.

มณีรัตนะ ก็เกิดติดตามอัสสรัตนะแม้นั้น มณีนั้นเป็นแก้วไพฑูรย์

งามโดยธรรมชาติ แปดเหลี่ยม เจียระไนอย่างดี โดยยาวก็เสมือนดุมแห่งจักร

มาจากเวปุลลบรรพต มณีนั้น ยามมืดแม้ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ อยู่ถึงยอดธง

ของพระราชา ก็ส่องแสงสว่างไปตั้งโยชน์ ซึ่งโดยแสงสว่าง พวกมนุษย์สำคัญ

ว่ากลางวัน ก็ประกอบการงาน มองเห็นโดยที่สุดแม้กระทั่งมดดำมดแดง.

อิตถีรัตนะ ก็เกิดติดตามมณีรัตนะแม้นั้นแล คือสตรีที่เป็นพระอัคร-

มเหสีโดยปกติหรือมาจากอุตตรกุรุทวีป หรือจากราชตระกูลมัททราช เว้นจาก

โทษ ๖ มีสูงเกินไปเป็นต้น ล่วงวรรณะของมนุษย์ แต่ไม่ถึงวรรณะทิพย์ ซึ่ง

สำหรับพระราชา ก็จะมีกายอุ่นเมื่อยามเย็น จะมีกายเย็นเมื่อยามร้อน มีสัมผัส

เหมือนปุยนุ่นที่ชีแล้ว ๗ ครั้ง กลิ่นจันทน์จะโชยออกจากกาย กลิ่นอุบลจะโชย

ออกจากปาก และเป็นผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเป็นอันมาก มีตื่นก่อนเป็นต้น.

คหปตรัตนะ ก็เกิดติดตามอิตถีรัตนะแม้นั้นแล ก็คือเศรษฐี ผู้ทำ

การงานโดยปกติของพระราชา ซึ่งพอจักรรัตนะเกิดขึ้น ก็ปรากฏทิพยจักษุ

เห็นขุมทรัพย์ได้ประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งที่ไม่มีเจ้าของ ทั้งที่มีเจ้าของ

ก็เข้าเฝ้าพระราชาทูลปรารถนาว่า ข้าแต่เทวราช ขอพระองค์โปรดทรงวาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

พระราชภาระกิจเถิด ข้าพระบาทจักทำกิจที่ควรทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของพระองค์

เองพระเจ้าข้า.

ปริณายกรัตนะ ก็เกิดติดตามคหปติรัตนะแม้นั้นแลโดยปกติ ก็คือ

พระเชษฐราชโอรสของพระราชา พอจักรรัตนะเกิดขึ้น ก็เป็นผู้ประกอบด้วย

ปัญญาความฉลาดอย่างเหลือเกิน สามารถกำหนดรู้จิตใจของบริษัทประมาณ

๒ โยชน์ ด้วยใจคนแล้ว ทำการนิคคหะลงโทษและปัคคหะยกย่อง ปริณายก

นั้น ก็เข้าเฝ้าพระราชาทูลปรารถนาว่า ข้าเเต่เทวราช ขอพระองค์โปรดทรงวาง

พระราชภาระเถิด ข้าพระบาทจักบริหารราชการแผ่นดินของพระองค์เองพระ-

เจ้าข้า. ก็หรือว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้อันใด เห็นปานเป็น ชื่อว่า รัตนะ

เพราะอรรถว่าชั่งไม่ได้ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใด ไม่สามารถพินิจพิจารณา

ราคาว่า มีค่าร้อยหนึ่ง พันหนึ่ง หรือโกฏิหนึ่ง ในทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้น

แม้รัตนะสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเสมอด้วยพุทธรัตนะ ไม่มีเลย หากว่าทรัพย์เครื่อง

ปลื้มใจ ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าชั่งไม่ได้ พระตถาคตเท่านั้น ชื่อว่ารัตนะ.

จริงอยู่พระตถาคตใครๆ ก็ไม่สามารถพินิจพิจารณาโดยศีล โดยสมาธิหรือโดย

บรรดาปัญญาเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วกำหนดว่า ทรงมีพระคุณเท่านี้ ทรง

เสมอ หรือเทียบเคียงกับผู้นี้ รัตนะเสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่า

ชั่งไม่ได้ ไม่มีเลย ด้วยประการฉะนี้.

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้นั้นใด ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่า เห็นได้

ยาก ก็เหมือนกัน. ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนี้ ก็คือความเป็นของปรากฏได้ยาก

ได้แก่ พระเจ้าจักรพรรดิ และรัตนะ ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดินั้น

รัตนะแม้นั้น ที่เสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มี. ก็หากว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ชื่อว่า

รัตนะ เพราะอรรถว่า เห็นได้ยากไซร้ พระตถาคตเท่านั้น ชื่อว่า รัตนะ.

ความเป็นรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น จักเห็นได้ยากมาแค่ไหนเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

จริงอยู่รัตนะเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นเป็นอันมาก ในกัปเดียวเท่านั้น แต่เพราะ

เหตุที่โลกต้องว่างเปล่าจากพระตถาคตนับเป็นอสงไขยกัป ฉะนั้น พระตถาคต

เท่านั้นชื่อว่าเห็นได้ยาก เพราะเกิดขึ้นบางครั้งบางคราว. สมจริงดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสมัยปรินิพพาน* ดังนี้ว่า

ดูก่อนอานนท์ เทวดาทั้งทลายกล่าวโทษว่า พวก

เราพากันมาแต่ไกล หมายจะเฝ้าพระตถาคต เพราะ

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก

ในกาลบางครั้งบางคราว วันนี้นี่แหละ ยามท้ายแห่ง

ราตรี พระตถาคตก็จักเสด็จปรินิพพาน แต่ภิกษุผู้มี

ศักดิ์มากรูปนี้ ยืนอยู่เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค

เจ้ากีดขวางอยู่ พวกเราไม่ได้โอกาสจะเฝ้าพระตถาคต

รัตนะที่เสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่าเห็นได้ยากย่อมไม่มี

ด้วยประการฉะนี้

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้นั้นได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่อง

บริโภคใช้สอยของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม ก็เหมือนกัน. ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้น

คืออะไร คือรัตนะเป็นต้นของพระเจ้าจักรพรรดิ. จริงอยู่ รัตนะนั้น

ไม่ใช่บังเกิด เพื่อเป็นเครื่องบริโภค แม้ด้วยความฝัน ของบุรุษต่ำทราม

ผู้มีตระกูลต่ำ เช่นคนจัณฑาล ช่างจักสาน พราน ช่างรถ และ คนเทขยะ

เป็นต้น ซึ่งมีทรัพย์ตั้งแสนโกฏิก็ดี อยู่บนมหาปราสาท ๗ ชั้นก็ดี แต่เป็น

เครื่องบริโภคของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม เพราะบังเกิดเพื่อเป็นเครื่องบริโภคของ

พระราชามหากษัตริย์ ผู้เป็นอุภโตสุชาติ บำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ๑๐ ประการ

บริบูรณ์ แม้รัตนะนั้น ที่เสมอกับพุทธรัตนะ ไม่มีเลย. ก็หากว่าทรัพย์เครื่อง

๑ ที่. มหา. ๑๐/ข้อ ๑๓๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

ปลื้มใจ ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องบริโภคของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม

ไซร้ พระตถาคตเท่านั้น ชื่อว่ารัตนะ. จริงอยู่ พระตถาคต มิใช่เป็นเครื่อง

บริโภคแม้ด้วยความฝันของครูทั้ง ๖ มีบูรณกัสสปเป็นต้น ซึ่งสมมติกันว่าเป็น

สัตว์ต่ำทราม ผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย มีทิสสนะอันวิปริต และของสัตว์

เหล่าอื่นเห็นปานนั้น แต่เป็นเครื่องบริโภค ของเหล่าท่านผู้ถึงพร้อมด้วย

อุปนิสสัยผู้สามารถบรรลุพระอรหัต เมื่อจบคาถาแม้ ๔ บท ผู้มีญาณทัสสนะ

ทำลายกิเลส มีท่านพระพาหิยทารุจีริยะเป็นต้น และของพระมหาสาวกทั้งหลาย

อื่นๆ ผู้เป็นบุตรของตระกูลใหญ่ จริงอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ไม่ต่ำทรามเหล่านั้น

เมื่อยังทัลสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ และปาริจริยานุตตริยะเป็นต้น ให้สำเร็จ

ชื่อว่าบริโภคใช้สอยพระตถาคต. รัตนะที่เสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถ

ว่าเป็นเครื่องบริโภคของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทรามไม่มีเลย ด้วยประการฉะนี้.

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้นั้นใด โดยไม่วิเศษชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถ

ว่า ให้เกิดความยินดี ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้น คืออะไร คือจักรรัตนะของ

พระเจ้าจักรพรรดิ. จริงอยู่ พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงเห็นจักรรัตนะแม้นั้นแล้ว

ก็ทรงดีพระราชหฤทัย จักรรัตนะนั้น นำความยินดีมาให้แก่พระราชา แม้

ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงจับพระสุวรรณภิงคารด้วย

พระหัตถ์ซ้าย ทรงประพรมด้วยพระหัตถ์ขวา มีพระราชโองการว่า จักรรัตนะ

จงดำเนินไป จักรรัตนะ จงมีชัยชนะ. แต่นั้น จักรรัตนะก็เปล่งเสียงไพเราะ

ดังดนตรีเครื่อง ๕ เหาะไปทิศบูรพา. พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงยกจตุรงคเสนา

แผ่กว้างประมาณ ๑๒ โยชน์ติดตามไป ด้วยอานุภาพของจักรรัตนะ ไม่สูงนัก

ไม่ต่ำนัก ภาคพื้นดินอย่างต่ำแค่ต้นไม้สูง อย่างสูงแค่ต้นไม้ต่ำ ทรงรับเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

บรรณาการจากมือของพวกที่ถือบรรณาการ มีดอกไม้ ผลไม้และหน่อไม้ใน

ต้นไม้เป็นต้นถวาย ฝ่ายพระราชาที่เคยเป็นปฏิปักษ์ ที่มาเฝ้าด้วยความเคารพ

นบนอบอย่างยิ่งว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด พระมหาราชเจ้า ก็ทรงอนุศาสน์สั่ง

สอนโดยนัยว่า ไม่ควรฆ่าสัตว์มีชีวิต ดังนี้เป็นต้น จึงเสด็จไป. ก็ในที่ใด

พระราชามีพระราชประสงค์จะเสวย หรือประสงค์จะบรรทมกลางวัน ในที่นั้น

จักรรัตนะก็จะลงจากอากาศแล้วหยุดอยู่เหมือนเพลาหัก ณ พื้นดินที่ราบเรียบ

เหมาะแก่กิจทุกอย่าง มีกิจเกี่ยวกับน้ำเป็นต้น เมื่อพระราชาเกิดจิตคิดจะเสด็จ

ไปอีก จักรรัตนะก็กระทำเสียงโดยนัยก่อนนั่นแล จึงแล่นไป. ฝ่ายบริษัท

[ขบวนทัพ] ขนาด ๒ โยชน์ ได้ยินเสียงนั้น ก็พากันเหาะไป. จักรรัตนะ

ลงสู่มหาสมุทรทิศบูรพาโดยลำดับ เมือจักรรัตนะนั้น ลงสมุทรน้ำก็หดตัวไป

ประมาณโยชน์หนึ่ง หยุดนิ่งเหมือนทำความจงรักภักดี. มหาชนก็ถือรัตนะทั้ง

๗ ตามความต้องการ พระราชาทรงจับสุวรรณภิงคารอีก ทรงประพรมด้วย

น้ำว่า ราชกิจของเราดำเนินตั้งต้นแต่นี้ไป แล้วเสด็จกลับ . กองทัพอยู่ข้างหน้า

จักรรัตนะอยู่ข้างหลัง พระราชาอยู่กลาง. น้ำเข้าเต็มที่ตลอดสถานที่จักรรัตนะ

ถอนตัวไป. จักรรัตนะก็ไปในสมุทรด้านทิศทักษิณ ทิศปัศฉิม และทิศอุดร

โดยอุบายนี้นี่แล.

จักรรัตนะตระเวนไปตลอด ทิศอย่างนี้แล้ว ก็ขึ้นสู่อากาศประมาณ

๓๐๐ โยชน์. พระราชาประทับยืนบนจักรรัตนะนั้น ทรงพิชิตชัยชนะด้วย

อานุภาพจักรรัตนะ ทรงตรวจดูจักรวาลหนึ่ง ซึ่งประดับ ด้วยทวีปใหญ่ ๔ ทวีป

และทวีปน้อย ๒,๐๐๐ ทวีป เหมือนสวนบัวบุณฑริกที่บานเต็มที่แล้ว อย่างนี้

คือ บุพพวิเทหทวีป ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐ ทวีป มีปริมณฑล ๗,๐๐๐

โยชน์ อุตตรกุรุทวีปก็เหมือนกัน มีปริมณฑล ๘,๐๐๐ โยชน์ อปรโคยาน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

ทวีป มีปริมณฑล ๗,๐๐๐ โยชน์เหมือนกัน และชมพูทวีป มีปริมณฑล

๑,๐๐๐ โยชน์. พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้น กำลังทรงตรวจดูอย่างนี้ ก็

ทรงเกิดความยินดีมิใช่น้อยเลย จักรรัตนะนั้น ให้เกิดความยินดีแก่พระราชา

แม้ด้วยอาการอย่างนี้. จักรรัตนะแม้นั้น ที่เสมอด้วยพุทธรัตนะ หามีไม่.

ก็หากว่าชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าให้เกิดความยินดีไซร้ พระตถาคต

เท่านั้น ชื่อว่า รัตนะ จักรรัตนะอย่างเดียว จักทำอะไรได้.

จริงอยู่ ความยินดีในจักรวรรดิ ที่รัตนะแม้ทุกอย่างมีจักรรัตนะเป็น

ต้นทำให้เกิด ก็ยังไม่นับไม่เท่าเสี้ยว แม้ส่วนของความยินดี ที่เป็นทรัพย์อัน

ใด พระตถาคตทรงทำให้เกิดความยินดีในปฐมฌาน ความยินดีในปรมฌาณ

ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ความยินดีในอากาสานัญ-

จายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานา

สัญญายตนฌาน ความยินดีในโสดาปัตติมรรค ความยินดีในโสดาปัตตผล

และสกทามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค

และอรหัตผลแก่เทวดาและมนุษย์ นับจำนวนไม่ได้ ผู้รับสนองพระโอวาท

ของพระองค์. ยิ่งกว่า ประณีตกว่า ความยินดีแม้อันนั้น รัตนะเสมอด้วย

พระตถาคต แม้เพราะอรรถว่าให้เกิดความ ยินดี ไม่มีด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ธรรมดารัตนะนี้มี ๒ อย่าง คือ สวิญญาณกรัตนะ และ

อวิญญาณกรัตนะ. บรรดารัตนะทั้งสองนั้น อวิญญาณกรัตนะ ได้แก่

จักรรัตนะ และมณีรัตนะ ก็หรือรัตนะแม้อื่นใด มีทองและเงินเป็นต้นที่เกี่ยว

เนื่องด้วยอนินทรีย์, สวิญญาณกรัตนะ ได้แก่ รัตนะมีหัตถิรัตนะเป็นต้นมี

ปริณายกรัตนะเป็นที่สุด ก็หรือว่า รัตนะแม้อื่นใดเป็นปานนั้น ที่เกี่ยวเนื่อง

ด้วยอินทรีย์. เมื่อเป็นดังนั้น ในรัตนะทั้งสองอย่าง สวิญญาณกรัตนะกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

กันว่าเป็นเลิศ ในข้อนี้. เพราะเหตุไร. เพราะเหตุว่า รัตนะมีทอง เงิน

แก้วมณี แก้วมุกดาเป็นต้น ถูกนำเข้าไปใช้เป็นเครื่องประดับของหัตถิรัตนะ

เป็นต้น ที่เป็นสวิญญาณกรัตนะ.

แม้สวิญญาณกรัตนะ ก็มี ๒ อย่าง คือรัตนะที่เป็นสัตว์เดียรฉาน

และรัตนะที่เป็นมนุษย์. บรรดาสวิญญาณกรัตนะ ๒ อย่างนั้น รัตนะที่เป็น

มนุษย์กล่าวกันว่าเป็นเลิศ. เพราะเหตุไร. เพราะเหตุว่า รัตนะที่เป็นสัตว์

เดียรัจฉาน ย่อมเป็นพาหนะของรัตนะที่เป็นมนุษย์. แม้มนุสสรัตนะก็มี ๒ อย่าง

คืออิตถีรัตนะ และปุริสรัตนะ. บรรดามนุสสรัตนะทั้งสองนั้น ปุริสรัตนะ

กล่าวกันว่าเป็นเลิศ. เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า อิตถีรัตนะต้องเป็นบริจาริกา

ของปรุสรัตนะ. แม้ปริสรัตคนะก็มี ๒ คือ. อนคาริกรัตนะ และอนคาริกรัตนะ

บรรดาปุริสรัตนะทั้ง ๒ นั้น . อนคาริกรัตนะ กล่าวกันว่าเป็นเลิศ. เพราะ

เหตุไร เพราะเหตุว่า ในอคาริกรัตนะ แม้พระเจ้าจักรพรรดิเป็นเลิศ ก็ยัง

ไหว้อนคาริกรัตนะ. ผู้กอปรด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ บำรุง

นั่งใกล้ ประสบสมบัติที่เป็นทิพย์และมนุษย์ บรรลุนิพพานสมบัติในที่สุด

เมื่อเป็นดังนั้น แม้อนคาริกรัตนะ ก็มี ๒ อย่าง คือ อริยรัตนะ

และปุถุชนรัตนะ.

แม้อริยรัตนะ ก็มี ๒ อย่าง คือเสขรัตนะ และอเสขรัตนะ

แม้อเสขรัตนะ ก็มี ๒ อย่าง คือ สุกขวิปัสสกรัตนะ และ

สมาถยานิกรัตนะ.

แม้้สมถยานิกรัตนะ ก็มี ๒ อย่าง คือที่บรรลุสาวกบารมี และไม่

บรรลุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

บรรดาสมถยานิกรัตนะทั้งสองนั้น สมถยานิกรัตนะที่บรรลุสาวกบารมี

กล่าวกันว่าเป็นเลิศ เพราะเหตุไร. เพราะเหตุว่า มีคุณมาก. ปัจเจกพุทธ-

รัตนะ กล่าวกันว่าเป็นเลิศ แม้กว่าสาวกปารมีปัตตรัตนะ. เพราะเหตุไร.

เพราะเหตุว่า มีคุณมาก. พระสาวกหลายร้อย แม้เช่นท่านพระสารีบุตร ท่าน

พระโมคคัลลานะ ก็ไม่ถึงแม้ส่วนร้อยแห่งคุณทั้งหลายของพระปัจเจกพุทธเจ้า

องค์เดียว.

สัมมาสัมพุทธรัตนะ กล่าวกันว่าเป็นเลิศ แม้กว่าปัจเจกพุทะรัตนะ

เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า มีคุณมาก. ก็หากว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

นั่งขัดสมาธิเบียดกัน ทั่วทั้งชมพูทวีป ก็ไม่เท่า ไม่เท่าเสี้ยว ไม่เท่าส่วนเสี้ยว

แห่งพระคุณทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว. สมจริงดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่

เท้าหรือ ฯลฯ พระตถาคตกล่าวกันว่า เป็นเลิศแห่งสัตว์เหล่านั้น

เป็นต้น. รัตนะที่เสมอด้วยพระตถาคต ไม่มีเลย โดยปริยายบางอย่าง ด้วย

ประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัยว่า น โน สม อตฺถิ

ตถาคเตน รัตนะที่เสมอด้วยตถาคตไม่มีเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความที่พระพุทธรัตนะ อันรัตนะอื่น ๆ

เปรียบไม่ได้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อระงับอุปัทวะที่เกิดแก่สัตว์เหล่านั้น ไม่

ทรงอาศัยชาติ ไม่ทรงอาศัยโคตร ไม่ทรงอาศัยความเป็นกุลบุตร ไม่ทรง

อาศัยความเป็นผู้มีวรรณะงามเป็นต้น หากแต่ทรงอาศัยความที่พระพุทธรัตนะ

ไม่มีอะไรเทียบเทียมได้ด้วยคุณทั้งหลาย มีศีลขันธ์และสมาธิขันธ์เป็นต้น ใน

โลกที่มีอเวจีเป็นต้น มีภวัคคพรหมเป็นที่สุด จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

อิทมฺปิ พุทฺเธ รัตน ปณีต เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ แม้อันนี้ก็

เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้

สัจจวจนะนั้น มีความดังนี้ว่า ความที่พระพุทธเจ้าไม่มีใครเทียบได้

โดยพระคุณทั้งหลายนั้น ๆ กับทรัพย์เครื่องปลื้มใจหรือรัตนะทุกอย่างที่มีใน

โลกนี้หรือโลกอื่น หรือในสวรรค์ทั้งหลายแม้อันนี้ ชื่อว่าเป็นรัตนะอันประณีต

ในพระพุทธเจ้า ก็หากว่า ข้อนี้เป็นสัจจะไซร้ เมื่อเป็นดังนั้น ด้วยสัจจะนี้

ขอความสวัสดีจงมี ขอความที่สิ่งดีงามทั้งหลายมีอยู่ ความไม่มีโรค ความ

ปราศจากอุปัทวะ จงมีแก่สัตว์เหล่านี้. ก็ในข้อนี้ พึงทราบความว่า รัตนะ

ประณีต ได้แก่ ความเป็นรัตนะประณีต คือภาวะที่พระพุทธเจ้าเป็นรัตนะ

ประณีต เหมือนความที่ว่า เพราะเป็นตน หรือเพราะเนื่องอยู่กับตน นี้

ประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า จกฺขุ โข อานนฺท สุญฺ อตฺเตน วา อตฺตนิเยน

วา ดูก่อนอานนท์ จักษุแลว่างเปล่าจากตน หรือจากสิ่งที่เนื่องอยู่กับตน.

จริงอยู่ นอกจากนี้ จักษุก็เป็นอันปฏิเสธไม่ได้ว่าตน หรือสิ่งที่เนื่องอยู่กับตน

ฉะนั้น . แท้จริง โดยประการนอกจากนี้ พระพุทธเจ้าย่อมไม่สำเร็จเป็นรัตนะ

ด้วยว่ารัตนะไม่มีอยู่ในสิ่งใด สิ่งนั้นก็ย่อมไม่สำเร็จเป็นรัตนะ. แต่ว่ารัตนะที่

เกี่ยวพันโดยวิธีไร ๆ ก็ตาม ที่นับว่าเป็นประโยชน์ มีผู้คนทำความเคารพ

ยำเกรงเป็นต้น มีอยู่ในสิ่งใด เพราะเหตุที่สิ่งนั้น ท่านมุ่งหมายเอาความเป็น

รัตนะ จึงบัญญัติว่ารัตนะ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงสำเร็จว่ารัตนะ เพราะรัตนะ

นั้นมีอยู่. อีกนัยหนึ่ง บทว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตน ปณีต พึงทราบความ

อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นรัตนะ โดยประการแม้นี้. พอพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสพระคาถา ความสวัสดีก็เกิดแก่ราชสกุล ภัยก็ระงับไป พวกอมนุษย์ใน

แสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

พรรณนาคาถาว่า ขย วิราค

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะอย่างนี้แล้ว บัดนี้จึงทรงเริ่ม

ตรัสว่า ขย วิราค เป็นต้น. ในคำนั้น เพราะเหตุที่กิเลสทั้งหลายมีราคะ

เป็นคนหมดสิ้นไป เพราะทำให้แจ้งพระนิพพาน หรือเพราะเหตุที่พระนิพพาน

นั้น พอกิเลสเหล่านั้นสิ้นไป โดยดับไม่เกิด และเพราะเหตุที่พระนิพพานนั้น

ไม่ประกอบด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น โดยความประจวบ และโดยอารมณ์หรือ

เพราะเหตุที่เมื่อบุคคลทำให้แจ้งพระนิพพานนั้นแล้ว กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็น

ต้น ก็คลายออกไปสิ้นเชิงปราศจากไป ถูกกำจัดไป ฉะนั้นพระนิพพาน ท่าน

จึงเรียกว่า ขยะ ว่า วิราคะ แต่เพราะเหตุที่พระนิพพานนั้น ความเกิดไม่

ปรากฏ ความเสื่อมไม่ปรากฏ ความที่จิตแปรปรวนไม่มี ฉะนั้น พระนิพ-

พานนั้น ท่านจึงทำว่าไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย เรียกว่า อมตะ แต่ [ในที่นี้]

ท่านเรียกว่า ประณีต เพราะอรรถว่า สูงสุด และเพราะอรรถว่า ไม่อิ่ม.

บทว่า ยทชฺฌคา ได้แก่ บรรลุ พบ ได้กระทำให้แจ้งด้วยกำลังญาณ

ของตน ซึ่งพระนิพพานนั้น . บทว่า สกฺยมุนี ได้แก่ ชื่อว่า ศากยะเพราะ

ทรงเป็นโอรสของสกุลศากยะ ชื่อว่า มุนี เพราะประกอบด้วย โมเนยยธรรม

มุนีคือศากยะ ชื่อว่า พระศากยมุนี. บทว่า สมาหิโต ได้แก่ ผู้มีจิตตั้ง

มั่นแล้วด้วยสมาธิเป็นอริยมรรค. บทว่า น เตน ธมฺเมน สมตฺถิ

กิญฺจิ ความว่า ธรรมชาติไร ๆ ที่เสมอด้วยธรรมที่พระศากยมุนีทรงบรรลุ

แล้ว มีนามว่า ขยะ เป็นต้นนั้น ไม่มี. เพราะฉะนั้น แม้ในพระสูตรอื่นพระผู้

มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้เป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายไม่ว่าเป็น

สังขตะหรืออสังขตะ เพียงใด วิราคธรรม ท่านกล่าวว่าเป็นยอดของธรรม

เหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความที่นิพพานธรรมอันธรรมอื่น ๆ

เทียบไม่ได้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อระงับอุปัทวะที่เกิดแก่สัตว์เหล่านั้น ทรง

อาศัยความที่รัตนะ คือนิพพานธรรม ไม่มีธรรมอื่นจะเหมือน ด้วยคุณทั้งหลาย

คือความเป็นธรรมเป็นที่สิ้นกิเลส สำรอกกิเลส เป็นอมตธรรมและธรรมอัน

ประณีต จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า อิทมฺปิ ธมฺเม รตน ปณีต เอ-

เตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ แม้อันนี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม

ด้วยสัจจวจนะนี้ ขอความสวัสดี จงมี. ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตาม

นัยที่กล่าวมาแล้วในคาถาต้นนั่นแล. พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากัน

ยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถาแม้นี้แล.

พรรณนาคาถาว่า ยมฺพุทฺธเสฏฺโ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ตรัสสัจจวจนะ ด้วยคุณแห่งนิพพานธรรม

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัสด้วยพระคุณแห่งมรรคธรรมว่า ยมฺพุทฺธ-

เสฏฺโ เป็นต้น. ในคำนั้น ชื่อว่า พุทธะ โดยนัยเป็นต้นว่า ตรัสรู้สัจจะ

ทั้งหลาย. ชื่อว่า เสฏฐะ เพราะเป็นผู้สูงสุด และควรสรรเสริญ, ชื่อว่า

พุทธเสฏฐะ เพราะเป็นผู้ตรัสรู้ เป็นผู้สูงสุดและควรสรรเสริญ. อีกนัยหนึ่ง

ชื่อว่า พุทธเสฏฐะ เพราะเป็นผู้ประเสริฐสุด ในพระพุทธะทั้งหลาย ที่เรียก

ว่าอนุพุทธะปัจเจกพุทธะและสุตพุทธะ. พระพุทธะผู้ประเสริฐสุดพระองค์นั้น

ทรงชม สรรเสริญ ประกาศสมาธิธรรมใดไว้ในบาลีนั้น ๆ โดยนัยเป็นต้นว่า

มรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐสุดแห่งมรรคทั้งหลาย เกษมเพื่อบรรลุพระนิพพาน

และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ที่มีเหตุ

มีเครื่องประกอบแก่ท่านทั้งหลาย. มทว่า สุจึ ได้แก่ ผ่องแผ้วสิ้นเชิง เพราะ

ทำการตัดมลทินคือกิเลสได้เด็ดขาด. บทว่า สมาธิมานนฺตริกญฺมาหุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวถึงสมาธิอันใดว่า อนันตริกสมาธิ สมาธิเกิด

ในลำดับ เพราะอำนวยผลแน่นอนในลำดับการดำเนินการปฏิบัติของตน. อัน-

ตรายใด ๆ ที่ห้ามกันความเกิดผลแห่งอนันตริกสมาธินั้น เมื่อสมาธิอันเป็น

ตัวมรรคเกิดขึ้นแล้ว หามีไม่. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ก็บุคคลนี้ พึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดา-

ปัตติผล และพึงเป็นเวลาที่กัปไหม้ กัปก็จะยังไม่พึง

ไหม้ตราบเท่าที่บุคคลนี้ ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล

บุคคลผู้นี้เรียกว่า ฐิตกัปปี ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัป บุคคลผู้มี

มรรคพรั่งพร้อมทั้งหมด ก็เป็นฐิติกัปปี ผู้ตั้งอยู่ตลอด

กัป.

บทว่า สมาธินา เตน สโม น วิชฺชติ ความว่า รูปาวจรสมาธิ

หรืออรูปาวจรสมาธิใด ๆ ที่เสมอด้วยอนันตริกสมาธิอันสะอาด ที่พระพุทธะผู้

ประเสริฐสุดสรรเสริญแล้วนั้น ไม่มีเลย. เพราะเหตุไร เพื่อสัตว์แม้เกิดใน

พรหมโลกนั้น ๆ เพราะอบรมสมาธิเหล่านั้นแล้ว ก็ยังมีการเกิดในอบายมีนรก

เป็นต้นอีกได้ และเพราะพระอริยบุคคลตัดการเกิดทุกอย่างได้เด็ดขาด เพราะ

อบรมสมาธิที่เป็นตัวพระอรหัตนี้แล้ว. เพราะฉะนั้น แม้ในสูตรอื่น พระผู้-

มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นสังขตะ

[อันปัจจัยปรุงแต่ง] มีประมาณเท่าใด ฯลฯ อริยมรรค

มีองค์ ๘ กล่าวกันว่าเป็นเลิศว่าสังตธรรมเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ตรัสความที่อนันตริกสมาธิ อันสมาธิอื่น ๆ

เทียบไม่ได้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยความที่รัตนะคือมรรคธรรม อันรัตนะ

อื่นไม่เทียบได้ โดยนัยก่อนนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวนะว่า อทมฺปิ ธมฺเม

ฯเปฯ สุวตฺถิ โหตุ แม้อันนี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ฯลฯ ขอ

๑. ปสาทสตร อัง. จตุกนิบาต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

ความสวัสดีจงมี. ความของสัจจวนะนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวมาก่อนแล้ว

นั่นแล. พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่ง

พระคาถานี้แล.

พรรณนาคาว่า เย ปคฺคลา

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ แม้ด้วยคุณแห่งมรรคธรรม

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัสแม้ด้วยสังฆคุณว่า เย ปุคฺคลา เป็นต้น.

ในคำนั้น ศัพท์ว่า เย เป็นนิเทศไม่แน่นอน. บทว่า ปุคฺคลา ได้แก่

สัตว์ทั้งหลาย. ศัพท์ว่า อฏฺ เป็นการกำหนดจำนวนสัตว์เหล่านั้น จริงอยู่

สัตว์เหล่านั้น มี ๘ คือ ผู้ปฎิบัติ [มรรค] ๘ ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔. บทว่า สต

ปสฏฺา ได้แก่อันสัตบุรุษ คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ-

สาวก และเทวดาและมนุษย์เหล่าอื่น สรรเสริญแล้ว. เพราะเหตุไร. เพราะ

ประกอบด้วยคุณ มีศีลที่เกิดร่วมกันเป็นต้น. ความจริง คุณทั้งหลายของ

สัตบุรุษเหล่านั้น มีศีลสมาธิเป็นต้นเกิดร่วมกัน เหมือนสีและกลิ่นเป็นต้นที่

เกิดร่วมกันของดอกจำปาและดอกพิกุลเป็นต้น . ด้วยเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น

จึงเป็นที่รัก .ที่ต้องใจ ที่น่าสรรเสริญ ของสัตบุรุษทั้งหลาย เหมือนดอกไม้

ทั้งหลาย ที่พร้อมด้วยสีและกลิ่นเป็นต้น เป็นที่รักที่ต้องใจน่าสรรเสริญของ

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เย

ปุคฺคลา อฏฺ สต ปสฏฺา.

อีกนัยหนึ่ง ศัพท์ว่า เย เป็นนิเทศไม่แน่นอน. บทว่า ปุคฺคลา

ได้แก่สัตว์ทั้งหลาย. ศัพท์ว่า อฏฺสต เป็นการกำหนดจำนวนสัตว์เหล่านั้น.

จริงอยู่ สัตว์เหล่านั้น ได้แก่พระโสดาบัน ๓ พวก คือ เอกพิชี ไกลังไกละ

และสัตตตักขัตตุปรมะ พระสกทาคามี ๓ พวก ผู้บรรลุผลในกามภพ รูปภพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

และอรูปภพ. พระโสดาบันและพระสกทาคามีเหล่านั้นทั้งหมดมี ๒๔ พวกโดย

ปฏิปทา ๔. พระอนาคามีในเทพชั้นอวิหามี ๕ พวกคือ อันตราปรินิพพายี อุป-

หัจจปรินิพพายี สสังขารปรินิพพายี อสังขารปรินิพพายี อุทธังโสโตอกนิฏฐ-

คามี. พระอนาคานีในเทพชั้นอตัปปา สุทัสสา สุทัสสี ก็มีชั้นละ ๕ พวกเหมือนกัน.

ส่วนในเทพชั้นอกนิษฐ์มี ๔ พวกเว้นอุทธังโสโต รวมพระอนาคามี ๒๔ พวก.

พระอรหันต์มี ๒ พวกคือ สุกขวิปัสสกและสมถยานิก. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ใน

มรรคมี ๔ พวก รวมเป็นพระอริยบุคคล ๕๔ พวก. พระอริยบุคคลเหล่านั้น

ทั้งหมดคุณด้วย ๒ พวกดือ ฝ่ายสัทธาธุระและฝ่ายปัญญาธุระรวมเป็น ๑๐๘ พวก.

คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

บทว่า จตฺตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนฺติ ความว่า บุคคลที่ทรง

ยกอุเทศไว้โดยพิศดารว่าพระอริยบุคคลเหล่านั้น ทั้งหมดมี ๘ พวกก็ดี ๑๐๘ พวก

ก็ดี ว่าโดยสังเขป พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตตมรรค พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

รวมเป็น ๑ คู่. อย่างนี้จนถึงพระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัต-

ผล รวมเป็น ๑ คู่ รวมทั้งหมดเป็น ๔ คู่. ศัพท์ว่า เต ในบทว่า เต ทุกฺขิ-

เณยฺยา เป็นศัพท์นิเทศอธิบายกำหนดแน่นอน ซึ่งบทอุเทศ ที่ยกตั้งไว้ไม่แน่

นอน. บุคคลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้พิศดารว่ามี ๘ พวกหรือ ๑๐๘ พวก

สังเขปว่า มี ๔ คู่ แม้ทั้งหมด ย่อมควรทักษิณาเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทักขิเณยยะ.

ไทยธรรมที่บุคคลเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมไม่คำนึงถึงว่า ภิกษุรูปนี้จักทำกิจ

กรรมเป็นหมอยาหรือกิจกรรมรับใช้อันนี้แก่เรา ดังนี้เป็นต้นแล้วถวาย ชื่อว่า

ทักษิณา. บุคคลผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น สละบุคคลเหล่านี้ผู้เป็นเช่นนั้น

ชื่อว่า ย่อมควรแก่ทักษิณานั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เต

ทกฺขิเณยฺยา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

บทว่า สุคตสฺส สาวกา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า สุคต

เพราะทรงประกอบด้วยการเสด็จไปงดงาม เพราะเสด็จไปสู่สถานที่อันงาม

เพราะเสด็จไปด้วยดี และเพราะตรัสดี. เป็นสาวกของพระสูติ พระองค์นั้น.

ท่านเหล่านั้น ทั้งหมดชื่อว่า สาวก เพราะฟังพระดำรัส. คนอื่น ๆ ถึงฟังก็จริง

ถึงเช่นนั้น เขาฟังแล้วก็ไม่ทำกิจที่ควรทำ. ส่วนท่านที่เป็นสาวกเหล่านั้น ฟัง

แล้ว ทำกิจที่ควรทำคือ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บรรลุมรรคผล เพราะ

ฉะนั้น ท่านเหล่านี้ จึงตรัสเรียกว่า สาวก.

บทว่า เอเตสุ ทินฺนานิ มหปฺผลานิ ความว่า ทานทั้งหลายแม้

เล็กน้อย ที่ถวายในสาวกของพระตถาคตเหล่านั้น ชื่อว่ามีผลมาก เพราะเป็น

ทานที่เข้าถึงความเป็นทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เพราะฉะนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสไว้แม้ในสูตรอื่นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ คือคณะมีประมาณเพียง

ใด คือสงฆ์สาวกของพระตถาคต กล่าวกันว่าเป็นเลิศ

ของสงฆ์คณะเหล่านั้น คือสงฆ์ ๔ คู่ ๘ บุคคล นี่

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ เป็นวิบาก

อันเลิศ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของสังฆรัตนะโดยพระผู้ตั้งอยู่ใน

มรรค พระผู้ตั้งอยู่ในผลทั้งหมดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล

จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน ปณฺต แม้อันนี้ก็เป็น

รัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ความของสัจจวจนะนั้น ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าว

มาก่อนนั่นแล. พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิกัป พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่ง

พระคาถาแม้นี้แล.

๑. ปสาทสูตร อัง. จตุกนิบาต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะด้วยคุณของสังฆรัตนะ โดย

พระผู้ตั้งอยู่ในมรรคและพระผู้ตั้งอยู่ในผล อย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงเริ่มตรัสด้วย

คุณของพระขีณาสวบุคคลทั้งหลาย ผู้เสวยสุขในผลสมาบัติบางเหล่าเท่านั้น ว่า

เย สุปฺปยุตฺตา เป็นต้น. ในคำนั้น คำว่า เย เป็นคำอุเทศที่ไม่แน่นอน.

บทว่า สุปฺปยุตฺตา แปลว่า ประกอบดีแล้ว อธิบายว่า ละอเนสนา การ

แสวงหาที่ไม่สมควรหลายอย่างเสีย แล้วอาศัยการเลี้ยงชีวิตที่บริสุทธิ์ เริ่มประ-

กอบตนไว้ในวิปัสสนา. อีกนัยหนึ่ง บทว่า สุปฺปยุตฺตา ได้แก่ประกอบด้วย

กายประโยคและวจีประโยคอันหมดจดดี. ทรงแสดงศีลขันธ์ของพระขีณาสว-

บุคคลเหล่านั้น ด้วยบทว่า สุปฺปยุตฺตา นั้น. บทว่า มนสา ทฬฺเหน

ได้แก่ ด้วยใจที่หนักแน่น. อธิบายว่า ด้วยใจอันประกอบด้วยสมาธิที่มั่นคง.

ทรงแสดงสมาธิขันธ์ของพระขีณาสวบุคคลเหล่านั้นด้วยบทว่า มนสา ทฬฺเหน

นั้น. บทว่า นิกฺกามิโน ได้แก่ เป็นผู้ไม่อาลัย ในกายและชีวิต มีความ

พยายามออกจากกิเลสทั้งปวง อันผู้มีปัญญาเป็นธุระกระทำแล้วด้วยความเพียร.

ทรงแสดงปัญญาขันธ์ที่ประกอบด้วยความเพียร ของพระขีณาสวบุคคลเหล่านั้น

ด้วยบทว่า นิกฺกามิโน นั้น.

บทว่า โคตมสาสนมฺหิ ได้แก่ ในศาสนาของพระตถาคตผู้มีพระ-

นามว่าโคดมโดยพระโคตรนั่นแล. ด้วยบทว่า โคตมสาสนนฺหิ นั้น ทรง

แสดงว่า พวกคนนอกศาสนานี้ ผู้ทำตบะเพื่อเทพเจ้า แม้มีประการต่างๆ ก็

ไม่มีความพยายามออกจากกิเลสทั้งหลาย เพราะไม่มีคุณมีความประกอบอย่างดี

เป็นต้น คำว่า เต เป็นคำอธิบายอุเทศที่ตั้งไว้ก่อน. ในคำว่า ปตฺติปตฺตา

นี้ คุณควรบรรลุ เหตุนั้นจึงชื่อว่า ปตฺติ คุณที่ควรบรรลุ ซึ่งบุคคลบรรลุ

แล้วจะเป็นผู้เกษมปลอดจากโยคะสิ้นเชิง ซึ่งว่า ปตฺตพฺพา. คำนี้เป็นชื่อของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

พระอรหัตผล. ผู้บรรลุคุณควรบรรลุนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า ปตฺติปตฺตา.

บทว่า อมต ได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า วิคยฺห ได้แก่เข้าถึงโดยอารมณ์

บทว่า ลทฺธา แปลว่า ได้แล้ว. บทว่า มุธา ได้แก่ โดยไม่มีค่าคือ ไม่ทำ

ค่าแม้เพียงกากณึกหนึ่ง. บทว่า นิพฺพุตึ ได้แก่ ผลสมาบัติ ที่ระงับความ

กระวนกระวายด้วยอำนาจกิเลสเสียแล้ว. บทว่า ภุญฺชมานา ได้แก่ เสวย

อยู่. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายว่า ชนเหล่าใด ในศาสนาของพระ

โคดมนี้ ชื่อว่าประกอบดีแล้ว เพราะถึงพร้อมด้วยศีล ชื่อว่า มีใจหนักแน่น

เพราะถึงพร้อมด้วยสมาธิ ชื่อว่าไร้ความอาลัยเพราะถึงพร้อมด้วยปัญญา ชนเหล่า

นั้น ก็เข้าถึงอมตะด้วยสัมมาปฏิบัตินี้เป็นผู้ได้เปล่า ๆ เสวยความดับซึ่งเข้าใจได้

ว่าผลสมาบัติ ชื่อว่า เป็นผู้บรรลุคุณที่ควรบรรลุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ตรัสคุณของสังฆรัตนะ โดยพระขีณาสว-

บุคคล ผู้เสวยผลสมาบัติอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรง

ประกอบสจัจวจนะ ว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน ปณีต แม้อันนี้ ก็เป็น

รัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ความแห่งสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าว

ก่อนแล้ว พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่ง

พระคาถาแม้นี้แล.

พรรณนาคาถาว่า ยถินฺทขีโล

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ตรัสสัจจวจนะมีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้ง โดย

ขีณาสวบุคคล อย่างนี้แล้ว ทรงเริ่มตรัส โดยคุณของพระโสดาบันเท่านั้นว่า

ยถินฺทขีโล เป็นต้น. ในคำนั้น บทว่า ยถา เป็นคำอุปมา. คำว่า

อินฺทขีโล นี้ เป็นชื่อของเสาไม้แก่นที่เขาตอกจมดิน ๘ ศอก หรือ ๑๐ ศอก

ภายในธรณีประตู เพื่อป้องกันประตูพระนคร. บทว่า ปวึ แปลว่า แผ่นดิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

บทว่า สิโต ได้แก่ เข้าไปอาศัยอยู่ข้างใน. บทว่า สิยา แปลว่า พึงเป็น.

บทว่า จตุพฺภิ เวเตหิ แปลว่า อันลมที่พัดมาแค่ ๔ ทิศ. บทว่า อสมฺ-

ปิกมฺปิโย ได้แก่ไม่อาจให้ไหว หรือขยับเขยื้อนได้. บทว่า ตถูปม แปลว่า

เหมือนคนนั้น. บทว่า สปฺปุริส ได้แก่ บุรุษสูงสุด บทว่า วทามิ แปลว่า

กล่าว บทว่า โย อริยสจิจานิ เชอเวจฺจ ปสฺสติ แปลว่า ผู้ใดหยั่งเห็น

อริยสัจ ๔ ด้วยปัญญา. ในข้อนั้น อริยสัจทั้งหลาย พึงทราบตามนัยที่กล่าว

ไว้แล้วในกุมารปัญหา และคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแล.

ส่วนความสังเขปในข้อนี้ มีดังนี้ เหมือนอย่างว่าเสาเขื่อน จมติดดิน

เพราะมีรากลึก ลมพัดมา ๔ ทิศ ก็พึงให้ไหวไม่ได้ ฉันใด สัตบุรุษใดหยั่ง

เห็นอริยสัจ เรากล่าวสัตบุรุษแม้นี้ อุปมาฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุไร

เพราะเหตุว่า สัตบุรุษแม้นั้น เป็นผู้อันลมคือวาทะของเดียรถีย์ทั้งปวงทำให้

ไหวไม่ได้ คือใครๆ ก็ไม่อาจให้ไหวหรือเขยื้อนจากทัสสนะนั้นได้ เหมือน

เสาเขื่อนอันลมพัดนา ๔ ทิศ ทำให้ไหวไม่ได้ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้

มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้แม้ในสูตรอื่นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสาเหล็กหรือเสาเขื่อนลง

รากลึก ฝังอย่างดี ไม่หวั่น ไม่ไหว แม้หากว่าลมฝน

แรงกล้าพัดมาด้านทิศบูรพา, ก็ไม่พึงหวั่นไม่พึงไหว

ไม่พึงขยับเขยื้อน แม้หากว่าลมฝนแรงกล้าพัดมาด้าน

ทิศปัจฉิม, ทิศทักษิณ, ทิศอุดร ก็ไม่พึงหวั่นไม่พึง

ไหว ไม่พึงขยับเขยื้อน เพราะเหตุไร เพราะลงราก

ลึก เพราะเสาเขื่อนเขาฝังไว้ดีแล้ว ฉันใด ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

ย่อมรู้ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-

ปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ตรวจดู

หน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านเมื่อรู้ ก็รู้

เมื่อเห็นก็เห็นอย่างนี้แน่นอน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะอริยสัจ ๔ สมณะหรือ

พราหมณ์ผู้นั้น เห็นอย่างดีแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ตรัสคุณของสังฆรัตนะโดยอำนาจพระโสดา-

บัน ที่ประจักษ์แก่คนเป็นอันมากเท่านั้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้น

นั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน ปณีต แม้อันนี้

ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์. ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัย

ที่กล่าวมาก่อนแล้วนั้นแล. พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับ

พุทธอาชญาแห่งพระคาถาแม้นี้แล.

พรรณนาคาถาว่า เย อริยสจฺจานิ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ อันมีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้ง

ด้วยคุณของพระโสดาบัน โดยไม่แปลกกันอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัส

ว่า เย อริยสจฺจานิ เป็นต้น ด้วยคุณของพระโสดาบันสัตตักขัตตุปรมะ

น้องน้อยของพระโสดาบันทั้งหมด บรรดาพระโสดาบัน ๓ ประเภท คือ

เอกพิชี โกลังโกละ สัตตักขัตตุปรมะ เหมือนที่ตรัสไว้ว่า

บุคคลบางตนในพระศาสนานี้ย่อมขอว่าโสดาบัน

เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ โสดาบันนั้น บังเกิดภพเดียว

เท่านั้น ก็ทำที่สุดทุกข์ นี้ชื่อ เอกพิชี. โสดาบันท่อง

เที่ยวอยู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล ก็เหมือนกัน ย่อมทำที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

สุดทุกข์ได้ นี้ชื่อ โกลังโกละ โสดาบันยังเวียนว่าย

ตายเกิดอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้ง ก็เหมือนกัน

ย่อมทำที่สุดทุกข์ได้ นี้ชื่อ สัตตักขัตตุปรมะ.

ในคำนั้น คำว่า เย อริยสจฺจานิ นี้ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

บทว่า วิภาวยนฺติ ได้แก่ กำจัดความมืดคือกิเลส อันปกปิดสัจจะแล้ว ทำให้

แจ่มแจ้งปรากฏแก่ตน ด้วยแสงสว่างแห่งปัญญา. บทว่า คมฺภีรปญฺเน

ได้แก่ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระปัญญา มีกำลัง ซึ่งใคร ๆ ไม่ได้ด้วย

ญาณของโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก ด้วยพระปัญญาที่หาประมาณมิได้ ท่าน

อธิบายว่า ผู้เป็นสัพพัญญู.

บทว่า สุเทสิตานิ ได้แก่ ทรงแสดงด้วยดี ด้วยนัยนั้น ๆ มีสมาสันย

อัพพยาสนัย สากัลยนัย เวกัลยนัยเป็นต้น. บทว่า กิญฺจาปิ เต โหนฺติ

ภุสปฺปมตฺตา ความว่า บุคคลทั้งหลาย ผู้อบรมอริยสัจแล้วเหล่านั้น อาศัย

ฐานะแห่งความประมาท มีความเป็นเทวราชและความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

เป็นต้น เป็นผู้ประมาทอย่างร้ายแรง ก็จริง ถึงเช่นนั้น นามรูปใดพึงตั้งอยู่

เพราะวิญญาณที่โสดาปัตติมรรคญาณปรุงแต่งดับไป แล้วเกิดในสังสารวัฏที่มี

เบื้องต้นเบื้องปลายตามไปไม่รู้แล้ว ถึง ๗ ภพ ก็ไม่ถือเอาภพที่ ๘ เพราะ

นามรูปนั้นดับไป เพราะตั้งอยู่ไม่ได้ แต่ในภพที่ ๗ นั่งเอง ก็จักเริ่มวิปัสสนา

แล้วบรรลุพระอรหัต.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของสังฆรัตนะ โดยพระโสดาบัน

สัตตักขัตตุปรมะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบ

สัจจวจนะว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน ปณีต แม้อันนี้ก็เป็นรัตนะอันประณีต

ในพระสงฆ์ ความของสัจจวนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้

แล.

พรรณนาคาถาว่า สหาวสฺส

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้ง ด้วย

คุณคือการไม่ถือเอาภพที่ ๘ ของพระโสดาบันสัตตักขัตตุปรมะอย่างนี้แล้ว บัดนี้

จึงเริ่มตรัสว่า สหาวสฺส เป็นต้น ด้วยคุณของพระโสดาบันสัตตักขัตตุปรมะ

นั้นนั่นแล แม้จะยังถือภพ ๗ ภพ ซึ่งแปลกจากบุคคลอื่น ๆ ที่ยังละการถือภพ

ไม่ได้. ในคำนั้น บทว่า สหาว แปลว่า พร้อมกับ. บทว่า อสฺส

ได้แก่ ของบรรดาพระโสดาบันที่ตรัสว่า พระโสดาบันเหล่านั้น ไม่ถือเอา

ภพที่ ๘ ภพใดภพหนึ่ง. บทว่า ทสฺสนสมฺปทาย ได้แก่ ด้วยความ

ถึงพร้อมแห่งโสดาปัตติมรรค. จริงอยู่ โสดาปัตติมรรคเห็นพระนิพพานแล้ว

ท่านจึงเรียกว่า ทัสสนะ เพราะเห็นพระนิพพานก่อนธรรมทั้งปวง ด้วยความ

ถึงพร้อมแห่งกิจที่ควรทำ. ความปรากฏแห่งโสดาปัตติมรรคนั้นอยู่ในตน ชื่อ

ว่า ทัสสนสัมปทา. พร้อมด้วยทัสสนสัมปทานั้นนั่นแล. ศัพท์ว่า สุ ในคำ

ว่า ตยสฺสุ ธมฺมา ชหิตา วนฺติ นี้เป็นนิบาต ลงในอรรถสักว่าทำบท

ให้เต็ม เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อิท สุ เม สาริปุตฺต มหาวิกฏ-

โภชนสฺมึ โหติ ดูก่อนสารีบุตรนี้แล เป็นการฉันอาหารแบบมหาวิกัฎของ

เราละ ในข้อนี้มีความอย่างนี้ว่า เพราะเหตุว่า ธรรมดา [สังโยชน์เบื้องต่ำ ๓]

ย่อมเป็นอันพระโสดาบัน ละได้แล้ว เป็นอันสละแล้ว พร้อมด้วยทัสสนสัมปทา

ของพระโสดาบันนั้น.

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมที่พระโสดาบันล่ะได้แล้ว จึงตรัสว่า สกฺกาย-

ทิฏฺิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ สีลพฺพต วาปิ ยทตฺถิ กิญฺจิ ในธรรม ๓ อย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

เมื่อกายยังมีอยู่ ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ในกาย ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่

ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ หรือว่าเมื่อกายยังมีอยู่ ทิฏฐิความเห็นในกายนั้น แม้

เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิที่มีอยู่ในกาย ตามที่กล่าว

มาแล้ว. หรือทิฏฐิความเห็นในกายที่มีอยู่นั่นแล แม้เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า

สักกายทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิในกายตามที่กล่าวมาแล้ว อันมีอยู่ ซึ่งเป็นไป

อย่างนี้ว่า อัตตา กล่าวคือรูปเป็นต้น. ทิฏฐิทั้งปวง ย่อมเป็นอันพระโสดา

บันละแล้วทั้งนั้น เพราะละสักกายทิฏฐินั้นได้แล้ว ด้วยว่า สักกายทิฏฐินั้น

เป็นมูลรากของธรรมคือกิเลสเหล่านั้น ปัญญาท่านเรียกว่า จิกิฉิตะเพราะระงับ

พยาธิคือกิเลสทั้งปวง. ปัญญาจิกิจฉิตะ ปัญญาแก้ไขนั้น ไปปราศแล้วจากสิ่งนี้

หรือสิ่งนี้ ไปปราศแล้วจากปัญญาจิกิจฉิตะนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า วิจิกิจฉิตะ.

คำนี้เป็นชื่อของความสงสัยที่มีวัตถุ ที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า สงสัยในพระ-

ศาสดา. ความสงสัยแม้ทั้งหมด เป็นอันละได้แล้วก็เพราะละวิจิกิจฉานั้นได้แล้ว

จริงอยู่ ความสงสัยนั้นเป็นมูลรากของกิเลสเหล่านั้น. ศีลต่างอย่างมีโคศีล ศีล

วัว กุกกุรศีล ศีลสุนัขเป็นต้น และวัตรมีโควัตรและกุกกุรวัตรเป็นต้น ที่มาใน

มาลีประเทศเป็นต้น อย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์ภายนอกพระศาสนานี้ ถือความ

บริสุทธิ์ด้วยศีล บริสุทธิ์ด้วยวัตรเรียกว่า ศีลวัตร. ตบะเพื่อเทพเจ้ามีความเปลือย

กาย ความมีศีรษะโล้นเป็นต้นแม้ทุกอย่าง เป็นอันละได้แล้ว ก็เพราะละศีลวัตร

นั้น. จริงอยู่ ศีลวัตรนั้นเป็นมูลรากของตบะนั้น. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ท้ายคาถาทั้งหมดว่า ยทตฺถิ กิญฺจิ อย่างใดอย่างหนึ่งมี

อยู่. พึงทราบว่าบรรดาสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิจะละได้ก็ด้วย

ความถึงพร้อมด้วยการเห็นทุกข์ วิจิกิจฉาจะละได้ก็ด้วยความถึงพร้อมด้วยการ

เห็นสมุทัย สีลัพพตะ [ปรามาส] จะละได้ ก็ด้วยความถึงพร้อมด้วยการ

เห็นมรรคและการเห็นพระนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

พรรณนาคาถาว่า จตูหปาเยหิ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการละกิเลสวัฏของพระโสดาบันนั้น

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อกิเลสวัฏนั้น มีอยู่ วิปากวัฏใดพึงมี เมื่อทรงแสดงการละ

วิปากวัฏแม้นั้น เพราะละกิเลสวัฎนั้นได้จึงตรัสว่า จตูหปาเยหิ จ วิปฺป-

มุตฺโต ในคำนั้น ชื่อว่าอบายมี คือ นิรยะ ติรัจฉานะ เปตติวิสยะและ

อสุรกายะ อธิบายว่า พระโสดาบันนั้น แม้ยังถือภพ ๗ ก็หลุดพ้นจากอบาย

ทั้ง ๘ นั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการละวิปากวัฏของพระโสดาบัน

นั้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ กรรมวัฏใด เป็นมูลรากของวิปากวัฎนี้ เมื่อทรง

แสดงการละกรรมวัฏแม้นั้น จึงตรัสว่า ฉ จาภิานานิ อภพฺโพ กาตุ

และไม่ควรทำอภิฐานะ ๖. ในคำนั้น บทว่า อภิานานิ ได้แก่ ฐานะอัน

หยาบ. พระโสดาบันนั้น ไม่ควรทำอภิฐานะนั้น. ก็อภิฐานะเหล่านั้น พึง

ทราบว่ากรรมคือ มาตุฆาต ฆ่ามารดา ปิตุฆาต ฆ่าบิดา อรหันตฆาต ฆ่า

พระอรหันต์ โลหิตุปบาท ทำโลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อ สังฆเภททำสงฆ์ให้

แตกกัน อัญญสัตถารุทเทส นับถือศาสดาอื่นคือเข้ารีต ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ในเอกนิบาต อังคุตตรนิกาย โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ [สัมมาทิฏฐิ] จะพึงปลงชีวิตมารดาเสีย ไม่เป็น

ฐานะ ไม่เป็นโอกาส [คือเป็นไปไม่ได้]. จริงอยู่ อริยสาวก ผู้ถึงพร้อมด้วย

ทิฏฐิ ไม่พึงปลงชีวิตแม้แต่มดดำมดแดงก็จริง ถึงอย่างนั้น อภิฐานะ ๖ นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ก็เพื่อตำหนิภาวะแห่งปุถุชน. แท้จริง ปุถุชนย่อม

ทำแม้อภิฐาน ซึ่งมีโทษมากอย่างนี้ได้ ก็เพราะไม่ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ส่วน

พระโสดาบัน ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่ควรจะทำอภิฐานะเหล่านั้น. ส่วนการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

ใช้อภัพพศัพท์ในที่นี้ ก็เพื่อแสดงว่าพระโสดาบันไม่ทำแม้ในภพอื่น. ความจริง

แม้ในภพอื่น พระโสดาบันถึงไม่รู้ว่าตนเป็นอริยสาวกโดยธรรมดานั่นเอง ก็ไม่

ทำบาป ๖ อย่างนั้น หรือทำเวร ๕ มีปาณาติบาตเป็นต้น หรือถึงฐานะ ๖ พร้อม

กับการนับถือศาสดาอื่น ซึ่งอาจารย์บางพวกหมายถึงแล้วกล่าวว่า ฉ จาภิฐานานิ

ดังนี้ก็มี ก็พระอริยสาวกและเด็กชาวบ้านผู้จับปลาตายเป็นต้น เป็นตัวอย่างใน

ข้อนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของอริยสาวกแม้ยังถือภพ ๗ อยู่

ซึ่งเป็นสังฆรัตนะ โดยคุณที่แปลกจากบุคคลอื่น ๆ ที่ยังละการถือภพไม่ได้

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า

อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน ปณีต แม้อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์

นั้น. ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล. พวก

อมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถามิแล.

พรรณนาคาถาว่า กิญฺจาปิ โส

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้ง โดย

ที่แปลกจากบุคคลอื่น ที่ยังละการถือภพไม่ได้ของพระโสดาบันแม้ยังถือภพ ๗

ภพ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ พระโสดาบันผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ. ไม่ใช่ไม่ควรทำ

อภิฐานะ ๖ อย่างเดียวก็หาไม่ ทั้งยังไม่ควรทำบาปกรรมแม้เล็กน้อยอะไร ๆ แล้ว

ปกปิดบาปกรรมนั้นด้วย ดังนั้น จึงทรงเริ่มตรัสโดยคุณคือพระโสดาบันผู้ถึง

พร้อมด้วยทัสสนะ แม้อยู่ด้วยความประมาท ก็ไม่มีการปกปิดกรรมที่ทำมาแล้ว

ว่า กิญฺจาปิ โส กมฺม กโรติ ปาปก พระโสดาบันนั้น แม้ทำบาปกรรม

ก็จริง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

พระดำรัสนั้นมีความดังนี้ ถึงแม้ว่าพระโสดาบันนั้น ถึงพร้อมด้วย

ทัสสนะ อาศัยการอยู่อย่างประมาท ด้วยหลงลืมสติ เว้นสิกขาบทที่เป็นโลก-

วัชชะ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงการจงใจล่วงละเมิดตรัสไว้ว่า สิกขา

บทใด เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบท

นั้นของเรา แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตดังนี้. ย่อมทำบาปกรรมอย่างอื่นทางกาย

ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ กล่าวคือการล่วงละเมิดสิกขาบทที่เป็นปัณณติวัชชะ

มีกุฏิการสิกขาบทและสหเสยยสิกขาบทเป็นต้นก็ดี ทำบาปกรรมทางวาจา มีสอน

ธรรมแก่อนุปสัมบันว่าพร้อมกัน แสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕ - ๖ คำ การพูด

เพ้อเจ้อ พูดคำหยาบเป็นต้นก็ดี ทำบาปกรรมทางใจ ไม่ว่าในที่ไหน ๆ คือ

การทำให้เกิดโลภะ โทสะ การยินดีทองเป็นต้น การไม่พิจารณาเป็นต้นในการ

บริโภคจีวรเป็นอาทิก็ดี พระโสดาบันนั้น ก็ไม่ควรปกปิดบาปกรรมนั้น คือ

พระโสดาบันนั้น รู้ว่ากรรมนี้ไม่สมควร ไม่ควรทำ ก็ไม่ปกปิดบาปกรรมนั้น

แม้แต่ครู่เดียว ในทันใดนั้นเอง ก็กระทำให้แจ้งคือเปิดเผยในพระศาสดา หรือ

ในเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนแล้ว กระทำคืนตามธรรม หรือระวังข้อที่

ควรระวัง อย่างนี้ว่าข้าพเจ้าจักไม่ทำอีก. เพราะเหตุไร. เพราะเหตุว่า พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความที่พระโสดาบันผู้เห็นบทคือพระนิพพานแล้ว ไม่

ควรปกปิดบาปกรรม อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความที่บุคคล ผู้

เห็นบทคือพระนิพพาน ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ไม่ควรที่จะทำบาปกรรมแม้

เห็นปานนั้น แล้วปกปิดบาปกรรมนั้นไว้. ตรัสไว้อย่างไร. ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เด็กเยาว์อ่อนนอนหงาย

เอามือเอาเท้าเหยียบถ่านไฟ ย่อมหดกลับฉันพลัน ฉัน

ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถึงแม้ว่า พระโสดาบันต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

อาบัติเห็นปานนั้น การออกจากอาบัติเห็นปานนั้น ย่อม

ปรากฏ ที่นั้นแหละพระโสดาบันย่อมรีบแสดง เปิด

เผย ทำให้ง่าย ในพระศาสดาที่รอในเพื่อนสพรหมจารี

ผู้เป็นวิญญูชน ครั้นแล้วก็สำรวมระวังต่อไป นี้เป็น

ธรรมดาของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของสังฆรัตนะด้วยคุณของพระโสดา-

บันแม้อยู่ด้วยความประมาท แต่ก็ถึงพร้อมด้วยทัสสนะไม่มีการปกปิดบาปกรรม

ที่ทำแล้วอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะ

ว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน ปณีต แม้อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตใน

พระสงฆ์ ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วทั้งนั้น.

พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.

พรรณนาคาถาว่า วนปฺปคุมฺเพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้งโดย

ประการแห่งคุณนั้น ๆ ของบุคคลทั้งหลาย ที่เนื่องอยู่ในพระสงฆ์อย่างนี้แล้ว

บัดนี้ ทรงอาศัยพระปริยัติธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงคุณ

พระรัตนตรัย ก็ทรงแสดงอย่างสังเขปในที่นี้ และทรงแสดงไว้พิศดารในที่อื่น

จึงทรงเริ่มตรัสสัจจวจนะ มีพระพุทธรัตนะเป็นที่ตั้งอีกว่า วนปฺปคุมฺเพ ยถา

ผุสฺสิตคฺเค ในสัจจวจนะนั้น กลุ่มต้นไม้ที่กำหนดด้วยถิ่นที่อยู่ประจำอันใกล้

ชื่อว่า วนะ ป่า. พุ่มไม้ที่งอกงามด้วยรากแก่นกระพี้เปลือกกิ่งและใบ ชื่อว่า

ปคุมพะ. พุ่มไม้ที่งอกงามของป่าหรือในป่า ชื่อว่า วนปฺปคุมฺโพ. พุ่มไม้

ที่งอกงามในป่านี้นั้น ท่านเรียกว่า วนปฺปคุมฺเพ เมื่อเป็นดังนั้น ก็เรียก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

ได้ว่า วนสัณฑะ ราวป่า เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อตฺถิ สวิตกฺกสวิจาเร,

อตฺถิ อวิตกฺกวิจารมตฺเต, สุเข ทุกฺเข ชีเว, มีวิตกมีวิจารก็มี ไม่มี

วิตกมีวิจารก็มี, ชีพเป็นสุข เป็นทุกข์. คำว่า ยถา เป็นคำอุปมา ยอดของ

พุ่มไม้นั้นบานแล้ว เหตุนั้น พุ่มไม้นั้นจึงชื่อว่า มียอดบานแล้ว อธิบายว่า

ดอกไม้ที่เกิดเองที่กิ่งใหญ่กิ่งน้อยทุกกิ่ง. ดอกไม้นั้น ท่านกล่าวว่ามียอดอัน

บานแล้ว ตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล. บุทว่า คิมฺหานมาเส ปฐมสฺมึ

คิมฺเห ความว่า ในเดือนหนึ่ง แห่งเดือนในฤดูคิมหันต์ ๔ เดือน. ถ้าจะ

ถามว่า ในเดือนไหน. ตอบว่า ในฤดูคิมหันต์เดือนต้น อธิบายว่า ในเดือน

จิตรมาส เดือน ๕. จริงอยู่ เดือนจิตรมาสนั้น ท่านเรียกว่าเดือนต้นฤดูคิมหันต์

และว่าฤดูวัสสานะอ่อน ๆ คำนอกจากนั้น ปรากฏขัดโดยอรรถแห่งบทแล้ว

ทั้งนั้น.

ส่วนความรวมในคำนี้มีดังนี้ว่า พุ่มไม้ที่งอกงามมีนามเรียกว่า กอไม้

รุ่น ยอดกิ่งมีดอกบานสะพรั่ง ย่อมสง่างามอย่างเหลือเกิน ในป่าที่รกชัฏด้วย

ต้นไม้นานาชนิดในฤดูวสันต์อ่อน ๆ ที่มีชื่อว่า เดือนต้นฤดูคิมหันต์ ฉันใด

พระผู้มีพระภาคเจ้า มิใช่ทรงแสดงเพราะเห็นแก่ลาภ มิใช่ทรงแสดงเพราะเห็น

แก่สักการะเป็นต้น หากแต่มีพระหฤทัยอันพระมหากรุณาให้ทรงขะมักเขม้น

อย่างเดียว ได้ทรงแสดงพระปริยัติธรรมอันประเสริฐที่ชื่อว่า มีอุปมาเหมือน

อย่างนั้น เพราะสง่างามอย่างยิ่งด้วยดอกไม้ คือประเภทแห่งอรรถนานาประการ

มีขันธ์อายตนะเป็นต้นก็มี มีสติปัฏฐานและสัมมัปปธานเป็นต้นก็มี มีศีลขันธ์

สมาธิขันธ์เป็นต้นก็มี ชื่อว่า ให้ถึงพระนิพพาน เพราะแสดงมรรคอันให้ถึง

พระนิพพาน เพื่อเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน

ส่วนในคำว่า ปรม หิตาย ท่านลงนิคคหิต ก็เพื่อสะดวกแก่การผูกคาถา.

ส่วนความมีดังนี้ว่า ได้ทรงแสดง เพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง คือเพื่อพระนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสพระปริยัตติธรรม ที่เสมือนพุ่มไม้งาม

ในป่า ที่ยอดกิ่งออกดอกบานสะพรั่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยพระปริยัตติ-

ธรรมนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะ ที่มีพุทธรัตนะเป็นที่ตั้งว่า อิทมฺปิ

พุทฺเธ รตน ปณีต แม้อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า. ความ

แห่งสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล. แต่พึงประกอบ

ความอย่างเดียวอย่างนี้ว่า คุณชาตกล่าวคือพระปริยัตติธรรมมีประการตามที่

กล่าวมาแล้ว แม้นี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า. พวกอมนุษย์ใน

แสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.

พรรณนาคาถาว่า วโร วรญฺญู

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ ที่มีพุทธรัตนะเป็นที่ตั้ง

ด้วยปริยัตติธรรมอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัสด้วยโลกุตรธรรมว่า วโร

วรญฺญู. ในคำนั้น บทว่า วโร ความว่า พระพุทธเจ้าผู้อันผู้มีอัธยาศัย

น้อมใจเธอที่ประณีตปรารถนาว่า โอหนอ ! แม้เรา ก็จักเป็นเช่นนี้. หรือ

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสูงสุด ประเสริฐสุด เพราะประกอบด้วยพระคุณอัน

ประเสริฐ. บทว่า วรญฺญู ได้แก่ ผู้ทรงรู้พระนิพพาน. จริงอยู่ พระนิพพาน

ชื่อว่า ประเสริฐ เพราะอรรถว่าสูงสุดกว่าธรรมทั้งปวง. ก็พระพุทธเจ้าพระ-

องค์นั้น ตรัสรู้ปรุโปร่ง ซึ่งพระนิพพานนั้น ที่โคนโพธิพฤกษ์ ด้วยพระองค์

เอง. บทว่า วรโท. ความว่า ประทานธรรมอันประเสริฐที่เป็นส่วนตรัสรู้

และส่วนที่อบรมบ่มบารมีแก่สาวกทั้งหลาย มีพระปัญจวัคคีย์ พระภัททวัคคีย์

และชฎิลเป็นต้น และแก่เทวดาและมนุษย์อื่น ๆ. บทว่า วราหโร ได้แก่

ที่เรียกว่า วราหโร เพราะทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ จริงอยู่ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ มาตั้งแต่พระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

พระนามที่ปังกร ทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐเก่า ๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทั้งหลาย พระองค์ก่อน ๆ ทรงดำเนินมาแล้ว. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงถูก

เรียกว่า วราหโร ผู้นำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ.

อนึ่ง พระพุทธเจ้า ชื่อว่า วโร ผู้ประเสริฐ เพราะทรงได้พระ-

สัพพัญญุตญาณ. ชื่อว่า วรัญญู ผู้รู้ธรรมอันประเสริฐ เพราะทรงทำให้แจ้ง

พระนิพพาน ชื่อว่า วรโท ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ เพราะประทาน

วิมุคติสุขแก่สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า วราโห ผู้นำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ

เพราะทรงนำมาซึ่งปฏิปทาสูงสุด ชื่อว่า อนุตตโร ยอดเยี่ยม เพราะไม่มี

คุณอะไร ๆ ที่ยิ่งกว่าโลกุตรคุณเหล่านั้น.

มีนัยอื่นอีกว่า ชื่อว่า วโร เพราะทรงบริบูรณ์ด้วยอธิษฐานธรรม

คือ อุปสมะ ความสงบระงับ. ชื่อว่า วรัญญู เพราะทรงบริบูรณ์ด้วย

อธิษฐานธรรม คือปัญญาความรอบรู้. ชื่อว่า วรโท เพราะทรงบริบูรณ์

ด้วยอธิษฐานธรรมคือจาคะ ความสละ ชื่อว่า วราหโร เพราะทรงบริบูรณ์

ด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะ ความจริงใจ. ทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ.

อนึ่ง ชื่อว่า วโร เพราะทรงอาศัยบุญ ชื่อว่า วรัญญู ก็เพราะทรงอาศัย

บุญ ชื่อว่า วรโท เพราะทรงมอบอุบายแห่งบุญนั้น แก่ผู้ต้องการเป็นพระ-

พุทธเจ้า. ชื่อว่า วราโห เพราะทรงนำมาซึ่งอุบายแห่งบุญนั้น แก่ผู้ต้องการ

เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า. ชื่อว่า อนุตฺตโร เพราะไม่มีผู้เสมอเหมือนในธรรม

นั้น ๆ หรือเพราะเป็นผู้ไม่มีอาจารย์ แต่กลับเป็นอาจารย์ของคนอื่น ๆ ด้วย

พระองค์เอง ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ เพราะทรงแสดงธรรมอันประ-

เสริฐ ที่ประกอบด้วยคุณมีธรรมที่ตรัสดีแล้วเป็นต้น เพื่อผลนั้น แก่ผู้ต้องการ

เป็นสาวก. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของพระองค์ด้วยโลกุตรธรรม ๙

ประการ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะ

ว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ เป็นต้น ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่

กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล แต่พึงประกอบความอย่างเดียวอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้า

พระองค์นั้นได้ตรัสรู้โลกุตรธรรมอันประเสริฐได้ด้วย ได้ประทานโลกุตรธรรม

ได้ด้วย ทรงนำมาซึ่งโลกุตรธรรมได้ด้วย ทรงแสดงโลกุตรธรรมได้ด้วย แม้

อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล

ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.

พรรณนาคาถาว่า ขีณ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยปริยัตติธรรมและโลกุตรธรรมแล้วตรัส

สัจจวจนะ มีพุทธรัตนะเป็นที่ตั้ง ด้วย ๒ คาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัย

คุณคือการบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน ของพระสาวกทั้งหลาย ซึ่งได้สดับปริยัตติ

ธรรมนั้น และปฏิบัติตามแนวที่ได้สดับมาแล้ว ได้บรรลุโลกุตรธรรมทั้ง ๙

ประการ จึงทรงเริ่มตรัสสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้งอีกว่า ขีณ ปุราณ.

ในสัจจวจนะนั้น บทว่า ขีณ ได้แก่ ตัดขาด. บทว่า ปุราณ แปลว่า

เก่า. บทว่า นว ได้แก่ ในบัดนี้ ที่กำลังเป็นไป คือปัจจุบัน. บทว่า

นตฺถิ สมฺภว ได้แก่ ความปรากฏ [เกิด] ไม่มี. บทว่า วิรตฺตจิตฺตา

ได้แก่ มีจิตปราศจากราคะ. บทว่า อายติเก ภวสฺมึ ได้แก่ ในภพใหม่

ในอนาคตกาล. บทว่า เต ได้แก่ ภิกษุขีณาสพที่สิ้นกรรมภพเก่า ไม่มี

กรรมภพใหม่ แสะมีจิตปราศจากกำหนัดในภพต่อไป. บทว่า ขีณพีชา

ได้แก่ ผู้มีพืชถูกถอนแล้ว. บทว่า อวิรุฬฺหิฉนฺทา ได้แก่ ผู้เว้นจากฉันทะ

ที่งอกได้. บทว่า นิพฺพนฺติ ได้แก่ สิ้นไป. บทว่า ธีรา ได้แก่ ผู้ถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

พร้อมด้วยปัญญาชื่อ ธิติ. บทว่า ยถายมฺปทีโป แปลว่า เหมือนประทีป

ดวงนี้.

ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่า กรรมนั้นใดของสัตว์ทั้งหลาย

เกิดแล้วดับไป เป็นกรรมเก่า เป็นอดีตกาล ย่อมยังไม่สิ้นไป เพราะสามารถ

นำมาซึ่งปฏิสนธิ เพราะละสิเนหะคือตัณหายังไม่ได้ กรรมเก่านั้น ของภิกษุ

ขีณาสพเหล่าใด ชื่อว่าสิ้นไป ก็เพราะไม่สามารถให้วิบากต่อไป ดุจพืชที่ไฟ

เผาแล้ว เพราะสิเนหะคือตัณหาเหือดแห้งไปด้วยพระอรหัตมรรค และกรรม

ใดของภิกษุขีณาสพเหล่าใด ที่เป็นไปในปัจจุบัน ด้วยอำนาจพุทธบูชาเป็นต้น

เรียกว่ากรรมใหม่. ก็กรรมใหม่นั้น ของภิกษุขีณาสพเหล่าใด ก็ไม่ก่อภพได้

เพราะไม่สามารถให้ผลต่อไป เหมือนดอกของต้นไม้ที่มีรากขาดแล้ว เพราะ

ละตัณหาได้นั่นเอง.

อนึ่ง ภิกษุขีณาสพเหล่าใดมีจิตหน่ายแล้วในภพต่อไป เพราะละตัณหา

ได้นั่นแหละ ภิกษุขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่ามีพืชสิ้นแล้ว เพราะปฏิสนธิวิญญาณ

ที่ท่านกล่าวไว้ในคำนี้ว่า กรรมคือนา วิญญาณคือพืช สิ้นไป เพราะสิ้นกรรม

นั่นเอง ฉันทะแม้อันใด ของความเกิด กล่าวคือ ภพใหม่ ได้มีมาแล้วแต่

กาลก่อน. ภิกษุขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่ามีฉันทะไม่งอก เพราะไม่เกิดในเวลา

จุติเหมือนแต่ก่อน เพราะฉันทะแม้อันนั้น ละได้แล้ว เพราะละสมุทัยนั่นเอง

ชื่อว่าปราชญ์เพราะถึงพร้อมด้วยธิติปัญญา ย่อมดับเหมือนประทีปดวงนี้ดับไป

ฉะนั้น เพราะจริมวิญญาณดับไป ย่อมล่วงทางแห่งบัญญัติเป็นต้นอย่างนี้ว่า

มีรูปหรือไม่มีรูปอีก.

ได้ยินว่า บรรดาประทีปหลายดวง ที่เขาตามไว้เพื่อบูชาเทวดาประจำ

เมืองในสมัยนั้น ประทีปดวงหนึ่งดับไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงชี้

ประทีปดวงนั้น จึงตรัสว่า ยถายมฺปทีโป เหมือนประทีปดวงนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณ คือ การบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน

ของพระขีณาสพ ที่สดับปริยัตติธรรม ที่ตรัสด้วย ๒ คาถาก่อนนั้น ทั้งปฏิบัติ

ตามแนวปริยัติธรรมที่สดับแล้ว บรรลุโลกุตรธรรมทั่ง ๙ ประการ อย่างนี้

แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล เมื่อทรงประกอบสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะ

เป็นที่ตั้ง จึงทรงจบเทศนาว่า อิทมฺปิ สงเฆ เป็นต้น ความของสัจจวจนะ

นั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล. แต่พึงประกอบความอย่าง

เดียวอย่างนี้ว่า คุณชาตกล่าวคือพระนิพพานของภิกษุขีณาสพ โดยประการ

ตามที่กล่าวมาแล้ว แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์. พวกอมนุษย์

ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.

จบเทศนา ความสวัสดีก็ได้มีแก่ราชสกุล. อุปัทวะทั้งปวงก็ระงับ

ไป สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้ตรัสรู้ธรรม.

พรรณนา ๓ คาถาว่า ยานีธ เป็นต้น

ครั้งนั้น ท้าวสักกะเทวราช ทรงพระดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

อาศัยคุณพระรัตนตรัย ประกอบสัจจวจนะ ทรงทำความสวัสดีแก่ชาวนคร.

แม้ตัวเราก็พึงกล่าวบางอย่างอาศัยคุณพระรัตนตรัย เพื่อความสวัสดีแก่ชาวนคร

ดังนี้แล้วจึงตรัส ๓ คาถาท้ายว่า ยานีธ ภูตานิ เป็นต้น. ใน. ๓ คาถานั้น

เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่าตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างที่คนทั้งหลาย

ต้องขวนขวายพากันมาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก, เพราะเสด็จไปอย่างที่คน

เหล่านั้น จะพึงไป เพราะทรงรู้ทั่วอย่างที่คนเหล่านั้นจะพึงรู้ทั่ว, เพราะทรง

รู้อย่างที่คนเหล่านั้นจะพึงรู้, เพราะทรงประสบสิ่งที่มีที่เป็นอย่างนั้น อนึ่ง

เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บูชาอย่าง.

เหลือเกิน ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น ที่เกิดภายนอก เป็นอุปกรณ์และที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

เกิดในตนมีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นต้น ฉะนั้น ท้าวสักกะเทวราช

ทรงประมวลเทวบริษัททั้งหมดกับพระองค์แล้วตรัสว่า ตถาคต เทวมนุสฺส-

ปูชิต พุทฺธ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ พวกเรานอบน้อมพระตถาคตพุทธเจ้า

ผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมี.

อนึ่ง เพราะเหตุที่ในพระธรรม มรรคธรรมดำเนินไปแล้วอย่างที่พึง

ดำเนินไปด้วยการถอนฝ่ายกิเลส ด้วยกำลังสมถวิปัสสนาซึ่งเป็นธรรมคู่กัน

แม้นิพพานธรรมอันพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงบรรลุแล้วอย่างที่ทรงบรรลุ คือ

แทงตลอดแล้วด้วยปัญญา พร้อมที่จะกำจัด ทุกข์ทั้งปวง ฉะนั้น ท่านจึงเรียก

ว่าตถาคต. อนึ่ง เพราะเหตุที่แม้พระสงฆ์ดำเนินไปแล้วอย่างที่ท่านผู้ปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนพึงดำเนินไปโดยมรรคนั้น ๆ เหตุนั้น ท่านจึงเรียก

ว่าตถาคต. ฉะนั้น แม้ใน ๒ คาถาที่เหลือ ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสว่า พวก

เรานอบน้อมตถาคตธรรม ขอความสวัสดีจงมี พวกเรานอบน้อมตถาคตสงฆ์

ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

ท้าวสักกะเทวราชครั้นตรัส ๓ คาถานี้ อย่างนี้แล้ว ทรงทำประทักษิณ

พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จกับสู่เทวบุรีพร้อมด้วยเทวบริษัท. ส่วนพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงรัตนสูตรนั้นนั่นแล. แม้ในวัน ที่ ๒ สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้

ตรัสรู้ธรรม. ทรงแสดงอย่างนี้ ถึงวันที่ ๗. การตรัสรู้ธรรมก็ได้มีอย่างนั้นนั่น

แหละ ทุก ๆ วัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงเวสาลีกึ่งเดือนแล้ว จึง

ทรงแจ้งแก่พวกเจ้าลิจฉวีว่าจะกลับ ต่อนั้น พวกเจ้าลิจฉวี ก็นำเสด็จพระผู้มี

พระภาคเจ้าสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา ด้วยสักการะเป็นทวีคุณอีก ๓ วัน เหล่าพระยา

นาคที่บังเกิดอยู่ ณ แม่น้ำคงคาคิดกันว่า พวกมนุษย์ทำสักการะแก่พระตถาคต

กัน พวกเราจักไม่ทำกันบ้างหรือ จึงสร้างเรือหลายลำล้วนทำด้วยทองเงินและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

แก้วมณี ลาดบัลลังก์ทำด้วยทองเงินและแก้วมณี ทำน้ำให้ปกคลุมด้วยบัว ๕

สี ทูลวอนขอพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์โปรดทรงทำความอนุเคราะห์

พวกข้าพระองค์ด้วยเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้งทรงรับ เสด็จ ขึ้นสู่เรือแก้ว ส่วน

ภิกษุ ๕๐๐ รูป ก็ขึ้นสู่เรือของตนๆ. พวกพระยานาค นำเสด็จพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์เจ้าไปยังพิภพนาค. ข่าวว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค

เจ้า ทรงแสดงธรรมแก่นาคบริษัท ตลอดคืนยังรุ่ง. วันที่ ๒ พวกพระยานาค

พากันถวายมหาทานด้วยของเคี้ยวของฉันอันเป็นทิพย์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

อนุโมทนาแล้วเสด็จออกจากพิภพนาค.

พวกภุมมเทวดาพากันคิดว่า พวกมนุษย์และนาคพากันทำสักการะแก่

พระตถาคต พวกเราจักไม่ทำกันบ้างหรือ จึงช่วยกันยกฉัตรใหญ่น้อย เหนือ

พุ่มไม้งามในป่า ต้นไม้ และภูเขา. โดยอุบายนั้นนั่นแล สักการะวิเศษขนาด

ใหญ่ ก็บังเกิดคราบถึงภพของอกนิษฐพรหม. แม้พระเจ้าพิมพิสารก็ได้ทรงทำ

เป็นทวีคูณ กว่าสักการะที่พวกเจ้าลิจฉวีทรงทำครั้งที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

มา ทรงนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า. วันจึงมาถึงกรุงราชคฤห์ โดยนัยที่กล่าว

มาก่อนแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จถึงกรุงราชคฤห์แล้ว ภายหลังอาหาร พวก

ภิกษุที่นั่งประชุมกัน ณ ศาลาทรงกลมพูดในระหว่างกันอย่างนี้ว่า โอ อานุภาพ

ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า. ที่ภูมิภาค ๘ โยชน์ ทั้งฝั่งในทั้งฝั่งนอกแห่ง

แม่น้ำคงคา ถูกเจาะจงปรับที่ลุ่มที่ดอนให้เรียบแล้วโรยทราย ปกคลุมด้วย

ดอกไม้ทั้งหลาย แม่น้ำคงคาประมาณโยชน์หนึ่งก็ถูกปกคลุมด้วยบัวสีต่าง ๆ

ฉัตรใหญ่น้อยถูกยกขึ้นตราบถึงภพของอกนิษฐพรหม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ทราบเรื่องนั้นแล้ว ออกจากพระคันธกุฏีเสด็จไปยังศาลาทรงกลมด้วยปาฏิหาริย์ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

เหมาะแก่ขณะนั้น ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันประเสริฐที่เขาจัดไว้ ณ ศาลา

ทรงกลม. ครั้นประทับนั่งแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้ พวกเธอนั่งประชุมพูดกัน ด้วยเรื่องอะไร ภิกษุ

ทั้งหลายก็กราบทูลเรื่องทั้งหมด. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บูชาวิเศษนี้มิได้บังเกิดเพราะพุทธานุภาพของเรา ทั้งมิใช่เพราะ

อานุภาพของนาคเทวดาและพรหม ที่แท้บังเกิดเพราะอานุภาพของการบริจาค

เล็กๆ น้อย ๆ แต่ก่อนต่างหาก. พวกภิกษุจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พวกข้าพระองค์ไม่รู้การบริจาคเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้น สาธุ ! ขอพระผู้มีพระภาค-

เจ้าโปรดตรัสบอกพวกข้าพระองค์ อย่างที่พวกข้าพระองค์จะรู้การบริจาคเล็ก ๆ

น้อย ๆ นั้นด้วยเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่อง

เคยมีมาแล้วในกรุงตักกสิลา มีพราหมณ์ผู้หนึ่ง ชื่อ สังขะ. เขามีบุตร ชื่อ

สุสีมมาณพ. มาณพนั้น อายุ ๑๖ ปีโดยวัย วันหนึ่งเข้าไปหาบิดากราบแล้ว

ยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. บิดาถามเขาว่า อะไรพ่อสุสีมะ. เขาตอบว่า ลูก

อยากไปกรุงพาราณสีเรียนศิลปะจ้ะพ่อท่าน. พราหมณ์กล่าวว่า พ่อสุสีมะ ถ้า

อย่างนั้น พ่อมีสหายเป็นพราหมณ์ชื่อโน้น พ่อจงไปหาเขาเล่าเรียนเถิด แล้ว

มอบทรัพย์ให้พันกหาปณะ. สุสีมมาณพนั้น รับทรัพย์แล้ว ก็กราบมารดาบิดา

เดินทางไปกรุงพาราณสีโดยลำดับ เข้าไปหาอาจารย์โดยวิธีประกอบด้วยความ

ละเอียดละไม กราบแล้วรายงานตัว อาจารย์รู้ว่าเป็นลูกของสหาย ก็รับมาณพ

ไว้ ได้ทำการต้อนรับอย่างดีทุกอย่าง มาณพนั้นคลายความเมื่อยล้าในการเดิน

ทางไกลแล้ว ก็วางกหาปณะนั้นแทบเท้าอาจารย์ ขอโอกาสเรียนศิลปะ. อาจารย์

ก็เปิดโอกาสให้เล่าเรียน เขาเรียนได้เร็วและเรียนได้มาก ทั้งทรงจำศิลปะที่

รับ ไว้ ๆ ได้ไม่เสื่อมสูญ เหมือนน้ำมันที่ใส่ลงในภาชนะทอง เขาเรียนศิลปะที่

ควรจะเรียนถึง ๑๒ ปี ให้เสร็จสรรพ์ได้โดย ๒ - ๓ เดือนเท่านั้น เขาทำการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

สาธยายเห็นแต่เบื้องต้นและเบื้องกลางเท่านั้นไม่เห็นเบื้องปลาย จึงเข้าไปหา

อาจารย์ถามว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าเห็นแต่เบื้องต้น และเบื้องกลางของศิลปะ

นี้เท่านั้น ไม่เห็นเบื้องปลายเลย อาจารย์ก็กล่าวว่า เราก็เห็นอย่างนั้นเหมือน

กันแหละพ่อเอ๋ย. เขาจึงถามว่า ท่านอาจารย์เมื่อเป็นดังนั้น ใครเล่ารู้เบื้อง

ปลายของศิลปะนี้. อาจารย์กล่าวว่าพ่อเอ๋ย ที่ป่าอิสิปตนะมีฤษีหลายองค์ ฤษี

เหล่านั้น คงรู้. เขาบอกว่า อาจารย์ ข้าพเจ้าจะเข้าไปถามฤษีเหล่านั้นเอง.

อาจารย์ก็บอกว่า ไปถามตามสบายเถิด พ่อเอ๋ย. เขาก็ไปยังป่าอิสิปตนะ เข้า

ไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านรู้เบื้องปลายศิลปะ

บ้างไหม. พระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวว่า เออ เรารู้สิท่าน. เขาอ้อนวอนว่า

โปรดให้ข้าพเจ้าศึกษาเบื้องปลายศิลปะนั้นเถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้า

อย่างนั้น ก็บวชเสียสิ ท่านผู้ไม่ใช่นักบวช ศึกษาไม่ได้ดอก. เขารับคำว่า

ดีละเจ้าข้า โปรดให้ข้าพเจ้าบวชเถิด. ท่านจงทำแต่ที่ท่านปรารถนาแล้วให้

ข้าพเจ้าศึกษาเบื้องปลายศิลปะก็แล้วกัน. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นให้เขา

บวชแล้ว ก็ไม่สามารถประกอบเขาไว้ในกรรมฐาน ให้ศึกษาได้แต่อภิสมาจาร

โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านพึงนั่งอย่างนี้ พึงห่มอย่างนี้. เขาศึกษาอยู่ในข้อนั้น

แต่เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย ไม่นานนักก็ตรัสรู้ปัจเจกโพธิญาณ. ท่าน

สุสีมะถึงลาภยศอันเลิศพรั่งพร้อมทั้งบริวาร ก็ปรากฏไปทั่วกรุงพาราณสีว่า เกิด

เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ไม่นานนัก ท่านก็ปรินิพพาน เพราะทำกรรม

ที่เป็นเหตุให้อายุสั้นไว้. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายและหมู่มหาชน ช่วยกัน

ทำฌาปนกิจสรีระของท่าน เก็บธาตุสร้างพระสถูปไว้ใกล้ประตูพระนคร.

ฝ่ายสังขพราหมณ์ คิดว่า ลูกของเราไปตั้งนานแล้ว ยังไม่รู้ข่าวคราว

ของเขาเลย ประสงค์จะพบบุตร จึงออกจากตักกสิลา เดินทางไปตามลำดับก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

ถึงกรุงพาราณสี เห็นหมู่มหาชนประชุมกัน คิดว่าในหมู่ชนเป็นอันมาก สักคน

หนึ่ง คงจักรู้ข่าวคราวลูกของเราแน่แท้ จึงเข้าไปที่กลุ่มชนถามว่า มาณพชื่อ

สุสีมะมาในที่นี้มีไหม ท่านรู้ข่าวคราวของเขาบ้างหรือหนอ ชนเหล่านั้น กล่าว

ว่า เออ พราหมณ์ พวกเรารู้ ท่านเรียนจบไตรเพท ในสำนักพราหมณ์ใน

พระนครนี้แล้ว บวชในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นพระปัจเจก-

พุทธเจ้า ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้ว นี้พระสถูป เราสร้าง

ไว้สำหรับท่าน. สังขพราหมณ์นั้นเอามือทุบแผ่นดิน ร่ำไห้รำพันไปยังลาน

เจดีย์นั้น ถอนหญ้าแล้ว เอาผ้าห่มห่อทรายนำไปเกลี่ยที่ลานเจดีย์พระปัจเจก

พุทธเจ้า เอาน้ำในคนโทน้ำประพรม ทำการบูชาด้วยดอกไม้ป่า เอาผ้าห่มยกขึ้น

ทำเป็นธง ผูกฉัตรคือร่มของตนไว้บนสถูปแล้วกลับไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเรื่องอดีตอย่างนี้แล้ว เมื่อทรงต่อ

เชื่อมชาดก. นั้นกับปัจจุบันจึงตรัสธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจะพึงมีความคิดว่า คนอื่นเป็นสังขพราหมณ์สมัยนั้น แน่แท้ แต่พวก

เธอไม่พึงเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เราเป็นสังขพราหมณ์ เราถอนหญ้าที่ลานเจดีย์

ของพระสุสีมปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยผลกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายจึงทำทาง ๘

โยชน์ให้ปราศจากตอและหนาม ทำพื้นที่ให้ราบเรียบ สะอาด เราโรยทรายที่

ลานเจดีย์พระสุสีมปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยผลกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลาย

จึงโรยทรายที่หนทาง ๘ โยชน์ เราทำบูชาที่พระสถูปนั้น ด้วยดอกไม้ป่า ด้วย

ผลกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายจึงได้ทำเครื่องลาคดอกไม้ด้วยดอกไม้ป่านานา

ชนิด ทั้งบนบกทั้งในน้ำ ในหนทาง ๘ โยชน์ เราประพรมพื้นดินด้วยน้ำใน

คนโทน้ำที่พระสถูปนั้น ด้วยผลกรรมของเรานั้น ฝนโบกขรพรรษจึงตกลงที่

กรุงเวสาลี เรายกธงแผ่นผ้าและผูกฉัตรที่พระเจดีย์นั้น ด้วยผลกรรมของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

นั้น ชนทั้งหลายจึงยกธงแผ่นผ้าและฉัตรใหญ่น้อย จนถึงภพอกนิษฐ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังนั้น บูชาวิเศษนี้ ไม่ใช่บังเกิดเพราะพุทธานุภาพของ

เรา ไม่ใช่เพราะอานุภาพของนาค เทวดา และพรหมดอก ที่แท้ บังเกิด

เพราะอานุภาพของการบริจาคเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่างหากเล่า. จบธรรมกถา ได้

ตรัสพระคาถานี้ว่า

มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุล สุข

จเช มตฺตาสุข ธีโร สมฺปสฺส วิปุล สุข.

ถ้าบุคคลพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะสละสุขพอ

ประมาณไซร้ ผู้มีปัญญาเมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์พึงสละ

สุขพอประมาณเสีย ดังนี้.

จบพรรณารัตนสูตร

แห่ง

อรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

ติโรกุฑฑสูตร

ว่าด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร เป็นคาถาว่า

[๘] ฝูงเปรตพากันมายังเรือนของตน ยืนอยู่ที่

นอกฝาเรือนบ้าง ยืนอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ๓ แพร่งบ้าง

ยืนอยู่ใกล้บานประตูบ้าง.

เมื่อข้าวน้ำ ของเคี้ยว ของกินเขาวางไว้เป็นอัน

มาก ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้น ก็ระลึกไม่ได้ เพราะ

กรรมของสัตว์ทั้งหลายเป็นปัจจัย.

ชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำ

ข้าว อันสะอาด ประณีต อันสมควร ตามกาล อุทิศ

เพื่อญาติทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงมีแก่

ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลาย จงมีสุขเถิด.

ส่วนฝูงเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น มาแล้ว พร้อม

แล้ว ก็ชุมนุมกันในที่ให้ทานนั้น ย่อมอนุโมทนาโดย

เคารพ ในข้าวน้ำเป็นอันมากว่า เราได้สมบัติเพราะ

เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติเหล่านั้น ของเรา จงมี

ชีวิตยั่งยืน ทั้งการบูชา ญาติผู้เป็นทายกก็ได้กระทำแก่

พวกเราแล้ว อนึ่ง ทายกทั้งหลาย ย่อมไม่ไร้ผล.

ในปิตติวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรมการทำไร่การทำ

นาไม่มีโครักขกรรม การเลี้ยงโค. ในปิตติวิสัยนั้น การ

ค้าเช่นนั้น การซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็น

ไปในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทานที่ญาติให้แล้วจากมนุษย์

โลกนี้.

น้ำตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด

ทานที่ทายกให้ไปจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้นเหมือนกัน.

ห้วงน้ำเต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มฉันใด ทาน

ที่ทายกให้ไปนากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้น เหมือนกัน.

บุคคลเมื่อระลึกถึงกิจที่ท่านทำมาแต่ก่อนว่าท่าน

ได้ทำกิจแก่เรา ได้ให้แก่เรา ได้เป็นญาติมิตรเป็นเพื่อน

ของเรา ดังนี้ จึงควรให้ทักษิณาแก่ฝูงเปรต.

การร้องไห้ การเศร้าโศก หรือการพิไรรำพัน

อย่างอื่น ๆ ก็ไม่ควรทำ เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น

ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลาย ก็

คงอยู่อย่างนั้น.

ทักษิณานี้แล อันทายกให้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วใน

พระสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ทายกนั้น โดยฐานะ

ตลอดกาลนาน.

ญาติธรรมนี้นั้น ก็ทรงแสดงแล้ว การบูชาผู้ล่วง

ลับไปแล้ว ก็ทรงทำโอฬารแล้ว ทั้งกำลังของภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ทรงเพิ่มให้แล้ว บุญพระองค์ก็ทรงขวน

ขวายไว้มิใช่น้อย.

จบติโรกุฑฑสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

อรรถกถาติโตกุฑฑสูตร

ประโยชน์แห่งการตั้งพระสูตร

บัดนี้ ถึงลำดับการพรรณนาความติโรกุฑฑสูตร ที่ยกขึ้นตั้งต่อลำดับ

รัตนสูตรโดยนัยว่า ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺนฺติ เป็นต้น จักกล่าวประโยชน์แห่ง

การตั้งติโรกุฑฑสูตรนั้นไว้ในที่นี้แล้วจึงจักทำการพรรณนาความ.

ในข้อนั้น ความจริง ติโรกุฑฑสูตรนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้

ตรัสตามลำดับนี้ แต่ก็ทรงแสดงการปฏิบัติกุศลกรรมนี้ได้ โดยประการต่าง ๆ

ไว้ก่อนพระสูตรนี้ เพราะเหตุที่บุคคลประมาทในการปฏิบัติกุศลกรรมนั้น อยู่

เมื่อเกิดในฐานะ ที่แม้เศร้าหมองกว่านรกและกำเนิดสัตว์เดียรฉาน ก็ย่อมเกิด

ในจำพวกเปรตเห็นปานนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสรัตนสูตร เพื่อ

แสดงว่าบุคคลไม่ควรทำความประมาทในการปฏิบัติกุศลกรรมนั้น และเพื่อ

ระงับอุปัทวะแห่งกรุงเวสาลี ที่พวกหมู่ภูตเหล่าใดเบียดเบียนแล้ว หรือตรัสเพื่อ

แสดงว่า ในหมู่ภูตเหล่านั้น มีหมู่ภูตบางพวกมีรูปเห็นปานนั้น พึงทราบ

ประโยชน์แห่งการตั้งติโรกุฑฑสูตรนี้ในที่นี้.

กถาอนุโมทนา

แต่เพราะเหตุที่ ติโรกุฑฑสูตร ผู้ใดประกาศ ประกาศที่ใด ประกาศ

เมื่อใด และประกาศเพราะเหตุใด การพรรณนาความของติโรกุฑฑสูตรนั้น

ครั้นประกาศติโรกุฑฑสูตรนั้นหมดแล้ว เมื่อทำตามลำดับ ชื่อว่าทำดีแล้ว

ฉะนั้น ข้าพเจ้าก็จักทำการพรรณนาความนั้น อย่างนั้นเหมือนกันแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

ข้อว่า ก็ติโรกุฑฑสูตรนี้ใครประกาศ ประกาศที่ไหน ประกาศเมื่อไร

ขอชี้แจงดังนี้ ติโรกุฑฑสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศ ก็ติโรกุฑฑสูตร

นั้นแล ทรงประกาศเพื่อทรงอนุโมทนา แก่พระเจ้ามคธรัฐในวันรุ่งขึ้น เพื่อ

ทำความข้อนี้ให้เเจ่มแจ้ง ควรกล่าวเรื่องไว้พิสดารในข้อนี้ดังนี้.

ในกัปที่ ๙๒ นับแต่กัปนี้ มีนครชื่อกาสี ในนครนั้น มีพระราชา

พระนามว่า ชัยเสน พระเทวีของพระราชานั้น พระนามว่า สิริมา. พระ-

โพธิสัตว์ พระนามว่า ปุสสะ เกิดในครรภ์ของพระนาง ตรัสรู้สัมมาสัม

โพธิญาณตามลำดับ พระราชาชัยเสนทรงเกิดความรู้สึกถึงความเป็นของพระองค์

ว่า โอรสของเราออกทรงผนวชเกิดเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็เป็นของ

เรา พระธรรมก็ของเรา พระสงฆ์ก็ของเรา ทรงอุปรากด้วยพระองค์เองตลอด

ทุกเวลา ไม่ยอมประทานโอกาสแก่คนอื่น ๆ.

เจ้าพี่เจ้าน้องของพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างพระมารดา ๓ พระองค์ พา

กันดำริว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จอุบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อ

กูลแก่โลกทั้งปวง มิใช่เพื่อประโยชน์แก่บุคคลคนเดียวเท่านั้น แต่พระบิดาของ

เรา ไม่ทรงประทานโอกาสแก่เราและคนอื่น ๆ เลย เราจะได้การอุปรากอย่าง

ไรหนอ พระราชโอรสเหล่านั้น จึงตกลงพระหฤทัยว่า จำเราจะต้องทำอุบาย

บางอย่าง ทั้ง ๓ พระองค์จึงให้หัวเมืองชายแดงทำประหนึ่งแต่งเมือง ต่อนั้น

พระราชาทรงทราบข่าวว่าหัวเมืองชายแดนกบฏ จึงทรงส่งพระราชโอรสทั้ง ๓

พระองค์ออกไปปราบกบฏ. พระราชโอรสเหล่านั้น ปราบกบฏเสร็จแล้วก็

เสด็จกลับมา พระราชาทรงดีพระราชหฤทัย พระราชทานพรว่า เจ้าปรารถนา

สิ่งใด ก็จงรับสิ่งนั้น. พระราชโอรถทั้ง ๓ พระองค์กราบทูลว่า ข้าพระบาท

ปรารถนาจะอุปฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เว้นพร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

ข้อนั้นเสีย รับพรอย่างอื่นไปเถิด. พระราชโอรสกราบทูลว่า พวกข้าพระบาทไม่

ปรารถนาพรอย่างอื่นดอก พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจง

กำหนดเวลามาแล้วรับไป. พระราชโอรสทูลขอ ๗ ปี. พระราชาไม่พระราชทาน

พระราชโอรสจึงทูลขอลดลงอย่างนี้ คือ ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี ๗

เดือน ๖ เดือน ๕ เดือน ๔ เดือน จนถึงไตรมาส พระราชาจึงพระราชทาน

ว่า รับได้. พระราชโอรสเหล่านั้น ได้รับพระราชทานพรแล้วก็ทรงยินดีอย่างยิ่ง

เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พวกข้าพระองค์ประสงค์จะอุปฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอดไตรมาส ขอพระผู้

มีพระภาคเจ้าโปรดทรงรับจำพรรษาตลอดไตรมาสนี้ สำหรับข้าพระองค์ด้วยเถิด

พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงรับ โดยอาการดุษณีภาพ คือนิ่ง ต่อ

นั้น พระราชโอรสทั้ง ๓ พระองค์ ก็ส่งหัตถเลขา ลายพระหัตถ์ไปแจ้งแก่

พนักงานเก็บส่วย [ผู้จัดผลประโยชน์] ในชนบทของพระองค์ว่า เราจะอุปฐาก

พระผู้มีพระภาคเจ้าตลอดไตรมาสนี้ เจ้าจงจัดเครื่องประกอบการอุปฐากพระผู้

มีพระภาคเจ้าไว้ให้พร้อมทุกประการ ตั้งแต่สร้างพระวิหารเป็นต้นไป เจ้า

พนักงานเก็บส่วยนั้น จัดการพร้อมทุกอย่างแล้ว ก็ส่งหนังสือรายงานให้ทรง

ทราบ. พระราชโอรสเหล่านั้น ก็ทรงนุ่งห่มผ้ากาสายะ ทรงอุปฐากพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าโดยเคารพ ด้วยบุรุษไวยาจักร ๒,๕๐๐ คน นำเสด็จสู่ชนบทมอบถวาย

พระวิหาร ให้ทรงอยู่จำพรรษา.

บุตรคฤหบดีผู้หนึ่ง เป็นพนักงานที่รักษาเรือนคลังของพระราชโอรส

เหล่านั้น พร้อมทั้งภรรยา เป็นคนมีศรัทธาปสาทะเขาได้ปฏิบัติการถวายทานแก่

พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขโดยเคารพ. เจ้าพนักงานเก็บส่วยในชนบท พา

บุตรคฤหบดีนั้น ให้ดำเนินการถวายทานโดยเคารพ พร้อมด้วยบุรุษชาวชนบท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

ประมาณ ๑๑,๐๐๐ คน. บรรดาคนเหล่านั้น ชนบางพวก มีจิตถูกอิสสามัจ-

ฉริยะครอบงำ พวกเขา ก็พากันทำอันตรายแก่ทาน กินไทยธรรมด้วยตนเอง

บ้าง ให้แก่พวกลูก ๆ เสียบ้าง และเอาไฟเผาโรงอาหาร. ครั้น ปวารณาออก

พรรษา พระราชโอรสทั้งหลาย ก็ทรงทำสักการะยิ่งใหญ่แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าไปเฝ้าพระราชบิดา. พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จ

ไปในที่นั้นแล้ว ก็ปรินิพพาน. พระราชา พระราชโอรส เจ้าพนักงานเก็บส่วย

ในชนบทและเจ้าพนักงานรักษาเรือนคลัง ทำกาละไปตามลำดับก็เกิดในสวรรค์

พร้อมด้วยบริษัทบริวาร. เหล่าชนที่มีจิตถูกอิสสามัจฉริยะครอบงำ ก็พากันไป

เกิดในนรกทั้งหลาย เมื่อคน ๒ คณะนั้นจากสวรรค์เข้าถึงสวรรค์ จากนรกเข้า

ถึงนรกด้วยอาการอย่างนี้ กัปก็ล่วงไป ๙๒ กัป.

ต่อมา ในภัทรกัปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป ชนที่มี

จิตถูกอิสสามัจฉริยะครอบงำเหล่านั้น ก็เกิดเป็นเปรต. ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลาย

ถวายทาน อุทิศเพื่อประโยชน์แก่พวกเปรตที่เป็นญาติของตนว่า ขอทานนี้จงมี

แก่พวกญาติของเรา. เปรตเหล่านั้นก็ได้สมบัติ. ขณะนั้น เปรตแม้พวกนี้เห็น

ดังนั้น ก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ทำอย่างไรหนอ พวกข้าพระองค์จึงจะได้สมบัติบ้าง พระเจ้าข้า. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บัดนี้ พวกท่านยังไม่ได้ดอก ก็แต่ว่า ในอนาคต จักมี

พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จัก

มีพระราชาพระนามว่าพิมพิสาร ท้าวเธอได้เป็นญาติของพวกท่าน นับแต่นี้ไป

๙๒ กัป ท้าวเธอจักถวายทานแด่พระพุทธเจ้า อุทิศส่วนกุศลแก่พวกท่าน ครั้ง

นั้น พวกท่านจึงจักได้. เขาว่า เมื่อมีพุทธดำรัสอย่างนี้แล้ว พระพุทธดำรัส

นั้น ได้ปรากฏแก่เปรตเหล่านั้น ประหนึ่งตรัสว่า พวกท่านจักได้ในวันพรุ่งนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

ต่อมา เมื่อล่วงไปพุทธันดรหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ก็

เสด็จอุบัติในโลก. พระราชโอรสทั้ง ๓ พระองค์นั้น ก็จุติจากเทวโลก พร้อม

ด้วยบุรุษ ๒,๕๐๐ คนเหล่านั้น ไปเกิดในสกุลพราหมณ์ทั้งหลาย ในแคว้นมคธ

บวชเป็นฤาษีโดยลำดับ ได้เป็นชิฏิล ๓ คน ณ คยาสีสประเทศ. เจ้าพนักงาน

เก็บส่วยในชนบท ได้เป็นพระเจ้าพิมพิสาร บุตรคฤหบดี เจ้าพนักงานรักษา

เรือนคลัง ได้เป็นมหาเศรษฐีชื่อวิสาขะ ภรรยาของเขาได้เป็นธิดาของเศรษฐี

ชื่อธรรมทินนา บริษัทที่เหลือ เกิดเป็นราชบริขารของพระเจ้าพิมพิสารทั้งหมด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราเสด็จอุบัติในโลก ล่วงไป ๗ สัปดาห์ ก็เสด็จ

มายังกรุงพาราณสี โดยลำดับ ประกาศพระธรรมจักร โปรดพระภิกษุปัญจวัคคีย์

เป็นต้นไป จนถึงทรงแนะนำชฏิล ๓ ท่าน ซึ่งมีบริวาร ๒,๕๐๐ จึงเสด็จไป

กรุงราชคฤห์ ณ กรุงราชคฤห์นั้น โปรดพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเสด็จเข้าไปเฝ้า

ในวันนั้นเอง ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตตผล พร้อมด้วยพราหมณ์และคฤหบดี

ชาวมคธ ๑๑ นหุต. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์พระเจ้าพิมพิสาร

เพื่อเสวยภัตตาหารในวันพรุ่ง. ครั้นวันรุ่งขึ้น อันท้าวสักกะจอมทวยเทพนำ

เสด็จ ทรงชมเชยด้วยคาถาทั้งหลาย เป็นต้น อย่างนี้ว่า

ทนฺโต ทนฺเตหิ สห ปุราณชฏิเลหิ

วิปฺปมุตฺโต วิปฺปมุตฺเตหิ

สิงคินิกฺขสุวณฺโณ

ราชคห ปาวิสิ ภควา.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงฝึกแล้ว กับเหล่า

ปุราณชฏิล ผู้ฝึกแล้ว พระผู้หลุดพ้นแล้ว กับเหล่า

ปรุราณชฏิลผู้หลุดพ้นแล้ว ผู้มีพระฉวีวรรณงามดังแท่ง

ทองสิงคี เสด็จเข้าสู่กรุงราชคฤห์ ดังนี้.

๑. ในพระวินัยปิฏกมหาวรรค ๔/ข้อ ๓๗ เป็น ๑,๐๐๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

เสด็จเข้าสู่กรุงราชคฤห์ ทรงรับมหาทานในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร

เปรตเหล่านั้นยืนห้อมล้อมด้วยหวังอยู่ว่า บัดนี้ พระราชาจักทรงอุทิศทานแก่

พวกเรา บัดนี้ จักทรงอุทิศทานแก่พวกเรา.

ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแล้ว ทรงพระดำริว่า พระผู้มีพระภาค-

เจ้าจะพึงประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ทรงพระดำริถึงแต่เรื่องที่ประทับอยู่ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น มิได้ทรงอุทิศทานนั้นแก่ใคร ๆ.

เปรตทั้งหลายสิ้นหวัง ตอนกลางคืน จึงพากันทำเสียงแปลกประหลาด

น่าสะพรึงกลัวอย่างเหลือเกินใน พระราชนิเวศน์. พระราชาทรงสลดพระราช-

หฤทัยหวาดกลัว ต่อรุ่งสว่างกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินเสียงเช่นนี้ เหตุอะไรหนอ จักมีแก่ข้าพระองค์

พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายพระพรมหาบพิตร โปรดอย่าทรง

กลัวเลย จักไม่มีสิ่งชั่วร้ายอะไร ๆ แก่มหาบพิตรดอก ก็แต่ว่า พวกพระญาติ

เก่า ๆ ของมหาบพิตร เกิดเป็นเปรตมีอยู่ เปรตเหล่านั้น เที่ยวอยู่สิ้นพุทธันดร

หนึ่ง หวังอยู่ต่อมหาบพิตรว่า จักทรงถวายทานแด่พระพุทธเจ้า แล้วจักทรง

อุทิศส่วนกุศลแก่พวกเรา เมื่อวันวาน มหาบพิตรมิได้ทรงอุทิศส่วนกุศลแก่

เปรตพวกนั้น เปรตพวกนั้นสิ้นหวัง จึงพากันทำเสียงแปลกประหลาดเช่นนั้น.

พระเจ้าพิมพิสารกราบทูลว่า พระเจ้าข้า บัดนี้ เมื่อข้าพระองค์ถวาย

ทาน พวกเขาก็ควรได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายพระพร มหาบพิตร.

พระเจ้าพิมพิสารกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น ขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า โปรดทรงรับนิมนต์เสวยภัตตาหารเช้าพรุ่งนี้ ของข้าพระองค์ด้วยนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักอุทิศทานแก่เปรตพวกนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รับ. พระราชาเสด็จเข้าพระราชนิเวศน์ จัดแจงมหาทาน แล้วให้กราบทูลเวลา

ภัตตาหารแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าภายในพระราช-

นิเวศน์ ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.

เปรตพวกนั้น พากันไปยืนที่นอกฝาเรือนเป็นต้น ด้วยหวังว่า วันนี้

พวกเราคงได้อะไรกันบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำโดยอาการที่เปรตพวก

นั้น จะปรากฏแก่พระราชาหมดทุกตน.

พระราชาถวายน้ำทักษิโณทก ทรงอุทิศว่า ขอทานนี้จงมีแก่พวก

ญาติของเรา. ทันใดนั้นเอง สระโบกขรณีดารดาษด้วยปทุม ก็บังเกิดแก่เปรต

พวกนั้น. เปรตพวกนั้นก็อาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้น ระงับความกระวน

กระวายความลำบากและหิวกระหายได้แล้ว มีผิวพรรณดุจทอง.

ลำดับนั้น พระราชาถวายข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกินเป็นต้น

แล้วทรงอุทิศ. ในทันใดนั้นเอง ข้าวยาคูของเคี้ยวและของกินอันเป็นทิพย์ ก็

บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. เปรตพวกนั้น ก็พากินบริโภคของทิพย์เหล่านั้น มี

อินทรีย์เอิบอิ่ม.

ลำดับนั้น พระราชาถวายผ้าและเสนาสนะเป็นต้น ทรงอุทิศให้

เครื่องอลังการต่าง ๆ มีผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ เครื่องปูลาดและที่นอน

เป็นต้น ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. สมบัติแม้นั้นของเปรตพวกนั้น ปรากฏ

ทุกอย่างโดยประการใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงอธิษฐาน (ให้พระราชา

ทรงเห็น) โดยประการนั้น. พระราชาทรงดีพระทัยยิ่ง. แต่นั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺนฺติ เป็นต้น เพื่อทรงอนุโมทนาแก่พระเจ้ามคธรัฐ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ มาติกาหัวข้อนี้ว่า เยน ยตฺถ ยทา ยสฺมา

ติโรกฑฺฑ ปกาสิต ปกาสยิตฺวา ต สพฺพ ก็เป็นอันจำแนกแล้วทั้งโดย

สังเขปทั้งโดยพิศดาร.

บัดนี้ จักกล่าวพรรณนาความแห่งติโรกุฑฑสูตรนี้ตามลำดับไป คือ

พรรณนาคาถาที่ ๑

จะพรรณนาความในคาถาแรกก่อน. ส่วนภายนอกแห่งฝาทั้งหลาย

เรียกกันว่า ติโรกุฑฑะ. คำว่า ติฏฺนฺติ เป็นคำกล่าวถึงอิริยาบถยืน

เพราะห้ามอิริยาบถนั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถึงพวก

เปรตที่ยืนอยู่ที่ส่วนอื่นของฝาเรือนไว้แม้ในที่นี้ว่า ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺนฺติ

ยืนกันอยู่ที่นอกฝาเรือน เหมือนที่ท่านกล่าวถึงท่านผู้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ซึ่งไป

ณ ส่วนอื่นแห่งกำแพง และส่วนอื่นแห่งภูเขาว่า ไปนอกกำแพงนอกภูเขา

ไม่ติดขัด ฉะนั้น. ในคำว่า สนฺธิสึฆาฏเกสุ จ นั้น ทาง ๔ แพร่ง หรือ

แม้ที่ต่อเรือนที่ต่อฝาและกรอบหน้าต่าง ท่านเรียกว่าสนธิ ทาง ๓ แพร่ง ท่าน

เรียกว่า สิงฆาฏกะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำคำนั้นไว้แห่งเดียวกัน เชื่อม

กับคำต้น จึงตรัสว่า สนฺธิสึฆาฏเกสุ จ. บทว่า ทฺวารพาหาสุ ติฏฺนฺติ

ได้แก่ ยืนพิงบานประตูพระนครและประตูเรือน. เรือนญาติแต่ก่อนก็ดี เรือน

ของตนที่เคยครอบครองเป็นเจ้าของก็ดี ชื่อว่า เรือนของตน ในคำว่า

อาคนฺตฺวาน สก ฆร นี้. เพราะเหตุที่เปรตพวกนั้น พากันมาโดยสกสัญญา

เข้าใจว่าเป็นเรือนของตน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสถึงเรือนทั้งสอง

นั้นว่า อาคนฺตฺวาน สก ฆร มายังเรือนของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

พรรณนาคาถาที่

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงแก่พระราชาถึงเปรตเป็นอันมาก

ที่พากันมายังพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร อันเป็นเรือนญาติแต่ก่อน

แม้ตนไม่เคยครอบครองมาแต่ก่อน ด้วยสำคัญว่าเรือนของตน ยืนกัน อยู่นอก

ฝาที่ทาง ๔ แพร่งและทาง ๓ แพร่ง และบานประตู เสวยผลแห่งความริษยา

และความตระหนี่ บางพวกมีหนวดและผมยาวหน้า มีอวัยวะใหญ่น้อยผูก

หย่อนและยาน ผอมหยาบดำ เสมือนต้นตาลถูกไฟป่าไหม้ ยืนต้นอยู่ในที่นั้น ๆ

บางพวกมีเรือนร่างถูกเปลวไฟที่ตั้งขึ้นจากท้องแลบออกจากปาก เพราะความสี

กันแห่งไม้สีไฟ คือความระหาย แผดเผาอยู่ บางพวกไม่ได้รสอื่นนอกจาก

รสคือความหิวระหาย เพราะถึงได้ข้าวน้ำก็ไม่สามารถบริโภคได้ตามต้องการ

เพราะมีหลอดคอมีขนาดเล็กเท่ารูเข็ม และเพราะมีท้องใหญ่ดังภูเขา บางพวก

มีเรือนร่างไม่น่าดู แปลกประหลาดและน่าสะพึงกลัวเหลือเกิน ได้น้ำเลือดน้ำ

หนอง ไขข้อเป็นต้นที่ไหลออกจากแผลหัวฝีที่แตก ของกันและกันหรือของ

สัตว์เหล่าอื่น ลิ้มเลียเหมือนน้ำอมฤต จึงตรัสว่า

ฝูงเปรตพากันมายังเชื่อนี้ตน ยืนอยู่ที่นอกฝา

เรือนก็มี ยืนอยู่ที่ทางสี่แพร่งสามแพร่งก็มี ยืนใกล้

บานประตูก็มี.

เมื่อทรงแสดงความที่กรรมอันเปรตเหล่านั้น ทำมาแล้วเป็นกรรมทารุณ จึงตรัส

คาถาที่ ๒ ว่า ปหูเต อนฺนปานมฺหิ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหูเต ได้แก่ ไม่น้อย. ท่านอธิบายว่า

มาก จนพอต้องการ. เอา เป็น ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ปหุ สนฺโต

น ภรติ ผู้มีมากก็ไม่เลี้ยงดู. แต่อาจารย์บางพวกสวดว่า ปหูเต ก็มี พหูเก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

ก็มี. ปาฐะเหล่านั้น เป็นปาฐะที่เขียนด้วยความพลั้งเผลอ. ข้าวด้วย น้ำด้วย

ชื่อว่าข้าวและน้ำ ของเคี้ยวด้วย ของกินด้วย ชื่อว่าของเคี้ยวและของกิน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอาหาร ๘ อย่าง คือของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว

และของลิ้ม ด้วยบทนี้. บทว่า อุปฏฺิเต ได้แก่ เข้าไปตั้งไว้. ท่านอธิบายว่า

จัดแจง ตบแต่ง รวบรวม. บทว่า น โกจิ เตส สรติ สตฺตาน ความ

ว่า เมื่อสัตว์เหล่านั้นเกิดในปิตติวิสัย ใคร ๆ ไม่ว่ามารดาหรือบุตร ก็ไม่

ระลึกถึง. เพราะเหตุไร. เพราะกรรมเป็นปัจจัย คือเพราะกรรมคือความตระ-

หนี่ที่ตนทำ ต่างโดยปฏิเสธการรับและการให้เป็นต้นเป็นปัจจัย เพราะว่ากรรม

ของสัตว์เหล่านั้น ไม่ให้ญาติระลึกถึง.

พรรณนาคาถาที่ ๓

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงว่าไม่มีญาติไร ๆ ที่พอจะระลึกถึง

เพราะกรรมที่มีวิบากเป็นทุกข์เผ็ดร้อน ที่สัตว์เหล่านั้นทำไว้เป็นปัจจัย แก่

สัตว์ที่เป็นเปรตเหล่านั้น ซึ่งเที่ยวมุ่งหวังต่อญาติทั้งหลายว่า เมื่อข้าวน้ำเป็นต้น

แม้ไม่ใช่น้อย ที่ญาติเข้าไปตั้งไว้ [ในสงฆ์] น่าที่ญาติทั้งหลาย จะพึงให้

อะไร ๆ อุทิศพวกเรากันบ้างอย่างนี้ จึงตรัสว่า

เมื่อข้าวน้ำ ของเคี้ยว ของกิน อัน เขาเข้าไปตั้ง

ไว้เป็นอันมา [ในสงฆ์] ญาติไร ๆ ของสัตว์เหล่านั้น

ก็ระลึกไม่ได้ เพราะกรรมของสัตว์ทั้งหลายเป็นปัจจัย.

เมื่อทรงสรรเสริญทานที่พระราชาถวายอุทิศพวกพระประยูรญาติของพระราชา ที่

เกิดในปิตติวิสัย [เกิดเป็นเปรต] อีก จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า เอว ททนฺติ

าตีน เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว เป็นคำอุปมา. คำว่า เอว นั้น

สัมพันธ์ความเป็น ๒ นัย คือ

๑. ชนเหล่าใดเป็นผู้เอ็นดู. ชนเหล่านั้น ย่อมให้ข้าวน้ำเป็นต้น เพื่อ

ญาติทั้งหลาย เมื่อญาติไร ๆ แม้ระลึกไม่ได้ เพราะกรรมของสัตว์เหล่านั้น

เป็นปัจจัยอย่างนี้.

๒. ถวายพระพรชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้น ย่อม

ให้ข้าวน้ำอันสะอาด ประณีต เป็นกัปปิยะของควรตามกาล เพื่อญาติทั้งหลาย

เหมือนอย่างมหาบพิตรถวายทานฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ททนฺติ ได้แก่ ให้ อุทิศ มอบให้. บทว่า

าตีน ได้แก่ คนที่เกี่ยวเนื่องข้างมารดาและข้างบิดา. บทว่า เย ได้แก่

พวกใดพวกหนึ่งไม่ว่า บุตร ธิดา หรือพี่น้อง. บทว่า โหนฺติ แปลว่า ย่อมมี

บทว่า อนุกมฺปกา ได้แก่ผู้ประสงค์ประโยชน์ผู้แสวงประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า

สุจึ ได้แก่ ไร้มลทิน ควรชม ชื่นใจ เป็นธรรม ได้มาโดยธรรม. บทว่า

ปณีต ได้แก่สูงสุด ประเสริฐสุด. บทว่า กาเลน ได้แก่ ตามกาลที่พวก

เปรตผู้เป็นยาติมายืนอยู่ภายนอกฝาเรือน เป็นต้น. บทว่า กปฺปิย ได้แก่

ควร เหมาะ สมควรบริโภคของพระอริยะทั้งหลาย. บทว่า ปานโภชน

ได้แก่ น้ำด้วย ข้าวด้วย ชื่อว่า น้ำและข้าว. ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาไทย-

ธรรมทุกอย่าง โดยยกน้ำและข้าวขึ้นนำหน้า.

การพรรณนาคาถาที่ ๔ สัมพันธ์กับคาถาที่ ๓

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงสรรเสริญน้ำและข้าวที่พระเจ้ามคธรัฐทรง

ถวาย เพื่ออนุเคราะห์หมู่พระประยูรญาติที่เป็นเปรต อย่างนี้ จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

ชนเหล่าใดเป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำ

และข้าวอันสะอาดประณีตเป็นของควรตามกาลอย่างนี้.

เมื่อทรงแสดงประการที่ทานซึ่งให้แล้ว เป็นอันให้เพื่อญาติเหล่านั้นอีก จึง

ตรัสกิ่งต้นแห่งคาถาที่ ๔ ว่า อท โว ญาตีน โหตุ เป็นต้น . พึงสัมพันธ์

ความกับกึ่งต้นของคาถาที่ ๓ ว่า

ชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำ

และข้าวอย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงมีแก่ญาติทั้งหลาย

ขอญาติทั้งหลาย จงประสบสุขเกิด.

ด้วยเหตุนั้น ตัวอย่างอาการที่พึงให้เป็นอันทรงทำแล้ว ด้วย เอว ศัพท์ ที่มี

อรรถว่าอาการในคำนี้ว่า ชนเหล่านั้น ย่อมให้โดยอาการอย่างนี้ว่า ขอทานนี้

แลจงมีแก่ญาติทั้งหลาย ไม่ใช่โดยอาการอย่างอื่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท. เป็นบทแสดงตัวอย่างไทยธรรม.

บทว่า โว เป็นเพียงนิบาตอย่างเดียว ไม่ใช่ฉัฏฐีวิภัตติ เหมือนในประโยค

เป็นต้นอย่างนี้ว่า กจฺจิ ปน โว อนุรุทฺธา สมคฺคา สมฺโมทมานา.

และว่า เยหิ โว อริยา. บทว่า าตีน โหตุ ความว่า จงมีแก่ญาติ

ทั้งหลายที่เกิดขึ้นปิตติวิสัย. บทว่า สุขิตา โหนฺติ าตโย ความว่า ขอ

พวกญาติที่เข้าถึงปิตติวิสัยเหล่านั้น จงเป็นผู้เสวยผลทานนี้ มีความสุขเถิด.

พรรณนาตอนปลายของคาถาที่ ๔

สัมพันธ์กับตอนต้นของคาถาที่ ๕

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงประการที่ทานอันญาติ พึงให้แก่

ญาติทั้งหลายที่เข้าถึงปิตติวิสัยจึงตรัสว่า ขอทานนี้แลจงมีแก่ญาติทั้งหลาย ขอ

ญาติทั้งหลายจงประสบสุขดังนี้ เพราะเหตุที่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

ทานนี้แล จงมีแก่ญาติทั้งหลาย กรรมที่คนหนึ่งทำแล้วย่อมไม่ให้ผลแก่อีกคน

หนึ่ง แต่วัตถุนั้นที่ญาติให้อุทิศอย่างนั้นอย่างเดียว ย่อมเป็นปัจจัยแก่กุศล

กรรมของญาติทั้งหลาย ฉะนั้นเมื่อทรงแสดงประการที่กุศลกรรม อันให้เกิดผล

ในทันที่ เพราะวัตถุนั้นนั่นแลอีก จึงตรัสกึ่งหลังแห่งคาถาที่ ๔ ว่า เต จ

ตตฺถ และกิ่งต้นแห่งคาถาที่ ๕ ว่า ปหูเต อนฺนปานมฺหิ.

กึ่งต้นและกึ่งหลังแห่งคาถาเหล่านั้น มีความว่า ท่านอธิบายไว้ว่าเปรต

ที่เป็นญาติเหล่านั้น มาโดยรอบ มาร่วมกัน ประชุมอยู่ในที่แห่งเดียวกัน ในที่ ๆ

ญาติให้ทานนั้น. ท่านอธิบายไว้ว่า เปรตเหล่านั้นมาโดยชอบ มาร่วมกัน

มาพร้อมกันเพื่อความต้องการอย่างนี้ว่า ญาติทั้งหลายของเราจักอุทิศทานนี้

เพื่อประโยชน์แก่เราทั้งหลาย. บทว่า ปหูเต อนฺนปานมฺหิ ความว่า ใน

ข้าวน้ำที่ญาติให้อุทิศเพื่อตนมีมากนั้น. บทว่า สกฺกจฺจ อนุโมทเร ความว่า

เปรตเหล่านั้นเชื่อมั่น ผลกรรมไม่ละความยำเกรง มีจิตไม่กวัดแกว่ง ย่อมยินดี

อนุโมทนา เกิดปีติปราโมชว่า ทานนี้จงมีผลเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข

แก่เราทั้งหลาย.

พรรณนาตอนปลายของคาถาที่ ๕

สัมพันธ์กับตอนต้นของคาถาที่ ๖

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงประการที่กุศลกรรม ให้ผลเกิดใน

ทันที่ แก่ญาติทั้งหลายที่เข้าถึงปิตติวิสัย อย่างนี้จึงตรัสว่า

พวกเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้นพากันมาในที่นั้น

ประชุมพร้อมแล้ว ต่างก็อนุโมทนาโดยเคารพในข้าว

น้ำเป็นอันมาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

เมื่อทรงแสดงอาการชมเชยปรารภญาติทั้งหลายของเปรตเหล่านั้น ที่เสวยผล

แห่งกุศลกรรม อันบังเกิดเพราะอาศัยพวกญาติอีก จึงตรัสกึ่งหลังแห่งคาถา

ที่ ๕ ว่า จิร ชีวนฺตุ และกึ่งต้นแห่งคาถาที่ ๖ ว่า อมฺหากญฺจ กตา

ปูตา.

กึ่งหลังและกึ่งต้นแห่งคาถาเหล่านั้นมีความว่า บทว่า จิร ชีวนฺตุ

ได้แก่มีชีวิตอยู่นาน ๆ มีอายุยืน. บทว่า โน าตี แปลว่า ญาติทั้งหลาย

ของพวกเรา. บทว่า เยส เหตุ ได้แก่ เพราะอาศัยญาติเหล่าใด เพราะ

เหตุแห่งญาติเหล่าใด. บทว่า ลภามฺหเส แปลว่า ได้. หมู่เปรตกล่าวอ้าง

สมบัติที่ตนได้ในขณะนั้น.

จริงอยู่ ทักษิณา ย่อมสำเร็จผล คือ ให้เกิดผลในขณะนั้นได้ ก็

ด้วยองค์ ๓ คือ ด้วยการอนุโมทนาด้วยตนเองของเปรตทั้งหลาย ๑ ด้วย

การอุทิศของทายกทั้งหลาย ๑ ด้วยการถึงพร้อมแห่งทักขิไณยบุคคล ๑.

บรรดาองค์ทั้ง ๓ นั้น ทายกทั้งหลายเป็นเหตุพิเศษ ด้วยเหตุนั้น

เปรต. ทั้งหลายจึงกล่าวว่า เยส เหตุ ลภามฺหเส ย่อมได้เพราะเหตุแห่งญาติ

[ที่เป็นทายก] เหล่าใด. บทว่า อมฺหากญฺจ กตา ปูชา ความว่า และ

ญาติทั้งหลายที่อุทิศทานนี้อย่างนี้ว่า อทานนี้จงมีแก่ญาติทั้งหลายของเรา ดังนี้

ชื่อว่า ทำการบูชาพวกเราแล้ว. ทายกา จ อนิปฺผลา ความว่า กรรมที่

สำเร็จมาแต่การบริจาค อันทายกทำแล้วในสันดานใด ทายกทั้งหลาย ชื่อว่า

ไม่ไร้ผล ก็เพราะกรรมนั้น ให้ผลในสันดานนั้นเท่านั้น. ในข้อนี้ผู้ทักท้วงกล่าว

ว่า ญาติทั้งหลายที่เข้าถึงปิตติวิสัยได้เท่านั้นหรือ หรือว่า แม้คนอื่น ๆ ก็ได้.

ขอชี้แจงดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกพราหมณ์ ชื่อ ชาณุสโสณิ ทูลถาม

แล้ว ก็ทรงพยากรณ์ข้อนี้ไว้ดังนี้ว่า ในข้อนี้ เราจะพึงกล่าวคำอะไร. สมจริง

ดังที่พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ดังนี้ว่า

๑. อัง.ทสก. ๒๔/ข้อ ๑๖๖ ชาณุสโสณีสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า

ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าชื่อว่าพราหมณ์

ย่อมไห้ทาน ย่อมทำความเชื่อว่า ทานนี้จะสำเร็จผลแก่

เปรตทั้งหลายที่เป็นญาติสาโลหิต เปรตทั้งหลายที่เป็น

ญาติสาโลหิต จะบริโภคทานนี้. ข้าแต่ท่านพระโคดม

ทานนั้น จะสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลายที่เป็นญาติสา-

โลหิตบ้างไหม เปรตทั้งหลายที่เป็นญาติสาโลหิต จะ

บริโภคทานนั้น ได้บ้างไหม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ดูก่อนพราหมณ์จะสำเร็จผลในที่เป็นฐานะ ไม่

สำเร็จผลในที่เป็นอัฏฐานะ.

ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า

ข้าแต่ท่านพระโคดม ที่อย่างไรเป็นฐานะ ที่

อย่างไรเป็นอัฏฐานะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ดูก่อนพราหมณ์ คนบางตนในโลกนี้ทำปาณา-

ติบาต ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ

กายแตกไป เขาย่อมเข้าถึงนรก อาหารอันใดของ

เหล่าสัตว์นรก เขาย่อมยังชีพให้เป็นไปในนรกนั้น ด้วย

อาหารอันนั้น เขาดำรงอยู่ได้ในนรกนั้น ด้วยอาหาร

อันนั้น.

ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้นย่อมไม่สำเร็จผลแก่

สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในนรกใด นรกนั้นแล ชื่อว่า อัฏฐานะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

ดูก่อนพราหมณ์ คนบางตนในโลกนี้ทำปาณา-

ติบาต ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ

กายแตกไป เขาเข้าถึงกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน. อาหาร

อันใดของเหล่าสัตว์ที่เกิดในกำเนิดสัตว์ เดียรัจฉาน เขา

ย่อมยังชีพให้เป็นไปในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานนั้นด้วย

อาหารอันนั้น ย่อมดำรงอยู่ได้ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน

นั้น ด้วยอาหารอันนั้น.

ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้น ย่อมไม่สำเร็จผลแก่

สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานใด กำเนิดสัตว์

เดียรัจฉานนั้นแล ชื่อว่า อัฏฐานะ.

ดูก่อนพราหมณ์ คนบางคนในโลกนี้ เว้นขาด

จากปาณาติบาต ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่

ตายเพราะกายแตกไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย

ของหมู่เทวดา อาหารอัน ใดของหมู่เทวดา เขายังชีพ

ให้เป็นไปในเทวโลกนั้นด้วยอาหารอันนั้น เขาดำรง

อยู่ได้ในเทวโลกนั้นด้วยอาหารอันนั้น.

ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้น ย่อมไม่สำเร็จผลแก่

สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในเทวโลกใด เทวโลกนี้แล ก็ชื่อว่าอัฏฐานะ

ดูก่อนพราหมณ์ คนบางคนในโลกนี้ ทำปาณา

ติบาต ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ

กายแตกไป เขาย่อมเข้าถึงปิตติวิสัย อาหารอันใดของ

หมู่สัตว์ที่เข้าถึงปิตติวิสัย เขาย่อมยังชีพให้เป็นไปใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

ปิตติวิสัยนั้นด้วยอาหารอันนั้น เขาดำรงอยู่ได้ในปิตติ-

วิสัยนั้น ด้วยอาหารอันนั้น ก็หรือว่า หมู่มิตรสหายหรือ

หมู่ญาติสาโลหิต มอบทานอันใดจากมนุษยโลกนี้ไป

ให้แก่เขา เขาย่อมยังชีพให้เป็นไปในปิตติวิสัยนั้นด้วย

ทานอันนั้น เขาดำรงอยู่ได้ในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทาน

อันนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้น ย่อมสำเร็จผลแก่

สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในปิตติวิสัยใด ปิตติวิสัยนี้แต่ชื่อว่า ฐานะ.

ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าหากว่าเปรตผู้เป็นญาติ-

สาโลหิตนั้น ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าบริโภคทาน

นั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ดูก่อนพราหมณ์ หมู่เปรตที่เป็นญาติสาโลหิตแม่

เหล่าอื่นของเขา ที่เข้าถึงฐานะนั้น บริโภคทานนั้นนะสิ.

ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า

ข้าแต่ท่านพระโคดม ทั้งเปรตที่เป็นญาติสาโลหิต

ผู้นั้น ก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ทั้งหมู่เปรตที่เป็นญาติสา-

โลหิตแม้เหล่าอื่นของเขา ก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่า

จะบริโภคทานนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ฐานะที่จะพึงว่างจากญาติสา-

โลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกาลช้านานเช่นนี้ มิใช่ฐานะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ก็แต่ว่า แม้ทายกผู้ให้ย่อมไม่ไร้

ผลนะพราหมณ์.

พรรณนาตอนปลายของคาถาที่ ๖

สัมพันธ์กับคาถาที่ ๗

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงชมพระราชาเพราะอาศัยสมบัติของหมู่

พระประยูรญาติในชาติก่อนของพระเจ้ามคธรัฐ ที่เข้าถึงปิตติวิสัย จึงทรงแสดง

ว่า ขอถวายพระพร พระประยูรญาติของมหาบพิตรเหล่านี้ดีใจ พากันชมเชย

ในทานสัมปทาน จึงตรัสว่า

หมู่เปรตพากันชมว่า พวกเราได้สมบัติ เพราะ

เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติเหล่านั้นของพวกเราจง

มีชีวิตอยู่ยั่งยืน และญาติเหล่านั้นทำการบูชาพวกเรา

แล้ว ทั้งทายกทั้งหลาย ก็ไม่ไร้ผล ดังนี้.

เมื่อทรงแสดงความไม่มีเหตุที่ให้ได้สมบัติอย่างอื่น มีกสิกรรมและโครักขกรรม

เป็นต้น ของหมู่เปรตที่เข้าถึงปิตติวิสัยเหล่านั้น แต่ความที่หมู่เปรตเหล่านั้น.

ยังชีพให้เป็นไปด้วยทาน ที่ญาติให้จากมนุษยโลกนี้ จึงตรัสกึ่งหลังแห่งคาถาที่

๖ ว่า น หิ ตตฺถ กสิ อตฺถิ และคาถาที่ ๗ นี้ว่า วณิชฺชา ตาทิสี

เป็นต้น.

ในคาถานั้น พรรณนาความดังนี้ ขอถวายพระพร ก็ในปิตติวิสัยนั้น

ไม่มีกสิกรรมที่หมู่เปรตเหล่านั้นจะอาศัยแล้วได้สมบัติ. บทว่า โครกฺเขตฺถ

น วิชฺชติ ความว่า ไม่ใช่ไม่มีกสิกกรรมอย่างเดียวเท่านั้นดอก ในปิตติวิสัย

นั้น ก็ไม่มีแม้แต่โครักขกรรม ที่หมู่เปรตเหล่านั้น จะอาศัยแล้วได้สมบัติ.

บทว่า วณิชฺชา ตาทิสี นตฺถิ ความว่า ไม่มีแม้การค้าขาย ที่จะเป็นเหตุให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

ได้สมบัติของหมู่เปรตเหล่านั้น. บทว่า หิรญฺเน กยากย ความว่า ใน

ปิตติวิสัยนั้น ไม่มีแม้แต่การซื้อขายด้วยเงินซึ่งจะพึงเป็นเหตุไห้ได้สมบัติของ

หมู่เปรตเหล่านั้น.

บทว่า อิโต ทินฺเนน ยาเปนฺติ เปตา กาลตา ตหึ ความว่า

แต่หมู่เปรต ย่อมยังชีพให้เป็นไป ยังอัตภาพ ให้ดำเนินไป ด้วยทาน

ที่หมู่ญาติ หรือหมู่มิตรสหาย ให้ไปจากมนุษยโลกนี้แต่อย่างเดียว.

บทว่า เปตา ได้แก่ หมู่สัตว์ที่เข้าถึงปิตติวิสัย. บทว่า กาลคตา ได้แก่ ไป

ตามเวลาตายของตน. อธิบายว่า ทำกาละ ทำมรณะ. บทร่า ตหึ ได้แก่

ในปิตติวิสัยนั้น.

พรรณนาสองคาถาคือคาถาที่ ๘ และคาถาที่ ๙

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ตรัสว่า ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้วย่อมยังอัค

ภาพให้เป็นไปในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทานที่หมู่ญาติมิตรสหายให้แล้วจากมนุษย-

โลกนี้ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงประกาศความนั้น ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย

จึงตรัส ๒ คาถานี้ว่า อุนฺนเต อุทก วุฏฺ เป็นต้น

คาถานั้น มีความว่า น้ำที่หมู่เมฆให้ตกลงบนที่ดอนบนบก บนภูมิ-

ภาคที่สูง ย่อมไหลลงที่ลุ่ม คือไหลไปถึงภูมิภาคที่ลุ่มต่ำ ฉันใด ทานที่หมู่

ญาติมิตรสหายให้จากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลอธิบายว่าบังเกิดผลปรากฏผล

แก่หมู่เปรต ฉันนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ เปตโลก โลกเปรต ชื่อว่า ฐานะ

ที่ตั้งแห่งความสำเร็จผลแห่งทาน เหมือนที่ลุ่มเป็นฐานะที่ขังน้ำอันไหลมา.

เหมือนอย่างตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จผลแก่สัตว์ที่ตั้ง

อยู่ในปิตติวิสัยใด ปิตติวิสัยนั้นแล เป็นฐานะ ดังนี้ เหมือนย่างว่า น้ำที่ไหล

มาจากชุมนุมด้วย ซอกเขา คลองใหญ่ คลองซอย หนองบึง เป็นแม่น้ำใหญ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

เต็มเข้าก็ทำให้สาครทะเลเต็มเปี่ยม ฉันใด ทานที่ญาติมิตรสหายให้ไปจาก

มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่หมู่เปรตตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้ว แม้ฉันนั้น.

พรรณนาคาถาที่ ๑๐

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศความนี้ว่า ผู้ทำกาลกิริยาละไป

แล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทานที่ญาติมิตรสหาย ให้

ไปจากมนุษยโลกนี้ ดังนี้แล้ว เมื่อทรงแสดงอีกว่า เพราะเหตุที่หมู่เปรตเหล่า

นั้น หวังเต็มที่ว่าพวกเราจักได้อะไร ๆ จากมนุษยโลกนี้ แม้พากันนาถึงเรือน

ญาติแล้วก็ไม่สามารถจะร้องขอว่า ขอท่านทั้งหลาย โปรดให้ของชื่อนี้แก่พวก

เราเถิด ฉะนั้น กุลบุตรเมื่อระลึกถึงสิ่งที่ควรระลึกเหล่านั้น พึงให้ทักษิณา เพื่อ

หมู่เปรตเหล่านั้น จึงตรัสคาถานี้ว่า อทาสิ เม เป็นต้น.

คาถานั้น มีความว่า กุลบุตรเมื่อระลึกทุกอย่างอย่างนี้ว่า ท่านได้ให้

ทรัพย์หรือธัญญาหารชื่อนี้แก่เรา ท่านได้พากเพียรด้วยตนเอง ได้กระทำกิจชื่อ

นี้แก่เรา คนโน้นเป็นญาติ เพราะเกี่ยวเนื่องข้างมารดาหรือข้างบิดาของเรา

คนโน้นเป็นมิตร เพราะสามารถช่วยเหลือ โดยสิเนหา และคนโน้นเป็นเพื่อน

เล่นฝุ่นด้วยกันของเรา ดังนี้ พึงให้ทักษิณา พึงมอบทานให้แก่เขาผู้ล่วงลับไป

แล้ว.

มีปาฐะอื่นอีกว่า เปตาน ทกฺขิณา ทชฺชา. ปาฐะนั้นมีความว่า

ชื่อว่า ทัชชา เพราะเป็นของที่พึงให้. ของที่พึงให้นั้นคืออะไร ก็คือทักษิณาเพื่อ

เขาผู้ล่วงลับไปแล้ว. ด้วยเหตุนั้น กุลบุตรเมื่อระลึกถึงท่าน อธิบายว่า เมื่อนึกถึง

กิจที่ท่านทำมาแต่ก่อน โดยนัยว่า ท่านได้ให้สิ่งนี้แก่เรา ดังนี้เป็นต้น. คำนี้.

พึงทราบว่าเป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถประสงค์เป็นตติยาวิภัตติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

พรรณนาคาถาที่ ๑๑

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงอนุสสรณวัตถุที่เป็นเหตุ ในการ

มอบให้ซึ่งทักษิณาเพื่อหมู่เปรตทั้งหลายอย่างนี้ จึงตรัสว่า

กุลบุตรเมื่อระลึกถึงกิจที่ท่านทำมาแต่ก่อนว่า

ท่านได้ให้สิ่งนี้แก่เรา ได้ทำกิจแก่เรา ได้เป็นญาติมิตร

สหายของเรา พึงให้ทักษิณาแก่ท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว.

เมื่อทรงแสดงอีกว่า ชนเหล่าใด มีการร้องไห้และเศร้าโศกเป็นต้นเป็นเบื้อง

หน้า เพราะความตายของญาติ ดำรงอยู่. ผู้ล่วงลับไปแล้ว ย่อมไม่ให้อะไร ๆ

เพื่อประโยชน์แก่ชนเหล่านั้น การร้องไห้และการเศร้าโศกเป็นต้นนั้น ของชน

เหล่านั้น มีแต่ทำตัวให้เดือดร้อนอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมไม่ยังประโยชน์อะไร ๆ

ให้สำเร็จแก่ผู้ล่วงลับไปแล้วเลย จึงตรัสคาถานี้ว่า น หิ รุณฺณ วา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุณฺณ ได้แก่ การร้องไห้ ความร่ำไห้

ความที่น้ำตาร่วง ทรงแสดงความลำบากกายด้วยบทนี้. บทว่า โสโก ได้แก่

ความเศร้า ความโศกเศร้า. ทรงแสดงความลำบากใจด้วยบทนี้. บทว่า

ยาวญฺา ได้แก่ หรือว่านอกจากร้องไห้เศร้าโศกใด. บทว่า ปริเทวนา

ได้แก่ การพร่ำเพ้อการรำพันถึงคุณ โดยนัยว่า โอ้ ลูกคนเดียว ที่รัก ที่พึงใจ

อยู่ไหนดังนี้เป็นต้น ของคนที่ถูกความเสื่อมเสียญาติกระทบแล้ว. ทรงแสดง

ความลำบากวาจาด้วยบทนี้.

พรรณนาคาถาที่ ๑๒

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ทรงแสดงการร้องไห้เป็นต้น ไม่เป็นประโยชน์

ว่า การรำพันอย่างอื่นแม้ทั้งหมด ไม่มีเพื่อประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับ ไปแล้ว ที่แท้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

มีแต่ทำตัวให้เดือดร้อนอย่างเดียวเท่านั้น ญาติทั้งหลายก็ตั้งอยู่อย่างนั้นดังนี้แล้ว

เมื่อทรงแสดงความที่ทักษิณาซึ่งพระเจ้ามคธรัฐ ทรงถวายแล้วมีประโยชน์ จึง

ตรัสคาถานี้ว่า อยญฺจ โข ทกฺขิณา ดังนี้เป็นต้น.

คาถานั้น มีความว่า ขอถวายพระพร ทักษิณานี้แล มหาบพิตรถวาย

อุทิศหมู่พระประยูรญาติของมหาบพิตรในวันนี้ เพราะเหตุที่พระสงฆ์เป็นเนื้อนา-

บุญอันยอดเยี่ยมของโลก ฉะนั้น ทักษิณานั้น พึงเป็นทักษิณาที่ทรงตั้งไว้ดี

แล้วในพระสงฆ์ จึงสำเร็จผล ท่านอธิบายว่า สัมฤทธิ์ผลิตผล เพื่อประโยชน์

เกื้อกูล เพื่อสุขแก่แต่ชนสิ้นกาลนาน. ก็บทว่า อุปกปฺปติ ได้แก่ สำเร็จผล

โดยฐานะ คือสัมฤทธิ์ผลในขณะนั้นทันที ไม่นานเลย. เหมือนอย่างว่า ข้อที่แจ่ม

แจ้งในทันทีทันใด ก็ตรัสว่า ก็ข้อนั้นแจ่มแจ้งกะตถาคตโดยฐานะ ฉันใด

ทักษิณาที่สำเร็จผลในทันทีทันใด แม้ในที่นี้ ก็ตรัสว่า สำเร็จผลโดยฐานะ

ฉันนั้น. ฐานะใด ตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้น ย่อมสำเร็จผลแก่

สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในปิตติวิสัยใด ปิตติวิสัยนั้นแล เป็นฐานะดังนี้. ทักษิณาที่สำเร็จ

ผลในฐานะนั้น อันต่างโดยประเภทมีขุปปิปาสิกเปรต วันตาสาเปรต ปรทัตตูป-

ชีวีเปรตและนิชฌามตัณหิกเปรตเป็นต้น ก็ตรัสว่า ย่อมสำเร็จผลโดยฐานะ

เหมือนผู้ให้กหาปณะ ในโลกเขาก็เรียกกันว่า ผู้นั้น ให้กหาปณะ ฉะนั้น. แต่

ในอรรถวิกัปนี้ บทว่า อุปกปฺปติ ได้แก่ ปรากฏผล ท่านอธิบายว่าบังเกิดผล.

พรรณนาคาถานี้ ๑๓

พระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อทรงแสดงความที่ทักษิณา ซึ่งพระราชาถวาย

แล้ว มีประโยชน์อย่างนี้ จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

ที่ทักษิณานี้แล มหาบพิตรถวายแล้ว เข้าไปตั้ง

ไว้ดีแล้วในพระสงฆ์ ย่อมสำเร็จผลโดยฐานะ เพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแต่เปรตตลอดกาลนาน ดังนี้.

เพราะเหตุที่ญาติธรรม อันพระราชาผู้ทรงถวายทักษิณานี้ ทรงแสดง

แล้วด้วยทรงทำกิจที่หมู่ญาติควรทำแก่หมู่ญาติ ทรงทำให้ปรากฏแก่ชนเป็นอัน

มากหรือทรงยกเป็นตัวอย่างว่า ญาติธรรมแม้ท่านทั้งหลายก็พึงบำเพ็ญด้วยการ

ทำกิจที่หมู่ญาติพึงทำอย่างนั้นเหมือนกัน ไม่พึงทำตัวให้เดือดร้อนด้วยการร้องไห้

เป็นต้น ซึ่งไร้ประโยชน์ การบูชาหมู่เปรตอันพระราชาผู้ทรงยังหมู่เปรตเหล่านั้น

ให้ประสพทิพยสมบัติทรงทำแล้วอย่างโอฬาร และกำลังของภิกษุทั้งหลาย

อันพระราชาผู้ทรงอังคาสเลี้ยงดูภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้อิ่มหนำ

สำราญ ด้วยข้าวน้ำเป็นต้น ชื่อว่าทรงเพิ่มให้แล้ว และบุญมิใช่น้อย อันพระ

ราชาทรงยังจาคเจตนา มีคุณคือความอนุเคราะห์เป็นต้นเป็นบริวารให้เกิดก็

ทรงประสพแล้ว ฉะนั้น เมื่อทรงยังพระราชาให้ทรงร่าเริงด้วยคุณตามเป็นจริง

เหล่านั้นอีก จึงทรงจบเทศนาด้วยพระคาถานี้ว่า

ญาติธรรมนี้นั้น เป็นอันทรงแสดงแล้ว ๑ การ

บูชาเปตชน ก็ทรงทำอย่างโอฬาร กำลังของภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ทรงเพิ่มให้แล้ว บุญมิใช่น้อย พระองค์

ทรงขวนขวายแล้ว ๑.

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงชี้แจงพระราชาด้วยธรรมีกถา

ด้วยบทคาถานี้ว่า โส าติธมฺโม จ อย นิทสฺสิโต. ความจริง การ

แสดงญาติธรรมนี่เอง เป็นการชี้บ่อย ๆ ในข้อนี้. ทรงชักชวนด้วยบทคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

เปตาน ปูชา จ ถตา อุฬารา ความจริงการสรรเสริญว่า อุฬารา ก็เป็นการ

ชักชวนด้วยการบูชาบ่อย ๆ ในข้อนี้ ทรงให้อาจหาญด้วยบทคาถานี้ว่า พลญฺจ

ภิกฺขูนมนุปฺปทินฺน. ความจริง การเพิ่มกำลังแก่ภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นทาน

อย่างนี้ [อย่างหนึ่ง] ในข้อนี้. คำว่า พลานุปฺปทานตา เป็นการปลุก

ให้อาจหาญ ด้วยการเพิ่มอุตสาหะ แก่พระราชานั้น. ทรงให้ร่าเริงด้วยบทคาถา

นี้ว่า ตุมฺเหหิ ปุญฺ ปสุต อนปฺปก. ความจริงการระบุถึงการประสพ

บุญนั้นเอง พึงทราบว่า เป็นการให้เกิดความร่าเริง ด้วยการพรรณนาคุณตาม

เป็นจริงแก่พระราชานั้นในข้อนี้.

จบเทศนา การบรรลุธรรมได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ซึ่งสลดใจเพราะการ

พรรณนาโทษแห่งการเข้าถึงปิตติวิสัย แล้วตั้งความเพียรโดยแยบคาย. แม้วัน

รุ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงติโรกุฑฑสูตรนั้นแล แก่เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย การตรัสรู้ธรรมอย่างนั้น ได้มีถึง ๗ วัน ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาติโรกุฑฑสูตร

แห่ง

อรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อปรมัตถโชริกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

นิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอนคฤหบดีอุบาสก ตรัสพระคาถาว่า

[๙] บุรุษย่อมฝังขุมทรัพย์ไว้ในน้ำลึก ด้วยคิดว่า

เมื่อกิจที่จำเป็นเกิดขึ้น ทรัพย์นี้จักเป็นประโยชน์แก่

เรา เพื่อเปลื้องตนจากราชภัยบ้าง เพื่อช่วยตนให้พ้น

จากโจรภัยบ้าง เพื่อเปลื้องหนี้บ้าง ในคราวทุพภิกข-

ภัยบ้าง ในคราวคับขันบ้าง ขุมทรัพย์ที่เขาฝั่งไว้ใน

โลก ก็เพื่อประโยชน์นี้แล.

ขุมทรัพย์นั้น ย่อมหาสำเร็จประโยชน์แก่เข้าไป

ทั้งหมด ในกาลทุกเมื่อที่เดียวไม่ เพราะขุมทรัพย์

เคลื่อนจากที่ไปเสียบ้าง ความจำของเขาคลาดเคลื่อน

เสียบ้าง นาคทั้งหลายลักไปเสียบ้าง ยักษ์ทั้งหลายลัก

ไปเสียบ้าง ผู้รับมรดกที่ไม่เป็นที่รักขุดเอาไปเมื่อเขา

ไม่เห็นบ้าง ในเวลาที่เขาสิ้นบุญ ขุมทรัพย์ทั้งหมด

นั้น ย่อมสูญไป.

ขุมทรัพย์คือบุญ ของผู้ใด เป็นสตรีก็ตาม เป็น

บุรุษก็ตาม ฝังไว้ดีแล้วด้วยทาน ศีล สัญญมะความ

สำรวม ทมะความฝึกตน ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี

ในบุคคลก็ดี ในแขกก็ดี ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี

ในพี่ชายก็ดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

ขุมทรัพย์นั้น ชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว ใคร ๆ ไม่อาจ

ผจญได้ เป็นของติดตามตนไปได้ บรรดาโภคะ

ทั้งหลายที่เขาจำต้องละไป เขาก็พาขุมทรัพย์คือบุญ

นั้นไป.

ขุมทรัพย์คือบุญ ไม่สาธารณะแต่ชนเหล่าอื่น

โจรก็ลักไปไม่ได้ บุญนิธิอันใด ติดตามตนไปได้

ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้น.

บุญนิธินั้น อำนวยผลที่น่าปรารถนาทุกอย่างแก่

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. เทวดาและมนุษย์ปรารถนา

นักซึ่งอิฐผลใด ๆ อิฐผลทั้งหมดนั้น ๆ อันบุคคลย่อม

ได้ด้วยบุญนิธินี้.

ความมีวรรณะงาม ความมีเสียงเพราะ ความมี

ทรวดทรงดี ความมีรูปงาม ความเป็นใหญ่ยิ่ง ความ

มีบริวาร อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญ

นิธินี้.

ความเป็นพระราชาเฉพาะประเทศ ความเป็น

ใหญ่ [คือจักรพรรดิราช] สุขของพระเจ้าจักรพรรดิที่

น่ารัก ความเป็นพระราชาแห่งเทวดาในทิพยกายทั้ง

หลาย อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญ-

นิธินี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

สมบัติของมนุษย์ ความยินดีในเทวโลก และ

สมบัติคือพระนิพพานอันใด อิฐผลทั้งหมดนั้นอัน

บุคคลย่อมได้ ด้วยบุญนิธินี้.

ความที่บุคคลอาศัยสัมปทา คุณเครื่องถึงพร้อม

คือมิตรแล้ว ถ้าประกอบโดยอุบายที่ชอบ เป็นผู้ชำนาญ

ในวิชชาแล้วมุตติ อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้

ด้วยบุญนิธินี้.

ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ สาวกบารมี ปัจเจกโพธิ

และพุทธภูมิอันใด อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อม

ได้ ด้วยบุญนิธินี้.

บุญสัมปทา คุณเครื่องถึงพร้อมคือบุญนั้น เป็น

ไปเพื่อประโยชน์ใหญ่อย่างนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิต

ผู้มีปัญญา จึงสรรเสริญความเป็นผู้ทำบุญไว้แล.

จบนิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

อรรถกถานิธิกัณฑสูตร

เหตุตั้งพระสูตร

นิธิกัณฑสูตรนี้ ข้าพเจ้ายกขึ้นตั้ง โดยนัยว่า นิธึ นิเธติ ปุริโส

เป็นต้น ต่อลำดับจากติโรกุฑฑสูตร บัดนี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวเหตุตั้งและจัก

แสดงเหตุเกิดเรื่องแห่งนิธิกัณฑสูตรไว้ในที่นี้แล้ว จึงจักทำการพรรณนาความ

แห่งนิธิกัณฑสูตรนั้น.

บรรดาเหตุทั้งสองนั้น ในที่นี้พึงทราบเหตุตั้งนิธิกัณฑสูตรนั้นก่อน.

แท้จริง นิธิกัณฑสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้มิได้ตรัสไว้ตามลำดับนี้

เพราะเหตุที่เป็นสูตรคู่ของติโรกุฑฑสูตร โดยเป็นเรื่องอนุโมทนา ฉะนั้น

ข้าพเจ้าจึงยกขึ้นตั้งไว้ในที่นี้. หรือว่า พึงทราบว่า ข้าพเจ้าครั้นแสดงวิบัติ

ของหมู่ชนที่ปราศจากบุญด้วยติโรกุฑฑสูตรแล้ว จึงยกนิธิกัณฑสูตรนี้ตั้งไว้ใน

ที่นี้ ก็เพื่อแสดงสมบัติของหมู่ชนที่ทำบุญไว้ด้วยสูตรนี้. เหตุดังนี้กัณฑสูตร

นั้นไว้ในที่นี้มีเท่านี้.

เหตุเกิดพระสูตร

นิธิกัณฑสูตรนั้น มีเหตุเกิดดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี กุฎุมพีคนหนึ่ง มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี

โภคะมาก แต่เขาเป็นคนมีศรัทธาปสาทะ มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่

อยู่ครองเรือน. วันหนึ่ง เขาถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข สมัยนั้น พระราชามีพระราชประสงค์ทรัพย์ จึงทรงส่งราชบุรุษคน

หนึ่งไปที่สำนักเขา ด้วยพระราชดำรัสสั่งว่า พนาย เจ้าจงไปนำกุฎุมพีชื่อนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

มา. ราชบุรุษผู้นั้น ไปพูดกะกุฎุมพีนั้นว่า ท่านคฤหบดี พระราชาขอเชิญ

ท่านกุฎุมพี มีใจประกอบด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้น กำลังอังคาสเลี้ยงดูพระภิกษุ

สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จึงกล่าวว่า ไปก่อนเถิดท่านราชบุรุษ ข้าพเจ้า

จะมาทีหลัง ข้าพเจ้าจะฝังขุมทรัพย์ในขณะนี้เสียก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสวยเสร็จทรงชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว เพื่อทรงแสดงบุญสัมปทาว่า

นิธิโดยปรมัตถ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า นิธึ นิเธติ ปุริโส เป็นต้น เพื่อ

อนุโมทนาแก่กุฎุมพีนั้น. นิธิกัณฑสูตรนั้น มีเหตุเกิด ดังกล่าวมานี้.

ข้าพเจ้ากล่าวเหตุตั้ง และแสดงเหตุเกิดของนิธิ-

กัณฑ์สูตรไว้ในที่นี้แล้ว จักทำการพรรณนาความของ

นิธิกัณฑสูตรนั้น ดังต่อไปนี้.

พรรณนาคาถาที่ ๑

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิธึ นิเธติ ปุริโส ความว่า ชื่อว่า

นิธิ เพราะฝังไว้ อธิบายว่า ตั้งไว้ รักษาไว้. นิธินั้นมี ๔ คือ ถาวรนิธิ

ชงคมนิธิ อังคสมนิธิ อนุคามิกนิธิ. บรรดานิธิ ๔ นั้น ทรัพย์ที่ติดพื้นดินก็

ดี ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในอากาศก็ดี เงินก็ดี ทองก็ดี นาก็ดี ที่ดิน [ปลูกบ้าน]

ก็ดี ก็หรือทรัพย์เห็นปานนั้น แม้อื่นใดที่เว้น จากเคลื่อนที่ด้วยตัวเอง ชื่อว่า

ถาวร มั่นคง ขุมทรัพย์นี้ ชื่อว่า ถาวรนิธิ. ทาสหญิง ทาสชาย ช้าง โคม้า ลา แพะ

แกะ ไก่ สุกร ก็หรือว่า ทรัพย์เห็นปานนั้น แม้อื่นใด ที่ประกอบด้วยเคลื่อนที่

ได้ด้วยตัวเอง ชื่อว่าชังคมะ เคลื่อนที่ได้ ขุมทรัพย์นี้ ชื่อว่า ชังคมนิธิ.

พาหุสัจจะความเป็นพหูสูต อันเป็นบ่อเกิดการงาน บ่อเกิดศิลปะ. ที่ตั้งแห่ง

วิทยาการ ก็หรือว่า พาหุสัจจะเห็นปานนั้น แม้อื่นใด ที่ศึกษาเเล้วศึกษาอีก

ชำนาญติดตัวประหนึ่งอวัยวะใหญ่น้อย ชื่อว่าอังคสมะ เสมอด้วยอวัยวะ ขุม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

ทรัพย์นี้ ชื่อว่า อังคสมนิธิ. บุญที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จด้วยศีล ที่สำเร็จ

ด้วยภาวนา. ที่สำเร็จด้วยการฟังธรรม ที่สำเร็จด้วยการแสดงธรรม ก็หรือว่า

บุญเห็นปานนั้น แม้อื่นใด ตามด้วยผลที่น่าปรารถนา ประดุจติดตามไปในที่

นั้น ๆ ชื่อว่า อนุคามิกะ ติดตามไปได้. ขุมทรัพย์นี้ ชื่อว่า อนุคามิกนิธิ.

ส่วนในที่นี้ ทรงประสงค์เอา ถาวรนิธิ.

บทว่า นิเธติ ได้แก่ ตั้งไว้ เก็บไว้ รักษาไว้. บทว่า ปุริโส

ได้แก่ มนุษย์. บุรุษก็ดี สตรีก็ดี บัณเฑาะก์ก็ดี ย่อมฝังขุมทรัพย์ได้ก็จริง

ถึงกระนั้น ในที่นี้ ก็ทรงทำเทศนา ด้วยบุรุษเป็นสำคัญ แต่ว่าโดยอรรถ

พึงเห็นว่าทรงประมวลคนแม้เหล่านั้นไว้ในที่นี้. บทว่า คมฺภีเร โอทกนฺติเก

ความว่า ที่ชื่อว่า คัมภีระ เพราะอรรถว่าหยั่งถึงได้ ชื่อว่า โอทกันติกะ

เพราะเป็นที่มีน้ำเป็นที่สุด. ที่ลึกแต่ไม่มีน้ำเป็นที่สุดก็มี เช่นบ่อลึกชั่ว ๑๐๐ บุรุษ

ณ พื้นที่ดอน. ที่มีน้ำเป็นที่สุด แต่ไม่ลึกก็มี เช่นบ่อลึกศอกสองศอก ณ ที่

ลุ่มเป็นโคลนตม. ที่ทั้งลึก ทั้งมีน้ำเป็นที่สุดก็มี เช่นบ่อที่เขาขุด ณ พื้นที่ดอน

จนกว่าน้ำจักไหลมา ณ บัดนี้. คำว่า คมฺภีเร โอทกนฺติเก นี้ ตรัสหมาย

ถึงที่ลึก และมีน้ำเป็นที่สุดนั้น.

บทว่า อตฺเถ กิจฺเจ สมุปฺปนฺเน ความว่า ชื่อว่า อัตถะ เพราะ

ไม่ปราศจากประโยชน์. ท่านอธิบายว่า นำมาซึ่งประโยชน์ นำมาซึ่งประโยชน์

เกื้อกูล. ชื่อว่า กิจ เพราะควรทำ. ท่านอธิบายว่า กรณียะบางอย่าง อัน

เกิดขึ้นแล้วนั่นแล ชื่อว่า สมุปปันนะ. ท่านอธิบายว่า อันตั้งขึ้นแล้วโดย

ความเป็นกิจควรทำ. คำนี้เป็นการแสดงถึงประโยชน์ของการฝังขุมทรัพย์ว่า

เมื่อกิจที่เป็นประโยชน์นั้นเกิดขึ้นแล้ว ขุมทรัพย์จักเป็นประโยชน์แก่เรา. ความ

จริง บุรุษนั้นฝังขุมทรัพย์ไว้ก็เพื่อประโยชน์อย่างนี้ว่า เมื่อกรณียะบางอย่างที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

นำมาซึ่งประโยชน์เกิดขึ้น ขุมทรัพย์จักเป็นประโยชน์แก่เรา จักมีเพื่อความ

สำเร็จแห่งกิจของเรานั้น. เป็นความจริง ความสำเร็จแห่งกิจนั่นแล พึงทราบ

ว่าเป็นประโยชน์ของขุมทรัพย์นั้น เมื่อกิจเกิดขึ้น.

พรรณนาคาถาที่ ๒

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงประโยชน์แห่งการฝังชุมทรัพย์อย่าง

นี้ ครั้นทรงแสดงความประสงค์แห่งการประสพประโยชน์ บัดนี้ เพื่อทรง

แสดงความประสงค์แห่งการหลีกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ จึงตรัสว่า

ขุมทรัพย์นี้ จักเป็นประโยชน์แก่เราเพื่อเปลื้อง

ตนจากราชภัยบ้าง เพื่อช่วยตนให้พ้นจากโจรภัยบ้าง

เปลื้องหนี้บ้าง ในคราวทุพภิกขภัยบ้าง ในคราวคับขัน

บ้าง.

คาถานั้น พึงประกอบข้อความตามกำเนิดศัพท์กับบทว่า สวิสฺสติ

ปโมกฺขาย ที่ตรัสในคำนี้ว่า อตฺถาย เม ภวิสฺสติ และว่า อิณสฺส เว

ปโมกฺขาย จึงจะทราบความได้. ในข้อนั้นประกอบความอย่างนี้ว่า บุรุษฝัง

ขุมทรัพย์ มิใช่ด้วยประสงค์ว่าจะเป็นประโยชน์แก่เราอย่างเดียวเท่านั้นดอก. ก็

คืออะไรอีกเล่า. ก็คือบุรุษฝังขุมทรัพย์ ก็ด้วยประสงค์ว่า จักช่วยเปลื้องเราไห้

พ้นจากราชภัยที่ต้องถูกพวกศัตรูหมู่ปัจจามิตรกล่าวร้าย โดยนัยอย่างนี้ว่า ผู้นี้

เป็นโจรบ้าง เป็นชายชู้บ้าง หลบหนีภาษีบ้าง ดังนี้เป็นต้นบ้าง จักช่วยปล่อย

เราพ้นจากโจรภัย ที่ถูกพวกโจรเบียดเบียน ด้วยการลักทรัพย์โดยวิธีตัดช่อง

เป็นต้นบ้าง โดยการจับเป็นเรียกค่าไถ่ว่าเจ้าจงให้เงินทองเท่านี้ ๆ บ้าง เจ้าหนี้

จักทวงให้เราชำระหนี้ ก็จักช่วยปลดเราพ้น จากหนี้ที่เจ้าหนี้เหล่านั้นทวงอยู่บ้าง

สมัยที่เกิดทุพภิกขภัย ข้าวกล้าเสีย อาหารหายาก ในสมัยนั้น จะยังอัตภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

ให้เป็นไปด้วยทรัพย์เล็กน้อย ทำไม่ได้ง่ายๆ ขุมทรัพย์นั้นก็จักช่วยได้ในคราว

ทุพภิกขภัยเช่นนั้น มาถึงเข้า ดังนี้บ้าง จักช่วยได้ในคราวคับขันที่เกิดจากอัคคี-

ภัย อุทกภัย ทายาทที่ไม่เป็นที่รัก ดังนี้บ้าง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงประโยชน์แห่งการเก็บทรัพย์ ๒

อย่าง ด้วย ๒ คาถา คือ ความประสงค์ที่จะพบประโยชน์ และความประสงค์

ที่จะหลีกจากสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะตรัสย้ำประโยชน์

แม้ทั้ง ๒ นั้นนั่นแลแก่กุฎุมพีนั้น จึงตรัสว่า เอตทตฺถาย โลกสฺมึ นิธิ

นาม นิธิยฺยติ ขุมพรัพย์เขาผังไว้ในโลกก็เพื่อประโยชน์อย่างนี้.

คาถานั้นมีความว่า ประโยชน์นี้ใด คือ การพบประโยชน์และการ

หลีกจากสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ทรงแสดงไว้ โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า จักเป็น

ประโยชน์แก่เรา และว่าจักเปลื้องเราซึ่งถูกกล่าวร้ายให้พ้นจากราชภัย. ธรรมดา

ขุมทรัพย์ต่างโดยเงินทองเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาฝังไว้ตั้งไว้ เก็บงำไว้

ในโอกาสโลกนี้ ก็เพื่อประโยชน์นั้น คือเพื่อทำกิจเหล่านั้น ให้สำเร็จไป.

พรรณนาคาถาที่ ๓

บัดนี้ เพราะเหตุที่ขุมทรัพย์นั้น แม้เข้าฝังไว้ดีแล้วอย่างนี้ ย่อมให้

สำเร็จประโยชน์ที่ประสงค์แก่ผู้มีบุญเท่านั้น ไม่สำเร็จประโยชน์แก่คนเหล่าอื่น

ฉะนั้น เมื่อทรงแสดงประโยชน์จึงตรัสว่า

ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้เป็นอันดีในที่ลึกมีน้ำเป็นที่

สุดเพียงนั้น ขุมทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์แก่เขาได้

ทั้งหมดในกาลทุกเมื่อทีเดียวไม่.

คาถานั้น มีความว่า แม้ขุมทรัพย์นั้นเขาฝังไว้ดีถึงเพียงนั้น ท่าน

อธิบายว่า แม้เขาขุดหลุมเก็บไว้อย่างดีเพียงนั้น เขาฝังไว้ดีอย่างไร. เขาฝังไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

ในที่ลึกมีนี้เป็นที่สุด ท่านอธิบายว่าดีตราบเท่าที่นับได้ว่าฝังไว้ในที่ลึกมีน้ำเป็น

ที่สุด. บทว่า น สพฺโพ สพฺพทาเยว ตสฺส ต อุปกปฺปติ ความว่า

ขุมทรัพย์ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ ไม่สำเร็จผลแม้ทั้งหมด ท่านอธิบายว่า ไม่

สามารถทำกิจตามที่กล่าวมาแล้ว แก่บุรุษที่ฝังไว้ได้ทุกเวลา. คืออะไรเล่า คือ

ว่า บางครั้งก็สำเร็จประโยชน์ บางครั้งก็ไม่สำเร็จประโยชน์เลย. ศัพท์ว่า ต

ในคาถานั้น พึงเห็นว่าเป็นนิบาต ลงในอรรถว่าปทปูรณะทำบทให้เต็ม เช่นใน

ประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ยถา ต อปฺปมตฺตสฺส อาตาปิโน. หรือว่าท่าน

ทำลิงค์ [เพศศัพท์] ให้ต่างกัน เมื่อควรจะกล่าวว่า โส ก็กล่าวเสียว่า ต. จริง

อยู่เมื่อกล่าวอย่างนั้น ความนั้น ก็รู้ได้สะดวก.

พรรณนาคาถาที่ ๔ และที่ ๕

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสว่า น สพฺโพ สพฺพทาเยว ตสฺส ต

อุปกปฺปติ อย่างนี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงเหตุที่ไม่สำเร็จประโยชน์ จึง

ตรัสว่า

เพราะขุมทรัพย์เคลื่อนย้ายจากที่ไปเสียบ้าง ความ

จำของเขา คลาดเคลื่อนไปเสียบ้าง พวกนาคลักไป

เสียบ้าง พวกยักษ์ลักไปเสียบ้าง ทายาทผู้รับมรดกที่

ไม่เป็นที่รักขุดเอาไป เมื่อเขาไม่เห็นบ้าง.

คาถานั้น มีความว่า ขุมทรัพย์นั้น เคลื่อนย้ายออกไปจากที่ ๆ เขาฝัง

ไว้ดีแล้ว คือ แม้ไม่มีเจตนาก็ไปที่อื่นได้ โดยเจ้าของสิ้นบุญบ้าง. ความจำ

ของเขา คลาดเคลื่อน คือเขาจำไม่ได้ถึงที่ ๆ ฝังขุมทรัพย์ไว้บ้าง พวกนาค ที่

ความสิ้นบุญของเขาเตือนแล้ว ยักย้ายขุมทรัพย์นั้น เอาไปที่อื่นเสียบ้าง พวก

ยักษ์ลักพาเอาไปตามชอบใจเสียบ้าง พวกทายาทผู้รับมรดกที่ไม่ชอบกัน ขุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

พื้นดินยกเอาขุมทรัพย์นั้นไป เมื่อเขาไม่เห็นบ้าง. ขุมทรัพย์นั้น ไม่สำเร็จ

ประโยชน์แก่เขา เพราะเหตุมีการเคลื่อนที่เป็นต้นเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสเหตุที่ไม่สำเร็จประโยชน์ ซึ่งโลกสมมต

มีการทำให้เคลื่อนที่เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อทรงแสดงเหตุ ที่เข้าใจกันว่า

ความสิ้นบุญอย่างหนึ่งอย่างเดียวที่เป็นมูลแห่งเหตุแม้เหล่านั้น จึงตรัสว่า ยทา

ปุญฺญกฺขโย โหติ สพฺพเมต วินสฺสติ.

คาถานั้นมีความว่า สมัยใด บุญที่ทำโภคสมบัติให้สำเร็จ สิ้นไป ก็จะ

ทำสิ่งที่มิใช่บุญ ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งโภคสมบัติ มีโอกาสตั้งอยู่ สมัย

นั้น ธนชาตใดมีเงินและทองเป็นต้น ซึ่งผู้ฝังขุมทรัพย์ฝังไว้แล้ว ธนชาตนั้น

ทั้งหมด ก็พินาศหมดสิ้นไป.

พรรณนาคาถาที่ ๖

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสถึงขุมทรัพย์ ที่แม้บุคคลฝังไว้แล้วด้วย

ความประสงค์นั้น ๆ แต่ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ตามที่ประสงค์ ถึงโลกสมมตก็ต้อง

มีอันพินาศไปเป็นธรรมดา บัดนี้เพื่อทรงแสดงบุญสัมปทาเท่านั้นว่า เป็นขุม

ทรัพย์โดยปรมัตถ์ เมื่อทรงแสดงนิธิกัณฑสูตรนี้ ที่ทรงเริ่มเพื่ออนุโมทนาแก่

กุฎุมพีนั้น จึงตรัสว่า

ขุมพรัพย์ ของใด จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็

ตาม ชื่อว่าผังไว้ดีแล้ว ก็ด้วยทาน ศีล สัญญมะ และ

ทมะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทาน พึงถือเอาตามนัยที่กล่าวไว้แล้วใน

มงคลข้อที่ว่า ทานญฺจ ธมฺมจริยา นั้น. บทว่า สีล ได้แก่ การไม่ล่วง

ละเมิดทางกายและวาจา คือ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และปาฏิโมกข์สังวรศีล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

เป็นต้น. ศีลทุกอย่างท่านประสงค์ว่าศีลในที่นี้. บทว่า สัญฺญโมได้แก่

ความสำรวม ท่านอธิบายว่า การห้ามใจไปในอารมณ์ต่าง ๆ คำนี้ เป็นชื่อของ

สมาธิ ที่บุคคลประกอบแล้ว ท่านเรียกว่าผู้สำรวมสูงสุด ในบาลีนี้ว่า หตฺถ-

สญฺโต ปาทสญฺโต วาจาสญฺโต สญฺตุตฺตโม ผู้สำรวมมือ สำรวม

เท้า สำรวมวาจา ชื่อว่าผู้สำรวมสูงสุด. อาจารย์อีกพวกกล่าวว่าความสำรวม ท่าน

อธิบายว่า ความระวัง ความสังวร คำนี้ เป็นชื่อของอินทรีย์สังวร. ความฝึกฝน

ชื่อว่า ทมะ ท่านอธิบายว่า การระงับกิเลส คำนี้เป็นชื่อของปัญญา. จริงอยู่

ปัญญาในบาลีบางแห่งเรียกว่า ปัญญา ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สุสฺสูส

ลภเต ปญฺ ผู้ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา บางแห่งท่านเรียกว่า ธรรมะ ใน

ประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สจฺจ ธมฺโม ธิติ จาโค สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ

บางแห่งท่านเรียกว่า ทมะ ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ยทิ สจฺจา ทมา

จาคา ขนฺตยาภิยฺโย น วิชฺชติ ผิว่า ธรรมยิ่งกว่าสัจจะ ทมะ จาคะ

ขันติ ไม่มีไซร้.

บัณฑิตรู้จักทานเป็นต้น อย่างนี้แล้ว พึงประมวลมาทราบความแห่ง

คาถานี้ อย่างนี้ว่า ขุมทรัพย์ที่สำเร็จด้วยบุญของผู้ใด เป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็

ตาม เขาจะเอาธรรมะ ๔ เหล่านี้คือ ทาน ศีล สัญญมะ ทมะที่ฝังไว้ดีแล้ว

ด้วยการทำธรรมทั้ง ๔ มี ทานเป็นต้น เหล่านั้นไว้ด้วยดี ในจิตสันดานเดียว

หรือในวัตถุมีเจดีย์เป็นต้น เหมือนขุมทรัพย์ที่สำเร็จด้วยธนชาต เขาก็เอาเงิน

ทอง มุกดา มณี ฝังไว้ ด้วยการใส่เงินทองเป็นต้นเหล่านั้น ลงในเดียวกัน

ฉะนั้น.

พรรณนาคาถาที่ ๗

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่บุญสัมปทาเป็นขุมทรัพย์

โดยปรมัตถ์ ด้วยคาถานี้ว่า ยสฺส ทาเนน เป็นต้นอย่างนี้แล้ว เมื่อทรง

แสดงวัตถุที่ขุมทรัพย์อันบุคคลฝังแล้ว ชื่อว่าฝังไว้อย่างดี จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี ในบุคคลก็ดี ในแขก

ก็ดี ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี ในพี่ชายก็ดี.

ในคาถานั้น ชื่อว่า เจติยะ เพราะควรก่อ ท่านอธิบายว่า ควรบูชา

ชื่อว่า เจจิยะ เพราะวิจิตรแล้ว. เจดีย์นั้นมี ๓ อย่าง คือ บริโภคเจดีย์

อุทิสสกเจดีย์ ธาตุกเจดีย์.

บรรดาเจดีย์ทั้ง ๓ นั้น โพธิพฤกษ์ ชื่อว่า บริโภคเจดีย์ พระพุทธ

ปฎิมา ชื่อว่า อุทิสสกเจดีย์ พระสถูปที่มีห้องบรรลุพระธาตุ ชื่อว่า ธาตุก-

เจดีย์.์

บทว่า สงฺโฆ ได้แก่ ผู้ใดผู้หนึ่ง ในหมู่สงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข. บทว่า ปุคฺคโล ได้แก่ ผู้ใดผู้หนึ่ง ในหมู่คฤหัสถ์และบรรพชิต

เป็นต้น. ชื่อว่า อติถิ [แขก] เพราะเขาไม่มีดิถี คือมาในวันไหนก็ได้ คำ

นี้เป็นชื่อของแขกผู้มาในขณะนั้น. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.

บัณฑิตรู้จักเจดีย์เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พึงทราบความแห่งคาถานี้

อย่างนี้ ขุมทรัพย์นั้นใดตรัสว่า เป็นอันฝังดีแล้ว ขุมทรัพย์นั้น ที่เขาฝังไว้

ในวัตถุเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว. เพราะเหตุไร เพราะสามารถอำนวย

ผลที่น่าปรารถนาได้ตลอดกาลนาน. จริงอย่างนั้น ชนทั้งหลายถวายในพระ-

เจดีย์แม้เล็กน้อย ย่อมเป็นผู้ได้ผลที่ปรารถนาตลอดกาลนาน เหมือนอย่างที่

ตรัสไว้ว่า

เอกปุปผว ทตฺวาน อสีติกปฺปโกฏิโย

ทุคฺคตึ นาภิชานามิ ปุปฺผทานสฺสิท ผล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

เราถวายดอกไม้ดอกเดียว ก็ไม่รู้จักทุคคติ ถึง

แปดสิบโกฏิกัป นี้ผลของการถวายดอกไม้.

และว่า

มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุล สุข

ถ้าบุคคลพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะสละสุข

พอประมาณไซร้.

พึงทราบการจำแนกผลทาน แม้ในวัตถุมีพระสงฆ์เป็นต้น ตามนัยที่

กล่าวไว้แล้วในทักขิณาวิสุทธิสูตรและเวลามสูตรเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ทรงแสดงความเป็นไปและความเจริญผลแห่งทาน ในวัตถุมีเจดีย์เป็นต้น

โดยประการใด ก็พึงปรารภคุณนั้น ๆ ในที่ทั้งปวง ตามความประกอบแล้ว

จึงทราบความเป็นไปและความเจริญผลแห่งศีล ส่วนที่เป็นจารีตศีลวาริตศีล

สัญญมะ ส่วนที่เป็นพุทธานุสสติเป็นต้น และทมะ ส่วนที่เป็นวิปัสสนา มนสิการ

และการพิจารณาวัตถุนั้น โดยประการนั้น.

พรรณนาคาถาที่ ๘

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงวัตถุ ต่างโดยเจดีย์เป็นต้น ของ

ขุมทรัพย์ที่สำเร็จด้วยบุญ ซึ่งเขาฝังไว้ด้วยทานเป็นต้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อทรงแสดงความต่างของขุมทรัพย์นั้น ที่เขาฝังลงในวัตถุเหล่านั้น จาก

ขุมทรัพย์ที่ฝังลงในที่ลึกนั้นเป็นที่สุด จึงตรัสว่า

ขุมทรัพย์ ที่เขาฝังไว้ดีแล้วนั้น ใคร ๆ ก็ผจญ

ไม่ได้ ติดตานไปได้ ในเนื้อบรรดาโภคะที่จำต้องละ

ไป เขาก็พาขุมทรัพย์คือบุญไปด้วยได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

ในคาถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงขุมทรัพย์ที่ผังไว้ดีแล้วด้วย

ทานเป็นต้นนั้น ด้วยบทนี้ว่า ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้แล้วนั้น. บทว่า อเชยฺโย

ได้แก่ คนอื่น ๆ ไม่อาจผจญแล้วเอาไปได้. ปาฐะว่า อชยฺโย ก็มี. อธิบาย

ว่า อันใคร ๆ ไม่พึงชนะ ไม่ควรชนะ คือผู้ต้องการประโยชน์สุข ควรก่อ

สร้างเอง. ก็ในปาฐะนี้ ประกอบความว่า ขุมทรัพย์นี้ ใคร ๆ ผจญไม่ได้

แล้วแสดงคำถามอีกว่าเพราะเหตุไร จึงสัมพันธ์ความว่า เพราะเหตุที่ขุมทรัพย์

ที่ฝังไว้แล้วติดตามไปได้. แต่ความที่ขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ดีแล้ว โดยประการนอก

นี้เป็นของที่ใคร ๆ ชนะได้ ก็พึงเป็นอันท่านกล่าวไว้แล้ว แต่ก็หาได้กล่าวไว้

ไม่. แท้จริง ขุมทรัพย์นั้น ที่ฝังไว้ดีแล้ว อันใคร ๆ เอาชนะไม่ได้ คือ

ไม่มีใครเอาชนะได้เลย. ขุมทรัพย์ชื่อว่า อนุคามิก เพราะติดตามไปได้

อธิบายว่า ไม่ละบุคคลแม้กำลังไปปรโลก ด้วยการอำนวยผลให้ในภพนั้น ๆ.

ได้ยินว่า บทว่า ปหาย คมนีเยสุ เอต อาทาย คจฺฉติ นี้ มี

ความอย่างนี้ว่า เมื่อมรณกาล ปรากฏขึ้น บรรดาโภคะทั้งหลายที่จำต้องละไป

เขาก็พาไปได้แต่ขุมทรัพย์คือบุญนี้. ความนี้ไม่ถูก. เพราะเหตุไร. เพราะโภคะ

ทั้งหลายไปไม่ได้ ความจริง โภคะนั้น ๆ อันมัจจะผู้ต้องตาย พึงละไปเท่านั้น

ไปไม่ได้เลย แต่คติวิเศษนั้น ๆ ต่างหาก จำต้องไป. เพราะเหตุที่ถ้าความพึง

มีอย่างนี้ไซร้ ก็พึงกล่าวได้ว่า บรรดาคติวิเศษทั้งหลายที่จำต้องละโภคทั้งหลาย

ไป ฉะนั้น จึงควรทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า เมื่อโภคะทั้งหลายจำละมัจจะ

ผู้ต้องต้องไป โดยประการเป็นต้นอย่างนี้ว่า นิธิ วา านา จวติ ขุมทรัพย์

เคลื่อนไปจากที่บ้าง มัจจะผู้ต้องตาย ก็พาไปได้แต่ขุมทรัพย์คือบุญ ด้วยว่า

ขุมทรัพย์คือบุญนั้น ไม่ละมัจจะนั้น เพราะเป็นทรัพย์ติดตามไปได้. ในคาถา

นั้น ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ในบทว่า คมนีเยสุ นี้ จะพึงมีความว่า คนฺตพฺเพสุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

ก็ไม่ใช่ความว่า คจฺฉนฺเตสุ คำนั้น ไม่พึงถือเอาแต่แง่เดียว เหมือนอย่าง

ว่าในคำว่า อริยา นยฺยานิกา นี้ มีความว่า นิยฺยนฺตา ไม่ใช่มีความว่า

นิยฺยาตพฺพา ฉันใด แม้ในที่นี้ ก็มีความว่า คจฺฉนฺเตสุ ไม่ใช่มีความว่า

คนฺตพฺเพสุ ฉันนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่ผู้นี้ ประสงค์จะให้แก่ใคร ๆ ในเวลาจะตาย

ก็จับต้องโภคะให้ไม่ได้ ฉะนั้น โภคะเหล่านั้น อันเขาจำต้องละไปทางกายก่อน

ภายหลัง จึงจำต้องจากไปทางใจที่หมดหวัง ท่านอธิบายว่า. พึงล่วงเลยไป

เพราะฉะนั้น จึงควรเห็นความในข้อนี้อย่างนี้ว่า บรรดาโภคะทั้งหลายที่จำต้อง

ละไปทางกายก่อน ภายหลัง จึงต้องละไปทางใจ. ในความข้อต้น สัตตมี-

วิภัตติ ลงในนิทธารณะว่า บรรดาโภคะทั้งหลายที่จำต้องละไป เขาก็นำโภคะ

คือบุญนิธินั้นอย่างเดียวเท่านั้น ออกจากโภคะทั้งหลาย พาไป. ในความข้อ

หลัง สัตตมีวิภัตติ ลงในภาวลักขณะ โดยภาวะว่า ก็โดยภาวะที่โภคะทั้งหลาย

ติดตามไป ก็ย่อมกำหนดภาวะคือขุมทรัพย์นั้นพาไปด้วยได้.

พรรณนาคาถาที่ ๙

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ทรงแสดงความต่างของบุญนิธินี้ จากขุม-

ทรัพย์ที่เขาฝังไว้ในที่ลึก มีน้ำเป็นที่สุด เมื่อทรงยังอุตสาหะให้เกิดแก่เทดา

และมนุษย์ทั้งหลายในบุญนิธินั้น ด้วยการพรรณนาคุณบุญนิธิที่ทรงแสดงด้วย

พระองค์อีก เหมือนพ่อค้าผู้ค้าสินค้าอันโอฬาร ยังอุตสาหะให้เกิดแก่คนซื้อ

ด้วยการพรรณนาคุณสินค้าของตนฉะนั้น จึงตรัสว่า

บุญนิธิคือขุมทรัพย์ ไม่สาธารณะแก่ชนเหล่าอื่น

โจรก็ลักไปไม่ได้ บุญนิธิอันใด ติดตามตนไปได้

ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสาธารณมญฺเส แปลว่า ไม่ทั่วไป

แก่ชนเหล่าอื่น. ม อักษร ทำบทสนธิ เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อทุกฺขม-

สุขาย เวทนาย สมฺปยุติตา ประกอบด้วยเวทนาที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข.

นิธิ อันโจรทั้งหลายลักไปไม่ได้ ชื่อว่า อโจราหรโณ. อธิบายว่า ย่อม

เป็นนิธิ ที่โจรทั้งหลายลักพาไปไม่ได้. ชื่อว่า นิธิ เพราะเขาฝังไว้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงพรรณนาคุณของบุญนิธิ ด้วยสองบทต้นอย่างนี้

แล้ว จากนั้นก็ทรงยังอุตสาหะให้เกิดในบุญนิธินั้นด้วยสองบทหลังจึงตรัสว่า

บุญนิธิอันใด ติดตามตนไปได้ ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้น.

คาถานั้นมีความว่า เพราะเหตุที่ธรรมดาบุญนิธิไม่สาธารณะแก่ชน

เหล่าอื่น และเป็นนิธิที่โจรลักไปไม่ได้. แต่ก็มิใช่นิธิที่ไม่สาธารณะ และ

โจรลักไปไม่ได้อย่างเดียวดอก แท้จริง ยังเป็นนิธิที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า นิธิ

นั้น ฝังไว้ดีแล้ว อันใคร ๆ ผจญไม่ได้ ตามคนไปได้. นิธิใด ติดตาม

ในรูปได้ เพราะเหตุที่นิธินั้นเป็นบุญที่อย่างเดียว ฉะนั้น. ปราชญ์คือบุคคล

ผู้ถึงพร้อมด้วยพุทธความรู้ ถึงพร้อมด้วยธิติคือปัญญา พึงทำบำเพ็ญบุญ

ทั้งหลาย.

พรรณนาคาถาที่ ๑๐

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงยังอุตสาหะให้เกิดแก่เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย ในบุญนิธิ ด้วยการพรรณนาคุณอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ชนเหล่าใด

อุตสาหะแล้ว ทำอุตสาหะนั้นให้สำเร็จผล ด้วยการทำบุญนิธิ บุญนิธิของชน

เหล่านั้น ย่อมให้ผลอันใด เมื่อทรงแสดงผลอันนั้นโดยสังเขป จึงตรัสว่า

นิธินั้น ให้ผลที่น่าใคร่ทุกอย่างแต่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

บัดนี้ เพราะเหตุที่บุญนิธิ เนื่องอยู่ด้วยความปรารถนาเป็นเครื่องให้

สิ่งตามปรารถนา จึงจะเว้นความปรารถนาเสียมิได้ เหมือนที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ผู้ประพฤติธรรม ประ-

พฤติสม่ำเสมอ พึงหวังว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตาย

เพราะกายแตก. เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่า

กษัตริย์มหาศาลไซร้ ข้อที่เขาหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตาย

เพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่า

กษัตริย์มหาศาล ก็เป็นฐานะเป็นไปได้. ข้อนั้นเป็น

เพราะเหตุไร. เพราะผู้นั้นเป็นผู้ประพฤติธรรม ประ-

พฤติสม่ำเสมอ อย่างนั้น. ฯลฯ เขากระทำให้แจ้ง

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ด้วยปัญญา

ยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่. ข้อนั้น เพราะเหตุไร

เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ.

จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล สุตะ

จาคะ ปัญญา ภิกษุนั้นปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอหนอ

เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความ

เป็นสหายของเหล่ากษัตริย์มหาศาล. ภิกษุนั้นตั้งจิตนั้น

อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น. สังขารปัจจัย เครื่องปรุง

แต่ง และวิหารธรรมเครื่องอยู่เหล่านั้น อันภิกษุนั้น

เจริญให้มากอย่างนี้ ทำไห้มากอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

เกิดในที่นั้น อย่างนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

เพราะฉะนั้น เนื้อทรงแสดงปริยายแห่งความหวังอย่างนั้น ๆ ความ

ปรารถนาที่มีอธิษฐานภาวนาด้วยการตั้งจิตเป็นบริขาร เหตุในความที่บุญนิธิ

นั้น ให้ผลที่น่าใคร่ทุกอย่างนั้น จึงตรัสว่า

เทวดาและมนุษย์ ปรารถนานักซึ่งอิฐผลใด ๆ

อิฐผลทุกอย่างนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.

พรรณนาคาถาที่ ๑๑

บัดนี้ ผลนั้นใดทุกอย่าง อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยบุญนิธินั้น

เมื่อทรงแสดงผลนั้นเป็นอย่าง ๆ จึงตรัสคาถาอย่างนี้ว่า ความมีวรรณะงาม ความ

มีเสียงเพราะเป็นต้น.

บรรดาคาถาเหล่านั้น จะวินิจฉัยในคาถาที่ ๑ ก่อน ความมีฉวีวรรณ

งาม ความมีผิวหนังคล้ายทอง ชื่อว่าความมีวรรณะงามนั้น บุคคลย่อมได้ด้วย

บุญนิธินั้น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติก่อน ภพก่อน กำเนิด

ก่อนตถาคตเกิดเป็นมนุษย์แต่ก่อน เป็นคนไม่โกรธ

ไม่มากด้วยความคับแค้นใจ ถึงถูกเขาว่ากล่าวมาก ๆ ก็

ไม่ขัดใจ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่ใช้กำลัง ไม่ทำ

ความกำเริบ โทสะ และความไม่มีเหตุปัจจัยให้ปรากฏ

ทั้งเป็นผู้ให้ผ้าปูลาด ผ้านุ่งห่มเนื้อละเอียดอ่อน ผ้า

เปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าฝ้ายเนื้อเอียด ผ้ากัมพล

เนื้อละเอียดแม้อันใด ตถาคตนั้น เพราะทำสร้างสม

กรรมนั้น ฯลฯ จุติจากภพนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ย่อมได้มหาปุริสลักษณะนี้คือ เป็นผู้มีวรรณะดังทอง

มีผิวคล้ายทอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

ความเป็นผู้มีเสียงดังพรหม ความเป็นผู้พูดเสียงดังนกการะเวก ชื่อว่า

ความเป็นผู้มีเสียงเพราะ ความเป็นผู้มีเสียงเพราะแม้นั้น อันบุคคลย่อมได้ก็

ด้วยบุญนิธินี้ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งทลาย ชาติก่อน ภพก่อน กำเนิด

ก่อน ตถาคตเกิดเป็นมนุษย์แต่ก่อน ละวาจาหยาบ

เว้นขาดจากวาจาหยาบ กล่าวแต่วาจาไม่มีโทษเป็นสุข

หู น่ารัก จับใจ วาจาชาวเมืองชนเป็นอันมากรักใคร่

พอใจ. แม้อันใด เพราะทำสร้างสมกรรมนั้น ตถาคต

นั้น จุติจากภพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้มหา-

ปุริสลักษณะนี้ คือเป็นผู้มีชิวหาใหญ่ มีเสียงดังพรหม

พูดเสียงดังนกการะเวก.

บทว่า สุสณฺานา ได้แก่ความมีทรวดทรงดี ท่านอธิบายว่า ความ

ตั้งอยู่แห่งอวัยวะใหญ่น้อย ในอันที่ควรอิ่มเต็มและกลมโดยความเป็นอวัยวะ

อันอิ่มเต็มสละกลม เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติก่อน ภพก่อน กำเนิด

ก่อน ตถาคตเกิดเป็นมนุษย์แต่ก่อน หวังประโยชน์

เกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมปลอดจาก

โยคะ แก่ชนเป็นอันมาก พึงยังชนเหล่านี้ให้เจริญ

ด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา พึงให้เจริญ

ด้วยไร่นาทที่ดิน ด้วยสัตว์สองเท้าสี่เท้า ด้วยบุตรภรรยา

ด้วยทาสกรรมกรชาย ด้วยญาติมิตรพวกพ้องแม้อันใด

เพราะทำสร้างสมกรรมนั้น ฯลฯ ตถาคตนั้น จุติจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

ภพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้มหาปุริสลักษณะ

๓ เหล่านี้คือ มีพระกายครึ่งบนดังสีหะ มีระหว่างพระ-

อังสะ [คือพระอุระ] งาม และมีพระองค์กลมเสมอ

อย่างนี้เป็นต้น.

บทแห่งพระสูตรทั้งหลาย ที่ทำให้การได้สำเร็จด้วยบุญนิธินี้ แม้ใน

ที่อื่นจากนี้ ก็พึงนำมาจากที่นั้น ๆ กล่าวโดยนัยนี้. แต่เพราะกลัวพิศดารเกิน

ไป จึงได้แต่สังเขปไว้ บัดนี้ ข้าพเจ้าจักทำการพรรณนาบทที่เหลือ

ทั่วทั้งเรือนร่างพึงทราบว่า รูป ในคำว่า สุรูปตา นี้. เหมือนใน

ประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สภาพอันอากาศห้อมล้อม ย่อมนับว่ารูปทั้งนั้น.

ความที่รูปนั้นดี ชื่อว่า ความมีรูปสวย ท่านอธิบายว่า ไม่ยาวนัก ไม่สั้นนัก

ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก. บทว่า อาธิปจฺจ ได้แก่

ความเป็นใหญ่ อธิบายว่า ความเป็นนาย โดยเป็นกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น.

บทว่า ปริวาโร ได้แก่ สำหรับคฤหัสถ์ สมบัติคือชนของตนและชนโดยรอบ

สำหรับบรรพชิต สมบิติคือบริษัท. ความเป็นใหญ่และความมีบริวาร ชื่อว่า

ความเป็นใหญ่และมีบริวาร. ก็บรรดาอิฐผลเหล่านั้นพึงทราบว่า สมบัติคือ

โภคะ ตรัสด้วยความเป็นใหญ่ สมบัติคือชนของตนและชนโดยรอบ ตรัสด้วย

ความมีบริวาร. ด้วยคำว่า สพฺพเมเตน ลพฺภติ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อม

ทรงแสดงว่า คำนั้นได้ตรัสว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายปรารถนาผลใด ๆ

ผลนั้น ๆ ทั้งหมด อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้ ในคำนั้นอิฐผลมีความมี

วรรณะงามเป็นต้น ที่ตรัสไว้ส่วนแรกก่อนแม้นี้ พึงทราบว่า ผลทั้งหมดนั้น

บุคคลได้ด้วยบุญนิธินี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

พรรณนาคาถาที่ ๑๒

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสมบัติของเทวดาและมนุษย์ ที่ต่ำ

กว่าสมบัติคือความเป็นพระราชา ที่บุคคลพึงได้ด้วยบุญญานุภาพ ด้วยคาถาม

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงแสดงสมบัติคือความเป็นพระราชาทั้งสองนั้น จึง

ตรัสคาถานี้ว่า

ความเป็นพระราชาเฉพาะประเทศ ความเป็นพระ

ราชาผู้ใหญ่ สุขในความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิอัน

น่ารัก แม้ความเป็นพระราชาแห่งเทวดาในหมู่ทิพย์.

อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเทสรชฺช ได้แก่ ความเป็นพระราชา

แห่งประเทศ ในประเทศหนึ่งๆ แม้แต่ทวีปเดียวไม่ถึงทั้งหมด. ความเป็นพระ

ราชาผู้เป็นใหญ่ ชื่อว่า อิสสริยะ. ทรงแสดงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิด้วย

บทนี้. สุขของจักรพรรดิ ชื่อว่า จักกวัตติสุข. บทว่า ปิย ได้แก่ น่าปรา-

รถนา น่าใคร่ น่าพอใจ. ทรงแสดงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีมหาสมุทร

ทั้งสี่เป็นขอบเขตด้วยบทนี้. ความเป็นพระราชาในหมู่เทวดา ชื่อว่าความเป็น

พระราชาใน หมู่เทพ. เป็นอันทรงแสดงความเป็นพระราชาของเทวดาแห่ง

มนุษย์ทั้งหลายมีพระเจ้ามันธาตุราชาเป็นต้นด้วยบทนี้. ด้วย บทว่า อปิ

ทิพฺเพสุ นี้ ทรงแสดงความเป็นพระราชาของเทวดาแห่งมนุษย์ทั้งหลาย แม้ที่

เกิดในหมู่ทิพย์ทั้งหลาย ที่เรียกกันว่าทิพย์ เพราะมีในภพทิพย์. ด้วยบทว่า

สพฺพเมเตน ลพฺภติ ทรงแสดงว่า ในคำที่ตรัสไว้ว่า ย ย เทวาภิปตฺ-

เถนฺติ สพฺพเมเตน ลพฺภติ อิฐผลมีความเป็นพระราชาเฉพาะประเทศที่

ตรัสเป็นส่วนที่สองแม้นี้ พึ่งทราบว่า อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วย

บุญนิธินี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

พรรณนาคาถาที่ ๑๓

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสมบัติคือความเป็นพระราชาของ

เทวดาและมนุษย์ ที่บุคคลพึงได้ด้วยบุญญานุภาพ ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว

บัดนี้ เมื่อทรงทำสมบัติที่ตรัสด้วยสองคาถาไว้ข้างหน้าโดยย่อจะทรงแสดงสมบัติ

คือพระนิพพาน จึงตรัสคาถานี้ว่า

สมบัติของมนุษย์ ความยินดีอันใดในเทวโลก

และสมบัติคือพระนิพพานใด ข้อผลทั้งหมดนั้น อัน

บุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.

พรรณนาบทของคาถานั้น มีดังนี้ ชื่อว่า มานุสี เพราะเป็นของ

มนุษย์ทั้งหลาย มานุสีนั่นแล ชื่อว่า มานุสีกา. ความถึงพร้อมชื่อว่า

สมบัติ . โลกของเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่า เทวโลก. ในเทวโลกนั้น. บทว่า ยา

เป็นการถือเอาไม่มีเหลือเลย. ชื่อว่า รติ เพราะยินดีด้วยสมบัติที่เกิดภายในหรือ

เป็นเครื่องอุปกรณ์ภายนอก. คำนี้เป็นชื่อของสุขและวัตถุเครื่องให้มีสุข. คำว่า

ยา เป็นคำแสดงความที่ไม่แน่นอน. ศัพท์ มีความว่ารวมกับสมบัติทั้งปวง.

พระนิพพานนั้นแล ชื่อว่า สมบัติคือพระนิพพาน.

ก็การพรรณนาความ มีดังนี้ ด้วยบทว่า สุวณฺณตา เป็นต้น

สมบัติและความยินดีนั้นใด ตรัสไว้ว่า มานุสิกา จ สมฺปตฺติ เทวโลเก

จ ยา รติ สมบัติของมนุษย์ และความยินดีใดในเทวโลก. สมบัติและ

ความยินดีนั้นทั้งหมด และสมบัติคือพระนิพพาน ที่บุคคลพึงบรรลุโดยเป็น

พระอริยบุคคล ที่เป็นสัทธานุสารีเป็นต้น อื่น ๆ อิฐผลดังกล่าวมานี้ที่ตรัส

เป็นที่สาม พึงทราบว่า อิฐผลทั้งหมดนั้นอันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.

อีกนัยหนึ่ง สมบัติของมนุษย์อันใด ที่มิได้ตรัสไว้ก่อนด้วยอิฐผลมีความ

มีวรรณะงามเป็นต้น และต่างโดยความรู้ความฉลาดเป็นต้น ซึ่งท่านแสดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

ไว้ โดยนัยอย่างนี้ว่า ผู้กล้า มีสติ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรม

วินัยนี้ เป็นต้น ความยินดีในฌานเป็นต้น ในเทวโลกอย่างอื่นใดอีก และ

นิพพานสมบัติ ตามที่กล่าวแล้วอันใด อิฐผลดังว่ามาแม้นี้ ตรัสไว้เป็นส่วน

ที่สามพึงทราบว่า อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้. พึงทราบ

การพรรณนาความในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้.

พรรณนาคาถาที่ ๑๔

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงนิพพานสมบัติที่พึงได้ด้วยปัญญานุ-

ภาพ และที่พึงบรรลุโดยความเป็นพระอริยบุคคลมีเป็นสัทธานุสารีเป็นต้น ด้วย

คาถานี้ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงแสดงนิพพานนั้น และอุบายแห่งนิพพาน

นั้น โดยความเป็นผู้ชำนาญในวิชชา ๓ และอุภโตภาควิมุตติ จึงตรัสคาถานี้ว่า

ความที่บุคคลถ้าอาศัยมิตตสัมปทาประกอบความ

เพียรโดยอุบายแยบคาย เป็นผู้ชำนาญ ในวิชชาและ

วิมุตติ อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ ด้วยบุญ

นิธินี้.

พรรณนาบทของคาถานั้น มีดังนี้ว่า ชื่อว่า สัมปทาเพราะเป็นเครื่อง

สำเร็จผล คือถึงความเจริญแห่งคุณสัมปทา คือมิตร ชื่อว่ามิตรสัมปทา. ซึ่ง

มิตรสัมปทานั้น. บทว่า อาคมฺม แปลว่า อาศัย. บทว่า โยนิโส ได้แก่

โดยอุบาย. บทว่า ปยุญฺชโต ได้แก่ ทำความขยันประกอบ. ชื่อว่า วิชชา

เพราะเป็นเครื่องรู้แจ้ง. ชื่อว่า วิมุตติ เพราะเป็นเครื่องหลุดพ้น หรือหลุดพ้น

เอง. ทั้งวิชชาทั้งวิมุตติ ชื่อว่า วิชชาและวิมุตติ. ความเป็นผู้ชำนาญ ในวิชชา

และวิมุตติชื่อว่า วิชชาวิมุตติวสีภาวะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

ส่วนการพรรณนาความ มีดังต่อไปนี้

ความที่บุคคลอาศัยมิตรสัมปทา คืออาศัยพระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้

เป็นที่ดังแห่งความเคารพท่านใดท่านหนึ่ง รับโอวาทและอนุศาสนีจากท่านแล้ว

ประกอบโดยอุบายแยบคาย ด้วยการปฏิบัติตามที่ท่านสอน เป็นผู้ชำนาญ ใน

วิชชา ๓ มีบุพเพนิวาสญาณเป็นต้น และในวิมุตติที่ต่างโดยสมาบัติ ๘ และ

พระนิพพาน ที่มาอย่างนี้ว่า ในธรรมเหล่านั้น วิมุตติคืออะไร คือความ

หลุดพ้นอันยิ่งแห่งจิตและนิพพาน โดยอรรถว่า ไม่ชักช้าโดยประการนั้น ๆ

นี้ใด ผลที่ตรัสเป็นส่วนที่ แม้นี้ พึงทราบว่าอิฐผลทั้งหมดนั้นอัน บุคคล

ย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.

พรรณนาคาถาที่ ๑๕

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงนิพพานสมบัติที่พึงได้ด้วยอานุภาพ

แห่งบุญอันเป็น ส่วนแห่งความเป็นผู้ชำนาญในวิชชาและวิมุตติที่กล่าวมาก่อน

แล้ว ที่พึงบรรลุแม้โดยอำนาจแห่งไตรวิชชา และอุภโตภาควิมุตติ ด้วยคาถา

นี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพราะเหตุที่ท่านถึงความเป็นผู้บรรลุความเป็นผู้ชำนาญ

ในวิชชาและวิมุตติ แม้เป็นผู้มีวิชชา ๓ และหลุดพ้นแล้ว โดยส่วน ๒

[คือ เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ] ท่านเหล่านั้น มิใช่ได้ความเจริญแห่งคุณมี

ปฏิสัมภิทาเป็นต้นไปทั้งหมด แต่ความเจริญแห่งคุณ อันบุคคลย่อมได้ด้วย

บุญสัมปทานี้ แม้ที่ทำแล้วโดยประการนั้น ๆ โดยเป็นปทัฏฐานแห่งวิมุตตินั้น

ฉะนั้น เมื่อทรงแสดงความเจริญแห่งคุณแม้นั้น จึงตรัสคาถานี้ว่า

ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ สาวกบารมี ปัจเจกโพธิ

และพุทธภูมิอันใด อิฐผลทั้งหมดนั้นอันบุคคลย่อมได้

ด้วยบุญนิธินี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

เพราะเหตุว่า ปัญญานี้ใด ที่ถึงความแตกฉานในธรรม อรรถ นิรุตติ

และปฏิภาณ ท่านเรียกว่า ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ ๘ เหล่านี้ใด โดยนัยว่า ผู้มีรูป

ย่อมเห็นรูป เป็นต้น. สาวกบารมีนี้ใด ที่ให้สำเร็จสาวกสมบัติ อันพระสาวก

ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงบรรลุ. ปัจเจกพุทธโพธิใด ที่ให้สำเร็จ

ความเป็นพระสยัมภู และพุทธภูมิใด ที่ให้สำเร็จความเป็นผู้สูงสุดแห่งสรรพ-

สัตว์ อิฐผลที่ตรัสเป็นส่วนที่ ๕ แม้นี้พึงทราบว่า อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคล

ย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้ ซึ่งเขาทำแล้วโดยชอบ.

พรรณนาคาถาที่ ๑๖

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงผลที่ตรัสไว้ว่า เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย ปรารถนาอิฐผลใด ๆ อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้

เป็นอย่าง ๆ ไปด้วยคาถา ๕ คาถาเหล่านั้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงสรรเสริญ

บุญสัมปทา ที่เข้าจักนี้ว่าเป็นนิธิที่อำนวยผลที่น่าปรารถนาทุกอย่างนี้ ทั้งหมด

จึงทรงจบเทศนาด้วยคาถานี้ว่า

บุญสัมปทานนี้มีประโยชน์มากอย่างนี้ เพราะฉะนั้น

บัณฑิตผู้มีปัญญา จึงสรรเสริญความเป็นผู้ทำบุญไว้แล้ว.

พรรณนาบทแห่งคาถานั้น ดังนี้. บทว่า เอว เป็นคำแสดงความที่

ล่วงแล้ว. ชื่อว่า มหัตถิกา เพราะมีประโยชน์มาก. ท่านอธิบายว่า เป็น

ไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่. ปาฐะว่า มหิทฺธิกา ดังนี้ก็มี. บทว่า เอสา

เป็นคำอุเทศ [กระทู้] ยกบุญสัมปทา ที่ตรัสตั้งต้น แต่บทนี้ว่า ยสฺส ทาเนน

สีเลน จนถึงบทว่า กยิราถ ธีโร ปุญฺานิ ด้วยคำอุเทศนั้น. ศัพท์ว่า

ยทิท เป็นนิบาต ลงในอรรถทำให้พร้อมหน้ากัน. เพื่อทรงอธิบายบทอุเทศที่

ทรงยกขึ้นว่า เอสา จึงทรงทำให้พร้อมหน้ากันว่า ยา เอสา ด้วยศัพท์นิบาต

ว่า ยทิท นั้น. ความถึงพร้อมแห่งบุญทั้งหลาย ชื่อว่าบุญสัมปทา. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

ตสฺมา เป็นคำแสดงเหตุ. บทว่า ธีรา ได้แก่ ผู้มีปัญญา. บทว่า ปสสนฺติ

แปลว่า สรรเสริญ. บทว่า ปณฺฑิตา ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา. บทว่า

กตปุญฺต แปลว่า ความเป็นผู้ทำบุญไว้แล้ว.

ส่วนการพรรณนาความมีดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงสรร-

เสริญบุญนิธิมีความเป็นผู้มีพรรณะงามเป็นต้น มีพุทธภูมิเป็นที่สุด ซึ่งพอ

ที่บุคคลจะพึงบรรลุได้ด้วยอานุภาพแห่งบุญสัมปทา ดังนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ

ทรงประมวลแสดงตามข้อนั้นนั่นแล เมื่อทรงยกความที่บุญสัมปทา ตามที่กล่าว

แล้วมีประโยชน์มาก ด้วยความนั้นนั่นแหละ จึงตรัสว่า ข้อที่บุญสัมปทาซึ่ง

เราแสดงโดยนัยว่า ยสฺส ทาเนน สีเลน อย่างนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิต

ผู้มีปัญญา เช่นเราจึงสรรเสริญความเป็นผู้ทำบุญไว้แล้ว ซึ่งมีอาการและโวการ

คือขันธ์มาก ด้วยคำที่กล่าวในที่นี้มีว่า นิธิไม่สาธารณะแก่คนอื่น ๆ อันโจร

ลักไปไม่ได้เป็นต้น และที่ไม่ได้กล่าวไว้ [ในทีนี้] มีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธออย่ากลัวบุญเลย คำว่าบุญเป็นชื่อของความสุข ดังนี้เป็นต้น ด้วยคุณ

ตามที่เป็นจริง เพราะไม่คร้านในการแสดงธรรม อันนำมาซึ่งประโยชน์สุขแก่

สัตว์ทั้งหลาย มิใช่สรรเสริญด้วยเข้าข้างพรรคพวกตน.

จบเทศนา อุบาสกนั้น ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วยชนเป็นอัน

มาก และเขาก็เข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลความข้อนั้น. พระราชาทรง

ยินดีอย่างเหลือเกิน ทรงชมว่า ดีจริง คฤหบดี ดีจริงแล คฤหบดี ท่านฝัง

ขุมทรัพย์ ที่แม้เราก็นำไปไม่ได้ ได้ทรงทำการบูชาเป็นอย่างมากแก่อุบาสกผู้

นั้นแล.

จบอรรกถานิธิกัณฑสูตร

แห่ง

อรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

เมตตสูตร

ว่าด้วยการแผ่เมตตาในสัตว์ทั้งปวง

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสอนพวกภิกษุผู้อยู่ป่าว่า

[๑๐] กิจนั้นใด อันพระอริยะบรรลุบทอันสงบ

ทำแล้ว กิจนั้นอันกุลบุตรผู้ฉลาดพึงทำ

กุลบุตรนั้น พึงเป็นผู้อาจหาญ ตรงและตรงด้วยดี

พึงเป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ

พึงเป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจน้อย

ประพฤติเบากายจิต

พึงเป็นผู้มีอินทร์สงบ มีปัญญารักษาตัว เป็น

ผู้ไม่คะนอง ไม่ติดในสกุลทั้งหลาย

วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นได้ ด้วยกรรม

ลามกอันได้ ก็ไม่พึงประพฤติกรรมอันลามกนั้น

พึงแผ่ไมตรีจิตไปในหมู่สัตว์ว่า ขอสัตว์ทั้งปวง

จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ยัง

เป็นผู้สะดุ้ง [มีตัณหา] หรือเป็นผู้มั่นคง [ไม่มีตัณหา]

ทั้งหมดไม่เหลือเลย.

เหล่าใดยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือนั้น ผอม

หรืออ้วน.

เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น เหล่าใด

อยู่ในที่ไกลหรือไม่ไกล ที่เกิดแล้ว หรือที่แสวงหา

ภพเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุข

เถิด.

สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไร ๆ

เขา ไม่ว่าในที่ไร ๆ เลย ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กัน

และกัน เพราะความกริ้วโกรธ และเพราะความคุม

แค้น.

มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน ด้วยชีวิต

ฉันใด พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ ในสัตว์

ทั้งปวง แม้ฉันนั้น.

พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ ในโลก

ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง เป็นธรรม

อันไม่คับแค้น ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู.

ผู้เจริญเมตตานั้น ยืนก็ดี เดินก็ดี นั่งก็ดี นอน

ก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอน [คือไม่ง่วงนอน]

เพียงใด ก็พึงตั้งสตินั้นไว้เพียงนั้น.

ปราชญ์ทั้งหลายเรียกการอยู่นี้ว่า พรหมวิหาร

ในพระศาสนานี้.

มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ [สักกายทิฏฐิ] เป็นผู้

มีศีล ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ [สัมมาทิฏฐิในโสดาปัตติ

มรรค] นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออกไปได้ ก็

ย่อมไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์อีก โดยแท้แล.

จบเมตตสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

อรรถกถาเมตตสูตร

ประโยชน์ของการตั้งสูตร

บัดนี้ ถึงลำดับการพรรณนาความของเมตตสูตร ซึ่งยกตั้งไว้ในลำดับ

ต่อจากนิธิกัณฑสูตร. ในที่นี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวประโยชน์ของการตั้งเมตตสูตรนั้น

แล้ว ต่อจากนั้น พึงทราบการชี้แจงบทเหล่านั้นว่า เมตตสูตรนั้นผู้ใดกล่าว กล่าว

เมื่อใด กล่าวที่ใดและกล่าวเพราะเหตุใด ชำระนิทานแล้วจึงจักทำการพรรณนา

ความของเมตตสูตรนั้น.

ในเมตตสูตรนั้น เพราะเหตุที่ตรัสบุญสัมปทามีทาน ศีลเป็นต้นด้วย

นิธิกัณฑสูตร. เมื่อบุคคลทำเมตตาในสัตว์ทั้งหลาย บุญสัมปทานั้น ย่อมมีผล

มาก จนถึงสามารถให้บรรลุพุทธภูมิได้ ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงยกเมตตสูตรขึ้น

ตั้งในที่นี้ เพื่อแสดงว่าเมตตาเป็นอุปการะแก่บุญสัมปทานั้น หรือเพราะเหตุ

ข้าพเจ้าครั้นแสดงกรรมฐานอันสามารถละโทสะ. ด้วยทวัตติงสาการ สำหรับ

ชนทั้งหลาย ผู้นับถือพระศาสนาด้วยสรณะแล้วตั้งอยู่ในศีลด้วยสิกขาบททั้ง

หลาย และสามารถละโมหะด้วยกุมารปัญหา จึงแสดงว่าความประพฤติสรณะ

เป็นต้นนั้น เป็นมงคลและรักษาตนเองด้วยมงคลสูตร แสดงการรักษาผู้อื่นอัน

เหมาะแก่มงคลนั้นด้วยรัตนสูตร แสดงการเห็นภูตบางพวกในบรรดาภูต

ทั้งหลายที่กล่าวไว้ในรัตนสูตร และความวิบัติของเหล่าชนที่ประมาทในบุญ

สมบัติ ดังที่กล่าวแล้ว ด้วยติโรกุฑฑสูตร และแสดงสมบัติอันเป็นปฏิปักษ์

ต่อวิบัติที่กล่าวไว้ในติโรกุฑฑสูตร ด้วยนิธิกัณฑสูตร แต่ยังมิได้แสดงกรรม-

ฐานที่สามารถละโทสะ ฉะนั้น เพื่อแสดงกรรมฐานอันสามารถละโทสะนั้น

ข้าพเจ้าจึงยกเมตตสูตรนี้ขึ้นตั้งในที่นี้. เมื่อเป็นดังนั้น ขุททกปาฐะ จึงย่อมจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

บริบูรณ์ด้วยดี ข้อที่กล่าวมาดังนี้ เป็นประโยชน์แห่งการตั้งเมตตสูตรนั้นไว้

ในที่นี้.

การชำระนิทาน

บัดนี้ ข้าพเจ้ายกมาติกาหัวข้อนี้ใดไว้ว่า

พึงทราบการชี้แจงบทเหล่านี้ว่า เมตตสูตรนี้ผู้ใด

กล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าวที่ใด และกล่าวเพราะเหตุ

ใด ข้าพเจ้าชำระนิทานแล้วจึงจักทำการพรรณนาความ

แห่งเมตตสูตรนั้น ดังนี้.

ในมาติกาหัวอันนี้ พึงทราบการชี้แจงบทเหล่านั้นและการชำระนิทาน

โดยสังเขปอย่างนี้ก่อนว่า เมตตสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียวตรัส

พระสาวกเป็นต้น มิได้กล่าว. ก็แต่ว่า เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายถูกเทวดาทั้งหลาย

รบกวนข้างภูเขาหิมวันต์ จึงพากันมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสเมตตสูตรนั้น เพื่อป้องกันและเพื่อเป็นกรรมฐานสำหรับ

ภิกษุเหล่านั้น.

ส่วนโดยพิศดาร พึงทราบอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง ใกล้ดิถีเข้าจำพรรษา พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุง

สาวัตถี. สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายจากชาวเมืองต่าง ๆ จำนวนมาก รับกรรมฐาน

ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประสงค์จะเข้าจำพรรษาใน ที่นั้น ๆ จึงเข้าเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยินว่าสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกรรมฐาน

ทั้งหลายที่อนุกูลแก่จริตจำนวน ๘๔,๐๐๐ ประเภท โดยนัยนี้คือ อสุภกรรม-

ฐาน ๑๑ อย่าง คือ อสุภที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ สำหรับคนราคจริต,

กรรมฐานมีเมตตากรรมฐานเป็นต้น ๔ อย่าง สำหรับคนโทสจริต, กรรมฐาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

มีมรณัสสติกรรมฐานเป็นต้นสำหรับคนโมหจริต, กรรมฐานมีอานาปานัสสติ

และปฐวีกสิณเป็นต้นสำหรับคนวิตกจริต, กรรมฐานมีพุทธานุสสติกรรมฐาน

เป็นต้นสำหรับคนสัทธาจริต, กรรมฐานมีจตุธาตุววัตถานกรรมฐานเป็นต้น

สำหรับคนพุทธิจริต.

ลำดับนั้น ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป เรียนกรรมฐานในสำนักพระผู้มี-

พระภาคเจ้า กำลังแสวงหาเสนาสนะที่เป็นสัปปายะและโคจรคาม เดินไปตาม

ลำดับ ได้พบภูเขา พ้นศิลาคล้ายมณีสีคราม ประดับด้วยราวป่าสีเขียวมีร่มเงา

ทีบเย็น มีภูมิภาคเกลื่อนด้วยทรายเสมือนแผ่นเงินข่ายมุกดา ล้อมด้วยชลาลัย

ที่สะอาดเย็นดี ติดเป็นพืดเดียวกับป่าหิมวันต์ ในปัจจันตประเทศ. ภิกษุ

เหล่านั้น พักอยู่คืนหนึ่ง ณ ที่นั้น เมื่อราตรีรุ่งสว่างทำสรีรกิจแล้ว ก็พากันเข้า

ไปบิณฑบาตยังหมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้ ๆ นั้นเอง หมู่บ้านประกอบด้วยตระกูล

๑,๐๐๐ ตระกูล ซึ่งอาศัยอยู่กันหนาแน่นในหมู่บ้านนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีศรัทธา

ปสาทะ พวกเขาเห็นภิกษุทั้งหลายเท่านั้น ก็เกิดปีติโสมนัส เพราะการเห็น

บรรพชิตในปัจจันตประเทศหาได้ยาก นิมนต์ภิกษุเหล่านั้นให้ฉันแล้ว ก็วอน

ขอว่า ท่านเจ้าข้า ขอท่านอยู่ในที่นี้ตลอดไตรมาสเถิด แล้วช่วยกันสร้างกุฏิ

สำหรับทำความเพียร ๕๐๐ หลัง จัดแจงเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่าง มีเตียง ตั่ง

หมอน้ำฉัน น้ำใช้เป็นต้น ณ ที่นั้น.

วันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายเข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้านตำบลอื่น. ในหมู่

บ้านแม้นั้น มนุษย์ทั้งหลาย ก็บำรุงอย่างนั้นเหมือนกัน อ้อนวอนให้อยู่จำ

พรรษา. ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์โดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อไม่มีอันตราย จึงพากัน

เข้าไปยังราวป่านั้น เป็นผู้ปรารภความเพียรตลอดทั้งกลางคืนกลางวัน ตีระฆัง

บอกยาม เป็นผู้มากด้วยโยนิโสมนสิการอยู่จึงเข้าไปนั่งที่โคนไม้. รุกขเทวดาทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

หลาย ถูกเดชของเหล่าภิกษุผู้ศีลกำจัดเดชเสียแล้ว ก็ลงจากวิมานของตน ๆ

พาพวกลูก ๆ เที่ยวระหกระเหินไป เปรียบเหมือนเมื่อพระราชา หรือราชมหา-

อมาตย์ ไปยังที่อยู่ของชาวบ้าน ยึดโอกาสที่ว่างในเรือนทั้งหลาย ของพวกชาว

บ้าน พวกชาวบ้านก็ต้องออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่น ก็ได้แต่มองดูอยู่ไกล ๆ

ด้วยหวังว่า เมื่อไรหนอ ท่านจึงจักไปกัน ฉันใด เทวดาทั้งหลายต้องละทิ้ง

วิมานของตน ๆ กระเจิดกระเจิงไป ได้แต่มองดูอยู่ไกล ๆ ด้วยหวังว่า เมื่อไร

หนอ ท่านจึงจักไปกัน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. แต่นั้น เทวดาทั้งหลายก็ร่วมคิด

กันอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เข้าพรรษาแรกแล้ว จักอยู่กันตลอดไตรมาสแน่

แต่พวกเราไม่อาจจะพาพวกเด็กอยู่อย่างระหกระเหินได้นาน ๆ เอาเถิด

พวกเราจักแสดงอารมณ์ที่น่ากลัวแก่ภิกษุทั้งหลาย. เทวดาเหล่านั้น จึงเนรมิต

รูปยักษ์ที่น่ากลัว ยืนอยู่ข้างหน้า ๆ เวลาภิกษุทั้งหลายทำสมณธรรมตอนกลาง

คืน และทำเสียงที่น่าหวาดกลัว เพราะเห็นรูปเหล่านั้น และได้ยินเสียงนั้น

หัวใจของภิกษุทั้งหลาย ก็กวัดแกว่ง ภิกษุเหล่านั้น มีผิวเผือดและเกิดเป็น

โรคผอมเหลือง ด้วยเหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงไม่อาจทำจิตให้มีอารมณ์เดียวได้

เมื่อจิตไม่มีอารมณ์เดียวสลดใจบ่อย ๆ เพราะความกลัว สติของภิกษุเหล่านั้น

ก็หลงเลือนไป แต่นั้น อารมณ์ที่เหม็น ๆ ก็ประจวบแก่ภิกษุเหล่านั้น ซึ่งมี

สติหลงลืมแล้ว. มันสมองของภิกษุเหล่านั้น ก็เหมือนถูกกลิ่นเหม็นนั้นบีบคั้น

โรคปวดศีรษะก็เกิดอย่างหนัก. ภิกษุเหล่านั้น ก็ไม่ยอมบอกเรื่องนั้นแก่กันและ

กัน.

ต่อมาวันหนึ่ง เมื่อภิกษุทุกรูปประชุมกันในเวลาบำรุงพระสังฆเถระ.

พระสังฆเถระก็ถามว่า ผู้มีอายุ เมื่อพวกท่านเข้าไปในราวป่านี้ ผิวพรรณดูบริสุทธิ์

ผุดผ่องอย่างเหลือเกินอยู่ ๒ - ๓ วัน ทั้งอินทรีย์ก็ผ่องใส แต่บัดนี้ ในที่นี้พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

ท่านซูบผอม ผิวเผือด เป็นโรคผอมเหลือง ในที่นี้พวกเธอไม่มีสัปปายะหรือ.

ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า ท่านขอรับ ตอนกลางคืนกระผมเห็นและได้

ยินอารมณ์ที่น่ากลัวอย่างนี้ ๆ สูดแต่กลิ่นเช่นนี้ ด้วยเหตุนั้น จิตของกระผมจึง

ไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ. ภิกษุเหล่านั้นทุกรูปจึงพากันบอกเรื่องนั้น โดยอุบายนี้

เหมือนกัน. พระสังฆเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติการ

เข้าจำพรรษาไว้ ๒ อย่าง ก็เสนาสนะนี้ไม่เป็นสัปปายะแก่พวกเรา มาเถิดผู้มีอายุ

พวกเราจะพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามถึงเสนาสนะที่เป็นสัปปายะอื่น ๆ

ภิกษุเหล่านั้น รับคำพระเถระว่าดีละขอรับ ทุกรูปก็เก็บงำเสนาสนะ ถือบาตร

จีวรไม่บอกกล่าวใคร ๆ ในตระกูลทั้งหลาย พากันจาริกไปทางกรุงสาวัตถี ก็

ถึงกรุงสาวัตถีตามลำดับแล้ว ก็พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นภิกษุเหล่านั้นจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงเที่ยวจาริกไปภายในพรรษา

เหตุไร พวกเธอจึงยังจาริกกันอยู่เล่า. ภิกษุเหล่านั้น จึงกราบทูลเรื่องทั้งหมด

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนึก ก็ไม่ทรงเห็นเสนาสนะที่

เป็นสัปปายะอื่นสำหรับภิกษุเหล่านั้น ทั่วชมพูทวีป โดยที่สุด แม้แต่เพียงตั่งมี

๔ เท้า ดังนั้น จึงตรัสบอกภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะที่

เป็นสัปปายะอื่นสำหรับพวกเธอไม่มีดอก พวกเธออยู่ในที่นั้นนั่นแหละจักบรรลุ

ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ไปเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าไปอาศัยเสนาสนะนั้น

นั่นแหละอยู่กันเถิด แต่ถ้าว่าพวกเธอปรารถนาความไม่มีภัยจากเทวดาทั้งหลาย

ก็จงพากัน เรียนพระปริตรนี้ . ด้วยว่าพระปริตรนี้จักเป็นเครื่องป้องกัน และจัก

เป็นกรรมฐานสำหรับพวกเธอ ดังนี้ แล้วจึงตรัสพระสูตรนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

แต่อาจารย์พวกอื่นอีกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้ว่า

ไปเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเข้าไปอาศัยเสนาสนะนั้นนั่นแหละ อยู่กันเถิด

แล้วจึงตรัสว่า อนึ่งเล่า ภิกษุผู้อยู่ป่าควรรู้จักบริหาร. บริหารอย่างไร. บริ-

หารอย่างนี้คือ แผ่เมตตา ๒ เวลา คือทำเวลาเย็นและเช้า ทำพระปริตร ๒ เวลา

เจริญอสุภ ๒ เวลา เจริญมรณัสสติ ๒ เวลา และนึกถึงมหาสังเวควัตถุ ๘ ทั้ง

๒ เวลา ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ. อบายทุกข์ ๔ ชื่อมหาสังเวควัตถุ ๘.

อีกนัยหนึ่ง ชาติชราพยาธิมรณะ ๔ อบายทุกข์เป็นที่ ๕ ทุกข์มีวัฏฏะ

เป็นมลในอดีต ๑ ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอนาคต ๑ ทุกข์มีการแสวงอาหารเป็น

มูล ในปัจจุบัน ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ทรงบอกการบริหารอย่างนี้แล้ว

จึ้งได้ตรัสพระสูตรนี้เพื่อเป็นเมตตา เพื่อเป็นพระปริตรและเพื่อฌานอันเป็น

บาทแห่งวิปัสสนาแก่ภิกษุเหล่านั้น. พึงทราบการชี้แจงบทเหล่านั้นว่า เยน วุตฺต

ยทา ยตฺถ ยสฺมา เจ และการชำระนิทาน ด้วยประการฉะนี้.

มาติกาหัวข้อนั้นใด ข้าพเจ้าตั้งไว้ว่า เยน วุตฺต ยทา ยตฺถ ยสฺมา

เจเตส ทีปนา นิทาน โสธยิตฺวา. มาติกาหัวข้อนั้น เป็นอันข้าพเจ้ากล่าว

พิศดารแล้ว โดยอาการทั้งปวง ด้วยกถามีประมาณเพียงนี้.

พรรณนาคาถาที่ ๑

บัดนี้ จะเริ่มพรรณนาความแห่งพระสูตรนั้น ที่ทำการชำระนิทานแล้ว

อย่างนี้ เพราะข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า จึงจักทำการพรรณนาความแห่งพระสูตรนั้น

ดังนี้. ในคาถานั้น จะเริ่มพรรณนาบทแห่งคาถานี้ว่า กรณียมตฺถกุสเลน

ก่อน ดังนี้. บทว่า กรณีย แปลว่า พึงทำ อธิบายว่า ควรแก่การทำ.

ปฏิปทา ชื่อว่าอรรถ หรือประโยชน์เกื้อกูลแก่คนอย่างใดอย่างหนึ่งประโยชน์

เกื้อกูลนั้นทั้งหมด ท่านเรียกว่าอรรถะ เพราะไม่มีกิเลสดังข้าศึก ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

อรณียะ เพราะอันบุคคลพึงเข้าถึง. อันผู้ฉลาดในประโยชน์ ชื่อว่าอัตถกุสละ

ท่านอธิบายว่า อันผู้เฉียบแหลมในประโยชน์. บทว่า ย เป็นปฐมาวิภัตติแสดง

ความไม่แน่นอน. บทว่า ต เป็นทุติยาวิภัตติแสดงความแน่นอน. หรือว่า

คำว่า ย ต แม้ทั้งสอง เป็นปฐมาวิภัตติ. คำว่า สนฺต ปท เป็นทุติยาวิภัตติ.

บรรดาคำทั้งสองนั้น ที่ชื่อว่า สันตะ เพราะเป็นลักษณะ. ที่มีชื่อว่าปทะ เพราะ

อันบุคคลพึงถึง คำนี้เป็นชื่อของพระนิพพาน. บทว่า อภิสเมจฺจ แปลว่า

บรรลุแล้ว. ผู้ใดย่อมอาจ เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า สักกะผู้อาจ. ท่านอธิบาย

ว่า ผู้สามารถ ผู้อาจหาญ. บทว่า อุชุ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความตรง.

ผู้ใดตรงด้วยดีเหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า สุหุชู ผู้ตรงด้วยดี. ความว่าง่ายมีในผู้

นั้น เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า สุวโจ ผู้ว่าง่าย. บทว่า อสฺส แปลว่าพึงมี

พึงเป็น. บทว่า มุทุ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความอ่อนโยน. ผู้ใดไม่มีอติมานะ

เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า อนตินานี ไม่มีอติมานะ.

ส่วนการพรรณนาความในคาถาที่ ๑ ดังนี้.

จะวินิจฉัยในคำว่า กรณียมตฺถกุสเลน ยนฺต สนฺต ปท อภิ-

สเมจฺจ นี้ก่อน. กรณียะ ก็มี อกรณียะ ก็มี. ในสองอย่างนั้น โดย

สังเขป สิกขา ๓ ชื่อว่า กรณียะ. ศีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ อาจารวิบัติ อาชีววิบัติ

ดังกล่าวมาอย่างนี้เป็นต้น ชื่อว่า อกรณียะ. อนึ่ง อัตถโกศลก็มี อนัตถ-

โกศลก็มี. ใน ๒ อย่างนั้น ผู้ใดบวชในพระศาสนานี้ไม่ประกอบตนไว้โดยชอบ

เป็นผู้มีศีลขาด อาศัยอเนสนาการแสวงหาที่ไม่สมควร ๒๑ อย่างเลี้ยงชีวิต คือ

๑ ให้ไม้ไผ่ ๒ ให้ใบไม้ ๓ ให้ดอกไม้ ๔ ให้ผลไม้ ๕ ให้ไม่ชำระฟัน ๖

ให้น้ำล้างหน้า ๗ ให้น้ำอาบ ๘ ให้ผงทาตัว ๙ ให้ดินถูตัว ๑๐ ประจบ ๑๑

พูดจริงปนเท็จ ๑๒ เลี้ยงลูกให้เขา ๑๓ รับใช้คฤหัสถ์ ๑๔ ทำตัวเป็นหมอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

๑๕ ทำตัวเป็นทูต ๑๖ รับส่งข่าวคฤหัสถ์ ๑๗ ให้ข้าวของหวังผลตอบแทน ๑๘

แลกเปลี่ยน ๑๙ เป็นหมอดูพื้นที่ ๒๐ เป็นหมอดูฤกษ์ ๒๑ เป็นหมอดูลักษณะ.

และประพฤติอโคจร ๖ คือ ๑ หญิงแพศยา ๒ หญิงหม้าย ๓ หญิงสาวแก่

๔ บัณเฑาะก์ ๕ ภิกษุณี ๖ ร้านเหล้า. คลุกคลีกับคฤหัสถ์ คือพระราชา

อมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีอัน ไม่สมควร.

เสพคบ เข้าใกล้ตระกูลที่ไม่มีศรัทธาปสาทะ ไม่เป็นดั่งบ่อน้ำ ด่าและบริภาษ

หวังแต่สิ่งที่ไม่มีประโยชน์ไม่เกื้อกูล ไม่ผาสุก ไม่ปลอดโยคะ แก่ภิกษุ ภิกษุณี

อุบาสก อุบาสิกา ผู้นี้ชื่อว่า ผู้ฉลาดในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์.

อนึ่ง ผู้ใดบวชในพระศาสนานี้ ประกอบตนโดยชอบ ละอเนสนา

ปรารถนาแต่จะตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล บำเพ็ญปาติโมกขสังวรศีลด้วยศรัทธา

เป็นสำคัญ บำเพ็ญอินทรียสังวรศีลด้วยสติเป็นสำคัญ บำเพ็ญอาชีวปาริสุทธิศีล

ด้วยความเพียรเป็นสำคัญ บำเพ็ญการเสพปัจจัยด้วยปัญญาเป็นสำคัญ ผู้นี้

ชื่อว่า ผู้ฉลาดในประโยชน์.

อนึ่ง ผู้ใดชำระปาติโมกขสังวรศีล โดยชำระอาบัติ ๗ กอง ชำระ

อินทรียสังวรศีล โดยไม่ให้อภิชฌาเป็นต้นเกิด ในอารมณ์ที่กระทบในทวาร ๖

ชำระอาชีวปาริสุทธิศีล โดยเว้นอเนสนา และเสพแต่ปัจจัยที่วิญญูชนสรรเสริญ

และที่พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ ชำระการเสพปัจจัย โดย

การพิจารณาปัจจัยตามที่กล่าว และชำระสัมปชัญญะ โดยการพิจารณาโดยเป็น

สาตถกสัมปชัญญะเป็นต้น ในการเปลี่ยนอิริยาบถทั้ง ๔ แม้ผู้นี้ ก็ชื่อว่า ผู้

ฉลาดในประโยชน์.

อนึ่ง ผู้ใดรู้ว่า ผ้าสกปรก อาศัยน้ำเค็ม ก็ทำให้สะอาดได้ กระจก

อาศัยเถ้า ก็ทำให้สะอาดได้ ทองอาศัยเบ้าหลอมก็ทำให้ผ่องแผ้วได้ ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

ศีลอาศัยญาณก็ผ่องแผ้วได้ฉันนั้น แล้วชำระด้วยน้ำคือญาณ ก็ทำศีลให้บริสุทธิ์

ได้ เปรียบเหมือนนกต้อยตีวิดรักษาไข่ เนื้อทรายจามรีรักษาขนหาง นารี

มีบุตรคนเดียวรักษาบุตรคนเดียวที่น่ารัก บุรุษมีดวงตาข้างเดียวรักษาดวงตา

ข้างเดียวนั้นไว้ ฉันใด ผู้ไม่ประมาทอย่างเหลือเกิน ก็รักษาศีลขันธ์ของตน

ฉันนั้น เขาพิจารณาทั้งเย็นเช้า ก็ไม่พบโทษแม้ประมาณน้อย แม้ผู้นี้ ก็ชื่อว่า

ผู้ฉลาดในประโยชน์.

อนึ่งเล่า ผู้ใดตั้งอยู่ในศีล ที่ไม่ทำความเดือดร้อน ย่อมประคองปฏิปทา

เครื่องข่มกิเลส. ครั้นประคองปฏิปทานั้นแล้ว ย่อมทำบริกรรมในกสิณ ครั้น

ทำบริกรรมในกสิณแล้ว ย่อมยังสมาบัติทั้งหลายให้เกิด แม้ผู้นี้ ก็ชื่อว่า

ผู้ฉลาดในประโยชน์.

อนึ่งเล่า ผู้ใดออกจากสมาบัติ พิจารณาสังขารทั้งหลายย่อมบรรลุ

พระอรหัต ผู้นี้เป็นยอดของผู้ฉลาดในประโยชน์. ชนเหล่านั้นใดเป็นผู้ฉลาดใน

ประโยชน์อันท่านสรรเสริญแล้ว โดยเพียงตั้งอยู่ในศีล ที่ไม่ทำความเดือดร้อน

หรือโดยเพียงประคองปฏิปทาเครื่องข่มกิเลส ชนเหล่านั้น ท่านประสงค์ว่า ผู้

ฉลาดในประโยชน์ในอรรถนี้. และภิกษุเหล่านั้น ก็เป็นอย่างนั้น. ด้วยเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสด้วยเทศนาเป็น

บุคลาธิษฐานอย่างหนึ่งว่า กรณียมตฺถกุสเลน อันผู้ฉลาดในประโยชน์

พึงทำดังนี้.

ต่อแต่นั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้น เกิดความสงสัยว่ากิจอะไรที่ต้องทำ พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยนฺต สนฺต ปท อภิสเมจฺจ. ในคำนี้มีอธิบาย

ดังนี้. พระพุทธะและอนุพุทธะทั้งหลายต่างสรรเสริญกิจที่ผู้ประสงค์จะบรรลุ

สันตบทโดยการแทงตลอดแล้วอยู่พึงทำ ก็ในคำนี้พึงทราบว่า คำว่า ย ข้าพ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

เจ้ากล่าวไว้ข้างต้นบทคาถานี้นั้นแล้ว ย่อมเป็นไปโดยอธิการว่า กรณีย คือ ต

สนฺต ปท อภิสเมจิจ. แต่เพราะเหตุที่ความนี้ มีปาฐะที่ต้องเติมคำที่

เหลือ ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า วิหริตุกาเมน.

อีกอย่างหนึ่ง ในคำนี้พึงทราบอธิบายอย่างนี้ว่า คำว่า สนฺต ปท

อภิสเมจฺจ ย่อมเป็นไปโดยอธิการว่า กิจนั้นได้ อันผู้ประสงค์จะรู้บทคือ

พระนิพพานว่า สันตะ สงบ ด้วยโลกิยปัญญา โดยได้ฟังกันมาเป็นต้น

จะบรรลุบทคือนิพพานนั้นพึงทำ. อีกนัยหนึ่งครั้นเมื่อตรัสว่า กรณียมตฺถกุส-

เลน เมื่อภิกษุทั้งหลายพากันคิดว่าอะไร จึงตรัสว่า ยนฺต สนฺต ปท

อภิสเมจฺจ. นัยนั้นพึงทราบอธิบายอย่าง นี้ กิจใดอันบุคคลรู้บทอันสงบด้วย

โลกิยปัญญาแล้ว พึงทำพึงประกอบกิจนั้นก็ควรทำ ท่านอธิบายว่ากิจนั้นควร

แก่การทำทั้งนั้น.

ถามว่า กิจนั้นคืออะไร. ตอบว่า กิจอะไรอื่นพึงมีอยู่นอกจากอุบาย

บรรลุนิพพานบทนั้น. กิจนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วด้วยบทต้นอันแสดงสิกขา ๓

เพราะอรรถว่าควรแก่การทำ ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้นในการพรรณนาความแห่ง

คำนั้น ข้าพเจ้าก็ได้กล่าวไว้แล้วว่า กรณียะ ก็มี อกรณียะ ก็มี. ในสอง

อย่างนั้น โดยสังเขป สิกขา ๓ ชื่อว่า กรณียะ. แต่เพราะทรงแสดงไว้สังเขป

เกินไป บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกก็ไม่รู้. แต่นั้นเมื่อตรัสกิจโดยเฉพาะ

อย่างยิ่งที่ภิกษุผู้อยู่ป่าควรทำให้พิสดาร เพื่อให้พวกภิกษุที่ไม่รู้ได้รู้จึงตรัสกึ่ง

คาถานี้ก่อนว่า สกฺโก อุชู จ สุหุชู จ สุวโจ จสฺส มุทุ อนติมานี.

ท่านอธิบายไว้ว่าอย่างไร. ท่านอธิบายว่า ภิกษุผู้อยู่ป่า ประสงค์จะ

บรรลุสันตบทอยู่ หรือบรรลุสันตบทนั้น ด้วยโลกิยปัญญาแล้ว ปฏิบัติเพื่อบรรลุ

สันตบทนั้น ไม่อาลัยในกายและชีวิต ด้วยประกอบด้วยปธานิยังคะข้อ ๒ และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

๔ พึงเป็นผู้อาจปฏิบัติเพื่อแทงตลอดสัจจะ กรณียกิจที่ควรทำไร ๆ นั้นใด

ไม่ว่าสูงต่ำของสพรหมจารี ในการบริกรรมกสิณสมาทานวัตรเป็นต้น และใน

การซ่อมแซมบาตรจีวรเป็นต้นของตน ก็พึงอาจ พึงขยัน ไม่เกียจคร้านสามารถ

ใน รณียกิจ เหล่านั้น และในกิจเช่นนั้น อย่างอื่นก็เหมือนกัน. แม้เมื่อเป็น

ผู้อาจ ก็พึงเป็นผู้ตรงด้วยการประกอบด้วยปธานิยังคะข้อที่ ๓. แม้เมื่อเป็นผู้

ตรงก็พึงเป็นผู้ตรงด้วยดี ด้วยเป็นผู้ตรงคราวเดียว หรือด้วยเป็นผู้ตรงในเวลา

ยังหนุ่ม ด้วยไม่ถึงสันโดษแต่ทำไม่ย่อหย่อนบ่อยๆ จนตลอดชีวิต. หรือว่า

ชื่อว่า ตรง (อุชุ) เพราะทำด้วยความไม่อวดดี ชื่อว่า ตรงดี (สุหุชู) เพราะ

ไม่มีมายา. หรือว่า ชื่อว่า ตรง เพราะละความคิดทางกายและวาจา ชื่อว่า

ตรงดี เพราะละความคดทางใจ. หรือชื่อว่า ตรง เพราะไม่อวดคุณที่ไม่มี

จริง ชื่อว่า ตรงดี เพราะไม่อดกลั้นต่อลาภที่เกิดเพราะคุณที่ไม่มีจริง. พึง

ชื่อว่าเป็นผู้ตรงและตรงดี ด้วยอารัมมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌาน ด้วย

สิกขาข้อ ๒ - ๓ ข้างต้น และด้วยปโยคสุทธิและอาสยสุทธิ ด้วยประการฉะนี้.

ภิกษุมิใช่พึงเป็นผู้ตรงและตรงดีอย่างเดียวดอก ที่แท้พึงเป็นผู้ว่าง่าย

อีกด้วย. ก็บุคคลใดถูกท่านว่ากล่าวว่า ท่านไม่ควรทำข้อนี้ ก็พูดว่าท่านเห็น

อะไรท่านได้ยินอย่างไร ท่านเป็นอะไรกับเราจึงพูด เป็นอุปัชฌาย์ อาจารย์ เพื่อน

เห็นเพื่อนคบหรือ หรือเบียดเบียนผู้นั้นด้วยความนิ่งเสีย หรือยอมรับแล้วไม่ทำ

อย่างนั้น ผู้นั้น ชื่อว่ายังอยู่ไกลการบรรลุคุณวิเศษ. ส่วนผู้ใดถูกท่านโอวาท

ก็กล่าวว่า ดีละ ท่านขอรับ ท่านพูดดี. ขึ้นชื่อว่าโทษของตนเป็นของเห็นได้ยาก

ท่านเห็นกระผมเป็นอย่างนี้ โปรดอาศัยความเอ็นดูว่ากล่าวอีกเถิด กระผมไม่

ได้รับ โอวาทจากสำนักท่านเสียนาน และปฏิบัติตามที่ท่านสอน ผู้นั้น ชื่อว่า

อยู่ไม่ไกลการบรรลุคุณวิเศษ เพราะฉะนั้น บุคคลรับคำของผู้อื่นแล้วกระทำ

อย่างนี้. พึงชื่อว่าเป็นผู้ว่าง่าย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

อนึ่ง เป็นผู้ว่าง่ายอย่างใด ก็พึงเป็นผู้อ่อนโยนอย่างนั้น . บทว่า มุทุ

ความว่า ภิกษุถูกพวกคฤหัสถ์ใช้ในการเป็นทูตไปรับส่งข่าวเป็นคน ก็ไม่ทำ

ตามอ่อนแอในกิจนั้น เป็นผู้แข็งกร้าวเสีย พึงเป็นผู้อ่อนโยน ในวัตรปฏิบัติ

และพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ทนต่อการไม่ต้องรับใช้ในกิจนั้น เหมือนทองที่ช่างตก

แต่งด้วยดี. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า มุทุ ได้แก่เป็นผู้ไม่มีหน้าสยิ้ว คือเป็นผู้มี

หน้าเบิกบาน เจรจาแต่คำที่ให้เกิดสุข ต้อนรับแขก พึงเป็นเหมือนผู้ลงสู่ท่าน้ำ

ที่ดีโดยสะดวก มิใช่แต่เป็นผู้อ่อนโยนอย่างเดียวดอก พึงเป็นผู้ไม่มีอติมานะ

ดูหมิ่นเขาด้วย. ไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยวัตถุแห่งการดูหมิ่น มีชาติและโคตร

เป็นต้น พึงมีใจเสมอด้วยเด็กจัณฑาลอยู่ เหมือนท่านพระสารีบุตรเถระฉะนั้น.

พรรณนาคาถาที่ ๒

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสกรณียกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งของภิกษุผู้อยู่

ป่า ซึ่งประสงค์จะบรรลุสันบทอยู่ หรือปฏิบัติเพื่อบรรลุสันตบทนั้นอย่างนี้

แล้ว มีพระพุทธประสงค์จะตรัสยิ่งในรูปกว่านั้นอีก จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า

สนฺตุสฺสโก จ เป็นต้น.

ในคาถาที่ ๒ นั้น ภิกษุชื่อว่า สันโดษ เพราะสันโดษด้วยสันโดษ

๑๒ อย่าง มีประเภทที่กล่าวไว้แล้วในมงคลข้อนี้ว่า สนฺตุฏฺี จ กตญฺญุตา

นี้. อีกนัยหนึ่ง ภิกษุใดย่อมยินดี เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า ตุสสกะ ผู้ยินดี

ภิกษุผู้ยินดีด้วยของตนเอง ผู้ยินดีด้วยของที่มีอยู่ ผู้ยินดีด้วยอาการสม่ำเสมอ

เหตุนั้น จึงชื่อว่าสันตุสสกะผู้สันโดษ. ในลักษณะ ๓ อย่างนั้น ปัจจัย ๔ ที่

ท่านยกขึ้นแสดงในโรงอุปสมบทอย่างนี้ว่า ปิณฺฑิยาโลปโภชน นิสฺสาย

อาศัยโภชนะ คือคำข้าวที่หามาด้วยปลีแข้งเป็นต้น และตนก็รับไว้แล้ว ชื่อว่า

ของ ๆ ตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

ภิกษุไม่แสดงอาการผิดปกติในเวลารับและในเวลาบริโภค ยังอัตภาพ

ให้เป็นไป ด้วยปัจจัยของตนนั้น ดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม ที่เขาถวายโดยเคารพ

และไม่เคารพก็ตาม เรียกว่า ผู้ยินดีด้วยของ ๆ ตน.

ของใด ได้มาแล้วมีอยู่แก่คน ของนั้นชื่อว่า มีอยู่. ภิกษุยินดีด้วย

ของมีอยู่นั้นนั่นแล ไม่ปรารถนาของนอกจากนั้น ละความเป็นผู้ปรารถนาเกิน

ส่วนเสีย [มักมาก] เรียกว่า ผู้ยินดีด้วยของมีอยู่.

การละความยินดียินร้าย ในอิฏฐารมณ์และอนิฎฐารมณ์ ชื่อว่า สม่ำ

เสมอ. ภิกษุยินดีในอารมณ์ทั้งปวงด้วยอาการสม่ำเสมอนั้น เรียกว่า ผู้ยินดี

ด้วยอาการสม่ำเสมอ.

ชื่อว่า สุภระ เพราะเขาเลี้ยงโดยง่าย. ท่านอธิบายว่าผู้ที่เขาเลี้ยงง่าย.

ภิกษุใด เมื่อมนุษย์เอาบาตรบรรจุเต็มด้วยข้าวสาลีเนื้อและข้าวสุกเป็นต้นถวาย

แล้ว แสดงภาวะหน้าเสีย และใจเสีย พูดว่า พวกท่านให้อะไร หมิ่นบิณฑ-

บาตนั้นต่อหน้าเขา ให้แก่สามเณรและคฤหัสถ์เป็นต้นเสีย ภิกษุนั้น ชื่อว่า

ทุพภระ ผู้ที่เขาเลี้ยงยาก. มนุษย์ทั้งหลายเห็นภิกษุนั้นแล้ว ก็ละเว้นเสียแต่

ไกลทีเดียว ด้วยกล่าวว่า ภิกษุเลี้ยงยาก ใครก็ไม่อาจเลี้ยงดูได้. ส่วนภิกษุใด

ได้ของปอนหรือประณีตอย่างใดอย่างหนึ่งน้อยหรือมาก มีใจดี หน้าตาผ่องใส

ยังอัตภาพให้เป็นไปภิกษุนั้นชื่อว่าสุภระผู้เลี้ยงง่าย. มนุษย์ทั้งหลายเห็นภิกษุ

นั้น เป็นผู้สนิทสนม ก็ปฏิญาณรับเลี้ยงว่า พระคุณเจ้าของเราเลี้ยงง่าย ภิกษุ

เห็นปานนี้ ท่านประสงค์ว่าเป็นสุภระผู้เลี้ยงง่าย ในที่นี้.

กิจของภิกษุนั้นน้อยเหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าอัปปกิจจะผู้มีกิจน้อย

มิใช่ผู้ขวนขวายด้วยกิจมากอย่างเช่น เพลินงาน เพลินคุย เพลินคลุกคลีเป็นต้น

อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้เว้นกิจ มีงานก่อสร้าง การบริโภคของสงฆ์ การสั่งสอน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

สามเณรและคนวัดเป็นต้น ทั่วทั้งวิหาร. ท่านอธิบายว่า ทำการปลงผม ตัด

เล็บ ระบมบาตร ซ่อมจีวรเป็นต้นของตน นอกจากกิจคือสมณธรรม.

ความประพฤติของภิกษุนั้นเบา เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า สัลลหุกวุตติ

ผู้มีความประพฤติเบา. ภิกษุผู้มีบริขารมากบางรูป เวลาออกเดินทางก็ให้

มหาชนยกบาตร จีวร เครื่องปูลาด น้ำมัน น้ำอ้อยงบเป็นต้น เป็นอันมากเดิน

ศีรษะ กระเดียดสะเอวเป็นต้น อย่างใด ภิกษุใด ไม่เป็นอย่างนั้น ย่อมเป็นผู้มี

บริขารน้อย รักษาแต่เพียงสมณบริขารแปดมีบาตรจีวรเป็นต้นเท่านั้น เวลาเดิน

ทาง ก็ถือเดินทางไปเหมือนนกมีแต่ปีก ภิกษุเห็นปานนั้น ท่านประสงค์ว่า

ผู้มีความประพฤติเบา ในที่นี้ อินทรีย์ทั้งหลาย ของภิกษุนั้น สงบ เหตุนั้น

ภิกษุนั้น ชื่อว่า ผู้มีอินทรีย์สงบ. ท่านอธิบายว่า ผู้มีอินทรีย์ไม่ฟุ้งซ่าน

ด้วยอำนาจราคะเป็นต้น ในอิฏฐารมณ์เป็นอาทิ. บทว่า นิปโก ได้แก่ ผู้เป็น

วิญญูชน ผู้แจ่มแจ้ง มีปัญญา อธิบายว่า ผู้ประกอบด้วยปัญญา เครื่องตาม

รักษาศีล ด้วยปัญญากำหนดปัจจัยสี่มีจีวรเป็นต้น และด้วยปัญญากำหนด

รู้สัปปายะเจ็ดต่างมีอาวาสสัปปายะเป็นต้น.

ผู้ไม่คะนอง เหตุนั้น จึงชื่อว่า อัปปคัพภะ ผู้ไม่คะนอง อธิบายว่า

เว้นจากการคะนองทางกาย ๘ ฐาน จากการคะนองวาจา ๔ ฐาน และจาก

การคะนองทางใจมากฐาน.

การทำไม่สมควรทางกาย ในสงฆ์ คณะ บุคคล โรงฉัน เรือนไฟ ท่า

อาบน้ำ ทางบิณฑบาต และการเข้าสู่ละแวกบ้าน ชื่อว่า การคะนองทางกาย ๘

ฐาน คือ เป็นต้น อย่างนี้ว่า ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ นั่งรัดเข่า หรือ

เอาเท้าจับเท้าในท่ามกลางสงฆ์. ในท่ามกลางคณะ ในที่ชุมนุมบริษัท ๔ ก็เหมือน

กัน ในบุคคลผู้แก่กว่า ก็เหมือนกัน . ส่วนในโรงฉัน ภิกษุไม่ไห้อาสนะแก่ผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

แก่กว่า ห้ามอาสนะแก่ภิกษุใหม่ในเรือนไฟ ก็เหมือนกัน . ก็ในเรือนไฟนั้น

ภิกษุไม่ขอโอกาสภิกษุผู้แก่กว่า ทำการติดไฟเป็นต้น . ส่วนในท่าอาบน้ำ ท่าน

กล่าวคำนี้ใดว่า ไม่ต้องถือว่า หนุ่มแก่ พึงอาบน้ำได้ ตามลำดับของผู้มาถึง

ภิกษุไม่ยึดคำนั้น มาทีหลัง ก็ลงน้ำ กีดกันภิกษุผู้แก่ และภิกษุใหม่. ส่วน

ในทางบิณฑบาต ภิกษุไปข้างหน้า ๆ เอาแขนกระทบแขนภิกษุผู้แก่ เพื่อ

ประสงค์อาสนะอันเลิศน้ำอันเลิศและอาหารอันเลิศ. ในการเข้าไปสู่ละแวกบ้าน

ก็มีเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภิกษุเข้าไปก่อนภิกษุผู้แก่ ทำการเล่นทางกายกับภิกษุ

หนุ่ม.

การเปล่งวาจาไม่สมควร ในสงฆ์ คณะ บุคคลและละแวกบ้าน ชื่อว่า

คะนองทางวาจา ๔ ฐาน คือ เป็นต้นอย่างนี้ว่า ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้

ไม่ขอโอกาสในท่ามกลางสงฆ์กล่าวธรรม. ในคณะ. ในบุคคลผู้แก่กว่า ดังที่.

กล่าวมาก่อนแล้วก็เหมือนกัน. ณ ที่นั้น ภิกษุ ถูกมนุษย์ทั้งหลายถามปัญหา

ไม่ขอโอกาสภิกษุผู้แก่กว่า ก็ตอบปัญหาส่วนในละแวกบ้าน ภิกษุกล่าวเป็นต้น

อย่างนี้ว่า มีอะไร ในบ้านโน้น ข้าวต้มหรือของเคี้ยวหรือของกิน ท่านจัก

ให้อะไรแก่เรา วันนี้เราจักเคี้ยว จักกินอะไร จักดื่มอะไร.

แม้ไม่ถึงความละเมิดทางกายวาจา ในฐานะนั้น ๆ แต่ก็มีวิตกอันไม่

สมควรประการต่าง ๆ มีกามวิตกเป็นต้นทางใจ ชื่อว่า การคะนองทางใจ มี

มากฐาน.

บทว่า กุเลสุ อนนุคิทฺโธ ความว่า ภิกษุเข้าไปหาตระกูลเหล่านั้น

ใด ไม่ติดด้วยความอยากได้ปัจจัย หรือด้วยการคลุกคลีที่ไม่สมควรในตระกูล

เหล่านั้น ท่านอธิบายว่า ไม่โศกเศร้าร่วมด้วย ไม่ร่าเริงร่วมด้วย ไม่สุขด้วย

เมื่อตระกูลเหล่านั้นประสบสุข ไม่ทุกข์ด้วย เมื่อตระกูลเหล่านั้นประสบทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

หรือเมื่อกรณียกิจทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ไม่เข้าประกอบด้วยตนเอง. ก็คำใดว่า อสฺส

ที่ตรัสไว้ในคำนี้ว่า สุวโจ อสฺส แห่งคาถานี้ คำนั้น พึงประกอบเข้ากับ

บททุกบทอย่างนี้ว่า สนฺตุสฺสโก จ อสฺส สุภโร จ อสฺส.

พรรณนาคาถาที่ ๓

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสบอกกรณียะ แม้ยิ่งไปกว่านั้น โดย

เฉพาะอย่างยิ่ง แก่ภิกษุผู้อยู่ป่า ซึ่งประสงค์จะบรรลุสันตบทแล้วอยู่ หรือ

ประสงค์จะปฏิบัติเพื่อบรรลุสันตบทนั้น อย่างนี้แล้วบัดนี้ มีพระพุทธปุระสงค์

จะตรัสบอกอกรณียะ จึงตรัสกึ่งคาถาว่า น จ ขุทฺท สมาจเร กิญฺจิ เยน

วิญฺญู ปเร อุปวเทยฺยุ.

กึ่งคาถานั้น มีความดังนี้ ภิกษุเมื่อทำกรณียะนี้อย่างนี้ ก็ไม่พึง

ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริตและมโนทุจริต ที่เรียกว่า ขุททะ คือลามก เมื่อ

ไม่ประพฤติ มิใช่ไม่ประพฤติแต่กรรมหยาบอย่างเดียว แม้กรรมเล็กน้อยไร ๆ

ก็ไม่ประพฤติ ท่านอธิบายว่า ไม่ประพฤติลามกกรรมทั้งจำนวนน้อย ทั้งขนาด

เล็ก.

แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงโทษที่เห็นได้เอง ในการ

ประพฤติลามกกรรมนั้นว่า เยน วิญฺญู ปเร อุปวเทยฺยุ. ก็ในคำนี้ เพราะ

เหตุที่ผู้มิใช่วิญญูชนเหล่าอื่น ไม่ถือเป็นประมาณ. เพราะอวิญญูชนเหล่านั้น

ยังทำกรรมไม่มีโทษหรือมีโทษ มีโทษน้อยหรือมีโทษมาก. ส่วนวิญญูชนทั้ง

หลายเท่านั้น ถือเป็นประมาณได้ เพราะว่าวิญญูชนเหล่านั้น ใคร่ครวญทบ

ทวนแล้ว ย่อมติเตียนผู้ที่ควรติเตียน สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ. ฉะนั้น จึง

ตรัสว่า วิญฺญู ปเร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอุปจารแห่งกรรมฐาน ต่างโดยกรณียะ

และอกรณียะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ภิกษุผู้อยู่ป่า ซึ่งประสงค์จะบรรลุสันตบท

แล้วอยู่หรือประสงค์ปฏิบัติ เพื่อบรรลุสันตบทนั้น และแก่พวกภิกษุผู้ประสงค์จะ

รับกรรมฐาน อยู่แม้ทุกรูป โดยยกภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นสำคัญ ด้วยสองคาถาครึ่ง

นี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัสเมตตากถา โดยนัยว่า สุขิโน ว่า เข-

มิโน โหนฺตุ เป็นต้น เพื่อเป็นปริตรกำจัดภัยแต่เทวดานั้น และเพื่อเป็น

กรรมฐาน โดยฌานเป็นบาทแห่งวิปัสสนา แก่ภิกษุเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขิโน ได้แก่ ผู้พรั่งพร้อมด้วยสุข.

บทว่า เขมิโน แปลว่า ผู้มีความเกษม. ท่านอธิบายว่าผู้ไม่มีภัย ไม่มีปัทวะ

บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่เหลือเลย. บทว่า สตฺตา ได้แก่ สัตว์มีชีวิต

บทว่า สุขิตตฺตา ได้แก่ ผู้มีจิตถึงสุข. ก็ในคำนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่าผู้มี

สุข โดยสุขทางกาย. ชื่อว่ามีจิตถึงสุข โดยสุขทางใจ, ชื่อว่ามีความเกษม

แม้โดยสุขทั้งสองนั้น หรือโดยไปปราศจากภัยและอุปัทวะทั้งปวง. ก็เหตุไร

จึงตรัสอย่างนี้. ก็เพื่อแสดงอาการแห่งเมตตาภาวนา. ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ จึงควร

เจริญเมตตาว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงมีสุข ดังนี้บ้าง ว่า จงมีความเกษม

ดังนี้บ้าง จงเป็นผู้มีตนถึงสุข ดังนี้บ้าง.

พรรณนาคาถาที่ ๔

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเมตตาภาวนา โดยสังเขป ตั้งแต่

อุปจารจนถึงอัปปนาเป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงเมตตาภาวนา

นั้น แม้โดยพิศดาร จึงตรัสสองคาถาว่า เยเกจิ เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง

เพราะเหตุที่จิตถูกสะสมอยู่ในอารมณ์มาก ๆ ย่อมไม่หยุดอยู่ในอารมณ์เดียว

โดยเบื้องต้นเท่านั้น แต่จะแล่นติดตามประเภทอารมณ์โดยลำดับ ฉะนั้น จึง

ตรัสสองคาถาว่า เยเกจิ เป็นต้น เพื่อจิตที่แล่นติดตามไปแล้วหยุดอยู่ ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

อารมณ์อันเป็นประเภทแห่งทุกะหมวดสองแห่งสัตว์และติกะหมวดสามแห่งสัตว์

มีตสถาวรทุกะเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่อารมณ์ใด ของผู้ใดเป็น

อารมณ์ที่ปรากฏชัดแล้ว จิตของผู้นั้น ย่อมตั้งอยู่เป็นสุขในอารมณ์นั้น ฉะนั้น

อารมณ์ใดของภิกษุรูปใดในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ปรากฏชัดแล้ว พระผู้มีพระภาค

เจ้ามีพระพุทธประสงค์จะให้จิตของภิกษุรูปนั้น ตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น จึงตรัสสอง

คาถาว่า เยเกจิ เป็นต้น อันแสดงความต่างแห่งอารมณ์เป็นทุกะและติกะ

มีตสถาวรทุกะ เป็นต้น.

ความจริง ในสองคาถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงทุกะ หมวด

สองแห่งสัตว์ ๔ ทุกะ คือ ตสถาวรทุกะ หมวดสองแห่งสัตว์ ผู้สะดุ้งและ

ผู้มั่นคง. (ไม่สะดุ้ง) ทิฏฐาทิฏฐทุกะ หมวดสองแห่งสัตว์ ผู้ที่ตนเห็นแล้ว

และผู้ที่ตนยังไม่เห็น ทูรสันติกทุกะ หมวดสองแห่งสัตว์ ผู้ที่อยู่ไกลและ

ผู้ที่อยู่ใกล้ ภูตสัมภเวสีทุกะ หมวดสองแห่งสัตว์ ผู้ที่เกิดแล้วและผู้ที่แสวง

หาที่เกิด. และทรงแสดงติกะ หมวดสามแห่งสัตว์ ๓ ติกะ. คือ ทีฆรัสสมัช-

ฌิมติกะ หมวดสามแห่งสัตว์ ผู้มีอัตภาพยาวต่ำและปานกลาง มหันตาณุก-

มัชฌิมติกะ หมวดสามแห่งสัตว์ ผู้มีอัตภาพใหญ่เล็กและปานกลาง ถูลา-

ณุกมัชณมติกะ หมวดสามแห่งสัตว์ ผู้มีอัตภาพอ้วน ผอมและปานกลาง

โดยมัชฌิมบทเป็นที่เกิดประโยชน์ใน ๓ ติกะ และอณุกถูลบทเป็นที่เกิด

ประโยชน์ใน ๒ ติกะ ด้วยบท ๖ บท มีทีฆบทเป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า เยเกจิ เป็นคำแสดงว่าไม่มีส่วนเหลือเลย. หมู่สัตว์ที่เกิดแล้วคือ

ปาณะ ชื่อว่า ปาณภูตะ. อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายย่อมหายใจ เหตุนั้น

จึงชื่อว่า ปาณะ. ทรงถือเอาปัญจโวการสัตว์ ที่เนื่องด้วยอัสสาสปัสสาสะ

ลมหายใจเข้าออก ด้วยบทนี้. สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิด เหตุนั้น จึงชื่อว่า

ภูต. ทรงถือเอาเอกโวการ. สัตว์และจตุโวการสัตว์ด้วยบทนี้. บทว่า อตฺถิ

แปลว่า มี มีพร้อม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสัตว์ทั้งปวง ที่ทรงสงเคราะห์ด้วย

ทุกะและติกะรวมกัน ด้วยคำว่า เยเกจิ ปาณภูตตฺถิ นี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้

ทรงสงเคราะห์สัตว์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด แสดงด้วยทุกะนี้ว่า ตสา วา ถาวรา

วา อนวเสสา.

ในทุกะนี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมสะดุ้ง เหตุนั้น จึงชื่อว่า ตสา คำนี้เป็น

ชื่อของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีตัณหาและมีภัย. สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมั่นคง เหตุนั้น

จึงชื่อว่า ถาวรา คำนี้เป็นชื่อของพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ละตัณหาและภัยได้

แล้ว. ส่วนเหลือของสัตว์เหล่านั้นไม่มี เหตุนั้น จึงชื่อว่า อนวเสสา ท่าน

อธิบายว่า แม้ทุกตัวสัตว์. ก็คำใด ตรัสไว้ท้ายแห่งคาถาที่ ๒ คำนั้น พึงเชื่อม

กับทุกทุกะและติกะ. บทว่า เยเกจิ ปาณภูตตฺถิ ความว่า สัตว์ทั้งหลายที่สะดุ้ง

กลัวก็ดี ที่มั่นคงก็ดี ไม่เหลือเลย สัตว์แม้เหล่านั้นทั้งหมด จงเป็นผู้มีตนถึงสุข

หมู่สัตว์ที่เกิดแล้วก็ดี แสวงหาที่เกิดก็ดี เพียงใด สัตว์ทั้งหมดแม้เหล่านี้เพียง

นั้น จงเป็นผู้มีตนถึงสุขเถิด ด้วยประการฉะนี้.

บัดนี้ บรรดาบททั้ง ๖ มี ทีฆา วา เป็นต้น ที่แสดงติกะ ๓ หมวด

มี ทีฆรัสสมัชฌิมติกะ เป็นต้น. บทว่า ทีฆา ได้แก่ สัตว์ที่มีอัตภาพยาว

มีนาค, ปลา, เหี้ยเป็นต้น จริงอยู่ อัตภาพของนาคทั้งหลายในมหาสมุทร

แม้มีขนาดหลายร้อยวา. อัตภาพของปลาและเหี้ยเป็นต้น ก็มีขนาดหลายโยชน์

บทว่า มหนฺตา ได้แก่ สัตว์มีอัตภาพใหญ่ ในน้ำก็มีปลาและเต่า บนบก

ก็มีพระยาช้างเป็นต้น ในจำพวกอมนุษย์ ก็มีทานพเป็นต้น และตรัสว่า ราหู

เป็นยอดของสัตว์ที่มีอัตภาพทั้งหลาย. จริงอยู่ อัตภาพของราหูนั้น สูง

๔,๘๐๐โยชน์ แขน ๑,๒๐๐ โยชน์ ระหว่างคิ้ว ๕๐ โยชน์ ระหว่างนิ้วก็

เหมือนกัน ฝ่ามือ ๒๐๐ โยชน์แล. บทว่า มชฺฌิมา ได้แก่ อัตภาพของม้า

โคกระบือสุกรเป็นต้น. บทว่า รสฺสกา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย มีขนาดต่ำ

ตรงกลางยาว ตรงกลางอ้วน มีคนแคระเป็นต้น ในชาตินั้น ๆ บทว่า อณุกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายที่อัตภาพรละเอียด หรือเล็กเป็นต้น ที่บังเกิดในน้ำเป็น

ต้น ไม่เป็นอารมณ์ของมังสจักษุ เป็นวิสัยของทิพยจักษุ. อนึ่ง สัตว์เหล่าใด

มีขนาดต่ำ ตรงกลางใหญ่ และตรงกลางอ้วนในชาตินั้น. ๆ สัตว์เหล่านั้น พึง

ทราบว่า เล็ก. บทว่า ถูลา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย ที่มีอัตภาพกลม มีปลา

เต่า หอยกาบ หอยโข่ง เป็นต้น.

พรรณนาคาถาที่ ๕

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงสัตว์ทั้งหลายไม่เหลือด้วยติกะ ๓ ติกะ

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงสงเคราะห์แสดงด้วยทุกะ ๓ ทุกะ ว่า ทิฏฺา วา เย

จ อทิฏฺา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺา ได้แก่ สัตว์เหล่าใด เคยเห็น

โดยมาปรากฏแก่ตาของตน บทว่า อทิฏฺา ไก้แก่ สัตว์เหล่าใด ตั้งอยู่ใน

สมุทรอื่นภูเขาอื่นและจักรวาลอื่นเป็นต้น. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัตว์

ที่อยู่ไกลและไม่ไกลอัตภาพของตนด้วยทุกะนี้ว่า เย จ ทูเร วสนฺติ

อวิทูเร. สัตว์เหล่านั้น พึงทราบโดยเป็นสัตว์ไม่มีเท้าและสัตว์ ๒ เท้า. ก็เหล่า

สัตว์ที่อยู่ในกายของตน เรียกว่า อวิทูเร อยู่ไม่ไกล เหล่าสัตว์

ที่อยู่นอกกาย เรียกว่า ทูเร อยู่ไกล. อนึ่ง เหล่าสัตว์ที่อยู่ภายใน

อุปจาร เรียกว่า อยู่ไม่ไกล. ที่อยู่ภายนอกอุปจาร เรียกว่า อยู่ไกล. ที่อยู่

ในพระวิหาร ตามชนบท ทวีป จักรวาล เรียกว่า อยู่ไม่ไกล ที่อยู่ใน

จักรวาลอื่น เรียกว่า อยู่ไกล.

บทว่า ภูตา ได้แก่ เกิดแล้ว บังเกิดแล้ว. พระขีณาสพเหล่าใด

เป็นแล้วนั่นแล ไม่นับว่าจักเป็นอีก คำนั้นเป็นชื่อของพระขีณาสพเหล่านั้น.

สัตว์เหล่าใด แสวงหาที่เกิด. เหตุนั้นสัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า สัมภเวสี. คำนี้

เป็นชื่อของพระเสขะและปุถุชนทั้งหลาย ที่กำลังแสวงหาที่เกิด แม้ในอนาคต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

เพราะภวสังโยชน์ยังไม่สิ้น. อีกอย่างหนึ่ง บรรดากำเนิด ๔ เหล่า สัตว์ที่เป็น

อัณฑชะเกิดในไข่และชลาพุชะเกิดในครรภ์ ยังไม่ทำลายเปลือกฟองไข่และรก

ออกมาตราบใด ตราบนั้น ก็ชื่อว่า สัมภเวสี. ที่ทำลายเปลือกฟองไข่ และ

รกแล้วออกมาข้างนอก ชื่อว่า ภูต. เหล่าสัตว์ที่เป็นสังเสทชะ และ โอปปาติกะ

ชื่อว่า สัมภเวสี ในขณะปฐมจิต ตั้งแต่ขณะทุติยจิตไปชื่อว่า ภตะ. หรือสตว์

ทั้งหลายเกิดโดยอิริยาบถใด ยังไม่เปลี่ยนอิริยาบถเป็นอื่นไปจากอิริยาบถนั้น

ตราบใด ตราบนั้น ยิ่งชื่อว่า สัมภเวสี นอกจากนั้น ไปชื่อว่า ภูตะ.

พรรณนาคาถาที่ ๖

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเมตตาภาวนาในสัตว์ทั้งหลาย โดย

ปรารถนาแต่จะให้เข้าถึงประโยชน์สุขของภิกษุเหล่านั้น โดยประการต่าง ๆ ด้วย

๒ คาถาครึ่งว่า สุขิโน วา เป็นต้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมือทรงแสดง

ภาวนานั้น แม้โดยปรารถนาให้ออกไปจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และทุกข์จึง

ตรัสว่า น ปโร ปร นิกุพฺเพถ. นี้เป็นปาฐะเก่า แต่ปัจจุบันสวดกันว่า

ปร ปิ ดังนี้ก็มี ปาฐะนี้ไม่งาม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปโร ได้แก่ ชนอื่น. บทว่า

กุพฺเพถ ได้แก่ ไม่หลอกลวง. บทว่า นาติมญฺเถ ได้แก่ ไม่สำคัญเกิน

ไป [ไม่ดูหมิ่น]. บทว่า กตฺถจิ ได้แก่ในโอกาสไหน ๆ คือในหมู่บ้านหรือ

ในเขตหมู่บ้าน ท่านกลางญาติหรือท่ามกลางบุคคล ดังนี้เป็นต้น. บทว่า น

แปลว่า นั่น. บทว่า กิญฺจิ ได้แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง คือกษัตริย์หรือพราหมณ์

คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ที่ถึงสุข หรือที่ถึงทุกข์ ดังนี้เป็นต้น. บทว่า พฺยา-

โรสนา ปฏีฆสญฺา ได้แก่ เพราะความกริ้วโกรธด้วยกายวิการและวจีวิการ

และเพราะคุมแค้นด้วยมโนวิการ. เพราะเมื่อควรจะตรัสว่า พฺยาโรสนาย

ปฏีฑสญฺาย แต่ก็ตรัสเสียว่า พฺยาโรสนา ปฏีฆสญฺา เหมือนเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

ควรจะตรัสว่า สมฺมทญฺาย วิมุตฺตา แต่ก็ตรัสเสียว่า สมฺมทญฺญา

วิมุตฺตา และเหมือนเมื่อควรจะตรัสว่า อนุปุพฺพสิกฺขาย อนุปุพฺพกิริยาย

อนุปุพฺพปฏิปทาย แต่ก็ตรัสเสียว่า อนุปุพฺพสิกฺขา อนุปุพฺพกิริยา

อนุปุพฺพปฏิปทา อญฺาราธนา ฉะนั้น. บทว่า นาญฺมญฺสฺส

ทุกฺขมิจฺเฉยฺย ความว่า ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน. ท่านอธิบายไว้

อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่ามิใช่เจริญเมตตา โดยมนสิการเป็นต้นว่า ขอสัตว์

ทั้งหลายจงมีสุข มีความเกษมเถิดดังนี้อย่างเดียว ที่แท้พึงมนสิการอย่างนี้ว่า

โอหนอ บุคคลอื่นไม่ว่าใคร ๆ ไม่พึงข่มเหงบุคคลอื่นไม่ว่าใคร ๆ ด้วย

กิริยาคตโกงมีล่อลวงเป็นต้น ไม่พึงดูหมิ่นบุคคลอื่นไม่ว่าใคร ๆ ไม่ว่าในประเทศ

ไหน ๆ ด้วยวัตถุแห่งมานะ ๙ อย่าง มีชาติเป็นต้น และไม่พึงปรารถนาทุกข์

แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธหรือเพราะความคุมแค้น ดังนี้อีกด้วย.

พรรณนาคาถาที่ ๗

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเมตตาภาวนา โดยอรรถด้วย

ปรารถนาให้เขาออกไปจากสิ่งไม่เป็นประโยชน์และทุกข์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ

ทรงแสดงเมตตาภาวนานั้นนั่นแลด้วยอุปมา จึงตรัสว่า มาตา ยถา นิย

ปุตฺต เป็นต้น.

คาถานั้นมีความว่า มารดาพึงอนุรักษ์บุตรในตน คือบุตรที่เกิดใน

ตน เกิดแต่อก พึงทะนุถนอมบุตรนั้นซึ่งมีคนเดียวเท่านั้นด้วยชีวิต คือยอม

สละแม้ชีวิตของตนถนอมบุตรนั้น เพื่อห้ามกันทุกข์มาถึงบุตรนั้น ฉันใดภิกษุ

พึงทำมนัสที่ประกอบด้วยเมตตานี้ให้เจริญ คือให้เกิดบ่อย ๆ ให้ขยายไปและยัง

เมตตาภาวนานั้นให้เจริญไม่มีประมาณ โดยถือสัตว์ไม่มีประมาณเป็นอารมณ์

หรือโดยแผ่ไปไม่เหลือเลย แม้แต่ในสัตว์ผู้หนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

พรรณนาคาถาที่ ๘

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งทรงแสดงเมตตาภาวนาโดยอาการทั้งปวง

อย่างนี้ บัดนี้ เมื่อทรงแสดงการเจริญเมตตาภาวนานั้นนั่นแล จึงตรัสว่า

เมตฺตญฺจ สพฺพโลกสฺมึ เป็นต้น.

ในคาถานั้น ชื่อว่า มิตร เพราะรักและรักษา อธิบายว่า ห่วงใย

เพราะมีอัธยาศัยมุ่งประโยชน์เกื้อกูล และรักษาให้พ้นจากการมาถึงของสิ่งไม่

เป็นประโยชน์. ความเป็นแห่งมิตร ชื่อว่าเมตตา. บทว่า พสฺพโลกสฺมึ

ได้แก่ ในสัตว์โลกไม่เหลือเลย. มีในใจ เหตุนั้น จึงชื่อว่า มานสะ. ก็คำว่า

มานส นั้น ท่านกล่าวอย่างนี้ก็เพราะประกอบกับจิต บทว่า ภาวเย แปลว่า

ให้เจริญ. ประมาณของมานสะนั้น ไม่มีเหตุนั้นจึงชื่อว่า อปริมาณ. ท่านกล่าว

อย่างนี้ ก็เพราะเมตตามีสัตว์ไม่มีประมาณเป็นอารมณ์. บทว่า อุทฺธ แปลว่า

เบื้องบน. ทรงถือเอาอรูปภพด้วยบทนั้น. บทว่า อโธ แปลว่า เบื้องล่าง ทรง

ถือเอากามภพด้วยบทนั้น. บทว่า ติริย ได้แก่เบื้องขวาง ทรงถือเอารูปภพ

ด้วยบทนั้น. บทว่า อสมฺพาธ ได้แก่ เว้นจากความคับแคบ. ท่านอธิบายว่า

มีขอบเขตอันแตกแล้ว [ไม่มีขอบเขต]. ข้าศึกท่านเรียกชื่อว่า ขอบเขต อธิบาย

ว่า เป็นไปในที่ไม่มีขอบเขตนั้น. บทว่า อเวร ได้แก่ เว้นจากเวร อธิบายว่า

เว้นจากความปรากฏแห่งเจตนาก่อเวรแม้ในระหว่าง ๆ บทว่า อสปตฺต ได้แก่

ปราศจากข้าศึก. จริงอยู่บุคคลผู้อยู่ ด้วยเมตตา ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์เป็น

ที่รักของพวกอมนุษย์. ข้าศึกไร ๆ ของเขาย่อมไม่มี. ด้วยเหตุนั้น มานัสสิ่งที่มี

ในใจของเขานั้น ท่านจึงเรียกว่า อสปัตตะ เพราะปราศจากข้าศึก. ก็คำที่ว่า

ข้าศึก ศัตรู. เป็นคำโดยปริยาย. การพรรณนาความตามบทมีเท่านี้ ส่วนการ

แสดงความที่ประสงค์ในที่นี้ มีดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

พึงเจริญขยายเมตตาที่ตรัสไว้ว่า เอวมฺปิ สพฺพภูเตสุ มานส

ภาวเย อปริมาณ ดังนี้ แผ่เมตตาที่มีอยู่ในใจไม่มีประมาณ ให้บรรลุถึงความ

เจริญงอกงามไพบูลย์ในโลกทั้งปวง. ทำอย่างไร คือแผ่เมตตานั้น ไปไม่เหลือ

ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างเบื้องขวางคือ เบื้องบนก็ตั้งแต่ภวัคคพรหมลงมา เบื้องล่าง

ก็ตั้งแต่อเวจีนรกขึ้นไป เบื้องขวางก็ตั้งแต่ทิศที่เหลือ หรือเบื้องบนก็ได้แก่

อรูปธาตุ เบื้องล่างก็ได้แก่กามธาตุ เบื้องขวางก็ได้แก่รูปธาตุ ก็แลเมื่อเจริญ

เมตตาอยู่อย่างนี้ การทำไม่ให้มีความคับแคบเวรและข้าศึก พึงเจริญ เมตตานั้น

โดยประการที่ไม่มีความคับแคบ ไม่มีเวรและไม่มีข้าศึก. หรือว่าเมตตานั้น

ถึงภาวนาสัมปทา เป็นคุณชื่อว่าไม่คับแคบ เพราะเป็นโอกาสโลกทั้งปวง (คือ

๓๑ ภูมิ) เป็นคุณชื่อว่าไม่มีเวร เพราะกำจัดความอาฆาตของตนในสัตว์อื่นเสีย

เป็นคุณชื่อว่าไม่มีข้าศึก เพราะกำจัดความอาฆาตของสัตว์อื่นในตนเสียก็พึงเจริญ

ขยายเมตตาอันมีในใจนั้น ที่ไม่คับแคบ ที่ไม่มีเวร ที่ไม่มีข้าศึก ไม่มีประมาณไป

ในโลกทั้งปวง โดยกำหนดทิศทั้งสาม คือ เบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง.

พรรณนาคาถาที่ ๙

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ทรงแสดงการเจริญเมตตาภาวนาอย่างนี้แล้ว

เมื่อทรงแสดงความไม่มีอิริยาบถแน่นอนของผู้ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งการเจริญ

เมตตานั้นอยู่ จึงตรัสว่า ติฏฺ จร ฯ เป ฯ อธิฏฺเยฺย ดังนี้.

คาถานั้นมีความว่า ผู้เจริญเมตตาเมื่อเจริญเมตตามีในใจนี้อย่างนี้ ไม่

ต้องจำกัดอิริยาบถ เหมือนอย่างในบาลีว่า นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรง เมื่อทำการ

บรรเทาความปวดเมื่อยด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามสบาย จะยืนหรือ

เดิน นั่งหรือนอน ยังเป็นผู้ปราศจากความง่วงนอน เพียงใด ก็พึงตั้งสติ

ในเมตตาฌานนั้นไว้เพียงนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการเจริญเมตตาภาวนา

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงแสดงความเป็นผู้ชำนาญ จึงตรัส ว่า ติฏฺ จร

เป็นต้น. จริงอยู่ ผู้ชำนาญแล้ว ยังประสงค์จะตั้งสติในเมตตาฌานด้วย

อิริยาบถเพียงใด จะยืนหรือเดิน จะนั่งหรือนอนก็ย่อมได้. อีกนัยหนึ่ง

ผู้ชำนาญ จะยืนหรือเดิน จะนั่งหรือนอน เพราะเหตุนั้น การยืนเป็นต้น ย่อม

ไม่ทำอันตรายแก่ผู้นั้น. อนึ่งเล่า ผู้ชำนาญ ยังประสงค์จะตั้งสตินั้น ไว้ใน

เมตตาฌานนี้เพียงใด ก็ต้องเป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนจึงตั้งสติไว้ได้เพียงนั้น.

ความเนิ่นช้าในเมตตาฌานนั้น ของผู้นั้นย่อมไม่มี ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่าจะยืน

หรือเดิน นั่ง หรือนอน ยังเป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด ก็พึงตั้งสตินั้น

ไว้เพียงนั้น.

คาถานั้น มีอธิบาย ดังนี้ ผู้ชำนาญพึงเจริญเมตตา ที่ตรัสไว้ว่า

เมตฺตญฺจ สพฺพโลกสฺมึ มานส ภาวเย โดยประการที่ผู้ชำนาญ ไม่จำ

ต้องเอื้อด้วยอิริยาบถ บรรดาอิริยาบถมียืนเป็นต้น หรือถึงอิริยาบถมียืนเป็นต้น

ยังประสงค์จะตั้งสติในเมตตาฌานนั้นเพียงใด เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอน

แล้วก็พึงตั้งสตินั้น ไว้เพียงนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงความเป็นผู้ชำนาญในเมตตาภาวนา

อย่างนี้ ทรงประกอบภิกษุไว้ในเมตตาวิหาร การอยู่ด้วยเมตตานั้นว่า เอต

สตึ อธิฏฺเยฺย พึงตั้งสตินั้นไว้ บัดนี้ เมื่อทรงชมเชยการอยู่นั้นจึงตรัสว่า

พฺรหฺมเมต วิหาร อิธมาหุ.

คาถานั้น มีความว่า การอยู่ด้วยเมตตานี้ใด ทรงสรรเสริญตั้งต้นแต่

พระพุทธดำรัสว่า สุขิโน วา เขมิโน วา โหนฺตุ จงเป็นผู้มีสุข หรือ

มีความเกษม จนถึงพระพุทธดำรัสว่า เอต สตึ อธิฏฺเยฺย พึงตั้งสตินั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

ไว้เพียงนั้น. ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวการอยู่นั้นว่าพรหมวิหาร การอยู่อย่าง

พรหม กล่าวการอยู่นั้นว่า เสฏฺวิหาร การอยู่อย่างประเสริฐสุด ในพระ-

ศาสนา คือในธรรมวินัยของพระอริยนี้ เพราะไม่มีโทษในการอยู่อย่างทิพย์

อยู่อย่างพรหม อยู่อย่างพระอริยะและอยู่โดยอิริยาบถวิหาร และการอยู่ด้วย

เมตตานั้นทำประโยชน์ทั้งแก่คนทั้งแก่ผู้อื่น. เพราะเหตุที่ความสงบติดต่อกัน

ไม่ถูกแทรกแซง ฉะนั้น ผู้เจริญเมตตา ยืนก็ดี เดินก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี

ยังไม่ง่วงนอนเพียงใด ก็พึงตั้งสตินั้นไว้เพียงนั้น.

การพรรณนาคาถาที่ ๑๐

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเมตตาภาวนาประการต่าง ๆ แก่

ภิกษุเหล่านั้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพราะเหตุที่เมตตาใกล้ต่ออัตตทิฏฐิความเห็น

ว่าเป็นคน เพราะมีสัตว์เป็นอารมณ์ ฉะนั้น เมื่อทรงแสดงการบรรลุอริยภูมิ

ทำเมตตาฌานนั้นนั่นแหละให้เป็นบาท แก่ภิกษุเหล่านั้น โดยยกการห้าม การ

ถือทิฏฐิขึ้นนำหน้า จึงทรงจบเทศนาด้วยคาถานี้ว่า ทิฏฺิญฺจ อนุปคมฺม

เป็นต้น.

คาถานั้น มีความว่า การอยู่ด้วยเมตตาฌานนี้ใด ทรงสรรเสริญไว้

ว่า พรหฺมเมต วิหาร อิธมาหุ ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวการอยู่นั้น ว่าพรหม-

วิหารในพระธรรมวินัยนี้ ผู้เจริญเมตตา ออกจากการอยู่ด้วยเมตตาฌานนั้น

แล้ว กำหนด [นาม] ธรรม มีวิตกวิจารเป็นต้น ในที่นั้น และรูปธรรมตาม

แนวการกำหนด [นาม] ธรรมเหล่านั้นเป็นต้น แล้วกำหนดอรูปธรรม และ

ด้วยการกำหนดนามรูป ก็ไม่ยึดทิฏฐิอย่างนี้ว่า นี้กองสังขารอันบริสุทธิ์บุคคล

ย่อมถือไม่ได้ว่าสัตว์ในสังขารนี้ดังนี้ เป็นผู้มีศีลโดยโลกุตรศีลตามลำดับ ถึง

พร้อมด้วยทัสสนะ ที่เข้าใจกัน ว่าสัมมาทิฏฐิในโสดาปัตติมรรค ซึ่งประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

ด้วยโลกุตรศีล ต่อจากนั้น ก็นำออก ขจัดระงับความหมกมุ่นในกามทั้งหลาย

คือกิเลสกามที่ยังละไม่ได้ ด้วยการทำให้เบาบางด้วยสกทาคามิมรรคและอนา-

คามิมรรค และด้วยการละไม่ให้เหลือเลย ก็ย่อมไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์

มารดาอีก คือ ไม่ต้องนอนในครรภ์อีกอย่างแน่นอน ได้แก่ บังเกิดในหมู่

เทพชั้นสุทธาวาสทั้งหลาย บรรลุพระอรหัตแล้วปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น

นั่งเอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจบเทศนาอย่างนี้แล้วตรัสกะภิกษุเหล่า

นั้น ว่า ไปเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอยู่ในราวป่านั้นนั่นแหละ และจงเคาะ

ระฆังในวันธรรมสวนะ ๘ วัน ต่อเดือนแล้วจงสวดพระสูตรนี้ จงทำธรรมกถา

กล่าวธรรม สนทนาธรรม อนุโมทนากัน จงซ่องเสพ เจริญทำให้มาก ซึ่ง

กรรมฐานนั้นแหละ พวกอมนุษย์แม้เหล่านั้น จักไม่แสดงอารมณ์น่าสะพึงกลัว

นั้น จักเป็นผู้หวังดี หวังประโยชน์แก่พวกเธอแน่แท้ ภิกษุเหล่านั้น รับพระ-

พุทธดำรัสแล้ว ลุกจากอาสนะ. กราบถวายบังคมแล้ว ทำประทักษิณไปในราวป่า

นั้น แล้วทำตามที่ทรงสอนทุกประการ. เทวดาทั้งหลาย เกิดปีติโสมนัสว่า

พระคุณเจ้าทั้งหลาย ช่างหวังดีหวังประโยชน์แก่พวกเรา. ก็พากันเก็บกวาดเสนา-

สนะเอง จัดแจงน้ำร้อนนวดหลัง นวดเท้า จัดวางอารักขาไว้ ภิกษุแม้เหล่านั้น

ก็พากันเจริญเมตตา ทำเมตตานั้นให้เป็นบาท เริ่มวิปัสสนาก็บรรลุพระอรหัต

อันเป็นผลเลิศภายในไตรมาสนั้นนั่นเองหมดทุกรูป ปวารณาด้วยวิสุทธิปวารณา

ในวันมหาปวารณา ออกพรรษาแล.

พระตถาคตผู้เป็นเจ้าแห่งธรรม ผู้ทรงฉลาดใน

ประโยชน์ ตรัสกรณียเมตตสูตรอันมีประโยชน์ด้วย

ประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีปัญญาบริบูรณ์ ได้รับความ

สงบแห่งหฤทัยอย่างยิ่ง ก็บรรลุ สันตบท.

เพราะฉะนั้นแล วิญญูชนผู้ประสงค์จะบรรลุ

สันตบทอันเป็นอมตะ ที่น่าอัศจรรย์ อันพระอริยเจ้า

รักอยู่ ก็พึงทำกรณียะอันมีประโยชน์ ต่างโดยศีลสมาธิ

ปัญญาอันไร้มลทิน ต่อเนื่องไม่ขาดสาย เทอญ.

จบอรรถกถาเมตตสูตร

แห่ง

อรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อว่า ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

นิคมกถา

ด้วยกถามีประมาณเท่านี้ ข้าพเจ้ากล่าวคำใดไว้ว่า

ข้าพเจ้าไหว้พระรันตรัยอันสูงสุดแห่งวัตถุที่ควร

ไหว้แล้ว จักแต่งอรรถกถาแห่งขุททกปาฐะบางปาฐะ.

ในคำนั้น เป็นอันข้าพเจ้าแต่งอรรถกถาแห่งขุททกปาฐะ ๙ ประเภท

คือ ๑. สรณะ ๒. สิกขาบท ๓. ทวัตติงสาการ ๔. กุมารปัญหา ๕. มงคล-

สูตร ๖. รัตนสูตร ๗. ติโรกุฑฑสุตร ๘. นิธิกัณฑสูตร และ ๙. เมตตสูตร

ก่อน. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวคำนี้ว่า

ข้าพเจ้า ประสงค์จะให้พระสัทธรรมตั้งมั่น จึง

แต่งอรรถกถาแห่งขุททกปาฐะนี้ ประสบกุศลอันใด.

ขอชนนี้ จงพลันบรรลุความเจริญ งอกงาม

ไพบูลย์ในธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว เพราะอานุ-

ภาพแต่งกุศลอันนั้น.

อรรถกถาแห่งขุททกปาฐะชื่อปรมัตถโชติกานี้ รจนาโดยพระเถระ ที่

ท่านครูทั้งหลายถวายนามว่า พุทธโฆสะ ผู้ประดับด้วยคุณคือความบริสุทธิ์

ความเชื่อ ความรู้และความเพียร อันคุณสมุทัย คือ ศีลอาจาระ อาชวะและ

ปัททวะเป็นต้นดลบันดาลแล้ว ผู้สามารถหยั่งลงสู่ชัฏ คือ ลัทธิตนและลัทธิอื่น

ประกอบด้วยความรู้ความฉลาด ผู้มีประภาพคืออำนาจแห่งญาณอันไม่มีอะไร

ขัดขวางในสัตถุศาสน์ อันต่างโดยพระไตรปิฎกปริยัตติธรรมพร้อมทั้งอรรถกถา

เป็นมหากวีประถอบด้วยความงามแห่งวจนะอันไพเราะโอฬารที่เปล่งได้สะดวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

ซึ่งสมบัติคือกรณ์ให้เกิดแล้วโดยมหาไวยากรณ์ ผู้มีวาทะถูกต้องแตกฉาน มี

วาทะอันประเสริฐ ผู้มีความบริสุทธิ์และความรู้อันไพบูลย์ เป็นอลังการแห่ง

วงศ์ของพระเถระทั้งหลาย ผู้อยู่ ณ มหาวิหาร ประทีปแห่งเถรวงศ์ [เถรวาทา]

ซึ่งมีความรู้มั่นคงดีแล้ว ในธรรมอันยิ่งของมนุษย์ อันประดับด้วยคุณต่างโดย

อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทาเป็นต้น.

ตาว ติฏฺตุ โลกสฺมึ โลกนิตฺถรเณสิน

ทสฺเสนฺตี กุลปุตฺตาน นย สีลาทิวิสุทฺธิยา.

ยาว พุทฺโธติ นามมฺปิ สุทฺธจิตฺตสฺส ตาทิโน

โลกมฺหิ โลกเชฏฐสฺส ปวตฺตติ มเหสิโน.

[คัมภีร์ปรมัตถโชติกา] อันแสดงนัยแห่งวิสุทธิมี

ศีลวิสุทธิเป็นต้น แก่กุลบุตรทั้งหลายผู้แสวงหาการออก

จากโลก จงดำรงอยู่ ตราบเท่าที่ แม้พระนามว่าพุทธะ

ของพระผู้มีจิตบริสุทธิ์ ผู้คงที่ ผู้เจริญที่สุดแห่งโลก

ผู้ทรงแสวงหาพระคุณอันยิ่งใหญ่ ยังเป็นไปอยู่ในโลก

เทอญ.

จบอรรถกถาขุททกปาฐะ

แห่ง

อรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อว่า ปรมัตถโชติกา